หนังสือถอดบทเรียน ครูต้นแบบประจำปี ๒๕๕๗

Page 1

หนังสือถอดบทเรียน

”ครูต้นแบบประจำ�ปี 2557“

โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน เป็นมิตร เมตตา อาทรและคิดบวก มีศิลปะ ในการสอน

มีทักษะการสอน

ครูไทย ในศตวรรษที่ 21 มีจิตส�ำนึก ต่อส่วนรวม

ใฝ่เรียนรู้และ พัฒนาตน มีความรู้ลุ่มลึก มีทักษะเทคโนโลยี


หนังสือถอดบทเรียน

”ครูต้นแบบประจำ�ปี 2557“

โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน

เป็นมิตร เมตตา อาทรและคิดบวก มีศิลปะ ในการสอน

ครูไทย ในศตวรรษที่ 21 มีจิตส�ำนึก ต่อส่วนรวม

มีทักษะการสอน

ใฝ่เรียนรู้และ พัฒนาตน มีความรู้ลุ่มลึก มีทักษะเทคโนโลยี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

5


ค�ำน�ำ ด้วยเล็งเห็นคุณค่าของวิชาชีพครูทมี่ คี ณ ุ ปู การอันใหญ่หลวงต่อสังคม “โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน” ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และคุรุสภา ได้คัดเลือกครู 34 คนจาก ทัว่ ประเทศมาร่วมกันถอดบทเรียน กลัน่ กรองประสบการณ์อนั มีคา่ ทีค่ รูทกุ คนได้บม่ เพาะมาอย่างเข้มข้น ตลอดชีวิตของการเป็นครู ภายในเล่มนี้ เราได้รวบรวมความคิด ประสบการณ์และนวัตกรรมการเรียนรู้จากครูไทยของแผ่นดิน เพื่อบันทึกเป็นหมุดหมายส�ำคัญของการศึกษาไทยที่ก�ำลังก้าวไปข้างหน้าในโลกยุคใหม่ ด้วยการทุ่มเท แรงกายแรงใจของบุคลากรที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ ซึ่งได้สร้างสรรค์เส้นทางแห่งการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย และสังคมไทยอย่างไม่ยอมย่อท้อต่ออุปสรรค มีค�ำกล่าวที่ว่า “ครูที่ยิ่งใหญ่คือ ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ” ครูทุกท่านที่ได้กรุณาแบ่งปันประสบการณ์ ไว้ ในหนังสือเล่มนี้ ล้วนเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกศิษย์ตัวน้อยจ�ำนวนมาก และเรื่องราว ชีวิตของครูที่ถูกบันทึกไว้ในเล่มนี้ คือการส่งต่อแรงบันดาลใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุดส�ำหรับผู้อ่าน รวมถึง ส่งต่อความรักและความปรารถนาดีที่ครูมีต่อเด็กไทยและสังคมไทย

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์


ค�ำนิยม หนังสือ “โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน” เล่มนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการสรุปรวบรวม และเรียบเรียงจากแนวคิด ความคิด และประสบการณ์ของครูไทยจากทัว่ ประเทศทีผ่ า่ นการคัดเลือก เข้าสู่รอบ 34 คนสุดท้ายของโครงการจัดมอบรางวัล “ครูไทยของแผ่นดิน” แด่ครูต้นแบบประจ�ำปี 2557 รวมทั้งสิ้น 10 ท่าน ด�ำเนินการโดยบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักและ เรียกกันติดปากทั่วไปว่า BJC BJC ได้เรียนเชิญคุณครูที่เข้ารอบทั้ง 34 ท่านมาประชุมสัมมนา เมื่อวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านอัมพวา รีสอร์ท แอนด์ สปา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการเป็นครู ภายใต้กรอบคุณลักษณะ 6 ประการของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณและมุ่งมั่น และได้ผลสรุปออก เป็นหนังสือทรงคุณค่าเล่มนี้ ผมอ่านหลายรอบด้วยความประทับใจและเกิดความเชื่อมั่นอย่างยิ่ง การถอดบทเรียนจาก 34 ครูไทยของแผ่นดินมาเรียงร้อยให้อ่านได้อย่างเข้าใจง่ายๆ พร้อมด้วย ตัวอย่างทีช่ ดั เจนเช่นนีจ้ ะเป็นประโยชน์อย่างยิง่ แก่คณ ุ ครูทกุ ท่าน โดยเฉพาะคุณครูใหม่ๆ หรือนิสติ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ที่มีความฝันที่จะเป็นครูไทยที่ดีต่อไปในอนาคต ผมขอขอบคุณบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ได้ริเริ่มจัดโครงการ “ครูไทยของแผ่นดิน” เพราะผมก็มีความเห็นเช่นเดียวกันว่า “ครูคือต้นทางของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ” ดังนั้น การจัดโครงการใดๆ ก็ตามที่เป็นการให้เกียรติยกย่องเชิดชูแก่คุณครู รวมถึงการพัฒนา ฝึกอบรมเพือ่ ให้คณุ ครูทงั้ หลายมีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างต่อเนือ่ ง จึงเป็นเรือ่ งจ�ำเป็นเพือ่ ให้ครูไทย ของเราพร้อมทีจ่ ะเป็น “ต้นทาง” ของการพัฒนาทัง้ “สังคม” และ “ประเทศชาติ” อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

14 แรงบันดาลใจ


ทราบว่า BJC ยังจะด�ำเนินโครงการต่อไปในรูปแบบต่างๆ อีก ผมจึงถือโอกาสนี้ในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของสังคมไทย แสดงความขอบคุณไว้ล่วงหน้า เพราะในการที่จะบ่มเพาะหรือสร้าง “ต้นทาง” ทีด่ แี ละมีจติ วิญญาณของการเป็นครูทสี่ มบูรณ์นนั้ จ�ำเป็นจะต้องด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ ง ดังที่ได้สร้างไว้แล้ว ส�ำหรับคุณครูทุกท่านทั่วประเทศไทย ผมใคร่ขอฝากความหวังของประเทศชาติไว้กับท่าน และ เชื่อว่าคุณครูทุกท่านจะท�ำได้ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ 34 ครูต้นแบบได้น�ำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้

“ซูม” สมชาย กรุสวนสมบัติ นสพ.ไทยรัฐ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์


ค�ำนิยม ครูเป็นบุคคลส�ำคัญมากๆ ครูคือผู้สร้างสังคม ครูคือผู้บ่มเพาะเด็กๆ และเยาวชนให้มีคุณสมบัติที่ เหมาะสม ครูที่เหมาะสมจึงต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากผู้รู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของตนเอง โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน เป็นโครงการหนึ่งที่เห็นความส�ำคัญของครู และมีความศรัทธามุ่งมั่น ที่จะยกย่อง เชิดชู ส่งเสริม สนับสนุนครูให้มีพลังในการปฏิบัติหน้าที่สร้างคน สร้างสังคมอย่างเต็มก�ำลัง จึงได้ด�ำเนินกิจกรรมส�ำคัญหลายประการ โดยเฉพาะกิจกรรมการคัดเลือกครูต้นแบบ ที่เฟ้นหาครูผู้มี จิตวิญญาณในการพัฒนาเด็กและพัฒนาสังคม กิจกรรมการถอดบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องราว ประสบการณ์ ความคิด มุมมอง แนวคิด และนวัตกรรมการ พัฒนาเด็ก ตลอดจนแนวคิดในการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคมของครูต้นแบบนั้นจึงเป็นกิจกรรมส�ำคัญที่ ก่อเกิดประโยชน์ต่อวงการครูอย่างยิ่ง ที่ท�ำให้ความรู้ดีๆ ซึ่งฝังอยู่ในตัวครูต้นแบบ (Tacit Knowledge) ถูกจัดระบบและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง กลายเป็นความรู้ที่สัมผัสจับต้องได้ (Explicit Knowledge) ซึง่ เป็นแนวทางการพัฒนางานทีช่ าญฉลาด เกิดประโยชน์ตอ่ การเรียนรูแ้ บบก้าวกระโดด ด้วยท�ำให้คณ ุ ครู และผูท้ เี่ กีย่ วข้องในวงการครูมขี อ้ มูลส�ำคัญทัง้ เกีย่ วกับเส้นทางการก้าวเดินของคุณครูแต่ละท่านจนเติบโต แข็งแกร่ง พร้อมเกื้อกูลช่วยเหลือสังคมได้ อีกทั้งได้นวัตกรรมการพัฒนาผู้เรียนที่ผ่านการปฏิบัติจริง ผ่านการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนจนใช้ได้จริง สมบูรณ์ เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและนักเรียนของคุณครู ข้อมูลดังกล่าวจะท�ำให้คุณครูและผู้เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้แนวคิด แนวทางปฏิบัติของครูที่เป็น แบบอย่าง อันจะน�ำไปสู่การปฏิบัติตนให้เป็นครูที่สมบูรณ์แบบซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเด็กๆ และสังคม ให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 14 แรงบันดาลใจ


สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้วยเจตนารมณ์เพื่อการยกย่องเชิดชูครูต้นแบบ จึงได้จัดท�ำหนังสือถอดบทเรียนเล่มนี้ขึ้น โดยมุ่งหวัง ให้เป็นคู่มือคุณภาพที่รวบรวมแก่นวิธีคิดของครูต้นแบบ 34 ท่านที่เข้ารอบสุดท้ายของโครงการและ เพื่อให้เป็นคู่มือในการถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้และเป็นแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นหลัง ในโอกาสนี้ ผมใคร่ขอขอบพระคุณคุณซูม คอลัมน์ซอกแซกในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐและรศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ ที่ให้เกียรติเขียนค�ำนิยมให้แก่หนังสือเล่มนี้ด้วยความซาบซึ้ง ซึ่งเป็นก�ำลังใจให้แก่คณะท�ำงาน เป็นอย่างยิ่งและเป็นพลังในการมุ่งมั่นสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมในอนาคตให้ดียิ่งขึ้นไป เราทุกคนต่างมี “ครู” ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อแม่คนที่สอง ที่ให้การอบรม สั่งสอนวิชาความรู้ บ่มเพาะ คุณธรรม จริยธรรมและคุณความดีให้ลกู ศิษย์เพือ่ ให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มคี ณ ุ ภาพของประเทศ ครู คือ ผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยความรักและความปรารถนาดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ค�ำว่า “ครู” จึงเป็น ค�ำศักดิ์สิทธิ์ การให้ความเคารพและกตัญญูแก่ผู้มีพระคุณทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณครู นับเป็นสิ่งดีงาม ทีท่ กุ คนควรให้การระลึกและปฏิบตั เิ พือ่ น�ำความสิรมิ งคลให้เกิดขึน้ แก่ตนเองและจรรโลงไว้ซงึ่ วัฒนธรรม การเคารพผู้มีพระคุณให้คงสืบต่อไป ในโอกาสนี้ BJC ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมและตอบแทนบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้เป็น ก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มก�ำลัง “ยกย่อง เชิดชูด้วยใจ แด่ครูผู้ให้ของแผ่นดิน”

อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) BJC

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์


สารบัญ

บทน�ำ

เกี่ยวกับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน)

9

บทที่ 1

การศึกษาที่แท้จริง

13

บทที่ 2

แรงดลใจสู่บทบาท “ครู” ชีวิตที่สร้างสรรค์

33

บทที่ 3

ใจดวงแกร่ง

53

บทที่ 4

เปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ชีวิตที่สมดุล

73

บทที่ 5

พลังสร้างสรรค์สังคม

89

บทที่ 6

ศิลปะของการเป็นครู

109

บทที่ 7

ครูไทยในศตวรรษที่ 21

137

14 แรงบันดาลใจ


เกี่ยวกับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษทั เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ BJC ก่อตัง้ เมือ่ ปีพทุ ธศักราช 2425 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 โดยตระกูลเบอร์ลแี่ ละตระกูลยุคเกอร์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบ ธุรกิจน�ำเข้า-ส่งออกสินค้าจากต่างประเทศเข้าสูเ่ มืองไทย และส่งออกข้าว ไม้สกั ยางพารา และสินค้าอืน่ ๆ จากประเทศไทยไปสู่ตลาดโลก ตลอดเวลากว่า 133 ปีที่ BJC ด�ำเนินธุรกิจบนแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ยังความตระหนักรู้ และส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้บริษัทได้ อาศัยด้วยความร่มเย็นมาโดยตลอดและสิ่งที่ชาว BJC ภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ คือ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตัง้ พระครุฑพ่าห์ให้แก่บริษทั ในปีพุทธศักราช 2510 นับเป็นความภูมิใจแก่องค์กรและเป็นเครื่องหมายที่ย�้ำเตือนให้ชาว BJC ทุกคน จงรักภักดีตอ่ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยแ์ ละยึดมัน่ ในการประกอบกิจการด้วยความซือ่ สัตย์ สุจริต ด้วยหลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรกับสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ในด้านการท�ำธุรกิจ BJC ตั้งปณิธานและความมุ่งมั่นในการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นเลิศเพื่อตอบสนอง ความต้องการในทุกวันของผูบ้ ริโภค โดยมีธรุ กิจที่ให้บริการครบวงจรตัง้ แต่การผลิตต้นน�ำ้ การท�ำการตลาด และส่งเสริมการขายในขั้นตอนกลางน�้ำ ตลอดจนการกระจายและจัดจ�ำหน่ายที่เป็นส่วนปลายน�้ำ ภายใต้ ธุรกิจ 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ 2.กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภค บริโภค 3.กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์ 4.กลุ่มสินค้าบริการทางเทคนิค 5.กลุ่มธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ นอกจากนี้กิจกรรมการตอบแทนคืนแก่สังคม ชุมชนและประเทศชาติ คืองานส�ำคัญอีกด้านหนึ่งที่บริษัท ได้ยึดมั่นในการท�ำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ดีของประเทศ (Good Corporate Citizen) BJC มุ่งเน้นส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและให้โอกาสการเรียนรู้ รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวติ และสังคมของบุคลากรโดยเฉพาะ ด้านการศึกษามาโดยตลอด

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

13


ที่มาของโครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน “... ค�ำว่าครูเป็นค�ำที่สูงยิ่ง เพราะถือว่าเป็นที่เคารพบูชาได้ ฉะนั้นได้ชื่อหรือเรียกตัวเองว่าครู ก็จะต้อง บ�ำเพ็ญตนให้ดี บ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บ�ำเพ็ญตนให้เป็นที่นับถือได้ เพราะว่าผู้ใดเป็นครูแล้ว ไม่บำ� เพ็ญตนให้เป็นทีน่ บั ถือได้ ก็เท่ากับบกพร่อง คนเราท�ำหน้าที่ใดบกพร่องก็ไม่ดี แต่ครูทำ� งานของตน บกพร่องนั้นยิ่งไม่ดี เพราะว่าครูเป็นเหมือนค�ำศักดิ์สิทธิ์...” พระราชด�ำรัส ในโอกาสที่ประธานกรรมการประสานงานส่วนภูมิภาค ภาค 2 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ น�ำคณะผู้แทนครูจีนเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2524

จากพระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นครูที่ประเสริฐยิ่งอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นสิ่งที่ย�้ำเตือนให้ครูตระหนักในคุณค่าและความหมายที่พึงประพฤติปฏิบัติตนให้ดี เพราะค�ำว่า “ครู” คือค�ำศักดิ์สิทธิ์ ที่คนในสังคมให้การเคารพนับถือ ครูที่ดีจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแรงบันดาลใจ ให้ลูกศิษย์ โรงเรียนและสังคมประเทศชาติในการปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ ด้วยส�ำนึกในบุญคุณและการตอบแทนแผ่นดินไทย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ BJC จึงด�ำเนิน “โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน” เพื่อเป็นการให้พลัง ก�ำลังใจ ประสบการณ์และการสร้าง เครือข่ายครูไทยให้มโี อกาสในการแลกเปลีย่ นเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมต่างท้องถิน่ น�ำความรูใ้ หม่ๆ ทีไ่ ด้รบั มาปรับปรุง การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพืน้ ทีข่ องตนเอง โดยได้นอ้ มน�ำหลักคิดทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงวางแนวทางเพือ่ การพัฒนาคือ ความเข้าใจ การเข้าถึงและการพัฒนา เป็นหลักในการคิดและปรับใช้ ให้เกิดการเชือ่ มโยงอย่างครบวงจร กล่าวคือ การเชือ่ มต่อตัง้ แต่ตน้ น�ำ้ กลางน�ำ้ และปลายน�ำ้ เสมือนการ ด�ำเนินงานด้านธุรกิจ ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ ธุรกิจจะเติบโตแข็งแรงได้จะต้องมีการวางแผนพัฒนาให้สอดคล้อง ตอบรับกันเป็นระบบและครบวงจร การพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญรุง่ เรืองอย่างยัง่ ยืนก็เช่นเดียวกัน

14

14 แรงบันดาลใจ


BJC ให้ความส�ำคัญงานด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่า ยิง่ ต่อการพัฒนา ประเทศจะพัฒนาก้าวไกลได้ยอ่ มต้องมาจากคนทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีความรูแ้ ละความสามารถ ควบคู่กับความดี ซึ่งบุคคลที่เป็นต้นทางแห่งการบ่มเพาะและปลูกฝังสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็คือ “ครู” ผู้ให้ ที่ยิ่งใหญ่ BJC จึงมุ่งเน้นให้การสนับสนุนโดยให้ความส�ำคัญเริ่มต้นที่... “ครู” ผูเ้ สมือนเป็นต้นน�ำ้ ทางการศึกษา เป็นผู้ให้และผู้สร้างให้เยาวชนไทยมีคุณภาพ มีการศึกษา มี ความรู ้ แ ละคุ ณ ธรรมจริย ธรรม ในชื่อ “โครงการบีเจซีครู ไทยของแผ่นดิน” มี กิจ กรรม 3 ส่ ว นคื อ แคมป์อบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมครูไทยสัญจร 4 ภาค และรางวัล 10 ครูต้นแบบครูไทยของแผ่นดิน “สถานศึกษา” คือส่วนกลางน�ำ้ ซึง่ เป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างคนคุณภาพให้ประเทศ BJC ด�ำเนินโครงการ ช่วยเหลือโรงเรียนขาดแคลนหรือ Remote School ที่ด�ำเนินการต่อเนื่องมากว่า 20 ปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 ได้วางแผนด�ำเนินการสร้างอาคารอเนกประสงค์ให้แก่โรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนเพิม่ เติมด้วย “นักเรียน นักศึกษา” ในส่วนปลายน�้ำให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้ศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้นไป และโอกาสด้านการงานอาชีพที่มั่นคงแก่นักศึกษาในการเข้าท�ำงานกับบริษัท โดยร่วมมือกับหน่วยงาน ภาครัฐ เป็นต้น ครู เปรียบเสมือน พ่อ แม่คนที่สอง ที่ให้การอบรมสั่งสอนวิชาความรู้ บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมและ คุณความดีให้แก่เยาวชนเพื่อให้เติบโตเป็นก�ำลังคนที่มีคุณภาพของประเทศ ครูคือผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ด้วย ความรักและความปรารถนาดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ค�ำว่า “ครู” จึงเป็นค�ำศักดิ์สิทธิ์ BJC ให้ ความส�ำคัญกับครูระดับประถมศึกษาเป็นอันดับแรก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญที่สุดของห่วงโซ่ การศึกษา หากเรามีครูดีเป็นแบบอย่างที่ดี เชื่อว่าอนาคตของประเทศย่อมต้องดีไปด้วย จึงเป็นที่มาของ “โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน” นอกจากนี้ยังมีโครงการเพื่อสังคมด้านการศึกษาอีกมากมาย

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

15


ปัจจุบัน BJC มีเครือข่ายครูไทยทั่วประเทศที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการตอบแทนคุณของแผ่นดิน ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท ปลูกฝังและบ่มเพาะความดีให้งอกงามบนแผ่นดินไทย ด้วยการสร้างคนคุณภาพ เพือ่ เป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้ยงั่ ยืนและแข็งแรง เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศลและด�ำเนิน ตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ในหัวใจคนไทยทุกคน

“ยกย่อง เชิดชูด้วยใจ แด่ครูผู้ให้ของแผ่นดิน” ติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ facebook “บีเจซีครูไทยของแผ่นดิน”

16

14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 1 การศึกษาที่แท้จริง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

17


18

14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

19


เด็กๆ ที่รักทั้งหลาย ฉันดี ใจมากที่ ได้พบพวกเธอวันนี้ ได้พบกับวัยเยาว์อัน แสนสุขในดินแดนแห่งแสงสว่างและโชคแห่งนี้ โปรดจ�ำใส่ใจไว้เสมอว่าสิ่ง มหัศจรรย์ท้ังหลายที่พวกเธอได้เรียนรู้ในโรงเรียนคือผลแห่งการท�ำงานของคน รุ่นแล้วรุ่นเล่า เป็นผลผลิตจากผู้คนที่มีความพยายามอย่างกระตือรือร้น ผล ของการลงทุนลงแรงอย่างไม่มีสิ้นสุดจากผู้คนจากทุกประเทศทั่วโลก ทั้งหมด เป็นมรดกที่ถูกน�ำมาวางไว้ ในมือของพวกเธอ เพื่อที่พวกเธอจะได้รับมันไว้ รู้สึกได้รับเกียรติจากมรดกนั้น และเพิ่มเติมคุณค่าของพวกเธอเองลงไปใน มรดกนั้นด้วย จนวันหนึ่งด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าพวกเธอก็จะเป็นผู้ส่ง มอบมรดกนี้ให้กับลูกหลานของพวกเธอต่อไป แล้วเราจึงจากโลกนี้ไปหลังจาก ประสบความส�ำเร็จในการเป็นอมตะอยู่ในสิ่งต่างๆ อันคงทนถาวรที่เราได้ สร้างไว้ร่วมกัน ถ้าพวกเธอตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้อยู่ในใจเสมอ พวกเธอจะพบ ความหมายที่แท้จริงของชีวิตและการงาน จนเกิดเป็นทัศนคติที่ถูกต้องต่อ ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ หรือต่อยุคสมัยใดก็ตาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เมื่อปี 1934

20

14 แรงบันดาลใจ


การศึกษาและสังคม จากค�ำกล่าวของไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก ผู้ได้ชื่อว่าไม่เคยหยุด เรียนรู้เลยตลอดชีวิตของเขา ค�ำกล่าวที่เขาได้กล่าวกับนักเรียนในวันนั้น ได้เผยให้เห็นถึงมุมมองอันกว้างขวางที่เขามีต่อการศึกษา เขากล่าวถึง การศึกษาในฐานะที่เป็นมรดกแห่งมนุษยชาติ การศึกษาที่เกี่ยวกับข้องกับ มนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลและเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างแยกไม่ออก มนุษย์ เพื่อให้การศึกษามนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลที่มีอิสระ เพื่อให้มนุษย์ เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เพื่อที่จะ สามารถตัดสินใจได้วา่ อะไรคือความจริงแห่งชีวติ ของแต่ละคน เพือ่ เป็นมนุษย์ ที่มีคุณภาพและมีความสุข สังคม เพื่อให้การศึกษาบุคคลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะ โดยแท้จริงแล้วความรูท้ กุ อย่างทีเ่ รามี เสือ้ ผ้า หรืออาหาร ผลิตขึน้ จากคนอืน่ ๆ ในสังคมทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกคนเป็นหนี้บุญคุณสังคมและมีความรับผิดชอบที่จะ ต้องมอบบางอย่างคืนสู่สังคม ดังค�ำกล่าวที่ว่า “ทุกคนควรเป็นผู้ให้มากเท่าๆ กับที่เคยเป็นผู้ได้รับ”

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

21


Teaching Learning Education การสอน : การเรียนรู้ : การศึกษา

22

14 แรงบันดาลใจ


อัลเบิร์ต ฮับบาร์ด นักคิดและนักเขียนชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า

ก็คือ นักเรียนรู้”

“ครูต่างหากคือผู้ที่รับบทเรียนมากที่สุด และครูที่แท้จริง

ค�ำกล่าวนี้สะท้อนถึงความหมายอันแท้จริงของความเป็นครู ครู ไม่ใช่เป็นเพียงผู้สอนหรือให้ ความรู้กับผู้อื่น แต่ในขณะเดียวกันครูก�ำลังเรียนรู้จากทุกประสบการณ์ที่ได้รับในชีวิต เพื่อที่จะ พัฒนาชีวิตของตนเอง ทั้งในฐานะครูและในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง การศึกษาที่แท้จริงมุ่งพัฒนามนุษย์ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยไม่ได้หมายถึงเฉพาะการพัฒนา เด็ก แต่การศึกษาที่แท้จริงคือกระบวนการเรียนรู้ ระหว่างทางที่ครูก�ำลังพาเด็กๆ ไปสู่เป้าหมาย ที่ครูคาดหวังให้เด็กเป็น ครูเองก็เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกยุค ศตวรรษที่ 21 ที่มีโฉมหน้าการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์ที่เน้นเรียนวิชาเพื่อให้ ได้ความรู้ จะต้องเลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่ส�ำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ ย�้ำว่าการ เรียนรูย้ คุ ใหม่ตอ้ งเรียนให้เกิดทักษะเพือ่ การด�ำรงชีวติ ในศตวรรษที่ 21 หน้าทีข่ อง ครูเพือ่ ศิษย์จงึ ต้องเปลีย่ นจากเน้น ‘สอน’ หรือสัง่ สอน ไปสูก่ ารท�ำหน้าทีจ่ ดุ ประกาย ความสนใจใฝ่รู้ (Inspire) แก่ศิษ ย์ ให้ศิษ ย์ ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการด�ำรงชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 นี้จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้ในหนังสือ “วิถสี ร้างการเรียนรูเ้ พือ่ ศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21” ที่สะท้อนการศึกษายุคใหม่ว่าควรเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

23


ครูคือผู้ชี้แนวทาง เมื่อกว่าสองพันปีที่แล้ว เพลโต นักปรัชญาชาวกรีก ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง 427 - 347 ปีก่อนคริสตกาล ได้กล่าวไว้

อับอาย “โปรดอย่าได้ฝึกให้เด็กเรียนรู้โดยการบีบบังคับหรือท�ำให้ ู้อยากเห็นที่มีอยู่ในใจ แต่ให้แนวทางพวกเขาได้เรียนรู้โดยกระตุ้นความอยากร พิเศษ ของพวกเขา ด้วยแนวทางนี้จึงจะค้นพบอัจฉริยภาพอัน ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์แต่ละคนได้ดีกว่า”

การศึกษาที่แท้จริงควรเป็นเรื่องที่สนุก ไม่ใช่การบังคับ เด็กทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเองที่ แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งต้องการความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย การได้รับการยอมรับ การดูแลเอาใจใส่ และการกระตุ้น ด้วยบรรยากาศเช่นนี้จะช่วยให้เด็กสามารถเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ ทั้งทางอารมณ์ สติปัญญา ร่างกาย และสังคม ครูมีหน้าที่ช่วยเหลือโดยการเตรียมสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย รู้สึกถึง การได้รบั การสนับสนุน มีความรูส้ กึ มัน่ ใจทีจ่ ะแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาในห้องเรียน และ สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เด็กๆ ได้ร่วมแบ่งปันความคิดของพวกเขา โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมเช่นนั้นได้ 1) ครูแสดงบทบาทผู้ชี้แนะแนวทาง ครูที่แท้จริงควรท�ำหน้าที่แสดงให้เห็นว่าในประเด็นต่างๆ จะมีวิธีคิดต่อเรื่องนั้นๆ อย่างไรได้บ้าง ไม่ใช่บอกนักเรียนว่าต้องคิดอะไร 2) ครูเปิดโอกาสให้ธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กได้น�ำทางเด็กๆ ไปสู่การเรียนรู้ 24

14 แรงบันดาลใจ


3) สนับสนุนให้เด็กรูส้ กึ เคารพตนเองและเคารพทุกคน ครูทแี่ ท้จริงต้องช่วยให้เด็กรูส้ กึ ถึงสิทธิ และเสรีภาพในชีวิตของตนเอง ไม่ใช่การพึ่งพาอาศัยคนอื่น เมื่อบทบาทของครูคือการน�ำทาง ช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากกว่าที่จะท�ำตัวเป็น แหล่งข้อมูลเสียเอง เตรียมการให้นักเรียนสามารถค้นหาความรู้เพื่อตอบค�ำถามต่างๆ ภายในใจ ของตัวเองได้ ช่วยให้นกั เรียนสามารถสัง่ สมองค์ความรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง เด็กๆ จ�ำเป็นต้องได้รบั โอกาส ในการค้นคว้าด้วยตนเองและฝึกทักษะต่างๆ ในสถานการณ์จริง ได้ท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัย การลงมือท�ำด้วยตนเอง ให้เวลาและพื้นที่แก่เด็กๆ ได้สร้างบทเรียน สร้างสรรค์โอกาสในการค้นหา และสั่งสมองค์ความรู้ขึ้นมาภายในตัวตนของพวกเขา แนวคิดของการศึกษาสมัยใหม่เสนอให้มองนักเรียนในฐานะมนุษย์ท่ีมีความเท่าเทียมกับครู มิใช่ ในฐานะนักเรียนที่มารับความรู้หรือรับการสั่งสอนจากครูเท่านั้น ด้วยแนวคิดนี้ท�ำให้นักเรียนได้มี โอกาสค้นหาและเรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ทีพ่ วกเขาเห็นว่ามีคณ ุ ค่าและมีความหมายต่อชีวติ ของตนเอง รวม ถึงเรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและตามความสนใจ การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ ดึงดูด ให้นักเรียนรู้สึกสนใจอยู่เสมอ “การมีส่วนร่วม” เป็นอีกทางหนึ่งที่ส�ำคัญซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในแนวทางที่ตรงกับความ สนใจของเด็ก โดยเฉพาะการชวนเด็กพูดคุยเกี่ยวกับบทเรียนที่ก�ำลังเรียน ให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ เด็กๆ ได้มีความคิดเห็น ร่วมกันสร้างเป้าหมายให้เด็กๆ แสดงศักยภาพ และมีพลัง หลายครั้งการ มีสว่ นร่วมท�ำให้เกิดกิจกรรมทีน่ า่ สนใจส�ำหรับเด็กอย่างทีค่ รูอาจจะจินตนาการไปไม่ถงึ และเมือ่ เด็ก มีส่วนร่วมในการก�ำหนดเกี่ยวกับหลักสูตรหรือวิธีการเรียนรู้ นี่จะเป็นแรงจูงใจให้เด็กท�ำการบ้าน หรือท�ำงานอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ตั้งแต่แรก

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

25


การเรียนรู้สู่การเคารพตัวเอง ผู้อื่น และสภาวะแวดล้อม การเรียนรู้ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือท�ำอย่างไรให้เด็กสามารถอาศัยอยู่ในโลก ที่หมุนเร็วได้อย่างมีความมั่นคงทางจิตใจ ครูสามารถช่วยเด็กพัฒนาความรู้สึกอันลึกซึ้งในการรักตัวเองเคารพตัวเอง รักและเคารพผู้อื่น รวมถึงเคารพในสภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้ที่ก�ำลังเกิดการแบ่งปันความคิดกันอย่างเปิดกว้าง ซึ่งทั้งหมดนี้จะน�ำไปสู่การมีวินัยในตนเอง เมื่อเสียงของนักเรียนแต่ละคนได้รับการรับฟัง สภาวะ แวดล้อมทั้งหมดท�ำให้เด็กรู้สึกเป็นอิสระที่จะแสดงตัวตนออกมา บทเรียนที่เด็กได้เรียนรู้จะปรากฏ ออกมาให้ครูเห็นเมื่อพวกเขารู้สึกปลอดภัยและมั่นใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองถูกคาดหวัง เด็กจะไม่รู้สึก กลัวความคาดหวังจากครูอีกต่อไป หากมีการก�ำหนดกติกาที่ยุติธรรมและสม�่ำเสมอในทุกกิจกรรม การเรียนรู้ นักเรียนจะแสดงความเคารพต่อช่วงเวลา ณ ขณะนั้นที่ก�ำลังท�ำสิ่งต่างๆ เกิดการเรียน รู้ที่จะเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น รวมถึงเคารพในเวลา สถานที่ และสภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้ ที่ก�ำลังเกิดขึ้น ครูทเี่ ข้าถึงความเป็นครูสามารถเปิดโอกาสให้เด็กเกิดการเรียนรูแ้ ละเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ปลูกส�ำนึก ความรักในการเรียนรู้ให้เติบโตงอกงามภายในใจของเด็กให้ดำ� รงอยู่ได้ ทางหนึ่งก็คือครูอาจหล่อ เลี้ยงความปรารถนาในการเรียนรู้ในใจของเด็ก ด้วยการถ่ายทอดให้เด็กๆ ได้รับรู้ถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความสนใจเรียนรู้ที่ตัวครูเองก็มีไม่น้อยไปกว่าเด็กๆ ท�ำให้เด็กๆ รู้สึกว่าต่างก็มีเป้าหมาย เดียวกัน เป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เพราะต่างมีกันและกันเป็นหมุดหมาย ครูต้องมีความกระตือรือร้น แสดงออกถึงความสนใจอย่างจริงใจทุกครั้งในสิ่งต่างๆ ที่เด็กท�ำด้วย ความตั้งใจ มีความอดทน และเสียสละ อุทิศตน เพื่อเฝ้ารอเมล็ดพันธุ์น้อยๆ นี้ผ่านกระบวนการ แห่งการเติบโต 26

14 แรงบันดาลใจ


รักเด็กอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา ยกย่องชื่นชมนักเรียน อยู่เสมอ เห็นคุณค่าของเด็กทุกคน ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ครูอภิชาติ ประทุมนันท์ ครูศิลปะ กล่าวถึงหลักการที่เขาใช้เพื่อให้เด็กรู้สึกรัก การเรียนรู้ ซึง่ ทัง้ หมดมาจากความรักทีม่ ีให้กบั เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทัง้ เด็กที่ดี เด็กเรียบร้อย หรือแม้กระทั่งเด็กที่มีปัญหา ปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่ มักกล่าวถึงประสบการณ์ทคี่ รูได้เรียนรูจ้ ากการได้มปี ฏิสมั พันธ์กบั เด็ก ประสบการณ์ ทีค่ รูได้พบกับเด็กคือประสบการณ์อนั มีคา่ ทีส่ อนให้กลายเป็นครูทดี่ ขี นึ้ เด็กแต่ละคน คือบทเรียนอันแสนพิเศษของครู อาจมีทั้งบทเรียนที่ง่ายและบทเรียนที่ไม่ง่าย แต่หากครูเรียนรู้จากเด็กทุกคนได้ ครูจะเป็นครูที่ไม่มีวันหยุดพัฒนาตนเอง

ครู อ ภิ ช าติ ประทุ ม นั น ท์ ครูศิลปะ โรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี

ความรักตนเอง มีวินัย และความส�ำเร็จ การแสดงให้เด็กเห็นความงามทัง้ หลายทีม่ อี ยูภ่ ายในตัวของเด็ก ช่วยให้เด็กๆ รูส้ กึ ถึงความภาคภูมิใจ ในตนเอง ภายในห้องเรียนที่มีบรรยากาศของการเอาใจใส่ ปลอดภัย และยุติธรรม ด้วยบรรยากาศ แบบนีเ้ ด็กจึงจะสามารถเติบโตและงอกงามได้ การรักตนเองและเห็นความดีงามภายในตัวเองช่วย ให้เด็กๆ เป็นสมาชิกของห้องเรียนที่มีความรับผิดชอบ ครูสามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่น การประชุม การสร้างวินัยเชิงบวก การใช้หลักการประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงและมีส่วนร่วม เพื่อแสดงให้เด็กๆ เห็นว่าเขาสามารถรับผิดชอบต่อตนเอง เท่ากับความรับผิดชอบต่อการเรียนรูใ้ นห้องเรียนได้อย่างไร นีค่ อื การให้เครือ่ งมือเพือ่ ปูทางสูค่ วาม ส�ำเร็จในชีวิตให้กับเด็ก ซึ่งเครื่องมือที่ส�ำคัญที่สุดที่ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จคือ ความเชื่อมั่นใน ตนเอง และความรักตนเอง ดังเช่น ครูสุภัทรา ศรีระวัตร โรงเรียนอนุบาลแพร่ จังหวัดแพร่ ด้วย ความมุ่งมั่นอยากเป็นครูชาวดอย เมื่อเรียนจบจึงเลือกบรรจุที่โรงเรียนสังวาลย์ สพป. แม่ฮ่องสอน ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

27


ได้สอนเด็กนักเรียนชาวเขาเผ่าต่างๆ ในวิชาพละศึกษาที่ถนัด สามารถพาเด็กชาวเขาไปแข่งขัน วอลเลย์บอลจนได้รับรางวัลระดับจังหวัด ครูสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ท�ำให้เด็กๆ เชื่อ มั่นว่าพวกเขาสามารถท�ำได้ขณะที่มีการฝึกซ้อมวอลเลย์บอล อุปสรรคในตอนแรกทีเ่ ริม่ สอนเด็กชาวเขาคือ ภาษาทีแ่ ตกต่างกันจนบางครัง้ ั หาโดยใช้การเล่านิทานจากหนังสือพร้อมภาพ ครู ส ุ ภ ั ท รา ศรี ร ะวั ต ร สือ่ สารกันค่อนข้างล�ำบาก แก้ปญ โรงเรียนอนุบาลแพร่ ประกอบให้เด็กๆ รูจ้ กั การออกเสียงและเข้าใจภาษามากขึน้ อีกอุปสรรคหนึง่ คือ จังหวัดแพร่ เด็กส่วนใหญ่มฐี านะยากจน ครูตอ้ งหาทุนมาดูแลเด็กๆ ด้วยตัวเอง ให้เด็กสามารถ มาเรียนได้ มีปัญหาหลายเรื่องที่ต้องแก้ไข แต่ครูก็ไม่เคยย่อท้อ มองหน้าเด็กๆ แล้วเราท้อไม่ได้เลย ครูสุภัทราทุ่มเทเอาใจใส่ต่อเด็กๆ ที่โรงเรียนแห่งนั้นถึง 15 ปี จนในที่สุดคุณพ่อ ล้มป่วย ครูจงึ ขอย้ายกลับมายังจังหวัดบ้านเกิดเพือ่ ดูแลคุณพ่อ และได้มาบรรจุ ที่โรงเรียนอนุบาลแพร่จนถึงปัจจุบัน

เด็กทุกคนมีศักยภาพพิเศษอยู่ภายใน เด็กแต่ละคนมีศักยภาพอยู่ภายใน ศักยภาพที่จะท�ำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างและพิเศษให้กับ โลกใบนี้ได้ ครูควรช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพนัน้ โดยเชือ่ มัน่ ในตัวเด็กว่า เด็กทุกคนมีความสามารถ ครูคือผู้ช่วยให้พวกเขาค้นพบว่าตัวตนที่แท้จริงของเขาเองคือใคร ช่วยให้เด็กสามารถแสดงความ คิดเห็นออกมาได้ และหล่อเลี้ยงให้ความคิดเห็นนั้นหลอมรวมกลายเป็นแนวคิดดีๆ ที่มีประโยชน์ ต่อตัวเด็กเอง ถ้าครูมีจินตนาการถึงโลกที่ผู้คนมีความเคารพกัน ยอมรับกัน และโอบกอดความ แตกต่างระหว่างกัน นัน่ จะท�ำให้ครูสามารถช่วยออกแบบพัฒนาศักยภาพและปลูกฝังความคิดทีน่ ำ� ไปสู่จินตนาการนั้นให้เป็นจริงได้ในที่สุด 28

14 แรงบันดาลใจ


เชื่อในศักยภาพของเด็กทุกคน เข้าใจพัฒนาการของเด็กตามวัย เข้าใจ ความแตกต่างหลากหลาย ให้ความรัก ความห่วงใย ความอบอุ่น เติมเต็มสิ่งที่ เด็กขาด ให้ความส�ำคัญกับความรู้สึกของเด็ก รับฟัง ให้การยอมรับ ให้ความ ส�ำคัญกับความคิดของเด็ก กระตุ้นให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ พัฒนาวิธีการ กิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลาย

ครู จ ารุ ณ ี สุ ท ธิ ส วรรค์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จังหวัดเชียงใหม่

วิธีคิดของครูจารุณี สุทธิสวรรค์ ครูศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ผู้มีวิธีคิดที่เชื่อมั่น ในตัวเด็ก น�ำไปสู่วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน โอบกอดความ หลากหลายของเด็กไว้ในโลกแห่งการเรียนรู้ที่อบอุ่น

จากห้องเรียนสู่ชุมชน ห้องเรียนคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายให้เด็กแต่ละคนเป็นนักเรียนรู้ รู้สึกถึงความสามารถของตนเอง มีความเชื่อมั่น ว่าตนเองสามารถประสบความส�ำเร็จในการเรียนรู้ได้ ครูที่แท้จริงจะท�ำให้เด็กรู้สึกว่าการเรียนรู้นั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาได้อย่างไร อาจจะด้วยการคิดแก่นของเรื่อง(Theme) การเชื่อมโยง บทเรียนต่างๆ การท�ำโครงงาน(Project) การท�ำงานกลุ่ม การท�ำงานเดี่ยว การท�ำกิจกรรมต่างๆ เพื่อท�ำให้เด็กเป็นนักเรียนรู้ที่ตื่นตัวแอ็กทีฟอยู่เสมอ ซึ่งในที่สุดจะท�ำให้เด็กสามารถเชื่อมโยงการ เรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่นอกห้องเรียน ไปสู่ชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ เพื่อช่วยให้เด็กๆ กลายเป็น สมาชิกของสังคมที่มีความเอาใจใส่และตื่นตัวอยู่เสมอ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

29


ศ.นพ.วิ จ ารณ์ พานิ ช

ต้องเปลีย่ นจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน ไปเป็นเน้นทีก่ ารเรียน (ทัง้ ศิษย์ และตนเอง) ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก ‘ครูสอน’ (Teacher) ไปเป็น ‘ครูฝึก’ (Coach) หรือ ‘ผู้อ�ำนวยความสะดวกในการเรียนรู้’ (Learning Facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท�ำหน้าที่นี้ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) ซึ่งเรียกในภาคไทยว่า ชร. คศ. (ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้ในหนังสือ “วิถสี ร้างการเรียนรูเ้ พือ่ ศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21” กล่าวถึงวิธกี ารพัฒนาตนเองด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรูร้ ว่ มกันของครู เพือ่ แบ่งปันความรูร้ ะหว่างครู เป็นชุมชนแห่งการเรียนรูท้ เี่ กือ้ กูลกันของครูไทย

การสอน คือ การเรียนรู้เพื่อชีวิตที่เบิกบาน มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาเพือ่ ท�ำงานอย่างเดียว แต่ตอ้ งมีความสนุกสนานใน ชีวิตด้วย การที่คนมีปัญญามากขึ้น สอนลูกในวันข้างหน้าได้ ไม่ใช่เพื่อเป็น ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าไปผลิตในโรงงานเท่านั้น แต่การศึกษาช่วยเติมเต็ม นักคิด นักเขียน นักวิจารณ์ ความสนุกสนานในชีวติ ของมนุษย์ได้ บ่อยครัง้ ทีเ่ รามองการศึกษาแล้วลืมจุดนี้ การศึกษาต้องให้โอกาสคนพัฒนา และต้องพัฒนาบุคลิก (Character) ของคนด้วย ให้มคี วามสามารถในการรักษาจริยธรรมของตนเอง สามารถสร้างสรรค์สงิ่ ต่างๆ ได้มากกว่าท�ำลาย มีความมั่นคงในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ กล้าหาญยืนหยัดต่อสู้เพื่อ ความเชื่อของตัวเอง และมีบุคลิกที่เอื้อต่อคนอื่นในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ต่อสังคม สิ่งเหล่านี้คือความหมายของค�ำว่า Character ในภาษาอังกฤษ 30

14 แรงบันดาลใจ


ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ นักคิด นักเขียน นักวิจารณ์ กล่าวถึงการศึกษาในแง่มมุ ของการพัฒนาให้คน มีความสุขและมีความเป็นตัวของตัวเองไว้ในบทความ “วรากรณ์ สามโกเศศ เล่าวิถนี กั คิด นักอ่าน นักเขียน และนักการศึกษาแบบไทยๆ” ทีเ่ ผยแพร่ทางเว็บไซต์ไทยพับลิกา (“http://thaipublica.org/) โดยได้กล่าวถึงการศึกษาอย่างมีความสุขนั้นดีต่อการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในทุกด้าน การปล่อยให้เด็กได้หัวเราะบ้าง เตือนให้ครูระลึกถึงสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น การสอนคือกระบวนการ เรียนรูต้ ลอดชีวติ เรียนรูเ้ กีย่ วกับแนวความคิดและปรัชญาใหม่ๆ รวมถึงเรียนรูก้ ลยุทธ์ใหม่ๆ ในการ สอน เรียนรู้ที่จะมีความสุขสนุกสนานจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับจากนักเรียน เรียนรู้จากพ่อแม่ ของเด็กนักเรียน เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน เรียนรู้จากชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือ เรียนรู้จากเด็ก เด็กสอนให้ครูเปิดหัวใจเพื่อรับความเบิกบาน เสียงหัวเราะและรอยยิ้มของเด็กคือ ของขวัญส�ำหรับครู การสอนเป็นไปเพือ่ ให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ เพือ่ การด�ำเนินชีวติ อย่างมีความสุข ซึง่ เป็นทักษะส�ำคัญ ที่ครูก็ต้องพัฒนาไปพร้อมกับเด็กด้วยเช่นกัน ทักษะในกระบวนการแสวงหาความรู้ ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารและในโลกแห่งความรู้ การแสวงหา ความรู้เพื่อตอบสนองชีวิตในแง่มุมต่างๆ คือทักษะที่ส�ำคัญ ทักษะในการคิด ทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดใคร่ครวญ และสังเคราะห์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร ออกมาเป็นความคิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทักษะในการออกแบบชีวิต สามารถใช้ความรู้และความคิดที่มีเพื่อตัดสินใจต่อเรื่องต่างๆ ในชีวิต และด�ำเนินชีวิตได้ในแบบที่ตัวเองพอใจ มีความสุข และมีจิตใจที่สดใสเบิกบาน ราวกับมีเด็กน้อย ผู้มีความสุขอยู่ภายในตัวเองเสมอ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

31


ครูแบบไหนที่เราอยากจะเป็น... The real teacher is the one who shows you the way, but lets you walk it on your own in your own way. ครูทเี่ ข้าใจโลกแห่งความจริง จะช่วย ให้ศิษย์มองเห็นทาง แต่ปล่อยให้ เขาเดินไปตามเส้นทางนั้นด้วยตัว เอง ในวิถีทางของเขาเอง

The wise teacher is the door, but does the one who shows you about what is behinnot tell you what to think d them.

ครูผู้ที่สอนให้ศิษย์ฉ ประตูเท่านั้น แต่ไม่บลาด จะเพียงชี้ให้ศิษย์มองเห็น หลังประตูบานนั้น อกว่าท�ำอย่างไรกับสิ่งที่อยู่ข้าง

one who The true teacher adis ,thnoet to follow. teaches you to le ิษย์เป็นผู้นำ� ครูผู้เที่ยงธรรม สอนให้ศ ไม่ใช่ให้เป็นผู้ตาม

The compassionate teacher is the one who teaches all by an example, not just his students. ครูเปีย่ มด้วยความกรุณา คือ ครูสอนเด็กทุกคนด้วยการกระท�ำ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง ไม่ใช่สอนเฉพาะศิษย์ตนเองเท่านั้น

The genuine teacher is the one who knows whe n to te you to leave your teac ll her. ครูผู้ถ่องแท้ ย่อมรู้ด ศิษย์มีความพร้อมที่จีวะอ่าเมื่อไร อกไป เผชิญโลกภายนอก

32

14 แรงบันดาลใจ

The awakened teacher is the one who is also the student. ครูผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง คือ ผู ้ ที่ ยั ง ต้ อ งศึ ก ษาเรี ย นรู ้ อ ยู ่ เสมอ

The courageous teac is th e one who dares to expand beyohendr his teachings.

ครูที่มีจิตใจกล้าหาญ ย่อมกล้า ของตนเอง ให้ก้าวล�้ำไปไกลกว่ท้าทายบทบาท าวิธีการสอน

The best teacher is the one who brings out the teacher in you, so that you may become REAL, WISE, TRUE, GENUINE, COMPASSIONATE and COURAGEOUS. ดังนั้น ครูที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่สามารถน�ำศักยภาพความเป็นครูที่มีอยู่ใน ตัวเองออกมา เพื่อว่าตัวเองจะเป็นครูที่เข้าใจโลกแห่งความจริง ครูผู้ ที่สอนให้ศิษย์ฉลาด ครูผู้เที่ยงธรรม ครูผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ครูผู้ ถ่องแท้ ครูผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา และครูที่มีจิตใจกล้าหาญ


คบไฟทางปัญญา แสงสว่างแห่งชีวิต การศึกษาไม่ใช่การเตรียมพร้อมให้กบั ชีวติ แต่การศึกษาคือชีวติ ความแตกต่างระหว่างชีวติ จริงกับ โรงเรียนคืออะไร ในโรงเรียนมีการสอนบทเรียนแล้วจึงมีการทดสอบ แต่ในชีวิตมักจะมีบททดสอบ เข้ามาก่อนเพือ่ ให้มนุษย์ได้รับบทเรียน การศึกษาที่แท้จริงจึงอาจหมายถึงการเตรียมชีวิตให้พร้อม ส�ำหรับบททดสอบอยู่เสมอ พร้อมทั้งเรียนรู้จากบททดสอบต่างๆ ตลอดชีวิต ความหมายที่แท้จริงของการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต การศึกษาจึงเป็นทั้ง เป้าหมายและกระบวนการ การศึกษามีขนึ้ เพือ่ มอบเครือ่ งมือในการใช้ชวี ติ ให้กบั มนุษย์ จนสามารถ มีทกั ษะในการออกแบบชีวติ ของตนเองได้ ในวันคืนทีอ่ าจมืดมิดทีส่ ดุ ผูไ้ ด้รบั การศึกษาควรสามารถ ใช้ความรู้และทักษะทุกสิ่งที่มีในชีวิต ซึ่งเป็นดั่งเล่มเทียนที่ซ่อนอยู่ภายใน ใช้ส่องแสงสว่างค้นหา หนทางออกจากความมืด เป้าหมายของการศึกษาคื ษา อ การมอบเทียนเล่มน้อยที่จุดไฟแห่งปัญญาขึ้นภายในตัวของมนุษย์ เมื่อแต่ละคนพบปัญหาสามารถดึงเอาเทียนเล่มน้อยที่ซ่อนอยู่ขึ้นมาจุดคบไฟทางปัญญา แสวงหา ทางออกจากปัญหา สามารถคิดหาทางออก และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ ไม่รู้สึกว่าชีวิตนั้น โดดเดี่ยว ไร้หลักยึดเกาะ และมืดมนจนเกินไปนัก นีค่ อื เรือ่ งราวของครูเสาวรส นววิธไพสิฐ ครูสงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กับเด็กชายภาณุเดช เพราะในวันที่อาจหม่นหมองมืดมนที่สุดในชีวิตของเด็กคนหนึ่ง ครูเป็นดั่งแสงสว่างเล็กๆ ที่ช่วยให้ จิตใจของเด็กน้อยสว่างสดใสเต็มไปด้วยรอยยิ้มขึ้นมาได้อีกครั้ง เรื่องราวที่เป็นดั่งโศกนาฏกรรม แห่งชีวิตที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่เสมอในสังคมไทย สะท้อนถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูที่แท้จริงที่ ไม่เคยยอมพ่ายแพ้ต่อสิ่งใด

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

33


ครู เ สาวรส นววิ ธ ไพสิ ฐ โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา กรุงเทพมหานคร

ครูมีความสุขที่ได้ท�ำเพื่อลูกศิษย์ หรือลูกศิษย์ของเราประสบความส�ำเร็จ ในสิ่งที่เรามุ่งหมายให้เขาเป็น ดิฉันเป็นคุณครูประจ�ำชั้น ป.4 พอวันเวรจะพา นักเรียนไปเดินเยี่ยมชมโรงเรียน ชี้ชวนให้เด็กรู้จักต้นไม้ ถามว่าที่ใต้ต้นไม้มี อะไรที่ไม่เกี่ยวกับต้นไม้บ้าง เด็กก็ตอบว่ามีถว้ ยน�ำ้ บ้าง ถุงพลาสติกบ้าง เราก็ ชวนเด็กๆ ช่วยกันเก็บขยะ มีเด็กชัน้ ป.1 ตัวเล็กเหมือนเด็กอนุบาลเดินมาถาม ว่า ‘ครูทำ� อะไร’ เราบอกว่า ‘ครูชวนพีๆ่ เขามาเก็บเพชรเก็บพลอย’ เขาบอก ‘ไม่ เห็นจะมีเลย’ เราก็บอกว่า ขยะนี่แหละเป็นเพชรพลอย ถ้าอนาคตหนูอยากรวย หนูกเ็ ก็บขยะ เขาก็เก็บบ้าง เป็นอย่างนีท้ ุกอาทิตย์ ครูเลยไปประกาศชื่นชมเขา ทีห่ น้าเสาธง ตัง้ แต่นนั้ เขาจะไปคอยครูทสี่ ะพานลอยหน้าโรงเรียน บอกว่า ‘หนู อยากมาโรงเรียนพร้อมครู’ เป็นอย่างนีท้ กุ วันจนถูกล้อว่าเขาเป็นลูกครูเสาวรส ต่อมาเขาก็ไม่มาโรงเรียน เราไปถามเด็กนักเรียนว่าบ้านภาณุเดชอยูท่ ี่ไหน จนรู้ ว่าเขาอยูแ่ ถวกองขยะ กทม. ซึง่ กว้างใหญ่มาก ก็ให้นกั เรียนพาไป บ้านของภาณุเดช เป็นเพิงหมาแหงนท่ามกลางล็อกขยะที่คัดแล้ว พบเขานั่งจ๋องโดนละอองฝน เพราะชายคาไม่สามารถกันฝนได้ พอเรียกภาณุเดช เขาก็วิ่งโซซัดโซเซมา ครูถามว่าอยู่กับใคร เขาบอกว่าอยู่กับป้า ‘ท�ำไมไม่ไปโรงเรียน’ เขาตอบว่า ‘หนูไม่สบาย’ ความรูส้ กึ ตอนนัน้ คือ ดีที่ได้มาพบและรูส้ าเหตุทเี่ ขาไม่ไปโรงเรียน อยากจะบอกว่า ขณะที่เด็กๆ อยู่ภายใต้การชี้แนะก�ำหนดเรื่องต่างๆ จากเรา แต่อย่าคิดว่าเรามีอ�ำนาจเหนือเด็ก เวลาเด็กท�ำอะไรผิด อย่าเพิ่งตัดสินเขา ต้องรู้ให้ลึกถึงปัญหาของเขา ครูได้คุยกับป้าของเด็ก เขาเล่าว่า เด็กคนนี้ไม่ใช่ หลาน พ่อเด็กเป็นเอดส์เสียชีวิต แม่เอาเด็กมาจ้างเลี้ยงแล้วถูกรถชนตาย ซึ่งไม่รวู้ า่ เป็นอุบตั เิ หตุหรือฆ่าตัวตาย สรุปว่าเด็กไม่มญี าติพนี่ อ้ งทีไ่ หน เขาเลยจ�ำใจ เลี้ยงตามสภาพตามยถากรรม เราบอกเด็กว่าถ้าไปโรงเรียนไหวก็ไปนะ พอวันรุ่งขึ้นภาณุเดชก็ไปโรงเรียน ในสภาพที่ไม่มีเรี่ยวแรง เนื้อตัวมอมแมม ด้วยขี้ไคล ครูเลยจับเขาไปอาบน�้ำ อาบไปก็หัวเราะคิกคักจั๊กจี้ ดูมีความสุข

34

14 แรงบันดาลใจ


บอกว่าไม่เคยมีใครอาบน�้ำให้เขามาก่อน เราเองก็ไม่เคยอาบน�้ำให้เด็กคนอื่นที่ ไม่ใช่ลกู ตัวเอง รูส้ กึ สะเทือนใจ ขณะทีถ่ ขู ี้ไคลให้เขาเพราะตัวมีแต่หนังหุม้ กระดูก ใจเราอ่อนยวบ และพบว่าเขาเป็นงูสวัด เขาเจ็บ แต่ทา่ ทางเขามีความสุข ครูเอง ก็มคี วามสุข สุขที่ได้ท�ำ ก็เลยบอกเขาว่าให้มาหาครูทุกเช้า ครูจะหาอะไรให้กิน ท�ำได้สักสองสามอาทิตย์ ตอนนั้นในปากเขาเป็นเชื้อราแทบจะกินอะไรไม่ได้ แปลว่าโรคทีเ่ ขาเป็นมีอาการมากขึน้ ตอนนัน้ คิดทันทีวา่ เราคงท�ำแค่นี้ไม่ได้ เลย ติดต่อหมอไร้พรมแดนไปช่วยทีบ่ า้ น และด�ำเนินการขอทุนการศึกษาให้เขา เป็น ทุนใหญ่ ทุนแม่อุปถัมภ์ ค่อนข้างได้ยาก แต่ครูก็พยายามขอจนได้ สุดท้ายแม้ได้ทนุ มา...ก็สายไป ป้าของภาณุเดชมาบอกว่า ภาณุเดชตายแล้ว... เป็นความทรงจ�ำที่ยากจะลืมเลือนจริงๆ แม้วา่ ครูเสาวรสจะไม่สามารถช่วยภาณุเดชให้เดินข้ามผ่านพ้นจากขวากหนาม อันยากล�ำบากในชีวติ ได้ หนูนอ้ ยต้องจากไปก่อนวัยอันควร โดยทีค่ รูไม่สามารถ ยือ้ ดวงวิญญาณของหนูนอ้ ยให้อยูบ่ นโลกนีใ้ ห้ยาวนานกว่านัน้ แต่ครูกไ็ ม่เคยหมด ก�ำลังใจ ยังคงท�ำหน้าทีค่ รูทมี่ จี ติ วิญญาณของความเป็นครูอยูเ่ ต็มเปีย่ มเช่นเดิม ไม่เคยคิดจะมาเป็นครู แต่เมื่อเป็นแล้วก็ท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด นอกจากเป็น อาชีพสุจริต ได้ท�ำบุญด้วย รวมทั้งมีโอกาสเป็นผู้ที่สร้างพลเมืองที่ดีให้กับ ประเทศชาติ ขอเพียงครูใส่ใจ ไม่ใช่เพียงสอนให้เขารู้ตามตัวชี้วัด แต่เราใส่ใจ ลงไปถึงปัญหาพฤติกรรม ไม่ว่าใครจะมองเห็นหรือไม่ก็ตาม แต่ตัวเรารู้ว่าเรา ท�ำอะไร เพราะฉะนั้นครูจงท�ำหน้าที่ของเราจนสุดความสามารถ ครูเสาวรสสรุปบทเรียนที่เธอได้รับจากการได้พบกับเด็กชายภาณุเดช เด็กชาย ตัวน้อยผู้มีดวงวิญญาณอันใสสะอาด เด็กน้อยที่จะอยู่ในใจของครูไปตลอดกาล ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

35


การศึกษาที่แท้จริง & ครูที่แท้จริง การศึกษา เพื่อความเป็น “มนุษย์ที่มีคุณภาพและมีความสุข” การศึกษาคือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” การศึกษายุคใหม่ เน้นให้เกิด “ทักษะในการเรียนรู้” ครู จุดประกาย “ความสนใจใฝ่รู้” แก่ศิษย์ ครู สอนให้เด็กมีทักษะ “กระบวนการแสวงหาความรู้” ครู สอนให้เด็กมีทักษะ “การคิด” ครู สอนให้เด็กมีทักษะ “การออกแบบชีวิต” ครู จุดประกาย “คบไฟแห่งปัญญา” ขึ้นภายในตัวของมนุษย์

36

14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 2 แรงดลใจสู่บทบาท “ครู” ชีวิตที่สร้างสรรค์

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

37


38

14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

39


เพลงครูไทยของแผ่นดิน เรือล�ำหนึ่งยังรอคอย ส่งผู้คนข้ามฝั่ง แม้ว่าสายน�้ำเชี่ยวสักเพียงไหน เทียนเล่มหนึ่งยังทอแสงสว่างกลางใจ ส่องเส้นทางชีวาฝ่าความมืดมน *ครูเดินทางมาไกล หนักและเหนื่อยเพียงไหน มีพลังอดทน ไม่ท้อใจ ชูคบไฟปัญญา ไล่ความมืดมิดอวิชชา ด้วยศรัทธาและความรักอันยิ่งใหญ่ (ซ�้ำ *.*) คือ ครูผู้ส่งความรู้ คือ ครูผู้ทรงคุณธรรม ครูผู้ยิ่งใหญ่ในใจคน คือ ครูของแผ่นดิน ค�ำร้อง : ครูไวท์-ศักดิ์สิริ มีสมสืบ นักร้อง : ครูโอ๋-ชุติมา แก้วเนียม

40

14 แรงบันดาลใจ


จิตวิญญาณความเป็นครู แรงบันดาลใจส�ำคัญที่ก่อร่างสร้างจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูคือ การได้มองเห็นลูกศิษย์ตัวน้อย เดินไปสู่หนทางที่ใฝ่ฝัน ประสบความส�ำเร็จในชีวิต มีชีวิตที่ดี เป็นคนมีคุณภาพของสังคม เมื่อถามถึงเป้าหมายแห่งชีวิตครู ครูจ�ำนวนมากตอบตรงกันว่าคงไม่มีอะไรที่ชื่นใจมากไปกว่า การได้ส่งลูกศิษย์ตัวน้อยๆ ก้าวขึ้นฝั่งแห่งชีวิตอย่างมั่นคง ด้วยแรงปรารถนาภายในใจที่อยากเห็น ลูกศิษย์ ได้ดีหล่อหลอมมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตของครู ซึ่งจุดประกายความเมตตาในตัวครู ให้เป็นครูผู้เกื้อกูลศิษย์อย่างเต็มก�ำลังความสามารถ

ชีวิตอันสร้างสรรค์ ทุกองค์ประกอบในชีวติ ของครู ทัง้ ด้านลบและด้านบวก ไม่วา่ จะเป็นวัยเด็กอันยากล�ำบาก ค�ำดูหมิน่ ดูแคลนของสังคม ความขาดแคลนต่างๆ ของเด็กนักเรียนและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ครูได้ สัมผัสด้วยตนเอง ดูเหมือนจะเป็นด้านลบของชีวิตแต่กลับเป็นแรงผลักดันให้ครูแข็งแกร่งและ ไม่ย่อท้อ เพราะเคย ‘ขาดแคลน’ ท�ำให้ครูคว้าทุกโอกาสเพื่อเด็กของครู แสวงหาทุกโอกาสที่มี เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสในชีวิตเช่นเดียวกันทุกคน ส่วนด้านบวกของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรักที่มีต่อเด็ก ความรักความไว้วางใจที่ครูได้รับจากเด็ก สังคมที่เกื้อกูลครู หรือโอกาสต่างๆ ที่ครูเคยได้รับมาในชีวิต ท�ำให้ครูไทยของแผ่นดินใช้ชีวิตอย่าง สร้างสรรค์ ครูสร้างโอกาสให้กับตนเอง สร้างโอกาสให้กับเด็ก ครูคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ เพื่อเสริม การเรียนรู้ของเด็ก ครูลงแรงกายแรงใจหรือแม้แต่ก�ำลังทรัพย์ ครูไม่เคยหยุดพัฒนาตนเอง เพื่อให้ ครูสามารถสร้างสรรค์จากทุกสิ่งที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด ก้าวข้ามผ่านทุกข้อจ�ำกัดอันยากล�ำบาก เพื่อส่ง เด็กน้อยไปให้ถงึ ฝัง่ ฝันอย่างปลอดภัย ครูผมู้ แี รงดลใจจึงมีชวี ติ อันสร้างสรรค์ที่ไม่มวี นั อับจนหนทาง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

41


วัยเด็กของครู ประสบการณ์วัยเด็กอันยากล�ำบากกลับเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้หัวใจของครูอ่อนโยนมากที่สุด คนที่เคยล�ำบากมาก่อนย่อมเข้าใจและเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ง่ายกว่า เมื่อเข้าใจความ รู้สึกและความทุกข์ของเด็กอย่างแท้จริง ครูจึงรู้สึกอยากช่วยให้เด็กก้าวข้ามผ่านความทุกข์ต่างๆ ไปให้ได้ ดังเช่นประสบการณ์ในวัยเด็กของครูหลายคนที่ได้หล่อหลอมให้หัวใจของครูเต็มไปด้วย ความเอื้ออาทรต่อเด็กน้อย ครูเสาวรส นววิธไพสิฐ เล่าถึงประสบการณ์แสนเศร้าในวัยเด็กว่า

ครู เ สาวรส นววิ ธ ไพสิ ฐ โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา กรุงเทพมหานคร

ตอนเป็นเด็กถูกครูล้อหน้าเสาธง เพราะเป็นเด็กยากจนมาก เสื้อปะ รองเท้าขาด ใช้ถุงกระดาษเป็นกระเป๋า ถูกครูสอนวิชาประดิษฐ์ดุเพราะไม่มี เงินซื้ออุปกรณ์ เราไม่ประทับใจ และรู้ว่าไม่มีเด็กคนไหนอยากเจอครูแบบนี้ เราเอาตรงนี้มาเป็นแรงขับที่จะไม่ท�ำกับลูกศิษย์ แต่ตอนนั้นได้ค�ำพูดดีๆ จากครูบรรณารักษ์ห้องสมุด ครูให้ช่วยท�ำงาน รู้สึกดีใจที่มีคนเห็นคุณค่า เมื่อบรรจุเป็นครูสอนที่โรงเรียนกองขยะ ประทับใจตัวเด็กนักเรียน เพราะ เราเหมือนนางฟ้าของเด็ก พอบอกเด็กว่าจะไปอยู่โรงเรียนอื่น เด็กมากอด เอว บอกว่า ‘ครูไม่สอนหนูแล้วใครจะมาสอน’ เลยมีแรงบันดาลใจว่าจะอยู่ สอนจนเกษียณที่โรงเรียนนี้ ประสบการณ์ทเี่ คยได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างไม่เป็นธรรม ท�ำให้ครูหลายคนตัง้ ใจ ทีจ่ ะไม่ทอดทิง้ เด็กไว้เบือ้ งหลังแม้แต่คนเดียว ครูตงั้ ปณิธานไว้วา่ จะให้ความ เป็นธรรมกับเด็กทุกคน หากเกิดความผิดพลาดขึ้นกับเด็กเมื่อใด ครูมักจะ หันมาส�ำรวจตัวเองก่อนที่จะยกความผิดทั้งหมดไปลงที่เด็กอย่างไร้ความ เป็นธรรม

42

14 แรงบันดาลใจ


วัยเด็กทีเ่ คยสอบตก ครูมนัญญา ลาหาญ จึงเข้าใจหัวอกของเด็กทีเ่ รียนไม่ดี ตอนนี้เป็นครูซี 9 ภาษาไทย แต่เคยสอบตกภาษาไทยตอนเรียน ม. 1 เลยเข้าใจเด็กว่าท�ำไมสอบตก เพราะเด็กเรียนรู้ไม่เท่ากัน และถูกครูละเลย เมื่อสอบตกครูก็ตีทั้งๆ ที่ครูสอนไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นเมื่อมาเป็นครูจึงไม่ ละเลยเด็กแม้สักคนเดียว เห็นเด็กทุกคนมีคุณค่า เด็กจะต้องได้เรียนรู้ตาม ศักยภาพของตน ชอบท�ำสื่อเพื่อเสริมความเข้าใจ เพื่อท�ำเรื่องยากให้ง่าย ท�ำให้เด็กสนใจ เรียนอย่างมีความสุข เชื่อว่าเมื่อเด็กมีความพร้อม เด็กจะ เรียนรู้ได้ดี แรงบันดาลใจอีกเรื่องเป็นความจน เคยยากจน ล�ำบากมาก่อน เข้าใจความทุกข์ของคนจน จะบอกเด็กเสมอว่าใครมีปัญหาอะไรให้บอกครู เด็กจะได้รับการช่วยเหลือทุกอย่าง แม้แต่เรื่องอาหารการกิน

ครู ม นั ญ ญา ลาหาญ โรงเรียนบ้านนาผาง (วิบูลย์ราษฎร์สามัคคี) จังหวัดอำ�นาจเจริญ

เคยถูกครูดดุ า่ ดูถกู ด้วยความทีเ่ ป็นเด็กยากจน นัน่ ท�ำให้ ครูอภิชาติ ประทุมนันท์ ตั้งใจที่จะไม่ท�ำกับเด็กคนใดแบบนั้น แรงบันดาลใจที่ท�ำให้ช่วยเหลือเด็ก มาจากผมเองเกิดในครอบครัวที่ ยากจน พ่อแม่มีลูกหลายคน อยากเรียนต่อสูงๆ แต่ไม่มีโอกาส ผมจบ ปริญญาตรีอายุตงั้ 28 ปี ซึง่ ถือว่าอายุมากแล้ว อาศัยเป็นเด็กวัด แล้วท�ำงาน ไปด้วยเรียนไปด้วย พอมาเป็นครู เลยมองหาโอกาสให้กับเด็ก แรงบันดาล ใจของผมยังเกิดจากความรู้สึกด้านลบ ตอนเด็กๆ ผมเป็นเด็กบ้านนอกโดน ครูดา่ ว่า ‘ไอ้ควาย’ มันฝังใจ รูส้ กึ ถูกครูเหยียดหยาม รักเด็กไม่เท่ากัน เพราะ เราเป็นเด็กยากจน เราเป็นเด็กวัด เรียนไม่เก่ง เมื่อเป็นครู เราจึงตั้งใจที่จะ ไม่ท�ำไม่ด่าเด็กเหมือนที่ครูท�ำกับเรา และตั้งใจว่าจะทุ่มเทเพื่อเด็ก

ครู อ ภิ ช าติ ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

43


ผู้เคยได้รับย่อมเป็นผู้ให้ ครูหลายคนได้รบั โอกาสและความช่วยเหลือจากครูของตนเองในวัยเด็ก คงไม่มคี รูในวันนีถ้ า้ วัยเด็ก ครูไม่ได้รับโอกาสและความเมตตามาก่อน ครูยุวรี มนต์เนรมิตร ครู ย ุ ว รี มนต์ เ นรมิ ต ร โรงเรียนบ้านเนินตะบก จังหวัดตราด

อยากเป็นครูมาก ประทับใจครู ตอนเด็กครอบครัวยากจนมาก พ่อแม่ มีลูก 8 คน เราเรียนดีแต่พ่อแม่จะไม่ให้เรียน จนครูใหญ่ต้องไปขอให้เรียน เราก็รอ้ งไห้อยากเรียน สุดท้ายพ่อสงสารไปขอยืมเงินคนในหมูบ่ า้ น 78 บาท เอาไปซือ้ หนังสือเรียนมือสอง ต้องเก็บรองเท้าถุงเท้าทีค่ นเขาทิง้ มาใช้ สมุด ทีเ่ ขาทิง้ เอาแต่หน้าทีย่ งั ไม่ได้ใช้มาเย็บรวมเล่ม เอากระดาษปกปฏิทนิ มาท�ำ ปก เดินไปโรงเรียนซึ่งอยู่ไกลมาก 20 กว่ากิโล ที่เรียนมาเพราะได้ทุน การศึกษาเป็นส่วนมาก เขียนเรียงความเรื่องอยากเป็นครู ได้รางวัลมา 300-400 บาท เอามาใช้เล่าเรียนวิทยาลัยครูจนั ทบุรี ต่อมาเขียนเรียงความ อีก เล่าเรือ่ งตัวเอง มีอาจารย์ทา่ นหนึง่ สงสาร เอาไปอยูด่ ว้ ย ช่วยให้ได้เรียน แล้วอาจารย์คนนี้ยังช่วยให้น้องชายและน้องสาวได้เรียนด้วย ต้นแบบของครู “ผู้ให้” คือแรงบันดาลใจส�ำคัญให้ครูเดินทางบนเส้นทางนี้ ทุกสิง่ ทีท่ ำ� เพือ่ เด็กมาจากหัวใจแห่งการให้อย่างทีค่ รูเคยได้รบั มาเมือ่ วัยเด็ก ครูสายรุ้ง เฟื่องสินธุ์ เล่าว่า

ครู ส ายรุ ้ ง เฟื ่ อ งสิ น ธุ ์ โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์) กรุงเทพมหานคร

44

14 แรงบันดาลใจ

ตอนเด็กเป็นเด็กบ้านนอก แม่ฝากให้อยู่กับครู ครูมีความเมตตา ดูแล ช่วยเหลือทุกอย่าง ครูจงึ เป็นต้นแบบท�ำให้อยากเป็นครูบา้ ง ตัง้ ใจจะเป็นครู ที่ดีที่สุด ดูแลศิษย์เหมือนลูก


แม้เริ่มจากไม่อยากเป็นครู แต่มีคุณแม่เป็นต้นแบบ ครูดรุณี ทุมมากรณ์ จึงยังเดินอยูบ่ นเส้นทางความเป็นครูดว้ ยความรักในวิชาชีพนีท้ ถี่ กู หล่อหลอม มาตั้งแต่เด็ก

ครู ด รุ ณ ี ทุ ม มากรณ์ โรงเรียนบ้านยางสักกระโพหลุ่ม จังหวัดอุบลราชธานี

แรงบันดาลใจก็คือ ความรักในหัวใจและความเป็นครู ซึ่งตอนแรกไม่ได้ อยากเป็นครู แต่พอได้เป็นแล้วรู้สึกต้องท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยมีคุณแม่ซึ่ง เป็นครูที่เป็นแบบอย่างที่ดี แม่เป็นครูในชนบท ท�ำงานหนัก ไปโรงเรียน แต่เช้า กลับบ้านค�่ำ แม่สอนว่าเมื่อเราได้โอกาสแล้วเราก็ต้องให้โอกาส แก่คนอืน่ ด้วย เราเองเมือ่ ให้โอกาสแก่เด็กแล้วก็รสู้ กึ ภูมิใจทีเ่ ป็นครู ความรัก ในวิชาชีพมันค่อยๆ เกิดขึ้น อยากเห็นเด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพและรู้ คุณค่าของตนเอง เชื่อว่าความเป็นครูของเราสามารถให้โอกาสคนได้ ท�ำให้ คนเป็นคนดีได้ จากเด็กเกเรที่เคยได้รับโอกาสและความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขจากครู คือ แรงบันดาลใจให้ครูธีระยุทธ เสนาทับ รักในวิชาชีพนี้อย่างลึกซึ้ง ผมรักทีจ่ ะเป็นครู มันฝังลึกจากตอนเรียนมีครูดี รักครู ได้อยู่ใกล้ครูแล้ว มีความสุข เป็นครูที่ดูแลให้ความรัก ความเอาใจใส่ แม้ว่าตอนนั้นผมเป็น เด็กที่เกเรมาก หนีโรงเรียน ครูคนนี้มาให้ความสนใจ ให้ก�ำลังใจ เพราะ ฉะนั้นเด็กจะเกเรอย่างไรเราก็เข้าใจเด็ก ผมมีความเชื่อว่า ถ้าเรามีความ ตั้งใจดี คิดดี ท�ำดี ผลจะสะท้อนกลับมาหาเราเอง

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

45


ครูไม่เคยยอมจ�ำนนต่อปัญหา เราทราบดีว่าประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล�้ำสูงมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ครู จ�ำนวนมากพบกับความเหลือ่ มล�ำ้ นัน้ ด้วยตาของตนเอง แม้ครูตวั เล็กๆ อาจไม่สามารถท�ำทุกอย่าง ได้ แต่พวกเขาไม่เคยยอมจ�ำนนต่อข้อจ�ำกัดใด ในทางกลับกันครูจำ� นวนมากใช้ขอ้ จ�ำกัดนัน้ เป็นแรง บันดาลใจให้ท�ำสิ่งต่างๆ มากมายเพื่อให้นักเรียนของครูได้มีโอกาสเท่าเทียมกับเด็กอื่น

ครู ฉ ั น ทนา ศรี ศ ิ ล ป์ โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ดังเช่นเรื่องราวของครูฉันทนา ศรีศิลป์ ที่ดูแลเด็กชาวกะเหรี่ยงซึ่งมาพักที่ หอพักของโรงเรียน เริ่มต้นจากชุมชนไม่ค่อยยอมรับเด็ก จากความติดลบ ในหลายด้านๆ ครูสนับสนุนให้เด็กท�ำกิจกรรมจนชุมชนให้การยอมรับว่า เด็กชาวกะเหรี่ยงก็มีความสามารถไม่แพ้เด็กอื่นๆ โรงเรียนที่สอนเป็นโรงเรียนพักนอนในที่กันดาร เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ เป็นกะเหรี่ยง พูดไทยยังไม่ชัด เรื่องอ่านออกเขียนได้ก็ยิ่งยาก เราพาเด็ก หอพักท�ำกิจกรรมในชุมชน จนชุมชนยอมรับ ซึ่งแรกๆ ชุมชนไม่ยอมรับที่ เด็กกะเหรี่ยงจะมาอยู่หอพักจ�ำนวนมาก การฝึกเด็กท�ำกิจกรรมและได้มี ประสบการณ์นอกโรงเรียนท�ำให้เด็กมีความมั่นใจ ในการประกวดสภา นักเรียนต้นแบบ กรรมการถามนักเรียนกะเหรี่ยงว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจ เด็กตอบว่า ‘หนูเป็นเด็กกะเหรี่ยงพูดไม่ชัด แต่ครูเห็นคุณค่าในตัวหนู ฝึกสอนหนู หนูมีเพลงที่จะร้องให้ครูฟัง...พวกเราเป็นเด็กบ้านป่า ด้อยการ ศึกษามาพึ่งพาห้วยสิงห์ เพราะเรารู้คุณครูรักเราจริง พร้อมทุ่มเททุกสิ่งให้ ศิษย์มอี นาคตไกล เป็นครูผเู้ สียสละ มุมานะแม้จะเหนือ่ ยแค่ไหน ศิษย์อย่าง เราแม้ไม่มีอะไร แต่เราจะตั้งใจเพื่อโรงเรียนของเรา’ เป็นค�ำตอบที่ไม่ได้

46

14 แรงบันดาลใจ


เตรียมมา เด็กตอบเอง เราท�ำแบบนี้จนเด็กจบไปเรียนระดับอุดมศึกษาที่ มช. มีเด็กบางคนไปเข้าเรียนพยาบาลได้ ประสบการณ์ของครูระบบดูแลช่วยเหลือ ท�ำให้ครูธรี ะยุทธ เสนาทับ ได้เห็น ชีวิตของนักเรียนมากกว่าที่เห็นในโรงเรียน ผมเป็นครูระบบดูแลช่วยเหลือด้วย ออกเยี่ยมบ้านเด็ก เห็นสภาพเด็ก ที่ครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก เด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย ครูบางคนก็ ว่าเราเอาใจเด็ก ให้ท้ายเด็ก ในขณะที่เขาด่าว่าเด็กโดยไม่ดูว่าเด็กตกอยู่ใน สภาพใด ไม่สนใจทีจ่ ะติดตามว่าเด็กมีปญั หาอะไร เด็กบางคนไม่มาโรงเรียน เพราะไม่มีอะไรจะกิน เสื้อผ้าไม่ได้ซัก มาโรงเรียนแล้วเพื่อนล้อ อายเพื่อน และครูบางคนก็รังเกียจเด็กเหล่านี้ เมื่อครูไม่สนใจเด็กก็เกเร ไม่สนใจจะ เรียน ครูยิ่งเห็นเด็กเป็นภาระ ไม่อยากให้อยู่ในโรงเรียนต่อไป

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

ครูธรี ะยุทธจึงไม่ได้แค่สอนวิชาการในโรงเรียน แต่ยงั หาทางช่วยเหลือให้เด็ก มาโรงเรียนได้อย่างภาคภูมิใจ ไม่รู้สึกว่ามาแล้วเป็นส่วนเกินของโรงเรียน

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

47


มองให้ลึกถึงสิ่งที่เด็กเป็น ครูไทยของแผ่นดินพยายามให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ได้สนใจเฉพาะเด็กที่เรียน เก่ง มุมมองของครูคอื การมองว่าเด็กมีปญั หาเป็นความท้าทายทีอ่ ยากช่วยเหลือ เหล่านีค้ อื ตัวอย่าง ของครูไทยของแผ่นดินที่ใช้ความเมตตาและจิตวิญญาณของครูเพือ่ ให้เด็กทุกคนได้รบั โอกาสในการ พัฒนาตนเองให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

ครูศุภมาศ คงคาช่วย คือครูที่ไม่ทอดทิ้งเด็กที่บกพร่อง และยังคิดค้น นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กเหล่านั้นขึ้นมาได้ เล่าว่า ครู ศ ุ ภ มาศ คงคาช่ ว ย โรงเรียนบ้านโพหวาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่โรงเรียนมีเด็กเรียนร่วมมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จากนักเรียน 700 กว่าคน รวมเด็กเรียนร่วมกว่า 70-80 คน หลังจากตรวจคัดกรองแล้วเป็น เด็กบกพร่องทางร่างกาย บกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ (ยกเว้นเด็กออทิสติก) เราจึงคิดค้นการพัฒนาศักยภาพเด็กเรียนร่วมด้วย 3D (Development) คือ D1 พัฒนาสือ่ และนวัตกรรม D2 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ของเด็กเรียนร่วม D3 พัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียน เรียนร่วม ความเป็นเด็กพิเศษของเด็กเหล่านี้ หากดูผิวเผินส�ำหรับบางอาการก็แทบ ดู ไม่รู้ว่าเป็นอาการของเด็กพิเศษ ครูอนุภาพ บุญซ้าย บอกว่าครูต้อง ใช้ความลึกซึ้งในการเฝ้ามองลูกศิษย์ของตนเพื่อมองไปถึงปัญหาที่แท้จริง เพราะจะท�ำให้ไม่ไปตัดสินเด็กจากเรื่องราวเพียงผิวเผินที่ได้เห็น

48

14 แรงบันดาลใจ


ผมสอนคณิตศาสตร์ สอนเด็กสมาธิสนั้ 3-4 คน เด็กพวกนีจ้ ะถูกไล่ออก จากโรงเรียน แต่จริงๆ แล้วเก่งมาก เด็กคนหนึ่งตอนอยู่อนุบาลจะขึ้น ป.1 ครูไม่ให้ขนึ้ เพราะอ่านหนังสือไม่ออก ไม่มคี วามพร้อม เด็กถูกซ�ำ้ ชัน้ อนุบาล กลายเป็นเด็กไม่พูด ทุกคนเห็นว่าเป็นเด็กเอ๋อ ถูกตัดสินโดยครู แล้วพ่อแม่ เอามาให้สอน ผมสอนเขาตั้งแต่ ป.1 พบว่าเขาเป็นเด็กอัจฉริยะ ครูคนอื่น ไม่เชื่อ จนกระทั่ง ป.2 เขาสามารถสอบคณิต-วิทย์ ได้เหรียญทอง ป.3-4 ได้เหรียญทองตลอด ป.4 ได้ไปแข่งต่างประเทศ ป.5-6 ได้เป็นตัวแทน ประเทศไทยสอบคณิตศาสตร์เพชรยอดมงกุฎได้ที่ 1 เพราะฉะนัน้ ครูไม่ควร ตัดสิน แล้วก็มคี นว่าผมสอนแต่เด็กมีพรสวรรค์ ลูกหมอลูกอาจารย์ ผมบอก จะท�ำให้ดู ผมเดินไปดึงเด็ก ป.2 คนหนึง่ มาจากในแถว พ่อแม่ขายปาท่องโก๋ เอามาสอน จนเด็กสามารถเป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขันคณิตศาสตร์ โอลิมปิกที่เกาหลีตอน ป.6

ครู อ นุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์กูล จังหวัดสกลนคร

ครูดรุณี ทุมมากรณ์ เล่าถึงเรือ่ งราวของเด็กน้อยคนหนึง่ ที่ไม่ยอมมาโรงเรียน ได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของนักเรียนคนหนึ่ง ได้รับอุบัติเหตุเล่นปืนลมกับเพื่อน เด็กได้รับบาดเจ็บที่สมอง นอนป่วยอยู่ ที่บ้าน อยู่กับแม่สองคนในบ้านหลังเล็กๆ พูดไม่ได้ แต่พอถามว่าจ�ำครู ได้ไหม เขาพยักหน้า อีกรายเป็นเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ครูไม่เอาแล้ว ชื่อแหว่ง เขาเป็นเด็กตัวเล็กๆ ปากแหว่งเพดานโหว่ พูดไม่ชัด เขาไม่มา โรงเรียน ก็เลยฝากบอกเด็กในห้องที่บ้านอยู่ใกล้กันให้ไปบอกเด็กคนนั้นว่า ครูจะท�ำหนังสั้น จะให้เขาเป็นพระเอก ท�ำให้นายแหว่งมาโรงเรียนทุกวัน คือพยายามให้เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ผลงานของเขานีเ่ องทีท่ ำ� ให้ ครูได้เข้ามายืนอยู่ ณ จุดนี้

ครู ด รุ ณ ี ทุ ม มากรณ์ โรงเรียนบ้านยางสักกระโพหลุ่ม อุบลราชธานี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

49


ครู ศ รี อ ั ม พร ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ครู ล าวั ล ย์ สมิ ธ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี

50

14 แรงบันดาลใจ

บางครั้งเด็กอาจมีความโศกเศร้าบางอย่างซ่อนอยู่ ในใจ ที่ครูต้องช่วย ประคับประคองให้เด็กผ่านพ้นช่วงเวลานัน้ ไปให้ได้ ครูศรีอมั พร ประทุมนันท์ ได้เล่าให้ฟังถึงเด็กคนหนึ่งในชั้นเรียนภาษาไทยของครูว่า ในช่วงวันแม่ครูได้ให้เด็กแต่งกลอนวันแม่ส่ง แต่มีเด็กคนหนึ่งส่งเพียง กระดาษเปล่า ท�ำให้ครูสงสัย และเป็นความท้าทายว่าเด็กคนนี้จะต้องมี ปัญหาอะไรแน่นอน ครูจึงเรียกเด็กมาคุยและบอกให้เขียน จนเด็กร�ำคาญ จึงแต่งเพียงสองประโยคทีม่ ีใจความว่า ‘วันแม่จะมีความหมายอะไร เมือ่ แม่ เองกลับทิ้งลูกไป’ ครูจึงเขียนกลอนกลับไปให้เด็กโดยมีใจความว่า ‘จะขอ เป็นแม่แทนได้หรือไม่’ และได้ให้การดูแลประคับประคองเด็กคนนี้ไปตลอด แม้ยามที่พ่อของเด็กมีภรรยาใหม่ และเด็กไม่ยอมรับ ครูก็ช่วยเปิดมุมมอง ให้เด็กสามารถอยูก่ บั พ่อได้อย่างมีความสุขมากขึน้ จนในทีส่ ดุ เด็กก็สามารถ สอบเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐได้ มีเป้าหมายว่าหลังเกษียณอายุ ครูลาวัลย์ สมิธ อยากท�ำโครงงานวิจัยเพื่อ แก้ปัญหาเด็กก้าวร้าวให้หันมาใส่ใจการเรียน โครงการอนาคตอยากท�ำเรือ่ งปัญหาเด็กก้าวร้าว ครูเคยดูแลเด็กทีม่ ปี ญั หา ครอบครัวแตกแยก เป็นเด็กพิเศษด้วย พ่อแม่เคยพาน้องออกจากโรงเรียน ไม่ให้เรียนหนังสือ แต่ครูกต็ อ่ สูจ้ นให้นอ้ งกลับมาเรียนได้ จากทีเ่ คยเป็นเด็ก มีปัญหา ขี้โวยวาย ก็กลายเป็นเด็กดีขึ้นและสอบเข้าเรียนต่อที่สตรีวิทยาได้ ครูดูแลเด็กทุกคนใกล้ชิด คอยสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีแนวโน้มสมาธิสั้น เด็กคนไหนอยู่ในข่ายก็จะเชิญนักจิตวิทยาตรวจและพูดคุยกับเด็ก คนไหน มีปัญหาก็จะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา บางครั้งครู ก็ต้องให้ค�ำปรึกษาและวิธีการดูแลเด็กให้กับพ่อแม่ไปดูแลต่อด้วย


พิสูจน์ตัวเองจากค�ำดูถูก บางครั้งมุมมองที่สังคมมีต่อครู เป็นแรงผลักดันให้ครูอยากพิสูจน์ตัวเองให้สังคมเห็นว่าการเป็นครู นั้นมีคุณค่า สามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมได้มากเพียงใด ค�ำดูถูกกลับท�ำให้ครูมุมานะ ไม่ยอมพ่ายแพ้ ครูธีระยุทธ เสนาทับ ครูพละที่ต้องการลบล้างภาพครูพละที่คนมองว่า “ขี้ เมา เจ้าชู้ สู้นาย” โดยเฉพาะในชุมชนมุสลิมที่ครูธีระยุทธสอนอยู่ การจะให้ ชุมชนไว้วางใจครูจนยอมให้พาลูกสาวไปแข่งกีฬาต่างจังหวัดเป็นเรื่องยาก มาก แต่ดว้ ยความตัง้ ใจทีจ่ ะลบล้างภาพลบเหล่านัน้ ออกไปให้ได้ ครูธรี ะยุทธ จึงทุม่ เททัง้ เวลา แรงกาย แรงใจ และความจริงใจต่อเด็กนักเรียน โดยเฉพาะ เด็กเกเร เด็กยากจน ให้สามารถได้เรียนต่อ จนกระทั่งชุมชนไว้วางใจให้พา เด็กๆ ไปแข่งกีฬายังจังหวัดต่างๆ ได้

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

ความต้องการพิสูจน์คุณค่าของความเป็นครูท่ามกลางสภาพสังคมที่ให้ คุณค่ากับชื่อเสียงและรายได้ สิ่งที่ครูอยากพิสูจน์คือ ท�ำให้สังคมเห็นว่า อาชีพครูทแี่ ม้มไิ ด้มรี ายได้มากมาย แต่มคี ณ ุ ค่าต่อความเป็นมนุษย์ของเด็ก ครูคอื ผูท้ ชี่ ว่ ยประคับประคองให้เด็กเติบโตมาอย่างรูจ้ กั เคารพและให้เกียรติ ผู ้ อื่ น มองเห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเอง และใช้ ศั ก ยภาพของตนเองในทาง สร้างสรรค์อย่างเต็มที่

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

51


ครูจารุณี สุทธิสวรรค์ เล่าถึงความมุง่ มัน่ ในการเป็นครูทมี่ าจากความรูส้ กึ ว่า สังคมให้ค่ากับอาชีพครูผิดเพี้ยนไปมาก ครู จ ารุ ณ ี สุ ท ธิ ส วรรค์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จังหวัดเชียงใหม่

สิง่ ทีท่ ำ� ให้มงุ่ มัน่ ในการเป็นครู คือสายตาคนอืน่ ทีด่ ถู กู วิชาชีพครูวา่ เป็น อาชีพกระจอก ไม่เหมือนคนเรียนแพทย์หรือสาขาวิชาอื่นๆ และพอสอบ บรรจุครูได้ ได้ไปอยู่โรงเรียนที่กันดารห่างไกล ถูกมองว่าเป็นครูดอย โดน ดูถูกอีก ท�ำให้คิดว่าเป็นครูบ้านนอก ครูดอยไม่มีศักดิ์ศรีหรืออย่างไร เลย ตั้งมั่นว่าจะเป็นครูที่ดี จะสร้างเด็กบ้านนอกให้มีโอกาสที่ดีทัดเทียมกับเด็ก ในเมืองให้ได้ แรกๆ ไม่ได้สอนนาฏศิลป์เพราะไม่ได้เรียนมา แต่ด้วยความเชื่อว่าท�ำในสิ่ง ที่เรารัก ก็ขอสอนนาฏศิลป์นอกเวลา เพราะเชื่อว่าศิลปะจะเชื่อมโยงเด็กที่ แตกต่างทางวัฒนธรรมให้อยู่ร่วมกันได้ และเอานาฏศิลป์เป็นโอกาสในการ เปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ท�ำให้เด็กได้ไปแสดงเผยแพร่ในต่างประเทศ แล้วก็รัก ผูกพันกับเด็ก ใช้ความรักหล่อหลอมให้เด็กอยากเรียน สอนจนเด็กบ้านนอก เด็กชาวเขา เด็กกะเหรี่ยงไปเอาชนะเด็กในเมืองได้ เราสามารถพิสูจน์ ให้เห็นว่าเด็กบ้านนอกเด็กดอยก็มศี กั ยภาพทัดเทียมเด็กในเมืองอืน่ ๆ เพียง ถ้าเขามีโอกาส และเราได้ให้โอกาสเขา พอย้ายโรงเรียน เราก็สร้างเด็กกลุ่ม ใหม่ได้อีก พิสูจน์ให้เห็นอีก ท�ำมาเป็นเวลานานพอสมควรด้วยความมุ่งมั่น ตัง้ ใจ เอาชนะอุปสรรค ไม่ยอ่ ท้อต่อความไม่พร้อม โรงเรียนไม่มงี บประมาณ ให้กบั เสือ้ ผ้าหน้าผม เราก็เสียสละเงินส่วนตัว ท�ำทุกอย่างเพือ่ พิสจู น์ให้เห็น ว่าเราสามารถขัดเกลาเด็กที่ไม่มีอะไรเลยให้เป็นเพชรที่แวววาวได้ แรงบันดาลใจที่ท�ำให้ครูจารุณีทุ่มทุกสิ่งเพื่อเด็กอย่างต่อเนื่องคือ ความรัก ในอาชีพ สอนเด็กด้วยความรักความใส่ใจ มุ่งมั่นทุ่มเท อยากพิสูจน์ให้เห็น

52

14 แรงบันดาลใจ


ว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ อาชีพที่สร้างคน แม้จะอยู่ในที่ด้อยโอกาส ครูก็สามารถให้โอกาส เติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้เด็กได้ ความ ส�ำเร็จของลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าเป็นแรงบันดาลใจให้ครูจารุณีอยากสร้าง เด็กรุ่นต่อไปอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนในถิ่นห่างไกล โจทย์ที่ “ครูไทยของแผ่นดิน” มักประสบเป็นล�ำดับแรกๆ คือ สภาพโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่อยู่ใน ท้องถิน่ ห่างไกล ขาดแคลนอุปกรณ์ตา่ งๆ ห่างไกลจากการสือ่ สาร เด็กในโรงเรียนก็มคี วามขาดแคลน และยากล�ำบากในชีวิต บางส่วนเป็นเด็กเกเร บางส่วนเป็นเด็กพิเศษที่มาเรียนร่วม แต่ครูสามารถ ใช้ความขาดแคลนเหล่านีส้ ร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กบั เด็กได้ ความกดดันจากสภาพแวดล้อมกลับท�ำให้ ครูพยายามดึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเองออกมาใช้ให้ได้มากที่สุด ครูล�ำพูน ประริเตสังข์ เล่าถึงการเป็นครูในท้องถิ่นห่างไกลที่กลับท�ำให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์มากมายเพือ่ ให้เด็กๆ ได้รบั โอกาสทัง้ ด้านการศึกษาและ ด้านอาชีพ ได้บรรจุเป็นครูที่ไม่ใช่บ้านเกิด ค่อนข้างกันดาร ซึ่งการย้ายเป็นเรื่อง ยากจึงคิดว่าต้องท�ำงานอย่างมีความสุข ซึ่งก็คือท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด ในเมื่อ อยูแ่ ต่ในบ้านพักครูที่โรงเรียนจึงท�ำแต่งาน ว่างก็ทำ� สือ่ การสอน เป็นโอกาส ท�ำให้ได้พัฒนาตัวเอง พัฒนาผลงาน ส่งเด็กเข้าประกวดแข่งขันต่างๆ แม้ จะเรียนมาทางด้านการศึกษาปฐมวัย แต่ต้องมาสอนวิชาการงานของชั้น มัธยมก็พยายามมองหาความรู้ที่จะท�ำให้เด็กมีอาชีพในวันข้างหน้า เพราะ เด็กโรงเรียนขยายโอกาสส่วนใหญ่เรื่องวิชาการสู้เขาไม่ได้ จึงไปเข้ารับการ

ครู ล ำ � พู น ประริ เ ตสั ง ข์ โรงเรียนสระขุดดงสำ�ราญวิทยา จังหวัดสุรินทร์

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

53


อบรมต่างๆ เช่น การท�ำอาหาร งานประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อเอากลับมาสอน นักเรียน โดยออกค่าใช้จ่ายเอง เพราะโรงเรียนไม่มีงบประมาณ รวมทั้งออก ค่าใช้จา่ ยอุปกรณ์ตา่ งๆ เพือ่ ให้เด็กได้ทำ� พานักเรียนไปเรียนสานกระติบ๊ ข้าว ไม้ไผ่ทคี่ อนสาร ชัยภูมิ ด้วยงบประมาณส่วนตัว แรงบันดาลใจเกิดจากอยาก ให้เด็กด้อยโอกาส เด็กเรียนไม่เก่ง ได้มีโอกาส ได้มีอาชีพในอนาคต

ครู ส ุ ร ี ย ์ แสงสว่ า ง โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ครูสุรีย์ แสงสว่าง เล่าถึงการเป็นครูที่สามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาเด็ก ได้เสมอ หากครูไม่ลืมมองหาโอกาสนั้นที่มีอยู่เสมอในสังคม ไม่ได้อยากเป็นครู แต่สอบบรรจุได้ที่โรงเรียนกันดารมาก รูส้ กึ ท้อแท้ แต่ เมื่อได้รับน�้ำใจจากเด็ก เห็นครูเป็นนางฟ้า จึงรู้สึกอยากเป็นครูที่ดี เริ่มมีใจ สอนเด็ก พัฒนาเด็ก ชวนเด็กประกวดเรียงความเพื่อให้เด็กมีทุนการศึกษา ประสบความส�ำเร็จได้รบั รางวัล มีความเชือ่ ว่าเด็กแต่ละคนแม้วา่ จะมีศกั ยภาพ ไม่เท่ากัน แต่ครูสามารถพัฒนาเด็กทุกคนให้เป็นคนดีของสังคมได้

ครูแสวงหาโอกาสให้กับเด็ก ครูไทยจ�ำนวนมากสร้างสรรค์โอกาสให้กับเด็กในทุกทางที่ท�ำได้ ครูเพ็ญศรี สมบูรณ์วงศ์ ให้ความ ช่วยเหลือเด็กๆ ในด้านการสอน สละเวลาว่างสอนเด็กๆ ทีเ่ รียนไม่ทนั คนอืน่ มีการคุยกับผูป้ กครอง เรื่องปัญหาของเด็กและหาแนวทางแก้ไขไปพร้อมๆ กับผู้ปกครอง

54

14 แรงบันดาลใจ


เรามีการจัดท�ำข้อมูลเด็กเอาไว้เป็นบุคคล และจะจัดหาทุนให้เด็กๆ ทีย่ ากจน ส่วนตัวคุณครูก็จะให้ทุนส่วนตัวด้วย ในอดีตก็จะมีที่คุณครูส่งจนเรียนจบ ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เอกอักษรศาสตร์ ปัจจุบนั ก็มอี ยูท่ โี่ รงเรียน 2-3 คน เราให้เด็กได้เท่าที่ก�ำลังมี อยากให้เด็กทุกคนมีโอกาสเท่ากัน

ครู เ พ็ ญ ศรี สมบู ร ณ์ ว งศ์ โรงเรียนวัดไทร(สินศึกษาลัย) จังหวัดนครปฐม

ครูทินกร แจ่มเจ็ดริ้ว ครูผู้แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับเด็ก พานักเรียนที่ครู ดูแลในสาขาคอมพิวเตอร์ ได้รางวัลการประกวดระดับประเทศหลายรางวัล เช่น เหรียญทองการวาดภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ในด้านกีฬา วอลเลย์บอล จากครูที่ไม่มีความรู้เรื่องวอลเลย์บอลเลย แต่ครูสามารถน�ำ นักเรียนเป็นตัวแทนของจังหวัดสมุทรสาครไปแข่งในระดับประเทศมาแล้ว เป้าหมายในวิชาชีพครูคือการที่เด็กเป็นคนดี ไม่ต้องเก่ง แต่เป็นคนที่มี ความสุขในอาชีพของตัวเอง พยายามไม่ปล่อยให้เด็กท�ำไม่ได้ จะเข้าไปดูแล จนกว่าจะท�ำได้ เปิดโอกาสให้เด็กมาใช้หอ้ งคอมพิวเตอร์ชว่ งเช้าก่อนเข้าแถว นอกเวลาเรียนจะใช้เวลาหลังเลิกเรียนกับวันหยุดสอนเด็กที่จะไปแข่ง ทั้งใน ส่วนของคอมพิวเตอร์และวอลเลย์บอล ผมมองว่าครูจะมีคุณค่าเมื่อมีความ ตั้งใจถ่ายทอดให้กับเด็ก โดยไม่ได้สนใจว่าเด็กคนนั้นจะต้องประสบความ ส�ำเร็จหรือได้รางวัล แต่อยากให้เด็กได้ลองท�ำ ได้ฝึกฝนจนท�ำเป็น

ครู ท ิ น กร แจ่ ม เจ็ ด ริ ้ ว โรงเรียนวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร

เรื่องราวอันเป็นแรงบันดาลใจให้ครูไทยของแผ่นดินเหล่านี้เดินในเส้นทางแห่งความเป็นครูอย่าง สร้างสรรค์และไม่เคยย่อท้อ เฝ้าหมัน่ เพียรสานฝันของตนเอง สานฝันของเด็กรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้เกิด เป็นจริงขึน้ มาภายใต้ขอ้ จ�ำกัดต่างๆ มากมาย เรือ่ งราวเหล่านีส้ ามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กบั ครูไทย และสังคมไทยให้เดินไปสูห่ นทางแห่งชีวติ อันสร้างสรรค์ ดังเช่นทีค่ รูไทยของแผ่นดินได้ชว่ ยกันกรุย ทางไว้แล้วในหลากหลายมิติ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

55


Because my teacher believed in me Now I am flying towards my dreams. , I never gave up.

Heidi McDonald

เพราะครูของฉันเชื่อมั่นในตัวฉัน ฉันจึงไม่ ตอนนี้ฉันก�ำลังโบยบินไปสู่ความฝันของฉันแล้ เคยยอมแพ้ ว

ไฮดี แมคโดนัลด์ นักเขียน และบรรณาธิการหนังสือการ์ตูนผู้มีชื่อเสี ยงแห

่งนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

รรค์

ี่สร้างส ท ต ิ ว ี ช .. . ่ ู ส ใจ ล า ด น ั แรงบ

ย่างมั่นคง อ ต ิ ว ี ช ง ่ ห แ ง ่ ั ฝ น ้ ึ ข ว ัวน้อยๆ ก้า ต ์ ย ษ ิ ศ ก ู ล ง ่ ส ร า ก ง ครู...ต้อ ที่ล�ำบาก ก ็ เด ใจ า ้ เข ง ึ จ น อ ่ ก า ูเคยล�ำบากม ร ค ” น ล ค แ ด า ข “ ครู...เคย ี่ท�ำได้ ท ง า ท ก ุ ท อ ื ล เห ย ว ่ ช และหาทาง ผู้ให้ น ็ เป ม อ ่ ย บ ั ร ้ ได ย ค เ ้ ู กาส” ผ ครู...เคยได้รับ “โอ า” ใดๆ ห ญ ั ป “ อ ่ ต น น ำ � จ ม ครู...ไม่เคยยอ �ำดูถูก ค ก า จ ง เอ ว ั ต ์ น จ ู ส ิ ครู...ต้องการพ ามอยู่ภายใน ง ี ด ม า ว ค ะ ล แ พ า ภ ุกคนมีศักย ท ก ็ เด า ่ ว น ่ ั ม อ ่ ื เช .. . ู ร ค ้กับเด็ก ให บ อ ม ๆ ่ ม ให ส า ก วงหาโอ ครู...ไม่เคยหยุดแส

56

14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 3 ใจดวงแกร่ง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

57


58

14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

59


ชีวติ ครูไทยของแผ่นดินทุกคนไม่เคยง่ายเลย ตลอดเส้นทางการเป็นครู มีอุปสรรคต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ครูทุกคนมีหลักคิดเพื่อ ประคับประคองตนเองไม่ให้ท้อแท้ท้อถอย จนสามารถผ่านวันคืน อันยากล�ำบากมาได้ ความยากล�ำบากในชีวิตครูมีทั้งอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของครู ที่มีบางช่วงเวลาสภาพจิตใจอ่อนแอท้อแท้ไม่สามารถก้าวข้ามพ้น ปัญหาได้ สภาพชีวิตส่วนตัวในด้านต่างๆ ที่ท�ำให้จิตใจของครู เปราะบาง นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ที่เป็นผล มาจากสภาพสังคมแวดล้อมที่ไม่เอื้อให้ครูไทยสามารถท�ำสิ่งต่างๆ ที่ คาดหวังได้ ในบทนี้จะรวบรวมล�ำดับเรื่องราวจากอุปสรรคด้านต่างๆ ที่ครูไทยของ แผ่นดินประสบ การมีช่วงเวลาได้ย้อนคิด ทบทวน เส้นทางการฟันฝ่า อุปสรรคที่ผ่านมา เป็นความภูมิใจและเป็นก�ำลังใจที่มีค่าในวันนี้ ของครูทุกคน

60

14 แรงบันดาลใจ


อุปสรรคภายในตนเอง สภาพจิตใจ บางครัง้ ครูคดิ ในทางลบ มองปัญหาด้วยสภาพจิตใจทีเ่ ศร้าหมอง ท�ำให้ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ดีนัก ครูบางคนคาดหวังกับตัวเอง สูงมาก เมื่อท�ำไม่ได้อย่างที่คิดไว้จึงผิดหวังในตัวเอง สภาพชีวิตส่วนตัวในด้านต่างๆ ที่บีบคั้นครู การไม่สามารถแบ่งเวลาในการ ดูแลครอบครัว การไม่สามารถจัดการด้านการเงินได้ ปัญหาสุขภาพ ซึ่งล้วนบั่นทอนจิตใจของครู

อุปสรรคจากภายนอก อุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ในสังคมรอบตัวครู อาทิ โครงสร้าง ระบบการศึกษา ที่ไม่เอื้อให้ครูท�ำงานตามที่ตั้งเป้าหมายและตาม วิธีการของครูเองได้ ค่านิยมทางสังคมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง การท�ำงานของครู ความไม่เข้าใจของผู้คนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน ผูบ้ งั คับบัญชา สมาชิกในชุมชน ท�ำให้ครูทำ� งานด้วยความยากล�ำบาก

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

61


ความคาดหวังของครูไทย แม้รู้ว่าจะต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ แต่ครูไทยของแผ่นดินก็ยังมีความคาดหวังในวิชาชีพครู และ มีความคาดหวังในชีวติ นัน่ ท�ำให้ครูไม่ทอ้ แท้ยอมพ่ายแพ้กบั สิง่ ใดง่ายๆ แต่ยงั เดินหน้าไปสูเ่ ป้าหมาย อย่างไม่เคยหยุด

ความคาดหวังในวิชาชีพครู มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้เด็กและชุมชน สอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สอนลูกศิษย์ให้เป็นคนเก่ง มีความรูค้ วามสามารถ ตามหลักสูตรก�ำหนด ให้โอกาสเด็กด้อยโอกาส สร้างพลเมืองที่ดีให้กับประเทศชาติ ท�ำงานด้วยหัวใจของครูทแี่ ท้จริง ท�ำเพือ่ ให้เด็กๆ ได้พน้ จากความไม่รู้ เพือ่ ให้เขามีโอกาสทีด่ ตี อ่ ไป ในอนาคต จะท�ำหน้าที่ “ครู” ให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ สอน ลู ก ศิ ษ ย์ ใ ห้ เ ป็ น คนดี สามารถอยู ่ ใ นสั ง คมได้ อย่างมีความสุข ท�ำงานด้วยความสัมฤทธิ์ผลในทุกๆ ปีการศึกษา เพื่อให้ลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าประสบความส�ำเร็จ ในชีวิต ใช้เวลาที่เหลืออยู่ในอายุราชการด้วยการตั้งใจ สอนเต็มที่ เกษียณอายุราชการครูอย่างงดงาม มีศษิ ย์ทรี่ ะลึก ถึงและจดจ�ำครูได้ 62

14 แรงบันดาลใจ

ังในชีวิต ความคาดหมวคี วามสขุ มคี ชู่ วี ติ ทดี่ ี มคี วาม

ครอบครวั มีชีวิตที่สงบสุข ีวิต มั่นคงในช มีงานมั่นคง ประสบความ ลูกเรียนจบ ร ศึ ก ษ า แ ล ะ ชี วิ ต อ ยู ่ ใ น ง กา ส� ำ เ ร็ จ ท า ีความสุข งม สังคมอย่า ี มีความซ่ือสัตย์ มีความ ด ลูกเป็นคน ้ดูแลพ่อแม่ ตอบแทน บ ได รับผิดชอ ูแลพี่น้อง ตนเองมีสุขภาพ ่ด คุณพ่อแม แข็งแรง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ได้ศึกษาต่อ ์ให้ชุมชน และสังคม โยชน ได้ท�ำประ


อุปสรรคครูไทยของแผ่นดิน ครูมีความคาดหวังต่างๆ ทั้งความคาดหวังในวิชาชีพครู และความคาดหวังในชีวิตเป็นเป้าหมาย แต่บางครั้งกว่าจะไปถึงเป้าหมายและความคาดหวังได้ ครูไทยของแผ่นดินได้พบกับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล็กและใหญ่ ครูไทยของแผ่นดิน ได้ช่วยกันรวบรวมปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จากประสบการณ์ที่ครูได้พบมาด้วยตนเองดังนี้

เด็กขาดทักษะในการค้นคว้าข้อมูล เนื้อหาวิชาที่สอนมีความซับซ้อน ยากในการสอนให้เข้าใจ เวลาเรียนไม่พอส�ำหรับเนื้อหาที่มีมาก นักเรียนในชั้นเยอะมาก เช่น ครูบางคนมีนักเรียน 54 คนต่อห้อง ดูแล นักเรียนได้ไม่ทั่วถึง เด็กแอบเล่นเกม ไม่สนใจเรียน พาเด็กเรียนรู้ชุมชน เบียดเวลาวิชาอื่น เวลาไม่สอดคล้องกันระหว่าง กิจกรรมชุมชนกับเวลาสอน เวลาในการท�ำกิจกรรมน้อย ต้องจัดสรรเวลาให้ดี เด็กรู้มากกว่าครูในบางเรื่อง ครูต้องปรับตัวเองเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกับเด็ก ให้เด็กเอาความรู้มาแลกเปลี่ยน ในชั้นเรียนมีเด็กเก่ง และเด็กไม่เก่ง ครูต้องคอยหนุนเสริมให้ก�ำลังใจ ประคับประคองให้เด็กไม่เก่งสามารถเรียนรู้ไปกับเด็กเก่งได้ ผู้ปกครองไม่เห็นความส�ำคัญของวิชาที่สอน เช่น วิชาศิลปะ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

63


การไม่ เ ปิ ด ใจยอมรั บ ของคนอื่ น ๆ ทั้ ง ผู ้ ป กครอง ชุ ม ชน และผู ้ บ ริ ห าร

ครูท�ำสิ่งที่แตกต่าง ไม่เคยมี ใครท�ำมาก่อน ครูต้องอดทนท�ำให้เกิดผล ส�ำเร็จ ท�ำให้คนที่ไม่เข้าใจได้เห็นผลที่เกิดขึ้น แล้วค่อยๆ เปิดใจ ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการศึกษาของลูกหลาน ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวทางการดูแลพัฒนาเด็ก ครูต้อง เข้าไปให้ความรู้ ขาดแคลนงบประมาณที่ต้องใช้ในการท�ำกิจกรรมต่างๆ ต้องสู้ด้วยใจ ท�ำต่อไปจนผู้คนเห็นความส�ำคัญและให้การสนับสนุน ผู ้ ป กครองไม่ ย อมรั บ ว่ า ลู ก ตั ว เองผิ ด ปกติ (เด็ ก พิ เ ศษ) ครู ต ้ อ งอดทน พูดคุยกับผู้ปกครองบ่อยๆ สร้างความเข้าใจ เด็กขาดต้นแบบการด�ำเนินชีวิตที่ดี ครูต้องจัดประชุมผู้ปกครอง ชี้ให้เห็น ปัญหาและความส�ำคัญของการเป็นต้นแบบที่ดี ขาดงบประมาณในการพาเด็กออกไปเรียนรู้ในชุมชน ครูต้องใช้เงินส่วนตัว ความยากจน ชุมชนชนบทห่างไกล ครอบครัวของเด็กขาดแคลนและ ยากจน ยากที่เด็กจะมาโรงเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง เด็กบางคนอยากเรียนต่อ ระดับสูงขึ้น แต่พ่อแม่ไม่มีเงิน ครูต้องหาทางช่วยเหลือเรื่องทุนการศึกษา บางครั้งใช้เงินส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือเด็ก ชุมชนเมืองมีความเป็นปัจเจกสูง การท�ำเพื่อส่วนรวมหรือการท�ำกิจกรรม ชุมชนเป็นความยุ่งยาก เด็กๆ จึงขาดโอกาสเรียนรู้ชุมชน ผู้อ�ำนวยการไม่สนับสนุน ไม่มีงบประมาณ ครู ใช้เงินส่วนตัวในการเข้า รับการอบรมต่างๆ ผู้บริหารไม่ชื่นชม ไม่พิจารณาผลงานหรือขึ้นเงินเดือน ไม่เห็นคุณค่า ในผลงาน

64

14 แรงบันดาลใจ


หน่วยงานต้นสังกัดจัดอบรมในหัวข้อที่ไม่ตรงกับความต้องการของครูหรือ

ไม่สอดคล้องกับสาระวิชาที่สอน โรงเรียนขาดแคลนสือ่ ทีจ่ ะใช้คน้ คว้าหาความรู้ เช่น โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ เครื่องเดียว โรงเรียนไม่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการพิเศษต่างๆ การประเมินการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งใหม่ๆ ที่ครูก�ำลังท�ำ สกศ.เอาหลักวิชาการมาประเมินกระบวนการเรียนการสอน ไม่ยอมรับ กระบวนการใหม่ๆ งานอื่นๆ ในโรงเรียนเบียดบังเวลาสอน และบั่นทอนสุขภาพ เพื่อนครู ชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการท�ำกิจกรรมต่างๆ ถูกเพื่อนครูมองในแง่ร้าย เพื่อนร่วมงานต่อว่า ไม่เข้าใจ เกลียด เนื่องจากถูกเปรียบเทียบ ท�ำดี ท�ำมาก = อยากเด่น ครูต้องท�ำใจ ในเมื่อพระพุทธองค์ยังโดนดูถูก แล้วเราเป็นใคร ความคิดลบของตัวเอง ท้อแท้ในการท�ำงานที่เจอกับปัญหาต่างๆ ตลอด จัดสรรเวลาไม่ได้ เสียสละเวลาส่วนตัวจนท�ำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ จนบางครั้งมีปัญหาด้านสุขภาพ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

65


ก้าวข้ามผ่านอุปสรรค อุปสรรคแรกที่ครูหลายคนพบคือ อุปสรรคภายในใจตนเอง การต้องต่อสู้กับความไม่เป็นดังหวัง การไม่ได้ตั้งใจจะมาเป็นครู แต่ด้วยเงื่อนไขในชีวิตบางอย่างท�ำให้ต้องมาเป็นครูในถิ่นทุรกันดาร เมื่อครูได้สัมผัสเด็กนักเรียนที่มีชีวิตล�ำบากยิ่งกว่าครู แต่ยังพยายามขวนขวายมาเรียนหนังสือ จึงมีครูหลายคนทีเ่ ริม่ เห็นว่าอาชีพครูนนั้ ท้าทาย ท�ำให้ครูเป็นครูมาจนถึงทุกวันนีแ้ ละไม่คดิ จะเปลีย่ น ไปเป็นอย่างอื่น

ครู ด รุ ณ ี ทุ ม มากรณ์ โรงเรียนบ้านยางสักกระโพหลุ่ม จังหวัดอุบลราชธานี

66

14 แรงบันดาลใจ

ครูดรุณี ทุมมากรณ์ จากที่ไม่เคยอยากเป็นครูเลย แต่เมื่อเด็กๆ เห็นคุณค่า ในตัวครู ท�ำให้ครูเห็นว่าตนเองสามารถท�ำประโยชน์ให้กบั เด็กได้จริง เป็นครูโรงเรียนขยายโอกาสในชนบทมา 20 ปีแล้ว ไม่เคยคิดขอย้ายไปไหน อยากอยู่กับนักเรียน ทั้งๆ ที่แรกๆ ไม่ได้อยากเป็นครู ปีที่ 3 ได้ดูแลเด็กด้อย โอกาส เด็กพิเศษ เด็กเกเร เด็กมีปญั หา และได้เห็นว่าเด็กเหล่านัน้ ก็มศี กั ยภาพ และต้องการโอกาสจึงอยากช่วยพัฒนา ท�ำให้เห็นคุณค่าตัวเองว่าเด็กเหล่านี้ ต้องการเรา


ส�ำหรับครูศุภมาศ คงคาช่วย ไม่อยากเป็นครูตั้งแต่แรก ถูกแม่บังคับให้ไปสอบ ครู ได้ไปเป็นครูในโรงเรียนขยายโอกาส ไม่ได้สอนในสายทีจ่ บมา แต่ตอ้ งไปสอน ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถนัด แต่ครูศุภมาศก็ผ่านสิ่งเหล่านั้นมาได้ จนถึงทุกวันนี้ ขอยอมรับเลยว่าไม่ได้อยากมาเป็นครู ขี้เกียจเรียน เรียนไม่เก่ง แต่ชอบ ท�ำกิจกรรม บังเอิญสอบติดศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ทีม่ าเป็นครูเพราะถูก แม่บังคับให้สอบครู ไปสอบที่ชัยภูมิ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส จบเอกคหกรรม แต่ได้รับมอบหมายให้สอนภาษาอังกฤษ ชั้น ป.4-ม.3 และสอนคอมพิวเตอร์ ก็ ต้องไปขวนขวายหาความรู้มาสอนเด็ก ภูมิใจที่สามารถสอนให้เด็กร้องเพลง ภาษาอังกฤษได้ ทั้งๆ ที่ตัวเองร้องไม่เป็น ใช้วิธีเปิดยูทูบ คือพยายามท�ำทุกวิถี ทางเพื่อให้เด็กมีความรู้ภาษาอังกฤษ และไหนๆ ก็จบคหกรรมมาก็ได้สอน วิชาการงานด้วย ซึ่งที่โรงเรียนล�ำบากเพราะน�้ำที่ใช้ท�ำอาหารไม่มี ต้องซื้อน�้ำ จากในหมู่บ้าน นานๆ จึงจะได้เรียนคหกรรมกันสักที แล้วครูแอนก็ให้เด็ก น�ำอุปกรณ์เครื่องครัวมาจากบ้าน ให้เด็กเอาเตา หม้อ จาน ชามมาโรงเรียน ภาพที่เด็กเอาเครื่องครัวใส่รถเข็นเข็นจากบ้านมาโรงเรียน เป็นภาพที่ครูแอน ประทับใจ แล้วครูแอนยังได้น�ำเด็กไปปฏิบัติธรรมที่วัด และท�ำอาหารเลี้ยงพระ และเลี้ยงเด็ก 7 วัน ซึ่งแต่ละวันต้องตื่นแต่ตีสามไปซื้อกับข้าว ขี่มอเตอร์ ไซค์ ไปท�ำอาหารที่วัดที่อยู่ไกลถึง 7 กม.

ครู ศ ุ ภ มาศ คงคาช่ ว ย โรงเรียนบ้านโพหวาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

67


ครูแอนบรรจุตั้งแต่ปี 2539 อยู่ที่นั่น 5 ปีเต็ม มาถึงตอนนี้มันเป็นประสบการณ์ ที่ ป ระทั บ ใจ ความใสซื่ อ ของเด็ ก นั ก เรี ย น รวมทั้ ง เพื่ อ นครู ศึ ก ษานิ เ ทศก์ หล่อหลอมครูแอนจากที่ไม่อยากมาเป็นครูเลย มาเป็นครูทุกวันนี้และถ้าเลือก ได้จะไม่เลิกอาชีพครู และตัง้ ปณิธานไว้วา่ ชีวติ ทีม่ อี ยูต่ อนนี้ไปจนสิน้ สุดชีวติ จะ ท�ำให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง อยากขอบคุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก เพื่อนครูตั้งแต่สมัย เรียนจนถึงตอนนี้ รวมทัง้ เด็กนักเรียน ถ้าไม่มเี ด็กนักเรียนก็ไม่มคี รูแอนทีย่ นื อยู่ ตรงนี้ ความเชื่อของครูแอนคือ เราสามารถท�ำอะไรก็ได้ถ้ามีความพยายามและ ตั้งใจ การเห็นคุณค่าในตัวเองจะท�ำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งอื่นๆ ครูสุรีย์ แสงสว่าง ครู ส ุ ร ี ย ์ แสงสว่ า ง โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

68

14 แรงบันดาลใจ

ไม่ได้อยากเป็นครู แต่สอบบรรจุได้ที่โรงเรียนกันดารมาก รูส้ กึ ท้อแท้ แต่แล้ว เมื่อได้รับน�้ำใจจากเด็ก เห็นครูเป็นนางฟ้า จึงรู้สึกอยากเป็นครูที่ดี เริ่มมีใจ สอนเด็ก พัฒนาเด็ก ชวนเด็กประกวดเรียงความเพื่อให้เด็กมีทุนการศึกษา ประสบความส�ำเร็จได้รับรางวัล มีความเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน แต่ครูสามารถพัฒนาเด็กทุกคนให้เป็นคนดีของสังคมได้ และเห็นว่าครูเป็น เสมือนพ่อแม่คนที่สองของเด็ก


ทุ่มเทสุดตัวเพื่อเด็ก ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคส�ำหรับครูธัชชา เพิ่มเพียร เมื่อเริ่มเข้าไปสอนในโรงเรียนพบอุปสรรค อย่างแรกคือเรื่องภาษา ครูเป็นคนภาคกลางแต่นักเรียนและคนในพื้นที่พูดภาษาเขมรและภาษา อีสาน ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนการสอน ครูธัชชาจึงใช้เวลา 1 ปีเต็มๆ เข้าไปอาศัยอยู่ ในบ้านชาวบ้านโดยไปขออาศัยอยู่ในบ้านนักการ ไปกินไปนอนเหมือนเป็นคนในครอบครัวเพือ่ ทีจ่ ะ ได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เมื่อพบว่าในโรงเรียนมีเด็กพิเศษเรียนร่วม มีเด็กที่มีลักษณะบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ ครูธชั ชาได้ตงั้ ชมรมนาฏศิลป์นำ� เด็กทีม่ คี วามบกพร่องทางด้านการเรียนรูเ้ รียนร่วมมาฝึกการแสดง ครูทุ่มเททั้งการหาข้อมูลความรู้ พาเด็กออกไปแสดงจนชมรมนาฏศิลป์สร้างชื่อเสียงให้กับ โรงเรียนในเวทีต่างๆ สามารถท�ำการแสดงได้อย่างสวยงาม คว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน ระดับประเทศได้หลายครั้ง จัดตัง้ ชุมนุมนาฏศิลป์และงานประดิษฐ์ ในช่วงเย็นเด็กจะเข้ามาท�ำกิจกรรม ฝึกทักษะอาชีพด้านงานประดิษฐ์ ฝึกความพร้อมทางด้านร่างกาย กิจกรรม เหล่านี้ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กได้มาก ครูน�ำนาฏบ�ำบัดเข้ามาสามารถ พัฒนานักเรียนได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ เพราะครูเจอว่าเด็กๆ ในโรงเรียน ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาพื้นฐานจึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ชอบเก็บตัว พอครูน�ำเทคนิคการสอนของครูเข้ามาฝึกเด็ก ท�ำให้เด็กพัฒนาศักยภาพทาง ด้ า นร่ า งกายอารมณ์ สั ง คม พอเด็ ก ท� ำ ได้ ก็ เ กิ ด ความภาคภู มิ ใ จในตั ว เอง กล้าแสดงออกมากขึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้น

ครู ธ ั ช ชา เพิ ่ ม เพี ย ร โรงเรียนบ้านทุ่งเลน จังหวัดศรีสะเกษ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

69


เนื่องจากโรงเรียนประสบปัญหาทางด้านภาษาในการสื่อสาร เด็กที่จบไปแล้วกว่าครึ่งไม่สามารถ อ่านออกเขียนได้ ครูธัชชามองเห็นว่าในพื้นที่นี้เด็กใช้ภาษาเขมรในชีวิตประจ�ำวันอยู่แล้ว น่าจะใช้ ประโยชน์จากพื้นฐานทีเ่ ด็กมี ครูจึงจัดท�ำโครงการภาษาเขมรถิน่ ไทย โดยเป็นการสอนร่วมระหว่าง ครูเขมรถิ่นไทยและครูไทย มีการจัดท�ำสื่อการเรียนการสอนเป็นแบบ 2 ภาษาในเล่มเดียวกัน ทั้งท�ำหนังสือนิทานและหนังสือเรียนโดยการน�ำเอานิทานพื้นบ้านทั้งของเขมรและของไทยมาเล่า ให้สนุกสนานเพื่อหลอกล่อให้เด็กรู้สึกสนุกสนานไปกับการเรียนการสอนและซึบซับภาษาไทย ทั้งการสะกดและการอ่านออกเสียง นอกจากเด็กจะรู้สึกเพลิดเพลินแล้วยังท�ำให้เด็กรู้สึกใกล้ชิด ภาษาไทยและครูผู้สอนมากขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่น�ำอุปสรรคมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อเด็ก แปลงจุดอ่อนให้กลายเป็นจุดเด่นขึ้นมาได้อย่างสวยงาม

พ่อแม่ไม่ยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น ครู ไทยของแผ่นดินเกือบทุกโรงเรียนเปิดรับเด็กพิเศษมาเรียนร่วม หรือในบางกรณีที่ครูเป็น ผู้พบว่าเด็กบางคนมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้บางอย่าง เมื่อพบเด็กพิเศษ หรือที่เรียกอีกอย่าง ว่า “เด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ” ครูมกั จะแจ้งให้ผปู้ กครองรับทราบ เพือ่ หาทางร่วมมือกันดูแลเด็ก อย่างถูกต้อง เพราะเด็กพิเศษจ�ำเป็นต้องได้รับการดูแลในลักษณะเฉพาะให้เหมาะสมกับสภาวะ การเรียนรู้ของเด็กพิเศษที่ต่างจากเด็กทั่วไป

70

14 แรงบันดาลใจ


ครูศภุ มาศ คงคาช่วย พบว่าผูป้ กครองมีความไม่เข้าใจเรื่องนี้ และมักไม่ยอมรับ ว่าลูกต้องได้รับการดูแลแตกต่างจากเด็กอื่น ครู ศ ุ ภ มาศ คงคาช่ ว ย

อุปสรรคทีพ่ บเสมอคือผูป้ กครองไม่คอ่ ยยอมรับสภาพของลูก คิดว่าลูกปกติ หาว่าครูยดั เยียดให้ลกู เป็นเด็กพิเศษ แต่สงิ่ ทีน่ า่ ดีใจคือขณะนีม้ กี ฎหมายออกมา ใหม่ เด็กพิเศษไปขึ้นทะเบียนคนพิการ บกพร่องทางการเรียนรู้จะได้รับเบี้ย ดูแลเดือนละ 700-800 บาท และได้สิทธิรักษาพยาบาลฟรี ครูต้องอาศัย คุยท�ำความเข้าใจกับผู้ปกครองบ่อยๆ และการคัดกรองเด็กโดยการทดสอบ ของแพทย์

โรงเรียนบ้านโพหวาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แม้พบอุปสรรคทัง้ จากตัวเด็กเองทีค่ รูตอ้ งดูแลเด็กพิเศษอย่างใกล้ชดิ และยังต้องท�ำความเข้าใจกับ ผู้ปกครอง แต่ครูไทยของแผ่นดินทุกคนรับมือกลุ่มเด็กพิเศษได้อย่างพิเศษมาก ครูสามารถท�ำให้ เด็กพิเศษร่วมเรียนรู้กับเด็กทั่วไปได้ ครูคิดค้นวิธีการและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก พิเศษ ครูให้เด็กพิเศษเข้าร่วมท�ำกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ และพัฒนาการ ด้านอารมณ์และสังคม หรือครูบางคนให้เวลาพิเศษนอกเวลาการเรียนการสอนปกติเพื่อเสริมการ เรียนรู้ให้กับเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนา และสามารถเรียนรู้ได้มากที่สุด

ความแตกต่างคืออุปสรรค ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม เมื่อครูพบกับเด็กที่ไม่ได้พูด ภาษาไทยเป็นภาษาแรก ครูบางคนใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น ดังเช่นครูธัชชา เพิ่มเพียร โรงเรียนบ้าน ทุ่งเลน จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อพบว่าเด็กส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรในชีวิตประจ�ำวัน ครูท�ำนิทานสอง ภาษาเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาไทยได้ดีขึ้น ทั้งยังได้เรียนรู้ภาษาเขมรไปในตัวด้วย ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

71


ครูฟารีละห์ เจะโซะ สังคมมุสลิมเด็กส่วนใหญ่พูดภาษาไทยไม่ได้ บางครั้ง ครูพบเด็กที่ไม่ยอมใช้ภาษาไทยเพราะไม่มีความมั่นใจทั้งการพูด การอ่าน หรื อ การเขี ย น ครู ฟ ารี ล ะห์ จึ ง ต้ อ งหากลยุ ท ธ์ เ พื่ อ ให้ นั ก เรี ย นชอบเรี ย นรู ้ ภาษาไทยให้ได้ ชอบสอนในรูปแบบที่หลากหลาย พยายามหาอะไรมาสอนให้เด็กสนใจ ครู ฟ ารี ล ะห์ เจะโซะ โดยครูจะรู้ว่าโดยธรรมชาติของเด็กจะชอบเล่นเกม ชอบเพลง ก็จะให้เด็กมี ส่วนร่วมในการเรียน โดยวิธีการสอนจะไม่มีรูปแบบตายตัว ส�ำคัญที่สุดคือ โรงเรียนบ้านป่าม่วง จังหวัดปัตตานี การต้องใช้สื่อ หนังสือ เกม นิทาน เพลง ครูจะพูดคุย ถามค�ำถาม คอยกระตุ้น ให้เกิดการตอบค�ำถามอยูเ่ สมอ และยังเพิม่ การขยับตัวให้กบั เด็กนักเรียน ท�ำให้ บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีชาวเขาอาศัยอยู่มาก ครูฉันทนา ศรีศิลป์ รับอาสาดูแล เด็กชาวเขาที่มาพักในหอพักโรงเรียนจ�ำนวนหลายร้อยคน ในระยะเริ่มแรก ครู ฉ ั น ทนา ศรี ศ ิ ล ป์ ชาวบ้านในชุมชนกังวลและไม่ยอมรับให้มีเด็กชาวเขามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ แต่ครูฉันทนาไม่ยอมให้เด็กๆ ถูกกีดกันจากอคติใดๆ ครูพาเด็กๆ ท�ำกิจกรรม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่างๆ ร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้จักเด็กๆ เมื่อเกิดการเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน ในที่สุดชาวชุมชนก็ยอมรับว่าเด็กชาวเขานั้นน่ารักและมีศักยภาพ มากมาย พวกเขาควรได้รับโอกาสและความเอื้ออาทรจากชาวบ้านเหมือน ดั่งเป็นลูกหลาน

72

14 แรงบันดาลใจ


สังคมมุสลิมที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกสาวออกไปค้างคืนที่ไหน ท�ำให้ครูธีระยุทธ เสนาทับ ครูพละผู้อยากให้เด็กๆ ได้เปิดโลกทางการกีฬาด้วยการออกไป แข่งขันในทีต่ า่ งๆ ต้องหาทางพิสจู น์ตวั เองให้ชาวบ้านไว้ใจให้ดแู ลลูกหลาน ครู ธีระยุทธไม่เรียกร้องให้ชาวบ้านไว้วางใจในทันที แต่ทุ่มเทท�ำทุกสิ่งเพื่อเรียก ความเชื่อมั่นของชาวบ้าน ให้เชื่อมั่นในความตั้งใจจริงด้านกีฬาของครู และ เชื่อมั่นในตัวเด็กๆ ทั้งเด็กหญิงเด็กชายที่ตั้งใจฝึกซ้อมกีฬา เมื่อชาวบ้านเริ่ม เห็นผลงานชนะการแข่งขัน ได้เห็นว่าลูกๆ ห่างไกลยาเสพติดเพราะครูธรี ะยุทธ ช่วยเป็นหูเป็นตาและชักชวนให้เด็กๆ ใช้เวลาว่างไปกับการท�ำกิจกรรมกีฬา จนกระทั่งในที่สุดชาวบ้านไว้วางใจยอมให้พาลูกสาวไปแข่งกีฬาต่างจังหวัดได้ แต่กว่าที่จะได้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ครูธีระยุทธต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนักมาก

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

แรงเสียดทานจากเพื่อนร่วมงาน กรณีที่พบมากเมื่อครูเริ่มท�ำกิจกรรมต่างๆ กับนักเรียนมากขึ้น เพื่อนครูบางคนเริ่มแสดงอาการไม่ พอใจ เพราะถูกเปรียบเทียบ และท�ำให้เพือ่ นครูคนอืน่ ๆ ต้องท�ำงานมากขึน้ เข้าท�ำนองท�ำดีแต่อย่า เด่นจะเป็นภัย กรณีนี้มักเกิดกับครูที่ท�ำงานแล้วผู้อ�ำนวยการชื่นชม แต่กลับท�ำให้เพื่อนครูเกลียด ถ้าพบกรณีเช่นนีค้ รูตอ้ งท�ำใจให้เข้มแข็ง และอดทนท�ำงานต่อไป เพือ่ เห็นแก่เด็ก ไม่ใช่เห็นแก่เพือ่ น ครูที่ไม่ชอบ อย่างไรก็ตามครูมีความหวังว่า วันหนึ่งเพื่อนครูจะเข้าใจในสิ่งที่ครูเป็น และหันมาให้ ความร่วมมือกันท�ำงานพัฒนาเด็กต่อไป หัวหน้างานไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ครูท�ำ ทั้งในรูปแบบไม่อนุมัติงบประมาณ ไม่ให้ความร่วมมือ และ ไม่น�ำไปพิจารณาเป็นผลงาน เหล่านี้ล้วนบั่นทอนก�ำลังใจของครู แต่ครูไทยของแผ่นดินพยายาม ก้าวข้ามไปให้ได้ โดยมีหลักคิดที่ว่า เมื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาแก่เด็ก เมื่อครูพาเด็กไปได้ รับรางวัลต่างๆ หัวหน้าหรือผู้อ�ำนวยการโรงเรียนก็จะเริ่มเข้าใจและมองเห็นคุณค่าของครูเอง ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

73


นอกจากรอเวลาให้หัวหน้ามองเห็นคุณค่าของงานแล้ว ครูยังท�ำใจเผื่อไว้ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ ไม่มีใครเห็นความดีของครูเลย แต่ครูบอกว่า เมื่อเรารู้ว่าเราก�ำลังท�ำอะไรอยู่ และตัวเรามองเห็น ผลดีทเี่ กิดขึน้ กับนักเรียน แค่นคี้ รูกส็ ขุ ใจแล้ว และนัน่ ท�ำให้ครูไม่ทอ้ แท้ยงั คงท�ำงานต่อไปไม่หยุดยัง้

ต้องสอนไม่ตรงสาย ด้วยความจ�ำเป็นหลายประการในระบบการศึกษา ครูหลายคนมักไม่ได้สอนตรงสายที่เรียนจบมา ไม่ได้สอนในสิ่งที่ตัวเองถนัด แต่เมื่อจ�ำเป็นต้องสอนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ครูจึงต้องแสวงหา ความรูใ้ หม่เพือ่ น�ำมาสอนนักเรียน เมือ่ ใช้นกั เรียนเป็นตัวตัง้ เป้าหมายคือเพือ่ ให้นกั เรียนของครูได้ เรียนรู้ตามหลักสูตร ครูไม่ย่อท้อหรืออิดออด ครูวริยากร อัศววงศานนท์ เล่าถึงหลักคิดที่ท�ำให้ สามารถสอนในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และยังท�ำได้ดีอีกด้วยว่า มีความคิดว่าเราจะต้องเป็นครูที่ท�ำเพื่อเด็ก จบวิทยาศาสตร์มา แต่ต้องมา สอนวิชาการงานเพราะโรงเรียนขาดครูดา้ นนี้ แม้จะท�ำอาหารไม่เป็น ก็ไม่ยอ่ ท้อ ครู ว ริ ย ากร อั ศ ววงศานนท์ อาศัยดูจากสามีท�ำแล้วอธิบายให้เด็กฟัง เด็กนักเรียนสามารถชนะการแข่งขัน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ท�ำอาหารจนได้รบ ั รางวัลถ้วยประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ จังหวัดปทุมธานี ต่อมาครูสอนวิทยาศาสตร์ขาดเลยได้สอนวิทยาศาสตร์กพ็ ยายามทุม่ เทสนับสนุน ดูแลให้เด็กเข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องท�ำถึง 5 โครงงาน คิดว่า ถ้าไม่มีใครท�ำ โรงเรียนก็จะไม่มีผลงาน เด็กจะไม่มีโอกาสได้รับประสบการณ์ จากข้างนอก จึงยอมทุ่มเทเตรียมตัวตั้งแต่เปิดเทอมในเดือนมิถุนายนเพื่อเข้า แข่งขันในเดือนสิงหาคม ให้เวลาทุ่มเทไปโรงเรียนแต่เช้ากลับมืด ตอนนั้น ผู้บริหารยังไม่ได้เห็นผลงานของเรา จนในที่สุดเด็กนักเรียนของครูสามารถ กวาดรางวัลได้ทั้งหมด ประสบความส�ำเร็จมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน 74

14 แรงบันดาลใจ


ไม่มีสิ่งใดมากีดกั้นนักเรียนของครูได้ ครูต้องพบกับปัญหาของนักเรียนทุกรูปแบบ ทั้งเด็กเกเร เด็กยากจน เด็กที่มีปัญหาครอบครัว และ อื่นๆ อีกมากมาย ครูช่วยเหลือเด็กโดยไม่เลือกเชื้อชาติศาสนา แม้แต่เด็กที่ไม่มีสัญชาติ ครูก็ไม่ ทอดทิ้ง ครูไม่ได้มองว่าเด็กเป็นคนชาติไหนเผ่าพันธุ์ใด แต่เด็กคนนั้นคือนักเรียนของครู ครูบรรเจิด ถาบุญเรือง โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดูแล ช่วยเหลือเด็กไร้สญั ชาติ และพยายามท�ำทุกวิถที างให้นกั เรียนของครูมสี ญั ชาติ เพื่อให้ได้รับสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับเด็กอื่นๆ แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย และ ยังมองไม่เห็นทางส�ำเร็จ

ครู บ รรเจิ ด ถาบุ ญ เรื อ ง โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

นักเรียนชั้น ม.2 มีความเป็นผู้น�ำ แต่จะมีจุดด้อยในเรื่องของสัญชาติ เพราะน้องเป็นเด็กที่ไม่มีสัญชาติ จึงค่อนข้างที่จะสนิทกันเพราะต้องเข้าไปช่วย ในส่วนของการขอสัญชาติ น้องคนนี้พอตกเย็นหลังเลิกเรียนก็ไปช่วยแม่ที่เป็น ลูกจ้างอยู่ร้านอาหาร เราเลยเกิดความประทับใจว่าเป็นเด็กตั้งใจ มุมานะ และ ขยันอดทน ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ความยากล�ำบากในชีวิตของครู ไม่ได้มีเพียงเรื่องการเรียนการสอน ระบบ การศึกษา แต่ครูจ�ำนวนมากต้องแบกรับภาระต่างๆ ในชีวิตของเด็ก เมื่อครู เห็นเด็กก�ำลังเผชิญปัญหา ครูไม่มีทางท�ำเป็นมองไม่เห็นได้ เพราะครูถือว่า ภารกิจของครูคือ ท�ำทุกวิถีทางส่งเด็กทุกคนให้ถึงฝั่งให้ได้

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

75


ระบบการศึกษา VS ความทา้ ทายร่วมของครไู ทย ปัญหาส�ำคัญๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระบบการศึกษาไทย ทีค่ รูสว่ นใหญท่ วั่ ประเทศ ได้พบนั้นคล้ายกัน ซึ่งประสบการณ์จากครูไทยของแผ่นดินมีวิธีในการ เผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความมุง่ มัน่ และ จิตวิญญาณแห่งความเป็นครูผู้เอื้ออาทร เด็กยากจนขาดแคลน ความเหลื่อมล�้ำในสังคมไทยท�ำให้เด็กไทยจ�ำนวน มากยากจนและขาดแคลนในทุกด้าน ครูไม่ได้ดแู ลเด็กๆ แค่เรือ่ งการศึกษา แต่ยังต้องเข้าไปดูแลคุณภาพชีวิตของเด็กๆ ให้ดีขึ้น โรงเรยี นในทอ้ งถิน่ ห่างไกล โรงเรยี นในชนบทห่างไกลขาดแคลนอปุ กรณ์ ทีเ่ อือ้ ต่อการเรยี นการสอน ครูตอ้ งใช้ความคดิ สร้างสรรค์ พยายามหาทาง พัฒนาสื่อการเรียนการสอนจากสิ่งที่มีจ�ำกัด คุณภาพการศึกษาไมไ่ ด้มาตรฐาน ระบบการศกึ ษาไทยทีย่ งั ไม่ได้มาตรฐาน เด็กมีผลสัมฤทธิท์ างการเรียนต�ำ่ ท�ำให้ครูตอ้ งคิดค้นวิธกี ารพัฒนาคุณภาพ การศึกษาด้วยตนเอง การปะทะทางวัฒนธรรม เด็กหลากหลายชาติพนั ธุ์ เด็กสองภาษา เด็กทีม่ า พร้อมกับพ่อแม่แรงงานข้ามชาติ ฯลฯ คุณครูต้องพัฒนาเด็กเหล่านี้ อย่างเท่าเทียม ด้วยวิธีการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับเด็ก

76

14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 4 เปลี่ยนแปลงจากภายใน สู่ชีวิตที่สมดุล

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

77


78

14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

79


ครูไทยของแผ่นดินมีคุณสมบัติพิเศษบางประการ ครูทุกคนมีการพัฒนาชีวิตด้านใน มีการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากภายในส่วนลึกของจิตใจ ซึ่งเกิดขึ้น จากการที่มีเวทีให้ครูแต่ละคนได้มีโอกาสทบทวนชีวิต ของตนเองอย่างลึกซึ้งด้วยกระบวนการและวิธีการต่างๆ จนตกผลึกเป็นปัญญาญาณ ที่ท�ำให้ครูมีหัวใจของ ความเป็นครูอย่างแท้จริง

80

14 แรงบันดาลใจ


จิตตปัญญาศึกษา รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ กล่าวกับครู ไทยของแผ่นดินเกี่ยวกับแนวคิด “จิตตปัญญาศึกษา” ซึ่ง สามารถอธิบายหัวใจความเป็นครูของแผ่นดินได้เป็นอย่างดี กิจกรรมใน 4 วันนี้เป็นกระบวนการที่เรียกว่าจิตตปัญญาศึกษา อย่าง กิจกรรมที่เพิ่งจบไป ส่งผลให้เกิดความรัก เมตตา เป็นเพื่อน ไว้วางใจซึ่งกันและ กัน มีผลกับสองสามเรื่องคือ หนึ่ง รู้จักฟังคนอื่น คนเก่งมักไม่ค่อยฟังคนอื่น โดยเฉพาะคนที่คิดว่าตัวเองเก่ง คนอื่นไม่เก่ง จะรู้สึกร้อนเมื่อต้องฟังคนอื่น แต่ถ้าเราไม่ฟังคนอื่น เราก็จะไม่รู้เขา จิตตปัญญาศึกษาซึ่งเป็นเทรนด์ ใหม่ ของระบบการศึกษาในอนาคต ท�ำให้เราไม่ใช่แค่ฟังผ่านหู แต่ฟังแล้วรู้ว่าคนอื่น คิดอะไร สอง ได้ใคร่ครวญ ค่อยๆ คิด สาม ท�ำใจให้ใหญ่ คือ เห็นแก่คนอื่น ไม่เห็นแก่ตัวเอง กิจกรรมจิตตปัญญาที่คณะท�ำงานน�ำมาใช้กับคุณครู เป็นเทคนิควิธีหนึ่งที่คุณครู สามารถน�ำไปพัฒนาเด็ก แล้วจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น เด็กจะเปลี่ยนเป็นคนที่สมบูรณ์ มีการเติบโตเป็นคนดี ตอนนี้ดิฉันก�ำลังท�ำโครงการพัฒนาครูอยู่ด้วย การพัฒนา ครูด้วยการอบรมมักไม่ได้ผล เสียเงินของประเทศชาติมาก ต่อไปนี้จะมีแนวทาง การพัฒนาครูแนวทางหนึ่งที่เรียกว่า PLCE - Professional Learning Community Education ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ เป็นเทรนด์ใหม่ของการพัฒนาครู คือ การให้ครูมาแลกเปลี่ยนกัน ทุกคนเคารพไว้วางใจซึ่งกันและกัน คุณครูอาจจะ เป็นแกนที่เริ่มท�ำซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโดยวัฒนธรรมของครูยากที่ฟังคนอื่น โดยไม่มีปฏิกิริยา แต่ในโรงเรียนจ�ำเป็นต้องหากระบวนการให้เกิดการเปิดใจพูด คุยแลกเปลี่ยนกันให้ได้ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

81


ตัวอย่างของวิธกี าร เช่น การให้โจทย์ทบี่ อกให้คณ ุ ครูหาภาพทีม่ คี วามสุข ปรากฏ ว่าความสุขของคุณครูอยู่ที่เด็ก อยู่ที่ได้ช่วยเหลือเด็ก และเท่าที่ได้ฟังก็ได้เห็น ความรักของคุณครูทมี่ ตี อ่ เด็ก และเด็กเชือ่ มัน่ ในตัวครู เพราะฉะนัน้ ถ้าครูพดู ด้วย ใจที่เปี่ยมด้วยความรักจะมีอิทธิพลต่อเด็กมาก สิ่งที่ครูท�ำ จึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และสุดท้ายกว่าคุณครูจะมาอยู่ตรงนี้ได้ ผู้ที่เกื้อกูลคุณครูมาก ได้แก่ พ่อแม่ คนรอบข้าง นักเรียนก็มอี ทิ ธิพลต่อครูมาก ท่านจะอยากเป็นครูหรือไม่กต็ าม เมือ่ ได้เจอแววตา ความยากล�ำบากของเด็ก จากที่ไม่อยากเป็นครูก็อยากเป็นครู ทั้งหมดนี้เกื้อกูลคุณครูให้มาถึงตรงนี้ และหน้าที่ของคุณครูคือเกื้อกูลคนอื่น ในบทความเรื่อง “ผลการใช้จิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูส�ำหรับ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา”* อธิบาย ว่า *วันทนีย์ นามสวัสดิ์ ลงตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2557

แนวคิดและแนวปฏิบตั จิ ติ ตปัญญาศึกษา ได้แพร่ขยายจากกลุม่ นักการศึกษา และสถาบันต่างๆ โดยมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงในระดับ ต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายในตน ภายในองค์กรและภายในสังคม เป็นการ เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้ง โดยให้คุณค่าในเรื่องการเรียนรู้ด้วยใจอย่าง ใคร่ครวญ ด้วยกระบวนการและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การนั่งสงบอยู่กับ ตนเอง สุนทรียสนทนา กิจกรรมอาสาสมัคร ดนตรี ศิลปะ การเคลื่อนไหว โยคะ 82

14 แรงบันดาลใจ


ไทเก๊ก การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญและบันทึกการเรียนรู้ เป็นต้น จากการศึกษา ความเป็นมาและปัญหาเรื่องคุณภาพของครู ตลอดจนแนวคิด แนวปฏิบัติ จิตตปัญญาศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ภายในจิตใจเพื่อเกิดการ เปลี่ยนแปลงไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์

การเปลี่ยนแปลงสู่สมดุลชีวิต การเปลี่ยนแปลงจากภายในนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายทาง อาจเกิดจากการเรียนรู้บทเรียน ความผิดพลาดในอดีตของตนเอง เกิดการคิดใคร่ครวญอย่างลึกซึง้ จนสามารถสรุปบทเรียนทีท่ ำ� ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ค่านิยม คุณค่าที่ยึดถือ การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก การเปลี่ยน ที่ความคิด ท�ำให้ครูสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตและเปลี่ยนพฤติกรรมได้ การเปลี่ยนแปลงจากภายในนี้ช่วยให้ครูสามารถรักษาสมดุลชีวิตของครูได้ดีขึ้น ครูสามารถจัดสรร เวลาเพื่อดูแลองค์ประกอบต่างๆ ในชีวิตให้มีคุณภาพ ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว สังคม และ การงาน

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

83


วิธีการ

วางแผน จัดล�ำดับความส�ำคัญ วางเป้าหมายให้ชัด เป้าหมายระยะสั้น/ยาว เป้าหมายชีวิตครอบครัว/งาน วางแผนก่อนนอนทุกวัน ทบทวนตอนเช้า อะไรที่จัดการได้ท�ำก่อน ตื่นให้เช้าขึ้นเพื่อเพิ่มเวลา วางระบบในการจัดการให้ดี จัดตารางเวลาในแต่ละวัน แบ่งเวลา/งานครอบครัว/โรงเรียน ยืดหยุ่นตามสถานการณ์

84

14 แรงบันดาลใจ


เปลี่ยนแปลงตัวเองตอบโจทย์ชีวิต ประสบการณ์จากครูไทยของแผ่นดินหลายท่านได้สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงชีวิต ที่ครูแต่ละคน สามารถพลิกชีวิตของตนเองได้เพื่อเด็ก ซึ่งสิ่งที่ครูเปลี่ยนนั้นไม่เพียงท�ำไปเพื่อเด็กๆ ของครู แต่ การเปลี่ยนได้ตอบโจทย์ชีวิตของครูไปด้วย ครูอนุภาพ บุญซ้าย ผู้มีประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงตัวเองจากหน้ามือ เป็นหลังมือ จากครูที่ดุมาก นักเรียนกลัวจนตัวสั่น กลายเป็นครูที่ตลก สอนสนุก ครูอนุภาพคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เด็กเรียน คณิตศาสตร์ ได้ดีขึ้น ในขณะที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ครูกลับรู้สึกสนุก กับชีวิตการเป็นครูมากขึ้นด้วย ครูธีระยุทธ เสนาทับ พบว่าอุปสรรคแรกของการเป็นครูของเขาคือ การพา ตัวเองให้มาเป็นครู เนื่องจากครูเคยท�ำงานเอกชนมาก่อนเงินเดือนสูงมาก ท�ำใจได้ยากเหลือเกินในการมาเป็นครูน้อยเงินเดือนน้อยนิด ตอนแรกท�ำงานเอกชน งานต้องออกต่างจังหวัดบ่อยท�ำให้ไม่ได้อยู่ กับครอบครัว เลยสอบครู ได้ไปสอนโรงเรียนในชุมชนมุสลิมที่นราธิวาส เป็นครูพละ ได้ชว่ ยเหลือเด็กทีย่ ากจนให้ได้เรียน จัดหาเสือ้ ผ้าอุปกรณ์ตา่ งๆ ให้ พอเด็กโตแล้วไปเรียนต่อก็เขียนจดหมายมาขอบคุณ บอกว่า ‘ได้ดี เพราะคุณครู’ รู้สึกภูมิใจ ชื่นใจ ภูมิใจที่ลูกศิษย์ ได้ดีทุกคน ตอนนี้ถ้าจะให้ กลับไปท�ำงานเอกชนเงินเดือนดีๆ อีกก็ไม่เอา เพราะผมรักที่จะเป็นครู

ครู อ นุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์กูล จังหวัดสกลนคร

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

85


เปลี่ยนเด็กจากภายใน หากครูสามารถใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษากับเด็ก ครูสามารถมอบความรักและความเชื่อมั่น ให้กับเด็ก รับฟังเด็ก ไม่ด่วนตัดสินเด็ก อดทนในความบกพร่องหรือความเกเรต่างๆ ของเด็กด้วย เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ดังเช่นเรื่องราวของเด็กชายสุริยา ที่เปลี่ยนจากเด็กเกเรมาเป็นเด็กดีได้ด้วย ความเห็นอกเห็นใจของครูยุวรี มนต์เนรมิตร ครู ย ุ ว รี มนต์ เ นรมิ ต ร โรงเรียนบ้านเนินตะบก จังหวัดตราด

สุริยาจบการศึกษาไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เคยเป็นเด็กเกเร ยิงนก ตกปลา ข้องเกี่ยว กับอบายมุข และมีพ่อติดเหล้า มีปัญหาครอบครัว แต่เมื่อสุริยาได้พบกับ คุณครูยวุ รี ซึง่ ใช้ทกุ วิธกี ารบูรณาการเพือ่ ขัดเกลาเด็กน้อยให้หนั กลับมาสูห่ นทาง ที่ดี ทั้งการอบรมสั่งสอนอย่างเอาใจใส่ การชักชวนให้เด็กหันมาสนใจใช้ธรรมะ ในพุทธศาสนา การฝึกนั่งสมาธิ

ครูยุวรีไม่ตัดสินว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กเกเร ไม่มีทางกลับตัวได้ แต่ตรงกันข้าม ครูเชื่อว่าเด็กทุกคนอยากเป็นเด็กดี ในที่สุดด้วยความพยายามของครูยุวรี เด็กชายสุริยาก็กลับตัวมีชีวิตที่ดีขึ้น และยังสามารถช่วยท�ำให้พ่อเลิกเหล้าได้ เรื่องราวจากชีวิตจริงของเด็กชายสุริยาเคยถูกน�ำไปท�ำเป็นละครโทรทัศน์ ออกเผยแพร่ผา่ นสือ่ ต่างๆ มาแล้ว เพือ่ ให้เป็นอุทาหรณ์สำ� หรับสังคมว่า การให้ โอกาสเด็กคือสิ่งที่ดีที่สุดที่สังคมจะมอบให้เด็กได้

86

14 แรงบันดาลใจ


ความจริงในชีวิตของครู ครูอดุ มศักดิ์ ร่วมสุข เป็นผูท้ รี่ กั การเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนางานของตนเอง ครูเป็นคน ชอบปลูกต้นไม้ สนใจการปลูกต้นไม้มาตั้งแต่เด็กๆ ครูรักการอ่านถ้าไม่ได้ อ่านหนังสือจะนอนไม่หลับ ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร และสมุนไพร ต่างๆ ชอบศึกษาหาความรู้ และไม่เพียงให้ความรู้เด็กนักเรียนเท่านั้น แต่ยัง เผยแพร่ความรู้ให้กับคนชุมชนที่สนใจเรื่องการเกษตรด้วย

ครู อ ุ ด มศั ก ดิ ์ ร่ ว มสุ ข โรงเรียนบ้านพรุพ้อ จังหวัดสงขลา

ครูอดุ มศักดิ์ได้สง่ เสริมนักเรียนคนหนึง่ ทีส่ นใจเรือ่ งการจัดสวนถาด น้องพงศกร เด็กที่ชอบจัดสวนถาด ได้มาเรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการจัดสวนถาดและ สวนในขวดแก้วจากครู ครูอดุ มศักดิส์ นับสนุนให้นอ้ งพงศกรไปประกวดสวนถาด ขวดแก้วจนได้รางวัล จนน้องพงศกรรู้สึกเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงภายใน ตัวเอง รู้สึกได้ว่าตัวเองมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ครูอุดมศักดิ์ ผู้มีชีวิตเรียบง่ายสมถะมีทัศนคติที่ว่า “รางวัลหรือเกียรติยศ เป็นเรื่องมายา แต่สิ่งที่เป็นของจริงคือ ทักษะชีวิต ครูอยากให้ท�ำไปโดย ไม่ต้องหวังผลตอบแทนอะไร” สิ่งที่เป็นความจริงที่สุดส�ำหรับครูอุดมศักดิ์คือ ทักษะชีวิตที่ครูได้มอบให้กับ เด็กน้อยทุกคน ส่วนสิ่งอื่นๆ รางวัลต่างๆ ล้วนเป็นมายาที่เมื่อได้มาก็เป็น เพียงก�ำลังใจให้ครู

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

87


หลักคิด ไม่เอาปัญหาส่วนตนมากระทบเรื่องงาน/คนอื่น ชีวิตต้องรักษาสมดุลระหว่างงานและครอบครัว ต้องมีการวางแผน ต้องมีความสุข มีการพักผ่อนหย่อนใจ หน้าที่ต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด รู้คุณค่าของเวลา เวลาผ่านแล้วเอาคืนไม่ได้ ท�ำทันที ไม่ผลัดไป “เดี๋ยวก่อน” ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ อยู่กับปัจจุบัน

88

14 แรงบันดาลใจ


ครูสร้างนวัตกรรม เมื่ อ ครู ธั ช ชา เพิ่ ม เพี ย ร ตั ด สิ น ใจเข้ า ไปสอนในพื้ น ที่ ที่ ใ ช้ ภาษาเขมรและ ภาษาอีสานในชีวติ ประจ�ำวัน ครูใช้เวลา 1 ปีเต็มเข้าไปอาศัยกินนอนเป็นเหมือน สมาชิกในครอบครัวของชาวบ้านเพือ่ ทีจ่ ะได้เรียนรูภ้ าษาและวัฒนธรรมท้องถิน่ เพราะครูพบว่าความแตกต่างด้านวัฒนธรรม หรือหากครูไม่รู้วัฒนธรรมของ นักเรียน นั่นอาจเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนของครู

ครู ธ ั ช ชา เพิ ่ ม เพี ย ร โรงเรียนบ้านทุ่งเลน จังหวัดศรีสะเกษ

ผลของความทุ่มเทเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่อย่าง ลึกซึ้ง ท�ำให้ครูธัชชาสามารถคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอนได้ ครูจัดท�ำ โครงการภาษาเขมรถิ่นไทย จัดท�ำสื่อการเรียนการสอนเป็นแบบ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาเขมรในเล่มเดียวกัน ซึง่ เกิดผลดีตอ่ การเรียนรูข้ องเด็กมาก จากเด็กที่มีกว่าครึ่งจบไปแบบอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ด้วยความตั้งใจของ ครูธัชชาที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องท�ำให้เด็กที่เรียนจบอ่านออกเขียนได้ทุกคน

ประสบการณ์ของครูธัชชาคือ สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าเมื่อครูเปิดใจให้กับการ เรียนรูอ้ ย่างลึกซึง้ เอาตัวเองเข้าไปเรียนรูค้ วามแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง ประสบการณ์เช่นนั้นท�ำให้ครูสามารถคิดค้นนวัตกรรม เพื่อการเรียนรู้ของเด็กได้ตรงกับตัวตนและสิ่งที่เด็กเป็นได้ดีที่สุด ผลที่ออกมา คือ เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

89


ครู บ ุ ญ ธง ชั ย บิ น โรงเรียนราษฎร์สามัคคี จังหวัดนครพนม

นวัตกรรมการนั่งสมาธิและจิตอาสาของครูบุญธง ชัยบิน ครู ใช้หลักธรรม ในพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสานในการเรียนการสอน ครู ให้นักเรียนนั่งสมาธิ ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนทุกครั้ง เพื่อให้เด็กๆ มีสมาธิและความจ�ำดีขึ้น ครูเชื่อ ว่าการนั่งสมาธิแม้ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ ท�ำให้เด็กดึงสติกลับคืนมาอยู่กับ ปัจจุบัน และเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผลจากการที่ครูบุญธงน�ำเอาพุทธศาสนาเข้ามาช่วยในการสอนอยู่ตลอดเวลา และจากตัวครูบุญธงเองที่เป็นแบบอย่างให้กับนักเรียน ด้วยความที่ครูเป็น คนใจเย็นและพูดจาไพเราะกับทุกคน ท�ำให้เด็กนักเรียนหลายคนกลายเป็นเด็ก เรียบร้อย พูดจาสุภาพ มีสัมมาคารวะ เด็กๆ ที่เรียนจบจากโรงเรียนออกไปเป็น เด็กที่มีสมาธิ มีสติในการเรียนและการท�ำงานมากขึ้น หลายครั้งที่ลูกศิษย์ของ ครูน�ำเอาสิ่งที่ครูสอนไปใช้กับตัวเองในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การท�ำสมาธิก่อนที่ จะลงมือท�ำงาน นอกจากนี้ครูยังใช้กิจกรรมจิตอาสาเข้ามาใช้เพื่อการพัฒนาจิตใจของเด็ก ครูบญุ ธงจะท�ำโครงการจิตอาสาโรงเรียน และชวนเด็กๆ ออกไปช่วยเหลือชุมชน ให้เด็กสมัครมาเข้าร่วมโดยไม่ได้บังคับเด็กๆ แต่อย่างใดเพราะครู ไม่เชื่อ เรื่องการบังคับ ครูเห็นว่าการที่เด็กๆ ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนเป็นการ ขัดเกลาจิตใจให้เด็กรู้จักการเป็นผู้ให้ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กิจกรรมจิตอาสา ช่วยเหลือสังคม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน อย่างแท้จริง

90

14 แรงบันดาลใจ


การทีห่ วั ใจของครูเปิดกว้างพร้อมส�ำหรับการเปลีย่ นแปลงในทางทีด่ ขี นึ้ ช่วยให้ ครูมคี วามสุขในชีวติ มากขึน้ เมือ่ ครูมคี วามสุข ครูกส็ ามารถแบ่งปันความสุขไป สู่นักเรียน ครูที่พร้อมส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่เชื่อมั่นว่ามนุษย์สามารถ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น ครูจึงพร้อมที่จะช่วยเหลือให้เด็กๆ ทุกคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ครูเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะ เป็นคนดีได้ ขอเพียงมีคนที่คอยประคับประคอง ชี้แนะแนวทาง และเชื่อมั่น ในตัวเด็ก

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

91


การเปลี่ยนแปลงจากภายใน เปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองโลก ค้นพบคุณค่าอันแท้จริงที่ตัวเองต้องการ เปลี่ยนตัวเองสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม (ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ ครอบครัวและการงาน) สู่ชีวิตที่สมดุลอย่างรอบด้าน (การงาน ครอบครัว สุขภาพ ความสุข)

92

14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 5 พลังสร้างสรรค์สังคม

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

93


94

14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

95


“One good teacher in a lifetime may sometimes change a delinquent into a solid citizen.” Philip Wylie

ชั่วชีวิตของคนหนึ่งคน มีครูดีแค่เพียงหนึ่ง ก็เพียงพอจะเปลี่ยนเขาจากจอมเกเรให้เป็นยอดคน ฟิลลิป ไวลีย์ นักคิด นักเขียน และนักวิจารณ์สังคมชาวอเมริกัน

96

14 แรงบันดาลใจ


ครูมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม ครูผู้ทุ่มเทมักมีจิตส�ำนึกต่อส่วนรวมอย่างเข้มข้นมาก ครูรู้สึกว่าตนเองคือ ส่วนหนึ่งของสังคมที่อาศัยอยู่ ครูมองเห็นว่าตนเองคือพลังสร้างสรรค์สังคม

ครูไม่ทอดทิ้งเด็กที่มีปัญหา การช่วยเหลือเด็กทีป่ ระสบปัญหาต่างๆ ทัง้ เด็กทีพ่ อ่ แม่ตดิ เชือ้ เอชไอวี เด็กฐานะยากจนขาดโอกาส เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ครูไทยของแผ่นดินท�ำจนเป็นเรื่องปกติ ครูชว่ ยเหลือหาทุนการศึกษาให้เด็ก หรือแม้แต่สละทรัพย์สว่ นตัวเพือ่ ประคับประคองให้เด็กสามารถ เรียนต่อได้ ครูไม่ปล่อยให้เด็กเผชิญกับปัญหาต่างๆ เพียงล�ำพัง ครูมองว่าการไม่ละทิ้งเด็กคือ ภาระหน้าที่ของครูที่มีต่อสังคม ครูอนุภาพ บุญซ้าย กล่าวว่า ไม่ละทิ้งเด็กแม้สักคนเดียวไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นอย่างไร เด็กที่พิเศษ หรือมีความผิดปกติถ้าไม่มีครูรองรับ เด็กก็จะเสียโอกาส ประเทศชาติก็จะ เสียโอกาส เพราะเด็กพวกนั้นอาจจะมีอัจฉริยภาพในตัวเองหากได้รับการ พั ฒ นาส่ ง เสริ ม จากครู อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง เด็ ก เหล่ า นี้ ก็ จ ะเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ของ ชาติได้

ครู อ นุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย โรงเรียนเชิงชุมราษร์กูล จังหวัดสกลนคร

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

97


เมื่อวันที่เลือกอาชีพครู คงไม่มีครูคนไหนคาดคิดหรือรู้ล่วงหน้าว่าตนเองจะต้องมาเผชิญการ แก้ปัญหาที่นอกเหนือไปจากการเรียนการสอน โดยเฉพาะปัญหาที่อาจเสี่ยงถึงความปลอดภัย ของตัวครูเอง เช่นกรณีของ ครูอภิชาติ ประทุมนันท์ ครูศิลปะผู้เอาใจใส่นักเรียน ไม่เพียง ส่งนักเรียนที่สนใจศิลปะจ�ำนวนมากไปถึงฝั่งฝันตามสายวิชาชีพที่เป็นหน้าที่ของครู แต่ครูยังใช้ สัญชาตญาณและความเป็นครูโดยจิตวิญญาณ ท�ำหน้าที่ครูอีกด้วย ครูอภิชาติสังเกตเห็นความผิดปกติของเด็กคนหนึ่ง จนพบว่าเด็กถูกพ่อเลี้ยง ข่มขืน ครูเข้าช่วยเหลือเด็กออกมาจากสถานการณ์เลวร้าย ช่วยเยียวยาจิตใจ ให้เด็กกลับคืนสู่สังคมจนสามารถเรียนหนังสือจบได้ กรณีนี้เป็นลูกศิษย์ของครูที่โรงเรียนเดิมที่ครูสอน น้องเป็นเด็กที่มีปัญหา ทางบ้าน เด็กเป็นคนค่อนข้างหวาดระแวง ขีก้ ลัว บางวันก็ใส่หมวกมาเรียน จนครู ครู อ ภิ ช าติ ประทุ ม นั น ท์ เกิดความสงสัยและได้เรียกเด็กมาคุย และพบว่าเด็กโดนตบตีมา ครูจึงพาเด็ก โรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี ไปหาหมอและพาเด็กไปส่งทีบ่ า้ น เมือ่ ครูไปเจอสภาพบ้านและพ่อเลีย้ งของเด็ก ครูก็เกิดความสงสัยในตัวพ่อเลี้ยงที่แม้กระทั่งแม่ก็รู้สึกหวาดกลัวรวมถึงตัวเด็ก ด้วย จึงพาเด็กไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้ง และได้คุยกับพยาบาลที่สนิทกัน บอกว่าให้ตรวจภายในให้เด็กด้วย และผลที่ออกมาก็คือเด็กโดนพ่อเลี้ยงข่มขืน มานานแล้ว เมือ่ รูอ้ ย่างนัน้ จึงรวบรวมข้อมูลแจ้งทางมูลนิธิ และต�ำรวจให้เข้าจับกุม ด�ำเนินเรือ่ งให้ทางมูลนิธริ บั เด็กไปดูแล และช่วยให้เด็กเรียนหนังสือจนจบ ไม่ใช่แค่กรณีเด็กถูกคุมคามทางเพศที่ถือเป็นปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลา ปัญหายาเสพติดก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่หากเกิดขึ้นกับเยาวชนแล้ว นั่นคือ อุปสรรคอันใหญ่หลวงในการพัฒนาเด็กทุกๆ ด้าน 98

14 แรงบันดาลใจ


ครูธีระยุทธ เสนาทับ ให้ความส�ำคัญกับเรื่องการเฝ้าระวังยาเสพติด โดยใช้กีฬา มาหนุนเสริมให้เด็กๆ กลุม่ เสีย่ งหันมาใช้เวลาอย่างมีคณ ุ ค่า และมองเห็นคุณค่า ของตัวเอง การดูแลนอกห้องเรียนในส่วนวิชาพละ ได้ฝึกซ้อมเด็กในช่วงเย็นและวัน หยุด เรื่องยาเสพติดครูช่วยดูแลสอดส่องคอยระวังและสังเกตทั้งในและนอก ห้องเรียน ถ้าเด็กคนไหนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะมีการตรวจสอบ ถ้าพบว่าผิดปกติ จะน�ำเด็กไปเข้าศูนย์อบรมโดยท�ำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ อบต. เครือข่าย ชาวบ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งต้องท�ำงานร่วมกับเครือข่าย สถานศึกษา ช่วยเหลือเด็กบางรายจนเรียนจบการศึกษา ให้ทุน ค�ำปรึกษา หาที่ให้เรียนต่อ คอยสอดส่องและสอบถามลูกศิษย์อยู่เสมอทั้งที่เรียนอยู่หรือจบไปแล้ว

ครู ธ ี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ โรงเรียนบ้านปากเหมือง จังหวัดพัทลุง

ความส�ำเร็จในด้านกีฬาของครูธีระยุทธเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้ปกครอง โรงเรียนข้างเคียง และในวงการกีฬาท้องถิ่น บรรยากาศการสอนที่เป็นกันเอง ท�ำให้เด็กสนใจการฝึกซ้อม โรงเรียนและเด็กที่นี่มีชื่อเสียงเรื่องกีฬา ผลที่ตาม มาคือ กีฬามีส่วนช่วยให้เด็กปลอดภัยจากยาเสพติด วัฒนธรรมและความยากจนก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาและอุปสรรคที่ท�ำให้เด็กผู้หญิงหลายคนไม่มี โอกาสได้เรียนต่อ ครูบรรเจิด ถาบุญเรือง ท�ำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและผู้น�ำชุมชน เพื่อท�ำให้ เด็กนักเรียนได้เรียนต่อตามทีเ่ ด็กต้องการ ครูตอ้ งท�ำงานประสานทุกส่วนเพือ่ ให้ผปู้ กครองเห็นความ ส�ำคัญของการศึกษา

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

99


ครู บ รรเจิ ด ถาบุ ญ เรื อ ง โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ในโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้าเป็นเด็กชาวเขา และ กะเหรี่ยง จึงมีปัญหาในเรื่องของประเพณีและวัฒนธรรม ปัญหาความยากจน ส่วนใหญ่เด็กผู้หญิงมักจะถูกครอบครัวให้แต่งงานออกไป และไม่ได้เรียนต่อ ทั้งที่เด็กอยากเรียนหนังสือ ครูต้องเป็นตัวตั้งตัวตีด�ำเนินการร่วมกับองค์กร ต่างๆ เข้าไปช่วยพูดคุยให้ความรู้ว่าการศึกษานั้นมีความส�ำคัญกับเด็กมาก ขนาดไหน จนเด็กได้กลับมาเรียน เข้าไปดูแลในเรื่องของสุขภาพ ให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องสุขศึกษา รวมทั้งเรื่องการขอทุนการศึกษาให้กับเด็กอีกด้วย เมื่อเด็กคนใดมีปัญหา ครูบรรเจิดจะจัดการพบปะกับผู้น�ำหมู่บ้านเพื่อปรึกษา หารือหาทางออกร่วมกัน เป็นการท�ำงานร่วมกันทัง้ หน่วยงานของรัฐและชุมชน เพื่อหาทางแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับเด็ก

พัฒนาตนเอง พัฒนาเด็ก สู่การพัฒนาชุมชน ครูมองเห็นข้อจ�ำกัดต่างๆ ทีช่ มุ ชนยังขาดแคลน ครูได้แสดงบทบาทของความเป็นครูในการพัฒนา ชุมชน ครูปรีชา สวนส�ำราญ ครูท�ำงานในพื้นที่ห่างไกล ท่ามกลางเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และฐานะยากจน โรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ไม่มีงบประมาณอาหารกลางวันส�ำหรับมัธยม และชั้นเด็กเล็กที่อายุต�่ำกว่า 3 ปี ครูจึงท�ำโครงการเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก น�ำมาเข้าโครงการอาหาร กลางวันส�ำหรับเด็กมัธยมและเด็กเล็ก

100 14 แรงบันดาลใจ


ท�ำโครงการทักษะชีวิต มีพื้นที่สาธิตให้นักเรียนได้เรียนรู้อยู่ในโรงเรียน ภายในแปลงสาธิตก็ได้มกี ารเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ท�ำพลังงานทดแทน การท�ำงาน ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้จากวัสดุภายในชุมชน ท�ำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติจริง เกิดทักษะชีวิตแก่นักเรียน ใช้วิธีการสอนแบบพ่อสอนลูก สอดแทรกค�ำสัง่ สอนไว้ในทุกขัน้ ตอนของการเรียนรูใ้ นทักษะวิชาของเด็ก ท�ำให้ เด็กกล้าทีจ่ ะมาปรึกษาโดยไม่กลัวครู ผลผลิตทีเ่ หลือจากการเข้าครัวปรุงอาหาร ให้เด็กน�ำไปแปรรูปขายในชุมชน เป็นเงินมาหมุนเวียนซื้อพ่อแม่พันธุ์สัตว์ และเมล็ดพันธุ์ ในโครงการต่อไป ส่วนที่เหลือก็จะปันผลให้กับเด็กๆ เราเน้น บูรณาการหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน ผ่านการฝึกลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนที่มี คะแนนต�่ำหรือนักเรียนที่มีความประพฤติเกเร ครูจะเรียกมาพบและพาไป คุยกับผู้ปกครอง แล้วให้มาช่วยงานในโครงการ

ครู ป รี ช า สวนสำ � ราญ โรงเรียนบ้านรางกระต่าย (พิริยะประชาวิทยาคาร) จังหวัดกาญจนบุรี

ส่วนนอกห้องเรียนบ้านไหนที่มีฐานะไม่ดีและมีปัญหา ที่บ้านครูก็จะให้ความ ช่วยเหลือแบ่งเป็ดไก่ให้ สอนวิธีการเลี้ยงเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้ผู้ปกครอง นักเรียนบางคนที่ไม่ได้ส่งการบ้าน ครูจะไม่ใช้วิธีการดุหรือท�ำโทษ แต่ครูจะ เรียกมาถามว่าเพราะสาเหตุอะไรถึงไม่ได้ท�ำ หากพบว่ามีปัญหาหรืออุปสรรค เกี่ยวกับที่บ้านก็จะให้ความช่วยเหลือเป็นรายๆ ไป ทุกวันพฤหัสบดีครูปรีชาท�ำโครงการฝึกอาชีพโดยน�ำผลผลิตที่ได้จากไร่เศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนให้นักเรียนแปรรูปและท�ำเป็นอาหารต่างๆ เพื่อจ�ำหน่ายทั้งในและนอกโรงเรียน นอกจาก จะสร้างรายได้ เด็กๆ ยังได้เรียนรูว้ ธิ กี ารท�ำอาหารจากวัตถุดบิ ทีห่ าได้ในท้องถิน่ นักเรียนจะหมุนเวียน กันท�ำอาหารชนิดต่างๆ ท�ำให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้การท�ำอาหารได้หลายชนิด สามารถน�ำ ไปประกอบอาชีพได้จริงเมื่อจบการศึกษาออกไป และยังช่วยฝึกทักษะในการค้าขายอีกด้วย

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

101


เด็กที่บ้านมีฐานะยากจนและค่อนข้างเกเร ครูปรีชาดูแลโดยการดึงเด็กมาท�ำกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ ให้ความรูใ้ นการท�ำสิง่ ประดิษฐ์จากกระบอกไม้ไผ่ โดยให้ใช้เวลาว่างในช่วงเย็นและเสาร์อาทิตย์เพือ่ ไม่ให้ไปเกเรที่อื่น ด้านครอบครัวของเด็ก ครูปรีชาช่วยเหลือโดยให้พ่อแม่น�ำพันธุ์สัตว์ไปเลี้ยงและ แนะน�ำการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนัน้ ครูปรีชายังเปิดให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้ามาเรียนรูภ้ ายในโรงเรียนได้ มีการสาธิต การเลี้ยงสัตว์ปลูกผัก เช่น การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงกบในพื้นที่จ�ำกัด โดยคนในชุมชนส่วนมาก เป็นศิษย์เก่าที่รู้จักและรักใคร่ครูปรีชาเป็นอย่างดี

คุณมงคล แก้วดี ศิษย์เก่าของครูปรีชา ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 และ มีลูกชายที่เป็นลูกศิษย์รุ่นปัจจุบันของครูปรีชาด้วย เล่าว่าได้แนวคิดมาจากครู ปรีชา ที่บ้านของคุณมงคลขุดบ่อเลี้ยงปลาดุก มีแปลงปลูกผัก และเตาชีวมวล เพื่อลดการใช้พลังงาน ชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ชุมชนหมู่ 9 ของเราเคย เข้าร่วมประกวดชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ใหญ่บ้านและผมได้ไป ขอค�ำแนะน�ำจากครูปรีชา พาชาวบ้านไปเยี่ยมชมโครงการที่โรงเรียน จากนั้น ครูปรีชาก็ได้น�ำนักเรียนเข้าไปสอนวิธีการท�ำเตาชีวมวลใช้ในครัวเรือน แนะน�ำ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชผักสวนครัวให้กับชุมชน จนท�ำให้ชุมชนได้ รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ชุมชนต้นแบบของอ�ำเภอ ปัจจุบันชาวบ้านก็ยังคง ใช้เตาชีวมวลควบคู่กับเตาแก๊สอยู่เกือบทุกบ้าน มีการปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์ ไปด้วย

102 14 แรงบันดาลใจ


ครูผู้ไม่ยอมจ�ำนนต่อความขาดแคลน จากครูทเี่ คยสอนโรงเรียนสาธิตชือ่ ดังในกรุงเทพฯ และโรงเรียนนานาชาติทขี่ อนแก่น เมือ่ ครูธชั ชา เพิ่มเพียร ได้ตัดสินใจย้ายมาสอนที่โรงเรียนเล็กๆ ห่างไกลแห่งนี้ ครูมองเห็นความแตกต่างอย่าง มากมาย ทั้งสองโรงเรียนที่ครูเคยสอนมีความพร้อมทั้งทางด้านอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ และ สื่อการเรียนการสอน แต่เมื่อครูย้ายเข้ามาอยู่ที่โรงเรียนบ้านทุ่งเลน มีเพียงตึกไม้ตึกเดียวเล็กๆ มี ห้องน�้ำเก่าๆ ที่ก�ำแพงเอียงๆ ก�ำลังจะล้ม อาคารเรียนเด็กอนุบาลเล็กๆ เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้เข้า ห้องสมุดเพราะไม่มหี อ้ งสมุด ไม่มโี รงอาหาร ไม่มหี อ้ งพยาบาล ไม่มหี อ้ งคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ไม่มีห้องอะไรเลยนอกจากห้องเรียน รวมถึงสุขอนามัยของเด็กในโรงเรียนก็ไม่ดีเท่าที่ควร ด้วย ความเชื่อของครูธัชชาว่าโรงเรียนที่มีความพร้อมจะช่วยให้เด็กมีประสิทธิผลการเรียนและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ครูจึงท�ำทุกวิธีเพื่อท�ำให้โรงเรียนมีความพร้อมมากขึ้น ครูธัชชาพยายามแสวงหาแหล่งเงินทุนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ภาครัฐ หรือเอกชน ครูได้พากเพียรเขียนโครงการเพื่อขอความสนับสนุน ในการปรับปรุงโรงเรียน ตลอดระยะเวลามากกว่า 2 ปี โดยไม่เคยละความ พยายาม ผลจากความพยายามสิ่งแรกที่ได้คือ อาคารห้องสมุด จากการ ที่ ข อให้ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ศรี ส ะเกษและสถาบั น ราชภั ฏ 12 สถาบั น ของภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เข้ า มาช่ ว ยออกค่ า ยท� ำ ห้ อ งสมุ ด โรงเรียนจนส�ำเร็จ

ครู ธ ั ช ชา เพิ ่ ม เพี ย ร โรงเรียนบ้านทุ่งเลน จังหวัดศรีสะเกษ

ต่อมาครูมีโครงการปรับปรุงห้องน�้ำของโรงเรียน ครู ได้เขียนเรื่องไปขอ งบประมาณจากหลายที่ ในทีส่ ดุ ประสานงานกับมูลนิธสิ ำ� นักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาลจนได้งบประมาณ 2 แสนบาทเพื่อจัดท�ำห้องน�้ำห้องส้วม และในที่สุด ครูได้รับทุนจากมูลนิธิของประเทศญี่ปุ่นที่มอบทุนจัดสร้างอาคารเรียนให้กับ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

103


โรงเรียนที่ขาดแคลนสถานที่เรียน เมื่อตึกใหม่แล้วเสร็จครูจึงย้ายห้องสมุด มาอยู่ที่ตึกใหม่ และปรับปรุงห้องสมุดเดิมให้เป็นห้องคอมพิวเตอร์ โดย ขออนุเคราะห์คอมพิวเตอร์มาจากมูลนิธิกระจกเงา และตามมาด้วยห้อง พยาบาล ครูปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้และ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของเด็ ก โดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ ลงแรงกายใจและเงิ น ทุ น ส่วนหนึ่งจากคนในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนรักครูธัชชาเพราะรู้ว่าครูท�ำทุกอย่างเพื่อโรงเรียนและเด็ก จากโรงเรียนที่มีเรือนไม้เก่าๆ หลังเดียว ปัจจุบันโรงเรียนมีทุกอย่างไม่แพ้ โรงเรียนในเมือง ลูกหลานของชุมชนได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ครู มีความสามารถหลายด้านทั้งทางด้านวิชาการและดนตรีนาฏศิลป์ จาก เมื่อก่อนเด็กในชุมชนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปัจจุบันสามารถอ่านออก เขียนได้ พูดภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้น และความสามารถทางนาฏศิลป์ของ ครูสามารถท�ำให้โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระดับประเทศ หลายครั้ ง ชาวบ้ า นรั ก ครู เ พราะครู น� ำ ชื่ อ เสี ย งมาสู ่ โ รงเรี ย นและชุ ม ชน ท�ำให้ชุมชนเล็กๆ ติดชายแดนที่ไม่มีใครให้ความส�ำคัญได้รับโอกาสต่างๆ มากมาย

104 14 แรงบันดาลใจ


ชุมชนคือฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก การเรียนรู้โดยใช้ชุมชน เป็นฐาน (Community-based Learning) เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรม เป็นการ เรียนรู้ที่สนุกสนานจากสิ่งใกล้ตัว เป็นพื้นฐานให้นักเรียนสามารถต่อยอดจากภูมิปัญญาที่มี ในท้องถิ่น ด้วยเป็นพื้นที่อันอุดมด้วยศิลปวัฒนธรรมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ครูพรรณี ตั้งใจดี จึงท�ำหลักสูตรที่เรียกว่าบูรณาการกับท้องถิ่น มีการน�ำภูมิปัญญา ท้องถิน่ เข้ามาอยูใ่ นหลักสูตร โดยการให้เด็กได้เรียนรูเ้ รือ่ งวัฒนธรรม ประเพณี ขนมพื้นบ้านหรือสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ น�ำมาท�ำเป็นของเล่น ครูมองเห็นความโดดเด่นของผูค้ นในชุมชน จึงชักชวนให้เข้ามาเป็นวิทยากร เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูล�ำพูน ประริเตสังข์ เน้นการลงมือ ปฏิบตั จิ ริงโดยจัดหาวัสดุอปุ กรณ์ทงั้ ทางด้านศิลปหัตถกรรมและการท�ำอาหาร มาไว้เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ทั้งการแปรรูปอาหาร การท�ำอาหารคาวหวาน การท�ำผลิตภัณฑ์จากเสือ่ กก การน�ำวิทยากรจากภายนอก เช่น กลุม่ แม่บา้ น ในชุมชนมาสอนวิธีการทอเสื่อกก และแปรรูปเสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีการพาเด็กๆ ออกไปดูงานนอกสถานที่ เช่น การไปศึกษาดูงานและเรียนรู้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

ครู พ รรณี ตั ้ ง ใจดี โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

ครู ล ำ � พู น ประริ เ ตสั ง ข์ โรงเรียนสระขุดดงสำ�ราญวิทยา จังหวัดสุรินทร์

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

105


นอกจากนี้ในแต่ละปีเมื่อใกล้จะส�ำเร็จการศึกษา ครูล�ำพูนได้จัดมหกรรม รายงานผลพัฒนาการของผู้เรียน เผยแพร่งานประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรม การแปรรูปอาหารต่างๆ ฝีมอื นักเรียน เปิดโรงเรียนให้ผปู้ กครองและชาวบ้าน ในชุมชนเข้ามาชมผลงานของลูกหลาน โรงเรียนสระขุดดงส�ำราญวิทยาตั้งอยู่ใน อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็นแหล่ง ผลิตข้าวหอมมะลิท่ีส�ำคัญ ครูล�ำพูนจึงคิดน�ำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อเพิ่ม มูลค่าสร้างรายได้ให้กับชุมชน ครูได้ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านชุมชนหมู่ 1 ท�ำการ แปรรู ป อาหารซึ่ ง อยู ่ ใ นระหว่ า งการท� ำ เรื่ อ งของบประมาณจาก อบต. มีโครงการศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสระขุดส่งข้าวเข้าประกวดจนได้รับรางวัล ที่ 1 ในจังหวัดสุรินทร์และล�ำดับที่ 3 ของประเทศในปี 2556 และปี 2557 ชุมชนและครูล�ำพูนก�ำลังร่วมมือกันผลักดันโครงการแปรรูปอาหารและ ข้าวเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นจากผ้าไหมและเสื่อกก ที่มีอยู่แล้ว ทุกโครงการที่ครูล�ำพูนเข้าไปร่วมมือกับชุมชน นักเรียนของ ครูมีสิทธิเข้าไปร่วมเรียนรู้ได้ทุกขั้นตอน

106 14 แรงบันดาลใจ


ครูศรีวรรณ ฉัตรสุรยิ วงศ์ ด้วยความทีค่ รูเป็นคนในพืน้ ทีท่ ำ� ให้การท�ำกิจกรรม ในชุ ม ชนค่ อ นข้างราบรื่น ครูส ามารถขอความช่วยเหลือจากชุมชนจัด กิจกรรมทางวัฒนธรรม อาทิ โครงการคลองสวยน�้ำใส กิจกรรมร�ำลึก 189 ปี ปล่องเหลี่ยมวิถีแห่งลุ่มน�้ำท่าจีน กิจกรรมนีเ้ ป็นกิจกรรมทีค่ รูภมู ิใจมาก ด�ำเนินงานทัง้ หมดจนมีคนเข้ามา ร่วมงานมากมาย ท�ำให้มีคนเห็นความส�ำคัญของปล่องเหลี่ยมมากขึ้น แล้วเราส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมท�ำชิ้นงานเข้าร่วมแสดงในกิจกรรม วันนั้น หลากหลายตามกลุ่มวิชา แล้วเราให้เด็กนักเรียนได้ออกไปเรียนรู้ นอกห้องเรียน ไปดูภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน วิถีการใช้ชีวิต พานักเรียน ไปดูเรื่องแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แล้วให้ นักเรียนน�ำกลับมาสรุปท�ำเป็น E-book เรื่องราวของชุมชน เรียนแบบนี้ นักเรียนเกิดความสนุกในการเรียนรู้มาก

ครู ศ รี ว รรณ ฉั ต รสุ ร ิ ย วงศ์ โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม จังหวัดสมุทรสาคร

สุพรรณบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญจ�ำนวนมาก มีศิลปะพื้นบ้านเพลงอีแซว ทีม่ ชี อื่ เสียง ครูศรีอมั พร ประทุมนันท์ จึงสอนวิชาภาษาไทยโดยวิธบี รู ณาการ ให้เด็กเรียนรูเ้ รือ่ งราวเกีย่ วกับท้องถิน่ ของตัวเอง รูจ้ กั จุดเด่นของท้องถิน่ บ้าน ครู ศ รี อ ั ม พร ประทุ ม นั น ท์ เกิด สอดแทรกวิชาการร้องเพลงพื้นบ้าน ดนตรีไทย การร่ายร�ำ การแต่ง โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลอน และฝึกให้เด็กออกไปเรียนรู้โลกกว้างด้วยการไปเป็นมัคคุเทศก์น้อย การประเมินผลงานให้รุ่นน้องภายในโรงเรียนเป็นผู้ให้คะแนน เป็นการสอน ให้เด็กรู้จักแก้ไขและปรับปรุงตัวเองหากผลคะแนนออกมาไม่ดี โดยทุก กิจกรรมมีแกนหลักเป็นวิชาภาษาไทย

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

107


ชุมชนเรียนรู้ความแตกต่างหลากหลาย ในระยะแรกชาวบ้านในชุมชนบางคนไม่ค่อยเห็นด้วยให้มีเด็กนักเรียนชาวเขามาพักอยู่ในหอพัก โรงเรียน ครูฉันทนา ศรีศิลป์ จึงต้องพยายามหาวิธีให้ชาวบ้านและเด็กนักเรียนได้เรียนรู้ซึ่งกัน และกัน โดยให้เด็กๆ ได้ออกไปท�ำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านยอมรับเด็ก และ การออกไปท�ำกิจกรรมยังช่วยให้เด็กๆ ชาวเขามีความมั่นใจในตัวเอง และมีพัฒนาการด้านต่างๆ ดีขึ้นด้วย

ครู ฉ ั น ทนา ศรี ศ ิ ล ป์ โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

108 14 แรงบันดาลใจ

เนื่องจากเด็กชาวเขาส่วนมากบ้านอยู่ไกล ต้องใช้ระยะการเดินทางนาน และหนทางค่อนข้างล�ำบาก โรงเรียนจึงจัดให้มหี อพักให้เด็กนักเรียนรุน่ พีด่ แู ล รุ่นน้อง มีการเปลี่ยนเวรกันเพื่อท�ำงานในโรงเรียน มีการสร้างอาชีพโดยการ ท�ำของที่ระลึกจ�ำหน่าย มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและไว้จ�ำหน่ายเมื่อเหลือ เราท�ำทุกอย่างให้เด็กๆ ได้เข้าไปสัมพันธ์กบั ชุมชน ท�ำโครงการ ‘คบเด็กสร้าง บ้าน’ เป็นกิจกรรมทีร่ ว่ มกับหน่วยงานอืน่ ๆ และชุมชน กิจกรรมสร้างบุญ โดย การเคาะประตูสธู่ รรม ทุกวันก่อนวันพระจะมีการเชิญชวนคนในชุมชนออกมา ท�ำภารกิจท�ำวัตรเย็น มีธรรมะสัญจรโดยการให้เด็กๆ ไปร่วมสวดมนต์กับ คนเฒ่าคนแก่ที่ไม่สามารถไปวัดได้ กิจกรรมสร้างยิ้มทุกวันพฤหัสบดีจะน�ำ นักเรียนไปยังชุมชนเพื่อท�ำกิจกรรม 12 คุ้ม แบ่งกันท�ำความสะอาดให้กับ ชุมชน กิจกรรมสร้างรักเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับการท�ำงาน โดยมี กิจกรรมคือ การพับกระดาษร่วมกับคนในชุมชนในเวลาว่าง และได้เกิดการ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน


นอกจากนี้โครงการล่าสุด ครูฉนั ทนาได้รว่ มกับชุมชนเปิดร้านกาแฟ และให้เด็กนักเรียนในโรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อเป็นการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ ปัจจุบันชาวบ้านให้การ ยอมรับนักเรียนทุกคน และเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อเด็ก เริ่มมองเห็นว่าเด็กทุกคนไม่ว่ามีที่มาจาก ที่ใดสามารถเป็นคนดีของสังคมได้ ถ้าสังคมยอมรับและให้การสนับสนุนพวกเขา

แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ นอกจากการใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้แล้ว ครูศรีวรรณ มหาเทพ ยังมีโครงการต่อยอด ภูมิปัญญาเรื่องสมุนไพรเพื่อแก้ปัญหาการติดเหล้าติดบุหรี่ของคนในชุมชนด้วย เราสอนให้เด็กๆ ภูมิใจ รักในภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดท�ำหลักสูตรท้องถิ่น ที่มาจากค�ำเมืองที่ว่า ‘ของกิ๋นบ่กิ๋นฮู้เน่า ของเก่าบ่เล่าฮู้ลืม’ เป็นหลักสูตร ที่น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องอาหารและศิลปวัฒนธรรมต่างๆ น�ำกลับมาให้ เด็กๆ ได้เรียนรู้ เช่น ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การท�ำข้าวคั่วและการปักตุง โดยมี พ่ออุ้ยแม่อุ้ยซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่มาเป็นผู้สอนให้กับเด็ก

ครู ศ รี ว รรณ มหาเทพ โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จังหวัดเชียงราย

มีกิจกรรม ‘ละ เลิก เหล้า’ เราพบว่ามีผู้ปกครองและคนในชุมชนที่ติดเหล้า จึงคิดให้นกั เรียนจัดท�ำชาสมุนไพรเพือ่ ลดการดืม่ เหล้า สมุนไพรเป็นสมุนไพร พื้นบ้าน เช่น หญ้าหมอน้อย เป็นสมุนไพรส�ำหรับลดละเลิกบุหรี่ได้ด้วย เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ต้องจัดหาหญ้าหมอน้อย หญ้าน�้ำนมราชสีห์ และ หญ้างวงช้าง เพื่อน�ำมาแปรรูปเป็นชาสมุนไพร แล้วน�ำออกแจกจ่ายให้คน ทีต่ ดิ เหล้าติดบุหรี่ เรายังมีการแปรรูปเป็นลูกอมเพือ่ สะดวกในการรับประทาน อีกด้วย ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

109


โครงการภูมปิ ญั ญาเรือ่ งสมุนไพรยังเป็นการคิดแก้ปญั หาสังคมอย่างสร้างสรรค์ เด็กๆ ได้เรียนรูเ้ รือ่ ง สมุนไพร เรียนรู้เรื่องการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และได้เรียนรู้ผลเสียจากการดื่มเหล้าและ สูบบุหรี่ไปในตัวด้วย เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสามตัวเลยทีเดียว

สร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคม ครูมีบทบาทโดยการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับเด็ก ครูณัชตา ธรรมธนาคม ได้ใช้กิจกรรมการแสดง และนาฏศิลป์เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ ห่างไกลจากสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก

ครู ณ ั ช ตา ธรรมธนาคม โรงเรียนศูนย์รวมน้ำ�ใจ กรุงเทพมหานคร

110 14 แรงบันดาลใจ

ครูณัชตาชักชวนให้เด็กๆ มาฝึกซ้อมการร�ำและการแสดง พาเด็กๆ ไปเข้า ประกวดในเวทีต่างๆ เพื่อให้มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ ในขณะที่เด็กหลายคนใช้ พื้นฐานจากชมรมนาฏศิลป์ของครูเข้าสู่วงการการแสดง สามารถหารายได้ จากความสามารถพิเศษที่มี เช่น คุณเอ็ม หัวหน้าวงคิดบวกสิบ ที่มีชื่อเสี ย งจากรายการไทยแลนด์ ก็ อ ตทาเลนต์ คุ ณ เอ็ ม เริ่ ม เรี ย นรู ้ การแสดง การเต้น และการร�ำจากชมรมของครูณัชตา ด้วยความขยันฝึกซ้อมและ พรสวรรค์ เมื่อจบจากโรงเรียนศูนย์รวมน�้ำใจ ครูณัชตามีส่วนแนะแนว ทางและสถานที่เรียนต่อให้กับคุณเอ็ม จนกระทั่งคุณเอ็มเรียนจบในด้านที่ ตนชอบ ทุกวันนี้หากมีโอกาสคุณเอ็มก็เข้ามาช่วยงานที่โรงเรียนเสมอ เพื่อ ส่งต่อแรงบันดาลใจให้น้องๆ


โรงเรียนอยู่ในชุมชนแออัด กิจกรรมในชุมชนจึงไม่ค่อยมี เด็กหลายคน ครอบครัวมีปัญหา เราใช้วิธีการช่วยเหลือเด็กในชุมชน ด้วยการชวนเด็กๆ ที่ สนใจมาท�ำกิจกรรมกับชมรมนาฏศิลป์ ป้องกันไม่ให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรม ส่งเสริมให้เด็กหลายคนได้มีโอกาส ได้ท�ำงาน หารายได้จากความสามารถ พิเศษด้านนาฏศิลป์ การฟ้อนร�ำ และการแสดง ครูณัชตากล่าวว่าแม้ไม่ได้มีโอกาสท�ำงานร่วมกับชุมชนมากนัก แต่การดูแล ลูกหลานของคนในชุมชนอย่างดีที่สุด ส่งนักเรียนให้ถึงฟากฝั่งชีวิตอัน ดีงาม นี่คือการท�ำให้สังคมดีขึ้นได้เช่นกัน ครูได้เรียนรู้มากมายจากการเข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงชุมชนที่ ตนเองเป็นสมาชิก ครูได้เชื่อมโยงโลกภายนอกเข้ามาสู่โรงเรียน ครูพาเด็กๆ ออกไปสัมผัสชีวติ จริง ครูหาวิธกี ารส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ให้กับเด็ก ครูก�ำลังเตรียมนักเรียนให้พร้อมส�ำหรับการออกไปเผชิญโลกของ ชีวิตจริง ในสังคมยุคใหม่นอกรั้วโรงเรียน ที่มีบททดสอบอีกมากมายรอ นักเรียนอยู่

“ต้นทาง” แห่งการพัฒนาสังคม ครูมีบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เติบโตเป็น บุคลากรทีม่ คี ณุ ภาพของสังคม ครูจงึ เป็นทัง้ ต้นทางในการสร้างสังคมคุณภาพ และยังมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

111


ครูมีจิตส�ำนึกต่อส่วนรวม ส�ำนึกในบทบาทของครูที่ต้อง สร้างคนคุณภาพออกสู่สังคม ั หา ครูพยายามประคับประคองและแก้ไขให้เด็ก ครูไม่ทอดทิง้ เด็กทีม่ ปี ญ ทุกคนเติบโตขึ้นไป โดยไม่เป็นภาระของสังคม ครูสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้เด็ก ให้เด็กๆ รู้จักเลือกเดินในเส้นทางที่ดีงาม ครูมีบทบาทในงานพัฒนาชุมชน ครูเข้าไปร่วมมือกับชาวบ้านพัฒนา ชุมชนให้น่าอยู่ขึ้น ครูใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้คุณค่าที่มีใน ท้องถิ่น และต่อยอดสู่อนาคต ครูคิดหาทางแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ครูไม่ได้มองแค่ใน โรงเรียน แต่มองกว้างออกไปในสงั คม มีบทบาทในการช่วยแก้ไขปัญหา ต่างๆ ครูเชือ่ ว่าหากนักเรียนได้อยูอ่ าศัยในสภาพแวดล้อมทีด่ ี ย่อมเสริม หนุนให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น 112 14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 6 ศิลปะของการเป็นครู

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

113


114 14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

115


วิถีของครูที่แท้จริง คือศิลปะในการใช้ชีวิตทุกด้าน ให้สอดคล้องกับเส้นทางชีวิตการเป็นครู มีทักษะในวิชาชีพของตนเอง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในทุกจังหวะที่ก้าวเดินไปข้างหน้าคือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

116 14 แรงบันดาลใจ


นิยามใหม่ของครูในยุคนี้คือ ผู้อ�ำนวยบรรยากาศให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ของเด็กมีหลายมิติ ครูจ�ำนวนมากจึงพัฒนาการเรียนการสอน ที่มิใช่เพียงในห้องเรียน หากแต่ขยายขอบเขตการเรียนรู้ในห้องเรียน ออกไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่ช่วยเสริมทักษะชีวิตในด้าน ต่างๆ ให้กับเด็ก ครูพยายามพัฒนาการเรียนการสอนให้สามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัว เด็กให้เปล่งประกายออกมาให้ได้ ใช้การมีสว่ นร่วมของเด็กในกระบวนการ เรียนการสอน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการตั้งโจทย์การเรียนรู้ และหาค�ำ ตอบด้วยตนเอง ซึ่งในกระบวนการค้นหาค�ำตอบด้วยตนเองเป็นวิธีการ สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กได้ดีมาก

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเด็กผ่านกิจกรรมชมรม ซึ่งเป็นการสร้างการเรียนรู้ตามความสนใจ ของนักเรียน การท�ำกิจกรรมชมรมเพื่อตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของเด็กเป็นตัวตั้ง ด้วย กระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ ครูต้องท�ำงานหนักมากขึ้นเพื่อค้นคว้าหาความรู้ในแต่ละประเด็นที่ เด็กสนใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือวิชาการสอนปกติ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

117


ศิลปะของการเป็นครูที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ ครูเข้าใจธรรมชาติการ เรียนรู้ของเด็ก เด็กๆ ชอบความสนุกสนาน เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีเมื่ออยู่ใน บรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดังนั้น การเรียนรู้อย่างสนุกสนานจึงเป็นอีกทักษะ หนึ่งที่ครูไม่ควรมองข้าม

ศิลปะในการสอนให้สนุก ครูหลายคนได้เปิดมุมมองให้เด็กๆ เห็นว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก ครูเปลี่ยนการเรียน การสอนให้เป็นเรือ่ งสนุก เชือ่ มโยงบทเรียนกับวิถชี วี ติ ให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม ครูสามารถ สอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย รู้จักประยุกต์ใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่าง สนุกสนาน ครูคือผู้กระตุ้นการเรียนรู้ อ�ำนวยให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เพื่อให้ สามารถดึงศักยภาพที่ดีที่สุดในตัวเด็กออกมาให้ได้

118 14 แรงบันดาลใจ


ครูอนุภาพ บุญซ้าย ครูผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่อง สนุกของทั้งตัวครูเองและเด็ก ผมสอนคณิตศาสตร์ วิธีการคือฝึกวิธีคิดคณิตศาสตร์ง่ายๆ อย่างเป็นรูป ธรรมก่อนจะสอนเรื่องนามธรรม และจะใช้ลีลาการสอนที่สนุกสนาน ครูสอน คณิตศาสตร์โดยทัว่ ไปมักจะดุโหด ตีเด็ก ทวงการบ้าน ประจานเด็ก เป็นลักษณะ ที่ถ่ายทอดมาจากครูคณิตศาสตร์รุ่นเก่า วิธีการสอนของผมอยู่ที่ลีลาการสอน ซึ่งผมก็เรียนรู้เอา ใฝ่เรียนใฝ่รู้

ครู อ นุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์กูล จังหวัดสกลนคร

ผมไปหาคนที่สอนให้เด็กเก่ง ปราโมทย์ ขจรภัย ไปนั่งคุกเข่ากราบเขาฝากตัว เป็นศิษย์ แล้วเขาก็ถ่ายทอดให้ ผมเป็นคนไม่เคยนั่งฟังใครบรรยายได้เลย จะ ลุกออกจากห้องไปเฉยๆ คนนี้สามารถบรรยายให้ครูร้อยกว่าคนฟังโดยไม่มี ใครลุกออกจากห้องเลย ทุกคนนั่งหัวเราะ เขาสอนเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ให้ดูบนเวที และมันเปลี่ยนผม เมื่อก่อน ผมเป็นคนซีเรียส ผมเป็นคนดุมาก ขนาดวันสงกรานต์ผมขี่มอเตอร์ ไซค์ ไป เจอเด็ก เด็กไม่กล้าสาดน�้ำ วิ่งหนีครูเข้าบ้าน หรือเข้าไปกินข้าวที่ร้านอาหาร เด็กนั่งอยู่ตัวสั่นเลย วันไหนขึ้นพูดหน้าเสาธง เด็กเงียบกริบ ร้องเพลงเล่า นิทานก็ไม่เป็น เล่ามุขตลกข�ำขันก็ไม่เป็น เขาบอกสิ่งเหล่านี้มันฝึกกันได้ คุณ ไปซื้อตลกตาโย่ง จ�ำอวดหน้าม่านมาดูสิ เราก็ฟังทุกวันๆ เพื่อซึมซับ เปลี่ยน ความรูส้ กึ นึกคิด เปลีย่ นอารมณ์ แล้วเราก็ไปเล่นกับเด็ก ผมเปลีย่ นตัวเองอย่าง มาก ผมปรับใหม่ ใช้อารมณ์ขัน มุข ลีลา น�้ำเสียง ท่าทางต่างๆ มาสร้าง บรรยากาศให้เด็กอยากเรียนอยากรู้ ผมมาเปลี่ยนเมื่อ 10 ปีนี้เอง เขาสอนผม ว่าหน้าครูอาจจะเปลี่ยนไม่ได้ แต่น�้ำเสียงเปลี่ยนได้

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

119


ผลคือเด็กเรียนสนุก เด็กรออยากเรียนชั่วโมงคณิตศาสตร์ แม้แต่เด็กที่เรียน ไม่เก่ง สิ่งที่ครูควรท�ำ ควรท�ำให้เด็กรักในวิชาที่เรียน หรือแค่ไม่เกลียดก็ได้ ครูต้องท�ำตัวให้เด็กสนใจ เช่น บุคลิก การพูดจา ท�ำให้เด็กอยากไปโรงเรียน ทุกวัน ครูก็เช่นกันท�ำหน้าที่แต่ละวันให้มันสนุก เพื่อให้ครูเองก็อยากไป โรงเรียนเช่นกัน ต้องสร้างครูที่สอนสนุกขึ้นมาอีกมากๆ

นอกจากคณิ ต ศาสตร์ แ ล้ ว ดู เ หมื อ นวิ ช าภาษาไทยจะเป็ น อี ก หนึ่ ง ไม้ เ บื่ อ ไม้ เ มาของนั ก เรี ย น ครูระพีพร คิ้วทวีวิวัฒน์ จึงได้คิดเปลี่ยนภาพลักษณ์วิชาภาษาไทยในใจเด็กให้เป็นภาษาไทย รูปลักษณ์ใหม่จนเด็กๆ ตื่นตัวที่จะเรียนภาษาไทยอีกครั้ง

ครู ร ะพี พ ร คิ ้ ว ทวี ว ิ ว ั ฒ น์ โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) จังหวัดราชบุรี

เราสอนภาษาไทย เด็กเห็นว่าวิชาภาษาไทยโบราณ ครูสอนภาษาไทยคือ ครูแก่ๆ ไม่สวยไม่หล่อ และเด็กมีปัญหาอ่านไม่เก่ง จึงต้องคิดค้นหาทางปรับ เปลี่ยนให้เด็กชอบวิชาภาษาไทย วิธีการสร้างบรรยากาศใหม่โดยเริ่มที่ตัวครู เพราะเด็กจะดูเราเป็นต้นแบบทุกอย่างแม้กระทัง่ การแต่งตัว เราก็จะต้องปรับ ภาพลักษณ์ครูภาษาไทยให้ทันสมัย แต่งตัวสวย มีสีสัน ยิ้มแย้มแจ่มใส ปรับวิธีการเรียนการสอนที่น่าเบื่อเป็นเรียนปนเล่น มีกิจกรรมประกอบ เช่น ร้องเพลง ขยับท่าทางไม่ให้นั่งติดเก้าอี้ และใช้สถานที่ทุกที่เป็นที่เรียน เช่น สนามโรงเรียน หน้าห้องเรียน ฯลฯ อาจจะเสียงดังเพื่อนข้างห้องไม่ชอบ ไม่ เป็นไร ขอให้เด็กมีความสุขที่ได้เรียน ได้ฝึกทักษะการฟัง การพูด ได้มีการ ขยับร่างกาย มีการให้จับกลุ่มท�ำกิจกรรม โดยคละเด็กเก่งกับเด็กไม่เก่ง และ

120 14 แรงบันดาลใจ


ใช้สื่อต่างๆ มาช่วย หรือให้เด็กท�ำสื่อเองมาประกอบการเรียน มีการประเมิน ผลงานด้วยตัวเอง และติดผลงานของเด็กบนบอร์ด เด็กจะชวนพ่อแม่พี่น้อง มาดู แล้วเก็บผลงานเด็กใส่แฟ้มผลงาน น�ำกลับไปให้พอ่ แม่ผปู้ กครองชืน่ ชม เห็นพัฒนาการของลูก เด็กที่มีปัญหาอ่านหนังสือไม่ออกอ่านไม่เก่งก็จะใช้ เพลงเข้ามาช่วย ใช้เวลาพักกลางวันฝึกให้ร้องเพลง จนอ่านหนังสือออก ปรับปรุงห้องเรียนให้น่าเรียน ทาสี ตกแต่งใหม่ ใช้เวลานอกเวลาท�ำงาน ฝึกสอนให้เด็กพิเศษที่อ่านไม่ออกไม่ชอบมาเรียน จนอ่านหนังสือออกและ ชอบมาโรงเรียน และเขียนเรียงความได้รางวัล ผลที่ได้เด็กมีความตื่นตัวกับการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ตั้งใจฟังครู ท�ำตาม ที่ครูบอก สอนอะไรจ�ำได้ เด็กกล้าแสดงออก มีผลงานเข้าประกวด แข่งขัน ระดับจังหวัด ระดับภาค ได้รับรางวัลมากมาย โรงเรียนมีชื่อเสียงจาก โรงเรียนทีก่ นั ดารและไม่มผี ลงาน สมศ.ประเมินว่าเด็กชอบวิชาภาษาไทยมาก ที่สุด เราพัฒนาเด็กที่อ่านไม่ออก จนเด็กพบว่าตนเองก็มีความสามารถ เขียนเรียงความได้ แต่งกลอนได้

กข ค ฆ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

121


ครูพรรณี ตั้งใจดี เลือกใช้วิธีรู้เท่าทันการท�ำงานของสมองเด็ก แล้วหาวิธี ให้สมองของเด็ก พร้อมส�ำหรับการเรียนรู้

ครู พ รรณี ตั ้ ง ใจดี โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

122 14 แรงบันดาลใจ

ปี 2548 ได้รับการอบรมเรื่องกระบวนการเรียนรู้แบบ Brain-based Learning จึงน�ำมาใช้จนเห็นผลทีเ่ กิดกับเด็ก มีการอ่านนิทานให้เด็กฟังก่อน จะสอนเรื่องภาษา ดึงดูดความสนใจเด็กที่ไม่ตั้งใจได้ดี โดยเฉพาะเด็ก ที่มีอาการสมาธิสั้น และแม้เด็กในห้องจะมากถึง 44 คน แต่เด็กโฟกัส มาที่เรา มีการถามตอบ ท�ำให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกสนุก แล้วต่อมา เมื่อเข้าสู่การเรียนภาษาก็จะง่ายขึ้น ท�ำให้เด็กสนใจการอ่าน อ่านไม่ได้ ก็มาเปิดหนังสือดู แรงบันดาลใจได้มาจากการเข้าอบรมท�ำให้ได้ความรู้ ลึกซึง้ ถึงเรือ่ งการท�ำงานของสมองว่าเรียนรูอ้ ย่างไร ท�ำให้เราเข้าใจ เมือ่ ใช้ แล้วเห็นผล จึงท�ำมาอย่างต่อเนื่อง


ตกผลึกเป็นวิธีการเรียนรู้ ครูเชี่ยวชาญในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ บริบทของตัวเด็ก และบริบทของสิ่งแวดล้อม ครูเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัย เข้าใจ ธรรมชาติของเด็กทีม่ คี วามแตกต่างหลากหลาย และพยายามหาวิธกี ารเพือ่ ให้เด็กแต่ละคนสามารถ เรียนรู้ได้ดีที่สุด ในสภาวะและข้อจ�ำกัดต่างๆ ครู รั ต นา บุ ณ โยประการ สอนการงานอาชี พ คอมพิ ว เตอร์ ป.4-6 ครู ได้ศึกษาวิเคราะห์สภาพของเด็กก่อนว่ามีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ มาอย่างไรบ้าง แล้วน�ำมาสร้างเงื่อนไขในการเรียน ครูเองศึกษาการใช้ โปรแกรมต่างๆ เพื่อน�ำมาใช้สอน เช่น Word, Excel, PowerPoint แล้ว สร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น อีบุ๊ก หรือเว็บไซต์

ครู ร ั ต นา บุ ณ โยประการ โรงเรียนวัดธงไทยยาราม (ปลั่งอุปถัมภ์) จังหวัดพิจิตร

เทคนิคการสอนของครูรัตนาคือ สอนตัวต่อตัว เพราะว่าที่โรงเรียนมีจ�ำนวนเด็กน้อย ประมาณ 5-6 คน เพื่อนช่วยเพื่อนสอน มีเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว จะช่วยสอนเพื่อนที่เรียนรู้ช้ากว่าได้ พี่สอนน้อง เนื่องจากเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ขาดแคลนครู บางครั้งครูต้องสอน ป.5 รวมกับ ป.6 ก็จะให้พี่มาช่วยสอนน้อง พี่ก็ได้ทบทวนทักษะความรู้ไปด้วย สื่อ มีเอกสารการเรียน PowerPoint มีสื่ออินเทอร์เน็ต การประเมิน มีการสังเกต ตรวจชิ้นงาน สอบถาม ให้เด็กประเมินตัวเอง แล้วให้ เพื่อนประเมิน ครูประเมิน แล้วส่งเด็กไปแข่งการประกวดต่างๆ ผลคือเด็กชอบ วิชาคอมพิวเตอร์ ผลงานของนักเรียนได้รางวัลอีบุ๊กระดับชาติ 2 ปี และได้รางวัล เว็บไซต์ระดับชาติ 7 ปี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

123


ครูเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของสมองเด็ก ครูอรัญญา เชียงเงิน น�ำองค์ความรู้เรื่องสมองและ ธรรมชาติการเรียนรูข้ องสมองมาใช้ออกแบบกระบวนการเรียนรูแ้ บบ BBL (Brain-based Learing) ร่วมกับการสอนแบบอิงแกนกลาง โดยเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ในการออกแบบ กิจ กรรมในการเรียนการสอน การเสริมสร้างประสบการณ์ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมใน ชั้นเรียน รวมถึงการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

ครู อ รั ญ ญา เชี ย งเงิ น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

124 14 แรงบันดาลใจ

ใบงานและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ เราต้องคิดเสมอว่าจะต้อง ท�ำให้เด็กสนใจ เข้าใจ เกิดการเรียนรู้เป็นความจ�ำระยะยาว โดยเราได้จัด ท�ำสื่อการเรียนทั้งในรูปแบบของบัตรค�ำ สี และรูปทรงต่างๆ เป็นสื่อให้เด็ก ได้เรียนรู้และจดจ�ำได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กๆ สนใจและกระตือรือร้นตลอดในช่วงการเรียนการสอน เพราะสมองเด็กจะเรียนรู้จดจ�ำได้ดีเมื่อพวกเขาสนุก


กลั่นกรองหลักคิดเป็นแนวทาง ประสบการณ์การสอนท�ำให้ครูตกผลึกเป็นแนวคิดที่น่าสนใจหลากหลายแนวคิด ที่ครู ใช้เป็น แนวทางเพื่อออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ครูวริยากร อัศววงศานนท์ ได้สรุปหลักคิดในการสอนออกมาได้ 7 ประการ คือ T E A C H E R

ครู ว ริ ย ากร อั ศ ววงศานนท์

T – Teacher เป็นครูวทิ ยาศาสตร์ ก็จะเน้นโครงงาน การทดลองที่โรงเรียน เด็กจะใช้ไอแพดทุกคน ครูกต็ อ้ งมีไอแพดประกอบการเรียนรู้ พอเราจะสอน เรื่องอะไร เราให้เด็กเสิร์ช google ดูตอนนั้น E – Emotion เนื่องจากห้องเรียนมีนักเรียน 25 คน ครูไทย 1 ครูฝรั่ง 1 เด็กก็มีไอแพด เด็กมีความพร้อมที่จะเรียน ไม่มีเล่นเกม มีบ้างเมื่อเขา ท�ำงานเสร็จแล้ว ครูจึงไม่มีอารมณ์โกรธ โมโห ครูมีความสุข แล้วเราก็ได้ ใจเด็กเพราะเราเฮฮา เป็นกันเอง ท�ำตัววัยเดียวกับเด็ก ถ้าเด็กมีอารมณ์ ร่วมกับครูแล้ว การเรียนทุกอย่างสบายมาก A – Active เราต้องกระตุ้นให้เด็กคิดในเรื่องที่เราก�ำลังจะสอน ระดมความ คิดกันในการท�ำโครงงาน เด็กสามารถคิดได้สดๆ ณ ตอนนั้น C – Collaboration เป็นการร่วมมือกันท�ำงาน จะแบ่งเป็นคู่หรือจับกลุ่ม ก็ได้ แล้วช่วยกันคิดในกลุ่มว่าจะท�ำอะไรไม่ให้ซ�้ำกับกลุ่มอื่น

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

125


H – Hardness เป็นครูนั้นเหนื่อยเพราะว่าเรามีเด็กหลายกลุ่มหลายห้อง ดังนั้น เราจะต้องไม่ท้อและต้องใส่ใจ ติดตามดูผลของเด็กทุกขั้นตอน ช่วย เขาท�ำ ช่วยแก้ปัญหา แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอปัญหาเพราะผู้ปกครองช่วย ไม่ค่อยมีอุปสรรค มีบ้างที่เด็กอาจจะขี้เกียจ E – Enjoyable เราสอนเด็กแบบเพื่อน สอนแบบกันเอง สนุกสนานกับ เด็ก ใช้ภาษาพูดง่ายๆ กับเขา ใช้ภาษาเหมือนวัยเดียวกัน เขาจึงจะฟังเรา R – Room น�ำสิ่งที่เราสอนทั้งหมดมาประมวลความรู้

สิ่งที่ครูวริยากรได้เรียนรู้คือ เมื่อบรรยากาศพร้อม สภาพจิตใจของเด็กพร้อม เด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็ว กว่าครูด้วยซ�้ำ “ด้วยความที่มีเทคโนโลยี บางทีเราต้องท�ำตัวแกล้งโง่ เพื่อให้เด็กพูดสิ่งที่รู้ออกมาให้หมด เราจึงรู้ว่าเด็กเก่งกว่าเรามาก เก่ง ในแบบที่เรานึกไม่ถึง เราก็สอนหลักการ กระบวนการไปตามหลักสูตร แต่เด็กเขารู้มากกว่าเรา อย่างเมืองหลวงของมาเลเซียคือ กัวลาลัมเปอร์ เด็กเขาเคยไปกัวลาลัมเปอร์มา เขารู้ทุกมุมทุกจุดยิ่งกว่าเรา ซัมเมอร์เขา ไปโตเกียว ฯลฯ เราจะเกิดการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก และไม่ปิดกั้นเด็ก เด็กอยากรูอ้ ะไรเราตอบไม่ได้ ก็บอกว่าเดีย๋ วครูหาค�ำตอบมาให้ หรือไม่เรา ก็ต้องท้าเด็กให้มาค้นหาความรู้แข่งกัน ครูต้องทันเด็ก”

126 14 แรงบันดาลใจ


ครูสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ครูสามารถบูรณาการวิชาเรียนให้เด็กสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เข้ากับวิถีชีวิตได้ โดยอาจใช้ การศึกษาชุมชนในแต่ละประเด็นเป็นตัวตั้ง เพื่อท�ำให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก สามารถ เข้าใจในวิชาต่างๆ จากวิธีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชุมชน ที่พวกเขาสามารถ ค้นคว้าหาค�ำตอบได้ด้วยตนเองจากสิ่งใกล้ตัว ดังเช่น ทับทิมโมเดล ของครูศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ ที่ได้บูรณาการทุกวิชา ในการเรียนที่ตนเองสอน และใช้ประเด็นในการศึกษาชุมชนเป็นประเด็น หลักในการเรียนรูข้ องเด็ก เปรียบเสมือนเม็ดทับทิมทีม่ แี กนกลางเท่าเทียม กันและมาอยูร่ ว่ มกันจนเป็นผล ท�ำให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการค้นคว้า หาค�ำตอบมากกว่าการเรียนรายวิชา

ครู ศ รี ว รรณ ฉั ต รสุ ร ิ ย วงศ์ โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม จังหวัดสมุทรสาคร

Commu- เรามีการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ เรียกว่า Commu nity-based Learning เรียกว่า ทับทิมโมเดล เป็นการเรียนรู้บูรณาการกับ ชุมชน ดังนั้น ถ้าเด็กมาเรียนคอมพิวเตอร์กับครู ไม่ได้หมายความว่าจะ ได้แค่ใช้ Word, Excel, PowerPoint แต่ต้องออกไปเรียนรู้ในชุมชน แล้ว น�ำเนื้อหาที่เรียนรู้ในชุมชนกลับมาท�ำ E-book หรือท�ำเนื้อหาในชุมชน เป็นนิทาน เป็นละคร ทับทิมโมเดลคือการเรียนรูท้ ยี่ ดื หยุน่ ทีจ่ ะน�ำไปปรับใช้ ให้เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

127


ครู ข นิ ษ ฐา ภู ช มศรี โรงเรียนอนุบาลโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

ครูเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมเข้ากับบทเรียน ครูขนิษฐา ภูชมศรี สามารถใช้ สิ่งรอบตัวให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น การให้นักเรียนน�ำสิ่งของที่อยู่ ในธรรมชาติมาเชื่อมโยงกับบทเรียน ให้นักเรียนน�ำเสนอความเชื่อมโยงนั้น ด้วยตนเอง ท�ำให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้ เกิดความสนุกไม่น่าเบื่อ ครูขนิษฐาได้จดั ท�ำหนังสือพิเศษเพือ่ ให้เด็กพิเศษทีเ่ ข้ามาเรียนได้มสี ว่ นร่วม กับเพื่อน ซึ่งหนังสือพิเศษช่วยท�ำให้เด็กพิเศษเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น

ทะลุข้อจ�ำกัดด้านการเรียนรู้ ครูที่มีทักษะสูงสามารถพาเด็กก้าวข้ามข้อจ�ำกัดในการเรียนรู้ด้านต่างๆ ไปให้ได้ เช่น ครูที่ต้อง สอนเด็กพิเศษ หรือครูที่ต้องดูแลเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย หรือด้าน การเรียนรู้

ครู ศ ุ ภ มาศ คงคาช่ ว ย โรงเรียนบ้านโพหวาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

128 14 แรงบันดาลใจ

ครูศภุ มาศ คงคาช่วย ทีโ่ รงเรียนของครูมเี ด็กเรียนร่วมมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 70-80 คน จากนักเรียนทั้งหมด 700 กว่าคน หลังจากตรวจคัด กรองแล้วพบเด็กเรียนร่วมเป็นเด็กบกพร่องทางร่างกาย บกพร่องทางสติ ปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ (ยกเว้นเด็กออทิสติก) ครูจึงได้คิดค้น กระบวนการสอนแบบเรียนร่วม ให้เด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ และ สามารถพัฒนาศักยภาพเด็กเรียนร่วมด้วยวิธีการ 3D (Development) คือ D1 พัฒนาสื่อและนวัตกรรม ตามรูปแบบของเอ็ดดี้ เจ้าพ่อในการพัฒนา สื่อ มีการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา ทดลองใช้ ประเมินผล พัฒนาเป็น สื่อมัลติมีเดีย โดยใช้โปรแกรมเพนต์ เนื่องจากเด็กเรียนร่วมไม่ชอบเรียน หนังสือ แต่ถา้ มีคอมพิวเตอร์เด็กจะชอบ หรือกิจกรรมที่ไม่ตอ้ งใช้สมองมาก


เด็กเรียนร่วมบางคนมีความพิการซ�้ำซ้อน คือบกพร่องทางการเรียนรู้และ พิการทางร่างกายด้วย ไม่มีสมาธิในการเรียน มีเด็กคนหนึ่งเราสอนเขามา ตั้งแต่ ป.1 นั่งได้ 5 นาทีก็เดินรอบห้อง ก็เลยให้เขามาฝึกวาดภาพโปรแกรม เพนต์ทุกวันหลังเลิกเรียน ฝึกมาได้ 4 ปี ส่งเข้าประกวดงานศิลปหัตถกรรม ติดอันดับระดับชาติทุกปี ตอนนี้อยู่ ป.4 แล้ว สมาธิดีขึ้น สามารถนั่งอยู่กับ ที่ได้นานเป็นชั่วโมง D2 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของเด็กเรียนร่วม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบ ร่วมมือกัน เด็กปกติกับเด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ เด็กปกติบางคน ยังวาดรูปโปรแกรมเพนต์ได้ไม่สวยเท่าเด็กพิเศษด้วยซ�ำ้ อาศัยศักยภาพของ เด็กปกติและเด็กพิเศษช่วยเหลือกัน ในลักษณะของการท�ำงานกลุ่ม D3 พัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนเรียนร่วม โดยการพาเด็ก ประกวดงานศิลปหัตถกรรม เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงาน จะมีทั้งงานกลุ่มและ ชิ้นงานเดี่ยว เด็กเรียนร่วมแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน บางคนอ่านหนังสือ ไม่ออก แต่สามารถซ่อมพัดลมได้ บางคนร้องเพลง วาดรูปเก่ง เป็นต้น ขึ้นกับครูผู้สอนว่าเห็นความส�ำคัญของเด็กกลุ่มนี้หรือไม่ สามารถมองเห็น และดึงศักยภาพของเด็กแต่ละคนออกมาได้หรือไม่ ด้วยวิธีการเช่นนี้ท�ำให้ในกลุ่มเด็กพิเศษมีพัฒนาการเรื่องภาษาดีขึ้น มีการ เรียนรู้ สามารถสรุปเรื่องราวที่เรียนได้ และมีอารมณ์ที่ดีขึ้น ส่วนในกลุ่มเด็ก ปกติ ครูศุภมาศพบว่าสามารถจับใจความการเรียนได้ดีขึ้น สามารถน�ำ ความรู้ไปใช้ได้จริง

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

129


ครูอนุภาพ บุญซ้าย เล่าถึงประสบการณ์การสอนเด็กสมาธิสั้นว่า ครู อ นุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์กูล จังหวัดสกลนคร

ครู ศ รี ว รรณ มหาเทพ โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จังหวัดเชียงราย

130 14 แรงบันดาลใจ

ตอนนี้ผมสอนเด็กอีกคน เป็นเด็กสมาธิสั้น ไปเข้าโรงเรียนที่ไหนเขาก็ ไม่รับ จนมาเรียนกับผม ผมว่าเด็กคนนี้อัจฉริยะ สามารถนั่งคิดคณิตศาสตร์ ได้วันละ 8 ชั่วโมง เราสอนโดยมีสเต็ปของโจทย์ที่วางไว้ แต่ไม่ใช่สเต็ปแบบ ทีเ่ ราเรียนกัน เป็นสเต็ปทีท่ า้ ทายเขาไปเรือ่ ยๆ ลักษณะเด็กเหล่านีค้ อื นัง่ ไม่นงิ่ ไม่สนใจครู หากครูไม่มีอะไรท้าทายเขา บางครั้งครูได้พบกับเด็กที่มักถูกมองข้าม เด็กที่มีภาวะบกพร่องในรูปแบบ ต่างๆ ครูศรีวรรณ มหาเทพ กลับมองเห็นว่าเด็กกลุ่มนี้ควรได้รับความ เอาใจใส่ยิ่งกว่าเด็กปกติ จึงได้หาทางให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับโอกาสเช่นเดียว กับเด็กทั่วไป เป็นครูภาษาไทยและครูห้องสมุด พยายามที่จะสอนเด็กที่ขาดโอกาส เช่น พิการทางสมอง พิการทางสายตา ซึ่งมักจะไม่ค่อยได้รับความสนใจ เพราะเรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง ให้เด็กกลุ่มนี้อ่านออกเขียนได้ เราให้ความสนใจ เด็กพวกนี้มากหน่อย พยายามคิดกิจกรรมที่จะท�ำให้เด็กสนใจ ท�ำแบบฝึก ง่ายๆ ส�ำหรับเด็กเหล่านี้ ท�ำกิจกรรมธนาคารความรู้ ถ้าเป็นเด็กพิเศษ เขาเขียนไม่ได้ เราก็ให้เขาวาดภาพ พยายามให้โอกาสเขาร่วมกิจกรรม ซึ่งท�ำให้เด็กเหล่านี้มีความสุข ได้แต้มจากการท�ำกิจกรรมไปแลกสิ่งของ อยากพัฒนาเด็กไม่ว่าเด็กลักษณะใด เด็กปกติหรือเด็กด้อยโอกาสให้ได้ มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน เพราะสงสารเด็กที่ด้อยกว่าคนอื่น


ครูโอบกอดความแตกต่างหลากหลาย ครูต้องพบกับเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว เด็กที่เรียนรู้ได้ช้า หรือเด็ก ต่างชาติต่างภาษา ต่างชาติพันธุ์ ครูไม่คิดแบ่งแยกแต่ให้ความรักเอื้ออาทรต่อเด็กทุกคน และเชื่อ เสมอว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพอยู่ภายในตัว ความหลากหลายของเด็กคือความงดงาม ครูที่แท้จริง สามารถมองเห็นความงามที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเด็กทุกคน ครูฟารีละห์ เจะโซะ เป็นครูสอนวิชาภาษาไทย ป.6 นักเรียนมีปัญหาในเรื่อง ของการใช้ภาษาไทยเพราะในพื้นที่ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของเด็ก ค�ำพูดบางค�ำเขาก็ไม่เข้าใจ เด็กจังหวัดชายแดนภาคใต้พูดภาษามลายู ในชีวิตประจ�ำวันตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นปัญหาจริงๆ ไม่ใช่แค่การอ่านออก เขียนได้ ยังมีปัญหาเรื่องของการพูดการฟังด้วย บางคนยังฟังไม่รู้เรื่อง ฟัง ไม่เข้าใจ เราจึงยังคาดหวังเด็กไม่ได้ ในห้องมีเด็ก 30 คน มีเด็กที่เข้าใจได้ไม่ เกินครึ่งห้อง แต่ก็ยังไม่เข้าใจได้ดีเยี่ยม เราก็วิเคราะห์แยกแยะว่าคนไหนมี ปัญหาระดับใด บางคนอาจมีปัญหาระดับหนักเลย คือไม่รู้จักพยัญชนะ สระ แล้วน�ำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาสังเคราะห์วา่ จะจัดการอย่างไรให้เด็กทุกคน สามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้ มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรที่สร้างสรรค์ ด้วยความที่ ตนเองชอบแต่งเพลง แต่งกลอน และสังเกตว่าเด็กๆ ก็ชอบเพลง เลยเกิด ความคิดแต่งเพลงให้เข้ากับเนือ้ หาในบทเรียน สมมุตวิ า่ เราเรียนเรือ่ งค�ำกริยา ก็แต่งเพลงค�ำกริยา เรียนเรื่องอาเซียนก็แต่งเพลงเกี่ยวกับอาเซียน

ครู ฟ ารี ล ะห์ เจะโซะ โรงเรียนบ้านป่าม่วง จังหวัดปัตตานี

เราคิดว่าสามารถเกิดผลกับเด็กได้ประมาณหนึง่ ไม่ได้คาดหวัง 100 เปอร์เซ็นต์ โดยอาศัยเพลงควบคู่กับการเล่นเกม บางครั้งเด็กจะไม่รู้สึกว่าก�ำลังเรียนอยู่ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

131


บางวันเด็กพูดว่าวันนี้ไม่ได้เรียนอะไรเลย ทั้งที่เขาเริ่มเรียนตั้งแต่วินาทีที่เขา เข้าห้องแล้ว เป็นลักษณะของการเรียนปนเล่น เขาจึงสนุกสนานกันมาก แล้ว จะเป็นห้องที่เสียงดังมาก จนห้องข้างๆ มาดูว่าครูสอนอะไรกัน การเปลี่ยนแปลงจากนักเรียนที่ไม่เข้าใจค�ำพูด ไม่สามารถจดจ�ำเนื้อหาบท เรียนอะไรได้ แต่พอเราเอามาท�ำเป็นเพลง พอเราถามเขาก็จะตอบได้ เด็กเอาเพลงไปร้องต่อที่บ้าน จนแพร่ไปถึงโรงเรียนอื่นๆ ในหมู่บ้านข้างเคียง ผลก็คือนักเรียนจะสามารถจ�ำเนื้อหาบทเรียนได้ดีขึ้น อุปสรรคคือเด็กบางคน ที่มีปัญหามากๆ จะยังจ�ำไม่ค่อยได้ เขียนไม่ได้ แต่อย่างน้อยพอตอบได้ ครูฉันทนา ศรีศิลป์ ครูที่ต้องดูแลนักเรียนประจ�ำซึ่งเป็นเด็กชาวเขา ครูดูแล เด็กตลอด 24 ชั่วโมง ครูช่วยท�ำให้เด็กมั่นใจในตัวเอง พร้อมๆ กับที่พัฒนา ความสามารถให้มีโอกาสทัดเทียมกับเด็กคนอื่นๆ ครู ฉ ั น ทนา ศรี ศ ิ ล ป์

เป็นโรงเรียนประจ�ำ มีนกั เรียนหอพักซึง่ เป็นเด็กชาวเขา 342 คน นักเรียน ในชุมชนไป-กลับอีก 387 คน เราเปรียบเด็กเหมือนต้นไม้ ต้นไม้ของเราจะ สมบูรณ์ ได้ เราจะต้องสอนวิธีการให้กับเด็กโดยใช้โครงงานในการสอน โครงงานจะช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา เด็กใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการรวมกลุ่ม เด็กก็จะได้ทักษะส�ำคัญจากกลุ่ม ได้เข้าหาชุมชน

โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้ปกครอง ไม่ใช่เฉพาะครูที่ท�ำให้ต้นไม้สวยงามได้ จะต้องมีผู้ปกครองร่วมด้วย ผู้ปกครองก็ต้องให้การดูแล ให้ความเข้าใจ สิ่งแวดล้อมของเด็ก คือการเป็นแบบอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ มีรุ่นพี่ที่จบออกไป สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้รุ่นน้องได้ 132 14 แรงบันดาลใจ


เพื่อน มีความสุขส�ำคัญที่สุด เพื่อนเขาใกล้ชิดมากกว่าเรา เพื่อนเขามี การดูแลช่วยเหลือกัน ศรัทธา ยอมรับ เราจะสอนให้เด็กดีได้ ในใจของเด็กต้องมีความเชื่อมั่นใน ตัวเราด้วย มีความศรัทธา การยอมรับ การเปิดใจ

เด็กหอพักส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยง 99 เปอร์เซ็นต์มาจากพื้นที่สูง พูดไม่ชัด บ้านอยู่ไกลจากโรงเรียน 180 กม. มาพักที่โรงเรียนปีหนึ่งกลับบ้านแค่สอง ครัง้ เราต้องดูแลตลอด 24 ชม. ครูผลัดเปลีย่ นเวรกัน เราสอนให้เด็กกะเหรีย่ ง มีความมัน่ ใจโดยท�ำโครงงาน แล้วเด็กก็สามารถไปแข่งชนะเลิศระดับประเทศ ในงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ ได้รางวัลที่ 1 ท�ำกิจกรรมสภานักเรียนระดับ ประเทศ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกว่าเด็กกะเหรี่ยงก็สามารถเป็นที่ 1 ได้เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะเด็กในเมือง เพราะเราสอนด้วยความใส่ใจ ลักษณะโครงงานที่ท�ำ เช่น โครงงานสภานักเรียน หรือให้หาว่าในหมู่บ้าน ในโรงเรียนหรือเพือ่ นๆ และตัวเขามีปญั หาอะไรบ้าง แล้วเลือกปัญหาอย่างใด อย่างหนึ่งมาท�ำโครงงาน ปีที่ผ่านมาเราให้ท�ำโครงงาน ‘คบเด็กสร้างบ้าน’ ท�ำกิจกรรมกับชุมชน และมีกจิ กรรมเรือ่ งของการ ‘สร้างรัก สร้างใจ สร้างบุญ สร้างพลัง สร้างยิ้ม’ เพื่อให้เด็กรู้จักเข้าหาชุมชน มีการสัมภาษณ์คนที่ เกีย่ วข้อง แล้วมาประเมินผลกัน กลุม่ คุณธรรมของโรงเรียนเราได้รางวัลดีเด่น ด้านคุณธรรมจริยธรรมระดับประเทศ สภานักเรียนก็ได้รางวัลชนะเลิศระดับ ประเทศในงานศิลปหัตถกรรม และก็ได้รางวัลต้นแบบสภานักเรียนระดับ ประเทศ ประชาธิปไตยต้นแบบระดับประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปีที่เราท�ำ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

133


ครูเกิดความภูมิใจที่เห็นเด็กกะเหรี่ยงที่พูดไม่ชัด เขียนแทบไม่ได้ แต่เราใช้ กระบวนการทุกอย่างสอนเด็ก ให้เด็กร้องคาราโอเกะตอนบ่าย เพื่อจะได้ฝึก ความกล้า ฝึกพูดให้ชัด ฟัง พูด อ่าน เขียน ส่งผลให้เด็กกล้าพรีเซนต์ เด็ก ได้เห็นความส�ำเร็จของรุ่นพี่ที่จบไป ไปเรียนมัธยม หรือระดับอุดมศึกษาใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พี่คนนั้นเรียนจบก็กลับมาเป็นครู เป็นแรงบันดาลใจ ให้รุ่นน้องต่อไป

ครูคือกระบวนกร เพราะครูไม่ใช่เพียงแค่ผู้สอนและผู้ให้ความรู้อีกต่อไป แต่ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เกิดสภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ครูคือผู้จัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า กระบวนกร และครูยุคใหม่คือกระบวนกร ผู้ไม่เคยหยุดพัฒนาตนเอง ครูมนัญญา ลาหาญ เน้นการเรียนรู้ที่เบิกบาน และให้นักเรียนเรียนรู้อย่าง สนุกสนานโดยไม่รู้สึกถูกบังคับ ครูได้คิดค้นวิธีการสอนที่เรียกว่า LOVE Kru เป็นการเรียนโดยใช้นทิ านประกอบ โดย LOVE Kru มีความหมายถึงสิง่ ต่างๆ ดังนี้ ครู ม นั ญ ญา ลาหาญ โรงเรียนบ้านนาผาง (วิบูลย์ราษฎร์สามัคคี) จังหวัดอำ�นาจเจริญ

134 14 แรงบันดาลใจ

L คือ Learning เรียนโดยใช้นิทานซึ่งจะสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ตาม

ธรรมชาติสมอง (Brain-based Learning : BBL) เด็กจะเรียนรูไ้ ด้ดเี มือ่ มีสอื่ ทีม่ ี สีสันสวยงาม นิทานจะเสริมสร้างจินตนาการและดึงดูดความสนใจ นิทานมี หลากหลาย เช่น นิทานเรียนรู้ตัวสระ ซึ่งจะช่วยเรื่องการอ่านไม่ออกเขียน ไม่ได้ นิทานส่งเสริมคุณธรรม ช่วยเรือ่ งการอ่านจับใจความ การอ่านเชิงวิเคราะห์ วิจารณญาณ และเมื่อเด็กอ่านนิทานมากก็จะน�ำไปสู่การเขียนเชิงสร้างสรรค์


O คือ Open นิทานช่วยเปิดโลกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจ

ยอมรับสิง่ ใหม่ๆ คือเด็กทีอ่ า่ นไม่ได้จะรูส้ กึ ว่าการเรียนมันยาก ก็เอานิทานมา ช่วยเปลี่ยนความคิดว่า จริงๆ แล้วการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องยาก แล้วก็การเปิด มุมมองเรื่องคุณธรรมจริยธรรมด้วย ซึ่งเราจะสอดแทรกโดยที่เด็กไม่รู้ตัว

V คือ Vote เด็กจะมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นทุกครั้งที่จัดกิจกรรม เด็ก

ทุกคนต้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

E คือ Education การศึกษาก้าวหน้า เช่น เรื่องของประชาคม ASEAN โดย

ท�ำนิทาน E-book ด้วย ไม่เพียงแต่เด็กไทยที่เรียนได้ หากชาวต่างชาติอยาก ฝึกภาษาไทยก็ใช้ได้

Kru ครูนี้มีหน้าที่เป็นผู้น�ำและเป็นผู้ตามด้วยในบางครั้ง เป็นที่ปรึกษา เป็น ที่พึ่งพาอาศัย สุดท้ายครูจะเป็นผู้รับใช้ของนักเรียน

ครูจารุณี สุทธิสวรรค์ ครูนาฏศิลป์ ผู้ใช้วิชานาฏศิลป์ ในการฝึกให้เด็ก ต่อยอดพัฒนา โดยครูกระตุ้นเสริมแรง สร้างพลังให้เด็กสามารถดึงศักยภาพ ของตัวเองออกมาได้ การสอนนาฏศิลป์โดยปกติแล้วครูจะเป็นผู้สาธิตแล้วให้นักเรียนปฏิบัติ ตาม หลักส�ำคัญของนาฏศิลป์คือการอนุรักษ์สืบทอด แต่ปัจจุบันเราจะท�ำให้ นักเรียนสามารถมีการพัฒนาต่อยอดความคิดจากที่เรียนได้ จึงให้เด็กได้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่าใหม่ๆ ด้วยตัวเอง

ครู จ ารุ ณ ี สุ ท ธิ ส วรรค์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จังหวัดเชียงใหม่

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

135


ครูจารุณี มีวิธีการคือ ถอดรหัสความคาดหวัง ให้นักเรียนเข้าใจพื้นฐานก่อนว่านาฏศิลป์มีจารีต แต่ก็สามารถพัฒนาต่อยอดความคิดต่อไปได้ ไม่ติดกับกรอบ วางแผนผังตั้งกรอบ ก่อนที่เราจะมีผลงานแต่ละชิ้นออกมา เด็กต้องก�ำหนด ขอบเขต ลักษณะของวิธีการน�ำเสนองาน ตรวจสอบประสบการณ์พนื้ ฐาน ตรวจสอบว่าเด็กมีทกั ษะเบือ้ งต้นอย่างไร และ เราต้องเติมเต็มประสบการณ์ ให้เขาก่อน โดยวิธีการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ตัวเด็ก เช่น บางคนเรียนรูก้ บั ครูผสู้ อนได้ดี บางคนเรียนแบบเพือ่ นช่วยเพือ่ น ได้ดี พี่สอนน้อง แม้กระทั่งจากสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่โจทย์การคิดประดิษฐ์ท่า ครูจะเป็นผู้ที่กระตุ้นสร้าง บรรยากาศให้เขาเชื่อว่าเขาท�ำได้ เป็นอิสระ ผ่อนคลาย ให้เขาดึงศักยภาพ ของตัวเองออกมาให้ได้มากทีส่ ดุ สร้างความเชือ่ มัน่ ว่าเขาท�ำได้ จนเขาอยาก จะแสดงออกมา ร่วมค้นหาความรู้จากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ เอกสาร วีซีดี อินเทอร์เน็ต การได้ไปชมการแสดงจริง หรือจากประสบการณ์ตรง เพิม่ พูนความคิดประดิษฐ์ทา่ ร�ำ โดยเราผลัดกันเป็นผูน้ ำ� และผูต้ ามทีด่ ี ยอมรับ ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ผลัดกันเป็นคนเสนอ ครูไม่ใช่ผู้น�ำนักเรียน อย่างเดียว ครูเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกับนักเรียน เพราะเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เด็ก เป็นผู้สร้างขึ้น พร้อมน�ำเสนอผลงาน ผลัดกันน�ำเสนอบทบาทของตัวเอง เป็นทั้งผู้ชมและ ผู้แสดงผลัดเปลี่ยนกัน

136 14 แรงบันดาลใจ


ฝึกวิจารณ์ดว้ ยการประเมิน ผูท้ เี่ ป็นผูช้ มฝึกการวิพากษ์วจิ ารณ์การแสดง เมือ่ เขาสามารถฝึกการวิพากษ์วจิ ารณ์ได้หมายความว่าเขาเรียนรูห้ ลักการนาฏศิลป์ คนทีไ่ ด้รบั การวิจารณ์กต็ อ้ งสามารถยอมรับความคิดเห็น ปรับปรุงเปลีย่ นแปลง พัฒนาตนเอง เมื่อไม่ผ่านก็ย้อนกลับไปคิดใหม่ โดยครูเติมเต็มชี้แนะ เพลินจิตคิดเผยแพร่ เมือ่ ผ่านการยอมรับ เบือ้ งต้นเราจะเผยแพร่ในห้องเรียน ในงานโรงเรียนก่อน แล้วขยายไปในงานชุมชน เด็กมีผลงานที่สามารถน�ำ เสนอทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ มีผลงานชนะเลิศ ศิลปหัตถกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2558 ครูหลายคนน�ำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ มาเสริมสร้างให้เด็กกล้าคิดกล้า แสดงออก ครูประหยัด ใสบาล ใช้กิจกรรมลูกเสือเข้ามาเสริมให้เด็กรู้จักการ ท�ำงานเป็นทีม รู้จักระเบียบวินัย ฝึกความกล้าคิดกล้าแสดงออก เน้นการ ท�ำงานเป็นกลุ่ม การวางแผนก่อนเริ่มงาน เรียนรู้เรื่องระบอบประชาธิปไตย การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เราใช้วิธีเรียนปนเล่น ใช้กิจกรรมลูกเสือ ช่วยให้เด็กที่เคยเงียบๆ ก็กล้า ที่จะออกความคิดเห็น กล้าแสดงออกมากขึ้น แนวทางการสอนที่น�ำเอา กิจกรรมลูกเสือเข้ามาช่วยท�ำให้เด็กๆ อยู่ในระเบียบวินัยมากขึ้น รู้จักการ ท�ำงานเป็นทีมมากขึ้น กล้าที่จะแสดงออกทางความคิดมากขึ้น เด็กบางคน จากที่เคยเป็นคนเงียบๆ ไม่กล้าเล่น หรือเข้ากลุ่มกับเพื่อน ปัจจุบันก็เป็นคน ที่กล้าพูดกล้าแสดงออกให้เห็นมากขึ้น เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของเด็ก เมื่อเด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

ครู ป ระหยั ด ใสบาล โรงเรียนบ้านไก่คำ� จังหวัดอำ�นาจเจริญ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

137


ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ ครู คือ ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ท�ำให้เด็กรักในวิชาที่เรียน ท�ำให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้ เรียนรู้ เห็นคุณค่าของตนเอง และสิ่งแวดล้อม

ครู อ ภิ ช าติ ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี

ครูอภิชาติ ประทุมนันท์ ครูทสี่ อนศิลปะโดยใช้รปู แบบการสอนกระบวนการ 9 ขัน้ เพือ่ ให้เด็กตระหนักในคุณค่าและความคิดของตนเองผ่านการท�ำงาน ศิลปะ การสังเกตธรรมชาติ ให้นักเรียนดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นจาก ธรรมชาติอย่างไร แล้วมาพูดคุยกับครู หลังจากนั้นให้นักเรียนฝึกวาดภาพ ตามจินตนาการ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน สอดประสานเทคนิค เช่น ให้สงั เกตการวาดลักษณะก้าน กิง่ ใบ เป็นอย่างไร สอนเป็นรายบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน สืบค้นแหล่งเรียนรู้ แนะน�ำนักเรียนออกไปหาแหล่งเรียนรู้ อาจจะเป็นชุมชน ตลาด และเราก็จะสอดแทรกความรู้ในเรื่องของทฤษฎีไปด้วย สูโ่ ลกจินตนาการ ให้จนิ ตนาการสร้างสรรค์โดยไม่จำ� เป็นต้องตรงกับต้นแบบ บูรณาการหลากหลาย เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่เด็กชอบอยู่แล้ว ดังนั้น เราอาจจะน�ำมาบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ฯลฯ มั่นใจน�ำเสนองาน เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จแล้วจะน�ำเสนองานในชั้นเรียน จัดนิทรรศการร่วมกัน ให้จดั นิทรรศการหน้าห้องเรียนบ้าง ตามก�ำแพงบ้าง เล่นเพลงหรือเล่านิทาน พยายามสร้างความตระหนักในคุณค่าชุมชน ของตน รากเหง้าของความเป็นสุพรรณ ไม่ลืมความเป็นสุพรรณ ดังนั้น จะสอนด้วยเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรี เช่น เพลงอีแซว ที่มีเนื้อร้องทางด้าน ศิลปะ เด็กก็จะสนุก ร้องตามได้

138 14 แรงบันดาลใจ


ครูศรีอัมพร ประทุมนันท์ กล่าวว่าสิ่งที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กได้มาก ที่สุดคือ ความรักจากครู ถ้าเราไม่รักเด็ก เราไม่รักการสอน ไม่เห็นคุณค่าของเด็ก เราไม่มีทาง ท�ำอะไรได้เลย สิ่งที่ต้องมีอยู่ในตัวครูคือ รักเด็กเท่ากัน รักการสอน รู้จัก เด็กทุกคน เห็นคุณค่าเด็ก หวังดีต่อเด็ก จับแต่สิ่งที่ถูก ไม่จับผิดเด็ก ให้โอกาสเด็ก และที่ส�ำคัญที่สุดให้ความรักก่อนให้ความรู้

ครู ศ รี อ ั ม พร ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ครูศรีอัมพร ได้หลอมรวมความรักทั้งหมดที่มีในหัวใจออกมา เป็นรูปแบบการสอนของตัวเองดังนี้ บทน�ำเพลินใจ เนือ่ งจากภาษาไทยมักเป็นวิชาทีเ่ ด็กเบือ่ ร้อยละ 99 ส่วนใหญ่ จะไม่ชอบเรียนภาษาไทย เพราะมันมีหลัก มีกฎมีเกณฑ์เยอะ ท�ำอย่างไร ให้เด็กเพลิดเพลินใจกับสิ่งที่สอน ชีใ้ ห้เห็นความส�ำคัญ มันยากนะ แต่กต็ อ้ งเรียน ถ้าไม่เรียนก็จะไม่ได้พนื้ ฐาน อย่างอืน่ เราต้องบอกว่าวิชาอืน่ ๆ ถ้าไม่ได้ภาษาไทย ยากทีจ่ ะท�ำคะแนนขึน้ ฟังดูพลันสรุปสาระ ต้องมีเทคนิคการฟัง การดูที่ดี ฝึกทักษะการอ่าน การอ่านร้อยแก้วร้อยกรอง อ่านในใจ อ่านออกเสียง ทุกอย่างต้องฝึก และฝึกประจ�ำสม�่ำเสมอจึงจะเกิดทักษะ เสริมหลักการใช้ภาษา ให้เด็กรู้จักหลักการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง พัฒนาการคิดพินจิ สาร รูจ้ กั การจับประเด็น การคิดวิเคราะห์ และการตีความ บูรณาการศิลป์ภาษาไทย ก็คือการสร้างชิ้นงานโดยให้มีความหลากหลาย ประยุกต์ใช้ในชีวติ ได้ ไม่ใช่เพียงเรียนจบในห้องเรียนจึงจะเกิดผล ให้เด็กใช้ ภาษาไทยได้อย่างสร้างสรรค์ ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

139


ครูมิใช่เพียงผู้อ�ำนวยการเรียนรู้ให้กับเด็ก แต่วิถีของครูคือ วิถีของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อครูรัก ในวิถีแห่งการเรียนรู้ ครูย่อมส่งผ่านความรักนั้นไปสู่เด็กๆ ของครูได้อย่างงดงาม ศิลปะของการเป็นครู ครูผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความ รักและความหวังดีต่อนักเรียน รักที่จะเรียนรู้โลกไปพร้อม กับนักเรียนของครู

140 14 แรงบันดาลใจ


บทที่ 7 ครูไทยในศตวรรษที่ 21

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

141


142 14 แรงบันดาลใจ


ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

143


การเรียนสมัยใหม่ต้องไม่ใช่แค่เพื่อให้ได้ความรู้ แต่ต้องได้ทักษะหรือ Skills เป็น 21st Century Skills เป็นทักษะที่ซับซ้อนมาก เพราะฉะนั้นการเรียนสมัยใหม่ มีเป้าหมายที่เด็กได้ทักษะที่ซับซ้อนชุดหนึ่ง เน้นค�ำว่า ‘ซับซ้อน’ ชุดหนึ่ง เพื่อให้เขาไปมีชีวิตอยู่ในโลกที่ต่อไป จะเปลี่ยนไปอย่างไรไม่รู้ เราไม่มีวันรู้เลยว่าโลกต่อไปข้างหน้าจะเปลี่ยน อย่างผมไม่เคยนึกเลยว่า ในที่สุดแล้วห้องประชุมจะเป็นอย่างนี้ การน�ำเสนอเรื่องต่างๆ จะเป็นอย่างนี้ เราจะมี PowerPoint มี Multimedia ก็ ไม่เคยคิด เราไม่เคยคิดว่าห้องท�ำงานจะเป็นอย่างที่เราเห็น นี่คือโลกที่ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน ต่อไปข้างหน้าเราก็เดาไม่ออก แต่ลูกศิษย์เราจะต้องไปมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง และไม่แน่นอนเช่นนี้ได้ นี่คือหัวใจ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หนังสือ “การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21”

144 14 แรงบันดาลใจ


โลกในศตวรรษที่ 21 เต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาสอันซับซ้อน โลกแห่งข้อมูลข่าวสาร โลกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตทุกคน อย่างแยกไม่ออก โลกทีท่ กุ อย่างเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ความท้าทาย ส�ำหรับครูคอื การสร้างทักษะชีวติ ในศตวรรษที่ 21 ให้กบั เด็ก ให้เด็กน้อย สามารถเติบโตออกไปใช้ชวี ติ ในโลกยุคนี้ได้อย่างอยูร่ อดปลอดภัย ครูไทย ในศตวรรษที่ 21 จึงมีหน้าที่เตรียมเด็กให้พร้อมส�ำหรับอนาคต ที่ไม่มี ใครรู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรบ้าง ธรรมชาติของโลกยุคใหม่อาจท�ำให้ครูหลายคนหวาดหวัน่ จับต้นชนปลาย ไม่ถูก แต่ข่าวดีคือโลกในศตวรรษที่ 21 มีโอกาสมากมายให้ครูได้หยิบ ฉวยน�ำมาใช้ประโยชน์ ทั้งเทคโนโลยีอันก้าวหน้า พลังของเทคโนโลยี และโลกแห่งข้อมูลข่าวสารอันไม่มขี ดี จ�ำกัด หากครูสามารถใช้สงิ่ เหล่านี้ อย่างมีกลยุทธ์ที่ดี ครูสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีมากมาย เพื่อสร้าง ให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ และสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้ กับเด็กได้

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

145


โจทย์ของครูไทย โจทย์ทสี่ ำ� คัญของครูคอื เด็กและเยาวชนในยุคนีต้ อ้ งการทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพือ่ ทีจ่ ะด�ำรงชีวติ ได้อย่างมีความสุขในโลกอนาคต ครูไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อเป็นครูในโลกยุคใหม่อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ การปรับตัวให้ทันยุคสมัย ครูมีวิธีการหรือมีเครื่องมืออะไรบ้าง เพื่อที่จะติดตามและเข้าใจการ เปลี่ยนแปลงของสังคมให้ทัน คุณสมบัติของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ครูควรมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ของ ศตวรรษที่ 21 ให้ได้ ทักษะส�ำหรับชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ทักษะชีวิตด้านต่างๆ ที่เด็กจะต้อง มีเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมส�ำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต

การปรับตัวของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ครู ไทยของแผ่นดินล้วนเป็นครูที่ไม่เคยหยุดคิดเรื่องการพัฒนาตัวเอง เราเห็นครูหลายคนน�ำ เทคโนโลยีมาผลิตสือ่ การเรียนการสอน ครูหลายคนคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้ ครูไทยของแผ่นดิน ใช้ทุกโอกาสที่มีเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการเป็นครู ครูมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนรู้จึงน�ำไปสู่แนวคิด วิธีการแสวงหาความรู้ และการปรับตัว ดังที่ ครูไทยของแผ่นดินได้ชว่ ยกันกลัน่ กรองวิถแี ห่งความเป็นครูของตนเองออกมาเป็นประโยคสัน้ ๆ ซึง่ สะท้อนแนวคิดและวิถีการปรับตัวของครูยุคใหม่ดังนี้

146 14 แรงบันดาลใจ


ไม่หยุดเรียนรู้ เปิดใจเรียนรู้ น้อมรับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง มีความกระตือรือร้นแสวงหาความรู้ตลอดเวลา พัฒนาตนด้านเทคโนโลยีให้ทันโลก เรียนรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยี พัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัย ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอน ศึกษาดูงาน เข้ารับการอบรมสัมมนาอยู่เสมอ น�ำประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้พัฒนาเด็ก สร้างชุมชนการเรียนรู้ เข้าร่วมเครือข่ายครูหลากหลายกลุ่ม ติดตามข่าวสารต่างๆ เสมอ ติดตามความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต อ่านหนังสือ ไม่เคยหยุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามจากผู้รู้ ครูอาวุโส เพื่อนครู แม้กระทั่งถามจากนักเรียน ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองซึ่งจะน�ำไปสู่การพัฒนานักเรียน ถ่ายทอดความรู้ น�ำความรู้ที่ได้รับมาใช้กับเด็กอยู่เสมอ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในทุกระดับ ทั้งโรงเรียน กลุ่ม อ�ำเภอ จังหวัด พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ หาความรู้เพิ่มเติมมาปรับปรุงการสอน ศึกษาทุกสิ่งที่จ�ำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้

คุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ ที่ปรึกษา “โครงการบีเจซีครู ไทยของแผ่นดิน” ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ ของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า ครูไทยควรมีคุณลักษณะ 6 ด้าน โดย รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ เปรียบเทียบไว้อย่างน่าสนใจว่า ครูนั้นเปรียบเสมือนดวงดาวผู้เป็นแสงสว่างส่องน�ำทางให้กับเด็กๆ ดาวดวงนี้ประกอบด้วยสามเหลี่ยม 2 อัน บ่งบอกลักษณะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบ ไปด้วยคุณลักษณะ 6 ด้าน

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

147


รศ.ดร.บั ง อร เสรี ร ั ต น์

กรอบความคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะครูไทยนี้เราใช้เป็นกรอบคัดเลือก ครูไทยของแผ่นดิน ในทัศนะของดิฉัน ไม่ว่าครูในศตวรรษใดก็ตาม ครูเป็น ดวงดาวของเด็ก ถ้าพูดถึงครูก็ต้องนึกถึงดาว ครูอาจจะไม่ใช่ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ได้เป็นดวงอาทิตย์ แต่เราเป็นดวงดาวที่มีแสงสว่างนวลดั่งดาวดวงนี้ ดาวดวงนี้ประกอบด้วยสามเหลี่ยม 2 อัน คือ สามเหลี่ยมสีเหลืองและ สามเหลีย่ มสีเขียว สามเหลีย่ มสีเหลืองเป็นคุณลักษณะด้านคุณงามความดี คุณธรรม จิตวิญญาณ สามเหลี่ยมสีเขียวเป็นคุณลักษณะด้านการเป็นครู มืออาชีพ มีทกั ษะฝีมอื ท�ำให้คนเกิดการเรียนรู้ ดาวดวงนีบ้ ง่ บอกคุณลักษณะ ของครูไทย 6 ด้านด้วยกัน

เป็นมิตร เมตตา อาทรและคิดบวก มีศิลปะ ในการสอน

มีทักษะการสอน

มีจิตส�ำนึก ต่อส่วนรวม

ใฝ่เรียนรู้และ พัฒนาตน มีความรู้ลุ่มลึก มีทักษะเทคโนโลยี

148 14 แรงบันดาลใจ


6 คุณลักษณะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ในทัศนะของ รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ ประกอบด้วย เป็นมิตร เมตตา อาทร และคิดบวก เป็นมุมสูงสุดของสามเหลี่ยมสีเหลือง เป็นคุณลักษณะที่คนเป็นครูต้องมีและเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด มีจิตส�ำนึกต่อส่วนรวม นอกจากท�ำหน้าที่ของตนแล้ว ครูยังเป็นหลักให้ สังคมด้วย ค�ำว่าสังคมไม่ใช่หมายถึงเฉพาะท�ำงานให้ชุมชน ชาวบ้าน แต่ หมายถึง การแบ่ง ปัน ความรู้ให้กับสังคมด้วย เช่น มีคุณครูท่านหนึ่ง จัดท�ำเอกสารมากมายเผยแพร่กับเพื่อนครู มีจิตส�ำนึกต่อส่วนรวม จึงมี ความหมายกว้าง หมายถึง การท�ำเพื่อคนอื่น มีศิลปะในการสอน สามารถสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก อาจจะ อาศัยสื่อหรือกิจกรรมมาท�ำให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สนุกสนานมี ชีวิตชีวา และเด็กๆ เต็มใจที่จะร่วมเรียนรู้ไปกับครู มีทักษะการสอน มีความสามารถ เชี่ยวชาญในการออกแบบกระบวนการ ปรับกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบท เช่น ถ้าครูพละ ต้องสอนเด็กขาพิการก็ต้องมีการปรับการสอน หรือสอนเด็กเก่งอย่างหนึ่ง เด็กไม่เก่งอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตน ครูที่แท้ไม่ได้พัฒนาเฉพาะด้านวิชาความรู้ หรือ เทคโนโลยี แต่ต้องพัฒนาภายในตนด้วย เช่น กิจกรรมสร้างสมาธิ การฝึก มีเมตตา ฯลฯ รวมถึงมุมมอง วิธีคิด เช่น จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการ ถอดบทเรียนครัง้ นี้ จากการน�ำข้อมูลเดิมมาคัน้ ให้ตกผลึก การคิดใคร่ครวญ จนเห็นว่าควรเรียนรู้เพิ่มเติมในจุดใด สามารถต่อยอดอะไรได้บ้าง มีความรู้ลุ่มลึก มีทักษะเทคโนโลยี คุณลักษณะมีความรู้ลุ่มลึก มีทักษะ เทคโนโลยี (อยู่มุมล่างสุด) เราจะเห็นว่าความเมตตาเป็นสิ่งสูงสุดของครู การมีความรู้ลุ่มลึกที่มาพร้อมความเมตตาเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด ครูมีความรู้ดี และพร้อมทีจ่ ะถ่ายทอดความรูใ้ ห้ศษิ ย์ดว้ ยความเมตตาและความปรารถนาดี ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

149


ครู 3 ระดับ จากคุณลักษณะ 6 ด้านของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ครูบางคนอาจยังไม่มคี ณ ุ ลักษณะครบทัง้ 6 ด้าน หรือมีเพียงบางด้าน ครูควรส�ำรวจและพิจารณาตนเองอย่างซื่อสัตย์ และพัฒนาคุณลักษณะ ที่ยังขาดอยู่ให้มีมากขึ้น

ด้วยคุณลักษณะ 6 ด้านดังกล่าว สามารถแบ่งครูเป็น 3 ระดับ ครูระดับที่ 1 ครูที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเพียง 2 ด้าน เป็นครูที่ต้องพัฒนา อีกมาก เช่น สอนได้อย่างเดียว ยังขาดคุณลักษณะอื่นๆ ครูระดับที่ 2 ครูที่มีคุณลักษณะ 4 ด้าน คือครูที่มีฐานเป็นมิตร มีเมตตา อาทร มีความรู้ มีทักษะการสอน และใฝ่เรียนรู้ ครูระดับสองถ้าเน้น คุณลักษณะด้านซ้ายให้มากขึน้ เพือ่ เป็นครูทเี่ ปิดกว้างสูส่ งั คม อุทศิ ตัวเพือ่ สังคม และถ้าเน้นด้านขวาก็จะเป็นครูที่เน้นเรื่องความรู้ ครูระดับที่ 3 ครูที่มีคุณลักษณะครบ 6 ด้าน คือครูในอุดมคติ ซึ่งครูควร รักษาระดับของคุณลักษณะเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ในระดับที่สมดุลเสมอ

คุณลักษณะแต่ละด้าน ครูแต่ละคนมีมากน้อยต่างกันไป ซึ่งตัวของครูเองจะรู้ดีว่าตนเอง มีความโดดเด่นในด้านใดมากน้อยเพียงใด ควรปรับปรุงเพิ่มเติมด้านใดให้มากขึ้น เมื่อ ครูประเมินตนเองอยู่เสมอ ครูจะสามารถพัฒนาคุณลักษณะแต่ละด้านให้เพิ่มพูนขึ้นได้

150 14 แรงบันดาลใจ


เบื้องหลังแนวคิด รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ อธิบายถึงที่มาของคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งมาจากกรอบ แนวคิด 6 องค์ประกอบ ที่ถือเป็นองค์ประกอบส�ำคัญของชีวิตมนุษย์ ที่จะช่วยให้สามารถด�ำรงชีวิต อยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างเป็นสุข ในวงการการศึกษามีการคิดค้นและน�ำเอาทฤษฎีใหม่ๆ มาใช้ อยู่ตลอดเวลา รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ ได้น�ำกรอบความคิดของนักการศึกษาประมาณ 20 คนมา พิจารณาแล้วสังเคราะห์จนตกผลึกเป็นกรอบความคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 เป็นความรอบรู้และเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ อันเกิดจากการคิดใคร่ครวญ เรียนรู้ และลงมือ ปฏิบัติฝึกฝนอยู่ตลอดชีวิต ได้แก่

คุณลักษณะและทักษะเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตน คุณลักษณะและทักษะเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข คุณลักษณะส่วนตน ทักษะทางปัญญา ทักษะทางปัญญาขั้นสูง ที่เรียกว่า อภิปัญญา

ครูอาจใช้กรอบแนวคิดนี้เพื่อเป็นหลักคิดส�ำหรับการพัฒนาตนเองต่อไปได้ แม้ หลายส่วนอาจฟังดูเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายเลย แต่หากครูค่อยๆ สะสมประสบการณ์ พัฒนาคุณลักษณะต่างๆ ไปตามศักยภาพที่มี คุณลักษณะและทักษะต่างๆ จะ ค่อยๆ หลอมรวมเป็นตัวตนของครูได้อย่างทีบ่ างครัง้ ครูอาจไม่ทนั ได้สงั เกตเห็น

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

151


ทักษะเพื่อการด�ำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับครูยุคใหม่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้สรุปเนื้อหาสาระ และทักษะด้านต่างๆ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำรงชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ไว้ ในหนังสือ “วิถสี ร้างการเรียนรูเ้ พือ่ ศิษย์ในศตวรรษที่ 21” ครอบคลุมความรูแ้ ละ ทักษะที่คนยุคใหม่ควรต้องมี ประกอบด้วย

หัวข้อส�ำหรับศตวรรษที่ 21 ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรูด้ ้านการเงิน

สาระวิชาหลัก ภาษาโลก ภาษาแม่ และ ศิลปะ ร์ คณิตศาสต ตร์ เศรษฐศาส ร์ วิทยาศาสต ภูมิศาสตร์ ตร์ ประวัติศาส มเป็น รัฐ และควา

พลเมืองดี

152 14 แรงบันดาลใจ

เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็น ผูป้ ระกอบการ ความรู้ด้านการเป็น พลเมืองดี ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม


ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี

นรู้และ ย ี เร ร า ก น า ้ ด ทักษะ นวัตกรรม ร้างสรรค์และ ริเริ่มส ความ

นวัตกรรม มีวิจารณญาณ ่าง การคิดอย ก้ปัญหา และการแ ละการร่วมมือ รแ การสื่อสา

ทักษะชีวิตและอาชีพ ความยืดหยุ่นและปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (Productivity) และความรับผิดรับชอบ เชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้น�ำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

153


แรงบันดาลใจแห่งการเรียนรู้ โลกยุคใหม่นั้นซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แต่หากจะกล่าวถึงสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับ การเรียนรู้ มีค�ำหนึ่งค�ำที่สามารถครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งได้คือค�ำว่า “แรงบันดาลใจ” หากครูไทย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรักการเรียนรู้ไปจนตลอดชีวิตของเขา นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ดี ที่สุดที่ครูสามารถมอบให้กับศิษย์ได้ ถ้าถามผมว่าทักษะในชีวิตอะไรส�ำคัญที่สุด ค�ำตอบของผมซึ่งอาจจะผิด คือ แรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ ที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว ที่จะท�ำคุณประโยชน์ นี่คือหัวใจ ส�ำคัญที่สุดของการเรียนรู้ นั่นคือทักษะอย่างหนึ่ง ทักษะของการมีแรงบันดาลใจ ในตนเอง และถ้าจะให้ดี ก็คือกระตุ้นแรงบันดาลใจคนอื่นที่อยู่โดยรอบ ก็จะ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้ในหนังสือ “การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21” บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 จึงมิใช่เป็นผูส้ อนหรือเป็นแหล่งความรู้ แต่บทบาท ของครูได้ขยายขอบเขตไปสูก่ ารเป็นโค้ช โค้ชไม่จำ� เป็นต้องเล่นกีฬาชนิดนัน้ ๆ เก่ง ที่สุด แต่โค้ชสามารถดึงศักยภาพที่แท้จริงของนักกีฬาออกมาได้ และโค้ชคือผู้น�ำ พาทีมสู่ความส�ำเร็จ ครูก็เช่นกัน ครูอาจไม่จ�ำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มากกว่าใคร แต่ครูสามารถชีแ้ นะแนวทางให้นกั เรียนสามารถค้นหาความรูท้ ตี่ นเอง ต้องการ ครูสามารถชี้แนวทางสู่การประสบความส�ำเร็จในชีวิตให้กับนักเรียนได้

154 14 แรงบันดาลใจ


ครูในศตวรรษที่ 21 มีคุณค่ามากกว่าครูในศตวรรษที่ 20 โดยจะมีคุณค่าได้ ก็ ต ้ อ งเปลี่ ย นจากสอนไปสู ่ การเป็ น coach จากถ่ า ยทอดความรู ้ ไ ปเป็ น ผู ้ อ�ำนวยการสร้างความรู้ เพราะเด็กท�ำเอง ให้เด็กท�ำเอง และจากการที่เด็กเรียนรู้ แบบผิวเผินไปสู่รู้จริง เปลี่ยนจากสอนวิชาไปสู่พัฒนาครบด้าน เปลี่ยนจากรู้วิชา ไปมีทักษะ ครูเปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชา เป็นผู้ก�ำกับการเรียนรู้ของศิษย์ นี่เป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ย�้ำถึงบทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเปลี่ยนบทบาทไปในหลายมิติ

การเป็นครูในศตวรรษที่ 21 อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่หากครูพร้อมที่จะเรียนรู้ โลกใบใหม่ไปพร้อมกับนักเรียน นั่นอาจท�ำให้ชีวิตของทั้งครูและนักเรียนง่ายขึ้น สอดคล้องกับคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่หากไม่หยุดพัฒนาตนเอง ทุกสิ่งย่อมเป็นไปได้เสมอ

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

155


156 14 แรงบันดาลใจ


บทสรุป ประสบการณ์ของคุณครูทั้ง 34 คน ที่หากนับรวมจ�ำนวนปี ในการเป็นครูคงรวมกันได้ หลายร้อยปี ผ่านการเคี่ยวกร�ำจากการที่ครูแต่ละคนได้ผ่านประสบการณ์หลากหลายในชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้พบกับนักเรียนรุ่นแล้วรุ่นเล่า กลั่นกรองหลอมรวมออกมาเป็น ทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน ซึ่งครูแต่ละคนได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เหล่านั้นเพื่อให้เป็น บทเรียนรู้อีกบทหนึ่งของสังคม เรื่องราวของครูแต่ละคนที่ ได้ลองผิดลองถูก และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาด้วยหัวใจ อันเข้มแข็ง ล้วนมีคุณค่าต่อผู้คนในสังคม เพราะครูคือคนส�ำคัญที่มีบทบาทอย่างสูงในการ สร้างมนุษย์ที่มีคุณภาพออกสู่โลกกว้าง หากครูแสดงบทบาทของความเป็นครูได้อย่างเข้าถึง แก่นแท้แล้วจะช่วยให้สังคมไทยเข้มแข็งจากรากฐานด้วยประชากรที่มีคุณภาพ ประชากร คุณภาพที่จะช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมไทยต่อไปในอนาคต

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

157


34 ครูต้นแบบ ประจ�ำปี 2557 ครูตน้ แบบ ภายใต้โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน โดยบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ BJC คือ การเฟ้นหาครูไทยทีเ่ ปีย่ มด้วยจิตวิญญาณแห่งการให้ เป็นครูท่ีมุ่งมั่น เสียสละ มีความรัก ความเมตตาต่อ ลูกศิษย์ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างไม่ ย่อท้อ และมีมิติสัมพันธ์เกื้อกูลชุมชนและสังคม

นางศรี อ ั ม พร ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนอนุบาลวัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี

นายปรี ช า สวนสำ � ราญ

โรงเรียนบ้านรางกระต่าย (พิริยะประชาวิทยาคาร) จ.จ.กาญจนบุ กาญจนบุรี

158 14 แรงบันดาลใจ

นางฟารี ล ะห์ เจะโซะ โรงเรียนบ้านป่าม่วง จ.ปัตตานี

นายอภิ ช าติ ประทุ ม นั น ท์ โรงเรียนสุพรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี

นายอนุ ภ าพ บุ ญ ซ้ า ย

โรงเรียนเชิงชุมราษร์กูล จ.สกลนคร

นางจารุ ณ ี สุ ท ธิ ส วรรค์

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก) จ.เชียงใหม่

นางฉั น ทนา ศรี ศ ิ ล ป์

นางระพี พ ร คิ ้ ว ทวี ว ิ ว ั ฒ น์

นางมนั ญ ญา ลาหาญ

นางศรี ว รรณ ฉั ต รสุ ร ิ ย วงศ์

โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ จ.แม่ฮ่องสอน

โรงเรียนบ้านนาผาง (วิบูลย์ราษฎร์สามัคคี) จ.อำ�นาจเจริญ

โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) จ.ราชบุรี

โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม จ.สมุทรสาคร


นางสาวศุ ภ มาศ คงคาช่ ว ย โรงเรียนบ้านโพหวาย จ.สุราษฎร์ธานี

นางสุ ภ ั ท รา ศรี ร ะวั ต ร โรงเรียนอนุบาลแพร่ จ.แพร่

นางศรี ว รรณ มหาเทพ

โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ จ.เชียงราย

นายธี ร ะยุ ท ธ เสนาทั บ

โรงเรียนบ้านปากเหมือง จ.พัทลุง

นางพรรณี ตั ้ ง ใจดี

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่

นางงยุ ว รี มนต์ เ นรมิ ต ร โรงเรียนบ้านเนินตะบก จ.ตราด

นางรั ต นา บุ ณ โยประการ

นายอุ ด มศั ก ดิ ์ ร่ ว มสุ ข

โรงเรียนวัดธงไทยยาราม (ปลั่งอุปถัมภ์) จ.พิจิตร

โรงเรียนบ้านพรุพ้อ จ.สงขลา

นางอรั ญ ญา เชี ย งเงิ น

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่

นายธั ช ชา เพิ ่ ม เพี ย ร โรงเรียนบ้านทุ่งเลน จ.ศรีสะเกษ

นายบรรเจิ ด ถาบุ ญ เรื อ ง

โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

นางลำ � พู น ประริ เ ตสั ง ข์ โรงเรียนสระขุดดงสำ�ราญวิทยา จ.สุรินทร์

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

159


นางดรุ ณ ี ทุ ม มากรณ์

โรงเรียนบ้านยางสักกระโพหลุ่ม จ.อุบลราชธานี

นางเพ็ ญ ศรี สมบู ร ณ์ ว งศ์

นายประหยั ด ใสบาล

โรงเรียนบ้านไก่คำ� จ.อำ�นาจเจริญ

นายทิ น กร แจ่ ม เจ็ ด ริ ้ ว

โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย) จ.นครปฐม

โรงเรียนวัดนางสาว จ.สมุทรสาคร

นางสุ ร ี ย ์ แสงสว่ า ง

นางสายรุ ้ ง เฟื ่ อ งสิ น ธุ ์

โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี

160 14 แรงบันดาลใจ

นายบุ ญ ธง ชั ย บิ น

นางขนิ ษ ฐา ภู ช มศรี

โรงเรียนราษฎร์สามัคคี จ.นครพนม

โรงเรียนอนุบาลโซ่พิสัย จ.บึงกาฬ

นางลาวั ล ย์ สมิ ธ

นางวริ ย ากร อั ศ ววงศานนท์

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี

นางเสาวรส นววิ ธ ไพสิ ฐ

นางณั ช ตา ธรรมธนาคม

โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์) จ.กรุงเทพฯ โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา จ.กรุงเทพฯ

โรงเรียนศูนย์รวมน้ำ�ใจ จ.กรุงเทพฯ


บทเรียน “ครูไทยของแผ่นดิน“

5

มีส่วนร่วมกับชุมชน

สร้างความไว้วางใจ สร้างการยอมรับ

ร่วมพัฒนาเด็ก

1 จิตวิญญาณของครู 4 การพัฒนาเด็ก

2

การพัฒนาการเรียน การสอน

6

3

การหาความรู้ เพิ่มเติม

การอบรมบ่มเพาะ ช่วยเหลือ ดูแล

สนับสนุน สร้างคุณค่าครูไทยในสังคม

ก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์

161


ชื่อหนังสือ จัดท�ำโดย ที่ปรึกษาโครงการฯ บรรณาธิการ บรรณาธิการต้นฉบับ พิสูจน์อักษร ออกแบบศิลปกรรมและรูปเล่ม ทีมถอดบทเรียน ด�ำเนินการผลิตโดย

14 แรงบันดาลใจ

หนังสือถอดบทเรียน “ครูต้นแบบประจ�ำปี 2557” โครงการบีเจซีครูไทยของแผ่นดิน ฝ่ายกิจการสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สรัญญา โภคาลัย บุษกร เสนากุล ดารารัตน์ ดีก้องเสียง momfon@yahoo.com บริษัทกล้าก้าว อินสไปเรชั่น จ�ำกัด ผศ. จริยา วิไลวรรณ สริรินทร์ โภคาลัย เยาวลักษณ์ ชีพสุมล เกรียงไกร กันยะ วีรพงศ์ สมิทจิตต์ โสภิดา โพธิธีรบุตร มาติกา เรี่ยวแรง บริษัทกล้าก้าว อินสไปเรชั่น จ�ำกัด (email:Klakaoteam@gmail.com)


“ยกย่อง เชิดชูด้วยใจ แด่ครูผู้ให้ของแผ่นดิน” บีเจซีครูไทยของแผ่นดิน

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ 99 ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : (66) 0-2367-1111, 0-2381-4520 โทรสาร : (66) 0-2367-1000, 0-2381-4545 www.bjc.co.th

166 14 แรงบันดาลใจ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.