PEN Club Jurnal 50th

Page 1

ว ร ร ณศล ิป ส.มช .

ว า ร ส า ร ป ท  ่ ี 50 ว ร ร ณ ศ ล ิ ป  ส .ม ช .

๕๐ป ว า ร ส า ร เ น อ ่ ื ง ใ น โ อ ก า ส ป ท  ่ ี 50 ช ม ร ม ว ร ร ณ ศ ล ิ ป  ส โ ม ส ร น ก ั ศ ก ึ ษ าม ห า ว ท ิ ย า ล ย ั เ ช ย ี ง ใ ห ม 


ชมรมวรรณศิลป์ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่



__________________

วรรณศิลป์ ส.มช. ปีที่ 50 --------------------



แด่ สมาชิกชมรมวรรณศิลป์ ส.มช. ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต


วารสารวรรณศิลป์ ส.มช. เนื่องในวาระ ปีที่ 50 พฤศจิกายน 2556

บรรณาธิการ ปฐมพงศ์ กวางทอง

กองบรรณาธิการ ชนมน วังทิพย์

ออกแบบปก ชาวาร์ เกษมสุข ธัญญนรี นิธิยศไพศาล Facebook : ชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/wannasilponline ชมรมวรรณศิลป์ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตู้ปณ.95 ปณฝ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202


สารบัญ --- อดีต --ประวัติชมรมโดยสังเขป ทินกร เสนาจิตร หน้า 10

บทสัมภาษณ์ สถาพร ศรีสัจจัง 15

ความเรียง/เรื่องสั้น/บทกวี ความเป็นวรรณศิลป์ รหัส 25 วิลักษณ์ ศรีป่าซาง : ชมรมวรรณศิลป์เมื่อ 31 ปีที่แล้ว หน้า 21 รหัส 33 สร้อยแก้ว ค�ำมาลา : ชมรมสมัยสะอาดสะอ้าน หน้า 27 รหัส 34 พิชามญชุ์ ชัยดรุณ : “คืนฝนตก” และ “วรรณศิลป์” ในห้องสมุดแห่งความทรงจ�ำ หน้า 31 รหัส 45 ฉวีวรรณ อุตเจริญ : กล่องความทรงจ�ำ...วรรณศิลป์ หน้า 39 รหัส 46 ภฤศ ปฐมทัศน์ (กฤษณ์ ปฐมทัศน์) : ความทรงจ�ำในกล่องวินเทจ หน้า 43 รหัส 48 กมลพร สิทธิชัย : ชวนทะเลาะกับความทรงจ�ำ หน้า 49 รหัส 50 ทินกร เสนาจิตร : ชมรมวรรณศิลป์ในความทรงจ�ำของข้าพเจ้า หน้า 57 รหัส 52 สุธิษา เทียนกันเทศ : เพราะเราต่างมีความเชื่อ หน้า 63

ประวัติศาสตร์ผ่าน “เมื่อย” ทศวรรษ 2530 หน้า 67 ทศวรรษ 2540 หน้า 105 2550 - 2556 หน้า 135


สารบัญ (ต่อ) --- ปั จจุบน ั --เรื่องเล่าวรรณศิลป์ เดี๋ยวนะ... ขอนึกก่อน หน้า 156

บทกวีวรรณศิลป์ หมอกมุงดอย หน้า 160

--- อนาคต --ว่าที่ประธานแถลง จิราวัฒน์ รงค์ทอง หน้า 162


บรรณาธิการสารภาพ วารสารฉบับนี้ ส�ำเร็จเสร็จสิ้นมาด้วยความทุลักทุเลพอประมาณ ทั้งๆ ที่พี่ศิษย์เก่า หลายท่านได้ชว่ ยเหลือเอือ้ เฟือ้ ข้อมูลอย่างมากมาย ทว่าจนแล้วจนรอดก็ออกมาเป็นวารสาร ที่ยังรวบรวมประวัติชมรมไม่ครบสมบูรณ์ตามที่บรรณาธิการตั้งใจไว้แต่แรก วารสารฉบับนี้ จึงเป็นวารสารที่เน้นการเล่าเรื่องโดยสมาชิกชมรมฯ โดยแบ่งเป็น สามช่วงใหญ่ๆ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต และเพิ่มเติมในส่วนของอดีต ผมจะลองสรุป ความบรรยากาศภายในชมรมของแต่ละยุคสมัยไว้สนั้ ๆ จากการอ่านสมุดบันทึกความรูส้ กึ ของ สมาชิกชมรม และน�ำบางส่วนของข้อความทีพ่ อจะแสดงความเป็นไปของยุคสมัยนัน้ มาตีพมิ พ์ ซึ่งแน่นอนว่าบางข้อความก็ไม่สามารถน�ำมาลงได้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างมาก โดยรวมแล้ว ผมเชื่อว่าพี่หลายท่านคงไม่อาจพอใจกับผลงานในระดับนี้ จึงอยาก เชิญชวนให้วิพากษ์วิจารณ์วารสารชิ้นนี้อย่างเต็มที่ และหากมีข้อมูลใดมาเสริมเพิ่มเติมให้ ประวัติชมรมครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กระผมก็ใคร่ขอเชิญชวนให้ส่งหลักฐานมาตามที่อยู่ของ ชมรมทั้งในช่องทาง ไปรษณีย์ หรือทาง Facebook เพื่อไว้ให้สมาชิกในรุ่นนี้ หรือรุ่น หน้า ได้ปรับปรุงแก้ไข และช�ำระประวัติศาสตร์ชมรมให้ถูกต้องครบถ้วนยิ่งขึ้น ขอบคุณ... พีท่ ินกร เสนาจิตร ผูู้ริเริ่มสืบค้นประวัติชมรมอย่างจริงจัง ขอบคุณพี่ชาว วรรณศิลป์ ที่ให้ข้อมูลและบทความต่างๆ อาทิ พี่สุภาพ คลี่ขจาย พี่สถาพร ศรีสัจจัง พีว่ ิ ลักษณ์ ศรีป่าซาง พีส่ ร้อยแก้ว ค�ำมาลา พีพ่ ิชามญชุ์ ชัยดรุณ พี่ฉวีวรรณ อุตเจริญ

พี

ภฤศ ปฐมทัศน์ พี่ลีน่าร์ กาซอ พี่กมลพร สิทธิชัย พี่สุธิษา เทียนกันเทศ และพี่ผู้ไม่ได้รับ การเอ่ยนามทั้งหลาย รวมถึงสมาชิกในปัจจุบัน และผู้อ่านวารสารเล่มนี้ด้วยครับ ความผิดพลาดทั้งหลาย เป็นของบรรณาธิการแต่เพียงผู้เดียว ปฐมพงศ์ กวางทอง บรรณาธิการ


ประวัติชมรมโดยสังเขป

10


ชมรมวรรณศิลป์ ส.มช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2507 โดยกลุ่มนักศึกษาผู้มีใจรักใน

ด้านการอ่าน การเขียน โดยได้รวมกลุ่มกันในนาม “ชุมนุมวรรณศิลป์ ส.มช.” มีที่ตั้งอยู่ ณ อาคารยูเนี่ยน (อาคารกิจกรรมนักศึกษาเดิม) ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรมยอดนิยมในสมัยนั้นคือการท�ำหนังสือ ชุมนุมวรรณศิลป์เองก็ได้ออกอนุสาร

ชื่อ “ทองกวาว” และหนังสือพิมพ์ชื่อ “มช. สัมพันธ์” และได้รับการตอบรับอย่างดีจาก เพือ่ นนักศึกษา โดยมีทงั้ นักเขียนสมัครเล่น และนักอ่านรออ่านเป็นประจ�ำ วิธกี ารจัดจ�ำหน่าย ในสมัยนั้นจะใช้การตระเวนเคาะห้องเร่ขายตามหอพักนักศึกษาเป็นหลัก

กลุ่มผู้ก่อตั้งรุ่นแรกนั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีหลักฐานปรากฏหลังจากนั้นว่านาย

สุภาพ คลี่ขจาย (ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวงอุตสาหกรรม) ได้เป็น ประธานชมรมในช่วงปี 2512 – 2513 โดยมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์อย่าง สถาพร ศรีสจั จัง (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2548), สุเมธ แสงนิม่ นวล (อดีตผูว้ า่ ราชการ จังหวัดเชียงราย ขณะนีด้ ำ� รงต�ำแหน่งผูต้ รวจราชการ กระทรวงมหาดไทย) เป็นหัวเรีย่ วหัวแรง ในการท�ำชมรมในยุคแรกเริ่ม

หลังจากรวมกลุม่ ท�ำหนังสือพิมพ์ และอนุสารกันมาพักใหญ่ ชุมนุมวรรณศิลป์จงึ ผลิต

หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มแรกออกมา โดยใช้ชื่อว่า “เจ้าชื่อทองกวาว” เป็นการรวมผลงาน จากนักเขียนในรัว้ มช. สะท้อนอารมณ์ ความคิด และบรรยากาศในยุคสมัยนัน้ ออกมาอย่าง เต็มเปี่ยม โดยมี อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นผู้เขียนค�ำน�ำให้ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับดีมาก จนต้องออกหนังสือ “เจ้าชื่อทองกวาว ขบวนสอง” ตามมา

จากจุดเริม่ ต้นอันนี้ ท�ำให้ชมุ นุมวรรณศิลป์เริม่ มีการรวมกลุม่ และมีกจิ กรรมแลกเปลีย่ น

ความคิดมากขึ้น เริ่มมีผู้คนสนใจ ประกอบกับบรรยากาศการตื่นตัวทางการเมืองในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการรวมกลุม่ ใหม่ของนักศึกษาทีส่ นใจเรือ่ งการเมืองโดยเฉพาะ โดยจัดตัง้ กลุม่ อิสระ ใช้ชื่อว่า “กลุ่มวลัญชทัศน์” ท�ำกิจกรรมเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง และออกหนังสือที่โด่ง ดังอย่าง “วลัญชทัศน์ ฉบับภัยเขียว” ซึง่ มีเนือ้ หาวิพากษ์ระบบเผด็จการทหารทีค่ รอบง�ำสังคม ไทย จนเป็นเหตุให้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือต้องห้าม และถูกสั่งท�ำลายในที่สุด

11


ภายหลังการเกิดขึ้นของกลุ่มวลัญชทัศน์ ชมรมวรรณศิลป์ก็ยังคงด�ำเนินงานต่อเรื่อย

มา และได้เข้าไปมีส่วนส�ำคัญในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ซึ่งได้มีการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และ ป้ายรณรงค์ออกมาเพื่อเคลื่อนไหวในส่วนของมวลชนภาคเหนืออีกด้วย

ถัดจากยุครุง่ โรจน์ ชมรมวรรณศิลป์กเ็ ริม่ สร่างซาจากการทีน่ กั ศึกษาทยอยจับปืนเข้า

ป่าหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ถูกรัฐบาลเซ็นเซอร์ และชมรมวรรณศิลป์ เองก็ถกู เพ่งเล็งเป็นพิเศษ มีการบุกเข้าตรวจค้นและยึดหนังสือภายในชมรม จนท�ำให้มหี นังสือ สูญหายในช่วงนี้เป็นอันมาก

เมื่อไม่สามารถผลิตงานสะท้อนสังคมออกมาได้ ชมรมวรรณศิลป์จึงเข้าสู่ยุคแห่งกวี

โดยชมรมวรรณศิ ล ป์ ไ ด้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางของเหล่ า นั ก ประพั น ธ์ ก วี นิ พ นธ์ ใ นแถบภาคเหนื อ ภายหลังจากที่ อ.สุพรรณ ทองคล้อย (แรค�ำ ประโดยค�ำ) และ อ.เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา ค�ำจันทร์) สองอาจารย์หนุ่มไฟแรงที่ภายหลังได้รับรางวัลซีไรต์เข้ามาเป็นอาจารย์ประจ�ำที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

12

ทั้งสองท่านได้ช่วยกันท�ำให้กิจกรรมวรรณศิลป์กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดย อ.สุพรรณ

ได้ร่วมกับนักศึกษาจัดตั้ง “กลุ่มวรรณกรรมกาแล” ขึ้นเพื่อจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับกวีนิพนธ์โดย เฉพาะ ทั้งชมรมวรรณศิลป์ และ กลุ่มวรรณกรรมกาแลต่างก็ร่วมมือกันท�ำกิจกรรมส่งเสริมกวี นิพนธ์ มีทั้งการจัดกิจกรรมอ่านบทกวี สัมมนากวี และชมรมวรรณศิลป์เองก็ได้ตีพิมพ์จุลสาร “เฌองดอย” ออกมาภายหลังจากยุคของกลุ่มวรรณกรรมกาแลอีกหลายปี

เมือ่ สภาพสังคมเริม่ เปลีย่ น วรรณศิลป์ภายหลังยุคทองเริม่ ซบเซา ชมรมถูกทิง้ ร้างไป

ในบางช่วงเวลา ต่อมาเริ่มมีนักศึกษาจากชมรมอาสาพัฒนาฯ เข้ามาดูแลชมรมต่อ มีการ ผลิตผลงานและกิจกรรมออกมาค่อนข้างน้อยเมือ่ เทียบกับยุคก่อน ส่วนใหญ่มกั ไปร่วมออกค่าย กับชมรมอาสาพัฒนาฯ

จนเมื่อถึงยุคเพื่อชีวิตรุ่นสุดท้าย โดยมีนายเอกชาติ ใจเพชร เป็นประธาน ชมรม

กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง มีการจัดกิจกรรมหลากหลายทั้งการตีพิมพ์จุลสาร การออกค่ายของ ชมรม การจัดงานสัปดาห์หนังสือ การเสวนา ฯลฯ ชมรมกลับมาคึกคักและมีสมาชิกเพิ่มขึ้น


อีกครั้ง

พ้ น จากยุ ค เพื่ อ ชี วิ ต รุ ่ น สุ ด ท้ า ย ชมรมวรรณศิ ล ป์ เ ริ่ ม ก้ า วเข้ า ไปสู ่ ยุ ค แห่ ง ความ

เปลี่ยนแปลง โดยนายทินกร เสนาจิตร ได้เข้ามารับหน้าที่ประธานชมรม และสร้างกิจกรรม ใหม่ๆ พร้อมกับประชาสัมพันธ์ชมรมวรรณศิลป์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จากนั้น นางสาว สุธษิ า เทียนกันเทศ ประธานชมรมคนต่อมาก็ได้วางรูปแบบการบริหารชมรมให้เป็นระบบมาก ยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน ชมรมวรรณศิลป์ ส.มช. ได้ผลิตกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียนออก

มาอย่างต่อเนื่อง ดัดแปลงจาก ประวัติชมรมในธรรมนูญชมรมวรรณศิลป์ ส.มช. ที่เขียนไว้โดย ทินกร เสนาจิตร

13


14

บทสัมภาษณ์


สถาพร ศรีสัจจัง

15


สวัสดีครับ อาจารย์ สถาพร ผมเริ่มสัมภาษณ์เลยนะครับ

เอาเลยครับ

รหัสของอาจารย์คือ...

ผมรหัส 121910 ครับ

อาจารย์ เข้าชมรมตั้งแต่ปี 1 เลยหรือเปล่าครับ

อืม... เข้าชมรมรม... ตอนนั้นมันไม่ค่อยเป็นทางการอะไรนักหนานะครับ คือผมมี

นิสัยชอบเขียนกลอน เขียนอะไรพวกนี้น่ะครับ ก็คือตอนนี้เดินทางนี่เดินทางไป คือเมื่อก่อน ก็เหมือนเดี๋ยวนี้ ซึ่งมช.เรามีวัฒนธรรมการรับน้องรถไฟนะครับ เราก็ไปกันทางรถไฟ ก็ได้คุย กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน บางคนเขาก็ชอบเขียนหนังสือ ตั้งแต่เริ่มเดินทางน่ะนะครับ เราก็เลย พอเริ่มต้นไปถึงที่มช.ก็มีกลุ่มเพื่อน ซึ่งส่วนใหญ่เรียนคณะมนุษย์ ด้วยกันครับ ผมเริ่มคุยคน

16 แรกก็เพื่อนที่อยู่ในกลุ่ม ตอนหลังเนี่ยก็เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกันเขาชื่อ สินสมุทร วรรณรัตน์ ซึ่ง

เสียชีวิตแล้ว เป็นพี่ชายของ อ.สายชล วรรณรัตน์ ครับ ท่าน อ.สายชล วรรณรัตน์ก็ค่อน ข้างสนิทกัน เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกัน ใช้เงินกระเป๋าเดียวกันเนี่ยครับ

พอเข้าไปถึงชมรมเนี่ย ก็มีสุภาพ คลี่ขจาย เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ อยู่น่ะครับ

ก็เลย เราก็จำ� ไม่ได้แล้ว ว่ามันเป็นอย่างไรแต่จำ� ได้วา่ เขียนกลอนไปให้ อะไรประมาณนี้ ตอน สักประมาณกลางเทอมหรือปลายๆ เทอมนี่แหละ ตอนนั้นมันก็มีหนังสืออื่นอีกหลายเล่มที่ ที่ ออกในมช. การสื่อสารในมหาวิทยาลัยเนี่ยมีนักศึกษาทั้งคณะ มนุษย์ คณะสังคมนะ ทั้ง หนังสือพิมพ์รายเดือน รายพุธเนีย่ ก็มนี ะ ก็เลยเป็นพืน้ ฐานในการเขียน แต่วา่ พวกชมรมวรรณ ศิลป์เนี่ย เราก็ไม่ได้ ไม่ได้อะไรล่ะ... ไม่ได้มีกิจกรรมอะไรที่จริงจังมาก เท่าที่ผมจ�ำได้นะ พยายามย้อนที่จ�ำได้ก็คือว่า มันอยู่ที่ union แต่ตอนนั้นยูเนียนมันมี 2 จุดนะ เป็นจุด ซึ่ง union เป็นร้านอาหาร กับพวกชมรมที่มีสมาชิกเยอะๆ เช่น ชมรมอาสาพัฒนาฯ ชมรมอะไรพวกนี้ ที่เป็นร้านอาหารกับชมรมนี่สร้างใหม่ ไอ้ชมรมวรรณศิลป์เนี่ย ถ้าผมจ�ำไม่


ผิด จะอยู่ที่ตัวอาคาร 2 ชั้นที่สร้างใหม่ที่ข้างล่างเป็น คอร์ทแบดมินตันหรืออะไรเนี่ยนะ มัน อยู่ติดๆ กัน ใกล้ๆ กัน ดูเหมือนก็จะมาพบปะกันอยู่บ้างที่นั่นแหละ แต่ว่าไม่ได้บ่อยอะไรน่ะ นะ ผมพยายาม เท่าที่จ�ำได้ก็มีพบปะพูดคุยกันกับพี่สุภาพนี่แหละ

พี่สุภาพแกรหัส 11

แล้วที่ชมรมใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไหมครับ หรือเป็นแค่ที่พบปะ

ไม่สิ ยัง ในรุ่นผมเนี่ย ไม่แน่ใจว่าคนอื่นมาพักอาศัยที่ชมรมหรือเปล่า แต่ผมกับ

เพื่อนๆ เนี่ยไม่ได้มา ไม่ได้มาใช้พื้นที่ชมรมมมากมาย แต่ว่า ที่จ�ำได้แม่นก็คือว่า มันมี หนังสือของชมรม ที่ออกเป็นประจ�ำทุกราย 3 เดือน คือหนังสือ ทองกวาว หนังสิอ ฉันชื่อทองกวาว หรือครับ

ไม่ใช่ หนังสือเป็นคล้ายๆ จุลสารของชมรม ชื่อ ทองกวาว ก็ออกประมาณ 3

เดือน/เล่ม หรือ 2 เล่ม ประมาณนั้นนะ ผมจ�ำไม่ได้แล้ว ผมจ�ำได้ว่าทุกครั้งที่ออกก็มีงาน เขียนออกนะ แต่ก็มีกิจกรรของชมรมเป็นช่วง ผมเข้าไปปีหนึ่งก็ไม่มีอะไรมากนัก นอกจาก การออกหนังสือ ก็คงเป็นทีมงานของพี่สุภาพนั่นแหละที่เขียนหนังสือ เราเพียงแต่ส่งต้นฉบับ ให้ อะไรอย่างนี้ ก็จะไปมีส่วนร่วมในการท�ำนะ พอขึ้นปี 2 ผมก็ไม่แน่ใจ ผมก็จ�ำไม่ได้แล้ว ว่าใครเป็นประธานชมรมนะ แต่ว่า ผมก็ไปช่วยท�ำหนังสืออยู่เหมือนกัน แต่ส�ำหรับพวกผม เองก็มกี ารรวมกลุม่ กัน เพือ่ ทีจ่ ะเขียนหนังสือ ใช้ชอื่ ว่ากลุม่ ทีร่ าบชาวหนุม่ ริมดอย กลุม่ หนังสือ ที่ราบชายหนุ่มริมดอยมีตัวหลัก 6 คน ที่จริงมีมากกว่านั้นแหละ แต่ที่เขียนน่ะ แล้วก็พอปิด เทอมสอง ของปี 1 เราก็พิมพ์หนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค ซึ่งน่าจะเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค ที่รวม เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นเล่มแรกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ ที่เขียนใน มหาวิทยาลัยเมืองไทย น่าจะชื่อหนังสือคือ ทองกวาว เคยเห็นไหม เคยเห็นครับ ที่ลง WRITER

17


ใช่ๆ ก็นั่นแหละ ทั้ง 6 คน ที่อยู่ในกลุ่มส่วนใหญ่ก็อยู่ในคณะมนุษย์ สังคม และก็คณะศึกษา ศาสตร์นะ มีผม มีธงชัย สุรการ มี สินสมุทร วรรณรัตน์ มี สุเมธ แสงนิ่มนวล มี ยงยุทธ กิตติยุทธ มี 6 คนน่ะ มีพี่มณเฑียร ธานีรณานนท์ มณเฑียร ผม สินสมุทร อยู่คณะมนุษย์ ธงชัยคณะศึกษาศาสตร์ แล้วก็ สุเมธ เรียนรัฐศาสตร์ ในคณะสังคม คือตอนนั้นรัฐศาตร์ยัง อยู่ในคณะสังคมศาสตร์ ก็เนี่ย ก็เขียนหนังสือกันมาเรื่อยๆ นะ ปี 2 ก็ยังคงมีกิจกรรม พอ ขึ้นปี 2 เทอมหลังผมก็ไปสนใจในกิจกรรมทางด้านอื่นด้วย ไปรวมกลุ่มกับรุ่นพี่ เพื่อนๆ ส่วน ใหญ่อยู่ในคณะสังคมศาสตร์ ก็ท�ำกิจกรรมทางด้านสังคม แล้วมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้น ถ้าจ�ำไม่ ผิดน่าจะเป็นเทอมหลังของปี 2 หรือว่าเทอมแรกของปี 3 คือกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มวลัญชทัศน์ กลุม่ วลัญชทัศน์กม็ กี จิ กรรมทีค่ อ่ นข้างมีความชัดเจน มีความสนใจทางการเมืองมากกว่าชมรม วรรณศิลป์ แต่ผมก็ยังมีกิจกรรมกับชมรมวรรณศิลป์อยู่บ้าง เนื่องจากชมรมวรรณศิลป์เองก็ไม่ ได้มีกิจกรรมอะไรมาก นอกจากออกหนังสือ เทอมละเล่ม สองเล่ม ท�ำนองนี้แหละ แล้วก็มี กลุ่มนักเขียนที่ชอบเขียนหนังสืออยู่เป็นประจ�ำเท่าที่ผมจ�ำได้ ก็มี พรพิศมัย วรดิลก นะ คือ

18 น้องสาว รพีพร – นักเขียนที่ดังในยุคนั้น – แล้วก็พรพิสมัยนี่ก็รุ่นเดียวกับพี่สุภาพ รหัส

11 แล้วก็มีผู้หญิง 3 – 4 คน เช่น ชุลีกร ที่รุ่นเดียวกับผม พวกพี่อีกคนสองคนที่เขียน หนังสือที่เขียนกลอนน่ะ เขียนกลอนดีๆ แต่ว่า กิจกรรมหลักของชมรมวรรณศิลป์ เท่าที่ผม เข้าไปร่วมก็คอื การเขียนนีแ่ หละ และไม่มกี จิ กรรมอืน่ แต่มไี ปประชุมคณะกรรมการของชมรม สักครั้งหนึ่ง ที่ผมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แล้วก็เขาจะให้ผมท�ำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมกลอนของ ชมรม ตั้งแต่ปี 1 ถ้าจ�ำไม่ผิดนะ ทุกวันนี้มีปรากฏในหนังสือ ทองกวาวบางเล่มที่ออกในปี 2512 เท่าที่ผมจ�ำได้ในเรื่องของชมรมคงจะมีไม่มากกว่านี้ แต่หนังสือทองกวาวนี่พวกผม ท�ำก็ออกไปสร้างชื่อให้มหาวิทยาลัยพอสมควร มีการพูดถึงในสื่อ ในหนังสือพิมพ์ข้างนอก ซึ่งยุคนั้นหนังสือพิมพ์เป็นสื่อส�ำคัญที่สุดของประเทศ ยังไม่มีทีวี ไม่มีอะไร


19


20

ความเป็นวรรณศิลป์


รหัส 25

วิลักษณ์ ศรีป่าซาง คณะศึกษาศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ล้อมวงสนทนาพบปะผู้รู้ ฯลฯ ------------------------------------------------------------------ชมรมวรรณศิลป์ ฯ เมื่อ 31 ปีที่แล้ว

ข้อเขียนดังจะเล่าต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ ที่ไม่น่าตื่นเต้นสักเท่าใด ไม่เร้าใจอีก

ต่างหาก กล่าวคือ เขียนเล่าให้อ่านเฉยๆ ว่าเกิดอะไรบ้างในยุคนั้น

ปีการศึกษา 2526 ดูเหมือนกิจกรรมนักศึกษาด้านความคิด ด้านการอ่านจะคึกคัก

ด้วยว่า ในปีดังกล่าว มีนักศึกษาเก่าที่เว้นวรรคการเรียนกลับมานั่งเรียนด้วยกันหลายท่าน เพราะท่านเหล่านีห้ นีเข้าป่าไปเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนมากเป็นนักศึกษารหัสก่อนปี 19 คือช่วง เวลา 3 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ตอนนั้นนักศึกษาหลายสถาบัน ได้ร่วมกันขับไล่เผด็จการ ทางการเมือง แล้วถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามไล่ล่าจึงจ�ำต้องหยุดเรียนหนีเข้าป่าไปหลบซ่อน ต่อมาท่านเหล่านั้นได้กลายเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และเมื่อปี พ.ศ. 2523 จึงกลับเข้า สถาบันมาศึกษาต่อ จากที่เคยเรียนค้างไว้ ใครเรียนมาเท่าใดก็ต่อยอดตามนั้น เป็นทีน่ า่ ตืน่ เต้นยินดี ด้วยว่าช่วงเวลาดังกล่าว ผูเ้ ขียนเป็นประธานชมรมวรรณศิลป์คณะศึกษา ศาสตร์ สนใจใคร่รเู้ รือ่ งราวการเข้าป่าของรุน่ พีท่ งั้ หลาย คือโดยปกติ คนทีอ่ ยูช่ มรมวรรณศิลป์ มักชอบอ่านหนังสือเกีย่ วกับเรือ่ งแนวนี้ เพราะบรรยากาศให้ ยิง่ มีครูบาอาจารย์เป็นนักคิดนัก เขียนมาเป็นที่ปรึกษา อารมณ์จึงคึกคักผิดปกติ กิจกรรมของชมรมฯ มีหลายอย่าง เช่น ท�ำ

21


จุลสาร พูดคุยวิพากษ์หนังสือ และเชิญผู้รู้มาร่วมเสวนา มีบ้างที่เริ่มฝึกหัดงานเขียน แล้วน�ำ มาให้รุ่นพี่ช่วยดู

ช่วงดังกล่าว ดูเหมือนวรรณศิลป์ศึกษาจะท�ำแต้มเรื่องกิจกรรม เกินวรรณศิลป์ส่วน

กลาง ไม่ใช่ว่าเก่งกว่า แต่เพราะแก่กว่า คือ สมาชิกชมรมเป็นครูที่ลาศึกษาต่อเสียส่วนใหญ่ มีประสบการณ์เรื่องขีดๆ เขียนๆ มาก่อน มีกิจกรรมอย่างอื่นอีก เช่น รับหนังสือจากร้านมา ขายเอาก�ำไร ได้เท่าใดแปลงเป็นหนังสือเล่มใหม่เข้าชมรมฯ เงินสนับสนุนจากสโมสรก็จ�ำกัด จ�ำเขี่ย เขาให้แต่หมึกโรเนียวกับกระดาษ เอ 4 มาท�ำงาน

การเข้าร่วมชมรมฯ ท�ำให้รู้กว้างขึ้น ทุกบ่ายวันพุธ สมาชิกได้พูดคุยกันหลายเรื่อง

ท�ำให้ทุกคนมีไฟ เขียนบทกวีไปตีพิมพ์ส่วนกลาง พอเรื่องได้รับการพิจารณาก็เฮกัน เอามา อ่าน เอามาติดป้ายประกาศ จนนิตยสารถนนหนังสือ โดยคุณวัฒน์ วรรลยางกูร ครูมาลา ค�ำจันทร์ ต้องขึ้นมาสัมภาษณ์

วรรณศิลป์ศึกษากับวรรณศิลป์ส่วนกลางเป็นเครือข่ายกันอยู่ ช่วงเวลาดังกล่าวมีคุณ

22 วิษณุ ธิมวิธรรม เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ สมาชิกชมรมในยุคนั้น ต่างเป็นศิษย์อาจารย์ สุพรรณ ทองคล้อย หรือแรค�ำ ประโดยค�ำ กล่าวคือ ใครที่อยากเป็นนักเขียนทั้งกวี และอื่นๆ ต้องลงเรียนวิชาการเขียนกับท่าน และในที่สุดท่านก็มาเป็นที่ปรึกษาชมรมฯ

ความที่ชมรมวรรณศิลป์ศึกษาไม่มีงบประมาณมากพอจะจัดซื้อหนังสือเข้าชมรมฯ

ส่วนมากหนังสือที่ค้างอยู่ในห้อง ได้รับบริจาคมา เช่น นิตยสารการเมือง เป็นอาทิ ในช่วง เวลาดังกล่าว ชมรมวรรณศิลป์กลาง เป็นแหล่งรวมนักคิดนักเขียนนักกิจกรรม รวมทั้งกอง หนังสือพะเนิน หนังสือส่วนมากเป็นหนังสือหายาก งานแปลเล่มโตๆ ผู้เขียนชอบอ่านงาน แปล นับตั้งแต่ของ ของ กีย์ เดอโมปาสซังต์ ของแม็กซิม กอร์กี้ ลีโอ ตอลสตอย เฮมมิงเวย์ ประมาณนั้น หนังสือพวกนี้ในชมรมฯ ช�ำรุดน้อยสุด รอยแต้มการยืมมีไม่มาก ส่วนหนังสือลึกลับอย่างเช่นเรื่องกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 หรือเรื่องที่มีรูปการฆ่านักศึกษา ปี 16 ปี 19 มักเป็นหนังสือถ่ายเอกสารเย็บเล่ม อย่างนี้ต้องจอง และที่ส�ำคัญ ดูเหมือนชม รมฯ ในตอนนั้นจะง�ำหนังสือเหล่านี้ไว้ เพราะข่าวว่าจะมีต�ำรวจมาจับผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์


คือจับกุม และท�ำลายหนังสือ อย่างหนังสือ เรื่อง แม่ ที่จิตร ภูมิศักดิ์ แปล เป็นต้น ช่วง นั้นเป็นบรรยากาศการแอบอ่านกัน ที่นี้ ห้องวรรณศิลป์กลาง บางช่วงยาม ลุง ป้า น้า อา ที่ออกจากป่ามักแวะเวียนมาบ่อย มาดูหนังสือหายาก คนชมรมอื่นก็มองเราว่า เป็น คอมมิวนิสต์ด้วยกันเป็นแน่

ลองหลับตานึก เห็นนักศึกษาผมยาว ลากรองเท้าแตะ แก่ๆ

และหน้าแปลกๆ ทั้งนั้น กล้าพูด กล้าแสดงออก ใครเห็นก็รู้ว่าเป็นนักศึกษาเก่าเก็บ เพิ่งกลับ มาเรียนใหม่ เราเองก็ชอบคุยชอบตามความคิดจากท่านเหล่านี้ ดูเท่ที่สุด

ข่าวการจับกุมนักศึกษาหัวรุนแรง มีอยู่ตลอดในช่วงนั้น จริงไม่จริงไม่รู้ แต่

บรรยากาศเหมือนในหนังสือของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล สุรชัย จันทิมาธร ประเสริฐ จันทร์ด�ำ หรือของวัฒน์ วรรลยางกูร เราก็ตื่นเต้นตาม และช่วงนั้นอีกเช่นกัน มีข่าวว่าเพื่อน สนิทเรา ชื่อสมจิตร อยู่คณะสังคม ดูเหมือนเป็นสมาชิกชมรมวรรณศิลป์กลางอีกด้วย ถูกจับ คาโรงหนังแสงตะวัน พร้อมหนังสือต้องห้าม เกี่ยวกับกรณีสวรรคต จ�ำได้ว่าเราก็มีอยู่เล่ม หนึ่ง จึงเอาไปซ่อน ชมรมวรรณศิลป์ก็เก็บหนังสือไปซ่อนอีกเช่นกัน เหลือแต่หนังสือรักๆ ใคร่ๆ เป็นกลอนเปล่าที่ก�ำลังดัง และหนังสือธรรมะเล่มโตไม่ค่อยมีใครอ่าน มีนิตยสารโลก หนังสือ ถนนหนังสือเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ หนังสือการเมืองเรื่องคอมมิวนิสต์ หายจ้อย

พี่แสงดาว

ศรัทธามั่น เคยเป็นนักศึกษา มช. จบตั้งแต่ปี มะโว้ เป็นสมาชิก

ดั้งเดิมของชมรมฯ ท่านเป็นนักคิดนักเขียนร่วมยุค ยังแวะมาเยี่ยมชมรมบ่อยๆ มาคุยกับพวก เรา ช่วงนั้น คุณรุ่ง ใจมา คุณรัตนาภรณ์ (ภรรยาในอนาคตของคุณรุ่ง) ดูเหมือนจะมีบทบาท คู่ขนานกับประธานชมรมวรรณศิลป์ พี่แสงดาวเป็นครูอยู่สันผักหวานหางดง ถูกต�ำรวจตาม ตัวอยูบ่ อ่ ยด้วยว่าเป็นพวกหัวก้าวหน้า ความทีพ่ แี่ กมีหนังสือต้องห้ามเยอะจึงเอาไปฝังดิน แก ยังสอนวิธีการฝังด้วยว่าต้องห่ออย่างไรกันน�้ำอย่างไร ภายหลังเราได้ข่าวว่า หนังสือดีๆ จ�ำนวนมากเปียกชืน้ เสียหายทัง้ หมด ของชมรมวรรณศิลป์ งานแปลดีๆ ดังทีผ่ เู้ ขียนเคยได้อา่ น เมื่อถูกเก็บไปซ่อน จึงซ่อนหายไปในที่สุด สมาชิกรักหนังสือ อย่างพี่ธัญญาณัฐ ชาวเหนือ ฉุนอย่างมาก ประกาศว่า ใครเอาหนังสือชมรมไป ขอให้เอามาคืน ไม่อย่างนั้นจะแช่งชัก หักกระดูก จนแล้วจนรอดก็ไม่มีใครเอามาคืน ผู้เขียนเคยพบหนังสือปั๊มตราของชมรมที่ร้าน

23


ขายหนังสือเก่า ย่านตลาดหน้าวิทยาลัยครู

หลังจากหนังสือดีๆ ถูกเก็บ เพราะเกรงจะถูกกวาดต้อน จึงตกลงกันว่า บรรดา

หนังสือที่เหลือ ควรจะส�ำรวจใหม่ แบ่งหมวดหมู่ให้ชัดเจน ใครยืมไปต้องบันทึก ไม่ว่าใคร หน้าไหนหยิบไปอ่านไม่บอกต้องเป็นเรื่อง

ยุคนัน้ หนังสือเป็นแหล่งรูเ้ พียงอย่างเดียว นักศึกษาอย่างเราไม่มเี งินซือ้ อ่าน ชมรม

วรรณศิลป์กลางมีเงินซื้อทุกปี เล่มดีๆ บรรดาคนเฝ้าชมรมจะได้อ่านก่อน เราซึ่งเป็นสมาชิก ล�ำดับหลังๆ ได้อ่านทีหลัง ส่วนนิตยสารอย่าง มติชน สยามรัฐ อาทิตย์เคล็ดลับ ต้องยืน อ่านตามแผง อ่านแล้วก็ร่วมพูดคุย เลียนแบบรุ่นพี่ที่เคยเข้าป่าเขียนเล่าไว้ ตอนนั้น วรรณศิลป์ มช. ฮิตสุดๆ เมื่อ อาจารย์สุพรรณ ทองคล้อย เป็นหัวหอกส�ำคัญเรื่อง ราวเกี่ยวกับหนังสือ โดยเฉพาะบทกวี กลุ่มกาแลก่อก�ำเนิด มีฐานมาจากชมรมวรรณศิลป์ นี่เอง กินข้าวที่โรงอาหาร ไปเรียกคนที่สิงอยู่ในห้องชมรมให้มาคุยกัน เคยนัดกันเสวนา วรรณกรรมที่ห้องชมรม ห้องแคบก็ แคบ จะย่างจะเดินทีก็ล�ำบาก อีกอย่างชมรมใกล้เคียง

24 อย่างชมรมอาสาฯ มักเอาสัมภาระมากองไว้หน้าห้อง และเปิดเพลงดัง ไม่สะดวกต่อการพูด คุยของบรรดานักคิดหน้าใหม่ทั้งมวล

ในขณะที่วรรณศิลป์ส่วนกลางรวมตัวกันติด วรรณศิลป์คณะศึกษาก็ได้ประธานชมรม

คนใหม่ ปรับเปลี่ยนเวียนหมุนกันตามยุคสมัย ผู้เขียนและบรรดาพี่ป้าน้าอา ย้ายมาจมอยู่กับ วรรณศิลป์ส่วนกลาง มีธัญญณัฐ ชาวเหนือ รุ่ง ใจมา สมศักดิ์ ทวีทรัพย์ ปิยะโชติ อินทรนิวาส โชคชัย บัณฑิต พี่ทองคร้าม ทองขาว (ท่านนี้ เพิ่งออกจากป่ามาเรียนต่อ) วรรณศิลป์ มช. มีบทบาทขยายกิจกรรมด้านวรรณกรรมเพิ่มขึ้น ประกอบกับแรค�ำ ประโดยค�ำ เป็นต้นธารให้บรรดานักศึกษามีไฟฝันมากขึ้น จนในที่สุดจากคนในชมรมวรรณศิลป์ ก่อเกิด เป็น กลุ่มวรรณกรรม กาแล ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมต่างกลุ่ม ไกลๆ

ก่อนจะจบเรื่อง ตอนนั้น กลุ่มกาแลเริ่มแทงหน่อแล้ว จึงจัดกิจกรรมเสวนากันบ่อย

ร่วมกับชมรมวรรณศิลป์ เอารูปแบบอย่างนักศึกษาเข้าป่ามาใช้ คือ เชิญผู้รู้มาพูด แล้วเราทั้ง หลายนั่งล้อมวงกัน ยึดเอาชายป่า ใกล้กับวัดฝายหินเป็นแหล่ง ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีอาคาร


มากมาย โดยให้ทุกคนชวนชักเอาบรรดาผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาด้วย วันนั้นมี พี่วีระศักดิ์ ยอดระบ�ำ พี่ทองคร้าม ทองขาว เป็นแกนหลัก ทั้งสองท่านมีบทบาทในป่าพอสมควร พี่ทองคร้าม แก่แล้วยังเรียนปีสี่ เพราะไปเป็นคอมมิวนิสต์อยู่หลายปี งานนี้เป็นงานใหญ่ มี คนมาฟังเกือบ 50 คน ผู้เขียน อาสาชวนนักกิจกรรมหลายท่านมาร่วมงาน จ�ำได้ว่าชวน อาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักกิจกรรม ให้มาร่วมพูดคุยด้วย

ทุกคนนัง่ ล้อมวงเริม่ ทีก่ ารแนะน�ำตัว แปลกใจอยูท่ ี่ พีท่ องคร้าม กับ พีว่ รี ะศักดิ์ และ

อีก 4-5 คน ซุบซิบหารือกันไม่ยอมเข้าวงสักที ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้น�ำเสวนา ถามและให้แสดง ความคิดเห็น ทั้งสองเงียบไม่ยอมปริปาก จนงานเลิกพี่ทองคร้าม บอกว่า “วิลักษณ์ ไปเชิญ อาจารย์คนนี้มาหรือ คนนี้แหละตอนก่อนเข้าป่า แกพานักศึกษาช่างไล่ล่าพวกพี่ เกือบเอา ชีวิตไม่รอด หนีขึ้นวัดผาลาดแทบไม่ทัน” ตายล่ะ ปรปักษ์มาพบกันโดยมิคาดฝัน ผู้เขียนไม่ ทราบมาก่อน เพราะไม่ทันเหตุการณ์ ดีที่วันนี้ ไม่มีฉากแก้แค้น

ชมรมวรรณศิลป์ มช. เปรียบเหมือนตาน�้ำบนดอยถ้วยเชียงดาว ก่อนจะรวมเป็น

สายแม่ระมิงค์ ชมรมวรรณศิลป์ คือต้นธารองค์ความรู้แห่งชีวิตของนักศึกษา เพื่อเติมเต็ม วรรณศิลป์และวรรณะชีวิตให้กระจ่าง ทุกวันขับรถผ่านอาคารสโมสรนักศึกษา นอกจากร้าน อาหารราคาถูก และแม่ค้าตาหวานที่เคยจีบ ยังระลึกถึงห้องเล็ก ๆ รก ๆ ด้วยหนังสือ ของ ชมรมวรรณศิลป์ฯ นี่คือประวัติศาสตร์ชีวิตของคน ๆ หนึ่งที่ประหวัดถึง ตอนวัยตะวันบ่าย คล้อย นี้แล.

25


26


รหัส 33

สร้อยแก้ว ค�ำมาลา คณะมนุษยศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ปรุงสีกวีกะวาด ฯลฯ ------------------------------------------------------------------ชมรมสมัยสะอาดสะอ้าน

เราเข้ามาเรียน มช. ปี ๒๕๓๓ คณะมนุษยศาสตร์เอกวิชาปรัชญา (ปีสามย้ายมา

เรียนภาษาไทย) สมัครสมาชิกชมรมวรรณศิลป์ตอนปี ๑ แต่ว่าไม่ค่อยได้ท�ำกิจกรรมอะไรร่วม กับเขาเท่าไหร่ ส่วนมากเข้ามาอ่านหนังสือ นอนอ่าน กลิ้งไปกลิ้งมา ชมรมตรงข้ามเป็น ชมรมอาสา ก็เข้าชมรมอาสาและท�ำกิจกรรมชมรมนี้เยอะกว่า แต่ชมรมที่ท�ำงานเยอะที่สุด คือ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ห้องซ้ายมือสุดของตึก (ชั้นสาม) ตอนนั้น (ไม่รู้ ตอนนี้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแค่ไหนแล้ว) เพราะเป็นชมรมที่ท�ำกิจกรรมมาแต่เรียนมัธยม พอ เข้ามา มช. ก็เลยต่อเนื่องในการท�ำกิจกรรมชมรมนี้

ยุคเราอยู่ บรรยากาศการเมือง การท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมจะสูงมาก หลายชมรมจะ

มีแนวคิดคล้ายกัน สนใจการเมือง รักชาวบ้าน อยากท�ำอะไรให้คนด้อยโอกาส ฟังเพลงเพื่อ ชีวิต แต่แนวทางการท�ำงานอาจแตกต่างกันไปตามความชอบ อย่างวรรณศิลป์ก็เหมือนกัน ที่นี่ก็คอเพลงเพื่อชีวิต เวลามีกิจกรรมต้องร่วมกันแสดงออกทางการเมืองก็จะแสดงออกทาง งานเขียน บทกวี แต่อาจจะไม่ฮาร์ดคอร์ เพราะบางคนก็ชอบที่จะอยู่เงียบๆ จะต่างจาก อาสาฯ อนุรักษ์ และพรรคยุวธิปัตย์ ซึ่งสามสี่กรุ๊ปนี้จะเป็นพันธมิตรกัน มีกิจกรรมอะไรใหญ่

27


ที่ต้องเคลื่อนไหวก็จะช่วยกัน อย่าง ตอนพฤษภาทมิฬ ก็จะไปช่วยกันเต็มที่

หนังสือที่ชมรมวรรณศิลป์มีและพวกเรานิยมอ่านจะมีทั้งงานแปลต่างประเทศและ

นักเขียนไทย ซึ่งที่ชมรมวรรณศิลป์เขาชอบๆ กันยุคนั้นก็คือ พี่ปอน พิบูลศักดิ์ ละครพล หรือ นิตยสารทางดนตรี “สีสัน” ของน้าทิวา สาระจูฑะ หรือนิตยสาร ถนนหนังสือ ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี

ครั้งหนึ่ง ชมรมวรรณศิลป์เคยจัดประกวดบทกวีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและ

แสดงพร้อมภาพถ่ายของชมรมโฟโต้ชื่องานว่า “กวีกะวาด” คือ น�ำภาพมาประกอบบทกวี เราก็เขียนด้วยชิ้นหนึ่ง แต่จ�ำไม่ได้ว่าเขียนว่าอะไร (๕๕๕) จ�ำได้แต่ว่าไปยืนดูในหอสมุด แล้วภูมิใจ

บรรยากาศชมรมยุคทีเ่ ราอยู่ อมช.มันเป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ และมีหอ้ งนอนหลาย

ห้อง ทุกคนเป็นพี่น้องกัน ดังนั้น การเข้าห้องโน้นออกห้องนี้จะเป็นเรื่องปกติเหมือนเราอยู่ บ้านเดียวกัน โดยเฉพาะชมรมไหนมีอะไรกิน ส่งกลิ่นหอม ก็จะแห่ไปที่นั่นล่ะ

28 ชมรมวรรณศิลป์สมัยนั้น เป็นชมรมที่สะอาดที่สุด สะอาดสะอ้าน จัดหนังสือไว้เรียบร้อย ขณะที่ชมรมอื่น รกรุงรังมาก กองไปด้วยผ้าห่ม ที่นอน กระทะไม่ได้ล้าง หรือกองกระดาษ ปรู๊ฟไว้เขียนบอร์ดโน่นนี่ ส่วนหนึ่งอาจเพราะชมรมนี้เขาไม่ค่อยมีคนนอน ถ้าไม่อยู่ก็ต้องล็อก ห้องไว้ไม่อย่างนั้นหนังสือจะหาย

ยุคนั้นเรากินนอนใช้ชีวิตอยู่ที่ชมรมกัน บางคนอยู่เป็นปีๆ ไม่เคยกลับหอเลย ซักชุด

ชั้นในตากหลังชมรมก็เคยมี (ส่วนเสื้อผ้าส่งซักบ้าง ประหยัดก็ซักแขวนแถวนั้นอีก) ชมรม วรรณศิลป์เหมือนคลังสมอง ที่ชมรมอื่นๆ ชอบแวะมายืมหนังสืออ่าน ตอนเราเข้าปีหนึ่ง ประธานเป็นนศ.คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อพี่หลอง (ฉลอง) แต่จ�ำนามสกุลไม่ได้แล้ว อ้อ และตอนปี ๑ เป็นปีที่บอลโลกแข่งพอดี เจ้าภาพคือเม็กซิโก (ที่ร้องโอเล โอเล โอเล โอเหล่ we are the champ กันน่ะค่ะ ^_^) พี่หลองเป็นคนเอาทีวีเครื่องเล็กมา ที่ชมรมวรรณศิลป์ พอดึกๆ จะมาคนมาดูกันเต็มเลย (ต้องเข้าใจอย่างว่า มช. นิยามหนึ่ง คือ เป็นมหาวิทยาลัยของคนจนนะ ค่าหน่วยกิตเราถูกมาก ตอนเราเรียน ค่าหน่วยกิต ๔๐


บาท อาหารอมช.จาน ๕ บาท) ดังนั้น คนที่จะมีทีวีมาดูได้นี่ ต้องเป็นพวกฐานะครอบครัว ดี ไม่มใี ครมีทวี สี ว่ นตัวดู ขนาดอยูต่ ามหอก็ตอ้ งดูรว่ มกันทีห่ อ้ งดูทวี ี ไม่มใี ครเอาทีวมี าไว้หอ้ ง ส่วนตัวได้)

ตอนนั้นจึงเป็นช่วงที่สนุกมาก กลางคืนก็ดูบอลกัน กินมาม่าใส่ไข่ร้อนๆ กัน

แย่งกันกิน (ดูไม่ค่อยเกี่ยวกับวรรณศิลป์เลยเนาะ)

ชีวิตยุคนั้นก็จะประมาณนี้ เรียนๆ เล่นๆ ท�ำกิจกรรม เอาคะแนนเรียนแค่พอให้รอด

ไม่ได้ซีเรียสว่าต้องเกรดเฉลี่ยสูง เอาแค่ให้จบได้พอแล้ว

29

หมายเหตุ: ปรับปรุงจากข้อเขียนเล่าบรรยากาศสมัยนั้นของพี่สร้อยแก้ว ค�ำมาลา


30


รหัส 34

พิชามญชุ์ ชัยดรุณ คณะมนุษยศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ปรุงสีกวีกะวาด ฯลฯ ------------------------------------------------------------------“คืนฝนตก” และ”วรรณศิลป์” ในห้องสมุดแห่งความทรงจ�ำ (1) ปี 2537

ฝนตกหนักมากจนละอองฝนกระเด็นผ่านหน้าต่างเข้ามา ฉันพอใจอยู่ลึกๆที่ยามนี้

ได้นั่งอยู่คนเดียวท่ามกลางห้องเล็กๆที่เต็มไปด้วยหนังสือ ได้นั่งดูฝนตกอยู่ริมหน้าต่างในยาม ทีห่ วั ใจตัวเองต้องการค�ำอธิบายบางอย่าง แม้จะพอรูบ้ า้ งเลาๆ แต่กไ็ ม่อาจหาค�ำตอบทีล่ งตัว กับหัวใจตัวเองได้

ชมรมวรรณศิลป์...พืน้ ทีเ่ ล็กๆนี้ อาจเรียกได้วา่ เป็นหลุมหลบภัยทางความรูส้ กึ ของฉัน

ก็ว่าได้

ในวันวัยของความเป็นหนุ่มสาว ฉันเชื่อว่าเราทุกคนต่างก็ต้องการแสวงหาที่อยู่

ที่ยืน ที่ๆเราจะเป็นตัวของตัวเองได้มากที่สุด และมีความสุขกับมัน หลายคนพยายามค้นหา แต่ไม่พบ แต่ฉันโชคดีที่ได้พบ...

แต่ชมรมวรรณศิลป์ไม่ใช่ “ที่”ส่วนตัวของฉัน ในเวลานั้นที่นี่เป็นพื้นที่ของนักศึกษา

31


ในวัยแสวงหาที่... 1) รักการอ่าน คนที่รักการอ่านเมื่อเข้ามาในชมรมจะรู้สึกดีมาก เพราะ มีหนังสืออยู่บนชั้นไม้ให้เลือกอ่านมากมาย 2) รักการเขียน หรืออาจยังเขียนหนังสือไม่ เป็น แต่คลับคล้ายคลับคลาว่าตัวเองน่าจะชอบขีดๆเขียนๆ หรืออะไรที่ใกล้เคียงประมาณนี้ 3) รักการอ่านหรือการเขียนหรือเปล่ายังไม่รู้ รู้แต่ว่าอยากท�ำกิจกรรมฆ่าเวลา จึงขอเวลา ค้นหาตัวเองก่อน 4) รักแฟน ประมาณว่าแฟนอยู่ชมรมนี้ก็เลยติดสอยห้อยตามมา 5) รัก ชมรม รักมากจนต้องบางครั้งต้องมากินมานอนอยู่ที่ชมรมเป็นเวลานานๆ...นอกจากนั้นยัง มีข้ออื่นๆอีก แต่คงเล่าไม่ได้ ณ ที่นี้ 555

แม้ว่าชมรมฯจะเป็นพื้นที่ของส่วนรวม แต่หลายๆครั้งมันกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวของ

ฉันไปอย่างช่วยไม่ได้ ในบางเวลาทีส่ มาชิกต่างมีกจิ กรรมอืน่ ๆของตนเองและพากันหายหน้า ไปหมด เช่นในวันที่ “คืนฝนตก” นั้น ลมพัดแรงจัด กลิ่นดินกลิ่นไอฝนผสมคละเคล้าไปกับ กลิน่ หนังสือเก่า โต๊ะตัวใหญ่กลางชมรมแม้ไม่มคี นนัง่ แต่ฉนั กลับรูส้ กึ อบอุน่ เหมือนถูกโอบล้อม ด้วยเพื่อนที่ดีที่สุด และนั่นคือเวลาที่ดีที่สุดในการเขียนบทกวีสักชิ้น มันไม่ใช่ความตั้งใจที่จะ

32 เขียน แต่มันพรั่งพรูออกมาราวกับสายฝนที่ตกกระหน�่ำอยู่ภายนอก เหมือนวิญญาณกวีเข้า สิง...ฉันหยิบสมุด “กวีกะวาด”มาแล้วจรดปากกาเขียนประโยคแรกลงไปว่า

คืนฝนตก..... (2)

ปี 2534

ฉันเป็นน้องใหม่ปี 1 ทีเ่ ดินเดีย่ วๆขึน้ มาสมัครเป็นสมาชิกชมรมวรรณศิลป์ ด้วยความ

รู้สึกจริงๆว่าไม่มีที่ไหนที่จะเหมาะสมกับเราเท่าที่นี่อีกแล้ว ในวัยนั้นฉันไม่ได้มาดมั่น แค่คิด ว่าเรารักสิง่ ใดก็ไปตามหาสิง่ นัน้ ในช่วงแรกๆของสัปดาห์ “เปิดโลกกิจกรรม”ทีอ่ มช.ทุกชมรม จะประชาสัมพันธ์วา่ ก�ำลังเปิดรับสมาชิกใหม่ ซึง่ ถ้าจะพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว วรรณศิลป์ ไม่ใช่ชมรมยอดนิยมทีเ่ ป็นตัวเลือกแรกของบรรดาเฟรชชีเ่ ลย ในตอนนัน้ ชมรมทีป่ อ๊ บปูลา่ ร์กน็ า่ จะเป็นชมรมอาสาพัฒนา ถ่ายภาพ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การแสดง ฯลฯ อะไรที่ฟังชื่อปุ๊บแล้ว


รู้สึกเท่เลย ส่วนวรรณศิลป์..ชื่อชมรมที่ต้องแปลไทยเป็นไทยนั้นหลายคนไม่เก็ท สมาชิกที่มา สมัครรุ่นเดียวกับฉันจึงมีไม่มากนัก

วันแรกทีเ่ ข้าไปทีช่ มรมวรรณศิลป์ “พีห่ ลอง” ประธานชมรมในเวลานัน้ หยิบสมุดเล่ม

หนึ่งมาให้ฉัน หน้าปกหนังสือเขียนด้วยลายมือว่า “กวีกะวาด” แล้วบอกว่ามันเป็นเหมือน สมุดเยี่ยมของชมรม ใครอยากเขียนอะไรก็ได้ อยากวาดรูปก็ได้ ฉันรับมาโดยที่ไม่รู้เลยว่าตัว เองก�ำลังท�ำข้อสอบอยู่...

ฉันเขียนบทกวีลงไป เขียนๆๆๆ เขียนเสร็จแล้วก็ลาพี่ๆ แล้วก็เดินออกมา จนก�ำลัง

จะลงบันไดอยู่แล้วถึงได้ยินเสียงพี่หลองตะโกนเรียกว่า “ว่างๆมาท�ำหนังสือกันไหม”

เพราะค�ำพูดประโยคนั้นจริงๆที่ท�ำให้ฉันกลับไปที่ชมรมวรรณศิลป์อีกนับครั้งไม่ถ้วน

หลังจากนัน้ พีห่ ลองมีความคิดทีจ่ ะคัดเลือกบทกวีใน “กวีกะวาด” ทีส่ มาชิกและไม่ใช่สมาชิก ในชมรมได้เขียนเอาไว้ เอามารวมเล่มจ�ำหน่ายหาเงินเข้าชมรม พอดีกับที่ฉันเคยท�ำหนังสือ รวมบทกวีท�ำมือขายมาก่อนขณะที่เรียนอยู่ชั้นม.ปลาย สองความคิดนี้ก็มาบรรจบกันพอดี

บทกวีที่เราเขียนกันในยุคนั้น มีทั้งกลอนเปล่าและกลอนฉันทลักษณ์ ส่วนใหญ่ออก

ไปในแนวร�ำพึงร�ำพันเรื่องที่อยู่ในใจ เขียนด่าเพื่อน ระบายความอัดอั้นต่างๆ หรือเขียนจีบ กันบ้างก็มี แต่ความโชคดีอย่างหนึ่งของชาววรรณศิลป์ มช. คือเราได้อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ เมื่อไรเกิดอารมณ์ติสท์แตกขึ้นมาเราก็ สามารถคว้ามอเตอร์ไซค์ขี่ไปสงบสติอารมณ์ที่อ่างแก้ว ติดสมุดหนังสือไปสักเล่มสองเล่ม บางครั้งก็จะได้บทกวีดีๆกลับมา หรือในบางครั้งแค่มองภูเขา ถ้อยค�ำก็พรั่งพรู หนังสือ “ร้อยฝัน” ก็มีที่มาจากสิ่งเหล่านี้ จ�ำได้ว่าเราท�ำงานกันด้วยความสนุกสนานมาก ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อม เราแทบไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะพิมพ์หนังสือออก มาเป็นร้อยๆ เล่มได้ในเวลาอันรวดเร็วนอกไปเสียจากเครื่องถ่ายเอกสาร เราคัดเลือกบทกวี บรรจงเขียนด้วยลายมือลงในแผ่นกระดาษ เอาภาพวาดจากที่ต่างๆ มาตัดแปะ ก่อนจะเอา ไปถ่ายเอกสาร จากนั้นก็ช่วยกันเรียงหน้ากระดาษ ออกแบบปก สกรีนปกหนังสือเอง จาก

33


นัน้ ก็เข้าเล่มด้วยกาวใส รอกาวแห้งแล้วค่อยตัดขอบหนังสือให้เท่ากัน จนในทีส่ ดุ ก็สำ� เร็จออก มาเป็นหนังสือ “ร้อยฝัน หยดหมึกบนกาลเวลา” ความหมายก็คือหนังสือเล่มนี้เป็นการรวม ความฝันนับร้อยและเป็นแหล่งรวมบทในหลายช่วงเวลา ทัง้ บทกวีของรุน่ พีๆ่ วรรณศิลป์ทจี่ บไป แล้วและรุ่นน้องๆที่เป็นสมาชิกอยู่

ความรู้สึกของการได้ท�ำหนังสือเล่มหนึ่งทุกขั้นตอนจนออกมาเป็นรูปเล่ม นับเป็น

ความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย ถึงทุกวันนี้ฉันก็ยังไม่อาจอธิบาย รู้แต่ว่ามันยังอยู่ข้างในใจไม่มี วันลืมเลือน เหมือนการค้นพบจิ๊กซอว์ที่แม้ไม่ใช่ตัวสุดท้ายแต่เป็นจิ๊กซอว์ตัวส�ำคัญ... ตอนนั้นเราตั้งราคาขายหนังสือในราคา 34 บาท ก�ำไรขาดทุนไม่ได้คิด คิดแต่ความเท่ ประมาณว่าปีที่ผลิตคือปี 2534

เพราะฉะนั้นราคาก็ 34 บาทแล้วกัน เราน�ำหนังสือไป

ฝากขายที่ร้านหนังสือแซงแซวบุ๊คส์ และสุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นร้านหนังสือชื่อดังที่สุด ของเชียงใหม่ในเวลานั้น และปรากฎว่าเราขายหมด!

“ร้อยฝัน”ได้จดุ ประกายไฟเล็กๆทีส่ ว่างไสวให้แก่สมาชิกชมรมวรรณศิลป์ในเวลานัน้

34 ว่า เราท�ำหนังสือขายได้ เป็นความภาคภูมใิ จร่วมกัน สร้างความรูส้ กึ เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน และท�ำให้เราท�ำหนังสือจุลสาร “ร้อยฝัน”ของชมรมออกมาอย่างต่อเนื่องเทอมละ 1 เล่ม ซึ่งตอนหลังเราหยิ่ง เราไม่ท�ำขาย แต่เราแจกฟรีให้แก่สมาชิก และชมรมต่างๆ ให้สโมสรนักศึกษา และที่ส�ำคัญให้สภานักศึกษาที่จะต้องพิจารณางบประมาณประจ�ำปีของชมรม เพื่อ ให้เขารู้ว่าเราก�ำลังท�ำอะไรอยู่

จากนั้น “ร้อยฝัน” ก็กลายเป็นหนังสือจุลสารประจ�ำชมรมไป หนึ่งเทอมออกหนึ่ง

เล่ม ด้วยคอนเซ็ปต์การน�ำเสนอที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเวลานั้นกองบรรณาธิการสนใจ เรื่องอะไร เช่น ประเด็นเรื่อง Love หรือความรักในหลากหลายรูปแบบ หรือประเด็นเรื่อง retire หรือการถูกรีไทร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้สอบ จุดประสงค์คือ อยากสะกิดเตือนสติเบาๆไปยังเพือ่ นๆนักศึกษาให้ตงั้ ใจอ่านหนังสือเพือ่ จะได้ไม่ถกู รีไทร์ ภาพ ส่วนใหญ่ใช้วิธีตัดแปะ และบางทีก็ใช้วิธีหยิบยกบทความหรือบทกวีจากนักเขียนชื่อดังมา ประกอบโดยที่ไม่ได้ขออนุญาตเขา ถ้าเป็นยุคนี้ก็ถือว่าผิดมหันต์แต่เวลานั้นที่การสื่อสารช่าง


ยากเย็น และเราเป็นเพียงเด็กที่ไม่รู้จักใครเลยในแวดวงวรรณกรรม จึงต้องจ�ำใจใช้วิธีแอบ เอามาลงดังกล่าว

ถ้ามองด้วยสายตาของมืออาชีพ จุลสารร้อยฝันอาจเป็นหนังสือเด็กๆ บางเรื่องดูไร้

สาระแต่ในนั้นเราจะได้เห็นอะไรหลายสิ่งในความคิดของนักศึกษาในยุคนั้น เห็นความตั้งใจ ดี เห็นความขบถเล็กๆ เห็นความอยากเท่ เห็นความเป็นเด็กที่พยายามอยากจะเป็นผู้ใหญ่ ทั้งหมดนี้หลายคนอาจมองว่าหลุดๆรั่วๆ ไม่เข้าท่า แต่ฉันมองว่ามันคือบทบันทึกของวันและ วัยเยาว์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตที่ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้อีก

และสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือการท�ำในสิ่งที่เราฝัน ลองผิดลองถูกกับมันอย่างสนุกสนาน

โดยไม่หวาดหวั่น สิ่งนี้แม้ในวันที่เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจไม่กล้าพอที่จะท�ำเช่นนั้น ชมรมวรรณศิลป์...ห้องเล็กๆทีเ่ ต็มไปด้วยหนังสือนีเ้ ป็นเหมือนสถานที่ “ฝึกงาน” ให้เราได้ลอง ผิด ลองถูก หรือบางครั้งก็”ลองเล่น” กับความฝันในการเขียนหนังสือและท�ำหนังสือออกมา สักเล่ม ไม่ตอ้ งคิดถึงกลุ่มเป้าหมายว่าใครจะอ่านหนังสือของเราหรือไม่ แค่ทำ� ออกมาเท่านั้น ไม่มีหัวหน้ามาคอยกดดันจะต้องท�ำอย่างนั้น อย่างนี้ หรือต�ำหนิติเตียนเมื่อผลงานออกมาไม่ ดีอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ บางครั้งที่นี่เหมือน “สนามเด็กเล่น” ให้คนที่ไม่มีประสบการณ์อัน ใดได้ทดลองท�ำงานจริง ได้รู้จักการประสานงานกับเพื่อนสมาชิกในฝ่ายต่างๆ (ซึ่งที่จริงก็ไม่ ได้มีจ�ำนวนเยอะแยะอะไรแต่แบ่งฝ่ายให้ดูโก้ๆไปอย่างนั้นเอง) การรู้จักจัดสรรงบประมาณ การฝึกคิดหาคอนเซปต์ของหนังสือ ฯลฯ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการฝึกฝนเรียนรู้โลกของความ เป็นจริงที่ว่า ในการท�ำงานทุกอย่างที่มีคนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ไม่ได้สวยงามราบรื่นเสมอ ไป อุปสรรคปัญหามีให้เราแก้ไขอยู่ตลอดทั้งเรื่องการท�ำงานเป็นทีม การบริหารจัดการ (อารมณ์)คน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การตัดสินใจ การรักษามิตรภาพ ฯลฯ การได้ ฝึกฝนและเรียนรูค้ วามจริงเหล่านีจ้ ากการท�ำงานชมรมนับเป็น “ก�ำไร”ทีไ่ ม่อาจประเมินค่าได้

ไม่มใี ครรูอ้ นาคตว่า เมือ่ ออกจากรัว้ มหาวิทยาลัยไปแล้ว เราจะเป็นใคร จะท�ำอะไร

ต่อไป จะเลี้ยงชีพด้วยสิ่งที่เรารักได้หรือไม่ แต่ “วรรณศิลป์” ท�ำให้ฉันค้นพบและเชื่อว่าใคร หลายคนก็ได้ค้นพบ...

35


(3) ปี 2556

เฟซบุค๊ เป็นสือ่ ทีด่ ที ที่ ำ� ให้โลกแคบลง ฉันได้รบั ข้อความจากประธานชมรมวรรณศิลป์

มช.ปี 2556 ว่าก�ำลังจะมีการจัดงาน 50 ปีชมรมวรรณศิลป์..รับรู้ด้วยความปลื้มปิติว่าเวลา ผ่านมายี่สิบกว่าปี ชมรมวรรณศิลป์ที่เรารักยังคงอยู่ หนังสือเล่มเดิมที่เคยอ่านอาจจะไม่อยู่ โต๊ะตัวเก่าคงไม่อยู่แล้ว แต่ชมรมยังอยู่!

...ก่อนที่จะเรียนจบ ฉันต้องส่งต่องานให้แก่รุ่นน้อง มีความหนักใจอยู่มากมายว่า

พวกเขาจะสานต่องานกันอย่างไร จะท�ำได้ไหม แต่อนาคตรออยู่ข้างหน้า และฉันต้องปล่อย วางทุกสิง่ ให้เป็นไป ชมรมวรรณศิลป์ไม่ใช่พนื้ ทีส่ ว่ นตัวของฉันเหมือนในคืนฝนตก แต่เป็นของ ทุกคน เป็นของรุ่นน้องรุ่นหลังๆที่อาจมีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ มีใจรักการอ่านการเขียน และรัก “วรรณศิลป์” ไม่แพ้กัน

รุ่นพี่-รุ่นน้อง เราอาจจะต่างยุคสมัย อาจมีความแปลกหน้า มีช่องว่างระหว่าง

36 ความคิดและวัย แต่เชื่อว่าเรามีความรักในสิ่งเดียวกัน นั่นคือศิลปะทางวรรณกรรม อันเป็น ความหมายที่แท้จริงของค�ำว่า “วรรณศิลป์”

วรรณศิลป์มิใช่พื้นที่ส่วนตัวของใครทั้งสิ้น 4 ปี 5 ปี 6 ปี เราต่างมาเรียนรู้แล้ว

ก็จากไป ไปสู่โลกภายนอกมหาวิทยาลัย ด�ำเนินชีวิตของแต่ละคน และต่างก็แสวงหาความ ส�ำเร็จและความสุขในชีวิต

แม้เวลาผ่านมาเนิ่นนาน เมื่อใดที่คิดถึงชมรมวรรณศิลป์ ฉันนึกถึง“คืนฝนตก”อยู่

เสมอ เพราะกลอนเปล่าที่ดูเหมือนว่างๆโหวงๆของเด็กนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นในคืนวัน นั้น คือการเติบโตช้าๆภายในที่ “วรรณศิลป์” ได้มอบให้แก่ฉันชั่วนิรันดร์


คืนฝนตก... นกน้อยคงนอนหนาวสั่น หมาอดโซคงเหน็บหนาวเท่ากัน แต่ตัวฉันร้อนรุ่มในหัวใจ แม้สายลมแรงจัดพัดผ่าน ฝนตกกระทบหลังคาบ้านเสียงใส กรุ่นกลิ่นหอมไอดินชื่นใจ แต่มิใช่ “ความสุข” อันแท้จริง เพราะใจยังดิ้นรนไขว่คว้า อยากจะได้มาในทุกทุกสิ่ง ไม่มีที่ให้ใจพักพิง

37

บางครั้งไม่มี “ความจริง” ในหัวใจ หรือสุข-ทุกข์อยู่ที่ใจคน ฟ้า-ฝนไม่อาจก�ำหนดได้ ฝนตกกระทบหน้า แต่ฟ้าอาจผ่าในหัวใจ มีสิ่งใดวัดได้ในใจคน คืนฝนตก... ขนของนกอาจเพียงร่วงหล่น หมาอดโซที่สู้ลมหนาวอย่างทานทน อาจมีความสุขมากกว่าคนอีกมากมาย เพชรใส สิงหาคม 2537


38


รหัส 45

ฉวีวรรณ อุตเจริญ คณะมนุษยศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ค่ายปลายฝนต้นฝัน ฯลฯ ------------------------------------------------------------------กล่องความทรงจ�ำ...วรรณศิลป์ สวัสดี เมื่อยอารมณ์ที่รัก

หวังว่าเธอจะยังจ�ำฉันได้ คนที่ชอบวาดวัวแล้วเขียนเรื่องราวบ้าๆ บอๆ ลงบนตัว

เธอยังไงล่ะ ตอนนีถ้ งึ เราจะไม่คอ่ ยได้เจอกันแล้ว แต่ฉนั สามารถไปหาเธอได้ภายในยีส่ บิ นาที เท่านั้น ฉันจบการศึกษาไปหลายปีแล้ว และยังปักหลักอยู่หลังมหาวิทยาลัย ไม่ยอมย้ายไป ไหน หากแต่ชีวิตคนเราก็แปลกดีนะ เราใกล้กันแค่นี้ แต่เหมือนห่างไกลกันเหลือเกิน โลก ของฉันตอนนีม้ แี ต่ความยุง่ เหยิง มีโซ่แห่งภาระและหน้าทีร่ อ้ ยรึงเอาไว้จนดิน้ ไม่หลุด แถมโลก ใบใหม่นกี้ ม็ แี ต่คนเสแสร้งหันหน้ากากใส่กนั หาผลประโยชน์ตอ่ กัน แต่ฉนั ก็ตอ้ งอยูก่ บั มัน และ ใช้เวลาที่เคยมีกับเธอและเพื่อนๆ ชมรมเป็นเครื่องปลอบใจ

ฉันคิดถึงเวลานั้นจริงๆ

ครั้งแรกที่ฉันกับวรรณศิลป์ได้รู้จักกันนั้นมาจากหนังสือเฟรชชี่ปี ๔๕ ตอนนั้นฉันได้

39


รับมันแบบยัดใส่มืออย่างเร่งรีบ เพื่อจะถูกต้อนไปรวมๆ กับคนอื่นในคณะ (คงนึกภาพออก นะว่าการถูกต้อนมันเป็นยังไง) ฉันไม่มีเวลาใส่ใจกับมันมากนัก จนกลับมาถึงหอและเจอข้อ ความสั้นๆ ในซอกเล็กๆ เขียนว่า “โลกกลมเสมอส�ำหรับคน(ชอบ)เหมือนกัน ; ชมรม วรรณศิลป์” วันต่อมาฉันตามแผนที่ขึ้นมาสถิตบนชมรม และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มันกลาย เป็นบ้านหลังที่สามของฉัน

แล้วฉันก็ได้เจอเธอ เธอคือปึกกระดาษรียูสห่อปกแข็งสีน�้ำตาลอ่อน พี่ชมรมคนนึง

บอกว่า น้องเขียนระบายหรืออะไรก็ตามสะดวก ฉันพลิกอ่านเรื่องราวของพี่น้องในเล่ม แหม คนเหล่านี้น่าสนใจจริงๆ เขาเหมือนคนในหนังสือหนักๆ มีจุดยืน มีความฝัน มีความคิด ไม่ ใจเบาลอยไปตามกระแสสังคม ฉันอยากรู้จักพวกเขา ฉันอยากเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ นั่นคือ สิ่งที่ฉันคิด

หลังจากนั้นผ่านไป จบปีหนึ่ง ขึ้นปีสอง ปีสาม ปีสี่ และอยู่รั้งภาควิชาต่ออีกปีนึง

ชีวิตส่​่วนหนึ่งของฉันก็ผูกติดกับห้องรกๆ หนังสือฝุ่นจับ จานเปื้อนเขรอะกองพะเนินแห่งนั้น

40 มาตลอด ฉันเคยได้ออกค่ายวรรณกรรมทีเ่ ราเรียกกันว่า ค่ายปลายฝนต้นฝัน พบนักเขียน เล่า

ความฝัน แต่งเรื่องราว และรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชอบเหมือนกัน เทอมสองเรามีโปรเจคท�ำร่วมกับ ชมรมโฟโต้ ชื่อโฟโต้-โพเอท แต่งบทกวีจากภาพถ่าย ว่างๆ เราก็จะมาล้อมวงเสวนาเรื่อง หนังสือ หรือจัดฉายหนังนอกกระแสกัน และที่ขาดไม่ได้คือจุลสารชมรม ออกกันรายอารมณ์ และรายสะดวก

ฟังแล้วดูเหมือนจะจัดกิจกรรมกันจริงจังเสียเหลือเกิน แต่เปล่าเลย เธอจ�ำได้มยั้ เมือ่ ย

เธอเคยท�ำหน้าที่เป็นกระดานนัดพบ จัดเวลาให้พวกเราที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ไปสังสรรค์กัน ส่วนใหญ่เราจะชอบไปร้องคาราโอเกะ ไปขึ้นดอยนอนเต้นท์ ไปร้านหนังสือซื้อหนังสือใหม่ๆ เข้าชมรม ไปบ้านนักเขียน ไปหาของกินแปลกๆ กัน และสุดท้ายก็จบที่นอนกองกันที่ชมรม คืนนั้น แล้วตื่นไปอาบน�้ำที่หอตอนเช้า สมัยนั้นไม่มีโน้ตบุ๊คใช้กันทุกคนแบบนี้ เฟซบุ๊คก็ยัง ไม่มี เธอเลยต้องท�ำหน้าที่เป็นหน้าวอล รองรับข้อความระบายสารพัด รวมทั้งคนที่มาโพสต์ รูปด้วยลายเส้นดินสอกันบ่อยๆ เธอต้องภูมใิ จนะเมือ่ ย เพราะเธอเหมือนพงศาวดารของชมรม


เราเชียวนะ ^^

เวลากว่าเจ็ดปีทฉี่ นั คลุกคลีกบั ชมรม ฉันได้ผา่ นทัง้ ความสุขและน�ำ้ ตา ได้แลกเปลีย่ น

เรื่องราวดีๆ และเรื่องราวแบบคนเพี้ยนๆ บ้าๆ มากับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชมรม มันคือ ประสบการณ์พิเศษที่หาไม่ได้จากสังคมไหน ถ้าจะเปรียบวรรณศิลป์เป็นหนังสือสักเล่ม ฉันเห็น ควรว่ามันคือ โลกียชน ของจอห์น สไตน์เบค มันคือเรือ่ งราวของคนเพีย้ นทีเ่ ต็มไปด้วยความ ฝัน อยู่เรื่อยเปื่อยอย่างมีความสุข กระแสสังคมเป็นแค่นิยามดาดๆ เอาไว้ให้คนอ่อนแอยึด เป็นหลัก พวกเขามีตัวตนในหมู่คนกลุ่มเดียวกัน เข้าใจกัน ยอมรับในความขาดเกินของกัน และกัน และทุกคนปฎิบัติต่อกันด้วยความจริงใจแท้จริง

เอาล่ะ สมควรแก่เวลา ฉันต้องไปนอนแล้ว เพื่อจะได้ตื่นขึ้นมาต่อสู้กับความเป็น

จริงต่อไป ขอบคุณความทรงจ�ำแสนงามทีท่ ำ� ให้ฉนั ยิม้ ได้เวลาจิตใจอ่อนล้า ของคุณทีแ่ นะน�ำ หนังสือให้เป็นเพื่อนฉันยามเหงา แล้วเราจะได้เจอกันอีก...ชมรมวรรณศิลป์ เด็กหญิงดินสอไม้ ป.2/1

41


42


รหัส 46

ภฤศ ปฐมทัศน์ (กฤษณ์ ปฐมทัศน์) คณะมนุษยศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ค่ายปลายฝนต้นฝัน นักอ่านโต๊ะกลม ฉายหนัง ทัวร์ร้านหนังสือ ออกงานอินดี้บุ๊คแฟร์ ฯลฯ ------------------------------------------------------------------ความทรงจ�ำในกล่องวินเทจ

ความไร้เดียวสาดุจดั่งภาพฝันช่วงปลายฤดูร้อน สายลมแผ่วเบาพัดผ้าม่านหน้าต่าง

สีฟ้าพลิ้วไหวให้แสงแดดอ่อนๆ แยงผ่านห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ในมุมหนึ่งของห้องมีหญิงสาวนั่ง คุดคูจ้ ดจ่ออยูก่ บั หนังสือบนหน้าตัก บางคนอาจจะมองว่าเธอก�ำลังปิดตัวเองจากโลกภายนอก นัน่ ก็ถกู ครึง่ หนึง่ แต่ในสายตาผมแล้วเธอก�ำลังโลดแล่นไปกับจินตนาการบนหน้ากระดาษโดย มีโลกภายนอกเป็นเพียงแค่สิ่งที่อยู่หลังฉากกั้นเท่านั้น

แต่ด้วยความสงสัยใคร่รู้ ผมก็เริ่มเปิดฉากกั้นนั้น เรียกเธอให้กลับมาสู่โลกภายนอก

เราคุยกันด้วยท่าทีประหม่าและขัดเขินแบบคนขีอ้ ายสองคนทีพ่ ยายามท�ำความรูจ้ กั กัน ในวัน นั้นผมดีใจที่ได้เห็นเพื่อนวัยเดียวกันที่สนใจโลกบนหน้ากระดาษถึงอยากท�ำความรู้จักเอาไว้ ในที่นี้ผมขอเรียกเธอว่าวาณี

43


เมื่อฤดูกาลของ ‘น้องใหม่’ ถึงเวลาผลิบานเต็มที่ เธอก็พาเพื่อนใหม่อีกคนเข้ามา

ในชมรม ผมขอเรียกเธอว่าจันทร พวกเราสามคนเริ่มสนิทสนมกันจากการพบปะในชมรม วรรณศิลป์ ฐานะที่เป็นคนรุ่นเดียวกัน รักในตัวอักษรและจินตนาการบนหน้ากระดาษเช่น เดียวกัน

เราอาจจะมีมุมที่ต่างกันอยู่บ้าง วาณีดูจะชื่นชอบโลกในแบบของ ‘เจ้าชายน้อย’

ชอบคารมแบบ ปราย พันแสง งานเขียนที่ออกไปในทางสว่างไสว จุดตะเกียงในจิตใจ จันทรออกจะเป็นผู้หญิงลุยๆ หน่อย แต่ก็มีจริตแบบผู้หญิงอยู่บ้าง บางครั้งจะเห็นเธออยู่กับ นิยายไทยเก่าๆ ที่เป็นนิยายรัก บางครั้งก็เป็นวรรณกรรมแนวอิงประวัติศาสตร์ดูหนักๆ ส่วน ตัวผมเป็นคนเพี้ยนๆ ที่เดินทางสลับกันไปมาระหว่างโลกใต้ถุนอันมืดหม่นของดอสโตเยฟสกี้ กับโลกสวยปนเศร้าตามสไตล์วัยรุ่นหลงยุค

รุ่นพี่ในชมรมมักจะมอง ‘ทรีโอ’ สามหน่ออย่างพวกเราด้วยความเอ็นดู (แน่ล่ะว่า

มีคนรุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ด้วย แต่เราสามคนเป็นคนที่เข้าชมรมบ่อยที่สุดช่วงนั้น) โดยเฉพาะ

44 คูว่ าณีกบั จันทร เพือ่ นผูห้ ญิงทีม่ บี คุ ลิกแทบจะเป็นคูต่ รงข้าม แต่กเ็ ดินเคียงกันได้อย่างไม่ขดั เขิน

“สองคนนีเ้ วลาอยูด่ ว้ ยกันแล้วน่ารักเนอะ ดูเหมือนเด็กเลย” รุน่ พีค่ นหนึง่ เอ่ยขึน้ เมือ่

เห็นวาณีกับจันทรเดินคุยกันจุกจิก ค�ำว่า ‘ดูเหมือนเด็ก’ ท�ำให้ผมนึกถึงกล่องที่มีลายเป็น เทวดาเด็กสององค์แนบชิดกัน

ตามประสาชีวิตของชาวมหาวิทยาลัย พวกเราต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย

แต่ละคนล้วนมีปญั หาจากภายนอก แต่ทกุ ครัง้ ทีพ่ วกเราเข้ามาอยูด่ ว้ ยกันในห้องชมรม เหมือน พวกเราได้กา้ วข้ามมิตมิ าอยูใ่ นดินแดนทีอ่ ยูเ่ หนือการยุบและขยายตัวของจักรวาลทัง้ มวล พวก เรารู้สึกสบายใจโดยที่ไม่จ�ำเป็นต้องเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจออกมาทั้งหมด บางครั้งเราก็เข้าใจ อารมณ์กันว่าคนใดคนหนึ่งแค่อยากซุกตัวอยู่กับโลกบนหน้ากระดาษ มันเป็นดินแดนที่ไม่มี กฎเกณฑ์ของกาลเวลา ชัว่ ขณะทีพ่ วกเราสามคนทีล่ ภี้ ยั จากปัญหาของโลกภายนอกมาอยูด่ ว้ ย กันจะเป็นชั่วขณะที่ด�ำรงอยู่ตลอดไป

เมื่อคนเราพบเจอฤดูกาลซ�้ำๆ ความเปลี่ยนแปลงจะน�ำพาบาดแผลมาให้ และยิ่งมี


บาดแผลก็ยิ่งหยาบกร้าน ยิ่งเจ็บปวดก็ยิ่งชินชา หลังจากช่วงเวลาแห่งมิตรภาพเล็กๆ ช่วง นั้น เราสามคนไม่ได้อยู่ด้วยกันโดยตลอด มีบางคราวที่เราต้องแยกย้ายไปอยู่ในส่วนของ แต่ละคน ขณะที่ตัวผมยังขลุกอยู่กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภายในชมรม ลากเข็นฝ่าวิกฤติไป กับรุ่นพี่ที่ยังพอหลงเหลืออยู่ ผมก็ได้ยินว่าวาณีเองประสบปัญหาส่วนตัวหลายเรื่อง แต่ผมก็ยัง โง่เกินไป ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เธอได้

ผมรู้ว่าวาณีเป็นคนอ่อนไหวง่ายอยู่แล้ว และแม้ว่าเธอจะรู้เรื่องทางโลกบางอย่าง

มากกว่าผม แต่บคุ ลิกการแสดงออกของเธอเหมือน... เหมือนตัวละครทีแ่ สนดีทมี่ แี ต่ในนิยาย ผูท้ แี่ ต่มคี วามปรารถนาดีตอ่ คนอืน่ แต่การแสดงออกของเธอมันท�ำให้คนโลกมืด (Cynical) ทั้งหลายเข้าใจผิดว่าเธอท�ำเป็นจริตจะก้าน

ผมคงไม่อาจบอกว่าเธอดีเลิศจนไม่มีข้อเสีย (มนุษย์ทุกคนมีข้อเสีย) แต่ข้อดีของ

เธอมันไม่เหมาะสมกับโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ จนมันท�ำร้ายเธอนับครั้งไม่ถ้วน

ความไร้เดียวสาดุจดัง่ ภาพฝันช่วงปลายฤดูรอ้ น แต่มนั ไม่ใช่ความ ‘ไร้เดียงสา’ ของ

ผมอีกแล้ว ผมแหวกม่านหน้าต่างเพื่อมองดูนักศึกษาใหม่และลุ้นว่าจะมีสมาชิกใหม่ๆ ที่ชื่น ชอบตัวหนังสือเหมือนกันเข้ามาบ้างไหม ผมกลายเป็นรุ่นพี่ผู้มองดูการเติบโตของมิตรภาพ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นภายในห้องสี่เหลี่ยมห้องเดิม ได้ชื่นชมการผลิดอกออกผล กลั่นมาจากความ รู้สึกและจินตนาการของคนรุ่นใหม่ จนบางครั้งก็ไม่วายท�ำให้นึกถึง ‘พวกเรา’ ในวันวาน

วาณี, จันทร และตัวผมเอง ไม่ใช่สุดยอด ‘ทรีโอ’ สามสหายเหมือนเช่นเดิม เรา

สามคนแทบจะแยกย้ายกันไปคนละทิศ วาณีกับจันทรอาจจะอยู่ด้วยกันบ้าง แต่เป็นตัวผมเอง นี่แหละที่ห่างออกมามากที่สุด มีคนหน้าใหม่ทั้งรุ่นน้อง รุ่นพี่ และรุ่นเดียวกัน ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนมาให้ได้ท�ำความรู้จักภายในชมรม ผมเปิด ‘โลกภายนอก’ ให้กว้างออกส�ำหรับตัว เอง ผมสนุกกับมัน มีล้มลุกคลุกคลานบ้าง มีเจ็บปวดบ้าง แต่บางคราวก็ชวนให้ปิติยินดี มี ความทรงจ�ำที่น่าถนุถนอมไว้มากมายเกินกว่าจะบรรจุลงในหน้ากระดาษเพียงพอ

แต่ความทรงจ�ำในชั่วขณะที่เราสามคนได้นั่งอยู่ด้วยกันในห้องสี่เหลี่ยมที่เต็มไปด้วย

หนังสือ เต็มไปด้วยเรื่องราวดั่งมวลหมู่ดาว ยังคงซุกอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ผมจะเก็บมัน

45


ไว้ในกล่องลายสวยแบบวินเทจ วาณีอาจจะรูส้ กึ อยากวาดลายดอกไม้หรือผีเสือ้ ลงไปบนกล่อง ขณะที่จันทรเป็นคนจัดวางไว้ในมุมสวยๆ

สมรภูมิชีวิตไม่เคยปรานีใคร ขณะที่ผมเริ่มถล�ำตัวลงไปในโลกแห่งวิชาการและ

อุดมการณ์ตา่ งๆ ทีด่ สู บั สนวุน่ วายฝุน่ ตลบ ระหว่างนัน้ ผมก็ยงั ได้ยนิ ข่าวคราวของวาณีอยูบ่ า้ ง ส่วนมากฟังดูไม่สู้ดีนัก แต่บางครั้งเมื่อผมเจอเธอผมกลับไม่เห็นร่องรอยความเจ็บปวดใดๆ เธอยังคุยกับผมเหมือนวาณีคนเดิมแห่งแก็งค์สามหน่อในยุคสมัยของเรา

เหตุทผี่ มเขียนถึงเรือ่ งวาณีและจันทรเป็นเพราะว่าผมได้ทราบข่าวเมือ่ ไม่นานมานีเ้ อง

ว่าวาณีหายตัวไป ไม่รู้ว่าเพราะจงใจไม่อยากติดต่อพบเจอกับคนรู้จัก หรือด้วยเหตุผลอื่น จันทรดูร้อนใจกับเรื่องนี้มาก ผมเองที่ขาดการติดต่อจากเธอไปนานก็ไม่สามารถช่วยเหลือ อะไรเธอได้

ครัง้ ล่าสุดทีผ่ มได้เจอวาณีกน็ านหลายปีแล้ว คือช่วงเวลาไม่กชี่ วั่ โมงขณะทีผ่ มพาชาว

ชมรมไปออกร้านในงานอินดี้ใกล้มหาวิทยาลัย หลังจากที่งานจบลงและส่งทุกคนกลับที่พัก

46 ตัวผมกับวาณีก็มีโอกาสเดินคุยกันก่อนแยกย้ายกันไปขึ้นรถของตัวเอง คืนนั้นเป็นเดือนมืด พวกเราคุยกันเหมือนปกติไม่ตา่ งอะไรกับตอนทีอ่ ยูก่ บั จันทรเลย ผมจ�ำไม่ได้ดว้ ยซ�ำ้ ว่าคุยอะไร

กัน จ�ำได้แค่ว่าในวันนั้นผมยังเห็นรอยยิ้มของวาณี ไม่ว่าเธอจะซ่อนความเจ็บปวดอะไรไว้ หรือไม่ก็ตาม

จริงๆ เรือ่ งของชมรมส�ำหรับผมมีให้เล่านับไม่ถว้ น แต่ผมคิดว่าคนรุน่ ต่อไปคงจะเล่า

เรื่องของพวกเขาได้สนุกกว่า และคิดว่ามีแต่ผมเท่านั้นทีจ่ ะเป็นคนบันทึกเรื่องของวาณี จันทร และตัวผมเองได้

...และนี้คือเรื่องราวที่ผมเลือกจะเก็บไว้ในกล่องวินเทจแห่งความทรงจ�ำ ให้กล่อง

ลายสวยใบนี้ได้รักษาไว้ แม้กระทั่งความไร้เดียงสาแห่งช่วงเวลา ให้มันเป็นฝันช่วงปลาย ฤดูร้อนของพวกเราสามคนตลอดไป บริวารเงา


47


48


รหัส 48 กมลพร สิทธิชัย

คณะการสื่อสารมวลชล

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ค่ายปลายฝนต้นฝัน ค่ายสัมมนาชมรม นิทรรศการ Photo-Poet ร่วมกับชมรมโฟโต้ ส.มช. จัด ณ ลานหน้าหอสมุด นิทรรศการ ปรุงสีกวีกะวาด ณ แกลอรี่ บ้านอาจารย์เทพศิริ สุขโสภา กิจกรรมวรรณศิลป์โต๊ะกลม – พูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างนักอ่าน ตามหัวข้อที่สนใจ ฉายหนัง และเสวนาหลังหนังจบ – ณ ห้องชมรม ร่วมจัดงาน Indy Book Fair ณ ร้านเล่า (บริเวณกาดเชิงดอย) ร่วมจัดงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “เข็นครกลงเขา” ของคุณหญิงจ�ำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ร่วมกับร้านเล่า ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ ------------------------------------------------------------------ชวนทะเลาะกับความทรงจ�ำ

1.

ขออ้างสิทธิในฐานะที่เคยด�ำรงต�ำแหน่งประธานชมรมฯ เมื่อกาลครั้งหนึ่งของชีวิต

ถ้าถามว่าบรรยากาศห้องชมรมช่วงปี 48 – 51 เป็นอย่างไร ใครเคยอ่าน

โลกียชน ของจอห์น สไตน์เบค โปรดน�ำมาจินตนาการทับซ้อนร่วม ห้องกิจกรรมนักศึกษา ผสมตอร์ตีญ่าแฟลต ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงแล้วในยุคนั้น อาจมีคนเห็นเป็นอื่น แต่มุมฉันเห็นเป็น

49


เช่นดังว่า

นิยามความหมายของความเป็น ‘วรรณศิลป์’ ก็ถูกถกเถียงกันที่นี่บ่อยครั้ง อีกหลาย

ครั้งเราก็ไม่ได้จริงจังอะไรกับชีวิตขนาดนั้น สังสรรค์ สนทนา ปาร์ตี้ กิน นอน ติวหนังสือ หนังหา ร่วมวงถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดกันบ้างก็ตามสมควร ส่วนใครจะเห็นตรงเห็นต่าง ว่ากันไปตามเรื่อง

แต่ไอ้ที่เคยเห็นตรงกัน แล้วกุมขมับร่วมกันมาแล้วคือ ‘วรรณศิลป์’ ส�ำหรับบางคณะ

ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มันกลายเป็นชมรมเขียนคัตเอาท์ (ได้ยนิ แล้วก็อยากจะบ้าตาย – ไม่รู้ ตอนนี้เปลี่ยนหรือยัง แต่เดาว่ามันไม่น่าจะเปลี่ยนในความหมาย แค่ยุคสมัยเอื้อให้ปริ้นไวนิล ง่ายกว่าการลงมือเขียนคัตจริงๆ แล้ว)

สิ่งที่ต้องสารภาพก่อนในตอนนี้คือ ตัวฉันเองนั้นแทบจะจ�ำอะไรไม่ได้เลยว่า ช่วง

วันเวลาเหล่านั้น ท�ำอะไรลงไปบ้าง

อาจมีภาพรางเลือน คลับคล้ายคลับคลา แต่เรื่องล�ำดับเวลายืนยันได้ว่าสลับสับสน

เพราะส่วนชีวิตที่สังกัดอยู่กับชมรมวรรณศิลป์ ทับซ้อนกันกับกิจกรรมส่วนตัวอย่าง

50 แน่นอน ฉันไม่มีความสามารถพอจะไล่เรียง

แยกไม่ออก พูดให้ตดิ รสเลีย่ นหน่อยก็คอื ชีวติ มหาวิทยาลัย การเรียน ตัวฉัน ชมรมวรรณศิลป์ คือทุกอย่างที่หลอมรวมกัน – เอ่อ.. มั่วกันไปหมด 2.

ฉันอยู่กับสมาชิกรุ่นพี่ๆ เพื่อนๆ ในชมรมกลาง สิงอยู่กับอาคารอ.มช. มากกว่า

คณะของตัวเอง

พอเริ่มขึ้นปี 2 รับต�ำแหน่งประธานชมรมอย่างงงๆ แต่ก็เป็นไปด้วยความยินดี

แล้วพอปี 3 ที่รู้ตัวล่วงหน้าจากรุ่นพี่ๆ ว่าวิชาเอกของตัวเองที่เลือกนั้น จะต้อง

บั่นทอนความสามารถในการจัดการตนเป็นแน่แท้ ฉันก็ผลัดเปลี่ยนต�ำแหน่งประธานด้วยการ ร้องหาคนมาแทนที่ แล้วท�ำทุกอย่างเหมือนเดิม แต่มันก็สนุกขึ้น เพราะเมื่อล้างล�ำดับชนชั้น


อ�ำนาจออก (ที่ไม่ค่อยมีคนอยากได้หรอก – ฉันรู้) เราก็เป็นเพื่อนร่วมชมรมที่ท�ำทุกอย่าง กันเหมือนเดิม

จ�ำไม่ได้จริงๆ ว่าท�ำอะไรลงไปบ้าง ค่ายปลายฝนต้นฝัน เสวนา ฉายหนัง ออก

จุลสาร นิทรรศการ Photo-Poet ร่วมกับชมรมโฟโต้ ส.มช. ปรุงสีกวีกะวาดร่วมกับ ชมรมระเบียงศิลป์ อ้อ! พิเศษหน่อยที่จ�ำได้คือ ค่ายปลายฝนต้นฝันกับชมรมครั้งแรกตอนปี 48 ฉันกลายเป็นกึ่งลูกค่ายกึ่งสตาร์ฟ เพราะตอนนั้นสมาชิกชมรมมีไม่มาก และขาประจ�ำ อย่างฉันก็จงึ เป็นมันทุกอย่างทัง้ คนจัดค่ายและลูกค่าย อยูต่ งั้ กะส�ำรวจสถานที่ ติดต่อเอกสาร จ่ายตลาด ด�ำเนินการ ปิดงบ จบค่าย

วรรณศิลป์ในยุคที่ฉันอยู่เราเคยร่วมงานกับนักเขียนหลายท่าน อาจารย์สุพรรณ

ทองคล้อย หรือนามปากกาของอาจารย์คือ ‘แรค�ำ ประโดยค�ำ’ ควรเป็นชื่อแรก เพราะเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมในยุคนั้น สร้อยแก้ว ค�ำมาลา, อภิชาติ เพชรลีลา (แล้วพวกเราก็ เรียกชื่อเล่นกันติดปากว่า ‘พี่มีน’), ศุ บุญเลี้ยง, วชิรา รุธิรกนก (สมัยนั้นเพิ่งพ้นต�ำแหน่ง บก.อะเดย์มาหมาดๆ และย้ายนิวาสสถานมาเชียงใหม่ได้ไม่นาน) เทพศิริ สุขโสภา, สิวิชานนท์ รัตนพิมล หรือแม้กระทั่ง ค�ำ ผกา ก็เคยเป็นวิทยากรค่ายปลายฝนมาแล้ว (ปี นัน้ เราจัดค่ายกันทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติออบขาน และล่อลวงพีแ่ ขกเดินขึน้ บันไดต่อเนือ่ งเกือบร้อย ขั้นไปยังระเบียงบ้านพัก พร้อมหลอกโจ้ วชิรา มาเป็นคนขับรถได้ด้วย เท่จริงๆ )

นึกถึงแล้วก็สนุกดี แต่สว่ นทีไ่ ม่เคยชอบเลยของการด�ำเนินงานชมรมคือ เรือ่ งเอกสาร

และการพิจฯ งบ (พิจารณางบประมาณด�ำเนินโครงการกับสโมสรนักศึกษาและสภานักศึกษา) พร้อมซ้อมรบกับเจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา (นานๆ ถี่)

สมาชิกชมรมทั่วไปคงรับทราบในกระบวนการคร่าวๆ เพราะกว่าจะไปถึงขั้นนั้นเรา

จะต้องประชุมชมรมกันก่อน ว่าปีต่อไปเราจะจัดกิจกรรมอะไรกันบ้าง ตั้งงบ วางแผน ติดต่อ ขอสถานที่ ใบเสนอราคา บลา บลา เรื่องน่าเบื่อทั้งหลายทั้งปวง

แต่ถ้าใครเคยอยู่กับกองกระดาษเหล่านี้ดี จะรู้ถึงความวายป่วงและแบบจ�ำลอง

โครงสร้างประเทศไทยที่ได้เรียนรู้กัน ตัวฉันนั้นบอกได้เลยว่าพ้นสถาบันการศึกษามาแล้วก็ยัง

51


ไม่ชิน และไม่เคยเข้าใจในล�ำดับขั้นตอนเหล่านี้ ที่ไม่รู้ว่าเราจะท�ำให้มันยากกันท�ำไม และ ความพยายามจะป้องกันการทุจริตในระดับเอกสารก็ไม่เคยช่วยอะไรได้เลย ในเมื่อเราไม่ สามารถตรงไปตรงมากับทุกอย่างได้ทั้งหมด ด้วยเงื่อนไขตัวบทกฏต่างๆ เราก็ต้องปั้นแต่ง เสริมบวกลบกลบช่องถัวเฉลี่ยอะไรต่อมิอะไรกันลงไปในสิ่งเหล่านั้น ที่เรียกว่าหลักฐาน บิล เบิกจ่าย กระบวนการ ขั้นตอน บ.นศ. ถุยโธ่! (โอ้ ประทานอภัย นึกแล้วมันอยากสบถจน เพลานี้)

แม้จะรูม้ าบ้างว่าหลังจากรุน่ ฉันไป มีความพยายามพัฒนาระบบออนไลน์ขนึ้ มา แต่

ปัญหาที่ท�ำให้เราเปลืองน�้ำเปลืองไฟ (น�้ำที่เมาได้กับไฟที่ไหม้หัวเป็น – ฉันขออนุญาตเข้า รหัสไว้เล็กน้อยถึงปานกลาง) คือการท�ำงานกับคนที่เราต้องเจรจาพูดคุย

วรรณศิลป์ถนัดการอ่านการเขียน แต่ส่วนของการพูดคุยแม้จะไม่ลีลามากขั้น (ติด

กลิ่นแปลกประหลาดกว่าความปกติกันเสียด้วยซ�้ำ) แต่เราก็มั่นใจในเนื้อหาสาระส�ำคัญของ การสื่อสาร นั่นคือ แนวความคิด

52

ภาษาและการสื่อสารคือเครื่องมือรับใช้ความคิดของมนุษย์ หลักการ การให้เหตุผล

ในการโต้ถก ขบคิด หาทางออก ทั้งหมดคือสาระส�ำคัญ

แต่สงิ่ ทีเ่ ราได้คน้ พบกับการพิจารณาของบท�ำโครงการกับนักศึกษาด้วยกัน ในหมวก

ของต�ำแหน่งสภานักศึกษาที่มาพิจฯ งบร่วมกับเราก็คือ ข้ออ้างแบบตรรกะวิบัติ และมุมมอง แบบ subjective กับ objective ที่ขัดแย้งผิดบริบทกันตลอดเวลา

ยกตัวอย่างที่ฉันหัวฟัดหัวเหวี่ยงมาแล้วก็คือ การของบท�ำโครงการจุลสารชมรม

วรรณศิลป์ (หวังว่ายุคนี้คงไม่จิ๊จ๊ะเหมือนยุคนั้น - ฉันถือว่านี่เป็นค�ำอวยพรให้กับรุ่นต่อๆ ไป)

จ�ำตัวเลขไม่ได้ แต่คร่าวๆ ที่ต้องนั่งเถียงกันยาวเกือบสองชั่วโมงคือ ดัชนีชี้วัด

คุณภาพของโครงการ ของบผลิตจุลสาร 200 เล่ม คนด�ำเนินโครงการ 15 คน ตัวชี้วัดคือ 1. จุลสารเสร็จ 2. แบบสอบถามผู้อ่าน คิดแต่ค่าพิมพ์เล่มละสักไม่เกิน 20 บาทรวมปก (ท�ำนองนั้น)


เราคุยกันเรื่องตัวเลขแบบสอบถาม และปัญหาของดัชนีชี้วัดทั้งสองข้อ

วรรณศิลป์ยนื ยันว่า โครงการนีจ้ ะสนับสนุนการอ่านเขียน และเน้นหลักทีก่ ารเรียนรูก้ ระบวนการ ท�ำหนังสือของสมาชิกชมรม นั่นคือ คน 15 คนนั้นเป็นหลักใจความส�ำคัญ มีผลลัพธ์เป็น เล่มจุลสารและผู้อ่านตามมาเป็นล�ำดับสอง

เราถูกถามกลับมาว่า ถ้าท�ำหนังสือสองร้อยเล่มโดยสนใจคนแค่ 15 คน ก็ไม่พิมพ์

แค่ 5 เล่มปกแข็งปั้มทองเก็บห้องสมุดไปเลยล่ะ

นั่นค�ำรบที่หนึ่ง

ค�ำรบที่สอง วรรณศิลป์ชี้แจงว่า เนื้อหาจุลสารของเราสนับสนุนการอ่านการเขียน

ในเชิงวรรณกรรม ซึ่งไม่ใช่ข้อเขียนที่อยู่ในกระแสนิยม ไม่ได้มีเนื้อหาแบบนิตยสารทั่วไป ดัง นั้นตัวเลขความพึงพอใจของผู้อ่าน เราไม่สามารถคาดหวังในระดับ 80% ขึ้นไปได้ เพราะ เนื้อหาเป็นเฉพาะกลุ่ม เราเชื่อว่าเรามองโลกบนฐานของความเป็นจริง

เราถูกอ้างกลับมาว่า เจ.เค โรว์ลิ่ง เขียนแฮรี่พอร์ตเตอร์ขึ้นมาก็ตั้งเป้าให้ขายดี มี

คนชอบ

สารภาพอีกครั้ง – ค�ำรบสองนี่มือในจินตนาการฉันควงมีดคว้าปืนแล้วเรียบร้อย

3.

คงไม่ใช่หน้าที่ของฉันแล้วที่จะต้องมาอธิบายข้อโต้แย้งทั้ง 2 ข้อข้างบนนั่นอีกครั้ง

ตัวฉันเองนั้นผ่านมันไปนานแล้ว

แต่ส�ำหรับความขัดแย้งทางความคิด มุมมอง ทัศนคติ

การใช้เหตุผล กับภาพรวมในสังคมที่ไม่สามารถผ่านไปพร้อมกับห้าคนได้ เราจะท�ำอย่างไร ความอดทนอดกลั้น การรับฟัง การหาข้อเท็จจริง ความพยายามต่อสู้ยืนหยัด อุดมคติ อุดมการณ์ ยอมแพ้ ต่อรอง ยอมยอมมันไปเถอะ หรือขอแค่ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ ไม่ว่า จะต้องอย่างไร

โลกมีความจริงหลายขั้นหลายชั้นที่คนแต่ละคนรับรู้ต่างกัน

ถ้าต้องแนะน�ำจริงๆ ข้อแรก ฉันใส่คีย์เวิร์ดเพิ่มให้สี่ค�ำ คือ การท�ำหนังสือ ธุรกิจ

53


ผลประโยชน์ กิจกรรมนักศึกษา

ข้อทีส่ อง ฉันใส่คยี เ์ วิรด์ และขอระบบอินเตอร์เน็ต ลองกลับไปหาเบือ้ งหลังชีวติ เจ.เค.

และการตีพิมพ์แฮรี่พอร์ตเตอร์อ่านดู

อย่ายกตัวอย่าง อ้างเหตุผลด้วยความไม่รู้ คนเขาจะหัวเราะเยาะได้ในภายหลัง

ฉันเสียใจที่ยุคนั้นเรายังไม่มีแท็บเล็ตใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่เช่นนั้น ต้องมีค�ำว่า ‘เงิบ’ กันบ้าง และเราคงไม่ต้องเหนื่อยหัวฟัดขนาดนั้น 4.

ใครจะชอบอ่านอะไร เขียนแบบไหน ไม่ใช่ปัญหาสักนิดส�ำหรับความเป็นวรรณศิลป์

แต่เราจะพัฒนาตัวเองให้เปิดรับฟังความรู้ ความจริง ความคิดของคนอื่น เลือกทางของ ตัวเองให้แข็งแรงและอยู่ร่วมกันอย่างไร

หนังสือที่ดี นักเขียนที่แย่ รสนิยมที่ดี ขบถวรรณกรรม หนังสือขยะ ชั้นเชิงข้อเขียน

ทั้งหมดคือสิ่งที่สมาชิกวรรณศิลป์ชวนให้คนทะเลาะกันอยู่เสมอ

แค่ต้องไม่ลืมว่าอาวุธของเราไม่ใช่ก�ำปั้นกับปืน

54 และการอ่าน


55


56


รหัส 50 ทินกร เสนาจิตร

คณะมนุษยศาสตร์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ค่ายปลายฝนต้นฝัน วรรณศิลป์รามา ปรุงสีกวีกะวาด วรรณศิลป์โต๊ะกลม Just Read More Points สัมมนาชมรม อบรมการซ่อมหนังสือ รักการอ่าน เสวนา อ่านบทกวี ฯลฯ ------------------------------------------------------------------ชมรมวรรณศิลป์ในความทรงจ�ำของข้าพเจ้า

เรียกกันว่าเป็นยุคสมัยแห่งความล�ำบาก จนบางครั้งผมอดถามตัวเองไม่ได้ว่าเรา

ผ่านช่วงเวลาแบบนั้นกันมาได้อย่างไร

เรื่องราวเริ่มต้นจากเพื่อนคนหนึ่งบอกผมว่าที่นี่มีแต่คนแปลกๆ และเด็กซิ่วอย่างผม

น่าจะเหมาะกับอะไรแบบนั้น ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าชมรมนี้มันเกี่ยวกับอะไร แต่ผมก็รวบรวมความ

57


กล้าเดินขึ้นบันได อ.มช. คนเดียว รู้สึกเหมือนโคลัมบัสก�ำลังส�ำรวจโลกใหม่ยังไงอย่างงั้น โถงทางเดินโล่งและเงียบ ห้องอื่นๆ ปิดประตูราวกับจะไม่มีวันเปิดมันอีก มีเพียงวรรณศิลป์ เท่านั้นที่เปิดประตู เป็นห้องเล็กๆ ซึ่งรกและเต็มไปด้วยหนังสือ ข้างในมีคนนั่งคุยกันสองสาม คนอยู่ในนั้น

นั่นคือภาพแรกของวรรณศิลป์ที่ผมยังจ�ำได้

สมัยนั้นพี่ส้มเช้งเป็นประธานชมรม หลังจากกรอกใบสมัครทิ้งไว้ตอนเที่ยง ตกเย็น

แกเป็นคนโทรมาหาเพื่อจะบอกว่า เย็นนี้ในชมรมจะท�ำกับข้าวกินกัน ถ้าว่างอยากให้มากิน ด้วย

หัวใจผมพองโตอย่างบอกไม่ถูก จะมีสักกี่ครั้งกันที่คนแปลกหน้าโทรมาชวนเรากิน

ข้าวทั้งๆ ที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่กี่ชั่วโมง มันแปลก แปลกมากๆ แต่ในความแปลกนั้นผมรู้สึกได้

58 ถึงอะไรบางอย่าง มันคือมิตรภาพทีถ่ กู หยิบยืน่ ให้กอ่ น มันคือการยอมรับว่าเราเป็นพวกเดียวกัน กับเขา และเห็นว่าเราส�ำคัญ

วินาทีนั้น ผมรู้สึกถึงค�ำว่า ‘ครอบครัว’

หลังจากนัน้ ผมก็กลายเป็นส่วนหนึง่ ของชมรมมาโดยตลอด เราท�ำกับข้าวกินด้วยกัน

ทุกเย็น เราช่วยกันจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ ปรุงสีกวีกะวาด โดยให้ชมรมระเบียงศิลป์วาดรูป วรรณศิลป์เขียนกลอน เอาไปจัดแสดงนิทรรศการ และเราก็แบกเป้นั่งรถไฟไปออกค่ายนอนดู ดาวกันที่ดอยขุนตาล

ช่วงเวลาแห่งความสนุกผ่านไปหนึง่ ปี ก่อนจะพบความจริงว่านอกจากผมแล้ว ไม่มี

สมาชิกใหม่ในปีนี้ที่เป็นขาประจ�ำเลยสักคน

ผมจึงต้องรับต�ำแหน่งประธานชมรมตอนขึน้ ปีสองอย่างเลีย่ งไม่ได้ ขณะทีพ่ คี่ นอืน่ เริม่


ทยอยขึ้นปีสี่และขอวางมือจากกิจกรรมเพื่อเรียนให้จบ

จากคนที่เคยแต่ร่วมงาน กลายมาเป็นคนจัดกิจกรรม ภาระหนักหล่นใส่บ่าของผม

ทันที ผมไม่รู้มาก่อนว่าต้องท�ำอะไรบ้าง เอกสารที่ต้องท�ำส่งมหาวิทยาลัยคืออะไร เงินที่จะ ใช้ได้มาจากไหน แล้วเราจะท�ำอะไรต่อไป จะมีใครช่วยบ้าง ไม่รู้อะไรสักอย่าง รู้แค่ว่าชมรม ต้องไปต่อ จะให้มายุบในยุคของผมไม่ได้

ยุคสมัยแห่งความล�ำบากเริ่มต้นขึ้นแล้ว

ปีการศึกษา 2551 ผม ปาย และปิ๊ง ร่วมกันเรียนรู้งานและสร้างชมรมขึ้นมาใหม่

สองคนหลังนั้นเขาอยู่ปีสามกันแล้ว ผมรู้ว่าเรามีเวลาอีกแค่หนึ่งปี เราจึงเริ่มต้นจากการหา สมาชิกให้ได้มากที่สุด ทั้งจากการตั้งโต๊ะรับสมัครในวันรายงานตัว และจากการพยายามจัด กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งจุลสาร เสวนา อ่านบทกวี และค่ายนักเขียน

โดยเฉพาะจุลสาร เนื่องจากไม่มีความรู้และไม่เคยท�ำมาก่อน เราถึงกับยก

คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่มาจากบ้าน ตั้งกองบรรณาธิการกินนอนในชมรมกันเป็นเดือน ใช้ โปรแกรม Microsoft Word ในการท�ำต้นฉบับทั้งเล่ม โดยพิมพ์แล้วปริ้นท์ออกมาตัด แปะใส่กระดาษ A4 ทีเ่ ย็บมุงหลังคารอไว้ จากนัน้ ค่อยเอาไปถ่ายเอกสารทัง้ เล่มแจกจ่ายเอา จุลสารที่ออกมาจึงมีแต่สีขาว-ด�ำ บิดๆ เบี้ยวๆ เนื่องจากแปะกระดาษตรงบ้างไม่ตรงบ้าง แต่เราก็ภูมิใจกับมันมาก แถมยังแจกเสียจนเกลี้ยง ไม่มีเหลือเก็บไว้เลย

แต่ความพยายามดูเหมือนจะสูญเปล่า มีหลายคนที่อยากมาชมรมแต่ต้องติดกับการ

รับน้อง ห้องเชียร์ จนไม่กล้าออกมาท�ำอะไรที่ตัวเองรัก ผมจ�ำได้แม่นว่าในวันรายงานตัว มี รุน่ พีค่ ณะหนึง่ ให้รนุ่ น้องเดินเรียงแถวจับมือกันเพือ่ ไม่ให้รบั ใบปลิวหรือเขียนใบสมัครชมรม เรา ได้แต่มองและผ่านหนึ่งปีนั้นมาอย่างอดทน พร้อมกับโบกมืออ�ำลาทีมงานที่ต้องกลับไปสนใจ การเรียนให้มากขึ้น

ปีถัดมาผมจึงต้องรับหน้าที่ดูแลชมรมเพียงล�ำพัง พร้อมกับหารุ่นน้องอีกคนมารับ

59


ต�ำแหน่งประธานชมรมเพื่อให้ดูมีคนสานต่อไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หยุดอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ เบื้องหลังผมต้องเป็นคนจัดการเองทั้งหมด ทั้งเรื่องเอกสาร วางแผนกิจกรรม ติดต่อประสาน งาน ไปจนกระทั่งลงมือจัดกิจกรรม เรียกว่าแทบจะไม่ได้เข้าห้องเรียนเลย ดีที่ว่ามีน้องไผ่เข้า มาปีนั้นพอดี หายากที่จะมีเด็กปีหนึ่งที่ไม่เข้าคณะและมาอยู่ชมรมแบบขาประจ�ำ ผมเลยไหว้ วานให้น้องเขาช่วยงานนับแต่นั้น

เพราะรู้ว่าจ�ำนวนคนคือกุญแจส�ำคัญต่อการอยู่รอดของชมรม เราต่างเห็นพ้องว่า

ควรเร่งจัดกิจกรรมให้คนรู้จักเราให้มากที่สุด ยุคนั้นเราจึงท�ำอะไรเยอะมาก ทั้งจุลสารที่เริ่ม พัฒนามาใช้โปรแกรมจัดหน้าอย่างชาวบ้านชาวเมืองเขา ทั้งการจัดค่ายปลายฝนต้นฝัน จัด เสวนา “เขียนให้ดีต้องมีเคล็ดลับ” จัดฉายหนัง “เจ้าชายน้อย”, “ชาร์ลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต” ฯลฯ

แต่กระนั้นก็ยังไม่มีคนเข้าชมรมจริงๆ จังๆ เราคุยกันเรื่องยุบชมรมบ่อยมาก ชมรม

ที่ไม่มีคนจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร แม้จะทุ่มเทและผูกพันแค่ไหน เราตัดสินใจกันว่าจะให้เวลา

60 อีกหนึ่งปี หากยังไม่มีอะไรดีขึ้น คงต้องปล่อยให้ชมรมถูกยุบ

ปีตอ่ มาผมขึน้ ปีสรี่ บั ต�ำแหน่งประธานฝ่ายนักศึกษาสัมพันธ์ ดูแลชมรมทัง้ หมดรวมถึง

วรรณศิลป์ดว้ ย ส่วนน้องไผ่ขนึ้ ปีสองและรับต�ำแหน่งประธานชมรม เราท�ำงานหนักหามรุง่ หาม ค�ำ่ พยายามทุกวิถที างเพือ่ ให้ชมรมได้อยูต่ อ่ ไป กิจกรรมใหม่ๆ ถูกคิดขึน้ อย่างเช่น จัดประกวด งานเขียน ท�ำบัตรสะสมแต้มการอ่าน “Just Read More Points” เพื่อแจกรางวัล อมรมวิธีการซ่อมหนังสือ ท�ำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ชมรมแขวนไว้กลาง อ.มช. รวมถึงจัด ระบบห้องชมรมใหม่ทั้งหมดโดยการท�ำหมวดหมู่และห่อปกหนังสือนับพันเล่มในชมรม พร้อม ทั้งซื้อหนังสือและนิตยสารใหม่ๆ เข้ามา เพื่อดึงดูดความสนใจ ซึ่งก็ได้ผล ชมรมได้จิ๊กกี๋และ เพื่อนๆ เข้ามาเป็นสมาชิกหลัก ซึ่งต่อมาจิ๊กกี๋ก็รับหน้าที่เป็นประธานชมรมต่อ ก่อนจะค่อยๆ รวบรวมผู้คนจนเต็มห้องในยุคปัจจุบัน

พอมองย้อนกลับไป ผมพบเรื่องราวความล�ำบากที่อธิบายเป็นค�ำพูดไม่ได้อยู่เต็มไป

หมด พร้อมกับมาคิดดูว่า อะไรกันนะที่ท�ำให้เราทุ่มเทกับสถานที่หนึ่งได้ขนาดนี้ ผมพบว่าที่นี่


เป็นยูโทเปียส�ำหรับคนมีความฝัน พวกเขาเหล่านัน้ มักรูส้ กึ แปลกหน้ากับสังคมรอบข้างอยูเ่ สมอ ขณะที่ชมรมจะเป็นแหล่งรวบรวมคนแบบเดียวกันกับพวกเขา ที่นี่พวกเขาจะมีเพื่อน คนที่คิด แบบเดียวกัน คนที่พร้อมจะแบ่งปันมิตรภาพและเติบโตไปพร้อมๆ กัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขเหมือน เป็นครอบครัวเดียวกัน ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แห่งนี้จึงเป็นเหมือนกล่องบรรจุความฝันของคน หนุ่มสาวจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผมมีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อเพื่อส่งไปให้ถึงคนรุ่นหลัง เพื่อบอก พวกเขาว่ายังมีที่แห่งนี้อยู่

บางครั้งผมแอบคิดเล่นๆ ว่า บันไดขึ้นชั้นสาม อ.มช. อาจไม่มีอยู่จริง อาจเหมือน

ชานชาลา 9 ¾ ในเรื่องแฮรี่พอตเตอร์ ซึ่งคนที่เห็นมันคือคนพิเศษที่ถูกเลือกแล้วจริงๆ

และเมือ่ คุณอ่านมาถึงบรรทัดนี้ หน้าทีส่ ะพานของผมก็คงต้องสิน้ สุดลง จากนีไ้ ปเป็น

หน้าที่ของวรรณศิลป์รุ่นใหม่ที่จะช่วยกันสร้างสะพานแห่งยุคสมัยของพวกเขาขึ้นมา และผมหวังว่ามันจะเป็นสะพานที่สวยงาม.

61


62


รหัส 52

สุธิษา เทียนกันเทศ คณะเทคนิคการแพทย์

กิจกรรมชมรม จุลสาร

ค่ายปลายฝนต้นฝัน คลินิกหนังสือ ศึกษาเรียนรู้ชีวิตนักเขียน Just Read More Points แรกพบวรรณศิลป์ ประกวดงานเขียน

63

รักการอ่าน ฯลฯ ------------------------------------------------------------------เพราะเราต่างมีความเชื่อ สี่ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก แม้ขณะเผชิญจะหนักหนาเพียงใด แต่หากมองกลับไปก็เหลือเพียงความทรงจ�ำดีๆ เสมอ ฉันรักชมรมวรรณศิลป์ - ที่นี่ให้โอกาสฉันได้เติบโต สมัยมัธยมฉันอ่านหนังสือคนเดียว แต่พออยู่มหาวิทยาลัยฉันอ่านหนังสือกับเพื่อน


น้อยคนที่จะเอาดีทางด้านการอ่านอย่างเดียว ใช่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่เขาชอบท�ำอย่างอื่นมากกว่า การอ่านเลยกลายเป็นเหมือนอาหารเสริมของชีวิต เราจึงพาชมรมเติบโตไปด้วยกันอย่างเงียบๆ กิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่าน คิด เขียน ท�ำให้เรายิ้มได้เสมอ ทุกกิจกรรมของเรามักได้รับความสนใจจากเพื่อนนักศึกษา แม้ระหว่างเตรียมการอาจจะดูเงียบเหงาบ้าง แน่นอน การจัดกิจกรรมต้องพบกับปัญหา แต่ทุกครั้งก็จะมีเพื่อน พี่ น้อง ชาวเรายื่นมือเข้ามาช่วยเสมอ

64 เพื่อน – ผู้หลงรักการอ่าน

เพื่อน – ผู้หลงใหลด้วยจิตวิญญาณ เพื่อน – ผู้พร้อมจะเติบโตไปกับชมรม ครั้งหนึ่งเราเคยจัดค่าย ค่ายส�ำหรับนัก (อยาก) เขียน เราเตรียมการทั้งหมดไว้เสียดิบดี วิทยากร ลูกค่าย กิจกรรม อาหาร รถ และสถานที่ แน่นอน ทุกอย่างแล้วเสร็จก่อนกิจกรรมถึงหนึ่งสัปดาห์ นี่เป็นค่ายที่เราพร้อมมาก แต่สถานที่ที่เราวางไว้ส�ำหรับจัดค่ายกลับยกเลิกสัญญาที่ให้ไว้ - หนึ่งวันก่อนก�ำหนดการ ค่ายจริง


หนึ่งวัน! ส�ำหรับหาสถานที่ใหม่ หนึ่งวัน! ส�ำหรับกิจกรรมที่เหมาะกับสถานที่ใหม่ หนึ่งวัน! ส�ำหรับเจรจากับคุณลุงที่จะขับรถพาเราไปสถานที่ใหม่ หนึ่งวัน! ส�ำหรับชี้แจงต่อวิทยากร หนึ่งวัน! ส�ำหรับการจัดสรรงบประมาณใหม่ในวงเงินที่จ�ำกัด หยดน�้ำใสที่หลั่งรินไม่ได้เพราะเสียใจ แต่เพราะยังหาทางออกไม่เจอ สุดท้าย ได้ความช่วยเหลือจากคนกันเองช่วยแนะน�ำสถานที่ให้ เราต่างตื่นเต้น ช่วยกันอดหลับอดนอนตระเตรียมข้าวของ ทุกคนพยายามให้ก�ำลังใจกัน ช่วยกันคิดหาทางแก้ปัญหา แม้ในวันที่มืดมนที่สุด ไม่มีใครทิ้งกันไปไหน สถานที่ใหม่ - กิจกรรมเดิม กับการเพิ่มเติมความหมายของค�ำว่ามิตรภาพ ที่สุดแล้ว แม้ระหว่างทางจะฉุกละหุก แต่เราก็ผ่านมันไปได้ ผ่านมันไปกับผองเพื่อน เติบโตไปกับชมรม ในช่วงวัยที่เงียบเหงา กับยุคสมัยแห่งการแสวงหา และสุดท้าย เราก็พบ เพราะเราต่างมีความเชื่อ โลกกลมเสมอ ส�ำหรับคน(ชอบ)เหมือนกัน

65


66

ประวัติศาสตร์ผ่าน “เมื่อย”


ทศวรรษ 2530

67


2531

68


เป็นปีที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบว่ามีเมื่อย (ค้นเมื่อ พ.ย. 2556) พบว่าชมรมช่วงนั้น

ค่อนข้างเงียบเหงาพอสมควร สมาชิกผู้โดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาร้องเรียกหากัน น้องเรียกหาพี่ พี่เรียกหาน้อง สมัยนั้นการเข้ามหาวิทยาลัย แม้ปั่นจักรยานเข้ามาก็ต้องมีบัตรผ่านประตู ข้อเขียนในเมื่อยจะเป็นบทกวีเสียส่วนใหญ่ กระแสเพื่อชีวิตยังคงมีอยู่ แม้จะไม่ใช่กระแสหลัก ที่ครอบง�ำเมื่อย แต่ว่าก็เป็นเสียงที่ค่อนข้างมีพลัง ท�ำให้เมื่อยไม่สามารถไร้สาระได้มากนัก อย่างน้อยก็มกั จะมีการเขียนบทกวีเป็นปรัชญาชีวติ ซะเยอะ โดยเฉพาะสมาชิกทีใ่ ช้นามปากกา ว่า “กวีตึก” มักเขียนปรัชญาฝากไว้ในเมื่อยมากมาย

ห้องชมรมเป็นที่ที่รกถึงขนาดว่ามีคนยกให้เป็นห้องที่รกที่สุดของตึก อ.มช. เลยที

เดียว และความรกนี้จะก่อให้เกิดการปะทะทางอารมณ์หรือเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ว่า “ดราม่า” ต่อมา และด�ำเนินต่อไปอย่างไม่รู้จบจนถึงทุกวันนี้ อาจเป็นเอกลักษณ์บางอย่าง ของชมรมก็ได้ แต่ก็นั่นแหละหาใช่สิ่งที่ดีงามนัก

ปัญหาเรือ่ งไม่มคี นอยูช่ มรมคงเป็นเรือ่ งทีห่ นักหนาสาหัสมากพอตัว ท�ำให้ถงึ กับมีคน

ร�ำพึงถึงพี่และจบท้ายด้วยการจากไป และเช่นเคย ปัญหานี้ก็ยังคงด�ำเนินไปอีกซักระยะหนึ่ง จวบจนปีหลังๆ ถึงกับไม่มีคนด้วยซ�้ำ

69


70


71


2532

72


เป็นปีทมี่ คี นคาดว่าชมรมก�ำลังจะเจ๊งไป เนือ่ งด้วยความสกปรกของ “สถานที”่ และ

ความ “เน่า” ของชมรม (บางคนถึงกับบอกว่าคนอาจจะ “เน่า” ด้วยซ�้ำ) แต่ก็นั่นแหละ มาจนถึงบัดนี้ทุกคนก็ทราบดีว่ามันไม่เป็นความจริง เพราะไม่เช่นนั้นวารสารฉบับนี้ก็คงไม่มี โอกาสตีพิมพ์

กิจกรรมเสวนาวรรณกรรมก็มีคนพูดถึงไว้ หนังสือที่สมาชิกรุ่นนั้นเลือกก็คือ เวลาใน

ขวดแก้ว และปรุงสีกวีกะวาด ก็จัดต่อเนื่องอีกปี แต่การประชาสัมพันธ์เป็นจุดอ่อน ท�ำให้ คนที่มาดูงาน กลายเป็นคนที่ผ่านมาโดยไม่ได้ตั้งใจเสียมาก แต่สมุดเยี่ยมก็เต็มเปี่ยมไปด้วย ความเห็นอันหลากหลายอยู่ดี คงเพราะห้องสมุดเป็นท�ำเลที่ดีในการจัดนิทรรศการต่างๆ

อย่างไรก็ดี มีบางคนพร�่ำบ่นเรื่องความรุ่งโรจน์ของชมรมเอาไว้ว่า แน่ใจหรือว่า

ต้องวัดกันที่ผลงาน แสดงว่าชมรมในสมัยนั้นก็หาได้มีกิจกรรมมากมายไม่ (เมื่อเทียบกับปี ก่อนๆ หน้า) หรือไม่ก็เป็นความกังวลที่ชมรมจะสูญสิ้น เหมือนกับความกลัวตายของมนุษย์ คนหนึ่ง ท�ำให้เราได้รู้ว่า ชมรมก็มีค่าส�ำหรับสมาชิกมากเหมือนกัน เพราะถ้ามีคนกลัวว่ามัน จะยุบ ก็แสดงว่าเขารักชมรมในระดับหนึ่ง

บทกลอนยังคงครอบง�ำรูปแบบการเขียนเมื่อยของสมาชิกอยู่ และด�ำรงอยู่ไปอีก

ยาวนาน มีทั้งบทกวีเรื่องรัก ปรัชญา เพื่อชีวิต โดยรวมคือหลากหลาย ทุกอย่างเป็นกลอน ได้หมด อย่างน้อยๆ ก็ยังเป็นกลอนเปล่า หรือเขียนในรูปแบบกลอน แม้เนื้อหาจะเป็นเรื่อง เล่า หรือบ่นเรื่องชมรมก็ตาม

73


74


75


2533

76


ประเด็นหนักในปีนี้เห็นจะเป็นเรื่องระเบียบที่เคร่งครัด และการสูญหายของทรัพย์สิน

และหนังสือของชมรม มีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนถึงเรื่อง บัตรสมาชิก การยืมหนังสือ ระเบียบในชมรม เวลาเปิดปิด และเรื่องส�ำคัญที่พบแทบทุกปี คือไม่มีคนเฝ้าชมรม ซึ่ง การ ถกเถียงเป็นไปอย่างเผ็ดร้อน ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการติดต่อสื่อสารในยุคนั้นไม่สะดวกเท่าที่ ควร ท�ำให้การสื่อสารผ่าน เมื่อย เป็นช่องทางหลักในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งหากมอง ว่ารุนแรงมันก็รุนแรง แต่ผมมองว่าการเปิดประเด็นพูดคุยกันอย่างเผ็ดร้อนในพื้นที่ที่ค่อนข้าง สาธารณะ จะน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้พอสมควร ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก็ตาม มาจริงๆ (แม้ท่าทางจะไม่ราบรื่นเท่าใดนัก) พร้อมกับก�ำลังใจจากรุ่นพี่ที่ช่วยประคับประคอง ให้ชมรมด�ำเนินต่อไปได้

สมาชิกในชมรมมีจำ� นวนพอประมาณ แม้จะมีการบ่นว่ามาชมรมแล้วไม่คอ่ ยเจอใคร

(ตามเคย) ทว่าสังเกตจากการเลือกประธานชมรม มีผู้ลงคะแนนเสียงอยู่ไม่น้อย เทียบกับ สมัยนี้แล้ว อาจถือว่ามากด้วยซ�้ำไป

77


78


79


2534

80


การปะทะคารมในเมื่อยยังมีอยู่ต่อเนื่อง เรื่องดราม่าในสิทธิการใช้ห้องชมรมยังคง

มีให้เห็นอยู่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชมรมดูอบอุ่นมากขึ้น มีการท�ำกิจกรรมใน เทศกาลต่างๆ ด้วยกัน เช่น พากันไปลอยกระทง แต่กระนั้นก็ดี ดราม่าเรื่องคนไม่มีก็ยังโผล่ มาให้เห็น (แต่ก็น้อยลง)

รูปแบบทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างเห็นได้ชดั คือมีการน�ำตราสัญลักษณ์ชมรม รุน่ ทีเ่ ป็นสีเ่ หลีย่ ม

มาประทับที่เมื่อยเกือบทุกหน้า เป็นเอกลักษณ์ของปีนี้เลยก็ว่าได้ แถมบทกลอน บทกวีเรื่อง รักๆ ใคร่ๆ รูปแบบจินตนิยม (Romantism) ก็เริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้น และไม่ค่อยมี คนมาว่ากล่าวตักเตือนแล้ว (ปีก่อนๆ นี้ หากมีการเขียนเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ก็มักจะโดนโจมตี ด้วยกระแสเพื่อชีวิต) และบทกวีภาษาต่างประเทศ ก็มีให้เห็นเพิ่มขึ้น ด้วย

บทกวีทเี่ ขียนลงในเมือ่ ยเริม่ มีการพินจิ พิจารณาว่าจะน�ำมารวมเล่มกันจริงจัง จึงเริม่

มีผู้เรียกร้องให้ลงชื่อกันมากขึ้น และส่งผลให้บทกวีมีความคึกคักขึ้นเป็นพิเศษ มีอยู่โดยทั่ว ทั้งเล่ม (เปรียบเทียบกับยุคหลังๆ ที่หาบทกวีได้ยากยิ่ง)

81


82


83


2535

84


เป็นปีที่เริ่มมีการใคร่ครวญถึงความหมายของวรรณศิลป์กันมากขึ้น บทกวีแนว

จินตนิยมก็เริม่ เด่นชัดขึน้ มา วรรณศิลป์ยคุ นีเ้ ป็นยุคทีเ่ สพความงามของภาษาเป็นหลัก เริม่ เห็น แนวโน้มสู่ “ยุคกลอนรัก” แต่กย็ ังไม่ใช่เสียทีเดียว สิง่ ทีน่ ่าสนใจคือมีบทกวีที่ใช้ตวั อักษรล้าน นาขึ้นมาให้เชยชม เหมาะส�ำหรับผู้นิยมความงาม ตามที่ยุคนี้นิยามวรรณศิลป์โดยแท้

เรือ่ งจ�ำนวนสมาชิกก็ยงั เป็นปัญหาทีแ่ ก้ไม่ตกเสียที (แม้จนบัดเดียวนีก้ ไ็ ม่ได้มมี ากมาย

นัก) ถึงขนาดที่ชมรมเพื่อนบ้านอย่างอาสากลายมาเป็นผู้ช่วยประคับประคองและขับเคลื่อน ชมรมอยู่หลายครั้ง ด้วยความสัมพันธ์ “วรรณ-อาสา” เลยทีเดียว และจากการขุดค้น ก็ไม่ ค่อยพบเมื่อยของปีนี้เท่าใดนัก... (แต่กลับเจอเอกสารการก่อตั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาค เหนือแทน ไม่แน่ว่าสมาชิกชมรมอาจผันตัวไปท�ำกิจกรรมด้านการเมืองก็ได้)

85


86


87


2536

88


ความเหงายังคงเป็นเอกลักษณ์ของชาววรรณศิลป์ เมื่อยอารมณ์เป็นที่ระบายความ

เหงา โดดเดี่ยว ออกมาให้ผู้อื่นรับทราบและแบ่งปันความเหงาร่วมกัน บทกวียังคงเด่นเช่น เคย ทว่าเท่าที่พบหลักฐาน เมื่อยของปี 36 นั้นแทบไม่มีเล่มของตัวเองด้วยซ�้ำ เพราะเขียน ไว้ในเมื่อยฉบับ ‘35 และใช้เล่มนั้นต่อมาถึงปี ‘36 แสดงให้เห็นถึงวิกฤติจ�ำนวนสมาชิก หรือไม่เช่นนั้นสมาชิกก็คงไม่นิยมการเขียนเมื่อยเอาเสียเลย

ข้อเขียนในเมื่อยช่วงนี้มี้ทั้งการยกย่อหน้าคมๆ จากนวนิยายต่างๆ มาลง และมี

การเขียนเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการใช้ค�ำว่า “โทร” มากขึ้น น่าจะเป็น เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

89


90


91


2537

92


จากประกาศคณะปฎิวัติ (ในเมื่อย) ที่กล่าวว่า ทุกตัวอักษรที่บรรจุลงในสมุดเล่มนี้

ถือว่าเป็นสมบัติของชมรม “วรรณศิลป์” นับได้ว่าบรรยากาศการขีดเขียนช่างดูคึกคักน่าดู รูปเล่มของปี ‘37 ก็สวยสง่าน่าสนใจ มีการระบุปีชัดเจน และเขียนครบทุกหน้าไม่มีเหลือแม้ กระทั่งปกหลังด้านใน แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าสมาชิกในชมรม โดยเฉพาะคนที่อยู่เฝ้า ชมรมก็มีไม่มาก ซึ่งท�ำให้ชมรมดูเรียบร้อยไปโดยปริยาย (เพราะไม่มีคนอยู่) และดูท่าทาง จะไม่ได้มีของทิ้งไว้ในชมรมเสียด้วย เพราะมีคืนที่สมาชิกท่านหนึ่งได้เข้าไปคืนหนังสือแล้ว พบว่าห้องไม่ได้ล็อคทั้งๆ ที่ไม่มีใครอยู่ในห้อง...

งานเขียนช่วงนี้เข้าสู่ยุคเปลี่ยนถ่ายไปสู่บทกวีรักโรแมนติกเต็มตัว แถมมีบทกวี

อีโรติกให้อ่านเล่น มีการโต้ตอบกันด้วยบทกวีท่าทางสนุกสนาน เรื่องดราม่าเกี่ยวกับชมรม แทบจะหมดไป กลายเป็นดราม่าชีวิตรักส่วนตัวแทน (ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงก็มิทราบ เพราะ อาจเป็นแค่การเขียนกลอนรักเล่นๆ สนุกสนาน) นิยามวรรณศิลป์กลายเป็นสิ่งนามธรรมไป เสียแล้ว เพราะถึงกับมีคนบอกว่า ถ้าเจ้าปลง ท�ำจิตว่าง เจ้าก็จะเข้าใจ “วรรณศิลป์” นับว่าอารมณ์โรแมนติกครอบง�ำวรรณศิลป์ยุคนี้อย่างสิ้นเชิง เบียดขับส�ำนึกเพื่อชีวิตไปเสียสิ้น แต่ก็ยังมีปรัชญาชีวิตโผล่มาให้เห็นบ้าง แม้กระนั้นก็เป็นเรื่องความรักของหนุ่มสาว พ่อแม่ หรือธรรมชาติเป็นหลัก หาใช่ความรักต่อมวลชลดังเก่าก่อนไม่

93


94


95


2538

96


กลิน่ อายความรักคละคลุง้ ทัว่ ไปในเมือ่ ยสมัยนี้ นับตัง้ แต่เปิดเล่มแถลงการณ์ ก็พดู ถึง

เรื่องความรักเสียแล้ว เป็นความต่อเนื่องจากปีทผ่านมา นิยามวรรณศิลป์กลายเป็นนามธรรม ที่สวยงาม ความรักถูกเชิดชู และดราม่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องความรักทั้งหลายของปัจเจก มิตรภาพ มีการยกบทกวีของ พิบูลศักย์ ละครพล ข้อเขียนของ ทมยันตี ซึ่งน่าจะเป็นรสนิยม ทางวรรณกรรมของชมรมสมัยนั้นได้พอสมควร

แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดร่ามาพาดพิงกันในชมรมก็พอมีให้เห็นอยู่เล็กน้อย การมา

เยี่ยมของรุ่นพี่ก็มีมาหลายครั้ง ท�ำให้มีข้อเขียนยกย่องความยิ่งใหญ่ของชมรมให้ได้เห็น และ ที่น่าสนใจคือมีบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์โผล่มาให้ได้ยลด้วย

97


98


99


2539

100


บรรยากาศการเขียนในเมื่อยดูครึกครื้นน่าสนุกสนาน มีการเขียนโต้ตอบ/แจมหน้า

กระดาษกันโดยทั่วไป หน้ากระดาษที่มีคนเขียนเพียงผู้เดียวแทบไม่มีให้เห็น การท�ำจุลสารดู น่าสนุก มีรุ่นพี่มาเยี่ยมเยือนและเขียนลงเมื่อยให้เห็นอยู่เรื่อยๆ คนเหงาก็พร�่ำเพ้อไปตาม แนวทางของตน

ความรักเป็นเรือ่ งเล่าแม่บททีม่ อี ทิ ธิพลอย่างมาก ไม่วา่ จะพูดถึงเรือ่ งอะไรก็ตอ้ งมีการ

อ้างอิงถึง “รัก” “เรา” “หัวใจ” อยู่เสมอๆ ราวกับเป็นค�ำบังคับในการจดจารึกความรู้สึก ลงไป (แม้จะมีกวีอีโรติกข�ำขันเล็กน้อยโผล่มาแจมอยู่เรื่อยๆ) กลอนความรักกลายเป็น แนวทางการแสดงพลังทางวรรณศิลป์ของชมรมไปโดยปริยาย กล่าวคือ บทกลอนหลายบท เป็นเพียงกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น หาใช่อารมณ์รักแท้จริงไม่ (หรือถ้าแท้จริงก็ คงเป็นอารมณ์ที่ล้นเกินมากทีเดียว)

101


102


103


104


ทศวรรษ 2540

105


2540 - 2541

106


ต้องขอรวบสองปีนี้เข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากว่าเห็นความต่อเนื่องด้านความคิดที่

คาบเกีย่ วกันอย่างชัดเจนมาก ผมอยากเรียกว่ายุคนีเ้ ป็นยุครุง่ เรืองด้านอารมณ์โรแมนติกนิยม หรือที่ผมเคยเรียกว่า จินตนิยม อย่างสุดขีด ที่ต้องอยากเรียกว่าโรแมนติกนิยมเพราะ แม้ใน ทางวิชาการโรแมนติกนิยมจะหมายถึงรูปแบบศิลปะที่สื่ออารมณ์อย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไป แล้ว เมื่อพูดถึง “โรแมนติก” คนมักจะนึกถึง “ความรัก” ซึ่งข้อเขียน กลอน บทกวี ในเมื่อยช่วงนี้จะเป็นไปในแนวนี้ (ความรัก) แทบทั้งหมด

แต่กระนั้นก็ตาม ข้อเขียน กลอน บทกวี เกี่ยวกับความรักทั้งหลาย ก็ไม่ได้มาจาก

อารมณ์ที่แท้จริงทั้งหมด แต่จะมีการเขียนเล่นเพื่อความสนุกสนาน แสดงความสามารถ ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน เห็นได้จากการที่คนคนนึงสามารถเขียนได้หลากหลายอารมณ์ ในไม่กี่แผ่น ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เท่าใดนัก (คือ เขียนเรื่องรักหวาน ฟันหญิง อกหัก และ รักหวานอีกครั้งในไม่กี่แผ่น)

107


108


109


110


111


2542

112


เป็นปีที่มีการขีดเขียนเรื่องราวมากมายหลากหลายอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะเป็นเรื่องราว

ระดับปัจเจกและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชมรมเป็นหลัก ความสัมพันธ์ในชมรมค่อนข้าง แน่นแฟ้น และจะเป็นยุคแรกเริ่มที่แทบทุกอย่างของสมาชิกชมรมจะมาจารึกไว้ในเมื่อย ซึ่ง แสดงให้เห็นพลวัตรทางอารมณ์ของชมรมอย่างเต็มที่ มีทั้งทุกข์สุขปะปนกันไป มีการปรึกษา ด้านความรู้สึก ความสัมพันธ์ และเรื่องส่วนตัวแทบทุกเรื่องกับสมาชิกด้วยกัน ซึ่งมักจะเป็น แบบนี้ไปอีกหลายปี ท�ำให้ยากที่จะสรุปเอกลักษณ์ประจ�ำปีนั้นๆ ได้ ขอให้อ่านจากเมื่อย โดยตรงเลยจะดีกว่า

ประเด็นหนึง่ ในปีนที้ นี่ า่ สนใจก็คอื ค�ำว่าเมือ่ ยแทบจะถูกแทนทีด่ ว้ ยระบายไปแล้วใน

ปีนี้ ซึ่งก่อให้เกิดดราม่าขึ้นมาพอสมควร

และแถมอีกอย่าง ปีนี้มีเพลงแต่งไว้ให้ชมรมด้วยเป็นเพลงขอบคุณหลังจากที่ร่วมกัน

ท�ำจุลสาร

113


114


115


2543 - 2544

116


ครัง้ นีเ้ มือ่ ยกลับมาชือ่ เมือ่ ยอีกครัง้ รูปเล่มหนาแนวนอน และมีการเขียนครบทุกหน้า

และวัฒนธรรมการบรรยายเรือ่ งราวส่วนตัวและความสัมพันธ์ในชมรมอย่างละเอียดถีย่ บิ เรือ่ ง ทุกเรื่องสามารถลงเมื่อยได้หมด แม้แต่ diagram ภาพประกอบนิยายวิทยาศาสตร์ หรือ รูปขนาดเล็กของสมาชิกก็น�ำมาแปะไว้ที่ชมรม หลายเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่อาจน�ำมาลง ในวารสารเล่มนี้ได้ ถึงขนาดว่าบางเรื่องผู้เขียนเองก็ฉีกเรื่องที่ตัวเองเขียนทิ้ง จนต้องมีผู้มา เขียนขอร้องไม่ให้ฉีกหรือท�ำลายเมื่อยลงไป โครงงานที่ท�ำก็น่าจะเห็นความร่วมมือกัน พอสมควร อย่างน้อยก็ในด้านความคิด เพราะถึงกับมีคนเสนอโครงการในปีถัดไปไว้ให้ พิจารณาเลยทีเดียว

117


118


119


120


121


2545 - 2546

122


เหล่าคนเหงาเริม่ มีจำ� นวนน้อยนิด จากเมือ่ ยหนาๆ อย่างสองปีทแี่ ล้ว กลายมาเป็น

เมื่อยเล่มบาง แต่คนก็ยังขยันขีดเขียนกันเช่นเดิม และวรรณศิลป์ก็ยังคงเป็นแหล่งให้ความรู้ แก่นักศึกษา ด้วยแนวหนังสืออันเป็นเอกลักษณ์ นอกเหนือจากนั้นก็เป็นวิถีชีวิตของสมาชิก ในชมรมที่ บ อกกล่ า วกั น แทบทุ ก อย่ า ง และจะมี ค นมาช่ ว ยกั น แสดงความคิ ด เห็ น อย่ า ง หลากหลาย

123


124


125


126


127


2547 - 2549

128


หน้าปกเมื่อยของปี ‘47 มีอยู่เล่มหนึ่งน่าสนใจยิ่งนัก เป็นปกที่มีการวาดด้วยสี

โปสเตอร์จากสมาชิกทีเ่ รียนวิจติ รศิลป์ หากลองอ่านดูจะพบว่าชมรมเป็นพืน้ ทีท่ ที่ กุ คนไว้วางใจ เป็นอย่างยิง่ ถึงขนาดว่าบางคนเอางานมาฝากไว้ทชี่ มรม และมีการเปิดพืน้ ทีร่ ว่ มเล่นสนุกกัน ในเมื่อย มีการวาดรูปสมาชิกอย่างอลังการหลายหน้า และมีเมื่อยการงาน อีกด้วย

ส�ำหรับเมือ่ ยทีเ่ หลือทัง้ หลาย มีมากมายเกินสาธยายได้หมดและเรือ่ งราวหลากหลาย

รวดเร็วมีพลวัตรมากมายจนน�ำไปแต่งนิยายเรื่องยาวได้ มีเมื่อยหลายเล่มมาก ส่วนหนึ่งคง เป็นเพราะเป็นอดีตอันใกล้จึงยังไม่สูญหายไปไหน และสมาชิกก็ขีดเขียนเมื่อยราวกับหายใจ เอาอากาศเข้าร่างที่หากขาดไปเมื่อใด ก็คงสิ้นใจทีเดียว

ส�ำหรับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก และรายละเอียดลึกซึ้งเพิ่มเติม แนะน�ำ

ให้ตามอ่าน กล่องความทรงจ�ำ...วรรณศิลป์, ความทรงจ�ำในกล่องวินเทจ และ ชวนทะเลาะ กับความทรงจ�ำ จะท�ำให้ท่านได้เข้าถึงบรรยากาศชมรมจากมุมมองของคนใน ซึ่งน่าจะเห็น อะไรมากกว่าผมแน่นอน

129


130


131


132


133


134


2550 - 2556

135


136

2550


ปี 50 เป็นปีที่ยิ่งใหญ่ในระดับ ขอบทอง เลยทีเดียว เพราะพี่มีน อภิชาติ

เพชรลีลา ผู้เขียน กล่องไปรษณีย์สีแดง ซึ่งถูกน�ำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง เพื่อนสนิท ได้มอบเมื่อยขอบทองไว้ให้ชมรม เหล่าสมาชิกต่างดีใจราวกับขึ้นสวรรค์ชั้น 7 และบางท่าน ยังน�ำมาคุยกับน้องๆ จนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อยฉบับนี้ก็มีความยิ่งใหญ่อลังการด้านดราม่าจน หาที่เปรียบไม่ได้ ผมไม่รู้ว่าควรจะพูดอย่างไร แต่นับเป็นประวัติศาสตร์ชมรมยุคที่เรียกน�้ำตา ได้มหาศาลจริงๆ ผมเชื่อว่าความสัมพันธ์ของชมรมในยุคนี้ แนบแน่นแต่เปราะบางมากกว่า ยุคไหนๆ เพราะมันเป็นชีวิตจริงด้วยกระมังที่ท�ำให้เรื่องมันสะเทือนใจขนาดนี้

137


138


139


140

2551 - 2553


เป็นช่วงทีพ่ แี่ ม็กเป็นหัวเรีย่ วหัวแรงส�ำคัญในการด�ำรงรักษาและจัดกิจกรรมชมรมอย่าง

หลากหลาย และพี่ไผ่ก็มาช่วยเป็นเรี่ยวแรงส�ำคัญอีกคน ดังจะเห็นได้จากความเรียงที่พี่สอง คนเขียนถึงชมรมได้บรรยายไว้แล้ว เมื่อยในช่วงนี้ แม้สมาชิกไม่ได้มากมายนัก แต่ก็มีการขีด เขียนลงเมื่อยท้ากระแส Facebook กันอย่างบ้าคลั่ง ถือได้ว่าช่วงสามปีนี้เป็นช่วงเวลา สะสมสมาชิกใหม่ ทีเ่ พิ่มขึ้นทีละนิด ละนิด ละนิด เปรียบดังช่วงเปลี่ยนยุคครัง้ ล่าสุด ซึง่ บุคคล ในยุคเหล่านี้ใกล้จะเรียนจบ หรือเพิ่งจบไปหมาดๆ นั่นเอง

141


142


143


144


145


146


147


148

2554 - 2556


และแล้วก็มาถึงยุคสมัยที่เรียกว่า ปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ผ่านช่วงหุบเหวหายนะมาได้

อย่างหวุดหวิด...

ช่วงปี 54 ก็เป็นช่วงที่สนุกสนานครื้นเครงดี มีเมื่อยให้เขียน ผู้เรียบเรียงประวัติเอง

(ต่อไปขอใช้สรรพนามว่า ผม นะครับ) ก็ได้เขียนเมื่อยอารมณ์ ฉบับ... ประสบภัยน�้ำท่วม เป็นเล่มแรกในชีวติ รูส้ กึ ประทับใจมิรลู้ มื มีคา่ ยและกิจกรรมมากมาย ซึง่ ผมเสียดายเป็นอย่าง ยิ่งที่มิได้เข้าร่วม มาเข้าอีกทีก็ปลายปีเสียแล้ว

พอถึงปี 55 มีค�ำสั่งให้ปรับปรุงห้องชมรมขนานใหญ่ ท�ำให้เราต้องขนย้ายหนังสือ

ออกจากชมรมไปพักไว้ที่อื่น และไม่ให้ใช้ห้องชมรม เนื่องจากจะมีการปรับปรุง ดังนั้น เมื่อย จึงหายหน้าไปจากประวัตศิ าสตร์อนั ต่อเนือ่ งของวรรณศิลป์ และชมรมก็ประสบวิกฤติขาดแคลน การพบปะสังสรรค์ ท�ำให้เกิดความกังวลโดยทั่วไปว่าชมรมคงไม่อาจสานต่อไปได้ ทว่าด้วย ความร่วมมือร่วมใจกัน และความสามารถของพี่จิ๊กกี๋ ประธานชมรมในปีนั้น ก็ได้จัดการ พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนหนังสือกันอ่าน ที่ชมรมดนตรีสากล จนท�ำให้ชมรมมีสมาชิกเพิ่มเติม

เมื่อห้องชมรมเสร็จสมบูรณ์ ก็มีการขนหนังสือกลับเข้าชมรม และหลังจากนั้นชมรม

ก็ด�ำเนินต่อมา อย่างไรก็ตาม ไม่มีเมื่อยอีกแล้วส�ำหรับปีนี้ ผมเองพยายามท�ำเมื่อยกากขึ้น มา แต่ก็ไม่มีใครเขียนเพราะรูปเล่มไม่สวยงาม จนผมนึกว่าหมดยุคของเมื่อยแล้วกระมัง

และเมื่อปี 2556 หรือปีนี้นี่เอง พี่ไผ่เข้ามาแล้วทนไม่ได้ที่ชมรมไม่มีเมื่อย จึง

ปลุกเสก เมื่อย ฉบับ... Lost and Found ขึ้นมา และเมื่อยก็ฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง แต่ ก็ไม่ได้คึกคักเท่าสมัยก่อน เพราะต้านกระแส Social Media ไม่ไหว กระทั่งเมื่อยเปียก น�้ำ...

เมื่อย ฉบับที่ชื่อยาวที่สุดในโลก เรียกย่อๆ ว่า เมื่อย เกิดใหม่ ก็ได้ก�ำเนิดขึ้นใน

ชมรม เมื่อย ฉบับนี้ เป็นเมื่อยที่ยังไม่จบ เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ผมอยากรอให้ รุ่นถัดๆ ไปมาสรุปความให้จะดีกว่า ผมเชื่อว่าประวัติศาสตร์ชมรมผ่านเมื่อย ต้องมีผุ้สานต่อ และท�ำได้ละเอียดลออกว่านี้ ผมยินดีที่จะรับค�ำวิพากษ์ ทั้งหลายทั้งปวง โปรดต�ำหนิมาเถอะ ครับ เพื่อความสมบูรณ์ของงานครั้งต่อไป

149


150


151


152


153


154


155


156

เรื่องเล่าวรรณศิลป์ เดี๋ยวนะ... ขอนึกก่อน


สัพเพเหระกับเดี๋ยวนะ... ขอนึกก่อน

อยู่ ๆ ท่านประธานชมรมก็ได้เกิดจุดประกายความคิดขึ้นมาว่า

“เฮ้ย ไอ้เดี๋ยวฯ แกเขียนเรื่องความเป็นวรรณศิลป์ให้หน่อย”

‘ไอ้เดี๋ยวฯ’ ที่ตอนนั้นก�ำลังถลุงเวลาปิดเทอมไปกับการเล่นเกมอย่างเพลิดเพลินก็

เผลอตอบรับไปอย่างไร้สติสตังว่า “อือ อืม ได้ๆ เดี๋ยวจัดการให้”

จนกระทั่งกลับมาทบทวนดูว่าตัวเองได้ท�ำอะไรลงไปบ้างนั่นล่ะ หายนะก็บังเกิดแก่

ข้าพเจ้า ธชีเล่าก็ไปจากหน้าเฟสบุ๊คนั้นแล้ว เหลือแต่ใจแป้วๆ ของข้าพเจ้ากับหน้าจอขาว ใสของโปรแกรมพิมพ์งาน

อันที่จริง ข้าพเจ้าเคยถามค�ำถามนี้กับตัวเองเมื่อนานแสนนานมาแล้ว จนจ�ำไม่ได้

ว่าเมื่อไหร่ที่ถาม และการถามตอนนั้นได้ค�ำตอบออกมาว่าอย่างไร เป็นความเชื่อโดย ส่วนตัวว่าทุกอย่างยังคงติดอยู่ในความทรงจ�ำ แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออก เมื่อประกอบกับ หน้าจอที่ขาวราวหิมะแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในหัวก็ดูจะขาวโพลนไปกับมัน

ข้าพเจ้าเริม่ ตัง้ สตินกึ ย้อนไปตัง้ แต่ตน้ เพือ่ รวบรวมข้อมูลเกีย่ วกับชมรมนีใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ

เพื่อน�ำมาตอบค�ำถามว่าความเป็นวรรณศิลป์นี้มันคืออะไร และมีหน้าตาอย่างไร

แรกเริ่มเดิมที สิ่งที่เรียกว่าชมรมวรรณศิลป์น้ันไม่เคยจะอยู่ในชีวิตของข้าพเจ้า

มาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ประสบพบกับบันไดลึกลับสายหนึ่งในซอกมุมเงียบ ๆ ของอ.มช. – สถานที่ที่มีแต่คนพลุกพล่านอยู่ตลอดตั้งแต่เช้ายันเย็น ข้าพเจ้าได้อาศัยช่วง ว่างวันหนึ่งในการเดินเข้าไปส�ำรวจว่าในซอกหลืบนั้นมีสิ่งใด จนกระทั่งได้พบกับชมรมนี้

จ�ำได้วา่ เมือ่ เข้าชมรมคราวแรกก็กลับออกไปเล่าให้เพือ่ นฟัง พอเพือ่ นได้ยนิ ชือ่ ชมรม

เท่านัน้ เองก็ทำ� หน้าเหรอหราราวกับว่าไม่เคยได้ยนิ ชือ่ นีม้ าก่อนเลยในชีวติ ซึง่ ก็คงเป็นเรือ่ งที่ คาดเดาได้ส�ำหรับชมรมที่มีห้องอยู่ในซอกหลืบเล็กๆ ที่แทบไม่มีใครเดินผ่านของอาคารหลัง ใหญ่ ถึงแม้จะมีการโฆษณาเปิดตัวชมรมในตอนทีแ่ รกลงทะเบียนก็ตามที แต่นอ้ ยคนนักทีค่ งจะ มีเวลาให้ความสนใจ

ดังนั้น อย่างแรกที่สุด คนในชมรมนี้คงต้องมีความอยากรู้อยากเห็นพอตัว ไม่เช่น

157


นั้นจะหาชมรมนี้ไม่เจอ

แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทกุ คนทีไ่ ด้พบเจอกับชมรมนีด้ ว้ ยตัวเอง บางคนมาเพราะว่ามีคน

พามาให้รู้จัก

และเนื่องจากเขาถูกพามา แปลว่าเขาต้องสนใจในอะไรบางอย่างของชมรมนี้

ข้าพเจ้าจ�ำได้ว่าในแวบแรกที่ได้เห็นชมรม ก็รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองได้ค้นพบโอเอซิสกลาง ทะเลทรายทีแ่ ห้งผาก ชัน้ วางหนังสือทีม่ หี นังสือเรียงกันภายในจนเต็มแน่นถูกจัดชิดผนังอย่าง เป็นระเบียบ ภายในห้องโล่งกว้าง พิมพ์ดีดตกยุคที่ตั้งอยู่บนชั้นแผ่กลิ่นอายบางอย่าง และแม้ จะไม่มใี ครอยู่ บรรยากาศนัน้ ก็ได้บอกทุกสิง่ ทุกอย่างแล้วว่า สถานทีน่ คี้ อื สถานทีแ่ ห่งการอ่าน หนังสือและพักผ่อน

ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า ส�ำหรับผู้มาที่ชมรมนี้ จะมากจะน้อยก็ตามที คงต้องชอบ

อ่านหนังสืออยู่พอสมควร

ซึง่ ก็คงสอดคล้องกับค�ำขวัญของชมรมทีว่ า่ ‘โลกกลมเสมอ ส�ำหรับคน(ชอบ)เหมือน

(แต่อย่ากระนั้นเลย โดยประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว คนรู้จักของข้าพเจ้า

158 กัน’

ทีม่ าชมรมนีม้ นี อ้ ยนัก แถมบางคนมารอบเดียวแล้วก็ไปเลยอีกต่างหาก กลับกลายเป็นว่า คน ที่ชอบเหมือนกันคนอื่นไปอยู่มหาวิทยาลัยอื่น แล้วก็เข้าชมรมวรรณศิลป์ของมหาวิทยาลัยอื่น จนหมดสิ้น โลกของข้าพเจ้าก็เลยกลมใหญ่กว่าปกติไปนิดหน่อย)

แต่พอเอาเข้าจริงๆ เมื่อเข้ามาอยู่ในชมรม นอกจากหนังสือแล้วก็ยังมีเรื่องอื่นให้

ท�ำอีกเพียบ วันดีคนื ดีกจ็ ะมีคนเดินเข้ามาบอกว่า “เอาล่ะ เสาร์นไี้ ปปัน่ จักรยานกันเถิด สหาย เอ๋ย” หรือไม่ก็ “วันนี้เรามาดูหนังกันเถอะ” และอีกสารพัดอย่างที่ไม่อาจจะใช้จินตนาการ ในการคาดเดาได้

จ�ำได้ว่ามีครั้งหนึ่งที่อยู่ๆ ก็มีคนประกาศขึ้นมาว่า “หมู่เราทั้งหลาย นอนค้างชมรม

กันเถอะ”

ดังนั้น นอกจากจะต้องชอบอ่านหนังสือและมีความอยากรู้อยากเห็นแล้ว คุณต้อง


กล้าท�ำอะไรแปลกๆ ด้วยเหมือนกัน แต่สว่ นใหญ่ขา้ พเจ้ามักจะไม่คอ่ ยร่วมแจมกับเขาเท่าไหร่ นัก อันเนื่องมาจากว่ายังคงชื่นชอบกับการเล่นเกมหัวราน�้ำไปวันๆ อยู่ ส่วนใครจะไปก็เชิญ ตามสบาย ไม่ได้ขัดขวาง อย่าลืมถ่ายรูปมาอวดกันบ้างก็พอ (ส�ำหรับค�ำประกาศแปลก ๆ อย่าง “ไปเที่ยวปายสุดสัปดาห์นี้กันไหม”)

แต่ถงึ จะมีกจิ กรรมสนุกสุดเหวีย่ งแค่ไหน สาระก็ยงั คงมีอยูจ่ ริงในชมรม วันดีคนื ดีเรา

จะนัดกันมาสนทนาในเรื่องต่าง ๆ ที่คิดกันเอาเองว่าน่าสนใจ อย่างสงคราม การเมือง หรือกระทั่งหัวข้อเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างผลการเรียนในเทอมที่ผ่านมา (น่าแปลก เรื่องนี้เป็น เรือ่ งทีถ่ ามใครก็ไม่คอ่ ยมีคนกล้าตอบ) วาระงานส�ำคัญๆ ในชมรมก็มที กุ คนอยูป่ ระชุมกันอย่าง พร้อมหน้าพร้อมตา

นอกจากจะชอบอ่านชอบคิดชอบเที่ยว บางคนยังชอบเขียน เช่นข้าพเจ้าและเพื่อน

พ้องคนอื่น ๆ ในชมรมที่เขียนกันได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ในชมรมจะมีสมุดที่มีไว้เพื่อ เขียนโดยเฉพาะอยู่เล่มหนึ่ง ใครรู้สึกยังไงหรือว่าอยากเขียนอะไรก็เชิญจดจารลงไปให้เต็มที่ แล้วใครก็ตามที่เปิดสมุดเล่มนั้นก็จะได้พบกับสิ่งที่ถูกเขียนเอาไว้ ซึ่งก็มีทั้งระบายอารมณ์ บางคนก็มาเขียนเอาข�ำ ๆ บางคนก็มาเป็นสาระยืดยาวเป็นหน้าๆ เลยก็มี ดังนั้น คนในชมรมนี้ควรจะมีความสามารถด้านการเขียนในระดับหนึ่ง

แต่ถงึ ไม่มกี ไ็ ม่เป็นไรอยูด่ ี เพราะในช่วงปลายปี ทางชมรมจะมีการจัดค่ายพาขึน้ ดอย

ไปสอนว่าถ้าอยากเขียน จะต้องเขียนยังไง ซึ่งผู้มาอบรมก็ไม่ใช่ใครอื่น ก็คนในชมรมเองนั่น ล่ะ เรียกว่าถ้าไม่นับกิจกรรมที่จัดในค่ายแล้ว มันก็คือการไปเที่ยวยกชมรมดี ๆ นี่เอง แต่ที่ส�ำคัญที่สุดจริง ๆ ภายในชมรม ก็คงเป็นบรรยากาศกระมัง...?

ทั้งรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ การถกเถียง การเหน็บกันแบบพอเรียกเสียงหัวเราะ หัวข้อ

สนทนาพิลึก ๆ เมนูอาหารที่ไม่ค่อยเห็นตามท้องตลาด (อ้อ ใช่ ถ้าเก่งเรื่องการครัว ทุกคนในชมรมจะเรียกหาท่านเป็นพิเศษ) ความเงียบอันเนือ่ งมาจากการตัง้ สมาธิอา่ นหนังสือ ของแต่ละคน และอื่นๆ อีกมากที่ไม่ได้บรรยายเอาไว้จนครบ คิดถึงทีไรก็มีเรื่องให้ได้อมยิ้มทุกทีไป...

159


160

บทกวีวรรณศิลป์ สุรพันธุ์ สมสีดา


ตัวหนังสือพาเรามาพบกัน ตัวหนังสือพาเรามาพบกัน... บางความฝันพาเรามารวมหมู่ ประสบการณ์ต่างท�ำหน้าที่ครู มาแลกเปลี่ยน-เรียนรู้ อยู่ตรงนี้ เป็นพื้นที่มิ่งมิตรมวลสหาย เป็นพื้นที่จุดประกายมิหายหนี เป็นพื้นที่อิสรโลกเสรี เป็นพื้นที่แห่งรักและเข้าใจ กองหนังสือต่างหมอนเรานอนหนุน จิบกาแฟหอมกรุ่นรับเช้าใหม่ มีเรื่องสั้นมีนิยายสานสายใย มีเรื่องราวน้อยใหญ่ให้ค้นพบ ที่นี่คือบ้านของเรา... มีเรื่องเล่ามากมายไม่รู้จบ มีหัวไห้สุขเศร้ารวดร้าวครบ มีเพื่อน เกลื่อนกลบรันทดท้อ คือบ้านที่ชื่อ “วรรณศิลป์” ที่ผ่อนพักชีวินก่อนสู้ต่อ เป็นโบกแห่งวรรณกรรมที่เฝ้ารอ เป็นพื้นที่เติมต่อไฟชีวิต โลกแห่งวรรณกรรมยังเฝ้ารอ คอยเติมต่อไฟฝัน ให้ฉัน-เธอ

161


162

ว่าที่ประธานแถลง จิราวัฒน์ รงค์ทอง


“ผมไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้”

163






Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.