“ต้นไม้กับ ความสุขใน สังคมเมือง” ผลงานจิตรกรรมชุดนี้เป็นผลงาน ที่สร้างขึ้นตอนเรียนปริญญาตรี ศิลปนิพนธ์ชุดนี้นำ�เสนอเรื่องราวภายใต้ หัวข้อ“ต้นไม้กับความสุขในสังคมเมือง” โดยพูดถึงเรื่องราวในปัจจุบันของ ชุมชนเมือง ที่สิ่งแวดล้อมต่างๆมีความ เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญอย่าง รวดเร็ว ทัศนะคติในการดำ�เนินชีวิต ของผู้คนที่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียด การแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ ทำ�ใหมนุษย์ หลงลืมธรรมชาติ จากสิ่งแวดล้อมที่เคย มีบรรยากาศปลอดโปร่ง เคยถูกรายล้อม ไปด้วยต้นไม้และธรรมชาติที่มีแต่ความ สดชื่นและความรื่นรมย์ กลับกลายเป็น พื้นซีเมนต์ที่มีแต่ความหยาบกระด้าง ทึบตัน
ปัจจุบันคนเป็นจำ�นวนมากโหยหาและกระหายความเป็นธรรมชาติกันอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะธรรมชาติถูกทำ�ลายไปมากมาย สิ่งใดที่มีน้อยหรือหายาก สิ่งนั้นจะมีค่า ใน ทางตรงข้าม สิ่งใดที่หาง่ายหรือมีมาก ก็เป็นสิ่งด้อยค่าไป เมื่อธรรมชาติทเคยมี ี่ เลื่อนหาย ไป มนุษย์ผู้ดำ�รงชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ จึงต้องสรรค์สร้าง ปรุงแต่งธรรมชาติ เหล่านั้นขึ้นมาทดแทนใหม่ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของชุมชนเมืองในปัจจุบัน ธรรมชาติ เหล่านั้นจึงถูกบังคับตีกรอบให้ต้องอยู่ภายใต้พื้นที่ที่มีความจำ�กัด
“บรรจง” เป็นตัวละครสมมุติท่ผมสร้ ี างขึ้น และมักหยิบ ขึ้นมาวาดในงานอยู่บ่อยๆ บรรจงเป็นเด็กผู้ชายมีบุคลิกขี้อาย ไม่ค่อยกล้าแสดงออกและมักปรากฎความกังวลอยู่บนสีหน้า ของเขา หากงานศิลปะสามารถแสดงตัวตนของผู้สร้างมันขึ้น มาได้ ตัวการ์ตูนเด็กชายบรรจงตัวนี้ ก็คงจะเป็นบุคลิกและตัว ตนของผมด้วยเช่นกัน
“กับการเป็นครูสอน ศิลปะเด็ก” หลังจากจบการศึกษาผมมี โอกาสได้ทำ�งานเป็นครูสอนศิลปะ โดยจะสอนตั้งแต่เด็กเล็ก 3 ขวบไป จนถึงเด็กโต แล้วก็ทำ�ให้ผม ได้พบว่าการสอนศิลปะให้กับเด็กทำ�ให้เราเหมือน ได้ทบทวนกระบวนการในการสร้างงานศิลปะ ให้ เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น เราต้องถ่ายทอด เรื่องราวเทคนิคที่ดูซับซ้อนให้เด็กเข้าใจได้ง่ายและ ชัดเจน ในบางครั้งที่เด็กไม่เข้าใจในสิ่งที่เราอธิบาย มันทำ�ให้ผมนึกถึงวลีท่ว่ี า “ถ้าคุณไม่สามารถอธิบาย สิ่งใดให้ผู้อ่นเข้ ื าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัว คุณเองยังไม่เข้าใจมันดีพอ” มันทำ�ให้เราต้องหาคำ� ตอบและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
ตอนเรียนปริญญาตรีผมมีโอกาสได้ ทดลองทำ�ชิ้นงานเซรามิกอยู่บ้าง เป็นชิ้น งานเล็กๆ อย่างพวงกุณแจและการเพ้นท์ แผ่นกระเบื้อง เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก สำ�หรับเด็กเรียนวิชาเอกจิตรกรรมอย่างผม เพราะการทำ�งานโดยใช้ส่อเป็ ื นเซรามิก เราไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ของชิ้นงาน ได้อย่างการเพ้นท์ภาพวาดบนกระดาษหรือ ผ้าใบ เราคิดว่าเท่านี้น่าจะพอได้แล้วเท่านั้น น่าจะใช้ได้ แต่เมื่อเปิดเตาเผาที่รอค่อยมา นานแสนนานออก สิ่งที่คาดคะเนไว้กลับไม่
เป็นอย่างที่คิด เพื่อนบ้างคนชิ้นงานออก มาติดกันเพราะวางชิดกันเกินไป บางคน ชิ้นงานแตก บางคนสีซีดบางคนสีสด บาง คนได้พื้นผิวที่ไม่ได้คิดเอาไว้ นอกจาก ความชำ�นาญแล้วเราอาจต้องใช้ดวงใน การทำ�งานเซรามิกด้วย และนั้นน่าจะเป็น เสน่ห์ของมันให้เด็กจิตรกรรมอย่างผมตื่น เต้นสุดๆ
ถ้ามีโอกาสได้ทำ�งานเซรามิกอีกครั้ง ผม คิดไว้ว่าอยากจะหยิบการ์ตูนที่วาดไว้เล่นๆ ตอน วันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมา ให้ตัวการ์ตูนแบนๆ สองมิติเหล่านี้ออกมาอยู่ในรูปแบบสามมิติ คง น่าสนุกไม่น้อย โดยแนวความคิดของงานชิ้นนี้มี ที่มาจากประสบการณ์ตรงในการเป็นคุณครูสอน ศิลปะที่ผ่านมา ผมมักจะได้พบเห็นค่านิยมบาง อย่างในกลุ่มผู้ปกครองที่พาลูกๆมาเรียนพิเศษ ในสถาบันที่ผมได้ทำ�งานเป็นครูสอนอยู่ คือการ พยามยัดเยียดให้ลูกๆของเขาลงเรียนพิเศษวิชา โน้นวิชานี้เพิ่มเติมจากการเรียนในโรงเรียน โดยที่ ผู้ปกครองเหล่านั้นไม่ได้ถามความสมัครใจของ ลูกเลยเเม้แต่น้อย เด็กบางคนยังอยู่ในวัยที่ยังไม่ พร้อมจะเรียนรู้อะไรซับซ้อน ยากเกินกว่าวัย แต่ เพียงเพราะลูกของเขาคนนั้นทำ�ได้ ลูกของฉันก็ ต้องทำ�ได้ ความทุกข์จึงตกไปอยู่ท่ตัี วเด็กๆ
ผมตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่าความหมายของ “เด็กดี” แท้จริงแล้วคืออะไร ผมจึงสร้างตัว การ์ตูนที่หน้าจะแทนความหมายของ “เด็กดี” ตามอุดมคติของผู้ใหญ่หลายๆคน ออกมาเป็น เด็กชาย หญิง ผู้ใฝ่เรียนว่านอนสอนง่าย สวมใส่แว่นสายตาหนาเตอะ ในมือถือตำ�รา เรียนเล่มโปรดที่ติดตามตัวไปทุกที่ดั่งเงาตาม ตัวของพวกเขา ทรงผมเกรียนและผมสั้นเสมอ ติ่งหูท่ถูี กต้องตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ เหล่านี้น่าจะพอเป็นเครื่องการันตีและเรียก ได้ว่า “เด็กดี” ที่พร้อมจะรับบัญชาจากผู้ใหญ่ โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ