อาสาฬหบูชา ~ เข้าพรรษา
ธรรมบรรณาการ
เนือ่ งในเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
วัดบวรนิเวศวิหาร
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
อาสาฬหบูชา เข้าพรรษา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กรกฎาคม ๒๕๕๗ จ�ำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ISBN ......................... บรรณาธิการ พระศากยวงศ์วสิ ทุ ธิ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์เป็นพุทธบูชา เนือ่ งในวันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗ พิมพ์ที่
สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ต.กระทุม่ ล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร ๐-๒๔๒๙-๒๔๕๒, ๐๘-๖๕๗๑-๑๖๘๕
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
ค�ำน�ำ เรื่องอาสาฬหบูชา เข้าพรรษา ที่จัดพิมพ์ ครั้งนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงนิพนธ์ ไว้ตา่ งวาระต่างโอกาส คือบางตอนทรงนิพนธ์ไว้ใน เรือ่ ง พระพุทธเจ้าของเรานัน้ ท่านเลิศล�ำ้ บางตอน ทรงนิพนธ์ไว้ในเรือ่ ง 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า ใน การพิมพ์ครัง้ นี้ ได้นำ� มาเรียบเรียงให้เป็นเรือ่ งเดียวกัน เพือ่ ให้ได้เนือ้ หาพอเหมาะแก่ผอู้ า่ นทัว่ ไปจะพึงรูเ้ กีย่ ว กับวันอาสาฬบูชา และวันเข้าพรรษา อันเป็นเทศกาล ส�ำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวาระหนึง่
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
เพือ่ เป็นการส่งเสริมความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ ว กับวันส�ำคัญทางพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนทัว่ ไป และเพื่อเพิ่มพูนกุศลเจตนาของพุทธศาสนิกชน ผู้ ตั้งใจบ�ำเพ็ญกุศลกิจ มีการให้ทาน รักษาศีล ฟัง ธรรม และเจริญภาวนาเป็นต้น ในเทศกาลบุญเช่น นี้ วัดบวรนิเวศวิหารจึงได้จัดพิมพ์พระนิพนธ์เรื่อง อาสาฬหบูชา เข้าพรรษานี้ เป็นพุทธบูชา และแจก เป็นธรรมบรรณาการแก่สาธุชนทัว่ ไป
วัดบวรนิเวศวิหาร กรกฏาคม ๒๕๕๗
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
อาสาฬหบูชา
ใน
วันพระจันทร์เต็มดวงวันหนึง่ พระพุทธเจ้าได้ ประทับนั่งอยู่ในป่าอันสงัดกับนักบวชอีกห้า ท่าน นอกจากนี้ ก็มสี ตั ว์ตา่ งๆ มีกวางเป็นต้น เดินไป มาอย่างผาสุข เพราะป่านัน้ เป็นเขตสงวนของหลวง ภายในป่าอันสงบร่มเย็นในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ ทรงเริ่มตั้งพุทธจักรลงในอาณาจักรแห่งแคว้นกาสี แล้วได้ทรงแผ่พทุ ธจักรไปในแคว้นต่างๆ อีก นับได้ ๗ แคว้น ก็สนิ้ เวลาแห่งพระชนม์ชพี ต่อมาพระสาวกได้ ช่วยแผ่พทุ ธจักรออกไปในนานาประเทศ ด้วยความ อุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ในยุคนั้นๆ จนถึงพุทธจักรได้มาตั้งอยู่ในประเทศไทยเรา และ ประเทศใกล้เคียงในบัดนี้ โดยปกติ อาณาจักรแต่ละแห่ง ตัง้ ขึน้ และ แผ่ออกไปด้วยอ�ำนาจหรือด้วยก�ำลังแสนยานุภาพ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๒
จึงเรียกว่า “อาณาจักร” ทีแ่ ปลว่า จักร คือ อาชญา ส่วนพระพุทธเจ้าทรงแผ่ “พุทธจักร” ด้วยธรรมะ คือ เสด็จจาริกไปทรงแสดงธรรมะสั่งสอนประดิษฐาน พระพุทธศาสนาและพุทธบริษทั ให้บงั เกิดขึน้ ในโลก จึงเรียกว่า “ธรรมจักร” แปลว่า จักร คือ ธรรม ซึง่ พระพุทธเจ้าได้ทรงเริม่ แสดงเป็นปฐม ดังทีเ่ รียกว่า “ปฐมเทศนา” ในสถานทีใ่ นวันดังกล่าวนัน้ และวัน นัน้ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง หรือเรียกว่าเป็นวันเต็ม เดือน ในเวลาที่พระจันทร์โคจรผ่านกลุ่มดาวชื่อว่า อาสาฬหะ จึงเรียกว่าเดือนอาสาฬหะ มักตกในเดือน กรกฎาคม หรือเดือนแปดในปีปกติมาส เดือนเก้าใน ปีอธิกมาส เป็นวันหน้าวันเข้าพรรษาของพระภิกษุ สงฆ์ เพือ่ เป็นอนุสสติวา่ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ปฐมเทศนา เริ่มตั้งพุทธจักรประดิษฐานพระพุทธศาสนาในโลก จึงได้กำ� หนดวันพระจันทร์เพ็ญหน้า วันเข้าพรรษาเป็นวันบูชาในพระพุทธศาสนา เรียก ว่า “วันอาสาฬหบูชา” แปลว่า บูชา (พระรัตนตรัย) ในวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนอาสาฬหะ (เดือนแปด
๓
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
หรือ เดือนเก้า ดังกล่าวแล้ว) ใจความในปฐมเทศนา ซึ่งตั้งชื่อเป็นปฐม ว่า “ธรรมจักร” มีวา่ พระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงทาง ปฏิบตั ไิ ปสูพ่ ทุ ธภาวะของพระองค์ และทรงสอนให้ นักบวชผูม้ งุ่ โพธิ (ความตรัสรู)้ ด�ำเนินในทางนัน้ กล่าว คือ เว้นทางสุดโต่งทัง้ สองข้าง (ได้แก่ ทางกามสุข และ ทางทรมานทุกข์) แต่ดำ� เนินไปในทางกลาง อัน มีเพียงทางเดียวมีองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ เห็น ชอบ ด�ำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๔
พยายามชอบ ระลึกชอบ และตัง้ ใจชอบ พระพุทธเจ้าได้ทรงตั้งพุทธจักรขึ้นในโลก เริม่ ตัง้ แต่ทรงแสดงปฐมเทศนา พุทธจักรของพระองค์ นีไ้ ด้ทรงตัง้ ขึน้ ในหัวใจของคน ไม่ได้ทรงตัง้ ขึน้ ในโลก ภายนอก จิตใจที่ประกอบด้วยศรัทธาและปัญญา ในธรรมเป็นจิตใจทีม่ พี ทุ ธจักรตัง้ ขึน้ แล้ว เป็นจิตใจที่ สว่างด้วยเหตุผล รูจ้ กั เว้นการทีค่ วรเว้น ประพฤติการ ทีค่ วรประพฤติ อะไรๆ แม้จะชอบใจ แต่มโี ทษไม่เป็น ประโยชน์กล็ ะเว้นได้ ส่วนอะไรๆ ทีถ่ งึ ไม่ชอบใจ แต่ สมควรจะท�ำเพราะมีคณ ุ ประโยชน์ ก็ทำ� ได้ ดังทีเ่ รียก ว่า “การณวสิกะ” แปลว่า ผูท้ ำ� ตามอ�ำนาจแห่งเหตุ ทีใ่ ห้ทำ� พระอานนท์ได้รบั ยกย่องว่าเป็นผูม้ คี ณ ุ สมบัติ เช่นนี้ พูดง่ายๆ ว่าปฏิบตั ไิ ปตามเหตุผล อาจจะถูก หาว่าเป็นผูเ้ สีย แต่โดยทีแ่ ท้เป็นผูไ้ ด้ เพราะสามารถ ปฏิบตั ใิ ห้เหมาะกับเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ จึงรักษาตนให้ รอดพ้นความเสือ่ มเสีย แล้วถึงความสวัสดีเจริญได้ อย่างน้อยก็รกั ษาเกียรติไว้ได้ แม้จะต้องเสียสละบ้าง พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้วา่ “เมือ่ เห็นสุขไพบูลย์ ก็
๕
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
พึงสละสุขพอประมาณ” การกระท�ำอะไรทุกๆ อย่างทีอ่ ำ� นวยประโยชน์ ก็จะต้องมีการเสียสละบ้างไม่มากก็นอ้ ย ดังเช่น จะท�ำ ทานก็ตอ้ งมีทรัพย์ ทัง้ นีก้ เ็ พราะเห็นว่าบุญข้อนีม้ คี า่ สูง กว่าทรัพย์ทสี่ ละไป การท�ำประโยชน์อนื่ ๆ ทุกอย่างก็ เป็นเช่นเดียวกัน ได้มพี ระพุทธภาษิตกล่าวไว้วา่ “พึง สละทรัพย์ เพราะเหตุจะรักษาอวัยวะทีป่ ระเสริฐไว้ เมื่อจะรักษาชีวิตไว้ก็พึงสละอวัยวะ แต่นรชนเมื่อ ระลึกถึงธรรมะก็พงึ สละอวัยวะ ทรัพย์ และชีวติ ทุกๆ อย่าง” การรักษาเกียรติเป็นการรักษาธรรมะอย่าง หนึ่ง จะก้าวหน้าหรือถอยหลังด้วยเกียรติหรือเพื่อ เกียรติ ก็เป็นสิง่ ทีพ่ งึ สรรเสริญเท่ากัน ดังเรือ่ งราชสีห์ ถอยหลังให้แก่สกุ รตัวเปื้อนคูถไม่ยอมต่อสูด้ ้วย ใน นิทานสุภาษิต พระพุทธเจ้าได้ทรงแผ่พทุ ธจักรลงในดวงใจ เพื่อให้สว่างด้วยเหตุผล ให้สามารถหลีกเหตุพิบัติ ด�ำเนินไปสู่เหตุแห่งสมบัติทุกๆ อย่าง จิตใจที่มี อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๖
พุทธจักรย่อมสว่างสะอาดและมี อ�ำนาจเข้มแข็ง ทีจ่ ะต่อต้านความ ชั่วผิด และที่จะพลีประกอบคุณ งามความดีทกุ ๆ ประการ ทางพระพุทธศาสนาพระ พุทธเจ้าประสงค์ให้พทุ ธศาสนิกชน เชือ่ ถือตามเหตุผลด้วยปัญญาของ ตน ทรงแนะน�ำให้พากันมาดูให้เห็น ประจักษ์ด้วยตนเอง ดังบทพระ ธรรมคุณว่า “เอหิ ปสฺสโิ ก ควรเรียก ให้มาดู” เมือ่ ทรงแสดงปฐมเทศนา ในวันอาสาฬหปุณณมี ก็มไิ ด้ทรง ขอให้ฤษีทั้ง ๕ เชื่อก่อน เพียง แต่ตรัสให้ตั้งใจฟัง เมื่อทรงแสดง ปฐมเทศนาจบลงแล้ว พระโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นจริงขึน้ พระพุทธเจ้าตรัสอุทาน ว่า “โกณฑัญญะได้รแู้ ล้วหนอ” (จึง
๗
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
เกิดมีค�ำเรียกท่านว่า พระอัญญาโกณฑัญญะสืบ มา) มิได้ตรัสว่าโกณฑัญญะได้เชือ่ พระองค์แล้วเลย พระโกณฑัญญะนีเ้ อง ได้เป็นปฐมอริยพุทธศาสนิก ในโลก ตัง้ แต่เมือ่ เกิดดวงตา คือ ปัญญาเห็นธรรม พระพุทธเจ้าได้ทรงอบรมฤษีอกี ๔ รูป ให้ได้ดวงตา เห็นธรรม ในต่อมาได้ทรงอบรมฤษีทงั้ ๕ ให้ได้ปญ ั ญา เป็นเหตุให้พน้ ทุกข์ทงั้ หมดเหมือนพระองค์ ได้เสด็จ จาริกประกาศพระพุทธศาสนาแสดงหนทางที่ชอบ แก่โลกโดยล�ำดับ จึงมีพทุ ธศาสนิกชนคือ พระสงฆ์ สาวกหรือพุทธบริษทั พุทธมามกะ พุทธมามิกา ต่อ มาจนถึงทุกวันนี้ พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ท รงแสดงปฐมเทศนานี้ ในวันรุ่งขึ้นจากที่เสด็จไปถึง″ คือได้ทรงแสดงใน วันเพ็ญของเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ หน้าวัน เข้าพรรษา ซึง่ เป็นวันทีไ่ ด้ประกอบพิธอี าสาฬหบูชา ดังที่ได้ก�ำหนดตั้งขึ้นเป็นวันบูชาวันหนึ่ง ปฐมเทศนานี้ เป็นเทศน์ครั้งแรกที่มีความ ส�ำคัญ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางที่พระองค์ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๘
ทรงปฏิบัติ ได้ทรงแสดงธรรม ที่ได้ตรัสรู้ ได้ทรงแสดงญาณ คื อ ความรู ้ ข องพระองค์ ที่ เ กิ ด ขึ้นในธรรมนั้น ถ้าจะตั้งปัญหา ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงด� ำ เนิ น ทางปฏิ บั ติ ม าอย่ า งไรจึ ง ได้ ตรั ส รู ้ พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต รั ส รู ้ อะไร พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต รั ส รู ้ ด้วยความรู้ทมี่ ลี กั ษณะอย่างไร ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะตอบได้ ด้วยพระสูตรนี้ เพราะฉะนัน้ จึง เป็นพระสูตรทีผ่ ศู้ กึ ษาพระพุทธศาสนาจะละเสียมิได้ ควรจะ ต้องศึกษาให้เข้าใจ ใจความปฐมเทศนานี้ ตอนที่ ๑ พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ท รงชี้ ท างที่ บรรพชิต คือนักบวช ซึ่งมุ่งความหน่าย มุ่งความ สิ้นราคะคือความติด ความยินดี มุ่งความตรัสรู้ มุ ่ ง พระนิ พ พาน ไม่ ค วรจะซ่ อ งเสพ อั น ได้ แ ก่
๙
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
กามสุ ขั ล ลิ ก านุ โ ยค ความ ประกอบตนด้วยความสุขสด ชืน่ อยูใ่ นทางกาม และอัตตกิลมถานุโยค ความประกอบการ ทรมานตนให้ลำ� บากเดือดร้อน เปล่า เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่ เป็ น ของต�่ ำ ทราม ที่ เ ป็ น กิ จ ของชาวบ้าน ที่เป็นของปุถุชน มิใช่เป็นกิจของบรรพชิตผู้มุ่ง ผลเช่นนัน้ ส่วนอีกหนทางหนึง่ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติ เป็นหนทาง กลาง อยู่ในระหว่างทางทั้ง ๒ นัน้ แต่วา่ ไม่ขอ้ งแวะอยูใ่ นทาง ทั้ง ๒ นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ให้เกิดจักษุคือดวงตา เห็นธรรม จะท�ำให้เกิดญาณคือความหยั่งรู้ ท�ำให้ เกิดความสงบระงับ ท�ำให้เกิดความรอบรู้ ท�ำให้ เกิดความดับกิเลส อันได้แก่ ทางที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการ อันเป็นของประเสริฐ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑๐
๑๑ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ความเห็ น ชอบ สัมมาสังกัปปะ ความด� ำ ริ ช อบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงาน ชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ พยายามชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ตอนที่ ๒ ได้ทรงแสดงธรรมที่ได้ตรัสรู้ เมื่อ ละทางทั้ง ๒ ข้างต้น และมาเดินอยู่ในทางที่เป็น มัชฌิมาปฏิปทาคือข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง ซึ่งมี องค์ประกอบทั้ง ๘ นั้น อันได้แก่อริยสัจจ์ ๔ ค�ำว่า อริยสัจจ์ แปลว่า ความจริงของบุคคลผู้ประเสริฐ ก็ ไ ด้ แปลว่ า ความจริ ง ที่ ท� ำ ให้ บุ ค คลเป็ น คน ประเสริฐก็ได้ อริยสัจจ์ ๔ นี้ ได้แก่ ๑. ทุกข์ ในพระสูตรนี้ ได้ชวี้ า่ อะไรเป็นทุกข์ ไว้ดว้ ย คือชีว้ า่ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความโศกคือแห้งใจ ปริเทวะคือ คร�ำ่ ครวญรัญจวนใจ ทุกขะคือทุกข์กาย เช่นป่วยไข้ โทมนัสสะ คือทุกข์ใจ อุปายาสคือคับแค้นใจ เป็น ทุกข์ อัปปิยสัมปโยค ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็น อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑๒
ที่รัก เป็นทุกข์ ปิยวิปโยค ความพลัดพรากจากสิ่งที่ เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาไม่ได้สมหวัง เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ทยี่ ดึ ถือไว้ทงั้ ๕ ประการ เป็นทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย เหตุให้ทกุ ข์เกิด ในพระสูตร ได้ทรงชีว้ ่า ตัณหาคือความดิน้ รนทะยานอยากของ ใจ อันมีลักษณะให้ซัดส่ายไปสู่ภพคือภาวะใหม่ เสมอ ไปด้วยกันกับนันทิ ความเพลิดเพลิน ราคะ ความติดความยินดี มีความเพลิดเพลินเป็นอย่าง ยิ่งในอารมณ์น้นั ๆ มี ๓ คือ กามตัณหา ความ ดิ้นรนทะยานอยากไปในกาม คือได้แก่สิ่งที่น่ารัก ใคร่ปรารถนาพอใจ ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยาน อยากไปในภพ คือความเป็นนั้นเป็นนี่ วิภวตัณหา ความดิน้ รนทะยานอยากไปในวิภพ คือความไม่เป็น นั้นเป็นนี่ ๓. ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ในพระสูตรได้ ทรงชีว้ า่ คือดับตัณหาเสียได้หมด สละตัณหาเสียได้ หมด ปล่อยคืนตัณหาเสียได้หมด พ้นตัณหาเสียได้ หมด ไม่อาลัยพัวพันอยู่ในตัณหาทั้งหมด
๑๓ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค ได้แก่มรรคอันมีองค์ ๘ ประการ ดัง่ กล่าวข้าง ต้นนั้น ตอนที่ ๓ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แจงว่า ที่เรียก ว่า ตรัสรู้ นั้น คือต้องเป็นรู้ที่มีลักษณะอย่างไร รู้ ที่เรียกว่าเป็นตรัสรู้นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้ คือเป็น ความรู้ ที่ผุดขึ้นว่านี้เป็นทุกข์ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้น ว่าทุกข์น้เี ป็นสิ่งที่ควรก�ำหนดรู้ เป็นความรู้ท่ผี ุดขึ้น ว่าทุกข์นี้ได้ก�ำหนดรู้แล้ว เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่านี้ เป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่า สมุทัยนี้ควรละ เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่าสมุทัยนี้ละ ได้แล้ว เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่านี้เป็นนิโรธความดับ ทุกข์ เป็นความรูท้ ผี่ ดุ ขึน้ ว่านิโรธนีค้ วรกระท�ำให้แจ้ง เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่านิโรธนี้ได้ทำ� ให้แจ้งแล้ว เป็น ความรูท้ ผี่ ดุ ขึน้ ว่านีเ้ ป็นมรรคทางปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความ ดับทุกข์ เป็นความรู้ที่ ผุดขึ้นว่าทางปฏิบัติให้ ถึงความดับทุกข์นี้ควร อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑๔
อบรมให้มีขึ้น เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นว่าทางปฏิบัติให้ ถึงความดับทุกข์นี้ได้อบรมให้มขี ึ้นได้บริบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้น ในพระสูตรจึงแสดงว่าความ ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นญาณ คือความหยั่ง รู้ที่มีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ มีวนรอบ ๓ ก็คือ ว่า ต้องรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นั้นโดยเป็นสัจจญาณ คือความรู้ในความจริงรอบหนึ่ง ต้องรู้ในอริยสัจจ์ ทั้ง ๔ โดยเป็นกิจจญาณ คือต้องรู้ในกิจอันได้แก่ หน้าที่รอบหนึ่ง ต้องรู้ในอริยสัจจ์ ๔ นั้นโดยเป็นกต ญาณ คือความรู้ในการท�ำกิจเสร็จ รอบหนึ่ง ๓ คูณ ๔ ก็เป็น ๑๒ คือว่ามีอาการ ๑๒ เมื่อเป็นความรู้ท่ี วนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ดั่งกล่าวนี้ จึงจะเรียกว่า เป็นความตรัสรู้ และท่านผู้ที่ได้มีความรู้ดั่งกล่าว นี้ จึงเรียกว่าเป็น พุทธะ คือเป็นผู้ตรัสรู้ ถ้าจะเรียก ปัญญาของท่านก็เป็นโพธิ ที่แปลว่า ความตรัสรู้ เพราะฉะนั้น ใจความในพระสูตรที่กล่าว มานี้จึงเป็นการตอบปัญหาได้ท้งั ๓ ข้อ ปัญหาว่า พระพุทธเจ้าได้ด�ำเนินทางปฏิบัติมาอย่างไรจึงได้
๑๕ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ตรัสรู้ ก็ตอบได้ดว้ ยตอนที่ ๑ ปัญหาว่าพระพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้อะไร ก็ตอบได้ด้วยตอนที่ ๒ ปัญหาว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยความรู้ทมี่ ลี กั ษณะอาการ อย่างไร ก็ตอบได้ด้วยตอนที่ ๓ ฉะนั้น ในท้าย พระสูตร พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงประกาศว่า เมื่อ ความรู้ท่มี ีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ดั่งกล่าวนี้ ยัง ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตราบใด ก็ยังไม่ทรงปฏิญาณ พระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้ ต่อญาณดัง่ กล่าวนัน้ เกิดขึน้
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์ พระองค์จงึ ปฏิญาณพระองค์วา่ เป็น พุทธะ คือเป็นผู้ตรัสรู้ และเรียกว่าเป็นผู้ตรัสรู้เอง ก็ เพราะว่าความรู้ของพระองค์ที่เกิดขึ้นดั่งกล่าวนั้น เป็นความรู้ท่ผี ุดขึ้นในธรรมคือในความจริง ที่ไม่ได้ ทรงเคยสดับฟังมาจากใคร ไม่ได้ทรงเรียนมาจาก ใคร เมื่อพิจารณาตามพระสูตร แม้ทางปฏิบัติของ พระองค์ พระองค์กท็ รงพบขึ้นเอง เพราะได้ทรงละ ทางปฏิบตั ิของคณาจารย์ต่าง ๆ มาโดยล�ำดับ จน มาถึงทรงค้นหาทางปฏิบตั ดิ ว้ ยพระองค์เอง และทรง พบทางทีเ่ ป็นมัชฌิมาปฏิปทาและก็ทรงด�ำเนินไปใน ทางนัน้ เมือ่ ทรงด�ำเนินไปในทางนัน้ จนบริบรู ณ์แล้ว ก็เกิดญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นในธรรม คือความจริง อันได้แก่อริยสัจจ์ ๔ ซึ่ง ไม่ได้เคยทรงสดับมาจากใคร ความรู้ นัน้ ผุดขึน้ เอง อันเป็นผลของการปฏิบตั ิ ที่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีครู ไม่มี อาจารย์ หมายถึงว่าทรงมีความรู้ด่งั ที่
๑๗ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
แสดงไว้ในพระสูตร ดั่งกล่าวนั้นแล เมื่อท่าน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เกิด ดวงตาเห็น ธรรม และได้ เ ป็ น พระภิก ษุอ งค์ แ รก ในพระพุทธศาสนาแล้ว พระบรมศาสดาได้ตรัส อบรมอีก ๔ รูป ด้วยธรรมเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ต่อมา ท่านวัปปะและท่านภัททิยะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม และได้ทูลขออุปสมบท ก็ได้รับการอุปสมบทจาก พระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ พระพุทธเจ้าได้อบรมอีก ๒ ท่าน ท่านที่ได้ อุปสมบทแล้ว ๓ ท่านก็เป็นผู้ไปบิณฑบาตมาเลี้ยง รวมกันทั้ง ๖ ต่อมาท่านมหานามะกับท่านอัสสชิ ก็ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม และได้ทูลขออุปสมบท ก็ได้รับการอุปสมบทเช่นเดียวกัน แต่ในอรรถกถาได้กล่าวว่า ท่านวัปปะได้ดวงตา เห็นธรรมและได้อุปสมบทในวันแรม ๑ ค�่ำ ท่าน ภัททิยะในวันแรม ๒ ค�่ำ ท่านมหานามะในวันแรม ๓ ค�ำ่ ท่านอัสสชิในวันแรม ๔ ค�่ำ ส่วนในชั้นบาลี ได้กล่าวไว้เป็นคู่กันดั่งที่เล่ามาทีแรก เมื่อท่านทั้ง อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๑๘
๕ ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ เรียบร้อยพร้อมกันแล้ว ในวันแรม ๕ ค�ำ่ แห่งเดือน สาวนะ ที่ตรงกับวันแรม ๕ ค�่ำ เดือน ๘ ตามที่นบั ในประเทศไทย พระบรมศาสดาก็ได้ทรงแสดงพระ สูตรที่ ๒ อันเรียกว่า อนัตตลักขณสูตร แปลว่า พระสูตรที่แสดงลักษณะคือเครื่องก�ำหนดหมายว่า เป็นอนัตตา มิใช่อตั ตาตัวตน พระสูตรนี้มีใจความ โดยย่อดังต่อไปนี้ ตอนที่ ๑ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอนัตตา มิใช่อตั ตาตัวตน ถ้าทัง้ ๕ นี้ พึงเป็นอัตตาตัวตน ทัง้ ๕ นีก้ พ็ งึ ไม่เป็นไปเพือ่ อาพาธ และบุคคลก็จะพึงได้ ในส่วนทัง้ ๕ นีว้ ่า ขอให้เป็นอย่างนีเ้ ถิด อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย แต่เพราะเหตุว่าทั้ง ๕ นี้มิใช่อตั ตาตัว ตน ฉะนัน้ ทัง้ ๕ นีจ้ งึ เป็นไปเพือ่ อาพาธ และบุคคล ก็ย่อมไม่ได้ในส่วนทัง้ ๕ นี้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ตอนที่ ๒ พระผูม้ พี ระภาคได้ตรัสสอบความ
๑๙
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
รูค้ วามเห็นของท่านทัง้ ๕ นัน้ ตรัสถามว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้ง ๕ ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ตรัสถามอีกว่า สิ่ง ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ท่านทั้ง ๕ กราบทูลว่า เป็นทุกข์ ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือจะเห็นสิ่งนั้นว่า นี่เป็นของเรา เราเป็นนี่ นี่ เป็นตัวตนของเรา ท่านทั้ง ๕ ก็กราบทูลว่า ไม่ควร เห็นอย่างนั้น ตอนที่ ๓ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรุปลงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ นี้ ที่เป็น ส่วนอดีตก็ดี เป็นส่วนอนาคตก็ดี เป็นส่วนปัจจุบัน ก็ดี เป็นส่วนภายในก็ดี เป็นส่วนภายนอกก็ดี เป็น ส่วนหยาบก็ดี เป็นส่วนละเอียดก็ดี เป็นส่วนเลวก็ดี เป็นส่วนประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ควรเห็นด้วยปัญญาชอบ ตามที่เป็นแล้วว่า นี่ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่น่ี นี่ไม่ใช่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗ ๒๐
ตัวตนของเรา ตอนที่ ๔ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงผลทีเ่ กิด แก่ผู้ฟัง และเกิดความรู้เห็นชอบดั่งกล่าวมานั้นต่อ ไปว่า อริยสาวกคือผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้ว อย่างนีย้ อ่ มเกิดนิพพิทา คือความหน่ายในรูป หน่าย ในเวทนา หน่ายในสัญญา หน่ายในสังขาร หน่าย ในวิญญาณ เมือ่ หน่ายก็ย่อมสิน้ ราคะ คือสิน้ ความ ติด ความยินดี ความก�ำหนัด เมื่อสิ้นราคะ ก็ย่อม วิมตุ ติคอื หลุดพ้น เมือ่ วิมตุ ติ ก็ยอ่ มมีญาณคือความ รู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว และย่อมรู้ว่า ชาติคอื ความ เกิดสิน้ แล้วพรหมจรรย์อยูจ่ บแล้ว กิจทีค่ วรท�ำได้ทำ� ส�ำเร็จแล้ว ไม่มกี จิ อืน่ ทีจ่ ะพึงท�ำเพือ่ ความเป็นเช่นนี้ อีกต่อไป พระสูตรที่ ๒ นี้มีใจความดังที่ย่อมากล่าว นั้น แต่ก็ควรท�ำความเข้าใจสืบต่อไป จุดมุ่งของ พระสูตรนี้ ต้องการที่จะชี้อนัตตา เพราะได้มีความ เข้าใจในเรือ่ ง อัตตาทีแ่ ปลกันว่าตัวตน และมีความ เชือ่ มัน่ กันอยูห่ ลายอย่าง แต่เมือ่ สรุปแล้วก็ มักจะมี
๒๑
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ทิฏฐิ คือความเห็นกันอยู่ ๒ อย่าง คือ สัสสตทิภฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อย่าง ๑ อุจเฉททิฏฐิ ความเห็น ว่าขาดสูญอย่าง ๑ สัสสต-ทิฏฐิความเห็นว่า เที่ยง นั้น คือเห็นว่าในปัจจุบันชาตินี้ก็มีอัตตาคือตัวตน เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว อัตตาคือตัวตนก็ยังไม่สิ้น ยัง จะมีสืบภพชาติต่อไป มีชาติหน้าเรื่อยไป ไม่มขี าด สูญ แปลว่ามีอัตตา คือตัวตนยืนที่ตลอดไป นี้เรียก ว่า สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่าเที่ยง ส่วนที่มคี วาม เห็นว่าขาดสูญ อันเรียกว่า อุจเฉททิฏฐินั้น คือเห็น ว่ามีอตั ตาตัวตนอยู่แต่ในปัจจุบนั ชาตินเี้ ท่านัน้ เมือ่ สิ้นชีวิตไปแล้วอัตตาตัวตนก็สิ้นไป ไม่มีอะไรเหลือ อยู่ที่จะให้ไปเกิด ดั่งที่เห็นว่าตายสูญ นี่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ ในทางพระพุทธ ศาสนาแสดงว่า ความเห็นทั้ง ๒ นี้เป็น มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ทั้ง ๒ อย่าง คือเห็นว่าเที่ยงก็ผิด เห็นว่าขาดสูญก็ผิด เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ ยอมชี้ว่ามีอะไรเป็นอัตตาคือตัวตน ที่จะให้เป็นที่ ตั้งของอุปาทานคือความยึดถืออยู่ในสิ่งนั้น เมื่อยัง อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗ ๒๒
มีอุปาทาน คือความยึดถืออยู่ ก็ยังไม่ส้นิ กิเลสและ สิ้นทุกข์ เพราะความยึดถือนั้นเป็นตัวกิเลส แต่ว่า ได้แสดงเป็นหลักเหตุผลในปฏิจจ- สมุปบาท ยกมา กล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องว่า เมื่อยังมีอวิชชาเป็นต้น ก็ยังต้องมีชาติคือความเกิด เมื่อสิ้นอวิชชาเป็นต้น ก็สิ้นชาติคือ ความเกิดทางพระพุทธศาสนาแสดง เหตุผลดั่งนี้ และไม่ชี้ด้วยว่า จะเป็นชาติอดีต ชาติ อนาคต หรือชาติปัจจุบัน สุดแต่ว่าจะยังมีเหตุมีผล ดังกล่าวนี้สัมพันธ์กันอยู่อย่างไรเท่านั้น กาลเมื่อไร ไม่เป็นข้อส�ำคัญ ส�ำคัญอยู่แต่ว่า เมื่อยังมีเหตุก็มี ผล เมื่อสิ้นเหตุ ก็สิ้นผล พระพุทธเจ้าได้ทรงชีล้ กั ษณะว่าเป็น อนัตตา คือไม่ใช่ตวั ตน อย่างไรแล้ว ต่อจากนัน้ ก็ได้ตรัสถาม ความรู้ความเข้าใจของท่านทั้ง ๕ นั้นว่า ปัญจขันธ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านทั้ง ๕ ก็กราบทูลตอบว่า ไม่ เทีย่ ง ตรัสถามว่า สิง่ ใดไม่เทีย่ ง สิง่ นัน้ เป็นทุกข์หรือ เป็นสุข ท่านทั้ง ๕ ก็กราบทูลตอบว่า เป็นทุกข์ ก็ ตรัสถามว่าสิ่งใด เป็นทุกข์ มีการแปรปรวนไปเป็น
๒๓
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นี่เป็นของเรา เราเป็นนี่ นี่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ท่านทั้ง ๕ นั้น ก็กราบทูลว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ในตอนนี้ เรียก ว่าเป็น การสอบครั้งแรก ในพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอบถามท่านปัญจวัคคีย์ถึง ความรูค้ วามเห็นของท่านในเมือ่ ฟังเทศน์แล้วนับว่า เป็นการสอบไล่ครั้งแรก ในท้ายพระสูตรแสดงว่า เมือ่ พระปัญจวัคคีย์ ได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ก็มีจิตปีติโสมนัส จิตของ ท่านทั้ง ๕ ก็พ้นจากอาสวะคือกิเลสที่ดองนอนจม หมักหมมอยูใ่ นสันดาน จึงได้บงั เกิดเป็นพระอรหันต์ ขึ้น ๖ รูปในโลก พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์รูป แรก ท่านพระปัญจวัคคีย์ท่ฟี ังอนัตตลักขณสูตรจน จิตพ้นจากอาสวกิเลส ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์อีก ๕ รูป ก็รวมเป็น ๖ รูปด้วยกัน พระพุทธเจ้าได้ช่อื ว่า เป็น พระพุทธรัตนะ รัตนะคือพระพุทธเจ้า พระธรรม ได้ชื่อว่า พระธรรมรัตนะ รัตนะคือพระธรรม พระ ปัญจวัคคียซ์ งึ่ ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ขนึ้ มานัน้ ได้ชอื่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗ ๒๔
ว่าเป็นสังฆรัตนะ รัตนะคือพระสงฆ์ รัตนะทั้ง ๓ จึง เกิดขึน้ บริบรู ณ์ในวันนัน้ ท่านแสดงว่าวันนัน้ เป็นวัน แรม ๕ ค�่ำ แห่งเดือนสาวนะ ซึ่งตรงกับวันแรม ๕ ค�่ำ เดือน ๘ ตามที่นับในประเทศไทย ฉะนั้น ในวัน แรม ๕ ค�ำ่ เดือน ๘ จึงเป็นวันที่ รัตนะทั้ง ๓ เกิด ขึ้นบริบูรณ์ในโลก ส่วนวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ซึ่งเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนานั้น ท่านพระ โกณฑัญญะรูปเดียวได้เกิดดวงตาเห็นธรรม ซึ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่าได้ส�ำเร็จเป็นพระโสดาบัน ยังไม่ ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ และก็ได้ขอบวชเป็นภิกษุใน พระพุทธศาสนาเพียงรูปเดียว ก็ชื่อว่าเป็นวันที่เริ่ม จะมีพระสังฆรัตนะในชั้นแรกเท่านั้น ยังไม่บริบูรณ์ แต่ก็ชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนา ครั้งแรก เป็นวันที่ได้เริ่มตั้งพุทธจักรขึ้นในโลก ต่อ มาเมื่อถึงวันแรม ๕ ค�่ำ เดือน ๘ จึงเป็นวันที่รัตนะ ทั้ง ๓ เกิดขึ้นบริบูรณ์ในโลก
๒๕
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
เข้าพรรษา
วั
นรุง่ ขึน้ ของวันอาสาฬหบูชา คือ วันแรม ๑ ค�ำ่ เดือน ๘ ก็เป็นวันเข้าพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัตไิ ว้ในพระวินยั ให้พระภิกษุ หยุดอยูจ่ ำ� พรรษาในฤดูฝน ๓ เดือน ในปีหนึง่ มี ๓ ฤดู คือ เหมันตะ (ฤดูหนาว) คิมหะ (ฤดูรอ้ น) วัสสานะ (ฤดูฝน) ฤดูหนึง่ มี ๔ เดือน เฉพาะวัสสานะฤดูนนั้ วันเข้าพรรษาต้นคือวันตัง้ ต้นฤดู ไปออกพรรษาเอา สุดเดือนทีส่ ามของฤดู ยังเหลือเดือนทีส่ ดุ แห่งฤดูอกี หนึง่ เดือน ซึง่ มีพระพุทธานุญาต ให้เดือนทีส่ ดุ นีเ้ ป็น จีวรกาล (กาลเป็นทีท่ ำ� จีวรเปลีย่ นชุดเก่า) การทอด กฐินก็ทอดกันในเดือนทีส่ ดุ นี้ เมือ่ พูดโดยจันทรคติก็ พูดว่าตัง้ แต่แรมค�ำ่ หนึง่ เดือน ๑๑ จนถึงกลางเดือน ๑๒ เป็นฤดูทอดกฐินหรือเป็นจีวรกาลดังกล่าว และ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๒๖
วันเข้าพรรษาก็ว่าตั้งแต่แรมค�ำ่ หนึ่ง เดือน ๘ ฤดู เข้าจ�ำพรรษานี้ เป็นฤดูที่ได้พักบ�ำเพ็ญสมณธรรม กันอย่างเต็มที่ แม้ในบัดนีก้ เ็ ป็นฤดูบวชเรียนกันเป็น พิเศษ กล่าวได้วา่ เป็นฤดูแห่งการปฏิบตั ใิ นทาน ศีล ภาวนา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยแท้ เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา พระพุทธเจ้า หยุดเสด็จจาริก ประทับจ�ำพรรษาอยูใ่ นอาราม หรือ ในอรัญแห่งใดแห่งหนึง่ ตามพระพุทธอัธยาศัย เมือ่ ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จจาริกต่อไปในชนบทต่างๆ และได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้ภิกษุสงฆ์หยุดอยู่จ�ำ
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
พรรษา เป็นธรรมเนียมทีป่ ฏิบตั สิ บื ต่อมาจนถึงบัดนี้ ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาทุกปี พระภิกษุทั้ง หลายจึงหยุดอยู่จำ� พรรษาในอาวาสหรือในสถานที่ อันสมควรนัน้ ๆ ทัง้ ได้มกี ลุ บุตรพากันออกบวชศึกษา ปฏิบตั ิ พระธรรมวินยั ตลอดไตรมาสโดยทัว่ ไป ทาง ราชการก็ได้อนุญาตให้ขา้ ราชการลาบวชได้เป็นเวลา สี่เดือน วัดโดยมากในเทศกาลเข้าพรรษา จึงเต็ม ไปด้วยพระภิกษุสามเณรผู้ทรงผ้ากาสาวพัตร์อร่าม ไปทัว่ และชักจูงให้ญาติมติ รพากันเข้าวัดรักษาศีล ฟังธรรม บ�ำเพ็ญกุศลต่างๆ คนที่ชอบท�ำอะไรผิด
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
พระพุทธบัญญัตไิ ม่นอ้ ย ก็พากันตัง้ ใจงดเว้นตลอด ไตรมาส และสามารถงดเว้นได้ ด้วยความตัง้ ใจจริง เทศกาลเข้าพรรษาจึงเป็นเทศกาลพิเศษแห่งความ ประพฤติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็น เทศกาลแห่งความร่มเย็นเป็นสุขอยู่ในธรรม จิตใจ ของคนเป็นอันมาก ก็เอิบอาบชุม่ ชืน่ งอกงามอยูใ่ น ธรรม ดูกเ็ ช่นเดียวกับแผ่นดินและต้นไม้ใบหญ้า ที่ ชุม่ ชืน่ เขียวสดงอกงามในเทศกาลนี้ ส่องให้เห็นความ จริงตาม พระพุทธ ภาษิต แปลความ ว่า “ความเกิดขึ้น แห่ ง พระพุ ท ธะทั้ ง หลาย ให้ เ กิ ด สุ ข การแสดงพระ สัทธรรมให้เกิดสุข ความพร้อมเพรียง แห่งหมู่ (สงฆ์) ให้ เกิดสุข ความเพียร
๒๙ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ของบุคคลทัง้ หลายผูพ้ ร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข” พระพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และยังปรากฏแจ่มชัดอยู่ในดวงใจของผู้มีศรัทธา และปัญญาทั้งหลาย จริงอยู่ แม้พระองค์เสด็จ ปรินพิ พานไปนานแล้ว ไม่อาจเห็นพระรูปกายด้วย ดวงตา แต่กย็ งั มองเห็นพระคุณอันสมบูรณ์ได้ดว้ ย ดวงใจอยู่ทุกกาลสมัย และการแสดงพระสัทธรรม ประกาศพระพุทธศาสนา ก็ได้มสี บื ต่อมาโดยไม่หยุด ยัง้ หมูข่ องชาวพุทธศาสนิกก็ได้มคี วามพร้อมเพรียง กัน แต่ละบุคคลก็ได้เพียรประพฤติปฏิบตั พิ ระธรรม ตามฐานะและโอกาส ดังทีป่ รากฏอยูใ่ นเทศกาลเข้า พรรษานี้ เป็นทีห่ วังได้ว่าจะพากันมีความสุขอยู่ใน ร่มเงาของพระธรรม เพราะว่า “ธรรมย่อมรักษาผู้ ประพฤติธรรม เหมือนดังร่มใหญ่ในฤดูฝน” ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ได้มกี ลุ บุตรพากัน ออกบวชศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัยตลอดไตรมาส การบวช หรือค�ำว่า ปัพพัชชา มีคำ� แปลอย่างหนึง่ ว่า การออก การออกที่ เ ป็ น การบวชหรื อ ปั พ พั ช ชา อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๓๐
นี้ ในเบื้องต้นก็เป็นการออกทางกาย คือออกจาก เคหสถานบ้านเรือน มาเป็นผูไ้ ม่มเี รือน เพราะฉะนัน้ จึงมีคำ� เรียกนักบวชว่า อนาคาริยะ ทีแ่ ปลว่า คนไม่มี เรือน คนไม่มบี า้ น เพราะว่าได้ออกจากบ้านเรือนมา แล้ว เมือ่ ออกมาเป็นอนาคาริยะ คือคนไม่มบี า้ น คน ไม่มเี รือน ดังนีแ้ ล้ว จึงต้องมีความเป็นอยูเ่ กีย่ วพันกับ นิสสัย ๔ ของบรรพชิต คือผูบ้ วช ค�ำว่า นิสสัย นัน้ ก็มอี ยู่ ๒ อย่าง คือนิสสัย ทีเ่ ป็นภายนอกอย่างหนึง่ นิสสัยทีเ่ ป็นภายในอย่าง หนึ่ง นิสสัยที่เป็นภายนอก ได้แก่ปัจจัยเป็นเครื่อง อาศัย ซึง่ นับว่าจ�ำต้องอาศัย ขาดไม่ได้ นิสสัยทีเ่ ป็น ภายใน ได้แก่นสิ สัยจิตใจ ก็หมายถึงพืน้ เพของจิตใจ แต่วา่ นิสสัยจิตใจนัน้ จะยกไว้ จะกล่าวเฉพาะนิสสัย ภายนอก คือปัจจัยเป็นเครือ่ งอาศัยทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับ ผูบ้ วช ก็คอื เทีย่ วบิณฑบาต นุง่ ห่มผ้าบังสุกลุ อยูโ่ คน ต้นไม้ ใช้ยาดองด้วยน�ำ้ มูตรเน่า ดังทีไ่ ด้บอกกันเมือ่ อุปสมบทเสร็จใหม่ ๆ นัน้ แล้ว ท�ำไมจึงต้องบอกนิสสัย ๔ นี้ ก็เพราะเมือ่
๓๑
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ออกจากบ้านจากเรือนมาเป็น อนาคาริยะ คือคน ไม่มบี า้ นไม่มเี รือน จะท�ำอย่างไร ครอบครัวก็ไม่มี ก็ ต้องเทีย่ วขอเขา คือเทีย่ วบิณฑบาต ผ้านุง่ ห่มจะได้ที่ ไหน ก็ตอ้ งเทีย่ วเก็บเอาผ้าทีเ่ ขาทิง้ เขาไม่ตอ้ งการ มา ท�ำเป็นผ้านุ่งห่มส�ำหรับตน ที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ไหน บ้านก็ไม่มี โดยทีส่ ดุ ก็ตอ้ งอยูต่ ามโคนไม้ เมือ่ เกิด เจ็บไข้ได้ปว่ ยขึน้ จะได้หยูกยาทีไ่ หน เมือ่ อยูต่ ามโคน ไม้ ก็ตอ้ งเก็บเอาผลไม้ทเี่ ป็นยา มาท�ำเป็นยากันแก้ ไข้ ตามมีตามได้ เพราะฉะนัน้ นิสสัย ๔ นี้ จึงเป็น สิง่ ทีจ่ ำ� เป็นจริง ๆ ส�ำหรับผูท้ บี่ วช ตามความหมาย ดัง้ เดิมนัน้ คือว่าออกมาเป็นคนไม่มบี า้ นไม่มเี รือน ก็
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
ต้องอาศัยนิสสัย ๔ นีเ้ ท่านัน้ แต่ตอ่ มาเมือ่ นักบวชได้ มาเกีย่ วข้องกับชาวบ้านชาวเมือง ในฐานะทีม่ าเทีย่ ว สัง่ สอนอบรมเขา มาเป็นบุญเขต คือนาบุญของเขา เมือ่ เขามีศรัทธา เขาก็สร้างวัดให้อยู่ ก็กลายมาเป็น นักบวชทีอ่ ยูว่ ดั เมือ่ มาอยูว่ ดั เข้า ชาวบ้านชาวเมือง มีศรัทธามากขึน้ เขาก็มาบ�ำรุงด้วยอติเรกลาภต่าง ๆ จนมากมาย ด้วยก�ำลังศรัทธาของเขา ดังทีป่ รากฏ อยูน่ ี้ เพราะฉะนัน้ ในบัดนีม้ กั จะลืมเลือนไปถึงความ
๓๓
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
หมายเดิมของการบวช ลืมเลือนนิสสัย ๔ ของการ บวช ชักให้ประมาทลืมความเป็นนักบวชคือความเป็น ผูอ้ อกดังกล่าวของตน แล้วก็ประพฤติตนไม่สมควร ก็กลายเป็นก่อบาป ก่ออกุศลขึน้ ฉะนัน้ จึงควรทีจ่ ะ ระลึกถึงความหมายของการบวช ระลึกถึงนิสสัย ๔ ของการบวชทีม่ คี วามหมายเกีย่ วพันกันดังกล่าว มา นัน้ แล้วก็ไม่ประมาทตัง้ ใจบวชปฏิบตั พิ ระธรรมวินยั ตามก�ำลังสามารถ ท�ำไมเขาจึงบ�ำรุงด้วยอติเรก-ลาภต่าง ๆ มากมาย ก็เพราะเขามุง่ จะให้ผบู้ วชเป็นสมณะทีด่ ี จะ ได้มี สัปปายะคือความสะดวกสบายในการ ทีจ่ ะเล่าเรียนปฏิบตั ิ เพราะฉะนัน้ จึงควรท�ำสติคอื ความระลึก สัมปชัญญะความรูต้ วั อยูเ่ สมอ ว่าเขา ยิง่ บ�ำรุงเท่าไร ก็จำ� เป็นทีจ่ ะต้องยิง่ ท�ำความดีให้มาก ขึน้ เท่านัน้ เพราะเขามุง่ เช่นนัน้ เขาจึงท�ำนุบำ� รุง เมือ่ มีสติเช่นนีแ้ ล้วก็จะได้เกิดความไม่ประมาท ในพระสูตรหนึง่ ท่านได้แสดงถึงคนทีม่ งุ่ ดีเข้า มาบวช แต่วา่ เมือ่ บวชแล้วก็ยงั มีการได้ตา่ ง ๆ กัน อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๓๔
อย่างที่ ๑ เรียก ว่ า บวชได้ กิ่ ง ใบของ พรหมจรรย์ คือบวชแล้ว ก็มงุ่ แต่ จะได้ลาภ ได้สกั การะ ได้สรรเสริญ เมือ่ ได้ ก็พอใจเพียงเท่านัน้ อย่างที่ ๒ เรียก ว่า บวชได้กะเทาะเปลือก ของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ ได้มงุ่ จะได้ลาภ สักการะ และสรรเสริญทีเดียว แต่ ก็ปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์ บริบรู ณ์ดว้ ย และก็พอใจ เพียงว่าจะปฏิบตั ใิ นศีลให้ บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์เท่านัน้ อย่างที่ ๓ เรียก ว่ า บวชได้ เ ปลื อ กของ พรหมจรรย์ คือเมือ่ ปฏิบตั ิ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ในศีลให้บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์ได้แล้ว ก็ปฏิบตั ใิ นสมาธิให้ บริบรู ณ์ดว้ ย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านัน้ อย่ า งที่ ๔ เรี ย กว่ า บวชได้ ก ระพี้ ข อง พรหมจรรย์ คือเมือ่ ปฏิบตั ใิ นศีลในสมาธิ ให้บริบรู ณ์ แล้ว ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดญาณทัสสนะคือความรู้ ความเห็นธรรม ขึน้ ด้วย และก็พอใจเพียงทีร่ ทู้ เี่ ห็น เท่านัน้ อย่ า งที่ ๕ เรี ย กว่ า บวชได้ แ ก่ น ของ พรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบตั สิ บื ขึน้ ไปจนได้วมิ ตุ ติคอื ความหลุดพ้น จากกิเลสและกองทุกข์บางส่วนหรือ สิน้ เชิง ตามสามารถของการปฏิบตั ิ อย่างที่ ๕ นี้ จึงจะชือ่ ว่าได้บรรลุแก่นของ การบวช หรือว่าบวชได้แก่นของพรหมจรรย์ การบวชได้อะไรบ้างตามชัน้ ๆ นี้ อันทีจ่ ริง เมือ่ ได้บวชตัง้ ใจปฏิบตั ใิ นศีล ให้บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์ขนึ้ มา ก็ชอื่ ว่าเป็นการบวชดีได้ แต่ยงั มีกจิ ทีจ่ ะต้องท�ำให้ สูงขึน้ ไปกว่านัน้ อีกก็ต้องท�ำต่อไป ไม่หยุดอยู่เพียง เท่านัน้ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๓๖
เมือ่ มีพระภิกษุสามเณร ผูท้ รงผ้ากาสาวพัสต์ อยูจ่ ำ� พรรษาเต็มวัด พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้ผทู้ อี่ ยู่ ร่วมกันปฏิบตั ใิ นหลักของสาราณียธรรม ๖ ประการ คือธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงซึ่งกันและกัน ด้วยความรัก เป็นเครือ่ งกระท�ำให้เกิดความเคารพรัก ในกันและกัน เป็นไปเพือ่ การสงเคราะห์กนั ไม่ววิ าท กัน มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มีความเป็นอัน หนึง่ อันเดียวกัน คือ ๑. ตัง้ เมตตากายกรรม ปฏิบตั ทิ างกายต่อ กันด้วยเมตตา ๒. ตัง้ เมตตาวจีกรรม ปฏิบตั ติ อ่ กันทางวาจา ด้วยเมตตา ๓. ตั้งเมตตามโนกรรม ปฏิบัติทางใจคือ คิดถึงกันประกอบด้วยเมตตา ๔. แบ่งปันลาภทีไ่ ด้มาโดยชอบธรรมด้วยกัน และกัน ๕.มีศีลสามัญญตา คือความเป็นผู้ที่มีศีล เสมอกัน คือตัง้ ใจปฏิบตั ใิ นศีลของตน ตามพระวินยั ที่
๓๗ ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
ทรงบัญญัตไิ ว้ทตี่ นรับมาปฏิบตั ใิ ห้สม�ำ่ เสมอกัน และ ๖. มีทฏิ ฐิสามัญญตา มีความเห็นเป็นเครือ่ ง ออกจากทุกข์เสมอกัน ตามพระธรรมวินยั เมือ่ ปฏิบตั ดิ งั่ นี้ ก็จะอยูด่ ว้ ยกันเป็นสุข และ ต่างก็จะมีความรักเคารพกัน ระลึกถึงกันด้วยความ รักเคารพเป็นไปเพือ่ ความสงเคราะห์กนั ไม่ววิ าทกัน มีความสามัคคีกนั มีความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน มี อรรถาธิบายดังแสดงมา ด้วยประการฉะนี้ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
๓๘
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา
อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๗
“ธรรมย่ อ มรั ก ษาผู ้ ป ระพฤติ ธ รรม เหมือนดังร่มใหญ่ในฤดูฝน”
ธรรมบรรณาการ เทศกาลเข้าพรรษา