Traditional thai Massage for Postpartum

Page 1

คู่มือแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้าน การแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ


คู่มือแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ISBN : ที่ปรึกษา แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายแพทย์ปภัสสร เจียมบุญศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก บรรณาธิการ นายแพทย์ปราโมทย์ นางเกษร นางสาวอุบลรัตน์ นางสาวณัฐนันท์ นายภาคภูมิ นางสาวธริตา

เสถียรรัตน์ อังศุสิงห์ มโนศิลป์ ปุณณวิทยาพันธ์ เมยขุนทด จันทร์หอม

ผู้อํานวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย

คณะผู้จัดทํา สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ผู้สาธิตการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย นางสาวนิจสิรี เอี่ยมธนาสุรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นางสาวกมลทิพย์ โชประการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นางสาวศุภลักษณ์ ศิรมิ ังคะโร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นางสาวพัชรินทร์ ดาทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นางสาวอุษา โสดามุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นายวิภูภัทร บูรณสุคนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี นางสาวราตรี แคแดง โรงพยาบาลสองแคว จังหวัดน่าน นางสาวภัทรมน สุขประเสริฐ กรมควบคุมโรค นางสาวอรไท เจริญนุช สถาบันการแพทย์แผนไทย นางสาวหยาดพิรุณ คาน สถาบันการแพทย์แผนไทย ถ่ายภาพ

นางสาวณัฐนันท์ ปุณณวิทยาพันธ์

สถาบันการแพทย์แผนไทย

จัดพิมพ์โดย กลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จํานวนพิมพ์ ปีที่พิมพ์ พิมพ์ที่

เล่ม ๒๕๕๔ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก


คํานํา สถาบัน การแพทย์ แ ผนไทย ได้พัฒ นางานการแพทย์ แ ผนไทยมาเป็ นลําดับ และได้ รั บ การผสมผสานเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ส่งผลให้มีการใช้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้บริการ ที่เกี่ยวกับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยประกอบด้วย ๓ ด้าน คือ ๑. หัตถการที่เกี่ยวกับการบริบาลมารดาและทารกด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่น การทับหม้อเกลือ การรัดหน้าท้อง การอยู่ไฟ การเขียนคิ้วและการดึงจมูกให้โด่งในทารก เป็นต้น ๒. หัตถการที่เกี่ยวกับการรักษาและฟืน้ ฟูสภาพ โรคและอาการด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด การประคบสมุนไพร การอบไอน้ําสมุนไพร เป็นต้น และ ๓. หัตถการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่น การบริหาร ร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน การนั่งสมาธิ เป็นต้น ดังนั้น ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ สถาบันการแพทย์แผนไทย ร่วมกับคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุข ของรัฐ ได้ร่วมกันจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของ รัฐขึ้นมา เพือ่ ให้ผู้ทที่ ําเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสั่งการรักษาและ ให้บริการเกี่ยวกับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีความปลอดภัย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ทําเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และช่วยส่งเสริม การใช้หัตถการด้านการแพทย์แผนไทยให้เป็นที่ยอมรับมากยิง่ ขึ้น และถ้าหากมีข้อเสนอแนะ คําแนะนําเพิ่มเติม หรือมีส่ิงที่ควรปรับปรุงแก้ไข ขอได้โปรดแจ้งกลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อนํามาปรับปรุง แก้ไข คู่มือเล่มนี้ให้มคี วามสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปต่อไป สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

(๑)


สารบัญ ๑. การบริบาลหญิงตัง้ ครรภ์ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การนวดไทย - การประคบสมุนไพร ๒. การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การใช้ยาสมุนไพร - การรัดหน้าท้อง - การทับหม้อเกลือ - การนวดไทย - การประคบสมุนไพร - การเข้ากระโจม - การอบไอน้ําสมุนไพร - การนั่งถ่าน - การอยู่ไฟ - การนาบอิฐ (ก้อนเส้า) - การอาบสมุนไพร - การปฏิบัติตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ๓. การบริบาลทารกด้วยวิธกี ารแพทย์แผนไทย - การแต่งตัว (กิจกรรมการอาบน้ํา) - การแต่งตัวหลังการอาบน้ํา - การเขียนคิ้ว - การดึงจมูกให้โด่ง - การดัดแขน ขาให้เหมาะสม - การใช้ยาสมุนไพร ๔. การบําบัดโรคและอาการด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ๔.๑ การบําบัดทั่วร่างกายด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การอบไอน้ําสมุนไพร - การรมด้วยสมุนไพร - การเข้ากระโจม - การอาบสมุนไพร

(๒)

หน้า ๑ ๒ ๕ ๘ ๙ ๑๐ ๑๓ ๒๒ ๓๓ ๓๕ ๓๘ ๔๑ ๔๔ ๔๘ ๕๐ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๖ ๕๙ ๖๑ ๖๒ ๖๔ ๖๘ ๖๘ ๖๙ ๗๑ ๗๕ ๗๘


สารบัญ (ต่อ) ๔.๒ การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย - การนวดแบบราชสํานัก - การนวดแบบเชลยศักดิ์ ๔.๓ การประคบด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การประคบสมุนไพร - การประคบความร้อน - การประคบเย็น ๔.๔ การใช้ยาบําบัดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย - การนัตตุ์ยา - การทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร - การสุมยาสมุนไพร ๔.๕ การทําให้ถ่ายด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การควักอุจจาระ - การเหน็บยา - การสวนอุจจาระ ๔.๖ หัตถการอื่นด้วยวิธกี ารแพทย์แผนไทย - การปฐมพยาบาลกระดูกหัก เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก ๑. คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ๒. รายนามผู้เข้ารวมประชุมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

(๓)

หน้า ๘๐ ๘๑ ๘๓ ๘๗ ๙๐ ๙๑ ๙๓ ๙๕ ๙๗ ๙๘ ๑๐๑ ๑๐๓ ๑๐๕ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๐๙ ๑๑๐ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๑๘ ๑๒๐


๑. การบริบาลหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การนวดไทย - การประคบสมุนไพร


๑. ชื่อหัตถการ การนวดในหญิงตั้งครรภ์ ๒. ความหมายของการนวดในหญิงตั้งครรภ์ การนวดเพื่อการบําบัดรักษาในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการปวด แขน ขา บ่า เอว หลัง กระเบนเหน็บ และบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจากการแพ้ท้อง ๓. ข้อบ่งใช้การนวดในหญิงหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการปวด แขน ขา บ่า เอว หลัง กระเบนเหน็บ และบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจากการแพ้ท้อง ทีม่ ีอายุครรภ์ ๔-๖ เดือน ในกรณี อายุครรภ์ ๑-๓ เดือน และ ๗ เดือนขึ้นไป ที่มีอาการข้างต้นและมีความจําเป็นต้อง ให้บริการนวดเพื่อการบําบัดรักษา ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือประเภทผดุงครรภ์ไทย หรือ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการนวดในหญิงตั้งครรภ์ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการนวดในหญิงตัง้ ครรภ์ ทําให้การไหลเวียนของโลหิตและน้ําเหลืองดีขึ้น ลดอาการปวดตึง ล้า บวมของกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจากการแพ้ท้อง ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดในหญิงตัง้ ครรภ์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรจัดให้มีอุปกรณ์ในการนวด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิด อันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ หากมีความจําเป็นต้องใช้ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ๗. หลักการในการนวดในหญิงตั้งครรภ์ ๗.๑ นวดด้วยมือด้วยความระมัดระวัง ห้ามมีการบิด ดัด สลัด ดึง ๗.๒ ไม่นวดบริเวณท้อง ๗.๓ ไม่ลงน้ําหนักของแรงในการนวดมาก และนวดด้วยความนุ่มนวล ๗.๔ ไม่มกี ารกดจุดในตําแหน่งที่จะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ เช่น ฝ่าเท้า เป็นต้น ๗.๕ ห้ามเปิดประตูลม ๗.๖ เวลาในการนวดตามความเหมาะสมในแต่ละอาการ


ท่านอนของหญิงตั้งครรภ์

ตัวอย่างการนวดแก้อาการปวดหลังของหญิงตั้งครรภ์ วางนิ้วมือคู่ลักษณะคว่ํามือกดลงบริเวณเอวบนร่องกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหลัง ๘. ข้อห้ามการนวดในหญิงตั้งครรภ์ ๘.๑ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษ (Toxemia of Pregnancy ) ๘.๒ มีไข้สูงเกินกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ๘.๓ ความดันโลหิตสูง (systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๙๐ mm.Hg) ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสัน่ ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๘.๔ มะเร็ง ๘.๕ กระดูกพรุน ๘.๖ โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ๘.๗ โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง ( Atherosclerosis) เป็นต้น ๘.๘ มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติ รวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด ๘.๙ ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน/ข้อหลุด ๘.๑๐ บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่เป็นรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้ ๘.๑๑ บริเวณที่มีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง ๓


๘.๑๒ บริเวณที่มีหลอดเลือดดําอักเสบ ๘.๑๓ บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน ๘.๑๔ บริเวณที่มีการผ่าตัดใส่เหล็กหรือข้อเทียม ๘.๑๕ บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี ๘.๑๖ บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง ๙. ข้อควรระวังการนวดในหญิงตั้งครรภ์ ๙.๑ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ๑ - ๓ เดือน และ ๗ เดือนขึ้นไป ต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทการผดุงครรภ์ไทย หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๙.๒ การนวดต้องนวดด้วยความระมัดระวัง ๙.๓ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ๙.๔ หญิงตั้งครรภ์ที่มีผิวที่แตกง่าย ๑๐. อาการแทรกซ้อนการนวดในหญิงตัง้ ครรภ์ ถ้าหากลงน้ําหนักในการนวดมากเกินไป อาจทําให้เกิดการระบม มีรอยแดง รอยช้ํา ซึ่งสามารถ หายได้เองหรือใช้การประคบสมุนไพร หากมีอาการมากขึ้น หรือมีอาการมึนศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ควรส่งต่อ แพทย์แผนปัจจุบัน


๑. ชื่อหัตถการ การประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ ๒. ความหมายของการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ การประคบสมุนไพรเพื่อการบําบัดรักษาในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการปวด แขน ขา บ่า ๓. ข้อบ่งใช้การประคบสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการปวด แขน ขา บ่า ที่มีอายุครรภ์ ๔ เดือนขึ้นไป ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการประคบสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ ทําให้การไหลเวียนของโลหิตและน้ําเหลืองดีขึ้น ลดอาการปวดตึง ล้า บวม ของกล้ามเนื้อ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ ๖.๑ ลูกประคบสมุนไพร ๖.๒ หม้อสําหรับนึ่งลูกประคบสมุนไพร ๖.๓ จานรองลูกประคบสมุนไพร ๖.๔ ผ้าสําหรับจับลูกประคบสมุนไพร ๖.๕ เตา


๗. หลักการในการประคบสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ ๗.๑ ท่าที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ในการประคบ เช่น ท่านอนตะแคงและควรมีหมอนเพื่อรองรับ บริเวณท้องและเข่า หรือท่านั่ง หรือท่าที่ทําให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกสบายที่สุด

๗.๒ ๗.๓ ๗.๔ ๗.๕ ๗.๖

ทดสอบความร้อนของลูกประคบ ทีบ่ ริเวณท้องแขนหรือหลังมือของผู้ประคบ ประคบด้วยความระมัดระวัง และใช้น้ําหนักในการประคบอย่างเบา และนุ่มนวล ไม่ประคบบริเวณท้อง ไม่มีการประคบในตําแหน่งที่จะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ เช่น ฝ่าเท้า เป็นต้น เวลาในการประคบตามความเหมาะสมในแต่ละอาการ ตัวอย่างการประคบสมุนไพรในหญิงตั้งครรภ์ กรณีที่หญิงตั้งครรภ์ปวดขา

ใช้ลูกประคบสมุนไพรประคบที่ขาจากขาท่อนบนจนถึงขาท่อนล่าง เว้นฝ่าเท้า ๖


๘. ข้อห้ามการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ ๘.๑ มีไข้สูงเกินกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ ความดันโลหิตสูง (systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๙๐ mm.Hg) ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๘.๓ บริเวณทีก่ ระดูกแตกหัก ปริร้าวที่ยังไม่ติดดี ๘.๔ บริเวณทีเ่ ป็นมะเร็ง ๘.๕ บริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือเลือดออกใหม่ๆ ๘.๖ บริเวณทีม่ ีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง ๘.๗ บริเวณทีม่ ีหลอดเลือดดําอักเสบ ๘.๘ บริเวณทีม่ ีการติดเชื้อ ๘.๙ หญิงตั้งครรภ์ที่แพ้สมุนไพร ๘.๑๐ บริเวณที่มีการอักเสบ( ปวด บวม แดง ร้อน ) จากอุบัติเหตุในช่วง ๒๔ ชั่วโมงแรก (เพราะอาจทําให้ บวมมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็น) ๙. ข้อควรระวังของการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ ๙.๑ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการชา ๙.๒ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ๙.๓ การใช้ลกู ประคบที่ร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวที่บาง ๑๐. อาการแทรกซ้อนการประคบสมุนไพรในหญิงตัง้ ครรภ์ หากใช้ลูกประคบสมุนไพรทีร่ ้อนเกินไป จะทําให้ผิวหนังบริเวณที่ประคบไหม้ พอง แสบ ร้อน บวม รอยดํา และอาจทําให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ได้ ซึง่ ถ้ามีอาการดังกล่าวหยุดให้บริการทันที และถ้ามี อาการแสบร้อนให้ประคบเย็น หากพองจนผิวหนังลอกให้ส่งพบแพทย์


๒. การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย -

การใช้ยาสมุนไพร การรัดหน้าท้อง การทับหม้อเกลือ การนวดไทย การประคบสมุนไพร การเข้ากระโจม การอบไอน้าํ สมุนไพร การนั่งถ่าน การอยู่ไฟ การนาบอิฐ ( ก้อนเส้า ) การอาบสมุนไพร การปฏิบัติตวั สําหรับหญิงหลังคลอด


๑. ชื่อหัตถการ การใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยยาสมุนไพร เพื่อขับน้ําคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เพื่อบํารุงโลหิต บํารุงน้ํานมให้บริสุทธิ์และมีมากขึ้น ๓. ข้อบ่งใช้การใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ใช้ขับน้ําคาวปลา บํารุงโลหิต ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และบํารุงน้ํานม แก้น้ํานมพิการในหญิงหลังคลอด ๔. คุณสมบัตผิ วู้ ินิจฉัยและสั่งการรักษาการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทผดุงครรภ์ไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ช่วยขับน้ําคาวปลา บํารุงโลหิต ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และบํารุงน้ํานม แก้น้ํานมพิการในหญิงหลังคลอด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด - ยาขับน้ําคาวปลา - ยาบํารุงโลหิต - ยาประสะน้าํ นม ๗. หลักการในการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๗.๑ ระยะเวลาในการใช้ยาสมุนไพรหลังคลอด คลอดปกติ ใช้ยาขับน้ําคาวปลา ยาบํารุงโลหิต ได้ทันทีหลังคลอดจนถึง ๓ เดือน ผ่าตัดคลอด ใช้ยาขับน้ําคาวปลา ยาบํารุงโลหิต หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้ดมื่ น้ําหรือรับประทาน อาหารได้จนถึง ๓ เดือน ถ้าหากหญิงหลังคลอดมีน้ํานมน้อย สามารถให้ยาประสะน้ํานมร่วมกับยาขับน้ําคาวปลาได้ หมายเหตุ คลอดปกติหมายถึง คลอดเองตามธรรมชาติรวมถึงการใช้สูติศาสตร์และหัตถการอืน่ ๆ ช่วยคลอด เช่น Forceps Extraction, Vacuums Extraction ๗.๒ ขนาดรับประทาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินจิ ของแพทย์ ๘. ข้อห้ามการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๘.๑ หญิงหลังคลอด ทีม่ ีอาการตกเลือดห้ามใช้ยาขับน้ําคาวปลา ยาบํารุงโลหิต ยาประสะน้าํ นม จนกว่าอาการจะปกติ ๘.๒ หญิงหลังคลอดมีไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ ๓๗.๕ องศาเซลเซียสขึน้ ไป) จนกว่าอาการจะปกติ ๙. ข้อควรระวังของการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ไม่มี ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการใช้ยาสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ถ้าหากหญิงหลังคลอด มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น หนาวสั่น ผื่นขึ้นตามตัว เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย หายใจไม่สะดวก ให้หยุดยาทันทีและส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน หมายเหตุ : ถึงแม้ว่าการใช้ยาสมุนไพรจะไม่ใช่หัตถการโดยตรง แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมของการดูแลหญิงหลังคลอด จึงได้นําการใช้ยาสมุนไพรมาระบุไว้ก่อน ๙


๑. ชื่อหัตถการ การรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด การใช้ผ้าพันหน้าท้องในหญิงหลังคลอดบุตร เพื่อพยุงหน้าท้องและมดลูก ให้กระชับ ๓. ข้อบ่งใช้ ใช้ผ้าพันรัดหน้าท้องสําหรับหญิงหลังคลอด ไม่ต่ํากว่า ๑๕ วัน จนถึง ๓ เดือน ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๕.๑ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึน้ ๕.๒ ช่วยกระชับและพยุงหน้าท้องไม่ให้หย่อนยาน ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๖.๑ ผ้าชนิดบาง หรือผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป มีเนื้อนุม่ ขนาดกว้าง ๑ เมตร ยาว ๔ เมตร พับทับกันให้เหลือ ๘ นิ้ว จํานวน ๑ ผืน ๖.๒ ผ้าพับเป็นสี่เหลี่ยมหรือทําวงกลม หนาพอประมาณ จํานวน ๑ ผืน ๖.๓ เข็มกลัด

๗. วิธกี ารรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๗.๑ ให้หญิงหลังคลอดลุกขึ้นยืน วางผ้าผืนเล็กไว้เหนือหัวเหน่าตรงกับตําแหน่งของมดลูก

๑๐


๗.๒ ใช้ผ้าผืนที่ยาว วางทับลงบนผ้าผืนเล็กโดยให้ชายผ้าแนบกับลําตัวด้านข้าง ขอบผ้าด้านบน ต้องไม่ทบั ชายโครง ส่วนขอบล่างของผ้าต้องระดับหัวหน่าว พันผ้ามาทางด้านหน้าท้องและอ้อมไปทางด้านหลัง นับเป็น ๑ รอบ

๗.๓ พันผ้าด้านหน้าอ้อมมาด้านหลังเป็นรอบที่ ๒ โดยกดปลายผ้าให้ต่ําลงแล้วพับ ด้านล่างขึ้นพร้อมบิดปลายผ้า

๗.๔ ทําซ้าํ เหมือนข้อ ๓ ไปจนหมดผ้าทีใ่ ช้พัน จึงใช้เข็มซ่อนปลายกลัดไว้หรือใช้ขอบผ้าสอดไว้ทงั้ ด้านบนและ ด้านล่างเพื่อให้รัดหน้าท้องไว้ได้

๑๑


๘. ข้อห้ามการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๙. ข้อควรระวังการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ๙.๑ หญิงหลังคลอดทีม่ อี าการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ๙.๒ การพันผ้าต้องไม่รดั แน่นหรือหลวมเกินไป หากรัดแน่นเกินจะทําให้รู้สึกอึดอัด น้าํ คาวปลาไหลไม่สะดวกได้ ๑๐. อาการแทรกซ้อนการรัดหน้าท้องในหญิงหลังคลอด ขณะทําการรัดหน้าท้อง หากมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ รู้สึกอัดอัด ให้คลายผ้าออกหรือหยุดทํา การรัดหน้าท้อง แล้วให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากอาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๒


๑. ชื่อหัตถการ การทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด เป็นการใช้หม้อเกลือและสมุนไพรที่ทําให้รอ้ นใช้ทับในหญิงหลังคลอด เพื่อการฟื้นฟูสภาพหญิงหลังคลอด ๓. ข้อบ่งใช้ ใช้ทับหม้อเกลือหญิงหลังคลอด คลอดปกติ ให้ทําการทับหม้อเกลือได้ในช่วงหลังคลอด ๗ วัน ถึง ๓ เดือน ผ่าตัดคลอด ให้ทําการทับหม้อเกลือได้ในช่วงหลังคลอดเกิน ๑ เดือน (แผลผ่าตัดหายแล้ว) แต่ไม่เกิน ๓ เดือน ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๕.๑ ทําให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว น้ําคาวปลาเดินสะดวก ๕.๒ แก้อาการปวดเมื่อย ขัดยอก ๕.๓ ทําให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ๕.๔ ความร้อนจะกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญไขมันหน้าท้อง ช่วยให้หน้าท้องยุบได้บา้ งเล็กน้อย ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๖.๑ ผ้ารูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ขนาดกว้างพอที่จะห่อหม้อได้ ๖.๒ หม้อทะนนหรือหม้อตาล ขนาดที่เหมาะสม จํานวน ๒ ใบ ๖.๓ เตาและถ่าน ๖.๔ เกลือเม็ด (เกลือทะเล) ปริมาณ ให้เติมถึงคอหม้อทั้ง ๒ ใบ ๖.๕ สมุนไพร

๑๓


๗. วิธกี ารทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ท่าที่ ๑ การทับบริเวณหน้าท้อง ให้หญิงหลังคลอดนอนหงาย แล้วโกยท้องจากเหนือหัวหน่าวและด้านข้าง ให้ลําไส้ ไขมันหน้าท้อง มาอยู่ใต้อก แล้วเอามุมของหม้อเกลือวางบนหน้าท้องบริเวณหัวหน่าวตรงกับมดลูก หมุนวนไปรอบๆ ๑ รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวหน่าว แล้วหมุนวนใหม่ ทํา ๕-๖ รอบ

ท่าเตรียมในการทับหม้อเกลือ

โกยหน้าท้องจากเหนือหัวเหน่า

โกยหน้าท้องจากด้านข้างขวาล่าง

๑๔


โกยหน้าท้องจากด้านข้างซ้ายล่าง

โกยหน้าท้องจากใต้ลิ้นปี่

โกยหน้าท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา

โกยหน้าท้องบริเวณใต้ชายโครงซ้าย

เอามุมของหม้อเกลือวางบนหน้าท้องเหนือหัวเหน่าหมุนวนไปรอบๆ ๑ รอบ

๑๕


วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่าแล้วหมุนวนใหม่ ทําซ้ํา ๕-๖ รอบ

หมายเหตุ

หม้อเกลือที่เพิ่งยกลงมาจากเตา ความร้อนจากเกลือจะออกมาทําให้หม้อร้อนขึ้นเรื่อยๆ การวางหม้อเกลือจึงให้อยูใ่ นดุลยพินิจของแพทย์ หรือผูป้ ระกอบโรคศิลปะ

๑๖


ท่าที่ ๒ การเข้าตะเกียบโดยไม่ต้องเหยียบ หญิงหลังคลอดนอนตะแคง ผูใ้ ห้บริการเอาหม้อเกลือ วางร่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดไล่จากเหนือเข่า ถึงต้นขา ทําซ้าํ ๕ – ๖ รอบ แล้ววางจากเหนือข้อเท้าถึงหัวเข่า ทําซ้ํา ๕ – ๖ รอบ แล้ววางหม้อเกลือบนขาด้านใน ท่อนล่าง แล้วจับขาผู้ป่วยให้อยูใ่ นลักษณะที่สามารถใช้หม้อเกลือกดทับขาด้านในได้ และนาบในจังหวะ กด – ยก กด – ยก ทั่วแนวขาด้านใน

วางหม้อเกลือบนร่องกล้ามเนือ้ ขาด้านนอก

กดไล่จากเหนือเข่าถึงต้นขา ทําซ้ํา ๕ – ๖ รอบ

๑๗


วางทับหม้อเกลือจากเหนือข้อเท้าถึงหัวเข่า ทําซ้ํา ๕ – ๖ รอบ

วางทับหม้อเกลือบนขาด้านในท่อนบนจากบริเวณเข่าถึงใต้ก้นย้อย

วางทับหม้อเกลือบนขาด้านในท่อนล่างจากบริเวณเข่าจนถึงข้อเท้า หมายเหตุ ในการทับหม้อเกลือขาท่อนบนให้ใช้ในจังหวะ กด – ยก กด – ยก ๑๘


ท่าที่ ๓ ท่านอนตะแคง หญิงหลังคลอดนอนตะแคง ผูใ้ ห้บริการใช้มือข้างหนึ่งพยุงที่สะโพกด้านบน อีกมือหนึ่งจับหม้อเกลือ เอาด้านข้างขอบหม้อกดหมุนไปมาหลายครั้งบริเวณกระเบนเหน็บ กดไล่ขนึ้ ไปตามร่องกล้ามเนื้อชิดแนวกระดูกสันหลัง ทําซ้ํา ๕ – ๖ รอบ

หม้อเกลือกดบริเวณกระเบนเหน็บ

หม้อเกลือกดไล่ตามแนวกล้ามเนื้อหลัง จนติดต้นคอ ทําซ้ํา ๕-๖ รอบ

๑๙


ท่าที่ ๔ ท่านอนคว่ํา หญิงหลังคลอดนอนคว่ํา ผูใ้ ห้บริการนําหม้อเกลือทับบริเวณท้องขาใต้ก้นเลือ่ นไปเรือ่ ยๆ จนทั่วทั้ง ๒ ขา และทําซ้ํา ๔ – ๕ รอบ

วางหม้อเกลือบริเวณท้องขาใต้ก้น กดไล่ลงไปจนถึงข้อเท้า ทําเหมือนกันทั้งสองข้างและทําซ้ํา ๔-๕ รอบ

หม้อเกลือกดไล่ตามแนวขาด้านหลัง หมายเหตุ หม้อเกลือทีร่ ้อนแล้ว ๑ ใบ จะใช้ทบั ทุกท่าใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หม้อเกลือจะเริม่ เย็นลง จึงให้เปลี่ยนหม้อใบใหม่ (ในขณะที่เริม่ ทับหม้อเกลือใบแรกไปประมาณ ๑๕ นาทีให้ตั้งหม้อใบที่ ๒ ซึ่งเกลือจะสุกได้ที่ ตอนที่หม้อเกลือใบแรกเริ่มเย็นลง ) เกลือที่เคยใช้แล้วไม่ควรนําไปอีกเพราะจะทําให้เก็บความร้อนไม่นาน

๒๐


๘. ข้อห้ามของทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๘.๑ มีไข้สูงเกิน ๓๗.๕ องศาเซสเซียส ๘.๔ หญิงหลังคลอดทีม่ อี าการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด ๘.๒ หญิงหลังคลอดทีร่ ับประทานอาหารอิม่ ใหม่ๆ ๘.๓ หญิงหลังคลอดทีแ่ พ้สมุนไพร หรืออาการไม่พึงประสงค์ของสมุนไพร ๙. ข้อควรระวังการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ๙.๑ การคลอดทีต่ อ้ งใช้การผ่าตัด ถ้าจะทําต้องรอให้ ๑ เดือนไปแล้ว ๙.๒ ไม่ให้วางหรือกดแช่นานๆในขณะที่หม้อเกลือร้อน ๙.๓ หญิงหลังคลอด ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๙.๔ ไม่ทับหม้อเกลือถึงใต้อก ๑๐. อาการแทรกซ้อนการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด ในขณะทีม่ ีการทับหม้อเกลืออาจเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน พุพอง หรือมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ศีรษะ ให้หยุดและทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๒๑


๑. ชื่อหัตถการ การนวดในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการนวดในหญิงหลังคลอด การนวดเพื่อการบําบัดรักษาในหญิงหลังคลอด ที่มอี าการปวด แขน ขา บ่า เอว หลัง กระเบนเหน็บ ๓. ข้อบ่งใช้การนวดในหญิงหลังคลอด หญิงหลังคลอด ที่มอี าการปวด แขน ขา บ่า เอว หลัง กระเบนเหน็บ ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการนวดในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการนวดในหญิงหลังคลอด ทําให้การไหลเวียนของโลหิตและน้ําเหลืองดีขึ้น ลดอาการปวดตึง ล้า บวม ของกล้ามเนื้อ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนวดในหญิงหลังคลอด อยู่ ในดุล ยพิ นิ จของผู้ป ระกอบวิ ชาชี พเวชกรรม หรือ ผู้ ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์ แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่หญิงหลังคลอด ๗. หลักการในการนวดในหญิงหลังคลอด ๗.๑ นวดพื้นฐานขา ๗.๒ นวดพืน้ ฐานหลัง ๗.๓ นวดพืน้ ฐานแขน ๗.๔ นวดพืน้ ฐานบ่า ๗.๕ นวดโค้งคอ ๗.๖ นวดศีรษะ ๗.๗ เวลาในการนวดตามความเหมาะสมในแต่ละอาการ ๗.๑ การนวดพืน้ ฐานขา และเปิดประตูลม ให้หญิงหลังคลอดนอนหงาย ผู้ให้บริการนวดนั่งอยู่ด้านข้าง เริ่มนวดด้านข้างขาท่อนล่างใต้หัวเข่า จากหน้าแข้งลงไปถึงข้อเท้า แล้วนวดจากเหนือหัวเข่าลงไปถึงต้นขา จากนัน้ นวดจากต้นขาลงไปจนถึงข้อเท้า แล้วหันปลายเท้าออกด้านข้างแล้วเปิดประตูลม เมือ่ เสร็จแล้วนวดอีกข้างหนึ่งเหมือนกัน

๒๒


แนวเส้นที่ ๑

ใช้นิ้วหัวแม่มอื (ข้างเดียวกับที่นั่งข้างผู้ถูกนวด) กดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อชิดกระดูกหน้าแข้งข้างหัวเข่าต่ํากว่า ลูกสะบ้าประมาณ ๒ นิ้วมือ โดยวางมือเฉียง ๔๕ องศา กดตําแหน่งเป็นจุดที่ ๑ และ ๒ ต่อกัน

ใช้นิ้วหัวแม่มอื ทั้งสองข้างกดลงบนแนวร่องกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหน้าแข้งต่อจาก จุดที่ ๒

กดเรียงนิ้วต่อเนือ่ งไปจนถึงข้อเท้า ๒๓


แนวเส้นที่ ๒ กดลงบนแนวร่องกล้ามเนือ้ ต้นขาเหนือเข่าประมาณ ๒ นิว้ มือ กดเรียงนิ้วต่อเนือ่ งไปจนชิดปุ่มกระดูกหัวตะคาก

แนวเส้นที่ ๓

พลิกมือกลับโดยให้หัวแม่มือทัง้ สองข้างชี้ลง กดลงบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้างกดเรียงนิ้วต่อเนือ่ งจนถึงบริเวณ เหนือหัวเข่าด้านข้าง จนถึงบริเวณหัวเข่าด้านข้าง ประมาณ ๒ นิ้วมือ ๒๔


แนวเส้นที่ ๔ กดลงบนแนวร่องกล้ามเนือ้ ขาด้านนอกท่อนล่างด้านข้าง ต่ํากว่าเข่าประมาณ ๒ นิ้วมือ

นวดคลายหลังเท้า

ใช้นิ้วหัวแม่มอื กดลงใต้ตาตุม่ แล้วลากไปบนหลังเท้าจนถึงปลายเท้า

๒๕


การเปิดประตูลม

จับปลายเท้าแบะออก

วางมือขวาบนขาหนีบของผูถ้ ูกนวดโดยให้ปลายนิ้วก้อยแตะปุ่มหัวตะคาก เฉียงมือทํามุม ๔๕ องศา กับแนวขา มืออีกข้างอยูใ่ นท่าเคารพ ใช้สันมือกดลงไป ใช้เวลาประมาณ ๓๐-๔๕ วินาที

๒๖


๗.๒ การนวดพืน้ ฐานหลัง ให้หญิงหลังคลอดนอนตะแคง หมอนวดนั่งอยู่ด้านหลัง เริม่ นวดโดยวางนิ้วที่จะกดลงที่กล้ามเนือ้ ข้าง กระดูกสันหลัง นวดตั้งแต่บริเวณบั้นเอวจนถึงต้นคอ เป็น ๑ รอบ แล้วนวดกลับลงไปตามแนวเดิมจนถึงเอวเป็น รอบทีส่ อง และนวดกลับขึ้นไปอีกถึงกระดูก ต้นคอเป็นรอบที่ ๓

ใช้นิ้วหัวแม่มือ (ข้างเดียวกับที่นั่งข้างผู้ถูกนวด) กดลงบริเวณเอวบนร่องกล้ามเนือ้ ชิดกระดูกสันหลัง

กดไล่ขึ้นไปจนชิดกระดูกต้นคอ

๒๗


๗.๓ การนวดขาด้านนอก และขาด้านใน ให้หญิงหลังคลอดยังนอนตะแคงเหมือนการนวดหลัง หมอนวดนั่งด้านหลังบริเวณสะโพกลงด้านข้างขา

วางนิ้วหัวแม่มือคู่ในลักษณะคว่ํามือ กดลงบนจุดที่ ๑ เป็นจุดสูงสุดของข้อต่อสะโพก

วางนิ้วหัวแม่มือคูใ่ นลักษณะหงายมือ กดลงบนจุดที่ ๒ กดลงบนด้านหลังกระดูกหัวตะคาก

วางนิ้วหัวแม่มือคู่ในลักษณะคว่ํามือ กดลงบนจุดที่ ๓ กดลงบนรอยบุ๋มของข้อต่อสะโพก

ใช้นิ้วหัวแม่มือ (ข้างเดียวกับที่นั่งข้างผู้ถูกนวด) กดคลายกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านนอก จนถึงบริเวณเหนือเข่า ประมาณ ๒ นิ้วมือ ๒๘


วางนิ้วหัวแม่มือคู่ ห่างจากหัวเข่าประมาณ ๒ นิ้วมือ กดลงตรงกึ่งกลางความกว้างของกล้ามเนือ้ ขาท่อนล่าง กดไล่ลงตามแนวร่องกล้ามเนื้อขาท่อนล่างจนชิดข้อเท้า นวดขาด้านใน

วางนิ้วหัวแม่มือคู่กัน กดลงบริเวณกึ่งกลางขาด้านใน ใต้กน้ ย้อย ประมาณ ๒ นิ้วมือ

กดเรียงนิ้วต่อเนื่องจนถึงบริเวณเหนือเข่าด้านใน ประมาณ ๒ นิ้วมือ

๒๙


ใช้หัวแม่มอื (ข้างเดียวกับที่นั่งข้างผู้ถูกนวด) กดลงบริเวณกึ่งกลางใต้ขอ้ พับเข่า

ใช้นิ้วหัวแม่มอื กดลงบนแนวร่องกล้ามเนือ้ ขาท่อนล่าง ชิดกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน ห่างจากหัวเข่า ๒ นิ้วมือ

กดไล่ลงไปต่อเนื่องจนถึงบริเวณตาตุ่มด้านใน

๓๐


๗.๔ การนวดพืน้ ฐานบ่า ให้หญิงหลังคลอดนั่งขัดสมาธิ หมอนวดยืนอยูด่ ้านหลัง กดลงบนแนวกล้ามเนื้อบ่าชิดปุ่มกระดูกสามเหลี่ยม ที่หัวไหล่ แล้วกดไล่ไปจนชิดปุ่มกระดูกต้นคอเป็น รอบที่ ๑ แล้วกดไล่ลงไป จนชิดปุม่ กระดูกสามเหลี่ยมที่ หัวไหล่เป็นรอบที่ ๒ แล้วกดไล่ไปจนชิดปุม่ กระดูกต้นคอเป็น รอบที่ ๓ นวดบ่าด้านซ้ายและขวา เหมือนกัน

ท่าหกสูง(น้ําหนัก ๕๐ ปอนด์)

ท่าหกกลาง(น้ําหนัก ๗๐ ปอนด์)

ท่าหกต่ํา(น้ําหนัก ๙๐ ปอนด์)

๗.๕ การนวดศีรษะ ให้หญิงหลังคลอดนั่งขัดสมาธิ หมอนวดนั่งอยูด่ ้านหลัง ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งกดบริเวณแนวกล้ามเนือ้ ต้นคอทั้งสองข้าง โดยสลับมือ (กดต้นคอขวาใช้มอื ซ้าย กดต้นคอซ้ายใช้มือขวา) และกดจุดบริเวณท้ายทอยโดยมือ อีกด้านหนึ่งประคองหน้าผากของหญิงหลังคลอดไว้ ซึ่งจุดนวดบริเวณท้ายทอยจะมี ๓ จุด ท่านวด

หญิงหลังคลอด : นั่งขัดสมาธิหรือนั่งเหยียดขาไปด้าน หรือนั่งห้อยขา ผู้ให้บริการนวด : นัง่ ท่าพรมสี่หน้าด้านหลังผู้ถูกนวด

๓๑


ใช้นิ้วหัวแม่มอื ข้างขวากดลงบริเวณท้ายทอยด้านขวา ส่วนมือซ้ายแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

ใช้นิ้วหัวแม่มอื ข้างซ้ายกดลงบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย ส่วนมือขวาแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

ใช้นิ้วหัวแม่มอื ข้างขวากดลงบริเวณกึ่งกลางท้ายทอยชิดกระโหลกศีรษะ ส่วนมือซ้ายแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

๓๒


๑. ชื่อหัตถการ การประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ความร้อนจากลูกประคบซึ่งมีตัวยาสมุนไพร ทําให้ซึมผ่านผิวหนังช่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและ เส้นเอ็น ๓. ข้อบ่งใช้การประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด หญิงหลังคลอด ทีม่ อี าการปวด แขน ขา บ่า เอว หลัง กระเบนเหน็บ ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟืน้ ฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้า รั บ การฝึ ก อบรมหลั กสู ต รนวดไทยเพื่ อการบํา บั ด รั ก ษาและฟื้ น ฟูสภาพ ซึ่ งทําการฝึ ก หัด หรือ อบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๕.๑ บรรเทาอาการเกร็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ๕.๒ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ๕.๓ ลดการติดขัดของข้อต่อ ๕.๔ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๖.๑ ลูกประคบสมุนไพร ๖.๒ จานรองลูกประคบสมุนไพร ๖.๓ ผ้าสําหรับจับลูกประคบสมุนไพร ๖.๔ หม้อสําหรับนึ่งลูกประคบสมุนไพร ๖.๕ เตา

๓๓


๗. ขั้นตอนในการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๗.๑ การประคบในหญิงหลังคลอดไม่มีรปู แบบที่ตายตัว ดังนั้น เมื่อทําการประคบ บริเวณใดก็มักจะเน้น การประคบบริเวณนั้น เช่น การประคบบริเวณบ่า แขน เป็นต้น

๗.๒ เมื่อลูกประคบเย็นลงให้สบั เปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน และนําลูกเดิมไปนึ่งต่อ ทําซ้ําตามข้อ ๑ ๘. ข้อห้ามข้อควรระวังการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๘.๑ ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องประคบ ควรมีผ้าขนหนูรองก่อน หรือรอจนกว่าลูกประคบคลายความร้อนลงจากเดิม ๘.๒ ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ในช่วง ๒๔ ชั่วโมงแรก อาจทําให้บวมมากขึ้น ๙. ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด อย่าใช้ลูกประคบสมุนไพรที่ร้อนจนเกินไป ๑๐. อาการแทรกซ้อนการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ในขณะที่ทําการประคบสมุนไพรถ้าเกิดอาการแพ้ หรือปวดแสบปวดร้อน ให้หยุดประคบสมุนไพรทันที ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันทันที ๓๔


๑. ชื่อหัตถการ การเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด การอบด้วยไอน้ําที่ได้จากการต้มสมุนไพร โดยการใช้กระโจม เพื่อการฟืน้ ฟูสภาพร่างกาย ๓. ข้อบ่งใช้การเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด คลอดปกติ ให้ทําการเข้ากระโจมได้ในช่วงหลังคลอด ๗ วัน ถึง ๓ เดือน ผ่าตัดคลอด ให้ทําการเข้ากระโจมได้หลังคลอดเกิน ๑ เดือน(แผลผ่าตัดหายแล้ว) แต่ไม่เกิน ๓ เดือน ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟืน้ ฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้า รั บ การฝึ ก อบรมหลั กสู ต รนวดไทยเพื่ อการบํา บั ด รั ก ษาและฟื้ น ฟูสภาพ ซึ่ งทําการฝึ ก หัด หรือ อบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์การเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๕.๑ ทําให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ๕.๒ ช่วยให้นา้ํ คาวปลาไหลสะดวก ๕.๓ ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ๕.๔ ทําให้รูขมุ ขนเปิดและสิง่ สกปรกถูกขับออกมาพร้อมเหงื่อ ๕.๕ คลายความเครียด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๖.๑ กระโจม ๖.๒ หม้อต้มสมุนไพร ๖.๓ เก้าอี้สําหรับนั่งกระโจม ๖.๔ สมุนไพร

๓๕


๗. ขั้นตอนในการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๗.๑ เตรียมกระโจมโดยนําเก้าอี้วางไว้ข้างในกระโจม

๗.๒ หญิงหลังคลอดเข้าไปนั่งบนเก้าอี้แล้วค่อย ๆ เปิดฝาหม้อเพื่อให้ไอของสมุนไพร รมตัวและหน้า รอบละไม่เกิน ๑๕ นาที หรือใช้เวลาในการเข้ากระโจมไม่เกิน ๓๐ นาที และขณะพักให้วัด Vital sign ทุกครั้ง

๗.๓ ควรเข้ากระโจมสัปดาห์ละไม่เกิน ๓-๕ วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ

๓๖


๘. ข้อห้ามการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๘.๑ หญิงหลังคลอด ๑- ๗ วัน ห้ามเข้ากระโจม ๘.๒ หญิงหลังคลอด ที่รู้สึกอ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ๘.๓ หญิงหลังคลอด ที่มีอาการเป็นไข้อุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือมี อาการคลื่นไส้อาเจียน ๘.๔ หญิงหลังคลอด ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นโรคหอบหืด โรคลมชัก และโรคไต ๘.๕ หญิงหลังคลอด ที่แผลผ่าตัด หรือแผลทําหมัน ที่ยังไม่หายสนิท ๙. ข้อควรระวังการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ๙.๑ บริเวณที่ตั้งกระโจมต้องไม่เปียกชื้น พื้นต้องไม่ลื่น ๙.๒ อุณหภูมิในกระโจมไม่ควรร้อนจนเกินไป ๙.๓ กรณีใช้หม้อไฟฟ้า ระวังไฟฟ้าดูด ๑๐. อาการแทรกซ้อนการเข้ากระโจมในหญิงหลังคลอด ขณะเข้ากระโจมอาจทําให้มีอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือเป็นลม ควรหยุดการเข้ากระโจมทันทีและ ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดขี นึ้ ให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๓๗


๑. ชื่อหัตถการ การอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด การอบไอน้ําหรือความร้อนที่ได้จากการต้มสมุนไพร เพือ่ การบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ๓. ข้อบ่งใช้การอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด คลอดปกติ ให้ทําการเข้ากระโจมได้ในช่วงหลังคลอด ๗ วัน ถึง ๓ เดือน ผ่าตัดคลอด ให้ทําการเข้ากระโจมได้หลังคลอดเกิน ๑ เดือน (แผลผ่าตัดหายแล้ว) แต่ไม่เกิน ๓ เดือน ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของกาอบไอน้าํ สมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๕.๑ ทําให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ๕.๒ ช่วยลดอาการอักเสบ บวม ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ๕.๓ ทําให้รูขมุ ขนเปิดและสิง่ สกปรกถูกขับออกมาพร้อมเหงื่อ ๕.๔ คลายความปวดและฝืดลง ๕.๕ คลายความเครียด ๕.๖ บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ๖. วัสดุอปุ กรณ์ที่ใช้ในการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๖.๑ ตู้อบไอน้ําสมุนไพร หรือห้องอบไอน้ําสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ๖.๒ สมุนไพร

๓๘


๗. ขั้นตอนในการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๗.๑ เตรียมตู้อบไอน้ําสมุนไพร หรือห้องอบไอน้ําสมุนไพร

๗.๒ หญิงหลังคลอดเข้าไปนั่งตู้อบไอน้ําสมุนไพร หรือห้องอบไอน้ําสมุนไพร รอบละไม่เกิน ๑๕ นาที หรือใช้เวลา ในการเข้ากระโจมไม่เกิน ๓๐ นาที และ ขณะพักให้วัด Vital sign ทุกครั้ง

๗.๓ ควรอบไอน้ําสมุนไพรสัปดาห์ละไม่เกิน ๓-๕ วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ

๓๙


๘. ข้อห้ามการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๘.๑ หญิงหลังคลอด ๑- ๗ วัน ห้ามเข้าอบไอน้ํา ๘.๒ หญิงหลังคลอด ที่รู้สึกอ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ๘.๓ หญิงหลังคลอด ที่มีอาการเป็นไข้อุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ๘.๔ หญิงหลังคลอด ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นโรคหอบหืด โรคลมชัก และโรคไต ๘.๕ หญิงหลังคลอดที่แผลผ่าตัด ที่ยังไม่หายสนิท ๙. ข้อควรระวังการอบไอน้าํ สมุนไพรในหญิงหลังคลอด อุณหภูมใิ นตูอ้ บสมุนไพร ไม่เกิน ๔๕ องศาเซลเซียส ๑๐. อาการแทรกซ้อนการอบไอน้ําสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ขณะเข้าอบไอน้ําสมุนไพรอาจทําให้มอี าการวิงเวียนหน้ามืด หรือเป็นลม ควรหยุดการเข้าอบสมุนไพร ทันทีและทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๔๐


๑. ชื่อหัตถการ นั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด กรรมวิธีการใช้ความร้อนจากถ่านที่โรยด้วยสมุนไพร เพื่อการดูแลแผลฝีเย็บ ช่วยให้ช่องคลอดแห้ง ไม่อับชื้น มดลูกเข้าอู่เร็ว และแผลในมดลูกแห้งเร็ว ในหญิงหลังคลอด ๓. ข้อบ่งใช้การนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด หญิงหลังคลอดควรให้นั่งถ่าน หลังจากการคลอดแล้วตั้งแต่ ๕ วันขึ้นไป หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ ผู้ทําการรักษา และควรนั่งถ่านเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๓ ครั้ง/การคลอดครั้งนั้น ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนัง่ ถ่านในหญิงหลังคลอด ช่วยให้แผลฝีเย็บ และช่องคลอดแห้ง ไม่อบั ชื้น ลดอาการอักเสบแผลฝีเย็บ ช่องคลอด และมดลูก ช่วยทําให้มดลูกเข้าอู่เร็ว รักษาแผลในมดลูก ขับน้ําคาวปลาได้ดี ในหญิงหลังคลอด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ๖.๑ เก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลาง หรือวัสดุอื่นในลักษณะเดียวกัน ๖.๒ เตาถ่าน หรือหม้อดิน หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นที่มีความเหมาะสม ๖.๓ ถ่านไม้ (ให้เลือกถ่านจากไม้ที่ไม่แตกประทุเป็นสะเก็ด เช่น ไม้สะแก ไม้มะขาม) หากไม่สามารถหาได้ให้ใช้ถ่านอื่นตามความเหมาะสม ๖.๔ ยาสมุนไพรทีใ่ ช้ในการนั่งเตาถ่าน

๔๑


๗. ขั้นตอนในการนัง่ ถ่านในหญิงหลังคลอด ๗.๑ เตรียมสูตรยาสมุนไพรที่จะใช้นั่งถ่าน

๗.๒ โรยยาสมุนไพรลงบนเตาไฟ ให้ควันขึ้นมา

๗.๓ การนั่งของหญิงหลังคลอด ควรห่างจากเตาไฟพอประมาณให้ความร้อนพออุ่นๆ รมบริเวณช่อง คลอดและฝีเย็บ และเมือ่ ควันไฟจางลงโรยสมุนไพรไปใหม่ ใช้เวลาประมาณ ๑๕- ๒๐ นาที

๔๒


๘. ข้อห้ามการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ๘.๑ หญิงหลังคลอดที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากสมุนไพร ๘.๒ หญิงหลังคลอดมีไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ ๓๗.๕ องศาเซลเซียสขึน้ ไป ) จนกว่าอาการจะปกติ ๘.๓ หญิงหลังคลอดที่มีอาการตกเลือด ๙. ข้อควรระวังการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ๙.๑ หญิงหลังคลอดที่มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ๙.๒ ไม่ใช้ความร้อนที่มากเกินไปในการนั่งถ่าน และไม่นั่งใกล้เตาจนเกินไป ๙.๓ ในระหว่างการนั่งไม่ควรให้มีเปลวไฟ ๑๐. อาการแทรกซ้อนการนั่งถ่านในหญิงหลังคลอด ขณะนั่งถ่านอาจมีอาการวิงเวียน หน้ามืด ให้หยุดนั่งถ่านทันที ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากอาการไม่ดีขึ้น ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบนั

๔๓


๑. ชื่อหัตถการ การอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด การดูแลมารดาหลังคลอดบุตรด้วยการอยู่กับความร้อน โดยการก่อกองไฟแล้วให้มารดานอนอยู่ข้าง กองไฟ หรืออยู่ไฟชุด และมีการประคบสมุนไพร การเข้ากระโจม การอาบสมุนไพร การนั่งถ่าน การกินยา สมุนไพร การปฏิบัติตนหลังคลอดร่วมด้วย ซึ่งการปฏิบัติตนหลังคลอดอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมพื้นบ้าน ของแต่ละภาคในประเทศไทยการอยู่ไฟจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วไม่ปวดเมื่อยมีน้ํานมมากขึ้น ๓. ข้อบ่งใช้การอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด ข้อบ่งใช้สําหรับการอยู่ไฟฟืน และการอยู่ไฟชุด คลอดปกติ ให้ทําการอยู่ไฟได้ในช่วงหลังคลอด ๗ วัน ถึง ๓ เดือน (ดูจากหนังสือแพทย์ ตําบล) อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ผ่าตัดคลอด ให้ทําการอยู่ไฟได้หลังคลอดเกิน ๑ เดือน (แผลผ่าตัดหายแล้ว) แต่ไม่เกิน ๓ เดือน อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการอยูไ่ ฟในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทําให้น้ํานมไหลสะดวก และทําให้ไม่มีอาการหนาวสะท้าน ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด วัสดุอุปกรณ์การอยู่ไฟฟืน ๖.๑ ใช้ฟืน หรือถ่านไม้โดยเลือกที่ก่อไฟแล้วไม่แตกประทุเป็นสะเก็ด ๖.๒ แผ่นสังกะสี หรือกะละมังเคลือบสําหรับทําเป็นที่รองกองไฟ ๖.๓ ต้นกล้วยหรือวัสดุกันความร้อนสําหรับทําเป็นเตาไฟ ๑-๒ ต้น ๖.๔ แคร่ไม้ หรือไม้กระดาน ที่มีขนาดยาวและกว้างพอที่จะนอนได้สะดวก ๖.๕ เตาถ่าน ๖.๖ หม้อต้มน้ํา ๑ ใบ กาต้มน้ํา ๑ ใบ (สําหรับต้มน้ําอาบ และต้มน้ําดึ่ม) ๖.๗ ผงขมิ้นกับปูนกินหมาก ( ผสมกันทาผิว ) ๔๔


วัสดุอุปกรณ์การอยู่ไฟชุด ๖.๑ กล่องไฟอลูมิเนียมมีฝาปิด ขนาดเหมาะสม ๖.๒ ผ้าสําหรับห่อ ใส่กล่องยา นํามาคาดเอว ๖.๓ ถ่าน หรือสมุนไพรที่อัดเป็นแท่ง

๔๕


๗. วิธีการอยูไ่ ฟในหญิงหลังคลอด การอยู่ไฟฟืน มีขั้นตอนการทําดังนี้ ๗.๑ นําต้นกล้วย มาตัดเป็นท่อนยาวเท่า ๆ กัน แล้วฝ่าครึ่งวาง บนสังกะสี เหนือต้นกล้วยเพื่อรองพื้นอีก ชั้นหนึ่ง โดยวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมทําเป็นเตา หรือวัสดุกันความร้อนแทน ๗.๒ ก่อกองไฟบริเวณสังกะสี หรือก่อไฟบนเตา ๗.๓ หญิงหลังคลอดนอนผิงไฟ ๗.๑.๑ นอนผิงไฟบนไม้กระดาน หรือบนแคร่เตี้ยๆข้างกองไฟ ให้ได้ระดับพอที่จะนั่งใกล้และได้รับ ความร้อนที่พอเหมาะจากเตาถ่านหรือกองไฟ ๗.๑.๒ การนอนเหนือกองไฟ โดยก่อกองไฟ แล้วเอาแคร่ไม้ที่สูงกว่า ๕๐ ซม. วางคร่อมไว้ และ ๗.๑.๓ ให้หญิงหลังคลอดนอนบนแคร่การนอนบนแคร่หรือไม้กระดานต้องมีผา้ รองพื้น (นิยมใช้ผ้าถุง) ๗.๔ การพักผ่อนนอนหลับในช่วงที่อยู่ไฟ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ อาจจะนอนกลางวัน หรือกลางคืนก็ได้

การอยู่ไฟชุด มีขั้นตอนการทําดังนี้ จุดไฟที่เชื้อไฟแล้วใส่กล่องอะลูมิเนียม จะทําให้กล่องร้อน ใช้ประมาณ ๒-๓ กล่อง นําผ้ามาห่อแล้ว พันรอบท้อง โดยให้กล่องไฟชุดอยู่บริเวณหน้าท้องผ้าที่ห่อกล่องไฟชุดจะต้องหนาพอที่จะป้องกัน ความร้อนจากกล่องไฟชุด ไม่ให้กระทบกับหน้าท้องมากเกินไป เพราะจะทําให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องพองได้ ถอดออก เมื่อเชื้อไฟมอดและเริ่มเย็นลง และใส่เชื้อไฟจุดต่อแล้วนํามาพันที่หน้าท้องอีก

จุดไฟที่เชื้อไฟแล้วใส่กล่องอะลูมิเนียม

นําผ้ามาห่อแล้วพันรอบท้อง ๔๖


๘. ข้อห้ามการอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด ๘.๑ ไม่ควรก่อไฟให้ลุกโชนเกินไป เพราะจะทําให้ผิวหนังพุพองได้ ๘.๒ สถานที่ต้องไม่อุดอู้ มีอากาศถ่ายเท แสงสว่างเพียงพอ ๘.๓ หญิงหลังคลอด ที่มีอาการเป็นไข้อุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ๘.๔ หญิงหลังคลอด ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นโรคหอบหืด โรคลมชัก และโรคไต ๙. ข้อควรระวังการอยู่ไฟในหญิงหลังคลอด ๙.๑ อย่าให้ไฟชุดร้อนจนเกินไป ๙.๒ ไม่ควรนอนหลับขณะอยู่ไฟ เพราะอาจทําให้เกิดการบาดเจ็บ และเกิดไฟไหม้ได้ ๙.๓ การอยู่ไฟที่ร้อนเกินไปจะทําให้เสียน้ํามาก จึงควรดื่มน้ําเพื่อทดแทนน้ําที่เสียไป ๑๐. อาการแทรกซ้อนการอยูไ่ ฟในหญิงหลังคลอด ขณะที่อยู่ไฟอาจเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน พุพอง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อย ซึ่งอาจจะทําให้เกิดผลเสียต่อร่างกายให้หยุดและออกจากเรือนไฟ และให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๔๗


๑. ชื่อหัตถการ การนาบอิฐในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายของการนาบอิฐ ( ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด เป็นการให้ความร้อน โดยการนําก้อนอิฐไปเผาไฟให้ร้อน แล้วนํามาพันด้วยสมุนไพร เช่น ใบพลับพลึง ใบว่านนางคํา เป็นต้น แล้วห่อด้วยผ้าดิบนํามาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกาย ๓. ข้อบ่งใช้การนาบอิฐ ( ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ใช้สําหรับสตรีที่คลอดบุตร คลอดปกติ ให้ทําการนาบอิฐได้ในช่วงหลังคลอด ๗ วัน ถึง ๓ เดือน ผ่าตัดคลอด ให้ทําการนาบอิฐได้หลังคลอดเกิน ๑ เดือน (แผลผ่าตัดหายแล้ว) แต่ไม่เกิน ๓ เดือน ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการการนาบอิฐ ( ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ๕.๑ ทําให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว น้ําคาวปลาเดินสะดวก ๕.๒ ความร้อนจะกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญไขมันหน้าท้อง ช่วยให้หน้าท้องยุบได้บ้างเล็กน้อย ๕.๓ แก้อาการปวดเมื่อย ขัดยอก ๕.๔ ทําให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนาบอิฐในหญิงหลังคลอด ๖.๑ อิฐมอญ ๖.๒ ผ้าขาวบาง ๖.๓ สมุนไพร ๖.๔ เตา

๔๘


๗. ขั้นตอนในการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด วิธีทํา ใช้ก้อนอิฐเผาไฟ เอาใบพลับพลึงวางที่ผ้า นําอิฐที่รอ้ นมาวางบนใบพลับพลึงแล้วเอาผ้าห่อ นําไปวางบริเวณเหนือหัวหน่าว ท้อง และตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในวันหนึ่งๆสามารถทําได้หลายครั้ง

๘. ข้อห้ามของการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ๘.๑ ห้ามทําในรายที่มีไข้ ๓๗.๕ องศาเซียลเซล ๘.๒ ไม่ทําในรายที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ๘.๓ ห้ามทําในรายที่แพ้สมุนไพร หรืออาการไม่พึงประสงค์ของสมุนไพร ๘.๔ ห้ามทําในรายที่มีอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอด ๙. ข้อควรระวังการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ๙.๑ การคลอดที่ต้องใช้การผ่าตัดหรือทําหมัน ถ้าจะทําต้องรอให้ ๑ เดือนไปแล้ว ๙.๒ ไม่ให้วางหรือกดแช่นานๆในขณะที่ก้อนอิฐ ร้อน ๙.๓ หญิงหลังคลอด ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๙.๔ ไม่วางนานและไม่ทําการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ถึงใต้อก ๑๐. อาการแทรกซ้อนการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) ในหญิงหลังคลอด ในขณะที่มีการนาบอิฐ (ก้อนเส้า) อาจเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน พุพอง หรือมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ให้หยุดและทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบนั

๔๙


๑. ชื่อหัตถการ การอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด การอาบน้ําต้มด้วยน้ําที่ได้จากสมุนไพร เพือ่ การบําบัดรักษาอาการ หรือฟื้นฟูสภาพร่างกาย ๓. ข้อบ่งใช้การอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ใช้อาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอดอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง และในกรณีหญิงหลังคลอดที่ผ่าตัดคลอด หากต้องมีการอาบสมุนไพร จะต้องทําการปิดแผลก่อน เพื่อป้องกันน้ําซึมเข้าแผล ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด เพื่อชําระร่างกายและสิ่งสกปรก ดับกลิ่นคาว ทําให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๖.๑ หม้อ ๖.๒ เตา ๖.๓ ภาชนะใส่น้ํา / ขัน ๖.๔ ตัวยาสมุนไพร

๕๐


๗. ขั้นตอนในการทําหัตถการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ต้มน้ําสมุนไพร เมื่อน้ําเดือดแล้วยกลงมาผสมน้ําให้อุ่นพออาบได้ แล้วให้หญิงหลังคลอดอาบ ให้อาบ เช้า - เย็น หรืออย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง และในระหว่างการอาบน้ําให้ล้างทําความสะอาดช่องคลอดด้วยทุกครั้ง

๘. ข้อห้ามการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๘.๑ หญิงหลังคลอด ที่มีอาการเป็นไข้อุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ๘.๒ หญิงหลังคลอดที่แพ้สมุนไพร ๙. ข้อควรระวังในการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ๙.๑ ระวังน้ําสมุนไพรที่ใช้อาบอย่าให้ร้อนจนเกินไป ๙.๒ หญิงหลังคลอดที่มีอาการอ่อนเพลีย ๙.๓ หญิงหลังคลอด ที่แผลผ่าตัด หรือแผลทําหมัน ที่ยังไม่หายสนิท แต่ถ้าหากต้องการที่จะอาบน้ํา สมุนไพรจะต้องมีการปิดแผลเพื่อป้องกันน้ําซึมเข้าแผล ๑๐. อาการแทรกซ้อนการอาบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด ขณะทําการอาบสมุนไพรอาจเกิดอาการแพ้ เช่น ผืน่ คัน ปวดแสบ ปวดร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ควรหยุดการอาบสมุนไพร ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๕๑


๑. ชื่อหัตถการ การบริบาลในการปฏิบตั ิตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ๒. ความหมายการบริบาลในการปฏิบัติตวั สําหรับหญิงหลังคลอด การดูแลตนเองหลังคลอดบุตร เพื่อให้กลับสู่สภาพเดิมอย่างเป็นปกติ เช่น การอาบน้ํา การพักผ่อน การออกกําลังกาย การรับประทานอาหารการขับถ่าย การทําจิตใจให้แจ่มใส เป็นต้น ๓. ข้อบ่งใช้การปฏิบัติตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ใช้แนะนําหญิงหลังคลอดให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการปฏิบัติตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการปฏิบตั ิตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ๕.๑ เพื่อให้มารดาหลังคลอดและทารกมีความปลอดภัย และมีสขุ ภาพร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจทีด่ ี ๕.๒ เพื่อฟื้นฟูสภาพมารดาให้กลับสู่ปกติ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติตัวสําหรับหญิงหลังคลอด สื่อประกอบการให้คําแนะนํา เช่น คู่มือการปฏิบัติตัวสําหรับหญิงหลังคลอด ซีดี แผ่นพับ ฯลฯ ๗. ขั้นตอนในการปฏิบัติตวั สําหรับหลังคลอด ให้เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม ๘. ข้อห้ามการปฏิบัติตัวสําหรับหลังคลอด ขึ้นอยู่ในแต่ละกิจกรรม ๙. ข้อควรระวังการปฏิบัตติ ัวสําหรับหลังคลอด ขึ้นอยู่ในแต่ละกิจกรรม ๑๐. อาการแทรกซ้อนการปฏิบัติตัวสําหรับหลังคลอด ขึ้นอยู่ในแต่ละกิจกรรม

๕๒


๓.

การบริบาลทารกด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย -

การแต่งตัว (กิจกรรมการอาบน้ํา) การแต่งตัวหลังอาบน้ํา การเขียนคิ้ว การดึงจมูกให้โด่ง การดัดแขนให้เหมาะสม การใช้ยาสมุนไพร

๕๓


๑. ชื่อหัตถการ การแต่งตัว ๑.๑ กิจกรรมการอาบน้าํ ๒. ความหมาย การทําความสะอาดร่างกายของทารก ๓. ข้อบ่งใช้ อาบน้ําทารกแรกเกิด - ๑ ปี ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและ ฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการอาบน้าํ เพื่อทําความสะอาดร่างกายของทารก ทําให้เด็กสบายตัว และป้องกันทารกเป็นหวัด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในอาบน้ํา น้ํา กะละมัง หัวหอม สําลี น้ํามันมะกอก สบู่ ผ้าขนหนู ผ้าห่อตัวเด็ก ๗. ขั้นตอนในการอาบน้าํ เด็ก ๗.๑ เตรียมน้ําสําหรับอาบน้ําทารก โดยใช้น้ําอุ่น ๑ กะละมัง ใช้ลบู หน้า ระวังไม่ให้เข้าตา และเพื่อ ป้องกันทารกเป็นหวัด ให้ทบุ หัวหอม (๑หัว) ผสมน้ําอุ่น ๑ กะละมัง แต่ในกรณีที่เด็กแรกเกิดมีไขบนศีรษะ ให้ใช้น้ํามันมะกอกชโลมทิง้ ไว้ ประมาณ ๕ - ๑๐ นาที แล้วใช้ สําลีเช็ดออก ก่อนอาบน้ําให้เด็ก ๗.๒ วางตัวเด็กที่ร่องขาแม่ทั้งสองข้าง หันศีรษะเด็กไปทางปลายเท้าของแม่ หรืออาบน้ําทารกในภาชนะ ที่เหมาะสม ใช้สบู่อ่อนๆ ถูตวั เด็ก แล้วล้างออกด้วยน้ํา

๕๔


๗.๔ ซับตัวเด็กให้แห้ง

๘. ข้อห้ามสําหรับการอาบน้ําเด็ก ๘.๑ ทารกมีไข้สูงอุณหภูมิเกิน ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ ทารกแรกคลอดที่มีอณ ุ หภูมิต่ํากว่า ๓๖.๕ องศาเซลเซียส ๘.๓ ทารกแรกคลอดที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ๘.๔ ทารกคลอดก่อนกําหนด ๙. ข้อควรระวังในการอาบน้ําให้เด็ก ๙.๑ ไม่ให้น้ําเข้าตา เข้าจมูก เข้าหู ๙.๒ น้ําไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป ๙.๓ จับทารกด้วยความนุ่มนวล และระมัดระวัง ๙.๔ ไม่ควรใช้เวลาในการอาบน้ําทารกนานเกินไป ๑๐. อาการแทรกซ้อน ถ้าใช้เวลาในการอาบน้ํานานเกินไปอาจทําให้ทารกมีอาการตัวเย็น หนาวสั่น ให้รีบเช็ดตัวให้แห้งและ ใช้ผ้าห่อตัวเด็กเพื่อให้เกิดความอบอุ่น

๕๕


๑. ชื่อหัตถการ การแต่งตัว ๑.๒ กิจกรรมการแต่งตัวหลังการอาบน้าํ ๒. ความหมายการแต่งตัวหลังการอาบน้าํ การแต่งตัวให้เด็กทารกเพื่อให้ความอบอุ่น และป้องกันการติดเชื้อที่สะดือ ๓. ข้อบ่งใช้การแต่งตัว เพื่อให้เด็กทารกมีความอบอุ่น ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการแต่งตัว ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและ ฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการแต่งตัว เพื่อความสวยงามและทําให้ร่างกายอบอุ่น ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้การแต่งตัว สําลี ดินสอพอง มหาหิงคุ์ ผ้าห่อสะดือ ถุงมือ ถุงเท้าผ้าขนหนู ๗. ขั้นตอนการแต่งตัว ๗.๑ ใช้สาํ ลีทําความสะอาด เช็ดหู ตา ของทารก

๕๖


๗.๒ โรยดินสอพองสะตุเฉพาะสะดือ (ปัจจุบันควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบโคนสะดือ)

๗.๓ ทามหาหิงคุ์ที่บริเวณท้อง ยกเว้นสะดือ หลังจากนั้นใช้ผ้าห่อสะดือเด็ก

๗.๔ ใส่เสื้อ ถุงมือ ถุงเท้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูห่อตัวเด็ก

๕๗


๘. ข้อห้ามสําหรับการแต่งตัวเด็ก ทารกที่แพ้ มหาหิงคุ์ ดินสอพอง แอลกอฮอล์ ห้ามใช้ ๙. ข้อควรระวังสําหรับการแต่งตัวเด็ก ๙.๑ ไม่ใช้เนื้อผ้าที่หยาบ แข็งกระด้าง ๙.๒ เสื้อผ้า ถุงมือ ถุงเท้า ต้องไม่มีด้ายที่หลุดลุ่ย ๙.๓ ควรใช้สําลีที่สะอาดและปราศจากเชื้อโรค ๑๐. อาการแทรกซ้อน หากมีอาการไม่พึงประสงค์จากการแต่งตัวเด็ก ให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๕๘


๑. ชื่อหัตถการการเขียนคิว้ ๒. ความหมายการเขียนคิ้ว การแต่งคิ้ว ๓. ข้อบ่งใช้ การเขียนคิ้วทารก ๔. คุณสมบัติ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและ ฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของเขียนคิ้ว เพื่อให้ขนคิ้ว ดก หนา ดํา สวยงาม ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนคิ้ว ก้านของใบพลู

๗. ขั้นตอนในการเขียนคิ้ว หลังจากที่อาบน้ําทารกเสร็จให้บีบปลายของก้านใบพลูให้มีน้ําออกเล็กน้อย มาเขียนที่คิ้วให้สวยงามตามที่ต้องการ ระยะเวลาการเขียนคิ้วตามความเหมาะสม

๕๙

แล้วนําก้านของใบพลู


๘. ข้อห้าม ๙. ข้อควรระวัง ระวังอย่าให้น้ําของใบพลูเข้าตา ๑๐. อาการแทรกซ้อน ถ้าหากมีอาการแพ้ก้านของใบพลู ให้หยุดทันที และทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าไม่ดีขึ้นควรส่งต่อ แพทย์แผนปัจจุบัน

๖๐


๑. ชื่อหัตถการ การดึงจมูกให้โด่ง ๒. ความหมายการดึงจมูกให้โด่ง การดึงจมูก เพื่อให้โด่ง สวยงาม หายใจสะดวก ๓. ข้อบ่งใช้ การดึงจมูกทารกแรกเกิด – ๑ ปี ๔. คุณสมบัติ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟู สภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์การดึงจมูกให้โด่ง เพื่อให้จมูกโด่ง สวยงาม ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้การดึงจมูกให้โด่ง -

๗. ขั้นตอนการดึงจมูกให้โด่ง หลังจากที่อาบน้ําทารกเสร็จ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ เริ่มดึงที่สันจมูกถึงปลายจมูกแล้วดึงเชิดขึ้นเล็กน้อย อย่างเบาและนุ่มนวล ระยะเวลาการดึงจมูกตามความเหมาะสม

๘. ข้อห้าม ๙. ข้อควรระวังในการดึงจมูกให้โด่ง การดึงจมูกจะต้องไม่ดึงแรง และดึงด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง เล็บมือผู้ดึง ต้องสัน้ และสะอาด ๑๐. อาการแทรกซ้อนในการดึงจมูกให้โด่ง ถ้าหากมีอาการจากการดึงจมูก แล้วเกิดรอยซ้ําหรือเป็นแผล และทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าไม่ดี ขึ้นควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน ๖๑


๑. ชื่อหัตถการดัดแขน ขา ให้เหมาะสม ๒. ความหมายของการดัดแขน ขา ให้เหมาะสม การดัดแขน ขา ทารก เพื่อให้ปรับโครงสร้างที่เหมาะสม ๓. ข้อบ่งใช้ ดัดแขน ขา ทารกแรกเกิด – ๑ ปี ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟู สภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์การดัดแขน ขา เพื่อทําให้ทารกแขน ขา ตรง ไม่โก่ง คด งอ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดัดแขน ขา -

๗. ขั้นตอนในการดัดแขน ขา ๗.๑ จับต้นแขนของทารกทั้งสองข้างพร้อมกันแล้วค่อยไล่ลงไปจนถึงปลายนิ้วมือ และรูดที่ละนิ้ว โดยให้ แขนของเด็กแนบชิดกับลําตัวอย่างเบาและนุ่มนวล ทั้งระหว่างอาบน้ําและระหว่างการแต่งตัวที่หลังจาก อาบน้ําเสร็จแล้ว ประมาณ ๒ - ๓ ครั้ง

๖๒


๗.๒ จับต้นขาของทารกทั้งสองข้างพร้อมกันแล้วค่อยไล่ลงไปจนถึงปลายนิ้วเท้า และรูดที่ละนิ้ว โดยให้ ตาตุ่มด้านในและให้ขาทั้งสองข้างแนบชิดกัน อย่างเบาและนุ่มนวล ทั้งระหว่างอาบน้ําและ ระหว่างการแต่งตัว ที่หลังจากอาบน้ําเสร็จแล้ว ประมาณ ๒ - ๓ ครั้ง

๘. ข้อห้ามในการดัดแขน ขา ทารกที่มีกระดูกของแขน ขา หัก ข้อเคลื่อน มีความพิการ ผิดรูป อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ๙. ข้อควรระวังในการดัดแขน ขา ต้องทําด้วยความนุ่มนวลระมัดระวัง ไม่ออกแรงมากเกินไป ห้ามบิด ดัด สลัด ดึง ๑๐. อาการแทรกซ้อนในการดัดแขน ขา หากมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น แขน ขา มีรอยซ้ํา และทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าไม่ดีขึ้นควร ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๖๓


๑. ชื่อหัตถการการใช้ยาสมุนไพรสําหรับทารก ๒. ความหมายการใช้ยาสมุนไพรสําหรับทารก การใช้มหาหิงคุ์ทาท้อง ๓. ข้อบ่งใช้ ใช้ทาท้องเด็ก ๔. คุณสมบัติ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของ กระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟู สภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์การใช้ยาสมุนไพรสําหรับทารก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ๖.๑ มหาหิงคุ์ ใช้ผ้าห่อก้อนมหาหิงคุ์พันที่ข้อมือ ป้องกันและรักษาโรคหวัด แก้ท้องอืด ท้องผูก แก้ไข้

๖.๒ ยากวาดคอ

แก้ไข้ หละ ละออง ซาง

๖.๓ ยาป้ายลิ้น

แก้ลิ้นเป็นฝ้า ละออง

๖๔


๖.๔ ยาทาท้อง

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

๖.๕ ยาสวน แก้ท้องผูก

๖.๖ ยาสุมกระหม่อมแก้หวัด (นํายาสมุนไพร เช่น หัวหอมแดง หัวเปราะหอม มาทุบวางบน กระหม่อมทารก) เป็นต้น

๗. วิธีการใช้ยาสมุนไพร ๗.๑ การกวาดคอ หมายถึง การใช้นิ้วมือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมและสะอาดป้ายยา แล้วนํามาป้ายภายในปากในคอ ๗.๒ การป้ายลิ้น หมายถึง การใช้นิ้วมือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมและสะอาดป้ายยา แล้วนํามาป้ายภายใน ช่องปากของเด็ก เช่น ลิ้น เพดาน เหงือก

๗.๓ การทาท้อง หมายถึง การใช้มือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมและสะอาดป้ายยาแล้วนํามาทาทีท่ ้องเด็ก เว้นสะดือ

๖๕


๗.๔ การสวน หมายถึง การใช้น้ําอุ่น หรือ Normalsaline หรือใช้สบู่เด็ก(สบู่ที่ไม่มีไททาเนี้ยม หรือโลหะหนัก) ปนอยู่ด้วย สวนเข้าไปทางทวารหนักของเด็ก

๗.๕ การสุมกระหม่อมเด็ก หมายถึง การนํายาสมุนไพรมาตําและนํามาพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็กๆ

๘. ข้อห้าม -

๙. ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพรสําหรับทารก ๙.๑ การกวาดคอ ระวังอย่าทําการกวดคอเด็กในขณะที่เด็กรับประทานอาหารอิม่ ใหม่ๆ หรือดึ่มนมใหม่ๆ เล็บควรตัดให้สั้นและสะอาด ในขณะที่กวดคอเด็กไม่ควรกวดลึกจนเกินไป ๙.๒ การป้ายลิ้น ต้องทําด้วยความระมัดระวัง นุ่มนวลและประณีต ๙.๓ การสวน ต้องทําด้วยความระมัดระวัง นุ่มนวลและประณีต น้าํ ที่ใช้ในการสวนทวารเด็กต้องไม่ ร้อนจนเกินไปแค่พออุ่นๆ กรณีทใี่ ช้สบู่สวน สบู่ต้องไม่แหลมและไม่มีไททาเนี่ยมหรือ โลหะหนักปนอยู่ ๙.๔ การสุมกระหม่อมเด็ก อย่ากดบริเวณกระหม่อมเด็ก ต้องทําด้วยความระมัดระวัง นุ่มนวลและประณีต ๑๐. อาการแทรกซ้อนในการใช้ยาสมุนไพรสําหรับทารก ๙.๑ การกวาดคอ ขณะที่ทําการกวาดคอเด็ก หากมีการอาเจียน หรือแวะออกมาให้ทําความ สะอาด ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบนั ๙.๒ การป้ายลิน้ ๖๖


๔. การบําบัดรักษาโรคและอาการด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ( ไม่รวมการบริบาลมารดาและทารก ) ๔.๑ การบําบัดทั่วร่างกายด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย -

การอบไอน้ําสมุนไพร การรมด้วยสมุนไพร การเข้ากระโจม การอาบสมุนไพร

๖๘


๑. ชื่อหัตถการ การอบไอน้ําสมุนไพร ๒. ความหมายของการอบไอน้ําสมุนไพร การอบไอน้ําหรือความร้อนทีไ่ ด้จากการต้มสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ๓. ข้อบ่งใช้การอบไอน้าํ สมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการการอบไอน้ําสมุนไพร ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของกาอบไอน้าํ สมุนไพร ๕.๑ ทําให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ๕.๒ ช่วยลดอาการอักเสบ บวม ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ๕.๓ ทําให้รูขมุ ขนเปิดและสิง่ สกปรกถูกขับออกมาพร้อมเหงื่อ ๕.๔ คลายความปวดและฝืดลง ๕.๕ คลายความเครียด ๕.๖ บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบไอน้ําสมุนไพร ๖.๑ ตู้อบไอน้ํา หรือห้องอบไอน้ําสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ๖.๒ สมุนไพร ๗. ขั้นตอนในการอบไอน้ําสมุนไพร ๗.๑ ให้ผู้รับบริการอาบน้ํา เพื่อชําระสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขน และเพื่อเป็นการเตรียมเส้นเลือด ให้พร้อมต่อการยืดขยายและหดตัว ๗.๒ ให้ผู้รับบริการเข้าตู้อบไอน้ํา หรือห้องอบไอน้ําสมุนไพรซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง ๔๒ – ๔๕ องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบไอน้ําสมุนไพรรวม ๓๐ นาที โดยอบไอน้ําสมุนไพร จํานวน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๕ นาที และออกมานั่งพัก ๓-๕ นาที หลังการอบไอน้ําสมุนไพรทุกครั้ง และควรดึ่มน้ําทดแทน แต่ไม่ควรเป็น น้ําเย็นจัด แต่ในรายที่ไม่คุ้นเคยกับการอบไอน้ําสมุนไพร อาจใช้เวลาในการอบไอน้ําแต่ละรอบ ประมาณ ๑๐ นาที จํานวน ๓ ครั้ง ๖๙


๗.๓ หลังการอบไอน้ําสมุนไพรครบตามเวลาที่กําหนด ไม่ควรอาบน้ําทันทีให้น่ังพัก ๓ -๕ นาที หรือ จนเหงื่อแห้งแล้วจึงอาบน้ําอีกครั้งเพื่อชําระคาบเหงื่อไคลและสมุนไพรและช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงเป็นปกติ

๘. ข้อห้ามการอบสมุนไพร ๘.๑ ขณะมีไข้สูง อุณหภูมิเกิน ๓๘ องศาเซลเซียส ๘.๒ โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด ๘.๓ โรคประจําตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง ในรายที่มีความดันโลหิต สูงไม่เกิน ๑๘๐ มิลลิเมตรปรอท อาจอบได้แต่ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ๘.๔ สตรีขณะมีประจําเดือน ร่วมกับมีอาการไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย ๘.๕ มีการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ ๘.๖ อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ๘.๗ ปวดศีรษะชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ๙. ข้อควรระวังการอบไอน้ําสมุนไพร ๙.๑ ผู้ป่วยโรคไต ๙.๒ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ๙.๓ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๙.๔ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ๙.๕ ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ๑๐. อาการแทรกซ้อนการอบไอน้ําสมุนไพร ขณะเข้าอบไอน้ําสมุนไพรอาจทําให้มีอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือเป็นลม หายใจไม่ออก แสบตาม ผิวหนัง ควรหยุดการอบไอน้ําสมุนไพรทันทีและทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์ แผนปัจจุบัน

๗๐


๑. ชื่อหัตถการ การรมด้วยสมุนไพร ๒. ความหมายของการรมด้วยสมุนไพร การรมด้วยควันหรือไอร้อนจากการเผาหรือต้มสมุนไพรเพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ๓. ข้อบ่งใช้ของการรมด้วยยาสมุนไพร การใช้ไอหรือควันจากยาสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และ การฟื้นฟูสภาพ บําบัดโรคในจมูก ในคอ ในหลอดลม ในปอด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร โรคผิวหนัง ช้ําในจากอุบัติเหตุ อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๗ วัน ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการการรมด้วยยาสมุนไพร ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์การรมด้วยสมุนไพร ๕.๑ รักษาโรคในจมูก ในคอ อาการหวัด คัดจมูก ๕.๒ เพื่อรักษาโรคริดสีดวงจมูก ๕.๓ ช่วยทําให้จมูกโล่ง ๕.๔ โรคในหลอดลม ๕.๕ โรคริดสีดวงทวาร ๕.๖ โรคผิวหนัง ๕.๗ ช้ําในจากอุบัติเหตุ ๕.๘ วัณโรคปอด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมด้วยสมุนไพร ๖.๑ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมโดยใช้ความร้อน - เตาไฟ - แคร่ - ผ้า - สมุนไพร

๗๑


๖.๒ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมด้วยไอน้ํา - ภาชนะใส่น้ํา - ผ้า - สมุนไพร

๖.๓ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมด้วยการเผาไฟ - เตา - ภาชนะใส่สมุนไพร - สมุนไพร

๗. วิธีการรมด้วยสมุนไพร ๗.๑ การรมโดยใช้ความร้อน ( ย่าง) คือ เป็นการนําสมุนไพรวางบนแคร่แล้วนําผ้าชุบน้ําปิดให้พอ หมาดนํามาวางทับบนสมุนไพร และข้างล่างใต้แคร่จะมีเตาถ่านวางอยู่

๗๒


หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยนอนบนแคร่

๓ ๗.๒ การรมด้วยไอน้ํา คือ การนําภาชนะใส่น้ําร้อนแล้วใส่สมุนไพรลงไป แล้วทําการสูดเอาไอน้ําเข้าไป หรือนั่งแช่ เพื่อการบําบัดรักษาอาการโรค

๗.๓ การรมด้วยการเผาไฟ คือ การนําสมุนไพรที่บดพอหยาบใส่ภาชนะที่ทนความร้อน แล้วจุดไฟเผา สมุนไพรที่อยู่ในภาชนะจะทําให้เกิดควัน หลังจากนั้นให้ทําการสูดเอาควันเข้าไปในปาก จมูก คอหรือรม ที่ทวารหนัก เพื่อการบําบัดรักษา

๗๓


๘. ข้อห้ามของการรมด้วยสมุนไพร ๘.๑ การรมโดยใช้ความร้อน ( ย่าง) ผู้ป่วยที่มีไข้อณ ุ หภูมิสูง ๓๘ องศาเซียสเซสขึ้นไป ๘.๒ การรมด้วยไอน้ํา ๘.๓ การรมด้วยการเผาไฟ ผู้ที่อาการหอบหืดระยะรุนแรง ๙. ข้อควรระวังการรมด้วยสมุนไพร ๙.๑ การรมโดยใช้ความร้อน ( ย่าง) เตาไฟจะต้องไม่ร้อนจนเกินไป ๙.๒ การรมด้วยไอน้ํา - กรณีที่สูดเอาไอน้ําเข้าไป อย่าให้ใบหน้าโดนน้ําร้อนโดยตรง - กรณีที่นั่งแช่ อย่าให้น้ําร้อนจนเกินไป ๙.๓ การรมด้วยการเผาไฟ อย่าให้สมุนไพรที่เผาร้อนจนเกินไป ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการรมสมุนไพร ๑๐.๑ การรมโดยใช้ความร้อน ( ย่าง) หากเกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน ผิวหนังพอง ให้หยุดทําการ รมโดยใช้ความร้อน ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน ๑๐.๒ การรมด้วยไอน้าํ ขณะที่ทําการรมด้วยไอน้ําหากเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หรือหายใจไม่ ออกให้หยุดทันที ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน ๑๐.๓ การรมด้วยการเผาไฟ ขณะทีท่ ําการรมด้วยไอน้ําหากเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หรือหายใจไม่ออก ให้หยุดทันที ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๗๔


๑. ชื่อหัตถการ การเข้ากระโจม ๒. ความหมายของการเข้ากระโจม การเข้ากระโจมหรือความร้อนที่ได้จากการต้มสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ๓. ข้อบ่งใช้การเข้ากระโจม เพื่อรักษาอาการ ปวดแขน ขา หลัง เอว และเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการเข้ากระโจม ๕.๑ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นดีขึ้น ๕.๒ ช่วยลดอาการอักเสบ บวม ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ๕.๓ ทําให้รูขมุ ขนเปิดและสิง่ สกปรกถูกขับออกมาพร้อมเหงื่อ ๕.๔ คลายความปวดและฝืดลง ๕.๕ คลายความเครียด ๕.๖ บรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้ากระโจม ๖.๑ กระโจม ๖.๒ หม้อต้มสมุนไพร ๖.๓ เก้าอี้สําหรับนั่งในกระโจม ๖.๔ สมุนไพร

๗๕


๗. ขั้นตอนในการเข้ากระโจม ๗.๑ ให้ผู้รับบริการอาบน้ํา เพื่อชําระสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขน และเพื่อเป็นการเตรียมเส้นเลือด ให้พร้อมต่อการยืดขยายและหดตัว ๗.๒ ให้ผู้รับบริการเข้ากระโจม ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง ๔๒ – ๔๕ องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการเข้ากระโจมรวม ๓๐ นาที โดยเข้ากระโจม จํานวน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๕ นาที และออกมา นั่งพัก ๓ - ๕ นาที หลังการทุกครั้ง และควรดึ่มน้ําทดแทนแต่ไม่ควรเป็นน้ําเย็นจัด แต่ในรายที่ไม่คุ้นเคย กับการเข้ากระโจม อาจใช้เวลาในการเข้ากระโจมแต่ละรอบ ประมาณ ๑๐ นาที จํานวน ๓ ครั้ง ๗.๓ หลังการเข้ากระโจมครบตามเวลาที่กําหนด ไม่ควรอาบน้ําทันทีให้นั่งพัก ๓ - ๕ นาที หรือจนเหงื่อแห้ง แล้วจึงอาบน้ําอีกครั้งเพื่อชําระคาบเหงื่อไคล และสมุนไพรและช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงเป็นปกติ

๘. ข้อห้ามการเข้ากระโจม ๘.๑ ขณะมีไข้สูง อุณหภูมิเกิน ๓๘ องศาเซลเซียส ๘.๒ โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด ๘.๓ โรคประจําตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง ในรายที่มคี วามดันโลหิต สูงไม่เกิน ๑๘๐ มิลลิเมตรปรอท อาจอบได้แต่ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ๘.๔ สตรีขณะมีประจําเดือน ร่วมกับมีอาการไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย ๗๖


๘.๕ มีการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ ๘.๖ อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ๘.๖ ปวดศีรษะชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ๙. ข้อควรระวังการเข้ากระโจม อุณหภูมิในกระโจมไม่ควรร้อนจนเกินไป ๑๐. อาการแทรกซ้อนการเข้ากระโจม ขณะเข้ากระโจมอาจทําให้มอี าการวิงเวียน หน้ามืด หรือเป็นลม ควรหยุดการเข้ากระโจมทันทีและ ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้สง่ ต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๗๗


๑. ชื่อหัตถการ การอาบสมุนไพร ๒. ความหมายการอาบสมุนไพร การอาบน้ําต้มด้วยน้ําที่ได้จากสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาอาการโรคหรือโรค และฟื้นฟูสภาพร่างกาย ๓. ข้อบ่งใช้การอาบสมุนไพร ใช้อาบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษาอาการโรคผิวหนัง และโรคทั่วไปทั้งร่างกาย ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการอาบสมุนไพร ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการอาบสมุนไพร เพื่อชําระร่างกายและสิ่งสกปรกและทําให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ลดอาการปวด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบสมุนไพร ๖.๑ หม้อ ๖.๒ เตา ๖.๓ กะละมัง/ขันตักน้ํา ๖.๔ ตัวยาสมุนไพร

๗๘


๗. ขั้นตอนในการทําหัตถการอาบสมุนไพร ต้มน้ําสมุนไพร เมื่อน้ําเดือดแล้วยกลงมาผสมน้ําเย็นให้อุ่นพออาบได้ แล้วให้ผู้ที่อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง ผื่นคัน ฯลฯ อาบ เช้า – เย็น หรืออย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง

๘. ข้อห้ามการอาบสมุนไพร ๘.๑ มีไข้ อุณหภูมิสูงกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ตัวร้อน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ๘.๒ ผู้ที่อาการอ่อนเพลีย อดนอน อดข้าว ๘.๓ ผู้ที่แพ้สมุนไพร ๙. ข้อควรระวังในการอาบสมุนไพร ๑๐. อาการแทรกซ้อนการอาบสมุนไพร ขณะทําการอาบสมุนไพรอาจเกิดอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ควรหยุดการอาบสมุนไพร ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๗๙


๔.๒ การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย - การนวดแบบราชสํานัก - การนวดแบบเชลยศักดิ์

๘๐


๑. ชื่อหัตถการ การนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ๒. ความหมายการนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย การนวดโดยการใช้ยาหรือน้ํามันหอมระเหยชโลมหรือทาบนร่างกาย แล้วใช้เทคนิคการกด การคลึง การรีด หรือการไล่เส้น ซึ่งคุณสมบัตขิ องสมุนไพรและน้ํามันหอมระเหยจะถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนัง และ ระเหยให้ได้กลิน่ ทางจมูก ช่วยผ่อนคลาย ความตึงเครียด และทําให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทํางานได้ดี ๓. ข้อบ่งใช้การนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย เพื่อคลายความตรึงเครียด และทําให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทํางานได้ดี ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ๕.๑ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ๕.๒ บําบัดรักษาอาการปวดแขน ขา หลัง บ่า นอนไม่หลับ ๖. วัสดุอุปกรณ์ของการนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๖.๑ น้ํามันหอมระเหย ๖.๒ ภาชนะใส่น้ํามันหอมระเหย

๘๑


๗. ขั้นตอนในการนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๗.๑ ใช้น้ํามันหอมระเหยเทลงบนฝ่ามือ

๗.๒ นวดไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีอาการปวด เช่น ขา เข่า แขน เป็นต้น

๘. ข้อห้ามในการนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ๘.๑ ห้ามนวดในหญิงทีต่ ั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ๑-๓ เดือน ๘.๒ ผู้ที่แพ้น้ํามันหอมระเหย ๙. ข้อควรระวังในการนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ๙.๑ บริเวณทีม่ ีบาดแผล ๙.๒ สําหรับคนเป็นไมเกรน จะมีความไวในเรื่องกลิน่ ค่อนข้างมาก จึงควรเลือกใช้น้ํามันที่มีกลิน่ หอมอ่อนๆ ๙.๓ ควรตัดเล็บให้สั้น ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการนวดด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ขณะที่ทําการนวดด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหยอาจมีผื่นคัน หรือแพ้ หายใจไม่ออก ควรหยุดทันที และทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๘๒


๑. ชื่อหัตถการ การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ๒. ความหมายการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก การนวดเพื่อถวายกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงของราชสํานัก การนวดแบบราชสํานักพิจารณาถึงคุณสมบัติ ของผู้เรียนอย่างประณีตถี่ถ้วน และการสอนมีขั้นตอนจรรยามารยาทของการนวด การนวดต้องสุขภาพมาก ใช้อวัยวะได้น้อยและต้องตรงตามจุด ๓. ข้อบ่งใช้การนวดด้วยวิธกี ารแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ผู้ที่มีอาการปวดแขน ขา หลัง เอว บ่า กระเบนเหน็บ ๔. คุณสมบัตผิ ู้ให้บริการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ๕.๑ ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดของกล้ามเนื้อ ๕.๒ บรรเทาอาการปวด ๕.๓ บรรเทาอาการบวม ตึง ๕.๔ เพิ่มระบบไหลเวียนเลือด ๖. วัสดุอุปกรณ์ของการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก อยู่ในดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๗. ขั้นตอนในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก การนวดเพื่อบําบัดอาการปวดที่พบบ่อย การนวด หมายถึง วิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดึง การเขยื้อน ตามศาสตร์และ ศิลปะการนวดไทย เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ อาการปวดที่พบบ่อย ซึ่งสามารถบําบัดรักษาเบื้องต้น ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยคอ ปวดเมื่อยแขน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลัง และปวดเมื่อยขา เป็นต้น

๘๓


ตัวอย่าง การนวดแก้อาการปวดศีรษะ ๑. การนวดพื้นฐานบ่า ให้ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิ หมอนวดยืนอยู่ด้านหลัง กดลงบนแนวกล้ามเนื้อบ่าชิด ปุ่มกระดูกสามเหลี่ยมที่หัวไหล่ แล้วกดไล่ไปจนชิดปุ่มกระดูกต้นคอเป็น รอบที่ ๑ แล้วกดไล่ลงไปจนชิดปุ่ม กระดูกสามเหลีย่ มที่หัวไหล่เป็นรอบที่ ๒ แล้วกดไล่ไปจนชิดปุ่มกระดูกต้นคอเป็น รอบที่ ๓ นวดบ่าด้านซ้าย และขวา เหมือนกัน

ท่าหกสูง(น้ําหนัก ๕๐ ปอนด์)

ท่าหกกลาง(น้ําหนัก ๗๐ ปอนด์)

ท่าหกกลาง(น้ําหนัก ๙๐ ปอนด์)

๒. การนวดศีรษะ ให้ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิ หมอนวดนั่งอยู่ด้านหลัง ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งกดบริเวณ แนวกล้ามเนื้อต้นคอทั้งสองข้าง โดยสลับมือ (กดต้นคอขวาใช้มือซ้าย กดต้นคอซ้ายใช้มือขวา) และกดจุดบริเวณ ท้ายทอยโดยมืออีกด้านหนึ่งประคองหน้าผากของผู้รับบริการไว้ ซึ่งจุดนวดบริเวณท้ายทอยจะมี ๓ จุด ท่านวด

หญิงหลังคลอด : นั่งขัดสมาธิหรือนั่งเหยียดขาไปด้าน หรือนั่งห้อยขา ผู้ให้บริการนวด : นัง่ ท่าพรมสี่หน้าด้านหลังผู้ถูกนวด

๘๔


ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวากดลงบริเวณท้ายทอยด้านขวา ส่วนมือซ้ายแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายกดลงบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย ส่วนมือขวาแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวากดลงบริเวณกึ่งกลางท้ายทอยชิดกระโหลกศีรษะ ส่วนมือซ้ายแตะบริเวณหน้าผากผู้ถูกนวด

๘๕


๘. ข้อห้ามในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ๘.๑ มีไข้สูงเกินกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ ความดันโลหิตสูง (systolic ไม่เกิน ๑๖๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ mm.Hg) ทีม่ ีอาการ ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๘.๓ บริเวณทีเ่ ป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่เป็นรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้ ๘.๔ กระดูกพรุนแรง ๘.๕ บริเวณทีม่ ีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง ๘.๖ บริเวณทีม่ ีหลอดเลือดดําอักเสบ ๘.๗ บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน ๘.๘ โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ๘.๙ บริเวณที่เป็นมะเร็ง ๙. ข้อควรระวังในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ๙.๑ หญิงตั้งครรภ์ ๙.๒ ผู้สูงอายุ และเด็ก ๙.๓ โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข้ง ( Atherosclerosis ) เป็นต้น ๙.๔ ความดันโลหิตสูง (systolic ไม่เกิน ๑๖๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ mm.Hg) ทีม่ ีอาการ ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๙.๕ เบาหวาน ๙.๖ กระดูกพรุน ๙.๗ มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด ๙.๘ ข้อหลวม / ข้อหลุด / ข้อเคลื่อน ๙.๙ บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม ๙.๑๐ บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี ๙.๑๑ ผิวที่แตกง่าย ๙.๑๒ บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสํานัก ถ้าหากลงน้ําหนักในการนวดมากเกินไป อาจทําให้เกิดการระบม มีรอยแดง รอยช้ํา ให้ทําการปฐมพยาบาล เบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๘๖


๑. ชื่อหัตถการ การนวดด้วยวิธีแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ๒. ความหมายของการนวดด้วยวิธีแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ การนวดแบบสามัญชน มีการสืบทอดฝึกฝนแบบการนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่น เหมาะสมสําหรับชาวบ้าน จะนวดกันเองโดยใช้สองมือและอวัยวะส่วนอื่น เช่น ศอก ท่อนแขน ส้นเท้า หรือการนั่งดัดตัวผู้ป่วย เพื่อเป็น การผ่อนแรงของผู้นวด ๓. ข้อบ่งใช้ดว้ ยวิธีแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ผู้ที่มีอาการปวดแขน ขา หลัง เอว บ่า กระเบนเหน็บ ปวดศีรษะ ไมเกรน ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการนวดด้วยวิธแี พทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนวดด้วยวิธีแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ๕.๑ ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดของกล้ามเนื้อ ๕.๒ บรรเทาอาการปวด ๕.๓ บรรเทาอาการบวม ตึง ๕.๔ เพิ่มระบบไหลเวียนเลือด ๖. วัสดุอุปกรณ์ในการนวดด้วยวิธีแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ อยู่ในดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภท เวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๗. ขั้นตอนในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ การนวด หมายถึง วิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดึง การเขยื้อน ตามศาสตร์และ ศิลปะการนวดไทย เพื่อการบําบัดรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ อาการปวดที่พบบ่อย ซึ่งสามารถบําบัดรักษาเบื้องต้น ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยคอ ปวดเมื่อยแขน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลัง และปวดเมื่อยขา เป็นต้น

๘๗


ตัวอย่าง การนวดแก้อาการปวดศีรษะ

ท่านวดโค้งคอ ผู้ให้บริการนวด : ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดโค้งคอด้านขวา มืออีกข้างวางไว้ที่บ่า

ท่านวดลงศอกที่บ่า ผู้ให้บริการนวด : ใช้ศอกทั้งสองข้างวางบริเวณกล้ามเนื้อบ่า

ผู้ให้บริการนวด : ใช้มือประสานกัน ใช้ศอกข้างขวา กลิ้งไปบนกล้ามเนื้อบ่าและศอกอีกข้างหนึ่ง ดันศีรษะของผู้รับบริการไว้

๑๔. การหนีบและสับด้วยสันมือ

ผู้ให้บริการนวด : ใช้มือประสานกัน แล้วใช้สน้ มือกดบริเวณโค้งคอเข้าหากัน ๘๘


๘. ข้อห้ามในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ๘.๑ มีไข้สูงเกินกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ ความดันโลหิตสูง (systolic ไม่เกิน ๑๖๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ mm.Hg) ทีม่ ีอาการ ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๘.๓ บริเวณทีเ่ ป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่เป็นรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้ ๘.๔ กระดูกพรุนแรง ๘.๕ บริเวณทีม่ ีการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง ๘.๖ บริเวณทีม่ ีหลอดเลือดดําอักเสบ ๘.๗ บริเวณที่ผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน ๘.๘ โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ๘.๙ บริเวณที่เป็นมะเร็ง ๙. ข้อควรระวังในการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ๙.๑ หญิงตั้งครรภ์ ๙.๒ ผู้สูงอายุ และเด็ก ๙.๓ โรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข้ง ( Atherosclerosis ) เป็นต้น ๙.๔ ความดันโลหิตสูง (systolic ไม่เกิน ๑๖๐ mm.Hg และ/หรือ diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ ๑๐๐ mm.Hg) ทีม่ ีอาการ ที่มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน ๙.๕ เบาหวาน ๙.๖ กระดูกพรุน ๙.๗ มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด มีประวัติเลือดออกผิดปกติรวมทั้งกินยาละลายลิ่มเลือด ๙.๘ ข้อหลวม / ข้อหลุด / ข้อเคลื่อน ๙.๙ บริเวณที่มีการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม ๙.๑๐ บริเวณที่แผลหายยังไม่สนิทดี ๙.๑๑ ผิวที่แตกง่าย ๙.๑๒ บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบเชลยศักดิ์ ถ้าหากลงน้ําหนักในการนวดมากเกินไป อาจทําให้เกิดการระบม มีรอยแดง รอยช้ํา ให้ทําการปฐมพยาบาล เบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๘๙


๔.๓ การประคบด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การประคบสมุนไพร - การประคบความร้อน - การประคบความเย็น

๙๐


๑. ชื่อหัตถการ การประคบสมุนไพร ๒. ความหมายการประคบสมุนไพร การประคบสมุนไพรเพื่อการบําบัดรักษา ผูท้ ี่มีอาการปวด แขน ขา บ่า หลัง เอว กระเบนเหน็บ ปวดศีรษะ ๓. ข้อบ่งใช้การประคบสมุนไพร ผู้ที่มีอาการปวดที่มีอาการปวด แขน ขา บ่า หลัง เอว กระเบนเหน็บ ปวดศีรษะ ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการประคบสมุนไพร ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร ๕.๑ ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ๕.๒ ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ๕.๓ ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ๕.๔ ลดการติดขัดของข้อต่อ ๕.๕ ลดอาการปวด ๕.๖ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบสมุนไพร ๖.๑ ลูกประคบสมุนไพร ๖.๒ จานรองลูกประคบสมุนไพร ๖.๓ ผ้าสําหรับจับลูกประคบสมุนไพร ๖.๔ หม้อสําหรับนึ่งลูกประคบสมุนไพร ๖.๕ เตา

๙๑


๗. ขั้นตอนในการประคบสมุนไพร ๗.๑ จัดท่าผู้ปว่ ยให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตําแหน่งที่จะทําการประคบสมุนไพร ๗.๒ นําลูกประคบสมุนไพรทีร่ ้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ ๗.๓ ทดสอบความร้อนของลูกประคบสมุนไพร ที่บริเวณท้องแขนหรือหลังมือของผู้ประคบ ๗.๔ ในการวางลูกประคบสมุนไพรบนผิวหนังของคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทําด้วยความเร็ว ไม่วาง แช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนความร้อนไม่ได้มาก ๗.๕ เมื่อลูกประคบสมุนไพรคลายความร้อนลงก็สามารถวางลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นําลูกเดิมไปนึ่ง ต่อทําช้ํา ตามข้อ ๒,๓,๔ ๗.๖ เวลาในการประคบสมุนไพร ๑๐-๑๕ นาที

๘. ข้อห้ามการประคบสมุนไพร ๘.๑ มีไข้สูงเกินกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ บริเวณทีม่ ีกระดูกแตกหัก ปริร้าวที่ยังไม่ติดดี ๘.๓ บริเวณทีเ่ ป็นมะเร็ง ๘.๔ บริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือเลือดออกใหม่ๆ ๘.๕ บริเวณทีม่ ีการติดเชื้อ ๘.๖ บริเวณทีม่ ีการอักเสบ ( ปวด บวม แดง ร้อน ) จากอุบัติเหตุในช่วง ๒๔ ชั่วโมงแรก ๙. ข้อควรระวังของการประคบสมุนไพร ๙.๑ ผู้สูงอายุและเด็ก ๙.๒ ผู้ป่วยโรคอัมพาต ๙.๓ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๙.๔ บริเวณทีม่ ีอาการชา ๙.๕ ผู้ป่วยโรคลมตะกัง (ลมปะกัง) ขณะทีม่ ีอาการอาเจียน ๙.๖ การใช้ลกู ประคบที่ร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะผิวบริเวณที่บาง ๑๐. อาการแทรกซ้อนการประคบสมุนไพร หากใช้ลูกประคบสมุนไพรที่รอ้ นเกินไป จะทําให้ผิวหนังบริเวณที่ประคบไหม้ พอง แสบ ร้อน บวม รอยดํา และอาจทําให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ได้ หยุดให้บริการทันที ถ้ามีอาการแสบร้อนให้ประคบเย็น หากพองจนผิวหนังลอกให้ส่งพบแพทย์

๙๒


๑. ชื่อหัตถการ การประคบความร้อน ๒. ความหมายการประคบความร้อน การใช้ความร้อนแห้ง เช่น การใช้กระเป๋าน้ําร้อน อิฐเผาไฟ หรือความร้อนเปียกประคบบริเวณที่มี การอักเสบ แดง ร้อน บวม ปวด ๓. ข้อบ่งใช้การประคบความร้อน ผู้ที่มีอาการอักเสบ แดง ร้อน บวม ปวด ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการประคบความร้อน ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการประคบความร้อน ๕.๑ บรรเทาอาการปวด ลดการบวม ๕.๒ ช่วยทําให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว ๕.๓ ทําให้การไหลเวียนของโลหิตมาสู่ที่ประคบได้ดีขึ้น ทําให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับอาหารและ ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น การอักเสบจะหายเร็วขึ้น ๕.๔ ทําให้เนือ้ เยื่ออ่อนตัว ๕.๕ ช่วยลดอาการปวดของภาวะประจําเดือน ๕.๖ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบความร้อน ๖.๑ น้ําต้มเดือด ๖.๒ ผ้าขนหนูเล็ก ๖.๓ ผ้าขนหนูใหญ่ ๖.๔ ภาชนะสําหรับใส่น้ําร้อน

๙๓


๗. ขั้นตอนในการประคบความร้อน ๗.๑ นําผ้าขนหนูผืนเล็ก พับครึ่ง วางลงบนผ้าขนหนู ยืนยาวแล้วม้วนให้เรียบร้อย

๗.๒ วางผ้าที่ม้วนแล้วนั้นลงในอ่าง ให้ชายผ้าทั้ง ๒ ชายอยู่ชิดอ่าง เทน้ําร้อนจากกาน้ําลงให้ท่วมผ้าที่ม้วน

๗.๓ จับชายผ้าทั้ง ๒ ชายที่พาดปากอ่างกลมเล็ก ปิดจนผ้าขนหนูนั้นหมาด คลี่ผ้าขนหนูยืนยาวออกหยิบ ผ้าถูตัวที่อยู่ข้างในคลี่ออก ลองวางบริเวณหลังมือผู้ทํา ถ้าร้อนพอทนได้ นําไปประคบบริเวณที่อักเสบ เช่น แขน ข้อมือ ขา หลัง เป็นต้น

๗.๔ ทิ้งไว้จนกว่าผ้าจะเย็น ขณะที่คอย ควรเตรียมผ้าขนหนูอีกผื่นหนึ่ง ทําเช่นเดียวกับการเตรียมครั้งแรก ๗.๕ ทําสลับกันเช่นนี้ ประมาณ ๕ - ๖ ครั้ง ๘. ข้อห้ามการประคบความร้อน ห้ามใช้ความร้อนที่ร้อนมากเกินไป ๙. ข้อควรระวังในการประคบความร้อน ระดับอุณหภูมิของน้ําที่ใช้ หากร้อนมากเกินไปอาจทําให้ส่วนที่ถูกประคบไหม้ได้ ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการประคบความร้อน หากใช้ผ้าชุบน้ําร้อนที่ร้อนเกินไป จะทําให้ผิวหนังบริเวณที่ประคบไหม้ พอง แสบ ร้อน บวม รอยดํา และอาจทําให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ได้ หยุดให้บริการทันที ถ้ามีอาการแสบร้อนให้ประคบเย็น หากพองจนผิวหนังลอกให้ส่งพบแพทย์ ๙๔


๑. ชื่อหัตถการ การประคบความเย็น ๒. ความหมายการประคบความเย็น การใช้ความเย็นแห้งหรือความร้อนเย็นเปียกประคบบริเวณที่มีการอักเสบ ๓. ข้อบ่งใช้การประคบความเย็น ใช้ประคบบริเวณที่มีอาการอักเสบ ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรม ในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการประคบความเย็น ๕.๑ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ๕.๒ ลดการคลั่งของโลหิต ๕.๓ เพื่อระงับการไหลออกของเลือด ๕.๔ ช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ๕.๕ ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดของกล้ามเนื้อ ๕.๖ ลดอาการบาดเจ็บของเอ็นที่เกิดจากข้อเคล็ด ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบความเย็น ๖.๑ กระเป๋าน้ําแข็ง ๖.๒ น้ําแข็งก้อนเล็กๆ ๖.๓ ปลอกผ้า ๑ ใบ

๙๕


๗. ขั้นตอนในการประคบความเย็น ๗.๑ จัดท่าผู้ป่วยในท่าทีส่ บาย ๗.๒ เอาน้ําแข็งก้อนเล็กๆ ใส่กระเป๋าน้ําแข็งประมาณครึ่งกระเป๋า ๗.๓ ไล่อากาศออกให้หมด โดยวางกระเป๋าให้แบนราบลงปิดจุกให้แน่น เพื่อให้น้ําแข็งละลายช้า ๗.๔ นําไปวางบริเวณที่ต้องการ ๗.๕ เมื่อน้ําแข็งละลายเปลี่ยนน้ําแข็งใหม่ ทําเช่นนี้ ประมาณ ๒๐-๓๐ นาที

๘. ข้อห้ามการประคบความเย็น ไม่มี ๙. ข้อควรระวังในการประคบความเย็น ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการประคบความเย็น -

๙๖


๔.๔ การใช้ยาบําบัดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย -

การทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย การนัตถุ์ยา การทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร การสุมยาสมุนไพร

๙๗


๑. ชื่อหัตถการ การทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๒. ความหมายการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย การลูบไล้ป้ายโดยใช้ฝ่ามือทาด้วยยา หรือการทาด้วยน้ํามันหอมระเหยบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติในการ รักษาโรค ทําให้สุขภาพดี ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่ดีแก่ร่างกายและจิตใจ ๓. ข้อบ่งใช้การทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย เพื่อแก้หรือระงับอาการตัวร้อน หรือดับพิษไข้อาการกระวนกระวาย หรือชโลมยาแก้โรคเฉพาะ บางแห่ง เช่น พ่นผี พ่นตาแดง ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๕.๑ ช่วยบําบัดสําหรับสภาวะต่างๆทีม่ ีผลต่อระบบประสาท เช่น ความเครียด ความเมือ่ ยล้าของระบบประสาท ๕.๒ ช่วยบําบัดความเมื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ ๕.๓ ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และการปวดศีรษะ ๕.๔ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการอักเสบและความเจ็บปวด ๕.๕ ช่วยบรรเทาอาการและลดความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคไขข้ออักสบ โรครูมาตอยด์ ๕.๖ ช่วยบําบัดในกรณีของข้อเคลื่อน การแตกร้าวของกระดูกให้กลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ๕.๗ ช่วยเสริมสร้างและปรับโครงสร้างร่างกายให้ดีขึ้น รวมทั้งปรับปรุงการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ ๕.๘ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้าํ มันหอมระเหย ๖.๑ น้ํามันหอมระเหย ๖.๒ ผ้าเช็ดตัว/ ผ้าขนหนูผื่นเล็ก ๖.๓ ภาชนะสําหรับใส่นา้ํ มันหอมระเหย

๙๘


๗. ขั้นตอนในการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๗.๑ ใช้น้ํามันหอมระเหยเทลงบนฝ่ามือ

๗.๒ นวดไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีอาการปวด เช่น ขา เข่า แขน เป็นต้น

๘. ข้อห้ามการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๘.๑ ห้ามนวดขณะมีไข้ อุณหภูมิ ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ๘.๒ ห้ามนวดในขณะที่ได้รับการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน ๘.๓ ห้ามนวดบนพื้นผิวที่มีการอักเสบ ๘.๔ ห้ามนวดผู้ที่มีภาวะของโรคกระดูดพรุน ๘.๕ ห้ามนวดบริเวณที่มีเส้นเลือดขอด ๘.๖ ห้ามนวดบริเวณที่มีการคั่งของของเหลว ๘.๗ ห้ามนวดในกรณีที่มีภาวะของความดันโลหิตสูง ๘.๘ ห้ามนวดในภาวะที่มีการเกิดแผลเป็นใหม่ๆ ๘.๙ ห้ามนวดในภาวะที่มีการแตกหักของกระดูก การฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่ๆ ๘.๑๐ ห้ามนวดผู้ที่มีภาวะของโรคมะเร็ง ๘.๑๑ ห้ามนวดในภาวะที่ดึ่มเครื่องดึ่มมึนเมา ๘.๑๒ ห้ามใช้ในบริเวณที่บอบบาง เช่น รอบดวงตา ๙๙


๙. ข้อควรระวังในการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ๙.๑ ควรทําการเจือจางก่อนเมื่อต้องใช้กับผิวหนังโดยตรง เนื่องจากน้ํามันหอมระเหยนั้นมีความเข้มข้น สูงซึ่งอาจทําให้เกิดอาการแพ้ได้ ๙.๒ ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ห้ามสูดดมโดยตรง จากขวดหรือภาชนะที่บรรจุน้ํามันหอมระเหย เพราะจะทําให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ต้องนําไปผสมให้เจือจางเสียก่อน ๙.๓ น้ํามันหอมระเหยบางชนิดมีผลให้ผิวหนังไวต่อแสง เช่น น้ํามันหอมระเหย กลิ่นมะนาวกลิ่นมะกรูด ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดงโดยตรงหลังจากใช้นา้ํ มันหอมระเหยอย่างน้อย ๔ ชั่วโมง ๙.๔ สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ํามันหอมระเหยต่อไปนี้ คือ น้ํามันโหระพา น้ํามันกานพลู น้ํามันเปปเปอร์มนิ้ น้ํามันกุหลาบ น้ํามันโรสแมรี่ น้ํามันแคลรี่เซจ (clary sage oil) น้ํามันไทม์ (thyme oil) น้ํามันวินเทอร์กรีน (wintergreen oil) น้ํามันมาร์โจแรม (marjoram oil) และเมอร์ (myrrh) ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการทาหรือชโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย ขณะทําการทาหรือโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหยอาจเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน แสบร้อน หายใจไม่ออก ควรหยุดทําการทาหรือโลมด้วยยาหรือน้ํามันหอมระเหย และให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๐๐


๑. ชื่อหัตถการ การนัตถุ์ยา ๒. ความหมายการนัตถุ์ยา เป็นวิธีการนําผงยาที่ละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใดๆ สําหรับนัตถุ์ โดยเป่าหรือสูดเข้า จมูกโดยเฉพาะ ๓. ข้อบ่งใช้การนัตถุ์ยา เพื่อรักษาอาการเป็นหวัด โรคริดสีดวงจมูก โรคเกี่ยวกับจมูก ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการนัตถุ์ยา ๕.๑ รักษาอาการเป็นหวัด ๕.๒ รักษาโรคริดสีดวงจมูก ๕.๓ ช่วยทําให้สดชื่น ๕.๔ เพื่อขับน้ํามูกออกทางจมูก และทําให้ขี้มูกแห้ง ๕.๕ ทําให้จามเพื่อขับเสมหะหรือขับสิ่งกีดขวางในหลอดลมออก ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนัตถุ์ยา ๖.๑ ท่อเหล็กรูปตัวยู ๖.๒ ผงสมุนไพร

๑๐๑


๗. ขั้นตอนในการนัตถุ์ยา นําผงยานัตถุ์บรรจุลงไปในท่อเหล็กรูปตัวยู ใส่ปลายท่อด้านหนึ่งเข้ารูจมูกแล้วใช้ปากเป่าปลายท่ออีก ด้านหนึ่ง เพื่อให้ตัวยาฟุ้งกระจายเข้าไปในโพรงจมูก (เรียกว่า การนัตถุ์) ผู้ทใี่ ช้ยานัตถุ์จะรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือน ได้สูบบุหรี่ ในประเทศไทย ยานัตถุ์ใช้กันมากในกลุ่มผู้สูงอายุ

เทผงยานัตถุ์ลงบนฝ่ามือ หลังจากนั้นใช้ท่อเหล็กรูปตัวยูด้านยาวบรรจุผงยา

ใส่ปลายท่อด้านยาวที่บรรจุยาเข้ารูจมูกแล้วใช้ปากเป่าปลายท่ออีกด้านหนึ่ง ๘. ข้อห้ามของการนัตถุ์ยา ๙. ข้อควรระวังในการนัตถุย์ า ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการนัตถุ์ยา ขณะทําการนัตถุ์ยาอาจเกิดอาการสําลักได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันทันที่

ให้หยุดนัตถุ์ยา

๑๐๒

แล้วทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


๑. ชื่อหัตถการ การทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๒. ความหมายการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร การทําให้อาเจียนด้วยการใช้ยาสมุนไพร ทีม่ ีฤทธิ์กระตุ้นทําให้อาเจียนเอาอาหารหรือสารพิษออกมา จากกระเพาะอาหาร การทําให้อาเจียนควรใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับประทานอาหารหรือสารพิษเข้าไปใหม่ๆ หรือ สารพิษนั้นมีการดูดซึมช้า ในรายที่ได้รับสารพิษมานานควรใช้สมุนไพรแก้พิษ ๓. ข้อบ่งใช้การทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับประทานอาหารหรือสารพิษเข้าไปในร่างกายใหม่ๆ ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ เป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย สาขาการแพทย์แผน ไทยประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตาม ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวง สาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ที่สามารถให้บริการนวดเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพได้ ๕. ประโยชน์ของการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๕.๑ เพื่อให้อาเจียนเอาของในกระเพาะอาหารออกมา เช่น เมื่อคนกินสารพิษบางทีให้อาเจียนเอาของที่ ติดคอออกมา ๕.๒ เพื่อให้คนไข้ เช่น เด็กให้อาเจียนเอาของในหลอดลม เสมหะหรือสิ่งที่ติดหลอดลมออกมา ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๖.๑ เตียงคนไข้ ๖.๒ เก้าอี้สําหรับนั่ง ๖.๓ ยาสมุนไพร ๗. ขั้นตอนในการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๗.๑ จัดเตรียมยาสมุนไพรสําหรับคนไข้ ๗.๒ ถ้าคนไข้เป็นคนบอบบางแรงน้อย หรือเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ ควรให้ดื่มนมให้เต็มที่แล้วจึงวางยาให้ อาเจียนเอาของที่กินเข้าไปแล้วออกมาพร้อมกับดึงล้างโทษออกมาร่วมด้วย ๗.๓ ให้คนไข้นั่งบนเก้าอี้สูงราว ๒๘ นิ้ว เพื่อจะได้ก้มอาเจียนออกได้ง่าย และนั่งพักได้สบายและให้มี คนช่วยประคอง เช่น ช่วยประคองหน้าผากและข้างๆอก อาจนวดช่วยด้วยก็ได้ แต่ไม่ควรลูบหลัง เพราะเป็น การแก้อาเจียน แต่ถ้าคลื่นไส้แต่ไม่อาเจียนให้เอานิ้วมือหรือขนไก่ที่ต้มสะอาดแล้ว หรือพลูจีบแยงคอให้อาเจียน การแยงคอให้คนไข้อาเจียนทําได้เฉพาะเมื่อเวลาคนไข้คลื่นไส้มากเท่านั้น ถ้าคนไข้ไม่คลื่นไส้มากไม่ควรทํา วิธีที่จะรู้วา่ การทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพรที่ได้ผลดี มีขั้นตอนการสังเกต ดังนี้ ๑. ปริมาณของอาเจียนที่ออกมามากน้อยเท่าใด หากคนไข้อาเจียนออกมาประมาณ ๑๙๒ ออนซ์ (๕,๖๐๐ ซีซ)ี ถือว่าดีมาก ๒. จํานวนของการอาเจียนกี่ครั้ง / วัน ถ้าคนไข้อาเจียน ๔ ครั้ง แสดงว่ายานั้นอ่อน ถ้าคนไข้อาเจียน ๖ ครั้ง แสดงว่ายาปานกลางพอดี ถ้า ๘ ครั้ง ถือว่ายาแรงไป ๑๐๓


๓. ลักษณะการอาเจียน การอาเจียนครั้งแรกจะเป็นยาออกมา ต่อไปเป็นเสมหะและเป็นน้ําดี ซึ่งการทําให้อาเจียนโดยมากถือว่าเป็นการเอาโทษปิตตะออก ๗.๔ เมื่อคนคนไข้อาเจียนแล้วให้นอนพักที่อบอุ่น อย่าให้ถูกลมโกรก อย่าทํางานมาก และให้สังเกตอาการ คนไข้หากคนไข้มีเหงื่อออก แสดงว่าโทษนั้นละลาย ถ้าขนลุกแสดงว่าโทษนั้นเคลื่อนออกจากที่ ถ้าท้องขึ้น แสดงว่าโทษเคลื่อนเข้า ถ้าคลืน่ ไส้ และน้ําลายสอ แสดงว่าโทษนั้นออกมาแล้ว ๘. ข้อห้ามในการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๘.๑ โรคไส้เลือ่ น ๘.๒ มดลูกทรุด ๘.๓ ผู้ที่อ่อนเพลียมากจากการทํางาน อดอาหาร ๘.๔ การเดินทางไกล ๘.๔ ผู้ที่เสพกามมาก ๘.๕ คนที่ใช้ความคิดมาก ๘.๖ หญิงมีครรภ์ ๘.๗ โรคลมเบื้องสูง ๘.๘ โรคหัวใจ ๘.๙ ต้อแก้วตา ๘.๑๐ โรคพยาธิในลําไส้ ๙. ข้อควรระวังในการการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร อย่าให้คนไข้รบั ประทานอาหารทันที ต้องรอ ๓- ๔ ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ๑๐. อาการแทรกซ้อนการทําให้อาเจียนด้วยยาสมุนไพร ๑๐.๑ หากอาเจียนมากเกินไปจะเกิดโทษคือน้ําดีไหลออกเรื่อย (รากเขียวรากเหลือง) หมดสติ เจ็บปวด ในบริเวณหัวใจ และในคอ กระหายน้ํา จิตงวยงง หรือโมหะ นอนไม่หลับ หรืออ่อนเพลียมาก อาจถึงกับ อาเจียนเป็นเลือด ให้หยุดให้ยา และให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งแพทย์แผนปัจจุบัน ๑๐.๒ หากอาเจียนน้อยไปเอาโทษออกไม่หมดจะมีอาการน้ําลายสอ รู้สกึ ไม่สะดวก ไม่สบายในหัวใจ บางทีมีอาการคันและเป็นเม็ดผื่นตามตัวและหนักเนื้อหนักตัว ให้ทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๐๔


๑. ชื่อหัตถการ การสุมยาสมุนไพร ๒. ความหมายการสุมยาสมุนไพร การนําตัวยาที่ได้ปรุงเป็นยาตํารับ หรือตัวยาเดี่ยว มาสุมที่กระหม่อมเด็ก เพื่อรักษาอาการเป็นหวัด อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และยังช่วยให้กระหม่อมเด็กแห้งเร็ว ๓. ข้อบ่งใช้การสุมยาสมุนไพร แก้หวัด และป้องกันการเป็นหวัด รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือประเภทการนวดไทย หรือ ประเภทผดุงครรภ์ไทย ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๔.๕ นักเรียน นักศึกษา ทางด้านการแพทย์แผนไทยหรือทางด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนวดไทยเพื่อการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งทําการฝึกหัดหรืออบรมใน ความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ๕. ประโยชน์ของการสุมยาสมุนไพร ป้องกันการเป็นหวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยทําให้กระหม่อมเด็กแห้งเร็ว ๖. วัสดุอุปกรณ์ในการสุมยาสมุนไพร สมุนไพร

๗. ขั้นตอนในการสุมยาสมุนไพร นํายาสมุนไพรมาพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็กๆ

๑๐๕


๘. ข้อห้ามในการสุมยาสมุนไพร ๘.๑ อย่าใช้ยาปริมาณมากเกินไป ๘.๒ ห้ามกดบริเวณบริเวณกระหม่อมเด็กแรงๆ ๙. ข้อควรระวังในการสุมยาสมุนไพร ๙.๑ ทําด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ๙.๒ อย่าให้เข้าตา ๙.๓ อย่าใช้ยาเข้มข้น และยาเย็นมากเกินไป ๙.๔ อย่าวางยาตรงกระหม่อมที่ยังไม่ปดิ ให้วางรอบๆ ๙.๕ และอย่าใช้ยาที่มีความเข้มข้นมากเกินไปเพราะจะทําให้ความร้อนในร่างกายลดลง อย่างรวดเร็ว ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการสุมยาสมุนไพร หากใช้ยาที่มีความเข้มข้นและปริมาณมากเกินไปแล้ว จะทําให้ความร้อนในร่างกายของเด็กลดลงและ ทําให้เด็กหนาวสั่น ให้ทําการปฐมพยาบาลโดยการห่มผ้าให้เด็ก หากอาการไม่ดีขึ้นควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๐๖


๔.๕ การทําให้ถ่ายด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การควักอุจาระ - การเหน็บยา - การสวนอุจจาระ

๑๐๗


๑. ชื่อหัตถการ การควักอุจจาระ ๒. ความหมาย การควักอุจจาระ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทําให้ถ่ายโดยใช้นิ้วมือล้วงเอาอุจจาระออกมาในกรณีทถี่ า่ ยลําบาก ๓. ข้อบ่งใช้ ของการควักอุจจาระ สําหรับผู้ป่วยทีถ่ ่ายอุจจาระลําบาก ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการควักอุจจาระ เพื่อการขับถ่ายอุจจาระ ๖. วัสดุอปุ กรณ์ที่ใช้ในการควักอุจจาระ ๖.๑ มือ ๖.๒ ถุงมือ ๖.๓ กระโถนสําหรับรองอุจาระ

๗. ขั้นตอนในการควักอุจจาระ จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม หลังจากนัน้ ใช้มือสอดเข้าไปทางทวารหนักแล้วทําการควักอุจจาระออกมา ๘. ข้อห้ามในการควักอุจจาระ ๙. ข้อควรระวังในการควักอุจจาระ ผูท้ ี่ทําการควักอุจจาระควรตัดเล็บให้สั้น ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการควักอุจจาระ ขณะทําการควักอุจจาระ หากมีอาการเป็นลม หรือเป็นแผลให้หยุดทันที และทําการปฐม พยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แพทย์แผนปัจจุบันทันที

๑๐๘


๑. ชื่อหัตถการ การเหน็บยา ๒. ความหมายการเหน็บยา การเสียบ สอด ไว้ในที่บังคับ กิริยาที่เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีสบู่เป็นต้น สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้ อุจาระออก ๓. ข้อบ่งใช้การเหน็บยา เหน็บทวารหนัก เพื่อรักษาอาการท้องผูก ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการเหน็บยา ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการเหน็บยา เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวและถ่ายสะดวก ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเหน็บยา ๖.๑ สบู่ ๖.๒ แท่งยา ๖.๓ ถุงมือ

๗. ขั้นตอนของการเหน็บยา ให้ผู้ป่วยนอนคว่ําค่อยๆ สอดแท่งยาที่ทาด้วยขี้ผึ้งวาสลิน หรือสบู่ เข้าในช่องทวารหนัก ผู้ทําสวมถุง มือ ใช้นิ้วชี้ดันยาเข้าไปในทวารหนักจนสุดนิ้ว ( ประมาณ ๒ นิ้ว ) แล้วให้ผู้ป่วยนอนพัก ๘. ข้อห้ามของการเหน็บยา ๙. ข้อควรระวังของการเหน็บยา ๙.๑ ควรตัดเล็บให้สั้นเพราะอาจเกิดแผลขณะทําการเหน็บยา และทําความสะอาดมือก่อนและหลังทําการ เหน็บยา ๙.๒ การสอดแท่งยา ควรจะให้แท่งยาอยู่ชิดกับผนังของทวารหนัก ๙.๓ และสอดให้พ้นหูรูดชั้นในของทวารหนักเพื่อให้ยาละลายได้ดี ๙.๔ ต้องทําด้วยความระมัดระวัง ๑๐. อาการแทรกซ้อนของการเหน็บยา ขณะที่ทําการเหน็บยา อาจเป็นแผล หรือมีอาการแพ้ยา เช่น มีเม็ดผื่นคันขึ้นต้องหยุดยา และทําการปฐม พยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๐๙


๑. ชื่อหัตถการ การสวนอุจจาระ ๒. ความหมาย การสวนอุจจาระ การใส่ของเหลว ซึ่งอาจเป็นน้ํา น้ํายา เข้าไปในลําไส้ใหญ่ทางทวารหนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ เพื่อขับถ่ายอุจจาระหรือล้างลําไส้ใหญ่ให้สะอาด หรือเก็บไว้ชั่วคราวแล้วถ่ายออก หรือเพื่อให้ซึมเข้าสู่ร่างกาย ทางลําไส้ใหญ่ส่วนล่าง บางครั้งมีจุดประสงค์เพื่อลดไข้ หรือลดการบวมของสมอง หรือสวนเพือ่ ให้น้ําแก่ ผู้ป่วยในรายทีข่ าดน้ํามากๆ ๓. ข้อบ่งใช้ในการสวนอุจจาระ เพื่อขับถ่ายอุจาระออกจากร่างกายในรายที่ท้องผูก แน่นอืดอัดในท้อง ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการ ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๕. ประโยชน์ของการสวนอุจจาระ เพื่อขับถ่ายอุจาระออกจากร่างกายในรายที่ท้องผูก แน่นอืดอัดในท้อง ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสวนอุจจาระ ๖.๑ สบู่ ๖.๒ ลูกสูบยาง

๗. ขั้นตอนในการสวนอุจจาระ ๗.๑ เลือกสบูท่ ี่มีกรดน้อย เช่น สบู่ถูตัว สบู่ซันไลท์ ๗.๒ เหลาสบูใ่ ห้เรียว มน ๗.๓ ใช้น้ําทาส่วนที่เรียว มน ให้ลื่น ๗.๔ จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสมพร้อมที่จะสวน ๗.๕ ใช้มือข้างหนึ่งแหวกก้นให้เห็นช่องทวาร มืออีกข้างหนึ่งหยิบสบู่ค่อยๆ สอดเข้าไปในช่องทวารหนัก จนถึงโคลน ใช้มือจับสบู่ส่วนโคนไว้ ๗.๖ ในขณะทีส่ บู่ยังอยู่ในช่องทวารหนัก ผู้ป่วยอาจจะเบ่งและจะมีอุจจาระไหลออกมาด้วยรีบให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้ํา วิธีสวนโดยใช้ลูกสูบยาง ๗.๑ ลูกสูบยางที่ใช้จะมีลักษณะกลมมีปลายเรียวแหลม ๗.๒ ล้างลูกสูบยางให้สะอาดโดยวิธีบีบลูกสูบยางให้นา้ํ เข้าเต็ม ๗.๓ เมื่อแน่ใจว่าลูกสูบสะอาดแล้ว ดูดน้ําต้มสุกอุ่นๆ เข้าในลูกสูบประมาณ ¼ - ½ ถ้วยแก้ว ๗.๔ ทาปลายลูกสูบให้ลื่นด้วยสบู่หรือขี้ผึ้งวาสลินประมาณ ๒ – ๓ ซม. ๗.๕ ให้ผู้ป่วยนอนคว่ําค่อยๆ สอดปลายลูกที่ทาสบู่หรือขี้ผงึ้ วาสลินแล้วนัน้ เข้าในช่องทวารหนักค่อยๆ บีบน้ํา จากลูกสูบเข้าสู่ลําไส้ใหญ่ของทวารจนหมด ๗.๖ ผู้ป่วยจะเบ่งอุจจาระให้ไหลออกมาพร้อมกับน้ํา ให้ผู้ป่วยเข้าห้องน้าํ หรือจับทารกนั่งกระโถนให้ถา่ ยอุจจาระ จนหมดและทําความสะอาดเช็ดให้แห้ง ๑๑๐


๘. ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ ๘.๑ ผู้ป่วยที่เย็บผีเย็บบริเวณทวารหนัก ๘.๒ ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือเด็กเล็ก ห้ามใช้หัวสวน ให้ใช้หลอดสวนทวารหนักหรือ Catheter แทน ๙. ข้อควรระวังในการสวนอุจจาระ เลือกหลอดสวนทวารหนักให้เหมาะสมกับผูป้ ่วย ๑๐. อาการแทรกซ้อนในการสวนอุจจาระ ขณะทําการสวนอุจจาระ ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมากหรือมีเลือดไหลออกมา และมีอาการอ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม ให้หยุดยาและทําการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๑๑


๔.๖ หัตถการอื่นด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย - การปฐมพยาบาลกระดูกหัก

๑๑๒


๑. ชื่อหัตถการ การปฐมพยาบาลกระดูกหัก ๒. ความหมายการปฐมพยาบาลกระดูกหัก การใส่เฝือกชั่วคราวหรือด้ามไว้ ซึ่งเป็นการใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น แผ่นไม้ ไม้ไผ่ กระดาษแข้ง กระดาษหนังสือพิมพ์ ก่อนเข้าเฝือกควรใช้ผ้าสะอาดพันส่วนที่หักให้หนาพอสมควร การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จะต้อง ทําด้วยความระมัดระวัง และให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด แล้วรีบนําส่งโรงพยาบาล ๓. ข้อบ่งใช้การปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก เป็นการช่วยเหลือผู้ที่กระดูกหักโดยการเข้าเผือกจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ๔. คุณสมบัตขิ องผู้ให้บริการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ๔.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือ ๔.๒ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย หรือ ๔.๓ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ๔.๔ บุคคลซึง่ ได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประยุกต์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซ่ึงเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๕ โดยต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ของกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทีส่ ามารถให้บริการนวด ประคบสมุนไพร เพื่อการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพได้ ๕. ประโยชน์ของการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ๕.๑ เพื่อพยุงบริเวณที่หักให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด ๕.๒ ลดความเจ็บปวดป้องกันการถูกทําลายของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด จากกระดูกที่หัก ๕.๓ ทําให้การขนย้ายผู้ป่วยเป็นไปได้ง่าย ๖. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฐมพยาบาลกระดูกโดยการเข้าเฝือก ๖.๑ ผ้าสามเหลี่ยม ๖.๒ เชือก ๖.๓ ผ้าสําหรับรอง/สําลีหรือผ้า ๖.๔ กระดาษหนังสือพิมพ์ /แผ่นกระดาน /ไม้ไผ่ ๗. ขั้นตอนในการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ๗.๑ วัสดุที่ใช้ดามต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก โดยเฉพาะจะต้อง ยาวพอที่จะบังคับข้อต่อที่อยู่เหนือและใต้บริเวณที่สงสัยว่ากระดูกหัก เช่น ขาท่อนล่างหัก ข้อเข่าและข้อเท้า จะต้องถูกบังคับไว้ด้วยเฝือก เป็นต้น ๗.๒ ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีสิ่งอื่นรอง เช่น ผ้า หรือ สําลีวางไว้ตลอดแนวเฝือก เพื่อไม่ให้เฝือกกดลงบนบริเวณผิวหนังโดยตรงซึ่งทําให้เจ็บปวดและเกิดเป็นแผลจากเฝือกกดได้ ๗.๓ มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร ถ้ารัดแน่นจนเกินไปจะกดผิวหนังทําให้การไหลเวียนของเลือด ไม่สะดวกเป็นอันตรายได้ โดยระวังอย่าให้ปมเชือกกดแผล จะเพิ่มความเจ็บปวดและเนื้อเยื่อได้รับอันตราย และคอยตรวจบริเวณที่หักเป็นระยะๆ เพราะอาจจะมีการบวม ซึ่งจะต้องคลายเชือกที่ผูกให้แน่นน้อยลง ๗.๔ บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สขุ สบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่ากระดูกที่ หักจะโค้ง โก่ง หรือ คด ก็ควรเข้าเฝือกในท่าที่เป็นอยู่

๑๑๓


ตัวอย่าง การเข้าเฝือกแขน

นํากระดาษแข็งมาวางด้านข้างบริเวณแขนที่หัก ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง

มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร

บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย ๘. ข้อห้ามในการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ๘.๑ ไม่ควรเดินลงน้ําหนักบนเฝือกจนกว่าเฝือกจะแห้งและแข็ง ซึ่งจะใช้ ๑ ชม.สําหรับเฝือกพลาสติก ๘.๒ ไม่ควรดึงสําลีรองเฝือกออก ๘.๓ ไม่ควรใช้ไม้ หรือสิ่งอื่นใส่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา ไม่ควรใส่แป้งเข้าไปในเฝือก แต่ถ้าคันมากให้พบแพทย์ ๑๑๔


๙. ข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ๑๐. อาการแทรกซ้อนในการปฐมพยาบาลกระดูกหักโดยการเข้าเฝือก ขณะที่เข้าเฝือกอาจจะเกิดอาการคัน นิ้วมือเขียว อาการบวมแดง เบื้องต้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน

๑๑๕

ให้ทําการปฐมพยาบาล


เอกสารอ้างอิง กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. ตําราวิชาการ สุคนธบําบัด.พิมพ์ครั้งที่ ๑.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก, ๒๕๕๐. นิตยา ปรัชญาจุฑา,อาภา ใจงาม และ จันทนา ธณฤทธิวิชัย. ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.คู่มอื การพยาบาลเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่๔. กรุงเพทฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพานิชย์, ๒๕๔๖. นิทเทส (ถมรรัตน์) พุ่มชูศรี. อายุรเวทศึกษา เล่ม๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : พ.ศ. ๒๕๑๖. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย.พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๘. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการรหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย.พิมพ์ครัง้ ที่ ๑.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, ๒๕๕๒. อรุณวรรณ เฮงตระกูล และ กมลภัค สําราญจิตร์.กองการประกอบโรคศิลปะ.ตําราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, ๒๕๔๑. โรงเรียนอายุรเวท. เอกสารประกอบการสอนวิชาเวชกรรมแผนไทย ศรพท ๓๓๒.

๑๑๖


ภาคผนวก

๑๑๗


คําสั่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ ๑๕ / ๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ……………………………………… ตามที่ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทํารหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์ แผนไทย ซึ่งประกอบด้วย รหัสการวินิจฉัยโรคและอาการด้านการแพทย์แผนไทย และรหัสหัตถการด้านการแพทย์ แผนไทย เพื่อพัฒนามาตรฐานงานบริการและพัฒนาฐานข้อมูลด้านการแพทย์แผนไทยให้เป็นระบบ นั้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้ทที่ ําเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยมีความรู้ ความเข้าใจและสั่งการรักษาและให้บริการ เกี่ยวกับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้าน การแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ดังนี้ ๑. องค์ประกอบคณะกรรมการ ๑. อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ๒. ผู้อํานวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย ๓. นางเอื้อมพร สุวรรณไตร ย์

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ประธานคณะกรรมการ และการแพทย์ทางเลือก สถาบันการแพทย์แผนไทย รองประธานกรรมการ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กรรมการ ๔. นางสาวจิตวิไล ประไมย์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการ ๕. นางสาวอรทัย สารกุล สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรรมการ ธัญบุรี ปทุมธานี ๖. นางสาวกาญจนา นิม่ สุนทร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ กรรมการ สาธารณสุขกาญจนาภิเษก ๗. ประธานคณะกรรมการวิชาชีพ กรรมการ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้แทน ๘. ประธานคณะกรรมการวิชาชีพ กรรมการ สาขาการแพทย์แผนไทย หรือผู้แทน ๙. นางวันทนีย์ เจตนธรรมจักร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ กรรมการ ๑๐. พท.อ้ม แสงปัญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย กรรมการ ๑๑. นางอรุณวรรณ เฮงตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย กรรมการ ๑๒. รต.หญิงสิริพงษ์ แพทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย กรรมการ ๑๓. นายปรีดา ตั้งตรงจิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย กรรมการ ... ๒/๑๔.นางสาวจงจิตร… ๑๑๘


-๒๑๔. นางสาวจงจิตร เถลิงพงษ์ ๑๕. นางสาวสมใจ โจ๊ะประโคน ๑๖. นางสาวพนารัตน์ ดีทอง ๑๗. นางมาลา สร้อยสําโรง ๑๘. นางสาวธารทิพย์ โคกดอกไม้ ๑๙. นายสมชาย ช้างแก้วมณี ๒๐. นายนิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ ๒๑. นางเกษร อังศุสิงห์ ๒๒.นางสาวอุบลรัตน์ มโนศิลป์ ๒๓.นายภาคภูมิ เมยขุนทด

โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลประโคนชัย โรงพยาบาลทุ่งสง สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒. บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ ๑. จัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ๒. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมตามความจําเป็นและเหมาะสม ๓. อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มกราคม

๒๕๕๓

ลงชื่อ วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ (แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ) อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

๑๑๙


รายนามผูเ้ ข้ารวมประชุมการจัดทําแนวทางการให้บริการหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ๑. นางเกษร ๒. นางเอื้อมพร

อังศุสิงห์ สุวรรณไตรย์

๓. นางสาวจิตวิไล

ประไมย์

๔. นางสาวอรทัย

สารกุล

๕. นางสาวกาญจนา นิ่มสุนทร ๗. นายประศาสน์ สวัสดิ์อําไพรักษ์ ๙. พท.อ้ม แสงปัญญา ๑๐. นางอรุณวรรณ เฮงตระกูล ๑๑. รต.หญิงศิริพงษ์ แพทยานนท์ ๑๒. นางสาวจงจิตร เถลิงพงษ์ ๑๓. นางสาวสมใจ โจ๊ะประโคน ๑๔. นางสาวพนารัตน ดีทอง ๑๕. นางวันทนีย์ เจตนธรรมจักร ๑๖. นางสาวจิตวิไล ประไมย์ ๑๗. นายทัพย์เทพ

ทิพยเจริญชัย

๑๘. นางมาลา ๑๙. นายสมชาย ๒๐. นางสาวธารทิพย์ ๒๑. นางสาวอุบลรัตน์ ๒๒. นายภาคภูมิ ๒๓. นางสุวรรณา ๒๔. นางภาณิศา ๒๕. นางสุพิญญา ๒๖. นางอัจฉรา ๒๗. นางแสงเพ็ชร ๒๘. นางสุกัญญา ๒๙. นางสาววีรณา ๓๐. นางสาวกนกพร ๓๑. นางสาวณัฐนันท์ ๓๒. นางสาวธริตา ๓๓. นางสาววรรณภา ๓๔. นางสาวละออง ๓๕. นางสาวมณีเนตร

สร้อยสําโรง ช้างแก้วมณี โคกดอกไม้ มโนศิลป์ เมยขุนทด นิม่ นวล รักความสุข เกิดโถ เชียงทอง ภู่มา ฉายาชวลิต สมพีร์วงศ์ ชื่นใจดี ปุณณวิทยาพันธ์ จันทร์หอม พุ่มไม้ พุทธมอญ ผิวดี

สถาบันการแพทย์แผนไทย สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ปทุมธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก ประธานคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลพนัสนิคม โรงพยาบาลประโคนชัย โรงพยาบาลทุ่งสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย โรงเรียนวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม โรงเรียนวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ๑๒๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.