ii
Nam - Na- Non
Amornthep Mahamart 1
Š2018
about the project สมิต ตะกรุดแก้ว
กลุ่มสร้างสรรค์การทดลองทางทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาคอีสานเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์มานานนับเป็นพันๆ ปี และยังคงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การตั้งชุมชน ในอีสานมีหลักการในการเลือกพื้นที่อยู่สามประการ คือ น�้ำ นา โนน น�้ำ หมายถึง แหล่งน�้ำตามธรรมชาติต่างๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น�้ำ เนื่องจากมีความส�ำคัญใช้ในการอุปโภค บริโภค นา หมายถึง พื้นที่ราบลุ่มที่สามารถใช้ท�ำไร่ท�ำนาเพาะปลูกพืชผักได้ โนน หมายถึง เนิน หรือพื้นที่สูงน�้ำท่วมไม่ถึง ใช้ส�ำหรับปลูกสร้างบ้านเรือน วัด อาคารต่างๆ นอกจากหลักสามประการข้างต้นแล้ว การรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนยังจะต้องมีคติความเชื่อรวมไปถึงฮีตฮอยหรือจารีต ประเพณีต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยคนอีสานจะมีคติความเชื่อที่เกิดจากการ ผสมผสานกันของคติความเชื่อเดิมได้แก่ความเชื่อเกี่ยวกับผีแถนเทวดาและคติความเชื่อที่เข้ามาใหม่ได้แก่ คติความเชื่อ แบบพราหมณ์ และคติความเชื่อแบบพุทธ คติความเชื่อและการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวประกอบกับลักษณะภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ 2
หล่อหลอมให้คนอีสานมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคนภาคอื่นๆ อันจะเห็นได้จากภาษา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาคาร บ้านเรือน งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนผลงานศิลปะ ผลงานศิลปะพื้นถิ่นอีสานมีลักษณะการแสดงออกที่เรียบง่ายและมีความโดดเด่นเรื่องสีที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติ โดย ในอดีตผลงานส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองคติความเชื่อเป็นหลัก แตกต่างกับปัจจุบันที่งานศิลปะถูกสร้างขึ้น เพื่อสื่อสารกับสังคม โดยการพยายามที่จะน�ำอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย ร่วมสมัย อมรเทพ มหามาตร หรือพี่ท็อป หรืออาจารย์ท็อป ศิลปินร่วมสมัยที่เกิดในแผ่นดินอีสานแต่ไปศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ จังหวัดเชียงใหม่เป็นอีกคนหนึ่งที่มีผลงานหลากหลายทั้งผลงานภาพพิมพ์ เซรามิกส์ สื่อผสม และงานจัดวาง โดยมีการ แสดงผลงานเป็นที่แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ผลงานของพี่ท็อปมักมีการสื่อสารกับผู้คนและสังคมด้วยรูปทรง สี และการจัดการกับพื้นที่ ทั้งพื้นที่ภายในผลงานศิลปะ และพื้นที่โดยรอบผลงานดังเช่นผลงานชุด “น�้ำ นา โนน” ผลงานชุด “น�้ำ นา โนน” เป็นผลงานภายใต้โครงการศิลปินในพ�ำนักของกลุ่มวิจัยสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้เริ่มกระบวนการสร้างสรรค์มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 จนส�ำเร็จเป็นผลงานจัดแสดงใน วันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกัน ผลงานชุด “น�้ำ นา โนน” เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ทั้งวัด สิม ฮูปแต้ม ชุมชนทอผ้า ชุมชนเครื่องปั้นดินเผา ตลอดจน ตลาดสด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย โดยต้องการน�ำเสนอภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวอีสานที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน โดยมีคติความเชื่อและพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ แสดงออกผ่านผลงานเซรามิกส์ ภาพพิมพ์ และการจัดวาง สุดท้ายนี้ผมหวังว่าผลงานชุด “น�้ำ นา โนน” จะเป็นสื่ออีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับจิตใจและท�ำให้ผู้คนเข้าใจถึงคติ ความเชื่อ จิตวิญญาณ ตลอดจนกระตุ้นจิตส�ำนึกความเป็นท้องถิ่นอีสานให้เกิดการสืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ ภาคอีสานให้ด�ำรงคงอยู่สืบต่อไป 3
Foreword Nahm-Naa-Non translates into water-rice-hillocks
An exhibition by Amornthep Mahamart Valerie Blouin
Amornthep Mahamart feels at home in Isaan and accepted Khon Kaen University’s artist residency gladly. He finds spending time away from his Mae Taeng studio both very freeing and inspiring. Amornthep has a deep love of all things Isaan, its people, the landscape, the history and of course the food. The residency gave him the opportunity to explore further what it is that attracts him so much about the region, and he spent a lot of time roaming the countryside, visiting isolated temples and remote pottery villages. Everywhere he visited he experienced solid connections, but perhaps the most significant resonance was felt visiting local temples. Evidence of the simple and joyful local worship, the exterior frescoes on Wat Chai Sri, Wat Potharam and many others have a naïve, playful quality which never ceases to delight. Using tree barks and leaves for pigments, these forgotten untrained painters clearly delighted in narrating colourful and edifying tales. The spatial positioning of details, the inventiveness deployed in painting plants and trees and magical happenings, the beautiful blues and greens and pinks are especially memorable. 4
5
Whilst Amornthep’s work here retains its trademark shapes, the ornate work and wealth of details found on the baisemas in particular are directly related to the decorative frescoes he so loves. But the real revelation, I think, was the fundamental series of connections he experienced whilst living there. He feels deeply at home with what he perceives as local values, he is drawn to the simplicity, the solidity, the playfulness but also the lack of artifices, the deeply honest nature of local traditions in their lack of guise. There is palpable relief in him at finding a spiritual home in Isaan, and the pieces exhibited here are a confident celebration of this very feeling. Amornthep Mahamart is showing six works made in May and July 2018. The key word to apprehend these works is connection – to the land, to the water, to the people.
Baisemas
Like the boundary stones that surround Buddhist temples, they define the meditative space, where we can reconnect with our selves and concentrate. These two wonderful objects, one multicoloured, one black, are made up of two overlapping layers of clay. Like a ceramic filigree, delicately carved apparently randomly but where one can spot here a figure, there a flower, there again an ancient Thai character. Written from within the private space, the work appeared in Amornthep’s hands very freely and quickly as if an evidence. The decorative elements are directly inspired by his many trips to the small and delightful rural Wats that pepper the Isaan country side.
Beads
The inspiration from this installation is taken from ancient pottery seen at Ban Chiang, in Udonthani. A primal but shiny link of rings, it plays with light reflections on the water; the rings are both strong and fanciful, rooted in history yet playful. Though they are linked by a rope, the way the rings move at the surface is controlled only by the current and movements of the river, they take on their own dynamic. In this work the artist clearly reflects 6
on the connection of land and water; the rings float on the river from the edges of which the clay was dug up. He also invites us to meditate on historical heritage, our connection to human beings and the longing to break free.
Mama & Papa Towers
A fragile fortress protecting the artist’s inner world: like the rare Buddhist manuscripts libraries, traditionally positioned in a flooded space for safety, the towers stand in their own pool of water. Each level is built separately, and within each space is hidden a smaller work. These towers are reminiscent of a previous piece which Amornthep made and left in Indonesia; though they are taller and richer and perhaps reflecting the distance he has covered since then. This work remains mysterious, it reveals little and one can only guess at the very personal stories hidden within the various levels.
Lotus installation
The Isaan country side is magical in the rainy season, when the water glitters in the landscape everywhere and reflects the cloudy skies. Entire lakes and small ditches are covered in glorious stretches of colourful lotus, and this piece is a celebration of this ubiquitous and sacred symbol. (Soundtrack - traditional music, rain, birds, frogs, clay beating, people at markets)
7
8
9
10
อมรเทพ มหามาตร รู้สึกว่าอีสานเป็นดั่งบ้านของเขา จึงยินดีตอบรับค�ำเชิญเข้าร่วมโครงการศิลปินในพ�ำนักที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้น แม้ต้องจากสตูดิโอที่อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่มานาน แต่เขาก็รู้สึกเป็นอิสระและ เปี่ยมแรงบันดาลใจ อมรเทพมีความรักลึกซึ้งต่อทุกสิ่งในอีสาน ทั้งผู้คน พื้นที่ ประวัติศาสตร์ และแน่นอนย่อมรวมถึงอาหารการกินด้วย การ มาอยู่ที่นี่ท�ำให้เขาได้ออกส�ำรวจเพิ่มเติมว่าสิ่งใดในภูมิภาคนี้ที่ดึงดูดความสนใจของเขาอย่างมากล้น เขาใช้เวลามากมาย เดินทางท่องชนบท เยี่ยมชมวัดและหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาที่อยู่ห่างไกล ทุกแห่งที่ไปล้วนท�ำให้เขาได้สัมผัสกับสาย สัมพันธ์อันเหนียวแน่น แต่ความรู้สึกเชื่อมโยงกับพื้นที่ที่ส�ำคัญยิ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อได้ไปเยี่ยมชมวัดต่างๆ ภาพวาดฝาผนังที่วัด เช่น วัดไชยศรี วัดโพธาราม ฯลฯ ล้วนแต่มีความซื่อตรงและสนุกสนาน ดูเท่าไรก็ไม่เบื่อ แสดงความ เคารพบูชาอันเรียบง่ายและท�ำด้วยใจเบิกบานซึ่งเป็นธรรมชาติของคนที่นี่ ภาพเหล่านี้ใช้สีจากเปลือกไม้ ใบไม้ จิตรกร ไม่ได้มีเทคนิคมากมายและชื่อพวกเขาก็ถูกลืมเลือนเมื่อเวลาผ่านไป แต่เห็นได้ชัดว่าพวกเขาสนุกกับการสรรสร้างภาพ ชาดกหลากสีสันขึ้นมา การลงรายละเอียดในแต่ละจุด ความคิดสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปรไปเป็นพืชพรรณและสรรพสิ่งใน จินตนาการ สีเขียว น�้ำเงิน และชมพูสวยงาม เหล่านี้คือสิ่งที่โดดเด่นสะดุดตา
11
งานที่อมรเทพสร้างขึ้นที่นี่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของเขาเอาไว้ ความอ่อนช้อยและรุ่มรวยรายละเอียดโดยเฉพาะ ในใบเสมามีความเกี่ยวพันโดยตรงกับภาพวาดฝาผนังที่เขาชื่นชอบ แต่สิ่งที่งานแสดงออกมาจริงๆ นั้น ฉันคิดว่าคือ เรื่องราวของสายสัมพันธ์ที่เขาได้ประสบตลอดเวลาที่อยู่ที่น่ี เขารู้สึกเหมือนอยู่ในบ้านเกิดของตนเองเมื่อได้รับรู้ถึงวิถี คุณค่าต่างๆ ที่คนในพื้นที่ยึดถือ ถูกดึงดูดเข้าหาความเรียบง่าย ความเข้มแข็ง ความรักสนุกและไม่ซับซ้อน ความจริงใจ อันเป็นลักษณะส�ำคัญของประเพณีท้องถิ่นที่ไม่ปรุงแต่ง สัมผัสได้ชัดเจนว่าเขาผ่อนคลายเมื่อได้พบบ้านทางจิตวิญญาณ ในอีสาน และชิ้นงานที่แสดง ณ ที่นี้ก็คือการเฉลิมฉลองความรู้สึกที่เกิดขึ้น อมรเทพ มหามาตร น�ำเสนอชิ้นงานจ�ำนวน 6 ชิ้นซึ่งสร้างขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2561 แก่นความคิด ของงานชุดนี้ก็คือ “สายสัมพันธ์” – ต่อพื้นที่ สายน�้ำ และผู้คน
เป็นหัวใจของงานชุดนี้ เปรียบดั่งใบเสมาที่แสดงเขตแดนของวัดในพุทธศาสนา มันแสดงถึงพื้นที่ของสมาธิ ที่ซึ่งเรา สามารถกลับมาสู่ตัวตนของเราและเพ่งพิจารณา งานสุดวิเศษทั้งสองชิ้นนี้ ชิ้นหนึ่งมีหลากสี อีกชิ้นเป็นสีด�ำ ต่างก็สร้างขึ้นมาจากดินที่เหลื่อมซ้อนกัน เหมือนการถักทอ ด้วยเซรามิก แกะสลักอย่างประณีตโดยไม่มีแบบแผนชัดเจน เมื่อมองก็จะเห็นทั้งดอกไม้ รูปร่างคนหรือสัตว์ แต่พอมอง อีกครั้งกลับเห็นอักขระภาษาไทยโบราณ เมื่อมันออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของเขาเอง งานนี้จึงสร้างขึ้นอย่างเป็นอิสระ และเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วราวกับเสกขึ้น ลวดลายบนชิ้นงานมีแรงบันดาลใจจากการเดินทางหลายต่อหลายครั้งไปชมวัด เล็กๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจซึ่งมีอยู่ทั่วไปในชนบทของอีสาน
แรงบันดาลใจต่องานชุดนี้ได้จากหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่ที่ อ.บ้านเชียง จ.อุดรธานี เส้นลูกปัดเงางามที่ดูเหมือน ของยุคเก่าล้อกับเงาสะท้อนบนผืนน�้ำ ลูกปัดเหล่านี้ทั้งดูมีก�ำลังและเพ้อฝัน มีรากฐานเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์แต่ก็ดู
12
สนุกด้วย เป็นงานที่สื่อถึงสายสัมพันธ์ของผืนดินและสายน�้ำ เพราะงานชุดนี้ลอยอยู่ในแม่น�้ำซึ่งดินจากฝั่งน�้ำนั้นเองที่เขา น�ำมาสร้างงาน เขายังเชื้อเชิญให้เราใคร่ครวญถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ ความสืบเนื่องของผู้คนและความปรารถนาที่ จะหลุดพ้นจากมัน
ป้อมปราการอันเปราะบางที่มีไว้ปกป้องโลกภายในของตัวศิลปินเอง เปรียบดั่งหอพระไตรปิฎกซึ่งตามประเพณีมักตั้ง ไว้กลางน�้ำเพื่อป้องกันภัย หอทั้งสองนี้จัดวางอยู่กลางอ่างน�้ำใหญ่ สร้างทีละชั้นแล้วจึงน�ำมาประกอบกัน ในแต่ละชั้น ซ่อนงานชิ้นเล็กๆ เอาไว้ งานคู่นี้สร้างขึ้นโดยระลึกถึงงานรูปแบบเดียวกันที่อมรเทพสร้างไว้ที่ประเทศอินโดนีเซีย แต่สูง กว่าและมีความหนักแน่นกว่าซึ่งสื่อถึงประสบการณ์ที่เขาสั่งสมมาในช่วงเวลาที่พ้นผ่าน งานมีความลึกลับ เปิดเผยเพียง น้อยนิด ผู้ชมจึงได้แต่คาดเดาว่าศิลปินซ่อนเรื่องราวส่วนตัวอันใดไว้ในแต่ละชั้นนั้น
ชนบทของอีสานนั้นราวกับมีเวทมนตร์ในฤดูฝน เมื่อน�้ำส่งประกายระยิบระยับไปทุกที่และสะท้อนเงาของเมฆที่ลอยเต็ม ท้องฟ้า บึงน�้ำและคูคันดินต่างเต็มไปด้วยดอกบัวหลากสีเบ่งบาน งานชุดนี้ท�ำเพื่อเชิดชูสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ที่ พบเห็นได้ทั่วทุกหนแห่ง
(เสียงประกอบ: ดนตรีพื้นเมือง ฝนตก นกร้อง กบร้อง การนวดดิน ผู้คนที่ตลาด)
13
14
15
มีนาคม 2561 ผมได้รับค�ำเชื้อเชิญจากอาจารย์สมิต ตะกรุดแก้ว น้องร่วมแวดวงเซรามิกให้ไปเข้าร่วมโครงการศิลปิน ในพ�ำนักที่สาขาเซรามิก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้น ผมตั้งใจมานานแล้วว่าจะสร้างสรรค์ ผลงานเกี่ยวกับอีสานสักชุด เพราะรู้สึกอยู่เสมอว่าในพื้นที่นี้มีเนื้อหาเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย มีความหลากหลาย ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมจากชาติพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งอยากมาเยี่ยมญาติๆ และลูกศิษย์ที่อยู่ ทางนี้ด้วย พอได้รับค�ำเชิญ จึงตกปากรับค�ำโดยยังไม่ต้องถามรายละเอียด เมื่อได้รู้ว่าโครงการนี้ให้ศิลปินวางแผนการท�ำงานได้โดยอิสระ ผมจึงมองงานนี้เหมือนการท�ำงานสมัยเป็นนักศึกษาที่ต้อง ทุ่มเทตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าข้อมูลจนถึงสร้างงาน อีกใจหนึ่งก็คิดว่าเหมือนไปเที่ยว ปล่อยให้สิ่งที่พบเห็นกระตุ้นจิตใจ และจินตนาการ ผมมาถึงขอนแก่นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม การเดินทางเริ่มต้นอย่างทันใจในวันรุ่งขึ้น อาจารย์สมิต ซึ่งเพิ่งเป็นพ่อลูกอ่อนอาสาขับรถพาไปไหว้พระที่วัดไชยศรีและวัดสนวนวารีพัฒนารามเพื่อเป็นมงคลชีวิต และเป็นการ ออกส�ำรวจข้อมูลวันแรกไปด้วย เราได้เดินศึกษาฮูปแต้มที่วัดทั้งสองแห่ง ผมเพลิดเพลินไปกับสีสัน รายละเอียดต่างๆ การจัดวางองค์ประกอบของภาพที่ มีอิสระ ศิลปินสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และสอดแทรกความงามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างพิเศษ เส้นและ สีของครามช่วยเน้นรูปทรงและสร้างองค์ประกอบของภาพให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ สีเขียวเทอร์ควอยซ์ดูสะดุดตาบนผนังฉาบ ปูนสีขาว ส่วนที่ต้องการเน้นเนื้อหาก็เขียนรูปให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่น ภาพนรกภูมิบนผนังด้านหน้าของสิม
16
17
ผมพยายามคิดว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจในการใช้สีเหล่านี้ โดยเฉพาะสีเขียวกับสีคราม เขาได้มาจากการเห็นสภาพ แวดล้อม ภูมิประเทศ หรือเพราะเป็นวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน พืช ยางไม้ต่างๆ หรือต้องไปหาซื้อจากที่อื่นๆ จนเมื่อ อ.สมิตได้น�ำหนังสือ ซ่อนไว้ในสิม1 และ จิตรกรรมฝาผนังอีสาน2 มาให้อ่านเป็นข้อมูล ผมจึงได้รับความกระจ่าง มากมาย ไม่เฉพาะเรื่องสี แต่รวมไปถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณอีสานเลยทีเดียว “สีที่ช่างแต้มชาวอีสานใช้เป็นสีธรรมชาติ และสีเคมี สีธรรมชาติ ได้แก่ สีคราม จากต้นคราม สีเหลือง จากยางต้นรง สีแดง, สีน�้ำตาลแดง จากดินแดงประสานกับยางบง สีเขียว เป็นสีผสมระหว่าง สีครามและสีเหลือง สีด�ำ จาก เขม่าไฟน�ำมาบดป่นให้ละเอียดหรือหมึกแท่งจากจีน สีขาว จากการฝนหอยกี้ (หอยชนิดหนึ่งในแม่น�้ำโขง) สีเคมี ได้แก่ สีบรรจุซองตราสตางค์แดง”3 ที่มาของสีครามท�ำผมประหลาดใจมาก เพราะไม่นึกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นจะหาวัสดุสีนี้มาใช้ในงานจิตรกรรมได้ คิดว่า ต้นครามใช้กันอยู่ในงานย้อมผ้าเท่านั้น เคยมีรุ่นน้องแนะน�ำให้ผมเอาครามมาใช้เพนท์เมื่อหลายปีก่อน แต่ผมคิดว่า มันไม่น่าจะอยู่ได้คงทนเพราะสีธรรมชาติควบคุมได้ยาก มีรายละเอียดขั้นตอนการใช้ที่เราไม่รู้ ช่างเป็นความคิดที่ตื้น เขินเหลือเกิน
ก่อนแยกย้ายกับ อ.สมิต เราจบวันแรกที่ตลาดสดของชาวบ้านใกล้ที่พัก หาจิตวิญญาณอีสานใส่ท้องกันเสียหน่อย เดินดู ของไปก็นึกหวนอดีต หยิบปลาร้ามาแล้วนึกถึงพ่อ ผักหน้าตาประหลาดที่จ�ำชื่อไม่ได้แต่น่ากิน ปลาส้มย่างหอมกรุ่น แกง อ่อมเห็ดสีเขียวเข้มดูไม่น่ากินแต่รู้ว่าอร่อยแน่ ข้าวเหนียวร้อนๆ ในกระติบใบโต และอีกมากมายที่อยากกิน ทั้งไข่มดแดง
18
ดักแด้ และสารพัดแมลง หันไปถามเส้นเส้นลูกชายผมว่าเอามั้ยลูก ลูกชายผู้ซึ่งไม่คุ้นชินกับอาหารพื้นถิ่นอีสานท�ำหน้าเบ้ ใส่ จึงบอกลูกว่าเราต้องลองอะไรแบบนี้บ้าง อาหารบอกชาติก�ำเนิดนะ กินแล้วจะได้รู้ว่ามีสายเลือดของปู่เหลืออยู่บ้าง ไหม แต่พ่อลูกชายยังยืนกรานปฏิเสธอาหารที่ไม่คุ้นเคย ปล่อยให้พ่อมีความสุขอยู่คนเดียว พอถึงเวลากลับ อ.สมิตก็หิ้ว ของเต็มสองมือ พ่อลูกอ่อนยังต้องท�ำหน้าที่พ่อบ้าน กลับไปเตรียมส�ำรับกับข้าวให้คนที่รออยู่ที่บ้านด้วย ความหลากหลายของอาหารพื้นบ้านบอกอะไรผมมากมายถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรม จิตใจของผู้คนในแถบนี้ ค�ำว่า “หาอยู่หากิน” ได้แสดงอยู่ในอาหาร รสชาติที่เลิศในทุกวันของชีวิตมาจากการเรียนรู้เพื่อยังชีพวันแล้ววันเล่า รู้ว่าจับ ปลาจากที่ไหน ฤดูกาลใด พืชชนิดไหนที่งอกขึ้นมาแล้วเก็บกินได้ แบ่งปันความรู้ ส่งต่อสืบทอดมาหลายชั่วรุ่น จนกลาย เป็นการสร้างสรรค์อาหารพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์
ก่อนมาถึงขอนแก่นผมตั้งใจไว้แล้วว่าจะสร้างงานเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมเกษตรกรรม โดยใช้ สัญลักษณ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่รากเหง้าทางวัฒนธรรมและความเชื่อ ผูกจิตผูกใจไว้มากกับไหปลาแดก คิดวนเวียน อยู่ว่าจะสร้างสรรค์มันออกมาเป็นงานศิลปะได้อย่างไร จนมาถึงขอนแก่นแล้วจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบต่างๆ ที่ ต้องใช้ ก็ยังคิดแบบนี้อยู่ไปอีกสองสามวัน ระหว่างนั้น ในสตูดิโอของคณะศิลปกรรมศาสตร์เต็มไปด้วยนักศึกษาเซรามิกที่สาละวนเร่งงานส่งปลายเทอมในอีกไม่ กี่วัน ผมท�ำงานอยู่ท่ามกลางบรรยากาศความวุ่นวายนั้น ท�ำให้พลอยรู้สึกว่าต้องเร่งส่งงานเหมือนพวกเขาไปด้วย ชมพู่ นักศึกษา มข. ที่เคยไปฝึกงานกับผมเมื่อปีที่แล้วก็ก�ำลังเร่งท�ำโปรเจกต์จบการศึกษาของเธออยู่เช่นกัน แม้ว่าจะวุ่นกับการ ปิดงาน แต่ยังมีแก่ใจชวนอาจารย์อย่างผมไปเที่ยวนอกสถานที่ “อาจารย์คะ บ่ายนี้หนูจะพาอาจารย์ไปบ้านวังถั่ว อ.น�้ำพอง ถ้ามีเวลาเหลืออาจารย์อยากไปดูอะไรต่อไหม” “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นแล้วกัน ไปแค่สองที่ก็พอ จะได้มีเวลามากหน่อย แล้วเราว่างเหรอ เห็นต้อง เร่งท�ำทีสิสอยู่” 19
“ว่างสิคะ หนูเอางานเข้าเตาแล้ว” “งั้นก็ไปกัน ชวนเพื่อนกับน้องไปด้วย” ผม เส้นเส้น และจ๋ากับชมพู่ซึ่งเป็นลูกศิษย์พากันนั่งรถมุ่งหน้าไปบ้านวังถั่ว ผมเคยมาเยี่ยมชมผลงานที่นี่แล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้จึงหวังว่าจะได้ไปดูแหล่งดินมากกว่า บ้านวังถั่วยังมีคนผลิตงานเครื่องปั้นดินเผาอยู่ 3-4 ครัวเรือน พื้นเพเป็นชาว มอญ ทราบว่าอพยพมาจาก อ.ด่านเกวียน จ.นครราชสีมา เนื่องจากช่วงนี้เข้าฤดูฝน ผู้คนส่วนหนึ่งก็ละจากงานปั้นไป เตรียมพื้นที่การเกษตร เราเดินชมชิ้นงานหม้อดินที่ยังขึ้นรูปโดยใช้ไม้ตีและใช้หินดุตกแต่งรูปทรงและลวดลาย เป็นเทคนิค ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชิ้นงานมากมายรอการเผาอยู่ การเผาเป็นแบบเรียบง่าย ใช้ฟืนที่หาได้ทั่วไปใน ท้องถิ่นและใช้ไม้ไผ่แห้งเร่งไฟช่วงท้าย อุณหภูมิเผาระหว่าง 800-1,000 องศาเซลเซียส แต่หน้าไฟจริงอยู่ที่ 1,100-1,200 องศา รู้ได้จากชิ้นงานที่มีการทรุดตัวลง งานอีกส่วนหนึ่งขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ซึ่งแม้ท�ำได้ปริมาณมากกว่า เร็วกว่า รูปทรง ก็ดูสมบูรณ์ดี แต่ในแง่ความงามกลับดูไม่พิเศษเมื่อเทียบกับหม้อที่ใช้ไม้ตี ผมถามลุงเจ้าของด้วยความสงสัยว่าท�ำไม ท�ำงาน 2 ลักษณะ ลุงแกอธิบายว่าตลาดส่วนใหญ่ของแกอยู่ที่ประเทศลาว หม้อที่ขึ้นรูปด้วยการตีเป็นที่นิยมของคนลาว มากกว่า และสามารถท�ำราคาได้สูงอีกด้วย “ท�ำไมต้องไปขายที่ลาว” “ก็คนไทยไม่ใช้ของพวกนี้แล้ว” ลุงแกบอก ฟังแล้วก็รู้สึกเศร้าใจ “แล้วลุงเอาไปขายยังไง” “ก็ขับรถไปส่งเขาถึงที่เลยสิ” “ลุงครับ ถ้ามีโอกาสผมขอมาเรียนรู้การเผางานกับลุงด้วยคนนะ” “โอ้ย สบายมาก เข้าไปติดตามในเฟซบุ๊กของลุงได้เลย มีหลายตอนอยู่” ผมรู้สึกชื่นชมลุงมากที่แกเป็นคนรักงานได้ขนาดนี้ การท�ำงานดินเผานับตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการมีขั้นตอนมากมาย ไม่ใช่งานสบายอย่างแน่นอน แต่แกยังท�ำเองได้ทุกอย่าง
20
“ลุงครับ ลุงไปเอาดินมาจากไหนครับ มีคนขุดขายหรือเปล่า ผมอยากไปชมหน่อย” “ริมน�้ำพอง ท้ายหมู่บ้านทางทิศตะวันตก ไปอีกนิดเดียวก็ถึง ลุงนี่แหละเป็นคนขุดขาย” เราไปถึงพื้นที่แถบริมน�้ำพอง พื้นที่สองฟากฝั่งน�้ำตลอดสายเป็นเรือกสวนไร่นา คั่นด้วยป่าโปร่งเป็นระยะ มีธรรมชาติ สมบูรณ์และสวยงาม แดดกลางวันแผดแรงมาก แต่ด้วยความตื่นเต้น พอลงจากรถผมก็เดินจ�้ำไปตามทางเดินเล็กๆ มุ่งไปทางริมน�้ำเพราะคิดว่าแหล่งขุดดินน่าจะอยู่แถวนั้น เมื่อเดินไปถึงแหล่งดิน ผมหันมาบอกลูกชาย “เส้นเส้นช่วยถ่ายรูปตรงนี้ให้ป๋าที” ไม่มีเสียงตอบรับ หันมาเจอความว่างเปล่า ไม่มีใครตามมาเลยสักคน ผมจึงเดินกลับไปเรียกพวกเด็กๆ “เฮ้ย พวกเอ็งจะเป็นนักเซรามิกประสาอะไร พามาดูแหล่งดินจะได้รู้ว่าชาวบ้านเขาเอาดินแบบไหนมาใช้ สภาพ บริเวณแหล่งขุดเป็นยังไง ตามมาเดี๋ยวนี้ กลัวอะไรกันแค่แดด” เราพากันเดินไปอีกไม่เกิน 10 เมตรก็เห็นร่องรอยขุดดินริมตลิ่งลงไปเป็นหลุมเล็กๆ 2-3 เมตร ดินที่ได้เป็นดินละเอียด สีส้มแดงปนทราย มีเศษอินทรียสารและหินกรวดปะปนอยู่ในเนื้อดิน เมื่อขุดขึ้นมาแล้วต้องท�ำการแยกวัสดุหยาบ (เช่น กรวด เศษกิ่งไม้ ใบไม้) ออกไปก่อนจึงจะน�ำมาใช้ได้ เนื้อดินลักษณะนี้ง่ายต่อการขึ้นรูปและเผาที่อุณหภูมิไม่สูงมาก เหมาะกับการใช้ท�ำอิฐและภาชนะประเภทเอิร์ธเทนแวร์ ผมรู้สึกสุขใจ ไม่ใช่เพียงเพราะได้เห็นแหล่งดินหรอกครับ การได้มายืนอยู่ในพื้นที่กว้างใหญ่ เห็นสายน�้ำทอดยาวสลับ กับท้องนาและโนนดิน มันได้ช่วยเปิดประตูใจให้ผมจินตนาการไปสู่ธรรมชาติอย่างมีอิสระ และอิ่มเอมใจที่ได้เป็นส่วน หนึ่งของธรรมชาติที่นี่
21
เดินลัดเลาะไปตามริมน�้ำพอเพลิดเพลินใจจนบ่ายคล้อย เราจึงค่อยไปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ก่อนเข้าสู่ตัว อาคาร ผมเห็นสนามหญ้านอกอาคารมีใบเสมาหินทรายจัดวางไว้จ�ำนวนมาก ใบเสมาสามารถพบเห็นได้แทบทุกแหล่ง ประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ แผ่นหินแบน รูปทรงเกิดจากเส้นโค้งที่ลากจากด้านล่างซ้ายขวาขึ้นมาบรรจบที่ยอดคล้ายรูป ใบโพธิ์ มีภาพสลักเกี่ยวกับพุทธประวัติบ้าง หรือปล่อยไว้เป็นพื้นผิวของหินตามธรรมชาติบ้าง มีอยู่มากมายในพื้นที่ อีสาน วัตถุนี้มีความเรียบง่าย แต่ก็รู้สึกได้ถึงความลึกลับ ผมสงสัยว่าคนในอดีตมีความเชื่ออย่างไร จึงสร้างใบเสมาเพื่อ เชื่อมศรัทธาของตนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา “...เมื่อพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาในช่วงระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ได้มีการ ผสมผสานความคิดและความเชื่อทั้งสองเข้าด้วยกัน หินตั้งในวัฒนธรรมเดิมได้ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็น เสมาหินเนื่องในพุทธศาสนา ทั้งนี้เสมาหินจะมีหน้าที่ปักบนเนินดินหรือปักรอบเนินดินเพื่อเป็นเครื่องหมาย ก�ำหนดสถานที่ดังกล่าวนั้นว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกัน เสมาหินบางหลักที่มีขนาดสูงใหญ่ ที่มีการสลัก ลวดลายเป็นรูปสถูปเจดีย์ พระพุทธรูปหรือเทวรูป นอกจากจะปักแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์แล้ว เสมาหินดังกล่าว ยังมีลักษณะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง มีหน้าที่เป็นเจดีย์หรือพระพุทธรูป เทวรูป เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชา อีกด้วย”4 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เราได้ดูวัตถุโบราณมากมาย ทั้งสร้อยคอ ก�ำไลเปลือกหอยและดินเผา เครื่องมือหินซึ่งมี ทั้งอาวุธและอุปกรณ์การเพาะปลูกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนถ้วยชาม หม้อดินเผาเขียนสีดินแดงผสมยางไม้ มักขึ้นรูปด้วยการตีแล้วใช้ลูกกลิ้งดินเผาสร้างลวดลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ก็คล้ายคลึงกับงานในอารยธรรมอื่นๆ ใน โลกนี้อย่างน่าประหลาดใจ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ ใช้การสังเกตและทดลองจนสร้างสิ่งใช้สอย ที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตนเองออกมาได้ ลองนึกดูว่าถ้าตัวเราเองต้องกลับไปอยู่ในยุคนั้นจะเป็นอย่างไร จะมีความคิด สร้างสรรค์เพียงพอให้ท�ำสิ่งเหล่านี้ออกมาได้หรือไม่
22
23
กลับจากบ้านวังถั่ว ผมปักใจว่าจะต้องใช้ดินจากที่นั่นสร้างงานเพราะอยากให้วัตถุดิบมีส่วนเชื่อมเรื่องราวกับพื้นที่ได้ด้วย โดยหวังว่าดินจะช่วยแสดงความมีอยู่ของวิถีชีวิตช่างปั้นดินและความรู้สึกที่ผมมีต่อพื้นที่ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ แต่ปัญหาก็ มีอยู่ว่าดินที่นี่ไม่สามารถเผาอุณหภูมิสูงมากได้ จึงต้องปรับสูตรโดยเพิ่มเนื้อดินสโตนแวร์และหินบะซอลต์เข้าไป ซึ่งท�ำให้ การขึ้นรูปท�ำได้ง่ายขึ้น และงานจะทนทานต่อการเผาอุณหภูมิสูง ขณะที่ยังคงสีสันเดิมของดินบ้านวังถั่วไว้ได้
อีกด้านหนึ่งเมื่อนึกถึงเนื้อหางาน ผมได้ทบทวนบทเรียนจากสิ่งที่ได้ไปพบเห็นมา มีหลายสิ่งที่น่าสนใจและเป็นความรู้ ใหม่ส�ำหรับผม บางเรื่องก็ท�ำให้ได้สืบสาวย้อนไปหาบรรพบุรุษของตัวเอง แต่ก็ยังไม่ตกผลึกดี ต้องเก็บภาพความ ประทับใจเอาไว้ก่อน ไม่ทันไรก็จะสิ้นภาคการศึกษาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า นักศึกษายังคงเร่งงานตัวเองให้จบ ส่วนผมมองพวกเขาแล้วถาม ตัวเอง: สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในการมาที่นี่คืออะไร เมื่อมาท�ำงานในพื้นที่มหาวิทยาลัยแล้ว เรามาเพียงท�ำงานศิลปะ หรือว่า มาแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ให้เด็กๆ เหล่านี้ ผมรู้สึกว่าอย่างหลังมีน�้ำหนักมากกว่า พอคิดได้อย่างนี้ ก็พอปรากฏแนวทางให้มั่นใจที่จะสร้างสรรค์งาน “ชม สุ เดี๋ยวผมจะส่งงานพร้อมทีสิสพวกคุณ” ผมแหย่ลูกศิษย์ กระตุ้นให้พวกเขารีบท�ำงานให้เสร็จ และบอกตัวเองไปด้วยก่อนจะหลงประเด็นไปกับข้อมูลที่ได้พบเห็น แล้วคิดว่าตัวเองเป็นนักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยาไปเสีย แหล่งดินริมน�้ำพอง เครื่องปั้นบ้านวังถั่ว ลูกปัดโบราณและใบเสมาหินทรายที่พิพิธภัณฑ์ วัตถุเหล่านี้ล้วนแต่มีนัยเชิง สัญลักษณ์ บอกความสัมพันธ์เกาะเกี่ยวระหว่างธรรมชาติกับคน คนกับเผ่าพันธุ์ ถ่ายเทรุ่นต่อรุ่น เชื่อมโยงทั้งผู้ที่ยังอยู่ 24
และล่วงลับไปแล้ว เรื่องราวเรียงร้อยประหนึ่งสร้อยลูกปัดเล็กๆ ที่ต่อกันเป็นเส้นสายอย่างประณีตบรรจง เชื่อมต่อกัน ด้วยความสัมพันธ์ มีรายละเอียดที่เป็นเอกลักษณ์ในตัวมันเอง
ทุกๆ เช้าก่อนเริ่มงาน อาจารย์สมิตจะแวะมาเป็นก�ำลังใจและถามไถ่ เราสนทนากันออกรสชาติ เสริมบรรยากาศด้วย กาแฟหลากชนิดที่เขาสรรหามาให้ลิ้มลอง อาจารย์จุ๊บ (กิตติสันต์ ศรีรักษา) ชายผู้มากด้วยอารมณ์ขันก็แวะเวียนมา ร่วมวงด้วยบ่อยๆ เขาเต็มไปด้วยความรู้เกี่ยวกับอีสานที่พร้อมจะแบ่งปันให้กับสหายชาวเซรามิกอย่างผมทั้งยังอาสาพา ผมไปเที่ยวชมอีกหลายๆ ที่ซึ่งผมยังไม่เคยไป แม้ว่าจะเริ่มท�ำงานไปแล้ว แต่เรายังคงเดินทางไปหลายหมู่บ้านในพื้นที่ชนบทเพื่อเติมความรู้และความคิดสร้างสรรค์เริ่ม ตั้งแต่บ้านหัวบึง ต�ำบลหัวช้าง อ�ำเภอเมืองขอนแก่น วัดสนวนวารี อ�ำเภอบ้านไผ่ วัดสระบัวแก้ว อ�ำเภอหนองสองห้อง วัดโพธาราม วัดป่าเรไร อ�ำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปราสาทเปือยน้อย และอื่นๆ อีกหลายแห่ง แม้ว่าบางแห่ง อาจจะไปหลายครั้ง แต่ก็ได้เปิดประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ เสมอ เป็นวัตถุดิบทางความคิดที่คงได้ใช้ต่อไปอีกหลาย โอกาส ระหว่างเดินทางครั้งหนึ่งผมถามอาจารย์จุ๊บว่า อะไรเป็นปัจจัยส�ำคัญที่คนอีสานนึกถึงเวลาที่จะตั้งรกรากหรือย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ “น�้ำ นา โนน ครับ” จริงด้วยสิ คนอีสานให้ความส�ำคัญกับการเลือก “โนน” หรือเนินดินเป็นจุดเริ่มต้นหรือศูนย์กลางของพื้นที่ในการตั้งชุมชน สร้างบ้านเรือนวัดวาอาราม แน่นอนว่าใกล้กันนั้นต้องมีแหล่งน�้ำที่ใช้ส�ำหรับการเพาะปลูกและหล่อเลี้ยงพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นแหล่งอาหารเช่นกัน ขยายอาณาบริเวณต่อเนื่องในหมู่ญาติมิตรลูกหลาน จนไปบรรจบกับชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียง มองเป็นภาพก็เหมือนกับวงกลมที่มีรัศมีกระจายออกจากศูนย์กลาง กว้างใหญ่ เชื่อมต่อกัน ไม่มีที่สิ้นสุด 25
26
ส่วนนา เป็นพื้นที่แห่งวิถีและวัฒนธรรมประเพณีที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการเพาะปลูก หล่อเลี้ยงทั้งผู้คนและสัตว์น้อยใหญ่ พื้นที่ด�ำรงชีวิตที่งดงาม สมดุลสอดคล้องกับฤดูกาล เป็นที่สถิตแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงอยู่ด้วยพลังศรัทธาที่มนุษย์มีต่อ ผืนดินอันเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำ ส่งต่อวิถีไปสู่ลูกหลาน มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีเทพต่างๆ คอยปกปักษ์รักษา สายฝนตกจากฟากฟ้าสู่ผืนดิน ไหลรวมเป็นสายน�้ำที่ ทอดยาวให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ทุกชีวิตบนผืนโลก พัดพาสรรพสิ่งจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่ เป็นเส้นทางที่ไหลเวียนไม่สิ้นสุด เราก็เป็นเยี่ยงนั้น สายโลหิตในกายไหลเวียนตามแรงขับเคลื่อนของลมหายใจ และถูกพัดพาไปในกระแสวัฏจักรไม่รู้จบสิ้น สามค�ำนี้เพราะจัง ต้องขอบคุณอาจารย์จุ๊บมากครับ ผมได้ชื่องานแสดงครั้งนี้แล้ว
ระหว่างที่เราบันทึกภาพฮูปแต้มวัดสนวนวารีฯอยู่ จ๋าก็เกิดค�ำถาม “อาจารย์คิดงานออกได้อย่างไรคะ แล้วรู้ได้อย่างไรว่าจะสร้างและตัดทอนเป็นรูปแบบต่างๆ ที่อาจารย์ก�ำลังท�ำ อยู่นี้” “มันเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนนะ ไม่ใช่ว่าผมจะคิดออกมาได้ทั้งหมดโดยไม่มีข้อมูลอะไรเลย เราต้องหาวัตถุดิบทาง ความคิดเพื่อกระตุ้นจินตนาการและแรงบันดาลใจของเรา เมื่อออกไปดู ไปสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว เรา มันก็กระตุ้นความคิดและการสังเกต ค�ำถามจะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก อย่างตอนนี้คุณเห็นอะไรบ้างในฮูปแต้ม นอกจากความงดงาม องค์ประกอบของภาพ สี วัสดุ” ผมตอบจ๋าด้วยค�ำถาม “ท�ำไมเขาต้องเขียนภาพทั้งผนังภายนอกและภายใน นี่ก็เป็นค�ำถาม สีที่เราเห็นนั้นท�ำจากวัตถุดิบอะไรบ้าง เทคนิคการรองพื้นเป็นอย่างไร เหล่านี้เป็นเรื่องที่เราอยากรู้ไหม นั่นแหละคือสิ่งที่ผมหมายถึง
27
“และนอกจากค�ำถามแล้ว เราเห็นอะไรอีก รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมที่ผสมผสานอย่างกลมกลืน สีสันเรื่องราวที่แต่งแต้มลงไปนั้นท�ำให้เกิดความงดงามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม วิถี ชีวิตและธรรมชาติ ขณะเดียวกันสัญลักษณ์และเรื่องราวต่างๆ ก็ง่ายต่อการเข้าถึงและรับรู้ “สีสันที่ค่อยเลือนจางไปกับกาลเวลา กลืนไปกับผนังสีขาวหม่น ร่องรอยการผุกร่อนของอิฐ เราเห็นความไม่ สมบูรณ์ ความไม่เที่ยงของวัสดุ ในขณะเดียวกันก็เห็นความงามของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย ที่ส�ำคัญ สีเหล่านี้ มีอยู่ทุกที่ในอีสาน และเป็นสีที่ร่วมสมัยมาก ถ้าไปอยู่ในงานเซรามิกของคุณจะเป็นยังไง คุณพอจะนึกออกหรือ ยังว่ามันน่าสนใจขนาดไหน”
ต้นเดือนมิถุนายนแล้ว เสียงเม็ดฝนสลับเสียงกบเขียดร้องกันระงม ปีนี้ไม่ต้องขอฟ้าฝนกัน มองไปทางไหนก็มีแต่สีเขียว ครึ้มไปหมด กับยุงกัดเจ็บๆ และอากาศที่ร้อนชื้น งานชิ้นที่สองเกือบเสร็จแล้ว ผมนั่งมองว่าจะฉลุดินอย่างไรต่อ ตัวหนังสือธรรม (ไทยน้อย) ที่พิมพ์ลงบนรูปทรงที่ดูคล้าย ใบเสมาทับซ้อนกันไปมาจนไม่สามารถอ่านเอาความใดๆ ได้ แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นซ�้ำๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ไม่ว่า จะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานเพียงไร แม้ว่าสมองยังจินตนาการ แต่ร่างกายเริ่มอ่อนแรง ตลอด 2 เดือนต่อเนื่องในอีสาน ผมเดินทางจากยโสธร สุรินทร์ สู่ขอนแก่น เห็นได้ชัดว่าตัวเองแก่ลง การท�ำงานคนเดียวในเกือบทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่องท�ำให้สังขารล้า มีงาน คั่งค้างอยู่ในความคิดอีกหลายชิ้น แต่จะท�ำตามที่อยากทั้งหมดคงไม่ไหวแล้ว ผมคิดว่าช่วงเวลาที่เหลือคงต้องลดงานลง ให้เหลือเพียงเท่าที่ร่างกายรับไหว
28
“อาจารย์ หนูว่างแล้ว” เสียงเจ้าจ๋าเอ่ยขึ้นมาแต่ไกล ส่วนเจ้าชมเดินตามมา มือหิ้วถุงขนมมาอย่างอารมณ์ดี เพราะส่งโปรเจกต์ศิลปะนิพนธ์เรียบร้อยแล้ว อีกด้านหนึ่ง เจ้าเก้า อดีตลูกศิษย์ฝึกงานอีกคนที่เข้ามาท�ำงานของตัวเองที่คณะก็เอ่ยปากถามว่า “อาจารย์ มีอะไรให้ ช่วยมั้ย” ผมใจชื้น เป็นบุญที่มีเด็กๆ มาช่วยต่อแรง “สุ เอ็งนวดดินแล้วเซิ้งไปด้วย จะถ่ายวิดีโอ จ๋าเตรียมน�้ำดินและท�ำสแล็บ (ดินแผ่น) หลังจากนั้นพวกคุณช่วยกัน ขึ้นรูป วันนี้จะท�ำชุดเชี่ยนหมากตายาย เก้าขึ้นแป้นหมุนท�ำลูกปัดเพิ่ม เอางานเข้าเตาเผาบิสก์แล้วก็เผาเคลือบ ด้วย ชมเตรียมขี้เถ้าท�ำเคลือบศิลาดล ดินหน้านาไม่มีก็เอาดินติดป่าหลังคณะนี่แหละ ลองดู” บรรดาลูกศิษย์มีส่วนช่วยเหลืออย่างยิ่งในการท�ำงานชุดนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นไปฝึกงานกับผมที่สตูดิโอ ต.สันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่แล้ว 2 รุ่น เก้ามาในปีแรก ส่วนชม สุ และจ๋าตามมาในอีกปีให้หลัง การใช้ชีวิตอยู่ด้วย กัน 24 ชั่วโมงตลอด 2 เดือนในเชียงใหม่สร้างความสนิทสนมคุ้นเคย ผูกพันกับพื้นที่จนแก๊งสามสาวเรียกตนเองว่าเป็น สาวสันป่าตึง น่าแปลกที่สุดท้ายพวกเราก็กลายมาเป็นทีมเดียวกันอยู่ที่นี่ จังหวะลงตัวราวกับถูกก�ำหนดไว้แล้ว “อาจารย์เขาบังคับให้พวกคุณมาช่วยงานผมหรือเปล่า ถ้าไม่ว่างก็ไม่เป็นไรนะ ท�ำงานของพวกคุณให้เสร็จก่อน” ผมถามด้วยความเกรงใจ “ไม่เลยค่ะ พวกหนูอยากมาช่วย ที่ส�ำคัญพวกหนูจะได้เรียนรู้เทคนิควิธีการของอาจารย์ด้วย” เหลือเวลาอีกนับเดือนกับงานที่ดูยาก มากขั้นตอน ยังมีหลายสิ่งต้องจัดการ แต่ด้วยมือของพวกเราทุกคนที่ร่วมกัน เนรมิต ผมเชื่อว่ามันจะส�ำเร็จ, อย่างน่าพึงพอใจ
29
30
เมื่อมาถึงกระบวนการติดตั้งงานในห้องแสดง สิ่งที่ต้องคิดคือ จะน�ำโลกภายนอกเข้ามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร กล่าวคือ สภาพแวดล้อม วิถีวัฒนธรรมต่างๆ นั้นเป็นที่มาให้เราสร้างงานศิลปะขึ้น แต่ห้องแสดงนั้นเป็นสถานที่ปิด บรรยากาศต่างจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงต้องน�ำเอาอารมณ์ความรู้สึกที่ได้จากภายนอกเข้ามา อยู่ในห้องแสดงให้ได้ เราใช้การจัดวางงานท�ำให้เกิดเนื้อหาขึ้นมาในพื้นที่ ด้วยความสัมพันธ์ของขนาดชิ้นงาน รูปทรง การเว้นระยะ ปล่อยให้ แสงตกกระทบเกิดเงาทอดหากัน หรือหักเหจากวัตถุสะท้อนไปทีี่ผนัง ท�ำให้พื้นที่นั้นเกิดบรรยากาศ เกิดพื้นที่สมมติของ อากาศที่ดูมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเป็นอิสระ เสมือนเมื่อเราอยู่กลางท้องทุ่งกว้างใหญ่ มอง เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้จากระยะไกล นึกย้อนไป มันเป็นเรื่องยากเอาการที่จะหาความพอดีในงานเซรามิก ด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อนตั้งแต่การเตรียมดินไปจนถึง การเผา ใช้แรงกายมหาศาล ใช้สติปัญญาแก้ปัญหาที่เกิดจากความไม่แน่นอนในกระบวนการต่างๆ ทุกอย่างเป็นเหตุ เป็นผลกันไปหมดจนบางครั้งก็หลงลืมอารมณ์ความรู้สึกต่อสิ่งที่ท�ำอยู่ ผมต้องกล่าวถึงเรื่องนี้เพราะความสมดุลเป็นสิ่ง ส�ำคัญ หากคิดถึงแต่รูปแบบ เทคนิค ความสมบูรณ์ ชิ้นงานก็จะดูแข็งทื่อ เล่าเรื่อง และยึดอยู่ในกรอบจนดูไม่น่าสนใจ ในระหว่างงานจึงจ�ำเป็นต้องหยุดพักและพิจารณาดูถึงรายละเอียดต่างๆ ปล่อยให้ความคิดไหลเข้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ ยึดไว้เป็นระยะ หากได้ความคิดที่ดีกว่าเดิม เราก็จะกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในเนื้องาน ลูกศิษย์คนหนึึ่งเคยถามว่า ศิลปินสามารถสร้างสรรค์งานเป็นทีมได้หรือไม่ ด้วยมักเห็นภาพศิลปินส่วนใหญ่ท�ำงาน คนเดียว งานบางประเภทต้องเกิดขึ้น ด�ำเนินไป และจบลงด้วยอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินเพียงผู้เดียวเท่านั้น ยากจะใช้มือ คนอื่นมาท�ำแทนได้ แต่ในงานประติมากรรมเซรามิกขนาดใหญ่แบบนี้ หากศิลปินท�ำเพียงล�ำพังก็มักใช้เวลายาวนาน นับปี-หรือหลายปี-กว่าจะได้แสดงงานสักครั้ง 31
เมื่อมีเวลาจ�ำกัดเพียงไม่กี่เดือน มันจึงกดดันให้คนหลายคนต้องท�ำงานร่วมกัน ในกระบวนการอันหนักและมากขั้นตอน เราแต่ละคนไม่ได้มองไปถึงปลายทางด้วยซ�้ำ มันเป็นการท�ำงานวันต่อวันจนกระทั่งเสร็จสิ้น บ่อยครั้งเราลืมไปเลยว่านี่ คือการท�ำงานศิลปะ เห็นแต่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า เผชิญปัญหา เแก้ไข เรียนรู้จากมัน แต่ละวันเราเห็นสิ่งที่จัดการได้และสิ่งที่ ไม่อาจควบคุม มองเห็นและเข้าใจตนเอง และเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น ทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างที่เราท�ำงาน ร่วมกัน เมื่อมาถึงตอนนี้ ผมคิดว่าค�ำถามนั้น พวกเขาคงได้ค�ำตอบแล้ว ว่างานศิลปะก็สามารถสร้างสรรค์เป็นทีมได้ และ ในบางครั้ง การท�ำงานเป็นทีมก็คือสิ่งจ�ำเป็น ทั้งต่อการสร้างสรรค์ และการเรียนรู้เพื่อเติบโตในงานด้วย ส�ำหรับผม งานนี้ให้ความสุขอย่างยิ่งเพราะมันแตกต่างจากการท�ำงานคนเดียวในสตูดิโอของตัวเอง ได้มาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการเปลี่ยนสถานที่ ได้เห็น สัมผัส สัมพันธ์กับผู้คน การแบ่งปันที่เกิดขึ้นจากการท�ำงานนั้นมีค่ายิ่งกว่าตัววัตถุรูปธรรม ที่เกิดขึ้นเสียอีก ท�ำให้ได้คิดว่า ผลที่แท้จริงของงานนี้ก็คือการท�ำงานร่วมกันของทุกๆ ฝ่าย ตั้งแต่โครงการที่สร้างกิจกรรม นี้ขึ้น นักศึกษาและทีมงานอีกจ�ำนวนมากที่มาร่วมแรงร่วมใจ และตัวผมเองเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้ งานนี้ส�ำเร็จเสร็จสิ้นลง
1
อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย, ซ่อนไว้ในสิม: ก-อ ในชีวิตอีสาน. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: ฟูลสต๊อป, 2551.
2
ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จิตรกรรมฝาผนังอีสาน E-Sarn Mural Paintings. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2532.
3
อ้างแล้ว, น. 37.
4
สุรพล ด�ำริห์กุล. แผ่นดินอีสาน. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพ: เมืองโบราณ, 2549, น. 107.
32
34
35
Amornthep Mahamart Born in Thailand, 1970
Address
181/15 Chotananivet 2 Village, Super Highway Rd, Chang Puak, Muang, Chiang Mai, 50300, Thailand.
EDUCATION
Bachelor of Fine Arts (Graphic Art), Faculty of Fine Art, Chiangmai University, Thailand Certificate in Painting, Aichi Prefectural University of Fine Arts and Music, Nagoya City, Japan Awards 2006 1993 1991
toptop346@gmail.com
Amornthep Mahamart
Silver Medal, The 51st National Exhibition of Ceramic Art, Bangkok, Thailand. Silver Medal, Mixed-media, The 38th National Exhibition of Art, Bangkok, Thailand. Special prize, The 3rd Toshiba “Brings Good Things To Life” Art Competition, Bangkok, Thailand.
Selected Solo Exhibitions 2016
2006
Ceramic Arts Exhibition “Interspace”, Art Bridge, Chiang Rai, Thailand Ceramic Arts Exhibition “Raindrops”, 9 Art Gallery, Chiang Rai, Thailand. Ceramic Arts Exhibition “Or..Ong..Or..Oang”, Ji-Qoo Art Gallery, Chiang Mai, Thailand.
Selected Group Exhibitions
(PRINTMAKING) 2016
2014
36
Thai Printmakers (work by artists from Chiangmai Art on Paper Studio, Chicago Printmakers Collaborative). Interchange: Printmaking collaboration exhibition Held at PSG Art Gallery, Silpakorn University: Bangkok, ANU School of Art Gallery: Canberra, and Mosman Art Gallery: Sydney, Australia.
(CERAMICS) 2014
Earth and Fire: The 3rd Southeast Asian Ceramic Symposium, The Vulcan Gallery, Virginia, USA. The 3rd Jakarta Contemporary Ceramic Biennale, Jakarta, Indonesia. Bond Klay Keramic: The 2nd International Ceramic Art Exhibition, Lak Muang Gallery, Khon Kaen University, Thailand. 2012 The 2nd Southeast Asia Ceramic Conference, Fuping, China, and DAO Art Space in Xi’an, China. 2011 Paper Kiln Work Shop, 4th Exhibition by the Member of Ceramics Division 2011, Bangkok, Thailand. 2009 Art Work Shop, Faculty of Fine and Applied Arts. Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Bangkok, Thailand. SuperNormality Design Art & Craft Collaborated Ceramic Art Exhibition, J-Gallery, J-Avenue Thonglor 15, Bangkok, Thailand. 2009 Between…Season & Space Art Exhibition, Jamjuree Art Gallery, Chulalongkorn University, Bangkok. 2008 Erotic Art Exhibition, 9 Art Gallery, Chiang Rai, Thailand. Abstract Art Art Exhibition, Chiang Mai University Art Centre, Chiang Mai, Thailand. 2007 Relationships Ceramic Art Exhibition, Jamjuree Art Gallery, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. 2006 Celebration An Exhibition of Arts, Ji-Qoo Art Gallery, Chiang Mai, Thailand. Ceramic Arts and Environment, Art Exhibition by Amornthep Mahamart, Chiang Mai, Thailand. 2005 Ceramic Art Exhibition at The National Gallery, Bangkok, Thailand. He(Art) of the Street Ceramic Art Exhibition, at Chiang Mai University Art Centre, Chiangmai, Thailand. 2004 Ceramic Art Exhibition by Wish at the Marasee’s Gallery of the Suan Pakkard Palace, Bangkok, Thailand. Ceramic Art Exhibition at Silpakorn University Gallery, Sanamjan Palace, Nakhonprathom, Thailand. Ban&Suan Ceramic Arts Exhibition, National Central Art Hall, Bangkok. 2003 100@100 Art Exhibition, 100 Tonson Gallery, Bangkok, Thailand. 2002 In My Closet Art Exhibition, Atelier Art Gallery, Bangkok, Thailand. 2001 The 3rd International Exhibition Exlibris, Rijeka, Croatia. 1999 An Exhibition of Ceramic Art, Nikko Hotel Gallery, Bangkok, Thailand. 1996 Art Exhibition by Foreign Students in Japan at Aichi Prefectural University of Fine Arts and Music, Nagoya City, Japan. 1990-1995 The 38th-46th National Exhibition of Art, Bangkok, Thailand. The Art Exhibition by Foreign Students in Japan at Tokyo City, Japan.
37
38
Acknowledgement
staff
39