CSR ตามหลักปร�ชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
ของ
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย และ รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
Art book.indd 1
2/2/12 8:50:11 PM
Art book.indd 2
2/2/12 8:50:11 PM
ในการประชุม CSR Forum ครั้งที่ ๑ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องบอลรูม ๓ ชั้น Lobby โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
วิทยากร
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ผู้ดำเนินรายการ
ดร.วิรไท สันติประภพ
รองผู้จัดการสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Art book.indd 1
2/2/12 8:50:11 PM
2
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
คำนำ
“ทำอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจได้อย่างสมดุล
และยัง่ ยืน” เป็นคำถามที่หลายคนจะได้รับคำตอบจากหนังสือ “CSR ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง” เล่มนี้ที่ได้ถ่ายทอดมุมมอง แนวคิด และประสบการณ์จากศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และ รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้ที่ร่วมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริมาอย่างยาวนาน ซึ่งได้ ให้ความกรุณาเป็นองค์ปาฐกในงาน CSR Forum : “CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ซึ่ง CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
ได้จัดขึ้น ด้วยเล็งเห็นว่า ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์นี้
การดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางออกสำคัญ
ที่จะพาคนไทยและสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืน และจะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น หากภาคเอกชน สามารถประยุกต์ปรัชญาฯ ดังกล่าวสู่งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : Corporate Social Responsibility) ได้ร่วมพัฒนาควบคู่ ไปกับเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะไม่ ใช่เรื่องใหม่ แต่กลับเป็นเรื่องที่นับวัน
ยิ่งทันสมัย โดยเฉพาะในต่างประเทศที่หันมาให้ความสนใจศึกษาและนำไปประยุกต์ ใช้ร่วมกับ เครื่ อ งมื อ ทางธุ ร กิ จ อื่ น ๆ เพราะเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ราอยู่ ไ ด้ อ ย่ า งสมดุ ล พร้ อ มรั บ
การเปลี่ยนแปลง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ คณะผู้จัดทำได้ถอดเนื้อความจากงาน CSR Forum
โดยมิได้ดัดแปลงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้คงความคิดในการถ่ายทอดจากวิทยากร บรรยากาศ และ อรรถรสได้อย่างสมบูรณ์
Art book.indd 2
2/2/12 8:50:11 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
3
CSR Club สมาคมบริ ษั ท จดทะเบี ย นไทยใคร่ ข อขอบพระคุ ณ ศาสตราจารย์
เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี และ รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา วิทยากรผู้ถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อันทรงคุณค่านี้ รวมทั้ง ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่ ได้ ให้ข้อมูล
มุมมอง แง่คิด อันเป็นประโยชน์ยิ่งกับผู้เข้าร่วมงานและผู้อ่าน และ ดร.วิรไท สันติประภพ
ผู้ดำเนินรายการในงานดังกล่าว พร้อมทั้งใคร่ขอขอบคุณ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ และ
ทีมงานคณะผู้จัดทำที่ทำให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ด้วยดี ทั้งนี้ CSR Club สมาคมบริษัท
จดทะเบียนไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเล่มนี้ จะจุ ด ประกายให้ ท่ า นผู้ อ่ า นได้ น ำหลั ก ปรั ช ญาดั ง กล่ า วไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ทั้ ง การดำเนิ น ชี วิ ต
และการดำเนินธุรกิจได้อย่างสมดุลและยั่งยืน อันนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม และประเทศโดยรวมต่อไป นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายวัฒนา โอภานนท์อมตะ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
Art book.indd 3
2/2/12 8:50:11 PM
4
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ดร.วิรไท สันติประภพ :
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังเกี่ยวข้องหรือไม่ ในยุคที่บริษัทไทยมีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจไทยก็มีความเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ามองในภาพกว้าง เราก็จะเห็นกันว่า เศรษฐกิจและสังคมไทยยังมีความเปราะบางอยู่มาก กับเหตุการณ์ความเหลื่อมล้ำในสังคม เหตุการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น ปัญหาในชนบทไทย ก็ยังเป็นปัญหาที่รุนแรงสาหัสสากรรจ์
อยู่ทีเดียว ด้วยความอ่อนไหวและความเปราะบางเช่นนี้ ผมเชื่อว่าปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพี ย งยิ่ ง มี ค วามสำคั ญ มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ และคนกลุ่ ม หนึ่ ง ที่ จ ะมี ส่ ว นช่ ว ยแก้ ปั ญ หา
ก็ ห นี ไ ม่ พ้ น คื อ บริ ษั ท จดทะเบี ย นที่ มี ก ำลั ง อยู่ ค่ อ นข้ า งมากที เ ดี ย ว เพราะเป็ น กลุ่ ม บุ ค คล
กลุ่มองค์กรในสังคมไทย ที่จัดได้ว่าเข้มแข็งที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ครับ
เพราะฉะนั้น ในวันนี้เป็นโอกาสดีอย่างยิ่ง ที่เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะได้เห็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในวงการธุรกิจที่จัดได้ว่าประสบความสำเร็จ และท้ายที่สุดนะครับ
ก็คงจะได้เห็นตัวอย่างของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการทำ CSR เพื่อที่จะ ช่วยให้ประเทศไทย - สังคมไทยมีความเข้มแข็งขึ้นนะครับ ผมเชื่อว่า ท้ายที่สุดของการสัมมนาในวันนี้ ท่านคงจะเห็นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงจะเป็นทางออกที่สำคัญของการที่เราจะหลุดจากกับดักประชานิยม ซึ่งเป็นปัญหา สำคัญของประเทศในวันนี้ได้นะครับ และท่านก็คงจะเห็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งถ้าบริษัทจดทะเบียน แห่งใดสนใจที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรม CSR ก็สามารถที่จะ Shortcut ได้ โดยเข้ามาร่วมกับ กิจกรรมที่ท่านบรมครูทั้งสองท่าน ได้ริเริ่มไป และได้ดำเนินการไป ผมจะขออนุญาตกราบเรียนถามท่านองคมนตรีก่อนนะครับว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมีที่มาที่ไปอย่างไร และมีความหมายจริงๆ ว่าอะไรครับ เรียนเชิญท่านองคมนตรี ครับ Art book.indd 4
2/2/12 8:50:11 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
5
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี :
ชื่อจริงๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง มีคำว่า ของ ด้วย ทีนี้เวลาเราพูด มักจะพูดสั้นๆ เลยใช้คำว่า ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพี ย ง และสั้ น ไปกว่ า นั้ น คื อ คำว่ า เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และสั้ น ไปกว่ า นั้ น อี ก คื อ
พอเพียง ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน … แต่ว่าถ้าจะให้เต็มที่ คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพี ย ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว รั บ สั่ ง ไว้ ห ลายครั้ ง แต่ จ ริ ง ๆ พระองค์ ท่ า น
พระราชทานให้ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๙ พฤศจิ ก ายน ๒๕๔๒ พระราชทานคื น มาให้ ส ภาพั ฒ น์ ฯ ๑
โดยได้ทรงแก้ไขพระราชทาน และมีพระราชวินิจฉัยชัดเจนว่า เป็นหลักคิดที่ประมวลเอา สั ธ รรมที่ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ทั้ ง ทางโลก และทางธรรม มาทำให้ เ ป็ น ระบบ แล้ ว พระราชทาน
ให้พวกเรา เพื่อจะได้นำไปใคร่ครวญ และนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตตนเอง ครอบครัวตนเอง
บริษัทของตนเอง หน่วยงาน ชุมชน ประเทศ … สั้นๆ แค่น ี้ ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ก็ คื อ หลั ก คิ ด เพื่ อ จะให้ เ รารั บ มื อ กั บ การ เปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ... อยากจะให้พวกเราดูพระบรมราโชวาทที่สำคัญ
ผมจะชี้ให้ดูสักนิดเดียว คือ
Art book.indd 5
๑สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2/2/12 8:50:11 PM
6
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
¡¦³ ¦¤¦µÃ ªµ ¨³¡¦³¦µ µ¦ ¡¦³ ¦¤¦µÃ ªµ ¨³¡¦³¦µ Î µ¦´ ¸ÉÁ }  ª µ ° ¦´ µ ° Á«¦¬ · ¡°Á¡¸¥ “... µ¦¡´ µ ¦³Á « εÁ } o° ε µ¤¨Îµ ´ ´ Ê o° ¦oµ ¡ºÊ µ º° Á } Á ºÊ° o n° à ¥Ä oª· ¸ µ¦ ªµ¤¡°¤¸¡° · ¡°Ä o ° ¦³ µ nª Ä® n ¨³Ä o°» ¦ r ¸É ¦³®¥´  n ¼ o° µ¤®¨´ ª· µ Á¤ºÉ°Å o¡ºÊ µ ¤´É ¡¦o°¤¡° ª¦ ¨³ · ´ ·Å o¨oª ¹ n°¥¦oµ n°¥Á¦·¤ ªµ¤Á ¦· ¨³ µ ³Á«¦¬ · ´Ê ¸É ¼ ¹ Ê Ã ¥¨Îµ ´ n°Å ®µ ¤»n  n ³ »n¤Á ¦oµ ªµ¤Á ¦· ¥ Á«¦¬ · ¹Ê Ä®o¦ª Á¦Èª  n ¦³ µ¦Á ¸¥ª à ¥Å¤nÄ®o · ´ · µ¦´¤¡´ r ´ £µª³ ° ¦³Á « ¨³ ° ¦³ µ à ¥° ¨o° oª¥ È È ³Á · ªµ¤Å¤n Å ¤ »¨Ä Á¦ºÉ° nµ Ç ¹Ê ¹É °µ ¨µ¥Á } ªµ¤¥»n ¥µ ¨o¤Á®¨ªÅ oÄ ¸É » ...” ¡¦³ ¦¤¦µÃ ªµ Ä ¡· ¸¡¦³¦µ µ ¦· µ ´ ¦ ° ¤®µª· ¥µ¨´¥Á ¬ ¦«µ ¦r ª´ ¡§®´ ¸ ¸É ÒÙ ¦ µ ¤ ÓÖÒØ
“การพั ฒ นาประเทศจำเป็ น ต้ อ งทำตามลำดั บ ขั้ น สร้ า ง
พื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีและอุปกรณ์ที่ประหยัด ถูกต้องตามหลัก วิชา...” ขีดเส้นใต้ คำว่า ประหยัด และ ถูกต้องตามหลักวิชา “...เมื่ อ ได้ พื้ น ฐานมั่ น คง จึ ง ค่ อ ยสร้ า งความเจริ ญ และฐานะ เศรษฐกิจขั้นสูงขึ้นไป...”
Art book.indd 6
2/2/12 8:50:13 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
7
บางคนไม่เข้าใจ แล้วบอกว่า ปรัชญานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่อยากให้
เรารวย อยากให้จนตลอดไป อันนั้นผิด ปรัชญานี้ท่านรับสั่งว่า เราจะต้องดูสภาพสังคม
ที่เป็นจริง แล้วค่อยๆ สร้างสิ่งที่เจริญ ที่ท่านเรียกว่า สร้างความเจริญ ค่อยๆ ยกทีละขั้นไป เช่น วันนี้ บริษัทเรามี Operation Scale ขนาด ๓ ล้าน ท่านให้ค่อยๆ สร้างขึ้นไป ๓๐ ล้าน ๓๐๐ ล้าน ๓,๐๐๐ ล้าน ๓๐,๐๐๐ ล้าน ๓๐๐,๐๐๐ ล้าน … ค่อยๆ เป็นขั้นเป็นตอนนะ วันนี้ประชาชนส่วนหนึ่งในชนบท ... ที่คุณชาย (ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล) และพวกเรา ที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ๒ ได้ไปทำงานร่วมกัน ... เราใช้คำว่า กู้กิน กู้ใช้ คือ จะกินก็ต้องกู้ เพราะไม่มีกิน จะใช้อะไรก็ต้องกู้ เพราะไม่มีใช้ เราต้องการให้เขาพัฒนาจาก กู้กิน กู้ใช้
ไปสู่ขั้นที่สองคือ พอกิน พอใช้ แล้วหลังจากนั้น ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือ กินดี อยู่ดี ตรงนี้คือ
ที่ดร.วิรไท พูดว่า ความเหลื่อมล้ำในชนบทของเรามีสูงมาก และยิ่งจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าไม่ทำอะไร
Art book.indd 7
๒สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
2/2/12 8:50:14 PM
8
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
เหตุการณ์ในอังกฤษก็ดี ในอียิปต์ก็ดี ในบ้านเราก็ดี ในยุโรปอีกหลายแห่ง ในอเมริกา ด้วยนะครับ … เกิดจากความเหลี่อมล้ำทางฐานะเศรษฐกิจในสังคม เมื่อเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว ก็อยู่ไม่ได้ … เพราะมันมี Alienation (ความรู้สึกห่างเหิน แปลกแยก) … คนเราเมื่อฐานะทาง เศรษฐกิจต่างกันมาก มันจะพูดกันไม่รู้เรื่อง คือ Alienation เป็น Factor ที่สำคัญที่สุดเลย … ปรัชญานี้จะพยายามลบช่องว่างตรงนั้น ลบ Gap ตรงนั้น ให้คนจนค่อยๆ ผ่านจากจนมาก เหลือจนน้อย และก็พอกิน และก็ร่ำรวยต่อไป คนรวยก็ค่อยๆ รวยมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นมหา เศรษฐี … เป็นอะไรต่อมิอะไรของโลกเลยนะ … ปรัชญานี้เป็นกลไก เป็น Mechanism ที่จะ ทำให้ท่านค่อยๆ ก้าวทีละขั้นไปเรื่อยๆ อย่างมั่นคง แต่อย่ากระโดดข้าม ... ปรัชญานี้ไม่ให้ กระโดดข้าม … แล้ว Excessive Materialism หรือที่ผมใช้คำว่า … วัตถุนิยมเกินเหตุนั้น ตรงกันข้ามกับปรัชญานี้
Art book.indd 8
2/2/12 8:50:15 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
9
“... µ¦ nª¥Á®¨º° ´ » ¦³ µ Ä µ¦ ¦³ ° °µ ¸¡Â¨³ ´Ê ´ª Ä®o¤¸ ªµ¤¡° · ¡°Ä o n° °º É Á } } ¡º Ê µ ´ Ê Á }} ·É ε ´ °¥nµ ¥·É ¥ª Á¡¦µ³ ¼o ¸É¤¸°µ ¸¡Â¨³ µ ³Á¡¸¥ ¡° ¸É ³¡¹É Á° ¥n°¤µ¤µ¦ ¦oµ ªµ¤Á ¦· oµª® oµ¦³ ´ ¸É ¼ ¹Ê n°Å Å oà ¥Â n ° nª µ¦ º°®¨´ ¸É ³n Á¦·¤ ªµ¤Á ¦· Ä®o n°¥Á } Å µ¤¨Îµ ´ oª¥ ªµ¤¦° ° ¦³¤´ ¦³ª´ ¨³ ¦³®¥´ ´ Ê ÈÈÁ¡º°É j° ´ ªµ¤ · ¡¨µ ¨o¤Á®¨ª ¨³Á¡ºÉ°Ä®o ¦¦¨» ¨ÎµÁ¦È Å o n ° ¦· ¦¼ r Á¡¦µ³®µ Ťn ¦³ ε oª¥ ªµ¤¦³¤´ ¦³ª´ ¥n°¤ ³®ª´ ¨Á È¤È Á¤ÈÈ Á ÈȤ® nª¥Å oà ¥¥µ ...” ¡¦³ ¦¤¦µÃ ªµ Ä ¡· ¸¡¦³¦µ µ ¦· µ ´ ¦ ° ¤®µª· ¥µ¨´¥Á ¬ ¦«µ ¦r ª´ «»» ¦r ¸É ÒÚ ¦ µ ¤ ÓÖÒØ 2
ตรงนี้ ท่านจะรับสั่งถึงประชาชน พอกิน พอใช้ เป็นพื้นฐาน แล้วก็ค่อยๆ พัฒนา
เป็นลำดับ ยืนยันอีกเหมือนกัน … ต่อไปครับ
Art book.indd 9
2/2/12 8:50:15 PM
10
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
“... n µ¦ ¸É ³¡´ µÄ®oÁ } ¦¦¨» ¨Á } ¦³Ã¥ r ´ ¨nµªÅ o εÁ } ¸É
³ ° ¡ µ µ ³ ªµ¤Á °¥¼ ³ o ° ¡´ µ µ ³ ªµ¤Á } °¥n ° ¦³ µ Ä®°¥¼ ° ¦³ µ Ä®o°¥n ¸ · ¸ Á } Á º°Ê o n° Á¡¦µ³ µ ³ ªµ¤Á } °¥¼n ° ¦³ µ ´Ê º°º ¦µ µ °¥nµn εΠ´ ´ ° ªµ¤ ¨³ ªµ¤Á ¦· · ¤´´ É . oµ ¦³ µ » ¤¸ µ ³ ªµ¤Á } °¥¼ n ¸É ¸Â¨oª ªµ¤ ¨³ ªµ¤Á ¦· · ¥n°n ¤ ³Á } } ¨ nn°Á ·· nn° µ¤¤µ°¥nnµ  n n ° . ¹ °µ ¡¼ Å oªnµ µ¦¡´ µ È º° µ¦ ε ¦µ¤ ´ ªµ¤¥µ Á¡º°ºÉ ªµ¤°¥¼n ¸ · ¸¸ ° ¦³ µ à ¥ ¦ ...” Ã
¡¦³ ¦¤¦µÃ ªµ Ä ¡· ¸¡¦³¦µ µ ¦· µ ´ ¦ ° ¤®µª· ¥µ¨´¥Á ¬ ¦«µ ¦r ª «» ´ « ¦r ¸É Ó× ¦ µ ¤ ÓÖÔÚ Ó 3
อันนี้จะพูดถึงเรื่อง กินดีอยู่ดี … พอกินพอใช้ กินดีอยู่ดี … ค่อยๆ ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ผมไปดูแผนพัฒนาประเทศ ๕ ปีของประเทศจีน เขาก็เหมือนกัน เขาคิดเหมือนกัน … ตอนเขาเริ่มพัฒนาใหม่ๆ ประชาชนเขายากจนมาก หลังจากที่ประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยวผิง
เริ่มเปิดประเทศนะครับ คนของเขาส่วนใหญ่ยังอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือที่เรียกว่า Poverty Line ไม่รู้กี่ร้อยล้านคน … แต่ในช่วง ๓๐ ปี เขาทำให้คนของเขาพ้น Poverty Line มา ๑๔๐ ล้านคน แล้วเขาก็พยายามไปเรื่อย … แผนพัฒนา ๕ ปี แผนฯ ที่ ๑๒ ที่จะใช้ตั้งแต่ เดือนตุลาคมนี้ไปอีก ๕ ปีข้างหน้า เขาเขียนไว้เลยว่า เป้าหมายแผนพัฒนาฯ ๕ ปีต่อไป
จะทำให้สังคมจีน กินดีอยู่ดีรอบด้าน ใช้คำว่า รอบด้าน เลยนะ
Art book.indd 10
2/2/12 8:50:16 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 11
เรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริมานานแล้ว ๓๐ กว่าปีแล้ว ว่าต้อง ค่อยๆ พัฒนาขึ้นไป เป็นขั้นเป็นตอน แล้วก็ปรัชญานี้จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืน ผมขอ อนุญาตขีดเส้นใต้คำที่สำคัญไว้ มั่นคง คือ มั่นคงในทุกสถานะของเรา ตามอัตภาพของเรา และ ยั่งยืน คือ เราสามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้อีกในระยะยาว
“... ªµ¤ ¦· Á ¥¡¼ Á¤°Ä ¸É ¦³ »¤°¥nµ ¸Êªnµ µ¦ ³Á } Áº° ´ Ê Å¤nµÎ ´ . ε ´ °¥¼ n ¸ÉÁ¦µ¤¸Á«¦¬ ·  ¡°¤¸¡° · .  ¡°¤¸¡° · ´ Ê ®¤µ¥ ªµ¤ªnµ°»o¤ ¼ ´ªÁ° Å o Ä®o¤¡ ¸ °Á¡¸¥ ´ ´ªÁ° ...”
¡¦³¦µ ε¦´Á ºÉ° Ä Ã° µª´ Á ¨·¤¡¦³ ¤¡¦¦¬µ «µ¨µ »· µ¨´¥ ª · ¦¨ µ ª´ ¡§®´ ¸ ¸ É Õ ªµ ¤ ª ¡§® ´ ªµ ¤ ÓÖÕÑ 4
Art book.indd 11
2/2/12 8:50:17 PM
12
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พระราชดำรัสองค์นี้ ทุกท่านคงรู้แล้ว เรื่อง เสือ ตอนนั้นเราพูดถึง Economic Growth ของอาเซียนหลายประเทศเหมือนเสือ เหมือน Tiger ตอนหลังเสือก็ง่อย เพราะ
๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ พอเราปล่อยค่าเงินบาทให้ลอยตัว เงินบาทของเรา ๑ ดอลล่าร์
๒๖ บาทในตอนนั้น ก็กลายเป็น ๕๐ กว่าบาท … พวกเราก็เจ๊งกันเป็นแถว!! เพื่อนผมก็
ฆ่าตัวตายไปคนหนึ่ง … เจ้าของบริษัททำปลากระป๋อง ฆ่าตัวตายเลย! เพราะแกสิ้นสุดแล้ว! … แต่ ป รั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ถ้ า เราจั บ หลั ก ให้ ไ ด้ ต อนนั้ น ก็ จ ะไม่ มี ก ารฆ่ า ตั ว ตาย
เพราะมันมีองค์ประกอบ หรือ Component อันหนึ่ง ก็คือ Component ของความมีเหตุผล … ความมีเหตุผล และ การใช้หลักวิชาในการตัดสินใจของผู้บริหาร … Component ๒ อันนี้ สำคัญมาก ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายทีหลัง … วันนั้น ท่านรับสั่งว่า “การเป็นเสือหรือไม่ ไม่สำคัญ
แต่เราควรมีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินก่อน หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้พอเพียงกับตนเอง”
พ.ศ. ๒๕๔๐ ถ้าเราจับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงได้ตอนนั้น ก็จะไม่มีการฆ่าตัวตาย เพราะมี องค์ประกอบ ความมีเหตุผล และ การใช้หลักวิชา ในการตัดสินใจของผู้บริหาร
Component ๒ อันนี้สำคัญมาก
Art book.indd 12
2/2/12 8:50:17 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 13
“... oµo » ¦³Á «¤¸¸ ªµ¤ · · - °´ ´ ¸Å¸Ê ¤nÄn nÁn «¦¬ · · ¤¸ ªµ¤ · ªnµ ε°³Å¦ o° ¡°Á¡¸¥ ®¤µ¥ ªµ¤ªnµ ¡° ¦³¤µ Ťn» à n Ťn裰¥nµ ¤µ Á¦µ È°¥¼nÁ } » . ¡°Á¡¸¥ ¸Ê°µ ³¤¸¤µ °µ ³¤¸ ¡°Á¡¥ °µ ³¤¤µ °µ ³¤ ° ®¦¼ ° ®¦®¦µ È ®¦µ Å Å o  nªnµ o° ŤnÅ Á ¸¥ Á ¸¥ °º É . o°o Ä®o Ä ¡ o ° ¦³¤µ µ¤°´ ´ £µ¡...”
¡¦³¦µ ε¦´ ° ¡¦³ µ ¤Á È ¡¦³Á oµ°¥¼¼n®´ª ¡¦³¦µ µ  n ³ » ¨ nµ Ç ¸ÉÁ oµÁ jµ² ªµ¥ ´¥¤ ¨ Á ºÉ° Ä Ã° µª´ Á ¨·¤¡¦³ ¤¡¦¦¬µ «µ¨µ » · µ¨´¥ ª · ¦¨ µ ¡¦³¦µ ª´ » · ª´ ´ «» ¦rr ¸É¸ Õ ´ ´ ªµ ¤ ÓÖÕÒ 5
พระราชดำรัสองค์นี้ ผมคิดว่า อยากให้พวกเราศึกษาให้ละเอียดนะ ท่านว่า “ถ้าทุก ประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง” คือ ความคิด พอเพียง นั่นเอง เป็น Reasonableness ของ Thinking … ทำอะไร คิดทำอะไร ก็พอเพียง “...หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้
อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ
ตามอัตภาพ...” ได้รับสั่งด้วยว่า “...ถ้าบางประเทศมีความต้องการอย่างมาก เกินขีดพอเพียงไป จนต้องไปเบียดเบียนประเทศอื่น ต้องไปเบียดเบียนประเทศอื่นแล้ว ก็จะทำให้โลกนี้ไม่ม ี ความสุข โลกนี้จะเกิดการแก่งแย่ง โลกนี้จะเกิดสงคราม!...”
Art book.indd 13
2/2/12 8:50:18 PM
14
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ท่านทั้งหลายที่เป็นนักธุรกิจ ท่านไม่อยากเห็นภาพของความขัดแย้งของสงคราม แน่นอน เพราะว่าความขัดแย้งของสงคราม ก็คือการหยุดชะงักงันของภาวะเศรษฐกิจโลก … อันนี้ชัดเจน ทุกคนรับรู้กันนะครับ … เพราะฉะนั้น พระองค์ท่านรับสั่งตรงนี้ ผมว่าสำคัญมาก ในช่วงแรก “...ถ้าทุกประเทศมีความคิด พอเพียง พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข...” ที่จริงตอนที่รับสั่งเชิญชวนให้พวกเราเอาปรัชญานี้ไปใช้ แล้วบอกว่า
จะเป็นสุขนี่นะ รับสั่งไว้หลายที่ ตรงนี้ขออนุญาตยกมาที่เดียวก่อน ในระดับโลกนะ ...
แต่ในระดับบุคคล ระดับครอบครัวนั้น ถ้าเอาปรัชญานี้มาใช้ พระองค์ท่านรับสั่งเลยว่า
จะมีความสุข ตอนสัก ๑๐ กว่าปีเศษๆ ผมไปที่ท่าม่วง (จังหวัดกาญจนบุรี) เพื่อนชวนไปทอดกฐิน แล้วก็กำลังรอพระจะลงโบสถ์รับผ้ากฐิน พวกเราก็นั่งกับชาวบ้าน ก็มีสองคนผัวเมียตายาย อายุ ๗๐-๘๐ แล้ว ผมก็คุยกับท่าน ถามว่า “เป็นยังไงอยู่เย็นเป็นสุขไหม” เขาก็บอกว่า “มีความสุขดี” ผมถามว่า “ทำอะไร” “ทำนา” “มีที่กี่ไร่” “๗ - ๘ ไร่” ถามว่า “มีลูกไหม” บอก “ลูกหลานทุกคนเรียนหนังสือสูง แล้วก็ดูแลตัวเองได้” เราตอนนั้น ก็ปากคันนะ เพิ่งจะรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เลยถามว่า “คุณตารู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวไหม?” ท่านตอบว่ายังไงรู้ไหม ท่านตอบว่า “โอ๊ย! ตารู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก่อนพระเจ้าอยู่หัวจะสอนพวกเราอีก” ฟังให้ดีนะครับ ผมว่าตรงนี้สำคัญมากเลย “ตาน่ะ รู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวจะสอนพวกเรา...” บอก “.. นี่นะ อบต. มันจะเอารางวง-รางวัลอะไรมาให้ ตาไม่อยากได้หรอก ตามีความสุข ตามีความสุขกับตัวเอง” Art book.indd 14
2/2/12 8:50:18 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 15
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกันระหว่างคนกับธรรมชาติ แล้วต้องขีดเส้นใต้อีกอัน คือ ตามอัตภาพ เพราะว่าคนสมัยนี้ไม่ได้ยึดอัตภาพ แต่ว่า ชอบ ... ชอบว่าเพื่อนมีอะไร ก็อยากจะมีตาม ทั้งๆ ที่อัตภาพของเรากับเพื่อนไม่เท่ากัน
แต่ วั น หลั ง เราอาจจะแข่ ง ชนะอั ต ภาพของเพื่ อ นก็ ไ ด้ เอาไว้ วั น หลั ง ก่ อ น … แต่ วั น นี้ ล่ ะ
อัตภาพของเราคืออะไร? … นี่พระองค์ท่านรับสั่งเลยว่า “ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ” เพราะฉะนั้น คำว่า พอประมาณในปรัชญานี้สำคัญมาก จับหลักที่ว่า พอประมาณตาม อัตภาพ … วันนี้บริษัทเรามีอัตภาพอย่างไร - เท่าไร เทียบกับอีก ๑๐ บริษัท อยู่ตรงไหน
เราต้องรู้เราต้องรู้อัตภาพของบริษัทเรา เพราะฉะนั้น Decision Making ทุกอย่างใน
บริษัทเรา ต้องว่าตามอัตภาพ … เดี๋ยวจะมี Component อื่นอีกนะ ... แต่ผมว่าตรงนี ้ เป็ น เรื่ อ งสำคั ญ ... อี ก อั น หนึ่ ง “ต้ อ งไม่ เ บี ย ดเบี ย นคนอื่ น ” ปรั ช ญานี้ สั่ ง เลยว่ า ต้ อ งไม่ เบียดเบียนคนอื่น รับสั่งไว้หลายที่ ต่อไปครับ Art book.indd 15
2/2/12 8:50:19 PM
16
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
“...Á«¦¬ · ¡°Á¡¸¥ Á } Á¤º° ¦µ µ ° ¸ª· ¦µ µ ªµ¤¤´É °  n · Á ¦¸¥ Á¤º° ÁµÁ Ȥ ¸ É ¼ ° ¦° ¦´ oµ Á¦º° ´ª°µ µ¦Åªo ´É Á° ·É n°¦oµ ³¤´É Å o È°¥¼n ¸ÉÁµÁ Ȥ  n nª ¤µ ¤° ŤnÁ®È ÁµÁ Ȥ ¨³¨º¤ÁµÁ ȤÁ¸¥ oª¥ ÊεŠ...”
¡¦³¦µ ε¦´ ° ¡¦³ µ ¤Á È ¡¦³Á oµ°¥¼n®´ª µ ªµ¦µ¦ ´¥¡´ µ ¦³ εÁ º° · ®µ ¤ ¡.«. ÓÖÕÓ 6
ตอนนี้ พระองค์ท่านรับสั่งอย่างกล้าหาญมากเลย อันนี้เดือนสิงหาคม ๒๕๔๒ นะ ก่อนที่จะพระราชทาน Text ทั้งหมดของเศรษฐกิจพอเพียงให้พวกเรา แต่พระองค์ท่านกำลัง … ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้าน … พระองค์ท่านกำลัง Formulate concept ของปรัชญานี้ … พระองค์ท่านรับสั่งเมื่อเดือนสิงหาคมนะ … ลองดูนะ …
Art book.indd 16
2/2/12 8:50:19 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 17
เศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น รากฐานของชี วิ ต รากฐานความมั่ น คงของแผ่ น ดิ น
เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้
ก็อยู่ที่เสาเข็ม คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป ผมว่าตรงนี้สำคัญมากนะครับ … พระองค์ท่านเชิญชวน … เชิญชวนว่า อันนี้เป็น Foundation ปรัชญานี้เป็น Foundation … ถ้านักเรียนเอาไปใช้ก็คือ Foundation ของชีวิต ครอบครัวไหน หรือครูเอาไปใช้กเ็ ป็น Foundation ของครอบครัว ของครู ชุมชนไหนเอาไปใช้
ก็เป็น Foundation ของชุมชนนั้น บริษัทไหนอย่างที่บอก หรือประเทศไหน เอาไปใช้นะครับ ก็เป็น Foundation ของบริษัท ของประเทศนั้นๆ … ซึ่งตอนหลัง ๑๐ กว่าปีให้หลัง ก็มีการ พิสูจน์เยอะแยะเลยว่า ชุมชนที่เอาไปใช้นี่ เขามีความเข้มแข็งขึ้นมาได้อย่าง อย่างเรียกว่า
พลิกหน้าพลิกหลังเลย หรือบริษัทเอกชนที่เอาไปใช้นี่นะครับ เดี๋ยวจะพูดกันต่อ … เดี๋ยว คุณชายเองก็มีตัวอย่างเยอะแยะเลย ต่อไปครับ
ชุมชนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้นี่ เขามีความเข้มแข็งขึ้นมาได้ อย่างเรียกว่าพลิกหน้าพลิกหลังเลย
Art book.indd 17
2/2/12 8:50:19 PM
18
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
อันนี้เป็นหนังสือที่อดีตท่านราชเลขาธิการ ตอบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานคืนมา เป็นคำนิยามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้สภาพัฒน์ฯ ตอนกลางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ … ตอนนั้นสภาพัฒน์ฯ กำลังจะประเมินกลางแผน ๘ ปี ๒๕๔๒ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ - ก็เอากรอบตรงนี้มาประเมิน … แล้วตอนหลังสภาพัฒน์ฯ ทำแผน ๙ แผน ๑๐ ก็ยกเอาปรัชญานี้ขึ้นมา เป็นหลักคิดในการทำแผน ๙ แผน ๑๐
ผมเข้าใจว่า แผน ๑๑ ซึ่งกำลังทำกันอยู่ และจะเริ่มใช้ปี ๒๕๕๕ นี้ ก็จะใช้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน … แล้วก็ตอนเขียนรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ก็ได้เอาปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปใส่ในหลายมาตรา อยู่ในหลายมาตราของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ด้วย
นะครับ
Art book.indd 18
2/2/12 8:50:20 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 19
Á«¦¬ · ¡°Á¡¸¥ Á } ¦´ µ ¸Ê ¹  ª µ¦ ε¦ °¥¼n¼Â¨³ · ´ · ° ¦³ µ Ä »»
¦³ ´ ´Ê  n¦³ ´ ¦° ¦´ª ¦³ ´ »¤ ¹ ¦³ ´ ¦´ ´Ê Ä µ¦¡´ µÂ¨³ ¦·®µ¦ ¦³Á « Ä®o εÁ · Å Ä µ µ¥ ¨µ à ¥Á ¡µ³ µ¦¡´ µÁ«¦¬ · Á¡ºÉ°Ä®o oµª ´ n°Ã¨ ¥»
è µ£·ª´ r ªµ¤¡°Á¡¸¥ ®¤µ¥ ¹ ªµ¤¡° ¦³¤µ ªµ¤¤¸Á® » ¨ ¦ª¤ ¹ ªµ¤
εÁ } ¸É ³ o° ¤¸¦³ £¼¤· »o¤ ´ Ä ´ª ¸É ¸¡°¤ ª¦ n° µ¦¤¸ ¨ ¦³ Ä Ç °´ Á · µ µ¦ Á ¨¸É¥  ¨ ´Ê £µ¥ ° ¨³£µ¥Ä ´Ê ¸Ê ³ o° °µ«´¥ ªµ¤¦° ¦¼o ªµ¤¦° ° ¨³ ªµ¤ ¦³¤´ ¦³ª´ °¥nµ ¥·É Ä µ¦ εª· µ µ¦ nµ Ç ¤µÄ oÄ µ¦ªµ  ¨³ µ¦ εÁ · µ¦ » ´Ê ° ¨³ ³Á ¥ª ³ ° Á¦¤¦µ ¡ µ Ä ° Ä µ ³Á ¸ ¥ ª ´ ³ o ° Á¦· ¤ ¦o µ ¡ºÊ µ · Ä ° Ä µ · à ¥Á ¡µ³ Á oµ® oµ ¸É ° ¦´ ´ §¬ ¸ ¨³ ´ »¦ · Ä » ¦³ ´ Ä®o¤¸Îµ ¹ Ä » ¦¦¤ ªµ¤ ºÉ°´ ¥r ¦· » ¨³Ä®o¤¸ ªµ¤¦° ¦o¼ ¸ÉÁ®¤µ³¤ εÁ · ¸ª· oª¥ ªµ¤° ªµ¤Á¡¸¥¦ ¤¸ · { µÂ¨³ ªµ¤¦° ° Á¡ºÉ°Ä®o¤ »¨Â¨³¡¦o°¤ n° µ¦¦° ¦´ µ¦Á ¨¸É¥  ¨ °¥nµ ¦ª Á¦Èª ¨³ ªoµ ªµ ´Ê oµ ª´ » ´ ¤ ·É ª ¨o°¤ ¨³ª´ ¦¦¤ µ è £µ¥ ° Å oÁ } °¥nµ ¸ ªµ¤ ®¦º° ε ·¥µ¤ ° ¦´ µ ° Á«¦¬ · ¡°Á¡¸¥ ¸É¡¦³ µ ¤Á È ¡¦³Á oµ°¥¼n®´ª ¦ ¡¦³ ¦» µ ¦´ ¦  o ¦ ¦»  Š¨³¡¦³¦µ µ µ µ ³ ¦¦¤ µ¦¡ µ µ¦Á«¦¬ ¨³ ¤Â® µ µÅ Á ¥Â¡¦ °Å Š¨³¡¦³¦µ µ ε ´ µ ³ ¦¦¤ µ¦¡´ µ µ¦Á«¦¬ · ¨³´ ¤Â®n µ · εŠÁ ¥Â¡¦n n°Å Á¤ºÉ°ª´ ¸É ÓÚ ¡§« · µ¥ ÓÖÕÓ 7
Text ของปรัชญานี้ มีแค่นี้เองครับ มีหน้าเดียว ผมจะลองเชิญชวนพวกเราดู และผม จะลองตั้งคำถาม ๔ คำถาม ที่จะหาคำตอบได้จาก Text หน้าเดียวนี้ คือ หนึ่ง ปรัชญานี้มีวัตถุประสงค์อะไร สอง คำว่าพอเพียงหมายถึงอะไร สาม ถ้าบริษัทฉันจะเอาไปใช้ ฉันต้องเตรียมบริษัท อะไรบ้าง สี่ ถ้าบริษัทฉันเอาไปใช้แล้ว จะเกิดประโยชน์อะไรกับบริษัทฉันบ้าง ๔ คำถามนี้ จะมีคำตอบอยู่ใน Text นี้หมดครับ
Art book.indd 19
2/2/12 8:50:21 PM
20
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ประโยคแรกบอกว่ า ปรั ช ญานี้ พระราชทานมาเพื่ อ อะไร อยู่ ใ นบรรทั ด แรก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้การดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐ ในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ใช้ทางสายกลาง แต่ถ้า
พูดเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่จริงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปใช้ได้ทุกด้าน ไม่ใช่ด้าน เศรษฐกิจอย่างเดียว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม … ท่านเคยรับสั่งว่า ชื่อนี่ ใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะตอนนั้นเศรษฐกิจมันแย่ ก็เลยใช้
คำนี้ แต่จริงๆ ปรัชญานี้เป็นปรัชญาแห่งความพอเพียงทุกด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้าน สังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม ท่านดูประโยคสุดท้าย พร้อมต่อการรองรับการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ วัตถุก็คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ประโยคแรกบอกว่า เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนทุกระดับ
ใช้ทางสายกลาง แต่พระองค์ท่าน รับสั่ง โดยเฉพาะการเศรษฐกิจ ให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์ เห็นไหมครับ ท่านรับสั่งว่าเรื่องเศรษฐกิจนี้ ประเทศไทยเมื่อใช้ปรัชญานี้ เป้าหมายต้อง
ก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีการแข่งขันสูง มีการเปลี่ยนแปลงสูง Change and competition โลกสมั ย ปั จ จุ บั น ก็ คื อ การเปลี่ ย นแปลง ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น รวดเร็ ว มาก อั ต รา
แลกเปลี่ยนเงินเราเห็นกันแล้ว ตลาดหุ้นเราเห็นกันแล้ว ราคาทองคำ ที่โน่นที่นี่เกิดการปฏิวัติ ที่โน่นที่นี่เกิดการล้มรัฐบาล เปลี่ยนแปลงเร็วมาก … change เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับมือ ปรัชญานี้ พระองค์ท่านพระราชทานมา … ออกแบบมา … เพื่อให้เราเตรียมพร้อมรับมือ
ต่อการเปลี่ยนแปลง … การเปลี่ยนแปลงของชีวิตเด็กนักเรียน การเปลี่ยนแปลงของครอบครัว ใดๆ การเปลี่ยนแปลงของชุมชน การเปลี่ยนแปลงขององค์กรบริษัท การเปลี่ยนแปลงของ ประเทศ … จะรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างไร? ปรัชญาบอกว่า ถ้าจะรับมือการเปลี่ยนแปลง ได้ ต้องมีความเข้มแข็ง ๔ ด้าน ต้องสร้างความเข้มแข็งทั้ง ๔ ด้าน คือ วัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
Art book.indd 20
2/2/12 8:50:21 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 21
สำหรับบริษัท … วัตถุ ก็คือ สถานภาพของ Corporation สภาพเชิงกายภาพ Hardware สังคม ก็คือสิ่งที่เป็น Software ทั้งหลาย Humanware ทั้งหลาย ที่อยู่ในบริษัท ของท่าน สิ่งแวดล้อม - อันนี้ชัดเจน สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในบริษัท และรอบๆ บริษัท
โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท วัฒนธรรม ก็ชัดเจน วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมบริษัท ท่านสร้างได้หมด … ท่านผู้บริหาร สร้างความเข้มแข็งได้หมด หลักอยูต่ รงไหน? หลักอยูต่ รงประโยคทีส่ อง … ความพอเพียงคืออะไร ความพอเพียง หมายถึง หนึ่ง ความพอประมาณ สอง ความมีเหตุผล สาม มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน … เป็นหลักคิด ในการสร้างความเข้มแข็ง ๔ ด้าน เพื่อให้บริษัทเราพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง - เปลี่ยน รัฐบาล เปลี่ยนนโยบายของรัฐ เปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนคู่แข่งทั้งในและนอกประเทศ … เราเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความเข้มแข็งพื้นฐาน ทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ที นี้ ค ำว่ า พอประมาณ พระองค์ ท่ า นรั บ สั่ ง ไปแล้ ว ว่ า พอประมาณตามอั ต ภาพ Decision Making ในขณะใดก็ตาม ถ้าจะใช้หลักความพอเพียง ก็คือ หนึ่ง พอประมาณไหม? Over Shoot? หรือ Under Shoot? เรายิงเกินไป หรือยิงน้อยกว่า? มันควรจะยิงตรง
เป้าหมาย! … ตรงเป้าหมายตามอัตภาพในขณะนั้น … ความพอประมาณนี่สำคัญมากเลย
นะครับ - ไม่ทำอะไรเกินไป … ไม่ Over Invest! ไม่ Under Invest! อะไรต่ออะไรพวกนี้ .... ข้อที่สอง มีเหตุผล … มีเหตุผลทางกฎหมาย มีเหตุผลทางศีลธรรม มีเหตุผลทาง
กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ มีเหตุผลต่างๆ ฯลฯ เพราะฉะนั้นเรื่องความมีเหตุผล หรือ Reasonableness มี ค นแปลเป็ น ภาษาอั ง กฤษ … ความมี เ หตุ ผ ลตรงนี้ เราใช้ ค ำว่ า Reasonable … To be Reasonable. Reasonable to What? Reasonable to Law. Reasonable to Ethics. Reasonable to CSR Principle - ที่พวกเราเชื่ออยู่. Reasonable to Good Governance. นี่คือความมี Reasonable ทั้งหลาย Art book.indd 21
2/2/12 8:50:21 PM
22
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
หนึ่ง พอประมาณ … พอเพียง พอประมาณอย่างเดียวไม่พอ สองต้องคิดว่า มันมี เหตุผลไหม สมเหตุสมผลไหม ... แล้วเท่านั้นยังไม่พอ อันที่สาม ต้องบอกได้ด้วยว่าการ เปลี่ยนแปลงมันไปกระทบกับทุนของเราในขณะนั้นหรือไม่ เรามีภูมิคุ้มกันที่ดีไหมที่จะดูแล จัดการทุนของเรา - ทุนทางวัตถุ ทุนทางสังคม ทุนทางสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรม บริษัทเราไม่ใช่มุ่งเดี่ยวไปเลยในเรื่องของวัตถุ จะเอาแต่ยอดขายสูงๆ จะเอากำไรเยอะๆ ส่วน สังคมในบริษัท ช.ม.ม. ย่อมาจาก ชั่งแม่งมัน ไม่อยากพูดนะ หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม บริษัท ช.ม.ม. เรื่องวัฒนธรรม ช.ม.ม. ... ไม่ได้นะ เพราะปรัชญานี้บอกว่าต้องครบ ต้อง Holistic ต้องสมดุล เข้าใจนะครับ ... เพราะฉะนั้นตรงนี้สำคัญมากเลยครับ ทีนี้คำถามที่สาม ถ้าบริษัทจะเอาไปใช้ ต้องเตรียมบริษัทอย่างไรบ้าง ก็มีคำตอบแล้ว ในประโยคที่สาม ทั้งนี้ ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวังอย่างยิ่ง
ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน Knowledge Based Decision Making นี่ต้องวางบน Knowledge Based ไม่ว่าจะลงทุน จะซื้อหุ้น …
มีความรู้พอไหม รู้รอบหรือเปล่า ปรัชญานี้บอกว่า ต้องรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ในการนำ วิชาการมาใช้ ทั้งในขั้นวางแผน Planning Stage และในขั้นปฏิบัติ Operation Stage ตัวอย่างที่คุณชายไปทำในชุมชน ที่น่านก็ดี ที่อุดรธานีก็ดีนะครับ ให้ชาวบ้านรู้จัก วางแผนโดยใช้ข้อมูลความรู้ ตามความเป็นจริง … ชัดเจนเลย ไม่ใช่ว่า Dream เอา ไม่ใช่ว่า อยากได้แล้วไปไม่ถึง เพราะมันไม่ใช่ความจริง … เราต้องใช้ข้อมูลจริงครับ … สิ่งที่เราเอาไป ใช้ในชุมชน คุณชายเอาไปใช้ในชุมชน นั่นคือ ทุกคน - ชาวบ้าน ต้องรู้จักหาข้อมูลพื้นฐานของ ชุมชน ฐานะเศรษฐกิจของทุกครัวเรือน เอามารวมกันเป็นภาพรวมฐานะเศรษฐกิจของชุมชน หนึ่งๆ … แล้วก็เอาหลักปรัชญานี้ มาเป็นฐานในการพัฒนาชุมชนของตัวเอง ว่าจะพัฒนา
ไปอย่างไร … บริษัทก็เหมือนกัน เราไม่ได้บริหารบริษัทด้วยอารมณ์ หรือ หมอดู! … เพราะ หมอดูเป็นคนบอกให้ทำ! ให้ซื้อบริษัทโน้น บริษัทนี้! ... ไม่ใช่นะครับ … ต้องบริหารบริษัท
ด้วยหลักวิชาการต่างๆ
Art book.indd 22
2/2/12 8:50:21 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 23
เงื่อนไขที่สอง เงื่อนไขคุณธรรม อ่านต่อไปนะครับ ขณะเดียวกันต้องเสริมสร้าง
พื้นฐานจิตใจคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี นักธุรกิจ ทุกระดับ ให้มี สำนึกในคุณธรรม คำว่า คุณธรรมนี้เป็นคำกว้าง Morality เป็นคำกว้าง มีความดี ความงาม ความจริง อยู่ในคุณธรรม แต่ว่าขอยกเอามาอันเดียว คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ในหลักปรัชญา นี้ เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ … พระองค์ท่านพระราชทานว่า มีคุณธรรมอยู่อันหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณธรรม
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในการนำปรัชญานี้ไปใช้ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต มีชุมชนหนึ่งเขาบอกว่า เขาจะเอาปรัชญานี้มาใช้ มีผู้นำชุมชน แล้วเขาก็รวมตัวกัน เขาบอกว่านี่พวกเราเป็นหนี้เป็นสินกันเยอะทุกครัวเรือน สุดท้ายก็บอกว่า ต้องทำบัญชี
ครัวเรือน … เดือนหนึ่งได้รายได้มาจากไหนบ้าง? บอกมากี่บาท? เดือนหนึ่งใช้อะไรบ้าง?
แล้วต้องซื่อสัตย์สุจริตนะ! กินเหล้ากี่บาทก็ต้องบอกด้วย! เล่นหวยเถื่อนกี่บาทก็ต้องบอกนะ! ไม่งั้นมันแก้ปัญหาไม่ได้ … ต้องบอกหมด! พอบอกเสร็จ เขาก็ประชุมกัน … ครั้งแรก …
เอ๊! จะทำยังไง? เราไม่อยากจะไปเหยียบเท้าใคร … เอาอย่างนี้ไหม! เอามารวมกันเป็น รายรับรายจ่ายของชุมชนต่อเดือน มันก็จะมีรายการว่า รายรับเดือนหนึ่งมาจากไหนบ้าง?
รายจ่ า ยเดื อ นหนึ่ ง มาจากไหนบ้ า ง? ก็ มี ค่ า อาหาร ค่ า ให้ ลู ก เรี ย นหนั ง สื อ ค่ า เดิ น ทาง
ค่ากินเหล้า ค่าเล่นหวย อยู่ในนั้นหมด ... ทีนี้ตอนแรกเขารวมตัวกันก็ยังไม่ค่อยไว้ใจกันเท่าไร ไม่ค่อยเชื่อมั่นใน Potential (ศักยภาพ) ของชุมชนเขา … เลยบอก เอาอย่างนี้ไหม มาแก้ ปัญหาเรื่องค่าน้ำปลาดีกว่า รายจ่ายเรื่องน้ำปลา มันเป็นกลางๆ ดี ไม่ไปเหยียบขาใคร …
เขาก็รวมกันคิดว่า เอ๊! เดือนหนึ่งชุมชนเราซื้อน้ำปลาไม่ใช่น้อยนะ! เราจะแก้รายจ่ายตรงนี ้ ลดรายจ่ายตรงนี้ไหม? ... บอกเอาอย่างนี้ ... ส่งคนของเราไปเรียนวิธีทำน้ำปลาจากชุมชน ... พอเขากลับมา ก็เริ่มทำน้ำปลากันในชุมชน เดือนต่อมาค่าน้ำปลาก็ลดลง จนกระทั่งสุดท้าย น้ำปลาเขาอร่อย เอาไปขายชุมชนอื่น ก็กลายเป็นรายรับ เพราะฉะนั้น แทนที่จะเป็นรายจ่าย สุดท้ายกลายเป็นรายรับ … พอทำเรื่องน้ำปลาสำเร็จ เขาก็เกิดความมั่นใจ ภาษาธรรมดา
เรียกว่า เกิดความฮึกเหิม เขาก็ไปแก้เรื่องอื่น แก้เรื่องกินเหล้า แก้เรื่องเล่นไพ่ แก้เรื่องสูบบุหรี่ … แล้วก็ค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ อบายมุขต่างๆ รายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆ ... กลายเป็น
ชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน พอแก้เรื่องเศรษฐกิจได้ เขาก็ไปแก้เรื่องสังคม …. Art book.indd 23
2/2/12 8:50:21 PM
24
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
มีอยู่อีกชุมชนหนึ่ง เขาบอกว่าบุหรี่นี่ไม่ดี ใน อบต. ของเรา มีร้านขายปลีกขายบุหรี่ อยู่ถึง ๒๓ ร้าน ก็ไปเชิญมา ถาม ถ้าร้านของพี่ๆ น้องๆ ไม่ขายบุหรี่จะกระทบต่อธุรกิจของ
พี่ๆ น้องๆ ไหม เขาบอกไม่กระทบ … ตกลงทุกคนโหวต อบต. นั้นไม่ขายบุหรี่ พวกขี้ยา อบต. นั้น ต้องไปซื้อที่อื่นถ้าอยากสูบ … คือมันค่อยๆ ขยับไป หลังจากนั้นก็ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมสิ! เรื่องขยะเอาไหม? ทีนี้ชักได้ใจแล้ว เอาขยะไหม? ด้านวัฒนธรรมไหม? … มันค่อยๆ เพิ่มไป มันสร้างความเข้มแข็งที่จับต้องได้ - วัดได้ ปรัชญานี้มี Momentum ใน ๔ ด้านนี้นะครับ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี … ภูมคิ มุ้ กันนีน่ ะครับ เราสร้าง KPI ได้ บริษทั เราสร้าง KPI ได้วา่ ถ้าเป็นความเข้มแข็งทางการเงิน การลงทุน การอะไร … ของเรานี่ เราจะเอา KPI มาวัด ถ้าด้านไหนยังอ่อนอยู่ ให้เวลา ๑ ปี ๒ ปี เราจะขยับตัว KPI ของเราอย่างไร ด้านสังคม ก็เหมือนกัน เราไม่ค่อยทักทายกันเลย คนในบริษัท ต่างคนต่างอยู่ เวลาจะชวนให้ทำอะไรก็อิดๆ ออดๆ เรามาสร้างทุนทางสังคม มาสร้างทุนทางสังคมให้เข้มแข็งไหมในบริษัทเรา มีมาตรการ มี Project อะไรบ้าง ๑ ปี อย่างน้อยคน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ต้อง Participate งานที่เป็นงานบุญงานกุศล แล้วค่อยๆ ดูสิว่า เป็นอย่างไรบ้าง ทางด้านสิ่งแวดล้อม ก็เหมือนกัน เอาไหม รอบๆ บริษัทเรา เรื่องขยะ ...
มาช่วยกันหน่อย! อย่างนั้น! อย่างนี้! ในที่ทำงาน แล้วทำ Project ขึ้นมา เอา ๕ ส ขึ้นมา ก่อนไหม? อย่างนั้น! อย่างนี้! พวกเราไม่เคยรู้จักเลย ๕ ส เรื่องความสะอาดเป็นระเบียบจะ ได้เข้ามา คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บังคับให้คนเกิด Dynamism ของการพัฒนา องค์กรของตัวเองทีละด้าน ... ทีละด้าน ... เข้าใจนะครับ ผมเห็นมาหลายองค์กรแล้ว ที่เขา พัฒนา ….
Art book.indd 24
2/2/12 8:50:21 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 25
ผมเคยถามท่านนักธุรกิจอยู่เรื่อยนะว่า บริษัทท่านมีคนงาน ๓๕ คน ทุกคนกินเหล้า หมดเลย ขี้เหล้าหมด ทุกคนเล่นการพนันหมด แล้ว Contribution จากคนงาน ๓๕ คน
ในบริษัท แน่นอนเลย มันนิดเดียวเท่านั้นเอง แต่ถ้าสามารถเปลี่ยนให้เขานะ … เอาปรัชญานี้ เข้ า ไปเปลี่ ย นเขา ๓๕ คน ค่ อ ยๆ ผ่ อ นหนี้ ๕ ปี ไม่ มี ใ ครเป็ น หนี้ เ ลย ใช้ ชี วิ ต สะอาด
ออกกำลังกาย เข้าวัดเข้าวา รู้จักมัธยัสถ์ รู้จักประหยัด รู้จักดูแลครอบครัวนะ แล้วก็มี Pride ในตั ว เอง มาทำงานให้ บ ริ ษั ท ให้ เ กิ ด ความฮึ ก เหิ ม ให้ เ กิ ด ความจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ บริ ษั ท Productivity ของบริษัทจะเป็นอย่างไร … คนงาน ๒ ชุดนี้ ต่างกันเยอะนะครับ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนช่วยพัฒนา ให้บุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ
Art book.indd 25
2/2/12 8:50:22 PM
26
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
สถานศึกษา หน่วยงานสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมให้ก้าวหน้า … เหมือนครู ครูขณะนี้ก็เป็นหนี้บานตะไท ถ้าเอาปรัชญานี้เข้าไป … ผมเชื่อว่า
จะช่วยครูที่ไม่มีแรงสอนหนังสือได้ แล้วถ้าครูไม่มีแรงสอนหนังสือนี่ … คุณภาพการศึกษา
จะอยู่ตรงไหน เข้าใจนะครับ เหมือนกัน … คนงานบริษัทท่านเหมือนกัน เป็นหนี้บานตะไท
แล้วสิ้นเดือนก็หลบๆ หลีกๆ ไม่ยอมมาทำงาน เพราะกลัวเจ้าหนี้ทวง ถูกไหมครับ ถ้าท่าน สร้างชีวิตเขาให้ดีขึ้นจากปรัชญานี้ … เพราะฉะนั้น ปรัชญานี้ ... คุณธรรม มีความรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติปัญญา ความรอบคอบ ต้องอดทน ต้องมี
ความเพียร ... ขี้เกียจไม่ได้ ปรัชญานี้ไม่ชอบคนขี้เกียจ ... ท่านบอกไว้ชัดเจน เราต้องใช้สติ ใช้ปัญญา เราต้องพัฒนาเขาตลอดเวลา พัฒนาคนของบริษัทตลอดเวลา ให้เป็น Knowledge Person - Knowledge People - Knowledge Culture - ทำเถอะครับ รับรองได้
บริษัทท่านไปรอดแน่ๆ สุดท้ายคำถามที่สี่ - ถ้าเอาปรัชญานี้ไปทำที่บริษัท สุดท้ายหวังจะให้เกิดอะไรขึ้น
เพื่อให้สมดุล บริษัทเกิดสมดุล อันที่สองพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง - จะไฟไหม้ น้ำท่วม บริษัทเราก็ยังอยู่ได้ เข้าใจนะครับ ขอบคุณมากครับ Art book.indd 26
2/2/12 8:50:23 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 27
ดร.วิรไท สันติประภพ : ขอบพระคุณครับ ท่านองคมนตรี ค รั บ ท่ า นองคมนตรี ไ ด้ ส รุ ป ที่ ม าที่ ไ ปของหลั ก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราอาจจะมักได้ยินปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกันว่ามี
๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ที่พูดถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ท่านองคมนตรีได้กรุณาพูดถึง หนึ่งตัวอย่างของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นวงการธุ ร กิ จ ก็ คื อ การสร้ า งสั ง คมของแรงงานให้ ดี ขึ้ น เพื่ อ มี ผ ลต่ อ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลขององค์กร ผมเชื่อว่าท่านผู้อำนวยการ ดร. จิรายุฯ ท่านมี
อีกหลายตัวอย่างของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในวงการธุรกิจ ขออนุญาต เรียนเชิญท่านได้กรุณาเล่าให้เราฟังว่ามีตัวอย่างอะไรบ้างที่ประสบความสำเร็จครับ ก่อนพูดถึงเรื่องตัวอย่าง ผมอยากจะขออนุญาต เพื่อประหยัดเวลา ผมคิดว่าท่าน
องคมนตรีเกษมฯ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว และรวมถึง
การประยุกต์ใช้ด้วย ซึ่งค่อนข้างชัดเจนและคมมาก เพราะฉะนั้น ผมจะลดในส่วนของผมที่จะ พูดลงไปบ้าง จากที่วางแผนเอาไว้ แล้วก็ในขณะเดียวกัน ก็จะเปิดโอกาสให้มี Q & A หรือ การเสวนากันมากขึ้นนะครับ แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ขออนุญาตเรียนอย่างนี้ สำหรับสิ่งที่ท่านองคมนตรีเกษมฯ ได้พูดมานี้ ที่จริงท่านพูดถึงช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา ที่พวกเราได้รับพระราชทานคำนิยามนี้มา -พวกเราที่ศึกษาเรื่องนี้มาก็ได้รับพระราชทานคำนิยามอันเดียวกันนี้มา -- แต่ผมจำได้ว่า เมื่อ ประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เชิญให้ท่านองคมนตรี ไปพูดเรื่องปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ผมได้มีโอกาสไปนั่งฟังอยู่ด้วย คุณหญิงชฎา (วัฒนศิริธรรม) ก็ไป
นั่งฟังอยู่ด้วย พอไปฟังท่านแล้ว ก็เกิดแรงบันดาลใจว่า ต้องเอาสิ่งที่ท่านพูดมาพิมพ์ แล้วมา แจก เพื่อที่จะได้เผยแพร่ความเข้าใจอย่างรวดเร็วต่อไป ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่า แก่นของปรัชญา
รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา :
Art book.indd 27
2/2/12 8:50:23 PM
28
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
เรารู้หมดแล้ว พอมาฟังท่านวันนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า คมขึ้นอีก มีความก้าวหน้าขึ้นอีก มีทั้งความ ลึกซึ้งของปรัชญานะครับ และมีทั้งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เพราะฉะนั้น
ผมคิดว่า พวกเราต้องขอขอบพระคุณท่าน ซึ่งวันนี้ ผมคิดว่า ผู้ที่ได้มาฟังทั้งหลาย โชคดี
ที่ได้มาฟัง เกี่ยวกับความเป็นมา ได้เข้าใจทั้งความลึกซึ้งของปรัชญา รวมทั้งการที่จะเอาไปใช้ ในทั่วๆ ไป แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคธุรกิจด้วยนะครับ ผมคิดว่าคงมีหลายๆ คนที่เคย มะงุมมะงาหราไป พยายามเข้าใจและศึกษาแล้วก็อาจจะไม่คม อาจไม่เข้าใจชัดเจน และเกิด ความสับสน ... เพราะฉะนั้น ตามที่ได้มีอารัมภบทตอนต้น พวกเราทุกคนได้ยินได้ฟัง เกี่ยวกับ เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมามาก แต่วันนี้เราได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และถ่องแท้มาก ... และอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ผมหวังว่า และผมคิดว่า จะมีความก้าวหน้าต่อไปอีก เราจะเรียนรู้ ไปเรื่อยๆ …. สำหรับเรื่องที่ผมอยากจะขอมานำเรียนต่อจากท่านองคมนตรี คือ ประมาณปี ๒๕๔๒ เราได้ตั้งกลุ่มเป้าหมายที่จะเผยแพร่การนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ ซึ่งมี ๘ กลุ่มเป้าหมายด้วยกัน หนึ่งในกลุ่มเป้าหมายนั้นก็คือ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะเราเห็นว่า มีความสำคัญมาก
เมื่อตอนที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ ผู้ที่ประสบปัญหามากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ก็คือ กลุ่มธุรกิจ ขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้น เราเห็นว่า ตรงนี้ควรจะให้ความสนใจอย่างยิ่ง ... ในวันนี้จะขอนำข้อ สรุปของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเรียนให้ท่านทั้งหลายได้กรุณา พิจารณานะครับ ในประการที่หนึ่ง เราตั้งตัวก่อนว่า เราอยู่ในระบบเศรษฐกิจซึ่งใช้ระบบตลาดเป็น สำคัญ เพราะฉะนั้น คำถามสำคัญคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขัดแย้งหรือสอดคล้อง ไหมกับระบบตลาด นั่นคือประการที่หนึ่ง ประการที่สองคือ เราใช้นโยบายของเศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจกระแสหลักที่อิงกับระบบตลาดเป็นประการสำคัญ ถามว่า ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงขัดแย้งหรือสอดคล้องไหมกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก บริหารธุรกิจ กระแสหลัก ข้อยุติหรือข้อสรุปของเราก็คือ ไม่ขัดกัน สอดคล้องกัน
Art book.indd 28
2/2/12 8:50:23 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 29
แล้ ว จริ ง ๆ ก็ เ ป็ น อย่ า งที่ ท่ า นองคมนตรี เ กษมฯ พู ด ไปแล้ ว คื อ ว่ า ปรั ช ญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย งสามารถที่ จ ะเพิ่ ม คุ ณ ค่ า ของเศรษฐศาสตร์ ก ระแสหลั ก และการ บริหารธุรกิจกระแสหลักได้ ด้วยการเน้นให้เราให้ความสำคัญกับความรู้ การใช้ความรู้
ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ด้วยความมีเหตุผล ... พร้อมๆ กันนั้น การตัดสินใจ และ
รวมถึงการกระทำจริงด้วย ... ที่จะผลิต ลงทุนขยายธุรกิจ ทำการตลาด ตั้งราคา เตรียม คงคลังสินค้า และต่างๆ อีกมากมาย ที่อยู่ในกระบวนการทำธุรกิจของเรานั้น ต้องคำนึงถึง อัตภาพ คำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคม ของประเทศ และตลาดโลก
ไม่ ข ยายตั ว เร็ ว เกิ น กำลั ง ของตั ว เอง แต่ ก็ ไ ม่ น้ อ ยจนต่ ำ กว่ า ศั ก ยภาพที่ มี นั่ น คื อ ความ
พอประมาณในการทำธุรกิจ และประการต่อมา คือ เราควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่นะครับ … ซึ่งเขาก็สนใจอยู่แล้ว แต่เราเน้นให้ความสนใจยิ่งขึ้น ... คือ ระบบบริหารความเสี่ยง หรือ Risk Management ที่เรารู้จักกันดี สาเหตุที่เราต้องมีการ บริหารความเสี่ยง เพราะสถานการณ์ต่างๆ รอบๆ ตัวเรา มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรา จึงต้องไม่ประมาท ต้องตั้งสติ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มาอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบอย่าง กว้างขวาง ตามที่นิยามไว้ในหลักปรัชญาฯ ซึ่งการเตรียมพร้อมรับนั้น ต้องใช้ข้อมูลและ
ความรู้ทางวิชาการ อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้มีทางเลือกในการตัดสินใจ และการปฏิบัติที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ และสำคัญมากที่สุดคือ ต้องอยู่บนพื้นฐานคุณธรรม ใช้สติปัญญา ไม่ตัดสินใจหรือกระทำการใดๆ ที่ออกนอกเส้นทางของความถูกต้อง ซึ่งอันนี้ก็สอดคล้องและ เพิ่มคุณค่าให้กับระบบของเศรษฐกิจกระแสหลักหรือระบบบริหารธุรกิจกระแสหลัก เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว ที่กล่าวมาข้างต้น คือสิ่งที่เรียกว่า ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข
ซึ่งเป็นคำนิยามของหลักพอเพียงนั่นเองครับ ... ๓ ห่วง ก็คือ ความพอประมาณ ความ
มีเหตุผล และการบริหารความเสี่ยง หรือการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้วยความ
ไม่ประมาท ส่วน ๒ เงื่อนไข นั้น อย่างแรก คือ การใช้ความรู้ ด้วยความรอบรู้ และรอบคอบ ระมัดระวัง อย่างที่ท่านองคมนตรีบอกพวกเรา ผมขอย้ำอีกครั้งหนึ่ง ... แทนที่จะฝันอย่างนั้น อย่างนี้ เอาตามความต้องการของผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้น ... ปรัชญานี้บอกว่า ขอให้ใช้ข้อมูล และความรู้ ใ ห้ ม ากๆ แล้ ว ต้ อ งเป็ น ข้ อ มู ล และความรู้ ที่ อ ยู่ บ นพื้ น ฐานของความเป็ น จริ ง Art book.indd 29
2/2/12 8:50:23 PM
30
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
วิ เ คราะห์ อ ย่ า งรอบคอบตามหลั ก วิ ช าการ ทั้ ง ทางเศรษฐศาสตร์ แ ละการบริ ห ารธุ ร กิ จ
เชื่อมโยงข้อมูล ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นความรอบรู้ที่ไม่แยกส่วน แต่บูรณาการให้เป็น ความรู้ที่เป็นองค์รวม จึงจะเป็นประโยชน์ ที่จะสามารถนำไปสู่ความเข้มแข็งของธุรกิจได้ เงื่อนไขประการที่สอง คือสิ่งที่ผมคิดว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เพิ่มเข้าไป เน้นเข้าไป - สู่เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และบริหารธุรกิจกระแสหลัก คือเรื่องของคุณธรรม ซึ่งปรัชญานี้ เน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นอันดับแรก การทำธุรกิจตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนั้น ทุกขั้นตอนต้องอยู่บนหลักของความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงคุณธรรมอื่นๆ เช่น ความอดทน ความเพียร การใช้สติ ปัญญา การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
ซึ่งต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในบุคลากรทุกระดับของบริษัท ส่งเสริมและพัฒนาคนในบริษัท
ให้เห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมีสติ การใช้ปัญญา
ในการทำงาน การช่วยเหลือ มีน้ำใจ แบ่งปันกัน ต่างๆ เหล่านี้ จึงจะทำให้สามารถดำเนิน ธุรกิจไปได้มั่นคงและยั่งยืน Art book.indd 30
2/2/12 8:50:23 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 31
ในส่วนของเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจนั้น ปรัชญานี้เน้นความสมดุล นั่นคือ
การสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางธุรกิจ หรือเป้าหมายทางด้านรายได้ หรือทางด้าน การเงิน ให้มีความสมดุลกับการจัดการด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ด้วย …
เพื่ออะไร ก็เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน บริษัทสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ เพราะพึ่งพาอาศัยกันได้ -- ถ้าสังคมอยู่ไม่ได้ ธุรกิจก็อยู่ลำบาก -- และธุรกิจก็สามารถอยู่ร่วม กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน คนรุ่นปัจจุบันสามารถอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ได้ เพราะเห็นคุณค่า และสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามร่วมกัน ... ทั้งหมดไม่ขัดแย้งกัน ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัด
เอาเปรียบกัน ก็เพราะการบริหารจัดการของภาคธุรกิจคำนึงถึงความสมดุลในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ฉะนั้น ตรงนี้เป็นส่วนที่เป็นข้อยุติ ที่อยากจะนำเสนอให้พวกท่านพิจารณาว่า
นี่คือส่วนที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเพิ่มให้กับความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ กระแสหลัก หรือการดำเนินธุรกิจในระบบตลาด ที่เราดำเนินการกันอยู่นะครับ นอกจากนี้แล้ว แนวคิดเรื่องความสมดุลนี้ ทำให้เราสามารถไปร่วมพิจารณาเรื่องนี้ใน ระดั บ โลกได้ ด้ ว ย คื อ ที่ เ รี ย กว่ า แนวคิ ด ระดั บ โลก ... ที่ เ ขาพู ด ถึ ง เรื่ อ ง Sustainable Development การพัฒนาอย่างยั่งยืน ... ซึ่งตอนนี้เราได้เห็นหลักการบริหารอย่างสมดุลนี้ ถูกนำมาใช้มากในระดับโลก เราสามารถที่จะบอกได้ว่าสิ่งที่ชาวโลกสนใจนั้นสอดคล้องกันกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราเห็นด้วยกับ Sustainable Development แต่ แนวคิด Sustainable Development นั้น ก็ยังขาดการมุ่งเน้นเรื่องคุณธรรม เรื่องการพัฒนาคนให้มี คุณธรรมเป็นพื้นฐานของความคิดและการกระทำ เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาโลกให้ยั่งยืน
ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเข้าไปในแนวคิดกระแสหลักของโลก ...
ซึ่งประเด็นนี้เป็นจุดที่ผมอยากเน้นในการนำเสนอท่านทั้งหลายในวันนี้
Art book.indd 31
2/2/12 8:50:23 PM
32
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ตัวอย่างการทำ CSR ของบริษัทเอกชน ในการสร้างโรงเรียนให้แก่ชาวไทยภูเขาที่ห่างไกล ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเรื่องของคุณธรรม ก็คือเรื่อง ของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลในสังคม และความสมดุลทาง เศรษฐกิจ การแบ่งปันเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่มาก
ในสังคมปัจจุบัน ... ผู้ที่มีมากกว่า เมื่อมีเกินพอแล้ว ก็ควรแบ่งปันให้ผู้ที่ขาดแคลน โดยไม่ จำกัดว่า จะต้องแบ่งปันเฉพาะเป็นข้าวของเงินทองเท่านั้น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ความคิดดีๆ ต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรื่องของการแบ่งปันนี้ จากการขับเคลื่อนในช่วงที่
ผ่านมาของเรา ก็พบว่า ทางด้านธุรกิจขนาดใหญ่ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งของเรา ก็ทำ อยู่แล้วครับ ... ทำก่อนปี ๒๕๔๒ อีกนะครับ คือ เรื่องของ CSR การแบ่งปันจากผลกำไรที่ บริษัทขนาดใหญ่ได้มีโอกาสที่จะนำไปช่วยเหลือสังคม ... ก็มีการทำกันอยู่บ้างแล้วในสังคมไทย
Art book.indd 32
2/2/12 8:50:24 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 33
{ ´ » » ¦ · ¦ µ Ç nµ Ç Î µÁ µÁ · CSR à ¥Á ¥ª ° £µ ª µ Ç Ã ¥Á ¸É¥ª o° ´ £µ nª nµ Ç °Å n°Å ¸Ê ¼ n oµ
¼o º°®»o
¡ ´ µ ¨³ ¦° ¦´ª ¦° ¦ª
¨¼ oµo
CSR
» ¤ ¸ ¤ ° ¦ °É r ¦ ´Ê °¥¼n ´ ¤Ã ¥¦ª¤Â¨³ ¤Ã ¥¦ª¤Â¨³ ·É ª ¨o°¤ 8
ในการที่จะพูดถึงเรื่อง CSR โดยรวม ขอย้ำในสิ่งที่ท่านองคมนตรีเกษมพูดแล้ว
ก่อนหน้านี้ คือ พนักงานและครอบครัวก็เป็น Stakeholder ที่สำคัญ … เหมือนอย่างที่ท่าน ได้พูดไปแล้ว ถ้าสมมุติว่า บริษัท และ HR ของบริษัท รวมถึง CEO ของบริษัท ได้ให้ความ สนใจกับพนักงานและครอบครัว ในเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ต่างๆ ก็จะเกิดผลดีอย่างที่ท่าน
องคมนตรี ได้พูด … เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นเรื่องที่อยากจะส่งเสริม และมีข้อพิสูจน์แล้ว
จากหลายๆ กรณี ที่บริษัทได้ลงไปดูแลพนักงานและครอบครัว แล้วส่งผลที่ดีเกินคุณค่าของ จำนวนเงินหรือทรัพยากรที่ใส่เข้าไปในการดูแลพนักงานและครอบครัว
Art book.indd 33
2/2/12 8:50:25 PM
34
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมอยากจะเน้น คือ เรื่องความใส่ใจในชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ตรงนี้ เป็น CSR อีกด้านหนึ่ง ที่ผมคิดว่าทุกๆ บริษัทเวลานี้ เข้าใจดีแล้ว! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตอนเกิดเรื่องมาบตาพุด ยิ่งชัดเจนว่า เรื่องสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นเรื่องที ่ ทุ ก บริ ษั ท ต้ อ งให้ ค วามสนใจ กล่ า วคื อ เราต้ อ งดู แ ลสั ง คม … แล้ ว สั ง คมที่ เ ราต้ อ งดู แ ล
อย่างแน่นอนในเบื้องต้น ก็คือ ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่นะครับ … แต่นอกเหนือจากนี้ ถ้ามีกำลัง
ที่เพิ่มขึ้น - ซึ่งบริษัทหลายๆ แห่งที่อยู่ในที่นี้ ก็เป็นเช่นนั้น - คือมีกำลังมาก ก็น่าที่จะขยาย ออกไปดูแลสังคมโดยส่วนรวม ผมอยากให้ เ ราให้ ค วามสนใจกั บ สั ง คมโดยส่ ว นรวม โดยขอย้ อ นกลั บ ไปเรื่ อ งที ่ ได้มีการตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว และผมคิดว่าพวกเราทุกคนก็รู้สึกถึงปัญหานี้ นั่นคือ ปัญหาความ เหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งอยากจะขอนำตัวเลขมาให้ท่านดูเป็นส่วนประกอบ ... ณ ขณะนี้ จาก ตัวเลขที่เราพอมีล่าสุด คือ ปี ๒๕๕๓ พบว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่เป็นผู้ที่รวยที่สุด เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ๕๘ เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินทั้งหมด สำหรับคนชั้นกลางอีก ๖๐ เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ๓๘ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่จนที่สุด
เป็นเจ้าของทรัพย์สินเพียง ๓.๙ เปอร์เซ็นต์ - อันนี้เป็นตัวเลขของความเหลื่อมล้ำในสังคม ไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบนั ... ซึง่ ถ้าเราไม่ทำอะไรเกีย่ วกับเรือ่ งนีเ้ ลย ปล่อยให้เป็นไปโดยโยนให้เป็น ความรับผิดชอบของผู้อื่น … คือ เป็นเรื่อง ช.ม.ม. แบบที่ท่านองคมนตรีเกษมฯ ได้พูดถึง …
ถ้าเป็น ช.ม.ม. มันก็จะเกิดปัญหามากขึ้นทุกที ... เพราะฉะนั้น ตรงนี้ CSR ช่วยได้
CSR สามารถเข้าร่วมแก้ปัญหา ความเหลื่อมล้ำในสังคมได้
Art book.indd 34
2/2/12 8:50:25 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 35
Asset Size Á ¬ ¦/°µ®µ¦
¦´¡¥µ ¦
ÔÕ%
/ Market Cap.
· oµ°» ã ¦·Ã£
ÕÔ% ° ¦·¬´ ³Á ¸¥ ´Ê ®¤ »¦ · µ¦Á ·
· oµo °» µ® ¦¦¤
¦· µ¦
°´ ®µ² n°¦oµ
Á à 襸 à Ã
MAI
CONNECT FOR SHARING
¦oµ » nµ
¦oµ ¡¨´ ¦nª¤
n Á¦·¤ ´ » Ä®o . Ä o ¦³ ª µ¦ ¦·®· µ¦ ´ ´ µ¦ CSR Ä µ¦ ¦· Ä ·®µ¦ »¦ ··
¦³µ «´ ¥£µ¡ ¦oµ ¤ »¨ ¦³®ªnµn ´ ´ ¤Á¤º°º ¨³ 9
มาถึ ง ตรงนี้ ผมก็ ต้ อ งแสดงความขอบคุ ณ และแสดงความชื่ น ชมว่ า ทางตลาด
หลักทรัพย์ฯ หรือบริษัทชั้นนำของตลาดหลักทรัพย์ฯ ๒๗ แห่ง ซึ่งเราได้รับทราบมาว่ามี Market cap๓ รวมกันเป็น ๔๓ เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด และมีสินทรัพย์เป็น สัดส่วนอยู่ ๓๔ เปอร์เซ็นต์ คือ พูดได้ว่าเป็นบริษัทชั้นนำ ๒๗ บริษัทเท่านั้น แต่ได้รวมตัวกัน แสดงความเป็นผู้นำ รับรู้เกี่ยวกับปัญหา และมีศักยภาพของการที่จะใช้ CSR เพื่อเป็น
เครื่องมือในการร่วมแก้ปัญหาของประเทศ ... ที่ผมบอกว่าแก้ปัญหาประเทศตามรูปเมื่อกี้ ประเทศก็คือ สังคมส่วนรวม ที่ทุกบริษัทตั้งอยู่ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็ได้ชี้แนะ ว่า ให้แบ่งปันกันในสังคมเพื่อเสริมสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น และที่จริงแล้ว ๒๗ บริษัทนี ้ ผมดูแล้วก็คิดว่า ท่านทำ CSR ของท่านอยู่แล้ว แต่ท่านมีความตั้งใจดีว่า อยากจะทำให้ดีขึ้น Art book.indd 35
๓ Market Cap ย่อมาจากคำว่า Market Capitalization เป็นมูลค่าราคาตลาดของหุ้นทุน ถือเป็นการวัดความมั่งคั่ง (Wealth) ของผู้ถือหุ้น
2/2/12 8:50:26 PM
36
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ประโยคทองของกลุ่ม CSR CLUB คือ Connect for Sharing การรวมพลังกันเพื่อแบ่งปัน
ขอยกตัวอย่างอันหนึ่ง ผมได้ข้อมูลมาว่าอย่างบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ มีตัวเลขว่า
ท่านให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ ท่านองคมนตรีเกษม ท่านก็ไปเป็นกรรมการทุนฯ
อยู่ด้วย ช่วยไปดูแล ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ ได้มอบทุนแล้ว ๓,๘๐๐ ทุน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ หลายๆ ตัวอย่าง ... เพราะฉะนั้น แต่ละบริษัทล้วนแต่ไปทำ CSR ของตัวเองมาหมดแล้ว ... ถ้าเช่นนั้น ทำไมถึงมาร่วมกันตั้งเป็น CSR Club? ก็แสดงให้เห็นว่าต้องการรวมพลังกัน ... เพราะเห็นว่าถ้าต่างคนต่างทำ ก็ไม่น่าจะมี Impact หรือพลังในการแก้ปัญหาของประเทศ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เท่ากับที่จะมารวมกันทำ ... แล้วก็ได้เกิดประโยคทองของ กลุ่ม ประโยคทองก็คือ Connect for Sharing คือ การรวมพลังกันเพื่อแบ่งปัน ทีนี้คำถามที่ผมอยากถามเร็วๆ ต่อไปว่า Connect for sharing to do what?
คือจะร่วมมือกันลงไปทำ CSR ใน Activity อะไร? ในกิจกรรมอะไร? อันนีไ้ ม่ได้หมายความว่า ที่ท่านแต่ละคนทำในส่วนของแต่ละบริษัท ไม่ใช่เรื่องดีนะครับ แต่ถ้าจะมา Connect กัน เพื่อ ให้มี Impact ที่มากขึ้น และช่วยแก้ปัญหาของประเทศได้ มีอะไรบ้างที่เราสามารถเรียนรู้ได้ จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะจากการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เท่าที่เราได้ทำ
มาแล้วในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา จึงอยากจะมาเรียนถามท่านว่า ท่านอาจจะสนใจเรื่องของการ Connect for Sharing เพื่อจะมาช่วยแก้ปัญหาของประเทศ Art book.indd 36
2/2/12 8:50:26 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 37
ตัวอย่างของโครงการที่ผมอยากจะนำเสนอ ก็คือ โครงการต่างๆ ของสถาบันปิดทอง หลั ง พระฯ ซึ่ ง ท่ า นองคมนตรี เ กษมเป็ น ประธานของมู ล นิ ธิ ปิ ด ทองหลั ง พระฯ เป็ น ผู้ ที่ ใ ห้ Guideline เป็นผู้กำหนดนโยบายในเรื่องนี้ มีคุณชายดิศนัดดา (ดิศกุล) เป็นประธานสถาบันฯ และเป็นผู้ Operate ในเรื่องนี้นะครับ ถ้าถามว่ากิจกรรมต่างๆ ของสถาบันปิดทองหลังพระฯ นี้ CSR Club อาจจะสนใจและช่วยอะไรได้บ้าง ก็อยากจะเล่าให้ฟังว่า นอกจากเรื่องหลักการ ซึ่งยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่คมชัดอย่างที่ท่านองคมนตรีเกษมได้พูดถึง ก็มีเรื่องที่ เป็นตัวอย่างรูปธรรมที่ CSR Club น่าจะมาร่วมทำ for Sharing ได้ อยากจะเรียนว่า สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้เริ่มดำเนินการมา ๓ ปีแล้ว และการ ทำงานก็ลงไปปฏิบัติ ในแนวทางที่เรียกว่า Area-Based คือ ไม่ได้ทำทั้งประเทศ ทำเฉพาะ พื้นที่ที่กำหนดเป็นเป้าหมาย โดยวิธีการที่สอดคล้องกับภูมิสังคมนั้นๆ เริ่มจากลงไปที่พื้นที ่ ลุ่มแม่น้ำน่าน โดยมีหลักการที่ยึดเป็นแนวปฏิบัติ และประสบการณ์ในการลงไปทำพื้นที่ตรงนี้
ที่ผมอยากจะเล่าให้ท่านฟัง
Art book.indd 37
2/2/12 8:50:26 PM
38
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
à ¦ µ¦ ¸É ε¦n° · ´ ·Â¨³ ¦³ ¨ÎµÁ¦È à ¦ µ¦ µ¦° ¨³ ¦³ ¨µÁ¦
º° µ¦¡´ µ¦³ o  ¼¦ µ µ¦ µ¦Â oÅ { ®µ ¨³¡´ µ¡ºÊ ¸É ¨»n¤ εÊÎ nµn °¥nµn ¥´É´ ¥ºº µ¤Â ª¡¦³¦µ Îε¦·· (¡.«. ÓÖÖÓ - ÓÖÖÔ)
10
หลักสำคัญประการที่หนึ่งคือ ชุมชนต้องเป็นเจ้าของ ชุมชนต้องเป็นผู้นำในการ พัฒนา การพัฒนาต้องทำไปตามที่ชุมชนต้องการ ... อันนี้แตกต่างจากในอดีต ที่โดยมากแล้ว หน่วยราชการจะเป็นคนที่ไปสั่งว่าควรจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะมีสมมติฐานว่าหน่วย ราชการรู้ดีกว่า เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมา หน่วยราชการจึงเป็นคนไปกำหนดว่า จะทำอะไรที ่ ตรงนี้ ... แต่ในช่วง ๒ ปีกว่าๆ มานี้นะครับ ปิดทองหลังพระ ได้ไปยืนยันว่า เลือกไปเริ่มทำที่ ลุ่มน้ำน่าน โดยชุมชนต้องเป็นเจ้าของโครงการ ชุมชนจะต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการ แล้วก็ ต้องเป็นไปตามความต้องการของชุมชนจริงๆ นะครับ
Art book.indd 38
2/2/12 8:50:27 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 39
ประการต่ อ มา คื อ หลั ก การดำเนิ น การก็ จ ะเป็ น ไปอย่ า งที่ ท่ า นองคมนตรี เ กษม
ได้พูดไปแล้ว คือ ต้องเป็นไปตามขั้นตอน เราไม่สามารถจะทำให้ประชาชนรวยได้ทันที
อย่างรวดเร็วภายใน ๑ ปี แต่ว่าเราจะถือหลักว่า ขั้นแรก คนในชุมชนต้อง Survive ก่อน ต้องให้อยู่รอดก่อน และไม่เป็นหนี้ ... ขั้นที่สอง คือ Sufficiency ให้พอเพียง คือ พออยู ่ พอกิน ... แล้วก็ขั้นที่สาม ถึงจะทำให้มีการเจริญก้าวหน้าของชุมชนอย่างยั่งยืน Sustainable ...เพราะฉะนั้น ต้องมีสามขั้นตอน นี่เป็น Guide หลักในการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประการที่สาม ถึงแม้ชุมชนจะต้องเป็นผู้นำและเป็นเจ้าของ และเป็นไปตามความ ต้ อ งการของชุ ม ชน แต่ สิ่ ง ที่ ส ำคั ญ มากที่ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด ความสำเร็ จ คื อ การสนั บ สนุ น
โดยราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาชุมชน ต่างๆ คือ จะต้องมีผู้เป็นพี่เลี้ยง
และเป็น Supporter ที่ทำงานอย่างบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างช่วย ต้องมีการเข้าไปช่วย อย่างบูรณาการ ตรงนี้เป็นหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แล้วสิ่งที่เป็น Input ที่สำคัญ คือ ความรู้ ไม่ใช่เงิน ถ้าสมมุตวิ า่ ชุมชนมาบอกว่า “ปิดทองหลังพระมาช่วยหน่อย ขอ ๑๐ ล้าน…” ถ้าเริม่ ต้น อย่างนี้ ต้องคุยกันใหม่ ต้องบอก ต้องถามว่า “สิ่งที่ท่านต้องการจริงๆ คือความรู้อะไร”
เพราะความรู้ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในโครงการพระราชดำริต่างๆ ซึ่งสถาบันปิดทองหลังพระฯ มีหน้าที่ไปรวบรวมความรู้ที่สะสมอยู่ในการดำเนินโครงการพระราชดำริต่างๆ แล้วหาหนทาง นำมาประยุกต์ใช้สำหรับแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ในการทำงาน AreaBased ก็แปลว่า ต้องไปดูภูมิสังคมของที่นั่นก่อนว่าเป็นอย่างไร? ... องค์ความรู้หรือวิธีการ บางอย่าง เมื่อนำมาใช้ที่จุดนี้แล้วประสบความสำเร็จก็จริง แต่พอไปอีกแห่งหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ เลยก็ได้! ... เพราะฉะนั้น จึงต้องใช้หลัก Area-Based ให้เป็นไปตามภูมิสังคม และสถาบัน ปิ ด ทองหลั ง พระฯ จะต้ อ งไปรวบรวมพี่ เ ลี้ ย งและหน่ ว ยงานทั้ ง หลายให้ ม าช่ ว ยสนั บ สนุ น
ให้สามารถดำเนินการไปได้ตามแผนงานที่มาร่วมกันทำกับชุมชนนะครับ
Art book.indd 39
2/2/12 8:50:27 PM
40
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ε ª¡¦³¦µ ε¦·Ä × ¤· ·¨ ¼¼n »¤ • µ¦¡´ µÂ®¨n Êε • µ¦Á È È ÎµÊÎ ÄÄ®o°o ¥¼nÄ ¦³Á « Ä®o µ ¸É» • µ¦Ä o Êε » ®¥ Ä®oÁ · ¦³Ã¥ r¼ »
• µ¦ ¦´ ¦ · » • µ¦ ¨¼ ® oµÂ
• Á ¬ ¦ §¬ ¸Ä®¤n • Á ¬ ¦¦¼ Á ¬ ¦¦  °º  ° É ¸ÉÁ®¤µ³¤ ´ ¡ºÊ ¸É
• ε ´ ¥³ • ε ´ ÊεÁ¸¥ • µ¦° »¦´ ¬r ¼Â¨¦´ ¬µ ¨³Ä o ¦³Ã¥ r µ iµ°¥nµ ¼ ª· ¸ Á¡ºÉ°Ä®o¤ »»¬¥r ´ ¦¦¤ µ · °¥¼n¦nª¤ ´ Å o°¥nµ ¤¸ ªµ¤»
• Šð ¸Á ¨ • Á °Á¡¨ Á ¥ª Á º°Ê Á¡¨· ¸Á ¸¥ª
à ¥ ¦³ Êε® ³  n¨´Á¦ºÉ° µ¤£µ¡£¤·¤ ¤Â¨´£µ¡ ®µÄ  ¨´¡ à ¥ ¦ µ®  ¨´Á¦° µ¤£µ¡£¼ ³ ¤Â¨´£µ¡ { ®µÄ  n¨´¡ºÊ ¸É 11
11
ประการที่สี่ เรื่ององค์ความรู้ และประเด็นที่ควรสนใจให้เกิดการพัฒนานั้น แทนที่จะ กว้างเกินไป ก็ได้กำหนดไว้ ๖ มิติ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานลงมา อย่างน้อยก็เพื่อให้เกิดความอยู่รอดก่อน แล้วจะได้พัฒนาไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน และยั่งยืนต่อไป ... สำหรับ ๖ มิตินี้ ประกอบด้วย น้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม สถาบันปิดทองหลังพระฯ มีความรู้ตามแนวพระราชดำริ ๖ มิตินี้ที่จะนำเข้าไปดำเนินการ
ร่วมกับชุมชน ซึ่งในทุกกรณี จะไปพิจารณาดูจาก ๖ มิตินี้ ว่าควรจะมีการดำเนินการในเรื่อง ใดบ้าง? ก่อนหลังอย่างไร? สัดส่วนน้ำหนักในการทำแต่ละเรื่องอาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละ หมู่บ้าน แต่ว่าส่วนใหญ่แล้ว ผมเรียนเลยว่า เท่าที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ เข้าไปทำ จะต้อง เริ่มต้นจากเรื่องน้ำ … และแทนที่จะไปเริ่มต้นที่ศูนย์ คือไปเริ่มต้นในจุดที่ยังไม่มีอะไรเลย
สิ่งที่ทางสถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้เข้าไปทำคือ เริ่มต้นจากการจัดการน้ำ ซึ่งโดยมากก็มีอยู่
Art book.indd 40
2/2/12 8:50:28 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 41
แล้วในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการน้ำที่เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ แล้ ว ไปใช้ ป ระโยชน์ จ ากน้ ำ อย่ า งเต็ ม ที่ และร่ ว มมื อ กั บ ชุ ม ชนในการพั ฒ นาให้ ค รอบคลุ ม
ให้ครบ ๖ มิติ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นไปตามความต้องการของชาวบ้าน … ของชุมชน มี อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ข ออนุ ญ าตเรี ย นให้ ทุ ก ท่ า นทราบ เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งการวั ด ผลสำเร็ จ
ของชุ ม ชน เพราะว่ า คุ ณ ชายดิ ศ นั ด ดาจะเตื อ นพวกเราเสมอ ถ้ า จะไปวั ด ความสำเร็ จ
ของโครงการ ความสำเร็ จ นี้ ต้ อ งวั ด จากคำถามว่ า ชาวบ้ า นได้ อ ะไร? … อย่ า ไปวั ด ว่ า
เราไปช่ ว ยกั น ทำ แล้ ว ได้ น้ ำ มาเท่ า ไร ได้ ต้ น ไม้ ม ากี่ ต้ น อะไรแบบนี้ … แต่ ต้ อ งไปดู ว่ า
ชาวบ้านได้อะไร? ต้องนึกอย่างนี้อยู่เสมอ แล้วการวัดผลสำเร็จนั้น ไม่ใช่เข้าไปนั่งทำไปเรื่อยๆ แล้ ว ก็ ท ำอยู่ ๒๐ ปี จึ ง จะวั ด ผลสำเร็ จ ไม่ ใ ช่ ค รั บ … ต้ อ งวั ด ตลอดเวลาว่ า ความสำเร็ จ
เป็นอย่างไร? … เพราะฉะนั้นจากการทำงานทั้งหมดนี่ ใน ๒ ปีที่ผ่านมา ที่ได้ไปทำที่ลุ่มน้ำน่าน ก็ต้องถือว่าประสบความสำเร็จ จากการวัดแบบที่ว่ามานี้ และน่าจะเป็นโมเดลการทำงาน
ที่สามารถนำไปใช้ได้ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อขยายผลไปเรื่อยๆ ขณะนี้ ก็ได้ขยายไปที่จังหวัดอุดรธานี เราเพิ่มกำลังความสามารถของการทำงานใน สถาบั น ปิ ด ทองหลั ง พระฯ ให้ ส ามารถทำงานขยายผลได้ และบั ด นี้ ห ลั ง จากเวลา ๒ ปี สถาบันฯ ก็มีประสบการณ์ ความรู้ มีเจ้าหน้าที่ มีบุคลากรเพิ่มขึ้น … และอยากจะขยายผลไป ทั่วประเทศ ... แต่ในที่สุด กรรมการก็ได้บอกว่า ถ้าขยายเร็วเกินไป โดยไม่มีกำลังที่จะไปช่วย สนับสนุนได้ดีเพียงพอ ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ … คือพูดง่ายๆ ว่า ในการทำงานแต่ละ พื้นที่นั้น จำเป็นต้องไปให้ความใส่ใจอย่างมาก ทั้งในรายละเอียด ข้อมูล ขั้นตอนต่างๆ ซึ่งการ ทำงานในแต่ ล ะแห่ ง นี่ ต้ อ งถื อ ว่ า ยากนะครั บ !! … การพั ฒ นาที่ จ ะให้ เ กิ ด ความยั่ ง ยื น
เพื่อประโยชน์ของชาวบ้านจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย …
Art book.indd 41
2/2/12 8:50:28 PM
42
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
หัวหิน
พื้นที่ขยายผลใน ๑๐ จังหวัดทั่วประเทศ การขยายตัวต้องเป็นไปตามกำลังที่เรามี เพราะฉะนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการตัดสินใจ แล้วว่า จะขยายผลไปอีก ๑๘ หมู่บ้าน ใน ๑๐ จังหวัด ซึ่งเหตุผลใหญ่ที่เลือก ๑๘ หมู่บ้าน
ที่อยู่ใน ๑๐ จังหวัดนี้ เราเน้นว่าชุมชนเขาต้องพร้อมที่จะทำ มีความชัดเจนว่าเขาอยากทำ จริงๆ นี่คือเงื่อนไข “ระเบิดจากข้างใน” เงื่อนไขนี้สำคัญมากครับที่จะทำให้เกิดการพัฒนา
ที่เข้มแข็ง และยั่งยืน … ในตอนแรกนั้น กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็กระตือรือร้นและ ศรัทธา จึงยื่นรายชื่อหมู่บ้านเข้ามา แล้วบอกว่า “เอารายชื่อนี้ไปเลย ไปพัฒนาหมู่บ้านเหล่านี้ แล้วจะสำเร็จแน่” เราก็ได้ขอปฏิเสธไป โดยบอกว่า “ถ้าชุมชนไม่ต้องการ และไม่พร้อมจริงๆ เราขอไม่ทำ … ถ้าเป็นเรื่องที่กระทรวง ทบวง กรม พร้อม ... เราคิดว่ายังไม่ใช่เงื่อนไขที่ด ี เพี ย งพอ ต้ อ งไปประเมิ น ว่ า ชุ ม ชนเขาพร้ อ มหรื อ เปล่ า ? อั น นั้ น สำคั ญ กว่ า …” และท่ า น
Art book.indd 42
2/2/12 8:50:32 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 43
องคมนตรีเกษมก็ได้พูดไปแล้วเมื่อสักครู่นี้ สิ่งสำคัญที่สุด ณ จุดเริ่มต้น คือ ต้องออกไปสำรวจ อย่างละเอียด ว่าความต้องการของชุมชนเขาเป็นอย่างไร? ปัญหาของชุมชนเป็นอย่างไร?
ต้องมีข้อมูลตรงนี้ให้ชัดก่อนที่จะเริ่มต้นทำงานในพื้นที่ เพราะฉะนั้น นี่คือประสบการณ์เป็นรูปธรรม ที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ ได้ไปทำมา แล้ว และกำลังคิดที่จะขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ สิ่งที่นำมาเสนอให้กับพวกท่าน กับ CSR Forum กับการที่ท่านมารวมตัวกันเพื่อจะช่วยสังคม Connect for Sharing คือ ในการพัฒนาพื้นที่ เหล่านี้ ท่านอาจจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะมาเป็นพี่เลี้ยง มาให้ความรู้ มาช่วยทำ โครงการย่อยต่างๆ ยกตัวอย่างนะครับ … เพราะมีด้านต่างๆ ซึ่งท่านอาจจะมีประสบการณ์ แต่ในขณะนี้เรายังไม่มีประสบการณ์เลย … ที่จริงแล้ว ท่านทั้งหลายอาจจะเคยไปดูกรณีศึกษา ของคุณมีชัย (วีระไวทยะ) ที่ได้ทำไปแล้วในบางหมู่บ้าน และแต่ละท่านเองก็อาจจะมีความคิด ความอ่านของท่าน มีประสบการณ์ของท่าน ที่จะนำเข้ามาร่วมทำงานกับพวกเราทีส่ ถาบัน
ปิดทองหลังพระฯ ได้ เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่า มีพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่าน ที่อุดรธานี และมีอีก ๑๘ หมู่บ้าน ใน ๑๐ จังหวัด บริษัทที่อยู่ในที่นี้ และสมาชิกของท่าน สามารถมาช่วยแบ่งปัน
ในรูปแบบต่างๆ ได้นะครับ สมมุติว่า ตอนนี้มี CSR Club ที่เป็นผู้นำในภาคธุรกิจ รวมกันแล้วมี Market cap เป็น ๔๓ เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจดทะเบียน และผมก็ยังเชื่อว่า ถ้าท่านมีกิจกรรมอะไรดีๆ
ก็สามารถไปชักชวนสมาชิกที่เหลือของท่าน และบางบริษัทเหล่านี้ก็อาจจะตั้งอยู่ในพื้นที่
๑๐ จังหวัดนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น บางบริษัทอาจจะสนใจเมื่อได้รับทราบว่ามีคนมาทำอย่างนี้แล้ว ในพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ หรือทำธุรกิจอยู่ หรืออยู่ในพื้นที่ที่บริษัทเองอาจจะอยากไปต่อยอดก็ได้ … อาจจะไปช่วยเรื่องการตลาดของผลิต ภัณฑ์ ของสิน ค้า เหล่ านี้ ก็ได้ หรื ออาจจะไปช่ว ย
ทางด้าน Management ขององค์กรชุมชนเหล่านี้ก็ได้นะครับ อาจจะไปช่วยในแง่เป็นส่วนหนึ่ง ของเงินทุนเพื่อไปพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ก็ได้ … เพราะฉะนั้น CSR ของท่านอาจจะเห็นคุณค่า แล้วทำร่วมกัน แทนที่จะต่างคนต่างทำ มาทำร่วมกับองค์กร อย่างเช่น สถาบันปิดทอง
หลังพระฯ ก็ได้ Art book.indd 43
2/2/12 8:50:32 PM
44
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่างๆ ทำให้การพัฒนาพื้นที่นำร่องใน จังหวัดน่าน ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สามารถสร้างความอยู่รอดให้แก่ชุมชนในพื้นที่ได้
Art book.indd 44
2/2/12 8:50:35 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 45
เมื่อวานนี้เอง เราประชุมปิดทองหลังพระฯ กัน ก็ทราบว่าทางรัฐบาลตอนนี้ เริ่มได้ยิน ได้ฟังเกี่ยวกับรูปแบบของการพัฒนาชนบทที่ยากจนเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน ไม่ใช่โยนเงินเข้าไปเฉยๆ แต่มีรูปแบบการพัฒนาที่สามารถนำไปขยายผลได้ ก็เริ่มมาถาม คุณชายแล้วว่า ถ้าจะใช้โมเดลนี้ในการพัฒนา จะขอให้ช่วยได้ไหม? ผมก็มีความยินดีว่า
เราจะตอบไปยังรัฐบาล โดยผู้อำนวยการสถาบันฯ ก็จะตอบไปว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ที่คนมาเห็นคุณค่าของโมเดลการพัฒนาชนบทยากจนอย่างนี้ แต่ว่าเราคงมีกำลังที่จะทำได้เท่าที่ เรามีอยู่ในขณะนี้ คือ ๑๘ หมู่บ้านใน ๑๐ จังหวัด แต่ถ้าท่านอยากจะขยายผลอันนี้ต่อไป
เรายินดีที่จะให้เอาหลัก หรือประสบการณ์ของเรา โดยขอให้ท่านไปช่วยบริหารจัดการ” … ซึ่ง ถ้ารัฐบาลเขาทำตามนี้ ก็จะเปิดโอกาสมากขึ้น ให้ท่านทั้งหลายที่อาจจะมีความสนใจในพื้นที่ ตรงไหน แล้วมีโครงการที่มีเป้าหมายและการทำงานในลักษณะนี้ ให้ท่านเข้าร่วม โดยท่าน
ไม่จำเป็นต้องมาช่วยที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ เท่านั้น ... ถ้ามีโอกาสที่จะทำได้ แล้วใช้ โมเดลอันนี้ เราก็จะยินดีอย่างยิ่ง ถ้าท่านไปใช้โอกาสอันนี้ในพื้นที่อื่น … เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าในเบื้องต้น จึงขออนุญาตที่จะนำเรียนตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
ที่จะ match CSR Forum กับโครงการที่เป็นรูปธรรม ที่ท่านจะไปช่วยแก้ปัญหาของประเทศ แก้ปัญหาของสังคม ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาอันใหญ่อันหนึ่งก็คือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค เกษตรกับภาคอื่นๆ ความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทกับเมือง ในรอบนี้จึงขอนำเรียนเพื่อให้ท่านได้ digest สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เริ่มจาก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นมาอย่างไร
มีความหมายอย่างไร ... วันนี้เราโชคดี ได้ยิน ได้ฟังอย่างลึกซึ้ง และคมชัดที่สุด จากท่าน
องคมนตรี ... ส่วนการที่ว่า CSR Forum ซึ่งมีความศรัทธาในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบริหารบริษัทของท่านได้ประโยชน์อย่างไร และจะใช้ CSR ไปช่วยอย่างไรนั้น เรื่องที่นำเสนอมา ก็อาจจะเป็นเมนูที่ท่านสามารถนำไปพินิจพิจารณา ดูได้ ขอบคุณครับ
Art book.indd 45
2/2/12 8:50:35 PM
46
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ดร.วิรไท สันติประภพ : ก่อนทีเ่ ราจะเปิดโอกาสให้ทา่ นผูม้ เี กียรติได้ซกั ถามกับท่านองคมนตรี ท่านผูอ้ ำนวยการ ดร.จิรายุ และคุณชายดิศนัดดา เกี่ยวกับโครงการปิดทองหลังพระฯ เกี่ยวกับการนำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในด้าน CSR ผมอยากจะขออนุญาตให้ข้อมูลบางอย่างที่เป็น
รูปธรรม ผมได้มีโอกาสตามคุณชายดิศนัดดา ไปเยี่ยมโครงการปิดทองหลังพระฯ ทั้งที่น่าน และที่อุดรธานี ได้เห็นวิธีการทำงานของทีมงานปิดทองหลังพระฯ จะเห็นว่าเป็นทีมที่ทำงาน แบบรู้จริง และเริ่มเป็นขั้นตอนมาก เริ่มตั้งแต่การออกสำรวจชาวบ้านให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ... เพราะว่าแผนงานของปิดทองหลังพระฯ นั้น จะต้องกลับมาบอกได้ว่า ท้ายที่สุดผ่านไป ๑ ปี ชาวบ้านได้อะไรในแต่ละครัวเรือนที่ได้เข้าร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯ ในวันนี้ที่เราเห็น ที่ท่านผู้อำนวยการจิรายุได้แสดงให้เห็น อาจจะไม่เห็นภาพว่า
ขนาดของโครงการปิดทองหลังพระฯ ที่น่าน มีขนาดที่ใหญ่แค่ไหน และประสบความสำเร็จ
แค่ไหน ... จากการเริ่มเพียงไม่กี่หมู่บ้าน แต่ด้วยความสำเร็จวันนี้ ทำให้หลายๆ หมู่บ้าน หลายๆ ตำบล มาขอร่วมเข้าโครงการปิดทองหลังพระฯ ผมเข้าใจว่า ในวันนี้ มีพื้นที่ที่อยู่ใน ครอบคลุมของปิดทองหลังพระฯ ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ไร่ และภายใน ๒ ปีที่ผ่านมาทำให้ ประเทศไทยได้ป่าคืนมามากกว่า ๑ แสนไร่ จากการที่เมื่อก่อนชาวบ้านต้องทำนาตามไหล่เขา ครอบครัวหนึ่งก็ต้องมี ๓-๔ แปลง พอทำไป ๑ ปี ก็ต้องทิ้งให้หน้าดินค่อยๆ ปรับขึ้นมาใหม่ เขาก็ต้องย้ายที่ทำไปเรื่อยๆ แต่เมื่อทำระบบนาขั้นบันได ทำให้แต่ละพื้นที่สามารถที่จะมี ผลิตผลมากขึ้น ๓-๔ เท่า เขาก็เอาพื้นที่ที่เป็นแปลงสำรองไว้ กลับมาคืนให้กับรัฐบาล ในที่สุด ก็กลายเป็นป่า และที่น่าน ป่ามีความสำคัญมาก เพราะว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำในแม่น้ำ เจ้าพระยาวันนี้มาจากน่าน เพราะฉะนั้นการได้ป่ากลับคืนมาที่น่าน ก็จะแก้ปัญหาสำคัญของ ลุ่มน้ำทั้งประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่หมู่บ้านที่เราไปช่วยแค่นั้น นี่เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
ภายใน ๒ ปี
Art book.indd 46
2/2/12 8:50:35 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 47
จากความสำเร็จของการดำเนินงานโดยสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ทำให้พื้นที่ป่ากลับคืนมา ในจังหวัดอุดรธานี ที่อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อำเภอหนองวัวซอ มีความสำเร็จที่เกิดขึ้น ในระยะที่สั้นมาก เป็นอ่างเก็บน้ำที่ถูกทิ้งไว้ โดยที่ชาวบ้านไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ไม่มีใครไป ช่วยกันดูแล แล้วก็อาศัยแต่งบประมาณของทางการ ... เมื่อโครงการปิดทองหลังพระฯ
ได้เข้าไป ได้ทำให้ชาวบ้านสามารถที่จะรวมตัวกัน แล้วก็เกิดความเป็นเจ้าของในแหล่งน้ำนี้ขึ้น แล้วร่วมกันพัฒนา และเมือ่ มีใครได้ประโยชน์ ก็มเี งินกลับเข้ามาเพือ่ ช่วยกันดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ ห้ ว ยคล้ า ยแห่ ง นั้ น ... ผมได้ มี โ อกาสคุ ย กั บ ชาวบ้ า นที่ ม าร่ ว มตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น นะครั บ เป็ น ครอบครัวเริ่มต้น ๒-๓ ครอบครัว ถามว่าเขามีหนี้อยู่เท่าไร หนี้เขาไม่เปลี่ยนเลยในช่วง ๒๐ ปี ที่ผ่านมา ขึ้นๆ ลงๆ ตลอด แต่เมื่อมาเข้าร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯ ได้ประมาณ
ไม่กี่เดือน ก็คาดว่าสิ้นปีนี้ หนี้เขาจะหายไปครึ่งหนึ่ง เป็นครั้งแรกที่หนี้เขาจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง ของหนีท้ เี่ ขามีอยูม่ าประมาณ ๒๐ ปี อันนีเ้ ป็นตัวอย่างทีช่ ใี้ ห้เห็นว่า โครงการปิดทองหลังพระฯ Art book.indd 47
2/2/12 8:50:36 PM
48
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
จะมีข้อมูลเกี่ยวกับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการตลอด และมีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง และทำ ไปตามขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การลดหนี้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในวันนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด เวลาที่ไปตามหมู่บ้านในชนบท โดยเฉพาะถ้าไปทางอีสาน หรือไปหมู่บ้านลึกๆ ในภาคเหนือ จะเห็นแต่คนแก่กับเด็กอยู่ในหมู่บ้าน คนหนุ่มสาวจะเข้ามา หางานในเมือง แต่ที่น่าน จะไปเจอคนหนุ่มสาวเยอะมากที่ยังอยู่ในพื้นที่ ที่เขาช่วยโครงการ
ปิดทองหลังพระฯ ผมถามคุณชายดิศนัดดาว่า ทำไมคนหนุ่มสาวเหล่านี้ยังอยู่ในหมู่บ้าน ก็ไป คุยกับเขา ทุกคนเคยเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ หมดแล้ว แต่ตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่ในพื้นที่ อยู่กับครอบครัว พ่อแม่ เพราะครอบครัวเขาสามารถอยู่อย่างพอเพียงได้ในพื้นที่ และเป็นการ ตอกเสาเข็มชุมชนอย่างแท้จริง ... ตอกเสาเข็มให้แก่ประเทศอย่างแท้จริง เป็นการลดปัญหา ของแหล่งเสื่อมโทรมหรือชุมชนเสื่อมโทรมในเขตกรุงเทพฯ และชุมชนเมืองด้วย ... จะเห็นว่า โครงการปิดทองหลังพระฯ ไม่ได้ช่วยเพียงแค่ชาวบ้านเท่านั้น ไม่ได้วัดผลจากชาวบ้านได้อะไร เท่านั้น แต่ส่งผลให้สังคมไทยเข้มแข็งขึ้นด้วย
คนหนุ่มสาวเหล่านี้ยังอยู่ ในหมู่บ้าน ทุกคนเคยเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ แต่ตัดสินใจ ย้ายกลับไปอยู่ ในพื้นที่ อยู่กับครอบครัว พ่อแม่ เพราะครอบครัวเขาสามารถอยู่อย่างพอเพียงได้ ในพื้นที่ และเป็นการตอกเสาเข็มชุมชนอย่างแท้จริง
Art book.indd 48
2/2/12 8:50:36 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 49
ช่วงถามตอบ ดร.วิรไท : คิดว่าเรามีเวลาอีกประมาณครึง่ ชัว่ โมง จะเป็นโอกาสอันดีทที่ า่ นผูม้ เี กียรติทา่ นใด
มีความประสงค์ที่อยากจะถาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารธุรกิจ การนำปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในการทำ CSR หรือรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการปิดทองหลังพระฯ นะครับ ตอนนี้จะเป็นโอกาสอันดียิ่ง ขอเรียนเชิญ ถ้าท่านมีคำถาม กรุณายกมือนะครับ แล้วเราจะมี ไมโครโฟนส่งไปให้ ถาม : ดิฉันคิดว่าอย่างที่ทุกท่านได้ฟัง เราได้กูรูที่แท้จริงมาสองท่าน สิ่งที่ดิฉันอยากจะ
เรียนถามนะคะ ก็คือว่า เมื่อกี้พูดถึงความสำเร็จของบางโครงการ ... โครงการของคุณชาย
นี่นะคะ อะไรเป็น Key Success Factors หรือ Essential Success Factors ที่จะทำให้
Start up ได้ นอกเหนือไปจากที่เมื่อกี้พูดว่า ชุมชนต้องพร้อม อย่างเช่น Leadership
อยากจะเรียนถามเรื่อง Leadership คนที่จะเป็นคนนำสำคัญแค่ไหนในแต่ละชุมชนนั้นๆ คะ องคมนตรีเกษม : ปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยแรก หรือ Essential Factor แรกเลย คือ องค์ความรู้ และประสบการณ์ ที่เราได้รวบรวมจากโครงการตามพระราชดำริ ๔,๐๐๐ กว่า โครงการ แล้วแยกเป็นกลุ่มความรู้ออกมาเป็น ๖ กลุ่มเป็นหลักก่อน เช่น เราจะจัดการน้ำ ... น้ำมีทั้งน้ำแล้ง น้ำเกิน น้ำเสีย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้หมดแล้ว เราเก็บองค์ความรู้ไว้ เราให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ไปรวบรวมมา ...สอง จัดการดิน สาม เรื่อง การเกษตร รวมถึงเกษตรกรรมแปรรูป สี่ เรื่องป่าไม้ ห้า เรื่องสิ่งแวดล้อม และ หก พลังงาน ทดแทน ... ทั้งหมดมีอยู่ ๖ ด้านด้วยกัน ความรู้ในทั้ง ๖ เรื่องนี้เป็น Essential มากๆ ...
แต่ไม่พอนะ เราไม่ได้ปฏิเสธภูมิปัญญาชาวบ้าน คุณชายจะบอกพวกเราเสมอว่า เวลาเข้าไป ทำงานนี่ เราไปเรียนจากชาวบ้าน เราไม่ใช่เทวดาไปโปรดเขานะ ตรงนี้ผิดกับที่ข้าราชการไป ทำงานกับชาวบ้าน ท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ๆ นะครับ ถ้าท่านจะทำ CSR และ
Art book.indd 49
2/2/12 8:50:36 PM
50
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ทำแบบสถาบันปิดทองหลังพระฯ อันแรกท่านต้องห้ามใจตัวเองว่า ท่านต้องไม่ไปสอนชาวบ้าน เพราะท่านสอนไม่รู้เรื่องหรอก ชาวบ้านไม่ได้อยู่ในบริษัทท่าน บริษัทท่านน่ะชาวบ้านเขา
ไม่กล้ามาสอนท่านหรอก ... อย่างเวลาเราเข้าไปนี่ เราจะไปเรียนรู้จากชาวบ้าน เพราะฉะนั้น หนึ่ง ความรู้จากโครงการพระราชดำริ สอง ความรู้จากภูมิปัญญา
ชาวบ้าน สาม ความรู้สากล เราไม่ได้ปฏิเสธความรู้สากล แล้วเอาสามอันนี้มาบวกกัน เหมือน อย่างที่ท่าน ดร.จิรายุพูดเมื่อกี้ว่า เราไปถามว่าบ้านนี้เขาขาดแคลนอะไร เขาอยากพัฒนา อะไร แล้วเขาต้องเป็นเจ้าของ Project ... เราก็จะแนะนำเขา ... เขาอยากได้อะไร เราจะ แนะนำ แล้วไปเปลี่ยน คลิกนิดเดียว ... อย่างที่อ่างเก็บน้ำที่ ดร.วิรไทพูดถึง เป็นอ่างเก็บน้ำที่ พระราชทานไว้กี่ปีแล้วนะคุณชาย (๔ ปีครับ) แล้วปรากฏว่าชาวบ้านก็จ๊น! จน! เพราะว่าไม่มี ใครต่อท่อมาสำหรับส่งต่อ Distribution System แค่นั้นเอง … พวกเราก็ไปสำรวจ ก็ถาม
ชาวบ้านว่าขาดอะไร บอกขาดน้ำ ... อ้าว! แล้วมีอ่างเก็บน้ำไว้ทำอะไร ก็ไม่มีใครไปทำ Distribution System เราก็ไปคลิกเท่านั้นเอง … ใช้ความรู้ ต้องไปคลิกในสิ่งที่เขาขาด ... ตอนนี้มีพื้นที่เกษตรเพิ่มอีก ๒ เท่า กว่า ๒ เท่า ทำ Distribution System ลงทุนเท่าไร? ลงทุน ๔ ล้านเท่านั้นเอง! ไปเพิ่มรายได้ให้อีกไม่รู้กี่ครัวเรือน เขามีความสุข ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากไร่ละ ๑๗ ถัง เป็น ๕๐ ถัง … เราต้องมีตัวเลขหมดนะครับพวกนี้ ปัจจัยที่สอง อย่างที่คุณหญิงว่า คือ Leadership ไม่ใช่เรานะ Leadership ... เป็น ชาวบ้านกับคนหนุ่มคนสาวในหมู่บ้านนั้น ... แล้วแปลกมากๆ เลยที่ว่า บางหมู่บ้าน พวกที่เป็น เด็กหนุ่มเด็กสาวในหมู่บ้านนี่ เมื่อเวลาผ่านไป ๓-๔ เดือน เขาก็เริ่มแสดง Leadership
ออกมานะ คนแก่ในหมู่บ้านก็ยอมรับ มันเป็น Leadership ที่เกิดจากธรรมชาติจริงๆ เลย ... เราไม่ได้บอก โอ๊ย! ต้องไปเข้าอบรมฮาร์วาร์ด กลับมาแล้วเป็น Leadership! ไม่ใช่เลย …
ไม่เคยเลย … เราไม่เคยคิด … เราให้เขาเรียนรู้ แล้วมันก็ดีอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ไป Groom (เตรียมพร้อม) เขาเท่านั้นเอง ... ที่ผ่านมา เราไม่ได้ให้โอกาสเขา ... Opportunity นี่สำคัญ สรุป อันที่หนึ่ง ความรู้ทั้งสามด้าน ความรู้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความรู้ จากภู มิ ปั ญ ญาชาวบ้ า น ความรู้ จ ากสากล อั น ที่ ส อง Leadership ซึ่ ง ต้ อ งเป็ น Local Art book.indd 50
2/2/12 8:50:36 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 51
Leadership ไม่ใช่ Imported Leadership ... เด็ดขาด อันนี้เราห้ามมากเลยนะ! ... แล้ว
อันที่สาม for Sustainability เพื่อให้ยั่งยืน ชาวบ้านต้องเรียนรู้ของเขาเองนะว่าเขาจะทำอะไร แล้ ว ทำอย่ า งไร เราจะให้ ค วามรู้ เ ขา Provide ความรู้ / Provide Skill / Provide Opportunity ที่จะไปศึกษาดูงานที่หมู่บ้านอื่น แล้วก็กลับมาโดยเน้นว่า อันนี้เป็นหมู่บ้าน
ของท่านนะ ท่านเป็นเจ้าของ ท่านจะร่วมมือกันพัฒนาอย่างไร?
CSR º° Corporate Social Responsibility ®¦º° ¦¦¬´ ¦· µ¨ ®¤µ¥ ¹ µ¦ εÁ · · ¦¦¤£µ¥Ä ¨³£µ¥ ° ° r ¦ ¸ É Îµ ¹ ¹ ¨ ¦³ n°´ ¤ ´Ê Ä ¦³ ´ Ä ¨o¨³Å ¨ oª¥ µ¦Ä o ¦´¡¥µ ¦ ¸É¤¸°¥¼£n µ¥Ä ®¦º°£µ¥ ° ° r ¦ Ä °´ ¸É ³ εĮo°¥¼¦n ªn ¤ ´ Ä ´ ¤ Å o°¥nµ Á } ·»
39
ทีนี้ผมจะกลับมา CSR นิดหนึ่ง ไปที่ Definition ของ CSR ได้ไหมครับ ในข้อสาม.. นิดเดียวครับ จะเสริมท่านอาจารย์จิรายุนิดหนึ่ง … คือ Corporate Social Responsibility
- CSR บริษัทธุรกิจต่างๆ ก็ได้ทำเรื่อง Social Responsibility หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ได้ดีมาก … แล้วทั่วโลก ทั่วโลกก็ทำอย่างนั้น แต่ว่าในความเห็น ... อันนี้คือ Definition หนึ่ง ที่ผมไปแปลมาจากของฝรั่ง ... เขาบอกว่า CSR หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและ Art book.indd 51
2/2/12 8:50:37 PM
52
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ภายนอกองค์กร โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล แล้วก็ใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ภายในและภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข สังเกตไหมครับ การดำเนินกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในองค์กร เช่น เวลาท่านตั้งโรงงาน แล้วน้ำเสียจากโรงงาน มันจะไปกระทบสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานไหม อันนั้นคือ CSR ตั้งแต่ต้น … ไม่ต้องรอว่า สิ้นปีขีดเส้นได้กำไรแบ่งเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงไปทำ CSR อันนั้นก็เป็น
ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ CSR นี่ cover หมดเลย ตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท เราตั้งบริษัทมาเพื่ออะไร
อันนี้ cover หมดเลยนะครับ … CSR จริงๆ แล้ว cover หมดเลย เรื่องที่สองคือ ใช้ทรัพยากรทั้งอยู่ภายในและภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้
อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ขณะนี้การทำ CSR ในหลายประเทศ เขามอง
บิล เกตส์ กับ ภรรยา ว่า เอ๊ะ! ทำไมใช้เงินคุ้มค่า ... วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอก โอ๊ย ! เราก็มี แต่ว่ามูลนิธิของฉันใช้เงินไม่คุ้มค่าเท่า … เลยโอนกำไรไปให้มูลนิธิของบิล เกตส์ เพราะว่าใช้ เงินคุ้มค่า ... เพราะฉะนั้น CSR นี่ต้องใช้เงินคุ้มค่า ... ใช้เงินคุ้มค่าคือ กรณีของท่านอาจารย์ จิรายุพูดกับเราวันนี้ คือ ไปลด Gap ในสังคม ไปลด Income Gap ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิด ความขัดแย้งในสังคมของทุกประเทศในโลกในขณะนี้ ... ผมขอร้องนะครับ ท่านทั้งหลาย ... ธุรกิจของท่านดีมาก และท่านก็พยายาม put effort มากในการทำธุรกิจ แต่ว่าผมคิดว่า
เรามีหน้าที่อีกส่วนหนึ่งคือไปทำอย่างไรให้ Income Gap ในสังคมเรามันลดลง แล้วทำให้
พี่น้องเรา พี่น้องคนไทยที่อยู่ในระดับ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ล่าง ให้เขาสามารถช่วยตัวเองได้
แต่อย่าเอาอะไรไปให้เขาฟรีๆ! อย่า … นะครับ! พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งแล้วสั่งอีกว่า ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยตัวเอง ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยตัวเอง อันนี้ผมคิดว่าเป็นพระบรมราโชวาท ที่เป็นสัจธรรม เพราะว่าถ้าเราจะไป คือ ในขณะที่เขาทุกข์ร้อน น้ำท่วมต้องช่วย … อันนี้ แน่นอน! แต่เมื่อฟื้นแล้ว จะทำอย่างไรให้เขาช่วยตัวเองได้ในระยะยาว ... ปิดทองหลังพระ ต้องการทำตรงนั้นนะครับ บางท่านอาจจะไม่รู้ที่มาของปิดทองหลังพระ เป็นพระบรมราโชวาทที่พระราชทานใน วันพระราชทานปริญญาบัตรให้กับบัณฑิตที่จุฬาฯ เมื่อ ๒๐ - ๓๐ ปีก่อน รับสั่งว่า ส่วนใหญ่ เราชอบปิดทองหน้าพระ มันจะได้รางวัล มีคนเห็น แต่ต้องมีคนปิดทองหลังพระ ไม่งั้น
Art book.indd 52
2/2/12 8:50:37 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 53
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปิดทองที่ฐานหลังพระประธาน วัดโสธรวราราม พระจะไม่เป็นทองทั้งองค์ ... เพราะฉะนั้น พวกเรา คุณชาย ท่านจิรายุ ผม ใครต่อใคร บอก เอ๊! ถ้าอย่างนั้นเรามาใช้พระบรมราโชวาทนี้ ยกเป็นมงคล ตั้งชื่อมูลนิธิว่า ปิดทองหลังพระ แล้วก็เป็นมูลนิธิที่รัฐบาลให้ความเห็นชอบให้เราทำ แล้วรัฐบาลชุดนี้จะมาต่อด้วย ... ผมคิดว่า นี่เป็นตัวอย่าง ถ้าน้องๆ ที่เป็นเจ้าของบริษัทสนใจ อยากจะไปดูงานที่น่าน ที่อุดร เดี๋ยวติดต่อ คุณชายดิศนัดดาฯ นะครับ! แล้วก็ ผอ.การัณย์ (ผู้อำนวยการสถาบันปิดทองหลังพระฯ) … ผอ.การัณย์ ยืนขึ้นหน่อยครับ! ... ผอ.การัณย์ นี่ต้องปรบมือให้เลยครับ! เราคิดว่าจะต้องมี
ตัวเชื่อม เป็นตัววิ่ง … ก็พอดี ท่านเป็นผู้ว่าอยู่ที่ชุมพร เราก็บอกว่า ผู้ว่ามาช่วยกันทำงาน! … ทำอะไร? บอก ทำอย่างนี้ ปิดทองหลังพระช่วยคนจน … วันรุ่งขึ้นลาออกจากผู้ว่าเลย! …
เราก็ตกใจ...เอ๊ะ! ทำไม? เขาบอกเขาพอแล้ว เป็นผู้ว่าพอแล้ว ต้องการจะมาวิ่งอย่างนี้
ทำปิดทองหลังพระ … เราก็ดีใจ คุณชายก็บ่นแล้วบ่นอีกว่า เกรงว่า ผอ.การัณย์ทำมากเกิน Art book.indd 53
2/2/12 8:50:38 PM
54
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ไม่ใช่ทำน้อยเกินนะ คือทำมากกว่า TOR เยอะแยะ … ก็เราทำแล้วมีความสุข เพราะว่าได้เห็น ชัดเจนว่า ชาวบ้านดีขึ้นทุกครัวเรือน เป้าหมายอยู่ที่ ชาวบ้านต้องดีขึ้นทุกครัวเรือนและทุกปี ด้วย อันนี้เราไม่ได้บอกว่าไปปลูกต้นไม้กี่ต้น ไม่ใช่ … เราไปปลูกป่าชายเลน ไม่ใช่ … เราไป ทำให้คนไทยเขาดีขึ้นมา กินดี อยู่ดี พอมี พอกิน นั่นคือเป้าหมายของเรา ช่วยกันครับ ดร.วิรไท : ขอบคุณครับ ขอเรียนเชิญคำถามถัดไปครับ ถาม : คิดว่าวันนี้พวกเราได้ทั้งเรียนรู้ทฤษฎีอย่างลึกซึ้งมากขึ้นนะครับ ยิ่งกว่านั้นผมคิดว่า ตัวอย่างที่เราได้รับฟังวันนี้ เป็นตัวอย่างจริงซึ่งพิสูจน์ได้ และมีรูปแบบวิธีการทำงานที่ชัดเจน และผมเชื่อว่า CSR Club วันนี้ เราก็คงจะมีส่วนร่วมที่จะช่วยทำให้กิจกรรมนี้ ขยาย ส่งผลให้ กับคนไทย ชุมชนของเราให้ฟื้นขึ้น ดีขึ้น ไม่มากก็น้อยนะครับ … แต่ประเด็นใหญ่ ผมเชื่อว่า เราจะทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้ข้าราชการ ทั้งของรัฐและข้าราชการการเมือง ซึ่งมีหน้าที่โดยตรง ได้เข้าใจแล้วทำแบบนี้ ... ทำตามนี้ ผมเชื่อว่า Impact มันจะสูงกว่า
อย่างมหาศาล … ขอฝากประเด็นครับ ขอบคุณครับ ดร.จิรายุ : สิง่ ทีผ่ มคิดว่า อยากจะเรียนให้ทา่ นทราบ อยากจะขออ้างถึง ... หวังว่าอ้างถึง
แล้วจะไม่ทำให้ท่านเสียหายนะครับ ... คือ ท่านปลัดสำนักนายกฯ ซึ่งร่วมอยู่ในคณะกรรมการ ของเราที่สถาบัน … คณะกรรมการมีปลัดกระทรวงเข้ามาอยู่ ๔ กระทรวง แล้วก็มีที่เรียกว่า นายกสมาคม ที่เป็นองค์กรชุมชน ๕ องค์กร ท่านหนึ่งก็อยู่ในที่นี้ ท่านประธานสมาคมกำนัน ผูใ้ หญ่บา้ น ช่วยลุกขึน้ ให้คนอืน่ เห็นด้วยครับ ก็อยูร่ ว่ มมากับเราโดยตลอด … เราก็ประชุมกันมา แต่สิ่งหนึ่งที่จะนำมาตอบท่านได้ คือ ท่านปลัดสำนักนายกฯ บอกว่า “ผมก็ใกล้เกษียณเต็มที แล้ว แล้วผมก็คิดว่า ผมจะเกษียณไปด้วยความผิดหวังว่าข้าราชการจะไม่สามารถมาทำงาน
ร่วมกันเพื่อประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยากจน แต่ว่าหลังจากมาทำงานในโครงการปิดทอง หลังพระฯ ผมเริ่มมีความหวัง” เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าท่านผู้บริหารระดับสูงที่เป็นปลัดสำนัก นายกฯ ท่านสารภาพว่า ท่านนึกว่าท่านจะต้องเกษียณไปด้วยความผิดหวัง ขณะนี้หลังจาก
เห็นการปฏิบัติงานของข้าราชการที่มาทำงานร่วมกันในโครงการปิดทองหลังพระฯ ท่านมี ความหวังแล้วว่า จะมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นไปอย่างที่ท่านต้องการครับ Art book.indd 54
2/2/12 8:50:38 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 55
ดร.วิรไท :
จะขออนุญาตเรียนเสริม ประเด็นที่จะเป็นรูปธรรม ประเด็นหนึ่ง ในประเด็น เรื่องการทำงานกับหน่วยงานราชการของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ คุณชายดิศนัดดาฯ ท่านได้ ทำ MoU กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการทำงานร่วมกัน … คือมีปัญหาว่าชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน เป็นปัญหา อย่างที่เรารู้กัน ปัญหาใหญ่ในประเทศไทยทุกวันนี้ว่าข้าราชการก็ต้องยึดตามกรอบกฎหมาย หลายๆ ครั้งชาวบ้านก็ถูกรังแก ด้วยความที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ชาวบ้านก็ไม่กล้าจะลงทุนใน แปลงที่ดินของตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถูกไล่ที่ ถูกยึดที่คืน ... แต่การที่มูลนิธิปิดทอง หลังพระฯ เข้าไปช่วยเป็นตัวกลางในการประสาน และทำให้เห็นว่า ถ้าเราทำงานด้วยกันก็จะ สามารถ Win-Win ได้ ราชการกับชาวบ้านก็ถอยคนละก้าว ... อาจจะมีที่นาอยู่สัก ๓ - ๔ แปลง ก็ใช้แค่แปลงเดียวให้เกิดผลิตผลโดยใช้องค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริ เอาที่ส่วน ที่เหลือคืนเป็นป่า ราชการก็ถอยก้าวหนึ่ง เพื่อที่จะอยู่ได้กับชาวบ้าน แทนที่จะไปเอาผิดกับ
ชาวบ้าน ... การทำแบบนี้เป็น Win-Win รัฐบาลก็ได้ป่าคืนด้วย คืนมาเป็นป่าให้กับประเทศ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้จะเห็นชัดเป็นรูปธรรมว่า มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เข้าไปเป็นตัวเชื่อม กับทางราชการ เปลี่ยนทัศนคติวิธีคิดของราชการ เพื่อให้ประเทศดีขึ้น เป็น Win-Win Solution นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมครับ ดร.จิรายุ : ผมเพิ่มอีกนิดหนึ่งว่า เมื่อเช้านี้ผมได้มีโอกาสคุยกับ ดร.บวรศักดิ์ (อุวรรโณ)
ที่เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ... เมื่อกี้ผมได้เรียนว่า เวลาขับเคลื่อน เราก็แบ่งกลุ่ม
เป้าหมายออกเป็นหลายๆ กลุ่ม เพราะฉะนั้นกลุ่มข้าราชการกับกลุ่มการเมือง เราได้ขอให้ สถาบันพระปกเกล้า เป็นหลักในการที่จะขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการ บริหารในภาคการเมือง ให้เกิดผลขึ้นอย่างที่เราคุยกันวันนี้ ... ตรงนี้เราก็มีความหวัง เขาก็ทำ เยอะทีเดียว ทำการฝึกอบรม มีหลักสูตร มีอะไรต่างๆ ที่สถาบันพระปกเกล้า แล้วยิ่งเรามี Materials ของความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ... ผมคิดว่าโดยสามัญสำนึกหรือจิตวิทยา คนมักจะ ทำตามอย่างสิ่งที่สำเร็จ เพราะคนใฝ่ดีอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าคนใฝ่ดี คนอยากจะทำตามกรณีที่ ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว … ที่แล้วมา คนอาจจะทำกันน้อย … ก็อาจจะเป็นเพราะว่า ทำไป
ก็เชยเปล่าๆ ยังไงก็ไม่สำเร็จ … ผมว่ายิ่งเราช่วยกันทำให้ความสำเร็จมีมากขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยไม่ใจร้อนจนเกินไปนะครับ แล้วก็ช่วยกันทำให้เกิดความสำเร็จแผ่ขยายไปพื้นที่ต่างๆ เรื่อยๆ … ผมเริ่มเห็นกระบวนการอันนี้เกิดขึ้นแล้วครับ Art book.indd 55
2/2/12 8:50:38 PM
56
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ถาม : ขอเรียนถามว่าที่น่าน หนุ่มสาวจะอยู่ในท้องถิ่น อยากจะทราบว่ามีความเป็นอยู่
อย่างไร หรืองานอะไร ที่จะทำให้หนุ่มสาวเหล่านั้นเปลี่ยนใจ แล้วก็อยู่ในท้องถิ่นแทนที่จะมา อยู่ในเมืองครับ ดร.จิ ร ายุ : อันนี้ต้องขอให้คุณชายตอบนะครับ คือ มันต้องได้ความรู้สึกจากคนที่
พูดกับหนุ่มสาวเหล่านี้จริงๆ โดยเฉพาะคนที่กลับไป … คนที่เคยมาทำงานกรุงเทพฯ แล้วกลับ ไป … เชิญคุณชายลองเล่าให้พวกเราฟังหน่อยสิครับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา : ผมขออารัมภบทเลยนะครับ ท่านองคมนตรีครับ ที่ท่านพูดเมื่อกี ้ ที่ ต อบคุ ณหญิงชฎานะครับ สิ่งสำคัญ ที่ สุ ด ก็ คื อ Database ที่ ท่ า นองคมนตรี ท่ า นบอก
เราต้องไปศึกษาจากเขา … อันนี้ผมไปเองเลย ผมลงลุยอยู่คลุกกับดิน เสร็จแล้วก็คุยกับ
ชาวบ้าน ศึกษาจากชาวบ้าน อันนี้ข้อแรกเลย คือ Database แล้วต้องเก็บให้ละเอียด
ทุกหลังคาเรือน ทุกคน จนเรารู้เลยว่าใครมีหนี้เท่าไร … ถ้าคุณไม่แน่จริง ไม่มีชาวบ้านที่ไหน บอกให้คุณรู้ว่าเขาเป็นหนี้เท่าไร? เป็นหนี้กี่กองทุน? ... อย่างที่น้ำป้าก (จ.น่าน) หมู่บ้านเดียว ๑๘ ครอบครัว มีหนี้อยู่ ๑๐ ล้านบาท มี ๑๗ กองทุนครับ กองทุนสุดท้ายกองทุนที่ ๑๗
นะครับ ๑.๗ ล้านบาท ดอกเบี้ยเดือนละ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ครับ … ถ้าท่านไม่รู้แบบนี้ จะแก้
เกาถูกที่คันได้อย่างไร? นี่คือประเด็น ... เพราะฉะนั้น สำคัญที่สุดต้องรู้ข้อมูลจริงครับ
ไม่มีเท็จ … เท็จจริงใช้ไม่ได้ … ต้องจริงอย่างเดียว No เท็จนะครับ! กลับมาย้อนถึงประเด็นทีว่ า่ ทำไมชาวบ้านกลับไปทำงานทีบ่ า้ น ... ถ้าเขาทำงานอยูท่ นี่ ี่ … ยกตัวอย่างผู้หญิงคนหนึ่ง - บอกได้เลยว่าเป็นลูกสาวของหมอน้อง - หมอน้องเป็น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภาค ๔ นะครับ - ลูกหมอน้องทำงานอยู่ กรุงเทพฯ ได้เงินเดือนหมืน่ สอง … ไม่ทราบโรงงานท่านหรือเปล่า? ทำรองเท้าครับ ได้หมืน่ สอง ครับ แต่ทิ้งลูกสองคนให้หมอน้องเลี้ยง อยู่พื้นที่ลึกที่สุดเลย ติดลาวเลย ที่พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยฐานสุดท้าย … ผมก็เจอลูกสาวเขา ถามว่าอยากกลับบ้านมาทำงานที่บ้านไหม เพราะว่าลูกก็อยู่ที่บ้านน่ะ ก็ถามว่าคุณมาไหม? กลับมาทำงานที่บ้านไหม? ตกลงมา
Art book.indd 56
2/2/12 8:50:38 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 57
นะครับ ... แต่ผมไม่ให้คุณนะ หมื่นสอง … คุณจะเอาเงินเดือนเท่าไร? ... พอดีกำนันนั่ง
อยู่ด้วย กำนันเขาได้ ๗,๕๐๐ ... ดังนั้น กำนันเขาก็เลยบอกผู้หญิงคนนี้บอกว่า ๖,๐๐๐ หรือ ๗,๐๐๐ เพราะมากกว่าเขาไม่ได้ กำนันเขาไม่ยอม ... ก็โชคดีของผม ใช่ไหม? แกก็บอกว่า อยากได้ ๗,๐๐๐ บาท ก็เลยบอกมาจับมือกับผม มาทำงานกับผมเลย นี่ครับ ๗,๐๐๐ บาท
นี่นะครับ ท่านองคมนตรีครับ เขามีเงินเก็บเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท whereas หมื่นสอง
ที่กรุงเทพนี่ ไม่ได้อะไรเลย … ถามว่าอย่างนี้แล้วใครบ้างไม่อยากกลับไปอยู่กับครอบครัว … ดร.วิรไท : เราอาจจะมีเวลาได้อีกประมาณ ๑-๒ คำถามนะครับ ขอเรียนเชิญครับ ถาม : ขออนุญาตครับ ขอกราบเรียนว่าวันนี้ ผมคิดว่าเป็นมงคลมากของพวกเราที่นี่
นะครับ เพราะว่าหน่วยงานเอกชนส่วนใหญ่เวลาทำ CSR เราจะนึกถึงเรื่องของการปลูกป่า ... แต่วันนี้ที่ท่านองคมนตรี ท่าน ดร.จิรายุ แล้วก็คุณชายกรุณามาพูด ผมคิดว่าเป็นการยกระดับ เรื่องของ CSR โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องของการไปทำอะไรไกลตัว ... ประเด็นสำคัญที่ผมคิดว่าเราจะสามารถเรียนรู้จากมูลนิธิได้มากที่สุด คือ กระบวนการเข้าไป มี ส่ ว นร่ ว มเรี ย นรู้ กั บ ชาวบ้ า น และสิ่ ง ที่ ผ มคิ ด ว่ า จะได้ ม ากที่ สุ ด คื อ ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น วัฒนธรรม เพราะว่าเรามีความจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่องของ สันติวัฒนธรรม ซึ่งตอนนี้สังคม ไทยมีความแตกต่างและแตกแยกมาก ... คิดว่าโมเดลนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก และก็ได้เรียนรู้จาก ระดับของจริง บรมครูนะครับ ... ประเด็นที่ผมอยากจะขอกราบเรียนถาม เมื่อสักครู่ จากที่ ผมดูเอกสารทั่วประเทศเหมือนกัน จะเห็นว่ามีอยู่เพียง ๒ จังหวัด คือ น่าน และอุบล ที่คน เมืองจะมีจิตอาสาสูงนะครับ แต่จังหวัดอื่นไม่ค่อยเห็นเท่าไร ... ประเด็นที่ผมขอเรียนถามคือ เราจะสามารถถอดโมเดลเหล่านี้ แล้วจะกระจายให้มีความเชื่อมโยงได้อย่างไร ทั้งในส่วนของ ภาคธุรกิจ ในส่วนของภาครัฐ แล้วก็ประเด็นที่สำคัญ ผมเองสวมหมวก สกอ.๔ ด้วย กำลังจะ มีวิชาเรียนทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้ติดปัญหาเรื่องการให้ ๓ หน่วยกิต อย่างเดียว ... ประเด็นก็คือว่าอยากได้โมเดลที่ประสบความสำเร็จแล้วจากโครงการ เราจะถอดบทเรียน แล้วขยายให้ได้เร็วอย่างไรครับ? ๔ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ
Art book.indd 57
2/2/12 8:50:38 PM
58
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ดร.จิรายุ : ผมเริ่มนะครับ … แต่ท่านอื่นอาจจะ … คุณชายอาจจะต่อ … ก็อย่างที่ผมเรียน
เมื่อกี้นี้ ระหว่างที่เรียนรู้และประสบความสำเร็จที่น่าน โดยการติดตามผลอยู่ตลอดเวลานี่ พวกเราทุ ก คนที่ อ ยู่ ใ นคณะกรรมการก็ ใ จร้ อ นมาก อยากที่ จ ะทำเหมื อ นอย่ า งที่ คุ ณ ดนั ย
(จันทร์เจ้าฉาย) พูดนี่แหละ คืออยากขยายออกไปให้มากที่สุดโดยเร็ว แต่กำลังที่เราจะทำได้ นั้น … ผมคิดว่าเราต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นแล้ว โอกาสของความสำเร็จจะมีน้อยลง … แต่เรา ไม่หวงนะครับหลักการ - ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่คุณหญิงชฎาถาม ... เราพร้อมที่จะบอกเรียนคนอื่น … แต่กำลังที่เราจะไปทำเองนั้น ยังมีไม่มากพอ … ขอเรียนอย่างนี้ครับว่า
จากความพร้อม และ Leadership ของชุ มชนที่ อยากจะพัฒ นา ที่เ ราจะไปร่ วมพัฒ นา
โดยท่าน ผอ.การัณย์ ที่จะต้องวิ่งไปทุกๆ จุด ซึ่งขณะนี้ได้วิ่งไปแล้ว และรายงานเราแล้ว ...
ก็คือ ๑๘ หมู่บ้าน ๑๐ จังหวัด วิ่งเต็มกำลัง … แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ท่านที่มาฟังในที่นี้ มาร่วมกัน มากลายเป็นบุคลากร เป็นวิทยากร ซึง่ ท่านมีศกั ยภาพมากมาย … ถ้าเราได้สงิ่ ต่างๆ เหล่านีม้ า พร้อมกับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จต่างๆ … ผมว่า มีบางคนพูดบอกว่า ๓ ปี ก็คิดว่าอาจจะ ไปได้มากทีเดียว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ว่าขอให้สามารถ เอาไปใช้ได้สัก ๕๐ หรือ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ก็น่าพอใจแล้ว … เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นเรื่องที่ว่า เราตั้งใจที่จะขยายแน่นอน แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง ตามกำลังที่เราจะสามารถทำได้ครับ
องคมนตรีเกษม : ผมไม่อยากให้พวกเราได้ความรู้สึกว่า การจะยกเศรษฐานะ และสังคม
ฐานะของชุมชน ที่อยู่ในระดับ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ล่าง จำเป็นต้องใช้โมเดลของพวกเราอย่างเดียว นะครับ … มีโมเดลอื่นอีกเยอะนะครับ เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เขาไปเอาหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิอยู่ที่ศรีสะเกษ ทุกครัวเรือนเป็นหนี้หมด แล้วเป็นหนี้อย่างที่เรียกว่าอุตลุด เลย เพราะว่าพอปลูกข้าวหอมได้ ก็เอาไปขอให้โรงสีซื้อ โรงสีก็กดราคาให้เหลือน้อยที่สุด แล้วเวลาจะทำต่อไป ก็ต้องไปขอกู้หนี้ยืมสินจากโรงสี ก็ยิ่งหนักไปเรื่อย … เขาก็เข้าไปตัด วงจร เข้าไปคุยกับชาวบ้าน ร่วมมือกันแล้วก็ตัดวงจร! ... ขณะนี้ทุกคนไม่เป็นหนี้ ไปหาความรู้ มาแล้วขายได้ ขณะนี้ทุกคนเป็นอิสระแก่ตัวเอง ... คำว่า อิสระ สำคัญที่สุด คนไทยต้องมี อิสระ เป็นทาสของหนี้ นี่ไม่ไหว … มันต้องเป็นอิสระ เป็นอิสระทางเศรษฐกิจ อิสระทางสังคม … นี่สำคัญมาก … อีกหมู่บ้านหนึ่งอยู่ที่สุพรรณ อยู่ในเขต Irrigation Area เขตชลประทาน
Art book.indd 58
2/2/12 8:50:38 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 59
ก็จนมาก เป็นชาวนา แล้วก็เป็นหนี้เขาหมด มีอาจารย์กลุ่มหนึ่งซึ่งหวังดีมาก ก็ลงไปคุยกับ
ชาวบ้านว่า การทำนาต้องมี Management System ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ต้องรู้จัก วางแผน ต้องรู้จักการตลาด ต้องรู้จักเลือกพันธุ์ ต้องรู้จักเลือกใช้ปุ๋ย ถ้าเราเดินเข้าไป เข้าไป พูดนี่ … ชาวบ้านไล่ออกจากหมู่บ้าน … บอกพูดเพ้อเจ้อ นักวิชาการพูดเพ้อเจ้อ … ปู่ย่า
ตายาย ทำนาไม่เห็นต้องทำบัญชีรับจ่าย! ... แต่ขณะนี้คนกลุ่มนี้ ๑๗ ปีให้หลัง เขาไป Suffer อยู่ ๑๗ ปี … ขณะนี้ คนกลุ่มนี้มาเป็นวิทยากรในโครงการพระดาบสสัญจร … มีอยู่ครอบครัว หนึ่งมีที่ ๒๕ ไร่ ทำนาปีละ ๒ ครั้ง เอาบัญชีมาให้ผมดู… รายรับรายจ่าย ขายข้าวแต่ละครั้ง ได้กำไร ๕ แสน สองครั้งได้ล้านนึง ลูกไปเรียน ปวช. ปวส. ขณะนี้กลับมาทำงานในหมู่บ้าน กลับมาทำนา แล้วนาสวยมาก … ผมคิดว่ามันมีหลายโมเดล แต่อันนี้เป็นโมเดลที่มีน้ำท่าพร้อม ... ที่สุพรรณนี่ น้ำท่า เขาพร้อม ... แต่โมเดลที่เราไปเลือก คุณชายไปเลือกเป็นโมเดลบนดอย ซึ่งมันยากกว่า ซึ่งก็ ต้องใช้อย่างที่เราว่า ตัว Locality จะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะเอาความรู้อะไรไปใส่ใน Locality นั้น ... ก็ตอบคำถามของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ก็คือว่า ปิดทองหลังพระฯ ก็จะเป็น รูปแบบของการทำงานอันหนึ่งที่เราออกแบบมา แล้วเราได้ประสบการณ์มา ๒-๓ ปีแล้ว แล้วก็ ประสบผลสำเร็จ แล้วเชื่อว่ามีอีกหลายรูปแบบ แล้วก็อยากจะมาเชิญชวนพวกเรา ให้มาช่วยกัน ท่านทั้งหลายอาจจะปรับปรุงรูปแบบไป ตามลักษณะของหมู่บ้าน แบบไหนก็ได้ บริษัทก็อาจจะ เลือกหมู่บ้านหนึ่งแล้วก็ทำงานกับชาวบ้าน … จากองค์ความรู้ที่มีอยู่ ถ้าจะให้พวกเราให้คำ ปรึกษาอย่างไร ผมว่าพวกเราพร้อมนะครับ ขอบคุณครับ ดร.วิรไท : ขอเชิญคำถามสุดท้ายนะครับ เรียนเชิญครับ ถาม : คำถามนี้อาจจะเป็นคำถามที่ฟังแล้ว ทุกคนอาจจะอึ้งไปเล็กน้อยนะคะ แต่มามองดู แล้ว ถ้าสมมุติว่าเรามองว่ามีหมู่บ้าน หรือมีชุมชนเสื้อแดง … ซึ่งตอนนี้มีหมู่บ้านเสื้อแดงอยู่ มาก ทั้งโหยหาความสมานฉันท์ และรังเกียจความเหลื่อมล้ำ … ตรงนี้ ถ้าสมมุติว่าเราจะมี โมเดลที่จะเข้าไปเพื่อทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเขาสามารถจะอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ คือไม่ได้
Art book.indd 59
2/2/12 8:50:38 PM
60
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
จำเป็นจะต้องไปทำ หรือว่าออกมาพูดว่า ลดความเหลื่อมล้ำ! ลดความเหลื่อมล้ำ! โดยไม่ทำ อะไร มันก็จะไม่เกิดอะไรที่เป็นผลที่ดีนะคะ … ตรงนี้อยากจะเรียนถามว่า มีความเป็นไปได้ ไหมคะที่จะนำเรื่องของโครงการปิดทองหลังพระฯ เข้าในหมู่บ้านเหล่านี้ เพื่ออย่างน้อยก็มี Pilot Projcet สัก Project หนึ่ง ขอบคุณค่ะ ม.ร.ว.ดิศนัดดา : ขออนุญาตตอบแทนท่านองคมนตรีเกษม กับท่าน ดร.จิรายุ ดีกว่า … ผมอยู่ติดกับดิน ... ถ้าท่านสังเกตดู ที่ปิดทองหลังพระฯ ไปทำ คือ ที่น่าน ที่อุดรนะ เป็นพื้นที่ ของแดงไหม? น่านก็แดงไหม? แล้วมันยังไงครับ? เลือดผมก็แดง - ไม่ใช่น้ำเงินนะครับ … ดังนั้น ทางปิดทองหลังพระฯ เราไม่เกี่ยวข้องกับสี! ไม่มีเรื่องสีเข้าไปเกี่ยวข้องเลยนะครับ … ทำไมไม่มีเรื่องสีมาเกี่ยวข้อง ทุกคนเคยรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมนะครับ อย่างพวกท่าน ที่อยู่ในที่นี้ รวมทั้งผมด้วย เป็นผู้ที่มีโชคดี ได้มาอยู่แบบนี้ ... แต่ตอนนี้ที่ผมมาฟัง ผมก็อยาก มาฟัง เพราะว่าท่านอธิบายมา ผมยังได้เรียนรู้เยอะมากเลยวันนี้ ก็จะไปปรับใช้ต่อไป ... แต่ ที่มาอยู่ในขอบข่ายของท่านที่นั่งอยู่ในวันนี้ ... ท่านมีเจตนาที่จะทำ CSR แต่ CSR ที่ท่านทำอยู่ นี่ เป็น CSR มาจากจิตวิญญาณหรือเปล่า ... ขอโทษนะครับ! ไม่รู้ว่าผมพูดผิดพูดถูก!
ไม่รู้นะ! แต่ผมพูดจากใจ! ที่บอกว่า Caring and Sharing อะไรที่พูดมาเมื่อกี้นี้ … อันนี้ผม คิดว่า เรามาอยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกันแล้วนะครับ แล้วคิดว่าเราจะทำอย่างไร ตามกำลังความ สามารถของเราแต่ละคน ที่จะสามารถทำได้ … ผมถึงได้มาวันนี้ … ผมสนใจวิธีการ เราเรียนรู้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จย่า สมเด็จ พระเทพรัตนฯ ต่างๆ นานา ที่ท่านทรงทำมา … ถามว่า โครงการพระราชดำริ โครงการต่างๆ นานา ท่านมีพระราชดำริขึ้นมา ๔ พันกว่าโครงการ … เพื่อใครครับ? ถ้าไม่ใช่เพื่อประชาชน คนไทย - แล้วเพื่อใคร? แล้วเราเอง ก็อยู่ในวิสัยที่จะสามารถช่วยท่านได้ … แล้วท่านเดี๋ยวนี้ ๘๔ พรรษาปีนี้ ไม่ได้ทรงงานมากๆ นี่ … จนเดี๋ยวนี้คนลืม … คนลืมท่าน … ดังนั้น ถึงบอก ... อำมาตย์ก็ดี ไพร่ก็ดี เลือกเกิดไม่ได้ครับ … แต่ผมทำเพื่อสังคม ผมทำงานเป็นไพร่ เพราะ ฉะนั้นท่านมาลงพื้นที่กับผมสิครับ … ผมอยู่กับดินกินกับทรายครับ ผมไปที่ไหนก็กางเต้นท์ นอนที่นั่น ไม่ได้ไปเดือดร้อนใครเขาทั้งนั้นนะครับ ... จนพระท่านบอกว่า ให้มาอยู่ที่กุฏิท่าน แล้วท่านก็ไปอยู่อีกวัดหนึ่ง … เรามีห้องนอน ห้องน้ำใช้ ก็สบายขึ้น … ท่านองคมนตรีไปมาแล้ว Art book.indd 60
2/2/12 8:50:38 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 61
ต่างๆ นานา ผมถึงบอก ... เรื่องนี้เราต้องมาเปิดใจพูดกันสิครับ … เราต้อง Close the gap between the regions! อันนี้เป็นสิ่งที่ปิดทองหลังพระฯ ลงไปทำจริงๆ และจับต้องได้ … ผมอยากจะขอให้คุณดูการวัดผล มี Business People ต้องพูดเรื่องการวัดผล ลงทุน บาทหนึ่ง ชาวบ้านได้อะไร? ที่ท่าน ดร.จิรายุ พูดเมื่อกี้นี้ว่า บาทหนึ่งนี่ ชาวบ้านได้อะไร? ... ดังนั้น ดูที่บ้านน้ำป้ากนี่นะครับ ผมใช้เงินไปทำที่นั่นนี่ … ผมขอคณะกรรมการ ต่างๆ นานา เช่น ใส่เงินเข้าไปทำฝาย ประมาณ ๒ ล้าน ๔ แสนบาท นะครับ … แต่มันเป็นฝายจริงๆ ฝาย ๕๑๘ ลูกบาศก์เมตร ผมก็ให้ Break down ลงมาว่า จริงๆ มันเป็นฝายที่ใช้คอนกรีต กับเหล็ก และปูนต่างๆ นานา ที่ใส่เข้าไปนี่เท่าไร ... มันออกมานี่นะครับ ตกประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ฝายลุงก่ำนะ … ๕๑๘ ลูกบาศก์เมตร แต่ต้องเดินท่อน้ำ ๘ นิ้ว PVC … ใคร ขายบ้าง เอ้า! ท่อหนึ่งเท่าไรครับ? ท่ออันนี้นะครับ ๘ นิ้ว PVC ๒,๔๐๐ บาท … แต่ถ้าทำ ตามกฎระเบียบของทางราชการ การจัดซื้อต้องมี ๓ รายประมูลกัน แต่ผมได้ลดจากปูน
ซิเมนต์ไทย ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ใครจะสูผ้ ม? แล้วทำไมจะต้องเอากฎเกณฑ์อนั นีม้ าใช้? … ถึงบอก เมื่อกี้พูดถึงข้าราชการนี่นะครับ เรากำลังเปลี่ยน Mindset ข้าราชการ โดยเอา Outcome เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ Input กับ Output เป็นที่ตั้ง … แต่ Outcome เป็นที่ตั้ง ... นั่นแหละสิ่งที่ ท่านนักเศรษฐกิจทั้งหลายที่นั่งอยู่ในที่นี้ พอใจ คือ หนึ่งบาทใส่ลงไป ชาวบ้านได้กี่ตังค์? ดังนั้น สรุปง่ายๆ ครับ อย่างที่เมื่อกี้ที่ท่านองคมนตรีพูด ที่ทำไปที่อุดร เราลงทุนไป ๔ ล้าน ... ตั้งงบไว้ ๘ ล้าน แต่ใช้ ๔ ล้านกว่า ๕ ล้าน ... ชาวบ้านเคยได้อยู่ ๓ ล้านบาท แต่ ทำกับเราแค่ปีเดียวนะครับ เก็บเกี่ยวคราวนี้เสร็จ ชาวบ้านได้ ๑๓ ล้านบาท จาก ๓ ล้านเดิม ทั้งปีนะครับ … แค่ทำข้าวคราวนี้แล้วฝนไม่ทิ้งช่วง เพราะทิ้งช่วง แต่เราก็มีน้ำให้เขา ทำให้ข้าว นั้นไม่เหลืองไม่ลีบ มันได้เต็มที่ จาก ๓๐ ถัง กลายเป็น ๕๐ - ๖๐ ถัง ขึ้นมาสองเท่า …
ดังนั้น รายได้แค่นี้เขาจะได้จาก ๓ ล้าน เป็น ๑๓ ล้าน เราลงทุนที่ ๕ ล้าน … อ้าว! ให้เต็มที่ เลย ๕ ล้าน แต่ชาวบ้านได้ ๑๐ ล้าน Return On Investment๕ เท่าไรครับ? ผมถามว่าใคร ทำได้บ้าง? แบงค์ทำได้ไหม? ขอโทษนะ! … ผมก็เป็นกรรมการแบงค์เหมือนกัน! นี่ แบงค์ยัง Art book.indd 61
๕ Return On Investment (ROI) คือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม เป็นดัชนีที่ใช้วัดศักยภาพของ กิจการ ในการทำกำไรต่อการลงทุนในสินทรัพย์รวม ผลลัพธ์ทอ่ี อกมาจะต้องแปลงเป็น % (ทำกำไรได้ก่ี % ต่อการลงทุน ๑๐๐ บาทในสินทรัพย์) 2/2/12 8:50:38 PM
62
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ทำไม่ได้เลย! นี่ครับ ผมถึงบอกว่าการวัดผล … ต้องวัดอย่างที่ท่านองคมนตรีพูด วัดผลตลอด เวลา … อันนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมต้องขยายความให้ท่านฟัง คือว่า ถ้าท่านทำร่วมกับเรา ทุกเม็ด บาท ท่านจะรู้ว่ามันใช้อย่างไร แล้วชาวบ้านได้อะไร อันนี้ที่ของผมแตกต่างจากที่อื่น เพราะผม ใช้ Business Thinking มาทำเป็น Business for Social อันนี้ฝากไว้และเสริมท่านนิดหนึ่ง
ในเรื่องนี้นะครับ แต่ก่อนจบผมขออีกนิดหนึ่ง …. ดร.วิรไท : เชิญคุณชายครับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา : ถ้างั้น ผมขอฝากไว้ ตอนนี้ ผมคิดมากที่สุดก็คือ เรื่องน้ำ น้ำใน ประเทศไทยเก็บได้ทั้งหมด ๓๐ กว่าเขื่อนนะครับ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอะไรก็ตาม
ที่มีอยู่ ๓๐ กว่าเขื่อน เก็บได้ ๖๙,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร … อ้าว! คิดซะว่า ๗๐,๐๐๐ ล้าน ลู ก บาศก์ เ มตร แต่ ถ้ า ถั ว เฉลี่ ย น้ ำ ฝนที่ ต กลงมาในประเทศไทย ย้ อ นหลั ง ๕๐ ปี เ ฉลี่ ย ๗๐๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ... ดังนั้น รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ทำมาไม่เคยเห็นหัวน้ำเลย เก็บได้แค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านมีพระราชดำรัสเรื่องน้ำ แล้ว รับสั่งอีกต่างๆ นานา … อันนี้ปิดทองหลังพระฯ กำลังดำเนินการเรื่องน้ำ ไปพูดกับอธิบดี กรมชลประทานเลยครับ เขาเองไม่สามารถทำได้ เพราะชาวบ้านไม่เอาด้วย แต่ปดิ ทองหลังพระฯ ถนัดเรื่องชาวบ้าน ... และชาวบ้านเอากับปิดทองหลังพระฯ!! ดังนั้น เขื่อนต่างๆ มันถึงเกิดขึ้นไม่ได้ … เขื่อนใหญ่นะครับ … แต่เราไม่ทำ ... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านมีพระราชดำรัสว่าอย่างไร? แก้มลิง! แล้วใครจะรู้ดีกว่า ชาวบ้านว่าเวลาน้ำท่วม มันท่วมที่ไหนก่อน? ท่วมหมู่บ้านไหนก่อน? แล้วมันไหลไปยังไงๆๆ
… เห็นไหมครับ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงหนีบแผนที่ไปกับท่าน แล้วท่านไป ประทับนั่งยองๆ ไปประทับนั่งกับพื้น คุยกับชาวบ้านว่าน้ำมันไหลมาอย่างไร? ท่าน double check เกี่ยวกับแผนที่! ท่านเองยังต้องศึกษาจากชุมชนเลย! ทำไมพวกท่านไม่ดูรูป ... ดูรูปว่า เวลาพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่กับพื้นแล้วคุยกับชาวบ้านนี่ … ทำไมไม่แปลล่ะครับว่า ทำไม
Art book.indd 62
2/2/12 8:50:38 PM
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 63
พระองค์ท่านทำ? แล้วพระองค์ท่านทำอะไร? พระองค์ท่านมีเหตุมีผลนะครับ … อันนี้ผมก็ เรียนรู้จากพระองค์ท่าน โดยที่ไม่ได้ทูลถาม เพราะผมไม่ใช่คนในวัง … แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ เรียนรู้อย่างนี้ เราก็ลงไปที่ชุมชน พยายามคิดว่าจะทำอย่างไร? น้ำในภาคอีสานปีหนึ่ง ๗๐๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร … ฝน ๒๓๘,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ตกที่อีสาน แต่เก็บได้แค่ ๒.๗ เปอร์เซ็นต์ … ถ้าท่านอยากจะทำอะไรนะครับ… พลิกแผ่นดินให้มีน้ำ และอย่าให้น้ำท่วม นะครับ ให้น้ำลงแม่น้ำโขง ชี มูล และแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำเจ้าพระยา ช้าที่สุด โดย ประเทศไทยน้ำไม่ท่วม ... เมื่อนั้นครับ อีก ๓๐ ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจครับ ดร.วิรไท : คิดว่าคุณชายได้กรุณาให้การบ้าน แล้วก็ได้สรุปให้เราเห็นถึงปัญหาสำคัญมาก ของประเทศไทยนะครับ ที่พวกเราควรจะต้องมาร่วมกันเพื่อให้เกิดพลังขึ้น ในการที่จะลด Gap ลดความเหลื่ อ มล้ ำ ของคนในประเทศไทย ท่ า นวิ ท ยากรได้ ชี้ ใ ห้ เ ราเห็ น ว่ า ธุ ร กิ จ
ไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าสังคมไทยไม่สามารถอยู่ได้ ปัญหาต่างๆ ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันแก้ ก็จะมี แต่ทำให้สังคมไทย เศรษฐกิจไทย เปราะบางมากขึ้นไปเรื่อยๆ นะครับ … คิดว่าวันนี้เราได้ ความรู้ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ม ากจากบรมครู ทั้ ง ๓ ท่ า นนะครั บ ทั้ ง ในเรื่ อ งของปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ บทบาทที่ CSR Club บริษัทจดทะเบียน ได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการตอกเสาเข็มของประเทศ ไทยให้มั่นคงยิ่งขึ้นครับ ท้ายที่สุดนี้ผมขอเสียงปรบมือให้กับวิทยากรของพวกเราทั้งหมดนะครับ ถอดเทปโดย พุทธิดา เชี่ยวชาญพานิชย์ ปรับปรุงแก้ไข โดย ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ
Art book.indd 63
2/2/12 8:50:39 PM
64
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
“CSR ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ISBN 978-974-8259-48-2 ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๕ จำนวนที่พิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย ออกแบบและจัดพิมพ์โดย บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (หนึ่งในกลุ่มบริษัททีม) ๑๕๑ อาคารทีม ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๐๙ ๙๐๙๑ - ๒
Art book.indd 64
2/2/12 8:50:39 PM
Art book.indd 65
2/2/12 8:50:39 PM
Art book.indd 66
2/2/12 8:50:40 PM