รายนามสมาชิก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.
บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด
27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.
บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด
ิน ภ อ
น ท นั
ร า าก
คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์
นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด
บรรณาธิการ
แถลง
สถานการณ์ปศุสัตว์ในรอบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนจะดีขึ้น ทำให้มีการขยายการเลี้ยงมากขึ้น ซึ่งก็หนีไม่พ้นวัฏจักรของการเลี้ยงที่มากขึ้น ราคาลดลง กระทบต่อเนื่องเป็นอย่างนี้และจะรุนแรง มากน้อย สุดแท้แต่ว่าใครจะสายป่านที่ยาวกว่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของธุรกิจปศุสัตว์ ของไทย ยังไปได้อีกไกล และยังมีโอกาส เพราะศักยภาพการผลิตของไทยยังดีกว่าประเทศอื่นๆ แต่อย่าได้ประมาท และอย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือจากภาครัฐยังต้องมีอยู่ ต้องช่วยแก้ไขปัญหา ให้แก่ภาพรวมของประเทศ และไม่ผลักภาระไปให้แก่ส่วนใดส่วนหนึ่งต้องแบกรับปัญหาไว้ฝ่ายเดียว ทางออกที่ดีที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน จากมาตรการของภาครัฐที่ตอบสนองให้มีการเลือกการปล่อย เสรีการนำเข้าพันธุ์สัตว์ ทำให้ต้องบริหารจัดการและรับผิดชอบตัวเองให้ดี อย่าได้โทษฝ่ายอื่นว่า เป็นผู้เอาเปรียบ ถ้าทุกคนทำแต่พอเพียงแล้ว ส่วนรวมจะเพียงพออย่างแน่นอน ต้นปีนี้จะมีงานเสวนาและนิทรรศการทางด้านปศุสัตว์ที่สำคัญสำหรับคนปศุสัตว์งาน วิฟ เอเซีย 2015 ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2558 จัดที่ ไบเทค บางนา จึงขอเชิญชวนเข้าร่วมงานนี้ นอกจากนี้ ยังมีงานเสวนาที่จัดขึ้นเป็นประจำบนความร่วมมือของสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ โดยการประสานงานของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่จัดเสวนาทุกปีผ่านมาแล้ว 7 ปี ปีนี้ใช้หัวข้อ อุตสาหกรรมปศุสัตว์ ยั่งยืน หรือย่ำแย่ จัดที่ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค วันที่ 19 มีนาคม 2558 จึงขอเชิญชวนเข้าร่วมเช่นกัน ติดตามข่าวแล้ว มีทั้งข่าวดี และข่าวร้าย ใครอยากรู้ข่าวไหนดี ข่าวไหนร้ายก่อน ก็ลองอ่านดู จากเนือ้ ในทีห่ ยิบยกมา เช่น ไทยยึดแชมป์สง่ ออกข้าวโลก, ส่งออกไก่เนือ้ ฝันหวาน อนาคตสดใส ลุน้ โกย รายได้, เกาหลีใต้ 'ปลดล็อค' นำเข้าไก่ไทย มิ.ย. นี้, กุ้งไทยระทึก "ใบเหลือง-เลิกจีเอสพี" ชะตากรรม ที่หนักกว่าโรคตายด่วน, ผู้นำเข้าอียู-ญี่ปุ่น บีบไก่ไทยลดราคา รับค่าเงินยูโร-เงินเยนอ่อนตัว คาดปีนี้ ส่งออก 6 แสนตัน, 4 บิ๊กค้าไข่ไก่ พร้อมใจกู้วิกฤติ เก็บไข่เข้าห้องเย็นผลักดันส่งออก อย่างไรก็ตาม ภาพรวมความต้องการใช้อาหารสัตว์แต่ละปี มีปริมาณมากขึ้น โดยประมาณ จากประชากรสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้วัตถุดิบต่างๆ มากขึ้น และหายากมากขึ้น ราคา ก็ปรับสูงขึ้น เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ ที่ต้องแบกรับราคา แต่ผลผลิตที่ขายได้มีราคาลดลงเพราะ ปริมาณที่เกินความต้องการนั่นเอง ทำอย่างไรที่จะให้ผลผลิตจากการเลี้ยงเพียงพอกับความต้องการ ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องยากแต่ทุกฝ่ายต้องทำให้ได้ จึงจะอยู่รอดแน่นอน
บก.
ธุรกิจอาหารสัตว์
วารสาร
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ปีที่ 32 เล่มที่ 160 ประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
Contents Thailand Focus
ไทยยึดแชมป์ ส่งออกข้าวโลก............................................................................................................................ 5 กุ้งไทยระทึก "ใบเหลือง-เลิกจีเอสพี" ชะตากรรมที่หนักกว่าโรคตายด่วน................................................................ 7 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2558-2564) หลักเกณฑ์และประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน........................................................................... 10 รมว. เกษตรฯ เผย กม.ประมงฉบับใหม่ และแผนฯ แก้ ไขปัญหาทำประมงผิด กม................................................ 19 Food Feed Fuel
สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้มปี 2558...................................................................................... 22 Market Leader
การบริหารจัดการองค์ความรู้การเพาะฟักกุ้งขาวแวนนาไม ตามมาตรฐาน จีเอพี................................................... 53 ผู้นำเข้าอียู-ญี่ปุ่น บีบไก่ไทยลดราคา รับค่าเงินยูโร-เยนอ่อนตัว คาดปีนี้ส่งออก 6 แสนตัน................................... 59 4 บิ๊กค้าไข่ไก่ พร้อมใจกู้วิกฤติ! เก็บ Egg เข้าห้องเย็น/ดันส่งออก/ผู้เลี้ยงยื่น 6 ข้อรัฐบาล...................................... 61 ส่งออกไก่เนื้อฝันหวาน อนาคตสดใส ลุ้นโกยรายได้ 8.2 หมื่นล้าน...................................................................... 63 เกาหลีใต้ 'ปลดล็อก' นำเข้าไก่ไทย มิ.ย. นี.้ ...................................................................................................... 64 Around The World
การตรวจสอบยาในอาหารสัตว์ด้วยชุดทดสอบ.................................................................................................. 66 ภาคสถิติ.......................................................................................................................................................... 76 ตารางประมาณการประชากรสัตว์, ปริมาณอาหารสัตว์ และการใช้วัตถุดิบ ปี 2558................................................... 85 ขอบคุณ........................................................................................................................................................... 86 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายอรรถพล ชินภูวดล นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง
ประธานกรรมการที่ปรึกษา
สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 Email: tfma44@yahoo.com Website: www.thaifeedmill.com
Thailand Focus
ไทยยึดแชมป์
ส่งออกข้าวโลก
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายก สมาคมผูส้ ง่ ออกข้าวไทย เปิดเผยว่า การส่งออก ข้าวไทยในปี 58 คาดว่าจะมีปริมาณ 10 ล้านตัน มูลค่า 4,950 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (161,000 ล้านบาท) ซึง่ สามารถรักษาสัดส่วน การส่งออกข้าวมากอันดับ 1 ของโลกอีกหนึง่ ปี จากภาวะการค้ า ขายข้ า วที่ เ ป็ น ไปตามกลไก ตลาด และภาคเอกชนยังได้วางแนวทางขยาย ตลาด รักษาส่วนแบ่งตลาด ร่วมกับกระทรวง พาณิชย์ ต่อเนื่อง แต่ในภาพรวมจะมีปริมาณ ต่ำกว่าปี 57 ทีม่ ปี ริมาณ 10.9 ล้านตัน เพราะ ในปีนี้จะมีการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงกว่า "สาเหตุที่การส่งออกข้าวปี 58 ได้แค่ 10 ล้านตัน เนื่องจากปีนี้ประเทศผู้ส่งออก ข้าวที่เป็นคู่แข่งกับไทยปรับลดราคาข้าวลงมา ต่ำกว่า โดยปัจจุบันราคาข้าวขาว 5% ของ เวียดนามอยู่ที่ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ข้ า วชนิ ด เดี ย วกั น ของอินเดียอยูท่ ี่ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวปากีสถาน 370 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่ข้าวไทยราคา สูงกว่าที่ 405-410 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน" ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประเมินว่า การค้าข้าวตลาดโลก ปี 58 พบว่า ไทยส่งออกอันดับ 1 ของโลก ที่ 11.3 ล้านตัน มากกว่าที่สมาคมฯ ได้คาดไว้ รองลงมาเป็น อินเดีย 8.7 ล้านตัน, เวียดนาม 6.7 ล้านตัน, ปากีสถาน 3.9 ล้านตัน, สหรัฐฯ 3.4 ล้านตัน เป็นต้น ส่วนประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดเป็น จีน 4.3 ล้านตัน, รองลงมา ไนจีเรีย 3.5 ล้านตัน, อิหร่าน 1.7 ล้านตัน, ฟิลิปปินส์ 1.7 ล้านตัน, อิรัก 1.5 ล้านตัน, ซาอุดีอาระเบีย 1.3 ล้านตัน เป็นต้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
5
ส่วนการผลิตข้าวของโลกคาดว่า ปี 58 อยู่ที่ 475.5 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ 477 ล้านตัน หรือลดลง 0.3% โดยจีนเป็น อันดับ 1 ที่ 144.5 ล้านตัน เพิ่ม 1.4% รอง ลงมาเป็ น อิ น เดี ย 102 ล้ า นตั น ลดลง 4.3%, อินโดนีเซีย 36.5 ล้านตัน เพิ่ม 0.6%, บั ง คลาเทศ 34.6 ล้ า นตั น เพิ่ ม 0.6%, เวียดนาม 28.3 ล้านตัน เพิ่ม 0.3% และ ไทย 20.5 ล้านตัน เพิ่ม 0.2% เป็นต้น สำหรั บ สต๊ อ กข้ า วรั ฐ บาลไทยที่ มี 17 ล้านตันนั้น แนวทางการระบายต้องขึ้นอยู่กับ นโยบายรั ฐ บาลในการบริ ห ารจั ด การ หาก ระบายออกมามากก็จะกระทบกับราคาข้าวที่ เป็นผลผลิตใหม่ แต่หากไม่ระบาย รัฐบาลก็
6 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายดูแลสูงมาก ซึ่งใน เรื่องของราคายอมรับว่าเอกชนมีความลำบาก ใจ เนื่องจากราคาข้าวส่งออกของไทยสูงกว่า คู่แข่งมาก นายชู เ กี ย รติ โอภาสวงศ์ นายก กิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า เป้าส่งออกข้าวปี 58 ที่กำหนด 10 ล้านตัน เพราะไทยจะสูญเสียตลาดข้าวให้กับประเทศ คู่แข่งในส่วนของข้าวขาวและข้าวนึ่ง เนื่องจาก ปัจจุบันราคาข้าวประเทศคู่แข่งต่ำกว่าไทยมาก แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายระบายข้าวสต๊อกใน ปีนี้ 10 ล้านตัน หรือเฉลีย่ เดือนละ 1 ล้านตัน แต่ เ ชื่ อ ว่ า รั ฐ บาลสามารถระบายข้ า วได้ จ ริ ง ไม่เกิน 3 ล้านตันเท่านั้น
Thailand Focus
กุ้งไทยระทึก "ใบเหลือง-เลิกจีเอสพี" ชะตากรรมที่หนักกว่าโรคตายด่วน อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรม ประมงของไทย ญีป่ นุ่ ลงความเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งที่สุด ซึ่งน้อยประเทศที่ จะไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ เพราะภาพถ่ายจาก ดาวเทียมทีถ่ า่ ยครึง่ โลกช่วงกลางคืน ปรากฏ ว่ามีแสงสีเขียวจากเรือประมงไทยส่องแสง สว่างจ้าทัว่ อ่าวไทย ในขณะทีท่ ะเลของประเทศ ต่างๆ กลับมืดมิด
การนำเข้าสินค้าดังกล่าวในปี 2558 หลังจากที่รอดตัวมาในปี 2557 ในขณะที่ อียูกล่าวหาว่า อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง แม้กุ้งไม่ได้จับมาจากทะเลโดยตรง แต่มีเรือ ประมงที่ทำผิดกฎหมาย IUU Fishing กว่า 10% ขายวัตถุดิบปลาเป็ดให้โรงงานปลาป่น แล้วขายให้โรงงานอาหารสัตว์ที่ผลิตอาหารกุ้ง อีกทอดหนึ่ง
แน่นอนว่า เมื่อเรือจับปลามีมาก ปลาที่ จะจับมาบริโภคโดยตรงย่อมเหลือน้อย รายได้ ส่วนหนึ่งของเรือประมงจึงต้องพึ่งพิงจากปลา เป็ดที่ติดอวนมา เพื่อส่งขายให้โรงงานปลาป่น แล้ ว ขายต่ อ ให้ โ รงงานอาหารสั ต ว์ ต ามวงจร ธุ ร กิ จ แต่ สิ่ ง เหล่ า นี้ ไ ม่ เ ล็ ด ลอดสายตาของ ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป หรืออียู ที่จับอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงกุ้งไทยขึ้นไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ สินค้าทีเ่ กีย่ วข้องกับการค้ามนุษย์อย่างร้ายแรง หรือ Tier 3 ของสหรัฐฯ ทีพ่ ร้อมจะถูกแซงก์ชนั่ คว่ำบาตร
พร้อมกับขู่ว่า หากไทยไม่แก้ไขกฎหมาย และดำเนินคดีอย่างจริงจัง ไม่แก้ปญ ั หาแรงงาน ผิดกฎหมาย-ค้ามนุษย์ การขึ้นทะเบียนเรือลูกเรือ สวัสดิการลูกจ้าง ใบอนุญาตจับปลา หรื อ อาชญาบั ต ร และการติ ด เครื่ อ ง VMS บอกพิกัดตำแหน่งที่อยู่เรือเพื่อตรวจสอบแบบ เรียลไทม์ อียูก็พร้อมจะแจกใบเหลืองให้ไทย ปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วนในเดือนกุมภาพันธ์ นี้ ก่อนที่จะให้ใบแดงห้ามนำเข้าสินค้าอาหาร ทะเลแปรรูปจากไทยในเดือนสิงหาคม 2558
ที่มา : ประชาชาติออนไลน์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
7
โดยเฉพาะสินค้ากุ้งอย่างเดียวที่ไทยส่ง ไปสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกปีนตี้ กประมาณ 42% และส่งเข้าอียู 13% ของการส่งออก กุ้งไทยทั้งหมด รวมทั้ง 2 ตลาดนี้มากกว่า 50% เข้าไปแล้ว นอกจากนี้ ไทยยังถูกตัดสิทธิพิเศษทาง ภาษี หรื อ GSP จากอี ยู โดยจะเริ่ ม มี ผ ล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 เท่ากับว่า อุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลแปรรูป ของไทย เช่น กุ้งทะเลแช่แข็งจะถูกเก็บภาษี นำเข้า 12% จากเดิมที่ได้จีเอสพีเก็บภาษีเพียง 4% เป็นต้น "ภาครัฐจะต้องใช้ทกุ วิธเี พือ่ ขจัดข้อกีดกัน ทางการค้าเหล่านีอ้ อกไปให้ได้ มิเช่นนัน้ จะเป็น การซ้ำเติมอุตสาหกรรมกุ้งไทย ที่เพิ่งฟื้นตัว จากโรคตายด่วน หรือ EMS และอาจกลาย เป็ น วิ ก ฤตครั้ ง ใหญ่ ต่ อ อุ ต สาหกรรมกุ้ ง ไทย ต่อไป ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่อียูจะกำหนดชะตากรรม กุ้งไทย ในขณะที่โรคตายด่วน เราเป็นผู้ลงมือ แก้ไข ปัญหาล่าสุดจึงหนักกว่า" นายสมศักดิ์ 8 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทยกล่าว และ เสริมว่า อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งเพิ่ง สร่างไข้จากโรคตายด่วน หรือ EMS ในช่วง ครึ่งหลังปี 2557 เพราะเกษตรกรลังเล ไม่ มั่นใจปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในช่วงครึ่งแรกปี 2557 ทำให้ปี 2557 นี้ ผลผลิตกุ้งไทยจะต่ำที่สุด เป็นประวัติการณ์ที่ 2.3 แสนตัน มีปริมาณ การส่งออก 1.5-1.6 แสนตัน โดย 10 เดือนแรก มีปริมาณส่งออก 1.3 แสนตัน มูลค่า 5.17 หมืน่ ล้านบาท เทียบกับปี 2556 10 เดือนแรก ที่ส่งออก 1.75 แสนตัน มูลค่า 5.6 หมื่นล้าน บาท ปริมาณการส่งออกปีนี้จึงลดลง 26% แต่ มู ล ค่ า ลดลงเพี ย ง 8% เนื่ อ งจากราคา เฉลีย่ ปีนสี้ งู ขึน้ ส่วนแนวโน้มการส่งออกกุง้ ในปี 2558 จะมีปริมาณ 1.8-2 แสนตัน มูลค่า ส่งออก 7.5-8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปริมาณที่คาดว่าจะเพาะเลี้ยงได้ 2.5-3 แสนตัน สาเหตุที่ไทยเพาะเลี้ยงกุ้งเพิ่มแบบก้าว กระโดดตามนโยบายที่ ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง ต้องการจะเห็นในปี 2558
ไม่ได้นนั้ นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรม ผูเ้ ลีย้ งกุง้ สุราษฎร์ธานีกล่าวว่า เพราะผูเ้ ลีย้ งกุง้ ต้องปรับตัวใหม่ในหลายเรื่องคือ 1. จากเดิมที่ เคยใช้พื้นที่เลี้ยงกุ้ง 70% และบ่อพักน้ำ 30% ต้องปรับเป็นบ่อพักน้ำ 60% พื้นที่เลี้ยง 40% ต้องทำความสะอาดพื้นบ่อเลี้ยงมากขึ้น ต้อง คัดสรรพันธุ์ลูกกุ้งที่ปราศจากโรคและแข็งแรง ต้องขจัดของเสียในบ่อ เอาเชื้อโรคออกไปโดย เร็วที่สุด และสุดท้าย ฟาร์มต้องปรับทัศนคติ จากการเลี้ยงแบบเดิมๆ ออกไป แล้วผลผลิต ในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น เห็นได้จากภาคตะวันออก พื้นที่เกิดโรค ตายด่วนแห่งแรกของไทยในปี 2554 ภาคนี้ เป็ น แหล่ ง ผลิ ต ลู ก กุ้ ง ขนาดใหญ่ ข องประเทศ ปีละ 55,000 ล้านตัว หลังจากเอาใจใส่ และ พิถีพิถันในการจัดการฟาร์ม ทั้งโรงเพาะฟัก ลูกกุ้งและพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่แข็งแรง ปราศจาก โรค ทำให้ผลผลิตปีนเี้ พิม่ ขึน้ มาเป็น 1.11 แสน ตัน มีสัดส่วนผลผลิต 48% รวมทั้งภาคกลาง ได้ ผ ลผลิ ต 4.7 หมื่ น ตั น สั ด ส่ ว นผลผลิ ต 21% "ปี 2557 การเลี้ยงกุ้งภาคตะวันออก ดีกว่าปี 2556 ค่อนข้างมาก ผลผลิตเพิ่มขึ้น ถึง 50% คือผลิตได้ประมาณ 1.1 แสนตัน สถานการณ์การเลี้ยงดีขึ้น เพราะผู้เลี้ยงกุ้งมี ความมั่นใจลงกุ้งมากขึ้น หลังจากจับแนวทาง ถูก เริ่มจัดการเลี้ยงได้ถูกทาง มีการปรับตัว จากการเลี้ยงแบบเดิมๆ หันมาเน้นเรื่องการ จัดการบ่อและการเลี้ยงมากขึ้น กอปรกับได้รับ ความช่ ว ยเหลื อ จากกรมประมงในเรื่ อ งการ ตรวจเช็คคุณภาพลูกกุ้งให้กับเกษตรกรก่อนนำ ไปเลี้ยง ทำให้อัตรารอดเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ใน
ส่วนของโรงเพาะฟักเองก็มีส่วนในการร่วมแก้ ปัญหาโรคตายด่วนอย่างแข็งขัน โดยมีการ ปรับปรุงสุขอนามัยในโรงเพาะฟัก และเน้น การคัดเลือกพ่อแม่พนั ธุค์ ณ ุ ภาพ เพือ่ ผลิตลูกกุง้ คุณภาพดีให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง" นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย และประธานสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยง กุ้งไทยกล่าว แต่ ใ นภาคใต้ ทั้ ง 2 ฝั่ ง ผลผลิ ต น้ อ ย โดยฝั่งอันดามันผลผลิต 3 หมื่นตัน สัดส่วน 13% ผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมา 25% และ ฝั่ ง อ่ า วไทย 4.2 หมื่ น ตั น สั ด ส่ ว นผลผลิ ต 18% โดยพื้นที่การเลี้ยงกุ้งของแหล่งใหญ่ที่ ชุมพร เลี้ยงจริงแค่ 22% สุราษฎร์ธานี เลี้ยง จริง 15% และนครศรีธรรมราช เลี้ยงจริง 11% เท่านัน้ ในปี 2557 ทีก่ ำลังจะผ่านพ้นไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
9
Thailand Focus
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน ในระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2558-2564) หลักเกณฑ์และประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทน
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
15 ธันวาคม 2557 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี
วิสัยทัศน์การส่งเสริมการลงทุน ในระยะ 7 ปี ส่ ง เสริ ม การลงทุ น ที่ มี คุ ณ ค่ า ทั้ ง ใน ประเทศและการลงทุน ของไทยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้น การเป็นประเทศทีม่ รี ายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นโยบายส่งเสริมการลงทุน 6 ประเด็นสำคัญ 1. ส่งเสริมการลงทุนเพือ่ พัฒนาความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการ ส่งเสริมการวิจยั และพัฒนา การสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ และการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจน ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลด ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
10 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
2. ส่ ง เสริ ม กิ จ การที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้อม และมีการประหยัดพลังงาน หรือใช้ พลั ง งานทดแทนเพื่ อ การเติ บ โตอย่ า งสมดุ ล และยั่งยืน 3. ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การรวมกลุ่ ม ของ การลงทุน (Cluster) ทีส่ อดคล้องกับศักยภาพ ของพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่ มูลค่า 4. ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เพื่ อ เสริ ม สร้ า งเศรษฐกิ จ ท้องถิ่น ที่เกื้อกูลต่อการสร้างความมั่นคงใน พื้นที่ 5. ส่ ง เสริ ม การลงทุ น ในเขตพั ฒ นา เศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน ทั้ง ในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน 6. ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่าง ประเทศ เพื่ อ พั ฒ นาความสามารถในการ แข่ ง ขั น ของธุ ร กิ จ ไทย และเพิ่ ม บทบาทของ ประเทศไทยในเวทีโลก
การให้สิทธิประโยชน์ตามยุทธศาสตร์ใหม่ สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives)
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของ โครงการ (Merit-based Incentives) 1. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความ สามารถในการแข่งขัน
+
2. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความ เจริญสู่ภูมิภาค 3. สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม
กำหนดสิทธิประโยชน์ตามลำดับ ความสำคัญของประเภทกิจการ
กำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อจูงใจให้มีการลงทุน หรือใช้จ่าย ในกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ หรืออุตสาหกรรมโดยรวมมากขึ้น
สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives) A2: กิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่มีการลงทุนในประเทศน้อย หรือยังไม่มี การลงทุน (ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี, ยกเว้น
อากรเครื่องจักร วัตถุดิบ Non-tax)
A4: กิจการที่มีระดับเทคโนโลยี ไม่เท่ากลุ่ม A1-A3 แต่ช่วยสร้าง มูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบในประเทศ และเสริม Supply Chain
A1: อุตสาหกรรมฐานความรู้ เน้นการออกแบบ ทำ R&D เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ (ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน, ยกเว้นอากรเครื่องจักร วัตถุดิบ Non-tax)
A3: กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีฐานการผลิตอยู่บ้างเล็กน้อย (ยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี, ยกเว้น อากรเครื่องจักร วัตถุดิบ Non-tax)
(ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี, ยกเว้น อากรเครื่องจักร วัตถุดิบ Non-tax)
B1/B2: อุตสาหกรรมสนับสนุนที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูง แต่ยังสำคัญต่อ Value chain (กลุ่ม B1 ได้รับยกเว้นอากรเครื่องจักร วัตถุดิบ Non-tax กลุ่ม B2 ได้รับยกเว้นอากรวัตถุดิบ Non-tax) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
11
ตัวอย่างประเภทกิจการในกลุ่ม A
A4
A3
A2
A1
กลุ่ม
ตัวอย่างประเภท • กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชือ้ เพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel) • กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ • กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ • กิจการวิจัยและพัฒนา • กิจการผลิตสารออกฤทธิ์ (Active Ingredient) จากวัตถุดิบทางธรรมชาติ • กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ • กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง • กิจการผลิตชิ้นส่วนในกลุ่ม Organics and Printed Electronics (OPE) • กิจการผลิตสารออกฤทธิ์สาคัญในยา (Active Pharmaceutical Ingredients) • กิจการขนส่งสินค้าทางราง • กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโน และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชีวภัณฑ์ • กิจการผลิต หรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) หรือสิ่งปรุงแต่งอาหาร (Food Ingredient) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย • กิจการผลิตเครื่องยนต์สำหรับยานพาหนะ • กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้ หรือเศษวัสดุทางการเกษตร • กิจการผลิตเส้นใยรีไซเคิล (Recycled Fiber) • กิจการอบ-ชุบโลหะ (Heat Treatment) • กิจการประกอบเครื่องจักร และ/หรืออุปกรณ์เครื่องจักร • กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากกระดาษปลอดเชื้อ
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives)
1. Merit เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน จำนวนภาษีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นเพิ่มเติม ให้คำนวณจากเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ ตามสัดส่วนที่กำหนด (%)
12 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
1. 2. 3. 4. 5. 6.
ประเภทเงินลงทุน/ค่าใช้จ่าย R&D ทั้งทำเอง ว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ หรือร่วมวิจัยกับองค์กรในต่างประเทศ การสนับสนุนกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม เฉพาะทาง สถาบันวิจัย หน่วยงานรัฐ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การพัฒนา Local Supplier ที่มีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% ในการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งทำเอง หรือว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ ตามที่ คณะกรรมการเห็นชอบ
วงเงินเพิ่มเติม 200% 100% 100% 100% 100% 100%
ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามสัดส่วนเงินลงทุน หรือค่าใช้จ่าย ดังนี้ เงินลงทุน/ค่าใช้จ่ายต่อยอดขายรวมใน 3 ปีแรก 1% หรือ > 200 ลบ. 2% หรือ > 400 ลบ. 3% หรือ > 600 ลบ.
ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม (พร้อมวงเงินเพิ่มเติม) 1 ปี 2 ปี 3 ปี
2. Merit เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ตั้งสถานประกอบการในพื้นที่ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดของประเทศ 20 จังหวัด • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 3 ปี หากเป็นกิจการในกลุ่ม A1 และ A2 ซึ่งได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีอยู่แล้ว จะให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี • ได้รบั สิทธิหกั ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาได้ 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี และหักค่าติดตัง้ หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน - กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ [ไม่รวมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษต่างหาก]
3. Merit เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ตัง้ สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมทีไ่ ด้รบั ส่งเสริม ยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 1 ปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
13
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ 1. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ • ต้องมีมลู ค่าเพิม่ ไม่นอ้ ยกว่า 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% • ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย • โครงการลงทุน 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ต้องได้รับ ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิด ดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี • สำหรับกิจการสัมปทานและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จะใช้แนวทางพิจารณาตามมติ ครม. เมือ่ ปี 2541 และปี 2547 • หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ ประเภทเครื่องจักร 1. เครื่องจักรใหม่ เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ 2. ไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ผลิตถึงปีที่นำเข้า 3. เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี (เฉพาะเครื่องปั๊มเท่านั้น) 4. กิจการขนส่งทางเรือ กิจการขนส่งทางอากาศ และแม่พิมพ์ (จะพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสม)
นับเป็นเงินลงทุน ยกเว้น อนุญาตให้ใช้ ให้ สำหรั นภ อากร ในโครงการ าษีเงิบนการยกเว้ ได้ (Cap) ขาเข้า
หมายเหตุ : ข้อ 2 และ 3 ต้องมีใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ในด้านประสิทธิภาพของเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงาน รวมทั้งการประเมินราคาที่เหมาะสม
2. การป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม • ต้องมีแนวทางและมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพสำหรับโครงการทีอ่ าจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิง่ แวดล้อม คณะกรรมการ จะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ • กรณีกิจการใดมีรายละเอียดโครงการ หรือกิจกรรมต่อเนื่องที่อยู่ในข่ายต้องทำ EIA ให้ โครงการ หรือกิจการนัน้ ต้องปฏิบตั ติ าม กม. ว่าด้วยสิง่ แวดล้อม หรือมติ ครม. ทีเ่ กีย่ วข้องด้วย • โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานฯ ที่ ป.1/2554
14 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
3. เงินลงทุนขั้นต่ำ และความเป็นไปได้ของโครงการ • ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ เช่น กิจการออกแบบ ทางอิเล็กทรอนิกส์ กิจการซอฟต์แวร์ กิจการวิจัยและพัฒนา จะพิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจาก เงินเดือนบุคลากรเฉพาะด้านที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี • ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วน โครงการขยาย จะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณี • โครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 750 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ต้อง แนบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
นโยบายพิเศษอื่นๆ • นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ • นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งส่งเสริมการลงทุนใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา 1. กรณีทั่วไป กำหนดให้ทุกประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี อากรสูงสุด ได้แก่ • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร • ยกเว้นอากรขาเข้าร้อยละ 75 สำหรับวัตถุดิบนำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เป็นเวลา 5 ปี • ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) • ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี • หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเวลา 15 ปี • หักเงินลงทุนในการติดตั้ง หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงิน ลงทุน เงื่อนไข • ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน • อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ได้มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และ ลงทุนเครื่องจักรใหม่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว **ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2560** ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
15
2. กรณีพิเศษ ผู้ประกอบการรายเดิมไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ จะ ได้รบั สิทธิทงั้ โครงการเดิม และโครงการลงทุนใหม่ทลี่ งทุนใน 4 จังหวัด และ 4 อำเภอ ในจังหวัด สงขลา โครงการเดิม ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี (Cap 100% ตามเงินลงทุนของโครงการใหม่) โครงการใหม่ • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร • ยกเว้นอากรขาเข้าร้อยละ 75 สำหรับวัตถุดิบนำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เป็นเวลา 5 ปี • ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) • ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี • หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าว 15 ปี • หักเงินลงทุนในการติดตั้ง หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงิน ลงทุน เงื่อนไข • ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน • อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ได้ มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และ ลงทุนเครื่องจักรใหม่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว • ต้องยื่นคำขอสำหรับโครงการใหม่ ภายใน 31 ธ.ค. 60 พร้อมยื่นหนังสือยืนยันการ ลงทุนในโครงการเดิม • ต้องยื่นคำขอของโครงการเดิม เมื่อโครงการใหม่แล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการ 3. ส่งเสริมการลงทุนในกิจการนิคม หรือเขตอุตสาหกรรม และกิจการทีต่ งั้ ในนิคม หรือ เขตอุตสาหกรรม หรือในพืน้ ที่คลัสเตอร์ รองรับการลงทุนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับ สิทธิประโยชน์สูงสุด ได้แก่ • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร • ยกเว้นอากรขาเข้าร้อยละ 75 สำหรับวัตถุดิบนำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เป็นเวลา 5 ปี • ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี (ไม่จำกัดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) • ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี • หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเวลา 15 ปี • หักเงินลงทุนในการติดตั้ง หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงิน ลงทุน 16 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
เงื่อนไข • ถ้าโครงการแรกยื่นขอรับส่งเสริมภายใน 31 ธ.ค. 60 และมีโครงการขยายที่ยื่น ขอรับส่งเสริมและมีรายได้กอ่ นสิน้ สุดเวลายกเว้นภาษีเงินได้ของโครงการแรก สามารถ รวมโครงการแรกเข้ากับโครงการขยาย • โครงการแรกลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน • โครงการขยายลงทุนไม่ตำ่ กว่าร้อยละ 25 ของเงินลงทุนโครงการแรก และไม่นอ้ ยกว่า 500,000 บาท • อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ได้ มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และ ลงทุนเครื่องจักรใหม่มูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าเครื่องจักรใช้แล้ว • ผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ **ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2560**
นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ • จะต้องเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนด • ปัจจุบัน กนพ. กำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรก 5 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดตาก 14 ตำบลที่ติดชายแดนใน 3 อำเภอ 2. จังหวัดมุกดาหาร 11 ตำบลที่ติดชายแดนใน 3 อำเภอ 3. จังหวัดสระแก้ว 4 ตำบลที่ติดชายแดนใน 2 อำเภอ 4. จังหวัดสงขลา 4 ตำบลของอำเภอสะเดา 5. จังหวัดตราด 3 ตำบลของอำเภอคลองใหญ่ สิทธิประโยชน์ • กรณีเป็นกิจการทั่วไปในประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริม ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ ต่อหัวต่ำ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เป็นเวลา 3 ปี - กรณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปีแล้ว ให้ได้รับลดหย่อนภาษี เงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เพิ่มอีก 5 ปี - หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า - หักค่าติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกได้ร้อยละ 25 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
17
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก - สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ
• กรณีเป็นกิจการเป้าหมายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามทีค่ ณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกำหนด
ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปีแล้ว และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เพิ่มอีก 5 ปี - หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า - หักค่าติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกได้ร้อยละ 25 - ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร - ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก - สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร ผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ **ต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 58 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 60**
18 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
Thailand Focus
รมว. เกษตรฯ เผย
กม. ประมงฉบับใหม่ และแผนฯ แก้ ไขปัญหา ทำประมงผิด กม. เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2558 ที่ ผ่านมา กรมประมงจัดแถลงข่าวกฎหมาย ประมงฉบับใหม่ และแผนปฏิบัติการแก้ไข ปั ญ หาการทำประมงผิ ด กฎหมายขาดการ รายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของประเทศไทยขึ้ น โดยมี นายปิ ติ พ งศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ดร.วิมล จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง ร่วม แถลงข่าว ณ ห้องวิภาวดีบอลรูมซี โรงแรม เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ ประเทศไทย มี พ ระราชบั ญ ญั ติ ก าร ประมง พ.ศ. 2490 บังคับใช้มาเป็นระยะเวลา นาน โดยเน้นการบริหารจัดการประมงน้ำจืด เป็ น สำคั ญ เนื่ อ งจากในสมั ย นั้ น ยั ง ไม่ มี ก าร พัฒนาด้านการประมงทะเล จึงจำเป็นต้องมี การปรับปรุงกฎหมายประมงไทยใหม่โดยได้
เริ่ ม ยกร่ า งกฎหมายประมงใหม่ ทั้ ง ฉบั บ มา ตั้งแต่ปี 2542 ผ่านการรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายครั้ง และเสนอ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาลหลายครั้ง จนใน ที่ สุ ด เมื่ อ วั น ที่ 9 มกราคม 2558 สภา นิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ ไ ด้ มี ม ติ เ ห็ น ชอบในร่ า ง พระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่ โดยจะ มีผลใช้บังคับประมาณเดือนเมษายน 2558 ทั้งนี้ กฎหมายฉบับใหม่ มีสาระครอบคลุม ทัง้ การประมงในน่านน้ำ นอกน่านน้ำ การเพาะ เลี้ ย งสั ต ว์ น้ ำ และการมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชน ตลอดจนการอนุรักษ์ และบริหารทรัพยากร ประมงที่ ส อดคล้ อ งกั บ มาตรการสากลที่ ทั่ ว โลกยอมรับ โดยมีประเด็นสำคัญที่กำหนดใน กฎหมายฉบับใหม่เพิ่มเติมฉบับเดิม คือ 1. การบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรสั ต ว์ น้ ำ โดย กำหนดเขตการทำประมงออกเป็ น 3 เขต คือ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง 2. การมีส่วน ร่วมของประชาชนในหลายระดับ ในรูปแบบ
ที่มา : วารสารข่าวกุ้ง ปีที่ 27 ฉบับที่ 318 เดือนมกราคม 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
19
นายปิตพิ งศ์ พึง่ บุญ ณ อยุธยา (คนกลาง) รมว. เกษตรฯ นำทีม ดร. วิมล จันทรโรทัย (คนขวา) รองปลัด ก. เกษตรฯ ดร. จุมพล สงวนสิน (คนซ้าย) อธิบดีปรมประมง แถลงข่าวเรือ่ งกฎหมาย ประมงฉบับใหม่ และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไอยูยูฯ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา
คณะกรรมการประจำจั ง หวั ด เพื่ อ นำเสนอ นโยบาย หรือมาตรการต่างๆ ในด้านกฎหมาย ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ และการมี ส่วนร่วมในลักษณะคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการนโยบาย ประมงแห่งชาติ 3. การส่งเสริมการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำและสุขอนามัยสัตว์น้ำ ให้ได้ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงและสุขอนามัยสัตว์น้ำ 4. มาตรการรัฐเจ้าของท่าเรือ ในการออกกฎหมาย ควบคุมและป้องกันเรือประมงต่างชาติที่อยู่ใน บั ญ ชี ร ายชื่ อ เรื อ ประมงที่ ท ำผิ ด กฎหมายใน ภูมิภาคต่างๆ มาเข้าเทียบท่าในประเทศ และ 5. มาตรการเพื่อควบคุมการไปทำการประมง นอกน่ า นน้ ำ โดยเรื อ ประมงไทยที่ ไ ปทำการ ประมงนอกน่านน้ำ จะต้องได้รับอนุญาตจาก อธิบดีกรมประมงก่อนออกไปทำการประมง และจะต้ อ งติ ด ตั้ ง เครื่ อ งมื อ ติ ด ตามตำแหน่ ง เรือประมง (VMS) เพือ่ ให้ภาครัฐสามารถติดตาม ควบคุมการทำประมงของเรือเหล่านั้นได้ 20 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการ ทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และ ไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU) ของไทย มีรายงานว่า ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สหภาพยุโรป (อียู) จะให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทย เนื่องจาก ผลการประเมินการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ของไทยไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUU ของอียู โดยให้เวลาประเทศไทย 6 เดือน ใน การแก้ไขปัญหาประมง IUU เพือ่ ปลดใบเหลือง ดั ง กล่ า ว มิ เ ช่ น นั้ น ไทยจะถู ก ขึ้ น บั ญ ชี เ ป็ น ประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือกับอียูภายใต้กฎ ระเบียบ IUU ส่งผลทำให้ไทยไม่สามารถส่งออก สินค้าไปยังอียูได้ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้าสินค้าประมงไทย ที่มีมูลค่าการส่งออก สูงถึงปีละ 242,691 ล้านบาท (ส่งออกไปอียู ประมาณ 32,000 ล้านบาท) อีกทั้งอาจส่งผล กระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าสำคัญ อื่นๆ ของไทยด้วย
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว รัฐบาลได้ให้ความ สำคั ญ และกำหนดให้ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาการ ประมง IUU โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการประมง IUU ขึ้ น โดยแผนปฏิ บั ติ ดั ง กล่ า ว ได้ ผ่ า น ความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ และการกระทำประมงผิด กฎหมาย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการ ประชุม เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 เพื่อนำ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป สำหรับแผนปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาการประมง IUU ประกอบด้วย แผนงานหลัก 6 แผนงาน ได้แก่ 1. การจด ทะเบี ย นเรื อ ประมง และออกใบอนุ ญ าตทำ การประมง 2. การควบคุมและเฝ้าระวังการ ทำประมง 3. การจัดทำระบบติดตามตำแหน่ง เรือ (VMS) 4. การปรับปรุงระบบการตรวจ
สอบย้อนกลับ (Traceability) 5. การปรับปรุง พระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลำดับ รอง และ 6. การจัดทำแผนระดับชาติในการ ป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิด กฎหมาย ขาดรายงาน และไร้การควบคุม National Plan of Action-IUU (NPOA-IUU) โดยการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาการประมง IUU ของไทยมีการ บู ร ณาการในการปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น ระบบจาก หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คาดว่าแผนงานดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันการทำประมง IUU ของเรือประมง ไทย ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกน่านน้ำ ไทยและต่ า งประเทศ รวมทั้ ง ป้ อ งกั น สิ น ค้ า สัตว์นำ้ IUU จากต่างประเทศเข้ามายังประเทศ ไทยด้วย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
21
Food Feed Fuel
สถานการณ์ สินค้าเกษตรที่สำคัญ
และแนวโน้ม ปี 2558
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1. สถานการณ์ปี 2557 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต การผลิต ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จาก 825.62 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 989.19 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.08 ต่อปี เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป ยูเครน เม็กซิโก อินเดีย และแอฟริกาใต้ ผลิตได้เพิม่ ขึน้ การผลิต ปี 2556/57 มี 989.19 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 867.97 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 13.97 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกผลิตได้เพิ่มขึ้นจาก 273.19 ล้านตัน ในปี 2555/56 เป็น 353.72 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.48 1.1.2 การตลาด (1) ความต้องการใช้ ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเอทานอล และเมล็ดพันธุ์ ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 826.47 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 953.98 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.06 ต่อปี โดยสหรัฐอเมริกามีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจาก 281.62 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 295.39 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.17 ต่อปี นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียปิ ต์ แคนาดา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ยูเครน เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา และฟิลิปปินส์ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
22 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ความต้องการใช้ ปี 2556/57 มี 953.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 864.69 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 10.33 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีความต้องการใช้ข้าวโพด เลีย้ งสัตว์เพือ่ ผลิตเอทานอลเพิม่ ขึน้ จาก 117.88 ล้านตัน ในปี 2555/56 เป็น 130.40 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.62 (2) การค้า การค้า ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 92.75 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 129.60 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.90 ต่อปี เนื่องจากประเทศผู้ส่งออก ได้แก่ บราซิล ยูเครน รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ สหภาพยุโรป เซอร์เบีย และปารากวัย ส่งออกได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้า ได้แก่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์ สหภาพยุโรป ไอแลนด์ โคลัมเบีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบีย เวเนซูเอลา อินโดนีเซีย จีน และเปรู มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น การค้า ปี 2556/57 มีปริมาณ 129.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 100.51 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 28.94 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญส่งออก ได้เพิม่ ขึน้ จาก 18.26 ล้านตัน ในปี 2555/56 เป็น 50.71 ล้านตัน ในปี 2556/57 นอกจากนี้ ประเทศผูน้ ำเข้า ได้แก่ สหภาพยุโรป จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ญีป่ นุ่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ อิหร่าน ไอแลนด์ ไต้หวัน โคลัมเบีย และอัลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (3) ราคา ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อเมริกนั ชัน้ 2 ตลาดชิคาโก ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากตันละ 4,797 บาท ในปี 2552/53 เป็นตันละ 6,451 บาท ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.25 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นจาก 116.62 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 130.40 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.46 ต่อปี ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโก ปี 2556/57 ตันละ 6,451 บาท ลดลงจากตันละ 8,933 บาท ในปี 2555/56 ร้อยละ 27.78 เนือ่ งจากสถานการณ์ การผลิตโลกกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากที่ผลผลิตได้รับความเสียหายจำนวนมากจากคลื่น ความร้อนในปี 2555/56
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7.10 ล้านไร่ ในปี 2552/53 เป็น 7.54 ล้านไร่ ในปี 2556/57 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.28 ต่อปี เนือ่ งจากปี 2552/53-2553/54 ภาครัฐมีการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และในปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
23
2555/56 เกิดภาวะภัยแล้ง ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ปรับตัวสูงขึน้ มาก จูงใจให้เกษตรกรขยายเนือ้ ที่ เพาะปลูกเพิ่มขึ้น สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 650 กิโลกรัม ในปี 2552/53 เป็น 671 กิโลกรัม ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 ต่อปี ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.62 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 5.06 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 ต่อปี เนื้อที่เพาะปลูก ปี 2556/57 มี 7.54 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 7.53 ล้านไร่ ในปี 2555/56 ร้อยละ 0.13 สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 657 กิโลกรัม ในปี 2555/56 เป็น 671 กิโลกรัม ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13 ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.95 ล้านตัน ในปี 2555/56 เป็น 5.06 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 1.2.2 การตลาด (1) ความต้องการใช้ ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้ม เพิม่ ขึน้ จาก 4.21 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 4.72 ล้านตัน ในปี 2556/57 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.21 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีมากขึ้น ตามการขยายตัวของ อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ความต้องการใช้ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์ ปี 2556/57 มี 4.72 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 4.67 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 1.07 (2) การส่งออก การส่งออก ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มลดลงทัง้ ปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 15.21 ต่อปี และ 10.53 ต่อปี ตามลำดับ โดยปริมาณลดลงจาก 1.01 ล้านตัน ในปี 2552/53 เป็น 0.99 ล้านตัน ในปี 2556/57 ส่วนมูลค่าในภาพรวมลดลง แต่เมือ่ เปรียบเทียบ ปี 2552/2553 กับปี 2556/57 พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิม่ ขึน้ จาก 6,548.55 ล้านบาท ในปี 2552/2553 เป็น 7,493.01 ล้านบาท ในปี 2556/57 เนือ่ งจากราคาทีเ่ พิม่ ขึน้ ในปี 2556/57 มีสดั ส่วนทีส่ งู กว่าการเพิม่ ขึน้ ของปริมาณสำหรับตลาดส่งออกทีส่ ำคัญ ได้แก่ ฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย การส่งออก ปี 2556/57 มีปริมาณ 0.99 ล้านตัน มูลค่า 7,493.01 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จาก 0.04 ล้านตัน มูลค่า 391.10 ล้านบาท ในปี 2555/56 โดยปริมาณเพิม่ ขึน้ 24.75 เท่า และมูลค่าเพิม่ ขึน้ 19.16 เท่า เนือ่ งจากมีการส่งออกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ไปตลาดอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลปิ ปินส์ และอินโดนีเซีย ซึง่ เป็นประเทศคูค่ า้ ของไทยเพิม่ ขึน้ ประกอบกับในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2556 มีการผลักดันการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามมาตรการแทรก แซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2556/57 24 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
(3) การนำเข้า การนำเข้า ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มลดลงจาก 0.29 ล้านตัน มูลค่า 995.64 ล้านบาท ในปี 2552/53 เหลือ 0.14 ล้านตัน มูลค่า 570.89 ล้านบาท ในปี 2556/57 หรือลดลงร้อยละ 23.73 ต่อปี และร้อยละ 20.47 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจาก ผลผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการบริหารจัดการช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และโครงการ ลงทุนเกษตรแบบมีสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน (Contract Farming) ภายใต้ยุทธศาสตร์ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawade-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Stratege: ACMECS) ที่กำหนดภาษีร้อยละ 0 สำหรับผู้นำเข้าทั่วไปในช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม นอกจากนีใ้ นปี 2554 ไทยประสบปัญหาอุทกภัย การคมนาคมไม่สะดวก อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ชะลอการผลิต ทำให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วง ดังกล่าวลดลง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สปป.ลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา การนำเข้า ปี 2556/57 มีปริมาณ 0.14 ล้านตัน มูลค่า 570.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.10 ล้านตัน มูลค่า 410.47 ล้านบาท ในปี 2555/56 ร้อยละ 40 และ ร้อยละ 39.08 ตามลำดับ เนื่องจากมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 อนุมัติให้องค์การ คลั ง สิ น ค้ า (อคส.) นำเข้ า ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ จ ากราชอาณาจั ก รกั ม พู ช าในอั ต ราภาษี น ำเข้ า ร้อยละ 0 เพือ่ มาใช้เป็นวัตถุดบิ อาหารสัตว์ในประเทศช่วงเดือนสิงหาคม 2556 จำนวน 1 แสนตัน และช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนมกราคม 2557 จำนวน 1.50 แสนตัน
(4) ราคา
ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53-2556/57 มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุก ตลาดตามการเคลื่อนไหวของราคาตลาดโลก และความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดย ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ละระดับตลาดมีความเคลื่อนไหว ดังนี้ 1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ (ความชื้นไม่เกิน 14.5%) ปี 2552/53 กิโลกรัมละ 5.43 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 7.01 บาท ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.71 ต่อปี 2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ปี 2552/53 โรงงานอาหารสัตว์รบั ซือ้ กิโลกรัมละ 7.52 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 8.70 บาท ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.97 ต่อปี ส่วนราคาไซโลรับซือ้ ปี 2552/53 กิโลกรัมละ 6.63 บาท เพิม่ ขึน้ เป็นกิโลกรัมละ 7.57 บาท ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 ต่อปี 3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี ปี 2552/53 ตันละ 7,768 บาท เพิม่ ขึน้ เป็น ตันละ 8,941 บาท ในปี 2556/57 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 ต่อปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
25
ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2556/57 เทียบกับปี 2555/56 ทุกตลาด ปรับตัวลดลงเนือ่ งจากในปี 2556/57 ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ภายในประเทศได้รบั ผลกระทบจาก การลดปริมาณการใช้ของผู้ใช้รายใหญ่รายหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
2. แนวโน้ม ปี 2558 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต การผลิต ปี 2557/58 คาดว่ามี 990.32 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 989.19 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 0.11 เนือ่ งจากสหรัฐอเมริกาซึง่ เป็นผูผ้ ลิตรายใหญ่ของโลกผลิตได้เพิม่ ขึน้ จาก 353.72 ล้านตัน ในปี 2556/57 เป็น 365.97 ล้านตัน ในปี 2557/58 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.46 นอกจากนี้ สหภาพยุโรป เม็กซิโก รัสเซีย อินโดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ และเซอร์เบีย ผลิตได้เพิม่ ขึน้ ส่งผลให้ผลผลิตในภาพรวมของโลกเพิ่มขึ้น 2.1.2 การตลาด (1) ความต้องการใช้ ความต้องการใช้ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์ ปี 2557/58 คาดว่ามี 971.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 953.98 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 1.87 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีความ ต้องการใช้ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์เพิม่ ขึน้ จาก 295.39 ล้านตัน ในปี 2556/57 เป็น 302.53 ล้านตัน ในปี 2557/58 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.42 โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเอทานอล 130.81 ล้านตัน หรือร้อยละ 43.24 ของความต้องการใช้ทั้งหมด นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก ญี่ปุ่น อียิปต์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ยูเครน และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นด้วย
(2) การค้า
ปี 2557/58 คาดว่าปริมาณการค้าของโลกมี 115.04 ล้านตัน ลดลงจาก 129.60 ล้านตัน ของปี 2556/57 ร้อยละ 11.23 เนือ่ งจากประเทศผูส้ ง่ ออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล ยูเครน อาร์เจนตินา รัสเซีย อินเดีย และปารากวัย จะมีการส่งออกลดลง และประเทศ ผู้นำเข้า ได้แก่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์ สหภาพยุโรป โคลัมเบีย ใต้หวัน แอลจีเรีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน จะมีการนำเข้าลดลง
(3) ราคา
ปี 2557/58 ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อเมริกนั ชัน้ 2 ตลาดชิคาโก มีแนวโน้ม ลดลงจากปี 2556/57 เนื่องจากคาดการณ์ผลผลิตโลกเพิ่มขึ้น และราคาธัญพืชโลกมีแนวโน้ม ปรับตัวลดลง 26 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก ปี 2557/58 คาดว่ามี 7.40 ล้านไร่ ลดลงจาก 7.54 ล้านไร่ ในปี 2556/57 ร้อยละ 1.86 เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิม่ ขึน้ จาก 671 กิโลกรัม ในปี 2556/57 เป็น 676 กิโลกรัม ในปี 2557/58 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.75 โดยสัดส่วนการเพิม่ ขึน้ ของผลผลิต ต่อไร่ต่ำกว่าการลดลงของเนื้อที่เพาะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตรวมลดลงจาก 5.06 ล้านตัน ในปี 2556/57 เป็น 5.01 ล้านตัน ในปี2557/58 หรือลดลงร้อยละ 0.99 2.2.2 การตลาด (1) ความต้องการใช้ ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2557/58 คาดว่ามี 5.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.72 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 5.93 เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการ เลี้ยงสัตว์ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหาร สัตว์เพิ่มขึ้น (2) การส่งออก การส่งออก ปี 2557/58 คาดว่ามีแนวโน้มลดลงจากปี 2556/57 เนื่องจากในปี 2556/57 มีการผลักดันการส่งออกในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2556 จำนวน 0.50 ล้านตัน ตามมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2556/57 (3) การนำเข้า การนำเข้าปี 2557/58 คาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2556/57 เนื่อง จากคาดการณ์สต๊อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีน้อยลง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรลักลอบจากประเทศ เพื่อนบ้าน (4) ราคา สำหรับปี 2557/58 คาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึน้ จากปี 2556/57 เนือ่ ง จากปีที่ผ่านมาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศปรับตัวลดลงมาก จากการลดปริมาณความ ต้องการใช้ของผู้ใช้รายใหญ่รายหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิต การตลาด และการส่งออก 2.3.1 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิต และการตลาด (1) พื้นที่เพาะปลูกมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากภัยแล้ง เพราะพื้นที่ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร้อยละ 98 อยู่นอกเขตชลประทาน และอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูกเพียง อย่างเดียว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
27
(2) ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิต ร้อยละ 99 ของผลผลิตทั้งหมดใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นหลัก การเพิ่มขึ้น หรือลดลง ของความต้องการใช้จะส่งผลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ (3) การนำเข้าจากประเทศเพือ่ นบ้าน อาจส่งผลกระทบต่อราคาภายในประเทศ โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตภายในประเทศออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม (4) การนำเข้าพืชทดแทน เช่น การนำข้าวสาลี (คุณภาพต่ำ) ราคาถูกมาใช้ ทดแทนข้าวโพดเลีย้ งสัตว์บางส่วนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อาจส่งผลต่อราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ที่เกษตรกรขายได้ลดลง 2.3.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ได้แก่ ปริมาณผลผลิตภายในประเทศ ความ ต้องการใช้และราคาผลผลิตภายในประเทศ รวมถึงราคาธัญพืชทดแทนและปริมาณการนำเข้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตารางที่ 1 บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2552/53-2557/58 ปี 2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2557/58* ผลต่าง 2556/57 และ 2557/58 (ร้อยละ)
สต๊อก ต้นปี 147.46 146.61 130.05 134.51 137.78 -2.19 172.99
ผลผลิต 825.62 835.37 888.16 867.97 989.19 4.08 990.32
25.56
หมายเหตุ : *ประมาณการ ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน 2557
28 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
0.11
หน่วย : ล้านตัน
ปริมาณการค้า นำเข้า ส่งออก 92.75 92.75 91.71 91.71 103.72 103.72 100.51 100.51 129.60 129.60 7.90 7.90 115.04 115.04 -11.23
-11.23
826.47 851.95 883.69 864.69 953.98 3.06 971.81
สต๊อก ปลายปี 146.61 130.05 134.51 137.78 172.99 3.96 191.50
1.87
10.70
การใช้
ตารางที่ 2 เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ และความต้องการใช้ของสหรัฐอเมริกา ปี 2552/53-2557/58 เนื้อที่ปลูก ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ความต้องการใช้ ปี (ล้านไร่) (ล้านตัน) (กิโลกรัม) (ล้านตัน) 2552/53 201.06 332.55 1,654.40 281.62 2553/54 206.00 316.17 1,534.40 284.55 2554/55 212.44 313.95 1,478.40 277.91 2555/56 221.00 273.19 1,236.80 262.97 2556/57* 221.75 353.72 1,595.20 295.39 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2.70 -0.23 -2.84 0.17 2557/58* 210.19 365.97 1,740.80 302.53 ผลต่าง 2556/57 และ -5.21 3.46 9.13 2.42 2557/58 (ร้อยละ) หมายเหตุ : *ประมาณการ ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เดือนพฤศจิกายน 2557
ตารางที่ 3 เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2552/53–2557/58 ปี 2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2557/58* ผลต่าง 2556/57 และ 2557/58 (ร้อยละ)
เนื้อที่เพาะปลูก(ล้านไร่) 7.10 7.48 7.40 7.53 7.54 1.28 7.40
ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 650 650 672 657 671 0.75 676
ผลผลิต (ล้านตัน) 4.62 4.86 4.98 4.95 5.06 2.04 5.01
-1.86
0.75
-0.99
หมายเหตุ : *ประมาณการ ณ เดือนพฤศจิกายน 2557 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
29
ตารางที่ 4 การใช้ในประเทศ การส่งออก และการนำเข้าของไทย ปี 2552/53-2557/58 ปี
การใช้ในประเทศ (ล้านตัน)
1/
2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2557/58*
4.21 4.28 4.36 4.67 4.72 3.21 5.00
หมายเหตุ : *ประมาณการ ที่มา : 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร
การส่งออก2/ ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 1.01 6,548.55 0.20 1,558.66 0.32 2,950.21 0.04 391.10 0 0.99 7,493.01 -15.21 -10.53 0.20-0.30 -
การนำเข้า2/ ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 0.29 995.64 0.35 1,333.91 0.21 743.82 10 410.47 0.14 570.89 -23.73 -20.47 0.20-0.30 -
ตารางที่ 5 ราคาเกษตรกรขายได้ ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ส่งออก เอฟ.โอ.บี. ราคาตลาดชิคาโก ปี 2552/53-2556/57 ปี
เกษตรกร ขายได้ (บาท/กก.)
2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
5.43 8.13 7.63 9.34 7.01 6.71
ขายส่งในตลาดกรุงเทพ โรงงานอาหาร ไซโลรับซื้อ สัตว์รับซื้อ (บาท/กก.) (บาท/กก.) 7.52 6.63 9.42 8.60 9.66 8.58 10.39 8.35 8.70 7.57 3.97 2.38
ส่งออก เอฟ.โอ.บี. (บาท/ตัน) 7,768 9,832 10,053 10,679 8,941 3.71
ตลาดชิคาโก (บาท/ตัน) 4,797 6,669 8,060 8,933 6,451 9.25
» ¶ ° ° µ¦¦oµ ¢µ¦r¤ ¨³ ¨· °µ®µ¦´ ªr
by
ถั่วเหลือง 1. สถานการณ์ปี 2557 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2552/53-2556/2557 ผลผลิตถัว่ เหลืองของโลกเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.98 ต่อปี โดยในปี 2556/57 มีผลผลิตรวม 285.01 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 268.06 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 6.32 ประเทศผู้ผลิตสำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา ปริมาณผลิตรวม 232.09 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 81.43 ของผลผลิตโลก 1.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการใช้
ปี 2552/53-2556/2557 ความต้องการใช้เมล็ดถัว่ เหลืองเพือ่ สกัดน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 ต่อปี ในปี 2556/57 มีปริมาณ 239.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 229.60 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 4.33 ประเทศทีม่ คี วามต้องการใช้มากทีส่ ดุ ได้แก่ จีน รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยทั้ง 2 ประเทศ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555/56 สำหรับสต๊อกสิน้ ปี 2552/53-2556/2557 ลดลงร้อยละ 0.77 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2556/57 มีปริมาณ 66.85 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 56.28 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 18.78
(2) การส่งออก
ปี 2552/53-2556/2557 การส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.24 ต่อปี ในปี 2556/57 มีการส่งออก 112.73 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 100.54 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 12.12 ประเทศส่งออกสำคัญอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และใต้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา โดยทัง้ 3 ประเทศมีปริมาณส่งออกรวม 99.49 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 88.25 ของปริมาณส่งออกโลก
(3) การนำเข้า
ปี 2552/53-2556/2557 การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.71 ต่อปี ในปี 2556/57 มีปริมาณการนำเข้า 110.29 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 95.89 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 15.02 โดยจีนมีการนำเข้ามากทีส่ ดุ เท่ากับ 70.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 63.80 ของปริมาณนำเข้าโลก เนื่องจากผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้สกัดน้ำมันภายใน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
31
ประเทศ สำหรับประเทศไทยนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเป็นอันดับ 7 ของโลก ปี 2556/57 นำเข้า ปริมาณ 1.80 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.63 ของปริมาณนำเข้าโลก
(4) ราคา
ปี 2552/53-2556/2557 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.56 ต่อปี แต่ในปี 2556/57 ราคา 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจาก 537 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 9.31 เนือ่ งจากปริมาณผลผลิตถัว่ เหลืองของ สหรัฐอเมริกาเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10.39 จากสาเหตุสภาพดินฟ้าอากาศเอือ้ อำนวยต่อการผลิต สำหรับ ตลาดบราซิล ราคาเมล็ดถัว่ เหลืองปี 2552/53-2556/2557 เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.28 ต่อปี แต่เมือ่ เปรียบเทียบปี 2556/57 กับปี 2555/56 ราคาลดลงร้อยละ 4.46 จาก 538 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เป็น 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เนื่องจากปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองของบราซิลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.73
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2553/54-2557/58 เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 25.07 ต่อปี และร้อยละ 24.09 ต่อปี ตามลำดับ ในปี 2557/58 มีเนือ้ ทีเ่ พาะปลูก 0.19 ล้านไร่ และผลผลิต 51,740 ตัน ลดลงจาก 0.20 ล้านไร่ และผลผลิต 52,740 ตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 3.57 และร้อยละ 1.90 ตามลำดับ การลดลงของเนือ้ ทีเ่ พาะปลูกและผลผลิต มีสาเหตุสำคัญคือ ผลตอบแทนต่ำกว่าพืชแข่งขันและการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี ส่วนผลผลิตต่อไร่ ในปี 2553/54-2557/58 เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.92 ต่อปี ในปี 2557/58 ผลผลิตต่อไร่ 278 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 274 กิโลกรัม ในปี 2556/57 ร้อยละ 1.46 1.2.2 การตลาด
(1) ความต้องการใช้
ปี 2553-2557 ความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองลดลงร้อยละ 1.22 ต่อปี แต่ในปี 2557 ความต้องการใช้มปี ริมาณ 2.07 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 1.74 ล้านตัน ในปี 2556 ร้อยละ 18.65 การใช้ประโยชน์มหี ลายวัตถุประสงค์ ได้แก่ สกัดน้ำมัน ทำพันธุ์ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหาร คิดเป็นร้อยละ 81.87 ร้อยละ 0.19 และร้อยละ 17.65 ของความต้องการใช้เมล็ดถัว่ เหลือง ทั้งหมด (2) การส่งออก การส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเมล็ดถัว่ เหลืองสายพันธุธ์ รรมชาติ (non-GMOs) ทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศ ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยูใ่ นทวีปเอเชีย โดยในช่วงปี 25532557 ปริมาณส่งออกอยู่ระหว่าง 954-6,000 ตัน 32 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
(3) การนำเข้า
ไทยพึ่งพาการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองร้อยละ 96-97 ของความต้องการใช้ ทั้งหมด โดยปี 2553-2557 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 ต่อปี ในปี 2557 นำเข้า 2.02 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 1.68 ล้านตัน ในปี 2556 ร้อยละ 20.07 แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา และแคนาดา
(4) ราคา
ปี 2556-2557 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองและน้ำมันถั่วเหลืองภายในประเทศ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาตลาดโลก โดยราคามีการเคลื่อนไหว ดังนี้ • ราคาเมล็ดถั่วเหลืองคละเกรดที่เกษตรกรขายได้ ปี 2557 กิโลกรัมละ 18.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.32 บาท ของปี 2556 ร้อยละ 0.44 • ราคานำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2557 กิโลกรัมละ 18.90 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 18.60 บาท ของปี 2556 ร้อยละ 1.61 • ราคาขายส่งน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ปี 2557 กิโลกรัมละ 50.08 บาท ทรงตัวเท่ากับปี 2556
2. แนวโน้มปี 2558 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2557/58 คาดว่าผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 312.06 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 285.01 ล้านตัน ของปี 2556/57 ร้อยละ 9.49 เนื่องจากผลผลิตถั่วเหลืองของ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา เพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2557/58 คาดว่า สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา สามารถผลิตถั่วเหลืองได้ 107.73 ล้านตัน 94.00 ล้านตัน และ 55.00 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 91.39 ล้านตัน 86.70 ล้านตัน และ 54.00 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 17.88 ร้อยละ 8.42 และร้อยละ 1.85 ตามลำดับ 2.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการใช้
ปี 2557/58 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมัน มี ปริมาณ 251.92 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 239.55 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 5.16 เนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อการอุปโภคและบริโภคของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย เฉพาะจีนที่มีนโยบายส่งเสริมให้สกัดน้ำมันถั่วเหลืองใช้ภายในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปของ ผลผลิตกากและน้ำมัน ตอบสนองความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
33
(2) การส่งออก ปี 2557/58 คาดว่าผูส้ ง่ ออกถัว่ เหลืองรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ อาร์เจนตินา สามารถส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองได้เพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณ 46.81 ล้านตัน และ 8.20 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 44.82 ล้านตัน และ 7.84 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 4.44 และร้อยละ 4.59 ตามลำดับ ส่วนบราซิลส่งออกถั่วเหลืองลดลงจาก 46.83 ล้านตัน ในปี 2556/57 เป็น 46.70 ล้านตัน ในปี 2557/58 หรือลดลงร้อยละ 0.28 ด้วยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ ในปี 2557/58 การส่งออกถั่วเหลืองของโลกมีปริมาณ 115.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 112.73 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 2.49 โดยปริมาณสต๊อกถั่วเหลืองโลกเพิ่มขึ้นจาก 66.85 ล้านตัน ในปี 2556/57 เป็น 90.28 ล้านตัน ในปี 2557/57 ร้อยละ 35.05 (3) การนำเข้า ปี 2557/58 คาดว่าการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 112.72 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 110.29 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 2.20 โดยจีนนำเข้ามากที่สุด ปริมาณ 74.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 70.36 ล้านตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 5.17 ในปี 2557/58 จีนนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองร้อยละ 65.65 ของปริมาณการนำเข้าโลก (4) ราคา ปี 2557/58 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัว ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2556/57 เนื่องจากปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2557/58 (ตุลาคม 2557) ราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงเป็น 343 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากราคาเฉลี่ย 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2556/57 ร้อยละ 29.57 2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุ จากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี และผลตอบแทนต่ำกว่าพืชแข่งขันอื่นๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยคาดว่าปี 2558/59 จะมีเนื้อที่เพาะปลูก 0.18 ล้านไร่ ผลผลิต 50,953 ตัน และผลผลิต ต่อไร่ 280 กิโลกรัม 2.2.2 ตลาด (1) ความต้องการใช้ ปี 2558 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองมีปริมาณ 2.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.07 ล้านตัน ในปี 2557 ร้อยละ 4.06 โดยในปี 2558 มีสัดส่วนการใช้ผลผลิต ภายในประเทศร้อยละ 2.38 และนำเข้าร้อยละ 97.62 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด 34 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
(2) การส่งออก
ปี 2558 คาดว่าปริมาณการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองของไทยมีปริมาณ 6,500 ตัน เพิม่ ขึน้ จาก 6,000 ตัน ในปี 2557 ร้อยละ 8.33 โดยเป็นการส่งออกเมล็ดถัว่ เหลือง สายพันธุ์ธรรมชาติ ไม่มีการดัดแปรพันธุกรรม (Non-GMOs) ที่ผลิตได้ภายในประเทศ และ ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย
(3) การนำเข้า
การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ คาดว่าปี 2558 การนำเข้ามีปริมาณ 2.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.02 ล้านตัน ในปี 2557 ร้อยละ 4.23
(4) ราคา
ปี 2558 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรกรขายได้จะปรับสูงขึ้น เมื่อ เทียบกับปี 2557 โดยอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 18.20-19.50 บาท ส่วนราคาถั่วเหลืองนำเข้า จะปรับตัวลดลงตามราคาตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง 2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตถั่วเหลือง 2.3.1 ปัจจัยภายในประเทศ (1) นโยบายส่งเสริม/พัฒนาการผลิตถัว่ เหลือง เช่น ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ คุณภาพดี การใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน และการให้ความรู้ด้านการผลิตถั่วเหลืองแก่ เกษตรกร ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น (2) เกษตรกรบางส่วนอาจหันไปปลูกพืชทดแทนชนิดอืน่ ทีใ่ ห้ผลตอบแทนสูงกว่า การปลูกถั่วเหลือง ส่งผลกระทบให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลง 2.3.2 ปัจจัยภายนอกประเทศ (1) สภาพภูมอิ ากาศเย็นและชืน้ ในแถบตะวันตกตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ในปี การผลิต 2557/58 เอื้ออำนวยต่อการปลูกถั่วเหลือง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองของ สหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น (2) ความต้องการใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของจีนผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่ ของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มความต้องการใช้กากถั่วเหลืองเพื่อผลิต อาหารสัตว์ และใช้เมล็ดถัว่ เหลืองเพือ่ ผลิตพลังงานทดแทนเพิม่ ขึน้ ส่งผลให้ประเทศผูผ้ ลิตถัว่ เหลือง รายใหญ่เพิ่มพื้นที่ปลูกเพื่อให้ผลผลิตเพียงพอกับปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
35
ตารางที่ 1 สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองโลก ปี 2552/53-2557/58 รายการ 1. 2. 3. 4. 5.
หน่วย : ล้านตัน
2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57
ผลผลิต นำเข้า ส่งออก สกัดน้ำมัน สต๊อกสิ้นปี
260.40 86.85 91.44 209.12 62.21
263.95 88.76 91.70 221.34 70.23
239.79 93.44 92.16 228.11 53.40
268.06 95.89 100.54 229.60 56.28
285.01 110.29 112.73 239.55 66.85
อัตราเพิ่ม คาดการณ์ (ร้อยละ) 2557/58 1.98 312.06 5.71 112.72 5.24 115.54 3.13 251.92 -0.77 90.28
ที่มา : Oilseeds: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2014
ตารางที่ 2 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองตลาดโลก ปี 2552/53-2557/58 รายการ 1. 2. 3. 4.
สหรัฐอเมริกา บราซิล (F.O.B) อาร์เจนตินา (F.O.B) รอตเตอร์ดัม (C.I.F)
หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน
2552/53 2553/54 2554/55 2555/56 2556/57 357 390 395 429
482 508 511 549
505 549 533 562
537 538 543 592
487 514 517 542
อัตราเพิ่ม ราคาเฉลี่ย (ร้อยละ) 2557/58* 7.56 343 6.28 403 6.17 424 5.58 434
หมายเหตุ : *ข้อมูลเดือนตุลาคม 2557 ที่มา : Oilseeds: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2014
ตารางที่ 3 เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2553/54-2558/59 รายการ 1. เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่) 2. ผลผลิตทั้งหมด (ตัน) 3. ผลผลิตต่อไร่ (กก.)
0.577 152,047 271
0.377 96,153 263
0.247 63,503 261
0.196 52,740 274
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, พฤศจิกายน 2557
36 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
อัตราเพิ่ม คาดการณ์ (ร้อยละ) 2558/59 0.189 -25.07 0.185 51,740 -24.09 50,953 278 0.92 280
2553/54 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58
ตารางที่ 4 สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองของไทย ปี 2553-2558 ปี
ผลิต
นำเข้า
2553 2554 2555 2556 25571/ อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 25582/
169,577 137,381 83,787 64,355 52,541
1,818,705 1,994,378 2,119,941 1,678,678 2,015,550
รวม (Supply) 1,988,282 2,131,759 2,203,728 1,743,033 2,068,091
-26.67
0.33
-1.22
หน่วย : ตัน
ความต้องการใช้ภายในประเทศ ส่งออก สกัดน้ำมัน ทำพันธุ์ แปรรูปฯ 1,542,307 11,887 433,134 954 1,727,676 9,607 391,847 2,629 1,679,481 4,950 517,379 1,918 1,451,700 4,225 285,119 1,989 1,693,200 3,840 365,051 6,000 0.13 -26.52
51,246 2,100,800 2,152,046 1,778,500
รวม (Demand) 1,988,282 2,131,759 2,203,728 1,743,033 2,068,091
-6.39
40.48
-1.2
3,640 363,406
6,500
2,152,046
หมายเหตุ : ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1/
2/
ตารางที่ 5 ราคาถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ของไทย ปี 2553-2557 รายการ 1. ราคาเมล็ดถั่วเหลืองเกษตรกรขายได้ 2. ราคานำเข้า - ท่าเรือเกาะสีชัง - ตลาดชิคาโก 3. ราคาขายส่งน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ1/์
หน่วย : บาท/กิโลกรัม
2553
2554
2555
2556
13.98
15.30
15.75
18.32
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 18.40 7.57
14.18 12.23 42.17
17.23 14.81 49.24
18.86 16.78 50.08
18.60 15.93 50.08
18.90 15.25 50.08
2557
6.73 5.28 3.67
หมายเหตุ : 1/ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวมภาชนะบรรจุ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตารางที่ 6 ความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองของไทย ปี 2553-2558 รายการ ความต้องการใช้ 1. สกัดน้ำมัน 2. แปรรูปฯ 3. ทำพันธุ์ 4. ส่งออก
2553
2554
2555
2556
หน่วย : ตัน
2557
1,988,282 2,131,759 2,203,728 1,743,033 2,068,091 1,542,307 1,727,676 1,679,481 1,451,700 1,693,200 433,134 391,847 517,379 285,119 365,051 11,887 9,607 4,950 4,225 3,840 954 2,629 1,918 1,989 6,000
อัตราเพิ่ม คาดการณ์ (ร้อยละ) 2558 -1.22 2,152,046 0.13 1,778,500 -6.39 363,406 -26.52 3,640 40.48 6,500
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
37
มันสำปะหลัง 1. สถานการณ์ปี 2557 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2553-2557 ผลผลิตของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 ต่อปี เนื่องจาก ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังได้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ทั้งด้านความมั่นคงอาหาร ความมัน่ คงพลังงาน และความเป็นอยูท่ ดี่ ขี องเกษตรกร โดยพืน้ ทีป่ ลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยูใ่ น ทวีปแอฟริกาประมาณร้อยละ 59 รองลงมาคือ เอเชีย ร้อยละ 30 ละตินอเมริกา ร้อยละ 10 และ โอเชียเนีย ร้อยละ 1 ตามลำดับ ทัง้ นีใ้ นทวีปแอฟริกา มันสำปะหลังยังคงเป็นพืชอาหารหลักทีส่ ำคัญ ต่อความมัน่ คงด้านอาหาร ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ของคนชนบท สำหรับทวีปเอเชีย มีความต้องการใช้ มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ เอทานอล อาหาร และอาหารสัตว์ เป็นต้น โดยประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเอเชียใต้ มันสำปะหลังมีความ สำคัญต่อความมัน่ คงด้านอาหาร จึงมีนโยบายเน้นการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต สำหรับเวียดนาม มีนโยบายจากัดพื้นที่ปลูกไม่เกิน 0.45 ล้านเฮกตา ปี 2557 โลกมีผลผลิตมันสำปะหลัง 291.32 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2556 ทีม่ ผี ลผลิต 278.64 ล้านตัน พบว่า ผลผลิตเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4.55 โดยทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา เอเชีย และโอเชียเนีย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.99 ร้อยละ 6.94 ร้อยละ 2.89 และร้อยละ 1.22 ตามลำดับ โดยผู้ผลิตรายใหญ่ 5 อันดับแรก คือ ไนจีเรีย ไทย อินโดนีเซีย บราซิล และ คองโก 1.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการใช้
ความต้องการใช้มนั สำปะหลังของประเทศผูผ้ ลิต ทัง้ ในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตทัง้ หมด โดย อยูใ่ นรูปหัวมันสดและในรูปผลิตภัณฑ์ ยกเว้นประเทศไทย และเวียดนาม ทีม่ กี ารใช้ในประเทศประมาณ ร้อยละ 25 ของผลผลิตที่ผลิตได้ ปี 2557 ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ซึ่งเพิ่มขึ้น ในส่วนที่ใช้เพื่อเป็นอาหารและพลังงาน สำหรับทวีปเอเชีย อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นปัจจัยหลัก ทีท่ ำให้ความต้องการใช้มนั สำปะหลังขยายตัวเพิม่ ขึน้ โดยจีน คาดว่ามีความต้องการใช้มนั สำปะหลัง 38 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
เพื่อผลิตเอทานอลมากกว่า 1,000 ล้านลิตร และยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และ ให้ความสำคัญการลงทุนในประเทศเพือ่ นบ้าน สำหรับเวียดนาม รัฐบาลกำหนดส่วนผสมเอทานอล ร้อยละ 5 ในน้ำมันเบนซิน โดยบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2557 ซึ่งหากดำเนินการได้จริง ผลผลิต มันสำปะหลังทั้งประเทศจะถูกใช้เพื่อผลิตเอทานอล อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตของโรงงาน เอทานอลยังต่ำกว่าผลผลิตในประเทศ สำหรับฟิลปิ ปินส์ และกัมพูชา เริม่ ประกาศการใช้เอทานอล ที่ผลิตจากมันสำปะหลังผสมกับน้ำมันเบนซิน สำหรับประเทศไทยมีการใช้เอทานอลผสมในน้ำมัน เบนซินร้อยละ 20 และร้อยละ 85 และปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน E85 มีมากขึ้น และคาดว่าจะ มีการใช้เอทานอลประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับในกลุม่ ประเทศแอฟริกา และละตินอเมริกา มีมาตรการส่งเสริมให้ใช้แป้งมันสำปะหลังทดแทนธัญพืชนำเข้า โดยบราซิล มีมาตรการให้ผสม แป้งมันสำปะหลังร้อยละ 10 ในแป้งสาลีสำหรับผลิตขนมปัง คาดว่าจะสามารถดูดซับมันสำปะหลัง เพือ่ ผลิตแป้งได้มากกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตในประเทศ ส่วนไนจีเรีย ตัง้ แต่ปี 2548 มีกฎหมาย บังคับให้ผสมแป้งมันสำปะหลังในแป้งสาลีรอ้ ยละ 10 แต่สามารถปฏิบตั ไิ ด้เพียงร้อยละ 5 เนือ่ งจาก ปัญหาการขาดแคลนแป้งมันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการ นำเข้าแป้งสาลี ทำให้ต้องเสียภาษีนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 100 รวมถึงขอให้ผู้ผลิตเบเกอรี่ ผสมแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 20 แต่ยังเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไนจีเรียมีการนำเข้าข้าวสาลีเพื่อ ผลิตแป้งเป็นจำนวนมาก นอกจากนี ้ เพือ่ ป้องกันการขาดวิตามินเอ ผูป้ ระกอบการได้ผสมวิตามินเอ ในอาหารที่ทำจากมันสำปะหลังด้วย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของไวรัสอีโบลาใน แอฟริกาตะวันตก ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เนื่องจากไม่สามารถ เคลื่อนย้ายแรงงาน และส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้นเท่าตัว สำหรับความต้องการใช้ มันเส้นและมันอัดเม็ดเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์มีมากในละตินอเมริกา และแคริเบียน โดยเฉพาะ ในประเทศบราซิล สำหรับยุโรป ความต้องการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ มี แนวโน้มลดลง เนือ่ งจากไม่สามารถแข่งขันกับธัญพืชของยุโรปได้ ส่วนเอเชีย ความต้องการใช้เพือ่ เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับน้อยกว่าการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ยกเว้นไทย ความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นตามการผลิตสัตว์ปีกที่เพิ่มขึ้น
(2) การส่งออก
ปี 2552-2556 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มนั สำปะหลังของโลก (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 ต่อปี เนื่องจากตลาดโลกมี ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยเฉพาะความต้องการใช้มันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง ของจีนเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง สาเหตุจากผลิตภัณฑ์มนั สำปะหลังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง ได้หลากหลาย ประกอบกับราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปี 2556 โลกมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 3,707.14 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ เมือ่ เทียบกับปี 2555 ทีม่ มี ลู ค่าการส่งออก 3,617.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
39
มูลค่าการส่งออกเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.48 ทัง้ นีป้ ระเทศผูส้ ง่ ออกรายใหญ่คอื ไทย มีสว่ นแบ่งการตลาด ร้อยละ 66.27 รองลงมาคือ เวียดนาม และกัมพูชา มีสว่ นแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 25.90 และร้อยละ 1.93 ตามลำดับ
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2553-2557 เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.69 ร้อยละ 9.89 และร้อยละ 4.96 ต่อปี ตามลำดับ เนือ่ งจากราคามันสำปะหลังอยูใ่ น เกณฑ์ดี ภาครัฐมีการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้เกษตรกร ขยายพืน้ ทีป่ ลูก และการระบาดของเพลีย้ แป้งลดลงมาก รวมถึงเกษตรกรดูแลรักษาดีขนึ้ ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น ปี 2557 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.43 ล้านไร่ ผลผลิต 30.02 ล้านตัน และ ผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.66 ล้านไร่ ผลผลิต 30.23 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.49 ตัน พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.61 และ ร้อยละ 0.68 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารา รวมถึงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังแซมในสวน ยางพารา ซึ่งปัจจุบันยางพาราเจริญเติบโต ไม่สามารถปลูกแซมได้อีก ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.98 เนื่องจากเกษตรกรมีการบำรุงดูแลรักษาที่ดี ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย ต่อการเจริญเติบโต 1.2.2 การตลาด ผลผลิตมันสำปะหลังเข้าสู่กระบวนการแปรรูปทั้งหมด โดยแปรรูปเป็น มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง และเอทานอล เพือ่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง เช่น อาหาร อาหารสัตว์ สารความหวาน ผงชูรส กระดาษ สิง่ ทอ เป็นต้น โดยความต้องการใช้ภายในประเทศ ในแต่ละปีประมาณร้อยละ 20-25 ที่เหลือร้อยละ 75-80 เป็นการส่งออก (1) ความต้องการใช้ ปี 2553-2557 ความต้องการใช้มันสำปะหลังในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.80 ต่อปี โดยเฉพาะความต้องการใช้เพื่อผลิตเอทานอลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่าง มาก ความต้องการใช้เพือ่ ผลิตแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ไม่มากนัก ส่วนความต้องการใช้ เพือ่ ผลิตมันเส้นเป็นวัตถุดบิ อาหารสัตว์มแี นวโน้มลดลง โดยผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หันไปใช้กากมันสำปะหลัง หรือพืชทดแทนอื่นๆ เนื่องจากราคามันเส้นปรับตัวสูงขึ้น ปี 2557 คาดว่าความต้องการใช้มันสำปะหลังในประเทศประมาณ 8.64 ล้านตัน เมือ่ เทียบกับปี 2556 ทีม่ คี วามต้องการใช้ประมาณ 8.23 ล้านตัน พบว่า ความต้องการ ใช้เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4.93 เนือ่ งจากความต้องการใช้เพือ่ ผลิตเอทานอลเพิม่ สูงขึน้ จากนโยบายยกเลิก 40 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
น้ำมันเบนซิน 91 ปัจจุบันมีโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล 6 แห่ง ส่วนความต้องการใช้เพื่อผลิตแป้งมันสำปะหลัง และมันเส้นเพิ่มขึ้นไม่มากนัก (2) การส่งออก ปี 2553-2557 การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ได้แก่ มันเส้น มัน อัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 13.26 และ ร้อยละ 12.76 ต่อปีตามลำดับ โดยการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการส่งออกมันอัดเม็ดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากอดีต ไทยส่งออกมันอัดเม็ดไปสหภาพยุโรป เป็นหลัก แต่ปัจจุบันราคามันอัดเม็ดจากไทยไม่สามารถแข่งขันกับธัญพืชของสหภาพยุโรปได้ ประกอบกับการค้ามันอัดเม็ดทีซ่ บเซามาเป็นเวลานานทำให้การกระตุน้ ความต้องการใช้มนั อัดเม็ด มีค่าใช้จ่ายมาก แม้ว่าจะยังคงได้รับโควตานำเข้าในปริมาณเดิม ผู้ประกอบการไทยจึงหันไปหา ตลาดใหม่ๆ ทดแทน ปี 2557 คาดว่ามีปริมาณการส่งออก 10.46 ล้านตัน มูลค่า 108,525 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่ส่งออกได้ 9.16 ล้านตัน มูลค่า 94,849 ล้านบาท พบว่า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.18 และร้อยละ 14.42 ตามลำดับ เนื่องจาก มีการส่งมอบสต๊อกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังของรัฐบาล ประกอบกับประเทศคู่ค้ายังมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การส่งออก มันเส้นขึ้นอยู่กับราคาธัญพืชของประเทศคู่ค้า ส่วนแป้งมันสำปะหลัง มีการใช้ในอุตสาหกรรม ที่หลากหลายมากขึ้นทำให้ความต้องการใช้ขยายตัว ปัจจุบันจีนเป็นประเทศผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของไทย เนื่องจากมีความต้องการใช้มันเส้นเพื่อนำไปผลิตแอลกอฮอล์ และแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งทอ ตลาดหลักที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย มันเส้น ได้แก่ จีน มันอัดเม็ด ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และนิวซีแลนด์ แป้งมันสำปะหลังดิบ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย และญี่ปุ่น แป้งมันสำปะหลังดัดแปร ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และ อินโดนีเซีย (3) ราคา ปี 2553-2557 ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ลดลงร้อยละ 2.73 ต่อปี เนือ่ งจากในปี 2553-2554 เกิดปัญหาการระบาดของเพลีย้ แป้งทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง เป็นอย่างมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผูป้ ระกอบการ ส่งผลให้ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ปรับตัว สูงขึน้ มาก ภายหลังปี 2554 สามารถควบคุมการระบาดของเพลีย้ แป้งได้ ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนี้ราคามันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ยังขึ้นอยู่กับราคาสินค้าพืชทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวสาลี โดยราคา ส่งออกมันเส้น และมันอัดเม็ด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 ร้อยละ 8.75 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 1.87 ต่อปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
41
ปี 2557 คาดว่าราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.15 บาท ราคาส่งออกมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาส่งออกมันอัดเม็ดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.85 บาท และราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังเฉลีย่ กิโลกรัมละ 13.60 บาท เมือ่ เทียบกับปี 2556 พบว่า ราคาทีเ่ กษตรกรขายได้เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.38 เนือ่ งจากประเทศคูค่ า้ ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 และ ร้อยละ 11.74 ตามลำดับ ส่วนราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 4.63
2. แนวโน้มปี 2558
2.1 ของไทย 2.1.1 การผลิต แนวโน้มปี 2558 มีเนือ้ ทีเ่ ก็บเกีย่ ว 8.59 ล้านไร่ ผลผลิต 30.91 ล้านตัน และ ผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน เทียบกับเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.43 ล้านไร่ ผลผลิต 30.02 ล้านตัน และ ผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน ในปี 2557 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.91 ร้อยละ 2.96 และร้อยละ 1.04 ตามลำดับ เนือ่ งจากราคาในปีทผี่ า่ นมาอยูใ่ นเกณฑ์ดี ส่งผลให้เกษตรกรปลูกทดแทนพื้นที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงานที่รื้อตอทิ้ง และพื้นที่ว่างเปล่า ประกอบกับเกษตรกรมีการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น เช่น การเลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ดี การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่ม ผลผลิต และการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนการเพาะปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 2.1.2 การตลาด (1) การใช้ในประเทศ ปี 2558 คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดย เฉพาะอย่างยิง่ ความต้องการใช้มนั สำปะหลังเป็นวัตถุดบิ ในการผลิตเอทานอลจะเพิม่ ขึน้ จาก 1.90 ล้านตันหัวมันสด ในปี 2557 เป็น 2.30 ล้านตันหัวมันสด ในปี 2558 (2) การส่งออก ปี 2558 คาดว่าการส่งออกจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศ คู่ค้ายังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งในรูปของมันเส้น และแป้งมันสำปะหลังอย่าง ต่อเนื่องโดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าหลักของไทย (3) ราคา ปี 2558 คาดว่าราคามันสำปะหลังทีเ่ กษตรกรขายได้ใกล้เคียงกับปี 2557 อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตมันสำปะหลังของเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา เวียดนาม และลาว มีปริมาณเพิ่มขึ้น หรือราคาพืชทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปรับตัวลดลง จะส่งผลทางลบ ต่อราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ 42 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการราคามันสำปะหลัง เกษตรกรจะเก็บเกีย่ วผลผลิตมันสำปะหลังมากในช่วงธันวาคม 2557 ถึงมีนาคม 2558 ประมาณร้อยละ 66 ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมด ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังตกต่ำใน ช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังมากเกินกำลังการผลิตของโรงแป้งมัน สำปะหลังและลานมัน ประกอบกับผูป้ ระกอบการหลายรายมีเงินทุนไม่เพียงพอในการรับซือ้ ผลผลิต ดังนั้นหากเกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมากระจุกตัว หรือผู้ประกอบการมี เงินทุนเพียงพอในการรับซื้อผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จะช่วยให้ราคามันสำปะหลัง ไม่ตกต่ำในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนัน้ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2557/58 ในระยะสั้น ดังนี้ 1) การชดเชยดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ไว้ใช้จ่ายระหว่าง ชะลอการเก็บเกี่ยวครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท โดยภาครัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือน (เริ่มธันวาคม 2557 แต่ไม่เกินตุลาคม 2558) ทั้งนี้ให้เกษตรกรขอกู้ยืม ที่ ธ.ก.ส. ในพื้นที่ 2) การเพิ่มสภาพคล่องทางการค้า เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจ ชุมชน ผูป้ ระกอบการค้าและแปรรูปมันสำปะหลัง ในการรวบรวมรับซือ้ มันสำปะหลังจากเกษตรกร เพิ่มขึ้น โดยภาครัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลา 4 เดือน (เริ่มธันวาคม 2557 แต่ ไม่เกินมิถุนายน 2558) วงเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่เกิน 5 ล้านบาท ขนาดกลาง ไม่เกิน 10 ล้านาท และขนาดใหญ่ ไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้ประสงค์ขอรับการชดเชยจะต้อง จัดทำแผนการวบรวมและเสนอขอรับจัดสรรวงเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือธ.ก.ส. ตารางที่ 1 เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของโลก ปี 2553-2557 รายการ เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)
2553
2554
2555
2556
122.18 243.05 1,989
127.89 261.77 2,047
130.13 269.13 2,068
129.58 278.64* 2,136
2557* n.a. 291.32 n.a.
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
4.27 -
หมายเหตุ *FAO forecast ที่มา : องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
43
ตารางที่ 2 ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญของโลก 5 อันดับแรก ปี 2554-2556 ประเทศ
พื้นที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่) 24.06 8.51 7.06 10.58 13.75 130.13
ไนจีเรีย ไทย* อินโดนีเซีย บราซิล คองโก โลก
2555 2556 2557 ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิต (ล้านตัน) (กก./ไร่) (ล้านไร่) (ล้านตัน) (กก./ไร่) (ล้านตัน) 54.00 2,244 24.06 54.00 2,244 55.06 29.85 3,506 8.66 30.23 3,492 30.02 24.18 3,424 6.66 23.94 3,594 25.00 23.04 2,178 9.53 21.23 2,226 23.35 16.00 1,164 13.75 16.50 1,200 17.32 269.13 2,068 129.58 278.64 2,136 291.32
หมายเหตุ *ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา : องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ตารางที่ 3 ปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก ปี 2552-2556 ประเทศผู้ ส่งออก ไทย เวียดนาม กัมพูชา คอสตาริกา อินโดนีเซีย อื่นๆ โลก
2552
2553
2554
2555
1,080.52 573.41 5.78 35.96 29.81 72.51 1,797.99
1,568.58 564.10 2.87 51.01 45.43 83.71 2,315.71
1,900.88 938.97 5.25 64.40 79.06 108.40 3,096.96
2,078.41 1,347.78 11.59 60.57 15.56 103.37 3,617.28
หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2556 2,456.78 960.18* 71.53 65.50 59.50 93.65 3,707.14*
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 21.22 20.95 90.17 14.70 3.15 7.49 20.84
หมายเหตุ : *ประมาณการ ตุลาคม 2557 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คือ มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง ที่มา : International Trade Centre, ตุลาคม 2557
ตารางที่ 4 เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2553-2558 รายการ เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อัตราเพิ่ม 2558* (ร้อยละ) 7.405 7.096 8.513 8.657 8.431 4.69 8.592 22.006 21.912 29.848 30.228 30.022 9.89 30.910 2,972 3,088 3,506 3,492 3,561 4.96 3,598 2553
หมายเหตุ : *ประมาณการ ณ กันยายน 2557 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
44 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
2554
2555
2556
2557
ตารางที่ 5 ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2553-2557 รายการ
2553
ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ 1/ ราคาส่งออกมันอัดเม็ด 2/ ราคาส่งออกมันเส้น 2/ ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง 2/
2.25 5.86 6.29 14.44
2554 2.53 7.81 7.92 15.27
หน่วย : บาท/กก.
2555 2.07 7.09 7.20 13.85
2556 2.10 7.92 6.90 14.26
2557* 2.15 8.85 7.10 13.60
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -2.73 8.75 1.05 -1.87
หมายเหตุ : *ประมาณการ ณ ตุลาคม 2557 ที่มา : 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ปี 2553-2557
ปริมาณ : ล้านตัน มูลค่า : ล้านบาท
ปี
มันอัดเม็ด
มันเส้น
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 2553 0.156 785 4.117 25,193 2554 0.037 284 3.694 29,252 2555 0.084 577 4.612 33,239 2556 0.059 416 5.755 39,515 2557* 0.016 115 6.500 46,260 อัตราเพิม่ -33.50 -29.24 14.53 16.37 (ร้อยละ)
แป้งมันสำปะหลัง รวมผลิตภัณฑ์ แป้งดิบ แป้งดัดแปร ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 1.741 24,553 0.691 15,609 6.705 66,140 1.888 28,238 0.793 19,056 6.412 76,830 2.236 30,796 0.846 18,930 7.778 83,542 2.446 34,880 0.897 20,038 9.157 94,849 3.000 40,700 0.940 21,450 10.456 108,525 14.42
13.00
7.67
7.10
13.26
12.76
หมายเหตุ : *ประมาณการ ณ ตุลาคม 2557 ที่มา : กรมศุลกากร
ตารางที่ 7 ความต้องการใช้มันสำปะหลัง ปี 2553-2557 รายการ ส่งออก 1/ ใช้ในประเทศ * อุตสาหกรรมต่อเนื่อง * เอทานอล 2/ รวมความต้องการใช้
2553
2554
หน่วย : ล้านตันหัวมันสด
2555
2556
2557*
19.720 19.599 23.372 26.945 30.883 7.725 7.094 7.028 8.234 8.640 6.800 6.444 6.528 6.634 6.740 0.925 0.650 0.500 1.600 1.900 27.445 26.693 30.400 35.179 39.523
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 12.92 3.80 0.11 26.37 10.58
หมายเหตุ : *ประมาณการ ณ ตุลาคม 2557 ที่มา : 1/ กรมศุลกากร 2/ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
45
ปลาป่น 1. สถานการณ์ ปี 2557 1.1 ของโลก
1.1.1 การผลิต ผลผลิตปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2557) มีแนวโน้ม ลดลงในอัตราร้อยละ 2.70 ต่อปี ซึ่งประเทศผู้ผลิตหลักของโลก มีการผลิตที่คำนึงถึงความ ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปลาป่นและสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการที่รักษาสมดุลระหว่าง ปริมาณการจับสัตว์น้ำและการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำไปด้วยพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น เปรู มีการ กำหนดโควตาปริมาณการจับปลาแองโชวี่ (Anchovy) ออกเป็นสองช่วงฤดูกาล กล่าวคือ ฤดูกาลแรก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ของปีเดียวกัน และฤดูกาลที่สอง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนมกราคม ของปีถัดไป เพื่อให้มีระยะเวลาการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็น วัตถุดิบได้อย่างยั่งยืน สำหรับปี 2557 ผลผลิตปลาป่นของโลกมีปริมาณเท่ากับปีที่ผ่านมา คือ 4.16 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตปลาป่นที่สำคัญของโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ เปรู ชิลี ไทย สหรัฐอเมริกา และจีน โดยเปรู และจีน มีผลผลิตเท่ากับปีทผี่ า่ นมา ชิลี และสหรัฐอเมริกา มีผลผลิต เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนไทยมีผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมา 1.1.2 การตลาด
(1) การบริโภค
การใช้ปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2557) มีแนวโน้ม ลดลงในอัตราร้อยละ 1.22 ต่อปี แม้ว่าการขยายตัวด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของโลกเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนปริมาณการจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติที่ลดลง แต่ผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำในบางประเทศ ได้ทำการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารสำเร็จรูปสำหรับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงเพื่อการ ส่งออก เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี โดยอ้างที่มาของปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบผลิต ปลาป่นมาจากการจับโดยเรือผิดกฎหมาย หรือใช้เครือ่ งมือจับสัตว์นำ้ ผิดประเภท สำหรับปี 2557 คาดว่าจะมีการใช้ปลาป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปปริมาณทั้งสิ้น 4.51 ล้านตัน
(2) การส่งออก
ปริมาณการส่งออกปลาป่นของโลกในรอบ 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 2553-2557) มีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 2.29 ต่อปี ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ คือ เปรู ชิลี และเดนมาร์ก 46 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตปลาป่นคุณภาพดีซึ่งมีโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 60 เนื่องจากใช้ปลา แองโชวี่ (Anchovy) ทีส่ ดและมีคณ ุ ภาพเป็นวัตถุดบิ และมีผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปลาป่น คือ น้ำมันปลา (Fish oil) ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของผลผลิตจากอุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่ง สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหาร เพือ่ สุขภาพสำหรับมนุษย์และใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์สำเร็จรูป
(3) การนำเข้า
ปัจจุบันปริมาณการนำเข้าปลาป่นของโลกมีแนวโน้มลดลง โดยการนำเข้า ปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ลดลงในอัตราร้อยละ 1.99 ต่อปี ประเทศที่มีการนำเข้า ปลาป่นมากที่สุดคือ จีน แม้ว่าจีนจะเป็นประเทศผู้ผลิตปลาป่นอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก แต่จีน ก็เป็นประเทศที่มีการนำเข้าปลาป่นมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณปลาป่นที่ส่งออกทั้งหมด ของโลก เพราะจีนมีความต้องการปลาป่นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นจำนวนมากตามการขยายตัวของภาคปศุสัตว์และภาคประมงเพาะเลี้ยง
(4) ราคา
ราคาปลาป่นของโลกอ้างอิงราคาซื้อขายปลาป่นของเปรูซึ่งเป็นผู้ผลิตและ ผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ราคาส่งออก (FOB) ปลาป่นคุณภาพโปรตีน ร้อยละ 60 ขึ้นไป มีแนวโน้มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 4.47 ต่อปี สำหรับปี 2557 ราคาเพิ่มจาก 43.52 บาทต่อกิโลกรัม ของปี 2556 เป็น 50.08 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15.07 เนื่องจากปริมาณการผลิตที่ลดลงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ในขณะที่ความต้องการจาก จีน และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมประมงจากการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต อุตสาหกรรมปลาป่นของไทยในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ทำให้คุณภาพปลาป่นเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2557 ประเทศไทยมีโรงงานผลิตปลาป่น 86 แห่ง กระจายอยู่ใน 18 จังหวัดในภาคใต้ และภาคตะวันออก ขณะนี้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) แล้วจำนวน 61 โรงงาน โรงงานทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐาน ทั้ง GMP และ HACCP (Hazard Analysis Critical Point) จำนวน 42 โรงงาน โรงงานผลิต ปลาป่นของไทยสามารถผลิตปลาป่นที่มีคุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 ได้ คิดเป็นร้อยละ 25 ของผลผลิตปลาป่นทั้งหมด และร้อยละ 75 เป็นผลผลิตปลาป่นคุณภาพโปรตีนต่ำกว่า ร้อยละ 60 สำหรับปริมาณผลผลิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2557) มีแนวโน้มลดลง ในอั ต ราร้ อ ยละ 0.92 ต่ อ ปี เนื่ อ งจากปริ ม าณวั ต ถุ ดิ บ ที่ ใ ช้ ผ ลิ ต น้ อ ยลง ทั้ ง จากภาวะทาง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
47
ธรรมชาติและข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการทำประมงทะเล โดยเฉพาะในเรื่องการทำประมงที่ผิด กฎหมาย (Illegal Unreported and Unregulated fishing: IUU fishing) ซึง่ เป็นทีม่ าของปลาเป็ด ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ รวมถึงเรือและเครื่องมือการทำประมง ที่ผู้ซื้อปลาป่น หรืออุตสาหกรรม ผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงผู้นำเข้าสินค้าประมงในต่างประเทศต้องการเป็นข้อมูลประกอบการซื้อ สินค้าปลาป่นรวมทั้งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออก เช่น กุ้งทะเล ปลาชนิดต่างๆ ซึ่งมีปลาป่นผสมในสูตรอาหาร ทำให้อุตสาหกรรมปลาป่นต้องเข็มงวดในการรับซื้อวัตถุดิบ ปลาเป็ดและปรับสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยใช้เศษเหลือจากอุตสาหกรรม ปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้น การผลิตปลาป่นในปัจจุบัน ใช้เศษปลาที่ได้จากอุตสาหกรรมแปรรูป สัตว์น้ำ เช่น โรงงานซูริมิ โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา ฯลฯ มาใช้เป็น วัตถุดบิ มากถึงร้อยละ 61 ใช้ปลาเป็ดร้อยละ 28 และปลาอืน่ ๆ ร้อยละ 11 สำหรับปี 2557 คาดว่า ผลผลิตปลาป่นของไทยจะมีปริมาณ 0.47 ล้านตัน ลดลงจากปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 4.08 1.2.2 การตลาด
(1) การบริโภค
การใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปในประเทศ ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารสำหรับสัตว์น้ำ แนวโน้มการใช้ปลาป่น สำหรับอาหารสัตว์ในประเทศ มีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 8.10 ต่อปี จากการที่การ เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมประสบปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ตั้งแต่ปลายปี 2555 ทำให้เกษตรกรลดปริมาณการเพาะเลี้ยงลงอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกร บางส่วนหยุดการเลีย้ งชัว่ คราว ทำให้ความต้องการใช้ปลาป่นในการผลิตอาหารสัตว์นำ้ ในปี 2557 มีปริมาณ 0.344 ล้านตัน ลดลงจาก 0.394 ล้านตันในปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 12.69 สำหรับสูตรอาหารสำหรับปศุสัตว์มีการใช้ปลาป่นบ้างแต่ไม่มากนัก
(2) การส่งออก
การส่งออก ปี 2557 ไทยส่งออกปลาป่นได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยส่งออก ปลาป่นคุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 และคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 รวมกันปริมาณ ทั้งสิ้น 0.125 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.116 ล้านตัน ของปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 7.76 ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น เนื่องจากอุตสาหกรรมปลาป่นของไทยมี มาตรฐานเป็นทีย่ อมรับของตลาดต่างประเทศมากขึน้ ประกอบกับประเทศในแถบเอเชียมีนโยบาย ส่งเสริมและขยายการผลิตด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนสัตว์น้ำตามธรรมชาติ ที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อ บริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มการส่งออกปลาป่นของไทยเพิ่มขึ้น อัตราร้อยละ 37.49 ต่อปี 48 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
(3) การนำเข้า
ปลาป่นเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตาม พ.ร.บ. การส่งออกไปนอก และ การนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วย การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 72) พ.ศ. 2533 ให้การนำเข้าปลาป่นเฉพาะ ชนิดคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าจากกรมการค้า ต่างประเทศ สำหรับปลาป่นคุณภาพโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 74) พ.ศ. 2533 ปัจจุบนั การกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่นอยูภ่ ายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการนโยบายอาหาร ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน โดยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะพิจารณากำหนดนโยบายการนำเข้าทุกๆ 3 ปี โดยมติคณะ รัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 กำหนดให้การนำเข้าปลาป่นระหว่างปี 2555-2557 เห็นชอบให้นำเข้าปลาป่นได้ไม่จำกัดปริมาณและเวลานำเข้า ทัง้ นี้ ผูน้ ำเข้าต้องเสีย อากรขาเข้าเป็นไปตามความตกลงการค้าเสรีต่างๆ และการนำเข้าทั่วไป สำหรับปี 2557 ดังนี้ - การนำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 0 - การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย อัตราอากรขาเข้า ร้อยละ 0 - การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี ไทย-นิวซีแลนด์ อัตราอากรขาเข้า ร้อยละ 0 - การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-จีน อัตราอากรขาเข้า ร้อยละ 0 - การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-เกาหลี อัตราอากรขาเข้า ร้อยละ 10 ทุกระดับโปรตีน - การนำเข้ า ตามความตกลงเศรษฐกิ จ ไทย-ญี่ ปุ่ น อั ต ราอากรขาเข้ า ร้อยละ 0 ทุกระดับโปรตีน - การนำเข้าทัว่ ไป ปลาป่นคุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 กำหนดอัตรา อากรขาเข้าร้อยละ 10 และค่าธรรมเนียมพิเศษอีกร้อยละ 50 ของอัตรา อากรนำเข้า รวมเป็นอัตราอากรขาเข้าทั้งสิ้นร้อยละ 15 สำหรับปลาป่น คุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 กำหนดอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 6 และต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่ผ่านมายังไม่อนุญาตให้ผู้ใดนำเข้า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
49
ปัจจุบันการนำเข้าปลาป่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 5 ปี (ปี 25532557) ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 133.33 ต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิต อาหารสัตว์สำเร็จรูปต้องการปลาป่นคุณภาพสูง ในสูตรอาหารสัตว์น้ำเป็นการเฉพาะตามชนิด ของอาหารสัตว์น้ำ เช่น กุ้งกุลาดำ ปลาบางชนิด ปัจจุบันแหล่งนำเข้าปลาป่นหลักของไทย คือ สหภาพเมียนมาร์ และเวียดนาม (4) ราคา ราคาปลาป่นในประเทศกำหนดโดยใช้ราคาอ้างอิงตลาดต่างประเทศ คือ ตลาดเปรู ตามชัน้ คุณภาพ คือ ค่าร้อยละของคุณภาพโปรตีนในปลาป่น โดยในช่วง 5 ปี ทีผ่ า่ นมา (ปี 2553-2557) ราคาส่งออก (FOB) เปรู มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.47 ต่อปี จากการที่ปริมาณผลิตปลาป่นมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ การค้าปลาป่นในประเทศ ยังแบ่ง ชั้นคุณภาพตามกลิ่นและความสดของปลาป่นอีกด้วย โดยบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของ ประเทศ จะประกาศราคารับซือ้ ปลาป่นในแต่ละช่วงเวลาเป็นราคาซือ้ ขายปลาป่นตลาดในประเทศ ซึ่งผู้ผลิตปลาป่นจะใช้ราคาตามประกาศนี้ เป็นฐานในการกำหนดราคารับซื้อปลาเป็ดจากชาว ประมงอีกทอดหนึ่ง ในอัตราแปลงปลาเป็ด 4 ส่วน ผลิตเป็นปลาป่น 1 ส่วน ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิต ปลาป่นใช้ปลาเป็ดเป็นวัตถุดิบน้อยลงอย่างมากแล้ว จากเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ซื้อปลาป่นกำหนดและ การที่ปริมาณสัตว์น้ำลดลงในขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการจับสัตว์น้ำสูงขึ้น นอกจากนี้ การเก็บรักษาปลาที่ไม่เหมาะสมทำให้ปลาเน่าเสีย ส่งผลให้ราคาปลาเป็ดตกต่ำ จะ เห็นว่าราคาปลาเป็ดมีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 3.98 ต่อปี ในขณะที่ราคาขายส่งปลาป่น คุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เบอร์ 2 ลดลงในอัตราร้อยละ 1.67 ต่อปี และราคาปลาป่น คุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 เบอร์ 1 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.14 ต่อปี
2. แนวโน้มปี 2557 2.1 ของโลก ประมาณการผลผลิตปลาป่นของโลกในปี 2558 คาดว่าจะมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 2557 จากการที่ปริมาณปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบจับได้น้อยลง ประกอบกับเปรูมีนโยบายอนุรักษ์ สัตว์น้ำเพื่อการประมงที่ยั่งยืน จึงมีการกำหนดช่วงเวลาและโควตาปริมาณการจับสัตว์น้ำในแต่ละ ปี เพื่อให้ห่วงโซ่ชีวิตของสัตว์น้ำได้มีโอกาสฟื้นตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่ผ่านมา ปริมาณปลาที่จับได้มีปริมาณน้อยกว่าโควตาที่ได้รับอนุญาตให้จับได้แต่ละช่วงฤดู ซึ่งสะท้อน ให้เห็นว่าปริมาณสัตว์น้ำตามธรรมชาตินั้นมีแนวโน้มลดลง สำหรับราคาปลาป่นในตลาดโลก คาดว่ายังอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่องถึงปี 2558 เนื่องจากปริมาณผลผลิตปลาป่นโลกลดลง ในขณะที่จีนยังคงมีความต้องการปลาป่นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อทดแทนปริมาณสัตว์น้ำ 50 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ทีจ่ บั จากแหล่งน้ำธรรมชาติมแี นวโน้มลดลง และเป็นการตอบสนองความต้องการด้านอาหารของ ประชากรที่มีรายได้สูงขึ้นและเพื่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ 2.2 ของไทย (1) การผลิต สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย ประมาณการว่าผลผลิตปลาป่นของไทยจะมี ปริมาณลดลงเล็กน้อยเมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากข้อจำกัดด้านวัตถุดบิ และการยุบเลิกกิจการ ของโรงงานเก่าที่ไม่สามารถปรับเข้าสู่มาตรฐานสากลได้ (2) การตลาด ปี 2558 คาดว่าราคาปลาป่นในประเทศจะมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจาก ปริมาณการผลิตลดลงและมีความต้องการใช้ในประเทศเพิม่ ขึน้ จากปีทผี่ า่ นมา เมือ่ การแก้ไขปัญหา โรค EMS ในกุ้งคลี่คลายสู่ภาวะปกติ และเกษตรกรที่พักการเลี้ยงกลับมาลงกุ้งเลี้ยงตามปกติ ประกอบกับมีความต้องการปลาป่นเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาปลาป่นใน ตลาดโลกก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน สำหรับนโยบายการนำเข้าปลาป่น ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายอาหารได้กำหนด นโยบายคราวละ 3 ปี โดยระหว่างปี 2558-2560 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการ นโยบายอาหาร กำหนดให้นำเข้าปลาป่นได้ในปริมาณไม่จำกัด แต่การนำเข้าปลาป่นคุณภาพ โปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำหรับอากรขาเข้าปลาป่นตามความตกลงการค้าเสรีกรอบต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ได้รับ การยกเว้นการเก็บอากรทุกระดับโปรตีนของทุกกรอบความตกลง ยกเว้นการนำเข้าทั่วไป (MFN Applied Rate) ปลาป่นคุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 เก็บอากรขาเข้าร้อยละ 15 ปลาป่น คุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เก็บอากรขาเข้าร้อยละ 6 ตารางที่ 1 ผลผลิต การค้าและการใช้ปลาป่นของโลก ปี 2553-2557 รายการ สต๊อกต้นปี ผลผลิต นำเข้า ใช้ในประเทศ ส่งออก สต๊อกปลายปี
2553 0.19 4.89 2.66 4.63 2.49 0.61
2554 0.61 3.96 2.91 4.75 2.57 0.17
2555 0.17 4.18 2.35 4.27 2.13 0.30
2556 0.30 4.16 2.51 4.43 2.25 0.30
หน่วย : ล้านตัน
2557* 0.30 4.16 2.59 4.51 2.37 0.17
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2.06 -2.70 -1.99 -1.22 -2.29 -18.02
การเปลี่ยนแปลง 2557/2556 (ร้อยละ)
3.19 1.81 5.33 -43.33
ที่มา : USDA Foreign Agricultural Service (Oct. 2014)
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
51
ตารางที่ 2 ประเทศผู้ผลิตปลาป่นที่สำคัญ 5 อันดับแรกของโลก ปี 2553-2557 ประเทศ เปรู ชิลี ไทย สหรัฐอเมริกา จีน อื่นๆ รวม
2553
2554
1.77 0.50 0.50 0.31 0.22 1.59 4.89
2555
0.89 0.46 0.50 0.33 0.22 1.56 3.96
2556
1.03 0.43 0.49 0.34 0.22 1.67 4.18
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
2557*
0.95 0.47 0.49 0.34 0.22 1.69 4.16
หน่วย : ล้านตัน
-11.12 -0.60 -1.43 2.76 2.04 -2.70
0.95 0.48 0.47 0.35 0.22 1.69 4.16
การเปลี่ยนแปลง 2557/2556 (ร้อยละ)
2.13 -4.08 2.94 -
ที่มา : United States Department of Agriculture
ตารางที่ 3 ปริมาณการผลิต การใช้ การนำเข้าและส่งออกปลาป่นของไทย ปี 2553-2557 รายการ
2553
ผลผลิต ความต้องการใช้ นำเข้า 1/ ส่งออก 1/
0.520 0.475 0.001 0.047
2554
2555
0.503 0.481 0.001 0.034
2556
0.492 0.470 0.015 0.035
2557*
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
0.500 0.344 0.014 0.125
-0.92 -8.10 102.79 37.49
0.496 0.394 0.006 0.116
หน่วย : ล้านตัน
การเปลี่ยนแปลง 2557/2556 (ร้อยละ) 0.81 -12.69 133.33 7.76
หมายเหตุ : *ประมาณการโดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1/ ไม่รวมสัตว์น้ำอื่นๆ ป่น เช่น เปลือกกุ้งป่น ตับหมึกป่น ฯลฯ ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยและกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 ราคาเฉลี่ย ปลาเป็ดและปลาป่นในประเทศ ณ ระดับตลาดต่างๆ และราคาปลาป่นตลาดต่างประเทศ ปี 2553-2557
หน่วย : บาท/กก.
รายการ ราคาปลาเป็ด1/ ขายส่งโปรตีนต่ำกว่า 60% เบอร์ 2 2/ ขายส่งโปรตีนสูงกว่า 60% เบอร์ 1 2/ FOB เปรู 2/
2553 8.69 29.69 30.69 43.87
2554 8.60 29.73 30.73 36.64
2555 7.40 30.64 33.13 40.53
2556 7.55 26.93 32.93 43.52
หมายเหตุ : *ประมาณการโดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา : 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมการค้าภายใน
52 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
2557* 7.57 28.67 32.96 50.08
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -3.98 -1.67 2.14 4.47
More pellets - More quality
The solution for hard running feeds
��
�� tonnes �.���
�� ��
��
:��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
�
:��
�
��
ĕĄúċĉÚĊóăĒîüðĎĝĆĊíĕúĜíûċÚ
��
�
ãĻĀûĘĄļõþčîęíļîĻĆĕòĐĝĆà
�� tonnes �� pellet binder
�� tonnes of control
�:�
ĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî
Tonnes per hour
��
Time
Nature's best binder ��
��.�
��
��.�
��
��.�
��
��.�
��
��.�
�
��.�
�
Control
�� LignoBond DD
Pellet durability ���
High performance natural pellet binder Capacity �T�h� or Energy input �kWh�T�
£¬¼ª ¼ĥ¯¡¼¦ ª¯û·§¯¾ ¼¯³¾ ¼ ¼¯
ăċüãĻĀûĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî ĖþĉôüĊóôüđàÝđìùċ÷ĕúĜíĆċĄċü
ãĻĀûþíöđĶòĆċĄċü ĕúĜíĆċĄċüúĎÝĀċúÝàðò õþčîíļĀûĀĊîïđíčóñüüúãċîč
��.� FPQF
ðĻ ċ òăċúċüïÝĢ ċ òĀìÝĻ ċ )34) )HHG 3HOOHW 4XDOLW\ )DFWRU ÛĆàăĒ î üĆċĄċüęíļ í ļ Ā ûîòĕĆà õĻ ċ òðċà ZZZ ISTIFDOFXODWRU FRP ĄüĐ Ć îč í îĻ Ć ăĆóïċúÛļ Ć úĒ þ ĕ÷čĝ ú ĕîč ú îċúüċûþĉĕĆĎ û ííļ ċ òþĻ ċ à §¯¾´»¤ DZ§ ·¾¦Æĥ·¯þ ĨĬ¼ »Ĥ ĭÃú Ų ª¯º¯¼ ĥ ¦¼È · ÆÁ· µÂ¤¯µ¼ ¯ Ĩ µÂ¤¯µ¼ ¯ Ȥ¯Ű»ª¤þ $WS Ç« þ 6DARHSD VVV HMSDPBFQNTO BNL $ L@HK SDBGCDO HMSDPB BNL
Market Leader
การบริหารจัดการองค์ความรู้
การเพาะฟักกุ้งขาวแวนนาไม ตามมาตรฐาน จีเอพี การจัดการสุขภาพลูกกุ้ง โรคกุ้งขาวที่สำคัญ โรคไวรัสตัวแดงดวงขาว สาเหตุ : เกิดจากไวรัสชนิดดีเอ็นเอ (DNA) รูปร่างเป็นแท่ง ขนาดความยาว 250-280 นาโนเมตร มีผนังหุ้มมักพบใน กุ้งสกุล Penaeid ทุกชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ (P. monodon) กุ้งขาว (P. vannamei) กุ้งญี่ปุ่น (P. japonicus) และอื่นๆ ลักษณะอาการที่พบ : ลำตัวกุ้งมีสีแดง มีดวงขาวบริเวณ ผิวใต้เปลือกขนาด 1-2 มม. บริเวณส่วนหัว และลำตัวกุ้ง มีอัตราการตายสูงมาก 40-100% ภายใน 5-10 วัน การติดต่อ : ถ่ายทอดทางพ่อแม่พันธุ์มายังลูกกุ้งได้ กุ้ง ปู ทุกชนิด เป็นพาหะ ติดต่อทางน้ำได้เป็นอย่างดี
โรคไวรัสทอร่า (TauraSyndromeVirus; TSV) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA) มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 31-32 นาโนเมตร อยู่ในกลุ่ม Picornaviridae มักพบในกุ้งขาวโดยเฉพาะ P. vannamei ลักษณะอาการ : พบในกุ้งขาววัยอ่อนและกุ้งวัยรุ่นในกุ้งที่มีอายุ 14-40 วันหลังจากปล่อย เลี้ยง กุ้งป่วยบริเวณหางมีสีแดง ชัดเจน ถ้าเป็นมากลำตัวมีสีแดง เปลือกนิ่ม เซื่องซึม กุ้งจะตาย มากในช่วงลอกคราบโดยมีอัตราการตาย 40-90% ถ้ากุ้ง รอดตายจากการติดเชื้อจะปรากฎรอย แผลสีดำที่เปลือก การติดต่อ : ถ่ายทอดทางพ่อแม่พันธุ์มายังลูกกุ้งได้ กุ้ง ปู ทุกชนิด เป็นพาหะ ติดต่อทางน้ำได้เป็นอย่างดี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
53
โรคหัวเหลือง (YellowHeadVirus; YHV) สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (SSRNA) รูปร่างเป็นแท่งมีผนังหุ้ม เพิ่มจำนวนอนุภาคใน cytoplasm ขนาด 44±6x 173±13 นาโนเมตร จีโนมประมาณ 22 kb พบในกุ้งสกุล Penaeid หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ P. monodon, กุ้งขาว P. vannamei, P. japonicus, P. setiferus, P. aztecus, P. duorarum, P. stylirostris ลักษณะอาการ : กุ้งลำตัวซีด เหงือกและบริเวณตับ และตับอ่อน มีสีเหลืองเห็นชัดเจน กุ้งกินอาหารเพิ่มมากผิดปกติ จากนั้น จะเริ่มกินลดลง กุ้งเริ่มแสดงอาการหัวเหลือง ตายเร็วมาก ภายใน 3-5 วัน การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำ อาหาร สัมผัสโดยตรงกับเชื้อไวรัส และพาหะนำเชื้อ เช่น กุ้ง ปู นก เป็นต้น
โรคไวรัสไอเอชเอชเอ็นวี (Infectious Hepatopancratic Hemopoietic Necrosis; IHHNV) สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA) มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 22 นาโนเมตร อยู่ในกลุ่ม Parvoviridae พบใน กุ้งกลุ่ม Penaeid หลาย ชนิด เช่น กุ้งขาว P. vannamei, P. stylirorostris, P. monodon, P. japonicus ลักษณะอาการ : ในกุ้งขาวเป็นแบบเรื้อรัง (chronicinfection) เรียกว่า “runtdeformitysyndrome” (RDS), กุ้งแคระแกรน หรือกุ้งพิการ โตช้า กรีคดงอ ส่วนหัวกุ้งจะสั้นกว่าปกติ การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำ อาหาร สัมผัสโดยตรงกับเชื้อไวรัส และพาหะนำเชื้อ เช่น กุ้ง ปู นก
โรคบีพี (Baculoviruspenaei; BP) สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มแบคคิวโลไวรัส พบใน กุ้งสกุล Penaeid หลายชนิด เช่น กุ้งขาว P. vannamei, P. marginatus, P. setiferus, P. duorarum, P. Stylirostris ลักษณะอาการ : ไม่มีอาการภายนอก แต่จะพบกุ้งในระยะไมซีส จะเริ่มทยอยตาย และเพิ่มมากขึ้น แม้จนกระทั่งในระยะแรกๆ ของกุ้งที่พบกุ้งตายหมดบ่อ การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำ
54 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
โรควิบริโอซีส (Vibriosis) สาเหตุ : เกิดจากแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอ (Vibrio sp.) ได้แก่ V. arahemolyticus, V. vulnificus เป็นต้น ลักษณะอาการ : กุ้งกินอาหารลดลง ตัวกรอบแกรบ เปลือกนิ่มขึ้นข้าง หรือว่ายวนขอบบ่อ อาจมีดวงขาว ที่เปลือกทั้งส่วนหัว และลำตัว ตัวกุ้งอาจมีสีแดง กล้ามเนื้อตายมักมีสีขาวขุ่น กุ้งมีอัตราการตายสูง โดยเฉพาะในกุ้งอายุ 1-2 เดือน การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำเป็นหลัก
โรคแบคทีเรียเรืองแสง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเรืองแสง (Vibrio harveyi) ลักษณะอาการ : พบอัตราการตายสูงในกุ้งระยะวัยอ่อนถึงวัยรุ่น ลอยหัว มีแสงเรืองในเวลากลางคืน หรือ ในที่มืด ในกุ้งวัยรุ่นจะว่ายขึ้นผิวน้ำ ขอบบ่อ กุ้งกินอาหารลดหรือ ไม่กินอาหาร มักพบเชื้อแบคทีเรีย ในกระแสเลือด และกล้ามเนื้อ การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำเป็นหลัก
โรคเชื้อราแลคจินิเดียม สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา (Lagenidium sp.) ลักษณะอาการ : พบอัตราการตายสูงในกุ้งระยะวัยอ่อน ลูกกุ้งจะจมลงไป นอนนิ่งๆ อยู่ก้นบ่อ ลูกกุ้งกินอาหาร ลด หรือไม่กินอาหาร ลำตัวมีสีเหลืองครีม หรือจุดสีน้ำตาลอ่อน กล้ามเนื่อเปื่อยเน่า การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำเป็นหลัก
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
55
โรคโปรโตซัว Zoothamnium สาเหตุ : เกิดจากโปรโตซัว Zoothamnium ลักษณะอาการ : ลักษณะของกุ้งที่มีซูโอแทมเนียม เกาะอยู่บนลำตัว จะเห็นเป็นสีขุ่นขาว รอบตัวกุ้ง มีปุยฟู การว่ายน้ำผิดปกติ มีผลต่อการกินอาหาร และการลอกคราบ โดยมักจะพบคราบส่วนหัวติดอยู่กับ ตัวกุ้ง กุ้งจะตายในเวลาต่อมา การติดต่อ : ติดต่อผ่านทางน้ำเป็นหลัก
การตรวจสุขภาพลูกกุ้ง ระยะนอเพลียส • ตรวจสอบความแข็งแรงของลูกกุ้งโดยดูจาก - เปอร์เซ็นต์การเพาะฟักต้องมากกว่า 90% - การเข้าหาแสงสว่างของนอเพลียส เมือ่ ตักนอเพลียสขึน้ มา ต้องมีการว่ายเข้าหาแสงสว่าง และไม่จมลงสู่ก้นภาชนะ - การลอกคราบควรใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง/ครั้งที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส - ถ้ามีการตายควรมีการตรวจอย่างละเอียดภายในห้องปฏิบัติการ
ระยะซูเอีย 1 ถึง ซูเอีย 3 • ตรวจสอบความแข็งแรงของลูกกุ้งโดยดูจาก - เปอร์เซ็นต์การเข้าระยะซูเอีย 1 เป็น ซูเอีย 2 ไม่ควรต่ำกว่า 90% และ ระยะซูเอีย 2 เป็น ซูเอีย 3 ไม่น้อยกว่า 90% เช่นกัน - ระยะเวลาการลอกคราบประมาณ 30-32ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส - มีอาหารในลำไส้ตลอดเวลา - เมื่อใช้แก้วตักลูกกุ้งขึ้นมาต้องวิ่งเข้าหาแสงสว่างเกือบทุกตัว
56 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ระยะ ไมซีส 1 ถึง ไมซีส 3 • ในการตรวจสอบความแข็ ง แรงของ ลูกกุ้ง โดยดูจากเปอร์เซ็นต์การรอด และการ เปลี่ยนระยะ ไม่ควรต่ำกว่า 90% ระยะเวลา การลอกคราบประมาณ 32-36 ชั่วโมง ที่ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส การลอกคราบ เข้าแต่ละระยะ ควรลอกคราบได้มากถึง 90% มีการเปลี่ยนระยะได้อย่างพร้อมเพรียงกัน กุ้ง จะว่ า ยน้ ำ และดี ด ตั ว อย่ า งแข็ ง แรง ส่ ว นหั ว ควรมีอาหารตลอดเวลา มีขี้กุ้งเป็นเส้น และ สังเกตเห็นขี้กุ้งกระจายในน้ำทั้งบ่อ เมื่อใช้แก้ว ตักลูกกุ้งขึ้นมา ต้องวิ่งเข้าหาแสงสว่างเกือบ ทุกตัว
ยาที่อนุญาตให้ใช้รักษาโรคสัตว์น้ำ
1) ออกซีเตตราซัยคลิน (Oxytetracycline) ชื่อการค้าคือ เทอรามัยซิน 2) ซั ล ฟาไดเมทท็ อ กซี น (Sulfadimethoxine)+ออเมโทรฟริม (Ormethoprim) ชื่อการค้าคือ โรเมท-30, ฮอฟแมน-ลาโมซ (Romet-30®, Hoffman-LaRoche) 3) ซัลฟาเมอราซีน (Sulfamerazine)
ยาสัตว์น้ำที่สามารถใช้ได้เมื่อจำเป็น
ระยะ Post Larvae
• ตรวจความแข็งแรงของกุ้ง โดยดูจาก - ระยางค์กุ้ง ตรวจดูพยาธิภายนอก เช่น Zoothamnium กุ้งที่แข็งแรงต้องไม่มี สิ่งมาเกาะ กรีไม่คด - วิธีตรวจสอบความแข็งแรงของกุ้ง ทำโดย ตั ก กุ้ ง ขึ้ น มาใส่ ก ะละมั ง แล้ ว ดู ตั ว ที่ อ่อนแอจะตกอยู่ด้านล่าง ลูกกุ้งที่แข็งแรงจะ ว่ายทวนน้ำ อาหารเต็มลำไส้ตลอดเวลา และ ปริมาณตัวอ่อนแอไม่ควรเกิน 2% หรือไม่มี เลย - ตรวจสุขภาพลูกกุง้ ก่อนการจำหน่าย โดยวิธี Stresstest โดยใช้ฟอร์มาลีน 100 ส่วนในล้านส่วน แช่กงุ้ นาน 15 นาที ให้อากาศ ตลอดเวลา จากนัน้ ย้ายกลับมาสูน่ ำ้ ปกติ อัตรา รอดควรเป็น 90% - ตรวจวัดสัดส่วนกล้ามเนื้อโคนหาง ควรเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4
1) เตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) 2) คลอเตตร้าซัยคลิน (Chlortetracycline) 3) ออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline) 4) ด็อกซี่ซัยคลิน (Doxyxycline) 5) นาลิดิกซิก แอซิด (Nalidixicacid) 6) ออกโซลินิก (Oxolinicacid)
สารเคมีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คลอรีน • คลอรีนผง หรือแคลเซีย่ มไฮโปคลอไรท์ (Ca(OCl)2) • น้ ำ ยาฟอกสี หรื อ คลอรอกซ์ หรื อ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) • คลอรี น เมื่ อ ละลายน้ ำ จะแตกตั ว ให้ คลอรีนอิสระ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อ • กำจัดพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ • อัตราการฆ่าเชือ้ จะอยูร่ ะหว่าง 25-50 ส่วนในล้านส่วน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
57
• ก่ อ นนำน้ ำ ไปใช้ ต้ อ งให้ อ ากาศทิ้ ง ไว้ 3-4 วัน • ก่อนปล่อยลูกกุ้งต้องทดสอบด้วยชุด ทดสอบคลอรีน หรือใช้โปแตสเซียมไอโอไดน์ 2-3 เกล็ดใส่ลงในน้ำ
ฟอร์มาลิน • ฟอร์ ม าลิ น เป็ น สารละลายของฟอร์ มัลดีไฮด์ในน้ำ โดยมีฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ประมาณ 37-40% • กำจัดโรคและปรสิต ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ น้ำ และอุปกรณ์เครื่องมือ • อัตราส่วนการใช้งาน มักใช้ในความ เข้มข้น 25-100 ส่วนในล้านส่วน ความเข้มข้น ทีใ่ ช้ในการรักษาโรคและปรสิต ทีร่ ะดับ 20-30 ส่วนในล้านส่วน • ฟอร์ ม าลิ น มี ค วามเป็ น พิ ษ ต่ อ ลู ก กุ้ ง ค่อนข้างสูง • การสลายตัวของฟอร์มาลินค่อนข้างช้า จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน • คุ ณ ภาพน้ ำ บางประการ ก็ มี ผ ลต่ อ ความเป็นพิษของฟอร์มาลิน โดยเฉพาะอย่างยิง่ อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความเป็นพิษของ ฟอร์มาลินก็มากขึ้น • ฟอร์มาลินไปฆ่าแพลงก์ตอนพืช เป็น สาเหตุให้ปริมาณออกซิเจนในบ่อจะลดอย่าง รวดเร็ว
58 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
โพวิโดนไอโอดีน • โพวิโดนไอโอดีนที่ขายในท้องตลาด มี ความเข้ ม ข้ น ที่ อ อกฤทธิ์ ป ระมาณ 20% มี ลักษณะเป็นผง สีน้ำตาลเหลือง • มี คุ ณ สมบั ติ ใ นการทำลายเชื้ อ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ • โพวิโดนไอโอดีน จะเข้าไปยับยั้งการ สั ง เคราะห์ ผ นั ง หุ้ ม เซลของเชื้ อ โรค รบกวน การทำงานของระบบน้ำย่อยในเซล ยับยั้งการ สังเคราะห์ DNA และ RNA รวมทั้งโปรตีน ภายในเซล นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนแปลงความ สามารถในการทำงานด้ า นการซึ ม ผ่ า นของ ผนังเซล ส่งผลให้เซลตายในที่สุด • อัตราส่วนการใช้งานในการฆ่าเชือ้ โรค มักใช้ในความเข้มข้น 3-5 ส่วนในล้านส่วน โพวิ โ ดนไอโอดี น อาจระคายเคื อ งต่ อ ผิ ว บาง แห่งที่อ่อนบาง และระคายเคืองต่อตาของผู้ใช้ จึงต้องระมัดระวังในการใช้
Market Leader
ผู้นำเข้าอียู-ญี่ปุ่น
¥ € รับค่าเงินยูโร-เยนอ่อนตัว คาดปีนี้ส่งออก 6 แสนตัน บีบไก่ไทยลดราคา
ค่าเงินเยน-ยูโรอ่อนตัว กลายเป็นปัจจัย ลบ ผู้นำเข้าญี่ปุ่น-อียู บีบผู้ส่งออกไทย ลด ราคาไก่ ด้านปริมาณส่งออกปีนยี้ งั โตต่อเนือ่ ง คาดมูลค่ารวมปีนี้เติบโต 5% ส่งออกได้ 6 แสนตัน/ปี รอลุ้นกลางปีเปิดตลาดเกาหลีใต้ เพิ่มตลาดไก่สด 4 หมื่นตัน/ปี นายคึ ก ฤทธิ์ อารี ป กรณ์ ผู้ จั ด การ สมาคมผู้ ผ ลิ ต ไก่ เ พื่ อ การส่ ง ออก กล่ า วว่ า ตลาดส่งออกไก่เนื้อปี 2558 ยังไม่มีปัจจัยลบ ด้านสิทธิทางการค้า แต่ค่าเงินเยน และยูโรที่ อ่อนตัวอยู่ขณะนี้จะทำให้มาร์จิ้นต่ำลง เพราะ ลูกค้าทัง้ ตลาดยุโรป และญีป่ นุ่ ต่างต่อรองราคา โดยขณะนี้ ไก่สดทั้งในตลาด ยุโรป และญี่ปุ่น ราคาตันละ 3,000 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก ระดับ 3,200-3,300 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ ไก่ปรุงสุกตลาดยุโรปราคาตันละ 4,800 เหรียญ สหรัฐฯ ส่วนตลาดญี่ปุ่นตันละ 4,500-4,600 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดิมที่ตันละ 5,000 เหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม นายคึกฤทธิ์ กล่าวว่า ช่วง เดือน ม.ค.-มี.ค. เป็นช่วงการสั่งซื้อไก่ชะลอตัว ตามปกติของทุกปี ดังนั้น จะเห็นผลกระทบ มากขึ้นหลังจากเดือน มี.ค. ไปแล้ว และต้อง คอยติดตามราคาไก่บราซิลซึ่งเป็นคู่แข่งหลัก หากมีการปรับลดราคาลง ไก่ไทยก็อาจต้อง ปรับกลยุทธ์การค้าใหม่ "ลู ก ค้ า ยุ โ รปก็ ต่ อ รองเหมื อ นกั บ ญี่ ปุ่ น แต่ยังดีกว่าเพราะมีโควตาอยู่ 2.6 แสนตัน แบ่งเป็นไก่สด 9.2 หมื่นตัน และไก่ปรุงสุก 1.7 แสนตัน ที่บริษัทนำเข้าของยุโรปตกลงไว้ ตั้ ง แต่ 3 เดื อ นก่ อ น ก็ ต้ อ งนำเข้ า ตามนั้ น มิฉะนั้นจะถูกปรับเงิน" นายคึกฤทธิ์กล่าว นายคึกฤทธิ์ เปิดเผยว่า ช่วงกลางปีนี้ คาดว่าตลาดเกาหลีใต้จะอนุญาตให้ไทยส่งออก ไก่สดไปได้ จะทำให้ไทยมีตลาดส่งออกไก่สด เพิ่มอีก 4 หมื่นตัน/ปี จากเดิมที่ส่งได้เฉพาะ ไก่ปรุงสุกปริมาณ 2.3 หมื่น ตัน/ปี แต่ในปี 58 นั้น เนื่องจากเพิ่งเปิดตลาด ตัวเลขอาจ ยังไม่สูงมากนัก
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
59
พิษค่าเงิน - จากการทีค่ า่ เงินยูโรลด เกื อ บ 10% ส่ ง ผลให้ ผู้ บ ริ โ ภค สินค้านำเข้าของสหภาพยุโรป (อีย)ู ต้องซือ้ สินค้าแพงขึ้น ผู้นำเข้า อียู จึงต่อรองให้ผสู้ ง่ ออกไทยลดราคา โดยเฉพาะสิ น ค้ า ที่ ต้ อ งบริ โ ภค ประจำวัน เช่น ไก่ไทย เป็นต้น
ส่วนปริมาณรวมทั้งปี 2558 คาดว่า ไทยจะส่งออกไก่เนื้อได้ 6 แสนตัน เพิ่มจาก ปี 2557 ที่ส่งออกได้ 5.6 แสนตัน เติบโต คิดเป็น 6-7% ในแง่มูลค่าปีนี้อยู่ที่ 8.1-8.2 หมื่นล้านบาท ยังคงเติบโตขึ้น 5% แม้จะ ได้รับผลกระทบเรื่องค่าเงิน นายคึ ก ฤทธิ์ กล่ า วว่ า ด้ า นตลาด ส่งออกไก่เนื้อไปประเทศรัสเซียที่เคยส่งออก บ้าง และอาจเป็นโอกาสใหม่ของไทย ขณะนี้ ค่ า เงิ น รู เ บิ ล อ่ อ นตั ว และผั น ผวนหนั ก ทำให้ การค้ายิ่งชะลอตัว และต้องจับตามองเรื่อง ค่าเงินอย่างมาก แหล่งข่าวจากกรมปศุสัตว์กล่าวว่า การ ตรวจสอบโรงงานผลิตไก่เนือ้ ไทยโดยหน่วยงาน ด้านเกษตรของเกาหลีใต้ มีทงั้ หมด 8 ขัน้ ตอน ขณะนี้ ไทยผ่านขั้นตอนที่ 5 เรียบร้อยแล้ว นั่ น คื อ ผ่ า นการตรวจสอบมาตรฐานโรงงาน และได้รับอนุญาตให้ส่งออกไก่ไปยังเกาหลีใต้ แต่ขั้นตอนต่อจากนี้ จะต้องร่างเงื่อนไขการ ส่งออกร่วมกัน และตรวจสอบโรงงานซ้ำอีกครัง้ หนึ่ง ซึ่งจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 6-7 เดือน 60 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
"เกาหลี ใ ต้ เ ป็ น ประเทศที่ เ ปิ ด ตลาดช้ า อยู่แล้ว ถึงแม้เขาจะผลิตไก่เองได้ไม่พอความ ต้องการ แต่เขาก็ต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบ เกษตรกรภายในประเทศ ปัจจุบันเกาหลีใต้ กำลังพบปัญหาไข้หวัดนกระบาด ซึ่งสิ่งนี้อาจ เป็นปัจจัยลบเชิงจิตวิทยา ต่อการส่งออกของไทย ด้วย เพราะจะทำให้ผบู้ ริโภคไม่กล้ารับประทาน ไก่ และมีความต้องการโดยรวมลดลง" แหล่ง ข่าวกล่าว อนึ่ ง ราคาไก่ เ ป็ น หน้ า ฟาร์ ม จากการ ประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ วันที่ 28 ม.ค. ศกนี้ เขตกรุงเทพฯ กก. ละ 40 บาท ภาคเหนือ กก. ละ 41-42 บาท ภาคอีสาน 37-42 บาท ภาคตะวันออก กก. ละ 3740 บาท ภาคตะวันตก กก. ละ 36-37 บาท และภาคใต้ กก. ละ 35-37 บาท
Market Leader
4 บิ๊กค้าไข่ ไก่
พร้อมใจกู้วิกฤติ!
! ! p l e h
เก็บ Egg เข้าห้องเย็น/ดันส่งออก/ผู้เลี้ยงยื่น 6 ข้อรัฐบาล 4 บริษัทผู้ผลิตและค้าไข่ไก่รายใหญ่ "ซีพ-ี เบทาโกร-แหลมทองฟาร์ม-รวมพรมิตร" พร้อมใจเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น และดันส่งออก 30% หวังลดซัพพลายในตลาด หลังราคา ร่วงกราวรูดกว่า 1 บาท ขณะผู้เลี้ยงเตรียม ล่ารายชื่อขอเงิน คชก. 1.5 พันล้าน อุ้มทั้ง ระบบ ชีไ้ ข่ลน้ ตลาด 4 ล้านฟองต่อวัน ผลพวง เปิดเสรีนำเข้าพ่อแม่พนั ธุ์ ดันจำนวนฟาร์มเพิม่ ชง 6 มาตรการเร่งด่วนแก้วกิ ฤติ ขีดเส้นตาย 7 วันบุกทำเนียบ หากไร้มาตรการช่วย แหล่งข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เปิด เผยว่า จากการประชุมร่วมสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ และสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ เพื่อ หาแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติราคาไข่ไก่ ตกต่ำ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ทาง 4 บริษัทผู้ผลิตและค้าไข่ไก่รายใหญ่ ที่มี สัดส่วนการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่สูงสุด ได้แก่ บริษทั เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (บจก.) บจก. เบทเทอร์ ในเครือเบทาโกร บจก. แหลมทอง ฟาร์ม และ บจก. รวมพรมิตร ได้ตอบรับกับ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่วา่ จะเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น
รวมถึงส่งออก 30% ของผลผลิตของแต่ละ ราย เพื่ อ ลดซั พ พลายไข่ ไ ก่ ใ นท้ อ งตลาดลง หลังจากราคาไข่ได้ตกต่ำอีกครัง้ จากทีเ่ คยขาย ไข่ไก่คละหน้าฟาร์มได้ราคาสูงที่ 3.50 บาท/ ฟอง ล่าสุด (6 ก.พ.) ราคาอยู่ที่ 2.20 บาท/ ฟอง หรือลดลงมากกว่า 1 บาท/ฟอง ขณะที่ ต้นทุนการผลิต ทางสำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร ได้มกี ารประชุมต้นทุนวันเดียว ปรับจาก 2.90 บาท เป็น 3 บาท/ฟอง "ผลจากการยกเลิกการจำกัดโควตาการ นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ เมื่อปี 2553 ทำให้มี การนำเข้าแม่พันธุ์อย่างเสรีมากขึ้น ทำให้มี จำนวนฟาร์มเลี้ยงเพิ่มขึ้น และผลผลิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในครั้งนี้ผู้เลี้ยงจึงต้องขอความร่วมมือ จากผู้ผลิตรายใหญ่แบบครบวงจร รวมถึงกลุ่ม ผู้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ ผู้ผลิตลูกไก่ทั้ง 22 บริษัท อาทิเช่น บริษัท ซีพี เบทาโกรฯ รวมพรมิตร แหลมทอง เป็นต้น โดยทัง้ 4 บริษทั ได้ขานรับ แล้วว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรโดยเก็บไข่ไก่เข้า ห้องเย็นและส่งออก เพื่อลดซัพพลาย และดัน ราคาให้สูงขึ้น"
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
61
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากมาตรการ ดังกล่าวแล้ว จะให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่ว ประเทศลงรายชื่อ เพื่อขอเงินจากกองทุนช่วย เหลือเกษตรกร (กองทุน คชก.) ผ่านคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด) จำนวนเงิน 1.5 พันล้านบาท เพื่อ จูงใจให้เกษตรกรปลดแม่ไก่ไข่ยนื กรง โดยได้รบั เงินชดเชยตัวละ 20 บาท และสนับสนุนการ ส่งออกไข่ไก่ การเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น โดยกลุม่ สหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ ทัว่ ประเทศ/เอกชน เนือ่ ง จากขณะนี้ เกษตรกรรายย่อยประสบสภาวะ ขาดทุนอย่างมากเป็นเวลานาน จากราคาไข่ไก่ ตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง "ก่ อ นหน้ า นี้ มี บ ริ ษั ท นำเข้ า พ่ อ แม่ พั น ธุ์ 9 บริษัท หลังเปิดเสรีเพิ่มเป็น 22 บริษัท แล้ว เกษตรกรเองก็มีฟาร์มเกิดขึ้นใหม่เพิ่มขึ้น จากกว่า 4 พันฟาร์ม ปัจจุบันเป็นกว่า 6 พัน ฟาร์ม สาเหตุมาจากในช่วง 2 ปีทผี่ า่ นมา ราคา ไข่ไก่จูงใจให้มีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้ง รายใหม่ และรายเก่า" นายชัยพร สีถัน ประธานชมรมผู้เลี้ยง ไก่ไข่ภาคกลาง กล่าวว่า นายกสมาคมผู้เลี้ยง ไก่ ไ ข่ ประธานชมรมผู้ เ ลี้ ย งไก่ ไ ข่ ภ าคกลาง ประธานชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เห็นชอบ ร่วมกันที่จะยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่ออธิบดี กรมปศุ สั ต ว์ ในฐานะเลขานุ ก ารเอ้ ก บอร์ ด เพื่อขอเงินจำนวน 1.5 พันล้านบาท พร้อม ข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาวิกฤติอุตสาห-
62 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
กรรมไก่ไข่ โดยเร่งด่วนต่อรัฐบาลดังนี้ 1. ให้ ลดการเลี้ยงไก่ไข่ลง 30% ทันทีโดยพร้อม เพรียงกัน 2. ยกเลิกไข่ไก่เป็นสินค้าควบคุม ถ้าไม่ยกเลิก ให้มีมาตรการเร่งด่วนเข้ามาช่วย เหลือแก้ปัญหา เช่น ใช้งบประมาณจาก คชก. จำนวน 500 ล้านบาท สำหรับการบริหาร จัดการไก่ไข่ โดยกรมการค้าภายใน กระทรวง พาณิชย์ 3. ให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ องค์กรสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ ที่ทำหน้าที่กำหนดราคาไข่ไก่ในประเทศใหม่ ทั้ ง หมด เพื่ อ ให้ ภ าคเกษตรกรผู้ เ ลี้ ย งไก่ ไ ข่ ที่ แท้จริงได้เข้าไปมีบทบาท และส่วนร่วม 4. ให้ บริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ ปรับราคาอาหารสัตว์ ให้สอดคล้องกับต้นทุนวัตถุดิบที่แท้จริง โดย ให้กรมการค้าภายใน เรียกบริษัทผู้ผลิตอาหาร สัตว์ทั้งหมดเข้าไปชี้แจง และ 5. เก็บค่าธรรมเนียมการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ตัวละ 1 พันบาท เข้ากองทุน คชก. เพื่อพยุงราคาไข่ไก่ และ 6. เรื่องไข่เชื้อจากไก่เนื้อ ให้กรมปศุสัตว์ทำ เครือ่ งหมายทีไ่ ข่เชือ้ เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคได้รบั รู้ และ ควรแนะนำไม่ให้นำไข่เชื้อออกมาสู่ท้องตลาด เพื่อให้ประชาชนบริโภค "หากใน 7 วัน ยังไม่มหี น่วยงานราชการ เข้ามายื่นมือช่วยเหลือ จะนำเกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ไข่บกุ ยืน่ หนังสือให้กบั พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล"
Market Leader
ส่งออกไก่เนื้อฝันหวาน
อนาคตสดใสลุ้นโกยรายได้ 8.2 หมื่นล้าน นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการ สมาคมผู้ ผ ลิ ต ไก่ เ พื่ อ ส่ ง ออกไทย เปิ ด เผยว่า ไก่เนื้อของไทยมีการเติบโต และ อนาคตที่สดใส คาดว่าในปี 2558 นี้ ไทย จะสามารถส่งออกไก่เนือ้ ได้ 600,000 ตัน เพิม่ จากปี 2557 ประมาณ 6-7% จากทีส่ ง่ ออก ได้ 570,000 ตัน ส่วนมูลค่าจะเพิ่มขึ้น 5% หรื อ ประมาณ 81,000-82,000 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงกลางปีนี้ตลาด เกาหลีใต้จะอนุญาตให้ไทยส่งออกไก่สดไปได้ที่จะช่วยให้ไทยส่งไก่สดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งไทยเคยส่งได้ ถึง 40,000 ตันต่อปี ปัจจุบันส่งได้เฉพาะไก่ปรุงสุกปริมาณ 15,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศและมาตรฐานสากลอย่าง ครบถ้วน ผู้ประกอบการไทยล้วนให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐาน และระบบปฏิบัติด้านการ ผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด ยึดแนวทางการผลิตตาม ข้อกำหนดทางการค้าของอียู และญี่ปุ่น และมาตรฐานสากลในคราวเดียวกัน ทำให้การส่งออก จนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีการตรวจพบว่าไก่ของประเทศไทยมีการใช้ฮอร์โมน นายสุเมธ ทรัพย์ชูกุล นายกสมาคมสัตวแพทย์ ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก เปิดเผยว่า ไทย เป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก ในแต่ละปีมีการส่งออกปีเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ มากกว่า 500,000 ตัน โดยมีตลาดหลักคือสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น คิดเป็น 80-90% ของการส่งออกเนื้อไก่ทั้งประเทศ ซึ่งทั้งสองตลาดให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย อาหารของผู้บริโภคในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกฎระเบียบที่ห้ามใช้ฮอร์โมน และสาร ปฏิชีวนะในการเลี้ยงไก่ ซึ่งในทางปฏิบัตยังไม่เคยตรวจพบเนื้อไก่ไทยที่มีการปนเปื้อนฮอร์โมน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
63
Market Leader
เกาหลีใต้ 'ปลดล็อก' นำเข้าไก่ไทย มิ.ย. นี้ เกาหลี ใ ต้ ประกาศปลดล็ อ กนำเข้ า ไก่สดแช่แข็งจากไทย กรมปศุสัตว์รับลูก เร่ง เจรจากระบวนการตรวจสอบรับรอง ตั้งเป้า ปีนี้ ส่งออกรวมมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้าน นายปี ติ พ งศ์ พึ่ ง บุ ญ ณ อยุ ธ ยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่ได้พยายามผลักดันให้เกาหลี ใต้ พิ จ ารณานำเข้ า สิ น ค้ า ไก่ ส ดแช่ แ ข็ ง ของ ไทย หลังจากทีถ่ กู ระงับมาตัง้ แต่ปี 2547 เนือ่ ง จากปั ญ หาการระบาดของไข้ ห วั ด นกในไทย พร้อมทั้งได้เสนอข้อมูลให้นายกรัฐมนตรี นำ ไปหารือระดับทวิภาคีกับประธานาธิบดีเกาหลี ใต้ ช่วงประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเกาหลีใต้ ทีป่ ซู านเพือ่ เร่งรัดกระบวนการพิจารณาการนำ เข้าสินค้าไก่สดแช่แข็งของไทย ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศ โดย สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ได้ แจ้ ง ผลการพิ จ ารณาของกระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบทเกาหลีใต้ว่า ได้เริ่ม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558
64 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
กระบวนการประเมินความเสี่ยงการนำเข้าเนื้อ สัตว์ปีกของไทย โดยเห็นควรอนุญาตให้นำเข้า ไก่สดจากไทยไปเกาหลีใต้ คาดจะเริ่มส่งออก ได้เดือน มิ.ย. นี้ ในขั้ น ต่ อ ไป ต้ อ งผ่ า นกระบวนการ พิจารณาข้อบังคับเงื่อนไขด้านความปลอดภัย เพือ่ ตรวจสอบและควบคุมโรคสัตว์ การประกาศ ใช้ข้อบังคับเงื่อนไขด้านความปลอดภัย เพื่อ ตรวจสอบและควบคุมโรคสัตว์ และการรับรอง สถานประกอบการและกำหนดรูปแบบเอกสาร รับรองการปลอดโรคสัตว์ การตรวจสอบของ เกาหลีใต้จะมี 8 ขั้นตอน ขณะนี้ไทยผ่านขั้น ตอนที่ 5 แล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องร่างเงื่อนไข การส่งออกร่วมกับกรมปศุสัตว์ และการตรวจ สอบให้การรับรองโรงเชือดและโรงชำแหละ ไก่เพื่อการผลิตและส่งออกไปยังเกาหลีใต้
นายปีติพงศ์ กล่าวว่า จากข้อมูลการ นำเข้ า ไก่ ส ดแช่ แ ข็ ง ของเกาหลี ใ ต้ ปี ที่ ผ่ า นมา พบว่าช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2557 มีการนำ เข้าไก่สดแช่แข็ง 112,510 ตัน เพิ่มขึ้น 8% คาดว่ า ปี นี้ จ ะนำเข้ า ไก่ ส ดแช่ เ ย็ น แช่ แ ข็ ง อยู่ ที่ 115,000 ตัน ปัจจุบัน นำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่ แข็งจากบราซิล และสหรัฐฯ กว่า 90% ของ การนำเข้าทั้งหมด ประกอบกับช่วงเดือน ธ.ค. ที่ ผ่ า นมา เกิ ด การระบาดโรคไข้ ห วั ด นกใน สหรัฐฯ ทำให้เกาหลีใต้ประกาศห้ามนำเข้าไก่ มีชีวิตและไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากสหรัฐฯ จึง เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าถึง ตลาดเกาหลีใต้ "ผมได้ให้กรมปศุสัตว์ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เร่งหารือเพื่อตกลงในข้อบังคับการ ปฏิบัติ และควบคุมโรคสัตว์โดยเร็ว เบื้องต้น คาดว่ า จะทำให้ ไทยส่ งออกไก่ส ดเพิ่ มอี กปี ละ 4 หมื่นตัน จากเดิมที่ส่งได้เฉพาะไก่ปรุงสุก ปีละ 2.3 หมื่นตัน ดังนั้นปีนี้คาดว่าไทยจะ ส่งออกไก่ได้ 6 แสนตัน เพิ่มจากปี 2557 ที่ ส่งออกได้ 5.6 แสนตัน เติบโต 6-7% มูลค่า 8.1-8.2 หมื่นล้านบาท" นายปีติพงศ์ กล่าว
นายปีติพงศ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ ไทย ต้องเร่งหาตลาดใหม่รองรับผลผลิตที่เพิ่ม จาก 22 ล้านตัว เป็น 30 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ใน จำนวนนี้ บริโภคภายใน 21 ล้านตัว เหลือ ส่งออก 5-6 ล้านตัว ตลาดที่น่าสนใจขณะนี้ คือรัสเซีย เนื่องจากมีประชากรมาก สินค้า อาหารยังต้องพึ่งพาการนำเข้า แม้จะมีปัญหา เศรษฐกิจภายใน เงินรูเบิลอ่อนค่ามาก แต่ เชือ่ ว่า จะผ่านพ้นไปได้ เร็วๆ นี้ จะเชิญรัฐมนตรี เกษตรของรัสเซียมาหารือเรื่องการเปิดตลาด นายสรวิศ ธานีโต รองอธิบดี กรม ปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยสามารถส่งออก ไก่ ใ นตลาดรั ส เซี ย ได้ อ ยู่ แ ล้ ว แต่ เ นื่ อ งจาก ตลาดแห่งนี้มีความเข้มงวดเรื่องการตรวจเชื้อ ซัลโมเนลลาทุกชนิด ดังนั้น จึงต้องปรับปรุง ระบบการผลิ ต ให้ มี ค วามปลอดภั ย มากที่ สุ ด หากรัสเซียตรวจพบจะถูกส่งกลับทันที ตลาดที่ น่าสนใจคือ แถบตะวันออกกลาง ปัจจุบัน แม้ จะยอมรั บ ไก่ ข องไทยแต่ ไ ม่ สั่ ง ซื้ อ ส่ ว นใหญ่ นิยมไก่ทั้งตัว ในขณะที่ไทยถนัดการส่งออก ลักษณะแปรรูป
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
65
Around the World
ยา
การตรวจสอบ ในอาหารสัตว์ ด้วยชุดทดสอบ • ชัยวุฒิ สุดทองคง •
อาหารสัตว์สำเร็จรูป อาหารสัตว์สำเร็จรูปประกอบด้วยวัตถุดบิ อาหารสัตว์ 2 ประเภท คือ 1. วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ปลาป่น ปลาหมึก กากถั่วเหลือง กากคาโนลา กากทานตะวัน ข้าวโพด ปลายข้าว และรำ เป็นต้น
ชนิดต่างๆ จะเป็นชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิด ในปริ ม าณน้ อ ยๆ มาผสมรวมกั น กั บ สื่ อ ที่ เหมาะสม เพือ่ ให้วตั ถุปลีกย่อยต่างๆ ทีม่ ปี ริมาณ น้อยเหล่านั้นมีการกระจายตัวดีเมื่อนำมาผสม ในอาหารสำเร็จรูปต่อไป พรีมิกซ์ มีหลายชนิดคือ
2. วัตถุดบิ ทีเ่ ป็นส่วนปลีกย่อย ซึง่ สามารถ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 กลุ่มที่ให้คุณค่าทางอาหารและ มีความจำเป็นทีส่ ตั ว์ขาดไม่ได้ ได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุ 2.2 กลุ่ ม ที่ ไ ม่ ใ ห้ คุ ณ ค่ า ทางอาหาร เช่น สารเร่งการเจริญเติบโต สารเสริมชีวนะ หรือโปรไบโอติก เช่น อีเอ็ม สารช่วยเสริม การย่อย สารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ สาร ปรับปรุงคุณภาพ ซากสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ เป็นต้น สารปลีกย่อยเหล่านัน้ ก่อนทีจ่ ะนำมาผสม ลงในอาหารสัตว์สำเร็จรูปต้องมาผสมกับสื่อที่ เหมาะสมก่อน ซึง่ เรียกผลิตภัณฑ์นวี้ า่ สารผสม ล่วงหน้า หรือพรีมิกซ์ สารผสมล่วงหน้า หรือพรีมิกซ์ (Premixes) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เอาวัตถุปลีกย่อย 66 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
• พรีมิกซ์วิตามิน • พรีมิกซ์สารปฏิชีวนะ หรือยา • พรีมิกซ์แร่ธาตุ • พรีมกิ ซ์รวม มีทงั้ วิตามิน แร่ธาตุ และ ยา
ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์ที่ห้ามใช้ ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค ยาและเภสั ช เคมี ภั ณ ฑ์ ที่ ห้ า มใช้ ใ นการ เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค เช่น กุ้ง และไก่ (ที่มา : สำนั ก งานมาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรแห่ ง ชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กลุ่มยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด ได้แก่ 1. ยาในกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ คือ • ฟูราโซลิโดน • ไนโตรฟูราโซน • ไนโตรฟูแรนโตอิน • ไนโตรวิน
2. ยากลุ่มไนโตรอิมมิดาโซล คือ • โรนิดาโซล • ไดเมไตรดาโซล • เมโทรนิดาโซล • ไอโปรนิดาโซล 3. ยาในกลุ่มไกลโคเปปไทด์ คือ • แวนโคไมซิน • อโวพาร์ซิน 4. ยากลุม่ เบต้าอะโกนิสท์ (สารเร่งเนือ้ แดงใน หมู) คือ • เคลนบิวเทอรอล • ซัลบิวทามอล • ไซมาเทอรอล • มาบิวเทอรอล ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์ในกลุ่มอื่นๆ คือ คลอแรมฟินิคอล คลอโปรมาซิน คาบาด๊อกซ์ โอลาควินดอกซ์ ไดเอทิลสติลเบสทอล คลอชิซนิ เดปโซน และอริสโตโลเซีย กลุ่มยาที่ห้ามใช้นอกเหนือจากฉลาก คือ ยาทีใ่ ช้ได้ตามข้อบ่งใช้ทรี่ ะบุไว้ในฉลากของ ยาทีไ่ ด้ขนึ้ ทะเบียนแล้วเท่านัน้ ห้ามนำยาคนมา ใช้ในยาสัตว์ และห้ามนำยาสัตว์ไปใช้ในสัตว์ ต่างชนิดกัน ได้แก่ กลุ่มซัลโฟนามิด ทุกชนิด และกลุ่มฟลูโอรควิโนลีน คือ นอร์ฟล็อกซาซิน เอ็นโรฟล็อกซาซิน ไซโปรฟล็อกซาซิน ไดฟล็อกซาซิน เฟอร์โรซาซิน โลมิฟล็อกซาซิน โอฟล็อกซาซิน และพีฟล็อกซาซิน ผลกระทบส่วนใหญ่ที่เกิดจาก ยาตกค้างในอาหาร ได้แก่ 1. Carcinogenic effect หมายถึง สาร ที่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้รับจะมีปฏิกิริยากับเซลล์ใน ร่างกายเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง
2. Teratogenic effect หมายถึง มนุษย์ หรือสัตว์ทไี่ ด้รบั ยา หรือสารเคมี ขณะตัง้ ครรภ์ ยาและสารเคมี ดั ง กล่ า ว สามารถผ่ า นเข้ า สู่ ทารก หรือลูกอ่อน เช่น Chloramphenicol มี ผลอันตรายต่อตับ โดยเฉพาะทารกแรกเกิด ทำให้ ผิ ว หนั ง มี สี เ ทา เกิ ด อาการช็ อ ก และ ถึงตายได้ 3. Drug allergy or hypersensitivity หมายถึง การแพ้ยาหลังจากได้รับยา ซึ่งจะช้า หรือเร็วขึ้นอยู่กับบุคคล ชนิดของสาร หรือยา เช่น ยาในกลุ่ม Tetracycline ประกอบด้วย Oxytetracycline, Chlortetracycline และ Tetracycline ทำให้เกิดอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน ท้องเดิน และแพ้แสง นอกจาก Chloramphenicol ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และยังมีผลต่อไขกระดูก ในบางรายที่ได้รับ Tetracycline และ Chloramphenicol ระยะ เวลาหนึ่ง ยาเหล่านี้ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ ถู ก ทำลายลงไปมาก ทำให้ ค วามสมดุ ล ของ แบคทีเรียในร่างกายเสียไป ซึง่ มีผลทำให้ระบบ ภู มิ คุ้ ม กั น ของร่ า งกายเสื่ อ มลง ร่ า งกายติ ด เชือ้ ราได้งา่ ย เช่น อาการปากเปือ่ ย ลิน้ เป็นฝ้า คันที่ช่องคลอด หรือทวารหนัก 4. Drug resistance การดือ้ ยามีสาเหตุ หนึ่ ง มาจากการที่ ใ ห้ ย าปฏิ ชี ว นะผสมอาหาร สัตว์เพื่อป้องกันโรค จึงทำให้เกิดปัญหาการ ดื้อยาของแบคทีเรีย และยังสามารถถ่ายทอด การดื้อยานี้ไปสู่แบคทีเรียตัวอื่นได้ มีผลต่อ สุขภาพคนและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากยาที่ใช้ใน ปัจจุบันอาจใช้ไม่ได้ผลในอนาคต เพราะเชื้อใน ร่างกายผู้ป่วยดื้อยา ทำให้การรักษาโรคไม่ได้ ผล ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
67
การตรวจวิเคราะห์ยาในอาหารสัตว์อย่างง่าย
ชุดตรวจสอบยาในอาหารสัตว์ หลักการ น้ำยาทดสอบ ยา และสารทีม่ สี ี สีทไ่ี ด้มคี วามจำเพาะตัวซึง่ สามารถระบุได้วา่ เป็นยาชนิดใด ชุดตรวจสอบยาในอาหารสัตว์ใช้สำหรับตรวจตัวอย่างอาหาร สารผสมล่วงหน้า และยาสัตว์ ชุดตรวจสอบชนิดยาในอาหาร อาหารสัตว์ สามารถตรวจชนิดยาได้ 9 ชนิด สารปฏิชีวนะ 1. คลอเตตร้าซัยคลิน (Chlortetracycline: CTC) 2. ออกซีเตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline: OTC) สารเคมีภัณฑ์ ยาในกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ 5 ชนิด 3. ฟูราโซลิโดน (Furazolidone: FURA 4. ไนโตรฟูราโซน (Nitrofurazone: NIF) 5. ฟูรัลทาโดน (Furaltadone: FTD) 6. ไนโตรฟูแรนโตอิน (NItrofurantoin: NFT) 7. ไนไตรวิน (Nitrovin: Niv) สารเคมีภัณฑ์ชนิดอื่น 8. ร็อกซาโซน (Roxarsone: Rox) 9. โซอาลีน (Zoalene: Zoa) ชุดตรวจสอบชนิดยาในอาหารสัตว์ประกอบด้วย 1. สาร/ยา CTC 30 ml Fura 1 30 ml Fura 2 15 ml 2. จานหลุมขนาด 3 หลุม จำนวน 3. ช้อนตักตัวอย่าง จำนวน 4. แผ่นตรวจผล จำนวน 5. หนังสือคู่มือ จำนวน 6. แว่นขยาย พร้อมหลอดไฟส่องตัวอย่าง 7. จานแก้วสำหรับใส่ตัวอย่าง 68 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
1 ขวด 1 ขวด 1 ขวด 3 อัน 1 อัน 1 แผ่น 1 เล่ม
วิธีการทดสอบ
- บดตัวอย่าง - หยดน้ำยาลงบนจานหลุม หรือจานแก้ว - โรยตัวอย่างทีต่ อ้ งการทดสอบ ลงในน้ำยาทดสอบ ให้กระจายบางๆ ให้ทวั่ (กรณีตวั อย่าง เป็นเม็ด หรือก้อนให้บดก่อน) - สังเกตสีที่เกิดขึ้นทันทีด้วยแว่นขยาย - ตรวจดูผล ดูสีที่เกิด ตามที่ระบุไว้ในคู่มือตรวจสอบ ข้อควรระวังในการใช้
1. น้ำยาทดสอบเป็นสารเคมีที่มีอันตรายควรใช้อย่างระมัดระวัง ห้ามถูกผิวหนังและตา หรือสูดดม 2. หลีกเลี่ยงการเก็บชุดตรวจสอบในที่มีแสงแดด 3. น้ำยาทดสอบควรเก็บในตู้เย็น หรือถ้าหากเก็บในอุณหภูมิห้อง สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน ข้อแนะนำในการใช้
1. ใช้สำหรับตรวจในอาหารสัตว์ สารผสมล่วงหน้า และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ 2. ชุดตรวจสอบ 1 ชุด สามารถตรวจสอบได้ 120 ซ้ำ (หลุม) ระดับต่ำสุดทีต่ รวจวัดได้ 10 ppm (ส่วนในล้าน) 3. ใช้กับกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ กำลังขยาย 20 -40 เท่า หรือใช้แว่นขยาย ควรตรวจผลด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยายทันทีที่โรยตัวอย่างลงบนน้ำยา ทดสอบ เพราะสีที่เกิดอาจจางหายไปเร็ว และสีจะถูกน้ำกัดไหม้ 4. สวมถุงมือ หรือเมื่อสัมผัสถูกน้ำยาให้ล้างมือด้วยน้ำสะอาดทันที สรุปปัญหาที่พบจากการตรวจ
ในอาหารสำเร็จรูปหากมีการปนเปื้อนของผลึกสีม่วงของ crystal violet และผลึกสีฝ้า ของ copper sulphate ทำให้การดูสีลำบาก และเข้าใจผิดได้ ในยาสัตว์ และพรีมิกซ์ หลายชนิดมีการเติมสีผสมอาหารลงไปโดยเฉพาะสีแดง ทำให้ เกิดเหมือนยาไนโตรฟูราโซน ทำให้เข้าใจผิดได้เช่นกัน และอาจจะพบปัญหาเดียวกันกับในอาหาร สำเร็จรูป น้ำยา CTC เมื่อถูกกับเปลือกข้าวฟ่างแดงในอาหารสัตว์ เกิดสีแดงเช่นเดียวกัน แต่ต่าง กันตรงที่ขอบของจุดสี ถ้าเป็นยาจะมีลักษณะกระจายขอบเรียบกว่ามาก แต่ถ้าเป็นข้าวฟ่างสียัง คงเป็นสีแดง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
69
การเตรียมน้ำยาทดสอบยาในอาหารบางชนิด วิธีทดสอบการปนเปื้อนคลอแรมฟินิคอล (Chloramphenicol) ในอาหาร
1. ใส่ 20% Sodium hydroxide (w/v) 2 ml + pyridine 1 ml (10 หยด : 5 หยด) ลงในหลอดทดสอบ (หลอดแก้วใส) 2. เติมตัวอย่างแล้วเขย่าเบ่า (อย่าให้สารกระเด็นออกมา ควรมีฝาปิด) 3. ต้มตัวอย่างในน้ำเดือดนาน 2 นาที (ถ้ามีฝาปิดต้องคลายออก) 4. ถ้ามียาคลอแรมฟินิคอล จะเกิดสีแดงในของเหลวชั้นบน (pyridine) (20% Sodium hydroxide = ละลาย Sodium hydroxide 20 กรัม ในน้ำกลั่น แล้วปรับปริมาตรสารละลายให้ได้ 100 ml) ข้อควรระวัง
ควรสวมถึงมือทุกครั้งที่ทำการทดสอบและถ้าสัมผัสถูกสารละลายให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หลายๆ ครั้ง Pyridine มีกลิ่นรุนแรง ควรหาผ้าปิดจมูกที่มีชั้นกรอง หรือหน้ากากป้องกันสารระเหย และควรทำในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การทดสอบไดเมทไตรดาโซน 1. ละลายตัวอย่างด้วย เมธานอล (methanol) 1 มิลลิลิตร 2. หยด 20 potassium hydroxide ที่ละลายด้วย เมธานอล 10 หยด 3. ต้มตัวอย่างในน้ำเดือดนาน 2 นาที 4. ถ้ามีไดเมทไตรดาโซน จะเกิดเป็นสีน้ำตาล (20% potassium hydroxide = ละลาย potassium hydroxide 20 กรัม ในเมธานอล แล้วปรับปริมาตรสารละลายเมธานอลให้ได้ 100 ml)
70 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
การใช้ชุดตรวจชนิดยาในอาหารสัตว์ ชุดตรวจสอบชนิดยาในอาหารสัตว์ สามารถตรวจชนิดยาได้ 9 ชนิด 1. คลอเตตร้าซัยคลิน (Chlortetracycline: CTC) 2. ออกซีเตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline: OTC) 3. ฟูราโซลิโดน ( Furazolidone: Fura) 4. ไนโตรฟูราโซน ( Nitrofurazone: Nif) 5. ฟูรัลทาโดน (Furaltadone: FTD) 6. ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin: NFT) 7. ไนโตรวิน (Nitrovin: Niv) 8. ร็อกซาโซน (Roxarsone: Rox) 9. โซอาลีน (Zoalene: Zoa)
วิธีทดสอบ คลอเตตร้าซัยคลิน (Chlortetracycline: CTC)
น้ำยาทดสอบ CTC ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ CTC ลงในจานหลุม 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาคลอเททระไซคลิน เกิดจุดสีม่วง
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
71
วิธีตรวจสอบ ออกซีเตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline: OTC)
น้ำยาทดสอบ CTC ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ CTC ลงในจานหลุม 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาออกซีเททระไซคลิน เกิดจุดสีแดงสด วิธีตรวจสอบ ฟูราโซลิโดน (Furazolidone: Fura)
น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาฟูราโซลิโดน เกิดจุดม่วงน้ำเงิน วิธีตรวจสอบ ไนโตรฟูราโซน (Nitrofurazone: Nif)
น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาฟูราโซลิโดน เกิดจุดสีแดงบานเย็น
72 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
วิธีตรวจสอบ ฟูรัลทาโดน (Furaltadone: FTD) น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามียา ฟูรัลทาโดน เกิดจุดสีน้ำเงิน-สีคราม ฟูราโซลิโดน เกิดจุดสีม่วง วิธีตรวจสอบ ไนโตรฟูราโตอิน (Nitrofurantoin: NFT)
น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาไนโตรฟูราโตอิน เกิดจุดสีน้ำเหลือง-สีน้ำตาลดำ
วิธีตรวจสอบ ไนโตรวิน (Nitrovin: Niv) น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาไนโตรวินเกิดจุด สีฟ้าสด
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
73
วิธีตรวจสอบ ไนโตรวิน (Nitrovin: Niv) น้ำยาทดสอบ CTC ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ CTC ลงในจานหลุม 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยแว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาไนโตรวิน เกิดจุดสีเหลืองทอง
วิธีตรวจสอบ ไนโตรวิน (Nitrovin: Niv.) น้ำยาทดสอบ Fura 1 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาไนโตรวิน เกิดจุดสีแดงส้ม
วิธีตรวจสอบ ร็อกซาโซน (Roxarsone: Rox) น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาร็อกซาโซน เกิดจุดสีเหลืองเข้ม
74 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
วิธีตรวจสอบ โซอาลีน (Zoalene: Zoa) น้ำยาทดสอบ Fura 1 และ Fura 2 ขั้นตอน 1. หยดน้ำยาทดสอบ Fura 1 ลงในจานหลุม และหยดน้ำยา Fura 2 โดยใช้อัตราส่วน Fura 1 : Fura 2 = 9:1) 2. โรยตัวอย่างครั้งละน้อยๆ กระจายบางๆ ให้ทั่วหลุม 3. ตรวจผลทันที ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือแว่นขยาย และสังเกตจุดสีที่เกิดขึ้น 4. ตรวจผลทันที ดังนี้ ถ้ามี ยาโซอาลีน เกิดจุดสีเขียวใบไม้
เอกสารอ้างอิง แพรวพรรณ ห้องทองแดง และคณะ 2539. คู่มือการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์เบื้องต้น : ชุดตรวจสอบ ชนิดวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์อย่างง่าย. ยาและสารเคมีที่ห้ามใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค 1. อริสโตโลเลีย (Aristolochia) 2. คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenicol) 3. คลอโรฟอร์ม (Chloroform) 4. คลอโปรมาซิน (Chlopromazine) 5. คอลซิซิน (Colchicine) 6. เดปโซน (Dapsone) 7. ไดมีไตรดาโซน (Dimetridazole) 8. เมโทรนิดาโซน (Metronidazole) 9. ไนโตรฟูแรน (Nitrofurans) 10. โรนิดาโซล (Ronidazole) 11. ไดเอทิลสติลเบสโทรล (Diethylstilbestrol) 12. ไอโพรนิดาโซล (Ipronidazole) 13. ไนโตรอิมมิดาโซล (Nitroimidazoles) 14. ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonades) 15. ฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) 16. ไกลโคเปปไตต์ (Glycopeptides) หมายเหตุ : ที่มา “ระบบรับรองคุณภาพกุ้งเลี้ยงของกรมประมง” โดย สิริ ทุกข์วินาศ ในวารสารการประมง ปีที่ 55 ฉบับที่ 3 เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2545 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
75
76 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ม.ค. 8.10 9.46 10.14 10.23 7.49 9.44
ม.ค. 33.40 25.00 27.64 32.49 26.20 37.14
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 8.70 8.99 9.43 10.16 8.18 10.08
ราคารำสด
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลาป่น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ก.พ. 9.21 10.18 9.20 10.03 8.36
ก.พ. 34.20 28.91 28.81 31.30 30.92
ก.พ. 8.37 9.57 10.19 10.19 8.43
ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์
มี.ค. 9.47 9.97 8.62 8.63 9.31
มี.ค. 35.28 37.98 32.21 31.30 31.12
มี.ค. 8.92 10.01 10.35 10.15 8.75
เม.ย. 9.34 9.70 8.72 7.71 9.15
เม.ย. 36.53 31.77 33.24 29.94 33.93
เม.ย. 9.24 10.65 10.51 10.21 9.20
พ.ค. 9.41 8.34 8.09 8.92 10.63
พ.ค. 31.53 32.09 30.26 26.74 30.24
พ.ค. 9.31 10.49 10.24 9.89 9.33
มิ.ย. 9.98 8.20 7.76 10.32 10.96
มิ.ย. 28.31 31.29 29.38 24.80 29.74
มิ.ย. 9.64 9.68 10.76 10.24 10.23
ก.ค. 9.93 9.50 8.22 10.09 11.41
ก.ค. 28.92 32.32 31.53 29.84 29.70
ก.ค. 9.38 9.18 10.86 9.94 10.50
ส.ค. 9.76 9.49 10.55 10.53 11.15
ส.ค. 30.82 32.58 37.70 30.78 37.70
ส.ค. 9.01 9.04 11.60 9.26 9.87
ก.ย. 10.04 9.58 10.88 9.71 9.42
ก.ย. 29.78 31.42 35.06 29.00 37.70
ก.ย. 9.22 9.08 10.57 8.39 8.79
ต.ค. 9.30 9.51 10.80 8.59 8.83
ต.ค. 27.78 28.86 30.95 31.90 36.47
ต.ค. 9.24 9.45 10.14 8.06 8.26
พ.ย. 8.99 10.97 11.15 9.17 8.80
พ.ย. 25.28 28.46 32.83 26.59 34.78
พ.ย. 9.19 9.82 10.49 7.95 9.09
ที่มา
ธ.ค. 8.66 9.25 10.81 8.22 8.85
ที่มา
ธ.ค. 25.57 27.50 33.80 24.72 35.45
ที่มา
ธ.ค. 9.13 9.92 10.25 7.32 9.21
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 9.40 8.66 10.04 9.47 8.20 10.97 9.52 7.76 11.15 9.34 7.71 10.53 9.59 8.18 11.41 10.08 10.08 10.08 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 30.62 25.28 36.53 30.68 25.00 37.98 31.95 27.64 37.70 29.12 24.72 32.49 32.83 26.20 37.70 37.14 37.14 37.14 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 9.06 8.10 9.64 9.70 9.04 10.65 10.51 10.14 11.60 9.32 7.32 10.24 9.10 7.49 10.50 9.44 9.44 9.44 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
77
ม.ค. 15.30 13.10 13.95 18.77 18.75 18.12
ก.พ. 15.07 14.32 13.85 18.41 19.47
มี.ค. 15.75 15.21 12.88 18.25 20.52
เม.ย. 15.75 15.29 12.73 17.96 19.88
ม.ค. 15.75 13.88 14.12 18.22 19.14 17.98
ก.พ. 15.11 14.15 15.13 18.15 18.88
มี.ค. 14.86 13.46 15.75 19.07 20.15
เม.ย. 14.80 12.80 16.06 19.36 20.25
พ.ค. 14.09 12.59 16.23 17.89 20.03
พ.ค. 14.91 15.47 13.31 17.23 20.98
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 17.06 15.28 14.99 19.47 20.62 19.20
ก.พ. 16.29 15.47 16.01 19.35 20.38
มี.ค. 16.10 14.75 16.75 20.14 21.68
เม.ย. 16.45 14.20 17.01 20.47 21.75
พ.ค. 15.28 14.20 17.20 19.35 21.58
ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ
มิ.ย. 14.44 14.20 17.73 18.48 21.5
มิ.ย. 13.43 11.60 16.98 17.15 20.00
มิ.ย. 14.24 14.61 12.79 16.43 21.06
ก.ค. 14.26 14.88 20.02 18.30 20.90
ก.ค. 13.25 13.50 19.00 17.20 19.40
ก.ค. 12.76 14.50 14.23 16.16 20.84
ส.ค. 15.05 15.50 22.65 18.29 20.55
ส.ค. 14.05 14.33 21.80 17.29 19.05
ส.ค. 12.17 14.33 15.21 16.63 20.77
ก.ย. 15.02 15.45 22.69 18.89 20.55
ก.ย. 14.02 14.45 21.80 17.89 19.05
ก.ย. 12.10 14.27 17.17 17.30 20.45
ต.ค. 15.35 15.47 22.34 19.30 20.00
ต.ค. 14.35 14.32 21.09 18.05 18.50
ต.ค. 11.98 14.27 17.41 17.84 19.75
พ.ย. 15.64 15.57 21.48 20.23 19.95
พ.ย. 14.64 14.39 20.28 18.77 18.47
พ.ย. 12.10 14.59 18.85 18.26 19.41
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 14.33 13.25 15.75 13.58 11.60 14.45 18.09 14.12 21.80 18.21 17.15 19.45 19.28 18.45 20.25 17.98 17.98 17.98 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 14.98 15.49 14.26 17.06 14.34 14.94 14.20 15.57 20.08 19.08 14.99 22.69 20.85 19.43 18.29 20.85 19.95 20.78 19.95 21.75
ที่มา
ธ.ค. 13.62 13.44 18.88 19.45 18.45
ที่มา
ธ.ค. 12.14 14.31 20.06 18.47 19.02
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 13.69 11.98 15.75 14.52 13.10 15.47 15.20 12.73 20.06 17.64 16.16 18.77 20.08 18.75 21.06 18.12 18.12 18.12 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
78 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ม.ค. 7.94 7.79 8.09 8.93 6.76 8.59
ม.ค. 13.41 11.33 16.31 14.98 9.45 9.82
ก.พ. 12.92 11.92 15.74 15.00 9.43
ก.พ. 8.05 7.99 7.45 8.96 6.71
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 5.54 7.86 7.53 6.79 6.64 6.89
ก.พ. 5.43 8.14 7.13 6.85 6.85
ราคามันสำปะหลังเส้น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลายข้าว
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากรำสกัดน้ำมัน
มี.ค. 5.83 8.46 6.59 7.07 6.90
มี.ค. 12.15 11.63 15.78 15.06 9.49
มี.ค. 7.96 7.38 6.49 7.90 7.06
เม.ย. 6.24 8.70 7.00 7.18 6.87
เม.ย. 10.24 11.39 15.94 15.39 9.52
เม.ย. 7.76 6.92 6.42 7.32 6.78
พ.ค. 6.51 8.62 7.29 7.19 6.88
พ.ค. 9.53 11.29 16.33 15.11 9.40
พ.ค. 7.26 6.33 6.21 8.16 8.67
มิ.ย. 6.81 8.00 7.25 7.26 6.93
มิ.ย. 9.60 11.65 16.44 15.10 9.75
มิ.ย. 7.19 6.41 5.82 9.58 9.14
ก.ค. 6.93 7.81 7.13 7.31 7.00
ก.ค. 9.88 12.42 16.27 14.26 10.46
ก.ค. 7.37 7.80 6.14 8.94 9.84
ส.ค. 7.00 7.54 7.39 7.32 7.25
ส.ค. 10.36 12.86 15.86 13.98 10.28
ส.ค. 7.58 8.07 8.43 9.33 10.58
ก.ย. 7.23 7.44 7.67 7.27 7.34
ก.ย. 11.50 13.68 15.67 13.09 9.69
ก.ย. 8.30 8.24 8.67 9.00 9.42
ต.ค. 7.30 7.34 7.65 7.15 7.38
ต.ค. 11.58 14.48 15.46 11.91 9.94
ต.ค. 8.14 8.32 8.81 7.74 8.67
พ.ย. 7.34 7.67 7.48 7.00 7.39
พ.ย. 11.61 15.66 15.45 10.55 9.94
พ.ย. 8.09 9.56 9.31 8.04 8.39
ที่มา
ธ.ค. 7.76 7.80 7.25 6.78 7.09
ที่มา
ธ.ค. 11.36 16.12 15.30 9.75 9.84
ที่มา
ธ.ค. 7.89 8.05 9.23 7.05 8.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 6.66 5.43 7.76 7.95 7.34 8.70 7.28 6.59 7.67 7.10 6.78 7.32 7.04 6.64 7.39 6.89 6.89 6.89 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 11.18 9.53 13.41 12.87 11.29 16.12 15.88 15.30 16.44 13.68 9.75 15.39 9.77 9.40 10.46 9.82 9.82 9.82 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.79 7.19 8.30 7.74 6.33 9.56 7.59 5.82 9.31 8.41 7.05 9.58 8.34 6.71 10.58 8.59 8.59 8.59 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
79
ม.ค. 29.30 30.04 28.00 31.00 31.50 32.50
ก.พ. 29.30 29.80 28.00 30.00 31.74
ม.ค. 57.93 57.70 49.83 52.88 59.27 92.89
ก.พ. 66.06 63.33 48.89 62.57 59.88
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 41.67 40.38 50.60 60.00 60.00 60.00
ก.พ. 41.70 45.23 50.60 60.00 60.00
ราคาน้ำมันปลา FO
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลาป่นนำเข้า
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาตับปลาหมึก SLP
มี.ค. 41.89 45.95 50.60 60.00 60.00
มี.ค. 68.52 63.45 47.99 63.11 61.65
มี.ค. 29.30 29.80 28.00 30.00 32.00
เม.ย. 41.89 46.01 51.55 60.00 60.00
เม.ย. 68.06 55.21 48.12 62.66 61.91
เม.ย. 29.30 29.80 25.00 29.50 32.00
พ.ค. 41.89 46.01 54.45 60.00 60.00
พ.ค. 67.90 51.97 55.35 59.57 63.10
พ.ค. 29.30 29.80 26.89 29.50 33.00
มิ.ย. 41.42 46.01 55.11 60.00 60.00
มิ.ย. 68.28 51.97 59.24 56.76 70.17
มิ.ย. 29.30 29.80 28.58 30.00 33.50
ก.ค. 40.91 47.72 53.54 60.00 60.00
ก.ค. 67.46 50.29 61.16 55.32 75.81
ก.ค. 29.46 29.52 33.70 30.00 33.00
ส.ค. 40.31 49.85 52.28 60.00 60.00
ส.ค. 65.40 48.17 63.33 56.79 78.17
ส.ค. 29.70 29.25 30.80 31.00 33.00
ก.ย. 40.21 50.01 55.85 60.00 60.00
ก.ย. 60.86 43.92 56.80 54.69 77.96
ก.ย. 29.56 29.25 35.04 31.50 33.00
ต.ค. 40.15 50.36 55.98 60.00 60.00
ต.ค. 57.26 45.13 54.22 53.43 76.86
ต.ค. 29.34 29.25 36.13 31.50 33.00
พ.ย. 40.27 50.60 55.71 60.00 60.00
พ.ย. 56.45 48.26 68.37 56.31 87.54
พ.ย. 30.04 28.00 36.13 31.50 33.50
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 63.39 56.45 68.52 52.33 43.92 63.45 57.30 47.99 74.33 57.71 52.88 63.11 72.01 59.27 91.82 92.89 92.89 92.89 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 40.38 41.06 40.15 41.89 50.60 47.39 40.38 50.60 55.08 53.45 50.60 55.98 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 56.45 48.61 74.33 58.46 91.82
ที่มา
ธ.ค. 30.04 28.00 36.13 31.50 33.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 29.50 29.30 30.04 29.36 28.00 30.04 31.03 25.00 36.13 30.58 29.50 31.50 32.69 31.50 33.50 32.50 32.50 32.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
80 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ม.ค. 62.75 55.00 48.00 53.58 56.71 52.00
ก.พ. 63.09 53.33 48.00 58.85 53.00
ม.ค. 7.02 8.12 7.73 8.94 6.79 8.20
ก.พ. 7.25 8.20 7.45 9.15 6.67
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 16.69 19.28 18.73 17.75 16.40 16.60
ก.พ. 16.79 20.04 18.51 17.68 16.33
WHEAT FLOUR
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
WHEAT BRAN
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
WHEAT GLUTEN
มี.ค. 16.60 20.50 17.89 16.47 16.55
มี.ค. 7.59 7.76 6.67 7.66 6.88
มี.ค. 63.09 53.33 48.00 58.85 54.00
เม.ย. 16.30 20.50 17.80 16.70 16.33
เม.ย. 7.55 7.52 6.41 7.29 6.86
เม.ย. 63.09 53.33 46.50 58.85 58.85
พ.ค. 15.72 20.45 17.50 17.00 16.77
พ.ค. 7.16 6.94 6.23 8.75 8.03
พ.ค. 64.71 53.33 46.50 58.85 57.25
มิ.ย. 15.72 19.94 17.20 16.90 16.72
มิ.ย. 6.90 6.61 5.86 8.82 8.39
มิ.ย. 64.78 53.33 48.54 58.85 56.71
ก.ค. 15.05 19.82 17.15 16.70 16.59
ก.ค. 6.87 7.44 5.93 8.62 8.99
ก.ค. 64.78 49.28 51.00 55.64 56.71
ส.ค. 15.44 19.50 17.73 16.51 16.60
ส.ค. 7.21 7.77 7.93 8.81 9.60
ส.ค. 64.78 48.75 50.05 58.85 56.71
ก.ย. 18.55 19.26 17.38 16.80 16.59
ก.ย. 8.08 7.98 8.79 8.55 9.43
ก.ย. 64.78 48.75 48.13 58.85 56.00
ต.ค. 19.28 18.97 17.58 16.57 16.59
ต.ค. 7.92 8.06 9.24 7.85 8.62
ต.ค. 64.78 48.75 47.50 60.99 52.00
พ.ย. 19.10 18.97 17.98 16.34 16.59
พ.ย. 7.88 8.43 8.80 7.87 8.27
พ.ย. 55.92 48.75 47.50 60.99 52.00
ที่มา
ธ.ค. 19.10 18.97 18.02 16.71 16.73
ที่มา
ธ.ค. 7.80 8.17 9.10 7.29 8.03
ที่มา
ธ.ค. 55.00 48.23 47.50 55.64 52.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 17.03 15.05 19.28 19.68 18.97 20.50 17.79 17.15 18.73 16.84 16.34 17.75 16.57 16.33 16.77 16.60 16.60 16.60 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.44 6.87 8.08 7.75 6.61 8.43 7.51 5.86 9.24 8.30 7.29 9.15 8.05 6.67 9.60 8.20 8.20 8.20 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 62.63 55.00 64.78 51.18 48.23 55.00 48.10 46.50 51.00 58.23 53.58 60.99 55.16 52.00 58.85 52.00 52.00 52.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
81
ม.ค. 23.24 25.86 28.01 27.44 25.79 28.00
ก.พ. 25.19 25.62 27.73 25.79 25.79
มี.ค. 25.56 27.40 27.45 25.79 25.79
ม.ค. 85.00 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
ก.พ. 85.00 96.67 93.67 120.00 120.00
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 4.48 7.24 4.90 5.91 6.65 6.40
ก.พ. 4.34 7.14 4.80 5.42 6.83
ราคากากปาล์มเมล็ดใน
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
มี.ค. 3.92 5.77 4.75 5.02 6.60
มี.ค. 85.00 96.67 98.33 120.00 120.00
ราคาปลาหมึกป่น SLM
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาเปลือกกุ้ง
เม.ย. 3.88 4.71 4.71 4.94 5.52
เม.ย. 85.00 96.67 98.33 120.00 120.00
เม.ย. 25.90 27.64 31.30 25.79 25.79
พ.ค. 4.07 4.59 4.63 5.14 5.14
พ.ค. 85.00 96.20 98.33 120.00 120.00
พ.ค. 26.81 28.99 31.30 25.79 27.34
มิ.ย. 4.20 4.79 4.67 5.32 5.00
มิ.ย. 89.44 92.50 98.33 120.00 120.00
มิ.ย. 26.74 29.18 30.44 25.79 27.34
ก.ค. 4.30 4.84 4.85 5.38 5.05
ก.ค. 90.50 98.10 96.67 120.00 120.00
ก.ค. 27.03 29.40 26.85 25.79 27.34
ส.ค. 4.74 4.54 5.96 5.40 5.00
ส.ค. 90.50 98.33 98.33 120.00 120.00
ส.ค. 26.89 29.40 29.16 24.69 28.20
ก.ย. 5.46 4.41 5.96 5.42 5.06
ก.ย. 90.50 93.40 120.00 120.00 120.00
ก.ย. 26.69 29.12 27.24 25.79 28.25
ต.ค. 6.30 4.51 5.59 5.42 5.24
ต.ค. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
ต.ค. 26.65 28.66 26.58 25.89 28.25
พ.ย. 7.12 4.86 5.81 5.81 5.66
พ.ย. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
พ.ย. 26.29 28.66 26.72 25.79 28.45
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 88.12 85.00 90.50 93.25 86.67 98.33 104.06 86.67 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.12 4.99 3.88 7.12 5.03 5.20 4.41 7.24 6.00 5.22 4.63 6.00 6.37 5.46 4.94 6.37 6.04 5.65 5.00 6.83
ที่มา
ธ.ค. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
ที่มา
ธ.ค. 26.00 28.23 26.74 25.79 28.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 26.08 23.24 27.03 28.18 25.62 29.40 28.29 26.58 31.30 25.84 24.69 27.44 27.19 25.79 28.45 28.00 28.00 28.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
82 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ม.ค. 22.50 26.00 10.00 14.85 23.00 8.00
ก.พ. 24.50 26.00 10.00 16.00 23.00
ม.ค. 135.75 144.50 110.50 116.65 150.50 125.50
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 205.00 264.00 213.00 267.00 313.00 248.00
ราคาไข่ไก่คละ
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ก.พ. 251.00 270.00 254.00 280.00 317.00
ก.พ. 140.75 144.50 110.50 128.91 150.50
ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกไก่ไข่
มี.ค. 241.00 284.00 260.00 270.00 285.00
มี.ค. 141.62 146.72 106.67 135.00 148.96
มี.ค. 24.85 26.74 8.68 16.00 22.38
เม.ย. 241.00 304.00 227.00 276.00 267.00
เม.ย. 139.50 150.50 93.50 138.81 135.00
เม.ย. 24.00 28.00 7.00 18.57 17.00
พ.ค. 255.00 300.00 254.00 313.00 319.00
พ.ค. 146.50 150.50 97.67 154.17 143.20
พ.ค. 27.00 28.00 8.67 23.25 20.28
มิ.ย. 276.00 282.00 268.00 323.00 307.00
มิ.ย. 152.38 150.50 103.50 159.30 145.50
มิ.ย. 29.15 28.00 11.00 25.00 21.00
ก.ค. 278.00 282.00 229.00 291.00 297.00
ก.ค. 147.96 150.50 98.33 150.50 142.30
ก.ค. 27.38 28.00 7.50 23.00 19.40
ส.ค. 270.00 300.00 246.00 320.00 329.00
ส.ค. 144.50 150.50 93.50 153.87 148.83
ส.ค. 26.00 28.00 6.00 24.31 20.33
ก.ย. 272.00 300.00 240.00 348.00 289.00
ก.ย. 144.50 150.50 99.50 155.50 148.58
ก.ย. 26.00 28.00 8.40 25.00 18.69
ต.ค. 253.00 300.00 235.00 326.00 253.00
ต.ค. 144.50 150.50 105.50 153.77 137.35
ต.ค. 26.00 26.00 11.00 24.31 13.74
พ.ย. 253.00 313.00 236.00 300.00 273.00
พ.ย. 144.50 150.50 108.77 150.50 135.50
พ.ย. 26.00 26.00 11.88 23.00 13.00
ที่มา
ธ.ค. 253.00 258.00 240.00 313.00 234.00
ที่มา
ธ.ค. 144.50 139.57 110.50 150.50 129.88
ที่มา
ธ.ค. 26.00 21.83 13.00 23.00 9.96
หน่วย : บาท/100 ฟอง เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 254.00 205.00 278.00 288.08 258.00 313.00 241.83 213.00 268.00 302.25 267.00 348.00 290.25 234.00 329.00 248.00 248.00 248.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 143.91 135.75 152.38 148.27 139.57 150.50 103.20 93.50 110.50 145.62 116.65 159.30 143.01 129.88 150.50 125.50 125.50 125.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 25.78 22.50 29.15 26.71 21.83 28.00 9.43 6.00 13.00 21.36 14.85 25.00 18.48 9.96 23.00 8.00 8.00 8.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
83
ม.ค. 18.00 17.50 14.50 16.19 19.50 15.50
ก.พ. 18.50 18.37 12.94 11.20 19.50
ม.ค. 44.33 45.24 36.20 42.69 40.80 38.10
ก.พ. 45.00 47.28 34.70 37.91 42.00
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 58.25 51.00 54.47 58.22 69.22 59.46
ก.พ. 60.19 58.86 49.63 68.28 72.00
ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกไก่เนื้อ
มี.ค. 60.41 61.50 48.85 59.70 72.54
มี.ค. 40.96 48.30 27.53 38.97 38.85
มี.ค. 18.50 20.50 6.18 10.96 18.50
เม.ย. 60.41 67.11 59.63 64.06 75.73
เม.ย. 42.09 52.10 33.13 44.88 39.50
เม.ย. 18.50 21.32 6.31 18.17 17.50
พ.ค. 60.50 70.00 62.50 64.53 77.00
พ.ค. 44.28 54.60 39.33 45.97 42.00
พ.ค. 20.07 22.50 11.33 18.67 17.50
มิ.ย. 60.50 70.00 55.15 65.15 79.52
มิ.ย. 42.46 50.25 38.22 43.04 43.00
มิ.ย. 19.35 20.96 12.50 17.50 17.50
ก.ค. 61.93 72.88 54.95 65.92 78.00
ก.ค. 37.47 43.60 35.20 44.00 43.00
ก.ค. 16.10 17.34 12.50 17.50 17.50
ส.ค. 59.37 80.40 54.31 70.54 77.50
ส.ค. 36.07 42.20 35.53 44.05 45.08
ส.ค. 12.58 15.73 12.50 19.27 19.33
ก.ย. 56.83 70.77 54.13 67.64 74.08
ก.ย. 37.63 41.74 33.58 37.64 44.69
ก.ย. 14.14 16.50 12.02 16.38 21.50
ต.ค. 51.52 55.50 47.65 65.00 65.72
ต.ค. 36.02 38.58 31.37 35.58 42.33
ต.ค. 14.50 14.58 6.96 13.50 18.17
พ.ย. 51.38 52.87 54.31 65.32 63.20
พ.ย. 37.33 37.67 40.73 35.31 40.24
พ.ย. 14.50 14.50 10.42 14.42 15.50
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 40.46 36.02 45.00 44.87 36.90 54.60 35.52 27.53 40.75 40.96 35.31 45.97 41.77 38.85 45.08 38.10 38.10 38.10 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 51.45 57.73 51.38 61.93 61.08 64.33 51.00 80.40 52.33 53.99 47.65 62.50 64.75 64.93 58.22 70.54 63.99 72.38 63.20 79.52 59.46 59.46 59.46 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 41.93 36.90 40.75 41.52 39.69
ที่มา
ธ.ค. 15.50 14.50 14.07 17.24 15.50
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 16.69 12.58 20.07 17.86 14.50 22.50 11.02 6.18 14.50 15.92 10.96 19.27 18.13 15.50 21.50 15.50 15.50 15.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
84 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
ม.ค. 1,875.00 1,637.50 1,734.80 1,476.92 2,056.00 1,875.00
ก.พ. 1,900.00 1,930.43 1,552.00 1,786.96 2,269.57
มี.ค. 1,900.00 2,000.00 1,312.00 1,561.54 2,400.00
เม.ย. 1,900.00 2,000.00 1,452.38 1,866.67 2,600.00
ม.ค. 13.00 15.00 18.00 18.00 20.00 19.00
ก.พ. 13.00 15.00 18.00 17.22 20.00
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 61.00
ก.พ. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
มี.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
มี.ค. 13.00 16.78 18.00 16.00 20.00
เม.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
เม.ย. 13.00 18.00 18.00 16.00 20.00
ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกสุกรขุน
พ.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
พ.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 20.00
พ.ค. 1,900.00 2,000.00 1,666.67 1,600.00 2,600.00
มิ.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
มิ.ย. 13.00 18.00 18.00 18.00 20.00
มิ.ย. 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,600.00 2,600.00
ก.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
ก.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 22.40
ก.ค. 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,676.92 2,600.00
ส.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ส.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 23.00
ส.ค. 1,844.00 2,400.00 1,500.00 1,965.38 2,600.00
ก.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ก.ย. 13.84 18.00 18.00 19.52 23.00
ก.ย. 1,720.00 2,161.54 1,476.00 1,796.00 2,484.62
ต.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ต.ค. 15.00 18.00 18.00 20.00 23.00
ต.ค. 1,600.00 1,896.15 1,200.00 1,700.00 2,240.74
พ.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
พ.ย. 15.00 18.00 18.00 21.85 23.00
พ.ย. 1,600.00 1,746.00 1,376.92 1,746.15 2,200.00
ที่มา
ธ.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ที่มา
ธ.ค. 15.00 18.00 18.00 22.00 20.75
ที่มา
ธ.ค. 1,600.00 1,965.22 1,256.52 1,800.00 2,166.67
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.42 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 13.57 13.00 15.00 17.40 15.00 18.00 18.00 18.00 18.00 18.55 16.00 22.00 21.26 20.00 23.00 19.00 19.00 19.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 1,803.25 1,600.00 1,900.00 1,978.07 1,637.50 2,400.00 1,460.61 1,200.00 1,734.80 1,714.71 1,476.92 1,965.38 2,401.47 2,056.00 2,600.00 1875.00 1875.00 1875.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 160
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
85
รวม
1,494.00 16.96 52.05 53.74 0.76 16.50 0.99 31.50 0.315 3.00 378,000.00 250,000.00 340,000.00
6,095,520 854,784 977,383 2,149,600 30,400 4,867,500 920,700 264,600 22,995 195,000 620,865 375,000 544,000 17,918,347
(4.08 กก./ตัว) (50.4 กก./ตัว/ปี) (6.5 กก./ตัว/18 สัปดาห์) (40 กก./ตัว/52 สัปดาห์) (40 กก./ตัว/ปี) (295 กก./ตัว) (930 กก./ตัว/ปี) (8.4 กก./ตัว) (73 กก./ตัว/ปี) (65 กก./ตัว) (4.5 กก./ตัว/วัน)
ปริมาณอาหารสัตว์ที่ใช้ (ตัน)
ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หมายเหตุ : ปรับเปลี่ยนตามสภาวะวัตถุดิบและความพอเพียงของสินค้า
ไก่เนื้อ ไก่พ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่เล็กรุ่น ไก่ไข่ให้ไข่ ไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ หมูขุน หมูพันธุ์ เป็ดเนื้อ เป็ดพันธุ์ เป็ดไข่ โคนม (ตัว) กุ้ง (ตัน) ปลา (ตัน)
ประชากรสัตว์ (ล้านตัว) % ที่ใช้ 3 3 3 5 3 3 5 6 6 8 20 10
ตารางประมาณการประชากรสัตว์, ปริมาณอาหารสัตว์ และการใช้วัตถุดิบ ปี 2558 ปลาป่น ปริมาณ (ตัน) 182,865.6 25,643.5 29,321.5 107,480.0 912.0 146,025.0 46,035.0 15,876.0 1,379.7 15,600.0 75,000.0 54,400.0 700,538.3
กากถั่วเหลือง % ปริมาณ ที่ใช้ (ตัน) 30 1,828,656.0 25 213,696.0 25 244,345.8 25 537,400.0 25 7,600.0 20 973,500.0 20 184,140.0 20 52,920.0 30 6,898.5 15 29,250.0 5 31,043.3 20 75,000.0 30 163,200.0 4,347,649.6 % ที่ใช้ 62 60 60 55 60 25 15 10 15 30
ข้าวโพด ปริมาณ (ตัน) 3,779,222.4 512,870.4 586,430.0 1,182,280.0 18,240.0 1,216,875.0 39,690.0 2,299.5 93,129.8 163,200.0 7,594,237.1
ปลายข้าว % ปริมาณ ที่ใช้ (ตัน) 20 973,500.0 45 414,315.0 35 92,610.0 45 10,347.8 40 78,000.0 1,568,772.8
คาดคะเน 28/1/2558
ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด
โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86