ชมภาพจิตรกรรมพื้นบ้าน
“วิหารวัดทุ่งฝูง” อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง
ทัตชญา ยะมะโน
ชมภาพจิตรกรรมพื้นบ้าน
“วิหารวัดทุ่งฝูง” อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง ทัตชญา ยะมะโน
1
ชมภาพจิตรกรรมพื้นบ้านที่วิหารวัดทุ่งฝูง วัดทุ่งฝูงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งฝูง ตำ�บลร่องเคาะ อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง สร้างโดยเจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระเจ้าเมืองใจ และศรัทธาชาว บ้านทุ่งฝูง ในปี พ.ศ. 2532 วัดทุ่งฝูงเป็นวัดที่ไม่มีเจดีย์ เพราะไม่ได้เป็น วัดอารามหลวง แต่ภายในวัดมีโบราณสถาน มีอาคารเก่าแก่ (โบราณ) คือ วิหารหลวง ที่มีงานจิตรกรรมฝาผนังซึ่งวาดจากสีธรรมชาติ นับเป็นวิหารที่ มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีปรากฏในอำ�เภอวังเหนือ จากลักษณะ การก่อสร้างที่เป็นศิลปะแบบพื้นถิ่น ได้สร้างขึ้นพร้อมกับวัดทุ่งฝูง หลักฐาน วัน เดือนปี ที่สร้างวิหารไม่ปรากฏ แต่มีการบูรณะครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2505 และบูรณะครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ.ศ. 2533 สำ�หรับการบูรณะครั้งที่ 2 นั้น ได้มีการเปลี่ยนจากหลังคาจากเดิมที่เป็นกระเบื้องเกล็ดเป็นกระเบื้องลอน คู่เล็ก ฉาบผนังด้านนอก และเทพื้นภายในวิหารด้วยปูน แต่ยังคงรักษา รูปลักษณ์ที่มีมาแต่เดิมเอาไว้ได้มาก
2
นอกจากเอกลักษณ์แบบพื้นถิ่นที่ยังคงสภาพเดิมเอาไว้เกือบทั้งหมด แล้ว ภายในวิหารนี้ยังมีงานจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพวาดลายเส้นจากสี ธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นฝีมือของพ่อหนานคำ�ป้อ อุดหนุน ซึ่งเคยบวช และศึกษาพระคัมภีร์ใบลาน และพระวินัย พ่อหนานคำ�ป้อได้ใช้จินตนาการ ในการวาดภาพที่ได้จากพระคัมภีร์ใบลาน แต่ละภาพจะซ่อนเร้นไปด้วยการ ละเล่นและวิถีชีวิตของคนในอดีต ดูแล้วทำ�ให้เกิดความสนุกสนาน และ ให้ข้อคิดต่างมากมาย พ่อหนานคำ�ป้อได้บวชอีกครั้งหนึ่ง และได้วาดภาพ จิตรกรรมฝาผนังในวิหารทุ่งฝูงในปี พ.ศ. 2506 – 2507 ซึ่งมีอยู่ 3 เรื่อง คือ พุทธประวัติ พระเวสสันดร และ หงส์หิน ส่วนสีที่ใช้วาดภาพ ใช้สีจากธรรมชาติ สีแดง : ใช้ลูกมะกาย หินสีแดงในนํ้านามาฝน สีน้าเงิน : ใช้ลูกครามที่ใช้ย้อมผ้า สีเหลือง : ได้จากขมิ้น เปลือกในของไม้เต็ง(ไม้แงะ)หินสีเหลืองในนํ้านามาฝน สีดา : ได้จากถ่านไฟฉาย หมิ่นหม้อ ส่วนยางที่ใช้ต้มผสมกับสีธรรมชาติเพื่อให้มีความหนืดคือยางจากต้น กุก ที่ต้องคนส่วนผสมตลอดทั้งวันเพื่อให้เกิดความเหนียว แล้วตักใส่ภาชนะ เล็กๆ พอประมาณ ผสมนํ้าในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้สีติดพู่กัน และ สีที่ได้จะมีความคงทน แต่สาหรับภาพวาดบางจุดบนฝาผนังได้ใช้เปลือกของ ต้นปอทุบ แล้วนำ�มาวาดแทนพู่กัน
3
ป้ายวัดวัดทุ่งฝูง
วัดทุ่งฝูงอยู่ในเขตตาบลร่องเคาะ ห่างจากวัดบ้านก่อไม่มากนัก วัดนี้สร้างประมาณปลายปี พ.ศ. 2495-2496 ระบุว่าหลวงพ่อคำ�ป้อได้ ย้ายมาจำ�พรรษาที่วัดนี้และได้เขียนรูปแต้มในวิหารด้วย หลวงพ่อคำ�ป้อ อุดหนุน เป็นชาวบ้านสบลี อำ�เภอแจ้ห่ม ได้สร้างครอบครัวที่บ้านทุ่งฝูง อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง มีบุตรชายจำ�นวนสองคน และหลังจากนั้นได้ ลาครอบครัวและเข้ารับการอุปสมบทเพื่อศึกษาพระคัมภีร์ใบลาน และพระวินัย โดยได้จำ�พรรษาที่วัดบ้านก่อและวัดทุ่งฝูง ในช่วงที่จำ�พรรษาที่วัดทุ่งฝูง ประมาณปี พ.ศ.2498 หลวงพ่อคำ�ป้อได้ละสังขารไป อายุได้ประมาณ 80-90 ปี การเดินทางไปมาของหลวงพ่อคำ�ป้อก็คงเพราะเป็นการใฝ่หา ประสบการณ์ ซึ่งน่าจะเป็นข้อดี หลวงพ่อคำ�ป้อเป็นคนช่างสังเกต และมี ความมั่นใจ ด้วยความที่เป็นคนพูดน้อยจึงเป็นที่รู้จักกันไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ยังไม่มีใครทราบว่าหลวงพ่อคำ�ป้อเคยบวชเรียนมาแล้วกี่วัด และได้จำ�พรรษา แต่ละวัดนานเท่าไหร่ และได้สร้างรูปแต้มตามผนังวิหารไว้ทุกวัดหรือไม่ แต่ผลงานของท่านยังคงมีปรากฏให้เห็นทั้งในวัดบ้านก่อและวัดทุ่งฝูง
4
ภาพวิหารวัดทุ่งฝูง
วิหารทุ่งฝูงสร้างติดพื้นดิน เป็นวิหารแบบปิด มีขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านตะวันออกและตะวันตกมีสามช่วงเสา ช่องกลางก่อเป็นซุ้มโขงปราสาท ตรงข้ามกับพระประธานประดิษฐาน บนแท่นแก้วที่หันหน้าออกมาทางด้านนอกวิหาร ด้านเหนือและใต้มีห้าช่วงเสา ระหว่างช่วงเสามีหน้าต่าง ตรงท้ายวิหารเป็น หลังคาจั่วมีปีกนก มีช่อฟ้า มีคันทวย ใบระกา หางหงส์แบบภาคกลาง พื้นที่ผนังด้านใน เป็นรูปแต้มฝีมือของพ่อหลวง คำ�ป้อ อุดหนุน ที่เนรมิตชาดกยอดนิยม “พระเวสสันดรชาดก” ผนังบางผนังมีการเดินเรื่องมาถึงฉากสำ�คัญก็จะ มีพื้นที่มาก บางช่วงเสาก็อัดแน่นถึงสี่ฉากด้วยกัน ที่สำ�คัญหลวงพ่อคำ�ป้อ วาดพระเวสสันดรชาดกที่ฝาผนังวิหารทุ่งฝูงได้สนุกมาก อาจเพราะเขียน เรื่องเดียวทั้งวิหาร ไม่มีเรื่องอื่นมาแย่งพื้นที่ได้
5
แผงผังแสดงตำ�แหน่งของจิตรกรรม ภายในอุโบสถวัดทุ่งฝูง
6
โดยภายในตัววิหารวัดทุ่งฝูงได้มีการจัดระเบียบและตำ�แหน่งภาพ งานจิตรกรรมได้ดังนี้คือ บริเวณฝาผนังภายในอุโบสถด้านทิศตะวันตก และด้านหลังพระพุทธรูปประธาน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และบริเวณมุมด้านซ้ายของฝาผนังเป็นเรื่องพระมาลัยซึ่งยาวต่อเนื่อง ไปจนถึงพื้นที่ฝาผนังทางด้านทิศใต้ บริเวณฝาผนังภายในอุโบสถ
ด้านทิศตะวันออก พื้นที่รอบประตูกลาง ระหว่างเสาวิหารทั้ง 2 ต้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดกเรื่องหงส์หิน ตลอดแนวฝาผนังทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ รวมทั้งพื้นที่รอบประตูเล็กทั้ง 2 บาน ของฝาผนังด้านทิศตะวันออก เป็นเรื่องพระเวสสันดร ลักษณะการวาดภาพและการใช้สีในงานจิตรกรรม ฝาผนังเป็นการวาดภาพแบบ 2 มิติ ไม่มี Perspective ที่แสดงถึงความลึก และความใกล้ ไกล ของภาพ มีลักษณะของการเล่าเรื่องแบบเครือข่าย ต่อเนื่องกันไปตลอดตามความยาวของฝาผนัง โดยไม่มีการแบ่งคั่น เป็นกรอบหรือห้องภาพ แต่มีการใช้ธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ รวมทั้งแนวกำ�แพงในการแบ่งแยกเรื่องราว สำ�หรับฝาผนังเรื่องหงส์หิน จะมีการแบ่งเรื่องราวเป็นแนวนอนซ้อนกัน 4 แถว เพราะเป็นผนังที่มีพื้นที่ ความสูงมากกว่าฝาผนังด้านข้าง
7
สีที่ใช้ในภาพจิตรกรรม สีที่ใช้จะเป็นสีสด สีที่ได้จากธรรมชาติ และจะพบว่ามีการใช้สี เพียง 5 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว และ สีดา โดยมีการลงสี ที่เฉพาะตัวภาพเท่านั้น ส่วนพื้นหลังจะเป็นสีขาวตามสีของผนังวิหาร ใช้เทคนิคระบายแบบโปร่ง ให้ความรู้สึกของสีที่บางเบา และมีการใช้สีดำ� ตัดเส้นแบบง่ายๆไม่เน้นความประณีตและสวยงามมากนัก
ตัวอย่างภาพที่ถูกลงสีในงานจิตรกรรม
8
งานศิลปกรรม งานศิลปกรรมจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม คือ ภาพบุคคล ภาพสถาปัตยกรรม ภาพทางธรรมชาติ และภาพบุคคล มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนตามลักษณะ การแต่งกาย รายละเอียดของเสื้อผ้า รวมทั้งการจัดวางการจัดตำ�แหน่ง ของตัวละคร โดยกลุ่มบุคคลจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลชั้นสูง กลุ่มข้าราชการบริพารและทหาร กลุ่มชาวบ้านและตัวละครอื่นๆ กลุ่มบุคคลชั้นสูง ประกอบด้วยพระพุทธเจ้า กษัตริย์ เทวดา และ นางฟ้า มีการสวมชฎา มีการจัดตาแหน่งตามความเหมาะสม เพื่อแสดงถึง ฐานะ รวมทั้งมีการลงสีผิวเพื่อให้ความสาคัญตามลักษณะเด่นด้วย
การแต่งกายชนชั้นกษัตริย์
9
กลุ่มข้าราชบริพารและทหาร กลุ่มนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจาก ชาวบ้านทั่วไปอย่างชัดเจน จากเครื่องแต่งกาย โดยขุนนางจะมีการใส่เสื้อ แขนยาว คอปิด ผ่าหน้า มีลวดลายที่บริเวณต้นแขนและปลายแขนเสื้อ ชายเสื้อยาวทับลงมาทับผ้านุ่ง นุ่งโจงกระเบนที่มีความยาวเพียงครึ่งแข้ง เท่านั้น ส่วนทรงผมมี 2 ทรงคือ ทรงมหาดไทยและรองทรง สำ�หรับทหาร มีการแต่งกายแบบสมัยใหม่ คือ สวมเสื้อแขนยาวปล่อยชาย สวมกางเกง ขายาว สวมหมวกแก๊ปทรงหม้อตาล สวมรองเท้า ถืออาวุธ และได้มีการ วาดภาพกลุ่มทหารแบบเป็นระเบียบ แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้มีลักษณะ ที่เหมือนกัน
การเปรียบเทียบทรงผมมหาดไทย และรองทรง
การรวมกลุ่ม และการแต่งการของทหาร
10
กลุ่มชาวบ้านและตัวละครอื่นๆ ในส่วนของภาพชาวบ้านที่นิยม สอดแทรกอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังที่เรียกว่า ภาพกาก จะมีอยู่น้อยมากในงาน จิตรกรรมของวิหารวัดทุ่งฝูง ลักษณะของกลุ่มชาวบ้านผู้ชาย ส่วนใหญ่จะ นุ่งหยักรั้งสั้นเหนือเข่า ไม่นิยมสวมเสื้อ ส่วนกลุ่มผู้หญิงก็จะนุ่งซิ่น ไม่สวม เสื้อเช่นกัน และจะไว้ผมยาว เกล้ามวย ส่วนพราหมณ์ก็จะมีลักษณะเฉพาะ นุ่งผ้ามีลักษณะคล้ายโจงกระเบนยาวคลุมเข่า มีผ้าคาดเอว บางครั้ง จะนุ่งหยักรั้งสั้นเหนือเข่า ไม่สวมเสื้อ ผมยาว เกล้ามวยไว้บริเวณท้ายทอย และยังพบว่าภาพคนจีนจะไว้ผมเปียยาว สวมหมวกทรงแหลมสานรูป สามเหลี่ยม สวมเสื้อตัวหลวม ผ่าหน้า แทรกอยู่ในงานจิตรกรรมด้วย
การแต่งกายของผู้ชายและการแต่งการของผู้หญิงล้านนา
11
การแต่งกายของพราหมณ์
การแต่งกายของชาวจีน
12
สิ่งที่น่าสนใจในงานศิลปกรรม สิ่งที่น่าสนใจในงานศิลปกรรม คือ ตัวละครที่มีความสำ�คัญตามเนื้อ เรื่อง เช่นนางสุชาดา นางอมิตตดา พรานเจตบุญ หรือแม้แต่ชายที่เป็น ผู้ถวายดอกบัวให้แก่พระมาลัย จะมีการวาดตัวละครให้มีเครื่องแต่งกาย ที่แตกต่างจากกลุ่มชาวบ้านทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่า มีภาพผู้หญิงสวมเสื้อ รัดรูป แขนยาว สีสดใส บางภาพจะนุ่งกางเกงขาบาน ถือกระเป๋า และบาง กลุ่มถือร่ม เป็นการวาดเสริมขึ้นภายหลังจากเนื่องมีการใช้สีที่แตกต่างจาก ส่วนอื่น รูปแบบเครื่องแต่งกายที่เป็นกางเกงขาบานเป็นที่นิยมหลังการวาด ภาพงานจิตรกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว และลายเส้นในบางส่วนที่มีความแตก ต่างกันไม่น่าจะเป็นงานจากช่างฝีมือคนเดียวกัน
การแต่งกายของผู้หญิงแบบร่วมสมัย ใส่เสื้อรัดรูป นุ่งกางเกงขาบาน และกางร่ม
13
การเขียนภาพสถาปัตยกรรม ลักษณะการเขียนภาพสถาปัตยกรรมเป็นแบบจิตรกรรมประเพณี ที่ไม่เน้นสัดส่วนตามจริง แต่จะเขียนภาพให้มีขนาดเล็ก ลักษณะของปราสาท มีรายละเอียดการตกแต่งอย่างวิจิตร หลังคาเป็นทรงปราสาทซ้อนกันหลาย ชั้น มียอดอยู่ตรงกลาง และมีรูปแบบที่ผสมผสานกันทั้งแบบภาคกลาง และ แบบพม่า มีการกำ�หนดขอบเขต พื้นที่ ของเมืองด้วยแนวกำ�แพงที่ล้อมรอบ ปราสาท ในขณะที่ภาพบ้านเรือนทั่วไปมีลักษณะเป็นเรือนแบบพื้นบ้าน ที่พบเห็นได้ในเขตล้านนาทั่วไป คือมีลักษณะเหมือนการสร้างด้วยไม้ มีใต้ถุนสูง มีหม้อนํ้าตั้งอยู่บริเวณหน้าบ้าน ส่วนหลังคาเป็นแป้นเกล็ดไม้หรือดินขอ เพราะมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ ซ้อนกัน บ้านบางหลังมีกาแลประดับอยู่
การเปรียบเทียบทรงปราสาทแบบพม่า และปราสาทภาคกลาง
15
การเขียนภาพธรรมชาติ ภาพธรรมชาติถือเป็นส่วนประกอบที่สำ�คัญอีกส่วนหนึ่งของงาน จิตรกรรมฝาผนัง ธรรมชาติบางส่วนก็เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องในงาน จิตรกรรม แต่บางส่วนก็เป็นเพียงส่วนประดับตกแต่งเพื่อแสดงถึงสภาพ บ้านเมืองจริงๆ ที่มีภูเขา ป่าไม้ และสัตว์ต่างๆ และยังมีการใช้ธรรมชาติ เช่น แนวภูเขา ต้นไม้ แม่นํ้า เป็นเส้นแบ่งแยกงานแต่ละฉากด้วย บริเวณบน สุดของงานจิตรกรรมฝาผนังจะมีการใช้สีครามป้ายเป็นเส้นๆ และวาดเป็น เส้นหยักเหมือนกลุ่มเมฆที่แสดงความเป็นท้องฟ้าอยู่ตลอดแนว ส่วนแม่นํ้า และลำ�ธาร จะมีการวาดให้เป็นเส้นโค้ง เล็กๆ แสดงเป็นคลื่นซ้อนๆกัน และ บางรูปมีการวาดสัตว์นํ้าประกอบ ลักษณะของต้นไม้ จะใช้พู่กันวาดเส้นเป็น ลำ�ต้น กิ่งก้าน ส่วนใบจะใช้พู่กันป้ายเป็นจุดๆหรือเป็นแถบซ้อนกันให้ดูมีมิติ มีแสงเงา เหมือนต้นไม้ ส่วนภาพสัตว์ที่ปรากฏในงานจิตรกรรมจะวาดไว้ใน แนวด้านข้างทั้งหมด สัตว์ที่วาดส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากสัตว์ที่พบเห็นจริงๆ สัตว์ที่น่าสนใจ คือ ช้าง และ ม้า ที่มีความประณีตบรรจงได้สัดส่วนกว่าสัตว์ ชนิดอื่นๆ
ภาพแสดงลักษณะการวาดท้องฟ้าและแม่น้ำ�
16
จากสภาพทางสังคมและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดทุ่งฝูงแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา ป่าไม้ สัตว์ป่า ซึ่งแสดง ถึงความอุดมสมบูรณ์ ด้านการเดินทาง และการคมนาคมที่ มีการใช้เส้น ทางคมนาคมทางบนเป็นหลัก โดยการเดินเท้า ช้างทรง และราชรถเทียมม้า การขี่ม้า จะมีการประดับตกแต่งพาหนะที่ใช้งานอย่างสวยงาม ทางด้าน วัฒนธรรมประเพณี จากงานจิตรกรรมจะพบเห็นว่ามีการจัดงานศพ การเฉลิมฉลอง ที่มีการเลี้ยงอาหาร ดื่มสุรา มีมหรสพ การละเล่นต่างๆ ที่แสดงถึงการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่สุดของงานจิตรกรรมนี้คือการแฝงความร่วมสมัย ลงไปในงานรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเก้าอี้ การวาดภาพ รถยนต์แทรกในขบวนทหาร รูปแบบเครื่องแต่งกายของทหารที่เป็นแบบ สมัยใหม่ การใช้อาวุธปืนยาว ปืนสั้น วัฒนธรรมการนั่งเก้าอี้จะมีเพียงชนชั้น สูงเท่านั้นที่มี การนั่งเก้าอี้
การนำ�วัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ (การนั่งเก้าอี้)
17
ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังคงนั่งกับพื้น การสวมหมวก จะพบเห็นหมวก หลากหลายรูปแบบปรากฏอยู่ โดยกลุ่มคนที่สวมหมวกจะอยู่ในเขตกำ�แพง ปราสาทหรือกลุ่มขุนนาง กลุ่มคนในเมือง ในขณะที่กลุ่มชาวบ้านจะไม่นิยม สวมหมวก หรือไม่จะสวมเฉพาะหมวกสานพื้นบ้านเท่านั้น
ภาพตัวละครชนชั้นกษัตริย์ ขุนนาง ทหาร และชาวบ้าน
19
โดยรวมแล้วงานจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดทุ่งฝูงแห่งนี้เป็นงาน จิตรกรรมแบบพื้นบ้าน ที่ไม่อาจบ่งบอกลักษณะแบบแผนทางงานศิลปกรรม ได้อย่างชัดเจน แต่จะพบว่าช่างได้รับเอารูปแบบงานจิตรกรรมไทยประเพณี มาใช้ สำ�หรับสภาพทางสังคมจะพบว่า ยังคงมีบางส่วนที่เป็นสังคมและ วัฒนธรรมแบบล้านนาดั้งเดิม และพบว่ามีการรับเอาวัฒนธรรมและความ ทันสมัยเข้ามาไม่น้อย และจะพบในกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น และยังทำ�ให้เห็น ถึงการพัฒนาการทางสังคมในเขตจังหวัดลำ�ปาง ซึ่งเป็นภูมิลำ�เนาของ ผู้เขียนงานจิตรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ชมภาพจิตรกรรมพื้นบ้านวิหารวัดทุ่งฝูง อำ�เภอวังเหนือ จังหวัดลำ�ปาง ภาพและเนื้องเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย ทัตชญา ยะมะโน 540310113 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ทัตชญา ยะมะโน ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New 18 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่