"คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6"

Page 1



หนังสือ : คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 ผู้เขียน : วสันต์ คุณดิลกเศวต, wasankds@gmail.com, www.facebook.com/wasankds, 08-1459-8343 จัดทําโดย : ชมรมสวรรค์บนดิน (PoE Club) จัดทําโดยใช้ซอฟต์แวร์ : Ubuntu Linux, LibreOffice, Inkscape, Gimp, Shutter

ISBN : 978-616-321-338-9 พิมพ์ครั้งที่ 1 : มกราคม 2013

ราคา 289 บาท (ฟรี)

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หนังสือ “คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6” ฉบับ e-book (ไฟล์ PDF) อนุญาตให้แจกจ่าย ทําสําเนา โดยไม่คิดมูลค่า แต่ห้ามจําหน่าย ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ ห้ามดัดแปลงหรือ แก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดในหนังสือเล่มนี้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียน ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่อ้างถึง เป็นของเจ้าของหรือบริษัทแต่ละราย นายวสันต์ คุณดิลกเศวต มิได้อ้างความเป็นเจ้าของตัวแทนหรือมีสว่ นเกี่ยวข้องแต่อย่างใด หนังสือ e-book นี้ถูกออกแบบให้พิมพ์บนกระดาษ A4 ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

“ลดใช้กระดาษ ลดโลกร้อน”



บทนำำจำกผู้เขียน LibreOffice เป็นชุดซอฟต์แวร์สําหรับงานออฟฟิศ ประเภทเดียวกับ MS Office แต่ LibreOffice เป็นซอฟต์แวร์ โอเพ่นซอร์สที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี ถูกกฎหมาย 100% คําพูดติดปาก “ของฟรี ไม่มีในโลก” ไม่จริงอีกแล้ว ถึงแม้ LibreOffice จะเป็นของฟรี แต่ศักยภาพของ LibreOffice นั้นไม่ธรรมดา จากประสบการณ์การใช้ง าน กว่า 10 ปี(ตั้งแต่ยังเป็น OpenOffice.org)และจากการเป็นวิทยากรอบรม LibreOffice นั้นตอบสนองต่องานประจํา ภายในออฟฟิศ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์เอกสารทั่วไป, งานพิมพ์หนังสือเป็นร้อยๆหน้า , งานพิมพ์หนังสือ e-book สวยๆ, งานสร้างตารางคํานวณต่างๆ, งานวิเคราะห์ข้อมูล, งานพรีเซ้นเทชั่น หรืองานสร้างผังต่างๆ เป็นต้น หากท่านเป็นคนหนึ่ง หรือเป็นองค์กรหนึ่ง ที่ต้องการประหยัดค่าใช่จ่ายด้านซอฟต์แวร์ LibreOffice คืออีกหนึ่งคํา ตอบ เมื่อใครก็ตาม ถามผู้เขียนว่า “หากจะเปลี่ยนมาใช้ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่เป็นของฟรี ถูกกฎหมาย ควรจะเริ่มต้นที่ ตัวไหน” ผู้เขียนมักจะแนะนําที่ LibreOffice ก่อนเสมอ เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใกล้ตัว ใช้งานทุกวัน ประสิทธิภาพสูง และ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก นอกจากนี้ LibreOffice ยังเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะช่วยสร้างทัศนคติดีๆเพื่อก้าวไปสู่การใช้ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สตัวอื่นๆต่อไป เมื่อกล่าวถึงซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ซึ่งหลายท่านยังไม่รู้จัก จึงมักมีคําถามกลับมาว่า “ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สคือ อะไร?” ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ เหมือนกัน แต่เงื่อนไขของลิขสิทธิ์นั้นหลายคนรู้แล้วต้องตกใจ “มีลิขสิทธิ์แบบนี้ด้วยหรือ!” ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยซอร์สโค้ด (รหัสในการสร้างโปรแกรม) ตัวซอฟต์แวร์และ ซอร์สโค้ดอนุญาตให้นําไปใช้ ทําสําเนา แจกจ่าย และแก้ไขปรับปรุงได้ โดยจะนําไปพัฒนาต่อเพื่อขายหรือแจกฟรีก็ได้ แต่ ประเด็นสําคัญก็คือ ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดที่ถือเป็นหัวใจสําคัญ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนั้นๆ ซอฟต์แวร์ตัวนั้นจึงจะถูก เรียกว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ด้วยเหตุที่ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดนี้เอง จึงเป็นจุดแข็ง เพราะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะไม่ล้ม หายตายจากไปง่ายๆ คนเก่าไปคนใหม่มา ก็สามารถนําซอร์สโค้ดไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่เป็นของฟรี ตัวที่ใช้งานกันอย่างกว้างขวางที่เป็นของฟรี ก็เช่น Ubuntu เทียบเท่า MS Windows, LibreOffice เที ย บเท่ า MS Office, Inkscape เที ย บเท่ า Adobe Illustrator หรื อ Corel Draw, Gimp เที ย บเท่ า Adobe PhotoShop หรื อ Corel PhotoPaint, Blender เที ย บเท่ า Maya หรื อ 3D Studio Max เป็นต้น “เขาแจกฟรีแล้วได้อะไร? เขาอยู่ได้อย่างไรกับการแจกฟรี ?” นี่เป็นอีกคําถามหนึ่งที่ผู้เขียนถูกถามบ่อยๆ คําตอบ นั้นง่ายมาก คนไทยน่าจะเข้าใจคํา ตอบดีอยู่แล้ว ก็เขาพอใจเท่านี้ พอใจที่จะทํา เพื่อสังคมเพื่อชาวโลก ไม่ต้องรํ่า รวย มหาศาล เป็นความพอเพียงในเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ องค์กรผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส มีรายได้จากเงินบริจาคบ้าง รายได้จากการขายสื่อการสอนหรือของชําร่วย บ้าง บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใหญ่ก็สนับสนุน รัฐบาลของหลายๆประเทศก็ให้การสนับสนุน ประเทศอย่างรัสเซียถึงกับ ประกาศว่า องค์กรของรัฐจะเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั้งหมด ฉะนั้น รับรองเขาอยู่ได้ ให้ทุกท่านลองนึกตามดู หากองค์กรผู้พัฒนา LibreOffice (The Document Foundation) ออกมาประกาศสั้นๆ ว่า “ไม่มีเงิน” หรือ “จะหยุดพัฒนา” รับรองทั้งโลกได้สะเทือน เพราะผู้คนบนโลกใช้ LibreOffice ไม่น้อยเลยทีเดียว “ทําไมเราต้องให้ความสนใจ หรือ ต้องหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ?” ประเด็นสําคัญก็คือ เพราะราคา ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ มีราคาสูงถึงสูงมาก ผู้คนจํานวนมากจึงหันไปใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ซื้อแผ่นก๊อป ดาวน์โหลดของผิด กฎหมายมาใช้ หรือก็คือ เลือกที่จะใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธ์ ผิดกฎหมาย! นั่นคือสิ่งที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์กระทําอยู่ เพียงแต่ยงั ไม่ถูกจับเท่านั้น


แท้จริงแล้ว องค์กรใดหรือใครก็ตาม ที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ท่านเพียงรอวันถูกพิพากษา เสรีภาพของ ท่านอยู่ในความเสี่ยง หากท่านยังเป็นองค์กรเล็ก ท่านก็เป็นเพียงปลาเล็กปลาน้อย แต่วันใดท่านเติบโตเป็นปลาใหญ่ ท่านมีโอกาสสูงที่จะถูกจับไปขาย หรือมีโอกาสสูง ที่จะถูกจับละเมิดลิขสิทธิ์ เขาไม่ยอมให้ท่านใช้ของเขาฟรีๆไปตลอด แน่นอน ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานในองค์กรไม่พอใจท่านอย่างไร? ท่านทําให้ใครไม่พอใจไว้หรือเปล่า? เขาร้อนเงินอยู่ หรือเปล่า? เมื่อใดก็ตามที่มีการแจ้ง การละเมิดลิขสิทธิ์ไปยังองค์กรที่ตรวจจับโดยเฉพาะ ผู้แจ้งมีสิทธิ์ได้รับรางวัลสูงสุด 250,000 แต่องค์กรของท่านต้องเสียเงินเป็นจํานวนมาก ต้องว่ากันเป็นหลักล้านหลักสิบล้านเลยทีเดียว กรรมการองค์กร ทุกท่านต้องถูกดําเนินคดี ฉะนั้น เตรียมทนายไว้ได้เลย องค์กรที่เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส เหตุผลหลักๆ ก็คือ ต้องการลดค่าใช้จ่ ายด้ายซอฟต์แวร์ และไม่ ต้องการมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เฉพาะคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ทํางานด้านเอกสารอย่างเดียว ต้นทุนซอฟต์แวร์ต่อ เครื่องยังแพงกว่าตัวเครื่องเสียอีก บางองค์กรมีคอมพิวเตอร์ นับพัน ต้นทุนปาเข้าไปหลายสิบล้านบาท ยังไม่รวมถึงการปรับ รุ่นในอนาคต ซึ่งท่านจะบอกว่า “เราจะไม่ปรับรุ่นซอฟต์แวร์ต ามเขา แม้เขาจะออกรุ่นใหม่ม าก็ตาม” อย่างไรก็ดี ผู้เขียน เชื่อว่าสักวันหนึ่ง อีก 5 ปี 7 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า ท่านจะต้องปรับรุ่นตามเขาแน่นอน และจะต้องจ่ายอีกไม่น้อยเลยที เดียว เพราะเขาตั้งใจให้เป็นอย่างนั้น อยู่แล้ว ฉะนั้นองค์กรต่างๆจึงหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพื่อลดต้นทุน ประเด็น ด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ต้องพูดถึง ยิ่งองค์กรใหญ่ ยิ่งไม่สามารถใช้ของเถื่อนได้ เขาเป็นปลาใหญ่แล้ว โดยเฉพาะองค์กรที่ ขึ้นต้นด้วย บมจ. หรือลงท้ายด้วย มหาชน ยิ่งใช้ไม่ได้ ผลเสียจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ได้เกิดต่อผู้ที่ใช้หรือองค์กรที่ใช้ ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น ผลเสียทางอ้อม แบบร้ายลึก มันเลวร้ายยิง่ กว่านัน้ หลายเท่านัก ตัวเลขอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกที่ผู้เขียนทราบมา มีประเด็นบางอย่างสะกิดใจให้ต้องคิด ประเทศอเมริกาซึ่ง เราทราบกันดีว่า เป็นผู้นําด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์หมายเลข 1 ของโลก ที่นี่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ 20% ตํ่าที่สุดในโลก ญี่ปุ่น 21% โซนยุโรปอยู่ที่ 25-50% ประเทศไทย 73% โซนแอฟริกาเกิน 75% แปลก! ที่ตัวเลขเหล่านี้สัมพันธ์กับความเจริญของประเทศด้วย ประเทศใดที่ตัวเลขการละเมิดลิขสิท ธิ์ตํ่าๆ เกือบจะ ฟันธงได้เลยว่า เป็นผู้นําด้านความคิดด้วย ฉะนั้นเขาจึงทําน้อยแต่ได้มาก หันไปทางไหนชาติอื่นก็ต้องหันตาม ตัวเลขบ่งบอ กลําดับไล่ตามกันมาเลยทีเดียว ประเทศใดที่ตัวเลขการละเมิดลิขสิท ธิ์สูงๆคล้ายกับว่า ต้องรอให้ประเทศอื่นคิดก่อน แล้ว รอทําตาม ทํามากแต่ได้น้อย ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ รากมันฝังลึกมาก มองเผินๆเหมือนเราได้ประโยชน์ ได้ใช้ของฟรี ประหยัดเงิน แต่ถ้ามอง ในภาพรวม เราเสียเอกราชทางความคิดไปแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆท่าน ตั้งแต่เกิดมาก็อยู่กับมันเลย(รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ถูกปลูกนิสัย ถูกบ่มเพาะ ถูกสอนให้ใช้ของเถื่อนมาตั้งแต่เด็ก โดยไม่รู้ตัว จนไม่มีจิตสํานึกว่าการใช้ของเถื่อนนั้นผิดอีกแล้ว นี่ เป็นโครงสร้างที่ทําให้ประเทศไม่มีความคิดใหม่ๆ ต้องรอให้ต่างชาติคิดก่อนแล้วเราค่อยทําตาม “ใครจะไปคิด ในเมื่อมีคน คิดให้ มีคนทําให้ใช้ ฟรีๆ” หรือ “ใครจะไปคิด คิดไป ขายไปก็สู้ของเถื่อนไม่ได้” หากหลักสูตรการศึกษาในประเทศไทย จะบรรจุการเรียนการสอนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไว้เคียงคู่กับซอฟต์แวร์เชิง พาณิชย์ที่เล่าเรียนกันอยู่ในปัจจุบัน นี้บ้าง หลายอย่างคงจะดีขึ้นไม่น้อย ด้วยพื้นที่เพียงเท่านี้คงไม่อาจหาคําบรรยายสั้นๆ เพื่ออธิบายว่าอะไรจะดีขึ้นบ้าง เพราะมันเป็นลูกโซ่ที่เริ่มต้นมาจากความคิดและมีผลไปยังการกระทําอีกหลายต่อ ทุกวันนี้ เมื่อผู้เขียนถามนักเรียนนักศึกษาว่า “ที่โรงเรียนที่วิทยาลัยสอนโปรแกรมอะไร?” คําตอบที่ได้ล้วนเป็น ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ทั้งสิ้น นักเรียนนักศึกษาก็ต้องไปขวยขวายหามาติดตั้งที่เครื่องส่วนตัว แน่นอนว่าไม่ได้ซื้อ รู้ๆกันอยู่ว่า สามารถหาได้จากที่ไหน ถ้าไม่หามาใช้จะทําการบ้านส่งอาจารย์ได้อย่างไร? ระบบการศึกษาในบ้านเรานี่แหละแหล่งเพาะ พันธุ์ปลาอย่างดี ใครที่ไหนจะจับปลาในแหล่งเพาะพันธุ์ เพราะในอนาคตก็จะกลายเป็นปลาอ้วนๆ มีเนื้อให้บริโภค อย่างหนําใจ


การปลูกฝังเรื่องลิขสิทธิ์ ทางปัญญาในระบบการศึกษาเป็นสิ่งสําคัญมาก โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ที่เริ่มกลาย เป็นสิ่งทีข่ าดไม่ได้ ในการทํางานในปัจจุบัน หากเรายัง ไม่ปลูกฝังอย่างจริงจัง สิ่งที่เป็นไทยๆก็จะค่อยๆเลือนหายไป ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กับสิ่งที่เป็นไทยๆ ดู เหมือนอยู่คนละฝาก ไม่เห็นจะเกี่ยวกัน ไม่รู้จะมาบรรจบกันได้อย่างไร แต่ลองตรองดูให้ดี หากโครงสร้างของสังคมไทย เริ่มตั้งแต่ระบบการศึกษา ไม่เปิดโอกาส ไม่ยอมให้ความคิดใหม่ๆได้เกิด เพราะถูก ข่มขูห่ รือถูกฆาตกรรมด้วยฆาตกรที่ชื่อว่า “ละเมิดลิขสิทธิ์” ความคิดใหม่ๆ ก็ไม่เกิด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ โลกเปิดเสรี มากขึ้น โดยเฉพาะด้านสื่อ ซึ่งต่อไปก็อีกหลายอย่างที่จะมาพร้อม AEC วัฒนธรรมและความคิดจากประเทศอื่นๆก็จะไหล เข้ามาทางช่องทางเหล่านั้น ใครๆก็ชอบสิ่งใหม่ๆ ชอบจินตนากรใหม่ๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นทําให้เราตื่นเต้น มีความสุข ทําให้ โลกนี้ ไม่ น่า เบื่อ แต่ถ้ า สิ่งใหม่ๆจากความคิ ดของคนไทยถู กฆาตกรรมไปหมด ก็คงต้องรอรับ จากประเทศอื่น ๆ ที่ เขา ทะนุบํารุงความคิดใหม่ๆเป็นอย่างดี และสิ่งเหล่านั้นจะค่อยๆปลูกฝังเข้ามาในระบบความคิดของเรา สอนเราให้คล้อยตาม วันแล้ววันเล่า สิ่งที่เป็นไทยๆ ก็จะค่อยๆเลือนหายไป เราจะกลายเป็นแต่ผู้ซื้อ เป็นหนี้ ทํามากได้น้อย เป็นผู้ตามฝ่ายเดียว ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นอย่างแยบยล ถ้าเราสูญเสียเอกราชทางความคิด เพราะเราปล่อยให้ฆาตกรที่ชื่อว่า “ละเมิดลิขสิทธิ์” ลอยนวล ผู้เขียนเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หากเราเริ่มต้นที่ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ให้มองว่าซอฟต์แวร์เป็นสินค้าที่เราต้องเลือกใช้ เลือกซื้ออย่างไตร่ตรอง สิ่งนี้จะเป็นแรงเหนี่ยวนําไปยังลิขสิทธิ์ทางปัญญาในด้านอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็น เพลง,ภาพยนตร์, สินค้าต่างๆ ซึ่งล้วนถูกฆาตกรรมไปมากด้วยฆาตกรที่ชื่อ “ละเมิดลิขสิทธิ์” เช่นเดียวกัน ความยากจน การไม่มีเงิน ไม่ใช่ข้อแก้ตัว ไปต่อสู้ที่ศาลไหนก็แพ้ แต่ทางออกนั้นมีเสมอ สําหรับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ นั้น ของฟรี ดีๆ ก็มีให้ใช้ เพียงแต่เรายอมเปลี่ยนแปลง เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ แล้วอิสระภาพจะเป็นของเรา ประเทศของเรายังต้องการความคิ ดและจิน ตนาการอี กมากมายนั ก หากเราเสีย เอกราชทางความคิด ไปแล้ ว ประเทศจะพัฒนาไปได้อย่างไร โลกนี้จะน่าเบื่อเพียงใดหากมนุษย์ไม่ใช้จินตนาการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ผู้เขียนจึงเขียนคู่มือการใช้งานซอฟต์แวร์ โอเพ่น ซอร์ส บางตัว เพื่ อ แจกฟรี (ฉบั บ e-book) ท่า นสามารถเข้า ไปดาวน์ โ หลดที่ www.poeclub.org หากมีข้ อติ ช ม ประการใดกรุณาส่งมาความคิดเห็นมาที่ wasankds@gmail.com วสันต์ คุณดิลกเศวต ผู้เขียนและวิทยากรอบรมซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส วศ.บ. โยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วท.ม. ธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี wasankds@gmail.com, www.facebook.com/wasankds, 08-1459-8343



เหตุผลที่แจกฟรี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เขียนหนังสือ คู่มือการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแจกฟรีจํานวนหนึ่ง และก็ตั้งใจ จะทํา ให้ อ อกมาดี ที่ สุ ด แต่ เ มื่ อ ถึ ง คิ ว ของหนั ง สื อ Libreoffce ก็ ลั ง เลใจว่ า จะแจกฟรี ดี หรื อ ไม่ ? เหตุ เ พราะการอบรม LibreOffice ถือเป็นรายได้หลักของผู้เขียน หากแจกฟรีไป เกรงว่าจะกลายเป็นการทุบหม้อข้าวหม้อแกงตัวเองทิ้ง แต่เมื่อ คิดใคร่ครวญดีๆแล้ว การจะทําให้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สในเมืองไทยเติบโต จะต้องมี สื่อการเรียนการสอน และจะต้องมี ผู้ เสียสละ สละประโยชน์ของตนเองเพื่อส่วนรวม ฉะนั้น ผู้เขียนจึงขอสละงานเขียนหนังสือเล่มนี้ (อีก 1 เล่ม) แจกฟรี เพื่อ ประโยชน์แด่คนไทย ซึ่งผู้เขียนก็เชื่อว่า “การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ” และก็เชื่อว่านี่จะไม่ใช่การทุบหม้อข้าว หม้อแกงของตัวเอง บางท่านทราบว่า ผู้เขียน เขียนหนังสือ e-book แจกฟรี จึงติดต่อมาเพื่อให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ บ้างก็โอนเงิน เข้ามา บ้างก็ให้มาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ บ้างก็โทรศัพท์ มาให้กําลังใจ บ้างก็ติดต่อให้ไปเป็นวิทยากรประจํา เพื่ออบรม LibreOffice และโปรแกรมอื่นๆ ผู้เขียนขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน มา ณ ที่นี้ การสนับสนุนของท่านทําให้ผู้ เขียนมีเวลานั่งที่โต๊ะทํางานและเขียนหนังสือได้มากขึ้น ผู้เขียนตั้งใจจะเขียนหนังสือการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแจกฟรีประมาณ 7-8 โปรแกรม ตามความรู้ความ ชํานาญที่มี และก็ตั้งใจจะปรับแก้ดูแลให้ใหม่เสมอ ตามเวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ที่ออกใหม่ นอกจากนี้ก็จะขยายเนื้อหา ที่จะเขียนไปสู่เนื้อหาด้านเศรษฐกิจพอเพียงในด้านอื่นๆ เพราะจริงๆแล้ว ชมรมสวรรค์บนดิน (PoE Club) ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อ วัตถุประสงค์นี้ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตามกําลังทรัพย์ของเรา โดยไม่หันไปใช้ซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย ก็จัดเป็นความพอ เพียงในเวอร์ชั่นของเทคโนโลยี วสันต์ คุณดิลกเศวต



สำรบัญ บทนําจากผู้เขียน

5

เหตุผลที่แจกฟรี

9

สารบัญ

11

บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice

21

1.1) รู้จักกับ LibreOffice................................................................................................................... 22 ก. ข. ค. ง.

รู้จักกับ LibreOffice 22 LibreOffice และ OpenOffice.org 22 LibreOffice สามารถติดตั้งบนระบบปฎิบัติการอะไรได้บ้าง? 23 ไฟล์มาตรฐานของ LibreOffice 23

1.2) ดาวน์โหลด LibreOffice............................................................................................................. 24 1.3) การติดตั้ง LibreOffice บน Ubuntu.......................................................................................... 25 1.4) การติดตั้ง LibreOffice บน Windows....................................................................................... 25 1.5) การสํารองการตั้งค่า.................................................................................................................... 28 1.6) LibreOffice Portable............................................................................................................... 29

บทที่ 2 : การทํางานกับไฟล์

31

2.1) ไฟล์มาตรฐานของ Writer........................................................................................................... 32 2.2) การบันทึกไฟล์............................................................................................................................. 32 ก. การบันทึกไฟล์ 32 ข. การบันทึกเป็นไฟล์ MS Word 32

2.3) การเปิดไฟล์................................................................................................................................. 33 2.4) การตั้งรหัสป้องกันเอกสาร........................................................................................................... 34 2.5) การรวมไฟล์ .odt........................................................................................................................ 35 2.6) เครื่องมือช่วยแปลงไฟล์ MS Office ไปเป็นไฟล์ LibreOffice.....................................................35

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer 3.1) หน้าจอ Writer............................................................................................................................ 40 3.2) การจัดการหน้าต่างลอย............................................................................................................... 40 3.3) การเรียกใช้คําสั่งใน Writer......................................................................................................... 42 3.4) แถบแสดงสถานะ (Statusbar).................................................................................................... 42 3.5) มุมมองการวางหน้ากระดาษ ...................................................................................................... 43 3.6) ไม้บรรทัด และ สกอลบาร์........................................................................................................... 44 3.7) การซ่อนหรือแสดงปุ่มบนแถบเครื่องมือ....................................................................................... 45 3.8) การจัดการแถบเครื่องมือเบื้องต้น................................................................................................ 45

39


3.9) การจัดการแถบเครื่องมือขั้นสูง.................................................................................................... 46 ก. การสร้างแถบเครื่องมือ 46 ข. การเพิ่มหรือลบปุ่มบนแถบเครื่องมือ 46

3.10) การตั้งคีย์ลัด.............................................................................................................................. 48 3.11) เครื่องมือพร้อมทํางานของผู้เขียน ............................................................................................ 49

บทที่ 4 : การตั้งค่าที่สําคัญของ Writer

51

4.1) ตั้งอ็อพชั่นที่ใช้บ่อย...................................................................................................................... 52 4.2) ตั้งฟอนต์เริ่มต้น........................................................................................................................... 53 4.3) ตั้งหน่วยความจํา......................................................................................................................... 55 4.4) การแทนที่ฟอนต์......................................................................................................................... 55 4.5) การเปลี่ยนสีฟอนต์เริ่มต้น............................................................................................................ 56

บทที่ 5 : การพิมพ์และการเลือกข้อความ

57

5.1) การพิมพ์ข้อความ........................................................................................................................ 58 ก. ข. ค. ง.

ตัวชี้พิมพ์ข้อความ และ ตัวชี้เม้าส์ 58 ขนาดตัวชีพ้ ิมพ์ข้อความและขนาดตัวอักษร 58 ปุ่มที่ใช้ร่วมในการพิมพ์ข้อความ 58 ตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ (Nonprinting characters) 59

5.2) การเลือกข้อความและโหมดการเลือก.......................................................................................... 60 ก. การเลือกข้อความ 60 ข. โหมดการเลือกข้อความ ค. การเลือกย่อหน้า 62

60

5.3) คีย์ลัดที่ใช้เลือกและเลื่อนตัวชี้พิมพ์ข้อความ................................................................................ 62

บทที่ 6 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 1

63

6.1) การยกเลิกคําสั่ง(Undo) และ การย้อนคําสั่ง(Redo)...................................................................64 6.2) การคัดลอก การตัด การย้าย และการวาง................................................................................... 64

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

67

7.1) ย่อหน้า (Paragraph).................................................................................................................. 68 7.2) คําสั่งที่ใช้จัดรูปแบบย่อหน้า........................................................................................................ 68 7.3) ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบที่ใช้จัดรูปแบบย่อหน้า................................................................69 7.4) การวางแนวย่อหน้าในแนวราบ.................................................................................................... 70 7.5) การตั้งระยะกัน้ ย่อหน้า................................................................................................................ 71 7.6) การตั้งระยะห่างระหว่างย่อหน้า.................................................................................................. 72 7.7) การตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด.................................................................................................. 73 7.8) การวางแนวข้อความในแนวดิ่ง.................................................................................................... 75 7.9) การย้ายย่อหน้า........................................................................................................................... 76 7.10) การตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ...................................................................................................... 76 ก. การตั้งตําแหน่งระยะหยุดปุ่มแท็บให้กับทั้งเอกสาร ข. การตัง้ ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บให้ย่อหน้า 76

76


7.11) การใส่ Drop caps ให้กับย่อหน้า.............................................................................................. 79 7.12) ตั้งตําแหน่งตัดคําโดยใช้เครื่องหมายกํากับรูปแบบ(Formattng mark).....................................79 ก. ข. ค. ง. จ.

Non-breaking space (ไม่ตัดที่ช่องว่าง) 80 Non-breaking hyphen (ไม่ตัดที่เครื่องหมายขีด) Optional Hyphen (ใส่เครื่องหมายขีดเมื่อถูกตัด) No-width optional break (ตัด ณ ตําแหน่งทีร่ ะบุ) No-width no break (ไม่ตัด ณ ตําแหน่งที่ระบุ)

80 80 81 81

7.13) การตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ (การทํา Page break).....................................................................82 ก. การตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ (การทํา Page break) ข. เมื่อบางบรรทัดภายในย่อหน้าจะขึ้นหน้าใหม่ 84

82

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

87

8.1) คําสั่งที่ใช้จัดรูปแบบตัวอักษร...................................................................................................... 88 8.2) ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบที่ใช้ทํางานกับตัวอักษร...............................................................89 8.3) การเลือกฟอนต์และขนาดตัวอักษร.............................................................................................. 89 8.4) ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้...................................................................................................... 92 8.5) สีตัวอักษร.................................................................................................................................... 93 8.6) ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ตัวอักษร............................................................................................................... 94 8.7) ตัวยกตัวห้อย............................................................................................................................... 94 8.8) การหมุนข้อความ และ การตั้งสเกลความกว้าง............................................................................95 8.9) ระยะห่างระหว่างตัวอักษร........................................................................................................... 96 8.10) การพิมพ์อักขระพิเศษ............................................................................................................... 96 8.11) การใส่เชิงอรรถ(Footnotes) และ การใส่อ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes).....................................97 ก. การใส่เชิงอรรถ(Footnotes)/อ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) 97 ข. การปรับแต่งรูปแบบตัวอักษรของเชิงอรรถ(Footnotes) และของอ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) 98 ค. การปรับแต่งพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถและอ้างอิงท้ายเรื่อง 100

8.12) การสร้าง Hyperlink ให้กับตัวอักษร....................................................................................... 101 ก. การสร้าง Hyperlink โดยใช้หน้าต่าง Character ข. การสร้าง Hyperlink โดยใช้หน้าต่าง Hyperink

101 102

บทที่ 9 : เลขไทย

105

9.1) การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทย............................................................................................... 106 ก. การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยทั้งเอกสาร 106 ข. การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยเฉพาะที่เลือก โดยใช้ส่วนเสริม(Extension) 106

9.2) การใส่เลขหน้าอัตโนมัติเป็นเลขไทย.......................................................................................... 108

บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets) 10.1) เลขนํา(Numbering) จุดนํา(Bullets) และ ลําดับอัตโนมัติ.....................................................110 ก. การใส่ลําดับอัตโนมัติ 110 ข. การยกเลิกการใส่ลําดับอัตโนมัติ

111

10.2) แถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา(Bullets and Numbering toolbar)....................................111 10.3) โครงสร้างของลําดับอัตโนมัต.ิ .................................................................................................. 111 10.4) การจัดการลําดับอัตโนมัต.ิ ...................................................................................................... 112

109


10.5) การเปลี่ยนโครงร่างให้กับลําดับอัตโนมัติ................................................................................. 114 10.6) การปรับแต่งลําดับอัตโนมัติในแต่ละระดับ.............................................................................. 116 ก. ข. ค. ง.

การปรับแต่งระดับที่เป็นเลขนํา 116 การปรับแต่งระดับที่เป็นจุดนํา 118 การปรับแต่งระดับที่เป็นจุดนําแบบกราฟิก 119 การปรับแต่งตําแหน่งและช่องว่างให้กับแต่ละระดับ 121

บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

123

11.1) แปรงระบายรูปแบบ (Format Paintbrush).......................................................................... 124 11.2) การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง (Clear Direct Formatting)..................................................124 11.3) AutoCorrect (แก้ไขอัตโนมัต)ิ ................................................................................................ 126 ก. แก้ไขคําหรือข้อความอัตโนมัติ 126 ข. AutoCorrect แบบอื่นๆ 128 ค. Word Completion 129

11.4) Autotext (ข้อความอัตโนมัติ)................................................................................................. 130 11.5) การค้นหาและแทนที.่ .............................................................................................................. 132 11.6) การใส่บันทึกข้อความ.............................................................................................................. 133

บทที่ 12 : ไปยังจุดต่างๆด้วย Navigator

135

12.1) หน้าต่าง Navigator................................................................................................................ 136 12.2) ปุ่มต่างๆในหน้าต่าง Navigator.............................................................................................. 137 12.3) รู้จักกับ Headings(หัวข้อ)....................................................................................................... 138 12.4) โดดแบบด่วนด้วย Navigation................................................................................................ 139

บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

141

13.1) สไตล์ใน Writer....................................................................................................................... 142 13.2) การสร้างสไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และสไตล์รายการ........................................................143 13.3) การใส่ไตล์ให้กับองค์ประกอบ.................................................................................................. 145 ก. การใส่สไตล์ขั้นตอนมาตรฐาน 145 ข. การใส่สไตล์ย่อหน้าโดยใช้ช่องเลือกสไตล์ 146 ค. ข้อสังเกตุในการใส่สไตล์ย่อหน้า 147

13.4) การตั้งคีย์ลัดให้กับสไตล์.......................................................................................................... 147 13.5) การแก้ไขสไตล์........................................................................................................................ 149 13.6) การโยกย้ายสไตล์.................................................................................................................... 150 ก. การโยกย้ายสไตล์โดยการคัดลอกและวางข้อความ ข. การโหลดสไตล์ 150 ค. การโยกย้ายสไตล์โดยใช้ตัวจัดการแม่แบบเอกสาร

150 151

บทที่ 14 : ตาราง 14.1) โครงสร้างของตาราง............................................................................................................... 154 14.2) การสร้างตาราง....................................................................................................................... 154 14.3) การซ่อน/แสดงเส้นลายนํ้า...................................................................................................... 155 14.4) แถบเครื่องมือตาราง (Table toolbar)................................................................................... 155

153


14.5) คีย์ลัดไปยังจุดต่างๆในตาราง................................................................................................... 156 14.6) การเลือกองค์ประกอบในตาราง.............................................................................................. 156 14.7) การลบและการแทรกแถวหรือสดมน์....................................................................................... 158 14.8) การรวมและการแบ่งเซลล์....................................................................................................... 159 14.9) การปรับขนาดตาราง และการวางแนว.................................................................................... 160 14.10) การปรับขนาดสดมน์และขนาดแถว...................................................................................... 161 14.11) การตกแต่งพื้นหลังตาราง...................................................................................................... 163 ก. การระบายสีพื้นหลัง 163 ข. การใส่ภาพให้พื้นหลัง 164

14.12) การตกแต่งเส้นขอบตาราง.................................................................................................... 164 14.13) รูปแบบตารางอัตโนมัติ (AutoFormat)................................................................................ 167 ก. ตกแต่งตารางด้วยรูปแบบอัตโนมัติ 167 ข. การบันทึกรูปแบบตาราง 168

14.14) การตั้งระยะห่างระหว่างเส้นขอบกับข้อความ........................................................................ 169 14.15) การไหลของข้อความในตาราง............................................................................................... 169 ก. ข. ค. ง. จ.

กําหนดให้ซํ้าหัวตารางเมื่อตารางขึ้นหน้าใหม่ 169 การตัดทั้งแถวขึ้นหน้าใหม่ 170 การตัดตารางขึ้นหน้าใหม่ 171 แทรกย่อหน้าก่อนหรือท้ายตาราง 171 การจัดข้อความชิด บน-กลาง-ล่าง 172

14.16) การเรียงลําดับข้อมูล............................................................................................................. 172 14.17) การคํานวณในตาราง............................................................................................................. 173 14.18) การหมุนข้อความในตาราง.................................................................................................... 174 14.19) การแปลง ตาราง ↔ ข้อความ............................................................................................. 175 14.20) ลําดับตัวเลขอัตโนมัติในตาราง.............................................................................................. 175

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด 15.1) ภาพบิตแมพ(Bitmap) และ รูปวาด(Drawing object)...........................................................178 15.2) การใส่ภาพลงในเอกสาร.......................................................................................................... 178 15.3) แก้ปัญหาภาพไม่แสดง............................................................................................................ 181 15.4) แถบเครื่องมือกรอบ(Frame toolbar).................................................................................... 182 15.5) แถบเครื่องมือภาพ(Picture toolbar)..................................................................................... 182 15.6) สมอ (Anchor)........................................................................................................................ 183 15.7) สมอแบบ As Character และการบีบระยะห่างระหว่างบรรทัด..............................................188 15.8) แถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar)............................................................................... 189 15.9) แถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด (Drawing object properties toolbar)..............................190 15.10) การปรับแต่งรูปวาดเบื้องต้น................................................................................................. 190 15.11) การทํางานกับรูปวาด............................................................................................................ 192 15.12) การเลือก (Selecting)........................................................................................................... 196 15.13) การปรับขนาด (Resizing)..................................................................................................... 196

177


15.14) การย้ายและการกําหนดตําแหน่ง (Moving and Positioning)............................................197 ก. การกําหนดตําแหน่งภาพ ทีใ่ ช้สมอขึ้นต้นด้วย To 197 ข. การกําหนดตําแหน่งภาพ ที่ใช้สมอแบบ As Character 198 ค. การวางภาพขนาดเล็กไว้ในบรรทัดเดียวกับข้อความ 199

15.15) การหมุน (Rotating)............................................................................................................. 200 15.16) การพลิกภาพ (Flipping)...................................................................................................... 201 15.17) การตัดภาพ (Cropping)....................................................................................................... 202 15.18) การจัดลําดับภาพที่ซ้อนกัน (Arrangement)........................................................................ 203 15.19) การห่อ (Wrapping)............................................................................................................. 203 ก. การห่อภาพด้วยข้อความ 203 ข. การห่อภาพแบบเว้าตามสัณฐาน (Contour Wrapping) ค. ส่งภาพไปด้านล่างข้อความ 206

204

15.20) การใส่คําบรรยาย (Caption)................................................................................................ 206 ก. การใส่คําบรรยายแบบข้อความธรรมดา ข. การใส่คาํ บรรยายอัตโนมัติ(AutoCaption)

206 208

15.21) สร้างอักษรศิลป์ด้วย Fontwork Gallery............................................................................. 211 15.22) การเพิ่มภาพลงในคลังภาพ(Gallery).................................................................................... 213 15.23) การเพิ่มสี.............................................................................................................................. 214

บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

217

16.1) รูปแบบหน้ากระดาษเริ่มต้น.................................................................................................... 218 16.2) การตั้งค่าหน้ากระดาษ............................................................................................................ 218 16.3) หัวกระดาษและท้ายกระดาษ.................................................................................................. 219 ก. การเปิดใช้หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ 219 ข. การตั้งค่าหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ 220

16.4) การใส่เลขหน้าอัตโนมัติในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ..........................................................221 16.5) การตกแต่งหน้ากระดาษ......................................................................................................... 222 ก. การตกแต่งหน้ากระดาษ 222 ข. การใส่พื้นหลังเต็มหน้ากระดาษ222

16.6) การวางหน้ากระดาษแบบ Mirrored....................................................................................... 224 16.7) การวางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right.........................................................225 16.8) การแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์.............................................................................................. 228

บทที่ 17 : สไตล์หน้ากระดาษ กระดาษ(Page (Page Styles) 17.1) สไตล์หน้ากระดาษคืออะไร...................................................................................................... 230 17.2) การสร้างสไตล์หน้ากระดาษ.................................................................................................... 230 17.3) การใช้งานสไตล์หน้ากระดาษมากกว่า 2 ในเอกสารเดียวกัน...................................................231 ก. ขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ที่กําหนดเอง โดยใช้คําสั่ง Manual Break 232 ข. ขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ที่กําหนดเอง โดยการทํา Page Break 233

229


บทที่ 18 : กรอบ กรอบ(Frame) (Frame) และ ส่วนน(Section) (Section)

235

18.1) กรอบ(Frame)........................................................................................................................ 236 18.2) การลิงค์กรอบ(Frame)............................................................................................................ 237 18.3) ส่วน(Section)......................................................................................................................... 239

บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

241

19.1) มุมมองก่อนพิมพ์..................................................................................................................... 242 ก. มุมมองก่อนพิมพ์ 242 ข. แถบเครื่องมือมุมมองก่อนพิมพ์(Page preview toolbar)

242

19.2) การตั้งค่าการพิมพ์................................................................................................................... 243 19.3) การพิมพ์โบรชัวร์ (Brochure)................................................................................................. 244 19.4) การส่งออกเป็นไฟล์ PDF......................................................................................................... 245 19.5) การป้องกันไฟล์ PDF............................................................................................................... 246 19.6) การพิมพ์หน้าซองจดหมาย(Envelope).................................................................................. 247 ก. การพิมพ์หน้าซองจดหมายที่มีเนื้อหาซํ้ากันหมด 247 ข. การพิมพ์หน้าซองจดหมายจากแหล่งข้อมูล(Data Sources) 249

19.7) การพิมพ์ฉลาก (Labels)......................................................................................................... 251 ก. การพิมพ์ฉลากที่มีเนื้อหาเหมือนกันหมด 251 ข. การพิมพ์ฉลากจากแหล่งข้อมูล(Data sources) 253

บทที่ 20 : จดหมายเวียนน(Mail-merge) (Mail-merge)

255

20.1) จดหมายเวียน (Mail merge)................................................................................................. 256 20.2) การสร้างจดหมายเวียน........................................................................................................... 256 ก. ข. ค. ง.

การสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods 256 การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น 259 การสร้างจดหมายเวียน261 การพิมพ์จดหมายเวียน 261

บทที่ 21 : แม่แบบเอกสาร บบเอกสาร(Template) (Template)

263

21.1) แม่แบบเอกสารคืออะไร?......................................................................................................... 264 21.2) การบันทึกเอกสารเป็นแม่แบบเอกสาร.................................................................................... 264 21.3) การสร้างเอกสารจากแม่แบบเอกสาร...................................................................................... 265 21.4) การส่งออกไฟล์แม่แบบเอกสารเป็นไฟล์ .ott.......................................................................... 266 21.5) การนําเข้าไฟล์แม่แบบเอกสาร................................................................................................ 267 21.6) การตั้งแม่แบบเอกสารให้เป็นแม่แบบเอกสารปริยาย...............................................................267

บทที่ 22 : ฟิลด์((Fields) Fields) 22.1) ฟิลด์คืออะไร?......................................................................................................................... 270 22.2) ฟิลด์พนื้ ฐาน............................................................................................................................ 270 22.3) ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ............................................................................................................. 271 ก. การสร้างฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ 272 ข. เริ่มนับ 1 ใหม่ 272

269


22.4) การลบฟิลด์ที่สร้างเอง............................................................................................................. 274 22.5) รู้จักกับการอ้างอิงแบบไขว้(Cross-reference)....................................................................... 274 22.6) ฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยใช้ที่ขั้นหนังสือ(Bookmark).......................................................275 22.7) ฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยการตั้งจุดอ้างอิง(Set Reference)..............................................276 22.8) ฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยใช้ Heading............................................................................... 278 22.9) ฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยใช้หมวดหมู่ของคําบรรยายอัตโนมัติ...........................................278 22.10) ฟิลด์ตัวแปร.......................................................................................................................... 279 22.11) ฟิลด์ Conditional text (ข้อความตามเงื่อนไข)...................................................................281 22.12) ฟิลด์ Hidden text(ซ่อนข้อความ)........................................................................................ 282 22.13) ฟิลด์ Hidden paragraph (ซ่อนย่อหน้า)............................................................................. 284 22.14) ฟิลด์ Input List................................................................................................................... 285 22.15) ฟิลด์ Placeholder.............................................................................................................. 286

บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

287

23.1) โครงร่างเลขนําคืออะไร?......................................................................................................... 288 23.2) การตั้งค่าโครงร่างเลขนําก่อนใช้งาน........................................................................................ 288 ก. ข. ค. ง.

โครงสร้างของโครงร่างเลขนํา 288 คุณสมบัติต่างๆในหน้าต่าง Outline Numbering ออกแบบโครงร่างเลขนํา 291 ตั้งค่าโครงร่างเลขนํา(หลังออกแบบ) 291

289

23.3) การใช้งานโครงร่างเลขนํา....................................................................................................... 293 23.4) การใช้งานโครงร่างเลขนํากับเครื่องมืออื่นๆ............................................................................. 295 ก. การแทรกฟิลด์ Chapter 295 ข. การแทรกฟิลด์เลขหน้าแบบแยกบท 296 ค. การใส่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท297

บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ 24.1) การสร้างสารบัญ (Table of Contents)................................................................................. 300 ก. ใช้โครงร่างเลขนําแบ่งเอกสารเป็นบทๆ 300 ข. การสร้างสารบัญ 300

24.2) การปรับแต่งสารบัญ................................................................................................................ 302 ก. การปรับแต่งที่แท็บ Styles 302 ข. การปรับแต่งที่แท็บ Entries 303 ค. แสดงเลขหน้าแบบแยกบท 305

24.3) การบริหารจัดการสารบัญ....................................................................................................... 307 24.4) การสร้างสารบัญคําบรรยาย (Illustration Index)..................................................................307 ก. การสร้างคําบรรยายอัตโนมัติ 308 ข. การสร้างสารบัญคําบรรยายจากคําบรรยายอัตโนมัติ 308

299


บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ 25.1) พิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ด้วย LibreOffice Math.................................................................312 25.2) การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์................................................................................................. 312 25.3) ตัวอักษรกรีกและอักขระพิเศษ................................................................................................ 315 25.4) การวางตําแหน่ง Math Object ในแนวดิ่ง.............................................................................. 316 25.5) การปรับแต่งฟอนต์................................................................................................................. 316 25.6) การปรับแต่งช่องว่าง............................................................................................................... 318 25.7) การวางแนวในแนวราบ........................................................................................................... 320 25.8) คําสั่งพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ที่สําคัญๆ................................................................................ 321

311



บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice


1.1 รู้จักกับ LibreOffice ก. รู้จักกับ LibreOffice LibreOffice เป็นซอฟต์แวร์ชุดสํา หรับงานออฟฟิศ ประเภทเดีย วกับ MS Office แต่ LibreOffice เป็นซอฟต์แวร์ โอเพ่นซอร์สที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี ถูกกฎหมาย 100% คําพูดที่ติดปาก “ของฟรี ไม่มีในโลก” ไม่จริงอีกแล้ว LibreOffice ประกอบไปด้วยโปรแกรม 6 ตัวด้วยกัน ก็คือ Writer (เทียบเท่า Word ) ใช้พิมพ์เอกสาร พิมพ์หนังสือ พิมพ์ป้ายฉลาก เป็นต้น Calc (เทียบเท่า Excel) ใช้สร้างตารางคํานวณ วิเคราะห์ข้อมูล สร้างผัง เป็นต้น Impress (เทียบเท่า Power Point) ใช้สร้างงานพรีเซ้นเทชั่น เป็นต้น Draw ใช้วาดภาพทั่วไป วาดผัง วาดโฟลว์ชาร์ต เป็นต้น Base (เทียบเท่า Access ) ใช้สร้างและจัดการฐานข้อมูล Math ใช้พิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ ถึงแม้ LibreOffice จะเป็นของฟรี แต่ศักยภาพของ LibreOffice นั้นไม่ธรรมดา จากประสบการณ์การใช้งานกว่า 10 ปี (ตั้งแต่ยังเป็น OpenOffice.org)และจากการเป็นวิทยากรอบรม LibreOffice ตอบสนองต่องานประจําภายในออฟฟิศได้ เป็ น อย่ า งดี ไม่ ว่ า จะเป็ น งานพิ ม พ์ เ อกสารทั่ ว ไป, งานพิ ม พ์ ห นั ง สื อ เป็ น ร้ อ ยๆหน้ า (หนั ง สื อ เล่ ม นี้ พิ ม พ์ แ ละจั ด หน้ า ด้ ว ย LibreOffice), งานพิมพ์หนังสือ e-book สวยๆ, งานสร้างตารางคํานวณต่างๆ, งานวิเคราะห์ข้อมูล , งานพรีเซ้นเทชั่น หรืองาน สร้างผังต่างๆ เป็นต้น ผู้เขียนไม่ขอเปรียบเทียบศักยภาพระหว่าง LibreOffice กับ Microsoft Office ไว้ ณ ที่นี้ ดีหรือไม่ดีขนึ้ อยู่กับผู้ใช้งาน และลักษณะของงานมากกว่า งานควรเป็นตัวกําหนดการใช้โปรแกรม ไม่ใช่โปรแกรมเป็นตัวกําหนดการทํางาน เท่าที่ทราบผู้ใช้ งานซอฟต์แวร์โดยทั่วๆไป ทํางานโดยใช้ศักยภาพของซอฟต์แวร์เพียง 10-20% ฉะนั้นใช้ของดีที่สุด ใช่ว่าจะใช้ได้ดีที่สุด ใช้ของ ฟรี ใช่ว่าจะไม่ดีกับงานของเรา

ข. LibreOffice และ OpenOffice.org หากเคยได้ ยิน ชื่ อ OpenOffice.org จะทํา ความเข้ า ใจกั บ LibreOffice ได้ ง่า ย LibreOffice ถือ เป็ นลู ก หลานของ OpenOffice.org เพราะถู ก พั ฒ นามาจากซอร์ ส โค้ ด ของ OpenOffice.org แต่ ผู้ ใ ช้ ง านโดยทั่ ว ไปรู้ จั ก OpenOffice.org มากกว่า เพราะ OpenOffice.org มีมาเป็นสิบๆปีแล้ว แต่ LibreOffce นัน้ พึง่ ถือกําเนิดเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง แต่จากนี้ไปอนาคตของ LibreOffice จะสดใจมาก LibreOffice ถือกําเนิดขึ้นมาเพราะปัญหาภายในของ Oracle ซึ่ง ณ เวลานั้นเป็นผู้พัฒนา OpenOffice.org แต่เวลานี้ LibreOffice ถูกพัฒนาศักยภาพ แก้ไขปัญหาต่างๆที่มีใน OpenOffice.org ไปมากแล้ว คู่มือ OpenOffice.org แทบใช้ไม่ได้ แล้ ว กั บ LibreOffice ที่ สํา คั ญ LibreOffice มี อ งค์ ก รที่ ไ ม่ แ สวงหาผลกํา ไรเป็ น ผู้ พั ฒ นาอย่ า งชั ด เจนและต่ อ เนื่ อ ง (The Document Foundation) มีกําหนดการออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ มีแผนงานอย่างชัดเจน อนาคตของ LibreOffice จึงสดใสมาก นอกจาก LibreOffice แล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่งที่ถือเป็นลูกหลานของ OpenOffice.org ก็คือ Apache OpenOffice ซึ่ง ต่อยอดมาจาก OpenOffice.org อย่างเป็นทางการ แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Apache OpenOffice เพราะผู้พัฒนาคือ Apache ในประเทศไทย ทั้ง Apache OpenOffice และ LibreOffice ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ให้กับประเทศ และยังช่วยแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ ประเทศไทยต้องเผชิญอยู่ด้วย องค์กรใหญ่ๆอย่างเช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย , ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ บมจ.เอส แอนด์พี ซินดิเคท ก็นํา OpenOffice.org, Apache OpenOffice หรือ LibreOffice ไปใช้ในองค์กร ซึ่งก็ช่วยประหยัดค่าใช่ จ่ายได้นับสิบล้าน นับร้อยล้านบาท (เฉพาะ OpenOffice.org หรือ LibreOffice ตัวเดียว)

22

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ค. LibreOffice สามารถติดตั้งบนระบบปฎิบัติการอะไรได้บ้าง? เมื่อเข้าไปที่หน้าดาวน์โหลด ของ www.libreoffice.org (ตามภาพที่ 1) จะพบ LibreOffice เวอร์ชั่นสํา หรับระบบ ปฏิบัติการ Windows, Mac และ Linux ให้เลือกดาวน์โหลด หนังสือเล่มนี้อธิบายโดยใช้ LibreOffice สําหรับระบบปฏิบัติการ Ubuntu (เป็น Linux ตระกูลหนึ่งที่ได้รับความนิยม มาก) อย่างไรก็ดี การใช้งาน LibreOffice ไม่ว่าจะเป็นบนระะบบไหน เกือบจะเหมือนกัน 100% Ubuntu เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเช่นเดียวกับ LibreOffice เป็นของฟรีเช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ Ubuntu ผู้เขียนก็ใช้ Windows มาก่อน พบว่า LibreOffce ที่ใช้งานบน Windows และ Ubuntu ต่างกันเพียงเล็กน้อย เฉพาะการ ทํางาน 1-2 อย่างเท่านั้น สําหรับท่านใดที่ไม่เคยใช้หรือไม่รู้จัก Ubuntu หรือ Linux เลย ไม่ต้องกลัว เพราะแทบจะไม่ได้อ้างถึงเลยในการใช้งาน LibreOffice จะมีบ้างเพียงขั้นตอนการติดตั้ง, ระบบพาธที่จะบันทึกหรือเปิดไฟล์ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานเมื่อเทียบกับ Windows

ภาพที่ 1 : หน้าดาวน์โหลด LibreOffice (www.libreoffice.org/download/?nodetect)

ง. ไฟล์มาตรฐานของ LibreOffice ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้ LibreOffice มักกังวลว่าจะสามารถทํางานกับไฟล์ของ MS Office ได้หรือไม่? LibreOffice สามารถเปิดอ่านและเขียนทับไฟล์ของ MS Office ได้ เช่นไฟล์ xls, xlsx, doc, docx, ppt, pptx เป็นต้น แต่ความสมบูรณ์ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง บ้างก็สมบูรณ์ 100% บ้างก็ผิดเพี้ยนไปบ้าง ยุ่งยากบ้างในช่วงแรกของการย้ายระบบ แต่พอผ่านไปสัก ระยะก็สบายแล้ว ประหยัดค่าใช้จ่ายสําหรับซอฟต์แวร์ประจําออฟฟิศได้ตลอดไป ไม่ต้องระแวงเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์อีก อนาคต ก็ไม่ต้องเสียเงินอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่ๆอีก ระบบไฟล์มาตรฐานของ LibreOffice เรียกว่า ODF (Open Documnet Format) เป็นมาตรฐานเปิด หากแยกย่อย ลงไปอีก ไฟล์มาตรฐานของ Writer ก็คือไฟล์นามสกุล .odt (Open Document Text) แม้ไฟล์มาตรฐานของ Writer จะเป็น .odt แต่ Writer สามารถเปิดไฟล์ .doc หรือ .docx ของ MS Office ได้ และใน ทางกลับกัน MS Office ก็สามารถเปิดไฟล์ .odt ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะ MS Office เองก็รองรับมาตรฐาน ODF ด้วยเหมือนกัน

บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice

23


1.2 ดาวน์โหลด LibreOffice LibreOffice สามารถดาวน์โหลด ได้ฟรีที่ www.libreoffice.org ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้ง LibreOffice (ตามภาพที่ 2) 1. ที่หน้าแรกของ www.libreoffice.org คลิกที่ Download LibreOffice 2. คลิกที่ Change System, Version or Language (เปลี่ยนระบบ, เวอร์ชั่น หรือภาษา) 3. คลิกเลือก LibreOffice ที่ตรงกับระบบปฎิบัติการ (ระบบปฏิบัตกิ าร Ubuntu ให้เลือก Linux(deb) ) 4. คลิกเลือกภาษาไทย 5. คลิกเลือกเวอร์ชั่นของ LibreOffice 6. คลิกที่ Main installer (ตัวติดตั้ง) จากนั้นไฟล์สําหรับติดตั้ง LibreOffice ก็จะถูกดาวน์โหลดลงมา

ภาพที่ 2 : ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์สําหรับติดตั้ง LibreOffice

24

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


1.3 การติดตั้ง LibreOffice บน Ubuntu การติดตั้ง LibreOffice บน Windows นั้นไม่ยาก เพียงดับเบิ้ลคลิกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา จากนั้นโปรแกรมจะติดตั้งให้ อย่างอัตโนมัติ แต่การติดตั้ง LibreOffice บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu นั้นแตกต่าง โดยปกติเมื่อติดตั้ง Ubuntu จะมี LibreOffice มาให้ด้วยอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ หากต้องการติดตั้งเป็นเวอร์ชั่นอื่น สามารถทําได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่อธิบายในหัวข้อนี้ เป็นการติดตั้ง LibreOffice บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา(ตามขั้น ตอนในข้อ 1.2) มีชื่อว่า LibO_3.6.0_Linux_x86-64_langpack-deb_th.tar.gz เป็น LibreOffice สําหรับเครื่อง 64 บิต ขั้นตอนการถอด LibreOffice (เวอร์ชั่นเก่า) ก่อนติดตั้ง LibreOffice หากมีเวอร์ชั่นเก่าอยู่ให้ถอดออกจากเครื่องก่อน โดยมีขนั้ ตอนดังนี้ 1. เปิด Terminal (กด <Ctrl><Alt><T>) 2. พิมพ์คําสั่ง sudo apt-get remove --purge libreoffice-core ขั้นตอนการติดตั้ง LibreOffice 1. แตกไฟล์ LibO_3.6.0_Linux_x86-64_langpack-deb_th.tar.gz ที่ดาวน์โหลดมา จะได้โฟลเดอร์ที่มชี ื่อเดียวกับ ชื่อไฟล์ สมมุติแตกไว้ที่ Desktop จะได้พาธเต็มของตําแหน่งโฟลเดอร์ ก็คือ /home/(User name)/Desktop/LibO_3.6.0_Linux_x86-64_langpack-deb_th 2. เพื่อให้ง่ายต่อการใช้คําสั่งใน Terminal ให้เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ใหม่ให้สั้นลง ในที่นี้ตั้งชื่อว่า “LibO3.6”จะได้พาธเต็ม ก็คือ /home/(User name)/Desktop/LibO3.6 3. เปิด Terminal (<Ctrl><Alt><T>) จากนั้นเข้าไปที่โฟลเดอร์ LibO3.6/DEBS (ตามภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 : ที่ Terminal เข้าไปที่ LibO3.6/DEBS

4. พิมพ์คําสั่ง

sudo dpkg -i *.deb (แตกแพ็คเกจ) cd desktop-integration (เข้าไปที่โฟลเดอร์ desktop-integration) sudo dpkg -i *.deb (แตกแพ็คเกจ)

เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย

1.4 การติดตั้ง LibreOffice บน Windows ติดตั้ง JRE การใช้งาน LibreOffice บน Windows จะให้ดีที่สุด ต้องติดตั้ง JRE (Java Runtiome Environment) ด้วย เพราะ ความสามารถบางส่วนของโปรแกรม เช่น การสร้างฐานข้อมูลใน LibreOffice Base จะต้องใช้ JRE ด้วย เป็นต้น JRE สามารถดาวนโหลดได้จาก www.java.com เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ดังกล่าว เว็บไซต์จะตรวจสอบระบบปฏิบัติการของ เราอย่างอัตโนมัติ และเสนอ JRE ตัวที่เหมาะสมให้ดาวน์โหลดตามภาพที่ 4 บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice

25


ภาพที่ 4 : หน้าดาวน์โหลด JRE

หลังดาวน์โหลดไฟล์ตดิ ตั้ง JRE มาแล้ว ก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ดังกล่าวเพื่อติดตั้ง การติดตั้งนั้นง่ายมากไม่มีอะไรให้กรอก เพียงคลิก Next ไปเรื่อยๆ จนติดตั้งเสร็จ

ภาพที่ 5 : (ซ้าย) หลังดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ติดตั้ง จะปรากฎหน้าต่าง Welcome (ขวา) ติดตั้ง JRE เสร็จแล้ว

ติดตัง้ LibreOffice ไฟล์ติดตั้ง LibreOffice บน Windows ที่ดาวน์โหลดมา ก็คือ LibO_3.6.3_Win_x86_install_multi.msi ให้ดับเบิ้ล คลิกที่ไฟล์ตดิ ตั้ง จะปรากฎหน้าต่างตัวช่วยติดตั้ง ตามภาพที่ 6 จากนั้นทําตามขั้นตอนติดตั้งดังต่อไปนี้ คลิกปุ่ม “ถัดไป” เพื่อเริ่มติดตั้ง

ภาพที่ 6 : ขั้นตอนที่ 1

26

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


เลือกประเภทการติดตั้ง ตามภาพเลือกเป็น Typical (ติดตั้งตามที่กําหนดมาให้แล้ว)

ภาพที่ 7 : ขั้นตอนที่ 2

เลือกรายละเอียดการเริ่มโปรแกรม ตามภาพเลือกเพียงตัวเดียวก็คือ ให้สร้างไอ ค่อนไว้บน Desktop

ภาพที่ 8 : ขั้นตอนที่ 3

กําลังติดตั้ง LibreOffice

ภาพที่ 9 : ขั้นตอนที่ 4

บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice

27


คลิกทีป่ ุ่ม “เสร็จสิ้น” เพื่อจบการติดตั้ง

ภาพที่ 10 : ขั้นตอนที่ 5

หลังติดตั้งเสร็จแล้ว หากต้องการติดตั้งส่วนประกอบเพิ่มเติม เช่น ดิกชันนารี , ActiveX เป็นต้น ให้ทําซํ้ากระบวนการ เดิม เพียงแต่ในขั้นตอนที่ 2.1 ให้เลือกเป็น Custom เพื่อเข้าไปกําหนดรายละเอียดส่วนประกอบที่ต้องการถอดออกหรือติดตั้ง เพิ่มเติม

1.5 การสํารองการตั้งค่า การทํา งานใน LibreOffice เรามักจะเข้าไปตั้งค่าต่างๆของโปรแกรม เช่น ตั้งระบบภาษา, สร้างปุ่ม หรือตั้งคีย์ลัด เป็นต้น เราสามารถสํารองไฟล์การตั้งค่าเก็บไว้ เผื่อในกรณีที่ต้องติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือนําไฟล์สํารองการตั้งค่าไปใส่ให้ กับเครื่องอื่นๆ จึงสะดวกสําหรับท่านที่ต้องบริหารจัดการการติดตั้ง LibreOffice ในองค์กร ตรวจสอบตําแหน่งเก็บไฟล์การตั้งค่า ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบว่าไฟล์บันทึกการตั้งค่าเก็บอยู่ตรงไหน ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice → เมนูย่อย Paths จะปรากฎหน้าต่าง Options ตามภาพที่ 11 สังเกตุที่ กรอบขวามือ การตั้งค่าประเภทต่างๆ(ที่ช่อง Type) ถูกแยกเก็บไว้หลายที่ ให้ดูที่โฟลเดอร์เลข 3 โฟลเดอร์นี้เก็บการตั้งค่าที่ สําคัญๆไว้ ให้ไปตามพาธแล้วคัดลอกทั้งโฟลเดอร์เลข 3 เก็บไว้ เท่านี้ก็ได้ไฟล์สํารองการตั้งค่าแล้ว ตามภาพที่ 11 โฟลเดอร์เลข 3 เก็บอยู่ที่ /home/wasankds/.config/.libreoffice/3

ภาพที่ 11 : หน้าต่าง Options เมนูย่อย Paths

1

โฟลเดอร์เลข 3 สามารถลบได้

โฟลเดอร์เลข 3 สามารถลบได้ ซึ่งก็คือ การรีเซ็ตโปรแกรม เป็นการล้างการตั้งค่าต่างๆ เกือบทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนตอนลงโปรแกรมใหม่ๆ

28

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การคืนการตัง้ ค่าจากไฟล์สํารอง การคืนการตั้งค่าจากไฟล์สํารอง สามารถทําได้ง่ายๆ ด้วยการคัดลอกโฟลเดอร์เลข 3 ที่สํารองไว้ ไปทับตําแหน่งเดิม เท่านี้การตั้งค่าต่างๆที่ทําไว้ ก็จะกลับคืนมา (แต่ไม่ทั้งหมด)

1.6 LibreOffice Portable นอกจาก LibreOffice ตัว Main Installer ที่ต้องติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะใช้งานได้แล้ว ยังมี LibreOffice Portable หรือ LibreOffice แบบพกพา ให้ได้ใช้งานด้วย เพียงดาวน์โหลด LibreOffice Portable จาก www.libreoffice.org/download/portable ก็จะได้ไฟล์มา 1 ไฟล์ ตัวอย่างเช่น ไฟล์ LibreOfficePortable_3.5.5_MultilingualAll.paf.exe ซึ่งเป็นไฟล์ .exe แต่ จริงๆเวลาใช้งานไม่ต้องติดตั้ง เมื่อดับเบิ้ลคลิกไฟล์ดังกล่าว จะเป็นกระบวนการแตก ไฟล์(แม้ในขั้นตอนจะบอกว่าเป็นการติดตั้งก็ตาม) สุดท้ายจะได้โฟลเดอร์ชื่อ LibreOfficePortable มา ภายในโฟลเดอร์นี้ มีไฟล์ให้เรียกเปิดโปรแกรมต่างๆใน ชุดของ LibreOffice ตามภาพที่ 12

ภาพที่ 12 : ไฟล์ต่างๆในโฟลเดอร์ LibreOfficePortable

ภาพที่ 13 : หน้าดาวน์โหลด LibreOffice Portable

โฟลเดอร์ LibreOfficePortable นี้ สามารถนําใส่แฟรชไดรว์ แล้วนํา LibreOffice ไปใช้กับเครื่องอื่นๆได้ มีประโยชน์ มากสําหรับท่านที่ต้องไปใช้เครื่องคนอื่น แล้วไม่สามารถติดตั้ง LibreOffice หรือเครื่องนั้นไม่ได้ติดตั้ง LibreOffice ไว้

บทที่ 1 : ติดตั้ง LibreOffice

29


30

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 2 : กำรทำำงำนกับไฟล์


2.1 ไฟล์มาตรฐานของ Writer ระบบไฟล์มาตรฐานของ LibreOffice เรียกว่า ODF (Open Documnet Format) เป็นมาตรฐานเปิด หากแยกย่อย ลงไปอีก ไฟล์มาตรฐานของ Writer ก็คือไฟล์นามสกุล .odt (Open Document Text) แม้ไฟล์มาตรฐานของ Writer จะเป็น .odt แต่ Writer สามารถเปิดไฟล์ .doc หรือ .docx ของ MS Office ได้ และใน ทางกลับกัน MS Office ก็สามารถเปิดไฟล์ .odt ได้ด้วย ทั้งนี้เพราะ MS Office เองก็รองรับมาตรฐาน ODF ด้วยเหมือนกัน

2.2 การบันทึกไฟล์ ก. การบันทึกไฟล์ เมื่อพิมพ์ข้อความลงในเอกสาร จากนั้นต้องการบันทึกเป็นไฟล์ สามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการบันทึกไฟล์ 1. ที่หน้าจอของ Writer ไปที่ File → Save หรือกด <Ctrl><S> จะปรากฎหน้าต่าง Save 2. ตั้งชื่อไฟล์และระบุตําแหน่งเก็บไฟล์ หากไม่ระบุนามสกุล จะบันทึกเป็นไฟล์มาตรฐานของ Writer ก็คือ .odt 3. คลิกปุ่ม Save

ภาพที่ 14 : ขั้นตอนการบันทึกไฟล์

ข. การบันทึกเป็นไฟล์ MS Word Writer สามารถบันทึกเป็นไฟล์ได้หลายประเภท รวมทั้งไฟล์ .doc หรือ .docx ด้วย ขั้นตอนการบันทึกนั้นเหมือนกับ ข้อ ก. เพียงแต่ให้เลือกชนิดของไฟล์เป็น .doc หรือ .docx ขั้นตอนการบันทึกไฟล์เป็น .doc หรือ .docx 1. ที่หน้าจอ Writer ไปที่ File → Save as... หรือกด <Shift><Ctrl><S> จะปรากฎหน้าต่าง Save หรือ Save as.. 2. ตั้งชื่อไฟล์และระบุตําแหน่งเก็บไฟล์ 3. เลือกชนิดไฟล์ที่ต้องการบันทึก (.doc หรือ .docx) 4. คลิกปุ่ม Save

32

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 15 : ขั้นตอนการบันทึกเป็นไฟล์ .docx

2.3 การเปิดไฟล์ ที่หน้า จอของ Writer ไปที่ File → Open... (หรือกด <Ctrl><O>) จะปรากฎหน้า ต่า ง Open เพื่อ ให้เ ลือ กไฟล์ที่ ต้องการเปิด ที่หน้าต่าง Open หากติ๊กกล่องตัวเลือก Read only (ตามภาพที่ 16) ไฟล์นั้นจะถูกเปิดเพื่ออ่านอย่างเดียว ไม่สามารถ แก้ไขข้อมูลในไฟล์ได้

ภาพที่ 16 : ขั้นตอนการเปิดไฟล์ .odt

อีกวิธีหนึ่ง ให้ ไปยังโฟลเดอร์ ณ ตํา แหน่งที่เก็บไฟล์ จากนั้น ดับเบิ้ลคลิกที่ไอค่อน ไฟล์ จะถูกเปิด ขึ้นมาทันที หรือ คลิกขวาที่ไอค่อน → Open with LibreOffice Writer ก็ได้

บทที่ 2 : การทํางานกับไฟล์

33


2.4 การ การตัตั้งรหัสป้องกันเอกสาร Writer สามารถตั้งรหัสป้องกันเอกสารได้ โดยสามารถตั้งแยกเป็น รหัสป้องกันการเปิดไฟล์เอกสาร, รหัสป้องกันการ แก้ไขเอกสาร หรือ ทั้งสองอย่างผสมกัน ขั้นตอนการตั้งรหัสป้องกันเอกสาร 1. ที่หน้าจอของ Writer ไปที่ File → Save as... หรือกด <Shiftl><Ctrl><S> จะปรากฎหน้าต่าง Save 2. ตั้งชื่อไฟล์และระบุตําแหน่งเก็บไฟล์ 3. เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการบันทึก ตามภาพคือ ไฟล์ .odt 4. ติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Save with password (บันทึกด้วยรหัส) 5. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎหน้าต่าง Set Password เพื่อให้ตั้งรหัส 6. ตั้งรหัสผ่าน รหัสมี 2 ชุด ชุดแรก(บน)เป็นรหัสสําหรับเปิดไฟล์ ชุดที่สอง(ล่าง)เป็นรหัสสําหรับอนุญาตให้แก้ไขไฟล์ 7. คลิกทีป่ ุ่ม OK จะได้ไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสไว้

ภาพที่ 17 : ขั้นตอนการตั้งรหัสป้องกันไฟล์

การตั้งรหัส *** อักษรตัวเลขตัวใหญ่ในรหัสถือว่าต่างกัน (Case-sensitive) *** ไม่มีวิธีกู้ไฟล์ในกรณีลืมรหัสผ่าน ฉะนั้นจํารหัสให้ดี หากตั้งเฉพาะรหัสเปิดไฟล์ จะป้องกันการเปิดไฟล์เอกสารเพียงอย่างเดียว เมื่อเปิดได้แล้วสามารถแก้ไขได้ หากตั้งเฉพาะรหัสอนุญาติให้แก้ไข จะป้องกันการแก้ไขเอกสารเพียงอย่างเดียว สามารถเปิดเอกสารได้โดยไม่ต้องใช้ รหัสผ่าน แต่แก้ไขไม่ได้ ถ้าต้องการจะแก้ไข ให้คลิกขวาที่เอกสาร → Edit จะปรากฎหน้าต่างมาถามรหัส หากตั้งรหัสทั้งสองชุด จะป้องกันไฟล์ 2 ชั้น ชั้นแรกป้องกันการเปิดไฟล์ ชั้นที่สอง ป้องกันการแก้ไขเอกสาร หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Read only เพียงอย่างเดียว สามารถเปิดไฟล์ได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน แต่แก้ไขไม่ได้ หาก ต้องการแก้ไข ให้คลิกขวาที่เอกสาร → Edit จากนั้นจะสามารถแก้ไขเอกสารได้โดยไม่ต้องใช้รหัสใดๆ

34

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การเปิดไฟล์ที่ถูกตั้งรหัสเปิดไฟล์ ให้เปิดไฟล์ตามขั้นตอนปกติ (ตามที่อธิบายในข้อ 2.3) แต่ทั้งนี้จะปรากฎหน้าต่างมาถามรหัสเปิดไฟล์ จากนั้นก็ให้ใส่รหัสลงไป

ภาพที่ 18 : หน้าต่างถามรหัสเปิดไฟล์

การแก้ไขไฟล์ที่ถูกตั้งรหัสอนุญาติให้แก้ไข ให้คลิกเม้าส์ขวาที่ เอกสาร → Edit จะปรากฎหน้าต่างมาถามรหัสอนุญาติให้แก้ไข จาก นัน้ ก็ให้ใส่รหัสลงไป

ภาพที่ 19 : หน้าต่างถามรหัสอนุญาติให้แก้ไข

2.5 การรวมไฟล์ .odt การรวมเนื้อหาจากไฟล์หนึ่งกับอีกไฟล์หนึ่ง แม้จะใช้การคัดลอกมาวางได้ แต่มักจะเกิดปัญหาเช่นรูปแบบผิดเพี้ยน, การ ตั้งค่าหลายๆอย่างไม่ตามมาด้วย เป็นต้น หรือกรณี ต้องทําเอกสารที่มีความยาวเป็นหลักร้อยหน้า การพิมพ์ เอกสารไว้ในใฟล์เดียว เอกสารยิ่งยาวเวลาที่ใช้ในการ บันทึกไฟล์จะช้าลงอย่างเป็นสัดส่วน ฉะนั้นควรแยกไฟล์เพื่อความคล่องตัวในการทํางานกับเอกสารที่ยาวมากๆ เช่น แยกบทที่ 1-5 ไว้ไฟล์ที่ 1, บทที่ 6-10 ไว้ไฟล์ที่ 2 เป็นต้น จากนั้นในขั้นตอนสุดท้ายค่อยจับมารวมกัน การรวมไฟล์ ให้ไปที่ Insert → File... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกไฟล์ที่จะแทรกเนื้อเข้ามา ตามภาพที่ 20

ภาพที่ 20 : หน้าต่าง Insert

2.6 เครื่องมือช่วยแปลงไฟล์ MS Office ไปเป็นไฟล์ LibreOffice การแปลงไฟล์จาก MS Office ไปเป็นไฟล์ LibreOffice (มาตรฐาน ODF) หากทําทีละไฟล์ สามารถใช้การเปิดไฟล์ MS Office แล้วบันทึกเป็นไฟล์ LibreOffice ได้ แต่ถ้าไฟล์มีเป็นจํานวนมาก วิธีนี้คงไม่สะดวกนัก LibreOffice มีเครื่องมือที่ใช้แปลงไฟล์ MS Office จํานวนมากไปเป็น LibreOffice ได้อย่างสะดวกกว่า เครื่องมือนั้นก็ คือ Document Converter(ตัวแปลงเอกสาร)

บทที่ 2 : การทํางานกับไฟล์

35


ขั้นตอนการแปลงไฟล์ด้วย Document Converter 1. เตรียมไฟล์ MS Office ที่จะแปลงไปเป็นไฟล์ LibreOffice ไว้ยังโฟลเดอร์หนึ่ง (ตามภาพที่ 21-ซ้าย) 2. สร้างโฟลเดอร์ว่างๆ เตรียมไว้สําหรับเก็บไฟล์ที่เป็นผลจากการแปลงไฟล์ (ตามภาพที่ 21-ขวา)

ภาพที่ 21 : ขั้นตอนที่ 1 และ 2

3. ทีโ่ ปรแกรม LibreOffice ไปที่ File → Wizards → Document Converter... จะปรากฎหน้าต่าง Document Converter 4. ทีห่ น้าต่าง Document Converter ตามภาพที่ 22 ติ๊กเลือกชนิดไฟล์ของ MS Office ที่จะแปลง 5. คลิกปุ่ม Next จะไปที่หน้าต่าง Document Converter หน้าต่อไป

ภาพที่ 22 : ขั้นตอนที่ 3-5

6. ทีห่ น้าต่าง Document Converter ตามภาพที่ 23 เลือกโฟลเดอร์ตน้ ทาง(โฟลเดอร์เก็บไฟล์ MS Office) และ เลือกโฟลเดอร์ปลายทาง(โฟลเดอร์เปล่าๆ) สําหรับการแปลงไฟล์ MS Word 7. คลิกปุ่ม Next จะไปที่หน้าต่าง Document Converter หน้าต่อไป

ภาพที่ 23 : ขั้นตอนที่ 6-7

36

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


8. ที่หน้าต่าง Document Converter ตามภาพที่ 24(ซ้าย) เลือกโฟลเดอร์ ต้นทาง(โฟลเดอร์ เก็บไฟล์ MS Office) และเลือกโฟลเดอร์ปลายทาง(โฟลเดอร์เปล่าๆ) สําหรับการแปลงไฟล์ MS Excel 9. คลิกปุ่ม Next จะไปที่หน้าต่าง Document Converter หน้าต่อไป 10. ทีห่ น้าต่าง Document Converter ตามภาพที่ 24(ขวา) เลือกโฟลเดอร์ต้นทาง(โฟลเดอร์เก็บไฟล์ MS Office) และเลือกโฟลเดอร์ปลายทาง(โฟลเดอร์เปล่าๆ) สําหรับการแปลงไฟล์ MS PowerPoint 11. คลิกปุ่ม Next จะไปที่หน้าต่าง Document Converter หน้าต่อไป

ภาพที่ 24 : ขั้นตอนที่ 8-11

12. ทีห่ น้าต่าง Document Converter ตามภาพที่ 25(ซ้าย) เป็นการสรุปตําแหน่งไฟล์ของ MS Office ที่จะแปลงไป เป็นไฟล์ LibreOffice คลิกทีป่ ุ่ม Convert จะเข้าสู่กระบวนการแปลงไฟล์ 13. ระหว่างแปลงไฟล์ ทีห่ น้าต่าง Document Converter จะมีข้อมูลแจ้งความคืบหน้า ตามภาพที่ 25(ขวา) เมื่อแปลงเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม Close เพือ่ จบกระบวนการ

ภาพที่ 25 : ขั้นตอนที่ 12-13

เมื่อจบขั้นตอน ไฟล์ต่างๆก็จะถูกแปลงเป็นไฟล์ LibreOffice และถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่กําหนด

บทที่ 2 : การทํางานกับไฟล์

37


38

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 3 : หน้ำจอ Writer


3.1 หน้าจอ Writer เมื่อเปิดโปรแกรม Writer ขึ้นมา หน้าจอเริ่มต้นของ Writer มีลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้

ภาพที่ 26 : หน้าจอเริ่มต้นของ Writer

2

การเปิด/ปิดองค์ประกอบในหน้าจอ Writer

หากองค์ประกอบในหน้าจอ Writer หายไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น เผลอปิด เป็นต้น ให้ไปที่เมนู View (ที่แถบเมนูคําสั่ง) เพื่อเปิดกลับมา View → Toolbars → Standard = ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือมาตรฐาน View → Toolbars → Formatting = ซ่อน/แสดงแถบเครื่องจัดรูปแบบ View → Status Bar = ซ่อน/แสดงแถบแสดงสถานะ View → Ruler = ซ่อน/แสดงไม้บรรทัดทุกอัน View → Text Boundaries = ซ่อน/แสดงขอบเขตข้อความ (คําสั่งนี้มีผลต่อกรอบขอบเขตของ องค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่น รูปภาพ, สูตร, กรอบ(Frame) เป็นต้น)

3.2 การจัดการหน้าต่างลอย หน้าต่างลอย(Floating window) มีอยู่หลายหน้าต่างด้วยกัน แต่ละหน้าต่างลอยสามารถย้ายไปฝัง ไว้ที่ด้านข้างของ หน้าจอได้ ซึ่งสามารถทําได้ 2 วิธี

40

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ให้กด <F5> หรือ <F11> เพื่อเปิดหน้าต่างลอย Styles and Formatting และ Navigator ตามลําดับ สําหรับใช้ทดสอบปฏิบัติ (ทั้ง 2 หน้าต่างใช้งานบ่อยมาก สําหรับผู้เขียนจะเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา) วิธีที่ 1 : คลิกค้างที่แถบแสดงชื่อ จากนั้นลากเม้าส์ไปวางแถวๆ สกอลบาร์ จะปรากฎเป็นกรอบสีเทา บ่งบอกถึงหน้าต่างลอยจะฝังอยู่ ตามแนวดังกล่าว การทําให้หน้าต่างลอยกลับมาลอยเหมือนเดิม ก็ให้ทําวิธีเดียวกัน ก็คือ คลิกค้างแถวๆส่วนหัวแล้วลากออกมา (ฝังแล้วจะไม่มีแถบแสดงชื่อ)

ภาพที่ 27 : ย้ายหน้าต่างลอยวิธีที่ 1

วิธีที่ 2 : กด <Ctrl> + ดับเบิ้ลคลิกบนพื้นที่ว่างด้านล่างในหน้าต่างลอย(ด้าน ข้างไม่ได้) หน้าต่างลอยจะโดดไปฝังอยู่ที่ดา้ นข้างของหน้าจอทันที การทําให้หน้าต่างลอยกลับมาลอยเหมือนเดิม ก็ให้ทําวิธีเดียวกัน

หากมีหน้าต่างลอยมากกว่า 1 สามารถวางซ้อนกันได้(ตามภาพที่ 29)

ภาพที่ 28 : ย้ายหน้าต่างลอยวิธีที่ 2

หน้าต่างลอยที่ฝังเข้ากับหน้าจอแล้ว จะปรากฎปุ่มซ่อน/แสดงหน้าต่างลอย(ตามภาพที่ 29) ใช้สําหรับซ่อนหน้าต่างลอย ไว้ที่ขอบของหน้าจอ ฉะนั้นหากกด <F5> หรือ <F11> แล้วหน้าต่างลอยไม่ขึ้น อาจเป็นเพราะหน้าต่างลอยถูกซ่อนอยู่ที่ขอบ ของหน้าจอ

ภาพที่ 29 : หน้าต่างลอยที่ถูกฝังอยู่ด้านข้างของหน้าจอ

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer

41


3.3 การเรียกใช้คคํ​ําสั่งใน Writer การเรียกใช้คําสั่งใน Writer สามารถเรียกได้ 3 วิธีหลักๆ ก็คือ 1. แถบเมนูคําสั่ง(Menu bar) : แถบเมนูคําสั่งเป็นศูนย์รวมคําสั่งเกือบทุกคําสั่ง 2. คีย์ลัด(Shortcut keys) : เรียกใช้คําสั่งโดยการกดปุ่มบนคีย์บอร์ด 3. เมนูลอย(Floating menu) : เกือบทุกแห่ง ใน Writer เมื่อคลิกเม้าส์ขวา จะ ปรากฏเมนูลอย เพื่อแสดงรายการคําสั่งที่สามารถกระทําต่อสิ่งที่คลิกได้

ภาพที่ 30 : เมนูลอย

3.4 แถบแสดงสถานะ (Statusbar) แถบแสดงสถานะ(Statusbar) มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

ภาพที่ 31 : ส่วนต่างๆของแถบแสดงสถานะ

เลขหน้า นับจํานวนคํา สไตล์หน้ากระดาษ ภาษา โหมดการพิมพ์ข้อความ

โหมดการเลือก

แสดงเลขหน้า/จํานวนหน้าทั้งหมด แสดงจํานวนคําในเอกสาร แสดงชื่อสไตล์หน้ากระดาษที่ใช้อยู่ (ดูเรื่องสไตล์หน้ากระดาษ ในบทที่ 17 หน้า 229) แสดงภาษาที่ใช้อยู่ ณ ขณะนั้น (กดปุ่ม <~> เพื่อสลับภาษา) แสดงโหมดการพิมพ์ข้อความ เมื่อกดปุ่ม <Insert> บนคียบ์ อร์ด (ว่าง) = โหมดพิมพ์แทรก Overwrite = โหมดพิมพ์ทับ แสดงโหมดการใช้เม้าส์เลือกข้อความ มีอยู่ 4 โหมดด้วยกัน คลิกที่ไอค่อนรูป จะปรากฎรายการให้เลือกดังนี้ Standard selection : โหมดการเลือกแบบมาตรฐาน Extending selection : โหมดขยายการเลือก Adding selection : โหมดเลือกเพิ่ม Block selection : โหมดเลือกเป็นบล็อค (คีย์ลัด = <Shift><Ctrl><F8>) (ดูรายละเอียดในข้อ 5.2 ข. โหมดการเลือกข้อความ หน้า 58)

42

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


เลขหน้า ตัวแจ้งการบันทึก ลายเซ็นดิจิตอล ข้อมูลองค์ประกอบ มุมมองการวางหน้ากระดาษ

ตัวเลื่อนปรับการซูม

เปอร์เซ็นต์การซูม

แสดงเลขหน้า/จํานวนหน้าทั้งหมด แสดงสัญลักษณ์เตือนการบันทึกข้อมูล หากมีเครื่องหมายดอกจัน แสดงว่ายังไม่ได้บันทึก ให้ดบั เบิ้ลคลิกที่ตัวแจ้งฯ เพื่อบันทึกข้อมูล แสดงการใช้ลายเซ็นดิจิตอล(Digital Signature) แสดงข้อมูลขององค์ประกอบที่เลือกอยู่ = หน้าเดี่ยว = เรียงหน้ากระดาษเต็มความกว้างหน้าจอ (ตามแต่ขนาดการซูม) = หน้าคู่แบบหนังสือ (ดูเพิ่มเติมในข้อ 3.5) การซูมเอกสารสามารถทําได้โดย 1. คลิกที่ปุ่ม + หรือ – เพื่อซูมเข้าหรือออกตามลําดับ 2. เลื่อนตัวเลื่อนปรับการซูม ไปมา 3. กด <Ctrl> + เลื่อนลูกกลิ้งเม้าส์เข้าหรือออก (วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด) แสดงเปอร์เซ็นต์การซูม ดับเบิ้ลคลิกที่นี่ จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกการซูมขนาดต่างๆ

3.5 มุมมองการ มองการวาง วางหน้ หน้ากระดาษ เมื่อเริ่มต้นใช้งาน Writer หน้ากระดาษจะถูกเรียงแบบหน้าเดี่ยวไล่กันลงมา แต่ทั้งนี้เราสามารถเปลี่ยนมุมมองการเรียง หน้ากระดาษให้เหมาะสมกับลักษณะของงานได้ การเปลี่ยนมุมมองการวางหน้ากระดาษ ทําได้โดยการคลิก ที่ มุมมองการวางหน้ากระดาษแบบต่างๆ บนแถบแสดง สถานะ ( ) ภาพที่ 32-35 เป็นตัวอย่างมุมมองการวางหน้ากระดาษแบบต่างๆ ภาพที่ 32 เป็นมุมมองแบบหน้าเดี่ยว ( ) หน้ากระดาษถูกวางต่อกันลงมาทีละหน้า ค่าเริ่มต้นในการใช้งาน Writer เป็นมุมมองนี้ ภาพที่ 33 และ ภาพที่ 34 เป็นมุมมองการวางหน้ากระดาษเต็มความกว้างหน้าจอ( ) ที่ขนาดการซูม 40% และ 29% ตามลําดับ ความกว้างของหน้าจอเพียงพอให้แสดงจํานวนหน้ากระดาษเท่าไร ก็แสดงเท่านั้น ขึน้ อยู่กับขนาดการซูม ภาพที่ 35 เป็นมุมมองหน้าคู่แบบหนังสือ ( ) ที่มุมมองนี้ หน้าแรกเริ่มต้นที่ด้านขวาเสมือนเป็นหน้าปก หน้าต่อๆมา เรียงซ้ายและขวาสลับกันไปเรื่อยๆ มุมมองนี้มักใช้ คู่กับการจัดหน้ากระดาษแบบ Mirror หรือแบบ Only Left และ Only Right ในการทํางานพิมพ์หนังสือ (ดูเพิ่มเติมในข้อ 16.6 หน้า 224 และข้อ 16.7 หน้า 225)

ภาพที่ 32 : เรียงหน้าเดี่ยว

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer

43


ภาพที่ 33 : เรียงหน้ากระดาษเต็มความกว้างหน้าจอ ซูมที่ 40% (เรียงได้ 2 หน้า)

ภาพที่ 34 : เรียงหน้ากระดาษเต็มความกว้างหน้าจอ ซูมที่ 29% (เรียงได้4 หน้า)

ภาพที่ 35 : เรียงหน้าคู่แบบหนังสือ

3.6 ไม้บรรทัด และ สกอลบาร์ ไม้บรรทัดมีอยู่ 2 อัน ก็คือ ไม้บรรทัดแนวนอน และ ไม้บรรทัดแนวตั้ง สกอลบาร์ก็มีอยู่ 2 อันเช่นเดียวกัน การซ่อนหรือแสดงไม้บรรทัด การซ่อนหรือแสดงไม้บรรทัด ให้ไปที่ View → Ruler คําสั่งดังกล่าวจะซ่อนหรือแสดงไม้บรรทัดทั้งหมดที่มีพร้อมๆกัน หากต้องการซ่อนเฉพาะอันใดอันหนึ่ง ให้ตั้งที่อ๊อพชั่น (ดูวิธีการตั้งตามภาพที่ 37) การซ่อนหรือแสดงสกอลบาร์ การซ่อนหรือแสดงสกอลบาร์ ให้ตั้งที่อ๊อพชั่น (ดูวิธีการตั้งตามภาพที่ 37) การเปลี่ยนหน่วยวัดที่ไม้บรรทัด การเปลี่ยนหน่วยวัดที่ไม้บรรทัดให้ คลิกเม้าส์ขวาบน ไม้บรรทัด → เลือกหน่วยวัด หากต้องการตั้งให้เป็นหน่วยวัดที่ต้องการตลอดเวลา ให้ตั้งที่ อ๊อพชั่น (ดูวิธีการตั้งในภาพที่ 37) ภาพที่ 36 : การเลือกหน่วยวัดให้ไม้บรรทัด

44

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การตัง้ อ๊อพชั่นสําหรับไม้บรรทัดและสกอลบาร์ ไปที่ Tool → Option → เมนู LibreOffice Writer → เมนูย่อย View การตั้งค่าเกี่ยวกับไม้บรรทัดและสกอลบาร์อยู่ที่ กรอบ View

ภาพที่ 37 : การตั้งอ๊อพชั่นสําหรับไม้บรรทัดและสกอลบาร์

3.7 การ การซ่ซ่อนหรือแสดง แสดงปุปุ่มบนแถบเครื่องมือ แถบเครื่องมือแต่ละแถบ มีปุ่มเก็บไว้มากกว่า ที่แสดงอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าปุ่มนั้นถูกซ่อนหรือแสดงอยู่ หากต้องการเปิดมาใช้งาน สามารถทําได้โดย คลิกเม้าส์ขวาบนแถบเครื่องมือ → Visible Buttons → (เลือกปุ่มที่ต้องการซ่อนหรือแสดงบนแถบเครื่อง มือ) ปุ่มที่เปิดแสดงอยู่แล้ว จะดูบุ๋มลง ภาพที่ 38 : การซ่อนหรือแสดงปุ่มบนแถบเครื่องมือ

3.8 การจัดการ การแถบเครื แถบเครื่องมือเบื้องต้น แถบเครื่องมือ(Toolbar) เป็นแถบที่เก็บปุ่มคําสั่งไว้เป็นหมวดๆ ซึ่งมีอยู่หลายแถบด้วยกัน เริ่มต้น โปรแกรมมีมาให้ 2 แถบ ก็คือ แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard toolbar) และ แถบเครื่องจัดรูปแบบ(Formatting toolbar) ตามภาพที่ ภาพ ที่ 26 ในข้อ 3.1 การปิดเปิดแถบเครื่องมือ ไปที่ View → Toolbars → (เลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการปิดหรือเปิด) แถบเครื่องมือที่เปิดไว้จะมีเครื่องหมายบอก การย้ายแถบเครื่องมือ แถบเครื่องมือสามารถย้ายตําแหน่งไปไว้ที่ด้านล่าง หรือสลับตําแหน่ง บนล่างได้ ซึ่งสามารถทําได้โดย คลิกค้างที่ส่วนหัวของแถบเครื่องมือ (ขีดสาม ขีด) จากนั้นลากไปวางยังตําแหน่งที่ต้องการ การล็อคแถบเครื่องมือ คลิก เม้า ส์ ขวาที่แถบเครื่ องมื อ → Lock Toolbar Position ขีดสามขี ดที่ ส่ว นหั วของแถบเครื่ องมือ จะหายไป ไม่ สามารถย้ายตําแหน่งแถบเครื่องมือได้อีก

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer

45


3.9 การจัดการแถบเครื่องมือขั้นสูง ก. การสร้างแถบเครื่องมือ เราสามารถสร้างแถบเครื่องมือเพิ่มเติม เพื่อเก็บปุ่มคําสั่งเฉพาะที่เราใช้บ่อยๆได้ ขั้นตอนการสร้างแถบเครื่องมือ 1. ไปที่ Tools → Customize... จะปรากฎหน้าต่าง Customize 2. ทีห่ น้าต่าง Customize แท็บ Toolbars คลิกที่ปุ่ม New... จะปรากฎหน้าต่าง Names 3. ทีห่ น้าต่าง Names 3.1 ตั้งชื่อแถบเครื่องมือ ตามภาพตั้งชื่อว่า “My toolbar” 3.2 คลิกปุ่ม OK 4. ได้แถบเครื่องมือตามที่ตั้งชื่อไป แต่ยังไม่มีปุ่มใดๆต้องเพิ่มเข้ามาในภายหลัง

ภาพที่ 39 : ขั้นตอนการสร้างแถบเครื่องมือ

แถบเครื่องมือ ที่สร้างไป จะปรากฎเป็นรายการอยู่ในเมนูคํา สั่งด้วย หากสร้า งแล้วมองไม่เห็นแถบเครื่องมือ ให้ไปที่ View → Toolbar → … (ชื่อแถบเครื่องมือ) เพื่อตรวจสอบ

ข. การเพิ่มหรือลบปุ่มบนแถบเครื่องมือ แถบเครื่องมือแต่ละแถบ สามารถเพิ่มหรือลบปุ่ม ได้ด้วย ซึง่ จะช่วยให้เราเพิ่มปุ่มที่ใช้งานบ่อยๆเข้ามา หรือลบปุ่มที่ไม่ได้ ใช้ออกไป ขั้นตอนการเพิ่มปุ่มลงบนแถบเครื่องมือ 1. ไปที่ Tools → Customize... จะปรากฎหน้าต่าง Customize 2. ทีแ่ ท็บ Toolbars เลือกแถบเครื่องมือ 3. คลิกปุ่ม Add... จะปรากฎหน้าต่าง Add commands 4. ทีห่ น้าต่าง Add commands 4.1 เลือกหมวดหมู่(Category) 4.2 เลือกปุ่ม(Commands) 4.3 คลิกทีป่ ุ่ม Add จะปรากฎปุ่มที่เลือกที่หน้าต่าง Customize 5. ทําซํ้าข้อ 4 เพื่อเพิ่มปุ่มอื่นๆ

46

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


6. เมื่อเพิ่มปุ่มจนเสร็จแล้ว ทีห่ น้าต่าง Add commands คลิกปุ่ม Close เพื่อกลับมาที่หน้าต่าง Customize 7. ทีห่ น้าต่าง Customize กรอบ Commands ติ๊กที่กล่องตัวเลือกหน้าปุ่ม เพื่อซ่อนหรือแสดงปุ่ม เมื่อเสร็จแล้วคลิกทีป่ ุ่ม OK เพื่อจบการเพิ่มปุ่ม 8. ได้ปุ่มต่างๆ บนแถบเครื่องมือ

ภาพที่ 40 : ขั้นตอนการเพิ่มปุ่มลงในแถบเครื่องมือ

3

การใส่ภาพไอค่อนให้กับปุ่มที่ไม่มีไอค่อน

บางปุ่มทีไ่ ม่มภี าพไอค่อน มีแต่ข้อความล้วนๆ เราสามารถใส่ไอค่อนให้กับปุ่มดังกล่าวได้ ที่หน้าต่าง Customize คลิกเลือกปุ่ม(ที่ไม่มีไอค่อน) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Modify → Change icon... จะปรากฎหน้าต่าง Change Icon เพื่อให้เลือกไอค่อนมาใส่ หรือถ้าสร้างไอค่อนไว้ ก็สามารถนํามาใช้ได้ โดยคลิกที่ปุ่ม Import... ที่หน้าต่าง Change Icon เพื่อนําเข้าภาพไอค่อนมาใช้ งาน

ภาพที่ 41 : หน้าต่าง Change Icon

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer

47


3.10 การตั้งคีย์ลัด คําสั่งในเมนูเกือบทุกคําสั่ง สามารถตั้งคีย์ลัดเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้คําสั่ง ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการตั้งคีย์ลัด 1. ไปที่ Tools → Customize... จะปรากฎหน้าต่าง Customize จากนั้นเลือกแท็บ Keyboard 2. ทีก่ รอบ Shortcut keys เลือกคีย์ลัด 3. ทีก่ รอบ Function 3.1 เลือกหมวดหมู่(Category) 3.2 เลือกคําสั่ง(Function) 4. คลิกทีป่ ุ่ม Modify จะปรากฎชื่อคําสั่งและคีย์ลัดจับคู่กัน ตามภาพที่ 42 5. คลิกทีป่ ุ่ม OK เพื่อจบการตั้งคีย์ลัด

ภาพที่ 42 : ขั้นตอนการตัง้ คีย์ลัด

การบันทึกคีย์ลัด ที่หน้าต่าง Customize แท็บ Keyboard คลิกที่ปุ่ม Save... จะปรากฎหน้าต่างมาให้บันทึกไฟล์คีย์ลัด หากจะโหลด กลับมาใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่ม Load... จากนั้นให้เลือกไฟล์คีย์ลัดที่บันทึกเก็บไว้ การรีเซ็ตคีย์ลัด ที่หน้าต่าง Customize แท็บ Keyboard คลิกทีป่ ุ่ม Reset

48

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


3.11 เครื่องมือพร้อมทํางานของผู้เขียน เครื่องมือและคีย์ลัด ปุ่มต่างๆที่โปรแกรมมีมาให้ในตอนต้น มักไม่เพียงพอหรือยังไม่ สะดวกต่อการใช้งาน สําหรับผู้เขียนเอง จึงเพิ่มปุ่มและ ตั้งคีย์ลัดต่างๆจํานวนหนึ่ง เพื่อความสะดวก ตามตารางดังต่อไปนี้ อยู่ในหมวด(Category) ปุ่ม Paragraph (เปิดหน้าต่าง Paragraphs)

Format

Character (เปิดหน้าต่าง Characters)

Format

Increse font (เพิ่มขนาดฟอนต์ 1 ขั้น)

Format

Reduce font (ลดขนาดฟอนต์ 1 ขั้น)

Format

Page setting (ตั้งค่าหน้ากระดาษ)

Format

Split Table (แยกตาราง)

Table

Distribute Columns Evenly (กระจายขนาดของสดมน์ให้เท่ากัน)

Table

Distribute Rows Equally (กระจายขนาดของแถวให้เท่ากัน)

Table

Table to text (แปลงจากข้อความในตารางเป็นข้อความปกติ)

Option

Text to table (แปลงจากข้อความปกติ ให้ไปอยู่ในตาราง)

Option

Table boundaries (ซ่อนหรือแสดงเส้นขอบเขตตาราง)

View

Text boundaries (ซ่อนหรือแสดงเส้นขอบเขตหน้ากระดาษ)

View

Manaul break (ขึ้นหน้าใหม่ โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษที่กําหนดเอง)

Insert

คีย์ลัด Increase font (เพิ่มขนาดฟอนต์ 1 ขั้น) ตั้งเป็น <Alt><]>

Format

Reduce font (ลดขนาดฟอนต์ 1 ขั้น) ตั้งเป็น <Alt><[>

Format

Anchor as Character (ตั้งสมอแบบตัวอักษร) <Alt><A>

Format

Anchor to Paragraph (ตั้งสมอยึดกับย่อหน้า) <Alt><X>

Format

Restart Numbering (เริ่มเลขนําใหม่) ตั้งเป็น <Ctrl><Alt><R>

Numbering

Picture (เปิดหน้าต่าง Picture) <Alt><D>

Graphic

ตั้งคีย์ลัดให้กับสไตล์ที่สร้างเอง 8-10 ตัว ( *** ดูเรื่องสไตล์ในบทที่ 13 )

Styles

4

คีย์ลัด Increase font และ Reduce font

คีย์ลัด Increse font(เพิ่มขนาดฟอนต์ 1 ขั้น) และ Reduce font(ลดขนาดฟอนต์ 1 ขั้น) ใน Writer 3.6 ได้ตั้งมาให้แล้ว ก็คือ <Ctrl><]> และ <Ctrl><[> จึงไม่จําเป็นต้องตั้งอีกก็ได้ ผู้เขียนตั้งเป็น <Alt><]> และ <Alt><[> เพราะก่อนเวอร์ชั่น 3.6 ไม่มีคยี ์ลัดมาให้ แล้วก็ใช้ปุ่มดังกล่าวจนติดแล้ว

บทที่ 3 : หน้าจอ Writer

49


หน้าจอ ภาพที่ 43 เป็นหน้าจอ Writer พร้อมทํา งานของผู้เขียนที่ใช้งานอยู่ในปัจ จุบัน เพิ่มปุ่มต่างๆไว้จํา นวนหนึ่งบนแถบ เครื่ อ งมื อ มาตรฐานและแถบเครื่ อ งมื อ จั ด รู ป แบบ บางปุ่ ม ก็ อ อกแบบไอค่ อ นไว้ ใ ช้ เ อง และก็ เ ปิ ด หน้ า ต่ า ง Styles and Formatting และ Navigator ซ้อนกันไว้ที่ขอบของหน้าจอตลอดเวลา

ภาพที่ 43 : หน้าจอพร้อมทํางานของผู้เขียน

50

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 4 : กำรตัง้ ค่ำที่สำำคัญของ Writer

หลังติดตั้ง LibreOffice ใหม่ๆ สิ่งที่ต้องทํา ก่อนคือการตั้งค่า ต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน บางอย่างอาจใช้ งานไปตั้งไป จนกระทั่งลงตัว บทนี้อธิบายถึงการตั้งค่าต่างๆที่สําคัญๆไว้


4.1 ตั้งอ็อพชั่นที่ใช้บ่อย ก่อนใช้งาน Writer จําเป็นต้องตั้งค่าต่างๆ เพื่อให้สภาพแวดล้อมของ Writer เหมาะกับการทํางาน ศูนย์รวมการตั้งค่า ส่วนใหญ่อยู่ที่เมนู Tools → Options ... การตั้งค่าต่อไปนี้ เป็นการตั้งค่าที่สําคัญๆ เมื่อตั้งตามนี้แล้วปัญหาจะน้อยลงมาก • ที่ Tools → Options → เมนู LibreOffice เมนูย่อย View : (กรอบ User Interface) ทีช่ ่อง Icon size ans style เลือกเป็น Small ปุ่ม เล็กๆ เพิ่มพื้นทีห่ น้าจอ

ภาพที่ 44 : เมนูย่อย View

เมนูย่อย Path : เป็นตําแหน่งเก็บไฟล์การตั้งค่าต่างๆไว้ เมื่อตั้งค่าต่างๆจนอยู่ตัวแล้ว ให้บันทึกไฟล์ที่อยู่ในพาธนี้ไว้ เมื่อลงโปรแกรมใหม่ หรือลงให้เครื่องอื่น ให้คัดลอกไปวางทับ ไว้ตํา แหน่งเดิม เพื่อตั้งค่าให้เหมือนกัน (ดูเพิ่มเติมในข้อ 1.5 หน้า 28)

ภาพที่ 45 : เมนูย่อย Path

• ที่ Tools → Options → เมนู Load/Save เมนูย่อย General : (กรอบ Save) กล่องตัวเลือก Save AutoRecovery information every (เวลา) minutes ใช้ ตั้งเวลาสําหรับการบันทึกอัตโนมัติ ( สําหรับผู้เขียนจะติ๊กออก เพราะบันทึกอัตโนมัติมักขัดจังหวะการทํางาน โดยเฉพาะไฟล์ ใหญ่ๆ)

ภาพที่ 46 : ตัวเลือก Save AutoRecovery information every

• ที่ Tools → Options

เมนู LibreOffice Writer

เมนูย่อย General : (กรอบ Setting) ช่อง Measurement Unit(หน่วยวัด ) เลือกเป็น Centimeter หน่วยวัดที่เลือก มีผลต่อหน่วยวัด ทั้งหมดในเอกสาร เช่น หน่วยวัดของหน้ากระดาษ, หน่วยวัดของขนาดภาพ, หน่วยวัดเริ่มต้นของไม้บรรทัด เป็นต้น (กรอบ Setting) ช่อง Tab stops(ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ) ใส่เป็น 1.00cm เมื่อกดปุ่ม <Tab> บนคีย์บอร์ดตัวชี้พิมพ์ ข้อความจะกระโดดไปทีละ 1 ซม. ทั้งนี้การกําหนดตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน

52

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 47 : เลือกหน่วยวัดและระยะกดปุ่มแท็บ

• ที่ Tools → Options → Language setting *** (สําคัญมาก) เมนูย่อย Languages : ตั้งค่าตามภาพที่ 48 แล้วจะไม่มีปัญหากับภาษาไทย

ภาพที่ 48 : ตั้งค่าระบบภาษา

ช่อง User Interface : สํา หรับเลือกภาษาของเมนู สามารถเปลี่ยนเป็นเมนูภาษาไทยได้แต่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม (บาง เวอร์ชั่นก็ไม่ต้อง) แนะนําให้ใช้ภาษาอังกฤษ เพราะคู่มือต่างๆล้วนใช้เมนูภาษาอังกฤษ การแสดงผลก็ไม่มปี ัญหา ช่อง Locale setting : ตั้งค่าพื้น ที่ ที่ใช้งานซึ่ ง มีผลต่อ ระบบวันที่ ค่าปริย ายของวันที่จะเป็ นระบบของ USA ก็คือ เดือน/วัน/ปี สกุลเงินเป็น $ แต่ของไทยเป็น วัน/เดือน/ปี สกุลเงินเป็น ฿ ฉะนั้นที่ช่องนี้ให้เลือกเป็น Thai ช่อง Default currency : สกุลเงินปริยาย มีผลเมื่อจัดรูปแบบของตัวเลขเป็นสกุลเงิน โปรแกรมจะใส่เครื่องหมายสกุล เงินที่ตั้งไว้ที่นี่ให้โดยอัตโนมัติ แต่ทั้งนี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นได้ในภายหลัง ช่อง CTL (Complex text language) : เลือกภาษาให้กับภาษาที่ 2 ในที่นี้คือ Thai (ภาษาไทย) กล่องตัวเลือก Enabled for complex text layout(CTL) : เปิดใช้ภ าษาที่ 2(ปกติจะติ๊กอยู่แล้ว ) หากไม่ ติ๊กจะไม่ สามารถตั้งฟอนต์ภาษาที่ 2 ได้ มีผลต่อช่อง CTL (Complex text language)

4.2 ตั้งฟอนต์เริม่ ต้น เมื่อเริ่มต้นพิมพ์อะไรก็ตามลงในเอกสาร โปรแกรมได้ตั้งฟอนต์เริ่มต้นไว้ให้แล้ว ซึ่งโดยปกติเราจะไม่ใช้ฟอนต์ดังกล่าวจึง ต้องเปลี่ยนฟอนต์เสมอ สร้างความยุ่งยากในการใช้งานพอสมควร แต่ทั้งนี้ เราสามารถตั้งฟอนต์เริ่มต้นได้เอง เมื่อเริ่มต้นสร้าง เอกสารใหม่ โปรแกรมจะใช้ฟอนต์ที่เราตั้งไว้เสมอ

บทที่ 4 : การตั้งค่าที่สําคัญของ Writer

53


ฟอนต์มาตรฐาน

5

ฟอนต์ TH SarabunPSK หรือ TH Sarabun New ถูกใช้เป็นฟอนต์มาตรฐานในหน่วยงานราชการกัน อย่างกว้างขวาง การตั้ งฟอนต์ เริ่ ม ต้ น สามารถตั้ งได้ ที่ อ๊อ พชั่ นของโปรแกรมเช่ น เดี ย วกั น ให้ไ ปที่ Tools → Options... → เมนู LibreOffice Writer ภาพที่ 49 และ ภาพที่ 50 เป็น การตั้ งฟอนต์เ ริ่ม ต้น ให้ กั บ ภาษาอั ง กฤษและภาษาไทยที่ เมนู ย่ อ ย Basic Fonts (Western) และ เมนูย่อย Basic Fonts (CTL) ตามลําดับ ซึ่งตั้งเป็นฟอนต์ TH Sarabun New ทั้งหมด แต่ละภาษามีช่อง ให้ตั้งฟอนต์ 5 ช่องด้วยกัน เป็นการตั้งฟอนต์เริ่มต้นให้กับสไตล์ทั้ง 5 เช่น สไตล์ Default เป็นสไตล์ที่กํา กับรูปแบบของข้อ ความทั่วๆไป, สไตล์ Caption เป็นสไตล์ที่กํากับรูปแบบของข้อความที่เป็ นคําบรรยาย เป็นต้น (ดูเรื่องสไตล์ในบทที่ 13 หน้า 141) เมนูย่อย Basic Fonts (Western) : ตั้งฟอนต์เริ่มต้นสําหรับภาษาอังกฤษ (ตามภาพที่ 49)

ภาพที่ 49 : ตัง้ ฟอนต์เริ่มต้นสําหรับภาษาอังกฤษ

เมนูย่อย Basic Fonts (CTL) : ตั้งฟอนต์เริ่มต้นสําหรับภาษาไทย (ตามภาพที่ 50)

ภาพที่ 50 : ตัง้ ฟอนต์เริ่มต้นสําหรับภาษาไทย

6

หากไม่มีเมนูย่อย Basic Fonts (CTL) ***

หากเมนูย่อย Basic Fonts (CTL) ไม่มี ให้ตั้งระบบภาษาใหม่ ตามที่อธิบายไว้ใน ข้อ 4.1 ในเมนู Languages Setting (ภาพที่ 48) หากไม่เปิดใช้ภาษาที่ 2 จะไม่มีเมนูย่อย Basic Fonts (CTL)

54

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


เคล็ดลับการตัง้ ฟอนต์เริ่มต้น การตั้งฟอนต์เริ่มต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรใช้ฟอนต์เดียวกัน หากเปิดใช้ภาษาที่ 2(CTL)ด้วย ซึ่งปกติเราจะ ใช้กันแบบนั้น เพราะเมื่อกดปุ่มสลับภาษา ทั้งฟอนต์ไทยและอังกฤษจะเป็นฟอนต์เดียวกัน ถ้าไม่ตั้งให้เหมือนกัน เมื่อพิมพ์ ข้อความลงไปจากนั้นสลับไปใช้ภาษาอื่น ภาษาอื่นก็จะใช้ฟอนต์อื่นไปด้วย การตั้งฟอนต์เริ่มต้นด้วยวิธีนี้ มีผลต่อเอกสารที่สร้างใหม่ทั้งหมด

4.3 ตั้งหน่วยความจํา ไปที่ Tools → Options... → เมนู LibreOffice → เมนูย่อย Memory จะปรากฎหน้าต่าง Options ตามภาพที่ 51 กรอบ Undo : ใช้ตั้งจํานวนครั้งในการในการยกเลิกคําสั่งล่าสุด กรอบ Graphics cache : ใช้ตั้งจํานวนหน่วยความจําที่ใช้กับภาพหรือรูปวาด หากเอกสารมีภาพเป็นจํานวนมาก ควร ตั้งสูงๆไว้ ช่อง Use for LibrOffice(ใช้สําหรับ LibreOffice) และช่อง Memory per objects สูงสุดได้ 256 MB กรอบ Cache for insert object : ในกรณีที่ทํางานกับเอกสารที่มีภาพเป็นจํานวนมาก หากเกิดกรณี เปิดเอกสารแล้ว ภาพไม่แสดง แต่เมื่อใช้เม้าส์ คลิกดูปรากฎว่ายังสามารถเลือกได้ จริงๆแล้วภาพไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ดี แต่เป็นเพราะหน่วย ความจํา ไม่พอหรือจํา กัดจํา นวนภาพไว้ ภาพจึงไม่แสดง วิธีแก้ ก็คือ ให้เพิ่มค่าที่ ช่อง Number of objects(สูงสุดได้ 1,024) จากนั้นปิดโปรแกรม แล้วเปิดไฟล์ใหม่ ( งานที่มีภาพมากๆ ตั้งแต่ 400-500 ภาพขึ้นไป ผู้เขียนจะเปิดใช้หน่วยความจําที่อัตราสูงสุด )

ภาพที่ 51 : ตัง้ หน่วยความจํา

4.4 การแทนที่ฟอนต์ กรณีได้รับไฟล์หรือต้องเปิดไฟล์ ที่ใช้ฟอนต์ที่เครื่องเราไม่มี สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้ที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ Ubuntu ซึ่ง ไม่มีฟอนต์อย่างเช่น Angsana, Browallia หรือ Cordia เป็นต้น หรือกรณี ต้องการใช้ฟอนต์หนึ่งแสดงแทนอีกฟอนต์หนึ่ง ชั่วคราว กรณีดังกล่าว เราสามารถเลือกใช้ฟอนต์ที่มีในเครื่องแสดงแทนฟอนต์ที่ไม่มีได้ ซึ่งเรียกว่า การแทนที่ฟอนต์(Font Replacement) การแทนที่ฟอนต์ ในที่นี้ไม่ใช่การเปลี่ยนฟอนต์ เป็นเพียงการนําฟอนต์ที่มีมาแสดงแทนเท่านั้น ฟอนต์ที่มากับ ไฟล์ยังคงเป็นฟอนต์เดิม เช่น ฟอนต์ที่มากับไฟล์เป็น AngsanaUPC เมื่อทําการแทนที่ด้วยฟอนต์ TH Sarabun New ฟอนต์ AngsanaUPC จะถูกแสดงแทนด้วยฟอนต์ TH Sarabun New เท่านั้น แต่จริงๆยังเป็นฟอนต์ AngsanaUPC อยู่ การแทนที่ฟอนต์ ให้ไ ป Tools → Options → เมนู LibreOffice → เมนูย่อย Font จะปรากฎหน้าต่างตามภาพที่ 52 บทที่ 4 : การตั้งค่าที่สําคัญของ Writer

55


ภาพที่ 52 เป็นตัวอย่าง การตั้งแทนที่ฟอนต์ Angsana New ด้วยฟอนต์ TH Sarabun New

ภาพที่ 52 : แทนที่ฟอนต์ Angsana New ด้วยฟอนต์ TH Sarabun New

4.5 การเปลี่ยนสีฟอนต์เริ่มต้น ฟอนต์ปริยาย หรือฟอนต์เริ่มต้นที่ Writer ตั้งไว้ให้ มีสีเทาจางๆ เราสามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่นได้ดังนี้ ไปที่ Tool → Option → เมนู LibreOffice → เมนูย่ อย Appearance จะปรากกฏหน้ าต่ างตามภาพที่ 53 ที่ กรอบ Custom colors มองหาข้อความตามภาพที่ 53 (Font Color) แล้วเปลี่ยนจากสี Automatic เป็นสีตามชอบ

ภาพที่ 53 : เปลี่ยนสีปริยายให้กับฟอนต์

56

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 5 : กำรพิมพ์และกำรเลือกข้อควำม


5.1 การพิมพ์ข้อความ ก. ตัวชี้พิมพ์ข้อความ และ ตัวชี้เม้าส์ ใน Writer มีตวั ชี้อยู่ 2 ตัวก็คือ ตัวชี้เม้าส์(Mouse Pointer) และ ตัวชี้พิมพ์ข้อความ(Text cursor) ตัวชี้พิมพ์ข้อความ : มีลักษณะเป็นขีดกระพริบตลอดเวลา เป็นตัว ระบุตําแหน่งเริ่มต้นพิมพ์ข้อความ เมื่อพิมพ์อะไรลงไป ข้อความจะปรากฎ ณ ตัวชี้พิมพ์ข้อความ ตัวชี้พิมพ์ข้อความจะอยูภ่ ายในหน้ากระดาษเท่านั้น ตัวชี้เม้าส์ : จะเคลื่อนไปตามการขยับเม้าส์ หากคลิกตัวชี้เม้าส์ ภายในหน้ากระดาษ จะเป็นการย้าย ตัวชี้พิมพ์ข้อความ มายังตําแหน่งที่คลิก 7

ภาพที่ 54 : ตัวชี้ 2 ตัวใน Writer

การคลิกเม้าส์แบบต่างๆที่อธิบายในหนังสือเล่มนี้ คลิก / คลิกเม้าส์ = คลิกปุ่มเม้าส์ด้านซ้าย คลิกเม้าส์ขวา หรือ คลิกขวา = คลิกปุ่มเม้าส์ด้านขวา คลิกเม้าส์กลาง = คลิกปุ่มเม้าส์ปุ่มกลาง(ปุ่มลูกกลิ้ง)

ข. ขนาดตัวชี้พิมพ์ข้อความและขนาดตัวอักษร ความสูงของตัวชี้พิมพ์ข้อความ สัมพันธ์ตามขนาดของตัวอักษร(ขนาดฟอนต์) ตามภาพที่ 55 ณ ตอนนี้ หัวข้อนี้อ่านผ่านๆไปก่อนก็ได้ แต่ถ้าต้องตั้งค่าอย่างละเอียด ตั้งค่าที่เป็นมาตรฐานมากๆ ภาพที่ 55 จะช่วยให้ เข้าใจการตั้งค่าเกี่ยวกับตัวอักษรได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในข้อต่อๆไป

ภาพที่ 55 : ขนาดต่างๆของ ข้อความใน 1 บรรทัด

ค. ปุ่มที่ใช้ร่วมในการพิมพ์ข้อความ ปุ่ม <~> หรือ <Alt><Shift> ใช้สลับภาษา หากกดแล้วโปรแกรมไม่สลับภาษา สาเหตุอาจมาจากระบบปฏิบัติการ (Ubuntu หรือ Windows) หรือมาจาก Writer หากสาเหตุมาจาก Writer ให้ตรวจสอบการเปิดใช้ ภาษาที่ 2 ตามที่อธิบาย ไว้ในข้อ 4.1 เมนู Languages Setting (ภาพที่ 48) ปุ่ม <Insert> ใช้สลับโหมดการพิมพ์ ระหว่างโหมดพิมพ์ทับและพิมพ์แทรก โหมดปกติจะเป็นการพิมพ์แทรก ตัวชี้ พิมพ์ข้อความมีลักษณะเป็นขีดบางๆ โหมดพิมพ์ทับ ตัวชี้พิมพ์ข้อความจะเปลี่ยนเป็นกรอบสีดํา โหมดนี้หากมีตัวอักษรอยู่ข้าง หน้าจะพิมพ์ทับ เมื่อเปลี่ยนเป็นโหมดพิมพ์ทับ จะปรากฎข้อความ Overwrite แจ้งที่แถบแสดงสถานะ แต่โหมดพิมพ์แทรกไม่มีแจ้ง

ภาพที่ 56 : ข้อความแจ้งที่แถบบอกสถานะว่าเป็นโหมดพิมพ์ทับ

58

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ปุ่ม <Spacebar> ใช้พิมพ์ช่องว่าง 1 ตัวอักษร ปุ่ม <Backspace> ใช้ลบตัวอักษรที่อยูด่ ้านหลัง 1 ตัวอักษร ปุ่ม <Delete> ใช้ลบตัวอักษรที่อยูด่ ้านหน้า 1 ตัวอักษร ปุ่ม <Ctrl><Backspace> ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านหลัง 1 คํา ปุ่ม <Ctrl><Delete> ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านหน้า 1 คํา ปุ่ม <Tab> ใช้พิมพ์ช่องว่างให้ลงล็อคตามตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บที่ตั้งไว้ ดูวิธีการตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บในข้อ 4.1(หน้า 53-ภาพที่ 47) และข้อ 7.10 (หน้า 76)

ภาพที่ 57 : สัญลักษณ์แสดงตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บบนไม้บรรทัด

ปุ่ม <Enter> ใช้ขึ้นย่อหน้าใหม่ การกด <Enter> บางครั้งจะเรียกว่าขึ้นบรรทัดใหม่ แต่ ที่ถูกจริงๆ ตามหลักการใช้ งาน Writer จะเรียกว่าการขึ้นย่อหน้าใหม่ (ดูเพิ่มเติมเรื่องย่อหน้าในบทที่ 7 หน้า 67) แต่บางครั้งก็หยวนๆเรียกว่าขึ้นบรรทัด ใหม่ได้ ปุ่ม <Ctrl><Enter> ใช้ขึ้นย่อหน้าใหม่ พร้อมกันขึ้นหน้าใหม่(Page break) (ดูเพิ่มเติมในข้อ 7.13 หน้า 82) ปุ่ม <Shift><Enter> ใช้ขึ้นบรรทัดใหม่ แต่ยังอยูใ่ นย่อหน้าเดิม (ดูเพิ่มเติมในข้อ 7.1 หน้า 68)

ง. ตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ (Nonprinting characters) การกดปุ่ม <Spacebar>, <Tab> และ <Enter> จะสร้างตัวอักษรที่มองไม่เห็นและไม่พิมพ์ขึ้นมา ให้คลิกที่ปุ่ม (Nonprinting Characters)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน หรือกด <Ctrl><F10> จะปรากฎสัญลักษณ์แทนตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ ขึ้นมา <Spacebar> <Tab> <Enter> <Shift><Enter>

แทนด้วย · แทนด้วย → แทนด้วย ¶ แทนด้วย ↵

(จุดอยู่ตรงกลาง) (ลูกศร) (เครื่องหมายพาย) (เครื่องหมาย Return)

ภาพที่ 58 : เปิดแสดงตัวอักษรที่ไม่พิมพ์

ตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ใช้ทําอะไร? ตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ ปกติจะไม่เปิดทิ้งไว้ แต่จะถูกเปิด เพื่อดูโครงสร้างของเอกสารในกรณีที่เกิดปัญหา เช่น ดูว่ากด <Spacebar>, <Tab> หรือ <Enter> ตรงไหนบ้าง เป็นต้น บทที่ 5 : การพิมพ์และการเลือกข้อความ

59


5.2 การเลือกกข้ข้อความ ความและโหมดกา และโหมดการเลื รเลือก ก. การเลือกข้อความ การเลือกข้อความ ให้ คลิก เม้าส์ ค้างเพื่อกํา หนดจุดเริ่มต้น จากนั้นลากเม้าส์ ให้คลุมข้อความ ข้อความที่ถูกเลือกจะ ปรากฎเป็นแถบสีซ้อนทับอยู่ (ตามภาพที่ 59)

ภาพที่ 59 : การเลือกข้อความวิธีที่ 1

หรืออีกวิธีหนึ่ง คลิกเม้าส์เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นก่อน จากนั้นกด <Shift> ค้างไว้ และคลิกที่ปลายทาง (ตามภาพที่ 60)

ภาพที่ 60 : การเลือกข้อความวิธีที่ 2

หากต้องการยกเลิกการเลือก ให้คลิกตรงไหนก็ได้ หรือกดปุ่ม <Esc>

ข. โหมดการเลือกข้อความ การเลือกข้อความมีอยู่ 4 โหมดด้วยกัน การเลือกตามที่อธิบายในข้อ ก. เป็นโหมดการเลือกแบบ Standard selection(โหมดมาตรฐาน) เป็นโหมดปกติที่ใช้ กันทั่วๆไป การเปลี่ยนโหมดการเลือก สามารถทําได้โดยคลิกที่ สัญลักษณ์โหมดการ เลือกข้อความ( )บนแถบแสดงสถานะ → เลือกโหมด (ดูเรื่องแถบแสดงสถานะใน ภาพที่ 61 : เลือกโหมดการเลือกข้อความ ข้อ 3.4 หน้า 42) Standard selection : โหมดการเลือกมาตรฐาน การใช้งานตามที่อธิบายไว้ในข้อ ก. Extending selection : โหมดขยายการเลือก โหมดนี้เหมาะกับการเลือกข้อความปริมาณมากๆ เช่น เลือกจากหน้า หนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง, เลือก 10 หน้า เป็นต้น ขั้นตอนการเลือกในโหมดนี้มีดังต่อไปนี้ 1. คลิกเม้าส์เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นการเลือก 2. เปลี่ยนโหมดการเลือกเป็น Extending selection 3. คลิกเม้าส์เพื่อกําหนดปลายทางการเลือก (ก่อนคลิกเม้าส์เพื่อกําหนดปลายทางการเลือก สามารถเลือ่ นหน้าจอไปยังหน้าอื่นๆ เพื่อกําหนดปลายทางที่ห่างกับ จุดเริ่มต้นมากๆได้)

60

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 62 : ขั้นตอนการเลือกในโหมด Extending selection

กดคีย์ <Esc> เพื่อยกเลิกการเลือกและกลับสู่โหมด Standard selection Adding selection : โหมดเลือกเพิ่ม วิธีใช้งานเหมือนกั บโหมด Standard selection แต่สามารถเลือกข้อความเพิ่ม เป็นช่วงๆแยกกันได้ ตัวอย่างตามภาพที่ 63

ภาพที่ 63 : ตัวอย่างการเลือกข้อความในโหมด Adding selection

หรือให้กด <Ctrl>+เลือกข้อความ จะสลับมาใช้โหมด Adding selection โดยอัตโนมัติ Block selection : โหมดเลือกเป็นบล็อค (คีย์ลัด = <Shift><Ctrl><F8>) วิธีใช้งานเหมือนกั บโหมด Standard selection แต่ผลที่ได้นั้นต่างกัน โหมดเลือกเป็นบล็อคจะเลือกข้อความที่อยู่ในกรอบของจุดต้นและจุดปลาย โหมดนี้เหมาะกับ การเลือกข้อความที่อยู่คนละบรรทัดที่จัดให้แนวตั้งตรงกัน ตัวอย่างตามภาพที่ 64

ภาพที่ 64 : ตัวอย่างการเลือกในโหมด Block selection

บทที่ 5 : การพิมพ์และการเลือกข้อความ

61


ค. การเลือกย่อหน้า ย่อหน้า(Paragraph) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญ ที่สุดใน Writer ความหมายของย่อหน้าในการทํางานกับ Writer กับ ความหมายของย่อหน้าในการพิมพ์เอกสารนั้นต่างกัน เมื่อพิมพ์ข้อความอะไรก็ตามจากนั้นกด <Enter> ถือว่าเป็นการตัด ขึ้นย่อหน้าใหม่ แม้ไม่ได้พิมพ์อะไรก็ถือว่าเป็นย่อหน้าเช่นกัน (ดูเพิ่มเติมเรื่องความหมายของย่อหน้า ในข้อ 7.1 หน้า 68) การเลือกย่อหน้า ใช้เพียงการคลิกให้ตัวชี้พิมพ์ข้อความอยูใ่ นขอบเขตย่อหน้า ถือว่าได้เลือกย่อหน้าดังกล่าวแล้ว แต่ถ้า จะเลือกหลายย่อหน้า ให้ใช้วิธีเดียวกับข้อ ก. และ ข. โดยเลือกให้คลุมย่อหน้าทั้งหมดที่ต้องการ

5.3 คีย์ลัดที่ใช้เลือกกและเลื และเลื่อนตัวชี้พิมพ์ข้อความ : < ←> : <↑> : <↓ > :

< →>

ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปทางขวา 1 ตัวอักษร ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปบรรทัดก่อนหน้า ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปบรรทัดถัดไป

<Ctrl>< →> <Ctrl><←> <Ctrl><↑> <Ctrl><↓ > <Shift>< →> <Shift><←> <Shift><↑> <Shift><↓ >

: : : : : : : :

ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปทางขวา 1 คํา ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปทางซ้าย 1 คํา ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปย่อหน้าก่อนหน้า ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปย่อหน้าถัดไป เลือกตัวอักษรทางขวา 1 ตัวอักษร (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกตัวอักษรทางซ้าย 1 ตัวอักษร (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกข้อความ 1 บรรทัดด้านบน (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกข้อความ 1 บรรทัดด้านล่าง (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ)

<Home> <End> <Ctrl><Home> <Ctrl><End> <Shift><Home> <Shift><End> <Shift><Ctrl><Home> <Shift><Ctrl><End>

: : : : : : : :

ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวแรกในบรรทัด ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวสุดท้ายในบรรทัด ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวแรกของเอกสาร ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวสุดท้ายของเอกสาร เลือกข้อความไปจนถึงอักษรตัวแรกในบรรทัดเดียวกัน (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกข้อความไปจนถึงอักษรตัวสุดท้ายในบรรทัดเดียวกัน (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกข้อความไปจนถึงอักษรตัวแรกในเอกสาร (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ) เลือกข้อความไปจนถึงอักษรตัวสุดท้ายในเอกสาร (นับจากตัวชี้พิมพ์ข้อความ)

<PgUp> <PgDn> <Ctrl><PgUp> <Ctrl><PgDn>

: : : :

ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความขึ้นไป 1 หน้าจอ ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความลงไป 1 หน้าจอ ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวแรกในหน้ากระดาษ ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่อักษรตัวสุดท้ายในหน้ากระดาษ

<Ctrl><A> : เลือกข้อความทั้งเอกสาร (รวมทั้งภาพและองค์ประกอบต่างๆทั้งหมด)

62

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 6 : เครื่องมือทำำงำนกับข้อควำม ชุดที่ 1


6.1 การยกเลิกคําสั่ง(Undo) และ การย้อนคําสั่ง(Redo) เมื่อพิมพ์หรือทําสิ่งใดผิดไป เช่น พิมพ์ผิด, ลบผิด, คัดลอกและวางข้อมูลผิดที่ หรือ จัดรูปแบบตัวอักษรผิด เป็นต้น เรา สามารถยกเลิกคําสั่งที่ทําไปล่าสุดได้โดยการคลิกที่ปุ่ม (Undo)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน หรือ กด <Ctrl><Z> เมื่อใช้ คําสั่งไปเรื่อยๆ ก็จะยกเลิกคําสั่งย้อนหลังไปเรื่อยๆครั้งละ 1 คําสั่ง แต่ถ้าเปลี่ยนใจ ต้องการย้อนทําคําสั่งที่ได้ยกเลิกไป ให้คลิกที่ปุ่ม (Redo) หรือ กด <Ctrl><Y> ในกรณีต้องการยกเลิกหรือย้อนทําคําสั่งหลายๆคําสั่งในครั้งเดียว ให้คลิกที่ สามเหลี่ยมเล็กๆข้างๆปุ่ม (Undo) หรือปุ่ม (Redo) ตามภาพที่ 65 จะปรากฎกรอบรายการคําสั่งที่ยกเลิกไปหรือคําสั่งที่สามารถย้อนทําได้ ตามลําดับ จาก นั้นให้เลือกรายการในกรอบเพื่อยกเลิกหรือย้อนทําคําสั่ง

ภาพที่ 65 : คลิกที่ปุ่ม Undo

6.2 การ การคัคัดลอก การตัด การย้าย และ และการ การวาง วาง การคัดลอก การตัด และการวาง (ขัน้ ตอนมาตรฐาน) ขั้นตอน 1. เลือกข้อความต้นทาง 2. กด <Ctrl><C> เพื่อคัดลอกข้อมูล หรือ กด <Ctrl><X> เพื่อตัดข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจํา 3. คลิก ณ ตําแหน่งปลายทาง 4. กด <Ctrl><V> เพื่อวางข้อมูล (หากเลือกข้อความปลายทาง จะเป็นการวางทับ) การคัดลอกและวาง โดยใช้เม้าส์เพียงอย่างเดียว 4 ขั้นตอนก่อนหน้า เป็นขั้นตอนมาตรฐานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่มีวิธีที่เร็วกว่า ในการคัดลอกและวาง โดยใช้เม้าส์ เพียงอย่างเดียว ขั้นตอน 1. เลือกข้อความต้นทาง 2. คลิกเม้าส์ปุ่มกลาง ณ ตําแหน่งปลายทางเพื่อวาง

64

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การย้ายข้อความ การย้ายข้อความ สามารถใช้การตัด(<Ctrl><X>) และวาง <Ctrl><V> ได้ แต่ก็มีวิธีที่สะดวกกว่า ดังนี้ ขั้นตอน 1. เลือกข้อความต้นทาง 2. คลิกเม้าส์ค้างบริเวณข้อความที่เลือก จากนั้นลากไปวางยังปลายทาง

บทที่ 6 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 1

65


66

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 7 : ย่อหน้ำ (Paragraph)


7.1 ย่อหน้า (Paragraph (Paragraph)) ย่อหน้า (Paragraph) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญ ที่สุดใน Writer เพียงเริ่มต้นพิมพ์อะไรลงไป ก็เป็นการสร้าง ย่อหน้าแล้ว นอกจากนี้เทคนิคที่ช่วยอํานวยความสะดวก การใช้งานขั้นสูง ล้วนอ้างอิงการตั้งค่าย่อหน้าทั้งสิ้น ฉะนั้นการ ทํางานเอกสารใน Writer จําเป็นต้องเข้าใจความหมายของย่อหน้าให้ดี ย่อหน้า คือ บล็อคของข้อความ ที่มีได้หลายประโยค มีได้หลายบรรทัด หรือ อาจไม่มีข้อความอะไรเลยก็ได้ สําคัญที่การ กด <Enter> เมื่อมีการกด <Enter> ถือเป็นการจบย่อหน้าและเริ่มต้นย่อหน้าใหม่พร้อมๆกัน ย่อหน้าแต่ละย่อหน้า สามารถจัดรูปแบบเป็นของตนเอง เช่น ตั้งระยะกันหน้า กั้นหลัง ระยะห่างระหว่างบรรทัด ระยะ ห่างระหว่างย่อหน้า เป็นต้น ภาพที่ 66 มี 6 ย่อหน้า สังเกตุจากเครื่องหมาย ¶ (ตัวอักษรที่ไม่พิมพ์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนการกด <Enter> เพื่อ จบย่อหน้าและเริ่มต้นย่อหน้าใหม่ แม้แต่บรรทัดว่างๆที่ไม่มีตัวอักษรใดๆเลย ก็ถือว่าเป็นย่อหน้าหนึ่ง (ดูเรื่องตัวอักษรที่ไม่พิมพ์ ในข้อ 5.1 ง. หน้า 59)

ภาพที่ 66 : บล็อคของย่อหน้า

หากต้ อ งการขึ้ น บรรทั ด ใหม่ โดยที่ ยั ง อยู่ ใ นย่ อ หน้ า เดี ย วกั น ให้ ก ด <Shift><Enter> สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนการกด <Shift><Enter> ก็คือเครื่องหมาย ↵ (Return) ตัวอย่างตามภาพที่ 67

ภาพที่ 67 : ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยที่ยังอยู่ย่อหน้าเดียวกัน

7.2 คําสั่งที่ใช้จจั​ัดรูปแบบย่อหน้า การจั ด รู ป แบบย่ อ หน้ า สามารถเรี ย กใช้ คํา สั่ ง ได้ 3 แห่ ง ก็ คื อ 1. แถบเครื่ อ งมื อ จั ด รู ป แบบ, 2. ไม้ บ รรทั ด และ 3. หน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ เพื่อเปิด หน้าต่าง Paragraph) แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ รวมเฉพาะคําสั่งจัดรูปแบบที่ใช้บ่อยๆไว้ หน้าต่าง Paragraph ใช้จัดรูปแบบย่อหน้าได้อย่าง ละเอียด ไม้บรรทัด จัดย่อหน้าได้เฉพาะระยะกั้นหน้าและกั้นหลัง

68

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ไม่ว่าจะเรียกใช้คําสั่งจากที่ใด ก่อนเรียกใช้คํา สั่ง ให้คลิก ที่ย่อหน้าเพื่อเลือกย่อหน้าก่อน ไม่จํา เป็นต้องเลือกคลุมทั้ง ย่อหน้า แต่ถ้าจะจัดรูปแบบย่อหน้าตั้งแต่ 2 ย่อหน้าขึ้นไป ต้องเลือกให้คลุมทุกย่อหน้า(ทําแถบสีทุกย่อหน้า) 8

การนํารูปแบบย่อหน้าที่จัดรูปแบบไวั ไปใช้กับย่อหน้าอื่นๆ

เมื่อจัดรูปแบบให้กับย่อหน้าหนึ่ง จากนั้นจะนํารูปแบบดังกล่าวไปใช้กับย่อหน้าอื่นๆ ไม่จําเป็นต้องตั้งค่าใหม่ ตั้งแต่ต้น เพราะ Writer มีเครื่องมืออย่างเช่น แปรงระบายรูปแบบ(ข้อ 11.1 หน้า 124) และ สไตล์ (บทที่ 13 หน้า 141) ไว้อํานวยความสะดวกแล้ว 9

ย่อหน้าถัดไปมีการจัดรูปแบบเหมือนกับย่อหน้าก่อนหน้า

เมื่อจัดรูปแบบให้กับย่อหน้าหนึ่ง จากนั้นกด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ ย่อหน้าใหม่ จะมีการจัดรูปแบบ เหมือนกับย่อหน้าที่ 1 โดยปริยาย 10

การล้างรูปแบบ

เมื่อจัดรูปแบบเสร็จแล้ว หากต้องการล้างการจัดรูปแบบให้กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น ให้คลิกเลือกย่อหน้า จากนั้นกด <Ctrl><M> หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่ย่อหน้า → Clear Direct Formatting ณ ตอนนี้เรียกเพียงการล้างรูปแบบไปก่อน แต่จริงๆต้องเรียกว่า การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง ดูความหมายจริงๆของการล้างการจัดรูปแบบโดยตรง ได้ในข้อ 11.2 หน้า 124

7.3 ปุ่มบน บนแถบเครื แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ แบบทีที่ใช้จัดรูปแบบย่อหน้า ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ(Formatting) ที่ใช้จัดรูปแบบย่อหน้ามีดังต่อไปนี้

ภาพที่ 68 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ(Formatting toolbar)ที่ใช้จดั รูปแบบย่อหน้า

1

(Apply Style) ช่องเลือกสไตล์

6

(Left-to-Right) พิมพ์จากซ้ายไปขวา

2

(Align Left) จัดชิดซ้าย (<Ctrl><L>)

7

(Right-to-Left) พิมพ์จากขวาไปซ้าย

3

(Align Centered) จัดเข้ากลาง (<Ctrl><E>)

8

(Decrease Indent) ลดระยะกั้นหน้า 1 ขั้น

4

(Align Right) จัดชิดขวา (<Ctrl><R>)

9

(Increase Indent) เพิ่มระยะกั้นหน้า 1 ขั้น

5

(Justified) จัดชิดซ้ายและขวา (<Ctrl><J>)

10 (Background color) ใส่พื้นหลัง 11 (Paragraph) เปิดหน้าต่าง Paragraph

การใช้งาน ช่องเลือกสไตล์ ดูรายละเอียดในข้อ 13.3 ข หน้า 146 บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

69


7.4 การ การวางแนว วางแนวย่ย่อหน้าในแนวราบ การวางแนวย่อหน้าในแนวราบ สามารถทํา ได้โดยคลิกที่ปุ่ม บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ ตาม ลําดับก็คือ ปุ่มจัดชิดซ้าย (<Ctrl><L>), ปุ่มจัดเข้ากลาง (<Ctrl><E>), ปุ่มจัดชิดขวา (<Ctrl><R>) และ ปุ่มจัดชิดซ้ายและ ขวา (<Ctrl><J>)

ภาพที่ 69 : การวางแนวย่อหน้าในแนวราบแบบต่างๆ

ในกรณีจัดย่อหน้าชิดซ้ายและขวา บรรทัดสุดท้ายของย่อหน้าจะถูกจัดชิดด้านซ้าย แต่ในบางกรณี เราอาจต้องการให้ บรรทัดสุดท้ายจัดชิดขวา หรือจัดชิดซ้ายและขวา ซึง่ สามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการตั้งการวางแนวให้กับบรรทัดสุดท้าย 1. คลิกเลือกย่อหน้า

ภาพที่ 70 : ขั้นตอนการจัดบรรทัดสุดท้ายชิดซ้ายและขวา ขั้นตอนที่ 1

2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Alignment ตั้งการวางแนวให้กับบรรทัดสุดท้ายทีช่ ่อง Last Line ตามภาพที่ 71 เลือกเป็น Justified 4. คลิก OK จะได้ผลตามภาพที่ 71(ล่าง)

70

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 71 : ขั้นตอนการจัดบรรทัดสุดท้ายชิดด้านซ้ายและขวา ขั้นตอนที่ 2-4

7.5 การตั้งระยะกั้นย่อหน้า โดยปกติ ย่อหน้าจะอยู่ในกรอบของระยะขอบกระดาษพอดี แต่ทั้งนี้เราสามารถตั้งให้ย่อหน้าล่นเข้ามาได้อีกทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และบรรทัดแรก ก็คือสามารถตั้งระยะกั้นย่อหน้าได้ ซึ่งมี 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้ตัวชี้กั้นย่อหน้าบนไม้บรรทัด คลิกเลือกย่อหน้าก่อน จากนั้น ใช้เม้าส์จับ ตัวชี้กั้นย่อหน้า รูปสามเหลี่ยมที่อยู่บนไม้บรรทัดเลื่อน เพื่อปรับระยะกั้น ย่อหน้า ตัวชี้กั้นย่อหน้ามีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน ก็คือ ตัวชี้กั้นหน้า, ตัวชี้กั้นหลัง, ตัวชี้กันบรรทัดแรก(มีผลเฉพาะบรรทัดแรก)

ภาพที่ 72 : ตัง้ ระยะกั้นหน้า, กั้นหลัง และ กัน้ บรรทัดแรกโดยใช้ไม้บรรทัด

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

71


วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Paragraph วิธนี ี้สามารถตั้งระยะกั้นย่อหน้าได้อย่างแม่นยํา เพราะใช้การกรอกตัวเลข ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้า 2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Indents and Spacing กรอบ Indent ตั้งระยะกั้นย่อหน้าทีช่ ่อง Before text, After text และ First line 4. คลิก OK จะได้ผลตามภาพที่ 74(ล่าง)

ภาพที่ 73 : ตั้งระยะกั้นหน้า, กั้นหลัง และ กั้นบรรทัดแรกโดยใช้หน้าต่าง Paragraph

7.6 การ การตัตั้งระยะห่างระหว่างย่อหน้า เมื่อพิมพ์ย่อหน้าแรกเสร็จ จากนั้นกด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้า ที่สอง ย่อหน้าที่สองจะอยู่ติดกับย่อหน้าแรกจนดูไม่ ออกว่า ขอบเขตของย่อหน้าแรกและย่อหน้าที่สองอยู่ตรงไหน กรณีนี้เราอาจเคาะ <Enter> 2 ครั้ง เพื่อเว้นช่องว่างระหว่างย่อหน้าก็ได้ ครั้งแรกเป็นบรรทัดว่าง ครั้งที่ 2 เป็นย่อหน้า ทีส่ อง แต่วิธนี ี้ไม่มาตรฐาน(หยวนๆให้ทําได้กับงานเอกสารสั้นๆ) เพราะบริหารจัดการยาก วิธีที่เป็นมาตรฐานก็คือ การตั้งระยะ ห่างระหว่างย่อหน้า

72

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการตั้งระยะห่างระหว่างย่อหน้า 1. คลิกเลือกย่อหน้า 2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Indents and Spacing กรอบ Spacing(ช่องว่าง) ใส่ระยะห่างระหว่างย่อหน้าที่ ช่อง Above paragraph(ด้านบนย่อหน้า) และ Below paragraph(ด้านล่างย่อหน้า) 4. คลิก OK จะได้ผลตามภาพที่ 74(ล่าง)

ภาพที่ 74 : ขั้นตอนการตั้งระยะห่างระหว่างย่อหน้า

7.7 การ การตัตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด การเว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ภายในย่อหน้า โดยปกติ Writer จะเว้นให้อย่างอัตโนมัติโดยคํานวณจากขนาดฟอนต์ แต่ทั้งนี้เราก็สามารถตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดได้เอง ขั้นตอนการตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด 1. คลิกเลือกย่อหน้า 2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Indents and Spacing กรอบ Line spacing(ระยะห่างระหว่างบรรทัด) ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด 4. คลิก OK

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

73


ภาพที่ 75 : ขั้นตอนการตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด

ตัวเลือกในช่อง Line spacing(ระยะห่างระหว่างบรรทัด) มีดังต่อไปนี้ Single 1.5 Lines Doubles Proportional At least Leading Fixed

= = = = = = =

ค่าปกติ ระยะห่างระหว่างบรรทัดถูกคํานวณจากขนาดของฟอนต์ ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.5 เท่าของค่าปกติ ระยะห่างระหว่างบรรทัด 2 เท่าของค่าปกติ ระยะห่างเป็นเปอร์เซ็นของค่าปกติ เช่น 90%(แคบลง) หรือ 120%(กว้างขึ้น) ระยะห่างต้องไม่น้อยกว่าค่าปกติ และไม่น้อยกว่าค่าที่ระบุที่ช่องระบุขนาด เพิ่มระยะห่างจากค่าปกติตามที่ระบุที่ช่องระบุขนาด กําหนดเป็นค่าตายตัว เช่น 0.5 หรือ 1 ซม. เป็นต้น หากฟอนต์มีขนาดใหญ่กว่าที่กําหนด ฟอนต์จะ ถูกตัด เพราะจะคงระยะห่างระหว่างบรรทัดไว้อย่างตายตัว

ตัวอย่างระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบต่างๆ Single Single Single Single

1.5 lines 1.5 lines

Doubles Doubles

1.5 lines 1.5 lines

Proportional 90% Proportional 90% Proportional 90% Proportional 90%

Doubles

Leading 0.2 cm Leading 0.2 cm

Fixed=0.4cm Fixed=0.4cm Fixed=0.4cm

Leading 0.2 cm Leading 0.2 cm

Doubles ภาพที่ 76 ย่อหน้าได้ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบ Fixed แต่ฟอนต์มีขนาดใหญ่กว่า ข้อความจึงถูกตัดการแสดงผล

ภาพที่ 76 : ตัง้ ระยะห่างระหว่างบรรทัด

74

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


11

การระบุขนาด สามารถใส่หน่วยวัดอื่นๆลงไปได้

การตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด แบบ Fixed, Leading และ At least ที่ต้องระบุขนาดลงในช่องระบุขนาด เรา สามารถใส่ตัวเลขพร้อมระบุหน่วยวัด ที่ไม่ใช่หน่วยปริยายลงไปได้ เช่น 32pt หรือ 32px เป็นต้น จากนั้นโปรแกรม จะแปลงไปเป็นหน่วยปริยายให้โดยอัตโนมัติ เช่น กรอก 16pt โปรแกรมจะแปลงเป็น 0.56cm ให้อัตโนมัติ

ภาพที่ 77 : ใส่หน่วย pt (point) ลงในช่องระบุขนาด

ภาพที่ 78 : ตัวเลขเปลี่ยนจาก 16pt เป็น 0.56cm อย่างอัตโนมัติ

7.8 การ การวางแนว วางแนวข้ข้อความ ความในแนวดิ ในแนวดิ่ง ในกรณี มีตัวอักษรขนาดไม่เท่ากันอยู่ในบรรทัดเดียวกัน เราสามารถตั้ง การวางแนวของข้อความในแนวดิ่งได้ ว่าจะให้ ชิดบน เข้ากลาง หรือชิดล่าง การวางแนวข้อความในแนวดิ่ง ให้คลิกเลือกย่อหน้า จากนั้น เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือ คลิกที่ปุ่ม (Paragraph) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ตั้งค่าที่แท็บ Alignment ช่อง Alignment(การวางแนว)

ภาพที่ 79 : ตั้งการวางแนวข้อความในแนวดิ่ง

ตัวอย่าง ผลของตัวเลือกที่ช่อง Alignment

ABCDE ABCDE ABCDE ABCDE ABCDE

Automatic

Base line (เรียงให้เส้น Base line ของตัวอักษรตรงกัน)

Top (เรียงให้เส้น Top line ของตัวอักษรตรงกัน)

Middle (เรียงตัวอักษรเข้ากึ่งกลางบรรทัด)

Bottom (เรียงให้เส้น Bottom line ของตัวอักษรตรงกัน)

ดูตําแหน่งของเส้น Base line, Top line และ Bottom line ได้ตามภาพที่ 55 หน้า 58 บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

75


7.9 การย้ายย่อหน้า การย้ายย่อหน้าสามารถใช้การตัดข้อความทั้งย่อหน้า (เลือกข้อความแล้วกด <Ctrl><X>) แล้วนําข้อความไปวางไว้ยัง ตําแหน่งใหม่ก็ได้(กด <Ctrl><V>) หรื อ อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ซึ่ ง สะดวกในกรณี ย้ า ยย่ อ หน้ า ขึ้ น บนหรื อ ลงล่ า งไปใกล้ ๆ ก็ คื อ ให้ ค ลิ ก เลื อ กย่ อ หน้ า จากนั้ น กด <Ctrl><Alt><↑> หรือ <Ctrl><Alt><↓> เพื่อย้ายย่อหน้าขึ้นบนหรือลงล่าง โดยสลับตําแหน่งกับย่อหน้าที่อยู่ก่อนหรืออยู่ ด้านล่าง

7.10 การตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ ตําแหน่ง หยุดปุ่มแท็บ(Tab Stops) คือ ตําแหน่งบนไม้บรรทัด ที่เป็นตัวกําหนดตําแหน่ง กระโดดเมื่อกดปุ่ม<Tab> เมื่อกดปุ่ม<Tab> จะเป็นการพิมพ์ช่องว่างชนิดหนึ่ง โดยระยะของช่องว่างถูกกําหนดโดย ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บหนึ่งถึงตําแหน่ง หยุดปุ่มแท็บถัดไป ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ มักถูกใช้งานในกรณีพิมพ์ข้อความที่อยู่คนละบรรทัดให้ตรงกัน

ก. การตั้งตําแหน่งระยะหยุดปุ่มแท็บให้กับทั้งเอกสาร การตั้ง ตํา แหน่งหยุดปุ่มแท็บให้กับทั้งเอกสารต้องตั้งที่อ๊อพชั่นของโปรแกรม ให้ ไปที่ Tools → Options → เมนู LibreOffice Writer → เมนูย่อย General ช่อง Measurement Unit(หน่วยวัด ) ใช้ตั้งหน่วยวัด ซึ่ง มีผลต่อหน่วยวัด ทั้งหมดในเอกสาร เช่น หน่วยวัดของหน้า กระดาษ, หน่วยวัดของขนาดภาพ, หน่วยวัดเริ่มต้นของไม้บรรทัด เป็นต้น ตามภาพที่ 80 เลือกเป็น Centimeter ช่อง Tab stops (ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ) ตามภาพที่ 80 ตั้งเป็น 1.00 cm หมายถึงทุกระยะ 1 ซม.

ภาพที่ 80 : เลือกหน่วยวัดและตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ

ภาพที่ 81 เป็นตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บหลังตั้งอ๊อพชั่นแล้ว

ภาพที่ 81 : ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บหลังตั้งอ๊อพชั่นตามภาพที่ 80

ข. การตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บให้ย่อหน้า การตั้งตํา แหน่งหยุดปุ่มแท็บในข้อ ก. เป็นการตั้งให้กับทั้งเอกสาร ค่าปริยายของทุกย่อหน้าจะใช้ตํา แหน่งหยุดปุ่ม แท็บที่ตั้งในอ๊อพชั่น แต่ทั้งนี้เราสามารถตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บให้กับแต่ละย่อหน้าแยกไปต่างหากได้

76

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน ใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันดังนี้ (Left) (Right) (Decimal) (Center)

จัดข้อความชิดซ้าย ของตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ จัดข้อความชิดขวา ของตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ มักใช้กับตัวเลข โดยจัดตัวเลขให้หลักหรือทศนิยมตรงกัน จัดข้อความเข้ากลาง ของตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ

ภาพที่ 82 : การพิมพ์ข้อความและตัวเลข ณ ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บแบบต่างๆ

การตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บให้ย่อหน้าทําได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 : ตัง้ ที่ไม้บรรทัด ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้า ตามภาพที่ 83 เลือกย่อหน้าว่างๆ 2. คลิกเลือกชนิดตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ (ข้ามไปได้ แล้วไปเปลี่ยนชนิดในภายหลัง) 3. คลิกบนไม้บรรทัดเพื่อกําหนดตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ

ภาพที่ 83 : ขั้นตอนการตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บบนไม้บรรทัด

หลังกําหนดตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บแล้ว สามารถปรับแก้ได้ดังนี้ การย้าย : ใช้เม้าส์ลากสัญลักษณ์ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ ไปวางยังตําแหน่งที่ต้องการ การลบ : ใช้เม้าส์ลากสัญลักษณ์ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ ไปวางนอกไม้บรรทัด การเปลี่ยนชนิด : คลิกเม้าส์ขวาที่สัญลักษณ์ตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกเป็นชนิดอื่นๆ การล้างตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ : คลิกเลือกย่อหน้า จากนั้นกด<Ctrl><M> หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่ย่อหน้า → Clear Direct Formatting (ดูเรื่อง การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง ในข้อ 11.2 หน้า 124)

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

77


วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Paragraph ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้า 2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Tabs 3.1 พิมพ์ตัวเลขตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บลงในช่อง Postion 3.2 เลือกชนิดที่กรอบ Type (กรอบ Fill character ใช้เติมสัญลักษณ์ลงในช่องว่าง) 3.3 คลิกทีป่ ุ่ม New เพื่อเพิ่มตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ 4. คลิก OK

ภาพที่ 84 : ขั้นตอนการตั้งตําแหน่ง หยุดปุ่มแท็บทีห่ น้าต่าง Paragraphs

การย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บในย่อหน้าที่มีข้อความ เมื่อย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ ของย่อหน้าที่มีข้อความ ข้อความจะย้ายตามไปด้วย หลังตั้งตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บเสร็จ การกด <Enter> หรือกด <Shift><Enter> ให้ผลที่ต่างกันเมื่อมีการย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บในภายหลัง หากขึ้นบรรทัดใหม่ โดยกด <Enter> บรรทัดใหม่จะเป็นคนละย่อหน้า ส่งผลให้การย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ มีผลแค่ บรรทัดเดียว (ตัวอย่างตามภาพที่ 85) หากขึ้นบรรทัดใหม่ โดยกด <Shift><Enter> บรรทัดใหม่ยังเป็นย่อหน้าเดียวกันอยู่ การย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ จะ มีผลต่อทุกบรรทัดภายในย่อหน้าเดียวกัน (ตัวอย่างตามภาพที่ 87)

ภาพที่ 85 : ย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ มีผลแค่บรรทัดเดียวเพราะ 1 บรรทัดเป็น 1 ย่อหน้า

78

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 86 : ย้ายตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ มีผลทุกบรรทัด เพราะเป็นย่อหน้าเดียวกัน

7.11 การใส่ Drop cap capss ให้กับย่อหน้า Drop caps คือ ตัวอักษรที่ใหญ่พิเศษ มีขนาดข้ามไปยังบรรทัดที่อยู่ด้านล่าง การใส่ Drop caps ให้กับย่อหน้า ให้คลิกเลือกย่อหน้า จากนั้น เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือ คลิกที่ปุ่ม (Paragraph) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ตั้งค่าที่แท็บ Drop caps ภาพที่ 87 ได้ตั้งให้คําว่า “เมื่อ” เป็น Drop caps ที่มีความสูง 2 บรรทัด

ภาพที่ 87 : ใส่ Drop caps ให้กับย่อหน้า

7.12 ตั้งตําแหน่งตัดคําโดยใช้เเครื ครื่องหมาย งหมายกํกํากับรูปแบบ แบบ(Formattng (Formattng mark) เมื่อพิมพ์ข้อความจนขึ้นบรรทัดใหม่ โปรแกรมจะเลือกตําแหน่งตัดคําให้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งบางครั้งตัดไม่ได้อย่างที่เรา ต้องการ เช่น บางคําเราไม่ต้องการให้แยกจากกัน ขึ้นบรรทัดใหม่ก็ให้ไปด้วยกัน เป็นต้น จากลักษณะดังกล่าว เราสามารถใช้ เครื่องหมายกํากับรูปแบบ(Formattng mark) เป็นตัวบอก Writer ว่าจะให้ตัด คําหรือวลีอย่างไร ณ ตําแหน่งที่ใส่เครื่องหมายกํากับรูปแบบแบบต่างๆ บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

79


เครื่องหมายกํากับรูปแบบ(Formattng mark) มีอยู่หลายตัวด้วยกัน แต่ละตัวให้ผลการตัดคําหรือวลีที่ต่างกัน เมื่อใส่ เครื่องหมายกํากับรูปแบบ จะปรากฎเป็นช่องว่างบ้าง, มีอกั ขระเพิ่มเข้ามาบ้าง, หรือบางตัวก็ไม่มีช่องว่าง อย่างไรก็ดีทั้งหมดจะ มีแถบสีคาดอยู่ ลักษณะดังกล่าวแสดงว่าใส่ เครื่องหมายกํากับรูปแบบแล้ว แถบสีดังกล่าวเมื่อสั่งพิมพ์จะพิมพ์ไม่ออก เป็นเพียง การมาร์คการจัดรูปแบบเท่านั้น แต่ถ้าดูเกะกะ ให้กด <Ctrl><F8> เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบสีดังกล่าว

ก. Non-breaking space (ไม่ตัดที่ช่องว่าง) หากมีคําหรือวลีที่มีช่องว่างอยู่ระหว่างคํา ทีไ่ ม่ต้องการให้แยกจากกันเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่ เช่น Linux OS มีช่องว่างอยู่ ระหว่าง Linux และ OS เป็นต้น ให้ใส่ Non-breaking space ไว้แทนช่องว่าง คําดังกล่าวจะไปด้วยกันเสมอ วิธีใส่ Non-breaking space ให้พิมพ์ LinuxOS ติดกัน ก่อน จากนั้นคลิ ก เม้าส์ ตรงกลางระหว่าง Linux และ OS แล้วไปที่ Insert → Formatting Mark → Non-breaking space หรือกด <Shift><Ctrl><Spacebar> ภาพที่ 88 ย่อหน้าที่ 1 พิมพ์ตามปกติ Linux และ OS ถูกตัดแยกกันที่ช่องว่าง ย่อหน้าที่ 2 ใส่ Non-breaking space ไว้ขั้นกลางระหว่าง Linux และ OS เมื่อถูกตัดขึ้นบรรทัดใหม่ทั้ง 2 คําจึงไปด้วยกัน เสมือนเป็นคําๆเดียว

ภาพที่ 88 : ใส่ Non-breaking space ระหว่าง Linux และ OS ทีย่ ่อหน้าที่ 2

ข. Non-breaking hyphen (ไม่ตัดที่เครื่องหมายขีด) หากมีคําหรือวลี ที่มีเครื่องหมายขีดอยู่ภายใน ที่ไม่ต้องการให้แยกจากกันเมื่อ ขึ้นบรรทัดใหม่ เช่น จันทร์-ศุกร์ ให้ใส่ Non-breaking hyphen ไว้แทนเครื่องหมายขีด วลีดังกล่าวจะไปด้วยกันเสมอ วิธีใส่ Non-breaking hyphen ให้พิมพ์ จันทร์ศุกร์ ติดกันก่อน จากนั้นคลิกเม้าส์ตรงกลางระหว่าง จันทร์ และ ศุกร์ แล้วไปที่ Insert → Formatting Mark → Non-breaking hyphen หรือกด <Shift><Ctrl><-> ภาพที่ 89 ย่อหน้าที่ 1 พิมพ์ตามปกติ จันทร์-ศุกร์ ถูกตัดแยกกันที่เครื่องหมายขีด ย่อหน้าที่ 2 ใส่ Non-breaking hyphen ไว้ขั้นกลางระหว่าง จันทร์ และ ศุกร์ เมื่อถูกตัดขึ้นบรรทัดใหม่จึงไปด้วยกัน เสมือนเป็นคําๆเดียว

ภาพที่ 89 : ใส่ Non-breaking hyphen ระหว่าง จันทร์ และ ศุกร์

ค. Optional Hyphen (ใส่เครื่องหมายขีดเมื่อถูกตัด) เมื่อใส่ Optional Hyphen จะใส่เครื่องหมายขีดที่มองไม่เห็นไว้ระหว่างคําก่อน หากบางส่วนของคํา หรือวลีถูกตัดขึ้น บรรทัดใหม่ เครื่องหมายขีดจึงจะแสดง หากไม่ถูกตัดขึ้นบรรทัดใหม่ก็ไม่แสดง การใส่ Optional Hyphen มี วิ ธี เ หมื อ นกั บ ข้ อ ก. และ ข. แต่ ใ ห้ ไ ปที่ Insert → Formatting Mark → Optional Hyphen ตัวอย่างตามภาพที่ 90

80

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 90 ย่อหน้าที่ 1 พิมพ์ตามปกติ คําว่า นาโนเมตร ถูกตัดแยกกัน ย่อหน้าที่ 2 ใส่ Optional hyphen ไว้ระหว่าง นาโน และ เมตร แต่เครื่องหมายขีดยังไม่มีเพราะยังไม่ถูกตัดแยกกัน ย่อหน้าที่ 3 ใส่ Optional hyphen ไว้เหมือนกับย่อหน้า ที่ 2 แต่คําว่า นาโนเมตร ถูกตัดแยกจากกันเพราะถึงตําแหน่งตัดคําแล้ว เครื่องหมายขีดจึงปรากฎหลังคําว่า นาโน เป็น นาโน-

ภาพที่ 90 : ใส่ Optional hyphen ระหว่าง นาโน และ เมตร

ง. No-width optional break (ตัด ณ ตําแหน่งที่ระบุ) No-width optional break จะตั ด คํา ณ ตํา แหน่ ง ที่ ใ ส่ No-width optional break เป็ น การเจาะจงให้ ตั ด คํา ณ ตําแหน่งที่ระบุ มักใช้ในกรณีตัดคําทีย่ าวเกินไป จนทําให้ระยะห่างระหว่างตัวอักษรมากเกิน การใส่ No-width optional break มี วิ ธี เ หมื อ นกั บ ข้ อ ก. และ ข. แต่ ใ ห้ ไ ปที่ Insert → Formatting Mark → No-width optional break หรือกด <Ctrl></> ตัวอย่างตามภาพที่ 91 ภาพที่ 91 ย่อหน้าที่ 1 พิมพ์ www.libreoffice.org/download/ ตามปกติ ข้อความไม่ถูกตัดแยกกันเมื่อขึ้นบรรทัด ใหม่ เพราะตัวอักษรติดกัน หมดเสมือนเป็นคําๆเดียว โปรแกรมจึงไม่ตัดคํา ทําให้ตัวอักษรก่อนหน้าห่างกันเกินไป ย่อหน้าที่ 2 ใส่ No-width optional break ไว้ระหว่าง www.libreoffice.org/ และ download/ ณ ตํา แหน่ง ที่ใส่ข้อความจึงถูกตัด แยกจากกัน

ภาพที่ 91 : ใส่ No-width optional break ไว้ระหว่าง www.libreoffice.org/ และ download/

จ. No-width no break (ไม่ตัด ณ ตําแหน่งที่ระบุ) No-width no break ตรงข้ามกับ No-width optional break เป็นการระบุไม่ให้ตัดคํา ณ ตําแหน่งที่ใส่ No-width no break ใช้บอกโปรแกรมว่าอย่าตัดคํา ณ ตําแหน่งนั้น ถ้าจะขึ้นบรรทัดใหม่กใ็ ห้ไปด้วยกันทั้งก้อน การใส่ No-width no break มีวิธีเหมือนกับข้อ ก. และ ข. แต่ให้ไปที่ Insert → Formatting Mark → No-width no break ตัวอย่างตามภาพที่ 92 ภาพที่ 92 ย่อหน้าที่ 1 พิมพ์ตามปกติ คําว่า เต้าหู้ปลา ถูกตัดแยกกัน ย่อหน้าที่ 2 ใส่ No-width no break ไว้ระหว่าง เต้าหู้ และ ปลา คําว่า เต้าหู้ปลา เชื่อมเป็นคําคําเดียวจึงไม่ถูกตัดแยกกัน

ภาพที่ 92 : ใส่ No-width no break ไว้ระหว่างเต้าหู้ และ ปลา

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

81


7.13 กา การรตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ (การทํา Page break) ก. การตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ (การทํา Page break) การตัดย่อหน้า ขึ้นหน้าใหม่ สามารถกด <Enter> เพื่อไล่ย่อหน้า ไปทีละบรรทัด จนขึ้นหน้าใหม่ ก็ได้ แต่วิธีนี้ไม่ดีเลย บริหารจัดการยาก ไม่เรียกว่าการตัดย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยซํ้าไป แค่ให้ผลคล้ายกันเท่านั้น วิธีที่ดีก็คือ คลิกที่ก่อนอักษรตัว แรกในย่อหน้า จากนั้นกด <Ctrl><Enter> ณ ตําแหน่งที่คลิกจะถูกตัดขึ้นหน้าใหม่ในทันที การกด <Enter> และกด <Ctrl><Enter> ความหมายนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การกด <Enter> เป็นการขึ้นย่อหน้า ใหม่เพียงอย่างเดียว แต่การกด <Ctrl><Enter> จะเรียกว่าการทํา Page break(ตัดขึน้ หน้าใหม่) เพราะจะขึ้นย่อหน้าใหม่ พร้อมกับขึ้นหน้าใหม่ด้วย หลังทํา Page break จะปรากฎเส้น Page break อยู่ระหว่างหน้าก่อนและหน้าหลัง(ตามภาพที่ 93) มีลักษณะเป็นเส้นประสีนํ้าเงิน หากนําเม้าส์ไปชี้ที่เส้นดังกล่าว จะปรากฎปุ่มที่สามารถเรียกใช้คําสั่งเพื่อลบหรือแก้ไข Page break ได้ ภาพที่ 93 เป็นตัวอย่างการตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ หรือ การทํา Page break

ภาพที่ 93 : กด <Ctrl><Enter> เพื่อตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ (ทํา Page break)

หลังทํา Page Break (หรือหลังตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่) สามารถแก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้วย

82

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การแก้ไข Page break ให้ คลิกปุ่มบนเส้น Page break → Edit Page Break หรือ คลิกที่ย่อหน้าที่ทํา Page break (ย่อหน้าแรกของหน้ากระดาษ) จากนั้นไปที่ Format → Paragraph (หรือคลิกที่ปุ่ม บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ทั้ง 2 วิธีจะเปิดหน้าต่างเดียวกัน ก็คือ หน้าต่าง Paragraph การตั้ง Page break ให้ดูที่แท็บ Text Flow กรอบ Breaks

ภาพที่ 94 : หน้าต่าง Paragraph แท็บ Text Flow

กล่องตัวเลือก Insert : กํา หนดให้หลังเส้น Page break ใส่สิ่งที่ระบุลงไป หากติ๊กออก เส้น Page break จะถูกลบ ย่อหน้าจะถูกดีดกลับไปอยูท่ หี่ น้าก่อน ช่อง Type : ใช้เลือกสิ่งที่จะใส่ต่อจากเส้น Page break มีให้เลือก 2 รายการก็คือ Page(หน้ากระดาษ) และ Column (สดมน์) กรณีเลือกเป็น Column จะเห็นผลก็ต่อเมื่อหน้ากระดาษถูกแบ่งเป็นสดมน์ ช่อง Position : ใช้ระบุตําแหน่งของเส้น Page break ว่าจะให้อยู่ก่อน(Before)หรือหลัง(After)ย่อหน้า หากอยู่ก่อน ย่อหน้าปัจจุบันจะตัดขึ้นหน้าใหม่ หากอยู่หลัง ย่อหน้าถัดไปจะถูกตัดขึ้นหน้าใหม่เสมอ ตัวเลือก With Page Stype : ตัวเลือกนี้ใช้คู่กับ กรณี ที่ช่อง Type เลือกเป็น Page เป็นการกําหนดให้ขึ้นหน้าใหม่ด้วย สไตล์หน้ากระดาษที่กําหนด (ดูเพิ่มเติมเรื่องสไตล์หน้ากระดาษในบทที่ 17 หน้า 229) ตัวอย่าง ภาพที่ 95 เป็นตัวอย่างที่ต่อจากภาพที่ 93 หลังใส่ Page break ให้กับย่อหน้าที่ 2 จากนั้นแก้ไข Page break โดยตั้ง ค่าตามภาพที่ 95 ตีความก็คือ หลังเส้น Page break ให้ใส่เป็นหน้ากระดาษที่ใช้สไตล์หน้ากระดาษ Landscape ซึ่งวางหน้า กระดาษแบบแนวนอนและมี 2 สดมน์

ภาพที่ 95 : หลังแก้ไข Page break ให้กับย่อหน้าที่ 2

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

83


ภาพที่ 96 เป็นตัวอย่างที่ต่อจากภาพที่ 95 หลังแก้ไข Page break ของย่อหน้าที่ 2 จากนั้นก็ใส่ Page break ให้กับ ย่อหน้าที่ 3 โดยตั้งค่าตามภาพที่ 96 ตีความก็คือ หลังเส้น Page break (ตอนนี้เปลี่ยนเป็นเส้น Manual Column Break) ให้ ตัดขึ้นสดมน์ใหม่

ภาพที่ 96 : หลังแก้ไข Page break ให้กับย่อหน้าที่ 3

ข. เมื่อบางบรรทัดภายในย่อหน้าจะขึ้นหน้าใหม่ ข้อ ก. อธิบายถึง การตัดทั้งย่อหน้าขึ้น หน้าใหม่ โดยกด <Ctrl><Enter> เพื่อทํา Page break หัวข้อนี้อธิบายถึงกรณี มีบางบรรทัดภายในย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ เมื่อพิมพ์ข้อความจนบางบรรทัดภายในย่อหน้าถูกตัดขึ้นหน้าใหม่ หรือ กด <Enter> เพื่อไล่ย่อหน้าจนบางบรรทัดขึ้น หน้าใหม่ โดยปกติจะขึ้นหน้าใหม่ทีละบรรทัด แต่ทั้งนี้เราสามารถตั้งได้ว่า จะให้บรรทัดภายในย่อหน้าตัดขึน้ หน้าใหม่อย่างไร วิธีทํา ให้คลิกเลือกย่อหน้า ก่อน จากนั้นไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม มือจัดรูปแบบ เพื่อเปิดหน้าต่าง Paragraph จากนั้นตั้งค่าที่แท็บ Text Flow กรอบ Options

(Paragraph) บนแถบเครื่อง

ภาพที่ 97 : หน้าต่าง Paragraph แท็บ Text Flow กรอบ Options

กล่องตัวเลือก Do not split paragraph(ไม่แยกย่อหน้า) : บรรทัดภายในย่อหน้าจะเกาะติดกัน หากบรรทัดสุดท้าย จะขึ้นหน้าใหม่ ก็จะไปด้วยกันทั้งย่อหน้า กล่องตัวเลือก Keep with next paragraph(เกาะกับย่อหน้าถัดไป) : ย่อหน้าจะเกาะกับย่อหน้าถัดไป หากย่อหน้าถัด ไปขึ้นย่อหน้าใหม่ ย่อหน้าปัจจุบันก็จะขึ้นหน้าใหม่ด้วย

84

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


กล่องตัวเลือก Orphan control(ควบคุมแบบเด็กกําพร้า) : หรือเรียกว่า บรรทัดบนเกาะกลุ่มกัน บรรทัดบนภายใน ย่อหน้าจะเกาะติดกันตามจํานวนที่ระบุ หากบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งจะขึ้นหน้าใหม่ ก็จะไปด้วยกันทั้งก้อน กล่องตัวเลือก Widow control(ควบคุมแบบแม่ม่าย) : หรือเรีย กว่า บรรทัด ล่างเกาะกลุ่มกัน บรรทัดล่างภายใน ย่อหน้าจะเกาะติดกันตามจํานวนที่ระบุ หากบรรทัดใดบรรทัดหนึ่งจะขึ้นหน้าใหม่ ก็จะไปด้วยกันทั้งก้อน ตัวอย่าง ภาพที่ 98 เป็นย่อหน้าก่อนกด <Enter> เพื่อไล่ย่อหน้าที่ 2 ขึ้นหน้าใหม่ ภาพที่ 99 (ต่อเนื่องจากภาพที่ 98 เป็นขั้นตอนหลังกด <Enter>) ย่อหน้าที่ 2 ได้ตั้งให้ ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Do not split paragraph เมื่อกด <Enter> 1 ครั้ง ย่อหน้าที่ 2 ขึ้นหน้าใหม่ทั้งย่อหน้า (ทั้งย่อหน้าเกาะกลุ่มกัน ถ้าบรรทัดล่างจะขึ้น หน้าใหม่ ให้ไปทั้งย่อหน้า) ภาพที่ 100 (เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ต่อเนื่องจากภาพที่ 98 เป็นขั้นตอนหลังกด <Enter>) ย่อหน้าที่ 2 ได้ตั้งให้ ติ๊กที่กล่อง ตัวเลือก Widow control และใส่เป็น 3 lines เมื่อกด <Enter> 1 ครั้ง ย่อหน้าที่ 2 ขึ้นหน้าใหม่ 3 บรรทัด (3 บรรทัดล่าง เกาะกลุ่มกัน หากบรรทัดล่างจะขึ้นหน้าใหม่ ให้ไปทั้ง 3 บรรทัด)

ภาพที่ 98 : ก่อนกด <Enter> เพื่อไล่ย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่

ภาพที่ 99 : (ต่อจากภาพที่ 98 หลังกด <Enter> 1 ครั้ง) ย่อหน้าที่ 2 ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Do not split paragraph

บทที่ 7 : ย่อหน้า (Paragraph)

85


ภาพที่ 100 : (เป็นอีกกรณีหนึ่งทีต่ อ่ จากภาพที่ 98 หลังกด <Enter> 1 ครั้ง) ย่อหน้าที่ 2 ติก๊ ที่กล่องตัวเลือก Widow control และใส่เป็น 3 lines

86

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)


8.1 คําสั่งที่ใช้จจั​ัดรูปแบบ แบบตัตัวอักษร ตัวอักษรเป็นหน่วยย่อยที่สุด และก็เป็น ส่วนหนึ่งของย่อหน้า หากสังเกตุคํา สั่งที่เกี่ย วกับย่อหน้า (ตามที่อธิบายใน บทที่ 7) จะพบว่า ไม่มีให้ตั้งการจัดรูปแบบตัวอักษร เช่น เลือกฟอนต์, เลือกขนาดฟอนต์ เป็นต้น การจัดรูปแบบตัวอักษรต้อง จัดโดยใช้คําสั่งเฉพาะเกีย่ วกับตัวอักษร การจัดรูปแบบตัวอักษร สามารถเรียกใช้คํา สั่ง ได้ 2 แห่ง ก็คือ 1. แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ, 2.หน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม (Character)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ รวมเฉพาะคําสั่งจัดรูปแบบที่ใช้บ่อยๆไว้ หน้าต่าง Character ใช้จัดรูปแบบตัวอักษรได้อย่าง ละเอียด ไม่ว่าจะเรียกใช้คําสั่งจากที่ใดก็ ตาม ก่อนเรียกใช้คําสั่ง จะต้องเลือกตัวอักษรหรือข้อความก่อน เป็นการบอกโปรแกรม ว่าจะจัดรูปแบบให้กับอักษรหรือกลุ่มตัวอักษรดังกล่าว (ดูเรื่อง การเลือกข้อความในข้อ 5.2 หน้า 60 และข้อ 5.3 หน้า 62) 12

ความหมายของคําที่ใช้บ่อย

ข้อความ : ในหนังสือเล่มนี้ บ่อยครั้งจะเรียกตัวอักษรว่า “ข้อความ” ซึง่ หมายถึงตัวอักษรหลายๆตัว ฟอนต์ : คือ ลักษณะรูปพิมพ์ของตัวอักษร คล้ายๆลักษณะลายมือที่แตกต่างกันของแต่ละคน 13

การนํารูปแบบตัวอักษรที่ตงั้ ไวั ไปใช้กับตัวอักษรอื่นๆ

เมื่อจัดรูปแบบให้กับตัวอักษรชุดหนึ่ง จากนั้นจะนํารูปแบบดังกล่าวไปใช้กับตัวอักษรชุดอื่นๆ ไม่จําเป็นต้องตั้งค่าใหม่ ตั้งแต่ต้น เพราะ Writer มีเครื่องมืออย่างเช่น แปรงระบายรูปแบบ(ข้อ 11.1 หน้า 124) และ สไตล์ (บทที่ 13 หน้า 141) ไว้อํานวยความสะดวกแล้ว 14

ตัวอักษรถัดไปมีการจัดรูปแบบเหมือนกับตัวอักษรก่อนหน้า

เมื่อจัดรูปแบบให้กับตัวอักษรหนึ่ง จากนั้นพิมพ์ข้อความต่อเนื่องกัน หรือกด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ ตัว อักษรที่พิมพ์ต่อกันหรือในย่อหน้าใหม่ จะมีการจัดรูปแบบเหมือนกับตัวอักษรก่อนหน้าโดยปริยาย หากจะรีเซ็ตใหม่ ให้เป็นเหมือนตอนไม่ได้จัดรูปแบบ สามารถทําได้โดยการล้างรูปแบบออก (ดู Note-15) 15

การล้างรูปแบบ

เมื่อจัดรูปแบบเสร็จแล้ว หากต้องการล้างการจัดรูปแบบให้กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น ให้เลือกตัวอักษร จากนั้นกด <Ctrl><M> หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่ย่อหน้า → Clear Direct Formatting ณ ตอนนี้เรียกเพียงการล้างรูปแบบไปก่อน แต่จริงๆต้องเรียกว่า การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง ดูความหมาย จริงๆของการล้างการจัดรูปแบบโดยตรง ได้ในข้อ 11.2 หน้า 124

88

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


8.2 ปุ่มบน บนแถบเครื แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ แบบทีที่ใช้ทํางานกับตัวอักษร ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ(Formatting toolbar) ที่ใช้ทํางานกับตัวอักษรมีดังต่อไปนี้

ภาพที่ 101 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ(Formatting toolbar)ทีใ่ ช้จัดรูปแบบตัวอักษร

1 (Font Name) ช่องเลือกฟอนต์

6

(Increase Font) เพิ่มขนาดตัวอักษร 1 ขั้น (<Ctrl><]>)

2 (Font Size) ช่องเลือกขนาดตัวอักษร

7

(Reduce Font) ลดขนาดตัวอักษร 1 ขั้น (<Ctrl><[>)

3 (Bold) ตัวหนา (<Ctrl><B>)

8

(Font Color) เลือกสีให้ตวั อักษร

4 (Italic) ตัวเอียง (<Ctrl><I>)

9

(Hilighting) ระบายสีทับตัวอักษร

5 (Underline) ขีดเส้นใต้ (<Ctrl><U>)

10 (Character) เปิดหน้าต่าง Character

8.3 การเลือกกฟอนต์ ละขนาดตัวอักษร ฟอนต์แและขนาดตั เมื่อเริ่มต้นพิมพ์อะไรก็ตามลงในเอกสาร โปรแกรมจะจัดรูปแบบตัวอักษรให้ก่อน โดยใช้รูปแบบของฟอนต์เริ่มต้น ซึ่ง เราสามารถตั้งฟอนต์และขนาดเริ่มต้นได้เอง (ดูวิธีตั้งฟอนต์เริ่มต้นในข้อ 4.2 หน้า 53) อย่างไรก็ดี เราสามารถเปลี่ยนจาก ฟอนต์เริ่มต้นเป็นอย่างอื่นได้ การเลือกฟอนต์และขนาดให้ตัวอักษรมี 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ ขั้นตอน 1. เลือกข้อความ

ภาพที่ 102 : ขั้นตอนที่ 1 เลือกข้อความ

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

89


2. เลือกฟอนต์ที่ ช่องเลือกฟอนต์ บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ

ภาพที่ 103 : ขั้นตอนที่ 2

3. เลือกขนาดตัวอักษรที่ ช่องเลือกขนาดตัวอักษร บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ หรือกด <Ctrl><]> เพื่อเพิ่มขนาดตัวอักษร 1 ขั้น กด <Ctrl><[> เพื่อลดขนาดตัวอักษร 1 ขั้น

ภาพที่ 104 : ขั้นตอนที่ 3

ภาพที่ 105 : หลังเลือกฟอนต์และขนาดตัวอักษร

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Character ขั้นตอน 1. เลือกข้อความ

ภาพที่ 106 : ขั้นตอนที่ 1 เลือกข้อความ

2. เปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกทีป่ ุ่ม (Character) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Font เลือกฟอนต์ทชี่ ่อง Font Family และเลือกขนาดตัวอักษรทีช่ ่อง Size 4. คลิก OK จะได้ผลตามภาพที่ 107(ล่าง)

90

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 107 : ขั้นตอนที่ 2-4

16

เคล็ดลับการเลือกฟอนต์ที่สําคัญ

การเลือกฟอนต์จากแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ เป็นการเลือกฟอนต์ให้กับภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านัน้ ซึ่งมักจะ สร้างความยุง่ ยากในภายหลัง (ตัวอย่างตามภาพที่ 108)

ภาพที่ 108 : เลือกฟอนต์จากแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

91


จากปัญหาในข้างต้น การเลือกฟอนต์แนะนําอย่างยิง่ ยวดให้เลือกโดยใช้หน้าต่าง Character เพราะสามารถ เลือกฟอนต์ให้กับทั้ง 2 ภาษาได้พร้อมๆกัน การเลือกฟอนต์ใน Writer จะเลือกให้กับทั้ง 2 ภาษาแยกกัน (หากเปิด ใช้ภาษาที่ 2 ด้วย ซึง่ ปกติจะใช้กันแบบนั้น) โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนแทบจะไม่เลือกฟอนต์จากแถบเครื่องมือจัดรูปแบบเลย ใช้เพียงดูว่าเป็นฟอนต์อะไรเท่านั้น จะเลือกฟอนต์จากหน้าต่าง Character เพียงอย่างเดียว โดยเลือกทั้งฟอนต์ไทยและฟอนต์อังกฤษให้เหมือนกัน เพราะเมื่อสลับเป็นอีกภาษาหนึ่ง ทั้ง 2 ภาษา(ไทยและอังกฤษ)จะเป็นฟอนต์เดียวกันเสมอ การเลือกฟอนต์จากหน้า ต่าง Character ดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าเข้าใจระบบการทํา งานของ LibreOffice ก็จะ ทราบว่า ทํา เฉพาะครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้น จะใฃ้เครื่องมืออื่นๆ เช่น สไตล์ หรือ แปรงระบายรูปแบบ มา ทํางานแทน ซึ่งไม่ยุ่งยากอีกแล้ว โดยเฉพาะสไตล์ที่ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของ Writer

8.4 ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ การทําฟอนต์ให้เป็น ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ เลือกข้อความก่อน จากนั้น ที่ปุ่มคลิกต่อไปนี้บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบเพื่อทํา เป็น ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตามลําดับ ปุ่ม (Bold) หรือกด<Ctrl><B>, ปุ่ม (Italic) หรือกด <Ctrl><I>, ปุ่ม (Underline) หรือกด<Ctrl><U> วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Character เลือกข้อความก่อน จากนั้น เปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม (Character) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ที่แท็บ Font ใช้กําหนด ตัวหนา ตัวเอียง แท็บ Font Effect ใช้กําหนด การขีดเส้นใต้, ขีดเส้น คาดกลาง, ขีดเส้นบน และ สีของเส้น

ภาพที่ 109 : เลือกตัวหนาหรือตัวเอียง

ภาพที่ 110 : เลือกเส้นขีดแบบต่างๆ

92

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ตัวอย่างเส้นขีดแบบต่างๆ Overlining (เส้นบน)

Strikethrough (เส้นคาดกลาง)

Underlining (เส้นล่าง)

Single Double Bold Dotted Dash Long Dash Dot Dash Dot Dot Dash Wave Double Wave

SIngle Double Bold With / ← With / /////// With X ← With X XXXXX

SIngle Double Bold Dotted Dash Long Dash Dot Dash Dot Dot Dash Wave Double Wave

8.5 สีตตัวั อักษร การระบายสีให้ตวั อักษรมี 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ เลือกข้อความก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Font Color) จะปรากฎ จานสีให้เลือกสีที่ต้องการ(ตัวอย่างตามภาพที่ 111) เพื่อระบายสีให้ตวั อักษร คลิกทีป่ ุ่ม (Highlighting) เพื่อระบายสีพื้นหลังให้ตวั อักษร คล้ายการระบายด้วยปากกา Highlight ตัวอย่าง

ภาพที่ 111 : คลิกที่ปุ่มเลือกสีตัวอักษร

คัมภีร์ LibreOffice Writer

ระบายสี Light magenta ให้ข้อความ (ใช้ปุ่ม

)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

ระบายพื้นหลังเป็นสี Yellow ให้กับข้อความ (ใช้ปุ่ม

)

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Character เลือกข้อความก่อน จากนั้นเปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม (Character) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ที่แท็บ Font Effect ใช้เลือกสีให้กับตัวอักษร แท็บ Background เลือกสีพื้นหลัง ภาพที่ 112 : แท็บ Font Effect

ภาพที่ 113 : แท็บ Background

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

93


8.6 ใส่เอฟเฟ็กต์ให้ตตั​ัวอักษร ที่หน้าต่าง Character แท็บ Font Effect มีคุณสมบัติให้กําหนดเพื่อตกแต่งฟอนต์ ดังต่อไปนี้ ให้เลือกข้อความก่อน จากนั้นเปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ดูที่แท็บ Font Effect

(Character)

ภาพที่ 114 : แท็บ Font Effect

ตัวอย่างการตกแต่งตัวอักษรด้วยเอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ ข่อง

รายการ

ช่อง Effects Capitals (ตัวพิมพ์ใหญ่)

ก่อน

หลัง

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LIBREOFFICE WRITER

Lowercase (ตัวพิมพ์เล็ก)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ libreoffice writer

Title (ตัวแรกเป็นพิมพ์ใหญ่)

writer, calc, impress

Writer, Calc, Impress

Small capitals (ตัวพิมพ์ใหญ่ แต่ตวั เล็ก) คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LIBREOFFICE WRITER

ช่อง Relief Embossed (ตัวนูน)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

Engraveed (ตัวบุ๋ม)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer

Shadow (เงา)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

Blinking (กระพริบ)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer -

Hidden (ซ่อน)

คัมภีร์ LibreOffice Writer

ตัวเลือกอื่นๆ Outline (เส้นโครงร่าง)

-

8.7 ตัวยกตัวห้อย ตัวยก เช่นเลข 2 ในสูตร A=¶r2 ตัวห้อย เช่นเลข 2 ในสูตรเคมีของนํ้า H2O การพิมพ์ตัวยกหรือตัวห้อย ให้พิมพ์ข้อความให้สมบูรณ์ก่อน เช่น ¶r2, H2O จากนั้นเลือกตัวอักษรที่จะยกหรือห้อย แล้วกด <Shift><Ctrl><P> เพื่อทําเป็นตัวยก กด <Shift><Ctrl><B> เพื่อทําเป็นตัวห้อย

¶r2 H2O

94

→ →

¶r2 → ¶r2 H2O → H2O

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การทําให้ตัวยกหรือตัวห้อยกลับเป็นตัวอักษรปกติ ให้ทําย้อนกระบวนการ ก็คือ ให้เลือกตัวยกหรือตัวห้อยก่อน จากนั้น กดคีย์ลัดในข้างต้น (หรือกด <Ctrl><M> เพื่อล้างการจัดรูปแบบโดยตรงออกก็ได้) หากต้องการกํา หนดรายละเอีย ด เช่น ขนาด, ตํา แหน่งของตัวยกหรือตัวห้อย ให้ เลือกข้อความก่อน จากนั้น เปิด หน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ ปุ่ม (Character) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ตั้งค่าที่ แท็บ Position

ภาพที่ 115 : ตัง้ ตัวยกตัวห้อย

8.8 การ ารหมุ หมุนข้อความ และ การ การตัตั้งสเกลความกว้าง เลือกข้อความ จากนั้นเปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ตั้งค่าที่แท็บ Position กรอบ Rotation/Scaling

(Character)

ภาพที่ 116 : ตั้งการหมุนและ สเกลความกว้าง

ตัวอย่าง

หมุน 90 degrees

หมุน 90 degrees + ติ๊กที่ Fit to line

Writer

หมุน 270 degrees

Writer Writer

ข้อความปกติ ไม่ได้ตั้งอะไร

หลังตัง้ ค่า

Writer

การตัง้ ค่า

Writer

หมุน 0 degrees + ตั้ง Scale width เป็น 300%

Writer

หมุน 90 degrees + ตั้ง Scale width เป็น 300%

Writer

หมุน 0 degrees + ตั้ง Scale width เป็น 150%

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

95


8.9 ระยะห่างระหว่างตัวอักษร เมื่อพิมพ์ข้อความ ระยะห่างระหว่างตัวอักษรในข้อความ โปรแกรมจะจัดให้อย่างอัตโนมัติ แต่ในบางกรณี เราอาจ ต้องการลดหรือเพิ่มระยะห่างระหว่างตัวอักษร ซึ่งก็สามารถทําได้ ให้ เลือกข้อความ จากนั้น เปิดหน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ ปุ่ม บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) ตั้งค่าที่แท็บ Position กรอบ Spacing

(Character)

ภาพที่ 117 : ตัง้ ระยะห่างระหว่างตัว อักษร

ตัวอย่าง การตั้งค่า

ก่อน

หลัง

ข้อความปกติ ไม่ได้ตั้งอะไร

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer

Expanded by 1.0 pt

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คั มภี ร์ libreoffice writer

Expanded by 2.0 pt

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คั ม ภี ร์ l i b r e o f f i c e w r i t e r

Condensed by 0.3 pt

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer

Condensed by 0.5 pt

คัมภีร์ LibreOffice Writer

คัมภีร์ LibreOffice Writer

กล่องตัวเลือ ก Kerning : Kerning ใช้ปรับการเกยกันของตัวอักษร เช่น ตัว A กับ V ในคําว่า “AVATAR” ถ้าตีกรอบ ครอบตัว A กับ V กรอบจะเกยกันเล็กน้อย แต่ถ้าไม่ทํา Kerning กรอบจะชนกันพอดี ทําให้การเว้นห่างระหว่างตัวอักษรในบาง คําดูไม่สวยงาม ทั้งนี้การเว้นระยะ Kerning เป็นไปตามการออกแบบฟอนต์ของแต่ละฟอนต์

AVATAR AVATAR

ติ๊กที่ Pair kerning

ติ๊กออกที่ Pair kerning

เมื่อเลือกที่ตัว V สังเกตุว่ากรอบ ของตัวอักษรไม่ครอบเต็มตัว V (กรอบของตัว A เกยเข้ามาใน กรอบของตัว V) เมื่อเลือกที่ตัว V สังเกตุว่ากรอบ ของตัวอักษรครอบเต็มตัว V พอดี

8.10 การ การพิพิมพ์ออักั ขระ ขระพิพิเศษ อักขระพิเศษ คือ ตัวอักษรที่ไม่สามารถพิมพ์ได้โดยใช้คยี ์บอร์ด เช่น  เป็นต้น การพิมพ์อักขระพิเศษให้ไปที่ Insert → Special Characters จะปรากฏหน้าต่าง Special character จากนั้นให้เลือก ฟอนต์ที่ช่อง Font แต่ละฟอนต์มีอักขระพิเศษไม่เหมือนกัน (ฟอนต์ Webdings และ Symbol มีอักขระพิเศษหน้าตาแปลกๆ ให้เลือกใช้มากมาย) จากนั้น คลิกที่อักขระพิเศษในช่องตาราง อักขระดังกล่าวจะถูกแทรกลงในเอกสารทันที

96

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 118 : อักขระพิเศษ

8.11 การใส่เเชิชิงอรรถ อรรถ((Footnotes Footnotes)) และ การใส่ออ้​้างอิงท้ายเรื่องง((Endnotes Endnotes)) เชิงอรรถ(Footnotes) คือ คําอธิบายที่พิมพ์ไว้ส่วนล่างของหน้ากระดาษ อ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) คือ คําอธิบายที่พิมพ์ไว้ท้ายเอกสาร (คล้ายกับเชิงอรรถ แต่จะสะสมกันไว้ที่ท้ายเอกสาร) ทั้งเชิงอรรถและอ้างอิงท้ายเรื่อง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่เหมือนกัน ก็คือ ตัวอ้างอิง และ พืน้ ที่พิมพ์คําอธิบาย

ก. การใส่เชิงอรรถ(Footnotes)/อ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) ขั้นตอนการใส่เชิงอรรถ 1. คลิกณ ตําแหน่ง หรือเลือกข้อความที่ต้องการใส่เขิงอรรถ 2. ไปที่ Insert → Footnote/Endnote... จะปรากฏหน้าต่าง Insert Footnote/Endnote 3. ตั้งค่าการใส่เชิงอรรถ - ทีก่ รอบ Type ติ๊กที่ ตัวเลือกวงกลม Footnote เพื่อใส่เชิงอรรถ - ทีก่ รอบ Numbering เลือกชนิดของตัวเลขเรียงลําดับ ตามภาพติ๊กที่ Automatic ก็คือแบบ 1,2,3,... 4. คลิกปุ่ม OK หากเป็นเชิงอรรถ จะปรากฎตัวอ้างอิงเชิงอรรถ และพื้นทีพ่ ิมพ์เชิงอรรถ(ที่ด้านล่างหน้ากระดาษ) 5. พิมพ์คําอธิบาย

ภาพที่ 119 : ขั้นตอนการใส่เชิงอรรถ

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

97


ขั้นตอนการใส่ อ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) เหมือนกับขั้นตอนการใส่เชิงอรรถ เพียงแต่หลังใส่แล้ว พื้นที่พิมพ์อ้างอิง ท้ายเรื่อง จะสะสมอยู่ที่หน้าสุดท้ายของเอกสาร ไม่ว่าจะใส่อ้างอิงท้ายเรื่องไว้ที่หน้าใดก็ตาม

ภาพที่ 120 : อ้างอิงท้ายเรื่อง

หลังใส่อ้างอิงท้ายเรื่อง โปรแกรมจะสร้างหน้ากระดาษขึ้นมาที่ท้ายเอกสาร สําหรับเป็นพื้นที่พิมพ์อ้างอิงท้ายเรื่องโดย เฉพาะ หน้าดังกล่าวใช้สไตล์หน้ากระดาษ Endnote ฉะนั้นหากต้องการปรับแต่งการตั้งค่าหน้ากระดาษดังกล่าว ให้แก้ที่สไตล์ หน้ากระดาษ Endnote (ดูรายละเอียดเรื่อง สไตล์หน้ากระดาษในบทที่ 17 หน้า 229 )

ข. การปรับแต่งรูปแบบตัวอักษรของเชิงอรรถ(Footnotes) และของอ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnotes) ไปที่ Tool → Footnotes/Endnotes... จะปรากฎหน้าต่าง Footnotes/Endnotes settings ตามภาพที่ 121

ภาพที่ 121 : คุณสมบัตขิ องเชิงอรรถทีห่ น้าต่าง Footnotes/Endnotes settings

98

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คุณสมบัติต่างๆในแท็บ Footnotes กรอบ AutoNumbering - ช่อง Numbering : ใช้เลือกตัวเลขหรืออักษรเรียงลํา ดับให้กับตัวอ้างอิงของเชิงอรรถ เช่น 1,2,3, ... , ก,ข,ค, ... , a,b,c ... หรือ I, ii ,iii, ... เป็นต้น - ช่อง Counting : ใช้กําหนดความต่อเนื่องในการนับ ตัวเลือกที่มี ก็คือ Per document(นับต่อกันทั้งเอกสาร), Per chapter(นับต่อกันเฉพาะภายในบท ขึ้นบทใหม่เริ่มนับใหม่ ), Per page(นับต่อกันเฉพาะภายในหน้า ขึ้นหน้าใหม่ เริ่มนับใหม่) (Per chapter จะต้องสร้างเอกสารแบบแยกบทด้วย จึงจะเห็นผล ดูวิธีสร้างเอกสารแบบแยกบทในบทที่ 23 หน้า 287) - ช่อง Before และ After : ใช้กําหนดอักษรก่อนและหลังตัวอ้างอิงเชิงอรรถที่ท้ายกระดาษตามลําดับ เช่น : 1 : หรือ คําอธิบาย 1 : เป็นต้น - ช่อง Position : ใช้กําหนดตําแหน่งของพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ ค่าปกติเป็น End of page(อยู่ที่ท้ายหน้า) หากเลือกเป็น End of document จะมีลักษณะเหมือนอ้างอิงท้ายเรื่อง พืน้ ที่พิมพ์เชิงอรรถจะไปรวมกันอยู่ที่ท้ายเอกสาร กรอบ Style ใช้เลือกสไตล์หน้ากระดาษและสไตล์ย่อหน้าที่ใช้กํากับรูปแบบของเชิงอรรถ (ดู Note ที่ 17) - ช่อง Paragraph : ใช้เลือกสไตล์ย่อหน้าที่ใช้กํากับรูปแบบของพืน้ ที่พิมพ์เชิงอรรถ - ช่อง Page : ใช้เลือกสไตล์หน้ากระดาษที่ใช้กํากับรูปแบบของพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ (จะใช้ได้ เมื่อช่อง Position เลือก เป็น End of document) กรอบ Character Style ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรใช้กํากับรูปแบบของเชิงอรรถ (ดู Note 17) - ช่อง Text area : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่ใช้กํากับรูปแบบตัวอ้างอิงเชิงอรรถ(ที่ท้ายข้อความ) - ช่อง Footnotes area : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่ใช้กํากับรูปแบบตัวอ้างอิงเชิงอรรถ(ที่พื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ) กรอบ Continuation notice ใช้ใส่ข้อความเพิ่มเติม ในกรณีข้อความในพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถยาวกว่า 1 หน้า - ช่อง End of footnote : ข้อความที่จะแสดงที่จุดสุดท้ายของเชิงอรรถ ในกรณีเชิงอรรถยาวกว่า 1 หน้า - ช่อง Start of next page : ข้อความที่จะแสดงที่หน้าถัดไป ในกรณีเชิงอรรถยาวกว่า 1 หน้า 17

การปรับแต่งสไตล์กํากับรูปแบบเชิงอรรถ

การปรับแต่งรูปแบบตัวอ้างอิงเชิงอรรถและพื้นทีพ่ ิมพ์เชิงอรรถ โดยปกติจะไม่ใช้การจัดรูปแบบโดยตรง(Direc formatting) ซึ่งก็คือ การจัดรูปแบบโดยใช้ปุ่มต่างๆบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ หรือใช้หน้าต่าง Character และ หน้าต่าง Paragraph แต่จะใช้การปรับแต่งสไตล์ที่กํากับรูปแบบของเชิงอรรถแทน มีข้อดีที่ มีผลต่อองค์ประกอบ ของเชิงอรรถทั้งหมดในครั้งเดียว ดูรายละเอียดในบทที่ 13 : สไตล์ (Styles) หน้า 141 และ บทที่17 : สไตล์หน้ากระดาษ (Page Styles) หน้า 229 คุณสมบัติต่างๆในแท็บ Endnotes รายละเอียดการตั้งค่าในแท็บ Endnote ให้ดูจากแท็บ Footnotes (ตาม ภาพที่ 121) เพราะครอบคลุมรายละเอียด ของแท็บ Endnotes ความหมายของ แต่ละช่องเหมือนกัน ภาพที่ 122 : คุณสมบัติของอ้างอิงท้ายเรื่องที่หน้าต่าง Footnotes/Endnotes settings

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

99


ค. การปรับแต่งพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถและอ้างอิงท้ายเรื่อง การปรับแต่งพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ พื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ เป็นส่วนหนึ่งของของหน้ากระดาษ ฉะนั้นการปรับ แต่งจึงต้องปรับที่คุณสมบัติของหน้ากระดาษ ให้คลิกเม้าส์ในหน้ากระดาษที่มีเชิงอรรถ จากนั้น ไปที่ Format → Page จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชือสไตล์ ่ หน้ากระดาษ) ให้ดูที่แท็บ Footnote

ภาพที่ 123 : คุณสมบัตขิ องพื้นที่พิมพ์ เชิงอรรถ

กรอบ Footnote area - ช่อง Note larger than page area : ใช้กําหนดให้พนื้ ที่พิมพ์เชิงอรรถไม่ใหญ่กว่าหน้ากระดาษ - ช่อง Maximum footnote height : ใช้กํา หนดความความสูงของพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ หากข้อความยาวเกินกว่า ความสูงที่กําหนด พื้นทีพ่ ิมพ์เชิงอรรถจะถูกตัดขึ้นหน้าใหม่ - ช่อง Space to text : ใช้กําหนดระยะห่างระหว่างพื้นที่พิมพ์เชิงอรรถ และพื้นที่พิมพ์ข้อความในหน้ากระดาษ กรอบ Seperator line : ใช้กําหนดรูปแบบของเส้น การปรับแต่งพื้นที่พิมพ์อ้างอิงท้ายเรื่อง พื้นที่พิมพ์อ้างอิงท้ายเรื่อง จะถูกกําหนดให้อยู่ในหน้ากระดาษที่ใช้สไตล์หน้ากระดาษ Endnote ให้คลิกเม้าส์ในหน้า กระดาษที่เป็นพื้นที่พิมพ์ อ้างอิงท้ายเรื่อง(หรือคลิกเม้าส์ในหน้ากระดาษที่ใช้สไตล์หน้ากระดาษ Endnote ) จากนั้น ไปที่ Format → Page จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : Endnote(ต า ม ภ า พ ภาพที่ 124) ดูที่แท็บ Footnote ราย ละเอี ย ดเหมื อ นกั บ การกํา หนดพื้ น ที่ พิมพ์เชิงอรรถทุกประการ ตามภาพที่ 123

ภาพที่ 124 : คุณสมบัติของพื้นที่พิมพ์อ้างอิงท้ายเรื่อง

100

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


8.12 การสร้าง Hyperlink ให้กับตัวอักษร Hyperlink คือข้อความที่ลิงค์อยู่กับ ข้อความอื่น, เอกสาร หรือเว็ปไซต์ เมื่อคลิกที่ข้อความที่เป็น Hyperlink จะเปิด เอกสารหรือเปิดเว็ปไซต์ที่ลิงค์กันอยู่ขึ้นมา หากลิงค์อยู่กับข้อความในเอกสารเดียวกันจะกระโดดไปยังข้อความที่ลิงก์กันอยู่ การสร้าง Hyperlink มีอยู่ที่ 2 วิธี

ก. การสร้าง Hyperlink โดยใช้หน้าต่าง Character ขั้นตอน 1. เลือกข้อความ 2. ไปที่ Format → Character หรือคลิกที่ปุ่ม (Character)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ จะปรากฏหน้าต่าง Character 3. ที่แท็บ Hyperlink ตั้งค่าการสร้าง Hyperlink ให้กับข้อความที่ถูกเลือก (ตามภาพที่ 125) 4. คลิกปุ่ม OK 5. ทดสอบการสร้าง Hyperlink ว่าใช้งานได้หรือไม่ ถูกต้องหรือไม่? นําเม้าส์ไปชี้ที่ข้อความ จะปรากฎรายละเอียดของ Hyperlink จากนั้นให้ กด <Ctrl>+คลิกข้อความ จะเปิดเอกสาร หรือเปิดเว็ปที่ตั้งไว้

ภาพที่ 125 : ขั้นตอนการสร้าง Hyperlink ให้ข้อความ

คุณสมบัติต่างๆที่แท็บ Hyperlink กรอบ Hyperink - ช่อง URL : ใช้กําหนดปลายทาง สามารถพิมพ์ชื่อเว็ปไซต์ลงไปตรงๆ หรือ คลิกที่ปุ่ม Browse... แล้วเลือกปลายทาง เป็นไฟล์ก็ได้ - ช่อง Text : แสดงข้อความที่เป็น Hyperlink (ข้อความต้นทาง) - ช่อง Name : ใช้ตั้งชื่อให้กับ Hyperlink

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

101


กรอบ Character Styles : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํา กับรูปแบบข้อความที่เป็น Hyperlink ตรงนี้ไม่ต้องเลือกก็ได้ เพราะโปรแกรมเลือกให้แล้ว ถ้าไม่ชอบ ก็ให้ปรับแต่งสไตล์ที่กํากับรูปแบบดังกล่าวได้ - ช่อง Visited links : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํา กับรูปแบบ Hyperlink ที่ถูกคลิกแล้ว (ค่าปกติคือ สไตล์ Visited Internet Link – ตัวอักษรเป็นสีแดงขีดเส้นใต้) - ช่ อ ง Unvisited links : ใช้ เ ลื อ กสไตล์ ตั ว อั ก ษรที่ กํา กั บ รู ป แบบ Hyperlink ที่ ยั ง ไม่ ถู ก คลิ ก (ค่ า ปกติ คื อ สไตล์ Internet Link – ตัวอักษรเป็นนํ้าเงินขีดเส้นใต้) การลบ Hyperlink ออกจากข้อความ การลบคุณสมบัติ Hyperlink ออกจากข้อความ ให้คลิกเม้าส์ขวาที่ตัวอักษร → Remove Hyperlink 18

Hyperlink ติดไปกับการส่งออกเป็นไฟล์ PDF

เมื่อส่งออกเอกสารใน Writer ไปเป็นไฟล์ .pdf Hyperlink จะติดไปด้วย ซึ่งยังทํางานได้ตามปกติ ต่างกันที่ ไม่ต้องกด <Ctrl>+คลิก เพียงคลิกเดียว Hyperlink ก็ทํางานแล้ว

ข. การสร้าง Hyperlink โดยใช้หน้าต่าง Hyperink ขั้นตอนและการกําหนดคุณสมบัติการสร้าง Hyperlink ในข้อนี้คล้ายกับวิธีในข้อ ก. แต่มีตัวเลือกให้กําหนดมากกว่า แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่สามารถทําได้ ก็คือ ไม่สามารถเลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํากับรูปแบบของ Hyperlink ได้ อย่างไรก็ดี สามารถ ไปกําหนดในภายหลังได้ โดยใช้วิธตี ามที่อธิบายในข้อ ก. ขั้นตอนการสร้าง Hyperlink ให้เลือกข้อความ จากนั้นไปที่ Insert → Hyperlink จะปรากฎหน้าต่าง Hyperlink ภาพที่ 126 เป็นการสร้าง Hyperlink ที่ให้ผลเดียวกับข้อ ก. (ภาพที่ 125) ก็คือลิงค์ไปยังเว็ปไซต์

ภาพที่ 126 : Hyperlink แบบลิงต์เปิดเว็ปไซต์

ภาพที่ 127 เป็นการสร้าง Hyperlink ที่ลิงค์ไปยังเอกสาร ที่ช่อง Path เป็นพาธไปยังเอกสาร ที่ช่อง Target เป็น ตําแหน่งภายในเอกสาร หากระบุค่าในช่อง Path เพียงอย่างเดียว จะหมายถึงหน้าแรกของเอกสาร หากระบุค่าในช่อง Target เพียงอย่างเดียว จะหมายถึงเป้าหมายทีอ่ ยู่ในเอกสารปัจุบัน เช่น ตาราง, หัวข้อ(Heading) ในเอกสารปัจจุบัน เป็นต้น รายการ เป้าหมายในหน้ าต่ าง Target in Document จะปรากฎให้ อย่า งอั ตโนมั ติเ มื่อ องค์ ประกอบถูกสร้า ง เช่ น Table(ตาราง), Graphics(ภาพ), Heading (หัวข้อ) เป็นต้น บางตัวต้องสร้างเป้าหมายอย่างเจาะจงเอง เช่น Bookmark(ที่ขั้นหนังสือ) เป็นต้น

102

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 127 : Hyperlink แบบลิงต์เปิดเอกสาร

ภาพที่ 128 เป็นการสร้าง Hyperlink ทีเ่ มื่อคลิกแล้ว จะปรากฎหน้าต่างสําหรับส่ง e-mail ขึ้นมา

ภาพที่ 128 : Hyperlink แบบลิงต์เปิดเว็ปไซต์

ภาพที่ 129 เป็นการสร้าง Hyperlink ทีเ่ มื่อคลิกแล้ว จะสร้างเอกสารใหม่ขึ้นมา โดยมีชื่อไฟล์และพาธตามที่ระบุ

ภาพที่ 129 : Hyperlink แบบลิงต์เปิดเว็ปไซต์

บทที่ 8 : ตัวอักษร (Characters)

103


104

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 9 : เลขไทย


9.1 การ การแปลงเลขอารบิ แปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทย การพิมพ์เลขไทยใน Writer สามารถพิมพ์โดยตรงจากคีย์บอร์ดได้เลย แต่ที่ต้องเขียนบทนี้สํา หรับเลขไทยขึ้นมาโดย เฉพาะ เพราะการพิมพ์เลขไทยจากคีย์บอร์ดโดยตรงนั้นไม่สะดวก เพราะต้องสลับไปเป็นภาษาไทย และกด <Shift> พร้อมกับ พิมพ์ การพิมพ์เลขไทยให้สะดวก จะใช้วิธีพิมพ์เลขอารบิกลงไปก่อน จากนั้นจึงแปลงไปเป็นเลขไทยในภายหลัง

ก. การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยทั้งเอกสาร ไปที่ Tool → Option → เมนู LibreOffce → เมนูย่อย Complex Text Layout ที่ช่อง Numerals ให้ เลือกเป็น System 19

หากเมนูย่อย Complex Text Layout ไม่มี

หากเมนูย่อย Complex Text Layout ไม่มี ให้ตั้งระบบภาษาใหม่ ตามที่อธิบายไว้ใน ข้อ 4.1 เมนู Languages Setting ภาพที่ 48 หากไม่เปิดใช้ภาษาที่ 2 จะไม่มีเมนูดังกล่าว

ภาพที่ 130 : ใช้ตัวเลขจาก System(ระบบ)

หลังคลิกที่ปุ่ม OK เลขอารบิกทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นเลขไทย วิธีนี้มีผลทั้งเอกสาร และมีผลต่อทุกเอกสารที่ ถูกเปิดหรือ สร้างใหม่

ข. การแปลงเลขอารบิกเป็นเลขไทยเฉพาะที่เลือก โดยใช้ส่วนเสริม(Extension) ในกรณีต้องการแปลงจากเลขอารบิกเป็นเลขไทยเฉพาะส่วนที่เลือก มีส่วนเสริม(Extension) ตัวหนึ่งที่ใช้ทํา งานดัง กล่ า ว ก็ คื อ ThaiNumberFormat-0.0.1.oxt จั ด ทํา โดยบริ ษั ท Open Source Developement Co.,Ltd และปล่ อ ยให้ ดาวน์โหลดฟรีบนอินเตอร์เน็ต การใช้งาน ก็ให้ดาวน์โหลดส่วนเสริมดังกล่าวมาก่อน (ค้นหาโดยใช้ Google ก็สามารถพบได้ไม่ยาก) ขั้นตอนการติดตั้งส่วนเสริม 1. ไปที่ Tool → Extension Manager... จะปรากฎหน้าต่าง Extension Manager 2. คลิกที่ปุ่ม Add... จะปรากฎหน้าต่าง Add Extension(s) 3. เลือกไฟล์ส่วนเสริม(Extension) ที่จะติดตั้ง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK

106

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 131 : ขั้นตอนที่ 1-3

4. คลิกทีป่ ุ่ม Accept เพื่อยอมรับเงื่อนไข

ภาพที่ 132 : ขั้นตอนที่ 4

5. หลังติดตั้ง จะปรากฎรายชื่อส่วนเสริม Thai Number Convertor 0.0.1 ที่หน้าต่าง Extension Manager 6. ปิดโปรแกรม จากนั้นเปิดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เป็นอันพร้อมใช้งาน

ภาพที่ 133 : ขั้นตอนที่ 5

การใช้งาน 1. เลือกตัวเลขอารบิก (เลือกช้อความรวมด้วยก็ได้ ไม่มีผลกับข้อความ) 2. ไปที่ Format → Convert to Native Number (หลังติดตั้งส่วนเสริม หากไม่ปิดโปรแกรมแล้วเปิดใหม่ เมนูนี้จะไม่ขึ้น) 20

ข้อควรระวังในการใช้งาน

ห้ามใช้แปลงตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ไม่เช่นนั้นจะเกิด Error ซึ่งต้องถอน(Remove) ส่วนเสริมออกแล้วติดตั้งใหม่ จึงจะใช้งานได้ตามปกติ หากต้องการใส่เลขไทยในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ให้พิมพ์เลขไทยตรงๆ แต่ถ้าต้องการใส่เลขหน้าอัตโนมัติเป็นเลขไทย ให้ดวู ิธีใส่ในหัวข้อ 9.2 บทที่ 9 : เลขไทย

107


9.2 การใส่เลขหน้าอัตโนมัติเเป็ป็นเลขไทย การใส่เลขหน้าอัตโนมัติ จะใช้การใส่ข้อมูลแบบฟิลด์ชนิดเลขหน้าลงไป(ฟิลด์ Page Number) ข้อมูลแบบฟิลด์สามารถ เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตามสถานการณ์ เช่น ฟิลด์เลขหน้า อยู่ที่หน้าใดก็จะแสดงเป็นเลขหน้านั้น เป็นต้น (ดูเพิ่มเติมเรื่อง ฟิลด์ ในบทที่ 22 หน้า 269) ขั้นตอนการใส่เลขหน้าอัตโนมัติเป็นเลขไทย 1. คลิก ณ ตําแหน่งที่จะใส่เลขหน้า เช่น ที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ เป็นต้น 2. ไปที่ Insert → Fields → Other หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Document - เลือกตามภาพที่ 134 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์เลขหน้าปัจจุบัน เป็นเลขไทย - เลือกตามภาพที่ 135 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์จํานวนหน้าทั้งหมด เป็นเลขไทย

ภาพที่ 134 : แทรกฟิลด์เลขหน้าปัจจุบัน เป็นเลขไทย

ภาพที่ 135 : แทรกฟิลด์จํานวนหน้าทั้งหมดเป็นเลขไทย

ภาพที่ 136 เป็นตัวอย่างหลังแทรกฟิลด์

ภาพที่ 136 : ฟิลด์เลขหน้า/ฟิลด์จํานวนหน้าทั้งหมด

108

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 10 : เลขนำำและจุดนำำ (Numbering and Bullets)


10.1 เลขนํา(Numbering) จุดนํา(Bullets) และ ลําดับอัตโนมัติ เลขนํา(Numbering) และ จุดนํา(Bullets) เป็นเครื่องมือที่ใช้ใส่หัวข้อให้กับย่อหน้าอย่างอัตโนมัติ ทั้ง 2 อย่างเราจะ เรียกรวมกันว่า ลําดับอัตโนมัติ เลขนํา (Numbering) คือ ตัวเลขหรือตัวอักษรเรียงลําดับ ที่ใส่ให้กับย่อหน้าอย่างอัตโนัมัติ เมื่อกด<Enter>เพื่อขึ้น ย่อหน้าใหม่ ลําดับก็จะเรียงต่อกันอย่างอัตโนัมัติ รูปแบบของเลขนํา เช่น 1,2,3... , ก,ข,ค,... , I, II ,III... เป็นต้น จุดนํา(Bullets) คือ สัญลักษณ์ที่ใส่ให้กับย่อหน้าอย่างอัตโนมัติ เมื่อกด<Enter> ขึ้นย่อหน้าใหม่ สัญลักษณ์จะยังเป็น เหมือนเดิมในระดับ(Level)เดียวกัน รูปแบบของจุดนําเช่น , °,  หรืออักขระอะไรก็ได้เราสามารถกําหนดเองได้

ก. การใส่ลําดับอัตโนมัติ ขั้นตอนการใส่ลําดับอัตโนมัติ 1. เลือกย่อหน้า (เลขนําหรือจุดนํา 1 ตัว จะใส่ให้กับ 1 ย่อหน้า) ภาพที่ 137 เลือกไว้ 5 ย่อหน้า 2. ใส่เลขนําหรือจุดนํา โดย - คลิกปุ่ม (Numbering On/Off) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ หรือกด <F12> เพื่อใส่เลขนํา - คลิกปุ่ม (Bullets On/Off) บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ หรือกด <Shift><F12> เพื่อใส่จุดนํา

ภาพที่ 137 : ขั้นตอนการใส่เลขนําหรือจุดนํา

21

ปุ่มบนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบที่ใช้ทํางานกับเลขนําหรือจุดนํา

ภาพที่ 138 : ปุ่มทีใ่ ช้ทํางานกับเลขนําหรือจุดนํา

110

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ข. การยกเลิกการใส่ลําดับอัตโนมัติ การยกเลิกเลขนํา คลิกเลือกย่อหน้าที่ใส่เลขนํา จากนั้นกด <F12> (หากกด <Shift><F12> จะสลับไปใส่จุดนําแทน) การยกเลิกจุดนํา คลิกเลือกย่อหน้าที่ใส่จุดนํา จากนั้นกด <Shift><F12> (หากกด <F12> จะสลับไปใส่เลขนําแทน)

10.2 แถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา(B (Bullets ullets and Numbering toolbar toolbar)) หลังใส่เลขนําหรือจุดนํา หรือคลิกภายในย่อหน้าที่ใส่ เลขนําหรือจุดนํา จะปรากฎแถบเครื่องมือ จุดนําและเลขนํา ซึ่งมี ปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้ (ไปที่ View → Toolbar → Bullets and Numbering เพื่อปิด/เปิดแถบเครื่องมือนี้)

ภาพที่ 139 : ปุ่มต่างๆบนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา(Bullets and Numbering toolbar)

1 (Bullets On/Off) เปิด/ปิดจุดนํา <Shift><F12>

8 (Insert Unnumbered Entry) ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยไม่มีจุดนํา หรือเลขนํา <Alt><Enter>

2 (Numbering On/Off) เปิด/ปิดเลขนํา <F12> 9 (Move Up) ย้ายไปด้านบน 1 ย่อหน้า <Ctrl><Alt><↑ > 3 (Numbering Off) ปิดเลขนํา/จุดนํา

10 (Move Down) ย้ายไปด้านล่าง 1 ย่อหน้า <Ctrl><Alt><↓ >

4 (Promote One Level) เลื่อนขึ้น 1 ระดับ <Tab>

11 (Move Up with Subpoints) ย้ายไปด้านบน รวมระดับย่อยภายในด้วย

5 (Demote One Level) เลื่อนลง 1 ระดับ <Shift><Tab>

12 (Move Down with Subpoints) ย้ายไปด้านล่าง รวมระดับย่อยภายในด้วย

6 (Promote One Level with Subpoints) เลื่อนขึ้น 1 ระดับ รวมระดับย่อยภายใน

13 (Restart Numbering) เริ่มเลขนําใหม่ (เริ่มนับ 1 ใหม่)

7 (Demote One Level with Subpoints) เลื่อนลง 1 ระดับ รวมระดับย่อยภายใน

14 (Bullets and Numbering) เปิดหน้าต่าง Bullets and Numbering

10.3 โครงสร้างงของ ของลํลําดับอัตโนมัติ ภาพที่ 140 เป็นรายละเอียดโครงสร้างของลําดับอัตโนมัติ ที่ผสมกันระหว่างจุดนําและเลขนํา ลําดับอัตโนมัติ สามารถเป็นจุดนําล้วนๆ เลขนําล้วนๆ หรือผสมกันระหว่างเลขนําหรือจุดนําก็ได้ ลําดับอัตโนมัติที่ต่อ เนื่องกันจะเรียกว่า 1 ชุด แต่ละชุดถูกแบ่งย่อยเป็นระดับ 10 ระดับ แต่ละระดับมีการตั้งค่าเป็นของตัวเอง เช่น ลักษณะเลข นํา, สัญลักษณ์ของจุดนํา , ระยะ, ตําแหน่ง เป็นต้น ระดับที่ 1 ลําดับอัตโนมัติจะอยู่ก่อน จากนั้นระดับที่ 2,3... จะอยู่ล่นเข้ามา ตามลําดับ บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

111


ภาพที่ 140 : โครงสร้างของจุดนําและเลขนํา

10.4 การ การจัจัดการลําดับอัตโนมัติ ขึน้ ย่อหน้าใหม่โดยใส่ลําดับอัตโนมัติอย่างอัตโนมัติ ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความ มาที่หลังอักษรตัวสุดท้ายของย่อหน้า จากนั้นกด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ หากเป็นเลขนํา ลําดับตัวเลขจะเรียงต่อกัน หากเป็นจุดนําสัญลักษณ์จุดนําจะเป็นเหมือนเดิม หากกด <Enter> อีกครั้ง(กดครั้งที่ 2) ย่อหน้าใหม่จะไม่มีเลขนําหรือจุดนํา เป็นการล้างลําดับอัตโนมัติออกจากย่อหน้า ใหม่

ภาพที่ 141 : ขึ้นย่อหน้าใหม่โดยใส่เลขนําหรือจุดนําต่อจากเดิม

ลดระดับหรือเพิ่มระดับ ย้ายตัวชีพ้ ิมพ์ข้อความมาที่ก่อนอักษรตัวแรกของบรรทัด กด <Tab> หรือคลิกที่ปุ่ม (Demote One Level)บนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา เพื่อลดระดับลง 1 ขั้น กด <Shift><Tab> หรือคลิกที่ปุ่ม (Promote One Level)บนแถบเครือ่ งมือจุดนําและเลขนํา เพือ่ เพิม่ ระดับ 1 ขัน้

112

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 142 : ลดระดับของย่อหน้าที่เป็นเลขนําระดับที่ 1 ลง 1 ขั้นเป็นระดับที่ 2

หากเลขนําหรือจุดนํามีระดับที่ตํ่ากว่าอยู่ด้วย(อยู่ด้านล่าง) คลิกที่ปุ่ม (Demote One Level With Subpoints)บนแถบเครื่องมือจุดนํา และเลขนํา เพื่อลดระดับลง 1 ขั้น รวมระดับที่ตํ่ากว่าที่อยูภ่ ายในทั้งหมดด้วย คลิกที่ปุ่ม (Promote One Level With Subpoints)บนแถบเครื่องมือจุดนํา และเลขนํา เพื่อเพิ่มระดับ 1 ขั้น รวมระดับที่ตํ่ากว่าที่อยูภ่ ายในทั้งหมดด้วย

ภาพที่ 143 : เพิ่มระดับของย่อหน้าที่เป็นเลขนําระดับที่ 2 ขึ้น(พร้อมระดับย่อยภายในทั้งหมด) 1 ขั้น

ย้ายย่อหน้าขึ้นหรือลง ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาที่ย่อหน้าที่จะย้ายขึ้นหรือลง กด <Ctrl><Alt><↑> หรือคลิกที่ปุ่ม (Move Up)บนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา เพื่อย้ายขึ้นไป 1 ย่อหน้า กด <Ctrl><Alt><↓> หรือคลิกที่ปุ่ม (Move Down)บนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา เพื่อย้ายลงไป 1 ย่อหน้า หากเลขนําหรือจุดนําตัว มีระดับที่ตํ่ากว่าอยู่ด้วย(อยู่ด้านล่าง) คลิกที่ ปุ่ม (Move Up With Subpoints)บนแถบเครื่องมือจุดนํา และเลขนํา เพื่อย้ายขึ้นไป 1 ย่อหน้า พร้อม ระดับที่ตํ่ากว่าที่อยูภ่ ายในทั้งหมดด้วย คลิกที่ปุ่ม (Move Down With Subpoints)บนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา เพื่อย้ายลงไป 1 ย่อหน้า พร้อม ระดับที่ตํ่ากว่าที่อยูภ่ ายในทั้งหมดด้วย เริ่มนับ 1 ใหม่(เฉพาะเลขนํา) เลขนําจะนับต่อกันไปเรื่อยๆในชุดเดียวกัน แต่ถ้าต้องการเริ่มนับ 1 ใหม่ ให้ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาที่ย่อหน้า ที่จะเริ่ม นับ 1 ใหม่ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Restart Numbering)บนแถบเครื่องมือจุดนําและเลขนํา คลิกอีกครั้งจะสลับไปนับต่อจาก เดิม จัดรูปแบบให้กับส่วนที่เป็นเลขนํา (เฉพาะเลขนํา) คลิกที่ก่อนเลขนํา (ตามภาพที่ 144) จะเป็นการเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นเลขนํา (ไม่เลือกข้อความ) จากนั้นจัดรูปแบบตัว อักษรตามปกติ เช่น ทําตัวหนา, ตัวเอียง, ขีดเส้นใต้, เปลี่ยนสีตัวอักษร หรือ เปลี่ยนฟอนต์ เป็นต้น (ตัวอย่างตามภาพที่ 144) ลบเฉพาะลําดับอัตโนมัติ (ยังเป็นลําดับอัตโนมัติแต่ไม่มีเลขนําหรือจุดนําหน้า) ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความ มาก่อนอักษรตัวแรกของย่อหน้าที่ใส่ลําดับอัตโนมัติ จากนั้นกด <Backspace> เพื่อลบเฉพาะ ลําดับอัตโนมัตขิ องย่อหน้าดังกล่าว บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

113


ภาพที่ 144 : เลือกเลขนําทั้งหมดแล้วจัดรูปแบบ

ขึน้ ย่อหน้าใหม่ โดยไม่ใส่ลําดับอัตโนมัติ(เป็นคนละ ย่อหน้า) ย้ายตัวชีพ้ ิมพ์ข้อความ มาที่หลังอักษรตัวสุดท้ายของ ย่อหน้า จากนั้นกด <Alt><Enter> หรือคลิกที่ปุ่ม (Insert Unnumbered Entry) บนแถบเครื่องมือจุดนําและ เลขนํา (ตัวอย่างตามภาพที่ 145) ภาพที่ 145 : ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยไม่ใส่เลขนําหรือจุดนํา

ขึน้ บรรทัดใหม่ โดยไม่ใส่ลําดับอัตโนมัติ(ยังเป็นย่อหน้าเดียวกัน) ย้ายตัวชีพ้ ิมพ์ข้อความ มาที่หลังอักษรตัวสุดท้ายของ ย่อหน้า จากนั้นกด <Shift><Enter> (ตัวอย่างภาพที่ 146)

ภาพที่ 146 : ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยไม่ใส่เลขนําหรือจุดนํา

10.5 การ การเปลี เปลี่ยนนโครงร่ โครงร่างให้กกั​ับลําดับอัตโนมัติ การใส่ลําดับอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น จุดนํา หรือเลขนําเป็นเรื่องง่าย แต่หลังจากใส่แล้วรูปแบบมักไม่ได้อย่างที่ต้องการ ที่ต้องการอาจเป็น เลขไทย, ระดับที่ 2 แสดงเป็น 1.1 ระดับที่ 3 แสดงเป็น 1.1 ก. เป็นต้น ฉะนั้น หลังใส่แล้วจึงต้องปรับแต่ง รูปแบบเสมอ เมื่อใส่เลขนําหรือจุดนํา โปรแกรมจะจัดโครงร่างของเลขนําหรือจุดนําให้ก่อน มีลักษณะตามตัวอย่างด้านล่าง 1. ระดับที่ 1 1. ระดับที่ 2 1. ระดับที่ 3 2. ระดับที่ 3

• ระดับที่ 1 ◦ ระดับที่ 2 ▪ ระดับที่ 3 ▪ ระดับที่ 3

โครงร่างของเลขนําและจุดนํา เริ่มต้นที่โปรแกรมตั้งให้ (ตามลําดับ)

วิธีง่ายๆ ในการปรับแต่ง ลําดับอัตโนมัติทั้งชุด ก็คือ เลือกโครงร่างสําเร็จรูปที่โปรแกรมมีมาให้ อย่างไรก็ดี หากยังไม่มีที่ ถูกใจ ให้เลือกที่ใกล้เคียงไปก่อน จากนั้นไปปรับแต่งลงลึกในแต่ละระดับต่อไป (ดูวิธีทําในข้อ 10.6 หน้า 116)

114

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


22

การนํารูปแบบลําดับอัตโนมัตทิ ี่ตงั้ ไวั ไปใช้กับย่อหน้าอื่นๆ

เมื่อจัดรูปแบบให้กับลําดับอัตโนมัตเิ รียบร้อยแล้ว จากนั้นจะนํารูปแบบดังกล่าวไปใช้กับย่อหน้าอื่นๆ ไม่ จําเป็นต้องตั้งค่าใหม่ตั้งแต่ต้น เพราะ Writer มีเครื่องมืออย่าง แปรงระบายรูปแบบ(ข้อ 11.1 หน้า 124) และ สไตล์ (บทที่ 13 หน้า 141) ไว้อํานวยความสะดวกแล้ว ขั้นตอนการเปลี่ยนรูปแบบโครงร่างให้ลําดับอัตโนมัติ 1. คลิกเลือกย่อหน้าใดก็ได้ ในชุดของลําดับอัตโนมัติ 2. ไปที่ Format → Bullets and Numbering … หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Bullets and Numbering) บนแถบเครื่อง มือจุดนําและเลขนํา จะปรากฎหน้าต่าง Bullets and Numbering 3. ที่แท็บ Outline เลือกรูปแบบโครงร่างให้กับลําดับอัตโนมัติ 4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 147 : ขึ้นตอนการเปลี่ยนรูปแบบโครงร่างให้กับลําดับอัตโนมัติ

สังเกตุผลหลังเปลี่ยนรูปแบบโครงร่างให้กับลําดับ อัตโนมัติในภาพที่ 147 พบว่าเกิดปัญหาขึ้น 2 ประการ (ผู้เขียนจงใจให้เกิด เพื่ออธิบายวิธีแก้ปญ ั หา) ก็คือ 1. ช่องว่างระหว่างเลขนําและข้อความในแต่ละ ระดับห่างไม่เท่ากัน 2. ฟอนต์ของข้อความและเลขนําไม่เหมือนกัน ภาพที่ 148 : ปัญหาที่อาจเกิดหลังเปลี่ยนโครงร่าง

แก้ปัญหาที่ 1 : เปลี่ยนฟอนต์ให้เลขนํา คลิกที่ก่อนเลขนํา(ตามภาพที่ 144) จะเป็นการเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นเลขนํา (ไม่เลือกส่วนที่เป็นข้อความ) จากนั้นเปิด หน้าต่าง Character (ไปที่ Format → Character.... ) ที่แท็บ Font เลือกฟอนต์ให้กับเลขนําให้เหมือนกับฟอนต์ของข้อความ แก้ปัญหาที่ 2 : ระยะห่างไม่ได้ การแก้ปัญหานี้ต้องเข้าไปปรับแต่งเลขนํา ในแต่ละดับ โดยแก้ระยะห่างระหว่างเลขนํา กับ ข้อความ ให้ห่างเท่า ๆกัน (ดูวิธีทําในข้อ 10.6 ง. หน้า 121) บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

115


10.6 การปรับแต่งลําดับอัตโนมัติใในแต่ นแต่ละระดับ ข้อ 10.5 เป็นการเลือกรูปแบบให้กับลําดับอัตโนมัติทั้งชุด อย่างไรก็ดีรูปแบบทั้งชุด ที่เลือก อาจไม่ได้อย่างที่ต้องการ ทั้งหมด จึงต้องปรับแต่งอีกครั้งในรายละเอียด เนื้อหาในข้อนี้เป็นการปรับแต่งลงลึก ไปในแต่ละระดับ เช่น ชนิดของตัวเลขเรียงลําดับ, สัญลักษณ์ของจุดนํา , ระยะ ต่างๆ, การเว้นช่องว่าง เป็นต้น 23

พื้นฐานของ Outline Numbering

การปรับแต่งเลขนําในข้อนี้ ถือเป็นพื้นฐานที่สําคัญของโครงร่างเลขนํา(Outline Numbering) เพราะ การใช้งานนั้นคล้ายๆกัน โครงร่างเลขนํา ใช้สําหรับการจัดโครงสร้างของเอกสารเป็นบทๆ เพื่อความ สะดวกในการบริหารจัดการ สารบัญอัตโนมัติ ก็จะดึงข้อมูลจากโครงร่างเลขนําไปใช้ เครื่องมืออํานวย ความสะดวกหลายอย่าง ก็อ้างอิงถึงโครงร่างเลขนําด้วย (ดูเรื่องโครงร่างเลขนําในบทที่ 23 หน้า 287)

ก. การปรับแต่งระดับที่เป็นเลขนํา ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้าใดก็ได้ ในชุดของลําดับอัตโนมัติ 2. ไปที่ Format → Bullets and Numbering … หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Bullets and Numbering) บนแถบเครื่อง มือจุดนําและเลขนํา จะปรากฎหน้าต่าง Bullets and Numbering 3. ที่แท็บ Options เลือกระดับที่จะปรับแต่ง (ภาพที่ 149 เลือกระดับที่ 3)

ภาพที่ 149 : ขั้นตอนที่ 1-3

4. ทีแ่ ท็บ Numbering type เลือกชนิดของเลขนํา

ภาพที่ 150 : ขั้นตอนที่ 4

116

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


5. กลับมาที่แท็บ Options กําหนดรายละเอียดลักษณะของเลขนํา 6. ทําซํ้าข้อ 3-5 แต่ให้เลือกระดับอื่น เพื่อปรับแต่งรูปแบบให้ระดับอื่นๆ (ตัวอย่างนี้ไม่ได้ทําซํ้า) 7. คลิก OK เพื่อจบการปรับแต่ง

ภาพที่ 151 : ขั้นตอนที่ 5-7

คุณสมบัติต่างๆในแท็บ Options (สําหรับเลขนํา) ช่อง Numbering : ใช้เลือกชนิดของเลขนํา เช่น 1, 2, 3,... , a, b, c,… , ก, ข, ค,… , i, ii, iii,.. เป็นต้น หรือเปลี่ยน เป็นจุดนําก็ได้ โดยเลือกเป็น Bullets หรือ Graphics ช่อง Before : ใช้ใส่ตัวอักษรไว้ก่อนเลขนํา เช่น ใส่ “|” (Pipe key) ไว้ก่อนเลขนํา จะได้เลขนําเป็น |1, |2, |3, ... ช่อง After : ใช้ใส่ตัวอักษรไว้หลังเลขนํา เช่น ใส่ “|.” (Pipe key และจุด) ไว้หลังเลขนํา จะได้เลขนําเป็น 1|., 2|., 3|., ... ช่อง Character Style : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํากับรูปแบบของเลขนํา(เฉพาะส่วนที่เป็นเลขนํา ไม่รวมข้อความ) ช่อง Show sublevels : ใช้กําหนดจํานวนระดับที่จะแสดง เช่น เลขนําตามภาพที่ 151 มีโครงร่างของเลขนํา(ก่อนใส่ อักษรเพิ่มเติม) ระดับที่ 1 เป็น 1, 2, 3,... ระดับที่ 2 เป็น 1, 2, 3,... ระดับที่ 3 เป็น a, b, c,... ที่ระดับที่ 3 กําหนด Show sublevels เป็น 1 ก็คือ แสดงเฉพาะเลขนํา ระดับของตัวเอง จึงได้เลขนํา ของระดับที่ 3 เป็น |a|., |b|., |c|, ... ที่ระดับที่ 3 หากกําหนด Show sublevels เป็น 2 จะแสดงระดับของตัวเอง และระดับก่อนหน้า 1 ระดับ จะได้เลขนํา ของระดับที่ 3 เป็น |1.a|., |1.b|., |2.c|. ,... ที่ระดับที่ 3 หากกําหนด Show sublevels เป็น 3 จะแสดงระดับของตัวเอง และระดับก่อนหน้าอีก 2 ระดับ จะได้เลข นําของระดับที่ 3 เป็น |1.1. a|., |1.1. b|., |1.1.c|. ,... ที่ระดับที่ 2 กําหนด Show sublevels เป็น 2 ก็คือ แสดงระดับของตัวเองและระดับก่อนหน้า 1 ระดับ จึงได้เลขนํา ของระดับที่ 2 เป็น 1.1., 1.2., 1.3. ,... ช่อง Start at : ใช้กําหนดการเริ่มต้นนับ หากระบุเป็น 1 จะเริ่มนับจาก 1 หรือเริ่มนับจากอักษรตัวแรก ก็คือ ก. หรือ a. หากระบุเป็น 2 จะเริ่มนับจาก 2 หรือจากอักษรตัวที่ 2 ก็คือ ข. หรือ b.

บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

117


24

การใช้สไตล์ตัวอักษรกํากับรูปแบบของเลขนํา

การใช้สไตล์ตัวอักษร(Character Style)กํากับรูปแบบของเลขนํา สามารถช่วยจัดรูปแบบของเลขนําในแต่ละระดับแยกกัน ได้อย่างอิสระ โดยสร้างสไตล์ตัวอักษรสําหรับแต่ละระดับโดยเฉพาะ ตัวอย่างตามภาพที่ 152 (ดูรายละเอียดเรื่องสไตล์ใน บทที่ 13)

ภาพที่ 152 : เลือกสไตล์ตัวอักษรที่สร้างเองเพื่อกํากับรูปแบบของเลขนําระดับที่ 1

ข. การปรับแต่งระดับที่เป็นจุดนํา ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้าใดก็ได้ ในชุดของลําดับอัตโนมัติ 2. ไปที่ Format → Bullets and Numbering … หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Bullets and Numbering) บนแถบเครื่อง มือจุดนําและเลขนํา จะปรากฎหน้าต่าง Bullets and Numbering 3. ที่แท็บ Options เลือกระดับที่จะปรับแต่ง (ภาพที่ 153 เลือกระดับที่ 3)

ภาพที่ 153 : ขั้นตอนที่ 1-3

4. ทีแ่ ท็บ Bullets เลือกรูปแบบให้กับจุดนํา

ภาพที่ 154 : ขั้นตอนที่ 4

118

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


5. กลับมาที่แท็บ Options อีกครั้ง กําหนดรายละเอียดลักษณะของหรือจุดนํา 6. ทําซํ้าข้อ 3-5 แต่ให้เลือกระดับอื่น เพื่อปรับแต่งรูปแบบให้ระดับอื่นๆ (ตัวอย่างนี้ไม่ได้ทําซํ้า) 7. คลิก OK เพื่อจบการปรับแต่ง

ภาพที่ 155 : ขั้นตอนที่ 5-7

ความหมายของคุณสมบัติต่างๆในแท็บ Options (สําหรับจุดนํา) ช่อง Numbering : ใช้เลือกชนิดของเลขนําหรือจุดนํา ตัวเลือกของลําดับอัตโนมัติที่เป็นจุดนําก็คือ Bullets ช่อง Character Style : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํากับรูปแบบของจุดนํา(เฉพาะส่วนที่เป็นจุดนํา ไม่รวมข้อความ) ปุ่ม Character (

) : เมื่อคลิกจะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกอักขระพิเศษ เพื่อนํามาทําเป็นจุดนํา

ค. การปรับแต่งระดับที่เป็นจุดนําแบบกราฟิก ขั้นตอนที่อธิบายต่อไปนี้ ทําต่อจากข้อ ข. โดยปรับแต่งจุดนําระดับที่ 2 ให้เป็นแบบกราฟิก ขั้นตอน 1. คลิกเลือกย่อหน้าใดก็ได้ ในชุดของลําดับอัตโนมัติ 2. ไปที่ Format → Bullets and Numbering … หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Bullets and Numbering) บนแถบเครื่อง มือจุดนําและเลขนํา จะปรากฎหน้าต่าง Bullets and Numbering 3. ที่แท็บ Options เลือกระดับที่จะปรับแต่ง (ภาพที่ 156 เลือกระดับที่ 2)

ภาพที่ 156 : ขั้นตอนที่ 1-3

บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

119


4. ทีแ่ ท็บ Graphics เลือกรูปแบบให้กับจุดนํา

ภาพที่ 157 : ขั้นตอนที่ 4

5. กลับมาทีแ่ ท็บ Options อีกครั้ง กําหนดรายละเอียดลักษณะจุดนําแบบกราฟิก 6. ทําซํ้าข้อ 3-5 แต่ให้เลือกระดับอื่น เพื่อปรับแต่งรูปแบบให้ระดับอื่นๆ (ตัวอย่างนี้ไม่ได้ทําซํ้า) 7. คลิก OK เพื่อจบการปรับแต่ง

ภาพที่ 158 : ขั้นตอนที่ 5-7

ความหมายของคุณสมบัติต่างๆในแท็บ Options (สําหรับจุดนําแบบกราฟฟิค) ช่อ ง Numbering : ใช้เ ลื อกชนิ ดของเลขนํา หรื อจุ ดนํา ตัว เลื อ กของลํา ดับ อัต โนมัติที่ เ ป็ น จุด นํา แบบกราฟิ กก็คื อ Graphics ช่อง Graphics : ใช้เลือกภาพที่จะนํามาทําเป็นจุดนํากราฟิก เมื่อคลิกที่ปุ่ม Select... จะปรากฎเมนูที่มี 2 รายการ ก็คือ 1. From File... ใช้เลือกภาพจากไฟล์ 2. Gallery ใช้เลือกภาพจากคลังภาพ ช่อง Width : ใช้กําหนดความกว้างของภาพที่เป็นจุดนําแบบกราฟิก ช่อง Height : ใช้กําหนดความสูงของภาพที่เป็นจุดนําแบบกราฟิก ตัวเลือก Keep ratio : เมื่อถูกติ๊กจะรักษาสัดส่วนความกว้างต่อความสูงไว้ ไม่ให้ภาพเสียรูปทรง ช่อง Alignment : ใช้เลือกการวางแนวของภาพที่สัมพันธ์กับความสูงของบรรทัด เช่น Center of character (กึ่งกลาง ของตัวอักษร) เป็นต้น

120

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ง. การปรับแต่งตําแหน่งและช่องว่างให้กับแต่ละระดับ ภาพที่ 159 เป็นตําแหน่งและช่องว่างของลําดับอัตโนมัติระดับที่ 3 (ระดับอื่นๆก็มีคุณสมบัติ ของตําแหน่งเหมือนกัน เพียงแต่ระยะแตกต่างกันไป) เมื่อใส่เลขนําหรือจุดนําครั้งแรก ตําแหน่งต่างๆและช่องว่าง โปรแกรมจะตั้งให้ก่อน ซึ่งเมื่อใช้ไปๆ ก็มักจะเกิดปัญหา เช่น ระยะห่างระหว่างเลขนําและข้อความห่างไม่เท่ากันทุกระดับ เป็นต้น จึงต้องเข้าไปปรับแต่งอยู่บ่อยๆ ภาพที่ 159 เมื่อคลิกที่ระดับที่ 3 จะปรากฎตัวชี้รูป 3 เหลี่ยมบนไม้บรรทัด 2 ตัว (ลักษณะเหมือนตัวชี้กั้นย่อหน้า แต่ กั้นคนละอย่างกัน) ก็คือ ตัวชี้กั้นข้อความ และ ตัวชี้กั้นลําดับอัตโนมัติ ซึ่งจะกั้นข้อความหรือลําดับอัตโนมัติไปทางซ้ายหรือ ขวา สามารถเลือกได้ ระยะห่างระหว่างตัวกั้นทั้ง 2 ก็คือ ช่องว่าง ซึ่งสามารถตั้งได้เช่นเดียวกัน

ภาพที่ 159 : ตําแหน่งต่างๆของหัวข้ออัตโนมัติระดับที่ 3

การปรับตําแหน่งและช่องว่าง สามารถใช้เม้าส์จับที่ตัวชี้แล้วย้ายตําแหน่ง ได้เลย แต่จะมีผลเพียงย่อหน้าเดียว(หัวข้อ เดียว) แม้จะเป็นย่อหน้าที่อยู่ในระดับเดียวกันก็ตาม การปรับด้วยวิธีนี้มัก สร้างความยุ่งยากเพราะบริหารจัดการยาก การปรับ โดยใช้หน้าต่าง Bullets and Numbering ให้ผลที่ดีกว่า เพราะแม่นยํา กว่าและมีผลต่อลํา ดับ อัตโนมัติทุก ย่อหน้าในระดับ เดียวกัน ซึง่ จะบริหารจัดการง่ายกว่า ขั้นตอนการปรับแต่งตําแหน่งและช่องว่างให้กับแต่ละระดับ 1. คลิกเลือกย่อหน้าใดก็ได้ ในชุดของลําดับอัตโนมัติ 2. ไปที่ Format → Bullets and Numbering … หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Bullets and Numbering) บนแถบเครื่อง มือจุดนําและเลขนํา จะปรากฎหน้าต่าง Bullets and Numbering 3. ที่แท็บ Options เลือกระดับที่จะปรับแต่ง (ภาพที่ 160 เลือกระดับที่ 2)

ภาพที่ 160 : ขั้นตอนที่ 1-3

บทที่ 10 : เลขนําและจุดนํา(Numbering and Bullets)

121


4. แท็บ Postion กําหนดตําแหน่งและช่องว่าง 5. ทําซํ้าข้อ 3-4 ตัวอย่างนี้ทําซํ้า 2 ครั้ง กับระดับที่ 1 และ 3 โดยที่ช่อง Numbering followed by เลือกเป็น Space เหมือนกัน ทั้งหมด สําหรับระยะ Aligned at และ Indent at ใช้ค่าเดิมที่โปรแกรมตั้งให้ 6. คลิก OK เพื่อจบการปรับแต่ง

ภาพที่ 161 : ขั้นตอนที่ 1-3

ความหมายของคุณสมบัติต่างๆในแท็บ Position ช่อง Numbering followed by(ต่อจากลํา ดับ อัตโนมัติตามด้วย) : ใช้ระบุการเว้นช่องว่างระหว่างส่วนที่เป็น ลํา ดับ อัตโนมัติ กับส่วนของข้อความ ตัวเลือกที่มีก็คือ Space(เคาะ <Spacebar> 1 ครั้ง) และ Tab(กดปุ่ม <Tab> 1 ครั้ง) สําหรับ ช่อง at จะทํา งานก็ต่อเมื่อ ที่ช่อง Numbering followed by เลือกเป็น Tab ช่อง at ใช้ระบุตํา แหน่ง เมื่อกดปุ่ม <Tab> 1 ครั้ง เพื่อกระโดดไปยังตําแหน่งที่ระบุ ซึ่งเป็นตําแหน่งเริ่มต้นของข้อความ ช่อง Numbering Alignment : ใช้เลือกทิศการวางแนวจากตัวชี้ เช่น เลือกเป็น Left(ซ้าย) ส่วนที่เป็นลําดับอัตโนมัติ จะจัดชิดซ้ายของตัวชี้บนไม้บรรทัด เป็นต้น ช่อง Aligned at : ใช้ระบุตําแหน่งของตัวชี้กั้นลําดับอัตโนมัติ (ตําแหน่งของตัวชี้ ตามภาพที่ 159) ช่อง Indent at : ใช้ระบุตําแหน่งของตัวชี้กั้นข้อความ (ตําแหน่งของตัวชี้ ตามภาพที่ 159) ค่าที่ช่องนี้จะไม่มีผล ถ้า ค่าที่ ช่อง Numbering followed by เลือกเป็น Space 25

ปัญหาที่พบบ่อย - ช่องว่างระหว่างลําดับอัตโนมัติกับข้อความ ไม่เท่ากัน

หลังจัดรูปแบบให้กับลําดับอัตโนมัติ ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยก็คือ ช่องว่างระหว่างส่วนที่เป็นลําดับอัตโนมัติ กับข้อความ ห่างไม่เท่ากันในทุกระดับ ทั้งนี้เป็นเพราะค่าตั้งต้นที่โปรแกรมตั้งมาให้ ที่ช่อง Numbering followed by เป็น Tab (กด <Tab> 1 ครั้ง) ซึ่งบางทีตําแหน่งหยุดปุ่มแท็บ ไม่ลงล็อคเท่ากันทุกระดับ จึงเกิดปัญหาดังกล่าว วิธแี ก้ง่ายๆก็คือ ทีช่ ่อง Numbering followed by เลือกเป็น Space ให้กับทุกระดับ(ปกติใช้เพียงระดับ 1-3) แต่ถ้า ช่องว่าง 1 ตัวอักษรน้อยไป ที่แท็บ Options ช่อง After ให้เคาะ <Spacebar> เพื่อเว้นช่องว่างเพิ่มเติม จํานวนครั้ง ตามความชอบ

122

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 11 : เครื่องมือทำำงำนกับข้อควำม ชุดที่ 2


11.1 แปรงระบาย แปรงระบายรูรูปแบบ (Format Paint Paintbrush brush)) แปรงระบายรูปแบบ(Format Paintbrush) เป็นเครื่องมือที่ใช้คัดลอกเฉพาะรูปแบบจากต้นทาง ไปใส่ให้กับปลาย ทาง ใช้ได้กับทั้งข้อความ ย่อหน้า ขั้นตอนการใช้งาน 1. คลิก หรือ เลือกข้อความต้นทาง (ไม่ว่าจะใช้การคลิกหรือเลือก แปรงระบายรูปแบบจะคัดลอกทั้งรูปแบบตัวอักษรและรูปแบบย่อหน้า) 2. คลิกทีป่ ุ่ม (Format Paintbrush)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน ตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปถังเทสี 3. คลิกหรือเลือกข้อความปลายทาง เพื่อวางรูปแบบที่คัดลอกมาลงไป แปรงระบายรูปแบบจะวางทั้งรูปแบบตัวอักษรและรูปแบบย่อหน้า หากใช้การคลิกที่ปลายทาง จะวางรูปแบบตัว อักษรให้กับคําที่ถูกคลิก หากใช้การเลือก จะวางรูปแบบตัวอักษรให้กับทั้งข้อความที่ถูกเลือก อย่างไรก็ดี รูปแบบ ย่อหน้าก็จะถูกวางลงมาด้วย ไม่ว่าจะใช้การคลิกหรือเลือก

ภาพที่ 162 : ขั้นตอนการใช้งานแปรงระบายรูปแบบ

11.2 การ การล้ล้างงการจั การจัดรูปแบบ แบบโดยตรง โดยตรง (Clear Direct Format Formatting ting)) การจัดรูปแบบโดยตรง(Direct Formatting) หรือเรียกอีกอย่างว่า การจัดรูปแบบทั บสไตล์ (ดูเรื่องสไตล์ในบทที่ 13 หน้า 141) เมื่อเปิดโปรแกรมและเริ่มต้นพิมพ์ข้อความ ตัวอักษรและย่อหน้าที่พิมพ์ Writer ได้จัดรูปแบบเริ่มต้นไว้ให้แล้ว แม้เรา ยังไม่ได้ทําอะไรเลยก็ตาม ตัวอักษร ถูกกํากับรูปแบบโดย สไตล์ตัวอักษรที่ชื่อ Default(ปริยาย) ย่อหน้า ถูกกํากับรูปแบบโดย สไตล์ย่อหน้าที่ชื่อ Default(ปริยาย) เช่นเดียวกัน (ชื่อเหมือนกัน แต่เป็นสไตล์คนละประเภทจึงไม่เกี่ยวกัน) ภาพที่ 163 เป็นตัวอย่างเมื่อสร้างเอกสารใหม่และเริ่มต้นพิมพ์ข้อความ สังเกตุที่แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ ที่ ช่องเลือก สไตล์ ซึ่งแสดงชื่อของสไตล์ย่อหน้าปัจจุบัน ก็คือ Default และที่หน้าต่าง Styles and Formatting(กด <F11>) ให้คลิกที่ปุ่ม (Character Styles) จะพบว่าสไตล์ตัวอักษรปัจจุบัน ก็คือ Default

124

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 163 : ตรวจสอบสไตล์ย่อหน้าและสไตล์ตัวอักษรของข้อความปัจจุบัน

การจัดรูปแบบโดยตรง ก็คือ การไปใส่สี เปลี่ยนฟอนต์ ปรับแต่งย่อหน้า หรืออื่นๆ โดยใช้เครื่องมือบนแถบเครื่องมือจัด รูปแบบ ใช้หน้าต่าง Character หรือใช้หน้าต่าง Paragraph หรือก็คือ ใช้เครื่องมือทั้งหมดที่อธิบายไปในบท 7 และ 8 มีเพียง อย่างเดียวที่ไม่ใช่การจัดรูปแบบโดยตรง ก็คือ การแก้ไขสไตล์ การจัดรูปแบบโดยตรง ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า การจัดรูปแบบทับสไตล์ ตัวอักษรหรือย่อหน้ายังเป็นสไตล์เดิม ก็คือ Default (ให้ทดสอบทําตามภาพที่ 163 เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง หลังจัดรูปแบบโดยตรง) แต่หน้าตาไม่ใช่รูปแบบเดิมแล้ว เหตุนี้ จึงเรียกว่า การจัดรูปแบบทับสไตล์ การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง(Clear Direct Formatting) จะล้างการจัดรูปแบบที่จัดทับสไตล์ออกไป ซึ่งสามารถ ทําได้โดย เลือกย่อหน้าหรือเลือกข้อความ จากนั้นกด <Ctrl><M> หรือไปที่ Format → Clear Direct Formatting ภาพที่ 164 หลังพิมพ์ข้อความ ได้จัดรูปแบบให้กับตัวอักษรและย่อหน้าตามภาพ

ภาพที่ 164 : จัดรูปแบบย่อหน้าและตัวอักษรทับสไตล์

ภาพที่ 165 เป็นขั้นตอนที่ต่อจากภาพที่ 164 ก็คือ ได้เลือกข้อความบางส่วน จากนั้นกด <Ctrl><M> ผลที่ได้คือการ ล้างการจัดรูปแบบโดยตรง เฉพาะรูปแบบตัวอักษรของข้อความที่เลือก

ภาพที่ 165 : ล้างการจัดรูปแบบตัวอักษรเฉพาะข้อความที่เลือก

บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

125


ภาพที่ 166 เป็นขั้นตอนที่ต่อจากภาพที่ 164 อีกกรณีหนึ่ง ก็คือ ได้คลิกที่ย่อหน้า จากนั้นกด <Ctrl><M> ผลที่ได้คือ การล้างการจัดรูปแบบโดยตรงเฉพาะการจัดรูปแบบย่อหน้า

ภาพที่ 166 : ล้างการจัดรูปแบบเฉพาะย่อหน้าที่เลือก

11.3 AutoCorrect (แก้ไขอัตโนมัต)ิ AutoCorrect (แก้ไขอัตโนมัติ) คือ การแก้ไขข้อความหรือเปลี่ยนรูปแบบข้อความไปเป็นอย่างอื่นอย่างอัตโนมัติ

ก. แก้ไขคําหรือข้อความอัตโนมัติ เมื่อพิมพ์ตวั เลข 1/2 จากนั้นกด <Spacebar> จะเปลี่ยนเป็น ½ ให้อัตโนมัติ หรืออื่นๆเช่น www. abc.com เปลี่ยนเป็น www.abc.com yera เปลี่ยนเป็น year (c) เปลี่ยนเป็น © --> เปลี่ยนเป็น → ลักษณะดังกล่าว คํามีการเปลี่ยนแปลงอัตโนมัติ หลังกด <Spacebar> ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ AutoCorrect การเกิด AutoCorrect เป็นไปตามการตั้งค่า ว่าคําไหนจะให้เปลี่ยนเป็นอะไร? ซึ่ง Writer ได้ตั้งมาให้แล้วจํานวนหนึ่ง อย่างไรก็ดี เราสามารถเพิ่มเติมเข้าไปเองได้ด้วย ไปที่ Tools→ AutoCorrect Options... จะปรากฎหน้าต่าง AutoCorrect (ตามภาพที่ 167) ทีช่ ่อง Replacement and exceptions for langauge (การแทนทีแ่ ละการยกเว้น สําหรับภาษา) ทีแ่ ท็บ Replace เลือก ภาษา จากนั้นจะปรากฎรายการ AutoCorrect ที่ถูกตั้งไว้

ภาพที่ 167 : หน้าต่าง AutoCorrect

126

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาษาแต่ ล ะภาษามี ก ารตั้ ง AutoCorrect แยกกั น ภาษาไทยไม่ มี ก ารตั้ ง AutoCorrect ไว้ ถึ ง ตั้ ง ไว้ ก็ ใ ช้ ง านยาก เพราะ AutoCorrect จะตรวจสอบการแทนที่จากคําและการกด<Spacebar> แต่ลักษณะของภาษาไทยจะเขียนคําติดกันยาว เป็นประโยค ฉะนั้นจึงใช้ AutoCorrect ได้ยาก (ใช้ได้แต่ต้องกด <Spacebar> เพื่อจบเป็นคําๆไป) 26

การยกเลิก AutoCorrect เฉพาะคํา

หากต้องการยกเลิกการทํา AutoCorrect เฉพาะคํา หลังเกิด AutoCorrect ให้กด <Ctrl><Z> 1 ครั้ง จะยกเลิก AutoCorrect ที่พึ่งเกิด เช่น พิมพ์ 1/2 จากนั้นเปลี่ยนเป็น ½ ให้กด <Ctrl><Z> จะกลับมาเป็น 1/2 อีกครั้ง 27

ปิดการแก้ไขคําหรือข้อความอัตโนมัติ

ไปที่ Tools→ AutoCorrect Options... จะปรากฎหน้าต่าง AutoCorrect ทีแ่ ท็บ Options ติ๊กออกที่ กล่องตัว เลือก Use replacement table (ไม่ใช้ตารางแทนที่คํา ที่แท็บ Replace)

[M] = มีผลกับการแก้ไขคํา [T] = มีผลกับการพิมพ์ ข้อความใหม่ ภาพที่ 168 : ปิดแก้ไขคําหรือข้อความอัตโนมัติ

การเพิ่มคําที่จะทํา AutoCorrect การเพิ่มคําที่จะทํา AutoCorrect สามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอน 1. ไปที่ Tools → AutoCorrect Options... จะปรากฎหน้าต่าง AutoCorrect 2. ทีช่ ่อง Replacement and exceptions for langauge เลือกภาษาที่จะเพิ่มคําลงไป 3. (ทีแ่ ท็บ Replace) ช่อง Replace พิมพ์คําที่จะถูกแทนที่ 4. (ทีแ่ ท็บ Replace) ช่อง With พิมพ์คําที่จะมาแทนที่ 5. คลิกที่ปุ่ม Replace คําที่จะทํา AutoCorrect จะถูกเพิ่มลงในตาราง 6. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 169 : ขั้นตอนการเพิ่มคําที่จะทํา AutoCorrect

บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

127


ข. AutoCorrect แบบอื่นๆ ใส่ Hyperlink ให้ URL อัตโนมัติ การพิ ม พ์ URL(ที่ อ ยู่ ข องเว็ บ ไซต์ ) เช่ น www.google.com โปรแกรมจะทํา AutoCorrect ให้ ด้ ว ย โดยหลั ง เกิ ด AutoCorrect โปรแกรมจะใส่ Hyperlink ให้ รู ป แบบของ URL จะเปลี่ ย นเป็ น www.google.com ซึ่ ง สามารถกด <Ctrl>+คลิก เพื่อเปิดเว็บไซต์ดังกล่าวได้ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง Hyperlink ในข้อ 8.12 หน้า 101) 28

ปิดการใส่ Hyperlink ให้ URL อัตโนมัติ

ไปที่ Tools → AutoCorrect Options... ทีแ่ ท็บ Options ติ๊กออกทีก่ ล่องตัวเลือก URL Recognition เฉพาะอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่อัตโนมัติ หากเริ่มต้นประโยคภาษาอังกฤษ ด้วยตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวเล็ก หรือ คําที่ใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า 1 ตัว โปรแกรม จะทํา AutoCorrect ให้ด้วย โดยหลังเกิด จะเปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เพียงตัวเดียว 29

ปิดการทําให้เฉพาะอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่อัตโนมัติ

ไปที่ Tools → AutoCorrect Options... ทีแ่ ท็บ Options - ติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Capitalize first letter of every sentence (ทําให้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ทุกประโยค) - ติ๊กออกที่ Correct TWo INitial CApitalals (แก้ตัวอักษรตัวใหญ่ 2 ตัวแรก) ตัวหนาและเอียงอัตโนมัติ เมื่อพิมพ์ *ข้อความ* และ _ข้อความ_ จะเป็นการทําตัวหนา และ ตัวขีดเส้นใต้ให้กับข้อความ ตามลําดับ 30

ปิดใช้งาน * และ _ เพื่อทําตัวหนาและขีดเส้นใต้

ไปที่ Tools → AutoCorrect Options... ทีแ่ ท็บ Options ติ๊กออกทีก่ ล่องตัวเลือก Automatic *bold* _underline_ ขีดเส้นอัตโนมัติ เมื่อพิมพ์อักขระ - _ = * ~ หรือ # ตัวใดตัวหนึ่งติดกัน 3 ตัว จากนั้นกด <Enter> จะเป็นการขีดเส้นขอบล่างให้กับ ย่อหน้า (อักขระที่ต่างกันหมายถึงรูปแบบเส้นทีต่ ่างกัน) เช่น พิมพ์ --- จากนั้นกด <Enter> พิมพ์ === จากนั้นกด <Enter> พิมพ์ ### จากนั้นกด <Enter> เมื่อคลิกที่ย่อหน้าที่ขีดเส้นใต้ จากนั้นเปิดหน้าต่าง Paragraph และดูที่แท็บ Border จะพบว่ามีเส้นขีดล่างขีดอยูแ่ ล้ว

128

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 170 : AutoCorrect แบบขีดเส้นขอบล่างให้ย่อหน้า

เมื่อเกิดเส้นขอบแล้ว หากจะลบ ต้องลบทั้งย่อหน้าเส้นขอบจึงจะหายไป หรือคลิกที่ย่อหน้าแล้วกด <Ctrl><M> เพื่อ ล้างรูปแบบออกก็ได้ 31

ปิดใช้งานการใส่เส้นขอบล่างด้วยอักขระ 3 ตัว

ไปที่ Tools → AutoCorrect Options... ทีแ่ ท็บ Options ติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Apply border

ค. Word Completion Word Completion(การทําคําให้สมบูรณ์ ) คือ การเดาคําที่จะพิมพ์โดย Writer เช่น จะพิมพ์คําว่า heaven หาก พิมพ์แค่เพียง hea (3 ตัวอักษรแรก) จะขึ้นเป็น heaven ต่อให้ทันที เป็นการเดาล่วงหน้า หากต้องการคํานี้ให้กด <Enter> คําว่า heaven ก็จะสมบูรณ์ หากไม่ต้องการก็ให้พิมพ์ตัวอื่นต่อ Word Completion ก็จะหายไป ดูรายการคําที่เป็น Word Completion ได้ที่ Tools → AutoCorrect Options... แท็บ Word Completion

ภาพที่ 171 : รายการคําที่เป็น Word COmpletion

บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

129


รายการคําที่เป็น Word Completion สามารถลบได้ แต่เพิ่มตรงๆที่หน้าต่าง AutoCorrect ไม่ได้ โปรแกรมจะสะสม คําเข้าสูร่ ายการให้อัตโนมัติ โดยดูจากค่าที่ระบุในช่อง Min. word length(จํานวนตัวอักษรที่สั้นที่สุด) หากเราพิมพ์คํา ที่มีจํานวนตัวอักษรมากกว่าค่าที่ระบุในช่อง Min. word length โปรแกรมจะสะสมคําเข้าสู่รายการให้ โดยอัตโนมัติ แม้แต่คําที่เราพิมพ์ผิด(แต่ลบออกได้ในภายหลัง) ในทางตรงกันข้าม หากพิมพ์คําที่มีตัวอักษรน้อยกว่าค่าที่ระบุ คําจะไม่ถูกสะสม

11.4 Autotext (ข้อความอัตโนมัติ) Autotext (ข้อความอัตโนมัติ) ช่วยให้ใส่ข้อความ, ตาราง, ภาพ หรืออื่นๆ ได้ด้วยการพิมพ์คํา ลัดเพียงสั้นๆ เช่น หาก จะพิมพ์คําเต็มๆว่า “LibreOffice Writer” เมื่อใช้ AutoText ช่วย เพียงพิมพ์คําลัด “LW” จากนั้นกด <F3> จะขึ้นคําว่า “LibreOffice Writer” ให้ทันที แต่ทั้งนี้ต้องตั้งค่า Autotext ไว้ก่อน จึงจะสามารถทําได้ องค์ประกอบของ AutoText ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ก็คือ 1.ชื่อ 2. คําลัด 3. เนื้อหา โดยเนื้อหาจะเป็นข้อความ อย่างเดียว, เป็นตาราง, เป็นภาพ หรือเป็นเนื้อหาผสมก็ได้ Writer มี AutoText สําเร็จรูปมาให้แล้วจํานวนหนึ่ง ให้ไปที่ Edit → Autotext... (หรือกด <Ctrl><F3>) จะปรากฎ หน้าต่าง AutoText ตามภาพที่ 172

ภาพที่ 172 : หน้าต่าง AutoText

เมื่อคลิก AutoText ในกรอบรายการ จะปรากฎ ชื่อ(Name), คําลัด(Shortcut) และเนื้อหา(Show preview) ตัวอย่าง ตามภาพที่ 172 ให้ทดสอบพิมพ์คําลัดที่ปรากฎในช่อง Shortcut ลงในเอกสาร จากนั้นกด <F3> จะปรากฎเนื้อหาเต็ม เช่น พิมพ์ R1 จากนั้นกด <F3> จะได้เนื้อหาดังนี้ We would like to draw your attention to the enclosed statement dated <11/11/99> for the amount of <$47.11> is past due. Please remit the overdue amount by <11/11/99>. If you have already settled your account, please disregard this notice. นอกจาก AutoText ที่ Writer มีมาให้แล้ว เราสามารถสร้าง AutoText ไว้ใช้งานเองได้ด้วย ซึ่งสะดวกมากๆสําหรับ การแทรกเนื้อหาที่ใช้บ่อยๆลงในเอกสาร เช่น ที่อยู,่ เนื้อหาที่ต้องพิมพ์บ่อยๆ เป็นต้น ขั้นตอนการสร้าง Autotext 1. เลือกเนื้อหาที่จะนํามาทํา AutoText (ตามภาพที่ 173) 2. ไปที่ Edit → Autotext... (หรือกด <Ctrl><F3>) จะปรากฎหน้าต่าง AutoText

130

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


3. ที่หน้าต่าง AutoText 3.1 เลือกหมวดที่จะเก็บ AutoText ภาพที่ 173 เลือกหมวด My AutoText 3.2 ทีช่ ่อง Name ตั้งชื่อของ AutoText ภาพที่ 173 ตั้งชื่อเป็น “เพลงชาติ” (ชื่อของ AutoText ใช้ระบุตัวตนเฉยๆ ไม่ได้ใช้ทําอะไรอื่น) 3.3 ทีช่ ่อง Shortcut ตั้งคําลัด เป็นคําสั้นๆหรืออักษรตัวเดียวก็ได้ ภาพที่ 173 ใส่เป็น “พช” 4. คลิกทีป่ ุ่ม AutoText → New (Text Only) (สําหรับเนื้อหาที่มีแต่ข้อความ) หรือ คลิกทีป่ ุ่ม AutoText → New (สําหรับเนื้อหาผสม) จากนั้น AutoText จะถูกเพิ่มเข้าสู่หมวดหมู่ที่เลือก 5. คลิกที่ปุ่ม Close

ภาพที่ 173 : ขั้นตอนการสร้าง AutoText

การใช้งาน พิมพ์คําลัด จากนั้นกด <F3> จะปรากฎเนื้อหาเต็ม เช่น พิมพ์ พช จากนั้นกด <F3> เป็นต้น การแก้ไขเนื้อหาใน AutoText หลังสร้าง AutoText เสร็จแล้ว หากต้องการแก้ไขเนื้อหาของ AutoText สามารถทําได้ดังนี้ บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

131


ขั้นตอนการแก้ไขเนื้อหาใน Autotext 1. ไปที่ Edit → Autotext... (หรือกด <Ctrl><F3>) จะปรากฎหน้าต่าง AutoText 2. เลือก AutoText 3. คลิกทีป่ ุ่ม AutoText → Edit เนื้อหาของ AutoText จะถูกเปิดด้วย Writer ขึ้นมาอีกหน้าต่างหนึ่ง 4. แก้ไขเนื้อหาใน AutoText 5. บันทึก AutoText (ที่หน้าต่าง Writer ของ AutoText ไปที่ File → Save AutoText หรือกด <Ctrl><S>) 6. ปิดหน้าต่าง Writer ของ AutoText

ภาพที่ 174 : ขั้นตอนการแก้ไขเนื้อหาของ AutoText

11.5 การค้นหาและแทนที่ หากต้องการค้นหาเพียงอย่างเดียว ให้กด <Ctrl><F> จะปรากฎแถบเครื่องมือค้นหา(Find toobar) ตามภาพที่ 175 การใช้ง านไม่ย าก เพีย งใส่ข้อความที่ต้องการค้น หาลงไป จากนั้นคลิกที่ ปุ่ม Find Next(ค้นหาไปข้างหน้า ) หรือ ปุ่ม Find Previous (ค้นหาก่อนหน้า)

ภาพที่ 175 : แถบเครื่องมือค้นหา(Find toolbar)

132

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


หากต้องการค้นหาและแทนที่ให้กด <Ctrl><H> จะปรากฎหน้าต่าง Find and Replace ตามภาพที่ 176 ซึ่งสามารถ กําหนดเงื่อนไขการค้นหาได้ละเอียดกว่า เช่น ค้นหาโดยตัวอักษรตัวเล็กตัวใหญ่มีผล(ใช้กับภาษาอังกฤษ) เป็นต้น นอกจากการค้นหาข้อความแล้ว ยังสามารถค้นหาและแทนที่สไตล์ได้ด้วย โดยติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Search for Styles จากนั้นที่ ช่อง Seach for และ Replace with จะเปลี่ยนเป็นกล่องรายการเพื่อให้เลือกสไตล์ที่จะค้นหาและแทนที่ (ดูเพิ่มเติมเรื่องสไตล์ ในบทที่ 13 หน้า 141)

ภาพที่ 176 : หน้าต่างค้นหาและแทนที่ (Find and Replace)

11.6 การใส่บันทึกข้อความ บันทึกข้อความ(Comment) เป็นข้อความที่อยู่นอกเหนือเนื้อหาในหน้ากระดาษ ใช้เขียนอธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาที่อยู่ ในเอกสาร ขั้นตอนการใส่บันทึกข้อความ 1. คลิก ณ ตําแหน่งที่จะใส่บันทึกข้อความ 2. ไปที่ Insert → Comment... หรือ กด <Ctrl><Alt><C> จะปรากฎกรอบให้พมิ พ์บันทึกข้อความ 3. พิมพ์บันทึกข้อความลงในกรอบ

ภาพที่ 177 : ขั้นตอนการใส่บันทึกข้อความ

บทที่ 11 : เครื่องมือทํางานกับข้อความชุดที่ 2

133


การซ่อนหรือแสดงบันทึกข้อความ ไปที่ View → Comments การลบบันทึกข้อความ คลิกปุ่มที่มุมขวาล่างในกรอบบันทึก ข้อความ จากนั้นเลือกลบตามต้องการ ภาพที่ 178 : การลบบันทึกข้อความ

134

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 12 : ไปยังจุดต่ำงๆด้วย Navigator


12.1 หน้าต่าง Navigat Navigator or หน้าต่าง Navigator(นักสํารวจ) เป็นเครื่องมือที่ ใช้โดดไปโดดมายังตําแหน่งต่างๆในเอกสาร งานเอกสารที่มีเพียง 2-3 หน้า อาจไม่จําเป็นต้องใช้ Navigator แต่ถ้าเอกสารมีปริมาณมาก 30-40 หรือเป็น ร้อยหน้า หน้าต่าง Navigator ถือเป็นเครื่องมือที่จําเป็น เมื่อกด <F5> หรือไปที่ View → Navigator หรือ คลิกที่ ปุ่ม (Navigator) บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน จะ ปรากฎหน้าต่าง Navigator ตามภาพที่ 179 การใช้งานหน้าต่าง Navigator เบื้องต้น เมื่ อ สร้ า งหรื อ ใส่ อ งค์ ป ระกอบอย่ า งเช่ น ตาราง, ภาพ หรือ ที่ขั้นหนังสือ(Bookmark) ลงในเอกสาร ชื่อของ องค์ประกอบดังกล่าว จะถูกเพิ่มเข้าสู่รายการจุดกระโดดใน ภาพที่ 179 : หน้าต่าง Navigator หน้าต่าง Navigator ตามหมวดหมู่อย่างอัตโนมัติ ตัวอย่าง ตามภาพที่ 180 ภาพที่ 180 หลังสร้างตาราง ชื่อของตารางก็คือ Table1 ถูกเพิ่มเข้าสู่รายการจุดกระโดดในหน้าต่าง Navigator อย่าง อัตโนมัติ การตรวจสอบชื่อของตาราง ให้ คลิก เม้าส์ ขวาที่ตาราง → Table... จะปรากฎหน้าต่าง Table Format ซึ่งเป็น หน้าต่างคุณสมบัติของตาราง ทีแ่ ท็บ Table ชื่อของตารางอยู่ที่ช่อง Name (สามารถแก้ชื่อตารางได้ที่นี่)

ภาพที่ 180 : การตรวจสอบชื่อตาราง และชื่อตารางที่หน้าต่าง Navigator

เกือบทุกองค์ประกอบที่สร้างหรือใส่ลงเอกสารมีชื่อ แม้เราไม่ได้ตั้งให้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะโปรแกรมได้ตั้งให้ก่อน เช่น เมื่อ สร้างตาราง โปรแกรมจะตั้งชื่อเป็น Table1, Table2, Table3... ไล่ไปเรื่อยๆ วิธีง่ายๆในการใช้งานหน้าต่าง Navigator ก็คือ ดับเบิ้ลคลิกที่ จุดกระโดดในหน้าต่าง Navigator หน้าจอและตัวชี้ พิมพ์ข้อความจะโดดไปยังตําแหน่งขององค์ประกอบดังกล่าว เช่น ในภาพที่ 180 หากดับเบิ้ลคลิกที่จุดกระโดด Table1 ไม่ว่า ทํางานอยู่ที่ไหน จะโดดไปยังตารางที่ชื่อ Table1 ทันที

136

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


12.2 ปุ่มต่างๆ งๆใน ในหน้ หน้าต่าง Naviga Navigator tor

ภาพที่ 181 : หน้าต่าง Navigator

(Toggle) (Navigation) (Previous ...) (Next …) (Go to Page...) (Drag mode)

: : : : : :

(List Box On/Off) (Content View) (Set reminder)

: : :

(Header) (Footer) (Anchor<->Text)

: : : (Heading Level Shown) : (Promote Chapter) : (Demote Chapter) : (Promote Level) : (Demote Level) :

ปุ่มนี้ไม่ทํางานสําหรับเอกสารทั่วไป ใช้กับเอกสาร Master Document เท่านั้น เปิดหน้าต่าง Navigation (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.4 ) ไปยังตําแหน่งก่อนหน้า ตามที่ตั้งไว้ในหน้าต่าง Navigation (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.4 ) ไปยังตําแหน่งถัดไป ตามที่ตั้งไว้ในหน้าต่าง Navigation (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.4 ) ไปที่หน้า... ให้พมิ พ์ตัวเลขลงในช่อง แล้วกด <Enter> จะโดดไปที่หน้านั้น Drag Mode หรือโหมดการลาก ใช้เมื่อมีการลากรายชื่อจุดกระโดดที่อยู่ในหน้าต่าง Navigator ไปวางในเอกสาร Drag Mode มีอยู่ 3 ตัวเลือกด้วยกัน ก็คือ Insert as Hyperlink : วางชื่อของจุดกระโดดเป็น Hyperlink ที่สามารถคลิกเพื่อ โดดไปยังองค์ประกอบที่เป็นจุดกระโดดได้ Insert as Link : วางเนื้อหาขององค์ประกอบที่ลิงค์กับต้นทาง(ไม่สามารถแก้ไขได้) Insert as Copy : วางเนื้อหาขององค์ประกอบ(สามารถแก้ไขได้) เปิด/ปิด กรอบรายการจุดกระโดดด้านล่างของหน้าต่าง Navigator แสดงรายการจุดกระโดดเฉพาะหมวดที่ถูกเลือก ตั้งจุดเตือนความจํา(Reminder) ซึ่งเป็นจุดกระโดดชั่วคราว เมื่อปิดเอกสารจุดเตือน ความจําที่สร้างไว้ก็จะถูกล้างออก หลังตั้งจุดเตือนความจําแล้ว เมื่อคลิกที่ปุ่ม (Previous ...) หรือ (Next …) จะโดดไปมาระหว่างจุดเตือนความจํา ไปที่หัวกระดาษ(Header) หากมี ไปที่ท้ายกระดาษ(Footer) หากมี โดดสลับไปมาระหว่าง ตัวอ้างอิงเชิงอรรถ กับ พืน้ ที่พิมพ์เชิงอรรถ ใช้เลือกจํานวนระดับของ Heading(หัวข้อ) ที่จะแสดง (มีทั้งหมด 10 ระดับ) ย้ายเนื้อหาของ Heading ขึ้นไป 1 ขั้น (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.3) ย้ายเนื้อหาของ Heading ลงไป 1 ขั้น (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.3) เลื่อนระดับของ Heading ขึ้นไป 1 ขั้น (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.3) ลดระดับของ Heading ลงไป 1 ขั้น (ดูเพิ่มเติมในข้อ 12.3) บทที่ 12 : ไปยังจุดต่างๆด้วย Navigator

137


12.3 รูจ้ ักกับ Heading Headingss(หัวข้อ) Headings(หัวข้อ) เป็นหัวข้ออัตโนมัติที่ถูกสร้างโดยโครงร่างเลขนํา(Outline Numbering) โครงร่ า งเลขนํา (Outline Numbering) เป็ น ระบบ หั ว ข้ อ อั ต โนมั ติ ที่ มี ลั ก ษณะคล้ า ยเลขนํา (Numbering) ตามที่ อธิบายในบทที่ 10 แต่ในเอกสาร 1 ไฟล์มีโครงร่างเลขนํา ได้ชุด เดียว ต่างจากเลขนําที่มีกี่ชุดก็ได้ โครงร่างเลขนํา ใช้แบ่งเนื้อหาทั้งเอกสารออกเป็นบทๆ (แบ่งเป็น Chapters) โดยใช้สไตล์ย่อหน้าเป็นตัวบอกว่า เนื้อหา ตรงไหนจะเป็นบทไหน นอกจากนี้สารบัญอัตโนมัติก็ใช้ข้อมูลจาก โครงร่างเลขนํา ไปทําสารบัญด้วย โครงร่างเลขนํา มีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงต้องเขียน แยกไว้อีกบทหนึ่ง โครงร่างเลขนําถือเป็นเครื่องมือที่อํานวยความ ภาพที่ 182 : รายการจุดกระโดดในหมวด Heading สะดวกได้มาก โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องทํางานกับเอกสารที่มีเนื้อหา เป็นจํานวนมาก หรือต้องจัดโครงสร้างของเอกสารให้เป็นระบบระเบียบ อย่างเช่น การเขียนหนังสือ เป็นต้น (หนังสือเล่มนี้ ก็ ใช้โครงร่างเลขนํา ช่วยจัดโครงสร้าง) สมัยแรกๆ ที่ผู้เขียนเริ่มใช้งาน Writer (ตั้งแต่ยังอยู่ในชุดของ OpenOffice.org) ซึ่งยังไม่รู้จักโครงร่างเลขนํา เมื่อเริ่ม เขียนหนังสือที่มีจํานวนหน้าเข้าสู่หลักร้อย การโดดไปยังตําแหน่งต่างๆในหนังสือเป็นเรื่องที่เริ่มสําคัญ เพราะการใช้สกอลบาร์ ไม่สะดวกอีกแล้ว แรกๆผู้เขียนอาศัยตารางและรูปภาพเป็นจุดกระโดด แต่ก็ต้องขยันตั้งชื่อภาพและตารางให้สื่อความหมาย กับตําแหน่งที่จะโดดไปหาด้วย ยังไม่รวมปัญหาในเรื่อง เลขที่บทอัตโนมัติ, สารบัญอัตโนมัติ, หัวกระดาษท้ายกระดาษที่ดึงชื่อ บทมาใช้อัตโนมัติ เป็นต้น ฉะนั้นสมัยแรกๆที่เขียนหนังสือ อะไรๆจึงยังไม่สะดวกสบายมากนัก ดัวยปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงเริ่มค้นหาจาก Google ว่า มีเครื่องมืออะไรหรือไม่ ที่จะช่วยแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทๆ ที่ ช่วยสร้างจุดกระโดดอย่างง่าย มีเพียงคําตอบสั้นๆว่า “ให้ลองใช้ Outline Numbering” และในเว็ปไซต์ของ OpenOffice.org ก็ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ อาจเป็นเพราะมีคนรู้จักน้อยมาก ฉะนั้นผู้เขียนจึงต้องลองผิดลองถูกอยูพ่ ักใหญ่ จึงเข้าใจ การใช้งานโครงร่าง เลขนําอย่างถึงแก่น ซึ่งก็พบว่า เป็นเครื่องมือที่ค้นหามานานและตอบทุกโจทย์ เมื่อ ได้รู้จักโครงร่างเลขนํา ผู้เขีย นจึงใช้ Heading เป็นจุดกระโดดเพียงอย่างเดียว เพื่อโดดไปยังตํา แหน่งต่างๆใน เอกสาร ไม่ต้องตั้งชื่อภาพหรือตารางอีกแล้ว เพราะ Heading จะดึงข้อความจากโครงร่างเลขนํามาอย่างอัตโนมัติและอัพเดต อย่างอัตโนมัติให้ด้วย นี่เป็นข้อดีเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้งาน Navigator เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง โครงร่างเลขนําในบทที่ 23 (หน้า 287) 32

ทดลองใช้ Heading แบบง่ายๆ

สไตล์ย่อหน้า Heading 1-10 ถูกตั้งให้ใช้งานกับโครงร่างเลขนําทั้ง 10 ระดับไว้แล้ว ให้ทดสอบพิมพ์อะไร ก็ได้ 1 ย่อหน้าสั้นๆ จากนั้นกด <Ctrl><1> เพื่อใส่สไตล์ย่อหน้าที่ชื่อ Heading 1 ให้กับย่อหน้าดังกล่าว ที่ หน้าต่าง Navigator ในหมวด Heading จะปรากฎรายการจุดกระโดดเพิ่มเข้ามา ซึ่งมีชื่อเดียวกับข้อความที่ อยู่ในย่อหน้า

138

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


12.4 โดดแบบด่วนด้วย Navigation Navigation เป็นระบบที่ใช้โดดไปยังจุดกระโดดในหมวดเดียวกัน แบบด่วน Navigation เป็นส่วนหนึ่งของหน้าต่าง Navigator ที่หน้าต่าง Navigator มีปุ่ม 3 ปุ่มที่เกี่ยวกับระบบของ Navigation ก็คือ (Navigation), (Previous …) และ (Next …) ซึ่งบน สกอลบาร์ก็มีปุ่มทั้ง 3 ด้วย (ตามภาพที่ 183) ภาพที่ 183 : ปุ่ม 3 ปุ่มบนสกอลบาร์

การใช้งาน Navigation 1. คลิกที่ปุ่ม (Navigation) ที่สกอลบาร์หรือที่หน้าต่าง Navigator ก็ได้ จะปรากฎหน้าต่าง Navigation 2. ทีห่ น้าต่าง Navigation คลิกเลือกหมวดหมู่ของสิ่งที่จะใช้เป็นจุดกระโดด ภาพที่ 184 คลิกทีป่ ุ่ม (Reminder) เพื่อใช้จุดเตือนความจําเป็นจุดกระโดด 3. ปิดหน้าต่าง Navigation 4. คลิกที่ปุ่ม (Previous) ที่สกอลบาร์หรือที่หน้าต่าง Navigator ก็ได้ เพื่อโดดไปยังจุดกระโดดก่อนหน้า ในหมวดหมู่ที่เลือกในข้อ 2 หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Next) ที่สกอลบาร์หรือที่หน้าต่าง Navigator ก็ได้ เพื่อโดดไปยังจุดกระโดดถัดไป ในหมวดหมู่ที่เลือกในข้อ 2 (หากจุดกระโดดไม่มี ก็จะไม่โดดไปไหน เช่น ไม่ได้ตั้งจุดเตือนความจํา(Reminder)ไว้ ก็จะไม่โดดไปไหน)

ภาพที่ 184 : ขั้นตอนการใช้งาน Navigation

33

การตัง้ จุดเตือนความจํา

การตั้งจุดเตือนความจํา ให้คลิกเม้าส์ในเอกสาร ณ จุดที่เราต้องการใช้เป็นจุดกระโดด จากนั้นคลิกที่ ปุ่ม (Set Reminder)ในหน้าต่าง Navigator จุดนั้นก็จะกลายเป็นจุดกระโดด หลังตั้งแล้วจะไม่มีอะไร ให้สังเกตุว่า ได้ตั้งจุดเตือนความจําแล้ว ต้องทดสอบทําตามขั้นตอนในข้างต้น จึงจะทราบว่าใช้งานได้หรือไม่

บทที่ 12 : ไปยังจุดต่างๆด้วย Navigator

139


140

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

“สไตล์ถือเป็นหัวใจสําคัญของ Writer ไม่รู้จักสไตล์ถือว่าไม่รู้จัก Writer ถ้ารู้จักสไตล์ คุณจะรัก Writer”


13.1 สไตล์ใน Writer สไตล์ (Styles) คือ รูปแบบขององค์ประกอบใน ที่ถูกบันทึกไว้ เพื่อที่จะนํามาใช้จัดรูปแบบให้กับองค์ประกอบประเภท เดียวกันในภายหลัง เพื่ออํานวยความสะดวกที่ไม่ต้องทําซํ้ากระบวนการเดิมตั้งแต่ต้น จุดเด่นของสไตล์สําหรับการใช้งานทั่วๆไป ก็คือ ช่วยให้การจัดรูปแบบง่ายและเร็ว และบริหารจัดการการจัดรูปแบบได้ ง่าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนั้นสําคัญมาก ใน Writer สไตล์ถือเป็นพระเอก ถือเป็นหัวใจสําคัญของ Writer เครื่องมืออํานวยความสะดวกทั้งหลาย การจัดรูปแบบ ขั้นสูง เช่น การจัดรูปแบบแบบด่วน, การสร้างสารบัญอัตโนมัติ, การสร้างหัวข้ออัตโนมัติ และอื่นๆ หรือแม้แต่เครื่องมือพื้นๆ ล้วนอ้างอิงสไตล์ทั้งสิ้น สไตล์ใน Writer มีอยู่ 5 ประเภท(Categories) แต่ละประเภทหมายถึง องค์ประกอบใน Writer ที่สามารถบันทึกเป็น สไตล์ได้ สไตล์ 5 ประเภทนั้นก็คือ 1. สไตล์ย่อหน้า (Paragraph styles) เป็นสไตล์ที่ใช้กับย่อหน้า 2. สไตล์ตัวอักษร (Character styles) เป็นสไตล์ที่ใช้กับตัวอักษร 3. สไตล์หน้ากระดาษ (Page styles) เป็นสไตล์ที่ใช้กับหน้ากระดาษ 4. สไตล์กรอบ (Frame styles) เป็นสไตล์ที่ใช้กับกรอบ(Frame) 5. สไตล์รายการ (List styles) เป็นสไตล์ที่ใช้กับเลขนําและจุดนํา ไปที่ Format → Styles and Formatting หรือ กด <F11> หรือคลิกที่ ปุ่ม เครืองมือจัดรูปแบบ จะปรากฎหน้าง Styles and Formatting ตามภาพที่ 185

(Styles and Formatting)บนแถบ

ภาพที่ 185 : หน้าต่าง Styles and Formatting

สไตล์ถูกใช้งานเป็นปกติ แม้เราจะไม่รู้จกั สไตล์ Writer มีสไตล์มาให้แล้วจํา นวนหนึ่ง เมื่อเปิดหน้าต่ าง Styles and Formatting ขึ้น มาก็จะเห็น รายชื่อของสไตล์ จํานวนหนึ่ง(ตัวอย่างตามภาพที่ 185) โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนแทบจะไม่ใช้สไตล์เหล่านั้นเลย เพราะชื่อของสไตล์ไม่เกาะกลุ่ม และไม่สื่อความหมายเท่าที่ควรว่าใช้แล้วหน้าตาจะออกมาอย่างไร จึงสร้างสไตล์ขึ้นมาใช้งานเองเสมอ อย่างไรก็ดี สไตล์ที่ Writer มีมาให้ก็ถูกใช้ควบคู่กับเครื่องมือต่างๆอยู่เสมอๆ ตั้งแต่เปิดโปรแกรมขึ้นมาสไตล์ก็ถูกใช้แล้ว แม้เราจะไม่รู้ตัวก็ตาม เมื่อเปิด Writer และเริ่มพิมพ์ย่อหน้าหรือตัวอักษร หน้ากระดาษ,ย่อหน้าหรือตัวอักษร ถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์ไว้ แล้ว แม้เราจะไม่ได้ใส่สไตล์ให้ก็ตาม

142

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


วิธีดูว่า องค์ประกอบที่เราทํางานอยู่ถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์อะไร สามารถดูได้ที่หน้าต่าง Styles and Formatting ให้เลือกองค์ประกอบแล้วดูที่หน้าต่าง Styles and Formatting สไตล์ใดที่มีแถบสีคาดอยู่ สไตล์นั้นกํา กับรูปแบบขององค์ ประกอบนั้นอยู่ สําหรับสไตล์หน้ากระดาษและสไตล์ย่อหน้า สามารถดูได้จากแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ และ แถบแสดงสถานะ ตามลําดับได้ด้วย (ตัวอย่างตามภาพที่ 186) ภาพที่ 186 ทั้งหมดเป็นสไตล์ชื่อ Default(ปริยาย) แต่เป็นคนละประเภทฉะนั้นไม่เกี่ยวกัน ข้อความ “พิมพ์อะไรก็ได้” ถูกกํากับรูปแบบตัวอักษรโดยสไตล์ตัวอักษร Default ย่อหน้าที่ข้อความนั้นอยู่ถูกกํากับรูปแบบด้วยสไตล์ย่อหน้า Default หน้ากระดาษปัจจุบันถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์หน้ากระดาษ Default

ภาพที่ 186 : การดูสไตล์ที่กํากับรูปแบบขององค์ประกอบ

13.2 การสร้างสไตล์ยย่​่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และสไตล์รายการ การสร้างสไตล์ ในบทนี้อธิบายเฉพาะ สไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และ สไตล์รายการ เท่านั้น สํา หรับสไตล์หน้า กระดาษ ดูรายละเอียดได้ในบทที่ 17(หน้า 229) สไตล์กรอบมีวิธีสร้างเหมือนกับที่อธิบายไว้ในข้อนี้ ดูเรื่องกรอบ(Frame) บทที่ 18 (หน้า 235) หลังจัดรูปแบบย่อหน้า(Paragraph), ตัวอักษร(Character), จุดนําหรือเลขนํา(Lists) เสร็จแล้ว หากต้องการนํารูปแบบ ที่จัดไว้ ไปใช้กับองค์ประกอบประเภทเดียวกันในจุดอื่นๆ เช่น นํารูปแบบของย่อหน้าหนึ่ง ไปใส่ให้อีกย่อหน้าหนึ่ง โดยไม่ต้อง จัดรูปแบบใหม่ตั้งแต่ตน้ สามารถทําได้โดย สร้างสไตล์จากต้นแบบเก็บไว้ก่อน จากนั้นจึงนําไปใส่ให้กับจุดอื่นๆ การสร้างสไตล์ ก็คือ การคัดลอกรูปแบบขององค์ประกอบเก็บไว้เป็นสไตล์ ฉะนั้นก่อนสร้างสไตล์สํา คัญที่จะต้องมี ต้นแบบ การสร้างสไตล์ในแต่ละประเภทมีขั้นตอนเหมือนกันหมด แต่มักจะพบความผิดพลาดในการสร้าง ส่งผลให้ไม่ได้สไตล์ อย่างที่ต้องการ ในขั้นตอนการสร้างสไตล์จึงมีอยู่ 2 ขั้นตอนที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก็คือ การเลือกต้นแบบ และ การ เลือกประเภทสไตล์ เพราะจะพบความผิดพลาดใน 2 ขั้นตอนนี้มาก ขั้นตอนการสร้างสไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และสไตล์รายการ (ภาพที่ 187 เป็นตัวอย่างขั้นตอนการสร้างสไตล์ตัวอักษร) 1. จัดรูปแบบย่อหน้า(Paragraph), ตัวอักษร(Character), จุดนําหรือเลขนํา(List) อย่างใดอย่างหนึ่งไว้เป็นต้นแบบ (สร้างสไตล์ได้ทีละตัวเท่านั้น) 2. เปิดหน้าต่าง Styles and Formatting (กด<F11>) บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

143


3. เลือกต้นแบบ *** หากจะสร้างสไตล์ย่อหน้า ให้คลิกเม้าส์เพื่อย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาที่ย่อหน้าต้นแบบ หากจะสร้างสไตล์ตัวอักษร ให้เลือกตัวอักษรหรือข้อความที่เป็นต้นแบบ หากจะสร้างสไตล์รายการ ให้คลิกเม้าส์เพื่อย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาอยู่ในขอบเขตของเลขนําหรือจุดนํา 4. เลือกประเภทของสไตล์ที่ต้องการจะสร้าง *** โดยคลิกทีป่ ุ่มเลือกประเภทของสไตล์ ในหน้าต่าง Styles and Formatting (

)

5. คลิกปุ่ม (New Style from Selection) → New Style from Selection หรือกด <Shift><F11> จะปรากฏหน้าต่าง Create Styles 6. ตั้งชื่อสไตล์ 7. คลิกปุ่ม OK 8. สไตล์ที่ถูกสร้างแล้ว จะปรากฏเป็นรายชื่ออยูใ่ นหน้าต่าง Styles and Formatting สร้างสไตล์ประเภทไหน ก็จะปรากฎอยู่ในรายชื่อของประเภทนั้นเท่านั้น

ภาพที่ 187 : ขั้นตอนการสร้างสไตล์

สร้างสไตล์โดยการลากไปวางบนปุ่ม การสร้างสไตล์ สามารถใช้การลาก ข้อความต้นแบบไปวางบนปุ่มประเภทสไตล์ก็ได้ ซึ่งจากนั้นจะปรากฎหน้าต่างมาให้ตั้งชื่อสไตล์ ตามขั้นตอนปกติ วิธีนี้ใช้ได้กับสไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และสไตล์รายการเท่านั้น ภาพที่ 188 : สร้างสไตล์โดยการลากไปวางบนปุ่ม

144

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การลบสไตล์ ที่หน้าต่าง Styles and Formatting คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อสไตล์ → Delete... การเปลี่ยนชื่อสไตล์ ดูวิธเี ปลี่ยนชื่อสไตล์ ได้ที่ Note-38 (หน้า 150) 34

เคล็ดลับการตั้งขื่อสไตล์

หากใช้สไตล์บ่อยๆหรือมีสไตล์เป็นจํานวนมาก การตั้งชื่อให้สะดวกต่อการบริหารจัดการเป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะ หากจะใช้เครื่องมือ อย่างเช่น สารบัญอัตโนมัตหิ รือโครงร่างเลขนํา เป็นต้น การตั้งชื่อที่ดีจะช่วยให้ค้นหาง่าย รู้ว่า เป็นสไตล์อะไร ใช้แล้วหน้าตาจะออกมาอย่างไร เป็นต้น สําหรับผู้เขียน มีเคล็ดลับการตั้งชื่อสไตล์ดังนี้ ภาพที่ 189 : เคล็ดลับการตั้งชื่อสไตล์ ให้บริหารจัดการง่าย

13.3 การ ตล์ใให้ห้กับองค์ประกอบ การใส่ ใส่ไไตล์ ก. การใส่สไตล์ขั้นตอนมาตรฐาน (ต่อจากข้อ 13.2) หลังสร้างสไตล์เสร็จ เราสามารถนํารูปแบบที่บันทึกเป็นสไตล์ ไปใส่ให้กับองค์ประกอบประเภท เดียวกันได้ 2 วิธี ดังนี้ วิธีที่ 1 : ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อสไตล์ ขั้นตอน 1. เลือกองค์ประกอบปลายทาง หากจะใส่สไตล์ย่อหน้า ให้คลิกเม้าส์เพื่อย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาที่ย่อหน้าปลายทาง (หรือ เลือกคลุมหลายๆย่อหน้า เพื่อจะใส่สไตล์ให้กับหลายย่อหน้า) หากจะใส่สไตล์ตัวอักษร ให้เลือกตัวอักษรหรือข้อความปลายทาง หากจะใส่สไตล์รายการ ให้คลิกเม้าส์เพื่อย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความมาที่ย่อหน้าที่เป็นเลขนําหรือจุดนํา (หรือ ให้เลือกคลุมเลขนําหรือจุดนําทั้งชุด เพื่อจะใส่สไตล์ให้กับทั้งชุด) 2. คลิกปุ่มเลือกประเภทสไตล์ ทีห่ น้าต่าง Styles and Formatting 3. ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อสไตล์ เพื่อใส่สไตล์ดังกล่าวให้กับองค์กระกอบปลายทาง

ภาพที่ 190 : การใส่สไตล์วิธีที่ 1 (ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อสไตล์)

บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

145


วิธีที่ 2 : ใช้โหมดเทสไตล์(Fill Format Mode) ขั้นตอน 1. คลิกปุ่มเลือกประเภทสไตล์ ในหน้าต่าง Styles and Formatting 2. คลิกเลือกสไตล์ 3. คลิกทีป่ ุ่ม (Fill Format Mode)ในหน้าต่าง Styles and Formatting ตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปถังเทสี 4. เลือกองค์ประกอบปลายทาง หากใส่สไตล์ย่อหน้า ให้คลิกที่ย่อหน้าเพื่อใส่สไตล์ให้กับย่อหน้าที่ถูกคลิก หากใส่สไตล์ตัวอักษร ให้เลือกตัวอักษรหรือข้อความปลายทาง(เฉพาะตัวอักษรที่ถูกเลือกเท่านั้นจึงจะมีผล) หากใส่สไตล์รายการ ให้คลิกที่ย่อหน้าเพื่อใส่สไตล์รายการให้กับย่อหน้า (หากใส่ผิดให้คลิกเม้าส์ขวา เพื่อยกเลิกการใส่สไตล์ล่าสุด) 5. คลิกทีป่ ุ่ม

(Fill Format Mode) เพื่อจบการใส่สไตล์

ภาพที่ 191 : การใส่สไตล์วิธีที่ 2 (ใช้โหมดเทสไตล์)

ข. การใส่สไตล์ย่อหน้าโดยใช้ช่องเลือกสไตล์ นอกจาก 2 วิธีในข้อ ก. แล้ว สําหรับสไตล์ย่อหน้ายังสามารถใส่โดยใช้ช่องเลือกสไตล์บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบได้ ด้วย ตัวอย่างตามภาพที่ 192

ภาพที่ 192 : การใส่สไตล์ย่อหน้าโดยใช้ช่องเลือกสไตล์ บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ

146

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ค. ข้อสังเกตุในการใส่สไตล์ย่อหน้า เมื่อสร้างสไตล์ย่อหน้า สไตล์ย่อหน้าจะบันทึกรูปแบบตัวอักษรของต้นแบบไว้ด้วย ซึ่งปกติการจัดรูปแบบย่อหน้าไม่มีให้ ตั้งค่าเกี่ยวกับตัวอักษร ฉะนั้น เมื่อใส่สไตล์ย่อหน้าให้กับย่อหน้า ใดๆ รูปแบบตัวอักษรก็จะถูกใส่ลงไปด้วย แต่ทั้งนี้ เฉพาะ ย่อหน้าที่ใช้สไตล์ตัวอักษร Default เท่านั้นจึงจะมีผล ซึ่งเริ่มต้นหากไม่มีการใส่สไตล์ตัวอักษรอื่นใด ตัวอักษรในย่อหน้าใช้สไตล์ ตัวอักษร Default อยู่แล้ว ภาพที่ 192 (ในข้อ ข.) หลังจากใส่สไตล์ย่อหน้าให้กับย่อหน้าที่เลือก สังเกตุว่า รูปแบบตัวอักษรเปลี่ยนเป็นตัวเอียงทั้ง ย่อหน้าด้วย ที่หน้าต่าง Styles and Formatting ให้คลิกขวาที่ชื่อสไตล์ย่อหน้า→Modify... จะปรากฎหน้าต่าง Paragraph Style : (ชื่อสไตล์) ที่หน้าต่างนี้มีแท็บ Font และ Font Effect อยู่ด้วย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของตัวอักษรที่อยู่ในสไตล์ย่อหน้า

ภาพที่ 193 : หน้าต่างคุณสมบัติของสไตล์ย่อหน้า

35

การจัดรูปแบบโดยตรง และ การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง

• การจัดรูปแบบโดยตรง หรือ การจัดรูปแบบทับสไตล์ เมื่อใส่สไตล์ ย่อหน้าให้กับย่อหน้าใดๆ จากนั้นจัดรูปแบบเพิ่มเติมให้กับย่อหน้า ดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือบนแถบ เครื่องมือจัดรูปแบบหรือ ใช้หน้าต่าง Paragraph การจัดรูปแบบที่ทําเพิ่มเติม จากรูปแบบของสไตล์ที่ใส่ไห้ เรียกว่า การจัดรูปแบบโดยตรง(หรือบางครั้งก็เรียกว่า การจัดรูปแบบทับสไตล์ ) มีเพียงสิ่งเดียวที่ไม่ใช่การจัดรูปแบบ โดยตรง ก็คือ การแก้ไขสไตล์ที่หน้าต่าง Styles and Formatting (ดูรายละเอียดในข้อ 13.5 หน้า 149) • การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง(Clear Direct Formatting) หรือ การรีเซ็ตสไตล์ เราสามารถล้างการจัดรูปแบบทีจ่ ัดทับสไตล์ออกไป โดยเลือกองค์ประกอบ เช่น เลือกย่อหน้าหรือข้อความ จากนั้น กด <Ctrl><M> หรือไปที่ Format → Clear Direct Formatting รูปแบบทีจ่ ัดทับสไตล์จะถูกล้างออกไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 11.2 การล้างการจัดรูปแบบโดยตรง (Clear Direct Formatting) หน้า 124

13.4 การตั้งคีย์ลัดให้กับสไตล์ ธรรมชาติของผู้ที่ใช้งานโปรแกรมพิมพ์งานอย่างเช่น Word หรือ Writer เป็นประจํา หากการใช้สไตล์จะต้องละมือจาก คีย์บอร์ดแล้วไปจับเม้าส์เพื่อดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อสไตล์ วิธนี ี้คงไม่สะดวกแน่ๆ มีอีกวิธีหนึ่งในการใส่สไตล์ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด แต่ ต้องตั้งค่าก่อนจึงจะใช้ได้ ก็คือการใช้คีย์ลัด เราสามารถตั้งคีย์ลัด ให้กับสไตล์ได้ ดังนี้

บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

147


ขั้นตอนการตั้งคีย์ลัดให้กับสไตล์ 1. ไปที่ Tool → Customize... จะปรากฎหน้าต่างตามภาพที่ 194 2. ทีแ่ ท็บ Keyboard 2.1 ทีช่ ่อง Shortcut keys เลือกคีย์ลัดที่จะใช้ (หาปุ่มว่างๆไว้) 2.2 ทีช่ ่อง Category เลือก Styles จากนั้นเลือกประเภทของสไตล์ 2.3 ทีช่ ่อง Function เลือกสไตล์ 3. คลิกทีป่ ุ่ม Modify คีย์ลัดจะปรากฎอยู่ในกรอบ Keys และชื่อสไตล์จะไปต่อท้ายคีย์ลัดในช่อง Shortcut keys 4. ทําซํ้าข้อ 2 เพื่อตั้งคีย์ลัดให้กับสไตล์อื่นๆ 5. คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการตั้งคีย์ลัด

ภาพที่ 194 : ขั้นตอนการตัง้ คีย์ลัดให้กับสไตล์

ผู้ เ ขี ย นมั ก ตั้ ง ปุ่ ม <Ctrl><1-9> ให้ กั บ สไตล์ ย่ อ หน้ า และตั้ ง ปุ่ ม <Alt><1-9> ให้ กั บ สไตล์ ตั ว อั ก ษร และใช้ ปุ่ ม <Ctrl><1-9> ที่ว่างๆที่ไม่ได้ใช้กับสไตล์ย่อหน้า ตั้งให้กับสไตล์รายการ สไตล์กรอบไม่ค่อยได้ใช้จึงไม่ได้ตั้งคีย์ลัด สไตล์หน้า กระดาษไม่จําเป็นต้องตั้งคีย์ลัด เพราะไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบหน้ากระดาษบ่อยๆ 36

คีย์ลัดผูกติดกับชื่อสไตล์

คีย์ลัดที่ตั้งให้กับสไตล์ ผูกอยู่กับชื่อของสไตล์โดยไม่สนใจว่าเป็นไฟล์เอกสารอะไร ฉะนั้นไม่ว่าจะเปิดไฟล์เอกสาร อะไรขึ้นมา หากไฟล์นั้นมีสไตล์ทมี่ ีชื่อเดียวกับที่ตั้งคีย์ลัดไว้ คีย์ลัดใช้งานได้หมด 37

คีย์ลัด <Ctrl><1-3> ถูกตัง้ ไว้กับสไตล์ย่อหน้า Heading 1-3

สไตล์ย่อหน้าที่ชื่อ Heading 1-3 เป็นสไตล์ที่โปรแกรมมีมาให้ตั้งแต่ต้น ถูกตั้งคีย์ลัดไว้แล้ว ก็คือ <Ctrl><1-3> สไตล์ทั้ง 3 ในข้างต้น ถูกตั้งให้ใช้งานกับโครงร่างเลขนํา(Outline Numbering) 3 ระดับ ซึ่งหมายความว่า ย่อหน้า ใดใช้สไตล์ย่อหน้า Heading 1-3 สามารถดึงไปทําสารบัญอัตโนมัติได้เลย (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 23 หน้า 287)

148

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


13.5 การแก้ไขสไตล์ จุดเด่นของการใช้สไตล์อีกประการก็คือ เมื่อมีการแก้ไขสไตล์ จะมีผลต่อองค์ประกอบที่ใช้สไตล์ดังกล่าวทั้งหมดด้วย การแก้ไขสไตล์ในที่นี้ หมายถึงการแก้ไขสไตล์ที่หน้าต่าง Styles and Fomatting ไม่ใช่การจัดรูปแบบทับสไตล์ ซึ่งจะมีผล เฉพาะองค์ประกอบที่ถูกเลือกเท่านั้น (ดูเรื่องการจัดรูปแบบทับสไตล์ ในข้อ 11.2 หน้า 124 และ การจัดรูปแบบโดยตรง ที่ Note-35 หน้า 147) เอกสารที่ต้องการการบริหารจัดการที่ดี จุดเด่นของสไตล์ในข้อนี้ช่วยได้มาก เช่น ในการเขียนหนังสือ หากเราใช้สไตล์ ตัวอักษรและสไตล์ย่อหน้ากํา กับรูปแบบของย่อหน้าที่พิมพ์ชื่อบทไว้ ต่อมาในภายหลัง เมื่อต้องการแก้ไข ให้แก้ไขที่สไตล์ที่ กํากับรูปแบบของชื่อบทที่เดียว จะมีผลต่อชื่อบททั้งหมดในหนังสือทั้งเล่ม ขั้นตอนการแก้ไขสไตล์ 1. ทีห่ น้าต่าง Styles and Formatting คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อสไตล์ → Modify... จะปรากฎหน้าต่างให้ปรับแต่ง คุณสมบัติต่างๆของสไตล์

ภาพที่ 195 : ขั้นตอนที่ 1

2. ปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆของสไตล์ เช่น สีพื้นหลัง, ตัวอักษร, การจัดรูปแบบตัวเลข, เส้นขอบ และอื่นๆตามต้องการ 3. คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการแก้ไขสไตล์

ภาพที่ 196 : ขั้นตอนที่ 2-3

บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

149


หลังแก้สไตล์แล้ว หากองค์ประกอบทั้งหมดไม่เปลี่ยนแปลงตาม หลังแก้สไตล์แล้ว องค์ประกอบทั้งหมดที่ใช้สไตล์ดังกล่าวอาจไม่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด สาเหตุเป็นเพราะมีการจัดรูปแบบ ทับสไตล์อยู่ วิธีแก้ไขก็คือ ต้องล้างการจัดรูปแบบที่จัดทับสไตล์ออกไป โดยเลือกองค์ประกอบแล้วกด <Ctrl><M> หรือไปที่ Format → Clear Direct Formatting 38

การเปลี่ยนชื่อสไตล์

หากต้องการเปลี่ยนชื่อสไตล์ ที่หน้าต่าง Styles and Formatting คลิกเม้าส์ ขวาที่ชื่อสไตล์ → Modify... จากนั้นดู ที่แท็บ Organizer ชื่อของสไตล์อยู่ที่ ช่อง Name แก้ชื่อไสตล์ได้ที่นี่

39

ภาพที่ 197 : แก้ชื่อสไตล์ได้ที่ช่อง Name

สไตล์ตัวอักษร Default แก้ไขไม่ได้

สไตล์ตัวอักษร Default เป็นสไตล์ที่กํากับรูปแบบตัวอักษรปริยาย ตั้งแต่เปิดโปรแกรมแล้วเริ่มพิมพ์อักษรตัวแรก ตัวอักษรถูกกํากับรูป แบบโดยสไตล์ตัวอักษร Default สไตล์ตัวอักษร Default ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่จะดึงข้อมูลรูปแบบ ตัวอักษร มาจากการตั้งอ๊อพชั่นของโปรแกรม ฉะนั้นหากจะแก้ ฟอนต์เริ่มต้นต้องแก้ที่อ๊อพชั่นของโปรแกรม (ดูการตั้งอ๊อพชั่นให้ กับฟอนต์เริ่มต้นในข้อ 4.2 หน้า 53)

ภาพที่ 198 : คลิกขวาที่สไตล์ Default ไม่มีคําสั่ง Modify

13.6 การ การโยกย้ โยกย้ายสไตล์ เนื่องจากสไตล์ผูกติดกับไฟล์ หมายความว่า เมื่อสร้างสไตล์ขณะทํางานกับไฟล์ใด สไตล์จะติดอยู่กับไฟล์นั้น เมื่อสร้าง เอกสารใหม่ จะเริ่มต้นโดยไม่มีสไตล์ที่สร้างไว้ มีเพียงสไตล์ที่โปรแกรมมีมาให้เท่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว การโยกย้ายและการคัดลอกสไตล์จึงเป็นสิ่งจําเป็น เราสามารถโยกย้ายหรือคัดลอกสไตล์จากไฟล์ หนึ่งไปยังอีกไฟล์หนึ่ง ได้ 3 วิธี

ก. การโยกย้ายสไตล์โดยการคัดลอกและวางข้อความ การโยกย้ายสไตล์ด้วยวิธีนี้ ใช้การคัดลอกและวางข้อความตามปกติ เพียงแต่ให้คัดลอกข้อความจากไฟล์หนึ่ง ไปวางยัง อีกไฟล์หนึ่ง หากข้อความมีสไตล์กํากับอยู่ สไตล์จะตามไปด้วย แต่วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะสไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร และสไตล์ รายการเท่านั้น สําหรับสไตล์รายการต้องคัดลอกเลขนําหรือจุดนํามาทั้งชุด สไตล์รายการจึงจะติดมาด้วย

ข. การโหลดสไตล์ การโหลดสไตล์ คือการคัดลอกสไตล์จากไฟล์เอกสารอื่นๆมาใช้ (โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนใช้วิธีนี้เกือบ 100% เพราะเร็ว และง่ายที่สุด)

150

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการโหลดสไตล์ 1. ทีห่ น้าต่าง Styles and Formatting คลิก ปุ่ม (New Style from Selection) → Load Styles... จะปรากฏหน้าต่าง Load Styles ภาพที่ 199 : ขั้นตอนที่ 1

2. ทีห่ น้าต่าง Load Styles 2.1 เลือกประเภทของสไตล์ที่ต้องการจะโหลด โดยติ๊กที่กล่องตัวเลือกที่ด้านล่าง (ติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Overwrite ในกรณีที่ต้องการให้สไตล์ที่โหลดเข้ามาทับสไตล์เดิม หากสไตล์มีชื่อเดียวกัน) 2.2 เลือกไฟล์ที่ต้องการจะโหลดสไตล์ - หากต้องการโหลดสไตล์จากไฟล์แม่แบบเอกสาร ให้เลือกแม่แบบเอกสารจากช่อง Categories และ Templates - หากต้องการโหลดสไตล์จากไฟล์อื่นๆ ให้คลิกปุ่ม From File... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เเลือกไฟล์ 2.3 คลิกปุ่ม OK เพื่อโหลดสไตล์ จากนั้นจะปรากฎรายการสไตล์ที่โหลดเพิ่มเติมเข้ามาในหน้าต่าง Styles and Formatting ตามภาพที่ 200(ล่าง)

ภาพที่ 200 : ขั้นตอนที่ 2 และ ผล

ค. การโยกย้ายสไตล์โดยใช้ตัวจัดการแม่แบบเอกสาร การโยกย้ายสไตล์ด้วยวิธีนี้ อาศัยเครื่องมือการจัดการแม่แบบเอกสารเข้ามาช่วย เหมาะกับการโยกย้ายหรือคัดลอก สไตล์แบบเจาะจง ขั้นตอน 1. เปิดไฟล์ที่ต้องการโยกย้ายหรือคัดลอกสไตล์ 2 ไฟล์(หรือมากกว่า) 2. ที่ไฟล์ใดก็ได้ ไปที่ File → Templates → Organize... จะปรากฎหน้าต่าง Template Management

บทที่ 13 : สไตล์ (Styles)

151


3. ทีห่ น้าต่าง Template Management แบ่งเป็น 2 กรอบแต่ละกรอบแสดงชื่อไฟล์ที่เปิดอยู่ หรือแสดงชื่อแม่แบบ เอกสาร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกรองดูเอกสาร) แต่ละไฟล์มีรายการสไตล์อยู่ด้านใน ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อไฟล์เพื่อคลี่ รายการสไตล์ออกมาดู 4. โยกย้ายหรือคัดลอกสไตล์ โดยคลิกค้างที่ชื่อสไตล์แล้วลากไปวางยังอีกไฟล์หนึ่งเพื่อย้ายสไตล์ (กด <Ctrl> + ลาก = คัดลอก) 5. คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการทํางาน

ภาพที่ 201 : ขั้นตอนการคัดลอกหรือโยกย้ายสไตล์โดยใช้ตวั จัดการแม่แบบเอกสาร

152

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 14 : ตำรำง


14.1 โครงสร้างของตาราง ตาราง(Table) เป็นเครื่องมือที่มีประโยขน์มาก ตารางใช้จัดข้อมูลให้เป็นระเบียบเป็นล็อคๆ ดูง่าย และยังใช้จัดหน้า สิ่งพิมพ์ให้เหมือนกับหน้านิตยสารได้ด้วย ตารางประกอบไปด้วยช่องที่เรียงต่อกัน ช่องที่เรียงกันในแนวนอนเรียกว่า แถว(Rows) ช่องที่เรียงกันในแนวตั้งเรียกว่า สดมน์(Columns) หน่วยย่อยที่สุดของตาราง ก็คือ 1 ช่อง หรือ 1 เซลล์ เป็นจุดตัดระหว่างแถวและสดมน์

ภาพที่ 202 : โครงสร้างของตาราง

1 ช่องในตารางเปรียบเสมือน 1 หน้ากระดาษเล็กๆที่สามารถจุข้อความได้หลายย่อหน้า เทคนิคการทํางานกับย่อหน้า, ตัวอักษร เลขนําหรือจุดนํา ยังคงนํามาใช้กับข้อความที่พิมพ์ลงในช่องตารางได้ ต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

14.2 การสร้างตาราง การสร้างตารางมีอยู่ 3 วิธีดังนี้ วิธีที่ 1 : คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ข้างๆปุ่ม (Table) บน แถบเครื่องมือมาตรฐานจากนั้น ลากเม้าส์เพื่อกําหนดขนาดตาราง ภาพที่ 203 : สร้างตารางวิธีที่ 1

วิธีที่ 2 : ไปที่ Insert → Table... หรือกด <Ctrl><F12> หรือคลิกทีป่ ุ่ม ปรากฎหน้าต่าง Insert Table เพื่อให้กําหนดรายละเอียดของตารางที่จะสร้าง

(Table) บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน จะ

ภาพที่ 204 : สร้างตารางวิธีที่ 2

154

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


วิธีที่ 3 : สร้างด้วย AutoCorrect โดยใช้เครื่องหมาย + และ - เครื่องหมาย + แทนตําแหน่งขอบตาราง เครื่องหมาย แทนความกว้างของสดมน์ เช่น พิมพ์ +-----------------+---------------+------+ จากนั้นกด <Enter> จะขึ้นเป็นตารางขนาด 1(แถว)x3(สดมน์) ตัวอย่างตามตารางด้านล่าง

40

สไตล์ที่กํากับรูปแบบของตาราง

หลังสร้างตาราง และพิมพ์ข้อความลงในตาราง สไตล์ย่อหน้า ที่กํากับรูปแบบข้อความในตาราง ก็คือสไตล์ Table contents สไตล์ข้อความ ที่กํากับรูปแบบตัวอักษร ยังเป็น Default เหมือนเดิม หากสร้างตารางโดยมีหัวตาราง (ที่หน้าต่าง Insert Table ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Heading) สไตล์ย่อหน้า ที่กํากับรูปแบบหัวตาราง(แถวบนของตาราง) ก็คือ สไตล์ Table heading

14.3 การซ่อนน//แสดง แสดงเส้ เส้นลายนํ้า เส้นลายนํ้า หรือ เส้นขอบเขตตาราง(Table Boundaries) เป็นเส้นสีเทาๆที่บ่งบอกถึงขอบเขตของเซลล์หรือตาราง ในกรณีที่ตารางไม่ได้ขีดเส้นขอบ แต่ถ้าตารางมีการขีดเส้นขอบ เส้นลายนํ้าก็จะเปลี่ยนเป็นเส้นตามรูปแบบการขีด การซ่อน/แสดงเส้นลายนํ้า ให้ไปที่ Table → Table Boundaries หลังซ่อนเส้นลายนํ้า ลักษณะของตารางที่ปรากฎ จะเป็นเหมือนพิมพ์ เพราะเส้นลายนํ้าจะไม่ถูกพิมพ์

ภาพที่ 205 : ตารางที่แสดงและซ่อนเส้นลายนํ้า

14.4 แถบเครื่องมือตาราง (Table toolbar) เมื่อคลิกภายในตาราง จะปรากฎแถบเครื่องมือตาราง(Table toolbar)อย่างอัตโนมัติ ซึ่งมีปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

ภาพที่ 206 : แถบเครื่องมือตาราง

ไปที่ View → Toolbars → Table เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบเครื่องมือตาราง บทที่ 14 : ตาราง

155


1

(Table) สร้างตาราง <Ctrl><F12>

12

(Insert Row) แทรกแถว

2

(Line Style) รูปแบบเส้น

13

(Insert Column) แทรกคอลัมน์

3

(Line Color) สีเส้น

14

(Delete Row) ลบแถว

4

(Borders) เส้นขอบ

15

(Delete Column) ลบคอลัมน์

5

(Background Color) สีพื้นหลัง

16

(Select Table) เลือกทั้งตาราง

6

(Merge Cells) รวมเซลล์

17

(Select Column) เลือกสดมน์

7

(Split Cells) แบ่งเซลล์

18

(Select Rows) เลือกแถว

8

(Optimize) ปรับขนาดอัตโนมัติ

19

(AutoFormat) เปิดหน้าต่าง AutoFormat

9

(Top) จัดข้อความชิดบน

20

(Table Properties) เปิดหน้าต่าง Table Properties

10 (Center – Vertical) จัดข้อความไว้กลาง

21

(Sort) เรียง

11 (Bottom) จัดข้อความชิดล่าง

22

(Sum) รวมตัวเลข

14.5 คีย์ลัดไปยังจุดต่างๆในตาราง การจะพิมพ์ข้อความใดๆลงในช่องของตาราง จะต้องย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปที่ช่องนั้นก่อน ซึ่งสามารถทําได้ง่ายๆโดย การคลิกเม้าส์ แต่ถ้าต้องการใช้การกดคีย์ คีย์ที่ใช้ย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความขณะทํางานกับตาราง มีดังต่อไปนี้ <Tab> : ไปเซลล์ถัดไป 1 เซลล์ หากอยู่ที่เซลล์สุดท้ายจะเพิ่มแถว 1 แถว <Shift><Tab> : ไปเซลล์ก่อนหน้า 1 เซลล์ <Ctrl><Home> : หากตัวชี้พิมพ์ข้อความอยู่ที่เซลล์ว่าง จะไปที่เซลล์แรก กดอีกครั้งไปที่จุดเริ่มต้นเอกสาร (หากเซลล์ไม่ว่าง จะไปที่อักษรตัวแรกภายในเซลล์ก่อน) <Ctrl><End> : หากตัวชี้พิมพ์ข้อความอยู่ที่เซลล์ว่าง จะไปที่เซลล์สุดท้าย กดอีกครั้งไปจุดท้ายของเอกสาร (หากเซลล์ไม่ว่าง จะไปที่อักษรตัวสุดท้ายภายในเซลล์ก่อน)

14.6 การเลือกกองค์ องค์ประกอบในตาราง การเลือกหลายเซลล์ การเลือกเซลล์โดยใช้เม้าส์ มีวิธีการเลือกเหมือนกับการเลือกข้อความ ก็คือ ใช้การคลิกค้างแล้วลากเม้าส์ให้คลุม

ภาพที่ 207 : การเลือกเซลล์

156

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


41

การเลือกข้อความในเซลล์ และการเลือกเซลล์ไม่เหมือนกัน

การเลือกข้อความในเซลล์ และการเลือกเซลล์ นั้นไม่เหมือนกัน ซึ่ง จะให้ผลต่อคําสั่งในการปรับแต่งตารางแตกต่างกันด้วย การเลือกข้อความแถบสีจะคาดอยู่บนข้อความเท่านั้น การเลือกเซลล์แถบสีจะเต็มเซลล์

ภาพที่ 208 : การเลือกข้อความ และ การเลือกเซลล์ ตามลําดับ

การเลือกทั้งแถว นําตัวชี้เม้าส์ไปชี้แถวๆริมตารางด้านซ้าย ตัวชี้จะเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป จากนั้นคลิกเพื่อเลือกทั้งแถว หรือคลิกค้าง แล้วลากเพื่อเลือกหลายแถว หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้คลิกที่ปุ่ม (Select Rows)บนแถบเครื่องมือตาราง เพื่อเลือกแถวปัจจุบัน ทั้งแถว

ภาพที่ 209 : การเลือกทัง้ แถว

การเลือกทั้งสดมน์ นําตัวชี้เม้าส์ไปชี้แถวๆริมตารางด้านบน ตัวชี้จะเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป จากนั้นคลิกเพื่อเลือกทั้ง สดมน์ หรือคลิกค้าง แล้วลากเพื่อเลือกหลายสดมน์ หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้คลิกที่ ปุ่ม (Select Column)บนแถบเครื่องมือตาราง เพื่อเลือกสดมน์ ปัจจุบันทั้งสดมน์

ภาพที่ 210 : การเลือกทั้งสดมน์

บทที่ 14 : ตาราง

157


การเลือกทัง้ ตาราง นําตัวชี้เม้าส์ไปชี้แถวๆมุมตารางมุมซ้ายบน ตัวชี้จะเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป จากนั้น คลิกเพื่อเลือกทั้ง ตาราง หรืออีก วิธีหนึ่ง ให้คลิกที่ปุ่ม (Select Table)บนแถบเครื่องมือตาราง หรือกด <Ctrl><A>

ภาพที่ 211 : การเลือกทั้งตาราง

14.7 การ การลบ ลบและการ และการแทรก แทรกแถว แถวหรื หรือสดมน์ การลบแถว คลิกที่เซลล์ ที่อยู่ในแถวที่จะลบ จากนั้น คลิก ปุ่ม คลิกเม้าส์ขวา → Row → Delete การลบสดมน์ คลิกที่เซลล์ ที่อยู่ในสดมน์ ที่จะลบ จากนั้นคลิกปุ่ม หรือ คลิกเม้าส์ขวา → Row → Column

(Delete Row)บนแถบเครื่องมือตาราง เพื่อลบทั้งแถว หรือ

(Delete Column)บนแถบเครื่องมือตาราง เพื่อลบทั้งสดมน์

การแทรกแถว คลิกที่เซลล์ จากนั้นคลิกปุ่ม (Insert Row)บนแถบเครื่องมือ ตาราง แถวว่างๆจะถูกแทรกไว้ด้านล่างของแถวปัจจุบัน หรือ คลิกเม้าส์ขวา → Row → Insert... จะปรากฎหน้าต่างมาให้ กําหนดรายละเอียดการแทรกแถวตามภาพที่ 212 ซึ่งสามารถกําหนดจํานวน แถวและตําแหน่งที่จะแทรกได้ ภาพที่ 212 : หน้าต่าง Insert Rows

การแทรกคอลัมน์ คลิกที่เซลล์ จากนั้นคลิกปุ่ม (Insert Column)บนแถบเครื่องมือ ตาราง สดมน์ว่างๆจะถูกแทรกไว้ด้านหลังของสดมน์ปัจจุบัน หรือ คลิกเม้าส์ขวา → Column → Insert... จะปรากฎหน้าต่างมาให้ กําหนดรายละเอียดการแทรกสดมน์ตามภาพที่ 213 ซึ่งสามารถกําหนด จํานวนสดมน์และตําแหน่งที่จะแทรกได้ ภาพที่ 213 : หน้าต่าง Insert Columns

158

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คีย์ลัด <Alt><Insert> : เข้าสู่โหมดแทรก 3 วินาที ระหว่างอยู่ในโหมดแทรก กดคีย์ลูกศรเพื่อแทรกแถวหรือ สดมน์ตามทิศทางลูกศร กด <Ctrl><ลูกศร> เพื่อแทรกเซลล์ <Alt><Del> : เข้าสู่โหมดลบ 3 วินาที ระหว่างอยู่ในโหมดลบ กดคีย์ลูกศร เพื่อลบแถวหรือสดมน์ตาม ทิศทางลูกศร กด <Ctrl><ลูกศร> เพื่อรวมกับเซลล์ที่อยู่ตดิ กัน <Shift><Ctrl><Del> : หากไม่ได้เลือกเซลล์(คลิกภายในเซลล์เฉยๆ) จะลบข้อความตั้งแต่ตัวชี้พิมพ์ข้อความไป จนจับย่อหน้า กดอีกครั้ง จะลบข้อความที่อยู่ในเซลล์ถัดไปทั้งหมด หากตัวชี้พิมพ์ข้อความอยู่ช่องสุดท้าย จะลบย่อหน้าที่อยู่ด้านล่างตาราง หากเลือกเซลล์ จะลบทั้งแถวที่เซลล์นั้นอยู่

14.8 การรวม การรวมและ และการ การแบ่ แบ่งเซลล์

ปุ่ม

การรวมเซลล์ การรวมเซลล์หลายเซลล์ให้เป็นเซลล์เดียว สามารถทําได้โดย เลือกเซลล์ตั้งแต่ 2 เซลล์ขึ้นไปที่อยู่ติดกัน จากนั้นคลิก (Merge Cells)บนแถบเครื่องมือตาราง หรือ คลิกเม้าส์ขวา → Cell → Merge

ภาพที่ 214 : ตัวอย่างการรวมเซลล์

การแบ่งเซลล์ การแบ่งเซลล์ออกเป็นหลายเซลล์ สามารถทําได้โดย คลิกที่ เซลล์หรือเลือกกลุ่มเซลล์ จากนั้นคลิกปุ่ม (Split Cells)บนแถบ เครื่องมือตาราง หรือ คลิกเม้าส์ขวา → Cell → Split... จะปรากฎ หน้าต่าง Split Cells มาให้กําหนดรายละเอียดการแบ่งเซลล์

ภาพที่ 215 : หน้าต่าง Split cells

ภาพที่ 216 : ตัวอย่างการแบ่งเซลล์

บทที่ 14 : ตาราง

159


14.9 การ การปรั ปรับขนาดตาราง และ และการ การวางแนว วางแนว การปรับขนาดตาราง และการวางแนว การปรับความกว้างของตาราง ให้ใช้เม้าส์จับเส้นขอบซ้ายสุดหรือขวาสุดของตาราง จากนั้น ลากเม้าส์เพื่อปรับความ กว้างของตาราง หากต้องการปรับเป็นขนาดที่แน่นอน และตั้งค่าอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การจัดชิดด้าน, การเว้นช่องว่างระหว่าง ตารางกับย่อหน้าบนและล่างที่ติดกับตาราง ให้คลิกที่ตาราง จากนั้นไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ปุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format ที่แท็บ Table กําหนดคุณสมบัติของตาราง

ภาพที่ 217 : หน้าต่าง Table Format

กรอบ Properties : ใช้กําหนดคุณสมบัติพื้นฐานของตาราง ก็คือ ชื่อ (Name) และ ขนาด(Width) ขนาดของตาราง เป็นไปตามภาพที่ 218 กรอบ Spacing : ใช้กําหนดระยะเว้นช่องว่างโดยรอบตาราง (ตามภาพที่ 218) กรอบ Alignment : ใช้กําหนดการวางแนวของตาราง ตัวเลือกวงกลม ที่มีเช่น Automatic ขนาดของตารางจะชนแนว เว้นขอบกระดาษทั้งด้านซ้ายและขวา ตารางจึงจัดชิดซ้ายและขวาเสมอ, Left จัดตารางชิดซ้าย, From Left ห่างจากระยะ เว้นขอบกระดาษตามที่ระบุในช่อง Left, Manual กําหนดเอง โดยกรอกตัวเลขเพื่อกํา หนดขชนาดและระยะเว้นช่องว่าง ทั้งหมดเอง

ภาพที่ 218 : ระยะต่างๆของตาราง

160

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


14.10 การปรับขนาด ขนาดสดมน์ สดมน์และ ละขนาด ขนาดแถว แถว การปรับความกว้างของสดมน์ การปรับความกว้างของสดมน์ ให้ใช้เม้าส์ จับทีเ่ ส้นขอบตารางแนวตั้งเลื่อนไปมาเพื่อปรับ ขนาด หากต้องการปรับความกว้างเป็นค่าที่ แน่นอนด้วยการกรอกตัวเลข ให้ไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกทีป่ ุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎ หน้าต่าง Table Format ตามภาพที่ 220 ปรับ ความกว้างของสดมน์ได้ที่แท็บ Columns

ภาพที่ 219 : การปรับขนาดสดมน์ที่เส้นขอบ

ภาพที่ 220 : หน้าต่าง Table Format

ทีแ่ ท็บ Columns หากไม่ติ๊กกล่องตัวเลือกใดๆ การปรับขนาดของสดมน์ จะส่งผลต่อขนาดของสดมน์ที่ติดกันด้วย แต่ ไม่ส่งผลต่อขนาดตาราง ขนาดตารางยังคงเท่าเดิม หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Adapt table width การเปลี่ยนขนาดสดมน์ จะไม่ส่งผลต่อขนาดของสดมน์อื่นๆ แต่จะส่งผล ให้ขนาดของตารางเปลี่ยนตาม หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Adjust columns proportionally การเปลี่ยนขนาดสดมน์ จะส่งผลต่อขนาดของสดมน์อื่นๆ อย่างเป็นสัดส่วน และส่งผลให้ขนาดตารางเปลี่ยนตามด้วย การปรับความกว้างของสดมน์ให้เป็นค่าที่แน่นอน สามารถทําได้ อีกวิธีหนึ่ง ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่ตางราง → Column → Width… จะ ปรากฎหน้าต่าง Column Width เพื่อให้กรอกตัวเลขความกว้าง ของสดมน์ แต่วิธีนปี้ รับได้ทีละ 1 สดมน์เท่านั้น

ภาพที่ 221 : หน้าต่าง Column Width

การปรับความสูงของแถว การปรับความสูงของแถว ให้ใช้เม้าส์จับ ทีเ่ ส้นขอบตารางแนวนอนเลื่อนขึ้นหรือลงเพื่อ ปรับขนาด

ภาพที่ 222 : การปรับขนาดสดมน์ที่เส้นขอบ

บทที่ 14 : ตาราง

161


หากต้องการปรับความสูง ให้เป็นค่าที่แน่นอนด้วยการกรอกตัวเลข ให้ทําตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนการปรับความสูงของแถว 6. เลือกแถว 7. คลิกเม้าส์ขวาภายในบริเวณที่เลือก → Row → Height… จะปรากฎหน้าต่าง Row Height 8. ใส่ขนาดความสูงของแถว หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Fit to size ความสูงของแถวจะไม่เล็กกว่าความสูงของข้อความ แม้จะกรอกความสูงเป็น 0.00 ก็ตาม 9. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 223 : ขั้นตอนการปรับความสูงของแถว

การกระจายความกว้างของสดมน์ หรือความสูงของแถวให้เท่ากัน การกระจายความกว้างของสดมน์ให้เท่ากัน ให้เลือกสดมน์ ตั้งแต่ 2 สดมน์ชึ้นไป จากนั้นไปที่ Table → AutoFit → Distribute Columns Evenly หรือคลิกปุ่ม (Optimize) ต่อด้วย ปุ่ม (Distribute Columns Evenly) การกระจายความสูงของแถวให้เท่ากัน ให้เลือกแถวตั้งแต่ 2 แถวชึ้นไป จากนั้นไปที่ Table → AutoFit → Distribute Columns Evenly หรือคลิกปุ่ม (Optimize) ต่อด้วย ปุ่ม (Distribute Rows Evenly)

ภาพที่ 224 : คลิกที่ปุ่ม Optimize

การปรับความกว้างของสดมน์ หรือความสูงของแถวให้พอดีกับข้อความ การปรับความกว้างของสดมน์ให้พอดีกับความกว้างของข้อความ ให้คลิกที่สดมน์(หรือเลือกหลายสดมน์) จากนั้นไปที่ Table → AutoFit → Optimal Column Width หรื อ คลิ ก ปุ่ ม (Optimize) ต่ อ ด้ ว ยปุ่ ม (Optimal Column Width) การปรับความสูงของแถว ให้พอดีกับความสูงของข้อความ ให้คลิกที่แถว(หรือเลือกหลายแถว) จากนั้นไปที่ Table → AutoFit → Optimal Row Height หรือคลิกปุ่ม (Optimize) ต่อด้วยปุ่ม (Optimal Row Height)

162

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คีย์ลัดปรับขนาดตาราง <Alt><ลูกศร> : ลดหรือเพิ่มขนาดแถวหรือสดมน์ 1 ขั้น ตามทิศทางลูกศร โดยจะลดหรือเพิ่มที่ขอบตารางด้านขวาหรือด้านล่าง <Shift><Alt><ลูกศร> : ลดหรือเพิ่มขนาดแถวหรือสดมน์ 1 ขั้น ตามทิศทางลูกศร โดยจะลดหรือเพิ่มที่ขอบตารางด้านซ้ายหรือด้านบน <Ctrl><Alt><ลูกศร> : ให้ผลคล้ายคีย์ลัด <Altt><ลูกศร> แต่มีผลเฉพาะเซลล์ปัจจุบัน <Shift><Ctrl><Alt><ลูกศร> : ให้ผลคล้ายคีย์ลัด <Shift><Alt><ลูกศร> แต่มีผลเฉพาะเซลล์ปัจจุบัน

14.11 การตกแต่งพื้นหลังตาราง ก. การระบายสีพื้นหลัง วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือตาราง ขั้นตอน 1. เลือกเซลล์ โดยต้องเลือกให้เต็มเซลล์ หากเลือกเฉพาะข้อความจะเป็นการระบายสีพนื้ หลังให้กับข้อความ 2. คลิกที่ปุ่ม (Background Color)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎจานสีให้เลือกสี จากนั้นคลิกเลือกสีที่ ต้องการ

ภาพที่ 225 : ขั้นตอนการใส่พื้นหลังเป็นสีเดียว

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Table Format คลิกที่ตาราง จากนั้นไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ปุ่ม (Table Properties) บนแถบเครื่องมือ ตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format ที่แท็บ Background กําหนดคุณสมบัติพื้นหลังให้กับตาราง ช่อง As(ใส่เป็น) : ให้เลือก Color(สีเดียว) เพื่อระบายสี จะ ปรากฎจานสีมาให้เลือกสีที่ด้าน ล่างของหน้าต่าง

ภาพที่ 226 : ช่อง As เลือกเป็น Color

ช่อง For(ใส่ให้กับ) : เลือกองค์กระ กอบของตารางที่จะระบายสีพื้น หลัง บทที่ 14 : ตาราง

163


ข. การใส่ภาพให้พื้นหลัง ขั้นตอน 1. คลิกที่ตาราง 2. ไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ปุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎ หน้าต่าง Table Format กําหนดค่าต่างๆที่แท็บ Background 3. เลือกสิ่งทีจ่ ะใส่ให้กับพื้นหลังเป็นภาพ ช่อง As(ใส่เป็น) เลือกเป็น Graphic(ภาพ) 4. เลือกองค์กระกอบที่จะใส่พื้นหลังทีช่ ่อง For(ใส่ให้กับ) ภาพที่ 227 เลือกเป็น Table เพื่อใส่พื้นหลังให้กับทั้งตาราง 5. เลือกไฟล์ภาพ โดยคลิกที่ปุ่ม Browse... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกไฟล์ภาพ 6. กําหนดวิธีการวางภาพที่กรอบ Type - Position : วางภาพโดยระบุตําแหน่ง ภาพมีขนาดคงที่เสมอ ถ้าพืน้ ที่ไม่พอแสดงภาพทั้งหมด ภาพจะถูกตัด เลือกตําแหน่งการวางภาพโดยติ๊กที่ตัวเลือกวงกลม(8 อัน) ที่กรอบข้างๆ - Area : ปรับขนาดภาพให้พอดีกับองค์ประกอบเสมอ เช่น ปรับให้พอดีกับขนาดตาราง ถ้าตารางเปลี่ยนขนาด ภาพจะเปลี่ยนขนาดตาม - Tile : หากภาพมีขนาดเล็กกว่าพืน้ ที่ที่ใส่ภาพ ภาพจะถูกเรียงจนเต็ม 7. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 227 : ขั้นตอนการใส่พื้นหลังให้กับตารางเป็นภาพ

14.12 การ การตกแต่ ตกแต่งเส้นขอบ ขอบตาราง ตาราง เส้นลายนํ้าของตาราง เป็นเพียงเส้นที่บ่งบอกขอบเขตของเซลล์หรือตารางเท่านั้น เมื่อสั่งพิมพ์จะพิมพ์ไม่ออก หาก ต้องการให้พิมพ์ออก ต้องทําการขีดเส้นขอบก่อน ซึ่งสามารถขีดเป็นสีสันต์หรือขีดเป็นรูปแบบต่างได้มากมาย การขีดเส้นขอบให้ตาราง สามารถทําได้ 2 วิธีดังนี้

164

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือตาราง ขั้นตอน 1. เลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์ 2. ขีดเส้นขอบโดยใช้ปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้ คลิกทีป่ ุ่ม (Borders)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎกรอบให้เลือกตําแหน่งที่จะขีดเส้นขอบ (หากเลือกเซลล์เดียวจะขีดได้แต่เส้นขอบนอกเท่านั้น หากเลือกเป็นกลุ่มจะขีดเส้นได้ทั้งขอบนอกและขอบใน)

ภาพที่ 228 : คลิกที่เซลล์ จากนั้นคลิกปุ่ม Borders ภาพที่ 229 : เลือกหลายเซลล์ จากนั้นคลิกปุ่ม Borders

คลิกทีป่ ุ่ม คลิกทีป่ ุ่ม

(Line Style)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎกรอบให้เลือกรูปแบบเส้น (Line Color)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎกรอบให้เลือกสีเส้นขอบ

ภาพที่ 230 : คลิกที่ปุ่ม Line Style

ภาพที่ 231 : คลิกที่ปุ่ม Line Color

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Format Table ขั้นตอน 1. เลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์ หากเลือกเซลล์เดียว จะขีดได้แต่เส้นขอบนอกเท่านั้น หากเลือกเป็นกลุ่ม จะขีดเส้นได้ทั้งขอบนอกและขอบใน หากคลิกที่ตารางเฉยๆ หมายถึงขีดให้กับทั้งตาราง 2. ไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ปุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format กําหนดค่าต่างๆที่แท็บ Borders 3. ที่แท็บ Borders 3.1 ทีก่ รอบ Line arrangement คลิกเพื่อระบุตําแหน่งที่จะขีดเส้นขอบ 3.2 ทีก่ รอบ Line เลือกรูปแบบเส้น, ความหนา และ สี 4. ทําซํ้าข้อ 3 เพื่อขีดเส้นขอบรูปแบบอื่น ให้กับขอบอื่นๆ 5. คลิกปุ่ม OK บทที่ 14 : ตาราง

165


ภาพที่ 232 : ขั้นตอนการขีดเส้นขอบให้กับตารางโดยใช้หน้าต่าง Format Table

42

การขีดเส้นแบบกําหนดเอง

ในกรณีขดี เส้นแบบกําหนดเอง มีวิธีคลิกและข้อสังเกตุในการขีดเส้นตามภาพ ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 233 : การขีดเส้นแบบกําหนดเอง

ตัวอย่างการขีดเส้นขอบแบบต่างๆให้กับตาราง เส้นคูส่ ีดํา เส้นหนา สีนํ้าเงิน ไม่มีเส้นขอบ ขอบนอกเส้นคู่เสีเขียว

166

ขอบในเส้นหนาสีนํ้าเงิน

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)

มีเส้นขอบ 4 ด้าน


43

การใส่เงาให้ตาราง

ที่หน้าต่าง Table Format แท็บ Borders เราสามารถใส่เงาให้กับตารางได้ โดยกําหนดคุณสมบัติการใส่เงาที่กรอบ Shadow Style ตัวอย่างตามภาพ

ภาพที่ 234 : การใส่เงาให้ตาราง

14.13 รูปแบบ แบบตาราง ตารางอัอัตโนมัติ (AutoFormat AutoFormat)) ก. ตกแต่งตารางด้วยรูปแบบอัตโนมัติ เราสามารถตกแต่งตาราง โดยใช้รูปแบบตารางอัตโนมัติ(AutoFormat)เข้ามาช่วย เพื่อความรวดเร็วได้ดังนี้

ภาพที่ 235 : ขั้นตอนการจัดรูปแบบตารางโดยใช้รูปแบบอัตโนมัติ

บทที่ 14 : ตาราง

167


ขั้นตอนจัดรูปแบบตารางด้วยรูปแบบอัตโนมัติ 1. คลิกทีต่ าราง 2. ไปที่ Format → AutoFormat... หรือคลิกทีป่ ุ่ม (AutoFormat) บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฏหน้าต่าง AutoFormat 3. ทีก่ รอบ Format เลือกรูปแบบตาราง 4. ที่กรอบ Formatting เลือกองค์ประกอบของรูปแบบที่จะใช้ 5. คลิกทีป่ ุ่ม OK

ข. การบันทึกรูปแบบตาราง นอกจากรูปแบบตารางอัตโนมัติที่โปรแกรมมีมาให้แล้ว เราสามารถบันทึกรูปแบบตารางที่ ตกแต่งเอง เก็บไว้ใช้ในภาย หลังได้ ขั้นตอนการบันทึกรูปแบบตาราง 1. จัดรูปแบบตารางให้เรียบร้อย จากนั้นคลิกที่ตาราง 2. ไปที่ Format → AutoFormat... หรือคลิกทีป่ ุ่ม (AutoFormat)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฏหน้าต่าง AutoFormat 3. คลิกปุ่ม Add... จะปรากฎหน้าต่างมาให้ตั้งชื่อรูปแบบตาราง 4. ตั้งชื่อรูปแบบตาราง 5. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎชื่อรูปแบบตารางเพิ่มในรายการ

ภาพที่ 236 : บันทึกรูปแบบตาราง

44

รูปแบบตารางที่บันทึกใน Writer นําไปใช้ใน Calc ได้ด้วย

ทั้งใน Writer และ Calc มีคําสั่งเกี่ยวกับ AutoFormat เหมือนกันทุกประการ หากบันทึกรูปแบบตาราง อัตโนมัติใน Writer ใน Calc ก็จะมีรูปแบบตารางนั้นด้วย

168

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


14.14 การ การตัตั้งระยะห่างระหว่างงเส้ เส้นขอบ ขอบกักับข้อความ เมื่อเลือกข้อความในเซลล์ สังเกตุจะพบว่า มีช่องว่างระหว่างขอบตารางกับข้อความอยู่ ช่องว่างตรงนี้เราสามารถ กําหนดขนาดได้ ซึ่งมีผลต่อความสูงของแถวและความกว้างของสดมน์โดยรอบด้วย

ภาพที่ 237 : ช่องว่างระหว่างเส้นขอบกับข้อความ

ไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ปุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือตารางจะปรากฎหน้าต่าง Table Format กําหนดค่าต่างๆที่แท็บ Borders กรอบ Spacing to contents

ภาพที่ 238 : ตัง้ ค่าช่องว่างระหว่างเส้นขอบกับข้อความที่กรอบ Spacing to contents

ตัวอย่าง Spacing to contents = 0.5 (โดยรอบ)

Spacing to contents = 0.1 (โดยรอบ)

14.15 การไหลของข้อความในตาราง ก. กําหนดให้ซํ้าหัวตารางเมื่อตารางขึ้นหน้าใหม่ กรณีตารางยาวมากกว่า 1 หน้า เราสามารถกําหนดให้พิมพ์ซํ้าหัวตารางเมื่อขึ้นหน้าใหม่ ได้ดังนี้ วิธีที่ 1 : ใช้คําสัง่ จากเมนู คลิกที่แถวบนสุด เพื่อกําหนดให้ซํ้าแถวบนสุด หากต้องการซํ้าหัวตารางมากกว่า 1 แถว ให้เลือกทั้งแถวตามจํานวนที่ ต้องการ จากนั้นไปที่ Table → Heading Rows Repeat (หากไม่เลือกที่แถวบนสุด คําสั่งจะไม่ทํางาน) วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Table Format คลิกที่ตาราง จากนั้น ไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ ปุ่ม ตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format กําหนดค่าที่แท็บ Text Flow

(Table Properties)บนแถบเครื่องมือ

บทที่ 14 : ตาราง

169


ที่แท็บ Text Flow ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Repeat heading เพื่อกํา หนดให้ซํ้าหัวตาราง และใส่จํา นวนแถวที่ จะซํ้า ที่ ช่อง The first (จํานวน) rows

ภาพที่ 239 : กําหนดให้ซํ้าหัวตาราง เมื่อตารางขึ้นหน้าใหม่

ข. การตัดทั้งแถวขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีข้อความในแถวมีความยาวหลายบรรทัด เมื่อแถวนั้นถูกตัดขึ้นหน้าใหม่ ข้อความในแถวจะแยกบางบรรทัดไปขึ้น หน้าใหม่ ฉะนัน้ แถวเดียวกันจึงอยู่ได้คนละหน้า หากต้องการให้ทั้งแถวไปขึ้นหน้าใหม่ สามารถทําได้ดังนี้

ภาพที่ 240 : (ซ้าย) แถวเดียวกันอยู่คนละหน้า (ขวา) แถวเดียวกันอยู่หน้าเดียวกัน

คลิกที่ตาราง จากนั้นไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ ปุ่ม (Table Properties)บนแถบเครื่องมือ ตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format กําหนดค่าที่แท็บ Text Flow ติ๊ก ออกที่ กล่องตัวเลือก Allow row to break across pages and columns (อนุญ าตให้แบ่งแถวข้ามหน้าหรือ สดมน์) สําหรับ กล่องตัวเลือก Allow table to split across pages and columns คล้ายกับกรณีของแถว แต่เป็นทั้งตาราง หากตัวเลือกนี้ถูกติ๊ก ตารางสามารถอยู่คนละหน้าได้ ซึ่งปกติจะเป็นเช่นนั้น

ภาพที่ 241 : กําหนดให้แถวเดียวกันอยู่หน้าเดียวกัน

170

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ค. การตัดตารางขึ้นหน้าใหม่ การตัดตารางขึ้นหน้าใหม่ มีลักษณะเหมือนการตัดย่อหน้าขั้นหน้าใหม่ ตามที่อธิบายในข้อ 7.13 ก (หน้า 82) ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ก็คือ หลังกด <Ctrl><Enter> เพื่อขึ้นหน้าใหม่ จากนั้น สร้างตารางไว้เป็นอย่างแรกในหน้า กระดาษ ซึ่ง ณ จุดนี้ยังไม่มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด แต่จากนั้น หากเราจะย้ายตารางลงมา 1 บรรทัด เพื่อพิมพ์ชื่อตาราง ปรากฎ ว่าไม่สามารถทําได้เพราะไม่มีที่ว่าง เมื่อย้อนไปที่หน้ากระดาษก่อนหน้าและกด <Enter> เพื่อหวังจะไล่ตารางลงไป 1 บรรทัด ปรากฎว่า ตารางกระโดดขึ้นหน้าใหม่อย่างเดียว ปัญหาในข้างต้น สาเหตุเกิดมาจาก มีการใช้คําสั่ง Page Break ซึ่งก็คือ การกด<Ctrl><Enter> นัน่ เอง สังเกตุได้จาก เส้น Page Break ที่ขั้นระหว่างหน้ากระดาษ หลังเกิด Page Break แล้วสร้างตารางต่อทันที จึงเกิดปัญหาดังกล่าว ปัญหาในข้างต้นมีวิธีแก้ได้ดังนี้ คลิกที่ตาราง แล้วไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ ปุ่ม (Table Properties) บนแถบเครื่องมือ ภาพที่ 242 : มีเส้น Page Break ก่อนตาราง ตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format ที่แท็บ Text Flow ตามภาพที่ 243 สังเกตุว่า กล่องตัวเลือก Break ถูกติ๊กอยู่ วิธีแก้ก็ให้ติ๊กออกเพื่อยกเลิกคํา สั่ง Page Break การตั ด ตารางขึ้ น หน้ า ใหม่ (การ Break ของตาราง) มี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ Page Break ของย่ อ หน้ า คุณสมบัติต่างๆที่มีให้เลือกก็เหมือนกัน (ดูเพิ่มเติมเรื่อง Page Break ของย่อหน้า ในข้อ 7.13 ก หน้า 82 )

ภาพที่ 243 : กล่องตัวเลือก Break ถูกติ๊กอยู่

หลังติ๊กออกทีก่ ล่องตัวเลือก Break เส้น Page Break จะหายไป ตารางจะโดดกลับไปที่หน้ากระดาษก่อนหน้า จากนั้น ก็สามารถพิมพ์ชื่อตาราง ไว้เหนือหัวตารางได้แล้ว จากนั้นค่อยตัดตั้งแต่ชื่อตารางไปขึ้นหน้าใหม่อีกที

ง. แทรกย่อหน้าก่อนหรือท้ายตาราง (ต่อจากข้อ ค.) ในกรณีที่ไม่มีเส้น Page Break ก่อนหน้าตาราง หากต้องการพิมพ์ข้อความไว้ที่ด้านบน ของตาราง ให้คลิกที่ก่อนอักษรตัวแรกในเซลล์แรกของ ตาราง จากนั้นกด <Alt><Enter> จะปรากฎย่อหน้าว่างๆ อยู่เหนือตาราง การแทรกย่อหน้าว่างๆ ที่ท้ายตารางก็มีลักษณะ คล้ายกัน เพียงแต่ให้คลิกที่หลังอักษรตัวสุดท้ายในเซลล์ สุดท้าย

ภาพที่ 244 : กด <Alt><Enter> เพื่อแทรกย่อหน้าว่างๆ

บทที่ 14 : ตาราง

171


คีย์ <Alt><Enter> เป็นคีย์ที่มักจะถูกใช้ กับการสร้างตารางซ้อนตาราง เพราะจะเกิดปัญหาไม่สามารถพิมพ์ข้อความไว้ ก่อนหรือหลังตารางชั้นในได้ เพราะไม่มีที่ว่าง และไม่สามารถใช้เม้าส์คลิกแล้วลากเพื่อสร้างช่องว่างได้ ตัวอย่างตามตารางด้าน ล่าง หลังกด <Alt><Enter> พิมพ์ได้แล้ว

พิมพ์ข้อความด้านบนไม่ได้ ไม่มีที่ว่าง

พิมพ์ข้อความด้านบนได้แล้ว

จ. การจัดข้อความชิด บน-กลาง-ล่าง ในกรณีแถวในตารางมีความสูงกว่าข้อความมาก เราสามารถเลือกวางแนวข้อความชิดบน เข้ากลาง หรือชิดด้านล่าง ของขอบเซลล์ได้ดังนี้ วิธีที่ 1 : ใช้แถบเครื่องมือตาราง ขั้นตอน 1. เลือกเซลล์ 2. คลิกทีป่ ุ่ม (Top) หรือ (Center-Vertical) หรือ (Bottom) บนแถบเครื่องมือตาราง เพื่อจัดข้อความในเซลล์ ชิดบน, เข้ากลาง(แนวดิ่ง) หรือชิดล่าง ตามลําดับ วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Table Format คลิกที่ตาราง จากนั้นไปที่ Table → Table Properties หรือคลิกที่ ปุ่ม ตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Table Format กําหนดคุณสมบัติที่แท็บ Text Flow ทีก่ รอบ Alignment เลือกการวางแนวข้อความตามภาพที่ 245

(Table Properties)บนแถบเครื่องมือ

ภาพที่ 245 : เลือกการวางแนว ข้อความ

ตัวอย่าง แถวสูงกว่าข้อความมาก

บน(TOP)

กลาง(Center-Vertical)

ล่าง(Bottom)

14.16 การเรียงลําดับข้อมูล การเรียงลําดับข้อมูล ก็คือการเรียงข้อมูลตามค่าของข้อมูล เช่น เรียงจากค่าน้อยไปมาก จากตัวอักษรก่อนไปหลัง เป็นต้น การเรียงลําดับจะต้องมีคีย์ คีย์(Key) ก็คือสดมน์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเรียง ข้อมูลจะถูกเรียงในสดมน์ที่เป็นคีย์ก่อน จาก นั้นข้อมูลในสดมน์อื่นๆที่อยู่ในแถวเดียวกับคีย์ ก็จะย้ายตามคีย์ไป

172

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คีย์มีได้หลายตัว ข้อมูลจะถูกเรียงตามคีย์ที่ 1 ก่อน ถ้าคีย์ที่ 1 มีข้อมูลซํ้ากัน ก็จะจัดเรียงตามคีย์ที่ 2 และถ้าคีย์ที่ 2 ซํ้า กันอีก ก็จะจัดเรียงตามคีย์ที่ 3 เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าข้อมูลในคีย์ที่ 1 ไม่ซํ้ากันคีย์ที่ 2 จะไม่ถูกใช้ ขั้นตอนการเรียงลําดับข้อมูล 1. เลือกกลุ่มเซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ถูกเลือกเท่านั้นที่จะเกิดการเรียง 2. ไปที่ Table → Sort... หรือ คลิกที่ปุ่ม (Sort)บนแถบเครื่องมือตาราง จะปรากฎหน้าต่าง Sort 3. กําหนดเงื่อนไขการเรียงลําดับข้อมูล ภาพที่ 246 กําหนดให้เรียงลําดับข้อมูลตามสดมน์แคลอรี่ จากน้อยไปมาก (คีย์ 1 คือสดมน์ที่ 1 ของกลุ่มเซลล์ที่ถูกเลือก ไม่ใช่สดมน์ที่ 1 ของตาราง) 4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 246 : ขั้นตอนการเรียงลําดับข้อมูล

14.17 การคํานวณในตาราง ตารางใน Writer สามารถคํานวณโดยใช้สูตรและฟังก์ชั่นคล้ายๆกับการคํานวณใน Calc การใช้งานก็คล้ายกัน แม้จะ ไม่เก่งเท่าก็ตาม ขั้นตอนการคํานวณในตาราง 1. คลิกเซลล์ที่ต้องการแสดงผลการคํานวณ (ภาพที่ 247 และ ภาพที่ 248 คลิกที่เซลล์ C6) 2. กด <F2> เพื่อเปิด แถบใส่สูตร(Formula bar) 3. ใส่สูตรการคํานวณ (ภาพที่ 247 เป็นการคํานวณโดยใช้สูตรปกติ ภาพที่ 248 เป็นการคํานวณโดยใช้ฟังก์ชั่น) การคํานวณสามารถอ้างอิงถึงเซลล์อื่นๆได้เหมือนกับใน Calc เพียงแต่สัญลักษณ์ต่างกัน การคลิกที่เซลล์ต่างๆจะ เป็นการพิมพ์ชื่อเซลล์นั้นโดยอัตโนมัติ หากต้องการใช้ฟังก์ชั่น ให้คลิกที่ปุ่ม (Formula)จะปรากฎรายการ ฟังก์ชั่นมาให้เลือก บทที่ 14 : ตาราง

173


4. กด <Enter> จะได้ผลการคํานวณ (ภาพที่ 247 และ ภาพที่ 248 หลังกด <Enter> ผลที่ได้คือ 1120 )

ภาพที่ 247 : คํานวณโดยใช้สูตรปกติ

ภาพที่ 248 : คํานวณโดยใช้ฟังก์ชั่น

เมื่อแก้ไขค่าในเซลล์ที่ถูกอ้างถึงเพื่อการคํานวณ ผลการคํานวณ ก็จะเปลี่ยนตามอย่างอัตโนมัติ

14.18 การหมุนข้อความในตาราง การหมุนข้อความในตาราง เป็น คุณสมบัติของตัวอักษร ไม่ใช่ของตาราง การหมุนข้อความในตารางให้เลือก เฉพาะข้อความ จากนั้นไปที่ Format → Character... ที่แท็บ Position กรอบ Rotation/Scaling เลือกมุมการหมุน

ภาพที่ 249 : เลือกมุมการหมุนข้อความ

174

หมุนข้อความ 90 องศา

หมุน 90 องศา

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)

หมุน 270 องศา

หมุน 90 องศา

ตัวอย่าง


14.19 การแปลง ตาราง ↔ ข้อความ การแปลง ตาราง → ข้อความ การแปลงจากตารางไปเป็นข้อความ เป็นการถอดตารางออกไปเหลือแต่ข้อความ ให้คลิกที่ตาราง แล้วไปที่ Table → Table to Text... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกตัวขั้น ซึ่งใช้ขั้นข้อมูลในแต่ละ เซลล์ หลังถอดตารางออกไป ตัวอย่าง

ภาพที่ 250 : เลือกตัวขั้นหลังถอดตารางออก

ข้อความ 1

ข้อความ 2

ข้อความ 3

ข้อความ 4

ข้อความ 5

ข้อความ 6

ข้อความ 1;ข้อความ 2 ข้อความ 3;ข้อความ 4 ข้อความ 5;ข้อความ 6

การแปลง ข้อความ → ตาราง การแปลงจากข้อความไปเป็นตาราง ก็คือ การนําข้อความไปใส่ในตาราง ให้เลือกข้อความ แล้วไปที่ Table → Text to Table... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกตัวขั้น ซึ่งเป็นตัวที่บ่ง บอกถึงตําแหน่งตัดข้อมูล เพื่อแยกข้อมูลไปอยู่คนละช่อง กรอบ Options ที่ด้านล่างของหน้าต่าง ใช้กําหนดราย ละเอียดการตกแต่งตาราง ภาพที่ 251 : เลือกตัวขั้นทีใ่ ช้แบ่งเซลล์

ตัวอย่าง ข้อความ 1;ข้อความ 2 ข้อความ 3;ข้อความ 4 ข้อความ 5;ข้อความ 6

ข้อความ 1

ข้อความ 2

ข้อความ 3

ข้อความ 4

ข้อความ 5

ข้อความ 6

14.20 ลําดับตัวเลขอัตโนมัติในตาราง ปัญหาหนึ่งของตารางที่มีสดมน์เลขลําดับ ก็คือ การลบแถว และการแทรกแถว เพราะหลังจากนั้นจะต้องตามไปแก้ไขเลขลําดับ ด้วย มีอยู่ 2 วิธี ในการใส่เลขลําดับอัตโนมัติในตาราง เพื่อช่วยแก้ ปัญหาดังกล่าว เมื่อมีการลบหรือแทรกแถว จะไม่ต้องมาแก้ไข ตัวเลขอีกแล้ว เพราะตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างอัตโนมัติ ภาพที่ 252 : สดมน์ที่ 1 เป็นเลขลําดับ

บทที่ 14 : ตาราง

175


วิธีที่ 1 : ใช้เลขนํา คลิกเม้าส์ในเซลล์ที่จะใส่เลขลําดับ จากนั้นกด <F12> เพื่อใส่เลขนํา เซลล์ต่อๆไปก็ให้ทําแบบเดียวกัน หรือเลือกทั้ง สดมน์แล้วกด <F12> ก็ได้ จะเป็นการใส่เลขลําดับให้กับทั้งสดมน์ วิธนี ี้ใส่เลขลําดับอัตโนมัติง่าย แต่ปรับแต่งยากและระหว่างทํางานกับตารางมักจะติดๆขัดๆ วิธีที่ 2 : ใช้ฟิลด์ สร้างฟิลด์ที่เป็นเลขลําดับ อัตโนมัติขึ้นมาชุดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายเลขหน้าอัตโนมัติ ที่เมื่อมีการเปลี่ยนหน้า ตัวเลขก็จะ เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างอัตโนมัติ แต่ฟิลด์แบบเลขลําดับอัตโนมัติ จะตรวจสอบว่ามีฟิลด์แบบเดียวกันอยู่ ก่อนหน้าหรือไม่ ถ้า ไม่มีก็นับ 1 ถ้ามีก็นับทบไปเรื่อยๆทีละ 1 วิธนี ี้จะยุ่งยากครั้งแรกเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ง่าย ใช้งานสะดวกกว่าวิธีที่ 1 ดูวิธีการสร้างฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับในข้อ 22.3 (หน้า 271)

176

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 15 : ภำพและรูปวำด

สิ่ ง สํา คั ญ ที่ สุ ด ในการทํา งานกั บ ภาพหรื อ รู ป วาด ก็ คื อ สมอ(Anchor) ผู้ใช้งาน LibreOffice จํานวนมากยังไม่เข้าใจ ระบบของสมอ จึงมีปัญหาในการทํา งานกับภาพและรูปวาด เช่น ภาพไม่ได้ตํา แหน่งตามต้องการ, ภาพไม่อยู่ตํา แหน่งเดิม เมื่อเปิดเอกสาร เป็นต้น ฉะนั้ น ให้ ทํา ความเข้ า ใจกั บ ข้ อ 15.6 สมอ (Anchor) ให้ ดี เพราะเป็นพื้นฐานสํา คัญในการทํา งานกับภาพหรือรูปวาดใน Writer


15.1 ภาพ ภาพบิบิตแมพ แมพ((Bitmap Bitmap)) และ รูปวาด วาด((Drawing object object)) ภาพใน Writer แบ่งเป็น 2 ประเภท ก็คือ 1. ภาพบิตแมพ(Bitmap) เป็นภาพถ่ายหรือภาพจากเว็ป ที่แทรกเข้ามาในเอกสาร การย่อหรือขยายภาพส่งผลให้ ภาพมีความคมชัดลดลง 2. รูปวาด(Drawing Object) เป็นรูปวาดที่วาดโดยใช้แถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar) ใน Writer รูปวาดที่ ได้เป็นภาพแบบเว็คเตอร์ สามารถย่อขยายโดยที่ภาพไม่เสียความคมชัด

ภาพที่ 253 : ตัวอย่างภาพบิตแมพ(Bitmap)

ภาพที่ 254 : รูปวาด(Drawing Object)

ทั้ง 2 ประเภท มีข้อจํากัดในการกําหนดคุณสมบัติต่างกัน เมื่อคลิกที่ภาพบิตแมพจะปรากฎ แถบเครื่องมือภาพ(Picture toolbar) และ แถบเครื่องมือกรอบ(Frame toolbar) พร้อมกัน แถบเครื่องมือกรอบ ใช้กําหนดคุณสมบัติของภาพ เช่น การวางแนว, การวางภาพกับข้อความ เป็นต้น แถบเครื่องมือ ภาพ ใช้ตกแต่งภาพ เช่น ปรับแต่งสี, ใส่ฟิลเตอร์ เป็นต้น เมื่อคลิกที่รูปวาด จะปรากฎแถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar)

15.2 การใส่ภาพ าพลง ลงในเอกสาร ในเอกสาร การใส่ภาพบิตแมพลงในเอกสาร มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้ วิธีที่ 1 : ลากภาพจากภายนอก ลงมาวางในเอกสาร วิธีที่ 2 : คัดลอกภาพจากภายนอก ลงมาวางในเอกสาร โดยการคัดลอกและวางตามปกติ วิธีที่ 3 : ไปที่ Insert → Picture → From File... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกไฟล์ภาพ ที่จะใส่ลงมาในเอกสาร

ภาพที่ 255 : หน้าต่างเลือกภาพ เพื่อใส่ภาพลงในเอกสาร

178

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การใส่ภาพลงเอกสารโดยปกติ เป็นแบบฝังตัว(Embed) ภาพจะฝังติดไปกับไฟล์เอกสาร ภาพในเอกสารกับภาพที่นอก เอกสารแยกขาดจากกัน การใส่ภาพแบบนีบ้ ริหารจัดการง่าย แต่ไฟล์เอกสารจะใหญ่ตามขนาดไฟล์ภาพไปด้วย หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Link(ในภาพที่ 255) ภาพที่ใส่ลงมาในเอกสารจะเป็นแบบลิงค์(Link) ภาพในเอกสารจะลิงค์ กับภาพนอกเอกสาร การเปลี่ยนแปลงภาพที่นอกเอกสารมีผลต่อภาพในเอกสารด้วย วิธีนดี้ ตี ่อการตกแต่งภาพ แต่บริหาร จัดการยาก เพราะหากมีการแก้ชื่อ ย้ายภาพ ลบภาพ ภาพในเอกสารจะหายไป อย่างไรก็ดี หากตกแต่งภาพจนพอใจแล้ว สามารถสั่งให้ภาพฝังติดกับไฟล์เอกสารได้ในภายหลัง หรือก็คือ การเปลี่ยนจากลิงค์เป็นฝังตัว (ดูวิธีทําใน Note-47 หน้า 180) วิธีที่ 4 : เลือกภาพจากคลังภาพ(Gallery) โดยไปที่ Tools → Gallery หรือ คลิกที่ปุ่ม (Gallery)บนแถบเครื่อง มือมาตรฐาน จะปรากฎคลังภาพตามภาพที่ 256 ซึ่งมีภาพมากมายให้เลือก จากนั้นก็สามารถลากภาพลงมาวางในเอกสารได้ เลย (ดูวิธีการใส่ภาพเพิ่มเติมลงในคลังภาพ ในข้อ 15.22 หน้า 213)

ภาพที่ 256 : คลังภาพ(Gallery)

45

ซ่อนขอบสีเทารอบภาพ

หลังใส่ภาพลงในเอกสาร จะปรากฎกรอบสีเทาแสดงถึงขอบเขตภาพ กรอบ นี้เมื่อสั่งพิมพ์จะพิมพ์ไม่ออก แต่ทว่า บ่อยครั้งที่กรอบนี้มักจะรบกวนการ มองภาพระหว่างทํางาน ให้ไปที่ View → Text Boundaries เพื่อซ่อนหรือแสดงกรอบสีเทาดัง กล่าว (คําสั่งนี้มีผลต่อการซ่อน/แสดงสัญลักษณ์ขอบเขตข้อความด้วย)

ภาพที่ 257 : กรอบแสดงขอบเขตภาพ

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

179


46

ภาพที่คัดลอกจากเว็ปไซต์โดยตรงเป็นแบบลิงค์

ภาพที่คัดลอกจากเว็ปไซต์ แล้วนํามาวางลงในเอกสารโดยตรง การใส่ภาพลงในเอกสารด้วยวิธนี ี้ เป็นแบบลิงค์ ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Picture... ดูทแี่ ท็บ Picture เพื่อดูว่าภาพดังกล่าวมีที่มาจากที่ไหน (ตามภาพที่ 258)

ภาพที่ 258 : ตรวจสอบที่มาของภาพที่ถูกใส่แบบลิงค์

เมื่อเปิดไฟล์ที่มีการใส่ภาพลักษณะนี้ เอกสารจะเรียกหาภาพจากเว็ปไซต์เสมอ ถ้าไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ตไว้ ภาพจะไม่แสดง วิธีแก้ก็คือให้แตกลิงค์ ตัดการเชื่อมต่อกับภาพบนเว็บไซต์ แล้วฝังภาพลงในเอกสารอย่างถาวร (ดูวิธที ําใน Note-47 ) 47

การแตกและการอัพเดตลิงค์

กรณีลิงค์ไฟล์อื่นๆหรือดึงข้อมูลจากไฟล์อื่นๆเข้ามาใช้ใน Writer เช่น ลิงค์ข้อมูลจากไฟล์ .TXT มาใช้ในเซ็คชั่น(Section), ลิงค์ภาพมาใส่ในเอกสาร เป็นต้น ให้ไปที่ Edit → Links... จะปรากฎรายการไฟล์ต่างๆที่ลิงค์อยู่กับเอกสาร

ภาพที่ 259 : รายการไฟล์ที่ลิงค์อยู่กับเอกสาร

การอัพเดท หากมีการแก้ไขหรือปรับแต่งไฟล์ภายนอกที่ลิงค์อยูก่ ับเอกสาร เช่น ตกแต่งภาพ เป็นต้น (การแก้ไขในที่นี้ ไม่ใช่การเปลี่ยน ชื่อไฟล์ หรือย้ายตําแหน่งไฟล์ ) ให้คลิกเลือกไฟล์ในกรอบรายการ จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Update เพื่ออัพเดทข้อมูล ให้ทําวิธี นี้ ในกรณีข้อมูลไม่อัพเดทอัตโนมัติ การแตกลิงค์ หากต้องการยกเลิกหรือแตกลิงค์ ให้คลิกที่ปุ่ม Break Link ไฟล์ในกรอบรายการที่เลือกจะหายไป หากไฟล์ที่ลิงค์กับ เอกสารเป็นไฟล์ภาพ จะเปลี่ยนจากการใส่ภาพแบบลิงค์เป็นแบบฝังติด การ Break Link ไม่ใช่การลบภาพ

180

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


48

สไตล์กรอบปริยาย เมื่อใส่ภาพลงในเอกสาร

เมื่อใส่ภาพลงในเอกสาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ภาพถูกใส่กรอบ(Frame)ให้อย่างอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัว ทั้งนี้เพราะ กรอบที่ Writer ใส่ให้ เป็นกรอบที่ไม่มีสี ไม่มีความหนา กรอบดังกล่าวถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์กรอบ ที่ชื่อ Graphics แต่กรอบนี้ไม่มีผลต่อการปรับขนาดหรือย้ายตําแหน่งภาพเลย มีผลเฉพาะในกรณีขีดเส้นขอบให้ภาพ เท่านั้น

15.3 แก้ปัญหา หาภาพไม่ ภาพไม่แสดง กรณีเปิดเอกสารที่มภี าพแล้วภาพไม่แสดง บางครั้งแสดงเป็นกรอบว่างๆ (ตามภาพที่ 260) บางครั้งไม่ขึ้นอะไรเลยแต่เมื่อคลิกดูปรากฎว่าคลิกได้ เหมือนมีอะไรอยู่แต่ไม่แสดง สาเหตุของปัญหามีอยู่ 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ ภาพที่ 260 : ปัญหาหนึ่งที่พบกรณีภาพไม่แสดง

1. ปิดการแสดงภาพไว้ วิธีแก้ ให้ไปที่ Tool → Option → เมนู LibreOffice Writer → เมนูย่อย View ที่กรอบ Display ตรวจสอบที่ กล่องตัวเลือก Graphics and objects ให้ติ๊กถูกเพื่อเปิดแสดงภาพ

ภาพที่ 261 : ตรวจสอบการเปิดแสดงภาพที่กล่องตัวเลือก Graphics and objects

2. หน่วยความจําไม่พอ กรณีนี้มักเกิดกับเอกสารที่มีภาพเป็นจํานวนมาก เมื่อเปิดเอกสารขึ้นมา ภาพไม่ขึ้นอะไรเลย เป็นพื้นที่ว่างๆ แต่เมื่อคลิกดูเหมือนมีอะไรอยู่แต่ไม่แสดง วิธีแก้ ให้เพิ่มหน่วยความจํา เพิ่มจํานวนภาพที่จะแสดง จากนั้นปิดและเปิด Writer ขึ้นมาใหม่ (ดูวิธีแก้ในข้อ 4.3 การตั้งหน่วยความจํา หน้า 55 ) 3. ลิงค์เสีย กรณีนี้เกิดกับภาพที่ใส่ลงในเอกสารแบบลิงค์ แล้วภาพที่ อยู่นอกเอกสารมีการเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนชื่อ หรือย้ายตําแหน่งภาพ ส่งผลให้ลิงค์เสีย วิธีแก้ ต้องเชื่อมโยงลิงค์ใหม่ โดยคลิกขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎ หน้าต่าง Picture ที่แท็บ Picture คลิกทีป่ ุ่ม จะปรากฎหน้าต่างมาให้ระบุไฟล์ภาพที่ลิงค์กับภาพในเอกสาร

ภาพที่ 262 : ระบุการเชื่อมโยงกับ ไฟล์ภาพใหม่

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

181


15.4 แถบเครื่องมือกรอบ กรอบ((Frame toolbar toolbar)) เมื่อคลิกที่ภ าพบิตแมพจะปรากฎแถบเครื่องมื อกรอบ(Frame Toolbar)อย่างอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ไปที่ View → Toolbars → Frame เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบเครื่องมือกรอบ)

ภาพที่ 263 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือกรอบ

1

(Apply Style) ช่องเลือกสไตล์

11 (Borders) ขีดเส้นขอบให้กรอบภาพ

2

(Wrap Off) ปิดการห่อภาพ

12 (Line Style) เลือกรูปแบบเส้นให้กรอบภาพ

3

(Page Wrap) ห่อด้วยข้อความ

13 (Line Color(of the border)) เลือกสีให้เส้นกรอบภาพ

4

(Wrap Through) ลอยบนข้อความ

14 (Background Color) ใส่พื้นหลังให้ภาพ

5

(Align Left) ชิดซ้าย

15 (Frame Properties) เปิดหน้าต่าง Frame

6

(Center Horizontal) เข้ากลางในแนวนอน

16 (Bring to Front) นําภาพมาไว้หน้าสุด

7

(Align Right) ชิดขวา

17 (Send to Back) นําภาพไปไว้ล่างสุด

8

(Base line at top) เส้น Base line อยู่บน

18 (Change Anchor) เปลี่ยนสมอ

9

(Base line centered) เส้น Base line อยู่กลาง

19 (Link Frames) ลิงค์กับเฟรมอื่น

10 (Base line at bottom) เส้น Base line อยูล่ ่าง

20 (Unlink Frames) ยกเลิกการลิงค์เฟรม

15.5 แถบเครื่องมือภาพ ภาพ(Picture (Picture toolbar) แถบเครื่องมือภาพ(Picture Toolbar) ใช้ตกแต่งภาพบิตแม็บ ประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้ (ไปที่ View → Toolbars → Picture เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบเครื่องมือภาพ)

ภาพที่ 264 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือภาพ

182

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


1 2

(From file) แทรกภาพจากไฟล์ (Filter) ฟิลเตอร์

( 9-19 เป็นเทคนิคการแต่งภาพโดยใส่ฟิลเตอร์ คล้ายโปรแกรม ตกแต่งภาพอย่างเช่น GIMP หรือ PhotoShop)

3 4 5 6 7 8

(Graphics mode) โหมดภาพ (Color) แสดงแถบเครื่องมือสี (Tranparency) ความโปร่งใส (Flip Horizontally) กลับด้านแนวนอน (Flip Vertically) กลับด้านแนวดิ่ง (Frame Properties) เปิดหน้าต่าง Frame

20 21 22 23 24 25

(Red) สีแดง (Green) สีเขียว (Blue) สีนํ้าเงิน (Brightness) ความสว่าง (Contrast) ความแตกต่างสี (Gamma) แกมม่า - ความมืดสว่าง

9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

Invert (กลับสี) Smooth (เบลอภาพ) Solarization Aging Charcoal Sketch Relief Mosaic Posterize Pop Art Sharpen Remove Noise

15.6 สมอ (Anchor) สมอ (Anchor) เป็นสิ่งสําคัญมากในการทํางานกับภาพ ผู้ที่เริ่มต้นใช้ Writer ใหม่ๆ จะแปลกใจเมื่อใส่ภาพลงในเอกสารแล้วพบว่า มีไอค่อนรูปสมอ ปรากฎขึ้นมาด้วย ภาพไปไหนสมอก็ไปด้วย “แล้วสมอนี้ ใช้ทําอะไร?” หลังใส่ภาพลงในเอกสาร สิ่งแรกที่ต้องกําหนดก่อน ก็คือ วิธีการทิ้งสมอ ผู้ที่ติดปัญหาวางภาพไม่ได้อย่างที่ต้องการ เช่น ทําไมข้อความขยับแล้วภาพไม่ ขยับตาม? ทําไมภาพกระโดดไปเองเมื่อเปิดเอกสาร? เป็นต้น ทั้งนี้สาเหตุส่วน ใหญ่เกิดจากยังไม่เข้าใจระบบของสมอ

ภาพที่ 265 : คลิกที่ภาพ จะปรากฎสมอ

สมอ ใช้อ้างอิงตําแหน่งของภาพ ซึ่งส่งผลต่อการกําหนดตําแหน่งของภาพ แตกต่างกันไป เพราะสมอมีหลายแบบ สมอ มี 5 แบบ สามารถเลือกรูปแบบของสมอ ได้โดย คลิกเม้าส์ขวาที่ ภาพ → Anchor → (เลือกประเภทของสมอ) หรือ คลิกที่ ปุ่ม (Change Anchor)บนแถบเครื่องมือกรอบ → (เลือกประเภทของสมอ) (สมอแบบ To Frame จะไม่ขึ้น ถ้าภาพไม่ได้อยู่ในกรอบ(Frame)) ภาพที่ 266 : คลิกที่ปุ่ม Change Anchor

ค่าเริ่มต้นเมื่อใส่ภาพลงในเอกสาร ภาพมีสมอแบบ To Paragraph To Paragraph : สมอจะเกาะอยู่ที่มุมซ้ายบนของย่อหน้า ภาพจะอ้างอิงตําแหน่งที่มุมซ้ายบนของย่อหน้า เคลื่อนไป ตามย่อหน้า สมอแบบนี้สามารถใช้เม้าส์ลากภาพไปวางตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าย้ายภาพออกนอกเขตย่อหน้า สมอจะโดดไปเกาะกับ ย่อหน้าอื่นแทน ตัวอย่างตามภาพที่ 267 บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

183


ภาพที่ 267 : สมอแบบ To Paragraph เกาะที่มุมซ้ายบนของย่อหน้า

เมื่อย่อหน้าย้ายตําแหน่ง ภาพจะย้ายตามย่อหน้าไปด้วย โดยรักษาระยะห่างจากมุมซ้ายบนของย่อหน้าเอาไว้ ตัวอย่าง ตามภาพที่ 268

ภาพที่ 268 : ภาพเคลื่อนไปตามย่อหน้า

184

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


สมอแบบ To Paragraph สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้ง่าย เหมาะกับการวางภาพให้มีข้อความล้อมรอบ แต่ มักเกิด ปัญหาภาพไม่ได้ตําแหน่งตามต้องการ ภาพกระโดดไปเอง ทั้งนี้ไม่ใ ช่ความผิดของสมอแบบนี้ สมอแต่ละแบบมีความเหมาะ สมในการวางตําแหน่งภาพที่แตกต่างกันไป หากเข้าจะระบบของสมอ จะสามารถวางตําแหน่งภาพได้อย่างแม่นยํา ไม่มีปัญหา เกี่ยวกับภาพเลย To Page : สมอแบบ To Page จะเกาะที่มุมซ้ายบนของหน้ากระดาษ ภาพจะเกาะติดกับหน้ากระดาษหน้านั้นไป ตลอด ณ ตําแหน่งเดิม ไม่ว่าจะกด <Enter> ไล่ข้อความอย่างไร ภาพจะไม่ เคลื่อนตาม สิ่งเดียวที่ทําให้ภาพขยับคือการใช้เม้าส์ ลาก

ภาพที่ 269 : สมอแบบ To Page

ภาพที่ 270 : ภาพไม่เคลื่อนไปตามย่อหน้า

To Frame : สมอแบบ To Frame จะปรากฎให้เลือก ก็ต่อเมื่อภาพถูกวางในกรอบ To Frame มีลักษณะเหมือนกับ To Page แต่สมอจะเกาะที่มุมซ้ายบนของกรอบแทน กรอบทําหน้าที่เหมือนเป็นกระดาษ 1 หน้า

ภาพที่ 271 : สมอแบบ To Frame

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

185


To Character : คล้ายกับ To Paragraph แต่อ้างอิงกับตัวอักษร 1 ตัว As Character : เมื่อกําหนดสมอให้เป็นแบบ As Character สมอจะหายไป ภาพจะทําตัวเหมือนเป็นตัวอักษร 1 ตัว ขนาดใหญ่(ขึ้นอยู่กับขนาดภาพ) สังเกตุได้จาก เมื่อย้ายตัวชี้พิมพ์ข้อความไปหลังภาพพอดี ตัวชี้พิมพ์ข้อความจะมี ความสูง เท่ากับขนาดภาพพอดี ตัวอย่างตามภาพที่ 272 สมอแบบนี้ สามารถพิมพ์ข้อความไว้ในบรรทัดเดียวกับภาพได้ 1 บรรทัดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ เมื่อภาพมีพฤติกรรมเป็น ตัวอักษร 1 ตัว ตัวอักษรจึงอยู่ในบรรทัดเดียวกันได้ 1 บรรทัดเท่านั้น ไม่ว่าสูงหรือเตี้ย

ภาพที่ 272 : ภาพทีท่ ิ้งสมอแบบ As Character

ภาพที่ 273 : เลือกภาพและข้อความทั้งบรรทัด

ภาพที่ใช้สมอแบบ As Character ไม่สามารถเคลื่อนย้ายโดยใช้เม้าส์ลาก ต้องใช้การตัดและวาง เหมือนการตัดและ วางข้อความ หากใช้เม้าส์ลากจะลากได้ในแนวดิ่งเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่การย้ายภาพโดยสิ้นเชิง เป็นการปรับการวางแนว ภาพในบรรทัดเท่านั้น หากลากมากเกินไปความสูงของบรรทัด จะสูงขึ้น สังเกตุได้จาก หลังลากภาพแล้ว ให้ย้ายตัวชี้พิมพ์ ข้อความมาหลังภาพพอดี ตัวชี้พิมพ์ข้อความจะสูงกว่าภาพ ตัวอย่างตามภาพที่ 274

ภาพที่ 274 : ลากภาพลงมาเป็นการปรับแนวการวางภาพในบรรทัด

186

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การวางตําแหน่งภาพที่ใช้สมอแบบ As Character ใช้วิธีเดียวกับการจัด รูปแบบตัวอักษร เช่น การจัดชิดซ้าย ชิดขวา หรือจัดเข้ากลาง เป็นต้น สมอแบบ As Character เหมาะกับการวางภาพโดยไม่มีข้อ ความห้อมล้อม และเหมาะกับการวาง ภาพไว้ในตาราง 49

เลือกใช้สมอแบบไหนดี?

โดยส่วนตัวเล้ว ผู้เขียนใช้สมอแบบ To Paragraph และ As Charater กว่า 99% ในการทํางานกับ Writer และหนักไปทาง As Character 95% แบบอื่นแทบไม่ได้ใช้ ใช้ To Paragraph เมื่อต้องการวางภายให้มขี ้อความล้อมรอบ ใช้ As Character เมื่อต้องการวางภาพโดยไม่มีข้อความล้อมรอบ และวางภาพไว้ในตาราง 50

การวางภาพไว้ในตารางแนะนําให้ใช้สมอแบบ As Character

ตารางเป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ใช้จัดหน้าสิ่งพิมพ์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเรียงภาพเป็นแถวเป็นสดมน์ หรือ การวางภาพกับข้อความไว้ด้วยกัน เป็นต้น ภาพที่วางไว้ในตาราง แนะนําให้ใช้สมอแบบ As Character เพราะจะสนิทกับขอบตารางและควบคุมง่าย หากใช้สมอแบบ To Paragraph ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น เมื่อวางภาพลงในเอกสาร ภาพจะไม่สนิทกับขอบตาราง ควบคุมยาก จึงมักเกิดปัญหาไม่ได้ตําแหน่งตามที่ต้องการ ตัวอย่าง การใช้ยาลดนํ้าหนัก เป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่เป็นผลจอมปลอม อีกทั้ง ยังส่งผลต่อการดําเนินชีวิตประจําวันมาก เพราะเมื่อทานเข้าไป หัว จะมึนๆตลอด สติสัมปชัญญะจึงไม่ค่อยจะสมบูรณ์ เรี่ยวแรงก็ไม่ ค่อยมี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทํางานเป็นอย่าง มาก นี่ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆที่จะตามมาจากการใช้ ยาลดนํ้าหนัก หลังซ่อนเส้นขอบ และตั้งระยะห่างระหว่างเส้นขอบกับข้อความเป็น 0 จะได้ตามตารางด้านล่าง การใช้ยาลดนํ้าหนัก เป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่เป็นผลจอมปลอม อีกทั้ง ยังส่งผลต่อการดําเนินชีวิตประจําวันมาก เพราะเมื่อทานเข้าไป หัว จะมึนๆตลอด สติสัมปชัญญะจึงไม่ค่อยจะสมบูรณ์ เรี่ยวแรงก็ไม่ค่อย มี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทํางานเป็นอย่างมาก นี่ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆที่จะตามมาจากการใช้ยาลดนํ้า หนัก

51

องค์ประกอบที่ใช้ระบบสมอ

นอกจากภาพแล้ว รูปวาด, กรอบ หรือ วัตถุทแี่ ทรกเข้ามาใน Writer ก็ใช้ระบบสมอในการอ้างอิงตําแหน่ง บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

187


15.7 สมอแบบ As Character และการ และการบีบีบระยะห่างระหว่างบรรทัด เนื่องการสมอแบบ As Character เป็นสมอที่ ถูกใช้บ่อยมาก ปัญหาหนึ่งที่เกิดกับภาพที่ใช้สมอแบบ As Character ก็คือ ภาพแสดงไม่เต็มในบางกรณี โดยเฉพาะกับการตั้งค่าย่อหน้าที่บีบระยะห่างระหว่างบรรทัดลง ในกรณีตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดให้แคบลงกว่าค่าปกติ เช่น ตั้งเป็น Proportional ตํ่ากว่า 100%, ตั้งเป็น Fixed ที่ มีค่าตํ่า ๆ เป็นต้น จากนั้น กด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ และวางภาพต่อลงมาจากย่อหน้าดังกล่าว โดยภาพใช้สมอแบบ As character จะเกิดปัญหาภาพจะแสดงไม่เต็ม ตัวอย่างตามภาพที่ 275 (ดูเรื่องการตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดในข้อ 7.7 หน้า 73)

ภาพที่ 275 : ภาพที่ใช้สมอแบบ As character วางอยู่ในย่อหน้าที่แคบกว่าค่าปกติ

วิธแี ก้ปัญหาดังกล่าว ให้ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัด(Line spacing)ของย่อหน้าที่ภาพอยู่ เป็นแบบ Single ขั้นตอนการแก้ปัญหา

ภาพที่ 276 : ขั้นตอนการแก้ปัญหากรณีภาพที่ใช้สมอแบบ As Character แสดงไม่เต็ม

188

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


1. คลิกเลือกย่อหน้าทีภ่ าพอยู่ (ให้ตัวชี้พิมพ์ข้อความอยู่ข้างๆภาพจะดีที่สุด เพื่อความมั่นใจ) 2. เปิดหน้าต่าง Paragraph (ไปที่ Format → Paragraph หรือคลิกที่ปุ่ม (Paragraph)บนแถบเครื่องมือจัดรูปแบบ) 3. ที่แท็บ Indents and Spacing กรอบ Line spacing(ระยะห่างระหว่างบรรทัด) ตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น Single 4. คลิก OK

15.8 แถบเครื่องมือรูปวาด วาด((Drawing toolbar oolbar)) แถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar) ใช้วาดรูปวาดแบบต่างๆ คลิกที่ปุ่ม (Show Draw Functions)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน หรือไปที่ View → Toolbars → Drawing toolbar เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบเครื่องมือรูปวาด แถบเครื่องมือรูปวาด ประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้

ภาพที่ 277 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing toolbar)

1 (Select) เครื่องมือเลือก

8 (Basic Shape) กลุ่มรูปร่างพื้นฐาน

14 (Points) โหมดแก้ไขจุด

2 (Line) เส้น

9 (Symbol Shapes) กลุ่มสัญลักษณ์

15 (Fontwork Gallery) คลังอักษรศิลป์

3 (Rectangle) สี่เหลี่ยม

10 (Block Arrows) กลุ่มลูกศร

16 (From file) เปิดไฟล์ภาพ

4 (Ellipse) วงรี

11 (Flowcharts) กลุ่มสัญลักษณ์โฟลว์ชาร์ต 17 (Extrusion On/Off) ปิด/เปิดการดัน

5 (Freefrom Line) เส้นอิสระ 12 (Callouts) กลุ่มคําพูดในกรอบ 6 (Text) ข้อความ

13 (Stars) กลุ่มรูปดาว

7 (Callouts) คําพูดในกรอบ

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

189


15.9 แถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด (Drawing object properties toolbar) เมื่อเลือกรูปวาดจะปรากฎแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด(Drawing Object Properties toolbar) ซึ่งใช้ปรับแต่งรูป แบบเส้น รูปแบบพื้นหลัง และปรับแต่งคุณสมบัติอื่นๆ แถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาดประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆดังต่อไปนี้ (ไปที่ View → Toolbars → Drawing Object Properties เพื่อซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด)

ภาพที่ 278 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด (Drawing object properties toolbar)

กลุ่มทํางานกับเส้นขอบ

กลุ่มปรับแต่งคุณสมบัติทั่วๆไป

1

(Line) เปิดหน้าต่าง Line

8

(Rotate) หมุน

2

(Arrow Style) รูปแบบหัวลูกศร

9

(To Foreground) ไปด้านหน้า - ใช้เมื่อวางซ้อนข้อความ

3

(Line Style) รูปแบบเส้น

10

(To Background) ไปด้านหลัง - ใช้เมื่อวางซ้อนข้อความ

4

(Line Width) ความหนาเส้น

11

(Bring to Front) นํามาไว้บนสุด - ใช้เมื่อวางซ้อนกับรูปวาด

5

(Line Color) สีเส้น

12

(Send to Back) นําไปไว้หลังสุด - ใช้เมื่อวางซ้อนกับรูปวาด

กลุ่มทํางานกับพื้นหลัง

13

(Aligment) จัดแนว – ใช้กับรูปวาดตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป

6

(Area) เปิดหน้าต่าง Area

14

(Change Anchor) เปลี่ยนสมอ

7

(Area Style/Filling) ประเภทพื้นหลัง

15

(Ungroup) ยกเลิกการรวมกลุ่ม

16

(Group) รวมกลุ่ม – ใช้กับรูปวาดตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป

15.10 การปรับแต่งรูปวาด วาดเบื เบื้องต้น รูปวาดที่วาดด้วยแถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar) ประกอบ ไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ ก็คือ เส้นขอบ(Line) และ พื้นหลัง(Area) ทุกรูปวาด มีองค์ประกอบดังกล่าว ภาพที่ 279 : องค์ประกอบพื้นฐานของรูปวาด

(ต่อจากข้อ 15.9) ปุ่มบนแถบ เครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด (Drawing object properties toolbar) ตามภาพที่ 278 แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนซ้ายสุด(ปุ่มที่ 1-5) ใช้ปรับแต่งเส้นขอบ ส่วนกลาง(ปุ่มที่ 6-7) ใช้ปรับแต่งพืน้ หลัง และส่วนขวาสุด(ปุ่มที่ 8-16) ใช้ปรับ แต่งคุณสมบัติทั่วไป

190

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ส่วนซ้ายสุด(ปุ่มที่ 1-5) ใช้ปรับแต่งเส้นขอบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 280 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาดที่ใช้ปรับแต่งเส้นขอบ

ตัวอย่างการปรับแต่งเส้น

ส่วนกลาง(ปุ่มที่ 6-7) ใช้ปรับแต่งพื้นหลังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาพที่ 281 : ปุ่มบนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาดทีใ่ ช้ปรับแต่งพื้นหลัง

ตัวอย่างการปรับแต่งพื้นหลัง บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

191


Color Light Blue 52

Gradient Gradient1

Hatching Black 45o

Bitmap Fiery

ปรับแต่งเส้นขอบและพื้นหลังอย่างละเอียด

หากต้องการปรับแต่งเส้นขอบอย่างละเอียด เช่น ปรับขนาดหัวลูกกศร, สร้างหัวลูกศรใหม่, สร้างรูปแบบเส้นใหม่ เป็นต้น ให้คลิกทึ่ปุ่ม (Line)บนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด หรือคลิกเม้าส์ขวาที่รูปวาด → Line... จะปรากฎหน้าต่าง Line ให้กําหนดคุณสมบัตติ ่างๆของเส้น หากต้องการปรับแต่งพื้นหลังอย่างละเอียด เช่น ปรับความโปร่งใส่, ใส่เงา, เพิ่มสี, เพิ่มภาพบิตแม็พเข้าสู่รายการ, สร้างรูป แบบเกรเดี้ยนต์(Gradient), สร้างรูปแบบเส้นระบาย(Hatching) เป็นต้น ให้คลิกทึ่ปุ่ม (Area) บนแถบเครื่องมือ คุณสมบัติรูปวาด หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่รูปวาด → Area... จะปรากฎหน้าต่าง Area ให้กําหนดคุณสมบัติต่างๆของพื้นหลัง

15.11 การ การทํทํางานกับรูปวาด การวาดรูปวาด (ตามภาพที่ 277 ในข้อ 15.8 หน้า 189) ปุ่มที่ 2-13 บนแถบเครื่องมือรูปวาด เป็นปุ่มสําหรับวาดรูปวาดแบบต่างๆ การ วาดรูปวาดมีวิธีเหมือนกันหมด ก็คือ คลิกที่ปุ่มก่อน จากนั้นคลิกค้างในหน้ากระดาษแล้วลากเม้าส์ <Shift> + ลากเม้าส์ = ล็อคการลากเม้าส์เป็นกรอบสี่เหลี่ยมจัสตุรัส <Alt> + ลากเม้าส์ = วาดจากศูนย์กลางออกไป

ภาพที่ 282 : การวาดรูปวาด

มือจับปรับขนาดและมือจับพิเศษ รูปวาดทุกรูป มีมือจับ ปรับขนาดอยู่ที่มุมและด้านรวม 8 อัน ใช้ในการปรับขนาด บางรูปวาดมีมือจับพิเศษเพิ่มเข้ามา ใช้ปรับแต่งเฉพาะรูปวาดนั้นๆ เช่น รูป Smiley มีมือจับพิเศษรูปวงกลมที่ปาก ใช้เปลี่ยนรูปร่างปาก เพื่อเปลี่ยนอารมณ์หน้า

ภาพที่ 283 : มือจับแบบต่างๆ

ดูวิธีการปรับขนาดอย่างละเอียดในข้อ 15.13 หน้า 196 การหมุนรูปวาด

192

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คลิกที่รูปวาด แล้วคลิกที่ปุ่ม (Rotate) บนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด(Drawing object properties toolbar) มือจับรอบรูปวาดจะเปลี่ยนเป็นมือจับหมุน (วงกลมสีแดง) และจะปรากฎจุดศูนย์กลางการหมุนตรงกลาง จากนั้นใช้เม้าส์ลาก มือจับเพื่อหมุนรูปวาด หากต้องการเปลี่ยนจุดศูนย์กลางการหมุน ให้ใช้เม้าส์ลากจุดศูนย์กลางการหมุนไปวางยังตําแหน่งที่ ต้องการ แล้วค่อยหมุนภาพ <Shift> + ลากเม้าส์ = หมุนทีละ 15o

ภาพที่ 284 : การหมุนรูปวาด

ในกรณีต้องการปรับมุมการหมุนอย่างละเอียด ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่รูปวาด → Position and Size... ที่แท็บ Rotate ปรับมุมการหมุนตามต้องการ

ภาพที่ 285 : กําหนดการหมุนรูป วาดอย่างละเอียด

การเลือกรูปวาด หากรูปวาดอยู่เดี่ยวๆ การเลือกนั้นง่ายและไม่มีปัญหา ก็คือ ใช้การคลิกเม้าส์ธรรมดา แต่ถ้ารูปวาดอยู่ซ้อนกัน การเลือก โดยการคลิกเม้าส์อาจใช้ไม่ได้ หรือเลือกไม่โดนโดยเฉพาะกับรูปวาดที่อยู่ด้านใน/ด้านหลัง จึงต้องใช้เครื่องมือหรือคีย์ลัดช่วย การเลือกโดยใช้เม้าส์ ให้คลิก ปุ่ม (Select)บนแถบเครื่องมือรูปวาด จากนั้นคลิกที่รูปวาดหรือลากคลุมเพื่อเลือก หลายรูปวาด หรืออีกวิธีหนึ่ง คลิกที่รูปวาด(หรือภาพ)ใดก่อนก็ได้ จากนั้นกด <Tab> หรือ <Shift><Tab> เพื่อเลือกรูปวาด ถัดไป หรือก่อนหน้าตามลําดับ การพิมพ์ข้อความในรูปวาด ทุกรูปวาดสามารถพิมพ์ข้อความลงในรูปวาดได้ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่รูปวาด หรือคลิกที่รูปวาดแล้วกด <F2> จะปรากฎตัว ชี้พิมพ์ข้อความในรูปวาด จากนั้นก็สามารถพิมพ์ข้อความได้เลย ปุ่ม (Text) ใช้วาดกรอบว่างๆไม่มเี ส้นขอบไม่มีสีพื้นหลัง ใช้สําหรับพิมพ์ข้อความโดยเฉพาะ

ภาพที่ 286 : ข้อความในรูปวาด

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

193


การปรับแต่ง ตัวอักษรหรือ ข้อความที่อยู่ในรูปวาด เช่น การเปลี่ย นสี เปลี่ย นฟอนต์ เปลี่ย นขนาดฟอนต์ เป็นต้ น สามารถปรับแต่งได้โดยใช้เครื่องมือเดียวกับการปรับแต่งตัวอักษรหรือข้อความ ตามที่อธิบายไว้ในบทที่ 8 หน้า 87 การควบคุมการไหลและการควบคุมระยะต่างๆของข้อความในกรอบ ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่รูปวาด → Text... จะปรากฎ หน้าต่าง Text ที่แท็บ Text กําหนดค่าต่างๆ ตามต้องการ

ภาพที่ 287 : หน้าต่าง Text สําหรับกําหนดการไหลหรือตําแหน่งข้อความในรูปวาด

ที่กรอบ Text มีรายละเอียดของตัวเลือกต่างๆ ดังต่อไปนี้ (กล่องตัวเลือกแต่ละตัว อาจทํางานหรือไม่ทํางานกับรูปวาด แต่ละชนิดแตกต่างกันไป) กล่องตัวเลือก Fit width to text : เมื่อถูกติ๊ก ความกว้างของรูปวาดจะถูกปรับ ตามความยาวของข้อความ (ปรับ เฉพาะความกว้าง แต่ไม่ปรับความสูง) กล่องตัวเลือก Fit height to text : เมื่อถูกติ๊ก ความสูงของรูปวาดจะถูกปรับตามความสูงของข้อความ (ปรับเฉพาะ ความสูง แต่ไม่ปรับความกว้าง) กล่องตัวเลือก Fit to frame : เมื่อถูกติ๊ก ฟอนต์จะเปลี่ยนขนาดอัตโนมัติให้อยู่แต่ในขอบเขตรูปวาด (รูปวาดมีขนาด คงที)่ กล่องตัวเลือก Adjust to contour : เมื่อถูกติ๊ก ข้อความจะถูกตัดคําให้ไหลอยู่ภายในขอบเขต ตามแนวสันฐาณของรูป วาด (รูปวาดมีขนาดคงที่) กล่องตัวเลือก Word wrap text in shape : เมื่อถูกติ๊ก ข้อความจะไหลอยู่แต่ในกรอบของรูปวาดเท่านั้น (รูปวาดมี ขนาดคงที่) กล่องตัวเลือก Resize shape to fit text : เมื่อถูกติ๊ก ขนาดรูปวาดจะถูกปรับตามความยาวของข้อความ (รูปวาด เปลี่ยนขนาด ตามการพิมพ์ข้อความ) เส้นอิสระ(Freefrom Line) เส้นอิสระ เป็นรูปวาดที่วาดโดยใช้ ปุ่ม (Freefrom Line) เส้นอิสระพิเศษกว่ารูปวาดชนิดอื่น เพราะสามารถปรับ แต่งโครงสร้างได้อย่างละเอียด ให้คลิกที่ ปุ่ม (Points) จะเข้าสู๋โหมดปรับแต่งโครงสร้าง ที่โหมดนี้จะปรากฎโหนดบนเส้น ซึ่งเป็นจุดกํากับโครงสร้างของเส้น พร้อมกันนั้นก็จะปรากฏแถบเครื่องมือปรับแต่งโหนด(Edit Points Toolbar) ที่โหมดนี้ สามารถปรับแต่งโครงสร้างเส้น ได้โดยการใช้เม้าส์ลากโหนด ร่วมกับใช้ปุ่มบนแถบเครื่องมือ เพื่อปรับแต่งโครงสร้างเส้น

194

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 288 : โหมดปรับแต่งโครงสร้าง และ แถบเครื่องมือปรับแต่งโหนด(Edit Points)

การดันรูป (Extrusion) การดันรูปคือ การทําให้รูปวาดเป็นรูปทรง 3 มิติ โดยการยืดรูปวาดออกไปในแนวลึก การดันรูปสามารถทําได้โดย คลิก ที่รูปวาด จากนั้นคลิกที่ ปุ่ม (Extrusion On/Off) รูปวาดจะปรากฎความลึกพร้อมกับแถบเครื่องมือการตั้งค่าสามมิติ (3DSettings Toolbar) ที่ใช้ควบคุมความลึกของรูปวาด เช่น ทิศทางแสง, ทิศทางการดัน, สีของส่วนที่ดันออกไป เป็นต้น

Extrusion ภาพที่ 289 : ตัวอย่างการดันรูปวาด

การรวมกลุ่ม (Grouping) การรวมกลุ่มรูปวาดเข้าด้วยกัน จะช่วยให้เคลื่อนย้าย หมุน หรือปรับขนาดได้ทีเดียวทั้งกลุ่ม การรวมกลุ่ม(Grouping) : ให้เลือกรูปวาดหรือภาพตั้งแต่ 2 ตัวชึ้นไป จากนั้น คลิกที่ ปุ่ม (Group) บนแถบเครื่องมือ คุณสมบัติรูปวาด หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่ภ าพ → Group (หากรูปวาด มีตัวใดตัวหนึ่งที่ใช้สมอแบบ As Character จะไม่ สามารถรวมกลุ่มได้) การเลือกสมาชิกในกลุ่ม : หากต้อ งการปรับแต่งสมาชิกในกลุ่มเพียงตัวเดียวให้ กด <Ctrl>+คลิก ที่สมาชิกกลุ่ม จะ เป็นการเลือกสมาชิกที่ถูกคลิกเพียงตัวเดียว จากนั้นก็สามารถปรับแต่งได้ตามปกติ เช่น ย้าย ปรับขนาด หรืออื่นๆ เป็นต้น อีกวิธีหนึ่ง ให้คลิกเม้าส์ขวาที่กลุ่ม → Edit Group จะเข้าสู่โหมดปรับแต่งสมาชิกในกุล่ม ซึ่งโหมดนี้สามารถเลือกสมาชิกทีละ ตัวสลับไปมาเพื่อปรับแต่งทีละตัวได้ หลังเสร็จแล้วให้คลิกที่พื้นที่ว่างนอกกลุ่ม เพื่อจบโหมด การแตกกลุ่ม(Ungrouping) : ให้เลือกกลุ่มก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Ungroup) บนแถบเครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด หรือ คลิกเม้าส์ขวาที่กลุ่ม → Ungroup การวางแนว (Alignment) ในกรณีต้องการวางรูปวาดให้อยู่ในแนวเดียวกัน ในแนวตั้งหรือในแนวนอน ให้เลือกรูปวาดทั้งหมดก่อน จากนั้นคลิก ปุ่ม (Alignment) → ปุ่ม (Left, Centered, Right, Top, Center, Bottom) บนแถบ เครื่องมือคุณสมบัติรูปวาด เพื่อวางให้แนวต่างๆของรูปวาดอยู่ในแนวเดียวกัน

ภาพที่ 290 : (ซ้าย)ก่อนวางแนว (ขวา)หลังวางแนวเข้ากลางในแนวนอน

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

195


ส่งรูปวาดไปด้านหลังหรือด้านหน้าข้อความ ในกรณีรูปวาดกับข้อความอยู่ด้วยกัน โดยปกติข้อความจะไหลหลบรูปวาด โดยไม่ซ้อนกัน หากต้องการให้ข้อความกับ ภาพซ้อนกัน ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้อะไรอยู่บนอะไรอยู่ล่าง ให้คลิกที่รูปวาด จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (To Foreground) หรือ ปุ่ม (To Background) เพื่อส่งรูปวาดไปด้านบนข้อความ หรือส่งรูปวาดไปด้านล่างข้อความ ตามลําดับ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ

ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ ข้อความ

ภาพที่ 291 : (ซ้าย)รูปวาดอยู่ด้านล่าง (ขวา) รูปวาดอยู่ด้านบน

รูปวาดที่อยู่ด้านล่างข้อความ หากคลิกไม่โดนหรือไม่สามารถเลือกได้ ให้คลิกที่ คลิกปุ่ม รูปวาด เพื่อเลือกเครื่องมือเลือก จากนั้นลากเม้าส์ให้คลุมรูปวาดเพื่อเลือกรูปวาดดังกล่าว

(Select)บนแถบเครื่องมือ

15.12 การเลือก (Selecting) หากภาพหรือรูปวาดอยู่เดี่ยวๆ การเลือกนั้นง่ายและไม่มีปัญหา สามารถใช้การคลิกเม้าส์ธรรมดาได้ แต่ถ้าอยู่ซ้อนกัน การเลือกโดยการคลิกเม้าส์อาจใช้ไม่ได้หรือเลือกไม่โดน โดยเฉพาะกับรูปวาดที่อยู่ด้านใน ฉะนั้นจึงต้องใช้เครื่องมือหรือคีย์ช่วย การเลือกโดยใช้เม้าส์(สําหรับรูปวาดเท่านั้น) คลิกปุ่ม (Select)บนแถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar) เพื่อเลือกเครื่องมือเลือก จากนั้นคลิกที่รูปวาด หรือ ลากเม้าส์คลุมเพื่อเลือกรูปวาดหลายรูป การเลือกรูปวาดตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะต้องใช้เครื่องมือนี้ เท่านั้น ไม่สามารถกด <Shift>+คลิก เพื่อเลือกหลายตัวได้ นอกจากนี้ เฉพาะรูปวาดเท่านั้นที่สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ไม่สามารถเลือกภาพ 2 ภาพพร้อมกันได้ การเลือกโดยใช้คีย์บอร์ด คลิกที่ภาพหรือรูปวาดใดก่อนก็ได้ จากนั้นกด <Tab> หรือ <Shift><Tab> เพื่อเลือกภาพหรือรูปวาดถัดไป หรือก่อน หน้าตามลําดับ

15.13 การปรับขนาด (Resizing) การปรับขนาด สามารถทําได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้เม้าส์ คลิกที่ภาพหรือรูปวาดจะปรากฏมือจับปรับขนาดที่มุมและด้าน จากนั้นใช้เม้าส์ ลากที่ มื อ จั บ ดั ง กล่ า วไปมาเพื่ อ ปรั บ ขนาด ขณะลากเม้ า ส์ ห ากกดปุ่ ม <Shift> หรื อ <Ctrl> ร่วมด้วยจะให้ผลดังนี้ กด <Shift>+ลากมือจับ = ปรับขนาดโดยรักษาสัดส่วนความสูงต่อความกว้างไว้ เท่าเดิม กด <Ctrl>+ลากมือจับ = คัดลอกภาพแล้ววางทันที

196

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)

ภาพที่ 292 : มือจับปรับขนาด


วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Picture (ภาพบิตแมพ) คลิกขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Type กรอบ Size ใส่ขนาดภาพตาม ต้องการ

ภาพที่ 293 : ปรับขนาดภาพ

กล่องตัวเลือก Relative : ใช้ระบุขนาดเป็น % ของกรอบ(Frame) หรือ % ของหน้ากระดาษ(หน้ากระดาษที่หักระยะ เว้นขอบออก) ขึ้นอยู่กับว่าวางภาพไว้ที่ไหน เมื่อ ขอบเขตมีการเปลี่ยนขนาดเช่น เปลี่ยนขนาดจากกระดาษ A4 เป็น A5 ขนาด ภาพจะเปลี่ยนตามอย่างเป็นสัดส่วน แต่ถ้ากําหนดเป็นค่าตายตัวเช่น 1.00 cm การเปลี่ยนขอบเขตไม่มีผลต่อขนาดภาพ กล่องตัวเลือก Keep Ratio : ปรับขนาดโดยรักษาสัดส่วนความสูงต่อความกว้างไว้เท่าเดิม ปุ่ม Original Size : รีเซ็ตตัวเลขขนาดภาพ เป็นขนาดเริ่มต้น (รูปวาด) คลิกขวาที่ภาพ → Position and Size… จะปรากฎหน้าต่าง Position and Size… ที่แท็บ Position and Size ใส่ขนาดภาพตามต้องการ

ภาพที่ 294 : ปรับขนาดรูปวาด

15.14 การย้ายและ ยและการกํ การกําหนดตําแหน่ง (Moving and Positioning) ภาพที่ใช้สมอที่ขึ้นต้นด้วย To เช่น To Paragraph สามารถย้ายตําแหน่ง โดยใช้เม้าส์ลากได้ แต่ภาพที่ใช้สมอแบบ As Character ใช้ การลากเม้ า ส์ ไม่ไ ด้ ต้องใช้ การตัด และวาง แต่ ถ้า ขยั บ ตํา แหน่ ง ภาพในบรรทั ดเดีย วกัน สามารถใช้ คีย์ <Spacebar> หรือ <Tab> ได้ ในกรณีต้องการวางตําแหน่งภาพอย่างแม่นยํา สามารถทําได้ดังนี้

ก. การกําหนดตําแหน่งภาพ ที่ใช้สมอขึ้นต้นด้วย To คลิกขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Type กรอบ Postion ระบุตํา แหน่งตามต้องการ ตัวอย่างตามภาพที่ 295

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

197


ภาพที่ 295 : กําหนดตําแหน่งให้ภาพที่ใช้สมอแบบ To Paragraph

ช่อง Horizontal : ใช้กําหนดระยะให้ห่างจากตําแหน่งอ้างอิงในแนวนอน ตําแหน่งอ้างอิงกําหนดได้ที่ช่อง To ภาพที่ 295 ความหมายก็คือ กํา หนดให้ภาพห่างจากตํา แหน่งอ้างอิง (Paragraph area-มุมซ้ายของกรอบที่ครอบย่อหน้า ) จากทาง ซ้าย(From Left) ในแนวราบเป็นระยะ 1.68 cm. กล่องตัวเลือก Mirror on even pages : หากตัวเลือกนี้ถูกติ๊ก ช่อง Horizontal จะเปลี่ยนเป็น Form inside ภาพจะ อ้างอิงตําแหน่งจากขอบใน ไม่ใช่มุมซ้ายบน ส่งผลให้ภาพโดดไปซ้ายหรือขวาในแนวราบเมื่ออยู่คนละหน้า ช่อง Vertical : ใช้กําหนดระยะให้ห่างจากตําแหน่งอ้างอิงในแนวดิ่ง ตําแหน่งอ้างอิงกําหนดได้ที่ช่อง To กล่องตัวเลือก Follow text flow : โดยปกติภาพกับสิ่งที่ภาพอ้างอิงจะอยู่ด้วยกัน เช่น ภาพกับย่อหน้า (ใช้สมอแบบ To Paragraph) เมื่อกด <Enter> จนบางบรรทัดในย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ ภาพจะไม่ไปตามจนกว่าทั้งย่อหน้าจะขึ้นหน้าใหม่ แต่ถ้ากล่องตัวเลือกนี้ถูกติ๊ก ภาพจะขึ้นหน้าใหม่ถ้าถึงตําแหน่งแล้ว แม้ทั้งย่อหน้าจะไม่ขึ้นหน้าใหม่ คีย์ลัดที่ใช้ย้ายตําแหน่งภาพ ที่ใช้สมอที่ขึ้นต้นด้วย To <ลูกศร> = ย้ายตําแหน่งภาพ <Alt><ลูกศร> = ย้ายตําแหน่งภาพแบบละเอียด

ข. การกําหนดตําแหน่งภาพ ที่ใช้สมอแบบ As Character คลิ ก ขวาที่ ภ าพ → Picture... จะปรากฎหน้ า ต่ า ง Picture ที่ แ ท็ บ Type กรอบ Postion สั ง เกตุ จ ะพบว่ า ช่ อ ง Horizontal ไม่ทํางาน ส่วนตัวเลือกที่ช่อง Vertical ก็เปลี่ยนไปจากภาพที่ใช้สมอแบบ To ทั้งนี้เพราะการกําหนดตําแหน่งของ ภาพที่ใช้สมอแบบ As Character เป็นการกําหนดการวางภาพในแนวดิ่งในบรรทัดนัน้ ๆ ภาพที่ 296 เป็นตัวอย่างการกํา หนดตํา แหน่งภาพ โดยกํา หนดให้ วางให้กึ่งกลางภาพ(Center) อยู่ในแนวของเส้น Baseline

198

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 296 : กําหนดตําแหน่งให้ภาพที่ใช้สมอแบบ As Character

นอกจากการกําหนดตําแหน่ง โดยใช้หน้าต่าง Picture แล้ว ยังสามารถใช้ปุ่มบนแถบเครื่องมือกรอบได้ด้วย โดยคลิกที่ ภาพก่ อ น จากนั้ น คลิ ก ที่ ปุ่ม (Base line at top, Base line centered, Base line at bottom) บนแถบ เครื่องมือกรอบ(Frame toolbar) จะได้ผลตามภาพด้านล่าง Base line at bottom Base line centered Base line at top ภาพที่ 297 : ผลจากการคลิกที่ปุ่ม

ผลที่ได้กับชื่อปุ่มอาจทํา ให้ สับสนบ้าง เช่น เมื่อคลิกที่ปุ่ม

ตามลําดับ

(Base line at top) ข้อความกลับย้ายมาอยู่ข้างล่าง

เป็นต้น หากต้องการวางตําแหน่งภาพที่ไม่ใช่ บน-กลาง-ล่าง พอดีๆ ให้ใช้เม้าส์ลากภาพขึ้นหรือลงเพื่อปรับแนว หากต้องการ กําหนดค่าอย่างละเอียดให้ดูวิธีทําในข้อ ค.

ค. การวางภาพขนาดเล็กไว้ในบรรทัดเดียวกับข้อความ กรณีวางภาพขนาดเล็ก เช่น ภาพไอค่อนหรือภาพปุ่มเล็กๆ ไว้ข้างๆตัวอักษร ภาพจะต้องใช้สมอแบบ As Character จึงจะดีที่สุด แต่อย่างไรก็ดี เมื่อวางแล้วจะพบปัญหาว่า ภาพกับข้อความยังไม่ได้แนวกัน สูงไปบ้าง ตํ่าไปบ้าง แม้จะคลิกที่ปุ่ม (Base line at top, Base line centered, Base line at bottom)บนแถบเครื่องมือกรอบ ก็ยังไม่ได้อย่างที่ ต้องการ ตัวอย่างตามภาพที่ 298 บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

199


ภาพที่ 298 : วางภาพไว้หลังข้อความ โดยภาพใช้สมอแบบ As Character

วิธีแก้ ปัญหาในข้างต้น ให้กํา หนดค่าอย่างละเอีย ด โดยคลิกขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Type กรอบ Postion กําหนดการวางแนวโดยที่ช่อง Vertical เลือกเป็น From Bottom เพราะเป็นตัวเลือกเดียวที่ สามารถใส่ตวั เลขลงในช่อง by ได้ (ตัวอย่างตามภาพที่ 299 ) จากนั้นทดลองใส่ตัวเลข แล้วดูผลที่พอใจที่สุด

ภาพที่ 299 : หลังปรับแนวข้อความ

อีกวิธีหนึ่งในการปรับแนวภาพในบรรทัดอย่างละเอียด ให้คลิกที่ภาพ จากนั้นกด <Alt><↑> หรือ <Alt><↓> เพื่อ เลื่อนภาพขึน้ หรือลงทีละน้อยๆ

15.15 การหมุน (Rotating) Writer ไม่มีเครื่องมือสําหรับหมุนภาพบิตแม็พมาให้ มีเฉพาะเครื่องมือหมุนรูปวาด(ตามที่อธิบายในข้อ 15.11) ฉะนั้น การหมุนภาพบิตแม็พต้องอาศัยโปรแกรมอื่นช่วย ตัวอย่างต่อไปนี้ ใช้โปรแกรม LibreOffice Draw เป็นตัวช่วย ขั้นตอนการหมุนภาพบิตแม็พด้วย LibreOffice Draw 1. เปิดโปรแกรม LibreOffice Draw 2. ใส่ภาพบิตแม็พลงใน Draw 3. หมุนภาพ วิธีการหมุนภาพใน Draw เหมือนกับการหมุนรูปวาดใน Writer (ตามที่อธิบายในข้อ 15.11 หน้า 192) (คลิกที่ภาพ → คลิกที่ปุ่ม (Rotate) บนแถบเครื่องมือรูปวาด → หมุนภาพ) 4. คัดลอกภาพที่หมุนแล้วใน Draw มาวางใน Writer โดยการคัดลอกและวางปกติ เพียงแต่ทําข้ามโปรแกรม ภาพบิตแม็พที่คัดลอกจาก Draw มาที่ Writer จะกลายเป็นรูปวาด(แม้หน้าตาจะเป็นภาพบิตแม็พ) ซึ่งสามารถหมุนได้ โดยไม่ต้องกลับไปที่ Draw อีก

200

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 300 : หมุนภาพใน Draw

53

ตกแต่งภาพบิตแม็พใน Writer

การตกแต่งภาพใน Writer ที่ถูกใส่แบบฝังตัว(Embed) ให้ คลิกขวาที่ภาพบิตแม็พ → Edit with External Tool ภาพใน Writer จะถูกเปิดด้วยโปรแกรมอื่น ซึง่ แต่ละเครื่องไม่เหมือนกัน ขึน้ อยู่กับว่าระบบปฏิบัติการ ของเราตั้งโปรแกรมไหนเป็นโปรแกรมเปิดภาพปริยาย หลังภาพเปิดแล้ว ให้ตกแต่งภาพโดยใช้เครื่องมือของโปรแกรม จากนั้นบันทึกภาพ(Save) ภาพใน Writer ก็จะเปลี่ยนตาม วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้หมุนภาพบิตแม็พใน Writer ได้ด้วย

15.16 การ การพลิ พลิกภาพ (Flipping) วิธีที่ 1 : คลิกปุ่ม คลิกที่ภาพ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Flip Horizontally) หรือปุ่ม toolbar) เพื่อพลิกภาพในแนวนอนหรือในแนวตั้งตามลําดับ

(Flip Vertically) บนแถบเครื่องมือภาพ(Picture

ตัวอย่าง

ภาพที่ 301 : การพลิกภาพแบบต่างๆ

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Picture การพลิกภาพด้วยวิธีนี้ สามารถกําหนดให้ภาพพลิกเองอย่างอัตโนมัติเมื่ออยู่ในหน้าซ้ายหรือหน้าขวา ให้ คลิกเม้าส์ขวา ทีภ่ าพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Picture กําหนดวิธีการพลิกภาพ บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

201


ภาพที่ 302 : กําหนดแนวการพลิกภาพ ทีห่ น้าต่าง Picture

15.17 การตัดภาพ (Cropping) การตัดภาพ(Cropping) เป็นการตัดบางส่วนของภาพทิ้งไป เช่น ส่วนบน, ส่วนล่าง, ส่วนซ้ายหรือขวา ให้เหลือเพียง บางส่วนของภาพไว้ นอกจากนี้ยังสามารถย่อหรือขยายส่วนที่ตัดเก็บในขั้นตอนเดียวกันได้ด้วย คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Crop กําหนดระยะตัดภาพออก ตัวอย่างที่ 1 : (ภาพที่ 303) ที่กรอบ Crop ติ๊กที่ตัวเลือกวงกลม Keep scale เพื่อตัดภาพโดยไม่เปลี่ยนค่าที่กรอบ Scale แต่จะเปลี่ยนที่กรอบ Image Size จากนั้นปรับระยะการตัดที่ช่อง Left, Right, Top และ Bottom ผลของการตัดใน ลักษณะนี้ ให้ผลเหมือนการตัดกระดาษออกมาเป็นชิ้น

ภาพที่ 303 : ตัดมุมขวาล่าง ขนาด 2x2 cm ออกมา

ตัวอย่างที่ 2 : (ภาพที่ 304) ที่กรอบ Crop ติ๊กที่ตัวเลือกวงกลม Keep image size เพื่อตัดภาพโดยไม่เปลี่ยนค่าที่ กรอบ Image Size แต่จะเปลี่ยนที่กรอบ Scale จากนั้นปรับระยะการตัดที่ช่อง Left, Right, Top และ Bottom ผลของการ ตัดลักษณะนี้ ส่วนที่ถูกตัดจะถูกขยายขนาดให้เท่าขนาดภาพเดิม

ภาพที่ 304 : ตัดมุมขวาล่าง ขนาด 2x2 cm ออกมา แล้วขยายขนาดเป็น 200%

การตัดภาพในข้างต้น ภาพต้นฉบับไม่มีการเปลี่ยนแปลง สามารถยกเลิกการตัดกลับมาเป็นภาพเดิม ได้ โดยการแก้ไขค่า ต่างๆ ให้เป็นขนาดต้นฉบับ ที่สเกล 100%

202

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


15.18 การ การจัจัดลําดับภาพที่ซ้อนกัน (Arrange (Arrangement ment)) (ภาพที่สามารถนํามาซ้อนกันได้ ต้องใช้สมอที่ขึ้นต้นด้วย To เท่านั้น) กรณีวางภาพไว้ซ้อนกัน เราสามารถเปลี่ยนลําดับชั้นการซ้อนภาพได้โดย คลิกที่ภาพ ก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Bring to Front) หรือ ปุ่ม (Send to Back) บนแถบเครื่อง มือกรอบ(Frame toolbar) เพื่อส่งภาพไปบนสุด หรือส่งไปล่างสุด ตามลําดับ อีกวิธีหนึ่ง ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Arrange → (เลือกคําสั่ง) คําสั่งมี 4 รายการ ก็คือ Bring to Front(ส่งไปบนสุด), Bring forward(ส่งไปด้านบน 1 ชั้น), Send Backward (ส่งไปด้านล่าง 1 ชั้น), Send to Back(ส่งไปล่างสุด) ภาพที่ 305 : ภาพซ้อนกัน

15.19 การห่อ (Wrap (Wrapping ping)) การห่อ (Wrapping) ใช้ได้กับภาพที่ใช้สมอที่ขึ้นต้นด้วย To เท่านั้น

ก. การห่อภาพด้วยข้อความ การห่อภาพด้วยข้อความ เป็นการกํา หนดว่า เมื่อภาพกับข้อความอยู่ด้วยกันจะให้ข้อความไหลล้อมภาพอย่างไร สามารถเลือกได้หลายแบบ วิธีที่ 1 : คลิกปุ่ม ขณะภาพกับข้อความอยู่ด้วยกัน ให้ คลิกที่ภาพ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม (Wrap Off), ( Page Warp), Through)บนแถบเครื่องมือกรอบ(Frame toolbar) เพื่อห่อภาพด้วยข้อความแบบต่างๆ (ตัวอย่างดูในวิธีที่ 2)

(Wrap

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Picture ขณะภาพกับข้ อความอยู่ ด้ วยกั น คลิก เม้า ส์ ขวาที่ ภ าพ → Picture... จะปรากฎหน้ า ต่ า ง Picture ที่แ ท็บ Wrap กําหนดวิธีห่อภาพตามต้องการ

ภาพที่ 306 : กําหนดวิธีการห่อภาพด้วย ข้อความ

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

203


กรอบ Setting : ใช้เลือกวิธีห่อภาพด้วยข้อความ ภาพสัญลักษณ์ทั้ง 6 แบบ สื่อความหมายค่อนข้างชัดเจนว่า ผลจะ ออกมาอย่างไร None = ไม่ห่อภาพ (ไม่ให้ข้อความอยู่ล้อมภาพ) Before = ยอมให้ข้อความอยูด่ ้านซ้ายเท่านั้น After = ยอมให้ข้อความอยูด่ ้านขวาเท่านั้น Parallel = ยอมให้ข้อความอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (การห่อแบบนี้เรียกอีกอย่างว่า Page Wrap) Through = ข้อความไหลทะลุภาพ ภาพกับข้อความจะซ้อนกัน Optimal = หากภาพค่อนไปทางซ้าย ข้อความจะอยู่ทางขวา (ให้ผลเหมือนห่อแบบ After) หากภาพค่อนไปทางขวา ภาพจะอยู่ซ้าย (ให้ผลเหมือนห่อแบบ Before)

ภาพที่ 307 : ห่อภาพแบบ After (หรือ Optimal ค่อนไปทางซ้าย)

ภาพที่ 308 : ห่อภาพแบบ Parallel (หรือ Page Wrap)

ภาพที่ 309 : ห่อภาพแบบ Through ภาพที่ 310 : ห่อภาพแบบ None

กล่องตัวเลือก First Paragraph : หากภาพอยู่กับหลายย่อหน้า เฉพาะย่อหน้าแรกเท่านั้นที่จะห่อภาพ กล่องตัวเลือก In background : ใช้ส่งภาพไปด้านหลังข้อความ ใช้ได้กับการห่อแบบ Through เท่านั้น (ดูข้อ ค.) กล่องตัวเลือก Contour : ห่อภาพแบบเว้าตามสัณฐาน (ดูข้อ ข.) กล่องตัวเลือก Outside only : (ทํางานเมื่อกล่องตัวเลือก Contour ถูกติ๊ก) ข้อความล้อมภายนอกเท่านั้น (ดูข้อ ข.)

ข. การห่อภาพแบบเว้าตามสัณฐาน (Contour Wrapping) โดยปกติการห่อภาพด้วยข้อความ ข้อความจะห่อรอบภาพตามกรอบสี่เหลี่ยมขอบเขตภาพเท่านั้น แต่การห่อภาพแบบ เว้าตามสัณฐาน ข้อความจะไหลโอบตามแนวสัณฐานของภาพ การห่อภาพแบบนี้ ภาพควรมีพื้นหลังสีเดียว เพราะ Writer จะตรวจสอบสีของพื้นหลังแล้วตัดออกอย่างอัตโนมัติ หาก ทําพื้นหลังมาดี ภาพก็จะออกมาดี การห่อภาพแบบเว้าตามสัณฐาน ขณะภาพกับข้อความอยู่ด้วยกัน คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Wrap กรอบ Options ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Contour สัญลักษณ์วิธีห่อภาพที่กรอบ Setting จะเปลี่ยนไป จากนั้นเลือกวิธีห่อภาพ (ตัวอย่าง ตามภาพที่ 311) หากภาพมีรูตรงกลาง เมื่อติ๊กที่กล่องตัวเลือก Outside only ข้อความจะล้อมอยูภ่ ายนอกเท่านั้น ไม่เข้าไปภายใน

204

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 311 : ห่อภาพแบบเว้าตามสัณฐาน โดย ให้ข้อความล้อมอยู่ด้านซ้ายเพียงอย่างเดียว

54

การแก้แนวเส้นสัณฐาน

สัณฐานภาพ สามารถแก้ได้ ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Wrap → Edit Contour... จะปรากฎหน้าต่าง Contour Editor มาให้ปรับแต่งเส้นสัณฐาน

ภาพที่ 312 : แก้ไขแนวเส้นสัณฐาน

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

205


ค. ส่งภาพไปด้านล่างข้อความ ขณะภาพกับข้อความอยู่ด้วยกัน คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Wrap กรอบ Options เลือกวิธีการห่อภาพแบบ Through จากนั้นติ๊กที่กล่องตัวเลือก In background ตามภาพที่ 313 หรืออีกวิธีหนึ่ง คลิกขวาที่ภาพ → Wrap → In background

ภาพที่ 313 : ส่งภาพไปด้านล่างข้อความ

ภาพที่ถูกส่งไปด้านล่างข้อความ มักจะคลิกไม่โดน คลิกได้เฉพาะส่วนที่ไม่โดนข้อความทับ วิธีแก้ ให้ส่งภาพขึ้นมาด้าน หน้าก่อน โดยคลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Wrap → Through ภาพจะลอยขึ้นมาเหนือข้อความโดยตําแหน่งภาพและข้อความไม่ เปลี่ยนแปลง

15.20 การใส่คคํ​ําบรรยาย (Caption) การใส่คําบรรยายภาพ สามารถพิมพ์ข้อความไว้ด้านบน ด้านล่าง หรือด้านข้างภาพ ก็เป็นคําบรรยายแล้ว แต่ทว่า ใน บางกรณี ตําแหน่งของคําบรรยายไม่สามารถพิมพ์ได้ตามปกติ หรือบางกรณีก็ต้องการระบุว่าเป็นภาพที่เท่าไรอย่างอัตโนมัติ

ก. การใส่คําบรรยายแบบข้อความธรรมดา การใส่คําบรรยายภาพในบางกรณี ไม่สามารถทําได้โดยการพิมพ์ข้อความตามปกติ เพราะไม่มีช่องว่างให้พิมพ์ จึงต้องใช้ เครื่องมือช่วย ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้ การใส่คําบรรยายภาพ คลิกเลือกภาพ แล้วไปที่ Insert → Caption... หรือ คลิกเม้าส์ขวาทีภ่ าพ → Caption... จะปรากฎหน้าต่าง Caption จากนั้น พิมพ์คําบรรยายและกําหนดค่าต่างๆลงไป (ตัวอย่างตามภาพที่ 314) ช่อง Caption : ใช้พิมพ์คําบรรยาย ช่อง Category : ใช้เลือกหมวดหมู่ของคําบรรยาย ในข้อนี้ให้เลือกเป็น None หมายถึงไม่มีหมวดหมู่ คําบรรยายจะมี แต่ข้อความเปล่าๆ (ตัวเลือกอื่นๆ ใช้กับคําบรรยายอัตโนมัติ ดูรายละเอียดในข้อ ข.)

206

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 314 : การใส่คําบรรยาย

ภาพมีกรอบ(Frame)ครอบอยู่ การใส่คําบรรยายด้วยวิธีในข้างต้น Writer จะสร้างกรอบมาครอบภาพโดยอัตโนมัติ ให้ไป View → Boundaries เพื่อแสดงขอบเขตกรอบ(Frame)และขอบเขตภาพ ซึ่งจะพบว่ามี 2 เส้น เป็นของภาพและของกรอบ(Frame) ตามภาพที่ 315 (ภาพและกรอบ มีสมอเป็นของตัวเอง ของใครของมัน)

ภาพที่ 315 : ภาพอยู่ในกรอบ(Frame)

การแก้ไขคําบรรยาย หลังใส่คําบรรยาย สามารถแก้ไขคําบรรยายได้เหมือนการแก้ไขข้อความตามปกติ หากต้องการย้ายตําแหน่งคําบรรยาย ไปทีอ่ ื่น ก็สามารถทําได้เหมือนการย้ายข้อความธรรมดา ให้มองว่ากรอบ(Frame) เป็นหน้ากระดาษเล็กๆ ที่สามารถทํางานได้ เหมือนกับหน้ากระดาษปกติ การย่อหรือขยายกรอบ เมื่อย่อหรือขยายกรอบ(Frame) ภาพจะย่อหรือขยายขนาดตาม หากต้องการย่อหรือขยายกรอบโดยไม่ให้ภาพย่อหรือ ขยายตาม ต้องเปลี่ยนวิธีกําหนดขนาดภาพใหม่ ให้คลิกเม้าส์ขวาที่ภาพ → Picture... จะปรากฎหน้าต่าง Picture ที่แท็บ Type ติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Ratio ก่อน จากนั้น ติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Width เพื่อเปลี่ยนการปรับขนาด จากเปอร์เซ็นต์(ของกรอบที่ครอบภาพ) เป็นขนาดคงที่ เมื่อย่อหรือขยายกรอบ(Frame)ภาพจะไม่ย่อหรือขยายขนาดตามอีก (ตัวอย่างตามภาพที่ 316) บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

207


ภาพที่ 316 : กําหนดให้ปรับขนาดกรอบแล้วภาพไม่ปรับขนาดตาม

ข. การใส่คําบรรยายอัตโนมัติ(AutoCaption) คําบรรยายอัตโนมัติ จริงๆแล้วสิ่งที่อัตโนมัติคือ ตัวเลขเรียงลําดับที่นับต่อกันอย่างอัตโนมัติ ตามลําดับของภาพที่มี ส่วน นี้เป็นตัวระบุว่าเป็นภาพที่เท่าไร ส่วนคําบรรยายนั้นยังคงต้องพิมพ์อยู่ โครงสร้างของคําบรรยายอัตโนมัตเิ ช่น ภาพที่ (ตัวเลขเรียงลําดับ) : คําบรรยาย(พิมพ์เองภายหลัง) เป็นต้น การใส่คําบรรยายอัตโนมัติ(AutoCaption) ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ก็คือ 1. การสร้างหมวดหมู่คําบรรยาย อัตโนมัติ 2. การใส่คําบรรยาย (ตามที่อธิบายไว้ไปในข้อ ก.) การสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติ ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice Writer → เมนูย่อย AutoCaption จากนั้นกําหนดคุณสมบัตติ ่างๆ ตาม ภาพ

ภาพที่ 317 : สร้างหมวดหมู่ของคําบรรยายอัตโนมัติ

208

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 317 กําหนดคุณสมบัติต่างๆไว้ ดังนี้ - ติ๊กที่กล่องตัวเลือก LibreOffice Writer Picture เพื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายของภาพ - ที่กรอบ Caption ช่อง Category พิมพ์ข้อความที่ต้องการให้ขึ้นอัตโนมัติ เช่น “รูปที่” - ที่กรอบ Caption ช่อง Numbering เลือกชนิดของตัวเลขเรียงลําดับ เช่น 1,2,3,... หรือ A,B,C,.... เป็นต้น - ที่กรอบ Caption ช่อง Separator พิมพ์ตัวขัน้ ที่ขั้นระหว่าง ส่วนที่ขึ้นอัตโนมัติกับ คําบรรยายที่พิมพ์เอง - ที่กรอบ Numbering cations by chapter ช่อง Level เลือกเป็น None (ไม่ใช้คุณสมบัติของโครงร่างเลขนํา) อื่นๆ (ที่ไม่ได้กําหนด) กรอบ Numbering cations by chapter : ใช้ กั บ เอกสารที่ ใ ช้ โ ครงร่ า งเลขนํา (Outline Numbering) เพื่ อ ใส่ คํา บรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท เช่น รูปที่ 1-2, รูปที่ 2-13 เลขตัวหน้าคือบทที่ - ตัวหลังคือลําดับของภาพในบท เป็นต้น (ดูรายละเอียดเรื่องโครงร่างเลขนํา ในบทที่ 23 หน้า 287) กรอบ Category and frame format : ใช้กําหนดการตกแต่งคําบรรยาย ช่อง Character Style ใช้เลือกสไตล์ตัว อักษรที่กํากับรูปแบบตัวอักษรของคําบรรยาย ขั้นตอนการใส่คําบรรยายอัตโนมัติ การใส่คําบรรยายอัตโนมัติใช้วิธีเดียวกับ การใส่คําบรรยายธรรมดา(ตามที่อธิบายไว้ในข้อ ก.) เพียงแต่ให้เลือกหมวดหมู่ คําบรรยายทีช่ ่อง Category ตามที่สร้างไป หลังใส่คําบรรยายอัตโนมัติแล้ว ส่วนที่เป็น ตัวเลขเรียงลําดับ จะมีสีเทาคาดอยู่ เพราะเป็นข้อมูลแบบฟิลด์ที่เปลี่ยนแปลง ตัวเองตามสถานะการณ์ ให้กด <Ctrl><F8> เพื่อซ่อนหรือแสดงแถบสีเทาดังกล่าว

ภาพที่ 318 : การใส่คําบรรยายอัตโนมัติ

สะดวกกว่านั้น เพียงลากภาพจากภายนอกมาวางในเอกสาร หรือ ไปที่ Insert → File... → (เลือกภาพ) คําบรรยาย อัตโนมัติก็ขึ้นแล้ว จากนั้นเพียงพิมพ์คําบรรยายเพิ่มเติมลงไป อย่างไรก็ดี การคัดลอกภาพจากภายนอกลงมาวางในเอกสาร คําบรรยายอัตโนมัติจะไม่ขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ปัญหา เพียงคัด ลอกคําบรรยายอัตโนมัติตวั ใดก็ได้ มาวางไว้ใต้ภาพ เลขลําดับก็จะนับต่อกันโดยอัตโนมัติ (ดูเพิ่มเติมใน Note-55)

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

209


55

การใช้งานคําบรรยายอัตโนมัติของผู้เขียน

เนื่องจากการใส่คําบรรยายให้กับภาพ จะสร้างกรอบมาครอบภาพไว้ดว้ ย ซึ่งไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าใดนักใน การปรับขนาดหรือการกําหนดตําแหน่งภาพ ฉะนั้นผู้เขียนจึงไม่ต้องการกรอบดังกล่าวเลย สิ่งที่ผู้เขียนทํา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็คือ ใส่คําบรรยายอัตโนมัติเพียงครั้งแรกเท่านั้น(ตามวิธีที่อธิบายไปในข้างต้น) จากนั้น คัดลอกภาพและคําบรรยายออกมาจากกรอบ แล้วลบกรอบทิ้งไป เมื่อจะใส่คําบรรยายให้กับภาพ ถัดไป ก็คัดลอกคําบรรยายทั้งชุดไปวางใต้ภาพ เลขลําดับก็จะนับต่อกันอย่างอันโนมัติ (ตัวอย่างตามภาพที่ 319) สิ่งที่เราต้องการ คือตัวเลขเรียงลําดับที่นับต่อกันอย่างอัตโนมัติ ส่วนข้อความนั้นแก้อย่างไรก็ได้ ฟิลด์ที่ถูกสร้าง เมื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติ จริงๆ แล้ว Writer ไม่ได้รู้ว่าตรงไหนเป็นภาพแล้วนับ 1 นับ 2 เรียงกันให้ การนับ 1,2,3,... เกิดขึ้นเพราะ ในขั้นตอน การสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติ Writer ได้สร้างฟิลด์ขึ้นมาตัวหนึ่ง มีชื่อเดียวกับชื่อของหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติที่ สร้างไว้ ฟิลด์ตัวนี้เป็นแบบ Number range(ช่วงของตัวเลข/ตัวเลขเรียงลําดับ ) เมื่อคัดลอกวางเรียงกัน ตัวเลขจะนับต่อกัน ข้อความรอบๆ ไม่มีผล

ภาพที่ 319 : คัดลอกคําบรรยายอัตโนมัติ วางเรียงกัน ตัวเลขเรียงลําดับนับต่อกันอย่าง อัตโนมัติ ภาพที่ 320 : Writer สร้างฟิลด์ เมื่อเราสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติ

แนะนําการสร้างสารบัญคําบรรยาย อีกสิ่งหนึ่งนอกจากฟิลด์ ที่ Writer สร้างให้อัตโนมัติ เมื่อหมวดหมู่คําบรรยาย อัตโนมัตถิ ูกสร้างขึ้น ก็คือ สไตล์ย่อหน้าที่มีชื่อเดียวกัน การสร้างสารบัญคําบรรยาย Writer จะตรวจสอบว่าย่อหน้าไหนใช้สไตล์ย่อหน้าที่ เป็นคําบรรยายอัตโนมัติบ้าง Writer ก็จะดึงข้อความทั้งย่อหน้ามาสร้างเป็นสารบัญ (ดูวิธี การสร้างสารบัญคําบรรยายในข้อ 24.4 หน้า 307) ภาพที่ 321 : Writer สร้างสไตล์ย่อหน้า เมื่อหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติถูกสร้าง

210

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


15.21 สร้างอักษรศิลป์ด้วย Fontwork Gallery Fontwork Gallery หรือ คลังอักษรศิลป์ ใช้สร้างข้อความที่มีการตกแต่งอย่างแปลกใหม่สวยงาม แตกต่างไปจากการ ตกแต่งตัวอักษรตามปกติ การใช้งาน Fontwork Gallery มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอน 1. คลิกทีป่ ุ่ม (Fontwork Gallery)บนแถบเครื่องมือรูปวาด(Drawing toolbar) จะปรากฎหน้าต่าง Fontwork Gallery 2. เลือกรูปแบบอักษรศิลป์ 3. คลิกปุ่ม OK จะได้ อักษรศิลป์บนเอกสาร 4. ดับเบิ้ลคลิกที่อักษรศิลป์ จะเข้าสู่โหมดพิมพ์ข้อความ จากนั้นลบข้อความเก่าแล้วพิมพ์ข้อความใหม่ลงไป 5. คลิกภายนอกอักษรศิลป์ เพื่อจบการพิมพ์ข้อความ

ภาพที่ 322 : ขั้นตอนการสร้างอักษรศิลป์

หลังสร้างอักษรศิลป์แล้ว สามารถปรับแต่งอักษรศิลป์ได้หลากหลายรูปแบบ ให้คลิกที่อักษรศิลป์ จะปรากฎแถบเครื่อง มือ 2 แถบ ก็คือ แถบเครื่องการตั้งค่าสามมิติ(3D-Settings) และ แถบเครื่องมืออักษรศิลป์ (Fontwork toolbar) แถบเครื่อง การตั้งค่าสามมิติ ใช้ปรับแสดงการแสดงผลแบบสามมิติ แถบเครื่องมืออักษรศิลป์ ใช้ปรับการวางแนวข้อความ

ภาพที่ 323 : แถบเครื่องมือการตั้งค่าสามมิติ(3D-Settings) และ แถบเครื่องมืออักษรศิลป์ (Fontwork toolbar) ตามลําดับ

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

211


ตัวอย่างการปรับแต่งอักษรศิลป์

ภาพที่ 324 : ต้วอย่างหลังการปรับแต่งอักษรศิลป์แบบต่างๆ

56

แก้ปัญหาอักษรศิลป์ภาษาไทยแสดงผลเพี้ยน

ในกรณีที่พิมพ์อักษรศิลป์ เป็นภาษาไทย แล้วแสดงข้อความเพี้ยนไป ตัวอย่างตามภาพที่ 325 ภาพที่ 325 : ภาษาไทยใน อักษรศิลป์เพี้ยน

วิธีแก้ก็คือ ให้เลือกฟอนต์ใหม่ โดยดับเบิ้ลคลิกที่อักษรศิลป์ จากนั้นเลือกข้อความทั้งหมด แล้วไปที่ Format → Character... หรือคลิกทีป่ ุ่ม (Character) บนแถบเครื่องมือวัตถุข้อความ(Text object toolbar - แถบเครื่องมือนี้จะปรากฎเมื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์ข้อความ) จะปรากฎหน้าต่าง Character ที่แท็บ Font เลือกฟอนต์ใหม่ให้กับฟอนต์ภาษาไทย ภาพที่ 326 : เลือกฟอนต์ สําหรับภาษาไทย เป็นฟอนต์ TH Fah kwang

ภาพที่ 327 : หลังแก้ภาษาไทย ทีแ่ สดงผลเพี้ยน

212

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


15.22 การเพิ่มภาพ ภาพลงในคลั ลงในคลังภาพ ภาพ((Gallery Gallery)) เราสามารถเพิ่มภาพลงในคลังภาพ(Gallery) เพื่อความสะดวกในการใส่ภาพที่ใช้บ่อยๆลงในเอกสาร ซึ่งสามารถเรียกใช้ ภาพจากคลังภาพได้จากทุกโปรแกรมในชุดของ LibreOffice การเพิ่มภาพลงในคลังภาพ มีอยู่ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ก็คือ 1. การสร้างอัลบั้มเก็บภาพ 2. การเพิ่มภาพลงในอัลบั้ม ขั้นตอนการสร้างอัลบั้มเก็บภาพ 1. ไปที่ Tools → Gallery หรือ คลิกที่ปุ่ม (Gallery)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน จะปรากฎคลังภาพ 2. คลิกปุ่ม New Theme... จะปรากฎหน้าต่าง Properties of New Theme 3. ที่แท็บ General ตั้งชื่ออัลบั้มเก็บภาพ 4. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎชื่ออัลบั้มภาพที่สร้างไป

ภาพที่ 328 : ขั้นตอนการสร้างอัลบั้มภาพ

ขั้นตอนการเพิ่มภาพลงในอัลบั้ม 1. คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่ออัลบั้ม → Properties... จะปรากฎหน้าต่าง Properties of New Theme 2. ที่แท็บ File คลิกปุ่ม Add จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกไฟล์ภาพที่จะโหลดไปเก็บในอัลบั้ม

ภาพที่ 329 : ขั้นตอนที่ 1-2

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

213


3. เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ 4. ทําซํ้า ข้อ 2-3 เพื่อเพิ่มภาพอื่นๆลงในอัลบั้ม 5. คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการเพิ่มภาพลงอัลบั้ม

ภาพที่ 330 : ขั้นตอนที่ 3-5

15.23 การเพิ่มสี เราสามารถผสมสีเอง แล้วเพิ่มเข้าไปในจานสีของ LibreOffice ซึ่งสีนี้จะปรากฎอยู่ในทุกที่ที่ให้เลือกสี เช่น การเลือกสี ตัวอักษร, สีพื้นหลัง, หรือสีเส้น เป็นต้น ขั้นตอนการเพิ่มสี 1. ไปที่ Tools → Option → เมนู LibreOffice → เมนูย่อย Colors จะปรากฎหน้าต่าง Options 2. ทีช่ ่อง Name พิมพ์ชื่อสีลงไป (คลิกเลือกสีใดก่อนก็ได้ จากนั้นลบชื่อเดิมออกแล้ว พิมพ์ชื่อใหม่ลงไป) 3. คลิกทีป่ ุ่ม Add เพื่อเพิ่มสีลงในจานสี แต่ทั้งนี้ สีที่เพิ่มเข้าไป ยังไม่ใช่สีทผี่ สมเอง จึงต้องแก้ไขสี 4. คลิกทีป่ ุ่ม Edit... จะปรากฎหน้าต่าง Color Picker เพื่อให้เลือกสีใหม่

ภาพที่ 331 : ขั้นตอนที่ 1-4

214

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


5. เลือกสี (เลือกโทนสีหลักก่อน จากนั้นจึงปรับความมืด-สว่าง) 5.1 เลือกโทนสีหลัก 5.2 ปรับความมืด-สว่าง (คล้ายการผสมสีขาวหรือสีดําลงไป) 6. คลิกปุ่ม OK จะกลับไปที่หน้าต่าง Options

ภาพที่ 332 : ขั้นตอนที่ 5-6

7. คลิกปุ่ม Modify เพื่อเปลี่ยนสี

ภาพที่ 333 : ขั้นตอน 7

หลังเพิ่มสีให้กับ LibreOffice จากนั้น เมื่อเลือกสีให้กับองค์ประกอบในเอกสาร สีดัง กล่าวก็จะปรากฎให้เลือก ตัวอย่างตามภาพที่ 334

ภาพที่ 334 : ปรากฎสีที่ผสมเองเมื่อเลือกสีให้กับองค์ประกอบในเอกสาร

บทที่ 15 : ภาพและรูปวาด

215


216

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 16 : หน้ำกระดำษ


16.1 รูปแบบ แบบหน้ หน้ากระดาษ กระดาษเริ เริ่มต้น ไปที่ Format→Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) เพื่อให้กําหนดคุณสมบัติต่างๆของหน้ากระดาษ ตามภาพที่ 335 การกําหนดคุณสมบัติต่างๆของหน้ากระดาษ จริงๆแล้วเป็นการกําหนดคุณสมบัติให้กับสไตล์หน้ากระดาษ (สังเกตุชื่อ สไตล์ที่แถบแสดงชื่อ) เมื่อเริ่มต้นสร้างเอกสารใหม่ เอกสารมีการจัดหน้ากระดาษไว้แล้ว เช่น เว้นระยะขอบโดยรอบ 2 ซม., ไม่มีหัวกระดาษ ,ไม่มีท้ายกระดาษ, หน้ากระดาษเป็นสีขาว เป็นต้น รูปแบบของหน้ากระดาษดังกล่าว ถูกกํากับรูปแบบโดย สไตล์หน้ากระดาษ Default (Page Style : Default) ซึ่งเป็นค่าปริยายที่โปรแกรมจัดหน้ากระดาษมาให้ก่อน ฉะนั้น การตั้งค่าหน้ากระดาษที่ทํา กันโดยปกติ เป็นการตั้งค่าให้กับสไตล์หน้ากระดาษ Default (ดูเรื่องสไตล์หน้ากระดาษ ในบทที่ 17 หน้า 229) ภาพที่ 335 : กําหนดคุณสมบัติ ต่างๆ ให้กับสไตล์หน้ากระดาษ Default

Writer สามารถใช้สไตล์หน้ากระดาษได้หลายตัวในเอกสารเดียวกัน หมายความว่า ในเอกสารเดียวกันสามารถ กําหนด คุณสมบัติของหน้ากระดาษแยกกันได้ โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษคนละตัว บางหน้าอาจเป็นแนวตั้ง บางหน้าอาจเป็นแนวนอน บางหน้ามีหวั กระดาษแบบหนึ่ง หรือ บางหน้ามีหัวกระดาษอีกแบบหนึ่ง เป็นต้น

16.2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) ที่แท็บ Page ใช้ตั้งค่าเกี่ยวกับหน้ากระดาษ

ภาพที่ 336 : แท็บ Page

กรอบ Paper format : ใช้กําหนดขนาดกระดาษ - ช่อง Format : ใช้เลือกขนาดกระดาษมาตรฐาน เช่น ขนาด A4 เป็นต้น - ช่อง Width : ความกว้างของหน้ากระดาษ - ช่อง Height : ความสูงของหน้ากระดาษ - ตัวเลือกวงกลม Orientation : ใช้เลือกการวางแนวกระดาษ เป็นแนวตั้ง(Portrait) หรือแนวนอน(Landscape)

218

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


กรอบ Margins : ใช้กําหนดระยะเว้นขอบกระดาษ สอดคล้องตามภาพที่ 337

ภาพที่ 337 : ค่าต่างๆของหน้ากระดาษ

กรอบ Layout setting : - ช่อง Page Layout : ใช้กําหนดวิธีการวางหน้ากระดาษ ตัวเลือกที่มีก็คือ Right and Left หน้ากระดาษหน้าซ้ายและขวามีลักษณะเหมือนกัน เหมาะกับงานเอกสารทั่วๆไป Mirrored หน้ากระดาษหน้าซ้ายและขวามีการเว้นขอบแบบกลับด้าน คล้ายเงาสะท้อนจากกระจก เหมาะกับงาน พิมพ์หนังสือที่ต้องเว้นระยะสันขอบเพื่อเข้าเล่ม (ดูเพิ่มเติมในข้อ 16.6 หน้า 224) Only Left มีแต่หน้าซ้ายหน้าเดียว มักจะใช้คกู่ ับ Only Right (ดูเพิ่มเติมในข้อ 16.7 หน้า 225) Only Right มีแต่หน้าขวาหน้าเดียว มักจะใช้คกู่ ับ Only Left (ดูเพิ่มเติมในข้อ 16.7 หน้า 225) - ช่อง Format : ใช้กําหนดรูปแบบของเลขหน้า เมื่อใส่ฟิลด์เลขหน้า (ดูเพิ่มเติมในข้อ 16.4 หน้า 221) - กล่องตัวเลือก Register-true : ใช้กําหนดให้แนวของบรรทัดข้อความ ของหน้ากระดาษด้านหน้ากับด้านหลังตรงกัน ป้องกันเงาดําจากการพิมพ์ 2 หน้าเมื่อมองจากอีกด้านหนึ่ง

16.3 หัวกระดา กระดาษษและ และท้ท้ายกระดาษ หัวกระดาษ(Header) และ ท้ายกระดาษ(Footer) คือส่วนที่อยู่ด้านบนและด้านล่างของหน้ากระดาษ ตามลํา ดับ เมื่อพิมพ์หรือใส่ภาพลงในพื้นที่ดังกล่าว จะปรากฎอยู่ในทุกหน้า(ที่ใช้สไตล์หน้ากระดาษเดียวกัน)

ก. การเปิดใช้หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ การเปิดใช้หวั กระดาษหรือท้ายกระดาษมี 2 วิธี วิธีที่ 1 : ใช้การคลิกเม้าส์ นํา ตั วชี้ เม้ า ส์ไ ปชี้ แถวๆ ขอบบนหรือ ขอบล่า งของหน้ า กระดาษ จะปรากฎเส้ นประและปุ่ ม Header(ชื่อ ไตล์ห น้า กระดาษ) จากนั้นคลิกที่ปุ่มดังกล่าว จะปรากฎพื้นที่ให้พิมพ์หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษทันที จากนั้นก็สามารถพิมพ์ข้อความ ลงในกรอบพื้นที่หวั กระดาษหรือท้ายกระดาษได้เลย บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

219


ภาพที่ 338 : การใส่หัวกระดาษ

วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) - ที่แท็บ Header ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Header on เพื่อเปิดใช้งานหัวกระดาษ - ที่แท็บ Footer ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Footer on เพื่อเปิดใช้งานท้ายกระดาษ ตัวอย่างตามภาพที่ 339 ในข้อ ข.

ข. การตั้งค่าหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) ทีแ่ ท็บ Header และ Footer ใช้ตั้งค่าเกี่ยว กับหัวกระดาษและท้ายกระดาษตามลําดับ

ภาพที่ 339 : แท็บ Header

คุณ สมบัติ ต่า งๆที่มี ให้ กํา หนดที่ แ ท็บ Header และ Footer มี เ หมื อนกัน หมด ดั งนั้น จึง อธิบ ายเฉพาะส่ วนชองหั ว กระดาษ ดังนี้ กล่องตัวเลือก Header on : เมื่อติ๊ก จะใช้เปิดใช้งานหัวกระดาษ กล่องตัวเลือก Same content left/right : หากถูกติ๊ก เนื้อหาในหัวกระดาษหน้าซ้ายและหน้าขวาจะเหมือนกัน ใน ทางตรงข้ามหากติ๊กออก จะสามารถพิมพ์ข้อความและจัดรูปแบบแยกกันได้ หน้าซ้ายเป็นแบบหนึ่ง หน้าขวาเป็นอีกแบบหนึ่ง

220

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขนาดและระยะของหัวกระดาษ : สอดคล้องตามภาพที่ 340

ภาพที่ 340 : ระยะต่างๆของ หัวกระดาษ

ปุ่ม More... : ใช้ตกแต่งหัวกระดาษเพิ่มเติม เมื่อคลิกที่ปุ่มนี้ จะปรากฎหน้าต่างมาให้ตกแต่งเส้นขอบและพื้นหลัง การกําหนดคุณสมบัติต่างๆ มีลักษณะเหมือ นกับเส้นขอบและพื้นหลังของตาราง ตามที่อธิบายไว้ในข้อ 14.11 การตกแต่งพื้น หลังตาราง(หน้า 163) และข้อ 14.12 การตกแต่งเส้นขอบตาราง(หน้า 164) ตัวอย่างการตกแต่งหัวตาราง

ภาพที่ 341 : ตัวอย่างการตกแต่งหัวตารางด้วยการขีดเส้นขอบและเงา

16.4 การใส่เลขหน้าอัตโนมัติในนหัหัวกระดา กระดาษษหรือท้ายกระดาษ เมื่อพิมพ์อะไรก็ตามลงในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ สิ่งนั้น จะปรากฎอยู่ทุกหน้า(ที่ใช้สไตล์หน้ากระดาษเดียวกัน ) ฉะนั้น การใส่เลขหน้าที่เปลี่ยนตัวเลขตามลําดับหน้าอัตโนมัติ จะต้องใช้ฟิลด์(Fields) เข้ามาช่วย

บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

221


ฟิลด์(Fields) เป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตามสถานการณ์ เช่น ฟิลด์เลขหน้า เมื่ออยู่ที่หน้าไหนก็แสดงเป็นตัวเลข ลําดับของหน้านั้น เป็นต้น (ดูเรื่องฟิลด์ในบทที่ 22 หน้า 269) การใส่เลขหน้าอัตโนมัติ จะต้องใส่ฟิลด์เลขหน้าลงไป ซึ่งสามารถทําได้ โดย คลิกภายในกรอบของหัวกระดาษหรือท้าย กระดาษ เพื่อระบุตําแหน่งที่จะแทรกฟิลด์(ย้ายภายหลังได้) จากนั้น ไปที่ Insert → Field → Page Number เพื่อแทรกฟิลด์เลขหน้า (เลขหน้าปัจจุบัน) ไปที่ Insert → Field → Page Count เพื่อแทรกฟิลด์นับจํานวนหน้า (นับจํานวนหน้าทั้งหมดในเอกสาร)

ภาพที่ 342 : ตัวอย่างฟิลด์เลขหน้าและฟิลด์นับจํานวนหน้า

ข้อมูลแบบฟิลด์ จะมีแถบสีเทาคาดอยู่ เช่น หน้า 3/25 หากต้องการซ่อนหรือแสดงแถบสีเทา ให้กด <Ctrl><F8>

16.5 การตกแต่งหน้ากระดาษ ก. การตกแต่งหน้ากระดาษ ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) คุณสมบัติในแท็บ Border ใช้สําหรับตกแต่ง เส้นขอบ แท็บ Background ใช้สําหรับตกแต่งพื้นหลังของหน้ากระดาษ การตกแต่งเส้นขอบและพื้นหลังของหน้ากระดาษ มีลักษณะเหมือ นกับการตกแต่งเส้นขอบและพื้นหลังของตาราง ตาม ที่อธิบายไว้ในข้อ 14.11 การตกแต่งพื้นหลังตาราง(หน้า 163) และข้อ 14.12 การตกแต่งเส้นขอบตาราง(หน้า 164) เพียงแต่ ให้มองว่าหน้ากระดาษ เปรียบเสมือนตาราง 1 ช่อง

ข. การใส่พื้นหลังเต็มหน้ากระดาษ เมื่อระบายสีสีหรือใส่ภาพให้กับพื้นหลังของหน้ากระดาษ สีหรือภาพบนพื้นหลังจะไม่ฟิตเต็มหน้ากระดาษ แต่จะอยู่ใน กรอบของแนวเว้นขอบกระดาษเท่านั้น หากต้องการใส่สีหรือใส่ภาพจนเต็มหน้ากระดาษ จะต้องตั้งระยะขอบกระดาษ(Margin) ทั้ง 4 ด้านให้เป็น 0 แต่ทั้งนี้จะ ส่งผลให้พื้นที่พิมพ์ข้อความอยู่ที่ริมกระดาษพอดีไปด้วย ซึ่งไม่ดีเลยสําหรับงานพิมพ์ อย่างไรก็ดี สามารถแก้ได้โดยการเว้นช่อง ว่างจากขอบถึงข้อความโดยรอบ เพื่อใช้งานแทนระยะเว้นขอบกระดาษได้ ซึ่งทั้งหมดสามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอน 1. ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) 2. ทีแ่ ท็บ Page ตั้งระยะขอบกระดาษ(Margins) เป็น 0 ทั้งหมด 3. ทีแ่ ท็บ Border 3.1 ทีก่ รอบ Line arrangement ใส่เส้นขอบให้กบั หน้ากระดาษโดยรอบเป็นสีขาว(หรือสีเดียวกับกระดาษ) 3.2 ทีก่ รอบ Spacing to content ใส่ระยะเว้นช่องว่าง จากขอบกระดาษถึงพื้นที่พิมพ์ข้อความ ค่าตรงนี้จะทํา หน้าที่แทนระยะเว้นขอบกระดาษ(Margin)

222

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 343 : ขั้นตอนการเตรียมการใส่พื้นหลังเต็มหน้ากระดาษ

หลังคลิกปุ่ม OK ถ้ายังไม่ได้ใส่พื้นหลัง จะมองไม่เห็นความแตกต่างของการเว้นขอบกระดาษเลย แต่ เมื่อใส่พื้นหลังให้ หน้ากระดาษ จะได้ผลตามภาพที่ 344(ขวา) ภาพพื้นหลังฟิตเต็มหน้ากระดาษาพอดี การใส่พื้นหลังเต็มหน้ากระดาษ ช่วยให้การจัดหน้า หน้ากระดาษ ดูเหมือนหนังสือที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามมากขึ้น (แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบด้วย) ภาพที่ 344(ซ้าย) เป็นภาพที่ออกแบบมาพอดีขนาด A4 เว้นหัวกระดาษไว้สําหรับพิมพ์ ข้อความและใส่เลขหน้า ภาพที่ 344(ขวา) เป็นหน้ากระดาษที่ใส่พื้นหลังด้วยภาพดังกล่าว และมีการพิมพ์ข้อความตามปกติ

ภาพที่ 344 : (ซ้าย) ภาพที่เตรียมไว้ (ขวา) ใส่ภาพที่เตรียมไว้เป็นพื้นหลังให้หน้ากระดาษ

บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

223


16.6 การ การวาง วางหน้ หน้ากระดาษแบบ Mirrored การวางหน้ากระดาษแบบ Mirrored(สะท้อนกระจกเงา) เหมาะสําหรับงานพิมพ์หนังสือ หรืองานเอกสารที่ต้องพิมพ์ทั้ง 2 หน้า ด้านหน้าและด้านหลัง โดยเว้นขอบด้านในไว้มากกว่าด้านนอก สําหรับเย็บสันหนังสือ ให้ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) ที่แท็บ Page ช่อง Page layout(การวาง หน้ากระดาษ) เลือกเป็น Mirrored จากนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่กรอบ Margins(ระยะขอบ) ก็คือ Left(ขอบซ้าย) เปลี่ยน เป็น Outer(ขอบนอก) และ Right(ขอบขวา) เปลี่ยนเป็น Inner(ขอบใน) ตามภาพที่ 345 โดยปกติการวางหน้ากระดาษแบบ Mirrored จะเว้นขอบใน(Inner) ไว้มากกว่าขอบนอก(Outer) เพราะขอบในคือส่วน ที่เป็นสันหนังสือ

ภาพที่ 345 : ตัง้ ให้วางหน้ากระดาษแบบ Mirrored

หลังวางหน้ากระดาษเป็นแบบ Mirrored แล้ว ให้คลิกที่มุมมองแบบหนังสือ ( การเว้นขอบกระดาษนอกกับขอบในอย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไร

ภาพที่ 346 : หน้าซ้ายและหน้าขวาในมุมมองแบบหนังสือ

224

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)

)ที่แถบแสดงสถานะ จะมองเห็น


57

ปลดล็อคให้เนื้อหาในหัวกระดาษหน้าซ้ายและหน้าขวาไม่ให้เหมือนกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่มักใช้กับการวางหน้ากระดาษแบบ Mirrored ก็คือ การกําหนดให้หัวกระดาษหน้าซ้ายและหน้าขวา ชิด คนละด้าน ข้อความที่หัวกระดาษหน้าซ้ายก็อยู่ชิดซ้าย ข้อความที่หัวกระดาษหน้าขวาก็อยู่ชิดขวา และทั้ง 2 ด้านมี เนื้อหาไม่เหมือนกัน การกําหนดดังกล่าว ให้ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) ที่แท็บ Header ติ๊ก ออกที่ กล่องตัวเลือก Same content left/right จากนั้นเมื่อพิมพ์ข้อความลงในหัวกระดาษหน้าซ้าย ก็จะไม่มีผล กับหัวกระดาษที่หน้าขวา

ภาพที่ 347 : หัวกระดาษหน้าซ้ายและหน้าขวาไม่เหมือนกัน

16.7 การ การวางหน้ วางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right (การวางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right จะกล่าวถึงการสร้างสไตล์หน้ากระดาษด้วย ให้ข้ามไปอ่าน บทที่ 17: สไตล์หน้ากระดาษ (Page Styles) ก่อน) การวางหน้ากระดาษแบบ Only Left คือ การวางหน้า กระดาษที่มีหน้าซ้ายหน้าเดียว ถ้าขึ้นหน้าใหม่ก็จะเป็นหน้าซ้าย ทั้งหมด หากใส่ฟิลด์เลขหน้า เลขหน้าจะมีลําดับเป็น 2,4,6,.... ข้าม หน้าคีไ่ ป หากดูในมุมมองแบบหนังสือ (คลิกที่มุมมองแบบหนังสือ ( )ทีแ่ ถบแสดงสถานะ) หน้าขวาจะขึ้นคําว่า Blank page (ตาม ภาพที่ 348) หมายถึงไม่มีหน้าดังกล่าว เวลาสั่งพิมพ์จะไม่มีหน้านี้ Only Right ก็มีลักษณะคล้ายกัน ภาพที่ 348 : วางหน้ากระดาษแบบ Only Left

“มีหน้าซ้ายหน้าเดียว หรือ มีหน้าขวาหน้าเดียว แล้วการวางหน้ากระดาษแบบนี้ เอาไว้ใช้ทําอะไร?” การวางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right ซับซ้อนขึ้นมาอีกจากแบบ Mirrored แต่ก็อิสระกว่าในการจัด รูปแบบให้กับหน้ากระดาษ การวางหน้ากระดาษแบบ Mirrored เหมาะสําหรับงานพิมพ์หนังสือก็จริง แต่มีข้อจํากัดข้อหนึ่งก็คือ เมื่อใส่พื้นหลังให้ หน้ากระดาษ พื้นหลังทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาจะเหมือนกัน ข้อจํา กัดข้อนี้ดูเหมือนเป็นประเด็นเล็กๆ แต่สํา หรับ ผู้ที่ใช้ Writer ในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือที่มีการออกแบบด้านความสวยงามเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ถือเป็นข้อจํากัดที่ ใหญ่ เพราะไม่สามารถใส่พนื้ หลังให้หน้าซ้ายและหน้าขวาแยกกันได้ ฉะนั้น กล่าวให้ถูก จริงๆแล้ว การวางหน้ากระดาษ แบบ Mirrored เหมาะกับงานพิมพ์หนังสือที่ไม่ตกแต่งพืน้ หลังหน้ากระดาษ

บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

225


Only Left และ Only Right เปรียบไปแล้วเหมือนกับตะเกียบ หากมีข้างเดียวตะเกียบจะไม่มีประโยชน์ เฉกเช่นเดียว กับ Only Left และ Only Right ต้องใช้คู่กัน แล้วจะสามารถจัดหน้ากระดาษสําหรับสิ่งพิมพ์ที่ซับซ้อนได้อย่างอิสระ ( หนังสือของผู้เขียนทุกเล่ม จัดหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right ) การนําการวางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right มาใช้ด้วยกัน จะต้องตั้งให้เมื่อขึ้นหน้าใหม่ ให้สลับไปใช้ การวางหน้ากระดาษอีกแบบหนึ่งโดยอัตโนมัติ ซึ่งต้องสร้างสไตล์หน้ากระดาษขึ้นมา 2 สไตล์ สํา หรับ Only Left ตัวหนึ่ง Only Right ตัวหนึ่ง แล้วตั้งให้ทั้ง 2 ไขว้กันเมื่อขึ้นหน้าใหม่อย่างอัตโนมัติ การใช้งานการวางหน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right 1. สร้างสไตล์หน้ากระดาษที่ 1 มีการวางหน้ากระดาษแบบ Only Left (ภาพที่ 349 ตั้งชื่อว่า WK_Page_Left) 2. สร้างสไตล์หน้ากระดาษที่ 2 มีการวางหน้ากระดาษแบบ Only Right ( ภาพที่ 349 ตั้งชื่อว่า WK_Page_Right)

ภาพที่ 349 : ขั้นตอนที่ 1-2

3. กลับไปทีส่ ไตล์หน้ากระดาษที่ 1 (WK_Page_Left) ที่แท็บ Organizer ช่อง Next style(สไตล์ถัดไป) เลือกเป็น สไตล์หน้ากระดาษที่ 2 (WK_Page_Right) 4. กลับไปทีส่ ไตล์หน้ากระดาษที่ 2 (WK_Page_Right) ที่แท็บ Organizer ช่อง Next style(สไตล์ถัดไป) เลือกเป็น สไตล์หน้ากระดาษที่ 1 (WK_Page_Left)

ภาพที่ 350 : ขั้นตอนที่ 3-4

226

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ข้อ 3 และ 4 เป็นการกําหนดให้เมื่อขึ้นหน้าใหม่ สไตล์หน้ากระดาษจะไขว้กันอย่างอัตโนมัติ ช่อง Next Style (ที่แท็บ Organizer) ใช้เลือกสไตล์หน้ากระดาษถัดไปเมื่อขึ้นหน้าใหม่ ปกติใช้สไตล์ไหน ขึ้นหน้าใหม่ก็จะเป็นสไตล์นั้น แต่กรณี นี้ตั้งให้ ไขว้กันระหว่าง 2 สไตล์

ภาพที่ 351 : ลักษณะการไขว้สไตล์หน้ากระดาษแบบ Only Left และ Only Right

เมื่อสร้างสไตล์ทั้ง 2 เสร็จและตั้งให้ไขว้กันแล้ว จากนั้น การจัดรูปแบบหน้ากระดาษของหน้าซ้ายและหน้าขวาจะแยก กัน สามารถใส่พื้นหลัง หัวกระดาษท้ายกระดาษ หรืออื่นๆ แยกอิสระต่อกัน เพราะถูกกํา กับรูปแบบด้วยสไตล์หน้ากระดาษ คนละตัว หน้าซ้ายถูกกํากับรูปแบบด้วยสไตล์หน้ากระดาษที่ 1 หน้าขวาถูกกํากับด้วยรูปแบบด้วยสไตล์หน้ากระดาษที่ 2

บทที่ 16 : หน้ากระดาษ

227


16.8 การแบ่งหน้ากระดาษเป็นสด สดมน์ มน์ การแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์ หรือแบ่งเป็นตั้งๆ ให้ไปที่ Format → Page... จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อ สไตล์) ทีแ่ ท็บ Columns กําหนดรูปแบบการแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์ตามต้องการ

ภาพที่ 352 : ตัง้ การแบ่ง หน้ากระดาษเป็นสดมน์

กรอบ Settings : ใช้กําหนดจํานวนสดมน์ กรอบ Width and Spacing : ใช้กําหนดความกว้างและการเว้นช่องว่างระหว่างสดมน์ - ช่อง Witdh : ใช้กําหนดความกว้างของแต่ละสดมน์ - ช่อง Spacing : ใช้กําหนดความกว้างของช่องว่างระหว่างสดมน์ - กล่องตัวเลือก AutoWidth : เมื่อถูกติ๊กความกว้างของแต่ละสดมน์จะเท่ากัน และกว้างจนเต็มหน้ากระดาษ กรอบ Separator line : ใช้กํา หนดรูปแบบของเส้นขีดแนวตั้ง ที่ขั้นระหว่างแต่ละสดมน์ เลือกรูปแบบเส้นได้ที่ช่อง Style จากนั้นจึงกําหนดสี ความหนา และอื่นๆ 58

การแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์ด้วยวิธีอื่นๆ

การแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์ดว้ ยวิธีการตั้งค่าหน้ากระดาษ จะมีผลต่อทุกหน้าที่ใช้สไตล์หน้ากระ ดาษนัน้ ๆ หากต้องการแบ่งข้อความเพียงบางส่วนในหน้ากระดาษเป็นสดมน์ ให้ใช้ กรอบ(Frame) หรือ ส่วน(Section) เข้ามาช่วย ดูรายละเอียดในบทที่ 18 หน้า 235 ตารางก็ใช้ได้ ง่ายและเร็ว เพียงซ่อนเส้นขอบโดยรอบ และตั้งระยะห่างระหว่างข้อความกับเส้น ขอบให้เป็น 0 ทั้งหมด

228

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 17 : สไตล์หน้ำกระดำษ (Page Styles)


17.1 สไตล์หน้ากระดาษ กระดาษคืคืออะไร สไตล์ (Styles) คือ รูปแบบขององค์ประกอบในเอกสารที่ถูกบันทึกไว้ เพื่อที่จะนํามาใช้จัดรูปแบบให้กับองค์ประกอบ ประเภทเดียวกันในภายหลัง เพื่ออํานวยความสะดวกที่ไม่ต้องทําซํ้ากระบวนการเดิมตั้งแต่ต้น จุดเด่นของสไตล์ สําหรับการใช้งานทั่วๆไปก็คือ ช่วยให้การจัดรูปแบบง่ายและเร็ว บริหารจัดการการจัดรูปแบบได้ง่าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนั้นสําคัญมาก นอกจากนี้เครื่องมืออื่นๆอีกหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออํานวยความสะดวก เครื่อง มือการใช้งานขั้นสูง, เครื่องมือพื้นฐาน ยังเรียกใช้หรืออ้างอิงสไตล์ด้วย ฉะนัน้ สไตล์จึงเป็นเรื่องสําคัญมาก สไตล์ใน Writer มีอยู่ 5 ประเภท(Categories) แต่ละประเภทหมายถึง องค์ประกอบใน Writer ที่สามารถบันทึกเป็น สไตล์ได้ สไตล์หน้ากระดาษ (Page styles) เป็นหนึ่งในนั้น ไปที่ Format → Styles and Formatting หรือ กด <F11> หรือคลิกที่ ปุ่ม (Styles and Formatting)บนแถบ เครืองมือจัดรูปแบบ จะปรากฎหน้าต่าง Styles and Formatting ตามภาพที่ 353

ภาพที่ 353 : หน้าต่าง Styles and Formatting

จากความหมายของสไตล์ สไตล์หน้ากระดาษ(Page Styles) จึงหมายถึงรูปแบบของหน้ากระดาษที่ถูกบันทึกไว้ ซึ่ง สามารถนํามาใช้จัดรูปแบบหน้ากระดาษให้เป็นแบบเดียวกัน โดยไม่ต้องทําซํ้ากระบวนการเดิมตั้งแต่ต้น การวางหน้ากระดาษแบบผสมไว้ในเอกสารเดียวกัน เช่น ส่วนหนึ่งเป็นแนวนอน ส่วนหนึ่งเป็นแนวตั้ง ส่วนหนึ่งมีหัว กระดาษแบบหนึ่ง อีกส่วนมีหัวกระดาษอีกแบบหนึ่ง ส่วนหนึ่งมีพื้นหลังเป็นภาพหนึ่ง อีกส่วนมีพื้นหลัง เป็น อีกภาพหนึ่ง เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวจะต้องใช้สไตล์หน้ากระดาษเข้ามาช่วย จึงจะสามารถทําได้

17.2 การสร้างงสไตล์ สไตล์หน้ากระดาษ การสร้างสไตล์หน้ากระดาษ จะต้องจัดหน้ากระดาษไว้เป็นต้นแบบก่อน จากนั้นจึงสร้างสไตล์หน้ากระดาษจากต้นแบบ สําคัญที่ต้องเลือกต้นแบบ และ เลือกหมวดของสไตล์ที่จะสร้างให้ถูก หน้ากระดาษต้นแบบจริงๆแล้วก็คือ สไตล์หน้ากระดาษต้นแบบ เพราะเมื่อไปที่คําสั่ง Format → Page... เพื่อจะจัดรูป แบบหน้ากระดาษ จะปรากฎหน้าต่าง Page Style : (ชื่อสไตล์) บ่งบอกว่าเป็นการตั้งค่าให้กับสไตล์หน้ากระดาษ ซึ่งปกติการ จัดหน้ากระดาษครั้งแรก จะจัดให้กับสไตล์หน้ากระดาษ Default ซึ่งเป็นสไตล์หน้ากระดาษที่ Writer มีมาให้ตั้งแต่ต้น

230

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


เมื่อเริ่มต้นสร้างเอกสารใหม่ เอกสารมีการจัดหน้ากระดาษไว้ แล้ว เช่น เว้นระยะขอบโดยรอบ 2 ซม., ไม่มีหัวกระดาษท้ายกระดาษ, หน้ากระดาษเป็นสีขาว เป็นต้น รูปแบบดังกล่าวถูกกํากับโดย สไตล์ หน้ากระดาษ Default (Page Style : Default) ซึ่งเป็นค่าปริยายที่ โปรแกรมจัดหน้ากระดาษมาให้ก่อน สังเกตุชื่อสไตล์หน้ากระดาษได้ที่ แถบบอกสถานะตามภาพที่ 354

ภาพที่ 354 : ชื่อสไตล์หน้ากระดาษที่แถบแสดงสถานะ

ขั้นตอนการสร้างสไตล์หน้ากระดาษ 1. ตั้งค่าหน้ากระดาษให้เรียบร้อย เพื่อสร้างเป็นหน้ากระดาษต้นแบบ 2. คลิกภายในหน้ากระดาษต้นแบบ 3. กด <F11> เพื่อเปิดหน้าต่าง Styles and Formatting 4. ทีห่ น้าต่าง Styles and Formatting 4.1 คลิกที่ปุ่ม (Page Styles) 4.2 คลิกปุ่ม (New Style from Selection) → New Style From Selection เพื่อสร้างสไตล์จาก ต้นแบบที่เลือก (สําหรับสไตล์หน้ากระดาษ การคลิกเม้าส์ก็ถือเป็นการเลือกแล้ว) จะปรากฎหน้าต่าง Create Style มาให้ตั้งชื่อสไตล์ 5. ตั้งชื่อสไตล์หน้ากระดาษ 6. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎชื่อของสไตล์ที่ตั้งไปในหน้าต่าง Styles and Formatting

ภาพที่ 355 : ขั้นตอนการสร้างสไตล์หน้ากระดาษ

17.3 การใช้งานสไตล์หน้ากระดาษ กระดาษมากกว่ มากกว่า 2 ในเอกสารเดียวกัน การใส่สไตล์หน้ากระดาษให้กับเอกสาร หากดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อสไตล์หน้ากระดาษในหน้าต่าง Style and Formatting เหมือนการใส่สไตล์อื่นๆ จะหมายถึงการเปลี่ยนสไตล์หน้ากระดาษปัจจุบัน ไปเป็นสไตล์ที่ถูกดับเบิ้ลคลิก ซึ่งวิธนี ี้ ไม่สามารถใส่ สไตล์หน้ากระดาษได้มากกว่า 2 ในเอกสารเดียวกัน การใส่สไตล์หน้ากระดาษมากกว่า 2 สไตล์ในเอกสารเดียวกัน ต้องใช้เครื่อง มืออื่นเข้ามาช่วย บทที่ 17 : สไตล์หน้ากระดาษ(Page Styles)

231


โดยปกติ เมื่อพิมพ์งานจนตัดขึ้นหน้าใหม่ หน้าใหม่จะมีสไตล์หน้ากระดาษ แบบเดียวกับหน้ากระดาษก่อนหน้า รูปแบบ ของหน้าใหม่จึงไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เป็นเพราะถูกกําหนดไว้ที่แท็บ Organizer ช่อง Next Style(ตามภาพที่ 356) หากที่ช่อง Next Style กําหนดเป็นสไตล์อื่น เมื่อขึ้นหน้าใหม่ หน้าต่อๆไปจะเปลี่ยนไปเป็นสไตล์อื่นไปตลอด

ภาพที่ 356 : ขึ้นหน้าใหม่ให้ใช้สไตล์ที่กําหนดในช่อง Next Style

หากต้องการขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์หน้ากระดาษใหม่ ที่ไม่ได้เป็นไปตามค่าในช่อง Next style สามารถทําได้ 2 วิธี

ก. ขึ้นหน้าใหม่ดว้ ยสไตล์ที่กําหนดเอง โดยใช้คําสั่ง Manual Break (วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด) คํา สั่ง Manual Break ใช้ตัดขึ้นหน้าใหม่ โดยกํา หนดให้หน้าใหม่ ใช้สไตล์หน้ากระดาษตามที่เรากํา หนดเอง และยัง สามารถกําหนดให้นับเลขหน้าใหม่ได้ด้วย ลักษณะของตําแหน่ง Manual เป็นไปตามภาพที่ 357

ภาพที่ 357 : ขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ทกี่ ําหนดเอง โดยใช้คําสั่ง Manual Break

ขั้นตอนการขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ทีกํ่ าหนดเอง โดยใช้คําสั่ง Manual Break

ภาพที่ 358 : ขั้นตอนการขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ทกี่ ําหนดเอง โดยใช้คําสั่ง Manual Break

232

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


1. คลิกที่หน้ากระดาษ เพื่อกําหนดตําแหน่งที่จะตัดขึ้นหน้าใหม่ หลังตําแหน่งตัวชี้พิมพ์ข้อความจะถูกตัดขึน้ หน้าใหม่ (ตามภาพที่ 358 หน้ากระดาษปัจจุบันใช้สไตล์ Default) 2. ไปที่ Insert → Manual Break... จะปรากฏหน้าต่าง Insert Break 3. ทีห่ น้าต่าง Insert Break 3.1 ติ๊กที่ตวั เลือกวงกลม Page Break เพื่อตัดขึ้นหน้าใหม่ 3.2 ทีช่ ่อง Style เลือกสไตล์หน้ากระดาษ ให้กับหน้าใหม่ (ตามภาพที่ 358 เลือกเป็นสไตล์ Landscape) 4. คลิกปุ่ม OK จะได้ผลตามภาพที่ 359 (หน้าใหม่เป็นแนวนอน)

ภาพที่ 359 : ผลหลังตัดขึ้นหน้าใหม่โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษที่กําหนดเอง

หลังทํา Manual Break จะปรากฎเส้น Page Break ขั้นระหว่างหน้ากระดาษ(ตามภาพที่ 359) เส้นนี้เป็นเส้นเดียวกับ เมื่อกด <Ctrl><Enter> เพื่อตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ และเส้นนี้หากนําเม้าส์ไปชี้ จะปรากฎปุ่มคําสั่งเพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนสไตล์ หน้ากระดาษให้กับหน้าใหม่ (ดูวิธีการยกเลิกหรือเปลี่ยนสไตล์ ได้ในข้อ 7.13 ก. การตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ หน้า 82)

ข. ขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ที่กําหนดเอง โดยการทํา Page Break การทํา Page Break เพื่อตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ โดยการกด <Ctrl><Enter>(ตามที่อธิบายไปในข้อ 7.13 ก. หน้า 82) และการขึ้นหน้าใหม่โดยใช้คําสั่ง Manual Break มีลักษณะคล้ายกัน Manual Break สามารถเลือกสไตล์ให้กับหน้าใหม่ได้เลย แต่การกด <Ctrl><Enter> จะตัดขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์เดิม อย่างไรก็ดี สามารถเลือกสไตล์ใหม่ได้ในภายหลัง ขั้นตอนการขึ้นหน้าใหม่ด้วยสไตล์ทีกํ่ าหนดเอง โดยการทํา Page Break (วิธีทําเหมือนกับทีอ่ ธิบายไว้ในข้อ 7.13 ก. จึงไม่ได้ใส่ภาพประกอบ) 1. คลิกที่หน้ากระดาษ เพื่อกําหนดตําแหน่งที่จะตัดขึ้นหน้าใหม่ 2. กด <Ctrl><Enter> เพื่อตัดย่อหน้าขึ้นหน้าใหม่ จะปรากฎเส้น Page Break ขั้นระหว่างหน้ากระดาษ 3. แก้ไข Page break เพื่อเลือกสไตล์หน้ากระดาษตามที่ต้องการ โดย 3.1 คลิกที่ปุ่มบนเส้น Page break → Edit Page Break จะปรากฎหน้าต่าง Paragraph 3.2 ที่แท็ป Text Flow กรอบ Breaks เลือกสไตล์หน้ากระดาษ 4. คลิกปุ่ม OK บทที่ 17 : สไตล์หน้ากระดาษ(Page Styles)

233


59

การแบ่งเอกสารเป็นบทๆ โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษ

วิธีหนึ่งในการแบ่งเอกสารหรือหนังสือออกเป็นบทๆ ก็คือ สร้างสไตล์หน้ากระดาษสําหรับแต่ละบทแยกกัน บทหนึ่งอาจใช้สไตล์หน้ากระดาษ 2-3 ตัว (หน้าแรก-หน้าซ้าย-หน้าขวา) ทําให้สามารถจัดรูปแบบ ใส่หัวกระดาษ หรือท้ายกระดาษของแต่ละบทแยกกันได้ วิธีในข้างต้น ออกจะใช้สไตล์หน้ากระดาษเปลืองสักหน่อย ซึง่ ตามมาด้วยการบริหารจัดการสไตล์หน้ากระดาษที่ มากตามไปด้วย แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แบ่งเอกสารหรือหนังสือออกเป็นบทๆ ที่บริหารจัดการง่ายกว่า ก็คือ โครงร่างเลขนํา(Outline Numbering) ดูรายละเอียดในบทที่ 23 หน้า 287

234

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 18 : กรอบ(Frame) และ ส่วน(Section)


18.1 กรอบ กรอบ(Frame) (Frame) กรอบ(Frame) ก็คือ กรอบสี่เหลี่ยมที่มีการใช้งานเสมือนเป็นกระดาษหน้าหนึ่ง ที่สามารถใส่อะไรลงไปในนั้นก็ได้ เช่น ข้อความหรือภาพ เป็นต้น กรอบสามารถกําหนดขนาด หรือย้ายไปวางตรงไหนก็ได้ได้อย่างอิสระ การสร้างกรอบ ให้ไปที่ Insert → Frame … จะปรากฎหน้าต่าง Frame ให้กําหนดคุณสมบัตขิ องกรอบ

ภาพที่ 360 : หน้าต่าง Frame

หลังคลิกปุ่ม OK จะปรากฎกรอบ 4 เหลี่ยมบนเอกสาร จากนั้นสามารถ คลิกภายในกรอบแล้วพิมพ์ข้อความหรือใส่ภาพลงไปได้

กรอบ(Frame)

สังเกตุแท็บต่างๆในหน้าต่าง Frame จะพบว่า มีเกือบทุกอย่างเหมือนที่ภ าพมี (ที่หน้าต่าง Picture มี) ภาพเปรียบ เสมือน 4 เหลี่ยมตัน กรอบ(Frame) เปรียบเสมือ น 4 เหลี่ยมกลวง ที่สามารถใส่อะไรลงไปก็ได้ การทํางานกับกรอบจึงคล้ายๆ กับการทํางานกับภาพ สามารถถูกห่อด้วยข้อความล้อมรอบได้ , ย่อขยายขนาดหรือย้ายตําแหน่งได้ด้วยวิธีเดียวกัน , ใช้ระบบ สมอในการอ้างอิงตําแหน่งเหมือนกัน, ตกแต่งเส้นขอบหรือพื้นหลังได้ เป็นต้น หลังสร้างกรอบแล้ว หากต้องการปรับแต่ง กรอบให้ คลิกเม้าส์ขวาที่กรอบ → Frame... หรือคลิกที่ปุ่ม (Frame Properties)บนแถบเครื่องมือกรอบ(Frame toolbar) จะปรากฎหน้าต่าง Frame มาให้ปรับแต่งคุณสมบัติของกรอบ การปรับขนาด การปรับขนาดกรอบใช้วิธีเดียวกับการปรับขนาดภาพ แต่พิเศษกว่า ก็คือ หากติ๊กที่ กล่องตัวเลือก AutoSize (ตามภาพ ภาพที่ 360) ช่อง Height จะเปลี่ยนเป็น Height (at least)-สูง(อย่างน้อย) กรอบจะปรับความสูงเองอัตโนมัติหากข้อความใน กรอบยาวเกินค่าที่ระบุ ในทางตรงกันข้าม หากติ๊กออกที่ กล่องตัวเลือก AutoSize กรอบจะมีขนาดตายตัว ถ้าข้อความยาวเกินขนาดกรอบ ข้อความจะแสดงไม่หมด การแบ่งกรอบเป็นสดมน์ กรอบสามารถถูกแบ่งเป็นสดมน์ ได้เหมือนกับการแบ่งหน้ากระดาษเป็นสดมน์ (ข้อ 16.8 หน้า 228) คุณสมบัติที่มีให้ กําหนดก็เหมือนกันทุกประการ แต่กรอบสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และใช้งานกับบางส่วนของหน้ากระดาษได้ การแบ่งกรอบเป็นสดมน์ ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่กรอบ → Frame... จะปรากฎหน้าต่าง Frame กําหนดคุณสมบัติการ แบ่งกรอบเป็นสดมน์ได้ที่แท็บ Columns

236

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 361 : ตัง้ การแบ่ง กรอบ(Frame)เป็นสดมน์

ตัวอย่างด้านล่าง ได้ใช้กรอบแบ่งเนื้อหาบางส่วนในเอกสารเป็นสดมน์

ผมเคยทานยาลดนํ้า หนั ก เมื่ อ ทาน เข้า ไปแล้วจะรู้สึกเบื่อ อาหาร ส่งผลให้ ทานน้ อ ยลง สามารถลดได้ 5 ก.ก. 60

ภายใน 2 อาทิตย์ แต่เมื่อหยุดทานยา นํ้าหนักตัวก็ดีดกลับขึ้นมาเท่าเดิม ที่แย่ ไปกว่านั้นก็คือ มันเพิ่มขึ้นไปอีก

ประสิทธิภ าพในทํา งานเป็นอย่างมาก นี่ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆที่ จะตามมาจากการใช้ยาลดนํ้าหนัก

การใช้ยาลดนํ้าหนัก เป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่มันเป็นผลจอมปลอม อีกทั้งยังส่งผล ต่ อ การดํา เนิ น ชี วิ ต ประจํา วั น มาก เพราะเมื่อทานเข้าไป หัวจะมึนๆตลอด สติ สั ม ปชั ญ ญะจึ ง ไม่ ค่ อ ยจะสมบู ร ณ์ เ รี่ ย ว แ ร ง ก็ ไ ม่ ค่ อ ย มี ส่ ง ผ ล ต่ อ

ถึ ง แม้ ผ ลของการใช้ ย าลดนํ้า หนั ก จะ ออกมาดังกล่าว แต่ผมก็ยังฝืนใช้วิธีนี้ 23 ครั้งด้วยกัน เพราะคาดหวังว่า ตนเอง จะเอาชนะผลกระทบของยาได้ แต่ทว่า ไม่เคยชนะได้สักครั้งเดียว และทุกครั้ง จะจบลงที่นํ้าหนักเพิ่มขึ้นเสมอ...

สไตล์กรอบ(Frame Style)

กรอบสามารถถูกบันทึกเป็นสไตล์ได้ดว้ ย ซึ่งมีขั้นตอนการสร้าง สไตล์กรอบ เหมือนกับสไตล์ย่อหน้า สไตล์ตัวอักษร หรือสไตล์ รายการ (ดูรายละเอียดในข้อ 13.3 หน้า 145 ) ภาพที่ 362 : คลิกที่ปุ่ม Frame Style

18.2 การลิงค์กรอบ รอบ(Frame) (Frame) กรอบ(Frame) เมื่ออยู่ที่หน้าใดก็จะอยู่ภายในหน้านั้นเท่านั้น ไม่สามารถขยายกรอบข้ามหน้ากระดาษได้ ฉะนั้น ใน กรณีที่ต้องการให้เนื้อหาในกรอบไหลข้ามจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ต้องสร้างกรอบอีกกรอบขึ้นมา แล้วลิงค์กับกรอบก่อน หน้า เพื่อให้ข้อความสามารถไหลจากกรอบหนึ่งไปยังอีกกรอบหนึ่งได้ การลิงค์กรอบสามารถทําได้ 2 วิธี บทที่ 18 : กรอบ(Frame) และ ส่วน(Section)

237


วิธีที่ 1 : ใช้ปุ่มบนแถบเครื่องมือกรอบ(Frame Toolbar) ขั้นตอน 1. คลิกเลือกกรอบที่ 1(กรอบเริ่มต้น) จะปรากฏแถบเครื่องมือกรอบ(Frame Toolbar) 2. คลิกทีป่ ุ่ม (Link Frame)บนแถบเครื่องมือกรอบ(Frame Toolbar) ตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป 3. เลื่อนตัวชี้เม้าส์ไปที่กรอบที่ 2 ตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป

(กรอบที่2 ต้องว่างๆ ไม่เช่นนั้นจะลิงค์ไม่ได้)

4. คลิกที่กรอบที่ 2 จะปรากฎเส้นประเชื่อมระหว่างกรอบ (ตามภาพที่ 363)

ภาพที่ 363 : หลังลิงค์กรอบปรากฎเส้นประเชื่อมระหว่างกรอบ

เมื่อพิมพ์ข้อความลงในกรอบแรกจนล้น หรือย่อขนาดกรอบลงจนไม่พอเก็บเนื้อหา(ตามภาพที่ 364) ข้อความจะไหลไป ยังกรอบถัดไปที่ลิงค์กันอยู่

ภาพที่ 364 : ข้อความไหลข้ามกรอบ

238

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


วิธีที่ 2 : ใช้หน้าต่าง Frame คลิกเม้าส์ขวาที่กรอบ → Frame... จะปรากฎหน้าต่าง Frame เลือกกรอบที่จะลิงค์ได้ทแี่ ท็บ Options ช่อง Previous Link : ใช้เลือกกรอบที่อยู่ก่อนหน้าที่จะลิงค์ด้วย ช่อง Next Link : ใช้เลือกกรอบที่อยู่ถัดไปที่จะลิงค์ด้วย ( กรอบที่จะลิงค์ต้องเป็นกรอบว่างๆ ไม่เช่นนั้นจะไม่ปรากฎรายการให้เลือก )

ภาพที่ 365 : เลือกกรอบที่จะลิงค์

18.3 ส่วนน((Section Section)) ส่วน(Section) คือบล็อคหรือกรอบประเภทหนึ่งที่สามารถพิมพ์ข้อความหรือ ใส่ภาพลงไปได้ นอกเหนือจากนี้ ส่วน ยัง สามารถกําหนดสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้ได้ด้วย 1. การป้องกันส่วน 2. ซ่อนสิ่งที่อยู่ในส่วน 3. ลิงค์ข้อความจากเอกสารอื่นเข้ามาใส่ในส่วน (เมื่อเอกสารที่ลิงค์กันอยู่เปลี่ยน ข้อความในส่วนก็เปลี่ยนด้วย) 4. แบ่งเป็นสดมน์ 5. ตกแต่งพื้นหลังหรือเส้นขอบ, ใส่ภาพ, พิมพ์ข้อความ เป็นต้น 6. ใส่เชิงอรรถ(Footnotes) และอ้างอิงท้ายเรื่อง(Endnoted) การสร้างส่วน ให้ไปที่ Insert → Section … จะปรากฎหน้าต่างมาให้กําหนดคุณสมบัตขิ องส่วน

ภาพที่ 366 : หน้าต่าง Insert Section

แท็บ Section ใช้กําหนดคุณสมบัติหลักๆของส่วน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กรอบ New Section : แสดงรายการของส่วนที่มีอยู่ทั้งหมด หากต้องการสร้างใหม่ให้พิมพ์ชื่อลงในช่องบนสุด จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Insert เพื่อใส่ส่วนลงในเอกสาร บทที่ 18 : กรอบ(Frame) และ ส่วน(Section)

239


กรอบ Link : ใช้ลิงค์เนื้อหาจากไฟล์อื่นๆเข้ามาใส่ในส่วน เมื่อเอกสารที่ลิงค์กันอยู่ปลี่ยน ข้อความในส่วนก็เปลี่ยนด้วย ให้คลิกที่ กล่องตัวเลือก Link จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เพื่อไประบุไฟล์เอกสารที่จะลิงค์กับส่วน หากไฟล์ที่ลิงค์เป็นไฟล์เอกสาร Writer(.odt)เหมือนกันและมีส่วนอยู่ด้วย ที่ช่อง Section จะปรากฎรายการของส่วนที่สามารถลิงค์กันได้ หรือก็คือ สามารถ ลิงค์ระหว่างส่วนแบบข้ามไฟล์เอกสารได้ กรอบ Write Protection : ใช้กําหนดการป้องกันไม่ให้แก้ไขส่วน ให้ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Protect ส่วนจะถูกป้องกัน ติ๊กที่ With Password จะปรากฎหน้าต่างให้ใส่รหัสป้องกัน การปลดล็อคการป้องกัน ให้เปิดหน้าต่าง Edit Sections(ตาม ภาพที่ 368) คลิกที่ชื่อส่วน จากนั้นติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Protect กรอบ Hide : เมื่อติ๊กที่ กล่องตัวเลือก Hide จะซ่อนส่วนจากการ แสดงและการพิมพ์ ช่อง With Condition ใช้ซ่อนส่วนตามเงื่อนไข เช่น ถ้า กรอกลงในช่องเป็น page==1 ส่วนจะถูกซ่อนถ้าส่วนอยู่ที่หน้า 1 เป็นต้น ( ดูวิธีการกําหนดเงื่อนไขได้ที่ http://help.libreoffice.org/Writer/Defining_Conditions) ส่วนที่ถูกซ่อน หากดูในหน้าต่าง Navigator(กด <F5>) ชื่อส่วนจะ เป็นสีเทาจางๆ ตามภาพที่ 367 การแสดงส่วนที่ถูกซ่อน ให้เปิดหน้าต่าง Edit Sections (ตามภาพที่ 368) คลิกที่ชื่อส่วน จากนั้นติ๊กออกที่กล่องตัวเลือก Hide

ภาพที่ 367 : ลักษณะของส่วนที่ถกู ซ่อน

กรอบ Properties : หากติ๊กที่กล่องตัวเลือก Editable in read-only mode เมื่อเปิดไฟล์เอกสารในโหมด Readonly(อ่านอย่างเดียว) ส่วนสามารถแก้ไขได้ การแก้ไขส่วน หลังสร้างส่วนแล้ว หากต้องการแก้ไข ให้ ไปที่ Format → Section… จะปรากฎหน้าต่าง Edit Sections ตามภาพที่ 368 หรือที่หน้าต่าง Navigator คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อส่วน → Edit... จะปรากฎหน้าต่างเดียวกัน

ภาพที่ 368 : หน้าต่าง Edit Sections

การลบส่วน ทีห่ น้าต่าง Edit Sections (ตามภาพที่ 368) ช่อง Section คลิกที่ชื่อส่วนจากนั้น คลิกที่ปุ่ม Remove

240

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 19 : กำรพิมพ์และส่งออก


19.1 มุมมองก่อนพิมพ์ ก. มุมมองก่อนพิมพ์ เมื่อคลิกที่ปุ่ม (Page preview)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน (หรือไปที่ File → Page Preview) จะเข้าสู่มุมมองก่อน พิมพ์ มุมมองนี้แสดงภาพรวมของหน้ากระดาษเหมือนพิมพ์ เมื่อเข้าสู่มุมมองก่อนพิมพ์ จะปรากฎ แถบเครื่องมือมุมมองก่อนพิมพ์(Page preview toolbar) เพิ่มเข้ามาให้อัตโนมัติ ใช้สําหรับดูเอกสารในมุมมองต่างๆ

ภาพที่ 369 : มุมมองก่อนพิมพ์

ข. แถบเครื่องมือมุมมองก่อนพิมพ์(Page preview toolbar)

ภาพที่ 370 : แถบเครื่องมือมุมมองก่อนพิมพ์(Page preview toolbar)

1 2 3 4 5 6 7

242

(Previous Page) ไปหน้าก่อนหน้า (Next Page) ไปหน้าถัดไป (To Document Begin) ไปหน้าแรก (To Document End) ไปหน้าสุดท้าย (Two Pages) เรียง 2 หน้า (Multipages) เรียงหลายหน้า–ตามกําหนด (Book Preview) มุมมองแบบหนังสือ

8 9 10 11 12 13

(Zoom In) ซูมเข้า (Preview Zoom) ซูมเป็นเปอร์เซ็นต์ (Zoom Out) ซูมออก (Full Screen) เต็มหน้าจอ <Shift><Ctrl><J> (Print) พิมพ์ (Close Preview) ปิดมุมมอง

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


19.2 การ การตัตั้งค่าการ การพิพิมพ์ การพิมพ์เอกสาร ให้ไปที่ File → Print… หรือกด <Ctrl><P> จะปรากฎหน้าต่าง Print แท็บ General

ภาพที่ 371 : แท็บ General

กรอบ Printer : ใช้เลือกเครื่อ งพิมพ์ คลิกที่ ปุ่ม Properties... เพื่อกํา หนดคุณสมบัติข องเครื่ อ งพิ มพ์ เช่น ขนาด กระดาษ, คุณภาพการพิมพ์ เป็นต้น กรอบ Range and Copies : - ตัวเลือกวงกลม All Pages ใช้กําหนดให้พิมพ์ทุกหน้า - ตัวเลือกวงกลม Pages ใช้กําหนดหน้าที่ต้องการพิมพ์ สามารถใช้ “,”(Comma) และ “-” เพื่อเลือกหน้าที่จะพิมพ์ ได้อย่างเจาะจง เช่น 1, 5, 11–14, 34–40 เป็นต้น - ตัวเลือกวงกลม Selection ใช้กําหนดให้พิมพ์เฉพาะหน้าที่เลือก - ช่อง Number of Copies ใช้ระบุจํานวนชุดที่จะพิมพ์ - กล่องตัวเลือก Collate ใช้กําหนดวิธีการพิมพ์ หากถูกติ๊กจะพิมพ์ เอกสารทั้งชุดทีละชุด หากติ๊กออก จะพิมพ์หน้าแรก ตามจํานวนชุดออกมาก่อน จากนั้นจึงพิมพ์หน้า 2 ตามจํานวนชุด และหน้าอื่นๆจนครบ กรอบ Print : ในกรอบ Print มีช่องเดียวก็คือ ช่อง Comments ใช้เลือกให้พิมพ์บันทึกข้อความด้วยหรือไม่ ถ้าจะ พิมพ์จะพิมพ์บันทึกข้อความไว้ที่ไหน เป็นต้น แท็บ LibreOffice Writer

ภาพที่ 372 : แท็บ LibreOffice Writer

บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

243


กรอบ Content : ใช้กําหนดเนื้อหาในเอกสารที่จะพิมพ์ กรอบ Color : หากติ๊กที่กล่องตัวเลือก Print text in black จะพิมพ์ข้อความเป็นสีดําทั้งหมดไม่ว่าจะกําหนดไว้เป็นสี อะไรก็ตาม กรอบ Pages : หากติ๊กที่กล่องตัวเลือก Print automatically insert blank pages จะแทรกหน้าว่าง(Blank pages) โดยอัตโนมัติ เหมาะกับเอกสารที่ วางโครงสร้างเป็นบทๆโดยใช้โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering) แล้วกําหนดให้วางหน้า แรกไว้ที่หน้าคี่อย่างเจาะจง (Only Right) หากบทก่อนหน้า จบที่หน้าคี่เหมือนกัน จะมีหน้าคู่ว่าง 1 หน้า ซึ่งเมื่อสั่งพิมพ์ตาม ปกติจะไม่มีหน้านั้น เลขหน้าจะนับข้ามหน้านั้นไป ส่งผลให้สารบัญอัตโนมัติผิดไปด้วย แท็บ Page Layout :

ภาพที่ 373 : แท็บ Page Layout

กรอบ Layout : หากติ๊ กที่ ตัวเลือกวงกลม Pages per sheet จะเป็นการกํา หนดการวางหน้ า เอกสารลงบนหน้ า กระดาษ เช่น วางแบบ 1, 2, 4, ถึง 16 หน้าเอกสารต่อกระดาษ 1 แผ่น เป็นต้น หากติ๊กที่ ตัวเลือกวงกลม Brochure จะพิมพ์เอกสารเพื่อเข้าเล่มแบบมุมหลังคา (เย็บแม็กซ์ที่กลางเล่ม ) หากทําเอกสารไว้ขนาด A4 จะออกมา A5 โดยโปรแกรมจะ ทําการสลับหน้ากระดาษให้อย่างอัตโนมัติ (ดูวิธพี ิมพ์โบรชัวร์ในข้อ 19.3) กรอบ Page sides : มีช่องเดียวคือ ช่อง Includes ใช้เลือกหน้าในเอกสารที่จะพิมพ์ เช่น พิมพ์หน้าซ้ายอย่างเดียว, พิมพ์หน้าขวาอย่างเดียว หรือพิมพ์ทั้งหมด แท็บ Options : ใช้กําหนดตัวเลือกอื่นๆ เช่น กล่องตัวเลือก Print to file จะพิมพ์เอกสารออกมาเป็นไฟล์ เหมาะกับ การทดสอบก่อนพิมพ์จริง เป็นต้น

ภาพที่ 374 : แท็บ Options

19.3 การพิมพ์โบรชัวร์ (Brochure) การพิมพ์โบรชัวร์ (Brochure) หรือ การพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก (Booklet) เป็นการพิมพ์เอกสารเพื่อ จุดประสงค์ในการ เข้าเล่มแบบมุมหลังคา หรือก็คือ การเข้าเล่มโดยเย็บแม็กซ์ที่กลางเล่ม

244

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การพิมพ์โบรชัวร์ หากทําเอกสารไว้ขนาด A4 เมื่อสั่งพิมพ์ จะออกมาเป็นขนาด A5 และโปรแกรมจะทําการสลับหน้า กระดาษให้อย่างอัตโนมัติสําหรับการเข้าเล่มโดยเฉพาะ ตัวอย่างตามภาพที่ 377 การพิมพ์โบรชัวร์ ให้ไปที่ File → Print.. หรือกด <Ctrl><P> จะปรากฎหน้าต่าง Print ที่แท็บ Page Layout ติ๊กที่ตัวเลือกวงกลม Brochure (ตามภาพที่ 375)

ภาพที่ 375 : ติก๊ ทีต่ ัวเลือกวงกลม Brochure

จากนั้นให้ทดสอบพิมพ์เป็นไฟล์ดูก่อน โดย ที่แท็บ Options ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Print to file (ตามภาพที่ 376) ปุ่ม Print ที่ด้าน ล่างจะเปลี่ยนเป็น Print to file... เมื่อคลิกที่ปุ่มดังกล่าวจะปรากฎ หน้าต่างมาให้ตั้งชื่อไฟล์ที่จะพิมพ์

ภาพที่ 377 : ตัวอย่างหลังพิมพ์เป็นโบรชัวร์ ภาพที่ 376 : สั่งพิมพ์เป์นไฟล์

ภาพที่ 377 เป็นตัวอย่างหลังพิมพ์เป็นโบรชัวร์ ทําเอกสารไว้ 10 หน้า หลังสั่งพิมพ์เหลือ 6 หน้า(3 แผ่น - ต้องพิมพ์ทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง)

19.4 การส่งออกเป็นไฟล์ PDF การส่งออกเป็นไฟล์ PDF เป็นการพิมพ์เอกสารแบบหนึ่ง คล้ายๆการพิมพ์ลงบนกระดาษ แต่เป็นการพิมพ์ออกมาเป็น ไฟล์ PDF ปุ่ม (Export Directly as PDF)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน ใช้ ส่งออก(Export)ทั้งเอกสารเป็นไฟล์ PDF แบบด่วน ตามการตั้งค่าหน้ากระดาษ หากต้องการส่งออกเป็น ไฟล์ PDF โดยกํา หนดรายละเอียดต่างๆ เช่น จํา นวนหน้า , หน้าที่จะพิมพ์ เป็นต้น ให้ไปที่ File → Export as PDF... จะปรากฏหน้าต่าง PDF Options มาให้กําหนดรายละเอียดต่างๆ(ตามภาพที่ 378) แท็บ General กรอบ Range : ใช้กําหนดจํานวนหน้าที่จะส่งออก กรอบ Images : ใช้กําหนดคุณภาพของภาพ (Lossless compression= บีบอัดโดยไม่ลดคุณภาพ) กรอบ Watermark : ใช้พิมพ์ข้อความลายนํ้าลงบนหน้ากระดาษ ให้ติ๊กที่กล่องตัวเลือก Sign with Watermark จาก นัน้ พิมพ์ข้อความลงในช่อง Watermark Text บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

245


ภาพที่ 378 : หน้าต่าง PDF Options ใช้กําหนดรายละเอียดในยการส่งออกเป็นไฟล์ PDF

แท็บ Initial ใช้กําหนดมุมมองเริ่มต้นเมื่อเปิดไฟล์ PDF กรอบ Panes : ใช้กําหนดให้แสดงอะไรบ้าง(ในครั้งแรกที่เปิด) เช่น เอกสาร(Page) เอกสารขนาดเล็ก(Thrumbnails) หรือ ที่ขนั้ หนังสือ(Bookmark) กรอบ Magnification : ใช้กําหนดการซูมหน้ากระดาษ (ในครั้งแรกที่เปิด) กรอบ Page layout : ใช้ กํา หนดการวางหน้ า กระดาษ (ในครั้ ง แรกที่ เ ปิ ด ) เช่ น Single Page(เรี ย งหน้ า เดี ย ว), Continuous(เรียงหน้าแบบต่อเนื่องกันลงมา) เป็นต้น แท็บ User Interface ใช้กําหนดโปรแกรมอ่านไฟล์ PDF ให้แสดงผลอย่างไร แท็บ Link ใช้กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับลิงค์ ในกรณีที่มีการสร้างลิงค์ไว้ แท็บ Security ใช้กําหนดการป้องกันไฟล์ PDF ซึ่งสามารถเลือกการป้องกันได้หลายประการ เช่น ป้องกันการเปิด ไฟล์, ป้องกันการพิมพ์, ป้องกันการแก้ไข เป็นต้น (ดูรายละเอียดในข้อ 19.5)

19.5 การ การป้ป้องกันไฟล์ PDF การส่งออกเอกสารเป็นไฟล์ PDF สามารถตั้งการป้องกันเอกสาร PDF ได้ด้วย โดยสามารถเลือกการป้องกันได้หลาย ประการ ขั้นตอนการส่งออกเอกสารเป็นไฟล์ PDF โดยมีการป้องกันไฟล์ (ตามภาพที่ 379) 1. ไปที่ File → Export as PDF... จะปรากฏหน้าต่าง PDF Options 2. ที่แท็บ Security คลิกทีป่ ุ่ม Set Password จะปรากฎหน้าต่างมาให้ใส่รหัสป้องกัน 3. ตั้งรหัส โดยรหัสมีอยู่ 2 ชุด ก็คือ - ชุดแรก(กรอบ Set Open Password) เป็นรหัสสําหรับการเปิดไฟล์ - ชุดที่สอง(กรอบ Set permission password) เป็นรหัสสําหรับการแก้ไขไฟไล์ 4. คลิกทีป่ ุ่ม OK จะกลับมาที่หน้าต่าง PDF Options 5. ที่หน้าต่าง PDF Options กําหนดระดับการอนุญาต - ทีก่ รอบ Print กําหนดการอนุญาตการพิมพ์ - ทีก่ รอบ Change กําหนดระดับการอนุญาตให้แก้ไขเอกสาร 6. คลิกทีป่ ุ่ม Export เอกสารจะถูกส่งออกและถูกป้องกันด้วยรหัสที่ได้ตั้งไป

246

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 379 : ขั้นตอนการส่งออกเอกสารเป็นไฟล์ PDF โดยมีการป้องกัน

19.6 การพิมพ์หหน้น้าซองจดหมาย ซองจดหมาย(Envelope) (Envelope) ก. การพิมพ์หน้าซองจดหมายที่มีเนื้อหาซํ้ากันหมด ขั้นตอนการพิมพ์หน้าซองจดหมาย 1. ไปที่ Insert → Envelope... จะปรากฎหน้าต่าง Envelope 2. แท็บ Envelope ใส่ที่อยู่ผู้รับ(Addressee)และผู้ส่ง(Sender)

ภาพที่ 380 : ขั้นตอนที่ 1 และ 2

บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

247


3. แท็บ Format กําหนดขนาดของซองจดหมาย(Size) ตําแหน่งเริ่มของกรอบผู้รับ(Addressee) และตําแหน่งเริ่มของกรอบผูส้ ่ง(Sender) ปุ่ม Edit... ใช้กําหนดรูปแบบตัวอักษร ซึ่งสามารถกําหนดในภายหลังได้

ภาพที่ 381 : ขั้นตอนที่ 3

4. แท็บ Printer กําหนดการวางแนวของซองจดหมายในเครื่องพิมพ์ (ทดลองดูก่อนจะดีที่สุด)

ภาพที่ 382 : ขั้นตอนที่ 4

5. คลิกทีป่ ุ่ม Insert โปรแกรมจะแทรกหน้าแรกเป็นซองจดหมาย (คลิกทีป่ ุ่ม New Doc. โปรแกรมสร้างเอกสารใหม่เป็นซองจดหมาย)

ภาพที่ 383 : ขั้นตอนที่ 5

248

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนในข้างต้น Writer ได้ทํา 2 อย่างเพื่อสร้างซองจดหมายขึ้นมา 1. แทรกหน้าแรกเป็นซองจดหมาย โดยหน้าดังกล่าวถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์หน้ากระดาษ Envelope ซึง่

เป็นสไตล์สําหรับซองจดหมายโดยเฉพาะ หากต้องการแก้ไขขนาดของซองจดหมาย สามารถแก้ที่สไตล์หน้า กระดาษ Envelope ได้ 2. สร้างกรอบ(Frame) ก็คือ กรอบใส่ชื่อที่อยู่ผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งสามารถย้ายตําแหน่ง เปลี่ยนขนาด ตกแต่งได้ เหมือนการทํางานกับกรอบ(Frame)ตามปกติ คลิกเม้าส์ขวาที่กรอบ → Frame... จะปรากฎหน้าต่าง Frame

ให้กําหนดคุณสมบัติต่างๆ ของกรอบ (ดูเรื่องกรอบ(Frame)ในข้อ 18.1 หน้า 236) การแก้ไขซองจดหมาย การแก้ ไ ขซองจดหมายสามารถแก้ ไ ขโดยตรงที่ ก รอบหรื อ ที่ ส ไตล์ ห น้ า กระดาษ Envelope หรื อ แก้ ไ ขโดยย้ อ น กระบวนการการสร้างซองจดหมายก็ได้ การแก้ไขซองจดหมาย ให้ไปที่ Insert → Envelope... จะปรากฎหน้าต่าง Envelope จากนั้นกําหนดค่าต่างๆ ใน การสร้างซองจดหมายใหม่ เหมือนกับขั้นตอนก่อนหน้า จากนั้นคลิกที่ ปุ่ม Modify เพื่อแก้ไขซองจดหมายที่สร้างไว้แล้ว

(ปุ่ม Modify จะปรากฎหากสร้างซองจดหมายไว้แล้ว) สําหรับข้อความในกรอบ สามารถแก้ได้ ตกแต่งได้ เหมือนการทํางานกับข้อความปกติ หลังสร้างซองจดหมายเสร็จแล้ว ก็สามารถสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ตามขั้นตอนปกติ

ข. การพิมพ์หน้าซองจดหมายจากแหล่งข้อมูล(Data Sources) (หัวข้อนี้ ใช้เทคนิคเดียวกับ การสร้างจดหมายเวียน ในบทที่ 20 หน้า 255) การพิมพ์หน้าซองจดหมายจากแหล่งข้อมูล(Data Sources) เป็นการจ่าหน้าซองจดหมายที่มีเนื้อหาไม่ซํ้ากัน เช่น

1 ซองต่อ 1 ผู้รับ เป็นต้น หากมีผู้รับจํานวนมาก เทคนิคนี้จะช่วยให้งานดังกล่าวง่ายขึน้ มาก การพิมพ์หน้าซองจดหมายด้วยวิธีนี้ ต้องใช้ฐานข้อมูลมาเป็นแหล่งข้อมูลในการพิมพ์ส่วนที่ไม่ซํ้า กัน เช่น ชื่อผู้รับที่แตกต่างกัน เป็นต้น (ดูวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ในข้อ 20.2 ก. การสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods หน้า 256) การพิมพ์หน้าซองจดหมายด้วยวิธีนี้ ต่างจากที่อธิบายในข้อ ก. เพียงแค่ขั้นตอนการใส่ที่อยู่ผู้รับและผู้ส่งเท่านั้น โดยจะใช้ การใส่ฟิลด์ขอ้ มูลจากฐานข้อมูลแทนการพิมพ์ข้อความ ตามขั้นตอนในภาพที่ 384

ภาพที่ 384 : ใส่ฟิลด์ข้อมูลจากฐานข้อมูลลงในช่องผู้รับ

บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

249


หลังสร้างซองจดหมาย ฟิลด์ข้อมูลที่ใส่ลงในจดหมาย จะปรากฎเป็นชื่อฟิลด์ เช่น <Title> เป็นต้น (ตามภาพที่ 385) เมื่อสั่งพิมพ์ซองจดหมาย ส่วนทีเ่ ป็นชื่อฟิลด์จะเป็นส่วนที่ไม่ซํ้ากัน เพราะ Writer จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใส่

ภาพที่ 385 : หน้าซองจดหมายหลังใส่ฟิลด์ข้อมูลจากฐานข้อมูลลงในช่องผู้รับ

อีกวิธีในการใส่ฟิลด์ข้อมูลลงในหน้าซองจดหมาย ก็คือ ใช้การลากที่ชื่อฟิลด์ลงมาวางในจดหมาย วิธีนี้ง่ายกว่า เห็น ผลชัดเจนกว่า สามารถทําได้ดังนี้ (ดูเพิ่มเติมในข้อ 20.2 ค. การสร้างจดหมายเวียน หน้า 261) ขั้นตอน 1. ไปที่ View → Data sources หรือกด <F4> หรือคลิก ที่ ปุ่ม (Data Sources)บนแถบเครื่ องมื อมาตรฐาน เพื่อเปิดแหล่งข้อมูล 2. เลือกฐานข้อมูล และ เลือกตารางในฐานข้อมูล 3. คลิกค้างทีช่ ื่อฟิลด์(ในแหล่งข้อมูล) แล้วลากมาวางในเอกสาร จะปรากฎชื่อฟิลด์ เช่น <Title> เป็นต้น

ภาพที่ 386 : การใส่ฟิลด์จากแหล่งข้อมูลลงในเอกสาร

250

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การสั่งพิมพ์ซองจดหมายหรือเอกสารที่มีการใช้ฟิลด์ข้อมูล มีวิธีพิเศษสําหรับกรณีนี้โดยเฉพาะ ให้ดูวิธีการพิมพ์ในข้อ 20.2 ง. การพิมพ์จดหมายเวียน หน้า 261 ภาพที่ 387 เป็นผลหลังพิมพ์หน้าซองจดหมายที่ ใช้ฟิลด์ข้อมูลจากฐานข้อมูล จํา นวนซองจดหมายมีเท่ากับจํา นวน บรรทัด(Record)ในฐานข้อมูล เนื้อความของจดหมายส่วนที่ไม่ซํ้าเปลี่ยนไปตามฟิลด์ในฐานข้อมูล ชื่อของผู้รับจึงไม่ซํ้ากันเลย

ภาพที่ 387 : หลังพิมพ์ซองจดหมาย

19.7 การพิมพ์ฉลาก (Label (Labelss) ฉลาก(Labels) ในที่นี้หมายถึง ป้ายสติ๊กเกอร์ขนาดเล็กหลายๆป้าย ที่เรียงกันบนหน้ากระดาษแผ่นเดียว

ก. การพิมพ์ฉลากที่มีเนื้อหาเหมือนกันหมด ขั้นตอนการพิมพ์ฉลาก 1. ไปที่ File → New → Labels... จะปรากฎหน้าต่าง Labels 2. แท็บ Label ช่อง Label text พิมพ์ข้อความลงไป (ตามภาพที่ 388 ข้อความคือ “ราคา 299.-”)

ภาพที่ 388 : ขั้นตอนที่ 1 และ 2

บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

251


3. แท็บ Format กําหนดขนาดฉลาก ขนาดกระดาษ และระยะช่องว่าง การตั้งค่าตามภาพที่ 389 ฉลาก 1 ป้ายมีขนาด 5x1.9 ซม. กระดาษทั้งแผ่นมีฉลากจํานวน 3 สดมน์ 10 แถว

ขนาดกระดาษฉลากทั้งหน้ามีขนาด 22.2x16.8 ซม. ระยะห่างระหว่างแต่ละฉลาก คือ 0.3 ซม. ช่อง Horizontal pitch คือ ความกว้างฉลาก+ช่องว่างระหว่างฉลาก = 5+0.3 = 5.3 cm ช่อง Vertical pitch คือ ความสูงฉลาก+ช่องว่างระหว่างฉลาก = 1.9+0.3 = 2.2 cm ช่อง Width คือ ความกว้างฉลาก = 5 cm ช่อง Height คือ ความสูงฉลาก = 1.9 cm ช่อง Left margin คือ ระยะเว้นขอบกระดาษจากทางซ้าย = 0.7 cm ช่อง Top margin คือ ระยะเว้นขอบกระดาษจากด้านบน = 0.3 cm ช่อง Columns คือ จํานวนสดมน์ของป้ายฉลาก = 3 cm ช่อง Rows คือ จํานวนแถวของป้ายฉลาก = 10 cm ช่อง Page width คือ ความกว้างของกระดาษฉลากทั้งหน้า = 16.8 cm ช่อง Page Height คือ ความสูงของกระดาษฉลากทั้งหน้า = 22.2 cm

ภาพที่ 389 : ขั้นตอนที่ 3

4. แท็บ Options กําหนดวิธีพิมพ์ เช่น พิมพ์ทั้งหน้า(Entire page) หรือ พิมพ์เพียง 1 ฉลาก(Single label)โดยเลือก ว่าจะพิมพ์ลงบนป้ายไหน (สดมน์ที่เท่าไร? แถวที่เท่าไร? กําหนดที่ช่อง Column และ Row ตามลําดับ)

ภาพที่ 390 : ขั้นตอนที่ 4-5

5. คลิกทีป่ ุ่ม New Document โปรแกรมจะสร้างเอกสารใหม่ ที่แบ่งฉลากออกเป็นบล็อค (ตามภาพที่ 391)

252

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 391 : เอกสารพร้อม พิมพ์ฉลาก

แต่ ละบล็ อ คของฉลากในเอกสาร สร้ างมาจากกรอบ(Frame) ซึ่ งสามารถเข้ า ไปแก้ สี แก้ตัว อัก ษรได้ ต ามสะดวก นอกจากนี้อาจจะแก้ระยะขอบซ้าย หรือขอบขวาบ้างเล็กน้อยก่อนพิมพ์ กรอบ(Frame)ของป้ายฉลากทุกกรอบ ถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์กรอบ Label หากต้องการตกแต่งหรือแก้ไขกรอบ ให้แก้ที่ไสตล์กรอบ Label จะสะดวกที่สุด เพราะมีผลต่อทุกๆกรอบในครั้งเดียว

ข. การพิมพ์ฉลากจากแหล่งข้อมูล(Data sources) (หัวข้อนี้ ใช้เทคนิคเดียวกับ การสร้างจดหมายเวียน ในบทที่ 20 หน้า 255) การพิมพ์ฉลากจากแหล่งข้อมูล(Data Sources) เป็นการพิมพ์ฉลากที่แต่ละป้ายฉลากมีเนื้อหาไม่ซํ้ากัน เช่น 1 ฉลากต่อ 1 ข้อความ หากต้องพิมพ์ฉลากเป็นจํานวนมากที่เนื้อหาไม่เ หมือนกัน แต่มาจากตารางข้อมูลเดียวกัน เทคนิคที่อธิบายในหัวข้อ นี้จะช่วยให้งานดังกล่าวง่ายขึ้นมาก การพิมพ์ฉลากจากแหล่งข้อมูล ต้องใช้ฐานข้อมูลมาเป็นแหล่งข้อมูลในการพิมพ์ (ดูวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ในข้อ

20.2 ก. การสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods หน้า 256) การพิมพ์ฉลากจากแหล่งข้อมูล ต่างจากที่อธิบายในข้อ ก. เพียงแค่ขั้นตอนการพิมพ์ข้อความเท่านั้น โดยจะใช้ การใส่ ฟิลด์ขอ้ มูลจากฐานข้อมูลแทนการพิมพ์ข้อความ ตามขั้นตอนในภาพที่ 392

ภาพที่ 392 : ใส่ฟิลด์ข้อมูลลงในฉลาก

หลังสร้างฉลากจากฐานข้อมูล ฟิลด์ข้อมูลที่ใส่ลงในฉลาก จะปรากฎเป็นชื่อฟิลด์ เช่น <Title> เป็นต้น (ตาม ภาพที่ 393) เมื่อสั่งพิมพ์ซองจดหมาย ส่วนที่เป็นชื่อฟิลด์ข้อมูลจะเป็นส่วนที่ไม่ซํ้า กัน เพราะ Writer จะดึงข้อมูลจากฐาน ข้อมูลมาใส่ บทที่ 19 : การพิมพ์และส่งออก

253


ภาพที่ 393 : ฉลากหลังใส่ฟิลด์ข้อมูลจากฐานข้อมูล

การสั่งพิมพ์ฉลากหรือเอกสารที่มีการใช้ฟิลด์ข้อมูล มีวิธีพิเศษสําหรับกรณีนี้โดยเฉพาะ ให้ดูวิธีการพิมพ์ในข้อ 20.2 ง. การพิมพ์จดหมายเวียน หน้า 261 ภาพที่ 394 เป็นผลหลังพิมพ์ฉลาก แต่ละฉลากดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูล ฉลากจึงไม่ซํ้ากันเลย

ภาพที่ 394 : หลังพิมพ์ฉลาก

254

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 20 : จดหมำยเวียน (Mail-merge)


20.1 จดหมายเวียน (Mail merge) จดหมายเวียน (Mail-merge) คือ เอกสารหรือจดหมายที่มีเนื้อหาซํ้าๆ แต่มีเพียงบางส่วนของเนื้อหาแตกต่างกัน เช่น จดหมายขอบคุณ ที่ส่งถึงผู้รับ 500 คน เนื้อหาจดหมายเหมือนกันหมด ต่างกันที่รายละเอียดของผู้รับ เป็นต้น จากตัวอย่างในข้างต้น หากสร้างจดหมายดังกล่าวด้วยกระบวนการปกติ ต้องสร้างจดหมาย 500 หน้าและต้องพิมพ์ราย ละเอียดของผู้รับเองทุกหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เทคนิคของจดหมายเวียนที่อธิบายไว้ในบทนี้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ งานดังกล่าวง่ายขึ้น โดยสามารถกําหนดเนื้อหาส่วนที่แตกต่างกันได้ง่ายๆ

20.2 การสร้างจดหมายเวียน การสร้างจดหมายเวียน มีอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ก็คือ 1. สร้างฐานข้อมูล (ข้อ ก.) 2. สร้างจดหมายเวียน (ข้อ ค.) 3. พิมพ์จดหมายเวียน (ข้อ ง.)

ก. การสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods ส่วนที่แตกต่างกันในเนื้อหาของจดหมายเวียน จะถูกแทนที่ดว้ ยข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้กับ LibreOffice ในตัวอย่างนี้ จะสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods (ที่สร้างด้วย Calc) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ภาพด้านล่างเป็นตารางข้อมูล ของไฟล์ .ods ที่จะนํามาสร้างจดหมายเวียน

ภาพที่ 395 : ข้อมูลในไฟล์ .ods

ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้งานโปรแกรม LibreOffice Base ด้วย แต่ใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น 61

การใช้งาน LibreOffice Base จะต้องติดตั้ง JRE

การสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม LibreOffice Base จะต้องติดตั้ง JRE ไว้ด้วย ซึ่งปกติจะติดตั้งมาด้วยอยู่ แล้ว (ดูเพิ่มเติมในข้อ 1.4 การติดตั้ง LibreOffice บน Windows หน้า 25 )

256

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ODS 1. ที่ Writer ไปที่ File → New → Database... จะปรากฎหน้าต่าง Database Wizard 2. Steps 1 : Select database (เลือกฐานข้อมูล) 2.1 ติ๊กที่ ตัวเลือกวงกลม Connect to an existing database(ติดต่อกับฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว) และเลือกเป็น Spreadsheet เพื่อสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ตารางคํานวณ อย่างเช่น .ods หรือ .xls เป็นต้น 2.2 คลิกปุ่ม Next เพื่อไปที่ Step 2

ภาพที่ 396 : ขั้นตอนที่ 1 และ 2

3. Steps 2 : Setup Spreadsheeet connection (ตั้งการเชื่อมต่อกับไฟล์ตารางคํานวณ) 3.1 คลิกที่ปุ่ม Browse... จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกไฟล์ตารางคํานวณ 3.2 เลือกไฟล์ .ods (ตามภาพที่ 397 ไฟล์ที่เลือกก็คือ DB_Customer_Names.ods) 3.3 คลิกที่ปุ่ม Open จะกลับมาที่หน้าต่าง Database Wizard 3.4 คลิกปุ่ม Next เพื่อไปที่ Step 3

ภาพที่ 397 : ขั้นตอนที่ 3

บทที่ 20 : จดหมายเวียน(Mail-merge)

257


4. Steps 3 : Save and proceed (บันทึกและดําเนินการ) 4.1 ติ๊กที่ตัวเลือกวงกลม Yes, register the database for me เพื่อลงทะเบียนฐานข้อมูลดังกล่าวกับ LibreOffice ผลก็คือ ฐานข้อมูลจะปรากฎอยู่ในแหล่งข้อมูล(Data Source)ในทุกโปรแกรมของ LibreOffice 4.2 คลิกปุ่ม Finish จะปรากฎหน้าต่างมาให้ตั้งชื่อไฟล์ฐานข้อมูล 4.3 ตั้งชื่อไฟล์ฐานข้อมูล(ไฟล์นามสกุล .odb) และระบุตําแหน่งเก็บไฟล์ดังกล่าว 4.4 คลิกทีป่ ุ่ม Save เพื่อบันทึกไฟล์

ภาพที่ 398 : ขั้นตอนที่ 4

5. ไฟล์ฐานข้อมูลที่บันทึก จะถูกเปิดด้วย LibreOffice Base ขึ้นมาให้ดู

ภาพที่ 399 : ฐานข้อมูลที่ถูกสร้าง

ตรวจสอบแหล่งข้อมูล(Data sources) ใน Writer หลังสร้างฐานข้อมูลและลงทะเบียนแล้ว จะสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวได้ผ่านทางแหล่งข้อมูล(Data Sources) ให้เปิดโปรแกรม LibreOffice Writer แล้วเปิดแหล่งข้อมูลออกมาดู โดยไปที่ View → Data sources หรือกด <F4> หรือ คลิกทีป่ ุ่ม (Data Sources)บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน จะปรากฏรายการฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้กับ LIbreOffice

258

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ที่แหล่งข้อมูล ให้ตรวจสอบว่ามีชื่อฐานข้อมูลที่ได้สร้างไปหรือไม่ ? ถ้ามี ให้คลิกที่ชื่อตารางในฐานข้อมูล เพื่อดูว่ามี ข้อมูลหรือไม่? (ชื่อตารางในฐานข้อมูลใช้ชื่อเดียวกับชื่อชี้ทในไฟล์ .ods) เท่านี้ก็พร้อมสร้างจดหมายเวียนแล้ว

ภาพที่ 400 : แหล่งข้อมูล

ข. การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น ไฟล์ .ods และ ไฟล์ .odb ลิงค์กันอยู่ การสร้างฐานข้อมูลจากไฟล์ .ods ในข้างต้น ไฟล์ฐานข้อมูล(.odb)ที่ได้ จะลิงค์อยู่กับไฟล์ .ods ดังนัน้ การเปลี่ยนแปลง ที่ไฟล์ .ods จะมีผลให้ไฟล์ .odb เปลี่ยนแปลงด้วย การลบ การปลี่ยนชื่อ หรือการย้ายไฟล์ .ods จะทําให้ลิงค์เสีย แต่ข้อมูลในฐานข้อมูลยังอยู่ เพียงแต่จะไม่อัพเดทตาม ไฟล์ .ods ได้อีกแล้ว กรณีย้ายไฟล์ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ .ods จะต้องตามไปผูกลิงค์ใหม่ ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการผูกลิงค์ระหว่างไฟล์ .ods กับไฟล์ .odb 1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ .odb จะเปิดไฟล์ดังกล่าวด้วย LibreOffice Base ขึ้นมา 2. ไปที่ Edit → Database → Properties .. จะปรากฎหน้าต่าง Database Properties (ตามภาพที่ 401) 3. คลิกที่ปุ่ม Browse จะปรากฎหน้าต่างมาให้ระบุตําแหน่งไฟล์ .ods ทีถ่ ูกย้ายตําแหน่งหรือถูกเปลี่ยนชื่อ 4. คลิกที่ปุ่ม OK

ภาพที่ 401 : หน้าต่าง Database Properties

ภาพที่ 401 ปุ่ ม Test Connection ใช้ สํา หรั บ ตรวจสอบการลิ ง ค์ ถ้ า ไฟล์ .ods และ .odb ลิ ง ค์ กั น ได้ จ ะปรากฎ ข้อความตามภาพที่ 402 ก็คือ “การเชื่อมต่อสําเร็จ”

บทที่ 20 : จดหมายเวียน(Mail-merge)

259


ภาพที่ 402 : ไฟล์ .ods และ .odb ยังลิงค์กันอยู่

ดูฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้กับ LibreOffice ให้ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice Base → เมนูย่อย Database จะปรากฎหน้าต่าง Options ตามภาพ ที่ 403 ที่กรอบ Registered databases แสดงรายการและตําแหน่งไฟล์ฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้กับ LibreOffice

ภาพที่ 403 : รายการฐานข้อมูล

การจัดการเมื่อมีการย้ายไฟล์ฐานข้อมูล(ไฟล์.odb) ในกรณีมีการย้ายไฟล์ฐานข้อมูล(ไฟล์.odb) จะต้องตามไปผูกตําแหน่งใหม่ที่ย้ายไปด้วย ไม่เช่นนั้น LibreOffice จะหา ฐานข้อมูลดังกล่าวไม่เจอ ให้ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice Base → เมนูย่อย Database จะปรากฎหน้าต่าง Options (ตามภาพที่ 403) จากนั้น คลิกที่ปุ่ม Edit.. จะปรากฎหน้าต่าง Edit Database Link(ตามภาพที่ 404) คลิกที่ปุ่ม Browse จะปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกไฟล์ .odb ทีอ่ ยู่ในตําแหน่งใหม่

ภาพที่ 404 : หน้าต่าง Edit Database Link

การลบฐานข้อมูลออกจากแหล่งข้อมูล การลบฐานข้อมูลออกจากแหล่งข้อมูล มีอยู่ 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. ลบลิงค์หรือลบ Registered databases ออก ให้ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice Base → เมนูย่อย Database จะปรากฎหน้าต่าง Options ตาม ภาพที่ 403 ให้คลิกเลือกฐานข้อมูล จากนั้นคลิกทีป่ ุ่ม Delete เพื่อลบการลงทะเบียน(แต่ไฟล์ยังอยู่) 2. ลบไฟล์ .odb ออก (ตามลิงค์ที่แสดง)

260

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ค. การสร้างจดหมายเวียน ขั้นตอน 1. พิมพ์เนื้อความจดหมาย (ส่วนซํ้ากัน) 2. ไปที่ View → Data sources หรือ กด <F4> หรือ คลิ กที่ ปุ่ม (Data Sources)บนแถบเครื่อ งมื อ มาตรฐาน เพื่อเปิดแหล่งข้อมูล 3. ใส่ฟิลด์ข้อมูลลงในจดหมาย(ส่วนที่ไม่ซํ้ากัน) 3.1 เลือกฐานข้อมูล และ เลือกตารางในฐานข้อมูล 3.2 คลิกค้างที่ชื่อฟิลด์(ในแหล่งข้อมูล) แล้วลากมาวางในจดหมาย จะปรากฎชื่อฟิลด์ เช่น <Title> เป็นต้น

ภาพที่ 405 : แทรกฟิลด์ข้อมูลลงในจดหมาย

ง. การพิมพ์จดหมายเวียน การสั่งพิมพ์จดหมายเวียน ให้ไปที่ File → Print.. หรือกด <Ctrl><P> จะปรากฎหน้าต่างตามภาพที่ 406 มาถามว่า “เนื้อหาในเอกสารมีฟิลด์ของฐานข้อมูลอยู่ด้วย ต้องการจะพิมพ์ในรูปแบบจดหมายหรือไม่?” ให้คลิกที่ปุ่ม Yes (หากคลิกที่ ปุ่ม No จะเข้าสู่การพิมพ์เอกสารปกติ)

ภาพที่ 406 : จะพิมพ์เอกสารในรูปแบบของจดหมายหรือไม่?

หลังคลิกปุ่ม Yes จะปรากฎหน้าต่าง Mail Merge(ตามภาพที่ 407) มาให้กําหนดรายละเอียดการพิมพ์ โดยสามารถ กํา หนดได้ว่า จะพิมพ์บรรทัด (Record)ใดบ้างในฐานข้อมูล และสามารถสั่งพิมพ์เป็นไฟล์ได้หลายชนิด เช่น ไฟล์ .pdf, ไฟล์ .odt เป็นต้น บทที่ 20 : จดหมายเวียน(Mail-merge)

261


ภาพที่ 407 : หน้าต่าง Mail Merge

ตัวเลือกวงกลม Save as single document : ใช้พิมพ์จดหมายเวียนออกมาเป็นไฟล์เดียว ผลหลังพิมพ์ ตามตัวอย่าง ในภาพที่ 408 ตัวเลือกวงกลม Save as individual documents : ใช้พิมพ์จดหมายเวียนออกมาเป็นหลายไฟล์ ตามจํา นวนของ บรรทัด(Record)ในฐานข้อมูล ซึง่ สามารถกําหนดวิธตี ั้งชื่อไฟล์และชนิดของไฟล์ได้ที่ช่องอื่นๆในส่วนล่าง ภาพที่ 408 เป็นตัวอย่างหลังสั่งพิมพ์จดหมายเวีย นเป็นไฟล์ .pdf ผลที่ได้ เอกสารที่มีจํา นวนหน้าเท่ากับ จํา นวน บรรทัด(Record)ในฐานข้อมูล เนื้อความของจดหมายส่วนที่ไม่ซํ้า เปลี่ยนไปตามฟิลด์ในฐานข้อมูล เช่น ชื่อของผู้รับในจดหมาย ไม่ซํ้ากันเลย เป็นต้น

ภาพที่ 408 : ผลลัพท์หลังพิมพ์เป็นไฟล์ .pdf

262

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 21 : แม่แบบเอกสำร (Template)


21.1 แม่แบบเอกสารคืออะไร อะไร?? แม่แบบเอกสาร(Template) คือเอกสารต้นแบบที่จัดรูปแบบไว้แล้ว สะดวกสําหรับ เริ่มต้นสร้างเอกสารโดยไม่ต้องตั้ง ค่าต่างๆซํ้าอีก เมื่อ เปิ ด Writer หรือ ไปที่ File → New → Text Document เพื่อเริ่ม ต้น สร้ า งเอกสารใหม่ โปรแกรมจะเริ่ ม จาก เอกสารที่มีพื้นหลังสีขาว ตั้งระยะขอบโดยรอบไว้ 2 ซม. กําหนดขนาดกระดาษไว้แล้ว ชื่อไฟล์เริ่มต้นคือ Untitled+ตัวเลข เป็นต้น ซึ่งจากนั้น เราก็จะตั้งค่าต่างๆสําหรับงานเอกสารแต่ละอย่างที่แตกต่างกันไป แล้วบันทึกไฟล์เป็นชื่อใหม่ เมื่อสร้างเอกสารใหม่ โปรแกรมจะสร้างเอกสารจาก แม่แบบเอกสารปริยาย(Default template) ที่ตั้งค่าต่างๆไว้แล้ว เอกสารเริ่มต้นของ Writer จึงมีลักษณะตามที่อธิบายในข้างต้น

ภาพที่ 409 : สร้างเอกสารใหม่ Writer เริ่มต้นสร้างจากแม่แบบเอกสารปริยาย

ด้วยระบบของแม่แบบเอกสาร ทําให้เราสามารถเริ่มต้นสร้างเอกสารใหม่จากแม่แบบเอกสารต่างๆ ที่มีหน้าตาแตกต่าง ไป และยังสามารถบันทึกเอกสารที่เราตั้งค่าต่างๆไว้เป็นแม่แบบเอกสารได้ด้วย ครั้งต่อไป เมื่อต้องการสร้างเอกสารใหม่ จึงไม่ ต้องมาตั้งค่าต่างๆซํ้าอีก

21.2 การบันทึกเอกสารเป็นแม่แบบเอกสาร หากมีเอกสารที่ใช้บ่อย เช่น แบบฟอร์มต่างๆ หรือมีเอกสารที่จัดรูปแบบไว้แล้ว เช่น สร้างสไตล์ไว้ หรือจัดหน้ากระดาษ ไว้ เป็นต้น เราสามารถบันทึกเอกสารนั้นไว้เป็นแม่แบบเอกสาร เพื่อที่จะสามารถสร้างเอกสารใหม่จากแม่แบบเอกสารดังกล่าว ได้ง่ายๆ ขั้นตอนการบันทึกเอกสารเป็นแม่แบบเอกสาร 1. เปิดไฟล์ที่ต้องการบันทึกเป็นแม่แบบเอกสาร 2. ไปที่ File → Templates → Save... จะปรากฏหน้าต่าง Templates 3. ทีห่ น้าต่าง Templates 3.1 ช่อง New template ตั้งชื่อแม่แบบเอกสาร 3.2 ช่อง Catagories เลือกเป็น My Templates (เป็นตําแหน่งเก็บไฟล์แม่แบบเอกสาร) 4. คลิกปุ่ม OK เพื่อบันทึก

264

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 410 : ขั้นตอนการบันทึกแม่แบบเอกสาร

ไฟล์แม่แบบเอกสาร จะถูกบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .ott ให้ไปที่ File → Templates → Edit... จะปรากฎหน้าต่าง Open (ตามภาพที่ 411) ณ ตําแหน่งที่เก็บไฟล์(ตามภาพที่ 411) เราสามารถเข้าไปโยกย้ายหรือคัดลอกไฟล์ไปใช้งานได้เหมือนไฟล์ปกติทั่ว ๆไป เพียงแต่เป็นไฟล์แม่แบบเอกสาร

ภาพที่ 411 : ตําแหน่งเก็บไฟล์แม่แบบเอกสาร

21.3 การ การสร้ สร้างงเอกสารจ เอกสารจากแม่ ากแม่แบบเอกสาร เราสามารถเริ่มต้นสร้างเอกสาร จากแม่แบบเอกสารที่ได้ดังนี้ ขั้นตอนการสร้างเอกสารจากแม่แบบเอกสาร 1. ไปที่ File → New → Templates and Documents จะปรากฏหน้าต่าง Templates and Documents 2. ทีห่ น้าต่าง Templates and Documents เลือกแม่แบบเอกสารที่ต้องการ 2.1 ที่กรอบซ้ายสุด คลิก Templates 2.2 เข้าไปในโฟลเดอร์ My Templates 2.3 เลือกไฟล์แม่แบบเอกสาร 3. คลิกปุ่ม Open จากนั้น Writer จะสร้างเอกสารจากแม่แบบเอกสารที่เลือก แม่แบบเอกสารมักเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Templates และจากภาพที่ 412 มีแม่แบบเอกสารอยู่ 5 ตัวเท่านั้น(ทั้งของ Calc และ Impress ด้วย) ทั้งนี้สามารถบันทึกเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดแม่แบบเอกสารสําเร็จรูปจากอินเตอร์เน็ตมาใส่เพิ่มเติมได้

บทที่ 21 : แม่แบบเอกสาร(Template)

265


ภาพที่ 412 : ขั้นตอนการสร้างเอกสารจากแม่แบบเอกสาร

21.4 การส่งออกไฟล์แม่แบบเอกสาร บบเอกสารเป็ เป็นไฟล์ .ott ในกรณีที่ต้องการนําไฟล์แม่แบบเอกสารไปใช้กับเครื่องอื่นๆ ให้ส่งออกไฟล์แม่แบบเอกสารไปเป็นไฟล์ .ott จากนั้นก็ สามารถโยกย้ายไฟล์ดังกล่าวไปที่ไหนก็ได้ ขั้นตอนการส่งออกเป็นไฟล์ .ott 1. ไปที่ File → Templates → Organize... จะปรากฏหน้าต่าง Template Management 2. ทีก่ รอบซ้ายสุดเลือกแม่แบบเอกสาร ที่จะส่งออกเป็นไฟล์ .ott 3. คลิกที่ปุ่ม Command → Export Template... จะปรากฎหน้าต่าง Save มาให้ตั้งชื่อ ไฟล์ .ott 4. ตั้งชื่อไฟล์ .ott และเลือกตําแหน่งเก็บไฟล์ จากนั้นคลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึก

ภาพที่ 413 : ขั้นตอนการส่งออกแม่แบบเอกสารเป็นไฟล์ .ott

หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้เข้าไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์แม่แบบเอกสารแล้วคัดลอกไฟล์ออกมา (พาธไปยังโฟลเดอร์ดังกล่าว ให้ ดูตามภาพที่ 411)

266

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


21.5 การนําเข้าไฟล์แม่แบบเอกสาร ไฟล์ .ott ซึ่งเป็นไฟล์แม่แบบเอกสาร สามารถหาดาวน์โหลดได้มากมายจากอินเตอร์เน็ต หรือสร้างเก็บไว้เองก็ได้ (ตามที่อธิบายในข้อ 21.2 หน้า 264) เมื่อได้ไฟล์ .ott มาแล้ว สามารถดับเบิ้ลคลิกเพื่อใช้งานเลยก็ได้ Writer ก็จะเปิดไฟล์แม่ แบบเอกสารขึ้นมาให้ ซึ่งจากนั้นก็สามารถทํางานและบันทึกไปเป็นไฟล์ .odt ต่อได้ แต่ถ้านําเข้า(Import) สู่ LibreOffice ก่อน LibreOffice จะคัดลอกไฟล์แม่แบบเอกสารไปยังตําแหน่งเก็บโดยเฉพาะ เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปค้นหาไฟล์แม่แบบเอกสารว่าอยู่ที่ไหนให้ยุ่งยาก ขั้นตอนการนําเข้าไฟล์ .ott 1. ไปที่ File → Templates → Organize... จะปรากฏหน้าต่าง Template Management 2. ทีก่ รอบซ้ายสุดเลือกโฟลเดอร์ My Templates 3. คลิกที่ปุ่ม Command → Import Template... จะปรากฎหน้าต่าง Open มาให้เลือกไฟล์ .ott 4. ทีห่ น้าต่าง Open เลือกไฟล์ .ott ที่จะนําเข้า 5. คลิกปุ่ม Open ก็จะได้ไฟล์ .ott มาไว้ที่โฟลเดอร์ My Templates

ภาพที่ 414 : ขั้นตอนการนําเข้าแม่แบบเอกสาร

21.6 การตั้งแม่แบบเอกสารให้เป็นแม่แบบ บบเอกสาร เอกสารปริ ปริยาย เมื่อเปิด Writer ขึ้น มา หรือสร้างเอกสารใหม่ (ไปที่ File → New → Text Document) โปรแกรมจะเริ่มต้น สร้าง เอกสารจากแม่แบบเอกสารปริยายเสมอ(Default Template) ซึ่งเราสามารถกําหนดได้เองว่า จะให้แม่แบบเอกสารตัวใด เป็น แม่แบบเอกสารปริยาย

บทที่ 21 : แม่แบบเอกสาร(Template)

267


ขั้นตอนการตั้งแม่แบบเอกสารเป็นแม่แบบเอกสารปริยาย 1. ไปที่ File → Templates → Organize... จะปรากฏหน้าต่าง Template Management 2. คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อแม่แบบเอกสาร → Set As Default Template

ภาพที่ 415 : ขั้นตอนการตัง้ แม่แบบเอกสารเป็นแม่แบบเอกสารปริยาย

เมื่อสร้างเอกสารหรือเปิด Writer ขึ้นมา Writer จะเริ่มต้นจากแม่แบบเอกสารที่ถูกตั้งเป็นแม่แบบเอกสารปริยายทุก ครั้ง หากต้องการรีเซ็ต กลับไปเป็นแม่แบบเอกสารเดิมๆที่ Writer ตั้งไว้ สามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการรีเซ็ตแม่แบบเอกสารปริยาย 1. ไปที่ File → Templates → Organize... จะปรากฏหน้าต่าง Template Management 2. คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อแม่แบบเอกสาร(ตัวใดก็ได้) → Reset Default Template → Text Document

ภาพที่ 416 : ขั้นตอนรีเซ็ตแม่แบบเอกสารปริยาย

268

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)


22.1 ฟิลด์คคื​ืออะไร อะไร?? ฟิลด์(Field) ฟิลด์เป็นข้อมูลเล็กๆสั้นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูล ของตัวเองได้เองตามสถานการณ์ เช่น เลขหน้าที่มี การเปลี่ยนแปลงเองตามหน้ากระดาษปัจจุบัน , ชื่อหนังสือ , ชื่อผู้เขียน, จํา นวนหน้ากระดาษ, การอ้างอิงแบบไขว้(CrossReference) เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

22.2 ฟิลด์พพื​ื้นฐาน การแทรกฟิลด์พื้นฐาน คลิก ณ ตําแหน่งที่จะแทรกฟลิด์ จากนั้นไปที่ Insert → Fields → (เลือกฟิลด์ที่ต้องการแทก)

ภาพที่ 417 : การแทรกฟิลด์ลงในเอกสาร

ฟิล ด์ พื้ น ฐานที่ Writer มี ม าให้ ก็ คื อ Date(วั น ที่ ), Time(เวลา), Page Number(เลขหน้ า ), Page Count(จํา นวน หน้า) , Subject(หัวข้อ/ประเด็น), Title(ชื่อเรื่อง) และ Author(ผู้แต่ง) ฟิลด์ Date, Time, Page Number และ Page Count ไม่ต้องตั้งค่าอะไร เมื่อแทรกฟิลด์กลุ่มดังกล่าว จะปรากฎข้อมูล ในทันที แต่ ฟิลด์ Subject, Title และ Author โปรแกรมจะดึงข้อมูลมาจากข้อมูลผู้ใช้ (User data) และ คุณสมบัติของ ไฟล์(File Properties) ซึ่งต้องตั้งค่าก่อนจึงจะมีข้อมูลปรากฎให้เห็น ฟิลด์ Author ตั้งได้ที่ ข้อมูลผู้ใช้(User data) ตามภาพที่ 418 (ไปที่ Tools → Options → เมนู LibreOffice → เมนู ย่อย User data เพื่อเปิดหน้าต่างตามภาพ)

ภาพที่ 418 : ตัง้ ฟิลด์ Author

ฟิลด์ Subject และ Title ตั้งได้ที่ คุณสมบัติของไฟล์ (File Properties) ตามภาพที่ 419 (ไปที่ File → Properties เพื่อเปิดหน้าต่างตามภาพ) ภาพที่ 419 : ตัง้ ฟิลด์ Subject และ Title

270

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ตัวอย่างฟิลด์พื้นฐานแบบต่างๆ (ข้อมูลแบบฟิลด์จะมีแถบสีเทาคาดอยู่)

ภาพที่ 420 : ตัวอย่างฟิลด์พื้นฐานแบบต่างๆ

การแก้ไขรูปแบบฟิลด์ หลังแทรกฟิลด์ลงในเอกสาร รูปแบบของฟิลด์อาจไม่ เป็นอย่างที่ต้องการ เข่น ฟิลด์ Date(วันที่) หลังแทรกจะขึ้นเป็น 19/11/12 ที่ต้องการจริงๆ ก็คือ 19 พ.ย. 2555 วิธีแก้ไขรูปแบบฟิลด์ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ฟิลด์ จะปรากฎหน้าต่าง Edit fields จากนั้นเลือกรูปแบบตามต้องการ

ภาพที่ 421 : หน้าต่าง Edit Fields สําหรับฟิลด์ Date

คีย์ลัดที่เกี่ยวกับฟิลด์ <Ctrl><F8> : ปิด/เปิด แถบสีของฟิลด์ <Ctrl><F9> : ปิด/เปิดชื่อฟิลด์ <F9> : อัพเดทฟิลด์ <Ctrl><F2> : เปิดหน้าต่าง Fields

22.3 ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ ฟิลด์ตัวเลขเรียงลํา ดับ (Number Range) เป็นตัวเลขเรียงลําดับที่เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างอัตโนมัติ เมื่อมีฟิลด์ตัว เดียวกันหลายๆตัวในเอกสาร ตัวแรกสุดจะนับ 1 ตัวที่อยู่ถัดไปนับ 2 เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ การใช้งานฟิลด์ตัวเลขที่เรียงลําดับ เช่น ใช้กับตารางที่มีการแทรกแถว ลบแถว หรือเปลี่ยนแปลงแถวบ่อยๆ ส่งผลให้ ต้องแก้เลขลําดับของแถวบ่อยๆ เป็นต้น ฟิลด์ตวั เลขเรียงลําดับ จะอัพเดทข้อมูลตัวเองอย่างอัตโนัมัติ หากถูกลบหรือถูกแทรก ฟิ ล ด์ ตั ว เลขเรี ย งลํา ดั บ เป็ น ฟิ ล ด์ ที่ สํา คั ญ เพราะเครื่ อ งมื อ อย่ า งเช่ น สารบั ญ อั ต โนมั ติ , คํา บรรยายอั ต โนมั ติ (AutoCaption - ตาราง,ภาพ,...) ทีม่ ีการนับเรียงตัวเลขอัตโนมัติ ต่างก็ใช้เทคนิคนี้ เพียงแต่ไม่ได้สร้างตามขั้นตอนที่ได้อธิบาย ไว้ในนี้ (ดูเรื่องคําบรรยายอัตโนมัติ ในข้อ 15.20 ข. หน้า 208) อย่างไรก็ดี เมื่อสร้างคําบรรยายอัตโนมัติ โปรแกรมจะสร้างฟิลด์ ตัวเลขเรียงลําดับมาให้ดว้ ย บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

271


ก. การสร้างฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ ขั้นตอนการสร้างฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ 1. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 2. ที่แท็บ Variables 2.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Number range 2.2 ทีช่ ่อง Format เลือก Arabic(1 2 3) หรือเลือกตัวอื่นๆตามต้องการ ช่องนี้เป็นรูปแบบของตัวเลขเรียงลําดับ เช่น 1,2,3.. , I,II,III,... เป็นต้น 3. ตั้งชื่อฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ ทีช่ ่อง Name (ตามภาพที่ 422 ตั้งชื่อว่า StepNumber) 4. คลิกปุ่ม Insert (ครั้งที่ 1) ชื่อของฟิลด์ตวั เลขเรียงลําดับจะถูกเพิ่มลงในช่อง Selection พร้อมกันนั้น ฟิลด์ก็ถูก แทรกลงในเอกสารด้วย เริ่มต้นจากนับ 1 ก่อน 5. คลิกทีป่ ุ่ม Insert อีก ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับก็จะเปลี่ยนเป็น 2,3,4... ไปเรื่อยๆ

ภาพที่ 422 : ขั้นตอนการสร้างฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ

62

ใส่ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับตัวต่อไปด้วยการคัดลอก

เพื่อความสะดวก เมื่อแทรกฟิลด์ตวั เลขเรียงลําดับลงในเอกสารแล้ว ไม่จําเป็นต้องเปิดหน้า Fields ขึ้นมาทุก ครั้ง เพื่อแทรกฟิลด์ สามารถใช้การคัดลอกฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับตัวใดก็ได้แล้ววาง ตัวเลขก็จะนับต่อกัน อย่างอัตโนมัติ หากมีการลบหรือแทรกฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ ฟิลด์ทั้งชุดจะทําการปรับเปลี่ยนลําดับให้อย่างอัตโนมัติ

ข. เริ่มนับ 1 ใหม่ ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับ จะนับต่อกันไปเรื่อยๆ หากต้องการเริ่มนับ 1 ใหม่ สามารถทําได้ดังนี้

272

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการเริ่มนับ 1 ใหม่ 1. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 2. ที่แท็บ Variables 2.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Number range 2.2 ทีช่ ่อง Selection เลือกฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับที่สร้างไว้ 2.3 ทีช่ ่อง Value(ค่าของฟิลด์) พิมพ์เลข 1 ลงไป เพื่อเริ่มนับ 1 ใหม่เมื่อมีการแทรกฟิลด์ 3. คลิกปุ่ม Insert (ครั้งที่ 1) ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับทีถ่ ูกใส่ลงในเอกสาร จะเริ่มนับจาก 1 ใหม่

ภาพที่ 423 : ขั้นตอนที่ 1-3

4. กลับมาที่ช่อง Value อีกครั้ง พิมพ์ (ชื่อฟิลด์)+1 เพื่อเพิ่มค่าให้กับฟิลด์ทีละ 1 เมื่อมีการแทรกฟิลด์ ( ตามภาพที่ 424 ใส่เป็น StepNumber+1) 5. คลิกที่ปุ่ม Insert ฟิลด์ตัวเลขเรียงลําดับก็จะเปลี่ยนเป็น 2,3,4... ไปเรื่อยๆ

ภาพที่ 424 : ขั้นตอนที่ 4-5

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

273


22.4 การลบฟิลด์ทสี่ ร้างเอง การลบฟิลด์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง สามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอน 1. ลบฟิลด์ในเอกสารทั้งหมด (ถ้าลบไม่หมดคําสั่งลบจะไม่ทํางาน) 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. เลือกฟิลด์ที่ต้องการลบ หากฟิลด์ในเอกสารถูกลบออกหมดแล้ว สัญลักษณ์กากะบาทจะทํางาน 4. คลิกที่สัญลักษณ์กากะบาทเพื่อลบฟิลด์ออก

ภาพที่ 425 : ขั้นตอนการลบฟิลด์ ที่สร้างเอง

22.5 รูจ้ ักกับการอ้างอิงแบบไขว้(Cross-reference Cross-reference)) การอ้างถึงข้อมูลขององค์ประกอบในเอกสาร เช่น หัวข้อ, คําบรรยายอัตโนมัติ หรือ ที่ขั้นหนังสือ เป็นต้น มีโอกาสสูงที่ จะเกิดความผิดพลาด หากเราอ้างอิงแบบตายตัวโดยการพิมพ์ข้อความปกติ เช่น “ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ ...”, “ดูเรื่อง xxx ใน หน้า...” เพราะสิ่งที่เราอ้างถึง อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างการทํางาน เช่น ย้ายจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง , เปลี่ยนชี่อ หัวข้อ เป็นต้น การอ้างอิงแบบไขว้ (Cross-reference) เป็นฟิลด์ชนิดหนึ่ง ที่อ้างอิงถึงข้อมูลขององค์ประกอบในเอกสาร ข้อดีของ การอ้างอิงแบบไขว้ก็คือ เมื่อองค์ประกอบในเอกสารเปลี่ยน การอ้างอิงแบบไขว้ก็จะเปลี่ยนให้สอดคล้องอย่างอัตโนมัติ ให้ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่างเดียวกันก็คือหน้าต่าง Fields ฟิลด์ การอ้างอิงแบบไขว้อยู่ที่แท็บ Cross-reference

ภาพที่ 426 : แท็บ Cross-reference ในหน้าต่าง Fields

274

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ตัวอย่างการอ้างอิงแบบไขว้(Cross-reference) เราสามารถสร้างฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยอ้างอิงถึง หัวข้อใดก็ได้ และเลือกอ้างอิง ข้อมูลอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับหัวข้อ นั้นๆ เช่น ข้อความของหัวข้อ, หน้าที่หัวข้อนั้นอยู่ เป็นต้น เมื่อข้อความของหัวข้อนั้นเปลี่ยน หรือเปลี่ยนหน้า ฟิลด์การอ้างอิง แบบไขว้ที่อ้างถึงหัวข้อดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนแปลงเองอย่างอัตโนมัติ

22.6 ฟิลด์กการอ้ ารอ้างอิงแบบไขว้ โดยใช้ที่ขั้นหนังสือ(Bookmark) การแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้โดยใช้ที่ขั้นหนังสือ (Bookmark) จะต้องแทรกที่ขั้นหนังสือลงในเอกสารก่อน เป็นการ ระบุตําแหน่งที่จะใช้อ้างอิง ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการแทรกที่ขั้นหนังสือ 1. เลือกข้อความ หรือ คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกที่ขั้นหนังสือ 2. ไปที่ Insert → Bookmark... จะปรากฎหน้าต่าง Insert Bookmark 3. ตั้งชื่อที่ขั้นหนังสือ 4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 427 : ขั้นตอนการแทรกที่ขั้นหนังสือ

เมื่อแทรกที่ขั้นหนังสือแล้ว จะไม่ปรากฎเครื่องหมายใดๆ แต่จะ ปรากฏเป็นรายชื่อที่ขั้นหนังสือในหน้าต่าง Navigator(กด <F5>) หมวด Bookmarks เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อที่ขั้นหนังสือ ตัวชี้พิมพ์ข้อความจะโดดไปยัง ตําแหน่งของที่ขั้นหนังสือดังกล่าว ภาพที่ 428 : รายการที่ขั้นหนังสือในหน้าต่าง Navigator

การแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ ถึงที่ขั้นหนังสือ 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Cross-reference 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Bookmarks 3.2 ทีช่ ่อง Selection เลือกที่ขั้นหนังสือ 3.3 ทีช่ ่อง Insert reference to เลือกสิ่งทีจ่ ะอ้างอิงถึงทีข่ ั้นหนังสือ เช่น เลขหน้าทีท่ ขี่ ั้นหนังสืออยู่(Page) เป็นต้น 4. คลิกที่ปุ่ม Insert จะได้ฟิลด์ที่อ้างอิงถึงที่ขั้นหนังสือในข้างต้น (ตามภาพที่ 429)

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

275


ภาพที่ 429 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ถึงทีข่ ั้นหนังสือ

ภาพที่ 430 : สิ่งที่อ้างอิงถึงที่ขั้นหนังสือ

การบริหารจัดการที่ขั้นหนังสือ การบริหารจัดการที่ขั้นหนังสือ เช่น การลบ, การ เปลี่ยนชื่อ ใช้หน้าต่าง Navigator จะสะดวกที่สุด สามารถเรียกใช้คําสั่งได้โดย คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อที่ขั้น หนังสือ → Bookmark → (เลือกคําสั่ง) การลบที่ขั้นหนังสืออีกวิธีหนึ่ง ให้คลิกที่ชื่อที่ขั้นหนังสือ จากนั้นกดปุ่ม <Delete> จะลบออกทันที ภาพที่ 431 : คลิกเม้าส์ขวาที่ชื่อทีข่ ั้นหนังสือ

22.7 ฟิลด์กการอ้ ารอ้างอิงแบบไขว้ โดยการตั้งจุดอ้างอิง(Set Reference) การแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ โดยการตั้ง จุดอ้างอิง(Set Reference) จะต้องตั้งจุดอ้างอิงก่อน ซึ่งสามารถทําได้ ดังนี้ ขั้นตอนการตั้งจุดอ้างอิง 1. เลือกข้อความที่ต้องการตั้งเป็นจุดอ้างอิง ภาพที่ 432 ได้เลือกข้อความ “ประสบการณ์แห่งความล้มเหลว” ไว้ 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ทีแ่ ท็บ Cross-references 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Set Reference 3.2 ทีช่ ่อง Name ตั้งชื่อจุดอ้างอิง ภาพที่ 432 ตั้งเป็น “ประสบการณ์แห่งความล้มเหลว(SR)” 4. คลิกปุ่ม Insert จะปรากฎชื่อของจุดอ้างอิงที่ช่อง Selection และข้อความทีถ่ ูกตั้งเป็นจุดอ้างอิงจะมีแถบสีเทาคาด

276

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 432 : ขั้นตอนการตั้งจุดอ้างอิง

ขั้นตอนการแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ ถึงจุดอ้างอิง 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Cross-reference 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Insert Reference 3.2 ทีช่ ่อง Selection เลือกจุดอ้างอิง 3.3 ทีช่ ่อง Insert reference to เลือกสิ่งทีจ่ ะอ้างอิงถึงจุดอ้างอิง เช่น เลขหน้าที่จุดอ้างอิงอยู(่ Page) เป็นต้น 4. คลิกที่ปุ่ม Insert จะได้ฟิลด์ที่อ้างอิงถึงจุดอ้างอิงในข้างต้น

ภาพที่ 433 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์แบบไขว้ ถึงจุดอ้างอิง

สิ่งที่มีให้อ้างอิงถึงของจุดอ้างอิง มีเหมือนกับที่ขั้นหนังสือ ตามภาพที่ 430 บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

277


ข้อดีของการอ้างอิงแบบไขว้โดยการตั้งจุดอ้างอิง(Set Reference) ก็คือ ข้อความที่เป็นจุดอ้างอิง(ต้นทาง)สามารถแก้ไข ได้ง่าย โดยการพิมพ์ข้อความตามปกติ ซึง่ ฟิลด์ที่อ้างอิงถึง ก็จะเปลี่ยนตามอย่างอัตโนมัติ (ในกรณีแก้ไขข้อความที่จุดอ้างอิงแล้ว ฟิลด์ที่อ้างอิงถึงไม่เปลี่ยนตาม ให้กด <F9> เพื่ออัพเดทฟิลด์)

22.8 ฟิลด์กการอ้ ารอ้างงอิอิงแบบไขว้ โดยใช้ Heading (ให้ข้ามหัวข้อนี้ไปก่อน หากยังไม่ได้อ่านบทที่ 23) เอกสารที่จัดโครงสร้างโดยใช้ โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering ) ตามที่อธิบายไว้ในบทที่ 23 สามารถอ้างอิงถึง หัวข้อต่างๆ ในเอกสารได้ดังนี้ ขั้นตอนการแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ ถึง Heading 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Cross-reference 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Headings 3.2 ทีช่ ่อง Selection เลือกหัวข้อที่จะอ้างอิง (ช่องนี้จะไม่มีรายการใดๆ หากไม่ใส่โครงร่างเลขนําให้กับเอกสาร) 3.3 ทีช่ ่อง Insert reference to เลือกสิ่งที่จะอ้างอิงถึง 4. คลิกทีป่ ุ่ม Insert จะได้ฟดิ ล์ที่อ้างอิงถึงหัวข้อในข้างต้น

ภาพที่ 434 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์แบบไขว้ถึง Heading(หัวข้อ)

22.9 ฟิลด์กการอ้ ารอ้างงอิอิงแบบไขว้ โดยใช้หมวด องคําบรรยาย มวดหมู หมู่ขของคํ บรรยายอัอัตโนมัติ เมื่อสร้างคํา บรรยายอัต โนมัติให้กับองค์ประกอบในเอกสารเช่น ภาพหรือตาราง (ตัวอย่างตามที่อธิบายไว้ใ นข้อ 15.20 ข. หน้า 208) ชื่อของหมวดหมู่คําบรรยายจะไปปรากฎในแท็บ Cross-reference ให้ด้วย ทําให้สามารถแทรกฟิลด์การ อ้างอิงแบบไขว้ถึงคําบรรยายต่างๆได้

278

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ ถึงหมวดหมู่ของคําบรรยายอัตโนมัติ 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Cross-reference 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือกหมวดหมู่คําบรรยาย (ตามภาพเลือกทีห่ มวด “รูปที่”) 3.2 ทีช่ ่อง Selection เลือกคําบรรยายที่จะอ้างอิง 3.3 ทีช่ ่อง Insert reference to เลือกสิ่งที่จะอ้างอิงถึง 4. คลิกที่ปุ่ม Insert จะได้ฟิดล์ที่อ้างอิงถึงคําบรรยายในข้างต้น

ภาพที่ 435 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์การอ้างอิงแบบไขว้ ถึงหมวดหมู่ของคําบรรยายอัตโนมัติ

22.10 ฟิลด์ตตัวั แปร ฟิลด์หลายๆตัว ต้องใช้ตัวแปรรวมด้วย จึงต้องสร้างตัวแปรขึน้ มาก่อน การสร้างฟิลด์ตวั แปร ขั้นตอนการสร้างฟิลด์ตัวแปร 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Variables 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Set Variable(ตั้งตัวแปร) 3.2 ทีช่ ่อง Format เลือกรูปแบบของตัวแปร ตามภาพที่ 436 เลือกเป็น Text (เป็นตัวแปรแบบข้อความ) 3.3 ทีช่ ่อง Name พิมพ์ชื่อตัวแปร ตามภาพที่ 436 ตัวแปรชื่อ X 3.4 ทีช่ ่อง Value กําหนดค่าให้ตัวแปร ตามภาพที่ 436 ค่าของตัวแปรคือ 1 4. คลิกที่ปุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์ตัวแปรลงในเอกสาร ซึ่งปรากฎค่าของตัวแปรก็คือ 1 (ตามภาพที่ 436)

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

279


ภาพที่ 436 : ขั้นตอนการสร้างฟิลด์ตวั แปร

เมื่อกด <Ctrl><F9> เพื่อดูชื่อฟิลด์ จะพบว่า ฟิลด์ดังกล่าวเป็นแบบ Set variables(ตั้งตัวแปร) ชื่อ ตัวแปรคือ X มีค่าเป็น 1 (ตามภาพที่ 437) ภาพที่ 437 : ชื่อฟิลด์ของตัวแปร X

การกําหนดค่าใหม่ให้ตัวแปร หากต้องการกําหนดค่าให้ตัวแปรใหม่ ให้ทําซํ้าขั้นตอนเดิมเพียงแต่ ที่ช่อง Value ให้พิมพ์ค่าใหม่ของตัวแปรลงไป

ภาพที่ 438 : ขั้นตอนการกําหนดค่าใหม่ให้ตัวแปร

280

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


หลังกด <Ctrl><F9> เพื่อดูชื่อฟิลด์ จะพบว่า ฟิลด์ ตัวแปร ณ แต่ละช่วงมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นข้อดีที่สามารถนําไป ใช้ในการสร้างฟิลด์แบบใช้เงื่อนไข

ภาพที่ 439 : ค่าของตัวแปรแต่ละช่วงไม่เท่ากัน

22.11 ฟิลด์ Conditional text (ข้อความตามเงื่อนไข นไข)) ฟิลด์ Conditional text หรือ ข้อความตามเงื่อนไข เป็น ฟิลด์ที่สามารถเปลี่ยนข้อความได้เองตามเงื่อนไข เช่น แสดงข้อความ “ยินดีที่ได้รู้จัก ” หากค่าของตัวแปรเป็น “ไทย” หรือแสดงข้อความ “Nice to meet you” หากค่าของตัวแปร เป็นอย่างอื่น การสร้างฟิลด์ Conditional text มีอยู่ 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น (ตามที่อธิบายในข้อ 22.10 หน้า 279) 2. แทรกฟิลด์ Conditional text ขั้นตอนที่ 1 : สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น ในขั้นตอนนี้ได้สร้างตัวแปรชื่อ X เป็นตัวแปรแบบข้อความ(Text) และกําหนดค่าเริ่มต้นเป็น “ไทย” ขั้นตอนที่ 2 : แทรกฟิลด์ Conditional text 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Functions 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Conditional Text 3.2 ทีช่ ่อง Condition ใส่เงื่อนไข ตามภาพที่ 440 ใส่เป็น X==“ไทย” (ถ้าค่าของ X เท่ากับข้อความ “ไทย”) *** ชื่อของตัวแปรตัวเล็กหรือตัวใหญ่นนั้ ต่างกัน(Case sensitive) 3.3 ทีช่ ่อง Then ใส่ข้อความเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ตามภาพที่ 440 ใส่เป็น “ยินดีที่ได้รู้จัก” 3.4 ทีช่ ่อง Else ใส่ข้อความเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ ตามภาพที่ 440 ใส่เป็น “Nice to meet you” 4. คลิกที่ปุ่ม Insert จะปรากฎฟิลด์ Conditional text ตามภาพที่ 440

ภาพที่ 440 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Conditional text

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

281


ภาพที่ 441 : เมื่อกด <Ctrl><F9> เพื่อแสดงชื่อฟิลด์

หากมีการกําหนดค่าให้ตัวแปรใหม่ เช่น กําหนดค่าของ X เป็น “อังกฤษ” จะทําให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ข้อความของฟิลด์ที่ แสดงจึงเปลี่ยนเป็น “Nice to meet you” (ตัวอย่างตามภาพที่ 442)

ภาพที่ 442 : ผลของฟิลด์ Conditional text เมื่อมีการตั้งค่าตัวแปรต่างกัน

63

การแทรกฟิลด์ Conditional text ครั้งต่อไป

หลังแทรกฟิลด์ Conditional text และปิดหน้าต่าง Fields ต่อเมื่อมาจะแทรก ฟิลด์ Conditional text อีก จะต้องกําหนดเงื่อนไขใหม่ทั้งหมด หากต้องการแทรกฟิลด์โดยใช้เงื่อนไขเดิม ให้ใช้การคัดลอกฟิลด์ Conditional text ไปวางจะง่ายที่สุด หรือใช้ AutoText ก็ง่ายเช่นเดียวกัน 64

เครื่องหมายที่ใช้เปรียบเทียบเงื่อนไข

X == 1 หรือ X EQ 1 ความหมาย X เท่ากับ 1 X != 1 หรือ X NEQ 1 ความหมาย X ไม่เท่ากับ 1 X == “A” หรือ X EQ “A” ความหมาย X เท่ากับ A (A เป็นข้อความ/ตัวอักษร)

22.12 ฟิลด์ Hidden text text((ซ่อนข้อความ ความ)) ฟิลด์ Hidden text หรือ ฟิลด์ซ่อนข้อความ เป็นฟิลด์ที่สามารถซ่อนข้อความได้ตามเงื่อนไข เช่น ให้ซ่อนนามสกุล หากค่าของตัวแปรเป็น “ชื่อ” เป็นต้น

282

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การสร้างฟิลด์ Hidden text มีอยู่ 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น (ตามที่อธิบายในข้อ 22.10 หน้า 279) 2. แทรกฟิลด์ Hidden text ขั้นตอนที่ 1 : สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น ในขั้นตอนนี้ได้สร้างตัวแปรชื่อ Y เป็นตัวแปรแบบข้อความ(Text) และกําหนดค่าเริ่มต้นเป็น “ชื่อ” ขั้นตอนที่ 2 : แทรกฟิลด์ Hidden text

ภาพที่ 443 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Hidden text

1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Functions 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Hidden text 3.2 ทีช่ ่อง Condition ใส่เงื่อนไข ตามภาพที่ 443 ใส่เป็น Y==“หนังสือ” (ถ้าค่าของ Y เท่ากับข้อความ “หนังสือ”) *** ชื่อของตัวแปรตัวเล็กหรือตัวใหญ่นนั้ ต่างกัน(Case sensitive) 3.3 ทีช่ ่อง Hidden text ใส่ข้อความที่จะถูกซ่อนเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ตามภาพที่ 443 ใส่เป็น “(ตามประสบการณ์ของผม)” 4. คลิกที่ปุ่ม Insert จะปรากฎฟิลด์ Hidden text ตามภาพที่ 443 หากมีการกําหนดค่าให้ตัวแปรใหม่ เช่น กําหนดค่าของ Y เป็น “ไม่ใช่ชื่อหนังสือ ” จะทําให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ข้อความ ของฟิลด์จึงถูกแสดง (ตัวอย่างตามภาพที่ 444)

ภาพที่ 444 : ผลของฟิลด์ Hidden text เมื่อมีการตั้งค่าตัวแปรต่างกัน

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

283


22.13 ฟิลด์ Hidden paragraph (ซ่อนย่อหน้า) ฟิลด์ Hidden paragraph หรือ ฟิลด์ซ่อนย่อหน้า เป็นฟิลด์ที่สามารถซ่อนย่อหน้าได้ตามเงื่อนไข การสร้างฟิลด์ Hidden Paragraph มีอยู่ 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น (ตามที่อธิบายในข้อ 22.10 หน้า 279) 2. แทรกฟิลด์ Hidden Paragraph ขั้นตอนที่ 1 : สร้างตัวแปรและกําหนดค่าเริ่มต้น ในขั้นตอนนี้ได้สร้างตัวแปรชื่อ Z เป็นตัวแปรแบบข้อความ(Text) และกําหนดค่าเริ่มต้นเป็น “1” ขั้นตอนที่ 2 : แทรกฟิลด์ Hidden Paragraph 1. คลิกเม้าส์ทยี่ ่อหน้า ที่ต้องการจะซ่อน/แสดงตามเงื่อนไข 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Functions 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Hidden Paragraph 3.2 ทีช่ ่อง Condition ใส่เงื่อนไข ตามภาพที่ 445 ใส่เป็น Z==“1” (ถ้าค่าของ Z เท่ากับข้อความ “1”) ย่อหน้าจะถูกซ่อนเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง *** ชื่อของตัวแปรตัวเล็กหรือตัวใหญ่นั้นต่างกัน(Case sensitive) 4. คลิกทีป่ ุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์ Hidden Paragraph ซึ่งทําให้ทั้งย่อหน้าถูกซ่อน ตามภาพที่ 445

ภาพที่ 445 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Hidden Paragraph

หากมีการกําหนดค่าให้ตัวแปรใหม่ เช่น กําหนดค่าของ Z เป็น “2” จะทําให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ย่อหน้าที่มีฟิลด์ Hidden Paragraph อยู่จึงถูกแสดง (ตามภาพที่ 446)

ภาพที่ 446 : ผลของฟิลด์ Hidden Paragraph เมื่อมีการตั้งค่าตัวแปรต่างกัน

284

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


65

การปิดแสดงย่อหน้าที่ถูกซ่อน และ การแก้ไขย่อหน้าที่ถูกซ่อน

เพื่อให้ฟิลด์ Hidden Paragraph แสดงผลอย่างถูกต้อง ให้ปดิ แสดง(ติ๊กออก)ย่อหน้าที่ถูกซ่อน โดยไปที่ View → Hidden Paragraphs หากเมนูนี้เปิดอยู่(ถูกติ๊ก) ไม่ว่าเงื่อนไขจะจริงหรือเท็จ ย่อหน้าจะถูกแสดง ทุกกรณี สําหรับการแก้ไขย่อหน้าที่ถูกซ่อน ก็ให้เปิดแสดงย่อหน้า จากนั้นแก้ไขข้อความตามปกติ

22.14 ฟิลด์ Input List ฟิลด์ Input List มีลักษณะคล้ายกล่องรายการ(List box) ที่เมื่อถูกคลิกจะปรากฎรายการข้อความให้เลือก ขั้นตอนการสร้างฟิลด์ Input List 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Functions 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Input list 3.2 ทีช่ ่อง Name ใส่ชื่อฟิลด์ ภาพที่ 447 ตั้งชื่อฟิลด์ว่า “Unit” 3.3 ทีช่ ่อง Item พิมพ์รายการ 3.4 คลิกที่ปุ่ม Add เพื่อเพิ่มรายการเข้าสู่ช่อง Item on list(รายการที่เป็นสมาชิก) 3.5 ทําซํ้าข้อ 3.3-3.4 เพื่อเพิ่มรายการอื่นๆ 4. คลิกที่ปุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์ Input List ลงในเอกสาร จะได้ผลตามภาพที่ 447

ภาพที่ 447 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Hidden Paragraph

การเลือกรายการในฟิลด์ Input List คลิกที่ฟิลด์ Input List จะปรากฎหน้าต่าง Choose Item : (ชื่อฟิลด์) ตามภาพที่ 448 มาให้เลือกรายการ การแก้ไขรายการในฟิลด์ ทีห่ น้าต่าง Choose Item : (ชื่อฟิลด์) ตามภาพที่ 448 คลิกทีป่ ุ่ม Edit จะปรากฎหน้าต่าง Edit Fields : Function มาให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการในฟิลด์

ภาพที่ 448 : หน้าต่าง Choose Item : (ชื่อฟิลด์)

บทที่ 22 : ฟิลด์(Fields)

285


22.15 ฟิลด์ Placeholder ฟิลด์ Placeholder คือ สัญลักษณ์หรือข้อความ ที่สามารถถูกแทนที่ด้วยองค์ประกอบในเอกสารชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้น กับ ชนิดของฟิลด์ Placeholder ฟิลด์ Placeholder เหมาะกับการสร้างฟอร์ม ที่ให้แก้ไขบางส่วน แต่คงเนื้อหาส่วนใหญ่ไว้ เช่น เนื้อความจดหมาย “ขอเรียนเชิญท่านสมาชิกร่วมประชุมวาระประจําเดือน ใน <วันที่>” ส่วนที่เป็น <วันที่> ก็คือ ฟิลด์ Placeholder เป็นส่วน ทีส่ ามารถแทนที่ด้วยข้อความใหม่หรือแทนที่ด้วยองค์ประกอบอื่นๆตามแต่ชนิดของ Placeholder ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Placeholder 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ 2. ไปที่ Insert → Fields → Other... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Functions 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Placeholder 3.2 ทีช่ ่อง Format เลือกชนิดของฟิลด์ Placeholder ภาพที่ 449 เลือกเป็น Graphics(ภาพ) 3.3 ทีช่ ่อง Placeholder ใส่ข้อความที่จะปรากฎในฟิลด์ Placeholder 3.4 ทีช่ ่อง Reference ใส่ข้อความอ้างอิง เมื่อนําเม้าส์ไปชี้ที่ฟิลด์ Placeholder จะปรากฎข้อความนี้ 4. คลิกทีป่ ุ่ม Insert เพื่อแทรกฟิลด์ Placeholder จะได้ผลตามภาพที่ 449

ภาพที่ 449 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Placeholder

การใช้งาน คลิกที่ฟิลด์ Placeholder หากเป็นชนิดข้อความ(Text) จะเลือกทั้งฟิลด์เพื่อให้พิมพ์ข้อความทับ หากเป็น ชนิดอื่นๆ จะ ปรากฎหน้าต่างเพื่อให้สร้างหรือเลือกองค์ประกอบชนิดนั้นมาใส่แทน เข่น หากเป็นฟิลด์ Placeholder ชนิด Graphics จะ ปรากฎหน้าต่างมาให้เลือกภาพมาใส่

286

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 23 : โครงร่ำงเลขนำำ (Outline Numbering)

การทําความเข้าใจกับบทนี้ จะต้องทําความเข้าใจเรื่อง สไตล์(Styles)ให้ดีก่อน


23.1 โครงร่างเลขนําคืออะไร อะไร?? โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering) ใช้แบ่งเนื้อหาทั้งเอกสารออกเป็นบทๆ(แบ่งเป็น Chapters) โดยใช้สไตล์ ย่อหน้าเป็นตัวแบ่งว่า จากไหนถึงไหนเป็นบทอะไร นอกจากนี้สารบัญอัตโนมัติก็ใช้ข้อมูลจากโครงร่างเลขนําไปทําสารบัญด้วย โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering) เป็นระบบลําดับอัตโนมัติอีกระบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายเลขนํา (Numbering) ตามที่อธิบายในบทที่ 10 (หน้า 109) แต่ในเอกสาร 1 ไฟล์มีโครงร่างเลขนําได้ชุดเดียว ต่างจากเลขนําที่มีกี่ชุดก็ได้

23.2 การตั้งค่าโครงร่างเลขนําก่อนใช้งาน ก. โครงสร้างของโครงร่างเลขนํา โครงร่างเลขนํา แบ่งเป็น 10 ระดับเหมือนกับเลขนํา (Numbering) Writer ได้ผูกโครงร่างเลขนํา ทั้ง 10 ระดับไว้กับ สไตล์ย่อหน้า Heading 1- Heading 10 แล้ว ฉะนั้นจึงสามารถใช้งานโครงร่างเลขนําได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างสไตล์ย่อหน้า (หรือจะสร้างเองแล้วใช้แทน สไตล์ย่อหน้า Heading 1- Heading 10 ก็ได้ ) นอกจากนี้ สไตล์ย่อหน้า Heading 1-Heading 3 ถูกตั้งคีย์ลัดไว้แล้ว ก็คือ <Ctrl><1> ถึง <Ctrl><3> ตามลํา ดับ เมื่อคลิกที่ย่อหน้าใดๆ จากนั้นกด <Ctrl><1> จะเป็นการใส่สไตล์ Heading 1 ให้กับย่อหน้าดังกล่าว พร้อมกันนั้น ย่อหน้านั้น จะกลายเป็นโครงร่างเลขนําระดับที่ 1 ในทันทีโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไร หลังใส่โครงร่างเลขนําให้กับย่อหน้าใดๆแล้ว สังเกตุที่ หน้าต่าง Navigator ข้อความในย่อหน้า จะถูกเพิ่มเป็นรายการ จุดกระโดดในหมวด Heading (ตัวอย่างตามภาพที่ 450) เมื่อใส่โครงร่างเลขนําโดยยังไม่ตั้งค่าใดๆ จะยังไม่มี ตัวเลขเรียงลําดับขึ้น ภาพที่ 450 มีการตั้งค่าให้กับโครงร่างเลข นําแล้ว จึงปรากฎตัวเลขเรียงลําดับ บทที่ 1, บทที่ 2,... โครงร่างเลขนําในแต่ละระดับแบ่งเป็น 2 ส่วน(ตามภาพ ที่ 451) ก็คือ 1. ตัวเลขเรียงลําดับ เป็นส่วนที่ถูกกําหนดโดย คุณสมบัติของโครงร่างเลขนํา 2. ข้อความ เป็นข้อความที่พิมพ์เอง ภาพที่ 450 : รายการจุดกระโดดในหมวด Heading

ภาพที่ 451 : โครงสร้างของโครงร่างเลขนํา

288

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ข. คุณสมบัติต่างๆในหน้าต่าง Outline Numbering ถึงแม้จะใช้งานโครงร่างเลขนําได้ในทันที แต่ การใช้งานจริงๆจะต้องเข้าไปตั้งค่าโครงร่างเลขนําในแต่ละระดับ ก่อนเสมอ เพื่อให้ได้รูปแบบตามต้องการ ให้ไปที่ Tool → Outline Numbering... จะปรากฎหน้าต่าง Outline Numbering ตามภาพที่ 452

ภาพที่ 452 : หน้าต่าง Outline Numbering แท็บ Numbering

หน้าต่าง Outliine Numbering มี 2 แท็บ แท็บ Numbering ใช้สําหรับกําหนดรูปแบบของตัวเลขเรียงลําดับในแต่ละ ระดับ แท็บ Position ใช้สําหรับกําหนดระยะและการเว้นช่องว่างระหว่างส่วนของตัวเลขเรียงลําดับและส่วนของข้อความ คุณสมบัติในแท็บ Numbering ช่อง Level : ใช้เลือกระดับของโครงร่างเลขนํา ก่อนการตั้งค่าในช่องอื่นๆจะต้องเลือกระดับของโครงร่างเลขนําก่อน เป็นการบอกว่าจะตั้งค่าให้กับระดับใด ช่อง Paragraph : ใช้ผูกสไตล์ย่อหน้าเข้ากับโครงร่างเลขนําในระดับต่างๆ เมื่อผูกสไตล์ย่อหน้าใดไว้กับโครงร่างเลขนํา ควรจะสงวนไว้ใช้สําหรับโครงร่างเลขนําเพียงอย่างเดียว ช่อง Number : ใช้เลือกชนิดของตัวเลขเรียงลําดับ เช่น 1, 2, 3,... , a, b, c,… , ก, ข, ค,… , i, ii, iii,.. เป็นต้น ช่อง Character Style : ใช้เลือกสไตล์ตัวอักษรที่กํากับรูปแบบส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับ(ไม่รวมข้อความที่อยูห่ ลัง) ช่อง Show sublevels : ใช้กําหนดจํานวนระดับที่จะแสดง เช่น มีการออกแบบโครงร่างเลขนําระดับที่ 1 เป็น 1, 2, 3,... ระดับที่ 2 เป็น 1, 2, 3,... ระดับที่ 3 เป็น a, b, c,... ทีโ่ ครงร่างเลขนําระดับที่ 3 หากกําหนด Show sublevels เป็น 1 จะแสดงเฉพาะตัวเลขเรียงลําดับในระดับของตัวเอง จะได้โครงร่างเลขนําของระดับที่ 3 เป็น a., b., c, ... ที่โครงร่างเลขนําระดับที่ 3 หากกําหนด Show sublevels เป็น 2 จะแสดงตัวเลขเรียงลําดับในระดับของตัวเอง และ ระดับก่อนหน้า 1 ระดับ จะได้โครงร่างเลขนําของระดับที่ 3 เป็น 1.a., 1.b., 1.c. ,... ที่โครงร่างเลขนํา ระดับที่ 3 หากกําหนด Show sublevels เป็น 3 จะแสดงตัวเลขเรียงลําดับในระดับของตัวเองและ ระดับก่อนหน้า 2 ระดับ จะได้โครงร่างเลขนําของระดับที่ 3 เป็น 1.1. a., 1.1. b., 1.1.c. ,... ช่อง Before : ใช้ใส่ตัวอักษรไว้ก่อนตัวเลขเรียงลําดับ เช่น ใส่ “บทที่ ” จะได้ตัวเลขเรียงลําดับเป็น บทที่ 1, บทที่ 2, บทที่ 3, ... ช่อง After : ใช้ใส่ตัวอักษรไว้หลังตัวเลขเรียงลําดับ เช่น ใส่ “).” จะได้ตวั เลขเรียงลําดับเป็น 1)., 2)., 3)., ... ช่อง Start at : ใช้กําหนดการเริ่มต้นนับ หากระบุเป็น 1 จะเริ่มนับจาก 1 หรือเริ่มนับจากอักษรตัวแรก ก็คือ ก หรือ a หากระบุเป็น 2 จะเริ่มนับจาก 2 หรือจากอักษรตัวที่ 2 ก็คือ ข หรือ b

บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

289


คุณสมบัติต่างๆในแท็บ Position ภาพที่ 453 เป็นตําแหน่งและช่องว่างของโครงร่างเลขนํา ระดับที่ 1 (ระดับอื่นๆก็มีคุณสมบัติ ของตําแหน่งเหมือนกัน เพียงแต่ระยะแตกต่างกันไป) เมื่อคลิกที่ระดับที่ 1 จะปรากฎตัวชี้รูปสามเหลี่ยมบนไม้บรรทัด 2 ตัว (ลักษณะเหมือนตัวชี้กั้น ย่อหน้าแต่กั้นคนละอย่างกัน ) ก็คือ 1.ตัวชี้กั้นข้อความ และ 2.ตัวชี้กั้นตัวเลขเรียงลําดับ ซึ่งจะกั้นตัวเลขเรียงลําดับ ไปทางซ้าย หรือขวาของตัวชี้ สามารถเลือกได้ ระยะห่างระหว่างตัวเลขเรียงลําดับและข้อความ ก็คือ ช่องว่าง ซึ่งสามารถตั้งได้เช่นเดียวกัน

ภาพที่ 453 : ตําแหน่งและช่องว่างของโครงร่างเลขนําระดับที่ 1

ตําแหน่งและช่องว่างของโครงร่างเลขนํา ถูกกําหนดโดยคุณสมบัติในแท็บ Position ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ภาพที่ 454 : หน้าต่าง Outline Numbering แท็บ Position

ช่อง Numbering followed by : ใช้ระบุการเว้นช่องว่างระหว่างตัวเลขเรียงลํา ดับ กับข้อความ ตัวเลือกที่มีก็คือ Space(เคาะ <Spacebar> 1 ครั้ง) และ Tab(กดปุ่ม <Tab> 1 ครั้ง) สําหรับ ช่อง at จะทํางานก็ต่อเมื่อช่อง Numbering followed by เลือกเป็น Tab ช่อง at ใช้ระบุตํา แหน่งเมื่อกดปุ่ม <Tab> 1 ครั้ง เพื่อกระโดดไปยังตํา แหน่ง ที่ระบุ ซึ่งเป็น ตําแหน่งเริ่มต้นของข้อความ ช่อง Numbering Alignment : ใช้กําหนดการวางแนวตัวเลขเรียงลําดับ ให้จัดชิดซ้าย เข้ากลาง หรือจัดชิดขวา ตาม แนวของตัวชี้กั้นตัวเลขเรียงลําดับ ช่อง Aligned at : ใช้ระบุตําแหน่งของตัวชี้กั้นตัวเลขเรียงลําดับ (ตําแหน่งของตัวชี้ ตามภาพที่ 453) ช่อง Indent at : ใช้ระบุตําแหน่งของตัวชี้กั้นข้อความ (ตําแหน่งของตัวชี้ ตามภาพที่ 453)ค่าที่ช่องนี้จะไม่มีผล ถ้าค่าที่ ช่อง Numbering followed by เลือกเป็น Space

290

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ค. ออกแบบโครงร่างเลขนํา การใช้งานโครงร่างเลขนํา จะต้องออกแบบก่อนว่า จะให้ โครงร่างเลขนํา แต่ละระดับมีลักษณะอย่างไร ในข้อนี้ขอยก ตัวอย่างการแบ่งเอกสารออกเป็นบทๆ 3 ระดับ ก็คือ ระดับที่ 1 เป็นชื่อบท โดยจะแสดงตัวเลขเรียงลําดับ บทที่ <ตัวเลขเรียงลําดับ> : อย่างอัตโนมัติ เมื่อใส่สไตล์ย่อหน้า Heading 1 ให้กับย่อหน้า ระดับที่ 2 เป็นหัวในแต่ละบท โดยจะแสดงตัวเลขเรียงลํา ดับ ในรูปแบบ <เลขบท>.<ตัวเลขเรียงลํา ดับ > อย่าง อัตโนมัติ เมื่อใส่สไตล์ย่อหน้า Heading 2 ให้กับย่อหน้า ระดับที่ 3 เป็นหัวข้อย่อยของหัวข้อในบท โดยจะแสดงตัวเลขเรียงลําดับในรูปแบบ <ตัวอักษรไทยเรียงลํา ดับ >). อย่างอัตโนมัติ เมื่อใส่สไตล์ย่อหน้า Heading 3 ให้กับย่อหน้า

ง. ตั้งค่าโครงร่างเลขนํา(หลังออกแบบ) ไปที่ Tool → Outline Numbering... จะปรากฎหน้าต่าง Outline Numbering จากนั้นกําหนดคุณสมบัติของโครง ร่างเลขนําระดับที่ 1-3 ดังต่อไปนี้ ตัง้ ค่าโครงร่างเลขนําระดับที่ 1 ตามภาพที่ 455

ภาพที่ 455 : กําหนดคุณสมบัติต่างๆให้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 1

- ช่อง Paragraph Style เลือกเป็น Heading 1 เพื่อผูกสไตล์ย่อหน้า Heading 1 ไว้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 1 - ช่อง Number เลือกเป็น 1,2,3,... - ช่อง Character Style เลือกสไตล์ตัวอักษรที่ใช้กํากับรูปแบบส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับ ตามภาพเลือกเป็น WK_char_level1(สร้างขึ้นมาเอง) - ช่อง Before ใส่คําว่า “บทที่” เพื่อให้ขนึ้ ข้อความดังกล่าวก่อนตัวเลขเรียงลําดับ - ช่อง After ใส่ตัวอักษร “: ” เพื่อให้ขนึ้ อักษรดังกล่าวหลังตัวเลขเรียงลําดับ - ช่อง Start at เลือกเป็น 1 เพื่อเริ่มนับจาก 1 (แท็บ Postion ตั้งตามภาพที่ 455 หรือข้ามไปก่อนก็ได้)

บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

291


ตัง้ ค่าโครงร่างเลขนําระดับที่ 2 ตามภาพที่ 456

ภาพที่ 456 : กําหนดคุณสมบัติต่างๆให้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 2

- ช่อง Paragraph Style เลือกเป็น Heading 2 เพื่อผูกสไตล์ย่อหน้า Heading 2 ไว้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 2 - ช่อง Number เลือกเป็น 1,2,3,... - ช่อง Character Style เลือกสไตล์ตัวอักษรที่ใช้กํากับรูปแบบส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับ ตามภาพเลือกเป็น WK_char_level2 (สร้างขึ้นมาเอง) - ช่อง Show Sublevels เลือกเป็น 2 เพื่อแสดงตัวเลขเรียงลําดับของตัวเอง และของระดับก่อนหน้า 1 ระดับ ตัวเลข เรียงลําดับของระดับนี้จึงถูกแสดงในรูปแบบ 1.1,1.2,1.3,... - ช่อง Before เว้นว่างไว้ - ช่อง After เว้นว่างไว้ - ช่อง Start at เลือกเป็น 1 เพื่อเริ่มนับจาก 1 (แท็บ Postion ตั้งตามภาพที่ 456 หรือข้ามไปก่อนก็ได้) ตัง้ ค่าโครงร่างเลขนําระดับที่ 3 ตามภาพที่ 457

ภาพที่ 457 : กําหนดคุณสมบัติต่างๆให้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 3

292

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


- ช่อง Paragraph Style เลือกเป็น Heading 3 เพื่อผูกสไตล์ย่อหน้า Heading 3 ไว้กับโครงร่างเลขนําระดับที่ 3 - ช่อง Number เลือกเป็น ก,ข,ค,... เพื่อนับหัวข้อแบบเรียงเป็นตัวอักษรไทย - ช่อง Character Style เลือกสไตล์ตัวอักษรที่ใช้กํากับรูปแบบส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับ ตามภาพเลือกเป็น WK_char_level3 (สร้างขึ้นมาเอง) - ช่อง Show Sublevels เลือกเป็น 1 เพื่อแสดงตัวเลขเรียงลําดับเฉพาะลําดับของตัวเองเท่านั้น ตัวเลขเรียงลําดับของ ระดับนี้จึงถูกแสดงในรูปแบบ ก,ข,ค.,... - ช่อง Before เว้นว่างไว้ - ช่อง After ใส่ตวั อักษร “).” เพื่อให้ขนึ้ ตัวอักษรดังกล่าวหลังตัวเลขเรียงลําดับ - ช่อง Start at เลือกเป็น 1 เพื่อเริ่มนับจาก 1 (แท็บ Postion ตั้งตามภาพที่ 457 หรือข้ามไปก่อนก็ได้)

23.3 การใช้งานโครงร่างเลขนํา ความยุ่งยากของโครงร่างเลขนํานั้นอยู่ที่การตั้งค่า (ตามที่อธิบายในข้อ 23.2) แต่การใช้งานนั้นง่ายมาก เพียงใส่ส ไตล์ ย่อหน้าที่ผูกไว้กับโครงร่างเลขนํา ให้กับย่อหน้าใดๆ ย่อหน้านั้นก็จะกลายเป็นโครงร่างเลขนํา จากนั้นก็สามารถพิมพ์หรือแก้ไข ส่วนที่เป็นข้อความได้ตามปกติ ต่อจากข้อ 23.2 หลังกําหนดคุณสมบัติของโครงร่างเลขนํา ต่อมาได้ใส่โครงร่างเลขนําให้กับย่อหน้า ตามภาพที่ 458

ภาพที่ 458 : หลังใส่โครงร่างเลขนําให้กับย่อหน้าต่างๆ

บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

293


บทหรือหัวข้อที่ไม่ต้องการให้มีตัวเลขเรียงลําดับ บางบทหรือบางหัวข้อที่ไม่ต้องการให้มตี ัวเลข เรียงลําดับ สามารถลบออกได้ โดยคงเฉพาะส่วนที่เป็น ข้อความไว้ (แต่ยังเป็นโครงร่างเลขนําอยู่) การลบออกทําได้โดย คลิกเม้าส์ที่หลังส่วนที่เป็น ตัวเลขเรียงลําดับ จากนั้นกด <Backspace> หลังลบ แล้ว ตัวเลขเรียงลําดับอื่นๆ จะข้ามบทหรือข้ามหัวข้อนั้น ไป

ภาพที่ 459 : ลบส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับออก

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้งานโครงร่างเลขนํา ส่วนใหญ่เกิดที่การตั้งค่า โดยปัญหาที่เกิดบ่อยๆมี 2 ปัญหาดังนี้ 1. รูปแบบตัวอักษรส่วนตัวเลขเรียงลําดับและส่วนข้อความไม่เหมือนกัน ส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับ ไม่สามารถเข้าไปจัดรูปแบบได้โดยตรง ต้องกําหนดสไตล์ตัวอักษรให้ กํากับส่วนดังกล่าว (แท็ บ Numbering ช่ อ ง Character Style) ส่ ว นที่ เ ป็ น ข้ อ ความ ถู ก กํา กั บ รู ป แบบโดยสไตล์ ย่ อ หน้ า ของโครงร่ า งเลขนํา นอกจากนี้ยังสามารถจัดรูปแบบโดยตรงได้อีกด้วย เนื่องจากทั้ง 2 ส่วนถูกกํากับรูปแบบด้วยสไตล์ที่ต่างกัน จึงต้องทําความ เข้าใจให้ดี วิธีแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจะสร้างสไตล์ตัวอักษร ไว้ใช้กํา หนดรูปแบบอักษรของส่วนที่เป็น ตัวเลขเรียงลํา ดับ โดย เฉพาะ ซึ่งต้องไปกําหนดให้ผูกกันที่หน้าต่าง Outline Numbering(แท็บ Numbering ช่อง Character Style) และใช้สไตล์ ตัวอักษรดังกล่าว ใส่ให้กับส่วนที่เป็นข้อความด้วย 2. ระยะการเว้นช่องว่างระหว่างส่วนตัวเลขเรียงลําดับและส่วนข้อความ การเว้นช่องว่าง ระหว่างส่วนตัวเลขเรียงลําดับและส่วนข้อความ กําหนดโดยค่าที่ ช่อง Numbering followed by ที่ แท็บ Position หากเลือกเป็น Tab จะต้องเข้าไปตั้งค่าที่ช่อง at ด้วยว่า จะกระโดดไปตรงไหนเพื่อเป็นตําแหน่งเริ่มต้นพิมพ์ ส่วนของข้อความ หากเลือกเป็น Space ปัญหาจะน้อยกว่า แต่จะมีปัญหาก็คือ ตัวเลขเลขลําดับ ที่มี 1 หลักหรือ 2 หลักไม่ตรง กัน เช่น 1 และ 12 เป็นต้น 66

โครงร่างเลขนําเป็นสารบัญให้กับไฟล์ .pdf

เมื่อส่งออก(Export)เอกสารที่จัดโครงสร้างโดยใช้ โครงร่างเลขนําไปเป็นไฟล์ .pdf หัวข้อต่างๆ จะ กลายเป็นสารบัญให้กับเอกสาร .pdf ด้วย แน่นอนว่าสามารถคลิกที่สารบัญเพื่อโดดไปยัง ตําแหน่งต่างๆในเอกสารได้ด้วย

ภาพที่ 460 : เอกสาร .pdf

294

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


23.4 การใช้งานโครงร่างเลขนํากับเครื่องมืออื่นๆ โครงร่างเลขนําเป็นเครื่องมือที่ดีมากๆ ในการแบ่งเอกสารออกเป็นบทๆ เพราะบริการจัดการง่าย นอกจากนี้ เครื่องมือ อื่นๆ อย่างเช่น ฟิลด์หรือสารบัญอัตโนมัติ บางตัวสามารถใช้งานร่วมกับโครงร่างเลขนําได้ด้วย บางตัวจําเป็นต้องสร้างโครงร่าง เลขนําก่อนจึงจะใช้งานได้ เป็นต้น

ก. การแทรกฟิลด์ Chapter ฟิลด์ Chapter เป็นฟิลด์ที่เก็บข้อมูล ของโครงร่างเลขนําไว้ เราสามารถแทรกฟิลด์ Chapter ไว้ที่หัวกระดาษหรือท้าย กระดาษ เพื่อแปะชื่อบทหรือเลขที่บทไว้ที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ โดยที่ของบทไหนก็แสดงชื่อบทหรือเลขที่บทของบท นัน้ ๆ สะดวกที่ไม่ต้องพิมพ์หรือแก้ไขเพราะจะเป็นไปตามโครงร่างเลขนํา ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Chapter 1. คลิกเม้าส์ ณ ตําแหน่งที่ต้องการแทรกฟิลด์ (ตามภาพคลิกที่หัวกระดาษ) 2. ไปที่ Insert → Cross-reference... หรือกด <Ctrl><F2> จะปรากฎหน้าต่าง Fields 3. ที่แท็บ Document 3.1 ทีช่ ่อง Type เลือก Chapter 3.2 ทีช่ ่อง Level เลือกระดับของโครงร่างเลขนํา 3.3 ทีช่ ่อง Format เลือกสิ่งทีจ่ ะแทรก ตัวเลือกที่มีก็คือ - Chapter (เฉพาะชื่อบท) - Chapter number (เฉพาะเลขที่บท) - Chapter number and name (เลขที่บทและชื่อบท) - Chapter number without separator (เฉพาะเลขที่บท ไม่รวมตัวอักษรก่อนและหลัง) 4. คลิกที่ปุ่ม Insert

ภาพที่ 461 : ขั้นตอนการแทรกฟิลด์ Chapter

หลังแทรกฟิลด์ตามขั้นตอนในข้างต้น เมื่อ เลื่อนไปดูหัวกระดาษของบทอื่นๆ ฟิลด์ Chapter จะเปลี่ยนไปตามบทนั้นๆ ถ้าแต่ละบทใช้สไตล์หน้ากระดาษเดียวกัน เพราะเป็นหัวกระดาษท้ายกระดาษตัวเดียวกัน แต่ถ้าใช้สไตล์หน้ากระดาษแบบแยก บทด้วย จะต้องแทรกฟิลด์ Chapter ให้กับทุกบท

บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

295


ข. การแทรกฟิลด์เลขหน้าแบบแยกบท โดยปกติ การแทรกฟิลด์เลขหน้า(Page Number)ลงในเอกสาร ฟิลด์จะนับเรียงเลขหน้าแบบ 1,2,3... ไปเรื่อยๆ แต่การ แทรกฟิลด์แบบแยกบท จะนับเรียงหน้าแบบ 1-1, 1-2, 2-1, 2-2, 2-3... เป็นต้น เลขตัวแรก หมายถึงบทที่ เลขตัวทีส่ อง หมายถึงลําดับของหน้าใน บทนั้นๆ(ตามภาพที่ 462) คําบรรยายภาพหรือคําบรรยายตารางแบบแยก บท ก็มีลักษณะเดียวกัน ภาพที่ 462 : การนับหน้ากระดาษแบบแยกบท

การแทรกฟิลด์เลขหน้าแบบแยกบทนั้นไม่ยาก แต่จะทําได้ต้องมีการเตรียมพร้อมก่อน ดังนี้ ขั้นตอนการเตรียมพร้อม 1. ใช้โครงร่างเลขนําแบ่งเอกสารเป็นบทๆ ตามที่อธิบายในข้อ 23.2(หน้า 288) และ 23.3(หน้า 293) 2. ต้องออกแบบสไตล์หน้ากระดาษมาเพื่อการนับหน้ากระดาษแบบแยกบทโดยเฉพาะ 2.1 แต่ละบทต้องใช้สไตล์หน้ากระดาษแบบแยกบท เช่น บทที่ 1 ก็ใช้สไตล์หน้ากระดาษเฉพาะของบทที่ 1 เป็นต้น โดยสามารถเว้นหน้าแรกของบทไว้เป็นสไตล์อื่น สําหรับเป็นหน้าที่ใช้พมิ พ์ชื่อบทได้ (ตัวอย่างตามภาพที่ 463) (การขึ้นหน้าใหม่โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษอื่น อธิบายไว้ในข้อ 17.3 หน้า 231) ภาพที่ 463 เป็นโครงสร้างของสไตล์หน้ากระดาษที่ออกแบบไว้สําหรับเอกสารที่นับแลขหน้าแบบแยกบท 2.2 ต้องเริ่มนับหน้าเป็น 1 ใหม่ เมื่อขึ้นบทใหม่ แต่ทั้งนี้ สามารถเริ่มนับ 1 ที่หน้าที่ 2 ของบทก็ได้ โดยเว้นหน้าแรก ไว้เป็นชื่อบท (ตัวอย่างตามภาพที่ 463)

ภาพที่ 463 : หน้ากระดาษที่ออกแบบไว้ (สําหรับแทรกฟิลด์เลขหน้าแบบแยกบท)

296

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


เมื่อ องค์ ประกอบครบแล้ว จากนั้น ก็ส ามารถแทรกฟิ ล ด์ เ ลขหน้ า แบบแยกบทได้ แ ล้ว ฟิล ด์เ ลขหน้า แบบแยกบท ประกอบไปด้วย 2 ฟิดล์ด้วยกัน ฟิลด์ตัวแรก ก็คือ ฟิลด์ Chapter (ดูวิธีแทรกฟิลด์ Chapter ในข้อ ก.) โดยเลือกสิ่งที่จะแทรกเป็น Chapter number without separator ก็คือ แทรกเฉพาะเลขที่บทไม่รวมตัวอักษรก่อนและหลัง ฟิลด์ตัวที่สอง ก็คือ ฟิลด์ Page Number(เลขหน้า) การแทรกนั้นไม่ต้องใช้หน้าต่าง Fields ให้ไปที่ Insert → Fields → Page Number ภาพที่ 464 เป็นตัวอย่างหลังแทรกฟิลด์แล้ว

ภาพที่ 464 : ตัวอย่างหลังแทรกฟิลด์เลขหน้าแบบแยกบท

67

แถบแสดงสถานะของเอกสารที่นับเลขหน้าแบบแยกบท

เมื่อมีการขึ้นหน้าใหม่ โดยใช้สไตล์หน้ากระดาษอื่นๆ และเริ่มต้นนับหน้ากระดาษเป็น 1 ใหม่ ให้สังเกตุที่ แถบแสดงสถานะจะเปลี่ยนไป โดยจะแสดงเลข หน้าในบทเพิ่มเติมเข้ามาด้วย ตามภาพที่ 465 ภาพที่ 465 : หน้ากระดาษที่ออกแบบไว้

ค. การใส่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท คําบรรยายอัตโนมัติ(AutoCaption) สามารถใส่ให้กับองค์ประกอบในเอกสารได้หลายอย่าง เช่น ตาราง, ภาพ, กรอบ, สูตรทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น ทั้งหมดมีขึ้นตอนเหมือนกันตามที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 15.20 หน้า 206 (การใส่คําบรรยายให้กับ ภาพ) คําบรรยายอัตโนมัติ สิ่งที่อัตโนมัติคือตัวเลขที่นับเรียงต่อกัน เข่น ตารางที่ 1, ตารางที่ 2, ตารางที่ 3, .... เป็นต้น คํา บรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท จะนับในลักษณะ ตารางที่ 1-1, ตารางที่ 1-2, ตารางที่ 2-1,... เป็นต้น เลขตัวแรก หมายถึงบทที่ เลขตัวที่สอง หมายถึงลําดับของตารางในบทนั้นๆ เป็นต้น การใส่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท จะทําได้ก็ต่อเมื่อมีการเตรียมพร้อมก่อน ก็คือ 1. ใช้โครงร่างเลขนําแบ่งเอกสารเป็นบทๆ ตามที่อธิบายในข้อ 23.2(หน้า 288) และ 23.3(หน้า 293) 2. ตั้งอ๊อพชั่นเพื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท บทที่ 23 : โครงร่างเลขนํา (Outline Numbering)

297


การตัง้ อ๊อพชั่นเพื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท ตัวอย่างนี้เป็นการตั้งอ๊อพชั่นเพื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบทให้กับตาราง ให้ไปที่ Tool → Options → เมนู LibreOffice Writer → เมนูย่อย AutoCaption จากนั้นกําหนดคุณสมบัติต่างๆ ตามภาพที่ 466 โดยคําบรรยายอัตโนมัตแิ บบแยกบทที่ออกแบบไว้ รูปแบบก็คือ ตารางที่ <บทที่>-<ลําดับตารางในบท> :

ภาพที่ 466 : ตั้งให้ใส่คําบรรยายอัตโนมัตแิ บบแยกบทสําหรับตาราง

ภาพที่ 466 กําหนดคุณสมบัติต่างๆไว้ ดังนี้ - ติ๊กที่กล่องตัวเลือก LibreOffice Writer Table เพื่อสร้างหมวดหมู่คําบรรยายสําหรับตาราง - ที่กรอบ Caption ช่อง Category พิมพ์ข้อความที่ต้องการให้ขึ้นอัตโนมัติหน้าตัวเลขเรียงลําดับ เช่น “ตารางที่” - ที่กรอบ Caption ช่อง Numbering เลือกชนิดของตัวเลขลําดับ เช่น 1,2,3,... หรือ A,B,C,.... เป็นต้น - ที่กรอบ Caption ช่อง Separator พิมพ์ตัวขัน้ ที่ขั้นระหว่าง ส่วนที่ขึ้นอัตโนมัติกับคําบรรยายที่พิมพ์เอง ก็คือ “:” - ที่กรอบ Caption ช่อง Above กําหนดตําแหน่งของคําบรรยาย เลือกเป็น Above(ด้านบน) - ที่กรอบ Category and frame format ช่อง Level ใส่เป็น 1 เพื่อแสดงเลขของโครงร่างเลขนําระดับที่ 1(เลขที่บท) - ที่กรอบ Category and frame format ช่อง Separator พิมพ์ตัวขั้นที่ขั้นระหว่าง เลขบทกับลําดับตาราง ก็คือ “-” การใส่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบท เมื่อสร้างตารางใหม่จะปรากฎคําบรรยายอัตโนมัติให้ทันที แต่ถ้าเกิดความผิดพลาด เช่น ลบออก, ไม่ขึ้น หรือคัดลอก ตารางมาวาง สามารถใส่ทีหลังได้ การใส่คําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบทกับแบบธรรมดานั้นใช้วิธีเดียวกัน ตามที่อธิบายไว้ใน ข้อ 15.20 หน้า 206 (การใส่คําบรรยายให้กับภาพ) เพียงแต่ให้เลือกหมวดหมู่ของคําบรรยายอัตโนมัติตามที่ตั้งไว้ที่อ๊อพชั่น

ภาพที่ 467 : ตัวอย่างคําบรรยายอัตโนมัติแบบแยกบทของตาราง

298

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 24 : กำรสร้ำงสำรบัญอัตโนมัติ

การทําความเข้าใจกับบทนี้ จะต้องทําความเข้าใจกับ โครงร่างเลขนํา ในบทที่ 23(หน้า 287) ก่อน เพราะการสร้าง สารบัญจําเป็นต้อง ใส่โครงร่างเลขนําให้กับเอกสารก่อน


24.1 การสร้างสารบัญ (Table of Content Contentss) บทนี้เป็นบทที่ต่อเนื่องจากบทที่ 23 (เฉพาะข้อ 23.1 ถึง 23.3) เพราะการสร้างสารบัญ Writer จะดึงข้อมูลจากโครง ร่างเลขนําระดับต่างๆ มาทําเป็นหัวข้อในสารบัญ ฉะนั้นหากวางแผนที่จะสร้างสารบัญ จะต้องใส่โครงร่างเลขนําให้กับเอกสาร ด้วย การสร้างสารบัญในที่นี้ มีข้อดีที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อที่เป็นสารบัญ เช่น ย้ายหน้า , แก้ไขข้อความ ก็สามารถสั่ง ให้สารบัญอัพเดทตามได้ นอกจากนีย้ ังสามารถตกแต่งได้อย่างสวยงามขึ้นอยู่กันการออกแบบ การสร้างสารบัญ มีอยู่ 3 ขึ้นตอน ก็คือ 1. ใช้โครงร่างเลขนําแบ่งเอกสารเป็นบทๆ ตามที่อธิบายในข้อ 23.2(หน้า 288) และ 23.3(หน้า 293) 2. สร้างสารบัญ (ข้อ ข.) 3. ปรับแต่งสารบัญ (ข้อ 24.2)

ก. ใช้โครงร่างเลขนําแบ่งเอกสารเป็นบทๆ ในข้อ 23.2 และ 23.3 หลังใส่โครงร่างเลขนําให้กับเอกสาร เอกสารถูกแบ่งเป็นบทๆ 3 ระดับตามภาพที่ 468 เมื่อเปิด หน้าต่าง Navigator(กด <F5>) รายการหัวข้อต่างๆในหมวด Heading จะเป็นส่วนที่ถูกนําไปทําเป็นสารบัญ

ภาพที่ 468 : หลังใส่โครงร่างเลขนําให้กับย่อหน้าต่างๆ

ข. การสร้างสารบัญ การสร้างสารบัญนั้นไม่ยาก ความยุ่งยากอยู่ที่การสร้างโครงร่างเลขนําและการปรับแต่งสารบัญ หลังใส่โครงร่างเลขนํา ให้กับเอกสารแล้ว สามารถสร้างสารบัญได้ดังนี้ ขั้นตอนการสร้างสารบัญ 1. คลิกที่หน้ากระดาษที่เตรียมไว้สําหรับพื้นที่สารบัญ 2. ไปที่ Insert → Indexes and Tables จะปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table 3. ที่ แท็บ Index/Table กําหนดวิธีการสร้างสารบัญ ดังนี้

300

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 469 : ขั้นตอนการสร้างสารบัญ

- ช่อง Title ข้อความตรงนี้จะกลายเป็นชื่อที่อยู่ด้านบนสุดของสารบัญ แต่จะดีกว่าถ้าแยกออกไปพิมพ์เอง (ตามภาพที่ 469) ฉะนั้นให้ลบข้อความออกทั้งหมด - ช่อง Type เลือกเป็น Table of Contents - กล่องตัวเลือก Pretected against manual changes ให้ติ๊กออก เพื่อให้สามารถแก้ไขสารบัญได้โดยตรง บางครั้งการตัดบรรทัดขึ้นหน้าใหม่ในสารบัญไม่เป็นอย่างที่ต้องการ จึงต้องเข้าไปตัดเองบ้าง - ช่อง for เลือกเป็น Entire document เพื่อสร้างสารบัญจากเนื้อหาในเอกสารทั้งหมด หากเลือกเป็น Chapter จะสร้างสารบัญสําหรับบทๆเดียว - ช่อง Evaluate up to level เลือกเป็น 3(ขึ้นอยู่กับการออกแบบสารบัญ) Writer จะดึงโครงร่างเลขนํา 3 ระดับ มาสร้างสารบัญ หากกําหนดเป็น 2 ก็ดึงมา 2 ระดับ ข้อย่อย ก., ข., ค.,... จะไม่มีในสารบัญ - กล่องตัวเลือก Outline ให้ติ๊กถูก เพื่อสร้างสารบัญจากโครงร่างเลขนํา (***) 4. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎสารบัญตามภาพที่ 470

ภาพที่ 470 : ผลหลังสร้าง สารบัญ

บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ

301


24.2 การปรับแต่งสารบัญ (ต่อจากข้อ 24.1) หลังสร้างสารบัญแล้ว หากต้องการปรับแต่ง ให้ คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Edit Index/table จะ ปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table การปรับแต่งสารบัญ หลักๆจะปรับแต่ง ที่แท็บ Entries และ Styles สําหรับแท็บ Column ใช้แบ่งสารบัญออกเป็น สดมน์ แท็บ Background ใช้ใส่พื้นหลังให้กับสารบัญ มีวิธีการปรับแต่งเหมือนกับ ย่อหน้า หรือ หน้ากระดาษ เป็นต้น

ก. การปรับแต่งที่แท็บ Styles แท็บ Styles ใช้ปรับแต่งรูปแบบสารบัญในระดับของย่อหน้า เช่น การกั้นหน้ากั้นหลัง การเว้นช่องว่างด้านบนด้านล่าง เป็นต้น โดยปกติ 1 ย่อหน้าในสารบัญก็คือ 1 บรรทัด ฉะนั้นจึงหยวนๆ เรียกว่าเป็นการปรับแต่งในระดับบรรทัดก็ได้ โครงสร้างของสารบัญแบ่งเป็น 10 ระดับเหมือนกับโครงร่างเลขนํา ทั้ง 10 ระดับถูกกํากับรูปแบบโดยสไตล์ย่อหน้า Contents 1 - 10 ตามลําดับ ฉะนั้น การปรับแต่งจึงต้องไปแก้ทสี่ ไตล์ดังกล่าว(หรือสร้างสไตล์ย่อหน้าขึ้นมาแล้วใช้แทนก็ได้) ที่แท็บ Styles สามารถมอบหมายหน้าที่ให้สไตล์ย่อหน้า ให้กํากับรูปแบบของสารบัญในแต่ละระดับได้ตามภาพที่ 471 ( ตัวอย่างนี้ยังคงใช้สไตล์ย่อหน้า Contents 1-10 ให้กํากับรูป แบบของสารบัญในแต่ละระดับ อยู่ )

ภาพที่ 471 : มอบหมายสไตล์ ย่อหน้าให้กํากับรูปแบบสารบัญใน แต่ละระดับ

หลังมอบหมายหน้าที่ให้สไตล์ย่อหน้าแล้ว หากต้องการแก้ไขสไตล์ ให้คลิกเลือกสไตล์ที่ ช่อง Paragraph Styles จาก นั้นคลิกที่ปุ่ม Edit จะปรากฎหน้าต่าง Paragraph Style : (ชื่อสไตล์ย่อหน้า) ตามภาพที่ 472 ตัวอย่างนี้ ได้แก้ไขสไตล์ย่อหน้า Contents 1 ซึ่งกํากับรูปแบบของสารบัญระดับที่ 1 ให้เว้นช่องว่างด้านบนและล่าง 0.1 ซม. และเปลี่ยนฟอนต์เป็น Th Fah kwang ตัวหนา ขนาด 16pt (ตามภาพที่ 472)

ภาพที่ 472 : แก้ไขสไตล์ Contents 1

302

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


สไตล์ย่อหน้า สามารถเลือกฟอนต์ได้ด้วย(ที่แท็บ Font ตามภาพที่ 472) ซึ่งมีผลต่อทั้งย่อหน้า(หรือทั้งบรรทัด) ในกรณี ต้องการเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรเพียงบางส่วน เช่น เฉพาะเลขหน้าให้เป็นสีแดง เป็นต้น ให้ปรับแต่งเพิ่มเติมที่แท็บ Entries

ภาพที่ 473 : ผลหลังแก้ไข สไตล์ย่อหน้า Contents 1 (ให้เปรียบเทียบกับภาพที่ 470)

ข. การปรับแต่งที่แท็บ Entries แท็บ Entries ใช้ปรับแต่ง โครงสร้างของของสารบัญใน 1 บรรทัด(ในแต่ละระดับของสารบัญ ) ในแต่ละบรรทัดของ สารบัญประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น เลขที่บท, ชื่อบท, การเว้นช่องว่าง, เลขหน้า เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดสามารถปรับ แต่งได้ ทีแ่ ท็บ Entries ส่วนที่สําคัญที่สุดก็คือ ช่อง Structure(โครงสร้าง) เพราะเป็นตัวกําหนดโครงสร้างหลัก ช่อง Structure ประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆเรียงต่อกันเป็นแถวเดียว แต่ละปุ่มเป็นตัวแทนขององค์ประกอบของสารบัญใน 1 บรรทัด ตามภาพที่ 474 ภาพที่ 474 เป็นโครงสร้างของสารบัญระดับที่ 1 ทีย่ ังไม่ได้ถูกปรับแต่ง

ภาพที่ 474 : ผลหลังแก้ไขสไตล์ย่อหน้า Contents 1 (ให้เปรียบเทียบกับภาพที่ 470)

ปุ่ม LS และ LE : (Link Start และ Link End) ทั้ง 2 ต้องใช้คู่กัน โดยคร่อมส่วนอื่นๆเพื่อสร้างลิงค์ที่สามารถคลิกแล้ว โดดไปยังหน้าในเอกสารที่หัวข้อนั้นอยู่ (กด <Ctrl>+คลิกที่สารบัญ = โดดไปยังตําแหน่งในเอกสาร) ปุ่ม E# : (Chapter Number) แทนส่วนที่เป็นตัวเลขเรียงลําดับของโครงร่างเลขนํา บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ

303


ปุ่ม E : (Entry) แทนส่วนที่เป็นข้อความ ที่ต่อจากตัวเลขเรียงลําดับของโครงร่างเลขนํา ปุ่ม T : (Tap Stop) แทนการกดปุ่ม <Tab> 1 ครั้ง ซึ่งสามารถตั้งได้ว่าช่องว่างที่เกิดขึ้น จะใส่เป็นอะไร โดยปกติใส่เป็น จุดเรียงต่อกัน ปุ่ม # : (Page Number) แทนเลขหน้าในเอกสาร ช่องพิมพ์ข้อความ : ใช้พิมพ์ข้อความขั้นระหว่างองค์ประกอบ ปรับแต่งระดับที่ 1 คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Edit Index/table จะปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table ที่แท็บ Entries คลิกเลือก ระดับที่ 1 จากนั้นกําหนดคุณสมบัติต่างๆดังนี้ คลิกที่ช่องว่างระว่าง ปุ่ม E# และ E จากนั้นเคาะ <Spacebar> 1 ครั้ง เพื่อเว้น ช่องว่าง 1 ช่อง ภาพที่ 475 : เว้นช่องว่าง 1 ช่องระหว่าง E# กับ E

คลิกที่ ปุ่ม T (Tab Stop) จากนั้นที่ ช่อง Fill Character เลือกเป็นช่องว่าง ก็คือ ไม่ใส่อะไรเลย

ภาพที่ 476 : ไม่ใส่อะไรเลยเมื่อกดปุ่ม <Tab>

คลิกที่ ปุ่ม # (Page Number) จาก นั้นที่ช่อง Character Style เลือกสไตล์ตัว อักษรที่ใช้กํากับรูปแบบเลขหน้า ตามภาพ ก็คือ WK_char_BlackOutline (วาดขอบ รอบตัวอักษรเป็นสีดํา) ภาพที่ 477 : ใส่สไตล์ตัวอักษรให้เลขหน้า

ภาพที่ 478 เป็นผลหลังปรับแต่ง

ภาพที่ 478 : ผลหลังปรับแต่งสารบัญระดับที่ 1

ปรับแต่งระดับที่ 2 คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Edit Index/table จะปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table ที่แท็บ Entries คลิกเลือก ระดับที่ 2 จากนั้นกําหนดคุณสมบัติต่างๆดังนี้

304

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


คลิ ก ที่ ปุ่ ม T (Tab Stop) จากนั้ น ที่ ช่อง Tab stop position ใส่ตําแหน่งหยุดปุ่ม แท็บ ซึ่งเป็นตําแหน่งบนไม้บรรทัด เพื่อร่นให้ เลขหน้าหดเข้ามาด้านในให้ดูสวยงาม อีกวิธีหนึ่งที่ให้ผลเหมือนกัน ก็คือ คลิกที่ช่องพิมพ์ข้อความ หลังปุ่ม #(Page Number) จากนั้นเคาะ <Spacebar> จน พอใจ ภาพที่ 480 เป็นผลหลังปรับแต่ง

ภาพที่ 479 : หยุดปุ่มแท็บ ณ ตําแหน่ง 10 ซม.

ภาพที่ 480 : ผลหลังปรับแต่งสารบัญระดับที่ 2

ภาพที่ 481 เป็ น ผลสุด ท้า ยหลัง ปรั บ แต่ ง ทั้ ง 3 ระดั บ (การปรั บแต่ง บางอย่า งไม่ไ ด้อ ธิ บ ายไว้ แต่ สิ่ ง ที่ อ ธิ บ ายไว้ ก็ ครอบคลุมการปรับแต่งทั้งหมด)

ภาพที่ 481 : ผลหลังปรับแต่งสารบัญระดับที่ 1-3

ค. แสดงเลขหน้าแบบแยกบท ในกรณีออกแบบเอกสาร ให้นับเลขหน้าแบบแยกบท เช่น 1-1, 1-2, 2-1, 2-2, 2-3... ตามที่อธิบายไว้ในข้อ 23.4 ข. (หน้า 296) แน่นอนว่าสารบัญก็ต้องออกแบบให้แสดงหน้าตามนั้นด้วย

บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ

305


ภาพที่ 482 เป็นผลหลังสร้างสารบัญให้กับเอกสารที่นับเลขหน้าแบบแยกบทที่ยังไม่ได้ปรับแต่ง เลขหน้าที่ปรากฎ เป็น เลขหน้าในบทซึ่งไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน จึงต้องปรับแต่ง ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้

ภาพที่ 482 : สารบัญของ เอกสารที่นับเลขหน้าแบบแยก บท ที่ยังไม่ได้ปรับแต่ง

ขั้นตอนการตั้งให้สารบัญแสดงแลขหน้าแบบแยกบท (ยกตัวอย่างเฉพาะระดับที่ 2) 1. คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Edit Index/table จะปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table จากนั้นตั้งค่าต่างๆที่แท็บ Entries 2. ช่อง Level คลิกเลือกระดับที่ 2 3. คลิกที่ช่องพิมพ์ข้อความระหว่าง ปุ่ม T(Tab Stop) กับ ปุ่ม E(Page Number) 4. คลิกทีป่ ุ่ม Chapter no. ที่ช่อง Structure จะปรากฎปุ่ม E#(Chapter Number) ระหว่างระหว่างปุ่ม T กับ E 5. คลิกที่ ปุ่ม E#(Chapter Number) ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ 6. ทีช่ ่อง Format เลือกเป็น Number without seperator (แสดงตัวเลขเรียงลําดับเพียงอย่างเดียว) 7. ทีช่ ่อง Evaluate up to level ใส่เป็น 1 (แสดงเฉพาะลําดับของตัวเองเท่านั้น) 8. คลิกปุ่ม OK จะได้ผลตามภาพที่ 484

ภาพที่ 483 : ขั้นตอนการตั้งให้สารบัญ แสดงเลขหน้าแบบแยกบท

306

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ภาพที่ 484 : สารบัญของเอกสารที่นับเลขหน้าแบบแยกบท ทีป่ รับแต่งให้แสดงเลขหน้าแบบแยกบทแล้ว

เลขหน้าของบท(ระดับที่หนึ่ง) ใส่สไตล์ตัวอักษรที่ตั้งให้ซ่อนตัวอักษร เลขหน้าจึงไม่แสดง ที่ต้องทํา อย่างนี้เพราะไม่ สามารถลบปุ่ม #(Page Number) ได้

24.3 การบริหารจัดการสารบัญ การอัพเดตสารบัญ หากมีการแก้ไขหัวข้อต่างๆในโครงร่างเลขนํา ที่ถูกดึงไปทําสารบัญ จะต้องสั่งอัพเดทสารบัญ ค่าต่างๆในสารบัญจึงจะ เปลี่ยนตาม เพราะสารบัญไม่ได้อัพเดทอัตโนมัติ การอัพเดตสารบัญ สามารถทําได้โดย คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Update Index/Table การลบสารบัญ คลิกเม้าส์ขวาที่สารบัญ → Delete Index/Table การนําสารบัญไปใช้กับไฟล์อื่น เนื่องจากไม่สามารถคัดลอกสารบัญไปวางในไฟล์อื่นได้ การจะตั้งค่าใหม่ตั้งแต่ต้นก็ไม่สะดวก ฉะนั้นจะนําสารบัญไปใช้ กับไฟล์อื่นๆ จึงต้องอาศัยการแทรกไฟล์ที่มีสารบัญเข้ามาแทน โดยใช้คําสั่ง Insert → File... (ให้ลบเนื้อหาในไฟล์ที่มีสารบัญ ออกไปก่อน เหลือไว้แต่สารบัญจึงค่อนแทรกไฟล์เข้ามา)

24.4 การ การสร้ สร้างสาร งสารบับัญคําบรรยาย (Illustration Index) คํา บรรยายอัตโนมัติ (AutoCaption) ที่ถูกสร้างเพื่อใช้บรรยายภาพ, ตาราง หรืออื่นๆ เราสามารถนํา คํา บรรยายดัง กล่าวมาสร้างเป็นสารบัญได้ การสร้างสารบัญคําบรรยาย (Illustration Index) มีอยู่ 2 ขั้นตอน ก็คือ 1. สร้างคําบรรยายอัตโนมัติให้กบั องค์ประกอบ เช่น คําบรรยายภาพ หรือคําบรรยายตาราง เป็นต้น (ข้อ ก.) 2. สร้างสารบัญคําบรรยายจากคําบรรยายอัตโนมัติ (ข้อ ข.)

บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ

307


ก. การสร้างคําบรรยายอัตโนมัติ คําบรรยายอัตโนมัติ ที่ใช้สําหรับอธิบายวิธีการสร้างสารบัญคําบรรยาย ยกมาจาก คําบรรยายภาพอัตโนมัติ ที่อธิบายไว้ ในข้อ 15.20 ข. หน้า 208 รูปแบบของคําบรรยายภาพอัตโนมัติ ที่ทําไว้ก็คือ รูปที่ <ตัวเลขเรียงลําดับ> : <คําบรรยายที่พิมพ์เอง>

ข. การสร้างสารบัญคําบรรยายจากคําบรรยายอัตโนมัติ (ต่อจาก ข้อ ก.) ขั้นตอนการสร้างสารบัญคําบรรยายอัตโนมัติ 1. คลิกที่หน้ากระดาษที่เตรียมไว้สําหรับพื้นที่สารบัญคําบรรยาย 2. ไปที่ Insert → Indexes and Tables จะปรากฎหน้าต่าง Insert Index/Table 3. ที่ แท็บ Index/Table กําหนดวิธีการสร้างสารบัญ ดังนี้

ภาพที่ 485 : ขั้นตอนการสร้างสารบัญคําบรรยาย

- ช่อง Title ข้อความตรงนี้จะกลายเป็นชื่อที่อยูด่ ้านบนสุดของสารบัญ จะดีกว่าถ้าแยกออกไปพิมพ์เอง (ตามภาพที่ 485) ฉะนั้นให้ลบข้อความออกทั้งหมด - ช่อง Type เลือกเป็น Illustration Index - กล่องตัวเลือก Protected against manual changes ให้ติ๊กออก เพื่อให้สามารถแก้ไขสารบัญได้โดยตรง หลังจากสร้างแล้ว - ช่อง for เลือกเป็น Entire document เพื่อสร้างสารบัญคําบรรยายโดยดึงข้อมูลมาจากทั้งเอกสาร - ติ๊กที่ ตัวเลือกวงกลม Captions เพื่อสร้างสารบัญจากคําบรรยาย หากเลือกที่ Object names จะสร้างสารบัญ จากชื่อของวัตถุ เช่น ชื่อภาพ หรือชื่อตาราง วิธีนี้สะดวกที่ไม่ต้องสร้างคําบรรยายอัตโนมัติก็สามารถสร้างสารบัญ ได้ แต่ต้องขยันตั้งชื่อให้กับวัตถุ ซึ่งเป็นเรื่องที่บริหารจัดการยาก

308

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


- ช่อง Category เลือกหมวดหมู่คําบรรยายอัตโนมัติ (ตามภาพก็คือหมวด “รูปที่”) - ช่อง Display เลือกส่วนของคําบรรยายที่จะแสดง ตัวเลือกที่มีก็คือ References(แสดงคําบรรยายทั้งย่อหน้า) Category and Number(แสดงเฉพาะส่วนที่เป็นตัวเลขอัตโนมัติ) Caption text(แสดงเฉพาะส่วนข้อความ) 4. คลิกปุ่ม OK จะปรากฎสารบัญคําบรรยายตามภาพที่ 486

ภาพที่ 486 : ผลหลังสร้างสารบัญคําบรรยายภาพ

บทที่ 24 : การสร้างสารบัญอัตโนมัติ

309


310

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


บทที่ 25 : กำรพิมพ์สูตรทำงคณิตศำสตร์


25.1 พิมพ์สสูตู รทาง รทางคณิ คณิตศาสตร์ดว้ ย LibreOffice Math การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ จะพิมพ์โดยใช้โปรแกรม LibreOffice Math ซึ่งสามารถแรียกใช้ได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 : เปิดโปรแกรม LibreOffice Math แล้วพิมพ์สูตร (ที่ Writer) ไปที่ Fle → New → Formula จะปรากฎโปรแกรม LibreOffice Math ตามภาพที่ 487 หลังพิมพ์สูตรแล้ว สามารถนําสูตรไปใส่ใน เอกสารได้ โดยการนําเข้า

ภาพที่ 487 : โปรแกรม LibreOffice Math

วิธที ี่ 2 : แทรก Math Object(วัตถุทางคณิตศาสตร์) ลงในเอกสาร การแทรก Math Object (ที่ Writer)ให้ไปที่ Insert → Object → Formula หน้าจอของ Writer จะเปลี่ยนไปเป็น ตามภาพที่ 488 ซึ่งเป็นโหมดพิมพ์สูตร(หรือโหมดการทํางานกับ LibreOffice Math ใน Writer) เมนูของโปรแกรมจะเปลี่ยน เป็นเมนูของ LibreOffice Math โหมดพิมพ์สูตรยังเป็นการทํา งานในเอกสารของ Writer อยู่ (คลิก บนพื้นที่ว่างเพื่อกลับสู่ โหมดปกติ)

ภาพที่ 488 : โหมดพิมพ์สตู ร (หรือโหมดการทํางานกับ LibreOffice Math)

25.2 การพิมพ์สสูตู รทาง รทางคณิ คณิตศาสตร์ การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ ไม่สามารถพิมพ์ตรงๆ ได้เหมือนการพิมพ์ข้อความ เพราะเต็มไปด้วยตัวอักษรแปลกๆเต็ม ไปหมด การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์ จึงใช้การพิมพ์ข้อความในรูปแบบของบรรทัดคํา สั่ง(Command line) ลงในกรอบ Command จากนั้น โปรแกรมจะแปลงไปเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ (ตัวอย่างตามภาพที่ 488)

312

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


การพิมพ์บรรทัดคําสั่ง หากสามารถจํา คําสั่งได้ เช่น คําว่า over คือเส้นแบ่งเศษส่วน ก็สามารถพิมพ์ตรงๆลงในกรอบ Command ได้เลย แต่ถ้าไม่ทราบหรือจําไม่ได้ LibreOffice มีเครื่องมือช่วยเหลือดังนี้ หน้าต่าง Elements ให้ไปที่ View → Elements เพื่อเปิดหน้าต่าง Elements หน้าต่าง Elements เป็นศูนย์รวมของสัญลักษณ์ต่างๆทาง คณิตศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบน เป็นหมวดหมู่ มีทั้งหมด 9 หมวด(9 ปุ่ม)ตามภาพที่ 489 ส่วนล่าง คือสัญลักษณ์ หมวดที่ 1 (ปุ่ม ) Unary/Binary Operator หมวดที่ 4 (ปุ่ม ) Functions หมวดที่ 7 (ปุ่ม ) Others หมวดที่ 2 (ปุ่ม

) Relations

หมวดที่ 5 (ปุ่ม

) Operators

หมวดที่ 8 (ปุ่ม

) Brackets

หมวดที่ 3 (ปุ่ม

) Set Operations

หมวดที่ 6 (ปุ่ม

) Attributes

หมวดที่ 9 (ปุ่ม

) Formats

ภาพที่ 489 : หมวดต่างๆในหน้าต่าง Elements

คลิกเม้าส์ขวาภายในกรอบ Command เมื่อคลิกเม้าส์ขวา ภายในกรอบ Command จะปรากฎรายการคําสั่ง ที่ สอดคล้องกับปุ่มต่างๆ ใน หน้าต่าง Elements

ภาพที่ 490 : คลิกเม้าส์ขวา ภายในกรอบ COmmand

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

313


ขั้นตอนการพิมพ์สูตร 1. (ที่ Writer) ไปที่ Insert → Object → Formula จะเข้าสู่โหมดพิมพ์สูตร 2. คลิกเม้าส์ภายในกรอบ Command เพื่อเตรียมพร้อมพิมพ์คําสั่ง 3. ที่หน้าต่าง Elements (ไปที่ View → Elements เพื่อเปิดหน้าต่าง Elements) 3.1 คลิกเลือกหมวด 3.2 คลิกเลือกสัญลักษณ์ จะปรากฎคําสั่งของสัญลักษณ์นั้นที่กรอบ Command เกือบทุกคําสั่ง จะปรากกฎวงเล็บ <?> อยู่ด้วย ซึ่งหมายถึง ให้พิมพ์ทับด้วยตัวอักษรอื่นๆ 4. พิมพ์สูตรเพิ่มเติม (*** ไปที่ View → AutoUpdate display จะทําให้สมการอัพเดทตลอดเวลาที่พิมพ์) 5. คลิกที่พื้นที่ว่างในเอกสารเพื่อกลับสู่โหมดปกติ

ภาพที่ 491 : ขั้นตอนการพิมพ์สูตร

วงเล็บปีกกา วงเล็บปีกกา( {...} ) ในบรรทัดคําสั่ง ถูกใช้เป็นตัวดําเนินการรวมกลุ่ม ตัวอักษรที่อยู่ในวงเล็บปีกกาจะถูกดํา เนินการ เสมือนเป็นตัวอักษรตัวเดียว ไปไหนก็ไปด้วยกัน วงเล็บปีกกาจะไม่ถูกแสดงในสูตร แต่ถ้าต้องการพิมพ์วงเล็บปีกกา ให้พิมพ์คําสั่ง lbrace <?> rblace หรือคลิกที่ ปุ่ม (Brackets) → (Braces)

ภาพที่ 492 : คําสั่งพิมพ์วงเล็บปีกกาในสูตร

314

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


68

การซ่อนเส้นลายนํ้าของ Math Object

การซ่อนเส้นลายนํ้าหรือเส้นขอบเขตของ Math Object ใช้วิธีเดียวกับการซ่อนเส้นขอบเขตของหน้า กระดาษ เมื่อซ่อนเส้นขอบเขตของหน้ากระดาษ เส้นขอบเขตของ Math Object ก็จะถูกซ่อนด้วย ให้ไปที่ View → Text Boundaries เพื่อซ่อน/แสดงเส้นขอบเขต

25.3 ตัวอักษรกรีกและอักขระพิเศษ บางสูตรที่ต้องพิมพ์ตัวอักษรกรีกหรืออักขระพิเศษ เช่น α ,β , γ , θ ให้ไปที่ Tool → Catalog... จะปรากฎหน้าต่าง Symbols เพื่อให้เลือกตัวอักษรกรีก ตามภาพที่ 493

ภาพที่ 493 : ขั้นตอนการพิมพ์ตัวอักษรกรีกลงในบรรทัดคําสั่ง

ในกรณีต้องการพิมพ์อักขระพิเศษที่นอกเหนือจากตัวอักษรกรีก ที่ ช่อง Symbols set ให้เลือกเป็น Special จะปรากฎ อักขระพิเศษให้เลือกจํา นวนหนึ่ง ซึ่งมีไม่มาก แต่ทั้งนี้มีอักขระพิเศษให้เลือกมากมายแต่ ต้องเพิ่มเข้ามาก่อน โดยที่หน้าต่าง Symbols คลิกทีป่ ุ่ม Edit จะปรากฎหน้าต่าง Edit Symbols มาให้เลือกอักขระพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งสามารถเพิ่มลงในหมวดต่างๆ ได้ตามขั้นตอนในภาพที่ 494

ภาพที่ 494 : ขั้นตอนการเพิ่มอักขระพิเศษลงในหมวดของอักขระพิเศษ

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

315


ตัวอักษรกรีกหรืออักขระพิเศษ เมื่อ อยู่ในบรรทัดคํา สั่ง จะมีเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ (%)นํา หน้า ตามด้วยชื่อ เช่น %thera ก็คือ θ , %infinite ก็คือ ∞ เป็นต้น ครั้งต่อไปหากต้องการใส่ตัวอักษรกรีกหรืออักขระพิเศษ สามารถพิมพ์คําสั่งลง ไปตรงๆที่กรอบ Command ได้ (ถ้าจําชื่อได้)

25.4 การวางตําแหน่ง Math Object ในแนวดิ่ง เราไม่สามารถปรับขนาดของ Math Object ได้ Math Object จะปรับขนาดอย่างอัตโนมัตติ ามสูตรที่อยู่ข้างใน การอ้างอิงตําแหน่งของ Math Object ใช้ระบบสมอเช่นเดียวกับภาพ (ดูเรื่องสมอได้ในข้อ 15.6 หน้า 183) อย่างไรก็ดี เกือบ 100% สมอที่ใช้กับ Math Object เป็น สมอแบบ As Character (คลิกเม้าส์ขวาที่ Math Object → Anchor → As Character) เพราะจะวางตําแหน่งได้ดีเมื่ออยู่ในบรรทัดเดียวกับข้อความ หลังใช้สมอแบบ As Character กับ Math Object แล้ว การปรับแนวของ Math Object ในแนวดิ่ง สามารถทําได้โดย วิธีที่ 1 : คลิกค้างแล้วที่ Math Object แล้วลากขึ้นหรือลง วิธีที่ 2 : คลิกที่ Math Object แล้วกดคีย์ลูกศร <↑> หรือ <↓> หากต้องการปรับอย่างละเอียดทีละน้อยๆ ให้กด <Alt><↓> หรือ <Alt><↑> วิธีที่ 3 : คลิกเม้าส์ขวาที่ Math Object → Object... จะปรากฎหน้าต่าง Object... การกําหนดตําแหน่งในหน้าต่าง Object เหมือนกันการกําหนดตําแหน่งภาพทุกประการ ภาพที่ 495 เป็นตัวอย่างการปรับแนวของ Math Object เพื่อให้ดูสวยงาม เมื่อวางอยู่ในบรรทัดเดียวกับข้อความ

ภาพที่ 495 : ตัวอย่างการปรับการวางแนว Math Object ในแนวดิ่ง

25.5 การ การปรั ปรับแต่งฟอนต์ การเปลี่ยนฟอนต์ ฟอนต์ในสูตรถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่ม Variables (เช่นตัวอักษร x, y, z หรือข้อความ), กลุ่ม Functions, กลุ่ม Numbers(ตัวเลข), กลุ่ม Text (สัญลักษณ์สูตรที่เป็นข้อความ เช่น lim) เป็นต้น การกําหนดฟอนต์ให้กับแต่ละกลุ่ม สามารถ ทําได้ดังนี้ ขั้นตอนการเปลี่ยนฟอนต์ในสูตร 1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Math Object เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์สูตร 2. ไปที่ Format → Fonts... จะปรากฎหน้าต่าง Fonts

316

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


3. คลิกที่ปุ่ม Modify → (เลือกหมวดหมู่ของสัญลักษณ์ในสูตร) จะปรากฎหน้าต่างให้เลือกฟอนต์ 4. เลือกฟอนต์ 5. คลิกปุ่ม OK 6. ทําซํ้าข้อ 3-5 เพื่อเลือกฟอนต์ให้กับกลุ่มอื่นๆในสูตร 7. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 496 : ขั้นตอนการเปลี่ยนฟอนต์ให้กับสูตร

ตัวอย่างก่อนและหลังการปรับแต่ง ( x−1)3 ( x−1)( x+1)

3

( x −1)

( x−1)( x +1)

สําหรับการกําหนดฟอนต์ ที่กรอบ Custom fonts (ช่อง Serif, Sans, Fixed) ที่หน้าต่าง Fonts เป็นการกําหนดฟอนต์ ให้กับคําสั่งในหมวด Attributes (ปุ่ม ) ซึ่งเป็นการจัดรูปแบบตัวอักษรแบบเจาะจง เมื่อมีการใช้คําสั่งในกลุ่มดังกล่าวจะใช้ ฟอนต์ที่ถูกกําหนดในกรอบ Custom fonts (ช่อง Serif, Sans, Fixed) ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง

สูตร

font Fixed {XYZ} - font Sans {XYZ} - font Serif {XYZ} color green {x-1} over {x+1} (ใส่สีเขียวเฉพาะส่วนบน) (bold XYZ)-(ital XYZ)-(size 20 XYZ)

XYZ − XYZ − XYZ x −1 x +1 ( XYZ )−( XYZ )−( XYZ )

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

317


การเปลี่ยนขนาดฟอนต์ ขนาดของฟอนต์ในสูตรถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆคล้ายๆกับรูปแบบฟอนต์ เช่น กลุ่ม Text(เช่นตัวอักษร x, y, z หรือข้อความ), กลุ่ ม Indexes(ตั ว ยกตั ว ห้ อ ย), กลุ่ ม Functions, กลุ่ ม Operater(ตั ว ดํา เนิ น การเช่ น เครื่ อ งหมาย + -), กลุ่ ม Limit (เครื่องหมายที่อยู่ด้านบนและล่าง) อย่างไรก็ดีทั้งหมดจะเริ่มต้นจากขนาด Base size(ขนาดพื้นฐาน) ซึ่งขนาดของฟอนต์ใน แต่ละกลุ่มจะเป็นสัดส่วนกับขนาดของ Base size ขั้นตอนการปรับขนาดฟอนต์ 1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Math Object เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์สูตร 2. ไปที่ Format → Fonts Size... จะปรากฎหน้าต่าง Font Sizes 3. กําหนดขนาดฟอนต์ 4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 497 : ขั้นตอนการปรับขนาดฟอนต์

ตัวอย่างก่อนและหลัง 3

3

( x −1) → ( x−1)( x +1)

( x −1) ( x −1)( x +1)

(ปรับให้เครื่องหมาย + - ลดลงเหลือ 60%)

3

3

( x −1)

(x −1)( x +1)

( x −1) ( x −1)( x +1)

(Base size ขนาด 12 pt และ 18pt ตามลําดับ)

25.6 การปรับแต่งช่องว่าง สูตรบางสูตรมีการเว้นช่องว่างที่ยังไม่สวยงาม เช่นสูตร lim

n ∞

3

อยู่ตดิ กันเกินไป หรือสูตร

1

(√ √ ) n + (2n− 1)

=

0 เครื่องหมายรากที่สองซ้อนกัน

( x −1) ส่วนทีอ่ ยู่ด้านล่างอยู่ติดกับเส้นเศษส่วนเกินไป แต่ด้านบนกลับห่างเกินไป เป็นต้น ( x −1)( x +1)

การเว้นช่องว่างภายในสูตรถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆจํานวนมาก เพื่อ สะดวกแก่การปรับแต่งการเว้นช่องว่างได้อย่างละเอียด ซึ่งสามารถทําได้ดังนี้

318

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


ขั้นตอนการปรับแต่งช่องว่าง 1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Math Object เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์สูตร 2. ไปที่ Format → Spacing... จะปรากฎหน้าต่าง Spacing 3. คลิกที่ปุ่ม Catagory → (เลือกหมวดหมู่ของช่องว่าง) 4. กําหนดขนาดช่องว่าง 4.1 คลิกภายในช่องกําหนดขนาด ภาพแสดงตําแหน่งช่องว่างจะเปลี่ยนให้สอดคล้อง ช่วยให้เข้าใจความหมายของ สิ่งที่จะกําหนดได้เป็นอย่างดี (ภาพที่ 498 เป็นการปรับช่องว่างของเครื่องหมายรากที่สอง) 4.2 กําหนดขนาด 5. ทําซํ้าข้อ 3-4 เพื่อกําหนดขนาดให้กับกลุ่มอื่นๆ 6. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 498 : ขั้นตอนการปรับแต่งช่องว่างในสูตร

ตัวอย่างก่อนและหลัง ซึ่งเป็นผลจากการปรับแต่งช่องว่างในสูตรตามขั้นตอนในข้างต้น lim n ∞

1

(√ √ ) n + (2n− 1)

=

0 → lim n ∞

(√

1. ปรับช่องว่างของเครื่องหมายรากที่สองให้มากขึ้น 0 2. ปรับช่องว่างใต้เส้นเศษส่วนให้มากขึ้น n +√ (2n− 1) 3. ลดความหนาของเส้นเศษส่วนลง 1

)

=

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

319


25.7 การ การวาง วางแนว แนวในแนวราบ ในแนวราบ โดยปกติข้อความหรือตัวอักษรในสูตรจะถูกจัดไว้กลางเสมอ แต่ทั้งนี้เราสามารถเลือกวางแนวในแนวราบได้ตามความ ต้องการ ขั้นตอนการวางแนวในแนวราบ 1. ดับเบิ้ลคลิกที่ Math Object เพื่อเข้าสู่โหมดพิมพ์สูตร 2. ไปที่ Format → Alignment... จะปรากฎหน้าต่าง Alignment 3. เลือกการวางแนว 4. คลิกปุ่ม OK

ภาพที่ 499 : ขั้นตอนการวางแนว

ตัวอย่างก่อนและหลัง 3

2

x − x + 2x−1 3

x −1

3

2

x − x + 2x− 1 3 −

x 1

(จัดชิดซ้าย)

นอกจากวิธีตามขั้นตอนในข้า งต้ นแล้ ว สามารถใช้คํา สั่ ง alignl(ชิดซ้าย), alignc(เข้ากลาง), alignr(ชิดขวา) เพื่อ กําหนดการวางแนวได้ดว้ ย ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง alignl {x^3-x^2+2x-1} over {x^3-1} alignr {x^3-x^2+2x-1} over {x^3-1}

สูตร x 3− x 2 +2x −1 x 3−1 x 3− x 2+ 2x −1 x 3 −1

ในกรณีต้องการวางแนวให้เครื่องหมายบางเครื่องหมายตรงกัน ให้ใช้การวางซ้อนแบบเมทริกซ์(Matrix stack) และใช้ 3 คําสั่งในข้างต้นช่วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ บรรทัดคําสั่ง matrix{ alignr y^3 # "=" # alignr x^2-y-1 ## alignr y^2+x^2 # "="# alignl 1 }

สูตร y3 y 2+ x 2

= x 2 − y −1 = 1

*** การพิมพ์เครื่องหมาย = (เท่ากับ) ในสูตร หากอยู่ในเมทริกซ์ ให้ใช้เครื่องหมายคําพูด (“”) คร่อมด้วย

320

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)


25.8 คําสั่งพิมพ์สตู รทางคณิตศาสตร์ททีสี่ ําคัญๆ การขึ้นบรรทัดใหม่ การกด <Enter> เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ในบรรทัดคําสั่ง ไม่มีผลต่อสูตร หากต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ต้องใช้คําสั่ง newline หรือคลิกที่ปุ่ม (Formats) → (Newline) ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง

สูตร

x+y=1 x-y=2

x+ y=1 x− y=2

x + y = 1 newline x - y = 2

x+ y=1 x− y=2

x + y = 1 newline x-y=2

x+ y=1 x− y=2

การปรับช่องว่างระหว่างบรรทัดในสูตร สามารถปรับได้ที่ หมวด Spacing ช่อง Line Spacing

ภาพที่ 500 : ปรับขนาดช่องว่างระหว่างบรรทัดที่ช่อง Line Spacing

การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างโดยการกด <Spacebar> หรือกด <Tab> ในบรรทัดคําสั่ง ไม่มีผลต่อสูตร หากต้องการเว้นช่องว่าง ต้องใช้คํา สั่ง โดยพิมพ์ตัวอักษร “ ′ ”(Grave) หรือใช้ ปุ่ม ขนาดเล็ก หรือพิมพ์ตัวอักษร “~” หรือใช้ ปุ่ม ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง x + y = 1 newline x - y `=`2 newline x + y ~=~3

(Formats) →

(Formats) →

(Small gap) สําหรับการเว้นช่องว่าง

(Gap) สําหรับการเว้นช่องขนาดปกติ

สูตร x+ y=1 x− y = 2 x+ y = 3

การกําหนดลิมิต(limit) การกําหนดลิมิตในสัญลักษณ์ lim ,∑ หรือ ∫ ใช้คําสั่งเดียวกัน ก็คือ form <?> to <?> หากส่วนใดไม่มีก็ให้เว้นไว้

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

321


ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง

สูตร

lim from {x %UxE124 %infinite} {1 over x^2} (เครื่องหมาย → และ ∞ ใช้อักขระพิเศษ)

lim

x ∞

1 2 x

10

sum from x=1 to 10 {3x^2+2x+1}

∑ 3x 2 +2x+1 x=1

sum _{x=1}^10 {3x^2+2x+1} ประยุกต์ใช้ตัวยก(ตัว ^) หรือตัวห้อย(ตัว _) แทน from และ to

10

∑x =1 3x2 + 2x+1 x

int from 0 to x f(x) dx

∫ f ( x) dx 0

int_0^x f(t) dt ประยุกต์ใช้ตัวยก(ตัว ^) หรือตัวห้อย(ตัว _) แทน from และ to

x

∫0

f ( x) dx

π

∬ f ( x)

iint from 0 to %pi f(x)

0

int from 0 to %pi iint from 0 to %pi f(x)

π

π

0

0

∫∬ f (x )

เมทริกซ์ การพิมพ์เมทริกซ์ให้ใช้คํา สั่ง Matrix { <?> # <?> ## <?> # <?> } เครื่องหมาย # ใช้ขั้นระหว่างสดมน์ในแถว เดียวกัน เครื่องหมาย ## ใช้ขึ้นแถวใหม่ สําหรับวงเล็บครอบเมทริกซ์ ให้ใช้คําสั่ง left <ชนิดของวงเล็บ> Matrix{ไส้ใน} right <ชนิดของวงเล็บ> หากไม่ต้องการวงเล็บข้างใด ให้ตามด้วยคําสั่ง none เช่น left none เป็นต้น ตัวอย่าง บรรทัดคําสั่ง

322

สูตร

( Matrix {1 # 2 # 3 ## 4 # 5 # 6 ## 7 # 8 # 9 } )

1 2 3 (4 5 6) 7 8 9

left ( matrix {1 # 2 # 3 ## 4 # 5 # 6 ## 7 # 8 # 9} right )

( ) 1 2 3 4 5 6 7 8 9

matrix {1 # 2 # 3 ## 4 # 5 # 6 ## 7 # 8 # 9}

1 2 3 4 5 6 7 8 9

left [ matrix {1 # 2 # 3 ## 4 # 5 # 6 ## 7 # 8 # 9} right none

[

คัมภีร์ LibreOffice Writer 3.6 (ห้ามตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์)

1 2 3 4 5 6 7 8 9


การกําหนดช่องว่างระหว่างสมาชิกในเมทริกซ์ สามารถปรับได้ที่ หมวด Matrices ช่อง Line spacing และ Column spacing

ภาพที่ 501 : ปรับขนาดช่องว่างระหว่างสมาชิกในเมทริกซ์

ตัวอย่างอื่นๆ บรรทัดคําสั่ง

สูตร

x over x^2 - 5

x −5 2 x

x over { x^2 - 5}

x x −5 2

x 2 (1+ ) 2 3 x (1+ ) 3

{(1+x over 2)^2} over {(1+x^3 over 3)} {%Ux2200}x {%Ux2203} y {%element } [x-y^3] = 1

∀ x ∃ y ∈[ x − y 3 ]=1

√ n+√(2n−1)

sqrt{n+sqrt{(2n-1)}

1

left ( 1 over sqrt{n+sqrt{(2n-1)} } right) =0

(√

sign(x) = left lbrace stack {alignr{-1 " if" x < 0} # alignr{0 " if" x = 0} # alignr{ 1 " if" x > 0 }} right none

−1 if x< 0 sign( x)= 0 if x=0 1 if x> 0

{dy} over {dx} {partial^2 f} over {partial z} (a,b) {1-xy-y^2} overbrace {p(x,y)}

)

=0

n+ √ (2n−1)

{

dy dx ∂2 f (a , b) ∂z p( x , y)

⏞ 1− xy− y 2

บทที่ 25 : การพิมพ์สูตรทางคณิตศาสตร์

323



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.