24 March 2012 World TB Day: Stop TB in my lifetime

Page 1

บทความเผยแพร่ให้สื่อมวลชนเนื่องในโอกาสวันวัณโรคสากล ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เผยแพร่โดย: มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศ ญี่ปุ่น ติดต่อ: ทรามวัย หลวงจินา เลขานุการ มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ จังหวัดเชียงราย เลขที่ ๑๐๕๐ ถนน สถานพยาบาล ตาบลเวียง อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๗๑๓๑๓๕ โทรสาร ๐๕๓ ๗๕๒๔๔๘ มือถือ ๐๘๙ ๗๕๕ ๐๒๗๓ Email: thrf@tbhiv.org และ thrf.tbhiv@gmail.com

24 March 2012 World TB Day: Stop TB in my lifetime

“หยุดวัณโรค...ก่อนหยุดลมหายใจ" เมื่อสตรีไฮโซจังหวัดเชียงราย ทาผู้ป่วยวัณโรคยากจนหลั่งน้าตา องค์การอนามัยโลกประกาศให้วันที่ ๒๔ มีนาคมของทุกปีเป็นวันวัณโรคสากล เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายแพทย์โรเบิร์ต ค็อค ชาวเยอรมันผู้ค้นพบและประกาศต่อชาวโลกเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ ว่า เชื้อแบคทีเรียที่เขาค้นพบเป็นสาเหตุของวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกอย่างหนักในศตวรรษที่ แล้ว ในปีนี้องค์การอนามัยโลกและพันธมิตรปราบวัณโรคนานาชาติ (Stop TB partnership) ให้คาขวัญวัน วัณโรคสากลว่า “Stop TB in my lifetime” ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้ประชาคมโลกมีส่วนในการกาจัดโรค โบราณนี้ โดยให้แต่ละคนมีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์ที่ต้องการเห็นวัณโรคหมดไปจากโลกนี้ใน อายุขัยของแต่ละคน บทความนี้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และบทบาทของสตรีที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สูงในจังหวัดเชียงราย หรือที่เรียกในภาษาปัจจุบันว่า สตรีไฮโซ ว่ามีบทบาทในการช่วยปราบวัณโรคซึ่ง สอดคล้องกับคาขวัญวันวัณโรคสากลในปีนี้ได้อย่างไร

วัณโรค – แม้แต่พระจักรพรรดิญี่ปุ่นก็ยังประชวร ในประวัติมนุษยชาติ วัณโรคหรือที่เรียกว่าทีบี (TB) เป็นโรคที่เกิดกับคนมานานหลายพันปีที่แล้ว เพราะ การตรวจโครงกระดูกของมัมมี่พบวัณโรคของกระดูก นักดนตรีชั้นเอกของโลกเช่น โชแปง เสียชีวิตด้วยวัณ โรค พระจั ก รพรรดิ ญี่ ปุ่ น องค์ ปั จ จุ บั น ก็ เ คยประชวรด้ ว ยวั ณ โรคเมื่ อ ยี่ สิ บ พรรษา พระปิ ตุ ล า (ลุ ง ) ก็ สิ้นพระชนม์จากวัณโรค ดังนั้น ในอดีตวัณโรคจึงเป็นโรคที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ เพราะยังไม่มียารักษาวัณ โรค แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์คิดค้นยาได้สาเร็จ และคนในประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เช่น ทวีปยุโรป และอเมริกามีความเป็นอยู่ดีขึ้น วัณโรคก็ลดลงอย่างรวดเร็ว จนทาให้ผู้คนลืมและเข้าใจว่าวัณโรคหมดไป


จากโลกนี้แล้ว การคิดค้นพัฒนายาหรือการวินิจฉัยวัณโรคให้ทันสมัยจึงขาดหายไป เพราะวัณโรคไม่ได้คร่า ชีวิตคนในประเทศร่ารวย แต่ยังคงเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายของประชาชนในประเทศยากจน ดังจะเห็น ได้จากรายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลกในปี พศ. ๒๕๕๓ มีผู้ป่วยวัณโรคทั่วโลกประมาณ ๘.๘ ล้าน คน เสียชีวิตประมาณ ๑.๔ ล้านคน ร้อยละ๙๕ ของผู้เสียชีวิตมาจากประเทศกาลังพัฒนาหรือ ประเทศยากจน ทั้งๆ ที่วั ณโรคเป็นโรคที่รัก ษาได้ องค์ ก ารอนามัย โลกจึงระบุ ว่า วัณโรคเป็นโรคของความยากจน และ เรียกร้องให้โลกลงทุนกับการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยและการรักษาวัณโรคให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง ยังคงใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจหาวัณโรคเหมือนที่นายแพทย์โรเบิร์ต ค็อค ตรวจเมื่อร้อยสามสิบปีที่แล้ว

วัณโรคในประเทศไทย แม้วา่ ธนาคารโลกจะยกระดับประเทศไทยให้พ้นจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่า มาอยู่กลุ่มประเทศที่ มีรายได้ระดับปานกลาง แต่สาหรับวัณโรคแล้วองค์การอนามัยโลกได้ประกาศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปี ล่าสุดว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในยี่สิบ สองประเทศที่มีจานวนผู้ป่วยวัณโรคมากในโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จานวน ๖๔, ๕๑๒ ราย และในทุกๆ ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิตด้วยวัณโรคในประเทศไทย ทั้งๆ ที่วัณโรคเป็นโรคที่รักษาได้ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความชุกของวัณโรคในอันดับต้นๆ ของประเทศ มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปีละประมาณ เกือบสองพันราย เฉลี่ยทุกๆ ๓๓ ชั่วโมงมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยวัณโรคในเชียงราย ทั้งๆที่วัณโรคเป็นโรคที่ รัก ษาได้ ปั จจุบั นรัฐบาลไทยภายใต้ระบบประกั นสุขภาพถ้วนหน้า ให้บริก ารตรวจและรัก ษาวัณโรค สาหรับคนไทยที่มีบัตรประชาชนไทยฟรี ซึ่งเป็นการลดภาระคนจนได้มาก แต่สาหรับคนจนแล้วการเอาวัณ โรคให้อยู่ไม่ใช่เรื่องง่าย งานวิจัยที่จังหวัดเชียงราย พบสาเหตุต่างๆ ว่า ถึงแม้ยาจะฟรี แต่คนไข้ก็ยังขาดการ รักษา เนื่องจากความยากจน คนไข้วัณโรคมากกว่าครึ่ง ต้องกู้หนี้ยืมสินจากญาติพี่น้อง ระหว่างการรักษาวัณ โรค นอกจากนี้ยังพบปัญหาคนไข้วัณโรคถูกเพื่อนบ้านและชุมชนรังเกียจทาให้ท้อแท้หมดกาลังใจ ไม่อยาก รักษา คนไข้สูงอายุมีชีวิตอยู่กับโรคและเหล้าอย่างเดียวดาย นอกจากผู้ป่วยวัณโรคคนไทยที่ยากจนแล้ว จังหวัดเชียงราย ยังมีปัญหาคนไข้วัณโรคชนเผ่าต่างๆ และคนไข้ต่างด้าวที่หลบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งท้า ทายวงการสาธารณสุข เพราะคนไข้นอกจากจะหลบตารวจ แล้วก็มักจะหลบโรคเอาไว้ จนกระทั่งป่วยหนัก ทนไม่ไหว จึงต้องออกมาหาหมอ กรณีของผู้ป่วยต่อไปนี้ บ่งชี้ว่าสาหรับคนจนแล้ว ยารักษาโรคฟรี ไม่สามารถทาให้โรคหายถ้าไม่มี ค่ารถเดินทางมารักษา หรือไม่มีอาหารจะกิน และวัณโรคยังส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างมหาศาล


ชกเพื่อชีวิต... ในขณะที่เด็กวัยรุ่นในกรุงเทพ พากันเป็นเด็กแว้น ซิ่งมอเตอร์ไซด์คันหรู ค้นหาสาระของชีวิตบน ท้องถนน หรือขณะที่เด็กป. ๑ จะได้รับแจกแทปเล็ตโดยถ้วนหน้า โลกของผู้ป่วยวัณโรคช่างแตกต่าง... ดช.เดช (นามสมมติ) อายุ ๑๓ ปี ต้องออกจากโรงเรียน เพื่อหาเลี้ยง สี่ชีวิตในครอบครัว คือพ่อ แม่ และน้องสาวอายุ ๕ ขวบ เดชหาเลี้ยงชีพด้วยด้วยการชกมวย และทางานรับจ้างก่อสร้าง พ่อและแม่ของเขา ป่ วยเป็ นวั ณโรคและติ ดเชื้ อ เอชไอวี พอป่ ว ยก็ ท างานไม่ ไ หว ตกงานไม่มี รายได้ ไม่ ต้อ งพู ดถึ งค่ ารถมา โรงพยาบาลเพื่อรับยาครั้งต่อไป แค่ให้มีข้าวเลี้ยงสี่ชีวิตให้ได้วันละมื้อก็บุญแล้ว นี่จึงเป็นสาเหตุให้ทั้งสอง สามีภรรยาขาดยารักษาวัณโรค ไม่ต้องหลับตาก็คงนึกภาพออกว่าชีวิตของครอบครัวเดชและน้องสาว จะเป็นอย่ างไร หากพ่อแม่ เสียชีวิตเพราะวัณโรคและเอดส์

ลูกเล็กเลี้ยงแม่ป่วย นางหมี่ อายุไม่ถึงสามสิบปี เป็นชนเผ่าลาหู่ อาศัยอยู่ในเขตที่เรียกว่าอาเภอเมือง แต่สภาพหมู่บ้านยังคงความ เป็นธรรมชาติอยู่มาก การเดินทางไปโรงพยาบาลในแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะในหน้าฝน อาหมี่ป่วย เป็นวัณโรคซ้าสองครั้ง ครั้งนี้หนักกว่าครั้งแรกเพราะมีโรคแทรก แม่ของนางหมี่ก็ป่วยเป็นวัณโรค อยู่ห่าง ออกไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง สามีติดยาหายสาบสูญไปนานแล้ว ดังนั้นคนที่อยู่ปรนนิบัตินางหมี่ก็คือลูกสาวอายุห้า ขวบซึ่งอยู่เฝ้าแม่ที่นอนป่วยไม่ห่างรวมทั้งเป็นคนหาข้าวหาหาหน่อไม้ในป่าให้แม่และน้องสาวอายุ 3 ขวบ กินด้วย แต่แล้วในที่สุดวัณโรคและโรคแทรกก็คร่าชีวิตของอาหมี่ ทั้งๆที่วัณโรคเป็นโรคที่รักษาได้

สตรีกลุ่มหนึ่งในจังหวัด เชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ตรงข้ามกับคนไข้ วัณโรคอย่างสิ้นเชิง เมื่อได้รับรู้สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยและของจังหวัดเชียงรายรวมทั้งรับฟัง ปัญหาของผู้ป่วยวัณโรคเช่นกรณี ดช.เดช หรือนางหมี่ และรับฟังประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับ บทบาทของอาสาสมัครสตรีญี่ปุ่นในการควบคุมวัณโรค สตรีกลุ่มนี้จึงก่อตัวขึ้นให้ชื่อมาดมั่นว่า “สตรีอาสา ปราบวัณโรค” สมาชิกมีอายุ ตั้งแต่ ๔๕ – ๗๙ ปี อายุเฉลี่ยหกสิบปีเศษ ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการเกษียณอายุ เป็นภรรยาของข้าราชการระดับสูงในจังหวัด เช่นนายกเหล่ากาชาดจังหวัดซึ่งเป็นภรรยา ของผู้ว่าราชการ จังหวัด ภรรยาของผู้อานวยการโรงพยาบาลจังหวัด, หรือเป็นสตรีเจ้าของธุรกิจเอกชน สตรีเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นสมาชิกองค์กรสตรีมากกว่าหนึ่งองค์กรในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อาสากาชาด, ชมรมแม่ดีเด่น, สตรี อาสาสมัครรักษาดินแดน, สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง, วุฒิอาสาธนาคารสมอง, สตรีนักธุรกิจ


สตรีอาสาปราบวัณโรคช่วยผู้ป่วยวัณโรคด้วยกิจกรรมสามอย่าง คือ หารายได้ช่วยผู้ป่วยวัณโรคที่ ยากจน, เยี่ยมบ้านให้กาลังใจผู้ป่วยที่ยากจนและมีปัญหาซับซ้อน และช่วยบรรจุยารักษาวัณโรคแบบรายวัน เพื่อให้ผู้ป่วยกินยาได้สะดวกและไม่ลืมกินยา การเป็นอาสาสมัครตรงนี้ไม่มีเข็ม ไม่มีโล่ห์ แต่สิ่งที่ได้คือ รอยยิ้มและน้าตาซึ่งกลั่นมาจากความซาบซึ้งใจของคนไข้วัณโรคยากจน

เมื่อสตรีไฮโซ ทาผู้ป่วยวัณโรคยากจนหลั่งน้าตา ไม่น่าเชื่อว่าสตรีอาสาแต่งตัวสวยเนี๊ยบอย่างผู้ดี มาดคุณนายจะเต็มใจไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคที่ ยากจนสุดๆ และเป็นคนไข้ที่แม้แต่คนในครอบครัวก็ทอดทิ้งไปแล้วด้วยความที่มีประวัติโชกโชน เช่นติด เหล้าอย่างหนัก หรือด้วยความจนจึงไม่มีเพื่อนบ้านคบหา เส้นทางไปบ้านคนไข้โดยเฉพาะคนไข้ชนเผ่า เป็นไปด้วยความลาบาก ต่อให้มีรถก็ไม่มีทางไปถึงบ้านได้ สตรีอาสาบางคนก็อายุเจ็ดสิบใกล้แปดสิบปีแล้ว ก็ยังใจสู้เดินฝ่าแดด ฝ่าฝุ่น ฝ่าฝน ขึ้นเนินสูงเพื่อไปเยี่ยมบ้านคนไข้ ซึ่งบางครั้งแทบไม่ใช่บ้าน เพราะเป็นแค่ เศษไม้มาต่อๆกัน ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อไปถึงบ้านคนไข้ สตรี อาสาต่างก็นั่งลงกับพื้น พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับ คนไข้ โดยเฉพาะพูดให้กาลังใจกินยาให้ ครบ ไม่ใช่เดินมือเปล่า สตรีอาสายังมีน้าจิตน้าใจหิ้วผลไม้หรือนม กล่องติดมือไปเยี่ยมคนไข้ด้วย บางครั้งถึงแม้จะเยี่ยมคนไข้ในบ้าน แต่เสื้อผ้าของสตรีอาสาก็ต้องเปีย ก เพราะบ้านคนไข้ที่ยากจน มักเป็นหลังคาที่อนุญาตให้น้าฝนรั่วผ่าน “ขอบคุณทุกๆ คนครับ ที่มาแอ่วหาผม... บ่นึก บ่ฝัน ว่าเปิ้นจะมาถึงบ้าน ยินดีจ๊าดนัก ครับ...” เสียงพูดตะกุก ตะกัก พร้อมกับสูดน้ามูกเนื่องจากร้องไห้ด้วยความตื้นตันใจของนายบุญ (นามสมมติ)ผู้ป่วย วัณโรคชายที่อาศัยอยู่ในกระท่อมเก็บของ ของเพื่อนบ้าน นายบุญอยู่คนเดียวมานานหลายสิบปีเพราะภรรยา ทิ้งไปเนื่องจากทนสามีขี้เหล้าไม่ได้ เขารู้สึกน้อยใจในชีวิตที่อยู่อย่างเดียวดาย ไม่มีใครสนใจ แต่แล้ว วัน หนึ่งกลับมีกลุ่มผู้หญิงที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เหมือนคุณหญิงคุณนายมาพูดจาให้กาลังใจสู้โรคและห่วงหา อาทรเรื่อง ชีวิตความเป็นอยู่ของเขา ข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านพบว่าคนไข้ยากจนจานวน ๓๖ รายที่กลุ่มสตรี อาสาไปเยี่ยมบ้าน กินยารักษาวัณโรคครบ ไม่มีผู้ใดขาดยาแม้แต่รายเดียว

เจริญรอยตามอาสาสมัครวัณโรคคนแรกของประเทศไทย ทราบหรือไม่ว่าอาสาสมัครวัณโรคซึ่งเป็นชนชั้นสูงคนแรกของประเทศไทยก็คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในรัชกาลปัจจุบัน ในขณะที่ทรงดารงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์นั้น วัณโรคคร่าชีวิตของคนไทยจานวนมากในขณะนั้น พระองค์ได้ทรง พิจารณาเห็นความร้ายแรงของวัณโรค ซึ่งมีต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจของสังคมไทย จึงได้ทรง นิพนธ์หนังสือภาษาไทยเรื่อง “ทูเบอร์คุโลสิส” (ซึ่งหมายถึงวัณโรคในภาษาอังกฤษ) ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนให้ได้รู้จักเรื่องเกี่ยวกับวัณโรค โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรักษาและการป้องกัน ทรงโปรดเกล้า


จัดพิมพ์หลายครั้งเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งการเผยแพร่หนังสือนี้ได้มีส่วนกระตุ้นให้กรมสาธารณสุข ให้ความสาคัญและสนใจในการแก้ไขปัญหาวัณโรคต่อเนื่อง พระองค์จึงเป็นองค์บุพการีของผู้อาสาสมัคร ทางานด้านการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย พระนิพนธ์ตอนหนึ่งในหนังสือวัณโรค ได้สะท้อนถึง ความ เป็นจิตอาสาและการให้ความสาคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ของพระองค์ คือ “...วัณโรคเป็นข้าศึกที่ตัดกาลังราษฎรของเรามาก ถ้าท่านมีน้าใจจะช่วยแล้ว ขอให้ลงมือ ช่วยทันที...คนไทยที่กาลังกายและกาลังปัญญาบริบูรณ์ย่อมเป็นทรัพย์อันประเสริฐของชาติ...” สตรีอาสาปราบวัณโรคจังหวัดเชียงราย เป็นตัวอย่างของกลุ่มคนที่มีน้าใจ ลงมือช่วยทันที จานวน ผู้ป่วยวัณโรคยากจนคนไทย ชนเผ่า และแรงงานต่างด้าวนับร้อยๆคนในจังหวัดเชียงรายได้รับความ ช่วยเหลือค่าเดินทาง ค่ายังชีพทาให้รักษาวัณโรคจนครบ คนไข้บางรายที่อาการหนักมากถึงแม้จะเสียชีวิต ก็ เสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพราะได้รับสัมผัสและน้าใจจากสตรีผู้มีฐานะทางสังคมสูง เหล่านี้ ถามว่าท่านทั้งหลายจะช่วยเหลือคนไข้วัณโรคยากจนไปอีกนานเท่าใด คาตอบที่ได้คือ “จนกว่าจะทา ไม่ไหว” ช่างสมกับคาขวัญวันวัณโรคในปีนี้ คือ “หยุดวัณโรค...ก่อนหยุดลมหายใจ" เสียจริงๆ

หาความรู้ ความหวังและกาลังใจ เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัณโรคได้จากเวปไซด์ดังต่อไปนี้  มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ http://www.tbhivfoundation.org/index.php/th  สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.thaichest.org  สานักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข http://www.tbthailand.org/  องค์การอนามัยโลก http://www.who.int/tb/about/en/  Stop TB partnership http://www.stoptb.org/

ไฮโซ ดินเนอร์...รายได้มอบให้ผู้ป่วยวัณโรคยากจน คืนเดียวได้หนึ่งแสนบาท ช่วยคนไข้ได้เป็นร้อยๆ ราย


สลัดชุดราตรีหรูเลิศมุ่งสู่ดอย ไปเยี่ยมบ้าน คนไข้ยากจน

หยาดน้าฝนไหลเปียกเสื้อด้านหลังของสตรีอาสา น้าฝนจากฟ้า ไหลสู่หลังคาที่เต็มไปด้วยรูรั่ว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.