รายงานประจำปี 2555

Page 1



2

คํานํา จากความสําคัญของการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบและทันสมัย กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ก่อตั้ง กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 เพื่อเป็นการรองรับสภาวะแวดล้อมและสังคมการเกษตร ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากทั่วโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาใช้ในการเกษตร นอกจากนี้หน่วยงาน ทางด้านวิศวกรรมเกษตรที่มีอยู่ในประเทศไทยทุกแห่งมีหน้าที่หลักในการวิจัย พัฒนา ซึ่งเป็นงานในเชิง micro จึงมี เพียงกรมส่งเสริมการเกษตรที่ดําเนินงานในลักษณะการส่งเสริมประยุกต์ ถ่ายทอด และบริการ ซึ่งเป็นงานในเชิง macro ที่รวบรวมเทคโนโลยีการวิจัยพัฒนาของทุกสถาบัน ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาประยุกต์ และถ่ายทอดแก่เกษตรกร ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มงานการส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรในรูปแบบของงาน ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และพัฒนาขอบข่ายของงานเพิ่มขึ้นตามความเจริญของ เทคโนโลยีวิศวกรรมเกษตรมาจนปัจจุบัน กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรมีอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ คือ 1. พัฒนาและส่งเสริมงานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2. จัดทํากลยุทธ์แผนงาน/โครงการการส่งเสริมงานด้านวิศวกรรมเกษตรของประเทศ 3. บริการวิชาการสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตร โดยการคํานวณ ออกแบบ เป็นที่ปรึกษาและวิทยากร ด้ า นวิ ศ วกรรมการจั ด การที่ ดิ น วิ ศ วกรรมเครื่ อ งจั ก รกลการเกษตร วิ ศ วกรรมการแปรรู ป และลอจิ ส ติ ก ส์ และวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม นโยบาย กฎหมาย ข้อบังคับ มาตรการ และพันธะสัญญาระหว่างองค์กร 4. ดําเนินการตรวจสอบ กลั่นกรอง สร้างระบบปฏิบัติการและควบคุมงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานทาง เทคนิคและวิศวกรรมใดๆ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสินทรัพย์ทีอ่ ยู่ในอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรม ส่งเสริมการเกษตร 5. ควบคุม กํากับ ติดตาม นิเทศ ประเมินผล และรายงานผลงานด้านการส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร 6. เป็ น ศู น ย์ ก ลางในการบริ ห ารจั ด การและประสานการดํ า เนิ น งานด้ า นการส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมของ กรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2555 กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร ได้รับงบประมาณในการดําเนินงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค จากกรมส่งเสริมการเกษตร 11,478,840 บาท และจากหน่วยงานภายนอก 45,574,000 บาท ดังนี้ ส่วนกลาง : ได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร 1,254,395 ประกอบด้วย งบบริหารจัดการ 433,320 บาท งบดําเนินโครงการ 257,520 บาท งบฝึกอบรม/สัมมนา 15,960 บาท งบพนักงานราชการ 547,595 บาท และงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก 38,973,600 บาท ส่วนภูมิภาค : ได้รับงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร 10,224,445 บาท ประกอบด้วย งบบริหาร จัดการ 3,026,970 บาท งบดําเนินโครงการ 1,837,721 บาท งบฝึกอบรม/สัมมนา 74,200 บาท งบลงทุน 820,700 บาท งบพนักงานราชการ 4,464,854 บาท และงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก 6,600,400 บาท รายงานผลการดําเนินงานของกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรประจําปี 2555 นี้ เป็นผลการดําเนินงานเฉพาะ ในส่วนที่เป็นกิจกรรมหลักของกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร นอกจากนี้ยังมีภารกิจที่ให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกรม อีกจํานวนหนึ่ง ทั้งนี้ ผลงานทั้งปวงเกิดจากความร่วมมือร่วมใจและทุ่มเทกําลังกายและ กําลังใจของบุคลากรทุกตําแหน่งของกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


3

หน่วยงาน

ข้าราชการ

ลูกจ้างประจํา

พนักงาน ราชการ

จ้างเหมา แรงงาน

ส่วนกลาง

16

3

4

ภูมิภาค

19

26

30

12

รวม

35

29

34

12

110

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


4

การติดตามผลการดําเนินงานการจัดทําแปลงสาธิตการพัฒนา การเขตกรรมเพื่อการ เพาะปลูกพืชไร โครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นทีม ่ ันสําปะหลัง ป ๒๕ ๒๕54/55 54/55

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

เพื่ อ ศึ ก ษาการเจริ ญ เติ บ โต ผลผลิ ต ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตมันสําปะหลัง ของแปลงสาธิตการพัฒนาการเขตกรรมเพื่อ การเพาะปลูกพืชไร่เปรียบเทียบ กับแปลงที่ ปฏิบตั ติ ามปกติของเกษตรกร ภายใต้โครงการ จัด ระบบพิ เ ศษเฉพาะพื้ น ที่ มั น สํ า ปะหลั ง ปี 2553 ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดสระแก้ว และ จังหวัดกําแพงเพชร ในระยะเวลา 3 ฤดูการ ผลิต (ปี 2553-2555)

คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้ให้ความเห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับกรมการค้าภายใน ดําเนินโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสําปะหลัง สําหรับเป็น แนวทางแก้ปญ ั หาราคามันสําปะหลังตกต่ํา โดยการจัดระบบการผลิตให้ มีประสิทธิภาพควบคูก่ บั การวางแผนการตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณ การผลิ ต เพื่ อ เป็ น ต้ น แบบในการจั ด ระบบการพั ฒ นาการผลิ ต ให้ มี เสถียรภาพ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้กองส่งเสริมวิศวกรรม เกษตรดําเนินกิจกรรมนําร่องสาธิตการพัฒนาวิธกี ารเขตกรรม โดยการ จัดทําแปลงสาธิตการไถระเบิดดินดานในพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลัง ดังนี้ 1. ปี 2550 ดํ า เนิ น งานในจั ง หวั ด นครราชสี ม า และจั ง หวั ด บุรรี มั ย์ รวม 500 ไร่ 2. ปี 2551 ดําเนินงานในจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สระแก้ว และจังหวัดกําแพงเพชร รวม 4,000 ไร่ 3. ปี 2553 ดํ า เนิ น งานในจั ง หวั ด สระแก้ ว และจั ง หวั ด กําแพงเพชร รวม 1,000 ไร่

ผลการดําเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร ติดตามผล และจัดเก็บข้อมูลการ เจริญเติบโตในช่วงอายุ 4 และ 8 เดือน ผลผลิต ต้นทุนและผลตอบแทน จากเกษตรกร กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุป และจัดทํารายงาน การศึกษาในฤดูการผลิตที่ 2 ปี 2554/55 พบว่า การเจริญเติบโต ผลผลิต และผลตอบแทนสุทธิ ในแปลงสาธิตการพัฒนาการเขตกรรม สูงกว่าแปลงเปรียบเทียบ เช่นเดียวกับฤดูการผลิตที่ 1 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ความสูงของมันสําปะหลังในพืน้ ที่แปลงสาธิต อายุ 4 และ 8 เดื อ น สู ง กว่ า พื้ น ที่ แ ปลงเปรี ย บเที ย บ ร้ อ ยละ 14.73 และ 15.08 ตามลําดับ รายละเอียดตามตารางที่ 1

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


5 อายุ 4 เดือน 8 เดือน

แปลงสาธิต แปลงเปรียบเทียบ ผลต่าง (ซม.) 86.91 75.75 11.16 156.45 135.45 20.50

ผลต่าง (%) 14.73 15.08

2. ความกว้างทรงพุม่ เฉลีย่ ของมันสําปะหลังในพืน้ ทีแ่ ปลง สาธิต อายุ 4 และ 8 เดือน สูงกว่าพืน้ ทีแ่ ปลงเปรียบเทียบร้อยละ 12.56 และ 10.55 ตามลําดับ อายุ 4 เดือน 8 เดือน

แปลงสาธิต แปลงเปรียบเทียบ ผลต่าง (ซม.) 76.64 68.09 8.55 101.67 91.97 9.70

ผลต่าง (%) 12.56 10.55

3. ขนาดลําต้นเฉลีย่ ของมันสําปะหลังในพืน้ ทีแ่ ปลงสาธิต อายุ 4 และ 8 เดือน สูงกว่าพืน้ ทีแ่ ปลงเปรียบเทียบร้อยละ 12.70 และ 15.00 ตามลําดับ อายุ 4 เดือน 8 เดือน

แปลงสาธิต แปลงเปรียบเทียบ ผลต่าง (ซม.) 4.88 4.33 0.55 5.75 5.00 0.75

ผลต่าง (%) 12.70 15.00

4. ผลผลิตของมันสําปะหลังทีอ่ ายุ 7–12 เดือน ในพืน้ ทีแ่ ปลง สาธิต เฉลีย่ สูงกว่าพืน้ ทีแ่ ปลงเปรียบเทียบ ร้อยละ 17.91 หรือ 687 กิโลกรัมต่อไร่ 5. ต้นทุนการผลิตของมันสําปะหลังในพืน้ ทีแ่ ปลงสาธิตเฉลีย่ สูง กว่าพืน้ ทีแ่ ปลงเปรียบเทียบ 144 บาทต่อไร่ หรือร้อยละ 4.89 เนือ่ งจากค่าขนส่งทีเ่ พิม่ ขึน้ จากผลผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ 6. การผลิตมันสําปะหลังในพืน้ ทีแ่ ปลงสาธิตมีผลตอบแทนสุทธิ เฉลีย่ สูงกว่าพืน้ ทีแ่ ปลงเปรียบเทียบ ร้อยละ 24.97 หรือ 1,652 บาท ต่อไร่

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


6

การติดตามการดําเนินงานศูนยเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผาป ๒๕ ๒๕54 5454-55 ภายใตโครงการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร ภายใตแผนการปฏิบัติการแกไขปญหาหมอกควันและไฟปา

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

ติดตามผลการนําร่องสาธิตเทคโนโลยี การไถกลบตอซังฟางข้าวทดแทนการเผา ใน รูปแบบศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรปลอด การเผา ที่มีการบริหารจัดการโดยชุมชน เพื่อ ป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาการเผาในพื้ น ที่ การเกษตร 4 จังหวัด ประกอบ ด้วยจังหวัด สุพรรณบุรี ชัยนาท ลพบุรี และจังหวัดสุโขทัย

สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในข้อตกลง อาเซียน เรือ่ งมลพิษหมอกควันข้ามแดน เมื่อวันที่ 10 มิถนุ ายน 2545 ประเทศไทยจึงได้จดั ทําแผนแม่บทแห่งชาติวา่ ด้วยการควบคุมการเผา ในที่โล่งเพื่อใช้เป็นกรอบแผนงานและยุทธศาสตร์ในการดําเนินการ ป้องกัน ลด และแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน ซึ่งได้มอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดําเนินการ ควบคุ ม การเผาในพื้ น ที่ เ กษตรกรรม โดยดํ า เนิ น การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ เครื่ อ งจั ก รกลการเกษตรปลอดการเผา ในรู ป แบบวิ ส าหกิ จ การ ให้บริการไถกลบตอซังฟางข้าวทดแทนการเผา เพื่อเป็นการนําร่อง สาธิตการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร ในการไถกลบตอซัง ฟางข้าวทดแทนการเผา ตัง้ แต่ปี 2552

ผลการดําเนินงาน ศูนย์สง่ เสริมวิศวกรรมเกษตรในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ ติดตามการใช้ และให้บริการเครือ่ งจักรกลการเกษตรและเป็นทีป่ รึกษา กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรรวบรวมข้ อ มู ล วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล สรุ ป และจั ด ทํ า รายงาน โดยศูนย์เครื่องจักกลการเกษตรปลอดการเผา มีผลการ ดําเนินงาน ดังนี้ 1. พืน้ ทีก่ ารให้บริการ : รวมทัง้ สิน้ 2,925.50 ไร่  จัง หวั ดสุ พ รรณบุรี : พื้ น ที่ก ารให้ บริ ก ารรวม 409 ไร่ ประกอบด้วย ไถกลบตอซังด้วยเพลาหมุนพีทโี อ จํานวน 254 ไร่ และ จอบหมุนตีเทือก 155 ไร่  จั ง หวั ด ลพบุ รี : พื้ น ที่ ก ารให้ บ ริ ก ารรวม 1,197 ไร่ ประกอบด้วย ไถกลบตอซังด้วยไถหัวหมู 783 ไร่ และจอบหมุนตีเทือก 414 ไร่  จั ง หวั ด ชั ย นาท : พื้ น ที่ ก ารให้ บ ริ ก ารรวม 310 ไร่ ประกอบด้ วย ไถกลบตอซังด้วยเพลาหมุนพีทีโอ จํ านวน 230 ไร่ ไถหัวหมู 80 ไร่  จังหวัดสุโขทัย : พื้นที่การให้บริการรวม 1,009.50 ไร่ ประกอบด้วย ไถกลบตอซังด้วยเพลาหมุนพีทโี อ 205.25 ไร่ ไถหัวหมู 1 ไร่ และจอบหมุนตีเทือก 803.75 ไร่

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


7 2. การบริหารรายได้ : การให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร ของศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตร ทั้ง 4 แห่ง ส่งผลให้เกิดรายได้รวม 507,430 บาท หรือคิดเป็น 173.45 บาทต่อไร่ มีกํ าไรสุทธิจากการ ให้บริการรวม 76,338 บาท มีคา่ ใช้จา่ ยในการดําเนินงานเฉลีย่ 147.36 บาท โดยค่ าใช้ จ่ายสูงสุดคือ ค่ าน้ํ ามันเชื้อเพลิงร้ อยละ 44.45 ของ รายจ่ายทั้งหมด คิดเป็น 81.86 บาทต่อไร่ มีเงินสะสมเพื่อการจัดหา เครือ่ งจักรเพิม่ เติม จํานวน 152,229 บาท

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


8

โครงการพัฒนาการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

1. เพื่อพัฒนาระบบการเตรียมดินเพื่อ เพิม่ ผลผลิตมันสําปะหลังในรูปแบบศูนย์บริการ การเตรียมดินเพือ่ เพิม่ ผลผลิตมันสําปะหลัง ทีม่ ี การบริหารจัดการโดยองค์กรเกษตรกร

กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตร ได้ รั บ ความเห็ น ชอบจาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) และอนุมัติเงินจ่ายขาดจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อ ดําเนินโครงการ โดยการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรในการ พัฒนาการเตรียมดิน ให้องค์กรเกษตรกรจัดตั้งศูนย์บริการเตรียม ดินเพื่อเพิ่มผลผลิ ตมันสําปะหลัง จํานวน 10 กลุ่ม และได้กําหนด เงื่อนไขการดําเนินงาน คือ ขยายผลการจัดตั้งศูนย์บริการเตรียมดิน เพื่ อ เพิ่ ม ผลผลิ ต มั น สํ า ปะหลั ง ปี ล ะ 1 ศู น ย์ และมี ผ ลผลิ ต มั น สําปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 16

2. สร้ า งพื้ น ฐานระบบการบริ ห าร จัดการการให้บริการเครือ่ งจักรกลการเกษตร เชิงวิสาหกิจชุมชนเพือ่ สร้างเกษตรกรมืออาชีพ ด้านการให้บริการเครือ่ งจักรกลการเกษตร 3. พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานการเกษตร เพื่ อ เอื้ อ ให้ ค นรุ่ น ใหม่ ไ ม่ ล ะทิ้ ง อาชี พ เกษตร กรรม

รายงานประจําปี 2555

ผลการดําเนินงาน 1. แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการบริ ห ารโครงการ เพื่ อ ทํ า หน้ า ที่ กําหนดกรอบ วิธี และแผนการดําเนินโครงการ ตลอดจนกํากับ ดูแล และให้ คํ า ปรึ ก ษา เพื่ อ ให้ ก ารดํ า เนิ น โครงการเป็ น ไปตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนด โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริม การเกษตร ฝ่ายวิชาการเป็นประธานคณะกรรมการ มีกรรมการจาก หน่วยงานทั้งภายนอกและภายใน ประกอบด้วย หอการค้าไทย กรม วิชาการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร สํ า นั ก ส่ ง เสริ ม และจั ด การสิ น ค้ า เกษตร สํ า นั ก พั ฒ นาเกษตรกร สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กองคลัง ศูนย์ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท และ ที่ 3 จังหวัด ร้ อ ยเอ็ ด โดยมี ก องส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรทํ า หน้ า ที่ เ ป็ น ฝ่ า ย เลขานุการ 2. คณะกรรมการบริ ห ารโครงการ กํ า หนดรู ป แบบและ เงื่ อ นไขการดํ า เนิ น โครงการให้ ส อดคล้ อ งกั บ ข้ อ กํ า หนดของมติ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ตลอดจนส่ ว นสมทบขององค์ ก รเกษตรกรที่ ป ระสงค์ จ ะเข้ า ร่ ว ม โครงการ ดังนี้  รูปแบบโครงการ สนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรในการพัฒนาการ เตรียมดิน ให้องค์กรเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกจัดตั้งศูนย์บริการ เตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง ในลักษณะการลงนามใน สัญญายืมระยะเวลา 11 ปี รายได้จากการให้บริการเครื่องจักรกล การเกษตรจะต้องบริหารให้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นเงินส่งคืนโครงการเพื่อสมทบการขยาย ผลการจัดตั้งศูนย์บริการการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง

www.aepd.doae.go.th


9 ส่วนที่ 2 เป็นเงินหมุนเวียนในการบริหารจัดการธุรกิจการ ให้บริการ โดยจะมีการประเมินผลการดําเนินงานเพือ่ พิจารณาต่อสัญญาทุกปี  เงือ ่ นไขการเข้าร่วมโครงการขององค์กรเกษตรกร ๏ ส่งเงินสมทบเพือ่ ขยายผลการจัดตัง้ ศูนย์พฒ ั นาการเตรียม ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังคืนแก่โครงการ จํานวน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ปีที่ 2 นับจากวันที่ลงนามสัญญายืมเครื่องจักรกลการเกษตร ระยะเวลาส่งสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ๏ ดํ า เนิ น การพั ฒ นาการเตรี ย มดิ น ให้ ค รบทุ ก ขั้ น ตอนที่ กําหนด ปีละไม่นอ้ ยกว่า 1,500 ไร่ คือ  ไถทําลายชัน ้ ดินดานด้วยไถระเบิดดินดาน จํานวน 1 รอบ  ไถพลิกดินเพือ ่ กลบวัชพืชด้วยไถหัวหมู จํานวน 1 รอบ  พรวนย่อยดินให้ละเอียดด้วยพรวน 2 แถว จํานวน 1 รอบ  ส่วนสมทบของเกษตรกร ๏ เก็บค่าบริการการใช้เครือ่ งจักรกลการเกษตรในขัน้ ตอนที่ กําหนดจากเกษตรกรทีม่ าใช้บริการ ไม่ต่ํากว่าไร่ละ 800 บาท ๏ ออกค่าใช้จ่ายสมทบหรือจัดหาอุปกรณ์สมทบ เช่น การ จัดหาหรือสร้างโรงเก็บเครือ่ งจักรกลการเกษตร ค่าน้ํามัน การจัดการ การ ซ่อมแซมและบํารุงรักษา ฯลฯ 3. ดําเนินการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดลพบุรี ปราจีนบุรี พิ ษ ณุ โ ลก กํ า แพงเพชร นครราชสี ม า และจั ง หวั ด ชั ย ภู มิ จํ า นวน 15 องค์ ก ร ร่ ว มกั บ สํ า นั ก ส่ ง เสริ ม และจั ด การสิ น ค้ า เกษตร สํ า นั ก งาน เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สํานักพัฒนาเกษตรกร และศู น ย์ ส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรในพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ โดยมี อ งค์ ก ร เกษตรกรที่พร้อมจะบริหารจัดการและปฏิบัติตามเงื่อนไข และประสงค์ จะเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ข้ันต่ําของข้อกําหนด ของการคัดเลือก และได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการจากกรมส่งเสริม การเกษตรแล้ว จํานวน 3 องค์กร คือ  วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนปลู ก มั น สํ า ปะหลั ง ตํ า บลเขารวก อํ า เภอ ลําสนธิ จังหวัดลพบุรี  ชมรมอาสาสมั ค รเกษตรหมู่ บ้ า น อํ า เภอครบุ รี จั ง หวั ด นครราชสีมา  ศูนย์จัดการศัตรูพืชบ้านหนองตะลุมปุ๊ก ตํ าบลหนองไม้ไผ่ อําเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา 4. ดําเนินการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในการพัฒนาการ เตรียมดิน เพื่อสนับสนุนให้กับองค์กรเกษตรกร จํานวน 10 ชุด แต่ละชุด ประกอบด้วย รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรขนาดไม่ต่ํากว่า 105 แรงม้า จํานวน 2 คัน ไถระเบิดดินดาน ไถหัวหมู และพรวน 2 แถว อย่างละ 1 ชุด 5. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ให้กับเกษตรจังหวัด 46 จังหวัด ที่มีพ้ืนที่ปลูก มันสําปะหลัง เพื่อคัดเลือกองค์กรเกษตรกรที่มี ความประสงค์ จ ะขอเข้ า ร่ ว มโครงการให้ ต รงตามวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละ เงื่ อ นไข เพื่ อ เข้ า สู่ ก ระบวนการคั ด เลื อ กกลุ่ ม เป้ า หมายที่ ยั ง ไม่ ค รบ เป้าหมายอีก 7 กลุ่ม ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


10

โครงการสงเสริมการพัฒนาระบบการเขตกรรมขาว เพื่อลดปญหาสิ่งแวดลอมและสงเสริมการลดตนทุนการผลิต

ภายใต้แผนปฏิบัติการแก้ไขพัฒนาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายหลังการเปิดดําเนินโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ (เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน) วัตถุประสงคและเปาหมาย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง และมลพิษจากการทํานาข้าว และ ส่งเสริมแนะนําให้เกษตรกรมีจิตสํานึกในการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและให้มีการลดต้นทุน ใน การผลิตข้าว

รายงานประจําปี 2555

ความเปนมา แผนปฏิบัติการแก้ไขพัฒนาสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการเปิดดําเนินโครงการเขื่อนแคว น้อยอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ถูกกําหนดขึ้นตั้งแต่ ปี 2549 เพื่อรองรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างโครงการ อยู่ ภายใต้ความดูแลของคณะอนุกรรมการแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ที่มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร เป็ น ฝ่ า ยเลขานุ ก าร ใน ปัจจุบันเป็นการดําเนินการในช่วงแผนที่ 3 ระหว่างปี 2555 - 2564 ซึ่งเป็นระยะที่โครงการได้เปิดการส่งน้ําอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดย กรมส่ ง เสริ ม การเกษตร ได้ รั บ ความเห็ น ชอบให้ ดํ า เนิ น โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเขตกรรมข้าวเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต ในระหว่างปี 2555-2559 โดย กรมชลประทานเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้ดําเนินงาน หน่วยงาน รั บ ผิ ด ชอบ ประกอบด้ ว ย กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตร กอง พั ฒ นาการเกษตรพื้ น ที่ เ ฉพาะ สถาบั น สร้ า งเสริ ม นวั ต กรรมภู มิ ปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก และ ศูนย์ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กิ จ กรรมภายใต้ โ ครงการในส่ ว นความรั บ ผิ ด ชอบของกอง ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร คือ จัดตั้งศูนย์ต้นแบบด้านการส่งเสริ ม การพั ฒนาระบบการเขตกรรมข้ า ว โดยยึ ด หลั ก การส่ง เสริ ม และ สนั บ สนุ น การใช้ เ ทคโนโลยี ก ารเกษตรสมั ย ใหม่ ใ นการผลิ ต ข้ า ว ทดแทนการเผาตอซั ง ฟางข้ า วและลดการใช้ ส ารเคมี แ ละปุ๋ ย เคมี ดําเนินการในลักษณะการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรในการ พั ฒ นาการเตรี ย มดิ น และปลู ก ข้ า ว ให้ ศู น ย์ ข้ า วชุ ม ชนที่ ไ ด้ รั บ การ คัดเลือกจัดตั้งศูนย์การพัฒนาระบบการเขตกรรมข้าว โดยการลง นามในสัญญายืมทุกปี ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อนําเครื่องจักรกล การเกษตรไปบริการสมาชิก รายได้จากการให้บริการจะต้องบริหาร ออกเป็น 2 ส่วน คือ

www.aepd.doae.go.th


11 ส่วนที่ 1 เป็นเงินสะสมเพื่อจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตร หรืออุปกรณ์เพิ่มเติมหรือทดแทนเครื่องมือที่หมดอายุการใช้งาน ไม่ น้อยกว่าร้อยละ 30 ของรายรับ ส่วนที่ 2 เป็นเงินหมุนเวียนในการบริหารจัดการธุรกิจการ ให้ บ ริ ก ารเครื่ อ งจั ก รกลการเกษตร และซ่ อ มแซมบํ า รุ ง รั ก ษา เครื่องจักรกลการเกษตร ไม่เกินร้อยละ 70 ของรายรับ โดยมี ถ่ า ยทอดทั ก ษะทางเทคนิ ค และระบบการให้ บ ริ ก าร เครื่องจั ก รกลเกษตร สําหรั บการดํ าเนินงานของศูน ย์ ก ารพัฒ นา ระบบตลอดจนจัดการสาธิต ถ่ายทอดความรู้วิชาการ เทคนิค และ จัดทัศนศึกษาดูงานแก่เกษตรกรใกล้เคียง

ผลการดําเนินงาน 1. ชี้แจงรายละเอียด เงื่อนไขโครงการ และส่วนสมทบของชุมชน ให้ ศูนย์ข้าวชุมชน จํานวน 4 ศูนย์ ที่สํานักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก คัดเลือกเบื้ องต้ นตามหลัก เกณฑ์ก ารคั ดเลือกกลุ่ มเป้ าหมายของ โครงการ ดังนี้ หลักเกณฑ์เบื้องต้นการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 1. มีกิจกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี 2. มีสถานะการเงินดี การบริหารงานโปร่งใส ตรวจสอบและปิด บัญชีได้เป็นปัจจุบัน 3. มีพ้ืนที่ในการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่โครงการสนับสนุน ไม่น้อยกว่าปีละ 2,000 ไร่ 4. เกษตรกรที่เป็นสมาชิก และคณะกรรมการบริหารศูนย์ข้าว ชุ ม ชน พร้ อ มที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก ารเพื่ อ พั ฒ นาการระบบการ เพาะปลูกข้าวตามหลักการส่งเสริมของโครงการ และปฏิบัติตาม เงื่อนไขของโครงการ เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ ดํ า เนิ น การพั ฒ นาการเตรี ย มดิ น และเพาะปลู ก ข้ า วด้ ว ย เครื่องจักรกลการเกษตรที่สนับสนุน โดยไถกลบตอซังฟางข้าวไม่ น้อยกว่าปีละ 2,000 ไร่ ซึ่งจะต้องดําเนินการให้ครบทุกขั้นตอนที่ กํ า หนด ไม่ น้ อ ยกว่ า ปี ล ะ 400 ไร่ คื อ ไถกลบตอซั ง ฟางข้ า วด้ ว ย เครื่องมือไถกลบตอซังเพลาหมุนด้วยเพลาพีทีโอ หรือไถหัวหมู ตี เทือกด้วยจอบหมุนตีเทือก เพาะกล้าข้าวด้วยชุดเครื่องมือเพาะกล้า ปักดําข้าวด้วยรถดํานา ส่วนสมทบของชุมชน จั ด ส ร้ า ง ห รื อ จั ด ห า อ า ค า ร ส ถ า น ที่ พื้ น ที่ แ ล ะ ร ะ บ บ สาธารณู ป โภค รองรั บ การติ ด ตั้ ง และปฏิ บั ติ ง านเครื่ อ งจั ก รกล การเกษตร และออกค่าใช้จ่ายสมทบ ดังนี้ 1. โรงเก็บรักษาเครื่องจักรกลการเกษตร 2. โรงปฏิบัติงานการผลิตกล้าพื้นที่ไม่น้อยกว่า 15 x 25 เมตร พร้อมระบบไฟฟ้า 3. แหล่งน้ําและระบบสูบน้ํา ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


12 1. แปลงอนุบาลต้นกล้าพื้นที่ไม่น้อยกว่า 7 ไร่ 2. เก็บค่าบริการการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการไถกลบ ตอซังไม่ต่ํากว่าไร่ละ 250 บาท และทุกขั้นตอนที่กําหนดไม่ต่ํากว่าไร่ ละ 1,600 บาท 3. ออกค่าใช้จ่ายสมทบ เช่น ค่าน้ํามัน การบริหารจัดการ การ ซ่อมแซมและบํารุงรักษา ฯลฯ 2.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายดําเนินงาน โดยประเมินศักยภาพและความ เหมาะสมของศูนย์ข้าวชุมชนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ในด้าน เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบระดับตําบลและระดับอําเภอ พื้นที่ การ ดํา เนิ น งาน และแผนการปฏิ บั ติง านเครื่อ งจัก รกลการเกษตร ซึ่ ง ปรากฏว่า วิสาหกิจศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 2 ตําบลท่า งาม อําเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก มีความเหมาะสมที่จะได้รับ การสนับสนุนให้เป็นกลุ่มเป้าหมาย 3. จั ด ซื้ อ เครื่ อ งจั ก รกลเกษตรในการพั ฒ นาการเตรี ย มดิ น และ เพาะปลูกข้าวที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมาย ใน การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ ต้ น แบบด้ า นการพั ฒ นาระบบการเขตกรรมข้ า ว จํานวน 7 รายการ ดังนี้  รถแทรกเตอร์ขนาด 47 แรงม้า จํานวน 2 คัน พร้อมล้อกันจม จํานวน 2 ชุด  ไถกลบตอซังเพลาหมุนด้วยพีทีโอ จํานวน 1 ชุด  ไถหัวหมู จํานวน 1 ชุด  จอบหมุนตีเทือก จํานวน 1 ชุด  ชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าวแบบอัติโนมัติ จํานวน 1 ชุด  รถปักดํานาชนิด 6 แถว จํานวน 2 คัน  รถเทรลเล่อร์ จํานวน 1 คัน 4. จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์และเอกสารวิชาการ เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ รณรงค์ แ ละถ่ า ยทอดความรู้ ให้ แ ก่ ห น่ ว ยงานราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น และเกษตรกร จํานวน 3 สื่อ ดังนี้ 4.1 วิดีทัศน์เรื่อง “การส่งเสริมการพัฒนาระบบการเขต กรรมข้าวเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิต” เนื้อหา ประกอบด้วย ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการผลิตข้าว ที่มา และรู ป แบบโครงการ และเทคโนโลยี เ ครื่ อ งจั ก รกลการเกษตรที่ เหมาะสมในการพัฒนา และประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


13 4.2 แผ่นพับเรื่อง “การพัฒนาการเขตกรรมข้าวเพื่อลดปัญหา สิ่งแวดล้อมและลดต้ นทุนการผลิต” เนื้อหาประกอบด้วย ปัญหา สิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการผลิตข้าว การพัฒนาและผลของการ พัฒนาการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในการเตรียมดินและปลูกข้าว 4.3 ชุ ด นิ ท รรศการเรื่ อ ง”การพั ฒ นาระบบการเขตกรรมและ เพาะปลูกข้าวเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิต และ วิสาหกิจชุมชนการให้บริการเครื่องจักรกลเกษตร” 5. ฝึกอบรมคณะกรรมการบริหารและสมาชิกศูนย์ต้นแบบด้านการ พั ฒ นาระบบการเขตกรรมข้ า ว เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มการ ดําเนินงานที่จะเริ่มในเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดมี ทั้งการบรรยาย ศึก ษาเรียนรู้จากฝึกปฏิบัติและดูงาน ในด้ านการ พั ฒ นาระบบการเขตกรรมและเพาะปลู ก ข้ า วเพื่ อ ลดปั ญ หา สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิต ทักษะการใช้เครื่องจักรกลเกษตร ในการเตรียมดิน เพาะกล้าข้าว และปลูกข้าว ระบบการเพาะกล้า ข้าวเพื่อการให้บริการปัก ดําข้าวด้วยรถปัก ดํา และการให้บริการ เครื่องจักรกลการเกษตรระดับชุมชน

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


14

โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตขาวและสรางความเขมแข็งใหชาวนา เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปดเสรีการคาอาเซียน ((AFTA) AFTA) ป 2554/55

วัตถุประสงคและเปาหมาย เพื่อยกระดับผลผลิตข้าวและปรับปรุง คุณภาพข้าวให้สูงขึ้น สามารถลดต้นทุนการ ผลิ ต ข้ า วของชาวนาให้ ส ามารถแข่ ง ขั น กั บ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และสร้างความ เข้มแข็งให้องค์กรชาวนาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวคุณภาพดี ให้เพียงพอสํ าหรับกระจายสู่ ชาวนาอย่ า งทั่ ว ถึ ง และเป็ น ศู น ย์ ก ลางการ เรี ย นรู้ ใ นการผลิ ต ข้ า วของชาวนาให้ มี ความสามารถในการผลิ ต และการสร้ า ง มู ล ค่ า เพิ่ ม โดยผ่ า นระบบศู น ย์ ข้ า วชุ ม ชน จํานวน 815 แห่งทัว่ ประเทศ

รายงานประจําปี 2555

ความเปนมา กรมส่งเสริมการเกษตรโดย สสจ. และ กวศ. ร่วมกับกรมการ ข้าวดําเนินโครงการเพิม่ ศักยภาพการผลิตข้าว และสร้างความเข้มแข็ง ให้ชาวนาเพือ่ รองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ระยะเวลาดํ า เนิ น งานปี 2553–2555 (ปี ที่ 2) กิ จ กรรมหลั ก ที่ กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร ดําเนินการ คือ หมู่บ้านลดต้นทุนการ ปลูกข้าว

ผลการดําเนินงาน 1. แปลงส่งเสริมการลดต้นทุนการปลูกข้าวโดยใช้เครือ่ งจักร  จัดทําแปลงส่งเสริมการลดต้นทุนการปลูกข้าว โดยใช้ เทคโนโลยีเครือ่ งจักรกลการเกษตรในขั้นตอนการเตรียมดิน เพาะกล้า และปักดํา 2 จุด ในตําบลจันเสน อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 200 ไร่ และตําบลมงคลธรรมนิมิต ตําบลสามโก้ อําเภอสาม โก้ จังหวัดอ่างทอง จํานวน 200 ไร่ รวมพืน้ ที่ 400 ไร่  ศึกษาผลการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการเตรียม ดินและเพาะกล้ าดํ านา เปรี ยบเทียบต้นทุนการปลูกข้าวโดยวิ ธีใช้ เครื่องจักรกล และวิธกี ารหว่านแบบเดิมของเกษตรกร โดยเก็บข้อมูล การเจริญเติบโตข้าว และผลผลิตข้าว 2 จุด 4 ครัง้ พบว่า ค่าใช้จา่ ยใน การเตรียมดินลดลงร้อยละ 2.33 ค่าใช้จ่ายในการใส่ป๋ยุ ลดลงร้อยละ 5.48 ปริมาณผลผลผลิตเพิ่มขึ้น 71.29 กิโลกรัมต่อไร่คิดเป็นร้อยละ 8.09 ส่งผลให้รายได้สทุ ธิเพิม่ ขึน้ 469.38 บาทต่อไร่หรือร้อยละ 5.39 2. ศู น ย์ เ รี ย นรู้ แ ละบริ ก ารเครื่ อ งจั ก รกลในการปลู ก ข้ า ว ดําเนินการนําร่อง 2 ศูนย์ คือ ศูนย์เรียนรู้และบริการเครื่องจักรกล บ้านดงมัน ตําบลจันเสน อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และศูนย์ เรียนรู้และบริการเครื่องจักรกลบ้านทองครึม ตําบลมงคลธรรมนิมิต อําเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง  ฝึกอบรมการใช้เครื่องจักรกลแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ของศูนย์เรียนรูแ้ ละบริการเครือ่ งจักรกล เน้นหนักในด้านเทคนิคการใช้ งาน และเทคนิคการปรับตัง้ เครือ่ งมือให้เหมาะสมกับสภาพการทํางาน ในพื้นที่ ตลอดจนการบริหารจัดการด้านการบริการเครื่องจักรกล การเกษตรให้ ส ามารถรั บ ผิ ด ชอบ และรองรั บการปฏิบั ติง านการ ให้บริการความรูแ้ ก่ชมุ ชนและเกษตรกรทีเ่ ข้ามาศึกษาดูงาน

www.aepd.doae.go.th


15 พัฒนาระบบบริการเครือ่ งจักรกลของชุมชน โดยจัดทํา แผนการให้บริการเครื่องจักรกลปี 2555 แก่สมาชิกและเกษตรกรใน พืน้ ทีใ่ ห้บริการของศูนย์เรียนรูแ้ ละบริการเครือ่ งจักรกล เป้าหมายการ ให้บริการศูนย์ละ 2,000 ไร่  ติดตาม เป็นทีป ่ รึกษา แก้ไขปัญหา เร่งรัดการปฏิบตั งิ าน 24 ครั้ ง ศู น ย์ เ รี ย นรู้ แ ละบริ ก ารเครื่ องจั ก รกลทั้ ง 2 ศู นย์ จํ า นวน โดยมีเจ้าหน้าที่จากกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร และศูนย์ส่งเสริม วิศวกรรมเกษตรเข้าร่วมดําเนินการ  ผลการดําเนินงานให้บริการเครือ ่ งจักรกลการเกษตร ๏ ศูนย์เรียนรูแ้ ละบริการเครือ่ งจักรกลบ้านดงมัน ตําบล จันเสน อํ าเภอตาคลี จังหวั ด นครสวรรค์ใ ห้ บ ริ ก ารเครื่ องจัก รกล การเกษตรในการเตรียมดิน จํานวน 480 ไร่ และปลูกข้าวด้วยเครือ่ ง ดํานา จํานวน 271 ไร่ ๏ ศูนย์เรียนรู้และบริการเครื่องจักรกลบ้านทองครึม ตํ าบลมงคลธรรมนิ มิต อํ าเภอสามโก้ จังหวัดอ่ างทอง ให้บริการ เครือ่ งจักรกลการเกษตรในการเตรียมดินปลูกข้าวได้พน้ื ทีจ่ ํานวน 460 ไร่ และปลูกข้าวด้วยเครือ่ งดํานาจํานวน 630 ไร่ 

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


16

คณะกรรมการพิจารณาและกํากับดูแลการดําเนินงานตามสัญญาเชาโรงงานและอุปกรณ โรงงานศูนยพัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักผลไมเพื่อการสงออก กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงคและเปาหมาย เพื่อทําหน้าที่หลักในการพิจารณาและ กํากับดูแลการดําเนินงานให้เป็นไปตาม สัญญาเช่า รวมทั้งการพิจารณาหาข้อสรุป กรณีหารือ และกรณีปัญหาต่างๆ อันเกิดขึ้น ภายใต้สัญญาดังกล่าว

ความเปนมา กรมส่ ง เสริ ม การเกษตรได้ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ พั ฒ นาการผลิ ต และ ควบคุมศัตรูผักผลไม้เพื่อการส่งออก กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นตาม มติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 8 กรกฎาคม 2529 โดยก่อตัง้ แล้วเสร็จเมือ่ เดือนพฤศจิกายน 2531 มีเครือ่ งจักรอุปกรณ์ในโรงงาน ประกอบด้วย โรงอบไอน้ํา ขนาด 5 ตัน เครือ่ งคัดขนาด ระบบบรรจุหบี ห่อ และห้อง เย็น และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2531 กํ าหนดให้ เอกชนเช่าดําเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาผลิตผลของ เกษตรกรให้มีคณ ุ ภาพได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดทัง้ ใน และต่างประเทศ ปัจจุบนั ได้ให้เอกชนเช่า ให้ดําเนินการตามสัญญาเช่า เลขที่ 1/2552 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2552 ระหว่างกรมธนารักษ์ โดย อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้รบั มอบอํานาจจากกรมธนารักษ์ และ บริษทั พีแอนด์เอฟ เทคโน จํากัด มีกําหนดระยะเวลาการเช่ารวม 10 ปี นับแต่วนั ที่ 19 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป ซึง่ มีคณะกรรมการพิจารณา และกํ ากับดูแลการดํ าเนินงานตามสัญญาเช่าโรงงานและอุปกรณ์ โรงงานศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักผลไม้เพื่อการส่งออก กรุงเทพมหานคร ทําหน้าทีแ่ ทนกรมฯ ในการกํากับดูแลการดําเนินงาน ให้เป็นไปตามสัญญาเช่า รวมระยะเวลาการเช่า 3 ปีนบั จากวันลงนาม ในสัญญาแล้ว

ผลการดําเนินงาน 1. ปีก ารเช่ า ที่ 1 (ระว่า งวั นที่ 19 สิ งหาคม 2552–18 สิ งหาคม 2553) 1.1 ประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 3 ครั้ง และประชุมติดตามความก้าวหน้าจากฝ่ายเลขาฯ จํานวน 2 ครัง้ 1.2 กํากับติดตามการดําเนินงานของผูเ้ ช่า ดังนี้  ปรับปรุงและเพิม่ เติมอุปกรณ์/ระบบต่างๆ ในโรงงานให้มี ประสิทธิภาพตามเงือ่ นไขสัญญาเช่า รวม 7 รายการ  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวม 5 รายการ ได้แก่ [1] อบรมเจ้าหน้ าที่กรมฯ จํ านวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลัก สูตร “การ พัฒนาการผลิตมะม่วงและมังคุดเพือ่ การส่งออกอย่างยัง่ ยืน” จํานวน จํานวน 60 คน และหลักสูตร “เทคโนโลยีเครือ่ งอบไอน้ํา VHT” จํานวน 24 คน [2] นํ า เจ้ า หน้ า ที่ ก รมฯ จํ า นวน 5 คน ไปศึ ก ษาดู ง านด้ า น เทคโนโลยีการผลิต ณ ประเทศญี่ปุ่น [3] อบรมและประชุมสัมมนา เกษตรกร หลักสูตร “การพัฒนาการผลิตมะม่วงและมังคุดเพื่อการ ส่งออกอย่างยั่งยืน” จํานวน 160 คน [4] อบรมเกษตรกรในพื้นที่ตาม ภูมิภาค จํ านวน 20 คน ณ อํ าเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ [5] นํ า เกษตรกร จํานวน 10 คน ไปฝึกอบรมด้านการผลิต ณ ประเทศญีป่ นุ่ รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


17 สรุปผลการดําเนินงานของผูเ้ ช่าได้ดงั นี้ [1] ปริมาณการอบ VHT มะม่วง เท่ากับ 402.352 ตัน (รวมให้บริการรายอืน่ ด้วย ต่ํากว่าที่คาดการณ์ไว้ 600 ตัน คิดเป็นร้อยละ 32.94 [2] ปริมาณการส่งออกมะม่วงที่ผ่าน VHT จํานวน 256.407 ตัน ต่ํากว่าที่ คาดการณ์ไว้ 600 ตัน คิดเป็นร้อยละ 57.27 [3] เปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกรายอื่นมาใช้บริการ รวม 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 ของ ผลผลิตทีเ่ ข้าอบ VHT 

2. ปีการเช่าที่ 2 (ระว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2553 – 18 สิงหาคม 2554) 2.1 ประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาประเด็นต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง รวม 4 ครัง้ 2.2 กํากับติดตามการดําเนินงานของผูเ้ ช่า ดังนี้  ปรับปรุงและเพิม ่ เติมอุปกรณ์/ระบบต่างๆ ในโรงงานให้มปี ระสิทธิภาพเพิม่ เติมจากปีที่ 1 ตามเงือ่ นไขสัญญาเช่า 1 รายการ ได้แก่ การปรับปรุงอาคารผลิตและขยายพันธุพ์ ชื เพาะเลีย้ งเป็นห้องและอุปกรณ์ทดลอง  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวม 5 รายการ ได้แก่ [1] อบรมเจ้าหน้าทีก ่ รมฯ จํานวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร “การ พัฒนาการผลิตมะม่วงและมังคุดเพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน” จํานวน 74 คน และหลักสูตร “เทคโนโลยีการคัดคุณภาพผลไม้ด้วย ระบบ Sensor” จํานวน 31 คน [2] นําเจ้าหน้าทีก่ รมฯ จํานวน 5 คน ไปศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการผลิตหรือด้านอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ เมือง Fukuoka ประเทศญี่ปุ่น [3] อบรมและประชุมสัมมนาเกษตรกร หลักสูตร “การพัฒนาการผลิตมะม่วงและมังคุดเพื่อการ ส่งออกอย่างยัง่ ยืน” จํานวน 160 คน [4] อบรมเกษตรกรในพืน้ ที่ตามภูมภิ าค หลักสูตร “การผลิตมะม่วงคุณภาพเพือ่ การส่งออก” จํานวน 20 คน ณ อ. บ้านแฮด จ. ขอนแก่น [5] นําเกษตรกร จํานวน 10 คน ไปฝึกอบรมด้านการผลิต ณ เมือง Fukuoka ประเทศ ญีป่ นุ่  ศึกษาพัฒนาด้านวิชาการร่วมกับกรมฯ จํานวน 1 เรือ ่ ง คือ “การคัดคุณภาพผลไม้โดยใช้ระบบ Sensor : กรณีศกึ ษาส้มโอ”  สรุปผลการดําเนินงานของผูเ้ ช่า ได้ดงั นี้ [1] ปริมาณการอบ VHT มะม่วง เท่ากับ 517.187 ตัน (รวมให้บริการรายอืน ่ ด้วย) สูงกว่าทีค่ าดการณ์ไว้ 500 ตัน คิดเป็นร้อยละ 3.44 และปริมาณการอบ VHT มังคุด เท่ากับ 88.149 ตัน ต่ํากว่าทีค่ าดการณ์ไว้ 150 ตัน คิดเป็นร้อยละ 47.14 [2] ปริมาณการส่งออกมะม่วงทีผ่ า่ น VHT จํานวน 336.165 ตัน ต่ํากว่าทีค่ าดการณ์ไว้รอ้ ยละ 32.77 แต่มี ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีแรก คิดเป็นร้อยละ 31 และปริมาณการส่งออกมังคุดที่ผ่าน VHT จํานวน 79.44 ตัน ต่ํากว่าที่ คาดการณ์ไว้ ร้อยละ 47.04 [3] ปริมาณการรับซือ้ ผลผลิต มะม่วง รวม 495.15 ตัน จากเกษตรกรพืน้ ทีต่ า่ งๆ รวม 12 จังหวัด และ มังคุด รวม 88.15 ตัน จากเกษตรกร จ. จันทบุรี โดยมีการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมีพันธะสัญญา (Contract Farming) กับ สถาบันเกษตรกรผูป้ ลูกมะม่วงและมังคุด จํานวน 7 กลุม่ และรายเดีย่ ว จํานวน 2 ราย ได้แก่ มะม่วงน้ําดอกไม้สที อง จํานวน 530 ตัน มะม่วงน้ําดอกไม้สที อง เบอร์สี่ จํานวน 860 ตัน มะม่วงมหาชนก จํานวน 420 ตัน และมังคุด จํานวน 200 ตัน [4] เปิดโอกาสให้ผู้ ส่งออกรายอืน่ มาใช้บริการ รวม 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 ของผลผลิตทีเ่ ข้าอบ VHT 3. ปีการเช่าที่ 3 (ระว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2554 – 18 สิงหาคม 2555) 3.1 ประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาประเด็นต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง รวม 3 ครัง้ 3.2 ปรับปรุงสัญญาเช่าให้ถกู ต้องครบถ้วนตามข้อเสนอของกลุม่ ตรวจสอบภายใน 3.3 กํากับติดตามการดําเนินงานของผูเ้ ช่า ดังนี้  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวม 5 รายการ ได้แก่ [1] อบรมเจ้าหน้าทีก ่ รมฯ จํานวน 2 หลักสุตร ได้แก่ หลักสูตร “การ ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตไม้ผลเพื่อการส่งออกญี่ปุ่น” จํานวน 63 คน และหลักสูตร “กระบวนการผลิตและแปรรูปผลไม้เพื่อการ ส่งออก” จํานวน 22 คน รวม 2 หลักสูตร จํานวน 85 คน [2] นําเจ้าหน้าทีก่ รมฯ จํานวน 5 คน ไปศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการผลิต ณ เมืองโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ [3] อบรมและประชุมสัมมนาเกษตรกร หลักสูตร “การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตไม้ผลเพือ่ การส่งออก ญีป่ นุ่ ” จํานวน 177 คน [4] อบรมเกษตรกรในพืน้ ทีต่ ามภูมภิ าค หลักสูตร “การขยายตลาดส่งมะม่วงไปยังต่างประเทศ” จํานวน 100 คน ณ อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ [5] นําเกษตรกร จํานวน 10 คน ไปฝึกอบรมด้านการผลิต ณ เมืองโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่  ศึกษาพัฒนาด้านวิชาการร่วมกับกรมฯ เรือ ่ ง “การคัดคุณภาพผลไม้โดยใช้ระบบ Sensor : กรณีศกึ ษาส้มโอ”  สรุปผลการดําเนินงานทุกเดือนของผูเ้ ช่า สรุปได้ดงั นี้ [1] ปริมาณการอบ VHT มะม่วง เท่ากับ 835.54 ตัน (รวมให้บริการ รายอืน่ ด้วย) สูงกว่าทีค่ าดการณ์ไว้ 750 ตัน คิดเป็นร้อยละ 11.41 ปริมาณการอบ VHT มังคุด เท่ากับ 8.107 ตัน ต่ํากว่าทีค่ าดการณ์ ไว้ 160 ตัน คิดเป็นร้อยละ 96.45 และปริมาณการอบ VHT ส้มโอ เท่ากับ 9.50 ตัน [2] ปริมาณการส่งออกมะม่วงทีผ่ า่ น VHT จํานวน 473.16 ตัน ต่ํากว่าทีค่ าดการณ์ไว้รอ้ ยละ 12.38 แต่มปี ริมาณการส่งออกเพิม่ ขึน้ จากปีท่ี 2 คิดเป็นร้อยละ 28.95 ปริมาณการส่งออก มังคุดทีผ่ า่ น VHT จํานวน 5.681 ตัน ต่ํากว่าทีค่ าดการณ์ไว้ ร้อยละ 96.21 และปริมาณการส่งออกส้มโอทีผ่ า่ น VHT จํานวน 8.64 ตัน [3] ปริมาณส่งออกผลไม้ชนิดอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ผา่ นการอบ VHT ได้แก่ หอมหัวใหญ่ 121.32 ตัน ทุเรียน 83.96 ตัน สละ 2 ตัน และมังคุด 20 ตัน [4] ปริมาณการรับซื้อผลผลิต มะม่วง รวม 533.95 ตัน จากเกษตรกรพื้นที่ต่างๆ รวม 15 จังหวัด มังคุด รวม 28.36 ตัน จาก เกษตรกรพื้นที่ต่างๆ รวม 3 จังหวัด ส้มโอ รวม 9.504 ตัน จากเกษตรกร จังหวัดเชียงราย ทุเรียน รวม 4.345 ตัน จากเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี หอมหัวใหญ่ รวม 2.55 ตัน และสละ รวม 2.58 ตัน จากเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี [5] เปิดโอกาสให้ผสู้ ง่ ออกรายอืน่ มาใช้บริการ รวม 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 ของผลผลิตทีเ่ ข้าอบ VHT ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


18

โครงการแปลงเกษตรทดลองสวนพระองค พระตําหนักสวนปทุม อําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

ทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ ในโรงเรือน เพื่อให้สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมและ โรคแมลงต่างๆ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและ ปราศจากสารพิษตกค้าง 1. ออกแบบโครงสร้างและปรับปรุ ง โรงเรือนให้เหมาะสมกับการปลูกพืช จํานวน 10 หลัง 2. ออกแบบระบบควบคุ ม สภาวะ อากาศ และระบบพ่ น สารชี ว ภาพควบคุ ม ศัตรูพชื ระบบให้น้ําและปุย๋ ภายในโรงเรือนและ ในพืน้ ทีโ่ ครงการ 3. สนั บ สนุ น เทคนิ ค ด้ า นการใช้ แ ละ บํารุง รักษาระบบตามระยะเวลาเพือ่ ให้ใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระตํ า หนั ก สวนปทุ ม เป็ น พื้ น ที่ ส่ ว นพระองค์ ดํ า เนิ น การ ทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ โดยเน้นการปลูกพืชที่แปลกใหม่ พืชพันธุ์ ที่หายาก หรือพืชพันธุ์นอกเขตร้อนชื้น ซึ่งต้องการโรงเรือน ระบบ ควบคุมสภาวะอากาศในโรงเรือน และระบบอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การทดลองปลูกพืชต่างๆ สําเร็จตามวัตถุประสงค์ โครงการฯ ได้ ข อความร่ ว มมื อ จากกรมส่ ง เสริ ม การเกษตรให้ ก องส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรสนั บ สนุ น ด้ า นเทคนิ ค ในการออกแบบปรั บ ปรุ ง โรงเรือน ระบบควบคุม ระบบให้น้ําและปุ๋ย รูปแบบแปลงทดลอง ปลู ก พื ช และระบบเสริ ม อื่ น ๆ ทั้ ง ที่ ใ ช้ ใ นโรงเรื อ นและภายนอก โรงเรือน ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา และในปี 2554 เกิดอุทกภัย ทําให้โรงเรือนและระบบเสียหายทั้งหมด จึงต้องดําเนินการฟื้นฟูและ พัฒนาต่อไป

รายงานประจําปี 2555

ผลการดําเนินงาน 1. งานฟืน้ ฟู ปรับปรุงโรงเรือนและระบบภายในโรงเรือน 1.1 โรงเรือนปลูกมะเดือ่ ฝรัง่ จํานวน 1 หลัง  ขนาด 22 x 109 เมตร  พืช ปัจจุบันปลูกมะเดื่อฝรั่ง 20 พันธุ์ อายุเฉลีย่ ประมาณ 1 ปี  ระบบให้น้ํา แบบน้ํ า หยดเปิ ด -ปิ ด ด้ ว ยวาล์ ว ไฟฟ้ า และตั้ ง เวลาให้ น้ํ า ด้ ว ยตู้ ควบคุมอัตโนมัติ 1.2 โรงเรือนปลูกสตรอเบอรีแ่ ละแตงโม จํานวน 2 หลัง  ขนาด 18 x 42 เมตร  พืช ปัจจุ บันปลูก สตรอเบอรี่สลั บกั บ แคนตาลูป และแตงโม  ระบบให้น้ํา แบบน้ํ า หยดเปิ ด -ปิ ด ด้ ว ยวาล์ ว ไฟฟ้ า และตั้ ง เวลาให้ น้ํ า ด้ ว ยตู้ ควบคุมอัตโนมัติ  ระบบพ่นสารชีวภาพ แบบแขวนเคลื่ อ นที่ อั ต โนมั ติ ใ น โรงเรือน  ระบบหล่อเย็นรากพืช ใช้ ท่ อ สแตนเลสหมุ น เวี ย นน้ํ า เย็ น 18 oC 1.3 โรงเรือนปลูกองุน่ 1 จํานวน 1 หลัง  ขนาด 18 x 42 เมตร  พืช ปัจจุบนั ปลูกองุน่ พันธุ์ เอ็มเมอรอน อายุ 1 ปี  ระบบให้น้ํา แบบพ่ น ฝอยเปิ ด -ปิ ด ด้ ว ยวาล์ ว ไฟฟ้ า และตั้ ง เวลาให้ น้ํ า ด้ ว ยตู้ ควบคุมอัตโนมัติ www.aepd.doae.go.th


19 1.4 โรงเรือนปลูกองุน่ 2 จํานวน 1 หลัง  ขนาด 27 x 42 เมตร  พืช ปัจจุบนั ปลูกองุน่ พันธุเ์ อ็มเมอรอน รูทบาเรด แบล็กโอปอ อายุ 1 ปี  ระบบให้น้ํา แบบพ่นฝอยเปิด-ปิดด้วยวาล์วไฟฟ้า และ ตัง้ เวลาให้น้ําด้วยตูค้ วบคุมอัตโนมัติ 1.5 โรงเรือนปลูกไม้ผล จํานวน 1 หลัง  ขนาด 18 x 42 เมตร  พืช ปัจจุบนั ปลูกส้ม ชมพู่ ทุเรียน มังคุด อายุ 1 ปี  ระบบให้น้ํา แบบพ่นฝอยเปิด-ปิดด้วยวาล์วไฟฟ้า และตั้ง เวลา ให้น้ําด้วยตูค้ วบคุมอัตโนมัติ 1.6 โรงเรือนปลูกแคนตาลูป จํานวน 1 หลัง  ขนาด 9 x 38 เมตร  พืช ปัจจุบนั ปลูกแคนตาลูป  ระบบให้น้ํา แบบน้ําหยดเปิด-ปิดด้วยวาล์วไฟฟ้า และตัง้ เวลา ให้น้ําด้วยตูค้ วบคุมอัตโนมัติ  ระบบพ่นสารชีวภาพ แบบแขวนเคลือ ่ นทีอ่ ตั โนมัตใิ นโรงเรือน 1.7 โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ จํานวน 2 หลัง  ขนาด 3.50 x 7.50 เมตร  พืช ปัจจุบนั ปลูก ผักสลัดแก้ว สลัดบอนนิ เรดโอ๊ด เรดเรปิด เรดโคเรีย แตงกวาญีป่ นุ่  ระบบให้น้ํา แบบรางไฮโดรโพนิกส์  ระบบลดอุณหภูมิ หัวพ่นละออง 1.8 โรงเรือนอนุบาลพืชเมืองหนาว จํานวน 1 หลัง  ขนาด 8 x 20 เมตร  พืช ปัจจุบนั อนุบาลต้นสร้อยฟ้า  ระบบลดอุณหภูมิ แบบแผ่นระเหยน้ําและพัดลมระบายอากาศ 2. งานฟืน้ ฟู ปรับปรุงระบบให้น้ําภายนอกโรงเรือน 2.1 ระบบสปริงเกลอร์สวนป่า 2.2 ระบบมินสิ ปริงเกลอร์แปลงไม้ผล 2.3 ระบบมินสิ ปริงเกลอร์แปลงอินทผลัมและสละ 2.4 ตรวจสอบปรับตัง้ ความดันและแก้ไขปัญหาในระบบสูบน้ํา 4 แห่ง 2.5 ตรวจสอบปรับตัง้ คอนโทรลเลอร์ 3 ชุด และวาล์วไฟฟ้า 50 ชุด 2.6 ตรวจสอบความสะอาดของระบบกรองน้ํา 3. งานฟืน้ ฟู ปรับปรุงเครือ่ งมือและอุปกรณ์ 3.1 ซ่อมแซมรถขนถ่ายวัสดุการเกษตร 3 คัน 3.2 เครือ่ งสูบน้ําและตูค้ อนโทรลเลอร์ วาล์วไฟฟ้า 3.3 เครือ่ งยนต์ดเี ซล 2 เครือ่ ง 3.4 เครือ่ งยนต์เบนซิน 3 เครือ่ ง 3.5 เครือ่ งตัดหญ้าสะพายหลัง 9 เครือ่ ง 3.6 เครือ่ งปรับอากาศ 7 เครือ่ ง 3.7 ปัม๊ แรงดันสูงระบบพ่นสารชีวภาพ 2 เครือ่ ง 3.8 ตูเ้ ชือ่ มไฟฟ้า 1 เครือ่ ง 3.9 เครือ่ งปัม๊ น้ําดับเพลิง 1 เครือ่ ง 3.10 ปัม๊ แรงดันสูงระบบพ่นหมอก 2 เครือ่ ง ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

4. งานพัฒนา 4.1 ระบบบ่อน้ํ าเย็นสํ าหรับทํ าลม เย็นลดอุณหภูมใิ นโรงเรือนอนุบาล 4.2 ระบบบ่อน้ําเย็นสําหรับทําความ เย็นรากพืชโรงเรือนสตรอเบอรี่ 4.3 ระบบแปลงทดลองปลูกมะเขือ เทศ แคนตาลูป แบบไร้ดนิ พร้อมระบบ ให้น้ําและปุย๋ 4.4 ระบบทดลองปลูกสตรอเบอรีใ่ น กระถางและให้น้ําเย็นอุณหภูมิ 10 oC 4.5 ระบบพ่ น สารชี ว ภาพป้ อ งกั น ศัตรูพืชในโรงเรือนมะเดื่อ องุ่น สตรอ เบอรี่

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


20

การใหบริการบํารุงรักษาเครื่องปรับอากาศสํานักงาน

วัตถุประสงคและเปาหมาย เพื่อสนับสนุนการบริหารสินทรัพย์ของ กรมส่งเสริมการเกษตร เพือ่ ให้เครือ่ งปรับอากาศ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดค่าใช้จ่ายใน การซ่อมแซม และยืดอายุการใช้งาน

ความเปนมา กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตร มี เ จ้ า หน้ า ที่ ซึ่ ง สามารถที่ จ ะ ให้ บ ริ ก ารบํ า รุ ง รั ก ษา วิ เ คราะห์ ปั ญ หา และข้ อ ขั ด ข้ อ งของ เครื่ อ งปรั บ อากาศสํ า นั ก งาน จึ ง ดํ า เนิ น การโครงการให้ บ ริ ก าร บํ า รุ ง รั ก ษาเครื่ อ งปรั บ อากาศสํ า นั ก งาน แก่ ห น่ ว ยงานส่ ว นกลาง ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ผลการดําเนินงาน ดําเนินการให้บริการบํารุงรักษาเครื่องปรับอากาศ โดยล้างทํา ความสะอาด ตรวจวัดระดับน้ํ ายา และวิเคราะห์ แก้ไข ข้อขัดข้อง แก่หน่วยงานส่วนกลาง กรมส่งเสริมการเกษตรที่ขอรับบริการ ดังนี้

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


21

งานสนับสนุนทางดานวิศวกรรม

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

เพื่ อ สนั บ สนุ น งานทางด้ า นวิ ศ วกรรม แก่กรมส่งเสริมการเกษตร ด้านการออกแบบ กํ า หนดขอบเขตงาน ประมาณราคา การ ควบคุมงานและการตรวจรับงาน ให้เป็นไป รูปแบบและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรเป็ น หน่ ว ยงานที่ มี บุ ค ลากร ซึ่ ง เป็ น วิ ศ วกรและนายช่ า งด้ า นวิ ศ วกรรมเกษตร และเครื่ อ งกล ที่สามารถสนับสนุนกรมส่งเสริมการเกษตรในด้าน ประสานงานการ ออกแบบที่ มี ผ ลกระทบด้ า นโครงสร้ า งกั บ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การกําหนดขอบเขตงาน การประมาณราคากลาง การควบคุมงาน การตรวจรับงาน ประเภทงานก่อสร้าง ยานพาหนะ และเครื่องมือ การเกษตร

ผลการดําเนินงาน 1. กรรมการกําหนดขอบเขตงาน และราคากลาง งานปรับปรุง อาคารเบญจสิริกิตติ์ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยดําเนินการร่วมกับ กรมโยธาธิการและผังเมือง วงเงิน 4,874,000 บาท 2. จั ด ทํ า แบบ กํ า หนดรายละเอี ย ด และประเมิ น ราคา งานปรั บ ปรุ ง ดาดฟ้ า และซ่ อ มฝ้ า เพดาน อาคาร 5 กรมส่ ง เสริ ม การเกษตร วงเงิน 1,885,000 บาท 3. จัดทํ าแบบ กํ าหนดรายละเอียด และประเมินราคางาน ปรั บ ปรุ ง ห้ อ ง 506, 507 อาคารกรมส่ ง เสริ ม การเกษตร วงเงิ น 1,694,000 บาท 4. จั ด ทําแบบ กําหนดรายละเอี ย ด และราคากลาง งานปรับปรุงห้องน้ําหญิง ชั้น 5 อาคารกรมส่งเสริมการเกษตร วงเงิน 190,000 บาท 5. กรรมการกําหนดขอบเขตงาน และราคากลาง กรรมการ ตรวจรับ กรรมการควบคุมงานปรับปรุงห้องควบคุมระบบเครือข่าย กรมส่งเสริมการเกษตร วงเงิน 4,056,000 บาท 6. กรรมการควบคุม กรรมการตรวจรับงานปรับปรุงหลังคา โรงจอดรถ บริเวณอาคารกรมส่งเสริมการเกษตร วงเงิน 1,572,000 บาท 7. กรรมการควบคุมงานปรับปรุงหลังคาอาคาร 1 กรมส่งเสริม การเกษตร วงเงิน 1,247,000 บาท 8. กรรมการกําหนดขอบเขตงาน และราคากลาง กรรมการ เปิดซองสอบราคา กรรมการตรวจรับงานซ่อมแซมปรับปรุงฐานราก และโครงสร้างหลังคาที่จอดรถยนต์สํ าหรับผู้บริหาร กรมส่งเสริม การเกษตร วงเงิน 280,000 บาท 9. กรรมการตรวจรั บ งานปรั บ ปรุ ง สายสั ญ ญาณระบบ เครือข่าย Fiber Optic กรมส่งเสริมการเกษตร วงเงิน 1,322,400 บาท

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


22

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท

โครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะดาน 1. ดําเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จํานวน 403 ราย ใน 4 หลักสูตร  หลักสูตรการใช้และบํารุงรักษาเครือ ่ งยนต์เกษตร ดําเนินการใน พื้นที่จังหวัดชัยนาท ฉะเชิงเทรา สิงห์บุรี ลพบุรี และจังหวัดสระบุรี เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม 220 ราย มีเครื่องยนต์รับบริการ 93 เครือ่ ง  หลั ก สู ต รการติ ด ตั้ ง ระบบการให้ น้ํ า พื ช ดํ า เนิ น การในพื้ น ที่ จั ง หวั ด สิ ง ห์ บุ รี สระบุ รี และจั ง หวั ด ลพบุ รี เกษตรกรเข้ า รั บ การ ฝึกอบรม 94 ราย  หลั ก สู ต รการใช้ แ ละบํ า รุ ง รั ก ษาแทรกเตอร์ ก ารเกษตร ดําเนินการในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี เกษตรกรเข้ารับ การฝึกอบรม 44 ราย มีเครือ่ งยนต์รบั บริการ 10 เครือ่ ง  หลั ก สู ต รการใช้ แ ละบํ า รุ ง รั ก ษาแทรกเตอร์ ก ารเกษตร ได้ ดํ า เนิ น การฝึ ก อบรมแก่ เ กษตรกรในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ลพบุ รี ชั ย นาท เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม 45 ราย (พี่หนูถามว่ า ชื่อหลักสูตร ถูกต้องหรือไม่คะ่ ) 2. จัดทําจุดเรียนรู้ จํานวน 2 จุด คือ  ระบบการให้น้ําพืชแปลงเศรษฐกิจพอเพียงแปลงไม้ผล  การซ่อมแซมเครือ ่ งยนต์เกษตร

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ ร่วมจัดนิทรรศการเรือ่ งการใช้และบํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เกษตร และให้บ ริ ก ารตรวจเช็ ค และซ่ อ มแซมในคลิ นิก เกษตรเคลื่อนที่ ใ น พระราชานุ เ คราะห์ ฯ สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยาม มกุฎราชกุมาร ในพื้นที่ จังหวัดอ่างทอง ชัยนาท นนทบุรี นครสวรรค์ อ่างทอง และจังหวัดสิงห์บรุ ี เกษตรกรเข้าชมนิทรรศการ 5,211 ราย มี เครือ่ งยนต์รบั บริการ 436 เครือ่ ง

โครงการบริการซอมแซมเครือ่ งยนตเกษตรแกผปู ระสบภัยน้าํ ทวม จั ด ทํ า โครงการบริ ก ารซ่ อ มแซมเครื่ อ งยนต์ เ กษตรแก่ ผูป้ ระสบภัยน้ําท่วมปี 2554 รวม 3 โครงการ คือ 1) โครงการซ่อมแซม เครือ่ งจักรกลเพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน้ําท่วม 2) โครงการซ่อมแซม เครื่องยนต์เกษตรที่ประสบปั ญหาอุทกภัยปี 54 3) โครงการชาว ชัยนาทกลับบ้านปลอดภัยด้วยความสุขใจถ้วนหน้า โดยเริม่ ดําเนินการ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บรุ ี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา อ่างทอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ํา ท่วมและเครื่องยนต์เกษตรได้รับความเสียหาย เข้ารับบริการและนํา เครือ่ งยนต์เกษตรเข้ารับบริการซ่อมแซม จํานวน 1,043 เครือ่ ง รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


23

โครงการเพิม่ ศักยภาพการผลิตขาว และสรางความเข็มแข็งใหชาวนาเพือ่ AFTA) ป2553/2554 รองรับผลกระทบจากการเปดเสรีการคาอาเซียน ((AFTA) จัดทําแปลงสาธิตการพัฒนาการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อการลดต้นทุนในการปลูกข้าวในขั้นตอนการเตรียมดิน เพาะกล้า และปักดําในตําบลมงคลธรรมนิมติ ร อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  ดําเนินการเตรียมดินพืน ้ ที่ 200 ไร่  เพาะกล้าและปักดํา โดยใช้เครื่องจักรกลเพื่อปักดําในพื้นที่ 200 ไร่

โครงการหนวยบําบัดทุกข บํารุงสุข สรางรอยยิม้ ใหประชาชน จั ด งานหน่ ว ยบํ า บั ด ทุ ก ข์ บํ า รุ ง สุ ข สร้ า งรอยยิ้ ม ให้ ป ระชาชน ดําเนินการในจังหวัดชัยนาท จํานวน 8 ครั้ง เกษตรกรร่วมงาน 2,900 ราย ขอรับบริการ 140 ราย กิจกรรมจัดนิทรรศการไถกลบฟางข้าวเพือ่ ลดการเผา การให้น้ําพืชแบบประหยัด การซ่อมเครือ่ งยนต์เกษตร การ ใช้ไถระเบิดดินดาน

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


24

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

โครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะดาน 1. ดําเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จํานวน 777 ราย ใน 4 หลักสูตร  หลัก สูต รการตรวจเช็คและบํ ารุงรัก ษาเครื่องยนต์ เกษตร ดํ าเนินการในพื้นที่อํ าเภอวังทอง และอํ าเภอพรหมพิราม จังหวัด พิษณุโลก เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม 153 ราย มีเครือ่ งยนต์เข้ารับ บริการ 23 เครือ่ ง  หลั ก สู ต รการใช้ แ ละบํ า รุ ง รั ก ษาแทรกเตอร์ ก ารเกษตร ดําเนินการในพืน้ ทีอ่ ําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เกษตรกรเข้า รับการฝึกอบรม 27 ราย มีเครือ่ งยนต์เข้ารับบริการ 4 เครือ่ ง  หลั ก สู ต รการเลื อ กใช้ ร ะบบและอุ ป กรณ์ ก ารให้ น้ํ า พื ช ดําเนินการในพื้นที่อํ าเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ อํ าเภอเนิน มะปราง อํ า เภอนครไทย และอํ า เภอวั ด โบสถ์ จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม 137 ราย  หลักสูตรช่างเกษตรหมู่บ้าน ณ สํานักงานเกษตรอําเภอวัด โบสถ์ สํ านั กงานเกษตรอํ าเภอนครไทย อํ าเภอนครไทย และศูน ย์ ส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตรที่ 2 อํ า เภอวั ง ทอง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม 60 ราย 2. จัดทําจุดเรียนรู้ จํานวน 4 จุด คือ  จุดเรียนรูก ้ ารบํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เล็ก  จุดเรียนรูก ้ ารบํารุงรักษารถแทรกเตอร์  จุดเรียนรูร ้ ะบบการให้น้ําพืช  จุดเรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียง

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ จัดนิทรรศการและให้บริการความรู้ด้านเครื่องจักรกลกากร เกษตร เครื่องยนต์เกษตรขนาดเล็ก และการติดตั้งระบบการให้น้ําพืช ในงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรม โอรสธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร จํานวน 15 ครัง้ ในพืน้ ที่  อํ า เภอวั ง ทอง พรหมพิ ร าม บางระกํ า วั ด โบสถ์ จั ง หวั ด พิษณุโลก  อําเภอสบปราย เมือง แม่ทะ แม่เมาะ จังหวัดลําปาง  อําเภอกงไกรลาศ และอําเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย  อําเภอพิชย ั เมือง และอําเภอน้ําปาด จังหวัดอุตรดิตถ์  อําเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจต ิ ร  อําเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีเกษตรกรเข้ารับบริการ จํานวน 1,370 ราย

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


25

โครงการซอมเครือ่ งยนตหลังน้าํ ลด ดําเนินการให้บริการซ่อมเครื่องยนต์เกษตรกรขนาดเล็ก แก่ เกษตรกรผู้ประสบปัญหาอุทกภัย จํานวน 255 เครื่อง ดําเนินการใน พื้นที่  อําเภอพรหมพิราม วัดโบสถ์ และอําเภอบางระกํา จังหวัด พิษณุโลก  อํ า เภอเมื อ ง ศรี สํ า โรง และอํ า เภอกงไกรลาศ จั ง หวั ด สุโขทัย อําเภอตะพานหิต และอําเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร  อําเภอน้ําปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

โครงการหยุดการเผาในพืน้ ทีก่ ารเกษตร ภายใตแผนปฏิบตั กิ ารแกไข ปญหาหมอกควันและไฟปา ดําเนินการจัดตั้ง ติดตาม เป็นที่ปรึกษาและให้คําแนะนําการ ดําเนินงานศูนย์จักรกลการเกษตรปลอดการเผาบ้านคลอง ตําบลน้ํา ขุม อําเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ที่มีการบริหารจัดการโดยกลุ่ม เกษตรกร โดยการนํ า ร่ อ งสาธิ ต การใช้ เ ทคนิ ค เครื่ อ งจั ก รกล การเกษตรทดแทนการเผา มี พ้ื น ที่ ก ารให้ บ ริ ก าร 1,009.5 ไร่ เกษตรกรได้รับบริการ 109 ราย

โครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสําปะหลัง ดําเนินการติดตาม จัดเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตมัน สําปะหลังต้นทุนการผลิตและรายได้ ในแปลงสาธิตการไถระเบิดดิน ดาน และแปลงเปรี ย บเที ย บพื้ น ที่ 300 ไร่ เพื่ อ การศึ ก ษาผลการ พัฒนาการเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง ในตําบลวังชะพลู และตําบลวังหามแห อําเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกําแพงเพชร

งานตามภารกิจอื่นๆ 1. บริหารตรวจซ่อมเครือ่ งยนต์เกษตรให้กบั เกษตรกรทัว่ ไป 10 ราย 2. บริหารออกแบบและติดตั้งระบบการให้ น้ํ ากับหน่ วยงาน ราชการ อาทิ สนามหญ้าภายในค่ายบรมไตรโลกนาถ สนามหญ้า ภายในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก สํ านักงานเกษตรอํ าเภอ วังทอง สํานักงานเกษตรอําเภอวัดโบสถ์ และประชาชนทั่วไป จํานวน 30 แปลง

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


26

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 3 จังหวัดรอยเอ็ด

โครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะดาน 1. ดําเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จํานวน 350 ราย ใน 2 หลักสูตร  หลัก สูต รการตรวจเช็คและบํ ารุงรัก ษาเครื่องยนต์ เกษตร ดํ าเนิ นการฝึกอบรมในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม และจังหวัด กาฬสินธุ์ เกษตรกรเข้ารับการอบรม 310 ราย มีเครื่องยนต์มารับ บริการ จํานวน 222 เครือ่ ง  หลักสูตรเทคนิคการซ่อมแซมเครือ ่ งยนต์เกษตร ดําเนินการ ในจังหวัดร้อยเอ็ด เกษตรกรเข้ารับการอบรม 40 ราย มีเครือ่ งยนต์มา รับบริการ จํานวน 33 เครือ่ ง 2. การพัฒนานาแปลงเรียนรู/้ จุดเรียนรู้ คือ  จุดเรียนรูท ้ ี่ 1 เรือ่ งระบบการให้น้ําพืช  จุดเรียนรูท ้ ี่ 2 เรือ่ งเครือ่ งยนต์เกษตร  จุดเรียนรูท ้ ี่ 3 เรือ่ งเครือ่ งจักรกลเกษตร  จุดเรียนรูท ้ ี่ 4 เรือ่ งพลังงานทดแทน

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ ร่วมจัดนิทรรศการและให้คําปรึกษาด้านเครื่องจักรกลเกษตร การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เกษตร และให้บริการซ่อมแซม ตรวจเช็ค บํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เกษตร ในงานคลินกิ เกษตรเคลือ่ นทีใ่ นพระราชา นุเคราะห์ฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 13 ครัง้ ใน  อําเภอจังหาร เมือง สุวรรณภูมิ และอําเภอเมยวดี จังหวัด ร้อยเอ็ด  อําเภอร่องคํา นาคู และอําเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์  อําเภอเมือง และอําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม  อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ  อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ  อําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร  อําเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น มีเกษตรกรเข้ารับบริการ 415 ราย และมีเครือ่ งยนต์มารับบริการ 112 เครือ่ ง

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


27

โครงการรณรงคฟน ฟูพนื้ ทีก่ ารเกษตรและเยียวยาผูป ระสบอุทกภัย หลังน้าํ ลด ดําเนินการซ่อมแซมเครื่องยนต์เกษตรทีป่ ระสบปัญหาอุทกภัย ปี 2554 ในเขตพืน้ ที่อําเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด จํานวน 2 ครั้ง เกษตรกร 31 ราย นําเครือ่ งยนต์มารับบริการ จํานวน 52 เครือ่ ง

โครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพืน้ ทีม่ นั สําปะหลัง ป 2554/55 ดํ าเนินการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตผลผลิตมันสํ าปะหลัง ต้ น ทุ น และรายได้ ใ นแปลงไถระเบิ ด ดิ น ดาน ในอํ า เภอวั ง สมบู ร ณ์ จังหวัดสระแก้ว เกษตรกร 15 ราย

งานตามภารกิจอื่นๆ 1. โครงการ “หนึ่งใจ...เกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ใน ทูล กระหม่ อ มหญิ ง อุ บ ลรั ต นราชกั ญ ญา สิ ริ วั ฒ นาพรรณวดี เป็ น โครงการ ที่ดําเนินการร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในจั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด โดยได้ ร่ ว มสนั บ สนุ น ให้ บ ริ ก าร

รถแทรกเตอร์ ในการขุ ด เจาะหลุ ม และจั ด นิ ท รรศการเรื่ อ ง เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผาในพื้นที่การเกษตร โครงการ ณ บ้านหัวบ่อ ตําบลหนองไผ่ อําเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต พืชไร่ ภายใต้โครงการส่งเสริมเพิม่ คุณภาพการผลิตอ้อย ปี 2555 ของ กลุ่ ม จั ง หวั ด ร้ อ ยแก่ น สารสิ น ธุ์ โดยสาธิ ต และให้ ค วามรู้ ใ นด้ า น กระบวนการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานให้เกษตรกรผูป้ ลูกอ้อย 400 คน ในอําเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 3. โครงการรณรงค์ฟ้ืนฟูพ้ืนที่การเกษตรหลังน้ําลด ปี 2554 โดยร่วมจัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การใช้และบํารุงรักษา เครื่ อ งยนต์ เ กษตรที่ ถู ก น้ํ า ท่ ว ม ณ อํ า เภอวาริ น ชํ า ราบ จั ง หวั ด อุบลราชธานี โดยมีนายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน 4. โครงการฝึ ก อบรมระบบให้ น้ํ า พื ช ดํ า เนิ น การร่ ว มกั บ สํานักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โดยฝึกอบรมนักวิชาการส่งเสริม การเกษตร สํานักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม” จํานวน 33 ราย ณ อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 5. จัดนิทรรศการและถ่ายทอดความรู้ เรือ่ งเทคโนโลยีการเกษตร

ทดแทนการเผาในพืน้ ทีก่ ารเกษตร การไถระเบิดดินดาน และระบบการ ให้น้ําพืช อําเภอจตุรพักตรพิมาน เมืองร้อยเอ็ด นาเลิง เสลภูมิ และ อําเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด อําเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ อําเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรเข้ารับบริการ 300 ราย

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


28

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 4 จังหวัดเพชรบุรี

โครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะดานป 1. ดําเนินการฝึกอบรมเกษตรจํานวน 370 ราย ดํ าเนินการจัด ฝึกอบรมอาชีพทางการเกษตรจํานวนใน 4 หลักสูตรดังต่อไปนี้  หลั ก สู ต รการใช้ บํ า รุ ง รั ก ษาและการซ่ อ มแซมเครื่ อ งยนต์ เกษตร (หลักสูตรระยะสั้น) 1 วัน ดําเนินการฝึกอบรมในพื้นที่ อําเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรเข้ารับการอบรม 161 ราย มีเครื่องยนต์เข้ารับบริการ 18 เครือ่ ง ร่วมดําเนินกับศูนย์สง่ เสริมวิศวกรรมที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี ใน จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี เกษตรกร 80 ราย  หลั ก สู ต รเทคนิ ค การซ่ อ มแซมเครื่ อ งยนต์ ก ารเกษตร หลักสูตรระยะยาว 3 วัน ดําเนินการในพื้นที่อําเภอเขาย้อย จังหวัด เพชรบุรี เกษตรกรเข้ารับการอบรม 20 ราย มีเครือ่ งยนต์เข้ารับบริการ 8 ราย  หลัก สูต รการเลื อ กใช้ อุป กรณ์ ร ะบบการให้ น้ํ า พื ช เบื้อ งต้ น หลั ก สู ต รระยะสั้ น 2 วั น ดํ า เนิ น การในอํ า เภอบางคนที จั ง หวั ด สมุทรสงคราม เกษตรกรเข้ารับการอบรม 160 ราย หลักสูตรการ ออกแบบระบบการให้น้ําพืช หลักสูตรระยะยาว 4 วัน ดําเนินการใน อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ มีเกษตรกรเข้ารับการอบรม 29 ราย

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ จัดนิทรรศการในเรือ่ งการใช้และบํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เล็กเพือ่ การเกษตร ในงานคลินกิ เกษตรเคลือ่ นทีใ่ นพระราชานุเคราะห์ สมเด็จ พระบรมโอรสธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ได้ดําเนินการในพืน้ ทีอ่ ําเภอ เมือง เขาย้อย บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 6 ครั้ง มีเกษตรกรเข้ารับ 57 ราย

งานอืน่ ๆ 1. โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้าน การเกษตรในเขตโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดํ าเนินการ ฝึกอบรมเกษตรกร 30 ราย ได้รบั การสนับสนุนงบประมาณจากสํานัก จัดรูปทีด่ นิ จังหวัดเพชรบุรี 2. ฝึ ก อบรมหลั ก สู ต รการจั ด ระบบน้ํ า ในแปลงพื ช ให้ แ ก่ เกษตรกรในพื้นที่โครงการพระราชดําริ 80 ราย ได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากกรมวิชาการเกษตร

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


29 3. จัดนิทรรศการและถ่ายทอดความรู้ เรื่องการดูแลรักษา เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่นา ในงานวัน Learning Day โครงการ พัฒนาและปรับปรุงระบบการผลิตข้าวคุณภาพดีเพื่อการบริโภคและ ส่งออกปี 2555 ณ ลานอเนกประสงค์หน้าวัดหนองกลางดง หมูท่ ี่ 6 ตําบลชําแระ อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 4. จัดนิทรรศการวิศวกรรมเกษตร ในกิจกรรม จัดงานวันสาธิต การโยนกล้า ณ ศูนย์ข้าวชุมชน โรงสีข้าวชุมชน หมู่ที่ 3 ตําบลแพรก หนามแดง อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 5. จั ด กิ จ กรรม มหกรรมงานอาชี พ เด็ ก พิ ก ารและเด็ ก ด้ อ ย โอกาส ภาคกลาง ครัง้ ที่ 1 ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพชรบุรี ตําบล สามพระยา อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี

งานพัฒนาศูนย ขอความอนุเคราะห์จากหมวดการทางชะอํา นําผิวถนนทีห่ มวด การทางชะอําได้ลอกจากถนนเพชรเกษม มาซ่อมแซมถนนหน้าทางเข้า และภายในบริเวณศูนย์ฯ

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


30

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 5 จังหวัดลพบุรี

โครงการเพิม่ ศักยภาพการผลิตขาวและสรางความเขมแข็งใหชาวนา เพือ่ รองรับผลกระทบจากการเปดเสรีการคาอาเซียน ((AFTA) AFTA) ดํ าเนินงาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านดงมันในพื้นที่ตํ าบล จันเสน อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใน 3 กิจกรรม  จัดทําแปลงสาธิตการพัฒนาการใช้เครือ ่ งจักรกลการเกษตร ในการเตรี ย มดิ น และเพาะปลู ก ข้ า วเพื่ อ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต ข้ า ว จํานวน 200 ไร่ เกษตรกร 7 ราย และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและ ผลผลิตข้าว  ฝึ ก อบรมทั ก ษะการใช้ แ ละบํ า รุ ง รั ก ษาเครื่ อ งจั ก รกล การเกษตร และการบริ ห ารจั ด การการให้ บ ริ ก ารเครื่ อ งจั ก รกล การเกษตรในระดับชุมชน จํานวน 20 ราย  พัฒนาระบบการบริหารจัดการการให้บริการเครื่องจักรกล การเกษตรในระดับ ชุ ม ชน โดยติ ด ตามประเมิ น ผล และตรวจเช็ ค ซ่อมแซมเครือ่ งจักรกล

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ ดําเนินการจัดนิทรรศการ เรือ่ งเครือ่ งจักรกลการเกษตร ในงาน คลิ นิ ก เกษตรเคลื่ อ นที่ ใ นพระราชานุ เ คราะห์ สมเด็ จ พระบรม โอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จํานวน 4 ครั้ง ในพื้นที่อําเภอเมือง บ้ านหมี่ จังหวั ดลพบุ รี อํ าเภอวิ เชียรบุรี และอํ าเภอเมือง จังหวั ด เพชรบูรณ์ เกษตรกรเข้ารับบริการ 95 ราย

โครงการหยุดการเผาในพืน้ ทีก่ ารเกษตร ภายใตแผนการปฏิบตั กิ าร แกไขปญหาหมอกควันและไฟปา ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครื่ อ งจั ก รกลปลอดการเผา ตํ า บลเขาสมอคอน อํ า เภอท่ า วุ้ ง จังวัดลพบุรี จํานวน 6 ครัง้ มีพน้ื ทีก่ ารบริการ จํานวน 1,197 ไร่

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


31

โครงการบริการเครื่องจักรกลเกษตร  ดํ า เนิ น การให้ บ ริ ก ารไถระเบิ ด ดิ น ดานในพื้ น ที่ ป ลู ก พื ช ไร่

ตําบลเขารวก อําเภอลําสนธิ จังหวัดลพบุรี จํานวน 216 ไร่  บริ ก ารออกแบบระบบการให้ น้ํ า พื ช ศู น ย์ บํ า รุ ง พั น ธุ์ สั ต ว์ ลําพญากลาง จังหวัดลพบุรี จํานวน 15 ไร่/2 แปลง

โครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสําปะหลัง ดํ าเนินการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตมันสํ าปะหลังผลผลิต ต้นทุนและรายได้ฤดูการผลิต ปีที่ 2-3 จํ านวน 2 ครั้ง เกษตรกร 18 ราย

โครงการรณรงคฟนฟูพื้นที่การเกษตรหลังน้ําลด  ให้บริการตรวจเช็คเครือ ่ งยนต์เกษตรกร

ตําบลเขาสมอคอน อําเภอท่าวุง้ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จํานวน 204 เครือ่ ง

โครงการฝกอบรมอาชีพการเกษตรเฉพาะดาน  ร่วมดําเนินการกับศูนย์สง่ เสริมวิศวกรรมเกษตร

ที่ 1 จังหวัด ชัยนาท ฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรเทคนิคการซ่อมเครือ่ งยนต์เกษตร จํานวน 1 รุน่ หลักสูตรระบบการให้น้ําพืช จํานวน 5 รุน่ และหลักสูตร การใช้และบํารุงรักษารถแทรกเตอร์การเกษตร จํานวน 1 รุน่

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


32

ผลการปฏิบัติงานโครงการ 2555 ศูนยสงเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี

โครงการสงเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะดานป 2555 ดําเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จํานวน 205 ราย ใน 2 หลักสูตร 1. หลักสูตรการใช้และบํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เกษตร ดําเนินการ ในอําเภอบางปลาม้า สองพี่น้อง และอําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และอําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรเข้ารับการอบรม 205 ราย มีเครือ่ งยนต์มารับบริการ 142เครือ่ ง 2. หลักสูตรระบบการให้น้ําพืช ดําเนินการในพื้นที่อําเภอบาง ปลาม้า สองพี่น้อง และอําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และอําเภอ ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรเข้ารับการอบรม 60 ราย

โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดําริ จัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้ด้านเครื่องจักรกลการเกษตร เรือ่ งการใช้เทคโนโลยีเครือ่ งจักรกลเกษตรในการพัฒนาการเขตกรรม ข้าว การใช้และบํารุงรักษาเครือ่ งยนต์เกษตร ในคลินกิ เกษตรเคลือ่ นที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราช กุมาร 4 ครัง้ ในอําเภอบางปลาม้า เดิมบางนางบวช และหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีเกษตรกรเข้ารับบริการ 750 ราย

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


33

รายงานผลการดําเนินงานโครงการซอมแซมเครื่องยนตเกษตรที่ ประสบปญหาจากอุทกภัย ป 2554

วัตถุประสงคและเปาหมาย

ความเปนมา

1. เพื่ อ ซ่ อ มแซมเครื่ อ งยนต์ เ กษตรที่ ประสบปั ญ หาจากอุ ท กภั ย ให้ ส ามารถนํ า กลับมาใช้ในการเกษตรภายหลังน้ําลด 2. เพื่ อ ลดค่ า ใช้ จ่ า ยในการซ่ อ มแซม เครื่ อ งยนต์ เ กษตรของเกษตรกรที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากอุทกภัย 3. ดํ า เ นิ น ง า น โ ค ร ง ก า ร ซ่ อ ม แ ซ ม เครื่ อ งยนต์ เ กษตรที่ ป ระสบปั ญ หาจาก อุทกภัย ปี 2554 จํานวน 600 เครื่อง

สืบเนื่องจากการที่เกิดอุทกภัยอย่างกว้างขวางระหว่างเดือน สิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมามีระยะเวลาที่น้ําท่วมที่เกิดขึ้น อย่ า งรวดเร็ ว และมี ร ะดั บ น้ํ า ท่ ว มสู ง ไม่ ส ามารถขนย้ า ยสิ่ ง ของ เครื่ อ งใช้ ไ ปเก็ บ ในที่ ป ลอดภั ย ได้ ทั น ทํ า ให้ ป ระชาชนได้ รั บ ความ เดือดร้อนและบ้านเรือนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก รวมทั้ง ความเสี ย หายในภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เครื่ อ งยนต์ เกษตรที่เกษตรกรใช้เป็นเครื่องมือในการทําการเกษตรได้รับความ เสียหายจากอุทกภัยดังกล่าว เกษตรกรจําเป็นต้องซ่อมแซมให้นํา กลับมาใช้งานได้อีกภายหลังจากน้ําลด เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ ประสบอุทกภัย

ผลการดําเนินงาน กองส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรมเกษตร โดยศู น ย์ ส่ ง เสริ ม วิ ศ วกรรม เกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ศูนย์ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 2 จังหวัด พิษณุโลก และศูนย์ส่งเสริมวิศวกรรมเกษตรที่ 3 จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ ดําเนินโครงการดังกล่าวในเขตพื้นที่ 13 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรี สุโ ขทัย ปทุม ธานี นนทบุ รี ร้ อ ยเอ็ ด พระนครศรี อ ยุ ธยา อ่ างทอง สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท และอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 10 มกราคม - 5 มี น าคม 2555 มี เ กษตรกรมารั บ บริ ก าร 439 ราย และนํ า เครื่องยนต์เกษตรเข้ารับบริการซ่อมแซม จํานวน 645 เครื่องคิดเป็น ร้อยละ 107.5 จากเป้าหมาย โดยเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จํานวน 492 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 76.28 และเครื่องยนต์เบนชิน จํานวน 153 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 23.72 หรือสามารถประหยัดค่าซ่อมแซมให้ เกษตรกรคิดเป็นมูลค่า 1.84 ล้านบาท

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th


34

การดําเนินงานการจัดทําแนวกั้นน้ําอาคาร 1 กรมสงเสริมการเกษตร

วัตถุประสงคและเปาหมาย 1. จั ด ทํ า แนวกั้ น น้ํ า เพื่ อ ป้ อ งกั น อุ ท กภั ย บริเวณอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร 2. เฝ้ า ระวั ง และแก้ ไ ขปั ญ หาตลอด 24 ชัว่ โมงในช่วงวิกฤติ

ความเปนมา กรุงเทพมหานครเกิดอุทกภัย ซึ่งได้ส่งผลกระทบถึงบริเวณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมส่งเสริมการเกษตร โดยกรม ส่งเสริ มการเกษตรได้มอบหมายให้ กองส่ งเสริ มวิ ศวกรรมเกษตร ดําเนินการจัดทําแนวกั้นน้ํา และเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาอุบัติภัยจาก อุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมงในช่วงระยะวิกฤติ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2554

ผลการดําเนินงาน 1. จัดหาผู้รับจ้างในสถานการณ์ที่วัสดุก่อสร้างและผู้รับจ้าง ขาดแคลน และมีความต้องการใช้งานสูง 2. ออกแบบและควบคุมการจัดทําแนวกัน้ น้ํา ณ จุดเสีย่ งต่างๆ ๏ แนวกั้นน้ําภายนอกและบริเวณภายในอาคาร 1 ด้วยอิฐ มวลเบา ฉาบผิวเรียบด้วยปูน ความหนา 0.5 เซนติเมตร จํานวน 14 จุด ดังนี้ {1] บริเวณประตูทางเข้าออกอาคารด้านเสาธง และด้าน ถนนพหลโยธิน จํานวน 2 จุด [2] บริ เ วณประตู ห นี ไ ฟด้ า นถนนพหลโยธิ น และด้ า น โรงพยาบาลสัตว์ จํานวน 2 จุด [3] บริเวณห้องควบคุมระบบไฟฟ้าด้านถนนพหลโยธิน และด้านโรงพยาบาลสัตว์ จํานวน 2 จุด [4] บริเวณห้องควบคุมระบบไฟฟ้าภายในอาคาร จํานวน 2 จุด [5] บริเวณห้องน้ํา จํานวน 6 จุด [6] ปิด จุ ด เสี่ ย งป้ อ งกั น น้ํ า เข้ า สู่อ าคารบริ เ วณภายใน ห้องน้ําชายและหญิง ชัน้ 1 ดังนี้  อุดท่อระบายน้ํ าโดยใช้กระเบื้องปูพ้ืนขนาด 8 นิ้ว ปิด ท่อน้ําทิ้งด้วยกาวซิลิโคน ปูนกาว และทับด้วยกระสอบทรายอีกชั้น จํานวน 16 จุด  อุดโถสุขภัณฑ์ด้วยถุงดํ าบรรจุเศษผ้าและปิดทับด้วย กระสอบทรายอีกชัน้ จํานวน 16 จุด ๏ ต่อท่อระบายอากาศบ่อเกรอะด้วยท่อพีวซี ี ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 4 นิว้ เพือ่ ป้องกันน้ําเข้าอาคาร 3. จัดให้มเี จ้าหน้าที่ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาตลอด 24 ชัว่ โมงในช่วงวิกฤต โดย

ก อ ง ส่ ง เ ส ริ ม วิ ศ ว ก ร ร ม เ ก ษ ต ร

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร เ ก ษ ต ร


35 ๏รักษาระดับน้ําไม่ให้เข้าภายในอาคารและทําความเสียหาย

ให้กบั ทรัพย์สนิ ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสูบน้ําออกจากแนวกั้น น้ําบริเวณด้านหลังห้องศูนย์สารสนเทศ ๏ เสริมฐานตั้งคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศบริเวณ ด้านหลังห้องศูนย์สารสนเทศ เพือ่ ให้พน้ ระดับน้ํา ๏ อุดรอยรัว่ แนวกัน้ น้ําด้วยกาวอีพอ๊ กซีช่ นิดแท่งดินน้ํามัน 4. สนับสนุนแทรกเตอร์ พนักงานขับ และพนักงานควบคุมความ ปลอดภัยในการเดินรถ ในการให้บริการการเดินทางแก่เจ้าหน้าที่กรม ส่งเสริมเกษตร ระหว่างวันที่ 14 - 25 พฤศจิกายน 2554 5. รื้ อ ถอนแนวกั้ น น้ํ าภายในและภายนอกอาคารเมื่ อ สถานการณ์กลับสูส่ ภาวะปกติ โดยการจัดหาผู้รบั จ้างควบคุมงานการ รือ้ ถอนและตกแต่งงานให้อยูใ่ นสภาพดี จํานวน 9 จุด ดังนี้ ๏ บริเวณประตูทางเข้าออกอาคารด้านเสาธง และด้านถนน พหลโยธิน ๏ บริ เ วณประตู ห นี ไ ฟด้ า นถนนพหลโยธิ น และด้ า น โรงพยาบาลสัตว์ ๏ บริ เ วณด้ า นหลั ง ห้ อ งควบคุ ม ระบบไฟฟ้ า ด้ า นถนน พหลโยธิน และด้านโรงพยาบาลสัตว์ โดยคงเหลือเป็นกําแพงสูงจาก พืน้ 60 เซนติเมตร เพือ่ ป้องกันหากเกิดอุทกภัยซ้ํา ๏ บริเวณประตูทางเข้าออกห้องศูนย์สารสนเทศ และห้อง ศูนย์ปฏิบัติการระบบบริหารการเงินกองคลังที่สํานักงานเลขานุการ กรมจัดทํา ๏ รือ้ กระเบือ้ งอุดท่อระบายน้ําและตกแต่งให้อยูใ่ นสภาพเดิม

รายงานประจําปี 2555

www.aepd.doae.go.th



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.