LENG NEI YI

Page 1

LENG NEI YI 2 TEMPLE

A t ravel to L eng Nei Yi 2 templ e in Nont habu r i


“ประวัติความเป็นมา” ในปี พ.ศ. 2422 เจ้าอาวาสองค์ที่ ๑ พระอาจารย์สกเห็ง ได้รับพระกรุณาโปรด พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์ จีนวังสมาธิวัตรดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าคณะใหญ่ จีนนิกายรูปแรกในประเทศไทย และเป็น ปฐมบูรพจารย์ของวัดมังกรกมลาวาส ท่าน เป็ น พระที่ มี ค วามเมตตาเชี่ ย วชาญทางด้ า น วิปัสสนากรรมฐาน ท่านทราบว่าชีวิตของ ท่ า นจะดั บ ขั น ธ์ จึ ง เจริ ญ วิ ปั ส สนาจนหมด ลมปราณและมรณภาพในอิริยาบถนั้น กาล ต่อมาเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ พระอาจารย์กวย หงอ ได้สร้างหอไตรปิฎก และกุฏิเจ้าอาวาส ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้รับ พระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๒ เจ้าอาวาสองค์ ที่ ๓ พระอาจารย์โล่วเข่ง ได้บูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถและพระพุทธรูปในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับพระราชทาน สมณคักดิ์เป็นพระอาจารย์ จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ ที่ ๓ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ พระอาจารย์ฮวบจง ได้สร้างเจดีย์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ แต่เนื่องจาก ท่านเดินทางกลับไปยังประเทศจีน เพื่อรับ ตำ�แหน่งเจ้าอาวาสวัดน่ำ�ฮั่วยี่ จึงไม่ทันได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ พระอาจารย์ยง่ ปิงได้สร้างศาลาบุญโญทัยในปี

พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร รักษาการเจ้า คณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๔ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ พระอาจารย์เซี่ยงหงี ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภา ในวัด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร เจ้า คณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๕ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระสังฆราชให้เป็นอุปัชฌาย์รูปแรก แห่งจีนนิกายในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ต่อมาสมเด็จ พระสั ง ฆราชทรงมี บั ญ ชาแต่ ง ตั้ ง ให้ ดำ � รง ตำ�แหน่งเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ และได้เลื่อนสมณคักดิ์จากหลวง จีนคณาณัติจีนพรต เป็นที่พระอาจารย์ธรรม สมาธิวัตรเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ที่ ๖ ซึ่ง ได้ดำ�เนินการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดจนได้รับ ปรับปรุงระเบียบการบรรพชาอุปสมบท ฝ่าย จีนนิกายให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและได้ รับพระราช ทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอา จารย์วังสสมาธิวัตรพุทธบริษัทจีนเนตา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ โดยใช้ โ มเสคติ ด ผนั ง ทั้ ง หมดและพื้ น ขั ด หิ น อ่ อ นหลั ง จากนั้ น ได้ ส ร้ า งตึ ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วัตถุธรรมสูง ๙ ชั้น เพื่ออุทิศเป็นพระราช กุ ศ ลแด่ อ งค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ท รมหาจุ ฬ าลงกรณ์ พ ระจุ ล จอมกล้ า เจ้ า อยู่

2

หัว ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะ สงฆ์จีนเป็นล้นพ้น อีกทั้งเพื่อเป็นกิติยานู สรณ์ เ ฉลิ ม พระบารมี แ ห่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันใช้ระยะเวลาใน การก่อสร้าง ๒ ปี ๔ เดือน จึงแล้วเสร็จ เมื่อ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะสงฆ์ จีนนิกายและคณะกรรมการจัดงานได้กราบ บังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็ จ พระราชดำ� เนิ น ทรงเปิ ด ตึ ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วัตถุธรรม “หอพิพิภัณฑ์วัตถุธรรม วัดมังกร กมลาวาส” เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ อีกทั้งยังได้พระราชทานพระบรม ราชานุ ญ าติ ใ ห้ อั น เชิ ญ พระปรมาภิ ไ ธยย่ อ “ภ.ป.ร.” ประดิษฐานที่พระกริ่งไวโรจน พุทธ เพื่อมอบแก่พุทธศาสนิกชนผู้บริจาค ทรัพย์ โดยเสด็จพระราชกุศลภายหลังได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อน สมณศั ก ดิ์ เ ป็ น พระมหาคณาจารย์ จี น ธรรม สมาธิวัตร (โพธิแจ้งมหาเถระ) เสมอด้วยชั้น รองสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนา เจ้า อาวาสองค์ที่ ๘ พระอาจารย์เย็นเจี่ยว ได้ช่วย ดูแลควบคุมการก่อสร้างตึกพิพิธภัณฑ์วัตถุ ธรรม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระ อาจารย์จีนธรรมคณาธิการ ไพศาลสมณกิจ



NONTH ท้าวจตุโลกบาล

“ ฮวง” ( ลม ) “ เที้ยว” ( ถูกต้อง ) “ โหว” ( ฝน ) “ สุง” ( ราบรื่น ) คือให้ดินฟ้า อากาศเป็นไปโดยราบรื่นตามฤดูกาล ให้ราษฎรเป็นอยู่โดยปกติสุขก็พอไม่ต้องช่วยรบ

ครั้นการยกทัพไปตีกษัตริย์ติ๋วเป็นผล สำ�เร็จ กษัตริย์บู่อ๋องจึงรับสั่งให้ตั้งศาลเจ้า บูชาเทพทั้ง ๔ องค์ นั้น และให้มีเครื่องหมาย ดังนี้ คือ องค์หนึ่งถือดาบ หมายถึง ลม เพราะ เวลาฟันดาบจะเกิดเป็นเสียงลม องค์หนึ่งถือ พิณ เพราะการดีดพิณตามภาษาจีนออกเสียง ว่า “ เที้ยว” องค์หนึ่งถือร่ม หมายถึง ฝน และ

องค์หนึ่งถืองู เพราะคำ�ว่า งูทะเล ออกเสียงว่า มหาราชทั้ง ๔ รักษา ชาวจีนจึงได้สร้างท้าวจตุ “ สุง” แต่ต่อมาเนื่องจากงูไม่เป็นที่นิยมของ มหาราชขึ้น เรียกว่า ฮูฮวบ ( ธรรมบาล ) แปล สาธุชนจึงเปลี่ยนอุ้มเจดีย์แทน ว่า ผู้คุ้มครองพระศาสนา และ ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ องค์นี้มักสร้างเป็น รูปขนาดใหญ่โต เรียงไว้ในวิหารต้นของวัด ข้างละสององค์ ลัทธิธรรมเนียมปรากฏว่า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงมอบพระธรรมไว้ แ ก่ ท้ า ว

4


HABURI นอกจากนี้ ยังพิทักษ์รักษาประเทศ ชาติ และพุทธบริษัทอีกด้วย ถ้าประเทศใด ละเลยหรือหมิ่นแคลนพระธรรมก็จะเพิก ถอนการพิทักษ์นั้นเสีย หากมั่นอยู่ในพระ ธรรมก็จะอำ�นวยสุขสวัสดิ์ บริวารท้าวจตุ โลกบาลทั้ง ๔ มีหน้าที่คอยตรวจตราดูแล ทุกข์สุขของประชาโลก และจัดการปราบ ปรามสัตว์ที่ทำ�บาปและที่ไม่ตั้งอยู่ในศีล ธรรมอันดีงาม

ท้าวธตรฐมหาราช ปกครองทางทิศบูรพา เป็นเจ้า แห่งพวกคนธรรพ์ ( ถือพิณ ) ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองทางทิศทักษิณ เป็น เจ้าแห่งกุมภัณฑ์ ( ถือร่ม ) ท้าววิรูปักษ์มหาราช ปกครองทางทิศปัจฉิม เป็น เจ้าแห่งพวกนาค (ถือดาบและงู ) ท้าวกุเวรมหาราช ( เวสสุวัณ ) ปกครองทางทิศ อุดร เป็นเจ้าแห่งพวกยักษ์ ( ถือเจดีย์ )

5


“Highlight” ไฮไลท์ ที่สำ�คัญของวัดบรมราชาฯ นี้คือ สถาปัตยกรรม ใครที่มาชมแล้ว อาจนึก คล้ายๆ ไปถึงพระราชวังปักกิ่งเลยทีเดียว ซึ่ ง ที่ นี่ ก็ ต้ั ง ใจสร้ า งให้ เ ป็ น พุ ท ธศิ ล ป์ ใ น ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงเช่นเดียวกับ พระราชวังปักกิ่งอันเลื่องชื่อ ดังนั้นศิลปะ ต่างๆ ในวัดนี้จะเป็นแบบจีนล้วนๆ มีการ วางผังตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายฌาน มีการจัดวางวิหารถือตามแบบวัดหลวง โดยมี “วิหารจตุโลกบาล” เป็นวิหารแรก ภายในวิ ห ารเป็ น ที่ ตั้ ง ของพระศรี อ ริ ย เมตไตรย ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง บริเวณสี่มุม ของวิหารเป็นที่ตั้งของท้าวจตุโลกบาล

6


7


8


9


10


11


ARCHITE “สถาปัตยกรรม”

ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดเล่งเน่ย2 นั้น สร้างแบบศิลปะจีนล้วนๆ เป็นพุทธศิลป์ในราชวงศ์หมิงชิงมีการวางผัง ตามแบบวัดพุทธศาสนานิกาย ฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลานเรียกว่าซี่เตี่ยมกิม การจัดวางวิหารถือตาม แบบ วัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลกบาลเป็นวิหารแรกพระอุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ส่วนวิหารอื่นๆ อยู่ประกอบสมดุล ซ้ายขวา

12


ECTURE 13


วันเวลาที่เปิดให้เข้ากราบนมัสการและเยี่ยมชม ที่นี่เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.00 น. วันจันทร์ ถึง ศุกร์ ปิด 5 โมงเย็น ส่วนเสาร์-อาทิตย์ เปิดถึง 6 โมงเย็น

14


15


16


17


18


MAP GUIDE

วิธีการเดินทาง -จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำ�เภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อน ถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร - จากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถ เลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ วัดอยู่ถัดจากศูนย์เยาวชน เทศบาล

19


T h i s g u i d e b o o k fo r t r a v a l t o L e n g Ne i Y i 2 t e m p l e i n No n t h a b u r i

by Siwakorn Dankamol


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.