การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนวัฒนธรรม จากวรรณกรรมเขมรเรื่อง สูผาด (សូផាត) ของ รีม คีน (រីម រីន ) จำนวน 4 ด้าน คือ ภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรมประเพณี ภาพสะท้อนด้านการประกอบอาชีพ ภาพสะท้อนด้านความเชื่อ และภาพสะท้อนความเจริญ ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพสะท้อนด้านวัฒธรรมประเพณีที่ปรากฏในเรื่องนี้ คือ การเลือกคู่ครอง ผู้น้อยเคารพผู้อาวุโส ซ็อมเปียะห์ (ไหว้) ผู้ชายทำงานนอกบ้าน ผู้หญิงดูแลเรื่องงานบ้าน ประเพณี งานแต่งงาน และพิธีกรรมงานศพ ภาพสะท้อนด้านอาชีพที่ปรากฏ คือ เกษตรกร ชาวประมง และแพทย์ ภาพสะท้อนด้านความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกรรม ความเชื่อเรื่องผี สุดท้ายภาพสะท้อนด้านความเจริญ ที่ปรากฏ คือด้านการศึกษา กับด้านคมนาคม จากการศึกษาเรื่อง “การศึกษาภาพสะท้อนวัฒนธรรม จากวรรณกรรมเขมรเรื่อง สูผาด ของ รีม คีน” ซึ่งศึกษาวิถีชีวิต ประเพณี แนวคิด และความเชื่อของชาวเขมร ได้ข้อสรุปว่า วรรณกรรมสะท้อนให้เห็นสังคมเขมร ในสมัยก่อน โดยเฉพาะสังคมชนชั้นสามัญเป็นอย่างดี ซึ่งมีวิถีชีวิต ประเพณี แนวคิด และความเชื่อหลายอย่างนั้นยังคงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวเขมรปัจจุบัน