พระพุทธรูป เมืองพาน ศิรินทิพย์ ชัยชะนะ
พระพุทธรูป เมืองพาน ศิรินทิพย์ ชัยชะนะ
ประวัติเมืองพาน เรื่องราวตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอำ�เภอพาน ไม่ค่อยมีการกล่าวขานถึงดินแดนแห่งนี้มากนักแต่กลับเป็นเมืองที่มี ความเป็นมาน่าสนใจ ยังเป็นเมืองที่พบเครื่องปั้นดินเผายุคเก่ามากมาย ในขณะเดียวกันในตำ�นานเมืองเชียงใหม่ก็ยังเอ่ยถึงเมืองพานด้วยใน ช่วงที่ว่าเจ้าเมืองพานที่มีบทบาทในการอัญเชิญพระไชยเชษฐา มาเป็นกษัตริย์ ณ เมืองเชียงใหม่ และเมื่อพระอุปโยราชมาเป็นกษัตริย์ ที่เชียงใหม่แล้ว จึงมีการแบ่งขุนนางไปกินเมืองต่างๆ โดยมีการแต่งตั้ง พระยาวชิรอำ�มาตย์ไปกินเมืองพาน
พระพุทธรูปเมืองพาน 1
ในประวัติบางแห่งได้กล่าวว่า เมืองพานได้ก่อตั้งโดยคนไตรุ่น แรกๆ หรือที่เรียกกันว่า ไตนั้าคง หรือกลุ่มไตนํ้าสาละวิน ซึ่งอพยพมา จากเมืองพานในรัฐฉาน มาอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อบ้านเมืองเดิมที่เคยอยู่มาตั้ง
2 พระพุทธรูปเมืองพาน
ในช่วงเวลาหนึ่งเมืองพานขึ้นต่อลำ�พูน ทั้งที่มีระยะทางที่ห่างไกล กันและอาณาเขตภูมิประเทศก็ไม่ได้ติดต่อกัน แต่ก็พบว่าใน“ยุคเก็บผัก ใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ของพระเจ้ากาวิละ อันเป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมือง ที่สำ�คัญยุคหนึ่งนั้น เป็นยุคที่มีการผู้คนร่วมใจกันมาจากทางเหนือของ ล้านนาเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก เช่นชาวไทเขิน ไทลื้อ รวมไปถึงคนไตและ คนเมืองที่อยู่ฝั่งแม่นํ้าสาละวิน การร่วมใจกันมาของพระเจ้ากาวิละนั้น จะมาทั้งระบบสังคมกล่าวคือจะมาทั้งผู้ปกครองและลูกบ้านของแต่ละ เมืองนั้นๆ เช่น ร่วมใจกันมาของชาวไทลื้อจากเมืองยองไปลำ�พูน เป็นต้น แล้วแต่งตั้งให้น้องทั้งเจ็ดคนซึ่งเรียกว่า เจ้าเจ็ดตน ครองเมืองต่างๆ ในล้านนา แล้วเจ้าเมืองที่ครองเมืองต่างๆนั้นก็จะแบ่งสายไปครองเมือง เล็กเมืองน้อยอีกต่อหนึ่ง เช่น เจ้าเมืองลำ�ปางก็จะส่งคนไปครองเมืองงาว เจ้าเมืองลำ�พูนก็จะส่งคนไปครองเมืองพาน ซึ่งสอดคล้องกับ อินทร์ สุใจ ได้กล่าวไว้ใน ประวัติอำ�เภอพานว่า “ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2380 เจ้าหลวงดาราฤทธิเดช แห่งเมืองลำ�พูนให้อพยพ เชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนจากเมืองล้านนาตอนบน เช่นเมืองเชียงตุง สิบสองปันนาและเมืองยอง มาอยู่ที่เมืองเวียงห้าวซึ่งเป็นเมืองร้าง เมื่ออพยพเชลยศึกจากลำ�พูนมาอยู่ที่เมืองร้างนั้นมีหัวหน้าชื่อนายจินดาโจร เมื่อไปถึงต่างช่วยกันบูรณะเมืองร้างจนกลายเป็นเมืองใหม่ขึ้นมา แล้วตั้ง ชื่อว่า เมืองพาน (พาน หมายถึง พานพบ) พบปะบางตำ�นานก็ว่า พานมา จากคำ�ว่า ฟาน เพราะบริเวณนั้นมีเก้ง มีฟานมาก แม้จะสร้างเมืองใหม่ แล้วแต่การทำ�มาหากินฝืดเคืองประกอบกับมีผู้คนตกนํ้าแม่ส้านซึ่งเป็น แม่น้ำ�ลึกใหญ่ไหลผ่านเมืองในขณะนั้น ดังนั้นจึงย้ายเมืองมาตั้งใหม่ ณ บ้านเก่าในปัจจุบันให้ชื่อว่า “บ้านสันเค็ดเก๊า” (หมายถึงบ้านที่เคยตั้ง อยู่แต่เดิมมา) และตั้งชื่อวัด ตรงกับชื่อเมืองด้วย “สันเค็ดเก๊า” คือวัดบ้านเก่า หรือวัดเกตุแก้วในปัจจุบัน
พระพุทธรูปเมืองพาน 3
ต่อมานายจันดาโจร ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นพญาหาญ ตั้งบ้าน อยู่ทางทิศเหนือของวัดเกตุแก้ว และได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมือง คนที่ 1 และมีพญาไชยเฒ่า พญาไชยชนะสงครามเป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 และ คนที่ 3 ตามลำ�ดับ
4 พระพุทธรูปเมืองพาน
ในเขตอำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ที่ติดต่อกัน และยัง มีลักษณะของงานศิลปกรรมที่คล้ายคลึงกัน จากคำ�กล่าวของนางสิน ได้มีการเล่าเกี่ยวกับตำ�นานของวัดต่างๆที่มีละแวกใกล้เคียงถึงความ เชื่อมโยงว่า ได้มีนักบุญที่มาจากเชียงใหม่ คือ ท่านพระครูบาศรีวิชัย ได้ออกเดินทางธุดงค์มายังเมืองเชียงรายและมีการพักค้างคืนที่สถานที่ แห่งหนึ่ง จึงมีการตั้งชื่อสถานที่นั้นเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และตั้งเป็นศาสนสถาน ว่า พระธาตุจอมแว่ ซึ่งคำ�ว่า “แว่” มีความหมายว่า “พัก” และท่าน ได้เดินทางต่อมาเรื่อยๆจนฟ้าสว่างเลยตั้งสถานที่ศักดิ์นั้นว่า พระธาตุจอมแจ้ง ซึ่งคำ�ว่า “แจ้ง”มีความหมายว่า “สว่าง” และยังเดินทางต่อมา เรื่อยๆจนคำ�ก่อนหยุดพัก และได้ตั้งชื่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้นว่า พระธาตุจอมหุ้ม ซึ่งคำ�ว่า “หุ้ม”มีความหมายนัยยะว่า “คํ่า” ซึ่งนี่กเ็ ป็น ตำ�นานที่มีการเล่าขานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงมีการประดิษฐ์สถานที่ ศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้นเป็นศาสนสถาน เพื่อที่คนในชุมชนจะได้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว จิตใจ ทำ�ให้คาดได้ว่าวัดในเขตเมืองพานจะมีการเกี่ยวข้องกันใน หลายๆด้านทั้งในด้านการใช้ช่างเดียวกัน และผู้คนที่เป็นศรัทธาใน กลุ่มเดียวกัน จึงมีความคล้ายคลึงของด้านวัฒนธรรมและงานตกแต่ง ภายในเขตศาสนสถาน
พระพุทธรูปเมืองพาน 5
6 พระพุทธรูปเมืองพาน
พระพุทธรูปเมืองพาน พระพุทธรูปปูนปั้นในเขต อำ�เภอพาน มีลักษณะเป็นพระพุทธรูป ที่มีพระวรกายสีขาว พระโอษฐ์แดง แต่เดิมการสร้างพระพุทธรูปเป็น คติมหาบุรุษตามคัมภีร์มหาปุริษลักขณะ รวมกับอิทธิพลของศิลปะกรีก ที่นับถือรูปเคารพจากการเข้ามาบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย จนเกิดเป็นศิลปะคันธาระขึ้นหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์ กว่า ๕๐๐ ปี ซึ่งพระพุทธรูปจะทำ�จากศิลาทราย ไม้ สัมฤทธิ์ และดิน โดยยังไม่มีสีเป็นองค์ประกอบ ต่อเมื่อทฤษฎีมหาบุรุษในพระคัมภีร์ ได้รับความนิยมแพร่หลาย จึงนิยมทาพระฉวี (ผิว) พระพุทธรูปด้วย สีทอง หรือทำ�แผ่นทองมาปิด ที่เรียกกันว่า การลงรักปิดทอง
พระพุทธรูปเมืองพาน 7
เหตุที่ริมพระโอษฐ์พระพุทธรูปเป็นสีแดงนั้น เริ่มนิยมขึ้นที่กลุ่ม ชนชาวรามัญ หรือชาวมอญแห่งอาณาจักรสิริธรรมวดี อันมีศูนย์กลาง อยู่ที่หงสาวดีเป็นแห่งแรก เหตุด้วยพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญนิยมขบ ฉันหมากพลูอยู่เป็นประจำ� เมื่อสร้างรูปจำ�ลองพระพุทธองค์เลยพลอย นำ�วัสดุที่เรียกว่า “ชาด” ทาริมพระโอษฐ์ และผู้คนก็ยังนิยมถวาย หมากพลูแด่องค์พระพุทธรูป เฉกเดียวกับการถวายแด่ภิกษุสงฆ์อีกด้วย เมื่อชาวพยู นำ�โดยอนิรุทธมหาราช หรืออโนรธามังฉ่อ ขยายอิทธิพล เหนือมอญ ทำ�ให้พุกามรับเอาศิลปะต่างๆ ของชาวมอญเข้าไปด้วย เมื่อสร้างพระก็ทาสีพระพักตร์พระพุทธรูปเป็นสีขาวเหมือนการประแป้ง ของชาวพยู และทาริมพระโอษฐ์ให้เป็นสีแดง ยิ่งทำ�ให้ดูโดดเด่น จึงนิยมกันเรื่อยมา จนเผยแพร่เข้ามายังล้านนา ในสยามประเทศนั้น อาจกล่าวได้ว่า รับเอาธรรมเนียมการทาริมพระโอษฐ์พระพุทธรูป ให้เป็นสีแดงมาจากมอญ ซึ่งหนีพวกพยูเข้ามาบริเวณภาคกลางทางหนึ่ง และเมื่อพม่าเข้ามามีอำ�นาจเหนือล้านนาอีกทางหนึ่ง ซึ่งอาจจะกล่าว ได้ว่า วัดที่สร้างจากศรัทธาของชาวมอญในอดีตนั้น พระประธานใน โบสถ์วิหารจะปากแดงทั้งสิ้น ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อาจจะมีการอพยพของชาวพยูเข้ามาใน แถบล้านนา ในสมัย ทำ�ให้ในสมัยการสร้างเมืองมีการเกณฑ์ไพร่พลที่มี ฝีมือดีในการก่อร่างสร้างเมืองทำ�ให้มีการกลื่นของวัฒนธรรมและงาน ศิลปกรรมร่วมกัน
8 พระพุทธรูปเมืองพาน
ส่วนพระพุทธรูปที่มีลักษณะทรงเครื่องอาจจะมีความเชื่อที่ เกี่ยวเนื่องจากที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเป็นผู้ครองเมืองที่เคยสวมใส่ เครื่องทรงจึงมีการเลียนแบบเครื่องทรงมาใส่ในงานพระพุทธรูปเพื่อให้ มีความรู้สึกที่แสดงออกถึงความเป็นใหญ่ของพระพุทธรูป
นอกจากพระพุทธรุปปูนปั้นพระวรกายสีขาวแล้วยังมีพระพุทธรูป ที่สร้างจากปูนปั้นแต่มีการใช้สีทองในการทาพระวรกายซึ่งมีลักษณะ เลียนแบบของพระพุทธรูปในภาคกลาง
พระพุทธรูปเมืองพาน 9
10 พระพุทธรูปเมืองพาน
ความงามของพระพุทธรูปเมืองพาน ในเขตอำ�เภอพาน มีความคล้ายคลึงกันของงานศิลปกรรม ซึ่ง จะพบเพียงบางวัดเท่านั้นที่มีความแตกต่างและเอกลักษณ์ที่แตกต่าง เห็นได้ชัด เช่น ในวัดเจริญเมืองจะมีลักษณะของพระพุทธรูปแตกต่างไป คือ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แต่มีการทาพระวรกายสีทอง เพื่อเลียน แบบพระพุทธรูปางภาคกลางซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการที่มีศรัทธา ที่เป็นคนภาคกลางหรือนำ�ช่างจากภาคอื่นๆมาใช้ในการซ่อมบำ�รุง ตัวพระประธาน
พระพุทธรูปเมืองพาน 11
ในวัดห้วยทรายขาวยังมีการทำ�พระพุทธรูปได้สวยงาม คือ มีการขัดมันผิวของพระพุทธรูปทำ�ให้ผิวดูใสมันวาว อีกทั้งดวงตาของ พระพุทธรูปปนั้นยังมองเหลือบตํ่าดูมีเมตตา พระพักตร์ดูอิ่มเอิบ และ พระโอษฐ์แสดงถึงลักษณะของจิตใจที่บริสุทธิ์โดยเมื่อเรามองไปที่ พระพักตร์แล้วทำ�ให้รู้สึกถึงความเมตตาและความบริสุทธิ์ของพระประทาน ซึ่งในวัดอื่นๆจะมีแต่การทาพระวรกายสีขาวเท่านั้นไม่มีการขัดมัน ของผิวองค์พระประทานทำ�ให้ดูแข็งทื่อ
อีกวัดหนึ่งที่มีความน่าสนใจของพระพุทธรูปแต่มิใช่เป็นองค์ พระประทานคือวัด พระหิน ซึ่งมีงานศิลปกรรมที่น่าสนใจคือ ได้พบ พระพุทธรูปที่ทำ�มาจากหินอ่อนซึ่งมีการขูดเส้นและเขียนสีลงบน พระพุทธรูปอีกด้วย อีกทั้งสีที่ใช้ยังเป็นสีที่มากจากธรรมชาติ ซึ่งทำ�ให้ พระพุทธรูปมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจเป็นอย่างมาก
12 พระพุทธรูปเมืองพาน
จากเนื้อความข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธรูปที่พบในเขต อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่นิยมทำ�จากวัสดุปูนปั้น มีการ ทาพระวรกายสีขาว ทาพระโอษฐ์สีแดง มีลักษณะของพระโขนงที่สีดำ� และชัดเจน ปางที่ประทับจะเป็นปางสมาธิราบหรือเพชร รัศมีในงานปูนปั้น จะเป็นรัศมีเปลว จะพบเพียงรัศมีบัวตูมเฉพาะพระพุทธรูปที่มีวัสดุทีท่ ำ� จากโลหะ แกรนิตและหินเท่านั้น ส่วนขนาดของพระพุทธรูปจะขี้นอยู่กับ ขนาดของชุมชน หากเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ก็มักจะมีการสร้างศาสนสถานให้ใหญ่ขนาดของพระพุทธรูปก็ย่อมมีขนาดใหญ่ตาม แต่ในเขตที่ เป็นลักษณะพื้นที่ราบลุ่มภูเขามักจะมีขนาดพระพุทธรูปที่ไม่ใหญ่มาก ดังนั้นพระพุทธรูปข้างต้นอาจจะมีการผสมงานศิลปกรรมหลาย พื้นที่ตามที่ประชากรแต่ละชาติพันธุ์ที่เข้ามามีบทบาทต่อชุมชน
พระพุทธรูปเมืองพาน 13
14 พระพุทธรูปเมืองพาน
การเคารพพระพุทธรูป การเคารพพระพุทธรูปนั้นคือ การที่เรารักษารูปแบบของ พระพุทธรูปให้อยู่คงเดิมไม่ผิดแปลกไปจากรูปแบบเดิม และการ เคารพต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น การให้เกียรติ การแต่งกายและทำ�กริยา ให้เหมาะให้ควร โดยมีการตั้งข้อกฎหมายมากมายเพื่อดูแลวัตถุทาง ศาสนา และ มีการรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์มากมาย จึงทำ�ให้การ ดูแลรักษาเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
พระพุทธรูปเมืองพาน 15
พระพุทธรูป เมืองพาน ภาพและเนื้องเรื่อง © (พ.ศ. 2557) โดย ศิรินทิพย์ ชัยชะนะ, 540310140 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ศิรินทิพย์ ชัยชะนะ ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS 18 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่