Aw#164 90 pages for web (1)

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2558-2559 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นางเบญจพร สังหิตกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายโดม มีกุล นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสมภพ เอื้อทรงธรรม

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

สถานการณ์ปศุสตั ว์ มีทงั้ ข่าวดีมาก ข่าวดีนอ้ ย ไม่ถงึ กับเลวร้ายเสียทีเดียว เพราะมองในแง่ดี ภาพทีอ่ อกมาก็จะดูดี ดีกว่ามองในแง่รา้ ยเสียทัง้ หมด อุปสรรค ก็ต้องค่อยๆ แก้ไขกันไปเรื่อยๆ เพราะโลกกลมๆ หมุนรอบตัวเอง เดี๋ยวดีที่นี่ ไปร้ายที่อื่น แล้วก็วนกลับมาร้ายที่นี่ ดีที่อื่น แต่ก็ต้องช่วยกันทำให้สิ่งแวดล้อม โดยรวมดีขนึ้ แล้วทีอ่ นื่ ก็จะดีขนึ้ เพราะเราก็ตอ้ งหมุนไปหาสิง่ ทีด่ ที คี่ นช่วยๆ กัน ทำแต่สิ่งแวดล้อมดีๆ ความแปรปรวนของสภาวะอากาศ ทำให้ทุกหน่วยงานต้องเร่งมือหาทาง แก้ไ ขทุ กวิ ธี โดยใช้ เทคโนโลยีที่ ช่ว ยในการปรับ ตัว ต่ อการเปลี่ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวทนต่อสภาวะแวดล้อมและพันธุ์ข้าวทนโรค ซึ่งกรมการข้าวร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ร่วม กันพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ทนน้ำท่วม ทนแล้ง ทนดินเค็ม ต้านทานโรคไหม้ มีการบริหารจัดการน้ำ เพื่อกำหนดปริมาณการใช้น้ำของพืช การกำหนดปริมาณ การใช้ปุ๋ยได้แม่นยำ และตรวจตามความต้องการของพืช และจากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาปศุสัตว์ให้ก้าวหน้าเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ จึงต้องดิ้นรนหาแหล่งวัตถุดิบที่จะมาเพิ่มมูลค่าและพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ ให้มี อัตราการเจริญเติบโตที่ดีและลดต้นทุนการเลี้ยงให้ได้มากที่สุด แข่งขันกับประเทศ ที่มีวัตถุดิบราคาถูกและได้เปรียบประเทศไทย จึงต้องคิดค้นและพัฒนาสูตรและ ดึงวัตถุดิบที่มีอยู่ทั่วโลกให้มีใช้ได้อย่างแพร่หลาย โดยมีการวางแผนนำเข้ามาใช้ได้ อย่างทันท่วงที แม้ว่าจะต้องมีมาตรการช่วยหลือในบางภาคส่วนที่อ่อนแอกว่า แต่ อย่าได้มีมาตรการมากีดกันเพื่อปกป้องกลุ่มบางกลุ่มทำให้เป็นอุปสรรคและถ่วง ภาคอืน่ อีกต่อไป ต้องให้อสิ ระทางความคิดในการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ให้ได้ตน้ ทุน ทีต่ ำ่ และแข่งขันได้เสรี เพือ่ ให้อตุ สาหกรรมปศุสตั ว์กา้ วหน้า และจะช่วยดึงภาคส่วน อื่นๆ ให้ก้าวหน้าตามกันไปอย่าง งดงาม...... บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 32 เล่มที่ 164 ประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม 2558

Contents Thailand Focus

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนกันยายน และแนวโน้มเดือนตุลาคม 2558................................................................... 5 ประมงมั่นใจหลุดใบเหลืองแน่ อียูต่ออายุ 6 เดือน-คู่ค้าเชื่อมั่น........................................................................................12 จากคนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถึงอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และคนกินเนื้อสัตว์................................................................15 หวั่นอากาศแปรปรวนกระทบภาคเกษตร ต้องพัฒนาเทคโนโลยีเข้าสู้ รุกรับมือในอนาคต..................................................18 Food Feed Fuel สถานการณ์และแนวโน้มวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 59...........................................................................................................21 สถานการณ์สินค้า • ถั่วเหลือง • กากถั่วเหลือง • ปลาป่น • ไก่เนื้อ • สุกร • ไข่ไก่ • กุ้งขาวแวนนาไม............................... 26 ไข่ไทยเชิดหน้าพาเหรดขายฮ่องกง.................................................................................................................................. 48 Market Leader จี้รัฐเร่งออกมาตรการช่วยชาวไร่มัน. .............................................................................................................................. 49 กรมปศุสัตว์-ฝรั่งเศสแก้เชื้อดื้อยา ระบุทำลายทิ้งหากหวัดนกเพื่อนบ้านระบาดสู่ไทย........................................................51 เอกชนคว่ำร่าง พ.ร.บ. มันฉบับใหม่ ชี้ขัด WTO ผวาทุบส่งออก 1.5 แสนล้าน.................................................................... 53 Around The World สรุปการประชุมแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร .................................................................... 55 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2558....................................................................................................... 60 ปัญหาใหม่ของกุ้ง.......................................................................................................................................................... 68 ‘ไอยูยู’ ลามสหรัฐฯ จ้องเล่นงานไทย ออกกฎหมายตรวจเข้ม ‘กุ้ง-ทูน่า’...........................................................................70 ขอบคุณ.............................................................................................................................................................................74

  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร    รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาววริศรา ธรรมเจริญ  นางสาววริศรา คูสกุล  

   ประธานกรรมการที่ปรึกษา

สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com




Thailand Focus

สรุปสถานการณ์

สินค้าเกษตรเดือนกันยายน และแนวโน้มเดือนตุลาคม 2558 1. ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบัน ข้าวนาปี ปี 2558/59 เกษตรกรใน บางพื้นที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาด แต่ ปริมาณยังไม่มากนัก ขณะทีภ่ าวะตลาดชะลอตัว ราคาเคลื่อนไหวไม่มากนัก มันสำปะหลัง เกษตรกรในบางพืน้ ที่ เริม่ ขุดหัวมันฤดูใหม่ออกสู่ตลาดได้บ้างแล้ว ราคา อยู่ในเกณฑ์ดี ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ผลผลิตฤดูใหม่ทยอย ออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาอ่อนตัวลง แต่ยัง เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ถั่วเหลือง (ฤดูฝน) ผลผลิตออกสู่ตลาด มากขึน้ แต่ปริมาณผลผลิตโดยรวมในปีนลี้ ดลง จากปีทผี่ า่ นมา ราคาอ่อนตัวลงแต่ยงั อยูใ่ นเกณฑ์ ปกติ ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขึน้ ขณะทีภ่ าวะการค้ายังชะลอตัว ราคาอ่อนตัว ลง ปลาป่น ผลผลิตมีน้อย ขณะที่ความ ต้องการใช้ยังมีอย่างต่อเนื่อง ราคาเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์สูง สุกร ผลผลิตมีเพียงพอ ภาวะการค้า ค่อนข้างชะลอตัวเนื่องจากราคาอยู่ในระดับที่ สูงกว่าอาหารโปรตีนชนิดอื่น ราคาเคลื่อนไหว ไม่มากนัก

ไข่ ไ ก่  และไก่ เ นื้ อ ผลผลิ ต มี ป ริ ม าณ เพียงพอกับความต้องการ แต่ความต้องการ จะชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายเดือน เนื่องจาก โรงเรียนทยอยปิดภาคเรียน ราคาเคลื่อนไหว ไม่มากนัก กุ้งขาวแวนนาไม เกษตรกรยังคงจับกุ้ง ขนาดเล็กออกจำหน่าย เพื่อลดความเสี่ยงใน ระบบการผลิต ขณะที่ตลาดมีความต้องการกุ้ง ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เพื่อส่งออก ราคา กุ้งขนาดเล็กปรับตัวลดลง ส่วนกุ้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ราคาปรับตัวสูงขึ้น

2. สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตร ของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์การผลิตสินค้า เกษตรสำคัญของโลกในฤดูการผลิต ปี 2558/ 59 ณ เดือนกันยายน 2558 ไว้ดังนี้ 2.1 พืชน้ำมัน คาดว่าในฤดูการผลิต ปี 2558/59 จะมี ผ ลผลิ ต รวม (ไม่ ร วม น้ำมันปาล์ม) ประมาณ 527.170 ล้านตัน น้ อ ยกว่ า ปี ที่ ผ่ า นมา (537.220 ล้ า นตั น ) ประมาณ 10.05 ล้านตัน (-1.87%) สำหรับ พืชน้ำมันที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

5


ถัว่ เหลือง ผลผลิต 319.612 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 0.246 ล้านตัน (+0.08%) ถั่วลิสง ผลผลิต 40.780 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.110 ล้านตัน (+2.80%) เมล็ดในปาล์ม ผลผลิต 17.140 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.830 ล้านตัน (+5.09%) เนือ้ มะพร้าวแห้ง ผลผลิต 5.51 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 0.080 ล้านตัน (+1.47%) พืชน้ำมันทีค่ าดว่า ผลผลิตจะลดลง ได้แก่ เมล็ดฝ้าย ผลผลิต 40.600 ล้านตัน ลดลง 3.680 ล้านตัน (-8.31%) เรปซีด ผลผลิต 64.692 ล้านตัน ลดลง 7.217 ล้านตัน (-10.04%) เมล็ดทานตะวัน ผลผลิต 38.843 ล้านตัน ลดลง 1.401 ล้านตัน (-3.48%) สำหรับ น้ำมันปาล์ม คาดว่าจะมีผลผลิต ประมาณ 65.165 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมา 3.712 ล้านตัน (+6.04%) 2.2 ธัญพืช ในปี 2558/59 คาดว่าจะมี ผลผลิตประมาณ 2,005.928 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา (2,021.669 ล้านตัน) 15.741 ล้านตัน (-0.78%) โดยสถานการณ์รายพืช สรุปได้ ดังนี้ 2.2.1 ข้าวสาลี มีผลผลิตประมาณ 731.609 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา (725.243 ล้านตัน) 6.366 ล้านตัน (-0.88%) ประเทศ ที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น จีน เพิ่มขึ้น 3.830 ล้านตัน (+3.04%) สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.004 ล้านตัน (+5.45%) ตุรกี เพิม่ ขึน้ 4.250 ล้านตัน (+27.87%) ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 2.334 ล้านตัน (+9.86%) ส่วนประเทศที่ผลผลิต ลดลง เช่น EU ลดลง 2.328 ล้านตัน (-1.49%) อินเดีย ลดลง 6.910 ล้านตัน (-7.21%) เป็นต้น 6 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

2.2.2 ธัญพืชเมล็ดหยาบ คาดว่า จะมีผลผลิตประมาณ 1,274.319 ล้านตัน น้อย กว่าปีทผี่ า่ นมา (1,296.429 ล้านตัน) 22.110 ล้านตัน (-1.71%) โดยธัญพืชทีม่ ผี ลผลิตเพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวฟ่าง ผลผลิต 69.012 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.315 ล้านตัน (+8.34%) ข้าวโอ๊ต ผลผลิต 22.609 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 0.241 ล้าน ตัน (+1.08%) ข้าวบาเลย์ ผลผลิต 144.752 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.937 ล้านตัน (+2.80%) ส่วนธัญพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ผลผลิต 978.098 ล้านตัน ลดลง 29.375 ล้านตัน (-2.92%) ข้าวไรน์ ผลผลิต 13.876 ล้านตัน ลดลง 0.707 ล้านตัน (-4.85%) 2.3 ข้าวสาร USDA คาดว่าในปีการ ผลิ ต 2558/59 ผลผลิ ต ข้ า วของโลกจะมี ประมาณ 475.759 ล้านตัน น้อยกว่าปีทผี่ า่ นมา (478.565 ล้านตัน) ประมาณ 2.806 ล้านตัน (-0.59%) โดยผลผลิตของประเทศผูผ้ ลิตสำคัญ เช่น จีน เพิ่มขึ้น 1.50 ล้านตัน อินเดีย ลดลง 0.80 ล้านตัน และไทย ลดลง 0.75 ล้านตัน ขณะที่ ค วามต้ อ งการบริ โ ภคข้ า วของโลกมี ประมาณ 487.417 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมา (484.119 ล้านตัน) ประมาณ 3.298 ล้านตัน (+0.68%) ส่วนสต็อกปลายปีจะอยู่ใน ระดับ 90.658 ล้านตัน ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา (100.819 ล้านตัน) ร้อยละ 11.45 ส่วนการ ค้าข้าวในตลาดโลกใน ปี 2558/59 USDA คาดว่าจะมีประมาณ 42.231 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา (42.454 ล้านตัน) ร้อยละ 0.53 สำหรับปริมาณการส่งออก USDA คาดว่า ประเทศไทยจะส่งออกได้ประมาณ 10.200 ล้านตัน ส่วนอินเดียจะส่งออกได้ 9.500 ล้าน


ตัน เวียดนาม 7.000 ล้านตัน ปากีสถาน 4.000 ล้านตัน เมียนม่าร์ 1.800 ล้านตัน และกัมพูชา 1.000 ล้านตัน ตามลำดับ

3. แนวโน้มสถานการณ์เดือนตุลาคม 2558 ข้าวนาปี ปีการผลิต 2558/59 ผลผลิต เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ภาวะการค้า ชะลอตัว แนวโน้มราคาอ่อนตัวลง มันสำปะหลัง เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน ออกสู่ตลาด แต่ปริมาณยังไม่มากนัก ราคา อยู่ในเกณฑ์ดี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาด เพิ่มขึ้น แนวโน้มราคาปรับตัวลดลง แต่ยัง เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ถั่วเหลือง (ฤดูฝน) ผลผลิตออกสู่ตลาด มากขึ้น แต่คุณภาพไม่ดีมีความชื้น แนวโน้ม ราคาอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปาล์ ม น้ ำ มั น ผลผลิ ต จะออกสู่ ต ลาด อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สต็อกน้ำมันฯ ในระบบ ยังมีมาก แต่ภาครัฐมีมาตรการกำหนดราคา แนะนำผลปาล์มทลาย และผลปาล์มร่วงใน ราคาเดียวกัน ณ หน้าโรงสกัดฯ คาดว่าจะช่วย พยุงราคาได้ระดับหนึ่ง ปลาป่น ผลผลิตมีน้อย แนวโน้มราคา อยู่ในเกณฑ์สูง สุกร ไข่ไก่ และไก่เนือ้ ความต้องการใช้ และบริโภคลดลง เนือ่ งจากโรงเรียนปิดภาคเรียน และอยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ (13-21 ต.ค. 58) แนวโน้มราคาอ่อนตัวลง กุ้งขาวแวนนาไม เกษตรกรยังคงจับกุ้ง ขนาดเล็กออกจำหน่าย ขณะที่ตลาดมีความ

ต้ อ งการกุ้ ง ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เ พื่ อ ส่งออก แนวโน้มราคากุง้ ขนาดเล็กปรับตัวลดลง ส่วนกุ้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่จะปรับตัว สูงขึ้น

แนวโน้มสถานการณ์รายกลุ่มสินค้า 3.1 กลุม่ สินค้าทีผ่ ลิตเพือ่ ส่งออก สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ข้าวเปลือกนาปี 2558/59 กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ผลผลิตข้าวนาปี ปี 2558/59 (ณ ก.ย. 58) จะมีผลผลิตประมาณ 22.983 ล้านตัน น้อยกว่าปีทผี่ า่ นมา (26.047 ล้านตัน) 3.064 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 11.76 ปัจจุบนั เกษตรกรในบางพืน้ ทีเ่ ริม่ ทยอย เก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดได้บ้างแล้ว แต่ ปริมาณยังไม่มากนัก โดยในช่วงเดือนตุลาคมธันวาคม คาดว่าจะเก็บเกีย่ วผลผลิตได้ประมาณ เดือนละ 2.720, 9.413 และ 6.920 ล้านตัน ตามลำดับ ในขณะที่รัฐยังคงทยอยระบายข้าว ในสต็ อ กออกสู่ ต ลาดเป็ น ระยะๆ ซึ่ ง จะมี ผ ล กระทบต่อราคาข้าวในระยะต่อไป ภาวะการค้ า ราคาซื้ อ ขาย ข้าวเปลือกในตลาดสำคัญ (ณ 29 ก.ย. 58) เป็นดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,80014,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 7,500-7,900 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี ตัน ละ 10,100-11,500 บาท ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 13,000-14,000 บาท ส่วนการค้า ข้ า วสาร ราคาซื้ อ ขาย เป็ น ดั ง นี้ ข้ า วขาว 100% ชัน้ 2 กระสอบละ 1,190-1,200 บาท ข้ า วหอมมะลิ 100% ชั้ น 2 กระสอบละ 2,700-2,710 บาท ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว กระสอบละ 2,390-2,400 บาท และข้าวนึ่ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

7


100% กระสอบละ 1,160-1,170 บาท สำหรับ ราคาส่งออกข้าวไทย (สมาคมผูส้ ง่ ออกข้าวไทย) ราคาข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (f.o.b.) ตันละ 844 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 (f.o.b.) ตันละ 359 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 5% ตันละ 350 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวนึ่ง ตันละ 359 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวสหรัฐฯ (เมล็ดยาว #4/5) ตันละ 565 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 5% เวียดนาม ตันละ 336 เหรียญสหรัฐฯ อินเดีย ตันละ 360 เหรียญสหรัฐฯ และปากีสถาน ตันละ 315 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวนึ่งอินเดีย ตันละ 345 เหรียญสหรัฐฯ และปากีสถาน ตันละ 420 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ การส่งออก ปี 2558 (1 ม.ค.29 ก.ย. 58) ได้ส่งออกไปแล้ว 6,810,847 ตั น น้ อ ยกว่ า ช่ ว งเดี ย วกั น ของปี ที่ ผ่ า นมา (7,492,142 ตัน) ร้อยละ 9.09 (2) มั น สำปะหลั ง กระทรวง เกษตรฯ คาดการณ์ผลผลิต ปี 2558/59 (ณ ก.ย. 58) จะมีประมาณ 31.040 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (31.096 ล้านตัน) เล็ก น้อย โดยเกษตรกรจะเริ่มทยอยขุดหัวมันออก จำหน่ายได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป แต่ ในฤดูการผลิตนี้ช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2559 (ประมาณ 5.232, 7.765 และ 6.370 ล้านตัน ตามลำดั บ ) ซึ่ ง ปกติ จ ะออกมากช่ ว งเดื อ น มกราคม-มี น าคม เนื่ อ งจากผลกระทบจาก ภาวะภัยแล้ง ทำให้การเพาะปลูกไม่เป็นตาม ฤดูกาล อย่างไรก็ตาม สำหรับในช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2558 คาดว่าจะมีผลผลิต ออกสู่ตลาดประมาณ 0.413, 0.499 และ 8 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

0.698 ล้านตัน ตามลำดับ ส่วนไตรมาสแรก ของปี 2559 จะมีผลผลิตออกสูต่ ลาดประมาณ 4.775 ล้านตัน ราคาหัวมันสดที่เกษตรกร ขายได้ เชื้อแป้ง 25% จ.นครราชสีมา (29 ก.ย. 58) กก. ละ 2.45-2.50 บาท สูงกว่าราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 0.01 บาท แนวโน้มราคาคาดว่าจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก (3) ไก่ เ นื้ อ กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตไก่เนื้อใน ปี 2558 (ณ ก.ย. 58) มีประมาณ 1,311 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จากปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 8.35 คิดเป็นซากบริโภค ประมาณ 2.060 ล้านตัน (เฉลี่ยน้ำหนักไก่ 2.5 กก./ตั ว ชำแหละเป็ น ซากบริ โ ภคได้ 62.88% ของน้ำหนัก) คาดว่าจะใช้บริโภค ภายในประเทศประมาณ 1.40-1.50 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 0.62 ล้านตัน (เป้าหมาย ของคณะกรรมการบริ ห ารสิ น ค้ า ไก่ เ นื้ อ และ ผลิตภัณฑ์) ปัจจุบันผลผลิตมียังออกสู่ตลาด อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการใช้บริโภคมี แนวโน้มลดลงเนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน และเข้าสู่ช่วงเทศกาศกาลกินเจ (13-21 ต.ค. 58) ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง สำหรับราคา ราคาไก่มชี วี ติ หน้าโรงฆ่า (29 ก.ย. 58) กก. ละ 35-36 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลีย่ ในเดือนทีผ่ า่ นมา เฉลี่ย กก. ละ 1.45 บาท สำหรับการส่งออก เนื้ อ ไก่ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นช่ ว งเดื อ นมกราคมกรกฎาคม 2558 ส่งออกได้ 353,558 ตัน มูลค่า 44,966 ล้านบาท (4) กุ้งขาวแวนนาไม กระทรวง เกษตรฯ ประมาณการผลผลิตกุ้งโดยรวมใน ปี 2558 (ณ ก.ย. 58) จะมีประมาณ 0.284 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 2557 (0.275) ร้อยละ


3.52 จำแนกเป็นกุ้งขาวฯ 0.271 ล้านตัน (+4.03%) กุง้ กุลาดำ 0.013 ล้านตัน -5.98%) ปัจจุบนั ผลผลิตออกสูต่ ลาดมากขึน้ แต่สว่ นใหญ่ ยังเป็นกุง้ ขนาดเล็กทีเ่ กษตรกรจับออกจำหน่าย เพือ่ ลดความเสีย่ งจากโรคระบาดทีย่ งั มีอยูร่ ะดับ หนึ่ง สำหรับราคากุ้งขาวฯ ขนาดเล็ก (70100 ตัว/กก. ณ 29 ก.ย. 58) ราคาลดลง กก. ละ 10 บาท ส่วนกุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา อ่อนตัวลงมาอยูท่ ี่ กก. ละ 150 บาท สำหรับการ ส่งออก ปี 2558 ในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ส่งออกได้ 0.083 ล้านตัน มูลค่า 27,738 ล้านบาท 3.2 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ USDA คาดการณ์ผลผลิตโลกของปี 2558/59 จะมี ประมาณ 978.098 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ ผ่านมาประมาณ 29.375 ล้านตัน (-2.92%) ส่วนการผลิตของไทยกระทรวงเกษตรฯ คาดว่า จะมีประมาณ 4.711 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ ผ่านมา (4.805 ล้านตัน) ร้อยละ 1.94 และ น้อยกว่าความต้องการใช้ทคี่ าดว่าจะมีประมาณ 5.08 ล้านตัน ร้อยละ 5.92 โดยจะออกมาก ช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ประมาณเดือน ละ 1.030, 1.113 และ 0.901 ล้านตัน ปัจจุบนั ราคาซื้ อ ขายในแหล่ ง ผลิ ต (29 ก.ย. 58 จ.เพชรบูรณ์ กก. ละ 8.55 บาท ต่ำกว่าราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา (กก. ละ 9.69 บาท) กก. ละ 1.14 บาท ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง แต่คาดว่ายังเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดี เนือ่ งจาก ความต้องการใช้ของโรงงานอาหารสัตว์ยังมี อย่างต่อเนื่อง

(2) ปาล์ ม น้ ำ มั น ในปี 2558 (ณ ก.ย. 58) กระทรวงเกษตรฯ ปรับลดปริมาณ ผลผลิตลงเหลือ 11.842 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา (12.503 ล้านตัน) ร้อยละ 5.29 คาดว่าจะสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.013 ล้านตัน ขณะทีค่ วามต้องการใช้คาดว่า จะอยู่ในระดับ 2.2-2.6 ล้านตัน แบ่งเป็น น้ำมันบริโภค 1.0-1.1 ล้านตัน ผลิตไบโอดีเซล 0.8-0.9 ล้านตัน สำรองเป็นสต็อกในประเทศ อีกประมาณ 0.2-0.3 ล้านตัน ส่วนการส่งออก ในปีนี้อาจจะมีปริมาณไม่มากนัก เนื่องจาก ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ กว่าราคาน้ำมันฯ ในประเทศค่อนข้างมาก ซึ่ง โดยปกติจะส่งออกได้ปีละประมาณ 0.2-0.3 ล้านตัน ปัจจุบันสต็อกน้ำมันปาล์มในระบบยัง คงมีมากกว่าระดับปกติ ขณะที่ภาวะการค้าใน ประเทศชะลอตัว และราคาน้ำ มันปาล์ มดิบ ตลาดมาเลเซียอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคา ผลปาล์มในประเทศอ่อนตัวลง ราคาผลปาล์มที่ เกษตรกรขายได้ (ณ 29 ก.ย. 58 น้ำมัน 17%) เฉลี่ย กก. ละ 3.40-3.90 บาท ต่ำกว่าราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 0.34 บาท ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (กทม.) เฉลี่ย กก. ละ 20.75-21.25 บาท ต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมา เฉลีย่ กก. ละ 4.29 บาท ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม ดิบ มาเลเซีย (25 ก.ย. 58) กก. ละ 18.50 บาท แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ ต่ ำ เนื่ อ งจากผลผลิ ต ในช่ ว งเดื อ นตุ ล าคมพฤศจิกายน (ประมาณ 1.111 และ 0.990 ล้านตัน) จะออกสู่ตลาดมากกว่าช่วงเดือนที่ ผ่านมา (เดือน ก.ย. 0.896 ล้านตัน) (3) สุกรมีชีวิต กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการปริมาณสุกรขุนในภาพรวม ปี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

9


2558 (1 ก.ค. 58) มีประมาณ 13.297 ล้านตัว มากกว่าปีทผี่ า่ นมา (12.823 ล้านตัว) ร้อยละ 3.70 และมากกว่าความต้องการที่ คาดว่ามีประมาณ 12.630 ล้านตัว ร้อยละ 5.23 สำหรับผลผลิตส่วนเกินสามารถส่งออก ไปประเทศเพือ่ นบ้านได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม สภาพการผลิตในช่วงที่ผ่านมายังมีผลผลิตออก สู่ตลาดเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ภาวะ การค้าโดยทั่วไปชะลอตัวลง ผลจากโรงเรียน เริ่ ม ปิ ด ภาคเรี ย นและเข้ า สู่ ช่ ว งเทศกาลกิ น เจ (13-21 ต.ค. 58) แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลง ปัจจุบนั (29 ก.ย. 58) ราคาสุกรมีชวี ติ ภาคกลาง กก. ละ 71-72 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลีย่ ในเดือน ที่ผ่านมา (72.20 บาท/กก.) กก. ละ 0.70 บาท และสูงกว่าต้นทุนการผลิตในปีนี้ (66.58 บาท) กก. ละ 4.92 บาท (4) ไข่ไก่ กระทรวงเกษตรฯ คาด ว่ า ในปี 2558 จะมี ผ ลผลิ ต ไข่ ไ ก่ ใ นระบบ ประมาณ 12,400 ล้านฟอง มากกว่าปีทผี่ า่ นมา (11,706 ล้านฟอง) ร้อยละ 5.93 และมาก กว่าความต้องการบริโภคในประเทศที่คาดว่า จะมีประมาณ 12,100-12,200 ล้านฟอง ปั จ จุ บั น ผลผลิ ต ที่ อ อกสู่ ต ลาดมี ป ริ ม าณเพี ย ง พอกับการบริโภค แต่การบริโภคจะลดลงในช่วง ภาคปิดเรียนและช่วงเทศกาลกินเจ (13-21 ต.ค. 58) แนวโน้มราคาอาจจะทรงตัว หรือ อ่อนตัวลงเล็กน้อย ปัจจุบันราคาไข่ไก่คละหน้า ฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ (29 ก.ย. 58) เฉลี่ย อยู่ที่ฟองละ 3.00 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ย ในเดือนที่ผ่านมา (ฟองละ 2.93 บาท) เฉลี่ย ฟองละ 0.07 บาท และสูงกว่าต้นทุนการผลิต ปี 2558 (เบื้องต้นฟองละ 2.73 บาท) เฉลี่ย ฟองละ 0.27 บาท 10 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

3.3 กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า สถานการณ์สินค้าที่สำคัญมีดังนี้ (1) ถัว่ เหลือง USDA ประมาณการ ผลผลิตถั่วเหลืองโลกฤดูใหม่ ปี 2558/59 มีประมาณ 319.612 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปี ที่ผ่านมา (319.366 ล้านตัน) ส่วนผลผลิต ของไทย กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีประมาณ 0.052 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่ง ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่คาดว่าจะมี มากกว่า 2 ล้านตันเศษ สำหรับการเพาะปลูก ในปี นี้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากภาวะแล้ ง ในช่ ว ง เพาะปลูก และมีฝนตกในช่วงเก็บเกี่ยว ทำให้ ผลผลิตทีไ่ ด้มคี ณ ุ ภาพไม่คอ่ ยดี ปัจจุบนั เกษตรกร เก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดได้มากขึ้น ราคา เมล็ดถั่วเหลืองขายส่งตลาด กทม. เกรดสกัด น้ำมัน (29 ก.ย. 58) ทรงตัวเท่าเดือนทีผ่ า่ นมา ที่ กก. ละ 16.25-16.75 บาท แนวโน้มราคา คาดว่าจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก (2) ก า ก ถั่ ว เ ห ลื อ ง U S D A ประมาณการผลผลิตโลก ปี 2557/58 มี ประมาณ 214.216 ล้านตัน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา (204.758 ล้านตัน) ประมาณ 9.458 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.62 ส่วนผลผลิตของไทย ทั้งจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ปลูกในประเทศ และ เมล็ดนำเข้าคาดว่าจะมีประมาณ 1 ล้านตันเศษ ในขณะที่ความต้องการใช้คาดว่ามีประมาณ 4 ล้านตัน จะต้องนำเข้าให้พอใช้อกี ประมาณ 3.0 ล้านตัน ปัจจุบัน (29 ก.ย. 58) ราคาขายส่ง กากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศ กก. ละ 18.30-18.40 บาท ทรงตัวเท่าเดือนทีผ่ า่ นมา ส่วนกากทีผ่ ลิตจากเมล็ดนำเข้า กก. ละ 15.5016.00 บาท สูงกว่าราคาเฉลีย่ ในเดือนทีผ่ า่ นมา (15.48 บาท) กก. ละ 0.27 บาท แนวโน้ม ราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก


(3) ปลาป่น คาดว่าผลผลิตในปี 2558 มีประมาณ 0.42 ล้านตัน น้อยกว่า ปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.13 แต่ยังมากกว่าความต้องการใช้ในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 0.33 ล้านตัน ปัจจุบันทะเลมีคลื่นลมแรง เรือประมงออกจับปลาน้อยลง ทำให้วัตถุดิบมีน้อย ขณะที่ ยังมีความต้องการใช้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้สัตว์โตทันในช่วงเทศกาลปลายปี ปัจจุบัน (29 ก.ย. 58) ราคาปลาป่นโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 2 เฉลี่ย กก. ละ 39.70 บาท สูงกว่าราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 5 บาท

4. มาตรการแก้ไขปัญหา/การช่วยเหลือผ่านกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ณ 15 ก.ค. 58) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 คชก. ได้อนุมัติเงินกองทุนรวมฯ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ สินค้าเกษตรด้านการตลาดแล้ว 2 โครงการ รวมเป็นเงิน 2,975.556 ล้านบาท จำแนกเป็น 1. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ปี 2558 วงเงิน 22.66 ล้านบาท 2. การรับซือ้ น้ำมันปาล์มดิบเก็บสต็อกขององค์การคลังสินค้า ปี 2558 วงเงิน 2,952.896 ล้านบาท (หมุนเวียน 2,620 ล้านบาท จ่ายขาด 332.896 ล้านบาท) กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กันยายน 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

11


Thailand Focus

ประมงมั่นใจหลุดใบเหลืองแน่

อียูต่ออายุ 6 เดือน-คู่ค้าเชื่อมั่น อียตู อ่ อายุใบเหลืองไทยแก้ปญ ั หาไอยูยู อีก 6 เดือนหลังสิน้ สุดเส้นตาย ต.ค. นี้ วงใน ก.เกษตรฯ ปูดสาเหตุปลดใบเหลืองไม่สำเร็จ ในรอบนี้ จากทัง้ กฎหมายลูกประมง การนำเรือ ออกนอกระบบ การเยียวยาเรือประมงยังไม่ได้ บังคับใช้จริง ด้านเอกชนโล่ง ไม่โดนใบแดง มั่นใจรอบหน้าหลุดบ่วงแน่ เผย 8 เดือน ส่งออกสินค้าประมงไทยไปอียูวูบกว่า 50% จากถูกตัดจีเอสพี-ค่าบาทเสียเปรียบคู่แข่ง กรณี ล่ า สุ ด ที่ ค ณะผู้ แ ทนรั ฐ บาลไทย ได้เดินทางไปให้ข้อมูลความคืบหน้าการแก้ไข ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ รายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) กับสหภาพ ยุโรป (อีย)ู ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ก่อนเส้นตายที่ให้เวลาไทยแก้ปัญหาเป็นเวลา 6 เดือนโดยจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคมนั้น น.อ.เบญจมาพร วงศ์ น ครสว่ า ง ผู้ อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะเลขานุการ คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ศูนย์บัญชาการ แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เปิดเผยว่า ในการชี้แจงและเจรจากับอียูใน ครั้งนี้ มี ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

12 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ผูแ้ ทนถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่ง ความคืบหน้าในการเจรจาทำความเข้าใจครัง้ นี้ ถื อ ว่ า มี ทิ ศ ทางที่ เ ป็ น บวก เบื้ อ งต้ น ผลการ ตั ด สิ น การแก้ ไ ขปั ญ หาของไทยยั ง ไม่ อ อกมา อย่างเป็นทางการ คงต้องรอผลการประเมิน และตัดสินในเดือนตุลาคมนี้ อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นมีแนวโน้มที่ไทย จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาในการดำเนิน การแก้ไขปัญหาโดยได้รับการต่ออายุการให้ ใบเหลืองออกไปอีก 6 เดือน เป็นการสิ้นสุด ระยะเวลาการแก้ ไ ขปั ญ หาให้ เ ป็ น ที่ พ อใจใน เดือนเมษายน 2559 "เงือ่ นไขทีไ่ ทยจะต้องแก้ไขปัญหาให้เสร็จ ภายในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนที่เขาจะเดินทางมา ประเมินผลอย่างเป็นทางการได้แก่ 1. การ ประกาศใช้กฎหมายลูกภายใต้ พ.ร.บ. การ ประมงฉบับใหม่ปี 2558 2. การประกาศใช้ แผนบริหารจัดการประมงทะเล และ 3. การ ประกาศใช้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารระดั บ ชาติ ใ นการ ป้องกัน ขจัด ยับยั้งการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (NPOAIUU) อย่ า งไรก็ ดี ไม่ ว่ า ผลลั พ ธ์ จ ะออกมา


อย่างไรนั้น ทาง ศปมผ. จะดำเนินการแก้ไข ปั ญ หาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ล้ า งใบเหลื อ งให้ ไ ด้ ในที่สุด" ด้ า น พล.ต.ต.ไกรบุ ญ ทรวดทรง รองผู้บัญชาการ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชุดที่ 1 กล่าวว่า มั่นใจเงื่อนไข 3 ข้อที่อียูเสนอมานั้น จะสามารถกระทำได้ เพราะมีแผนงานต่างๆ แล้ว ไม่นา่ มีปญ ั หา ทัง้ นีจ้ ากความตัง้ ใจในการ แก้ไขปัญหา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า วันนี้ไทย มี ความตั้งใจที่จะรักษาทรัพยากรทางทะเลอย่าง ยัง่ ยืน และยกระดับมาตรฐานการส่งออกอาหาร ของไทยที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ลำดับ 3 ของ โลก แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วิเคราะห์กรณีหากไทยยังไม่สามารถ ปลดใบเหลืองได้ในรอบนีน้ นั้ เนือ่ งจากกฎหมาย แผนบริหารจัดการประมงทะเล แผนปฏิบตั กิ าร ระดับชาติ และมาตรการเยียวยาที่ได้รับผล กระทบจากการแก้ไขปัญหาเรือที่ผิดกฎหมาย รวมทัง้ การคัดเรือออกจากระบบ ยังไม่ได้มกี าร บั ง คั บ ใช้ จ ริ ง มี แ ต่ เ พี ย งหลั ก การและกรอบ แนวทางทีจ่ ะเสนอเท่านัน้ ขณะที่ ศปมผ. ก็เป็น เพียงศูนย์เฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 44 ทางการเจรจาอาจจะมองว่าไม่ยั่งยืน ซึ่งควรมี การจัดตั้งหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาอย่าง ถาวร อาจจะเป็นกรมประมง หรือศูนย์ประสาน การปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล (ศรชล.) ทีม่ อี ำนาจในการตรวจ/จับกุม ทางทะเล เพื่อแสดงให้อียูเห็นว่าไทยตั้งใจที่จะ แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนไม่ใช่ชั่วคราว

แหล่ ง ข่ า วจากสมาคมการประมงแห่ ง ประเทศไทย เปิดเผยหลังการหารือกับ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ (18 ก.ย. 58) ระบุ ได้ เสนอว่า คำสั่งของ ศปมผ. ที่ผ่านมาทำให้ เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพต่อ ครั ว เรื อ นประมงในทุ ก หย่ อ มหญ้ า และผล กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว จึงได้ขอให้มกี ารทบทวนเรือ่ งค่าผลการคำนวณ ค่าจับสัตว์น้ำสูงสุดอย่างยั่งยืน (MSY) ใหม่ ร่วมกัน ระหว่างกรมประมง สมาคมการประมงฯ นักวิชาการ ว่าเป็นทฤษฎีทใี่ ช้การจัดการประมง ถูกต้องหรือไม่ และขอให้มีมาตรการชดเชย เยียวยาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเร่งด่วน "คำสัง่ ห้ามโอน เปลีย่ นแปลงทะเบียนเรือ/ อาชญาบัตร เปลี่ยนขนาดและเครื่องมือ ทำให้ ชาวประมงที่ต้องการเลิกกิจการเพราะนโยบาย ประมงของไทยตัดโอกาสการทำกิน ทำให้ไม่ สามารถขายเรือได้ และเรือ่ งตาอวน เครือ่ งมือ อวนลากขอเป็นขนาด 4 เซนติเมตร ตามที่มี ข้อมูลศึกษาวิชาการ เพราะเป็นอวนทีม่ จี ำหน่าย ตามท้องตลาด ตลอดจนให้มีการสำรวจเรือ ทีถ่ กู ยกเลิกทะเบียนเรือ จำนวน 1.17 หมืน่ ลำ ใหม่ และขอให้ออกอาชญาบัตรชั่วคราวกับเรือ ที่ถูกสั่งหยุดและเรือที่เคยมีอาชญาบัตรถูกต้อง ที่ถูกยกเลิกโดย ศปมผ. ซึ่งทาง พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ได้รับนโยบายคำสั่งจากท่านนายกรัฐมนตรีให้มาแก้ปญ ั หา ไม่ใช่ให้มาสร้างปัญหา ใหม่ แนวทางดังกล่าวตรงกับสมาคม พร้อมที่ จะร่วมกันแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย" นายฤทธิ ร งค์ บุ ญ มี โ ชติ ประธาน กรรมการบริหาร กลุม่ ธุรกิจกุง้ บริษทั ไทยยูเนีย่ น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

13


โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียเู อฟ กล่าวว่า ถือว่าเป็นไปตามความคาดหมาย หาก ทางอี ยู จ ะต่ อ อายุ ใ ห้ ใ บเหลื อ งไทยเพื่ อ ให้ เ ร่ ง แก้ไขปัญหาทำประมงแบบไอยูยูออกไปอีก 6 เดือน นับจากเดือนตุลาคม 2558 ซึ่งการให้ ใบเหลืองเป็นการแสดงให้เห็นว่า อียูได้เห็น วิ วั ฒ นาการ และความพยายามของไทยใน การแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาหลาย ประเทศที่ เ คยโดนใบเหลื อ ง ส่ ว นใหญ่ ก็ ไ ม่ สามารถปลดล็อกได้ภายใน 6 เดือน ส่วนใหญ่ ก็ได้รับการต่ออายุให้ใบเหลือง ซึ่งในส่วนของ ไทย ถือเป็นโอกาสที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ ช่วยกันเร่งแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วง และเป็น ไปตามเป้าประสงค์ของอียู หากทำได้เป็นที่น่า พอใจก็น่าจะสามารถปลดใบเหลืองในอีก 6 เดือนข้างหน้าได้

ครึง่ หนึง่ โดยในส่วนของสินค้ากุง้ ซึง่ เป็น 1 ใน สินค้าส่งออกหลักของไทย อียูได้ลดลงจาก 4.6 พันล้านบาทในปี 2557 เหลือเพียง 1.8 พันล้านบาท หรือลดลง 57% ซึ่งปัจจัยหลัก มาจากสินค้าไทยถูกอียูตัดสิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากร (จีเอสพี) ทำให้เสียเปรียบภาษีนำเข้า ที่สูงกว่าคู่แข่งขัน เช่น กุ้งสดไทยเสียภาษีเพิ่ม จาก 4% เป็น 12% กุ้งแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่ม จาก 7% เป็น 20% เป็นต้น ดังนั้น จาก ต้องเสียภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้น มีผลให้คู่ค้าหันไป นำเข้าจากประเทศอื่นมากขึ้น รวมถึงค่าเงิน บาทที่แข็งค่าในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีนี้ แม้ว่าช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเงินบาทจะอ่อน ค่าลงมาก แต่การอ่อนค่าก็ยังน้อยกว่าสกุลเงิน ของคู่ แ ข่ ง ขั น อื่ น ๆ ทำให้ เ สี ย เปรี ย บในการ แข่งขัน

"ถือเป็นข่าวดีที่เราไม่โดนใบแดง เพราะ การได้ต่ออายุใบเหลืองออกไปอีก 6 เดือน จะสามารถเรียกความมั่นใจของคู่ค้าให้คงซื้อ สินค้าจากไทยได้ ขณะทีห่ ากอีก 6 เดือนข้างหน้า ไทยหลุดใบเหลืองจากทีเ่ ราทำได้ตามมาตรฐาน อียู จะทำให้คคู่ า้ จากภูมภิ าคอืน่ ๆ มีความเชือ่ มัน่ สินค้าไทยตามไปด้วย"

ขณะที่แหล่งข่าวผู้ส่งออกผักและผลไม้ ไปตลาดสหภาพยุโรป กล่าวว่า ผลการเจรจา นัน้ แม้วา่ ยังไม่เป็นทางการ และดูเหมือนว่าไม่ เกี่ยวข้อง เชื่อว่าหากโดนใบแดง อาจจะโดน หางเลขไปด้วย ทำให้การส่งออกผักและผลไม้ ยิ่งยากมากขึ้น

สำหรับการส่งออกสินค้าประมงของไทย ไปตลาดสหภาพยุโรป หรืออียู (28 ประเทศ) ในปี 2557 ทีผ่ า่ นมามีมลู ค่า 2.7 หมืน่ ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ทีม่ มี ลู ค่า 3.2 หมืน่ ล้านบาท ขณะที่ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วง เดี ย วกั น ของปี ที่ แ ล้ ว มู ล ค่ า ส่ ง ออกลดลงกว่ า 14 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ส่วนนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายก สมาคมอาหารแช่ เ ยื อ กแข็ ง ไทย กล่ า วว่ า กระแสข่าวไทยได้ต่ออายุใบเหลืองไอยูยูออกไป อีก 6 เดือน ยังมีความสับสนว่าจริงหรือไม่ คงต้องรอผลการตัดสินอย่างเป็นทางการใน เดือนตุลาคมนี้ก่อน




Thailand Focus

จากคนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถึงอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และคนกินเนื้อสัตว์ • พงษ์ทิพย์ สาราญจิตต์, landactionthai.org, Local Act •

แล้วก็ถึงเวลาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ ทีต่ อ้ งตอบคำถามกับสังคมว่า เหตุใด จึงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่า และ เป็นที่มาของปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหา หมอกควันและการเสื่อมโทรมของผืนดิน ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม น่าแปลกทีว่ าทกรรม 'ภูเขาหัวโล้น' ในจังหวัดน่าน ได้ทำให้เกษตรกรผู้ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นจำเลยของ สังคมภายในเวลาชัว่ ข้ามคืน ทัง้ ๆ ทีเ่ กษตรกร เหล่านี้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มานานแล้ว ที่ สำคัญคือ ไม่ได้ริเริ่มปลูกเอง แต่ทำตามนโยบาย การส่งเสริมและการสร้างแรงจูงใจของภาครัฐ ที่ตอบ สนองต่อความเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจเนื้อสัตว์ในประเทศ และภูมิภาคนี้นั่นเอง จะว่าไปแล้ว กระแสการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ ในประเทศไทย แต่เป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่เรียกกันว่ากระแส boom crops ซึ่งพืชเศรษฐกิจทุกชนิด รวมทั้งพืชพลังงาน ได้แผ่ขยายครอบคลุม พื้นที่เกษตรไปทั่วโลก เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจ ที่มา : เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1222 วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม-วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

15


เนื้อสัตว์ และการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เติบโตอย่าง ไม่หยุดยัง้ จนเป็นทีห่ วัน่ วิตกของนักสิง่ แวดล้อม และนักวิเคราะห์แนวโน้มการใช้ที่ดินระดับโลก เฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดียว ทั่วโลกก็มี พื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 1,064.988 ล้านไร่ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง โดยภาพรวม การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เกิดขึ้นช่วงหลัง ปี 2552 สัมพันธ์กับความต้องการสินค้าของ อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อย่างแยกไม่ออก เช่น อุตสาหกรรมสัตว์ปกี (เป็ด และไก่) หมู วัว และ กุง้ ในทุกภูมภิ าคทีข่ ยายตัวมากขึน้ รวมถึงความ สามารถของภาคธุรกิจเอกชนในการส่งออก หรือ ขนส่งสินค้าในจำนวนมากด้วยต้นทุนทีต่ ำ่ ทำให้ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทีเ่ ป็นชนชัน้ กลางใหม่ในเขตเมือง เช่น ประเทศ จีน ประเทศไทย ฮ่องกง และเมืองใหญ่ในทุก ภูมิภาค ส่วนประเทศไทย ซึ่งแน่นอน รัฐบาลมี นโยบายเดินตามกระแสเศรษฐกิจโลก ประเทศ ไทยมีพนื้ ทีป่ ลูกข้าวโพดทัว่ ประเทศ 7.51 ล้าน ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นมาโดยลำดับ ในพื้นที่จำนวนนี้ พบว่า เกษตรกรปลูกข้าวโพดในพื้นที่ที่ไม่มี เอกสารสิทธิ์ หรืออยูใ่ นพืน้ ทีป่ า่ ถึง 3.7 ล้านไร่ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศเลยด้วยซ้ำ จากงานวิจัยของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่น ไร้พรมแดน พบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในประเทศไทยหลายสิบปีทผี่ า่ นมา ภาครัฐ และ ภาคเอกชนถือว่ามีความสำคัญ โดยกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผู้ ป ลู ก พื ช เศรษฐกิ จ หลั ก ซึ่ ง รวมถึ ง ข้ า วโพด 16 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

เลี้ยงสัตว์ ครอบคลุมทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ และพื้นที่นอกเหนือเอกสารสิทธิ์ ปรากฏการณ์ ที่เกษตรกรจำนวนมากปลูกข้าวโพดในพื้นที่ ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติที่หมดสภาพความเป็นป่าแล้ว จึงถือ เป็นที่รับรู้กันอยู่ในหน่วยงานราชการทั้งระดับ ท้องถิ่น และระดับนโยบาย เหตุ ที่ ถื อ ว่ า ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ เ ป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ที่ ส ำคั ญ เพราะพื ช เศรษฐกิ จ ตั ว นี้ เกีย่ วข้องกับความเป็นอยูข่ องเกษตรกรรายย่อย ถึง 3.9 แสนครอบครัว และยังรวมถึงเกษตรกร ผูเ้ ลีย้ งสัตว์อกี กว่า 3 แสนครอบครัว (กระทรวง เกษตรกรและสหกรณ์, 2555) เกษตรกรเหล่านี้ กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่ปลูก ข้าวโพดมากที่สุดคือเพชรบูรณ์ รองลงมา คือ น่าน นครราชสีมา และเลย (สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, 2556) ส่วนอีกเหตุผล เพราะว่าข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ คือวัตถุดบิ สำหรับป้อนอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ในประเทศไทย โดยปี 2557 มีผลผลิต ข้าวโพดทัง้ ประเทศ 5.09 ล้านตัน ร้อยละ 97 ของผลผลิตทั้งหมดนี้ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เหลือเพียงส่วนทีเ่ หลือเล็กน้อย เท่านัน้ ทีน่ ำมาสกัดเป็นส่วนผสมอาหารของคน หรือดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำเชื่อม และแอลกอฮอล์ ฯลฯ แม้เกษตรกร จะพยายามเพิ่ ม พื้ น ที่ ป ลู ก ตามการส่ ง เสริ ม และการสร้างแรงจูงใจของภาครัฐ แต่ก็ยังไม่ สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากเท่าปริมาณความ ต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ ที่มีมากถึง 5.77 ล้านตัน ในปี 2557 น่าจะเป็นเหตุผลที่พอฟังได้ว่า เพราะ


เหตุ ใ ดการขยายพื้ น ที่ ก ารเพาะปลู ก ข้ า วโพด เลี้ยงสัตว์จึงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะว่า เท่าที่ปลูกได้ในปัจจุบันนั้น ก็ยังไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ที่ผ่านมา ภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน สนับสนุนการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ทัว่ ประเทศมาโดยตลอด ทัง้ ขึน้ ทะเบียนเกษตรกร ประกันราคาผลผลิต รับจำนำผลผลิต และมี นโยบายให้ ธ นาคารเพื่ อ เกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนองนโยบายรัฐบาลและ สนับสนุนภาคธุรกิจเอกชน ด้วยการปล่อยสินเชือ่ ให้เงินกู้กับเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ นี่เป็นที่มาที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทวั่ ประเทศ มีหนีส้ นิ กับ ธ.ก.ส. และเป็ น เหตุ ผ ลสำคั ญ ที่ เ กษตรกรเลิ ก ปลู ก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ได้ เหตุเพราะปลูกแล้ว ขาดทุน กำไรน้อย แต่เลิกไม่ได้ เพราะไม่มเี งิน ไปใช้หนี้

น่าเสียดายที่หนังเรื่อง 'ภูเขาหัวโล้น' ถูกสร้างให้มีเพียงเกษตรกรเท่านั้นที่เป็นจำเลย ของสังคม ทั้งที่ยังมีตัวละครเด็ดๆ ที่สำคัญ อีกหลายตัว ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวมทั้ง ธุรกิจเนื้อสัตว์ และธุรกิจอาหารสัตว์ที่เติบโต จนครบวงจร ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ยันการชำแหละ และส่ ง ออก หากภาครั ฐ คิ ด ว่ า ไม่ ส ามารถ รั บ ผิ ด ชอบและดู แ ลเกษตรกรผู้ ป ลู ก ข้ า วโพด เลี้ยงสัตว์อันเป็นผลพวงมาจากนโยบายของ รัฐบาลทีผ่ า่ นๆ มา ก็อาจจะต้องค้นหาแนวทาง แก้ ปั ญ หาที่ ยั่ ง ยื น เริ่ ม ต้ น จากการทำความ เข้ า ใจกั บ ปั ญ หาให้ ถ่ อ งแท้ เ สี ย ก่ อ น ว่ า หนั ง เรื่องนี้ไม่ได้มีจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ถ้าศึกษา ให้ดี ก็อาจจะพบด้วยว่า คนที่ถูกเรียกว่าจำเลย นัน้ แท้ทจี่ ริงอาจจะเป็นเพียงเหยือ่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ จากละครโรงใหญ่ ก็เป็นได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

17


Thailand Focus

หวั่นอากาศแปรปรวน กระทบภาคเกษตร ต้องพัฒนาเทคโนโลยีเข้าสู้ รุกรับมือในอนาคต

จากสภาพภูมิอากาศปัจจุบันที่มีความ แปรปรวนสูง โดยเฉพาะปริมาณ และการ กระจายของฝนที่มีความแปรปรวนระหว่างปี และภายในปีเดียวกันค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้ บางปี เ กิ ด ภั ย แล้ ง ขณะที่ บ างปี เ กิ ด น้ ำ ท่ ว ม ความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้ระบบ การเกษตรเกิดความเสี่ยงและความไม่แน่นอน สูงมากขึ้น ซึ่งความไม่แน่นอนนี้จะส่งกระทบ อย่างมากต่อเกษตรกรรายย่อย ในเรือ่ งดังกล่าว นายเลอศักดิ์ ริว้ ตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้ศึกษาคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง ภูมอิ ากาศ จากแบบจำลองภูมอิ ากาศโลก 7 แบบ จำลอง และใช้รูปแบบการปลดปล่อยพลังงาน ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แบบ A1B แบบอนุรกั ษ์นยิ มทีค่ อ่ นข้างสมเหตุผล ผล การวิ เ คราะห์ ไ ด้ ค าดการณ์ อุ ณ หภู มิ ที่ อ าจจะ เพิม่ สูงขึน้ 0.4 องศาเซลเซียส ในทุก 10 ปี นับ จากปัจจุบันจนถึงปี พ.ศ. 2593 และพบว่า ที่มา : แนวหน้า วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

18 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ภายใน พ.ศ. 2593 อุณหภูมิต่ำสุด และ อุณหภูมเิ ฉลีย่ จะเพิม่ ขึน้ ไม่เกิน 2  Cํ เมือ่ เปรียบ เทียบกับอุณหภูมิปัจจุบัน และอุณหภูมิสูงสุด จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.8  ํC ส่วนพื้นที่ในแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด อุณหภูมิเฉลี่ยอาจมี ค่าสูงกว่า 29  Cํ สำหรับการคาดการณ์ปริมาณ น้ำฝน ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่ ง ผลกระทบแตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะ พื้นที่ของประเทศไทย โดยปริมาณน้ำฝนรายปี อาจลดลงถึง 250 มิลลิเมตร ในตอนกลาง ของประเทศไทย และเพิม่ ขึน้ ถึง 600 มิลลิเมตร ในพื้นที่ภาคเหนือและใต้ ส่วนฝนตกรายเดือน จากต้นฤดูถึงปลายฤดูฝนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ของประเทศ ทัง้ นี้ ในส่วนของ พื้นที่ภาคใต้ แหล่งผลิตปาล์มน้ำมัน ปริมาณ ฝนจะเพิ่มขึ้นถึง 200 มิลลิเมตร ในเดือน พฤศจิกายน ซึง่ ผลกระทบและแนวโน้มในอนาคต ของผลผลิตปาล์มน้ำมันขึน้ อยูก่ บั ปริมาณน้ำฝน ย้อนหลังไป 23 เดือน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะ ทำให้ ผ ลผลิ ต ปาล์ ม ไปออกมากขึ้ น ในเดื อ น ตุลาคมอีกรอบ


อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของปริมาณ ฝนภายในปีเดียวกันสูงพอๆ กับความแตกต่าง ของปริมาณฝนระหว่างปี ซึ่งหมายความว่า ปริมาณน้ำฝนจะมีความแปรปรวนสูงมากขึ้น ต่อจากนี้ไป ดังนั้น เกษตรกรควรที่จะต้อง ตระหนัก และมีแผนรับมือต่อความแปรปรวน ของปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้ จากความแปรปรวน ในปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิแล้ว การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมอิ ากาศยังจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ สภาพอากาศรุนแรง (Extreme Events) บ่อยขึน้ อีกด้วย ทั้งในเรื่องรังสีความร้อน ความหนาว ฉับพลัน น้ำท่วมรุนแรง และภัยแห้งแล้ง ซึ่ง แบบจำลองของภูมิอากาศโลกยังไม่สามารถ คาดการณ์ เ หตุ ก ารณ์ ส ภาพอากาศรุ น แรง เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำนัก นอกจากนี้ สศก. ยังได้ทำการวิเคราะห์ ถึงผลกระทบในระยะยาวของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ โดยผลการวิ เ คราะห์ พ บว่ า แต่ ล ะ พื้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ภูมอิ ากาศทีแ่ ตกต่างกัน โดยพืน้ ทีท่ างภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้บางส่วนเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมมูลค่าความ สูญเสียทัง้ หมดระหว่าง 1.8 ถึง 3 พันล้านบาท ต่อปี พืชที่ได้รับผลกระทบมากสุดคือ ทุเรียน ลำไย ข้าวโพด อ้อย ปาล์มน้ำมัน และยางพารา และหากรวมความสูญเสียของทุกพืชแล้ว ความ สูญเสียรวมทั้งหมดมีมูลค่าประมาณเกือบหนึ่ง หมื่นล้านบาทต่อปี สำหรับในภาคเกษตรของประเทศไทย ข้ อ มู ล จากการจั ด ทำรายงานแห่ ง ชาติ โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง  สศก. เป็ น คณะทำงาน พบว่า ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในปี 2554 จากก๊าซมีเทนจากนาข้าวปล่อยมากที่สุด คิด เป็นประมาณร้อยละ 54 รองลงมา คือ ปศุสตั ว์ (การหมักฯ และการจัดการมูลสัตว์) และดิน ที่ใช้ในการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 25 และ ร้อยละ 20 ตามลำดับ ส่วนการเผาเศษวัสดุ การเกษตรมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 2 ขณะที่ ก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรมี แนวโน้มปล่อย เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2548-2554 พร้ อ มนี้ สศก. ซึ่ ง มี ภ ารกิ จ ในการ กำหนดนโยบายพัฒนาภาคการเกษตร ได้จดั ทำ ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการว่าด้วยเปลี่ยน แปลงภูมอิ ากาศด้านการเกษตร ปี พ.ศ. 25562559 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนิน งานของกระทรวงเกษตรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยครอบคลุม ทั้งประเด็นการปรับตัว (Adaptation) ต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อลดผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้น และการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก (Mitigation) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัวรองรับการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มี 2 กลยุทธ์ คือ 1) การเตรียมพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกัน 2) การลดผลกระทบ การรับมือ และการปรับตัว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเก็บกักและการลดการ ปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกในภาคเกษตร มี 2 กลยุทธ์ คือ 1) การพัฒนาระบบการจัดเก็บ ข้ อ มู ล และองค์ ค วามรู้ เ รื่ อ งก๊ า ซเรื อ นกระจก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

19


2) การส่งเสริม สนับสนุนการปรับระบบการ ผลิตสู่เกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ว่ า ด้ ว ยการเปลี่ ย นแปลงภู มิ อ ากาศด้ า นการ เกษตร มี 4 กลยุทธ์ คือ 1) การพัฒนา เสริมสร้างองค์ความรู้ 2) การสร้างการรับรู้ และ มีส่วนร่วม 3) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร และ 4) การพัฒนาการดำเนินงานตามกรอบความ ร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สศก. ยังอยู่ ระหว่างการทบทวน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ว่าด้วยเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร และแผนพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร ปี 25602564 โดยพยายามให้ประเด็นที่เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นของ การพัฒนาภาคเกษตรอีกด้วย เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแก้ไข และลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ โดยสามารถแบ่ง เทคโนโลยีดงั กล่าวออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. เทคโนโลยีทช่ี ว่ ยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคเกษตร (GHG Mitigation Technology) มี 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ แนวทางที่ 1. การใช้ปุ๋ยสั่งตัด เป็นแนวทางลดการใช้ ปุ๋ยเคมี (แหล่งปล่อยไนตรัสออกไซด์ N2O ที่สำคัญ) โดยใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ค่าดิน หรือเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารเฉพาะที่ แนวทางที่ 2 การทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง (Alternate Wet and Dry Practice: AWD) ที่ปล่อยน้ำในช่วงที่เหมาะสม แนวทางที่ 3

20 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (AmmoniumSulphate) แทนการใช้ ปุ๋ ย ยู เ รี ย เพื่ อ ลดการ ปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ในนาข้าว 2. เทคโนโลยีที่ช่วยในการปรับตัวต่อ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Technology) โดยการพั ฒ นาพั น ธุ์ ข้ า วทน ต่อสภาวะแวดล้อม และพันธุ์ข้าวทนโรค ซึ่ง กรมการข้าว ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วม กันพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม ฉับพลัน และทนแล้ง สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทาน โรคไหม้ โดยได้ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์ วิ จั ย ข้ า ว และแปลงของเกษตรกรแล้ ว ซึ่ ง พบว่ า ให้ ผ ลผลิ ต ไม่ ต่ า งจากเดิ ม อี ก ทั้ ง ยั ง มี เ รื่ อ งของการบริ ห ารจั ด การน้ ำ ที่ ถื อ เป็ น เทคโนโลยีที่ช่วยในการปรับตัวต่อเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Adaptation Technology) ทั้งการบริหารจัดการน้ำในระดับลุ่มน้ำ การ บริหารจัดการน้ำในฟาร์ม และการใช้ Remote Sensing Technology ทั้งนี้ ในอนาคต ควรมี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี ด้ า นต่ า งๆ เพื่ อ ศึกษาสภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น การพั ฒ นาเทคโนโลยี จ ากงานวิ จั ย ท้ อ งถิ่ น การทำเกษตรแบบแนวตั้ง (Vertical Farming) และการเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) เพื่ อ สามารถกำหนดปริ ม าณใช้ น้ ำ ของพื ช การกำหนดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้แม่นยำ และ ตรงตามความต้องการของพืช เป็นต้น



ª·Á ¦µ³®r°µ®µ¦Â¨³°µ®µ¦­´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª oª¥ TANGO

TANGO is the next-generation FT-NIR spectrometer ®r ¦µ³ · Á ª ¦ µ 宦 ´ ¥ ­ » ­ ªo ¡Á· «¬ ®µ¦­ ´ ª r ° ­ om °µ °o Á GO ker.c

N bru TA PT.TH@

Inf · °n Ä ­

o. B

O

Á à 襸 )7 1,5 ¦´ ¦° à ¥ %UXNHU Ä o µ nµ¥ oª¥® oµ °­´¤ ´­ ¨³¦³ µ¦ ´ µ¦ ´ª°¥nµ Á¡¸¥ ¦¦ »Ä oª¥ª´ ¦³ ´ µ¦­´ µ Â È ¦µª r° ´ à ¤´ · nµ¥Ã° ­¤ µ¦¦³®ªnµ Á ¦º°É %UXNHU 2SWLFV 1,5 ­Á à ¦¤·Á °¦r » ¦» n Å o à ¥ ¦ ­¤ µ¦¤µ ¦ µ ­Îµ®¦´ ¨· £´ r®¨µ ®¨µ¥ · Ťnªµn ³Á È °µ®µ¦­´ ªr ­ÎµÁ¦È ¦¼ ª´ » · °µ®µ¦­´ ªr  o Á ¦º°É ¦» ¦­ ¨· £´ rÄ °» ­µ ¦¦¤ Îʵ µ¨ ­¤ µ¦ ° %UXNHU ­µ¤µ¦ ÎµÅ Ä oÅ oà ¥ ¦ ¨³®µ εÁ È ­µ¤µ¦ ¦´ Á ¨¸¥É Á¡º°É Ä®oÁ oµ ´ ´ª°¥nµ Ä Â n¨³ o° ¸ÅÉ o

Á à 襸Á ¸¥¦r° · ¢¦µÁ¦ ­Á à ¦­Ã ¸ 1HDU ,QIUDUHG 6SHFWURVFRS\ 1,56 Á È »  ­Îµ ´ nª¥Ä®o µ¦ª·Á ¦µ³®r » £µ¡ ° ´ª°¥nµ εŠo°¥nµ ¦ª Á¦ÈªÃ ¥Å¤n °o 娵¥ ´ª°¥nµ ®¦º°Ä o­µ¦Á ¤¸Ä Ç ¸­É µÎ ´ µ¦ª·Á ¦µ³®r ªo ¥ 1,5 Á¡¸¥  n® ¹É ¦´ Ê ­µ¤µ¦ Ä®o °o ¤¼¨ ° r ¦³ ° µ Á ¤¸ ° ´ª°¥nµ Å o®¨µ ®¨µ¥ · Ťn µÎ Á È o° ε µ¦ª·Á ¦µ³®r ʵΠÁ®¤º° µ¦ª·Á ¦µ³®r µ Á ¤¸Â °º É Ç °Á · Á oµ¦nª¤ µ¦­´¤ µÃ ¥ª· ¥µ ¦ ¼Áo ¸É¥ª µ Ä ¦³ ´ µ µ µ · µ ¦¼Á °¦r ª´ ¡§®´­ ¸ ¸É ¦ µ ¤ µ Á¨º° Ä®¤n­ n¼ µ¦ ª »¤ » £µ¡ ¨· ¨ µ µ¦Á ¬ ¦Â¨³°µ®µ¦­´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª ¨³Å¤n µÎ ¨µ¥ ´ª°¥nµ oª¥Á · )7 1,5 µ %UXNHU æ ¦¤°¤µ¦¸ª°¦Á °¦rÁ ¦³ ¼ Êε ¦» Á ¡¤®µ ¦ ª· ¥µ ¦ µ ¦¼Á °¦r­µÎ ´ µ Ä® n ¦³Á «Á¥°¦¤´ Å o n 0U -RHUJ +DXVHU ¼Áo ¸¥É ª µ ¨³¤¸ ¦³­ µ¦ r µo µ¦ ª·Á ¦µ³®r ª´ °¥nµ ®¨µ ®¨µ¥ · µ ´ªÃ¨ ¨³ ¦ «· É ¦ · £µ «¦´ ¥rª «r ¼Áo ¸¥É ª µ oµ 1,5 ¹ É Îµ µ Ä nµ ¦³Á «Â¨³ ­ ´ ­ » °» ­µ® ¦¦¤Â¨³ª· ¥µ µ¦ oµ 1,5 Ä Á°Á ¸¥ ªnµ­· ¸

­ Ä · n° Info.BOPT.TH@bruker.com

Bruker BioSpin AG Bangkok - Thailand Phone +66 2 642 6900 Fax +66 2 642 6901

F T-NIR

Innovation with Integrity


Food Feed Fuel

สถานการณ์และแนวโน้ม

วัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 59 สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรมการผลิ ต สั ต ว์ ต้ อ ง ติดตามกันอยู่ตลอดเวลานั่นก็คือ สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งปริมาณการผลิตและราคา โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะ โลกทุกวันนี้เชื่อมโยงถึงกันและกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การติดตาม ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างทันท่วงที ส่วนสถานการณ์และแนวโน้มในปีหน้าจะเป็นอย่างไร ในงานสัมมนา “ทันโลก ทันเหตุการณ์ อาหารสัตว์และวัตถุดิบ” เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ซึ่งจัดโดย สมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ได้เปิดเผย และวิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจ ผศ.ดร.เสกสม กล่ า วว่ า สำหรั บ สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ นั้ น ต้ อ งขอบอกว่ า มี ค วาม โดดเด่นจากสินค้าเกษตรทั่วๆ ไป เพราะ สามารถตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของ ผู้บริโภคได้มากกว่า แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ก่อนว่า การเกษตรนั้นถูกวางอยู่บนรากฐานของความไม่แน่นอน เพราะฉนั้น คนที่จะมาอยู่ในวิชาชีพนี้ หรือคน ที่ จ ะมาเรี ย นสาขาวิ ช านี้ จ ะต้ อ ง ที่มา : สาสน์ไก่และสุกร ปีที่ 13 ฉบับที่ 149 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

21


รั บ รู้ ถึ ง สภาวการณ์ รั บ รู้ ถึ ง พลั ง ขั บ เคลื่ อ น หรือไดนามิค ความไม่แน่นอน เพราะถ้าเรา ยั ง มี ค วามคิ ด ที่ ช้ า ล้ า หลั ง แม้ ค วามคิ ด นี้ ไม่ผิดแต่อาจไม่เหมาะกับวิชาชีพนี้เท่านั้น โดย เฉพาะเรื่องของอาหารสัตว์ซึ่งมีความผันผวน ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ถ้ามองปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการเกษตร สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ คือ กลุ่มปัจจัยที่เป็นเรื่องของพันธุกรรม โภชนาการ การจั ด การทั่ ว ไป การจั ด การ สิ่งแวดล้อม การจัดการสุขภาพ ส่วนปัจจัย ที่สองนี้ บางทีอาจจะเป็นเรื่องที่หลายๆ คน มองข้าม เพราะเป็นปัจจัยทางอ้อม แต่อยาก จะบอกว่า มันจะมีน้ำหนัก และมีอิทธิพลต่อ กระบวนการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น สภาวะ เศรษฐกิ จ ของโลก สภาวะเศรษฐกิ จ ภายใน ประเทศ สภาวการณ์ของน้ำมันดิบ การระบาด ของโรคต่างๆ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงโรคใน สัตว์เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโรคระบาด ในคน อย่างเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรค อะไรก็แล้วแต่ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการ ผลิต นอกจากเรื่องของภัยแล้ง น้ำท่วม ไม่ว่า จะเป็นจุดไหนของโลกล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิด ผลกระทบต่อการผลิตได้ทั้งสิ้น และสุดท้าย ที่ถือว่าค่อนข้างสำคัญมากๆ ในโลกอนาคต นั่นก็คือ เรื่องของผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงความ ต้ อ งการของผู้ บ ริ โ ภคจะเป็ น ไปในทิ ศ ทางใด จริ ง อยู่ ใ นสมั ย ก่ อ นการผลิ ต อาจจะผลิ ต แบบ ไหนก็ ไ ด้ เพราะผู้ บ ริ โ ภคเขาจะรั บ ประทาน อย่างทีเ่ ราผลิต แต่ทกุ วันนีไ้ ม่ใช่ ทุกคนสามารถ บอกถึ ง ความต้ อ งการ กล่ า วคื อ ทุ ก วั น นี้ 22 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดว่าเขาอยากจะได้แบบ ไหน และผู้ผลิตก็ต้องผลิตให้ได้ตามที่ผู้บริโภค ต้องการ ซึ่งปัจจัยทั้งสองอย่างทั้งทางตรงทาง อ้อม ถ้าใครทีเ่ กีย่ วข้องยังไม่เข้าใจ ยังทำได้ไม่ดี อนาคตน่าเป็นห่วง อย่างไรก็ดี ปัจจัยแรกอาจจะสามารถ ควบคุมได้ด้วยการจัดการและเทคโนโลยี ซึ่ง ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีมากมายที่จะเข้ามาช่วย ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพทีด่ ขี นึ้ แต่สำหรับ ปัจจัยทางอ้อมนั้น เป็นอะไรที่ค่อนข้างควบคุม ลำบาก หรือในบางกรณีอาจจะควบคุมไม่ได้ ดังนั้น จึงอยากจะบอกว่าให้เตรียมตัวให้พร้อม ตลอดเวลา ส่วนสภาวะที่เกิดขึ้นทุกวันนี้จะส่ง ผลอย่างไรต่อปริมาณ และราคาวัตถุดิบที่จะ เกิดขึ้นในปีหน้าเป็นอย่างไร หลักๆ ที่มีผล จะมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่ให้น้ำมันที่ สกัดแล้ว เราจะได้โปรตีนออกมา และกลุม่ ที่ 2 คือกลุ่มของแป้ง กลุม่ น้ำมัน (Oil seed) ซึง่ ถือเป็นกลุม่ หลักที่มีผลกระทบโดยตรง สามารถแบ่งออก เป็น 2 ตัวหลักๆ คือ ถั่วเหลือง (Soybean) และเรพซีด (Rapeseed) ซึ่งในส่วนนี้ ไทยยัง ไม่มีความสามารถมากพอในการผลิต หรือยัง ไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีค่ วร ขณะทีถ่ วั่ เหลือง มีปัญหาในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้มีผลผลิต ที่สูง ด้วยติดปัญหาเรื่องสภาวะแวดล้อม หรือ ดิน ฟ้า อากาศ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูก กล่าวคือ ถั่วเหลืองจะต้องการความยาวของ แสงในช่วงที่ออกดอกค่อนข้างยาวมาก เพื่อ ให้ ไ ด้ ด อกปริ ม าณมาก แต่ ป ระเทศไทยช่ ว ง แสงค่อนข้างจะสม่ำเสมอทั้งปีเมื่อเทียบกับของ ต่างประเทศ เมื่อถึงช่วงฤดูร้อนจะให้แสงที่


ยาวมาก ซึ่งอาจจะยาวถึง 15 ชั่วโมงเลย ทีเดียว แต่ของไทยไม่ใช่ จริงอยู่ที่อาจจะมี เทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาช่วย แต่เมื่อเทียบ ถึงความคุ้มค่าแล้ว การนำเข้าอาจจะเป็นทาง ออกที่ดีกว่า เพราะจะคุ้มค่ามากกว่า และอาจ จะได้ราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากต้นทุนต่ำกว่า การผลิตในไทย ส่วนเรพซีดนั้น ถ้าเป็นในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารสั ต ว์ อ าจจะมี ค วามคุ้ น เคย แล้ว เพราะมีการสัง่ มาใช้ในการผสมอาหารสัตว์ มานาน แต่ ถ้ า เป็ น ในส่ ว นของฟาร์ ม อาจจะ ยังไม่คุ้นหูมากนัก เพราะยังไม่มีการนำมาใช้ อย่างไรก็ดี สำหรับตัวเรพซีดนี้ ต้องถือว่าเป็น พืชน้ำมันอันดับ 2 ของโลกทีม่ กี ารปลูกกันมาก ซึ่งลักษณะของตัวเรพซีดนั้น ถูกจัดให้อยู่ใน ตระกูลเดียวกับกวางตุ้ง ก็จะมีลักษณะเป็นเม็ด กลมๆ สีดำๆ เมื่อนำมาสกัดน้ำมันออกไปแล้ว จะได้ ก ากที่ มี โ ปรตี น สู ง ประมาณ 36-38% ดังนั้น อนาคตอาจจะต้องหันมาพึ่งตัวนี้มากขึ้น ก็ได้ ซึ่งประเทศที่มีเรพซีดมากคือกลุ่มประเทศ แถบยุโรป หรือกลุ่ม EU ประเทศแคนาดา ถื อ เป็ น ประเทศอั น ดั บ 2 รองลงมาคื อ จี น เพราะจีนเป็นประเทศที่ต้องการน้ำมันเยอะ สำหรับแหล่งปลูกพืชน้ำมันนัน้ ส่วนใหญ่ จะอยู่ ท างอเมริ ก าเหนื อ ทั้ ง อเมริ ก าเหนื อ และอเมริกาใต้ พื้นที่หลักๆ ในอเมริกาเหนือ ก็คือประเทศอเมริกา ส่วนอเมริกาใต้ก็จะเป็น ทางแถบบราซิล รองลงมาคือ อาร์เจนตินา ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนี้ จะสามารถผลิตป้อนให้ได้ ตลอดทัง้ ปี เพราะถึงแม้วา่ จะอยูใ่ นทวีปเดียวกัน แต่ถูกแบ่งด้วยเส้นศูนย์สูตร กล่าวคือ อเมริกา เหนือ จะอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่อเมริกาใต้

จะอยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร ทำให้ฤดูกาลต่างกัน ดังนัน้ ฤดูกาลผลิตก็จะต่างกัน จึงทำให้มผี ลผลิต ออกมาสูต่ ลาดได้ตลอดทัง้ ปีนนั่ เอง ส่วนประเทศ อื่นๆ อาจจะมีบ้างแต่ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อย อย่างจีน อินเดีย ก็มี แต่คงไม่มีผลกระทบ ต่อโลกมาก ดังนั้นหากจะดูสถานการณ์ ควร จับตาดู 3 ประเทศทีก่ ล่าวมาไว้ให้ดี ก็จะทำให้ พอรู้ถึงสถานการณ์ว่าจะเป็นในทางทิศไหน ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มแป้ง (Grain) หรือกลุ่มทีใ่ ห้ธญ ั พืช หรือพลังงานประเภทแป้ง ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 ตัวหลักๆ ที่เป็นตัวที่จะบอก สภาวะของทั้งโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน นั่ น ก็ คื อ ตั ว ข้ า วโพด (Corn) และข้ า วสาลี (Wheat) ดังนัน้ ถ้าหากต้องการจะตามวัตถุดบิ ของทั้งโลกก็ตามแค่ 4 ตัวนี้ คือ ถั่วเหลือง เรพซีด ข้าวโพด และข้าวสาลี ก็จะทำให้พอรู้ สถานการณ์ในปีหน้าของโลกว่าจะเป็นอย่างไร แล้วนำมาประมวลของไทยว่าจะเป็นยังงัย ก็ จะทำให้ เ ราสามารถเตรี ย มได้ ทั น ว่ า จะไปใน ทิศทางไหน สำหรับในกลุ่มแป้ง ในส่วนของข้าวโพด ประเทศที่ปลูกมากก็คงหนีไม่พ้นอเมริกาที่ถือ ว่าเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ จีน รองจากจีน คือ บราซิล ส่วนไทยมีปลูกบ้าง แต่ไม่มาก ถึงแม้ว่าปีนี้อาจจะดูว่ามีปริมาณ ลดลงเล็กน้อย แต่ก็คิดว่าไม่มีผลกระทบอะไร มาก ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากผลผลิ ต ส่ ว นหนึ่ ง จากที่ เคยนำไปผลิตเอทานอล เพราะราคาน้ำมันดิบ ในช่วงก่อนหน้านี้มีราคาแพงมาก เมื่อเทียบ กับตอนนี้ ราคาน้ำมันดิบลดลงมาครึง่ หนึง่ ของ ราคาในช่วงก่อน ดังนั้น การนำเข้าข้าวโพด ไปเปลี่ยนเป็นเอทานอลจึงไม่คุ้มค่ากับการผลิต ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

23


ทำให้ส่วนที่เหลือจากตรงนั้นสามารถทดแทน ในส่ ว นที่ ก ารผลิ ต หายไป ดั ง นั้ น ก็ เ ท่ า กั บ ว่ า ไม่ มี ผ ลกระทบอะไรหากจะลดการผลิ ต ลง ส่วนข้าวสาลีนั้น คิดว่ายังคงไม่มีปัญหาอะไร ข้าวสาลี ก็ถอื เป็นพืชทีส่ ำคัญต่อการผลิต อาหารสัตว์อีกเช่นกัน เมื่อก่อนเราอาจจะยังไม่ รู้จัก เพราะส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการผลิต บะหมี่ (มาม่า) แต่ตอนนีไ้ ด้กลายมาเป็นอาหาร สัตว์แล้ว เพียงแต่ระดับฟาร์มอาจจะยังไม่คนุ้ เคย ดังนั้น จึงอยากให้รู้จัก และหัดใช้กันมากขึ้น สาเหตุทตี่ อ้ งกล่าวเช่นนีก้ เ็ พราะอยากให้เกิดการ ยอมรับว่าเราจะมารอวัตถุดบิ ตัวใดตัวหนึง่ เพียง อย่างเดียวไม่ได้ ถ้าวันหนึ่งมันขาดแคลน เรา ก็ต้องหาวัตถุดิบตัวใหม่เข้ามาทดแทน สำหรั บ ข้ า วสาลี จะปลู ก มากในทาง ประเทศอียู จีน ซึ่งเราเองก็มีการนำเข้ามา เยอะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยนำเข้ามาใช้ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพียงแต่ในระดับ ฟาร์มเรายังไม่รจู้ กั มัน อาจจะด้วยเงือ่ นไขในการ นำเข้ามายาก เพราะจะต้องรวมกันไปซื้อ ซึ่ง ก็ต้องอาศัยโบรกเกอร์เข้ามาช่วย ที่ผ่านมา เราสั่งจากออสเตรเลีย ยูเครน ล่าสุด ต้นปี มี สั่ ง มาจากบราซิ ล เดนมาร์ ก ก็ มี ทั้ ง นี้ ก็ แล้วแต่ว่าโบรกเกอร์จะไปซื้อจากที่ไหนมา 24 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กลุม่ รอง หรือกลุม่ ทีม่ ผี ลทางอ้อม หรือ เป็นปัจจัยทางอ้อม สำหรับปัจจัยทางอ้อมก็มี หลายปัจจัยเข้ามาเกีย่ วข้อง เช่น ปัจจัยวัตถุดบิ ตัวอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับราคาวัตถุดิบอาหาร สัตว์ เช่น ปาล์ม ซึง่ ไทยถือเป็นอีกหนึง่ ประเทศ ทีม่ กี ารผลิตปาล์มเยอะ ปาล์มทีผ่ ลิตได้สว่ นใหญ่ ก็จะมาแปรรูปเป็นน้ำมัน ดังนัน้ หากมีการผลิต กันมาก และถ้าเป็นไปตามกลไกตลาดราคา น้ำมันก็น่าจะถูก ก็จะไปเชื่อมโยงกับถั่วเหลือง คื อ ไปตี ร าคากั บ น้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ ง เมื่ อ ราคา น้ำมันถูก กากถั่วก็อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ ที่ผ่านมา ภาครัฐหนุนราคาน้ำมันปาล์ม ทำให้ ราคาน้ำมันปาล์มไม่ตก ส่งผลทำให้ราคาน้ำมัน ถั่วเหลืองสามารถขายได้ในราคาปกติ จึงส่ง ผลดี ต่ อ เกษตรกร หรื อ ผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ เพราะเมื่อเขาได้ราคาน้ำมันดี กากถั่วเหลืองก็ สามารถขายถูกได้ จึงทำให้เกษตรกร หรือ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้กากถั่วเหลืองในราคาที่ ถูกลง ดังนั้น ถ้าหากปัจจุบัน หรืออนาคต ภาครัฐยังหนุนราคาอยู่ เกษตรกรก็คงจะได้ กากถั่วที่ถูกเช่นกัน วั ต ถุ ดิ บ อี ก ตั ว ที่ อ ยากให้ ดู นั่ น ก็ คื อ น้ำมันดิบ ซึง่ ตัวนีจ้ ะเป็นตัวเชือ่ มโยงกันทัง้ หมด ทุกส่วน ไม่ใช่แค่ส่วนของปศุสัตว์เท่านั้น จะ เห็นว่าปัจจุบนั ราคาน้ำมันลดลงอย่างเห็นได้ชดั ส่ ง ผลทำให้ เ ศรษฐกิ จ ทั่ ว โลกในตอนนี้ อ ยู่ ใ น ระดับที่แย่ นั่นก็หมายถึง ระดับความต้องการ ก็ จ ะลดลง เพราะไม่ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในฐานเศรษฐกิจ สำหรับสถานการณ์ของไทย ต้องขอบอก ว่าในกลุม่ พลังงาน (แป้ง) อาจจะมีปญ ั หา เพราะ มีการผลิตน้อยลงสำหรับในกลุ่มข้าวโพด ส่วน


มั น สำปะหลั ง ถึ ง แม้ ว่ า จะใช้ น้ ำ น้ อ ย แต่ ด้ ว ย ปั ญ หาภั ย แล้ ง ก็ ท ำให้ เ กิ ด โรคระบาดอย่ า ง เพลีย้ แป้งเข้ามา บวกกับกลุม่ ทีน่ ำไปใช้ประโยชน์ ไม่ได้มีแค่กลุ่มผลิตอาหารสัตว์เพียงกลุ่มเดียว แต่ยังมีกลุ่มที่นำไปผลิตแป้งมันสำปะหลัง และ กลุ่มที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการส่งออก ถึงแม้ว่าจะมี การขยายพื้นที่ในการปลูก แต่คาดว่า ตลาด ข้างหน้าคงเกิดการแย่งกัน ซึ่งอาจจะส่งผลถึง ราคาทีส่ งู ขึน้ ได้ กล่าวคือ อาจจมีพนื้ ทีก่ ารปลูก มากก็จริง แต่อาจจะไม่ได้ราคาดี หรือราคา ตามที่ ก ำหนดไว้ และอาจจะไม่ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ที่ มาใช้ในการเกษตรมากก็ได้ สรุปก็คือ ปีที่จะ ถึงนี้ อาหารสัตว์ถอื ว่ากลุม่ แป้งมีปญ ั หาแน่นอน เพราะข้าวโพดผลิตน้อยลง ข้าวก็คงผลิตได้ ไม่มาก มันสำปะหลังก็คงมีปัญหา อี ก หนึ่ ง ปั จ จั ย ที่ จ ะเข้ า มามี ผ ลกระทบ ก็คือเรื่องโลกร้อน ซึ่งผลจากการเกิดโลกร้อน นั้น ที่เห็นเด่นชัดตอนนี้ก็คือ การเกิดปัญหาใน เรือ่ งของสภาพสิง่ แวดล้อม อากาศเปลีย่ นแปลง ทำให้ฤดูการผลิตเปลีย่ นไป เราไม่รวู้ า่ จะเริม่ การ เพาะปลูกตอนไหน ไม่สามารถคาดการณ์ว่า จะปลูกได้เมือ่ ไร เพราะถึงเวลาแล้วยังปลูกไม่ได้ ทำให้คาดการณ์ หรือคาดคะเนถึงวัตถุดบิ ไม่ได้ เช่นเดียวกับเรื่องของน้ำที่หลายคนอาจจะดีใจ ที่ฝนตกแล้ว แต่ฝนที่ตกมานั้น ส่วนใหญ่ไหล ออกไปหมด มันไม่ได้มาลงที่เขื่อน มีเพียงส่วน น้อยเท่านั้น ดังนั้น ผลกระทบก็จะไปเกิดอีก ในปีหน้า ซึ่งเราก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ ด้วย

อย่างไรก็ดี ในเมือ่ แหล่งพลังงานมีปญ ั หา ฉะนั้น ถ้าเปลี่ยนมาเป็นพลังงานในกลุ่มน้ำมัน ใช้ น้ ำ เพิ่ ม อี ก นิ ด หนึ่ ง อาจจะทำให้ ผ ลผลิ ต มี ต้นทุนที่ไม่สูงมาก หรือบางครั้งบางทีเราอาจ จะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และการ เกิดการยอมรับใหม่ๆ เช่น ต่อไปคนไทยอาจ จะไม่กินข้าวเจ้าก็ได้ อาจจะต้องเปลี่ยนไปกิน ข้าวสาลีแทน เพราะข้าวสาลีใช้น้ำน้อยกว่า ข้ า วเจ้ า เช่ น เดี ย วกั บ อาหารสั ต ว์ ที่ เ คยใช้ ข้าวโพดเป็นอาหารหลักในการเลี้ยงสัตว์ อาจ จะต้องเปลี่ยนเป็นข้าวฟ่าง เพราะข้าวฟ่างใช้ น้ำน้อยกว่าข้าวโพด “สุดท้ายนี้ อยากจะบอกว่าต้องเตรียม ตัวให้ดี บริหารจัดการให้เหมาะสม ใช้ความ รู้ และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะความรู้ตอนนี้ไปไกลมากแล้ว ข้อมูล ต่างๆ หาได้งา่ ยขึน้ ดังนัน้ การนำเทคโนโลยี และความรู้ ที่ มี ม าประยุ ก ต์ แ ละปรั บ ใช้ ใ ห้ เหมาะสมมากที่สุด เพื่อทำให้อาหารของเรา มันโตมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ประหยัด และ มี ร ายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น อยู่ ที่ ว่ า เทคโนโลยี ใ หม่ ๆ ทุกวันนี้ที่ออกมา เราพร้อมใช้หรือยัง และ ต้องพร้อมใช้อย่างชาญฉลาดด้วย ไม่ใช่ใช้ แบบไม่คดิ อะไร แต่ใช้แล้วต้องสามารถดึงเอา จุดดี จุดแข็งของมันออกมา นีค่ อื สิง่ ทีม่ นั ควร จะเป็นไป สำหรับยุทธศาสตร์อาหารของเรา ในปีนี้รวมถึงปีหน้า” ผศ.เสกสม กล่าวแนะนำ ในตอนท้ายสัมมนา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

25


Food Feed Fuel

สถานการณ์ 1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน)

ถั่วเหลือง ปี 54/55

ปี 55/56

ปี 56/57

ปี 57/58

1.1 ผลผลิตพืชน้ำมันโลก 1.2 ผลผลิตถั่วเหลือง 1.2.1 โลก

447.650

475.860

506.060

537.220

240.427

268.824

283.145

319.366

1.2.2 ไทย - ถั่วฤดูแล้ง - ถั่วฤดูฝน 1.3 ความต้องการใช้

0.096 0.065 0.031

0.064 0.045 0.019

0.053 0.033 0.020

0.052 0.033 0.019

258.630

261.680

275.250

298.280

2.132 12.50 ปี 54

2.204 13.57 ปี 55

1.743 14.41 ปี 56

1.951 15.04 ปี 57

1.3.1 โลก 1.3.2 ไทย 1.4 ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) 1.5 นำเข้า 1.6 ส่งออก ไทยนำเข้าจาก ไทยส่งออกไป 2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 เกษตรกรขายได้ (คละ) 2.2 ขายส่ง กทม. - เกรดแปรรูปอาหาร - เกรดผลิตอาหารสัตว์ - เกรดสกัดน้ำมัน 2.3 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 58/59 (ก.ย. 58)

527.170 319.612

(ประมาณการ)

0.052 0.033 0.019

(ก.ย. 58)

310.100

(ประมาณการ)

2.152 15.22 ปี 58

(ม.ค.-ส.ค. 58)

1.994 2.120 1.679 1.898 1.688 0.0026 0.0019 0.0020 0.0116 0.0073 บราซิล 64% สหรัฐอเมริกา 26% อาร์เจนตินา 4% แคนาดา 2% กัมพูชา 1% ไนจีเรีย 89% เวียดนาม 4% ลาว 3% มัลดิฟส์ 3% ปี 54 ปี 55 ปี 56 ปี 57 ส.ค. 58 15.30 16.79 18.33 14.36 21.95 20.36 16.17

23.83 22.61 18.24

24.42 23.35 19.43

23.81 22.60 19.30

19.15 18.15 16.50

14.69 484.03

16.79 537.80

15.95 517.33

14.93 457.77

12.34 346.99

ที่มา : 1.1, 1.2.1, 1.3.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ 1.2.2, 1.3.2, 1.4 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1.5-1.6 กรมศุลกากร 2.1 สศก. 2.2 กรมการค้าภายใน 2.3 www.cmegroup.com

26 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


1. สถานการณ์ ปี 2558 1.1 ในเดือนกันยายน ถั่วเหลืองฤดูฝนเริ่มออกสู่ตลาดใน ราคาเกษตรกรขายได้ชนิดคละ เฉลี่ย ก.ย. 58 กก. ละ 15.44 บาท ส่วนราคาขายส่งตลาด กทม. เกรดแปรรูปอาหาร และเกรดอาหารสัตว์ ที่โน้มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้มีอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 58 ผูป้ ระกอบการนำเข้าเมล็ดถัว่ เหลืองปริมาณ 1,687,520 ตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 43.61 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกเฉลี่ย ก.ย. 58 ลดลง จากเดือนก่อน เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของต้ น ถั่ ว เหลื อ ง ทำให้ ค าดว่ า ปริ ม าณผลผลิ ต จะมี ม ากขึ้ น กว่ า ที่ คาดการณ์ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 1.2 แนวโน้ม คาดว่าปริมาณผลผลิตของไทยยังคงโน้มลด น้อยลง เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูกพืชอื่นที่ดูแลง่ายกว่า โดยผู้ ประกอบการนำเข้าจากตลาดโลกในปริมาณมากขึน้ เพือ่ ให้เพียงพอกับ ความต้องการใช้ในประเทศและตลาดโลกขณะนี้เป็นช่วงเพาะปลูก สภาพอากาศมีผลต่อปริมาณผลผลิตที่จะออกในฤดูกาลใหม่ กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

27


ราคาเมล็ดถั่วเหลือง

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 1. ราคาที่เกษตรกรขายได้ เมล็ดถั่วเหลืองชนิดคละ 2553 15.00 - 13.65 14.06 - 14.90 2554 14.35 15.53 15.52 15.44 13.76 - 14.00 14.37 15.96 2555 14.85 - 14.21 15.50 17.28 - 17.50 19.85 2556 - 18.03 18.61 19.60 - 18.35 18.35 17.52 2557 19.36 - 18.16 19.27 20.00 - 17.35 17.35 17.35 15.26 2558 - 15.52 15.62 15.46 - 15.44 2. ราคาขายส่ง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาด กทม. 2553 21.85 21.70 21.25 21.06 20.75 20.75 19.91 19.75 19.75 19.75 19.75 2554 20.16 22.50 22.50 22.50 22.50 21.64 21.55 22.00 22.00 22.00 22.00 2555 22.00 22.00 22.00 22.00 22.00 22.20 23.55 25.85 26.50 26.50 25.91 2556 24.73 24.50 24.50 24.38 24.80 24.00 24.00 24.07 24.50 24.50 24.50 2557 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.50 24.09 23.00 21.60 2558 20.50 20.50 19.79 19.89 20.50 18.77 18.50 19.15 19.50 3. ราคาขายส่ง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว์ ตลาด กทม. 2553 20.85 20.70 20.25 20.06 19.56 19.25 18.41 18.25 18.25 18.25 18.25 2554 18.63 20.75 20.75 20.75 20.75 20.11 20.05 20.50 20.50 20.50 20.50 2555 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 21.03 22.55 24.85 25.50 25.50 24.91 2556 23.73 23.50 23.50 23.38 23.00 23.00 23.00 23.07 23.50 23.50 23.50 2557 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.50 23.09 21.50 19.60 2558 18.50 18.50 17.79 17.89 18.50 17.64 17.50 18.15 18.50 4. ราคาขายส่ง เมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน้ำมัน ความชื้น 13.0% ตลาด กทม. 2553 16.23 15.79 15.00 14.85 14.85 14.85 14.85 14.98 15.02 15.26 15.78 2554 16.25 16.25 16.25 16.25 16.25 16.21 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 2555 16.26 16.35 16.49 16.85 16.85 17.05 17.97 20.08 20.55 20.55 20.25 2556 19.65 19.33 18.96 19.03 18.65 18.65 19.20 20.15 20.48 19.81 19.65 2557 19.65 19.65 19.65 19.72 20.95 20.95 20.85 20.65 18.67 17.51 16.66 2558 16.53 16.49 16.36 16.49 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 5. ราคาขายปลีก น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ขนาดบรรจุขวด 1 ลิตร ตลาด กทม. (บาท/ขวด) 2553 44.59 44.75 44.75 44.75 44.75 44.75 44.12 44.00 44.00 44.00 44.00 2554 45.50 45.50 45.50 53.32 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2555 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2556 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2557 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 55.00 2558 55.00 55.00 55.00 55.00 48.42 47.77 47.24 46.41 47.58

28 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

หน่วย : บาท/กก.

ธ.ค.

เฉลี่ย

14.51 15.60 18.35 17.85 13.85

13.98 15.30 16.79 18.33 15.80 15.51

19.75 22.00 25.50 24.50 21.00

20.50 21.95 23.83 24.42 23.81 19.68

18.25 20.50 24.50 23.50 19.00

19.19 20.36 22.61 23.35 22.60 18.11

16.25 16.10 19.65 19.65 16.63

15.31 16.17 18.24 19.43 19.30 16.49

44.55 55.00 55.00 55.00 55.00

44.42 52.49 55.00 55.00 55.00 50.82






ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 6. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2553 11.91 11.47 11.40 11.58 11.35 11.37 2554 15.72 14.30 15.21 15.16 15.14 15.34 2555 14.00 14.23 15.30 16.44 16.36 16.61 2556 15.90 16.08 15.90 15.13 16.20 17.37 2557 15.75 16.29 16.98 17.77 17.81 17.24 2558 12.09 11.93 11.78 11.66 11.79 12.02 7. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2553 358.82 344.63 348.62 357.31 349.02 348.54 2554 511.65 512.81 498.70 501.43 498.73 500.68 2555 441.70 461.16 496.25 529.56 521.09 522.30 2556 526.00 536.67 536.04 517.75 541.92 560.12 2557 476.07 496.76 521.96 547.15 545.91 527.96 2558 367.46 364.70 359.58 356.89 351.92 354.79

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

12.02 12.32 12.03 15.17 14.96 14.93 19.38 19.67 19.15 17.14 15.80 16.08 14.93 13.93 11.92 12.83 12.34 11.69 (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 370.14 380.17 388.45 501.79 498.44 488.20 609.41 622.88 615.19 548.31 498.01 505.03 463.19 432.94 368.81 372.29 346.99 323.51

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

12.86 13.86 17.44 14.82 11.55

13.80 13.32 16.44 15.13 12.49

14.56 13.15 16.48 15.87 12.52

12.22 14.69 16.79 15.95 14.93 12.01

427.15 447.14 565.66 472.80 354.41

460.09 428.76 532.99 476.63 379.32

481.40 420.01 535.36 488.63 378.75

384.53 484.03 537.80 517.33 457.77 355.35

ที่มา : 1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเฉลี่ยทั้งปีแบบถ่วงน้ำหนักจำนวนผลผลิต, 2-5 กรมการค้าภายใน, 6-7 Chicago Board of Trade

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกเมล็ดถั่วเหลือง ม.ค. ก.พ. ปริมาณนำเข้า 2553 12,758 91,672 2554 155,753 166,595 2555 206,305 34,126 2556 107,117 44,655 2557 120,990 112,297 2558 128,352 148,493 ปริมาณส่งออก 2553 44 70 2554 52 249 2555 198 213 2556 93 215 2557 187 49 2558 3,344.06 143.87

หน่วย : ตัน

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

รวม

109,170 159,527 220,894 21,663 187,768 154,784

208,321 143,542 230,559 212,474 173,079 289,615

78,012 268,381 97,966 152,174 235,295 247,945

156,384 193,807 225,911 175,330 104,481 144,371

253,577 128,806 174,526 183,661 135,400 344,892

165,790 179,778 118,267 158,525 105,794 229,067

242,637 121,053 154,393 120,304 203,060

141,275 153,217 178,088 78,920 161,897

192,441 173,032 315,949 177,424 175,784

166,668 150,886 162,959 246,430 182,448

1,818,705 1,994,378 2,119,941 1,678,678 1,898,295 1,687,520

54 24 104 38 48 79 272 151 421 587 295 187 181 118 335 266 127 103 145 132 166 48 552 66 158 218 124 856 1,691 2,229 139.30 253.56 488.43 781.20 1,416 778

19 135 33 181 142

90 106 18 142 120 99 70 240 119 4,567

278 121 124 82 1,252

954 2,629 1,918 1,989 11,595 7,344

ที่มา : กรมศุลกากร : ปี 2553-54 พิกัด 12010090001 12010010000 และ 12010090090 : ปี 2555-58 พิกัด 12011009000 12019010001 และ 12019090090

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

29


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กากถั่วเหลือง

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิตโลก 1.2 ผลผลิตในประเทศ - เมล็ดในประเทศ - เมล็ดนำเข้า 1.3 ความต้องการใช้ 1.4 นำเข้า 2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ขายส่ง กทม. - กากถั่วเหลืองในประเทศ - เมล็ดในโปรตีน 44-48% - เมล็ดนำเข้าโปรตีน 42-45% - กากถั่วเหลืองนำเข้า - โปรตีน 46-48% 2.2 ตลาดต่างประเทศ - ตลาดชิคาโก (บาท/กก.) (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน)

ปี 54

ปี 55

ปี 56

ปี 57

ปี 58

180.477

181.233

189.372

204.758

1.234 0.015 1.219 3.425

1.148 0.013 1.135 3.712

1.014 0.015 0.999 3.724

1.020 0.016 1.004 4.041

2.399 ปี 55

2.815 ปี 56

2.820 ปี 57

2.888 ส.ค. 58

18.66 17.83

19.84 17.97

19.99 19.06

18.35 15.48

18.35 15.75

17.22

18.35

18.95

15.49

15.78

14.78 473.29

14.74 477.26

15.23 466.95

13.17 370.40

12.39 342.95

(ก.ย. 58)

214.216

(ประมาณการ)

1.059 0.013 1.046 4.348

(ประมาณการ)

2.900 ก.ย. 58

ที่มา : 1.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ 1.2 แบบแจ้ง 1.3 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1.4 กรมศุลกากร 2.1 กรมการค้าภายใน 2.2 www.cmegroup.com

1. สถานการณ์ ปี 2558 1.1 ในเดือนกันยายน ราคาตลาด กทม. เฉลี่ยเดือน ก.ย. 58 กากผลิตจากเมล็ดนำเข้า และกากนำเข้าสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของโรงงานอาหารสัตว์ที่มีต่อเนื่องในช่วงนี้ ส่วนกาก จากเมล็ดในประเทศทรงตัว โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 58 มีการนำเข้าแล้วปริมาณ 2,014,214 ตัน สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.68 ราคาตลาดชิคาโกเฉลี่ยเดือน ก.ย. 58 ลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นไปตามตลาด เมล็ดถัว่ เหลือง เนือ่ งจากคาดว่าปริมาณผลผลิตจะมีมากขึน้ กว่าทีค่ าดการณ์ไว้ และภาวะเศรษฐกิจ ที่ค่อนข้างชะลอตัว 30 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


1.2 แนวโน้ม คาดว่าภาวะการค้ากากถั่วเหลืองของไทย และตลาดโลกราคามีแนวโน้ม ชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ออกสู่ตลาด กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน ตุลาคม 2558

ราคากากถั่วเหลือง

หน่วย :บาท/กก.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ราคาขายส่ง กากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดในประเทศ โปรตีน 44-48% ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมัน ตลาด กทม. 2553 17.49 17.55 17.55 17.55 17.55 16.84 15.10 15.05 15.05 15.15 15.35 15.40 16.30 2554 15.40 15.40 15.40 15.40 15.40 14.37 13.43 13.43 13.43 13.43 13.43 13.43 14.33 2555 13.43 15.47 16.43 16.49 16.70 17.99 19.76 21.90 21.98 21.98 21.43 20.31 18.66 2556 20.23 20.23 20.53 20.61 20.12 19.93 19.73 19.33 19.33 19.33 19.33 19.33 19.84 2557 19.33 19.18 19.85 20.45 20.45 20.45 20.45 20.45 19.33 - 19.99 2558 18.63 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.38 2. ราคาขายส่ง กากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดนำเข้า โปรตีน 42-45% ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมัน ตลาด กทม. 2553 15.90 15.08 14.69 14.53 14.27 13.36 12.93 13.79 13.82 14.08 14.43 13.44 14.19 2554 13.58 13.85 13.32 12.53 12.30 11.91 13.00 14.21 14.31 14.10 14.00 13.38 13.37 2555 13.65 14.73 15.51 15.90 15.94 16.07 18.67 21.50 21.81 21.09 20.25 18.82 17.83 2556 17.87 17.61 18.82 19.33 18.01 17.20 17.00 16.67 17.37 17.74 18.69 19.28 17.97 2557 19.40 18.93 19.53 20.13 19.97 19.73 19.48 19.23 18.66 18.16 18.08 17.40 19.06 2558 17.20 17.47 16.38 15.88 15.05 14.86 14.39 15.48 15.75 15.83 3. ราคาขายส่ง กากถั่วเหลืองนำเข้าจากต่างประเทศ โปรตีน 46-48% ณ โกดังผู้นำเข้า ตลาด กทม. 2553 15.90 15.01 14.63 14.60 14.60 13.31 12.52 13.86 13.51 13.97 14.32 13.60 14.15 2554 13.80 14.08 13.62 12.63 11.97 11.50 11.50 11.50 12.14 13.90 13.90 13.22 12.81 2555 12.90 14.15 14.15 14.15 14.15 15.28 17.16 21.30 21.93 21.32 20.66 19.45 17.22 2556 19.10 19.10 19.34 19.75 18.36 17.17 16.85 16.52 17.71 18.29 18.60 19.42 18.35 2557 19.53 19.04 19.50 20.05 19.90 19.65 19.41 19.15 18.45 17.65 17.56 17.55 18.95 2558 17.29 17.17 16.45 16.10 14.54 14.43 13.94 15.49 15.78 15.69 4. ราคา CIF กากถั่วเหลืองนำเข้าจากต่างประเทศ 2553 14.73 14.90 14.41 13.65 12.94 11.91 11.88 12.66 12.06 11.62 12.20 13.20 12.91 2554 13.31 13.80 15.06 14.86 13.83 14.05 14.33 13.79 13.59 14.17 13.82 13.07 13.95 2555 13.15 12.98 12.35 12.65 12.74 13.20 14.53 15.48 15.91 17.97 18.57 18.71 15.00 2556 18.11 17.99 18.23 17.20 15.24 15.40 15.47 16.55 17.37 17.91 17.32 17.71 16.84 2557 18.67 19.36 18.94 19.61 19.42 19.10 19.40 19.59 18.84 18.54 17.00 17.46 18.83 2558 17.00 16.84 16.01 15.58 15.24 15.01 14.61 14.75 15.63



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

31




ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 5. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง 2553 10.83 10.11 9.54 9.97 2554 12.68 11.45 12.01 11.72 2555 11.02 11.25 12.49 13.67 2556 13.80 14.06 13.91 13.04 2557 15.66 16.37 16.48 17.33 2558 12.47 12.24 11.95 11.42 6. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง 2553 326.27 303.60 291.71 307.39 2554 412.60 410.79 393.92 387.87 2555 347.57 364.49 405.23 440.43 2556 456.81 469.15 468.97 446.36 2557 473.37 499.18 506.69 533.63 2558 379.04 374.25 364.86 349.71

พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ตลาดชิคาโก 9.95 10.24 10.87 10.99 10.34 11.79 12.03 11.77 11.74 11.62 14.43 14.75 17.57 18.49 17.42 14.19 15.62 16.52 14.95 15.61 17.72 16.96 14.54 14.40 13.22 11.41 11.99 13.61 13.17 12.39 ตลาดชิคาโก (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 305.73 314.09 334.72 339.33 334.05 388.25 392.74 389.28 391.31 380.20 459.58 463.70 552.53 585.75 559.67 474.60 503.56 528.33 470.98 490.19 543.20 519.27 451.02 447.82 409.10 340.47 353.90 394.90 370.40 342.95

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

10.65 10.82 16.00 14.45 12.34

11.28 10.23 15.14 14.64 13.94

11.67 10.04 15.10 16.12 13.82

10.54 11.49 14.78 14.74 15.23 12.29

353.74 349.05 519.03 460.82 378.82

376.18 329.09 490.83 461.06 423.25

385.71 320.68 490.64 496.25 418.08

331.04 378.82 473.29 477.26 466.95 363.39

ที่มา : 1-3 กรมการค้าภายใน 4 กรมศุลกากร 5-6 Chicago Board of Trade

ปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลือง 2553 2554 2555 2556 2557 2558

ม.ค. 213,825 146,684 158,047 408,982 300,017 334,956

ก.พ. 213,513 252,806 257,407 111,011 192,330 155,171

มี.ค. 149,932 145,642 279,867 103,198 264,309 134,282

เม.ย. 202,585 178,767 92,488 160,108 171,348 288,818

พ.ค. 138,459 109,997 362,893 422,162 309,139 316,874

มิ.ย. 278,487 225,293 136,408 315,033 126,354 253,597

หน่วย : ตัน

ก.ค. 318,845 190,362 331,083 181,605 240,352 289,297

ส.ค. 191,223 158,504 317,342 291,258 232,571 241,220

ก.ย. 216,001 276,311 81,927 304,148 385,673

ต.ค. 292,708 282,580 209,086 192,361 237,304

พ.ย. 97,417 239,963 345,827 94,557 259,811

ธ.ค. 302,572 191,734 242,541 236,010 168,802

ที่มา : กรมศุลกากร   : ปี 2553-54 พิกัด 23040000000   : ปี 2555-58 พิกัด 23040090000

32 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

รวม 2,615,567 2,398,644 2,814,917 2,820,433 2,888,009 2,014,214



» ¶ ° ° µ¦­¦oµ ¢µ¦r¤ ¨³ ¨· °µ®µ¦­´ ªr

by


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ปลาป่น

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5

ปี 2554

ผลผลิตโลก ผลผลิตในประเทศ ความต้องการใช้ นำเข้า ส่งออก

4.180 0.503 0.638 0.016 0.074

* = ประมาณการ

2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ปลาเป็ด - ดี (สด) - รอง (ไม่สด) 2.2 ปลาป่น กทม. เกรดกุ้ง โปรตีน 60% ขึ้นไป กลิ่นเบอร์ 1 โปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 1 กลิ่นเบอร์ 2 กลิ่นเบอร์ 3 2.3 ปลาป่นต่างประเทศโปรตีน 60% - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 2555 4.370 0.493 0.615 0.018 0.063

ปี 2556

ปี 2557* ปี 2558* (ก.ย. 58)

4.140 0.497 0.579 0.008 0.126

4.290 0.478 0.646 0.021 0.172

4.250 0.420 0.701 0.030 0.180

ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 7.38 7.90 7.90 5.76 5.67 5.47

ส.ค. 58 8.36 6.46

ก.ย. 58 8.74 6.69

33.63 33.13 32.43 30.64 29.07

34.93 32.93 32.17 26.93 24.64

35.61 33.55 31.66 29.26 26.24

38.00 36.70 36.70 34.70 26.80

41.55 40.25 40.25 38.25 26.80

40.53 1,408

43.52 1,553

50.04 1,694

44.65 1,360

47.24 1,416

ที่มา : 1.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ 1.2 สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 1.3 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1.4-1.5 กรมศุลกากร 2.1 สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 2.2 กรมการค้าภายใน 2.3 http://hammersmithltd.blogspot.com/

1. สถานการณ์ ปี 2558

1.1 ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบราคากับเดือนก่อน ปลาเป็ดและปลาป่นสูงขึ้น เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดน้อยลง ในขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงานอาหารสัตว์มีอย่าง สม่ำเสมอ โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค. 58 มีการนำเข้าปลาป่นแล้ว 15,091 ตัน สูงขึน้ จากปีกอ่ นร้อยละ 84.78 และส่งออกแล้ว 114,242 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.24 ราคาตลาดเปรูเฉลี่ยเดือน ก.ย. 58 สูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ ของจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ มีคำสั่งซื้อเพื่อเก็บสต็อกสินค้ามากขึ้น 1.2 แนวโน้ม คาดว่าราคาปลาป่นในประเทศจะสูงขึ้น เนื่องจากเรือออกจับปลาลดลง ส่วนตลาดต่างประเทศแนวโน้มชะลอตัว กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน  ตุลาคม 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

33


ราคาปลาเป็ด และปลาป่น ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 1. ราคาปลาเป็ด (ดี/สด) 2553 7.30 7.70 7.95 8.17 2554 6.08 6.45 8.01 7.65 2555 6.40 6.56 7.05 7.45 2556 7.71 7.90 8.04 8.12 2557 7.00 7.51 7.69 7.87 2558 9.27 9.22 9.70 9.81 2. ราคาปลาเป็ด (รอง/ไม่สด) 2553 6.12 6.36 6.46 6.79 2554 4.55 4.77 6.13 6.22 2555 5.19 5.30 5.71 5.94 2556 5.89 5.92 5.92 5.91 2557 4.95 5.38 5.49 5.59 2558 6.18 6.26 6.44 6.48 3. ราคาขายส่ง ปลาป่นโปรตีน 60% 2553 33.46 34.30 34.81 36.46 2554 25.10 28.89 37.93 31.69 2555 27.68 28.90 32.17 33.44 2556 35.78 34.60 34.60 34.10 2557 26.74 31.74 32.35 34.99 2558 43.55 44.70 45.27 44.31 4. ราคาขายส่ง ปลาป่นโปรตีน 60% 2553 32.76 33.60 34.11 35.76 2554 24.40 28.19 37.23 30.99 2555 26.98 28.20 31.47 32.74 2556 35.08 33.90 33.90 33.40 2557 26.54 31.54 32.15 34.65 2558 39.70 40.65 42.18 42.81 5. ราคาขายส่ง ปลาป่นโปรตีน 60% 2553 32.46 33.30 33.81 35.46 2554 24.10 27.89 36.93 30.69 2555 26.68 27.90 31.17 32.44 2556 30.60 28.80 28.57 27.00 2557 25.43 28.94 29.15 31.69 2558 33.70 35.65 39.80 40.81

34 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

หน่วย : บาท/กก.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

7.51 7.06 7.23 7.81 7.44 8.27

6.59 7.54 7.09 7.52 7.46 7.95

7.03 7.30 7.20 7.98 7.65 8.17

7.40 7.16 8.13 8.46 7.92 8.36

7.22 7.23 8.25 8.31 8.04 8.74

6.68 6.65 7.68 8.18 8.59

5.96 6.51 7.78 7.62 8.68

6.14 6.38 7.77 7.09 8.98

7.14 7.00 7.38 7.90 7.90 8.83

5.32 5.55 5.77 5.65 5.87 5.81 5.91 5.82 5.45 5.61 6.20 6.24 5.43 5.63 5.80 5.71 5.31 5.28 5.30 5.50 6.07 5.91 6.46 6.69 กลิ่นเบอร์ 1 ตลาด กทม. 28.34 28.93 30.83 29.88 31.42 32.44 32.65 31.42 29.45 31.40 36.65 38.85 29.23 33.55 35.86 34.30 29.94 29.70 29.70 36.52 36.70 36.89 36.70 40.25 กลิ่นเบอร์ 1 ตลาด กทม. 27.64 28.23 30.13 29.18 30.72 31.74 31.95 30.72 28.75 30.70 35.95 38.15 28.53 32.85 35.16 33.60 29.94 29.70 29.70 29.70 36.70 36.89 36.70 40.25 กลิ่นเบอร์ 2 ตลาด กทม. 27.34 27.93 29.83 28.88 30.42 31.44 31.65 30.42 28.45 30.35 34.90 32.48 22.93 27.64 29.05 26.53 28.02 28.50 28.50 28.50 34.18 34.89 34.70 38.25

5.19 5.42 5.88 5.73 5.76

4.41 5.27 6.00 5.38 5.84

4.44 5.20 5.96 5.01 5.93

5.69 5.58 5.76 5.67 5.47 6.30

27.92 28.97 35.84 34.00 39.70

25.35 28.55 36.62 30.46 39.70

25.66 27.60 36.27 26.95 40.38

30.69 30.73 33.13 32.93 33.55 40.67

27.22 28.27 35.14 33.30 29.70

24.65 27.85 35.92 29.31 36.25

24.96 26.90 35.57 26.02 38.93

29.99 30.03 32.43 32.17 31.66 39.29

26.92 27.97 29.40 28.18 28.50

24.35 27.55 31.80 25.31 32.28

24.66 26.60 32.80 23.67 33.70

29.69 29.73 30.64 26.93 29.26 36.36

6.22 5.95 5.58 5.69 5.31 6.24 ขึ้นไป 32.36 32.10 30.30 31.68 31.09 37.70 ลงมา 31.66 31.40 29.60 30.98 31.09 37.70 ลงมา 31.36 31.10 29.30 24.93 27.86 35.23

เฉลี่ย






ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 6. ราคาขายส่ง ปลาป่นโปรตีน 60% 2553 31.46 32.30 32.81 34.46 2554 20.60 24.86 34.43 28.10 2555 25.23 26.90 30.17 31.42 2556 27.00 25.20 25.20 24.70 2557 23.16 25.64 26.25 27.48 2558 26.80 26.80 26.80 26.80 7. ราคาปลาป่นโปรตีน 60% F.O.B. 2553 40.80 49.31 49.75 55.18 2554 42.09 48.79 42.82 37.41 2555 31.32 31.59 32.41 35.78 2556 51.54 45.83 45.44 45.45 2557 41.55 42.83 43.69 44.90 2558 62.41 59.31 54.21 51.55 8. ราคาปลาป่นโปรตีน 65% F.O.B. 2553 1,599 1,605 1,649 1,844 2554 1,483 1,712 1,520 1,342 2555 1,070 1,109 1,139 1,249 2556 1,849 1,750 1,660 1,686 2557 1,361 1,415 1,455 1,498 2558 2,056 1,964 1,791 1,710

พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ลงมา กลิ่นเบอร์ 3 ตลาด กทม. 30.36 26.34 26.93 28.41 26.24 27.10 26.42 27.44 28.80 27.92 28.00 27.15 29.05 33.35 31.03 23.63 21.33 24.58 27.45 25.68 25.47 26.09 26.80 26.80 26.80 26.80 26.80 26.80 26.80 26.80 ตลาดเปรู 46.90 47.09 42.29 41.37 41.16 35.46 35.73 34.04 32.50 31.84 39.98 42.85 44.10 45.44 41.42 46.79 47.05 40.31 41.95 39.30 45.94 52.70 52.43 52.08 51.60 48.63 45.54 42.69 44.65 47.24 ตลาดเปรู (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 1,774 1,564 1,411 1,384 1,440 1,265 1,263 1,219 1,173 1,130 1,390 1,460 1,502 1,560 1,441 1,782 1,645 1,463 1,432 1,336 1,524 1,748 1,761 1,755 1,730 1,569 1,456 1,345 1,360 1,416

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

23.39 25.47 28.10 24.48 26.80

20.85 25.10 29.25 23.59 26.80

21.16 25.10 29.20 22.80 26.80

27.89 26.78 29.07 24.64 26.24 26.80

39.61 32.90 39.44 38.16 55.86

36.38 34.15 49.43 40.45 57.99

36.54 31.99 52.58 39.98 58.91

43.87 36.64 40.53 43.52 50.04 50.69

1,425 1,148 1,385 1,318 1,857

1,313 1,190 1,736 1,380 2,099

1,308 1,106 1,851 1,334 2,125

1,526 1,296 1,408 1,553 1,694 1,630

ที่มา : 1, 2 สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 3, 4, 5, 6 กรมการค้าภายใน 7, 8 www.hammersmithltd.blogspot.com

ปริมาณนำเข้าและส่งออกปลาป่น ม.ค. ก.พ. ปริมาณนำเข้า 2553 972 1,027 2554 810 637 2555 1,993 812 2556 693 142 2557 468 238 2558 1,674 1,215 ปริมาณส่งออก 2553 4,612 6,712 2554 7,325 12,700 2555 1,225 2,335 2556 4,477 7,471 2557 6,892 11,429 2558 13,265 15,626

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

1,112 1,109 1,502 960 255 1,083

1,365 1,386 2,524 566 427 3,257

1,508 1,237 1,445 1,173 757 612 842 2,529 1,027 1,528 821 1,186 1,170 270 401 949 184 954 2,336 3,304 1,777 2,158 1,984 1,943

14,021 15,138 2,598 14,349 15,048 19,655

12,303 7,022 2,228 15,146 14,632 16,201

18,540 8,299 4,771 21,255 11,163 15,822

มิ.ย.

13,069 8,819 6,083 13,785 21,670 11,155

ก.ค.

12,002 3,484 5,954 14,709 21,997 12,527

ส.ค.

7,512 2,154 6,566 11,038 12,844 9,990

หน่วย : ตัน

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

รวม

1,078 1,316 1,883 245 4,038

891 1,618 1,692 1,124 5,525

472 2,061 1,754 1,222 2,438

846 1,847 1,184 260 1,223

13,125 15,525 17,907 8,002 21,391 15,091

5,886 2,536 4,051 6,008 12,326

3,590 2,969 4,601 5,740 14,144

5,737 6,820 1,520 1,592 13,013 9,758 5,988 6,001 14,933 15,059

110,806 73,559 63,184 125,967 172,138 114,242

ที่มา : กรมศุลกากร : ปี 2553-54 พิกัด 23012000001, 23012000002 , 23012000003, 23012000004 และ 23012000090 : ปี 2555-58 พิกัด 23012010000, 23012020000, 23012090001, 23012090090 และ 23011000000 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

35


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ไก่เนื้อ 2554

1. ผลผลิต ไก่มีชีวิต (ล้านตัว) ซากบริโภค (ล้านตัน) 2. ใช้ในประเทศ (ล้านตัน) 3. ส่งออก - ปริมาณ (ล้านตัน) - มูลค่า (ล้านบาท)

2555

2556

2557

2558

(ประมาณการ)

994.32 1,055.13 1,103.32 1,209.52 1,310.58 1.36 1.45 1.51 1.89 2.06 0.90 0.91 1.01 1.34 1.44 0.47 0.54 0.50 0.55 0.41 60,291 67,849 66,805 73,963 51,832

4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/กก.)

35.59

33.16

34.27

34.97

5. ราคาไก่มีชีวิต หน้าโรงฆ่า กทม. (บาท/กก.)

45.02

35.65

41.84

41.37

(ม.ค.-ส.ค. 58)

30.26

(ก.ค. 58)

37.23

(ก.ย. 58)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน

1. สรุปสถานการณ์ เดือนกันยายน 2558 ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมากกว่าความต้องการของตลาด โดยคณะกรรมการบริหาร สินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ได้ประมาณการปริมาณผลผลิตไก่เนื้อ (ม.ค.-5 ก.ย. 58) จำนวน 27.38 ล้านตัวต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.29 ด้านภาวะการค้าทรงตัว ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า ราคาขายส่ง และขายปลีกชิ้นส่วนไก่สดชำแหละปรับลงตามภาวะอุปสงค์อุปทาน ด้านการส่งออกเนื้อไก่ (ม.ค.-ส.ค. 58) ปริมาณ การส่งออกเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูป รวม 405,626 ตัน มูลค่า 51,832 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการส่งออกจำนวน 347,965 ตัน มูลค่า 47,881 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.57 และ 8.25 ตามลำดับ โดยประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (46.47%) และสหภาพยุโรป (42.20%)

36 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


2. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2558 ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์คาดว่า ผลผลิตไก่เนื้อในไตรมาส 4/2558 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 29 ล้านตัวต่อสัปดาห์ ด้านภาวะการค้าในประเทศจะชะลอตัวลงตามความต้องการใช้ที่มีปริมาณลดลง เนื่องจาก โรงเรียนปิดภาคเรียนและตรงกับเทศกาลกินเจ (13-21 ต.ค. 58) ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตุลาคม 2558

สถิติราคาขายส่ง ขายปลีก สินค้าไก่เนื้อ ปี 2552-2558 ปี 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า กทม. 35.05 34.79 31.00 32.63 38.64 38.50 44.30 45.10 42.05 38.59 46.72 41.77 45.10 47.66 47.59 52.71 55.33 50.18 39.25 35.38 26.29 31.47 39.50 39.10 42.18 36.13 38.71 45.33 46.10 45.25 44.00 44.00 39.95 39.89 41.00 41.00 38.80 35.50 35.00 35.33 36.00 36.00 ราคาขายส่ง ไก่สดทั้งตัว (รวมเครื่องใน) 45.15 46.42 41.50 42.57 48.17 48.50 55.50 57.30 53.89 48.59 57.61 54.52 57.80 59.11 59.43 65.15 67.33 63.86 54.30 51.33 43.29 47.35 53.50 53.10 53.84 48.26 51.62 58.61 60.50 59.50 56.68 59.00 55.67 51.00 51.47 54.00 53.45 47.50 47.00 47.67 49.00 49.00

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

หน่วย : บาท/กก. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย

38.50 34.85 41.13 35.50 46.00 41.00 36.00

38.55 36.50 40.68 35.00 46.86 42.95 36.45

40.68 37.14 41.36 34.00 40.02 43.68 37.23

40.62 34.65 39.50 31.27 37.00 40.91

38.14 36.59 39.50 38.73 37.00 39.00

40.50 43.05 39.50 42.28 41.50 39.00

37.30 40.11 45.02 35.65 41.84 41.37 36.26

48.50 47.60 55.79 49.98 61.00 56.86 49.00

48.50 47.88 53.36 46.00 61.00 58.53 49.60

50.57 48.14 55.32 46.00 58.52 59.00 49.61

51.31 45.50 54.50 46.41 51.68 57.27

49.71 50.50 54.50 52.86 51.00 57.00

51.00 55.70 54.50 55.11 53.50 57.00

47.66 51.89 58.39 49.94 55.75 56.12 49.09



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

37




ปี 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

ม.ค. ก.พ. ราคาขายปลีก 56.60 56.74 64.38 65.65 65.95 69.00 65.20 62.26 63.50 62.71 69.41 72.50 69.25 63.75

มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ไก่สดทั้งตัว (รวมเครื่องใน) 55.00 55.57 59.78 61.00 65.50 64.57 66.61 65.27 69.00 72.00 73.33 71.36 53.88 57.68 63.50 63.30 62.50 66.86 69.00 69.88 68.69 62.50 63.29 67.50 62.50 62.50 62.50 62.50

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค. เฉลี่ย

61.00 61.00 66.34 61.39 72.50 71.07 62.50

61.00 61.38 65.50 59.00 72.50 72.50 64.00

63.02 61.00 65.50 59.00 68.74 72.50 66.82

62.31 61.00 65.50 59.27 64.95 72.50

61.00 62.16 65.50 62.70 67.50 72.50

61.00 65.00 65.50 63.50 67.67 72.50

59.50 63.63 67.87 60.89 67.36 69.79 64.04

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

38 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


Food Feed Fuel

สถานการณ์

สุกร 2554

1. ผลผลิต (ล้านตัว) : สศก. 2. ใช้ภายในประเทศ (ล้านตัว) : สศก. 3. ส่งออกเนือ้ สุกร - ปริมาณ (ตัน) - มูลค่า (ล้านบาท) ส่งออกสุกรมีชีวิต - ปริมาณ (ตัว) - มูลค่า (ล้านบาท)

2555

2556

2557

2558

(ประมาณการ)

11.89 12.83 13.07 12.82 13.29 12.26 12.30 12.31 12.17 12.63 11,972 14,392 15,917 16,247 10,532 2,290 2,717 2,653 2,754 1,700 353,716 533,593 243,261 406,355 401,832 1,580 2,019 926 1,756 1,855 (ม.ค.-ส.ค. 58)

4. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) : สศก.

59.78

58.67

59.48

69.72

5. ราคาสุกรมีชีวิตแหล่งผลิต (บาท/กก.)

65.28

55.59

67.00

75.17

66.58

(f ก.ย. 58)

74.50

(ก.ย. 58)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน

1. สถานการณ์ เดือนกันยายน 2558 ปริมาณผลผลิตสุกรมีเพียงพอกับความต้องการของตลาด สุกรมีชวี ติ ทีอ่ อกสูต่ ลาดส่วนใหญ่ น้ำหนักอยู่ที่ 100-120 กก./ตัว ด้านภาวะการค้าโดยทั่วไปค่อนข้างชะลอตัว มีการบริโภค และใช้เนื้อสุกรน้อย เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน ประกอบกับมีอาหารในหมวดโปรตีนชนิดอื่น ที่มีราคาขายปลีกต่ำกว่า เช่น เนื้อไก่ ไข่ไก่ ให้เลือกบริโภคทดแทน รวมทั้งภาวะฝนตกชุก ทำให้ การจับจ่ายใช้สอยลดลงจากปกติ ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับลดลง จาก กก. ละ 75-76 บาท (ส.ค. 58) เป็น กก. ละ 71-72 บาท (ก.ย. 58) ช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2558 มีการส่งออกสุกรมีชีวิต จำนวน 401,832 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ กัมพูชา (78.84%) ลาว (20.40%)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

39


2. แนวโน้ม เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2558 คาดว่าปัจจัยด้านสภาพอากาศที่เย็นลงจะส่งผลต่อการเจริญ เติบโตของสุกร ทำให้สุกรโตเร็ว และออกสู่ตลาดมากขึ้น ภาวะ การค้ามีแนวโน้มทรงตัว และจะชะลอตัวลงในช่วงเทศกาล กินเจ (13-21 ต.ค. 58) ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิต หน้าฟาร์ม และราคาขายปลีกเนื้อแดงปรับลดลง ระดับหนึ่งในช่วงดังกล่าว กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตุลาคม 2558

สถิติราคาขายส่ง-ขายปลีก สุกร ปี 2551-2558 ณ เดือนกันยายน 2558 ปี 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต (ฟาร์ม) ณ แหล่งผลิต (บาท/กก.) 48.05 58.55 58.79 57.56 54.61 53.64 51.26 55.95 54.15 57.45 58.45 62.06 61.89 58.82 56.05 56.60 58.30 61.25 61.50 61.50 61.50 61.50 61.36 59.31 53.25 60.18 62.07 68.09 69.50 69.50 73.61 79.86 55.05 51.07 50.69 62.15 61.79 57.50 56.41 58.40 62.09 66.03 60.93 67.94 65.60 67.50 69.12 73.40 74.41 74.92 75.74 80.50 81.24 82.40 80.69 79.55 63.10 62.50 63.45 68.17 69.83 71.50 68.07 72.20 ราคาขายส่ง สุกรชำแหละ (ซีก) ตลาด กทม. (บาท/กก.) 57.82 70.50 70.74 69.50 65.16 64.69 62.31 66.85 64.15 67.45 68.43 71.94 71.89 69.00 66.00 66.55 69.13 71.25 71.50 71.50 71.50 71.50 71.50 70.40 62.60 70.03 71.85 78.91 81.50 81.50 84.39 90.23 67.30 64.07 63.60 74.09 72.40 69.40 68.41 70.80 73.91 78.13 73.12 79.50 76.79 78.50 80.12 84.40 85.41 85.92 86.74 91.50 92.61 94.40 92.69 91.55 75.10 74.50 75.45 80.17 81.83 83.50 80.07 84.20

40 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

53.27 56.14 55.73 70.32 54.50 68.64 73.77 74.50

55.55 53.17 52.40 59.30 49.55 67.50 66.23

53.30 55.69 53.50 55.82 56.14 67.50 66.10

43.56 57.05 52.25 61.80 53.83 67.72 66.50

53.67 57.29 58.34 65.28 55.59 67.00 75.17 68.15

63.95 66.18 66.05 83.36 67.50 79.64 85.77 86.50

65.39 63.21 61.50 70.80 62.55 78.50 78.23

63.58 66.21 62.50 68.27 67.68 78.50 78.10

62.35 68.05 61.30 74.05 66.28 78.72 78.50

65.24 67.42 68.30 76.46 67.84 78.32 86.78 80.15






ปี 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2555 2556 2557 2558

ม.ค. ก.พ. ราคาขายปลีก 90.68 115.79 109.25 114.47 115.00 118.75 105.75 116.32 119.75 112.98 129.09 134.87 145.45 148.55 129.00 127.50 ราคาขายปลีก

มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. เนื้อแดง (ตัดแต่ง) ตลาด กทม. (บาท/กก.) 117.50 113.68 110.58 106.19 105.00 110.88 112.95 121.41 123.06 116.93 110.00 110.00 115.00 115.00 115.00 115.00 115.00 115.00 116.63 131.91 134.86 130.00 137.63 150.86 106.43 122.79 123.45 117.50 115.45 119.75 124.17 131.67 130.60 132.50 134.88 142.50 150.60 162.50 162.50 162.26 157.98 155.13 127.98 136.67 140.28 142.50 138.93 141.50 เนื้อแดง (ไม่ตัดแต่ง) ตลาด กทม. (บาท/กก.) 111.00 108.55 110.88 116.41 120.74 112.76 122.33 120.38 122.00 124.76 132.50 137.32 137.84 140.60 152.50 152.50 152.26 147.98 145.13 117.90 117.00 117.43 125.25 129.61 132.50 128.93 131.50

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

111.14 110.34 110.23 137.39 112.50 135.36 145.45 146.82

111.36 105.95 105.00 120.25 106.14 132.50 134.09

106.75 109.40 105.00 118.18 117.05 132.50 132.50

105.00 112.50 105.00 125.75 113.89 133.06 132.50

108.71 113.02 112.42 127.13 115.64 132.81 149.13 136.80

104.63 95.86 107.05 104.36 106.05 125.36 122.50 122.50 123.06 122.11 134.46 122.89 123.20 124.00 139.22 136.82 126.33

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

41


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ไข่ไก่ 2554

2555

2556

2557

Egg Board 2. การใช้ภายในประเทศ (ล้านฟอง) Egg Board 3. การส่งออก - ปริมาณ (ล้านฟอง) - มูลค่า (ล้านบาท)

10,024 11,363 9,953 11,355 72 222

10,998 13,320 10,849 11,680 150 395

11,148 13,519 10,971 12,800 178 462

11,706 14,265 11,562 13,790 144 446

4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/ฟอง)

2.61

2.58

2.87

2.99

5. ราคา ไข่ไก่สดคละ (บาท/ฟอง)

2.89

2.39

3.02

2.88

1. ผลผลิต (ล้านฟอง)

2558

(ประมาณการ)

12,400 15,103 12,152 14,610 127 374

(ม.ค.-ส.ค. 58)

2.73

(f ก.ย. 58)

3.00

(ก.ย. 58)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน

1. สรุปสถานการณ์ เดือนกันยายน 2558 โดยภาพรวมผลผลิตในระบบมีเพียงพอกับความต้องการของตลาด ภาวะการค้าคล่องตัวปกติ ความต้องการใช้และบริโภคมีมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2558 ความต้องการใช้ เริ่มลดลง เนื่องจากโรงเรียนทยอยปิดภาคเรียน ทำให้ภาวะการค้าชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่งผลให้ ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับตัวลงฟองละ 0.10 บาท ด้านราคาขายปลีกในตลาดสดทั่วไป ปรับลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ด้านการส่งออกไข่ไก่ (ม.ค.-ส.ค. 58) มีการส่งออกรวม 127.44 ล้านฟอง มูลค่า 373.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการส่งออกจำนวน 80.13 ล้านฟอง มูลค่า 246.52 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.05 และ 51.54 ตามลำดับ โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง (99%) ที่เหลือส่งไปประเทศมาเลเซีย พม่า และกัมพูชา

42 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


2. มาตรการด้านการตลาด ดำเนินมาตรการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต และเชื่อมโยงผู้เลี้ยงไก่ไข่ นำผลผลิตมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อช่วยเหลือผู้เลี้ยงไก่ไข่ และลด ค่าครองชีพให้ผบู้ ริโภคตลอดเดือนกันยายน 2558 ณ บริเวณหน้ากระทรวงพาณิชย์ ทุกวันอังคาร และวันศุกร์ ซึ่งช่วยให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้จำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก ช่องทางจำหน่ายปกติประมาณ 102,600 ฟอง (รวม 12.49 ล้านฟอง ตัง้ แต่เดือน ก.ย. 57-ก.ย. 58)

3. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2558 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่ไข่ คาดว่า ปริมาณผลผลิตจะมีเพิ่มมากขึ้นจากปกติเล็กน้อย ด้านภาวะการค้าชะลอตัวตาม ความต้องการใช้ และบริโภคที่ลดลง เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียนและตรงกับ เทศกาลกินเจ (13-21 ต.ค. 58) ซึง่ อาจส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับตัวลง ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ความต้องการใช้จะมีมาก ตามปกติ ภาวะการค้าจะคล่องตัวขึ้นตามภาวะอุปสงค์อุปทาน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

43


สถิติราคาขายส่ง-ขายปลีก ไข่ไก่ ปี 2552-2558 ปี 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ราคาขายส่ง ไข่ไก่สด คละ ณ แหล่งผลิต (บาท/ฟอง) 1.84 1.90 2.09 2.42 2.36 2.38 2.46 2.60 2.08 2.51 2.38 2.42 2.58 2.76 2.79 2.70 2.65 2.70 2.90 3.09 2.94 2.81 2.84 3.00 2.14 2.58 2.51 2.18 2.54 2.67 2.29 2.46 2.69 2.80 2.70 2.73 3.14 3.20 2.92 3.23 3.10 3.09 2.85 2.68 3.18 3.04 2.97 3.28 2.44 2.31 2.06 2.36 2.50 2.50 2.68 2.93 ราคาขายส่ง ไข่ไก่ เบอร์ 3 ณ ตลาด กทม. (บาท/ฟอง) 1.99 2.05 2.24 2.60 2.51 2.53 2.61 2.75 2.23 2.66 2.53 2.57 2.73 2.91 2.94 2.85 2.80 2.85 3.05 3.24 3.11 2.96 2.99 3.15 2.33 2.73 2.66 2.33 2.69 2.82 2.44 2.61 2.79 2.90 2.80 2.83 3.24 3.30 3.02 3.33 3.25 3.24 3.00 2.86 3.33 3.19 3.12 3.43 2.59 2.46 2.21 2.51 2.65 2.65 2.83 3.08 ราคาขายปลีก ไข่ไก่ เบอร์ 3 ณ ตลาด กทม. (บาท/ฟอง) 2.39 2.45 2.60 2.78 2.79 2.75 2.81 2.95 2.59 2.86 2.78 2.77 2.93 3.11 3.14 3.05 3.00 3.05 3.25 3.47 3.42 3.26 3.26 3.35 2.63 3.03 2.96 2.63 2.99 3.12 2.74 2.91 3.09 3.20 3.10 3.13 3.54 3.60 3.32 3.63 3.55 3.54 3.30 3.16 3.63 3.49 3.42 3.73 2.89 2.76 2.51 2.81 2.95 2.95 3.13 3.38

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค. เฉลี่ย

2.40 2.60 3.00 2.31 3.49 2.86 3.00

2.13 2.54 3.02 2.15 3.22 2.50

2.30 2.59 3.19 2.41 3.07 2.75

2.30 2.60 2.52 2.40 3.10 2.31

2.27 2.55 2.89 2.39 3.02 2.88 2.53

2.55 2.75 3.15 2.41 3.63 3.01 3.15

2.28 2.69 3.22 2.25 3.37 2.65

2.45 2.74 3.46 2.51 3.22 2.90

2.45 2.75 2.77 2.50 3.25 2.46

2.42 2.70 3.06 2.52 3.14 3.04 2.68

2.83 2.95 3.35 2.71 3.93 3.31 3.45

2.67 2.95 3.46 2.55 3.67 2.95

2.70 2.95 3.84 2.81 3.52 3.20

2.72 2.95 3.07 2.80 3.55 2.76

2.70 2.92 3.32 2.82 3.44 3.34 2.98

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

44 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กุ้งขาวแวนนาไม ปี 2554

1. ผลผลิตโลก (ตัน) : สมาคมกุ้งไทย 2. ผลผลิตไทย (ตัน) : กรมประมง - กุ้งขาวแวนนาไม - กุ้งกุลาดำ 3. การใช้ภายใน (ตัน) 4. การนำเข้า - ปริมาณ (ตัน) - มูลค่า (ล้านบาท) 5. การส่งออก - ปริมาณ (ตัน) - มูลค่า (ล้านบาท)

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

2,353,000 2,120,000 2,120,000 2,270,500 502,188 489,765 256,765 217,438 300,000 500,726 470,174 246,494 206,566 282,000 1,462 19,591 10,271 10,872 18,000 50,000 48,976 25,676 21,743 30,000 30,504 19,606 22,467 20,722 15,298 1,561 2,290 3,447 3,980 2,562 394,294 348,778 210,527 164,603 110,565 95,372 68,708 64,273

6. ราคา (บาท/กก) : ตลาดทะเลไทย

141

137

219

223

7. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.)

114

120

140*

132

(ขนาด 60 ตัว/กก.)

ปี 2558

(ประมาณการ)

(ม.ค.-ส.ค. 58)

97,452 32,846

(ม.ค.-ส.ค. 58)

160

(ก.ย. 58)

: กรมประมง *ต้นทุนปี 56 เป็นค่าเฉลี่ยของขนาด 50-100 ตัว/กก. และประสบปัญหาการสูญเสียจาก EMS หมายเหตุ : 1. ที่มานำเข้า-ส่งออก : กรมศุลกากร  2. ราคาและต้นทุนการผลิต เป็นกุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัว/กก.

1. สถานการณ์ เดือนกันยายน 2558 ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.07 เนื่องจากสภาพอากาศ ที่เย็นลงทำให้กุ้งเจริญเติบโตดี ส่วนใหญ่ยังเป็นกุ้งขนาดกลางและเล็ก ในขณะที่ภาวะการค้า โดยรวมค่อนข้างชะลอตัว ทัง้ การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ซึง่ ผูส้ ง่ ออกประเมินสถานการณ์ คำสั่งซื้อที่ลดลง เป็นผลจากปัญหาโรค EMS ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ความเชื่อมั่นของ ประเทศคู่ค้ายังไม่กลับคืนมา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ซึ่งรวมทั้งประเทศคู่ค้า สำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญีป่ นุ่ และออสเตรเลีย ส่งผลให้ราคากุง้ ขาวทุกขนาด ปรับลดลง กก. ละ 5-10 บาท

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

45


การส่งออกกุ้งขาวแวนนาไม (ม.ค.-ส.ค. 58) มีปริมาณ 97,452 ตัน มูลค่า 32,846 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน 3,174 ตัน หรือร้อยละ 3.36 มูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน 4,818 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.79 โดยประเทศคู่ค้า ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (51.47%) ญี่ปุ่น (28.53%) อื่นๆ (20%)

2. แนวโน้ม เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2558 จากสภาพอากาศทีเ่ ย็นลงเอือ้ อำนวยต่อการเลีย้ งกุง้ ทำให้เกษตรกร มีความมัน่ ใจในการลงลูกกุง้ จากรอบการเลีย้ งทีผ่ า่ นมา คาดว่าปริมาณ ผลผลิตเข้าสู่ตลาดจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมยังมีปัญหาโรค EMS ที่สร้างความสูญเสียประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตกุ้งที่เลี้ยง รวมทั้งโรคตัวแดงดวงขาว และโรคหัวเหลือง จากภาวะดังกล่าว จะเป็น สาเหตุให้เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงจับกุ้งขนาดกลางและเล็กออกจำหน่าย เพื่อลดภาระความเสี่ยง ในขณะที่ผู้ส่งออกมีความต้องการกุ้งขนาดใหญ่ เพือ่ ส่งมอบตามคำสัง่ ซือ้ ภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้ราคากุง้ ขนาด 40-60 ตัว/กก. มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนขนาด 70-100 ตัว/กก. มีแนวโน้มปรับ ลดลงระดับหนึ่ง กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตุลาคม 2558

46 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


กุ้งขาวแวนนาไม

หน่วย : บาท/กก.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย ราคาที่เกษตรกรขายได้ (ขนาด 51-60 ตัว/กก.) ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2554 130 142 144 148 146 139 138 134 132 132 136 139 138 2555 143 145 143 130 120 120 126 140 149 151 148 152 139 2556 161 163 181 195 199 211 215 220 235 268 275 273 216 2557 273 278 270 263 227 212 216 225 227 228 227 217 239 2558 216 223 221 202 197 197 204 193 186 204 ราคา ณ ตลาดกลางสัตว์น้ำ จ.สมุทรสาคร (ขนาด 60 ตัว/กก.) ที่มา : ชมรมผู้ค้ากุ้งสมุทรสาคร 2554 136 148 151 153 146 141 138 132 131 134 141 148 142 2555 147 148 137 119 118 121 120 144 149 148 147 146 137 2556 167 162 184 202 204 215 215 221 247 275 269 272 219 2557 271 274 267 249 205 198 200 218 215 200 196 179 223 2558 191 205 189 158 158 162 165 165 160 173 ราคาผู้ส่งออกรับซื้อ ณ หน้าโรงงาน (ขนาด 50 ตัว/กก.) ที่มา : สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย 2554 157 160 153 161 150 153 148 141 142 147 156 161 152 2555 164 164 152 133 125 128 123 147 160 164 171 169 150 2556 178 167 188 204 210 215 227 227 251 280 269 272 224 2557 271 274 267 249 205 198 200 218 215 200 196 179 223 2558 191 205 189 158 158 162 165 165 160 173 หมายเหตุ : ช่วง พ.ย. 56 - ปัจจุบัน สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยอ้างอิงราคาตลาดกลางสัตว์น้ำ จ.สมุทรสาคร เนื่องจากปริมาณ การส่งออกลดลง ทำให้ไม่สามารถประมวลราคาผู้ส่งออกรับซื้อได้

ปริมาณรถกุ้งขาวแวนนาไมเข้าตลาดกลางสัตว์น้ำ จ.สมุทรสาคร 2554 2555 2556 2557 2558

2,561 1,980 2,020 1,405 1,157

1,894 2,312 1,583 1,502 1,050

2,880 2,669 1,823 1,684 1,358

2,507 2,319 1,658 1,513 1,247

2,609 3,335 1,675 1,598 1,395

3,613 3,099 1,558 1,832 1,583

3,394 3,034 1,831 1,387 1,777

3,921 2,848 1,999 1,599 2,328

3,852 3,016 2,077 1,903

(หน่วย : ตู้คอนเทรนเนอร์) รวม

2,856 2,643 2,079 1,865

3,063 3,168 1,913 2,042

2,352 2,273 1,579 1,572

35,502 32,696 21,795 19,902 11,895

หมายเหตุ : 1 ตู้ มีกุ้งประมาณ 3-4 ตัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

47


Food Feed Fuel

ไข่ ไทยเชิดหน้า

พาเหรดขายฮ่องกง

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ฮ่องกงได้ปรับระเบียบการนำเข้าไข่สด โดยอนุญาตให้ไทย และ อีก 15 ประเทศ สามารถส่งออกไข่สดไปยังฮ่องกงได้แล้ว หลัง กระทรวงพาณิชย์ได้รว่ มกับกรมปศุสตั ว์ ยืน่ ขอปรับใบรับรองการส่งออก ไข่สดไปยังฮ่องกงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันปัญหาด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะเชือ้ ไข้หวัดนก และได้รบั คำรับรองการส่งออก แล้ว ทำให้สามารถส่งออกไข่สดไปฮ่องกงได้ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. นี้เป็นต้นไป สำหรับการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามการปรับปรุงระเบียบการนำเข้าอาหารสดของ ฮ่องกง ที่เน้นการตรวจและรับรองคุณภาพสินค้า โดยต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบรับรองใหม่ เช่น สินค้าเหมาะสำหรับการบริโภค และไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ สินค้ามิได้ผลิตจากประเทศ ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก เป็นต้น ซึ่ง ในส่วนของไทย WHO ได้ประกาศนานแล้วว่าปลอดเชื้อไข้หวัดนก "กระทรวงได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ในฮ่องกงติดตาม และประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องของฮ่องกงอย่างใกล้ชิด จนทำให้ไทยได้รับการอนุญาตให้ส่งออกไข่สดไปยังฮ่องกงได้ ซึ่งมีเพียง 15 ประเทศ จากที่ยื่นคำร้องไปทั้งหมด 27 ประเทศ โดย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ ยูเครน ที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการรับรอง" นางอภิรดีกล่าวว่า การที่ไทยอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการรับรองจากฮ่องกงในครั้งนี้ จะทำให้ ไทยมีโอกาสส่งออกไข่สดไปขยายตลาดได้มากขึ้น เพราะประเทศที่ยังไม่ได้รับการรับรองจะไม่ สามารถส่งออกไปจำหน่ายได้ แม้ว่าจะขออนุญาตเป็นครั้งคราวได้ แต่จะประสบปัญหาขั้นตอน การตรวจสอบ ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ส่วนสินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป แข่งขันกับไข่สดกับ ประเทศที่อยู่ใกล้ฮ่องกงได้ยาก เพราะอายุของสินค้าสั้นกว่าปกติ ขนส่งนานกว่า ที่มา : ไทยรัฐ ฉบับที่ 21105 วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

48 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


Market Leader

จี้รัฐ เร่งออกมาตรการ ช่วยชาวไร่มันฯ นายมาโนช วีระกุล นายกสมาคม โรงงานผูผ้ ลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ช่วงต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้เข้าพบ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกลั ยะ รมว. เกษตรฯ และนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว. พาณิชย์ เพื่อแจ้งให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากช่วงต้นเดือน พ.ย. นี้ ผลผลิต มันสำปะหลังจะเริ่มออกสู่ตลาด โดยจะมีผลผลิตออกมามากช่วงหลังปีใหม่ ดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการออกมาเพื่อพยุงราคามันฯ ไม่ให้ตกต่ำ ขณะนีร้ าคารับซือ้ หัวมันฯ สด อยูท่  ี่ กก. ละ 2.40-2.90 บาท (ขึน้ อยูก่ บั ปริมาณเชื้อแป้ง) แต่น่าห่วงว่าช่วงปีใหม่ที่มีผลผลิตออกมามากๆ ประกอบ กับประเทศจีนกำลังมีปญ ั หาเรือ่ งเศรษฐกิจและค่าเงินหยวน จึงมีผลกระทบ ต่อราคามันฯ ในประเทศไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากจีนเป็นตลาดใหญ่ ถึง 90% ของแป้งมัน และมันเส้นจากประเทศไทย ดังนั้นถ้ามีหัวมันฯ สด ออกมามาก ในขณะที่ตลาดจีนกำลังมีปัญหา จะทำให้เกษตรกรเดือดร้อน ถ้าภาครัฐไม่มีมาตรการอะไรออกมาในช่วงปลายเดือน ต.ค. นี้ นายมาโนช กล่าวอีกว่า สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสมาคมใหญ่ มีสมาชิกทั้งที่เป็นลานมัน โรงงาน มันอัดเม็ด และเกษตรกรผู้ปลูกมันฯ จำนวนมาก โดยที่ผ่านมาได้พยายาม

ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับที่ 24106 วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

49


ทำแผนงานเสนอภาครัฐ ทั้งแผนระยะสั้น และ แผนระยะยาว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูก มันฯ ใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1. ผลักดัน ให้ มี พ.ร.บ. มั น สำปะหลั ง และผลิ ต ภั ณ ฑ์ มันสำปะหลัง โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว อยู่ในขั้นตอนการสัมมนารับฟังความเห็นของ สภาเกษตร เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการจัด ทำร่าง พ.ร.บ. และการสรุปมาตรา-หมวด ของ ร่าง พ.ร.บ. "ในอนาคตถ้ า มี พ.ร.บ. ตั ว นี้ อ อกมา โอกาสทีจ่ ะมีกองทุนมันสำปะหลังตามมา ก็ไม่ใช่ เรือ่ งยาก ถ้าถามว่ากองทุนจะมีเงินมาจากไหน ตอบว่าส่วนหนึ่งเก็บจากผู้ส่งออก และจากงบ ประมาณของรัฐ เพื่อนำมาช่วยเหลือเกษตรกร ในด้านต่างๆ" ส่วนเรื่องที่ 2 ที่พยายามผลักดันกัน มาตลอด คือมาตรการลดต้นทุนและเพิ่มผล ผลิตให้กับเกษตรกร เนื่องจากขณะนี้เกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกมันฯ ได้ผลผลิตแค่ 3.5-3.7 ตัน ต่อไร่ ส่วนต้นทุนการปลูกอยู่ที่ไร่ละ 6,000-

50 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

7,000 บาท ถ้ า สามารถเพิ่ ม ผลผลิ ต ให้ ไ ด้ 5 ตันต่อไร่ ขายหัวมันฯ ได้เงินกว่า 10,000 บาทต่อไร่ เกษตรกรจะลืมตาอ้าปาก เพราะ อย่าลืมว่าการปลูกมันฯ ต้องใช้เวลา 9-10 เดือน กว่าจะขุดหัวมันฯ ขึ้นมาขาย ถ้าขาย หั ว มั น ฯ ได้ เ งิ น ไม่ ถึ ง ไร่ ล ะ 10,000 บาท เกษตรกรอยู่ลำบาก โดยแนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มผล ผลิต สามารถทำได้ด้วยการไถระเบิดดินดาน การใช้ ปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ - ชี ว ภาพกั บ ต้ น มั น ฯ และ การทำไร่มันฯ เป็นระบบน้ำหยด ปัจจุบันมี เกษตรกรหลายรายใน จ.นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ ทำแล้วประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิต มากกว่า 5 ตันต่อไร่ แต่ทั้งนี้เกษตรกรต้องมี เงินลงทุนในการทำไร่มันฯ เป็นระบบน้ำหยด อาจจะเริ่มต้นที่รายละไม่เกิน 20 ไร่ แล้ว ธ.ก.ส. ปล่อยเงินกู้สนับสนุนให้เกษตรกรนำเงิน มาลงทุนในรูปแบบดังกล่าว เพื่อให้ชาวไร่มันฯ ได้ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น จึงมีรายได้และกำไร มากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย




Market Leader

กรมปศุสัตว์-ฝรั่งเศสแก้เชื้อดื้อยา

ระบุทำลายทิ้งหากหวัดนกเพื่อนบ้านระบาดสู่ไทย กรมปศุสตั ว์จบั มือฝรัง่ เศสทลายเชือ้ โรค ดื้อยาที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลก พร้อมดูแล ยาสัตว์ วัคซีน และขั้นตอนการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพ "อยุทธ์ หรินทรานนท์" ระบุไทยเฝ้าระวังเข้มข้น หลังไข้หวัดนกระบาด ประเทศเพือ่ นบ้าน หากสัตว์ตายผิดปกติเพียง 1-2% เข้าทำลายทันที น.สพ.อยุ ท ธ์ หริ น ทรานนท์ อธิ บ ดี กรมปศุ สั ต ว์ เปิ ด เผยว่ า กรมได้ ล งนามใน บันทึกความร่วมมือ กับหน่วยงานด้านอาหาร สิง่ แวดล้อมและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประเทศฝรั่งเศส ด้านยาสัตว์ วัคซีน รวมถึง การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว โดยมีการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ และเทคนิค วิธีการทางห้องปฏิบัติการ หลังจากที่มีการประชุมร่วมกันมาแล้ว 7 ครั้ง ไทยเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ทีม่ คี ณ ุ ภาพและปลอดภัย ได้รบั การยอมรับจาก สหภาพยุโรป (อียู) และประเทศชั้นนำทั่วโลก ยาและวั ค ซี น สำหรั บ สั ต ว์ ใ ช้ เ พื่ อ การควบคุ ม รักษาโรค เป็นปัจจัยการผลิตและต้นทุนของ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสัตว์ จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล อย่างเหมาะสมในทุกขัน้ ตอน ตัง้ แต่การคัดเลือก ยามาใช้ในประเทศ ในขัน้ ตอนการขึน้ ทะเบียนยา

การควบคุมการใช้ เพือ่ ป้องกันปัญหาเชือ้ ดือ้ ยา และสารตกค้าง ปั ญ หาเชื้ อ ดื้ อ ยาที่ เ ป็ น กั น ทั่ ว โลก ยา ปฏิชีวนะที่บริษัทต่างๆ ผลิตมาแก้ไม่ทันการณ์ ปีหนึ่งมีคนไข้เสียชีวิตเพราะไม่มียารักษาจาก เชื้อดื้อยาปีละหลายหมื่นคน ก็เป็นห่วงกันว่า ขืนผลิตยาอย่างเดียวคงไม่พอ หลายประเทศจึง ควรมาร่วมมือกันควบคุมการใช้ยาอย่างถูกต้อง มิเช่นนั้น ต่างคนต่างไปซื้อ ต่างคนต่างใช้โดย ผิดวิธี จะเหมือนกับกินยาไม่ครบโด้ส หรือ บางครั้งกินยาที่สูงเกินไป เร็วเกินไป ทางที่ดี ควรให้แพทย์เป็นผูส้ งั่ ยา โดยเฉพาะยาปฏิชวี นะ ไม่ควรไปซื้อเองโดยพลการ ทางด้านสัตว์กเ็ หมือนกัน ยาในสัตว์กค็ วร ให้สัตวแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นคน ใช้ หากให้ประชาชนใช้ เช่น ในวัวตัวหนึง่ ใช้ยา 50 ซีซี ซึ่งตัวใหญ่บางทีใช้แค่ 10 ซีซีก็พอ อนาคตเชื้ อ ดื้ อ ยาแน่ ๆ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ก รมต้ อ ง ผลักดันไปยังฟาร์มมาตรฐาน GAP รวมทั้ง ผู้ประกอบการต้องผลักดันฟาร์มในเครือข่าย ร่วมมือกันในด้านนี้ หวังว่าในอนาคตกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ต้องได้รับการพัฒนา และ ปฏิบัติกันมากขึ้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

51


นท์ ร่วมมือ - น.สพ.อยุทธ์ หรินทราน ก อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงนามในบันทึ ความร่วมมือ (MOU)กับผู้บริหาร หน่วยงานด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของฝรั่งเศส เพื่อดูแลการใช้วัคซีน ยาสัตว์ และขั้นตอนการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพในไทย

"เรื่องความร่วมมือกับฝรั่งเศส เขาจะมาให้คำแนะนำเราในด้านเทคนิค เรื่องการบังคับใช้วิธีการควบคุม เพราะเขามีประสบการณ์มาก่อนเรา เขาจะมาแนะนำเจ้าหน้าที่ของเราว่า เราควรจะเดินในขั้นตอนอย่างไร เพราะถ้าผิดขั้นตอนจะเสียเวลา ถ้าขืนปล่อย ให้ไทยเราดื้อยาไปมาก ประเทศอื่นเขาจะมองเราเป็นตัวปัญหาแล้วจะไม่มีใคร คบด้วย" ส่วนประเด็นที่หวั่นวิตกว่าโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดในประเทศ เพื่อนบ้านจะระบาดมาไทยนั้น อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ไทยเฝ้าระวังอย่าง เข้มข้นมาตลอดหลังจากที่ระบาดในปี 2547-2549 ช่วงนั้นมีการทำลายไก่ทิ้ง จำนวนมาก 7 ปีที่ผ่านมา ไม่พบโรคนี้อีกเลย โดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่ แต่หากเกิดในสัตว์ปา่ กรมพยายามเก็บตัวอย่างมาตลอด หากพบผิดปกติระบาด เข้าในฟาร์มจะเข้าทำลายทันที การใช้วคั ซีนป้องกันจะเอาไม่อยู่ เพราะถ้าใช้ไปแล้ว สัตว์อาจมีภูมิต้านทาน บางทีอมเชื้ออมโรคเอาไว้ ไม่ตายหรือไม่แสดงออก วันดีคืนดีวัคซีนหมดฤทธิ์ก็โผล่ขึ้นมา ไทยจึงทำลายทิ้งอย่างเดียว "เจ้าหน้าที่ชายแดนจะเฝ้าสังเกต ถ้าเจอสัตว์ป่วยตายผิดปกติ 1-2% ไม่ว่าจะเป็นโรคบิด อหิวาตกโรค ไข้หวัดนก จะเข้าทำลายทันที ส่วนฟาร์ม ทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงในรัศมี 1 กม. จะเฝ้าระวังเข้มข้นแทน ซึง่ ส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยมีปญ ั หา เพราะเชื้อหวัดนกไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ"

52 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


Market Leader

เอกชนคว่ำร่าง พ.ร.บ. มันฉบับใหม่

ชี้ขัด WTO ผวาทุบส่งออก 1.5 แสนล.

ผู้ปลูกมันสำปะหลังอกหัก เอกชนคว่ำ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ หลังถกเพียง 3 ชั่วโมง ต้องยุตกิ ลางคัน ซัดผิดกติกาการค้าโลก ป้อง อุตสาหกรรม 1.5 แสนล้าน หวัน่ กระทบส่งออก รองเลขาฯ สศก เห็นพ้อง วอนอย่าเลียนแบบ โมเดลกองทุนอ้อยและน้ำตาลหลังพบปัญหา เพียบ ด้านสภาเกษตรกรเผยทำหน้าที่เต็มที่ แล้ว จะทำรายงานส่ง สนช. ต่อไป นายเติ ม ศั ก ดิ์ บุ ญ ชื่ น ประธานสภา เกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา และในฐานะ ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกร แห่งชาติ เปิดเผยถึงการจัดโครงการสัมมนา รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ มั น สำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง พ.ศ. ... โดยมีคณะกรรมการด้านพืชไร่ สนช. ได้รับ มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพ เพือ่ ให้ได้ขอ้ สรุปร่วม กันจากทุกภาคส่วน ทัง้ นีใ้ นการจัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นครัง้ แรกทีท่ กุ ภาคส่วน ทัง้ ผูส้ ง่ ออก ผูค้ า้ อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรม

เกีย่ วข้อง ได้มาระดมความคิดเห็นร่วมกัน จาก ก่อนหน้านี้ได้ไปจัดเวทีใน 50 จังหวัด จนได้ ร่าง พ.ร.บ. ที่ตกผลึกฉบับนี้ ในการประชุมครัง้ นีย้ อมรับว่าไม่แปลกใจ ที่ ท างตั ว แทนสมาคมแป้ ง มั น สำปะหลั ง ไทย จะไม่เห็นด้วยทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าขัดกับ หลักการขององค์การการค้าโลก หรือดับบลิว ทีโอ ทัง้ ทีค่ วามเป็นจริงแล้วต้องการให้ผสู้ ง่ ออก ได้รบั ผลิตภัณฑ์คณ ุ ภาพดี ขณะเดียวกันเกษตรกร ก็มตี ลาดแน่นอน ได้ราคาทีอ่ ยูไ่ ด้ ส่วนเงินทีเ่ ก็บ เข้ากองทุน ก็เก็บจากเกษตรกร และผู้ส่งออก เท่ากัน จริงๆ แล้วก็น่า วิน-วิน ด้วยซ้ำไป แต่ เมื่อไม่เห็นด้วย จะมาให้พิจารณากฎหมายเป็น รายข้อไม่ได้ จึงตัดสินใจขอยุตจิ บลงเพียงเท่านี้ เพราะ พ.ร.บ. จะเกิดได้ ไม่ใช่ฝ่ายเกษตรกร เห็นชอบอย่างเดียว ต้องเกิดจากความร่วมไม้ ร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วย "กำลั ง ดำเนิ น การประมวลผลข้ อ สรุ ป ทั้งฝ่ายสนับสนุน และคัดค้านจะเสนอต่อสนช. เพื่อพิจารณาในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. มัน-

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3102 วันพฤหัสบดีที่ 5-วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

53


สำปะหลัง พ.ศ. ... ต่อไป อย่างไรก็ดี ร่าง พ.ร.บ. นี้ ได้คดั ลอกมาจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย โดยหวังว่าการดูแลจะครอบคลุมเช่นเดียวกับ ชาวไร่อ้อย" นายบุญมี วัฒนเรืองรอง เลขาธิการ สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เผยในที่ประชุม ตอนหนึ่งว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นเรื่องของการ อุ ด หนุ น ซึ่ ง ขั ด กั บ หลั ก การของดั บ บลิ ว ที โ อ ไม่เห็นด้วย เพราะถ้า พ.ร.บ. ฉบับนีม้ ผี ลบังคับใช้ หวั่ น คู่ ค้ า หรื อ คู่ แ ข่ ง จะโจมตี ท้ า ยสุ ด ขาย สินค้าไม่ได้ ถูกแบน คนที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ เกษตรกร จึงอยากให้ทบทวนกันใหม่ เพราะ ปัจจุบนั นีก้ ารส่งออกโดยรวมทัง้ ปี 1.5 แสนล้าน บาท (ดูตารางประกอบ) เช่นเดียวกับนายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่กล่าวว่า อย่าคิดว่าการลอกเลียน โมเดลกองทุนอ้อยและน้ำตาล จะดีเสมอไป เพราะทุกวันนี้น้ำตาลทรายในประเทศ กลาย

54 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

เป็ น ภาระคนไทยที่ ต้ อ งรั บ ประทานราคาสู ง กว่าราคาตลาดโลก ทั้งๆ ที่เป็นประเทศผลิต รวมถึงยังมีปญ ั หาอืน่ ๆ ตามมา และสิง่ ทีส่ ำคัญ หากผลักดัน พ.ร.บ. นีอ้ อกมา จะขัดกับหลักการ ของดับบลิวทีโอแน่นอน อยากให้ไตร่ตรองให้ รอบคอบ ให้ทกุ ฝ่ายเปิดใจเจรจากัน อาจจะง่าย กว่า ถ้าตกลงกันได้ พ.ร.บ. ก็คงไม่จำเป็น แหล่งข่าวจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ มันสำปะหลัง เผยแผนโรดแมปโดยมีเป้าหมาย ผลผลิตเฉลีย่ มันสำปะหลัง เป็น 5 ตัน/ไร่ ในปี 2562 และ 7 ตันต่อไร่ในปี 2569 มีการ บริหารจัดการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 8.5 ล้านไร่ ปัจจุบนั ไทยผลิตมันสำปะหลังปีละ 25-30 ล้านตัน อุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่รับได้ 35 ล้านตัน ถ้าโรงงานเอทานอลได้รับอนุมัติ เปิดดำเนินการได้ทั้งหมด ต้องการมันอีก 20 ล้านตัน (ไม่รวมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทีม่ ศี กั ยภาพ เติบโต)


Around the World

สรุปการประชุม

แก้ไขปัญหาหมอกควัน

จากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร วันที่ 1-3 กันยายน 2558 ณ จ.เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง

รายละเอียดการลงพื้นที่ประชุม อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พืน้ ที่ อ.แม่แจ่ม มีประชากร 70,000 คน ขึ้นทะเบียน 13,009 ครัวเรือน กว่า 47% เป็นชาวไทยกระเหรีย่ ง พืน้ ทีร่ วม 1.7 ล้านไร่ (พื้นที่มากกว่าหลายๆ จังหวัดใน ประเทศ) โดยแบ่งเป็นพื้นที่เขาสูง 70% พื้นที่ราบเชิงเขา 20% และพื้นที่ราบ 10% เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 120,000 ไร่ และ มีเกษตรกรในระบบ 8,000 ราย โดยข้อเท็จจริงในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม เป็นพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ กว่า 95% ต้นปีที่ผ่านมามีจุดความร้อน (Hot pot) กว่า 500 ครั้ง ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากพื้นที่ป่า ถึง 80% และเป็นจุดพื้นที่เกษตรเพียง 20% เท่านั้น พื้นที่แม่แจ่มเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ฉะนั้น จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่แม่แจ่ม

มาตรการที่นำเสนอในการประชุม • สวทช.ภาคเหนือกำลังทำโครงการโรงหมักอาหารโคจากเศษวัสดุทางการเกษตร ณ อ.แม่แจ่ม โดยได้รับอนุมัติงบประมาณจากจังหวัดแล้ว 4 แสนบาท • อำเภอได้รบั การสนับสนุนงบประมาณจาก ก. มหาดไทย 15 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตร 5 ล้านบาท ในการทำไซโลเก็บข้าวโพดซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บข้าวโพดได้นานขึ้น 6-8 เดือน • เมื่อสัปดาห์ก่อนผู้บริหารกระทรวงพลังงานได้ลงมาเยี่ยมพื้นที่แม่แจ่ม และมีการว่าจ้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาทำฟืนอัดแท่ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

55


• ต้องการเครื่องบด สับ อัดเศษวัสดุ ทางการเกษตร ทำเป็นถ่านอัดแห้ง เนื่องจาก มีผู้ประกอบการจังหวัดลำพูนมารับซื้อเศษวัสดุ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิง และต้องการให้สร้างโรงอัด ฟืนเล็กๆ เพื่อให้ชาวบ้านบริหารจัดการกันเอง

ให้ อ.สมเกียรติ (มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม) ประสาน ส่ ง แผนโครงการให้ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งได้ พิ จ ารณา ก่อนมาหารือกันต่อไป

• ต้องการให้มีการสร้างอาชีพใหม่ โดย ศึกษาลงลึกในแต่ละอำเภอซึ่งมีความแตกต่าง กัน อาทิ ผ้าทอ แกะสลัก จักรสาน อำเภอไหน มีน้ำพอเพียงก็ให้เลี้ยงสัตว์ โดยส่งเสริมให้มี ตลาดรองรับ

• พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดประมาณ 2 แสนไร่ โดยพื้ น ที่ เ พาะปลู ก อั น ดั บ 1 คื อ อ.แม่แจ่ม

• อ.สมเกียรติ มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม นำ เสนอแผนจัดการไฟป่า อาทิ การทำข้อมูล พื้นที่เกษตรรายแปลง การทำปฏิทินการเผา การเพิ่มพื้นที่สีเขียว (สร้างป่าสร้างรายได้, คืน พื้นที่ป่า) ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่ ง ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น จั ด ทำโฉนดชุ ม ชุ น เป็นต้น • เกษตรกรทราบว่าหากเผา จะทำให้ ดินเสียผลผลิต ปลูกได้น้อยลง แต่ไม่มีทาง เลือกอื่น แต่ก็มีบางพื้นที่ใช้การฉีดสารเคมีให้ ต้นแห้งและใช้น้ำ EM ย่อยซาก ซึ่งก็ถือเป็น ค่าใช้จ่าย

สรุปผลที่ประชุม ขอให้ จั ด ตั้ ง คณะทำงานแก้ ไ ขปั ญ หา หมอกควั น โดยมี น ายอำเภอแม่ แ จ่ ม เป็ น ประธาน และให้ มี ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง ภาครัฐ เอกชน ประชาชน อาทิ กระทรวง ทรัพย์ฯ กระทรวงวิทย์ฯ กระทรวงเกษตรฯ สมาคมฯ มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม ธกส. และให้ เตรียมประชุมคณะทำงานภายใน 15 วัน โดยขอ 56 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

รายละเอียดการประชุมจังหวัดเชียงใหม่

• จัดทำบันทึกทะเบียนเกษตรกร อยาก ขอให้เพิ่มเติมข้อมูลลงไปถึงรายละเอียดราย แปลง • สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรดำเนินการ ตาม GAP (เช่น มาตรการด้านราคาให้กับ เกษตรกรที่ดำเนินการได้ตาม GAP) • การส่งเสริม GAP ทำได้ยากเนื่อง จากต้องเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น • การมี ม าตรการจั ด การช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ป่าให้มีรายได้ อยู่ จะถูกมองว่าเป็นสนับสนุนให้บกุ รุกป่า หรือ ใช้พื้นที่ป่าทำกินต่อได้ • จัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน พืน้ ทีเ่ ผาไหม้ซำ้ ซากเพือ่ การบริหารจัดการ โดย ใช้ระบบดาวเทียมจาก GISTDA ช่วยในการ บันทึกข้อมูล • ตั้งคณะทำงาน (ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน) • จัดทำแผนปฏิบัติงาน เน้นการแก้ไข ปัญหาแบบองค์รวม บูรณาการทุกภาคส่วน (รัฐ เอกชน ประชาชน)


• การใช้ประโยชน์/เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุ ทางการเกษตร (เช่น การผลิตอาหารหมัก สำหรับเลี้ยงโค : สวทช. การทำปุ๋ยหมัก : กษ. และสร้างธนาคารปุ๋ยหมัก เตาเผาชีวมวล เพื่อ ผลิตพลังงาน : พพ.) • พิ จ ารณาสิ ท ธิ ป ระโยชน์ พิ เ ศษให้ กั บ อ.แม่ แ จ่ ม โดยให้ ป ระชาชนรั บ หน้ า ที่ ดู แ ล ผืนป่า

สรุปผลที่ประชุม จั ด การประชุ ม ระดั บ พื้ น ที่ เ พื่ อ จั ด ทำ แผนงาน (เลือกแม่แจ่มเป็นพืน้ ทีน่ ำร่อง จังหวัด เสนอพื้นที่อื่นเพื่อดำเนินการไปพร้อมกัน) โดย มอบหมายให้ ทสจ. ประสานกั บ สมาคมฯ ต่ อ ไป โดยขอให้ เ พิ่ ม เติ ม หน่ ว ยงาน อาทิ สมาคมท่องเที่ยว หอการค้าจังหวัด และ ธกส. มาประชุมด้วย

รายละเอียดการประชุมจังหวัดลำพูน • พืน้ ทีเ่ พาะปลูกปี 58/59 อยูท่ ี่ 85,274 ไร่ ปี 57/58 111,000 ไร่ ส่วนมากเป็นพืน้ ที่ ราบ มีเกษตรกร 8,375 ราย โดยพืน้ ทีเ่ พาะปลูก อันดับ 1 คือ อำเภอลี้ อยู่ที่ 75,211 ไร่ โดย จะปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป และ หลังจากเก็บเกี่ยวจะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดต่อ • การส่งเสริม GAP เป็นการแก้ปัญหา ในระยะยาว • การใช้ประโยชน์/เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุ ทางการเกษตร โดยการทำเชื้อเพลิงอัดแท่ง ขายโรงอบลำไย กก. ละ 0.2 บาทโดยจะต้อง สนับสนุนเครื่องอัดซังข้าวโพด ราคาเครื่องละ 3 แสนบาท ซื้อได้ที่ จ.นครสวรรค์ • กรมส่งเสริมฯ เคยมีโครงการสนับสนุน เครื่องทำฟืนจากเศษวัสดุเครื่องละ 1 แสน บาท • พบว่ามีการเผาซังทีจ่ ดุ รับซือ้ /ลานรับสี ข้าวโพด เนื่องจากรับซื้อข้าวโพดทั้งฝักมาสี และกองตอซังไว้ เมื่อกองซังขนาดใหญ่จะถูก เผา/ความชื้ น สู ง ควั น หนา ดั บ ยาก ส่ ว น ข้าวโพดที่มีการสีในไร่ จะใช้วิธีไถกลบ • อ.ทุง่ หัวช้าง มีการเผาป่าเพือ่ หาของป่า (เห็ดถอบ) พบไฟในตอนกลางคืนทำให้ยาก ต่ อ การเข้ า ดั บ ไฟ จึ ง อยากให้ ส นั บ สนุ น งบ ประมาณให้ชมุ ชนในการทำแนวกันไฟ รณรงค์ ประชาสั ม พั น ธ์ โ ดยการมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ น ำ ท้องถิ่น/จนท.ปกครองท้องถิ่น สนับสนุนชุด เคลื่อนที่เร็ว ให้ชาวบ้านที่เคยเผาหาของป่า เป็นอาสาสมัครในการเฝ้าระวังไฟ นัดประชุม เตรียมความพร้อมรายพื้นที่ (อำเภอ) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

57


สรุปผลที่ประชุม ผู้ว่าฯ ได้สั่งการให้หน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการทำแผนแก้ไขปัญหาตามที่ประชุม โดยรวม มองว่าพื้นที่จังหวัดลำพูนมีแนวทางแก้ไขที่ค่อนข้างชัดเจน

รายละเอียดการประชุมจังหวัดลำปาง • พื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 186,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 120,000 ตัน จำนวน เกษตรกรประมาณ 3,000 ราย เก็บเกี่ยวประมาณ ก.ย.-พ.ย. พื้นที่ปลูก 3 อันดับ คือ อ.งาว 67,000 ไร่ อ.วังเหนือ 54,000 ไร่ อ.แม่ทะ 13,000 ไร่ • สาเหตุหมอกควันจากการเผาในพื้นที่เกษตรคิดเป็น 20% เท่านั้น • ยังมีพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์อีกจำนวนมาก จากข้อมูลเกษตรกรที่ลงทะเบียน อ.แม่ทะ 13,000 ไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงน่าจะอยู่ราวๆ 30,000 ไร่ • เสนอให้เพิ่มข้อมูลพิกัดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบันทึกทะเบียนเกษตรกรด้วย • ขอปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มการลงทะเบียน เป็นบันทึกการรับซื้อข้าวโพด และให้ระบุที่ตั้ง แปลงปลูกแทนที่อยู่ และเพิ่มช่องการมีเอกสารสิทธิ์ด้วย • สกต. ลำปาง มีการทำบันทึกเกษตรกรผู้ปลูกก่อนขายปัจจัยการผลิต • สกต. ลำปาง ขาดงบประมาณในการซื้อเครื่องอัดซังข้าวโพดเพื่อทำเป็นฟืนส่งขายไปยัง ผูป้ ระกอบการ จ.ลำพูน โดยผูแ้ ทนจากสำนักปลัดกระทรวงเกษตรฯ แจ้งว่าสามารถของบประมาณ จากกระทรวงมหาดไทย หรือจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ หรือกองทุนหมู่บ้านก็ได้ • เสนอให้มีการรับรองพื้นที่ทำกินให้กับเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ • สปก. ดำเนินการออกเอกสาร GAP ไปแล้ว 3 แสนไร่ใน อ.วังเหนือ มีเกษตรกรทำ GAP 120 ราย อยู่ระหว่างตรวจรับรอง 60 ราย • กรมวิชาการเกษตรได้ขออนุมัติการดำเนินการตรวจ GAP จะเริ่มได้ในปี 2559 58 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


สรุปผลที่ประชุม • เรื่องการเพิ่มพิกัดแปลงปลูกจะต้องเพิ่มในทะเบียนข้อมูลของกระทรวงเกษตร ส่วน บันทึกทะเบียนที่พูดในการประชุมเป็นข้อมูลฝั่งเอกชน จะต้องทำให้กรอกได้ง่าย และหลังจากได้ ข้อมูลมาแล้ว ให้นำมาประกอบกับข้อมูลทะเบียนของกระทรวงเกษตรเพือ่ แยกพืน้ ทีท่ มี่ เี อกสารสิทธิ์ กับไม่มีต่อไป • ขอให้ทุกหน่วยงานจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประชุมอีกครั้ง ในอีก 15 วัน และคัดเลือกพื้นที่ นำร่องของ จ.ลำปาง สรุปโดย นายอรรถพล ชินภูวดล สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 8 กันยายน 2558

ภาพประกอบจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Environmental_issues_in_Thailand ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

59


Around the World

รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2558 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2558 รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ

1. น.ส. ฐิติพร อ่ำทรัพย์ 2. น.ส. ทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ 3. น.ส. หทัยกาญจน์ มูลระหัต 4. น.ส. นิชนันท์ วัตถุรัตน์ 5. น.ส. จุฑามาศ วัฒนสินพาณิช 6. น.ส. ลัดดา แก้วกาหลง 7. น.ส. วลัยพร คำแสนหมื่น 8. น.ส. ชนิดาภา เอกพันธ์ 9. น.ส. ลาวัณย อนุวัฒนา 10. น.ส. ญาณี มีจ่าย 11. น.ส. พิมพ์ปวีณ์ ม่วงศรี 12. น.ส. กัณฑลี สระทองเทียน 13. น.ส. กัญญ์จิรา ศิลปนุภกิจ 14. นาง นิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 15. น.ส. ชุลีพร ยิ่งยง 16. นาย อรรถพล ชินภูวดล 17. น.ส. วริศรา ธรรมเจริญ

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เซนทาโกไซโล จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2558 ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2558 เป็นการออกสำรวจพื้นที่ในจังหวัดสระแก้ว-จันทบุรี-นครราชสีมา-ลพบุรี-เพชรบูรณ์-นครสวรรค์ โดยทางคณะสำรวจได้มีการประมวลข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเกษตรจังหวัด นำมาใช้พิจารณาประกอบการสำรวจ พร้อมทั้งการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและเกษตรกรผู้ปลูก อีกทั้งการเข้าพบพ่อค้าท้องถิ่น/ไซโล ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่า 60 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาล ใหม่ ปี 2558/59 ในเขตพื้นที่เพาะปลูก ทาง คณะสำรวจพบว่าสภาพพื้นที่มีการเพาะปลูก ลดลงในจังหวัดลพบุรี-เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ มีเพียงจังหวัดนครราชสีมา ที่มีพื้นที่ เพาะปลูกเพิม่ ขึน้ โดยปัจจัยทีส่ ง่ ผลให้พนื้ ทีป่ ลูก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ลดลง เนือ่ งจากปัญหาภัยแล้ง อีกทั้งฝนตกลงมาปีนี้ล่าช้ากว่าปกติ รวมถึง ราคาขายที่ไม่ค่อยมีเสถียรภาพของข้าวโพด เลี้ ย งสั ต ว์ มี ก ารหั น ไปเพาะปลู ก พื ช ชนิ ด อื่ น ทดแทนบ้าง เนื่องจากต้นทุนการปลูกถูกกว่า ความเสี่ยงน้อยกว่า และราคาขายค่อนข้างดี อาทิ เ ช่ น มั น สำปะหลั ง และถั่ ว เขี ย วผิ ว มั น หรือแม้แต่พืชยืนต้นอย่างลำไย เป็นต้น ทาง ด้านจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่ม ขึ้น สวนทางกับจังหวัดอื่นที่คณะได้ไปสำรวจ เนือ่ งมาจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้พนื้ ทีเ่ พาะปลูก มันสำปะหลังทีต่ ายแล้งปรับเปลีย่ นมาเพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทน สภาพภูมิอากาศในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก หลายพื้ น ที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากปั ญ หา ภั ย แล้ ง ฝนตกลงมาล่ า ช้ า กว่ า ปกติ ทำให้ เกษตรกรไม่สามารถเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ได้ตามฤดูกาล อีกทั้งยังมีหลายพื้นที่ที่ฝน เว้นช่วง ไม่ตกในช่วงที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออก ดอกหัว จึงทำให้ผลผลิตเสียหาย แม้บางพื้นที่ จะมีการปลูกซ่อม 2-3 รอบ ก็ยงั ได้รบั ผลกระทบ เช่นเดิม จึงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงอย่าง ชัดเจน และเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดล่าช้า กว่ากำหนด 1 เดือนกว่า ซึง่ ช่วงเวลาทีเ่ ดินทาง สำรวจนั้น มีทั้งพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว

และอยู่ระหว่างการรอเก็บเกี่ยว โดยคาดว่าจะ เก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต ชุ ด นี้ ห มดในช่ ว งต้ น เดื อ น กันยายน ในส่วนของพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยวไป แล้วนั้นส่วนหนึ่ง เกษตรกรยังคงหาเมล็ดพันธุ์ เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป เนื่องจากหวัง ว่าจะมีฝนตกตามฤดูกาลใน และจะเริ่มเห็นว่า บางพืน้ ทีม่ ตี น้ ข้าวโพดอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ และ 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากได้น้ำฝนที่เริ่มตก ประปรายบ้างแล้ว จากการสอบถามจากพ่อค้าในท้องที่ ได้ ข้อมูลใกล้เคียงกันว่า ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกสู่ ตลาดในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ลดลงกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 50% แต่ทางคณะสำรวจคาดการณ์ ว่าผลผลิตรุ่น 2 (ฝน) เกษตรกรที่เริ่มทยอย การเพาะปลูกในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. น่าจะได้รบั ปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง และจะเก็บเกี่ยว ผลผลิตในช่วง พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งจะได้ผลผลิตที่มี คุณภาพดี ทำให้การคาดการณ์ผลผลิตเฉลี่ย ลดลงไม่ถึง 50% อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการ ติดตามสถานการณ์การเพาะปลูก ต่อไปอีก ครั้ง ในช่วงสำรวจภาพรวมราคารับซือ้ ผลผลิต ข้าวโพดฝักสดอยู่ที่ 5 บาทกว่า/กก. (ความชื้น 30%) ลดลงจากเดือน ก.ค. ซึ่งราคาอยู่ที่ 6 บาทกว่า แต่เมื่อเทียบกับราคาขายในช่วงเดียว กันของปีที่แล้วถือว่าราคายังสูงกว่า ในด้าน ต้นทุนการเพาะปลูกภาพรวม ต้นทุนยังคงเดิม มี ร าคาปุ๋ ย ที่ ล ดลงบ้ า ง และจะมี ห ลายพื้ น ที่ ที่เสียหาย คงต้องเพิ่มต้นทุนในเรื่องของค่า เมล็ ด พั น ธุ์ ค่ า ไถ่ ก ลบ และค่ า ปุ๋ ย รองพื้ น เนื่องจากเพาะปลูกซ่อม 2-3 รอบ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

61


ตารางสรุปผลผลิตการสำรวจในพื้นที่ พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) จังหวัด ปี 57/58 ปี 58/59 เพิ่ม/ลด ปี 57/58 ปี 58/59 เพิ่ม/ลด ปี 57/58 ปี 58/59 สระแก้ว 114,270 114,270 741 593 -20% 84,674 67,762 จันทบุรี 40,318 40,318 627 533 -15% 25,279 21,489 นครราชสีมา 778,166 793,729 2% 748 748 - 582,068 593,709 ลพบุรี 206,676 204,609 -1% 732 512 -30% 151,286 104,759 เพชรบูรณ์ 999,731 799,784 -20% 810 567 -30% 809,782 453,477 นครสวรรค์ 279,754 265,766 -5% 700 616 -12% 195,827 163,712 รวม 2,418,915 2,218,476 -8% - 1,848,916 1,404,908

เพิ่ม/ลด -20% -15% 2% -31% -44% -16% -24%

จังหวัดสระแก้ว แหล่งข้อมูล : เกษตรกรจากตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร และเกษตรกรจากตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 114,270 114,270 -

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 741 593 -20%

ผลผลิตรวม (ตัน) 84,674 67,762 -20%

สภาพทั่วไป จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่เพาะปลูก 114,270 ไร่ ซึ่งเท่ากับ ปีกอ่ นหน้า แม้สภาพภูมอิ ากาศในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกประสบปัญหา ภัยแล้ง ทำให้ตน้ ข้าวโพดเสียหายตายแล้ง แต่เกษตรกรในบางพืน้ ที่ ทำการไถกลบและปลูกซ้ำ 2-3 รอบ ด้านพืน้ ทีม่ นั สำปะหลังบางส่วน ที่กระทบภัยแล้ง เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากรอบการเพาะปลูกสั้น ในรอบสองปีที่ผ่านมาในเขตพื้นที่ อ.คลองหาด ไม่สามารถปลูกข้าวโพดรอบสองได้ แต่คาดว่าปีนี้ จะสามารถเพาะปลูกได้หากมีฝนตก ส่วนพื้นที่ อ.วัฒนานคร หลัง จากปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้วจะปลูกข้าวโพดหวานต่อไป 62 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164




คาดการณ์ผลผลิตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 593 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 20% เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ในช่วงออกดอกหัว เสียบฝัก ทำให้ตน้ ข้าวโพดมีฝกั เล็ก และบางต้นไม่ตดิ ฝัก ทำให้ผลผลิตทีอ่ อกมา ในรุ่น 1 ลดลงประมาณ 50% ส่วนผลผลิตในรุ่นที่ 2 ที่จะปลูกในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. คาดว่า จะมีผลผลิตและคุณภาพดีขึ้นตามเดิม เพราะฝนตกลงมามีน้ำฝนเพียงพอกับในช่วงที่ต้นข้าวโพด เจริญเติบโต คาดการณ์ด้านปริมาณผลผลิตรวมอยู่ที่ 67,762 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 20% สำหรับต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท/ไร่ ส่วนราคารับซื้อในช่วงที่ ผ่านมาลดลงอยู่ในช่วง 5.90-5.20 บาท/กก. ฝักสดที่ความชื้น 30%

จังหวัดจันทบุรี แหล่งข้อมูล : หจก. จ.เจริญรุ่งเรืองทุ่งขนาน, ร้านชัยเจริญทรัพย์รุ่งเรือง ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว เกษตรกร อำเภอสอยดาว ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 40,318 40,318 -

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 627 533 -15%

ผลผลิตรวม (ตัน) 25,279 21,489 -15%

สภาพทั่วไป จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่เพาะปลูก 40,318 ไร่ เท่ากับปีที่แล้ว แม้ปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเสถียรภาพ จะทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปปลูก ลำไยแทน แต่เนื่องจากพื้นที่ลำไยที่พึ่งเพาะปลูก ยังมีพื้นที่ช่วงว่างให้ สามารถเพาะปลูกข้าวโพดแซมได้ จึงทำให้ปริมาณพื้นที่ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ลดลง แต่ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังที่ถูกปรับ เปลี่ยนไปปลูกลำไยไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังแซมได้ จึงทำให้ เกษตรกรใช้พนื้ ทีน่ เี้ พาะปลูกข้าวโพดแซมแทน ทำให้พนื้ ทีน่ า่ จะยืนคงที่ แต่คาดว่าหลังจากนี้อีก 2-3 ปี พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์น่าจะ ลดลงจากที่ต้นลำไยเจริญเติบโตเต็มที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

63


คาดการณ์ผลผลิตเฉลีย่ อยูท่ ปี่ ระมาณ 533 กก./ไร่ ซึง่ ลดลงจากปีกอ่ นหน้าประมาณ 15% เนือ่ งจากขาดน้ำบำรุงต้นในช่วงตกดอก เสียบฝัก ทำให้ผลผลิตทีไ่ ด้ฝกั มีขนาดเล็กลง เมล็ดข้าวโพด เล็กลง บ้างก็เสียหาย แคระแกร็น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตรวมลดลงอยู่ที่ 21,489 ตัน ลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 15% ราคารับซื้ออยู่ที่ 6 บาทกว่าถึง 5.20 บาท (ความชื้น 30%) ซึ่งทางพ่อค้าให้ความเห็นว่า หากราคารับซือ้ ทรงตัวอยูท่ ี่ 6 บาทกว่า จะจูงใจให้เกษตรกรปลูกในรอบถัดไปมากขึน้ ซึง่ ปัจจุบนั เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน อาทิ ลำไย ในด้านสถานการณ์ขา้ วโพดจากฝัง่ กัมพูชาได้รบั ผลกระทบจากภัยแล้งเช่นเดียวกัน และปริมาณ ผลผลิตไหลเข้าสู่ตลาดไทยเล็กน้อย และส่วนมากไปยังเวียดนามเนื่องจากให้ราคาที่จูงใจกว่า

จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูล : ร้านฮะหลี ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด และ ร้านตรงพานิชย์ อำเภอปากช่อง เกษตรกร ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 778,166 793,729 2%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 748 748 -

ผลผลิตรวม (ตัน) 582,068 593,709 2%

สภาพทั่วไป จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ปลูกอยู่ที่ 793,729 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 2% เนือ่ งจากไม่ได้รบั ผลกระทบจากภัยแล้งมากนักเพราะพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ไม่ได้ทำการปลูกข้าวโพดรุน่ 1 และในรุ่น 2 ได้พื้นที่มันสำปะหลังที่ได้รับความเสียหายจากฝนที่ตกชุก เกษตรกรไม่ปลูกซ่อม แต่ เปลีย่ นมาปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์แทน เพราะรอบการปลูกสัน้ กว่า โดยเฉพาะพืน้ ทีอ่ ำเภอด่านขุนทด ในส่วนของอำเภอปากช่อง คาดว่าพื้นที่ปลูกจะไม่ลดลง เพราะดูจากปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดมีการขายมากขึ้นในช่วงเดือน ก.ค. จึงมองว่ามีแนวโน้มเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะ สูงมากขึ้น 64 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


ส่วนผลผลิตเฉลี่ยคาดการณ์ว่าจะเท่าเดิมที่ 748 กก./ไร่ เนื่องจากความเสียหายจาก ภัยแล้งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. เพียงเล็กน้อย และในรอบการปลูกเดือน ก.ค.-ส.ค. จะมีผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีน้ำฝนเพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นผลผลิตรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 593,709 ตัน หรือประมาณ 2% ต้นทุนการปลูกของ เกษตรกรในอำเภอวังน้ำเขียวอยูท่ ปี่ ระมาณ 7,000 บาท/ไร่ (รวมค่าเช่าที่ 1,500 บาท/ไร่) ราคา ปุ๋ยแพงขึ้นเล็กน้อย และมีต้นทุนการปลูกซ่อมเพิ่มขึ้นบ้าง ขณะที่ราคารับซื้อข้าวโพดอยู่ที่ 7.207.30 บาท/กก. เมล็ดสดที่ความชื้น 30%

จังหวัดลพบุรี แหล่งข้อมูล : ร้านธนาทรัพย์ธัญกร ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล และพื้นที่ อ.ท่าหลวง อ.พัฒนานิคม ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 206,676 204,609 -1%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 732 512 -30%

ผลผลิตรวม (ตัน) 151,286 104,759 -31%

สภาพทั่วไป จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ปลูกประมาณ 204,609 ไร่ ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 1% เนื่องจากมีพื้นที่ปล่อย ว่ า งเปล่ า ไม่ ว่ า จะเป็ น พื้ น ที่ ข องข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ หรื อ มันสำปะหลัง เนือ่ งจากเกษตรกรขาดต้นทุน และไม่กล้าเสีย่ ง กับปัญหาภัยแล้ง และมีบางพื้นที่เปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยบ้างเล็กน้อย ส่วนผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่คาดว่าลดลงถึง 30% อยู่ที่ 512 กก./ไร่ เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. ได้รับความเสียหายเกือบ 50% จากภาวะภัยแล้ง และคาดการณ์ว่ารุ่นที่ปลูกในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. จะได้ ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพมากกว่าเดิม เนื่องจากได้ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงที่พอเหมาะกับการ เจริญเติบโต สำหรับผลผลิตรวมลดลงอยู่ที่ 104,759 ตัน หรือลดลงประมาณ 31% และคาด ว่าในปีนี้การเก็บเกี่ยวผลผลิตในพื้นที่จะออกมากในเดือนตุลาคมและต่อเนื่องถึงมกราคม 2559 ส่วนราคารับซื้อข้าวโพดอยู่ที่ 7.40 บาท/กก. เมล็ดสดที่ความชื้น 30% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

65


จังหวัดเพชรบูรณ์ แหล่งข้อมูล : ร้านสหเพชรวิเชียรไซโล อำเภอวิเชียรบุรี และร้านทรัพย์สินเจริญการเกษตร อำเภอหนองไผ่ เกษตรกร ตำบลซับพุทรา อำเภอชนแดน ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 999,731 799,784 -20%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 810 567 -30%

ผลผลิตรวม (ตัน) 809,782 453,477 -44%

สภาพทั่วไป จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่เพาะปลูก 799,784 ไร่ ลดลง จากปีที่แล้วประมาณ 20% ซึ่งลดลงเนื่องจากภาวะแล้งต่อเนื่อง ส่งผลให้บางพื้นที่ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆ ทดแทน อาทิเช่น อ.หนองไผ่ เกษตรกรหั น ไปปลู ก ถั่ ว เขี ย วผิ ว มั น ถั่ ว แขก และ อ.วิเชียรบุรี เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังแทนพื้นที่ เพาะปลูกข้าวโพดที่ตายแล้ง เพราะราคาดีกว่า และทนแล้งได้มาก กว่า ปัจจุบันฝนเริ่มทิ้งช่วงมาแล้วประมาณ 15 วัน จึงเป็นเหตุผล สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชทนแล้งชนิดอืน่ ทดแทนข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ส่วนผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 567 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ประมาณ 30% ผลผลิตในรุ่นแรกที่เก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดไปแล้ว ในช่วงที่ผ่านมานั้นลดลงมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ คาดการณ์วา่ ผลผลิตในรุน่ 2 น่าจะดีขนึ้ หากมีฝนตกลงมาตรงตาม ความต้องการของข้าวโพดที่เจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตรวมอยู่ที่ 453,477 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 44% ผลผลิตในชุดแรกจะเพาะปลูกในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. แต่ใน ปีนี้แล้ง ทำให้ปลูกล่าช้าไปกว่า 1 เดือน ต้นทุนในการเพาะปลูก ที่เพิ่มขึ้น มาจากการลงปลูก 2-3 รอบ แม้ราคาปุ๋ยและน้ำมันจะ ลดลงมาบ้างก็ตาม ต้นทุนเพาะปลูกในเขต อ.ชนแดน อยูท่ ี่ 3,0003,500 บาท/ไร่ (ไม่ร่วมค่าเช่าไร่) ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ประมาณ 7 บาท/กก. เมล็ดสดที่ความชื้น 30% 66 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งข้อมูล : ร้านกันเองพานิชย์ และเกษตรกรอำเภอไพศาลี และพื้นที่อำเภอตากฟ้า อำเภอตาคลี ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 279,754 265,766 -5%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 700 616 -12%

ผลผลิตรวม (ตัน) 195,827 163,712 -16%

สภาพทั่วไป จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 265,766 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 5% พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ว ตายแล้งในรอบแรก ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกซ้ำ แต่เนื่องจาก ในพืน้ ทีข่ าดแคลนเมล็ดพันธุข์ า้ วโพดเลีย้ งสัตว์ทำให้เกษตรกรจำเป็น ต้องปรับเปลี่ยนไปปลูกชนิดอื่นแทนบ้าง เช่น มันสำปะหลัง และ หากมีพนื้ ทีท่ พี่ บว่าผลผลิตเสียหายล่าช้าจะหันไปปลูกถัว่ เขียวผิวมัน แทน ผลผลิตเฉลีย่ อยูท่ ี่ 616 กก./ไร่ ซึง่ ลดลงจากปีทแี่ ล้วประมาณ 12% มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในการปลูกรอบแรก บางส่วน ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ด้วย แต่ในรอบที่ 2 ที่ปลูก ตั้งแต่กลางเดือน ก.ค. เป็นต้นไป คาดว่าผลผลิตจะมีคุณภาพดี เนื่องจากจะได้น้ำฝนอย่างพอเหมาะ ปกติผลผลิตในชุดแรกจะปลูกในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. แต่ใน ปีนี้แล้ง ทำให้ปลูกล่าช้าไปกว่า 1 เดือน ทำให้ผลผลิตจะทยอย ออกในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. สำหรับต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 4,0005,000 บาท/ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเมล็ดพันธุ์ ที่สูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อม

สรุปโดย นางสาววริศรา ธรรมเจริญ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 27 สิงหาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

67


Around the World

ปัญหาใหม่ ของ กุ้ง • ดลมนัส กาเจ •

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย บอกว่า กว่า 3 ปีมาแล้ว ที่อุตสาหกรรมกุ้งในประเทศไทยประสบปัญหา การระบาดของโรคกุ้งเกิดอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome) หรือทีเ่ รียกว่าเอสเอ็มอี ส่งผล ให้การผลิตกุ้งของประเทศลดลงกว่าครึ่งจากผลผลิต เฉลีย่ ปีละ 5 แสนตัน เหลือประมาณปีละ 2 แสนตัน รายได้ จากการส่งออกก็ลดลงเป็นเงาตามตัว ที่ร้ายไปกว่านั้น เกษตรกรหลายรายประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิก กิจการ ส่วนที่เหลือก็ขาดความมั่นใจต้องชะลอการลงทุนท่ามกลางความเสี่ยง แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการทั้งเกษตรกร และผู้ส่งออกไทยยังคงมุ่งเน้นคือการผลิต อาหารปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อคนทั้งโลก ที่ผ่านมาทั้งภาคเอกชน และเกษตรกรต่างร่วมมือกันเดินหน้าเพื่อแก้ ปัญหาเอสเอ็มอีอย่างไม่หยุดยัง้ ความพยายามหาทางออกด้วยการเยียวยาและ การปรับเทคโนโลยีการเลีย้ งตัง้ แต่คดั เลือกพันธุ์ การอนุบาลลูกกุง้ เพือ่ ให้ลกู กุง้ แข็งแรง มีความต้านทานโรค การทำความสะอาดบ่อเลี้ยง และเทคนิคอื่นๆ ส่งผลในทางบวกมากขึ้น ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่สามารถกลับมาเลี้ยงกุ้งได้ บ้าง แต่การผลิตก็ยังไม่สามารถกลับคืนมา 100% เหมือนเดิม แต่ก็ทำให้ ประเทศไทยมีความหวังที่จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

ที่มา : คม ชัด ลึก ฉบับที่ 5128 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

68 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


แต่ปัญหามีอยู่ว่า ตอนนี้พอปัญหาโรค กุ้งตายด่วนเริ่มดีขึ้น แต่ออเดอร์จากประเทศคู่ ทำให้ปัญหาใหม่เกิดขึ้นอีก ล่าสุด ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ในฐานะประธาน คณะทำงานขั บ เคลื่ อ นอุ ต สาหกรรมกุ้ ง ไทย ยืนยันว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคกุ้งตายด่วน เริม่ ส่งสัญญาณในทิศทางทีด่ ขี นึ้ จึงทำให้กำลัง การผลิตกุ้งทะเลของเกษตรกรทั่วประเทศเพิ่ม ปริมาณมากขึน้ โดยผลผลิตกุง้ ทะเลในปี 2558 (มกราคม-กันยายน) มีปริมาณเพิม่ ขึน้ 17.22% เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ผ่านมาในช่วงเวลา เดียวกัน ประกอบกับช่วงนี้มีการพักออเดอร์ของ คู่ค้าที่สำคัญๆ จึงทำให้ผู้ประกอบการห้องเย็น ต้องชะลอการสั่งซื้อกุ้งจากเกษตรกร ส่งผลให้ ราคากุ้งทะเลเริ่มตกต่ำ สร้างความเดือดร้อน ให้เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ ของไทย ซึง่ ทีผ่ า่ นมาได้มี การร้องขอให้ภาครัฐพิจารณาความช่วยเหลือ เป็นการเร่งด่วน จึงได้มกี ารจัดการประชุมคณะ ทำงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ครั้งที่ 2/2558 ขึ้นมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558 การประชุมครัง้ นีม้ ตี วั แทนผูป้ ระกอบการ ห้องเย็น และตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ทัว่ ประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง เข้าร่วมหารือ เพื่อถกหาแนวทางช่วยเหลือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งพยุงราคา หลังประสบกับ ปั ญ หาราคากุ้ ง ตกต่ ำ จากการฟื้ น ตั ว ของโรค ตายด่วน ที่ประชุมได้มีมติให้มีการจัดตั้งคณะ กรรมการอุตสาหกรรมกุง้ ไทย เพือ่ ร่วมหารือกัน อย่างสม่ำเสมอ

คณะทำงานชุดนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ ปัญหาตลอดห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม กุ้ง เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความชัดเจน และ ตรงประเด็ น ยิ่ ง ขึ้ น โดยให้ มี ผู้ แ ทนของกรม ประมง ผู้ แ ทนสำนั ก เศรษฐกิ จ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวง พาณิชย์ ผู้ประกอบการห้องเย็น และผู้แทน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ร่วมเป็นคณะทำงาน นอกจากนี้ กรมประมงได้ดำเนินการ เสนอโครงการ "ปรับโครงสร้างระบบการเลีย้ ง เพื่ อ พลิ ก ฟื้ น การผลิ ต กุ้ ง และเพิ่ ม ขี ด ความ สามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมการผลิตกุ้ง ทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน" ถ้ า งานนี้ ผ่ า นการพิ จ ารณาของคณะ กรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ เกษตรกร (คชก.) และได้รบั การอนุมตั กิ จ็ ะเป็น การช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งครับ!

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

69


Around the World

'ไอยูยู' ลามสหรัฐฯ

จ้องเล่นงานไทย ออกกฎหมาย ตรวจเข้ม

'กุ้ง-ทูน่า'

ผู้ส่งออกกุ้ง-ทูน่าไทยหนาว หลัง "โอบามา" สั่งร่าง กม. เพื่อขจัด การทำประมงที่ผิดกฎหมาย Presidential Task Force on Combating IUU Fishing เลียนแบบ IUU สหภาพยุโรป แต่มีผลบังคับครอบคลุม กว้างขวางลงไปถึงการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ และการปิดฉลากต้องถูกตรวจสอบ ย้อนกลับไปถึงประเทศต้นทางให้ร่วมรับผิดชอบด้วย หลังจากที่สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้งและขจัด การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ออกมาบังคับใช้กับสมาชิกสหภาพ ตลอดจนการนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหาร ทะเลจากประเทศที่ 3 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา สหรัฐฯ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เตรียมการที่จะประกาศใช้กฎหมายในลักษณะเดียว กันนี้เช่นกัน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการสินค้า อาหารทะเลจากประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า ในขณะนี้ประเทศไทยถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ (Noncooperating Country) ในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป และเร่ง แก้ไขปัญหาก่อนที่จะได้รับ "ใบแดง" ในอีก 6 เดือนข้างหน้า และหากกฎหมาย IUU ของ สหรัฐฯ มีผลบังคับใช้ขึ้นมาอีกประเทศหนึ่ง ไทยจะต้องเผชิญกับการแก้ไขปัญหาสินค้าประมง 2 ด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 4781 วันพฤหัสบดีที่ 5-วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

70 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164


แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัก โอบามา ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอ เรือ่ งการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU เป็น แผนแห่งชาติ และได้รับความเห็นชอบจากสภา คองเกรสแล้ว โดยมอบ National Ocean and Atmospheric Administration หรือ NOAA ภายใต้ กระทรวงพาณิ ช ย์ ส หรั ฐ ฯ เป็ น ผู้ จั ด ทำร่ า ง รายละเอียดของกฎระเบียบ (Proposed Rule) ล่าสุดร่างกฎระเบียบดังกล่าว ได้ผา่ นการจัดทำ ประชาพิจารณ์ทางเว็บไซต์ไปแล้วบางส่วน และ คาดว่าสหรัฐฯ จะสามารถประกาศบังคับใช้กฎ ระเบียบ IUU ดังกล่าวได้ภายในปี 2559 ทั้งนี้ ตามแผนปฏิบัติการเบื้องต้น มีการ กำหนด หรือการระบุสายพันธุ์ อาหารทะเล "ที่มีความเสี่ยง" ต่อการทำประมง IUU หรือ การหลอกลวงเกีย่ วกับอาหารทะเล 13 สายพันธุ์ ได้แก่ หอยเป๋าฮื้อ, ปลาค็อดแอตแลนติก (Atlantic Cod), ปูมา้ , ปลาโลมา, ปลาทะเลประเภท Grouper, แมงดาทะเล, ปลาค็อดแปซิฟิก (Pacific Cod), ปลากะพงแดง, ปลิงทะเล, ฉลาม, กุ้ง, ปลากระโทงแทงดาบ และปลาทูน่า ด้ า นนายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวถึง ประเด็น IUU ของสหรัฐฯ ว่า ขณะนีท้ างสหรัฐฯ อยู่ระหว่างจัดทำร่างระเบียบเกี่ยวกับการค้า ระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ทีเ่ กีย่ วกับอาหารทะเล ได้แก่ ร่างระเบียบการทำประมงผิดกฎหมาย ทัง้ ในส่วนของการจับจากทะเล (Catcher) และ การเลี้ยง (Aquaculture) หรือ Presidential Task Force on Combating IUU Fishing

กับร่างระเบียบกฎหมายการทำผิดเกี่ยวกับการ ค้าอาหารทะเล (Seafood Fraud) โดยร่างทั้ง 2 ฉบับนี้ ได้ผ่านการทำ ประชาพิจารณ์ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานกลาง ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2558 ซึ่งตาม ขั้นตอน คาดว่าสหรัฐฯ จะสามารถประกาศใช้ กฎระเบียบดังกล่าวได้ภายใน 1-2 ปีขา้ งหน้านี้ ซึง่ ทางสมาคมมองว่า ร่างกฎหมายทัง้ 2 ฉบับ จะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมส่งออกอาหาร ทะเลของไทยทั้งระบบ และอาจจะหนักกว่า กฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป เนือ่ งจากมี การผู ก โยงเรื่ อ งความผิ ด ทางการค้ า ที่ เ กี่ ย ว ข้องกับอาหารทะเลทัง้ หมดเข้าไปด้วย จึงอยาก ให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนิน การปรับตัวเพื่อรับมือกับกฎระเบียบดังกล่าว "ร่างกฎระเบียบ IUU ของสหรัฐฯ จะเข้มข้น แตกต่างจากระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป ตรงที่อียูจะควบคุม IUU เฉพาะสัตว์น้ำ ที่จับ จากทะเลโดยตรง (Catcher) แต่ IUU สหรัฐฯ จะดูไปถึงสัตว์นำ้ จากการเลีย้ งบนบกด้วย (Aquaculture) ด้วย ซึ่งตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการเลีย้ งและการส่งออกกุง้ เพราะ สหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย โดย สหรัฐฯ จะมีการตรวจสอบย้อนกลับว่า วัตถุดบิ ที่นำมาใช้ในการเลี้ยงกุ้งมาจากการทำประมง ผิดกฎหมายหรือไม่ และผลพลอยได้จากการ ทำประมงในกรณีปลาที่จับมาทำปลาป่นมีการ ดำเนินการอย่างไม่ยั่งยืน เช่น เรานำปลาทูน่ามาทำปลากระป๋อง หากจับมาด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่ยงั่ ยืน แล้วนำหัวปลา และกระดูกมาทำปลาป่น นำไปให้กงุ้ กิน ตลอด เส้นทางซัพพลายเชนเหล่านี้ ถือว่าไม่ถกู กฎหมาย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

71


ปั จ จุ บั น ยอมรั บ ว่ า การแก้ ไ ขปั ญ หาการทำ ประมงผิดกฎหมายยังไม่สามารถทำได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับของ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ" นายพรศิลป์กล่าว นอกจากนีร้ า่ งกฎหมายของสหรัฐฯ ยังมี การระบุทำนองว่า "อะไรก็ตามทีท่ ำผิดเกีย่ วกับ อาหารทะเลก็จะเกี่ยวกับ IUU ด้วย"

แม้ตอนนี้บทลงโทษจะยังไม่มีการเขียน ชัดเจน แต่คาดว่าบทลงโทษคงไม่เบา ดังนั้น เราต้องปรับตัวรับมือ ปรับโครงสร้างการผลิต ทัง้ ระบบ โดยเฉพาะกรมประมง ควรนำระเบียบ มาวิเคราะห์ ไม่ใช่รอจนเกินเหตุกรณี IUU ของยุโรป เวลาผ่านไป 4-5 ปี เราไม่ทำอะไรเลย" นายพรศิลป์กล่าว

ยกตัวอย่าง ส่งออกไปแล้วมีการทำผิดกฎ เรื่องการส่งออก เช่น ติดฉลากผิด ชี้แจงผิด เอกสารผิด ราคาผิด มีสารตกค้าง บรรจุภณ ั ฑ์ผดิ ทั้งหมดนี้จะถูกผูกโยงเข้าไปในกฎหมาย IUU

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนของไทยได้ โต้แย้งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับของสหรัฐฯ ผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์ไปแล้วว่า "ไม่ เห็นด้วย" ใน 2 ประเด็น

ยกตัวอย่าง เทรดเดอร์ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลเข้าไปจะเป็นคนติดฉลาก แต่ถือว่า ประเทศผู้ผลิตต้นทางต้องรับผิดชอบด้วย

ประกอบด้วย 1) การรวมเรื่องของกุ้ง ที่มาจากการเพาะเลี้ยง กับ 2) กรณีความผิด เกีย่ วกับการค้าอาหารทะเล (Seafood Fraud) ทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่ควรรวมเข้าไปไว้ในกฎหมาย IUU

"เช่น กรณีตวั อย่างคอสโกในสหรัฐฯ ฟ้อง วอล-มาร์ต ว่าติดฉลากผิดเกีย่ วกับเรือ่ งแรงงาน ไม่ได้ติดฉลากว่า กุ้งนี้ไม่ได้ผลิตจากแรงงานที่ ผิดกฎหมายไม่มฉี ลาก จะต้องถูกสืบย้อนกลับมา ถึงผู้ผลิตในประเทศไทยด้วย 72 กันยายน-ตุลาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

ล่าสุดมีรายงานข่าวเข้ามาว่า สหรัฐฯ มี ความพยายามทีจ่ ะนำ IUU เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้น


แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ในหัวข้อมาตรฐานและเงื่อนไขเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม รวมถึ ง  ความร่ ว มมื อ ในการยุ ติ ก าร อุ ด หนุ น การทำประมงที่ เ ป็ น อั น ตราย และ สนับสนุนการออกมาตรการที่เกี่ยวข้อง โดย การเจรจา TPP ต่อไปอาจจะมีการรวมเงือ่ นไข ในการบังคับใช้แรงงานและสิ่งแวดล้อมอย่าง มีประสิทธิภาพ รวมถึ ง การปลอมแปลงอาหารทะเล เพิ่มความโปร่งใส และการติดตามโครงการ ให้เงินอุดหนุนการประมง "ในปีนี้สหรัฐฯ จะร่วมมือกับอียูในการ ปรับปรุงข้อเสนอเพือ่ บังคับใช้กฎหมายแรงงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการกับปัญหา IUU และการทุจริตในธุรกิจประมง และเตรียมหา ข้อสรุปการเจรจา T-TIP ก่อนที่จะยื่นข้อเสนอ ให้กับสภาสูงของสหรัฐฯ พิจารณาด้วย" ขณะที่นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ รองปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำ สหภาพยุโรป ได้รายงานผลการหารือระหว่าง กระทรวงการต่างประเทศของไทย กับกรม ประมงของประเทศสเปน เมื่อ 7-9 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า สเปนมีระบบติดตามเรือประมง (VMS) ระบบบั น ทึ ก และรายงานข้ อ มู ล การ ทำประมงแบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (ERS) ที่ มี ประสิทธิภาพและทันสมัย ทำให้สเปนประสบ ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย (IUU)

ทัง้ นี้ สเปนสนใจจะทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับไทย ไทยกับสเปน เกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาด้านประมง โดยเสนอให้ข้อมูล เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา IUU และการพัฒนา VMS ด้วย นอกจากนี้ ได้รายงานผลการประชุม ครบรอบ 20 ปี แนวปฏิบัติสำหรับการทำ ประมงอย่างมีความรับผิดชอบของ FAO ซึ่งมี ผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี รวมถึงนาย Karmenu Vella กรรมาธิการยุโรปด้านกิจการ ทางทะเลและการประมง และผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในวงการประมงจากทั่วโลก เข้าร่วม 300 คน โดยทีป่ ระชุมได้นำเสนอสถานการณ์ และ ทิศทางการพัฒนาของภาคประมงโลก ส่งเสริม การทำประมงอย่างยัง่ ยืน การแก้ไข IUU แนวทาง การบริหารจัดการประมงทะเล และทิศทาง ของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าอาหาร ทะเล ผลการหารือครั้งนี้ไทยควรเข้าร่วมและ ติ ด ตามสถานการณ์ ด้ า นประมงของหลายๆ ประเทศ และแสวงหาความร่ ว มมื อ กั บ ต่ า ง ประเทศ เพื่อนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาบริหารจัดการประมงทะเล และเสริม สร้างขีดความสามารถของไทยอย่างต่อเนื่อง และควรหาโอกาสในเวทีระหว่างประเทศ แสดงความจริงใจของไทยในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 164

กันยายน-ตุลาคม 2558

73


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด บรูเกอร์ ไบโอสปิน เอจี

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2640-8013 ต่อ 25 โทร. 0-2642-6900




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.