Dbchapter2 1

Page 1

เอกสารประกอบการเรี ยนรายวิชา ง30206

ใบความรู้ที่ 2.1 เรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การพัฒนาระบบงานโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นเป็นการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลมาสร้าง ฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการพัฒนาระบบจึงอาจแบ่งได้ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ระบบ 2. การออกแบบระบบ 3. การสร้างระบบ 4. การทดสอบและแก้ไขระบบ 5. การนําระบบไปใช้งาน 6. การบํารุงรักษาระบบ สมมติว่าหมวดวิชาคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งมีการจัดซื้อหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อ การเรียนการสอนของหมวดวิชา เมื่อมีหนังสือมากขึ้นและมีการยืมบ่อยจึงได้จัดงานห้องสมุดของหมวด วิชาขึ้นในที่นี้จะเริ่มตามขั้นตอนการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น 1. การวิเคราะห์ระบบ ก่อนสร้างระบบงานจะต้องศึกษารายละเอียดของระบบงานที่ต้องการ ถ้าขาดความเข้าใจในความ ต้องการของระบบที่สร้าง จะทําให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย การวิเคราะห์ระบบอาจเริ่มจากการระบุเป้าหมายของงานไว้อย่างคร่าวๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “ต้องการสร้างระบบงานบริการยืมหนังสือของห้องสมุดหมวดวิชาคอมพิวเตอร์” การกําหนดเป้าหมายเช่นนี้ เป็นเพียงแนวทางการศึกษาถึงรายละเอียดของงานรวมทั้งข้อมูลและ สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่เพียงพอในการสร้างระบบงานที่ต้องการ เราจําเป็นต้องทราบรายละเอียด หลายอย่าง เช่น ข้อมูลหนังสือที่ให้บริการ จํานวนหนังสือที่ให้บริการยืมในห้องสมุด ข้อมูลสมาชิกที่ใช้ บริการ จํานวนสมาชิกของห้องสมุด ลักษณะและขั้นตอนการบริการที่ปฏิบัติอยู่ ตลอดจนการเก็บบันทึก ข้อมูลและรายงานที่ใช้ เราอาจแบ่งการวิเคราะห์ระบบออกเป็นงายย่อยดังต่อไปนี้ 1.1 การศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศ การวิเคราะห์อาจเริ่มจากศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศของระบบ โดยดูจากรายงานที่ ต้องการใช้ จากรายงานเหล่านี้ก็จะโยงไปยังข้อมูลที่จําเป็นเพื่อใช้ออกรายงาน ข้อมูลเหล่านี้อาจมีการ นําเข้า อาจมีการจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลเพื่ออ้างอิง หรืออาจเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลอย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการบนรายงาน จากตัวอย่างระบบงานบริการยืมหนังสือของห้องสมุดหมวดวิชา ระบบงานจะเกี่ยวข้องกับหนังสือ ที่ให้ยืมในห้องสมุด สมาชิกของห้องสมุด กิจกรรมการยืมและส่งคืนหนังสือ โดยมีความต้องการสารสนเทศ ต่อไปนี้ - ข้อมูลของสมาชิกและสิทธิการยืมหนังสือ เช่น รหัสสมาชิก ชื่อ-นามสกุลสมาชิก ชั้นเรียน และจํานวนหนังสือที่ยืมได้ฯลฯ - ข้อมูลหนังสือที่ให้บริการ เช่น รหัสหนังสือ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง จํานวนหนังสือ - ข้อมูลการยืมหนังสือของสมาชิกแต่ละคน การวิเคราะห์ และออกแบบฐานข้อมูล -1-


เอกสารประกอบการเรี ยนรายวิชา ง30206

- รายชื่อหนังสือที่สมาชิกยืมไป - รายชื่อสมาชิกที่ไม่นําส่งหนังสือเมื่อครบกําหนด ฯลฯ 1.2 การศึกษาการปฏิบัติงานในระบบ ขั้นตอนปฏิบัติในแต่ละงานจากตัวอย่าง อาจแบ่งงานของระบบออกได้ดังนี้ งานสมาชิก เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการรับสมาชิก การแก้ไขข้อมูลสมาชิก การลบข้อมูล สมาชิกที่ลาออก การพิมพ์รายชื่อสมาชิกฯลฯ งานหนังสือ เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหนังสือที่ให้บริการยืมในห้องสมุด เช่น การเพิ่มหนังสือ ใหม่ การลบรายการหนังสือที่เลิกให้บริการฯลฯ งานบริการสมาชิก เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยืมหนังสือ การคืน การตรวจสอบ การยืมตลอดจนการออกรายงานที่เกี่ยวข้อง 2. การออกแบบระบบ ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบ เมื่อนํามาออกแบบระบบ จะประกอบด้วยงาน ดังนี้ 2.1 การออกแบบฐานข้อมูล 2.2 การออกแบบส่วนนําเข้า 2.3 การออกแบบรายงาน 2.4 การออกแบบการประมวลผลที่ต้องการ 2.1 การออกแบบฐานข้อมูล ปกติแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะเก็บข้อมูลเฉพาะเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีการ ออกแบบฐานข้อมูลว่าควรประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลกี่แฟ้ม และแต่ละแฟ้มเก็บข้อมูลอะไรบ้าง วิธีการ ออกแบบฐานข้อมูล ที่นิย มวิ ธีหนึ่ ง คือวิธีการวิเคราะห์ความสัม พันธ์ระหว่างสิ่งใดๆหรื อเรื่องต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับระบบงาน เรื่องหรือสิ่งใดๆที่สนใจในการสร้างฐานข้อมูลเรียกว่า เอนทิตี้ (entity) ซึ่งอาจเป็น บุคคลเช่น นักเรียน หรืออาจเป็นสิ่งของเช่นหนังสือ หรือหน่วยงานเช่น ฝ่ายทะเบียน หรืองาน เช่น การ ยืมหนังสือ ฯลฯ M N สมาชิก ยืม หนังสือ รูปที่ 2-1 แสดงหน้าฟอร์มบริการยืมหนังสือ 2.2 การออกแบบส่วนนําเข้า การออกแบบส่วนนําเข้าเป็นการออกแบบฟอร์มต่างๆที่ใช้กรอกข้อมูล ซึ่งจะถูกนําเข้าสู่ระบบ เช่ น ฟอร์ ม ใบสมั ค รสมาชิ ก ฟอร์ม กรอกข้ อมู ล หนั ง สื อ ใหม่ ฯลฯ นอกจากนั้ น ยั ง รวมถึ ง การออกแบบ หน้าจอภาพที่ใช้ป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ เช่น หน้าจอสําหรับสมาชิกใหม่ หน้าจอลงทะเบียนหนังสือ ใหม่ หน้าจอการบริการยืมหนังสือ เป็นต้น

การวิเคราะห์ และออกแบบฐานข้อมูล -2-


เอกสารประกอบการเรี ยนรายวิชา ง30206

รูปที่ 2-2 แสดงหน้าฟอร์มบริการยืมหนังสือ 2.2 การออกแบบรายงาน การออกแบบรายงานเป็นการออกแบบรายงานต่างๆของระบบ เช่น ทําเนียบรายชื่อสมาชิกข้อมูล การยืมหนังสือของสมาชิกฯลฯ รายงานอาจเป็นการแสดงทางจอภาพ หรือการพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ก็ได้

รูปที่ 2-3 เป็นตัวอย่างรายงานทําเนียบรายชื่อสมาชิก 2.3 การออกแบบการประมวลผลส่วนนําเข้าและแสดงผล การออกแบบการประมวลผล เริ่มจากการพิจารณางานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบยืมหนังสืออัน ได้แก่ 1. รับสมาชิกใหม่ 2. ลบข้อมูลสมาชิกที่ลาออก 3. แก้ไขข้อมูลสมาชิก 4. พิมพ์ทําเนียบรายชื่อสมาชิก 5. ลงทะเบียนหนังสือใหม่ 6. ลบข้อมูลหนังสือทีเลิกให้บริการ 7. แก้ไขข้อมูลหนังสือ การวิเคราะห์ และออกแบบฐานข้อมูล -3-


เอกสารประกอบการเรี ยนรายวิชา ง30206

8. พิมพ์รายชื่อหนังสือ 9. ให้บริการยืมหนังสือ 10. ให้บริการคืนหนังสือ 11. แสดงรายงานสมาชิกที่ไม่คืนหนังสือตามกําหนด 12. พิมพ์จดหมายทางหนังสือ ในกรณีที่สมาชิกไม่คืนหนังสือตามกําหนดจากงานต่างๆ เราอาจ จัดกลุ่มงานซึ่งในที่นี้แบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1. งานสมาชิก 2. งานหนังสือ 3. งานบริการหนังสือ สามารถนํามาเขียนผังแสดงลําดับชั้นของงานได้นี้ ระบบบริการยืมหนังสือ

งานสมาชิก

งานหนังสือ

งานบริการหนังสือ

รูปที่ 2-4 ผังลําดับขั้นของงานในระบบงานบริการยืมหนังสือ งานสมาชิก

รับสมาชิกใหม่

ลบข้อมูลสมาชิกที่ลาออก

แก้ไขข้อมูลสมาชิก

พิมพ์รายชื่อสมาชิก

รูปที่ 2.5 งานย่อยของงานสมาชิก งานหนังสือ

ลงทะเบียนหนังสือ ใหม่

ลบข้อมูลหนังสือที่เลิก ให้บริการ

แก้ไขข้อมูลหนังสือ

พิมพ์รายชื่อหนังสือ

รูปที่ 2.6 แสดงงานย่อยของงานหนังสือ งานบริการหนังสือ

ยืมหนังสือ

คืนหนังสือ

ตรวจสอบการยืม

พิมพ์ใบเตือน

รูปที่ 2.7 งานย่อยของงานบริการหนังสือ

การวิเคราะห์ และออกแบบฐานข้อมูล -4-


เอกสารประกอบการเรี ยนรายวิชา ง30206

ผู้ อ อกแบบการประมวลผลต้ อ งออกแบบความสั ม พั น ธ์ ข องงานและงานย่ อ ยต่ า งๆตลอดจน ออกแบบรายละเอียดของงานย่อยแต่ละงาน พร้อมทั้งกําหนดรูปแบบของฟอร์มที่ใช้นําเข้าข้อมูล เช่น แบบฟอร์มป้อนข้อมูลสมาชิกในงานย่อยรับสมาชิกใหม่ เป็นต้น และรูปแบบรายงาน เช่น ใบเตือนสมาชิก ที่ยืมหนังสือเกินกําหนดเวลา เป็นต้น 3. การสร้างระบบ การสร้างระบบเป็นการนําระบบจัดการฐานข้อมูลมาทําการสร้างฐานข้อมูลและการประมวลผล ทั้งหมดของระบบ 4. การทดสอบและแก้ไขระบบ ระบบที่ได้สร้างขึ้นจําเป็นต้องได้รับการทดสอบ ว่าสามารถทํางานได้ตามเป้าหมายที่ได้กําหนด หรือ ไม่ การดํา เนิ น การทดสอบจะดํ า เนิน การทั้ ง การทดสอบความถูก ต้องของการกํา หนดโครงสร้ า ง ฐานข้อมูล รูปแบบของการประมวลผล และความถูกต้องในการทํางานของระบบ การทดสอบโปรแกรมและฐานข้อมูลต้องทําด้วยความละเอียดถี่ถ้วน แม้ต้องใช้เวลามากเพราะ ดีกว่าปล่อยให้เกิดความผิดพลาดเมื่อนําไปใช้งานจริงแล้วทําให้งานเสียหาย 5. การนําระบบไปใช้งาน การนําระบบที่ได้รับการทดสอบและแก้ไขจนมีความถูกต้องและเป็นที่พอใจของผู้ใช้แล้วไปใช้งาน นั้น ผู้พัฒนาระบบจําเป็นต้องเตรียมการ และวางแผนการดําเนินงานเพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักของการ ปฏิบัติงานปกติที่ทําอยู่ เช่น การเตรียมการด้านคอมพิวเตอร์ และวัสดุใช้งานที่เกี่ยวข้อง การฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ให้เข้าใจการปฏิบัติงานใหม่ การย้ายข้อมูลจากระบบงานปัจจุบันไปใช้ในระบบงานใหม่ การ เปลี่ยนการปฏิบัติงานมาใช้ระบบงานใหม่ และการกําหนดเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยน 6. การบํารุงรักษาระบบ แม้ระบบมีการทดสอบมาแล้วก็ตาม เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง อาจพบว่ายังมีบางส่วนที่ไม่ ถูกต้อง หรือผู้ใช้อาจพบว่าระบบใหม่ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังอาจเกิดความต้องการใช้ระบบ ทีเปลี่ยนจากที่ได้พัฒนาไว้แล้ว ดังนั้นเราอาจต้องทําการแก้ไขระบบที่ได้พัฒนาให้สามารถทํางานได้ถูกต้อง หรือสะดวกขึ้น หรือเป็นไปตามความต้องการที่เปลี่ยนไป เราเรียกการปรับปรุงแก้ไขนี้ว่าการบํารุงรักษา ระบบ การบํารุงรักษาระบบจะมีขั้นตอน การศึกษาส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข การดําเนินการปรับปรุงแก้ไข การทดสอบ และการนําไปใช้แทนที่ส่วนเดิม

การวิเคราะห์ และออกแบบฐานข้อมูล -5-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.