การตกแต่งจิต
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ามนุษย์เรานี้มีกายและใจหรือจิตประกอบกัน กาย นั้นก็เห็นอยู่ ปรากฏอยู่ ส่วนจิตไม่ปรากฏให้เห็น จึงเป็นที่คิดที่เข้าใจกันว่า กายสำ�คัญเพราะปรากฏแก่สายตาผู้คนทั้งปวง ใคร ๆ ก็เห็น เห็นว่าสวย ว่างาม ว่าไม่สวยไม่งาม ส่วนจิตไม่ปรากฏแก่สายตาใคร ไม่มีใคร เห็นว่า จิตสวยจิตไม่สวยอย่างไร แม้แต่เจ้าของเองก็ยังไม่เห็น เมื่อใคร ๆ เห็นไม่ ได้ ใคร ๆ ไม่เห็น ก็ทำ�ให้เจ้าของจิตเบาใจ วางใจ ไม่เห็นความสำ�คัญหรือ ความจำ�เป็นที่ต้องตกแต่งอะไรๆ ให้จิตเหมือนเช่นที่พยายามตกแต่งให้ กายอย่างเต็มที่ ทั้งเพชรนิลจินดาเสื้อผ้าแพรพรรณเครื่องลูบไล้ชะโลมทา ทั้งหลาย ทุ่มเทให้กับการแต่งกาย ได้ทั้งทรัพย์สินเงินทองและเวลา ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลดังกล่าว คือเห็นว่ากายนี้ มีผู้คนมากมายแลเห็น เป็นการ ประกวดประชันกันอยู่ทุกเวลา คนนั้นสวย คนนี้ไม่สวย เราก็ต้องสวย เรา ก็ต้องไม่สวย ต้องให้ใคร ๆ เห็นความสวยของเรา ไม่ให้ใครเห็น ความไม่ สวย การตกแต่งกายอย่างเต็มความสามารถจึงเกิดขึ้นทั่วไป
ส่วนจิตนั้น เป็นที่เข้าใจกันส่วนใหญ่ว่า เหมือนผู้ที่ถูกขังไว้ในห้องมืด ลั่นกุญแจปิดไว้ตามลำ�พังผู้เดียว ไม่มีสายตาของผู้ใดจะแลเข้าไปเห็นได้ ว่า สวยงามหรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไร ไม่มีผู้ใดเปรียบเทียบ จึงไม่อาจเหนือ ผู้ใดหรือต่ำ�กว่าผู้ใดได้ ไม่ทำ�ให้เจ้าของภูมิใจหรือเสียใจได้ ดังนั้นจึงไม่อยู่ ในความรู้สึกของเจ้าของจิตว่าควรต้องตกแต่งประดับประดาในเมื่อไม่มีผู้ เห็นก็จะเสียเวลาเสียหัวคิดตกแต่งไปทำ�ไม เกี่ยวกับกายและจิตดังกล่าวมา เป็นการเปรียบ เพื่อให้พอเข้าใจถึง ความรู้สึกของส่วนใหญ่ว่าเป็นเช่นนี้ มีจิตก็ปล่อยปละละเลยเหมือนไม่มี แต่ไปทุ่มเทกับกาย ทุกลมหายใจเข้าออก เหตุก็เพราะปรกติพากันมีนิสัย ขี้โอ่ ขี้อวด สิ่งที่อวดใครไม่ได้ก็ไม่สนใจดูแลรักษา ไปรู้สึก ได้หน้า ได้ตากับ สิ่งที่รู้สึกว่าอยู่ในสายตาผู้อื่นเท่านั้น อันนี้ ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ผู้มาบริหาร จิตควรแลให้เห็นความไม่ถูกต้องนี้ มิฉะนั้นก็ยากที่จะฝึกจิตได้ จิตจะสูงขึ้น สวยงามขึ้นไม่ได้ จิตนั้นมิใช่ว่าจะปรากฏให้เห็นไม่ได้ดังหลงเข้าใจผิดกัน จิตปรากฏ ได้ แม้จะไม่ปรากฏเป็นรูปร่างเช่นเดียวกับกายก็ตาม แต่อาการของจิต ปรากฏได้แน่นอน เพียงแต่ว่าพากันไม่มองเท่านั้นจึงไม่เห็น เจ้าของจิตเอง แม้ไม่มองก็ไม่เห็น เมื่อเจ้าของจิตไม่มองก็ไม่เห็น ผู้อื่นก็ไม่มอง ก็ไม่เห็น แต่ถ้ามองก็ต้องเห็น เจ้าตัวเองมองก็เห็น ผู้อื่นมองก็เห็น คือผู้ใดไม่มอง ผู้นั้นไม่เห็น ผู้ใดมอง ผู้นั้นเห็น เห็นจิตที่เหมือนเป็นสิ่งเห็นไม่ได้นี่แหละ และแม้เจ้าของจิตจะไม่มองไม่เห็นจิตตัวเอง ผู้อื่นแท้ ๆ ก็อาจแลเห็นจิตผู้ อื่นได้แม้มอง กายนั้นมีมือเท้าแขนขาผมขนเล็บฟันหนังเป็นต้น ปรากฏให้เห็น จิตก็มี อาการของจิตปรากฏให้เห็นได้ด้วย การแสดงออก โดยอาศัยกายนี้แหละ เป็นทางผ่าน เป็นเครื่องแสดงเปรียบอาการของจิตให้เห็นชัดขึ้น ก็เปรียบ
เป็นมือเท้าแขนขาขนผมเล็บฟันหนังเป็นต้น ตัดแต่งขัดย้อมต่อเติมอาบทา มือเท้าแขนขาผมขนเล็บฟันหนังเมื่อใด ก็ขอให้นึกถึงจิตของตนด้วย มือ เท้าแขนขาเป็นต้นของจิตต้องการตกแต่งเหมือนกัน มิฉะนั้นก็ไม่สวย ไม่ งามเหมือนกัน และก็มิใช่ว่าจะไม่มีผู้เห็น มีผู้เห็นแน่นอน ใจไม่สวยก็มีผู้ เห็น ใจสวยก็มีผู้เห็น นี้ก็ได้ยินได้ฟังกันอยู่ เพราะมักจะมีผู้พูดอยู่เสมอว่า คนนั้นใจดีคนนี้ใจดำ� เหล่านี้เป็นต้น นี่แสดงการแลเห็นจิต จิตไม่สวยน่า อายมากกว่า กายไม่สวย จิตสวยน่าภูมิใจมากกว่ากายสวย และการแต่ง จิตก็ไม่สิ้นเปลืองมากมาย ไม่ต้องลงทุนเป็นทร้พย์สินเงินทอง ลงทุนด้วย การตั้งสติให้จริง นึกถึงคำ�สอนของพระพุทธเจ้า อารมณ์ใดที่เป็นความโลภ โกรธ หลง ใช้สติระงับเสียให้เร็วที่สุด ความโลภ โกรธ หลง น้อยเพียงใด จิตจะงามเพียงนั้น เป็นการแต่งจิตที่สมควรทำ�แล (ธรรมะประดับใจ อันดับ ๓ หน้า ๑๑๔-๖)