Mural painting at jomping e book 1 130806

Page 1

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระธาตุจอมปิง จังหวัดลำ�ปาง

อาทิตยา ธุมาศิลป์


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระธาตุจอมปิง จังหวัดลำ�ปาง อาทิตยา ธุมาศิลป์ 530310149 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย อาทิตยา ธุมาศิลป์ ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 17 pt.


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระธาตุจอมปิง จังหวัดลำ�ปาง อาทิตยา ธุมาศิลป์


จิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมฝาผนังสร้างขึ้นในสถานที่อันเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และสูงส่ง เช่น วัดวาอาราม ศาสนสถาน พระบรมมหาราชวัง พระมหาปราสาท ซึ่งส่งผล โดยตรงกับจิตใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกสงบ อยู่ในอาการสำ�รวม เป็นสถานที่ ควรเคารพสักการะ เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ และน้อมจิตไปทางกุศล จิตรกรรมฝาผนังเป็นผลงานสร้างสรรค์ของช่างจิตรกรไทย เป็นส่วนหนึง่ ของศิลปวัฒนธรรมของชาติ มีพัฒนาการต่อเนื่องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ทางสังคมวัฒนธรรม โดยมีบทบาทและหน้าที่สำ�คัญ กล่าวคือ เป็นเครื่องหมาย สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมอันมีค่าต่อสังคม เป็นการแสดง ภาพสัญลักษณ์อันเป็นผลผลิตทางพุทธปัญญาของบรรพชน เป็นภาพประดับ ตกแต่งอาคารให้วจิ ติ รสวยงาม สะท้อนสภาพชีวติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นในสังคม วัฒนธรรมไทย เป็นแหล่งสะสมความรูห้ รือตำ�ราภาพทางพุทธศาสนา ตลอดจน เป็นการแสดงออกถึงจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของช่างจิตรกรไทย และมี ประโยชน์ด้านวิชาการความรู้ในศาสตร์และศิลป์อย่างอเนกอนันต์ แนวคิดในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยด้านเนือ้ หาหรือเรือ่ งทีใ่ ช้เขียน ภาพจิตรกรรมไทยนัน้ เป็นไปตามความเชือ่ และความเลือ่ มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ดังนั้น จิตรกรรมไทยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนาพุทธ ที่เน้นในเรื่องคุณงามความดี ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และ ใช้อบรมสั่งสอนให้พุทธศาสนิกชนประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามตามปรัชญาใน พุทธศาสนา จนอาจกล่าวได้ว่าจิตรกรรมไทยเป็นพุทธจิตรกรรม

2 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง


จิตรกรรมฝาผนังล้านนา

จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างล้านนา หมายถึง จิตรกรรมฝาผนังทีส่ ร้างขึน้ โดย เงือ่ นไขและบริบททางสังคมวัฒนธรรมล้านนา จะเห็นได้จากเรือ่ งราวการดำ�เนินชีวติ ค่านิยม คติความเชือ่ และขนบธรรมเนียมประเพณีตา่ งๆ โดยเฉพาะเรือ่ งราวทาง พุทธศาสนา สำ�หรับจิตรกรรมฝาผนังล้านนาเฉพาะที่พบอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ของประเทศไทยปัจจุบันเป็นดินแดนซึ่งแต่เดิมคืออาณาจักรล้านนาอันรุ่งเรือง (พ.ศ. 1839 - 2101) แม้ว่าต่อมาจะเสียเอกราชให้กับพม่ามากกว่า 200 ปี (พ.ศ. 2101 - 2317) และอยูใ่ นฐานะประเทศราชของกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2317 - 2442) จนกระทั่งถูกผนวกเข้าส่วนหนึ่งของสยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงอย่างไรก็ตาม ตัวตนของล้านนาในประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ยังปรากฏสืบเนื่องตลอดมาภายใต้เงื่อนไขแวดล้อมทางสังคม การเมือง และ เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนังที่พบ อยู่ในดินแดนล้านนานี้จึงเป็นหลักฐานที่สามารถแสดงถึงความมีอยู่และความ สืบเนื่องของล้านนาได้อย่างดียิ่งอีกทางหนึ่ง นอกจากลักษณะเฉพาะถิ่นแล้ว ยังพบว่ามีอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะ จากภายนอกอยู่จำ�นวนไม่น้อย เนื่องจากล้านนามีการติดต่อสัมพันธ์กับดินแดน และบ้านเมืองอื่นโดยรอบอยู่ตลอดเวลา ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนังนั้น กล่าวกันว่า ได้มีการว่าจ้างช่างจากต่างแดนเข้ามาเขียนด้วย ได้แก่ พม่า ไทใหญ่ ลาว และไทยภาคกลาง ผลงานของช่างเหล่านี้มีทั้งที่ใช้รูปแบบศิลปะของตนเอง โดยตรง และแบบที่ปรับเปลี่ยนหรือประกอบขึ้นใหม่ ตามความต้องการของ ท้องถิ่น แต่สิ่งที่สำ�คัญก็คือ ผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างให้กับช่างพื้นเมือง ทำ�ตามในหลายรูปลักษณะและหลายระดับ แล้วแต่พื้นฐานของช่างแต่ละคน เป็นเหตุให้จิตรกรรมฝาผนังล้านนายิ่งเพิ่มความหลากหลายขึ้นไปอีก

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 3



วัดพระธาตุจอมปิง

วัดพระธาตุจอมปิง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านจอมปิง ตำ�บลนาแก้ว อำ�เภอเกาะคา จังหวัดลำ�ปาง จากตัวเมืองลำ�ปางไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทาง 26 กิโลเมตร วัดพระธาตุจอมปิงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวี ขณะมา สร้างวัดพระธาตุลำ�ปางหลวงเสร็จแล้วก็เสด็จมาสร้างวัดพระธาตุจอมปิงอีก จากนั้นวัดก็ร้างไป ต่อมาท่านนันทปัญญาพีเ่ ลีย้ งของพระเจ้าลกคำ� (เจ้าติโลกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่) ได้มาทำ�การบูรณะ ซึ่งเมืองนี้มีชื่อว่า “จุมภิตาราม” ท่านนันทปัญญามีเพื่อนชื่ออ้ายจอมแพร่ ทั้งสองได้สร้างวัดคนละวัด วัดทีอ่ า้ ยจอมแพร่สร้าง คือ วัดจอมปิงลุม่ ในปัจจุบนั ส่วนวัดทีท่ า่ นนันทปัญญา สร้าง ชือ่ วัดจอมพีเ่ ลีย้ ง (วัดพระธาตุจอมปิง) ถึง พ.ศ. 2000 ได้เกิดศึกพระยาใต้ (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา) ยกทัพมาประชิดเมืองลำ�ปาง เจ้าหมื่นด้งนครไม่อยู่ไปราชการที่เชียงใหม่ เหลือแต่พระนางจามเทวีกำ�ลังตั้ง ครรภ์เจ้าหาญ ได้แต่งกายเป็นชายออกไปสู้รบจนกองทัพพระยาใต้พ่ายไป เจ้าหมื่นด้งนครและเจ้าติโลกราชทราบ ได้ยกกองทัพจากเมืองเชียงใหม่มาช่วย สถานที่รบเรียกว่า “มหาสนุก” และได้ฉลองชัยชนะทีว่ ดั นี้ พระนางได้สร้างเจดีย์ ไว้องค์หนึง่ ส่วนสัณฐานดังกองข้าวเปลือก ได้ตง้ั ชือ่ เสียใหม่วา่ “วัดจอมพิงค์ชยั มงคล” จนเพีย้ นมาเป็น จอมปิง ในปัจจุบนั

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 5


เมื่อพูดถึงวัดพระธาตุจอมปิง ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเงาพระธาตุ กลับหัว แต่สิ่งที่น่าสนใจของวัดพระธาตุจอมปิงแห่งนี้ ไม่ได้มีเพียงแต่ความ สวยงามของเงาพระธาตุกลับหัวเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกอย่างที่น่าสนใจ นั้นก็คือ ภาพจิตรกรรมที่ประดับอยู่ในวิหารหลวง

เงาพระธาตุกลับหัว

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ประดับอยู่ในวิหารหลวงของวัดพระธาตุจอมปิง แห่งนี้ เป็นภาพเขียนที่บอกเล่าเรื่องพุทธประวัติตั้งแต่เริ่มจนจบเรื่อง “สล่าแต้ม” เป็นคนบ้านนาแส่ง ได้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ในการวาด มีการนำ�ศิลปะและความเชื่อวัฒนธรรมของทั้งสองภาคผสมกัน คือ ภาคกลาง กับภาคเหนือ และได้นำ�รูปแบบการแต่งกายสมัยใหม่ผสมผสานเข้าไปในงาน จิตรกรรมด้วย 6 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง


อ่านภาพจิตรกรรม

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ประดับอยู่ในวิหารวัดพระธาตุจอมปิง เป็นงาน จิตรกรรมเล่าเรือ่ งพุทธประวัตติ ง้ั แต่ตน้ จนจบลงบนฝาผนัง จำ�นวนทัง้ หมด 25 ภาพ แต่ละภาพได้เล่าถึงพุทธประวัตติ อนต่างๆ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม การแต่งกาย การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ สีและเทคนิคที่ใช้ในงานเขียน ที่ล้วนแต่แสดง ความเป็นเอกลักษณ์ของงานสกุลช่างล้านนาและการผสมผสานงานสกุลช่างอื่น ในงานด้วย โดยเอกลักษณ์สำ�คัญที่ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง คือ การแต่ง กายของบุคคล จำ�แนกการแต่งกายในงานจิตรกรรมฝาผนังได้ดังนี้

ภายในวิหาร

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 7


ภาพการแต่งกายของชนชั้นกษัตริย์ช่างเขียนได้นำ�ประเพณีการแต่งกายสมัยใหม่ ผสมเข้าไป ดังภาพเจ้าชายสิทธัตถะเป็นเด็กใส่เสื้อยืดลายขวางคอกลม บิดาผูก เนคไทค์ มารดาสวมกระโปรงแบบนิวลุค

ภาพการแต่งกายของกษัตริย์ที่ยังคงรูปแบบกษัตริย์ในงานจิตรกรรมไทยประเพณี ภาคกลาง สวมสายสังวาล ไม่สวมเสื้อ 8 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง


การแต่งกายของชนชั้นกษัตริย์ การแต่งกายของชนชั้นกษัตริยแ์ ละเทวดาทั้งชายและหญิงมีลักษณะ คล้ายการแต่งกายแบบกษัตริย์ในงานจิตรกรรมไทยประเพณีของภาคกลาง การสวมชฎา เครื่องประดับทอง แพรพรรณที่งดงามและความพิเศษกว่าคนทั่วไป ทั้งหมด เพื่อบ่งบอกฐานะที่เหนือกว่าคนทั่วไป ในชนชั้นกษัตริย์รวมถึงเทวดา ปรากฏรูปแบบการแต่งกายที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย อาทิ การสวมเสื้อหรือ ไม่สวมเสื้อ บ้างก็เป็นลักษณะของการพาดผ้าสไบหรือผ้าตุ้มผ้าห่ม ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดพระธาตุจอมปิงมีรูปแบบการแต่งกาย ของชนชั้นสูงที่ต่างกันถึง 4 รูปแบบ

ภาพการแต่งกายของกษัตริย์ที่ยังคงรูปแบบกษัตริย์ในงานจิตรกรรมไทยประเพณี ภาคกลาง สวมชฎามงกุฎกรวยยอดเป็นทอง เสื้อแขนยาว และสวมสายสังวาล

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 9


การแต่งกายของสมณะ การแต่งกายที่ปรากฏบนภาพจิตรกรรมของเหล่าผู้ถือศีล ประกอบด้วย พระสงฆ์ ฤาษี และพราหมณ์ การแต่งกายของพระสงฆ์และฤาษี จะมีลักษณะ ที่คล้ายกัน จะนุ่งผ้าสองชิ้นทับกันเป็นจีวรและสบง ต่างกันเพียงฤาษีหนังเสือ ส่วนพราหมณ์ มีลักษณะเหมือนกับคนทั่วไป นุ่งขาวห่มขาว มีผิวสีดำ� เพื่อแสดงความเป็นคนต่างชาติต่างถิ่น มักปรากฏตามงานจิตรกรรมต่างๆ เนื่องจากพุทธและพรามณ์ค่อนข้างมีความเกี่ยวโยงกันมีความสัมพันธ์กัน ทางอ้อมผ่านระบบกษัตริย์ กษัตริย์นับถือศาสนาพุทธ แต่ใช้พิธีกรรมพราหมณ์ ภาพงานจิตรกรรมในศาสนาพุทธจึงมักปรากฏภาพพราหมณ์ด้วยเสมอๆ

ภาพการแต่งกายของพระสงฆ์

ภาพการแต่งกายของพราหมณ์ ในงานอภิเษกสมรส 10 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง


การแต่งกายของข้าราชบริพาร เสนาอำ�มาตย์ (ขุนนาง) ลักษณะที่ช่างเขียนเพื่อบอกว่าเป็นขุนนาง มักมีเสื้อผ้าแบบผู้ดีใส่ ไม่นิยมเปลือยอก มีหมวกหรือเครื่องประดับศีรษะ ทหาร ใส่เสื้อผ้าคล้ายกันแต่อาจใช้สีที่ต่างออกไป ตัวภาพไม่ใหญ่ แต่อยู่เรียงและรวมกัน มักพบว่าไว้ผมทรงมหาดไทยและบ้างก็มีหมวก และ มักจะถืออาวุธไว้เสมอๆ นางกำ�นัลหรือข้ารับใช้ฝ่ายหญิง ช่างจะเขียนไม่แตกต่างจากหญิง ชาวบ้านมากนัก แต่จะมีเครื่องบอกสถานะคือ การประดับมวยผมด้วยรัดเกล้า ที่เป็นเงินหรือทอง มีผ้าคลุมไหล่ที่สวยงามไม่นิยมเปลือยอก และจะอยู่ตาม เขตพระราชฐาน ในพระราชวัง มักพบเสมอกับการอยู่ร่วมกับกษัตริย์ และ มเหสี ตัวภาพมีขนาดเล็กก้มหมอบหรือแอบอยู่ตามสถาปัตยกรรม

ภาพการแต่งกายของนางกำ�นัล ในราชสำ�นัก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 11



สีที่ใช้ในงานจิตรกรรม ภาพจิตรกรรมฝาผนังของวิหารวัดพระธาตุจอมปิง ช่างเขียนได้ใช้สีฝุ่น และใช้เทคนิคการเขียนสีฝุ่นลงบนฝนัง สีที่ใช้ประกอบด้วย • สีเหลือง เป็นสีที่ใช้มากที่สุด ใช้แทนสีทองหรือทอง นิยมใช้ใน งานสถาปัตยกรรม และเครื่องประดับของตัวละคร • สีแดง มักใช้ในเครื่องแต่งกายของตัวละคร และงานสถาปัตยกรรม • สีฟ้าคราม มักพบในสีของฉาก ท้องฟ้า แม่นํ้า และเครื่องแต่งกาย • สีดำ� พบมากในงานตัดเส้น มีทั้งเส้นหนา และเส้นบาง • สีขาว ถูกนำ�ไปใช้แทนสีผิว เครื่องแต่งกายของตัวละคร และ งานสถาปัตยกรรม

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 13


การลำ�ดับเรื่อง การลำ�ดับเรื่องราวของช่างเขียนงานจิตรกรรมฝาผนังวัดพระธาตุจอมปิง มีการลำ�ดับเรื่องราวไม่เป็นแบบแผนที่แน่นอนหรือตายตัว มีความหลากหลายใน การใช้ลูกเล่นเล่าเรื่อง ดังนี้ • การลำ�ดับเรื่องแบบแนวเส้นขนาน บอกระยะไกล - ใกล้ ลำ�ดับก่อน-หลัง จากซ้ายไปขวา • การลำ�ดับเรื่องแบบฟันปลา (ใช้ธรรมชาติเป็นตัวแบ่งภาพ) นิยมใช้ในตอนที่เกิดเหตุการณ์ก่อนหลังในเวลาใกล้เคียงกัน จากซ้ายไปขวา • ส่วนภาพที่มีฉากเดียวมักใช้การลำ�ดับจากซ้ายไปขวาเช่นกัน

ภาพการลำ�ดับภาพเหตุการณ์ก่อนหลังในเวลาใกล้เคียงกัน จากขวาไปซ้าย

14 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง


การแบ่งฉาก การเล่าเรื่องตอนเดียวในฉากเดียว จะวางภาพไว้ตรงกลาง โดยแบ่งภาพ ออกเป็นสองส่วน คือ พื้นหลังส่วนที่ใช้ดำ�เนินเรื่อง และท้องฟ้า การเล่าเรื่องตอน เดียวในสองฉาก และสามฉาก จะมีแบ่งฉากด้วย กำ�แพง รั้ว แม่นํ้า และต้นไม้

ภาพการแบ่งฉากโดยการใช้ธรรมชาติ

ภาพการแบ่งฉากโดยการใช้กำ�แพง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง 15



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.