เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา

Page 1

มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ แม่น้ำ�โขง-พนมดงรัก จากป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปราสาทพนมรุ้งปราสาทพระวิหาร-ปราสาทวัดพูถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี”

Trans-Boundary ASEAN World Heritage Sites

of Cambodia-Laos-Siam/Thailand The Mekong River-Phnom Dangrek From Khao Yai to Prasat Phnom Rung, Prasat Preah Vihear, Prasat Vat Phou, and the Khon Papeng-Li Phi Waterfalls

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ/Charnvit Kasetsiri

12


มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ

แม่น้ำ�โขง-พนมดงรัก จากป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปราสาทพนมรุ้ง-ปราสาทพระวิหารปราสาทวัดพู-ถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี”

Trans-Boundary ASEAN World Heritage Sites

of Cambodia-Laos-Siam/Thailand The Mekong River-Phnom Dangrek From Khao Yai to Prasat Phnom Rung, Prasat Preah Vihear, Prasat Vat Phou, and the Khon Papeng-Li Phi Waterfalls

กองบรรณาธิการ : รวมครั้งแรก : จำ�นวนพิมพ ์: ออกแบบปกและรูปเล่ม : จัดพิมพ์โดย

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | กิตสุนี รุจิชานันทกุล | ชนิสรา โสกันต์ | ฉัตรศิริ เพียรพยุห์เขตต์ | พยงค์ ทับสกุล | ณัฐนันท์ จิราสุริยนันท์ มิถุนายน 2555 350 เล่ม DREAM CATCHER GRAPHIC CO., LTD. Tel. 0 2455 3932, 0 2455 3995

มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ The Foundation for The Promotion fo Social Science and Humanities Textbooks Project 413/38 ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร/โทรสาร 0 2433 8713 413/38 Arun-amarin Road, Bangkoknoi, Bangkok, Siam 10700 Tel./Fax. 0 2433 8713 http://www.textbooksproject.com | http://www.textbooksproject.org http://www.facebook.com/textbooksproject


มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ แม่น้ำ�โขง-พนมดงรัก จากป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปราสาทพนมรุ้งปราสาทพระวิหาร-ปราสาทวัดพูถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี”

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

(1) เกริ่นนำ� สองทัศนวิสัย

เขาและปราสาทพระวิหาร ทีม่ อี าณาเขตเพียงไม่กตี่ ารางกิโลเมตร ดูจะ กลายเป็น “ปัญหาข้ามชาติ-ข้ามศตวรรษ” ทีม่ ผี ลลัพธ์เป็น “ลบ” ต่อประชาชาติ ไทย (แต่ในทางตรงกันข้าม ก็อาจเป็น “บวก” ต่อประชาชาติกัมพูชา) ณ เวลา อันยุ่งยาก สับสน อ่อนไหวใน “สยามประเทศไทย” ของเราขณะนี้ ดูเหมือน ว่า “ทางออก” ของปัญหา จะเป็น “ขาว” หรือไม่ก็เป็น “ดำ�” จะเป็น “บวก” หรือไม่ก็เป็น “ลบ” ดังสองทัศนะที่ตรงกันข้ามของสองผู้อาวุโสนี้ คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาฯ ผูเ้ คยคร�่ำ หวอด อยู่กับเรื่องของ “กรรมการมรดกโลก” ของฝ่ายไทย ได้แสดงความคิดเห็น ไว้ในบทความเรื่อง “มรดกโลกสองฟากพรมแดน–กรณีอุทยานแห่งชาติและ น้ำ�ตกอีกวาซู ในอาร์เจนตินาและบราซิล..” (2553) ดังนี้ “กรณีมรดกโลกสองฝัง่ พรมแดนทีอ่ กี วาซู ในประเทศ อาร์เจนตินาและบราซิลนัน้ น่าจะเป็นกรณีทผี่ เู้ กีย่ วข้องกับการ บริหารจัดการมรดกโลกในประเทศไทย และประเทศเพื่อน บ้านใกล้เคียงของไทย ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจจะเป็นบทเรียนที่ให้แนวคิดในเชิงบวก ใน กรณี ที่ ไทยหรื อ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นมี ม รดกโลกที่ มี ปั ญ หา พรมแดนกัน รวมทั้งการป้องกัน การดำ�เนินการก่อสร้างถนน หรือเขือ่ นในบริเวณมรดกโลก ทีอ่ าจเป็นการคุกคามเชิงลบ ที่ มีต่อมรดกโลกได้” ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 3


กล่าวโดยย่อ ในแง่ขององค์กรยูเนสโกที่เป็นเจ้าของเรื่อง “มรดกโลก” นั้น การจดทะเบียนสามารถจะทำ�ได้ใน “เชิงบวก” ในลักษณะของสิ่งที่เรียก ว่า “Trans-boundary World Heritage” หรือ “มรดกโลกข้ามเขตแดน” (ที่ไม่จำ�กัดอยู่เพียงประเทศหนึ่งประเทศใด) นั่นเอง แต่ รศ. ศรีศกั ร วัลลิโภดม แห่ง ม. ศิลปากร และ “เมืองโบราณ” กลับ มีความเห็นในการแก้ปญ ั หาในเชิงตรงกันข้าม (ดังทีป่ รากฏในคำ�สัมภาษณ์กบั ASTV-ผู้จัดการรายวัน 7 มกราคม 2554) ว่า “ปัญหามันแก้งา่ ย (หนึง่ )--ใช้โอกาสตรงนี้ ไล่เขมรออก จาก 4. 6 ถ้ามันไม่ไล่ ยกเลิกมรดกโลก มันก็ประชุมไม่ได้ใน คราวหน้า ไอ้ฮุนเซนก็คลั่งอีก ที่มันคลั่ง มันคลั่งเพราะเหตุนี้ มันถึงมาจัดการตรงนี้ขึ้นมา ถ้ามองมุมกลับ เราได้เปรียบนะ มาตั้งสติให้ดี และ (สอง)--ถอนยูเนสโก แล้วก็ถอน MOU” กล่าวโดยย่อ รศ. ศรีศักรเสนอ 3 มาตรการ คือ (ก) ไล่ชาวเขมรออก จากพื้นที่ทับซ้อน (ข) ไทยถอนตัวออกจากยูเนสโก และ (ค) ถอน MOU พ.ศ. 2543

(2) มรดกโลกของยูเนสโก

เราควรมาพิจารณาดูกันว่า แนวความคิดทั้งสองนั้น จะมีทางเป็นไป ได้หรือไม่ และอย่างไร ในเบือ้ งต้นว่าด้วย “มรดกโลก” นัน้ ในโลกกลมๆ ใบนีข้ องมนุษยชาติ เรา มีองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เป็น “โลกบาล” ทำ�หน้าที่ให้เกิด “สันติ” หลีกเลี่ยง “สงคราม” ส่งเสริมความร่วมมือทางการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม และวัฒนธรรม และในประเด็นสุดท้ายของ “วัฒนธรรม” นั่นแหละ ที่มีเรื่อง ของการ “ตีตราตอกทะเบียนมรดกโลก” ของยูเนสโก องค์ ก ารสหประชาชาติ ณ บั ด นี้ มี ส มาชิ ก อยู่ 192 ประเทศ ประเทศไทยของเราเป็นสมาชิกอันดับต้นๆ และมีเกียรติประวัติดีพอสมควร ในเวทีระหว่างประเทศ และในส่วนของอนุสัญญามรดกโลกของยูเนสโก 4 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


(Unesco World Heritage Convention, ค.ศ. 1972) ก็มีประเทศสมาชิก ของยูเอ็นที่ให้ “สัตยาบัน”แล้ว 187 ประเทศ คือ กว่า 97.39 เปอร์เซ็นต์ของ ประเทศในโลกทั้งหมด ข้อเสนอให้ “ถอน” ตัวออกจากมรดกโลก จะทำ�ให้ “สยามประเทศไทย” ของเราตกอยู่ในฐานะตัวอะไรในเวทีสากล (!!!???) นีค่ งไม่ใช่ค�ำ ตอบทีย่ ากเย็นแสนเข็ญนักสำ�หรับ “ปราชญ์หรือสามัญชน” หรือสำ�หรับ “ผู้เฒ่าหรือเยาวชน” หรือสำ�หรับ “ศ.-รศ.-ผศ. ดร. หรือผู้ที่ มีวุฒิต่ำ�กว่าปริญญาตรี” หรือสำ�หรับ “คนกรุงในห้องแอร์หรือชาวบ้านตาม ตะเข็บชายแดนระหว่างศรีสะเกษกับพระวิหาร หรือระหว่างสระแก้วกับบัน ทายมีชัย” ฯลฯ ขอขยายความต่อไปอีกว่า เมื่อถึงต้นปี พ.ศ. 2554 (2010) ยูเนสโก ได้ “ตีตราตอกทะเบียน” ขึ้น “มรดกโลก” แล้วทั้งหมด 911 แห่งด้วยกัน แบ่งเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม (cultural) 704 แห่ง เป็นมรดกโลกด้าน ธรรมชาติ (natural) 180 แห่ง และเป็นมรดกโลกด้านผสม (mixed cultural and natural) 27 แห่ง ในส่วนของอาเซียนของเรา มี “มรดกโลก” ทัง้ ทางด้านวัฒนธรรมและ ธรรมชาติรวมกัน 30 แห่ง ใน 7 ประเทศ (ยกเว้นสิงคโปร์ พม่า และบรูไน ที่ยังไม่มีการ “ตีตราตอกทะเบียน”) กล่าวโดยย่อ กัมพูชามี 2 (อังกอร์ และปราสาทพระวิหาร) ลาว มี 2 (เมืองหลวงพระบาง และปราสาทวัดพู) อินโดนีเซียมี 7 (มีมากสุดใน กลุ่มอาเซียน) มาเลเซียมี 3 ฟิลิปปินส์มี 5 (เท่ากับสยามประเทศไทย) ส่วน เวียดนามมี 6 (เดิมมี 5 เท่ากับไทยและฟิลิปปินส์ แต่ปี พ.ศ. 2543 หรือ ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา เนื่องจากกรุงฮานอยฉลองครบรอบสถาปนา 1 พันปี มีฐานะเป็นเมืองหลวงที่เก่าแก่ที่สุดของอาเซียน ก็เลยได้ของขวัญปีเกิด ยูเนสโกประกาศให้ “ซากโบราณสถานเมืองเก่าถังหล่อง” เป็นมรดกโลกด้าน วัฒนธรรมไป สร้างความชื่นมื่นให้กับมหาชนชาวเวียด ในขณะที่กัมพูชาและ ไทยยังตกลงเรื่อง “มรดกโลก” และ “พื้นที่ทับซ้อน” ไม่จบ) สำ�หรับสยามประเทศไทยเรา อย่างที่เราทราบกันดี “การตีตราตอก ทะเบียน” มรดกโลก 5 แห่งของเรานั้นมี (1) อยุธยา (2) สุโขทัย (3) ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง (4) บ้านเชียง และท้ายสุดคือ (5) ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ซึ่งชื่อ ที่ปรากฏในภาษาอังกฤษของการจดทะเบียนนั้นเรียกว่า “Dong Phayayenชาญวิทย์ เกษตรศิริ 5


Khao Yai Forest Complex ”

(3) ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-พนมดงรัก ถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลี่ผี

ถ้าจะกล่าวในแง่ของสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมรดกโลกล่าสุด หมายเลข 5 ของไทยเรา คือ “ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่” นี้ จะเห็นได้ว่านี่ คือส่วนของอาณาบริเวณทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมผืนใหญ่มโหฬาร ของอุษาคเนย์ นี่คืออาณาบริเวณจากจังหวัดนครนายก-นครราชสีมา ที่ เชื่อมต่อกับเทือกเขาพนมดงรัก ที่ยาวเหยียดตามแนวพรมแดนระหว่าง สยามประเทศไทยและกัมพูชา ไปจนจรดลาว (ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์-สุรินทร์ศรีสะเกษ-อุบลฯ-เขตอุดรมีชัย-เขตพระวิหาร-แขวงจัมปาสัก) ไปสิ้นสุดที่ลุ่ม น้ำ�โขงตอนกลาง และน้ำ�ตกใหญ่สุดของเอเชีย คือ “คอนพะเพ็ง-แก่งลี่ผี” และนี่ ก็เป็นดินแดนอันยิง่ ใหญ่ของ “วัฒนธรรมสถาน” หรือ “ปราสาท หิน” น้อยใหญ่บนเทือกเขา ที่สำ�คัญๆ ถึง 3 ปราสาท ที่มีอายุแก่อ่อนไล่เรียง กันตามลำ�ดับ ที่มหาอาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ ได้สร้าง “เทวสถาน” เหล่านี้ไว้เมื่อกว่า 1 พันปีแล้ว และก็กลายเป็นมรดกตกทอดมาถึงประเทศ หรือ “รัฐ” สมัยใหม่ คือ ลาว-กัมพูชา-สยามประเทศไทยตามลำ�ดับ นั่นก็คือ ปราสาทวัดพู (ตกเป็นสมบัติของลาว แล้วก็ถูกนำ�ไป “ตีตราตอกทะเบียน มรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2544 หรือ ค.ศ. 2001 หรือ 10 ปีมาแล้ว) ส่วนปราสาท พระวิหาร (ตกเป็นสมบัติของกัมพูชา ซึ่งก็ถูกนำ�ไปจดทะเบียนได้ไปแล้วเมื่อ ปี พ.ศ. 2551 หรือ ค.ศ. 2008 หรือ 3 ปีมาแล้ว) ใน 3 ปราสาทสำ�คัญดังกล่าวบนเทือกเขายาวเหยียดนัน้ ปราสาทวัดพู น่าจะมีอายุเก่าแก่สุด สร้างมาก่อน และถือได้ว่าเป็นต้นแบบของปราสาทที่ สร้างบนเนินเขาสูง วัดพูนั้น น่าจะถือได้ว่าเป็น “ปราสาทตัวแม่” ของปราสาท พระวิหาร ในขณะที่ปราสาทพระวิหาร ก็น่าจะถือได้ว่าคลอดลูกออกมาเป็น ปราสาทพนมรุ้ง ดังนั้น นี่คือปราสาททั้ง 3 ที่เป็นเสมือน “ปราสาทตัวยายปราสาทตัวแม่-และปราสาทตัวหลาน” วงศาคณาญาติเดียวกัน น่าแปลก ใจที่ยังเหลือแต่เพียงปราสาทพนมรุ้งที่ตกเป็นสมบัติของสยามไทยเรา (คือ ปราสาทตัวหลาน) เท่านั้น ที่ยังไม่ได้รับการ “ตอกตราตีทะเบียน” เป็นมรดก โลกตามอย่างของ “ปราสาทตัวแม่และปราสาทตัวยาย” ในกัมพูชาและลาว 6 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


(ทำ�ไม ???!!! ตอบหน่อยได้ไหม) เมื่อกล่าวถึง ปราสาทหินอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ในสกุลช่างมหาอาณาจักร ขอม-เขมรโบราณใน 3 ประเทศหรือ “รัฐ” สมัยใหม่ข้างต้น เราควรคำ�นึงว่า ปราสาททัง้ 3 นัน้ หาได้อยูอ่ ย่างโดดๆ ไม่ เพราะยังมีปราสาทเล็กใหญ่เป็นร้อย ที่กระจัดกระจายกันอยู่ในอาณาบริเวณอันกว้างขวางของเทือกเขาและที่ราบ จากดงพญาเย็น-เขาใหญ่-พนมดงรัก-จรดแม่น้ำ�โขงตอนกลาง ในส่วนทีเ่ ป็นด้านเหนือของเทือกเขาอันยาวเหยียดนี้ ซึง่ ก็คอื เขตอีสาน ใต้ของเรา (หรืออาจจะเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่าบริเวณ “ขะแมร์เลอ”) จาก บริเวณจังหวัดนครราชสีมาไปจนถึงอุบลฯ จะเป็นที่ตั้งของปราสาทสำ�คัญๆ เช่นพิมาย พนมวัน กลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาทตาควาย ปราสาทวัดสระ กำ�แพงใหญ่ วัดสระกำ�แพงน้อย ไล่เรียงกันไปจนจรดแขวงจัมปาสักของลาว อันเป็นที่ตั้งของ “ปราสาทวัดพู” และ “น้ำ�ตกคอนพะเพ็ง กับแก่งหลีผี” ที่ แม่น้ำ�โขงจะกระโจนตกลงไปในพื้นที่ราบของกัมพูชา ลงในบริเวณที่เรียกว่า “เวินคาม” ที่ติดต่อกับเมืองสตุงแตร็ง (หรือเมืองเชียงแตง) ใกล้ๆกับที่ตั้ง ของ “ปราสาทธาราบริวัต” และก็อีกเช่นกัน นี่ก็ยังไม่นับรวมบรรดาปราสาทหินในสกุลช่างของ มหาอาณาจักรขอม-เขมรโบราณ อย่างกลุ่มปราสาทจำ�นวนมากที่อยู่ด้าน ใต้ของเทือกพนมดงรักลงไปอีก (หรืออาจจะเรียกเป็นภาษาถิ่นว่าบริเวณ “ขะแมร์กรอม”) อย่างเช่นปราสาทในเส้นทางของ “ราชมรรคา” ของพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 ที่เชื่อมต่อระหว่าง “เมืองนครวัด-นครธม” กับ “เมืองพิมาย” ซึ่ง จะมีปราสาทสำ�คัญๆ อย่าง ปราสาทบันทายชมาร์” และนี่ก็ยังไม่นับปราสาท อีกจำ�นวนมาก เช่น เกาะแกร์ สมบูรณ์ไพรกุก พระขรรค์ ฯลฯ ดู เหมื อ นเกื อ บจะไม่ มี ที่ ไหนในดิ น แดนอุ ษ าคเนย์ ที่ ม รดกทั้ ง ทาง “วัฒนธรรม” กับทาง “ธรรมชาติ” จะมารวมตัว มาบรรจบกัน และมา กระจุกกันอยูท่ งั้ “เทือกเขาใหญ่-พนมดงรัก” กับ “ลุม่ น�้ำ โขงตอนกลาง” ดินแดน และผู้คนอันหลากหลายตรงนี้ ควรจะเป็น “เขตแดนของสันติสุข” หรือ “สงคราม” กันแน่

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 7


(4) การแก้ปัญหาพรมแดน-เขตแดน-ดินแดน ในระยะสั้น

นับตั้งแต่รัฐบาลไทย (สมัยของนายสมัคร สุนทรเวช-นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ถูกกระแสของการเมืองภายใน (การปลุกระดม ลัทธิ “อำ�มาตยา-เสนาชาตินิยม”) บีบให้ต้องถอนความยินยอมที่รัฐบาลไทย จะให้กัมพูชาเสนอ “ปราสาทพระวิหาร” เป็นมรดกโลกนั้น เรื่องของเรื่องก็ บานปลายไปสู่ปัญหาของ “พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.” พื้นที่ทับซ้อนทั้งทาง บก-ทางทะเล การเสียดินแดน การสูญเสียอำ�นาจอธิปไตย ตลอดจนการก่น ประณามด่าอย่างสาดเสียเทเสีย ต่อผู้ที่คิดเห็นต่างว่า “ขายชาติ” (ด้วยปากไมค์-ปากกา-อินเตอร์เน็ท โดยบรรดานักพูด-นักไฮด์ปาร์ค และ/หรือนักการ เมืองที่ลงเลือกตั้งและไม่ลงเลือกตั้ง ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย (จริงบ้าง ไม่จริง บ้าง) ที่ส่วนใหญ่เป็น “คนกรุง” หรือ “ชุบตัวเป็นคนกรุง” ไปแล้ว และส่วน ใหญ่มักมีวุฒิการศึกษาอย่างน้อย “ปริญญาตรี” !!!???) ปัญหาดังกล่าวหาได้กลายเป็นปัญหาเฉพาะระหว่างประเทศ คือ ไทย กับกัมพูชาไม่ แต่ได้บานปลายกลายเป็นปัญหาของความแตกแยก แตก สามัคคีของ “การเมืองภายใน” ของคนไทย (เชือ้ สายจีน ประเภท จปจ. จปม. จปล. ฯลฯ) ด้วยกันเอง เป็นความแตกแยกระหว่าง “คนเสือ้ สีตา่ งๆ” แตกแยก เป็น “เสียมก๊ก” หลายต่อหลาย “ก๊ก” อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ของชาตินับตั้งแต่รักษาเอกราชมาได้ ผูเ้ ขียนขอเสนอว่า ในการแก้ปญ ั หาดังกล่าวนี้ มีทงั้ ข้อเสนอทีจ่ ะแก้ใน ระยะสั้น กับข้อเสนอในระยะยาว สำ�หรับข้อเสนอในระยะสั้น หรือเฉพาะหน้านั้น น่าจะมี 3 วิธีให้เลือก ได้ ดังนี้ คือ 1. การปรึกษาหารือและการเจรจาโดยสันติวิธี (ในรูปทวิภาคีของ คณะผู้แทนฝ่ายกัมพูชาและไทย) ตามแนวทางของ “บันทึกความเข้าใจ ระหว่างไทยกับกัมพูชา...” หรือ MOU พ.ศ. 2543 (2000) ที่ลงนามโดย รมช. กต. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร กับนายวาร์คิมฮง ในสมัยของรัฐบาลที่ มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ�ของนายชวน หลีกภัย นรม. และ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรรณ รมว. กต. ซึ่งยึดถือปฏิบัติตามหนังสือสัญญาและแผนที่ต่างๆ ที่ได้ทำ�กันไว้ระหว่าง “สยามกับฝรั่งเศส” ตามแนววิเทโศบายของ “ราชา 8 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


ชาตินิยม” ในการรักษาเอกราของสยามและดินแดนของ “ขวานทอง” เมื่อปี ร.ศ. 112, 122, 125 (ตรงกับปี พ.ศ. 2436, 2446, 2450 หรือ ค.ศ. 1893, 1904, 1907) โดย “เสด็จพ่อ ร. 5” พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ “พระหัตถ์ ขวาและซ้าย” ของพระองค์ คือ เสนาบดี กต. สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ และ เสนาบดี มท. สมเด็จกรมฯ ดำ�รงฯ (หรือ) 2. นำ�ปัญหาข้อพิพาททั้งหมดทั้งเขตแดนทางบก (และทางทะเล) กลับไปขึ้นศาลโลก (หรือศาลอนุญาโตตุลาการ) ใหม่อีกครั้ง (ตามข้อเสนอ ของ “การสงวนสิทธิ์” ของอดีตทีมทนายเก่าชุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช คือ ดร. สมปอง สุจริตกุล) หรือ 3. ส่งกองกำ�ลังทั้งบก-เรือ-อากาศ ทำ�สงคราม “สั่งสอน” และเข้า ยึดครองพื้นที่ที่ “เสียดินแดน” ไป ทั้งในเสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณจัมปาสัก-ไซยะบุรี” (หรือแม้กระทั่งเมืองพาน-เชียงตุง ในรัฐฉาน พม่า ตลอด จนไทรบุรี-กลันตัน-ตรังกานู-ปะลิศ ในมาเลเซีย) ตามแนววิเทโศบายของ “การทวงและขยายดินแดน” เพื่อสร้าง “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย น. หนู ตามภาษาสมัยนั้น) ของ “อำ�มาตยาเสนาชาตินิยม” ของจอมพล ป. พิบูล สงคราม-หลวงวิจิตรวาทการ-ธนิต อยู่โพธิ์-นายมั่น/นายคง-จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ ผู้เขียนอยากจะเชื่อว่า ประชามหาชนชาวสยามประเทศไทย น่าจะมี สติสมั ปชัญญะและวุฒภิ าวะพอ ทีจ่ ะเลือกข้อ 1 โดยทีไ่ ม่หลงละเมอกับ “การ สงวนสิทธิ์” ในข้อ 2 และน่าจะต้องรังเกียจเดียดฉันท์ ไม่ยอมรับข้อเสนอที่ 3 ที่ต้องการใช้ความรุนแรง ที่ขัดต่อหลักอหิงสา ขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา และขัดต่อจริยธรรมของสากลโลก

(5) การแก้ปัญหาพรมแดน-เขตแดนดินแดนในระยะยาว

สำ�หรับข้อเสนอในระยะยาวนั้น ถ้าหากพิจารณาจากข้อถกเถียง ข้างต้นของความที่ “เกือบจะไม่มีที่ไหนในดินแดนอุษาคเนย์ที่มรดกทั้งทาง “วัฒนธรรม” (ของบรรดาปราสาทนับสิบนับร้อย-ความหลากหลายของผู้คน/ ชาติพันธุ์) กับมรดกทาง “ธรรมชาติ” ของป่า-เขา-พืช-สัตว์ของ “ป่าดงพญา เย็น-เขาใหญ่-พนมดงรัก” กับ “ลุ่มน้ำ�โขงตอนกลาง” ที่มารวมตัว มาบรรจบ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 9


กัน มากระจุกกันอยู่ในดินแดนหลายหมื่นหลายแสน ตร.กม. นี้ ที่นี่ สมควร หรือไม่ที่จะเป็น “ดินแดนของสันติสุข-อหิงสา-อโหสิ” ข้อเสนอ ณ ที่นี้ ก็คือ ดำ�เนินการร่วมในกรอบของ 3 ประเทศ หรือ ของอาเซียน ทีจ่ ะทำ�ให้ดนิ แดนของ 3 ประเทศของเรานี้กลายเป็น “มรดกโลก ข้ามพรมแดน” (Trans-Boundary World Heritage) ที่ครอบคลุมอาณา บริเวณจากป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ไปตามแนวของพนมดงรัก จากปราสาท พนมรุ้ง-ปราสาทพระวิหาร-ปราสาทวัดพู-ไปจนถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี ณ แม่น้ำ�โขงตอนกลาง” หรือให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Mekong RiverPhnom Dangrek: Trans-Boundary ASEAN World Heritage Sites of Cambodia-Laos-Siam/Thailand--From Khao Yai to Prasat Phnom Rung, Prasat Preah Vihear, Prasat Vat Phou, and the Khon Papeng-Li Phi Waterfalls”

(6) บทเรียนจากน้ำ�ตกอีกวาซู

กรณีของ “น้ำ�ตกอีกวาซู” (Equaca Falls) ของอาร์เจนตินาและ บราซิลทีก่ ล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นตัวอย่างทีด่ ขี องการแก้ปญ ั หาความขัดแย้งว่า ด้วย “มรดกโลก” ดังข้อเสนอของ ดร. สาวิตรี สุวรรณสถิตข้างต้น อีกวาซู เป็นน้ำ�ตกมหึมาที่กล่าวกันว่าเมื่อมาดามเอลินอร์ รูสเวลท์ ศรีภริยาของอดีต ประธานาธิบดีอเมริกัน ผู้มีความชื่นชอบและสนใจในเรื่องของธรรมชาติและ นิเวศวิทยา เมื่อได้ไปเห็น Equaca Falls เป็นครั้งแรก เธอถึงกับอุทานออก มาว่า My poor Niagara! อีกวาซูนั้น 70 % ของบริเวณน้ำ�ตก อยู่ในประเทศอาร์เจนตินา ใน ขณะทีอ่ กี 30% อยูใ่ นประเทศบราซิล อาร์เจนตินาเสนอขึน้ ทะเบียนมรดกโลก ทางธรรมชาติไปในปี พ.ศ. 2527 (1984) แล้วก็เกิดกรณีพิพาทกันในทำ�นอง ของกัมพูชาและไทย เราต้องไม่ลืมว่าอาร์เจนตินานั้นคืออดีตอาณานิคมของ สเปน พูดภาษาสเปน เป็นไม้เบือ่ ไม้เมาทางประวัตศิ าสตร์กบั บราซิล ทีเ่ ป็นอดีต อาณานิคมของโปรตุเกส พูดภาษาโปรตุเกส (ทีก่ ค็ ล้ายๆ และยืมๆ กันไปยืมๆ กันมา ทำ�นองเดียวกันเขมร-ไทย-ลาว ไม่มีผิดเพี้ยน ยิ่งใกล้กันเหมือนๆ กัน ยิ่งขัดแย้งและทะเลาะกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดเยื้อยาวนาน ต่างกับ ที่ไกลกันออกไป และที่ต่างกันเสียจนแทบไม่มีอะไรเหมือนๆ กันเลย) 10 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


ปัญหาของอีกวาซู จบลงได้ในอีก 3 ปีตอ่ มา คือใน พ.ศ. 2530 (1987) ที่รัฐบาลบราซิลก็นำ�น้ำ�ตกส่วนของตน ขึ้นจดทะเบียนกับยูเนสโก กลาย เป็น “มรดกโลก” แม้บราซิลจะ “รักษาหน้า” ด้วยการประกาศว่า “กฎหมาย ของรัฐบาลบราซิล ไม่อนุญาตให้ดำ�เนินการเชื่อมโยงพื้นที่ทั้งสองฝั่ง เข้าเป็น มรดกโลกเดียวกัน ตามแนวทาง Trans-Frontier concept หรือ TransBoundary World Heritage ก็ตาม” แต่โดยสภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติ นีก่ เ็ ป็นดินแดนผืนเดียวกัน แม้มนุษย์ทยี่ งั เต็มไปด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” จะขีด เส้น “เขตแดน” ลงไปในแผนที่ ในมโนสำ�นึก และในมันสมองก็ตาม ธรรมชาติ ที่ยิ่งใหญ่ก็หาได้สนใจที่จะรับฟังไม่ เรื่องของเรื่องก็เลย Happy Ending ในข้อเสนอสั้นๆ ของคุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ เธอได้กล่าวทิ้งท้าย เป็น “เชิงบวก” ไว้อีกว่าตัวอย่างของความสำ�เร็จในกรณีของน้ำ�ตกอีกวาซูนี้ กินใจความ “รวมทั้งการป้องกัน การดำ�เนินการก่อสร้างถนน หรือเขื่อน ใน บริเวณมรดกโลก ที่อาจเป็นการคุกคามเชิงลบที่มีต่อมรดกโลกได้”

(7) ปัจฉิมกถา

เราๆ ท่านๆ ก็ทราบกันดีว่า บริเวณของป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่พนมดงรัก-และแม่น้ำ�โขงนั้น กำ�ลังเผชิญกับความหายนะของการพัฒนา เศรษฐกิจกระแสหลัก (mainstream economic development) ที่มีทั้ง การตัดถนน ตัดป่า ตัดต้นไม้ สร้างสนามกอลฟ์ สร้างรีสอร์ท สร้างเขื่อน และระเบิดเกาะแก่ง ทำ�ความพินาศฉิบหายให้กับผู้คน กลุ่มชาติพันธุ์ (ชนก ลุ่มน้อย ชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาส) ทำ�ลายระบบนิเวศ ทำ�ลายวิถีชีวิตและการ ดำ�รงชีพ (คงไม่ต้องดูอื่นดูไกลเท่าไรนัก กรณีของการสร้างเขื่อนที่ล้มเหลว ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกและวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คือ เขื่อนปากมูล ที่ชาวบ้าน “ประท้วง” เรียกร้องความเป็นธรรมและค่าชดใช้ ผ่านมาหลาย ต่อหลายรัฐบาล) ขอให้ เรามาดู ภ าพที่ ข ยายใหญ่ ขึ้ น ไปอี ก เราๆท่ า นๆ ทราบดี ว่ า “แม่น้ำ�โขงนั้นมโหฬาร ยิ่งใหญ่ ลี้ลับ หลากหลาย ร่ำ�รวย มีเสน่ห์ เป็นบ่อเกิด ของอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของอุษาคเนย์มาเกือบ 2 พันปี นับแต่สมัยฟูนันเจนละ-เมืองพระนครวัด/นครธม ตลอดจนวัฒนธรรมของชนชาติลาว-ไท-ไทย จากเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ลงมายังเชียงแสน-หลวงพระบาง-เวียงจัน-อีสานชาญวิทย์ เกษตรศิริ 11


จัมปาสัก ไปจนตลอดประเทศกัมพูชา และเวียดนามใต้ ฯลฯ ดินแดนเหล่านี้ทั้งหมดใน 6 ประเทศ ที่แม่น้ำ�โขงไหลผ่าน กำ�ลัง ตกอยู่ในห้วงอันตรายของ “การพัฒนา” กับความเปลี่ยนแปลงของ “โลกา ภิวัตน์” ของการสร้างเขื่อน (ทั้งที่สร้างเสร็จแล้ว และกำ�ลังวางแผนสร้างใน จีน-พม่า-ลาว-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม) การพาณิชนาวี การตัดไม้ทำ�ลายป่า การสร้างคมนาคมใหม่ ถนน สะพาน การเคลื่อนย้ายของประชากร แรงงาน “ทาสสมัยใหม่” การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ภาษาและวัฒนธรรม ฯลฯ สิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้นมีทั้งบวก (สำ�หรับคนเมือง/คนกรุง คนตัวโตๆ ที่มีโอกาส และได้เปรียบ ที่อย่างน้อยมีวุฒิปริญญาตรี) แต่ก็เป็นลบ (สำ�หรับชาวบ้าน/ คนชนบท คนตัวเล็กๆ ที่ด้อยโอกาสและเสียเปรียบ ที่อาจไม่มีแม้การศึกษา ขั้นพื้นฐาน คนอย่าง “ทองปาน”) น่าเชื่อว่า ถ้าเราเปลี่ยนแปลงให้ดินแดนใน 3 ประเทศของเราจาก “ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-พนมดงรัก-ปราสาทพนมรุ้ง-ปราสาทพระวิหารปราสาทวัดพู-ถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลี่ผี ดอนโขง แม่น้ำ�โขงตอนกลาง” ได้รับการ “ตอกทะเบียนตีตรา” เป็น “มรดกโลกข้ามพรมแดน” เป็น TransBoundary World Heritage) นอกจากเราจะแก้ปญ ั หาความขัดแย้งระหว่าง ประเทศ (ซึ่งที่จริงเป็นความขัดแย้งของคนที่อยู่เมืองกรุง หรือเมืองหลวง ที่ กรุงเทพฯ หรือกรุงพนมเปญ เสียมากกว่าคนศรีสะเกษกับคนเขตพระวิหาร หรือคนสระแก้วกับคนเขตบันทายมีชัย) หากเราทำ�ให้ “แผ่นดินนี้” กลายเป็น ““มรดกโลกข้ามพรมแดน” ของ กัมพูชา ของลาว ของสยามประเทศไทย และ/หรือของมนุษยชาติ เราก็อาจ จะช่วยแก้ปัญหาที่กำ�ลังเกิดขึ้นในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ�โขง ดอน เกาะแก่ง กับ พืน้ ทีส่ งู ของป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-พนมดงรัก เราก็อาจสามารถหยุดยัง้ การ พัฒนากระแสหลัก การสร้างเขื่อน (ที่ผลุดเสนอกันขึ้นมาเป็นดอกเห็ดทั้งใน แม่น้ำ�โขงและแม่น้ำ�สาขา จากไชยะบุรี หลวงพระบาง ถึงอุบลฯ (บ้านกุ่ม) ถึง สัมโบร์ กระแจะ ตลอดจนการสร้างถนน สร้างสะพาน การทำ�ลายธรรมชาติ การตัดไม้ทำ�ลายป่า รวมทั้งการทำ�ลายความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (ปลา/ นก/สัตว์/พืช-และระบบนิเวศไปได้ในเวลาเดียวกัน Let us Make Love not War along the Khao Yai-Phnom Dangrek and the Middle Mekong Basin 12 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


Trans-Boundary ASEAN World Heritage Sites of Cambodia-Laos-Siam/Thailand The Mekong River-Phnom Dangrek From Khao Yai to Prasat Phnom Rung, Prasat Preah Vihear, Prasat Vat Phou, and the Khon Papeng-Li Phi Waterfalls

มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ แม่น้ำ�โขง-พนมดงรัก จากป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่-ปราสาทพนมรุ้งปราสาทพระวิหาร-ปราสาทวัดพูถึงน้ำ�ตกคอนพะเพ็ง-แก่งลีผี”

Charnvit Kasetsiri/ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ











































ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 55


คำ�แถลง มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันเองเป็นส่วนบุคคล ในหมู่ผู้มีความรักใน ภารกิจบริหารการศึกษาจากสถาบันต่างๆ เมื่อเริ่มดำ�เนินงาน โครงการตำ� ราฯ มีฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ก่อนที่จะมีฐานะเป็นมูลนิธิฯ เมื่อต้น พ.ศ. 2521 โดยมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ได้รบั ความร่วมมือด้านทุนทรัพย์จากมูลนิธริ อ็ กกี้ เฟลเล่อร์ เพือ่ ใช้จา่ ยในการ ดำ�เนินงานขัน้ ต้น เป้าหมายเบือ้ งแรกของมูลนิธโิ ครงการตำ�ราฯ ก็คอื ส่งเสริม ให้มตี �ำ ราภาษาไทยทีม่ คี ณ ุ ภาพ เฉพาะในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพราะต่างก็เห็นพ้องต้องกันในระยะนั้นว่า คุณภาพหนังสือตำ�ราไทยระดับ อุดมศึกษาในแขนงวิชาดังกล่าวยังไม่สูงพอ ถ้าส่งเสริมให้มีหนังสือเช่นนี้ เพิ่มขึ้นย่อมมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานการศึกษาในขั้นมหาวิทยาลัยโดย ปริยาย อีกทั้งยังอาจช่วยในการสร้างสรรค์ปัญญาความคิดริเริ่มและความ เข้าใจอันถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และ การเมืองเป็นส่วนรวม พร้อมกันนีม้ ลู นิธโิ ครงการตำ�ราฯ ก็มเี จตนาอันแน่วแน่ทจี่ ะทำ�หน้าที่ เป็นที่ชมุ นุมผลงานเขียนของนักวิชาการต่างๆ ทั้งในและนอกสถาบัน เพื่อให้ ผลงานวิชาการทีม่ คี ณ ุ ภาพได้เป็นทีร่ จู้ กั และเผยแพร่ออกไปอย่างทัว่ ถึงในหมู่ ผู้สอน ผู้เรียนและผู้สนใจงานวิชาการ การดำ�เนินงานของมูลนิธิโครงการตำ� ราฯ มุ่งขยายความเข้าใจและความร่วมมือของบรรดานักวิชาการออกไปใน วงกว้างยิ่งๆ ขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านการกำ�หนดนโยบายสร้างตำ�รา การ เขียน การแปลและการใช้ตำ�รานั้นๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องส่งเสริมและกระชับ ความสัมพันธ์อันพึงปรารถนา ตลอดจนความเข้าใจอันดีต่อกันในวงวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้อง 56 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


นโยบายพื้นฐานของมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ คือ ส่งเสริมและเร่งรัด ให้จัดพิมพ์หนังสือตำ�ราทุกประเภท ทั้งที่เป็นงานแปลโดยตรง งานแปล เรียบเรียง งานถอดความ งานรวบรวม งานแต่งและงานวิจัย ในช่วงแรกๆ มูลนิธโิ ครงการตำ�ราฯ เน้นส่งเสริมงานแปลเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็สง่ เสริม ให้มีการจัดพิมพ์ตำ�ราประเภทอื่นๆ ด้วย นับตั้งแต่ก่อตั้งโครงการตำ�ราฯ มาจนถึงปัจจุบัน โดยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากนักวิชาการหลายสถาบัน สามารถส่งเสริม-กลั่นกรอง-ตรวจสอบ และจัดพิมพ์หนังสือตำ�ราภาษาไทย ระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพตามเป้าหมายเจตนารมณ์และนโยบายได้ครบ ทุกประเภท และมีเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ถึง 8 สาขาดังต่อไปนี้ คือ (1) สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (2) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ (3) สาขาวิชาเศรษฐ ศาสตร์ (4) สาขาวิชารัฐศาสตร์ (5) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (6) สาขาวิชาปรัชญา (7) สาขาวิชาจิตวิทยา (8) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดี นอกจากนี้ มูลนิธโิ ครงการตำ�ราฯ ยังมีโครงการผลิตตำ�ราสาขาวิชาอืน่ ๆ เพิม่ ขึ้นด้วย เช่น สาขาวิชาศิลปะ ซึ่งกำ�ลังอยู่ในขั้นดำ�เนินงาน และขยายงานให้มี การแต่งตำ�ราเป็นชุดŽ ซึง่ มีเนือ้ ความคาบเกีย่ วระหว่างหลายสาขาวิชา เช่น ชุด ชีวิตและงานŽ ของบุคคลที่น่าสนใจ ดังที่ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วบางเล่ม ปัจจุบันมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ยังคงมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะขยาย งานของเราต่อไปอย่างไม่หยุดยัง้ แม้จะประสบอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะ อุปสรรคด้านทุนรอน เพราะกิจการของมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ไม่ใช่กิจการ แสวงหากำ�ไร หากมุ่งประสงค์ให้นักศึกษาและประชาชนได้มีโอกาสซื้อหา หนังสือตำ�ราในราคาย่อมเยาพอสมควร คณะกรรมการทุกสาขาวิชาของมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ยินดีน้อม รับคำ�แนะนำ�และคำ�วิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่านทุกท่าน และปรารถนาอย่าง ยิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมในมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ไม่ ว่าจะเป็นการสนับสนุนแนะนำ�อยู่ห่างๆ ช่วยแต่ง แปล เรียบเรียง รวบรวม ตำ�ราสาขาวิชาต่างๆ หรือเข้ามาร่วมบริหารงานร่วมกับเรา เพ็ชรี สุมิตร ประธานคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 57


รายนามคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2509 โดยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ)

นางเพ็ชรี นายเกริกเกียรติ นายธเนศ นายรังสรรค์ นายวิทยา นางสาวศรีประภา นายวีระ นายประจักษ์ นายพิภพ นางสาวอุบลรัตน์ นายพนัส นายบดินทร์ นางสาวศุภลักษณ์ นายชาญวิทย์ นายธำ�รงศักดิ์ นายทรงยศ

สุมิตร พิพัฒน์เสรีธรรม อาภรณ์สุวรรณ ธนะพรพันธุ์ สุจริตธนารักษ์ เพชรมีศรี สมบูรณ์ ก้องกีรติ อุดร ศิริยุวศักดิ์ ทัศนียานนท์ อัศวาณิชย์ เลิศแก้วศรี เกษตรศิริ เพชรเลิศอนันต์ แววหงษ์

ประธานและผู้จัดการ รองประธาน รองประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป

58 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


เลขอนุญาต ที่ ต. ๖/๒๕๑๙ เลขที่คำ�ขอ ที่

๖/๒๕๑๙ ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ

ตามที่ นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ขออนุญาตจัดตั้ง มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ส่งเสริมการจัดทำ�ตำ�ราภาษาไทยในแขนงสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ทั้งระดับมหาวิ​ิทยาลัย และก่อนมหาวิทยาลัย ๒. เผยแพร่ตำ�ราของมูลนิธิในหมู่ผู้สอนวิชาสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ทั่วราชอาณาจักร ๓. ส่งเสริมการเรียบเรียงงานวิจัย และตำ�ราชั้นสูง และรวบรวมเอกสาร ทางวิชาการออกตีพิมพ์ ๔. ส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๕. ไม่ทำ�การค้ากำ�ไร และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และมีที่ตั้งสำ�นักงานแห่งใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นั้น กรมการศาสนาได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ดำ�เนินการจัดตั้งได้ และขอให้ปฏิบัติตาม คำ�สั่งและข้อบังคับของกรมการศาสนา โดยเคร่งครัด

อนุญาต ณ วันที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙

(นายวัชระ เอี่ยมโชติ) อธิบดีกรมการศาสนา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 59


กำ�หนดการสัมมนา “เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา” Our Boundaries–Our ASEAN Neighbors วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 ณ ห้องสุขวิช รังสิตพล อาคารศรีพฤทธาลัยราชภัฎสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

08.00-08.30 08.30–08.40 08.40-08.50 08.50-09.00 09.00-09.20 09.20-09.30 09.30-12.00

ลงทะเบียน กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนก โตสุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวรายงาน โดย ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน โดย ศาสตราจารย์ เกียรติคณ ุ เพ็ชรี สุมติ ร ราชบัณฑิต ประธานมูลนิธิโครงการตำ�ราฯ ปาฐกถาพิเศษ “เขตแดนของรัฐกับสิทธิมนุษยชนของชุมชน” โดย นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มอบหนังสือและของที่ระลึก (พักรับประทานอาหารว่าง) “เขตแดนของรั ฐ ชาติ กั บ ปั ญ หาสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและกลไลระหว่ า ง ประเทศ” อ. พนัส ทัศนียานนท์ คุณดามพ์ บุญธรรม ผศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี อ. สุริยา คำ�หว่าน ศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (ดำ�เนินการ) 12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00–15.00 “กรณีศึกษาเขตแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน กับปัญหามรดกโลก” ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผศ.ดร. ธำ�รงศักดิ์ เพรชเลิศอนันต์ อ. ดุลยภาค ปรีชารัชช ดร. พิเชฐ สายพันธ์ (ดำ�เนินการ)

60 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


15.00–15.15 พักรับประทานอาหารว่าง 15.15–17.00 “เขตแดนไทยกับกัมพูชา และเสียงสะท้อนจากท้องถิ่น” ผศ.ดร. ประดิษฐ์ ศิลาบุตร อ. นิพนธ์ ทำ�บุญ คุณบุญมี บัวต้น คุณวีระยุทธ ดวงแก้ว อ. อัครพงษ์ ค่ำ�คูณ คุณอดิศักดิ์ ศรีสม (ดำ�เนินรายการ) พิธีกรตลอดงาน อ. สมฤทธิ์ ลือชัย จัดโดย: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ร่วมกับ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ สมาคมจดหมายเหตุสยาม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 61


ปกหนังสือชุดเขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา (Our Boundaries Our ASEAN Neighbors) คลิ๊กเพื่ออ่าน e-book ที่ textbooksproject.com/Ebook/index.html สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ www. facebook.com/textbooksproject

62 มรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 63


For E-book click: textbooksproject.com/Ebook/index.html More Info. click: www.facebook.com/textbooksproject


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.