รายนามสมาชิก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25.
บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด
26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50.
บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จำกัด
อ
ิภ ัน น
ท
ร า ก นา
คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2560-2561
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นางสาวสุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจำลอง เติมกลิ่นจันทน์
นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด
บรรณาธิการ แถลง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2560 พระยาแรกนาได้เสี่ยงทาย หยิบผ้านุ่งแต่งกาย หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้า ในนาจะได้ผลบริบรู ณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี และการเสีย่ งทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค ผลเสี่ยงทาย พระโค กินข้าว ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี และพระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี สาธุ ขอให้เกษตรกรจงเจริญ รุ่งเรือง ถือฤกษ์ถือชัย ดำเนินชีวิตและธุรกิจทางเกษตรให้เจริญก้าวหน้า เป็นปีที่รุ่งเรือง ตลอดไปเทอญ แผนแม่บทพัฒนาเกษตรกรรม 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่ออกมาเพื่อมุ่งหวัง ให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน จะได้รับการดูแลจาก หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องบนวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ทไี่ ด้กลัน่ กรองอย่างดี ทำให้เกษตรกร มีความมัน่ ใจทีจ่ ะอยูใ่ นอาชีพและดึงชุมชนครอบครัวให้กลับมาพัฒนาเกษตรกรรมบ้านเกิด ให้ก้าวหน้าด้วยการนำเทคโนโลยี่มาใช้ปรับปรุงให้เจริญต่อไป สถานการณ์ปศุสัตว์ ก็ยังนับว่าไปได้ดีด้วยการพัฒนาระบบการเลี้ยงการพัฒนา เทคโนโลยีและการจัดการที่ดี ทำให้ประเทศไทยยังได้เป็นผู้นำตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์ ปศุสตั ว์เพือ่ เลีย้ งประชากรโลก จึงต้องให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องช่วยสนับสนุนเป็นพีเ่ ลีย้ งคอย ส่งเสริมให้มีความสะดวกในการดำเนินการที่จะลดขั้นตอนที่มีความซับซ้อนและซ้ำซ้อน เพื่อลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เพื่อการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ได้เปรียบในเรื่องต้นทุน วัตถุดิบมากมาย รัฐบาลต้องมองภาพใหญ่ของประเทศว่า ภาคปศุสัตว์ที่สนับสนุนอยู่จะมีเป้าหมาย เพื่อการส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศ ต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งให้ได้ แล้วค่อยหาวิธี สนับสนุนผู้ผลิตปัจจัยวัตถุดิบ ที่เป็นเกษตรกรตัวจริงให้อยู่ได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมด้วย การเพิม่ ผลผลิต ลดต้นทุน เพิม่ ประสิทธิภาพ อย่าได้มาสร้างเงือ่ นไขฉุดกันไว้ทกุ วิธี จนทำ ให้การวางแผนการผลิตผิดเพี้ยนไป
บก.
ธุรกิจอาหารสัตว์
วารสาร
ปีที่ 34 เล่มที่ 174 ประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2560 วัตถุประสงค์
Contents
1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
Thailand Focus พิธีแรกนาขวัญปี 60 “พระโคกินข้าว ข้าวโพด หญ้า” พยากรณ์ว่าธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี..............................................................................5 โปรดเกล้าฯ แล้ว… นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนใหม่...................................................7 คลอดแล้ว! แผนแม่บทพัฒนาเกษตรกรรม 5 ปี ปลดหนี้…ยืนบนขาตัวเองได้................................10 Food Feed Fuel สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้ม ปี 2560 ๏ ไก่เนื้อ ๏ ไข่ไก่ ๏ สุกร ๏ กุ้ง ๏ ปลาป่น ๏.......................................................................12 สศก. ลุยสำรวจมันทั่วประเทศ คาดฝนดีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น.........................................................51 Market Leader สศก. เผยดัชนีรายได้เกษตรกร มี.ค. พุ่ง 29.90% คาด เม.ย. ขยายตัวเพิ่มอีก............................ 53 เกษตรฟื้น คุมนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ไก่ แก้ไข่ล้น รายใหญ่ดัมพ์ราคาร่วง.................................................. 55 งานวันกุ้งสุราษฎร์ฯ ยิ่งใหญ่ ชู “ศาสตร์พระราชา”...........................................................................57 โรคขี้ขาว........................................................................................................................................ 60 เลี้ยงหมูแบบ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ไร้เสี่ยง…คือคำตอบของเกษตรกรยุค 4.0???......................... 64 Around The World รัฐบาลอินโดนีเซีย แถลงนโยบายใหม่ เร่งสร้างความยั่งยืนให้เกษตร - ปศุสัตว์..................................67 เอกสารวิชาการ ศึกษาการลดปริมาณสารไนไตรท์ ในรังนกสีแดงตามธรรมชาติ.............................. 69 ขอบคุณ........................................................................................................................................ 80 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายอรรถพล ชินภูวดล นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง นางสาวกรดา พูลพิเศษ นายธีรพงษ์ ศิริวิทย์ภักดีกุล
ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา
สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 Email: tfma44@yahoo.com Website: www.thaifeedmill.com
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2560
พิธีแรกนาขวัญปี 60
“พระโคกินข้าว ข้าวโพด หญ้า”
พยากรณ์ว่าธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี • โดย torzkrub - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 •
เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2560 เวลาประมาณ 08.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลง กรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา โดยรถยนต์พระที่นั่ง มายังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธาน ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช 2560 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธสี งฆ์ ซึง่ ประกอบพระราชพิธวี นั แรกทีพ่ ระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2560 และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยประกอบพระราชพิธี ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2560 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พระราชพิธจี รดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธกี ารซึง่ กระทำขึน้ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจในการเพาะปลูก กำหนดจัดขึน้ ในเดือนหกของทุกปี อันถือเป็น เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา ที่มา : http://www.kasetkaoklai.com
5
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
เทพีคู่หาบเงิน หาบทอง
เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ผลเสี่ยงทาย พระโคกินข้าว ข้าวโพด และหญ้า
“พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2560
พระยาแรกนาได้เสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย หยิบได้ผ้า 5 คืบ และการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค ผลเสี่ยงทาย พระโคกินข้าว ข้าวโพด และหญ้า” การจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ ฤกษ์การไถหว่านอยู่ในระหว่างช่วง เวลา 08.19 - 08.59 น. ผู้ทำหน้าที่เป็นพระยาแรกนา คือ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวนันทินี ทองคงเหย้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และนางสาวฉมาพันธ์ สุพรมอินทร์ นักวิชาการตรวจสอบบัญชี ปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวนันทวัน สุวรรณสถิตย์ นักวิชาการ สิง่ แวดล้อมชำนาญการ กรมชลประทาน นางสาวพรพิมล ศิรกิ าร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริม การเกษตร ส่วนพระโคแรกนาขวัญ ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล สำหรับผลการพยากรณ์ถงึ ความสมบูรณ์ของพืชพันธุธ์ ญ ั ญาหารของประเทศ ซึง่ ในปี พ.ศ. 2560 นี้ นายสัตวแพทย์ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ถวายรายงานการ พยากรณ์ เสีย่ งทายผ้านุง่ ของพระยาแรกนา และพระโคกินเลีย้ ง โดยพระยาแรกนาได้เสีย่ งทายหยิบผ้านุง่ แต่งกาย หยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และ ผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี ขณะทีก่ ารเสีย่ งทายของกิน 7 สิง่ ทีต่ งั้ เลีย้ งพระโค ผลเสีย่ งทาย พระโคกินข้าว ข้าวโพด และหญ้า ซึ่งผลเสี่ยงทายกล่าวว่า ถ้าพระโคกินข้าว หรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี และถ้าพระโคกินหญ้า พยากรณ์วา่ น้ำท่าจะบริบรู ณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
6
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
โปรดเกล้าฯ แล้ว…
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนใหม่ • โดย torzkrub - 19 เมษายน พ.ศ. 2560 •
โปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นนายกสภา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 15 ราย ประกอบด้วย นายกฤษฎา บุณยสมิต, นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, พลโทชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์, นายดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, นายปิยะวัติ บุญหลง, นายพีรเดช ทองอำไพ, นายพีระศักดิ์ ศรีนเิ วศน์, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร, นายยุคล ลิม้ แหลมทอง, นายลักษณ์ วจนานวัช, พลเอก วุฒนิ นั ท์ ลีลายุทธ, นายสมพร อิศวิลานนท์, นายสิทธิศกั ดิ์ วนะชกิจ, นายโสภณ ภูเก้าล้วน, นายอมเรศ ภูมิรัตน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 เมษายน 2560 สำหรับประวัติ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) มีดังนี้ ประวัติ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489) นายกสภา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีต เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธานกรรมการสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อดีตที่ปรึกษาโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การ มหาชน) กรรมการกฤษฎีกา กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มา : http://www.kasetkaoklai.com
7
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
การศึกษา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี B.Sc. First Class Hons. Electrical Engineering (เกียรตินิยม อันดับ 1) ในปี พ.ศ. 2511 และปริญญาเอก ด้านวัสดุวศิ วกรรมไฟฟ้า แขนงวิศวกรรมไมโครเวฟ จากมหาวิ ท ยาลั ย กลาสโกว์ สหราชอาณาจั ก ร นอกจากนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ยังสำเร็จ การศึกษาหลังปริญญาเอก ได้รับประกาศนียบัตร หลังปริญญาเอก Cert. Alternative Energy จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มอบปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรอีกด้วย การทำงาน ดร.กฤษณพงศ์ เริ่มรับราชการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และได้เลื่อนตำแหน่ง ก้าวหน้าเรื่อยมา อาทิ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ประธานสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะพลังงานและวัสดุ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี นอกจากนี้ ยังได้รบั แต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งอืน่ ๆ นอกเหนือจากในมหาวิทยาลัยอีกหลายตำแหน่ง เช่น รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2529 - 2541) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ปัจจุบนั ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำและการเกษตร ประสบการณ์ทำงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2557) • เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา • อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์, รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณบดีคณะพลังงานและวัสดุ, คณบดีคณะ วิศวกรรมศาสตร์, ประธานสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ, หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า • รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
8
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
• ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย, รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ • กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ประธานกรรมการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ • ประธานคณะทำงานด้านการศึกษา คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.)
รางวัลที่เคยได้รับ
• รางวัลผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยี Solar PV • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประจำปี 2540 • ASEAN Science and Technology Meritorious Award (1996) • Gold Medal (1969) • George Young Bursary (1966), Grey, Law and Watt Scholarship (1971) of the University of Glasgow • Royal Prize, awarded by HM the King for being the first in the National Examination of Secondary School Students (Science Program) (1965)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• พ.ศ. 2557 - เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์อนั เป็นทีเ่ ชิดชูยงิ่ ช้างเผือก ชัน้ สูงสุด มหาปรมาภรณ์ชา้ งเผือก (ม.ป.ช.) • พ.ศ. 2555 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) • พ.ศ. 2534 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบตระกูล นายเกรียง กีรติกร • พ.ศ. 2534 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้น 4 (ภ.ป.ร. 4)
งานวิจัย • งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรังสีดวงอาทิตย์, ระบบแสงอาทิตย์เทียม, ระบบ โซล่าเซลล์, ผิวเลือกรังสี, เซนเซอร์ชีวภาพและเคมี, ผิวเคลือบกันการผุกร่อน • งานวิจัยด้านการศึกษานโยบาย - อุ ด มศึ ก ษา, เทคโนโลยี ส ารสนเทศ, พลั ง งาน, กำลั ง คนวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี , การศึกษาวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษและผู้ด้อยโอกาส, เทคโนโลยีและ ภูมิปัญญา - ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความและรายงานทางวิชาการ ประมาณ 200 เรื่อง - ควบคุมวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ประมาณ 100 คน, ทำงานวิจัยและกำกับการวิจัยเชิงนโยบาย, การประเมินโครงการ/แผน, การศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการ/แผนระดับชาติและนานาชาติ ประมาณ 30 เรื่อง (อ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วันที่ 19 เมษายน 2560)
9
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
คลอดแล้ว! แผนแม่บทพัฒนาเกษตรกรรม 5 ปี
ปลดหนี้…ยืนบนขาตัวเองได้ • โดย torzkrub - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 •
ในทีส่ ดุ ทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนเกษตรของไทยให้มีความเข้มแข็ง เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 - 2564 ตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาตินำเสนอ โดยมี 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว เช่น การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและความ เข้มแข็งบุคลากร โดยทีป่ ระชุมคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบ พร้อมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวง มหาดไทย นำแผนแม่บทฉบับดังกล่าวไปบูรณาการร่วมกับแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เกี่ยวกับแผนพัฒนาการเกษตร ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนา ทางเกษตรของไทยมีความเชื่อมโยงบูรณาการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งนำไปสู่ ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็งเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 - 2564 ให้คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติทราบ เพื่อใช้เป็น ข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการเกีย่ วกับการเตรียมการยุทธศาสตร์ในส่วนที่ เกี่ยวข้องต่อไป
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ และ RYT9
10
Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ร่างแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ. 2560 - 2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ • กลุ่ม/องค์กรเกษตรกรสามารถพัฒนาดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ เช่น ธุรกิจสินเชือ่ รวมซือ้ แปรรูป รวมขาย และกิจกรรมแนะนำงานฟาร์ม ให้บริการตามความต้องการของสมาชิก • เกษตรกรยากจนที่มีรายได้อยู่ใต้เส้นความจนมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ • ทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะแหล่งน้ำเพือ่ การเกษตรทัว่ ถึงและเพียงพอ คุณภาพ ดินได้รับการปรับปรุงเหมาะสมแก่การเกษตร ตลอดจนมีโอกาสเข้าถึงเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูป • เกษตรกรผูผ้ ลิตสินค้าเกษตรทีส่ ำคัญทางเศรษฐกิจสามารถลดต้นทุน เพิม่ ผลผลิต และพัฒนา คุณภาพผลิต รวมทั้งมีการขยายปริมาณแปรรูปและเกษตรอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า • เกษตรกรได้รบั สวัสดิการเกษตรกร โอกาสเข้าถึงและคุม้ ครองสิทธิทดี่ นิ ทำกิน รับรูข้ อ้ มูลข่าวสาร ด้านการเกษตรประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งการมีกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและคุ้มครองทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร ยุทธศาสตร์ท่ี 3 การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 การแก้ไขปัญหาหนีส้ นิ ภาคเกษตรและการสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการ ด้านกองทุนการเกษตร
11
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้ม ปี 2560
ไก่เนื้อ 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2555 - 2559 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.97 ต่อปี โดยรัสเซียมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด คือร้อยละ 7.70 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงไก่ ของภาครัฐ ปี 2559 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 89.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 88.69 ล้านตัน ในปี 2558 ร้อยละ 0.96 โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด มีปริมาณการผลิต 18.28 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ บราซิล 13.61 ล้านตัน จีน 12.70 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 11.07 ล้านตัน 1.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2555 - 2559 การบริโภคเนื้อไก่ของโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.86 ต่อปี โดยในปี 2559 การบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 87.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 86.96 ล้านตัน ของปี 2558 ร้อยละ 0.48 ซึง่ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศทีม่ กี ารบริโภคเนือ้ ไก่มากทีส่ ดุ คือ 15.23 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ จีน 12.99 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 10.38 ล้านตัน
(2) การส่งออก
ปี 2555 - 2559 การส่งออกเนื้อไก่ของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.34 ต่อปี โดยในปี 2559 การส่งออกเนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 10.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 10.25 ล้านตัน ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
12
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ในปี 2558 ร้อยละ 5.26 ผลจากการระบาดของ โรคไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2547 ทำให้บราซิลซึ่งเป็น ประเทศปลอดไข้หวัดนกก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออก อันดับ 1 ของโลกแทนสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2559 บราซิลสามารถส่งออกเนื้อไก่ได้ปริมาณ 4.11 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา 2.98 ล้านตัน สหภาพยุโรป 1.25 ล้านตัน และไทย 0.67 ล้านตัน โดยไทยได้ก้าวมาเป็นประเทศ ผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับที่ 4 ของโลกตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา (3) การนำเข้า ปี 2555 - 2559 การนำเข้า เนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยในปี 2559 การนำเข้าเนื้อไก่ ของโลกมีปริมาณ 8.91 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.63 ล้านตัน ในปี 2558 ร้อยละ 3.25 โดย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าเนื้อไก่มากเป็นอันดับ 1 ของโลก คือ 0.96 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย 0.85 ล้านตัน เม็กซิโก 0.82 ล้านตัน สหภาพยุโรป 0.75 ล้านตัน อิรัก 0.67 ล้านตัน และแอฟริกาใต้ 0.52 ล้านตัน
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2555 - 2559 การผลิตไก่เนื้อ ของไทยเพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 7.85 ต่อปี โดยในปี 2559 มีการผลิตไก่เนื้อ 1,397.47 ล้านตัว หรือ 1.92 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 1,338.94 ล้านตัว หรือ 1.85 ล้านตันในปี 2558 ร้อยละ 4.37 เนื่องจาก การผลิตไก่เนื้อของไทยมีการจัดการฟาร์มที่ได้ มาตรฐาน และมีระบบการผลิตที่ปลอดภัย จึงทำ ให้ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิม่ ขึน้ เพือ่ ตอบสนอง ต่อความต้องการบริโภคและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
1.2.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2555 - 2559 การบริโภคเนือ้ ไก่ ของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.80 ต่อปี โดย ในปี 2559 มีปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ 1.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.23 ล้านตัน ในปี 2558 ร้อยละ 2.42 โดยปริมาณการบริโภคมีสัดส่วน ร้อยละ 65.66 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด
(2) การส่งออก
ปี 2555 - 2559 ปริมาณการ ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยมีแนวโน้ม เพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 6.37 ต่อปี โดยในปี 2559 ไทยส่งออกเนื้อไก่รวมปริมาณ 660,000 ตัน มูลค่า 86,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 621,774 ตัน มูลค่า 81,175 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 6.15 และร้อยละ 6.56 ตามลำดับ ตลาด ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 53.91) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 31.61) กลุ่มประเทศ ในอาเซียน (ร้อยละ 8.11) และประเทศอื่นๆ (ร้อยละ 6.37) ด้านการส่งออกไก่สดแช่แข็ง ในปี 2559 ส่งออกปริมาณ 200,000 ตัน มูลค่า 16,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 175,758 ตัน มูลค่า 14,320 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 13.79 และร้อยละ 15.22 ตามลำดับ เนื่องจาก ความต้องการบริโภคของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว เพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 58.24) กลุ่มประเทศใน อาเซียน (ร้อยละ 30.75 ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยัง ประเทศ สปป.ลาว และสิงคโปร์) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 6.57) และประเทศอืน่ ๆ (ร้อยละ 4.44)
13
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ด้านการส่งออกเนื้อไก่แปรรูป ส่งออกปริมาณ 460,000 ตัน มูลค่า 70,000 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปริมาณ 446,016 ตัน มูลค่า 66,855 ล้านบาท ในปี 2558 ร้อยละ 3.14 และ ร้อยละ 4.70 ตามลำดับ ตลาดส่งออกไก่แปรรูป ทีส่ ำคัญ ได้แก่ ญีป่ นุ่ (ร้อยละ 48.68) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 40.33) กลุม่ ประเทศในอาเซียน (ร้อยละ 3.55) และประเทศอื่นๆ (ร้อยละ 7.44)
(3) ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2555 - 2559 ราคาไก่เนือ้ ที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อย ละ 2.85 ต่อปี โดยในปี 2559 ราคาไก่เนื้อที่ เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.61 บาท ในปี 2558 ร้อยละ 4.06 เนื่องจากมีปริมาณไก่เนื้อออกสู่ ตลาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 2) ราคาส่งออก ปี 2559 ราคาส่งออกไก่สด แช่แข็งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท ปรับตัว สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.48 บาท ในปี 2558 ร้อยละ 1.26 ส่วนราคาส่งออกเนือ้ ไก่แปรรูป ในปี 2559 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.17 บาท ปรับตัว สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 149.89 บาท ในปี 2558 ร้อยละ 1.52
2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าการผลิตเนื้อไก่ ของโลกจะมีปริมาณ 90.45 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก
14
89.55 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 1.01 การผลิต เนื้อไก่ของโลกขยายตัวตามความต้องการบริโภค ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิต ที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา บราซิล สหภาพยุโรป และอินเดีย ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่การ ผลิตไก่เนื้อของจีนคาดว่าจะลดลง เนื่องจากจีนยัง ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก 2.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2560 คาดว่าการบริโภค เนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 88.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 87.38 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 1.18 ผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา คาดว่า จะมีการบริโภคปริมาณ 15.66 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ จีน 11.71 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 10.79 ล้านตัน
(2) การส่งออก
ปี 2560 คาดว่าการส่งออก เนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 11.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 10.79 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 5.36 ผู้ผลิตรายเดิม (บราซิล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป) ยังคงเป็นผู้ครองตลาด ในขณะที่ผู้ผลิต รายเล็กมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น และบราซิลยังคง เป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อไก่มากที่สุด คือ 4.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.11 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 6.69 รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และไทย ตามลำดับ โดยไทยยังคง เป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลก
(3) การนำเข้า
ปี 2560 คาดว่าการนำเข้า เนื้อไก่ของโลกมีปริมาณ 9.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้น
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
จาก 8.91 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 4.20 ประเทศผูน้ ำเข้าเนือ้ ไก่ 5 อันดับแรก ได้แก่ ญีป่ นุ่ เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย สหภาพยุโรป และอิรัก โดยในปี 2560 คาดว่าประเทศดังกล่าวจะมีปริมาณ การนำเข้าเนื้อไก่ 0.92 0.85 0.84 0.76 และ 0.70 ล้านตัน ตามลำดับ
2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าการผลิตไก่เนือ้ ของ ไทยยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร และความต้องการบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้ง ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดย คาดว่าไทยจะผลิตไก่เนื้อปริมาณ 1,414.53 ล้าน ตัว เพิ่มขึ้นจาก 1,397.47 ล้านตัว ในปี 2559 ร้อยละ 1.22 2.2.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2560 คาดว่าการบริโภค เนื้อไก่ของไทยมีปริมาณ 1.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 1.26 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 2.84 เนื่องจากเนื้อไก่ยังเป็นอาหารที่จำเป็นเพื่อการ บริโภค และมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โดย การบริโภคในประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.52 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด
(2) การส่งออก
การส่งออกเนือ้ ไก่ของไทยในปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวเพิม่ ขึน้ สอดรับกับปริมาณ ความต้องการบริโภคของตลาด ทัง้ ตลาดญีป่ นุ่ และ สหภาพยุโรป ซึง่ ถือเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย นอกจากนี้ เกาหลีใต้อนุญาตให้ไทยส่งออกไก่สด แช่เย็นแช่แข็งไปได้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน
2559 หลังจากทีร่ ะงับการส่งออกตัง้ แต่ไทยมีการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี 2547 จึงคาดว่าไทย จะสามารถส่งออกไก่สดไปยังเกาหลีใต้ได้ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ซึง่ เป็นผลจากมาตรการ ควบคุมป้องกัน เฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ทเี่ ข้มงวด และการรักษามาตรฐานการผลิต และคุณภาพ สินค้า จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและประเทศ คู่ค้า ทำให้ไทยสามารถขยายการส่งออกเนื้อไก่ ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 คาดว่าการส่งออก เนือ้ ไก่รวมมีปริมาณ 710,000 ตัน มูลค่า 93,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 660,000 ตัน มูลค่า 86,500 ล้านบาท ในปี 2559 ร้อยละ 7.58 และร้อยละ 7.51 ตามลำดับ โดยแยกเป็น การส่งออกไก่สดแช่แข็งปริมาณ 230,000 ตัน มูลค่า 19,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 200,000 ตัน มูลค่า 16,500 ล้านบาท ในปี 2559 ร้อยละ 15.00 และร้อยละ 16.67 ตามลำดับ และ เป็นการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปปริมาณ 480,000 ตัน มูลค่า 73,750 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 460,000 ตัน มูลค่า 70,000 ล้านบาท ในปี 2559 ร้อยละ 4.35 และร้อยละ 5.36 ตามลำดับ
(3) ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2560 คาดว่าราคาไก่เนือ้ ที่เกษตรกรขายได้จะสูงขึ้นเล็กน้อยจากปี 2559 เนื่องจากมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด 2) ราคาส่งออก ปี 2560 คาดว่าราคาส่งออก เนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูปจะสูง ขึ้นเล็กน้อยจากปี 2559
15
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
2.3 ปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อปริมาณการ วั น ที่ ท ำลายสั ต ว์ ปี ก ตั ว สุ ด ท้ า ย เมื่ อ วั น ที่ 12 ผลิต หรือการส่งออกของไทย พฤศจิกายน 2551 ในขณะที่ประเทศคู่แข่งต่างๆ 2.3.1 ปัจจัยด้านบวก (1) การเพิม่ ขึน้ ของจำนวนประชากรโลก ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารจาก เนือ้ สัตว์โดยเฉพาะเนือ้ ไก่ปรับตัวเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจาก เนื้อไก่เป็นอาหารโปรตีนที่มีไขมันต่ำ นอกจากนี้ เศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ผู้บริโภค หันมาบริโภคเนื้อไก่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาถูก เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ (2) จากการที่เกาหลีใต้ได้อนุญาต ให้ไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งได้อกี ครัง้ ตัง้ แต่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เนือ่ งจากสินค้าอาหาร จากไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี ทั้งในด้านคุณภาพ และ ราคา รวมทั้งไทยมีระยะทางที่ใกล้กว่าประเทศ คูแ่ ข่งอย่างสหรัฐอเมริกา และบราซิล ประกอบกับ แรงงานไทยมีฝีมือและประณีต ทำให้ผลิตภัณฑ์ ไก่สดของไทยสามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าได้ดกี ว่าคูแ่ ข่ง นอกจากนี้ การทีเ่ กาหลีใต้ ประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกใน ขณะนี้ ถือเป็นโอกาสให้ไทยสามารถขยายการ ส่งออกเนื้อไก่ไปยังเกาหลีใต้ได้เพิ่มขึ้น (3) การดำเนินการเรือ่ ง Compartment และ Traceability สามารถสร้างความ เชื่ อ มั่ น ในคุ ณ ภาพการผลิ ต เนื้ อ ไก่ ข องไทยให้ ประเทศคู่ ค้ า ยอมรั บ ซึ่ ง เป็ น ผลจากมาตรการ ควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ที่ เข้มงวด ทำให้ไทยไม่มีรายงานการพบโรคไข้หวัด นกในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 8 ปี นับจาก
16
มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก อาทิ ประเทศ สหรัฐอเมริกา และจีน จึงเป็นโอกาสที่ทำให้ไทย มีส่วนแบ่งการตลาดส่งออกเนื้อไก่ไปยังตลาดโลก เพิ่มขึ้น 2.3.2 ปัจจัยด้านลบ (1) ประเทศไทยต้องพึ่งพาปัจจัย การผลิต และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดย เฉพาะพันธุไ์ ก่เนือ้ เมือ่ เกิดสถานการณ์โรคระบาด ในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตพันธุ์ที่สำคัญ จึงทำให้ เกิดความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ ของไทย โดยหากเกิดโรคระบาดเป็นระยะเวลา นาน อาจทำให้ไทยขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ในการ ผลิตไก่ได้ในอนาคต (2) ต้นทุนการผลิตไก่เนือ้ ของไทย โดยเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศคูแ่ ข่ง อาทิ บราซิล สหรัฐอเมริกา และจีน (3) ประเทศต่างๆ มีการนำมาตรการกี ด กั น ทางการค้ า ที่ มิ ใ ช่ ภ าษี (Non-Tariff Measures: NTMs) มาใช้มากขึน้ โดยนำประเด็น ทางสังคมต่างๆ มากำหนดเป็นมาตรฐานทางการ ค้ า ระหว่ า งประเทศ เช่ น มาตรฐานแรงงาน มาตรฐานสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งประเทศคู่ค้า อาจนำประเด็นดังกล่าวมาใช้กดี กันการค้าระหว่าง กัน หากไทยไม่ได้มีการเตรียมการป้องกันและ แก้ไขอย่างจริงจัง ก็อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก เนื้อไก่ของไทยได้
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของประเทศที่สำคัญ หน่วย: พันตัน
ประเทศ สหรัฐอเมริกา บราซิล จีน สหภาพยุโรป อินเดีย รัสเซีย ไทย ประเทศอื่นๆ รวมทั้งหมด
2555
2556
2557
2558
25591/
16,621 12,645 13,700 9,660 3,160 2,830 1,550 23,101 83,267
16,976 12,308 13,350 10,050 3,450 3,010 1,500 23,755 84,399
17,306 12,692 13,000 10,450 3,725 3,260 1,570 24,552 86,555
17,971 13,146 13,400 10,810 3,900 3,600 1,700 24,167 88,694
18,283 13,605 12,700 11,070 4,200 3,750 1,780 24,160 89,548
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2.51 2.15 -1.47 3.51 7.16 7.70 4.10 1.07 1.97
25602/ 18,690 14,080 11,500 11,300 4,500 3,770 1,890 24,718 90,448
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
ตารางที่ 2 ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของประเทศที่สำคัญ ประเทศ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป ประเทศอื่นๆ รวมทั้งหมด
2555
2556
2557
2558
13,346 13,543 9,293 45,442 81,624
13,691 13,174 9,638 46,380 82,883
14,043 12,830 10,029 48,043 84,945
15,094 13,267 10,361 48,234 86,956
หน่วย: พันตัน
25591/ 15,233 12,985 10,375 48,783 87,376
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 3.69 -0.77 2.97 1.83 1.86
25602/ 15,661 11,705 10,785 50,259 88,410
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
http://i.huffpost.com/gen/2119274/images/o-CHICKENS-facebook.jpg
17
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 3 ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของประเทศที่สำคัญ ประเทศ บราซิล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ไทย จีน ตุรกี ประเทศอื่นๆ รวมทั้งหมด
2555
2556
3,508 3,299 1,094 538 411 284 954 10,088
2557
3,482 3,332 1,083 504 420 337 1,116 10,274
2558
3,558 3,310 1,133 546 430 378 1,122 10,477
3,841 2,867 1,177 622 401 321 1,025 10,254
หน่วย: พันตัน
25591/ 4,110 2,978 1,250 670 395 280 1,110 10,793
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 4.24 -3.49 3.56 6.71 -1.25 -0.77 2.20 1.34
25602/ 4,385 3,128 1,275 710 345 320 1,209 11,372
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของประเทศที่สำคัญ ประเทศ ญี่ปุ่น เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย สหภาพยุโรป อิรัก แอฟริกาใต้ จีน ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟิลิปปินส์ ประเทศอื่นๆ รวมทั้งหมด
2555 877 616 750 727 610 371 254 300 223 150 3,668 8,546
2556 854 682 838 671 673 355 244 272 217 148 3,738 8,692
2557 888 722 762 712 698 369 260 299 225 199 3,768 8,902
2558 936 790 863 728 625 436 268 312 277 205 3,186 8,626
หน่วย: พันตัน
25591/ 955 820 850 750 670 520 410 325 305 260 3,041 8,906
อัตราเพิ่ม 25602/ (ร้อยละ) 2.66 920 7.46 850 2.84 840 1.45 760 1.14 695 9.21 560 11.09 550 3.02 335 9.09 330 15.33 280 -5.21 3,176 0.75 9,296
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
18
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 5 การผลิต การบริโภค และส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย ปี 2555 2556 2557 2558 25591/ อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 25602/
ผลผลิต3/ (ล้านตัว) 1,055.13 1,103.32 1,209.52 1,338.94 1,397.47 7.85 1,414.53
ผลผลิต (ตัน) 1,446,352 1,512,418 1,657,994 1,847,742 1,915,623 7.92 2,001,282
บริโภค (ตัน) 908,251 1,008,012 1,112,435 1,225,968 1,255,623 8.80 1,291,282
ไก่สด 92,858 91,242 146,543 175,758 200,000 24.48 230,000
ส่งออก (ตัน) ไก่แปรรูป 445,243 413,164 399,016 446,016 460,000 1.43 480,000
รวม 538,101 504,406 545,559 621,774 660,000 6.37 710,000
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน 3/ ตั้งแต่ 2560 ปรับน้ำหนักไก่เฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณเพิ่มขึ้นจาก 2.18 เป็น 2.25 กก./ตัว ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณส่งออกไก่สดแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูป ประเทศ
2555
2556
2557
2558
25591/
ไก่สดแช่แข็ง ปริมาณ (ตัน) 92,858 91,242 146,543 175,758 200,000 มูลค่า (ล้านบาท) 5,880 6,330 12,648 14,320 16,500 เนื้อไก่แปรรูป ปริมาณ (ตัน) 445,243 413,164 399,016 446,016 460,000 มูลค่า (ล้านบาท) 61,968 60,476 61,315 66,855 70,000 รวมทั้งหมด ปริมาณ (ตัน) 538,101 504,406 545,559 621,774 660,000 มูลค่า (ล้านบาท) 67,848 66,805 73,963 81,175 86,500
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 24.48 33.38 1.43 3.50 6.37 7.04
25602/ 230,000 19,250 480,000 73,750 710,000 93,000
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 7 ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ ราคาส่งออกไก่สดแช่แข็งและเนื้อไก่แปรรูป ประเทศ
2555
2556
2557
2558
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ (บาท/กก.) ราคาส่งออก ไก่สดแช่แข็ง (บาท/กก.) เนื้อไก่แปรรูป (บาท/กก.)
42.03
43.25
42.34
39.61
อัตราเพิ่ม 25602/ (ร้อยละ) 38.00 -2.85 38.50
25591/
63.32 69.37 86.31 81.48 82.50 139.18 146.37 153.67 149.89 152.17
7.14 83.70 2.04 153.65
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
19
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ไข่ไก่ 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 การผลิต ปี 2555 - 2559 การผลิตไข่ไก่ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.98 ต่อปี ตาม ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2559 มีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 14,915.82 ล้านฟอง เพิ่มขึ้น จาก 13,724.42 ล้านฟอง ของปี 2558 ร้อยละ 8.68 เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการเลี้ยงไก่ไข่ที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
1.2 การตลาด (1) ความต้องการบริโภค ปี 2555 - 2559 การบริโภคไข่ไก่เฉลี่ยทั้งประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.13 ต่อปี โดยในปี 2559 มีปริมาณการบริโภคไข่ไก่ 14,823.24 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจาก 13,534.98 ล้านฟอง ของปี 2558 ร้อยละ 9.52 เนื่องจากไข่ไก่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น และ สามารถปรุงอาหารได้งา่ ย ประกอบกับภาครัฐ และภาคเอกชนมีการรณรงค์สง่ เสริมการบริโภคไข่ไก่เพือ่ กระตุ้นการบริโภคไข่ไก่ให้เพิ่มขึ้น (2) การส่งออก การส่งออกไข่ไก่แบ่งออกเป็น การส่งออกไข่ไก่สด และผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ 1) การส่งออกไข่ไก่สด ปี 2555 - 2559 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไข่ไก่สดมีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 8.59 ต่อปี และร้อยละ 1.84 ต่อปี ตามลำดับ โดยในปี 2559 การส่งออกไข่ไก่สดมีปริมาณ 92.58 ล้านฟอง มูลค่า 319.42 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 189.45 ล้านฟอง มูลค่า 587.70 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 51.13 และร้อยละ 45.65 ตามลำดับ เนื่องจากระดับราคาไข่ไก่ในประเทศอยู่ในระดับ สูง และไม่มีกิจกรรมการส่งออกเพื่อระบายผลผลิต ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนการ ส่งออกประมาณร้อยละ 98 ของปริมาณการส่งออกไข่ไก่สดทั้งหมด 2) การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ปี 2555 - 2559 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 6.82 ต่อปี และร้อยละ 11.94 ต่อปี ตามลำดับ โดยในปี 2559 มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ จากไข่ไก่ปริมาณ 4,356.92 ตัน มูลค่า 425.41 ล้านบาท ปริมาณลดลงจาก 4,564.13 ตัน ของปี 2558
20
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ร้อยละ 4.54 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 411.28 ล้าน บาท ของปี 2558 ร้อยละ 3.44 ผลิตภัณฑ์ที่ ส่งออกมากที่สุด คือ ไข่เหลวรวม ตลาดส่งออก ทีส่ ำคัญ คือ ญีป่ นุ่ ซึง่ มีสดั ส่วนการส่งออกร้อยละ 56.76 ของปริมาณการส่งออกไข่เหลวรวมทัง้ หมด (3) การนำเข้า ปี 2555 - 2559 ปริมาณและมูลค่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 8.71 ต่อปี และร้อยละ 10.35 ต่อปี ตามลำดับ โดยในปี 2559 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ จากไข่ไก่ปริมาณ 2,614.19 ตัน มูลค่า 717.71 ล้านบาท ปริมาณเพิม่ ขึน้ จาก 2,453.31 ตัน ของปี 2558 ร้อยละ 6.56 แต่มูลค่าลดลงจาก 739.98 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 3.01 โดยผลิตภัณฑ์ ที่นำเข้าจะใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก ผลิตภัณฑ์ ที่นำเข้ามากที่สุดคือ ไข่ขาวผง โดยนำเข้าจาก ประเทศอิตาลีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.03 ของปริมาณนำเข้าไข่ขาวผงทัง้ หมด รองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศส และอินเดีย (4) ราคา 1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2555 - 2559 ราคาไข่ ไ ก่ ที่ เกษตรกรขายได้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อย ละ 1.90 ต่อปี โดยในปี 2559 ราคาไข่ไก่ที่ เกษตรกรขายได้เฉลี่ยฟองละ 3.00 บาท เพิ่มขึ้น จากฟองละ 2.69 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 11.52 เนื่องจากราคาไข่ไก่ปรับตัวตามต้นทุนการผลิตที่ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการชะลอการนำเข้าพ่อแม่ พันธุ์ไก่ไข่จากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค ไข้หวัดนกในปี 2558 ส่งผลให้ราคาลูกไก่ไข่และ ไก่ไข่สาวปรับตัวสูงขึ้น
2) ราคาส่งออก ปี 2555 - 2559 ราคาส่งออก ไข่ไก่สดและผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มแี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 7.39 ต่อปี และร้อยละ 4.79 ต่อปี ตามลำดับ โดยในปี 2559 ราคาส่งออกไข่ไก่สด เฉลี่ยฟองละ 3.45 บาท เพิ่มขึ้นจากฟองละ 3.10 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 11.21 และราคาส่งออก ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เฉลีย่ ตันละ 97,641 บาท เพิม่ ขึ้นจากตันละ 90,112 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 8.36 3) ราคานำเข้า ปี 2555 - 2559 ราคานำเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.51 ต่อปี โดยในปี 2559 ราคานำเข้าผลิตภัณฑ์ จากไข่ไก่ เฉลี่ยตันละ 274,543 บาท ลดลงจาก ตันละ 301,624 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 8.98
2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 15,189.49 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจาก 14,915.82 ล้านฟอง ในปี 2559 ร้อยละ 1.83 เนื่องจาก มีการขยายการผลิตตามความต้องการบริโภคที่ เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรประกอบกับเกษตรกรมีการจัดการฟาร์มไก่ไข่ทมี่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
2.2 การตลาด (1) ความต้องการบริโภค ปี 2560 คาดว่าปริมาณการบริโภค ไข่ไก่จะเพิม่ ขึน้ จากปี 2559 เนือ่ งจากภาครัฐและ
21
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ภาคเอกชนมีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ โดยการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ ไข่ไก่และปริมาณการบริโภคไข่ไก่ที่เหมาะกับทุก เพศทุกวัยอย่างต่อเนื่อง (2) การส่งออก ปี 2560 คาดว่าการส่งออกไข่ไก่สด และผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จะทรงตัว หรือเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2559 เนื่องจากต้อง รักษาระดับราคาไข่ไก่ในประเทศ และรักษาตลาด ส่งออก (3) การนำเข้า ปี 2560 คาดว่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ จากไข่ไก่จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจาก โรงงานแปรรูปไข่ไก่ภายในประเทศยังไม่สามารถ ผลิตผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ประเภทต่างๆ ได้อย่าง เพียงพอ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการ ส่งออกบางประเภทยังต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ จากกลุ่มประเทศที่สหภาพยุโรปให้การรับรองให้ ใช้เป็นส่วนประกอบได้
(4) ราคา ปี 2560 คาดว่าราคาไข่ไก่ทเี่ กษตรกร ขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศจะใกล้เคียงกับปี 2559 เนื่องจากมีการจัดทำแผนการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ในประเทศ รวมทัง้ มีการรณรงค์สง่ เสริมการบริโภค ไข่ไก่ ทำให้ความต้องการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.3 ปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อการผลิตและ การตลาด (1) สภาพอากาศที่แปรปรวน มีผลต่อ สุขภาพของไก่ไข่ อาจทำให้มภี มู คิ มุ้ กันลดลง และ เป็นโรคได้งา่ ยขึน้ ส่งผลให้อตั ราการให้ไข่ลดลงได้ (2) หน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่อย่างต่อ เนื่อง โดยมีการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การ จัดงานวันไข่โลก เพือ่ ประชาสัมพันธ์คณ ุ ประโยชน์ ของไข่ ไ ก่ แ ละรณรงค์ ส่ ง เสริ ม การบริ โ ภคไข่ ไ ก่ ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาบริโภค ไข่ไก่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรมีการ จัดการฟาร์มที่ดี รวมทั้งมีการวางแผนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต และแก้ไขปัญหาผลผลิต เกินความต้องการบริโภค
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิต การส่งออก และการบริโภคไข่ไก่ของไทย ปี 2555 - 2560 รายการ ปริมาณการผลิต1/ (ล้านฟอง) ปริมาณการส่งออก2/ (ล้านฟอง) ปริมาณการบริโภค3/ (ล้านฟอง) อัตราการบริโภค (ฟอง/คน/ปี)
2555
2557
2558
2559*
11,914.66 12,033.33 12,520.42 13,724.42 14,915.82 149.72 177.91 143.59 189.45 92.57 11,764.94 11,855.42 11,376.83 13,534.98 14,823.24 183 183 190 206 n.a.
หมายเหตุ: *ข้อมูลเบื้องต้น **ข้อมูลคาดคะเน ที่มา: 1/, 3/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร
22
2556
อัตราเพิ่ม 2560** (ร้อยละ) 5.98 15,189.49 -8.59 n.a. 6.13 n.a. n.a.
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 2 การส่งออกไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์ ปี 2555 - 2559 รายการ ไข่ไก่สด ปริมาณ (ล้านฟอง) มูลค่า (ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
2555
2556
2557
2558 189.45 587.70
2559*
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
92.58 319.42
-8.59 -1.84
4,077.74 364.80
4,564.13 4,356.92 411.28 425.41
6.82 11.94
149.72 395.41
177.91 461.73
143.59 445.62
3,358.49 273.36
3,971.14 322.39
หมายเหตุ: *คาดคะเน ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 3 การนำเข้าผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ปี 2555 - 2559 รายการ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
2555
2556
2557
2558
2559*
1,942.90 519.09
1,927.25 528.54
1,831.80 565.08
2,453.31 739.98
2,614.19 717.71
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 8.71 10.35
หมายเหตุ: *คาดคะเน ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 4 ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ ราคาส่งออก และราคานำเข้า ปี 2555 - 2559 รายการ ราคาที่เกษตรกรขายได้ (บาท/ฟอง)1/ ราคาส่งออก2/ (เอฟ.โอ.บี.) ไข่ไก่สด (บาท/ฟอง) ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/ตัน) ราคานำเข้า2/ (ซี.ไอ.เอฟ.) ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/ตัน)
2555
2556
2557
2558
2.56
3.06
3.09
2.69
2.64 81,394
2.60 81,183
3.10 89,461
3.10 90,112
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 3.00 1.90
2559*
3.45 97,641
7.39 4.79
267,173 274,246 308,483 301,624 274,543
1.51
หมายเหตุ: *คาดคะเน ที่มา: 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร
23
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
สุกร 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2555 - 2559 การผลิตเนือ้ สุกรของประเทศต่างๆ เพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 0.48 ต่อปี ในปี 2559 การผลิตเนื้อสุกรของโลกมีปริมาณรวม 108.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีปริมาณ 111.38 ล้านตัน ร้อยละ 2.86 ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย เวียดนาม และแคนาดา ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 ร้อยละ 1.67 ร้อยละ 5.43 ร้อยละ 5.93 ร้อยละ 2.02 และร้อยละ 4.00 ตามลำดับ ส่วนจีนผลิตลดลง ร้อยละ 8.03 1.1.2 การตลาด (1) ความต้องการบริโภค ปี 2555 - 2559 ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 0.44 ต่อปี ในปี 2559 การบริโภคเนื้อสุกรของโลกมีปริมาณรวม 108.00 ล้านตัน ลดลงจาก ปี 2558 ซึง่ มีปริมาณ 109.91 ล้านตัน ร้อยละ 1.74 ประเทศต่างๆ มีการบริโภคเพิม่ ขึน้ โดยสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม มีการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 ร้อยละ 4.77 ร้อยละ 0.86 และร้อยละ 2.04 ตามลำดับ ส่วนจีน สหภาพยุโรป และบราซิล มีการบริโภคลดลงร้อยละ 2.87 ร้อยละ 4.07 และร้อยละ 2.83 ตามลำดับ (2) การส่งออก ปี 2555 - 2559 การส่งออกเนื้อสุกรของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.60 ต่อปี ในปี 2559 การส่งออกเนื้อสุกรมีปริมาณรวม 8.54 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีปริมาณ 7.22 ล้านตัน ร้อยละ 18.28 ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่สง่ ออกเพิม่ ขึน้ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล และเม็กซิโก มีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.13 ร้อยละ 3.70 ร้อยละ 8.96 ร้อยละ 43.54 และร้อยละ 9.38 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และสหรัฐอเมริกา ส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากการที่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่ง สำหรับประเทศที่ส่งออกลดลง ได้แก่ จีน ชิลี และออสเตรเลีย ส่งออกลดลงร้อยละ 22.08 ร้อยละ 1.69 และร้อยละ 2.78 ตามลำดับ
24
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
(3) การนำเข้า ปี 2555 - 2559 การนำเข้าเนื้อ สุกรของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.10 ต่อปี ในปี 2559 การนำเข้าเนื้อสุกรของ ประเทศผู้นำเข้าเนื้อสุกรที่สำคัญมีปริมาณรวม 8.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีปริมาณ 6.71 ล้านตัน ร้อยละ 23.85 ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่นำเข้าเพิม่ ขึน้ ได้แก่ จีน นำเข้าเพิม่ ขึน้ ถึง 1.33 เท่า เนื่องจากมีปริมาณการผลิตลดลง ส่วน ญีป่ นุ่ เม็กซิโก เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 ร้อยละ 4.49 ร้อยละ 1.84 ร้อยละ 2.17 และร้อยละ 22.17 ตาม ลำดับ สำหรับออสเตรเลียนำเข้าลดลงร้อยละ 2.27
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2555 - 2559 การผลิตสุกร ของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.98 ต่อปี ในปี 2559 มีปริมาณการผลิตสุกร 14.54 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 13.65 ล้านตัว ของปี 2558 ร้อยละ 6.52 เนือ่ งจากราคาสุกรมีชวี ติ ปรับตัวสูงขึน้ จูงใจ ให้มีการขยายปริมาณการผลิต ถึงแม้จะมีปัญหา เรื่องโรคในสุกรเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ สามารถปรับปรุงด้านการจัดการฟาร์มและควบคุม โรคได้ดขี นึ้ ส่งผลให้ผเู้ ลีย้ งสุกรทีม่ ศี กั ยภาพขยาย การผลิตเพิ่มขึ้น 1.2.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2555 - 2559 ความต้องการ บริโภคเนื้อสุกรของไทย เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.92 ต่อปี สุกรทีผ่ ลิตได้ใช้บริโภคภายในประเทศ
เป็นหลักประมาณร้อยละ 95 ของปริมาณการ ผลิตทั้งหมด ปี 2559 มีปริมาณการบริโภคสุกร 12.96 ล้านตัว หรือ 0.971 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 2558 ร้อยละ 4.18
(2) การส่งออก
การส่งออกสุกรมีปริมาณเพียง ร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด เนื่อง จากข้อจำกัดจากโรคปากและเท้าเปื่อย โดยเป็น การส่งออกเนื้อสุกรและเนื้อสุกรแปรรูปร้อยละ 1 - 2 และสุกรมีชีวิตร้อยละ 8 - 9 เนื้อสุกรส่งออก ไปยัง สปป.ลาว รัสเซีย และฮ่องกง ส่วนเนื้อ สุกรแปรรูปส่งออกไปยังญีป่ นุ่ และฮ่องกง สำหรับ สุกรมีชีวิตส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม ปี 2555 - 2559 ปริมาณการส่งออกเนือ้ สุกรชำแหละ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 9.03 ต่อปี ในปี 2559 ส่งออกเนือ้ สุกรชำแหละปริมาณ 3,500 ตัน มูลค่า 180 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่ง ส่งออกปริมาณ 3,189 ตัน ร้อยละ 9.75 แต่มลู ค่า ลดลงจาก 193.99 ล้านบาท ของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 7.21 ปี 2555 - 2559 ปริมาณการส่งออก เนื้อสุกรแปรรูปลดลงในอัตราร้อยละ 1.86 ต่อปี ส่วนในปี 2559 ส่งออกเนื้อสุกรแปรรูปปริมาณ 10,500 ตัน มูลค่า 2,200 ล้านบาท ลดลงจากปี 2558 ซึ่งส่งออก 13,889 ตัน มูลค่า 2,551.71 ล้านบาท ร้อยละ 24.40 และร้อยละ 13.78 ตาม ลำดับ สำหรับสุกรมีชวี ติ ส่งออกปริมาณ 1,262,000 ตัว มูลค่า 5,700 ล้านบาท เป็นสุกรพันธุ์ 154,000 ตัว มูลค่า 800.00 ล้านบาท ลดลงจากปี 2558 ซึง่ ส่งออก 312,200 ตัว มูลค่า 1,427.49 ล้านบาท ร้อยละ 50.67 และร้อยละ 43.96 ตามลำดับ และเป็นสุกรมีชีวิตอื่นๆ ปริมาณ 1,108,000 ตัว มูลค่า 4,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558
25
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ซึ่งส่งออก 560,350 ตัว มูลค่า 2,538.73 ล้าน บาท ร้อยละ 97.73 และร้อยละ 93.00 ตาม ลำดับ
(3) การนำเข้า
ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าส่วน อื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกรแช่เย็นแช่แข็ง (หนัง ตับ และเครื่องในอื่นๆ) และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร ปี 2555 - 2559 ปริมาณการนำเข้าส่วนอื่นๆ ที่ บริโภคได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 37.09 ต่อปี ในปี 2559 นำเข้าส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ปริมาณ 40,000 ตัน มูลค่า 900.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2558 ซึ่งนำเข้าปริมาณ 36,758 ตัน มูลค่า 803.42 ล้านบาท ร้อยละ 8.82 และ ร้อยละ 12.02 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้า ตับจาก เยอรมนี บราซิล เกาหลีใต้ และเดนมาร์ก และส่วนอื่นๆ จากเยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ปี 2555 - 2559 ปริมาณการนำเข้า ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15.07 ต่อปี ในปี 2559 นำเข้าผลิตภัณฑ์เนือ้ สุกรปริมาณ 1,400 ตัน มูลค่า 130.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2558 ซึ่งนำเข้า 1,046 บาท มูลค่า 125.50 ล้านบาท ร้อยละ 33.84 และร้อยละ 3.59 ตาม ลำดับ
(4) ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2555 - 2559 ราคาที่ เกษตรกรขายได้ สู ง ขึ้ น ในอั ต ราร้ อ ยละ 3.53 ต่อปี ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปี 2559 เฉลี่ย กิโลกรัมละ 67.00 บาท สูงขึ้นจากเฉลี่ยกิโลกรัม ละ 66.08 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 1.39 เนือ่ ง จากในช่วงต้นปี 2559 เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง ที่รุนแรงตั้งแต่มกราคม - กรกฎาคม ทำให้หลาย
26
พื้นที่ประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ สุกรเติบโตช้า กว่าปกติ ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้น ส่งผลให้ราคา สุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นตาม ไปด้วย และในช่วงปลายปี 2559 สถานการณ์ได้ คลี่ ค ลายกลั บ สู่ ภ าวะปกติ และความต้ อ งการ บริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง 2) ราคาส่งออก ปี 2555 - 2559 ราคา ส่ ง ออกเนื้ อ สุ ก รชำแหละลดลงในอั ต ราร้ อ ยละ 3.77 ต่อปี โดยในปี 2559 ราคาส่งออกเนื้อสุกร ชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลง จากปี 2558 ร้อยละ 16.16 ส่วนราคาเนื้อสุกร แปรรูป ปี 2555-2559 ลดลงในอัตราร้อยละ 1.87 ต่อปี โดยปี 2559 ราคาส่งออกเนื้อสุกร แปรรูป เฉลีย่ กิโลกรัมละ 200.00 บาท สูงขึน้ จาก ปี 2558 ร้อยละ 8.86 3) ราคานำเข้า ปี 2555 - 2559 ราคานำเข้า ส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกรรวมสูงขึ้นในอัตรา ร้อยละ 13.15 ต่อปี โดยในปี 2559 ราคานำเข้า ส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกรรวม เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 22.00 สูงขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 83.33 ส่วนราคานำเข้าตับ เฉลีย่ กิโลกรัมละ 25.37 สูงขึน้ จากปี 2558 ร้อยละ 16.06
2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าการผลิตเนื้อสุกร จะมีปริมาณรวม 111.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 2.60 โดยคาดว่าประเทศผู้ผลิตที่ สำคัญหลายประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
บราซิล รัสเซีย และเวียดนาม จะผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.66 ร้อยละ 3.82 ร้อยละ 3.10 ร้อยละ 4.69 และร้อยละ 1.98 ตามลำดับ จีนมีผลผลิต เพิ่มขึ้น เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมามีผลผลิตลดลง ทำให้ราคาสุกรปรับตัวสูงขึน้ ส่วนบราซิล เศรษฐกิจ ฟืน้ ตัว และมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศ ทำให้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับรัสเซียยังคง ขยายการผลิตเพิม่ ขึน้ โดยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมสุกร แม้จะมีปญ ั หา โรคอหิวาต์สุกรแอฟริกันก็ตาม 2.1.2 การตลาด
(1) ความต้องการบริโภค
ปี 2560 คาดว่าความต้องการ บริโภคเนื้อสุกรจะมีปริมาณรวม 110.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 2.49 โดยคาดว่า จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บราซิล เวียดนาม และ เม็กซิโก บริโภคเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.11 ร้อยละ 3.80 ร้อยละ 3.80 ร้อยละ 2.67 ร้อยละ 2.00 และ ร้อยละ 3.44 ตามลำดับ เนือ่ งจากผลผลิตภายใน ประเทศเพิม่ ขึน้ ส่วนญีป่ นุ่ การบริโภคลดลงร้อยละ 0.19 สำหรับสหภาพยุโรปการบริโภคทรงตัว
(2) การส่งออก
ปี 2560 คาดว่าการส่งออก เนื้อสุกรของโลกจะมีปริมาณรวม 8.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 1.07 โดยคาดว่า สหรัฐอเมริกา บราซิล และเม็กซิโก จะส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 ร้อยละ 4.44 และร้อยละ 7.14 ตามลำดับ โดยที่สหรัฐอเมริกามีผลผลิต เพิ่ ม ขึ้ น แต่ ร าคาลดลง และค่ า เงิ น มี แ นวโน้ ม อ่อนตัวลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ความต้องการของ ตลาดต่ า งๆ เพิ่ ม ขึ้ น ส่ ว นสหภาพยุ โ รป จี น ออสเตรเลีย และเวียดนาม การส่งออกจะทรงตัว
แต่แคนาดาและชิลีจะส่งออกลดลงร้อยละ 3.70 และร้อยละ 2.86 ตามลำดับ
(3) การนำเข้า
ปี 2560 คาดว่าการนำเข้า มีปริมาณรวม 8.31 ล้านตัน ลดลงจากปี 2559 ร้ อ ยละ 0.08 โดยคาดว่ า เม็ ก ซิ โ ก เกาหลี ใ ต้ สหรั ฐ อเมริ ก า และฟิ ลิ ป ปิ น ส์ นำเข้ า เพิ่ ม ขึ้ น ร้อยละ 2.44 ร้อยละ 3.28 ร้อยละ 1.74 และ ร้อยละ 13.64 ตามลำดับ จีน และญีป่ นุ่ การนำเข้า ทรงตั ว ส่ ว นฮ่ อ งกง และออสเตรเลี ย นำเข้ า ลดลงร้อยละ 2.06 และร้อยละ 2.33 ตามลำดับ
2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าการผลิตสุกรมี ปริมาณ 14.920 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 14.543 ล้านตัว ของปี 2559 ร้อยละ 2.59 เนื่องจาก ตลาดภายในประเทศยังคงมีความต้องการบริโภค อย่างต่อเนื่อง และผู้ผลิตรายกลาง และรายใหญ่ มีการบริหารจัดการที่ดี สามารถจัดการฟาร์มได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันโรคได้ดี ทำให้ อัตราการรอดของสุกรเพิม่ ขึน้ จึงส่งผลให้มปี ริมาณ การผลิตเพิ่มขึ้น 2.2.2 การตลาด (1) ความต้องการบริโภค ปี 2560 คาดว่าการบริโภค สุกรจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2559 เนื่องจาก ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีปริมาณ การบริโภคสุกร 13.22 ล้านตัว หรือ 0.99 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 2.06
(2) การส่งออก
ปี 2560 คาดว่าการส่งออก
27
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
2.3 ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ การผลิ ต หรือการส่งออก 2.3.1 โรคระบาด เป็ น ปั จ จั ย สำคั ญ ที่ ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตสุกร โดยเฉพาะ โรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ (PRRS) และโรคท้องร่วงติดต่อ (PED) ที่ทำให้ ผลผลิ ต สุ ก รเกิ ด ความเสี ย หาย แม้ ว่ า จะมี ก าร จัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมี โอกาสเกิดโรคดังกล่าวอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ อากาศ หากมีความแปรปรวนจะทำให้สุกรมีภูมิต้านทานต่ำ ส่งผลให้การผลิตลดลงและต้นทุน การผลิตสูงขึ้น เนื้อสุกรชำแหละและเนื้อสุกรแปรรูปใกล้เคียง กับปี 2559 เนื่องจากยังคงมีความต้องการจาก ประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง สำหรับสุกรมี ชีวิตที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ สปป.ลาว คาดว่าจะลดลงจากปี 2559 แม้ว่า ความต้ อ งการสุ ก รขุ น ของ สปป.ลาว และจี น ยังคงมีต่อเนื่อง แต่เนื่องจากจีนมีความเข้มงวด ในการนำเข้าทำให้การส่งออกไปจีนโดยผ่าน สปป. ลาว มีปัญหาหยุดชะงักในบางช่วงเวลา จึงส่งผล ให้การส่งออกสุกรมีชีวิตชะลอตัวลง
2.3.2 ภาวะเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ปริ ม าณการบริ โ ภคและการ ส่งออกสุกร ซึ่งคาดว่าปี 2560 เศรษฐกิจไทย จะมีการขยายตัวที่ชะลอลงตามการส่งออกสินค้า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ โลกซึ่งมีภาวะชะลอตัว ทำให้การส่งออกของไทย รวมทั้งสินค้าเกษตรชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศด้วย
(3) การนำเข้า ปี 2560 คาดว่า การนำเข้าส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกร (หนัง ตับ และเครื่องในอื่นๆ) และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เนื้อสุกรจะใกล้เคียงกับปี 2559
• ภัยแล้ง ในช่วงต้นปี 2559 ได้ ประสบภาวะภัยแล้ง โดยเกิดภัยแล้งเป็นเวลา นานกว่าปกติ เกษตรกรต้องซื้อน้ำสะอาดมาใช้ ในฟาร์ม โดยเฉพาะน้ำสำหรับให้สุกรกิน จึงต้อง รับภาระต้นทุนการผลิตทีส่ งู ขึน้ โดยเฉพาะในเดือน เมษายน และพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่แล้งจัด ต้องซื้อน้ำมาใช้ในฟาร์มมากกว่าทุกปี
(4) ราคา
ปี 2560 คาดว่าราคาสุกรที่ เกษตรกรขายได้โดยเฉลีย่ จะใกล้เคียงกับปี 2559 หรือลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณการผลิตยัง คงเพิ่มขึ้น ส่วนราคาส่งออกเนื้อสุกรชำแหละและ เนื้อสุกรแปรรูปคาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2559
28
2.3.3 ปัจจัยอืน่ ๆ ทีม่ ผี ลกระทบต่อต้นทุน การผลิตสุกร
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเนื้อสุกรของประเทศที่สำคัญ ปี 2555 - 2560 ประเทศ จีน สหภาพยุโรป* สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย เวียดนาม แคนาดา ฟิลิปปินส์ อื่นๆ รวม
2555
2556
2557
2558
25591/
53,427 22,526 10,554 3,330 2,175 2,307 1,844 1,310 9,400 106,873
54,930 22,359 10,525 3,335 2,400 2,349 1,822 1,340 9,768 108,828
56,710 22,540 10,368 3,400 2,510 2,425 1,805 1,353 9,455 110,566
56,375 23,290 11,121 3,519 2,615 2,475 1,899 1,370 8,712 111,376
51,850 23,350 11,307 3,710 2,770 2,525 1,975 1,440 9,274 108,201
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -0.34 1.13 1.95 2.74 5.86 2.36 1.80 2.14 -1.40 0.48
25602/ 53,750 23,350 11,739 3,825 2,900 2,575 1,980 1,500 9,392 111,011
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน *สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
ตารางที่ 2 ปริมาณการบริโภคเนื้อสุกรของประเทศที่สำคัญ ปี 2555 - 2560 ประเทศ จีน สหภาพยุโรป* สหรัฐอเมริกา รัสเซีย บราซิล ญี่ปุ่น เวียดนาม เม็กซิโก อื่นๆ รวม
2555
2556
2557
2558
25591/
53,922 20,382 8,441 3,239 2,670 2,557 2,279 1,850 11,050 106,390
55,456 20,147 8,665 3,267 2,751 2,549 2,333 1,956 11,308 108,432
57,195 20,390 8,545 3,024 2,845 2,543 2,408 1,991 10,9585 109,896
55,668 20,913 9,341 3,016 2,893 2,568 2,456 2,176 10,874 109,905
54,070 20,062 9,452 3,160 2,811 2,590 2,506 2,270 11,080 108,001
หน่วย: พันตันน้ำหนักซาก
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 0.09 0.06 3.06 -1.29 1.54 0.33 2.44 5.29 -0.34 0.44
25602/ 55,870 20,062 9,811 3,280 2,886 2,585 2,556 2,348 11,292 110,690
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน *สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
29
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 3 ปริมาณส่งออกเนื้อสุกรของประเทศที่สำคัญ ปี 2555 - 2560 ประเทศ สหภาพยุโรป* สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล จีน ชิลี เม็กซิโก ออสเตรเลีย เวียดนาม อื่นๆ รวม
2555 2,165 2,440 1,243 661 235 180 95 36 32 176 7,263
2556 2,227 2,262 1,246 585 244 164 111 36 22 111 7,008
2557 2,164 2,309 1,218 556 276 163 117 37 21 101 6,962
2558 2,389 2,272 1,239 627 231 178 128 36 21 100 7,224
หน่วย: พันตันน้ำหนักซาก
25591/ 3,300 2,356 1,350 900 180 175 140 35 21 81 8,538
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 9.56 -0.65 1.61 7.11 -5.71 0.26 9.62 -0.56 -8.51 -15.27 3.60
25602/ 3,300 2,449 1,300 940 180 170 150 35 21 84 8,629
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน *สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
ตารางที่ 4 ปริมาณนำเข้าเนื้อสุกรของประเทศที่สำคัญ ปี 2555-2560 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อื่นๆ รวม
2555 730 1,259 706 502 364 414 194 138 2,551 6,858
2556 770 1,223 783 388 399 399 183 172 2,278 6,595
2557 761 1,332 818 480 459 347 191 199 1,746 6,333
2558 1,029 1,270 981 599 506 397 220 175 1,529 6,706
หน่วย: พันตันน้ำหนักซาก
25591/ 2,400 1,320 1,025 610 517 485 215 220 1,522 8,314
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 30.61 1.33 10.20 8.59 9.85 3.16 3.97 9.97 -13.34 4.10
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ คาดคะเน ที่มา: Livestock and Poultry, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, October 2016
30
25602/ 2,300 1,320 1,050 630 526 475 210 250 1,546 8,307
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 5 ปริมาณการผลิต การส่งออก และการบริโภคสุกร ปี 2555 - 2560 รายการ ปริมาณการผลิต1/ (ล้านตัว) (ล้านตัน) 2/ ปริมาณส่งออก (ตัน) ปริมาณการบริโภค3/ (ล้านตัน)
2555
2556
2557
2558
2559*
12.829 13.072 12.823 13.649 14.543 0.962 0.980 0.962 1.024 1.091 14,416 15,957 17,227 16,700 14,000 0.921 0.945 0.907 0.932 0.971
อัตราเพิ่ม 2560** (ร้อยละ) 2.98 14.920 4.18 1.119 -0.13 n.a. 0.92 0.991
หมายเหตุ: *ข้อมูลเบื้องต้น **คาดคะเน ที่มา: 1/, 3/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร
ตารางที่ 6 การส่งออกเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป และสุกรมีชีวิต ปี 2555 - 2559 รายการ เนื้อสุกรชำแหละ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า: ล้านบาท เนื้อสุกรแปรรูป ปริมาณ (ตัน) มูลค่า: ล้านบาท สุกรพันธุ์ ปริมาณ (ตัว) มูลค่า: ล้านบาท สุกรมีชีวิตอื่นๆ ปริมาณ (ตัว) มูลค่า: ล้านบาท
2555
2556
2557
2558
2559*
2,070 130.06 12,346 2,592.97 35,782** 67.98* 533,593 2,018.79
3,840 226.07 12,117 2,437.61 17,988 66.34 243,261 925.68
2,635 152.49 14,592 2,657.87 25,168 141.91 388,846 1,765.06
3,189 3,500 193.99 180.00 13,889 10,500 2,551.71 2,200.00 312,200 154,000 1,427.49 800.00 560,350 1,108,000 2,538.73 4,900.00
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 9.03 5.09 -1.86 -2.79 78.12 123.27 25.81 32.08
หมายเหตุ: *ประมาณการ **ปรับข้อมูลส่งออกที่ผิดปกติ เดือนมกราคม 2555 ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 7 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร และส่วนอื่น ๆ ที่บริโภคได้ของสุกร (หนัง ตับ และเครื่องในอื่นๆ) ปี 2555 - 2559 รายการ ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกร ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
2555
2556
2557
2558
2559*
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
793 55.90
801 65.20
1,014 81.26
1,046 125.50
1,400 130.00
15.07 26.40
14,140 161.76
12,548 26,956 161.90 574.59
36,758 803.42
40,000 900.00
37.09 65.44
หมายเหตุ: *ประมาณการ ที่มา: กรมศุลกากร
31
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 8 ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาส่งออก และราคานำเข้า ปี 2555 - 2559 รายการ ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ (บาท/กก.) ราคาส่งออก (บาท/กก.) เนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป ราคานำเข้า (บาท/กก.) ส่วนอื่นๆ ที่บริโภคได้ของสุกรรวม ตับ หมายเหตุ: *ประมาณการ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมศุลกากร
32
2555
2556
2557
2558
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 67.00 3.53
2559*
56.65
65.35
75.08
66.08
62.83 210.02
58.87 201.17
57.88 182.14
60.83 183.72
51.00 200.00
-3.77 -1.87
11.44 19.76
12.90 24.32
21.32 27.94
12.00 21.86
22.00 25.37
13.15 4.01
ģýġĐĄėü ğþńþ ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ
ģýġĐĄėü ğþńþ ®
ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ
pep.biomin.net
Á¡·É¤ ¦³· ·£µ¡ µ¦ ¨· ´ ªŋ Á¦·¤ ªµ¤ ҵ · ° °µ®µ¦ ¦´ ¬µ¤ »¨ ° ¦³ µ Á · °µ®µ¦ ¨° £´¥ Å¤Ň¤¸ ¨ ňµ Á ¸¥ Å¤Ň¤¸¦³¥³®¥» ¥µ
ğāėħĄþĆēčėúûėăĕāâĕĆÿĈėøčĔøĊŋ ğčĆėĄåĊĕĄüŇĕâėüãĐèĐĕĎĕĆ ĆĔâČĕčĄ÷ě ĈãĐèĆēýýúĕèğ÷ė üĐĕĎĕĆ ¦·¬´ Šð¤· ¦³Á «Å ¥ Î µ ´ ¡®¨Ã¥ · ¼ ° ¨Îµ¨¼ µ »¤ µ ¸ þĈĐ÷ăĔą ģĄŇ ĄĘÿĈãň ĕSHS ELRPLQ QHW èğåĘąè ģĄŇĄĘĆēąēĎąě÷ąĕ à ¦ ¢ r Naturally ahead
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
กุ้ง 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) ผลผลิตกุง้ ทะเลจากการเพาะเลีย้ งของโลก มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.58 ต่อปี โดยผลผลิตส่วนใหญ่มาจากประเทศในแถบเอเชีย สำหรับปี 2559 ประมาณการว่าจะมีปริมาณผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลกรวม 2.11 ล้านตัน ลดลงจาก 2.14 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.40 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลัก ได้แก่ อินเดีย ประสบปัญหาจากโรค ไมโครสปอริเดียน ส่วนเวียดนาม และจีนยังประสบปัญหาโรคตายด่วน ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย และ ไทยมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แม้ไทยยังประสบปัญหาโรคตายด่วนแต่มีการจัดการระบบการเลี้ยงได้ดีขึ้น 1.1.2 การตลาด
(1) การส่งออก
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555 - 2559) ปริมาณการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ใน ตลาดโลก มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ทัง้ ปริมาณและมูลค่าในอัตราร้อยละ 1.00 และร้อยละ 3.61 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับปี 2559 การส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก มีปริมาณทั้งสิ้น 2.32 ล้านตัน มูลค่า 17,438.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.00 และร้อยละ 3.61 ตามลำดับ เนือ่ งจากแนวโน้มผูบ้ ริโภคในตลาดหลักยังมีความต้องการอย่างต่อเนือ่ ง โดย ประเทศผูส้ ง่ ออกกุง้ ปริมาณมากเป็นอันดับหนึง่ ของโลก คือ เอกวาดอร์ รองลงมาได้แก่ อินเดีย และไทย อย่างไรก็ตาม อินเดีย และไทย ยังคงเผชิญกับปัญหาเรื่องโรค ทำให้แนวโน้มของปริมาณการส่งออกกุ้ง ในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ในอัตราร้อยละ 8.62 ต่อปี และร้อยละ 10.68 ต่อปี ตามลำดับ ขณะทีเ่ อกวาดอร์ไม่ได้มปี ญ ั หาด้านโรคทำให้มคี วามสามารถในการแข่งขันมากขึน้ จะเห็นได้จากแนวโน้ม ปริมาณการส่งออกกุ้งในตลาดโลกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 7.80 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ไทย มีส่วนแบ่งตลาดดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่อันดับ 3 ของโลก รองจาก เอกวาดอร์ และอินเดีย
(2) การนำเข้า
กลุม่ ประเทศและประเทศทีน่ ำเข้ากุง้ และผลิตภัณฑ์ทส่ี ำคัญของโลก ได้แก่ 1) สหรัฐอเมริกา การนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งของสหรัฐอเมริกาในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (2555 - 2559) มีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าในอัตราร้อยละ 5.30 และ ร้อยละ 6.05 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อมากขึ้น
33
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ในปี 2559 มีการนำเข้ากุง้ และผลิตภัณฑ์ปริมาณ 645 พันตัน มูลค่า 5,911.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปริมาณ 587 พันตัน มูลค่า 5,454.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปี 2558 ร้อยละ 9.88 และร้อยละ 8.37 ตามลำดับ โดยในปี 2559 สหรัฐอเมริกา มีการนำเข้ากุ้งมากขึ้นเนื่องจากมี การเลือกตัง้ ประธานาธิบดี และมีการหาเสียงตลอด ทัง้ ปี ทำให้มคี วามต้องการใช้กงุ้ ในการจัดงานต่างๆ มากขึน้ โดยนำเข้าจากอินเดียมากเป็นอันดับหนึง่ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.32 ของปริมาณการ นำเข้ากุ้งทั้งหมดของสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย มีสว่ นแบ่งตลาดร้อยละ 18.45 และไทยมี ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.57 2) สหภาพยุโรป ในช่วง 5 ปี ที่ ผ่ า นมา (2555 - 2559) การนำเข้ า กุ้ ง และ ผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรป 28 ประเทศ (ไม่นับ รวมการค้าระหว่างกันในสหภาพยุโรป) ปริมาณ และมูลค่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.17 ต่อปี และร้อยละ 3.58 ต่อปี ตามลำดับ เนื่อง จากความต้องการบริโภคกุง้ ยังมีตอ่ เนือ่ ง แม้สภาพ เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปยังไม่ฟื้นตัวดี ในปี 2559 การนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของสหภาพ ยุโรปมีปริมาณ 591 พันตัน มูลค่า 4,686.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 563 พันตัน มูลค่า 4,560.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปี 2558 ร้อยละ 4.97 และร้อยละ 2.76 ตามลำดับ โดยนำเข้าจากเอกวาดอร์มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 16.58 ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อินเดีย ร้อยละ 13.36 เวียดนาม และกรีนแลนด์ เท่ากันร้อยละ 9.13 สำหรับไทยมีส่วนแบ่งตลาด ในสหภาพยุโรปเพียงร้อยละ 1.35
34
3) ญีป่ นุ่ ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) ปริมาณการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น มีแนวโน้มลดลงทั้งปริมาณและ มูลค่าในอัตราร้อยละ 6.28 และร้อยละ 7.07 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับ ปี 2559 แม้เศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังคงชะลอตัว แต่มีการนำเข้าสินค้ากุ้งเพิ่มขึ้น โดยนำเข้าปริมาณ 224 พันตัน มูลค่า 2,346.95 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ เพิ่ ม ขึ้ น จากปริ ม าณ 214 พันตัน มูลค่า 2,273.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปี 2558 ร้อยละ 4.67 และร้อยละ 3.23 ตามลำดับ โดยยังคงนำเข้าจากเวียดนามมากเป็น อันดับหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.87 ของ ปริ ม าณการนำเข้ า กุ้ ง ทั้ ง หมด รองลงมาได้ แ ก่ อินเดีย ไทย และอินโดนีเซีย โดยมีสัดส่วนของ ปริมาณการนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 18.30 ร้อยละ 16.07 และร้อยละ 13.39 ตามลำดับ
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของ ไทยในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) มีแนวโน้ม ลดลงร้อยละ 10.74 ต่อปี ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตกุ้งของไทยประสบปัญหาโรคกุ้งตายด่วน หรือ EMS ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงจากภาวะปกติ อย่างมาก ภาครัฐโดยกรมประมง ร่วมกับภาค เอกชนสามารถแก้ไขปัญหาและควบคุมการระบาด ของโรค EMS ได้ดีขึ้น และสถานการณ์การเลี้ยง ค่อยๆ ฟื้นตัว ปี 2559 มีปริมาณผลผลิตกุ้ง 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 260,000 ตัน ในปี 2558 ร้อยละ 15.38 และมีเกษตรกรบางส่วน ปรับตัวในการเลีย้ งได้ดขี นึ้ โดยมีการนำเทคนิคการ เลี้ยงใหม่ๆ มาปรับใช้ ทำให้ผลผลิตกุ้งโดยรวม เพิม่ ขึน้ สำหรับภาพรวมของประเทศไทยมีสดั ส่วน
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
การเลีย้ งกุง้ ขาวแวนนาไมร้อยละ 96 และสัดส่วน การเลี้ยงกุ้งกุลาดำร้อยละ 4 ของผลผลิตกุ้งทะเล จากการเพาะเลี้ยงทั้งหมด 1.2.2 การตลาด
(1) การบริโภค
จากการทีผ่ ลผลิตกุง้ ไทยลดลง อย่างมากนับจากปี 2556 และต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ในขณะที่ความต้องการกุ้งเป็นวัตถุดิบเพื่อ แปรรูปส่งออกสูงขึ้น ทำให้ราคากุ้งทุกขนาดยังอยู่ ในระดับสูง ขณะทีเ่ ศรษฐกิจภายในประเทศยังซบเซา ทำให้ความต้องการบริโภคกุ้งยังอยู่ในระดับ เดิมคือ ร้อยละ 10 ของผลผลิตทัง้ หมด และร้อยละ 90 ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปสินค้ากุ้งเพื่อการ ส่งออก
(2) การส่งออก
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555 2559) แนวโน้มการส่งออกกุง้ และผลิตภัณฑ์ของ ไทยลดลง ทั้งปริมาณและมูลค่าในอัตราร้อยละ 10.68 และร้อยละ 7.00 ต่อปี ตามลำดับ โดย เป็นการส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ กุ้งแปรรูปประเภทต่างๆ ปี 2559 การส่งออกกุ้ง และผลิตภัณฑ์ของไทยมีปริมาณ 221 พันตัน มูลค่า 73,115.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 170 พันตัน มูลค่า 57,106.54 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 30.00 และร้อยละ 28.03 ตามลำดับ เป็ น การส่ ง ออกกุ้ ง แช่ เ ย็ น แช่ แ ข็ ง ปริ ม าณ 135 พันตัน มูลค่า 40,307.07 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จาก 83 พันตัน มูลค่า 24,062.19 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 62.65 และร้อยละ 67.51 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกกุง้ แปรรูปในปี 2559 มีปริมาณ 86 พันตัน ลดลงจาก 87 พันตัน ของปี 2558 ร้อยละ 1.15 แต่มีมูลค่า 32,808.26 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจาก 32,044.35 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 2.38 การทีม่ ลู ค่าการส่งออกเพิม่ ขึน้ เนือ่ ง จากคูแ่ ข่งมีผลผลิตลดลงจากปัญหาเรือ่ งโรค ทำให้ ราคาส่ ง ออกของไทยปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น โดยตลาด ส่งออกหลักของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวี ย ดนาม และสหภาพยุ โ รป ขณะนี้ ผู้ ส่ ง ออก พยายามแสวงหาช่องทางการจำหน่ายในตลาด ใหม่ๆ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ ตลาดอาเซียน โดยเวียดนามมีการนำเข้ากุ้งจาก ไทยมากขึ้นถึง 29,445 ตัน มูลค่า 7,897.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 6,558 ตัน มูลค่า 1,969 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 348.99 และ ร้อยละ 301.01 ตามลำดับ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในการแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออกให้ได้ตาม เป้าหมาย ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออกของเวียดนาม เนือ่ งจากผลผลิตกุง้ ของเวียดนามลดลงจากปัญหา การระบาดของโรคตายด่วน (EMS) และปัญหา ภัยแล้งรุนแรงในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสำคัญ (3) การนำเข้า ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากุ้ง ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.80 ต่อปี ร้อยละ 9.50 ต่อปี ในปี 2559 ปริมาณ และมูลค่าการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ 25 พันตัน ลดลงจาก 26 พันตัน ของปี 2558 ร้อยละ 3.85 แต่มีมูลค่าการนำเข้า 3,185.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 3,172.91 ล้านบาท ของปี 2558 ร้อยละ 0.40 โดยนำเข้ามาในรูป กุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูป คิดเป็นร้อยละ 97.62 และร้อยละ 2.38 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ นำเข้ากุง้ แช่เย็น แช่แข็งมาเป็นวัตถุดบิ เพือ่ แปรรูป ส่งออก
35
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
(4) ราคา
1) ราคาที่ เ กษตรกรขายได้ ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) ราคากุง้ ขาว แวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ (ขนาด 70 ตัวต่อ กิโลกรัม) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.15 ต่อปี ปี 2559 มีราคาเฉลีย่ กิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 179 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 0.56 และราคาเฉลี่ยของกุ้งทุกขนาดเมื่อ เทียบกับปี 2558 เพิ่มขึ้นทั้งหมด 2) ราคาส่ ง ออก เอฟ.โอ.บี . ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (2555 - 2559) ราคาส่งออก กุ้งแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งแปรรูปในรูปเงินบาท มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.41 และร้อยละ 5.25 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 2.65 และร้อยละ 1.52 ต่อปี ตามลำดับ ปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ราคาส่งออกกุง้ แช่เย็นแช่แข็งในรูปเงินบาท ลดลงร้อยละ 23.42 แต่ราคาส่งออกกุ้งแปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 ส่วนราคาส่งออกกุ้งแช่เย็น แช่แข็งในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.56 แต่ราคาส่งออกกุง้ แปรรูปเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.68 ซึง่ เป็นไปตามราคาในตลาดโลก 3) ราคานำเข้ า ซี . ไอ.เอฟ. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555 - 2559) ส่วนใหญ่ ไทยนำเข้ากุ้งในรูปกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง โดยราคา นำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งในรูปเงินบาทมีแนวโน้ม เพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 8.15 ต่อปี ส่วนราคาในรูป เงิ น เหรี ย ญสหรั ฐ ฯ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น ในอั ต รา ร้อยละ 4.33 ต่อปี สำหรับปี 2559 เมื่อเทียบ กับปี 2558 ราคานำเข้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งในรูป เงินบาทลดลงร้อยละ 0.15 ส่วนราคานำเข้ากุ้ง แช่เย็นแช่แข็งในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.98
36
2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าปริมาณผลผลิต กุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลกโดยรวมจะลดลง เมื่อเทียบกับปี 2559 จากการที่ประเทศผู้เลี้ยง หลักต่างๆ เช่น อินเดีย จีน เวียดนาม ยังคงประสบ ปัญหาการระบาดของโรคในช่วงปลายปี 2558 และคาดว่าจะเผชิญกับโรคต่อเนือ่ งในปี 2560 ส่วน ประเทศในแถบอเมริกากลาง - ใต้ มีผลผลิตกุ้ง เพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ประสบปัญหาด้านโรค ขณะที่ ไทยมีการปรับตัวและบริหารจัดการการเลี้ยงได้ ดีขึ้น คาดว่าผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.1.2 การตลาด ปี 2560 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโลก จะยังคงชะลอตัวต่อไป แม้ความต้องการบริโภคกุง้ จะมีอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง แต่ผบู้ ริโภคต้องการสินค้ากุง้ ทีม่ รี าคาไม่สงู มากนัก ทำให้ผคู้ า้ อาจจะไม่สามารถ ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อรักษาตลาดของผ้บูริโภค หลักไว้ ภาวะการค้าสินค้ากุ้งของโลกในปี 2560 คาดว่าจะไม่ขยายตัวจนกว่าเศรษฐกิจของประเทศ ผู้นำเข้าหลักจะคืนสู่ภาวะปกติ
2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต ปี 2560 คาดว่าผลผลิตกุง้ จากการ เพาะเลี้ยงของไทยจะมีปริมาณ 340,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.33 เมื่อเทียบกับปี 2559 โดย ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาเรือ่ งโรคกุง้ มาอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาสายพันธุ์ และการ ฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง มากขึน้ เช่น เทคนิคการเลีย้ งใหม่ๆ การส่งเสริมการ
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปรับปรุงฟาร์มให้มีบ่อพักน้ำและนำน้ำหมุนเวียน กลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการตรวจ คัดกรอง โรคให้กับโรงเพาะฟักและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรในการกลับ มาทำการเลี้ยงกุ้งตามปกติต่อไป 2.2.2 การตลาด (1) การบริโภค คาดว่าความต้อง การบริโภคในประเทศจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปี ทีผ่ า่ นมา และจากการทีภ่ าครัฐใช้มาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ ประชาชน จึงคาดว่าความต้องการบริโภคกุ้งและ ผลิตภัณฑ์จะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง (2) การส่งออก การส่งออกกุง้ ของ ไทยคาดว่าจะเพิม่ ขึน้ จากการทีป่ ระเทศคูแ่ ข่งผลิต ได้ ล ดลงจากปั ญ หาโรคระบาด ทำให้ ป ระเทศ ผูน้ ำเข้าหันมานำเข้ากุง้ จากไทยเหมือนเดิม แต่ไทย ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เป็นข้อกีดกัน ทางการค้าของประเทศผูน้ ำเข้า เกีย่ วกับมาตรฐาน สินค้า การใช้แรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งปัญหา ภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น (3) การนำเข้า สำหรับการนำเข้าปี 2560 คาดว่าไทยจะนำเข้ากุ้งในปริมาณที่ลดลง เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากสถานการณ์การ ผลิตกุ้งของไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น (4) ราคา ราคากุ้งที่เกษตรกรขาย ได้ในปี 2560 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากสถานการณ์ผลผลิตกุ้งของโลกที่ลดลง ทำให้ ประเทศผู้นำเข้าหันมานำเข้ากุ้งจากไทย ส่งผลให้ ราคาในประเทศปรับตัวสูงขึ้นด้วย
2.3 ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ การผลิ ต การตลาด และการส่งออก 2.3.1 การผลิต การเพาะเลี้ยงยังคงมีปัญหาจาก โรคตายด่วนในบางพื้นที่ แต่เกษตรกรเริ่มมีการ ปรับตัวและมีการจัดการฟาร์มเลี้ยงได้ดีขึ้น ทำให้ สถานการณ์การผลิตกุ้งเริ่มฟื้นตัว และมีปริมาณ ผลผลิตกุง้ เพิม่ ขึน้ เกษตรกรมัน่ ใจในการลงกุง้ มาก ขึน้ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรมีการปรับตัวเพือ่ ให้การเลี้ยงมีความยั่งยืน โดยการนำเทคนิควิธี การเลี้ยงใหม่ๆ มาใช้ในฟาร์ม เช่น การเลี้ยงแบบ น้ำโปร่ง การเลีย้ งแบบอิงระบบน้ำหมุนเวียนธรรมชาติ โดยการปรับปรุงฟาร์มเลี้ยงให้มีบ่อพักน้ำ การนำน้ำกลับมาใช้เพื่อให้การผลิตเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 2.3.2 การตลาด การส่งออกกุ้งของไทยต้องเผชิญ กับปัญหากีดกันทางการค้า ทัง้ ในเรือ่ งทีไ่ ทยถูกตัด สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) และปัญหา การทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและ ไร้การควบคุม (IUU Fishing) จากกลุ่มสหภาพ ยุโรป ทำให้การส่งออกของไทยลดลง หากไทยไม่ สามารถแก้ปญ ั หาได้อาจทำให้ไทยสูญเสียตลาดใน ภูมภิ าคนีใ้ ห้กบั คูแ่ ข่งอืน่ นอกจากนี้ การส่งออกไป ตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาอาจมีความท้าทาย มากขึ้น เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ มีนโยบายกีดกันการค้าทีช่ ดั เจน ซึง่ อาจมีการออก มาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น การทุ่มตลาด (Anti - Dumping: AD) การนำ กฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศเพื่อขจัด การทำประมงที่ผิดกฎหมาย (Presidential Task Force on Combating IUU Fishing) มาใช้
37
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
เร็วขึ้น ซึ่งกฎหมายและมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงและการส่งออกกุ้ง ของไทยทั้งระบบ เนื่องจากสหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย การเตรียมความพร้อมของไทย ควรเร่งปรับโครงสร้างการผลิตกุ้งทั้งระบบ โดยการปรับ โครงสร้างการผลิตของเกษตรกรในเรือ่ งการบริหารจัดการฟาร์ม ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และ สนับสนุนแหล่งเงินทุนให้เกษตรกรมีสภาพคล่อง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการเลี้ยงที่ยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในทุกตลาด ตารางที่ 1 ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลก ปี 2555 - 2560 ประเทศ อินเดีย จีน ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อเมริกากลาง - ใต้ ประเทศอื่นๆ รวม
2555 190 450 540 105 170 432 137 2,024
2556 270 300 250 180 240 432 143 1,815
หมายเหตุ: *ประมาณการโดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา: สมาคมกุ้งไทย
38
2557 420 400 230 200 300 520 152 2,222
หน่วย: พันตัน
2558 380 350 260 220 210 540 185 2,145
2559* 350 330 300 245 200 545 145 2,115
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 16.92 -4.55 -10.74 20.87 1.93 7.12 3.78 2.58
2560* 285 280 340 245 180 540 135 2,005
2555 2556 2557 2558 2559* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2560* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 280 1,742.42 253 2,569.56 345 3,721.51 383 3,193.38 350 2,911.90 -8.62 -8.81 285 2,350 210 1,288.54 226 1,821.05 301 2,599.46 346 2,315.89 373 2,522.19 7.80 8.91 380 2,560 349 3,104.32 211 2,256.23 165 1,995.43 170 1,679.48 221 2,090.32 -10.68 -10.29 265 2,540 274 2,253.41 270 2,538.72 233 2,555.18 192 1,920.55 182 1,937.22 -5.21 0.87170 1,770 148 1,235.39 152 1,582.11 181 2,039.30 181 1,574.48 200 1,679.13 10.52 6.65 200 1,670 894 5,498.12 1,100 6,138.74 1,014 6,911.05 1,025 6,147.12 994 6,297.63 1.42 2.77 900 5,610 2,155 15,122.20 2,212 16,906.41 2,239 19,821.93 2,297 16,830.90 2,320 17,438.39 1.00 3.61 2,200 16,500
ปริมาณ: พันตัน, มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ: *ประมาณการ กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม และกุ้งอื่นๆ ภายใต้พิกัดศุลกากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012-2016) ที่มา: Global Trade Information Services, October 2016
อินเดีย เอกวาดอร์ ไทย จีน อินโดนีเซีย ประเทศอื่นๆ รวม
ประเทศ
ตารางที่ 2 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งในตลาดโลกแยกตามประเทศผู้ส่งออกปี 2555 - 2560
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
Food feed fuel
39
40
ปริมาณ มูลค่า 66 575.02 74 658.82 136 1,203.40 41 448.08 81 559.90 26 256.15 36 228.51 23 171.00 52 364.09 535 4,464.97
2555
2556 2557 2558 2559* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2560* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 94 1,043.53 109 1,384.02 135 1,280.64 144 1,364.03 21.19 21.32 140 1,280 81 909.27 103 1,318.70 114 1,101.30 119 1,110.46 13.79 13.15 125 1,150 84 906.49 65 816.49 74 755.37 94 896.59 -8.29 -7.42 113 1,100 60 729.08 74 1,004.32 61 663.73 70 755.53 11.47 9.98 78 820 74 654.86 92 901.35 86 635.04 80 627.84 1.26 2.00 85 630 18 263.97 20 303.18 28 320.38 40 437.17 13.92 13.46 47 500 32 238.63 33 271.48 29 189.47 43 277.39 2.60 1.58 40 250 10 79.52 18 178.48 8 75.44 2 11.90 -40.00 -41.63 4 25 56 487.27 55 528.00 52 433.34 53 430.39 -0.36 2.20 58 545 509 5,312.62 569 6,706.02 587 5,454.71 645 5,911.30 5.30 6.05 690 6,300
ปริมาณ: พันตัน, มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ: *ประมาณการ กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งน้ำเย็น และกุ้งอื่น ๆ ไม่รวมกุ้งก้ามกรามที่อยู่ภายใต้พิกัดศุลกากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลัก (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012-2016) ที่มา: Global Trade Information Services, October 2016
อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม เอกวาดอร์ เม็กซิโก จีน มาเลเซีย ประเทศอื่นๆ รวม
ประเทศ
ตารางที่ 3 ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา ปี 2555 - 2560
Food feed fuel
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปริมาณ มูลค่า 88 549.75 58 413.63 32 271.71 37 322.17 28 230.17 40 132.23 10 93.85 35 197.76 51 468.36 166 1,357.60 545 4,037.23
2555
2556 2557 2558 2559* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2560* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 81 625.66 91 798.80 93 638.98 98 705.00 3.60 5.32 100 700 64 510.24 93 768.49 79 636.26 80 614.42 8.91 10.65 75 590 34 320.38 44 488.13 48 481.63 54 542.39 14.93 19.60 60 600 37 358.80 35 418.97 30 342.70 29 344.45 -6.73 0.88 29 345 35 267.85 35 188.46 33 334.89 31 288.05 1.46 6.95 32 300 39 136.01 54 248.74 46 219.92 54 258.14 7.95 19.94 55 260 11 122.45 15 187.94 12 124.87 14 152.26 7.89 10.38 15 160 36 194.98 28 176.30 28 163.09 25 140.20 -8.83 -8.30 24 120 29 332.87 17 237.81 8 105.81 8 99.20 -39.30 -34.62 9 110 165 1,454.95 171 1,997.89 186 1,512.79 198 1,542.78 4.84 2.99 211 1,635 534 4,324.19 583 5,511.53 563 4,560.94 591 4,686.89 2.17 3.58 610 4,820
ปริมาณ: พันตัน, มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ: *ประมาณการ กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งน้ำเย็น และกุ้งอื่นๆ ไม่รวมกุ้งก้ามกรามที่อยู่ภายใต้พิกัดศุลกากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลัก (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012 - 2016) ที่มา: Global Trade Information Services, October 2016
เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม บังคลาเทศ แคนาดา กรีนแลนด์ อินโดนีเซีย จีน ไทย ประเทศอื่นๆ รวม
ประเทศ
ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรปปี 2555 - 2560
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
Food feed fuel
41
42
ปริมาณ มูลค่า 51 572.76 80 808.92 28 262.87 38 436.11 25 249.50 58 641.96 280 2,972.12
2555
2556 2557 2558 2559* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 53 640.76 51 691.89 51 569.00 49 544.31 58 619.93 37 447.89 36 378.13 36 385.87 32 340.18 31 362.35 31 302.48 41 385.74 39 471.78 32 419.21 32 366.50 30 331.03 24 232.68 19 198.44 15 134.18 15 132.18 56 645.93 53 632.84 49 523.18 53 567.81 262 2,951.26 223 2,752.62 214 2,273.47 224 2,346.95
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2560* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า -1.18 -2.18 46 510 -18.73 -17.92 42 430 7.58 6.71 39 400 -6.49 -7.72 33 350 -13.86 -16.65 14 120 -3.09 -4.46 56 590 -6.28 -7.07 230 2,400
ปริมาณ: พันตัน, มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หมายเหตุ: *ประมาณการ กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งน้ำเย็น และกุ้งอื่น ๆ ไม่รวมกุ้งก้ามกรามที่อยู่ภายใต้พิกัดศุลกากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลัก (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012 - 2016) ที่มา: Global Trade Information Services, October 2016
เวียดนาม ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย จีน ประเทศอื่นๆ รวม
ประเทศ
ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นปี 2555 - 2560
Food feed fuel
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปริมาณ: พันตัน, มูลค่า: ล้านบาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 1/ กุ้งขาว ขนาด 70 ตัว/กก. (บาท/กก.) 127 198 223 179 180 6.15 182
ราคาตลาดกลาง 2/ กุ้งขาว ขนาด 70 ตัว/กก. (บาท/กก.) 129 205 211 160 169 2.97 175
หมายเหตุ: *ประมาณการ 1/ ราคาที่เกษตรกรขายได้ จากศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ ราคาตลาดกลาง จากตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ปี 2555 2556 2557 2558 2559* อัตราเพิ่ม(ร้อยละ) 2560*
ตารางที่ 7 ราคากุ้งขาวแวนนาไมเฉลี่ย ปี 2555 - 2560
หมายเหตุ: *ประมาณการโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ กุ้งน้ำเย็น และกุ้งอื่นๆ ไม่รวมกุ้งก้ามกรามที่อยู่ภายใต้พิกัดศุลกากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลัก (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012 - 2016) ที่มา: กรมศุลกากร
รายการ
2555 2556 2557 2558 2559* อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2560* ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ส่งออก 349 95,751.30 211 68,790.56 165 64,342.93 170 57,106.54 221 73,115.33 -10.68 -7.00 265 87,600 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 184 45,605.48 97 29,470.56 80 29,185.35 83 24,062.19 135 40,307.07 -7.46 -4.40 162 48,200 กุ้งแปรรูป 165 50,145.82 113 39,320.00 85 35,157.58 87 32,044.35 86 32,808.26 -14.48 -9.99 103 39,400 นำเข้า 25 2,036.28 24 3,134.33 24 3,749.15 26 3,172.91 25 3,185.75 0.80 9.50 26 3,190 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 18 1,944.67 21 3,093.19 20 3,689.66 20 3,114.50 20 3,109.74 1.63 9.92 20 3,100 กุ้งแปรรูป 7 91.61 3 41.14 4 59.49 6 58.41 5 76.01 0.20 -0.23 6 90
ตารางที่ 6 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยปี 2555 – 2560
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
Food feed fuel
43
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปลาป่น 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ผลผลิตปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 2555 - 2559) มีแนวโน้มลดลงในอัตรา ร้อยละ 1.06 ต่อปี เนื่องจากประเทศเปรูซึ่งเป็นผู้ผลิตปลาป่นรายใหญ่ของโลกประสบปัญหาสภาพ ชีวมวลในท้องทะเลอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ทำให้จับปลาได้ปริมาณลดลง และประเทศไทยซึ่งเคยเป็น ผู้ผลิตอันดับ 2 ของโลก มีปริมาณการผลิตปลาป่นลดลงมาโดยตลอดเช่นกัน เนื่องจากทรัพยากร สัตว์นำ้ ตามธรรมชาติลดลง ประกอบกับในปี 2558 โรงงานปลาป่นประสบปัญหาการตรวจสอบย้อนกลับ แหล่งที่มาของปลาเป็ดซึ่งเป็นวัตถุดิบอย่างเข้มงวด จากปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ รายงานและไร้การควบคุม (IUU fishing: Illegal Unreported and Unregulated fishing) อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตหลักของโลกได้มีการผลิตปลาป่นที่คำนึงถึงความยั่งยืนของอุตสาหกรรมปลาป่นและ สิ่งแวดล้อม โดยมีการบริหารจัดการที่รักษาความสมดุลระหว่างปริมาณการจับสัตว์น้ำและการฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์นำ้ ไปด้วยพร้อมกัน เช่น เปรูมกี ารกำหนดเวลาและโควตาของปริมาณการจับปลา เพือ่ ให้ มีระยะเวลาการฟืน้ ฟูทรัพยากรสัตว์นำ้ ทีเ่ ป็นวัตถุดบิ เพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน ไทยมีการประกาศปิดอ่าวไทย 3 เดือน ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม และปิดอ่าวทางฝั่งอันดามันประจำปี ใน เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี เพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นต้น สำหรับปี 2559 ผลผลิต ปลาป่นโลกมีปริมาณ 4.15 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 4.14 ล้านตันของปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 0.24 ประเทศผูผ้ ลิต ปลาป่นที่สำคัญของโลก ได้แก่ เปรู ชิลี จีน ไทย และสหรัฐอเมริกา 1.1.2 การตลาด
(1) การบริโภค
การใช้ปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555 - 2559) มีแนวโน้มลดลง ในอัตราร้อยละ 0.11 ต่อปี เนื่องจากจีนซึ่งเป็นประเทศหลักที่ใช้ปลาป่นปริมาณมากถึงครึ่งหนึ่งของ ผลผลิตโลก มีการใช้ปลาป่นลดลง โดยมีการปรับเปลีย่ นไปใช้กากถัว่ เหลืองแทนการใช้ปลาป่นในบางส่วน ของอาหารสัตว์ เนือ่ งจากราคากากถัว่ เหลืองมีแนวโน้มลดลง สำหรับปี 2559 คาดว่าจะมีการใช้ปลาป่น ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปของโลกปริมาณทั้งสิ้น 4.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 จาก ปีที่ผ่านมา
44
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
(2) การส่งออก
ปริ ม าณการส่ ง ออกปลาป่ น ของโลกในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 2555 - 2559) มี แนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 2.50 ต่อปี ประเทศ ผูส้ ง่ ออกสำคัญ คือ เปรู ชิลี และเดนมาร์ก ประเทศ เหล่านีส้ ามารถผลิตปลาป่นคุณภาพดี ซึง่ มีโปรตีน สูงมากกว่าร้อยละ 60 เนื่องจากใช้ปลาแองโชวี่ (Anchovy) ทีส่ ดและมีคณ ุ ภาพดีเป็นวัตถุดบิ และ มีผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปลาป่น คือ น้ำมัน ปลา (Fish oil) ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของผลผลิตจากอุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่งสามารถ นำไปแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับมนุษย์ และใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์สำเร็จรูป (3) การนำเข้า ปริมาณการนำเข้าปลาป่นของ โลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555-2559) มี แนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 0.51 ต่อปี เนื่อง จากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าปลาป่นมากที่สุด มีการลดปริมาณการนำเข้าปลาป่นลง โดยจีนปรับ เปลีย่ นไปใช้กากถัว่ เหลืองซึง่ มีราคาถูกลงแทนการ นำเข้าปลาป่นในบางส่วนที่สามารถทดแทนได้ (4) ราคา ราคาปลาป่ น ของโลกอ้ า งอิ ง ราคาซื้อขายปลาป่นของเปรูซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555 - 2559) ราคาส่งออก (เอฟ.โอ.บี.) ปลาป่น คุณภาพโปรตีนร้อยละ 60 ขึน้ ไป มีแนวโน้มสูงขึน้ ในอัตราร้อยละ 4.64 ต่อปี สำหรับปี 2559 ราคา ปลาป่น เอฟ.โอ.บี. เปรู เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.31 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 8.73 เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาด หลักที่มีการใช้ปลาป่นมากที่สุดได้ลดการสั่งซื้อ
เพราะจีนมีภาวะเศรษฐกิจไม่ดเี ช่นทีผ่ า่ นมา จึงลด ปริมาณการนำเข้าปลาป่นลง ทำให้ปลาป่นมีเหลือ อยูใ่ นตลาดโลกปริมาณมาก ส่งผลให้ราคาปลาป่น ลดลง
1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต อุตสาหกรรมปลาป่นของไทยใน ปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การผลิตทีไ่ ด้มาตรฐานสากล ทำให้คณ ุ ภาพปลาป่น เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ทั้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศ ในปี 2559 ประเทศไทยมีโรงงานผลิตปลาป่น 86 แห่ง กระจาย อยูใ่ น 18 จังหวัดทีภ่ าคใต้ และภาคตะวันออก และ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) แล้วจำนวน 72 โรงงาน โรงงานทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐานทัง้ GMP และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) จำนวน 58 โรงงาน โรงงานผลิตปลาป่นของไทย สามารถผลิตปลาป่นที่มีคุณภาพโปรตีนสูงกว่า ร้อยละ 60 คิดเป็นร้อยละ 25 ของผลผลิตปลาป่น ทัง้ หมด และร้อยละ 75 เป็นผลผลิตปลาป่นคุณภาพ โปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 สำหรับปริมาณผลผลิต ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 2555 - 2559) มีแนวโน้ม ลดลงในอัตราร้อยละ 8.50 ต่อปี เนือ่ งจากวัตถุดบิ ที่ ใ ช้ ผ ลิ ต ปลาป่ น มี ป ริ ม าณลดลงจากที่ จ ำนวน ปลาเป็ดที่จับได้ลดลง เพราะสภาพภูมิอากาศที่ แปรปรวน ส่งผลต่อการทำประมงและทรัพยากร ธรรมชาติ ล ดลง ประกอบกั บ ตั้ ง แต่ ปี 2558 รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย (IUU fishing) ทำให้เรือประมง บางส่วนไม่สามารถออกทำการประมงได้ รวมถึง เรือ่ งเรือและเครือ่ งมือการทำประมง และเรือ่ งการ
45
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปฏิบัติแรงงานประมงอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ ปริมาณปลาเป็ดลดลงมาก ทำให้ผู้ประกอบการ ปลาป่นบางรายเลิกกิจการไป อีกทัง้ มีการตรวจสอบ ย้ อ นกลั บ แหล่ ง ที่ ม าของวั ต ถุ ดิ บ อย่ า งเข้ ม งวด ส่งผลให้ผลผลิตปลาป่นไทยลดลงมาก นอกจากนี้ ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศนำเข้าปลาป่นหลักของ ไทยมีคำสั่งซื้อลดลง เพราะส่วนใหญ่ปลาป่นใน ประเทศไม่ได้การรับรองจาก IFFO (International Fishmeal and Fish Oil Organization) รวมถึง ผูน้ ำเข้าสินค้าประมงในต่างประเทศต้องการข้อมูล ประกอบการซื้ อ สิ น ค้ า ปลาป่ น และผลิ ต ภั ณ ฑ์ สัตว์น้ำเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออก เช่น กุ้งทะเล ปลาชนิดต่างๆ ทีม่ ปี ลาป่นผสมในสูตรอาหารสัตว์ ทำให้ อุ ต สาหกรรมปลาป่ น ต้ อ งเข้ ม งวดในการ รับซื้อวัตถุดิบปลาเป็ด และปรับสัดส่วนการใช้ วัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยใช้เศษเหลือจาก อุตสาหกรรมปลาทูนา่ กระป๋องเพิม่ ขึน้ ซึง่ การผลิต ปลาป่นในปัจจุบนั ใช้เศษปลาทีไ่ ด้จากอุตสาหกรรม แปรรูปสัตว์นำ้ เช่น โรงงานซูรมิ ิ โรงงานผลิตทูนา่ กระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา ฯลฯ มาใช้เป็น วัตถุดิบมากถึงร้อยละ 61 ใช้ปลาเป็ดร้อยละ 28 และปลาอื่นๆ ร้อยละ 11 สำหรับปี 2559 คาดว่า ผลผลิตปลาป่นของไทยจะมีปริมาณ 0.360 ล้าน ตัน ลดลงจากปี 2558 ที่ผลิตได้ 0.381 ล้านตัน ร้อยละ 5.51 1.2.2 การตลาด (1) การบริโภค การใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปในประเทศที่ ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบในสูตร อาหารสำหรับสัตว์น้ำ แนวโน้มการใช้ปลาป่น สำหรับอาหารสัตว์ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 25552559) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.67
46
ต่อปี จากทีก่ ารเพาะเลีย้ งกุง้ ขาวแวนนาไมประสบ ปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ตั้ ง แต่ ป ลายปี 2555 ทำให้ เ กษตรกร ลดปริมาณการเลี้ยงลงในระยะหนึ่ง แต่ต่อมา เกษตรกรบางส่วนได้ปรับการเลี้ยงใหม่ ประกอบ กับภาครัฐมีการช่วยเหลือโดยกรมประมง ดำเนิน การจัดทำธนาคารพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล (Marine Shrimp Broodstock Bank) นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกพันธุ์กุ้งทะเลคุณภาพให้แก่เกษตรกร ทั่ ว ประเทศ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพระบบคั ด กรอง ป้องกันเฝ้าระวังโรคกุง้ ทะเล รวมทัง้ เพิม่ กำลังการ ผลิตหัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ ปม.1 ให้เกษตรกรทัว่ ประเทศ เกษตรกรจึงปรับตัวได้ และมีการเลี้ยงกุ้งกันมาก ขึน้ ทำให้ความต้องการใช้ปลาป่นมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ และคาดว่าความต้องการใช้ปลาป่นในปี 2559 มี ปริมาณ 0.734 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 0.703 ล้านตัน ของปี 2558 ร้อยละ 4.41
(2) การส่งออก
ปี 2559 ไทยส่งออกปลาป่น ลดลง โดยส่งออกปลาป่นคุณภาพโปรตีนสูงกว่า ร้อยละ 60 และคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 รวมปริมาณทัง้ สิน้ 0.140 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.156 ล้านตัน ของปี2558 ร้อยละ 10.26 โดยมี ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น เนื่องจากอุตสาหกรรมปลาป่นของไทยขาดแคลน วั ต ถุ ดิ บ ประกอบกั บ ปลาป่ น ภายในประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับใบรับรองจาก IFFO หากจะได้ ใบรับรองนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ปัจจุบัน โรงงานผลิตปลาป่นในประเทศไทยที่มีการรับรอง จาก IFFO มีอยูเ่ พียง 2 โรงเท่านัน้ สำหรับแนวโน้ม การส่งออกปลาป่นของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555 - 2559) เพิม่ ขึน้ ในอัตราร้อยละ 22.55 ต่อปี เนือ่ งจากปลาป่นไทยมีมาตรฐานเป็นทีย่ อมรับ
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ของตลาดต่างประเทศมากขึน้ เพือ่ ทดแทนสัตว์นำ้ ตามธรรมชาติที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงมีความ ต้องการใช้เป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูป อาหารเพื่อบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก เพิ่มขึ้น
(3) การนำเข้า
ปลาป่นเป็นสินค้าควบคุมการ นำเข้าตาม พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการ นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึง่ สินค้า พ.ศ. 2522 และ ประกาศกระทรวงพาณิชย์วา่ ด้วยการนำเข้าสินค้า เข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 72) พ.ศ. 2533 ให้การนำเข้าปลาป่นเฉพาะชนิดคุณภาพโปรตีน ต่ำกว่าร้อยละ 60 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตใน การนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ ปัจจุบนั การ กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่นอยู่ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบาย อาหาร ซึง่ มีรฐั มนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์เป็น ประธาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึง่ จะพิจารณากำหนดนโยบายการนำเข้าทุกๆ 3 ปี โดยระหว่างปี 2558 - 2560 คณะรัฐมนตรีเห็น ชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหารกำหนด ให้นำเข้าปลาป่นได้ในปริมาณไม่จำกัด แต่การ นำเข้าปลาป่นคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำหรับอากรขาเข้าปลาป่น ตาม ความตกลงการค้าเสรีกรอบต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ แล้ว ได้รบั การยกเว้นการเก็บอากรทุกระดับโปรตีน ของทุกกรอบความตกลงยกเว้นการนำเข้าทั่วไป (MFN Applied Rate) ปลาป่นคุณภาพโปรตีน สูงกว่าร้อยละ 60 เก็บอากรขาเข้าร้อยละ 15 ปลาป่นคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เก็บ อากรขาเข้าร้อยละ 6
ปัจจุบันการนำเข้าปลาป่น มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555 - 2559) ปริมาณการนำเข้าเพิม่ ขึน้ ในอัตรา ร้อยละ 65.29 ต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิต อาหารสัตว์สำเร็จรูปต้องการปลาป่นคุณภาพสูง ในสูตรอาหารสัตว์นำ้ และโรงงานอาหารสัตว์ใหญ่ ในประเทศไม่ซื้อปลาป่นในประเทศเพราะไม่มี มาตรฐานการรับรองจาก IFFO จึงต้องพึ่งพา ปลาป่นจากต่างประเทศ ประกอบกับตัง้ แต่ปี 2558 เป็นต้นมา ปริมาณวัตถุดบิ ปลาเป็ดจากท่าเทียบเรือ ภาคใต้มีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจากทรัพยากร สัตว์นำ้ ลดลง และจากมาตรการแก้ไขปัญหาประมง IUU คาดว่าปี 2559 จะมีการนำเข้าปลาป่นปริมาณ 0.076 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145.16 จาก ปีที่ผ่าน โดยแหล่งนำเข้าปลาป่นหลักของไทย คือ สหภาพเมียนมาร์ และเวียดนาม
(4) ราคา
ราคาปลาป่นในประเทศกำหนด โดยใช้ราคาอ้างอิงตลาดต่างประเทศ คือ ตลาดเปรู ตามชัน้ คุณภาพ เป็นค่าร้อยละของคุณภาพโปรตีน ในปลาป่น โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555 2559) ราคาส่งออก (เอฟ.โอ.บี.) เปรู มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.64 ต่อปี เนื่องจาก ปริมาณการผลิตปลาป่นมีแนวโน้มลดลง สำหรับ การค้าปลาป่นในประเทศจะมีการแบ่งชัน้ คุณภาพ ตามกลิ่นและความสดของปลาป่น โดยบริษัท ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของประเทศ ปัจจุบัน ผู้ผลิตปลาป่นใช้ปลาเป็ดเป็นวัตถุดิบน้อยลงอย่าง มากจากเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ซื้อปลาป่นกำหนด และ การที่ปริมาณสัตว์น้ำลดลง สำหรับราคาปลาเป็ด ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา (ปี 2555 - 2559) มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.98 ต่อปี ราคาขายส่ง
47
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ปลาป่นคุณภาพโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 เบอร์ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.49 ต่อปี และ ราคาปลาป่นคุณภาพโปรตีนสูงกว่าร้อยละ 60 เบอร์ 1 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.37 ต่อปี
2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก ปี 2560 คาดว่าผลผลิตปลาป่นของโลกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 เป็นผลจาก ปริมาณปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่จับได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ ผ่านมาได้หมดอิทธิพลลง ประกอบกับเปรูมนี โยบายอนุรกั ษ์สตั ว์นำ้ เพือ่ การทำประมงทีย่ งั่ ยืน ได้มกี ำหนด ช่วงเวลาและโควตาปริมาณการจับสัตว์นำ้ ในแต่ละปี ทำให้หว่ งโซ่ชวี ติ ของสัตว์นำ้ ได้มโี อกาสฟืน้ ตัวเพิม่ ขึน้ ประกอบกับเวียดนามมีอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาบาซา หรือปลาดอลลี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปลา เบญจพรรณและเลีย้ งโตเร็ว มีการเลีย้ งด้วยต้นทุนทีต่ ำ่ รวมทัง้ มีใบรับรองจาก IFFO สามารถส่งขายจีนได้ ทำให้จีนมีปริมาณผลผลิตปลาป่นเพิ่มขึ้นมาก สำหรับราคาปลาป่นในตลาดโลก คาดว่าจะลดลงจาก ปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตปลาป่นโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต ปี 2560 สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยประมาณการว่าผลผลิตปลาป่นของไทยจะมีปริมาณ ลดลง เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากข้อจำกัดด้านวัตถุดบิ และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งทีม่ าของ วัตถุดิบ โดยเฉพาะการขายผลผลิตปลาป่นให้กับโรงงานอาหารสัตว์รายใหญ่จะต้องมีใบรับรองจาก IFFO 2.2.2 การตลาด ปี 2560 คาดว่าราคาปลาป่นในประเทศจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณการผลิต ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาลดลง
48
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
2.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตหรือการส่งออก 2.3.1 สภาพอากาศแปรปรวน จากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่ผ่านมาเมื่อปี 2558 และ ปี 2559 ได้หมดอิทธิพลลง ทำให้ปริมาณสัตว์นำ้ ในมหาสมุทรฟืน้ ตัวและเจริญเติบโตเป็นจำนวนมากขึน้ ส่งผลให้ปลาที่จับได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้วัตถุดิบปลาเป็ดซึ่งใช้ในการผลิตปลาป่นมีปริมาณเพิ่มขึ้น 2.3.2 ประเด็นเรือ่ งการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU fishing) และเรือ่ งการปฏิบตั ติ อ่ แรงงานประมงไม่เป็นธรรมทีส่ หภาพยุโรปกำลังติดตามผลการดำเนินการของไทย อย่างใกล้ชิด และข้อกำหนดต่างๆ จากประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะปลาป่นจะต้องมีใบรับรองจาก IFFO ตารางที่ 1 ผลผลิต การค้าและการใช้ปลาป่นของโลก ปี 2555 - 2559 รายการ สต็อกต้นปี ผลผลิต นำเข้า ใช้ในประเทศ ส่งออก สต็อกปลายปี
2555 0.36 4.47 2.46 4.51 2.24 0.54
2556 0.54 3.97 2.74 4.65 2.34 0.27
2557 0.27 4.20 2.49 4.64 2.16 0.16
2558 0.16 4.14 2.48 4.52 2.01 0.25
2559 0.25 4.15 2.52 4.55 2.13 0.24
หน่วย: ล้านตัน
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -17.68 -1.06 -0.51 -0.11 -2.50 -15.62
การเปลี่ยนแปลง 2559/2558 (ร้อยละ) 56.25 0.24 1.61 0.66 5.97 -4.00
ที่มา: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016
ตารางที่ 2 ประเทศผู้ผลิตปลาป่นที่สำคัญ 5 อันดับแรกของโลก ปี 2555 - 2559 รายการ เปรู ไทย** จีน สหรัฐอเมริกา ชิลี อื่นๆ รวม
2555 1.150 0.492 0.387 0.335 0.316 1.790 4.47
2556 0.590 0.496 0.408 0.340 0.384 1.752 3.97
2557 0.720 0.478 0.440 0.345 0.450 1.767 4.20
2558 0.750 0.381 0.400 0.345 0.450 1.814 4.14
2559* 0.750 0.360 0.400 0.345 0.430 1.865 4.15
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -5.96 -8.50 0.46 0.74 8.06 1.18 -1.06
หน่วย: ล้านตัน
การเปลี่ยนแปลง 2559/2558 (ร้อยละ)
0 -5.51 0 0 -4.44 2.81 0.24
หมายเหตุ: *ประมาณการ **สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่มา: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016
49
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตารางที่ 3 ปริมาณการผลิต การใช้ การนำเข้าและส่งออกปลาป่นของไทย ปี 2555 - 2559 รายการ
2555
ผลผลิต1/ ความต้องการใช้1/ นำเข้า* ส่งออก*
2556
0.492 0.614 0.014 0.058
0.496 0.579 0.006 0.119
2557 0.478 0.646 0.020 0.172
2558 0.381 0.703 0.031 0.156
2559
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -8.50 5.67 65.29 22.55
0.360 0.734 0.076* 0.140*
หน่วย: ล้านตัน
การเปลี่ยนแปลง 2559/2558 (ร้อยละ) -5.51 4.41 145.16 -10.26
หมายเหตุ: 1/ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย * ไม่รวมสัตว์น้ำอื่นๆ ป่น เช่น เปลือกกุ้งป่น ตับหมึกป่น ฯลฯ กรมศุลกากร (ปี 2559 ประมาณการ) ที่มา: สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยและกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 ราคาเฉลี่ย ปลาเป็ดและปลาป่นในประเทศ ณ ระดับตลาดต่าง ๆ และราคาปลาป่น ตลาดต่างประเทศ ปี 2555 - 2559 รายการ ราคาปลาเป็ดดี (สด) ขายส่งโปรตีนต่ำกว่า 60% เบอร์ 2 ขายส่งโปรตีนสูงกว่า 60% เบอร์ 1 เอฟ.โอ.บี. เปรู หมายเหตุ: *ประมาณการ ที่มา: กรมการค้าภายใน
50
2555 7.38 30.64 33.13 40.53
2556 7.90 26.93 32.93 43.52
2557 7.90 29.26 33.55 50.04
2558 8.97 36.94 41.10 51.31
2559* 8.83 31.06 38.52 46.83
หน่วย: บาท/กก.
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 4.98 3.49 5.37 4.64
Plexomin Cu24 Plexomin Fe20 Plexomin Mn22 Plexomin Zn26
Phytobiotics (Thailand) Co., LTd.
202 Le Concorde Tower, Rajchadapisek Road, Huaykwang, Huaykwang, Bangkok 10320 Tel. 02-6942498 Fax. 02-6942499 www.phytobiotics.com
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
สศก. ลุยสำรวจมันทั่วประเทศ
คาดฝนดีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
สศก. เตรียมสำรวจมันสำปะหลังโรงงานทั่วประเทศ แจงปี 2560 ลุยเก็บ ข้อมูลทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ระหว่าง เมษายน ถึง พฤษภาคม นี้ นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้จัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตมันสำปะหลังโรงงานเป็นประจำ ทุกปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางและนโยบายการผลิตมันสำปะหลัง โรงงานภายในประเทศได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ โดยในปี 2559 ผลการ สำรวจพบว่ามันสำปะหลังโรงงาน (เก็บเกี่ยวตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559) มีปริมาณผลผลิตหัวมันสด 31.16 ล้านตัน เนื้อที่เก็บเกี่ยว 9.07 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3,437 กิโลกรัม ในการนี้ สศก. ได้ร่วมมือกับสมาคมการค้าและผู้ผลิตมันสำปะหลัง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผูผ้ ลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ทำการสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง โรงงาน ซึ่งทั้ง 4 สมาคม ได้ให้การยอมรับรายงานผลการสำรวจของสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร ตรงกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
51
Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
เพิ่มขึ้น - ในเดือน เม.ย. - พ.ค. นี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะออกเก็บข้อมูลการผลิต มันสำปะหลังทั่วประเทศ คาดว่า ผลผลิตต่อไร่ที่จะออกปลายปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่ ค่อนข้างดีกว่าปีก่อน
สำหรับมันสำปะหลังโรงงาน เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็น อย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง และอืน่ ๆ เพือ่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง เช่น อาหาร อาหารสัตว์ สารให้ความหวาน ผงชูรส กระดาษ สิ่งทอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยัง สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลซึ่งเป็นพลังงานทดแทนได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ความ ต้องการใช้มันสำปะหลังโรงงานมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยแบ่งออกเป็น การใช้ในประเทศประมาณร้อยละ 20 - 25 ส่วนที่เหลือร้อยละ 75 - 80 เป็นการ ส่งออก ทั้งนี้ ปี 2560 นี้ สศก. คาดว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังโรงงาน ปี 2560 จะลดลงจากปี 2559 เนื่องจากเกษตรกรขาดแคลนท่อนพันธุ์จากภัยแล้ง ช่วงต้นปี 2559 ทำให้ต้นมันแห้งตายต้องปลูกหลายรอบ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนตั้งแต่กลางปี 2559 มากกว่าปี 2558 โดย สศก. จะสำรวจในเดือนเมษายนพฤษภาคม 2560 ในพื้นที่แหล่งผลิต ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และจะได้เผยแพร่ข้อมูล ให้ทราบในระยะต่อไป
52
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
สศก. เผยดัชนีรายได้เกษตรกร มี.ค. พุ่ง 29.90% คาด เม.ย. ขยายตัวเพิ่มอีก • โดย torzkrub - 24 เมษายน พ.ศ. 2560 •
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยดัชนีรายได้เกษตรกรเดือนมีนาคม 2560 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2559 ร้อยละ 29.90 จากดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.11 และดัชนีราคาปรับตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.15 คาดเมษายน 2560 รายได้ ของเกษตรกรยังขยายตัวเพิ่มขึ้น นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรซึ่งวัดจากดัชนีราคาสินค้าเกษตร ประจำเดือนมีนาคม 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.15 จาก ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มีนาคม 2559) โดยสินค้าที่ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจาก เข้าสู่ช่วงต้นยางผลัดใบ ทำให้ผลผลิตยางออกสู่ตลอดน้อยลง ปาล์มน้ำมัน ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากตลาดยังมีความต้องการ ต่อเนื่อง กุ้งขาวแวนนาไม ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบ ต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาด น้อย สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ราคา ลดลงเนือ่ งจากผูน้ ำเข้าจากประเทศจีนชะลอการรับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ราคาลดลง เนื่องจากปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ไข่ไก่ ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงลดลงจาก สถานศึกษาต่างๆ ปิดภาคเรียน หากเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ภาพรวมดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 2.14 สินค้าทีร่ าคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพารา ราคาลดลงเนือ่ งจากผูซ้ อื้ หรือผูป้ ระกอบการ ในประเทศวิตกกังวลเกี่ยวกับกระแสข่าวการระบายยางในสต็อคของภาครัฐ ส่งผล ทำให้ราคายางมีการปรับตัวลดลง ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการ ที่มา : http://www.kasetkaoklai.com
53
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ชะลอการรับซื้อเพื่อรอผลผลิตฤดูกาลใหม่ สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ส่งผลให้ราคารับซื้อไก่เนื้อ หน้าโรงงานชำแหละเพิม่ ขึน้ สำหรับในเดือนเมษายน 2560 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร คาดว่าจะเพิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับเดือนเมษายน 2559 สินค้าสำคัญทีร่ าคาเพิม่ ขึน้ ได้แก่ ยางพารา อ้อยโรงงาน ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนมีนาคม 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (มีนาคม 2559) สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก อ้อยโรงงาน ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม สินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน หากเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 5.99 สินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่เนื้อ และสุกร สินค้า สำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไข่ไก่ และกุ้งขาว แวนนาไม ส่วนในเดือนเมษายน 2560 ดัชนีผลผลิตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบ กับเดือนเมษายน 2559 โดยสินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพาราและกุ้งขาวแวนนาไม ทัง้ นี้ ในส่วนของภาพรวมดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนมีนาคม 2560 เพิม่ ขึน้ จากเดือนมีนาคม 2559 ร้อยละ 29.90 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตและดัชนีราคา สินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนเดือนเมษายน 2560 คาดว่ารายได้ของเกษตรกร จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2559 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิต และดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
54
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
เกษตรฟื้น คุมนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ ไก่
แก้ ไข่ล้น รายใหญ่ดัมพ์ราคาร่วง "เอ้กบอร์ด" ร้องพาณิชย์ฟื้น พ.ร.บ. ควบคุมนำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์ แก้วังวน ปัญหาไข่ล้น ดัมพ์ราคา ชี้เงื่อนไขใหม่ได้โควตาเกิน 3 แสนตัว ต้องรายงานแผน กลับมายังเอ้กบอร์ดก่อนวางตลาด เร่งทำประชาพิจารณ์บังคับใช้ทันสิ้นปีนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเสนอกระทรวงพาณิชย์ให้ออกประกาศ เพือ่ ควบคุมการนำเข้าไก่ปยู่ า่ พันธุ์ (GP) และไก่พอ่ แม่พนั ธุ์ (PS) โดยอาศัยกฎหมาย ของกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามา ในราชอาณาจักร ซึง่ สินค้า พ.ศ. 2522 ออกประกาศเพือ่ บังคับใช้กบั ผูป้ ระกอบการ ทีต่ อ้ งการนำเข้า GP และ PS ให้ปฏิบตั ติ ามโควตานำเข้าอย่างเคร่งครัด เพือ่ นำไปสู่ การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไข่ไก่ล้นตลาด คาดว่าร่างประกาศใหม่จะแล้วเสร็จภายใน 4-5 เดือน เนื่องจากต้องทำ ประชาพิจารณ์ตามรัฐธรรมนูญก่อนมีผลบังคับใช้ "เดิมโควตาทีเ่ อ้กบอร์ดกำหนด เป็นเพียงการขอความร่วมมือเท่านัน้ ไม่มผี ล บังคับใช้ทางกฎหมาย ทำให้เกิดการนำเข้า PS ได้อย่างเสรี จนเกิดปัญหาการนำเข้า จำนวนมากเกินความต้องการ นอกจากนี ้ ผู้ประกอบการไม่ปลดแม่ไก่ยืนกรงออก จากระบบตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากเห็นว่าไข่และไก่ราคาดี ทำให้ไข่ไก่ล้นตลาด ราคาตกต่ำและมีการดัมพ์ราคาในภาคใต้ ต่อไปต้องมีการกำหนดเกณฑ์วา่ กีส่ ปั ดาห์ ต้องปลดแม่ไก่ยืนกรง หากไม่ปลดจะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับ สูงสุดถึง 1 ล้านบาท" ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
55
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
วังวนไข่ล้น - ผลการประชุม คณะกรรมการนโยบายพัฒนา ไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ล่าสุดมีมติให้กลับไป ออกกฎหมายควบคุมการนำเข้า ปู่ย่าพันธุ์ (GP) และพ่อแม่ พันธุ์ไก่ไข่ (PS) อีกครั้ง หลังจากกลไกตลาดไม่สามารถ ควบคุมปริมาณผลผลิตได้
นอกจากนี้ เงื่อนไขกำหนดต่อไป ผู้ประกอบการที่จะขยายฟาร์มที่ได้สิทธิ์ โควตา 300,000 ตัวขึ้นไป ต้องรายงานแผนการผลิต การตลาดกลับมายัง เอ้กบอร์ด ก่อนการผลิตและจำหน่าย โดยในแผนต้องระบุว่า ผลิตไข่ไก่ที่ไหน กระบวนการฟาร์มเป็นอย่างไร มีตลาดรองรับหรือไม่ และส่งออกจำหน่ายที่ใดบ้าง เพื่อตีกรอบการผลิตให้สอดคล้องกับการบริโภคในปัจจุบัน ทั้งนี้ มติที่ประชุมยังมี แผนการส่งเสริมบริโภคไข่ โดยให้โรงเรียนเพิ่มเมนูไข่ไก่ในมื้ออาหารกลางวันเป็น 3 ฟองต่อสัปดาห์ ขณะทีก่ อ่ นหน้านี้ ทีป่ ระชุมเอ้กบอร์ดได้พจิ ารณาแผนนำเข้าไก่ไข่พนั ธุป์ ี 2560 โดยกำหนดปริมาณการนำเข้า GP 6,000 ตัว และนำเข้า PS 600,000 ตัว จัดทำแผนการนำเข้าเพือ่ รายงานไปยังกรมปศุสตั ว์ โดยปริมาณการนำเข้า GP และ PS จะต้องสอดรับกับผลผลิตภายในประเทศ ส่วนการวางแผนควบคุมการผลิต ไข่ไก่ให้เกิดความสมดุลทัง้ การบริโภคและส่งออกนัน้ ทางเอ้กบอร์ดได้ประมาณการ ไก่ยืนกรง จำนวนไข่ไก่ และการตลาดในปี 2560 โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆ อาทิ ปริมาณการเคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยงปี 2559 เป้าหมายการตลาดตาม แผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ปี 2557 - 2561 ที่ขยายตัว 5% ต่อปี และสถิติการนำเข้า PS ปี 2553 - 2558 โดยได้ประมาณการผลผลิตไก่ไข่ปี 2560 จำนวน 55.64 ล้านตัว ผลผลิตไข่ไก่จำนวน 16,473 ล้านฟอง และประมาณการตลาดไข่ไก่สง่ ออก จำนวน 420 ล้านฟอง และไข่ไก่บริโภคในประเทศจำนวน 16,053 ล้านฟอง และ มอบหมายให้กรมปศุสตั ว์ประสานร่วมกับกรมการค้าภายในและภาคเอกชน พิจารณา เรื่องการบริหารจัดการการผลิตไข่ไก่ให้สมดุลกับการตลาด
56
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
งานวันกุ้งสุราษฎร์ฯ ยิ่งใหญ่ ชู “ศาสตร์พระราชา” เมือ่ วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2560 ทีผ่ า่ นมา สมาคมผูเ้ ลีย้ งกุง้ ทะเลไทย ชมรมผูเ้ ลีย้ งกุง้ สุราษฎร์ธานี ร่วมกับกรมประมง จัดงานสัมมนาทางวิชาการ “งานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 27” ขึ้น ภายใต้แนวความคิด “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน มี นายจิรศักดิ์ ชัยฤทธิ์ รองผูว้ า่ ราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนายสมชาย ฤกษ์โภคี เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยในพิธีเปิดงาน แขกผู้มีเกียรติ พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมกุ้ง และส่วนเกี่ยวข้อง ได้ร่วมพิธีรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสดุดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีการขับร้องเพลงประสานเสียง นำโดย นายปรัชญา ศรีสวัสดิ์ ประธานทีป่ รึกษาอาวุโสสูงสุด ชมรมผูเ้ ลีย้ งกุง้ สุราษฎร์ธานี ได้อย่างไพเราะกินใจ สร้างความประทับใจ เป็นอย่างยิ่งต่อผู้ร่วมงานกว่า 700 คน และสร้างความประหลาดใจให้กับคนในอุตฯ กุ้งทั่วประเทศ ซึ่ง ต้องชืน่ ชมในความตัง้ ใจจริงของผูจ้ ดั งาน ทีไ่ ด้รงั สรรค์ผลงานต่างๆ เพือ่ น้อมใจถวายแด่พอ่ หลวงเป็นกาล เฉพาะได้ยิ่งใหญ่อลังการฯ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการบรรยายวิชาการโดยนักวิชาการซึ่งมีความรู้ เกีย่ วกับโรคกุง้ มาให้ความรู้ และตัวแทนเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ ทีม่ ากประสบการณ์ มาร่วมถ่ายทอดแบ่งปัน ประสบการณ์การเลี้ยงฯ
ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 29 ฉบับที่ 343 เดือนกุมภาพันธ์ 2560
57
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
“
เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง คำว่า “พอ” คนเรา ถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก้เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ไก้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น
”
พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541
นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง ได้กล่าวถึงการเลี้ยงกุ้งในปี 2560 ซึ่งเกษตรกรมีภารกิจคือ ต้องผลิตกุ้งให้ได้ผล ไม่เสียหาย เพื่อไม่ให้ เป็นภาระทุน และไม่เสียศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก ในขณะทีห่ ลายประเทศ มุ่งมั่นเพิ่มผลผลิตกุ้งอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มพื้นที่เพาะเลี้ยง ประกาศแผนพัฒนา การเกษตร ฯลฯ ซึ่งหมายถึงคู่แข่งในเชิงธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ภารกิจ ดังกล่าวคงไม่เกินความสามารถ โดยการรวมพลังของพีน่ อ้ งเกษตรกรกุง้ ไทย รวมทัง้ กรมประมง สถาบันวิจัย และผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน และที่สำคัญยิ่ง คือ “ศาสตร์พระราชา” ที่คนไทยทุกหมู่เหล่า ต่างตั้งปณิธานน้อมนำมาเป็น แสงสว่าง เป็นเข็มทิศนำทางในการพัฒนากิจการให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและ ยั่งยืน อันจะเกิดประโยชน์ทั้งตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติได้ อย่างดียิ่ง “ศาสตร์ของพระองค์ทา่ น ไม่ใช่เพียงคำเตือนสติ คำแนะนำ คำสัง่ สอนเท่านัน้ แต่ศาสตร์ของพระราชา พระองค์ท่านนี้คือพลังวิเศษจากพ่อที่จะนำพาทุกท่าน ทุกหมู่เหล่า ให้ก้าวสู่ความสำเร็จในชีวิตทุกผู้ทุกนามได้จริง ขอเพียงเรารัก สามัคคี และทำดีเพือ่ พ่อตามศาสตร์ของพระองค์ทา่ นทีท่ รงมอบไว้ให้แก่พวกเรา” รองอธิบดี กรมประมงกล่าวทิ้งท้าย
(จากซ้าย) นายโสภณ เอ็งสุวรรณ • นายบรรจง นิสภวาณิชย์ • นายมีศักดิ์ ภักดีคง • นายจิรศักดิ์ ชัยฤทธิ์ • นายสมชาย ฤกษ์โภคี ดร.ผณิศวร ชำนาญเวศ • นายสมชาติ เจริญวุฒิชัย • นายปกครอง เกิดสุข • นายสุพล ตั่นสุวรรณ • ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม และ นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดงานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 27 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี
58
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
นายปรัชญา ศรีสวัสดิ์ นำคณะฯ ร้องเพลงประสานเสียง เพื่อน้อมรำลึกฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9
ประมวลภาพงานวันกุ้งไทย (สุราษฎร์ธานี) ครั้งที่ 27
รอง ผวจ. สุราษฎร์ฯ กล่าวต้อนรับ
น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.9
เยี่ยมชมนิทรรศการ/ออกบูธ
ตัวแทนเกษตรกรทั่วประเทศร่วมเสวนาสถานการณ์กุ้งไทย
นายปรัชญา ศรีสวัสดิ์ แม่งานใหญ่
ชมรมกุ้งสุราษฎร์ฯ มอบเงินสนับสนุนสมาพันธ์ฯ
นายปรีชา สุขเกษม ร่วมแบ่งปัน แนวทางการเลี้ยง 3 สะอาด
นายปวัตร์ นวะมะรัตน์ จาก กปร. บรรยาย “ศาสตร์พระราชา”
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวเปิดงานฯ
นายสมชาย ฤกษ์โภคี ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้
คกก. ผู้จัดงานวันกุ้งไทย ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน
“ศาสตร์พระราชา” ที่พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ให้ไว้เพื่อเป็นแนวทางการดำรงชีวิต เป็นรากฐาน ที่จะพาประชาชนทุกคน และสังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ของโลก คือเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยตั้งอยู่บนเงื่อนไข 2 ประการคือ ต้องมีความรู้ (รอบรู้ รู้จริง รอบคอบ และระมัดระวัง) และต้องมีคุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา และแบ่งปัน) เพื่อ ที่จะนำพาชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ พัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
59
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
โรคขี้ขาว การเลีย้ งกุง้ ในปี 2559 ทีผ่ า่ นมา จะพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่สามารถควบคุม ความเสียหายของกุ้งจากโรคอีเอ็มเอสได้ดีขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าผลผลิตกุ้งที่ได้ จะสูงกว่าปีที่ ผ่านๆ มาพอสมควร อย่างไรก็ตาม หลายๆ ฟาร์ม ทีป่ ระสบความสำเร็จในการลดความเสียหายของ กุ้งจากโรคอีเอ็มเอสนั้น ก็ได้เริ่มพบปัญหาโรค ขี้ขาวหลังจากกุ้งโตได้ระดับหนึ่งแล้ว โดยโรคนี้ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแทบทุก พื้นที่การเลี้ยง โรคขี้ ข าวที่ เ ป็ น ปั ญ หาอยู่ ใ นขณะนี้ ไ ม่ ใ ช่ โรคใหม่ โดยโรคนี้ได้เคยสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ ย งกุ้ ง อย่ า งชั ด เจนมาตั้ ง แต่ ปี 2533 - 2555 แม้ว่าโรคขี้ขาวจะไม่ทำให้เกิดการ ตายของกุ้งอย่างฉับพลันและรุนแรงเหมือนโรค อีเอ็มเอส โรคจุดขาว หรือโรคหัวเหลือง ก็ตาม แต่โรคนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้งเป็น อย่างมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตกุ้งโดยตรง เช่นเดียวกัน โดยบ่อที่เกิดโรคนี้จะพบขี้กุ้งที่เป็น สีขาวลอยอยู่บนผิวน้ำ โดยเฉพาะบริเวณมุมบ่อ ด้านใต้ลม ซึ่งจำนวนขี้ขาวที่พบจะมากหรือน้อย ขึน้ อยูก่ บั จำนวนกุง้ ในบ่อทีเ่ กิดโรค โดยทัว่ ไป เมือ่ เริ่มเห็นขี้ขาวในบ่อ มักพบว่าการกินอาหารของ กุ้งเริ่มลดลง กุ้งบางส่วนเริ่มมีลำไส้ว่าง ตัวหลวม โตช้า และมักจะแตกไซส์มากกว่าปกติ หลังจากนัน้ ที่มา : ข่าวกุ้ง เดือนมกราคม 2560
60
เมื่อเลี้ยงต่ออีกระยะหนึ่งก็จะพบว่า กุ้งทยอยตาย แบบเรื้อรังไปเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราการตายจะไม่ รุนแรง แต่ในที่สุดเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมักจะต้อง ตัดสินใจจับกุ้งก่อนกำหนดเพื่อไม่ให้กุ้งเสียหาย เพิม่ ขึน้ ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ ผลกระทบของโรคนีต้ อ่ ผลผลิตกุ้งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของ กุ้งที่เกิดโรค โดยบ่อที่เกิดโรคเมื่อกุ้งยังมีขนาด เล็ก จะมีผลกระทบมากกว่าบ่อกุ้งที่มีขนาดใหญ่ หรือมีขนาดใกล้จับแล้ว การจัดการบ่อที่ดีเป็นปัจจัยที่สำคัญในการ ลดโอกาสการเกิ ด โรคขี้ ข าว โดยบ่ อ ที่ เ กิ ด โรค ขี้ขาวส่วนใหญ่จะพบว่ามีปัญหาของสภาพพื้นบ่อ ที่เริ่มเน่าเสียจนทำให้เกิดสภาวะไม่มีออกซิเจน หรือมีคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ มักมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากการควบคุม สารอิ น ทรี ย์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในบ่ อ เลี้ ย งที่ ไ ม่ ดี ทำให้ มี การสะสมของสารอินทรีย์ในบ่อมากเกินไป จึง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพน้ำ และสภาพ พื้นบ่อ ดังนั้นถ้าสามารถควบคุมสารอินทรีย์ใน บ่อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมก็จะลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคขี้ขาวได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ ของอัตราการเกิดโรค และความรุนแรงของโรค ที่ลดต่ำลง หรือพบการเกิดโรคช้าลง โดยจะเป็น ในกุ้งที่มีขนาดใหญ่ หรือในระยะใกล้จับแล้ว ทำ ให้ความเสียหายของผลผลิตกุ้งลดน้อยลง
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ผลกระทบของสารอินทรีย์ในบ่อเลี้ยง สารอินทรีย์ที่เกิดจากอาหารที่เหลือจาก การกินของกุ้ง ซากแพลงก์ตอน และแบคทีเรีย รวมทัง้ ขีก้ งุ้ ทีข่ บั ถ่ายออกมา ถ้าไม่มกี ารจัดการทีด่ ี จะทำให้เกิดการสะสมอยู่ในบ่อเลี้ยงในปริมาณ มาก ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยง โดยตรง โดยจะส่งผลให้เกิดการบลูม และดรอป ของแพลงก์ตอนในบ่ออย่างรวดเร็ว ซึ่งในสภาวะ ที่ เ กิ ด การบลู ม ของแพลงก์ ต อนมากจนเกิ น ไป จะทำให้ค่าพีเอช และออกซิเจนในรอบวันมีความ แตกต่างกันมาก ส่งผลทำให้กุ้งเครียด และเกิด การติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย ในขณะเดียวกัน เมื่อเกิดการตายของแพลงก์ตอนพร้อมๆ กัน จะ ทำให้ออกซิเจนในน้ำถูกใช้โดยจุลินทรีย์เพื่อย่อย สลายซากแพลงก์ตอนเหล่านี้ ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วจนอาจเกิดสภาวะ ออกซิเจนต่ำ รวมทั้งก่อให้เกิดสารพิษต่างๆ ขึ้น ได้แก่ แอมโมเนีย และไนไตรท์ ทำให้กุ้งเครียด อ่อนแอ หรืออาจมีความเสียหายของกุ้งบางส่วน ได้ นอกจากนี้ ถ้าปล่อยให้สารอินทรีย์เหลือตก ค้างและสะสมที่พื้นบ่อมากๆ จนเกิดสภาวะไม่มี ออกซิเจน จะทำให้แบคทีเรียบางชนิดไม่ต้องการ ออกซิเจนสามารถเจริญเติบโต แล้วใช้สารอินทรีย์ ทีพ่ นื้ บ่อเป็นอาหาร และสร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่าออกมา ซึ่งก๊าซนี้มีความเป็นพิษ ต่อกุง้ สูง จะทำให้กงุ้ เกิดการขาดออกซิเจน อ่อนแอ และความต้ า นทานโรคลดลง โดยผลกระทบ ต่างๆ ดังกล่าวนี้ จะเป็นสาเหตุโน้มนำทีส่ ำคัญทำให้ กุ้งในบ่อเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มวิบริโอ (Vibrio spp.) หรือเชื้อไมโครสปอริเดีย (Entero-
รูปที่ 1 พื้นบ่อที่ได้ทำความสะอาดหลังจับกุ้ง
cytozoon hepatopenaei, EHP) ซึ่งกุ้งที่ติดเชื้อ และไม่กนิ อาหาร ร่วมกับการทีเ่ ซลล์ตบั ถูกทำลาย และลอกหลุด จึงเห็นขี้กุ้งเป็นสีขาว
แนวทางการควบคุมโรคขี้ขาว 1. การลดปริมาณสารอินทรีย์ การควบคุม ปริมาณสารอินทรีย์ในบ่อไม่ให้มีปริมาณมากนั้น จำเป็นต้องทำตั้งแต่การเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำ จนถึงในระหว่างการเลี้ยงด้วย โดยในการเตรียม บ่อนั้น ต้องนำเลนจากการเลี้ยงกุ้งในครอปก่อน ออกให้มากที่สุด ในกรณีบ่อที่ปูด้วยพลาสติกพีอี บาง (ขนาด 0.15 หรือ 0.30 มิลลิเมตร) ถ้ามี การสะสมของเลนใต้พลาสติดพีอี ต้องทำการ เปิดพลาสติกพีอีเพื่อเอาเลนที่สะสมออกให้หมด รวมทั้งทำการซ่อมแซมจุดรั่วซึมของพลาสติกพีอี เพือ่ ป้องกันผลกระทบจากตะกอนทีจ่ ะมีการสะสม ในระหว่างการเลีย้ ง ส่วนน้ำทีใ่ ช้เลีย้ งต้องมีปริมาณ ที่เพียงพอต่อการใช้ และต้องผ่านการบำบัดเพื่อ กำจัดตะกอนและสารอินทรียใ์ นน้ำ เพือ่ ให้สามารถ รักษาความโปร่งใสของน้ำเลี้ยงไม่ให้น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง สำหรับ
61
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ซัลไฟด์ที่เกิดขึ้น ในอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ โดยควรใช้ร่วมกับซีโอไลท์ หรือปูน มาร์ล เพื่อให้เป็นตัวกลางพาแบคทีเรียลงไปตรง จุดที่ตะกอนสะสมบนพื้นบ่อ 2. การควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม สภาพแวดล้ อ มในบ่ อ มี ผ ลกระทบโดยตรงต่ อ สุขภาพของกุ้ง ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดี กุ้งก็จะ เครียด อ่อนแอ มีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย รูปที่ 2 การดูดตะกอนระหว่างการเลี้ยงกุ้ง
กุ้งปกติ
กุ้งขี้ขาว
รูปที่ 3 เปรียบเทียบลำไส้ของกุ้งปกติ และกุ้งขี้ขาว
สารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ่อระหว่างการเลี้ยงและ ตกสะสมเป็นตะกอนอยูท่ พี่ นื้ บ่อนัน้ จะต้องทำการ กำจัดออกโดยใช้วิธีการดูดตะกอน ซึ่งจะต้องทำ ตั้งแต่วันแรกของการเลี้ยง และต่อเนื่องทุกวัน จนกระทั่งจับกุ้ง โดยความถี่และระยะเวลาการ เปิ ด ปิ ด เครื่ อ งดู ด ตะกอนขึ้ น อยู่ กั บ อายุ ข องกุ้ ง นอกจากนี้ จะต้องมีหลุมรวมตะกอนกลางบ่อเพื่อ ให้การกำจัดตะกอนมีประสิทธิภาพที่ดี ในกรณี ฟาร์มที่มีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งทำให้การกำจัด ตะกอนที่พื้นบ่อได้ไม่สมบูรณ์ ควรใช้ซุปเปอร์ พีเอส เพื่อช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่อาจ มีการสะสมที่พื้นบ่อ และควบคุมก๊าซไฮโดรเจน-
62
การควบคุมปริมาณออกซิเจนในน้ำ ให้เพียงพอ ออกซิเจนมีความจำเป็นต่อทั้งตัวกุ้ง และระบบนิเวศในบ่อเลี้ยง เพราะกุ้งต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน มาใช้ในการดำรงชีวิต ส่วนเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็น ผูย้ อ่ ยสลายในระบบนิเวศก็จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน เพือ่ ย่อยสลายสารอินทรียต์ า่ งๆ ในบ่อ ถ้าปริมาณ ออกซิเจนในบ่อมีไม่เพียงพอก็จะทำให้กุ้งเครียด อ่อนแอ ความต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เกิดการ ติดเชือ้ ได้งา่ ย ดังนัน้ ควรต้องรักษาระดับออกซิเจน ในน้ำให้ไม่น้อยกว่า 4 พีพีเอ็ม ตลอดระยะเวลา การเลี้ยง ความหนาแน่นของกุ้งที่เลี้ยง ควร ปล่อยกุ้งให้เหมาะสมกับศักยภาพ และสภาพ ความพร้ อ มของฟาร์ ม เช่ น ปริ ม าณน้ ำ ที่ ใ ช้ เปลีย่ นถ่าย เครือ่ งมือ หรืออุปกรณ์การเลีย้ งทีม่ อี ยู่ รวมทัง้ ความชำนาญของผูเ้ ลีย้ ง การลงกุง้ ในระดับ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของฟาร์มนั้นจะทำให้ สามารถควบคุมของเสียที่เกิดขึ้นในบ่อได้อย่าง เหมาะสม ทำให้กุ้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ เครียด ลดโอกาสในการติดเชื้อชนิดต่างๆ 3. การควบคุมการให้อาหาร การให้อาหาร กุง้ นัน้ ต้องไม่ให้มากเกินไปจนเหลือ ในขณะเดียว กันก็ต้องมากเพียงพอตามความต้องการของกุ้ง
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
รูปที่ 4 ขี้ขาวลอยในบ่อเลี้ยง
ด้วย ซึ่งการคำนวณปริมาณอาหารที่ให้นั้น จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผล กระทบต่อการกินอาหารของกุ้ง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ช่วงเวลา ลอกคราบ การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำฉับพลัน และกุ้งป่วย ซึ่งสถานการณ์ เหล่านี้จะทำให้การกินอาหารของกุ้งลดลงจากสภาวะปกติ ถ้าไม่มีการปรับลด ปริมาณอาหารที่ให้ ก็จะทำให้มีอาหารเหลือตกค้างอยู่ในบ่อ นอกจากนี้ ต้องหมั่น ตรวจสอบแนวทีใ่ ห้อาหาร ไม่ให้มจี ดุ อับทำให้เกิดการตกค้างของอาหาร และเกิดการ เน่าเสียได้ ในการลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคขี้ขาวนั้น หัวใจของความสำเร็จอยู่ที่ ความสามารถในการควบคุมสาเหตุโน้มนำของโรคนี้ ซึง่ ก็คอื การควบคุมสารอินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในบ่อนั่นเอง โดยการควบคุมสารอินทรีย์ในบ่อเลี้ยงนั้นจะต้องทำควบคู่ กันไปทั้งการลดที่มาของสารอินทรีย์ในบ่อด้วยการเตรียมบ่อที่ดี โดยกำจัดเลน ที่ตกค้างมาจากรอบการเลี้ยงที่ผ่านมาให้หมด และการควบคุมการให้อาหารใน ระหว่างการเลีย้ งอย่าให้เหลือ ร่วมกับการกำจัดตะกอนทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างการเลีย้ ง ด้วยการดูดตะกอนออกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีการสะสมที่พื้นก้นบ่อจนกระทั่งเกิด สภาวะที่ไม่มีออกซิเจน รวมทั้งการควบคุมสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงให้เหมาะสม ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง โดยการลงกุ้งในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพของฟาร์ม ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดโอกาสของการ เกิดโรคขี้ขาวของกุ้งในบ่อลงได้อย่างแน่นอน
63
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
คุณปกรณ์ แก้วทอง โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรรุ่นพันธุ์
เลี้ยงหมูแบบ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง”
ไร้เสี่ยง…คือคำตอบของเกษตรกรยุค 4.0??? • โดย torzkrub - 5 เมษายน พ.ศ. 2560 •
การมีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยง (เสี่ยงน้อย) ถือเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกคน เพราะเมื่อ ไม่มีความเสี่ยงก็ย่อมมีความมั่นคงยั่งยืนตามมา “เกษตรกร” ถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะด้านการตลาด ที่มีความผันผวนตาม ปัจจัยภายนอก ทั้งเรื่องดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ การบริโภค ฯลฯ ทำให้หลายคนหลีกหนีจากอาชีพ นี้ แต่ “ปกรณ์ แก้วทอง” กลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้หากเลือกในสิ่ง ที่ถูกต้อง และวันนี้เขาก็ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้น ด้วยการเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ที่ประสบความ สำเร็จในอาชีพ ที่มา : http://www.kasetkaoklai.com
64
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หัวใจเกษตรกร คุณปกรณ์บอกว่า แม้ว่าปัจจุบันจะรับราชการ เป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล สรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ด้วย ความสนใจในการเลีย้ งสัตว์มาตัง้ แต่เด็กๆ จึงหมัน่ ศึกษาหาลู่ทางที่จะเดินตามความฝันนี้มาตลอด จนมารู้จักกับ “โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยง สุกรรุน่ พันธุ์ วารินชำราบ หรือโครงการฝากเลีย้ ง” (Contact farming - เกษตรพันธะสัญญา) กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพเี อฟ จากเพือ่ นเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมโครงการ กับซีพเี อฟทีโ่ ครงการส่งเสริมฯ วารินชำราบ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
“ปกรณ์ฟาร์ม” ขนาด 3 โรงเรือน เลี้ยงหมูจำนวน 1,800 ตัว และพร้อมที่จะขยายอีก ในในอนาคต
“เห็นเพือ่ นเลีย้ งหมูกบั ซีพเี อฟมาก่อนแล้วมี รายได้ดแี ละขยายการเลีย้ งเพิม่ ขึน้ ระบบการดูแล ของบริษทั และวิธบี ริหารจัดการก็เป็นมาตรฐาน ที่ สำคัญ เมือ่ ศึกษาลึกไปถึงสัญญาการเลีย้ งก็พบว่า เป็นอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยงด้านการตลาด เพราะ บริษัททำหน้าที่เป็นตลาดรองรับ จึงไม่ต้องกังวล ว่าจะต้องขายหมูเองเหมือนเกษตรกรอิสระ เรียก ว่าเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้ จริงๆ” คุณปกรณ์ เล่าถึงที่มาของการตัดสินใจ ลงทุนสร้าง “ปกรณ์ฟาร์ม” ในปี 2558 เพือ่ เลีย้ งหมู สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว
ฟาร์ม ที่ปกรณ์ฟาร์มมีโรงเรือนเลี้ยงหมู 3 หลัง ความจุหมู 1,800 ตัว โดยตลอดเวลา บริษทั จะให้ คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งการ ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ จึงพาเกษตรกรไปศึกษา ดูงานการเลี้ยงหมูและระบบการจัดการฟาร์มจาก เพือ่ นเกษตรกรทีเ่ ลีย้ งหมูมาก่อน เพือ่ ให้เกษตรกร รุ่นพี่เป็นทั้งผู้ถ่ายทอดความสำเร็จ ความรู้ และ เทคนิ ค การเลี้ ย ง รวมทั้ ง เป็ น แรงบั น ดาลใจให้ เกษตรกรรายใหม่ทเี่ พิง่ เริม่ ต้นอาชีพ ขณะเดียวกัน บริษทั จะให้คำแนะนำตลอดการเลีย้ ง ทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยมีฟาร์มตั้งอยู่ที่ 123 ม.3 ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ขนาดฟาร์ม 3 โรงเรือน ปัจจุบันเลี้ยงหมูจำนวน1,800 ตัว และ พร้อมที่จะขยายอีกในในอนาคต
ฟาร์มหมูต้องอยู่ร่วมกับชุมชนให้ได้
กว่าจะมาเป็นฟาร์มเลี้ยงหมูที่ทันสมัย ก่อนจะเริม่ เลีย้ งหมูอนั ดับแรก ทางเจ้าหน้าที่ ของซีพีเอฟจะเข้ามาดูความเหมาะสมของสถานที่ ตั้งฟาร์มก่อน เมื่อพิจารณาผ่าน จึงทำประชาพิจารณ์กับชุมชนรอบข้าง จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้าง
ที่สำคัญปกรณ์ฟาร์มมุ่งเน้นระบบการจัด การสิง่ แวดล้อมเป็นพิเศษ ด้วยแนวคิดทีว่ า่ “ฟาร์ม ต้องเป็นส่วนหนึ่ง และอยู่ร่วมกับชุมชนให้ได้” จึ ง เป็ น ที่ ม าของการจั ด ทำระบบไบโอแก๊ ส และ ระบบกรองอากาศท้ายพัดลมเพื่อลดกลิ่นที่อาจ หลงเหลืออยู่ ส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบ ไบโอแก๊สที่สะอาดและมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืช ฟาร์มนำไปรดแปลงผัก และต้นไม้ที่ปลูกไว้ใน
65
Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
การบริหารจัดการน้ำผ่านการบำบัดจากระบบไบโอแก๊ส
บริเวณฟาร์ม ผลที่ได้นอกจากจะสามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังได้ผักสด ปลอดสารมารับประทานในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็สามารถแบ่งให้เพื่อนบ้าน หรือจำหน่ายให้เกิด รายได้เสริมแก่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังแบ่งปันน้ำที่ผ่านการบำบัดให้เกษตรกรในชุมชนนำไปรด ต้นพืช อาทิ ไร่มันสำประหลัง และยางพารา ช่วยลดปัญหาวิกฤติภัยแล้งได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการ สร้างประโยชน์แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง บริหารจัดการอย่างไรให้ขายได้ 350,000 บาทต่อรุ่น? คุณปกรณ์ฟาร์ม ยังให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคที่เป็นปัจจัยความสำเร็จลำดับต้นๆ ในการ เลี้ยงหมู จึงมีการควบคุมและป้องกันโรคด้วยการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคันที่เข้าออกฟาร์ม รวมถึงบุคคลที่ จะเข้าไปในเขตการเลี้ยงสัตว์ ต้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัดไว้ มีการจุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้า โรงเรือนทุกครั้ง “ผมประทับใจในระบบบริหารจัดการและการสนับสนุนทีด่ จี ากซีพเี อฟ และภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ในห่วงโซ่การผลิตหมูปลอดสารและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เราเน้นเรื่องมาตรฐานการผลิตที่ดี โดย ฟาร์มได้รับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรจากปศุสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานี และปศุสัตว์เขต 3 รวมทั้งได้รับ การรับรองว่าเป็นฟาร์มหมูปลอดสารเร่งเนื้อแดง และเป็นฟาร์มหมูรักษ์สิ่งแวดล้อม” คุณปกรณ์ บอก คุณปกรณ์ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเกษตรกรยุค 4.0 ที่นำเอาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มา ปรับใช้ภายในฟาร์ม โดยที่ไม่เคยคิดว่าเป็นการลงทุนที่มากเกินไป ในทางกลับกันเขาคิดว่านี่คือการ ลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ ต่างสนับสนุนการเลี้ยงหมูให้ได้ผลผลิตที่ดี และมี รายได้จากการเลี้ยงหมู 350,000 บาทต่อรุ่นต่อโรงเรือน เป็นผลสะท้อนความสำเร็จในอาชีพ และเป็น บทพิสูจน์ของเกษตรกรหัวสมัยใหม่ ที่มุ่งสร้างอาหารปลอดภัย กับอาชีพคอนแทรคฟาร์มหมูที่ไร้ความ เสี่ยง หรือลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
66
1.R&D µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ 2.Consultation µ¦Ä®o µÎ ¦¹ ¬µ 3.Design µ¦°°  4.Manufacture µ¦ ¨· 5.Logistics µ¦ ¦·®µ¦ o µ µ¦ ´ Á È Â¨³ n 6.Installation µ¦ · ´ Ê 7.Commissioning µ¦ ° 8.Training µ¦ ¹ ° ¦¤ 9.Service µ¦Ä®o ¦· µ¦®¨´ µ¦ µ¥
Pellet mill Dryer
Extruder
Pulverizer
Mixer
Hammer mill
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
รัฐบาลอินโดนีเซีย แถลงนโยบายใหม่
เร่งสร้างความยั่งยืนให้เกษตร - ปศุสัตว์ วีเอ็นยูฯ ร่วมกับพันธมิตรพร้อมดันงานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2017 สู่เวทีการลงทุนตลาด ปศุสัตว์เต็มรูปแบบ กรุงเทพ / จาการ์ต้า - ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด (President Joko Widodo)ของอินโดนีเซีย เผยนโยบายกระตุ้นตลาดปศุสัตว์และช่วยเกษตรกรท้องถิ่น กล่าวว่า “รัฐบาลอินโดนีเซียมีความมุ่งมั่น ทีจ่ ะสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตวัวในประเทศพร้อมผลักดันนโยบายการทำเกษตรแบบพึง่ พาตนเอง ให้เกษตรกรในท้องถิน่ ตัง้ แต่ปนี กี้ ระทัง่ ถึงปี พ.ศ. 2569 รัฐบาลกำลังพยายามทำให้ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีอิสรภาพทางการค้าและเพิ่มศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ให้มากขึ้น ในทำนอง เดียวกัน รัฐมุ่งเน้นในการปรับปรุงสวัสดิการพื้นฐานของเกษตรกรเพื่อลดอัตราความยากจนระดับ ประเทศอย่างต่อเนื่อง” จากการสนับสนุนของภาครัฐต่อการส่งเสริมการตลาดในภาคปศุสัตว์และ เกษตรกรรมนี้ ภาคเอกชนอย่างบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค พร้อมด้วยพันธมิตร ท้องถิ่น อย่างบริษัท Permata Kreasi Media จึงพร้อมประกาศเปิดตัว “งานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2017 - งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านปศุสัตว์และสัตว์น้ำแห่งภูมิภาคครั้งที่ 3” กำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 18 - 20 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติจาการ์ต้า (JIExpo) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อตอบรับนโยบายภาครัฐและมุ่งเน้นที่จะดึงนักลงทุน ผู้ซื้อ นักธุรกิจจาก นานาประเทศร่วมชมงาน และพบปะกับบริษัทชั้นนำกว่า 250 แบรนด์ระดับโลกภายในงานครั้งนี้
67
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ILDEX Indonesia 2017
18-20 October 2017 at JIExpo, Jakarta, Indonesia
ไฮไลท์ งานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย
ทำไมต้องอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดเศรษฐกิจที่ ใหญ่ที่สุด และจำนวนประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีแนวโน้ม การเติบโตของรายได้ประชากรที่แข็งแกร่งจนเป็น ที่น่าจับตามอง นักลงทุนต่างมองว่า การลงทุนใน ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย เป็ น ตลาดที่ มี ค วามสมดุ ล ระหว่างความต้องการของตลาดปศุสัตว์กับความ อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเกษตรและธรรมชาติ นอกจากนั้น อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มีความ หนาแน่นประชากรสูงถึงอันดับที่ 4 ของโลก โดย ปัจจุบันมีประชากรสูงถึง 250 ล้านคน สอดรับ กับอัตราประชากรทีส่ งู จึงก่อให้เกิดความต้องการ ในการบริโภคผลิตภัณฑ์ปศุสตั ว์เพิม่ ขึน้ อาทิ สัตว์ เนื้อแดง, ผลิตภัณฑ์นม, ไข่ ฯลฯ ซึ่งภาครัฐของ อินโดนีเซียก็ตระหนักเห็นถึงการเติบโตนี้ และ พยายามทีจ่ ะออกนโยบายเพือ่ ส่งเสริมภาคปศุสตั ว์ อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ปีนี้ ไปจนถึง พ.ศ. 2569
68
ในส่ ว นของภาคเอกชน บริ ษั ท จั ด งาน นิทรรศการทีเ่ ชีย่ วชาญการจัดงานในอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ในระดับนานาชาติ อย่าง บริษัท วีเอ็นยู เอ็ ก ซิ บิ ชั่ น ส์ เอเชี ย แปซิ ฟิ ค จำกั ด ร่ ว มกั บ พันธมิตรอย่าง บริษัท Permata Kreasi Media จึงพร้อมประกาศเปิดตัว “งานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย 2017 - งานแสดงสินค้าและสัมมนาด้านปศุสัตว์ และสัตว์น้ำแห่งภูมิภาค ครั้งที่ 3” กำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุม และนิ ท รรศการนานาชาติ จ าการ์ ต้ า ประเทศ อินโดนีเซีย โดยคาดการณ์ผเู้ ข้าชมงานจากนานาชาติ ม ากกว่ า 8,000 ราย ที่ จ ะมาเยี่ ย มชม ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำมากกว่า 250 บริษัท ทั่วโลก ภายในงานอิลเด็กซ์ อินโดนีเซีย ครั้งนี้ จะมีการแบ่งส่วนแสดงงานออกหลักๆ เป็น 3 ส่วน ได้แก่ การเพาะเลีย้ งและสุขภาพสัตว์, อาหารสัตว์ และอุ ป กรณ์ ส ำหรั บ ฟาร์ ม และการผสมพั น ธุ์ การตัดต่อพันธุกรรม และกระบวนการแปรรูปสัตว์ เพื่อการบริโภค นอกจากนั้น ยังมีพาวิลเลี่ยน นานาชาติ จ ากบริ ษั ท ในกลุ่ ม ประเทศจี น และ เกาหลีใต้ พร้อมโซนพิเศษเป็นปีแรก ทีจ่ ะนำเสนอ ผลิตภัณฑ์เกีย่ วกับอาหารของสัตว์เลีย้ งโดยเฉพาะ
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
เอกสารวิชาการ ศึกษาการลดปริมาณสารไนไตรท์
ในรังนกสีแดงตามธรรมชาติ
A study on reduction of nitrite in natural red bird’s nest • โสภัชย์ ชวาลกุล1* (Sopat Chavalkul) • มณฑิรา ชินอรุณชัย1 (Montira Chinaroonchai) •
บทคัดย่อ การศึกษาผลการลดปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงตามธรรมชาติ จากตัวอย่างรังนกสีแดง ธรรมชาติจากเกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสเลขทะเบียน 5584CA0003 จำนวน 200 รัง ทำการศึกษาโดยทำความสะอาดล้าง (cleaning) และแช่รงั นกในน้ำ (soaking) ทีอ่ ณ ุ หภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง มีการเปลี่ยนน้ำแช่รังนกทุก 30 นาที ทำการสุ่มเก็บ ตัวอย่างรังนกสีแดงก่อนและหลังทำความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำ ส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ สารไนไตรท์โดยวิธี High Performance Liquid Chromatography-Ultraviolet (HPLC - UV) detection ที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ผลการศึกษาพบว่าค่าปริมาณ สารไนไตรท์ในวัตถุดิบรังนกสีแดงเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงหลังการทำ ความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมงมีปริมาณที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (2,546.29 ± 22.29 vs 13.53 ± 0.47, p < 0.05) และค่าปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกที่ได้ สอดคล้องตามค่ามาตรฐานของสารไนไตรท์ในรังนกที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชน จีน (AQSIQ) และกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และการทำความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำหลังจากระยะเวลา 2 ชัว่ โมงนัน้ ไม่มผี ลต่อการลดลง ของปริมาณสารไนไตรท์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จากการศึกษาสรุปได้ว่า การทำ ความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำโดยใช้ระยะเวลาที่เหมาะสมสามารถลดและกำจัดปริมาณของ สารไนไตรท์ในรังนกสีแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลทีไ่ ด้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุม กระบวนการผลิตรังนกเพือ่ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร และยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รังนกเพื่อขยายตลาดส่งออกขายได้ทั้งในและต่างประเทศ คำสำคัญ: การลดปริมาณ สารไนไตรท์ รังนกสีแดงตามธรรมชาติ 1
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Bureau of Livestock Standards and Certification, Department of Livestock Development, Phayathai Road, Ratchathewi, Bangkok 10400
ผู้รับผิดชอบ
*
Corresponding person
69
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
Abstract A study on reduction of nitrite in 200 nests of natural red bird’s nest obtained from Koi Palaung, Suratthani province and register number 5584CA0003. The red bird’s nest samples were cleaning and soaking for duration on 1 - 15 hours by the purified water at temperature 45 - 50 °c and changing the water per 30 minutes. The cleaned and uncleaned samples were tested by using on High Performance Liquid Chromatography-Ultraviolet (HPLC-UV) detection method from laboratory which accredited on ISO/IEC 17025. The study showed that the raw bird’s nest in red compared with the cleaning and soaking by the purified water for 2 hours being significantly reduce nitrite content in natural red bird’s nest (2,546.29 ± 22.29 vs 13.53 ± 0.47, p < 0.05) which accordance with the bird’s nest standard of National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards, General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine (AQSIQ) and Ministry of Health Malaysia on nitrite limit was not exceeding 30 mg/kg and there was no significant difference after 2 hours (p > 0.05). If could be concluded that the suitable time for cleaning and soaking on bird’s nest by the purified water method can be reduced nitrite content on efficiently. This method can be applied to the processing to reduce nitrite in bird’s nest for food safety and enhances the standard quality of bird’s nest product to expand the domestic and export market. Keywords: Reduction, Nitrite, Natural red bird’s nest
บทนำ รังนก (bird’s nest) หมายถึงรังของนกแอ่นกินรังหรือนกอีแอ่น (Swiftlet; Aerodramus fuciphagus) ที่สามารถนำมาบริโภคได้ (edible-nest swiftlet) มาจากสารคัดหลั่งจากต่อมน้ำลาย (salivary glands) ของนกแอ่นกินรัง หรือนกอีแอ่นตัวผูท้ มี่ าทำรังทีผ่ นังถ้ำในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (Marcone, 2005) ซึ่งรังนกตามธรรมชาติ (รังนกถ้ำ) ที่พบได้ในประเทศไทย แบ่งตามชนิดสีธรรมชาติ ที่ไม่ผ่าน กระบวนการฟอกหรือย้อมสีใดๆ มี 4 สี ได้แก่ รังนกสีขาว รังนกสีเหลือง รังนกสีแดง และรังนกสี เหลืองทอง (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2557) โดยรังนกสีแดงเป็นรังนกทีห่ ายาก และมีมลู ค่าราคาแพง จึงทำให้มกี ารย้อมสีขนึ้ เช่น การใช้สารไนไตรท์ ย้อมรังนกสีขาวทำให้เป็นสีแดง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของรังนก (Ismail et al., 2014; Paul et al., 2013; Kamarudin, 2012) ซึ่งตามปกติรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถพบสารไนไตรท์ในรังนกจาก การตรวจวิเคราะห์ได้ โดยสารไนไตรท์ที่พบตามธรรมชาตินั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น อากาศ น้ำ ดิน และสภาพแวดล้อมโดยรอบ (Meei et al., 2015; Paydar et al., 2013; Kamarudin, 2012)
70
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
สารไนไตรท์นิยมใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ในรูปของเกลือโซเดียมไนไตรท์ และโพแทสเซียมไนไตรท์ สามารถใช้เป็นสารกัน เสีย หรือสารที่ทำให้เกิดสีได้ คณะกรรมการผู้ เชีย่ วชาญด้านวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (the Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives: JECFA) ได้กำหนดค่าปริมาณของ วัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งสามารถบริโภคได้ในแต่ละ วั น ตลอดชี วิ ต โดยไม่ เ กิ ด การเสี่ ย งอั น ตรายต่ อ สุขภาพ (ADI) ของสารไนไตรท์ไม่เกิน 0.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน (JECFA, 2012) ซึ่งอันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีการ ปนเปื้อนสารไนไตรท์ที่มีปริมาณมากเป็นระยะ เวลานาน จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน (methaemoglobinanemia) ส่งผลให้รมิ ฝีปากและผิวหนัง เป็นสีฟ้า หรือสีม่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นสีเลือด ปวดศีรษะ ไตวาย และมีปญ ั หาต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ นอก จากนี้ สารไนไตรท์เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ในร่างกายจะทำปฏิกริ ยิ ากับสารกลุม่ Amine-compounds ได้เป็นสารกลุ่ม N-nitrosamines ซึ่งเป็น สารทีก่ อ่ ให้เกิดมะเร็งได้ (Center for food safety Hong Kong, 2011) แต่เนื่องจากสารไนไตรท์มี คุณสมบัติที่สามารถละลายได้ในน้ำ การล้างและ การทำความสะอาดรังนกในน้ำโดยมีระยะเวลาที่ เหมาะสม สามารถลดปริมาณการปนเปื้อนของ สารไนไตรท์ในรังนกได้ (Ismail et al., 2014; Chan, 2013; Ministry of Health Malaysia, 2013; Ketty et al., 2012; Noriah and Saiful, 2012) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออก รั ง นก มี ป ริ ม าณการส่ ง ออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ รั ง นก ประมาณ 18 ตันต่อปี มีมูลค่ารวมมากกว่า 1.4
หมืน่ ล้านบาท ซึง่ ตลาดใหญ่ของไทยในการส่งออก รั ง นกคื อ สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น (กระทรวง พาณิชย์, 2555) โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออก รังนกมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซีย อันดับถัดไป ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ พม่า มาเลเซีย อินเดียตอนใต้และศรีลังกา แต่ เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีการตรวจ พบสารไนไตรท์ปนเปื้อนในรังนกสีแดงที่มาจาก ประเทศมาเลเซียเป็นปริมาณมาก จึงประกาศห้าม การนำเข้ารังนกจากประเทศคูค่ า้ ทัง้ หมดตัง้ แต่ 13 มกราคม 2555 รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผล กระทบทำให้ผู้ประกอบการรังนกไทยได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เพื่ อ เป็ น การแก้ ปั ญ หาด้ า นการส่ ง ออก รังนกให้ได้ผลิตภัณฑ์รงั นกทีม่ คี วามสอดคล้องตาม ข้อกำหนดและกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า และ เพือ่ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร (food safety) จึงได้มกี ารศึกษาและค้นคว้าช่วงระยะเวลาการทำ ความสะอาดล้าง (cleaning) และแช่รังนกในน้ำ (soaking) ที่เหมาะสม เพื่อสามารถลดปริมาณ สารไนไตรท์ที่ปนเปื้อนในรังนกธรรมชาติได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เพือ่ สร้างความมัน่ ใจในผลิตภัณฑ์ รังนกที่มาจากประเทศไทยว่ามีความปลอดภัย ด้านอาหารเหมาะสมต่อการบริโภค สามารถนำ ข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมกระบวนการ ผลิตรังนก ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รังนกให้สอดคล้องตามข้อกำหนดและกฎระเบียบ ของประเทศคู่ค้า และสร้างความน่าเชื่อถือของ ผลิตภัณฑ์รังนกเพื่อขยายตลาดส่งออกขายได้ทั้ง ในและต่างประเทศ และเป็นการสร้างมูลค่าและ ปริมาณการส่งออกรังนกให้ประเทศไทย
71
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อ ศึ ก ษาและค้ น คว้ า ช่ ว งระยะเวลา การทำความสะอาด ล้าง และแช่รังนกในน้ำที่ เหมาะสม เพื่อสามารถลดปริมาณการปนเปื้อน ของสารไนไตรท์ในรังนกตามธรรมชาติได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ห้องปฏิบตั กิ ารทีไ่ ด้รบั การรับรอง ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายการวิเคราะห์สารไนไตรท์ในรังนก
1.1 ประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพของระยะ เวลาในการทำความสะอาดล้าง (Cleaning) และ แช่รังนกสีแดงในน้ำ (Soaking) ที่อุณหภูมิ 45 50 องศาเซลเซียส โดยจับเวลาการล้างและแช่ รังนกสีแดงในน้ำ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทุกๆ ชั่วโมง ตั้งแต่ระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง โดยมีการ เปลี่ยนน้ำแช่รังนกทุกๆ 30 นาที
2. วิธีการปฏิบัติงาน 2.1 ขั้นตอนการศึกษา 1. นำวั ต ถุ ดิ บ รั ง นกสี แ ดงจากถ้ ำ รังนก เกาะพะลวยมา 200 รัง จากนั้นทำการสุ่ม เก็บตัวอย่างรังนก จำนวน 3 ตัวอย่าง โดยสุม่ เก็บ ตัวอย่างกระจายให้ทวั่ เพือ่ ทำการตรวจวิเคราะห์หา สารไนไตรท์ในวัตถุดิบรังนกสีแดง (1 ตัวอย่าง ใช้รังนกสีแดงปริมาณ 15 - 20 กรัม) 2. ทำการทดลองโดยนำรังนกสีแดง ทั้งหมดที่เหลือ มาทำความสะอาด (Cleaning) โดยการขัดล้างด้วยแปรงสีฟันเพื่อเอาคราบแมลง ขน เศษดิน เศษวัชพืช และสิง่ สกปรกออก แล้วทำ การสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ สารไนไตรท์ในรังนกสีแดง จำนวน 3 ตัวอย่าง 3. จากนั้ น ทำการแช่ รั ง นกสี แ ดง ทั้งหมดที่ผ่านการล้างทำความสะอาดด้วยการขัด ด้วยแปรงสีฟันแล้ว ลงในน้ำที่อุณหภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส ในอ่างอลูมิเนียมขนาด 45 × 200 × 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปริมาณน้ำ 180 ลิตร มีการเปลี่ยนน้ำทั้งหมดทุกๆ 30 นาที และ ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างรังนกทุกๆ ชั่วโมง ตาม ช่วงระยะเวลาในการแช่รังนกในน้ำ (soaking) ตั้งแต่ 1 - 15 ชั่วโมง เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์หา ปริมาณสารไนไตรท์ โดยทำการเก็บตัวอย่างรังนก 3 ตัวอย่างในทุกๆ ชั่วโมง ที่ทำการทดลองตั้งแต่ 1 ชั่วโมงจนครบ 15 ชั่วโมง
1.2 ประเมิ น ปริ ม าณสารไนไตรท์ ที่ ปนเปื้อนในรังนกสีแดงก่อนและหลังที่มีการทำ ความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำ โดยส่งตัวอย่าง รังนกสีแดงตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารไนไตรท์ที่
4. จำนวนตัวอย่างทั้งหมดรวม 51 ตัวอย่าง แบ่งเป็น วัตถุดิบรังนกสีแดงเริ่มแรก จำนวน 3 ตัวอย่าง รังนกสีแดงที่ทำความสะอาด ล้างก่อนทำการแช่รังนกในน้ำ จำนวน 3 ตัวอย่าง
2. เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาประยุกต์ใช้ ในการควบคุมกระบวนการผลิตรังนก เพื่อลด ปริมาณการปนเปือ้ นสารไนไตรท์ในรังนกทีเ่ กิดขึน้ ตามธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสม และมีความ ปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food safety) เหมาะสม ต่อการบริโภคของผู้บริโภคและยกระดับคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์รังนกเพื่อขยายตลาดส่งออก 3. เพื่ อ นำข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าเผยแพร่ แ ก่ ส าธารณชน และผูป้ ระกอบการรังนกใช้ในการอ้างอิง และพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้มีความปลอดภัย ทางอาหารและยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์รังนกเพื่อขยายตลาดส่งออก
วิธีดำเนินการ 1. ขอบเขตการศึกษา
72
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
และรังนกสีแดงทีท่ ำความสะอาดล้างและแช่รงั นก ในน้ำตามระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง จำนวน 45 ตัวอย่าง 5. ส่งตัวอย่างรังนกสีแดงก่อนและ หลังการทำความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำ ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกที่ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสตั ว์ กรมปศุสตั ว์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ISO/ IEC 17025 ในขอบข่ายการวิเคราะห์สารไนไตรท์ ในรังนก 2.2 การเตรียมตัวอย่างและการวิเคราะห์ หาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนก 1. นำตั ว อย่ า งรั ง นกสี แ ดงที่ ไ ด้ ม า ทำการบดให้ละเอียด 2. ทำการสกั ด สารไนไตรท์ จ าก ตัวอย่างรังนก โดยการชั่งตัวอย่างที่บดละเอียด แล้ว 1 กรัม ใส่ลงในขวด วัดปริมาตรขนาด 100 มิลลิลิตร เติมน้ำอุ่นปริมาณ 50 มิลลิลิตร นำไป วางไว้ในอ่างน้ำร้อน โดยใช้นำ้ ร้อนทีอ่ ณ ุ หภูมิ 70 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที จากนั้น นำมาตั้ ง ไว้ ที่ อุ ณ หภู มิ ห้ อ งจนอุ ณ หภู มิ ข องสาร ละลายเท่ากับอุณหภูมิห้อง ทำการปรับปริมาตร ให้เป็น 100 มิลลิลิตร และกรองสารละลายที่ได้ ผ่านกระดาษกรอง 3. นำสารละลายที่ ผ่ า นการกรอง แล้ว ไปวิเคราะห์หาปริมาณไนไตรท์ด้วยเทคนิค วิธี High Performance Liquid ChromatographyUltraviolet (HPLC-UV) detection 2.3 การวิเคราะห์ขอ้ มูลและการแปรผล ทางสถิติ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบ เทียบปริมาณของสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงก่อน
และหลังทำความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำ ด้วยหลักสถิติ T-test โดยใช้โปรแกรม Statistical Package for the Social Science for Windows (SPSS) version 13.0 software (IBM, Chicago, USA.) ตามแผนการทดลองแบบสุม่ สมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดย กำหนดนัยสำคัญทางสถิตทิ ี่ p < 0.05 และทีร่ ะดับ ความเชื่อมั่น 95%
ผลการทดลอง จากการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงตามธรรมชาติก่อนและหลัง ทำความสะอาดล้าง (cleaning) และแช่รงั นกในน้ำ (soaking) รวมทั้งหมดจำนวน 51 ตัวอย่าง พบ ว่ า ปริ ม าณของสารไนไตรท์ ใ นรั ง นกสี แ ดงตาม ธรรมชาติก่อนและหลังทำความสะอาด ล้าง และ แช่รังนกในน้ำในช่วงระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐานสารไนไตรท์ (มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม) (ตารางที่ 1) ดังนี้ จากตารางที่ 1 ผลการศึ ก ษาเมื่ อ นำไป วิเคราะห์แปลผลทางสถิติพบว่า หลังการทำความ สะอาดล้างรังนกโดยการขัดล้างด้วยแปรงสีฟัน ก่อนแช่น้ำสามารถลดปริมาณสารไนไตรท์เปรียบ เทียบกับวัตถุดิบรังนกสีแดงเริ่มต้นได้แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยได้ค่า เฉลี่ยปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสารไนไตรท์ ที่วัตถุดิบรังนกสีแดงเริ่มต้น 2,546.29 ± 22.29 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ลด ลงมาที่ 2,167.64 ± 7.93 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และการทำความสะอาดล้างและแช่รังนกสีแดงใน น้ำที่อุณหภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะ เวลา 1 และ 2 ชั่วโมงสามารถลดปริมาณสาร
73
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ไนไตรท์ในรังนกสีแดง เปรียบเทียบกับปริมาณสารไนไตรท์ในวัตถุดิบรังนกสีแดงได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีคา่ เฉลีย่ ปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐานสารไนไตรท์ที่ 39.69 ± 0.27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 13.53 ± 0.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ โดยค่าการวิเคราะห์ ของสารไนไตรท์ในรังนกที่ผ่านการทำความสะอาดล้างและแช่รังนกสีแดงในน้ำที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดง ได้สอดคล้องตามค่ามาตรฐานของสารไนไตรท์ในรังนก ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและ กักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) และกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย ที่ได้กำหนด ค่าปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และการทำความสะอาดล้างและ แช่รังนกสีแดงในน้ำหลังจากระยะเวลา 2 ชั่วโมงนั้น ไม่มีผลต่อการลดลงของปริมาณสารไนไตรท์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงก่อนและหลัง ทำความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำในช่วงระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง (รูปที่ 1) ดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงก่อนและหลังทำความสะอาดล้างและแช่รังนก ในน้ำในช่วงระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง ชนิดตัวอย่างของรังนกสีแดงที่ทำการศึกษา วัตถุดิบรังนกสีแดงเริ่มต้น รังนกสีแดงที่ล้างทำความสะอาดก่อนแช่น้ำ รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 3 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 4 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 5 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 6 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 7 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 8 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 9 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 10 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 11 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 13 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 14 ชั่วโมง รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 15 ชั่วโมง a, b, c, d
74
ค่าเฉลี่ยปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สารไนไตรท์ (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) 2,546.29 ± 22.29a 2,167.64 ± 7.93b 39.69 ± 0.27c 13.53 ± 0.47d 10.37 ± 0.11d 9.69 ± 0.33d 8.83 ± 0.40d 8.10 ± 0.17d 8.64 ± 0.07d 7.28 ± 0.03d 7.38 ± 0.05d 7.18 ± 0.25d 6.36 ± 0.27d 6.26 ± 0.15d 6.52 ± 0.09d 6.36 ± 0.09d 6.69 ± 0.15d
อักษรต่างกันหมายถึงความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 และที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
รูปที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงก่อนและหลังทำความสะอาด ล้างและแช่รังนกในน้ำในช่วงระยะเวลา 1 - 15 ชั่วโมง a, b, c, d อักษรต่างกันหมายถึงความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 และที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 2 แสดงการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของรังนกสีแดงที่ทำความสะอาดล้าง และแช่ในน้ำที่ระยะเวลา 2 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับรังนกสีแดงที่จำหน่ายในตลาด รายการ ปริมาณพลังงาน (กิโลแคลอรี่) โปรตีน (ร้อยละโดยน้ำหนัก) คาร์โบไฮเดรต (ร้อยละโดยน้ำหนัก) ขี้เถ้า (ร้อยละโดยน้ำหนัก) ความชื้น (ร้อยละโดยน้ำหนัก) โซเดียม (ppm) แคลเซียม (ppm) เหล็ก (ppm)
รังนกสีแดงที่ทำความสะอาดล้าง และแช่ในน้ำที่ 2 ชั่วโมง 353.27 60.13 28.12 6.96 9.35 1,147.18 12,499.10 18.23
รังนกสีแดงที่จำหน่ายในตลาด 350.5 - 378.6 49.3 - 66.9 25.62 - 28.26 6.03 - 10.2 7.8 - 15.2 650 - 1,700 798 - 15,694 16.8 - 36.3
วิจารณ์ จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำโดยมี ระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถลดปริมาณของสารไนไตรท์ในรังนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำ ความสะอาดล้างและแช่รังนกในน้ำที่อุณหภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส เป็นช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมง สามารถลดและกำจัดปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงตามธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้อง
75
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ตามค่ามาตรฐานของปริมาณสารไนไตรท์ที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติ สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) และกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย ทีไ่ ด้กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และคุณลักษณะ ของสภาพและเนื้อเส้นใยของรังนกยังคงรูปเหมาะสม มีสีแดงที่เหมาะสมไม่ซีด สามารถนำไปผ่าน กระบวนการผลิตเพื่ออบแห้งและแปรรูปต่อไป สามารถนำไปขึ้นรูป คัดแยกเกรด และขายสู่ท้องตลาด ได้ในราคาดี นอกจากนี้ เมื่อนำไปวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการเปรียบเทียบกับรังนกสีแดงที่จำหน่ายใน ตลาด จากการรายงานของการวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของรังนก โดยสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยปี 2543 และ Bangorn (2004) (ตารางที่ 2) ทำการวิเคราะห์หาพลังงาน ปริมาณโปรตีนทั้งหมด คาร์โบไฮเดรต ความชื้น และขี้เถ้าตามวิธี AOAC (2012) และทำการวิเคราะห์ หาปริมาณแร่ธาตุ ตามวิธี In-house method TE-CH-134 based on AOAC (2012) พบว่า ปริมาณ พลังงานและคุณค่าทางโภชนาการทีไ่ ด้ยงั อยูใ่ นค่าทีเ่ หมาะสม โดยมีปริมาณพลังงาน 353.27 กิโลแคลอรี่ โปรตีนร้อยละโดยน้ำหนัก 60.13 คาร์โบไฮเดรตร้อยละโดยน้ำหนัก 28.12 ขี้เถ้าร้อยละโดยน้ำหนัก 6.96 ความชื้นร้อยละโดยน้ำหนัก 6.96 แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม 1,147.18 ppm แคลเซียม 12,499.10 ppm และเหล็ก 18.23 ppm และสอดคล้องตามการศึกษาด้านคุณค่าทางโภชนาการรังนกของ Zainab et al. (2013) Babji et al. (2011) Norhayati et al. (2010) และ Wu et al. (2007) โดย จากการวิเคราะห์พบว่าองค์ประกอบหลักของรังนกคือโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ จากการ ศึกษาพบว่าการทำความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำในช่วงระยะเวลาทีน่ านขึน้ จะทำให้สภาพและเนือ้ เส้นใยของรังนกเปื่อยเนื่องจากรังนกมีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้เล็กน้อย (Zainab et al., 2013; Massimo, 2005) และการแช่น้ำที่นานขึ้นจะมีผลทำให้สีแดงของรังนกซีดลง ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการ ผลิตเพื่ออบแห้งและการแปรรูปรังนกต่อไป มีผลต่อการคัดแยกเกรด คุณภาพและราคาของรังนก เนือ่ งจากรังนกทีม่ เี นือ้ เส้นใยทีเ่ ปือ่ ยทำให้ขนึ้ รูปไม่สวย ส่งผลต่อการคัดแยกเกรดรังนกและการมีสแี ดงซีด ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในท้องตลาด ทำให้รังนกถูกคัดเกรดต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ขายได้ในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากสารไนไตรท์มีคุณสมบัติที่สามารถละลายได้ในน้ำ ตามสมมุติฐานการศึกษา การแช่ รังนกในน้ำที่ใช้ระยะเวลานานขึ้นสามารถลดปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกได้มากขึ้น แต่จากการศึกษา พบว่า มีบางช่วงระยะเวลาที่การแช่รังนกในน้ำที่ใช้ระยะเวลาที่นานขึ้น แต่สามารถลดปริมาณสาร ไนไตรท์ได้ลดลงน้อยกว่าการแช่รังนกในน้ำที่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า เช่น รังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำ ที่ระยะเวลา 6 ชั่วโมง พบค่าเฉลี่ยปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสารไนไตรท์ที่ 8.10 ± 0.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่ารังนกสีแดงที่ล้างและแช่น้ำที่ระยะเวลา 7 ชั่วโมง ที่มีค่าเฉลี่ย ปริมาณสารไนไตรท์ ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสารไนไตรท์ที่ 8.64 ± 0.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นต้น เป็นผลเนือ่ งจากรังนกตามธรรมชาติมกี ารกระจายตัวในถ้ำรังนกทีแ่ ตกต่างกัน ปริมาณของสารไนไตรท์ ที่พบในรังนกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อากาศ น้ำ ดิน และสภาพแวดล้อมโดยรอบที่พบรังนกใน
76
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
บริเวณนั้น และจากตัวอย่างรังนกสีแดงที่ทำการศึกษานั้น เพื่อศึกษาและเป็นตัวแทนของรังนกทั้งหมด ในถ้ำรังนก จึงทำการสุ่มเก็บตัวอย่างจากรังนกสีแดงที่มาจากบริเวณโดยรอบทั้งหมดของถ้ำรังนก ไม่ได้ เป็นบริเวณ หรือมุมเดียวของถ้ำรังนก ทำให้การพบปริมาณสารไนไตรท์ในวัตถุดิบรังนกเริ่มต้นมีความ หลากหลาย ส่งผลต่อการวิเคราะห์หาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงทีท่ ำการศึกษาได้ แต่จากผลการ ศึกษาค่าการวิเคราะห์หาปริมาณของสารไนไตรท์ที่พบในรังนกหลังจากทำความสะอาดล้างและแช่ รังนกในน้ำนั้น ยังคงเหมาะสมและสามารถยอมรับได้ โดยอยู่ในค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำที่ใช้ในการล้างและแช่รังนกส่งตรวจวิเคราะห์ หาสารไนไตรท์ สารหนู และปรอท เพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสารฯ ดังกล่าวในน้ำ ที่ใช้ในการศึกษา โดยจากผลการวิเคราะห์น้ำพบว่าไม่พบการปนเปื้อนของสารไนไตรท์ สารหนู และ ปรอทในน้ำที่ใช้ในการศึกษา จากการศึกษาสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตรังนกใน ขั้นตอนการล้างและทำความสะอาดรังนก เพื่อกำจัดและลดปริมาณการปนเปื้อนสารไนไตรท์ในรังนก ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร (food safety) เหมาะสมต่อการบริโภคของผูบ้ ริโภคมากยิง่ ขึน้ เพือ่ พัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ รังนก เพิ่มความมั่นใจและสร้างความน่าเชื่อถือในความปลอดภัยของสินค้ารังนกและผลิตภัณฑ์รังนก ให้เป็นที่ยอมรับมีคุณภาพ เหมาะสมและได้มาตรฐานสามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดโลกได้
สรุปผล การวิเคราะห์หาปริมาณสารไนไตรท์ก่อนและหลังทำความสะอาด ล้างและแช่รังนกสีแดงในน้ำ จากรังนกสีแดงธรรมชาติ เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 200 รัง พบว่าการทำความสะอาด ล้างและแช่รังนกสีแดงในน้ำที่อุณหภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาที่ 2 ชั่วโมง สามารถลด และกำจัดปริมาณสารไนไตรท์ได้น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสอดคล้องตามค่ามาตรฐาน ของสารไนไตรท์ในรังนกที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงาน ควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) และกระทรวงสาธารณสุข ของมาเลเซีย ที่ได้กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยรังนกที่ได้ยังมีคุณลักษณะของ เนือ้ เส้นใยมีสแี ดง และคุณค่าทางโภชนาการของรังนกทีเ่ หมาะสม สามารถนำไปอบแห้ง ขึน้ รูป คัดแยก เกรด แปรรูป และจำหน่ายในท้องตลาดได้ในราคาที่ดี ดังนัน้ การทำความสะอาด ล้างและแช่รงั นกในน้ำโดยมีระยะเวลาทีเ่ หมาะสมสามารถลดและกำจัด ปริมาณของสารไนไตรท์ในรังนกสีแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ในกระบวนการผลิตรังนกในขัน้ ตอนการทำความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำเพือ่ ลดและกำจัดปริมาณ การปนเปื้อนสารไนไตรท์ในรังนกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยทาง ด้านอาหาร (food safety) สร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์รังนกที่มาจากประเทศไทย และยกระดับ คุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์รังนกเพื่อขยายตลาดส่งออกขายได้ทั้งในและต่างประเทศ
77
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการส่งออก ลดปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้า และเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยทางด้านอาหารของรังนกที่มาจากประเทศไทย ภาครัฐควรมีการ ศึกษาข้อมูลและทดลองเกี่ยวกับสารตกค้างในรังนกตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ได้แก่ โลหะหนัก เช่น ปรอท สารหนู และตะกั่ว และศึกษาถึงวิธีอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการลดและกำจัดปริมาณสารไนไตรท์ ทีร่ วดเร็วกว่าการทำความสะอาดล้างและแช่รงั นกในน้ำที่ 2 ชัว่ โมง เพือ่ จะได้ประหยัดเวลาและสามารถ เพิ่มปริมาณการผลิตได้ เช่น การลดปริมาณสารไนไตรท์โดยการใช้น้ำโอโซนในการล้างรังนก (Jiang et al., 2012) และศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการละลายของสารไนไตรท์ในรังนก เช่น อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการล้างและแช่รังนก เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลวางแผนในการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตให้สอดคล้องตามมาตรฐานภายในประเทศและยกระดับสู่มาตรฐานสากล และสอดคล้องกับกฎ ระเบียบมาตรฐานของประเทศคู่ค้า เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจส่งออกไปยังต่างประเทศ และ ให้ผลิตภัณฑ์รังนกมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอ ที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์รังนกให้ไปเป็นตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ที่สนับสนุนงบประมาณในการ ศึกษา สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสตั ว์ กรมปศุสตั ว์ ในการตรวจวิเคราะห์ตวั อย่างรังนก และบริษทั สยามรังนกทะเลใต้ จำกัด ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บตัวอย่างและเอื้อเฟื้อสถานที่ทำการศึกษา
เอกสารอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์. สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. แหล่งที่มา : www2.ops3.moc.go.th/, January 1, 2012. พรทิพย์ อังคปรีชาเศรษฐ์. 2543. การทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. มกราคม-เมษายน ปีที่ 15 ฉบับที่ 1: 47-52 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. ประกาศกำหนดมาตรฐาน สินค้าเกษตร เรื่อง รังนก (Bird’s nest). AOAC, 2012. Official Method of Analysis. 19th ed. Association of Official Analytical Chemists, Arlington. VA, USA. Babji, A.S., Yusop, S.M. and Ghassem, M. 2011. A review of research development of Malaysia’s biodiversified resources. 115-122 Bangorn Boonchoo. 2004. Bird’s nest and its inspection, Department of Science Service Journal, September Vol.166. [Online] [Cited dated 1 Jan 2017]. Available from Internet: http://siweb.dss.go.th/index.asp Chan, K.L.G. 2013. The Quality Assurance of Edible bird’s nest: Removal of Nitrite Contaminant and Identification of an Indicative Chemical Marker. A thesis submitted to The Hong Kong University of Science and Technology in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy in Biology Program. 1-220
78
Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 174 พฤษภาคม - มิถุนายน 2560
Evaluation of the Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA). 2012. Food Additives colour retention agent preservative. TRS 913-JECFA 59/20. Food Safety and Quality Division. Ministry of Health Malaysia. 2013. Standard Operating Procedure on the control of nitrite level in edible bird’s nest. 1-11. Ismail, M.F., Sabri, N.A. and Tajuddin, S.N. 2014. A Study on Contamination of Nitrite in Edible bird’s nest (Swiftlets). Journal of Food Science (78): 1340-1352 Jiang, S.H., Zha, S.H. and Zhang, H. 2012. Processing method for removing nitrite from bird’s nest. Journal of Food science and Technology. 153-164. Kamarudin, M.I., 2012. Prevalence of nitrite (No2) and nitrate (No3) in edible bird nest harvested from swiftlet ranches in the state of Johor. Nitrite Johor. 1-13 Ketty, G.S., Aziah, A.A., Faridah, I., Norakmar, I., Nurzia, I. and Roosnoor, F.H. 2012. An overview of nitrite level in Malaysia Swiftlet’s nest. International Conference on One Health and 24th VAM Congress. 171-173 Marcone, M.F., 2005. Characterization of the edible bird’s nest the “Caviar of the East”. Food Research International 38. 1125-1134 Massimo, F.M., 2005. Characterization of the edible bird’s nest the “Caviar of the east”. Department of Food Science, Ontario Agricultural College, University of Guelph, Ont., Canada N1G2W1. 1125-1134. Meei, C.Q., Chin, N.L. Yusof, Y.A. and Tan, S.W. 2015. Preliminary nitrite, nitrate and colour analysis of Malaysia edible bird’s nest. Information Processing in Agriculture 2:1-5. Norhayati, M.K., Azman, O. and Nazaimoon, W.M.W. 2010. Preliminary study of the nutritional content of Malaysian edible bird’s nest. Malaysian Journal of Nutrition 16 (3): 389-396 Noriah, R. and Azmi, S.M.N. 2012. Food Safety Governance: Standard Operating Procedure on Controlling of Nitrite Level, Handing and Processing of Edible Bird’s Nest. Australian Journal of Basic and Applied Sciences 6 (11): 301-305 Paul, P.H., Jiang, R.W. and Shaw, P.C. 2013. Edible bird’s nests - How do the red ones get red?. Journal of Ethnopharmacology 145. 378-380 Paydar, M., Wong, Y.L., Wong, W.F., Hamdi, O.A.A., Kadir, N.A. and Looi, C.Y. 2013. Prevalence of Nitrite and Nitrate Contents and Its Effect on Edible Bird Nest’s Color. Journal of Food Science (78): 1940-1946 Risk Assessment Section. Center for food safety Hong Kong, 2011. Risk in Brief Nitrite in Bird’s nest. Available source: www.cfs.gov.hk, August 15, 2016. Wu, R.H., Chen, Y., Wu, Y.J., Zhao, J.Y. and Ge, Y.Q. 2007. Review of EBN authentication method. Inspection and Quarantine Science 17. 61-62 Zainab, H., Ibrahim, N.H., Sarojini, J., Hussin, K., Hashim, O. and Lee, B. 2013. Nutrition Properties of Edible bird nest, School of Bioprocess Engineering, Universiti Malaysia Perlis (UniMAP), Malaysia. 600-607
79
ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน
และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท ไบโอมิน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โนวัส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พรีเมียร์ เทค โครโนส จำกัด
โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2661-8700 โทร. 0-2694-2498 โทร. 0-2740-5001