เที่ยวนอกบ้าน
Text : เพ็ญจมาส ศิริกิจวัฒนา Photo : อมร ลังเมือง
เชี ย งคาน เมืองเนิบช้า... หลังจากที่โลดแล่นชีวิตท่ามกลางกระแสทุนนิยมในเมืองหลวงมานานนับสิบปี สังคมเมืองที่ซัดถาโถมทุกวี่วันทำให้รู้สึกว่าเรากำลังมีชีวิตเพียงมิติเดียวเท่านั้น... มิติแห่งการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จนลืมชะลอเก็บเกี่ยวความศิวิไลซ์ที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ แล้ววันนี้...การชะลอจังหวะหัวใจก็ ได้พาเราไปสัมผัสกับ “เชียงคาน” ดินแดนปัจจุบันที่ซุกซ่อนกลิ่นอายแห่งความโหยหาอดีตไว้อย่างงดงาม ชื่อนี้ ไม่ค่อยคุ้นหูเราเท่าไรนัก เพียงแต่เคยได้ยินหลายคนเปรียบเปรยว่าเหมือนปายในกาลก่อน หากแต่เมื่อเราได้มาเยือนที่นี่ รู้สึกได้ว่า... หากความเคลื่อนไหว หมายถึง ความมีชีวิตชีวา… ความหยุดนิ่ง หมายถึง ความสุขสงบร่มเย็น… “เชียงคาน” ก็คงเป็นนิยามของ “ความเคลื่อนไหวที่หยุดนิ่ง” เพราะที่ “เชียงคาน” ได้ผสมผสานความเคลื่อนไหวของสายน้ำโขง ที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิตริมโขงให้เจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต กับความเรียบง่ายของวิถีชาวบ้านที่อาศัยสายน้ำแห่งนี้ ในการยังชีพได้อย่างลงตัว
082
083
เที่ยวนอกบ้าน
“เชียงคาน” เป็นอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดเลยที่ ตัวเมืองทอดขนานไปกับลำน้ำโขง บ้านพี่เฮือนน้อง กับชาวลาวห่างเพียงโขงกั้นกลาง วิถีดั้งเดิมของ ชาวบ้านส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับลำน้ำโขงอย่างใกล้ชิด เชียงคานมีถนนสายหลักๆ เพียง 2 สาย และถนน คนเดินสายเล็กๆ (จะขี่จักรยานก็ได้) เส้นบนคือ ถนนศรีเชียงคาน ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจในยุคนี้ โดยมีร้านค้าตั้งอยู่มากมาย เช่น ร้านอาหาร ร้าน เสริมสวย ร้านกาแฟ ร้านของชำ ร้านยา เป็นต้น ส่วนถนนอีกสายเป็น ถนนชายโขง ซึ่งเป็นถนนสาย ล่างที่ขนานไปกับลำน้ำโขง เป็นที่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่ อาศั ย ของชาวบ้ า น แต่ เ ดิ ม บ้ า นเรื อ นที่ นี่ เ คยเป็ น ศูนย์กลางความรุ่งเรืองของเชียงคานในยุคสมัยที่ ผู้คนสองฝั่งโขงข้ามฟากไปมาหาสู่กันอย่างอิสระ เชี ย งคานในอดี ต เคยเป็ น เมื อ งท่ า ที่ ส ำคั ญ เป็ น แหล่งซื้อขายฝ้ายขนาดใหญ่ รวมทั้งการค้าน้ำมัน เชื้อเพลิงระหว่างลาว-ไทย
084
ภาพความรุ่งเรืองแต่หนหลังยังฉายชัดผ่านฉาก ตึกแถวไม้ 2 ชั้นน้อยใหญ่ตลอดสองฟากถนนชาย โขง สลับไปกับอาคารเก่าแบบโคโลเนียล ซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมสไตล์ฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบ สถาปัตยกรรมในเมืองใหญ่ของลาว แม้ว่าบางหลัง ถู ก ปิ ด ไว้ ร อคอยใครสั ก คนมารื้ อ ฟื้ น ความทรงจำ ในขณะที่หลายหลังได้ปรับเปลี่ยนเป็นที่พักสำหรับ นักท่อ งเที่ ยว อาทิ เรื อนแรมลูก ไม้ โฮมสเตย์ป้ า ศรีพรรณ ริมโขงเกสต์เฮาส์ โรงแรมสมบูรณ์ เชียงคาน เกสต์เฮาส์ เป็นต้น และอีกหลายหลังได้ผนั บ้านเรือน ทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิมมาเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขาย ของที่ระลึกเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับนักเดินทางทั้งไทย และเทศทีม่ าเยือนเชียงคานมากขึน้ ในขณะทีช่ าวบ้าน บางหลังยังคงวิถเี ดิม เช่น บ้านนิยมไทย ทีผ่ ลิตผ้านวม ทำมือขึ้นชื่อของที่นี่มายาวนาน โชคดีที่เราไปเชียงคานในวันธรรมดาช่วงกลาง เดือนธันวาคมกับหัวใจธรรมดาๆ เราจึงได้สัมผัส
เชียงคานแบบธรรมดาร่วมกับเหล่านักเดินทางที่ ธรรมดาๆ เฉกเดียวกับเรา วันคืน ณ เชียงคาน ของเราที่ “เรือนแรมลูกไม้” และ “ริมโขง เกสต์เฮาส์” ล้วนน่าประทับใจ เพราะที่พักที่นี่ส่วนใหญ่อยู่ติด ริมโขง มีระเบียงให้นั่งทอดหุ่ยดูสายหมอกลอยตัว ล้ อ เหนื อ กระแสน้ ำ ที่ ไ หลเอื่ อ ยๆ อย่ า งมี จั ง หวะ แล้วทอดสายตาเลยข้ามไปฝั่งลาวที่ยังคงอุดมไป ด้วยป่าไม้เขียวขจี พร้อมๆ กับฟังเสียงจังหวะเต้น ของหัวใจตัวเองที่ชัดเจนในความสงัด ที่นี่หากมอง ด้วยหัวใจมุมไหนก็งามล้ำ ช่วงที่เราไปเยือนเชียงคานเป็นหน้าหนาวซึ่ง หนาวมากจริงๆ และยังรายล้อมไปด้วยสายหมอก หนาทึ บ ที่ ก ว่ า จะสลายตั ว ได้ ก็ จ วนเที่ ย งวั น แล้ ว ดั ง นั้ น ยามเช้าที่นี่..เหมาะที่จะออกไปเดินสัมผัส หมอกหนา ที่กว่าพระอาทิตย์จะคืบคลานออกจาก ผ้าห่มหมอกก็สายโด่งแล้วล่ะ ยามนีม้ องเห็นข้างหน้า ได้ไม่เกิน 3 เมตร ก่อนอื่นแวะซื้อซาลาเปาปุยฝ้าย
085
เที่ยวนอกบ้าน
086
ไปด้ ว ยนะ แล้ ว เดิ น ตั ด ถนนศรี เ ชี ย งคานซอย 13 ไปยั ง ตลาดเช้ า หาซื้ อ ขนมพื้ น เมื อ งอี ก สั ก อย่ า ง สองอย่าง แล้วเดินย้อนกลับมาที่ร้านสุวรรณรามา (เดิมเป็นโรงหนังเก่า) เป็นร้านกาแฟสดสุดคลาสสิก ร้ า นหนึ่ ง ที่ นี่ มี อุ ป กรณ์ ฉ ายหนั ง พร้ อ มภาพถ่ า ย บรรยากาศโรงหนังเก่าๆ ให้เราได้ชมกันไประหว่าง รอกาแฟ บรรยากาศออกแนวสภากาแฟดีๆ นี่เอง นั่ ง จิ บ กาแฟเคล้ า สายหมอกหยอกเย้ า กั บ เหล่ า เพื่ อ นซี้ พอสายหน่ อ ยก็ เ ดิ น กลั บ แวะชมวั ด วา อารามสักหน่อย “วัดศรีคุณเมือง” และ “วัดท่าคก” สถาปั ต ยกรรมและภาพวาดผนั ง โบสถ์ โ ดดเด่ น มี เอกลักษณ์ชัดเจน ถ้าโชคดีเราจะได้กิน “ข้าวยำ” เจ้ า อร่ อ ยที่ มี คุ ณ ป้ า ใจดี ตั้ ง ใจทำขายหน้ า บ้ า น
แบบง่ า ยๆ แต่อร่อยเหลือเกิน ต้องแวะกินทุกวันที่ ผ่านไป.. คิดถึงแล้วก็อดน้ำลายสอไม่ได้ ผละจากตัวเมืองมุ่งหน้าไปยัง “แก่งคุดคู้” ที่ ตากอากาศชื่อดังของเชียงคาน ที่อวดแก่งหินใหญ่ กลางลำน้ำโขงโค้งใหญ่เกิดจากสายน้ำไหลผ่านเนิน สั น เขากั ด เซาะจนเป็ น แก่ ง ขนาดใหญ่ มี ก้ อ นหิ น จำนวนมากสีสันแตกต่างกัน ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบ จดสองฝั่ ง แม่ น้ ำ โขง มี ก ระแสน้ ำ ไหลผ่ า นเพี ย ง ช่องแคบๆ ใกล้ฝั่งไทย แต่จะโผล่มาให้เห็นเฉพาะ ช่วงหน้าแล้งราวกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ในฤดูหนาว แบบนี้ แ ก่ ง เหล่ า นั้ น ก็ แ อบคุ ด คู้ ห ลบลมหนาวใต้ กระแสน้ำ ทอดสายตาไปไกลๆ จะเห็นภูควายเงิน ตระหง่านซ้อนเป็นฉากราวภาพวาดสีน้ำ นอกจาก
วิวแสนสวยแล้ว แก่งคุดคู้ยังขึ้นชื่อเรื่องส้มตำกับ ปลาเผาคลุกเกลือตามร้านที่เรียงรายตามชายฝั่งโขง อีกด้วย และตลอดเส้นทางไปแก่งคุดคู้ มีของฝาก ขึ้ น ชื่ อ อี ก อย่ า งคื อ มะพร้ า วแก้ ว ฝี มื อ ชาวบ้ า น รับรองว่าอร่อยจริง กลั บ มาเดิ น เหยี ย ดยาวล้ อ ลมเย็ น ๆ เลี ย บ ริ ม ชายฝั่งโขง ไปพร้อมๆ กับพูดคุยกับชาวบ้านที่ กำลังง่วนกับกิจวัตรหาเลี้ยงชีพริมน้ำโขง คุณลุง เล่าให้ฟังว่า แกเลี้ยงปลานิลส่งออก “ลาว” เพราะ ลาวไม่สามารถเลี้ยงเองได้ ต้องนำเข้าอาหารปลา จากไทยอยู่ดี แกบอกว่าสมัย 20-30 ปีก่อน แถวนี้ ปลาคั ง ปลาบึ ก ตั ว ใหญ่ ๆ เยอะมาก แต่ ส มั ย นี้ กระแสน้ำเปลี่ยนทำให้หาปลายากขึ้น ช่วงเย็นย่ำ
087
เที่ยวนอกบ้าน
พระอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้าแบบนี้ อากาศ สบายๆ ชาวบ้ า นต่ า งออกมาพบปะพู ด คุ ย บ้ า ง ออกกำลังกายบ้าง ทักทายกับผูม้ าเยือนบ้าง ล้วนเป็น เสน่ห์ของวิถีชีวิตที่เชียงคาน ที่ เ ชี ย งคานยามค่ ำ สงบ บ้ า นเรื อ น ร้ า นรวง ส่ ว นใหญ่ ต่ า งปิ ด ตั ว ลงแต่ หั ว ค่ ำ ความเยี ย บเย็ น ปะทะกายให้ ห นาวสั่ น เป็ น สั ญ ญาณบอกให้ เ รา พั ก ผ่อนตามนาฬิกาธรรมชาติทำให้ต้องรีบอำลา ค่ำคืนนี้ไป พร้อมกับรอคอยยามเช้าที่กำลังมาถึงกับ เพื่อนหมอกคู่หู ยามเช้าของที่นี่มีอีกบรรยากาศที่ น่าจดจำ นั่นคือ การตักบาตรข้าวเหนียว ชาวบ้าน ที่นี่ทำเป็นกิจวัตร ทำให้เราผู้มาเยือนอดไม่ได้ที่จะ ร่ ว มบุ ญ นี้ ด้ ว ยในสั ก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ พั ก บางแห่ ง ก็ จ ะ จั ด เตรียมไว้ให้แก่ผู้มาเยือน แต่เราเห็นว่าการไป เดินหาซือ้ อาหารมาตักบาตรเช้าเองน่าจะดีกว่าแค่ทำ
088
ตามเทรนด์ แล้วสายๆ ก็อย่าลืมแวะซื้อหาผ้าห่ม ทำมือผืนงามกลับไปใช้ที่บ้านบ้าง เอาไว้ระลึกถึ ง ความอบอุ่นท่ามกลางสายหมอกและลมหนาวริม ฝั่งโขง หลายต่ อ หลายครั้ ง ที่ ไ ด้ พู ด คุ ย กั บ ชาวบ้ า น เรารู้สึกถึงความกังวลใจลึกๆ ของคนที่นี่ต่อ “การ เปลี่ยนแปลง” และ “การเติบโต” ตามกระแสนิยม ของเหล่านักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเสาร์-อาทิตย์และ ช่วงวันหยุดยาวตามเทศกาล ที่มีผู้คนเดินทางไป เยือนเชียงคานจนล้น แต่เดิมนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เชียงคานเป็นชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนในช่วงวัน หยุด (Vacation) เพราะเชียงคานมีชื่อใน Lonely Planet มายาวนานกว่ า 15 ปี แ ล้ ว แต่ ปั จ จุ บั น มี คนไทยเข้ามาเที่ยวมากขึ้น ทำให้บ้านเก่าหลายหลัง ต่างปรับเปลี่ยนซ่อมแซมเตรียมทำเกสต์เฮาส์บ้าง
ร้ า นอาหารบ้ า ง ร้ า นขายของที่ ร ะลึ ก บ้ า ง ทำให้ เชียงคานกำลังเปลี่ยนไป... หากวันนี้ คุณกำลังคิด จะไปเยือนเชียงคานตามอย่างคนอื่นๆ แบบเดียว กั บ ที่ คุ ณ ไป “ปาย” เพี ย งเพราะได้ เ ห็ น ภาพที่ สวยงาม บรรยากาศที่น่าหลงใหล หรือเพียงเพราะ ใครๆ ก็ พู ด ถึ ง หรื อ เพี ย งเพราะอยากถ่ า ยภาพ แบบที่คนอื่นๆ ทำกัน เพื่อบอกกล่าวว่าคุณก็มาแล้ว คุณควรลองไตร่ตรองใหม่ ว่าที่ธรรมดาๆ ที่ที่ไม่มี อะไรแบบนี้..เหมาะกับคนอย่างคุณจริงหรือไม่ เสน่ห์ของ “เชียงคาน” ไม่ใช่เพียงภาพถ่ายที่ คุณเคยดูมา แต่อยู่ที่หัวใจคุณจะมองเห็น... หากคุณ เป็ น คนธรรมดาที่ ห ลงใหลความสุ ข ในความสงบ การได้เดินทางท่องเที่ยวอย่างละเมียดละไมในวัน ธรรมดาไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใดกับหัวใจธรรมดาที่ น้อมรับสรรพสิ่งในธรรมชาติ กับการเก็บเกี่ยวความ ทรงจำจากคุณค่าแห่งวิถชี าวบ้านของทีน่ ี่ การเดินทาง
มาเยือนเชียงคานนัน้ ก็นบั ว่าคุม้ ค่าสำหรับการเดินทาง ของคุณ สายหมอกยังคลอเคลียกับไอแดดอุ่นๆ ในยาม สาย ราวกับจะกระซิบบอกเราว่า “เชียงคาน” จะยัง คลอเคลียอยู่ในหัวใจที่ถวิลหาวิถีแห่งความสงบเงียบ เสมอ... แม้ ก ารเปลี่ ย นแปลงเป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตลอดเวลา เราก็ได้แต่หวังว่า การเปลี่ยนแปลงของ “เชียงคาน” จะดำเนินไปอย่างเนิบช้าและมีทิศทาง ดุจดั่งกระแสสายน้ำโขงที่ไหลรินตามฤดูกาล เพื่อ หล่อเลี้ยงชีวิตริมฝั่งโขงอย่างมีดุลยภาพ การเดินทางเพื่อแสวงหาอะไรบางอย่างให้กับ ชีวิต ทำให้เราได้พบว่า ธรรมชาติและวิถีชีวิตดัง้ เดิม เป็นเสน่ห์ที่น่าหลงใหล เป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ที่กาล เวลาและบรรพบุรษุ ผูเ้ ปีย่ มภูมปิ ญั ญาได้เมตตารังสรรค์ ไว้ให้ลกู หลาน หากแต่ลกู หลาน..จะรักษาไว้ได้หรือไม่? ลองถามหัวใจเราดู...
089