Nikah

Page 1





นิกาฮฺ คือการแต่งงานของอิสลาม เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวอย่างมาก รูปแบบของประเพณีการแต่งงานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสังคม จนบางครั้งก็ถูกหลงลืมหัวใจหลักของนิกาฮฺว่าอยู่ตรงไหน อะไรคือสิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้ แต่อะไรคือสิ่งที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นมา จริงๆแล้วการนิกาฮฺนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่ด้วยกับปัจจัยหลายๆของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ค่านิยมทำ�ให้การนิกาฮฺเป็นเรื่องยากขึ้น เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้นั้น จะบอกถึงหัวใจหลักของการนิกาฮฺ ความง่ายของการนิกาฮฺ จุดประสงค์ของการนิกาฮฺ ความสำ�คัญ และการทำ�ให้เยาวชนห่างไกลจากการทำ�ซิา( ผิดประเวณี) การจัดทำ�หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อให้ผู้อ่านหมกมุ่นในเรื่องของการนิกาฮฺ แต่เพียงอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องของการนิกาฮฺเท่านั้น กฤษติญา เชื้อชัย


สารบัญ นิกาฮฺ คืออะไร 15-17 เป้าหมายของการนิกาฮฺ 19-22 การสู่ขอ (หมั้นหมาย) 23-31 มะฮัร 33-39


สารบัญ องค์ประกอบของการนิกาฮฺ 41-49 ขั้นตอนการนิกาฮฺตามหลักการของอิสลาม 53-61 งานวาลีมะฮฺ 65-69 การนิกาฮฺในสังคมปัจจุบัน 71-73



นิกาฮฺ คือ อะไร

9


10


“นิกาฮฺ” คือการรวมกันหรือการอยู่ร่วมกัน ทางด้านบทบัญญัติ หมายถึง การทำ�พิธี นิกาฮฺเพื่อให้สตรีเป็นที่อนุมัติว่าด้วยเรื่อง การมีเพศสัมพันธ์ “นิกาฮฺ” การผูกความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง โดยมีเป้าหมายที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่าง สามีภรรยา

11


ศาสนาส่งเสริม และกำ�ชับให้เลือก ผู้ที่มีศาสนา

ศาสนาส่งเสริมให้เลือกหญิงสาว (หญิงที่ยังไม่เคยผ่านการแต่งงาน) มาเป็นคู่ครอง

ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “สตรีจะถูก(เลิอก)แต่งงานเพราะสี่ประการ (1) ทรัพย์สินของนาง (2) วงศ์ตระกูลของ นาง (3) ความสวยของนาง (4) ศาสนาของ นาง ดังนั้นท่านจงเลือกสตรีที่มีศาสนาเถิด (มิเช่นนั้น) มือทั้งสองของพวกท่นจะคลุกฝุ่น (ประสบกับหายนะและการถูกทดสอบต่างๆ” (หะดิษซอเฮี๊ยะห์,บันทึกโดยมุสลิม)

ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวว่า “ส่งเสริมให้พวกท่านเลือกหญิงสาว(มาเป็น คู่ครอง) แท้จริงพวกนางปากหวาน (พูดจา ไพเราะ) , ทำ�มห้มีลูกดก และนางจะพึงพอใจ สิ่งที่ง่ายๆ(ว่านอนสอนง่าย)” (หะดิษฮาซัน,บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ)

12


ศาสนาส่งเสริมให้แต่งงานกับสตรีที่มีลูกดก โดยให้พิจารณาจากครอบครัว พี่น้องของนาง

ศาสนาไม่ส่งเสริมให้แต่งงานกับคนต่าง ศาสนิก แต่ถ้าจะแต่งจริงๆจะต้องให้เขาหรือ เธอเป็นมุสลิมที่มีศรัทธาอันมั่นคงเสียก่อน

ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวว่า “และพวกท่าน จงแต่งงาน(กับสตรที่มีลูกดก)เถิด แท้จริง ฉันจะทำ�ให้ความมากของท่าน(ไปเสนอ)ต่อ ประชาชาติอื่น(ในวันกียามะฮฺ)” (หะดิษซอเฮี้ยะหฺ,บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ)

พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “และสูเจ้าจงอย่าแต่งงานกับหญิงมุชริก(หญิง ที่ตั้งภาคี)จนกว่านางจะศรัทธาเสียก่อน” (ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่221)

13


14


เป้าหมายของการนิกาฮฺ

15


16


เป้าหมายของการแต่งงานที่เห็นชัดที่สุดคือ การรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ : เป็นการ สร้างรากฐานครอบครัวให้มั่นคงและแข็งแรง ห้อมล้อมไปด้วยหน้าที่และสิทธิต่างๆด้วยกับ ความศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนา การนิกาฮฺคือสายสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิท์ ที่ �ำ ให้ความเป็นมนุษย์สงู ขึน้ ทำ�ให้จติ ใจ สงบ สร้างเกราะคุ้มกันภายในจิตใจและทำ�ให้ จิตใจออกห่างจากสิ่งล่วงละเมิดที่ต้องห้าม

17


เป็ น การต่ อ สู้ กั บ อารมณ์ ใ ฝ่ ต่ำ � และ ฝึกฝนจิตใจในการดูแลและรักษาหน้าที่และ เอาใจใส่ประโยชน์ของคนอืน่ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง สิทธิตา่ งๆ ของภรรยา บุตร และการดูแลเอาใจ ใส่ในการเลี้ยงดูบุตรและอดทนต่อมารยาท ของภรรยาจากความอุตสาหะที่จะปรับปรุง สภาพของนางและชี้แนะอีกฝ่ายไปสู่แนวทาง อันเที่ยงตรงของศาสนาอิสลาม

18

อิสลามถือว่าการสมรสเป็นอิบาดะฮฺ ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้มีสำ�หรับผู้ที่มีความ สามารถในด้านต่างๆที่กำ�หนด ทั้งนี้ เพราะ เป็นแบบอย่างที่ดีงามจากท่านนบี(ซ.ล.) ดังปรากฏในอัลกุรอาน ความว่า “และโดยแน่นอนเราได้ส่งบรรดา รอซูลมาก่อนหน้าเจ้าและเราได้ให้พวกเขา มีภรรยาและลูกหลาน” (อัรฺเราะอฺดุ:38)


การสู่ขอ (หมั้นหมาย)

19


20


การหมั้นหมายในอิสลาม คือการตกลงกันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง ที่จะผูกพันด้วยการสมรสในอนาคตทั้งนี้ อิสลาม ไม่มี “ระบบแฟน” ทว่ามีระบบที่เรียกว่า “การหาข้อมูลให้ได้มาซึ่งนิสัยใจคอ”และ“จริยธรรม ของนาง(หรือเขา)” เช่น การสอบถามรายละเอียดกับบุคคลใกล้ชิด อย่างพ่อแม่ หรือเพื่อนสนิทเพราะคนคนหนึ่งจะคบ เพื่อนก็ต้องเป็นคนที่มีนิสัยใจคอใกล้เคียงกัน ฉะนั้นหากต้องเลือกใครมาเป็นคู่ครองให้พิจารณา (หรือสอบถาม)เพื่อนสนิทของเขา ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวว่า “บุคคลหนึ่งศาสนาจะอยู่ที่เพื่อนของเขาดังนั้น บุคคลหนึ่งในหมู่พวกท่านจงพิจารณาบุคคลที่เป็น เพื่อนเขาเถิด” หะดิษซอเฮี้ยะหฺ,บันทึกโดยอบูดาวูด)

21


เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงปลงใจที่จะนิกาฮฺ พอใจกันและกันแล้ว ฝ่ายชายจะต้องให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอหรือขอหมั้น ในอิสลามหมายถึง การจองคู่ครองเพื่อมิให้บุคคลอื่นเข้ามาสู่ขอซ้ำ�ซ้อน สำ�หรับสตรีมุสลิมที่ปิดหน้านั้น อนุญาตให้ว่าที่เจ้าบ่าวขอดูใบหน้าของนางได้ ส่วนสตรีที่มีทัศนะว่าการเป็นหน้าเป็นวาญิบ ให้นางพิจารณาเองว่าจะเปิดหรือปิดให้แก่บุคคลที่มาสู่ขอตนได้ การให้ของขวัญแก่นางในวันหมั้นนั้น ไม่มีในเงื่อนไขการสู่ขอ หากแต่เป็นฮีดายะฮฺเท่านั้น ไม่ใช่มะหัร การสู่ขอไม่อนุญาตให้บุรุษอื่นสู่ขอซ้ำ�ซ้อนถ้านางตัดสินใจตอบรับการสู่ขอของบุคคลหนึ่งไปแล้ว ยกเว้นว่านางปฏิเสธคนก่อนหน้า จึงจะอนุญาตให้สู่ขอนางได้

22


23


ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวว่า “และไม่อนุญาตให้สู่ขอซ้ำ�ซ้อนพี่น้องของเขา จนกว่าเขาจะปฏิเสธ(หรือถูกปฏิเสธ)” (หะดิษซอเฮียะหฺ,บันทึกโดยมุสลิม) ส่วนภายหลังจากการสู่ขอ หากฝ่ายชายโดยฝ่าย หญิงปฏิเสธ ให้เขายอมรับและกลับออกจากบ้าน นางโดยดี แต่วันข้างหน้าเขาสามารถมาสู่ขอนาง อีกครั้ง

24


เงื่อนไขการหมั้น มีดังนี้ 1.ฝ่ายหญิงจะต้องปราศจากข้อห้ามต่างๆ ตามบัญญัติอิสลาม 2.ฝ่ายหญิงจะต้องไม่มีชายใดหมั้นไว้ก่อน และหวังจะแต่งงานด้วย

25


26


ดังรายงานจากอุกบะฮฺ อิบนุอามีรฺ ว่า ท่านรอซูล(ซล.) ได้กล่าว ความว่า “ผู้ศรัทธานั้น เป็นพี่น้องของผู้ ศรัทธา ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ขายตัดหน้าพี่น้อง ของเขา และไม่หมั้นซ้อนพี่น้องของเขา จนกว่าคนนั้นเขาจะปล่อยไป” (บันทึกโดย อะหมัด และมุสลิม) 3.ฝ่ายหญิงไม่อยู่ในช่วงของอิดดะฮฺ สามีคน ก่อน ยกเว้นสามีเสียชีวิต ก็อนุญาตให้พูด เป็นนัยๆ ไว้ก่อนได้

เมื่อทั้งสองฝ่ายได้หมั้นหมายกันแล้ว ต่าง ฝ่ายต่างก็มีสิทธิที่จะมองกันและกันได้เฉพาะ ส่วนที่อนุมัติให้มอง เช่น ใบหน้าและฝ่ามือ แต่ห้ามทั้งสองอยู่ในที่ลับตาหรือโดยลำ�พัง จนกว่าจะได้สมรสถูกต้องตามหลักของ ศาสนาอิสลาม ท่านรอซูล(ซ.ล) กล่าวความว่า “ชายกับ หญิง ที่นางยังไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขา จะต้อง ไม่อยู่แต่ลำ�พังเพราะมือที่สามของทั้งสอง คือ ชัยฏอน (ซาตาน) ยกเว้นเมื่อมีมะหฺรอม (ญาติของฝ่ายหญิง ซึ่งแต่งงานกันไม่ได้ ตาม บทบัญญัติอิสลาม)” (บันทึกโดย อะหฺหมัด)

27


28


มะฮัร

29


30


มะฮัร หมายถึง ทรัพย์สินเงินทองหรือ คุณประโยชน์อื่นๆ ที่ฝ่ายชายต้องมอบให้กับ ฝ่ายหญิงตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง

31


มะฮัร ‘ไม่ใช่’ ค่าตัวในการประเมินราคาของสินค้า “ผู้หญิง” ไม่ใช่สินค้าที่ผู้ปกครองสามารถตั้งราคา ค่าตัวเพื่อซื้อขาย ถ้าค่าตัวสูงแปลว่าสินค้านั้นดี ถ้าค่าตัวถูกสินค้าที่ได้อาจไม่ใช่ของดี การมอบในลักษณะนี้ถือ เป็นการดูถูกศักดิ์ศรีของสตรี เพราะของแพงอาจไม่ดีอย่างที่คิดไว้ก็ได้ อิสลามจึงไม่กำ�หนดค่าสินสอด แต่ได้มอบหมายให้กับความพร้อมของฝ่าย ชายและความสบายใจของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคม ที่แตกต่างกันไป 32


ท่านรอซูล (ซ.ล) กล่าวว่า “แท้จริงศาสนา (อิสลาม)คือเรื่องง่าย(ดาย)” (หะดิษซอเฮี้ยะหฺ บันทึกโดยนะสาอีย์)

33


34


ในปัจจุบัน สินสอด(มะฮัร) มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นค่านิยมวัตถุในสังคมมุสลิม ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงมักจะเรียกค่าสินสอด ที่เกินความพอดี เพื่อการโอ้อวด จนบางครั้ง... ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องยอมแพ้ เป็นประโยคยอดฮิตที่ว่า “รักแท้แพ้มะฮัร” นอกจากนั้น การกำ�หนดค่ามะฮัรแพง เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฝ่ายชายซึ่งจะ เกิดผลกระทบกับการใช้ชีวิตในอนาคต

35


36


องค์ประกอบของ การนิกาฮฺ

37


1. เจ้าบ่าว เจ้าสาว 2. มะฮัรฺตามที่ตกลงกันไว้ 3. พยาน(ชายมุสลิมอย่างน้อย 2 คน) 4. ต้องมีวะลีย์ (ผู้ปกครองของผู้หญิง) 5. คำ�กล่าวเสนอแต่งงาน (อีญาบ) จากทางวะลีย์ของฝ่ายหญิง และคำ�ตอบรับของเจ้าบ่าว (กอบูล)

38


เงื่อนไขขององค์ประกอบ

39


เจ้าบ่าว • ไม่เป็นญาติกับฝ่ายหญิง • เป็นมุสลิม • กำ�หนดบุคคลไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรือ อุมเราะฮ์ • มีภรรยายังไม่ครบ 4 คน • พิจารณาเลือกด้วยตนเอง • เป็นชายแท้ 100 เปอร์เซ็นต์

40


เจ้าสาว • ต้องเป็นมุสลิม • กำ�หนดบุคคล • เป็นหญิงแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ • ไม่เป็นของฝ่ายชาย • ไม่เป็นภรรยาของผู้อื่น • ไม่อยู่ในอิดดะห์ของชายอื่น • ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์

41


2.มะฮัรฺตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ชายต้องจัดหามะฮัรฺ(ของขวัญแต่งงาน) ให้แก่ผู้หญิงตามที่ผู้หญิงร้องขอเมื่อทำ�พิธี แต่งงานทางศาสนาเสร็จ มะฮัรฺนี้จะเป็นของผู้หญิงครึ่งหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้อยู่ด้วยกันโดยพฤตินัย แล้วมะฮัรฺก็จะเป็นของผู้หญิงทั้งหมด หากหลังพิธีแต่งงานแล้วคู่บ่าวสาว มิได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีกันจริงๆมะฮัรฺ ก็จะเป็นของผู้หญิงเพียงครึ่งเดียว 42


3.พยาน เป็นมุสลิมมีสติปัญญาครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์) ได้ยินเสียงและเข้าใจภาษา ชัดเจนมองเห็นพูดได้ ไม่ทำ�ความชั่ว ทั้งบาป ใหญ่หรือบาปเล็กไม่เป็นวาลี (ผู้ปกครองของหญิง)

43


4. วะลีย์ : เป็นมุสลิม เป็นเสรีชนไม่ใช่ทาส มีสติปัญญาไม่วิกลจริต บรรลุศาสนภาวะ ไม่อยู่ในการประกอบพิธีฮัจญ์ หากพ่อของ ฝ่ายหญิงไม่ใช่มุสลิมไม่สามารถเป็นวะลีย์ได้ ผู้หญิงจะต้องแต่งตั้งให้ใครเป็นวะลีย์ทำ� หน้าที่ในพิธีแต่งงานให้ทำ�พิธีเสร็จแล้ว ความเป็นวะลีย์โดยการแต่งตั้งก็เป็นอันจบไป

44


5. คำ�อีญาบและกอบูล • คำ�กล่าวเสนอ(อีญาบ) : ใช้ภาษาใดก็ได้ที่ บ่งบอกถึงการแต่งงานไม่คลุมเครือ ในเมือง ไทยนิยมใช้ “ฉันนิกาฮฺท่านกับนางสาว(ใส่ชื่อ เจ้าสาว)ด้วยมะหัรที่ตกลงกันไว้” • คำ�ตอบรับ(กอบูล) : เงื่อนไขเดียวกับคำ� เสนอ เมื่อวะลีย์กล่าวจบ เจ้าบ่าวจะตอบรับ ด้วยกับคำ�สนองที่ว่า “ผมรับนิกาฮฺนางสาว (ใส่ชื่อเจ้าสาว)ด้วยกับมะหัรที่ตกลงกันไว้”

45


46


47


48


(ขั้นตอน) นิกาฮฺ ง่ายง่าย

49


เมื่อครบองค์ประกอบข้างต้น ก็สามารถทำ�พิธีนิกาฮฺได้แล้ว

... ง่ายนิดเดียว ...

50


เริ่มด้วยการ -- คุฏบะฮฺนิกาฮฺ -( ถือเป็นสุนนะฮฺก่อนการนิกาฮฺ เป็นการเชิญผู้รู้มาให้ความรู้ และตักเตือนคู่บ่าวสาว แขกเหรื่อ เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายของการนิกาฮฺ การใช้ชีวิตคู่ )

51


เสร็จแล้วก็ทำ�พิธีนิกาฮฺ

-- ตามหลักศาสนาอิสลาม--

52


โดยการ “กล่าวเสนอแต่งงาน” จากทางวะลีย์ ฝ่ายหญิง

“ฉันนิกาฮฺท่านกับนางสาว(ใส่ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะหัรที่ตกลงกันไว้”

53


54


และฝ่ายชายตอบรับ

“ผมรับนิกาฮฺนางสาว(ใส่ชื่อเจ้าสาว) ด้วยกับมะหัรที่ตกลงกันไว้” 55


56


เท่านั้นก็เป็นเสร็จพิธี

57


58


59


60


งานวาลีมะฮฺ

61


งานวะลีมะฮฺ คืองานเลี้ยงหลังจากที่บ่าวสาว ได้ผ่านการนิกาฮฺเรียบร้อยแล้ว

62


• ส่งเสริมให้จัดงานวะลีมะฮฺ แม้ว่าเพียงแค่ แพะ1 ตัว •ไม่อนุญาตให้เชิญเฉพาะคนรวย ท่านรอซูลประณามงานวะลีมะฮฺที่เชิญเฉพาะ คนรวยว่า “อาหารที่เลวที่สุดคืออาหารในงานวะลีมะฮฺ ที่เชิญเฉพาะคนรวยแต่คนยากจนถูกละทิ้ง” (หะดิษซอเฮี้ยะหฺ บันทึกโดยบุคคอรีย์) • อย่าปฏิเสธงานวะลีมะฮฺ ท่านรอซูลกล่าวว่า“เมื่อบุคคลหนึ่งในหมู่พวก ท่านถูกเชิญไปงานวะลีมะฮฺเช่นนั้นท่านจงไป งานนั้นเถิด” (หะดิษซะเฮี้ยะหฺ บันทึกโดยมุสลิม) •ต้องไม่มีสิ่งหะรอมเจือปน 63


64


65


66


นิกาฮฺ ในสังคม ปัจจุบัน

67


พิธีกรรมแต่งงานก็ประกอบด้วยการคุฏบะฮฺนิกาฮฺ เสร็จแล้วก็ทำ�พิธีนิกาฮฺตามหลักศาสนา โดยการกล่าวเสนอแต่งงานจากทางวะลีฝ่ายหญิง และฝ่ายชายตอบรับ เท่านั้นก็เป็นเสร็จพิธี “นี่คือหัวใจหลักของการนิกาฮฺ” ส่วนงานเลี้ยงฉลองแต่งงานเราเรียกว่า “วะลีมะฮฺ”อิสลามส่งเสริมให้ทำ�เพื่อแสดง ความยินดี และรื่นเริงเพราะเป็นโอกาสสำ�คัญ แต่งานเลี้ยงต้องไม่ฟุ่มเฟือย หลักการศาสนาอิสลามเป็นเช่นนี้ทุกที่ทั่วโลก นอกเหนือจากนั้นเป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาเอง หรือที่เรียกว่าประเพณี แต่ละพื้นที่จะต่างกันออกไป การอาบน้ำ�เจ้าสาว จุดเทียนตัดเค้ก การแห่ขันหมากไปมา เจ้าสาว เจ้าบ่าว มีอ้อย และอื่นๆนั้น เป็นสิ่งอุตริที่ไม่มีอยู่ในอิสลาม แต่ถูกนำ�มาเหมารวมว่าเป็นพิธีกรรมทางอิสลาม อิสลามไม่สนับสนุนให้ทำ� เพราะเป็นสร้างภาระ และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ 68


การเลี้ยงฉลองงานแต่งงาน หากมีการเลี้ยงเกิน 3 วัน ถือเป็นการฟุ่มเฟือยโอ้อวดและท่านนบีไม่สนับสนุนงานเช่นนี้ อิสลามห้ามเรื่องการ โอ้อวดและฟุ่มเพื่อยโดยใช่เหตุ ท่านนบีกล่าวไว้ว่า อาหารมื้อที่ดีที่สุด คืออาหารในงานนิก๊ะห์ และอาหารที่แย่ที่สุด คืออาหารในงานวลีมะห์ (อาหารงานฉลองงานแต่งงาน) เนื่องจากเจ้าภาพ มักเชิญเฉพาะคนรวย คนที่มีฐานะทางสังคม ส่วนคนที่ยากไร้ ต้องการอาหารประทังชีวิต กลับไม่ได้รับเชิญ บางกลุ่มชนของอินโดนีเซียนั้นพิธีการมี การเลี้ยงฉลอง 7 วัน และประเพณีแต่ละที่ก็แตกต่างกันไปตามพื้นที่ หากกลุ่มคนใดที่ปฏิบัติตามหลักการศาสนา ก็จะไม่มีสิ่งเสริมนอกเหนือเพิ่มเติมที่กล่าวมา

69





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.