158

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2556-2557 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

นายกสมาคม

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)

2. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง

อุปนายก คนที่ 1

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด

3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์

อุปนายก คนที่ 2

บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด

4. นางเบญจพร สังหิตกุล

เหรัญญิก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

5. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์

เลขาธิการ

บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

6. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ

รองเลขาธิการ

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

7. นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด

รองเลขาธิการ

บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด(มหาชน)

8. นายโดม มีกุล

ประชาสัมพันธ์

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด

9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล

ปฏิคม

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด

10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ

นายทะเบียน

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด

11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น

กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

12. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ ไพสิฐพงษ์

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด

13. นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

14. นายวิชัย คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด

15. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด

16. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม

กรรมการ

บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน)

17. นายวราวุฒิ วัฒนธารา

กรรมการ

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด

18. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

กรรมการ

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

การสร้างความเข้าใจต่อผูร้ บั รูข้ อ้ มูลข่าวสารทีด่ ี และตรงเป้าหมาย เป็นการสร้างความ ถูกต้องต่อทุกฝ่าย การเอาข้อมูลที่คลาดเคลื่อนแล้วมาใส่ความกล่าวหากัน ย่อมไม่ทำให้เกิด ประโยชน์ใดๆ เลย กลับจะเป็นการบั่นทอนสร้างความรู้สึกที่ไม่ดี แก่ผู้รับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ อย่าได้กระทำเลย หยุดเถอะ การชี้แจงของสมาคมภาคปศุสัตว์ ที่จะสร้างความเข้าใจอันดี ต่อภาพรวมของธุรกิจภาค ปศุสัตว์ ที่ทุกภาคส่วนได้พัฒนาระบบต่างๆ มาอย่างดี และเป็นที่ยอมรับได้ในวงกว้างแล้ว และ ประเทศไทย ก็ก้าวพ้นจุดวิกฤตต่างๆ ที่ฝ่าฟันกันมา ได้อย่างดีแล้ว จนประเทศมียอดการค้า การส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศ ทะลุ 1.3 แสนล้านบาท ไปแล้ว และจะเติบโตไปไม่หยุด ดังนั้น อย่าให้ใครที่ไม่หวังดี มาทำลาย จงร่วมมือร่วมใจสร้างความเข้าใจ และทำความถูกต้อง ให้เห็นประจักษ์แก่ผู้บริโภค และคนไทยจะได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์และคุณค่าครบถ้วนเฉก เช่นเดียวกันทั่วโลก ด้วยวิวัฒนาการที่ได้รับการพัฒนาด้วยมาตรฐานสากลที่ยอมรับทั่วโลก วารสารเล่มนี้ ยังคงเนื้อหาสาระที่เต็มแน่น และเป็นที่รอคอยของผู้ที่ติดตามอยู่เสมอ ทั้งสถานการณ์ ปลาป่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ไก่เนื้อ กุ้ง การรายงานสภาวะการเพาะปลูก ข้าวโพด มันสำปะหลัง การสรุปภาพรวมการเพาะปลูกพืชสำคัญของโลกที่ผู้เชี่ยวชาญมาร่วม การสัมมนาที่ประเทศเวียดนาม การเสวนาที่จะสร้างความเข้าใจปัญหาที่ถูกกล่าวหาเรื่องการ ใช้แรงงานเยี่ยงทาสในธุรกิจประมง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันสร้างความเข้าใจ กู้คืน ความเชื่อมั่นของธุรกิจการประมงของไทย ที่บางครั้งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา แต่ถูกโยงให้เข้าไป เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยงานร่วมมือกันอย่างจริงจังอยู่ในขณะนี้ อนาคตไม่ไกลจากนี้ ความยั่งยืน ความมั่นคงในอาชีพ จะได้รับการแก้ไขด้วยการสร้างมาตรฐานที่ดี เป็นที่ยอมรับ และเป็นความ หวังที่ต้องได้รับอย่างแน่นอน...

บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 31 เล่มที่ 158 ประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม 2557

Contents Thailand Focus

7 สมาคมปศุสัตว์ ยืนยันผลิตเนื้อสัตว์ด้วยมาตรฐานอาหารปลอดภัย ย้ำ "หยุดส่งคลิปทำลายอุตสาหกรรมเกษตรของชาติ". ...........................................................................................5 สรุปการเสวนาสาธารณะ ทางออกประมงไทย เมื่อมนุษย์ และทะเลถูกกระทำ........................................................................9

Food Feed Fuel ที่มา "ปลาป่น" กับข้อกล่าวหา "แรงงานทาส"..............................................................................................................15 สรุปผลการสัมมนา 11th SE Asia US Agricultural Cooperators Conference "Global Agribusiness Outlook"....................................................................................................................18 การสำรวจภาวะการผลิต และการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58......................................................................25 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2557....................................................................................................29 สถานการณ์ปลาป่น.................................................................................................................................................37 สถานการณ์ถั่วเหลือง...............................................................................................................................................43 สถานการณ์กากถั่วเหลือง.........................................................................................................................................48

Market Leader สินค้าไก่และผลิตภัณฑ์..............................................................................................................................................53 สถานการณ์สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557...............................................................................64

Around The World แนวโน้มผู้บริโภคของโลก ปี 2557...............................................................................................................................77 ขอบคุณ. ....................................................................................................................................................................80  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม

นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นายพุทธรักษ์ คำวงษ์  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265  Email: tfma44@yahoo.com  Website: www.thaifeedmill.com




ด้วยมาตรฐานอาหารปลอดภัย

ย้ำ “หยุดส่งต่อคลิปทำลายอุตสาหกรรมเกษตรของชาติ”

Thailand Focus

7 สมาคมปศุสัตว์ ยืนยันผลิตเนื้อสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย, สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ, สมาคม ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์, สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ, สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ร่วมกันแถลงข่าว หัวข้อ “หยุดส่งต่อคลิปทำลายอุตสาหกรรมเกษตรของชาติ” โดยระบุว่า ภาคปศุสัตว์ของไทย โดยสมาคมปศุสัตว์ทั้งหมดมีความพยายามผลักดันให้เกิดการ พัฒนาในภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อยกระดับเกษตรกรของไทยให้ก้าวสู่สากล แต่กลับ มีบุคคลบางกลุ่มที่พยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือของวงการเกษตร และอาหารไทย ผ่าน คลิปวีดีโอหนึ่งที่อ้างว่ากระบวนการผลิตอาหารของไทยมีการใช้ยาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิต รวมถึงเกษตรกรในระบบคอนแทรคฟาร์มมักจะเป็นหนี้ไม่สิ้นสุดจากการทำงานของสัตวบาล ซี่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และส่งผลเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทย

5


นายสุเทพ วงศ์รื่น นายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ใน พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า วิชาชีพสัตวบาลมีหน้าที่โดยตรงในการดูแล และให้คำแนะนำแก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ โดยมุ่งเน้นควบคุมในเรื่องอาหารปลอดภัยตลอดกระบวนการ ผลิตสัตว์ ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์จนถึงโต๊ะอาหาร (from farm to table) ผูป้ ระกอบวิชาชีพสัตวบาลจะมุง่ มัน่ ในหลักการ “รับใช้สงั คม ส่งเสริมสามัคคี ศักดิ์ศรีเชิดชู รอบรู้ทันโลก” โดยเน้นเรื่องความกินดีอยู่ดีของเกษตรกร ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง สัตว์ให้มีสุขภาพดี เพื่อลดต้นทุนทั้งด้านการเลี้ยง และการใช้ยารักษาที่จะส่งผลให้เกิดผลผลิตสัตว์ ที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค การทำงานร่วมกันระหว่างสัตวบาล และเกษตรกรในระบบ คอนแทรคฟาร์มจึงเป็นไปในลักษณะพี่เลี้ยง ที่ดูแลให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการ บางบริษัทวัดผลงานของสัตวบาลจากประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ และคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรด้วยซ้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่สัตวบาลจะมุ่งยัดเยียดให้เกษตรกรลงทุนจนเป็นหนี้ไม่รู้จบ ขณะที่ระบบคอนแทรคฟาร์ม เป็นเครื่องมือสากลในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร และมีบริษัทเกษตรทั้งพืช และสัตว์จำนวนมากที่นำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ หัวใจของ คอนแทรคฟาร์มคือ การทำธุรกิจของเกษตรกรที่มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ภายใต้การผลิต ที่ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานที่บริษัทจำเป็นต้องกำหนดให้เกษตรกร ทำตามเพื่อลดความเสี่ยงด้านการผลิต และความปลอดภัยในอาหารอันจะเป็นประโยชน์โดยตรง ต่อผู้บริโภคนอกจากนี้ การที่สถาบันการเงินเสนอเงินกู้ให้แก่ลูกหนี้เพิ่มขึ้น ย่อมหมายความว่า ลูกหนี้รายนั้นมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี และมีความสามารถในการผ่อนชำระซึ่งเป็นเรื่องปกติของ การทำธุรกิจ มิใช่การเป็นหนี้ไม่รู้จบของเกษตรกรในระบบ ด้าน น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุม ฟาร์มสุกรไทย เผยว่า สมาคมฯ ร่วมกับกรมปศุสัตว์ จัดทำมาตรการ ร่วมกันในการเร่งปรับปรุงการเลีย้ ง และจัดทำมาตรฐานฟาร์มอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมการใช้ยาและเวชภัณฑ์ในการเลี้ยงสัตว์ ที่ต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ขอให้ผู้บริโภค มั่นใจในกระบวนการผลิตหมูของไทยที่มีพัฒนาการ และเติบโตอย่างต่อ เนื่อง ผลิตเนื้อหมูคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

6

“สัตวแพทย์ คือผูท้ ปี่ ฏิบตั งิ านด้านสุขภาพสัตว์ ทีย่ นื หยัดในการแนะนำทัง้ การเลีย้ ง การจัดการ และการควบคุมโรค เช่น การดูแล การเฝ้าระวังสัตว์ปว่ ย ระยะการหยุดยา การทำลายซาก ตลอดจน สร้างความเข้าใจในการป้องกันโรคแก่ผู้ประกอบการ ผู้คนในชุมชน ผู้นำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความสำนึกรับผิดชอบต่ออาชีพ และสังคมโดยรวมเพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ สู่ผู้บริโภค” น.สพ.ปราโมทย์ กล่าว


นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เสริมว่า ในส่วนของเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกรของไทยทุกคนต่างมุ่งผลิตสุกรที่มีคุณภาพ และอยู่ภายใต้มาตรฐาน และการกำกับ ดูแลของกรมปศุสัตว์ ขอให้มั่นใจในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก และมีการส่งออกเนื้อไก่ 80-90% ไปยัง ตลาดสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองตลาดนี้ให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัย ในอาหารเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีกฎระเบียบที่ห้ามใช้ฮอร์โมน และสารปฏิชีวนะ ในการเลี้ยงไก่ และที่ผ่านมาไทยปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศ และมาตรฐาน สากลอย่างครบถ้วน ผูป้ ระกอบการไทยล้วนให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐาน และระบบปฏิบตั ิ ด้านการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงมือ ผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด โดยยึดถือความปลอดภัย ของผู้ บ ริ โ ภคเป็ น สำคั ญ ขณะที่ ป ระเทศคู่ ค้ า ทั้ ง สองจะส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ม าตรวจระบบการ ควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร ทุกปี ดังนั้น การกล่าวหาว่าไก่ไทยมีสาร ปฏิ ชี ว นะตกค้ า งจึ ง เป็ น การให้ ข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ ถูกต้อง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ด้าน นายสมศักดิ์ ฤทธิ์จรุง นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ นายวีระพงษ์ ปัญจวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ เ ลี้ ย งไก่ เ นื้ อ และน.สพ.ประกิ ต เพี ย รศิ ริ ภิ ญ โญ รองเลขาธิ ก ารสมาคม ผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย กล่ า วเป็ น เสี ย งเดี ย วกั น ว่ า อุ ต สาหกรรมอาหารมี ส่ ว นสำคั ญ ในการ ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงาน และเกี่ยวเนื่องกับคน จำนวนมาก ตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ การขนส่ง แรงงานในโรงงาน รวมถึงธุรกิจต่อเนื่องต่างๆ จนถึงการส่งออก และยังเป็นตลาดรองรับพืชผลทางการเกษตร ของไทย ทางสมาคมฯ จึงขอวอนทุกท่านพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อเนื่องที่จะ ตามมาจากการส่งต่อข้อมูลดังกล่าว

7


ปัจจุบัน ประเทศไทยดำเนินการผลิตอาหารภายใต้มาตรฐานสากล อาทิ GAP, GMP, HACCP, ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะสำหรับภาคการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ที่มีมาตรฐานฟาร์ม และโรงงานที่ต้องผ่านการรับรองจากกรมปศุสัตว์ มีการควบคุมการ เลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ที่ว่าด้วยการเลี้ยงสัตว์อย่างไม่แออัด และ ปราศจากการทรมานสัตว์เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดีปลอดภัยต่อการบริโภค เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) โดยในระบบการผลิตที่ฟาร์มจะมี สัตวแพทย์กำกับดูแล และที่โรงงานจะมีนายสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ตรวจเนื้อของกรมปศุสัตว์ ประจำโรงงาน เพื่อตรวจคุณภาพเนื้อ และสารตกค้างต่างๆ ก่อนนำไปจำหน่าย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

8


ทางออกประมงไทย เมื่อมนุษย์ และทะเลถูกกระทำ วันพุธที่ 27 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า กรุงเทพฯ

Thailand Focus

สรุปการเสวนาสาธารณะ

ความเป็นมา เนื่องด้วยสองประเด็นสำคัญด้านการประมงประกอบด้วย วิธีการจับสัตว์น้ำที่ทำลาย ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นการใช้แรงงานที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ได้ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย จึงร่วมกับ สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย จัดเวทีเสวนาเพื่อรับทราบถึงข้อมูลเท็จจริง จากทุกมุมที่เกี่ยวข้องเพื่อเกิดความเข้าใจ และร่วมกันสร้างโอกาสในการหาทางออกร่วมกันอย่าง เปิดเผย และเป็นรูปธรรมได้

รายละเอียดจากการเสวนา ช่วงที่ 1 เจาะประเด็น จากท้องทะเลไทย สู่ท้องตลาดโลก

“เกิดอะไรขึ้นบนเรือประมงไทย”

ปัจจุบันแรงงานบนเรือประมงกว่า 90% ยังไม่มีเอกสารแรงงาน และแรงงานที่มานั้น มา จากระบบนายหน้าทั้งสิ้น การทำงานจะมีระบบหัวหน้าคนเรือทำหน้าที่ในการรับเงินจากเถ้าแก่ มาแจกจ่ายให้กบั คนงานอีกต่อหนึง่ เมือ่ เกิดปัญหา ภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการจับกุม แต่ทา้ ยทีส่ ดุ แรงงานเหล่านั้นก็จะถูกจับส่งให้นายหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบเดิมอีก โดยมิได้สมัครใจ ยกตัวอย่าง แรงงานต่างด้าวที่สงขลาที่ถูกจับได้จะถูกส่งกลับไปที่ อ.แม่สอด จ.ตาก แต่ท้ายสุดก็โดยนายหน้า ส่งกลับมาใช้แรงงานประมงต่อ นอกจากนี้มีแรงงานต่างด้าวบางส่วนที่สมัครใจเนื่องจากไม่มีบัตร แรงงานส่วนนี้มักจะเป็น พวกวัยรุ่นซึ่งมาจากภาคตะวันออกเป็นส่วนมาก มีเรือบางลำที่ใช้แรงงานเด็กเนื่องจากมีงาน บางอย่างที่ต้องใช้เด็กที่ขนาดตัวเล็กทำงาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

โดย คุณสมพงศ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)

9


ระบบการทำงานในเรือพบว่าแรงงานต่างด้าวต้องทำงานหนัก และเกิดปัญหาพักผ่อนไม่ เพียงพอ ส่วนแรงงานไทยนัน้ จะได้รบั การดูแล และได้ทำงานแบบสบายกว่า ประเด็นแรงงานต่างด้าว จึงถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลกระทบไปตลอดห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

“ปลาไทยยังมีไหม ใครเอาไป” โดย คุณบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันราคาอาหารทะเลมีแต่เพิ่มสูงขึ้น แต่การดำรงชีวิตของชาวประมงกลับ ย่ำแย่ลง ที่จริงประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ มีพื้นที่ชายฝั่งกว่า 2,600 กิโลเมตร และอยู่ในเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำ แต่น่าแปลกใจ ที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางทะเล เพราะการประมงปัจจุบันมีการนำอวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือประมงที่ผิดวิธีมาใช้โดยมิได้รับการลงโทษ รวมถึงระเบียบประมงที่ต้องจับ ปลานอกน่านน้ำไม่ต่ำกว่า 3 กิโลเมตรนั้น ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนใช้อวนรุน อวนลาก จับปลาอยู่ ยกตัวอย่างปลาทู มีคนนิยมกินลูกปลาทูมากทำให้เกิดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปเปรียบเทียบลูกปลาทู 1,000 ตัว/กก. ราคา 100 บาท ปลาทูโตเต็มวัย 12 ตัว/กก. วงจร การเจริญเติบโตของปลาทูใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน หากปล่อยไว้จะมีมูลค่าเพิ่มถึง 83 เท่า ในเรื่องนี้แม้รัฐบาลเคยมีประกาศยกเลิกเครื่องมือทำประมงที่ผิดกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่ได้ ปฏิบัติอย่างจริงจัง ชาวชุมชนต้องช่วยกันต่อต้านอวนลาก อวนรุน กันเอง เมื่อ 2-3 ปีก่อน ชาว ประมงนำกรรไกรลงไปตัดตาอวนเพื่อปล่อยไม่ให้แม่ปูช้ำ และนำกลับมาทำธนาคารปู ทำให้มีปู มากขึ้น ทั้งหมดนี้อยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปลาป่นมาช่วยดูแล

“บทบาทธุรกิจต่อมนุษย์ และนิเวศของท้องทะเลไทย” โดย คุณสฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

10

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ร่วมกับองค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย ทำการวิจัยการจัดทำแผนที่ ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตปลาป่นในจังหวัดสงขลา เพื่อสนับสนุนการหารือปรับปรุง มาตรฐานความยั่งยืน พบว่าปลาในอ่าวไทยลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ปลาเป็ด ถูกนำมาผลิตเป็นปลาป่นในสัดส่วนถึง 62% คิดเป็นปริมาณเฉลี่ย 6.5 ตัน/ลำเรือ และประเมิน


ว่าจะใช้ปลาเป็ดมาทำปลาป่นถึง 25,000 ตัน/ปี (ปลาเป็ด คือ ปลาทีค่ นไม่นยิ มทาน มีหลากหลาย ชนิดไม่สามารถแยกได้) นอกจากนี้การวิจัยได้ ระบุถึงห่วงโซ่เส้นทางอาหารทะเลด้วย เนื่องจากปลาเป็ดสามารถนำมาทำเป็น ปลาป่นได้นนั้ ทำให้เป็นมูลเหตุจงู ใจทีช่ าวประมง จับปลาโดยผิดวิธี แม้ปัจจุบันจะมีการดำเนินการ เรื่องเอกสารรับรองที่มาของปลาป่น แต่ในทาง ปฏิบัติยังไม่สามารถทวนสอบได้จริง หากเปรียบ เทียบกับประเทศเปรูจะพบว่ามีเทคโนโลยี และ เหตุผลจูงใจทางธุรกิจที่ชัดเจนที่ทำให้ชาวประมง เลิกจับปลาเป็ด ฉะนั้นประเทศไทยควรจะดำเนิน ตามแนวทางของเปรูได้

ช่วงที่ 2 กางกระดาน “ทางออกจากการขูดรีดคน และทะเล” คุณมาโนช รุ่งราตรี

ก่อนอื่นจะต้องแยกแรงงานกับทรัพยากรทางทะเลออกจากกันก่อน เนื่องจากผลผลิตทาง ทะเลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ประโยชน์ กรมประมงจึงมีการวางแผนในการดำเนินการ ระยะ 10 ปี โดยให้ชมุ นุมมีสว่ นร่วมในการดำเนินการบริหารจัดการร่วมกัน โดยมีการดำเนินการ เบื้องต้นดังนี้ 1) การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมระดับจังหวัด 2) การทำโครงการส่งเสริมธนาคาร สัตว์น้ำ 3) การดูแลการใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยจะมีการขยายระเบียบเขตพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำ จากความห่าง 3 กิโลเมตร ชายฝั่งเป็น 5.4 กิโลเมตร 4) การปรับขยายตาอวนให้กว้างขึ้น 5) การทำปะการังเทียม 6) การทำโปรแกรมสาธิตการทำประมงไปจนถึง 7) การเตรียมการปรับ พ.ร.บ. ประมงใหม่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง

11


ในด้านการปฏิบัติงาน กรมประมงได้กระจายอำนาจให้ กรมทรัพยากรธรรมชาติ และ ตำรวจน้ำช่วยดูแลตรวจตราผู้กระทำผิด ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบนั้น ถ้อยที ถ้ อ ยอาศั ย เนื่ อ งจากต้ อ งคำนึ ง ในเรื่ อ งของวิ ช าการ และวิ ถี ป ฏิ บั ติ จ ริ ง ของชาวประมงด้ ว ย ไม่ฉะนั้นแล้ว จะเกิดการก่อม็อบประท้วงจากผู้เสียประโยชน์ ประกอบกับปัจจัยด้านบุคลากร และ งบประมาณ จึงทำให้เห็นว่า การทำงานบางอย่างไม่สามารถทำได้เต็มที่ ไม่ครอบคลุมทั่วถึง จึงมี ความจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายท้องถิ่นขึ้นมาช่วยดูแล เช่น ประมงอาสา เป็นต้น ในส่วนของการ ขยายตาอวนนั้น ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าจะขยายไปเป็นขนาดเท่าใด ซึ่งศึกษาไว้ 3 ขนาด คือ 4 ซม. 6 ซม. และ 8 ซม. เรื่องนี้จะต้องมีการทำความเข้าใจกับ ชาวประมงอีกครั้งหนึ่ง คุณสวัสดิ์ คำสุข

รองกรรมการผู้จัดการด้านควบคุมและประกันคุณภาพ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

ทางบริษัทได้ดำเนินการเรื่องการใช้วัตถุดิบปลาป่นอย่างยั่งยืน โดยแบ่งเป็นการดำเนินการ ไปแล้ว กำลังดำเนินการ และจะดำเนินการต่อไป ดังนี้ 1) ใช้ปลาป่นที่มาจากเศษปลาทูน่า และซูริมิ 2) ปรับสูตรการผลิตอาหารสัตว์ให้ลดจำนวนสัดส่วนการใช้ปลาป่นลงภายในปี 2017 3) ทำการดำเนินการรับรองแหล่งที่มาของปลาป่น โดยมีเอกสารรายละเอียด ชื่อเรือ ชื่อแรงงาน และรายละเอียดแหล่งจับปลา และอื่นๆ เป็นต้น สิง่ ทีก่ ำลังจะดำเนินการต่อไปคือ การกำหนดมาตรฐาน IFFO Rs ไม่สนับสนุนแรงงานทาส ใบเอกสาร Port in Port out โดยเน้นรับซื้อปลาป่นที่ถูกต้องเท่านั้น และอยู่ระหว่างการ ฟื้นฟูป่าชายเลน โครงการปี 2557-2561 จากพื้นที่ 500 ไร่ ขณะนี้ฟื้นฟูแล้ว 50 ไร่ ปลูกใหม่ ทดแทน 30 ไร่ รวมไปถึงการทำโครงการ FIPs ร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้อง 8 สมาคมฯ เพื่อการประมงอย่างรับผิดชอบ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใช้แรงงานถูกต้อง และอาหารปลอดภัย และยังเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาดังกล่าว บริษัทจะทำเพียงลำพังไม่ได้ ทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบริษัทที่ผลิตอาหารสัตว์รายอื่นจะต้องดำเนินการด้วยเช่นกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

12


คุณณัฐรัตน์ อรุณมหารัตน์ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

มู ล นิ ธิ เ พื่ อ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและการพั ฒ นา มี ห น้ า ที่ เ ป็ น ที่ ป รึ ก ษาในเรื่ อ งการใช้ แ รงงาน และปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงขอแยกประเด็นสำคัญออกเป็นสองส่วน 1. เรือ่ งของสิทธิ ปัจจุบนั แรงงานประมงอยูภ่ ายใต้กฎกระทรวงฉบับที่ 10 ซึง่ เอือ้ ประโยชน์ ไปทางฝั่งนายจ้างมากกว่า เพราะไม่ได้จำกัดราคาค่าจ้างแรงงาน และระยะเวลาการทำงาน จึง อยากให้ผลักดันให้แรงงานประมงไทยถึงแม้จะเป็นแรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิ์ตามความคุ้มครอง พ.ร.บ. 2541 เหมือนอาชีพอื่น นอกจากนี้ ควรจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนให้กับแรงงานประมง โดยยึดหลักแนวทางปฏิบัติของประกันสังคมเพื่อให้นายจ้าง และรัฐดูแลแรงงานเหล่านี้ด้วย 2. เรือ่ งของการค้ามนุษย์ พบว่าในปี 2556 มีการดำเนินคดีกว่า 600 คดี มากกว่าปีกอ่ น ถึงเท่าตัว แต่ถึงแม้การดำเนินคดีจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ประเทศไทยก็ยังถูกปรับระดับมาอยู่ใน Tier 3 เมื่อเจาะลึกลงไปในข้อมูล จะพบว่าในจำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นเรื่องของการค้าประเวณี มากกว่า 50% คดีในเรื่องแรงงานประมงมีเพียง 10% เท่านั้น อยากสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการปฏิบัติของผู้บังคับใช้กฎหมาย ตำรวจใช้วิธีการเข้าตรวจ คัดแยกเหยื่อโดยวิธีสัมภาษณ์ ถ้าแรงงานพึงพอใจในการดูแลของนายจ้างก็จะถือว่าหลุดคดีไป ซึ่งการกระทำในรูปแบบดังกล่าว ไม่ได้สะท้อนไปถึงต้นทางซึ่งนำมาสู่การค้าแรงงานประมงซึ่ง โดนหลอกมาใช้แรงงานในเรือประมงเพื่อทำงานใช้หนี้ค่านายหน้า คุณปิยะ เทศแย้ม สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

1) ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ต้องปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เปลี่ยนระเบียบที่ว่าการจับผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องมีหลักฐานชัดเจน เพราะในข้อเท็จจริง เกิดมีการยิงกันในระหว่างเดินเรือ แต่ไม่มหี ลักฐาน ตำรวจไม่อยูใ่ นเหตุการณ์ ก็ไม่สามารถดำเนินคดี ได้ กฎหมายที่ล้าสมัยต้องทำการปรับปรุง เช่น กฎหมายปี 2460 ที่ประกาศห้ามไม่ให้ทำการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

อยากให้เข้าใจแรงงานต่างด้าวก่อนว่าเขามีความจำเป็นต้องใช้ปจั จัย 4 เหมือนกับเรา ฉะนัน้ การเข้ามาเป็นแรงงานประมงก็เพือ่ หาเลีย้ งปากท้อง สาเหตุสำคัญทีท่ ำให้เกิดปัญหาคือ การบังคับ ใช้กฎหมายที่ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งคนทำคิดว่าไม่มีความผิด ฉะนั้นสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ

13


ประมงที่มีตาอวนต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร จับปลาในช่วง 6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเช้า ก็ยังมีคน ฝ่าฝืนทำกันอยูอ่ ย่างโจ่งแจ้ง ควรปรับตาอวนให้มขี นาดกว้างขึน้ และผูบ้ งั คับใช้กฎหมายต้องปฏิบตั ิ อย่างจริงจัง 2) คนที่ทำประมงต้องช่วยกันสอดส่องดูแล และช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศไปพร้อมกัน 3) ผูบ้ ริโภคทุกคนจะต้องรณรงค์ไม่บริโภคอาหารทีม่ าจากการประมงผิดกฎหมาย ไม่บริโภค ลูกปลาทู โดยทางกรมประมง และนักวิชาการต่างๆ จะต้องคอยออกมาให้ข้อมูลความรู้ความ เข้าใจด้วย

ประเด็นอื่นๆ ในงานเสวนา 1. มาตรการการดำเนินงานของ CP ในเรื่องการขอใบรับรองแหล่งที่มาของปลานั้น จะ ทำได้ในธุรกิจเรือที่มีขนาดใหญ่ แต่จะไม่ครอบคลุมไปถึงเรือเล็ก 2. การทีก่ รมประมงกระจายหน้าทีไ่ ปยังหน่วยงานอืน่ ในการช่วยตรวจตรา จะต้องเน้นสร้าง ความตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ให้รับทราบด้วย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่าง จริงจัง 3. การสื่อสารในเรื่องแรงงานประมงค่อนข้างละเอียดอ่อน แรงงานอื่นอาจจะพูดเรื่อง จำนวนทำงานเป็นชั่วโมง/วัน แต่แรงงานประมงพูดถึงจำนวนชั่วโมงการพักผ่อน/วัน และในส่วน ของแรงงานเด็ก อนุญาตให้ทำงานบางประเภทได้ 4. การสร้างมาตรฐานต่างๆ จะต้องคำนึงถึงทุกห่วงโซ่ โดยเฉพาะต้นน้ำคือ ชาวประมง ว่าจะสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานได้หรือไม่ 5. ควรสร้างแรงจูงใจให้กับชาวประมงเพื่อให้จับปลาอย่างถูกวิธี 6. สนับสนุนให้มีการออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบในการขยายตาอวนให้กว้างขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

14

สรุปโดย นายอรรถพล ชินภูวดล สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย




Food Feed Fuel

ที่มา "ปลาป่น" กับข้อกล่าวหา "แรงงานทาส" "ปลาป่น" เป็นผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้จากกระบวนการอบแห้งปลาสด และส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดบิ ในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอาหารสัตว์น้ำจะมีปลาป่นเป็นองค์ประกอบประมาณ ร้อยละ 7-10 แต่ในอาหารสัตว์บางชนิดจำเป็นต้องใช้ปลาป่นเป็นส่วนผสมถึง ร้อยละ 20-30 เพื่อให้ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่น ในอาหารกุ้ง เป็นต้น

ส่วนขั้นตอนวิธีการกว่าจะได้มาซึ่งปลาป่นคุณภาพ จะเป็นอย่างไร มาดูกัน เริ่มจากการออกเรือของผู้ประกอบการประมงใน 23 จังหวัด ทั้งในแถบอันดามัน และฝั่ง อ่าวไทย โดยระบบฐานข้อมูลเรือประมงไทย จากสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ระบุว่า มีเรือประมงกระจายอยู่ใน 23 จังหวัด มากถึง 57,141 ลำ ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมประมง ระบุว่า เป็นเรือที่จดอาชญาบัตรเครื่องมือทำการประมง รวม 18,089 ลำ ทีเ่ หลือส่วนมากเป็นเรือขนาดเล็ก และเรือประมงพืน้ บ้านทีใ่ ช้เครือ่ งมือประมงเป็นเครือ่ งมือ นอกพิกัด โดยชาวประมงต้องขอจดทะเบียนผู้ประกอบอาชีพการทำประมง ซึ่งปริมาณการจับ สัตว์น้ำเค็มจากแหล่งธรรมชาติของเรือร่วม 5 หมื่นลำดังกล่าว เมื่อปี 2554 ประมาณ 1,610,400 ตัน ในจำนวนนีเ้ ป็นปลา 1,273,700 ตัน ประกอบด้วยปลาเบญจพันธุ์ (Food Fish) สำหรับคน บริโภคอยู่ 917,900 ตัน ส่วนอีก 355,800 ตัน เป็น "ปลาเป็ด" (by-catch Fish) หรือ ที่ชาวเรือเรียกว่า "ปลาเรือ" ซึ่งเป็นปลาที่คนไม่นิยมรับประทาน หรือไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาด ต้องการ กรมประมงให้ข้อมูล ว่าปัจจุบันการทำประมงในประเทศไทย เป็นการทำประมงในน่านน้ำ ของประเทศไทยจำนวน 50% อีก 50% ที่เหลือเป็นการทำประมงนอกน่านน้ำของประเทศไทย ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ปลาเหล่านี้เองที่จะกลายมาเป็นปลาวัตถุดิบในการทำปลาป่น

15


โดยเรือประมงก็มีหลากหลายประเภท หากจำแนกตามเครือ่ งมือประมง อาทิ อวนลาก อวนล้อมจับ อวนตา ส่วนการออกเรือจะมี รอบการออก หากเป็นเรือเล็ก จะออกรอบละ 15 วัน ส่วนเรือใหญ่จะออกประมาณ 10 วัน บ้างก็ไปนานหลายเดือน โดยจะมีเรือทัวร์ หรือ เรือลำเล็กคอยขนถ่ายปลาที่จับได้มาส่งที่ฝั่ง บ้างก็เก็บปลาไว้ในท้องเรือแล้วนำขึ้นฝั่งคราว เดียว ปลาที่เหลือจากการจับ หรือที่บางครั้ง เรียกว่า "ปลาเป็ด" จะมาจากน่านน้ำนอกประเทศ ไทยเป็นส่วนใหญ่ และเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของ สัตว์น้ำที่เรือจับได้ โดยเป็นสิ่งที่ขายไม่ได้อย่าง สิ้นเชิง ไม่ว่าในตลาดใด ปกติแล้ว ปลาที่เหลือจากการจับ จะถูก แช่แข็งในเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "เรือแม่" ซึ่ง จะออกเดินทะเลเป็นเวลาหลายๆ เดือน ในแต่ละ ครั้ง เรือขนส่งลำเล็กจะไปรับบล็อกปลาแช่แข็ง จากเรือใหญ่นี้ เพือ่ นำมาขายต่อทีท่ า่ เรือประมง ของไทย "ปลาทีเ่ หลือจากการจับ" และ "เรือแม่" เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทาส และ โดนโจมตีจากสื่อต่างประเทศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

16

ข้ อ มู ล จากกระทรวงแรงงาน ระบุ ว่ า ขณะนี้มีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายประมาณ 200,000 ราย ทีท่ ำงานในอุตสาหกรรมประมง ของไทย หลายคนทำงานบน "เรือแม่" มีการ กล่าวหาว่าบางรายถูกเอาเปรียบจาก "หัวหน้า แก๊งค์" และตัวแทน เพียงเพราะเรือพวกนี้ต้อง อาศัยแรงงานประเภทนี้ ชาวพม่า และเขมรมักเป็นเหยื่อที่หาได้ ง่ายของนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบที่สามารถ

จัดหาแรงงานให้ได้ทันที และเรือเหล่านี้ชักธง ไทยไม่ทางใดทางหนึ่ง เมื่ อ นำปลามาที่ ฝั่ ง แล้ ว ที่ ท่ า ปลาจะ ทำการคัดเอาปลาสำหรับบริโภคลงก่อน การ ทำงานขั้นตอนนี้ จะต้องแข่งกับเวลา โดยปกติ ต้องถ่ายเทปลาให้เสร็จใน 10 ชม. ระหว่างนีจ้ ะมี พ่อค้ามาคัดปลาที่ต้องการเพื่อนำไปจำหน่าย ต่อ รวมถึงคนในอุตสาหกรรมปลากระป๋อง และซูริมิ (เนื้อปลาแปรรูป) มารับซื้อปลาเข้า โรงงาน ขณะที่บางเจ้าจะมีโรงงานปลาป่นมารับ "ปลาเป็ด" ที่ท่าเรือ หรือบางที่เอาเรือเล็กล่อง ไปรับ "ปลาเรือ" จากเรือใหญ่เพือ่ นำไปทำปลาป่น ทันที และโรงงานปลาป่นบางแห่งก็จะให้เรือ ประมงมาขึ้นปลาที่ท่าของโรงงานเลยก็มี สุด แล้วแต่การประสานงานของแต่ละโรงงาน สำหรับ "ปลาเป็ด" ทีจ่ ะนำมาทำปลาป่น นั้นก็มีหลายเกรด ปลาที่เกรดดีหน่อยจะได้จาก การจับปลาด้วยอวนดำ คือ การใช้อวนล้อมจับ ปลาทั้งฝูง ซึ่งจะจับได้ในช่วงเดือนแรม ปลา ที่ได้จะมีคุณภาพดี ส่วนปลาที่ได้จากอวนลาก ด้วยการลาก อวนไปบริเวณพื้นทะเล จะลากได้ปลาผิวดิน ปลาหน้าดิน คุณภาพปลาจะรองลงมา และ ปลาที่จับโดยอวนรุน หรือเรือรุน คุณภาพปลา จะต่ำสุด เนื่องจากปลาจะติดโคลน ตามกฎหมายแล้วอวนรุนสามารถทำได้ แต่ต้องออกเรือหาปลาห่างจากชายฝั่งมากกว่า 3 กม. เพื่อไม่ให้การลงอวนไปทำร้ายปะการัง และปลาหน้าดิน


โดยปลาเหล่านีจ้ ะรับซือ้ จาก "เรือประมง" หรือ "พ่อค้าคนกลาง" ในพื้นที่ ซึง่ ปริมาณปลา ทั้งหมดสามารถผลิตเป็นปลาป่นได้ประมาณ 327,666 ตันต่อปี มีมูลค่า 8,607,529 บาท (คิดจากราคาหน้าโรงงานเฉลีย่ ที่ 30.50 บาท) ทั้งนี้ ปลาป่นนับเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่นำ เงินตราต่างชาติเข้าประเทศไทย โดยมีประเทศ ปลายทางทีส่ ำคัญได้แก่ เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ตามลำดับ ในการทำปลาป่ น ของไทยยั ง คงมี ข้ อ กังขาเกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบ ที่อาจได้มาจาก การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องได้จัดทำระบบรับรองปลาป่น ซึ่งเป็นมาตรการด้านความยั่งยืนชุดแรก และ มาตรการเดียวของไทย โดยเป็นระบบสมัครใจ มิได้มกี ารบังคับจากภาครัฐ และระบบการบันทึก ยังคงเป็นการรับรองตัวเอง โดยชาวประมง เป็นผู้บันทึกข้อมูล ทั้งจุดจับปลา ประเภทของ อุปกรณ์ที่ใช้จับปลา ประเภทของปลาที่จับได้ ลงในสมุดบันทึกการทำประมงด้วยตัวเอง เพื่อ

ให้โรงงานผลิตปลาป่นนำไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่ จากกรมประมงเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ในการบันทึก นี่จึงยังคงมีช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถ ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างแท้จริง เพราะยังขาดแคลนเครื่องมือตรวจสอบ อาทิ ระบบระบุพกิ ดั ผ่านดาวเทียม ทีจ่ ะช่วยบอกได้วา่ เรือประมงจับปลาตรงจุดที่รายงานจริงหรือไม่ หากกวาดตามองภาพรวมการทำประมง ของไทยแล้ว ยังดีอยูบ่ า้ งทีม่ ภี าคส่วนทีใ่ ห้ความ สำคั ญ และดำเนิ น การเกี่ ย วกั บ มาตรฐานสู่ ความยั่งยืน อย่างไรก็ดี การทำประมงที่ยั่งยืน มิอาจเกิดขึน้ ได้ดว้ ยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึง่ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกภาคส่วน ให้หนั มาช่วยกันเร่งพัฒนา การทำประมงอย่างถูกต้อง การทำตามกฎหมาย บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุม และ ตรวจสอบทีเ่ ข้มงวดรัดกุม ระบบนิเวศทางทะเล ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน ก็น่าจะเกิดขึ้น ได้ไม่ยากในบ้านเรา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ปัจจุบันไทยมีโรงงานผลิตปลาป่น 86 แห่ง กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด โดยจะใช้ ปริ ม าณสั ต ว์ น้ ำ ในการผลิ ต ปลาป่ น รวมปี ล ะ 1,287,709 ตัน แบ่งเป็น เศษปลาที่ได้จาก โรงงานแปรรู ป สั ต ว์ น้ ำ เช่ น โรงงานซู ริ มิ โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้น ปลา รวม 783,824 ตั น คิ ด เป็ น 61% ของวัตถุดิบทั้งหมด และเป็นปลาที่จับได้ แต่ เหลือจากการบริโภค หรืออุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาเป็ด 355,813 ตัน หรือ 28% ของวัตถุดบิ ทั้งหมด รวมถึงเป็นปลาอื่นๆ อีก 148,072 ตัน คิดเป็น 11% ของวัตถุดิบทั้งหมด

17


Food Feed Fuel

สรุปผลการสัมมนา 11th SE Asia US Agricultural Cooperators Conference

“Global Agribusiness Outlook” ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2557 ณ โรงแรม Hyatt Regency Danang เวียดนาม

ผู้จัดงาน ได้แก่ (1) US Soybean Export Council (2) US Grains Council (3) USDA

11th SE ASIA US AGRICULTURAL COOPERATORS CONFERENCE HYATT REGENCY DANANG, VIETNAM AUGUST 26-29, 2014

การจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นการจัดประจำปี หมุนเวียนไปในแต่ละประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสรุปสถานการณ์เรื่องการเพาะปลูกธัญพืชและพืชน้ำมันของโลก รวมทั้งภาคการเกษตร และปศุสัตว์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแนวโน้มกระแสของโลกที่จะมี การปรับเปลี่ยน โดยมีรายละเอียดเนื้อหาสำคัญสรุปประเด็นหลัก ดังนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

18

1. สถานการณ์ในการเพาะปลูกข้าวโพด ถั่วเหลืองของโลก และสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ข้าวโพด • ตลาดโลกจะมีผลผลิตข้าวโพด 984 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 869 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 985 ล้านตัน ในปี 2014/15 และมีความ


ต้องการบริโภคข้าวโพด 946 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิม่ ขึน้ จาก 869 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 967 ล้านตัน ในปี 2014/15 โดยตั้งแต่ปี 2000/01 ถึง 2014/15 มีความต้องการบริโภคข้าวโพดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 24.4 ล้านตัน • สหรัฐอเมริกามีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวโพด 35.48 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้น จาก 35.36 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะลดลงเป็น 33.93 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2014/15 • ต้นทุนการผลิตข้าวโพด ปี 2014 ประมาณ 896.10$ ต่อเอเคอร์ หรือ 4.84$ ต่อ บุชเชล

• ปัจจัยผลักดันราคาธัญพืช ปี 2007-2013 คือ การเจริญเติบโตของจีน และความ ต้องการผลิต Biofuel ของ US แต่ตั้งแต่ปี 2015-2022 คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ข้าวโพด ผลิต Ethanol จะคงที่ ประมาณ 15 Billion Gallons รวมทั้ง ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของ โลกจะคงที่ โดยเฉพาะตลาด Brazil Russia India China ทั้งนี้ ปี 2014 ราคาข้าวโพดในตลาด US จะต่ำกว่า 4$ ต่อบุชเชล และราคาข้าวโพดในตลาดจีน จะสูงเกินกว่า 9$ ต่อบุชเชล เนื่องจากนโยบาย Reserve Purchase Price อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่าราคาข้าวโพด US อาจ ต่ำกว่า 3$ ต่อบุชเชล ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

• อุปทานข้าวโพดของโลก หากคิดรวมผลผลิตกับสินค้าคงคลังจะสูงสุดตลอดกาลในปี 2014/15 เป็นผลมาจาก Stock to Use Ratio ของประเทศส่งออกหลักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 9.5% ในปี 2012/13 เป็น 11.5% ในปี 2013/14 และ 16% ในปี 2014/15 ทำให้คาดการณ์ ได้ว่าราคาข้าวโพดจะลดลงจากปัจจุบันอีก

19


สถานการณ์ถั่วเหลือง • ตลาดโลกจะมีผลผลิตถัว่ เหลือง 284 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิม่ ขึน้ จาก 268 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านตัน ในปี 2014/15 • ตลาดโลกมีความต้องการบริโภคถั่วเหลือง 270 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 283 ล้านตัน ในปี 2014/15 โดยตั้งแต่ปี 2000/01 ถึง 2014/15 มีความต้องการบริโภคถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7.78 ล้านตัน หากตลาดโลกยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปแบบนี้ คาดว่าจะต้องการอีก 80 ล้านตันในอีก 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ตลาดโลกมีความต้องการบริโภคกากกั่วเหลือง 184.9 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิม่ ขึน้ จาก 177.3 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์วา่ จะเพิม่ ขึน้ เป็น 194.3 ล้านตัน ในปี 2014/15

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

20

• สหรัฐอเมริกามีพื้นที่เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง 30.70 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2013/14 ลดลงจาก 30.82 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 34.02 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2014/15 ส่วนอาร์เจนติน่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง 19.80 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 19.40 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะลดลงเป็น 19.60 ล้าน เฮคตาร์ ในปี 2014/15 ส่วนบราซิลมีพื้นที่เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง 29.90 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 27.70 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะลดลงเป็น 30.50 ล้านเฮคตาร์ ในปี 2014/15 • สหรัฐอเมริกาผลิตถั่วเหลืองได้ 89.51 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 82.56 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 103.86 ล้านตัน ในปี 2014/15


• สหรัฐอเมริกาได้ Yield 3.00 ล้านตันต่อเฮคตาร์ ในปี 2014 เพิ่มขึ้นจาก 2.9 ล้านตันต่อเฮคตาร์ ในปี 2013 โดยมีแนวโน้ม Yield เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับบราซิล ส่วนอาร์เจนติน่ามีแนวโน้มลดลง • สหรัฐอเมริกามีการส่งออกถัว่ เหลือง 44.63 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิม่ ขึน้ จาก 35.85 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 45.59 ล้านตัน ในปี 2014/15 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกามีการส่งออกกากกั่วเหลือง 10.57 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 10.08 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.66 ล้านตัน ในปี 2014/15 คิดเป็นการส่งออกถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ 61% ของผลผลิตทั้งหมด ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้น จากปี 2012/13 ที่ส่งออกได้ 57% • คาดการณ์ผนู้ ำเข้าถัว่ เหลืองหลักของโลก ปี 2014/15 ได้แก่ จีน 73 ล้านตัน อินโดนีเซีย 2.3 ล้านตัน ไทย 2.1 ล้านตัน เวียดนาม 1.5 ล้านตัน โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเข้า ถั่วเหลือง 5.85 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 5.71 ล้านตัน ในปี 2012/13 และ คาดการณ์วา่ จะเพิม่ ขึน้ เป็น 6.23 ล้านตัน ในปี 2014/15 และนำเข้ากากถัว่ เหลือง 13.37 ล้านตัน ในปี 2013/14 เพิ่มขึ้นจาก 12.49 ล้านตัน ในปี 2012/13 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 14.12 ล้านตัน ในปี 2014/15

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

U.S. Soy Exports to S.E. Asia Region 2008/09-2013/14 (1,000 M/T)

21


S.E. Asia Markets for U.S. Soybeans Soybeans 2008/09 2009/10 2010/11 2011/12 2012/13 2013/14 Indonesia 1,472,393 1,674,548 1,939,074 1,773,497 1,551,997 2,255,400 Malaysia 236,451 383,759 380,280 191,869 319,694 199,400 Philippines 49,651 80,171 57,016 55,760 43,012 61,700 Thailand 209,528 475,705 505,294 375,007 568,025 424,400 Singapore 1,030 8,173 1,143 3,399 25,184 36,600 Vietnam 156,437 136,276 191,032 327,759 653,612 506,300 Total 2,125,490 2,758,632 3,073,839 2,727,292 3,161,518 3,483,800 S.E. Asia Markets for U.S. Soymeal Soymeal 2008/09 2009/10 2010/11 2011/12 2012/13 2013/14 Cambodia 0 0 919 5,421 5,615 0 Indonesia 141,820 528,871 29,313 109,274 91,412 30,200 Malaysia 22,002 123,786 21,565 15,184 14,045 20,200 Philippines 493,350 957,514 862,842 1,159,491 1,039,271 1,206,900 Singapore 24 368 877 1,526 1,168 500 Thailand 116,639 203,937 11,949 28,314 29,649 368,400 Vietnam 126,004 474,442 36,828 66,725 275,035 315,300 Total 899,839 2,288,918 964,292 1,385,934 1,456,195 1,941,500

2. สถานการณ์ด้านการเกษตรและปศุสัตว์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานการณ์ด้านอาหารสัตว์และปศุสัตว์ ในไทย

Thailand Total Feed Demand

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

22


• ไทยมีความต้องการบริโภคอาหารสัตว์โดยรวม 15.5 ล้านตัน ในปี 2013 เติบโตเฉลี่ย ปีละ 6.5 % และคาดการณ์ว่าจะเติบโตเป็น 16.5 ล้านตัน ในปี 2014 โดยแบ่งตามประเภทสัตว์ ได้ ดังนี้ - อาหารไก่เนื้อ 6.1 ล้านตัน (37%) เติบโตเฉลี่ยปีละ 7.9% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 7.1% - อาหารสุกร 5.6 ล้านตัน (34%) เติบโตเฉลี่ยปีละ 5.6% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 5.3% - อาหารไก่ไข่ 2.7 ล้านตัน (17%) เติบโตเฉลี่ยปีละ 8.0% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 5.8% - อาหารกุ้ง 4.5 ล้านตัน (2%) เติบโตเฉลี่ยปีละ -1.7% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 6.7% - อาหารปลา 6.0 ล้านตัน (3%) เติบโตเฉลี่ยปีละ 6.7% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปลาดุกปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 1.3% ราคาปลานิลปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 13.0% - อาหารวัว 6.2 ล้านตัน (4%) เติบโตเฉลีย่ ปีละ 5.1% โดยมีการเพิม่ ขึน้ ของราคาปี 2004 2013 เฉลี่ยปีละ 4.6% - อาหารเป็ด 2.9 ล้านตัน (3%) เติบโตเฉลี่ยปีละ 10.7% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคา ปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 5.6% - ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ขา้ ว มันสำปะหลัง รวมกันประมาณ 60% ถัว่ เหลือง และกากถัว่ เหลือง ประมาณ 24% ปลาป่น 4% อื่นๆอีก 12% - ไทยคาดการณ์การผลิตข้าวโพด 5.1 ล้านตันในปี 2014 เติบโตเฉลี่ยปีละ 1.9% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคาปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 7.0% - ไทยคาดการณ์การผลิตมันสำปะหลัง 29.2 ล้านตันในปี 2014 เติบโตเฉลีย่ ปีละ 3.6% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคาปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 11.2% - ไทยคาดการณ์การผลิตปลาป่น 0.5 ล้านตันในปี 2014 เติบโตเฉลี่ยปีละ -0.7% โดยมีการเพิ่มขึ้นของราคาปี 2004-2013 เฉลี่ยปีละ 3.0% - ไทยคาดการณ์การผลิตข้าว 38.7 ล้านตันในปี 2014 เติบโตเฉลี่ยปีละ 3.2% โดย มีการเพิม่ ขึน้ ของราคาปลายข้าวปี 2004-2013 เฉลีย่ ปีละ 8.2% ราคารำสดปี 2004 2013 เฉลี่ยปีละ 10.0%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

• วัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์ แบ่งในเชิงปริมาณได้ดังนี้

23


- ไทยมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง 0.9 ล้านตันในครึ่งแรกของปี 2014 และนำเข้า 1.7 ล้านตันในปี 2013 หรือคิดเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 2.4% ไทยมีการนำเข้ากากถั่วเหลือง 1.4 ล้านตันในครึ่งแรกของปี 2014 และนำเข้า 2.8 ล้านตันในปี 2013 หรือคิดเป็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 12.8% ความต้องการอาหารสัตว์ 2012 ไทย 15.5 เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย 14.1 ฟิลิปปินส์ ผลผลิตพืชไร่ 2013 ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

24

หน่วย : ล้านตัน

2013 15.5 13.5 6.0 15.2 11.6

2014 จำนวนโรงงาน/สมาชิก 16.5 52 n.a. 41 16.7 68 n.a.

หน่วย : ล้านตัน

ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ 38.8 44.1 2.6** 69.9** 18.4** 5.1 5.2 0.05** 18.6** 5.2 0.1 0.2 n.a. 0.9** n.a. 30.2 9.7 0.04** 24.5** 2.4**

การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง 2012 ไทย 2.1 ฟิลิปปินส์ 0.1* อินโดนีเซีย 1.8* เวียดนาม 1.3* มาเลเซีย 0.6*

หน่วย : ล้านตัน

2013 1.7 0.1* 2.1* 1.4* 0.6*

การนำเข้ากากถั่วเหลือง 2012 ไทย 2.8 ฟิลิปปินส์ 1.8 อินโดนีเซีย 3.5 เวียดนาม 2.9* มาเลเซีย 1.3*

หมายเหตุ : ข้อมูลจากสัมมนา *ข้อมูลจาก USDA **ข้อมูลจาก ASEAN Food Security Information System

หน่วย : ล้านตัน

2013 2.8 1.9 3.5 3.1* 1.4


ฤดูการผลิตปี 2557/58

1. ดำเนินการสำรวจฯ ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม–1 สิงหาคม, 17-20 สิงหาคม และ 31 สิงหาคม-5 กันยายน 2557 2. พื้นที่สำรวจประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่ง เป็นแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลัง รวม 50 จังหวัด 3. คณะสำรวจฯ ได้ประเมินผลการสำรวจ ภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการ ผลิตปี 2557/58 สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

3.1 ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยต่อการ เจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ไม่พบการระบาด ของศัตรูพืช คาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวรวม ทัง้ สิน้ ประมาณ 8.836 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ประมาณ 3.536 ตัน และผลผลิตรวม ประมาณ 31.240 ล้านตัน 3.2 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณผลผลิต ปี 2556/57 ซึง่ มีพนื้ ทีเ่ ก็บเกีย่ ว 8.657 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 3.492 ตัน และผลผลิต รวม 30.228 ล้านตัน พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.06 ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.26 และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.35 4. สถานการณ์การผลิต พืน้ ทีเ่ พาะปลูกโดยรวมคาดว่าเพิม่ ขึน้ เล็กน้อยเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2556/57 เกษตรกรหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกมันสำปะหลังแทน ในพื้นที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และ พื้นที่รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากราคาจูงใจกว่า พืชไร่ชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ของ ภาคตะวันตก และภาคกลาง เกษตรกรได้ปลูก มันสำปะหลังแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่เนื่อง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

สมาคมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การค้ า มั น สำปะหลัง ทั้ง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคม การค้ า มั น สำปะหลั ง ไทย สมาคมโรงงาน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงาน ผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้ ง มั น สำปะหลั ง ไทย ร่ ว มกั บ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริม การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศ ไทย ได้ดำเนินการสำรวจภาวะการผลิต และ การค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

Food Feed Fuel

การสำรวจภาวะการผลิต และการค้ามันสำปะหลัง

25


จากได้รบั ผลกระทบจากภาวะแล้ง และฝนทิง้ ช่วง เป็ น เวลานาน ทำให้ มั น สำปะหลั ง บางส่ ว น เสียหาย และขาดแคลนท่อนพันธุ์ เกษตรกร จำเป็ น ต้ อ งเปลี่ ย นกลั บ ไปปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย ง สัตว์ทดแทน รวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน โรงงานน้ำตาลได้สง่ เสริมให้เกษตรกร ปลูกอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้น ผลผลิ ต เฉลี่ ย ต่ อ ไร่ ค าดว่ า เพิ่ ม ขึ้ น เล็กน้อยเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2556/57 เนื่องจากในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วน ใหญ่ของประเทศ มีสภาพอากาศเอื้ออำนวย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นมันสำปะหลัง แต่ ใ นบางจั ง หวั ด มี ผ ลผลิ ต เฉลี่ ย ต่ อ ไร่ ล ดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะแล้ง และ ฝนทิ้งช่วง

ปัญหา • ปริมาณหัวมันสดที่ผลิตได้ ไม่เพียงพอ ต่ อ ความต้ อ งการใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมแปรรู ป ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วง เดือนมกราคม-มีนาคม เกษตรกรจะเก็บเกี่ยว ผลผลิ ต จำนวนมากออกสู่ ต ลาด ทำให้ เ กิ ด อุปทานส่วนเกิน ส่งผลให้ราคาหัวมันสดตกต่ำ ในช่วงเวลาดังกล่าว • สถานการณ์ ก ารขาดแคลนแรงงาน และอัตราค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรที่สูงขึ้น ในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

26

• ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน

ทุกภาคส่วน ควรส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตหัวมันสด รวมทั้งสนับสนุนปัจจัย พื้นฐานด้านการผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งจะเป็น ส่ ว นสำคั ญ ในการเพิ่ ม ผลผลิ ต ให้ เ พี ย งพอต่ อ ความต้ อ งการ และภาครั ฐ ควรมี ม าตรการ เสริมด้านการบริหารจัดการ เพื่อสร้างสมดุล ระหว่างการผลิตและความต้องการของตลาด ซึ่งจะส่งผลต่อเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ทั้งระบบ • ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาเครื่ อ งจั ก รกล เกษตรสำหรับการปลูก และเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง รวมทั้งสนับสนุนการนำไปใช้ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และทดแทน การใช้แรงงาน

ข้อสังเกต • พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ในช่วง เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 บางแห่ง ได้ รั บ ผลกระทบจากภาวะแล้ ง และฝนทิ้ ง ช่วง ทำให้มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโต บางส่วนเสียหายโดยสิ้นเชิง ต้องปลูกทดแทน ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2557 มีแนวโน้มที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช้ากว่าปกติ • คณะสำรวจมันสำปะหลัง ได้รบั รายงาน การเกิ ด โรครากเน่ า เพิ่ ม ขึ้ น ในบางพื้ น ที่ ข อง จั ง หวั ด นครราชสี ม า บุ รี รั ม ย์ กำแพงเพชร เชียงราย ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น

คณะสำรวจภาวการณ์ผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58 5 กันยายน 2557


เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ (ตัน) ผลผลิตรวม (ตัน) ภาค/จังหวัด ปี ปี % ปี ปี % ปี ปี % 2556/57 2557/58 เพิ่ม/ลด 2556/57 2557/58 เพิ่ม/ลด 2556/57 2557/58 เพิ่ม/ลด รวมทั้งประเทศ 8,656,942 8,835,576 2.06 3.492 3.536 1.26 30,227,542 31,240,024 3.35 เหนือ 1,876,311 1,894,534 0.97 3.579 3.562 -0.47 6,714,546 6,747,483 0.49 ตะวันออก4,493,264 4,627,716 2.99 3.425 3.503 2.28 15,387,256 16,212,775 5.36 เฉียงเหนือ กลาง 2,287,367 2,313,326 1.13 3.552 3.579 0.76 8,125,740 8,279,766 1.90 เชียงราย 55,450 61,083 10.16 3.259 3.275 0.49 180,735 200,047 10.69 พะเยา 8,056 8,251 2.42 3.301 3.657 10.78 26,596 30,174 13.45 ลำปาง 23,432 25,881 10.45 3.073 3.388 10.25 72,008 87,685 21.77 ลำพูน 6,256 6,127 -2.06 2.853 2.795 -2.03 17,847 17,125 -4.05 เชียงใหม่ 2,264 1,996 -11.84 3.390 3.369 -0.62 7,676 6,725 -12.39 ตาก 104,403 111,798 7.08 3.780 3.805 0.66 394,614 425,391 7.80 กำแพงเพชร 667,225 663,988 -0.49 3.839 3.731 -2.81 2,561,214 2,477,339 -3.27 สุโขทัย 58,445 62,699 7.28 3.118 3.176 1.86 182,254 199,132 9.26 แพร่ 16,238 15,576 -4.08 3.062 3.067 0.16 49,716 47,772 -3.91 น่าน 1,664 1,702 2.28 3.106 3.244 4.44 5,168 5,521 6.83 อุตรดิตถ์ 27,562 28,846 4.66 3.314 3.475 4.86 91,343 100,240 9.74 พิษณุโลก 171,086 171,060 -0.02 3.395 3.465 2.06 580,846 592,723 2.04 พิจิตร 23,182 20,382 -12.08 3.369 3.321 -1.42 78,093 67,689 -13.32 นครสวรรค์ 374,973 372,207 -0.74 3.364 3.383 0.56 1,261,286 1,259,176 -0.17 อุทัยธานี 144,610 142,032 -1.78 3.539 3.474 -1.84 511,731 493,419 -3.58 เพชรบูรณ์ 191,465 200,906 4.93 3.622 3.670 1.33 693,419 737,325 6.33 เลย 293,601 278,673 -5.08 3.348 3.493 4.33 983,059 973,405 -0.98 หนองบัวลำภู 71,918 71,179 -1.03 3.147 3.112 -1.11 226,313 221,509 -2.12 อุดรธานี 256,264 257,018 0.29 3.252 3.307 1.69 833,435 849,959 1.98 หนองคาย 19,570 18,773 -4.07 3.030 3.064 1.12 59,304 57,520 -3.01 บึงกาฬ 21,219 20,746 -2.23 3.051 3.114 2.06 64,731 64,603 -0.20 สกลนคร 132,960 141,678 6.56 2.906 3.007 3.48 386,318 426,026 10.28



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

เปรียบเทียบเนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวม รายจังหวัด ปี 2556/57 กับปี 2557/58 จากการเก็บข้อมูลของคณะสำรวจฯ ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม-1 สิงหาคม, 17-20 สิงหาคม และ 31 สิงหาคม-5 กันยายน 2557

27




ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

28

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ภาค/จังหวัด ปี ปี 2556/57 2557/58 นครพนม 56,913 57,135 มุกดาหาร 157,869 153,686 ยโสธร 83,535 85,437 อำนาจเจริญ 50,851 52,613 อุบลราชธานี 400,152 417,403 ศรีสะเกษ 145,480 146,038 สุรินทร์ 79,365 88,944 บุรีรัมย์ 205,739 210,491 มหาสารคาม 100,269 103,157 ร้อยเอ็ด 38,767 39,868 กาฬสินธุ์ 229,169 248,653 ขอนแก่น 197,079 198,451 ชัยภูมิ 406,468 419,606 นครราชสีมา 1,546,076 1,618,167 สระบุรี 34,420 41,306 ลพบุรี 205,160 217,631 ชัยนาท 64,441 64,792 สุพรรณบุรี 35,853 36,251 ปราจีนบุรี 156,395 160,911 ฉะเชิงเทรา 283,198 283,643 สระแก้ว 397,215 420,504 จันทบุรี 251,106 227,872 ระยอง 59,493 61,181 ชลบุรี 281,858 279,325 กาญจนบุรี 443,241 445,020 ราชบุรี 72,291 72,259 เพชรบุรี 1,606 1,574 ประจวบคีรีขันธ์ 1,090 1,058

% เพิ่ม/ลด 0.39 -2.65 2.28 3.47 4.31 0.38 12.07 2.31 2.88 2.84 8.50 0.70 3.23 4.66 20.01 6.08 0.54 1.11 2.89 0.16 5.86 -9.25 2.84 -0.90 0.40 -0.04 -2.01 -2.98

ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ (ตัน) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี ปี % ปี ปี % 2556/57 2557/58 เพิ่ม/ลด 2556/57 2557/58 เพิ่ม/ลด 2.982 3.006 0.80 169,730 171,748 1.19 3.202 3.233 0.97 505,471 496,867 -1.70 3.284 3.459 5.33 274,307 295,527 7.74 3.301 3.321 0.61 167,842 174,728 4.10 3.207 3.439 7.23 1,283,224 1,435,449 11.86 3.431 3.627 5.71 499,206 529,680 6.10 3.261 3.293 0.98 258,771 292,893 13.19 4.010 4.056 1.15 825,041 853,751 3.48 3.078 3.085 0.23 308,600 318,239 3.12 3.019 3.220 6.66 117,043 128,375 9.68 3.283 3.372 2.71 752,259 838,458 11.46 3.169 3.293 3.91 624,636 653,499 4.62 3.456 3.405 -1.48 1,404,789 1,428,758 1.71 3.650 3.709 1.62 5,643,177 6,001,781 6.35 3.757 3.691 -1.76 129,322 152,460 17.89 3.435 3.361 -2.15 704,767 731,458 3.79 3.275 3.145 -3.97 211,035 203,771 -3.44 3.129 2.965 -5.24 112,197 107,484 -4.20 3.399 3.567 4.94 531,619 573,970 7.97 3.742 3.789 1.26 1,059,720 1,074,723 1.42 3.430 3.661 6.73 1,362,393 1,539,465 13.00 3.548 3.628 2.25 890,804 826,720 -7.19 3.998 4.029 0.78 237,873 246,498 3.63 4.221 4.267 1.09 1,189,641 1,191,880 0.19 3.298 3.136 -4.91 1,461,682 1,395,583 -4.52 3.123 3.141 0.58 225,787 226,966 0.52 3.284 3.326 1.27 5,274 5,234 -0.76 3.327 3.361 1.01 3,626 3,554 -1.99


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2557 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2557

Food Feed Fuel

รายงานการสำรวจ

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2557 ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2557 ได้ออกสำรวจพื้นที่จังหวัดสระแก้ว-จันทบุรี-นครราชสีมา-ลพบุรี และเพชรบูรณ์ วัตถุประสงค์ เพือ่ จะได้ตดิ ตามพืน้ ทีเ่ พาะปลูกและผลผลิตฤดูกาลปี 2557/58 อีกทัง้ การติดตามปัญหาอุปสรรค ต่างๆ ที่มีผลกระทบ และการปรับเปลี่ยนพืชอื่นๆทดแทน เป็นปัจจัยสำคัญ จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกในครั้งนี้ ได้เข้าพบเกษตรจังหวัด พ่อค้าท้องถิ่น/ไซโล และ เกษตรกรในแต่ละพื้นที่นั้นๆ พอสรุปภาพรวมได้ว่า :-

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1. นางสาวลาวัณย อนุวัฒนา 2. นางสาวญาณี มีจ่าย 3. นางสาวหทัยกาญจน์ มูลระหัต 4. นายจาตุรันต์ สาคร 5. นายณัฐพล แซ่ตั้ง 6. นางสาวลัดดา แก้วกาหลง 7. นางสาวชนิดาภา เอกพันธ์ 8. นางจิรพรรณ์ รัตนราช 9. นางสาววันวิสาข์ นครสวรรค์ 10. นายกิตติพงศ์ วัตรสุนทร 11. นางสาวทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ 12. นางสาวกัณฑลี สระทองเทียน 13. นางสาวเพ็ญจันทร์ ชาวหนองหิน 14. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 15. นายอรรถพล ชินภูวดล

29


การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลใหม่ปี 2557/58 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก และพื้นที่โดยรอบที่ออกสำรวจ คาดว่าปริมาณผลผลิตจะลดน้อยลง กว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ซึ่ง สอดคล้องกับสภาพพื้นที่การเพาะปลูกที่ลดน้อยลง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง จึง ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากสาเหตุที่สภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง และฝนตกมาล่าช้ากว่าปีก่อนๆ ร่วมเดือนกว่า ส่งผลกระทบ ต่อพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังเสียหายบางส่วน และประสบกับโรคเพลี้ยแป้ง อีกทั้งเกษตรกร ขาดแคลนต้นพันธุ์ ไม่สามารถจัดหามาได้ทัน จึงเป็นเหตุให้เกษตรกรเหล่านั้น หันกลับมาปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนในพื้นที่ดังกล่าว สำหรับพื้นที่ผลผลิตเสียหายบ้างซึ่งถือว่าเป็นส่วนน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ฝนตกไปไม่ทั่วถึง และช่วงที่ขณะสำรวจฝนตกลงมาต่อเนื่อง ซึ่งได้ตกลงมา ในช่วงเวลาพอเหมาะทันกาลกับพื้นที่ที่กำลังจะเสียหาย จึงได้ปริมาณน้ำฝนตกลงมาช่วยแก้ไข สถานการณ์ได้ทันการณ์ และคาดว่าผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม คณะสำรวจมีความเห็นว่าจะต้องรอดูปริมาณผลผลิตอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก ในช่วงที่สำรวจอยู่ในช่วงที่ผลผลิตพึ่งทยอยออกสู่ตลาดในปริมาณเล็กน้อย และผลผลิตส่วนใหญ่ จะออกมากในช่วงต้นเดือนกันยายนต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2557 ตารางสรุปผลผลิตการสำรวจในพื้นที่ พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี ปี ปี ปี จังหวัด เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด 56/57 57/58 56/57 57/58 เพชรบูรณ์ 1,041,386 999,731 -4.00% 810 810 0.00% ลพบุรี 215,287 206,676 -4.00% 762 732 -4.00% นครราชสีมา 778,166 778,166 0.00% 712 748 5.00% สระแก้ว 163,242 114,270 -30.00% 734 741 1.00% จันทบุรี 41,565 40,318 -3.00% 616 627 1.79%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

30

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี ปี เพิ่ม/ลด 56/57 57/58 843,523 809,782 -4.00% 164,049 151,286 -7.78% 554,054 582,068 5.05% 119,820 84,674 -29.33% 25,092 25,279 -1.27%


จังหวัดสระแก้ว

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว, ร้านรุ่งเรืองพืชผล ร้านโชคไพศาล ร้านยิ่งวัฒนา อำเภอวังน้ำเย็น และเกษตรกรในอำเภอคลองหาด สระแก้ว ฤดูกาลผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 163,243 163,243 734 119,820 114,270 114,270 741 84,674 -30.0% -30.0% 1.0% -29.3%

สภาพทั่วไป

สถานการณ์การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากทางเขมร ซึ่งได้ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน จังหวัดสระแก้ว พบว่า ปีที่ผ่านมามีปริมาณนำเข้าประมาณ 37,000 ตัน และในปีนี้คาดว่านำเข้า น่าจะลดลงกว่า 50% คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 กว่าตัน เนื่องจากภาครัฐ ได้ประกาศ ให้ขยายเวลาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2557 ซึ่งการประกาศออกมา ในระยะเวลาที่กระชั้นชิด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

จังหวัดสระแก้ว มีพนื้ ทีเ่ พาะปลูก 114,270 ไร่ ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 30% ซึง่ พืน้ ที่ ที่ลดลง เกษตรกรหันไปปลูกมันสำปะหลัง และอ้อย แทน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง และฝนตกล่าช้ากว่าปกติ เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกในช่วงกลางเดือนเมษายน เป็นต้นมา มีบางพื้นที่ ที่เสียหาย และช่วงหลังจากกลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกลงมาในช่วงที่พอเหมาะกับต้นข้าวโพด ที่กำลังออกดอกหัวเจริญเติบโต จึงคาดว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตน่าจะได้ดี คาดว่าผลผลิต 741 กก./ไร่ เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 1% ปริมาณผลผลิต 84,674 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 29.33% เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตไปได้ประมาณ 30% พื้นที่อำเภอคลองหาด และอำเภอวังสมบูรณ์ เป็นหลัก อีก 70% คาดว่าจะทยอยออกในช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นไป

31


ทางด้านเกษตรกรได้สอบถามในเขต อ.คลองหาด มีผลผลิต 1,200 กก.ต่อไร่ เมล็ดสด (15 กระสอบฝัก) ต้นทุนของเกษตรกรอยูท่ ปี่ ระมาณ 3,000-3,500 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าเช่าทีด่ นิ ) ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฝักสดอยู่ที่ 4.80 บาท/กก. ส่วนราคาฝั่งกัมพูชาจะต่ำกว่าประมาณ 1 บาท/กก. ปัญหาอุปสรรค • ในช่วงก่อนที่คณะเดินทางจะลงพื้นที่สำรวจ พบว่าโรงงานอาหารสัตว์หลายโรงยังไม่เปิด รับซื้อข้าวโพดชื้น จึงมีการประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีการเลื่อนการเปิดรับซื้อ ออกไปอีก เนือ่ งจากการบำรุงรักษาเครือ่ งจักรยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้พอ่ ค้าท้องถิน่ /ไซโล ไม่สามารถ ทยอยสินค้าส่งมอบได้ กอรปกับได้รับการร้องขอจากทางกรมการค้าภายในให้ช่วยรับซื้อข้าวโพด เลีย้ งสัตว์จากเกษตรกรต่อเนือ่ ง ทำให้พอ่ ค้าท้องถิน่ /ไซโล ออกมาร้องเรียนว่าต้องรับความเสีย่ งกับ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีแนวโน้มลดต่ำลง จึงฝากให้สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยพิจารณาแก้ไข ให้โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้ไปตามกลไกตลาด ส่วน เรื่องราคาในช่วงนี้ที่ลดต่ำลงถือว่าเป็นปกติตามภาวะตลาด พ่อค้าสามารถปรับตัวได้ • ภาครัฐควรทบทวนให้มกี ารนำเข้าข้าวโพดเลีย้ งสัตว์จากเพือ่ นบ้าน เพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนบ้านให้ยังคงอาชีพปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป เนื่องจากได้มีการไปส่งเสริมการเพาะปลูก ทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้านไว้ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ทางไทย สามารถที่จะทำให้คุณภาพ เข้าสู่มาตรฐานได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ มีปริมาณข้าวโพดเพียงพอกับ ความต้องการใช้ เพื่อเข้าสู่ความเป็นครัวของโลก และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ส่งออก เพราะหาก เกษตรกรเพื่อนบ้านเลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจจะทำให้โรงงานอาหารสัตว์ขาดแคลนวัตถุดิบ และภาครัฐยังมีนโยบายในการโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกและการเข้าควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่า

จังหวัดนครราชสีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

32


แหล่งข้อมูล : ร้านตรงพานิช และเกษตรกรในอำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา ฤดูกาลผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 778,166 778,166 712 554,054 778,166 778,166 748 582,068 5.1% 5.1%

สภาพทั่วไป จังหวัดนครราชสีมา มีพนื้ ทีเ่ พาะปลูก 778,166 ไร่ ทรงตัวเท่าปีทผี่ า่ นมา แม้สภาพภูมอิ ากาศ จะประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนตกมาล่าช้ากว่าปกติ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกมันสำปะหลังแทน ก็ตาม แต่ปัญหาศัตรูพืชที่เกิดจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และอ้อยเสียหาย พื้นที่ ดังกล่าว จึงถูกเกษตรกรหันกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นสาเหตุให้มีปริมาณ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลับมาทรงตัว ในขณะที่ก่อนหน้านี้ฝนไม่ตกทิ้งช่วงมาสองสัปดาห์ และในช่วงทีท่ างคณะออกสำรวจ ฝนตกลงมาช่วยทำให้ตน้ ข้าวโพดทีก่ ำลังออกดอกหัวเจริญเติบโต ได้ปริมาณน้ำฝนพอเหมาะ จึงคาดว่าผลผลิต 748 กก./ไร่ เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 5.1% ทำให้ปริมาณผลผลิตรวม 582,068 ตัน เพิ่มสูงขึ้น 5.1% ผลผลิตในพื้นที่ขณะสำรวจมีอายุเฉลี่ยประมาณ 20-30 วัน ฉะนั้นผลผลิตส่วนใหญ่จะ ทยอยออกในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน เนือ่ งจากฝนตกล่าทำให้เกษตรกรปลูกช้าไปราวๆ 1 เดือนกว่า อย่างไรก็ตามในเขตนี้อยู่ในช่วงเริ่มเพาะปลูกจึงจะต้องมีการประเมินผลผลิตเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ทางด้านเกษตรกรที่พบใน อ.วังน้ำเขียว มีผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 700 กก. เมล็ดสด (ความชื้น 20%) ต้นทุนการปลูกของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท/ไร่ (รวมค่าเช่าที่ดิน) ส่วนราคา รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ดสดอยู่ที่ 6.50-6.60 บาท/กก. ปัญหาอุปสรรค

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

• สภาพอากาศแล้งทำให้ผลผลิตเสียหายส่งผลต่อต้นทุนเกษตรกรเพิ่มขึ้น และทำให้ผลผลิต ออกล่าช้ากว่าปกติของทุกปี

33


จังหวัดลพบุรี

แหล่งข้อมูล : ร้านเอี่ยวฮั่วล้งการเกษตร อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ฤดูกาลผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 215,287 215,287 762 164,048 206,676 206,676 732 151,286 -4.0% -4.0% -3.9% -7.8%

สภาพทั่วไป จังหวัดลพบุรี มีพนื้ ทีเ่ พาะปลูก 206,676 ไร่ ลดลง 4% มีลกั ษณะการเพาะปลูกเช่นเดียวกับ จ.นครราชสีมา เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังมาก แต่ผลผลิตมันสำปะหลังเสียหาย จากปัญหาภัยแล้ง และศัตรูพชื โรคเพลีย้ แป้ง เกษตรกรจึงหันกลับมาปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อกี ครัง้ แต่สาเหตุทปี่ ระเมินให้ปริมาณพืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ลดลงเล็กน้อย เนือ่ งจากมีพนื้ ทีเ่ พาะปลูก เสียหาย ที่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าเกษตรกรจะกลับมาปลูกซ่อมหรือไม่ ปัจจุบันปริมาณน้ำฝน ยังไม่มากนักในเขตลำนารายณ์ พื้นที่เพาะปลูกเสียหายมาก เปรียบเทียบกับเขตวิเชียรบุรี ยังพอมี ปริมาณน้ำฝนบ้าง ทำให้สามารถปลูกผลผลิตได้พอสมควร จึงคาดว่าผลผลิต 732 กก./ไร่ ลดลง จากปีที่แล้วประมาณ -3.9% ทำให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 151,286 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 7.8% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

34

การเก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต ออกสู่ ต ลาดบ้ า งแล้ ว เล็ ก น้ อ ย โดยผลผลิ ต ส่ ว นใหญ่ จ ะทยอยออก ในช่วงต้นเดือนกันยายนเป็นต้นไป ส่วนราคารับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ฝกั สดอยูท่ ี่ 4.20-4.60 บาท/ กก. พ่อค้าท้องถิ่น/ไซโล ส่วนใหญ่จะชลอหยุดรับซื้อตามโรงงานอาหารสัตว์ ด้วยเกรงว่าจะไม่ สามารถระบายของออกได้ และกำลังทยอยเปิดรับซื้อตามที่ทางโรงงานอาหารมีกำหนดประกาศ จะเปิดรับ


ปัญหาอุปสรรค • พ่อค้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐ กำหนดจำกัดน้ำหนักรถบรรทุก • สภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกไม่ต่อเนื่องทำให้ผลผลิตเสียหาย และเกษตรกรเพาะปลูก ลดน้อยลง • เมล็ดพันธ์ุที่ใช้เพาะปลูกไม่สามารถปลูกได้ตามคุณสมบัติที่ระบุไว้

จังหวัดเพชรบูรณ์

แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ร้านรุ่งเรืองสมบัติ ร้านนิยมชัย และเกษตรกรในอำเภอบึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ผลผลิตรวม (ตัน) 1,041,386 1,041,386 810 843,522 999,731 999,731 810 809,782 -4.0% -4.0% -4.0%

สภาพทั่วไป จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่เพาะปลูก 999,731 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่าน 4% เนื่องจากสภาพ ภูมิอากาศแห้งแล้ง จึงหันไปปลูกอ้อยแทน และฝนตกล่าช้ากว่าปกติ แต่โดยรวมยังดีกว่าพื้นที่ จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่บางส่วนที่เพาะปลูกเสียหายแล้วไม่ทำการเพาะปลูกซ่อม แต่คิดเป็นสัดส่วน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ฤดูกาลผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

35


ทีน่ อ้ ยมาก สภาวะอากาศปัจจุบนั ฝนตกอย่างต่อเนือ่ ง จึงคาดการณ์วา่ ผลผลิต 810 กก./ไร่ ทรงตัว เท่าปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 809,782 ตัน ลดลงจากที่ประเมินไว้ปีที่แล้ว 4% ผลผลิตมีทยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้ว คาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปกติ เกษตรกรในพื้นที่จะปลูกพืชตระกูลถั่ว หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ในเขตพื้นที่เขาจะมีปริมาณพื้นที่การปลูกเท่าเดิม และมีผลผลิตที่ดี ทางด้านเกษตรกรทีพ่ บใน อ.บึงสามพัน มีผลผลิตต่อไร่อยูท่ ี่ 1,200 กก. เมล็ดสด (15 กระสอบ ฝัก) และเขต อ.เขาพวง คาดว่าน่าจะอยูท่ ี่ 1,600 กก. เมล็ดสด (20 กระสอบฝัก) ต้นทุนของเกษตรกร อยู่ที่ประมาณ 3,800 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าเช่าที่ดิน) ส่วนราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฝักสด อยู่ที่ 4.70-5.40 บาท/กก. เมล็ดสดอยู่ที่ 6.20 บาท/กก. ปัญหาอุปสรรค • CP พัฒนาเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์เบา 201, 301 มีอายุการปลูกอยู่ที่ 90-95 วัน ซึ่งเกษตรกรได้นำเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวมาปลูกแล้ว ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น สวนทางกับการ ประกาศรับซื้อข้าวโพดของโรงงานอาหารสัตว์ที่ยังประกาศหยุดรับซื้อในช่วงที่ข้าวโพดเมล็ด พันธุ์เบาออกสู่ตลาด จึงอยากให้โรงงานอาหารสัตว์ ช่วยรับผิดชอบการทำงานรับซื้อข้าวโพดให้ สอดคล้องกับการพัฒนาเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูก เพื่อให้กลไกลตลาดเป็นไปได้ปกติ • คสช. มีประกาศโครงการลดต้นทุนปัจจัยผลิต สำหรับการปลูกข้าว อาทิ ลดค่าเช่าไร่ลง 200 บาท/ไร่ ลดค่าปุย๋ 50 บาท สารเคมี (ยาเผาไหม้) 50 บาท แต่ยงั ไม่มมี าตรการใดๆ ส่งเสริม การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

36

รายงานโดย นายอรรถพล ชินภูวดล สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 26 สิงหาคม 2557




Food Feed Fuel

สถานการณ์

ปลาป่น

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5

ผลผลิตโลก ผลผลิตในประเทศ ความต้องการใช้ (ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย) นำเข้า ส่งออก

2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ปลาเป็ด - ดี (สด) - รอง (ไม่สด) 2.2 ปลาป่น กทม. เกรดกุ้ง โปรตีน 60% ขึ้นไป กลิ่นเบอร์ 1 โปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 1 กลิ่นเบอร์ 2 กลิ่นเบอร์ 3 2.3 ปลาป่นต่างประเทศโปรตีน 60% - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

4.890 0.503 0.638 0.016 0.074

3.960 0.493 0.615 0.018 0.063

4.18 0.497 0.579 0.008 0.126

31.13 30.73 30.03 29.73 26.78

33.63 33.13 32.43 30.64 29.07

34.93 32.93 32.17 26.93 24.64

31.50 29.70 29.70 28.50 26.80

31.50 29.70 29.70 28.50 26.80

36.64 1,296

40.53 1,408

43.52 1,553

52.43 1,761

52.08 1,810

(ส.ค. 57)

4.160 4.160 (ประมาณการ) (ประมาณการ) 0.500 0.500 0.623 0.600 (ประมาณการ) (ประมาณการ) 0.010 0.010 (ประมาณการ) (ประมาณการ) 0.140 0.140 ปี 2557 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ก.ค. ส.ค. 7.00 7.38 7.90 7.65 7.92 5.58 5.76 5.67 5.28 5.30

ปลาป่นแม้จะผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ แต่ได้ปลาป่นโปรตีนสูงเพียง 25% จึงต้อง มีการนำเข้าบางส่วนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แหล่งวัตถุดิบ โรงงานปลากระป๋อง 35% ปลาเป็ดเรือประมง 18% ปลาหลังเขียว และอื่นๆ 15% โรงงานซูริมิ 20% โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ และครัวเรือน 10% ประมงนอกน่านน้ำ 2%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

3. สภาพปัญหา/สาเหตุ

37


4. มาตรการแก้ไขปัญหา 4.1 นโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่น ปี 2555-2557 มติคณะรัฐมนตรี (15 พ.ย. 54) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (2 พ.ย. 54) ให้กำหนดนโยบาย และมาตรการนำเข้าปลาป่น กำหนดคราวละ 3 ปี (2555-2557) ดังนี้ ข้อผูกพัน ปี 55-57/กฎหมาย

(1) AFTA (2) FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ออสเตรเลีย อาเซียน-จีน (เว้นพม่า)

อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-เกาหลี ไทย-ญี่ปุ่น • ช่วง ม.ค.-มี.ค. 55 • ช่วง เม.ย. 55-ธ.ค. 57 (3) การนำเข้าทั่วไป • โปรตีน 60% ขึ้นไป • โปรตีนต่ำกว่า 60%

ภาษี ภาษี ภาษี ภาษี

มาตรการที่กำหนด ปี 55-57

0% 0% 0% 0%

ภาษี 0% ภาษี 10% ภาษี 1.76% ภาษี 0%

- กำหนดอากรนำเข้าตามที่ผูกพัน ปี 55-57 - ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปให้นำเข้าได้ ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า - ปลาป่นโปรตีนต่ำกว่า 60% เป็นสินค้าควบคุม ต้องขออนุญาตนำเข้า

ภาษี 15% ภาษี 6%

4.2 นโยบาย และมาตรการนำเข้าปลาป่น ปี 2558-2560 มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช./มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)) (29 ก.ค. 57) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (25 ก.ค. 57) ให้กำหนดนโยบาย และมาตรการ นำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2558-60 ดังนี้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

38

ข้อผูกพัน ปี 58-60/กฎหมาย (1) AFTA  - ภาษี 0% (2) FTA - ไทย-ออสเตรเลีย  - ภาษี 0% - ไทย-นิวซีแลนด์  - ภาษี 0% - ไทย-ญี่ปุ่น   - ภาษี 0% - อาเซียน-จีน  - ภาษี 0% ทุกประเทศ เว้นแต่พม่า - อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์  - ภาษี 0% - อาเซียน-เกาหลี  - ภาษี 10%

มาตรการที่กำหนด ปี 58-60 (1) AFTA - ภาษี 0% (2) FTA - ไทย-ออสเตรเลีย  - ภาษี 0% - ไทย-นิวซีแลนด์   - ภาษี 0% - ไทย-ญี่ปุ่น    - ภาษี 0% - อาเซียน-จีน - ภาษี 0% ทุกประเทศ เว้นแต่พม่า - อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์  - ภาษี 0% - อาเซียน-เกาหลี ปี 58   - ภาษี 10% ปี 59-60  - ภาษี 5%






ข้อผูกพัน ปี 58-60/กฎหมาย

มาตรการที่กำหนด ปี 58-60 (3) การนำเข้าทั่วไป • โปรตีน 60% ขึ้นไป - ภาษี 15% • โปรตีนต่ำกว่า 60%- ภาษี 6% และตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดการนำเข้า • ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป - ไม่จำกัดปริมาณ • ปลาป่นโปรตีนต่ากว่า 60% - เป็นสินค้าควบคุมต้องขออนุญาตนำเข้า

4.3 มาตรการดูแลช่วยเหลือ การพัฒนาอุตสาหกรรมประมงและปลาป่น โดยกรมการค้า ต่างประเทศ : ครม. มีมติ (8 พ.ค. 50) เห็นชอบการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยคณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือ เพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และกรมการค้าต่างประเทศเป็นฝ่ายเลขานุการฯ และ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และ ภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ผลดำเนินการ คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบโครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ HACCP (Hazard Analysis and Critical Point) โรงงานผลิตปลาป่น เพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์ และเพิ่ม ขีดความสามารถการแข่งขันและส่งออก ให้โรงงานฯ ได้รับ GMPs (Good Manufacturing Practices) จำนวน 50 โรง และต่อยอดโรงงานฯ เพื่อให้ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตาม มาตรฐาน HACCP จากกรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานเอกชนแล้ว จำนวน 36 โรง

1) งบประมาณปี 2556 จัดจ้าง บจ. ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ วงเงิน 3 ล้านบาท ระยะ เวลาดำเนินการ ต.ค. 55-ส.ค. 56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

โครงการเพิ่มศักยภาพมาตรฐานคุณภาพการผลิตของโรงงานปลาป่น โดยกรมการค้าภายใน : ดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการวางระบบโรงงาน ปลาป่นให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP เพื่อใช้เป็นมาตรการสุขอนามัย ให้ผู้ประกอบการ โรงงานปลาป่นสามารถจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เป็นการปกป้องโรงงาน ปลาป่นในประเทศให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถปรับตัวในการแข่งขันในตลาดโลกได้

39


ผลดำเนินการ โรงงานผู้ผลิตปลาป่นเข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพมาตรฐานคุณภาพการผลิตของ โรงงานปลาป่น เพื่อขอรับการสนับสนุนจัดทำระบบ GMP และหรือระบบ HACCP จำนวน 15 โรงงาน และโรงงานผูผ้ ลิตปลาป่นผ่านการตรวจประเมินระบบ ได้รบั ใบรับรองระบบรวม 13 โรงงาน เป็นโรงงานที่ผ่านระบบ HACCP จำนวน 3 โรง และผ่านระบบ GMP จำนวน 10 โรง 2) งบประมาณปี 2557 กรมการค้าภายในอนุมัติโครงการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการวางระบบโรงงานปลาป่นให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ผลดำเนินการ ขณะนี้ กรมการค้าภายในอนุมัติให้จัดจ้าง บจ. ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ วงเงิน 3 ล้านบาท ระยะเวลา ดำเนินการ มิ.ย. 57-พ.ค. 58 4.4 การกำกับดูแล

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

40

กระทรวงพาณิชย์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีด้านการตลาดสินค้าปลาเป็ดและ ปลาป่น (13 ธ.ค. 42) เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาด้านการตลาด รวมทัง้ รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าปลาเป็ด และปลาป่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอธิบดี กรมการค้าภายใน เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง (กรม ประมง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ สมาคม การประมงแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย) ร่วมเป็น กรรมการ (จัดประชุมแก้ไขปัญหาราคาปลาเป็ดและปลาป่น ล่าสุด เมื่อ 9 ก.ค. 50)


5. สถานการณ์ ปี 2557 1) ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบราคากับเดือนก่อน ปลาเป็ดสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม ทำให้เรือออกจับปลาน้อยลง และปลาป่นทรงตัวทุกเกรดคุณภาพ ตลาดชะลอความต้องการใช้ โดยในช่วง ม.ค.-ก.ค. 57 มีการนำเข้าแล้ว 4,863 ตัน สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16 และส่งออก แล้ว 102,831 ตัน สูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13 ราคาตลาดเปรูเฉลี่ยเดือน ส.ค. 57 สูงขึ้นจาก ตันละ 1,761 US$ ในเดือนก่อนเป็นตันละ 1,810 US$ แต่เมือ่ ทอนเป็นเงินบาทแล้วราคาลดลง จากค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ภาวะการค้าเป็นไปตามสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้การจับปลา ได้ปริมาณลดน้อยลง ทางรัฐบาลเปรูได้ประกาศให้บางพื้นที่เป็นเขตหวงห้ามในการจับปลา จาก ปลาที่จับได้มีขนาดเล็กไม่ได้ขนาดมีปริมาณมาก เป็นผลให้อาจจับปลาไม่ได้ปริมาณตามโควตา ในขณะที่ผู้ซื้อจากทางฝั่งเอเชีย และบางส่วนจากทางยุโรปเริ่มมีมากขึ้น บาท : กก. ปลาเป็ด (สด) ปลาป่น เกรดกุ้ง ปลาป่นโปรตีน 60% ปลาป่นโปรตีน60%

ตลาดเปรู

  เบอร์

1   เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3

ส.ค. 56 8.46 36.80 35.86 35.16 29.05 26.80 41.95

ก.ค. 57 7.65 31.50 29.70 29.70 28.50 26.80 52.43

ส.ค. 57 7.92 31.50 29.70 29.70 28.50 26.80 52.08

%∆ 3.53 0 0 0 0 0 -0.67

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน สิงหาคม 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

2) แนวโน้ม คาดว่าในระยะยาวราคาทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศจะโน้มสูงขึ้น จากปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ในขณะที่ความต้องการอาหารสัตว์มี มากขึ้น

41


ราคาปลาเปด และปลาปน

˹‹Ç : ºÒ·/¡¡.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1. ราคาปลาเปด (ดี/สด) 2552 6.01 5.95 5.44 5.69 6.01 6.72 7.04 7.30 7.33 2553 7.30 7.70 7.95 8.17 7.51 6.59 7.03 7.40 7.22 2554 6.08 6.45 8.01 7.65 7.06 7.54 7.30 7.16 7.23 2555 6.40 6.56 7.05 7.45 7.23 7.09 7.20 8.13 8.25 2556 7.71 7.90 8.04 8.12 7.81 7.52 7.98 8.46 8.31 2557 7.00 7.51 7.69 7.87 7.44 7.46 7.65 7.92 8.04 2. ราคาปลาเปด (รอง/ไมสด) 2552 5.11 4.96 4.62 4.79 5.53 6.01 6.35 6.52 6.48 2553 6.12 6.36 6.46 6.79 6.22 5.32 5.55 5.77 5.65 2554 4.55 4.77 6.13 6.22 5.95 5.87 5.81 5.91 5.82 2555 5.19 5.30 5.71 5.94 5.58 5.45 5.61 6.20 6.24 2556 5.89 5.92 5.92 5.91 5.69 5.43 5.63 5.80 5.71 2557 4.95 5.38 5.49 5.59 5.31 5.31 5.28 5.30 5.50 3. ราคาขายสง ปลาปนโปรตีน 60% ขึ้นไป กลิ่นเบอร 1 ตลาด กทม. 2552 29.69 26.98 25.80 29.47 33.66 34.20 34.86 36.09 34.65 2553 33.46 34.30 34.81 36.46 32.36 28.34 28.93 30.83 29.88 2554 25.10 28.89 37.93 31.69 32.10 31.42 32.44 32.65 31.42 2555 27.68 28.90 32.17 33.44 30.30 29.45 31.40 36.65 38.85 2556 35.78 34.60 34.60 34.10 31.68 29.23 33.55 35.86 34.30 2557 26.74 31.74 32.35 34.99 31.09 29.94 29.70 29.70 36.52 4. ราคาขายสง ปลาปนโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร 1 ตลาด กทม. 2552 28.99 26.28 25.10 28.77 32.96 33.50 34.16 35.39 33.95 2553 32.76 33.60 34.11 35.76 31.66 27.64 28.23 30.13 29.18 2554 24.40 28.19 37.23 30.99 31.40 30.72 31.74 31.95 30.72 2555 26.98 28.20 31.47 32.74 29.60 28.75 30.70 35.95 38.15 2556 35.08 33.90 33.90 33.40 30.98 28.53 32.85 35.16 33.60 2557 26.54 31.54 32.15 34.65 31.09 29.94 29.70 29.70 29.70 5. ราคาขายสง ปลาปนโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร 2 ตลาด กทม. 2552 28.69 25.98 24.80 28.47 32.66 33.20 33.86 35.09 33.65 2553 32.46 33.30 33.81 35.46 31.36 27.34 27.93 29.83 28.88 2554 24.10 27.89 36.93 30.69 31.10 30.42 31.44 31.65 30.42 2555 26.68 27.90 31.17 32.44 29.30 28.45 30.35 34.90 32.48 28.57 27.00 24.93 22.93 27.64 29.05 26.53 2556 30.60 28.80 2557 25.43 28.94 29.15 31.69 27.86 28.02 28.50 28.50 28.50 6. ราคาขายสง ปลาปนโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร 3 ตลาด กทม. 2552 28.19 25.48 24.30 27.97 32.16 32.70 33.36 34.59 32.85 2553 31.46 32.30 32.81 34.46 30.36 26.34 26.93 28.41 26.24 2554 20.60 24.86 34.43 28.10 27.10 26.42 27.44 28.80 27.92 2555 25.23 26.90 30.17 31.42 28.00 27.15 29.05 33.35 31.03 2556 27.00 25.20 25.20 24.70 23.63 21.33 24.58 27.45 25.68 2557 23.16 25.64 26.25 27.48 25.47 26.09 26.80 26.80 26.80 7. ราคาปลาปนโปรตีน 60% F.O.B. ตลาดตางประเทศ 2552 23.76 29.12 27.34 30.25 25.04 28.05 32.76 34.15 37.05 2553 40.80 49.31 49.75 55.18 46.90 47.09 42.29 41.37 41.16 2554 42.09 48.79 42.82 37.41 35.46 35.73 34.04 32.50 31.84 2555 31.32 31.59 32.41 35.78 39.98 42.85 44.10 45.44 41.42 2556 51.54 45.83 45.44 45.45 46.79 47.05 40.31 41.95 39.30 2557 41.55 42.83 43.69 44.90 45.94 52.70 52.43 52.08 51.60 8. ราคาปลาปนโปรตีน 65% F.O.B. ตลาดตางประเทศ (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 2552 839 890 900 921 944 967 1,038 1,083 1,182 2553 1,599 1,605 1,649 1,844 1,774 1,564 1,411 1,384 1,440 2554 1,483 1,712 1,520 1,342 1,265 1,263 1,219 1,173 1,130 2555 1,070 1,109 1,139 1,249 1,390 1,460 1,502 1,560 1,441 2556 1,849 1,750 1,660 1,686 1,782 1,645 1,463 1,432 1,336 2557 1,361 1,415 1,455 1,498 1,524 1,748 1,761 1,755 1,730

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

7.55 6.68 6.65 7.68 8.18

7.22 5.96 6.51 7.78 7.62

7.12 6.14 6.38 7.77 7.09

6.62 7.14 7.00 7.38 7.90 7.62

6.47 5.19 5.42 5.88 5.73

6.01 4.41 5.27 6.00 5.38

5.93 4.44 5.20 5.96 5.01

5.73 5.69 5.58 5.76 5.67 5.35

33.45 27.92 28.97 35.84 34.00

29.94 25.35 28.55 36.62 30.46

31.90 25.66 27.60 36.27 26.95

31.72 30.69 30.73 33.13 32.93 31.42

32.75 27.22 28.27 35.14 33.30

29.24 24.65 27.85 35.92 29.31

31.20 24.96 26.90 35.57 26.02

31.02 29.99 30.03 32.43 32.17 30.56

32.45 26.92 27.97 29.40 28.18

28.94 24.35 27.55 31.80 25.31

30.90 24.66 26.60 32.80 23.67

30.72 29.69 29.73 30.64 26.93 28.51

31.45 23.39 25.47 28.10 24.48

27.94 20.85 25.10 29.25 23.59

29.90 21.16 25.10 29.20 22.80

30.07 27.89 26.78 29.07 24.64 26.05

39.75 39.61 32.90 39.44 38.16

41.89 36.38 34.15 49.43 40.45

42.38 36.54 31.99 52.58 39.98

32.63 43.87 36.64 40.53 43.52 47.52

1,284 1,425 1,148 1,385 1,318

1,358 1,313 1,190 1,736 1,380

1,514 1,308 1,106 1,851 1,334

1,077 1,526 1,296 1,408 1,553 1,583

·ÕèÁÒ : 1, 2 ÊÁÒ¤Á¼ÙŒ¼ÅÔµ»ÅÒ»†¹ä·Â 3, 4, 5,6 ¡ÃÁ¡ÒäŒÒÀÒÂã¹ 7, 8 www.hammersmithltd.blogspot.com

ปริมาณนำเขา และสงออกปลาปน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

42

ม.ค. ก.พ. ปริมาณนำเขา 2552 1,178 1,383 2553 972 1,027 2554 810 637 2555 1,993 812 2556 693 142 2557 468 238 ปริมาณสงออก 2552 985 1,291 2553 4,612 6,712 2554 7,325 12,700 2555 1,225 2,335 2556 4,477 7,471 2557 6,892 11,429

˹‹Ç : µÑ¹

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

972 1,112 1,109 1,502 960 255

1,712 1,365 1,386 2,524 566 427

1,354 1,508 757 1,027 1,170 184

1,549 1,237 612 1,528 270 954

734 1,445 842 821 401 2,336

1,770 1,173 2,529 1,186 949 3,304

1,624 1,078 1,316 1,883 245

2,056 891 1,618 1,692 1,124

1,054 472 2,061 1,754 1,222

1,370 846 1,847 1,184 260

16,755 13,125 15,525 17,907 8,002 8,167

1,998 1,753 2,619 4,629 1,771 772 14,021 12,303 18,540 13,069 12,002 7,512 15,138 7,022 8,299 8,819 3,484 2,154 2,598 2,228 4,771 6,083 5,954 6,566 14,349 15,146 21,255 13,785 14,709 11,038 15,048 14,632 11,163 21,670 21,997 12,844

1,200 5,886 2,536 4,051 6,008

2,007 4,479 3,590 5,737 2,969 1,520 4,601 13,013 5,740 5,988

3,363 6,820 1,592 9,758 6,001

26,866 110,806 73,559 63,184 125,967 115,675

·ÕèÁÒ : ¡ÃÁÈØÅ¡Ò¡Ã : »‚ 2550-54 ¾Ô¡Ñ´ 23012000001, 23012000002 , 23012000003 , 23012000004 áÅÐ 23012000090 : µÑé§áµ‹ »‚ 2555 ¾Ô¡Ñ´ 23012010000, 23012020000 , 23012090001 , 23012090090 áÅÐ 23011000000

รวม




Food Feed Fuel

สถานการณ์

ถั่วเหลือง

1.1 ผลผลิตพืชน้ำมันโลก 1.2 ผลผลิตถั่วเหลือง 1.2.1 โลก 1.2.2 ไทย - ถั่วฤดูแล้ง - ถั่วฤดูฝน 1.3 ความต้องการใช้ (สศก.) 1.4 นำเข้า 1.5 ส่งออก ไทยนำเข้าจาก ไทยส่งออกไป Contract Farming

2. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.)

ปี 53/54

ปี 54/55

ปี 55/56

ปี 56/57

460.72

446.320

474.530

503.900

263.888 0.152 0.106 0.046 2.039 ปี 53

239.525 0.096 0.065 0.031 2.111 ปี 54

267.859 0.085 0.055 0.030 2.320 ปี 55

283.946 0.070 0.049 0.021 2.350 ปี 56

ปี 57/58 (ส.ค. 57)

521.800

304.694 0.067 0.047 0.020 (ประมาณการ) 2.350 ปี 57 (ประมาณการ)

(ม.ค.-ก.ค. 57)

1.819 1.994 2.120 1.679 1.069 0.0010 0.0026 0.0019 0.0020 0.0033 บราซิล 67% สหรัฐอเมริกา 21% อาร์เจนตินา 9% แคนาดา 2% กัมพูชา 1% เวียดนาม 24% ลาว 24% แคนาดา 21% มัลดิฟส์ 15% ไต้หวัน 7% สหรัฐอเมริกา 3% ฟิลิปปินส์ 3% มาเลเซีย 2% จัดทำแผนการลงทุนโดยคณะกรรมการจัดทำแผนการลงทุนเกษตรแบบมีสัญญา กับประเทศเพื่อนบ้าน กรมการค้าต่างประเทศ เป้าหมาย (ผ่านคณะ กก.) นำเข้าจริง ปี 50/51 = 59,030 ตัน พม่า - ลาว -    กัมพูชา 4,968 ตัน ปี 51/52 = 199,163 ตัน พม่า - ลาว 2,087  กัมพูชา 197,076 ตัน ปี 2556 = 100,000 ตัน ปี 53/54 ปี 54/55 ปี 55/56 ปี 56/57 ปี 57/58 11.35 12.50 13.57 14.41 15.06



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน)

43




3. แหล่งผลิตสำคัญ ปี 57/58 (มิ.ย. 57) จังหวัด

พื้นที่ (ไร่)

1 แม่ฮ่องสอน 2 เชียงใหม่ 3 แพร่ 4 เลย 5 ชัยภูมิ 6 น่าน 7 เชียงราย 8 ตาก 9 ขอนแก่น 10 สุโขทัย 11 อื่นๆ รวมทั้งประเทศ

25,026 26,496 29,472 22,280 22,836 19,371 19,626 15,943 16,359 12,331 35,842 245,582

4. ราคา (บาท/กก.) 4.1 เกษตรกรขายได้ (คละ) 4.2 ขายส่ง กทม. - เกรดแปรรูปอาหาร - เกรดผลิตอาหารสัตว์ - เกรดสกัดน้ำมัน 4.3 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก (US. No.2) - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

(ตัน)

ผลผลิต

%

ผลผลิต/ไร่ (กก.)

8,164 12 7,869 12 7,757 12 6,276 9 6,138 9 5,019 7 4,548 7 4,521 7 4,273 6 3,622 5 9,129 14 67,316 100 ปี ปี ปี ปี 2553 2554 2555 2556 13.98 15.30 16.79 18.33 20.50 19.19 15.31

21.95 20.36 16.17

23.83 22.61 18.24

326 297 263 282 269 259 232 284 261 294 265 274 ปี 2557 ก.ค. ส.ค. -

24.42 24.50 24.50 23.35 23.50 23.50 19.43 20.85 20.65

12.22 14.69 16.79 15.95 14.93 13.93 384.53 484.03 537.80 517.33 463.19 432.94

5. สภาพปัญหา/สาเหตุ ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 95 เพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันพืช การผลิตอาหารสัตว์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารต่างๆ

6. มาตรการแก้ไขปัญหา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

44

การกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย) เป็นประธาน ผู้แทนจากหน่วยราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็น กรรมการ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรรมการ และเลขานุการ นโยบาย และมาตรการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2557-59 คณะรัฐมนตรีมมี ติ (15 ต.ค. 56) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช (30 ส.ค. 56) กำหนดมาตรการนำเข้าไว้ดังนี้


6.1 ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) 1) การขยายระยะเวลาเปิดตลาดนำเข้า 1.1) ขยายระยะเวลาเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลืองจากคราวละ 1 ปี เป็นคราวละ 3 ปี โดยปี 2557-59 นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 0 นอกโควตาร้อยละ 80 1.2) ให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช กำหนดแนวทาง และมาตรการการ บริหารการนำเข้าปีต่อปี และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ 2) แนวทาง และมาตรการการบริหารการนำเข้า ปี 2557 2.1) ผูม้ สี ทิ ธินำเข้าในโควตารวม 18 ราย คือ 1. สมาคมผูผ้ ลิตน้ำมันถัว่ เหลืองและ รำข้าว 2. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 3. สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ 4. สมาคม ปศุสัตว์ไทย 5. สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก 6. สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 7. บริษัท กรีนสปอต จำกัด 8. บริษัท แลคตาซอย จำกัด 9. บริษัท ไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 10. บริษทั แดรี่ พลัส จำกัด 11. บริษทั ไทยชิม จำกัด 12. ห้างหุน้ ส่วนจำกัด คิคโคเคน 13. สมาคมผูค้ า้ สินค้าเกษตรกับประเทศเพือ่ นบ้าน 14. บมจ.อาหารสากล 15. บริษทั นอร์ธเทอร์น ฟู้ด คอมเพล็กซ์ จำกัด 16. บริษัท เอคิววาย ซอส จำกัด 17.บริษัท บุญเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ 18. บริษัท โทฟุซัง จำกัด หากมีผู้ยื่นขอสิทธิรายใหม่ให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและ น้ำมันพืช เป็นผู้พิจารณา และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ 2.2) ผู้มีสิทธินำเข้าให้การสนับสนุน และส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศ ดังนี้ (1) รับซือ้ ผลผลิตเมล็ดถัว่ เหลืองทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศในราคาตามกลไกตลาด แต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ ดังนี้

สกัดน้ำมัน แปรรูปอาหารสัตว์ แปรรูปอาหาร

ณ ไร่นา ปี 54 ปี 55-56 12.75 14.00 13.00 14.25 15.00 16.25

ปี 57 15.50 15.75 17.75

ณ โรงงานแปรรูป กทม. ปี 54 ปี 55-56 ปี 57 13.50 14.75 16.25 13.75 15.00 16.50 15.75 17.00 18.50

(2) ผู้มีสิทธินำเข้าให้ความร่วมมือรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองภายในประเทศ และ การใช้เมล็ดถัว่ เหลืองนำเข้าตามนโยบาย เป็นลายลักษณ์อกั ษรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงพาณิชย์ (3) เพื่อมิให้การเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลืองส่งผลกระทบต่อเกษตรกรภายใน ประเทศ เห็นควรให้คณะอนุกรรมการ กำกับ ดูแล เมล็ดถั่วเหลือง ทำหน้าที่กำกับดูแลการรับซื้อ เมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศ การนำเข้า และการใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าให้เป็นไปตาม มาตรการ และนโยบาย โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับปี 2556

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

เกรด

หน่วย : บาท/กก.

45


6.2 ภายใต้กรอบเขตการค้า AFTA ไม่จำกัดปริมาณ อากรนำเข้าร้อยละ 0 การบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO 6.3 ภายใต้กรอบเขตการค้า FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไม่จำกัดปริมาณ อากรนำเข้าร้อยละ 0 การบริหาร การนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี โควต้า 10,922 ตัน อากรนำเข้าในโควตาร้อยละ 0 นอก โควตาร้อยละ 80 การบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-AUS-NZ อาเซียน-อินเดีย โควต้า 10,922 ตัน อากร นำเข้าในโควตา ร้อยละ 20 นอกโควตาร้อยละ 80 การบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับ WTO 6.4 ACMECS ภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ปริมาณตาม Contract การบริหารการนำเข้าเช่นเดียว กับ WTO ทั้งนี้ การนำเข้าทั่วไป อากรนำเข้าร้อยละ 6 หรือ กก. ละ 0.30 บาท และต้องขอ อนุญาต

7. สถานการณ์ ปี 2557 1) ในเดือนสิงหาคม ถั่วเหลืองฤดูฝนออกสู่ตลาดแล้ว ราคาเกษตรกรขายได้เกรดชนิด คละ กก. ละ 17.35 บาท ผลผลิตมีคณ ุ ภาพไม่ดนี กั เนือ่ งจากเก็บเกีย่ วในช่วงทีม่ ฝี นตก ทำให้มคี วาม ชื้นสูง ส่วนราคาขายส่งตลาด กทม. เกรดสกัดน้ำมันลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากผลผลิตมี ความชืน้ ส่วนเกรดอืน่ ราคาทรงตัว โดยในช่วง ม.ค.-ก.ค. 57 ผูป้ ระกอบการนำเข้าเมล็ดถัว่ เหลือง ปริมาณ 1,069,311 ตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 19 ราคาซือ้ ขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกเฉลีย่ ส.ค. 57 ลดลงจากตันละ 463 US$ ในเดือนก่อน เหลือตันละ 433 US$ เนื่องจากสภาพอากาศที่ดีต่อการเพาะปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ส่งผล ให้ปริมาณผลผลิตมีมากขึ้น บาท : กก. เกษตรกรขายได้ (คละ) ขายส่ง กทม.  เกรดแปรรูปอาหาร เกรดอาหารสัตว์ เกรดสกัดน้ำมัน ตลาดชิคาโก ราคานำเข้า CIF (มูลค่า/ปริมาณ) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

46

ส.ค. 56

24.07 23.07 20.15 15.80 19.47

ก.ค. 57

24.50 23.50 20.85 14.93 19.99

ส.ค. 57 17.35 24.50 23.50 20.65 13.93 16.65*

%∆

0 0 -1 -6.70 -16.71

2) แนวโน้ม คาดว่าปริมาณผลผลิตของไทยยังคงโน้มลดน้อยลง เนือ่ งจากเกษตรกรนิยมปลูก พืชอื่นที่ดูแลง่ายกว่า แม้ว่าราคาของไทย และตลาดโลกจะอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนตลาดโลกปริมาณ ผลผลิตมีมากขึน้ จากปีกอ่ น เพือ่ ให้มเี พียงพอต่อความต้องการใช้ของภาคปศุสตั ว์ และอุตสาหกรรม อาหารที่มีมากขึ้น สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กันยายน 2557


ราคาเมล็ดถั่วเหลือง

˹‹Ç : ºÒ·/¡¡.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 1. ราคาที่เกษตรกรขายได เมล็ดถั่วเหลืองชนิดคละ 2552 14.77 15.01 14.67 14.00 14.10 13.85 12.69 15.02 2553 15.00 13.65 14.06 14.90 2554 14.35 15.53 15.52 15.44 13.76 14.00 14.37 15.96 2555 14.85 14.21 15.50 17.28 17.50 19.85 2556 18.03 18.61 19.60 18.35 18.35 17.52 2557 19.36 18.16 19.27 20.00 17.35 17.35 2. ราคาขายสง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดแปรรูปผลิตภัณฑอาหาร ตลาด กทม. 2552 19.73 19.91 20.25 20.95 22.17 22.25 23.00 23.25 23.02 22.75 22.46 2553 21.85 21.70 21.25 21.06 20.75 20.75 19.91 19.75 19.75 19.75 19.75 2554 20.16 22.50 22.50 22.50 22.50 21.64 21.55 22.00 22.00 22.00 22.00 2555 22.00 22.00 22.00 22.00 22.00 22.20 23.55 25.85 26.50 26.50 25.91 2556 24.73 24.50 24.50 24.38 24.80 24.00 24.00 24.07 24.50 24.50 24.50 2557 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 3. ราคาขายสง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว ตลาด กทม. 2552 18.73 18.91 19.25 19.72 20.67 20.75 21.50 21.75 21.52 21.25 21.25 2553 20.85 20.70 20.25 20.06 19.56 19.25 18.41 18.25 18.25 18.25 18.25 2554 18.63 20.75 20.75 20.75 20.75 20.11 20.05 20.50 20.50 20.50 20.50 2555 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 21.03 22.55 24.85 25.50 25.50 24.91 2556 23.73 23.50 23.50 23.38 23.00 23.00 23.00 23.07 23.50 23.50 23.50 2557 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 4. ราคาขายสง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมัน ความชื้น 13.0% ตลาด กทม. 2552 14.50 15.49 15.66 16.20 17.35 17.78 17.90 17.35 17.02 16.27 16.09 2553 16.23 15.79 15.00 14.85 14.85 14.85 14.85 14.98 15.02 15.26 15.78 2554 16.25 16.25 16.25 16.25 16.25 16.21 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 2555 16.26 16.35 16.49 16.85 16.85 17.05 17.97 20.08 20.55 20.55 20.25 2556 19.65 19.33 18.96 19.03 18.65 18.65 19.20 20.15 20.48 19.81 19.65 2557 19.65 19.65 19.65 19.72 20.95 20.95 20.85 20.65 20.65 5. ราคาขายปลีก น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ขนาดบรรจุขวด 1 ลิตร ตลาด กทม. (บาท/ขวด) 2552 47.75 47.75 45.50 44.90 44.50 44.50 44.50 44.50 44.50 44.50 44.50 2553 44.59 44.75 44.75 44.75 44.75 44.75 44.12 44.00 44.00 44.00 44.00 2554 45.50 45.50 45.50 53.32 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2555 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2556 55.00 55.00 2557 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 6. ราคาซื้อขายลวงหนาเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2552 12.80 12.09 11.98 13.32 14.70 15.26 13.69 13.97 11.86 11.91 12.40 2553 11.91 11.47 11.40 11.58 11.35 11.37 12.02 12.32 12.03 12.86 13.80 2554 15.72 14.30 15.21 15.16 15.14 15.34 15.17 14.96 14.93 13.86 13.32 2555 14.00 14.23 15.30 16.44 16.36 16.61 19.38 19.67 19.15 17.44 16.44 2556 15.90 16.08 15.90 15.13 16.20 17.37 17.14 15.80 16.08 14.82 15.13 2557 15.75 16.29 16.98 17.77 17.81 17.24 14.93 13.93 11.92 7. ราคาซื้อขายลวงหนาเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 2552 364.70 341.25 333.64 374.44 422.14 445.08 400.40 408.93 349.16 354.97 371.03 2553 358.82 344.63 348.62 357.31 349.02 348.54 370.14 380.17 388.45 427.15 460.09 2554 511.65 512.81 498.70 501.43 498.73 500.68 501.79 498.44 488.20 447.14 428.76 2555 441.70 461.16 496.25 529.56 521.09 522.30 609.41 622.88 615.19 565.66 532.99 2556 526.00 536.67 536.04 517.75 541.92 560.12 548.31 498.01 505.03 472.80 476.63 2557 476.07 496.76 521.96 547.15 545.91 527.96 463.19 432.94 368.81

ธ.ค.

เฉลี่ย

15.22 14.51 15.60 18.35 17.85

14.57 13.98 15.30 16.79 18.33 13.94

22.25 19.75 22.00 25.50 24.50

21.83 20.50 21.95 23.83 24.42 24.50

21.25 18.25 20.50 24.50 23.50

20.55 19.19 20.36 22.61 23.35 23.50

16.41 16.25 16.10 19.65 19.65

16.50 15.31 16.17 18.24 19.43 20.30

44.50 44.55 55.00 55.00 55.00

45.16 44.42 52.49 55.00 55.00 55.00

12.63 14.56 13.15 16.48 15.87

13.05 12.22 14.69 16.79 15.95 15.85

378.67 481.40 420.01 535.36 488.63

378.70 384.53 484.03 537.80 517.33 486.75

·ÕèÁÒ : 1. Êӹѡ§Ò¹àÈÃÉ°¡Ô¨¡ÒÃà¡ÉµÃà©ÅÕè·Ñ駻‚Ẻ¶‹Ç§¹ŒÒ˹ѡ¨Ò¹Ç¹¼Å¼ÅÔµ, 2-5 ¡ÃÁ¡ÒäŒÒÀÒÂã¹, 6-7 Chicago Board of Trade

ปริมาณการนำเขา และสงออกเมล็ดถั่วเหลือง

˹‹Ç : µÑ¹

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

79,632 109,170 159,527 220,894 21,663 187,768

136,475 208,321 143,542 230,559 212,474 173,079

158,946 78,012 268,381 97,966 152,174 235,295

201,633 156,384 193,807 225,911 175,330 104,481

151,633 253,577 128,806 174,526 183,661 135,400

146,172 165,790 179,778 118,267 158,525 105,794

7 54 272 181 145 158

115 24 151 118 132 218

128 104 421 335 166 124

91 38 587 266 48 856

137 48 295 127 552 1,691

51 79 187 103 66 2,229

·ÕèÁÒ : ¡ÃÁÈØÅ¡Ò¡Ã : »‚ 2550-54 ¾Ô¡Ñ´ 12010090001 12010010000 áÅÐ 12010090090 : »‚ 2555 ¾Ô¡Ñ´ 12011009000 12019010001 áÅÐ 12019090090

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

167,803 74,903 105,878 242,637 141,275 192,441 121,053 153,217 173,032 154,393 178,088 315,949 120,304 78,920 177,424 13 19 135 33 181

185 90 18 120 70

221 106 142 99 240

ธ.ค.

รวม

235,670 166,668 150,886 162,959 246,430

1,534,551 1,818,705 1,994,378 2,119,941 1,678,678 1,175,106

117 278 121 124 82

1,296 954 2,629 1,918 1,989 5,513

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ม.ค. ก.พ. ปริมาณนำเขา 2552 4,126 71,679 2553 12,758 91,672 2554 155,753 166,595 2555 206,305 34,126 2556 107,117 44,655 2557 120,990 112,297 ปริมาณสงออก 2552 69 164 2553 44 70 2554 52 249 2555 198 213 2556 93 215 2557 187 49

47


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กากถั่วเหลือง 1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน)

ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558

1.1 ผลผลิตโลก 1.2 ผลผลิตในประเทศ แบบแจ้ง - เมล็ดในประเทศ - เมล็ดนำเข้า 1.3 ความต้องการใช้ 1.4 นำเข้า

174.634 180.418 180.949 (ประมาณการ) 189.703 (ประมาณการ) 197.784 1.234 1.148 1.014 1.023 1.025 0.015 0.013 0.015 0.013 0.008 1.219 1.135 0.999 1.010 1.017 3.633 3.963 3.834 (ประมาณการ) 3.900 (ประมาณการ) 3.969 2.399 2.815 2.820 2.800 2.800 ปี 2557 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ก.ค. ส.ค.

2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ขายส่ง กทม. - กากถั่วเหลืองในประเทศ - เมล็ดในโปรตีน 44-48% - เมล็ดนำเข้าโปรตีน 42-45% - กากถั่วเหลืองนำเข้า - โปรตีน 46-48% 2.2 ตลาดต่างประเทศ - ตลาดชิคาโก (บาท/กก.) (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) - ราคานำเข้า CIF. (มูลค่า/ปริมาณ)

(ส.ค. 57)

14.33 13.37

18.66 17.83

19.84 17.97

20.45 19.48

20.45 19.23

12.81

17.22

18.35

19.41

19.15

11.49 378.82 13.95

14.78 473.29 15.00

14.74 477.26 16.84

14.54 451.02 19.40

14.40 447.82 17.17

3. สภาพปัญหา/สาเหตุ การผลิตกากในประเทศ (จากเมล็ดในประเทศ และเมล็ดนำเข้า) ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ผลิตได้ประมาณร้อยละ 30 ต้องนำเข้าประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้รวม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

48

4. มาตรการแก้ไขปัญหา การกำหนดนโยบาย และมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ นโยบายอาหาร ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวง


การคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการ และเลขานุการ (มติ ครม. 27 กันยายน 2554 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย อาหาร) 4.1 นโยบาย และมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2555-57 มติคณะรัฐมนตรี (15 พ.ย. 54) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (2 พ.ย. 54) ให้กำหนดนโยบาย และมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2555-57 ดังนี้ มาตรการที่กำหนด ปี 55-57 - กำหนดภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 2 - กำหนดผู้มีสิทธินำเข้า 9 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยฯ สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย - และให้ผู้มีสิทธินำเข้าร่วมมือรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจาก เมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั้งหมด ตามราคาขั้นต่ำที่กำหนด และสอดคล้องกับราคาขั้นต่ำ เมล็ดถั่วเหลือง โดยมีการทำสัญญาการรับซื้อกากถั่วเหลือง กับ พณ. และ กษ. - กำหนดภาษีนำเข้านอกโควตาร้อยละ 119 - ภาษี 0%

}

(2) AFTA       - ภาษี 0% (3) FTA ไทย-ออสเตรเลีย  - ภาษี 0% ไทย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% - ภาษี 0% ไทย-ญี่ปุ่น - ภาษีในโควตา 0% (4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี ปี 55 - ภาษี 4.44% ปี 55 - ภาษี 4.44% ปี 56 - ภาษี 3.33% ปี 56 - ภาษี 3.33% ปี 57 - ภาษี 2.22% ปี 57 - ภาษี 2.22% (5) การนำเข้าทั่วไป - ภาษี 6% - ภาษี 6% ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท - ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท

ทั้งนี้ ให้นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า ทั้ง (1)-(5)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ข้อผูกพัน ปี 55-57/มติ ครม./กฎหมาย (1) WTO - โควตา 230,559 ตัน - ภาษีในโควตา 20% - ภาษีนอกโควตา 133% - มติ ครม. 15 ต.ค. 39 เห็นชอบ นโยบายปี 2540 โดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้า กากถั่วเหลืองร้อยละ 10 ตั้งแต่ พ.ย. 39 เป็นต้นไป

49


4.2 นโยบาย และมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2558-60 มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช./มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)) (29 ก.ค. 57) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (25 ก.ค. 57) ให้กำหนดนโยบาย และมาตรการ นำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2558-60 ดังนี้ ข้อผูกพัน/มติ ครม./กฎหมาย

(1) WTO - โควตา 230,559 ตัน - ภาษีในโควตา 20% - ภาษีนอกโควตา 133% - มติ ครม. 15 ต.ค. 39 เห็นชอบนโยบาย ปี 2540 โดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้า กากถั่วเหลือง 10% ตั้งแต่ พ.ย. 39 เป็นต้นไป (2) AFTA   - ภาษี 0% (3) FTA ไทย-ออสเตรเลีย - ภาษี 0% ไทย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% ไทย-ญี่ปุ่น - โควตาตาม WTO - ภาษีในโควตา 0% - ภาษีนอกโควตา 133% (4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี - โควตาตาม WTO - ภาษีในโควตา 4.44% - ภาษีนอกโควตา 133%

มาตรการที่กำหนด ปี 2558-2560

(1) WTO - ภาษีนำเข้าในโควตา 2 % - ผู้มีสิทธินำเข้า 9 ราย

ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของประธานกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความ จำเป็น และเหมาะสม - เงื่อนไข เช่นเดียวกับปี 2555-2557 - ภาษีนำเข้านอกโควตา 119% (2) AFTA - ภาษี 0% (3) FTA ไทย-ออสเตรเลีย - ภาษี 0% ไทย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% ไทย-ญี่ปุ่น-ภาษีในโควตา 0%

(4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี ปี 58 - ภาษีในโควตา 1.11% ปี 59 เป็นต้นไป - ภาษีในโควตา 0% (5) การนำเข้าทั่วไป - ภาษี 6% ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท ทั้งนี้ ให้นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลา นำเข้าทั้ง (1)-(5)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

50

5. การดำเนินการกำกับดูแลที่ผ่านมา กำกับดูแลการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดย 1) ดำเนินการให้มีการลงนามในสัญญาการรับซื้อกากถั่วเหลือง ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกลุ่มผู้มีสิทธินำเข้ากากถั่วเหลือง 2) กำหนดแนวทางการกำกับ


ดูแลการนำเข้ากากถั่วเหลือง และการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้ (1) ให้กลุ่มผู้นำเข้า และ กลุ่มโรงงานสกัดฯ รายงานการรับซื้อ และจำหน่ายเป็นประจำทุกเดือน (2) กำกับดูแลตรวจสอบ ปริมาณการรับซื้อ และจำหน่ายให้สอดคล้องกัน

6. สถานการณ์ ปี 2557 1) ในเดือนสิงหาคม ราคาตลาด กทม. เฉลี่ยเดือน ส.ค. 57 กากผลิตจากเมล็ดนำเข้า และ กากนำเข้าลดลง เนื่องจากราคาตลาดต่างประเทศลดลง ส่วนกากจากเมล็ดในประเทศทรงตัว โดยในเดือน ม.ค.-ก.ค. 57 มีการนำเข้าแล้วปริมาณ 1,603,849 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 5.77 ราคาตลาดชิคาโกเฉลี่ยเดือน ส.ค. 57 ลดลงจากตันละ 451 US$ ในเดือนก่อนเหลือ ตันละ 448 US$ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเมล็ดถั่วเหลือง เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะ แก่การเพาะปลูกเมล็ดถั่วเหลืองส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองออกสู่ตลาดมากขึ้นกว่า ที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับโรงสกัดน้ำมันของจีน เดินเครื่องผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อป้อนตลาดน้ำมัน ถั่วเหลือง ทำให้ปริมาณกากถั่วเหลืองสูงขึ้นด้วย บาท : กก. ส.ค. 56 ก.ค. 57 ส.ค. 57 %∆ กากผลิตจาก เมล็ดในประเทศ 19.33 20.45 20.45 0 กากจากเมล็ดนำเข้า 16.67 19.48 19.23 -1.28 กากนำเข้า โปรตีน 46-48% 16.52 19.41 19.15 -1.34 ตลาดชิคาโก 14.95 14.54 14.40 -0.96 (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 470.98 451.02 447.82 -0.71 ราคานำเข้า CIF (มูลค่า/ปริมาณ) 16.55 19.40 17.17 -11.49 2) แนวโน้ม คาดว่าราคากากถั่วเหลืองในประเทศ และตลาดโลกจะเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กันยายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์มีมากขึ้น

51


ราคากากถั่วเหลือง

˹‹Ç : ºÒ·/¡¡.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ราคาขายสง กากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดในประเทศ โปรตีน 44-48% ณ หนาโรงงานสกัดน้ำมัน ตลาด กทม. 2552 14.39 - 15.97 17.09 18.00 17.80 17.18 17.35 17.35 17.35 17.35 16.98 2553 17.49 17.55 17.55 17.55 17.55 16.84 15.10 15.05 15.05 15.15 15.35 15.40 16.30 2554 15.40 15.40 15.40 15.40 15.40 14.37 13.43 13.43 13.43 13.43 13.43 13.43 14.33 2555 13.43 15.47 16.43 16.49 16.70 17.99 19.76 21.90 21.98 21.98 21.43 20.31 18.66 2556 20.23 20.23 20.53 20.61 20.12 19.93 19.73 19.33 19.33 19.33 19.33 19.33 19.84 2557 19.33 19.18 19.85 20.45 20.45 20.45 20.45 20.45 19.33 19.99 2. ราคาขายสง กากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดนำเขา โปรตีน 42-45% ณ หนาโรงงานสกัดน้ำมัน ตลาด กทม. 2552 14.20 15.29 15.48 15.73 16.81 17.81 16.83 16.59 16.82 16.14 16.30 16.72 16.23 2553 15.90 15.08 14.69 14.53 14.27 13.36 12.93 13.79 13.82 14.08 14.43 13.44 14.19 2554 13.58 13.85 13.32 12.53 12.30 11.91 13.00 14.21 14.31 14.10 14.00 13.38 13.37 2555 13.65 14.73 15.51 15.90 15.94 16.07 18.67 21.50 21.81 21.09 20.25 18.82 17.83 2556 17.87 17.61 18.82 19.33 18.01 17.20 17.00 16.67 17.37 17.74 18.69 19.28 17.97 2557 19.40 18.93 19.53 20.13 19.97 19.73 19.48 19.23 18.66 19.45 3. ราคาขายสง กากถั่วเหลืองนำเขาจากตางประเทศ โปรตีน 46-48% ณ โกดังผูนำเขา ตลาด กทม. 2552 - 16.75 16.89 16.08 15.90 15.90 16.30 2553 15.90 15.01 14.63 14.60 14.60 13.31 12.52 13.86 13.51 13.97 14.32 13.60 14.15 2554 13.80 14.08 13.62 12.63 11.97 11.50 11.50 11.50 12.14 13.90 13.90 13.22 12.81 2555 12.90 14.15 14.15 14.15 14.15 15.28 17.16 21.30 21.93 21.32 20.66 19.45 17.22 2556 19.10 19.10 19.34 19.75 18.36 17.17 16.85 16.52 17.71 18.29 18.60 19.42 18.35 2557 19.53 19.04 19.50 20.05 19.90 19.65 19.41 19.15 18.45 19.41 4. ราคา CIF กากถั่วเหลืองนำเขาจากตางประเทศ 2552 11.78 13.84 15.14 13.82 14.15 13.67 14.27 15.55 15.48 14.91 15.91 14.27 14.57 2553 14.73 14.90 14.41 13.65 12.94 11.91 11.88 12.66 12.06 11.62 12.20 13.20 12.91 2554 13.31 13.80 15.06 14.86 13.83 14.05 14.33 13.79 13.59 14.17 13.82 13.07 13.95 2555 13.15 12.98 12.35 12.65 12.74 13.20 14.53 15.48 15.91 17.97 18.57 18.71 15.00 2556 18.11 17.99 18.23 17.20 15.24 15.40 15.47 16.55 17.37 17.91 17.32 17.71 16.84 2557 18.67 19.36 18.94 19.61 19.42 19.10 19.40 19.59 15.87 18.88 5. ราคาซื้อขายลวงหนากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2552 11.88 11.40 11.29 12.40 14.20 15.14 13.21 13.47 11.61 11.02 11.29 11.51 12.37 2553 10.83 10.11 9.54 9.97 9.95 10.24 10.87 10.99 10.34 10.65 11.28 11.67 10.54 2554 12.68 11.45 12.01 11.72 11.79 12.03 11.77 11.74 11.62 10.82 10.23 10.04 11.49 2555 11.02 11.25 12.49 13.67 14.43 14.75 17.57 18.49 17.42 16.00 15.14 15.10 14.78 2556 13.80 14.06 13.91 13.04 14.19 15.62 16.52 14.95 15.61 14.45 14.64 16.12 14.74 2557 15.66 16.37 16.48 17.33 17.72 16.96 14.54 14.40 13.22 15.85 6. ราคาซื้อขายลวงหนากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 2552 338.49 321.87 314.50 348.52 407.96 441.71 386.23 394.44 341.90 328.45 337.67 344.84 358.88 2553 326.27 303.60 291.71 307.39 305.73 314.09 334.72 339.33 334.05 353.74 376.18 385.71 331.04 2554 412.60 410.79 393.92 387.87 388.25 392.74 389.28 391.31 380.20 349.05 329.09 320.68 378.82 2555 347.57 364.49 405.23 440.43 459.58 463.70 552.53 585.75 559.67 519.03 490.83 490.64 473.29 2556 456.81 469.15 468.97 446.36 474.60 503.56 528.33 470.98 490.19 460.82 461.06 496.25 477.26 2557 473.37 499.18 506.69 533.63 543.20 519.27 451.02 447.82 409.10 487.03

·ÕèÁÒ : 1-4 ¡ÃÁ¡ÒäŒÒÀÒÂã¹ 5-6 Chicago Board of Trade *ÃÒ¤Ò¢ŒÍ 1 à´×͹ µ.¤.-¸.¤. 50 ¨Ò¡ÎЫ؋¹àΧ/ÃÒ¤Ò¢ŒÍ 3 à©ÅÕè 1-2 Á.¤. 52=12.55 ºÒ· ËÅѧ¨Ò¡¹Ñé¹äÁ‹ÁÕÊÔ¹¤ŒÒ ÃÒ¤Ò¢ŒÍ 4 à©ÅÕè 2-4 Ê.¤. 53 = 12.25 ºÒ· ËÅѧ¨Ò¡¹Ñé¹äÁ‹ÁÕÊÔ¹¤ŒÒ

ปริมาณการนำเขากากถั่วเหลือง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

52

2552 2553 2554 2555 2556 2557

ม.ค. 56,340 213,825 146,684 158,047 408,982 300,017

·ÕèÁÒ : ¡ÃÁÈØÅ¡Ò¡Ã

ก.พ. 187,615 213,513 252,806 257,407 111,011 192,330

มี.ค. 84,181 149,932 145,642 279,867 103,198 264,309

เม.ย. 205,265 202,585 178,767 92,488 160,108 171,348

˹‹Ç : µÑ¹

พ.ค. 154,530 138,459 109,997 362,893 422,162 309,139

: »‚ 2550-54 ¾Ô¡Ñ´ 23040000000

มิ.ย. 140,552 278,487 225,293 136,408 315,033 126,354

ก.ค. 298,663 318,845 190,362 331,083 181,605 240,352

ส.ค. 145,131 191,223 158,504 317,342 291,258 232,571

ก.ย. 275,287 216,001 276,311 81,927 304,148

: »‚ 2555 ¾Ô¡Ñ´ 23040090000

ต.ค. พ.ย. 199,954 200,235 292,708 97,417 282,580 239,963 209,086 345,827 192,361 94,557

ธ.ค. 128,879 302,572 191,734 242,541 236,010

รวม 2,076,634 2,615,567 2,398,644 2,814,917 2,820,433 1,836,420




Market Leader

สินค้าไก่ และผลิตภัณฑ์ 1. สถานการณ์ของโลก 1.1 การผลิต ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 3.29 ต่อปี สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ จีน บราซิล และ สหภาพยุโรป ตามลำดับ ปี 2556 การผลิตเนือ้ ไก่ของโลกมีปริมาณทัง้ สิน้ 84.07 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 83.24 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 1.00 สำหรับปี 2557 คาดว่าจะผลิตเนือ้ ไก่ได้ 85.29 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 2556 ร้อยละ 1.45 โดยผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย และไทย ผลิตเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการบริโภคของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศในแถบแอฟริกา ตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจีนจะผลิตลดลงเนื่องจากประสบปัญหาการ ระบาดของไข้หวัดนกทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกลดลง 2552 15,935 12,100 11,023 8,756 2,550 1,200 22,152 73,716

2553 16,563 12,550 12,312 9,202 2,650 1,280 23,678 78,235

2554 16,694 13,200 12,863 9,320 2,900 1,350 24,872 81,199

2555 16,621 13,700 12,645 9,565 3,160 1,550 26,002 83,243

2556 2557* % ∆ 57/56 16,976 17,276 1.77 13,350 12,700 -4.87 12,308 12,678 3.01 9,800 9,950 1.53 3,450 3,725 7.97 1,500 1,600 6.67 26,689 27,363 2.53 84,073 85,292 1.45

ที่มา : Livestock and Poultry: World Markets and Trade, USDA, April 2014 หมายเหตุ: *ข้อมูลคาดการณ์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1 2 3 4 5 10

ประเทศ สหรัฐฯ จีน บราซิล EU อินเดีย ไทย - อื่นๆ รวม

หน่วย : พันตัน

53


1.2 การบริโภค ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) การบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.14 ต่อปี โดยในปี 2556 การบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีประมาณ 82.54 ล้านตัน เพิ่ม ขึ้นจาก 81.61 ล้านตัน ในปี 2555 ร้อยละ 1.14 สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการบริโภค เนื้อไก่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ จีน และสหภาพยุโรป สำหรับปี 2557 คาดว่ามีการบริโภคประมาณ 83.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

1 2 3 4 6 5

ประเทศ สหรัฐฯ จีน EU บราซิล เม็กซิโก รัสเซีย - อื่นๆ รวม

2552 12,946 12,210 8,717 7,802 3,264 2,982 24,839 72,760

2553 13,472 12,457 8,955 9,041 3,364 2,957 26,849 77,095

2554 13,665 13,015 9,010 9,422 3,473 3,013 28,312 79,910

2555 13,345 13,543 9,198 9,139 3,569 3,321 29,490 81,605

หน่วย : พันตัน

2556 2557* % ∆ 57/56 13,683 13,929 1.80 13,174 12,505 -5.08 9,388 9,580 2.05 8,829 9,081 2.85 3,679 3,750 1.93 3,520 3,590 1.99 30,266 31,018 2.48 82,539 83,453 1.11

ที่มา : Livestock and Poultry: World Markets and Trade, USDA, April 2014 หมายเหตุ: *ข้อมูลคาดการณ์

1.3 การส่งออก ระหว่างปี 2552-2556 การส่งออกเนือ้ ไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 5.30 ต่อปี จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศต่างๆ ตัง้ แต่ปี 2547 ทำให้บราซิลซึง่ ปลอดไข้หวัดนก ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดย ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อไก่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

54

ปี 2557 คาดว่ามีการส่งออกประมาณ 10.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 4.94 ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ กลุ่มประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้ เนื่องจากเนื้อไก่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาเนื้อสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ในอนาคตผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหม่ อาทิ ตุรกี และยูเครน ที่มีความได้เปรียบในด้าน ระยะทางการขนส่ง และความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดข้างต้น อาจเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง ตลาดการส่งออกเนื้อไก่จากประเทศผู้ส่งออกรายเดิม (บราซิล สหรัฐอเมริกา) ในตลาดดังกล่าว


1 2 3 4 5 6

ประเทศ บราซิล สหรัฐฯ EU ไทย ตุรกี จีน - อื่นๆ รวม

2552 3,222 3,093 765 379 86 291 597 8,433

2553 3,272 3,067 934 432 110 379 674 8,868

2554 3,443 3,161 1,044 467 206 423 793 9,537

2555 3,508 3,300 1,094 538 285 411 954 10,090

หน่วย : พันตัน

2556 2557* % ∆ 57/56 3,482 3,600 3.39 3,340 3,413 2.19 1,083 1,070 -1.20 504 580 15.08 362 480 32.60 420 430 2.38 1,046 1,170 11.85 10,237 10,743 4.94

ที่มา : Livestock and Poultry: World Markets and Trade, USDA, April 2014 หมายเหตุ: *ข้อมูลคาดการณ์

1.4 การนำเข้า ระหว่างปี 2552-2556 การนำเข้าเนือ้ ไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4.24 ต่อปี โดยปี 2556 การนำเข้าเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณทั้งสิ้น 8.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 1.26 ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าอันดับ 1 ของโลก รองลงมาได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย เม็กซิโก และ สหภาพยุโรป ปี 2557 คาดว่ามีการนำเข้า 8.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 2.52 จาก ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป เนื่องจาก เนื้อไก่เป็นสินค้าโปรตีน ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อื่นๆ 2552 645 605 397 726 492 929 3,555 7,349

2553 789 652 522 687 549 656 3,950 7,805

2554 895 745 598 734 578 463 4,213 8,226

2555 877 750 612 727 616 560 4,405 8,547

2556 2557* % ∆ 57/56 854 865 1.29 820 860 4.88 673 730 8.47 671 700 4.32 682 695 1.91 540 530 -1.85 4,415 4,493 1.77 8,655 8,873 2.52

ที่มา : Livestock and Poultry: World Markets and Trade, USDA, April 2014 หมายเหตุ: *ข้อมูลคาดการณ์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1 2 3 4 5 6

ประเทศ ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อิรัก EU เม็กซิโก รัสเซีย - อื่นๆ รวม

หน่วย : พันตัน

55


2. สถานการณ์ไก่ของไทย 2.1 การผลิต ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) การผลิตเนื้อไก่ของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.63 ต่อปี ปี 2556 มีการผลิตไก่เนื้อ 1,103.32 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 1,055.13 ล้านตัว ในปี 2555 ร้อยละ 4.57 เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อของไทยมีการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และมีระบบการผลิตที่ปลอดภัยทำให้การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ การบริโภค และการส่งออกที่เพิ่มขึ้น สำหรับปี 2557 คาดว่าไทยจะสามารถผลิตไก่เนื้อได้ประมาณ 1,209.52 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 9.63 ตามการขยายตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และความ ต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งจากภายในประเทศ และต่างประเทศ

2.2 การบริโภค ในช่วง 5 ปี (2552-2556) การบริโภคเนื้อไก่ของไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.91 ต่อปี โดยในปี 2556 มีปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ 1,008,012 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 908,251 ตัน ในปี 2555 ร้อยละ 10.98 คิดเป็นร้อยละ 66.65 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด สำหรับปี 2557 คาดว่ามีการบริโภคประมาณ 1,087,994 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 7.93 เนื่องจากเนื้อไก่มีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากการผลิตที่ได้ คุณภาพ และปลอดภัย ปริมาณการผลิต และการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศของไทย ปี ผลผลิต (ล้านตัว) ผลผลิต (ตัน) 2552 917.26 1,257,369 2553 970.94 1,330,953 2554 994.32 1,362,997 2555 1,055.13 1,446,352 2556* 1,103.32 1,512,418 อัตราเพิ่ม 4.63 4.63 2557** 1,209.52 1,657,994

บริโภค (ตัน) 878,008 898,737 896,152 908,251 1,008,012 2.91 1,087,994

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หมายเหตุ: *ข้อมูลเบื้องต้น **ข้อมูลคาดคะเน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

56

2.3 การส่งออก 2.3.1 การส่งออกสินค้าเนือ้ ไก่ของไทยทีผ่ า่ นมา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้ 1) ก่อนเกิดโรคไข้หวัดนก (ก่อนปี 2547)


ปี 2542-2546 ไทยส่งออกเนื้อไก่ได้เฉลี่ยปีละ 381,449 ตัน มีมูลค่า การส่งออกเท่ากับ 31,584 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไก่สดร้อยละ 77 ในขณะที่มี การส่งออกไก่แปรรูปเพียงร้อยละ 23

2) หลังเกิดโรคไข้หวัดนก

นับตัง้ แต่ไทยมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกเมือ่ ปี 2547 เป็นต้นมา ประเทศ คู่ค้า ส่วนใหญ่ประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย ทำให้ไทยปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การส่งออกจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเป็นไก่แปรรูป 2.3.2 สถานการณ์การส่งออก และตลาดที่สำคัญ ปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์แล้ว 277,291 ตัน มูลค่า 37,595 ล้านบาท ปริมาณ และมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 2.83 และ 12.40 ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไก่สดในเชิงมูลค่าร้อยละ 19 และไก่แปรรูปร้อยละ 81 โดยแบ่งเป็นการส่งออก

ไก่แปรรูป 195,820 ตัน มูลค่า ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 81,471 ตัน มูลค่า

30,445 ล้านบาท 7,151 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 4/2557 ที่ประชุมฯ ได้ปรับลดเป้าหมายการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของปี 2557 จากเดิมที่ประมาณการไว้ 630,000 ตัน เป็น 570,000 ตัน มูลค่าประมาณ 79,500 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกไก่แปรรูป 450,000 ตัน และไก่สด 120,000 ตัน เนื่องจากไทยประสบ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ไม่สามารถส่งออกไก่สดที่ต้องใช้แรงงานตัดแต่งซึ่งเป็นที่ต้องการ ของตลาดญี่ปุ่นได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ จากเดิมที่คาดว่าปี 2557 บริษัท สหฟาร์ม จำกัด จะสามารถกลับมาผลิตได้ประมาณร้อยละ 50 แต่ปรากฏว่าสามารถผลิตได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ทำให้การส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดของสหฟาร์ม อาทิ มาเลเซีย รัสเซีย เป็นต้น ลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 ศาลล้มละลายกลางได้ตัดสินให้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 การส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็งของไทยเพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมาเป็นอย่างมาก ทัง้ ในแง่ของปริมาณ และมูลค่า คิดเป็นร้อยละ 13.36 และ 33.60 ตามลำดับ เนื่องจากปัจจุบันไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็งไปยังตลาดญี่ปุ่นซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกไก่สดที่สำคัญของไทยก่อนการระบาดของโรค ไข้หวัดนกได้แล้วตัง้ แต่วนั ที่ 25 ธันวาคม 2556 เป็นต้นมา ประกอบกับความต้องการบริโภคเนือ้ ไก่ จากไทยของสหภาพยุโรป และเอเชียที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเชื่อมั่นในการผลิตเนื้อไก่ของไทยที่ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และราคาไม่แพง

57


บริษัท สหฟาร์ม และบริษัทในเครือเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ คาดว่าสถานการณ์การผลิต ของบริษัทจะดีขึ้น

1) การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง (รวมไก่หมักเกลือ)

2555 ปริมาณ มูลค่า ทั่วโลก 115,410.1 7,757.4 EU 35,331.4 2,886.0 ลาว 36,962.9 2,267.1 ญี่ปุ่น 52.4 8.7 มาเลเซีย 11,742.4 740.6 UAE 5,627.5 400.8 ฮ่องกง 4,628.9 369.1 พม่า 78.2 2.4 บาห์เรน 3,039.4 163.3 แอฟริกาใต้ 8,283.6 426.0 รัสเซีย 8,643.8 428.7 ประเทศ

2556 ปริมาณ มูลค่า 133,324.1 10,132.6 56,548.2 5,172.3 49,939.3 2,934.5 76.9 12.0 9,088.1 786.3 6,700.4 515.0 3,712.2 315.1 497.8 13.9 2,397.1 140.6 1,755.3 52.7 922.9 63.6

2556 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ มูลค่า 71,871.9 5,352.2 34,827.8 3,050.9 21,375.1 1,271.5 51.0 8.2 4,603.2 335.0 3,891.3 277.4 2,166.4 164.2 115.3 3.2 1,298.6 72.2 1,733.3 51.4 752.9 46.7

ปริมาณ : ตัน มูลค่า : ล้านบาท

2557 (ม.ค.-มิ.ย.) % ∆ 57/56 ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 81,470.8 7,150.5 13.36 33.60 36,007.9 3,572.9 3.39 17.11 24,876.2 1,548.7 16.38 21.80 14,396.7 1,526.4 28,137.60 18,514.63 1,671.8 156.2 -63.68 -53.37 1,219.4 117.6 -68.66 -57.61 1,090.6 112.0 -49.66 -31.79 961.2 39.0 733.91 1,118.75 343.5 22.4 -73.55 -68.98 50.4 5.0 -97.09 -90.27 -

ที่มา : INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY CENTER WITH COOPERATION OF THE CUSTOMS DEPARTMENT

2) การส่งออกไก่แปรรูป

2555 ปริมาณ มูลค่า ทั่วโลก 445,242.7 61,871.2 EU 195,432.5 24,172.1 ญี่ปุ่น 212,673.6 32,836.7 สิงคโปร์ 13,023.1 1,794.6 เกาหลีใต้ 12,662.3 1,465.9 แคนาดา 3,772.1 560.8 ฮ่องกง 4,154.9 580.7 ประเทศ

2556 ปริมาณ มูลค่า 413,163.9 60,475.8 176,287.5 24,350.1 195,285.7 30,378.1 14,199.0 2,061.4 13,929.7 1,675.4 4,402.5 699.3 4,423.0 649.1

2556 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ มูลค่า 197,799.8 28,095.1 85,003.4 10,877.1 93,684.8 14,627.5 6,740.3 984.6 6,423.5 750.2 1,910.1 286.6 2,152.4 309.0

ปริมาณ : ตัน มูลค่า : ล้านบาท

2557 (ม.ค.-มิ.ย.) % ∆ 57/56 ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 195,820.2 30,444.6 -1.00 8.36 92,645.3 14,710.6 8.99 35.24 81,885.0 12,589.5 -12.60 -13.93 6,896.4 1,010.0 2.32 2.58 5,291.0 725.4 -17.63 -3.31 2,611.8 434.7 36.74 51.67 2,645.1 410.6 22.89 32.88

ที่มา : INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY CENTER WITH COOPERATION OF THE CUSTOMS DEPARTMENT

2.4 สถานการณ์การค้าไก่กับประเทศคู่ค้าสำคัญ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

58

1) สหภาพยุโรป - ไก่แปรรูป ปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกไก่แปรรูปไปสหภาพยุโรปแล้ว 92,645 ตัน มูลค่า 14,711 ล้านบาท โดยสหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกไก่สดอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48 ของมูลค่าการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไทยยังครอง


ส่วนแบ่งตลาดไก่แปรรูปเป็นอันดับ 1 ในตลาดสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 63 ของมูลค่าการ นำเข้าไก่แปรรูปทั้งหมด โดยคู่แข่งสำคัญของไทย คือ บราซิล ปัจจุบันไทยส่งออกไก่แปรรูปไป สหภาพยุโรปได้เกินโควตาทีไ่ ด้รบั โดยผูน้ ำเข้าในสหภาพยุโรปมีความต้องการนำเข้าไก่แปรรูปจาก ไทยเนื่องจากมีความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต รวมทั้งผู้ผลิตในสหภาพยุโรป ไม่สามารถผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน หรือปริมาณเท่ากัน นอกจากนี้ ไก่แปรรูปที่ผลิตในสหภาพ ยุโรปไม่สามารถสู้ราคาที่นำเข้าจากไทยได้

2) ญี่ปุ่น - ปัจจุบันญี่ปุ่นได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกสดแช่แข็งจากไทย แล้วตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2556 และคาดว่าปี 2557 จะสามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไปญี่ปุ่นได้ประมาณ 50,000 ตัน และไก่แปรรูปประมาณ 200,000 ตัน ซึ่งเดิมก่อนการระบาด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

- ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง/ไก่หมักเกลือ สหภาพยุโรปยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก สดจากไทยแล้ว ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกไก่สดไปยังสหภาพยุโรปได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโควตาภาษีของสหภาพยุโรปที่ให้ไทยเป็นการ เฉพาะ และสามารถนำเข้าได้ภายใต้โควตารวมอีกด้วย ดังนี้ 1. Commission Regulation No 616/2007 of 4 June 2007 ไทยได้รับ โควตาจำนวน 92,610 ตัน สำหรับไก่หมักเกลือ (อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 15.4/นอกโควตา 1,300 ยูโรต่อตัน) และโควตาจำนวน 160,033 ตัน สำหรับไก่แปรรูป (อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 8.0/นอกโควตา 1,024 ยูโรต่อตัน) 2. Commission Regulation No 1385/2007 of 26 November 2007 ไทย ได้รับโควตาไก่สดแช่แข็ง 3 พิกัด จำนวน 5,100 ตัน/ปี โดยมีภาษีในโควตาร้อยละ 0 (อัตรา ภาษีนอกโควตา 602-1,027 ยูโรต่อตัน) 3. Commission Regulation No 533/2007 of 14 May 2007 ซึ่งโควตา ภายใต้กฎระเบียบนี้ เป็นโควตาไก่สดแช่เย็นแช่แข็งซึ่งมีอัตราภาษีสูงมาก ตั้งแต่ร้อยละ 93-795 โดยไทยมีสิทธิในการยื่นขอโควตาเหมือนประเทศที่สามอื่นๆ 4. Commission Regulation (EC) No 1246/2012 of 19 December 2012 ไทยได้รับโควตาสำหรับสินค้าสัตว์ปีกรวม 30,810 ตัน/ปี โดยมีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 10.9 หรือ 630 ยูโร/ตัน แตกต่างกันไปตามพิกัด (อัตราภาษีนอกโควตา 2,765 ยูโรต่อตัน) สำหรับช่วงไตรมาสแรก (ก.ค.-ก.ย. 2557) และไตรมาสที่สอง (ต.ค.-ธ.ค. 2557) ของปีโควตา 2557/2558 ผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปมีการยื่นขอใช้โควตาไก่หมักเกลือล่วงหน้า เต็มโควตาแล้ว เนื่องจากความต้องการไก่หมักเกลือในตลาดสหภาพยุโรปมีเพิ่มขึ้น

59


ของไข้หวัดนก ญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นตลาดไก่สดแช่เย็นแช่แข็งอันดับ 1 ของไทย โดยไทยเคยส่งออก ไก่สดไปญี่ปุ่นได้ประมาณ 150,000-180,000 ตันต่อปี - ปี 2556 ไทยส่งออกไก่แปรรูปไปญี่ปุ่น 195,285.7 ตัน มูลค่า 30,378.1 ล้านบาท และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไป ญี่ปุ่นแล้ว 96,282 ตัน มูลค่า 14,116 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 14,397 ตัน มูลค่า 1,526 ล้านบาท และไก่แปรรูป 81,885 ตัน มูลค่า 12,590 ล้านบาท โดย ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์อันดับ 2 ของไทย รองจากสหภาพยุโรป มีสดั ส่วนร้อยละ 37.5 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ทงั้ หมด และไทยครองส่วนแบ่ง ตลาดไก่สดอันดับ 3 ในตลาดญี่ปุ่น รองจากบราซิล และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 6 ของ มูลค่าการนำเข้าไก่สดของญี่ปุ่น สำหรับไก่แปรรูปในตลาดญี่ปุ่น คู่แข่งสำคัญของไทย คือ จีน ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 51 - แม้วา่ การส่งออกไก่แปรรูปไปญีป่ นุ่ ในช่วงครึง่ ปีแรกของปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) จะได้ รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินเยน และการขึน้ ภาษีมลู ค่าเพิม่ (VAT) ของญีป่ นุ่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงครึง่ ปีหลังสถานการณ์การส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปตลาดญีป่ นุ่ จะดีขนึ้ โดยขณะนี้ มีข่าวว่าโรงงานไก่ของจีนนำเนื้อไก่หมดอายุมาจำหน่ายให้ให้แก่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด และญี่ปุ่น ได้ระงับการนำเข้าไก่แปรรูปจากจีนแล้วโดยได้เปลี่ยนมาใช้ไก่แปรรูปจากไทยแทน ซึ่งที่ผ่านมาจีน เป็นคูแ่ ข่งสำคัญของไทยในการส่งออกไก่แปรรูปไปตลาดญีป่ นุ่ สำหรับการส่งออกไก่สดไปญีป่ นุ่ ยัง คงเพิ่มขึ้นทุกเดือน 3) เกาหลีใต้ - ปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกไก่แปรรูปไปเกาหลีใต้ 5,291 ตัน มูลค่า 724 ล้านบาท โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดไก่แปรรูปอันดับ 4 ของไทย รองจากสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ขณะที่ไทยครองส่วนแบ่งตลาดไก่แปรรูปเป็นอันดับ 1 ในตลาดเกาหลีใต้ คิดเป็น ร้อยละ 88 ของมูลค่าการนำเข้าไก่แปรรูปทั้งหมดของเกาหลีใต้ โดยคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ จีน ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าการนำเข้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

60

- ยังคงมีมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกสดแช่แข็งจากไทยที่เริ่มใช้ตั้งแต่ ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเดิมเกาหลีใต้ถือได้ว่าเป็นตลาดไก่สดแช่เย็นแช่แข็งหลักที่สำคัญอีก ตลาดหนึ่งของไทย (อันดับ 3 รองจากญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป) โดยไทยเคยส่งออกไก่สดไป เกาหลีใต้ได้ประมาณ 12,000-35,000 ตันต่อปี - สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของการเปิดตลาดไก่สดให้กบั ไทยของเกาหลีใต้ ขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างการตอบแบบสอบถามระหว่างกรมปศุสัตว์ไทยกับหน่วยงาน Animal and Plant Quarantine Agency (QIA) ของเกาหลีใต้


4) ประเทศในกลุ่มอาเซียน ปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศในกลุม่ อาเซียน ทั้งสิ้น 35,123 ตัน มูลค่า 2,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.81 และ 6.73 ตามลำดับ แบ่งเป็นการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งร้อยละ 80 และไก่แปรรูปร้อยละ 20 โดยมี การส่งออกไก่สดไปยังประเทศลาวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย พม่า และกัมพูชา สำหรับ ไก่แปรรูปมีการส่งออกไปสิงคโปร์มากที่สุด 5) กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง (Gulf Cooperation Council: GCC) ที่ยังคงห้ามนำเข้า เนือ้ สัตว์ ปีกสดจากไทย ได้แก่ คูเวต และซาอุดอิ าระเบีย ในขณะทีบ่ าห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และกาตาร์ ได้เปิดตลาดไก่สดแช่เย็นแช่แข็งให้กับไทยแล้ว ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่ม ประเทศ GCC แล้ว 4,326 ตัน มูลค่า 527 ล้านบาท โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 36.98 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา เนือ่ งจากต้องแข่งขันกับบราซิล ทีม่ คี วามได้เปรียบด้านราคา และระยะทางการขนส่ง และ บราซิลยังสามารถผลิตได้ตามมาตรฐานฮาลาล ที่กลุ่มประเทศดังกล่าวกำหนด

3. มาตรการทางการค้าของไทย 3.1 มาตรการด้านภาษี

อัตราอากรที่เรียกเก็บ มาตรา 12 ASEAN พระราชกำหนด อาเซียน-จีน TAFTA JTEPA TNZCEP WTO ที่มา : กรมศุลกากร

ไก่ปรุงสุก 160232 30 5 60 5 6 20 6 40

อัตราอากร (ตามราคาร้อยละ) ไก่สดแช่แข็ง 020711 020712 020713 30 30 40 ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร 60 60 60 ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร ยกเว้นอากร 6 6 6 18.75 18.75 25 6 6 6 30 30 40

020714 40 ยกเว้นอากร 60 ยกเว้นอากร 6 ยกเว้นอากร 6 30-40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1) ส่งออก ไม่เก็บภาษีขาออก 2) นำเข้า

61


3.2 มาตรการที่ ไม่ ใช่ภาษี การนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจะต้องมีหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซาก สัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ที่ลงนามรับรองโดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ของ รัฐบาลประเทศผู้ส่งออก

4. ปัญหาอุปสรรค 1) ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ต้นทุนการเลี้ยงไก่ของไทยสูงกว่าคู่แข่ง เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นมูลค่าสูงมากในแต่ละปี 2) ปัญหามาตรการกีดกันการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า เช่น มาตรฐานด้านสุขอนามัย ที่เข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้า ระบบจำกัดโควตานำเข้า เป็นต้น 3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก 4) ตลาดส่งออกจำกัดอยู่ในตลาดเดิม คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป 5) หลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ คูเวต ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น ยังคงห้ามนำเข้าไก่สด แช่เย็นแช่แข็งจากไทย แม้ว่าไทยจะไม่มีรายงานการเกิดไข้หวัดนกเป็นเวลากว่า 5 ปี นับจากวันที่ ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551

5. แนวทางแก้ไข 1) เจรจาแก้ไขปัญหามาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้า 2) เจรจา/ผลักดันให้ไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปยังตลาดเดิมซึ่งเคยเป็นตลาดหลัก ของไทย เนื่องจากขณะนี้ไทยปลอดไข้หวัดนกเป็นระยะเวลากว่า 5 ปีแล้ว 3) ผลักดันเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ อาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 4) สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ และความปลอดภัยในไก่ของไทย โดยคำนึงถึงมาตรฐาน ด้านสุขอนามัย ในแต่ละตลาดส่งออกเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแต่ละตลาด 5) เร่งดำเนินการเรือ่ ง Compartment และ Traceability เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้กบั ประเทศ คู่ค้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

62

กองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป กลุ่มสินค้าเกษตร กันยายน 2557



Market Leader

สถานการณ์

สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ณาตยา

ศรีจันทึก

1. สถานการณ์การผลิต ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ข้อมูลเบื้องต้นของผลผลิตกุ้งทะเล (กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งกุลาดำ) จากการเพาะเลี้ยงแบบพัฒนา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากฐานข้อมูล ใบกำกับการเคลื่อนย้ายสินค้าสัตว์น้ำ (MD: Movement Document) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70-80% ของผลผลิ ต กุ้ ง ทะเลที่ ผ ลิ ต ได้ จ ากการพั ฒ นา โดยมี ป ริ ม าณรวม 82,052 ตั น ประกอบด้วยกุ้งขาวแวนนาไม 77,799 ตัน (94.8%) และกุ้งกุลาดำ 4,254 ตัน (5.2%) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ผลิตลดลง -38.27% โดยลดลงมากสำหรับผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม คิดเป็น -39.1% ในขณะที่ผลผลิตกุ้งกุลาดำลดลง -16.6% (ตารางที่ 1) แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตกุ้งในไตรมาสที่ 2 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน +19.6% และในครึ่งปีหลังคาดว่า ผลผลิตกุง้ ทะเลน่าจะมีการปรับตัวเพิม่ ขึน้ จากครึง่ ปีแรก เนือ่ งจากการแก้ไขปัญหาอาการตายด่วน (EMS) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตารางที่ 1 ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงแบบพัฒนา แยกตามชนิดกุ้ง ปี 2556 -2557 (ม.ค.-มิ.ย.)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

64

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.

กุ้งขาว 27,823 19,520 24,412 19,875 18,678 17,513 18,703 19,818 22,284 21,697

2556 กุ้งกุลาดำ 1,841 828 620 553 642 619 822 1,196 1,080 917

รวม กุ้งขาว 29,663 12,426 20,348 9,717 25,032 13,023 20,427 11,351 19,320 15,617 18,132 15,665 19,525 21,014 23,364 22,614

2557* กุ้งกุลาดำ 899 608 691 805 647 604

หน่วย : ตัน

รวม 13,325 10,325 13,714 12,156 16,264 16,269

% การเปลี่ยนแปลง กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ รวม -55.34 -51.17 -55.08 -50.22 -26.57 -49.26 -46.65 11.45 -45.21 -42.89 45.57 -40.49 -16.39 0.78 -15.82 -10.55 -2.42 -10.27






พ.ย. ธ.ค. รวม 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน

2556 2557* % การเปลี่ยนแปลง กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ รวม กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ รวม กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ รวม 19,595 861 20,456 16,135 735 16,870 246,051 10,714 256,765 77,799 4,254 82,053 71,755 3,289 75,043 35,166 2,198 37,364 -50.99 -33.17 -50.21 127,821 5,103 132,922 77,799 4,254 82,053 -39.13 -16.64 -38.27 188,626 8,201 196,825 246,051 10,714 256,765

ที่มา : ข้อมูล MD Online และ MD Center กรมประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล *ข้อมูลเบื้องต้น จาก MD online และ MD Center กรมประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (ก.ค. 57)

เมือ่ พิจารณาผลผลิตกุง้ ทะเลแยกตามภูมภิ าคการเลีย้ ง จะเห็นว่าใน 6 เดือนแรก ปี 57 ผลผลิต กุ้งส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคตะวันออก (29.0%) รองลงมาคือ ภาคใต้ตอนบน (23.6%) ภาคใต้ตอนล่าง ฝั่งอันดามัน (18.4%) ภาคกลาง (16.1%) และภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย (12.9%) ซึ่งเมื่อเทียบ กับผลผลิตในปีกอ่ นในช่วงเดียวกัน ผลผลิตกุง้ ในภาคตะวันออกเพิม่ ขึน้ +21.6% ในขณะทีภ่ าคอืน่ ๆ ยังคงมีผลผลิตลดลง 19-57% ตารางที่ 2 ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงแบบพัฒนา แยกตามชนิดกุ้งและรายภาค ปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย.)

ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน รวม

กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ รวม สัดส่วน (%) 23,635 133 23,768 28.97 13,242 4.00 13,246 16.14 18,725 638 19,363 23.60 9,604 986 10,590 12.91 12,595 2,490 15,085 18.38 77,801 4,252 82,052 100.00

ที่มา : ข้อมูลเบื้องต้นจาก MD Online และ MD Center กรมประมง รวบรวมโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (21 ก.ค. 57)

% การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับปี 56 ในช่วงเดียวกัน +21.56 -18.87 -50.28 -56.83 -55.07 -38.27

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ม.ค.-มิ.ย. 57

หน่วย : ตัน

65


ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยง ปี 2554-2557 (ตัน)

ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

2. สถานการณ์ราคา ราคากุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดทะเลไทยเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 กุ้งทุกขนาด มีราคาเพิม่ ขึน้ มากกว่า 30% จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น (ตารางที่ 3) เช่น กุง้ ขนาด 60 ตัว/กก. ราคาเฉลี่ย 242.95 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน +31.8% เป็นต้น โดยราคา เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2556 ทั้งนี้เนื่องจาก supply กุ้งมีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอ กับความต้องการของตลาด แต่อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งเริ่มมีการปรับตัวลดลงในช่วงเดือนมีนาคม และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในต้นไตรมาส 2 เนื่องจากห้องเย็นไม่มีคำสั่งซื้อเนื่องจากประเทศ คู่ค้ามีการสั่งซื้อกุ้งจากประเทศอื่นทดแทนซึ่งมีราคาถูกกว่าไทย ประกอบกับในช่วงปลายไตรมาส 2 ผลผลิตกุ้งของประเทศคู่แข่งเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศ มีการปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าราคาวัตถุดิบกุ้งน่าจะมีการปรับตัว เพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้แปรรูปมีความต้องการวัตถุดิบกุ้งเพื่อเตรียมในการผลิตสินค้าสำหรับ ส่งมอบในช่วงเทศกาลปลายปี ตารางที่ 3 ราคากุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดทะเลไทย ปี 2556-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) เดือน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

66

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.

2556 174.17 170.00 189.42 207.14 208.80 219.60 221.35

50 ตัว/กก. 2557 275.91 279.78 272.12 258.10 232.12 219.47

%Δ +58.41 +64.58 +43.65 24.60 11.17 -0.06

2556 166.46 161.19 184.42 202.14 203.80 214.60 215.38

60 ตัว/กก. 2557 270.91 274.78 266.92 244.52 203.27 197.27

%Δ +62.75 +70.47 +44.73 20.97 -0.26 -8.07

2556 157.50 153.57 174.81 188.81 190.80 197.20 205.00

70 ตัว/กก. 2557 262.27 263.70 253.46 225.71 192.50 185.23

%Δ +66.52 +71.71 +44.99 19.54 0.89 -6.07

หน่วย : บาท/กก.

2556 145.21 144.52 162.69 172.38 173.00 182.60 192.12

80 ตัว/กก. 2557 251.59 251.96 230.77 196.90 180.38 178.33

%Δ +73.26 +74.34 +41.84 14.22 4.27 -2.34 




เดือน ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน

2556 227.20 252.60 280.74 273.46 275.83 225.03 177.86 194.86 207.81 225.03

50 ตัว/กก. 2557 % Δ

2556 221.20 246.60 275.56 268.46 270.83 256.25 219.22 275.94 +55.14 170.69 256.25 +31.51 188.77 201.75 219.22

60 ตัว/กก. 2557 % Δ

2556 211.20 237.80 264.44 259.62 263.33 242.95 208.67 270.87 +58.69 161.96 242.95 +31.76 177.12 190.74 208.67

70 ตัว/กก. 2557 % Δ

2556 197.20 227.00 247.41 244.62 254.58 230.48 195.28 259.81 +60.42 150.81 230.48 +32.93 163.40 177.41 195.28

80 ตัว/กก. 2557 % Δ

214.99 244.77 +62.30 214.99 +34.27

ที่มา : ชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร ตลาดทะเลไทย รวบรวมโดยส่วนเศรษฐกิจการประมง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง

ราคากุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดทะเลไทย แยกตามขนาดกุ้ง ปี 54-57 (ม.ค.-มี.ค.)

3. สถานการณ์การค้า การส่งออกกุง้ ทะเล (ไม่รวมกุง้ ก้ามกราม และลอบสเตอร์) ของไทยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 มีปริมาณการส่งออก 65,850 ตัน คิดเป็นมูลค่า 26,725 ล้านบาท การส่งออกมีปริมาณ และมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน คิดเป็น -38.4% และ -12.2% ตามลำดับ (ตารางที่ 4) โดยมีตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ ญีป่ นุ่ และสหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 39.7 26.2 และ 14.2 ตามลำดับ การส่งออกกุ้งขาวแวนนาไม เมือ่ พิจารณาถึงการส่งออกกุง้ ขาวแวนนาไมในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 มีการส่งออก 55,600 ตัน มูลค่า 23,507 ล้านบาท หรือคิดเป็น 84.45% และ 88.0% ตามลำดับ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

3.1 การส่งออก

67


เมื่อเทียบกับการส่งออกกุ้งทะเลทั้งหมด และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและ มูลค่าการส่งออกของปี 2557 มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ทั้งด้านปริมาณและมูลค่า -42.3% และ -15.3% ตามลำดับ (ตารางที่ 4) โดยการส่งออกลดลงในทุกตลาดหลัก ทั้งตลาดสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น และตลาดเอเชีย การส่งออกกุ้งกุลาดำ สำหรับการส่งออกกุง้ กุลาดำในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 มีปริมาณ และมูลค่า 5,842 ตัน และ 1,512 ล้านบาท ตามลำดับ ซึง่ เมือ่ เทียบกับปีกอ่ นในช่วงเดียวกัน ปริมาณลดลง -16.1% แต่ในด้านมูลค่ามีการปรับตัวเพิม่ ขึน้ +7.7% (ตารางที่ 4) สะท้อนให้เห็นถึงราคาขายเฉลีย่ ของกุง้ ปีนี้สูงกว่าปีก่อน โดยมีตลาดหลักอยู่ในแถบประเทศเอเชีย คือ ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งสหรัฐฯ และส่วนใหญ่ส่งออกในรูปกุ้งมีชีวิตและกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง การส่งออกกุ้งน้ำเย็น การส่งออกกุง้ น้ำเย็นในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 มีปริมาณและมูลค่า 649 ตัน และ 500 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน ปริมาณลดลง -12.9% แต่ มูลค่าเพิม่ ขึน้ +41.8% (ตารางที่ 4) โดยมีตลาดหลัก คือ ญีป่ นุ่ และสหรัฐฯ 77.9% และ 16.8% ตามลำดับ ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง การส่งออกกุ้งอื่นๆ การส่งออกกุ้งอื่นๆ ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 มีปริมาณและมูลค่า 3,759 ตัน และ 1,207 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น +30.0% และ +29.3% ตามลำดับ (ตารางที่ 4) โดยมีตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 34.9 และ ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปกุ้งแปรรูป ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกกุ้งทะเล* ปี 2556-57 (ม.ค.-มิ.ย.)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

68

1. กุ้งขาวแวนนาไม 1.1 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง - แช่เย็นจนแข็ง - มีชีวิต - สด แช่เย็น - สำหรับทำพันธุ์ - กุ้งขาว นึ่ง หรือต้ม

ปริมาณ : ตัน มูลค่า : ล้านบาท

ม.ค.-มิ.ย. 56 ม.ค.-มิ.ย. 57 ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 96,383.70 27,754.60 55,599.85 23,506.54 42,220.40 11,231.24 24,622.39 9,805.70 40,383.17 10,932.48 23,832.72 9,550.57 77.24 9.16 212.72 36.39 1,563.70 202.16 304.17 39.17 195.17 86.88 272.76 179.57 1.12 0.56 0.02 0.003

% การเปลี่ยนแปลง ปริมาณ มูลค่า -42.31 -15.31 -41.68 -12.69 -40.98 -12.64 175.40 297.27 -80.55 -80.62 39.76 106.69 -98.21 -99.46 




หมายเหตุ : *หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งน้ำเย็น และกุ้งอื่นๆ (ไม่รวมกุ้งก้ามกราม และลอบสเตอร์) ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

1.2 ปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 2. กุ้งกุลาดำ 2.1 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง - แช่เย็นจนแข็ง - มีชีวิต - สด แช่เย็น 2.2 ปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 3. กุ้งน้ำเย็น 3.1 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง - แช่เย็นจนแข็ง - มีชีวิต - สด แช่เย็น - กุ้งแห้ง 3.2 ปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 4. กุ้งอื่นๆ 4.1 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง - แช่เย็นจนแข็ง - มีชีวิต - สด แช่เย็น - สำหรับทำพันธุ์ - กุ้งแห้ง - กุ้งนึ่ง หรือต้ม 4.2 ปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ รวม

ม.ค.-มิ.ย. 56 ม.ค.-มิ.ย. 57 % การเปลี่ยนแปลง ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 54,163.30 16,523.36 30,977.46 13,700.84 -42.81 -17.08 6,075.33 1713.49 2,914.64 1274.3 -52.02 -25.63 48,087.97 14,809.87 28,062.82 12,426.54 -41.64 -16.09 6,961.62 1,402.99 5,841.51 1,511.64 -16.09 7.74 6,554.22 1,285.47 4,424.58 1,094.45 -32.49 -14.86 2,347.09 703.98 1,054.13 409.305 -55.09 -41.86 4,092.54 554.63 3,232.43 643.28 -21.02 15.98 114.57 26.86 138.01 41.862 20.46 55.85 407.40 117.52 1,416.93 417.185 247.80 254.99 44.57 10.18 62.71 25.57 40.70 151.18 362.83 107.34 1,354.22 391.615 273.24 264.84 746.01 352.51 649.45 499.97 -12.94 41.83 718.70 348.73 649.45 499.97 -9.64 43.37 589.56 312.07 586.52 481.74 -0.52 54.37 1.67 0.61 0.25 0.45 -85.03 -26.23 17.94 7.38 3.87 1.45 -78.43 -80.35 109.53 28.67 58.81 16.33 -46.31 -43.04 27.31 3.78 27.31 3.78 2,892.19 933.06 3,759.34 1,206.48 29.98 29.30 1,632.09 572.95 1,877.86 671.44 15.06 17.19 1515.29 524.08 1,423.55 361.51 -6.05 -31.02 28.68 6.55 28.03 10.13 -2.27 54.66 14.41 3.89 4.39 1.78 -69.54 -54.16 0.02 0.1 0.05 0.13 140.00 31.00 69.71 36.34 416.05 294.19 496.83 709.54 3.98 1.99 5.79 3.70 45.45 85.68 1,260.10 360.11 1,881.48 535.05 49.31 48.58 458.31 204.27 422.94 172.23 -7.72 -15.69 801.79 155.84 1,458.54 362.82 81.91 132.82 106,983.52 30,443.16 65,850.15 26,724.64 -38.45 -12.21

69


สัดส่วนมูลค่าการส่งออกกุ้งทะเลของไทย 6 เดือนแรก ปี 2557

ตลาดส่งออกที่สำคัญ (1) สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับหนึ่งสำหรับสินค้ากุ้งทะเลและ ผลิตภัณฑ์ของไทย โดยมีสดั ส่วนประมาณ 40% ของมูลค่าการส่งออกกุง้ ทะเลทัง้ หมด อย่างไรก็ตาม ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ 24,833 ตัน มูลค่า 10,604 ล้านบาท ปริมาณลดลงจากปีกอ่ น -28.9% แต่มลู ค่าเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย +3.3% โดยส่วนใหญ่เป็นกุง้ ขาวแวนนาไม ถึง 97.4% และเป็นกุ้งแปรรูปประมาณ 63.0% สำหรับในช่วง 4 เดือนแรก ปี 57 สหรัฐฯ มีการนำเข้ากุ้งปริมาณ 165,487ตัน เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีกอ่ น 13.4% โดยนำเข้าเพิม่ ขึน้ จากเวียดนาม อินโดนีเซีย เอกวาดอร์ และอินเดีย ส่วนการนำเข้าจากไทยลดลงถึง 40% ทั้งนี้อินโดนีเซียมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดกุ้ง สหรัฐฯ มากเป็นอันดับหนึ่ง (20%) ส่วนไทยมีส่วนแบ่งเพียง 11% (ปี 56 มี 20%) สำหรับ สถานการณ์การผลิต คาดว่าจะมีกุ้งจากเวียดนามออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่วนกุ้งจากอินเดียกุ้งขนาด เล็กจะขาดแคลน เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งชะลอการจับกุ้งในช่วง มิ.ย. เพราะคาดว่าราคากุ้งน่าจะสูงขึ้น จึงส่งผลให้กุ้งขนาดใหญ่น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในขณะที่กุ้งจากอเมริกากลาง เช่น ฮอนดูรัส และนิคารากัว ปีนี้น่าจะมีผลผลิตค่อนข้างดี (INFOFISH Trade News No. 11/2014 และ No. 12/2014) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

70


ตารางที่ 5 การส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐอเมริกา ปี 2551-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 2551 177,845 42,496 2552 183,455 44,750 2553 192,513 47,208 2554 176,742 50,577 2555 123,908 33,764 2556 76,905 26,850 2556 (มค.-มิย.) 34,918 10,264 2557 (มค.-มิย.) 24,833 10,604 % การเปลี่ยนแปลง -28.88 +3.31 ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

(2) ญี่ปุ่น สำหรับในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยส่งออกกุง้ ทะเลไปญีป่ นุ่ ปริมาณ 17,399 ตัน มูลค่า 7,005 ล้านบาท ลดลงจากปีกอ่ น -46.2% และ -29.0% ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการ ส่งออกในรูปกุง้ แปรรูป 68.1% และเป็นกุง้ ขาวแวนนาไมถึง 84.7% ส่วนกุง้ น้ำเย็น กุง้ กุลาดำ และ กุ้งอื่นๆ อีก 5.6% 3.7% และ 6.0% ตามลำดับ

ตารางที่ 6 การส่งออกกุ้งของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี ปริมาณ (ตัน) 2551 63,100 2552 70,459 2553 76,953 2554 77,718 2555 77,809 2556 56,745 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) 32,361 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) 17,399 % การเปลี่ยนแปลง -46.23

มูลค่า (ล้านบาท) 16,364 19,108 20,373 24,107 24,290 18,706 9,869 7,005 -29.02

ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

สำหรับการนำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งของญี่ปุ่นในช่วง 5 เดือนแรก ปี 57 มีปริมาณ 55,525 ตัน (-20.1% เทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน) โดยลดการนำเข้ากุ้งแวนนาไมในแถบ ภูมิภาคเอเชีย (เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย และไทย) แต่กลับมีการนำเข้ากุ้งน้ำเย็นเพิ่มขึ้นจาก อาร์เจนตินา่ และแคนนาดา เป็นต้น ซึง่ ตลาดซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหารประเภทซูชสิ ายพาน (Kaiten-Sushi) ปรับเปลีย่ นมาบริโภคกุง้ น้ำเย็นมากขึน้ เนือ่ งจากมีราคาถูกกว่ากุง้ แวนนาไม (INFOFISH Trade News No. 12/2014)

71


(3) สหภาพยุโรป (EU) ในอดีตที่ผ่านมาไทยได้รับคืนสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) จากกลุ่มสหภาพยุโรป เมือ่ วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา ซึง่ ทำให้กงุ้ สดแช่เย็นแช่แข็ง อัตราใหม่สำหรับภาษีนำเข้า อยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากเดิมอัตราภาษีร้อยละ 12 และกุ้งปรุงแต่ง อัตราภาษีร้อยละ 7 จากเดิม อัตราภาษีรอ้ ยละ 20 ซึง่ เป็นอัตราเดียวกันกับประเทศคูแ่ ข่งอืน่ ๆ โดยเฉพาะมาเลเซีย อินเดีย และ อินโดนีเซีย ทำให้ผลิตภัณฑ์กุ้งไทยสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้อย่างเป็นธรรมขึ้นในตลาด สหภาพยุโรป แต่ต่อมาในปี 2555 EU ได้มีการพิจารณาทบทวนการให้สิทธิ GSP แก่สินค้า กุ้งไทยอีกครั้ง เนื่องจากไทยส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์เกินกว่าสัดส่วนที่ถูกกำหนดไว้ (17.5% ของสินค้าประเภทนั้นที่อียูนำเข้าจากทุกประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP) นอกจากนี้ ไทยยังมีรายได้ ต่อหัวเฉลี่ยเกินกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดให้สิทธิพิเศษ GSP คือ มากกว่า 3,975 เหรียญสหรัฐฯ/ คน/ปี ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (2553-2555) จึงเข้าข่ายทีจ่ ะถูกตัดสิทธิ จากเดิมอัตราภาษีสำหรับ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 4.2 เป็นอัตราปกติร้อยละ 12 ส่วนกุ้งปรุงแต่งจากเดิมอัตราร้อยละ 7 เพิ่มขึ้นเป็นอัตราปกติร้อยละ 20 ซึ่งมีผลบังคับใช้อัตราดังกล่าวสำหรับกุ้งปรุงแต่ง ตั้งแต่ต้นปี 2557 ส่วนกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2558 สำหรับในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยมีการส่งออกกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ ไปสหภาพยุโรป 8,152 ตัน มูลค่า 3,807 ล้านบาท ซึง่ เมือ่ เทียบกับปีกอ่ นในช่วงเดียวกัน ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลง -43.6% และ -11.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกกุ้งของไทย ลดลงในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สเปน เบลเยี่ยม และอิตาลี โดยสัดส่วนของมูลค่าการ ส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง : กุ้งแปรรูป คือ 56% : 44 %

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

72

สำหรับการนำเข้ากุง้ ของสหภาพยุโรปจากประเทศที่ 3 (ไม่รวมกลุม่ ประเทศสมาชิก สหภาพยุโรป หรือ EU 28 และกลุ่มประเทศ EEA (European Economic Area) และ EFTA (European Free Trade Association) ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2557 มีการนำเข้าประมาณ 115,000 ตัน (+1.14% เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน) โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจาก ประเทศลาตินอเมริกา เช่น เอกวาดอร์ นิคารากัว เวเนซุเอลา ฮอนดูรัส เปรู และอาร์เจนติน่า โดยเฉพาะเอควาดอร์มีส่วนแบ่งตลาดถึง 18% ในตลาดสหภาพยุโรป ส่วนการนำเข้าจากเอเชีย ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย และอินโดนีเซีย โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นประมาณ 21% และ 61% ตามลำดับ (INFOFISH Trade News No. 11/2014)


ตารางที่ 7 การส่งออกกุ้งของไทยไปสหภาพยุโรป ปี 2551-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 2551 39,652 9,696 2552 52,135 12,346 2553 66,148 14,923 2554 59,564 15,980 2555 49,620 13,739 2556 26,763 9,301 2556 (ม.ค.-มิ.ย.) 14,457 4,322 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) 8,152 3,807 % การเปลี่ยนแปลง -43.61 -11.92 ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

(4) อาเซียน ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยมีการส่งออกกุง้ ไปอาเซียน ปริมาณ 1,974 ตัน มูลค่า 546 ล้านบาท ซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบกับปีกอ่ นในช่วงเดียวกัน ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลง -57.2% และ -32.9% ตามลำดับ โดยส่งออกกุ้งลดลงในเกือบทุกประเทศ และส่วนใหญ่ส่งออก ในรูปกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ตารางที่ 8 การส่งออกกุ้งของไทยไปประเทศในกลุ่มอาเซียน ปี 2551-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 2551 6,449 925 2552 8,362 1,149 2553 7,717 1,203 2554 6,940 1,411 2555 16,979 2,778 2556 6,112 1,239 2556 (.ม.ค.-มิ.ย.) 4,609 814 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) 1,974 546 % การเปลี่ยนแปลง -57.17 -32.92

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

73


(5) ตะวันออกกลาง แม้ว่าตะวันออกกลางจะเป็นตลาดกุ้งที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกไม่มากนัก แต่ นับว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่ในช่วง 2- 3 ปีนี้ การส่งออกมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปัญหา ขาดแคลนวัตถุดบิ กุง้ ภายในประเทศของไทยซึง่ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุง้ ในทุกตลาด โดยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยมีการส่งออกกุง้ ทะเลไปตะวันออกกลาง 296 ตัน มูลค่า 103 ล้านบาท ซึ่งปริมาณลดลง -15.8% แต่ในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้น +29.2% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วง เดียวกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นกุ้งขาวแวนนาไมปรุงแต่ง หรือทำไว้ไม่ให้เสีย ตารางที่ 9 การส่งออกกุ้งของไทยไปประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง ปี 2550-2557 (ม.ค.-มิ.ย.) ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 2551 871.68 188.08 2552 1,137.86 254.65 2553 1,214.88 254.40 2554 981.01 253.18 2555 902.78 199.67 2556 358.57 93.45 2556 (.ม.ค.-มิ.ย.) 352.02 79.45 2557 (ม.ค.-มิ.ย.) 296.34 102.61 % การเปลี่ยนแปลง -15.82 +29.15 ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

3.2 การนำเข้า ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2557 ไทยมีการนำเข้ากุ้งทะเล (ไม่รวมกุ้งก้ามกราม และ ลอบสเตอร์) 11,397 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,558 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น +2.3% และ +90.2% ตามลำดับ (ตารางที่ 10) เนื่องจาก ไทยยังคงประสบปัญหาการผลิตจากการเกิดอาการตายด่วนในกุ้งขาว จึงมีการนำเข้าวัตถุดิบกุ้ง เพิ่มขึ้น โดยนำเข้าจากอินเดีย อาร์เจนตินา และเอกวาดอร์ คิดเป็นร้อยละ 28.1 21.1 และ 14.3 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็ง เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

74


1. กุ้งขาวแวนนาไม 1.1 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง - สด แช่เย็นจนแข็ง - สำหรับทำพันธุ์ - สดหรือแช่เย็น - มีชีวิต 1.2 กุ้งปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 2. กุ้งกุลาดำ 2.1 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง - สด แช่เย็นจนแข็ง - สำหรับทำพันธุ์ - มีชีวิต 2.2 กุ้งปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 3. กุ้งน้ำเย็น 3.1 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง - สด แช่เย็นจนแข็ง - สด หรือแช่เย็น - กุ้งแห้ง และอื่นๆ 4. กุ้งอื่นๆ 4.1 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง - สด แช่เย็นจนแข็ง - สำหรับทำพันธุ์ - สด หรือแช่เย็น - มีชีวิต - กุ้งนึ่ง หรือต้ม - ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ - กุ้งแห้ง และอื่นๆ 4.2 กุ้งปรุงแต่ง - บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ - ไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ รวม

ปริมาณ : ตัน มูลค่า : ล้านบาท

ม.ค.-มิ.ย. 56 ม.ค.-มิ.ย. 57 ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 2,143.07 623.63 2,984.97 1,077.79 1,811.40 514.52 2,822.18 976.15 1,811.06 501.93 2,820.62 965.74 0.31 12.59 1.559 10.407 0.03 0 331.67 109.11 162.786 101.647 28.608 25.331 331.67 109.11 134.178 76.316 195.33 74.01 33.323 15.373 155.33 64.97 33.323 15.373 155.25 64.1 33.135 15.01 0.08 0.87 0.188 0.363 0.02 40 9.04 0.6 0.19 40 9.04 847.57 148.59 929.526 203.886 847.57 148.59 929.526 203.886 845.72 147.23 929.044 203.482 1.73 1.31 0.435 0.388 0.12 0.05 0.047 0.016 7,956.54 498.49 7,448.97 1,260.50 7,857.14 492.26 7,324.71 1,242.27 2,239.80 428.02 4,227.90 1080.379 44 19.26 2.23 2.09 31.168 3.69 0.2 0.15 0.865 0.372 467 3.1 0.48 0.008 4,934.61 30.15 2,833.58 18.277 169.3 9.49 230.715 139.541 99.4 6.23 124.261 18.234 59.95 3.97 14.09 15.322 39.45 2.26 110.171 2.912 11,142.51 1,344.72 11,396.79 2,557.55

ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองประมงต่างประเทศ ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร

% การเปลี่ยนแปลง ปริมาณ มูลค่า 39.28 72.83 55.80 89.72 55.74 92.41 -50.92 -6.84 -59.54 -82.94 -78.55 -78.66 135.00 9.67 9.67 9.85 -74.86

-30.06 -79.23 -76.34 -76.58 -58.28 37.21 37.21 38.21 -70.38

-6.38 -6.78 88.76 1,297.67 -42.58 36.28 25.01 179.27 2.28

152.86 152.36 152.41 76.56 -39.38 1,370.40 192.68 28.85 90.19

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ตารางที่ 10 ปริมาณ และมูลค่าการนำเข้ากุ้งทะเล ปี 2556-57 (ม.ค.-มิ.ย.)

75


4. ปัญหาและอุปสรรค 4.1 ปัญหาด้านการผลิต : ปัญหาผลผลิตตกต่ำอันเนือ่ งมาจากสถานการณ์ EMS ทีย่ งั ไม่

สามารถแก้ไขได้ทั้งระบบ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง และภาคส่งออกที่ขาดแคลน วัตถุดิบ

4.2 ปัญหาด้านการค้า : ปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี - ประเด็นการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมกุง้ ไทย ซึง่ ล่าสุดสหรัฐฯ ได้ปรับลดอันดับจากบัญชีประเทศทีถ่ กู จับตามองเป็นพิเศษ (Tier 2 Watch List) เป็นระดับ Tier 3 ซึง่ เป็นสถานการณ์แรงงานทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุง้ ของไทยในตลาด สหรัฐฯ และตลาดอื่นๆ ที่อาจนำไปเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า - การถูกโจมตีเรื่องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจากการใช้ปลาป่นในการผลิต อาหารกุ้ง - สหภาพยุโรป ได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้ากุ้งไทย โดยมีผลบังคับ ใช้มกราคม 2557 สำหรับกุ้งปรุงแต่ง จากอัตรา GSP 7% เป็นอัตราปกติ 20% ส่วนกุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง จะมีผลในปี 2558 จากอัตรา 4.2% เป็นอัตราปกติ 12%

5. ข้อเสนอแนะ 5.1 เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหา EMS 5.2 เร่งดำเนินการให้แรงงานเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำเอกสารหลักฐานยื่นต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในการ ถอดถอนสินค้ากุ้งออกจากบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ 5.3 ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของการใช้แรงงาน และการใช้ปลาป่นในอุตสาหกรรมกุ้ง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศคู่ค้ามีความเชื่อมั่นในระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่าน ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

76




ส่วนวิจัยธุรกิจ

ภาวะเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจน เทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นแปลงอย่างต่อเนือ่ งอยูต่ ลอด เวลาส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อสินค้า และการใช้ชีวิต ประจำวั น ซึ่ ง ผู้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า จำเป็ น ต้ อ งเข้ า ใจ และต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ บริโภคในแต่ละช่วงเวลา สำหรับในปี 2557 Euromonitor ได้เผยแพร่ 10 แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของโลก ซึ่งมีหลายพฤติกรรมที่ น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่จะนำไปเป็น ข้อมูลปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือวางแผนการ ตลาด ดังนี้

การเลือกรับประทานอาหารที่ดี ต่อสุขภาพ ผู้บริโภคในสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญ กับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนหนึง่ เป็นเพราะปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทีเ่ พิม่ ขึน้ มาก ทั้งโรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือด และ โรคไต โดยมีสาเหตุสำคัญจากการรับประทาน อาหารบางประเภทมากเกินไป ประกอบกับสังคม ปัจจุบนั มีคา่ นิยมการมีรปู ร่างผอม เพราะได้รบั อิทธิพลจากภาพลักษณ์ของนักแสดง นางแบบ และนายแบบ ในสื่อบันเทิงต่างๆ กลยุทธ์ของ

1 ฝ่ายวิจัยธุรกิจมีนาคม 2557

ผูผ้ ลิตอาหาร รวมถึงเครือ่ งดืม่ จึงมุง่ ลดน้ำตาล ไขมัน และเกลือ เพือ่ ตอบสนองความต้องการ ของผูบ้ ริโภค นอกจากนี้ ความต้องการบริโภค อาหารที่ดีต่อสุขภาพยังรวมถึงอาหารประเภท เส้นใย เช่น ผัก และผลไม้ โดยล่าสุด McDonald’s ในสหรัฐฯ ริเริ่มแนวคิดที่จะเพิ่มเมนู สลัด และผลไม้ นอกเหนือจากมันฝรั่งทอด เพียงอย่างเดียว เพือ่ สร้างภาพลักษณ์ความใส่ใจ ต่ อ สุ ข ภาพ ทั้ ง นี้ สำหรั บ ประเทศที่ มี ค วาม ตระหนักถึงอาหารเพื่อสุขภาพในระดับสูง โดย เฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว อาหารที่ผลิตจาก เกษตรอินทรีย์ เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีความ ต้องการเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เนือ่ งจากผูบ้ ริโภค เชื่ อ ว่ า อาหารดั ง กล่ า วปลอดภั ย จากสารเคมี และยาฆ่าแมลงตกค้าง นอกจากนี้ อาหารสำหรับเด็กก็มีแนว โน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวทางเดียวกัน ตัวอย่างกรณีของบริษัท Nestlé เปลี่ยนสูตร การผลิ ต ช็ อ กโกแลต Kit Kat ในสหราชอาณาจักรเพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารตาม นโยบายของภาครัฐ หรือกรณีของผลิตภัณฑ์ ขนม อาทิ ขนมขบเคี้ยว และเยลลี ที่ผลิต จากเกษตรอินทรีย์ ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

Around the World

ของโลกปี 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

แนวโน้ม ผู้บริโภค

77


ความใส่ใจต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้ บ ริ โ ภคในประเทศพั ฒ นาแล้ ว มั ก มี ความตระหนั ก ต่ อ ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ ม และ ปัญหาสังคมค่อนข้างมาก อาทิ ภาวะโลกร้อน ความเป็นธรรมต่อเกษตรกร และปัญหาการใช้ แรงงานเด็ก เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคม ปรากฏชัดเจนขึ้น อาทิ สภาพภูมิอากาศโลกที่ ผันผวนมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบหลัก จากการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจก อี ก ทั้ ง การ แพร่กระจายข่าวสาร และความรู้สึกของผู้ บริโภคบนสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ยิ่งสร้าง ความตระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม และสังคมร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว เช่น กรณี โรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปถล่มในบังกลาเทศ ซึ่ง ในการสอบสวนสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าว มีการเปิดเผยถึงการกดขี่แรงงานในกระบวน การผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ชั้นนำของโลก จึงก่อ ให้ เ กิ ด กระแสสั ง คมออนไลน์ ต่ อ ต้ า นการซื้ อ เสื้อผ้าแบรนด์ดังกล่าวขึ้นอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

78

ความสำคัญของการผลิตสินค้าทีไ่ ม่สร้าง ปัญหาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมิใช่เป็น เพียงการปฏิบตั ติ ามมาตรการทางการค้าทีไ่ ม่ใช่ ภาษี (Non-Tariff Barriers) ดังเช่นในอดีต แต่ความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ยังเป็น การแสดงออกถึงรสนิยมของผู้บริโภค จึงเป็น โอกาสของผู้ผลิตสินค้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากฝ้ายอินทรีย์ กระเป๋าที่ ผลิ ต จากวั ส ดุ รี ไ ซเคิ ล และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ย่ อ ย สลายได้ตามธรรมชาติ เป็นต้น รวมถึงธุรกิจ บริการ อาทิ ร้านอาหาร และโรงแรม ซึ่ง สามารถใช้ภาพลักษณ์ความเป็นธุรกิจสีเขียว

สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยง จากการแข่งขันทั่วไปในตลาด

ความต้องการใช้สินค้าแบรนด์เนม แม้ว่าที่ผ่านมา กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ สำคัญของโลกอย่างยุโรป และสหรัฐฯ ต้องเผชิญ กับวิกฤตเศรษฐกิจ จนทำให้ความต้องการซื้อ สินค้าแบรนด์เนมในประเทศดังกล่าวชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าแบรนด์เนม ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะจีน กลับ ขยายตัวอย่างรวดเร็วตามกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้สินค้าแบรนด์ดังถือเป็นการ บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมที่สูงขึ้น แนวโน้ม ดังกล่าว ทำให้จีนกลายเป็นประเทศเป้าหมาย ในการจำหน่ายสินค้าของผู้ผลิตสินค้าแบรนด์เนม ขณะที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจี น ที่ เ ดิ น ทางไปยั ง ประเทศต่างๆ ทัว่ โลก จำนวนกว่า 80 ล้านคน ก็กลายเป็นลูกค้าสำคัญของร้านสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก สะท้อนได้จากรายงานของ UN World Tourism Organization ซึง่ พบว่ามูลค่า การใช้จา่ ยในการท่องเทีย่ วของนักท่องเทีย่ วจีน ในปี 2555 แซงเยอรมนี และสหรัฐฯ ขึ้น เป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าสูงถึง 102 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ Global Travel Intentions Study 2013 รายงานว่า ในปี 2555 นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายในการเดินทาง ต่างประเทศเฉลีย่ สูงถึง 3,824 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อเที่ยวการเดินทาง เป็นรองเพียงนักท่องเที่ยวจากซาอุดีอาระเบีย และออสเตรเลีย นอกจากสิ น ค้ า แบรนด์ เ นมที่ มี โ อกาส ขยายตัวดีในประเทศกำลังพัฒนาแล้ว การทำ การตลาดด้วยการนำเสนอสินค้าแบรนด์เนม ในราคาถูกลงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ได้รับการ ตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค สังเกตได้จาก


พฤติกรรมการประหยัด การประหยัดเป็นพฤติกรรมการบริโภค ที่ พ บมากขึ้ น ในประเทศที่ ป ระสบปั ญ หาทาง เศรษฐกิจ เช่น หลายประเทศในยุโรป ซึ่งผู้ บริโภคต้องปรับตัวรับรายได้ที่ลดลง ตัวอย่าง กลยุทธ์การซื้อสินค้าที่พบได้ ได้แก่ การรวม กลุม่ กันซือ้ สินค้าเพือ่ ให้ได้ราคาถูกลง และการ วางแผนซือ้ สินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตล่วงหน้า เพื่อประหยัดค่าเดินทาง ในมุมมองด้านหนึ่ง พฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยบัน่ ทอนความ ต้ อ งการซื้ อ สิ น ค้ า แต่ ห ากธุ ร กิ จ ใดสามารถ นำเอาพฤติกรรมดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนเป็น กลยุทธ์ ก็จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ ต่อไป ตัวอย่างเช่น กรณีของสหราชอาณาจักร พบว่า 1 ใน 3 ของโรงแรมสร้างใหม่เป็น โรงแรมแบบประหยัด (Budget Hotel) ซึ่ง พบว่าโรงแรมประเภทดังกล่าว ได้รบั ความนิยม เพิม่ ขึน้ ทัง้ ในกลุม่ วัยรุน่ หรือแม้ในกลุม่ ผูส้ งู อายุ ก็ตาม สำหรับกลยุทธ์ของผู้ส่งออกไทย ควร ระมัดระวังการปรับขึน้ ราคาสินค้าในประเทศ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ บริโภคมักอ่อนไหวต่อการปรับราคาขึ้นค่อน ข้างมาก โดยอาจจำเป็นต้องเลือกช่องทางการ ตลาด หรือผู้นำเข้าที่สามารถปรับกลยุทธ์การ ตลาดให้เข้ากับพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว

หรืออาจนำเสนอสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่เล็กลง เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับขึ้นราคา ขณะที่โรงแรม แบบประหยัดก็นับเป็นโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเช่นเดียวกัน

การเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้บริโภค จากการสำรวจของ Euromonitor พบว่า ร้อยละ 23 ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก อ่าน วิจารณ์สนิ ค้าในสือ่ ออนไลน์อย่างน้อยสัปดาห์ละ ครัง้ ขณะทีร่ อ้ ยละ 12 ของผูต้ อบแบบสอบถาม เขียนวิจารณ์สินค้าบนสื่อออนไลน์อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง ผลสำรวจดังกล่าว แสดงถึง อิทธิพลของประสบการณ์ในการใช้สินค้าของ ผู้บริโภค และพลังของสื่อออนไลน์ จึงไม่น่า ประหลาดใจที่จะพบว่า ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตลาดผ่านกลุ่ม Blogger ซึ่ ง ทำหน้ า ที่ นั ก วิ จ ารณ์ สิ น ค้ า ใน มุมมองของผู้บริโภค การเปิดตัวสินค้าใหม่ ในแต่ละครัง้ จะมีการส่งสินค้าให้กลุม่ Blogger ได้ ท ดลองใช้ เ ป็ น ลำดั บ แรกๆ ทั้ ง นี้ ตั ว แทน จาก Amazon เว็บไซต์จำหน่ายสินค้าชื่อดัง แสดงความเห็นว่า บทวิจารณ์มีผลมากต่อการ ตัดสินใจเลือกซือ้ สินค้า โดยพบว่า แม้บางสินค้า ได้รับการวิจารณ์ที่ไม่ดีนัก แต่สินค้าดังกล่าว กลับขายดีกว่าสินค้าที่ไม่ได้รับการวิจารณ์เลย

Disclaimer: ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จาก แหล่งข้อมูลทีห่ ลากหลาย และการเผยแพร่ขอ้ มูลเป็นไปเพือ่ วัตถุประสงค์ในการให้ขอ้ มูลแก่ผทู้ สี่ นใจเท่านัน้ โดยธนาคาร เพือ่ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จะไม่รบั ผิดชอบ ในความเสียหายใดๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการทีม่ บี คุ คลนำข้อมูล นี้ไปใช้ ไม่ว่าโดยทางใด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 158 กันยายน-ตุลาคม 2557

ห้างค้าปลีกแบบ Outlet ที่เกิดขึ้นในหลาย ประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ จีน เป็นต้น ห้างค้าปลีกประเภทดังกล่าวมีการ วางจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาถูกลง ซึ่งได้รับความนิยมทั้งจากผู้บริโภคในประเทศ และนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ โดยเฉพาะนั ก ท่องเที่ยวเอเชีย

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท มู่หยางโฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท ตงชางเครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2516-8811 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 092 089 1601 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2757-4792-5




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.