ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา

Page 1

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารธรรมแห่งขุนเขา

Karen fabric Civilization of the mountain

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา

วิชาญ โป๊ะคา


Karen fabric Civilization of the mountain

วิชาญ โป๊ะคา

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา

วิชาญ โป๊ะคา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


กะเหรี่ยงโปว์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลธิเบต- พม่ากะเหรี่ยง (Tibeto-Burman) เดิมอยู่ในดินแดนด้านตะวันออกของธิเบต แล้วเข้ามาตั้งอาณาจักรอยู่ในประเทศจีนเมื่อปี

๗๓๓ ปี ก่อน

พุทธกาล ชาวจีนเรียกว่าชนชาติโจว ภายหลังถูกกษัตริย์จีนใน ราชวงศ์จิ๋นรุกรานเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗ พากันแตกพ่ายหนีลงมาอยู่ตาม แม่น้าแยงซี เกิดปะทะกับชนชาติไทยจึงถอนร่นลงมาอยู่ตามล้าน้​้า แม่โขงกับแม่น้าสาละวินในเขตประเทศพม่า กะเหรี่ยง เริ่มเคลื่อนข้ามสาละวินเข้ามาอยู่ในดินแดนไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ (ราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้น รัตนโกสินทร์ ) ดังปรากฏข้อความอยู่ในต้านานพระธาตุและ พงศาวดารเมืองเหนือหลายฉบับว่า “ นอกเหนือจากพวกลัวะหรือ ละว้า ยังมีพวกยางหรือกะเหรี่ยงอยู่ตามป่าเขารอบๆเมือง ” นาม “กะเหรี่ยงโปว์ ” นั้นแทบจะเป็นค้าเดียวกับ “นัก ทอ” เพราะการทอผ้าถือเป็นวัฒนธรรมประจ้าเผ่า

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ฝีเข็มของสตรีกะเหรี่ยงโปว์นั้นงดงามด้วยลวดลาย และสีสันอันพึงพิศ สะท้อนถึงวัฒนธรรมสิ่งทอที่แสดงถึง ความสามารถของผู้ทอ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอด จากอดีตจนถึงปัจจุบัน กะเหรี่ยงโปว์สามารถสร้างสรรค์และ ถ่ายทอดสิ่งที่ตนพบเห็น ให้กลายเป็นลวดลายบนผืนผ้า วัฒนธรรมการทอผ้าและการแต่งกายของกะเหรี่ยงโปว์นั้น จะมีความพิถีพิถันมากเป็น พิเศษ ดังเช่น ลักษณะ การทอ การจอลวดลาย และการแต่งกาย ถือเป็นเอกลักษณ์ประจํา กลุ่ม สังเกตได้จากการแต่งกายของผู้หญิง และผู้ชาย จะไม่ เหมือนกัน มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เสื้อสีแดงถือเป็น สัญลักษณ์ของความเป็นชาย บ่งบอกให้เห็นถึง ความอดทน แข็งแรงของเพศชาย เสื้อ สีแดงของชายกะเหรี่ยงโปว์เน้นจะ เป็นเสื้อทรงสอบ คอเสื้อเป็นรูปตัววี ตรงชายเสื้อติดพู่ห้อย ลงมาไม่มากนัก ชุดผู้หญิงกะเหรี่ยงโปว์ที่ยังไม่แต่งงานจะใส่ ชุดทอด้วยมือทรงสอบ สีขาว ยาวคร่อมเท้าเพื่อแสดงความ บริสุทธิ์ ชุดขาวนี้เรียกว่า “เชวา” จะใส่กันตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงวันแต่งงานจึงจะเปลี่ยนใส่ชุดขาว เป็นผ้าถุงกับเสื้อ ผู้หญิงกะเหรี่ยงโปว์ที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อประดับประดา ด้วยลูกเดือยและฝ้ายสี เพื่อแสดงถึงสถานะภาพ ของผู้หญิง ที่มีครอบครัวแล้ว ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


เครื่องทอแบบ Back Strap ของชาวเปรูสมัยโบราณ เครื่องทอแบบนี้พบในแถบคาบสมุทรแปซิฟิค เช่นในประเทศญี่ปุ่น ,หมู่เกาะม ลายา, จีน ,พม่าและธิเบต ปัจจุบันยังคงใช้อยู่ในเปรู ,กัวเตมาลาและแม็กซิโก

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ในกรณีนี้ถึงแม้ว่าผู้หญิงเมื่อแต่งงานแล้วสามีเสียชีวิต หรือ หย่าร้างกันไป ก็ไม่สามารถกลับมาใส่เสื้อ เชวา ได้อีกเลย ผู้หญิงกะเหรี่ยงโปว์จึงให้ความสําคัญการเรื่องนี้มาก ไม่สามารถจะหาหลักฐานที่แน่ชัดได้ว่า เดิมกะเหรี่ยง โปว์มีรูปแบบของเครื่องทอผ้าแบบใด เพราะไม่มีการบันทึ ก เป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยการถ่ ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเท่า นั้นเอง แต่เท่าที่ปรากฏในสังคมของกะเหรี่ยงโปว์ ในปัจจุบัน พบว่ากะเหรี่ยงโปว์ มีการทอผ้าแบบ Back Strap ซึ่งส่วนประกอบของเครื่องทอแบบ Back ของกะเหรี่ยงโปว์ มีดังนี้

Strap

๑. แผ่นหนังหรือผ้าหนาๆ โดยส่วนมากจะใช้หนัง ปลายทั้ง สองข้างจะ เจาะรูร้อยเชือกสําหรับคล้องกับปลายไม้ รั้งผ้าที่ ทอให้ตึง โดยพันอ้อมกับเอวของผู้ทอ กะเหรี่ยงโปว์จะ เรียกว่า “หยั๋ง เก่า ไพ้ะ” ๒. ไม้สําหรับพันผ้า เป็นท่อนไม้กลม ผ่าครึ่งประกบกัน ปลาย ๒ ข้างบากเป็นช่องสําหรับใช้คล้องเชือกจากแผ่นหลัง เป็นไม้อันแรกที่ใช้พันด้ายเมื่อขึ้นเครื่องทอและยังใ ช้สําหรับ ม้วนเก็บผ้าที่ทอแล้วด้วย กะเหรี่ยงโปว์จะเรียกว่า “เฆ้า ไท้ะ” ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๓. ไม้ ใช้สําหรับช่วยแยกด้ายยืนให้มีช่วงกว้างขึ้น เพื่อ สะดวกในการสอดด้ายขวาง และใช้กระทบด้ายขวางให้แน่น กะเหรี่ยงโปว์ เรียกว่า “นางแบ้ ท้ะ แท” ๔. ไม้ช่วยแยกด้าย เป็นไม้ไผ่ทรงกระบอก ขนาดความยาว ตามขนาดของความกว้างของผ้าที่ทอ ใช้สําหรับแยกด้ายยืน ออกจากกันตามแนวตะกรอ เพื่อให้เกิดช่องว่างพอที่จะสอด ไม้กระทบเข้าไปทําให้เกิดช่องว่างสําหรับสอดด้ายขวางกว้าง ขึ้น กะเหรี่ยงโปว์เรียกว่า “กลู้งคู” ๕. ไม้นางไบ้ เป็นไ ม้กลมเรียว ในการทอแต่ละครั้ง จะใช้ไม้ นางไบ้อย่างน้อย ๓ อัน ไม้นางไบ้นี้จะใช้ทําประโยชน์ได้หลาย อย่าง ฉะนั้นจึงไม่จํากั ดจํานวน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน ทอมากกว่า ว่าจะใช้ไม้นางไบ้มากน้อยเพียงใด อุปกรณ์ ส่วนสําคัญอีกอันหนึ่งซึ่งไม่ได้รวมอยู่ใน โครงสร้างของเครื่องทอ แต่มีส่วนสําคัญที่ช่วยให้ผ้าทอ กะเหรี่ยง มีความ สมบูรณ์ ถือเป็นอุปกรณ์ขั้นแรก ที่เป็น โครงสร้างสามารถช่วยให้เกิดโครงสร้างของผ้าทอกะเหรี่ยง โปว์ คือ การใช้ไม้ขึ้นเครื่องทอ

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๐

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๑

ไม้ขึ้นเครื่องทอจะใช้ไม้ไผ่ท่อนกลมใหญ่ มีขนาดเท่าของจริง เจาะรูกันตามขนาดและลําดับของผ้าทอนั้นๆ ในวัฒนธรรมการทอผ้าของกะเหรี่ยงโปว์นั้น ในสมัย อดีตจะนิยมทอผ้ากะเหรี่ยงที่ใช้ด้ายจากเส้นใยฝ้าย ทุกหลัง ครัวเรือนจะปลูกฝ้ายเพื่อใช้ในการทอเครื่องนุ่งห่มสําหรับ สมาชิกในครอบครัว กะเหรี่ยงโปว์รู้จักการปลูกฝ้ายและนํา เส้นใยมาทําเป็นเส้นด้าย พร้อมๆ กับรู้จักการทอผ้า ขั้นตอน และวิธีการ การปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายตามวิธีของกะเหรี่ยง โปว์นั้น สามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก ๑. นําสมอฝ้ายตากแดดทําความสะอาดปุยฝ้าย โดย การเอาเศษและสิ่งของต่างๆที่ติ ดกับปุยฝ้ายออก ให้หมด ๒. หีบฝ้ายเอาเมล็ดออก ๓. การสางเส้นใย และวางเส้นใย ๔. ปั่น ๕. ทําให้เป็นใจ การทําเป็นไจ เพื่อสะดวกในการเก็บและการนําไปใช้

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๒

ในการทําเส้นด้ายให้เป็นใจนั้น ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย และง่ายต่อการนําไปย้อมสีอีกด้วย การย้อมสีด้ายในสมัย ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๓

ในสมัยโบราณจะย้อมผ้าด้วยสีที่ได้จากธรรมชาติเท่านั้น เช่น สีแดงได้จากครั่ง สีเหลืองได้จากต้นขนุนและขมิ้น เป็นต้น โดยจะมีขั้นตอนการย้อมที่ไม่ยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากนัก จากการวิเคราะห์ลวดลายของผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์ในการ ลงพื้นที่ ได้ทําก ารคัดลอกลายเส้นของลวดลายออกมาใน รูปแบบลายเส้น ๒ มิติ และได้จําแนกลวดลายออกมาเป็น หมวดหมู่ตามรูปแบบของลวดลาย โดยแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ลวดลายเรขาคณิต เป็นลวดลายขั้นพื้นฐานของผืน ผ้า มีรูปร่างที่เป็นเหลี่ยมมุมต่างๆ ได้แก่ ลายรูป สามเหลี่ยม ลายรูปสี่เหลี่ยม จุ ดไข่ปลา เส้นตรง เส้น ทแยง กากาบาท ซึ่งลายเรขาคณิตเป็นลวดลายที่จะ พัฒนาต่อไปเป็นลวดลายอื่นๆที่มีความซับซ้อนมาก ยิ่งขึ้น

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๔

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๕

๒. ลวดลายพรรณพฤกษา เป็นลวดลายที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมชาติ โดยแฝงคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ความอุดมสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติ ทั้งนี้ลายพรรณพฤกษาอาจจะอยู่ในรูปแบบของ เครือเถา หรือ รูปดอกเดี่ยวก็ได้ ในปัจจุบันการทอผ้าและการแต่งกาย ของชาวเขาเผ่า กะเหรี่ยงโปว์เริ่มเลือนหายไป สาเหตุเนื่องจากการได้รับ อิทธิพลจากโลกภายนอกมากขึ้น อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทําให้ การดําเนินวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงโปว์เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมอย่างมาก การทอผ้าและการแต่งกายของชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงโปว์เริ่มหมดบทบาทลงประกอบกับวิธีการผลิต ที่ยุ่งยากซับซ้อน ทําให้การใช้สอยลดลงและมีจํานวนน้อยลง เต็มที่ ดังนั้นการศึกษาถึงกระบวนการ ขั้นตอ นการผลิต ตลอดจนเทคนิคในการทอผ้ากะเหรี่ยงโปว์จึง ถือ เป็น ความสําคัญอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็น เทคนิคการทอผ้าแบบดั่งเดิม มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ปัจจุบัน เป็นเทคนิคการทอที่ไม่เหมือนใครมีเฉพาะกลุ่ม กะเหรี่ยงเท่านั้น ในฐานะที่ข้าพเจ้าก็เป็นเยาวชนของชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงโปว์คนหนึ่ง ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๖

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


๑๗

มีความรักและความหวงแหน ที่อยากจะเก็บเอา มรดกปัญญาที่บรรพบุรุษได้มอบไว้ อันแสดงถึงการเป็นชน ชาติที่มีรากเหง้า ทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยโบ ราณ ไว้เป็น มรดกให้สืบทอดไปยัง รุ่น ลูกรุ่นหลานต่อๆไป และเพื่อเป็น ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยงอารยธรรมแห่งขุนเขา วิชาญ โป๊ะคํา ๕๑๐๓๑๐๐๔๙ © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย วิชาญ โป๊ะคํา

ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


ผ้าทอกะเหรี่ยง อารยธรรมแห่งขุนเขา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.