ADVANC: รายงานประจำปี 2559

Page 1

รายงานประจำป 2559

บร�ษัท แอดวานซ อินโฟร เซอร ว�ส จำกัด (มหาชน)



สารบัญ ภาพรวมในการลงทุน

002 สารจากการประธานกรรมการ 004 สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 005 ข้อมูลการดำ�เนินงาน และข้อมูลทางการเงินที่สำ�คัญ 007 วิสัยทัศน์และพันธกิจ 008 นโยบายการจ่ายเงินปันผล ธุรกิจของเรา 009 นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ 011 พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญในปี 2559 013 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ประจำ�ปี 2559 015 โครงสร้างการถือหุ้นของเอไอเอส 017 โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มอินทัช 019 รายชื่อผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก 020 โครงสร้างรายได้ 021 ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขันในปี 2559 และแนวโน้มในปี 2560 023 เป้าหมายในการดำ�เนินธุรกิจใน 3-5 ปี 025 ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ 038 ปัจจัยความเสี่ยง

การกำ�กับดูแลกิจการที่ด ี 047

055 057 071 079 080 083 091 101

ประวัติคณะกรรมการ ผู้บริหาร เลขานุการบริษัท หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และหัวหน้าหน่วยงานกำ�กับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหารในบริษัทและบริษัทย่อย โครงสร้างการจัดการ การกำ�กับดูแลกิจการ การดำ�เนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน รายการระหว่างกัน รายงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำ�ปี 2559

รายงานทางการเงิน 105

106 111 251

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ฐานะการเงินและผลการดำ�เนินงาน คำ�อธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารประจำ�ปี 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม 259

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสำ�คัญอื่น

ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูล ประจำ�ปี (แบบ 56-1) ของบริษัทที่แสดงไว้ใน www.sec.or.th หรือ www.ais.co.th



สร้างโอกาสให้กับคนไทย ด้วยความแข็งแกร่งของเครือข่าย คุณภาพเอไอเอส และดิจิทัล แพลทฟอร์ม ให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า อย่างไม่หยุดยั้ง


เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยทุกเทคโนโลยีอันล้ำ�สมัย และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ (จากเอไอเอส)



สังคมไทยจะเติบโตไปด้วยกัน ด้วยบริการด้านดิจิทัลที่จะช่วยแบ่งปัน ทั้งความรู้และสร้างโอกาสที่ดีให้สังคมไทย



สารจากประธานกรรมการ


ปี 2559 เป็นอีกก้าวสำ�คัญของเอไอเอส ที่เราได้ผ่านความ ท้าทายและความเปลี่ยนแปลงหลายประการ นับตั้งแต่ช่วงต้นปี ทีเ่ รามุง่ ทำ�งานอย่างแข็งขัน เพือ่ ดูแลลูกค้าที่ใช้เครือ่ งโทรศัพท์ 2G ให้สามารถใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์ได้ตอ่ เนือ่ ง ด้วยการนำ�เครือ่ ง 3G ไปเปลี่ยนให้กับลูกค้า ไปจนถึงการเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2559 เพื่อให้สามารถ นำ�คลื่นมาให้บริการลูกค้า อีกทั้งยังเร่งวางโครงข่าย 4G ให้ทัน กับความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือด้วยความเร็วสูง เหตุการณ์เหล่านี้มีความสำ�คัญที่ทำ�ให้ทุกคนในองค์กรต้องตื่นตัว อยู่เสมอ ปลูกฝังแนวคิดในการทำ�งานเพื่อความยั่งยืนขององค์กร พัฒนาบุคลากร เตรียมความพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลง ที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้เอไอเอสมีความแข็งแกร่ง พร้อมจะรับมือ กับสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคต ผลการดำ�เนินงานในปี 2559 นี้ ได้สะท้อนถึงพื้นฐานที่ แข็งแกร่งของเอไอเอส ด้วยรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวม ค่าเชือ่ มโยงโครงข่าย)122,561 ล้านบาท เติบโตร้อยละ1.6 จากปีกอ่ น ส่งผลให้มีกำ�ไรสุทธิ 30,667 ล้านบาท และยังสามารถสร้าง ผลตอบแทนที่มั่นคงให้กับผู้ถือหุ้นได้ด้วยการคงนโยบายการ จ่ายเงินปันผลที่ร้อยละ 100 ของกำ�ไรสุทธิในปี 2559 รวมไปถึง มีฐานะทางการเงินทีแ่ ข็งแกร่ง พร้อมสำ�หรับการลงทุนและโอกาส ทางธุรกิจในอนาคต การเติบโตนี้เป็นผลมาจากปณิธานของเรา ที่มุ่งมั่นจะเป็นผู้นำ�ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ดีที่สุด สรรหานวัตกรรมเพื่อนำ�เสนอบริการแก่ลูกค้า วางพื้นฐานด้วย เครือข่ายที่มีคุณภาพ และมุ่งพัฒนาความเป็นเลิศด้านงานบริการ เพื่อตอบรับกับการใช้ชีวิตของลูกค้าในยุคดิจิทัล นอกจากการคงความเป็ น ผู้ นำ�ในธุ ร กิ จ โทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักแล้ว เอไอเอสยังมุ่งสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ใหม่ที่จะมีส่วนเสริมต่อกลยุทธ์รวม โดยให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของเราที่ต้องการเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล ซึ่งจะตอบสนองความ ต้ อ งการของลู ก ค้ า ในยุ ค ปั จ จุ บั น ได้ อ ย่ า งครบถ้ ว น ทั้ ง ธุ ร กิ จ

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทีเ่ ติบโตอย่างก้าวกระโดด สามารถเข้าถึง ลูกค้าในวงกว้างมากขึน้ และยังมีธรุ กิจดิจทิ ลั คอนเทนต์ ทีน่ �ำ เสนอ คอนเทนต์หลากหลาย ทั้งสาระและบันเทิง รวมถึงแอปพลิเคชัน อื่นๆ ที่ทำ�ให้การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย ยิ่งไปกว่านี้ เอไอเอสยังเชื่อมั่นในการสร้างประโยชน์จากทรัพยากรและความ สามารถที่เรามี นับตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงนวัตกรรม เพื่อให้การติดต่อสื่อสาร การหาความรู้ การสร้างอาชีพ และการ ดูแลความเป็นอยู่ เป็นไปโดยราบรื่น ง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับสังคมไทย การพัฒนาเหล่านี้ เกิดขึ้นได้จากการร่วมมือของทุกฝ่าย เอไอเอสจึงให้ความสำ�คัญกับการสร้างความสมดุลระหว่างการ เติบโตของบริษัท และการพัฒนาด้านสังคม ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสนับสนุนเพื่อเสริมศักยภาพให้กับพันธมิตรทาง ธุรกิจ ทั้งพันธมิตรด้านช่องทางจัดจำ�หน่าย ซัพพลายเออร์ และ คู่ค้าอื่นๆ ที่จะช่วยส่งผลให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และบริการที่ดี นอกจากนี้ เอไอเอสยังมุ่งพัฒนาบุคลากร ปลูกฝัง วัฒนธรรมองค์กรทีเ่ หมาะกับการสร้างสรรค์ กระตุน้ ให้เกิดความคิด ใหม่ๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง สำ�หรับปี 2559 นี้ นับเป็นปีที่ 2 ที่เอไอเอสซึ่งเป็นผู้ให้บริการ โทรคมนาคมไทยเพียงรายเดียว ได้รับคัดเลือกให้รวมอยู่ในดัชนี ความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) และเป็นปีที่ 2 ที่ได้รวมอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน ของกลุ่ม บริษัทจดทะเบียน จากการประเมินของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ผมเชื่อว่าแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ผนวกรวม อยู่ในทุกมิติการดำ�เนินงานของเอไอเอส ทำ�ให้เราสามารถสร้าง การเติบโตและผลตอบแทนได้อย่างมั่นคงในระยะยาวแก่ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียทุกด้าน รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตและก้าวหน้าให้กับ เศรษฐกิจและสังคมไทย

นายกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ รายงานประจำ�ปี 2559

002


CEO

สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

MESSAGE


สวัสดีท่านผู้ถือหุ้นทุกท่านครับ ปี 2559 นับเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์อีกปีหนึ่งของบริษัท จากช่วงครึ่งปีแรกที่บริษัทต้องทำ�การดูแลลูกค้า 2G อย่างเต็ม ความสามารถ ด้วยความไม่ชัดเจนในการใช้งานคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จนในที่สุดบริษัทได้รับการจัดสรรคลื่นในเดือน มิถุนายนที่ผ่านมา ทำ�ให้ตอนนี้เอไอเอสมีคลื่นความถี่บนระบบ ใบอนุญาตทั้งคลื่น 2100/1800/900 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อเอไอเอส สามารถปลดข้อจำ�กัดด้านปริมาณคลื่นความถี่ลงได้ ด้วยความ ตัง้ ใจในการให้บริการลูกค้า และในฐานะผูน้ �ำ ตลาด เอไอเอสได้เร่ง ลงทุนขยายโครงข่ายอย่างเร็วทีส่ ดุ โดยยังยึดหลักการพืน้ ฐานด้าน คุณภาพ เพือ่ ตอบโจทย์การใช้งานด้านดาต้าทีย่ งั คงเติบโตขึน้ ทุกวัน ทำ�ให้ปัจจุบันเอไอเอสมีโครงข่าย 4G ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร เกินกว่าทีเ่ ราตัง้ เป้าหมายไว้เมือ่ ต้นปีทรี่ อ้ ยละ 80 ของ ประชากร เช่นเดียวกับบริการ 3G ที่เรายังคงลงทุนเพิ่มความจุ โครงข่าย และ 2G ที่ยังให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ ต่างจังหวัด ทำ�ให้บริษทั ยังคงความเป็นผูน้ �ำ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด เชิงรายได้ที่ประมาณร้อยละ 50

ในส่วนธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งปีที่ผ่านมาเราให้ความ สำ�คัญมากกับเรื่องคอนเทนต์ด้านวิดีโอ โดยเฉพาะแอปพลิเคชัน AIS PLAY ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเอไอเอสเป็นผู้ให้ บริการรายเดียวที่ ได้สิทธิ ในการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิคและ พาราลิมปิคที่เมืองริโอ ประเทศบราซิล อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับ แกรมมีใ่ นการให้ลกู ค้าได้รบั ชมคอนเสิรต์ ต่างๆ สดบนมือถือ ซึง่ ถือเป็น ก้าวแรกทีส่ �ำ คัญของการปรับสินค้าและบริการให้เข้ากับพฤติกรรม การใช้งานมือถือของลูกค้าในปัจจุบนั ด้วยการให้ความสำ�คัญอย่าง ยิ่งกับการทำ�ธุรกิจแบบ ecosystem เราจะสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ ของเอไอเอสพร้อมความตื่นเต้นใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างความสะดวก สบายให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เอไอเอสได้ผ่านช่วงมรสุมมาหลายครั้งในช่วง 26 ปีที่เรา ดำ�เนินธุรกิจมา ทุกๆ ครั้งอุปสรรคได้ท�ำ ให้เราแข็งแกร่งขึ้น ด้วย ความทุม่ เทของพนักงานทุกคนในบริษทั ทีพ่ ร้อมปรับตัวกับสภาวะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำ�ให้ผมมั่นใจว่าเอไอเอสจะสามารถก้าว ไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็น เรื่องที่บริษัทให้ความสำ�คัญอย่างยิ่ง และทำ�ให้เอไอเอสยังคงเป็น บริษัทเดียวในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่ได้รับการคัดเลือก ให้ติดอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์เป็นปีที่สองติดต่อกัน ผมใน ฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมมุ่งมั่นนำ�พาเอไอเอสไปยัง เป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ได้รับการ ยอมรับสูงสุดจากลูกค้าของเรา

ในอีกด้านหนึ่งของบริษัท ปี 2559 เป็นปีที่สองของการทำ� ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผมภาคภูมิใจแทนพนักงานทุกคน ที่ความทุ่มเทของพวกเราได้ก่อให้เกิดบริการใหม่ และเป็นแหล่ง รายได้ใหม่ของบริษทั ทีเ่ ติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบนั เอไอเอสไฟเบอร์ มีลกู ค้าทัง้ สิน้ 301,500 ราย ซึง่ เติบโตกว่า 6.8 เท่าจากปีกอ่ น และ สามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึง 860 ล้านบาทในปี 2559 เรา คาดหวังทีจ่ ะยกระดับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย ให้สูงไปอีกขั้น ผ่านเทคโนโลยีใยแก้วนำ�แสง ซึ่งเป็นแก่นสำ�คัญ จนกว่าจะพบกันใหม่ในปีหน้าครับ ของการทำ�ตลาดของเอไอเอส ไฟเบอร์ และการตัง้ ราคาทีเ่ หมาะสม และคุ้มค่าต่อลูกค้า ผมยังคงตั้งเป้าหมายว่าเอไอเอส ไฟเบอร์จะ สามารถเป็นผูเ้ ล่นรายสำ�คัญในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงนี้ได้ ภายในอีก 3 ปี

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รายงานประจำ�ปี 2559

004


ข้อมูลการดำ�เนินงานที่ส�ำ คัญ มุ่งสู่บริการดิจิทัลเพื่อคนไทย ผสมผสานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการที่เป็นเลิศ มุ่งสู่ความเป็นผู้น�ำ

พัฒนาสู่การเติบโต

ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

รายได้จากบริการข้อมูลเพิ่มขึ้น

20

%

ความต้องการใช้งานดาต้า เติบโตจาก การใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นและ บริการดาต้าที่มีอัตราความเร็วสูงขึ้น

มุ่งมั่นเป็นผู้ให้บริการอันดับ 1 ในประเทศไทย ให้บริการลูกค้ากว่า 41 ล้านราย และมีส่วนแบ่งรายได้ทางการตลาด ประมาณ 50%

3.6GB 29%

ให้บริการโครงข่ายที่ครอบคลุม

การใช้งานดาต้าเฉลี่ย ผู้ใช้บริการมือถือ ที่รองรับ 4G สูงขึ้น 1.8 เท่า

ครอบคลุม 98%

ธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

2G 3G 4G

ครอบคลุม 98% ครอบคลุม 98%

ให้บริการลูกค้า

301,500 ราย ครอบคลุม

บริการดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ AIS PLAY และ AIS PLAYBOX

• ศูนย์รวมคอนเทนต์จากพันธมิตร ถ่ายทอดสดรายการ ที่สามารถรับชมได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม

AIS Business cloud

• ให้บริการคลาวด์แบบครบวงจร พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 • ส่งเสริมประสิทธิภาพธุรกิจด้วยความคล่องตัวในการ ทำ�งานและลดต้นทุน สำ�หรับลูกค้าองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดย่อม

5.2 ล้าน ครัวเรือน ใน 28 จังหวัด ยกระดับมาตรฐานความเร็วอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ ในประเทศไทย ด้วยโครงข่าย เอไอเอส ไฟเบอร์ ออฟติก เป็นแหล่ง รายได้ ใหม่ ที่ใช้ประโยชน์จากโครงข่าย ไฟเบอร์ ออฟติก บนธุรกิจบริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่

Mobile Money

ร่วมมือกับธนาคารและสถาบันการเงิน มุ่งพัฒนา ความสะดวกสบายในการใช้บริการทางการเงิน

ส่งมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืน

DJSI 2558 และ 2559

70%

า ผู้ ให้บริการรายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงรายเดียวในไทย ไม่อัตต�่ำ กว่ ราเงินปันผล ที่ได้รับคัดเลือกให้รวมอยู่ใน DJSI ต่อเนื่องถึงสองปี ตั้งแต่ปี 2560 005

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

รางวัล สุดยอดนายจ้าง ดีเด่นแห่งประเทศไทย จาก เอออน ฮิววิท ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4


ข้อมูลทางการเงินทีส่ �ำ คัญ รายได้จากการให้บริการ (ล้านบาท) 122,561

2557

2558

2559

กำ�ไรสุทธิ (ล้านบาท, อัตรากำ�ไร) -0.7% 36,033

10.08

12.00 2557 2558 2559 ปรับนโยบายเงินปันผล โดยจะจ่ายไม่ต่ำ�กว่า ร้อยละ 70 ของกำ�ไรสุทธิ

อัตราหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA (เท่า) 0.70

1.38

8.7%

-22% 30,667

เงินปันผลต่อหุ้น (บาท/หุ้น) 12.99

60,741

2557 2558 2559 ยังคงเติบโต 1.6 % จากปีที่แล้ว แม้จะมีการแข่งขันในอุตสาหกรรมสูง

39.9%

70,776

117,990

45.6%

66,428

44.7%

39,152

120,621

กำ�ไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ยและค่าเสื่อม (EBITDA) (ล้านบาท, อัตรากำ�ไร)

2557 2558 2559 เดินหน้าลงทุนเพื่อพัฒนาโครงข่ายและส่งเสริม การรับรู้ของลูกค้าต่อเอไอเอส

อัตรากำ�ไรสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น 79%

82% 67%

0.28 2557 2558 2559 มีแหล่งเงินทุนที่แข็งแรงส่งเสริมการเติมโตในระยะยาว

2557 2558 2559 ลงทุนต่อเนื่องเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ และผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน

กระแสเงินสดหลังหักค่าใช้จ่าย (ล้านบาท)

เงินลงทุนโครงข่าย (ล้านบาท) 47,554 32,562

32,255

2557 2558 2559 มุ่งขยายโครงข่าย 3G และ 4G

30,258

29,375

6,012 2557 2558 2559 กระแสเงินสด (Free cash flow) ยังคงแข็งแกร่ง แม้จะอยู่ในช่วงที่มีการลงทุนในโครงข่ายสูง รวมถึงการจ่ายค่าใบอนุญาต รายงานประจำ�ปี 2559

006


วิสัยทัศน์ เป็ น ผู้ นำ � สร้ า งสรรค์ ต ลาดการสื่ อ สาร โทรคมนาคมในประเทศไทย และมุ่ ง หมาย ที่ จ ะเป็ น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรับสูงสุด

พันธกิจ • เอไอเอสมุง่ มัน่ ทีจ่ ะส่งมอบบริการทีเ่ หนือกว่า และสร้างสรรค์นวัตกรรม ใหม่ๆ ด้วยความรับผิดชอบทีส่ ง่ เสริมการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วัน และเพิม่ ขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของผู้ใช้บริการให้ดีขึ้น • เอไอเอสมุง่ มัน่ ใส่ใจบริการลูกค้า เพือ่ สร้างความผูกพันกับผู้ใช้บริการ • เอไอเอสมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำ�งานที่กระฉับกระเฉง ให้บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ และมีแนวคิดในการแสวงหาโอกาส ทางธุรกิจ เพื่อการเติบโตขององค์กร • เอไอเอสมุง่ มัน่ สร้างการติบโตร่วมกันอย่างยัง่ ยืนกับผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ทุกฝ่าย


นโยบายการจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติ ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผล เป็นดังต่อไปนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต�่ำ กว่าร้อยละ 70 ของกำ�ไร สุทธิตามงบการเงินรวม โดยจะพิจารณาการจ่ายเงินปันผลให้แก่ ผู้ถือหุ้นปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเงินปันผลระหว่างกาล พิจารณา จากผลการดำ�เนินงานของบริษทั ในงวดครึง่ ปีแรก ซึง่ ต้องผ่านการ อนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั และรายงานต่อทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ใน ครัง้ ถัดไป ส่วนการจ่ายเงินปันผลครัง้ ทีส่ องเป็นเงินปันผลประจำ�ปี ซึง่ พิจารณาจากผลการดำ�เนินงานของบริษทั ในงวดครึง่ ปีหลัง และ ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น

สำ�หรับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยจะพิจารณาจากผล การดำ�เนินงานของบริษทั ย่อย สถานะการเงินและปัจจัยสำ�คัญอืน่ ๆ ของบริษัทย่อยนั้นๆ ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลในทุกกรณี จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสด และแผนการลงทุน รวมถึงความจำ�เป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคตของบริษัทและ/หรือ บริษัทย่อย และการจ่ายเงินปันผล ดังกล่าวจะต้องไม่เกินกำ�ไรสะสมที่ปรากฏใน งบการเงินเฉพาะ กิจการของบริษัท และ/หรือ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำ�คัญต่อการ ดำ�เนินงานปกติของบริษัทและบริษัทย่อย โดยข้อมูลการจ่ายเงินปันผลในรอบ 5 ปีทผี่ า่ นมา จากนโยบาย การจ่ายเงินปันผลเดิมที่ไม่ต�่ำ กว่าร้อยละ 100 มีดังนี้

รายละเอียด

2555

2556

2557

2558

2559

การจ่ายเงินปันผล (บาท : หุ้น) 1. เงินปันผลระหว่างกาล 2. เงินปันผลประจำ�ปี อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อกำ�ไรสุทธิ

10.90 5.90 5.00 93%

12.15 6.40 5.75 99.58%

12.00 6.04 5.96 99.01%

12.99 6.50 6.49 98.64%

10.08 5.79 4.29 97.72%

รายงานประจำ�ปี 2559

008


นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่

ผู้ให้บริการ ด้านดิจิทัลไลฟ์

ดิจิทัล คอนเทนต์

• เกม • วิดีโอ • ธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ • คลาวด์ • การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์

อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง

บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ก้าวเข้าสู่การเป็น “ผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์” ด้วยการดำ�เนิน ธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการดิจิทัลคอนเทนต์ ณ สิ้นปี 2559 เอไอเอสในฐานะผูน้ �ำ ด้านการให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ใน ประเทศไทย มีสว่ นแบ่งทางการตลาดเชิงรายได้อยูท่ ป่ี ระมาณร้อยละ 50 และมีผู้ใช้บริการจำ�นวน 41 ล้านรายทั่วประเทศ เอไอเอสได้ให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี โดยรายได้ จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัท และด้วยคลื่นความถี่ที่เอไอเอสถือครองในปัจจุบัน จึงสามารถ ให้บริการโครงข่ายที่มีคุณภาพทั้งเทคโนโลยี 2G 3G และ 4G ตลอดจนบริการคุณภาพอื่นๆ นอกจากนี้ จากการที่เอไอเอสได้ รับใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มาเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 และใบอนุญาตจะสิ้นสุดในปี 2574 ทำ�ให้สามารถใช้คลื่นเพื่อให้ บริการเทคโนโลยี 2G ควบคู่ไปกับการใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ให้กบั เทคโนโลยี 3G และ 4G ในปัจจุบนั เทคโนโลยี 3G ของเอไอเอส ดำ�เนินงานอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง ใบอนุญาตจะสิน้ สุดในปี 2570 โดยเครือข่าย 3G มีความครอบคลุม มากกว่าร้อยละ 98 ของประชากรไทย ส่วนเทคโนโลยี 4G ของ เอไอเอส ดำ � เนิ น งานอยู่ ภายใต้ ร ะบบใบอนุ ญ าตคลื่ น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และใบอนุญาตจะสิน้ สุดในปี 2576 โดย ณ สิน้ ปี 2559 เครือข่าย 4G มีความครอบคลุมถึงร้อยละ 98 ของประชากร นอกจากนี้แล้ว เอไอเอสยังให้บริการอื่นๆ ได้แก่ บริการการโทร อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ดิจิทัลคอนเทนต์ วีดีโอสตรีมมิ่ง ธุรกรรม ทางการเงินบนมือถือ บริการโทรศัพท์ทางไกล และบริการข้ามแดน อัตโนมัติ

009

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นอกเหนือจากบริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีแ่ ล้ว ในปี 2558 เอไอเอส ได้เริม่ ดำ�เนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ ‘เอไอเอส ไฟเบอร์’ และต่อมาในปี 2559 ซึง่ เป็นปีทสี่ องของการดำ�เนินธุรกิจ เอไอเอส ไฟเบอร์ได้เติบโตอย่างรวดเร็วเนือ่ งมาจากการขยายความ ครอบคลุมอย่างต่อเนื่องและการมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยที่ตลาด อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขยายตัวเช่นกันเนื่องจากความต้องการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำ�ให้เอไอเอส ไฟเบอร์ ส ามารถใช้ จุ ด เด่ น ด้ า นความแตกต่ า งของเทคโนโลยี ใยแก้วนำ�แสง (FTTx) พร้อมด้วยราคาที่เหมาะสมจูงใจให้ผู้ใช้ บริการเทคโนโลยี ADSL มาใช้เทคโนโลยีใยแก้วนำ�แสง ส่งผลให้ ปีนี้รายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 616 จากเมื่อปีก่อน และจำ�นวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 เท่า จาก ผู้ใช้บริการ 44,000 ราย เมื่อสิ้นปีที่แล้ว เป็น 301,500 ราย และ ครอบคลุม 5.2 ล้านครัวเรือน ณ สิ้นปีนี้ พร้อมกันนี้ เอไอเอส จะยังคงดำ�เนินการต่อยอดธุรกิจในปีหน้าและตัง้ เป้าหมายทีจ่ ะเป็น ผู้ให้บริการรายหลักในตลาด ภายใน 3 ปี ธุรกิจหลักส่วนสุดท้ายของเอไอเอสคือ ธุรกิจดิจทิ ลั คอนเทนต์ ซึง่ การก้าวเข้าสูก่ ารเปลีย่ นแปลงของธุรกิจยุคดิจทิ ลั ทำ�ให้เอไอเอส ในฐานะทีเ่ ป็นผูใ้ ห้บริการด้านดิจทิ ลั ไลฟ์ ได้มกี ารคิดค้นและพัฒนา ดิจิทัลคอนเทนต์และบริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้า โดยเอไอเอสได้ ร่วมมือกับผูส้ ร้างและให้บริการคอนเทนต์ในการพัฒนาระบบนิเวศ ของการทำ�ธุรกิจแบบเชื่อมโยงร่วมกับพันธมิตรเพื่อการเติบโตไป พร้อมๆ กัน ทัง้ นี้ เอไอเอสได้เน้นการทำ�ดิจทิ ลั คอนเทนต์ใน 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ เกม ธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ คลาวด์ และการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M) โดยตัวอย่างของความสำ�เร็จใน ปี 2559 ได้แก่ AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่ให้ บริการวิดโี อคอนเทนต์และการเปิดตัวบริการคลาวด์ส�ำ หรับองค์กร ทั้งนี้ ในท้ายที่สุด ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ของเอไอเอสจะสามารถ ยกระดับและขยายธุรกิจในทุกๆ ด้านแบบองค์รวม พร้อมกับการ ผลักดันให้เอไอเอสสามารถเติบได้อย่างแข็งแกร่งในยุคดิจิทัล


การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการ ประกอบกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย

การประกอบกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย อยู่ภายใต้ การกำ�กับดูแลโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งถูกจัดตั้งโดย พระราชบัญญัตอิ งค์กรจัดสรรคลืน่ ความถีแ่ ละกำ�กับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พรบ.องค์กรจัดสรรคลืน่ ความถี่ พ.ศ. 2553) โดยภายใต้ขอ้ กำ�หนด แห่งพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 กสทช.มีอำ�นาจ หน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึง่ สามารถ สรุปสาระสำ�คัญได้ดังต่อไปนี้ • จั ด ทำ � แผนแม่ บ ทการบริ ห ารคลื่ น ความถี่ ตารางกำ � หนด คลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และ แผนเลขหมายโทรคมนาคม และจัดสรรคลื่นความถี่ที่ ใช้ ในกิจการโทรคมนาคม • พิ จ ารณาอนุ ญ าตและกำ � กั บ ดู แ ลการใช้ ค ลื่ น ความถี่ แ ละ เครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการโทรคมนาคม • พิจารณาอนุญาตและกำ�กับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม และกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธกี ารเกีย่ วกับการอนุญาต เงือ่ นไข และค่าธรรมเนียมการอนุญาต

• กำ�หนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและโครงสร้างอัตรา ค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม และการกระจายบริการด้าน โทรคมนาคมให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน • กำ�หนดมาตรการเพือ่ ป้องกันการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรม ในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจการโทรคมนาคม โดยภายหลังจากทีบ่ ริษทั แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำ�กัด (เอดับบลิวเอ็น) บริษทั ย่อยของเอไอเอส ได้รบั ใบอนุญาตให้ใช้คลืน่ ความถี่ 2100/1800/900 เมกะเฮิรตซ์ ทำ�ให้ปจั จุบนั การดำ�เนินงาน บนระบบสัญญาสัมปทานสิน้ สุดลงและเปลีย่ นมาเป็นระบบใบอนุญาต ทัง้ นี้ ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม บริษทั ในกลุม่ เอไอเอสที่ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและ หลักเกณฑ์ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมของกสทช. ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมในการใช้คลืน่ และการใช้เลขหมาย การสบทบเงินเข้า กองทุนวิจยั และพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพือ่ ประโยชน์สาธารณะ การจัดให้มโี ครงข่ายโทรคมนาคมครอบคลุมพืน้ ทีต่ ามที่ใบอนุญาต กำ�หนด และการคิดค่าบริการตามที่กสทช.กำ�หนด เป็นต้น

รายงานประจำ�ปี 2559

010


พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำ คัญในปี 2559

มกราคม

• ภายหลั ง จากการได้ รั บ ใบอนุ ญ าตให้ ใ ช้ ค ลื่ น ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมือ่ เดือนธันวาคม 2558 บริษทั แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (เอดับบลิวเอ็น) บริษัทย่อย ประกาศเปิด ให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ 4G ADVANCED ด้วยพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 42 จังหวัด โดยนำ�เอาเทคโนโลยี LTE ADVANCED มาใช้เป็นรายแรกของประเทศไทย

• เอไอเอส เปิดตัวแคมเปญ “ทีส่ ดุ จากใจ ที่ 1 การให้บริการ” ต่อยอด แนวคิดการบริการและการดูแลลูกค้า “AIS Live 360º” ด้วย การนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยออกแบบงานบริการที่สามารถ ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า การเพิ่ม ช่องทางในการให้บริการบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น และการเปิด บริการถามอุ่นใจ (Ask Aunjai) ซึ่งเป็น Virtual Agent ทำ�หน้าที่ คล้ายพนักงานจริงที่คอยตอบคำ�ถามลูกค้า 24 ชั่วโมง ผ่าน กุมภาพันธ์ ช่องทางเว็บไซต์ การจัดให้มีพนักงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะให้ • เอไอเอส ประกาศงบลงทุน 40,000 ล้านบาท สำ�หรับปี 2559 การดูแลลูกค้ากว่า 5,000 คน และการมอบสิทธิประโยชน์ที่ เพื่อขยายโครงข่าย 4G และการปรับปรุงคุณภาพของโครงข่าย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าครบทัง้ 360 องศาการใช้ชวี ติ 3G การขยายธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี ไฟเบอร์ และการขยายร้านเอไอเอส ช็อป เมษายน • เอไอเอสประกาศให้บริการ AIS 4G ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด มีนาคม ทั่วประเทศไทย หลังจากการเริ่มต้นเปิดให้บริการใน 42 จังหวัด • เอไอเอส เปิดตัว 4.5 G เชิงพาณิชย์ เป็นรายแรกของโลก โดย เมื่อเดือนมกราคม ร่วมมือกับ“หัวเว่ย” พันธมิตรทางธุรกิจ คิดค้นและผสมผสาน นวั ต กรรมเครื อ ข่ า ยอั จ ฉริ ย ะเข้ า ด้ ว ยกั น สามารถใช้ ง านที่ พฤษภาคม ความเร็ ว สู ง สุ ด ถึ ง 550 เมกะบิ ต ต่ อวิ นาที และจะพั ฒ นา • เอไอเอสร่วมมือกับพันธมิตรในการต่อยอดพัฒนามือถือเอไอเอส สู่ความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาทีในอนาคต โดย 4.5G จะทำ�ให้ ลาวา โดยนำ�เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดโวลเต้ (VoLTE) ที่ใช้ในมือถือ ผู้บริโภคชาวไทยสามารถใช้งานวิดีโอความละเอียดสูง และ ระดับราคาสูง มาเปิดให้บริการกับมือถือในระดับราคากลาง รองรับการใช้งานแอปพลิเคชันทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต เช่น Virtual ถึงล่าง โดย VoLTE บนเครือข่าย 4G ให้คุณภาพเสียงคมชัด Reality ได้ ระดับ Full HD มีเสียงรบกวนต่� ำ การเชือ่ มต่อคูส่ ายทีเ่ ร็วกว่าเดิม • ศูนย์บริการเอไอเอส ดาต้า เซ็นเตอร์ ทุกแห่ง ได้รับใบรับรอง และมีความเสถียรมากกว่าเทคโนโลยีทั่วไป มาตรฐานระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO • เอดับบลิวเอ็น บริษัทย่อย เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้ 27001:2013 จากบริษทั บูโร เวอริทสั เซอทิฟเิ คชัน่ (ประเทศไทย) คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ และเป็นผู้ช นะการประมู ล จำ�กัด ซึ่งยืนยันถึงมาตรฐานการบริหารจัดการความปลอดภัย คลืน่ ความถีจ่ �ำ นวน 1 ชุด ในแถบย่านความถี่ 895 เมกะเฮิรตซ์ ข้อมูล และการก่อสร้างดาต้า เซ็นเตอร์ที่ได้มาตรฐานสากลและ 905 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 940 เมกะเฮิรตซ์ - 950 เมกะเฮิรตซ์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นแถบความกว้าง 2x10 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยราคาประมูล 75,654 ล้ า นบาท และได้ รั บ ใบอนุ ญ าตมี ผ ลตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 กรกฎาคม 2559 และมีระยะเวลาอนุญาต 15 ปี

011

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


• เอไอเอส ไฟเบอร์ เปิดประสบการณ์ใหม่ของวงการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตด้วยบริการ “เน็ตหอ” บริการอินเทอร์เน็ตรูปแบบ เติมเงินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อรองรับการใช้ชีวิต ที่แตกต่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ใช้เทคโนโลยีไฟเบอร์ออฟติก 100% ของกลุ่มนิสิต นักศึกษา และผู้อยู่อาศัยหอพัก

สิงหาคม

• เอไอเอส 4G ประกาศความเป็นผูน้ �ำ ด้านเครือข่ายโรมมิง่ ทัว่ โลก ด้วยบริการ 4G โรมมิ่ง ที่ครอบคลุม มากถึง 74 ประเทศ 121 เครือข่าย ทุกทวีปทั่วโลก ภายใต้การทำ�งานร่วมกับพันธมิตร ชั้นนำ� • เอไอเอส เปิดประสบการณ์ถ่ายทอดสด “โอลิมปิค ริโอเกมส์ 2016” บนมือถือผ่านแอปพลิเคชัน “AIS PLAY” เป็นครั้งแรก ในอาเซียน ให้คนไทยได้ชมสด ครบทุกคู่ ทุกสนาม กว่า 12 ช่อง ด้วยความคมชัดระดับ Full HD พร้อมรับชมย้อนหลังได้

กันยายน

มิถนุ ายน

• เอไอเอส เปิดตัว “SIM2FLY” ซิมโรมมิ่งรูปแบบใหม่ ที่รองรับ การเดินทางถึง 8 ประเทศยอดนิยมในโซนเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ลาว มาเลเซีย และอินเดีย ด้วยราคาเริ่มต้น 399 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบัน SIM2FLY ได้ขยาย การให้บริการครอบคลุมโซนยุโรปและอเมริการ และประเทศอืน่ ๆ อีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

• เอไอเอส ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดและชมย้อนหลัง การแข่งขัน มหกรรมกีฬาคนพิการ “พาราลิมปิค เกมส์ 2016” ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ให้ลูกค้าสามารถรับชมฟรีผ่าน แอปพลิเคชัน AIS PLAY บนมือถือ และกล่องทีวีอินเทอร์เน็ต AIS PLAYBOX

กรกฎาคม

• เอไอเอส แถลงวิสัยทัศน์แ ละนโยบายการให้การสนับสนุน ภาคธุรกิจไทย ก้าวสู่การเป็น “Digital Enterprise” ด้วยการเป็น “ผู้ให้บริการคลาวด์ อันดับ 1 ของไทย” จากการร่วมมือกับ พันธมิตรระดับโลก ได้แก่ Microsoft, VMware NSX, NetApp, Check Point เพื่อเปิดให้บริการ “คลาวด์เพื่อธุรกิจ (AIS Business Cloud)” อย่างเต็มรูปแบบ • เอไอเอสร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (เนคเทค) นำ�จุดแข็งในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยี ดิจิทัลช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ตาม แนวชายแดน ใน “โครงการระบบไอซีที และพลังงานทดแทน แบบบูรณาการสำ�หรับชุมชนชายขอบ ตามพระราชดำ�ริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยพัฒนาและ ติดตัง้ ระบบพลังงานทดแทนแบบบูรณาการ ด้วยการสร้างระบบ การผลิ ต พลั ง งานไฟฟ้ า แบบผสมผสานระหว่ า งพลั ง งาน จากแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ� พร้อมระบบตรวจวัดข้อมูล สังเกตการณ์ระยะไกล (Remote Monitoring) สำ�หรับใช้งาน ภายในศู น ย์ การเรี ย นตำ � รวจตระเวนชายแดนบ้ า นคี รี ล้ อ ม จ.ประจวบคีรีขันธ์

ตุลาคม

• เอไอเอส ร่วมกับบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดให้บริการเทคโนโลยีโวลเต้ (VoLTE) ข้ามเครือข่ายเป็น ครัง้ แรกในไทยและอาเซียน โดยลูกค้าระบบเติมเงินและรายเดือน ของทั้งสองเครือข่ายสามารถใช้งาน VoLTE เพื่อใช้บริการโทร 4G ทั้งภาพและเสียงด้วยคุณภาพระดับ Full HD ได้ทุกพื้นที่ บนโครงข่าย 4G ทั่วประเทศ

รายงานประจำ�ปี 2559

012


รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ประจำ�ปี 2559 รางวัลด้านองค์กรยอดเยีย่ ม

• รางวัล “Thailand’s Top Corporate Brands 2016” จากการ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด ในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ประจำ�ปี 2559 ด้วยมูลค่าแบรนด์ องค์กรที่ 582,434 ล้านบาท และยังเป็นมูลค่าที่สูงสุดในทุกกลุ่ม ธุรกิจ โดยบริษัทได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 จากคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • รางวัล “สุดยอดนายจ้างดีเด่น และนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำ�ปี 2559” ซึง่ จัดขึน้ โดย บริษทั เอออน ฮิววิท (ประเทศไทย) ร่ ว มกั บ สถาบั น บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยเอไอเอสรับรางวัล สุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่ง ประเทศไทย ประจำ�ปี 2559 และแอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็นเตอร์ รับรางวัล นายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำ�ปี 2559 โดย รางวัลดังกล่าวมอบให้กบั บริษทั ทีม่ กี ารสร้างและรักษาความเป็นเลิศ ด้านการบริหารบุคลากร การเป็นผู้น�ำ ที่มีประสิทธิภาพ การสร้าง วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ และการมีภาพลักษณ์ของ นายจ้างที่โดดเด่นและน่าเชือ่ ถือ สะท้อนการเป็นองค์กรทีพ่ นักงาน มีความพึงพอใจ และมีความผูกพันกับองค์กร • รางวัล “บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2559 และบริษัทยอดเยี่ยมแห่ง ปี 2559 ประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี” จากวารสารการ เงินธนาคาร ซึ่งมอบให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีผลประกอบการ ยอดเยีย่ มในรอบปี และยอดเยีย่ มในแต่ละกลุม่ อุตสาหกรรม ในงาน Money & Banking Awards 2016 • รางวัล “Thailand Top Company Awards 2016” ในกลุ่ม อุตสาหกรรมการสื่อสารและโทรคมนาคม จากการเป็นบริษัทที่มี ผลการดำ�เนินงานยอดเยีย่ ม มีการบริหารจัดการทีโ่ ดดเด่น และเป็น องค์กรตัวอย่างในการดำ�เนินธุรกิจ ซึง่ จัดโดยนิตยสาร Business+ ในเครือ เออาร์ ไอพี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย • ได้รับคัดเลือก “ดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์” Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน (2558-2559) เป็นองค์กรที่มีการดำ�เนินงานธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร ในระยะยาวอย่างยั่งยืน แนวทางการดำ�เนินงานเพื่อให้สามารถ ส่งมอบผลตอบแทนให้แก่ผถู้ อื หุน้ อย่างต่อเนือ่ ง ควบคูไ่ ปกับการใช้ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั สร้างการเชือ่ มต่อและยกระดับสังคมไทย โดยต้อง ส่งผลผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมน้อยทีส่ ดุ เป็น 1 ในเพียง 17 บริษทั 013

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

โทรคมนาคมทัว่ โลกที่ได้รบั การคัดเลือกให้มมี รี ายชือ่ ติดอยู่ในดัชนี ดังกล่าว จากบริษัทโทรคมนาคมที่ ได้รับการประเมินทั้งหมด 90 บริษัท • ได้รับการคัดเลือกให้ติดอยู่ใน “MSCI Global Sustainability Indexes” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากผลการดำ�เนินงานที่โดดเด่นทั้ง เชิงผลการดำ�เนินงานในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม โดย การถูกคัดเลือกให้มชี อื่ อยู่ในดัชนีดงั กล่าว ถือเป็นอีกก้าวหนึง่ ของ การดำ�เนินงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรที่ได้รับการ ยอมรับในระดับสากล นอกเหนือจากการมีชื่ออยู่ในดัชนีความ ยั่งยืนดาวน์โจนส์ • เป็น 1 ใน 33 บริษัทโทรคมนาคมจากทั่วโลกที่มีรายชื่ออยู่ ในดัชนี "FTSE4Good Emerging Index" ซึ่งจัดทำ�โดย FTSE Group บริษัทผู้ออกแบบและจัดหาดัชนีระดับโลก ที่มีการทำ�งาน ร่วมกันกับตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศ ทัง้ ในยุโรปและเอเชีย แปซิ ฟิ ค โดย FTSE4Good เป็ น ดั ช นี ที่ คั ด เลื อ กบริ ษั ท ที่ ผลการดำ � เนิ น งานและฐานะการเงิ น ที่ แ ข็ ง แกร่ ง ควบคู่ กั บ ผลการดำ�เนินงานในสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับ • รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมสื่อสาร (Best in Sector: Communications) จากงาน IR Magazine Awards & ConferenceSouth East Asia 2016 จัดขึ้นโดย IR Magazine ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อมอบรางวัลให้แก่บริษัทจ ดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านงานนักลงทุนสัมพันธ์ โดยการ ตัดสินวัดจากผลสำ�รวจความเห็นของนักวิเคราะห์ และนักลงทุน สถาบันในภูมิภาค ทั้งฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย • รางวัล “รายงานความยั่งยืนดีเด่น ประจำ�ปี 2559” ต่อเนื่องเป็น ปีที่ 2 ในฐานะองค์กรที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างโปร่งใส ครบถ้วน และ มีนโนบายการจัดทำ�รายงานด้านความยั่งยืน ที่เป็นประโยชน์ ต่อกลุ่มผู้ลงทุนดีเด่น จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


รางวัลด้านผูบ้ ริหารยอดเยีย่ ม

รางวัลด้านงานบริการยอดเยีย่ ม

• รางวัล “Best CEO กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี” จากสมาคม นักวิเคราะห์การลงทุน ในฐานะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารของเอไอเอส ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม นักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ และผูจ้ ดั การกองทุน ให้เป็นผูบ้ ริหารซึง่ มีวสิ ยั ทัศน์กว้างไกล มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำ�เร็จ และ เติบโตอย่างยัง่ ยืน โดยรางวัลดังกล่าวได้มอบให้ในเวที IAA Awards for Listed Companies 2015/2016

• รางวัล “The Most Fastest Response Brand on Pantip” จากเวที Thailand Zocial Awards 2016 ซึง่ จัดอันดับโดยเว็บไซด์พนั ทิป มอบให้ กับบริษัทที่สามารถตอบข้อซักถามของผู้ใช้บริการที่โพสต์บนเว็บไซต์ พันทิปได้อย่างรวดเร็วที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ�ด้านการให้ บริการลูกค้าของเอไอเอส

รางวัลด้านนวัตกรรมยอดเยีย่ ม

รางวัลด้านแบรนด์ยอดเยีย่ ม

• รางวัล “Thailand’s Most Admired Brand 2016” จากการเป็นแบรนด์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันดับ 1 ที่ ได้รับความนิยม และ ความน่าเชือ่ ถือ ต่อเนือ่ งเป็นปีที่ 5 จากผลสำ�รวจความนิยมของผูบ้ ริโภค ทั่วประเทศโดยนิตยสาร แบรนด์เอจ • รางวัล “Brand of the Year” จากเวที World Branding Awards 20162017 โดยเอไอเอส เป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมรายเดียวของไทย ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยรางวัล Brand of the Year จัดขึ้นเพื่อ ยกย่องความสำ�เร็จของแบรนด์ที่มีความเป็นเลิศทั่วโลก ในแต่ละกลุ่ม อุตสาหกรรม ซึง่ จะพิจารณาจาก คุณค่าของแบรนด์ (brand valuation) การวิจัยตลาดกับผู้บริโภค (consumer market research) และการลง คะแนนโหวตจากผูใ้ ช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ (public online voting)

• รางวัล “Champion of WSIS Prize 2016 สาขา ICT Application : e-Agriculture” จากโครงการพัฒนาแอปพลิเคชัน City-to-Farm Agriculture Assisting (CFAA) ซึง่ เป็นการเสนอแนวคิดทีจ่ ะนำ�เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เข้ามา ช่วยยกระดับคุณภาพชีวติ ของเกษตรกรไทยด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม ให้เกษตรกรในชนบทสามารถเชือ่ มโยงกับผูบ้ ริโภคทีอ่ าศัยอยู่ในเมืองได้ โดยงานมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นในงานการประชุมสุดยอดสังคม สารสนเทศ (WSIS Forum) เพื่อร่วมกันพัฒนา และลดความเหลื่อมล้ำ� ในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของประชากรโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่ า งสหภาพโทรคมนาคมระหว่ า งประเทศ (International Telecommunication Union:ITU) และสหประชาชาติ (United

รางวัลด้านกิจกรรมเพื่อสังคม

• รางวัล Corporate Social Responsibility Award 2016 ในฐานะองค์กร ที่ทำ�ประโยชน์เพื่อสังคมดีเด่นในภูมิภาคเอเชียจากงานประกาศรางวัล 15th Asia Business Leaders Award 2016 ซึ่งจัดขึ้นโดย CNBC โดย ภายในงานมีการประกาศผล 6 รางวัล ได้แก่ Asia Business Leader Award, Asia Disruptor Of The Year Award, Asia Talent Management Award, Lifetime Achievement Award, Indonesia Business Leader Of The Year Award และ Corporate Social Responsibility Award โดยมี 66 บริษทั ในภูมภิ าคเอเชีย ที่ได้รบั การเสนอชือ่ และเอไอเอสเป็น บริษัทไทยเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัล ในครั้งนี้ รายงานประจำ�ปี 2559

014


โครงสร้างการถือหุ้นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 4,997.46 ล้านบาท และทุนชำ�ระแล้ว 2,973.10 ล้านบาท

99.99%

99.99%

99.99%

99.99%

บริษัท แอดวานซ คอนแท็ค เซ็นเตอร จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ เอ็มเปย จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ เมจิคการ ด จำ�กัด

บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำ�กัด

ให้บริการศูนย์ข้อมูลโทรศัพท์

ให้บริการการชำ�ระเงินค่าสินค้า และบริการทางอิเล็คทรอนิกส์และ บัตรเงินสด

จำ�หน่ายบัตรเงินสดอิเล็กทรอนิกส์

ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 272 ล้านบาท

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 300 ล้านบาท

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 250 ล้านบาท

ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ทุนชำ�ระแล้ว 100 ล้านบาท

98.55%

99.99%

บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ ไวร เลส เน็ทเวอร ค จำ�กัด

บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการโทรคมนาคม

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 3,655.47 ล้านบาท

51.00% 1)

บริษัท แอดวานซ ดาต าเน็ทเวอร ค คอมมิวนิเคชั่นส จำ�กัด

ให้บริการการสื่อสารข้อมูลผ่าน เครือข่ายสายโทรศัพท์ และสาย Optical Fiber

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 957.52 ล้านบาท

ให้ บ ริ ก ารโทรคมนาคมที่ ใ ช้ คลื่ น ความถี่ ใ นย่ านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ จั ด จำ � หน่ า ยโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ ร ะหว่ า ง ประเทศ ให้บริการโทรคมนาคม บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และ บริการโครงข่ายกระจายเสียงและ โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 1,350 ล้านบาท

1) ส่วนที่เหลือร้อยละ 49 ถือโดยบุคคลอื่นที่ไม่มีความขัดแย้งกัน 2) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิการยน 2559 ABN ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากเดิม 15 ล้านบาท ทำ�ให้ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 75 ล้านบาท 3) บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (AN) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ABN กับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด (มหาชน) ตามที่บริษัทได้แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2558 โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559

015

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 99.99%

99.99%

99.99%

บริษัท ซุปเปอร บรอดแบนด เน็ทเวอร ค จำ�กัด

บริษัท ไวร เลส ดีไวซ ซัพพลาย จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ บรอดแบนด เน็ทเวอร ค จำ�กัด

ให้บริการโทรคมนาคม และบริการ โครงข่ายโทรคมนาคม เช่น บริการ อิ น เตอร์ เ น็ ต (ISP) บริ ก าร อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศและ บริการชุมสายอินเตอร์เน็ต บริการ โครงข่ า ยโทรคมนาคมระหว่ า ง ประเทศ (IPLC & IP VPN) บริการ เสี ย งผ่ า นเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต (Voice over IP) และบริ ก าร โทรทัศน์ผา่ นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (IP Television) ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 300 ล้านบาท

นำ � เข้ า และจั ด จำ � หน่ า ยโทรศั พ ท์ เคลือ่ นที่ อุปกรณ์โทรศัพท์เคลือ่ นที่

ปัจจุบันยังมิได้ประกอบธุรกิจ

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 50 ล้านบาท

29.00% บริษัท อินฟอร เมชั่น ไฮเวย จำ�กัด

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 75 ล้านบาท 2)

ให้เช่าอุปกรณ์โครงข่ายสือ่ สัญญาณ โทรคมนาคม

ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ทุนชำ�ระแล้ว 14.5 ล้านบาท

60.00% บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด ให้บริการโครงข่ายเส้นใยแก้วนำ�แสง ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ

99.99%

99.98%

บริษัท ไมโม เทค จำ�กัด

บริษัท แฟกซ ไลท จำ�กัด

พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศ (IT) บริการรวบรวมข้อมูลสำ�หรับ บริการเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Content Aggregator) และให้ บริการในการเรียกเก็บและรับชำ�ระ เงินจากลูกค้า ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 50 ล้านบาท

ให้เช่าและบริการพื้นที่ ที่ดินและ อาคารและสิ่งอำ�นวยความสะดวก ต่างๆ

ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 1 ล้านบาท

ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ทุนชำ�ระแล้ว 25 ล้านบาท3)

20.00%

10.00%

บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิ เลขหมายโทรศัพท์ จำ�กัด

บริดจ โมบาย พีทีอี แอลทีดี

ศูนย์ให้บริการระบบสารสนเทศและ ฐานข้อมูลกลาง ประสานงานการ โอนย้ายผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่ อ คงสิ ท ธิ เ ลขหมายโทรศั พ ท์ (Mobile Number Portability : MNP) ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 2 ล้านบาท

ให้ บ ริ การเกี่ ย วกั บ เครื อ ข่ า ยโทร ศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ใ นภาคพื้ น เอเชี ย แปซิฟิก เพื่อให้บริการเครือข่าย โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ทุนจดทะเบียนและชำ�ระแล้ว 9 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานประจำ�ปี 2559

016


โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มอินทัช บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำ�กัด (มหาชน) 1) บริษัท แอดวานซ์​อินโฟร์ เซอร์วิส 40.45% จำ�กัด (มหาชน) 1)

บริษัท ไทยคม จำ�กัด (มหาชน)1)

บริษัท แอดวานซ ไวร เลส เน็ทเวอร ค จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไวร เลส ดีไวซ ซัพพลาย จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไอพีสตาร จำ�กัด

100%

บริษัท เชนนิงตัน อินเวสเม นท ส 51.00% พีทีอี ลิมิเต็ด

บริษัท แอดวานซ คอนแท็ค เซ็นเตอร จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไอพีสตาร นิวซีแลนด จำ�กัด

100%

บริษัท ลาว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส จำ�กัด 49.00%

บริษัท แอดวานซ เอ็มเปย จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไอพีสตาร ออสเตรเลีย 100% พีทีวาย จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ เมจิคการ ด จำ�กัด

99.99%

บริษัท โอไรอ อน แซทเทลไลท 100% ซิสเทม พีทีวาย จำ�กัด

บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไอพีสตาร อินเตอร เนชั่นแนล 100% พีทีอี จำ�กัด

บริษัท ซุปเปอร บรอดแบนด 99.99% เน็ทเวอร ค จำ�กัด บริษัท ไมโม เทค จำ�กัด

99.99%

บริษัท แฟกซ ไลท จำ�กัด

99.98%

บริษัท แอดวานซ บรอดแบนด 99.99% เน็ทเวอร ค จำ�กัด บริษัท อินฟอร เมชั่น ไฮเวย จำ�กัด

29.00%

บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด2)

60.00%

บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด

98.55%

บริษัท แอดวานซ ดาต าเน็ทเวอร ค คอมมิวนิเคชั่นส จำ�กัด 51.00% บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิ 20.00% เลขหมายโทรศัพท์ จำ�กัด

ดาวเทียม

บริษัท ไอพีสตาร โกลเบิล เซอร วิส จำ�กัด

โทรศัพท์ ในต่างประเทศ

100%

บริษัท ไอพีสตาร เจแปน จำ�กัด 100% บริษัท สตาร นิวเคลียส จำ�กัด 100% สเปซโคด แอล แอล ซี

70.00%

บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำ�กัด

99.99%

บริษัท อินเตอร เนชั่นแนล แซทเทลไลท จำ�กัด

100%

บริษัท ไอพีสตาร (อินเดีย) ไพรเวท จำ�กัด

100%

บริษัท ทีซี โกลเบิล เซอร์วิส จำ�กัด

100%

บริดจ โมบาย พีทีอี แอลทีดี 10.00% ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย

017

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 41.14%

อินเทอร์เน็ตและสื่ออื่น บริษัท ดีทีวี เซอร วิส จำ�กัด 99.99% บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำ�กัด (มหาชน)1) 42.07% บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำ�กัด (มหาชน)

99.99%

บริษัท เอดี เวนเจอร จำ�กัด (มหาชน)

99.99%

บริษัท แคมโบเดียน ดีทีวี เน็ตเวิร ค จำ�กัด

100%

บริษัท อุ คบี จำ�กัด

21.48%

บริษัท ไอ.ที. แอปพลิเคชันส์ แอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด

99.99%

บริษัท กอล ฟดิกก จำ�กัด

25.00%

บริษัท อินทัช มีเดีย จำ�กัด

99.99%

บริษัท ซินโนส จำ�กัด

16.67%

บริษัท ทัช ทีวี จำ�กัด

99.99%

บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง จำ�กัด 51.00%

บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำ�กัด 16.66% บริษัท เพลย เบสิส พีทีอี ลิมิเต็ด บริษัท วงใน มีเดีย จำ�กัด

บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง 99.99% ทีวี จำ�กัด

15.36%

กิจการร่วมค้า กันตนาและอินทัช3)

50.00%

บริษัท แมทช บอกซ จำ�กัด4)

99.99%

9.99%

บริษัท ไอทีวี จำ�กัด (มหาชน)4) 52.92% บริษัท อาร ตแวร มีเดีย จำ�กัด4)

99.99%

หมายเหตุ : 1) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการชำ�ระบัญชี 3) ปัจจุบันหยุดการดำ�เนินธุรกิจ

ธุรกิจอื่นๆ Venture Capital

อื่นๆ รายงานประจำ�ปี 2559

018


รายชื่อผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก รายชื่อผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรก ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2559 (วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุดเพื่อสิทธิในการได้รับเงินปันผล) ลำ�ดับ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

รายชื่อผู้ถือหุ้น

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำ�กัด (มหาชน) SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด THE BANK OF NEW YORK MELLON สำ�นักงานประกันสังคม GIC PRIVATE LIMITED STATE STREET BANK EUROPE LIMITED CHASE NOMINEE LIMITED LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD รวม

จำ�นวน (หุ้น)

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

1,202,712,000 693,359,000 178,170,309 56,890,400 46,667,300 43,861,737 39,248,508 37,318,496 19,059,800 18,151,877 2,335,439,427

40.45 23.32 5.99 1.91 1.57 1.48 1.32 1.26 0.64 0.61 78.55

หมายเหตุ : ข้อมูลจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกำ�หนดนโยบายการจัดการหรือการดำ�เนินงานของบริษัท 1. บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ของบมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ ได้แก่ รายชื่อผู้ถือหุ้น

Singtel Global Investment Pte. Ltd.1), 2) บริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำ�กัด1), 3) 1) 2) 3)

จำ�นวน (หุ้น)

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

673,348,264 625,251,960

21.00 19.50

ข้อมูลการถือหุ้น ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 จากแบบรายงาน 246-2 ของ Singtel Global Investment Pte. Ltd. และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำ�กัด ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ Singtel Global Investment Pte. Ltd. (SGI) เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของ Singapore Telecommunications Ltd. (SingTel) ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำ�เนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 ของบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำ�กัด เป็น บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ถือหุ้นโดย บริษัท แอนเดอร์ตั้น อินเวสเม้นท์ พีทีอี แอลทีดี สัญชาติสิงคโปร์ ในสัดส่วนร้อยละ 99.99

2. Singtel Strategic Investments Pte Ltd. ถือหุ้นในบริษัททางตรงร้อยละ 23.32 โดยผู้ถือหุ้นของ Singtel Strategic Investments Pte Ltd ได้แก่ รายชื่อผู้ถือหุ้น

Singtel Asian Investments Pte Ltd*

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

100.00

* Singtel Asian Investments Pte Ltd ถือหุ้นโดย Singapore Telecommunications Limited ในอัตราร้อยละ 100 (ที่มา: Accounting and Corporate Regulatory Authority (ARCA), Singapore ณ วันที่ 26 มกราคม 2560)

ข้อตกลงระหว่างกลุม่ ผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ในเรือ่ งทีม่ ผี ลกระทบต่อการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานของบริษทั โดยทีข่ อ้ ตกลง ดังกล่าวมีบริษัทร่วมลงนามด้วย - ไม่มี -

019

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


โครงสร้างรายได้ โครงสร้างรายได้ที่เกิดจากการให้บริการและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทและบริษัทในกลุ่มเอไอเอสให้บุคคลภายนอก ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์/บริการ

ดำ�เนินการโดย

ร้อยละ การถือหุ้น ของบริษัท ณ 31 ธ.ค. 59

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ - บริการและให้เช่าอุปกรณ์ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และศูนย์ให้ข่าวสาร บจ. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค 99.99 ทางโทรศัพท์ บจ. ดิจิตอล โฟน 98.55 บจ. เอไอเอ็น โกลบอลคอม 99.99 บจ. แอดวานซ์ เอ็มเปย์ 99.99 บจ. แฟกซ์ ไลท์ 99.98 บจ. แอดวานซ์ คอนแท็คเซ็นเตอร์ 99.99 - ค่าก่อสร้างภายใต้สัญญา บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส อนุญาตให้ดำ�เนินการ รวม การขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บจ. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค 99.99 บจ. ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย 99.99 รวม ธุรกิจบริการ บจ. แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค 51.00 สื่อสารข้อมูลผ่าน คอมมิวนิเคชั่นส์ สายโทรศัพท์และ บจ. ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค 99.99 อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บจ. แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค 99.99 บจ. แอดวานซ์ อินเทอร์เน็ต เรโวลูชั่น 99.99 รวม รวมทัง้ หมด

ปี 2557 ล้านบาท

ปี 2558 ร้อยละ

ล้านบาท

ปี 2559 ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

26,708.27 17.88 7,466.95 4.81 413.61 0.27 94,478.94 63.27 117,370.25 75.60 124,922.33 82.11 27.19 0.02 3.69 - - 2,873.93 1.92 1,272.30 0.82 369.46 0.24 368.75 0.25 224.59 0.14 189.92 0.12 - - 30.37 0.02 149.12 0.10 3.90 - 3.52 - 1.30 600.26 0.40 63.59 0.04 - 125,061.24 83.74 126,435.26 81.43 126,045.74 82.84 8.38 0.01 0.19 - - 15,877.15 10.63 23,736.29 15.29 23,197.03 15.25 7,528.74 5.04 4,090.35 2.63 749.90 0.50 23,414.27 15.68 27,826.83 17.92 23,946.93 15.75 24.40 0.02 3.60 - 3.46 786.18 0.53 - - 42.96 0.03

883.63 0.57 595.62 0.39 127.12 0.08 1,558.12 1.02 - - - -

853.54 0.58 1,014.35 0.65 2,157.20 1.41 149,329.05 100.00 155,276.44 100.00 152,149.87 100.00

หมายเหตุ: 1) บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำ�กัด เป็นบริษัทย่อยทางอ้อม 2) วันที่ 19 ตุลาคม 2558 บริษัท แอดวานซ์ อินเทอร์เน็ต เรโวลูชั่น จำ�กัด เสร็จสิ้นการชำ�ระบัญชี

รายงานประจำ�ปี 2559

020


ภาวะอุตสาหกรรม และการแข่งขันในปี 2559 และแนวโน้มในปี 2560 ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2559 มีการแข่งขันที่รุนแรงกว่า ปีทผ่ี า่ นมา เนือ่ งจากผูใ้ ห้บริการแต่ละรายได้เร่งลงทุนพัฒนาโครงข่าย ของตนเอง และพยายามสร้างความแตกต่างด้านคุณภาพทั้ง เทคโนโลยี 3G และ 4G โดยแข่งขันผ่านการออกแพ็คเกจแบบใหม่ๆ รวมถึงการทำ�แคมเปญการตลาดหลากหลายรูปแบบ และสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่าน ทั้งสื่อโฆษณาหลักและสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการแข่งขันในด้าน ความเป็นผูน้ �ำ ทัง้ ด้านความเร็วและความครอบคลุมของเทคโนโลยี 4G ซึ่งถูกสนับสนุนด้วยเครื่องโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งาน 4G ที่ ส ามารถหาซื้ อ ได้ ง่ า ยขึ้ น และความต้ อ งการใช้ ง าน อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เติบโตขึ้นมากจากปีก่อน จากความแข็งแกร่งด้านโครงข่ายของผู้ให้บริการแต่ละราย ทำ�ให้ผู้ให้บริการมีเป้าหมายหลักทั้งในการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าใหม่ จึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อสร้างความผูกพัน กับลูกค้าปัจจุบนั รวมถึงจูงใจลูกค้าใหม่ให้มาใช้บริการ โดยลักษณะ ของแคมเปญการตลาดทีท่ � ำ จะเน้นการแจกเครือ่ งโทรศัพท์มอื ถือฟรี หรื อ การนำ �เสนอสมาร์ทโฟนราคาพิเศษเมื่อสมัครแพ็คเกจที่ กำ�หนด รวมถึงการนำ�เสนอแพ็คเกจค่าโทรหรืออินเทอร์เน็ตราคา พิเศษให้กับลูกค้าปัจจุบันที่จดทะเบียนเลขหมายใหม่เพิ่ม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ บ ริ โ ภคมี พ ฤติ กรรมการใช้ ง านอิ น เทอร์ เ น็ ต ผ่ า น โทรศัพท์มือถือสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำ�ให้แพ็คเกจการใช้งาน อินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากยิ่งขึ้นต่อการตัดสินใจใช้บริการของ ลูกค้า ผู้ให้บริการแต่ละรายจึงได้นำ�เสนอแพ็คเกจที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการชีวิตที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น แพ็คเกจ สำ�หรับผู้ที่ชื่นชอบความบันเทิง แพ็คเกจสำ�หรับใช้งานเครือข่าย สังคมออนไลน์ แพ็คเกจสำ�หรับผูท้ มี่ อี ปุ กรณ์สอื่ สารหลายๆ เครือ่ ง แพ็คเกจสำ�หรับครอบครัวทีส่ ามารถแชร์คา่ โทรและค่าอินเทอร์เน็ต ร่วมกันได้ เป็นต้น ในส่ ว นโครงสร้ า งราคาการคิ ด ค่ า บริ การในปี ที่ ผ่ า นมานั้ น ผู้ให้บริการให้เริ่มออกแพ็คเกจการคิดค่าบริการของอินเทอร์เน็ต หรือดาต้าแบบใช้งานจำ�กัด (limited) เพิม่ เติมจากโครงสร้างราคาแบบ ใช้งานไม่จำ�กัด (non-stop) โครงสร้างราคาแบบใช้งานจำ�กัดนั้น ถูกออกแบบเพือ่ ให้ลกู ค้ารูส้ กึ ยินดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึน้ เนื่องจากการให้ปริมาณอินเทอร์เน็ตที่เยอะกว่า ความเร็วของ อินเทอร์เน็ตจากเครือข่าย 4G และการตอบสนองกับพฤติกรรม การใช้งานคอนเทนต์ที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสมัยก่อน ทั้งนี้ ผู้ให้บริการยังคงต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในการสนับสนุนให้ลูกค้า เห็นประโยชน์ และใช้งานแพ็คเกจทีม่ กี ารคิดราคาแบบใช้งานจำ�กัด มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในด้านประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และเป็นการคิดค่าบริการในรูปแบบทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับต้นทุน ของผู้ให้บริการได้ดีขึ้น

021

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ส่วนตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การแข่งขันในปีที่ผ่านมา มีความเข้มข้นกว่าปีก่อน เนื่องจากการมีผู้ให้บริการรายใหม่คือ เอไอเอส ไฟเบอร์ ที่เปิดให้บริการอย่างเต็มตัวเป็นปีที่สอง ทำ�ให้ ผู้เล่นรายเดิมพยายามปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ ทั้งนี้ ด้วยรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เปลี่ยนไป จากเดิม โดยมีจำ�นวนลูกค้าที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้าน มากขึ้น และต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อที่สูงกว่าเดิม เพื่อ บริโภคคอนเทนต์ที่ต้องการความละเอียดสูงขึ้น ทำ�ให้เทคโนโลยี ADSL แบบสายทองแดงเริม่ มีขอ้ จำ�กัดในการให้บริการ และทำ�ให้ เทคโนโลยีใยแก้วนำ�แสงเป็นทีต่ อ้ งการสำ�หรับลูกค้าทีต่ อ้ งการเลือก ติดตัง้ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นครัง้ แรก รวมถึงลูกค้าทีต่ อ้ งการ เปลี่ยนจากเทคโนโลยี ADSL เดิม เนื่องด้วยเอไอเอส ไฟเบอร์ ทำ�การตลาดด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำ�แสงเพียงอย่างเดียว และจาก การขยายความครอบคลุมพื้นที่การให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ เอไอเอส ไฟเบอร์ สามารถเพิม่ ส่วนแบ่งการตลาดของผูใ้ ช้บริการที่ เพิม่ ขึน้ ประมาณร้อยละ 40 ในไตรมาส 4/2559 โดยผูใ้ ห้บริการรายเดิม ได้เริ่มอัพเกรดเทคโนโลยีมาเป็นใยแก้วนำ�แสงเพิ่มขึ้น พร้อมทั้ง นำ�เสนอแพ็คเกจที่ให้ความเร็วสูงขึ้นในราคาเดิม ทำ�ให้ปัจจุบัน ลูกค้าสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบใยแก้วนำ�แสง ด้วยความเร็ว 20 เมกะบิตต่อวินาที ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 590 บาท เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้ให้บริการได้ท�ำ สัญญาเพื่อให้ลูกค้าใช้งาน เป็นระยะเวลา 1 ปี และมีการให้ส่วนลดสำ�หรับลูกค้าที่เปลี่ยน ผู้ให้บริการ ควบคู่กับการเริ่มเน้นการพ่วงบริการอื่น เช่น การได้ รับส่วนลดเมื่อสมัครพร้อมบริการโทรศัพท์มือถือ การให้รับชม คอนเทนต์ทหี่ ลากหลายผ่านกล่องคอนเทนต์ทตี่ ดิ ตัง้ ให้ฟรี เป็นต้น จากความแข็งแกร่งในด้านเครือข่ายไร้สายในการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเครือข่ายมีสายของบริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ทำ�ให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมถูกต่อยอดไปยังการ พัฒนาดิจทิ ลั คอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ โดยในปีทผี่ า่ นมา ความนิยม ของการใช้โซเชียลมีเดียอย่างเช่น เฟซบุค๊ ไลน์ อินสตาแกรม ยังคง เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้บริโภคเรียนรู้และสนใจใช้งานคอนเทนต์ รูปแบบต่างๆ มากขึน้ ผูใ้ ห้บริการโทรศัพท์มอื ถือได้มคี วามร่วมมือกับ ผูใ้ ห้บริการคอนเทนต์ในการหารายได้รว่ มกันมากขึน้ รวมถึงมีการ สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเพือ่ หาคอนเทนต์ทตี่ รงกับความต้องการ ของลูกค้าโดยตรง โดยคอนเทนต์ด้านวิดีโอเป็นคอนเทนต์ที่ได้รับ ความสนใจสูง นอกจากนี้การทำ�ธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ ก็ ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะเป็นผลจากการสนับสนุน นโยบายของภาครัฐในเรื่องพร้อมเพย์


แนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2560

สำ�หรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 2559 ผู้ให้บริการทุกราย ต่างเร่งขยายโครงข่าย 4G และ 3G เพื่อตอบสนองต่อการใช้งาน ด้านดาต้าของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้งบลงทุนต่อรายได้ของ อุตสาหกรรมอยู่ในสัดส่วนที่สูงกว่าในปีที่ผ่านๆ มา ประกอบกับ การมี ค่ า ใบอนุ ญ าตการใช้ ง านคลื่ น ความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ทีต่ อ้ งชำ�ระแก่ กสทช. จนถึงปี 2563 ทำ�ให้บริษทั คาดว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมจะเน้นที่การทำ�ให้รายได้และกำ�ไรของ อุตสาหกรรมมีทศิ ทางทีด่ ขี นึ้ กว่าปี 2559 รวมถึงการผ่อนแคมเปญ การตลาดในการอุดหนุนค่าเครื่องโทรศัพท์ และการออกแพ็คเกจ บริการใหม่ๆ ที่เจาะจงลูกค้าแต่ละกลุ่มมากขึ้น โดยผู้ให้บริการ จะหันมาให้ความสำ�คัญกับการสร้างความแตกต่างในด้านคุณภาพ ของเครือข่าย โดยเฉพาะการใช้งานดาต้า ความสะดวกสบายในการ เข้าถึงและใช้งานสินค้าและบริการ รวมถึงการให้บริการลูกค้าเพื่อ สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อเครือข่าย ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2560 คาดว่าจะใกล้เคียงกับการเติบโตของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยมีแรงขับเคลือ่ นจาก จำ�นวนชัว่ โมงการใช้งานโทรศัพท์เคลือ่ นทีต่ อ่ วันของลูกค้าทีย่ งั คง เติบโต และอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนที่สูงขึ้น ในขณะที่ตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในปี 2560 มีแนวโน้ม การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรูปแบบการดำ�เนินชีวิตของ ผูบ้ ริโภคทีเ่ ข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั ซึง่ ต้องการเชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ตภายในที่ อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ โดยบริษทั คาดว่าผูใ้ ห้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็ว สูงจะเน้นการแข่งขันด้านความเร็วในการให้บริการ และมุ่งเน้น พัฒนาขยายพืน้ ที่ให้บริการผ่านโครงข่ายใยแก้วนำ�แสงเพิม่ มากขึน้

นอกจากนัน้ ดิจทิ ลั คอนเทนต์จะเริม่ มีบทบาทในชีวติ ประจำ�วัน ของผูบ้ ริโภคมากขึน้ โดยการสนับสนุนจากภาครัฐบาลทีม่ นี โยบาย ชัดเจนในการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเน้น การพัฒนาสินค้าในเชิงนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง การผลักดันธุรกิจจากภาคผลิตไปสู่ภาคบริการ คอนเทนต์ด้าน วิดโี อจะยังคงเป็นตัวนำ�หลักในการเติบโตตามการขยายตัวของการ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ภายในบ้านมากขึ้น คอนเทนต์เกี่ยวกับการทำ�ธุรกรรมผ่านทาง ออนไลน์ รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (e-Commerce) มีแนวโน้มทีจ่ ะเป็นช่องทางการชำ�ระเงินและการจัดจำ�หน่ายสินค้า ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น จากความสะดวกสบายในการเลือกซื้อ สินค้าและความหลากหลายของสินค้าจากการเข้าถึงของผู้ผลิต ทั้งรายใหญ่และรายย่อย เป็นต้น นอกจากนั้น การใช้งานบริการ พืน้ ทีเ่ ก็บข้อมูลคลาวด์ (Cloud storage) มีแนวโน้มทีจ่ ะแพร่หลาย มากขึ้น จากการเติบโตของข้อมูลในการให้บริการของบริษัท ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งทำ�ให้การเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ผ่านบริการคลาวด์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งานให้สูงขึ้น ทัง้ นี้ ยังคงมีปจั จัยภายนอกอืน่ ๆ ทีม่ สี ว่ นสำ�คัญต่อการดำ�เนิน ธุรกิจสำ�หรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปี 2560 เช่น การประกาศ ใช้พระราชบัญญัตอิ งค์กรจัดสรรคลืน่ ความถีฉ่ บับใหม่ การเลือกตัง้ ที่ประเมินว่าจะเกิดขึ้นในปลายปี 2560 รวมถึงทิศทางเศรษฐกิจ ของประเทศ เป็นต้น โดยทุกไตรมาส บริษัทจะสื่อสารกับผู้ถือหุ้น เกี่ยวกับปัจจัยสำ�คัญดังกล่าว เพื่ออธิบายถึงทิศทางและกลยุทธ์ ของบริษัทอย่างชัดเจน

รายงานประจำ�ปี 2559

022


เป้าหมายในการดำ�เนินธุรกิจ ใน 3-5 ปี ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลง สู่การเป็นผู้นำ�ด้านบริการ ดิจทิ ลั เพือ่ คนไทย

โลกในปัจจุบนั นี้ ได้กา้ วเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั อย่างชัดเจน อุตสาหกรรม โทรคมนาคมในประเทศไทยยังเกิดความเปลีย่ นแปลงอย่างต่อเนือ่ ง ตามพฤติกรรมผูบ้ ริโภคทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป โดยความต้องการในการ ใช้งานไม่ได้จำ�กัดแค่เพียงการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ได้ รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อสื่อสาร รับข่าวสาร ข้อมูลได้จากทั่วโลก และยังสามารถใช้งานคอนเทนต์ ที่มีหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในแง่มุมต่างๆ ทั้ง คอนเทนต์ด้านสาระประโยชน์ ความบันเทิง ธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น เอไอเอสตระหนักถึงแนวโน้มนี้เป็นอย่างดี เราจึงมองว่าการ ให้บริการโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะตอบ โจทย์ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ เอไอเอสได้ปรับวิสัยทัศน์ พัฒนาตัวเองเพือ่ ก้าวไปสูก่ ารเป็น “ผูใ้ ห้บริการด้านดิจทิ ลั ไลฟ์” ทีพ่ ร้อม ให้บริการในทุกมิติ สามารถตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้า ในยุคดิจิทัล อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ครอบคลุมเพื่อช่วย ยกระดับชีวิตของคนไทยทั่วประเทศในทุกแง่มุม เช่น สื่อบันเทิง สุขภาพ การศึกษา การเกษตร และการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำ�งาน ด้วยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการวางรากฐาน อันแข็งแกร่งที่พัฒนามากว่า 26 ปี เพื่อให้บริการใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริการดิจิทัลคอนเทนต์

คงความเป็นผูน้ �ำ ในธุรกิจโทรศัพท์เคลือ่ นที่ ด้วยเครือข่าย และบริการคุณภาพ ปัจจุบัน ความต้องการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของลูกค้าได้ เปลี่ยนแปลงไป จากที่ใช้การโทรเป็นหลัก กลายมาเป็นใช้บริการ อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความนิยม ในแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารง่ายดาย มี ประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนที่สูงขึ้น ควบคูไ่ ปกับความนิยมใช้เทคโนโลยี 4G ทีม่ คี วามเร็วสูง ทำ�ให้การ สื่อสารและใช้คอนเทนต์ต่างๆ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำ�หรับฐานลูกค้าเอไอเอส ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน และมีอัตราผู้ใช้งานเครื่องโทรศัพท์ 4G ร้อยละ 29 นอกจากนี้ รัฐบาลก็มีส่วนผลักดันด้วยเป้าหมายที่จะสร้างระบบบริหารงาน แบบดิจทิ ลั เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ โดยบริการโทรคมนาคมจะเป็น ปัจจัยสนับสนุนที่สำ�คัญ ด้ ว ยเหตุ นี้ เครื อ ข่ า ยที่ ร องรั บ การให้ บ ริ ก ารจึ ง ต้ อ งมี ประสิทธิภาพที่ดี สามารถใช้งานได้เพียงพอต่อความต้องการ ของลูกค้า อันเป็นรากฐานสำ�คัญในการให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ เอไอเอสมุ่งพัฒนาเครือข่ายให้มีคุณภาพ มีความเสถียร และไว้ วางใจได้ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในการ

023

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ออกแบบโครงข่าย และพร้อมพัฒนาเพือ่ นวัตกรรมในการให้บริการ คุณภาพกับลูกค้า นับตั้งแต่การวางโครงข่ายให้ครอบคลุมพร้อม สำ�หรับการติดต่อสื่อสารในทุกพื้นที่ ซึ่งเอไอเอสยังคงเดินหน้า พัฒนาเครือข่ายด้วยการลงทุนเพื่อขยายโครงข่าย 4G ให้เข้าถึง พื้นที่เพิ่มเติม ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า และไม่หยุดพัฒนาเครือข่าย 3G เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ เมือ่ เทคโนโลยีกา้ วหน้ามากยิง่ ขึน้ ลูกค้าจะมีความ ต้องการใช้งานทีห่ ลากหลายไปกว่าเดิม เช่น คอนเทนต์วดิ โี อความ ละเอียดสูงระดับ Ultra HD เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง Virtual Reality และ Augmented reality ไปจนถึง Internet of Things (IoT) หรือการเชือ่ มต่ออุปกรณ์ตา่ งๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เพือ่ อำ�นวย ความสะดวก นับตัง้ แต่อปุ กรณ์ใกล้ตวั อาทิ โทรศัพท์มอื ถือ นาฬิกา รถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อย่างเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ฯลฯ ซึ่งจะผสมผสานการใช้งานจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประจำ�วัน เมื่อความต้องการเหล่านี้ ผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยี มาตรฐานใหม่ อย่างเช่น 5G ที่คาดว่าจะเริ่มพัฒนามาตรฐาน สำ�หรับเชิงพาณิชย์ในอีกประมาณ 4-5 ปีขา้ งหน้า ยิง่ ทำ�ให้เอไอเอส ต้องเตรียมการพัฒนาให้ทันกับลูกค้าและสภาพแวดล้อม การมี คลื่นความถี่ให้เพียงพอและการพัฒนาเครือข่ายอย่างไม่หยุดยั้ง จึงเป็นหัวใจสำ�คัญสำ�หรับการแข่งขันในอนาคต สิง่ สำ�คัญทีช่ ว่ ยสร้างความแตกต่างให้กบั เอไอเอสเพือ่ มุง่ สูก่ าร เป็นผู้น�ำ ในอุตสาหกรรม คือ การให้ความสำ�คัญกับการบริการ ซึ่ง ช่วยรักษาฐานลูกค้า ก่อให้เกิดรายได้ที่ดีและยั่งยืน ทั้งนี้ เอไอเอส ได้มุ่งพัฒนามาตรฐานบริการเพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้า โดยทิศทางในการนำ�พาองค์กรเข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั คือการนำ�เทคโนโลยี เข้ามาใช้ประโยชน์มากขึน้ ช่วยในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และ วิเคราะห์ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ตรงใจยิ่งขึ้น และยังนำ�อุปกรณ์ ดิจทิ ลั มาช่วยอำ�นวยความสะดวก เพิม่ ประสิทธิภาพในขัน้ ตอนการ ให้บริการ อีกทั้งยังนำ�เสนอสิทธิพิเศษที่หลากหลาย ครอบคลุม ทุกความต้องการและทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า เพื่อครองความเป็น ที่หนึ่งในใจลูกค้าต่อไป

ขยายธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อเนื่อง มุ่งให้ บริการครบวงจร

จากความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลที่ต้องการเชื่อมต่อ กับโลกอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ทำ�ให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน ที่พักอาศัยเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับลูกค้ายุคใหม่จำ�นวนมาก และ ด้วยเทคโนโลยี ADSL ของเดิมนั้น เริ่มล้าสมัยและมีข้อจำ�กัดทาง เทคนิคในเรื่องความเร็วและความเสถียร จึงทำ�ให้ลูกค้าเริ่มมอง หาบริการใหม่สำ�หรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น กสทช. คาดการณ์จำ�นวนครัวเรือนที่ใช้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ประมาณร้อยละ 33 และหรือมีผู้ใช้งาน ประมาณ 7 ล้านราย ณ สิ้นปี 2559 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพใน การเติบโตได้อกี จากทีเ่ คยมีพนื้ ทีห่ ลายแห่งทีบ่ ริการยังไม่สามารถ เข้าถึง ด้วยเหตุนี้ เอไอเอสจึงเห็นโอกาสที่จะนำ�เสนอบริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายใยแก้วนำ�แสงหรือไฟเบอร์ ออพติก ภายใต้แบรนด์เอไอเอส ไฟเบอร์ โดยสามารถใช้ประโยชน์


จากโครงข่ายไฟเบอร์ของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กระจายอยู่ ทั่วประเทศ สำ�หรับปีที่ผ่านมา นับเป็นก้าวแรกๆ ของธุรกิจอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง เอไอเอส ไฟเบอร์ แต่ดว้ ยการวางรากฐานให้แข็งแกร่ง ในปีแรก ด้วยการพัฒนาขัน้ ตอนการทำ�งาน ทัง้ หน่วยงานขาย การ ติดตั้ง และบริการหลังการขาย รวมทั้งการมีเงินลงทุนสนับสนุน ทำ�ให้เอไอเอสสามารถขยายบริการธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ได้ดี และในอนาคตข้างหน้า เอไอเอสยังคงมุง่ มัน่ กับเป้าหมายทีจ่ ะ มีส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำ�คัญในอีก 3 ปี โดยเน้นที่การหา ลูกค้าทั้งที่เป็นผู้ที่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก่อนหรือ เป็นลูกค้าใหม่ ดังนัน้ สิง่ สำ�คัญในการดำ�เนินธุรกิจจึงอยูท่ กี่ ารขยาย พืน้ ทีบ่ ริการด้วยการลงทุนวางโครงข่าย โดยขยายจากพืน้ ทีต่ วั เมือง และจังหวัดหลักๆ ในประเทศไทย ให้เข้าถึงลูกค้าในพืน้ ที่ใหม่ๆ ได้ มากขึ้น และมุ่งที่การหาลูกค้าด้วยโปรแกรมการตลาดที่ดึงดูดใจ แพ็คเกจราคาที่สามารถแข่งขันได้ และยังนำ�เสนอบริการควบคู่ ไปกับดิจิทัลคอนเทนต์ ผ่านอุปกรณ์ AIS PLAYBOX โดยคาดว่า ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะมีการเติบโตที่ดี เป็นแหล่งรายได้ ใหม่ส�ำ หรับเอไอเอส รวมทัง้ เสริมความแข็งแกร่งให้กบั ธุรกิจมือถือ ตอบกลยุทธ์การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลไลฟ์เพื่อคนไทย

เดินหน้าสร้างนวัตกรรมผ่านดิจิทัลคอนเทนต์ สำ�หรับ ลูกค้าทั่วไปและลูกค้าธุรกิจ

จากความเปลีย่ นแปลงเพือ่ เข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั จะเห็นได้วา่ อุปกรณ์ ประเภทสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีความนิยมและเข้าถึงได้ง่าย ยิ่งขึ้น ด้วยราคาที่ถูกลง และความสามารถที่หลากหลาย พร้อม ไปกับแอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อตอบสนองการใช้งาน ในไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ และเมื่อผนวกกับแพ็คเกจ อินเทอร์เน็ตทีม่ รี าคาดึงดูดใจ ยิง่ ทำ�ให้ลกู ค้าปรับพฤติกรรม หันมาใช้ ดิจิทัลคอนเทนต์มากขึ้น เป็นที่มาของการพัฒนาคอนเทนต์ ให้ หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงใจยิ่งขึ้น เอไอเอสได้ให้ความสำ�คัญกับดิจทิ ลั คอนเทนต์เช่นกัน โดยมอง ว่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่และเป็นรายได้ที่มีคุณภาพ เพิ่มมูลค่า ให้กับธุรกิจโดยรวม และยังช่วยเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้ง ในแพลตฟอร์มผ่านมือถือและการใช้งานในที่พักอาศัย เอไอเอสมี แนวทางที่ชัดเจนสำ�หรับธุรกิจนี้ โดยมุ่งเน้นดิจิทัลคอนเทนต์ ใน 5 แกนหลัก ได้แก่ วิดโี อ เกม ธุรกรรมทางการเงิน คลาวด์ และ M2M มีกลยุทธ์หลักคือการพัฒนาระบบหรือแพลตฟอร์มเพือ่ เชือ่ มต่อกับ ผูพ้ ฒ ั นาและให้บริการคอนเทนต์ เข้าถึงพันธมิตรหลากหลายกลุม่ พร้อมจะสร้างการเติบโตไปด้วยกัน อีกทั้งยังมีการขยายบริการให้ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น โดยมุ่ง ขยายแพลตฟอร์มการให้บริการจากลูกค้าทั่วไป ไปสู่กลุ่มธุรกิจ องค์กรมากยิ่งขึ้น สำ�หรับวิดีโอและเกมนั้น เป็นคอนเทนต์ที่ผู้บริโภคมีความ คุน้ เคยดี และเริม่ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม หันมาใช้งานมากขึน้ เอไอเอส จึงยังคงมุ่งพัฒนา โดยหาคอนเทนต์ ใหม่ๆ ที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคอนเทนต์ทคี่ ดั สรรเฉพาะสำ�หรับลูกค้าเอไอเอสเท่านัน้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับชมความบันเทิงด้วยแพลตฟอร์ม AIS

PLAY ผ่านมือถือ และ AIS PLAYBOX ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในทีพ่ กั อาศัย ส่วนธุรกรรมทางการเงิน เอไอเอสได้ขยายการใช้งาน ระบบ mPAY ทัง้ การหาลูกค้าเพิม่ และหาร้านค้าทีร่ องรับการจ่ายผ่าน mPAY สำ�หรับธุรกิจคลาวด์ เอไอเอสได้ให้บริการทั้งพื้นที่ส�ำ หรับ เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ส�ำ หรับลูกค้าทัว่ ไป และยังจับกลุม่ ลูกค้า ธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว AIS Cloud for Business เพือ่ ให้บริการลูกค้า องค์กรทุกระดับทีต่ อ้ งการใช้งานระบบคลาวด์ แทนการสร้างระบบ และอุปกรณ์ ไอทีที่ต้องลงทุนสูง นอกจากนี้ การพัฒนาคอนเทนต์ ด้าน M2M ยังช่วยให้เข้าถึงกลุม่ ลูกค้าองค์กรได้มากขึน้ ด้วยการนำ� เสนอโซลูชั่นส์ที่เหมาะกับการใช้งานของลูกค้าที่แตกต่างกันไป

ดำ�เนินธุรกิจบนความสมดุลสำ�หรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน

เอไอเอสได้ใ ห้ความสำ� คัญ กับระบบการพัฒ นาธุ รกิ จแบบ เชื่อมโยงหรือ ecosystem ซึ่งเปรียบเสมือนระบบนิเวศวิทยาด้าน โทรคมนาคมที่ผนวกรวมความสามารถของพันธมิตรทางธุรกิจให้ เข้ากับความต้องการของลูกค้า และพร้อมจะเกื้อกูลกันเพื่อให้ทั้ง เอไอเอสและพันธมิตรทางธุรกิจ เติบโตไปด้วยกันอย่ า งยั่ ง ยื น นอกจากนี้ เรายังมุ่งพัฒนาบุคลากรและปรับโครงสร้างภายในให้ เหมาะสมเพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยมีการ ปรับเปลีย่ นวัฒนธรรมการทำ�งานให้มคี วามตืน่ ตัว เต็มไปด้วยความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และยังมีการบริหารผลตอบแทนที่เป็นธรรม มีการพัฒนาและฝึกอบรม เพิ่มความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้ บริการดิจิทัล เพื่อให้สามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่กับ องค์กรได้ในระยะยาว และในการสร้างองค์กรอย่างยัง่ ยืนนี้ เอไอเอส ไม่ ไ ด้ ล ะเลยการวางแผนบุ ค ลากรเพื่ อ สื บ ต่ อ ตำ � แหน่ ง (Succession plan) เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กรในอนาคตเป็น ไปอย่างราบรื่น ในปี 2559 นับเป็นอีกครั้งที่เอไอเอสได้รับคัดเลือกให้รวมอยู่ ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เป็นปีที่สองติดต่อกัน แสดงถึง ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาองค์กรเพื่อดำ�เนินงานได้ อย่างยั่งยืน โดยสร้างสมดุลในการดำ�เนินงานที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียง กำ�ไรเป็นสำ�คัญ แต่คำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรด้วย กล่าวคือสามารถสร้างการเติบโตของผลประกอบการ ก่อให้เกิด ผลตอบแทนทีด่ ตี อ่ ผูถ้ อื หุน้ ทัง้ ยังสามารถอยูร่ ว่ มกับชุมชนและสังคม ได้ดี พร้อมทั้งดำ�เนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง สิง่ เหล่านีจ้ ะช่วยขับเคลือ่ นธุรกิจบนพืน้ ฐานของความยัง่ ยืนระยะยาว เป็นรากฐานของเอไอเอสที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ�ด้าน การให้บริการดิจิทัลไลฟ์ส�ำ หรับคนไทยทุกคน

รายงานประจำ�ปี 2559

024


ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ ปัจจุบัน ความต้องการของผู้บริโภคในการใช้งานโทรศัพท์มือถือได้เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเทคโนโลยีที่ ทันสมัยขึน้ เครือข่ายครอบคลุมทัว่ ถึงและใช้งานได้ดว้ ยความเร็วสูงกว่าเดิม อีกทัง้ สมาร์ทโฟนมีราคาถูกลง พร้อม กับมีคอนเทนต์และแอปพลิเคชันทีห่ ลากหลายให้ลกู ค้าได้เลือกใช้ ดังนัน้ การใช้งานโทรศัพท์มอื ถือจึงเน้นไปที่ การใช้อนิ เทอร์เน็ตมากยิง่ ขึน้ ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของรายได้จากการให้บริการข้อมูลทีม่ สี ดั ส่วนสูงกว่า รายได้จากการโทร นอกจากนี้ เอไอเอสยังขยายสูธ่ รุ กิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและให้บริการดิจทิ ลั คอนเทนต์ เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตามรูปแบบการใช้งานของลูกค้าในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลักของเอไอเอส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังต่อไปนี้

1. ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัจจุบนั เอไอเอสได้ให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีบ่ นคลืน่ ความถีย่ า่ น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยให้ บริการทัง้ เทคโนโลยี 2G 3G และ 4G ทัง้ หมดนีพ้ ร้อมรองรับลูกค้า รวมกว่า 41 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าระบบเติมเงินประมาณ 34.6 ล้านราย และมีลูกค้าระบบรายเดือนประมาณ 6.4 ล้านราย ในปี 2559 เอไอเอสได้ขยายสถานีฐาน 3G ไปทัว่ ประเทศ รวมทัง้ สิน้ กว่า 51,200 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร และสถานีฐาน 4G มีจำ�นวน 42,100 สถานี ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากร ระบบเติมเงิน ลูกค้าสามารถเลือกเติมเงิน ผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ผ่าน เอไอเอส ช็อป mPAY ผ่านธนาคาร เครื่องเอทีเอ็ม ผ่านร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เพื่อให้มีเงินคงอยู่ ในระบบ จากนัน้ จึงสามารถใช้บริการโดยเลือก จากแพ็คเกจที่หลากหลาย ภายใต้แบรนด์ เอไอเอส วันทูคอล! เพื่อให้ตรงตามลักษณะ การใช้ ง านมากที่ สุ ด โดยทั่ ว ไปแล้ ว เมื่ อ จดทะเบียนซิม ลูกค้าจะเลือกแพ็คเกจหลักซึ่งมีทั้งแบบรวมการ ใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะรวมบริการ AIS WiFi ไว้ด้วย หรือแพ็คเกจ NET SIM ที่ให้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับความนิยมเพื่อนำ�ไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการใช้งาน อินเทอร์เน็ตเท่านัน้ เช่น แท็บเล็ต และแบบสุดท้ายคือ แบบใช้งาน โทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ที่มีอัตราค่าโทรแตกต่างกันไปทั้งใน เครือข่ายและนอกเครือข่ายเอไอเอส และนอกจากนี้ ยังมีรูปแบบ ค่าโทรราคาพิเศษสำ�หรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและทางสายตา ระบบรายเดือน เป็นรูปแบบที่ลูกค้าใช้บริการก่อนแล้วจึง ชำ�ระค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นสุดรอบการใช้ โดยสามารถเลือกแพ็คเกจที่ สามารถแบ่งประเภทได้เช่นเดียวกับระบบเติมเงิน แบบรวมการ ใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีบริการ AIS WiFi รวมอยู่ เช่นกัน หรือรูปแบบการใช้บริการเฉพาะอินเทอร์เน็ต และรูปแบบ การใช้งานโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ลูกค้าในระบบรายเดือนมี แพ็คเกจการใช้งานให้เลือกอย่างหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่จะ มีข้อแตกต่างจากระบบเติมเงินคือการชำ�ระเงินหลังรอบการใช้ บริการในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าจำ�นวนมาก พึงพอใจกับ ความสะดวกสบายในแง่นี้ 025

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นอกเหนือไปจากแพ็คเกจการใช้งานหลักของทัง้ ระบบเติมเงิน และระบบรายเดือนแล้ว ลูกค้าสามารถซือ้ แพ็คเกจเสริม เพือ่ ใช้งาน เพิ่มเติมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการ เช่น เพิ่มจำ�นวนนาทีในการโทร เพิ่มปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต เพิ่ม ความเร็วอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยสามารถเลือกซื้อเป็นแพ็คเกจ เสริมใช้ครั้งเดียว หรือใช้ต่อเนื่อง เป็นประจำ� ซึ่งมีช่องทางการซื้อ ที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ทั้งการสมัครแพ็คเกจเสริมด้วย การกดรหัส สมัครผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น eService หรือ AIS Online store และผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น AIS App และ LINE เป็นต้น แพ็คเกจและซิมใหม่ในปี 2559 เอไอเอสมุ่ ง ให้ บ ริ ก ารและนำ � เสนอสิ น ค้ า ที่ ต รงตาม ความต้องการของลูกค้า ในปี 2559 จึงได้มกี ารศึกษา วิเคราะห์พฤติกรรม การใช้งานของผูบ้ ริโภค เพือ่ นำ�มาพัฒนาแพ็คเกจในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งในระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน ที่สอดคล้องและเหมาะกับ การใช้งานบนเครือข่าย 4G เพื่อให้การใช้งานของลูกค้าเป็นไป อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบรายเดือน 4G Max Speed เป็ น แพ็ ค เกจที่ เ หมาะกั บ กลุ่ ม ลู ก ค้ า ที่ เ น้ น การใช้ ง าน อินเทอร์เน็ต ครอบคลุมทุกการใช้งานไม่วา่ จะเป็นวิดโี อ หรือคอนเทนต์ ดิจิทัลอื่นๆ โดยแพ็คเกจ 4G Max Speed นี้ท�ำ ให้ลูกค้าสามารถ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วสูงสุดในปริมาณที่กำ�หนด ซึ่งจะ ให้มากกว่าแพ็คเกจแบบไม่จำ�กัด (non-stop) อื่นๆ และเมื่อ อินเทอร์เน็ตในแพ็คเกจหมด ลูกค้าจะหยุดการใช้งานและสามารถ เลือกซื้อแพ็คเกจเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้งานต่อได้ นอกจากนี้ยังมี บริการ Multi SIM ที่ลูกค้าระบบรายเดือนสามารถสมัครใช้เพียง แพ็คเกจเดียว เพื่อเล่นเน็ตพร้อมกันได้ถึง 5 เครื่อง


เอไอเอสยังได้ออกโปรโมชั่นเครื่องโทรศัพท์คุณภาพดี ในราคา ทีค่ มุ้ ค่าให้ลกู ค้าเลือกใช้ตามความต้องการทีห่ ลากหลาย โดยเฉพาะ สมาร์ทโฟนซึ่งเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน สอดคล้องกับการ ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือที่เพิ่มขึ้นตามรูปแบบการใช้ชีวิต เอไอเอสซุปเปอร์คอมโบ นำ�เสนอสมาร์ทโฟนคุณภาพดี ราคาคุ้มค่าหลากหลายรุ่น ภายใต้แบรนด์เอไอเอส Super Combo LAVA ที่เป็นแบรนด์พิเศษ ทีพ่ ฒ ั นาร่วมกันโดยเอไอเอสกับผูผ้ ลิตมือถือ มีกลุม่ เป้าหมายเป็น ลูกค้าในระบบเติมเงิน โดยโทรศัพท์ที่นำ�มาจัดแคมเปญนี้ มีทั้ง โทรศัพท์ที่รองรับเทคโนโลยี 3G/4G และยังรวมถึงโทรศัพท์ รุน่ ใหม่ทรี่ องรับเทคโนโลยี 4G VoLTE HD Voice ทีส่ ามารถใช้งาน VoLTE ให้เสียงคมชัด โทรติดเร็ว ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าภายใต้แบรนด์ เอไอเอส LAVA ได้ที่ www.ais.co.th/supercombo เอไอเอสฮอทดีล นำ�เสนอสมาร์ทโฟนแบรนด์ดังหลากหลายรุ่น พร้อมส่วนลด ค่าเครื่องในราคาพิเศษ เมื่อสมัครแพ็คเกจรายเดือน พร้อมชำ�ระ ค่าบริการล่วงหน้า โดยมีกลุม่ เป้าหมายเป็นลูกค้าในระบบรายเดือน ทั้งลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่ ย้ายค่ายเบอร์เดิม เปลี่ยนจากเติมเงินเป็น รายเดือน และลูกค้าปัจจุบันในระบบรายเดือน ท่ า นสามารถหาข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ แคมเปญได้ ที่ www.ais.co.th/hotdeal

iEntertain Non-Stop แพ็คเกจรูปแบบใหม่ทพี่ ฒ ั นาขึน้ มาสำ�หรับกลุม่ ลูกค้าสมัยใหม่ ทีส่ นุกกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพือ่ ความบันเทิงต่างๆ เช่น ดูคลิป ดู ห นั ง ดู ดิ จิ ทั ล ที วี และฟั ง เพลง แพ็ ค เกจนี้ ร วมการใช้ ง าน อินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง และให้ลูกค้าสามารถดูหนัง ฟังเพลงไปกับ แอปพลิเคชันชั้นนำ� AIS PLAY, YouTube, JOOX, Atime Online, Coolism และ Seed ได้ทุกที่ทุกเวลา ระบบเติมเงิน ซิม Super Play เดื อ นสิ ง หาคม 2559 เอไอเอส ออกแบบซิ ม เติ ม เงิ น ใหม่ “Super Play” ซึ่ ง เหมาะกั บ การใช้ ง านอิ น เทอร์ เ น็ ต ความเร็ ว 4G สำ � หรั บ รั บ ชมความบั น เทิ ง ต่างๆ เช่น การใช้งานสตรีมมิ่งสำ�หรับวิดีโอ และมั ล ติ มี เ ดี ย อื่ น ความพิ เ ศษของซิ ม นี้ คื อ ลู ก ค้ า สามารถ รับชมความบันเทิงผ่าน YouTube และ AIS PLAY จำ�นวน 1 GB ต่อสัปดาห์ นาน 52 สัปดาห์ หรือ 1ปี รวมถึงฟังเพลงผ่าน แอปพลิเคชันชั้นนำ� เช่น Joox, Seed, A-Time, Coolism ได้ต่อเนื่อง บริการโรมมิ่งและบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เอไอเอสมีบริการโรมมิง่ หรือบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ซึง่ ลูกค้า สามารถนำ�โทรศัพท์เคลือ่ นที่ไปใช้เมือ่ เดินทางต่างประเทศได้ทนั ที เมื่อเปิดบริการและไม่ต้องเปลี่ยนซิม โดยใช้เครือข่ายของผู้ให้ บริการในประเทศนั้นๆ เอไอเอสได้ตกลงทำ�สัญญากับผู้ให้บริการ ระหว่างประเทศ 432 รายในทุกทวีป มีเครือข่ายให้บริการ 464 ซิม EASY FREE NET เครือข่าย และมีเครือข่าย 4G โรมมิ่งครอบคลุม 82 ประเทศ กับ เดือนกันยายน 2559 เอไอเอสออกแบบซิมเติมเงินใหม่ “EASY 140 เครือข่าย มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย อีกทั้งยังมีบริการ FREE NET” ซิมแรกและซิมเดียวของเมืองไทย ที่ทำ�ให้คนไทย โทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เพื่อการโทรจากประเทศไทยไป ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตฟรี ได้ทุกที่ ทุกเวลา แบบต่อเนื่อง ไม่จำ�กัด ยังประเทศปลายทางกว่า 240 ประเทศ ด้วยความเร็ว 64 kpbs ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มที่ ไม่เคยใช้งาน ในปี 2559 เอไอเอสได้เปิดตัวแพ็คเกจโรมมิ่งใหม่ล่าสุด ชื่อว่า อินเทอร์เน็ต หรือกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน ให้ได้ใช้งาน และ “Roam Like Home” ที่ลูกค้าซึ่งเดินทางอยู่ต่างประเทศสามารถ ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเล่นได้ โทรกลับประเทศไทยและโทรในประเทศนัน้ ๆ ได้ไม่จ�ำ กัด พร้อมทัง้ ไม่ตอ้ งกังวลกับค่าใช้จา่ ยเพิม่ เติม พร้อมอัตราค่าโทรราคาประหยัด ใช้บริการโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตได้ต่อเนื่องด้วยแพ็คเกจเดียวกัน ตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศยอดนิยม 40 ประเทศ แพ็คเกจนีย้ งั ทำ�ให้ลกู ค้าสามารถ นอกจากแพ็ ค เกจและซิ ม สำ � หรั บ การใช้ ง านโทรศั พ ท์ แ ละ ใช้งานโรมมิง่ ทัง้ การโทรและใช้อนิ เทอร์เน็ตได้โดยไม่ตอ้ งกังวล และ อินเทอร์เน็ตสำ�หรับลูกค้าในระบบเติมเงินและระบบรายเดือนแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ รายงานประจำ�ปี 2559

026


นอกจากนี้ เอไอเอส ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นทางเลือก สำ�หรับการใช้บริการโรมมิง่ ได้แก่ SIM2Fly ซึง่ เป็นซิมแบบเติมเงิน และพ็อคเก็ตไวไฟของประเทศปลายทาง โดยมีจำ�นวนวันและ ปริมาณการใช้งานให้เลือกตามความต้องการ ใช้งานได้หลากหลาย ประเทศที่ลูกค้านิยมเดินทางไป ทั้งโซนเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มอบความสะดวกสบายและความคุ้มค่าให้กับลูกค้า โดยสามารถ ซือ้ ซิมได้จากเมืองไทยก่อนเดินทาง และเมือ่ ถึงประเทศปลายทาง ก็สามารถใช้งานได้ทันที

2. ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

เอไอเอสได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ภายใต้ แบรนด์ “เอไอเอส ไฟเบอร์” ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นผู้น�ำ ด้าน Digital home service infrastructure โดยให้บริการบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายใยแก้วนำ�แสงอย่างเต็มรูปแบบ เข้าตรง สูบ่ า้ น (FTTH) และอาคาร (FTTB) สามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งในด้านความเร็วและ ความเสถียรในการใช้งาน โดยมาพร้อม AIS PLAYBOX กล่องทีวี อินเทอร์เน็ตที่ช่วยสร้างความบันเทิงได้อย่างครบครัน ในปี 2559 เอไอเอสมีผใู้ ช้บริการ 301,500 ราย ด้วยพืน้ ทีบ่ ริการ ครอบคลุม 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสี ม า เชี ย งใหม่ ภู เ ก็ ต พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ระยอง อุบลราชธานี บุรรี มั ย์ หนองคาย เชียงราย พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี สงขลา สระบุรี สุรินทร์ ราชบุรี สกลนคร มหาสารคาม นราธิวาส และนครศรีธรรมราช โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นผู้ให้บริการหลักใน ตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในระยะเวลา 3 ปี แพ็คเกจของเอไอเอส ไฟเบอร์ทใ่ี ห้ลกู ค้าเลือกใช้บริการ แบ่งเป็น 3 ประเภท เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของผู้ ใ ช้ บ ริ การที่ แตกต่างกัน ได้แก่

027

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

แพ็คเกจ PowerHome เหมาะสำ�หรับการใช้งานตามบ้านทัว่ ไป มาพร้อมกับความเร็วในการอัพโหลดที่สูง ทำ�ให้ผู้ใช้งานสามารถ ท่องโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เกมส์ออนไลน์ อัพโหลดและ ดาวน์โหลดรูปภาพ รวมถึงการดูวิดีโอสตรีมมิ่งและอัพโหลดคลิป หรือดู YouTube ได้อย่างไม่ติดขัด แพ็คเกจ PowerPRO เหมาะสำ�หรับการใช้งานตามบ้าน หรือ องค์กรขนาดเล็ก ทีต่ อ้ งการความพิเศษของช่องทางผ่านโครงข่าย ที่มีอัตราการแชร์ต่ำ� เพิ่มศักยภาพในการทำ�งาน ไม่ติดขัดแม้ ในช่วงที่มีผู้ใช้บริการจำ�นวนมาก รวมถึงช่องทางการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตต่างประเทศด้วยแบนด์วดิ ท์ทมี่ ากกว่าเพือ่ การเชือ่ มต่อ ที่รวดเร็ว แพ็คเกจ PowerBiz เหมาะสำ�หรับการใช้งานในระดับองค์กร สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างหลากหลาย มีจดุ เด่นอยูท่ มี่ กี าร ให้บริการไอพีสำ�หรับการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์และสามารถใช้บริการ ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับองค์กร เช่น การประชุม ผ่านวิดีโอคุณภาพระดับ Full HD และได้รับบริการหลังการขาย ที่รวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำ�เนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด ผลิตภัณฑ์และการบริการในปีที่ผ่านมา เน็ตหอ เอไอเอสไฟเบอร์เปิดให้บริการ “เน็ตหอ โดยเอไอเอสไฟเบอร์” มิติใหม่ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบเติมเงินครัง้ แรกของไทย ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของกลุม่ นิสติ นักศึกษา ทีพ่ กั อาศัยตามหอพัก บริเวณรอบมหาวิทยาลัย การร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เอไอเอสไฟเบอร์จับมือร่วมกันกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลายโครงการ เช่น บริษทั พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำ�กัด (มหาชน) บริษัทเอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำ�กัด บริษัท ดีเวล แกรนด์ แอสเสท จำ�กัด และบริษทั มัน่ คงเคหะการ จำ�กัด (มหาชน) เพือ่ วางโครงข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ผู้พักอาศัยสามารถใช้งานได้ทันที ที่เข้าอยู่ในโครงการ

3. ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์

นอกจากการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายเพื่อรองรับการใช้งาน ของลูกค้าแล้ว อีกสิ่งที่เอไอเอสได้พัฒนามาโดยตลอดคือบริการ เสริมที่ทำ�ให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้นอกเหนือจากการ รับสายเข้าหรือโทรออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เอไอเอสเป็นผู้น�ำ ในการ ให้บริการเสริมมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นบริการเสียงเพลงรอสาย (Calling Melody) บริการหนังสืออิเลคโทรนิคส์ (E-Book) และ บริการเสริมอืน่ ๆ ที่ได้รว่ มทำ�กับพันธมิตรทางธุรกิจจนทำ�ให้ตลาด บริการเสริมมีการเติบโตมาโดยลำ�ดับ


ในปัจจุบัน เครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถรองรับ เทคโนโลยีที่ดียิ่งขึ้น ทั้ง 3G 4G และ Super WiFi อีกทั้งการใช้งาน สมาร์ทโฟนก็ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เอไอเอสจึงพัฒนาบริการ ในแบบดิจิทัลและดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของ ผูบ้ ริโภคได้ดยี งิ่ ขึน้ โดยเน้นไปที่ 5 แกนหลักทีจ่ ะสามารถตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ได้แก่ วิดโี อ เกม ธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ คลาวด์ และการเชือ่ มต่อ ระหว่างอุปกรณ์ (Machine-to-Machine หรือ M2M)

วิดีโอ เอไอเอสได้ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ ลูกค้าสามารถชมคอนเทนต์วิดีโอ ทั้งรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ กีฬา และคาราโอเกะ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการรับชม ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ นอกจาก AIS PLAYBOX ที่เป็น อุปกรณ์ Set top box สำ�หรับลูกค้าเอไอเอส ไฟเบอร์แล้ว ในปี 2559 เอไอเอสยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการรับชมคอนเทนต์ ผ่านมือถือ ชื่อว่า AIS PLAY ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่เพิ่ม ความสะดวกสบาย ทำ�ให้ลกู ค้าสามารถรับชมรายการต่างๆ ได้ทกุ ที่ทุกเวลา และในปีนี้ เอไอเอสยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้พัฒนา คอนเทนต์ เพือ่ สรรหาคอนเทนต์ทห่ี ลากหลายมาให้ลกู ค้าได้รบั ชม เช่น การร่วมมือกับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เพื่อนำ�เสนอการถ่ายทอด คอนเสิร์ต อีกทั้งยังมีคอนเทนต์กีฬา เช่น โอลิมปิค พาราลิมปิค ที่ลูกค้าสามารถเลือกรับชมได้หลากหลายกว่าการถ่ายทอดทาง ช่องฟรีทีวี

เกม เอไอเอสได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาเกมเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่นิยม การเล่นเกม โดยได้พฒ ั นาช่องทางการชำ�ระเงินผ่านทางการหักเงิน จากเครือข่าย และการชำ�ระเงินผ่านทางบัตรเติมเงินวันทูคอล ธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ เอไอเอสยังได้พัฒนาบริการด้านการทำ�ธุรกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ทำ�ให้ลูกค้าสามารถโอนเงิน ถอนเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชัน AIS mPAY และในปี 2559 นี้ ยังเพิม่ ความสะดวกสบายด้วยบริการ “AIS mPAY MasterCard” บัตร MasterCard แบบเติมเงิน เพือ่ ซือ้ สินค้าออนไลน์ ได้ทุกสกุลเงินทั่วโลก เป็นรายแรกของไทย ซึ่ง ทำ � ให้ ลู ก ค้ า สามารถซื้ อ ของออนไลน์ ไ ด้ อ ย่ า งสบายใจ มั่ น ใจ ในความปลอดภัย คลาวด์ ในปี 2559 นี้ เอไอเอสได้เปิดตัว “AIS Business Cloud” ซึ่ง เป็นบริการคลาวด์ส�ำ หรับลูกค้าองค์กร ตามแนวโน้มทีอ่ งค์กรธุรกิจ ของไทยกำ�ลังเปลี่ยนหันมาใช้ระบบคลาวด์เพือ่ เพิม่ ความสามารถ ในการแข่งขันในยุคปัจจุบนั โดยให้บริการครบวงจร นับตัง้ แต่ศนู ย์ ข้อมูล ให้บริการโครงสร้างพืน้ ฐาน (Infrastructure-as-a-Service) เช่น virtual machine พืน้ ทีจ่ ดั เก็บการสำ�รองข้อมูล การรักษาความ ปลอดภัยของเครือข่าย ไปจนถึงบริการซอฟต์แวร์ (Software-asa-Service) เช่น Office365, Mobile Threat Prevention App, Enterprise Storage Box รวมทั้งบริการการจัดการคลาวด์ และ บริการให้คำ�ปรึกษาจากมืออาชีพ อีกทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐาน ศูนย์ข้อมูลมาตรฐานระดับโลก สามารถรองรับธุรกิจได้ทุกระดับ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้กับระบบความปลอดภัย และ ยั ง ได้ ร่ ว มมื อ กั บ พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ ระดั บ สากลที่ จ ะช่ ว ยเพิ่ ม ประสิทธิภาพของบริการคลาวด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (M2M) บริการ M2M ของเอไอเอส ได้มีการทำ�ตลาดในหลากหลาย อุตสาหกรรม เช่น ลอจิสติกส์ การเงินและธนาคาร สาธารณูปโภค เป็นต้น และมีการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการชั้นนำ� ช่วย ให้ลกู ค้าสามารถบริหารจัดการการเชือ่ มต่ออุปกรณ์ M2M ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในการพัฒนาคอนเทนต์ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ แอปพลิเคชันใหม่ๆ เอไอเอสได้ให้การสนับสนุนและผลักดัน ผู้ประกอบการยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Startup อย่างต่อเนื่อง ผ่าน โครงการ AIS the StartUp CONNECT ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ Startup ทัง้ หลายทัว่ ประเทศสามารถส่งผลงานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมให้บริการบนเครือข่ายของ เอไอเอส พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากระบบ Enablers ต่างๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้บริการ ระบบการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่ายและออกบิล รวมถึงการเข้าถึงลูกค้าทั้งระบบเติมเงิน หรือรายเดือน รายงานประจำ�ปี 2559

028


การจำ�หน่ายและช่องทางการจัดจำ�หน่าย

ช่องทางการจัดจำ�หน่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญที่ส่งเสริม กลยุทธ์ของบริษัท เนื่องจากเป็นจุดส่งผ่านสินค้าและบริการต่างๆ ของเอไอเอสไปยังลูกค้าทีก่ ระจายตัวอยูท่ วั่ ทุกภูมภิ าคของประเทศ เอไอเอสให้ความสำ�คัญในการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับตัวแทน จำ�หน่าย รวมถึงการพัฒนาและจัดหาตัวแทนจำ�หน่ายเพิม่ เติม เพือ่ ตอบรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ทำ�ให้เอไอเอส มีรปู แบบของช่องทางการจัดจำ�หน่ายทีห่ ลากหลายเพือ่ ตอบสนอง รูปแบบการดำ�เนินชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยร้อยละ 97 เป็นการ จำ�หน่ายผ่านตัวแทนจำ�หน่ายทีม่ ศี กั ยภาพในการดำ�เนินธุรกิจและ สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณา ทั้งจากทำ�เลที่ตั้ง ผลงานที่ผ่านมา รวมทั้งสถานะทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตัวแทนจำ�หน่ายในพืน้ ทีต่ า่ งจังหวัดจะต้องเป็น ผู้ที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่และเป็นนักธุรกิจที่มีศักยภาพภายใน พืน้ ทีเ่ พือ่ สร้างความน่าเชือ่ ถือและส่งมอบบริการทีด่ ีให้กบั ลูกค้าได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. เอไอเอส ช็อป เอไอเอสมีการขยายสาขาเอไอเอส ช็อป เพือ่ ให้สามารถบริการ ลูกค้าได้ในพืน้ ทีท่ คี่ รอบคลุมมากยิง่ ขึน้ นอกจากนีย้ งั มีการพัฒนา กระบวนการให้บริการทีท่ �ำ ให้คล่องตัว เพือ่ ความรวดเร็ว อีกทัง้ ยัง ปรับปรุงการจัดพืน้ ทีแ่ ละแสดงสินค้าในช็อป ซึง่ จะมีสว่ นช่วยสร้าง ประสบการณ์ทดี่ ใี ห้กบั ลูกค้า โดยในปี 2559 มีเอไอเอส ช็อป130 สาขา ซึ่งจำ�นวน 43 สาขาจากทั้งหมดนี้ เอไอเอสได้เปิดโอกาสให้ ตัวแทนจำ�หน่ายที่มีศักยภาพเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบริหาร ร้านเอไอเอส ช็อป โดยเรียกว่า AIS Shop by Partner โดยมี มาตรฐานการให้บริการทีเ่ หมือนกับ AIS Shop ทีท่ าง AIS ควบคุมเอง เพื่อช่วยให้การขยายสาขาเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยเอไอเอส ช็อปที่บริหารโดยตัวแทนจำ�หน่ายนี้จะมีมาตรฐานการขายและ การให้บริการอย่างมีคณุ ภาพเช่นเดียวกับการบริหารโดยเอไอเอสเอง ซึ่ ง กระบวนการคั ด เลื อ กพนั ก งานและการฝึ ก อบรมถู ก จั ด ขึ้ น โดยที ม งานพั ฒ นาบุ ค คลของเอไอเอส เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเป็ น มาตรฐานเดียวกันในแต่ละสาขา 2. ตัวแทนจำ�หน่าย “เทเลวิซ” เอไอเอสมีตวั แทนจำ�หน่ายเทเลวิซจำ�นวนทัง้ สิน้ กว่า 100 ราย และมีรา้ นเทเลวิซ และเทเลวิซพลัส กว่า 430 แห่งทัว่ ประเทศ โดย ตัวแทนจำ�หน่ายเทเลวิซมีสิทธิในการจำ�หน่ายสินค้าและบริการ ภายใต้เครื่องหมายการค้าของเอไอเอส รวมถึงมีสิทธิในการให้ บริการรับจดทะเบียนรายเดือน ให้บริการเกี่ยวกับงานทะเบียน ต่างๆ และเป็นผู้ให้บริการรับชำ�ระค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด โดยนอกเหนือจากรายได้จากการขายโดยทั่วไปแล้ว ตัวแทน จำ�หน่ายเทเลวิซจะได้รับค่าตอบแทนจากการลงทะเบียนให้ลูกค้า ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอส รวมถึงการสนับสนุน

029

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

กิจกรรมทางการตลาดในอัตราที่เอไอเอสกำ�หนด ทั้งนี้ เอไอเอส จะเป็นผู้กำ�หนดเงื่อนไข ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของการ ให้บริการ รวมถึงแนวทางในการดำ�เนินการของตัวแทนจำ�หน่าย เช่น การเลือกและพัฒนาสถานที่ การโฆษณาและส่งเสริมการขาย และการให้บริการต่างๆ เพื่อให้ได้ระดับมาตรฐาน ในปี 2559 เอไอเอสได้จดั ทำ�แผนยกระดับคุณภาพร้านเทเลวิซ จำ�นวน 20 สาขา โดยเน้นพัฒนามาตรฐานการการขาย และการให้บริการ ให้ดยี งิ่ ขึน้ เพื่อพร้อมสู่การเป็น “เอไอเอส ช็อป” 3. ตัวแทนจำ�หน่ายแอดวานซ์ ค้าส่ง (Advanced Distribution Partnership หรือ ADP) ตัวแทนจำ�หน่ายแอดวานซ์ ค้าส่งได้รบั การคัดเลือกจากตัวแทน จำ�หน่ายเทเลวิซ และตัวแทนจำ�หน่ายทั่วไปที่มีศักยภาพในการ กระจายสินค้าในพื้นที่มีสถานะทางการเงินที่ดี เพื่อทำ�หน้าที่ดูแล บริหารการจัดส่งสินค้าให้กับตัวแทนค้าปลีก ในเขตพื้นที่ของ ตนเองได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสนับสนุนการทำ�กิจกรรมทางการ ตลาดในพื้นที่ 4. ตัวแทนจำ�หน่าย “เอไอเอส บัดดี้” ตัวแทนจำ�หน่ายเอไอเอส บัดดี้ ได้รบั การคัดเลือกจากตัวแทน จำ�หน่ายค้าปลีกทีม่ ศี กั ยภาพในการขายและอยู่ในพืน้ ทีส่ �ำ คัญต่างๆ ในแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นร้านจุดจำ�หน่ายสินค้าและให้บริการอื่นๆ ของเอไอเอส ไม่วา่ จะเป็นการให้บริการรับจดทะเบียนรายเดือน ให้ บริการเกีย่ วกับงานทะเบียนต่างๆ และให้บริการรับชำ�ระค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งสามารถให้บริการได้ใกล้เคียงกับตัวแทน จำ�หน่ายเทเลวิซ ในปี 2559 ทางบริษัทได้เปิดตัวแทนจำ�หน่าย เอไอเอส บัดดี้เพิ่มจำ�นวนเป็นกว่า 1,100 ร้านค้า กระจายตัวอยู่ ในตามแต่ละอำ�เภอ ทั่วประเทศ และมุ่งขยายสาขามากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าเอไอเอส ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน “Easy App” เพื่อรองรับการทำ�งานบริการต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ทำ�ให้ตวั แทนจำ�หน่ายสามารถทำ�งานบริการได้สะดวกสบายยิง่ ขึน้ และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ 5. ตัวแทนแอดวานซ์ ค้าปลีก (Advanced Retail Shop หรือ ARS) ตัวแทนแอดวานซ์ ค้าปลีกเป็นร้านค้าปลีกทีจ่ �ำ หน่ายโทรศัพท์ ทั่วไปที่กระจายอยู่หลากหลายพื้นที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็น อย่างดี นับเป็นช่องทางสำ�คัญเพราะเป็นตัวแทนจำ�หน่ายสินค้าให้ กับลูกค้าโดยตรง ปัจจุบันมีมากกว่า 22,000 ราย และมีแนวโน้มที่ จะเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งตามการขยายตัวของชุมชน และในปี 2559 มีการพัฒนารูปแบบการขายให้สะดวกยิ่งขึ้น โดยตัวแทนจำ�หน่าย ค้าปลีกสามารถทำ�งานบริการผ่านแอปพลิเคชัน “Easy App” เพือ่ ตอบสนองความต้องการลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น


6. ตัวแทนจำ�หน่ายขนาดใหญ่ (Key Account and Modern Trade) เอไอเอสได้จดั จำ�หน่ายสินค้าและบริการต่างๆ เช่น การให้บริการ เปิดเบอร์เติมเงิน และรายเดือน การรับชำ�ระค่าบริการรายเดือน รวมไปถึงการเติมเงิน ผ่านตัวแทนจำ�หน่ายขนาดใหญ่ซึ่งมีสาขา หรือร้านค้าของตนเองอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่ เจมาร์ท ทีจีโฟน บางกอกเทเลคอม ซีเอสซี กลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น เทสโก้ โลตัส บิก๊ ซี เพาเวอร์บาย เซเว่นอีเลเว่น กลุม่ ช่องทางขายอุปกรณ์ ไอที ตัวแทนจำ�หน่ายไอที กลุม่ ไอทีคา้ ปลีก เช่น ไอสตูดโิ อ ไอทีซติ ี้ แอดไวซ์ ไอที เป็นต้น โดยกระจายอยูท่ วั่ ประเทศเป็นจำ�นวนทัง้ สิน้ มากกว่า 50 ราย และเป็นสาขามากกว่า 10,000 แห่ง รวมถึง ได้เพิ่มจำ�นวนพนักงานส่งเสริมการขาย เป็น 350 คน คอยทำ� หน้ า ที่ แ นะนำ� สิน ค้าและบริการแก่ลูก ค้า พร้อ มทั้งมีการเพิ่ม ประสิทธิภาพของช่องทางจำ�หน่ายโดยเพิ่มความสามารถในการ ขายสินค้า และให้บริการของเอไอเอส ตลอดจนการเพิ่มสื่อต่างๆ ในสาขาของตัวแทนจำ�หน่ายเพือ่ เป็นการส่งเสริมการขายและสร้าง ภาพลักษณ์ให้กบั เอไอเอส ในปี2559 นี้ เอไอเอสได้รว่ มมือกับตัวแทน จำ�หน่ายกลุ่ม ไอสตูดิโอจำ�นวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท เอส พี วี ไอ จํากัด บริษัท คอปเปอร์ ไวร์ด จำ�กัด บริษัท ยูฟิคอน จำ�กัด โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนำ�ประสบการณ์ของการให้บริการเครือข่าย ผสานรวมกับความเชี่ยวชาญด้านแอปเปิ้ล ทำ�ให้ตอบรับกับความ ต้องการของกลุ่มลูกค้าแอปเปิ้ลได้ดียิ่งขึ้น 7. การจำ�หน่ายทางตรง เป็ น ช่ อ งทางที่ ช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการจั ด จำ � หน่ า ยให้ สามารถนำ�เสนอสินค้าและบริการได้เข้าถึงกลุม่ ลูกค้าโดยตรง เช่น การออกบูธ ซึ่งดำ�เนินการโดยการคัดสรรจากตัวแทนจำ�หน่ายที่มี ศักยภาพและความชำ�นาญในแต่ละพืน้ ที่ และโดยจัดตัง้ ทีมงาน AIS Direct Sales เพือ่ รองรับการเติบโตและขยายตัวของตลาดในอนาคต โดยมี การพั ฒ นาอุป กรณ์ และเครื่อ งมือ การทำ �งานที่เรีย กว่า “Easy App” ให้พนักงานขายสามารถดำ�เนินการขายสินค้า จดทะเบียน และทำ�บริการต่างๆ ให้ลูกค้าในทันทีจึงทำ�ให้การบริการทำ�ได้ สะดวก รวดเร็ว และทันสมัยมากขึ้น 8. การจำ�หน่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เอไอเอส ส่งเสริมให้ตัวแทนจำ�หน่ายระบบ วัน ทู คอล! ให้ บริการเติมเงินผ่านตัวแทนหน่วยเติมเงิน AIS Online top-up ช่วยให้ลูกค้าเอไอเอสสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีการ เติมเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ผ่านเครื่องเติมเงินอัตโนมัติ เอทีเอ็ม ธุรกรรมการเงินผ่านมือถือ อินเทอร์เน็ต mPAY โดยปัจจุบนั เอไอเอสมีการจำ�หน่ายผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์กว่า 500,000 จุด ปัจจุบันการเติมเงินผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีสัดส่วนกว่า ร้อยละ 80 ของมูลค่า การเติมเงินทัง้ หมด รวมถึงยังช่วยลดต้นทุน ในการผลิตบัตรเติมเงินและบัตรเงินสดอีกด้วย

ช่องทางการจัดจำ�หน่ายของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เอไอเอสจัดช่องทางการจัดจำ�หน่ายสำ�หรับบริการเอไอเอส ไฟเบอร์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำ � เสนอบริ การให้ เ ข้ า ถึ ง กลุ่ ม ลู ก ค้ า ทั้ ง ในกรุ ง เทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของจำ�นวนลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นอีกจากการขยายเครือข่ายการให้ บริการในอนาคต ในปี 2559 ช่องทางหลักที่ให้บริการจัดจำ�หน่ายได้ครอบคลุม กลุม่ ลูกค้าทัง้ หมด โดยมีทงั้ เอไอเอสช็อป และร้านค้าเทเลวิซ กว่า 440 แห่งใน 28 จังหวัดในพืน้ ทีใ่ ห้บริการของเอไอเอส ไฟเบอร์ รวมทัง้ มีการจัดจำ�หน่ายผ่านตัวแทนจำ�หน่ายที่ ได้รับการแต่งตั้งและ ตัวแทนขายตรงในแต่ละพืน้ ที่ให้บริการ เพือ่ ให้สามารถเข้าถึงลูกค้า ได้มากยิง่ ขึน้ ซึง่ ในปี 2560 จะมีการขยายช่องทางต่างๆ รวมทัง้ เพิม่ ประสิทธิภาพให้มากยิง่ ขึน้ โดยมุง่ เน้นช่องทางออนไลน์ ไม่วา่ จะเป็น เว็บไซต์ หรือโมบายแอปพลิเคชัน ในการให้ขอ้ มูลและอำ�นวยความ สะดวก เพือ่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยสามารถสมัคร ตรวจสอบสถานะการใช้บริการต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้ ง นี้ กลยุ ท ธ์ ที่ เ อไอเอสใช้ ใ นการบริ ห ารช่ อ งทางการจั ด จำ�หน่าย สามารถศึกษาได้เพิม่ เติมจาก รายงานพัฒนาความยัง่ ยืน ปี 2559 หัวข้อ “พันธมิตรทางธุรกิจ”

การบริหารความสัมพันธ์ลกู ค้า และประสบการณ์ลกู ค้า

เอไอเอสตระหนักดีว่าการบริการลูกค้าเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะสร้าง ความประทับใจให้กับลูกค้า และสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดี เพือ่ ให้ลกู ค้าพึงพอใจ ดังนัน้ เอไอเอสจึงทุม่ เทเพือ่ มาตรฐานบริการ ที่ยอดเยี่ยม และเพื่อตอกย้�ำ การเป็นผู้นำ�ด้านการดูแลลูกค้า ในปี 2559 นี้ เอไอเอสได้ต่อยอดแนวคิด AIS LIVE 360º ด้วย แคมเปญ “ที่สุดจากใจ ที่ 1 การให้บริการ” เพื่อส่งมอบบริการ ด้วยใจ พร้อมคัดสรรสิทธิพิเศษที่ตรงใจให้แก่ลูกค้าในยุค 4G ด้วย การนำ�เทคโนโลยีที่ออกแบบมาด้วยความเข้าใจและใส่ใจในทุก รายละเอียด ยกระดับการดูแลลูกค้าให้เป็นที่สุดในทุกด้าน โดย ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1) เร็วที่สุด โดยเอไอเอส ได้รับรางวัลในฐานะผู้ให้บริการด้าน โซเชียล มีเดีย ที่ให้ข้อมูลลูกค้าบนพันทิปเร็วที่สุดในประเทศไทย 2) ส ะดวกที่ สุ ด ด้ ว ยบริ การที่ จั ด การได้ ด้ ว ยตนเอง (Self Service) ที่หลากหลาย 3) ทันสมัยที่สุด ด้วยการนำ�เทคโนโลยีมาออกแบบงานบริการ ที่ตรงใจลูกค้า 4) หลากหลายที่สุด กับสิทธิประโยชน์ที่เติมเต็มครบทั้ง 360 องศาการใช้ชีวิต พร้อมยกระดับพัฒนาศักยภาพพนักงานอย่าง ต่อเนื่อง เอไอเอสมีการบริหารความสัมพันธ์และประสบการณ์ลูกค้า ผ่านแคมเปญและรูปแบบบริการทีห่ ลากหลาย โดยมีชอ่ งทางหลัก ดังต่อไปนี้ รายงานประจำ�ปี 2559

030


1. เอไอเอส คอลเซ็นเตอร์ เอไอเอส คอลเซ็นเตอร์ เป็นช่องทางการให้บริการสำ�คัญ ที่ลูกค้าสามารถเข้าได้โดยสะดวก ผ่านการโทร 1175 หรือ 1148 สำ�หรับลูกค้าเซเรเนด และยังสามารถติดต่อด้วยวิธีการออนไลน์ ได้ดว้ ย โดยเจ้าหน้าทีค่ อลเซ็นเตอร์สามารถให้บริการด้านการตอบ คำ�ถาม แก้ปญั หา ให้ค�ำ แนะนำ� และยังสามารถขายแพ็คเกจต่างๆ ได้เช่นกัน ปัจจุบัน เอไอเอสมีคอลเซ็นเตอร์ 4 แห่ง ใน 2 จังหวัด โดยมีพนักงาน 2,700 คน และล่าสุดได้เริ่มก่อสร้าง “AIS Contact Center-Development & Training Arena” สำ�นักงานถาวรแห่งใหม่ ที่ จ.นครราชสีมา คาดแล้วเสร็จไตรมาสที่ 3 ปี 2560 โดยจะ สร้างงานให้แก่บุคลากรท้องถิ่นมากกว่า 1,000 ตำ�แหน่ง รองรับ ปริมาณการติดต่อร้อยละ 50 ของจำ�นวนสายทัง้ หมด และเป็นศูนย์ อบรมและพัฒนาการให้บริการ บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าให้แก่ บริษัทในเครือ หน่วยงานภายใน คู่ค้าธุรกิจด้วย และยังได้จัดตั้ง “1185 AIS Fibre Call Center” ขึ้น เพื่อรองรับบริการใหม่ล่าสุด จาก เอไอเอส ไฟเบอร์ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านไฟเบอร์ออพติก 100% ด้วยพนักงานซึ่งมีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต (IP Knowledge) และการใช้งานในยุคดิจิทัล (Digital Age Usage) ไม่ต่ำ�กว่า 120 คน นอกจากนี้ พบว่าจำ�นวนลูกค้า ติดต่อผ่านช่องทางมัลติมีเดีย เช่น อีเมล์ โซเชียลมีเดีย และ โปรแกรมแชท "Ask Aunjai" เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้วถึงร้อยละ 54 จึงได้ เตรียมเพิ่มจำ�นวนพนักงานบริการในส่วนนี้จาก 80 คนเป็น 160 คนในปี 2560 และยังได้ต่อยอดความสามารถของ “Ask Aunjai” โปรแกรมแชทแบบพนั ก งานเสมื อ น (Virtual Agent) ด้ ว ย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent Agent หรือ AI) เพื่อให้สามารถให้บริการสอบถามเกี่ยวกับสินค้าและบริการของ เอไอเอส รวมถึงแชทโต้ตอบอัตโนมัตไิ ด้ครอบคลุมเนือ้ หามากยิง่ ขึน้ นอกจากนี้ยังได้ ริเริ่มระบบ Customer Track & Trace ให้ ความสะดวกสูงสุดแก่ลูกค้า ในการสอบถามติดตามสถานะต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ในเรื่องที่ลูกค้าแจ้งไว้ หรือที่เจ้าหน้าที่รับเรื่อง ดำ�เนินการให้ผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ (IVR) และแจ้งผลทาง SMS อัตโนมัติ เช่น การตรวจสอบแก้ไขปัญหาการใช้งานเครือข่าย หรืออินเทอร์เน็ต เอไอเอส ไฟเบอร์ การขอสำ�เนาใบแจ้งค่าบริการ เป็นต้น ด้ ว ยความมุ่ ง มั่ น ยกระดั บ งานบริ ก ารอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง บจ. แอดวานซ์ คอนแท็คเซ็นเตอร์ ได้รับรางวัล “Best Employer Thailand 2016” สุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย จากเอออน ฮิววิท บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคล ร่วมกับสถาบัน บั ณ ฑิ ต บริ ห ารธุ ร กิ จ ศศิ น ทร์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ในส่วนด้านการบริการ ได้รบั รางวัล “The Most Fastest Response Brand on Pantip” จาก Thailand Zocial Awards 2016 ในฐานะ

031

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

แบรนด์ที่ตอบคำ�ถามลูกค้าบนเว็บไซต์พันทิปได้เร็วที่สุด ด้วย สถิติจ�ำ นวนกระทู้กว่า 17,383 กระทู้ เวลาเฉลี่ยในการตอบคำ�ถาม กระทู้ละ 32.5 นาที และในด้านนวัตกรรม ได้รับรางวัลผู้น�ำ ด้าน เทคโนโลยี “The Best Innovation [Honorary Mention] 2016” ใน ฐานะสุดยอดนวัตกรรมจากงาน Crest Award สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ และ “Best Customer Self-Service Innovation Award 2016” จาก อวาย่า ผู้นำ�ระดับโลกทางด้านซอฟต์แวร์การสื่อสารทางธุรกิจ ในงาน AVAYA Technology Forum ประเทศไทย 2. เอไอเอส ช็อป เอไอเอส ช็อป เป็นอีกหนึ่งช่องทางบริการเพื่ออำ�นวยความ สะดวกให้กบั ลูกค้า นับตัง้ แต่ การทำ�ธุรกรรม จดทะเบียนซิม ชำ�ระ ค่าใช้จ่าย แก้ปัญหา ให้คำ�แนะนำ�ที่เกี่ยวกับการใช้งาน รวมไปถึง การขายเครือ่ งโทรศัพท์ แพ็คเกจต่างๆ ปัจจุบนั เอไอเอสช็อปมี 130 สาขา และในปี 2560 คาดว่าจะขยายเป็น 160 สาขา ในปี 2559 ที่ผ่านมา เอไอเอส ช็อป ได้นำ�เทคโนโลยีมาออกแบบงานบริการ ที่ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น ยกระดับให้เป็น ดิจิทัล ช็อป (Digital Shop) ด้วยเทคโนโลยีการบริการ โดยเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดตัว การให้บริการโดยพนักงานแบบเคลื่อนที่ (Service Mobility) ผ่าน อุปกรณ์แท็บเล็ต (Tablet) พูดคุยและดูแลลูกค้าได้ใกล้ชิด ด้วย


ความคล่องตัวในทุกพื้นที่ของสาขาแบบไร้ขีดจำ�กัด พร้อมทั้ง พัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานสู่การเป็น ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านอุปกรณ์สอื่ สารและระบบปฏิบตั กิ าร (Digital Guru) อย่างเต็มรูปแบบ โดยในปีนี้ได้เพิม่ จำ�นวน Digital Guru ขึน้ อีกกว่า ร้อยละ 30 เพือ่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจทิ ลั โดยปัจจุบนั มีพนักงาน Device Guru (ผูเ้ ชีย่ วชาญฯ) และพนักงาน Device Advance (ผู้ชำ�นาญการฯ) จำ�นวน 955 คน นอกจากนี้ AIS Flagship Store สาขาเวสเกตส์ ยังได้น�ำ เทคโนโลยี Interactive Magic Wall ขนาด 3 x 6 เมตร มาให้ลูกค้าได้สัมผัสความล้�ำ หน้า ผ่านการร่วมเล่นเกมส์บน Magic Wall และ AIS Flagship Store สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลสาขาปิ่นเกล้า ยังได้เปิดตัว AIS Hyper-Reality Experience อีกขั้นของ Virtual Reality สุดยอด เทคโนโลยีแห่งอนาคต สัมผัสภาพเสมือนจริงได้มากกว่าเพียงแค่ ใส่แว่นมอง แต่สามารถตอบโต้ในสิ่งที่เห็นได้ทั้งตัว ให้ผู้ใช้บริการ สามารถทดลองเล่นเกมส์ ดูหนัง และท่องโลกเสมือนจริง กับ Hyper Reality ได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ขยายขีดความสามารถของ ตูบ้ ริการอัจฉริยะ (Service Kiosk) ให้ทำ�รายการอัตโนมัติได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย

ฟังก์ชั่นใหม่ๆ อาทิ การเปลี่ยนจากระบบเติมเงินเป็นรายเดือน การย้ายค่ายเบอร์เดิมมายังเอไอเอส การสมัคร/เปลี่ยนแปลง บริการระบบข้ามแดนอัตโนมัติหรือโทรทางไกลต่างประเทศ และ ยังมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง โดยปัจจุบนั เปิดให้บริการแล้ว 80 ตู้ ทัว่ ประเทศ และยังได้ขยายจุดบริการ ตูร้ บั ชำ�ระอัตโนมัติ (Payment Kiosk) ไปยังสถานที่ที่ลูกค้าจะได้รับความสะดวกที่สุด อาทิ ศูนย์การค้าใหม่ๆ ร้านเทเลวิซ สถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT สายใหม่ๆ โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 300 ตู้ บริการอื่นๆ สำ�หรับลูกค้า จากเอไอเอส เอไอเอสยังมีโปรแกรมการดูแลลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้า และสร้ า งประสบการณ์ สุ ด พิ เ ศษให้ กั บ ลู ก ค้ า เอไอเอส โดยมี แคมเปญหลักดังต่อไปนี้ AIS Privileges เอไอเอสมอบสิทธิพิเศษต่อเนื่อง ร่วมกับร้านค้าหลากหลาย กว่า 15,000 แห่ง ทั้งร้านอาหาร ช้อปปิ้ง บันเทิง และท่องเที่ยว ตลอดจนส่วนลดมือถือพร้อมแพ็คเกจสุดคุ้ม

AIS Rewards ในปีนี้ ยังได้สานต่อโครงการ “AIS LIVE 360 โชคทองถล่มทับ ปี 8” เล่นเกมลุ้นรางวัลทองคำ� รวมมูลค่าสูงสุด 15 ล้านบาท AIS Points ลูกค้าสามารถนำ�ยอดค่าใช้บริการมาแลกรับพอยท์ เพือ่ ใช้เป็น ค่าโทร อินเทอร์เน็ต กินฟรี ดูหนังฟรี และสิทธิพิเศษอื่นๆ

AIS Experience เอไอเอส เดินหน้ามอบประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดพิเศษ สำ�หรับลูกค้า และยังขยายโครงการ “มื้อนี้ฟิน วันนี้ฟรี” ให้ลูกค้า อิ่มอร่อยฟรีทั่วประเทศ เอไอเอส เซเรเนด เอไอเอส เซเรเนด เป็นโปรแกรมการบริหารความสัมพันธ์ ลูกค้าทีเ่ อไอเอสจัดขึน้ เพือ่ รักษาฐานลูกค้าทีม่ กี ารใช้งานสม่�ำ เสมอ มียอดค่าใช้บริการตามลำ�ดับขั้น มีทั้งเซเรเนด แพลทินัม โกลด์ และเอ็มเมอรัลด์ โดยลูกค้าเซเรเนดจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามรูปแบบการใช้ชวี ติ เช่น หมายเลขคอลเซ็นเตอร์เฉพาะสำ�หรับ ลูกค้าเซเรเนด สิทธิในการเข้าใช้เซเรเนดคลับ บริการผูช้ ว่ ยส่วนตัว ของขวัญวันเกิด บริการที่จอดรถ ณ ศูนย์การค้า ส่วนลดร้านค้า ต่างๆ ฯลฯ ปีนี้เอไอเอสได้ฉลองครอบรอบ 12 ปีเซเรเนด ด้วยแคมเปญ “The Ultimate Pride” ภายใต้ แ นวคิ ด “ยิ่ ง กว่ า ที่ สุ ด คื อ ความประทับใจไม่รจู้ บ” โดยยกระดับการมอบความพิเศษทีม่ ากยิง่ ขึน้ ครอบคลุมทั้ง 360 องศา ประกอบไปด้วย 1) Ultimate Digital Life สิทธิพิเศษหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ ชีวิตดิจิตอล ทั้งส่วนลดพิเศษสำ�หรับมือถือ และเอไอเอส ไฟเบอร์ รวมถึงบริการเสริมอื่นๆ รายงานประจำ�ปี 2559

032


2) Ultimate Pretty and Lucky Number เลือกรับเบอร์สวยหรือ เบอร์มงคล พร้อมรับสิทธิเซเรเนด แพลตินั่ม และผู้ช่วยส่วนตัว 3) Ultimate Wealth & Investment ร่วมกับพาร์ทเนอร์เพือ่ มอบ สิทธิพเิ ศษความคุม้ ค่าในด้านการเงินการลงทุน และด้านประกันภัย 4) Ultimate Surprises ให้ลูกค้าลุ้นรับของขวัญประสบการณ์ พิเศษ อาทิ ทริปสำ�หรับลูกค้าคนพิเศษ 5) Ultimate Lifestyle Privileges มอบประสบการณ์เหนือระดับ ด้วยสิทธิพิเศษ อาทิ ส่วนลดร้านค้า สิทธิพิเศษที่จอดรถ บริการ เครื่องดื่มฟรีที่สนามบิน 6) Ultimate Dining ที่สุดของประสบการณ์ความอร่อย ด้วย ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษหลากหลายจากร้านอาหารชื่อดัง โดยตลอด 12 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ ส่งมอบบริการและสิทธิพิเศษเหนือระดับให้กับลูกค้ามาโดยตลอด ซึ่ ง การคั ด สรรสิ ท ธิ พิ เ ศษต่ า งๆ เกิ ด จากความมุ่ ง มั่ น ศึ ก ษา พฤติกรรมของลูกค้าในเชิงลึก เพื่อออกแบบเป็นบริการที่เหมาะ กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม (Segmentation) และพัฒนาต่อยอดไปสู่การ ดูแลลูกค้าที่เหมาะกับแต่ละบุคคล (Personalization) ทำ�ให้ลูกค้า เอไอเอส เซเรเนด เกิดความผูกพัน รูส้ กึ ถึงความเป็นคนพิเศษ และ ด้วยตัวเลขที่แสดงความพึงพอใจของลูกค้าในไตรมาส 1 ปี 2559 ที่สูงถึงร้อยละ 88 และมี Net Promoter Score (NPS) เป็นบวก อย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความสำ�เร็จของการดูแลลูกค้า คนพิเศษด้วยโปรแกรม เอไอเอส เซเรเนด ถือได้ว่าเอไอเอสเป็น ผู้ให้บริการที่สร้างความแตกต่างในงานบริการด้านการดูแลลูกค้า และสิทธิพิเศษให้กับตลาดโทรคมนาคมไทย

033

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


โครงการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมของเอไอเอส กรอบการพัฒนานวัตกรรม เอไอเอสใช้งบประมาณในการวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรม ประมาณ 50 ล้านบาท ในปี 2559 ซึ่งถือว่า เป็นต้นทุนการดำ�เนินงานที่มีประสิทธิภาพ อันเกิดจากการเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เอไอเอสได้ ริ เ ริ่ ม ดำ � เนิ น โครงการ “AIS Innovation Transformation” ขึ้นในปี พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการรวบรวมและ ติดตามการทำ�โครงการเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ และเกิดความสะดวกต่อการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร จากเดิมทีก่ ารคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมจะถูกกระจายอยู่ในแต่ละ สายงานตามความรั บ ผิ ด ชอบ โครงการ AIS Innovation

Transformation ยังมีเป้าหมายในการสร้างให้เอไอเอสเป็ น “องค์กรแห่งนวัตกรรม” กระตุ้นให้พนักงานมีการคิดค้น พัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงบวกใหม่ๆ ซึ่งจะทำ�ให้เป็นการเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขัน และสร้างช่องทางการจัดหารายได้ใน รูปแบบใหม่ โดยกรอบการดำ�เนินงานภายใต้ AIS Innovation Transformation เป็นดังต่อไปนี้

Protype

Commercial

Revisit

Idea Database

Innovation Collaboration Office

Project Approval

Dedicated Organization

Innovation Committee

AIS Innovation Center Virtual working groups

HR

Back Office

Developer

Network

Marketing

IT

Idea Sourcing Strategic Direction

Champion

Staff/Internal Campaign

Vendor

Start up

Education/ Research Center

รายงานประจำ�ปี 2559

034


กรอบการดำ�เนินงานทางด้านนวัตกรรมจะถูกขับเคลื่อนโดย สำ�นักความร่วมมือทางด้านนวัตกรรม (Innovation Collaboration Officer) โดยครอบคลุมตั้งแต่ 1. การกำ � หนดแหล่ ง ที่ ม าของความคิ ด สร้ า งสรรค์ หรื อ creativity ที่เปิดกว้างทั้งจากภายในและภายนอก ผ่านการ ดำ�เนินงานด้วยเอไอเอสและบริษัทย่อยเอง หรือผ่านการ ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ มหาวิทยาลัย และองค์กร ภาครัฐต่างๆ 2. การนำ�ความคิดสร้างสรรค์ที่ได้มาทำ�การคัดเลือก ปรับปรุง และทดสอบ/ทดลองเบือ้ งต้น เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้ โดย เอไอเอสจัดให้มีศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Center) เป็นผู้ด�ำ เนินการ 3. การนำ�เสนอผลการทดสอบ/ทดลองต่อคณะกรรมการกำ�กับ การดำ�เนินงานโครงการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ด้านนวัตกรรม (Innovation Competitive Development Steering Committee) ซึง่ ประกอบไปด้วยตัวแทน ผูบ้ ริหาร จากสายงานต่ า งๆ โดยมี หั ว หน้ า คณะผู้ บ ริ ห ารด้ า น เทคโนโลยี เป็นประธานเพื่อพิจารณาว่าแนวคิดดังกล่าว สมควรนำ�ไปใช้งาน หรือพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและ/หรือ บริการของเอไอเอสต่อไปหรือไม่ สำ�หรับ ศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็น แกนกลางของกรอบการดำ�เนินงานนัน้ นอกจากจะทำ�หน้าทีศ่ กึ ษา ความเป็นไปได้และทดสอบ/ทดลองนวัตกรรมที่มีการคิดค้นขึ้น มาแล้ว ยังถูกกำ�หนดให้เป็นศูนย์รวมของการสร้างและส่งเสริม

นวัตกรรมขององค์กร โดยการทำ�งานของศูนย์การศึกษาวิจัยและ พัฒนานวัตกรรม จะประกอบไปด้วย คณะทำ�งานทีม่ าจากสายงาน ต่างๆ เช่น วิศวกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ การตลาด และ การบริการลูกค้า เป็นต้น และใช้หลักการทำ�งานแบบหน่วยงาน เสมือนจริง กล่าวคือ พนักงานจะรวมกลุม่ กันและสร้างทีมงานขึน้ มา โดยมี รู ป แบบการทำ � งานร่ ว มกั น เสมื อ นเป็ น หน่ ว ยงานหนึ่ ง ในองค์กร โดยสมาชิกแต่ละท่านก็ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ตามหน่วยงานที่สังกัดอยู่เช่นเดิม แต่จะมาร่วมกันศึกษา ทดลอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านต่างๆ ตามที่แต่ละคณะทำ�งาน จะได้รบั มอบหมาย และจะเรียกแต่ละคณะทำ�งานนีว้ า่ Lab ปัจจุบนั นี้ ภายใต้ศนู ย์การศึกษาวิจยั และพัฒนานวัตกรรม มี Lab ทัง้ หมดดังนี​ี้ • เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย • โครงข่ายโทรคมนาคม • เทคโนโลยีสารสนเทศ • การเกษตรอัจฉริยะ • บ้านอัจฉริยะ • ระบบการศึกษาอัจฉริยะ • ระบบการแพทย์และสุขภาพอัจฉริยะ • ระบบขนส่งอัจฉริยะ • พลังงานอัจฉริยะ • ธุรกิจค้าปลีกอัจฉริยะ โดยนอกจาก 10 Labs ดังกล่าว ซึ่งจะอยู่ในรูปของนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีใหม่ หรือ นวัตกรรมด้านสินค้าและบริการ แล้ว ศูนย์การศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยังให้การสนับสนุนการ สร้างนวัตกรรมด้านกระบวนการทำ�งานใหม่อีกด้วย โดยจะมอง เป็นรายโครงการ ซึ่งอาจจะไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน 10 Labs ข้างต้น

ตัวอย่างนวัตกรรม 1. นวัตกรรมทางด้านสินค้าและบริการ เพื่อนำ�มาให้บริการและสร้างฐานรายได้ใหม่ให้กับเอไอเอส 035

ชื่อโครงการ คำ�อธิบาย งบประมาณ สถานะโครงการ

Digital Agriculture Platform Phase I การสร้างระบบทีเ่ ป็นตัวกลางการเชือ่ มต่อระหว่างคนในเมืองกับเกษตรกร เพือ่ การขายสินค้าการเกษตร รวมถึง การสนับสนุนเกษตรประณีต และมีการนำ�ระบบ IOT มาใช้ เพือ่ เป็นการสร้างพืน้ ฐานความเข้าใจเรือ่ งเทคโนโลยี Internet of Things ให้กับทั้งผู้พัฒนาโครงการและผู้ใช้บริการ 2 ล้านบาท (ส่วนของปี พ.ศ. 2559) อยู่ในช่​่วงดำ�เนินการ

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


2. นวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นการได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการที่มีการผนวกกลยุทธ์ ทางด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมของเอไอเอสเข้าไปด้วย โดยเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถทดแทนเทคโนโลยี ทีม่ อี ยูเ่ ดิม ซึง่ นอกจากจะช่วยให้เอไอเอสสามารถลดต้นทุนการดำ�เนินงานและ สร้างฐานรายได้จากการให้บริการในรูปแบบใหม่แล้ว ยังสร้างความสามารถในการแข่งขันใหม่ๆ ให้กับเอไอเอส ชื่อโครงการ SQream, fast SQL database to reduce HW footprint คำ�อธิบาย ศึกษาและพัฒนารูปแบบการนำ�เทคโนโลยีใหม่ มาใช้กบั งานฐานข้อมูล ที่ให้ความรวดเร็วสูงขึน้ ลดความต้องการ ของอุปกรณ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถให้การดำ�เนินงานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล ซึ่งมีประมาณมาก ด้วยการใช้ต้นทุนที่ต่ำ�ลง งบประมาณ 4.5 ล้านบาท (ส่วนของปี พ.ศ. 2559) สถานะโครงการ อยู่ในช่​่วงดำ�เนินการ 3. นวัตกรรมทีเ่ ป็นการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำ�งานใหม่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ช่วยลดระยะเวลาการดำ�เนินงานและต้นทุน การดำ�เนินงาน และสามารถนำ�มาทดแทนกระบวนการของเดิมที่มีอยู่ได รวมทั้งสามารถสร้างฐานรายได้ใหม่ในการให้บริการ หรือ สร้างความสามารถในการแข่งขันรูปแบบใหม่ให้กับเอไอเอส ชื่อโครงการ Equinox App Server คำ�อธิบาย เป็นการสร้างซอฟแวร์ แพลตฟอร์มทีเ่ ป็นตัวกลางช่วยแก้ปญั หาความซับซ้อนและการเข้ากันไม่ได้ในการเชือ่ มต่อ โปรแกรมต่างๆ เข้ากับระบบโทรคมนาคม ช่วยให้การพัฒนา ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ทำ�ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น งบประมาณ 40 ล้านบาท (ส่วนของปี พ.ศ. 2559) สถานะโครงการ อยู่ในช่​่วงดำ�เนินการ

การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

AIS Innovation Center ความร่วมมือกับพันธมิตร มหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆ

พันธมิตรทางธุรกิจ

ถึงแม้ว่าเอไอเอสจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมและมีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มากมาย แต่ก็ยังอยู่ในระดับของผู้ใช้เทคโนโลยี และจำ�กัดอยู่แค่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อเติมเต็มความสามารถทั้งในด้านการสร้างนวัตกรรม และการขยายความรู้ออกไปสู่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เอไอเอสจึงให้ ความสำ�คัญต่อการสร้างนวัตกรรมผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายรูปแบบ 1. การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ ซึง่ ทำ�ให้เอไอเอสสามารถเข้าถึงบุคลากร นักวิจยั และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ พันธมิตร รวมทัง้ ได้ประโยชน์จากความสามารถในการทำ�วิจยั และพัฒนาขัน้ สูงของพันธมิตร โดยไม่กอ่ ให้เกิดต้นทุนการดำ�เนินงาน ที่สูง ขณะเดียวกัน พันธมิตรก็จะได้ประโยชน์จากการรับทราบมุมมองใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์ในมุมของผู้ให้บริการด้าน ดิจิทัลไลฟ์จากเอไอเอส เพื่อนำ�ไปต่อยอดแนวทางการดำ�เนินธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพันธมิตร รวมทั้งพันธมิตรสามารถ นำ�ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังกล่าวมาทดลองใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงกับเอไอเอสและลูกค้าของเอไอเอสได้ ซึ่งจะช่วยให้พันธมิตร สามารถนำ�ไปขยายผลกับลูกค้ารายอืน่ ของพันธมิตรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการความร่วมมือศูนย์นวัตกรรมร่วมกับหัวเหว่ย รายงานประจำ�ปี 2559

036


การดำ�เนินกิจกรรมภายในองค์กรเพือ่ ส่งเสริม การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

037

ผูใ้ ห้บริการสือ่ สารและเทคโนโลยีโทรคมนาคมชัน้ นำ� ในชือ่ โครงการว่า Joint Innovation Center หรือ JIC ทีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่ ปี พ.ศ. 2555 ในส่วนของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย (Mobile Innovation Center : MIC) ซึ่งตัวอย่างของความสำ�เร็จ ที่ ไ ด้ เ คยกล่ า วไปแล้ ว เมื่ อ ปี ที่ ผ่ า นมา คื อ การพั ฒ นา นวัตกรรม “3G 2100MHz 6 Sectors” ที่ถูกนำ�มาใช้งาน จริ ง ในการรองรั บ ปริ ม าณการใช้ ง านดาต้ า ของลู ก ค้ า ที่เพิ่มขึ้น โดยที่เอไอเอสไม่จำ�เป็นต้องเพิ่มความถี่หรือ จำ�นวนสถานีฐาน ทำ�ให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำ�เนินงาน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2558 เอไอเอสและหัวเหว่ย ได้ขยายความ ร่วมมือไปครอบคลุมถึงเทคโนโลยีโครงข่าย (Network Innovation Center: NIC) เทคโนโลยีด้านไอซีที และ แอปพลิเคชัน (Application Innovation Center: APIC) รวมเป็น 3 แกนหลักของความร่วมมือ โดยตัวอย่างโครงการ ที่อยู่ในช่วงของการศึกษาทดลอง เช่น โครงการ พัฒนา เทคโนโลยีการใช้งานอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์สำ�หรับโครงข่าย หลักที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความเรียบง่าย เป็นต้น 2. การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ เพื่อ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ในอุตสาหกรรม ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั น และอุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ นอกเหนื อ จาก โทรคมนาคม ซึ่งเอไอเอสไม่มีความถนัด โดยเอไอเอสได้ ประโยชน์จากการนำ�ความรู้มาใช้ต่อยอดในการพัฒนา นวัตกรรมสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่ อุตสาหกรรมอื่นๆ สร้างฐานรายได้ใหม่ รวมทั้งสร้าง การเชือ่ มต่อระหว่างบุคลากรและนักศึกษาจากมหาวิยาลัย และสถาบันวิจัยดังกล่าว ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยและ สถาบันวิจัย ก็จะได้ประโยชน์จากการนำ�งานวิจัยที่ดำ�เนิน การอยูม่ าพัฒนาให้เกิดเป็นธุรกิจจริง หรือได้รบั งบประมาณ สนับสนุนงานวิจัยและข้อมูลที่สำ�คัญต่างๆ จากเอไอเอส เป็นต้น ทำ�ให้งานวิจยั ดังกล่าวได้รบั การยอมรับในเชิงปฏิบตั ิ และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โครงการความ ร่ ว มมื อ กั บ สถาบั น Knowledge Exchange (KX) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า ธนบุรี ชื่อโครงการ “Internet of Things for Farm”

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ในปี 2559 เอไอเอสได้ด�ำ เนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อกระตุ้น ให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพือ่ ยกระดับประสิทธิภาพการทำ�งานและต้นทุนการดำ�เนินงาน และ ต่อยอดสู่การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้แก่องค์กร 1. นิทรรศการนวัตกรรม “InnoLympic” กิจกรรมทีเ่ ปิดพืน้ ที่ให้ พนั ก งานเอไอเอสจากทุ ก ภาคส่ ว นได้ นำ � ผลงานด้ า น นวัตกรรมของตนเอง กลุม่ เพือ่ น หรือสายงาน มาจัดแสดง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานรายอื่นๆ มีการเปิด โอกาสให้พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ และเชื่อมต่อนวัตกรรมที่แต่ละหน่วยงานได้พัฒนาขึ้นมา เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดการ เชื่อมโยงของพนักงานจากแต่ละสายงาน นอกจากนี้ ยังได้ รับเกียรติจากผู้บริหาร พนักงานตัวอย่าง และผู้เชี่ยวชาญ ภายนอกองค์ กรในการบรรยายหั ว ข้ อ ที่ น่ า สนใจในเชิ ง นวัตกรรมที่จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะนำ�เสนอ ไอเดียใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ของตนเองและองค์กรได้ โดย นิทรรศการนวัตกรรม InnoLympic จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 2 วัน และมีพนักงานเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน รวมทั้ง ได้รับเสียงโหวตให้มีการจัดขึ้นอีก โดยหมุนเวียนสถานที่ จัดงานไปตามสำ�นักงานส่วนภูมิภาคด้วย

2. การจัดกิจกรรมสัมมนาย่อย (InnSpire Talk) เป็นการนำ� เรื่องราวทางเทคโนโลยีนวัตกรรมที่อยู่ในความสนใจ มา นำ�เสนอผ่านการบรรยายกลุม่ ย่อย เพือ่ ให้พนักงานรับทราบ ผ่านผู้บรรยายที่เป็นพนักงานของเอไอเอส และสร้างเวที ให้ เ กิ ด การปฏิ สั ม พั น ธ์ กั น อั น จะนำ � ไปสู่ การรวมกลุ่ ม สร้างสรรค์ โครงการใหม่ๆ โดยกิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเป็น ประจำ�ทุกเดือนในแต่ละครั้ง มีพนักงานผู้สนใจเข้าร่วม ประมาณ 50-150 คน


ปัจจัยความเสี่ยง เอไอเอสให้ความสำ�คัญกับการมีระบบบริหารจัดการความ เสี่ยงที่ดี เพื่อให้สามารถดำ�เนินงานต่อไปได้ในทุกสภาวการณ์ โดยกำ�หนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีประธาน กรรมการบริหาร เป็นประธาน และผู้บริหารระดับสูงจากแต่ละ สายงานเป็นกรรมการ ได้มีการประชุมร่วมกันทุกไตรมาส เพื่อ พิจารณาประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบ อย่างมีนยั สำ�คัญกับการดำ�เนินงาน ฐานะการเงิน หรือการดำ�รงอยู่ ของเอไอเอสและบริษัทในเครือ การกำ�หนดมาตรการควบคุมและ บริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อันจะเป็นการ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และ การทบทวนประเด็นความเสี่ยงของเอไอเอส โดยได้นำ�เสนอผล การบริหารความเสีย่ งต่อคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริ ษั ท เพื่ อ รั บ ทราบในทุ ก ไตรมาส ทั้ ง นี้ รายละเอียดเพิม่ เติมเรือ่ งการบริหารความเสีย่ งของเอไอเอส ปรากฎ อยู่ในหัวข้อ “การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการ ตรวจสอบภายใน” หน้า 83 โดยในปี 2559 มีปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบอย่าง มีนัยสำ�คัญ ดังนี้

1. ความเสีย่ งด้านกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ

1.1. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำ�กับดูแล เอไอเอสประกอบกิจการ ภายใต้การกำ�กับดูแลของคณะ กรรมการกิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทั ศ น์ แ ละกิ จ การ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึง่ กสทช. ในฐานะองค์กรผูก้ �ำ กับ ดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม มีอ�ำ นาจตามกฎหมายในการ ออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับเพื่อกำ�กับดูแลการประกอบกิจการ โทรคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาต ซึ่งการออกกฎ ระเบียบ หรือ ข้อบังคับในอนาคตของ กสทช. เช่น การกำ�หนดโครงสร้างและ อัตราค่าบริการ หรือการกำ�หนดหลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค อาจทำ�ให้ความสามารถใน การทำ�กำ�ไรของบริษัทลดลง และ/หรือ ต้นทุนในการให้บริการ ของบริษัทสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเอไอเอสมีสิทธิท่ีจะฟ้องร้องให้ หน่วยงานผูอ้ อกกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับ เพิกถอนการ ประกาศใช้ ตลอดจนเรียกร้องค่าเสียหายจากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ได้ ในกรณีที่บริษัทมีความเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับนั้นๆ กระทบสิทธิของเอไอเอส หรือเอไอเอสได้รับการ ปฏิบตั อิ ย่างไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ในกรณีทเี่ อไอเอสมีความเห็น ว่าร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับ ทีจ่ ะประกาศเพือ่ ใช้บังคับในอนาคตโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กสทช. เอไอเอสในฐานะผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมถือเป็น ผูม้ สี ว่ นได้เสียโดยตรง ย่อมจะได้รบั เชิญให้รว่ มแสดงความคิดเห็น ก่อนการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับ ดังนั้น

บริษัทจะใช้โอกาสดังกล่าวแสดงความเห็น เสนอแนะ และ/หรือ คัดค้าน หากการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับ ที่จะส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการของบริษัทอย่างร้ายแรง หรือหากการออกกฎ ระเบียบ และ/หรือ ข้อบังคับ กระทำ�ไปโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 1.2. ข้อพิพาทอันเนื่องจากภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) (1) บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) (เอไอเอส) กับ บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) (ทีโอที) บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) ได้ยื่นคำ�เสนอข้อพิพาท หมายเลขดำ�ที่ 9/2551 ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการสำ�นักระงับ ข้อพิพาท สำ�นักงานศาลยุติธรรม เรียกร้องให้เอไอเอสชำ�ระค่า ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มจำ�นวน 31,463 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 คณะอนุญาโตตุลาการได้ มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้ขาดให้ยกคำ�เสนอข้อพิพาททั้งหมด โดยให้ เหตุผลสรุปได้ว่า เอไอเอสได้ชำ�ระหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่ตอ้ งชำ�ระเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทน เพิ่มเติมใดๆ ให้แก่ บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) ดังนั้น ทีโอทีจึง ได้ยนื่ คำ�ร้องขอเพิกถอนคำ�ชีข้ าดดังกล่าวต่อศาลปกครองกลาง ซึง่ ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ศาลปกครองกลางมีค�ำ พิพากษา ยกคำ�ร้องของทีโอที โดยศาลได้ให้เหตุผลสรุปได้ว่า ไม่มีกรณีที่ ปรากฎต่อศาลว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำ�ชีข้ าดของคณะ อนุญาโตตุลาการเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะมีค�ำ พิพากษาให้เพิกถอน คำ�ชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และทีโอทีได้ยื่นอุทธรณ์คำ� พิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งกระบวนการพิจารณาอาจใช้ เวลาหลายปี ทัง้ นี้ หากเอไอเอสเป็นฝ่ายแพ้คดี อาจต้องชำ�ระเงินตามทีท่ โี อที เรียกร้อง แต่อย่างไรก็ตามผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าผลของคดีนา่ จะคลีค่ ลาย ไปในทางที่ดี เนื่องจากเงินส่วนแบ่งรายได้ดังกล่าวเป็นจำ�นวน เดียวกันกับภาษีสรรพสามิตที่บริษัทได้นำ�ส่งแล้วตามซึ่งคณะ อนุ ญ าโตตุ ล าการได้ พิ จ ารณาและมี ม ติ เ อกฉั น ท์ ย กคำ � เสนอ ก่อนหน้านี้ (2) บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ เอไอเอส กับ บริษทั กสท โทรคมนาคม จำ�กัด (มหาชน) (กสท) กสท ได้ยื่นคำ�เสนอข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 3/2551 ต่อ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำ�นักระงับข้อพิพาท สำ�นักงานศาล ยุติธรรม เพื่อเรียกร้องให้ ดีพีซี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเอไอเอส ชำ�ระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมอีกจำ�นวน 2,449 ล้านบาท ตาม สัญญาให้ด�ำ เนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลา่ ร์ พร้อม เรียกเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของจำ�นวนเงินที่ค้าง ชำ�ระในแต่ละปี นับตัง้ แต่วนั ผิดนัดจนกว่าจะชำ�ระเสร็จสิน้ รวมเป็น เงินทั้งหมดจำ�นวน 3,410 ล้านบาท ซึ่งจำ�นวนเงินส่วนแบ่งรายได้ รายงานประจำ�ปี 2559

038


ดังกล่าวเป็นจำ�นวนเดียวกันกับภาษีสรรพสามิตที่ดีพีซีได้นำ�ส่ง ตั้งแต่ 16 กันยายน 2546 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2550 และได้นำ� มาหั ก ออกจากส่ ว นแบ่ ง รายได้ อั น เป็ น การปฏิ บั ติ ต ามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และมีการปฏิบัติเช่นเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยในวันที่ 1 มีนาคม 2554 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำ� ชี้ขาดให้ยกคำ�เสนอข้อพิพาททั้งหมดของกสท โดยให้เหตุผลสรุป ได้วา่ การชำ�ระหนีเ้ ดิมเสร็จสิน้ และระงับไปแล้ว กสท ไม่อาจกลับ มาเรียกร้องส่วนที่อ้างว่าขาดไปได้อีก ดีพีซี จึงไม่เป็นผู้ผิดสัญญา ดังนั้น กสท จึงได้ยื่นคำ�ร้องขอเพิกถอนคำ�ชี้ขาดดังกล่าวต่อศาล ปกครองกลางในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 ศาล ปกครองกลางได้มีคำ�พิพากษายกคำ�ร้องของ กสท ที่ฟ้องขอให้ เพิกถอนคำ�ชีข้ าดของคณะอนุญาโตตุลาการทีว่ นิ จิ ฉัยให้ยกคำ�ร้อง ของ กสท โดยศาลได้ให้เหตุผลว่า กสท เป็นผู้มีหนังสือแจ้งความ ประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การชำ�ระเงินส่วนแบ่งตาม มติคณะรัฐมนตรี และได้ยอมรับเงินส่วนแบ่งรายได้คงเหลือพร้อม กับการคืนหนังสือค้�ำ ประกันให้แก่ดีพีซีมาตลอด โดยมิได้ทักท้วง แต่อย่างใด คำ�วินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อสัญญา ขณะนี้ คดีดังกล่าวอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้ หากดีพีซีแพ้คดี อาจต้องชำ�ระเงินตามที่ กสท เรียกร้อง แต่อย่างไรก็ตาม ผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าผลของคดีนา่ จะคลีค่ ลายไปในทาง ทีด่ ี เนือ่ งจากเงินส่วนแบ่งรายได้ตามที่ กสท เรียกร้องดังกล่าวเป็น จำ�นวนเดียวกันกับภาษีสรรพสามิตทีบ่ ริษทั ได้น�ำ ส่งไปแล้วตามซึง่ คณะอนุญาโตตุลาการได้พจิ ารณาและมีมติยกคำ�เสนอ รวมถึงศาล ปกครองกลางได้มีค�ำ พิพากษายกคำ�ร้องของ กสท ก่อนหน้านี้ 1.3. ขอ้ พิพาทกรณีเงินผลประโยชน์ตอนแทนจากรายได้คา่ เชือ่ มต่อ โครงข่ายโทรคมนาคม (Interconnection Charge) สืบเนือ่ งจากพระราชบัญญัตกิ ารประกอบการกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ได้กำ�หนดให้ เอไอเอสมีหน้าที่ทำ�สัญญาการเชื่อมต่อโครงข่าย โทรคมนาคมกับผูร้ บั ใบอนุญาตรายอืน่ โดยเอไอเอสเสนอจะนำ�ส่ง เงินผลประโยชน์ตอบแทนจากการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ซึง่ คำ�นวณจากรายได้สทุ ธิตามอัตราและวิธคี ดิ คำ�นวณของเอไอเอส ให้แก่ทีโอที แต่ทีโอทีต้องการให้เอไอเอสชำ�ระเงินส่วนแบ่งรายได้ จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่เอไอเอสได้รับทั้งจำ�นวน ตามอัตราร้อยละทีก่ �ำ หนดไว้ในสัญญาอนุญาตฯ โดยมิให้เอไอเอส นำ�ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ถูกผู้ประกอบการรายอื่น เรียกเก็บมาหักออกก่อน

039

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ดังนั้น เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2554 ทีโอทีจึงได้มีหนังสือแจ้ง ให้เอไอเอสชำ�ระเงินส่วนแบ่งรายได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่าย โทรคมนาคมทีเ่ อไอเอสได้รบั ทัง้ จำ�นวนตามอัตราร้อยละทีก่ �ำ หนด ไว้ในสัญญาอนุญาตฯ ของปีดำ�เนินการที่ 17-20 เป็นเงินรวม 17,803 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่เอไอเอสไม่เห็นด้วยจึงได้มีหนังสือโต้แย้งคัดค้านไปยังทีโอที รวมทั้ ง ได้ เ สนอข้ อ พิ พ าทต่ อ สำ � นั กระงั บ ข้ อ พิ พ าท สถาบั น อนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 19/2554 เพื่อให้มี คำ�ชี้ขาดว่าทีโอทีไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินผลประโยชน์ตอบแทน ดังกล่าว ต่อมา ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2557 ทีโอที ได้ยนื่ คำ�เสนอข้อพิพาท หมายเลขดำ�ที่ 55/2557 เรียกร้องให้เอไอเอสชำ�ระเงินส่วนแบ่ง รายได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของปีดำ�เนินการ ที่ 21-22 เป็นเงินรวม 9,984 ล้านบาท และต่อมาเมื่อ ทีโอที ได้มี หนังสือทวงถามให้เอไอเอสชำ�ระเงินส่วนแบ่งรายได้จากค่าเชือ่ มต่อ โครงข่ายโทรคมนาคมของปีดำ�เนินการที่ 23-25 เป็นเงินรวม 8,368 ล้านบาท เอไอเอสจึงได้ยนื่ คำ�เสนอข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 83/2559 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 พร้อมกับยื่นคำ�ร้องให้รวม การพิจารณาข้อพิพาททั้งสามเข้าด้วยกัน ขณะนี้อยู่ระหว่ า ง กระบวนการพิจารณาซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ทั้งนี้ หากเอไอเอสแพ้คดี อาจต้องชำ�ระเงินตามที่ ทีโอที เรียกร้อง แต่อย่างไรก็ตาม ผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าคำ�วินจิ ฉัยชีข้ าดของคณะ อนุญาโตตุลาการน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี เนื่องจากเอไอเอส ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว 1.4 ข้อพิพาทระหว่างบริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของเอไอเอส กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำ�กัด (มหาชน) (กสท) กรณี การปรับลดอัตราค่าใช้โครงข่ายร่วม (Roaming) ระหว่างดีพีซี-บริษัท ดี พี ซี ไ ด้ เ สนอข้ อ พิ พ าทต่ อ สำ � นั กระงั บ ข้ อ พิ พ าท สถาบั น อนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 27/2553 เรียกร้องให้ กสท เพิกถอนการกล่าวหาว่า ดีพีซี เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจาก การทำ�สัญญาการใช้โครงข่ายระหว่างเอไอเอส-ดีพซี ี ไม่ได้รบั ความ ยินยอมจาก กสท จึงจะแจ้งเลิกสัญญากับดีพีซี พร้อมกันนี้ยัง เรียกร้องให้ กสท ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านบาทด้วย ต่อมา กสท จึงได้เสนอข้อพิพาทต่อสำ�นักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 62/2553 เรียกร้องให้ดพี ซี ี ชำ�ระผลประโยชน์ตอบแทนส่วนเพิม่ ปีด�ำ เนินการ ที่ 10-12 ทีเ่ กิดจากการทีด่ พี ซี ปี รับลดอัตราอัตราค่าใช้โครงข่ายร่วม (Roaming) ระหว่างดีพซี -ี เอไอเอส จาก 2.10 บาท ลงเหลือ 1.10 บาท ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2550-31 ธันวาคม 2551 โดยมิได้รบั อนุมัติจาก กสท ก่อน โดยมูลฟ้องคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท และเบี้ยปรับอีกในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน นับแต่


เดือนเมษายน 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554 กสท ได้เสนอข้อพิพาทต่อสำ�นักระงับข้อพิพาท สถาบัน อนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 89/2554 เพิ่มเติม ในส่วนปีด�ำ เนินการที่ 12 เป็นเงินอีกจำ�นวน 113,211,582.68 บาท ซึง่ ภายหลังสถาบันอนุญาโตตุลาการได้มคี �ำ สัง่ ให้รวมพิจารณาทัง้ 3 ข้อพิพาทเข้าด้วยกัน โดยขณะนี้ข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ระหว่างการ พิจารณาของอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี ทั้งนี้ หากดีพีซีแพ้คดี อาจต้องชำ�ระเงินตามที่ กสท เรียกร้อง แต่ อ ย่ า งไรก็ ตาม ผู้ บ ริ ห ารเชื่ อว่ า คำ � วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าดของคณะ อนุญาโตตุลาการน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี เนื่องจากดีพีซีได้มี หนังสือแจ้งการใช้อัตราค่าใช้โครงข่ายร่วม ในอัตรานาทีละ 1.10 บาท ต่อ กสท นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 เรื่อยมา และ กสท ได้มีหนังสือตอบอนุมัตินับแล้วตั้งแต่เวลาดังกล่าวจนถึงเดือน มีนาคม 2550 รวมทั้งได้มีหนังสืออนุมัติตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2552 ด้วย ซึ่งถึงแม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่เป็น ข้อพิพาทนั้น กสท ก็มิได้มีหนังสือตอบปฏิเสธหรือคัดค้านมายัง ดีพีซีแต่อย่างใด แต่อัตราค่าใช้โครงข่ายร่วม ดังกล่าวเป็นอัตราที่ เหมาะสมตามราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแล้ว 1.5. ข้อพิพาทระหว่างบริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของเอไอเอส กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำ�กัด (มหาชน) (กสท) กรณีกรรมสิทธิเ์ สาอากาศ/เสาสูง และอุปกรณ์ แหล่งจ่ายกำ�ลังงาน กสท ได้เสนอข้อพิพาทต่อสำ�นักระงับข้อพิพาท สถาบัน อนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 8/2552 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 เรียกร้องให้ดีพีซีส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์ เสา อากาศ/เสาสูง (Tower) จำ�นวน 3,343 ต้น พร้อมอุปกรณ์แหล่งจ่าย กำ�ลังงาน (Power Supply) จำ�นวน 2,653 เครื่อง ตามสัญญาให้ ดำ�เนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลา่ ร์ หากไม่สามารถ ส่งมอบได้ให้ชดใช้เงินจำ�นวน 2,230 ล้านบาท ซึ่งดีพีซีเห็นว่า เสาอากาศ/เสาสูง (Tower) พร้อมอุปกรณ์แหล่งจ่ายกำ�ลังงาน (Power Supply) มิใช่เครื่องหรืออุปกรณ์ตามที่กำ�หนดให้ต้อง ส่งมอบตามที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งกระทำ�ระหว่างกัน โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยชี้ขาด ให้ยกคำ�เสนอข้อพิพาททั้งหมดของ กสท ในเวลาต่อมา โดยให้ เหตุผลสรุปได้ว่าสิทธิของ กสท ในอันจะเรียกร้องให้ดีพีซีส่งมอบ ทรัพย์สนิ อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานัน้ ต้องกระทำ�ภายหลังวันสิน้ สุด สัญญาไปแล้ว 60 วัน ดังนั้น การที่ กสท ทำ�คำ�เสนอข้อพิพาทจึง นับว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องก่อนครบกำ�หนดระยะเวลาที่อาจให้ สิทธิตามสัญญาได้ ดังนั้น กสท ได้ยื่นคำ�ร้องขอเพิกถอนคำ�ชี้ขาด ดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางในวันที่ 25 ตุลาคม 2555 และขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งกระบวนการพิจารณาซึ่งอาจใช้เวลา หลายปี

ทั้งนี้ หากดีพีซีเป็นผู้แพ้คดี อาจต้องชำ�ระเงินตามที่ กสท เรียกร้อง อย่างไรก็ตามจากข้อโต้แย้งของ ดีพีซี ตามที่กล่าวไว้ ข้างต้น ผู้บริหารจึงเชื่อว่าผลของคดีน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี 1.6 ข้อพิพาทกรณีผใู้ ช้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีโ่ อนย้ายผูใ้ ห้บริการ จากบริษัท ไปยัง บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (เอดับบลิวเอ็น) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเอไอเอส ในวันที่ 25 กันยายน 2557 บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) (ทีโอที) ยื่นคำ�เสนอข้อพิพาทต่อสำ�นักระงับข้อพิพาท สถาบัน อนุญาโตตุลาการ เป็น ข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 80/2557 เรียกร้อง ให้เอไอเอสชำ�ระค่าเสียหายสำ�หรับการโอนย้ายทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่าง เดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จำ�นวน 9,126 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยอ้างว่า ความเสียหายดังกล่าวเกิดจากกรณีที่เอไอเอสดำ�เนินการโอนย้าย ผูใ้ ช้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีใ่ นระบบ 900 เมกะเฮิรตซ์ จากเอไอเอส ไปยังระบบ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ให้บริการโดยเอดับบลิวเอ็น เป็นการผิดสัญญาอนุญาตให้ด�ำ เนินการระหว่าง ทีโอที กับ เอไอเอส และต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม 2559 ทีโอที ได้ยื่นคำ�ร้องขอแก้ไข จำ�นวนเงินค่าเสียหายใหม่โดยระบุว่ามีความเสียหายจากการ กระทำ�ของเอไอเอสนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาอนุญาตรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,813 ล้านบาท ขณะนี้ข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ โดยผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าผลของข้อพิพาทดังกล่าว ไม่นา่ จะมีผลกระทบ อย่างมีนยั สำ�คัญต่องบการเงิน เพราะเอไอเอสได้ปฏิบตั ถิ กู ต้องตาม ข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกประการแล้ว 1.7 ข้อพิพาทกรณีบริษทั ไม่ด�ำ เนินการจัดเก็บข้อมูลของผูใ้ ช้บริการ แบบชำ�ระค่าบริการล่วงหน้า ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้อาศัยอำ�นาจตาม ในประกาศ กทช. เรือ่ ง หลักเกณฑ์การจัดสรร และบริการเลขหมาย โทรคมนาคมฯ มีคำ�สั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีการ ให้บริการแบบชำ�ระค่าบริการล่วงหน้าทุกรายรวมทั้งเอไอเอส ต้องจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการแบบชำ�ระค่าบริการล่วงหน้า ทุกรายให้ครบถ้วนเสร็จสิ้นภายในระยะที่กำ�หนดไว้ และต่อมา ได้มีค�ำ สั่งกำ�หนดค่าปรับทางปกครองจำ�นวนวันละ 80,000 บาท ต่อเอไอเอสและผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในตลาดอีก 2 ราย เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2555 จนกว่าจะปฏิบัติ ตาม คำ�สั่งอย่างครบถ้วน เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าผู้ประกอบการทั้ง 3 รายดังกล่าว ยังมิได้ปฏิบัติตามคำ�สั่งอย่างครบถ้วน ซึ่งเอไอเอส ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้มีการเพิกถอนคำ�สั่งทั้ง 2 ฉบับ เป็นคดีหมายเลขดำ�ที่ 1858/2554 และ หมายเลขดำ�ที่ 252/2556 ตามลำ�ดับ รายงานประจำ�ปี 2559

040


ต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ศาลปกครองกลางได้มี คำ�พิพากษาเพิกถอนมติและคำ�สั่ง กสทช. กำ�หนดค่าปรับทาง ปกครอง เนื่องจากเห็นว่าการบังคับให้ผู้ประกอบการต้องจัดเก็บ ข้อมูลผู้ใช้บริการย้อนหลัง ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคล โดย กสทช. มิได้ออกมาตรการบังคับให้ระงับหรือ ยกเลิกบริการได้ อีกทัง้ มีจ�ำ นวนของผูใ้ ช้บริการเป็นจำ�นวนมาก ซึง่ เป็นการยากทีจ่ ะกระทำ�ได้หากไม่ได้รบั ความร่วมมือจากผูใ้ ช้บริการ มติและคำ�สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการใช้ ดุลยพินิจในการกำ�กับดูแลเกินขอบเขตความจำ�เป็น ก่อให้เกิด ภาระแก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก กรณีท่ี กสทช. อ้างเรื่อง ประเด็นเพื่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยนั้น มิใช่อำ�นาจหน้าที่ ของ กสทช. โดยในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 กสทช. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลปกครองสูงสุด ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลปกครองสูงสุด ทั้ ง นี้ หากเอไอเอสแพ้ ค ดี อาจต้ อ งชำ � ระเงิ น ค่ า ปรั บ ทางปกครองจำ�นวนวันละ 80,000 บาท เริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ 6 กรกฎาคม 2555 จนกว่าจะปฏิบตั ติ ามคำ�สัง่ ของ กสทช. โดยครบถ้วนถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้บริหารเชื่อว่าข้อพิพาทในกรณีนี้น่าจะคลี่คลาย ไปในทางทีด่ ี เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมา กสทช. และผูป้ ระกอบการทุกราย ได้มคี วามพยายามร่วมกันในการจัดเก็บข้อมูลของผูใ้ ช้บริการแบบ ชำ�ระค่าบริการล่วงหน้า ให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติมาโดย ตลอด ซึง่ ล่าสุด กสทช. และผูป้ ระกอบการทุกราย ได้รว่ มกันพัฒนา แอปพลิเคชัน “2 แชะ” ให้ผใู้ ช้บริการแบบชำ�ระเงินล่วงหน้า สามารถ ขอลงทะเบียนข้อมูลผู้ใช้บริการผ่านตัวแทนจำ�หน่ายเพิ่มเติม จากการจัดเก็บในรูปของการกรอกแบบคำ�ขอลงทะเบียนและ สำ�เนาเอกสารประจำ�ตัว โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งเข้าระบบของ ผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลของผู้ใช้บริการแบบชำ�ระค่าบริการ ล่วงหน้าที่ได้จดั เก็บอยู่ในขณะนีน้ นั้ อาจมีความไม่ถกู ต้องสมบูรณ์ ทั้งหมดตามประกาศของ กทช. อันเนื่องมาจากตัวแทนจำ�หน่าย ของบริษัทที่มีอยู่ทั่วประเทศบางรายมิได้ดำ�เนินการตามขั้นตอน และวิธกี ารจัดเก็บอย่างเคร่งครัด อีกทัง้ โดยข้อจำ�กัดของแอปพลิเคชัน “2 แชะ” ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มานัน้ ไม่สามารถจำ�แนกประเภทของภาพถ่าย บัตรประจำ�ตัวที่ผู้ใช้บริการถ่ายเพื่อลงใช้ทะเบียนได้อย่างแม่นยำ� รวมทัง้ ผูป้ ระกอบการยังไม่สามารถตรวจสอบประเภทของภาพถ่าย ที่ส่งเข้ามาในระบบได้ทันที ส่งผลให้ข้อมูลส่วนหนึ่งที่ได้รับเข้ามา ในระบบเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เช่น เป็นภาพถ่ายอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เอไอเอสมีความพยายามที่จะดำ�เนินการตรวจสอบ และป้ อ งกั น ปั ญ หาดั ง กล่ า วทั้ ง ที่ เ กิ ด จากตั ว บุ ค ลากร และ ระบบแอปพลิเคชัน โดยเอไอเอสได้พัฒนาแอปพลิเคชันในการ ตรวจจับภาพถ่ายแบบออนไลน์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของ ภาพถ่ายให้ตรงกับภาพถ่ายที่ได้รับอนุญาตก่อนที่จะบันทึกข้อมูล 041

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ลงในระบบ รวมทั้งได้ปรับปรุงวิธีการลงทะเบียนสำ�หรับเอไอเอส ช็อปมาใช้ Smart Card Reader แทนการถ่ายภาพ และได้ทำ�การ ประชาสัมพันธ์และปรับเพิ่มผลตอบแทนให้ตัวแทนจำ�หน่ายเพื่อ จูงใจให้มีการลงทะเบียนด้วยข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับสำ�นักงาน กสทช. ที่มีดำ�ริในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป 1.8 ข้อพิพาทกรณีเงินผลประโยชน์ตอบแทนจากรายได้จากการ ให้บริการเครือข่ายร่วม (National Roaming) สืบเนื่องจากข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำ�เนินการ ให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ ครัง้ ที่ 7 บริษทั ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) (ทีโอที) ตกลงให้เอไอเอสนำ�โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปให้ผู้ให้ บริการรายอื่นเข้ามาร่วมใช้โครงข่ายร่วมได้ โดยเอไอเอสตกลง จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ทโี อทีตามอัตราร้อยละของสัญญา ข้อ 30 เอไอเอสจึงได้ตกลงทำ�สัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (เอดับบลิวเอ็น) และเรียกเก็บอัตราค่าตอบแทนการใช้โครงข่ายจาก เอดับบลิวเอ็น ตามทีต่ กลงไว้ในสัญญา และเอไอเอสก็ได้น�ำ รายได้จากค่าตอบแทน การใช้บริการที่เรียกเก็บจาก คำ�นวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ทีโอทีตามอัตราร้อยละที่ก�ำ หนดไว้ในสัญญาอนุญาตฯ ต่อมาทีโอที ได้มีหนังสือแจ้งมายังเอไอเอสว่านับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2556 เอไอเอสชำ�ระเงินผลประโยชน์ตอบแทนจากรายได้ จากการให้บริการเครือข่ายร่วมไม่ครบถ้วน โดยทีโอทีเห็นว่าเรียก เก็บค่าใช้เครือข่ายร่วมจากเอดับบลิวเอ็นในอัตราค่าบริการทีต่ �ำ่ กว่า ที่กำ�หนดไว้ในสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม โดยที่เอไอเอส มิได้แจ้งให้ทีโอทีเห็นชอบก่อนเป็นลายลักษณ์อักษร ทีโอทีจึงให้ ชำ�ระเงินผลประโยชน์เพิ่มเติมจากรายได้จากการให้บริการเครือ ข่ายร่วมให้แก่ทีโอทีนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือน มิถุนายน 2558 เป็นเงินจำ�นวน 13,341 ล้านบาท แต่เอไอเอส ไม่เห็นด้วยและได้มหี นังสือชีแ้ จงโต้แย้งทีโอที โดยเอไอเอสเห็นว่า การที่เรียกเก็บค่าบริการใช้โครงข่ายจากเอดับบลิวเอ็น ต่ำ�กว่า อัตราค่าบริการที่กำ�หนดไว้ในสัญญาการใช้โครงข่ายเป็นกรณีที่ เอไอเอสจัดทำ�รายการส่งเสริมการให้กับผู้ใช้บริการที่ปริมาณการ เข้ามาใช้โครงข่ายร่วมเป็นจำ�นวนมาก ซึง่ รายการส่งเสริมการขาย ในลักษณะที่ให้แก่เอดับบลิวเอ็น เอไอเอสก็ได้แจ้งให้แก่ผใู้ ช้บริการ โครงข่ายร่วมทุกรายที่มีปริมาณการใช้ถึงตามที่กำ�หนดไว้ และ อัตราค่าบริการตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าวเป็นอัตรา ค่ า บริ การที่ ไ ม่ เ กิ น กว่ า อั ต ราค่ า ใช้ เ ครื อ ข่ า ยร่ ว มที่ กำ � หนดไว้ ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ครั้งที่ 7 ดังนั้น การกำ�หนด อัตราค่าใช้เครือข่ายร่วมตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว จึงไม่ต้องได้ความเห็นชอบจากทีโอที


กรณี นี้ ห ากที โ อที นำ � เรื่ อ งเข้ า สู่ กระบวนอนุ ญ าโตตุ ลาการ ผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าจะสามารถโต้แย้งได้เพราะเอไอเอสได้ปฏิบตั ถิ กู ต้อง ตามข้อสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกประการแล้ว อีกทั้ง ณ ปัจจุบัน การกำ�กับดูแลในเรือ่ งของการกำ�หนดอัตราค่าบริการต่างๆ อยูภ่ ายใต้ การกำ�กับดูแลของ กสทช.

เซลลูลาร์ 900 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตฯ ที่เอไอเอสจะต้อง ส่งมอบให้แก่ทีโอที โดยเอไอเอสเห็นว่าระบบดังกล่าวเป็นเครื่อง มือที่บริษัทใช้สนับสนุนในการให้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการเท่านั้น ในกรณีหากทีโอทีใช้สทิ ธิน�ำ ข้อพิพาทเข้าสูก่ ระบวนการอนุญา ตุลาการ ผู้บริหารเชื่อว่าข้อพิพาทดังกล่าวจะสามารถเจรจา ไกล่เกลี่ยยุติข้อพิพาทดังกล่าวได้ เนื่องจากปัจจุบันเอไอเอสกับ 1.9 ข้อพิพาทระหว่างเอไอเอส กับ บริษัท ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) ทีโอทีอยู่ระหว่างดำ�เนินการทางธุรกิจเพื่อเป็นพันธมิตรกัน (ทีโอที) กรณีกรรมสิทธิ์เสาอากาศ/เสาสูง เอไอเอสได้เสนอข้อพิพาทต่อสำ�นักระงับข้อพิพาท สถาบัน 1.11 ข้อพิพาทกรณีการเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติม อนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำ�ที่ 53/57 เมื่อวันที่ 21 จากการทำ�ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ครั้งที่ 6 และ 7 กรกฎาคม 2557 ขอให้คณะอนุญาโตตุลาการมีค�ำ ชีข้ าดว่าเสาอากาศ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 เอไอเอสได้ยื่นคำ�เสนอข้อพิพาท มิใช่เครื่องมืออุปกรณ์และทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบให้แก่ ทีโอที หมายเลขดำ�ที่ 78/2558 ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำ�นักระงับ และให้เอไอเอสเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในเสาอากาศและขอให้ ข้อพิพาท สำ�นักงานศาลยุติธรรม เพื่อมีคำ�ชี้ขาดให้ข้อตกลง ทีโอที คืนเงินส่วนแบ่งรายได้จากการนำ�เสาไปหาประโยชน์ทเ่ี อไอเอส ต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำ�เนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชำ�ระไปแล้วให้คนื เนือ่ งจากเอไอเอสเห็นว่าเสาอากาศมิใช่เครือ่ งมือ (Cellular Mobile Telephone) ครั้งที่ 6 ซึ่งกระทำ�ขึ้นเมื่อวันที่ 15 และอุปกรณ์ในการดำ�เนินกิจการระบบ เซลลูล่าร์ 900 ตามสัญญา พฤษภาคม 2544 และ ครัง้ ที่ 7 ซึง่ กระทำ�ขึน้ เมือ่ วันที่ 20 กันยายน ให้ดำ�เนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Mobile 2545 มีผลผูกพันเอไอเอส และบริษทั ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) (ทีโอที) ให้ต้องปฏิบัติตามจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุด และเอไอเอสไม่มีหน้าที่ Telephone) ดังนั้นจึงไม่มีหน้าที่ต้องส่งมอบให้แก่ทีโอที ขณะนี้ข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ ต้องชำ�ระผลประโยชน์ตอบแทนตามที่ ทีโอที ได้มหี นังสือลงวันที่ 29 โดยผู้บริหารเชื่อว่าข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดี กันยายน 2558 เรื่องขอให้ชำ�ระผลประโยชน์ตอบแทน แจ้งมายัง เนือ่ งจากเอไอเอสและทีโอทีอยูร่ ะหว่างการเจรจาตกลงดำ�เนินการ เอไอเอสให้ช�ำ ระเงินเพิม่ จำ�นวน 72,036 ล้านบาท โดยกล่าวอ้างว่า ทางธุรกิจเป็นพันธมิตรร่วมกัน การทำ�ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครัง้ ที่ 6 และ 7 เป็นการแก้ไขสัญญา ในสาระสำ�คัญทำ�ให้ ทีโอที ได้ผลประโยชน์ตอบแทนต่ำ�กว่าที่ 1.10 ข้อพิพาทกรณีบริษทั ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) (ทีโอที) เรียกร้อง กำ�หนดในสัญญาหลัก ให้เอไอเอส ส่งมอบกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ระบบในการให้บริการ ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ทีโอที ยืน่ คำ�เสนอข้อพิพาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ 900 คดีเลขที่ 122/2558 ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำ�นักระงับ ตามที่ทีโอทีได้เรียกร้องให้เอไอเอสส่งมอบกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ข้อพิพาท สำ�นักงานศาลยุติธรรมเพื่อแก้ไขจำ�นวนเงินที่เรียกร้อง ระบบในการให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีร่ ะบบเซลลูลาร์ 900 ได้แก่ ผลประโยชน์ตอบแทนลดลงเป็น 62,773 ล้านบาท เนื่องจากการ ระบบ Billing ระบบ Intelligence Network (IN) ระบบบริการเสริม ปรับปรุงอัตราร้อยละในการคำ�นวณส่วนแบ่งรายได้ ข้อพิพาทนี้ (Value Added Service) ระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นเรื่องเดียวกับข้อพิพาทที่ 78/2558 (Customer Relation Management) ระบบ Systems Application ขณะนี้ข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ and Product (SAP) ระบบรับชำ�ระเงิน เครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง โดยผู้บริหารของบริษัทเชื่อว่าข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครั้งที่ 6 และ ระบบผลิตและควบคุมการใช้งานบนบัตรเติมเงิน ระบบบริการ ครั้งที่ 7 มีผลผูกพันจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 30 กันยายน ลูกค้า และการออกใบแจ้งหนี้ ติดตามหนี้ ระบบบริหารจัดการ 2558 และบริ ษั ท ได้ ป ฎิ บั ติ ถู ก ต้ อ งตามข้ อ สั ญ ญาที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ร้านเทเลวิซและดีลเลอร์ ระบบการจัดการโครงข่าย ระบบเก็บ ทุกประการแล้ว อีกทั้งสำ�นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ ฐานข้อมูลลูกค้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์บริการเสริม ความเห็นต่อกรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ด�ำ เนินการฯ ระหว่าง สินทรัพย์ไม่มตี วั ตน และอะไหล่บ�ำ รุงรักษา ให้แก่ทโี อทีตามสัญญา ทีโอที กับบริษัท เรื่องเสร็จที่ 291/2550 ความตอนหนึ่งว่า “... อนุญาตให้ด�ำ เนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ โดยทีโอทีเห็นว่า กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาอันเป็นนิติกรรมทางปกครอง ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมด เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เอไอเอส สามารถแยกต่างหากออกจากข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ จัดหามาไว้สำ�หรับดำ�เนินการระบบ เซลลูลาร์ 900 ซึ่งเอไอเอส ทีท่ �ำ ขึน้ ได้ และข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตฯ ทีท่ �ำ ขึน้ นัน้ ยังคง มีหน้าที่ต้องส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ทีโอทีตามสัญญาอนุญาต มีผลอยู่ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลโดยเงื่อนเวลา แต่บริษทั เห็นว่าอุปกรณ์ระบบดังกล่าว ตามทีท่ โี อทีเรียกร้องมานัน้ หรือเหตุอื่น...” มิใช่เครือ่ งมือหรืออุปกรณ์ในการให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นทีร่ ะบบ รายงานประจำ�ปี 2559

042


นอกจากนี้ ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครัง้ ที่ 6 และครัง้ ที่ 7 มิได้ถกู เพิกถอนหรือแก้ไขเพิม่ เติมจนกระทัง่ สิน้ สุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2558 ดังนัน้ ผลของข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลีค่ ลายไปในทางทีด่ ี และไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำ�คัญ 1.12 ข้อพิพาทระหว่างบริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ซึ่งเป็น บริษทั ย่อยของเอไอเอส กับ บริษทั กสท โทรคมนาคม จำ�กัด (มหาชน) (กสท) กรณีค่าใช้โครงข่ายในระหว่างดำ�เนินการ ตามมาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริการในระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำ�กัด (มหาชน) (กสท) ได้ยื่นฟ้องสำ�นักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำ�นักงาน กสทช.), คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.), คณะกรรมการกิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทั ศ น์ แ ละ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), บริษทั ทรู มูฟ จำ�กัด (ทรูมฟู ) และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดี หมายเลขดำ�ที่ 918/2558 เพือ่ ให้ช�ำ ระค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครื่องและอุปกรณ์ โทรคมนาคมและโครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท ช่วงระยะเวลาคุ้มครองตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งคำ�นวณ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2556 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2557 เป็น จำ�นวนเงินดังนี้ (1) สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 24,117 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (2) ทรูมูฟ ร่วมกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 18,025 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (3) ดีพซี รี ว่ มกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 6,083 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2558 กสท ได้ยื่นฟ้องต่อศาล ปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำ�ที่ 1651/2558 เพื่อเรียกร้องให้ ชำ�ระค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครือ่ งและอุปกรณ์โทรคมนาคม และโครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท. ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 เพิ่มเติมเป็นจำ�นวนเงินดังนี้ (1) สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 6,521 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (2) ทรูมูฟ ร่วมกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 4,991 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (3) ดีพซี รี ว่ มกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 1,635 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

043

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 กสท. ได้ยื่นฟ้องต่อศาล ปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำ�ที่ 741/2559 เพื่อเรียกร้องให้ ชำ�ระค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้เครือ่ งและอุปกรณ์โทรคมนาคม และโครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท. ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2558 ถึงวันที ่ 25 พฤศจิกายน 2558 (วันสิน้ สุดมาตรการคุม้ ครอง ผู้ใช้บริการ) เพิ่มเติมเป็นจำ�นวนเงินดังนี้ (1) สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 2,857 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (2) ทรูมูฟ ร่วมกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 2,184 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี (3) ดีพซี รี ว่ มกับ สำ�นักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จำ�นวน 673 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะนีข้ อ้ พิพาทดังกล่าวอยูร่ ะหว่างกระบวนการพิจารณาของ ศาลปกครองกลาง โดยผู้บริหารเชื่อว่าดีพีซีไม่มีหน้าที่ต้องชำ�ระ ค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครื่องและอุปกรณ์ โทรคมนาคม และโครงข่ายโทรคมนาคมตามที่ กสท เรียกร้อง เนื่องจากดีพีซี ได้ปฏิบัติถูกต้องตามประกาศ กสทช. แล้วทุกประการ ดังนั้น ผลของข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีและไม่น่า จะมีผลกระทบอย่างมีนยั สำ�คัญต่องบการเงินรวมของกลุม่ เอไอเอส 1.13 ข้อพิพาทกรณีการนำ�ส่งเงินรายได้ให้แก่ กสทช. ตามมาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการในระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นการ ชั่วคราว วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (ดีพีซี) ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครองกลางที่ 1997/2558 เรื่อง ขอให้เพิกถอนมติ กทค. ให้นำ�ส่งรายได้ช่วง เยียวยา เนื่องจากสำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำ�นักงาน กสทช.) เรียกร้องให้ดีพีซีนำ�ส่งเงินรายได้จากการให้บริการในช่วง เยียวยาลูกค้า ระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2556 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 จำ�นวน 628 ล้านบาท ในเรื่องเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 กสทช. และ สำ�นักงาน กสทช. ได้ยื่นคำ�ฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดี หมายเลขดำ�ที่ 1441/2559 ขอให้เอไอเอสนำ�ส่งรายได้ชว่ งเยียวยา ระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2556 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 จำ�นวน 680 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ยคำ�นวณถึงวันที่ฟ้อง 52 ล้านบาท) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน นับแต่ วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะนำ�ส่งรายได้พร้อมดอกผลและดอกเบีย้ เสร็จสิ้น ขณะนีค้ ดีดงั กล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง กลาง โดยผู้ บ ริ ห ารเห็ นว่ า ดี พี ซี ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ตามประกาศ เรื่ อ ง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการ


อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 ซึง่ กำ�หนดให้ดพี ซี ตี อ้ งนำ�ส่งเงินรายได้หลังหักรายจ่าย ให้แก่สำ�นักงาน กสทช. เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวดีพีซี มีรายจ่ายมากกว่ารายได้จากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ดีพีซีจึง ไม่มรี ายได้คงเหลือทีจ่ ะนำ�ส่งให้แก่ กสทช. ตามทีป่ ระกาศดังกล่าว กำ�หนดไว้ 1.14 ข้อพิพาทกรณีการนำ�ส่งรายได้ขั้นต่ำ�ให้แก่ กสทช. ตาม มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในระบบ 900 เมกะเฮิรตซ์ เป็นการชั่วคราว ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 เอไอเอสได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่ ง ชาติ (กสทช.) ต่ อ ศาลปกครองกลาง คดี ห มายเลขดำ � ที่ 2230/2559 เพื่อให้เพิกถอนความในข้อ 4. ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุด การอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กันยายน 2558 ซึง่ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึง่ ของข้อ 7 ของประกาศ กสทช. เรือ่ ง มาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริการ เป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 โดยมีสาระสำ�คัญที่ กำ�หนดให้ผู้ให้บริการในช่วงระยะเวลาคุ้มครองนำ�ส่งเงินรายได้ หลังหักรายจ่ายให้แก่ส�ำ นักงาน กสทช. แต่ทั้งนี้ เงินรายได้ที่ต้อง นำ�ส่งดังกล่าวจะต้องมีจ�ำ นวนไม่นอ้ ยกว่าอัตราร้อยละของส่วนแบ่ง รายได้ทผี่ ใู้ ห้บริการเคยนำ�ส่งภายใต้สญั ญาสัมปทาน ณ วันสุดท้าย ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ขณะนีค้ ดีดงั กล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง กลาง โดยผู้บริหารเห็นว่าข้อกำ�หนดดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติ ที่ไม่เท่าเทียมกันในระหว่างผู้ให้บริการที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ไปก่อนที่ประกาศ กสทช.ฯ (ฉบับที่ 2) มีผลใช้บังคับ อีกทั้งเป็น ข้อกำ�หนดที่ไม่เป็นธรรม เป็นภาระเกินสมควรแก่บริษทั ทีจ่ ะต้องนำ� ส่งเงินรายได้ให้แก่ กสทช. อย่างน้อยเท่ากับหลักเกณฑ์ทกี่ �ำ หนดไว้ ในสัญญาสัมปทาน ทั้งที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดไปแล้วซึ่งมิ ใช่ เจตนารมณ์ของการออกมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการ

2. ความเสีย่ งด้านการดำ�เนินงาน

2.1 ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เอไอเอสในฐานะผู้ให้บริการซึ่งจำ�เป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆเพือ่ ตอบสนองความต้องการของผูใ้ ช้บริการ และ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการ จำ�เป็นต้องอาศัย เทคโนโลยีต่างๆเพื่อนำ�มาพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้ดี ยิง่ ขึน้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลงและเติบโต อย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาจมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงทางด้าน ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งที่เกิด จากความซับซ้อนของเทคโนโลยีเอง และความรูค้ วามสามารถของ

พนักงานทีจ่ ะต้องได้รบั การพัฒนาให้ทนั ต่อการเปลีย่ นแปลง ตลอด จนความบกพร่องของระบบที่อาจเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ในระบบ หรื อ จากภั ย คุ ก คามทางด้ า น เทคโนโลยีต่างๆ ในปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทุจริต ในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ซึ่งส่งผลกระทบให้ได้รับความ เสียหายทางด้านชื่อเสียง และความเชื่อมั่น รวมทั้งหน่วยงาน กำ�กับดูแลได้เข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มงวด ซึง่ เหตุการณ์ดงั กล่าว เกิดจากเจตนาในการทุจริตของพนักงานที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ดั ง กล่ า วโดยที่ บ ริ ษั ท ไม่ มี ส่ ว นรู้ เ ห็ น เอไอเอสมี ก ารกำ � หนด มาตรการในการป้ อ งกั น ความเสี่ ย งด้ า นความปลอดภั ย ของ สารสนเทศต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำ�หนดนโยบาย การรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ ที่ ใ ช้ เ ป็ น กรอบแนวทางในการป้ อ งกั น และจั ด การความเสี่ ย ง ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูลในทุกๆด้าน การออก ระเบียบและหลักเกณฑ์การปฏิบัติภายในสำ�หรับผู้บริหารและ พนักงานทุกระดับเพือ่ ป้องกันความเสีย่ งจากการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน อุปกรณ์พกพา การกำ�หนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านความ ปลอดภัยของข้อมูลในระบบงานสำ�คัญตามแผนทีก่ �ำ หนด ตลอดจน การนำ�ระบบมาตรฐานสากลต่างๆมาประยุกต์ใช้ เช่น มาตรฐาน การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศของการให้บริการด้าน บัตรเครดิต (Payment Card Industry - Data Security Standard: PCI-DSS) มาตรฐานระบบบริหารความมัน่ คงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) อย่ า งไรก็ ตามเอไอเอสได้ มี การทบทวนและยกระดั บ การ ควบคุมการทำ�งานภายในเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำ�ความผิด และการทุจริตภายในองค์กร โดยเพิ่มมาตรการรักษาระบบรักษา ความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศของเอไอเอส ประกอบด้วย การกำ�หนดการเข้าถึงข้อมูลบนระบบสารสนเทศที่มีการเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าในแต่ละครั้ง จะต้องทำ�โดยพนักงาน ผู้ มี สิ ท ธิ์ 2 คน ในการกรอกพาสเวิ ร์ ด เข้ า สู่ ร ะบบ (Double Password) ปรับปรุงพื้นที่ทำ�งานที่มีการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า เป็นแบบปิด (Close working environment) และห้ามพนักงาน ที่ต้องทำ�หน้าที่นี้นำ�โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เข้าไปในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการสื่อสารและอบรมภายในเพื่อสร้างความตระหนัก ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะ เกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบ หรือจากความจงใจในการ โจรกรรมข้อมูลของผู้ไม่ประสงค์ดี เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความ ปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศให้กับผู้ใช้บริการ โดยรายละเอียดของมาตรการทีเ่ อไอเอสมีการยกระดับเพิม่ เติม สามารถศึกษาได้จากรายงานพัฒนาความยั่งยืน หัวข้อ “ลูกค้า ของเรา” รายงานประจำ�ปี 2559

044


2.2 ความเสีย่ งจากการหยุดชะงักของระบบการให้บริการโครงข่าย และระบบงานสำ�คัญ กรณีเกิดภัยพิบตั ิ ภัยธรรมชาติ ภัยจากความไม่สงบทางการเมือง ภัยจากการก่อการร้าย หรือเหตุการณ์ความผิดพลาดต่างๆที่ไม่อยู่ ในความควบคุมของบริษัท เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ ให้เกิดการหยุดชะงักของระบบปฏิบัติงานหลัก และอาจก่อให้เกิด ความสูญเสีย เสียหายต่อทรัพย์สนิ และบุคลากรของเอไอเอส ซึง่ อาจ ส่งผลกระทบให้เกิดการหยุดชะงักของการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ เอไอเอส มีการประเมินความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้ง ในแง่ของโอกาสในการที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นๆ รวมทั้งผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดภัยคุกคามต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงสาเหตุ สำ�คัญทีอ่ าจส่งผลกระทบทำ�ให้การดำ�เนินธุรกิจหยุดชะงัก พร้อมทัง้ การประเมินและจัดระดับความสำ�คัญของแต่ละระบบงานทีเ่ กีย่ วข้อง กับการให้บริการ เพื่อให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่าง เหมาะสม และดำ�เนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ส่งผลกระทบ ต่อการใช้บริการของลูกค้าน้อยที่สุด เอไอเอสได้นำ�ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจมา ประยุกต์ ใช้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยจัดทำ�แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจสำ�หรับระบบงานที่ สำ�คัญ มีการซักซ้อมและทบทวนความเหมาะสมของแผนงานอย่าง สม่�ำ เสมอ เพือ่ ให้สามารถบริหารทรัพยากรองค์กรให้มปี ระสิทธิภาพ สู ง สุ ด และให้ ส ามารถรั บ มื อ กั บ พิ บั ติ ภั ย ที่ ร้ า ยแรงในระดั บ ทีย่ งั ความเสียหายต่ออาคารสำ�นักงาน หรือศูนย์ปฏิบตั กิ าร จนต้อง มีการเปิดใช้งานสถานที่ท�ำ การฉุกเฉิน (Alternate Sites) รวมทั้ง มีการสื่อสารให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องต้อง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วม และปฏิบัติตามนโยบายความต่อเนื่อง ทางธุรกิจของบริษัท เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่าง เป็นระบบ เมือ่ เกิดความบกพร่องใดๆขึน้ จะไม่สง่ ผลกระทบต่อการ ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ของบริษทั ในวงกว้าง หรือในระยะเวลานาน ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าเอไอเอสจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำ�ด้าน ระบบเครือข่ายคุณภาพ และสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในยาม ประสบพิบัติภัยร้ายแรงอีก โดยรายละเอียดของกรอบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ สามารถศึ ก ษาได้ จากรายงานหั ว ข้ อ การบริ ห ารความเสี่ ย ง การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน หน้า 83

045

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

2.3 ความเสี่ยงจากการขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหา สุขภาพที่เกิดจากคลื่นวิทยุ เอไอเอสมีการขยายและสร้างสถานีฐานเพิม่ เติมอย่างต่อเนือ่ ง เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูลของ ลูกค้า ส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำ�ให้ไม่สามารถดำ�เนินการได้ ตามแผนงานจากปัญหาด้านความเข้าใจจากชุมชนโดยรอบเพิม่ ขึน้ โดยชุมชนอาจยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือความกังวลใจ เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากคลื่นวิทยุบริเวณโดยรอบ สถานีฐาน และนำ�ไปสู่การต่อต้าน คัดค้านการก่อสร้าง หรือมี การร้องเรียนไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ทำ�ให้เอไอเอสไม่สามารถ ขยายการติดตั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณ หรือสร้างสถานีฐานใหม่ได้ เอไอเอสมีแนวทางในการรับมือและจัดการความเสีย่ งทีอ่ าจจะเกิดขึน้ โดยกำ�หนดทีมงานในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนการ ก่อสร้างสถานีฐานตามแนวทางที่สอดคล้องกับข้อกำ�หนดของ สำ � นั ก งานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการลงพื้นที่เพื่อ รับฟังความคิดเห็นจากกลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียในชุมชน การหารือ กับผูน้ �ำ ในชุมชน และประชาชนในพืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งการจะก่อสร้างสถานี ฐานใหม่ โดยวางแผนขั้นตอนการทำ�งานให้สามารถสื่อสารเพื่อ สร้างความเข้าใจกับชุมชนตั้งแต่กระบวนการหาสถานที่ ทำ�ให้ เอไอเอสสามารถวิเคราะห์แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท และชุมชนได้ จึงสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดการต่อต้านและ ยังมีข้อมูลในการวางแผนเพื่อทำ�ความเข้าใจหากพบในภายหลัง ว่ามีข้อกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของเสาสัญญาณโทรศัพท์ โดยเอเอสเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในทุก ขั้นตอนการทำ�งานตั้งแต่ร่วมกันหาสถานที่ก่อสร้างเสาสัญญาณ เมื่อได้สถานที่สำ�หรับการก่อสร้างสถานีฐานใหม่แล้ว บริษัท จะจัดทำ�แบบการติดตัง้ สถานีฐานซึง่ รับรองโดยวิศวกรระดับสามัญ วิศวกรโยธาขึ้นไปและเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทยเพื่อเสนอต่อสำ�นักงานเขตหรือเทศบาล ขออนุมัติการก่อสร้าง และหลังจากได้ใบอนุญาตแล้วทีมงานด้าน วิศวกรรมจะควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับการ อนุมตั แิ ละเป็นไปตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัดเพือ่ ความปลอดภัย ของทั้งผู้ทำ�งานและชุมชนโดยรอบ


2.4 ความเสี่ยงจากการไม่สามารถตอบสนองต่อเครือข่ายสังคม ออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที ปั จ จุ บั น เครื อ ข่ า ยสั ง คมออนไลน์ มี การเชื่ อ มต่ อ กั น อย่ า ง ไม่จ�ำ กัด การติดต่อสือ่ สารหรือการส่งต่อข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และกระจายไปในวงกว้างได้งา่ ยดายยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะข้อมูลทีส่ ง่ ผล เสียหายต่อความน่าเชือ่ ถือ และภาพลักษณ์ขององค์กร การตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้บริการที่ติดต่อผ่านช่องทางสื่อสารสังคม ออนไลน์ ต่ า งๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น ความต้ อ งการข้ อ มู ล ผลิ ต ภั ณ ฑ์ และบริการ การสอบถามปัญหาการใช้งานต่างๆ ตลอดจนการ ร้องเรียนการใช้บริการ จำ�เป็นต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็วด้วย ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ� และสามารถรับมือจัดการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้ า ได้ อ ย่ า งทั น ท่ ว งที เพื่ อ ป้ อ งกั น การบอกต่ อ ข้ อ มู ล ที่คลาดเคลื่อนซึ่งอาจส่งผลในทางลบต่อภาพลักษณ์ เอไอเอสได้ นำ � เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นการตรวจติ ด ตามข้ อ มู ล ทีเ่ กีย่ วข้องกับบริษทั ทีม่ กี ารกล่าวถึงในเครือข่ายออนไลน์ตา่ งๆ รวม ทั้งมีทีมงานที่ทำ�หน้าที่เฝ้าติดตามและตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใ ช้บริการจะได้รับการตอบสนอง และได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง อย่างทันท่วงที รวมทั้งเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

รายงานประจำ�ปี 2559

046


ประวัติคณะกรรมการและผู้บริหาร

นายกานต์ ตระกูลฮุน

อายุ 61 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 3 สิงหาคม 2558 วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการ 8 พฤศจิกายน 2559 • ประธานกรรมการ • กรรมการอิสระ • ประธานกรรมการการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน • ประธานกรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 29/2546 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ ประธานกรรมการการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนด ค่าตอบแทน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2559 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ / บมจ. ไทยพาณิชย์ 2558 - ปัจจุบัน กรรมการ ประธานกรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2558 - ปัจจุบัน กรรมการที่ปรึกษา / Nomura Holdings Inc. 2554 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษา / Kubota Corporation (Japan) 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. ปูนซิเมนต์ ไทย 2549 - 2558 กรรมการผู้จัดการใหญ่ / บมจ. ปูนซิเมนต์ ไทย ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

047

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นายสมประสงค์ บุญยะชัย

อายุ 61 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 28 มีนาคม 2537 • รองประธานกรรมการ • กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน • กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่น 21/2552 • หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) รุ่น 65/2548 • หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) รุ่น 30/2547 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2551 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนด ค่าตอบแทน กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2550 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. ไทยคม 2545 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ / บมจ. เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง 2560 - ปัจจุบัน กรรมการ / บจ. บีอีซี เวิลด์ 2559 - ปัจจุบัน กรรมการ / บจ. โอสถสภา 2559 กรรมการอิสระ / บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท 2553 - 2558 รักษาการกรรมการผู้อ�ำ นวยการ / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2552 - 2554 ประธานกรรมการบริหาร / บมจ. ไทยคม กรรมการ / บจ. โรงพยาบาลพระรามเก้า 2547 - 2559 ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี


นางทัศนีย ์ มโนรถ

อายุ 71 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 24 เมษายน 2549 • กรรมการตรวจสอบ • กรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน • กรรมการอิสระ

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 32/2546 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2557 - ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ กรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน กรรมการอิสระ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2549 - 2557 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์

อายุ 63 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 10 พฤษภาคม 2549 • ประธานกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ • กรรมการตรวจสอบ • กรรมการอิสระ

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด เนติบัณฑิต สำ�นักลินคอล์น อินน์ ประเทศอังกฤษ การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 29/2547 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2557 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2557 - ปัจจุบัน Managing Partner / R&T Asia (Thailand) Limited 2551 - 2557 กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2550 - 2551 กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2549 - 2550 กรรมการ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2548 - 2557 ผู้บริหาร / บจ.ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยมส์ (ไทยแลนด์) 2540 - 2551 กรรมการ / บจ. ไทยทาโลว์ แอนด์ ออยล์ ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

รายงานประจำ�ปี 2559

048


นางสาวจีน โล เงี้ยบ จง

อายุ 56 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 27 มีนาคม 2556 • กรรมการ • กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี บัญชี National University of Singapore การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ท�ำ งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2558 - ปัจจุบัน Group Chief Corporate Officer / Singapore Telecommunications Ltd. 2556 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2551 - 2558 Group Chief Financial Officer / Singapore Telecommunications Ltd. ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

049

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นายแอเลน ลิว ยง เคียง

อายุ 61 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 20 มีนาคม 2549 • ประธานกรรมการบริหาร • กรรมการ • กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท Science (Management) Massachusetts Institute of Technology, ประเทศสหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2557 - ปัจจุบัน Chief Executive Officer Consumer Australia Chief Executive Officer Optus / Singapore Telecommunications Ltd. 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนด ค่าตอบแทน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2549 - ปัจจุบัน Chief Executive Officer (Singapore) / Singapore Telecommunications Ltd. 2555 - 2557 Executive Officer Group Digital Life and Country Chief Officer (Singapore) / Singapore Telecommunications Ltd. 2549 - 2551 กรรมการบริหาร / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี


นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย

อายุ 62 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 26 มีนาคม 2557 • ประธานกรรมการตรวจสอบ • กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ • กรรมการอิสระ

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ North Texas State University, สหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Direct Certificate Program (DCP) รุ่น 59/2548 • หลักสูตร Role of the Chaiman Program (RCP) รุ่น 16/2550 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2558 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบริหาร ประธานกรรมการบริหารความเสีย่ ง / บมจ. ธนาคารกรุงไทย 2557 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2541 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ / บจ. วี กรุ๊ป ฮอนด้าคาร์ส์ 2554 - 2555 กรรมการและกรรมการตรวจสอบ / บมจ. ปตท. 2549 - 2555 ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง / บมจ. หลักทรัพย์ จัดการกองทุนกรุงไทย ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

นายสตีเฟ่น มิลเลอร์

อายุ 53 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 2 มิถุนายน 2558 • กรรมการ • กรรมการบริหาร

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี Economics and Finance, University of New South Wales (เกียรตินิยมอันดับ 1) การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2558 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหาร / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2557 - ปัจจุบัน ทีป่ รึกษา / Singapore Technologies Telemedia, Singapore 2556 - 2557 President & COO / Singapore Technologies Telemedia, Singapore 2555 - 2556 President & CFO / Singapore Technologies Telemedia, Singapore 2553 - 2555 Senior EVP & CFO / Singapore Technologies Telemedia, Singapore 2548 - 2553 CFO / Singapore Technologies Telemedia, Singapore ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

รายงานประจำ�ปี 2559

050


นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์

อายุ 54 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 27 มิถุนายน 2557 วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 กรกฎาคม 2557 • กรรมการ • กรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน • กรรมการบริหาร • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร • รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลยุทธ์ • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม สัดส่วนการถือหุ้น (%)* 0.0027 ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 107/2552 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2557 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการกลยุทธ์ และกรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2555 - 2557 กรรมการ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2550 - 2555 รองกรรมการผู้อ�ำ นวยการ สายงานการตลาด / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2547 - 2550 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำ�นวยการ ส่วนงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

051

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นายฟิลิป เชียง ชอง แทน

อายุ 51 ปี

วันที่ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ 8 พฤศจิกายน 2559 • กรรมการ • กรรมการบริหาร • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท การจัดการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) รุ่น 175/2556 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการบริหาร / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ 2559 - ปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2559 - ปัจจุบัน กรรมการ / บมจ. ไทยคม 2557 - ปัจจุบัน กรรมการสภาทีป่ รึกษา / สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554 - ปัจจุบัน Board of Visitors / University of Maryland 2558 - มี.ค. 2559 กรรมการผู้อำ�นวยการ / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ ก.ค. - ต.ค. 2558 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา ม.ค. - มิ.ย. 2558 ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล และรักษาการแทนประธานคณะ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2557 - 2558 กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2556 - 2558 กรรมการ (ผู้มีอานาจลงนาม) รักษาการแทนประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อ ยานยนต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2556 - 2557 รักษาการแทนประธานคณะเจ้าหน้าที่ ด้านธุรกิจอิเล็กทรอเล็กทรอนิกส์ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2556 รองประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร และที่ปรึกษา คณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2555 ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2553 - 2555 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านสินเชื่อลูกค้าบุคคล / บมจ.ธนาคารกรงุศรีอยุธยา 2552 - 2553 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / บจ. จีอี มันนี่ ประเทศไทย ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี


นายฮุย เว็ง ชอง

อายุ 61 ปี

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 • กรรมการผู้อ�ำ นวยการ

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Southern California, สหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ท�ำ งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน กรรมการผู้อำ�นวยการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2556 - ปัจจุบัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2553 - 2555 CEO International / Singapore Telecommunications Ltd. 2552 - 2553 หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

นางสาวสุนิธยา ชินวัตร

อายุ 56 ปี

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* 0.0005 ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการเงิน North Texas State University, สหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Certification Program (DCP)156 /2555 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2555 - 2559 ผูช้ ว่ ยกรรมการผูอ้ �ำ นวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารการเงิน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2549 - 2555 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำ�นวยการ ส่วนงานบริหารการเงิน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

รายงานประจำ�ปี 2559

052


นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร

อายุ 57 ปี

นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

อายุ 46 ปี

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด สาขาคอมพิวเตอร์ University of Michigan at Ann Arbor, ปริญญาโท สหรัฐอเมริกา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Capital Market Academy (วตท.) รุ่นที่ 19 ประสบการณ์ท�ำ งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2556 - 2559 รองกรรมการผู้อ�ำ นวยการอาวุโส สายงานปฏิบัติการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2554 - 2558 กรรมการบริษัท กลุ่ม จ. / ศูนย์ให้บริการคงสิทธิหมายเลขโทรศัพท์ 2549 - 2556 รองกรรมการผู้อ�ำ นวยการสายงานปฏิบัติการ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

053

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท Psychology Counseling Services Rider University รัฐนิวเจอร์ซี, สหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2559 - ปัจจุบัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล / บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์ 2558 - ปัจจุบัน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2556 - 2558 รองประธานเจ้าหน้าทีสายปฏิบัติการ / บมจ. แม็คกรุ๊ป 2554 - 2556 ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคล / บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) 2550 - 2554 ผู้อํานวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล / บจ. ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี


ประวัติเลขานุการบริษัท หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และหัวหน้าหน่วยงานกำ�กับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท นายชวิน ชัยวัชราภรณ์

อายุ 44 ปี

นางสุวิมล กุลาเลิศ

อายุ 56 ปี

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556 • เลขานุการบริษัท

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 • หัวหน้าคณะผู้บริหารงานตรวจสอบภายใน

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี

สัดส่วนการถือหุ้น (%)* 0.0001 ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท กฎหมาย มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย, สหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Role of the Compensation Committee (RCC) • หลักสูตร Director Certification (DCP 192/2557) • หลักสูตร Role of Chairman (RCP) • หลักสูตรการต่อต้านการทุจริตสำ�หรับผู้บริหาร (ACEP 10/2557) • หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานเลขานุการบริษัท (FPCS 29/2557) • หลักสูตรเลขานุการบริษัท รุ่น 51/2556 ประสบการณ์ท�ำ งานในระยะ 5 ปี 2556 - ปัจจุบัน เลขานุการบริษัท / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2553 - 2556 ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักกฎหมาย / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ 2546 - 2553 Associate / บจ. ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยม ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท MBA Track Management Information System, Oklahoma City University, Oklahoma City University, สหรัฐอเมริกา คุณวุฒิ Certified Public Accountant ปี 2528 ทางวิชาชีพ Certified Internal Auditor ปี 2543 Certificate in Risk Management Assurance ปี 2556 การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 136/2553 ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2542 - ปัจจุบัน ผูช้ ว่ ยกรรมการผูอ้ �ำ นวยการอาวุโส ส่วนงานตรวจสอบภายใน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี

นางสาวนัฐิยา พัวพงศกร

อายุ 41 ปี

ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 • ผู้ช่วยกรรมการผู้อ�ำ นวยการส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ และกำ�กับดูแลการปฏิบัติงาน สัดส่วนการถือหุ้น (%)* 0.00025 ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท Technology Management, Washington State University, สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท การเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การผ่านหลักสูตรอบรม ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำ�งานในระยะ 5 ปี 2558 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำ�นวยการส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ และกำ�กับดูแลการปฏิบัติงาน / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2556 - 2558 ผู้อำ�นวยการสำ�นักนักลงทุนสัมพันธ์ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2554 - 2556 รักษาการผู้อ�ำ นวยการสำ�นักลงทุนสัมพันธ์ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 2551 - 2554 ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ / บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ประวัติการทำ�ผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มี รายงานประจำ�ปี 2559

054


รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหารในบริษัทและบริษัทย่อย ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2559 รวมการถือครองของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ชื่อย่อ ADVANC DPC ADC ACC AMP AMC AIN

055

บริษัท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ คอนแท็ค จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำ�กัด บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำ�กัด

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ชื่อย่อ SBN WDS AWN MMT FXL ABN

หุ้นสามัญ (หุ้น) 31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2559

ACC

31/12/2558

1. นายกานต์ ตระกูลฮุน1) ประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ - - - - - - 2. นายสมประสงค์ บุญยะชัย รองประธานกรรมการ - - - - - - 3. นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ - - - - - - 4. นางทัศนีย์ มโนรถ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ - - - - - - 5. นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ - - - - - - 6. นายแอเลน ลิว ยง เคียง กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร - - - - - - 7. นางสาวจีน โล เงี้ยบ จง กรรมการ - - - - - - 8. สตีเฟน จอฟฟรีย์ มิลเลอร์2) กรรมการ - - - - - - 9. นายฟิลิป เชียง ชอง แทน3) กรรมการ และกรรมการบริหาร - - - - - - 10. นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ 4) กรรมการบริหาร - - - - - - 11. สมชัย เลิศสุทธิวงค์ กรรมการ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร 80,126 - 80,126 101,240 56,800 158,040 12. นายฮุย เว็ง ชอง5) กรรมการผู้อ�ำ นวยการ - - - - - - 13. นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร5) หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร 3,327 - 3,327 80,754 30,200 107,354 14. นางสาวสุนิธยา ชินวัตร6) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน 15,157 - 15,157 29,774 11,900 41,674 15. นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล - - - - - 33,200

ADC

31/12/2559

31/12/2559

ได้รับจัดสรรเพิ่มขึ้น ระหว่างปี (+)7)

31/12/2558

ใบสำ�คัญแสดงสิทธิ (หน่วย) 31/12/2559

ซื้อ(+)/ขาย(-) ระหว่างปี

ชื่อ-นามสกุล ตำ�แหน่ง

31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น)

DPC

31/12/2558

ADVANC

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

บริษัท บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำ�กัด บริษัท ไมโม่เทค จำ�กัด บริษัท แฟ็ก ไลท์ จำ�กัด บริษัท แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด


31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น) 31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น) 31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2558

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2559

หุ้นสามัญ (หุ้น)

31/12/2558

ABN

31/12/2559

FXL

31/12/2558

MMT

31/12/2559

AWN

31/12/2558

WDS

31/12/2559

AIN

31/12/2558

SBN

31/12/2559

AMC

31/12/2558

AMP

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

หมายเหตุ : 1) ได้รับเลือกตั้งเข้าดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการบริษัทและประธานคณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 แทนนายวิทิต ลีนุตพงษ์ ที่ได้ลาออก จากตำ�แหน่ง 2) นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2559 3) นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารและกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 และวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ตามลำ�ดับ ภายหลังจากที่นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ได้ลาออกจากตำ�แหน่งกรรมการบริษัท 4) นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 5) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 6) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 7) การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนการถือครองใบสำ�คัญแสดงสิทธิเป็นไปตามมติอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2559 โดยรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก หน้า 70 รายงานประจำ�ปี 2559

056


โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการบริหารงานของบริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการสรรหา และกำ�กับดูแลกิจการ คณะกรรมการพัฒนา ความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนด ค่าตอบแทน คณะกรรมการ การพัฒนาสู่ความยั่งยืน

ประธานกรรมการบริหาร นายแอเลน ลิว ยงเคียง

คณะกรรมการตรวจสอบ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์

หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ (รักษาการ)

หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการเงิน1) นางสาวสุนิธยา ชินวัตร

กรรมการ ผู้อำ�นวยการ2) นายฮุย เว็ง ชอง

หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร2) นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร

หัวหน้าคณะผู้บริหารงาน ตรวจสอบภายใน นางสุวิมล กุลาเลิศ

1) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559 2) ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559

057

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


คณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยของบริษทั

โครงสร้างการจัดการเอไอเอสประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย 5 คณะ ได้แก่ 1. คณะกรรมการตรวจสอบ 2. คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน 3. คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ 4. คณะกรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 5. คณะกรรมการบริหาร โดยรายชื่อกรรมการ ข้อมูลการดำ�รงตำ�แหน่ง และรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมในปี 2559 ปรากฎดังนี้ จำ�นวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม / จำ�นวนการจัดประชุมทั้งปี ชื่อ-นามสกุล

ตำ�แหน่ง

คณะกรรมการ บริษัท

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการ คณะกรรมการ สรรหาและ พัฒนา กำ�กับดูแลกิจการ ความเป็นผู้นำ� และกำ�หนด ค่าตอบแทน

คณะกรรมการ บริหาร

คณะกรรมการ การพัฒนา สู่ความยั่งยืน

นายกานต์ ตระกูลฮุน1)

• กรรมการอิสระ • ประธานกรรมการ • ประธานกรรมการพัฒนา ความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนด ค่าตอบแทน • ประธานกรรมการการพัฒนา สู่ความยั่งยืน

8/9

-

-

-

-

6/6

นายสมประสงค์ บุญยะชัย2)

• รองประธานกรรมการบริษัท • กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน • กรรมการสรรหา และกำ�กับดูแลกิจการ • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม

8/9

-

6/6

4/5

-

-

นางทัศนีย์ มโนรถ3)

• กรรมการอิสระ • กรรมการตรวจสอบ • กรรมการการพัฒนาสูค่ วามยัง่ ยืน

9/9

13/14

-

-

-

6/6

นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์

• กรรมการอิสระ • กรรมการตรวจสอบ • ประธานกรรมการสรรหา และกำ�กับดูแลกิจการ

9/9

13/14

6/6

-

-

-

นางสาวจีน โล เงี้ยบ จง3)

• กรรมการ • กรรมการสรรหา และกำ�กับดูแลกิจการ

9/9

-

6/6

-

-

-

นายแอเลน ลิว ยง เคียง2)

• กรรมการ • ประธานกรรมการบริหาร • กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน

4/94)

-

-

3/54)

13/13

-

นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย

• กรรมการอิสระ • ประธานกรรมการตรวจสอบ • กรรมการสรรหา และกำ�กับดูแลกิจการ

9/9

14/14

6/6

-

-

-

รายงานประจำ�ปี 2559

058


จำ�นวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม / จำ�นวนการจัดประชุมทั้งปี คณะกรรมการ บริษัท

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

7/9

-

-

นายฟิลิป เชียง ชอง แทน 6) • กรรมการ • กรรมการบริหาร • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม

1/1

-

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ 2)

9/9

-

ชื่อ-นามสกุล นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ 3) 5)

ตำ�แหน่ง • กรรมการ

• กรรมการ • กรรมการบริหาร • กรรมการการพัฒนา สู่ความยั่งยืน • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร • กรรมการผู้มีอ�ำ นาจลงนาม

นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ 7) • กรรมการบริหาร

คณะกรรมการ คณะกรรมการ สรรหาและ พัฒนา กำ�กับดูแลกิจการ ความเป็นผู้นำ� และกำ�หนด ค่าตอบแทน

คณะกรรมการ บริหาร

คณะกรรมการ การพัฒนา สู่ความยั่งยืน

-

8/9

-

-

-

10/11

-

-

-

-

13/13

5/6

-

-

-

9/11

-

หมายเหตุ 1) นายกานต์ ตระกูลฮุน ได้รบั เลือกตัง้ เข้าดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการพัฒนาความเป็นผูน้ �ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน เมือ่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 แทนนายวิทติ ลีนตุ พงษ์ ได้ลาออกจากตำ�แหน่ง 2) นายสมประสงค์ บุญยะชัย นายแอเลน ลิว ยง เคียง และนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ เป็นกรรมการที่มีประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคมอย่างยาวนาน รายละเอียดประวัติการศึกษาและประสบการณ์ การทำ�งานปรากฏตามประวัติคณะกรรมการและผู้บริหาร ปรากฎในหน้า 47, 49, 51 3) นางทัศนีย์ มโนรถ นางสาวจีน โล เงี้ยบ จงและนายสตีเฟ่น มิลเลอร์ เป็นกรรมการที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน โดยรายละเอียดประวัติการศึกษาและประสบการณ์ทำ�งานปรากฎตามหัวข้อ ประวัติคณะกรรมการและผู้บริหาร ปรากฎในหน้า 48, 49, 50 4) จำ�นวนครั้งในการเข้าร่วมประชุมที่แสดงในตารางด้านบน นับเฉพาะการเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง โดยในกรณีที่ นายแอเลน ลิว ยง เคียง ติดภารกิจในต่างประเทศ ท่านจะเข้าร่วมการพิจารณาโดย การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video Conference) หรือการเสนอความเห็นผ่านประธานกรรมการบริษัทล่วงหน้าก่อนวันประชุม 5) นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริหาร มีผลตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2559 6) นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารและกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 และวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ตามลำ�ดับ ภายหลังจากที่นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ได้ลาออกจากตำ�แหน่งกรรมการบริษัท 7) นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

กรรมการผูม้ อี �ำ นาจลงนาม

ทั้งนี้ คณะกรรมการเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นโดยรวมมิ ใช่เป็น คือ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ตัวแทนผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มีการกำ�หนดนโยบายให้มี นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการสองในสามคนนี้ ลงลายมือ จำ�นวนกรรมการทีเ่ ป็นไปตามสัดส่วนอย่างยุติธรรมของเงินลงทุน ชื่อร่วมกันและประทับตราสำ�คัญของบริษัท ของผู้ถือหุ้นซึ่งมีอ�ำ นาจควบคุม (Controlling shareholders)

คณะกรรมการบริษทั

คณะกรรมการบริษัท มีจำ�นวน 10 คน ประกอบด้วยกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์หลากหลายในแต่ละสาขาวิชาชีพ โดยมีกรรมการ 3 คน เป็นผูม้ ปี ระสบการณ์ดา้ นกิจการโทรคมนาคม และมีกรรมการ 3 คน ที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน (รายละเอียดปรากฎในหน้า 48-50) ทัง้ นี้ ประธานกรรมการบริษทั ไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้มีการ แบ่งแยกบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนและมีการถ่วงดุลอำ�นาจใน การดำ�เนินงาน เอไอเอสมีกรรมการอิสระจำ�นวน 4 ท่าน คิดเป็น สัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ รวมทั้งมีกรรมการ เพศหญิงจำ�นวน 2 ท่าน 059

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ขอบเขตอำ�นาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการบริษทั

1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และ ข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความ ซื่อสัตย์ สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท 2. กำ�หนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และทิศทางการดำ�เนินงานของ บริษัท และกำ�กับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำ�เนินการให้เป็นไปตาม นโยบายที่กำ�หนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้น 3. พิ จ ารณาอนุ มั ติ ร ายการที่ สำ � คั ญ เช่ น โครงการลงทุ น ธุรกิจใหม่ การซื้อขายทรัพย์สิน ฯลฯ และการดำ�เนินการใดๆ ที่กฎหมายกำ�หนด


4. พิ จ ารณาอนุ มั ติ แ ละ/หรื อ ให้ ความเห็ น ชอบต่ อ รายการที่ เกี่ยวโยงกันของบริษัทและบริษัทย่อยให้เป็นไปตามประกาศ ข้อกำ�หนด และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน ที่กำ�กับดูแล 5. ประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร ระดับสูงอย่างสม่�ำ เสมอ และกำ�หนดค่าตอบแทน 6. รับผิดชอบต่อผลประกอบการและการปฏิบัติงานของฝ่าย บริหาร ด้วยความตั้งใจและความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน 7. ดำ�เนินการให้ฝ่ายบริหารจัดให้มีระบบบัญชี การรายงาน ทางการเงิน และการสอบบัญชีที่เชื่อถือได้ รวมทั้งดูแลให้มี กระบวนการในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุม ภายใน และการตรวจสอบภายในให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภาพและ ประสิทธิผล การบริหารจัดการความเสี่ยง การรายงานทาง การเงิน และการติดตามผล 8. ดูแลไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท 9. กำ�กับดูแลกิจการให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม 10. ทบทวนนโยบายการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การของบริ ษั ท และ ประเมินผลการปฏิบตั ติ ามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ�อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง 11. รายงานความรั บ ผิ ด ชอบของตนในการจั ด ทำ � รายงาน ทางการเงิน โดยแสดงควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีไว้ใน รายงานประจำ�ปี และครอบคลุมในเรื่องสำ�คัญๆ ตามนโยบาย เรื่องข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำ�หรับกรรมการบริษัทจดทะเบียนของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การสงวนสิทธิเรือ่ งทีเ่ ป็นอำ�นาจอนุมตั ิ ของคณะกรรมการบริษทั

แม้ ว่ า คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ ก ระจายอำ � นาจให้ แ ก่ คณะกรรมการชุดย่อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหาร ระดับสูง คณะกรรมการบริษทั สงวนสิทธิเรือ่ งทีม่ คี วามสำ�คัญไว้เป็น อำ�นาจอนุมตั ขิ องคณะกรรมการบริษทั เพือ่ รักษาประโยชน์สงู สุดต่อ เอไอเอสและผู้ถือหุ้น อาทิ • กลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณ • ค่ า ใช้ จ่ า ยฝ่ า ยทุ น และค่ า ใช้ จ่ า ยที่ เ กิ น กว่ า วงเงิ น ที่ คณะกรรมการชุดย่อย หรือผู้บริหารได้รับมอบหมายให้ อนุมัติได้ • การลงทุนในธุรกิจใหม่ และการขายเงินลงทุน • นโยบายที่ส�ำ คัญ • การตกลงเข้าทำ�สัญญาที่ส�ำ คัญ • การฟ้องร้อง และดำ�เนินคดีที่สำ�คัญ • นโยบายการจ่ายเงินปันผล

กรรมการอิสระ

คุณสมบัตขิ องกรรมการอิสระของบริษทั มีหลักเกณฑ์ทเี่ ข้มข้น กว่ า ที่ สำ � นั ก งานคณะกรรมการกำ � กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำ�หนด ทั้งนี้ก็ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และเป็นการ ถ่วงดุลอำ�นาจของคณะกรรมการอย่างเหมาะสม โดยคุณสมบัติ ของกรรมการอิสระของบริษัท มีดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของ ผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ� หรือผูม้ อี �ำ นาจควบคุม ของบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยลำ�ดับ เดียวกัน หรือ นิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง สำ�หรับกรรมการ ตรวจสอบที่ได้รับการแต่งตั้งในหรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ต้องพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่า สองปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง 3. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่าง อิสระของตน รวมทัง้ ไม่เป็นหรือเคยเป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั หรือผูม้ ี อำ�นาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้งสำ�หรับกรรมการตรวจสอบที่ได้รับการแต่งตั้งใน หรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ต้องพ้นจากการมีลักษณะ ดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ความสั ม พั น ธ์ ท างธุ ร กิ จ ตามวรรคหนึ่ ง รวมถึ ง การทำ � รายการค้าที่กระทำ�เป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการทีเ่ กีย่ วกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือ ให้กยู้ มื ค้�ำ ประกัน การให้สนิ ทรัพย์เป็นหลักประกันหนีส้ นิ รวมถึง พฤติการณ์อนื่ ทำ�นองเดียวกัน ซึง่ เป็นผลให้บริษทั หรือคูส่ ญั ญา มีภาระหนี้ที่ต้องชำ�ระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของ สินทรัพย์ทมี่ ตี วั ตนสุทธิของบริษทั หรือตัง้ แต่ 20 ล้านบาทขึน้ ไป แล้วแต่จ�ำ นวนใดจะต่�ำ กว่า ทัง้ นี้ การคำ�นวณภาระหนีด้ งั กล่าว ให้เป็นไปตามวิธีการคำ�นวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ ในการทำ�รายการทีเ่ กีย่ วโยงกันโดยอนุโลม แต่ในการพิจารณา ภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปี ก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน

รายงานประจำ�ปี 2559

060


4. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการ จดทะเบี ย นตามกฎหมาย ในลั ก ษณะที่ เ ป็ น บิ ดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับ การเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย 5. ไม่ เ ป็ น กรรมการที่ ไ ด้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ เป็ น ตั ว แทน ของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท 6. ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ผู้ ส อบบั ญ ชี ข องบริ ษั ท บริ ษั ท ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม หรือนิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง และ ไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำ�นาจควบคุมหรือหุ้นส่วนของ สำ�นักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง สังกัดอยู่ สำ�หรับกรรมการตรวจสอบที่ได้รบั การแต่งตัง้ ในหรือ หลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ต้องพ้นจากการมีลักษณะ ดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง 7. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึง การให้บริการเป็นทีป่ รึกษากฎหมายหรือทีป่ รึกษาทางการเงิน ซึง่ ได้รบั ค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำ�นาจควบคุมหรือหุ้นส่วนของ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย สำ�หรับกรรมการตรวจสอบที่ ได้รับการแต่งตั้งในหรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ต้องพ้น จากการมีลกั ษณะดังกล่าวมาแล้ว ไม่นอ้ ยกว่าสองปีกอ่ นได้รบั การแต่งตั้ง 8. ไม่ประกอบกิจการทีม่ สี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขัน ทีม่ นี ยั กับกิจการของบริษทั หรือบริษทั ย่อย หรือไม่เป็นหุน้ ส่วน ทีม่ นี ยั ในห้างหุน้ ส่วน หรือเป็นกรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ� หรือถือหุ้น เกินร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ บริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและ เป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็น อิสระเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของบริษัท ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะ เป็ น ไปตามข้ อ 1 ถึง 9 แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั ให้ตดั สินใจในการดำ�เนิน กิจการของบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อย ลำ�ดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งโดยมีการ ตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (Collective Decision) ได้

061

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

เอไอเอสอาจแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลที่ มี ห รื อ เคยมี ความสั ม พั น ธ์ ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าตามข้อ 3 หรือ 7 เป็นกรรมการอิสระได้ หากคณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาคุณสมบัติอย่างระมัดระวังและมีความเห็นว่าการ แต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และ การให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ ในหนังสือนัดประชุมผูถ้ อื หุน้ ในวาระพิจารณาแต่งตัง้ กรรมการ อิสระด้วย (1) ลักษณะความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทาง วิชาชีพที่ทำ�ให้บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่ก�ำ หนด (2) เหตุ ผ ลและความจำ � เป็ น ที่ ยั ง คงหรื อ แต่ ง ตั้ ง ให้ บุ ค คล ดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ (3) ความเห็นของคณะกรรมการของบริษัทในการเสนอให้มี การแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ

คณะกรรมการบริษัทกำ�หนดเป็นนโยบายว่ากรรมการอิสระ อาจขาดความเป็นอิสระเมื่อได้ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 9 ปี หรือ 3 วาระติดต่อกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาทบทวน ความเป็นอิสระหลังจากนั้นทุกๆ ปี

การแบ่งแยกหน้าทีข่ องคณะกรรมการบริษทั และฝ่ายบริหาร

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของ บริษัทให้เป็นไปตามกฏหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของ บริษัท มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และนโยบายการกำ�กับดูแล กิจการของเอไอเอส ทั้งนี้ ในการกำ�กับดูแล กรรมการจะต้องใช้ ดุลยพินิจในการตัดสินในทางธุรกิจ และปฏิบัติในสิ่งที่ตนเองเชื่อ อย่างมีเหตุผลว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเอไอเอสและผู้ถือหุ้น ฝ่ายบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบในการนำ�กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ ของเอไอเอสไปปฏิบัติให้ประสบความสำ�เร็จ ตลอดจนบริหาร จัดการงานประจำ�วันและธุรกิจของเอไอเอส

การแบ่งแยกตำ�แหน่งประธานกรรมการบริษทั และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

ประธานกรรมการบริษทั และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารต้องเป็น ผู้ ที่ มี ความรู้ ความสามารถ มี ป ระสบการณ์ และคุ ณ สมบั ติ ทีเ่ หมาะสม ไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพือ่ ให้มกี ารถ่วงดุลอำ�นาจ โดย แยกหน้าที่การกำ�กับดูแลและการบริหารงานออกจากกัน ประธานกรรมการบริษัทต้องเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้น�ำ ของคณะกรรมการ และทำ�หน้าที่เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริษัท และการประชุมผู้ถือหุ้น


ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นหัวหน้าและผู้นำ�คณะผู้บริหาร ของบริษทั มีหน้าทีค่ วามรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษทั ในการ บริหารจัดการบริษัทตามทิศทาง กลยุทธ์ และงบประมาณที่ได้รับ อนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั ให้ส�ำ เร็จบรรลุตามเป้าหมาย โดยมี ขอบเขตอำ�นาจหน้าทีภ่ ายใต้กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับ ของบริษทั ตลอดจนมติคณะกรรมการบริษทั และมติทป่ี ระชุมผูถ้ อื หุน้

ขอบเขตอำ�นาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการชุดย่อย

1. คณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานให้บริษทั มีรายงานทางการเงินถูกต้องตามทีค่ วรตาม มาตรฐานการบัญชีทกี่ ฎหมายกำ�หนด และมีการเปิดเผยอย่าง เพียงพอ 2. สอบทานให้บริษทั มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและ มีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงาน ตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณา แต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน ความดีความชอบของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำ � หนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ หรื อ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณาผลการปฏิบตั งิ านของผูส้ อบบัญชี และให้ขอ้ เสนอต่อ คณะกรรมการบริษัทเพื่อเสนอขออนุมัติการแต่งตั้ง เลือก กลับมาใหม่ เลิกจ้าง และกำ�หนดค่าตอบแทนของผูส้ อบบัญชี ของบริษัทจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 5. ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม ด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. พิจารณานโยบายของบริษัทเกี่ยวกับการใช้บริการอื่นที่มิใช่ การสอบบัญชีจากสำ�นักงานสอบบัญชีเดียวกัน 7. พิ จ ารณารายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น หรื อ รายการที่ อ าจมี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการ ดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 8. สอบทานให้บริษทั มีระบบบริหารความเสีย่ ง (Risk Management) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 9. สอบทานและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน แผนงานตรวจสอบภายในประจำ � ปี การปฏิ บั ติ ง านของ หน่วยงานตรวจสอบภายใน และประสานงานกับผู้สอบบัญชี 10. จัดทำ�รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ใน รายงานประจำ�ปีของบริษทั ซึง่ รายงานดังกล่าวต้องลงนามโดย ประธานกรรมการตรวจสอบและต้ อ งประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ความเห็นเกีย่ วกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นทีเ่ ชือ่ ถือได้ ของรายงานทางการเงินของบริษัท

(2) ความเห็นเกีย่ วกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ของบริษัท (3) ความเห็นเกีย่ วกับการปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (4) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (5) ความเห็ น เกี่ ย วกั บ รายการที่ อาจมี ความขั ด แย้ ง ทาง ผลประโยชน์ (6) จำ�นวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการ เข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (7) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมทีค่ ณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) (8) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ ข อบเขตหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 11. ดำ�เนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบ บัญชี เกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือ บุคคล ซึง่ รับผิดชอบในการดำ�เนินงานของบริษทั ได้กระทำ� คว า ม ผิ ด ต า ม ที่ ก ฎ ห ม า ย ว่ า ด้ ว ย ห ลั ก ท รั พ ย์ แ ล ะ ตลาดหลักทรัพย์กำ�หนด และให้คณะกรรมการตรวจสอบ รายงานผลการตรวจสอบในเบื้ อ งต้ น ให้ แ ก่ สำ � นั ก งาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ผู้สอบบัญชีทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก ผู้สอบบัญชี 12. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและ ข้อเสนอแนะที่จำ�เป็นให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อย ปีละ 4 ครัง้ โดยในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ�ดังต่อไปนี้ ซึ่ ง อาจมี ผ ลกระทบอย่ า งมี นั ย สำ � คั ญ ต่ อ ฐานะการเงิ น และ ผลการดำ�เนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบ รายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทเพื่อดำ�เนินการปรับปรุง แก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร (1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การทุจริต หรือมีสงิ่ ผิดปกติ หรือมีความบกพร่องทีส่ �ำ คัญ ในระบบควบคุมภายใน (3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการของบริษทั หรือผูบ้ ริหารไม่ด�ำ เนินการให้มี การปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง กรรมการ ตรวจสอบรายใดรายหนึ่ ง อาจรายงานว่ า มี ร ายการหรื อ การกระทำ�นัน้ ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานประจำ�ปี 2559

062


13. ในการปฏิบตั งิ านตามขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีอำ�นาจเชิญให้ฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่ง เอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำ�เป็น 14. ในการปฏิบตั งิ านตามขอบเขต อำ�นาจ หน้าที่ ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีอำ�นาจว่าจ้างที่ปรึกษาหรือเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ เพือ่ ให้ความเห็น หรือคำ�แนะนำ� เพือ่ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามความจำ�เป็น 15. สอบทานให้ บ ริ ษั ท ปฏิ บั ติ ต ามนโยบายการให้ ข้ อ มู ล การ กระทำ�ผิดและการทุจริต การสอบสวน และการคุ้มครองผู้ให้ ข้อมูล และพิจารณาข้อร้องเรียน รวมถึงพิจารณาผลการสอบสวน ของบริษัททุกไตรมาส รวมทั้งเป็นช่องทางหนึ่งของบริษัท ในการรับแจ้งข้อร้องเรียนตามนโยบายการให้ขอ้ มูลการกระทำ�ผิด และการทุจริต การสอบสวนและการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล 16. พิ จ ารณาประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านของคณะกรรมการ ตรวจสอบเป็นประจำ�ทุกปี 17. พิ จารณาสอบทานกฎบั ต รนี้ เ ป็ น ประจำ � ทุ ก ปี แ ละเสนอต่ อ คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงหากมี ความจำ�เป็น 18. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วย ความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ   2. คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทน 1. กำ�หนดค่าตอบแทนทีจ่ �ำ เป็นและเหมาะสม ทัง้ ทีเ่ ป็นตัวเงินและ มิใช่ตวั เงิน ของกรรมการ กรรมการชุดย่อย และผูบ้ ริหารระดับสูง ของบริษัทในแต่ละปี เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยรวม 2. จั ด ทำ � หลั กเกณฑ์และนโยบายในการกำ� หนดค่าตอบแทน ของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง เพื่อเสนอให้ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติและ/หรือนำ�เสนอต่อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามแต่กรณี 3. พิจารณาสอบทานและอนุมตั ผิ ลการดำ�เนินงานของบริษทั เพือ่ ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินโบนัสประจำ�ปีตามผล ตัวชีว้ ดั การปฏิบตั งิ านและพิจารณาปรับเพิม่ เงินเดือนประจำ�ปี 4. พิจารณาและอนุมตั โิ ครงการค่าตอบแทนระยะยาว (Long Term Incentive Plan) รวมถึงแนวทางปฎิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. พิจารณาและอนุมตั ผิ ลการประเมินการปฏิบตั งิ านเพือ่ กำ�หนด เงิ น โบนั ส ประจำ � ปี การปรั บ ขึ้ น เงิ น เดื อ นประจำ � ปี และ ค่าตอบแทนระยะยาว (Long Term Incentive Plan) ให้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารดังกล่าว 6. พิจารณาและอนุมัติการจ่ายเงินโบนัสประจำ�ปีให้กับกรรมการ ของบริษัท 063

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

7. รายงานนโยบายด้านค่าตอบแทนกรรมการ หลักการ/เหตุผล และวัตถุประสงค์ของนโยบายเปิดเผยไว้ในรายงานประจำ�ปี 8. ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ประเมินและ กำ�หนดผูส้ บื ทอดตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารของบริษทั รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงซึ่งรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่ บริหารดังกล่าว และรายงานแผนการสืบทอดตำ�แหน่งของ ผู้บริหารระดับสูงให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นประจำ� ทุกปี 9. ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทจัดทำ�นโยบาย แผนการสืบทอดตำ�แหน่งสำ�หรับตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่ บริหารของบริษัท รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงซึ่งรายงานตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดังกล่าว 10. ทำ�หน้าที่ดูแลกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง 11. ว่าจ้างทีป่ รึกษาหรือบุคคลทีม่ คี วามเป็นอิสระ เพือ่ ให้ความเห็น หรือคำ�แนะนำ�ตามความจำ�เป็น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในด้านการ พัฒนาความเป็นผู้น�ำ 12. คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทน รับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทและมีหน้าที่ให้คำ�ชี้แจง ตอบคำ�ถามใดๆ เกี่ยวกับค่าตอบแทนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 13. พิจารณาทบทวนและประเมินความเพียงพอของกฎบัตรและ เสนอต่อคณะกรรมการบริษทั เพือ่ พิจารณาอนุมตั เิ ปลีย่ นแปลง 14. รายงานผลการปฏิบัติงานที่สำ�คัญให้คณะกรรมการบริษัท รับทราบเป็นประจำ� รวมทั้งประเด็นสำ�คัญต่างๆ ที่คณะ กรรมการบริษัทควรได้รับทราบ 15. มีอำ�นาจเชิญฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง ของบริษัทมาให้ความเห็น เข้าร่วมประชุม หรือให้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง 16. ดำ�เนินการอืน่ ๆ ใดหรือตามอำ�นาจและความรับผิดชอบ ตามที่ คณะกรรมการบริษัทมอบหมายหน้าที่ให้เป็นคราวๆ ไป 3. คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ 1. กำ�หนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหาคณะกรรมการ และกรรมการชุดย่อยของบริษัท 2. กำ�กับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการของ บริษัท พิจารณาทบทวนนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการของ บริษัท ทุกๆ ปี รวมทั้งเสนอปรับปรุงแก้ไขนโยบายการกำ�กับ ดูแลกิจการของบริษัทให้คณะกรรมการพิจารณา 3. พิจารณาสรรหากรรมการและกรรมการชุดย่อย โดยพิจารณา บุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ เพื่อเสนอ คณะกรรมการบริษทั พิจารณาอนุมตั ิ และ/หรือเสนอขออนุมตั ิ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี 4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย


4. คณะกรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 1. พิจารณานโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมายการดำ�เนินงาน และ งบประมาณที่เพียงพอ ตลอดจนการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัทอนุมัติ 2. เสนอประเด็นสำ�คัญที่มีผลกระทบต่อบริษัท อันเกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัทพิจารณา 3. สอบทานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและกลยุทธ์ด้านการ พัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 4. ให้คำ�ปรึกษาและสนับสนุนประธานเจ้าหน้าที่บริหารอันเกี่ยว เนื่องกับการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืน 5. รายงานผลการดำ�เนินงานด้านการพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท 6. สอบทานและให้ ค วามเห็ น ชอบต่ อ รายงานการพั ฒ นาสู่ ความยั่ ง ยื น เพื่ อ เสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท พิจารณาอนุมัติ 7. การปฏิบัติอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย 5. คณะกรรมการบริหาร 1. กำ�หนดทิศทางกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหารงาน แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำ�ปีของบริษทั เพือ่ เสนอให้คณะกรรมการ บริษัทอนุมัติ 2. บริ ห ารการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ใดๆ ของบริ ษั ท ให้ บ รรลุ ต าม วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ 3. กำ�กับและติดตามผลการดำ�เนินงานและฐานะการเงินของ บริษัท และรายงานผลการดำ�เนินงานและฐานะการเงินให้แก่ กรรมการบริษัทรับทราบเป็นประจำ�ทุกเดือน 4. แสวงหาและประเมินโอกาสในการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ 5. พิจารณาและให้ความเห็นแก่คณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับ นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท 6. พิจารณาสอบทานและอนุมัติรายการเกี่ยวกับการลงทุนและ จำ�หน่ายทรัพย์สิน การบริหารทรัพยากรบุคคล การเงินและ

การบริหารเงิน การบริหารงานทัว่ ไป และรายการอืน่ ใดทีเ่ กีย่ ว กับธุรกิจของบริษัท ภายในขอบเขตอำ�นาจที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัท 7. พิจารณาและให้ความเห็นต่อเรื่องที่ต้องผ่านการอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษทั ยกเว้นในกิจกรรมใดๆ ซึง่ คณะกรรมการ บริ ษั ท ได้ ม อบหมายให้ ค ณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยอื่ น เป็ น ผู้ด�ำ เนินการไว้แล้ว 8. พิจารณาและสอบทานการบริหารความเสี่ยงและระบบการ ควบคุมภายในของบริษัท 9. คณะกรรมการบริ ห ารอาจมอบอำ � นาจช่ ว งให้ ผู้ บ ริ ห าร หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำ�นาจในการดำ�เนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องตามทีค่ ณะกรรมการบริหารพิจารณา เห็นสมควรได้ การอนุมัติรายการของคณะกรรมการบริหาร และ/หรือการมอบอำ�นาจช่วงต้องไม่เป็นการอนุมัติรายการ ที่ เ กี่ ย วโยงกั น หรื อ รายการที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทาง ผลประโยชน์ หรือรายการทีค่ ณะกรรมการบริหารมีสว่ นได้เสีย ตามที่กำ�หนดในข้อบังคับของบริษัท และตามที่กำ�หนดโดย คณะกรรมการบริษัทและหน่วยงานกำ�กับดูแลที่เกี่ยวข้อง 10. ว่าจ้างทีป่ รึกษาหรือบุคคลทีม่ คี วามเป็นอิสระ เพือ่ ให้ความเห็น หรือคำ�แนะนำ�ตามความจำ�เป็น 11. มีอำ�นาจเชิญฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง ของบริษัทมาให้ความเห็น เข้าร่วมประชุม หรือให้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องตามที่จำ�เป็น 12. รายงานผลการปฏิบตั งิ านทีส่ �ำ คัญของคณะกรรมการบริหารให้ คณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นประจำ�ทุกไตรมาส ในวาระ การรายงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 13. ประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านของตนเองและประเมิ น ความ เพียงพอของกฎบัตรเป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งอาจทำ�พร้อมกับ การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและ คณะกรรมการชุดย่อยอื่น โดยอยู่ภายใต้การดูแลของคณะ กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ 14. ดำ�เนินการอืน่ ๆ ใด หรือตามอำ�นาจและความรับผิดชอบ ตามที่ คณะกรรมการบริษัทมอบหมายหน้าที่ให้เป็นคราวๆ ไป

รายงานประจำ�ปี 2559

064


นอกเหนือจากคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยแล้ว เอไอเอสยังกำ�หนดให้มีผู้บริหารระดับสูงเพื่อคอยสนับสนุน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ดังรายชื่อต่อไปนี้

ผูบ้ ริหาร1)

1. นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลยุทธ์องค์กร 2) 2. นายฮุย เว็ง ชอง กรรมการผู้อำ�นวยการ 3) 3. นางสาวสุนิธยา ชินวัตร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน 2) 4. นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร 5. นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล หมายเหตุ : 1) รายชื่อผู้บริหาร 4 รายแรก ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ตามคำ�นิยามของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2) ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 3) ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559

การสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ

1. คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการมีหน้าที่ ในการ สรรหา คัดเลือก บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และเสนอให้ คณะกรรมการบริ ษั ท พิ จารณาแต่ ง ตั้ ง หรื อ เสนอขออนุ มั ติ แต่งตั้งต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อบังคับของบริษัท 2. คณะกรรมการสรรหาและกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การ จะพิ จารณา ทบทวนทั ก ษะและคุ ณ ลั ก ษณะของกรรมการ (Skill and Characteristic) และองค์ประกอบโดยรวมของคณะกรรมการ บริษัท เปรียบเทียบกับทิศทางในการดำ�เนินธุรกิจ ในปัจจุบัน และอนาคต โดยจัดทำ�เป็นตาราง Board Skill Matrix เพื่อ กำ�หนดเกณฑ์ ในการสรรหากรรมการที่ต้องการเป็นประจำ� ทุกปี ในการทบทวนดังกล่าว คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับ ดูแลกิจการยังได้พจิ ารณาถึงความหลากหลาย ทัง้ ในด้านทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเป็นอิสระ อายุ และเพศของกรรมการ 3. ในการพิ จารณาแต่งตั้งกรรมการเดิมเป็น กรรมการต่ออีก วาระหนึ่ง คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการจะ พิจารณาปัจจัยต่างๆ ซึง่ รวมถึง ผลการปฏิบตั งิ าน ประวัตกิ าร เข้าร่วมและการมีส่วนร่วมในการประชุม และการสนับสนุน ในกิจกรรมของคณะกรรมการบริษทั โดยหากเป็นกรรมการอิสระ จะพิจารณาถึงความเป็นอิสระของกรรมการท่านดังกล่าวด้วย 4. การแต่ ง ตั้ ง กรรมการให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ บั ง คั บ บริ ษั ท และ ข้อกำ�หนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีความโปร่งใส และชัดเจน และดำ�เนินการโดยผ่านคณะกรรมการสรรหาและ กำ�กับดูแลกิจการ โดยหลักเกณฑ์และวิธกี ารเลือกตัง้ กรรมการ ในการประชุมผู้ถือหุ้น ดังนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำ�นวนหุ้นที่ถือ คือ หนึ่งหุ้นเท่ากับหนึ่งเสียง

065

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

(2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ ในกรณีที่เลือกตั้งบุคคลหลายคนเป็นกรรมการ จะแบ่ง คะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำ�ดับลงมา เป็นผู้ ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำ�นวนกรรมการที่จะ พึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้ รับการเลือกตัง้ ในลำ�ดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากัน เกิน จำ�นวนกรรมการทีจ่ ะพึงมีหรือพึงจะเลือกตัง้ ในครัง้ นัน้ ให้ ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

กรณีที่ตำ�แหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากสาเหตุอื่นนอกจาก การครบวาระออกจากตำ � แหน่ ง กรรมการ ให้ ค ณะกรรมการ พิจารณาแต่งตัง้ บุคคลซึง่ มีคณุ สมบัตแิ ละไม่มลี กั ษณะต้องห้ามตาม กฎหมายเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการ เว้นแต่ วาระของกรรมการที่พ้นจากตำ�แหน่งเหลือน้อยกว่า 2 เดือน โดย บุคคลที่เข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำ�แหน่งกรรมการได้เพียง เท่าวาระทีย่ งั เหลืออยูข่ องกรรมการทีต่ นแทน ทัง้ นี้ มติการแต่งตัง้ บุคคลเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวต้องได้รบั คะแนนเสียงไม่นอ้ ย กว่า 3 ใน 4 ของจำ�นวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ ทั้งนี้ เอไอเอสเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการเสนอชื่อ บุคคลเพือ่ เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการได้ลว่ งหน้าไม่นอ้ ยกว่า 3 เดือนก่อนวันสิ้นสุดรอบปีบัญชี โดยแจ้งผ่านระบบข่าวของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของเอไอเอส ซึ่งมี รายละเอียดเกีย่ วกับวิธกี ารเสนอและขัน้ ตอนการพิจารณา โดยในปี 2559 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณา เลือกตั้งเป็นกรรมการ


การสรรหาผู้บริหารระดับสูง

คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทน เป็นผู้พิจารณาสรรหาบุคคลที่เหมาะสมมาดำ�รงตำ�แหน่งประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่รายงานตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมถึงจัดทำ�แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง (Succession Plan) โดยพิจารณาคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร โดยคณะกรรมการพัฒนาความเป็น ผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทนอาจพิจารณาว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระ เพื่อเข้ามาช่วยในการสรรหาดังกล่าวด้วย ในตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูง บริษัทได้จัดทำ�แผนสืบทอด ตำ�แหน่ง (Succession Plan) รองรับผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำ�นวย การฝ่ายขึ้นไป โดยได้ระบุตัวบุคคลที่จะทำ�หน้าที่แทน พร้อมกันนี้ เอไอเอสได้จัดให้มีระบบพัฒนาบุคลากรในลำ�ดับรองลงมาเพื่อ เตรียมความพร้อมสำ�หรับการขึ้นไปดำ�รงตำ�แหน่งดังกล่าวด้วย

ครบถ้วนทดแทนกรรมการที่ลาออก โดยให้ดำ�รงตำ�แหน่งเท่า วาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน คณะกรรมการ บริษัทจะต้องแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบให้ครบถ้วนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กรรมการตรวจสอบคนนั้นลาออก ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบพ้นจากตำ�แหน่งทั้งคณะ เพราะ เหตุ อื่ น นอกจากขาดคุ ณ สมบั ติ หรื อ มี ลั ก ษณะต้ อ งห้ า มตาม กฎหมาย ให้คณะกรรมการตรวจสอบทีพ่ น้ จากตำ�แหน่งยังคงต้อง อยู่รักษาการในตำ�แหน่งเพียงเท่าที่จำ�เป็นจนกว่าคณะกรรมการ ตรวจสอบชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่

วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการชุดย่อยอื่นๆ

1. ให้กรรมการชุดย่อยอื่นๆ มีวาระอยู่ ในตำ�แหน่งตามวาระ การดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการ และกรรมการชุดย่อยอืน่ ๆ ซึง่ พ้นจากตำ�แหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ 2. นอกจากการพ้นจากตำ�แหน่งตาม (1) กรรมการชุดย่อยอื่นๆ วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง พ้นจากตำ�แหน่งเมื่อ วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการบริษัท • ตาย 1. ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 และ • ลาออก ข้อบังคับของบริษัทกำ�หนดให้ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น • ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการชุดย่อย ประจำ�ปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำ�แหน่ง 1 ใน 3 ของ • คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำ�แหน่ง จำ�นวนกรรมการทั้งหมด ถ้าจำ�นวนกรรมการที่จะแบ่งออก ให้ตรงสามส่วนไม่พอดี ให้ออกจำ�นวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วน หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาจัดสรรค่าตอบแทน 1 ใน 3 โดยให้กรรมการคนที่อยู่ในตำ�แหน่งนานที่สุดเป็น กรรมการและผู้บริหาร ผูอ้ อกจากตำ�แหน่งและกรรมการทีอ่ อกจากตำ�แหน่งตามวาระ เอไอเอสมีนโยบายในการกำ�หนดค่าตอบแทนให้กรรมการ อาจได้รับเลือกเข้ามาดำ�รงตำ�แหน่งใหม่อีกได้ โดยสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และเมื่อเทียบกับบริษัท 2. กรณีทีตำ�แหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากสาเหตุอื่นนอกจาก ในอุตสาหกรรมเดียวกันและบริษัทที่มีขนาดใกล้เคียงกันแล้ว การครบวาระออกจากตำ�แหน่งกรรมการ ให้คณะกรรมการ ค่าตอบแทนดังกล่าวอยูใ่ นระดับทีเ่ หมาะสมและเพียงพอทีจ่ ะจูงใจและ พิจารณาแต่งตัง้ บุคคลซึง่ มีคณุ สมบัตแิ ละไม่มลี กั ษณะต้องห้าม รักษากรรมการที่มีคุณภาพไว้ และจะคำ�นึงถึงความเป็นธรรมและ ตามกฎหมาย มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน เหมาะสมสำ�หรับการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร โดย จำ�กัด พ.ศ. 2535 เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะ สอดคล้องกับผลการดำ�เนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงาน กรรมการ โดยบุคคลทีเ่ ข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำ�แหน่ง ของกรรมการและผู้บริหารแต่ละท่าน กรรมการได้เพียงเท่าวาระทีย่ งั เหลืออยูข่ องกรรมการทีต่ นแทน คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทน   เป็นผูพ้ จิ ารณากำ�หนดค่าตอบแทนทีจ่ �ำ เป็นและเหมาะสมทัง้ ทีเ่ ป็น วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการตรวจสอบ ตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน ให้แก่ กรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย 1. กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละไม่เกิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมถึงผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่ 3 ปี กรรมการที่พ้นจากตำ�แหน่งตามวาระมีสิทธิได้รับเลือก รายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยในการพิจารณา กลับเข้ามาใหม่ได้ ทั้งนี้ สำ�หรับผู้ที่ได้ดำ�รงตำ�แหน่งมาแล้ว นอกจากนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว จะมี เป็นระยะเวลา 9 ปี หรือ 3 วาระติดต่อกัน คณะกรรมการบริษทั การนำ�ผลสำ�รวจค่าตอบแทนกรรมการทีจ่ ดั ทำ�โดยตลาดหลักทรัพย์ จะทบทวนความเป็นอิสระทีแ่ ท้จริงของกรรมการผูน้ น้ั เป็นประจำ� แห่งประเทศไทยและสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทยมา ทุกๆ ปี ประกอบการพิจารณา 2. กรรมการตรวจสอบท่านใดประสงค์จะลาออกก่อนครบวาระ หรับค่าตอบแทนกรรมการและกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการ ต้องยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการบริษัทโดยการ กำ�หนดค่าตอบแทนจะนำ�เข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ ใบลาออกมาถึงที่บริษัทเพื่อให้คณะ บริษทั เพือ่ ขอมติเห็นชอบ และทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ เพือ่ ขออนุมตั ิ กรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มีคุณสมบัติ เป็นประจำ�ทุกปี รายงานประจำ�ปี 2559

066


ค่าตอบแทนคณะกรรมการ

ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงินสำ�หรับประธานกรรมการ กรรมการอิสระและกรรมการที่ไม่เป็นผูบ้ ริหาร จำ�นวน 10 ราย รวมจำ�นวนเงิน 30.08 ล้านบาท โดยจ่ายจากผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี 2559 และมีการพิจารณาจัดสรรตามนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและกรอบวงเงิน 36 ล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2559 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ทั้งนี้ นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว บริษัทใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับปี 2558 และค่าตอบแทนที่จัดสรรอยู่ภายในกรอบของวงเงิน อันประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือน ค่าเบี้ยประชุมและโบนัส นโยบายการจ่ายตอบแทนคณะกรรมการประจำ�ปี 2559 ค่าตอบแทนในรูปตัวเงิน (บาท) กรรมการ

ค่าตอบแทนรายเดือน

ค่าเบี้ยประชุม

โบนัส

คณะกรรมการ • ประธานกรรมการ 300,000 x √ • กรรมการ 75,000 25,000 √ คณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการบริหาร • ประธานกรรมการ 25,000 25,000 √ • กรรมการ x 25,000 √ คณะกรรมการชุดย่อยอื่นๆ • ประธานกรรมการ 10,000 25,000 √ • กรรมการ x 25,000 √ หมายเหตุ 1) กรรมการที่เป็นผู้บริหาร / พนักงานของบริษัท หรือของบริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ หรือกรรมการชุดย่อย 2) ประธานกรรมการไม่ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน หรือเบี้ยประชุม ในฐานะประธานในคณะกรรมการชุดย่อย

ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทเป็นรายบุคคลที่ได้รับในฐานะกรรมการบริษัทจำ�นวน 7 ราย ในปี 2559 มีดังนี้ ชื่อ - นามสกุล ตำ�แหน่ง ค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม1) รายเดือน (บาท) (บาท) นายกานต์ ตระกูลฮุน1) นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ นางทัศนีย์ มโนรถ นายสมประสงค์ บุณยะชัย นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ 2) นายวิทิต ลีนุตพงษ์ 3) รวม 4)

- กรรมการอิสระ - ประธานกรรมการ - ประธานกรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน - ประธานกรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน - กรรมการอิสระ - ประธานกรรมการตรวจสอบ - กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ - กรรมการอิสระ - ประธานกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ - กรรมการตรวจสอบ - กรรมการอิสระ - กรรมการตรวจสอบ - กรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน - รองประธานกรรมการ - กรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน - กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ - กรรมการ

โบนัส (บาท)

ค่าตอบแทนอื่นๆ

1,399,833

325,000

2,398,500

-

1,200,000

775,000

3,150,000

-

1,020,000

725,000

2,289,000

-

900,000

750,000

2,178,800

-

900,000

525,000

2,253,600

-

900,000 3,080,000 9,399,833

450,000 - 3,550,000

2,253,600 2,604,100 17,127,600

-

หมายเหตุ 1) นายกานต์ ตระกูลฮุน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ประธานกรรมการพัฒนาความเป็นผู้น�ำ และกำ�หนดค่าตอบแทน ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 2) นายสตีเฟ่น มิลเลอร์ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 3) นายวิทิต ลีนุตพงษ์ ได้ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการและกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 4) การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่ปรากฎตามตารางข้างต้นเป็นรายการที่เกิดขึ้นในปี 2559 รวมถึงโบนัสประจำ�ปี 2560 ที่จ่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ด้วย 067

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ค่าตอบแทนผู้บริหาร

โครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนของบริษัท

ปรัชญาในการจ่ายค่าตอบแทนของบริษทั มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ใช้ ค่าตอบแทนซึง่ จ่ายให้กบั ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและผูบ้ ริหาร ตอบแทนความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานตามกลยุทธ์ของบริษทั และ โดยผ่านการอนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั จะประกอบด้วยสามองค์ ตอบแทนผลงานที่ผ้บู ริหารได้สร้างให้กับบริษัท และตามที่ได้รับ ประกอบ ดังนี้ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั คณะกรรมการพัฒนาความเป็น ค่าตอบแทน ผูน้ �ำ และกำ�หนดค่าตอบแทนได้ท�ำ การทบทวนและอนุมตั นิ โยบายค่า ค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน และผลประโยชน์ แบบคงที่ ตอบแทนผูบ้ ริหารเป็นประจำ�ทุกปี โดยการกำ�หนดระบบบริหารค่า โบนัส ค่าตอบแทน ค่าตอบแทน ตอบแทนจะพิจารณาถึงด้านต่างๆ ดังนี้ เงินเดือน ผลประโยชน์ ตามผลงาน ที่เป็นตัวเงิน ที่เป็นหุ้น

การบริหารค่าตอบแทน โดยพิจารณาจากผลการปฏิบตั งิ าน • ค่าตอบแทนของผูบ้ ริหาร จะแปรผันตรงกับการบรรลุผลสำ�เร็จ ของเป้าหมายตามกลยุทธ์ของบริษทั • การประเมินผลการปฏิบัติงานจะอยู่บนพื้นฐานของตัวชี้วัด ความสำ�เร็จในการดำ�เนินงาน ทัง้ ตัวชีว้ ดั ทางด้านการเงินและ ด้านอืน่ ๆ

ค่าตอบแทนและผลประโยชน์แบบคงที่ เงินเดือน ระดับของค่าตอบแทนทีไ่ ด้รบั เป็นไปตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามตำ�แหน่งงาน ประสบการณ์และทักษะความชำ�นาญเฉพาะ ตัวบุคคล ซึง่ ทำ�การจ่ายเป็นเงินสดเข้าบัญชีทกุ เดือน โดยจะมีการ ทบทวนเป็นประจำ�ทุกปี จากการพิจารณาผลการปฏิบตั งิ าน และ อัตราการขึน้ เงินเดือนในตลาดแรงงาน ผลประโยชน์อน่ื และผลประโยชน์พเิ ศษ วัตถุประสงค์หลักของการให้ผลประโยชน์อน่ื และผลประโยชน์ พิเศษ คือการสร้างความมัน่ คงปลอดภัยให้กบั พนักงาน และช่วย เหลือในกรณีพนักงานสูงอายุ ประสพปัญหาด้านสุขภาพ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวติ โดยกองทุนสำ�รองเลีย้ งชีพ แผนประกันสุขภาพ และ สวัสดิการต่างๆ สอดคล้องกับแนวปฏิบตั ใิ นตลาดแรงงาน และตามที่ กฎหมายกำ�หนด

การบริหารค่าตอบแทน ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผูถ้ อื หุน้ • การคัดเลือกระบบการวัดผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับ แผนการดำ�เนินงานของบริษทั ทัง้ ในระยะสัน้ และระยะยาว เพือ่ ให้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษทั และการสร้างมูลค่าเพิม่ อย่าง ต่อเนือ่ งให้กบั ผูถ้ อื หุน้ • การทำ�ให้เกิดความมัน่ ใจว่าตัวชีว้ ดั ความสำ�เร็จทีต่ ง้ั ขึน้ มีความ เหมาะสมกับขีดความสามารถในการดำ�เนินงานของบริษัท เป้าหมายของบริษทั และระดับผลการปฏิบตั งิ านทีม่ ากขึน้ • การสร้างการระดมทุนทีม่ น่ั คงและมีแบบแผน เพือ่ ให้เกิดความ ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบตั งิ าน มัน่ ใจในความสามารถในการลงทุนของบริษทั โบนัสตามผลงาน • เป็นรางวัลตอบแทนที่แปรผันตามความสำ�เร็จของผลงาน การบริหารค่าตอบแทน ให้สามารถแข่งขันได้ • การบริหารค่าตอบแทนให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มธุรกิจ ในระยะสัน้ เมือ่ เทียบกับแผนงานประจำ�ปีท่ไี ด้ก�ำ หนดไว้ โดย ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ทำ�ให้เกิดความมัน่ ใจว่าบริษทั สามารถทีจ่ ะดึงดูด เทียบเคียงกับค่าตอบแทนในตลาดแรงงานในธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้อง และรักษาพนักงานทีด่ ี มีฝมี อื ให้มาทำ�งาน และอยูส่ ร้างผลงาน เงินโบนัสตามผลงานนีจ้ ะผูกกับดัชนีชว้ี ดั ความสำ�เร็จ (KPI) ประจำ�ปี ซึง่ เป็นผลรวมจากตัววัดผลทีห่ ลากหลาย และมีการ ให้กบั บริษทั อย่างต่อเนือ่ ง • การเชือ่ มโยงสัดส่วนระหว่างค่าตอบแทนและผลการปฏิบตั งิ าน ถ่วงน้ำ�หนักตามความสำ�คัญของแต่ละปัจจัย โดยเป็นการ อย่างมีนยั สำ�คัญ สำ�หรับทัง้ ผลตอบแทนรายปี และผลตอบแทน ตัดสินผลการปฏิบตั งิ านโดยรวมของบริษทั และของพนักงาน รายบุคคล รวมทัง้ โบนัสทีจ่ ะได้รบั ระยะยาว

รายงานประจำ�ปี 2559

068


ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงิน • ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษนอกเหนือจากโบนัสตาม ผลงาน ค่าตอบแทนพิเศษนีเ้ ป็นตัวผลักดันให้เกิดผลงานทีเ่ ป็น รากฐานของบริษทั โดยยึดหลักมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของ บริษทั ซึง่ เป็นผลประโยชน์รว่ มระหว่างผูบ้ ริหารและผูถ้ อื หุน้ ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินพิเศษส่วนหนึ่งจะถูกจ่ายออกเป็น เงินสด ซึง่ ถือเป็นมูลค่าเชิงบวกในปีปจั จุบนั ส่วนเงินรางวัล ที่เหลือจะถูกยกไปรวมไว้ในบัญชีสะสม อย่างไรก็ตามเงิน รางวั ล สะสมนี้ อ ยู่ ใ นกฎการเรี ย กคื น ที่ เ ชื่ อ มโยงกั บ ผล การปฏิบตั งิ าน และอาจมีมลู ค่าลดลงหากผลการปฏิบตั งิ าน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ในปีนน้ั ๆ

ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นหุน้ • การให้การมีส่วนในการถือหุ้น มุ่งเน้นเป็นค่าตอบแทน ในระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้ผ้บู ริหารสร้างความเจริญเติบโต ที่ย่ังยืนให้กับบริษัท สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น ทั้งยัง เป็นการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการเป็นเจ้าของ และรักษาไว้ ซึง่ พนักงานทีท่ รงคุณค่าของบริษทั บริษทั จึงได้พจิ ารณาจัดสรร ใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจ่ี ะซือ้ หุน้ สามัญให้กบั ผูบ้ ริหารทีม่ บี ทบาท สำ�คัญในการทีจ่ ะทำ�ให้บริษทั ประสบความสำ�เร็จอย่างมัน่ คง ได้ในอนาคต การจัดสรรใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจ่ี ะซือ้ หุน้ สามัญนี้ ยังเป็นการแสดงความขอบคุณพนักงาน สำ�หรับความทุม่ เท ในการทำ�งานทีม่ สี ว่ นช่วยเป็นอย่างสูงในการทำ�ให้บริษทั เจริญ รุง่ เรืองและประสบความสำ�เร็จ

การจ่ายค่าตอบแทนของบริษัท CEO

ผู้บริหาร พนักงานทุกคน

รูปแบบการจ่าย

จุดประสงค์และการเชื่อมโยง กับหลักการค่าตอบแทน

เงินเดือน (Base Salary) √

เงินสด แก่พนักงานทุกคน จูงใจและรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ และตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และความรับผิดชอบตามตำ�แหน่งงาน

เงินโบนัสตามผลงาน √ (Performance Bonus)

เงินสด แก่พนักงานทุกคน เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนตามความสำ�เร็จ ของผลงานที่ได้ก�ำ หนดไว้ประจำ�แต่ละปี

ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน √ (Value-Sharing Cash)

เงินสด แก่ผู้บริหาร

ผลักดันให้เกิดผลงานที่เป็นรากฐานของบริษัท โดยยึดหลักมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของบริษัท ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น

ค่าตอบแทนที่เป็นหุ้น (Value-Sharing Equity)

ใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ แก่ผู้บริหาร

เพื่อเป็นแรงเสริมให้บริษัทเกิดการเจริญเติบโต ที่ยั่งยืน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น

ค่าตอบแทนรวมของคณะผูบ้ ริหารจำ�นวน 5 ราย เท่ากับ 41.72 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินเดือน โบนัสตามผลงาน กองทุนสำ�รอง เลีย้ งชีพ และผลประโยชน์อน่ื ๆ

ใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ

เพือ่ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ทรัพยากรบุคคลทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อบริษทั ได้ปฏิบตั งิ านให้แก่องค์กรอย่างต่อเนือ่ ง อันเป็นการส่งเสริมให้บริษทั เติบโตอย่างยัง่ ยืนในระยะยาวเป็นประโยชน์รว่ มกันระหว่างบริษทั ผูถ้ อื หุน้ และผูบ้ ริหาร บริษทั ได้ออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจ่ี ะซือ้ หุน้ สามัญ (Warrant) ให้แก่ผบู้ ริหาร ตามโครงการจ่ายค่าตอบแทนระยะยาว (Performance Share Plan) เป็นจำ�นวน 4 ครัง้ ตัง้ แต่ ปี 2556-2559

069

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ทัง้ นี้ ผูบ้ ริหารตามคำ�นิยามของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทไ่ี ด้รบั ใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจ่ี ะซือ้ หุน้ สามัญ (Warrant) มีรายชือ่ และจำ�นวนใบสำ�คัญแสดงสิทธิทจ่ี ะซือ้ หุน้ สามัญ (Warrant) ที่ได้รบั ดังนี้ รายชื่อผู้บริหารได้รับ

ปี 2559

ร้อยละ ของจำ�นวน ใบสำ�คัญ แสดงสิทธิ ทั้งหมดที่ออก

1. นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ 2. นางสาวสุนิธยา ชินวัตร 3. นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร 4. นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม

56,800 11,900 30,200 33,200

6.87 1.44 3.65 4.01

จำ�นวนใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) (หน่วย) ปี 2558 ร้อยละ ปี 2557 ร้อยละ ปี 2556 ร้อยละ ของจำ�นวน ใบสำ�คัญ แสดงสิทธิ ทั้งหมดที่ออก

51,600 11,890 30,174 0

5.92 1.36 3.46 n/a

ของจำ�นวน ใบสำ�คัญ แสดงสิทธิ ทั้งหมดที่ออก

29,816 11,020 27,116 0

4.38 1.62 3.99 n/a

ของจำ�นวน ใบสำ�คัญ แสดงสิทธิ ทั้งหมดที่ออก

19,824 6,864 19,864 0

4.89 1.69 4.90 n/a

รวม

158,040 41,674 107,354 33,200

เลขานุการบริษัท หัวหน้าหน่วยงานกำ�กับดูแลการปฏิบัติงาน คือ นายชวิน ชัยวัชราภรณ์ มีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย คือ นางสาวนัฐยิ า พัวพงศกร ซึง่ มีหน้าทีก่ �ำ กับดูแลในฐานะบริษทั

จากคณะกรรมการบริษทั ดังนี้ (1) จัดการประชุมคณะกรรมการบริษทั คณะกรรมการชุดย่อย และ การประชุมผูถ้ อื หุน้ (2) จัดการประชุมของคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้นของ บริษทั ย่อยทุกบริษทั (3) จัดทำ�นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการของบริษัทเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการพิจารณา รวมทั้ง ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบนั เสมอ (4) จัดทำ�และเก็บรักษาเอกสารต่างๆ ตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำ�หนด (5) ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั และคณะกรรมการ ชุดย่อยมอบหมาย

จดทะเบียนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสำ�นักงาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมทัง้ กฎหมายบริษทั มหาชนจำ�กัด

ทั้งนี้ข้อมูลประวัติและรายละเอียดของเลขานุการบริษัท และ หัวหน้าหน่วยงานกำ�กับดูแลการปฏิบตั งิ าน ปรากฎในหน้า 54

นโยบายการพัฒนาพนักงาน

รายละเอียดแสดงไว้ในรายงานพัฒนาความยัง่ ยืน ประจำ�ปี 2559

รายงานประจำ�ปี 2559

070


การกำ�กับดูแลกิจการ นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ

นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการของเอไอเอสถูกกำ�หนดจาก คณะกรรมการบริษัทและเริ่มบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานทุกระดับมาตั้งแต่ปี 2545 รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ เพื่ อ ให้ ผู้ ถื อ หุ้ น และบุ ค คลภายนอกได้ รั บ ทราบและช่ ว ยกั น ตรวจสอบที่ http://investor.ais.co.th โดยคณะกรรมการบริษัท ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการต้องมี การทบทวนนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการให้มีความเหมาะสม กับธุรกิจและสอดคล้องกับข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยเป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีการปรับปรุง นโยบายให้ครอบคลุมถึงหลักการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ตี ามแนวทาง ของ ASEAN Scorecard ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาติ (The UN Global Compact : UNGC) และดัชนีความยั่งยืนดาวน์ โจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices : DJSI) คณะกรรมการบริษัทได้สื่อสารนโยบายดังกล่าวให้ภายใน องค์กรรับทราบผ่านช่องทางและกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การ ชีแ้ จงตัง้ แต่วนั ปฐมนิเทศ อีเมล์ อินทราเน็ต แผ่นป้ายประกาศ การ รณรงค์ภายในองค์กร และการจัดให้มกี ารประเมินความรูแ้ ละความ เข้าใจประจำ�ปี เป็นต้น เพือ่ สร้างความตระหนักและความเข้าใจใน การปฏิบตั ติ ามนโยบายของเอไอเอส พร้อมทัง้ กำ�หนดให้มชี อ่ งทาง สำ�หรับบุคคลทัง้ ภายในและภายนอกเพือ่ แจ้งเรื่องการพบเห็นการ กระทำ�ที่เป็นการละเมิดนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการดังกล่าวต่อ คณะกรรมการ ซึง่ ครอบคลุมถึงมาตรการคุม้ ครองผูร้ ายงาน ตาม นโยบายการให้ข้อมูลการกระทำ�ผิดและการทุจริต การสอบสวน และการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล (Whistle Blower Policy) ด้วย โดยในปี 2559 เอไอเอสได้รับการคัดเลือกให้ติดอยู่ใน DJSI กลุ่ม Emerging Markets อีกครั้ง เป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่ง ยืนยันว่าบริษัทมีการดำ�เนินงานอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติทาง ด้านเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล การคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม และการอยู่ ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน

รายงานการปฏิบัติตามนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษทั

คณะกรรมการบริษัทเป็นบุคคลที่มีภาวะผู้นำ�และวิสัยทัศน์ ในการมุง่ มัน่ ให้บริษทั เป็นผูน้ �ำ ในเรือ่ งการสือ่ สารโทรคมนาคมของ ประเทศและเป็นตัวแทนของผูถ้ อื หุน้ โดยรวม มิใช่กลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ โดยคณะกรรมการบริษทั ประกอบด้วยผูท้ รงคุณวุฒจิ �ำ นวน 10 ท่าน ทีม่ คี ณ ุ สมบัตคิ รบถ้วนตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด และมีประสบการณ์ หลากหลายในสาขาวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจโทรคมนาคม โดยมีสดั ส่วนของกรรมการอิสระไม่นอ้ ยกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด และมีคุณสมบัติตามที่ก�ำ หนด ไว้ในนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการซึ่งมากกว่าขั้นต่ำ�ที่กฎหมาย

071

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

กำ�หนด นอกจากนี้ มากกว่ากึง่ หนึง่ ขององค์ประกอบคณะกรรมการ เป็นกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีความเป็นอิสระ ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้น โดย ประธานกรรมการบริษัทไม่ใช่บุคคลคนเดียวกันกับประธานเจ้า หน้าที่บริหาร และไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือทางธุรกิจ ระหว่างกัน เอไอเอสมีการแบ่งแยกอำ�นาจหน้าทีข่ องประธานกรรมการและ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารอย่างชัดเจน รวมทัง้ ได้สงวนสิทธิ ในการ พิจารณาเรื่องที่มีนัยสำ�คัญซึ่งจะกระทบต่อการดำ�เนินธุรกิจของ บริษทั อย่างมากให้เป็นอำ�นาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการเท่านัน้ ด้วย ทั้ ง นี้ รายละเอี ย ดและองค์ ป ระกอบของคณะกรรมการ หลักเกณฑ์การสรรหาและวิธีพิจารณาคัดเลือก การแต่งตั้ง นิยาม ของกรรมการอิสระ และการแบ่งแยกหน้าทีข่ องประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปรากฎอยู่ ในหัวข้อ“โครงสร้าง การจัดการ” หน้า 57-59 และ 60-62 คณะกรรมการบริษทั ได้จดั ให้มคี ณะกรรมการชุดย่อยเพือ่ ช่วย ศึกษาและกลั่นกรองงานในด้านอื่นๆ อีก 5 ชุด โดยรายละเอียด โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย รายชื่อ และขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุดปรากฎอยู่ ในหัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” หน้า 57-59 และ 62-64

การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษทั กำ�หนดให้มกี ารประชุมอย่างน้อย 6 ครัง้ ต่อ ปี โดยในปีทผี่ า่ นมามีการประชุมทัง้ สิน้ จำ�นวน 9 ครัง้ โดยกำ�หนดการ ประชุ ม จะถู ก พิ จ ารณากำ � หนดล่ ว งหน้ า ตลอดทั้ ง ปี เพื่ อ ให้ มั่นใจว่ากรรมการทุกท่านจะสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุม ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยหนังสือเชิญประชุมซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมจะ ถูกส่งออกให้กรรมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม เพือ่ ให้กรรมการแต่ละท่านได้มเี วลาศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า โดย รายละเอียดของจำ�นวนครั้งที่จัดประชุมในปี 2559 และจำ�นวน กรรมการทีเ่ ข้าร่วมประชุม ปรากฎในหัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ หน้า 58-59” สำ�หรับในเดือนใดที่ไม่ได้มีการประชุม ส่วนงานเลขานุการ บริษทั จะจัดส่งรายงานสรุปผลการดำ�เนินงานของบริษทั และบริษทั ย่อยในเดือนนัน้ ๆ ให้คณะกรรมการบริษทั รับทราบ ในการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นแต่ละวาระ ประธานกรรมการซึ่งทำ�หน้าที่ เป็นประธานที่ประชุมจะจัดสรรเวลาให้อย่างเพียงพอ พร้อมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องของแต่ละวาระสามารถนำ�เสนอ ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาและการตัดสินใจได้ สำ�หรับ รายงานการประชุมจะถูกจัดทำ�โดยเลขานุการบริษัทภายใน 7 วัน นับแต่วันประชุมเสร็จสิ้น


การประชุมของกรรมการที่ไม่เป็นผูบ้ ริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการที่ ไ ม่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร มีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีกรรมการ ที่เป็นผู้บริหารหรือฝ่ายบริหารเข้าร่วมการประชุม เพื่อเปิดโอกาส ให้อภิปรายประเด็นต่างๆ ทัง้ ทีเ่ กีย่ วกับธุรกิจของเอไอเอสและเรือ่ ง ทีอ่ ยู่ในความสนใจได้อย่างอิสระ โดยภายหลังจะดำ�เนินการรายงาน ผลการประชุ ม ให้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท และประธานเจ้ า หน้ า ที่ บริหารทราบ

แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง

คณะกรรมการกำ�หนดให้มีแผนการสืบ ทอดตำ�แหน่งของ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้ม่ันใจว่า บริษทั จะสามารถดำ�เนินธุรกิจต่อไปได้หากตำ�แหน่งสำ�คัญดังกล่าว ว่างลง โดยมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนา ความเป็นผูน้ �ำ และ กำ�หนดค่าตอบแทนทำ�หน้าที่พิจารณากำ�หนดหลักเกณฑ์และ จัดทำ�แผนการสืบทอดดังกล่าว ซึ่งในปีที่ผ่านมา แผนการสืบทอด ตำ�แหน่งได้ขยายขอบเขตที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ AVP ขึ้นไป รวมทัง้ กำ�หนดให้ประธานคณะกรรมการพัฒนาความเป็นผูน้ �ำ และ กำ�หนดค่าตอบแทนต้องรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบถึง แผนการสืบทอดตำ�แหน่งดังกล่าว รวมทั้งให้มีการทบทวนเป็น ประจำ�ทุกปี เอไอเอสตระหนักดีวา่ พนักงานเป็นแรงขับเคลือ่ นทีส่ �ำ คัญของ องค์กร ไม่เฉพาะผู้บริหารระดับสูงของเอไอเอสเพียงเท่านั้น ซึ่ง สิง่ ทีท่ า้ ทายต่อการดำ�เนินธุรกิจ คือ ความเสีย่ งของการขาดบุคคล ากรที่มีความรู้ และความสามารถ การเตรียมความพร้อมของ พนักงานให้ทันต่อการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำ�คัญ จึงกำ�หนดให้การสร้างผู้สืบทอดตำ�แหน่งสำ�คัญๆ ที่จะว่างลง (Succession plan) หรือผู้ดำ�รงตำ�แหน่งใหม่ เป็น Corporate KPI โดยมุง่ เน้นเพิม่ ขีดความสามารถของพนักงานให้มี ความรูค้ วามสามารถในการทำ�งาน และเตรียมความพร้อมต่อความ ก้าวหน้าของพนักงานในอนาคตด้วยการวางแผน สืบทอดตำ�แหน่ง ของทุกสายงานอย่างให้ความสำ�คัญเท่าเทียมกัน และดำ�เนินการ อย่างจริงจัง โดยได้รับคำ�แนะนำ�จากที่ปรึกษามืออาชีพระดับโลก ทำ�ให้เอไอเอสมีความพร้อมในการต่อสู้กับการแข่งขันด้วยทีม พนักงานที่มีความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง

การติดต่อสือ่ สารกับฝ่ายบริหาร

เอไอเอสจัดให้มีส่วนงานเลขานุการบริษัทเพื่อทำ�หน้าที่เป็น ตัวกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างกรรมการและฝ่ายบริหาร โดย เลขานุการบริษัทจะใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลสำ�หรับกรรมการ (Board Portal) เป็นอีกหนึง่ ช่องทางเพือ่ ให้คณะกรรมการสามารถ เข้าถึงข้อมูลและเอกสารที่สำ�คัญต่างๆ ของเอไอเอสได้อย่าง

รวดเร็วและปลอดภัย นอกจากนี้ ได้จัดให้มีส่วนงานตรวจสอบ ภายในเป็นตัวกลางระหว่างกรรมการตรวจสอบกับฝ่ายบริหาร เอไอเอสมีนโยบายที่จ ะไม่ปิดกั้นการเข้าถึงและติดต่ อสื่ อสาร ระหว่างกรรมการและฝ่ายบริหารโดยตรง แต่การติดต่อสื่อสาร นั้นจะต้องไม่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงต่อการดำ�เนินธุรกิจ ปกติของเอไอเอส

ค่าตอบแทนของกรรมการ

เอไอเอสมี น โยบายกำ � หนดค่ า ตอบแทนของกรรมการให้ สอดคล้องกับหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ และอยูใ่ นระดับทีส่ ามารถจูงใจ และเทียบได้กบั บริษทั ในอุตสาหกรรมเดียวกันและบริษทั ทีม่ ขี นาด ใกล้เคียงกัน โดยการพิจารณาจะเชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงาน รายบุคคลและผลการดำ�เนินงานของบริษทั ด้วย โดยคณะกรรมการ พัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณา กำ�หนดนโยบายในการจ่ายค่าตอบแทน ประเภทของค่าตอบแทน และจำ � นวนค่ า ตอบแทน เพื่ อ เสนอขอความเห็ น ชอบจาก คณะกรรมการบริษัท ก่อนนำ�ไปขออนุมัติ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นประจำ�ทุกปี ทัง้ นี้ รายละเอียดของนโยบายการจ่ายค่าตอบแทน และจำ�นวนค่าตอบแทนที่ให้แก่กรรมการและผู้บริหารในปี 2558 ปรากฎอยู่ในหัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” หน้า 66-70

การปฐมนิเทศและพัฒนาความรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ของกรรมการ

กรรมการที่ ไ ด้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ใหม่ แ ต่ ล ะท่ า นจะได้ รั บ การ ปฐมนิเทศเพือ่ รับทราบข้อมูลทัว่ ไปและข้อมูลการดำ�เนินธุรกิจของ เอไอเอสที่ส�ำ คัญและจำ�เป็นอย่างเพียงพอก่อนปฏิบัติหน้าที่ เอไอเอสยังส่งเสริมให้ทั้งกรรมการ เลขานุการบริษัท และ ผู้บริหารต้องเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งการพัฒนาความ รู้ของกรรมการประกอบด้วยหลากหลายรูปแบบ เช่น หลักสูตร การอบรมทั้งภายในและภายนอก การศึกษาดูงานต่างประเทศ การเยี่ยมชมธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเอไอเอส เป็นต้น

การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการบริษทั

คณะกรรมการบริษทั กำ�หนดให้มกี ารประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ตนเอง (Board Self-Assessment) เป็นรายบุคคลและทั้งคณะ เป็นประจำ�ทุกปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการทบทวนการปฏิบัติงานใน หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทว่า ได้ด�ำ เนินการตามนโยบายการ กำ�กับดูแลกิจการที่ได้อนุมตั ไิ ว้และ/หรือตามแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ี (Good Practices) หรือไม่ เพือ่ ปรับปรุงการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการ บริษัทให้สอดคล้องกับแนวนโยบายที่กำ�หนดไว้ และเพื่อทบทวน ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา

รายงานประจำ�ปี 2559

072


• •

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ ประกอบด้วยการ ประเมินใน 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการประเมินระดับคะแนนความเห็นหรือ ระดับการดำ�เนินการใน 6 หัวข้อประเมิน ได้แก่ • โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ • บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ • การประชุมคณะกรรมการ • การทำ�หน้าที่กรรมการ • ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ • การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร ส่วนที่ 2 คณะกรรมการให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่ ให้ ความสนใจเป็ น กรณี พิ เ ศษสำ � หรั บ การปฏิ บั ติ ง านของ คณะกรรมการหรือการดำ�เนินงานด้านต่างๆ ของบริษัท ขั้นตอนในการประเมิน เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบประเมินให้กรรมการบริษัท ทุกท่านประเมินตนเองในทุกสิน้ ปี จากนัน้ จะนำ�มารวบรวมและ รายงานสรุปผลต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั เพือ่ รับทราบ รวมทั้งหารือถึงแนวทางในการพัฒนาต่อไป

การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

คณะกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำ�และกำ�หนดค่าตอบแทน มีหน้าที่ ในการกำ�หนดเป้าหมายการปฏิบัติงานประจำ�ปี และ ระยะยาวของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมทั้งประเมินผลการ ปฏิบัติงานดังกล่าวเปรียบเทียบกับเป้าหมายดังกล่าวเป็นประจำ� ทุกปี โดยผลของการประเมินจะถูกนำ�มาใช้ประกอบการพิจารณา ค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สิทธิและความเท่าเทียมกันของผูถ้ อื หุน้

คณะกรรมการบริษทั เคารพในสิทธิและมีหน้าทีใ่ นการดูแลรักษา ผลประโยชน์ของผูถ้ อื หุน้ ทุกรายอย่างเท่าเทียมกันไม่วา่ ผูถ้ อื หุน้ นัน้ จะเป็นนักลงทุนสถาบัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นรายย่อย และไม่วา่ สัญชาติใด โดยผูถ้ อื หุน้ ทุกรายมีสทิ ธิและความเท่าเทียมกัน ตามที่กำ�หนดไว้ในข้อบังคับบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ - สิทธิในการได้รบั ใบหุน้ โอนหุน้ และสิทธิในการรับทราบข้อมูล ผลการดำ�เนินงาน นโยบายการบริหารงานอย่างสม่�ำ เสมอและ ทันเวลา - สิทธิในการรับส่วนแบ่งกำ�ไรร่วมกันอย่างเท่าเทียม - สิ ท ธิ ใ นการเข้ า ร่ ว มประชุ ม ผู้ถือ หุ้น แสดงความเห็ น ให้ ข้อเสนอแนะ และร่วมพิจารณาตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง ที่สำ�คัญต่างๆ - สิทธิในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัท 073

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

การประชุมผู้ถือหุ้น สำ�หรับการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละปี เอไอเอสได้ยึดถือแนว ปฏิบัติด้วยเคารพในสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น ดังนี้ ก่อนวันประชุม 1. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอวาระการประชุม และเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ ได้ล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2559 โดยได้ประกาศและเผยแพร่หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอผ่าน เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์และเว็บไซต์บริษัท ทั้งนี้ เมื่อถึง กำ�หนดการปิดรับ ปรากฎว่าไม่มีผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องดังกล่าว แต่อย่างใด 2. ให้สทิ ธิผถู้ อื หุน้ เป็นผูแ้ ต่งตัง้ กรรมการ และกำ�หนดนโยบายและ ค่าตอบแทนของกรรมการ รวมทั้งแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและ กำ�หนดค่าสอบบัญชี สิทธิในการอนุมตั กิ ารจ่ายเงินปันผล และ การอนุมัติเรื่องอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำ�หนด 3. จัดทำ�หนังสือเชิญประชุมซึ่งมีค�ำ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของแต่ละ วาระ หนังสือมอบฉันทะแบบ ข. และเอกสารประกอบการ ประชุมทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพือ่ เผยแพร่บนเว็บไซต์ ของบริษัทล่วงหน้า 30 วันก่อนวันประชุม โดยได้ประกาศ ให้ ท ราบถึ ง การเผยแพร่ ดั ง กล่ า วผ่ า นเว็ บ ไซต์ ข องตลาด หลักทรัพย์และเว็บไซต์บริษัท นอกจากนี้ได้จัดส่งชุดเอกสาร ให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 21 วันก่อนวันประชุม 4. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำ�ถามล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์และ วิธกี ารทีก่ �ำ หนดเป็นระยะเวลาล่วงหน้า 30 วัน ก่อนวันประชุม โดยเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์บริษัทและแจ้งผ่านช่องทางของ ตลาดหลักทรัพย์ 5. นอกจากหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. ที่จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นพร้อม หนังสือเชิญประชุมแล้ว บริษัทยังจัดให้มีหนังสือมอบฉันทะ ทั้งแบบ ก. และค. ไว้บนเว็บไซต์ เพื่ออำ�นวยความสะดวก ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและมอบฉันทะให้บคุ คลอืน่ หรือ กรรมการอิสระที่บริษัทแจ้งรายชื่อไว้ในหนังสือเชิญประชุม มาเข้าร่วมแทนได้ ทั้งนี้ในส่วนของกรรมการอิสระ บริษัทได้ เสนอรายชื่อไว้จำ�นวน 2 ราย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเลือก มอบฉันทะตามความพึงพอใจได้ 6. ประสานงานกับผูถ้ อื หุน้ ประเภทสถาบันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ก่อนวันประชุม เพือ่ ตรวจสอบรายละเอียดการถือครอง หลักทรัพย์ และพยายามติดต่อเพื่อขอความร่วมมือให้มีการ ส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมหรือมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ


วันประชุม 1. ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกราย รวมทั้งผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น โดยเลือกสถานที่จัดประชุมที่โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ซึ่งสะดวก ต่อการเดินทาง และจัดเตรียมสิ่งอำ�นวยความสะดวกให้แก่ ผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร ป้ายบอกขั้นตอนการ ลงทะเบียน ระบบการลงทะเบียนและลงคะแนนแบบบาร์โค้ด รวมถึงบุคลากรทีเ่ พียงพอ นอกจากนีย้ งั จัดให้มจี ดุ ลงทะเบียน กองทุ น โดยเฉพาะเพื่ อ อำ � นวยความสะดวกให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน 2. ประธานกรรมการบริษทั ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธาน กรรมการสรรหาและกำ�กับดูแลกิจการ ประธานกรรมการ พั ฒ นาความเป็ น ผู้ นำ � และกำ � หนดค่ า ตอบแทน ประธาน กรรมการการพัฒนาสู่ความยั่งยืน และประธานกรรมการ บริหาร รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงพร้อมใจกันเข้าร่วมประชุม ผู้ถือหุ้น เพื่อตอบข้อซักถามต่างๆ ของผู้ถือหุ้น 3. จั ด ให้ มี ที่ ป รึ ก ษากฎหมายอิ ส ระเพื่ อ ทำ � หน้ า ที่ ต รวจสอบ ความถูกต้องและความโปร่งใสของการนับคะแนน ในแต่ละ วาระการประชุม 4. ประธานทีป่ ระชุมได้ด�ำ เนินการประชุมตามลำ�ดับวาระและเรือ่ ง ที่ ไ ด้ ร ะบุ ไ ว้ ใ นเอกสารเชิ ญ ประชุ ม โดยไม่ มี การเพิ่ ม เติ ม แต่อย่างใด พร้อมทั้งจัดสรรเวลาสำ�หรับการซักถามของ ผูถ้ อื หุน้ ในแต่ละวาระให้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยก่อน เริ่ ม ประชุ ม ผู้ แ ทนของบริ ษั ท จะแจ้ ง ขั้ น ตอนและวิ ธี การ ออกเสียงลงคะแนนให้ผู้ถือหุ้นทราบ 5. จัดให้มีบัตรลงคะแนนสำ�หรับการออกเสียงในแต่ละวาระ และ สำ�หรับวาระเลือกตั้งกรรมการจัดให้มีการลงคะแนนเป็นราย บุคคล โดยนำ�ระบบบาร์โค้ดมาใช้เพือ่ ให้การนับคะแนนแต่ละ วาระเป็นไปอย่างรวดเร็ว 6. ประธานที่ประชุมได้แจ้งผลคะแนนแต่ละวาระและมติของ ที่ประชุมให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านทราบภายในช่วงการจัดประชุม ทันที โดยไม่มีผู้ถือหุ้นท่านใดยกมือคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย กับมตินั้น 7. จัดให้มีแบบประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อนำ� ข้ อ มู ล มาใช้ ใ นการพั ฒ นาการจั ด ประชุ ม ครั้ ง ถั ด ไปให้ มี ประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เลขานุการบริษัทได้จัดทำ�รายงานการประชุมและเผยแพร่ บนเว็ บ ไซต์ บ ริ ษั ท ภายใน 14 วั น หลั ง จากวั น ประชุ ม โดยรายงานดังกล่าวมีการบันทึกรายละเอียดและสาระสำ�คัญไว้ อย่างครบถ้วนตามแนวทางของหลักการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี ของตลาดหลักทรัพย์ และได้เผยแพร่รายงานการประชุม ดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท พร้อมแจ้งการเผยแพร่ ดังกล่าวผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์

การสือ่ สารกับผูม้ สี ว่ นได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็น ต่อคณะกรรมการ หรือแจ้งเบาะแสในกรณีที่พบเห็นการกระทำ�ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจริยธรรมธุรกิจของบริษัทของกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน โดยผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. ส่งจดหมายถึง ส่วนงานเลขานุการบริษัท เลขที่ 414 ชั้น 28 อาคารเอไอเอส 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : (66) 2029 5352 โทรสาร : (66) 2029 5108 E-mail : companysecretary@ais.co.th 2. คณะกรรมการตรวจสอบที่ E-mail : AuditCommittee@ais.co.th 3. ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ : (66) 2029 5117 โทรสาร : (66) 2029 5165 E-mail : investor@ais.co.th โดยข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนจะถูกส่งต่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำ�เนินการ เพื่อให้มีการชี้แจง แก้ไข ปรับปรุง และ สรุปผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการต่อไป

บทบาทต่อผูม้ สี ว่ นได้เสีย

เอไอเอสตระหนักถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไม่ว่า จะเป็นลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม จึงกำ�หนดนโยบายให้มีแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตามสิทธิ แห่งกฎหมายและตามแนวทางของการอยูร่ ว่ มกันอย่างยัง่ ยืน ไว้ใน นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ คูม่ อื ประมวลจริยธรรมธุรกิจ นโยบาย การบริหารบุคคล ตลอดจนนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ภายหลังการประชุม ได้กำ�หนดให้มีแนวปฏิบตั ิและระบบการควบคุมภายในทีด่ ี รวมทัง้ 1. บริษทั ได้แจ้งมติทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ พร้อมผลการลงคะแนนเสียง นโยบายการต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น เพื่อป้องกัน ของทุกวาระต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลังการปิดประชุมทันที การทุจริตคอรัปชั่นในองค์กร การมอบหมายให้คณะกรรมการ รวมทั้งได้เผยแพร่มติดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์บริษัท จริยธรรมเป็นผู้ดำ�เนินมาตรการหรือกิจกรรมสร้างความตระหนัก ในเรื่องดังกล่าวให้กับพนักงานและคู่ค้า ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถ ศึกษาแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียได้จากรายงานพัฒนาความ ยั่งยืน ปี 2559 รายงานประจำ�ปี 2559

074


เอไอเอสยังเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อช่วยกัน ตรวจสอบความโปร่งใสในการดำ�เนินธุรกิจ การประพฤติตาม นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ประมวลจริยธรรม ตลอดจน แนวปฏิบัติเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น โดยผู้ที่พบเห็น การละเมิด ถ้าเป็นพนักงานในองค์กรจะสามารถแจ้งผ่านช่องทาง ประมวลจริยธรรมธุรกิจออนไลน์ (Ethic Online) และระบบการ ให้ข้อมูลการกระทำ�ผิดและการทุจริต (Whistle Blowing) สำ�หรับ ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก สามารถแจ้งการพบเห็นดังกล่าวต่อ คณะกรรมการบริษทั ผ่านช่องทางของคณะกรรมการตรวจสอบได้ท ี่ AuditCommittee@ais.co.th ทั้งนี้ เรื่องที่ถูกแจ้งเข้ามาจะถูกนำ� เข้าสูก่ ระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไปและผูร้ ายงานจะได้รบั การคุม้ ครองอย่างดีทสี่ ดุ โดยผูถ้ อื หุน้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิม่ เติม ได้จาก “นโยบายการให้ข้อมูลการกระทำ�ผิดและการทุจริต การ สอบสวนและการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล (Whistle Blower Policy)” ซึ่งเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์บริษัทที่ http://investor.ais.co.th

การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส

1. เอไอเอสให้ความสำ�คัญต่อการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ทั้ง ข้อมูลทางการเงินและทีม่ ิใช่ทางการเงินแก่ผถู้ อื หุน้ และผูล้ งทุน เช่น ข้อบังคับบริษทั หนังสือบริคณห์สนธิ นโยบายการบริหาร ความเสีย่ ง ข้อมูลงบการเงิน และบทวิเคราะห์ผลการดำ�เนินงาน ฯลฯ อย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา เท่าเทียม และเป็นไปตาม กฎหมายและกฏระเบียบต่างๆ ทัง้ นี้ เพือ่ ส่งเสริมความเชือ่ มัน่ ของผู้ลงทุนเกี่ยวกับความเชื่อถือได้และซื่อตรงของบริษัท โดยส่วนหนึ่งได้จัดทำ�นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศเพื่อ บังคับใช้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและ บริษัทย่อย 2. เอไอเอสมีส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้แก่ ผูถ้ อื หุน้ ผูล้ งทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และผูม้ สี ว่ นได้เสีย และมีส่วนงานกำ�กับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance) เพื่อ ดูแลการเปิดเผยข้อมูลที่สำ�คัญของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์บริษทั เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ รายงานประจำ�ปี เป็นต้น โดยการสือ่ สารข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลจะยึดหลัก ตามนโยบายการเปิดเผยสารสนเทศและนโยบายการกำ�กับดูแล กิจการของบริษทั ทัง้ นี้ ช่องทางในการติดต่อส่วนงานนักลงทุน สัมพันธ์และส่วนงานกำ�กับดูแลการปฏิบัติงาน มีดังนี้ โทรศัพท์ : (66) 2029 5117 โทรสาร : (66) 2029 5165 E-mail : investor@ais.co.th Website : http://investor.ais.co.th 3. เอไอเอสกำ�หนดช่วงเวลางดติดต่อสื่อสารกับนักวิเคราะห์และ นักลงทุน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัท ในแต่ละไตรมาส (Silent period) โดยครอบคุลมถึงการให้ข่าว 075

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

และการเปิดเผยข้อมูลเชิงการเงินต่อสาธารณะของทัง้ ผูบ้ ริหาร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ ล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ก่อนวันประกาศผลประกอบการรายไตรมาสและรายปี เพื่อหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งอาจนำ�ไปสู่ ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์บริษัท

การควบคุมภายในและการบริหารความเสีย่ ง

คณะกรรมการเห็นถึงความสำ�คัญของการมีระบบควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่ดีเป็นสิ่งจำ�เป็น ในการปกป้องเงินลงทุนของผูถ้ อื หุน้ และทรัพย์สนิ ของเอไอเอส จึงได้ กำ�หนดให้มนี โยบาย มาตรการ และหน่วยงานกำ�กับดูแล โดยผูถ้ อื หุน้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่หัวข้อ “บริหารความเสี่ยง การควบคุม ภายใน และการตรวจสอบภายใน” หน้า 83

จริยธรรมธุรกิจ

เอไอเอสส่งเสริมให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน ปฏิบตั งิ าน และตัดสินใจในการดำ�เนินธุรกิจใดๆ ของเอไอเอสอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา เป็ น ไปตามกฎหมาย ยึ ด มั่ น ในคุ ณ ธรรมและ จริยธรรม จึงได้จดั ทำ�ประมวลจริยธรรมธุรกิจเพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของ นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ ให้เป็นแนวทางและมาตรฐานในการ ปฏิบัติงานของทุกคนในองค์กร โดยได้มีการเผยแพร่ข้อมูลให้กับ ผู้บริหารและพนักงานได้ทำ�ความเข้าใจผ่านช่องทางอินทราเน็ต ในหน้า AIS Ethics (ประมวลจริยธรรมทางธุรกิจ) พร้อมทัง้ พนักงาน ทุกคนต้องลงนามรับทราบจริยธรรมธุรกิจนี้เมื่อเข้าเป็นพนักงาน ใหม่และมีหน้าที่รับทราบ ทำ�ความเข้าใจเมื่อประมวลจริยธรรม ธุ ร กิ จ ดั ง กล่ า วมี การเปลี่ ย นแปลง ซึ่ ง เอไอเอสจะดำ � เนิ น การ ประชาสัมพันธ์ให้ทราบผ่านช่องทางต่างๆ ทีพ่ นักงานสามารถเข้า ถึงได้รวมถึงได้มีการวางแนวทางเพื่อให้การปฏิบัติตามประมวล จริยธรรมธุรกิจกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและนโยบาย ระดับองค์กร ทัง้ นี้ ผูถ้ อื หุน้ สามารถศึกษารายละเอียดของประมวล จริยธรรมธุรกิจฉบับเต็มได้ที่ http://investor.ais.co.th คณะกรรมการจริยธรรมธุรกิจได้ถูกแต่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เพื่อกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานด้านจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ รวมทั้งสร้างความ ตระหนักและรณรงค์ ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานต้อง ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของ บริษัทและผู้มีส่วนได้เสียเป็นหลัก โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการจริยธรรมธุรกิจได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนี้ 1) การจัดให้มกี ารรณรงค์ให้ผบู้ ริหาร พนักงานและคูค่ า้ ตระหนัก ถึงความสำ�คัญของจริยธรรมธุรกิจ การปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานให้กับ บริ ษั ท อาจก่ อ ให้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ คณะกรรมการจริยธรรมธุรกิจซึ่งได้ด�ำ เนินการรณรงค์เพื่อให้ ผู้ บ ริ ห าร พนั ก งานและคู่ ค้ า ตระหนั ก ถึ ง ความสำ � คั ญ ของ


จริยธรรมธุรกิจ และได้มีการเพิ่มการรณรงค์แบบการสร้าง รณรงค์ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง แนวทางการส่ ง เสริ ม ให้ พ นั ก งาน จิ ต สำ � นึ ก เพื่ อ ปลู ก ฝั ง ค่ า นิ ย มให้ พ นั ก งานสามารถใช้ ตระหนักถึงจริยธรรมธุรกิจของบริษทั ในปีตอ่ ไป โดยในปี 2559 วิจารณญาณของตนเองพิจารณาได้ว่า สมควรปฏิบัติอย่างไร พนั ก งานและผู้ บ ริ ห ารได้ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ ในการตอบ แบบสอบถามในอัตราร้อยละ 99.74 ของพนักงานทัง้ หมด โดย โครงการรณรงค์ ได้ดำ�เนินการในหลากหลายวิธีการ ได้แก่ ผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 94.12 จากคะแนนรวมทั้งหมด - การทำ�ความเข้าใจกับผูบ้ ริหารและพนักงานโดยการบรรยาย ซึง่ สูงกว่าเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ทรี่ อ้ ยละ 80 จากคะแนนรวมทัง้ หมด และตอบข้อซักถามในห้องประชุม - การรณรงค์ด้วยวิธีการสื่อสารกับพนักงานในวงกว้างผ่าน นอกเหนื อ จากการรณรงค์ ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น แล้ ว คณะ สื่อโปสเตอร์ซึ่งติดไว้ในที่สาธารณะต่างๆ ภายในบริษัท กรรมการจริยธรรมธุรกิจยังได้สร้างช่องทางเพื่อให้พนักงาน - การส่ ง หนั ง สื อ ถึ ง คู่ ค้ า ต่ า งๆ ของบริ ษั ท ให้ ต ระหนั ก ถึ ง สามารถสอบถามข้อสงสัยต่างๆ ที่ตนได้พบเห็นในระหว่าง นโยบายของบริษัทที่ให้พนักงานงดรับของขวัญ ของกำ�นัล การปฏิบัติงานอันเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมธุรกิจของบริษัท และ/หรือรับการเลี้ยงรับรองที่เกินกว่าเหตุหรือไม่เหมาะสม เพื่อให้คณะกรรมการจริยธรรมธุรกิจได้ชี้แจง ผ่าน E-mail : aisbusinessethics@ais.co.th ภายหลังจากโครงการดังกล่าวสิ้นสุดลง คณะกรรมการ 2) การสอบสวนลงโทษผู้ที่ละเมิดจริยธรรมธุรกิจ จริยธรรมธุรกิจได้กำ�หนดแนวทางการประเมินความเข้าใจ การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมธุรกิจกับผู้ท่ีละเมิดเป็นเรื่อง ของพนั ก งานต่ อ ประมวลจริ ย ธรรมธุ ร กิ จ ที่ ไ ด้ ดำ � เนิ น การ ทีห่ ลีกเลีย่ งมิได้และมีความสำ�คัญเพือ่ จรรโลงไว้ซง่ึ ธรรมาภิบาล รณรงค์ โดยจะจัดให้มีการตอบแบบสอบถามผ่านช่องทาง ของบริษัทในการดำ�เนินธุรกิจ โดยได้กำ�หนดให้มีบทลงโทษ สื่อสารภายในบริษัทเพื่อประเมินความเข้าใจของพนักงาน และมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลเรื่องการปฏิบัติที่อาจขัดต่อ ในจริยธรรมธุรกิจและประสิทธิภาพของแนวทางและวิธกี ารการ จริยธรรมธุรกิจเป็นข้อความแนบท้ายประมวลจริยธรรมธุรกิจ ในปี 2559 มีการละเมิดจริยธรรมธุรกิจ 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่

ข้อมูลการกระทำ�ผิด

แนวทางการดำ�เนินการ

1

พนักงานใช้ต�ำ แหน่งและอำ�นาจหน้าที่ ในการเรียกรับประโยชน์จากคู่ค้า เพื่อช่วยเหลือให้ได้รับการว่าจ้างจากเอไอเอส

หน่วยงานตรวจสอบภายใน หน่วยงานกฎหมาย และหน่วยงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล ร่วมกันสอบสวน และเมื่อปรากฎว่าเป็นจริง จึงได้มี การลงโทษทางวินยั กับพนักงานผูก้ ระทำ�ผิดตามระเบียบข้อบังคับของบริษทั

2

พนักงานร่วมกับบุคคลภายนอกแสวงหาประโยชน์จากบริษัท โดยการร่วมกันรับงานว่าจ้างต่างๆ โดยที่มิได้แจ้งให้ทราบ

หน่วยงานตรวจสอบภายใน หน่วยงานกฎหมาย และหน่วยงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล ร่วมกันสอบสวน และเมื่อปรากฎว่าเป็นจริง จึงได้มี การลงโทษทางวินยั กับพนักงานผูก้ ระทำ�ผิดตามระเบียบข้อบังคับของบริษทั

นโยบายต่อต้านการให้หรือรับสินบน และการคอร์รปั ชัน่ การเป็นสมาชิกของแนวร่วมปฏิบตั ขิ องภาคเอกชนไทย เอไอเอสยึดมั่นที่จะดำ�เนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ในการต่อต้านทุจริต

และเป็นไปตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี โดยต่อต้านการให้ หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบด้วยตระหนักดีว่าการ ให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่นนั้น เป็นภัยร้ายแรงที่ทำ�ลาย การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทัง้ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้ ตระหนักถึงความสำ�คัญและพิจารณากำ�หนดนโยบายต่อต้านการ ให้หรือรับสินบนและการคอร์รปั ชัน่ เพือ่ เป็นอีกหนึง่ แนวทางในการ ปฏิบตั งิ านของกรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานของบริษทั ให้เป็น ไปตามกฎเกณฑ์และแนวปฏิบัติ อีกทั้ง เพื่อป้องกันมิให้บริษัท อันรวมไปถึงกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้อง ฝ่าฝืน กฎหมายต่อต้านการให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่น โดย ได้เผยแพร่นโยบายไว้ใน http://investor.ais.co.th

ตามที่บริษัทได้ลงนามในคำ�ประกาศเจตนารมณ์เพื่อเข้าร่วม โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption-CAC) เพือ่ ร่วมแสดงเจตนารมณ์ตอ่ ต้าน การคอรัปชัน่ และไม่ยอมรับให้มีการเกิดการทุจริตใดๆ ขึ้นจากการดำ�เนินธุรกิจ ของบริษทั หรือจากการปฏิบตั งิ านในองค์กร เมือ่ วันที่ 16 ธันวาคม 2556 บริษทั มุง่ มัน่ ในการดำ�เนินธุรกิจด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต และ โปร่งใส เป็นไปตามกฏหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้าน การให้สนิ บนและการคอร์รปั ชัน่ และการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ขี อง บริษทั เนือ่ งจากการทุจริตในองค์กรเป็นประเด็นความเสีย่ งต่อการ ดำ�เนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยบริษัทตระหนัก และยึดมั่นในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบและไม่มี รายงานประจำ�ปี 2559

076


ข้อยกเว้น ตลอดจนไม่เข้าไปมีสว่ นร่วมในการคอร์รปั ชัน่ ทัง้ ทางตรง และทางอ้อม กรรมการ ผูบ้ ริหารและพนักงานทุกคนจะต้องยึดถือ และต้องปฏิบตั ติ าม นอกจากนีบ้ ริษทั ยังรณรงค์สอื่ สารและให้ความรู้ กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางคณะกรรมการจริยธรรมธุรกิจ ทัง้ นี้ เมือ่ วันที่ 15 ธันวาคม 2558 บริษทั ได้ด�ำ เนินการยืน่ เอกสารเพือ่ ขอรับการรับรองเข้าเป็น แนวร่วมปฏิบตั ขิ องภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต และบริษทั ได้รบั หนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการเพือ่ รับรองฐานะสมาชิก ในวันที่ 22 มกราคม 2559

ของโครงข่าย (network) การรักษาความปลอดภัยด้านการเชือ่ มต่อ และการเก็บรักษาข้อมูล รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2559 เอไอเอสได้ยกระดับการรักษาความปลอดภัย โดยการจำ�กัดบุคคลากรที่สามารถเข้าออกพื้นที่สำ�คัญที่มีระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศติดตั้งอยู่ และมีการตรวจสอบตัวตนของ บุคคลากรทีเ่ ข้าพืน้ ทีด่ งั กล่าวทุกครัง้ พร้อมทัง้ ติดตัง้ กล้องโทรทัศน์ วงจรปิด (CCTV) เพื่อตรวจสอบและบันทึกภาพพื้นที่สำ�คัญ ที่มีความเสี่ยงตลอดเวลา โดยท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก รายงานพัฒนาความยั่งยืน ประจำ�ปี 2559 หัวข้อ “ลูกค้าของเรา”

นโยบายการบริหารความเสี่ยงจากการทุจริต

การกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทย่อย ในปี 2559 เอไอเอสได้ประกาศใช้นโยบายการบริหารความเสีย่ ง และบริษัทร่วม

จากการทุจริต เพื่อป้องกัน ตรวจสอบ รายงานและบริหารจัดการ ประเด็นเรื่องทุจริต โดยนโยบายฉบับนี้ได้กำ�หนดแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงจากการทุจริตไว้ 3 ด้านด้วยกัน กล่าวคือ 1. การป้องกันความเสีย่ งจากการทุจริต โดยจัดให้มกี ารประเมิน ความเสี่ยงและสื่อสารเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงปัญหา ดังกล่าว 2. การตรวจสอบ โดยการจัดระบบการแจ้งและติดตามผล เรื่องทุจริต 3. กระบวนการลงโทษและการแก้ไขปรับปรุงวิธกี ารปฏิบตั งิ าน ให้รัดกุมยิ่งขึ้น เอไอเอสคาดหมายว่ากรรมการ ผู้บริหารและพนักงานพึง ตระหนักถึงความเสีย่ งของการเกิดการทุจริต รวมถึงการแจ้งเตือน เหตุตา่ งๆ ทีอ่ าจเกีย่ วข้องกับการทุจริตในทันที และให้ความร่วมมือ ในการสอบสวนเรือ่ งทุจริตอย่างเต็มที่ ทัง้ นี้ ได้มอบหมายให้หน่วย งานหลัก ได้แก่ หน่วยงานด้านการบริหารความเสีย่ งในระดับองค์กร (Enterprise Risk Management) และทีมงานสอบสวนด้านบัญชี (Forensic Accounting team) ทำ�หน้าทีด่ แู ลบริหารจัดการความเสีย่ ง จากการทุจริต โดยการประเมินความเสีย่ ง และเสนอวิธกี ารลดระดับ ความเสี่ยงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

นโยบายด้านความปลอดภัยของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ

เอไอเอสได้ เ ล็ ง เห็ น ความสำ � คั ญ ด้ า นความปลอดภั ย ของ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอดและได้นำ�มาตรฐานด้าน การรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาบังคับใช้ ภายในเอไอเอสและบริษัทในกลุ่มเอไอเอส ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว มีการกำ�หนดแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยี สารสนเทศของบริษัทที่ได้มาตรฐานสากล อาทิเช่น ระบบการ ควบคุมการเข้าออกอาคาร การเข้ารหัสเพือ่ ป้องกันการเข้าถึงข้อมูล การบริหารจัดการชือ่ ผูใ้ ช้ (username) และรหัสผ่าน (password) การ รับรองและการอนุมัติการเข้า/ออกจากระบบรักษาความปลอดภัย 077

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ กำ � กั บ ดู แ ลการดำ � เนิ น งานของ บริษทั ย่อยและบริษทั ร่วม เพือ่ ดูแลรักษาผลประโยชน์ในเงินลงทุน ของบริษัท ดังนี้ 1. ส่งเสริมให้บริษัทย่อยและบริษัทร่วมนำ�หลักการกำ�กับดูแล กิจการที่ดีมาปฏิบัติ 2. คณะกรรมการบริษัทคัดเลือกบุคคลเป็นตัวแทนของบริษัท เข้าไปเป็นกรรมการ และผูบ้ ริหารในบริษทั ย่อยและบริษทั ร่วม ตามสัดส่วนของการถือหุ้น เพื่อควบคุมดูแลการดำ�เนินงาน ของบริษัทย่อย ตามสัดส่วนการถือครองหุ้นของบริษัท 3. กำ�กับดูแลโดยผ่านกรรมการตัวแทนและผูบ้ ริหาร และนโยบาย ที่ก�ำ หนดโดยบริษัทใหญ่ 4. พิจารณาเรือ่ งทีม่ คี วามสำ�คัญ เช่น กลยุทธ์ แผนธุรกิจ การเพิม่ ทุนหรือลดทุน การเลิกบริษัท รวมทั้งนโยบายที่ส�ำ คัญต่างๆ 5. ติดตามผลการดำ�เนินงาน โดยฝ่ายบริหาร คณะกรรมการ บริหาร และคณะกรรมการบริษัทของบริษัท 6. ดูแลให้บริษัทย่อย และบริษัทร่วมปฏิบัติตามกฏระเบียบ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานกำ�กับดูแล ได้แก่ การทำ�รายการ ระหว่างกัน การได้มาและจำ�หน่ายไปซึง่ สินทรัพย์ การเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอและทันเวลา รวมทั้งดูแลให้มีการจัดทำ� บัญชีและรายงานทางการเงินถูกต้องตามทีค่ วร ตามกฏหมาย ที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป 7. การพิจารณาทำ�ธุรกรรมใดๆ ของบริษัทย่อยที่มีนัยสำ�คัญต่อ การดำ�เนินธุรกิจหรือฐานะการเงินของบริษัท ได้กำ�หนดให้ ธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการของบริษทั ใหญ่ทุกครั้ง 8. ตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่า มีการควบคุมภายในที่ก�ำ หนดไว้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ 9. การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและผลการดำ�เนินงานของ บริ ษั ท ย่ อ ย บริ ษั ท ได้ ว่ า จ้ า งผู้ ส อบบั ญ ชี จ ากสำ � นั ก งาน สอบบัญชีเดียวกันกับบริษทั เพือ่ ทำ�หน้าทีต่ รวจสอบและรวบรวม ข้ อ มู ล ทางการเงิ น และที่ มิ ใ ช่ ท างการเงิ น มาเปิ ด เผยใน งบการเงินรวมของบริษัท


การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

เอไอเอสให้ความสำ�คัญกับการดูแลการใช้ขอ้ มูลภายในให้เป็น ไปตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี โดยยึดมัน่ ในหลักธรรมาภิบาล ความซือ่ สัตย์สจุ ริตในการดำ�เนินธุรกิจ และเพือ่ ให้แน่ใจว่านักลงทุน จะได้รับสารสนเทศที่เชื่อถือได้อย่างเท่าเทียมและทันท่วงที จึงได้ กำ�หนดระเบียบการกำ�กับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน และระเบียบ การซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ให้ สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ และมุ่งเน้นความ โปร่งใสในการประกอบธุรกิจ สรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้ • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องไม่ใช้ข้อมูล ภายในของบริษัทที่มีสาระสำ�คัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคา ของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชนหรือตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพือ่ การซือ้ ขายหลักทรัพย์ของ เอไอเอส อันนำ�มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น โดย งดการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงเวลา 1 เดือน ก่อนการเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณชน • เอไอเอสมีหน้าทีเ่ ปิดเผยสารสนเทศเกีย่ วกับการดำ�เนินงาน ทีส่ �ำ คัญของเอไอเอสให้สาธารณชนทราบโดยทันทีและอย่าง ทั่วถึง โดยผ่านสื่อและวิธีการของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของเอไอเอส รวมถึ ง ผ่ า นสื่ อ อื่ น ๆ ของฝ่ า ยนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ แ ละ ประชาสั ม พั น ธ์ เ พื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า ข้ อ มู ล ข่ า วสารได้ เ ข้ า ถึ ง นักลงทุนทุกกลุ่มอย่างทันท่วงทีและเท่าเทียม • กรรมการและผู้ บ ริ ห าร มี ห น้ า ที่ ร ายงานการถื อ ครอง หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทของตน คู่สมรส ผู้ที่อยู่กินกัน ฉันสามีภรรยา และบุตรทีย่ งั ไม่บรรลุนติ ภิ าวะ ต่อสำ�นักงาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ รายงาน ถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย์ ที่ อ อกโดยบริ ษั ท ต่ อ คณะ กรรมการบริษัทเป็นประจำ�ทุกไตรมาส • เอไอเอสมีกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยทางด้าน ระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศอย่างเข้มงวด เพือ่ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ สำ � คั ญ ถู ก เปิ ด เผย กรณี ที่กรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานนำ�ข้อมูลภายในไปใช้ ในทางมิชอบ เอไอเอสได้ก�ำ หนดบทลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืน จะถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงและอาจถูกลงโทษทางวินยั และตามที่กฎหมายกำ�หนด • ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์มีนโยบายในการหลีกเลี่ยงการ คาดการณ์ ในอนาคต หรือให้ความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับ ข้อมูลที่มีระยะเวลาล่วงหน้าต่ำ�กว่า 6 เดือน เพื่อให้เป็นไป ตามนโยบายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ หลักสากล ทั้งนี้นักลงทุนยังคงสามารถพบปะพูดคุยกับ เจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์เพื่อสอบถามความคิดเห็นและ มุมมองต่อธุรกิจในระยะยาว

• ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์จะประกาศช่วงเวลางดติดต่อ กับนักลงทุนเป็นเวลา 1 เดือนล่วงหน้าก่อนวันการเปิดเผย งบการเงินต่อสาธารณชน โดยในช่วงเวลางดติดต่อกับ นักลงทุนนั้น บริษัทจะงดการตอบคำ�ถามที่เกี่ยวข้องกับ ผลประกอบการและการคาดการณ์ ทั้งนี้ยกเว้นในกรณีที่ เป็นการตอบคำ�ถามต่อข้อเท็จจริงหรือชี้แจงข้อมูลที่ได้มี การเปิดเผยแล้ว หรือชี้แจงเหตุการณ์ข่าวสารใดๆ ที่มีผล กระทบต่ อ ราคาหุ้ น หรื อ สอบถามมุ ม มองต่ อ ธุ ร กิ จ ใน ระยะยาวเท่านัน้ โดยจะงดการจัดประชุมกับนักวิเคราะห์หรือ ผู้ลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว หรือหากมีความจำ�เป็นการ นัดประชุม ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว จะมีการกล่าวถึง การดำ�เนินธุรกิจในระยะยาวเท่านั้น

เอไอเอสได้จัดทำ�นโยบายการเปิดเผยข้อมูลซึ่งระบุขั้นตอน ในการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องต่างๆ ไว้อย่างเป็นทางการ นโยบาย ดังกล่าวพัฒนาบนหลักการที่ว่า การเปิดเผยข้อมูลของเอไอเอส จะต้องสอดคล้องกับแนวปฏิบตั ขิ องกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ อีกทั้งข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาและ สม่�ำ เสมอไม่วา่ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเรือ่ งบวกหรือลบต่อเอไอเอส ต่อนักลงทุนหรือตลาดทุน ข้อมูลที่มีความสำ�คัญและปกติมิได้ เปิดเผยเป็นการทั่วไปจะถูกเปิดเผยอย่างเท่าเทียมให้กับผู้ลงทุน ทุกราย นโยบายการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะทำ�ให้เอไอเอส มีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ดีได้มาตรฐาน และส่งเสริมให้เกิด ตลาดมีประสิทธิภาพในการรับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียม

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี

ในปี 2559 บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ยจ่ า ยค่ า ตอบแทนของ ผู้สอบบัญชี ดังนี้ • ค่าสอบบัญชีและค่าสอบทานรายไตรมาสของบริษทั จำ�นวน 2.41 ล้านบาท ค่าสอบบัญชีและค่าสอบทานรายไตรมาส ของบริษัทย่อย จำ�นวนทั้งสิ้น 6.32 ล้านบาท • ค่าตอบแทนของงานบริษัทอื่น (Non-audit fee) ของบริษัท ให้สำ�นักงานสอบบัญชีท่ีผู้สอบบัญชีสังกัด จำ�นวน 0.67 ล้านบาท

รายงานประจำ�ปี 2559

078


การดำ�เนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

การเติบโตของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในยุคที่โซเชียลมีเดีย เติบโตอย่างกว้างขวาง ด้วยพัฒนาการที่รวดเร็วของเทคโนโลยีที่ อำ�นวยความสะดวกในการติดต่อสือ่ สาร การใช้ชวี ติ และการดำ�เนิน ธุรกิจ ทำ�ให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่แตกต่างและหลากหลาย ให้ความสำ�คัญต่อเรื่องคุณภาพและความน่าเชื่อถือของระบบ สื่ อ สารโทรคมนาคมมากยิ่ ง ขึ้ น ผู้ ใ ห้ บ ริ การโครงข่ า ยสื่ อ สาร โทรคมนาคมจึงจำ�เป็นที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง มีการ พัฒนาแนวคิดการดำ�เนินธุรกิจและทีมงานเพื่อสร้างสินค้าบริการ ที่ตอบความคาดหวังของผู้บริโภคที่สูงขึ้น และส่งเสริมขีดความ สามารถในการแข่งขันในระยะยาว นอกจากนี้ จากการประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 ของ ภาครัฐ ที่ต้องการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยขับเคลื่อนระบบ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพิม่ ความสามารถในการแข่งขัน บนเวทีโลก และลดความเหลื่อมล้ำ�ของประชากร ภาครัฐจึงมีการ วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ระยะที่ 5 (25602564) ในการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และอินเทอร์เน็ตหมูบ่ า้ นให้ครอบคลุมทัว่ ประเทศ เอไอเอส ตระหนักดีถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะผู้ให้บริการ สือ่ สารโทรคมนาคมของประเทศไทย จึงมุง่ มัน่ ในการวางโครงสร้าง พืน้ ฐานทางการสือ่ สารโทรคมนาคมของประเทศให้ครอบคลุมและ มีคณุ ภาพ รวมทัง้ นำ�เสนอสินค้าและบริการทีห่ ลากหลายด้วยราคา ที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยความพร้อมในเชิงทรัพยากรทั้งด้านคลื่นความถี่และการ พัฒนาเทคโนโลยี ความแข็งแกร่งทางด้านฐานะการเงิน และความ ครอบคลุมของเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ ทำ�ให้เอไอเอสยืนหยัด เป็นผู้นำ�ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมมาอย่างต่อเนื่อง และวาง เป้าหมายสู่การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลไลฟ์สำ�หรับคนไทยอันดับ 1 โดยปัจจุบนั มีจ�ำ นวนผูใ้ ช้บริการโทรศัพท์มอื ถือกว่า 41 ล้านราย และ กำ�ลังขยายเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เอไอเอส ไฟเบอร์ อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ด้วยความพร้อมทางด้านทีมงาน ที่มีคุณภาพ ทำ�ให้เอไอเอสสามารถส่งมอบบริการที่เหนือกว่า 079

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

และสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน และเพิ่ม ศักยภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ใช้บริการให้ดีขึ้น การวางเป้าหมายสู่การเป็นผู้ใ ห้บริการดิจิทัลไลฟ์สำ �หรั บ คนไทยมีความท้าทายหลายด้าน ทัง้ การแข่งขันและคูแ่ ข่งทีเ่ กิดขึน้ ในรูปแบบใหม่ กลุม่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียทีข่ ยายวงออกไปยังหลากหลาย อุตสาหกรรมและธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง การปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการที่ซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ในการ วางกลยุทธ์และแผนการดำ�เนินธุรกิจ เอไอเอสจึงได้ค�ำ นึงถึงบริบท ต่างๆที่สำ�คัญที่อาจจะส่งผลต่อความเป็นผู้นำ�และความอยู่รอด ในระยะยาวของเอไอเอส ซึ่งพิจารณาจากมุมมองของบริษัทและ มุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนและสังคม ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ หรือพนักงาน โดยมองถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เทคโนโลยีและการตลาด พฤติกรรมการใช้งานและความต้องการ ของลูกค้า สภาพการแข่งขัน และสภาวะทางสังคมและสิง่ แวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ท่านผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้เสีย สามารถ ศึกษาและเข้าใจแนวทางการดำ�เนินธุรกิจของเอไอเอส กรอบวิธี คิดเพื่อสร้างให้ธุรกิจเติบโตและพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน เอไอเอส จึงได้จัดทำ�รายงานที่เรียกว่า “รายงานพัฒนาความยั่งยืน” (AIS Sustainability Report) ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง แนบพร้อมกับรายงาน ประจำ�ปีที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ที่ www.ais.co.th


ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ของเอไอเอส เป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์และเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของ บริษทั ทีส่ �ำ คัญและเป็นประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และในการวิเคราะห์บริษัทโดย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยอยูภ่ ายใต้การกำ�กับการดำ�เนินงานของ หัวหน้าคณะผูบ้ ริหารด้านการเงิน มีเป้าหมายเพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่

และความเข้าใจทีถ่ กู ต้องต่อการดำ�เนินธุรกิจของเอไอเอสแก่นกั ลงทุน เพือ่ สะท้อนมูลค่าของบริษทั อย่างเหมาะสม ทัง้ นี้ เพือ่ การดำ�เนินงาน ที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรมและส่งเสริมความน่าเชื่อถือของ นักลงทุนต่อเอไอเอส ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ได้ก�ำ หนดนโยบาย ในการเปิดเผยข้อมูลและจรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งมี สาระสำ�คัญดังนี้

นโยบายการเปิดเผยข้อมูลและจรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์

การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม 1. เปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา และสม่�ำ เสมอ ซึง่ ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผลกระทบทัง้ ในด้านบวกหรือด้านลบต่อบริษทั ผู้ลงทุน หรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ 3. ปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทุกคนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล โดยไม่เลือกที่จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้บุคคลหรือ กลุ่มบุคคลเป็นการเฉพาะ การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน 1. ไม่เปิดเผยหรือบอกกล่าวข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลภายในให้แก่บุคคลใดก่อนการแจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ 2. ผูบ้ ริหารและพนักงานของบริษทั ควรหลีกเลีย่ งการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ในระหว่างช่วงเวลา 30 วัน ก่อนวันทีบ่ ริษทั จะประกาศ ผลประกอบการรายไตรมาสหรือผลประกอบการประจําปี 3. กำ�หนดช่วงเวลางดรับนัดหรือตอบคำ�ถามเกีย่ วกับผลประกอบการในอนาคตอันใกล้ (Silent Period) ซึง่ กำ�หนดให้มรี ะยะเวลา 30 วัน ก่อนการประกาศผลการดำ�เนินงานอย่างเป็นทางการต่อตลาดหลักทรัพย์ เพือ่ ให้เกิดความเพียงพอและสม่�ำ เสมอของการรับรูข้ อ้ มูลต่อนักลงทุน เอไอเอสจึงทำ�การเปิดเผยข้อมูลทีม่ สี าระสำ�คัญต่อการตัดสินใจ ลงทุนเป็นประจำ�รายไตรมาสและรายปี โดยเผยแพร่ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนี้ ข้อมูลที่เปิดเผยประจำ�ไตรมาส

• รายงานงบการเงินรายไตรมาส • ข้อมูลผลการดำ�เนินงานและรายงานการวิเคราะห์ ของฝ่ายบริหารรายไตรมาส • เหตุการณ์สำ�คัญที่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน ของบริษัท • วารสารนักลงทุนประจำ�ไตรมาส

ข้อมูลที่เปิดเผยประจำ�ปี

• รายงานงบการเงินรายปี • ข้อมูลผลการดำ�เนินงานและรายงานการวิเคราะห์ ของฝ่ายบริหารรายปี • กลยุทธ์และทิศทางการดำ�เนินธุรกิจ รวมถึงคาดการณ์ ทางการเงินรายปี • รายงานประจำ�ปี และรายงานพัฒนาความยั่งยืน

ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นการเสริมช่องทางการรับรูข้ อ้ มูลให้สะดวกทัว่ ถึง รวมถึงสร้างความชัดเจนในการสือ่ สารข้อมูล นอกเหนือจากช่องทางการ เปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์จึงได้จัดสรรให้มีช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตอบสนอง ความต้องการและความสะดวกของผูถ้ อื หุน้ และนักลงทุนแต่ละกลุม่ ทัง้ นี้ ข้อมูลทีเ่ ปิดเผยผ่านช่องทางต่างๆ จะต้องเป็นข้อมูลทีเ่ ปิดเผย ต่อสาธารณะตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แล้วเท่านั้น โดยมีช่องทางการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้

รายงานประจำ�ปี 2559

080


ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล

ข้อมูลที่เปิดเผย

อีเมลกลางของส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ เป็นช่องทางเพิม่ เติมในการส่งสารสนเทศทีเ่ ปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว investor@ais.co.th เช่น ผลการดำ�เนินงานประจำ�ไตรมาส รวมถึงการแจ้งข่าวสารอืน่ ๆ เช่น การจัดกิจกรรม นักลงทุน ซึ่งนักลงทุนและนักวิเคราะห์สามารถสมัครการรับข่าวสารผ่านช่องทางนี้ การเปิดให้นักลงทุนเข้าพบที่บริษัท หรือการทำ� conference call

เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้สอบถามเพิ่มเติม ถึงกลยุทธ์การดำ�เนินงานจากผูบ้ ริหารโดยตรงในช่วงหลังการประกาศผลประกอบการ รายไตรมาส

การออกพบปะนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ (Roadshow)

เพื่อพบปะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการออกพบปะนักลงทุนในประเทศ ผ่านงาน Opportunity Day ของตลาดหลักทรัพย์ และการเยีย่ มห้องค้าของโบรกเกอร์ ต่างๆ

เว็บไซต์ http://investor.ais.co.th

เพื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ นั ก ลงทุ น และนั กวิ เ คราะห์ เช่ น ผลประกอบการย้อนหลัง งบการเงิน รายงานประจำ�ปี แบบ 56-1 ข้อมูลพืน้ ฐานเกีย่ วกับ อุตสาหกรรม ข่าวสารแจ้งตลาดหลักทรัพย์ ปฏิทินนักลงทุน แจ้งกำ�หนดการจัดการ ประชุมผูถ้ อื หุน้ ข้อมูลหลักทรัพย์ การจ่ายเงินปันผล โครงสร้างการบริหารจัดการของ บริษัทรวมถึงนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เป็นต้น

วารสารนักลงทุน

เพือ่ สรุปข้อมูลทางการเงินในไตรมาสล่าสุด และพัฒนาการทางธุรกิจของบริษทั ในช่วง ที่ผ่านมา เช่น สินค้าและบริการใหม่ๆ หรือรางวัลที่ได้รับ ให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบ โดย ออกเป็นวารสารไตรมาสละครั้ง

ช่องทางประชาสัมพันธ์อื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ งานสัมมนา

เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำ�เนินงานและกลยุทธ์ของเอไอเอสต่อสาธารณะทั่วไป โดยทำ�งานร่วมกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัท

ในปีที่ผ่านมา ด้วยการตระหนักถึงความสำ�คัญในการทำ�หน้าที่สื่อสารข้อมูลเชิงกลยุทธ์และข้อมูลสำ�คัญต่างๆ แก่นักลงทุนอย่าง เข้มข้นขึ้น ตามสถานการณ์ของเอไอเอสและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่วนงานนักลงทุน สัมพันธ์จงึ ได้มกี ารจัดสรรช่องทางการสือ่ สารกับนักลงทุนอย่างใกล้ชดิ มากขึน้ โดยมีการออกให้ขอ้ มูลแก่กลุม่ นักลงทุนรายย่อยทีห่ อ้ งค้า อย่างน้อยไตรมาสละครั้ง และมีการตอบคำ�ถามนักลงทุนบนเว็บไซต์การลงทุนตามสมควร รวมถึงออกพบปะกับนักลงทุนต่างประเทศ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น พบปะกับกองทุนที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารระดับกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ได้รับการสนับสนุน เป็นอย่างดีจากผู้บริหารระดับสูงของเอไอเอส เช่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเงิน และกรรมการผู้อ�ำ นวยการ โดยผูบ้ ริหารได้จดั สรรเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพือ่ แถลงนโยบายและทิศทางของเอไอเอส รวมถึงพบปะนักลงทุน อย่างสม่ำ�เสมอทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ ได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแถลง ผลประกอบการและการพบปะนักลงทุนต่างๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

081

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


กิจกรรมทีเ่ กีย่ วกับการแถลงผลประกอบการประจำ�ไตรมาส กิจกรรม

แถลงผลประกอบการ ประจำ�ไตรมาส

2559

รายไตรมาส (4 ครั้ง)

วัตถุประสงค์

กลุ่มนักลงทุนที่เข้าร่วม

แถลงผลการดำ�เนินงาน นักวิเคราะห์และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / ประจำ�ไตรมาสและ นักลงทุนสถาบัน กรรมการผู้อำ�นวยการ / ตอบข้อซักถาม ทั้งในและต่างประเทศ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการเงิน

แถลงทิศทางการดำ�เนิน วาระกลางปีและ ชี้แจงผลการดำ�เนินงาน นักวิเคราะห์และ ธุรกิจและกลยุทธ์ วาระสิ้นปี (2 ครั้ง) แนวทางและกลยุทธ์ นักลงทุนสถาบันใน ในการดำ�เนินงานในรอบ และต่างประเทศ ครึ่งปีและรอบสิ้นปี พร้อมตอบข้อซักถาม งานบริษัทจดทะเบียน รายไตรมาส พบนักลงทุนจัดโดย (9 ครั้ง) ตลาดหลักทรัพย์ และ พบปะนักลงทุนที่ห้องค้า

ผู้บริหารที่เข้าร่วม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการเงิน / ผู้บริหาร ในสายงานอื่นๆ

แถลงผลการดำ�เนินงาน นักลงทุนรายบุคคล ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ ประจำ�ไตรมาสและ ทีป่ รึกษาการลงทุน ตอบข้อซักถาม และนักวิเคราะห์

กิจกรรมพบปะนักลงทุน กิจกรรม

2559

วัตถุประสงค์

กลุ่มนักลงทุนที่เข้าร่วม

ผู้บริหารที่เข้าร่วม

เดินทางพบนักลงทุนใน และนอกประเทศ (Roadshow)

22 ครั้ง

สื่อสารในด้านภาพรวม นักลงทุนสถาบัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / การดำ�เนินงาน ทิศทาง ทัง้ ในและต่างประเทศ หัวหน้าคณะผู้บริหาร และกลยุทธ์ของบริษัท ด้านการเงิน

เปิดโอกาสนักลงทุน เข้าพบที่บริษัท (Company Visit)

103 ครั้ง

เปิดโอกาสให้นักลงทุน นักวิเคราะห์และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / นัดหมายเพื่อเข้าพบและ นักลงทุนสถาบัน หัวหน้าคณะผู้บริหาร ซักถามการดำ�เนินงาน ทั้งในและต่างประเทศ ด้านการเงิน ทิศทางและกลยุทธ์ ของบริษัท

นอกจากนี้ ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ได้มีการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของนักลงทุน (Investor Feedback) ที่มโี อกาสติดต่อกับส่วน งานนักลงทุนสัมพันธ์เป็นประจำ�ทุกปี เพื่อนำ�ข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาและปรับปรุงส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในห้าปีที่ผ่านมา ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติอย่างสม่�ำ เสมอต่อเนื่อง ทั้งรางวัลจาก SET Awards โดย ตลาดหลักทรัพย์ และรางวัล IR ยอดเยีย่ มจากสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และล่าสุดในปี 2559 ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ของเอไอเอส ได้รับรางวัล Best in sector ในหมวด Communications โดย IR Magazine Awards - South East Asia 2016 และรางวัล Outstanding Investor Relations Awards สำ�หรับบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่า 1 แสนล้านบาท จากงาน SET Awards 2016 โดยตลาดหลักทรัพย์ ผูถ้ อื หุน้ และนักลงทุนสามารถติดต่อเจ้าหน้าทีน่ กั ลงทุนสัมพันธ์และกำ�กับดูแลการปฏิบตั งิ านได้โดยตรงผ่านทางโทรศัพท์ หมายเลข 02 029 3112 หรือ 02 029 5014 โทรสาร หมายเลข 02 029 5165 และทางอีเมล investor@ais.co.th

รายงานประจำ�ปี 2559

082


การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การบริหารความเสีย่ ง

การบริหารความเสีย่ งเป็นกระบวนการสำ�คัญทีจ่ ะช่วยส่งเสริม ให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม บริษัทมีการดำ�เนินงานตามนโยบายและกรอบ แนวทางการบริหารความเสี่ยงแบบทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) ซึ่งครอบคลุมทั้งในระดับองค์กร และระดับปฏิบัติงาน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับ ที่ยอมรับได้ รวมทั้งกำ�หนดให้พนักงานมีการวัดประสิทธิผลของ

6

ติดตาม และรายงานผล อย่างสม่ำ�เสมอ

5

กำ�หนด กิจกรรมควบคุม

การควบคุมด้วยตนเอง (Control Self-Assessment : CSA) ซึง่ เป็น การส่งเสริมให้พนักงานมีความรับผิดชอบในการประเมินความเสีย่ ง และพัฒนาระบบการควบคุมภายในด้วยตนเองอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ กำ � หนดกรอบโครงสร้ า งและกระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย ง อ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ทั้งนี้ รายละเอียดเพิม่ เติมในเรือ่ งการประเมินความเสีย่ ง สามารถศึกษา ได้จากหน้า 87-88

1

กำ�หนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย

กรอบโครงสร้าง และกระบวนการ บริหารความเสี่ยง ของเอไอเอส

4

2

ระบุเหตุการณ์ หรือปัจจัยเสี่ยง

3

ประเมินความเสี่ยง

ตอบสนอง ต่อความเสี่ยง

กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 1. การกำ�หนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ในระดับบริษัท และหน่วยงานให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ซึ่งกำ�หนดโดยคณะกรรมการบริษัท และมีการทบทวนความเสี่ยงที่ยอมรับได้ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำ�เนินงาน เป็นประจำ�ทุกปี 2. การระบุเหตุการณ์หรือปัจจัยเสีย่ ง ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ แล้วส่งผลกระทบต่อการบรรลุวตั ถุประสงค์ และเป้าหมายของบริษทั ทัง้ ทีเ่ กิดจาก ปัจจัยภายใน เช่น กระบวนการทำ�งาน บุคลากร และปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ความต้องการของลูกค้า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบต่างๆ เป็นต้น 3. การประเมินระดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจาก 2 มุมมอง ได้แก่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง ร่วมกับโอกาส ที่จะเกิดของความเสี่ยงนั้นๆ และการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบของความเสี่ยงใดๆ ที่อาจส่งผลต่ออีกความเสี่ยงหนึ่ง 4. การตอบสนองต่อความเสี่ยง ตามแต่ละระดับของความเสี่ยงด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยคำ�นึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับ จากการดำ�เนินการ 5. การกำ�หนดกิจกรรมควบคุม หรือแผนงานเพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ 6. การติดตามให้มกี ารดำ�เนินการตามกิจกรรมควบคุมที่ได้กำ�หนดไว้อย่างเหมาะสม และมีการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงให้กบั คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นประจำ� 083

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริ ษั ท ได้ จั ด ให้ มี ค ณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งที่ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากแต่ละสายงาน และมีประธาน กรรมการบริ หาร เป็น ประธานคณะกรรมการ เพื่อทำ �หน้าที่ รับผิดชอบในการกำ�หนดนโยบายและวางกรอบแนวทางการบริหาร ความเสี่ ย งขององค์ กร รวมทั้ ง พิ จารณาแจกแจงความเสี่ ย ง ขององค์กรประเมินและจัดอันดับความเสี่ยง กำ�หนดแนวทาง

การบริหารความเสีย่ ง มอบหมายผูร้ บั ผิดชอบเพือ่ จัดให้มมี าตรการ ควบคุมและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้ สามารถบรรลุเป้าหมายและกลยุทธ์ที่กำ�หนดไว้ และเพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยโครงสร้ า งการกำ � กั บ ดู แ ลเรื่ อ งการบริ ห ารความเสี่ ย ง เป็นดังนี้

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (RCM) ประธานกรรมการบริหาร (ประธาณคณะกรรมการ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (รองประธาณคณะกรรมการ) สำ�นักบริหารจัดการ ความเสี่ยงองค์กร (เลขานุการ)

ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร รั บ ผิ ด ชอบในการนำ � นโยบาย และกรอบการบริ ห ารความเสี่ ย งไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ทั่ ว ทั้ ง องค์ กร ผ่านทางผู้บริหารของแต่ละสายงาน และพนักงานทุกระดับในการ กำ � หนดวั ต ถุ ป ระสงค์ ระบุ แ ละจั ด การความเสี่ ย งภายใต้ ความรับผิดชอบของแต่ละสายงาน ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยั ง มี การติ ด ตามให้ เ กิ ด การนำ � ไปใช้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภาพและ ประสิทธิผลอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ การบรรลุผลสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ งมีการประชุมเป็นรายไตรมาส เพือ่ พิจารณาประเด็นความเสีย่ งใหม่ ประเมินระดับความเสีย่ ง พร้อม ทัง้ พิจารณาความสัมพันธ์จากผลกระทบของความเสีย่ งแต่ละเรือ่ ง ทบทวนระดับของความเสีย่ งเดิมทีไ่ ด้ระบุไว้แล้ว และติดตามความสำ�เร็จ ของการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาจากแผนงานของฝ่าย จัดการทีร่ บั ผิดชอบในปัจจัยความเสีย่ งต่างๆ และผลสำ�เร็จของตัว วัดผลที่เชื่อถือได้จากการปฏิบัติงานตามแผนงานนั้น

หัวหน้าคณะ ผู้บริหารด้านต่างๆ (กรรมการ)

ส่วนงานกฎหมาย (กรรมการ)

นอกเหนือจากนี้ ในปี 2559 บริษัทได้กำ�หนดให้มีการรายงาน ผลของการดำ�เนินการบริหารความเสี่ยงในระดับสายงานในการ ประชุมซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธานในการประชุม เพือ่ รับทราบประเด็นความเสีย่ งต่างๆ รวมทัง้ แนวทางในการจัดการ ความเสี่ยงของแต่ละสายงาน เพื่อให้มั่นว่าการบริหารความเสี่ยง ของแต่ ล ะสายงานดำ � เนิ น ไปได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และ ประสิทธิผลอย่างแท้จริง รวมทัง้ เพือ่ เป็นการเฝ้าระวังว่าความเสีย่ ง ในทุกระดับของบริษัทมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม และ อยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตามที่บริษัทกำ�หนดไว้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้นำ�เสนอผลการบริหาร ความเสี่ยงให้คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบเป็นประจำ�ทุกไตรมาส เพื่อให้ มีการติดตามอย่างใกล้ชิด และมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงอยู่ในระดับ ที่ยอมรับได้ รวมทั้งบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายที่ก�ำ หนดไว้ รายงานประจำ�ปี 2559

084


การบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ (Business Continuity Management)

เอไอเอสนำ�ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ภายใต้ กรอบการดำ�เนินงานตามหลักมาตรฐานสากลทางด้านการบริหาร ความต่อเนือ่ งทางธุรกิจมาใช้เพือ่ เตรียมการรับมือหากเกิดเหตุการณ์ ต่างๆ เช่น กรณีที่เกิดภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ ความผิดพลาดต่างๆที่ไม่อยู่ในความควบคุม ซึง่ เหตุการณ์ดงั กล่าว อาจส่งผลกระทบให้เกิดการหยุดชะงักของระบบปฏิบัติงานหลัก และอาจก่อให้เกิดความสูญเสีย เสียหายต่อทรัพย์สนิ และบุคลากร ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการธุรกิจที่สำ�คัญของบริษัท (Critical

Business Process) ทัง้ ส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค รวมถึงบริษทั ต่างๆ ในเครือที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management Committee) ประกอบด้วย ผูบ้ ริหารระดับสูงของแต่ละสายงาน มีประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารเป็น ประธาน เพือ่ กำ�กับดูแลให้การบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจเป็นไป อย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน

กระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประกอบไปด้วย 4 กระบวนการหลัก ดังนี้

การออกแบบ และจัดทำ�แผน

การทบทวนและ ปรับปรุงแผนงาน

กระบวนการบริหาร ความต่อเนื่อง ทางธุรกิจ

การนำ�ไปปฏิบัติ

การฝึกซ้อม ตามแผนงาน

• 085

การออกแบบและจัดทำ�แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ : นำ�เป้าหมายด้านการบริหารความต่อเนือ่ งในการดำ�เนินธุรกิจ ของกระบวนธุรกิจหลัก มาออกแบบและจัดทำ�แผนความ ต่อเนื่องทางธุรกิจที่สามารถรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดย พิจารณาจากวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis: BIA) ประกอบกับการพิจารณาความเสี่ยงของ เหตุการณ์ตา่ งๆทีอ่ าจเกิดขึน้ เพือ่ ระบุบริการหรือกระบวนการ ทำ�งานที่สำ�คัญ และผลกระทบจากการหยุดชะงักของบริการ หรือกระบวนการดังกล่าว รวมถึงกำ�หนดช่วงเวลาหยุดชะงัก และระดั บ การดำ � เนิ น งานที่ ย อมรั บ ได้ ข องแต่ ล ะบริ ก าร/ กระบวนการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

• •

การนำ�แผนบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจไปปฏิบตั ิ : นำ�แผน บริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจทีอ่ นุมตั แิ ล้วไปดำ�เนินการตาม ที่ระบุในแผนงาน และสื่อสารแผน บริหารความต่อเนื่องทาง ธุรกิจพร้อมทำ�ความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง จั ด เตรี ย มทรั พ ยากรทั้ ง จากภายในและภายนอกที่ จำ � เป็ น ในการดำ�เนินการตามแผนความต่อเนือ่ งทางธุรกิจให้เพียงพอ การซ้อมแผน และทำ�ให้แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นปัจจุบนั : จัดการฝึกซ้อมแผนบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ ตามกำ�หนดเวลาและเป้าหมายทีก่ �ำ หนดไว้ พร้อมทำ�การปรับปรุง แผนงาน ให้เป็นปัจจุบัน และรายงานผลการซ้อมแผนบริหาร


ความต่ อ เนื่ อ งทางธุ ร กิ จ ต่ อ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาผู้ รั บ ผิ ด ชอบ แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจนั้น รวมทั้งรายงานต่อ คณะกรรมการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ให้รับทราบ การทบทวน และปรับปรุงระบบการบริหารความต่อเนื่อง ในการดำ�เนินธุรกิจ : การปรับปรุงแก้ไขแผนการบริหารจัดการ ความต่อเนื่องทางในการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสอดรับกับระดับความเสี่ยงที่บริษัทเผชิญอยู่ในเวลานั้น

ที่สำ�คัญได้ พนักงานที่เกี่ยวข้องจึงจำ�เป็นต้องย้ายไปปฏิบัติงาน ยังสถานทีป่ ฏิบตั งิ านฉุกเฉินที่ได้มกี ารกำ�หนดไว้ รวมทัง้ การจำ�ลอง เหตุการณ์ฉุกเฉินกรณีศูนย์จัดเก็บข้อมูลหลักของบริษัทเสียหาย จนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการให้บริการ ต่างๆ ของบริษัท โดยที่บริษัทได้จัดเตรียมแผนการปฏิบัติงาน ต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะทำ�ให้บริษัท สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตามแผนบริหารความต่อเนื่อง ทางธุรกิจที่ได้ก�ำ หนดไว้เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าบริษทั จะสามารถตอบสนอง เอไอเอสดำ�เนินกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และบริหารจัดการความต่อเนือ่ งทางธุรกิจเมือ่ ประสบกับเหตุการณ์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน และระบบงาน ไม่คาดคิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สำ�คัญต่างๆ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในแง่ของโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นๆ และ การควบคุมภายใน ผลกระทบหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เพื่อดำ�เนินการจัดทำ�แผน เอไอเอสเล็งเห็นความสำ�คัญของระบบการควบคุมภายในซึ่ง บริ ห ารความต่ อ เนื่ อ งทางธุ ร กิ จ ในระดั บ องค์ กร เพื่ อ รองรั บ เป็นกลไกสำ�คัญต่อการป้องกัน บริหาร จัดการความเสี่ยงหรือ เหตุ ฉุกเฉิ น หรือ ภาวะวิก ฤติ ที่อาจส่ง ผลเสียหายต่ออาคาร ความเสียหายต่างๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ กับบริษทั และผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทัง้ นี้ สำ�นักงาน หรือความสูญเสีย เสียหายต่อทรัพย์สิน และบุคลากร เพื่อให้สามารถบรรลุผลสำ�เร็จของการดำ�เนินธุรกิจทั้งในด้านการ ของเอไอเอส บริหารงานที่มีประสิทธิผล การจัดทำ�แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับหน่วยงาน คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำ�คัญของการมีระบบ จากการประเมิ น ผลกระทบทางธุ ร กิ จ หากไม่ ส ามารถดำ � เนิ น การควบคุมภายในที่ดีของเอไอเอสและบริษัทย่อย เอไอเอสจึง กิจกรรมต่างๆ ในแต่ละหน่วยงานได้ เพือ่ จัดทำ�แผนความต่อเนือ่ ง ได้นำ�การควบคุมภายในตามกรอบแนวทาง COSO 2013 (The ในการดำ�เนินธุรกิจสำ�หรับกระบวนการธุรกิจที่สำ�คัญของแต่ละ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway หน่ ว ยงาน ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบโดยตรงต่ อ ความต่ อ เนื่ อ งในการ Commission) ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ โดยแบ่งเป็น ให้บริการแก่ลูกค้า 17 หลักการมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบระบบการ การจั ด ทำ � แผนการกู้ คื น ระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ ปฏิบัติงานและนำ�ไปปฏิบัติใช้จริง ในการบริหารงานของเอไอเอส เพื่ อ รวบรวมกลยุ ท ธ์ แ ละขั้ น ตอนในการกู้ คื น ระบบเทคโนโลยี และบริษทั ย่อย เพือ่ ให้การบริหารจัดการเป็นมาตรฐานและบรรลุผล สารสนเทศที่ ส นั บ สนุ น การดำ� เนิ น งานของกระบวนการธุ ร กิ จ ตามวัตถุประสงค์ในทุกระดับการปฏิบัติงาน ที่ สำ � คั ญ ตลอดจนทรั พ ยากรที่ จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ใ นการกู้ คื น เอไอเอสมุ่งเน้นให้คณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้บริการหลัก ตระหนักเรื่องการควบคุมภายในที่ดี โดยคณะกรรมการบริษัท ที่สำ�คัญของบริษัทสามารถกลับมาใช้งานได้ตามกำ�หนดเวลาและ พิจารณาแล้วเห็นว่าเอไอเอสมีบุคลากรที่มีความสามารถและ ระดับการดำ�เนินงานที่ยอมรับได้ของแต่ละบริการ/กระบวนการ จำ�นวนเพียงพอในการดำ�เนินการตามระบบการควบคุมภายในที่ได้ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของเอไอเอส กำ�หนดให้ กำ�หนดไว้ รวมทัง้ มีระบบการควบคุมภายในสำ�หรับติดตามควบคุม ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าสายงานที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดทำ�แผน ดูแลการดำ�เนินงานและทรัพย์สินของเอไอเอสและบริษัทย่อยจาก บริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อรองรับกระบวนธุรกิจหลัก การที่คณะกรรมการหรือฝ่ายบริหารจะนำ�ไปใช้โดยมิชอบหรือ (Critical Business Processes) ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการ ไม่มีอำ�นาจ รวมถึงการทำ�ธุรกรรมกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ส่งมอบบริการหลัก (Critical Services) และถือเป็นความรับผิดชอบ ทางผลประโยชน์และบุคคลที่เกี่ยวโยงกันอย่างเพียงพอแล้ว ของผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาทุ กระดั บ และพนั ก งานทุ ก คนที่ จ ะต้ อ งให้ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 3 ความร่วมมือในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการบริหารความ กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีคณะกรรมการอิสระทัง้ 4 ท่าน เข้าร่วมประชุม ต่อเนื่องทางในการดำ�เนินธุรกิจ เช่น การจัดทำ�แผนการจัดเตรียม ด้วย คณะกรรมการบริษัทได้ประเมินความเพียงพอของระบบ โครงสร้างพื้นฐานตามแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดย การควบคุมภายในของบริษัทโดยใช้แบบประเมินความเพียงพอ เฉพาะอย่างยิง่ การฝึกซ้อม และการทบทวนปรับปรุงแก้ไขแผนงาน ของระบบการควบคุ ม ภายใน ตามแนวทางที่ สำ � นั ก งานคณะ เพือ่ ให้มนั่ ใจในประสิทธิผลของแผนบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ กรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำ�หนด ในปี 2559 ได้มีการฝึกซ้อมตามแผนบริหารความต่อเนื่อง โดยผลการประเมินสรุปได้ว่าบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มี ทางธุรกิจในกระบวนการหลัก ได้แก่ การเกิดภาวะฉุกเฉินที่ ประสิทธิผลเหมาะสมเพียงพอต่อการดำ�เนินธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่พบข้อ อาคารสำ�นักงานใหญ่ ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าปฏิบตั งิ านระบบงาน บกพร่องที่มีสาระสำ�คัญเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน รายงานประจำ�ปี 2559

086


นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีของบริษัท คือ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีภายนอกได้ประเมิน ประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในของปี 2559 และให้ความ เห็นว่าบริษทั มีระบบการควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิผลเพียงพอและ เหมาะสม

ระบบการควบคุมภายในของเอไอเอสประกอบด้วย 5 องค์ ประกอบ โดยแบ่งเป็น 17 หลักการ ดังนี้

สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Control Environment) คณะกรรมการบริษทั ตระหนักถึงการมีสภาพแวดล้อมของการ ควบคุมภายในทีด่ ซี งึ่ เป็นรากฐานเพือ่ สนับสนุนให้เอไอเอสมีระบบ การควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิผลทัว่ ทัง้ องค์กร ทัง้ นี้ องค์ประกอบ หลักของสภาพแวดล้อมการควบคุมของเอไอเอส มีดังนี้ คณะกรรมการบริษทั ส่งเสริมคุณค่าความซือ่ ตรงและจริยธรรม ในการเป็นแบบอย่างทีด่ ที งั้ การประพฤติตนและการปฏิบตั งิ าน ผ่าน การบริหารจัดการตามลำ�ดับสายการรายงาน และการมอบหมาย หน้าทีค่ วามรับผิดชอบอย่างชัดเจนเพือ่ ให้พนักงานสามารถปฏิบตั ิ ตนได้ตามที่บริษัทคาดหวัง เอไอเอสยังมุ่งเน้นให้ผู้บริหารและ พนักงานมีการปฏิบัติตนอย่างซื่อตรงและยึดมั่นต่อคุณค่าของ จริยธรรม จึงได้จดั ทำ�ประมวลจริยธรรมธุรกิจเพือ่ ใช้เป็นแนวปฏิบตั ิ ให้แก่ กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน นอกจากนี้ ยังมีนโยบาย การรับแจ้งข้อมูลการกระทำ�ผิดและการทำ�ทุจริต การสอบสวน และการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล (Whistle Blower Policy) ซึ่งได้จัด ทำ�ช่องทางพิเศษสำ�หรับการรับแจ้งข้อมูลทั้งภายในและภายนอก รายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและ/หรือ คณะกรรมการ บริษทั อย่างสม่�ำ เสมอ นอกจากนี้ จากการประกาศเจตนารมณ์แนว ร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต เอไอเอส ได้รับประกาศนียบัตรรับรองฐานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติจาก คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้าน การทุจริตในเดือนมกราคม ปี 2559 และได้จัดทำ�นโยบายต่อต้าน การให้หรือรับสินบนและการคอร์รปั ชัน่ เป็นแนวทางให้กบั เอไอเอส และบริษัทย่อยปฏิบัติ ในปี 2559 หน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำ�แบบสอบถามเพือ่ ประเมินความเข้าใจและการปฏิบตั ติ ามประมวลจริยธรรมธุรกิจและ นโยบายต่อต้านการให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชั่น สอบถาม ผู้บริหาร พนักงานบริษัทและบริษัทย่อย และจัดส่งแบบสอบถาม ให้กบั พนักงานภายนอกผูใ้ ห้บริการและคูค่ า้ ผลการประเมินสรุปว่า ผู้บริหาร พนักงาน ที่ตอบแบบสอบถามรวมประมาณ 99% โดย ได้คะแนนความเข้าใจถูกต้อง 94% สำ�หรับพนักงานภายนอกผู้ให้ บริการและคูค่ า้ ทีต่ อบแบบสอบถามรวมประมาณ 68% ได้คะแนน ความเข้าใจถูกต้อง 89% และได้รายงานผลการประเมินต่อ คณะ กรรมการจริยธรรมธุรกิจรับทราบเป็นข้อมูลปรับปรุงกระบวนการ ส่งเสริมจริยธรรมต่อไป 087

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทมีความอิสระจากฝ่ายบริหาร มีความรู้ ความสามารถอย่างเพียงพอในการกำ�กับดูแลการบริหารจัดการ โดยจัดโครงสร้างสายการรายงานแยกเป็นส่วนปฏิบัติงานธุรกิจ หลัก ทีม่ สี ว่ นงานตรวจทานคุณภาพการปฏิบตั งิ านแยกต่างหากอีก ลำ�ดับเพือ่ ให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกัน โดยการกำ�หนด และจำ�กัดอำ�นาจการดำ�เนินการในระดับบริหารและระดับปฏิบัติ การไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารได้กำ�หนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นแผนธุรกิจประจำ�ปี มีการ สื่อสารทำ�ความเข้าใจกับผู้บริหารและพนักงาน เพื่อไม่ให้เกิดแรง กดดันต่อพนักงานมากเกินไป รวมทัง้ พิจารณาให้รางวัลตอบแทน ที่สอดคล้องกับข้อกำ�หนดของแผนธุรกิจ บุคลากรของเอไอเอสเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ความ เชี่ยวชาญที่เหมาะสมเพียงพอต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะ กรรมการบริษทั มีการกำ�หนดแผนและกระบวนการสรรหาผูส้ บื ทอด ตำ�แหน่งทีส่ �ำ คัญ (Succession Plan) เพือ่ ให้บริษทั สามารถดำ�เนิน ธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกำ�หนดนโยบายส่งเสริมการ พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานซึ่งจัดทำ�เป็นกรอบการ พัฒนาบุคคลากรตามสายวิชาชีพทีป่ ระกอบด้วยการฝึกอบรมด้าน ธุรกิจควบคูก่ บั ทักษะการบริหารบุคคลากร (Soft Skill) นอกจากนัน้ บริษทั มีการส่งเสริมการได้รบั วุฒบิ ตั รทางวิชาชีพ เช่น ระบบความ ปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคนิควิทยาการทันสมัย เพือ่ การ ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมีขั้นตอน ในการจู ง ใจ การพั ฒ นา และการรั ก ษาพนั ก งานที่ มี ความรู้ ความสามารถ โดยมีวิธีการประเมินผลและการให้ค่าตอบแทนที่ เหมาะสม การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เอไอเอสได้จัดทำ�นโยบายการบริหารความเสี่ยง ซึ่งกำ�หนด กรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยง หน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งจัดทำ�คู่มือกระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นแนวทางการ บริหารความเสี่ยงให้ผู้บริหาร พนักงาน ทุกระดับ สำ�หรับบริหาร จัดการความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงานของตนเองให้อยู ใน ระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนั้น ยังได้จัดทำ�นโยบายการบริหาร ความเสี่ยงด้านทุจริต (Fraud Risk Management Policy) เป็น แนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านทุจริตทั้งจากปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก เอไอเอสกำ�หนดวัตถุประสงค์การดำ�เนินงานไว้ในแผนธุรกิจ ประจำ�ปีอย่างชัดเจนครอบคลุมทั้งด้านรายได้ค่าบริการ คุณภาพ เครื อ ข่ า ยโทรคมนาคม การดู แ ลลู ก ค้ า การจั ด การด้ า นการ รับ-จ่ายเงิน การบริหารทรัพยากรบุคคล ทรัพย์สนิ ของบริษทั และการ ปฏิบัติตามกฏหมาย ข้อบังคับของหน่วยงานกำ�กับดูแลกิจการ ที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายจัดการมีการกำ�หนดวัตถุประสงค์ทั้งในระดับ หน่วยงาน และระดับปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ของบริษัท สื่อสารให้


พนักงานรับทราบและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจนทำ�ให้ พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำ หนด ผูบ้ ริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กร รับผิดชอบในการระบุ ประเมินความเสีย่ ง ตามกระบวนการทีก่ �ำ หนดในคูม่ อื กระบวนการ บริหารความเสี่ยง รวมทั้งกำ�หนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ทั้ง ระดับองค์กรและระดับหน่วยงานเพื่อกำ�หนดมาตรการจัดการที่ เหมาะสม และติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เพื่อให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็น ระบบครอบคลุมทุกระดับ มีการแต่งตั้งผู้ประสานงานการบริหาร ความเสีย่ ง (ERM Facilitator) ประจำ�หน่วยงาน ซึง่ ได้รบั การอบรม ความรู้กระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน อย่างครบถ้วน ทำ�หน้าที่ให้คำ�แนะนำ�ประสานงานการประเมิน ความเสี่ยงภายในหน่วยงานของตนเอง นำ�มาจัดทำ�แผนการ บริหารความเสีย่ งของหน่วยงานให้ผบู้ ริหารใช้เป็นเครือ่ งมือในการ ติดตามผลการดำ�เนินงาน และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการควบคุม ภายในโดยการประเมินตนเอง (Control Self-Assessment) ใน กระบวนการปฏิบัติงานที่สำ�คัญขององค์กร โดยแผนการบริหาร ความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานต้องจัดส่งให้กับหน่วยงานบริหาร ความเสี่ยงขึ้นทะเบียนเป็นความเสี่ยงระดับหน่วยงาน การจัดทำ�กรอบการบริหารความเสีย่ งด้านทุจริตครอบคลุมถึง การกำ�หนดกระบวนการ หน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการประเมิน ความเสี่ยงด้านทุจริต และได้รวบรวมประเด็นความเสี่ยงด้าน ทุจริตจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก (Fraud Risk Scheme and Scenario - Internal & External Fraud) ซึ่งเป็นการกำ�หนด ประเภทการทุจริตตามกรอบแนวทางของ Association of Certified Fraud Examiners (ACFE) ใช้เป็นข้อมูลสำ�หรับผูป้ ฏิบตั งิ านหน่วย งานต่างๆ เช่น Security Team, Fraud Management, หน่วยงาน จัดซื้อ, หน่วยงานบัญชี เป็นต้น พิจารณาประกอบการระบุความ เสี่ยงด้านทุจริตได้อย่างครอบคลุมทุกลักษณะ สำ�หรับการเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญในธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ได้ มี การนำ � มาพิ จารณาประกอบการประเมิ น ความเสี่ ย งของ บริษัทอย่างรัดกุมเพื่อกำ�หนดแผนจัดการอย่างเหมาะสมทันเวลา ตัวอย่างเช่น การใช้ Data ในยุค Digital Economy ซึ่งเป็น เทคโนโลยีใหม่ที่จะมีการนำ�มาใช้ในอนาคตอันใกล้ ผู้บริหารเล็ง เห็นว่าเป็นเหตุการณ์สำ�คัญซึ่งบริษัทต้องเตรียมความพร้อมและ ได้กำ�หนดมาตรการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control Activities) เอไอเอสได้เลือกและพัฒนากิจกรรมการควบคุมให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเสีย่ งและลักษณะเฉพาะของบริษทั โดยจัดให้มี การควบคุมผ่านทางนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่ง จะช่วยให้มนั่ ใจว่าการควบคุมใดๆ ของฝ่ายบริหารทีน่ �ำ ไปปฏิบตั นิ นั้ สามารถจัดการความเสี่ยงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท

กิ จ กรรมการควบคุ ม ของบริ ษั ท จะถู ก ดำ � เนิ น การในทุ กระดั บ ทุกกระบวนการทางธุรกิจ โดยมีการคำ�นึงถึงอำ�นาจการอนุมตั ิ การ สอบทาน การกระทบยอด และการแบ่งแยกหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้สร้างความตระหนักรู้ และผลักดัน แนวทางความรับผิดชอบการบริหารความเสีย่ งและการควบคุมทีด่ ี ตามแนวทางป้องกัน 3 ระดับ (Three lines of defense) คือ ระดับที่ 1 แผนกต่างๆ ระดับที่ 2 การบริหารความเสี่ยงและการกำ�กับดูแล และระดับที่ 3 การตรวจสอบภายใน สภาพแวดล้อม ความซับซ้อนของงาน ลักษณะงาน ขอบเขต การดำ�เนินงาน และลักษณะเฉพาะอื่นๆ ของบริษัทเป็นปัจจัยใน การพิจารณารูปแบบกิจกรรมการควบคุมที่หลากหลายระหว่าง การควบคุมแบบใช้บุคคล (Manual Control) และแบบอัตโนมัติ (Automated Control) ซึง่ ออกแบบให้มกี จิ กรรมการควบคุมทีผ่ สม ผสานทั้งแบบป้องกัน (Preventive Control) และแบบตรวจพบ (Detective Control) เช่น สร้างระบบสารสนเทศเพือ่ เช็คสอบความ ผิดปกติของรายการทีส่ ำ�คัญ เพือ่ ให้มคี วามแม่นยำ� รวดเร็ว โดยมี การคำ�นึงถึงการแบ่งแยกหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในงาน 3 ด้าน คือ หน้าที่การอนุมัติ หน้าที่บันทึกรายการบัญชีและข้อมูลสารสนเทศ หน้าที่ในการดูแลจัดเก็บทรัพย์สิน ออกจากกันเพื่อให้มีการตรวจ สอบซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม สำ�หรับกระบวนการปฏิบตั งิ านบนระบบเทคโนโลยี ได้เลือกและ พัฒนากิจกรรมการควบคุมทัว่ ไปทีห่ ลากหลายและรัดกุมเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศของบริษัทพร้อม ใช้งานได้ตลอดเวลา ปลอดภัยจากการเข้าถึงของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการควบคุมโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศ กิจกรรมการควบคุมด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบสารสนเทศ และกิจกรรมการควบคุมกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศตาม มาตรฐาน ISO27001:2013 และจัดให้มกี รอบแนวทางการควบคุม ของ Data Protection เป็นต้น โดยได้ นำ � กิ จ กรรมการควบคุ ม จั ด ทำ � เป็ น นโยบายและวิ ธี ปฏิบตั งิ านเป็นลายลักษณ์อกั ษร ซึง่ ระบุผรู้ บั ผิดชอบ ระยะเวลาการ ปฏิบตั งิ าน และวิธกี ารแก้ไขหากพบข้อผิดพลาดไว้อย่างชัดเจนเพือ่ ให้พนักงานสามารถปฏิบตั ติ ามกิจกรรมการควบคุมได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการทบทวนนโยบายและวิธปี ฏิบตั ใิ ห้มคี วามเหมาะสมอยูเ่ สมอ เช่น มีการทบทวนระเบียบจัดซื้อจัดจ้างให้มีความทันสมัยมากขึ้น บริษัทได้กำ�หนดนโยบายต่างๆ เพื่อให้มีการพิจารณาอนุมัติ ธุรกรรมของบริษทั ทีค่ �ำ นึงถึงประโยชน์สงู สุดของบริษทั เป็นสำ�คัญ โดยถือเสมือนเป็นรายการที่กระทำ�กับบุคคลภายนอก (Arms’ Length Basis) โดยมีกระบวนการติดตามดูแลการดำ�เนินงานของ บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ซึ่งได้กำ�หนดแนวทางให้บุคคลที่บริษัท แต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทย่อยหรือร่วมนั้น ถือปฏิบัติ รายงานประจำ�ปี 2559

088


ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล (Information & Communication) เอไอเอสใช้ ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งครบถ้ ว นและมี คุ ณ ภาพเพื่ อ สนับสนุนการควบคุมภายใน โดยพิจารณารวบรวมข้อมูลจาก ภายในและภายนอก บนพืน้ ฐานการพิจารณาต้นทุนและประโยชน์ ที่จะได้รับ โดยใช้ระบบสารสนเทศในการประมวลผลและจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้การควบคุมภายในสามารถดำ�เนินไปได้ ตามทีก่ �ำ หนด รวมทัง้ สือ่ สารข้อมูลทีจ่ �ำ เป็นต่อการสนับสนุนให้การ ควบคุมภายในสามารถทำ�หน้าที่ได้ตามที่วางไว้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กร และสือ่ สารข้อมูลอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับบุคคลภายนอก บริษัทมีกระบวนการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ นโยบายและวิธีปฏิบัติงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ไปยังผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ รวมทั้งมีการเลือกช่อง ทางการสื่อสารที่หลากหลายเหมาะสม เช่น จัดให้มีการสื่อสาร ผ่าน Intranet ผ่านจดหมายข่าว ผ่านประธานเจ้าหน้าที่บริหารใน รายการ ‘CEO Talk Weekly 5 Minutes’ รวมทั้งจัดให้มีช่องทาง พิเศษให้พนักงานสามารถแจ้งข้อมูลเกีย่ วกับการกระทำ�ผิดและการ ทำ�ทุจริตแก่บริษัทได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มกี ารรายงานข้อมูลทีส่ �ำ คัญต่อคณะกรรมการ บริษัทอย่างสม่ำ�เสมอ โดยคณะกรรมการบริษัทสามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลสารสนเทศทีจ่ �ำ เป็นต่อการปฏิบตั หิ น้าที่ หรือสอบทาน รายการต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ เอไอเอสจัดให้มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสีย ภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพผ่านช่องทางการสื่อสารที่ เหมาะสม เช่น จัดให้มกี ารสือ่ สารผ่าน Internet ผ่านโซเชียลมีเดีย จัดให้มีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ จัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน คุณภาพการให้บริการ จัดให้มีช่องทางให้บุคคลภายนอกสามารถ แจ้งข้อมูลเกีย่ วกับการกระทำ�ผิดและการทำ�ทุจริตได้อย่างปลอดภัย มายังคณะกรรมการตรวจสอบที่ AuditCommittee@ais.co.th เป็นต้น ตามที่ก�ำ หนดในนโยบาย Whistle Blower Policy ระบบการติดตาม (Monitoring Activities) เอไอเอสจัดให้มีกิจกรรมการติดตามประเมินประสิทธิผลของ ระบบการควบคุมภายใน ทัง้ การประเมินผลอย่างต่อเนือ่ ง (Ongoing Evaluation) ดำ�เนินการโดยหัวหน้างานที่มีความรู้ความสามารถ เพียงพอของทุกหน่วยงาน และการประเมินด้วยบุคคลภายนอก หน่วยงาน (Separate Evaluation) ดำ�เนินการโดยผูต้ รวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบต่างๆ ของระบบการควบคุมภายใน ได้มีกำ�หนดไว้ และได้มีการนำ�มาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลจริง อย่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน เมื่อพบข้อบกพร่องของระบบการควบคุมภายในที่มีสาระ สำ�คัญ ผู้บริหารต้องมีการวิเคราะห์หาต้นเหตุของข้อบกพร่อง เพื่อแจ้งผู้รับผิดชอบดำ�เนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที พร้อมทั้ง รายงานข้อบกพร่องทีม่ สี าระสำ�คัญและความคืบหน้าของการแก้ไข 089

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ต่อคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารระดับสูง ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ได้ก�ำ หนดให้มกี ารรายงานเบาะแสหรือเหตุการณ์ทจุ ริต การฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทำ�ที่ผิดปกติอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบ ต่อชื่อเสียงและฐานะการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำ�คัญต่อคณะ กรรมการบริษัทโดยทันที

การตรวจสอบภายใน

หน่วยงานตรวจสอบภายใน รายงานตรงต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งกำ�กับดูแลให้การปฏิบัติงานตรวจสอบมีความเป็น อิสระ เที่ยงธรรม มีจรรยาบรรณ ปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงมืออาชีพตาม มาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน และรายงานต่อประธานเจ้า หน้าที่บริหารในด้านงานบริหารหน่วยงาน หน่ ว ยงานตรวจสอบภายในทำ � หน้ า ที่ ใ ห้ ค วามเชื่ อ มั่ น (Assurance Service) และให้คำ�ปรึกษา (Consulting Service) โดยการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการควบคุม ภายใน ระบบการบริหารความเสีย่ ง และการกำ�กับดูแลกิจการ เพือ่ สนับสนุนให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทาง ธุรกิจ โดยมีกฏบัตรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งได้ก�ำ หนด ภารกิจ ขอบเขตการปฏิบตั งิ าน อำ�นาจ และหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ และแนวทางการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจนและมีการทบทวนให้ เหมาะสมอยู่เสมอ หั ว หน้ า หน่ ว ยงานตรวจสอบภายใน ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ป็ น เลขานุ ก ารของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ คณะกรรมการตรวจสอบสามารถดำ�เนินการตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั ได้มอบหมายให้ และเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำ�แนะนำ�ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการควบคุมภายใน ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้าน จริยธรรมธุรกิจ ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ เป็นต้น (ทั้ ง นี้ ข้ อ มู ล ประวั ติ แ ละรายละเอี ย ดของหั ว หน้ า หน่ ว ยงาน ตรวจสอบภายใน ปรากฎในหน้า 54) หน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำ�แผนการตรวจสอบภายใน ประจำ�ปี สอดคล้องตามทิศทางกลยุทธ์ของบริษัท ครอบคลุม กระบวนการดำ�เนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย โดยใช้หลักการ ความเสี่ยงเป็นพื้นฐาน (Risk-based approach) ซึ่งมุ่งเน้นความ เสี่ยงสำ�คัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินธุรกิจ วัตถุประสงค์และ กลยุทธ์ของบริษัท ตลอดจนการตรวจสอบด้านการป้องกันทุจริต แผนการตรวจสอบได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบ การติดตามผลการปฏิบัติตามข้อ เสนอแนะที่พบจากการตรวจสอบให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาอย่างสม่ำ�เสมอ นอกจากนี้ หน่วยงานตรวจสอบภายในยังเป็นอีกหนึง่ ช่องทาง ในการรับข้อร้องเรียนการกระทำ�ผิดและการทำ�ทุจริตจากพนักงาน ภายในและบุคคลภายนอก ดำ�เนินการรวบรวมข้อมูลตรวจสอบ ข้อเท็จจริงเป็นไปตาม Whistle Blowing Policy และรายงานผล ให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาทุกไตรมาส


หน่วยงานตรวจสอบภายในมีการส่งเสริมให้เอไอเอสและบริษทั ย่อย มีความเข้าใจและสามารถนำ�ระบบการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO 2013 มาปรับใช้อย่างจริงจังและมีประสิทธิผล โดยการ จัดอบรมให้ความรู้ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ของเอไอเอสและบริษัท ในเครือ ให้คำ�ปรึกษาเกี่ยวกับแบบประเมินความเพียงพอของ ระบบการควบคุมภายในตามแนวทางที่ ก.ล.ต. กำ�หนด รวมทั้ง ให้ ข้ อ เสนอแนะ ตอบข้ อ ซั ก ถามแก่ ผู้ บ ริ ห ารเกี่ ย วกั บ ระบบ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในทุกระบบงาน จากการที่ เอไอเอสมีวิสัยทัศน์การนำ�เสนอสินค้าและบริการ ที่ทันสมัยรูปแบบ Digital ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นส่วน สำ�คัญในการสนับสนุนการดำ�เนินงานของบริษทั และบริษทั ในเครือ จึงมีการพัฒนาปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวทัน รองรับการปฏิบัติงานอยู่เสมอ หน่วยงานตรวจสอบภายในได้ เข้าร่วมในคณะทำ�งานการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ สำ�คัญในบทบาทให้คำ�แนะนำ�เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศมีมาตรการควบคุมภายในที่รัดกุมก่อนนำ� ระบบไปใช้จริง รวมทั้งมีทีมงานตรวจสอบด้าน IT เข้าปฏิบัติงาน ตรวจสอบหลังจากการติดตั้งและใช้งานแล้ว นอกจากนี้มีการ ประเมินระบบการบริหารจัดการความมัน่ คงของข้อมูลสารสนเทศ และอุปกรณ์รกั ษาความมัน่ คงปลอดภัยทัง้ hardware และ software ต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้มีความปลอดภัยตามข้อกำ�หนดของ มาตรฐาน ISO 27001:2013 และการตรวจประเมินตามมาตรฐาน Payment Card Industry Data Security Standard (PCI DSS) นอกจากนี้หน่วยงานตรวจสอบภายในได้พัฒนาระบบการ ตรวจสอบให้ มี ค วามรวดเร็ ว และแม่ น ยำ � ขึ้ น โดยใช้ Digital Automation Audit ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานแทน พนักงาน รวมทั้งสามารถขยายงานตรวจสอบภายในครอบคลุม ทุกกระบวนการสำ�คัญขององค์กรได้มากยิ่งขึ้น หน่วยงานตรวจสอบภายในยึดถือกรอบโครงสร้างการปฏิบัติ งานวิชาชีพตรวจสอบภายในตามมาตรฐานสากล และกฎบัตร ของหน่วยงาน รวมทัง้ มีการทบทวนคูม่ อื การปฏิบตั งิ านตรวจสอบ มีการประเมินคุณภาพการตรวจสอบภายในด้วยตนเองเป็นประจำ� ทุกปี และได้รับการประเมินโดยองค์กรอิสระจากภายนอกทุก 5 ปี ทั้งนี้เพื่อจะช่วยส่งเสริมให้เรามีระบบการควบคุมภายใน ระบบ การบริหารความเสี่ยง และระบบการกำ�กับดูแลที่ดีสามารถเพิ่ม คุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียและพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน ซึ่งผล การประเมินครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 โดย บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส์ (PwC) พบว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในได้ปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานสากล และมีคณุ ภาพโดดเด่นเมือ่ เทียบเคียงกับหน่วย งานตรวจสอบภายในอื่นทั่วโลกที่เป็นมืออาชีพ โดยการประเมิน ครั้งที่ 2 ในปี 2559 โดยบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย (KPMG) นั้น ผลประเมินคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2560

เพื่อพัฒนาวิชาชีพงานตรวจสอบภายในของบริษทั ให้ทันสมัย หน่วยงานตรวจสอบภายในจึงได้มีการติดตามแนวปฏิบัติด้าน มาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุมภายใน ระบบการ บริหารความเสี่ยง ระบบการกำ�กับดูแลที่ดี และแนวปฏิบัติอื่น ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจของบริษทั ของสถาบันวิชาชีพชัน้ นำ�ทัง้ ในและ ต่างประเทศ เพือ่ นำ�มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบตั งิ านตรวจสอบของ บริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและทันสมัย หน่ ว ยงานตรวจสอบภายในส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาศั ก ยภาพ ของทีมงานตรวจสอบภายในให้สามารถตรวจสอบได้ทุกด้าน (Integrated Audit) และมีการมุง่ เน้นพัฒนาให้เจ้าหน้าทีต่ รวจสอบ ภายในมีค่านิยมในการสร้างสรรค์แนวทางการตรวจสอบรูปแบบ ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นอยู่เสมอ หน่วยงานตรวจสอบภายใน สนับสนุนให้เจ้าหน้าทีต่ รวจสอบภายในมีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ที่จำ�เป็นสอดคล้องกับการ ปฏิบัติงาน รวมทั้งการพัฒนาตนเองให้เกิดความเชี่ยวชาญด้าน วิชาชีพตรวจสอบภายในเยี่ยงมืออาชีพด้วยการสอบวุฒิบัตรทาง วิชาชีพตรวจสอบหรือวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันบริษัทมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่มีวุฒิบัตรทาง วิชาชีพต่างๆ รวมทั้งหมด 37 วุฒิบัตร ได้แก่ วุฒิบัตร CIA (Certified Internal Auditor) จำ�นวน 8 ท่าน วุฒิบัตร CISA (Certified Information System Auditor) จำ�นวน 7 ท่าน วุฒิบัตร CISSP (Certified Information Systems Security Professional) จำ � นวน 1 ท่ า น วุ ฒิ บั ต ร CRMA (Certification in Risk Management Assurance) จำ�นวน 10 ท่าน วุฒบิ ตั ร CPA (Certified Public Accountant) จำ�นวน 5 ท่าน วุฒิบัตร TA (Tax Auditor) จำ�นวน 1 ท่าน วุฒิบัตร Information Security Management Systems Auditor/Lead Auditor (ISO/IEC 27001:2013) จำ�นวน 4 ท่าน และ วุฒิบัตร Business Continuity Management System Auditor/Lead Auditor (ISO 22301) จำ�นวน 1 ท่าน โดย เจ้าหน้าทีต่ รวจสอบภายในอีกจำ�นวนหนึง่ อยูร่ ะหว่างการพัฒนาให้ ได้รบั วุฒบิ ตั ร CIA, CISA, CRMA, CCSA (Certification in Control Self - Assessment), และ CFE (Certified Fraud Examiners) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนงานตรวจสอบภายในแบบ มืออาชีพตามมาตรฐานสากล

รายงานประจำ�ปี 2559

090


ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อการทำ�รายการระหว่างกัน ประจำ�ปี 2559

เรียน เลขาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้าพเจ้า ผู้มีนามข้างท้ายนี้ ในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) “บริษัท” ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ตามที่บริษัทได้มีการทำ�รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน สำ�หรับปี 2559 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ตามรายละเอียดที่แนบนั้น คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า ฝ่ายจัดการได้ทำ�รายการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของบริษัทเป็นสำ�คัญ ดังเช่น ที่ทำ�กับบุคคลภายนอกทั่วไป มีเงื่อนไขการค้าปกติ ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และมีการเปรียบเทียบกับราคากลางของตลาด ในธุรกิจนั้นๆ แล้ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(นายไกรฤทธิ์ อุชกานนท์ชัย) ประธานกรรมการตรวจสอบ

(นางทัศนีย ์ มโนรถ) กรรมการตรวจสอบ

(นายสุรศักดิ ์ วาจาสิทธิ์) กรรมการตรวจสอบ

091

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


รายการระหว่างกัน บริษัทและบริษัทย่อยได้มีการตกลงเข้าทำ�รายการกับบุคคล ทีเ่ กีย่ วโยงกัน โดยรายการดังกล่าวเป็นรายการตามธุรกิจปกติของ บริษัทและบริษัทย่อย และเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำ�หนดในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2551) มาตรา 89/12 (1) คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551 ให้ฝา่ ยจัดการมีอ�ำ นาจเข้าทำ�รายการระหว่างกันทีม่ เี งือ่ นไข การค้าทัว่ ไปหากธุรกรรมเหล่านัน้ มีขอ้ ตกลงทางการค้าในลักษณะ เดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำ�กับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์ เดียวกัน ด้วยอำ�นาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการ ทีต่ นมีสถานะเป็นกรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือบุคคลทีม่ คี วามเกีย่ วข้อง ขั้นตอนการอนุมัติการทำ�รายการระหว่างกันนั้น บริษัทจะยึด แนวปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการทำ�รายการอื่นๆ ทั่วไป โดยมีการ กำ�หนดอำ�นาจของผูม้ สี ทิ ธิอนุมตั ติ ามวงเงินทีก่ �ำ หนด นอกจากนัน้

บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

คณะกรรมการตรวจสอบยั ง ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ส อบทานการทำ � รายการระหว่างกันของบริษทั และบริษทั ย่อยกับบุคคลทีเ่ กีย่ วโยงกัน เป็นประจำ�ทุกไตรมาส เพื่อขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อย่างรอบคอบ โดยยึดถือประโยชน์ของบริษัทโดยรวมเป็นสำ�คัญ สำ�หรับงวดบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 และ 2558 บริษทั และบริษทั ย่อยมีรายการกับบุคคลทีเ่ กีย่ วโยงกัน โดยผูต้ รวจสอบ บัญชีของบริษัทได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ตรวจสอบและคณะกรรมการตรวจสอบทำ�หน้าที่สอบทานแล้ว และมีความเห็นว่ารายการระหว่างกันทุกรายการเป็นการทำ�รายการ อย่างสมเหตุสมผลและเป็นไปในทางการค้าปกติ โดยบริษัทได้คิด ราคาซื้อ-ขายสินค้า และบริการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันด้วยราคา ทีส่ มเหตุสมผล มีการเปรียบเทียบกับราคากลางของตลาดในธุรกิจ นั้นๆ แล้ว โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ตามปกติธุรกิจโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

1. บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ บริษัทและบริษัทย่อยได้ให้บริการ จำ�กัด (มหาชน) (อินทัช)/ และจำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ อินทัช ขณะที่บริษัทย่อยมีการชำ�ระ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ดอกเบี้ยจ่ายให้แก่อินทัชจากรายการ บริษัทในสัดส่วนร้อยละ หุ้นกู้ของบริษัทย่อย 40.45 กรรมการบริษัทร่วมกัน : ขายสินค้าและบริการ 1. นายสมประสงค์ 1. รายได้จากการให้บริการ บุญยะชัย 2. รายได้อื่น 2. นายฟิลิป เชียง 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ชอง แทน ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 3. ดอกเบี้ยจ่าย 4. หุ้นกู้

- - -

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

บริษัทและบริษัทย่อยเรียก 1.03 0.02 0.93 เก็บค่าบริการและ 0.48 0.56 1.23 จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์ 0.30 - 0.13 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน กับลูกค้าทั่วไป

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 0.58 0.71 0.22 0.24 ดอกเบี้ยจ่ายให้แก่อินทัช - 0.09 - - ในอัตราเดียวกันกับ - 1.50 - 1.34 การจ่ายให้ผู้ให้บริการ - 37.00 - 37.00 รายอื่น

รายงานประจำ�ปี 2559

092


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

2. บริษัท ไทยคม จำ�กัด บริษัทย่อยได้เช่าช่องสัญญาณ (มหาชน) (ไทยคม)/ ดาวเทียม (Transponder) บน มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดาวเทียมไทยคม 7 จาก ไทยคม ในสัดส่วนร้อยละ 41.14 สัญญามีผลถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน กรรมการบริษัทร่วมกัน: 2560 โดยต้องชำ�ระค่าตอบแทน 1. นายสมประสงค์ ในอัตรา 1,700,000 USD/ปี และ บุญยะชัย มีการใช้บริการอุปกรณ์รับสัญญาณ 2. นายฟิลิป เชียง ดาวเทียม และพื้นที่สำ�หรับติดตั้ง ชอง แทน อุปกรณ์ดาวเทียม ขณะที่บริษัทและบริษัทย่อยมีการ ให้บริการโทรศัพท์ทั้งในประเทศและ ระหว่างประเทศ รวมถึงได้จำ�หน่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ไทยคม ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. ซื้อสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่น 3. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 3. บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย บริษัทและบริษัทย่อยมีการว่าจ้าง จำ�กัด (ทีเอ็มซี)/ ทีเอ็มซีจัดทำ�ข้อมูลสำ�หรับบริการ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เสริมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น โดยทางอ้อม การจัดหาข้อมูลทางโหราศาสตร์ ข้อมูลสลากกินแบ่งรัฐบาล และ บริการบันเทิงต่างๆ ผ่าน SMS รวมทั้งค่าบริการว่างจ้างคอเซ็นเตอร์ โดยได้ช�ำ ระค่าบริการเป็นรายเดือน ขณะที่บริษัทและบริษัทย่อยมีการ ให้บริการทางโทรศัพท์และจำ�หน่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ทีเอ็มซี

093

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

ไทยคมเป็นผู้ให้บริการเช่า ช่องสัญญาณดาวเทียม รายเดียวในประเทศไทย

- - -

บริษัทและบริษัทย่อย 1.65 1.53 3.54 เรียกเก็บค่าบริการและ 0.40 - 0.38 จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์ 0.17 - 0.15 เคลื่อนที่แก่ไทยคมใน อัตราเดียวกันกับลูกค้า ทั่วไป

บริษัทและบริษัทย่อย - 60.03 6.87 67.19 ชำ�ระค่าบริการและซื้อ - 36.26 - 59.19 สินทรัพย์ให้แก่ไทยคม - 5.10 - 69.11 ในอัตราเดียวกันกับลูกค้า ทั่วไป ทีเอ็มซีเป็นผู้ให้บริการที่มี ความเชี่ยวชาญในการจัด ทำ�เนื้อหาและช่วยค้นหา ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการ ให้บริการคอลเซ็นเตอร์


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. ซื้อสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่น 3. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

บริษัทและบริษัทย่อยทำ�สัญญา กับบริษัทในกลุ่ม SingTel ดังนี้ - บริการข้ามแดนอัตโนมัติ ระหว่างประเทศ (IR) - บริการโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ(IPLC) และบริการเสริม (Content) ในขณะที่บริษัทจ่ายเงินเดือนและ ผลตอบแทนให้แก่กลุ่ม Singtel

บริษัทและบริษัทย่อย 1.59 0.42 0.42 เรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์ 0.05 - 0.04 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน 0.24 - 0.76 กับลูกค้าทั่วไป

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 0.04 76.07 0.99 65.31 ค่าบริการเสริม (Content) - 12.68 0.04 7.35 ในอัตราร้อยละของรายได้ ที่บริษัทได้รับ และค่บริการ คอลเซ็นเตอร์ให้แก่ทีเอ็มซี ในอัตราเดียวกันกับการ จ่ายให้ผู้ให้บริการรายอื่น

4. บริษัท ไอ.ที. บริษัทย่อยว่าจ้างไอทีเอเอสในการ แอพพลิเคชั่นส์ แอนด์ ดูแลจัดการและพัฒนาระบบ SAP เซอร์วิส จำ�กัด รวมทั้งออกแบบต่างๆ ให้กับกลุ่ม (ไอทีเอเอส)/ บริษัท ขณะที่บริษัทย่อยให้บริการ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โทรศัพท์แก่ไอทีเอเอส ร้อยละ 100 ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ

5. กลุ่มบริษัท SingTel Strategic Investments Private Limited (SingTel)/ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัทร้อยละ 23.32

- - -

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

ไอทีเอเอสให้บริการเกี่ยกับ การพัฒนาโปรแกรม และ การดูแลจัดการระบบ SAP มีบริการที่ดี รวดเร็ว และ ราคาสมเหตุสมผล -

0.27

บริษทั ย่อยเรียกเก็บค่าบริการ - 0.01 โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตรา เดียวกันกับลูกค้าทั่วไป

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ - 115.28 0.08 99.60 ค่าทีป่ รึกษาให้แก่ไอทีเอเอส - 93.53 - - โดยอัตราค่าบริการขึ้นอยู่ - 19.96 0.33 60.73 กับลักษณะงานและระดับ ของที่ปรึกษาโดยเป็นอัตรา เดียวกันกับราคาของบริษัท ที่ปรึกษาระบบ SAPรายอื่น การทำ�สัญญาให้บริการ ซึ่งเป็นราคาที่ต่างฝ่าย ต่างกำ�หนดในการเรียกเก็บ จากลูกค้า ซึ่งบริษัทคิดจาก ผู้ให้บริการรายอื่น

รายงานประจำ�ปี 2559

094


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

บริษัทและบริษัทย่อย 1.40 402.12 150.37 648.84 เรียกเก็บค่าบริการ IR และ 4.20 26.96 - 5.43 ค่าบริการเสริม(Content) ในอัตราเดียวกันกับ ผู้ให้บริการรายอื่น

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เงินเดือนและผลตอบแทนอื่น 3. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ - 188.11 1.27 463.64 ค่า IPLC, ค่า IR, 94.88 94.88 72.93 72.93 ค่าบริการเสริม (Content) 34.83 291.01 83.35 259.59 ในอัตราเดียวกันกับผู้ให้ บริการรายอื่นแลมีการจ่าย เงินเดือน, ผลตอบแทน ด้วยราคาที่ตกลงกัน ตามจริง ซีเอสแอลมีความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้ให้บริการทาด้าน อินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถ เชือ่ มต่อข้อมูลภายในประเทศ ผ่านโครงข่ายไปยังผู้ใช้ บริการทั่วโลก

6. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ บริษัทและบริษัทย่อยได้ว่าจ้าง จำ�กัด (มหาชน) ซีเอสแอลในการให้บริการด้าน (ซีเอสแอล)/ อินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมโยงผ่าน มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โครงข่ายทั้งภายในประเทศและ โดยทางอ้อม ต่างประเทศ ในขณะที่บริษัทและ บริษัทย่อยมีการให้บริการและ จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ให้เช่าอุปกรณ์และบริการเกี่ยวกับ Datanet แก่ ซีเอสแอล ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

095

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทและบริษัทย่อย - 12.05 0.36 12.62 เรียกเก็บค่าบริการและ - 5.36 - 6.63 จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์ - 2.55 - 3.08 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน กับลูกค้าทั่วไป

0.02 -

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 3.15 2.97 5.22 ค่าบริการแก่ซีเอสแอล 0.42 0.29 0.38 ในอัตราเดียวกันกับการจ่าย ให้ผู้ให้บริการรายอื่น


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

7. บริษัท เอดี เวนเจอร์ บริษัทและบริษัทย่อยได้ว่าจ้างเอดีวี จำ�กัด (มหาชน) (เอดีวี)/ ในการให้บริการเสริมของโทรศัพท์ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เคลื่อนที่เช่น เกมส์ เสียงเรียกเข้า Wallpaper โดยชำ�ระค่าบริการเป็น โดยทางอ้อม รายเดือน ขณะที่บริษัทและบริษัท ย่อยได้ให้บริการโทรศัพท์ ดำ�เนินการ จัดทำ�แหล่งรวมโปรแกรมบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (software mall) และ จำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่เอดีวี

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

เอดีวีมีความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบเว็บไซต์ และมีความหลากหลาย ของเนื้อหา ซึ่งตรงกับ ความต้องการของบริษัท และบริษัทย่อย

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

- - -

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

- 223.48 - 32.43

0.17 0.03 0.01

8. บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส บริษัทและบริษัทย่อยว่าจ้างให้ดีทีวี จำ�กัด (ดีทีวี)/ เป็นสื่อโฆษณาผ่านช่องสัญญาณ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จานดาวเทียม ในขณะที่บริษัทและ โดยทางอ้อม บริษัทย่อยมีการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แก่ดีทีวี

บริษัทและบริษัทย่อย 6.02 9.40 เรียกเก็บค่าบริการและ - 0.04 จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์ - 0.02 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน กับลูกค้าทั่วไป บริษัทย่อยชำ�ระค่าบริการ - 240.14 เสริม (Content) ให้แก่ - 40.54 เอดีวี ในอัตราร้อยละของ รายได้ทบ่ี ริษทั ได้รบั ซึง่ เป็น อัตราเดียวกันกับผู้ให้ บริการข้อมูลประเภท เดียวกัน ดีทีวีมีความชำ�นาญในการ บริการสื่อโฆษณา บริการ ขายเนือ้ หา (Content) ผ่าน ช่องสัญญาณจานดาวเทียม รวมถึง เป็นผู้จำ�หน่าย อุปกรณ์จานรับสัญญาน ดาวเทียม บริษัทและบริษัทย่อย 0.03 0.07 เรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์ - 0.03 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน - 0.01 กับลูกค้าทั่วไป

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

0.01 - -

0.06 - 0.01

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 1.03 0.10 1.31 ค่าโฆษณา ให้แก่ดีทีวี 0.12 - 0.17 ในอัตราเดียวกันกับ การจ่ายให้ผู้ให้บริการ รายอื่น

- -

รายงานประจำ�ปี 2559

096


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

9. บริษัท ลาว เทเล บริษัทและบริษัทย่อยร่วมมือกับ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำ�กัด แอลทีซีในการให้บริการข้ามแดน (แอลทีซี)/ อัตโนมัติระหว่างประเทศ (IR) มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยทางอ้อม

แอลทีซีด�ำ เนินธุรกิจ โทรคมนาคมในประเทศลาว ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการ อินเตอร์เน็ต และบริการ ข้ามแดนอัตโนมัติระหว่าง ประเทศ โดยอัตราค่าโรมมิง่ ที่คิดเป็นอัตราเทียบเคียง ได้กับราคาตลาด

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

- 10.76 0.25 - 4.82 -

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

- -

10. กลุ่มบริษัทไทยยานยนต์ บริษัทและบริษัทย่อยได้ใช้บริการ จำ�กัด (ทีวายวาย)/ ทีวายวายสำ�หรับดูแลและซ่อมบำ�รุง กรรมการบริษัทร่วมกัน : รถยนต์ รวมทั้งเช่าพื้นที่ส�ำ หรับใช้ นายวิทิต ลีนุตพงษ์ เป็นสถานีฐาน ขณะที่บริษัทและ (นายวิทิต ลีนุตพงษ์ บริษทั ย่อยได้ให้บริการและจัดจำ�หน่าย ลาออกจากตำ�แหน่ง โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ ทีวายวาย ประธานกรรมการบริษัท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ขายสินค้าและบริการ 8/11/2559) 1. รายได้จากการบริการ 0.02 2. รายได้อื่น - 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น

097

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

0.29

7.06 0.95 0.69 0.13

1.62 0.16 0.03 - - 0.05 0.65

-

บริษัทและบริษัทย่อย 6.62 เรียกเก็บค่าบริการ IR 1.26 ในอัตราเดียวกันกับลูกค้า ทั่วไป บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 5.68 ค่า IR ให้แก่แอลทีซี 1.09 ในอัตราเดียวกันกับการ จ่ายให้ผู้ให้บริการรายอื่น ทีวายวายเป็นผู้แทน จำ�หน่ายรถยนต์ และ ผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการ ดูแล ซ่อมบำ�รุงรถยนต์

บริษัทและบริษัทย่อย 2.11 เรียกเก็บค่าบริการและ - จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์ 0.31 เคลื่อนที่ในอัตราเดียวกัน กับลูกค้าทั่วไป บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ 0.35 ค่าเช่าพื้นที่ส�ำ หรับใช้เป็น สถานี ให้แก่ทีวายวาย ในอัตราที่เทียบเคียงได้ ของผู้ให้เช่ารายอื่นที่อยู่ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง และชำ�ระค่าบำ�รุงรักษา รถยนต์ ในอัตราเดียวกัน กับผู้ให้บริการรายอื่น


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

11. บริษัท อุ๊คบี จำ�กัด (อุ๊คบี)/ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้น โดยทางตรง ในสัดส่วน ร้อยละ 22.26

12. บริษัท อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำ�กัด (ไอเอช)/ มีเอไอเอสเป็นผู้ถือหุ้น โดยทางอ้อม

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

บริษัทย่อยได้ว่าจ้างอุ๊คบีส�ำ หรับ การให้บริการ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ผ่านบนสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต โดยชำ�ระค่าบริการเป็น รายเดือน ขณะที่บริษัทย่อยให้บริการ โทรศัพท์แก่อุ๊คบี

อุ๊คบีด�ำ เนินธุรกิจนำ�เสนอ สิ่งตีพิมพ์ดิจิตอล (Digital Publication) และหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เช่น หนังสือ นิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์บน สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และ คอมพิวเตอร์

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการบริการ 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

0.02 18.28 - 2.00

- -

2.70 0.84

ไอเอชให้บริการสิ่งอำ�นวยควาสะดวก ภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินและ โครงข่ายสื่อสัญญาณ โทรคมนาคม แก่กลุ่มบริษัท ขณะที่บริษัทย่อยให้ บริการโทรศัพท์แก่ไอเอช ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการบริการ 2. ดอกเบี้ยรับ 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 2. ดอกเบี้ยจ่าย 3. ซื้อสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่น 4. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 5. เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน

- - - - - - - -

0.04 - - 175.79 6.51 26.88 22.99 85.17

บริษัทย่อยเรียกเก็บค่า - 0.12 บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ - 0.01 ในอัตราเดียวกันกับลูกค้า ทั่วไป - 8.24 บริษัทและบริษัทย่อยชำ�ระ - 1.32 ค่าบริการเสริม (Content) ให้แก่อุ๊คบี ในอัตราร้อยละ ของรายได้ที่บริษัทได้รับ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับ ผู้ให้บริการข้อมูลประเภท เดียวกัน ไอเอชให้บริการสิ่งอำ�นวย ความสะดวก ภายใต้สัญญา เช่าทางการเงินแลโครงข่าย สื่อสัญญาณ โทรคมนาคม บริษัทย่อยเรียกเก็บ - 0.03 ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ - 2.31 ในอัตราเดียวกันกับลูกค้า - 0.01 ทั่วไป - - - - -

บริษัทย่อยชำ�ระค่าบริการ 42.61 โครงข่ายสื่อสัญญาณ 2.79 โทรคมนาคมแก่ไอเอส - ในอัตราเดียวกันโดยเป็น 15.14 อัตราที่เทียบเคียงได้กับ 72.00 ผู้ให้บริการรายอื่น

รายงานประจำ�ปี 2559

098


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

13. บริษทั ไฮ ช็อปปิง้ จำ�กัด บริษัทย่อยมีการให้บริการและ (ไฮ ช็อปปิ้ง)/ จำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ไฮ ช็อปปิ้ง โดยทางอ้อม

ไฮ ช็อปปิ้งประกอบธุรกิจ ทางด้านดิจิตอลคอนเทนต์ ทีน่ �ำ เสนอให้ผบู้ ริโภคเข้าถึง รายละเอียดของสินค้า และบริการโดยใช้สื่อทีวี โทรศัพท์มือถือและ อินเตอร์เน็ต

ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. รายได้อื่น 3. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น 14. บริษัท ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทยให้บริการทางการเงิน จำ�กัด(มหาชน) (เคทีบี)/ แก่บริษัทและบริษัทย่อย ในขณะที่ กรรมการอิสระของบริษทั บริษัทย่อยมีการให้บริการโทรศัพท์แก่ และกรรมการของเคทีบี : ธนาคารกรุงไทย นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

- - -

0.54 2.26 -

บริษัทย่อยเรียกเก็บ - 0.03 ค่าบริการและจัดจำ�หน่าย - - โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตรา - 0.03 เดียวกันกับลูกค้าทั่วไป

-

0.53

-

- 115.38 - 28.34

ซื้อสินค้าและบริการ 1. ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร - 0.29 2. เงินฝากธนาคาร 0.52 113.09 3. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น - 0.05 4. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น - 0.01 5. ดอกเบี้ยจ่าย 5.68 26.68 15. บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง ทีซบี ีให้บริการอุปกรณ์ระบบดาวเทียม จำ�กัด (ทีซีบี)/ และสัญญาณโทรทัศน์แก่บริษัทย่อย มีอินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยทางอ้อม ซื้อสินค้าและบริการ - 14.68 1. ค่าเช่าและค่าบริการอื่น - 2.00 2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

099

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

-

ธนาคารกรุงไทยประกอบ ธุรกิจให้บริการทางการเงิน เช่น ด้านการรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ เป็นตัวกลาง การชำ�ระเงิน และบริการ อื่นๆ บริษัทย่อยให้บริการ - 25.54 โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตรา - 9.73 เดียวกับลูกค้าทั่วไปที่ใช้ บริการ บริษัทและบริษัทย่อยรับ - 0.08 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร - 198.91 จากเคทีบีและดอกเบี้ย - - จ่ายจากหุ้นกู้โดยเป็นอัตรา - - ที่เทียบเคียงได้กับธนาคาร - - พาณิชย์อื่น

- -

บริษัทย่อยชำ�ระค่าบริการ - อุปกรณ์ระบบดาวเทียมและ - สัญญาณโทรทัศน์แก่ทีซีบี อัตราเดียวกันกับการจ่าย ให้ผู้ให้บริการรายอื่น


บริษัทที่เกี่ยวข้อง/ ความสัมพันธ์กับบริษัท

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการระหว่างกัน มูลค่ารายการระหว่างกัน สำ�หรับงวด สำ�หรับงวด สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2559 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 (ล้านบาท) (ล้านบาท) งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน งบการเงิน เฉพาะ รวม เฉพาะ รวม

16. บริษทั กอล์ฟดิกก์ จำ�กัด บริษัทย่อยมีการให้บริการโทรศัพท์ (GOLFD)/ แก่กอล์ฟดิกก์ มีอนิ ทัชเป็นผูถ้ อื หุน้ โดยทางตรง ในสัดส่วน ร้อยละ 25.00 ขายสินค้าและบริการ 1. รายได้จากการให้บริการ ซื้อสินค้าและบริการ 1. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 17. บริษทั อมตะ เน็ทเวอร์ค บริษัทย่อยได้ให้บริการด้าน จำ�กัด (AN)/ การบริหารงานแก่เอเอ็น มีเอไอเอสเป็นผู้ถือหุ้น โดยทางอ้อม *วันที่ 6 ธันวาคม 2559 ขายสินค้าและบริการ บริษัท แอดวานซ์ 1. รายได้อื่น บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ลงทุนกับบริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด มี สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 60 ปัจจุบันบริษัทยัง ไม่ได้ด�ำ เนินธุรกิจ 18. บริษัท พฤกษา บริษัทย่อยมีการให้บริการโทรศัพท์ เรียลเอสเตท จำ�กัด แก่พีเอส (มหาชน) (PS)/ กรรมการของบริษัทและ กรรมการอิสระของพีเอส : ขายสินค้าและบริการ นายสมประสงค์ 1. รายได้จากการให้บริการ บุญยะชัย 2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

-

0.05

-

-

0.12

-

เหตุผลและความจำ�เป็น ของการทำ�รายการ

กอล์ฟดิกก์เป็นผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มการจองสนาม กอล์ฟผ่านแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน บริษัทย่อยให้บริการ - โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตรา เดียวกับลูกค้าทั่วไปที่ใช้ บริการ เอเอ็นเป็นผู้ให้บริการ โครงข่ายโทรคมนาคม ภายในนิคมอุตสาหกรรม อมตะ

- 0.03

0.24 0.52

- -

-

พีเอสเป็นผู้ให้บริการและ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย

- 18.33 - 3.12

- -

บริษัทย่อยให้บริการ - โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอัตรา - เดียวกับลูกค้าทั่วไป ที่ใช้บริการ

รายงานประจำ�ปี 2559

100


รายงานคณะกรรมการตรวจสอบประจำ�ปี 2559 เรียน ท่านผูถ้ อื หุน้ บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำ�นวน 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชี กฎหมาย และ การบริหารจัดการ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำ�หนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งจัดทำ�ตามแนวทางและข้อกำ�หนด ของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยมีรายชื่อ ปรากฎดังนี้ 1. นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. นางทัศนีย์ มโนรถ กรรมการตรวจสอบ 3. นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ กรรมการตรวจสอบ โดยมีนางสุวิมล กุลาเลิศ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ทำ�หน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ โดยรายละเอียด การประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบในปี 2559 ปรากฎในหัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในการตรวจสอบ และสอบทานให้บริษัทมีการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีและมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกราย รวมทั้งดูแลให้ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของบริษัท ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ โดยในปี 2559 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานความถูกต้อง ครบถ้วนและเชือ่ ถือได้ของงบการเงินและงบการเงินรวมของบริษทั และบริษทั ย่อย ทั้งรายไตรมาส และประจำ�ปี 2559 ซึ่งผ่านการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทแล้ว ตลอดจนได้หารือร่วมกับ ฝ่ายบริหารและผูส้ อบบัญชีเพือ่ พิจารณาถึงนโยบายการบัญชีทสี่ �ำ คัญ การประมาณการทางบัญชีและการใช้ดลุ ยพินจิ ต่างๆ เพือ่ ใช้ในการ จัดทำ�งบการเงิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบและนำ�เสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาข้อเสนอแนะต่อระบบการควบคุมภายในและรับทราบแผนการสอบบัญชีของ ผูส้ อบบัญชี รวมถึงเข้าร่วมประชุมเป็นการเฉพาะกับผูส้ อบบัญชีโดยไม่มฝี า่ ยบริหารเข้าร่วม เพือ่ ปรึกษาหารือกันอย่างอิสระถึงข้อมูลทีม่ ี ความสำ�คัญในการจัดทำ�งบการเงิน รวมทั้งประเด็นที่พบจากการสอบทานและตรวจสอบงบการเงิน ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชี และการรักษาความลับของข้อมูลของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่า กระบวนการจัดทำ�รายงานทางบัญชีและการเงินของบริษทั มีระบบการควบคุมภายในทีเ่ หมาะสม ผูส้ อบบัญชีมคี วามเป็นอิสระในการปฏิบตั หิ น้าที่โดยไม่ถกู จำ�กัดขอบเขตในการตรวจสอบ ซึง่ ทำ�ให้มนั่ ใจได้วา่ รายงานทางการเงินได้แสดง ฐานะทางการเงินและผลการดำ�เนินงานของบริษทั อย่างถูกต้องตามทีค่ วรในสาระสำ�คัญตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน และ มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ 2. คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัท และเห็นว่า ฝ่ายบริหารได้ตดั สินใจทำ�รายการดังกล่าวเพือ่ ประโยชน์ของบริษทั เป็นสำ�คัญ ดังเช่นทีท่ �ำ กับบุคคลภายนอกทัว่ ไป มีเงือ่ นไขการค้าปกติ ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และมีการเปรียบเทียบกับราคากลางของตลาดในธุรกิจนั้นๆ แล้ว 3. คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการปฏิบตั งิ านของบริษทั ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย กฎระเบียบ และข้อกำ�หนดของ กลต.และ ตลท. และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งภาระผูกพันที่อาจจะเกิดขึ้น จากสัญญาที่กระทำ�กับบุคคลภายนอกและข้อเรียกร้องอื่นๆ และเห็นว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำ�หนดต่างๆ ดังกล่าว ได้อย่างถูกต้อง สำ�หรับบางเรือ่ งทีม่ ขี อ้ โต้แย้งอยูบ่ า้ ง ซึง่ ผูบ้ ริหารเชือ่ ว่าผลการพิจารณาของผูเ้ กีย่ วข้องต่อข้อโต้แย้งดังกล่าวน่าจะคลีค่ ลาย ไปในทางทีด่ ตี อ่ บริษทั นัน้ ได้รว่ มกับผูส้ อบบัญชีให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลทีม่ สี าระสำ�คัญในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างเหมาะสมแล้ว

101

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


4. คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานประสิทธิผลและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน โดยพิจารณาจากรายงานผล การตรวจสอบภายในประจำ�ปี 2559 และผลการประเมินระบบการควบคุมภายในตามกรอบแนวปฏิบัติด้านการควบคุมภายในของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) 2013 และแนวทางของกลต. รวมทั้งพิจารณา และติดตามผลการปฏิบตั ติ ามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบของผูต้ รวจสอบภายในและผูส้ อบบัญชีอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ รับทราบ สาเหตุและเสนอแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และให้ข้อแนะนำ�ที่เป็นประโยชน์ อันจะทำ�ให้ระบบการควบคุมภายใน ของบริษัทมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยจากการสอบทานดังกล่าวไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำ�คัญ จึงเห็นว่า บริษัทมีระบบการควบคุม ภายในที่เหมาะสม นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบยังได้ตดิ ตามและสอบทานเพือ่ ให้บริษทั จัดให้มรี ะบบการควบคุมภายในทีเ่ พียงพอและมีประสิทธิผล ในเรื่องที่สำ�คัญ เช่น นโยบายอำ�นาจอนุมัติ (Approval Authority Policy) นโยบายเกี่ยวกับอำ�นาจการลงนามในเอกสารทางการเงิน การธนาคาร และการมอบอำ�นาจการลงนามในสัญญา นโยบายการแจ้งและรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำ�ผิดและการทุจริต นโยบายการสอบข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำ�ผิดและการทุจริต ตลอดจนนโยบายการจัดซื้อ นโยบายการดูแลข้อมูล ลูกค้า และระบบรายได้และรายจ่าย เป็นต้น 5. คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานระบบการบริหารความเสีย่ งของบริษทั จากการประชุมร่วมกับตัวแทนของคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยงทั้งหมดจำ�นวน 4 ครั้ง ในปี 2559 รวมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ระบบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น และเห็นว่าบริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมให้การดำ�เนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานและกำ�กับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายการให้ข้อมูลการกระทำ�ผิดและการทุจริต การสอบสวน และการคุม้ ครองผูใ้ ห้ขอ้ มูล ครอบคลุมถึงการพิจารณาข้อร้องเรียนและผลการสอบสวนตามกระบวนการของบริษทั เป็นประจำ�ทุกไตรมาส โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้มีการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับนโยบาย การกำ�กับดูแลที่ดีของบริษัท รวมทั้งมีการติดตามการดำ�เนินการกับผู้กระทำ�ผิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปี 2559 มีข้อร้องเรียนผ่านระบบ ข้อร้องเรียนที่ให้บุคคลภายนอกและพนักงานมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสของผู้กระทำ�ความผิด รวมทั้งสิ้น 23 เรื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเรื่อง เข้าข่ายผิดประมวลจริยธรรมธุรกิจ และไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งมีมูลค่าไม่เป็นสาระสำ�คัญ และได้นำ�มาปรับปรุงเพื่อกำ�หนดแนวทาง การป้องกันต่อไป 7. คณะกรรมการตรวจสอบได้ก�ำ กับดูแลงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งได้ประชุมเป็นการเฉพาะกับหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน อย่างเป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำ�เนินกิจกรรมตรวจสอบภายในและบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ในด้านระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสีย่ ง และระบบการกำ�กับดูแลกิจการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล บรรลุตามเป้าหมายที่กำ�หนด โดยได้พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน พิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายใน ตามแผนงานประจำ�ปี 2559 และ ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยเปรียบเทียบกับตัววัดประสิทธิภาพที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้งได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนได้พิจารณาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพงาน ตรวจสอบภายในจากการทีห่ น่วยงานตรวจสอบภายในเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ได้ประเมินผลการปฏิบตั งิ านของผูต้ รวจสอบใน และ เสนอความเห็นเพือ่ ปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบได้อย่างเป็นอิสระ รวมทัง้ ได้อนุมตั ิให้มกี ารจ้างผูป้ ระเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายใน (External Quality Assessment Review) เป็นครั้งที่ 2 ของทุกรอบ 5 ปี ซึ่งถัดจากปี 2554 เพื่อประเมินกิจกรรมของหน่วยงาน ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในสากล และเทียบเคียงความมีคณ ุ ภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายในของ บริษัทกับหน่วยงานตรวจสอบภายในอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งผลประเมินคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2560 นอกจากนี้ในการประชุม คณะกรรมการตรวจสอบได้อนุมัติแผนงานตรวจสอบภายในประจำ�ปี 2560 ที่จัดทำ�ขึ้นตามทิศทางกลยุทธ์ ของบริษทั และใช้หลักการความเสีย่ งเป็นพืน้ ฐาน โดยมุง่ เน้นให้ตรวจประสิทธิผลของการปฎิบตั งิ านทีเ่ ป็นจุดควบคุมทีส่ �ำ คัญในเชิงป้องกัน ตลอดจนการตรวจสอบด้านการป้องกันการทุจริตและตรวจประสิทธิผลของระบบการประเมินการควบคุมโดยตนเองของผู้รับการตรวจ รวมทั้งเพิ่มบทบาทที่ปรึกษาในการการเสริมสร้างให้ความรู้และเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงให้กับหัวหน้าที่เป็นปราการด่านที่ 2 ได้ตระหนักในบทบาทและหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการปฏิบตั งิ านเพือ่ ลดความเสีย่ งให้อยู่ในระดับทีย่ อมรับได้ รวมถึงได้พจิ ารณาขอบเขต รายงานประจำ�ปี 2559

102


การปฏิบตั งิ าน หน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ความเพียงพอของบุคลากร ความรูค้ วามสามารถของบุคลากร และเครือ่ งมือที่ใช้ในการตรวจสอบ ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ระบบการตรวจสอบภายในของบริษทั มีเหมาะสม มีประสิทธิผล และมีความเป็นอิสระ แผนงาน ตรวจสอบประจำ�ปีสอดคล้องกับเป้าหมายและความเสีย่ งของบริษทั ผลการปฏิบตั งิ านของหน่วยงานตรวจสอบภายในบรรลุตามเป้าหมาย ที่วางไว้ บุคลากรและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีความเพียงพอและได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ของการปฎิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง 8. คณะกรรมการตรวจสอบได้จดั ทำ�รายงานผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบให้กบั คณะกรรมการบริษทั ทราบทุกไตรมาส โดยได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งต่อมามีการดำ�เนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ อย่างเหมาะสม 9. คณะกรรมการตรวจสอบได้ทบทวนและประเมินความเพียงพอของกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ในส่วนที่เกี่ยวกับขอบเขต และอำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้ครอบคลุมในเรื่องการกำ�กับดูแลนโยบายและมาตรการต่อต้านการให้หรือรับสินบน และการคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามกฎหมายและจริยธรรมที่ก�ำ หนดไว้ 10. คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2559 โดยได้ประเมิน จากความเป็นอิสระของผูส้ อบบัญชี ทักษะความรูค้ วามสามารถของทีมงาน ประสบการณ์ในการตรวจสอบ และบริการอืน่ อันเป็นประโยชน์ ต่อธุรกิจที่จะได้รับ และความเหมาะสมของค่าสอบบัญชี จึงมีมติเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำ�กัด เป็นผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2560 11. คณะกรรมการตรวจสอบมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ โดยการประเมินตนเองแบบรายคณะและรายบุคคลตามแนวทาง ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมในเรื่อง โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ การประชุมของ คณะกรรมการตรวจสอบ และบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีของกลต. และกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ โดยผลการประเมินแสดงได้วา่ คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบตั งิ านตามหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้ความรู้ ความสามารถประกอบกับความระมัดระวังรอบคอบและมีความเป็นอิสระอย่างเพียงพอ โดยไม่มี ข้อจำ�กัดในการเข้าถึงข้อมูลทัง้ จากผูบ้ ริหาร พนักงาน และผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ตลอดจนได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน โดยสรุปในภาพรวมแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า คณะกรรมการบริษัท ตลอดจนผู้บริหารและกรรมการบริหารของบริษัท มีจริยธรรมและความมุง่ มัน่ ในการปฏิบตั หิ น้าที่ เพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายของบริษทั อย่างมีคณ ุ ภาพเยีย่ งมืออาชีพ ได้ให้ความสำ�คัญอย่างยิง่ ต่อการดำ�เนินงานภายใต้ระบบการกำ�กับดูแลกิจการที่มีประสิทธิผล โปร่งใส รวมทั้งมีระบบการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุม ภายในที่รัดกุมเหมาะสม

นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการตรวจสอบ 103

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นางทัศนีย์ มโนรถ กรรมการตรวจสอบ

นายสุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ กรรมการตรวจสอบ


รายงาน ทางการเงิน


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และงบการเงินรวม ของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย รวมถึงข้อมูลสารสนเทศทางการเงินทีป่ รากฏในรายงานประจำ�ปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติอย่างสม่�ำ เสมอ และใช้ดลุ ยพินจิ อย่างระมัดระวัง และประมาณการทีด่ ที สี่ ดุ ในการจัดทำ� รวมทัง้ ให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลทีส่ �ำ คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น และนักลงทุนทั่วไปอย่างโปร่งใส คณะกรรมการบริษทั ได้จดั ให้มรี ะบบบริหารความเสีย่ ง และให้มแี ละดำ�รงรักษาไว้ซงึ่ ระบบควบคุมภายในทีเ่ หมาะสมและมีประสิทธิผล เพือ่ ให้มนั่ ใจได้อย่างมีเหตุผลว่าข้อมูลทางบัญชีมคี วามถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอทีจ่ ะดำ�รงรักษาไว้ซงึ่ ทรัพย์สนิ ตลอดจนเพือ่ ป้องกัน ไม่ให้เกิดการทุจริต หรือการดำ�เนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำ�คัญ

รายงานทางการเงิน

ในการนี้คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ เพื่อทำ�หน้าที่ก�ำ กับดูแลสอบทาน คุณภาพของรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน ระบบการบริหารความเสีย่ ง ตลอดจนพิจารณาการเปิดเผย ข้อมูลรายการระหว่างกัน โดยความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำ�ปีแล้ว งบการเงินของบริษทั และงบการเงินรวมของบริษทั และบริษทั ย่อยได้รบั การตรวจสอบโดยผูส้ อบบัญชีของบริษทั คือบริษทั ดีลอยท์ ทูช้ โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำ�กัด ในการตรวจสอบนัน้ ทางคณะกรรมการบริษทั ได้สนับสนุนข้อมูลและเอกสารต่างๆ เพือ่ ให้ผสู้ อบบัญชี สามารถตรวจสอบและแสดงความเห็นได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชี โดยความเห็นของผูส้ อบบัญชีได้ปรากฏในรายงานของผูส้ อบบัญชี ซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำ�ปีแล้ว คณะกรรมการมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษทั โดยรวมอยู่ในระดับดีเป็นทีน่ า่ พอใจ และสามารถสร้างความเชือ่ มัน่ อย่างมีเหตุผล ได้วา่ งบการเงินของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) และ งบการเงินรวมของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีความเชื่อถือได้ โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชีที่รับรองทั่วไป และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

นายกานต์ ตระกูลฮุน ประธานกรรมการ

105

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

นายแอเลน ลิว ยง เคียง ประธานกรรมการบริหาร


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอผูถ้ อื หุน้ และคณะกรรมการ บริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) ความเห็น

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย (“กลุม่ บริษทั ”) และงบการเงิน เฉพาะกิจการของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) (“บริษทั ”) ซึง่ ประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวมและเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 งบกำ�ไรขาดทุนรวมและเฉพาะกิจการ งบกำ�ไรขาดทุนและกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นรวมและเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี​ี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและเฉพาะกิจการและงบกระแสเงินสดรวมและเฉพาะกิจการสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและเฉพาะกิจการ รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่สำ�คัญ ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 และผลการดำ�เนินงาน และกระแสเงินสดสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำ�คัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เกณฑ์ ในการแสดงความเห็น

เรื่องสำ�คัญในการตรวจสอบ

เรือ่ งสำ�คัญในการตรวจสอบคือเรือ่ งต่างๆ ทีม่ นี ยั สำ�คัญทีส่ ดุ ตามดุลยพินจิ เยีย่ งผูป้ ระกอบวิชาชีพของข้าพเจ้าในการตรวจสอบงบการเงิน รวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำ�หรับงวดปัจจุบนั ข้าพเจ้าได้น�ำ เรือ่ งเหล่านีม้ าพิจารณาในบริบทของการตรวจสอบงบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการโดยรวม และในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ทัง้ นีข้ า้ พเจ้าไม่ได้แสดงความเห็นแยกต่างหากสำ�หรับเรือ่ งเหล่านี้

รายงานประจำ�ปี 2559

106

รายงานทางการเงิน

ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในส่วนของความรับผิดชอบของ ผูส้ อบบัญชีตอ่ การตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ในรายงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเป็นอิสระจากกลุม่ บริษทั ตามข้อกำ�หนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่กำ�หนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ ตรวจสอบงบการเงินรวมและเฉพาะกิจการ และข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้านจรรยาบรรณอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำ�หนด เหล่านี้ ข้าพเจ้าเชือ่ ว่าหลักฐานการสอบบัญชีทขี่ า้ พเจ้าได้รบั เพียงพอและเหมาะสมเพือ่ ใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า


เรื่องสำ�คัญในการตรวจสอบ การรับรู้รายได้ รายได้ของกลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการบันทึกให้ถูกต้องภายใต้ระบบที่ มีความซับซ้อนและมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของราคารวมทั้ง มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้ของกลุ่มบริษัทมีความซับซ้อน นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่สำ�คัญ คือ • การบัญชีเกีย่ วข้องกับผลิตภัณฑ์ใหม่และการจัดเก็บภาษีทเี่ กีย่ วข้องในระหว่างปี • การบันทึกบัญชีส�ำ หรับสัญญาระยะยาว และ • ระยะเวลาหรือรอบบัญชีในการรับรู้รายได้ นโยบายการบัญชีสำ�หรับการรับรู้รายได้ได้แสดงไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.17

วิธีการตรวจสอบที่ใช้เพื่อตอบสนอง วิธีการตรวจสอบที่สำ�คัญ รวมถึง • ประเมิ น ระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการออกแบบการควบคุ ม รวมถึ ง การทดสอบประสิทธิภาพของการควบคุมซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรู้และบันทึก รายการขาย นอกจากนั้ น ข้ า พเจ้ า ได้ ใ ช้ ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นระบบเทคโนโลยี สารสนเทศในการตรวจสอบการควบคุมที่เป็นอัตโนมัติ และการควบคุมการ ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโปรแกรม การใช้งานในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • ประเมิ น กระบวนการควบคุ ม ภายใน ในการอนุ มั ติ การเปลี่ ย นแปลงอั ต รา ค่าบริการ การเริ่มต้นของแผนงานใหม่ และการนำ�เข้าข้อมูลนั้นในระบบ เรียกเก็บเงิน ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบกระบวนการควบคุมเรื่องการเข้าถึงข้อมูล และการจัดการการควบคุมการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบดังกล่าว • เลือกรายการเพือ่ ตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งหนีข้ องลูกค้าและตรวจสอบ ตัวอย่างการลดยอดและการให้ส่วนลดในระบบเรียกเก็บเงินรวมถึงตรวจสอบ ตัวอย่างการรับชำ�ระเงินกลับไปยังใบแจ้งหนี้ • ตรวจสอบการกระทบยอดที่สำ�คัญโดยผู้บริหารจากระบบทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไปยังระบบเรียกเก็บเงินและบัญชีแยกประเภท เพื่อประเมินความถูกต้องและ ครบถ้วนของรายได้ • ตรวจสอบหลักฐานการบันทึกบัญชีที่จัดทำ�ขึ้นด้วยมือและบันทึกเข้าบัญชีรายได้ เพื่อระบุรายการที่ผิดปกติ

รายงานทางการเงิน

นอกจากนี้ วิธีการตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ระบุไว้มีดังนี้ • ตรวจสอบตัวอย่างของใบแจ้งหนี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสำ�หรับผลิตภัณฑ์ ใหม่และการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องในระหว่างปี • พิจารณาระบุสัญญาระยะยาวที่อยู่ในความสนใจ เช่น การเปลี่ยนแปลงในอัตรา กำ�ไรและมีการตัง้ รายได้คา้ งรับทีส่ งู และได้สอบทานถึงข้อสมมติฐานและการใช้ ดุลยพินิจสำ�หรับสัญญาเหล่านั้น • ตรวจสอบกับข้อสมมติฐานและการประมาณการทีส่ �ำ คัญของผูบ้ ริหารที่ใช้ในการ บันทึกรายได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี แต่ยังไม่มีการออกใบแจ้งหนี้ การรับรู้ต้นทุนของสินทรัพย์และอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ เรื่องที่มีผลกระทบต่อมูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสินทรัพย์ ที่ไม่มีตัวตน ซึ่งได้พิจารณาว่าเป็นเรื่ืองที่ส�ำ คัญ คือ • การตัดสินใจในการรับรู้ต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์หรือเป็นค่าใช้จ่าย • ระยะเวลาของการโอนจากสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างเป็นอาคารและอุปกรณ์ และ • การใช้ดลุ ยพินจิ ของผูบ้ ริหารในการทบทวนอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ในแต่ละปี นโยบายการบัญชีส�ำ หรับการรับรู้และการวัดมูลค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และสิ น ทรั พ ย์ ไ ม่ มี ตั ว ตนและรายละเอี ย ดได้ แ สดงไว้ ใ นหมายเหตุ ป ระกอบ งบการเงินข้อ 3.8, 3.10, 3.23 และข้อ 11, 15 ตามลำ�ดับ

107

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

วิธีการตรวจสอบที่สำ�คัญ รวมถึง • ตรวจสอบการควบคุมภายในสำ�หรับระบบทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ และประเมิน ความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการรับรู้ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ • ตรวจสอบรายละเอียดของต้นทุนของสินทรัพย์และวิธกี ารประเมินระยะเวลาของ การโอนจากสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างเป็นอาคารและอุปกรณ์ • สอบทานเกีย่ วกับการใช้ดลุ ยพินจิ ของผูบ้ ริหารในการทบทวนความเหมาะสมของ อายุการให้ประโยชน์ที่ใช้ในการคำ�นวณค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย


เรื่องสำ�คัญในการตรวจสอบ ข้อพิพาททางการค้าและคดีความที่สำ�คัญ กลุม่ บริษทั มีคดีความทีถ่ กู ฟ้องร้องทางกฎหมายและข้อพิพาททางภาษี ซึง่ ทำ�ให้ ต้องใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารในการตั้งประมาณการหนี้สิน การที่กลุ่มบริษัทประกอบกิจการภายใต้การกำ�กับดูแลของคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึง่ หาก กสทช. ตีความ เปลี่ยนแปลงและ/หรือเพิ่มเติมข้อบังคับในการประกอบกิจการ โทรคมนาคม อาจส่งผลให้กลุ่มบริษัทมีข้อพิพาท ซึ่งอาจได้รับความเสียหาย จากการจ่ายค่าชดเชยได้ นอกจากนัน้ กลุม่ บริษทั มีการทำ�งานร่วมกับรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษทั ทีโอที จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จากัด (มหาชน) จึงมีความเสี่ยงในการ เกิดการขัดผลประโยชน์ระหว่างบริษัท เหตุ การณ์ สำ � คั ญ ข้ อ พิ พ าททางการค้ า และคดี ความที่ สำ � คั ญ ได้ แ สดงไว้ ใ น หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 38

วิธีการตรวจสอบที่ใช้เพื่อตอบสนอง

เรื่องอื่น

งบการเงินรวมของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วสิ จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย และงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น ซึ่งแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

ข้อมูลอื่น

ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลอื่น ข้อมูลอื่นประกอบด้วยข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในรายงานประจำ�ปี ซึ่งคาดว่าจะถูกจัดเตรียมให้ข้าพเจ้า ภายหลังวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ความเห็นของข้าพเจ้าต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลอื่นและข้าพเจ้าไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นต่อ ข้อมูลอื่น ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการคือ การอ่านและพิจารณาว่าข้อมูล อืน่ มีความขัดแย้งทีม่ สี าระสำ�คัญกับงบการเงินหรือกับความรูท้ ี่ได้รบั จากการตรวจสอบของข้าพเจ้า หรือปรากฏว่าข้อมูลอืน่ มีการแสดง ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านรายงานประจำ�ปี หากข้าพเจ้าสรุปได้ว่ามีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญ ข้าพเจ้าต้องสื่อสาร เรื่องดังกล่าวกับผู้มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแลและฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัท

ความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแลต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ

ผูบ้ ริหารมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการจัดทำ�และนำ�เสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเหล่านี้โดยถูกต้องตามทีค่ วรตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกีย่ วกับการควบคุมภายในทีผ่ บู้ ริหารพิจารณาว่าจำ�เป็นเพือ่ ให้สามารถจัดทำ�งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด รายงานประจำ�ปี 2559

108

รายงานทางการเงิน

วิธีการตรวจสอบที่สำ�คัญ รวมถึง • ออกแบบและทำ�การตรวจสอบเพื่อที่จะระบุคดีความและข้อเรียกร้องที่อาจจะ ทำ�ให้เกิดความเสี่ยงที่มีสาระสำ�คัญต่อกลุ่มบริษัทรวมถึงวิธีการต่อไปนี้ - สอบถามผู้บริหาร รวมถึงฝ่ายกฎหมายของกลุ่มบริษัทเกี่ยวกับเหตุการณ์ สำ�คัญ ข้อพิพาททางการค้าและคดีความที่ส�ำ คัญ - สอบทานรายงานการประชุมของผู้มีหน้าที่ ในการกำ�กับดูแลและหนังสือ ที่ทำ�การติดต่อระหว่างกลุ่มบริษัทและที่ีปรึกษาทางกฎหมายภายนอก - สอบทานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบริการทางกฎหมาย • พิจารณาการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของกลุ่มบริษัท ดังต่อไปนี้ - ทำ � ความเข้ า ใจในกลุ่ ม บริ ษั ท และสภาพแวดล้ อ มของกลุ่ ม บริ ษั ท ในเรื่ อ ง ดังต่อไปนี้ - กรอบของกฎหมายและข้อบังคับที่ีใช้สำ�หรับกลุ่มบริษัทและอุตสาหกรรม หรือภาคธุรกิจที่กลุ่มบริษัทประกอบธุรกิจอยู่ และ - วิธีการที่กลุ่มบริษัทจะปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายและข้อบังคับนั้น - สอบถามผู้บริหารและผู้มีหน้าที​ี่ในการกำ�กับดูแลว่า กลุ่มบริษัทปฏิบัติตาม กฎหมายและข้อบังคับแล้วหรือไม่ และตรวจสอบจดหมายติดต่อกับผูม้ อี �ำ นาจ ทางกฎหมาย เช่น กสทช (ถ้ามี) • ขอให้ผู้บริหารออกหนังสือรับรองว่า คดีความและข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้น หรือ มีความเป็นได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดนั้นมีการพิจารณาผลกระทบ เพื่อบันทึกบัญชี และเปิดเผยในการจัดทำ�งบการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน


ในการจัดทำ�งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ผู้บริหารรับผิดชอบในการประเมินความสามารถของกลุ่มบริษัทและบริษัท ในการดำ�เนินงานต่อเนื่อง เปิดเผยเรื่องที่เกี่ยวกับการดำ�เนินงานต่อเนื่อง (ตามความเหมาะสม) และการใช้เกณฑ์การบัญชีส�ำ หรับการ ดำ�เนินงานต่อเนื่องเว้นแต่ผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะเลิกกลุ่มบริษัทหรือหยุดดำ�เนินงานหรือไม่สามารถดำ�เนินงานต่อเนื่องต่อไปได้ ผู้มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแลมีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลกระบวนการในการจัดทำ�รายงานทางการเงินของกลุ่มบริษัท

ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ

การตรวจสอบของข้าพเจ้ามีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ได้ความเชือ่ มัน่ อย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการโดยรวม ปราศจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ ไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด และเสนอรายงานของ ผูส้ อบบัญชีซงึ่ รวมความเห็นของข้าพเจ้าอยูด่ ว้ ยความเชือ่ มัน่ อย่างสมเหตุสมผลคือความเชือ่ มัน่ ในระดับสูงแต่ไม่ได้เป็นการรับประกันว่า การปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีจะสามารถตรวจพบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญที่มีอยู่ได้เสมอไป ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอาจเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาดและถือว่ามีสาระสำ�คัญ เมื่อคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่ารายการ ทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงแต่ละรายการหรือทุกรายการรวมกันจะมีผลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผูใ้ ช้งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กิจการจากการใช้งบการเงินเหล่านี้

รายงานทางการเงิน

ในการตรวจสอบของข้าพเจ้าตามมาตรฐานการสอบบัญชี ข้าพเจ้าได้ใช้ดุลยพินิจและการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพตลอด การตรวจสอบ การปฏิบัติงานของข้าพเจ้ารวมถึง • • • • • •

ระบุและประเมินความเสีย่ งจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ออกแบบและปฏิบตั งิ านตามวิธกี ารตรวจสอบเพือ่ ตอบสนองต่อความเส่ยี งเหล่านัน้ และ ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอ และเหมาะสมเพื่อเป็นเกณฑ์ ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเสี่ยงที่ไม่พบข้อมูล ทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญซึง่ เป็นผลมาจากการทุจริตจะสูงกว่าความเสีย่ งทีเ่ กิดจากข้อผิดพลาด เน่อื งจากการทุจริตอาจ เกีย่ วกับการสมรูร้ ว่ มคิด การปลอมแปลงเอกสารหลักฐาน การตัง้ ใจละเว้นการแสดงข้อมูล การแสดงข้อมูลที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง หรือการแทรกแซงการควบคุมภายใน ทำ�ความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกลุ่มบริษัท ประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีทผี่ บู้ ริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดทำ�ขึ้นโดยผู้บริหาร สรุปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้เกณฑ์การบัญชีสำ�หรับการดำ�เนินงานต่อเนื่องของผู้บริหาร และจากหลักฐานการสอบบัญชี ที่ได้รบั สรุปว่ามีความไม่แน่นอนทีม่ สี าระสำ�คัญทีเ่ กียี่ วกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ทอี่ าจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนยั สำ�คัญ ต่อความสามารถของกลุ่มบริษัทและบริษัทในการดำ�เนินงานต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระ สำ�คัญ ข้าพเจ้าต้องกล่าวไว้ในรายงานของผูส้ อบบัญชีของข้าพเจ้าถึงการเปิดเผยทีเ่ กีย่ วข้องในงบการเงิน หรือถ้าการเปิดเผยดังกล่าว ไม่เพียงพอ ความเห็นของข้าพเจ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ข้อสรุปของข้าพเจ้าขึ้นอยู่กับหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจนถึงวันที่ ในรายงานของผู้สอบบัญชีของข้าพเจ้า อย่างไรก็ตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ในอนาคตอาจเป็นเหตุให้กลุ่มบริษัทต้องหยุด การดำ�เนินงานต่อเนื่อง ประเมินการนำ�เสนอโครงสร้างและเนื้อหาของงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการโดยรวม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงรายการและเหตุการณ์ในรูปแบบทีท่ �ำ ให้มกี ารนำ�เสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามทีค่ วร ได้รบั หลักฐานการสอบบัญชีทเี่ หมาะสมอย่างเพียงพอเกีย่ วกับข้อมูลทางการเงินของกิจการภายในกลุม่ หรือกิจกรรมทางธุรกิจภายใน กลุ่มบริษัทเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินรวม ข้าพเจ้ารับผิดชอบต่อการกำ�หนดแนวทาง การควบคุมดูแล และการปฏิบัติงาน ตรวจสอบกลุ่มบริษัท ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวต่อความเห็นของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าได้สอื่ สารกับผูม้ หี น้าที่ในการกำ�กับดูแลเกีย่ วกับขอบเขตและช่วงเวลาของการตรวจสอบตามที่ได้วางแผนไว้ ประเด็นทีม่ นี ยั สำ�คัญ ทีพ่ บจากการตรวจสอบรวมถึงข้อบกพร่องทีม่ นี ยั สำ�คัญในระบบการควบคุมภายในซึง่ ข้าพเจ้าได้พบในระหว่างการตรวจสอบของข้าพเจ้า 109

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ข้าพเจ้าได้ให้คำ�รับรองแก่ผู้มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแลว่าข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดจรรยาบรรณที่เกี่ียวข้องกับความเป็นอิสระและ ได้สอื่ สารกับผูม้ หี น้าที่ีในการกำ�กับดูแลเกีย่ี วกับความสัมพันธ์ทงั้ หมด ตลอดจนเรือ่ งอืน่ื ซึง่ ข้าพเจ้าเชือ่ื ว่ามีเหตุผลทีบ่ี คุ คลภายนอกอาจ พิจารณาว่ากระทบต่อความเป็นอิสระของข้าพเจ้าและมาตรการที่ข้าพเจ้าใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าพเจ้าขาดความเป็นอิสระ จากเรื่องที่สื่อสารกับผู้มีหน้าที่ในการกำ�กับดูแล ข้าพเจ้าได้พิจารณาเรื่องต่างๆ ที่มีนัยสำ�คัญมากที่สุดในการตรวจสอบงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการในงวดปัจจุบันและกำ�หนดเป็นเรื่องสำ�คัญในการตรวจสอบ ข้าพเจ้าได้อธิบายเรื่องเหล่านี้ในรายงานของ ผูส้ อบบัญชีเว้นแต่กฎหมายหรือข้อบังคับไม่ให้เปิดเผยต่อสาธารณะเกีย่ วกับเรือ่ งดังกล่าว หรือในสถานการณ์ทยี่ ากทีจ่ ะเกิดขึน้ ข้าพเจ้า พิจารณาว่าไม่ควรสื่อสารเรื่องดังกล่าวในรายงานของข้าพเจ้าเพราะการกระทำ�ดังกล่าวสามารถคาดการณ์ ได้อย่างสมเหตุผลว่าจะมี ผลกระทบในทางลบมากกว่าผลประโยชน์ต่อส่วนได้เสียสาธารณะจากการสื่อสารดังกล่าว

รายงานทางการเงิน

(ดร. ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3356 บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำ�กัด กรุงเทพมหานคร วันที่ี 3 กุมภาพันธ์ 2560

รายงานประจำ�ปี 2559

110


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

งบแสดงฐานะการเงิน

หน่ วย : บาท

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษหมายเหตุ ัทย่อย

งบการเงินรวม ณ วันที

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ณ วันที

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 หมายเหตุ 31 ธันวาคม

สินทรัพย์ สิ นทรัพย์

(หน่วย : บาท) ณ วันที งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 ณ วันที

สิ นทรัพย์ หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

4

11,226,140,704

9,864,912,703

409,710,983

1,153,323,176

เงินฝากธนาคารทีสามารถใช้เป็ นการเฉพาะ

5

2,963,182,980

4,447,280,062

-

-

เงินลงทุนระยะสัน

6

-

304,674,040

-

-

1,868,662,606

5,482,137,002

ลูกหนี การค้าและลูกหนี อืน

7, 34

14,116,309,540

16,388,529,471

เงินปั นผลค้างรับ

34

-

-

12,093,267,807

19,944,391,312

เงินให้กยู้ มื ระยะสันแก่กิจการทีเกียวข้องกัน

34

-

-

39,243,900,000

44,243,900,000

สิ นค้าคงเหลือ

8

3,085,251,635

5,059,252,355

67,871

38,632,788

สิ นทรัพย์หมุนเวียนอืน

35

508,453,933

1,942,220,774

248,207,349

1,329,506,403

31,899,338,792

38,006,869,405

53,863,816,616

72,191,890,681

รวมสิ นทรัพย์ หมุนเวียน

รายงานทางการเงิน

สิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเวียน เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม

9

24,234,502

-

-

-

เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย

10

-

-

7,720,665,448

7,660,665,448

เงินลงทุนในการร่ วมค้า

9

14,662,013

-

-

-

เงินลงทุนระยะยาวอืน

6

59,399,310

58,399,310

47,999,310

46,999,310

ทีดิน อาคารและอุปกรณ์

11

118,271,443,199

84,291,102,602

336,867,143

499,589,004

สิ นทรัพย์ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ

12

-

-

-

-

ค่าความนิ ยม

13

34,930,692

34,930,692

-

-

ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม

14

115,378,417,908

51,790,573,854

-

-

สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืน

15

4,099,208,006

3,192,332,249

46,745,757

72,491,069

ลูกหนี ตามสัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า

35

577,660,237

795,449,411

517,060,528

795,449,411

สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

16

2,617,832,320

1,251,587,959

868,037,276

64,889,855

สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอืน

34

2,693,223,583

2,340,027,690

1,494,358,084

1,001,345,194

243,771,011,770

143,754,403,767

11,031,733,546

10,141,429,291

275,670,350,562

181,761,273,172

64,895,550,162

82,333,319,972

รวมสิ นทรัพย์ ไม่ หมุนเวียน รวมสิ นทรัพย์

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ งของงบการเงินนี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 111

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ)

หน่ วย : บาท

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษหมายเหตุ ัทย่อย

งบการเงินรวม ณ วันที

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ณ วันที

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 หมายเหตุ 31 ธันวาคม

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนีส ิ นและส่ วนของผู้ถือหุ้น

(หน่วย : บาท) ณ วันที งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 ณ วันที

หนีส ิ นหมุนเวียน เงินกูย้ มื ระยะสันจากสถาบันการเงิน

17

9,200,000,000

8,500,000,000

5,700,000,000

7,700,000,000

18, 34

34,292,055,244

27,750,537,994

3,086,074,755

3,475,832,250

17

2,484,704,493

4,355,626,863

2,052,743,555

4,327,462,057

19

10,017,157,156

-

-

-

-

-

6,440,000,000

6,490,000,000

ผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ค้างจ่าย

5,360,786,666

5,364,084,953

5,220,212,495

5,223,510,781

รายได้ค่าบริ การโทรศัพท์เคลือนทีรับล่วงหน้า

3,208,042,630

2,331,763,136

9,223,936

44,592,133

2,963,182,980

4,447,280,062

-

-

1,756,300,784

4,761,207,636

-

-

45,798,270

22,791,839

1,101,566

1,816,750

69,328,028,223

57,533,292,483

22,509,356,307

27,263,213,971

เจ้าหนี การค้าและเจ้าหนี อืน ส่ วนของหนี สินระยะยาว ทีถึงกําหนดชําระภายในหนึ งปี ส่ วนของใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคมค้างจ่าย ทีถึงกําหนดชําระภายในหนึ งปี เงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้อง

เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า

17, 34

5

ภาษีเงินได้คา้ งจ่าย หนี สินหมุนเวียนอืน

หนีส ิ นไม่ หมุนเวียน หนี สินระยะยาว

17

87,273,400,138

52,576,667,378

3,345,111,037

9,412,406,257

ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

20

2,554,402,991

2,293,784,247

326,766,989

431,365,867

ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคมค้างจ่าย

19

72,180,037,834

19,902,471,117

-

-

1,626,147,293

962,076,164

16,036,200

16,036,200

163,633,988,256

75,734,998,906

3,687,914,226

9,859,808,324

232,962,016,479

133,268,291,389

26,197,270,533

37,123,022,295

หนี สินไม่หมุนเวียนอืน รวมหนีส ิ นไม่ หมุนเวียน รวมหนีส ิ น

รายงานประจำ�ปี 2559

112

รายงานทางการเงิน

รวมหนีส ิ นหมุนเวียน


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ)

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษหมายเหตุ ัทย่อย หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) หนีส ิ นและส่ วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) ส่ วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรื อนหุน้

หน่ วย : บาท

งบการเงินรวม ณ วันที

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่ณววัยนที:  บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558

ณ วันที

ณ วันที

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม ณ2559 วันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 หมายเหตุ 21

ทุนจดทะเบียน หุน้ สามัญ 4,997 ล้านหุน้ มูลค่าหุน้ ละ 1.00 บาท

4,997,459,800

4,997,459,800

4,997,459,800

4,997,459,800

2,973,095,330

2,973,095,330

2,973,095,330

2,973,095,330

21

22,388,093,275

22,372,276,085

22,388,093,275

22,372,276,085

22

500,000,000

500,000,000

500,000,000

500,000,000

16,471,015,050

22,313,204,401

12,761,597,893

19,308,356,485

236,679,794

217,756,435

75,493,131

56,569,777

42,568,883,449

48,376,332,251

38,698,279,629

45,210,297,677

139,450,634

116,649,532

42,708,334,083

48,492,981,783

38,698,279,629

45,210,297,677

275,670,350,562

181,761,273,172

64,895,550,162

82,333,319,972

-

-

-

-

ทุนทีออกและชําระแล้ว หุน้ สามัญ 2,973 ล้านหุน้ มูลค่าหุน้ ละ 1.00 บาท ชําระครบแล้ว ส่ วนเกินทุน ส่ วนเกินมูลค่าหุน้ สามัญ กําไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสํารองตามกฎหมาย

รายงานทางการเงิน

ยังไม่ได้จดั สรร องค์ประกอบอืนของส่ วนของผูถ้ ือหุน้ รวมส่ วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษทั ส่ วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุม รวมส่ วนของผู้ถือหุ้น รวมหนีส ิ นและส่ วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ งของงบการเงินนี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 113

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

23

-

-


งบกำ�ไรขาดทุน

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบกําไรขาดทุน บปี สินษสุัทดย่วัอนยที 31 ธันวาคม 2559 จำ�กัด (มหาชน)สํ าหรั และบริ

งบการเงินรวม หมายเหตุ สำ�หรับปีสิ้่นงบการเงิ สุดวันทีน่รวม 31 ธันวาคม 2559 2558 2559 2558 หมายเหตุ

(หน่วย : บาท) หน่ วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ สำ�หรับงบการเงิ ปีสิ้่นสุดนวัเฉพาะกิ นที่ 31จธัการ นวาคม 2559 2558 2559 2558

รายได้ รายได้จากการให้บริ การและให้เช่าอุปกรณ์ รายได้จากการขาย

25, 34

128,226,136,756

127,414,763,117

4,949,542,510

34

23,923,729,805

27,798,086,571

-

185,224

63,590,862

-

63,590,862

รายได้ค่าก่อสร้างภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ

-

รวมรายได้

31,530,538,627

152,149,866,561

155,276,440,550

4,949,542,510

31,594,314,713

(58,069,917,881)

(50,020,302,266)

(5,024,415,481)

(20,652,874,405)

(3,989,039)

(6,716,227,755)

(3,989,039)

(6,716,227,755)

(24,917,977,306)

(28,018,892,492)

-

(185,237)

(63,590,862)

-

(63,590,862)

ต้ นทุน ต้นทุนการให้บริ การและให้เช่าอุปกรณ์

29, 34

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรายปี

1

ต้นทุนขาย ต้นทุนค่าก่อสร้างภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ

-

รวมต้ นทุน

(82,991,884,226)

(84,819,013,375)

(5,028,404,520)

(27,432,878,259)

กําไร (ขาดทุน) ขันต้ น

69,157,982,335

70,457,427,175

(78,862,010)

4,161,436,454

ค่าใช้จ่ายในการขาย

29

(16,012,372,813)

(6,900,983,669)

(21,698,796)

(137,990,382)

ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร

29

(13,763,454,066)

(13,190,401,801)

(1,197,651,951)

(2,566,782,136)

รวมค่ าใช้ จ่ายในการขายและบริหาร

(29,775,826,879)

(20,091,385,470)

(1,219,350,747)

(2,704,772,518)

กําไร (ขาดทุน) จากการให้ บริการ การให้ เช่ าอุปกรณ์ และการขาย

39,382,155,456

50,366,041,705

(1,298,212,757)

1,456,663,936

รายได้จากการลงทุน

26, 34

203,951,212

291,108,353

29,540,009,830

38,313,574,249

รายได้จากการดําเนิ นงานอืน

27, 34

364,175,929

447,704,704

1,663,222,514

509,177,054

9

23,896,565

(10,875,000)

-

-

10

-

-

-

(178,912,558)

21,865,404

16,438,334

(149,987,433)

(208,618,159)

(618,075,795)

(710,177,347)

29,158,821,763

หน่ วย : บาท 39,198,145,509

ส่ วนแบ่งกําไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม และการร่ วมค้า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ กําไรจากอัตราแลกเปลียนสุ ทธิ ค่าตอบแทนผูบ้ ริ หาร ต้นทุนทางการเงิน

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด277,161,087 (มหาชน) และบริษ228,779,748 ัทย่ อย (209,178,159) งบกํ34าไรขาดทุน (150,257,434) (ต่อ) สํ าหรับปี สิ30, นสุ34 ดวันที 31(4,236,138,986) ธันวาคม 2559 (1,959,562,798)

กําไรก่ อนภาษีเงินได้ รายได้ (ค่าใช้จ่าย) ภาษีเงินได้

35,864,943,829

(5,175,299,508) (9,999,166,651) งบการเงินรวม 30,689,644,321 39,154,851,902 2559 2558

803,147,421 งบการเงินเฉพาะกิ(601,301,979) จการ 29,961,969,184 38,596,843,530 2559 2558

30,666,538,425

39,152,410,435

29,961,969,184

23,105,896

2,441,467

30,689,644,321

39,154,851,902

29,961,969,184

38,596,843,530

กําไรต่อหุน้ ขันพืนฐาน

10.31

13.17

10.08

12.98

กําไรต่อหุน้ ปรับลด หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

10.31

13.17

10.08

12.98

กําไรสํ าหรับปี

31 หมายเหตุ

49,154,018,553

การแบ่ งปันกําไร ส่ วนทีเป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ส่ วนทีเป็ นของส่ วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุม กําไรสํ าหรับปี กําไรต่ อหุ้น (บาท)

38,596,843,530

-

-

32

รายงานประจำ�ปี 2559

114

รายงานทางการเงิน

ค่ าใช้ จ่ายในการขายและบริหาร


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน สํ าหรัและบริ บปี สินษสุัทดย่วันอทีย 31 ธันวาคม 2559 จำ�กัด (มหาชน)

งบกำ�ไรขาดทุนและกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

(หน่หน่ววยย:: บาท) บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ สำ�หรับปีสงบการเงิ ิ้่นสุดวันนทีรวม ่ 31 ธันวาคม สำ�หรับงบการเงิ ปีสิ้่นสุนดเฉพาะกิ วันที่ 31จการ ธันวาคม 2559 2558 2559 2558 หมายเหตุ 2559 2558 2559 2558

กําไรสํ าหรับปี

30,689,644,321

39,154,851,902

29,961,969,184

38,596,843,530

กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอืน รายการทีต้องไม่ จดั ประเภทรายการใหม่ เข้ าไปไว้ ในกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง กําไร (ขาดทุน) จากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย สําหรับโครงการผลประโยชน์พนักงาน

20

-

(636,532,321)

-

14,012,680

31

-

129,188,610

-

(2,802,536)

-

(507,343,711)

-

11,210,144

-

(7,731,308)

-

-

-

(7,731,308)

-

-

-

(515,075,019)

-

ภาษีเงินได้เกียวกับรายการทีตอ้ งไม่จดั ประเภทรายการใหม่ ในภายหลัง รายการทีต้องจัดประเภทรายการใหม่ เข้ าไปไว้ ในกําไรหรื อขาดทุนในภายหลัง การเปลียนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุ ทธิของเงินลงทุนเผือ ขาย

รายงานทางการเงิน

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืนสํ าหรับปี - สุ ทธิจากภาษีเงินได้ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสํ าหรับปี

11,210,144

30,689,644,321

38,639,776,883

29,961,969,184

38,608,053,674

30,666,538,425

38,637,285,511

29,961,969,184

38,608,053,674

23,105,896

2,491,372

-

-

30,689,644,321

38,639,776,883

29,961,969,184

38,608,053,674

การแบ่ งปันกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ส่ วนทีเป็ นของผูถ้ ือหุน้ ของบริ ษทั ส่ วนทีเป็ นของส่ วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุม กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสํ าหรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ งของงบการเงินนี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 115

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ยอดคงเหลือ ณ วันที 1 มกราคม 2558

-

33, 34

-

รวมการเปลีย นแปลงในส่ วนได้ เสี ยในบริษทั ย่อย

รวมรายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้าส่ วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 2,973,095,330

-

-

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี 22,372,276,085

-

-

-

-

-

-

-

-

-

กําไร

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

-

-

-

23

22,372,276,085

2,973,095,330

การเลิกบริ ษทั ย่อย

การเปลีย นแปลงในส่ วนได้ เสี ยในบริษทั ย่อย

รวมเงินลงทุนทีได้ รับจากเจ้ าของและการจัดสรรส่ วนทุนให้ ผู้ถือหุ้น

เงินปันผล

การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์

เงินลงทุนทีได้ รับจากผู้ถือหุ้นและการจัดสรรส่ วนทุนให้ ผู้ถือหุ้น

รายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้าส่ วนของผู้ถือหุ้น

มูลค่าหุ้น

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

ส่ วนเกิน

ทุทีนอเรือกและ อนหุ้น ที่ออกและ หมายเหตุ ชําระแล้ว หมายเหตุ ชำ�ระแล้ว

ทุนเรื อนหุ้น

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

500,000,000

-

-

-

-

-

-

-

-

-

500,000,000

กําไรสะสม

22,313,204,401

38,644,922,610

(507,487,825)

39,152,410,435

(37,042,012,632)

-

-

(37,042,012,632)

(37,042,012,632)

-

20,710,294,423

จัดสรร

ยังไม่ ได้

ยังไม่ได้จัดสรร

กำ�ไรสะสม ทุนสำ�รอง กฎหมาย ตามกฎหมาย

ทุนสํ ารองตาม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

56,569,777

-

-

-

30,661,163

-

-

30,661,163

-

30,661,163

25,908,614

161,186,663

-

-

-

-

-

-

-

-

-

161,186,663

(5)

(7,637,099)

(7,637,099)

-

-

-

-

-

-

-

7,637,094

นของส่ วนของผู้ถือหุ้น สำ�หรับปีสิ้่นสุดวัองค์ นที่ ป31ระกอบอื ธันวาคม 2559 สํ ารองสํ าหรับ องค์ประกอบอื่นของส่ ผลต่วนของผู างจากการ ้ถือหุ้น การจ่ ายโดย กําไรจาก เปลี ย  นแปลงใน ผลต่างจากการ สำ�รองสำ กำ�ไรจาก ใช้ หุ้น�หรับ การลดสั ดส่ วน มูเปลี ลค่า่ยยุตนแปลงใน ิธรรมสุ ทธิ การจ่ายโดย การลดสัดส่วน มูลค่ายุติธรรมสุทธิ เป็ นเกณฑ์ ของเงินลงทุน ของเงินลงทุนเผือขาย ใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ของเงินลงทุน ของเงินลงทุนเผื่อขาย

งบการเงินรวม

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบแสดงการเปลีย นแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้น งบการเงินรวม สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

รายงานประจำ�ปี 2559

116

217,756,435

(7,637,099)

(7,637,099)

-

30,661,163

-

-

30,661,163

-

30,661,163

194,732,371

รวมองค์ อืนของส่ปวระกอบ นของ อื​ื่นของส่วนของ ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้น

รวมองค์ประกอบ

48,376,332,251

38,637,285,511

(515,124,924)

39,152,410,435

(37,011,351,469)

-

-

(37,011,351,469)

(37,042,012,632)

30,661,163

46,750,398,209

รวมส่ ผู้ถือหุว้ นน ของผู้ถือหุ้น ของบริษทั ของบริ ษัท

รวมส่ วนของ

116,649,532

2,491,372

49,905

2,441,467

(198,156)

(7)

(7)

(198,149)

(198,149)

-

114,356,316

สีย ทีส่ไวม่นได้ มีอาํ เนาจ ที่ไม่มีอ�ำ นาจ ควบคุม ควบคุ ม

ส่ วนของ ส่ส่ววนได้ เสี ย นของ

48,492,981,783

38,639,776,883

(515,075,019)

39,154,851,902

(37,011,549,625)

(7)

(7)

(37,011,549,618)

(37,042,210,781)

30,661,163

46,864,754,525

รวมส่วน ผู้ถือหุ้น ของผู ้ถือหุ้น

รวมส่ วนของ

(หน่หน่ววยย:: บาท) บาท


117

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ยอดคงเหลือ ณ วันที 1 มกราคม 2559

-

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ งของงบการเงินนี

2,973,095,330

-

ยอดคงเหลือ ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

-

กําไร

-

-

-

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

รวมรายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้าส่ วนของผู้ถือหุ้น

23

33, 34

เงินปันผล

22,388,093,275

-

-

-

15,817,190

-

15,817,190

22,372,276,085

2,973,095,330

การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์

รายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้าส่ วนของผู้ถือหุ้น

ส่ วนเกิน

ส่วนเกิมูลนค่มูาลหุค่้ นาหุ้น

ทุนเรื อนหุ้น

ทุทีนอเรือกและ อนหุ้น ที่ออกและ หมายเหตุ ชำชํ�าระแล้วว หมายเหตุ

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

500,000,000

-

-

-

-

-

-

500,000,000

ทุนสำ�รอง กฎหมาย ตามกฎหมาย

ทุนสํ ารองตาม

ยังไม่ ได้

16,471,015,050

30,666,538,425

-

30,666,538,425

(36,508,727,776)

(36,508,727,776)

-

22,313,204,401

ยังไม่จัไดด้สรร จัดสรร

กำ�ไรสะสม

กําไรสะสม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)

75,493,131

-

-

-

18,923,354

-

18,923,354

56,569,777

161,186,663

-

-

-

-

-

-

161,186,663 -

-

-

-

-

5

5

(5)

สำ�หรับปีสิ้่นสุดวัองค์ นที่ ป31ระกอบอื ธันวาคม 2559 นของส่ วนของผู้ถือหุ้น ้ถือหุ้น สํ ารองสํ าหรับ องค์ประกอบอื่นของส่ ผลต่วนของผู างจากการ ผลต่ งจากการ การจ่ ายโดย กําไรจาก เปลีย านแปลงใน สำ�รองสำ �หรับ การลดสั กำ�ไรจาก เปลี่ยนแปลงใน ใช้ หุ้น ดส่ วน มูลค่ายุติธรรมสุ ทธิ การจ่ายโดย การลดสัดส่วน มูลค่ายุติธรรมสุทธิ ของเงินลงทุ ลงทุนน ของเงิ ของเงินนลงทุ ลงทุนเผือ่อขาย ใช้หเป็ุ้นเป็นเกณฑ์ นเกณฑ์ ของเงิ ขาย

งบการเงินรวม

น และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ รายงานทางการเงิ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) งบแสดงการเปลีย นแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) งบการเงินรวม สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 และบริษัทย่อย

5

5 236,679,794

-

18,923,354

-

18,923,354

217,756,435

รวมองค์ ประกอบ อืนของส่ วนของ อื​ื่นของส่วนของ ผู้ถืออหุหุ้ น้น

รวมองค์ประกอบ

42,568,883,449

30,666,538,430

5

30,666,538,425

(36,473,987,232)

(36,508,727,776)

34,740,544

48,376,332,251

รวมส่ วน ผู้ถือหุ้น ของผู้ถือหุ้น ของบริษทั ของบริ

รวมส่ วนของ

ส่ วนของ

139,450,634

23,105,896

-

23,105,896

(304,794)

(304,794)

-

116,649,532

ส่วนได้เสีย ทีไม่ มีอาํ นาจ ที่ไม่มีอ�ำ นาจ ควบคุม ควบคุ

นของ ส่ส่ววนได้ เสี ย

42,708,334,083

30,689,644,326

5

30,689,644,321

(36,474,292,026)

(36,509,032,570)

34,740,544

48,492,981,783

รวมส่วน ผู้ถือ้ถหุือ้ นหุ้น ของผู

รวมส่ วนของ

(หน่หน่ววยย:: บาท) บาท


33, 34

เงินปั นผล

หมายเหตุ

23

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2,973,095,330

-

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

-

-

-

-

2,973,095,330

2,973,095,330 ชําระแล้ ว

- ้น ทุนเรื อนหุ ทีออกและ

-

-

กําไร

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

รวมรายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้ าส่ วนของผู้ถือหุ้น

มูลค่ าหุ้น

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

ส่ วนเกิน

ทีออกและ ทุนชํเรืาอระแล้ นหุ้นทีว่ออก และชำ�ระแล้ว

ทุนเรื อนหุ้น ทุนสำ�รอง กฎหมาย ตามกฎหมาย

ทุนสํ ารองตาม

22,388,093,275

-

-

15,817,190

-

15,817,190

22,372,276,085

ส่ วนเกิ- น 22,372,276,085 มูลค่ าหุ้น

-

-

-

500,000,000

-

-

-

-

-

500,000,000

ทุนสํ ารองตาม 500,000,000 กฎหมาย

-

-

-

(37,042,012,632)

(37,042,012,632)

-

17,742,315,443

จัดสรร

ยังไม่ได้จัดสรร

ยังไม่ ได้

12,761,597,893

29,961,969,184

29,961,969,184

(36,508,727,776)

(36,508,727,776)

-

19,308,356,485

38,608,053,674 ยังไม่ ได้ 19,308,356,485 จัดสรร

กําไรสะสม 38,596,843,530 11,210,144

กำ�ไรสะสม

สำ�หรับปีสิ้่นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 กําไรสะสม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ ว22,372,276,085 ิส จํากัด (มหาชน) และบริ ษัทย่ อย 2,973,095,330 500,000,000 งบแสดงการเปลีย นแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) 23 - งบการเงินเฉพาะกิ-จการ 33, 34 สํ าหรั-บปี สินสุ ดวันที 31 ธัน- วาคม 2559

การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์

รายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้ าส่ วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที 1 มกราคม 2559

ยอดคงเหลือ ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน

กําไร

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสํ าหรับปี

รวมรายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้ าส่ วนของผู้ถือหุ้น

เงินปั นผล

การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์

รายการกับเจ้ าของทีบันทึกโดยตรงเข้ าส่ วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที 1 มกราคม 2558

หมายเหตุ

หมายเหตุ

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบแสดงการเปลีย นแปลงส่ วนของผู้ถือหุ้น งบการเงินเฉพาะกิจการ สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

รายงานประจำ�ปี 2559

118

75,493,131

-

-

18,923,354

-

18,923,354

56,569,777

ใช้ ห้ ุน56,569,777 เป็ นเกณฑ์

สํ ารองสํ า-หรับ การจ่ ายโดย

องค์ ประกอบอืนของ ส่ วนของผู-้ ถือหุ้น

30,661,163

-

30,661,163

25,908,614

ประกอบอื สํองค์ ารองสํ าหรับ่น ของส่วนของผู้ถือหุ้น สำการจ่ �รองสำายโดย �หรับ การจ่ า ยโดย ใช้ ห้ ุนเป็ นเกณฑ์ ใช้หุ้นเป็นเกณฑ์

ส่ วนของผู้ถือหุ้น

องค์ ประกอบอืนของ

38,698,279,629

29,961,969,184

29,961,969,184

(36,473,987,232)

(36,508,727,776)

34,740,544

45,210,297,677

38,608,053,674 รวมส่ วนของ ผู45,210,297,677 ้ ถือหุ้น

11,210,144

38,596,843,530

(37,011,351,469) หน่ วย : บาท

(37,042,012,632)

30,661,163

43,613,595,472

ผู้ถือหุ้น

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

รวมส่ วนของ

หน่ วย : บาท

(หน่วย : บาท)


งบกระแสเงินสด

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบกระแสเงินสด จำ�กัด (มหาชน) และบริ สํ าหรั บปี สินษสุัทดย่วัอนยที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กําไรสําหรับปี รายการปรับปรุ ง ค่าเสื อมราคา ค่าตัดจําหน่ายสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน ขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ กําไรจากการตัดจําหน่ายเงินลงทุน รายได้จากการลงทุน ต้นทุนทางการเงิน (กลับรายการ) หนี สงสัยจะสู ญและหนี สูญ การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ (กลับรายการ) ค่าเผือ สิ นค้าล้าสมัย การลดมูลค่าของสิ นค้า และตัดจําหน่ายสิ นค้าคงเหลือ ค่าเผือ อุปกรณ์ทียกเลิกการใช้งาน ขาดทุนจากการจําหน่ายสิ นทรัพย์ (กําไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลียนทียงั ไม่เกิดขึน ส่ วนแบ่ง (กําไร) ขาดทุนจากเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วม และการร่ วมค้า (รายได้) ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดได้มาจากการดําเนิ นงานก่อนการเปลียนแปลง ในสิ นทรัพย์และหนี สินดําเนิ นงาน

119

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

(หน่วย : บาท) วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิหน่ จการ ิ้่นสุดวันนทีรวม ่ 31 ธันวาคม สำ�หรับงบการเงิ ปีสิ้่นสุดนวัเฉพาะกิ นที่ 31จการ ธันวาคม หมายเหตุ สำ�หรับปีสงบการเงิ 2559 2558 2559 2558 หมายเหตุ 2559 2558 2559 2558

11, 29 12, 14, 15, 29 10 26, 34 30, 34 7 23

30,689,644,321

39,154,851,902

29,961,969,184

38,596,843,530

15,464,345,085 6,202,967,902 (203,951,212) 4,236,138,986 1,537,699,855 34,740,544

10,153,064,049 127,013,270 289,207,391 10,342,113,949 25,707,184 8,647,077,182 178,912,558 (4,627) (291,108,353) (29,540,009,830) (38,313,574,249) 1,959,562,798 618,075,795 710,177,347 1,315,294,405 (2,165,297) (3,823) 30,661,163 34,740,544 30,661,163

8

301,549,380 135,772,815 23,070,619 (29,634,350)

206,635,330 302,482,364 25,736,068

(35,986,900) 15,111,907 (25,967,745)

(20,279,330) 200,707,183 (16,206,033)

9 31

(23,896,515) 5,175,299,508

10,875,000 9,999,166,651

(803,147,421)

601,301,979

63,543,746,938

73,209,335,326

375,340,691

10,904,820,271


เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบกระแสเงินสด (ต่บริอษัท)แอดวานซ์ อินโฟร์งบกระแสเงิ นสด (ต่อ)

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน (ต่อ) การเปลียนแปลงในสิ นทรัพย์และหนี สินดําเนิ นงาน

(หน่วย : บาท) วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิหน่ จการ ิ้่นสุดวันนทีรวม ่ 31 ธันวาคม สำ�หรับงบการเงิ ปีสิ้่นสุดนวัเฉพาะกิ นที่ 31จการ ธันวาคม หมายเหตุ สำ�หรับปีสงบการเงิ 2559 2558 2559 2558 หมายเหตุ 2559 2558 2559 2558

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ซื อทีดิน อาคาร อุปกรณ์และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืน จําหน่ายอุปกรณ์ ซื อสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ จ่ายชําระใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม เงินให้กยู้ มื ระยะสันแก่กิจการทีเกียวข้องกัน (เพิมขึน) ลดลงสุ ทธิ เงินสดรับจากการคืนทุนของบริ ษทั ย่อย เงินสดรับจากการชําระบัญชีของบริ ษทั ย่อย เงินลงทุนเพิมในบริ ษทั ร่ วม การร่ วมค้า และบริ ษทั ย่อย เงินลงทุนอืน (เพิมขึน) ลดลงสุ ทธิ รับเงินปั นผล รับดอกเบีย เงินสดสุ ทธิได้ มาจาก (ใช้ ไปใน) กิจกรรมลงทุน

34

9, 10 6

1,484,097,082 731,903,785 1,672,451,340 1,022,641,449 2,600,497 3,289,463,173 (3,298,287) 876,279,494 (1,484,097,082) 23,006,431

(737,952,157) (2,046,091,556) (2,714,489,868) (146,711,825) (622,142,330) 2,018,694,672 233,928,085 148,587,736 737,952,157 (344,345,910)

3,231,251,687 74,551,818 707,059,084 (212,730,863) (415,145,123) (3,298,287) (35,368,197) (715,184)

7,517,936,253 33,809,950 (714,276,630) (2,206,470) (559,596,118) 233,928,084 (584,178,592) (329,091,314)

102,801,487 276,107,578 71,537,703,885 (9,902,247,111) 61,635,456,774

90,216,995 97,008,392 69,923,989,717 (8,294,587,940) 61,629,401,777

18,431,096 (115,117,009) 3,624,259,713 (280,282,027) 3,343,977,686

10,452,864 23,340,663 16,534,938,961 (1,008,539,496) 15,526,399,465

(47,554,102,096) (32,107,980,096) 17,398,486 22,119,868 (146,548,316) (8,069,266,618) (24,159,783,315) 95,000,000 (15,000,000) (10,875,000) 303,674,045 1,230,043,637 40,000,000 215,749,753 282,277,603 (55,101,546,430) (54,755,745,619)

(44,280,489) 33,946,725 5,000,000,000 (60,000,000) (1,000,000) 35,860,268,711 1,917,532,686 42,706,467,633

(76,708,367) 375,608,653 (146,548,316) (8,654,140,000) 74,999,994 11,572,116 (14,000,000) 16,800,110,540 1,506,581,952 9,877,476,572

รายงานประจำ�ปี 2559

120

รายงานทางการเงิน

เงินฝากธนาคารทีสามารถใช้เป็ นการเฉพาะ ลูกหนี การค้าและลูกหนี อืน สิ นค้าคงเหลือ สิ นทรัพย์หมุนเวียนอืน สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนอืน เจ้าหนี การค้าและเจ้าหนี อืน ผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ค้างจ่าย รายได้ค่าบริ การโทรศัพท์เคลือนทีรับล่วงหน้า เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า หนี สินหมุนเวียนอืน ลูกหนี ตามสัญญาแลกเปลียน และสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า หนี สินไม่หมุนเวียนอืน เงินสดได้มาจากกิจกรรมดําเนิ นงาน จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุ ทธิได้ มาจากกิจกรรมดําเนินงาน


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย งบกระแสเงินสด (ต่อ) จำ�กัด (มหาชน) และบริ สํ าหรั บปี สินษสุัทดย่วัอนยที 31 ธันวาคม 2559

งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

รายงานทางการเงิน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบีย จ่ายต้นทุนทางการเงินอืน จ่ายชําระหนี สินตามสัญญาเช่าการเงิน เงินกูย้ มื ระยะสันจากสถาบันการเงินเพิม ขึน (ลดลง) สุ ทธิ เงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้องกันเพิมขึน (ลดลง) สุ ทธิ การเพิมขึนในหนี สินระยะยาว จ่ายชําระหนี สินระยะยาว จ่ายชําระเงินคืนให้ส่วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุม จากการชําระบัญชีของบริ ษทั ย่อย จ่ายเงินปั นผล เงินสดสุ ทธิใช้ ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน ผลกระทบจากอัตราแลกเปลียนของเงินตราต่างประเทศ เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสดเพิม ขึน (ลดลง) สุ ทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที 1 มกราคม เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด ณ วันที 31 ธันวาคม

(หน่วย : บาท) วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิหน่ จการ ิ้่นสุดวันนทีรวม ่ 31 ธันวาคม สำ�หรับงบการเงิ ปีสิ้่นสุดนวัเฉพาะกิ นที่ 31จการ ธันวาคม หมายเหตุ สำ�หรับปีสงบการเงิ 2559 2558 2559 2558 หมายเหตุ 2559 2558 2559 2558

34

(2,568,102,986) (201,233,344) (47,303,990) 700,000,000 41,153,737,500 (7,699,136,051)

(1,612,268,572) (178,230,431) (42,625,067) 8,500,000,000 21,500,000,000 (2,392,022,730)

(519,741,393) (92,159) (13,985,714) (2,000,000,000) (50,000,000) (7,699,135,730)

(659,025,441) (3,755,693) (23,454,382) 7,700,000,000 6,490,000,000 (2,392,022,730)

(7) (36,508,870,377) (37,042,102,092) (36,508,727,776) (37,042,012,632) (5,170,909,248) (11,267,248,899) (46,791,682,772) (25,930,270,878)

4

(1,773,095) 1,361,228,001 9,864,912,703 11,226,140,704

439,042 (4,393,153,699) 14,258,066,402 9,864,912,703

(2,374,740) (743,612,193) 1,153,323,176 409,710,983

425,669 (525,969,172) 1,679,292,348 1,153,323,176

30,055,264,117

559,223

44,180,458

ข้ อมูลเพิม เติมสํ าหรับงบกระแสเงินสด รายการทีไม่ ใช่ เงินสด ยอดหนี คา้ งชําระจากการลงทุนในรายจ่ายฝ่ ายทุนและใบอนุญาตให้ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคม

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็ นส่ วนหนึ งของงบการเงินนี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 121

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

94,784,548,815


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 หมายเหตุ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40.

ข้อมูลทั่วไป เกณฑ์การจัดทำ�งบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารที่สามารถใช้เป็นการเฉพาะ เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น สินค้าคงเหลือ เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า เงินลงทุนในบริษัทย่อย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดำ�เนินการ ค่าความนิยม ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โทรคมนาคม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โทรคมนาคมค้างจ่าย ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ทุนเรือนหุ้น สำ�รองตามกฎหมาย องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ข้อมูลทางการเงินจำ�แนกตามส่วนงาน รายได้จากการให้บริการภายใต้ข้อบังคับของ กสทช. รายได้จากการลงทุน รายได้จากการดำ�เนินงานอื่น กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กำ�ไรต่อหุ้น เงินปันผล บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เครื่องมือทางการเงิน ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์สำ�คัญ ข้อพิพาททางการค้าและคดีความที่ส�ำ คัญ เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน การอนุมัติงบการเงิน

รายงานทางการเงิน

สารบัญ

รายงานประจำ�ปี 2559

122


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริ วิส จำ�2559 กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สํ าษหรั​ัท บแอดวานซ์ ปี สินสุ ดวัอินนทีโฟร์  31 เซอร์ ธันวาคม สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

1. 1. ข้อมูลทัว ่ ไป

บริ ษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) (“บริ ษทั ”) เป็ นนิ ติบุคคลทีจดั ตังขึนในประเทศไทย และที อยู่จดทะเบี ยนตังอยู่เลขที 414 อาคารเอไอเอส 1 ถนนพหลโยธิ น เขตพญาไท กรุ งเทพมหานคร ประเทศไทย บริ ษทั จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมือเดือนพฤศจิกายน 2534 ผูถ้ ือหุ ้นรายใหญ่ได้แก่ บริ ษทั อินทัช โฮลดิงส์ จํากัด (มหาชน) ถือหุ ้นร้อยละ 40.45 (31 ธันวาคม 2558: ร้อยละ 40.45) ของทุนจดทะเบียนของบริ ษทั และเป็ นนิ ติบุคคลทีจดั ตังขึนในประเทศไทย และ SingTel Strategic Investments Pte Ltd. ถื อหุ ้นร้ อยละ 23.32 (31 ธันวาคม 2558: ร้อยละ 23.32) ของทุนจดทะเบียนของ บริ ษทั และเป็ นนิติบุคคลทีจดั ตังขึนในประเทศสิ งคโปร์ การประกอบธุ รกิจของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย (“กลุ่มบริ ษทั ”) ทีสาํ คัญ สรุ ปได้ดงั นี

รายงานทางการเงิน

1) การเป็ นผูด้ าํ เนินงานและให้บริ การโทรศัพท์เคลือนทีระบบ 900 MHz โดยบริ ษทั ได้รับอนุญาตจากบริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นกิจการบริ การโทรศัพท์เคลือนที ฉบับลง วัน ที 27 มี น าคม 2533 ให้ มี สิ ท ธิ ด าํ เนิ น กิ จการให้ บ ริ ก ารโทรศัพ ท์ เคลื อ นที ระบบ Cellular 900 ระบบอนาลอก NMT และระบบดิจิตอล GSM ทัว ประเทศแบบคู่ขนานกันไป เป็ นระยะเวลา 25 ปี นับจากวันที 1 ตุลาคม 2533 ซึ งเป็ นวันแรกทีเปิ ดดําเนินการสิ นสุ ดวันที 30 กันยายน 2558 โดยบริ ษทั มีภาระผูกพันจะต้องปฏิบตั ิตามข้อกําหนดต่างๆ และจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา ภายใต้สัญญาดังกล่าวข้างต้น บริ ษทั มีสิทธิ และหน้าทีปฏิบตั ิตามเงือนไขและข้อตกลงโดยต้องโอน กรรมสิ ท ธิ ในบรรดาเครื องมื อและอุ ป กรณ์ ต่างๆ หรื อทรัพ ย์สิ นทีได้ก ระทําขึ น หรื อจัดหามาไว้ สําหรั บ ดําเนิ น การระบบ Cellular 900 ให้ แก่ ที โอที ท นั ที ที ติดตังเสร็ จเรี ยบร้ อย และการจ่ายเงิ น ผลประโยชน์ ตามสั ญ ญาเป็ นรายปี ให้ แก่ ที โอที ในอัต ราร้ อ ยละของรายได้จากการให้ บ ริ ก าร โทรศัพท์เคลื อนที ตามสัญญาและผลประโยชน์อืนใดที พึงได้รับในรอบปี ก่อนหักค่าใช้จ่ายและ ค่าภาษีใดๆ หรื ออย่างน้อยเท่ากับผลประโยชน์ตอบแทนขันตําต่อปี ตามที ระบุ ไว้ในสัญญา ทังนี ตามสัญญาไม่ได้ระบุให้ตอ้ งชําระผลประโยชน์ตอบแทนขันตํารวมตลอดอายุของสัญญา

123

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 อัตราร้อยละของรายได้ค่าบริ การและผลประโยชน์ตอบแทนขันตําในแต่ละปี มีดงั นี ปีปีทีที่

อัอัตตราร้ ราร้ออยละของรายได้ ยละของรายได้

1-5 6 - 10 11 - 15 16 - 20 21 - 25

15 20 25 30 30

ผลประโยชน์ตตอบแทนขั อบแทนขั้น นต่ตํำ�าต่ต่ออปีปี ผลประโยชน์ นบาท) (ล้(ล้าานบาท) 13 ถึง 147 253 ถึง 484 677 ถึง 965 1,236 ถึง 1,460 1,460

รายงานทางการเงิน

ตามสัญญาอนุ ญาตฯ ของบริ ษทั ได้สินสุ ดลงในวันที 30 กันยายน 2558 โดยเมือวันที 17 กันยายน 2558 คณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (“กสทช.”) ได้ออกประกาศเรื อง มาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราวในกรณี สินสุ ดการอนุ ญาต หรื อ สั ญ ญาการให้ บ ริ ก ารโทรศัพ ท์ เคลื อ นที (ฉบับ ที 2) ซึ งกําหนดให้ บ ริ ษ ัท มี ห น้ าที ใ ห้ บ ริ ก ารแก่ ผูใ้ ช้บริ การอย่างต่อเนืองและต้องปฏิบตั ิตามหลักเกณฑ์และเงือนไขทีกาํ หนดไว้ในประกาศ เมือวันที 15 ตุลาคม 2558 กสทช. มีหนังสื อถึงบริ ษทั เรื อง การกําหนดวันสิ นสุ ดระยะเวลาคุม้ ครอง ผูใ้ ช้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที 900 MHz มีมติกาํ หนดให้บริ ษทั ให้บริ การแก่ผูใ้ ช้บริ การต่อไปเป็ น การชัว คราวจนถึงวันที 19 พฤศจิกายน 2558 ต่อมาในวันที 2 พฤศจิกายน 2558 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (“กทค.”) มีมติให้เลื อนวัน ประมูลคลืนความถี 900 MHz จากวันที 12 พฤศจิกายน 2558 เป็ นวันที 15 ธันวาคม 2558 เมื อวันที 12 เมษายน 2559 คณะรั กษาความสงบแห่ งชาติ ได้มีคาํ สังที 16/2559 เรื อง การประมู ลคลื น ความถี เพื อกิ จการโทรคมนาคมกําหนดให้ กสทช. จัดให้ มี การประมู ลคลื นความถี ย่าน 900 MHz ในวัน ที 27 พฤษภาคม 2559 และคุ ้ม ครองผู ใ้ ช้บ ริ ก ารคลื น ความถี 900 MHz เป็ นการชัว คราว เพือให้ผใู ้ ช้บริ การได้รับประโยชน์และใช้บริ การได้อย่างต่อเนื อง ต่อไปจนถึงวันที 30 มิถุนายน 2559 หรื อจนกว่ากสทช.จะได้ออกใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีให้แก่ผชู ้ นะการประมูล แล้วแต่กรณี ใดถึง กําหนดก่อน

-2-

รายงานประจำ�ปี 2559

124


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ต่อมาเมื อวันที 30 มิ ถุนายน 2559 กสทช. มีมติให้สินสุ ดการให้บริ การเป็ นการชัวคราวแก่ผูใ้ ช้บริ การ โทรศัพท์เคลื อนที 900 MHz หลังจากที บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ ทเวอร์ ค จํากัด (“AWN”) ซึ งเป็ น บริ ษทั ย่อย ได้มีการชําระเงิ นงวดแรกของจํานวนเงิ นที ประมู ลในวันที 28 มิถุนายน 2559 และได้รั บ ใบอนุ ญาต 900 MHz แล้วในวันที 30 มิถุนายน 2559 2) การเป็ นผู ้ด ํา เนิ น งานและให้ บ ริ การสื อสารข้ อ มู ล ผ่ า นสายโทรศัพ ท์ ด้ ว ยระบบ DATAKIT VIRTUAL CIRCUIT SWITCH โดยบริ ษ ัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ ท เวอร์ ค คอมมิ วนิ เคชัน ส์ จํากัด (“ADC”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อยทางอ้อม ได้รับอนุ ญาตจากบริ ษทั ที โอที จํากัด (มหาชน) (“ที โอที ”) ตามสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ด ํา เนิ น กิ จการบริ ก ารสื อ สารข้อ มู ล โดยใช้ระบบ DATAKIT VIRTUAL CIRCUIT SWITCH ในเขตชุมสายโทรศัพท์นครหลวง ตามสัญญาฉบับลงวันที 19 กันยายน 2532

รายงานทางการเงิน

ภายใต้สัญญาดังกล่าวข้างต้น ADC มีสิทธิ และหน้าทีปฏิบตั ิตามเงือนไขและข้อตกลงโดยต้องโอน กรรมสิ ท ธิ ในบรรดาเครื องมื อและอุ ป กรณ์ ต่างๆ หรื อทรั พ ย์สินที ได้กระทําขึน หรื อจัดหามาไว้ สํ าหรั บ ดํา เนิ น การระบบ DATAKIT ให้ แ ก่ ที โอที ท ัน ที ที ติด ตัง เสร็ จ เรี ย บร้ อย และการจ่ายเงิ น ผลประโยชน์ตามสัญญาเป็ นรายปี ให้แก่ทีโอที ในอัตราร้ อยละของรายได้จากการให้บริ การของ ระบบ DATAKIT VIRTUAL CIRCUIT SWITCH ตามสัญญาและผลประโยชน์อืนใดทีพึงได้รับ ในรอบปี ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าภาษีใดๆ หรื ออย่างน้อยเท่ากับผลประโยชน์ตอบแทนขันตําต่อปี ตามทีระบุไว้ในสัญญา ADC และ ที โอที ได้ตกลงแก้ไขสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ดาํ เนิ นการ โดยทําสั ญ ญาแก้ไขเพิ ม เติ ม ฉบับ ลงวันที 25 กันยายน 2540 ขยายระยะเวลาการอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการออกไปอีกจาก 10 ปี เป็ น 25 ปี (สิ นสุ ดสั ญ ญาวันที 24 กันยายน 2565) และยกเว้นการเรี ยกเก็บ เงิ นผลประโยชน์ ตอบแทนรายปี ตังแต่วนั ที 25 กันยายน 2540 ทังนี ADC ได้ออกหุ ้นสามัญ จํานวน 10.75 ล้านหุ ้น ในราคาหุ ้นละ 10 บาทให้กบั ทีโอที ในวันที 17 มีนาคม 2541 (ร้อยละ 11.23 ของจํานวนหุ ้นทังหมด) เพือแลกกับ สิ ท ธิ ดัง กล่ า ว ณ วัน ที 31 ธัน วาคม 2559 ที โอที มี สั ด ส่ วนถื อ หุ ้ น ใน ADC คิ ดเป็ นร้ อ ยละ 48.12 (2558: ร้อยละ 48.12)

-3-

125

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริบริษัทษัทแอดวานซ์ แอดวานซ์อินอิโฟร์ นโฟร์เซอร์ เซอร์วสิ วสิ จําจํกัาดกัด(มหาชน) (มหาชน)และบริ และบริษัทษย่ัทอย่ยอย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ หมายเหตุประกอบงบการเงิ ประกอบงบการเงินน หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าสํหรั าหรับปีบสิปี นสิสุนดสุวัดนวัทีนที31 31ธันธัวาคม นวาคม2559 2559 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

3)3) การเป็ การเป็นผูนผูด้ ําด้ เนิ ํา เนินนการและให้ การและให้บบริ กริ ารโทรศั ก ารโทรศัพพท์ท์เคลื เคลื อ นที  อ นทีร ะบบ ร ะบบDigital DigitalPCN PCN1800 1800โดยบริ โดยบริษ ษทั ทั 3) ดิ จการเป็ นผู ด ้ า ํ เนิ น การและให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  ร ะบบ Digital PCN 1800 โดยบริ ดิ​ิตจอล ิตอลโฟน โฟนจําจํกัาดกัด(“DPC”) (“DPC”)ซึ งซึเป็ งเป็นบริ นบริษทษั ย่ทั อย่ยอยได้ได้รับรอนุ ับอนุญญาตจาก าตจากบริบริษทษั ทั กสท กสทโทรคมนาคม โทรคมนาคมจําจํกัาษดกัทั ด ดิ(มหาชน) จิตอล โฟน จํากัดให้(“DPC”) เป็นการและให้ ษทั ย่อยบได้ อนุ ญาตจาก บริ ทั ระบบ กสท โทรคมนาคม จํ1800 ากัด (มหาชน) (“กสท.”) (“กสท.”) ให้เป็เนผู ป็ นผูด้ าํ ดซึ้ เนิ าํงเนิ นนบริ การและให้ ริบกริรารโทรศั กับารโทรศั พพท์เท์คลืเคลื  อนที  อษนที ระบบDigital DigitalPCN PCN1800 (“กสท.”) นผู นด้  นความถี าํ เนิ นการและให้ บริ การโทรศัา งพา งท์1747.9 เ1747.9 คลื อนที ระบบ DigitalMHz PCNและ 1800 (“สั(มหาชน) (“สัญญญาอนุ ญาอนุ ญญาตฯ”) าตฯ”)ให้ ช่ วช่เงคลื วป็งคลื ความถี  วิ ท วิ ทยุ คยุมนาคมระหว่ ค มนาคมระหว่ MHz MHz - 1760.5 - 1760.5 MHz และ (“สั ญ ญาอนุ ญ าตฯ”) ช่ ว งคลื  น ความถี  ว ิ ท ยุ ค มนาคมระหว่ า ง 1747.9 MHz 1760.5 MHz และ 1842.9 1842.9MHz MHz- 1855.5 - 1855.5MHz MHzตามสั ตามสัญญญาอนุ ญาอนุญญาตให้ าตให้ด ําดเนิํา เนินนการให้ การให้บบริ กริ ารวิ ก ารวิททยุ คยุมนาคมระบบ ค มนาคมระบบ 1842.9 MHz 1855.5 MHz ตามสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ด ํ า เนิ น การให้ บ ริ ก ารวิ ท ยุ ค เซลลู เซลลูล่าล่าDigital DigitalPCN PCN1800 1800ฉบัฉบับลงวั บลงวั นนทีที19 19พฤศจิ พฤศจิกายน กายน2539 2539โดย โดยDPC DPCได้ได้รับรัสิบทสิมนาคมระบบ ธิทตธิามสั ตามสัญญญาญา ่ เซลลู ล า Digital PCN 1800 ฉบั บ ลงวั น ที  19 พฤศจิ ก ายน 2539 โดย DPC ได้ ร ั บ สิ ท ธิ ต ามสัาญงาๆญา เริ เริมตั ม งตัแต่ พฤษภาคม2540 2540ถึงถึ15 ง 15กันกัยายน นยายน2556 2556DPC DPCผูกผูพักนพัจะต้ นจะต้องปฏิ องปฏิบตบั ิตั ามข้ ิตามข้อกํอากํหนดต่ าหนดต่ งๆ  งแต่วนั วทีนั  ที28 28พฤษภาคม เริ ม ตั ง แต่ ว น ั ที  28 พฤษภาคม 2540 ถึ ง 15 กั น ยายน 2556 DPC ผู ก พั น จะต้ อ งปฏิ บ ต ั ิ ต ามข้ อ กํ า หนดต่ า ง ๆ   และจ่ และจ่ายผลประโยชน์ ายผลประโยชน์ตอบแทนตามสั ตอบแทนตามสัญญญาญา และจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา ภายใต้ ภายใต้สัญ สัญญาดั ญาดังกล่ งกล่าวข้ าวข้างต้ างต้นนDPC DPCมีสมีิ ทสิธิทแธิละหน้ และหน้าทีาปทีฏิปบฏิตบั ิตั ามเงื ิตามเงือนไขและข้ อนไขและข้ อตกลงโดยต้ อตกลงโดยต้องโอน องโอน ภายใต้ ส ั ญ ญาดั ง กล่ า วข้ า งต้ น DPC มี ส ิ ท ธิ แ ละหน้ า ที  ป ฏิ บ ต ั ิ ต ามเงื  อ นไขและข้ อ ตกลงโดยต้ อ เครืเครื องและอุ  องและอุปกรณ์ ปกรณ์ท งทั หมด รวมทั ของเครื องมื  องมือและอุ อและอุปกรณ์ ปกรณ์สําสหรั ําหรับการให้ บการให้บริบกริาร การให้ให้เงโอน ป็เนป็ น  งั หมดรวมทั  งอะไหล่  งอะไหล่ของเครื เครื  อ งและอุ ป กรณ์ ท ง ั หมด รวมทั ง อะไหล่ ข องเครื  อ งมื อ และอุ ป กรณ์ ส ํ า หรั บ การให้ บ ริ ก าร ให้ เป็ น   กรรมสิ กรรมสิทธิท ของ ธิ ของกสท. กสท.เมืเมือติอดติตัด งตัอุ งปอุกรณ์ ปกรณ์แล้แวล้เสร็ วเสร็จเรีจเรียบร้ ยบร้อยอยและต้ และต้องจ่ องจ่ายผลประโยชน์ ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ ตอบแทนให้ กรรมสิ ทตธิราร้ ของ เมือติดตังตอุามเกณฑ์ ปตามเกณฑ์ กรณ์ แล้สวิ ทสเสร็ ยบร้อยบและต้ อก่งจ่อก่านหั กสท. กสท.ในอั ในอั ตราร้อกสท. ยละของรายได้ อยละของรายได้ ิ ธิทจธิจากการให้ จเรีากการให้ ริบกริาร การ อยผลประโยชน์ นหักค่กาค่ใช้ าใช้จ่าจย่ายค่ตาค่อบแทนให้ ภาษี าภาษีและ และ ่ กสท. ในอั ต ราร้ อ ยละของรายได้ ต ามเกณฑ์ ส ิ ท ธิ จ ากการให้ บ ริ ก าร ก่ อ นหั ก ค่ า ใช้ จ า ย ค่ า ภาษี แ ค่าค่ธรรมเนี าธรรมเนีย มย มซึ ซึงผลประโยชน์  งผลประโยชน์ตอบแทนขั ตอบแทนขั  าตลอดอายุสั สญั ญญารวมเป็ ญารวมเป็นจํนจํานวนเงิ านวนเงินนไม่ไม่ต าํ ตกว่  าํ กว่ละ าา  น นตําตํตลอดอายุ ค่ า ธรรมเนี ย ม ซึ  งผลประโยชน์ ต อบแทนขั น ตํ  า ตลอดอายุ ส ั ญ ญารวมเป็ นจํ า นวนเงิ น ไม่ ต  า ํ กว่ า  5,400 5,400ล้าล้นบาท านบาทโดยแบ่ โดยแบ่งชํงาชํระเป็ าระเป็นรายปี นรายปีดังดันีง นี 5,400 ล้านบาท โดยแบ่งชําระเป็ นรายปี ดังนี ปี ทีปี ที อัตอัราร้ ตราร้อยละของรายได้ อยละของรายได้ ผลประโยชน์ ผลประโยชน์ตอบแทนขั ตอบแทนขั  นตํนาตํต่าอต่ปีอปี ปี ที  อั ต ราร้ อ ยละของรายได้ ผลประโยชน์ ต อบแทนขั าต่าอนบาท) ปี ปีที่ อัตราร้อยละของรายได้ ผลประโยชน์ต(ล้อบแทนขั ้นต่ำ�ต่อ นปีตํ(ล้ (ล้านบาท) านบาท) (ล้ านบาท) 11 2525 99 1 25 9 320 2 2- 9- 9 2020 6060ถึงถึง320 9 20 60ถึถึงถึงง650 320 10102- 14 -- 14 2525 350 350 650 10 14 25 350 ถึ ง 1515- 16 - 16 3030 670 670650 15 - 16 30 670 ่า ยผลประโยชน์ต อบแทนให้ DPC DPCได้ได้จ่าจยผลประโยชน์ ต อบแทนให้กสท. กสท.ตลอดอายุ ตลอดอายุสั สญั ญญาแล้ ญาแล้ว เป็ว เป็นจํนจํา นวนเงิ า นวนเงินนรวมทั รวมทั  งสิ ง สิน น ่ DPC ได้ จ า ยผลประโยชน์ ต อบแทนให้ กสท. ตลอดอายุ ส ั ญ ญาแล้ ว เป็ นจํ า นวนเงิ น รวมทั  งสิ น 15,853 15,853ล้าล้นบาท านบาท 15,853 ล้านบาท

- 4- 4- -4-

รายงานประจำ�ปี 2559

126


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

ตามสัญญาอนุ ญาตฯ สิ นสุ ดวันที 15 กันยายน 2556 โดยเมือวันที 16 สิ งหาคม 2556 คณะกรรมการ กิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (“กสทช.”) ได้ออกประกาศ เรื อง มาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราวในกรณี สินสุ ดการอนุญาตฯ หรื อสัญญาการให้บริ การ โทรศัพท์เคลื อนที กําหนดให้ผูใ้ ห้บริ การมีหน้าทีให้บริ การแก่ผูใ้ ช้บริ การต่อไปเป็ นการชัวคราว ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับจากวันสิ นสุ ดสัญญาอนุญาตฯ โดยผูใ้ ห้บริ การจะต้องปฏิบตั ิตามหลักเกณฑ์ และเงื อนไขที ก ําหนดไว้ในประกาศ ต่ อมาเมื อวันที 17 กรกฎาคม 2557 คณะรั กษาความสงบแห่ งชาติ (“คสช.”) มีคาํ สัง ฉบับที 94/2557 เรื อง “การระงับการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรร คลื นความถี และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสี ยง วิทยุโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม” โดยให้ กสทช. ชะลอการดําเนิ นการเกียวการประมูลคลื นความถี เพือกิจการโทรคมนาคมออกไป เป็ นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วนั ทีมีคาํ สังนี โดยในระหว่างชะลอการดําเนินการ ผูใ้ ห้บริ การมีหน้าทีตอ้ งปฏิบตั ิ ตามประกาศ กสทช. เมื อวันที 16 สิ งหาคม 2556 เพือให้บริ การแก่ผูใ้ ช้บริ การต่อไป กสทช. ยังไม่ได้ ชี แจงในรายละเอียดเกียวกับข้อบังคับและเงื อนไขที กาํ หนดไว้ในประกาศ (รวมถึ งค่าใช้จ่ายทีจะ เกิดขึนก่อนทีจะนําส่ งรายได้ให้กบั รัฐ) ดังนันผลกระทบจากการต้องปฏิบตั ิตามการขยายระยะเวลา ของ DPC จึงยังไม่สามารถประเมินได้แน่นอนในขณะนี ต่ อ มาในวัน ที 24 พฤศจิ ก ายน 2558 กสทช. มี ม ติ ใ ห้ สิ น สุ ด การให้ บ ริ ก ารเป็ นการชัว คราวแก่ ผูใ้ ช้บริ การโทรศัพท์เคลือนที 1800 MHz ในวันที 26 พฤศจิกายน 2558 4) การเป็ นผูด้ ําเนิ น การและให้ บ ริ ก ารโทรศัพ ท์ เคลื อ นที ภ ายใต้ค ลื น ความถี 2.1 GHz โดย บริ ษ ัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด (“AWN”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้รับอนุ ญาตจากคณะกรรมการ กิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) ให้เป็ นผูด้ าํ เนิ นการ และให้บริ การโทรศัพท์เคลือนทีภายใต้ช่วงคลืนความถี วิทยุคมนาคมระหว่าง 1950 MHz - 1965 MHz และ 2140 MHz - 2155 MHz ตามใบอนุ ญาตเลขที NBTC/FREQ/TEL/55/1 ลงวันที 7 ธันวาคม 2555 โดย AWN ได้รับสิ ทธิ ตามใบอนุ ญาตดังกล่าว เริ มตังแต่วนั ที 7 ธันวาคม 2555 ถึ งวันที 6 ธันวาคม 2570 AWN ผูกพันจะต้องปฏิบตั ิตามข้อกําหนดต่าง ๆ และจ่ายค่าธรรมเนียมตามทีกาํ หนดในใบอนุญาต

-5-

127

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริ ษัท แอดวานซ์ อิอินนโฟร์ เซอร์ ววสสิ​ิ จํจําากักัดด (มหาชน) และบริษษัทัทย่ย่ ออยย บริ บริษษัทัท แอดวานซ์ แอดวานซ์ อินโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น หมายเหตุ ปประกอบงบการเงิ นน หมายเหตุ ระกอบงบการเงิ สํสํ าาหรั บบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธัธันนนวาคม วาคม 2559 2559 สํสํ าาหรั หรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธันวาคม วาคม 2559 2559

กิกิจจการจั ลัลักกษณะธุ การ ษณะธุรรกิกิจจ การจัดดตัตั งง บริ ษษททั​ั ย่ย่ ออยย ชืชื ออกิกิจจการ บริ บริ ษ ท ั ย่ อ ย บริ ออยย บริ ษษษทททั​ั​ั​ั ย่ย่แอดวานซ์ คอนแท็ คค เซ็ นนเตอร์ จํจําากักัดด ผูผูใใ้​้ ห้ห้บบริริ กการข้ ออมูมูลลทางโทรศั พพท์ท์ ไทย บริ ไทย บริ แอดวานซ์ คอนแท็ ารข้ ออมูมูลลทางโทรศั ทางโทรศั พพท์ท์ ไทย บริ ษ ท ั แอดวานซ์ คอนแท็ คค เซ็ เซ็ นนเตอร์ เตอร์ จํจําากักัดด ผูผูใใ้​้ ห้ห้บบริริ กการข้ ารข้ ทางโทรศั ไทย บริ ษ ท ั แอดวานซ์ คอนแท็ เซ็ เตอร์ ารข้ อ มู ล ทางโทรศั พ ท์ บริ ษ ท ั แอดวานซ์ คอนแท็ ค เซ็ น เตอร์ จํ า กั ด ผู ใ ้ ห้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  ร ะบบดิ จ ิ ต อล ไทย ดิ จ ิ ต อล โฟน จํ า กั ด ผู ใ ้ ห้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  ร ะบบดิ จ ิ ต อล ไทย บริ ษ ท ั ดิ จ ิ ต อล โฟน จํ า กั ด ผูใใ้​้ ห้ห้บบริริ กการโทรศั ารโทรศัพพท์ท์เเคลื คลืออนที นทีรระบบดิ ะบบดิจจิ​ิตตอล อล ไทย บริ ษษททั​ั ดิดิจจิ​ิตตอล อล โฟน โฟน จํจําากักัดด ผู ไทย บริ ผูผูจจใ้​้ ห้ดดั​ั จํจํบาาริหน่ การโทรศั คลือนทีระบบดิจิตอล ไทย บริ ดิจิตอล โฟน ด ดด จํจําากักัดด เมจิ าายบั บริ ษษษทททั​ั​ั แอดวานซ์ แอดวานซ์ เมจิจํคคคากัการ์ การ์ หน่ ยบัตตตรเงิ รเงิพท์นนนเสด สด ไทย ไทย บริ แอดวานซ์ เมจิ การ์ ดด จํจําากักัดด ผูผูจจ้​้ ดดั​ั จํจําาหน่ าายบั รเงิ สด ไทย บริ ษ ท ั แอดวานซ์ เมจิ ค การ์ หน่ ยบั ต รเงิ น สด ไทย บริ ษษททั​ั แอดวานซ์ เมจิ การ์จํจํดาากักัจํดดากัด าหน่การการชํ ายบัตรเงิาานระเงิ สด นน สิสิ นค้ เอ็ มมคเปย์ ผูผูจ้​้ ใใดัห้ห้จํบริ าาและบริ การทาง บริ การการชํ ระเงิ นค้ และบริ การทาง ไทย บริ แอดวานซ์ เอ็ เปย์ บริ ษ ท ั แอดวานซ์ เอ็ ม เปย์ จํ า กั ด ผู ้ ใ ห้ บริ การการชํ า ระเงิ น สิ นค้ า และบริ การทาง ไทย บริ ษ ท ั แอดวานซ์ เอ็ ม เปย์ จํ า กั ด ผู ้ ใ ห้ บริ การการชํ า ระเงิ น สิ นค้ า และบริ การทาง ไทย บริ ษทั แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จํากัด ผูอิอิเเ้ ใล็ล็ห้กกทรอนิ บริ การการชํ า ระเงิ น สิ นค้ า และบริ การทาง ไทย ก ส์ แ ละบั ต รเงิ น สด ทรอนิ ก ส์ แ ละบั ต รเงิ น สด อิอิเเล็ล็กกทรอนิ ก ส์ แ ละบั ต รเงิ น สด ทรอนิ ก ส์ แ ละบั ต รเงิ น สด กส์และบั นสด บริ ษทั เอไอเอ็นน โกลบอลคอม จํากัด ผูอิใเ้ ล็ห้กบทรอนิ ริ การโทรศั พท์ตรรเงิ ะหว่ างประเทศ ไทย ไทย บริ บริ ษษษทททั​ั​ั เอไอเอ็ เอไอเอ็นน โกลบอลคอม โกลบอลคอม จํจํจําาากักักัดดด ผูผูผูใใใ้​้​้ ห้ห้ห้บบบริริริ กกการโทรศั ารโทรศัพพพท์ท์ท์รรระหว่ ะหว่าาางประเทศ งประเทศ ไทย ไทย บริ เอไอเอ็ โกลบอลคอม ารโทรศั ะหว่ งประเทศ ไทย บริ ษ ท ั เอไอเอ็ น โกลบอลคอม จํ า กั ด ผู ใ ้ ห้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ ร ะหว่ า งประเทศ บ ริ การโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  บ นคลื  น ความถี  แอดวานซ์ ไวร์ เ ลส เน็ ท เวอร์ ค จํ า กั ด บริ ษษททั​ั แอดวานซ์ แอดวานซ์ ไวร์ ไวร์ เเลส ลส เน็ เน็ททเวอร์ เวอร์ คค จํจําากักัดด ผูผู้​้ใใ ห้ห้ บบ ริริ การโทรศั การโทรศัพพ ท์ท์ เเ คลื คลื ออ นที นที บบ นคลื นคลื นน ความถี ความถี ไทย ไทย บริ บริ ษ ท ั แอดวานซ์ ไวร์ เ ลส เน็ ท เวอร์ ค ผู ้ ใ ห้ บ ริ การโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  บ นคลื  น ความถี  ไทย จํ า กั ด บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด ผู2.1 ้ใ ห้GHz, บ ริ การโทรศั พและ ท์ เ คลื1800  อ นทีMHz  บ นคลื ไทย 900 MHz ผูผูจจ้​้ ดดั​ั  นจํจํความถี าาหน่ าายย 2.1 GHz, 900 MHz และ 1800 MHz หน่ 2.1 GHz, 900 MHz และ 1800 MHz ผู จ ้ ด ั จํ า หน่ า ย 2.1 900 MHz และ MHz หน่ 2.1 GHz, GHz, 900 ออนที MHz และ บบ1800 1800 MHz ผูผูพพจจ้​้ ดดั​ัท์ท์จํจํรราาะหว่ หน่ าาายยงง โทรศั พพท์ท์เเคลื  และให้ ริริ กการโทรศั โทรศั คลื นที และให้ ารโทรศั ะหว่ โทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  และให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ ร ะหว่ าง โทรศั พพท์ท์เเให้ คลื  และให้ ท์ท์รระหว่ โทรศั คลืบบออนที นที และให้บบริริ กการโทรศั ารโทรศั ะหว่าาายยงง ประเทศ ริริ กการโทรคมนาคม บริ กกพพารโครงข่ ประเทศ ให้ ารโทรคมนาคม บริ ารโครงข่ ประเทศ ให้ ให้บบริริ กการโทรคมนาคม ารโทรคมนาคม บริ บริ กการโครงข่ ารโครงข่าย ประเทศ ประเทศ ให้บริและให้ การโทรคมนาคม บริาายกระจายเสี การโครงข่ยยาายยงง โทรคมนาคม บบริริ กการโครงข่ โทรคมนาคม และให้ ารโครงข่ ยกระจายเสี โทรคมนาคม และให้ และให้บบริริ กการโครงข่ ารโครงข่าายกระจายเสี ยกระจายเสี ยยงง โทรคมนาคม โทรคมนาคม หรื หรื อออโทรทั โทรทัศศศน์น์น์ และให้บริ การโครงข่ายกระจายเสี ยง หรื โทรทั หรื หรื ออโทรทั โทรทัศศน์น์

2559 2559 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 98.55 98.55 98.55 98.55 98.55 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

รายงานทางการเงิน

ใบอนุ ญ ใบอนุ ญาตให้ าตให้ใใใช้ช้ช้คคคลืลืลืนนนความถี ความถีเเเพืพืพือออกิกิกิจจจการโทรคมนาคมภายใต้ การโทรคมนาคมภายใต้คคคลืลืลืนนนความถี ความถี 1800 1800 MHz MHz ใบอนุ ใบอนุญ ญาตให้ าตให้ใช้คลืนความถี ความถีเพือกิจการโทรคมนาคมภายใต้ การโทรคมนาคมภายใต้คลืนความถี ความถี 1800 1800 MHz MHz เมื ออวัวันนทีที 17 พฤศจิ กกายน 2558 AWN ได้ รรั​ับบอนุ ญ าตจากคณะกรรมการกิ จจการกระจายเสี ยยงง กิกิจจการ เมื พฤศจิ 2558 AWN ได้ ญ าตจากคณะกรรมการกิ เมื ออวัวันนทีที 17 17 พฤศจิ กกายน ายน 2558 AWN ได้ รรั​ับบอนุ อนุ ญ าตจากคณะกรรมการกิ จจการกระจายเสี การกระจายเสี ยยงง กิกิจจการ การ เมื 17 พฤศจิ ายน 2558 AWN ได้ อนุ ญ าตจากคณะกรรมการกิ การกระจายเสี การ โทรทั ศ น์ แ ละกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“กสทช.”) ให้ เ ป็ น ผู ด ้ า ํ เนิ น การและให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที โทรทั ศ น์ แ ละกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“กสทช.”) ให้ เ ป็ น ผู ด ้ า ํ เนิ น การและให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ โทรทั ศศน์น์แและกิ จจการโทรคมนาคมแห่ งงชาติ (“กสทช.”) ให้ เเป็ป็ นนผูผูดด้​้ าาํ​ํ เนิ นนการและให้ บบริริ กการโทรศั พพท์ท์เเคลื ออนที นที โทรทั ละกิ การโทรคมนาคมแห่ ชาติ (“กสทช.”) ให้ เนิ การและให้ ารโทรศั คลื นที ่ ภายใต้ ช ว งคลื  น ความถี  ว ิ ท ยุ ค มนาคมระหว่ า ง 1725 MHz 1740 MHz และ 1820 MHz 1835 MHz ภายใต้ ชช่​่ ววงคลื  นนความถี  ววิ​ิ ทท ยุยุ คคมนาคมระหว่ าางง 1725 MHz -- 1740 MHz และ 1820 MHz -- 1835 MHz ภายใต้ งคลื ความถี มนาคมระหว่ 1725 MHz 1740 MHz และ 1820 MHz 1835 MHz ่ ภายใต้ ช ว งคลื  น ความถี  ว ิ ท ยุ ค มนาคมระหว่ า ง 1725 MHz 1740 MHz และ 1820 MHz 1835 MHz ตามใบอนุ ญ าตเลขที  NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ ม เติ ม ครั ง ที  1) ลงวั น ที  25 พฤศจิ ก ายน 2558 โดย AWN   ตามใบอนุ ญ าตเลขที  NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ ม เติ ม ครั ง ที  1) ลงวั น ที  25 พฤศจิ ก ายน 2558 โดย AWN   ตามใบอนุ ญ  NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ นนทีที 25 พฤศจิ กกายน 2558 โดย AWN มมเติ  งงทีที 1) ตามใบอนุ ญตาตเลขที าตเลขที NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ เตินั มมทีครั ครั 1) ลงวั ลงวักายน 252558 พฤศจิ ายน 2558 โดย AWN ได้ ร ั บ สิ ทธิ ามใบอนุ ญ าตดั ง กล่ า ว เริ ม ตั ง แต่ ว  26 พฤศจิ ถึ ง วั น ที  15 กั น ยายน 2576   ได้ ร ั บ สิ ทธิ ต ามใบอนุ ญ าตดั ง กล่ า ว เริ ม ตั ง แต่ ว น ั ที  26 พฤศจิ ก ายน 2558 ถึ ง วั น ที  15 กั น ยายน 2576   ได้ รรั​ั บบสิสิ ทธิ ตตามใบอนุ ญ าตดั งงกล่ าาวว เริเริ มมตัตั งงแต่ วว นนั​ั ทีที 26 พฤศจิ กกายน 2558 ถึถึ งงวัวันนทีที 15 กักันนยายน 2576 ได้ ทธิ ามใบอนุ ญ าตดั กล่ แต่ 26 พฤศจิ ายน 2558 15 ยายน 2576 ํ AWN ผู ก พั น จะต้ อ งปฏิ บ ต ั ิ ต ามข้ อ กํ า หนดต่ า ง ๆ และจ่ า ยค่ า ธรรมเนี ย มตามที  ก า หนดในใบอนุ ญ าต ํ AWN ผู ก พั น จะต้ อ งปฏิ บ ต ั ิ ต ามข้ อ กํ า หนดต่ า ง ๆ และจ่ า ยค่ า ธรรมเนี ย มตามที  ก า หนดในใบอนุ ญ าต AWN AWN ผูผูกกพั พันนจะต้ จะต้อองปฏิ งปฏิบบตตั​ั ิ​ิตตามข้ ามข้ออกํกําาหนดต่ หนดต่าางง ๆๆ และจ่ และจ่าายค่ ยค่าาธรรมเนี ธรรมเนียยมตามที มตามทีกกาาํ​ํ หนดในใบอนุ หนดในใบอนุญ ญาต าต ใบอนุ ญาตให้ ใช้คลืนความถีเเพืพืออกิกิจจการโทรคมนาคมภายใต้ คลืนความถี 900 MHz ใบอนุ ใบอนุญ ญาตให้ าตให้ใใช้ช้คคลืลืนนความถี ความถีเพือกิจการโทรคมนาคมภายใต้ การโทรคมนาคมภายใต้คคลืลืนนความถี ความถี 900 900 MHz MHz เมื อวันที 27 พฤษภาคม 2559 AWN ได้รรั​ับบอนุ ญาตจากคณะกรรมการกิ จการกระจายเสี ยยงง กิกิจจการ เมื เมืออวัวันนทีที 27 27 พฤษภาคม พฤษภาคม 2559 2559 AWN AWN ได้ ได้รับอนุ อนุ ญ ญาตจากคณะกรรมการกิ าตจากคณะกรรมการกิจจการกระจายเสี การกระจายเสี ยง กิจการ การ โทรทั ศ น์ แ ละกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“กสทช.”) ให้ เ ป็ น ผู ด ้ า ํ เนิ น การและให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที โทรทั โทรทัศศน์น์แและกิ ละกิจจการโทรคมนาคมแห่ การโทรคมนาคมแห่งงชาติ ชาติ (“กสทช.”) (“กสทช.”) ให้ ให้เเป็ป็ นนผูผูดด้​้ าาํ​ํ เนิ เนิ นนการและให้ การและให้บบริริ กการโทรศั ารโทรศัพพท์ท์เเคลื คลืออนที นที ่ ภายใต้ ช วงคลื  น ความถี  ว ิ ท ยุ ค มนาคมระหว่ า ง 895 MHz 905 MHz และ 940 MHz 950 MHz ภายใต้ ภายใต้ ชช่​่ วงคลื วงคลื นน ความถี ความถี ววิ​ิ ทท ยุยุ คค มนาคมระหว่ มนาคมระหว่ าา งง 895 895 MHz MHz -- 905 905 MHz MHz และ และ 940 940 MHz MHz -- 950 950 MHz MHz ตามใบอนุ ญ าตเลขที  NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ ม เติ ม ครั ง ที  2) ลงวั น ที  30 มิ ถ ุ น ายน 2559 โดย AWN   ตามใบอนุ ตามใบอนุ ญ ญาตเลขที าตเลขที NBTC/FREQ/TEL/55/1 NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิ (เพิมมเติ เติ มมครั ครั งงทีที 2) 2) ลงวั ลงวันนทีที 30 30 มิมิ ถถุ​ุ นนายน ายน 2559 2559 โดย โดย AWN AWN ได้ ร ั บ สิ ทธิ ต ามใบอนุ ญ าตดั ง กล่ า ว เริ มตั ง แต่ ว ั น ที  1 กรกฎาคม 2559 ถึ ง วั น ที  30 มิ ถ ุ น ายน 2574   ได้ ได้ รรั​ั บบ สิสิ ทธิ ทธิ ตตามใบอนุ ามใบอนุ ญ ญ าตดั าตดั งงกล่ กล่ าาวว เริเริ มตั มตั งงแต่ แต่ วว ั​ันนทีที 11 กรกฎาคม กรกฎาคม 2559 2559 ถึถึ งงวัวันนทีที 30 30 มิมิ ถถุ​ุ นนายน ายน 2574 2574 ํ AWN ผู ก พั น จะต้ อ งปฏิ บ ต ั ิ ต ามข้ อ กํ า หนดต่ า ง ๆ และจ่ า ยค่ า ธรรมเนี ย มตามที  ก า หนดในใบอนุ ญ าต AWN AWN ผูผูกกพั พันนจะต้ จะต้อองปฏิ งปฏิบบตตั​ั ิ​ิตตามข้ ามข้ออกํกําาหนดต่ หนดต่าางง ๆๆ และจ่ และจ่าายค่ ยค่าาธรรมเนี ธรรมเนียยมตามที มตามทีกกาาํ​ํ หนดในใบอนุ หนดในใบอนุญ ญาต าต รายละเอี ยดของบริ ษษททั​ั ย่ย่ออยย บริ ษทั ร่ วมและการร่ ววมค้ า ณ วัวันนทีที 31 ธันวาคม มีมีดดงงั​ั นีนี รายละเอี รายละเอียยดของบริ ดของบริ ษทั ย่อย บริ บริ ษษททั​ั ร่ร่ ววมและการร่ มและการร่ วมค้ มค้าา ณ ณ วันที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม มีดงั นี ประเทศ บริบริษษัททั ถืถืออหุหุ้ น้นร้ร้ออยละ ยละ ประเทศที ประเทศที บริษษททั​ั ถืถืออหุหุ้​้ นนร้ร้ ออยละ ยละ ประเทศที บริ ที่กิจการ ชื่อกิจการ ลั ก ษณะธุ ร กิ จ ประเทศที บริ ษ ท ั ถื อ หุ ้ น ร้ อ ยละ บริษทั ถือหุ้นร้ 2558 อ2558 ยละ ชืชื ออกิกิจจการ ลัลักกษณะธุ รกิจ กิกิประเทศที จการจั 2559 จัดตัดดด้งตัตัตังงง 2559 2559 2558 ชื อกิจการ การ ลักษณะธุ ษณะธุรรกิกิจจ กิจจการจั การจั 2559 2558 2558 2558 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 98.55 98.55 98.55 98.55 98.55 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

-- 66 --- 66 --6-

รายงานประจำ�ปี 2559

128


บริ ษัท แอดวานซ์ อิอินนโฟร์ เซอร์ ววสสิ​ิ จํจําากักัดด (มหาชน) และบริษษัทัทย่ย่ ออยย บริ บริษษัทัท แอดวานซ์ แอดวานซ์ อินโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น หมายเหตุ หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินน สํสํ าาหรั บปี สินสุ ดวันที 31 ธัธันนวาคม 2559 สํ าหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธันวาคม วาคม 2559 2559

ชื่อกิจการ ชืชื ออกิกิจจการ ชื อกิจการ การ

บริ ษทั ย่ อย (ต่ออ)) บริ บริษษททั​ั ย่ย่ ออยย (ต่ (ต่อ) บริ ษษททั​ั ซุซุ ปปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ ทเวอร์ คค บริ เปอร์ บริ ษทั ซุ ปเปอร์ บรอดแบนด์ บรอดแบนด์ เน็ เน็ททเวอร์ เวอร์ ค จํจําากักัดด จํจําากักัดด

บริ ษทั ไวร์ เเลส ดี ไวซ์ ซัซัพพพลาย จํากัด บริ บริ ษษททั​ั ไวร์ ไวร์ เลส ลส ดีดี ไไวซ์ วซ์ ซัพพลาย พลาย จํจําากักัดด บริ ษษททั​ั แฟกซ์ บริ แฟกซ์ ไลท์ ไลท์ จํจํจําาากักักัดดด บริ บริ ษษททั​ั แฟกซ์ แฟกซ์ ไลท์ ไลท์ จํากัด

รายงานทางการเงิน

บริ ษทั ไมโม่เเทค จํากัด บริ บริ ษษททั​ั ไมโม่ ไมโม่เทค ทค จํจําากักัดด

บริ บริ ษษษทททั​ั​ั แอดวานซ์ แอดวานซ์ บรอดแบนด์ บรอดแบนด์ บริ แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ ท เวอร์ ค จํ า กั ด เน็ เน็ททเวอร์ เวอร์ คค จํจําากักัดด บริ ษทั ย่ อยทางอ้ ออมม บริ บริษษททั​ั ย่ย่ ออยทางอ้ ยทางอ้ อม บริ ษษททั​ั แอดวานซ์ แอดวานซ์ ดาต้ ดาต้าเน็ททเวอร์ เวอร์ ค บริ บริ ษทั แอดวานซ์ ดาต้าาเน็ เน็ทเวอร์ คค คอมมิววนินิ เเคชั คชันน ส์ส์ จํจําากักัดด คอมมิ คอมมิ คอมมิววนินิ เเคชั คชันน ส์ส์ จํจําากักัดด บริ ษทั ร่ วม บริ บริษษททั​ั ร่ร่ ววมม บริ ษษททั​ั อิอินนฟอร์ ฟอร์ เเมชั มชันน ไฮเวย์ ไฮเวย์ จํจําากักัดด บริ บริ บริ ษษททั​ั อิอินนฟอร์ ฟอร์ เเมชั มชันน ไฮเวย์ ไฮเวย์ จํจําากักัดด การร่ วมค้ าา การร่ การร่ ววมค้ มค้ า บริ ษษททั​ั อมตะ อมตะ เน็ เน็ททเวอร์ เวอร์ คค จํจําากักัดด บริ บริ ษ ท ั บริ ษทั อมตะ อมตะ เน็ เน็ททเวอร์ เวอร์ คค จํจําากักัดด

ลักษณะธุรกิจ ลัลักกษณะธุ รกิจ ลักษณะธุ ษณะธุรรกิกิจจ

ประเทศ ประเทศที ประเทศที ที่กิจการ ประเทศที จัดตัด้งตัง กิกิจจการจั กิจการจั การจัดดตัตั งง

บริบริษษัททั ถืถืออหุหุ้น้นร้ร้ออยละ ยละ บริ ษษททั​ั ถืถืออหุหุ้​้ นนร้ร้ ออยละ บริ ยละ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559

2558

ให้ บ ริ การโทรคมนาคม และบริ การโครงข่ าา ยย ให้ ให้ บบ ริริ การโทรคมนาคม การโทรคมนาคม และบริ และบริ การโครงข่ การโครงข่ า ย โทรคมนาคม เช่ น บริ การอิ น เตอร์ เเ น็น็ ตต (ISP) โทรคมนาคม เช่ นน บริ การอิ นน เตอร์ (ISP) โทรคมนาคม เช่ บริ การอิ เตอร์ โทรคมนาคม เช่ น บริ การอิ น เตอร์ เเ น็น็ ตต (ISP) (ISP) บริ ก ารอิ น เทอร์ เ น็ ต ระหว่ า งประเทศและบริ ก าร บริ บริ กก ารอิ ารอิ นนเทอร์ เทอร์ เเน็น็ ตตระหว่ ระหว่าางประเทศและบริ งประเทศและบริ กก าร าร ชุชุมมสายอิ นนเตอร์ เเน็น็ตต บริ กการโครงข่ าายโทรคมนาคม สายอิ เตอร์ บริ ารโครงข่ ยโทรคมนาคม ชุมสายอินเตอร์ เน็ต บริ การโครงข่ายโทรคมนาคม ระหว่ างประเทศ (IPLC & IP VPN) บริ การเสี ยยงง ระหว่ ระหว่าางประเทศ งประเทศ (IPLC (IPLC & & IP IP VPN) VPN) บริ บริ กการเสี ารเสี ยง ผ่ผ่าานเครื อข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต (Voice over IP) และ อข่ าายอิ นน เตอร์ เเน็น็ ตต (Voice over IP) และ ผ่ผ่าานเครื นเครื อข่ ยอิ เตอร์ (Voice over IP) นเครื อข่ ายอิ น เตอร์ เน็ ต (Voice over IP) และ และ ่ บริ การโทรทั ศ น์ ผ า นเครื อข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต (IP ่ บริ การโทรทั ศ น์ ผ า นเครื อข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต บริ การโทรทัศ น์ ผ่ า นเครื อข่ ายอิ น เตอร์ เน็ ต (IP (IP Television) Television) Television) ผูผูนน้​้ ํ​ําาเข้ าและจัดด จํจําาหน่ าย โทรศัพพ ท์ท์ เเคลื  อ นที แแ ละ ผูน้ ําเข้ เข้าาและจั และจัด จําหน่ หน่ าายย โทรศั โทรศัพ ท์ เคลื คลื ออ นที นที แ ละ ละ กรณ์ อุอุอุปปปกรณ์ กรณ์ อุปกรณ์ ให้ เเช่ช่ าา และบริ และอาคาร และ และ ให้ และบริ การพื การพื นนน ทีทีที ทีทีที ดดดิ​ิ​ิ นนน และอาคาร ให้ และอาคาร และ และ ให้ เเช่ช่ าา และบริ และบริ การพื การพื น ที ที ดิ น และอาคาร สิสิ งงอํอําานวยความสะดวกต่ า งๆ สิ งอํานวยความสะดวกต่ นวยความสะดวกต่าางๆ งๆ พั ฒนาระบบข้ อมู ลสารสนเทศ (IT) บริ การรวบรวม พั พัฒ ฒนาระบบข้ นาระบบข้ออมูมู ลลสารสนเทศ สารสนเทศ (IT) (IT) บริ บริ การรวบรวม การรวบรวม ข้ข้ออมูมูลล สํสําาหรั บ บริ ก ารเสริ ม บนโทรศั พพท์ท์เเคลื  อนที หรั บ บริ ก ารเสริ ม บนโทรศั ข้อมูล สําหรับบริ ก ารเสริ มบนโทรศัพท์เคลื คลื ออนที นที (Content Aggregator) และให้ บ ริ ก ารในการเรี ยยกก (Content Aggregator) และให้ บบ ริริ กก ารในการเรี (Content Aggregator) และให้ ารในการเรี (Content Aggregator) และให้ บ ริ ก ารในการเรี ยยกก เก็บบและรั และรับชําระเงินนจากลู จากลูกกค้ค้าา เก็ เก็บและรับบชํชําาระเงิ ระเงินจากลูกกค้ค้าา ปัปั จจจุจุบบนนั​ั ยัยังงไม่ ได้ประกอบธุรรกิกิจจ ปั จจุบนั ยังไม่ ไม่ไได้ด้ปประกอบธุ ระกอบธุรกิจ

ไทย ไทย ไทย

99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99

ไทย ไทย ไทย

99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99

ไทย ไทย ไทย ไทย

99.98 99.98 99.98 99.98

99.98 99.98 99.98 99.98

ไทย ไทย ไทย

99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99

ไทย ไทย ไทย

99.99 99.99 99.99

99.99 99.99 99.99

ผูผูใใ้​้ ห้ห้ บบริริ กก ารสื  อสารข้ออมูมูลล ผ่ผ่าานเครื อข่ายโทรศัพพ ท์ท์ ผูใ้ ห้ บริ ก ารสื ารสื ออสารข้ สารข้อมูล ผ่านเครื นเครื ออข่ข่าายโทรศั ยโทรศัพ ท์ และ Optical Optical Fiber Fiber และ และ Optical Fiber และ Optical Fiber

ไทย ไทย ไทย

51.00 51.00 51.00

51.00 51.00 51.00

ให้บบริริ กการโครงข่ ารโครงข่าายสื ยสื ออสัสัญ ญญาณโทรคมนาคม ญาณโทรคมนาคม ให้ ให้ ให้บบริริ กการโครงข่ ารโครงข่าายสื ยสื ออสัสัญ ญญาณโทรคมนาคม ญาณโทรคมนาคม

ไทย ไทย ไทย ไทย

29.00 29.00 29.00 29.00

29.00 29.00 29.00 29.00

ไม่ไได้ด้ปประกอบธุ ระกอบธุรรกิกิจจ ปัปัปั จจจจุจุจุบบบนนนั​ั​ั ยัยัยังงงไม่ ปั จจุบนั ยังไม่ ไม่ไได้ด้ปประกอบธุ ระกอบธุรรกิกิจจ

ไทย ไทย ไทย ไทย

60.00 60.00 60.00 60.00

---

่ มบริ ษษ ั​ัททและบริ กลุ ษ ัทมี รายการและความสั มมพั นธ์ อย่างมี สสาระสํ าคัญกักับบบริ ษ ัทที เกี ยวข้อองกั น ดังนั น กลุ กลุ่​่ มมบริ บริ ษ ัทและบริ และบริ ษษ ั​ัททมีมี รรายการและความสั ายการและความสั มพั พันนธ์ธ์ ออย่ย่าางมี งมี สาระสํ าระสํ าาคัคัญ ญกับบริ บริ ษษ ั​ัทททีที เเกีกี ยยวข้ วข้องกั งกันน ดัดังงนันั นน งบการเงิ นนี จึง อาจไม่แแ สดงถึ ง เงื อ นไขที ออ าจมี อ ยู ห่ รื อ ผลการดําา เนิ น งานซึ งง อาจเกิ ด ขึ น ในกรณี ททีี งบการเงิ งบการเงิ นนนีนี จึจึงง อาจไม่ อาจไม่แ สดงถึ สดงถึงง เงืเงืออ นไขที นไขที อ าจมี าจมีออ ยูยู หห่​่ รืรื ออ ผลการดํ ผลการดํา เนิ เนินน งานซึ งานซึ ง อาจเกิ อาจเกิดด ขึขึ นน ในกรณี ในกรณี ที ่ กลุ ม บริ ษ ท ั และบริ ษ ท ั ได้ ด า ํ เนิ น งานโดยปราศจากความสั ม พั น ธ์ ด ง ั กล่ า ว กลุ กลุ่​่มมบริ บริ ษษททั​ั และบริ และบริ ษษททั​ั ได้ ได้ดดาาํ​ํ เนิ เนินนงานโดยปราศจากความสั งานโดยปราศจากความสัมมพั พันนธ์ธ์ดดงงั​ั กล่ กล่าาวว

-- 77 --7-

129

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 2. เกณฑ์ เกณฑ์ กการจั นน 2. ารจัดดทํทำาและนํ �และนำาเสนองบการเงิ �เสนองบการเงิ

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั จัดทําบัญชี เป็ นเงินบาทและจัดทํางบการเงินตามกฎหมายเป็ นภาษาไทย ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและวิธีปฏิบตั ิทางการบัญชีทีรับรองทัว ไปในประเทศไทย

2.2

งบการเงินของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้จดั ทําขึนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที 1 (ปรับปรุ ง 2558) เรื อง “การนําเสนองบการเงิ น” ซึ งมีผลบังคับใช้สําหรับงบการเงิ นทีมีรอบระยะเวลาบัญชี ทีเริ มใน หรื อหลังวันที 1 มกราคม 2559 เป็ นต้นไป และตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่ งประเทศไทย ลงวันที 22 มกราคม 2544 เรื อง “การจัดทําและส่ งงบการเงินและรายการเกียวกับฐานะการเงินและ ผลการดําเนิ นงานของบริ ษทั จดทะเบี ยน พ.ศ. 2544” และตามประกาศกรมพัฒนาธุ รกิจการค้า ลงวันที 28 กันยายน 2554 เรื อง “กําหนดรายการย่อทีตอ้ งมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554”

2.3

งบการเงินนี ได้จดั ทําขึนโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมในการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของงบการเงิน ยกเว้นตามทีได้เปิ ดเผยในนโยบายการบัญชีทีสาํ คัญ

2.4

มาตรฐานการรายงานทางการเงินทีเริ มมีผลบังคับใช้ในปี บัญชี ปัจจุบนั และทีจะมีผลบังคับใช้ ในอนาคตมีรายละเอียดดังนี 1) การนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิ นที ออกใหม่และปรั บปรุ งใหม่มาถื อปฏิ บตั ิ

รายงานทางการเงิน

2.1

สภาวิชาชี พบัญชี ได้ออกประกาศทีเกียวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินทีมีผลบังคับใช้ สําหรับงบการเงินทีมีรอบระยะเวลาบัญชีทีเริ มในหรื อหลังวันที 1 มกราคม 2559 เป็ นต้นไป ดังต่อไปนี มาตรฐานการบัญชี ฉบับที 1 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 2 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 7 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 8 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 11 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2558)

การนําเสนองบการเงิน สิ นค้าคงเหลือ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี การเปลียนแปลงประมาณการทางบัญชีและ ข้อผิดพลาด เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน สัญญาก่อสร้าง ภาษีเงินได้

-8-

รายงานประจำ�ปี 2559

130


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 มาตรฐานการบัญชี (ต่อ) ฉบับที 16 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 17 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 18 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 19 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 20 (ปรับปรุ ง 2558)

รายงานทางการเงิน

ฉบับที 21 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 23 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 24 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 26 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 27 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 28 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 33 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 34 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 36 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 37 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 38 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 40 (ปรับปรุ ง 2558) ฉบับที 41

ทีดิน อาคารและอุปกรณ์ สัญญาเช่า รายได้ ผลประโยชน์ของพนักงาน การบัญชีสําหรับเงิ นอุดหนุ นจากรัฐบาลและการเปิ ดเผยข้อมูลเกี ยวกับ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล ผลกระทบจากการเปลียนแปลงของอัตราแลกเปลียนเงินตราต่างประเทศ ต้นทุนการกูย้ มื การเปิ ดเผยข้อมูลเกียวกับบุคคล หรื อกิจการทีเกียวข้องกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมือออกจากงาน งบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจทีเงินเฟ้อรุ นแรง กําไรต่อหุน้ งบการเงินระหว่างกาล การด้อยค่าของสิ นทรัพย์ ประมาณการหนีสิน หนีสินทีอาจเกิดขึน และสิ นทรัพย์ทีอาจเกิดขึน สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน อสังหาริ มทรัพย์เพือการลงทุน เกษตรกรรม

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที 2 (ปรับปรุ ง 2558) การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ ฉบับที 3 (ปรับปรุ ง 2558) การรวมธุรกิจ ฉบับที 4 (ปรับปรุ ง 2558) สัญญาประกันภัย ฉบับที 5 (ปรับปรุ ง 2558) สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนทีถือไว้เพือขายและการดําเนินงานทียกเลิก ฉบับที 6 (ปรับปรุ ง 2558) การสํารวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ ฉบับที 8 (ปรับปรุ ง 2558) ส่วนงานดําเนินงาน ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2558) งบการเงินรวม ฉบับที 11 (ปรับปรุ ง 2558) การร่ วมการงาน ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2558) การเปิ ดเผยข้อมูลเกียวกับส่ วนได้เสี ยในกิจการอืน ฉบับที 13 (ปรับปรุ ง 2558) การวัดมูลค่ายุติธรรม

-9-

131

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2558) ความช่วยเหลือจากรัฐบาล - กรณี ทีไม่มีความเกียวข้อง อย่างเฉพาะเจาะจงกับกิจกรรมดําเนินงาน ฉบับที 15 (ปรับปรุ ง 2558) สัญญาเช่าดําเนินงาน - สิ งจูงใจทีให้แก่ผเู ้ ช่า ฉบับที 25 (ปรับปรุ ง 2558) ภาษีเงินได้ - การเปลียนแปลงสถานภาพทางภาษีของกิจการ หรื อของผูถ้ ือหุน้ ฉบับที 27 (ปรับปรุ ง 2558) การประเมินเนือหาสัญญาเช่าทีทาํ ขึนตามรู ปแบบกฎหมาย ฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2558) การเปิ ดเผยข้อมูลของข้อตกลงสัมปทานบริ การ ฉบับที 31 (ปรับปรุ ง 2558) รายได้ - รายการแลกเปลียนเกียวกับบริ การโฆษณา ฉบับที 32 (ปรับปรุ ง 2558) สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน - ต้นทุนเว็บไซต์

รายงานทางการเงิน

การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที 1 (ปรับปรุ ง 2558) การเปลี ยนแปลงในหนี สิ นที เกิ ดขึ นจากการรื อถอน การบู รณะ และ หนีสินทีมีลกั ษณะคล้ายคลึงกัน ฉบับที 4 (ปรับปรุ ง 2558) การประเมินว่าข้อตกลงประกอบด้วยสัญญาเช่าหรื อไม่ ฉบับที 5 (ปรับปรุ ง 2558) สิ ทธิในส่ วนได้เสี ยจากกองทุนการรื อถอน การบูรณะและการปรับปรุ ง สภาพแวดล้อม ฉบับที 7 (ปรับปรุ ง 2558) การปรับปรุ งย้อนหลังภายใต้มาตรฐานการบัญชีฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2558) เรื อง การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจทีมี ภาวะเงินเฟ้อรุ นแรง ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2558) งบการเงินระหว่างกาลและการด้อยค่า ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2558) ข้อตกลงสัมปทานบริ การ ฉบับที 13 (ปรับปรุ ง 2558) โปรแกรมสิ ทธิพิเศษแก่ลูกค้า ฉบับที 14 (ปรับปรุ ง 2558) ข้อจํากัดสิ นทรัพย์ตามโครงการผลประโยชน์ ข้อกําหนดเงินทุนขันตํา และปฏิสัมพันธ์ของรายการเหล่านี สําหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที 19 (ปรับปรุ ง 2558) เรื อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ฉบับที 15 (ปรับปรุ ง 2558) สัญญาสําหรับการก่อสร้างอสังหาริ มทรัพย์ ฉบับที 17 (ปรับปรุ ง 2558) การจ่ายสิ นทรัพย์ทีไม่ใช่เงินสดให้เจ้าของ ฉบับที 18 (ปรับปรุ ง 2558) การโอนสิ นทรัพย์จากลูกค้า ฉบับที 20 (ปรับปรุ ง 2558) ต้นทุนการเปิ ดหน้าดินในช่วงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน ฉบับที 21 เงินทีนาํ ส่งรัฐ

- 10 -

รายงานประจำ�ปี 2559

132


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 แนวปฏิบัตทิ างการบัญชี แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีสาํ หรับการวัดมูลค่าและรับรู ้รายการของพืชเพือการให้ผลิตผล แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีสาํ หรับธุรกิจประกันภัยในการกําหนดให้เครื องมือทางการเงินเป็ นเครื องมือ ทางการเงินทีแสดงมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรื อขาดทุน

มาตรฐานการรายงานทางการเงินข้างต้นไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสําคัญต่องบการเงินนี 2)

มาตรฐานการรายงานทางการเงินซึ งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่ยงั ไม่มีผลบังคับใช้ สภาวิชาชี พบัญชี ได้ออกประกาศทีเกียวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิ นทีมีผลบังคับใช้ สําหรับงบการเงินทีมีรอบระยะเวลาบัญชี ทีเริ มในหรื อหลังวันที 1 มกราคม 2560 เป็ นต้นไป ดังต่อไปนี

รายงานทางการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที 1 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 2 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 7 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 8 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 11 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 16 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 17 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 18 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 19 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 20 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 21 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 23 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 24 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 26 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 27 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 28 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 33 (ปรับปรุ ง 2559)

การนําเสนองบการเงิน สิ นค้าคงเหลือ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี การเปลียนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน สัญญาก่อสร้าง ภาษีเงินได้ ทีดิน อาคารและอุปกรณ์ สัญญาเช่า รายได้ ผลประโยชน์ของพนักงาน การบัญชีสําหรับเงิ นอุดหนุ นจากรัฐบาลและการเปิ ดเผยข้อมูลเกี ยวกับ ความช่วยเหลือจากรัฐบาล ผลกระทบจากการเปลียนแปลงของอัตราแลกเปลียนเงินตราต่างประเทศ ต้นทุนการกูย้ มื การเปิ ดเผยข้อมูลเกียวกับบุคคล หรื อกิจการทีเกียวข้องกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมือออกจากงาน งบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจทีเงินเฟ้อรุ นแรง กําไรต่อหุน้

- 11 -

133

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 มาตรฐานการบัญชี (ต่อ) ฉบับที 34 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 36 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 37 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 38 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 40 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 41 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 104 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 105 (ปรับปรุ ง 2559) ฉบับที 107 (ปรับปรุ ง 2559)

การรายงานทางการเงินระหว่างกาล การด้อยค่าของสิ นทรัพย์ ประมาณการหนีสิน หนีสินทีอาจเกิดขึน และสิ นทรัพย์ทีอาจเกิดขึน สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน อสังหาริ มทรัพย์เพือการลงทุน เกษตรกรรม การบัญชีสาํ หรับการปรับโครงสร้างหนีทีมีปัญหา การบัญชีสาํ หรับเงินลงทุนในตราสารหนีและตราสารทุน การแสดงรายการและการเปิ ดเผยข้อมูลสําหรับเครื องมือทางการเงิน

รายงานทางการเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที 2 (ปรับปรุ ง 2559) การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ ฉบับที 3 (ปรับปรุ ง 2559) การรวมธุรกิจ ฉบับที 4 (ปรับปรุ ง 2559) สัญญาประกันภัย ฉบับที 5 (ปรับปรุ ง 2559) สิ นทรัพย์ไม่หมุนเวียนทีถือไว้เพือขายและการดําเนินงานทียกเลิก ฉบับที 6 (ปรับปรุ ง 2559) การสํารวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ ฉบับที 8 (ปรับปรุ ง 2559) ส่วนงานดําเนินงาน ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2559) งบการเงินรวม ฉบับที 11 (ปรับปรุ ง 2559) การร่ วมการงาน ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2559) การเปิ ดเผยข้อมูลเกียวกับส่ วนได้เสี ยในกิจการอืน ฉบับที 13 (ปรับปรุ ง 2559) การวัดมูลค่ายุติธรรม การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2559) ความช่วยเหลือจากรัฐบาล - กรณี ทีไม่มีความเกียวข้อง อย่างเฉพาะเจาะจงกับกิจกรรมดําเนินงาน ฉบับที 15 (ปรับปรุ ง 2559) สัญญาเช่าดําเนินงาน - สิ งจูงใจทีให้แก่ผเู ้ ช่า ฉบับที 25 (ปรับปรุ ง 2559) ภาษีเงินได้ - การเปลียนแปลงสถานภาพทางภาษีของกิจการ หรื อของผูถ้ ือหุน้ ฉบับที 27 (ปรับปรุ ง 2559) การประเมินเนือหาสัญญาเช่าทีทาํ ขึนตามรู ปแบบกฎหมาย ฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2559) การเปิ ดเผยข้อมูลของข้อตกลงสัมปทานบริ การ ฉบับที 31 (ปรับปรุ ง 2559) รายได้ - รายการแลกเปลียนเกียวกับบริ การโฆษณา ฉบับที 32 (ปรับปรุ ง 2559) สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน - ต้นทุนเว็บไซต์

- 12 -

รายงานประจำ�ปี 2559

134


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที 1 (ปรับปรุ ง 2559) การเปลียนแปลงในหนีสินทีเกิดขึนจากการรื อถอน การบูรณะ และ หนีสินทีมีลกั ษณะคล้ายคลึงกัน ฉบับที 4 (ปรับปรุ ง 2559) การประเมินว่าข้อตกลงประกอบด้วยสัญญาเช่าหรื อไม่ ฉบับที 5 (ปรับปรุ ง 2559) สิ ทธิในส่ วนได้เสี ยจากกองทุนการรื อถอน การบูรณะและการปรับปรุ ง สภาพแวดล้อม ฉบับที 7 (ปรับปรุ ง 2559) การปรับปรุ งย้อนหลังภายใต้มาตรฐานการบัญชีฉบับที 29 (ปรับปรุ ง 2559) เรื อง การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจทีมีภาวะเงินเฟ้อรุ นแรง ฉบับที 10 (ปรับปรุ ง 2559) งบการเงินระหว่างกาลและการด้อยค่า ฉบับที 12 (ปรับปรุ ง 2559) ข้อตกลงสัมปทานบริ การ ฉบับที 13 (ปรับปรุ ง 2559) โปรแกรมสิ ทธิพิเศษแก่ลูกค้า ฉบับที 14 (ปรับปรุ ง 2559) ข้อจํากัดสิ นทรัพย์ตามโครงการผลประโยชน์ ข้อกําหนดเงินทุนขันตําและ ปฏิสมั พันธ์ของรายการเหล่านี สําหรับมาตรฐานการบัญชีฉบับที 19 (ปรับปรุ ง 2559) เรื อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ฉบับที 15 (ปรับปรุ ง 2559) สัญญาสําหรับการก่อสร้างอสังหาริ มทรัพย์ ฉบับที 17 (ปรับปรุ ง 2559) การจ่ายสิ นทรัพย์ทีไม่ใช่เงินสดให้เจ้าของ ฉบับที 18 (ปรับปรุ ง 2559) การโอนสิ นทรัพย์จากลูกค้า ฉบับที 20 (ปรับปรุ ง 2559) ต้นทุนการเปิ ดหน้าดินในช่วงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน ฉบับที 21 (ปรับปรุ ง 2559) เงินทีนาํ ส่งรัฐ แนวปฏิบัตทิ างการบัญชี แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีสาํ หรับการตัดรายการสิ นทรัพย์ทางการเงินและหนีสินทางการเงิน

ผูบ้ ริ หารของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั จะนํามาตรฐานการรายงานทางการเงิ นทีเกี ยวข้อง มาเริ มถือปฏิบตั ิกบั งบการเงินเมือมาตรฐานดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ผูบ้ ริ หารของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ประเมินผลกระทบของมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าว และเห็นว่า ไม่มีผลกระทบอย่างเป็ นสาระสําคัญต่องบการเงินสําหรับงวดทีเริ มใช้มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับดังกล่าว

- 13 -

135

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3. 3. นโยบายการบั นโยบายการบัญญ ชี ทชีสี ทํ าี่สคัำ�ญคัญ

นโยบายการบัญชี ทีนาํ เสนอดังต่อไปนี ได้ถือปฏิ บตั ิโดยสมําเสมอสําหรับงบการเงิ นทุกรอบระยะเวลา ทีรายงาน 3.1 เกณฑ์ใในการทํ นรวม 3.1 เกณฑ์ นการทำางบการเงิ �งบการเงิ นรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงิ นของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย (รวมกันเรี ยกว่า “กลุ่มบริ ษทั ”) และส่ วนได้เสี ยของกลุ่มบริ ษทั ในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า

การรวมธุ รรกิกิจ จ การรวมธุ

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั บันทึกบัญชีสําหรับการรวมธุ รกิจตามวิธีซือ เมือการควบคุมถูกโอนไปยัง กลุ่มบริ ษทั ยกเว้นในกรณี ทีเป็ นการรวมธุ รกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน

รายงานทางการเงิน

การควบคุ ม หมายถึ งอํานาจในการกําหนดนโยบายทางการเงิ นและการดําเนิ นงานของกิจการ เพื อให้ได้มาซึ งประโยชน์ จากกิ จกรรมของกิ จการนัน ในการพิ จารณาอํานาจในการควบคุ ม กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ต้องนําสิ ทธิ ในการออกเสี ยงทีเกิดขึนมารวมในการพิจารณา วันทีซื อกิจการ คือ วันทีอาํ นาจในการควบคุมนันได้ถูกโอนไปยังผูซ้ ื อ การกําหนดวันทีซื อกิจการและการระบุ เกียวกับการโอนอํานาจควบคุมจากฝ่ ายหนึงไปยังอีกฝ่ ายหนึงต้องใช้ดุลยพินิจเข้ามาเกียวข้อง ค่าความนิ ยม ถูกวัดมูลค่า ณ วันทีซื อ โดยวัดจากมูลค่ายุติธรรมของสิ งตอบแทนทีโอนให้ซ ึ งรวมถึง การรับรู ้จาํ นวนส่ วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุมในผูถ้ ูกซื อ หักด้วยมูลค่าสุ ทธิ (มูลค่ายุติธรรม) ของสิ นทรัพย์ทีระบุได้ทีได้มาและหนีสินทีรับมาซึ งวัดมูลค่า ณ วันทีซื อ สิ งตอบแทนที โอนให้ ต้องวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ทีโอนไป หนี สินที กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ก่อขึนเพือจ่ายชําระให้แก่เจ้าของเดิม และส่ วนได้เสี ยในส่ วนของเจ้าของทีออกโดย กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ทังนีสิ งตอบแทนทีโอนให้ยงั รวมถึงมูลค่ายุติธรรมของหนีสินทีอาจเกิดขึน และมูลค่าของโครงการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็ นเกณฑ์ทีออกแทนโครงการของผูถ้ ูกซื อเมือรวมธุ รกิจ หากการรวมธุ รกิจมีผลให้สินสุ ดความสัมพันธ์ของโครงการเดิมระหว่างกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั และผูถ้ ู กซื อ ให้ใช้ราคาทีต าํ กว่าระหว่าง มูลค่าจากการยกเลิ กสัญญาตามที ระบุในสัญญา และ มูลค่าองค์ประกอบนอกตลาด ไปหักจากสิ งตอบแทนทีโอนให้ และรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายอืน

- 14 -

รายงานประจำ�ปี 2559

136


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 หากมีการออกโครงการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็ นเกณฑ์ (โครงการทดแทน) เพือแลกเปลียนกับโครงการ ทีพนักงานของผูถ้ ูกซื อถืออยู่ (โครงการผูถ้ ู กซื อ) ขึนอยูก่ บั ต้นทุนบริ การในอดีต ผูซ้ ื อต้องวัดส่ วน ของโครงการทดแทนด้วยมู ลค่าตามราคาตลาดซึ งเป็ นส่ วนหนึ งของสิ งตอบแทนที โอน หากมี ข้อกําหนดเกียวกับการทํางานในอนาคต ผลต่างระหว่างมูลค่าซึ งรวมอยูใ่ นสิ งตอบแทนทีโอนไป และราคาตลาดของโครงการทดแทน รับรู ้เป็ นผลตอบแทนพนักงานภายหลังการรวมธุ รกิจ หนีสินทีอาจเกิดขึนของบริ ษทั ทีถูกซือทีรับมาจากการรวมธุ รกิจ รับรู ้เป็ นหนีสินหากมีภาระผูกพัน ในปั จจุบนั ซึ งเกิดขึนจากเหตุการณ์ในอดีต และสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชือถือ

รายงานทางการเงิน

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั วัดมูลค่าส่ วนได้เสี ยทีไม่มีอาํ นาจควบคุมตามอัตราส่ วนได้เสี ยในสิ นทรัพย์สุทธิ ทีได้มาจากผูถ้ ูกซื อ ต้นทุนทีเกียวข้องกับการซื อของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ทีเกิดขึนซึ งเป็ นผลมาจากการรวมธุ รกิ จ เช่น ค่าทีปรึ กษากฎหมาย ค่าธรรมเนียมวิชาชีพและค่าทีปรึ กษาอืนๆ ถือเป็ นค่าใช้จ่ายเมือเกิดขึน

การรวมธุ รรกิกิจจภายใต้ มเดีมยเดี วกัยนวกัน การรวมธุ ภายใต้การควบคุ การควบคุ

บริษัทย่ออยย

การรวมธุ รกิ จของกิ จการหรื อการรวมธุ รกิ จภายใต้ก ารควบคุ ม เดี ย วกัน บัน ทึ ก บัญ ชี โดยใช้ วิธีเสมือนว่าเป็ นวิธีการรวมส่ วนได้เสี ย และตามแนวปฏิ บตั ิทีออกโดยสภาวิชาชี พบัญชี ในระหว่าง ปี 2552 บริ ษทั ย่อยเป็ นกิจการทีอยูภ่ ายใต้การควบคุมของกลุ่มบริ ษทั การควบคุมเกิดขึนเมือกลุ่มบริ ษทั เปิ ดรับหรื อมีสิทธิ ในผลตอบแทนผันแปรจากการเกียวข้องกับกิจการนันและมีความสามารถ ในการใช้อาํ นาจเหนือกิจการนันทําให้เกิดผลกระทบต่อจํานวนเงินผลตอบแทนของกลุ่มบริ ษทั งบการเงิ นของบริ ษ ทั ย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงิ นรวม นับ แต่ วนั ที มี ก ารควบคุ ม จนถึ ง วัน ที การควบคุมสิ นสุ ดลง

- 15 -

137

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

การสู ญญเสีเสียการควบคุ มม การสู ยการควบคุ

ส่วนได้เสียในเงินลงทุ ลงทุนนทีทีบ่บนั ันทึทึกกตามวิ ตามวิธีสธ่ วีสนได้ ่วนได้เสีเยสีย

เมือกลุ่มบริ ษทั สู ญเสี ยการควบคุ มในบริ ษทั ย่อย กลุ่มบริ ษทั ตัดรายการสิ นทรั พย์และหนี สิน ของบริ ษทั ย่อยนันออก รวมถึ งส่ วนได้เสี ยที ไม่มีอาํ นาจควบคุ มและส่ วนประกอบอืนในส่ วน ของเจ้าของที เกี ยวข้องกับ บริ ษ ทั ย่อยนัน กํา ไรขาดทุนทีเกิ ดขึ นจากการสู ญเสี ยการควบคุ ม ในบริ ษทั ย่อยรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนและงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน ส่ วนได้เสี ย ในบริ ษทั ย่อยเดิมทียงั คงเหลืออยูใ่ ห้วดั มูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันทีสูญเสี ยการควบคุม

ส่ วนได้เสี ยของกลุ่มบริ ษทั ในเงินลงทุนทีบนั ทึกตามวิธีส่วนได้เสี ย ประกอบด้วยส่ วนได้เสี ย ในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า บริ ษทั ร่ วมเป็ นกิจการทีกลุ่ม บริ ษทั มีอิท ธิ พลอย่างมีนยั สําคัญโดยมีอาํ นาจเข้าไปมีส่วนร่ วม ในการตัดสิ นใจเกียวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานแต่ไม่ถึงระดับทีจะควบคุมหรื อ ควบคุมร่ วมในนโยบายดังกล่าว รายงานทางการเงิน

การร่ วมค้า เป็ นการร่ วมการงานซึ งผูท้ ีมีการควบคุมร่ วมในการงานนันมีสิทธิ ในสิ นทรัพย์สุทธิ ของการร่ วมการงานนัน เงินลงทุนในการร่ วมค้าบันทึกในงบการเงินรวมโดยใช้วิธีส่วนได้เสี ย และรับรู ้รายการเริ มแรกด้วยราคาทุน ส่ วนได้เสี ยในบริ ษ ัทร่ วมและการร่ วมค้าบันทึ กบัญชี ตามวิธี ส่ วนได้เสี ย โดยรั บรู ้ รายการเมื อ เริ มแรกด้วยราคาทุนซึ งรวมถึงต้นทุนการทํารายการ ภายหลังการรับรู ้รายการเริ มแรก ส่ วนแบ่ง กําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนของเงินลงทุนทีบนั ทึกตามวิธีส่วนได้เสี ยของกลุ่มบริ ษทั จะถู กบันทึกในงบการเงิ นรวมจนถึ งวันที กลุ่มบริ ษทั สู ญเสี ยความมีอิทธิ พลอย่างมีนยั สําคัญ หรื อ การควบคุมร่ วม

การตัดดรายการในงบการเงิ นรวม การตั รายการในงบการเงิ นรวม

ยอดคงเหลือและรายการบัญชี ระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายได้หรื อค่าใช้จ่ายทียงั ไม่เกิดขึนจริ ง ซึ งเป็ นผลมาจากรายการระหว่างกิจการในกลุ่ม ถูกตัดรายการในการจัดทํางบการเงินรวม กําไรทียงั ไม่เกิดขึนจริ งซึ งเป็ นผลมาจากรายการกับบริ ษทั ร่ วมและกิจการทีควบคุมร่ วมกันถูกตัดรายการ กับเงินลงทุนเท่าทีกลุ่มบริ ษทั มีส่วนได้เสี ยในกิจการทีถูกลงทุนนัน ขาดทุนทียงั ไม่เกิดขึนจริ ง ถูกตัดรายการในลักษณะเดี ยวกับกําไรทียงั ไม่เกิดขึนจริ ง แต่เท่าทีเมือไม่มีหลักฐานการด้อยค่า เกิดขึน

- 16 -

รายงานประจำ�ปี 2559

138


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.2 เงินตราต่ 3.2 ตราต่างประเทศ างประเทศ รายการบัญญ ชีทชี​ีเทป็ ี่เนป็เงินนเงิตราต่ างประเทศ รายการบั นตราต่ างประเทศ

รายการบัญชี ทีเป็ นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็ นสกุลเงินทีใช้ในการดําเนิ นงานของกลุ่มบริ ษทั (สกุลเงินบาท) โดยใช้อตั ราแลกเปลียน ณ วันทีเกิดรายการ สิ นทรัพย์และหนีสินทีเป็ นตัวเงินและเป็ นเงินตราต่างประเทศ ณ วันทีรายงาน แปลงค่าเป็ นสกุลเงิน ทีใช้ในการดําเนิ นงานโดยใช้อตั ราแลกเปลียน ณ วันนัน กําไรหรื อขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึก รับรู ้ในงบกําไรขาดทุน สิ นทรัพย์และหนีสินทีไม่เป็ นตัวเงินซึ งเกิดจากรายการบัญชีทีเป็ นเงินตราต่างประเทศซึ งบันทึก ตามเกณฑ์ราคาทุนเดิ ม แปลงค่าเป็ นสกุลเงินทีใช้ในการดําเนิ นงานโดยใช้อตั ราแลกเปลียน ณ วันทีเกิดรายการ

3.3 งมืออทางการเงิ ทางการเงิ นตราสารอนุ 3.3 เครื ่องมื นทีนเป็ทีน่เป็ตราสารอนุ พนั ธ์พันธ์

รายงานทางการเงิน

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ใช้เครื องมือทางการเงิน เพือลดความเสี ยงจากการผันผวนของอัตรา แลกเปลี ยนเงิ นตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี ย เครื องมื อทางการเงิ นเหล่านี ป ระกอบด้วย สัญญาแลกเปลียนล่วงหน้า สัญญาซื อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และสัญญาแลกเปลียน อัตราดอกเบีย ซึ งบันทึกในงบการเงิน ณ วันทีตามสัญญา วัตถุประสงค์ของเครื องมือทางการเงิ น เหล่านีคือการลดความเสี ยง

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ทําสัญญาแลกเปลียนและสัญญาซือขายอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า เพือป้ องกัน ความเสี ยงจากการเปลียนแปลงของอัตราแลกเปลียนโดยการกําหนดอัตราแลกเปลียนทีจะใช้ ในการชําระหนี ทีเป็ นเงิ นตราต่างประเทศ รายการซื อขายเงิ นตราต่างประเทศบันทึ กเป็ นลู กหนี และเจ้าหนีตามสัญญาแลกเปลียนและสัญญาซื อขายอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า ณ วันทีตามสัญญา สัญญาแลกเปลียนและสัญญาซื อขายอัตราแลกเปลียนล่วงหน้าจะถูกแปลงค่าตามอัตราแลกเปลียน ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน กําไรหรื อขาดทุนทียงั ไม่เกิดขึนจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ ดังกล่าวจะถูกบันทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน ส่ วนเกินหรื อส่ วนลดทีเกิดขึนในการทําสัญญาจะถูกตัด จําหน่ายในงบกําไรขาดทุนตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญา

- 17 -

139

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 สัญญาแลกเปลี ยนอัตราดอกเบี ยป้ องกันความเสี ยงที เกิ ดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี ย ผลต่างทีจะได้รับหรื อต้องจ่ายชําระตามสัญญาแลกเปลียนอัตราดอกเบียได้บนั ทึกเป็ นส่ วนหนึง ของรายได้หรื อค่าใช้จ่ายดอกเบียตลอดอายุของสัญญา กําไรขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาหรื อ การชําระคืนเงินกูย้ มื ก่อนกําหนดได้บนั ทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน

3.4 สดและรายการเทียบเท่ ยบเท่าเงิานเงิสดนสด 3.4 เงินสดและรายการเที เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย เงินสด เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน และออมทรัพย์ โดยไม่รวมเงินฝากธนาคารทีมีภาระผูกพัน และเงินลงทุนระยะสันทีมีสภาพคล่อง สู งและมีอายุคงเหลือนับแต่วนั ออกตราสารจนถึงปั จจุบนั เป็ นระยะเวลาสามเดือนหรื อตํากว่า

3.5 ารค้าและลู าและลูกกหนีหนี อืน้อื่น 3.5 ลูกหนี ้การค้

ลูกหนีการค้าและลูกหนีอืนแสดงในราคาทุนสุ ทธิ หลังจากหักค่าเผือ หนีสงสัยจะสู ญ

รายงานทางการเงิน

ค่าเผือ หนีสงสัยจะสู ญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชําระหนี และการคาดการณ์เกียวกับ การชําระหนีในอนาคตของลูกค้า ลูกหนีจะถูกตัดจําหน่ายจากบัญชีเมือทราบว่าเป็ นหนีสูญ

3.6 คงเหลืออ 3.6 สินค้าคงเหลื สิ นค้าคงเหลื อประกอบด้วยโทรศัพท์เคลื อนที บัตรเติมเงิน ซิ มการ์ ด และอะไหล่ทีใช้ในการ ซ่อมแซมและการให้บริ การ สิ นค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรื อมูลค่าสุ ทธิ ทีจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะตํากว่า ราคาทุนของ สิ นค้าคงเหลือของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั คํานวณโดยวิธีถวั เฉลียถ่วงนําหนักเคลือนที ต้นทุนของสิ นค้าประกอบด้วยต้นทุนทีซือ ต้นทุนแปลงสภาพหรื อต้นทุนอืนเพือให้สินค้าอยูใ่ น สถานทีและสภาพปั จจุบนั มู ล ค่ าสุ ท ธิ ที จ ะได้รับ เป็ นการประมาณราคาที จ ะขายได้จากการดําเนิ น ธุ รกิ จปกติ หั ก ด้ว ย ค่าใช้จ่ายทีจาํ เป็ นในการขาย ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมู ลค่าของสิ นค้าคงเหลื อจะถู กบันทึ กขึ นสําหรับ สิ นค้าเสื อม คุณภาพ เสี ยหาย ล้าสมัยและค้างนาน

- 18 -

รายงานประจำ�ปี 2559

140


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.7 เงินลงทุ 3.7 ลงทุนน ษทั ษย่ัทอย่ยอย เงินลงทุ ลงทุนนในบริ ในบริษทั ร่ร่ววมมการร่ การร่วมค้ วมค้าและบริ าและบริ เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริ ษทั บันทึกบัญชี โดยใช้วิธีราคาทุน หัก ขาดทุ นจากการด้อยค่า ส่ วนการบันทึ ก บัญชี เงิ นลงทุ นในบริ ษ ทั ร่ วมและการร่ วมค้า ใน งบการเงินรวมใช้วธิ ี ส่วนได้เสี ย

เงินลงทุนในเงินฝากธนาคารประเภทเงิ ฝากธนาคารประเภทเงิ นฝากประจำ �ตราสารหนี แ้ ละตราสารทุ นฝากประจํ า ตราสารหนี นอืนนอืน่  และตราสารทุ

เงิ นฝากธนาคารประเภทเงิ นฝากประจําที แสดงเป็ นส่ วนหนึ งในเงิ นลงทุนระยะสัน มีอายุครบ กําหนดมากกว่าสามเดือนแต่ไม่เกินหนึงปี

รายงานทางการเงิน

ตราสารหนี และตราสารทุนซึ งเป็ นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดซึ งถือไว้เพือค้า จัดประเภท เป็ นสิ นทรัพย์หมุนเวียนและแสดงในมูลค่ายุติธรรม กําไรหรื อขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ บันทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน ตราสารหนีซ ึ งกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ตังใจและสามารถถือจนครบกําหนดจัดประเภทเป็ นเงินลงทุน ทีจะถือจนครบกําหนด เงินลงทุนทีจะถือจนครบกําหนด แสดงในราคาทุนตัดจําหน่ายหักด้วย ขาดทุ น จากการด้อยค่าของเงิ นลงทุ น ผลต่างระหว่างราคาทุ น ที ซื อมากับ มู ล ค่าไถ่ ถอนของ ตราสารหนีจะถูกตัดจ่ายโดยวิธีอตั ราดอกเบียทีแท้จริ งตลอดอายุของตราสารหนีทีเหลือ ตราสารหนีและตราสารทุนซึ งเป็ นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด นอกเหนื อจากทีถือไว้ เพือค้าหรื อตังใจถื อไว้จนครบกําหนดจัดประเภทเป็ นเงินลงทุนเผือขาย ภายหลังการรับรู ้มูลค่า ในครังแรกเงินลงทุนเผือขายแสดงในมู ลค่ายุติธรรม และการเปลี ยนแปลงที ไม่ใช่ ผลขาดทุ น จากการด้อยค่าและผลต่างจากสกุลเงินตราต่างประเทศของรายการทีเป็ นตัวเงิน บันทึกโดยตรง ในส่ วนของผูถ้ ื อหุ ้น ส่ วนผลขาดทุ นจากการด้อยค่าและผลต่างจากการแลกเปลี ย นเงิ น ตรา ต่างประเทศบันทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน เมือมีการจําหน่ายเงินลงทุน จะรับรู ้ผลกําไรหรื อขาดทุนสะสมทีเคยบันทึกในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้นโดยตรงเข้างบกําไรขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน ในกรณี ทีเป็ นเงินลงทุนประเภททีมีดอกเบีย จะต้องบันทึกดอกเบีย ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนโดยวิธีอตั ราดอกเบียทีแท้จริ ง

- 19 -

141

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เงินลงทุนในตราสารทุนซึ งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุน จากการด้อยค่า มูลค่ายุติธรรมของเครื องมือทางการเงิ นสําหรับหลักทรัพย์เพือค้าและหลักทรัพย์เผือขายจะใช้ ราคาเสนอซือ ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน

การจํา�หน่ นน การจำ หน่าายเงิยเงินลงทุ นลงทุ

เมือมีการจําหน่ ายเงิ นลงทุ น ผลต่างระหว่างจํานวนเงิ นสุ ท ธิ ทีได้รับและมู ลค่าตามบัญชี และ รวมถึงกําไรขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ทีเกียวข้องทีเคยบันทึกในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น จะถูก บันทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน

3.8 3.8

รายงานทางการเงิน

ในกรณี ที กลุ่ มบริ ษ ทั และบริ ษ ทั จําหน่ ายบางส่ วนของเงิ นลงทุ นที ถืออยู่ การคํานวณต้นทุ น สําหรับเงิ นลงทุนทีจาํ หน่ายไปและเงิ นลงทุนทียงั ถื ออยูใ่ ช้วิธีเข้าก่อนออกก่อนปรับใช้กบั มูลค่า ตามบัญชีของเงินลงทุนทีเหลืออยูท่ งั หมด

ที่ด ิน อาคารและอุ อาคารและอุปปกรณ์ กรณ์ การรับบรูรู้แ้และการวั การรั ละการวัดดมูมูลค่ลาค่า สินทรัพย์ย์ททีเป็ี่เป็นนกรรมสิ กรรมสิททธิขธิองกิ ์ของกิ จการ จการ ทีดิน แสดงในราคาทุนหักค่าเผือ จากการด้อยค่า อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื อมราคาสะสมและค่าเผือ จากการด้อยค่า ราคาทุนรวมถึ งต้นทุ นทางตรงที เกียวข้องกับการได้มาของสิ นทรั พย์ ต้นทุ นของการก่อสร้ าง สิ นทรัพย์ทีกิจการก่อสร้างเอง รวมถึงต้นทุนของวัสดุ แรงงานทางตรง และต้นทุนทางตรงอืน ๆ ทีเกียวข้องกับ การจัดหาสิ นทรัพ ย์เพือให้สิ นทรัพ ย์น ันอยูใ่ นสภาพทีพ ร้อมจะใช้งานได้ตาม ความประสงค์ ต้นทุนในการรื อถอน การขนย้าย การบูรณะสถานทีต งั ของสิ นทรัพย์และต้นทุน การกูย้ ืม สําหรับเครื องมือทีควบคุ มโดยลิขสิ ทธิ ซอฟต์แวร์ ซ ึ งไม่สามารถทํางานได้โดยปราศจาก ลิขสิ ทธิ ซอฟต์แวร์ น นั ให้ถือว่าลิขสิ ทธิ ซอฟต์แวร์ ดงั กล่าวเป็ นส่ วนหนึงของอุปกรณ์

- 20 -

รายงานประจำ�ปี 2559

142


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ส่ วนประกอบของรายการทีดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละรายการทีมีอายุการให้ประโยชน์ไม่เท่ากัน ต้องบันทึกแต่ละส่ วนประกอบทีมีนยั สําคัญแยกต่างหากจากกัน

รายงานทางการเงิน

กําไรหรื อขาดทุนจากการจําหน่ายทีดิน อาคาร และอุปกรณ์ คือผลต่างระหว่างสิ งตอบแทนสุ ทธิ ทีได้รับ จากการจํา หน่ า ยกับ มู ล ค่า ตามบัญ ชี ข องที ดิน อาคาร และอุ ป กรณ์ โดยรั บ รู ้ สุ ท ธิ ใ น งบกําไรขาดทุน เมือมีการขายสิ นทรัพย์ทีตีราคาใหม่ จํานวนเงินทีบนั ทึกอยูใ่ นส่ วนเกินทุนจาก การตีราคาของสิ นทรัพย์จะถูกโอนไปยังกําไรสะสม

สินทรัพย์ย์ททีเช่ี่เช่าา

ต้นทุนที ่เกิกิดดขึขึ น้นในภายหลั ในภายหลัง ง

การเช่าซึ งกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้รับความเสี ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองส่ วนใหญ่ของ ทรัพย์สินทีเช่านันๆ ให้จดั ประเภทเป็ นสัญญาเช่าการเงิน ส่ วนทีดิน อาคารและอุปกรณ์ ทีได้มา โดยทําสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็ นสิ นทรัพย์ดว้ ยมูลค่ายุติธรรมหรื อมูลค่าปั จจุบนั ของจํานวน เงินขันตําทีตอ้ งจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จาํ นวนใดจะตํากว่า หักด้วยค่าเสื อมราคาสะสมและ ค่าเผือการด้อยค่า ค่าเช่าที ชาํ ระจะแยกเป็ นส่ วนทีเป็ นต้นทุนทางการเงิ น และส่ วนทีจะหักจาก หนีตามสัญญา เพือทําให้อตั ราดอกเบียแต่ละงวดเป็ นอัตราคงทีสําหรับยอดคงเหลือของหนีสิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกโดยตรงในงบกําไรขาดทุน

ต้นทุนในการเปลี ยนแทนส่ วนประกอบจะรับรู ้ เป็ นส่ วนหนึ งของมูลค่าตามบัญชี ของรายการ ที ดิน อาคารและอุ ป กรณ์ ถ้ามี ค วามเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ที ก ลุ่ ม บริ ษ ัท และบริ ษ ทั จะได้รับ ประโยชน์เชิ งเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนัน และสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนัน ได้อย่างน่ าเชื อถื อ ชิ น ส่ วนที ถู ก เปลี ย นแทนจะถู ก ตัดจําหน่ ายตามมู ล ค่าตามบัญ ชี ต้น ทุ น ที เกิดขึนในการซ่อมบํารุ งทีดิน อาคารและอุปกรณ์ทีเกิดขึนเป็ นประจําจะรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน เมือเกิดขึน

ค่าาเสืเสื อ่อมราคา มราคา ค่าเสื อมราคาคํานวณจากมู ลค่าเสื อมสภาพของรายการอาคาร และอุ ปกรณ์ ซึ งประกอบด้วย ราคาทุนของสิ นทรัพย์หรื อต้นทุนในการเปลียนแทนอืน หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสิ นทรัพย์

- 21 -

143

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ค่าเสื อมราคาบันทึกเป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน คํานวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งาน โดยประมาณของส่ วนประกอบของสิ นทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของ สิ นทรัพย์แสดงได้ดงั นี อาคารและส่ วนปรับปรุ งอาคาร ส่ วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่ง ติดตัง และอุปกรณ์สาํ นักงาน อุปกรณ์การสื อสารเพือให้เช่า ยานพาหนะ

5, 20 5, 10 2 - 20 2-5 3 5

ปี ปี ปี ปี ปี ปี

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ไม่คิดค่าเสื อมราคาสําหรับทีดินและสิ นทรัพย์ทีอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และติดตัง รายงานทางการเงิน

วิธีการคิดค่าเสื อมราคา อายุการให้ประโยชน์ของสิ นทรัพย์ และมูลค่าคงเหลือ ถูกทบทวนอย่างน้อย ทีสุดทุกสิ นรอบปี บัญชี และปรับปรุ งตามความเหมาะสม

3.9 ายใต้สัญสัญ ญาอนุ ญาตให้ เนินการ 3.9 สินทรัพพย์ย์ภภายใต้ ญาอนุ ญาตให้ ดาํ เนิดนำ�การ

สิ นทรัพย์ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ ประกอบด้วยต้นทุนเกียวกับอุปกรณ์และสิ นทรัพย์อืน ซึ งได้โอนหรื อต้องโอนให้กบั ผูอ้ นุ ญาตให้ดาํ เนิ นการ และแสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื อมราคาและ ค่าตัดจําหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

ค่าเสืเสื อ่อมราคาและค่ มราคาและค่าตัาดตัจํดาหน่ จำ�หน่ าย าย ค่าเสื อมราคาและค่าตัดจําหน่ายคํานวณจากราคาทุนของสิ นทรัพย์หรื อจํานวนอืนทีใช้แทนราคาทุน หักด้วยมูลค่าคงเหลือ ค่าเสื อมราคาและค่าตัดจําหน่ายรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงซึ งโดยส่ วนใหญ่จะสะท้อน รู ปแบบทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากสิ นทรัพย์น นั ตามระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับ ประโยชน์ โดยเริ มตัดจําหน่ายสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนเมือสิ นทรัพย์น นั พร้อมทีจะให้ประโยชน์

- 22 -

รายงานประจำ�ปี 2559

144


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ของสิ นทรัพย์สรุ ปได้ดงั นี ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที ต้นทุนของเครื องมือและอุปกรณ์ในการดําเนิ นการดาต้าเน็ท ระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้สญ ั ญาอนุ ญาตให้ ดําเนิ นการโทรศัพท์เคลือนทีระบบ 1800-MHz

10 ปี แต่ไม่เกินอายุทีเหลือของสัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ 10 ปี แต่ไม่เกินอายุทีเหลือของสัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ 5 ปี แต่ไม่เกินอายุทีเหลือของสัญญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ไม่คิดค่าตัดจําหน่ายสําหรับสิ นทรัพย์ทีอยูร่ ะหว่างการก่อสร้างของสิ นทรัพย์ ภายใต้สัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนินการ วิธีการตัดจําหน่าย ระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ และมูลค่าคงเหลือ จะได้รับการทบทวน ทุกสิ นรอบปี บัญชีและปรับปรุ งตามความเหมาะสม

3.10 สินทรัพย์ย์ไไม่ม่มมีตีตวั ัวตน 3.10 ตน ค่าความนิ ความนิยยมม

รายงานทางการเงิน

ค่าความนิ ยมทีเกิดจากการซื อกิจการของบริ ษทั ย่อยรับรู ้ในสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน การรับรู ้มูลค่า เริ มแรกของค่าความนิ ยม ได้อธิ บายในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิ นข้อ 3.1 ภายหลังจากการรับรู ้ เริ มแรก ค่าความนิ ยมจะถู กวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า สําหรับตราสารทุ น การบัญชี ดา้ นผูล้ งทุนมูลค่าตามบัญชี ของค่าความนิ ยมรวมอยูใ่ นมูลค่าตามบัญชี ของเงินลงทุน และ ผลขาดทุ นจากการด้อยค่าในเงิ นลงทุ นต้องไม่ถูกปั นส่ วนให้สินทรั พย์ใด ๆ ที เป็ นส่ วนหนึ งของ มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนรวมถึงค่าความนิยม

ใบอนุญาตให้ าตให้ใใช้ช้คคลืลืน่นความถี ความถีโทรคมนาคม ่โทรคมนาคม

สิ นทรัพย์ย์ไไม่ม่มมีตีตวั ัวตนอื ตนอืน่น

ใบอนุ ญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคมแสดงถึงมูลค่าเทียบเท่าเงินสดตามมูลค่าปั จจุบนั ของ จํานวนเงิ นที จะจ่ายชําระ ผลต่างระหว่างจํานวนเงิ นที ตอ้ งจ่ายชําระกับมู ลค่าเที ยบเท่าเงิ นสด บันทึกเป็ นต้นทุนทางการเงิ นตามระยะเวลาการชําระค่าธรรมเนี ยมการได้รับใบอนุ ญาตให้ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคมซึ งจะเริ มตัดจําหน่ายเมือวันทีใบอนุญาตมีผลบังคับใช้ สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืน ทีกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ซื อมาและมีอายุใช้งานจํากัด แสดงในราคาทุน หักค่าตัดจําหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

- 23 -

145

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายจ่าายภายหลั งการรั บรู ้รบายการ รายจ่ ยภายหลั งการรั รู้รายการ

ค่าตัตัดดจํจำาหน่ �หน่ายาย

รายจ่ายภายหลังการรับรู ้รายการจะรับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์เมือก่อให้เกิดประโยชน์เชิ งเศรษฐกิจในอนาคต โดยรวมเป็ นสิ นทรัพย์ทีสามารถระบุได้ทีเกียวข้องนัน ค่าใช้จ่ายอืนรวมถึงค่าความนิ ยมและ ตราผลิตภัณฑ์ทีเกิดขึนภายในรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน

ค่าตัดจําหน่ายคํานวณจากราคาทุนของสิ นทรัพย์หรื อจํานวนอืนทีใช้แทนราคาทุนหักด้วยมูลค่า คงเหลือ

ค่าตัดจําหน่ายรับรู ้ ในงบกําไรขาดทุ นโดยวิธีเส้นตรงซึ งโดยส่ วนใหญ่จะสะท้อนรู ปแบบทีคาดว่า จะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากสิ นทรัพย์น ันตามระยะเวลาที คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก สิ น ทรั พ ย์ไ ม่ มี ต ัว ตนซึ งไม่ ร วมค่ า ความนิ ย ม โดยเริ ม ตัด จํา หน่ า ยสิ น ทรั พ ย์ไ ม่ มี ต ัวตนเมื อ สิ นทรัพย์น นั พร้อมทีจะให้ประโยชน์ ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม สิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืน

รายงานทางการเงิน

ระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์สาํ หรับปี ปั จจุบนั และปี เปรี ยบเทียบแสดงได้ดงั นี อายุใบอนุญาต 5 และ 10 ปี

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ไม่คิดค่าตัดจําหน่ายสําหรับเงินจ่ายล่วงหน้า วิธีการตัดจําหน่าย ระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ และมูลค่าคงเหลือ จะได้รับการทบทวน ทุกสิ นรอบปี บัญชีและปรับปรุ งตามความเหมาะสม

3.11 3.11 สินทรัพย์ย์ออืนื่น ค่าใช้จ่าายรอการตั ยรอการตั ดบัดญบัชีญชี ค่ าใช้ จ่ ายรอการตัดบัญ ชี ประกอบด้วยต้น ทุน ของการเช่า สถานที ตัง สถานี ฐ านระยะยาว ค่า ใช้จ่า ยเกี ย วกับ การขยายกํา ลัง การใช้ไ ฟฟ้ า ที ส ถานี ฐาน และค่าใช้จ่ายเกี ยวกับ โครงการ ปรับปรุ งระบบเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที และแสดงด้วยราคาทุนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและ ขาดทุนจากการด้อยค่า

ค่าตัตัดดจํจำาหน่ �หน่ายาย ค่าตัดจําหน่ายคํานวณจากราคาทุนของสิ นทรัพย์หรื อจํานวนอืนทีใช้แทนราคาทุนหักด้วยมูลค่า คงเหลือ - 24 -

รายงานประจำ�ปี 2559

146


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ค่าตัดจําหน่ายบันทึกรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงซึ งโดยส่ วนใหญ่จะสะท้อนรู ปแบบ ทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากสิ นทรัพย์น นั ตามระยะเวลาทีคาดว่าจะได้รับประโยชน์ จากสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนซึ งไม่รวมค่าความนิ ยม โดยเริ มตัดจําหน่ ายสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนเมื อ สิ นทรัพย์น ันพร้ อมที จะให้ประโยชน์ ระยะเวลาที คาดว่าจะได้รับประโยชน์สําหรับปี ปั จจุบนั และปี เปรี ยบเทียบแสดงได้ดงั นี ต้นทุนของการเช่าสถานทีต งั สถานีฐานระยะยาว ค่าใช้จ่ายเกียวกับการขยายกําลังการใช้ไฟฟ้าทีสถานีฐาน ค่าสิ ทธิในการดําเนินงานการให้บริ การสื อสารข้อมูลผ่าน สายโทรศัพท์

3.12 การด้ การด้ออยค่ยค่า า 3.12

ยอดสิ นทรัพย์ตามบัญชี ของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้รับการทบทวน ณ วันสิ นรอบระยะเวลา ทีรายงานว่ามีขอ้ บ่งชี เรื องการด้อยค่าหรื อไม่ ในกรณี ทีมีขอ้ บ่งชี จะทําการประมาณมูลค่าสิ นทรัพย์ ทีคาดว่าจะได้รับคืนสําหรับค่าความนิ ยมและสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนทีมีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบ แน่นอนหรื อยังไม่พร้อมใช้งาน จะประมาณมูลค่าทีคาดว่าจะได้รับคืนทุกปี ในช่วงเวลาเดียวกัน

รายงานทางการเงิน

อายุสญ ั ญาเช่า ไม่เกินอายุทีเหลือของสัญญาอนุญาตให้ ดําเนินการ 10 ปี แต่ไม่เกินอายุทีเหลือของสัญญา อนุญาตให้ดาํ เนินการ

ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู ้เมือมูลค่าตามบัญชี ของสิ นทรัพย์ หรื อมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสิ นทรัพย์ ทีก่อให้เกิด เงินสดสู งกว่ามูลค่าทีจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกําไรขาดทุน เมือมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์ทางการเงินเผือขาย ซึ งได้บนั ทึกในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น และมีความชัดเจนว่าสิ นทรัพย์ดงั กล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ งเคยบันทึกในส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น จะถูกบันทึกในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนโดยไม่ตอ้ งปรับกับยอดสิ นทรัพย์ ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนทีบนั ทึกในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนเป็ นผลต่าง ระหว่างราคาทุนทีซื อกับมูลค่ายุติธรรมในปั จจุบนั ของสิ นทรัพย์ หักขาดทุนจากการด้อยค่าของ สิ นทรัพย์ทางการเงินนันๆ ซึ งเคยรับรู ้แล้วในงบกําไรขาดทุน

การคํา�นวณมู าจะได้ รับคืรนับคืน การคำ นวณมูลค่ลาค่ทีาคทีาดว่ ่คาดว่ าจะได้

มู ลค่าที คาดว่าจะได้รับ คืนของสิ นทรัพย์ท างการเงิ นสําหรับ หลักทรัพ ย์เผือขาย คํานวณโดย อ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม

- 25 -

147

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 มูลค่าทีคาดว่าจะได้รับคืนของสิ นทรัพย์ทีไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง มูลค่าจากการใช้ ของสิ นทรัพย์หรื อมูลค่ายุติธรรมของสิ นทรัพย์หักต้นทุนในการขายแล้วแต่มูลค่าใดจะสู งกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสิ นทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดทีจะได้รับในอนาคต จะคิดลดเป็ นมูลค่าปั จจุบนั โดยใช้อตั ราคิดลดก่อนคํานึ งภาษีเงิ นได้เพือให้สะท้อนมูลค่าทีอาจ ประเมินได้ในตลาดปั จจุบนั ซึ งแปรไปตามเวลาและความเสี ยงทีมีต่อสิ นทรัพย์ สําหรับสิ นทรัพย์ ทีไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสิ นทรัพย์อืน จะพิจารณามูลค่าทีคาดว่าจะได้รับคืน รวมกับหน่วยสิ นทรัพย์ทีก่อให้เกิดเงินสดทีสินทรัพย์น นั เกียวข้องด้วย

การปรับบลดการด้ า า การปรั ลดการด้อยค่อยค่

รายงานทางการเงิน

ขาดทุ นจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ทางการเงิ นจะถู กปรับลด เมือมู ลค่าที คาดว่าจะได้รับคื น เพิมขึนในภายหลัง และการเพิมขึนนันสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าทีเคยรับรู ้ใน งบกําไรขาดทุ น สําหรับสิ นทรัพย์ทางการเงิ นทีบนั ทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจําหน่ายและตราสารหนี ทีจดั ประเภทเป็ นหลักทรัพย์เผือขาย การปรับลดการด้อยค่าจะถู กบันทึกในงบกําไรขาดทุนและ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน ส่ วนสิ นทรัพย์ทางการเงิ นทีเป็ นตราสารทุนทีจดั ประเภทเป็ นหลักทรัพย์ เผือ ขาย การปรับลดจะถูกรับรู ้โดยตรงในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิ ยมจะไม่มีการปรับลด ขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ ทีไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอืนๆ ทีเคยรับรู ้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ วันสิ นรอบระยะเวลา ทีรายงานว่ามี ขอ้ บ่งชี เรื องการด้อยค่าหรื อไม่ ขาดทุ นจากการด้อยค่าจะถู กปรับลด หากมีการ เปลียนแปลงประมาณการทีใช้ในการคํานวณมูลค่าทีคาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่า จะถู กปรับลดเพียงเท่าทีมูลค่าตามบัญชี ของสิ นทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชี ภายหลังหัก ค่าเสื อมราคาหรื อค่าตัดจําหน่าย เสมือนหนึงไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน

3.13 าระดอกเบี ย้ย 3.13 หนี้สินที่ม ีภาระดอกเบี

หนี สินทีมีภาระดอกเบียบันทึกเริ มแรกในมูลค่ายุติธรรมหักค่าใช้จ่ายทีเกียวกับการเกิดหนี สิน ภายหลังจากการบันทึ ก หนี สิ น ที มี ภาระดอกเบี ยจะบัน ทึ ก ต่อมาโดยวิธี ราคาทุ น ตัดจําหน่ าย ผลต่างระหว่างยอดหนีเริ มแรกและยอดหนี เมือครบกําหนดไถ่ถอน จะบันทึกในงบกําไรขาดทุน ตลอดอายุการกูย้ มื โดยใช้วธิ ี อตั ราดอกเบียทีแท้จริ ง

- 26 -

รายงานประจำ�ปี 2559

148


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.14 หนี ก้การค้ ารค้าและเจ้ าและเจ้าหนี าหนี อืน้อื่น 3.14 เจ้าหนี

เจ้าหนีการค้าและเจ้าหนีอืนแสดงในราคาทุน

3.15 ผลประโยชน์พพนันักกงาน 3.15 งาน กองทุนนสํสำา�รองเลี พพ กองทุ รองเลี ยงชี้ยงชี

รายงานทางการเงิน

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั จัดให้มีกองทุนสํารองเลี ยงชี พซึ งเป็ นลักษณะของแผนการจ่ายสมทบ ตามทีได้กาํ หนดการจ่ายสมทบไว้แล้ว สิ นทรั พย์ของกองทุ นสํารองเลี ยงชี พได้แยกออกไปจาก สิ นทรัพย์ของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั และได้รับการบริ หารโดยผูจ้ ดั การกองทุนภายนอก กองทุน สํารองเลียงชี พดังกล่าวได้รับเงินสะสมเข้ากองทุนจากพนักงานและเงินสมทบจากกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั เงินจ่ายสมทบกองทุนสํารองเลียงชีพบันทึกเป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน สําหรับ รอบระยะเวลาบัญชีทีเกิดรายการนัน

จากการให้ บริ การระยะยาว ผลประโยชน์พพนันักกงานหลั งานหลังออกจากงานและผลประโยชน์ งออกจากงานและผลประโยชน์ จากการให้ บริการระยะยาว

ภาระผูก พัน เกี ยวกับ ผลประโยชน์ ห ลังออกจากงานที ต้อ งชดเชยตามกฎหมายแรงงานและ ผลประโยชน์จากการให้บริ การระยะยาว กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั รับรู ้ในงบการเงินด้วยวิธีคิดลด แต่ละหน่วยทีประมาณการไว้ซ ึ งคํานวณโดยใช้หลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย กลุ่ มบริ ษทั และบริ ษทั รับรู ้ กาํ ไรขาดทุ นจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย ทังหมดที เกิ ด ขึ น ในงบกํา ไรขาดทุ น และกํา ไรขาดทุ น เบ็ ด เสร็ จ อื น และรั บ รู ้ ค่ า ใช้จ่ า ยของ ผลประโยชน์พนักงานในงบกําไรขาดทุน

ผลประโยชน์เมืมือ่อเลิเลิกกจ้จ้างาง

ผลประโยชน์เมือเลิกจ้างรับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน เมือกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั แสดงเจตนา ผูกพันอย่างชัดเจนเกียวกับการเลิ กจ้าง และไม่มีความเป็ นไปได้ทีจะยกเลิ ก มีรายละเอียดอย่าง เป็ นทางการทังการเลิกจ้างก่อนวันเกษียณตามปกติ หรื อเมือกลุ่ม บริ ษ ทั และบริ ษ ทั เสนอให้มี การออกจากงานโดยสมัครใจ และมีความเป็ นไปได้ทีจะได้รับการตอบรับข้อเสนอนัน และสามารถ ประมาณจํานวนของการยอมรั บ ข้ อเสนอได้ อย่ างสมเหตุ ส มผล มี ก ารคิ ดลดกระแสเงิ น สด หากระยะเวลาการจ่ายผลประโยชน์เกินกว่า 12 เดือนนับจากวันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน

- 27 -

149

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

ผลประโยชน์ระยะสัน้ ของพนั ของพนักกงาน งาน

ภาระผูกพันผลประโยชน์ระยะสันของพนักงานวัดมูลค่าโดยมิได้คิดลดกระแสเงินสดและรับรู ้ เป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุนเมือพนักงานทํางานให้

หนี สิ น รับ รู ้ด ว้ ยมูล ค่าที ค าดว่า จะจ่ายชํา ระสํา หรับ การจ่า ยโบนัส เป็ นเงิน สดระยะสั น หรื อ การปั นส่ วนกําไร หากกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีภาระผูกพันตามกฎหมายหรื อภาระผูกพันโดย อนุ ม านที จะต้องจ่ายอันเป็ นผลมาจากการที พนักงานได้ท าํ งานให้ในอดี ตและภาระผูกพันนี สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผล

การจ่ ยโดยใช้หหุน้ ุ้นเป็เป็นนเกณฑ์ เกณฑ์ การจ่าายโดยใช้

กลุ่มบริ ษทั วัดมูลค่าการจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ของโครงการ โดยอ้างอิงกับมูลค่ายุติธรรมของ ตราสารทุนทีออกให้ ณ วันทีให้สิทธิ

รายงานทางการเงิน

รายจ่ายของโครงการ จะถูกรับรู ้ เป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุนและบันทึกเป็ นส่ วนเพิมในรายการ “การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์” ในส่ วนของผูถ้ ือหุ น้ ตลอดระยะเวลาทีการให้บริ การและ/หรื อผลงาน ทีกาํ หนดไว้ในโครงการเป็ นไปตามเงือนไข

3.16 3.16 ประมาณการหนี ประมาณการหนีส้สิ นิน

ประมาณการหนีสินจะรับรู ้ก็ต่อเมือกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีภาระหนี สินตามกฎหมายทีเกิดขึน ในปั จจุบนั หรื อทีก่อตัวขึนอันเป็ นผลมาจากเหตุการณ์ ในอดี ต และมี ความเป็ นไปได้ค่อนข้าง แน่นอนว่าประโยชน์เชิ งเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพือชําระภาระหนีสินดังกล่าว ประมาณการ หนี สิ น พิ จารณาจากการคิ ดลดกระแสเงิ นสดที จะจ่ายในอนาคต โดยใช้อตั ราคิ ดลดในตลาด ปั จจุบนั ก่อนคํานึงถึงภาษีเงินได้ เพือให้สะท้อนจํานวนทีอาจประเมินได้ในตลาด ปั จจุบนั ซึ งแปร ไปตามเวลาและความเสี ยงทีมีต่อหนี สิน ประมาณการหนีสินส่ วนทีเพิมขึนเนื องจากเวลาทีผา่ น ไปรับรู ้เป็ นต้นทุนทางการเงิน

3.17 ายได้แและค่ ละค่าใช้ าใช้จ่าจย่าย 3.17 การรั การรับบรูรู้ร้รายได้ รายได้ทีรับรู ้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิม และแสดงสุ ทธิ จากส่ วนลดการค้าและส่ วนลดพิเศษ

- 28 -

รายงานประจำ�ปี 2559

150


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

การขายสิ าและให้บบริริกการาร การขายสิ นนค้ค้าและให้ รายได้จากการขายรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน เมือได้โอนความเสี ยงและผลตอบแทนของความเป็ น เจ้าของสิ นค้าทีมีนยั สําคัญไปให้กบั ผูซ้ ือแล้ว และจะไม่รับรู ้รายได้ถา้ ฝ่ ายบริ หารยังมีการควบคุม หรื อบริ หารสิ นค้าทีขายไปแล้วนันหรื อมีความไม่แน่นอนทีมีนยั สําคัญในการได้รับประโยชน์ เชิ งเศรษฐกิจจากการขายสิ นค้าหรื อให้บริ การนัน ไม่อาจวัดมูลค่าของจํานวนรายได้และต้นทุน ทีเกิดขึนได้อย่างน่าเชือถือ หรื อ มีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่นอนทีจะต้องรับคืนสิ นค้า

รายได้ ากการให้บริบกริารรั การรั รู้ในงบกำ �ไรขาดทุ ่อมีกบารให้ รายได้จจากการให้ บรู ้ใบนงบกํ าไรขาดทุ นเมือนมีเมืการให้ ริ การบริการ รายได้ค่าบริ การโทรศัพท์เคลือนทีและค่าบริ การศูนย์ให้ข่าวสารบริ การทางโทรศัพท์รับรู ้ใน งบกําไรขาดทุนเมือได้ให้บริ การแก่ลูกค้าแล้ว

รายงานทางการเงิน

รายได้จากการให้บริ การสื อสารข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์รับรู ้ในงบกําไรขาดทุนเมือได้ให้บริ การ แก่ลูกค้าแล้ว

รายได้คค่า่าเช่เช่าา

ข้อตกลงสั ตกลงสัมมปทานบริ ปทานบริการการ

รายได้ค่าเช่าจากอุปกรณ์ รับรู ้ ในงบกําไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าใช้จ่าย เริ มแรกทีเกิดขึนเป็ นการเฉพาะเพือให้เกิดสัญญาเช่ารับรู ้เป็ นส่ วนหนึ งของค่าเช่าทังสิ นตามสัญญา รายได้ทีเกียวข้องกับการก่อสร้างหรื อการยกระดับการบริ การภายใต้ขอ้ ตกลงสัมปทานบริ การ จะรับรู ้ตามขันความสําเร็ จของงาน รายได้จากการดําเนิ นงานหรื อให้บริ การจะรับรู ้ในงวดบัญชี ทีกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ให้บริ การ เมือกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ให้บริ การตามข้อตกลงสัมปทาน บริ การมากกว่าหนึงบริ การ สิ งตอบแทนทีได้รับจะถูกปั นส่ วนโดยอ้างอิงจากมูลค่ายุติธรรมของ บริ การทีส่งมอบ

เงินปันผลรั ผลรับบ

ดอกเบี ดอกเบีย้ยรัรับบ

เงินปั นผลรับบันทึกในงบกําไรขาดทุนในวันทีกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีสิทธิ ได้รับเงินปั นผล ดอกเบียรับบันทึกในงบกําไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง

ค่าใช้จ่าายย

ค่าใช้จ่ายบันทึกในงบกําไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง

- 29 -

151

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.18 ต้นทุนทางการเงิ 3.18 ทางการเงินน

ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วยดอกเบียจ่ายของเงินกูย้ มื และประมาณการหนี สินส่ วนทีเพิมขึน เนื องจากเวลาทีผา่ นไป และสิ งตอบแทนทีคาดว่าจะต้องจ่าย ขาดทุนจากการจําหน่ายสิ นทรัพย์ ทางการเงิ นที ถื อไว้เพือ ขาย ขาดทุ น จากมู ล ค่า ยุติธ รรมของสิ น ทรั พ ย์ท างการเงิ น ที รับ รู ้ ใ น งบกําไรขาดทุน หรื อขาดทุนจากการด้อยค่าของสิ นทรัพย์ทางการเงิน (นอกเหนื อลูกหนีการค้า) และขาดทุนจากเครื องมือป้ องกันความเสี ยงรับรู ้ในงบกําไรขาดทุน ต้น ทุ นการกู้ยืม ที ไม่ ไ ด้เกี ย วกับ การได้ม า การก่ อสร้ างหรื อการผลิ ต สิ น ทรั พ ย์ที เข้า เงื อนไข รับรู ้ในงบกําไรขาดทุน โดยใช้วธิ ี อตั ราดอกเบียทีแท้จริ ง

3.19 ญาเช่า า 3.19 สัญ ญญาเช่ ญญาเช่ สัญ ญาเช่าดําาดำเนิ�นเนิงาน นงาน

รายงานทางการเงิน

สัญญาเช่าระยะยาวเพือเช่าสิ นทรัพย์โดยทีความเสี ยงและผลตอบแทนของความเป็ นเจ้าของ ส่ วนใหญ่ตกอยูก่ บั ผูใ้ ห้เช่าจะจัดเป็ นสัญญาเช่าดําเนินงาน เงินทีตอ้ งจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดําเนิ นงาน (สุ ทธิ จากสิ งตอบแทนจูงใจทีได้รับจากผูใ้ ห้เช่า) จะบันทึกในงบกําไรขาดทุนโดยใช้วิธีเส้นตรง ตลอดอายุของสัญญาเช่านัน ค่าใช้จ่ายทีเกิดขึนจากการยกเลิกสัญญาเช่าดําเนิ นงานก่อนหมดอายุการเช่า เช่น เบียปรับทีตอ้ งจ่าย ให้กบั ผูใ้ ห้เช่า จะบันทึกเป็ นค่าใช้จ่ายในระยะเวลาบัญชีทีการยกเลิกนันเกิดขึน

สัญ ญาเช่าการเงิ าการเงิ ญญาเช่ นน

สัญญาเช่าซึ งกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้รับโอนผลตอบแทนและความเสี ยงส่ วนใหญ่ของการเป็ น เจ้าของสิ นทรัพย์ยกเว้นกรรมสิ ทธิ ทางกฎหมายถื อเป็ นสัญญาเช่าทางการเงิ น กลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั บันทึกสิ นทรัพย์ทีเช่าในมูลค่ายุติธรรม ณ วันเริ มต้นของสัญญาเช่าหรื อมูลค่าปั จจุบนั ของ จํานวนเงินขันตําทีจะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จาํ นวนใดจะตํากว่า ค่าเสื อมราคาของสิ นทรัพย์ ทีเช่าคํานวณโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุการใช้งานโดยประมาณของสิ นทรัพย์ ดอกเบียหรื อค่าใช้จ่าย ทางการเงิ นคํานวณโดยใช้วิธีอตั ราดอกเบี ยทีแท้จริ งตลอดระยะเวลาของสัญญา ดอกเบียหรื อ ค่าใช้จ่ายทางการเงินและค่าเสื อมราคารับรู ้เป็ นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน

- 30 -

รายงานประจำ�ปี 2559

152


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.20 ภาษีเเงิงินนได้ 3.20 ได้

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สาํ หรับปี ประกอบด้วยภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี รับรู ้ในงบกําไรขาดทุนเว้นแต่ในส่ วนที เกี ยวกับรายการที เกียวข้องในการรวมธุ รกิจ หรื อรายการที รับรู ้ โดยตรงในส่ วนของผูถ้ ื อหุ ้นหรื อ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน

ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั ได้แก่ภาษีทีคาดว่าจะจ่ายชําระหรื อได้รับชําระ โดยคํานวณจากกําไร หรื อขาดทุนประจําปี ทีตอ้ งเสี ยภาษี โดยใช้อตั ราภาษีทีประกาศใช้ ตลอดจนการปรับปรุ งทางภาษี ทีเกียวกับรายการในปี ก่อนๆ

รายงานทางการเงิน

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บนั ทึกโดยคํานวณจากผลแตกต่างชัว คราวทีเกิดขึนระหว่างมูลค่า ตามบัญชี ข องสิ นทรั พ ย์และหนี สิ นและจํานวนที ใ ช้เพือความมุ่ง หมายทางภาษี ภาษี เงิ น ได้ รอการตัดบัญชี จะไม่ถูกรับรู ้เมือเกิดจากผลแตกต่างชัว คราวดังต่อไปนี การรับรู ้ค่าความนิ ยม ในครังแรก การรับรู ้ สินทรัพย์หรื อหนี สินในครังแรกซึ งเป็ นรายการทีไม่ใช่การรวมธุ รกิจและ รายการนันไม่มีผลกระทบต่อกําไรขาดทุนทางบัญชี หรื อภาษี และผลแตกต่างทีเกียวข้องกับ เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยหากเป็ นไปได้วา่ จะไม่มีการกลับรายการในอนาคตอันใกล้ การวัดมู ล ค่าของภาษี เงิ นได้รอการตัดบัญ ชี ตอ้ งพิ จารณาถึ งผลกระทบทางภาษี ที จะเกิ ดจาก ลักษณะวิธีการที กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์จากสิ นทรัพย์หรื อจะจ่าย ชําระหนีสินตามมูลค่าตามบัญชี ณ วันทีสินรอบระยะเวลาทีรายงาน ภาษีเงิ นได้รอการตัดบัญชี วดั มูลค่าโดยใช้อตั ราภาษีทีคาดว่าจะใช้กบั ผลแตกต่างชัว คราวเมือมี การปรับปรุ งโดยใช้อตั ราภาษีทีประกาศใช้หรื อทีคาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันสิ นรอบระยะเวลา ทีรายงาน

- 31 -

153

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ในการกําหนดมูลค่าของภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ต้องคํานึงถึงผลกระทบของสถานการณ์ทางภาษีทีไม่แน่นอนและอาจทําให้จาํ นวนภาษี ทีตอ้ งจ่ายเพิมขึน และมีดอกเบียทีตอ้ งชําระ กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั เชื อว่าได้ต งั ภาษีเงินได้คา้ งจ่าย เพียงพอสําหรับภาษีเงินได้ทีจะจ่ายในอนาคต ซึ งเกิดจากการประเมินผลกระทบจากหลายปั จจัย รวมถึงการตีความทางกฎหมายภาษี และจากประสบการณ์ในอดีต การประเมินนี อยูบ่ นพืนฐาน การประมาณการและข้อสมมติฐาน และอาจจะเกี ยวข้องกับการตัดสิ นใจเกี ยวกับเหตุก ารณ์ ในอนาคต ข้อมูลใหม่ๆ อาจจะทําให้กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั เปลี ยนการตัดสิ นใจโดยขึนอยู่กบั ความเพียงพอของภาษีเงินได้คา้ งจ่ายทีมีอยู่ การเปลียนแปลงในภาษีเงินได้คา้ งจ่ายจะกระทบ ต่อค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงวดทีเกิดการเปลียนแปลง

รายงานทางการเงิน

สิ นทรัพย์ภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี และหนี สินภาษี เงินได้รอการตัดบัญชี สามารถหักกลบได้ เมือกิจการมีสิทธิ ตามกฎหมายทีจะนําสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั มาหักกลบกับหนีสิน ภาษีเงินได้ของงวดปั จจุบนั และภาษีเงินได้น ี ประเมินโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีหน่วยงานเดียวกัน สําหรับหน่วยภาษีเดียวกันหรื อหน่วยภาษีต่างกัน สําหรับหน่วยภาษีต่างกันนันกิจการมีความตังใจ จะจ่ายชําระหนี สินและสิ นทรัพย์ภาษี เงิ นได้ของงวดปั จจุบนั ด้วยยอดสุ ทธิ หรื อตังใจจะรับคื น สิ นทรัพย์และจ่ายชําระหนีสินในเวลาเดียวกัน สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จะบันทึกต่อเมือมีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากําไร เพือเสี ยภาษีในอนาคตจะมีจาํ นวนเพียงพอกับการใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชัว คราวดังกล่าว สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จะถูกทบทวน ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงานและจะถู ก ปรับลดลงเท่าทีประโยชน์ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริ ง

3.21 3.21 กำกํา�ไรต่ ไรต่ออหุหุน้ ้น กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั แสดงกําไรต่อหุ ้นขันพืนฐานและกําไรต่อหุ ้นปรับลดสําหรับหุ ้นสามัญ กําไรต่อหุ ้นขันพืนฐานคํานวณโดยการหารกําไรหรื อขาดทุนของผูถ้ ื อหุ ้นสามัญของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ด้วยจํานวนหุ ้นสามัญถัวเฉลียถ่วงนําหนักทีออกจําหน่ายระหว่างปี ปรับปรุ งด้วยจํานวน หุ น้ สามัญทีซือคืน กําไรต่อหุ ้นปรับลดคํานวณโดยการหารกําไรหรื อขาดทุนของผูถ้ ือหุ ้นสามัญ ทีปรับปรุ งด้วยจํานวนหุ ้นสามัญถัวเฉลียถ่วงนําหนักทีออกจําหน่ายและปรับปรุ งด้วยจํานวน หุ ้นสามัญทีซื อคืน และผลกระทบของตราสารทีอาจเปลี ยนเป็ นหุ ้นสามัญปรับลดทังหมดและ สิ ทธิ ซือหุ น้ ของพนักงาน

- 32 -

รายงานประจำ�ปี 2559

154


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.22 รายงานทางการเงิ รายงานทางการเงินจํนาแนกตามส่ วนงาน 3.22 จำ�แนกตามส่ วนงาน

3.23 ยพินนิจของผู ิจของผู 3.23 การใช้ดดุลุลยพิ บ้ ริ้บหริารหาร

ผลการดําเนิ นงานของส่ วนงานที รายงานต่อประธานเจ้าหน้าทีบริ หารของกลุ่มบริ ษทั (ผูม้ ีอาํ นาจ ตัดสิ นใจสู งสุ ดด้านการดําเนิ นงาน) จะแสดงถึ งรายการที เกิ ดขึนจากส่ วนงานดําเนิ นงานนัน โดยตรงรวมถึงรายการทีได้รับการปั นส่ วนอย่างสมเหตุสมผล ในการจัดทํางบการเงินให้เป็ นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ต้องอาศัยดุ ลยพิ นิจของผูบ้ ริ หารในการกําหนดนโยบายการบัญชี การประมาณการและการตัง ข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ งมีผลกระทบต่อการแสดงจํานวนสิ นทรัพย์ หนีสินและการเปิ ดเผย ข้อมูลเกียวกับสิ นทรัพย์และหนี สินทีอาจเกิดขึน ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน รวมทังการแสดง รายได้และค่าใช้จ่ายของปี บัญชี ถึงแม้วา่ การประมาณการของผูบ้ ริ หาร ได้พิจารณาอย่างสมเหตุสมผล ภายใต้เหตุการณ์ ณ ขณะนัน ผลทีเกิดขึนจริ งอาจมีความแตกต่างไปจากประมาณการนัน

การใช้ดุลยพินิจทีสาํ คัญในการใช้นโยบายการบัญชี มีดงั ต่อไปนี รายงานทางการเงิน

การรับรู ้ตน้ ทุนของสิ นทรัพย์และการคิดค่าเสื อมราคาของสิ นทรัพย์ การรับรู ้ตน้ ทุนทีเกิดขึนเป็ นส่ วนหนึ งของมูลค่าตามบัญชี ของรายการทีดิน อาคารและอุปกรณ์ และสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตน จะสิ นสุ ดเมือผูบ้ ริ หารได้พิจารณาแล้วว่าสิ นทรัพย์น นั อยูใ่ นสภาพทีพร้อม จะใช้งานได้ตามความประสงค์ของผูบ้ ริ หาร นอกจากนัน นโยบายการบัญชี วิธีการคิดค่าเสื อมราคา และการประมาณอายุการให้ ป ระโยชน์ ของสิ นทรั พ ย์ย งั คงใช้ดุล ยพิ นิ จของผูบ้ ริ ห ารในการ ทบทวนอย่างสมําเสมอทุกรอบระยะเวลาบัญชี

การด้ออยค่ยค่า า การด้

การรั ทรัพพย์ภย์าษี ภาษีเงินเงิได้นได้ รอตั ี่เกีอยงกัวข้บอผลขาดทุ งกับผลขาดทุ นสะสมยกมา การรับบรูรู้ส้สิ นินทรั รอตั ดบัดญบัชีญ ทีเกีชียทวข้ นสะสมยกมา

ข้อพิพิพพาททางการค้ าททางการค้ าและคดี ความที าและคดี ความที สาํ คั่สญ�ำ คัญ

สิ นทรัพย์คงเหลือตามบัญชีของกลุ่มบริ ษทั จะมีการทบทวน ณ ทุกวันทีในงบแสดงฐานะการเงิน ว่ามีขอ้ บ่งชี เรื องการด้อยค่าหรื อไม่ ในกรณี ทีมีขอ้ บ่งชี จะทําการประมาณมูลค่าทีคาดว่าจะได้รับคืน ของสิ นทรัพย์

สิ นทรัพย์ภาษีเงิ นได้รอตัดบัญชี จะรับรู ้ เมือบริ ษทั คาดการณ์ ได้แน่นอนว่าจะมีประโยชน์ทางภาษี ในอนาคต และโอกาสทีบริ ษทั จะมีกาํ ไรทางภาษีเพียงพอทีจะสามารถใช้ประโยชน์จากผลขาดทุน ทางภาษีสะสม รายการทีมีการใช้ดุลยพินิจของผูบ้ ริ หารในการตังประมาณการหนี สินทีอาจเกิดขึนจากคดีความ ทีสาํ คัญเนืองจากผลคดียงั ไม่สินสุ ด

- 33 -

155

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

3.24 การวัดดมูมูลลค่ค่ายุาตยุิธตรรม 3.24 การวั ิธรรม มูลค่ายุติธรรมเป็ นราคาทีจะได้รับจากการขายสิ นทรัพย์ หรื อจะจ่ายเพือโอนหนี สินในรายการ ทีเกิดขึนในสภาพปกติระหว่างผูร้ ่ วมตลาด ณ วันทีวดั มูลค่า ไม่วา่ ราคานันจะสามารถสังเกตได้ โดยตรงหรื อประมาณมาจากเทคนิ คการประเมินมูลค่า ในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของรายการ สิ นทรั พ ย์หรื อหนี สิ นรายการใดรายการหนึ ง กลุ่ ม บริ ษ ัทและบริ ษ ัทพิ จารณาถึ งลักษณะของ สิ นทรัพย์หรื อหนี สินนันซึ งผูร้ ่ วมตลาดจะนํามาพิจารณาในการกําหนดราคาของสิ นทรัพย์หรื อ หนี สิ น ณ วันที วดั มู ลค่า โดยการวัดมู ลค่ายุติธรรมและ/หรื อการเปิ ดเผยข้อมู ลในงบการเงิ นนี ใช้ตามเกณฑ์ตามทีกล่าว นอกจากนี การวัดมู ลค่ ายุติ ธรรมได้จดั ลําดับชันเป็ นระดับที 1 ระดับที 2 และระดับที 3 โดยแบ่ ง ตามลําดับขันของข้อมูลทีสามารถสังเกตได้ และตามลําดับความสําคัญของข้อมูลที ใช้วดั มูลค่า ยุติธรรม ซึ งมีดงั ต่อไปนี ระดับ ที 1 เป็ นราคาเสนอซื อขาย (ไม่ต้องปรั บ ปรุ ง) ในตลาดที มี ส ภาพคล่ องสําหรั บ สิ นทรัพย์ หรื อหนี สินอย่างเดียวกันและกิจการสามารถเข้าถึงตลาดนั น ณ วันทีวดั มูลค่า

-

ระดับที 2 เป็ นข้อมูลอืนทีสังเกตได้ไม่วา่ โดยทางตรงหรื อโดยทางอ้อมสําหรับสิ นทรัพย์น นั หรื อหนี สินนั นนอกเหนือจากราคาเสนอซื อขายซึ งรวมอยูใ่ นข้อมูลระดับ 1

-

ระดับที 3 เป็ นข้อมูลทีไม่สามารถสังเกตได้สาํ หรับสิ นทรัพย์น นั หรื อหนีสินนั น

รายงานทางการเงิน

-

4. สดและรายการเทียบเท่ ยบเท่ 4. เงินสดและรายการเที าเงิานเงิสดนสด

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หมายเหตุ เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์

หมายเหตุ 34 34

หัก เงินฝากธนาคารทีสามารถใช้เป็ นการเฉพาะ รวม

5

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 56 607 13,526 14,189 (2,963) 11,226

6 811 13,495 14,312 (4,447) 9,865

นบาท หน่หน่ววยย::ล้ล้าานบาท

งบการเงิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงินนเฉพาะกิ 2559 2558 2559 2558 2 8 400 410 410

2 81 1,070 1,153 1,153

34 --- 34

รายงานประจำ�ปี 2559

156


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจัดตามประเภทสกุลเงินตรา ณ วันที 31 ธันวาคม ได้ดงั นี

งบการเงิ รวม งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558

สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินยูโร รวม

10,638 477 111 11,226

9,709 153 3 9,865

หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ การ งบการเงินนเฉพาะกิจจการ 2559 2558 2559 2558 251 1,051 157 100 2 2 410 1,153

ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงิ นสดมีอตั ราดอกเบียทีแท้จริ งในอัตราระหว่าง ร้อยละ 0.04 ถึงร้อยละ 1.66 ต่อปี (2558: ร้อยละ 0.04 ถึงร้อยละ 1.50 ต่อปี )

5. ฝากธนาคารทีส ามารถใช้ ่สามารถใช้ เป็นการเฉพาะ 5. เงินฝากธนาคารที เป็ นการเฉพาะ รายงานทางการเงิน

ตามประกาศของธนาคารแห่ งประเทศไทยทีบงั คับใช้กบั ผูป้ ระกอบธุ รกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิ กส์ บริ ษทั ย่อย ต้ อ งฝากเงิ น สดที รั บ ล่ ว งหน้ าจากลู ก ค้ าไว้ใ นธนาคารเป็ นจํานวนไม่ น้ อ ยกว่ า มู ล ค่ าคงเหลื อ ของ เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าของบริ ษทั ย่อย และไม่สามารถนําไปใช้สําหรับวัตถุประสงค์อืนนอกจากชําระ ให้แก่ผใู ้ ห้บริ การเท่านัน ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 เงินฝากธนาคารทีสามารถใช้เป็ นการเฉพาะในงบการเงินรวม มีจาํ นวนเงิน 2,963 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2558: 4,447 ล้านบาท)

6. ลงทุนนอือืน่น 6. เงินลงทุ

เงินลงทุนอืน ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

เงินลงทุนระยะสัน เงินลงทุนเผือขาย

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558 -

เงินลงทุนระยะยาวอืน เงินฝากประจํากับสถาบันการเงินทีถูกจํากัดการใช้ เงินลงทุนระยะยาวอืน

11 48 59 59

รวม

- 35 -

157

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

านบาท หน่หน่ววยย: :ล้ล้านบาท งบการเงิ การ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ 2559 2558 2559 2558

305 305

-

11 47 58 363

-

48 48 48

-

47 47 47


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

เงินลงทุ ลงทุนนเผืเผือ่อขาย ขาย

ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 กลุ่มบริ ษทั มีเงินลงทุนซึ งได้ลงทุนผ่านกองทุนส่ วนบุคคลทีบริ หารโดยบริ ษทั จัดการกองทุนอิสระ มีอตั ราดอกเบียร้อยละ 0.37 ถึงร้อยละ 3.70 ต่อปี (31 ธันวาคม 2559 : ไม่มี) รายการเคลือนไหวของเงินลงทุนเผือ ขายในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท

งบการเงิ รวม งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558

305 3 (308) -

1,542 1,155 (2,392) 305

ฝากประจำากั�กับสถาบั บสถาบั นการเงิ �กัดการใช้ เงินฝากประจํ นการเงิ นทีถนูกทีจํ่ถาูกกัดจำการใช้ ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่ม บริ ษ ทั มี เงิ นฝากประจํากับสถาบันการเงิ นจํานวนเงิ น 11.20 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2558: 11.20 ล้านบาท) ซึ งวางไว้เป็ นหลักประกันในการทีธนาคารออกหนังสื อคําประกัน เกียวกับการปฏิบตั ิตามสัญญา

เงินลงทุ ลงทุนนระยะยาวอื ระยะยาวอืน่น เมือวันที 24 เมษายน 2558 ทีประชุ มสามัญประจําปี ผูถ้ ือหุ ้นของบริ ษทั ศูนย์ให้บริ การคงสิ ทธิ เลขหมาย โทรศัพท์ จํากัด ผูถ้ ื อหุ ้นมี มติ อนุ มตั ิการจัดสรรกําไรเป็ นเงิ นปั นผลในอัตราหุ ้นละ 10,000 บาท ให้แก่ ผูถ้ ื อหุ ้น ณ วันที 31 กรกฎาคม 2558 เป็ นจํานวนเงิ นทัง สิ น 40 ล้า นบาท และ 20 ล้า นบาท สํา หรับ กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ตามลําดับ

รายงานทางการเงิน

เงินลงทุนระยะสั น เงินลงทุนเผือขาย ณ วันที 1 มกราคม เพิมขึนระหว่างปี ลดลงระหว่างปี ณ วันที 31 ธันวาคม

เมือวันที 29 กันยายน 2559 บริ ษทั ได้ลงทุนในบริ ษทั ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จํากัด จํานวน 1,000 หุ ้น ซึ งมีมูลค่าที ตราไว้ 1,000 บาทต่อหุ ้น จํานวนรวมทังสิ น 1 ล้านบาท โดยถื อสัดส่ วนจํานวน ร้อยละ 1 วัตถุประสงค์การลงทุนเพือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยร่ วมกับรัฐบาล

- 36 -

รายงานประจำ�ปี 2559

158


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 7. ลูกกหนี 7. หนีก ้การค้ ารค้าและลู าและลูกหนี กหนีอ ืน้อื่น

ลูกหนีการค้าและลูกหนีอืน ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หมายเหตุ ลูกหนีก ารค้ า บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกัน ลูกหนีการค้า รายได้คา้ งรับ

หมายเหตุ 34

บุคคลหรื อกิจการอืนๆ ลูกหนีการค้า รายได้คา้ งรับ รวมลูกหนีก ารค้ า หัก ค่าเผือหนีสงสัยจะสูญ ลูกหนีก ารค้ า - สุ ทธิ ลูกหนีอ ืน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี - บัตรเงินสด/เติมเงินผ่าน โทรศัพท์เคลือนที ภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ทีจ่าย ภาษีมูลค่าเพิมรอขอคืน อืนๆ รวมลูกหนีอ ืน รวมลูกหนีก ารค้ าและลูกหนีอ ืน (กลับรายการ) หนีสูญและหนีสงสัยจะสูญ สําหรับปี สินสุดวันที 31 ธันวาคม

รายงานทางการเงิน

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558

56 12 68

5 6 11

53 3 56

711 910 1,621

6,773 5,903 12,676 12,744 (1,367) 11,377

5,973 6,074 12,047 12,058 (1,028) 11,030

211 1,580 1,791 1,847 (122) 1,725

842 1,639 2,481 4,102 (194) 3,908

2,153

1,593

19

52

276

223 87 2,739 14,116

705 1,159 1,694 207 5,358 16,388

125 144 1,869

1,008 514 1,574 5,482

1,538

1,315

(2)

-

- 37 -

159

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

หน่หน่ววยย: :ล้ล้านบาท านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

-

-


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 การวิเคราะห์อายุของลูกหนีการค้า มีดงั นี

บุคคลหรื อกิจการทีเ กีย วข้ องกัน ยังไม่ครบกําหนดชําระถึงเกินกําหนด ชําระไม่เกิน 3 เดือน เกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน เกินกว่า 12 เดือน

หัก ค่าเผือหนีสงสัยจะสูญ ลูกหนีก ารค้ า - สุ ทธิ

งบการเงินนรวม งบการเงิ รวม 2559 2558 2559 2558

68

11

56

1,621 1,621

10,125 475 300 1,776 12,676 (1,367) 11,309 11,377

9,610 393 131 1,913 12,047 (1,028) 11,019 11,030

2 13 54 1,722 1,791 (122) 1,669 1,725

461 56 88 1,876 2,481 (194) 2,287 3,908

-

67 1

-

11

-

56

รายงานทางการเงิน

บุคคลหรื อกิจการอืนๆ ยังไม่ครบกําหนดชําระถึงเกินกําหนด ชําระไม่เกิน 3 เดือน เกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน เกินกว่า 12 เดือน

หน่หน่วยวย: :ล้ล้านบาท านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชือแก่ลูกค้าของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีระยะเวลาตังแต่ 14 วันถึง 30 วัน

- 38 -

รายงานประจำ�ปี 2559

160


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ลูกหนีการค้าจัดตามประเภทสกุลเงินตรา ณ วันที 31 ธันวาคม ได้ดงั นี

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558

สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินยูโร รวม

10,745 630 2 11,377

10,970 59 1 11,030

หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงินเฉพาะกิ 2559 2558 2559 2558 1,712 3,899 13 8 1 1,725 3,908

รายงานทางการเงิน

ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มียอดหนี คงเหลื อของรายได้คา้ งรับของเงินส่ วนแบ่ง รายได้ จ ากการให้ บ ริ ก ารโทรศัพ ท์ ร ะหว่า งประเทศ จํา นวน 1,584 ล้ า นบาท และ 1,574 ล้ านบาท ตามลําดับ (31 ธันวาคม 2558: 1,584 ล้านบาท และ 1,574 ล้านบาท ตามลําดับ) ส่ วนหนึ งของยอดคงเหลื อ ดังกล่ าวแสดงเป็ นหนี คงค้ างนานเกิ น 12 เดื อน เป็ นจํานวนเงิ น 1,584 ล้ านบาท และ 1,574 ล้ านบาท ตามลําดับ (31 ธันวาคม 2558: 1,573 ล้านบาท และ 1,564 ล้านบาท ตามลําดับ) เมื อวันที 16 มกราคม 2556 บริ ษทั ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุ ญาโตตุลาการเรี ยกร้ องให้บริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ชําระหนีดงั กล่าวพร้อมดอกเบียรวมเป็ นจํานวนเงิน 1,527 ล้านบาท เมือวันที 26 พฤศจิกายน 2556 บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทต่อ ศาลปกครองกลางเรี ยกร้ องให้บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท”) ชําระหนี ดงั กล่าว พร้อมดอกเบียรวมเป็ นจํานวนเงิน 11 ล้านบาท

- 39 -

161

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 8. สิ นค้ค้าาคงเหลื 8. คงเหลืออ

สิ นค้าคงเหลือ ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

สิ นค้าสําเร็ จรู ป วัสดุและอะไหล่ อะไหล่เพือการซ่อมแซม เครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที หัก ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมูลค่า ของสิ นค้าคงเหลือ สินค้ าคงเหลือ - สุ ทธิ

งบการเงินรวม นรวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 3,529 4,831 46 602

หน่หน่ววยย::ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ 2559 2558 2559 2558 2 15

677 4,252

478 5,911

383 383

440 457

(1,167) 3,085

(852) 5,059

(382) 1

(418) 39 รายงานทางการเงิน

กลุ่ ม บริ ษ ัท และบริ ษ ัท รั บ รู ้ (กลับ รายการ) ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัย และการลดมู ล ค่าของสิ นค้าคงเหลื อ สําหรับ ปี สิ  นสุ ดวัน ที 31 ธันวาคม 2559 จํานวน 315 ล้านบาท และ (36) ล้านบาท ตามลําดับ (2558: 207 ล้านบาท และ (20) ล้านบาท ตามลําดับ)

9. ลงทุนนในบริ ในบริษษัทัทร่ร่ววมและการร่ มและการร่วมค้ วมค้ 9. เงินลงทุ าา

รายการเคลือนไหวในเงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

หน่หน่วยวย: :ล้ล้านบาท านบาท งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558 11 24 (11) 24 -

ณ วันที 1 มกราคม เงินลงทุนเพิมขึน รับรู ้กาํ ไร (ขาดทุน) ในบริ ษทั ร่ วม ณ วันที 31 ธันวาคม

- 40 -

รายงานประจำ�ปี 2559

162


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 15 กรกฎาคม 2558 ABN ได้ชาํ ระเงินค่าหุ ้นของ IH ทีเรี ยกชําระเพิมเติมร้อยละ 75 เป็ นจํานวน 10.88 ล้า นบาท โดยมี วตั ถุ ป ระสงค์เพื อ นําไปใช้ล งทุ น ในอนาคต บริ ษ ัท ยัง คงมี สั ด ส่ วนการถื อ หุ ้ น คงเหลือร้อยละ 29 รายการเคลื อนไหวในเงิ นลงทุนในการร่ วมค้าในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ประกอบด้วย (2558: ไม่มี) านบาท หน่ วหน่ย ว:ยล้: าล้นบาท งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม ณ วันที 1 มกราคม 15 เงินลงทุนเพิม ขึน รับรู ้กาํ ไร (ขาดทุน) ในการร่ วมค้า 15 ณ วันที 31 ธันวาคม รายงานทางการเงิน

การจัดตังการร่ วมค้ า เมือวันที 20 ตุลาคม 2558 ทีประชุ มคณะกรรมการบริ ษทั มีมติให้บริ ษทั แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ ค จํากัด (“ABN”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย เข้าร่ วมทุ นกับบริ ษทั อมตะ คอร์ ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) (“AMATA”) ในสัดส่ วนร้อยละ 60 หรื อ 599,998 หุ ้น คิดเป็ นเงินลงทุนรวมจํานวน 60 ล้านบาท เพือการพัฒนาโครงสร้าง พืนฐานโครงข่ายใยแก้วนําแสงภายในนิ คมอุ ตสาหกรรมอมตะนคร ภายใต้ชือว่าบริ ษทั อมตะ เน็ ทเวอร์ ค จํากัด (“AN”) โดย ABN ได้ดาํ เนินการจดทะเบียนเพิมทุนเมือวันที 30 พฤศจิกายน 2559 (ดูหมายเหตุขอ้ 10) เมือวันที 6 ธันวาคม 2559 ABN ได้ลงทุ นใน AN เป็ นจํานวน 599,998 หุ ้น ในราคาหุ ้นละ 25 บาท เป็ น จํานวนเงิ น 15 ล้านบาท โดยมี สั ดส่ วนการถื อหุ ้ น คิ ด เป็ นร้ อยละ 60 โดยในปี 2559 AN ยัง ไม่ไ ด้เริ ม ดําเนินธุ รกิจ

- 41 -

163

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


164

29

-

29

งบการเงินรวม

25

50

-

50

�ระแล้ ทุทุนนชําชำระแล้ ว ว 2559 2559 2558 2558

15

15

-

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

ปี 2559 บริษทั ร่ วม บริ ษทั อินฟอร์ เมชัน ไฮเวย์ จํากัด

การร่ วมค้ า บริ ษทั อมตะ เน็ทเวอร์ ค จํากัด

ปี 2558 บริษทั ร่ วม บริ ษทั อินฟอร์ เมชัน ไฮเวย์ จํากัด 29

60

29

132

25

197

500

-

584

- 42 -

632

25

781

สัดส่วนความ ของ สิสินนทรั ทรัพพย์ย์ สิสินนทรั ทรัพ พย์ย์ สิ นทรัพย์ รวม วัวันนทีที่  เป็เป็นนเจ้ เจ้าาของ หมุนนเวีเวียน ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์รวม รายงาน รายงาน (ร้(ร้อยละ) หมุ

สั ดส่ วนความ

247

1

555

หนี หนีส ้สินิน หมุนเวียยนน

15

-

370

142

หนี หนี้สส ินิน ไม่หมุนเวียน

สรุ ปข้อมูลฐานะทางการเงินของบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้าและผลการดําเนินงานสําหรับปี สิ นสุ ดวันเดียวกัน มีดงั นี

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย การร่ วมค้ า หมายเหตุ ประกอบงบการเงิน บริ ษทั อมตะ เน็ทเวอร์ ค จํากัด 60 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

บริษทั ร่ วม บริ ษทั อินฟอร์ เมชัน ไฮเวย์ จํากัด

2559 2559 2558 2558 (ร้(ร้ออยละ) ยละ)

นความเป็นเจ้นเจ้าของ าของ สัสัดดส่ส่ววนความเป็

งบการเงินรวม ราคาทุ ราคาทุนน 2559 2558 2559 2558

617

1

697

หนี้สินรวม

หนีส ิ นรวม

15

24

-

159

275

รายได้ รวมรวม รายได้

-

-

มูลมูค่ลค่าาตามวิ ่วนได้เสีเยสีย ตามวิธธีสีส่ วนได้ 2559 2558 2559 2558

เงินลงทุนในบริ ษทั ร่ วมและการร่ วมค้า ณ วันที 31 ธันวาคม และเงินปั นผลรับจากเงินลงทุนเหล่านันสําหรับแต่ละปี มีดงั นี

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

รายงานประจำ�ปี 2559

-

-

175

1

207

(16)

(1)

68

กำกํ�าไรไร (ขาดทุน) (ขาดทุ

หน่ววย :: ล้ล้าานบาท นบาท หน่ ใช้จจ่​่าายย ค่ค่าาใช้ รวม

-

-

เงิเงินนปัปันนผลรั ผลรับบ 2559 2558 2559 2558

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 10. เงินลงทุ 10. ลงทุนนในบริ ในบริษษัทัทย่ย่ออยย

รายการเคลือนไหวในเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อยในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

รายงานทางการเงิน

ณ วันที 1 มกราคม การเพิม ทุนในบริ ษทั ย่อย การลดทุนในบริ ษทั ย่อย ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย การเลิกกิจการของบริ ษทั ย่อย ณ วันที 31 ธันวาคม

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ การ งบการเงินเฉพาะกิจจการ 2559 2558 2559 2558 7,661 7,912 60 14 (75) (179) (11) 7,721 7,661

การเพิม ่มทุทุนนในบริ การเพิ ในบริษษัทัทย่ย่อยอย

เมือวันที 19 มกราคม 2558 บริ ษทั แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ ค จํากัด (“ABN”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้จดทะเบียนเพิมทุนจาก 1 ล้านบาท (หุ ้นสามัญ 10,000 หุ ้น มูลค่าหุ ้นละ 100 บาท) เป็ นจํานวน 15 ล้านบาท (หุ น้ สามัญ 150,000 หุ น้ มูลค่าหุ น้ ละ 100 บาท) กับกระทรวงพาณิ ชย์ การเพิมทุนในครังนีมีวตั ถุประสงค์ เพื อนําไปใช้ ลงทุ นในอนาคต บริ ษ ัทได้จ่ายเงิ นลงทุ นเพิ มในราคา 100 บาทต่ อหุ ้ น รวมเป็ นจํานวนเงิ น 14 ล้านบาท ซึ งทําให้บริ ษทั มีสัดส่ วนการถือหุ น้ เป็ นร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน

เมือวันที 30 พฤศจิกายน 2559 ABN ได้จดทะเบียนเพิมทุนจาก 15 ล้านบาท (หุ ้นสามัญ 150,000 หุ ้น มูลค่าหุ ้น ละ 100 บาท) เป็ นจํานวน 75 ล้านบาท (หุ ้นสามัญ 750,000 หุ ้น มูลค่าหุ ้นละ 100 บาท) กับกระทรวงพาณิ ชย์ การเพิมทุนในครังนี มีวตั ถุประสงค์เพือนําไปใช้ลงทุนในการร่ วมค้า บริ ษทั ได้จ่ายเงินลงทุนเพิมในราคา 100 บาทต่อหุ ้น รวมเป็ นจํานวนเงิ น 60 ล้านบาท ซึ งทําให้บริ ษทั มี สัดส่ วนการถื อหุ ้นเป็ นร้ อยละ 99.99 ของ ทุนจดทะเบียน

- 44 -

165

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

การลดทุนนในบริ การลดทุ ในบริษษัทัทย่ย่อยอย

าของเงิ นลงทุ นในบริ ษัทย่ษอัทย ย่อย ขาดทุนนจากการด้ จากการด้อยค่อยค่ าของเงิ นลงทุ นในบริ

เมือวันที 12 มกราคม 2558 บริ ษทั ได้รับเงินคืนทุนจากบริ ษทั แอดวานซ์ อินเทอร์ เน็ต เรโวลูชนั จํากัด (“AIR”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย เป็ นจํานวนเงิน 75 ล้านบาท

บริ ษทั บันทึ กขาดทุ นจากการด้อยค่าของเงิ นลงทุ นใน บริ ษทั แอดวานซ์ อิ นเทอร์ เน็ ต เรโวลู ชนั จํากัด (“AIR”) ซึ งเป็ นบริ ษ ทั ย่อย สํ าหรั บปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2558 เป็ นจํานวนเงิ น 179 ล้านบาท จากการ สอบทานมูลค่าตามบัญชีของ AIR เมือวันที 19 ตุลาคม 2558 AIR ได้เสร็ จสิ นการชําระบัญชี

รายงานทางการเงิน

- 45 -

รายงานประจำ�ปี 2559

166


167

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

รายงานทางการเงิน

บริษทั ย่ อย บริ ษทั แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็นเตอร์ จํากัด บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด บริ ษทั แอดวานซ์ เมจิคการ์ ด จํากัด บริ ษทั แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จํากัด บริ ษทั เอไอเอ็น โกลบอลคอม จํากัด บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด บริ ษทั ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ ค จํากัด บริ ษทั ไวร์ เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จํากัด บริ ษทั แฟกซ์ ไลท์ จํากัด บริ ษทั ไมโม่ เทค จํากัด บริ ษทั แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ ค จํากัด รวม

2558 2558

99.99 98.55 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.98 99.99 99.99

99.99 98.55 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.98 99.99 99.99

อยละ) (ร้(ร้อยละ)

2559 2559

สัดสัส่ดวส่นความเป็ เจ้าาของ วนความเป็นนเจ้ ของ

272 3,655 250 300 100 1,350 300 50 1 50 75

- 46 -

272 3,655 250 300 100 1,350 300 50 1 50 15

ทุทุนนชํชำา�ระแล้ ระแล้ว ว 2559 2558 2559 2558 811 12,493 250 336 100 1,485 300 50 1 50 75 15,951

811 12,493 250 336 100 1,485 300 50 1 50 15 15,891

(8,230) (8,230)

(8,230) (8,230)

งบการเงิ จการ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจการ ราคาทุ การด้ ยค่าา ราคาทุนน การด้ออยค่ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558

เงินลงทุนในบริ ษทั ย่อย ณ วันที 31 ธันวาคม และเงินปั นผลรับจากเงินลงทุนเหล่านันสําหรับแต่ละปี มีดงั นี

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

811 4,263 250 336 100 1,485 300 50 1 50 75 7,721

811 4,263 250 336 100 1,485 300 50 1 50 15 7,661

ราคาทุ ราคาทุนน-สุ - สุ ททธิธิ 2559 2558 2559 2558

591 166 23,492 835 1,465 1,187 28,009

-

273

184 88 538 726 31,793 1,176 810 933 477 36,725

รายได้เเงิงินนปัปันนผลสำ รายได้ ผลสํ�าหรัหรับบปี ปี 2559 2558 2559 2558

หน่ วย : ล้านบาท หน่ วย : ล้ านบาท


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ สํหมายเหตุ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม น 2559

สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 11. ทีด ิน อาคารและอุปกรณ์ รายการเคลือนไหวของทีดิน อาคารและอุปกรณ์ทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 11. ที่ด ิน อาคารและอุ 11. อาคารและอุปกรณ์ ปกรณ์ รายการเคลื นไหวของที ณ วันที 31 ธัน อวาคม 2559 ดิน อาคารและอุปกรณ์ทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย ณณ วัวันนทีที ่ 3131ธัธันนวาคม วาคม2559 2559 ยอด ณ วันที

อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ค่ าเสืส่ อวมราคาสะสม นปรับปรุ งอาคารเช่า อาคารและส่ นปรั บปรุ งอาคาร คอมพิวเตอร์วเครื  องมื อและอุ ปกรณ์ ส่วนปรั บปรุงงติอาคารเช่ า ปกรณ์ เครื  องตกแต่ ดตังและอุ คอมพิ สํานัวเตอร์ กงานเครื องมือและอุปกรณ์ เครื  อ งตกแต่ ตังและอุ อุปกรณ์การสืงติ อดสารเพื อให้ปเกรณ์ ช่า สํ า นั ก งาน ยานพาหนะ อุปกรณ์ รวมการสื อสารเพือให้เช่า ยานพาหนะ สิ นทรั พย์ทีอยูร่ ะหว่างการก่อสร้ าง และติรวม ดตัง สิหันก ทรัค่าพเผืย์อทการด้ ีอยูร่ ะหว่ อยค่าางการก่อสร้ าง และติ ค่าเผืดอตัอุงปกรณ์ทียกเลิกการใช้งาน าเผือการด้อปยค่กรณ์ า ทีหัดกนิ ค่อาคารและอุ ค่าเผืออุปกรณ์ทียกเลิกการใช้งาน ทีดนิ อาคารและอุปกรณ์

1 มกราคม 2559 524

เพิม ขึน เพิม ่มขึขึน้น เพิ

477 524 1,383 477 99,805 1,383 99,805 1,629

8 1,629 237 104,0638 237 104,063

- 287 - 45,683 287 45,683 98

(34) - (92) (34) (1,379) (92) (1,379) (526)

989 -46,077 9 46,077

(526) (34) -(2,065) (34) (2,065)

(12) (193) (12) (15,148) (193) (15,148) (77)

34 82 34 1,358 82 1,358 523

-

(420) (754) (420) (30,506) (754) (30,506) (1,397)

(4) (1,397) (114) (4) (33,195) (114) (33,195) 13,778

-

-

โอน/อืน่นๆๆ โอน/อื - 17 -7,361 17 7,3614 - 4 -7,382 7,382

--

1 1

-

-

523 24 -2,021 24 2,021 (6)

- (1) - (1) --(7,474)

-

- (6) - (50) (50)

(7,474) - (92) (92)

(77) (35) (15,465) (35) (15,465) 3,646

(355) 13,778 (355) 84,291 84,291

งบการเงินรวม ลดลง ลดลง

โอน/อืนๆ

3,646 (136) -34,122 (136) 34,122

หน่ยอด วย :ณล้วัานบาท นที ยอด ณ วั นที่ วาคม 3131ธัธันนวาคม ยอด2559 ณ วันที 2559 31 ธันวาคม 2559524 443 524 1,595 443 151,470 1,595 151,470 1,205 8 1,205 212 155,4578 212 155,457

รายงานทางการเงิน

ราคาทุน ทีดิน ราคาทุ น อาคารและส่ วนปรับปรุ งอาคาร ทีส่วดนปรั ิน บปรุ งอาคารเช่า อาคารและส่ นปรั บปรุ งอาคาร คอมพิวเตอร์วเครื  องมื อและอุ ปกรณ์ ส่วนปรั บปรุงงติอาคารเช่ า ปกรณ์ เครื  องตกแต่ ดตังและอุ คอมพิ สํานัวเตอร์ กงานเครื องมือและอุปกรณ์ เครื  องตกแต่ ตังและอุ อุปกรณ์ การสืงติ อดสารเพื อให้ปเกรณ์ ช่า สํ า นั ก งาน ยานพาหนะ อุปกรณ์ รวมการสื อสารเพือให้เช่า ยานพาหนะ รวม ค่ าเสื อมราคาสะสม

ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม ยอด2559 ณ วันที 2559

งบการเงินรวม

งบการเงิ ลดลงนรวม

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท

(398) (864) (398) (44,296) (864) (44,296) (952)

(4) (952) (125) (4) (46,639) (125) (46,639) 9,944

(355) 9,944 (136) (355) 118,271 (136) 118,271

- 47 - 47 -

รายงานประจำ�ปี 2559

168


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ราคาทุน ทีดิน อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน อุปกรณ์การสื อสารเพือให้เช่า ยานพาหนะ รวม

ยอด ณ วันที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 2558 2558

รายงานทางการเงิน

ค่ าเสื อมราคาสะสม อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน อุปกรณ์การสื อสารเพือให้เช่า ยานพาหนะ รวม สิ นทรัพย์ทีอยูร่ ะหว่างการก่อสร้ าง และติดตัง หัก ค่าเผือการด้อยค่า ทีดนิ อาคารและอุปกรณ์

เพิม ขึน

งบการเงิ ลดลงนรวม

โอน/อืนๆ

เพิ่มขึ้น

ลดลง

โอน/อื่นๆ

-

-

-

524 493 1,127 83,380 1,615 8 239 87,386

-

(417) (668) (36,090) (1,437) (4) (131) (38,747)

-

117 63 25,030

(61)

(38) (10,153) 9,050

12,427 (363) 60,703

23,927

2558

- 48 -

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

342 24,508

(7) (85) (15,535)

-

(89)

(65) (15,781)

(19) (148) (9,887)

ค่ าเสื อมราคาสํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

169

งบการเงินรวม

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท

7 62 15,486

-

89 55 15,699 (98) 8 (172)

-

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131ธัธันนวาคม 2558 2558

(9) (1) 7,452 (14)

7,428

-

-

9 (15) 12

6 (7,601) (167)

524 477 1,383 99,805 1,629 8 237 104,063

(420) (754) (30,506) (1,397) (4) (114) (33,195) 13,778 (355) 84,291

ล้ านบาท

15,465

ล้ านบาท

10,153


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

ราคาทุน อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน ยานพาหนะ รวม

เพิม ขึน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงินลดลง เฉพาะกิจการโอน/อืนๆ

เพิ่มขึ้น

357 458 5,886

-

ลดลง

โอน/อื่นๆ

7 2

(35) (118) (1,273)

1,178 105 7,984

5 2 16

(531) (24) (1,981)

-

(345) (380) (5,623)

(8) (20) (63)

35 91 1,262

-

(318) (309) (4,424)

(1,123) (50) (7,521)

(20) (16) (127)

529 18 1,935

-

(614) (48) (5,713)

(111)

(6) (52)

-

-

37 500

-

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131ธัธันนวาคม 2559 2559

-

16

16

(16)

322 363 4,615 652 83 6,035

รายงานทางการเงิน

ค่ าเสื อมราคาสะสม อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน ยานพาหนะ รวม สิ นทรัพย์ทีอยูร่ ะหว่างการก่อสร้ าง และติดตัง ทีดนิ อาคารและอุปกรณ์

ยอด ณ วันที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 2559 2559

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท

15 337

- 49 -

รายงานประจำ�ปี 2559

170


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ราคาทุน อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน ยานพาหนะ รวม

ยอด ณ วันที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 2558 2558

รายงานทางการเงิน

ค่ าเสื อมราคาสะสม อาคารและส่วนปรับปรุ งอาคาร ส่วนปรับปรุ งอาคารเช่า คอมพิวเตอร์ เครื องมือและอุปกรณ์ เครื องตกแต่งติดตังและอุปกรณ์ สํานักงาน ยานพาหนะ รวม สิ นทรัพย์ทีอยูร่ ะหว่างการก่อสร้ าง และติดตัง ทีดนิ อาคารและอุปกรณ์

เพิม ขึน

-

57 16

1,201 152 24,196

24 30 127

(47) (77) (16,376)

(346) (421) (21,194)

(14) (38) (196)

6 79 15,771

(1,140) (87) (23,188)

(21) (20) (289)

38 57 15,951

(162)

(13) (438)

-

95 1,103

2558

- 50 -

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ลดลง (6) (172) (16,074)

ค่ าเสื อมราคาสํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

171

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงินลดลง เฉพาะกิจการโอน/อืนๆ

เพิ่มขึ้น

372 573 21,898

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท

โอน/อื่นๆ -

(9)

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131ธัธันนวาคม 2558 2558

46

357 458 5,886

37

1,178 105 7,984

-

(4)

(345) (380) (5,623)

5

(1,123) (50) (7,521)

(45) (3)

37 500

ล้ านบาท

127

ล้ านบาท

289

-

9

-


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริ ษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ น 2559 สํ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 12. สิ นทรัพย์ ภายใต้ สัญญาอนุญาตให้ ดําเนินการ

12. ญาอนุ ญพาตให้ ดนการ �ำ เนิสนัญการ 12. สิรายการเคลื นทรัพพย์ย์ภภายใต้ สัญสัญ ญาอนุ ญนาตให้ ดย์ําภเนิายใต้ ายใต้ อ นไหวของสิ ทรั ญาอนุ ญ าตให้ดาํ เนิ น การที เกิ ด ขึ น ในระหว่า งปี สิ น สุ ด

 อ นไหวของสิ วัรายการเคลื นที 31 ธันวาคม ประกอบด้นวทรั ย พ ย์ภายใต้สัญ ญาอนุ ญ าตให้ดาํ เนิ น การที เกิ ด ขึ น ในระหว่า งปี สิ น สุ ด วันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 เพิม ขึน เพิม ขึน

เพิ่มขึ้น

ลดลง

โอน/อื่นๆ

ส่ งมอบให้ โอที ส่ งทีมอบให้ ส่งมอบให้ อที ทีทีโโอที

1,248 1,248 1,248

-

-

-

-

1,248 1,248 1,248

(1,038) (1,038) (210) (1,038) - (210) -

-

-

-

-

(1,038) (1,038) (210) (1,038) - (210) -

ยอด ณ วันที

ยอด ณณ วัวันนทีที่ 1 มกราคม ยอด 1 มกราคม 2559 1 2559 มกราคม 2559

ยอด ณ วันที

ยอด 31 ณ ธันณวัวาคม ยอด วันนทีที่  31 ธันวาคม 312559 ธั2559 นวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

ราคาทุน ต้นนทุนของเครื องมือและอุปกรณ์ ราคาทุ าเนิ อนงมืการดาต้ ท ต้นทุในการดํ นของเครื อและอุาปเน็กรณ์ รวม าเนิ นการดาต้าเน็ท ในการดํ รวม ค่ าเสื อมราคาและค่ าตัดจําหน่ ายสะสม ทุนของเครื อางมื กรณ์ ค่ าเสืต้ อนมราคาและค่ ตัดอจํและอุ าหน่ าปยสะสม าเนิ อนงมืการดาต้ ท ต้นทุในการดํ นของเครื อและอุาปเน็กรณ์ ในการดํ รวม าเนิ นการดาต้าเน็ท หัก ค่าเผืรวม อการด้อยค่า ค่าพเผืย์อภการด้ สิหันกทรั ายใต้อสยค่ ั ญาญาอนุญาตให้ ดาํ เนินการ สิ นทรัพย์ ภายใต้ สัญญาอนุญาตให้ ดาํ เนินการ

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่ นบาท หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท

งบการเงินรวม งบการเงิ ลดลงงบการเงินโอน/อื นรวม รวมนๆ ลดลง โอน/อืนๆ

- 51 - 51 -

รายงานประจำ�ปี 2559

172


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ยอด ณ วันที

ราคาทุน ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที ต้นทุนของเครื องมือและอุปกรณ์ ในการดําเนิ นการดาต้าเน็ท รวม

รายงานทางการเงิน

ค่ าเสื อมราคาและค่ าตัดจําหน่ ายสะสม ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที ต้นทุนของเครื องมือและอุปกรณ์ ในการดําเนิ นการดาต้าเน็ท รวม เงินจ่ายล่วงหน้าและงานระหว่างก่อสร้ างของ ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที หัก ค่าเผือการด้อยค่า สิ นทรัพย์ ภายใต้ สัญญาอนุญาตให้ ดาํ เนินการ

ยอด ณ วันที่ มกราคม 11มกราคม 2558 2558

เพิม ขึน

งบการเงินรวม งบการเงิ รวมนๆ ลดลง นโอน/อื

เพิ่มขึ้น

ลดลง

145,423

676

(21,721)

676

(21,721)

(137,320)

(8,606)

21,558

(1,038) (138,358)

(8,606)

21,558

635 (210) 8,738

(612) (8,542)

(163)

-

1,248 146,671

ค่ าเสื อมราคาและค่ าตัดจําหน่ ายสํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2558 (2559 : ไม่มี)

โอน/อื่นๆ

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท ส่ งมอบให้ ทีโอที

ส่งมอบให้ ทีโอที

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131 ธัธันนวาคม 2558 2558

(31)

(124,347)

(31)

(124,347)

21

124,347

-

21

124,347

(1,038) (1,038)

-

-

(23) (33)

ล้ านบาท

1,248 1,248

(210) 8,606

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริ ษทั ก่อนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมของสิ นทรัพย์ภายใต้สัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการ ซึ งได้ตดั จําหน่ายเต็มจํานวนแล้ว แต่ยงั คงใช้งานจนถึง ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 เป็ นจํานวน 1,248 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2559 : ไม่มี)

- 52 -

173

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ยอด ณ วันที

ราคาทุน ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที รวม ค่ าเสื อมราคาและค่ าตัดจําหน่ ายสะสม ต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที รวม เงินจ่ายล่วงหน้าและงานระหว่างก่อสร้ าง ของต้นทุนของเครื อข่ายโทรศัพท์เคลือนที สิ นทรัพย์ ภายใต้ สัญญาอนุญาตให้ ดาํ เนินการ

ยอด ณ วันที่ 1 มกราคม 1 มกราคม 2558 2558

เพิม ขึน

เพิ่มขึ้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงิ ลดลงนเฉพาะกิ โอน/อืจนการ ๆ ลดลง

โอน/อื่นๆ

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท ส่ งมอบให้ ทีโอที

ส่งมอบให้ ทีโอที

ยอด ณ วันที

ยอด วันที่ 31 ธัณ นวาคม 31 ธันวาคม 2558 2558

145,423 145,423

676 676

(21,721) (21,721)

(31) (31)

(124,347) (124,347)

-

(137,320) (137,320)

(8,606) (8,606)

21,558 21,558

21 21

124,347 124,347

-

635 8,738

(612) (8,542)

(163)

(23) (33)

ล้ านบาท

8,606

รายงานทางการเงิน

ค่ าเสื อมราคาและค่ าตัดจําหน่ ายสํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2558 (2559 : ไม่มี)

-

ส่ วนหนึ งของสิ นทรัพ ย์ภายใต้สั ญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการเป็ นเสาติ ดตังสายอากาศ (Tower) จํานวน 13,198 ต้นทีบริ ษทั โอนให้แก่ บริ ษทั ที โอที จํากัด (มหาชน) และเป็ นเสาติ ดตังสายอากาศจํานวน 152 ต้น และตูใ้ ส่ อุปกรณ์ (Container) จํานวน 115 ตู ้ ทีบริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อยได้โอนให้แก่ บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ซึ งกลุ่มบริ ษทั ได้ทบทวนสัญญาให้ดาํ เนิ นการ และพิจารณา ถึงลักษณะและหน้าทีการใช้งานของเสาติดตังสายอากาศ และตูใ้ ส่ อุปกรณ์ แล้ว เห็นว่ามิใช่เครื องมือและ อุปกรณ์ ตามทีกาํ หนดไว้ในสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการ จึงไม่มีหน้าทีตอ้ งส่ งมอบเสาติดตังสายอากาศ และตู ใ้ ส่ อุปกรณ์ดงั กล่าว และกลุ่มบริ ษทั ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สํานักงาน ศาลยุติธรรม เพือให้คณะอนุ ญาโตตุ ลาการมีคาํ ชี ขาดว่าสิ นทรัพย์ดงั กล่าวไม่ใช่ เครื องมื อและอุปกรณ์ ตามทีกาํ หนดในสัญญาอนุญาตให้ดาํ เนินการในเดือนกรกฎาคม 2557

- 53 -

รายงานประจำ�ปี 2559

174


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 13. ค่ าความนิยม สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 รายการเคลือนไหวของค่าความนิยมทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงินรวม รายการเคลือนไหวของค่าความนิยมทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม2559 ประกอบด้วย 2558 หน่หน่ วยว:ยล้: าล้นบาท านบาท ราคาทุน งบการเงิ น รวม งบการเงิ น รวม ณ วันที 1 มกราคม 14,352 14,352 2559 2558 2559 2558 14,352 14,352 ณ วันที 31 ธันวาคม ราคาทุน ค่ณาตัวันดทีจํา 1หน่มกราคม ายสะสม 14,352 14,352 ณ (7,662) (7,662) 14,352 14,352 ณ วัวันนทีที  131มกราคม ธันวาคม (7,662) (7,662) ณ วันที 31 ธันวาคม ค่ค่ าาตัเผืดอจํการด้ าหน่อายสะสม (6,655) (6,655) ยค่ า ณ วั น ที  1 มกราคม (7,662) (7,662) 35 35 รวม (7,662) (7,662) ณ วันที 31 ธันวาคม (6,655) (6,655) ค่ าเผือการด้ อยค่ า ใบอนุ ญาตให้ ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคม 35 35 รวม

13. ความนิยมยม 13. ค่าาความนิ

รายงานทางการเงิน

14.

รายการเคลื อนไหวของใบอนุ ญาตให้ใช้คลื นความถี โทรคมนาคมทีเกิดขึ นในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 14. ใบอนุญญาตให้ าตให้ใช้ใคช้ลืคนลืความถี ่นความถี ่โทรคมนาคม 14. ใบอนุ โทรคมนาคม รายการเคลื นไหวของใบอนุ ญาตให้ใช้คลื นความถี โทรคมนาคมทีเกิดขึ นในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที ณ วันที 31 ธัน อวาคม 2559 หน่ วย : ล้ านบาท 31 ธันวาคม ประกอบด้วย ณณ วัวันนทีที่  31 31 ธัธันนวาคม วาคม2559 2559

ราคาทุน ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม รวม ราคาทุน ค่ าตัใบอนุ ดจําหน่ญาาตให้ ยสะสม ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม ใบอนุ ญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม รวม รวม ค่ใบอนุ าตัดจํญาาตให้ หน่ ายสะสม ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคม ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม รวม ใบอนุญาตให้ ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคม

ยอด ณ วันที 1 มกราคม ยอด ณ วันที่ 25592559 1 มกราคม ยอด ณ วันที 1 มกราคม 55,010 255955,010

- 54 -

- 54 -

175

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

55,010 (3,219) 55,010 (3,219) 51,791 (3,219) (3,219) 51,791

งบการเงินรวม เพิม ขึน

งบการเงินรวม งบการเงินรวม เพิ่มขึ้น เพิม ขึน 69,132 69,132 69,132 (5,545) 69,132 (5,545) 63,587 (5,545) (5,545) 63,587

หน่วณย วั: นล้าทีนบาท ยอด  หน่ ล้ านบาท 31วธัยน:วาคม ยอด ณ วันที่ 2559 2559 31 ธันวาคม ยอด ณ วันที 31 ธัน124,142 วาคม 2559 124,142 124,142 (8,764) 124,142 (8,764) 115,378 (8,764) (8,764) 115,378


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ราคาทุน ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม รวม

ยอด ณ วันที 1 มกราคม ยอด ณ วันที่ 25582558 1 มกราคม

ค่ าตัดจําหน่ ายสะสม ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคม รวม ใบอนุญาตให้ ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคม

งบการเงินรวม เพิ่มขึ้น

หน่วยณ: วัล้นานบาท ยอด ที 31 ธันวาคม ยอด ณ วันที่ 25582558 31 ธันวาคม

14,644 14,644

40,366 40,366

55,010 55,010

(2,019) (2,019) 12,625

(1,200) (1,200) 39,166

(3,219) (3,219) 51,791

ล้ านบาท ล้ านบาท

5,545 1,200

รายงานทางการเงิน

ค่ าตัดจําหน่ ายสําหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 2558

งบการเงินรวม เพิม ขึน

หน่ วย : ล้ านบาท

เมื อวัน ที 16 ตุ ล าคม 2555 บริ ษ ทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ ท เวอร์ ค จํากัด (“AWN”) ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ย่อย เป็ นผูช้ นะการประมูลใบอนุ ญาตให้ใช้คลืนความถี 2.1 GHz (3G) ด้วยราคาประมูลรวมทังสิ น 14,625 ล้านบาท เมือวันที 7 ธันวาคม 2555 AWN ได้รับใบอนุ ญาตให้ใช้คลืนความถี 2.1 GHz (3G) (“ใบอนุ ญาตฯ”) อย่างเป็ น ทางการจากคณะกรรมการกิ จการกระจายเสี ย ง กิ จการโทรทัศ น์ และกิ จการโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“กสทช.”) สํา หรั บ การดําเนิ น การเป็ นระยะเวลา 15 ปี ตามเงื อนไขและข้อกําหนดที ระบุ ไ ว้ในการ ประมู ล AWN ได้ช ําระเงิ นจํานวนร้ อยละ 50 ของราคาประมู ล และภาษี มูล ค่าเพิม รวมเป็ นเงิ นทังสิ น 7,824 ล้านบาท พร้อมวางหนังสื อคําประกันจากธนาคารเพือคําประกันการชําระเงินในส่ วนทีเหลือให้กบั กสทช. แล้วเมือวันที 19 ตุลาคม 2555 และชําระอีกร้อยละ 25 ในปี ทีสองเมือวันที 22 ธันวาคม 2557 และ ชําระส่ วนทีเหลือในปี ทีสามเมือวันที 22 ธันวาคม 2558

- 55 -

รายงานประจำ�ปี 2559

176


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 17 พฤศจิกายน 2558 AWN เป็ นผูช้ นะการประมูลใบอนุ ญาตให้ใช้ค ลืนความถี 1800 MHz ด้วยราคาประมูล รวมทัง สิ  น 40,986 ล้านบาท AWN ได้รับ ใบอนุ ญ าตให้ใช้ค ลืน ความถี 1800 MHz (“ใบอนุ ญาตฯ”) อย่างเป็ นทางการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) ตามเงือนไขและข้อกําหนดทีระบุไว้ในการประมูล AWN ได้ชาํ ระเงิน จํานวนร้ อยละ 50 ของราคาประมูล และภาษีมูล ค่าเพิม รวมเป็ นเงิ นทังสิ น 21,928 ล้านบาท เมือวันที 23 พฤศจิกายน 2558 พร้อมวางหนังสื อคําประกันจากธนาคารเพือคําประกันการชําระเงินในส่ วนทีเหลือ ให้กบั กสทช. และจะชําระอีกร้อยละ 25 ในปี ทีสอง และส่ วนทีเหลือในปี ทีสาม

รายงานทางการเงิน

เมือ วัน ที 27 พฤษภาคม 2559 AWN เป็ นผูช้ นะการประมูล ใบอนุ ญ าตให้ใ ช้ค ลื น ความถี 900 MHz ด้ว ยราคาประมูล รวมทัง สิ  น 75,654 ล้า นบาท AWN ได้รับ ใบอนุ ญ าตให้ใ ช้ค ลื น ความถี 900 MHz (“ใบอนุ ญาตฯ”) อย่างเป็ นทางการจากคณะกรรมการกิ จการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) ตามเงือนไขและข้อกําหนดทีระบุไว้ในการประมูล เมือวันที 28 มิถุนายน 2559 AWN ได้ชาํ ระเงินจํานวนร้อยละ 11 ของราคาประมูลและภาษีมูลค่าเพิมรวมเป็ นเงินทังสิ น 8,603 ล้านบาท พร้อมวางหนังสื อคําประกันจากธนาคารเพือคําประกันการชําระเงินในส่ วนทีเหลือให้กบั กสทช. โดยจะชําระ ในปี ทีสองและปี ทีสาม อีกร้อยละ 5 ในแต่ละปี และส่ วนทีเหลือชําระในปี ทีสี ต้นทุ นใบอนุ ญ าตให้ใช้ค ลื นความถี รับ รู ้ เมื อเริ ม แรกด้วยราคาเที ย บเท่าเงิ นสดตามมู ลค่าปั จจุ บ นั ของ ต้นทุนทีได้มาของใบอนุญาตฯ ดังกล่าว

- 56 -

177

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ สํหมายเหตุ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม น 2559

สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 15. สิ นทรัพย์ ไม่ มีตัวตนอืน 15. สินทรัพพย์ย์ไอไม่ม่นไหวของสิ ตนอืน ่นนทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืนทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 15. รายการเคลื มมีตีตัวัวตนอื อนไหวของสิ นทรัพย์ไม่มีตวั ตนอืนทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย ณรายการเคลื วันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

ณณ วัวันนทีที ่ 3131ธัธันนวาคม วาคม2559 2559

สิณนวัทรั พย์31ไม่ธัมนีตวาคม ัวตนอื2558 น ณ วันนทีที 31 ธันวาคม 2558

เพิ เพิมม ขึขึนน เพิม ขึน

เพิ่มขึ้น

โอน/อืนๆ

โอน/อื่นๆ

5,804

1,310 1,310 1,310 1,310 1,310 1,310

(25) (25) (25) (25) (25) (25)

117 117 117 117 117 117

(2,694) (2,694) (2,694) (2,694) (2,694) 82 82 (2,694) 3,192 3,192 82 3,192

(658) (658) (658) (658) (658) 163 163 (658) 815 815 163 815

25 25 25 25 25 -- 25 --

--(25) - (25) 92 92 (25) 92

ณ วันทีที ่ 3131ธัธันนวาคม วาคม2558 2558 ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม 1 มกราคม มกราคม ยอด ณ วันที 2558 2558 2558 1 มกราคม 2558 4,618 4,618 4,618 4,618 4,618

ราคาทุ ราคาทุนน ค่ค่าาลิลินขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ ราคาทุ รวม ค่าลิขรวม สิ ทธิ ซอฟต์แวร์ รวม ค่ค่ าาตัตัดดจํจําาหน่ หน่ าายสะสม ยสะสม ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ ค่ าตัดจําหน่ ายสะสม รวม ค่าลิขรวม สิ ทธิ ซอฟต์แวร์ สิสิ นนทรั รระหว่ ทรัพพย์ย์รวม ะหว่าางติ งติดดตัตั งง ทรัพพย์ย์ไไม่ม่ มมีตีตัวัวตนอื ตนอืน สิสิสินนนทรั ทรัพย์ระหว่างติดตัน ง สิ นทรัพหน่ ย์ ไม่ามยสํีตาัวหรั ตนอืน 31 ธัธันนวาคม วาคม ค่ค่ าาตัตัดดจํจําาหน่ ายสํ าหรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 2559 ค่ าตั2559 ดจําหน่ ายสํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2558 2558 2559

ลดลง

โอน/อื โอน/อืนนๆๆ

เพิ เพิมม ขึขึนน เพิม ขึน

เพิ่มขึ้น

7,206 (3,327) (3,327) (3,327) (3,327) (3,327) 220 220 (3,327) 4,099 4,099 220 4,099 หน่ วย : ล้ านบาท

โอน/อื โอน/อืนนๆๆ

ลดลง

โอน/อื่นๆ

ลดลง

2559 7,206 7,206 7,206 7,206 7,206

หน่ววยย: : ล้ล้าานบาท นบาท หน่

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม ลดลงนรวม งบการเงิ

งบการเงิ ลดลงนรวม

หน่ วย : ล้ านบาท ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด ณ วันที่ 31 31 ธัธันนณวาคม วาคม วันที 31ยอดธั2559 นวาคม 312559 ธั2559 นวาคม

โอน/อืนๆ

หน่ วย : ล้ านบาท ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด ณ วันที่ 31 วาคม 31 ธัธัธันนนณวาคม วาคม 31ยอด วันที 2558 2558 31 ธั2558 นวาคม 2558 5,804 5,804 5,804 5,804 5,804

4,618

1,143 1,143 1,143 1,143 1,143 1,143

(2) (2) (2) (2) (2) (2)

45 45 45 45 45 45

(2,152) (2,152) (2,152) (2,152) (2,152) 38 38 (2,152) 2,504 2,504 38 2,504

(536) (536) (536) (536) (536) 67 67 (536) 674 674 67 674

---(2) - (2) (2)

(6) (6) (6) (6) (6) (23) (23) (6) 16 16 (23) 16

(2,694) (2,694) (2,694) (2,694) (2,694) 82 82 (2,694) 3,192 3,192 82 3,192

ล้ล้ าานบาท นบาท นบาท ล้ล้ล้าาานบาท นบาท

658 658 536 536 658

ล้ านบาท

536

2558

รายงานทางการเงิน

ราคาทุ ราคาทุนน ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ แวร์ ราคาทุ น ซอฟต์แวร์ รวม ค่าลิขรวม สิ ทธิ ซอฟต์แวร์ รวม ค่ค่ าาตัตัดดจํจําาหน่ หน่ าายสะสม ยสะสม ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ ค่ าตัดจําหน่ ายสะสม รวม รวม ค่าลิขสิ ทธิ ซอฟต์แวร์ สิสิ นนทรั รระหว่ ทรัพพย์ย์รวม ะหว่าางติ งติดดตัตั งง สิสินนทรั พย์ ไม่ มมีตีตัวัวตนอื น ตนอื สิ นทรั ทรัพพย์ย์ไรม่ะหว่ างติ ดตัน ง

ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม ยอด ณ วันที 1 มกราคม 2559 2559 2559 1 มกราคม 2559 5,804 5,804 5,804 5,804 5,804

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ น รวม ลดลง ลดลงนรวม งบการเงิ ลดลง

หน่ หน่ ววยย :: ล้ล้ าานบาท นบาท

หน่วย : ล้านบาท

5,804

-- 57 57 -- 57 -

รายงานประจำ�ปี 2559

178


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2559 2559

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559

ราคาทุ ราคาทุนน ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ รวม รวม

ยอด ณ ณ วันที ยอด ยอด ณวันวันทีที ่ มกราคม มกราคม 111 มกราคม 2559 2559 2559

เพิมม ขึขึนน เพิ

หน่ าายสะสม ยสะสม ค่ค่าาตัตัดดจํจําาหน่ ซอฟต์แแวร์ วร์ ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ รวม รวม สิสินนทรั พ ย์ ทรัพย์ไไม่ม่ มมีตีตัวัวตนอื ตนอืนน

งบการเงิ งบการเงินนนเฉพาะกิ เฉพาะกิ การ งบการเงิ เฉพาะกิจจการ จการ

เพิ่มขึ้น

480 480 480 480

ลดลง ลดลง

โอน/อืนนๆๆ โอน/อื

ลดลง

โอน/อื่นๆ

---

(408) (408) (408) (408) 72 72

หน่ หน่วววยยย::: ล้ล้ล้าาานบาท นบาท หน่ นบาท

(25) (25) (25) (25) (25) (25)

--

ยอด ณ วันที

ยอด ณ ณ วัวันนทีที ่ ยอด 31 ธัธันนวาคม วาคม 3131 2559 2559 2559

(25) (25) (25) (25)

---

455 455 455 455

25 25 25 25

----

(408) (408) (408) (408) 47 47

ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2558 2558

รายงานทางการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ราคาทุนน ราคาทุ ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ รวม รวม

ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 1 มกราคม 2558 2558

ค่ค่าาตัตัดดจํจําาหน่ หน่ าายสะสม ยสะสม ค่ค่าาลิลิขขสิสิ ททธิธิ ซอฟต์ ซอฟต์แแวร์ วร์ รวม รวม ทรัพพย์ย์ไไม่ม่ มมีตีตัวัวตนอื ตนอืนน สิสินนทรั

2558

งบการเงิ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ น เฉพาะกิ จการโอน/อื เพิ ม  ขึ น  ลดลง เพิม ขึน ลดลง โอน/อืนนๆๆ

เพิ่มขึ้น

474 474 474 474

(362) (362) (362) (362) 112 112

(41) (41) (41) (41) (41) (41)

---

58 --- 58

ยอด ยอด ณ ณ วัวันนทีที ยอด วันที่ 31 นนวาคม 31 ธัธัณ วาคม 31 ธั2558 นวาคม 2558

โอน/อื่นๆ

2558

(2) (2) (2) (2)

88 88

480 480 480 480

(2) (2)

(5) (5) (5) (5) 33

(408) (408) (408) (408) 72 72

นบาท ล้ล้ าานบาท ล้ล้ าานบาท นบาท

2558 2558

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ลดลง

---

หน่ าายสํ ยสํ าาหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม ค่ค่ าาตัตัดดจํจําาหน่ 2559 2559

179

หน่ หน่ ววยย :: ล้ล้ าานบาท นบาท

หน่วย : ล้านบาท

25 25 41 41


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริ ษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย สํหมายเหตุ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม น 2559 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 16. สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี เงินดได้บัดรญอการตั 16. าษีเงิเนงิ สนได้ิ นได้รภาษี รอการตั บัชีญชี ดบัญชี ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี 16. สินทรัพพย์ย์แภภละหนี าษี อการตั สิ นทรัพย์และหนีสินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินพภาษี เงินเงิได้ รอการตั ดบัดญบัชีญชี สิหนีน ทรั ย์ภาษี นได้ รอการตั ภาษี ได้ รเงิอการตั บัญชี ด- บัสุญทชีธิ หนีสเงิ​ิ นนภาษี นได้รดอการตั ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี - สุ ทธิ

งบการเงินรวม 2559งบการเงิ 2558 นรวม งบการเงิ นรวม 2,639 1,273 2559 2558 2559 2558 (21) (21) 2,639 1,273 2,618 1,252 (21) (21) 2,618

หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงินเฉพาะกิ หน่ ล้ล้าานบาท หน่ววยยจ::การ นบาท 2559 นเฉพาะกิ การ งบการเงิ เฉพาะกิจจ2558 การ 2559 2558 2559875 255886 (7) (21) 875 86 868 65 (7) (21)

1,252

868

65

รายการเคลือนไหวของสิ นทรัพย์และหนีสินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคมอประกอบด้ รายการเคลื นไหวของสิวยนทรัพย์และหนีสินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทีเกิดขึนในระหว่างปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

 31ธัธันนวาคม วาคม2559 2559 ณณวัวันนทีที่ 31

รวม หนีส ิ นภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี อืนๆส ิ นภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี หนี รวม อืนๆ ภาษี รวมเงินได้ รอการตัดบัญชี - สุ ทธิ

2559

กำ�ไรขาดทุน

หน่ วย : ล้ านบาท ยอด ณ วันที

ยอด ณ วันที่ 31 ธัธันนณวาคม วาคม 31 ยอด วันที 2559 2559 31 ธันวาคม 2559

165

77

-

165 36

77 115

-

242 151

36 390

115 9 4109 67 410 400 67 288 400 1,366 288

------

151 399 410 399 528 410 400 528 509 400 2,639 509

1,366

-

2,639

-

-

--

- 1,366

--

--

(21) (21) (21) 2,618 (21)

1,366

-

2,618

- 390 - 461 - 461 - 221 1,273 221 1,273

(21) (21) (21) 1,252 (21)

ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี - สุ ทธิ

เบ็ ดเสร็จอื่น เบ็ดเสร็จอืน

หน่วย : ล้านบาท

1,252

รายงานทางการเงิน

สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ยจะสู ญดบั) ญชี ลูสิกนหนี า (หนี  สงสั ทรัพการค้ ย์ ภาษี เงินได้ รอการตั สิลูกนหนี ค้าคงเหลื อ (ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมูลค่า  การค้า (หนีสงสัยจะสู ญ) ของสิ น ค้ า สิ นค้าคงเหลือ) (ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมูลค่า รายได้ ค่านบริค้กา)ารโทรศัพท์เคลือนทีรับล่วงหน้า ของสิ (ผลแตกต่ งของการรั รู้ รายได้ รายได้ ค่าบริ กาารโทรศั พท์บเคลื อนทีร) ับล่วงหน้า ค่าใช้ จ่ายค้างจ่างของการรั าย (ผลแตกต่ บรู้ รายได้) ภาระผู ก พั น ผลประโยชน์ พนักงาน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ขาดทุ น สะสม ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน อืขาดทุ นๆ นสะสม รวม อืนๆ

ยอด ณ วันที ยอด ณ วันที่ 11มกราคม มกราคม ยอด ณ วันที 2559 2559 1 มกราคม

งบการเงินรวม งบการเงิ นรวม บันทึกเป็งบการเงิ น(รายจ่ านย)/รายได้ ใน บักํนาไรขาดทุ ทึกเป็นน(รายจ่ารวม ย)/รายได้ ใน กําไรขาดทุ บันทึกเป็ น(รายจ่ าย)/รายได้ ใน น ดไรขาดทุ เสร็จอืนน กำกํเบ็า�ไรขาดทุ กําไรขาดทุน

หน่ วย : ล้ านบาท

242

- 59 - 59 -

รายงานประจำ�ปี 2559

180


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

หน่ วย : ล้ านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบการเงินรวม

ยอด ณ วันที

รายงานทางการเงิน

สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ลูกหนีการค้า (หนีสงสัยจะสู ญ) สิ นค้าคงเหลือ (ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมูลค่า ของสิ นค้า) สิ นทรัพย์ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ (ผลแตกต่างของค่าตัดจําหน่าย)

ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 2558 2558

รวม ใน บันทึกงบการเงิ เป็ น(รายจ่นาย)/รายได้ บักํนาทึไรขาดทุ กเป็นน(รายจ่าย)/รายได้ กําไรขาดทุนใน กำ�ไรขาดทุน

ดเสร็จอืน กำเบ็�ไรขาดทุ น เบ็ดเสร็จอื่น

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131ธัธันนวาคม 2558 2558

186

(21)

-

165

114

(78)

-

36

355

(355)

-

รายได้ค่าบริ การโทรศัพท์เคลือนทีรับล่วงหน้า (ผลแตกต่างของการรับรู ้ รายได้) ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน อืนๆ รวม

394 302 158 1,509

(4) 30 63 (365)

-

หนีส ิ นภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายปี จ่ายล่วงหน้า (ผลแตกต่างของการรับรู้ค่าใช้จ่าย) อืนๆ รวม ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี - สุ ทธิ

(27) (40) (67) 1,442

27 19 46 (319)

- 60 -

181

หน่วย : ล้านบาท

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

390 461 221 1,273

129 129

-

-

129

(21) (21) 1,252


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ณ วันที 31 ธันวาคม 2559

หน่ วย : ล้ านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ยอด ณ วันที

สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย การให้ การในระยะเวลาคุ ม้ ครอง) ภาระผู กพับนริผลประโยชน์ พนักงาน ขาดทุนสะสม รวม

ยอด ณ วันที่ มกราคม 11มกราคม 2559 2559 86 86

หนีส ิ นภาษีเงินอิได้ อการตัเซอร์ ดบัญชีวส บริษัท แอดวานซ์ นรโฟร์ ิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย อืนๆ (21) หมายเหตุรวมประกอบงบการเงิน (21) สํ าหรับปีภาษี สินเงิสุนดได้วัรนอการตั ที 31ดบัธัญนชี วาคม 2559 - สุ ทธิ 65

งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ นเฉพาะกิจการ บันทึกเป็ น(รายจ่ าย)/รายได้ใน บันกําทึไรขาดทุ กเป็น(รายจ่ าย)/รายได้ กําไรขาดทุนใน น เบ็ดเสร็จอืน

กำ�ไรขาดทุน

กำ�ไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น

410 (21) 400 789

-

14 14 803

-

-

(7) (7) 868

-

สิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ลูกหนีการค้า (หนีสงสัยจะสู ญ) สิ นค้าคงเหลือ (ค่าเผือสิ นค้าล้าสมัยและการลดมูลค่า ของสิ นค้า) สิ นทรัพย์ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ดาํ เนิ นการ (ผลแตกต่างของค่าตัดจําหน่าย) รายได้ค่าบริ การโทรศัพท์เคลือนทีรับล่วงหน้า (ผลแตกต่างของการรับรู้ รายได้) ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน อืนๆ รวม หนีส ิ นภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายปี จ่ายล่วงหน้า (ผลแตกต่างของการรับรู ้ค่าใช้จ่าย) อืนๆ รวม ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี - สุ ทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ นเฉพาะกิจการ บันทึกเป็ น(รายจ่ าย)/รายได้ใน บักํนาไรขาดทุ ทึกเป็นน(รายจ่าย)/รายได้ ใน กําไรขาดทุน ดเสร็จอืนน กำเบ็�ไรขาดทุ

กำ�ไรขาดทุน

หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท ยอด ณ วันที

เบ็ดเสร็จอื่น

ยอด ณ วันที่ วาคม 3131ธัธันนวาคม 2558 2558

41

(41)

-

-

88

(88)

-

-

355

(355)

-

-

122 82 47 735

(122) 7 (47) (646)

-

-

27 19 46 (600)

-

- 61 - (27)

(40) (67) 668

-

(3)

-

86 86

(3)

-

(3)

รายงานทางการเงิน

ยอด ณ วันที

ยอด ณ วันที่ 11 มกราคม มกราคม 2558 2558

ยอด ณ วันที

ยอด ณวาคม วันที่ 3131ธัธันนวาคม 2559 2559 410 65 400 875

ณ วันที 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

หน่วย : ล้านบาท

(21) (21) 65

รายงานประจำ�ปี 2559

182


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 สิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทีเกิดจากผลแตกต่างชัว คราวทีมีสาระสําคัญและผลขาดทุนสะสมที มิได้รับรู ้ในงบการเงิน ณ วันที 31 ธันวาคม มีรายละเอียดดังนี

ขาดทุนสะสม ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายของสัญญาอนุญาตให้ดาํ เนินการ อืนๆ รวม

งบการเงินนรวม งบการเงิ รวม 2559 2558 2559 2558 385

107 492

1,410 238 1,648

หน่หน่ วยว:ยล้: าล้นบาท านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ งบการเงิ เฉพาะกิจจการ การ 2559 2558 2558 2559 1,022 1,649 1,649 101 1,750 2,671

รายงานทางการเงิน

โดย ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 กลุ่ มบริ ษ ทั และบริ ษ ทั ยังมิ ได้รับรู ้ รายการขาดทุ นสะสมที หมดอายุในปี 2560 - 2563 และรายการที เกิ ดจากผลแตกต่ างชัวคราวที ไม่ มี วนั หมดอายุภายใต้กฎหมายภาษี ปั จจุ บ ัน เป็ นสิ นทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เนื องจากยังไม่มีความเป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั จะมีกาํ ไรทางภาษีเพียงพอทีจะใช้ประโยชน์ทางภาษีดงั กล่าว ณ วันที 31 ธัน วาคม 2559 กลุ่ม บริ ษ ทั และบริ ษ ทั ได้รับ รู ้ ผลแตกต่างชัวคราวสําหรั บ รายการขาดทุ น สะสมเป็ นสิ นทรั พ ย์ภาษี เงิ น ได้รอการตัดบัญ ชี บ างส่ วนและเต็ม จํานวนตามลําดับ เนื องจากมี ค วาม เป็ นไปได้ค่อนข้างแน่ ว่ากลุ่มบริ ษ ทั และบริ ษ ทั จะมี กาํ ไรทางภาษี เพี ยงพอที จะใช้ป ระโยชน์ ท างภาษี สําหรับรายการดังกล่าว

- 63 -

183

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

17. าระดอกเบีย ้ย 17. หนี้ส ินที่มีภาระดอกเบี

หนีสินทีมีภาระดอกเบีย ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หมายเหตุ

ส่ วนทีไ ม่ หมุนเวียน หนีสินระยะยาว - เงินกูย้ มื ระยะยาว - หุน้ กูร้ ะยะยาว - หนีสินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน

34

9,200

8,500

5,700

7,700

2,041

4,314

2,041

4,314

-

-

-

397

34

47

41

12

13

4,355

34

2,485 11,685

12,855

2,053 6,440 14,193

4,327 6,490 18,517

55,962 31,168 143 87,273 98,958

35,836 16,580 161 52,577 65,432

3,314

9,369 44 9,413 27,930

34 34

รวม

-

-

31 3,345 17,538

รายงานทางการเงิน

ส่ วนทีห มุนเวียน เงินกูย้ มื ระยะสันจากสถาบันการเงิน ส่วนของหนีสินระยะยาวทีถึงกําหนดชําระ ภายในหนึงปี - ส่วนของเงินกูย้ มื ระยะยาวทีถึงกําหนดชําระ ภายในหนึงปี - ส่วนของหุน้ กูร้ ะยะยาวทีถึงกําหนดชําระ ภายในหนึงปี - ส่วนของหนีสินภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงินทีถึง กําหนดชําระภายในหนึงปี รวมส่วนของหนีสินระยะยาว ทีถึงกําหนดชําระภายในหนึงปี เงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้องกัน

หมายเหตุ

งบการเงินรวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

หน่หน่ วยวย: ล้: าล้นบาท านบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

- 64 -

รายงานประจำ�ปี 2559

184


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 หนี สินทีมีภาระดอกเบี ยซึ งไม่รวมหนี สินภายใต้สัญญาเช่าการเงิน แสดงตามระยะเวลาครบกําหนด การจ่ายชําระ ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

ครบกําหนดภายในหนึงปี ครบกําหนดหลังจากหนึงปี แต่ไม่เกินห้าปี ครบกําหนดหลังจากห้าปี รวม

11,638 50,245 36,885 98,768

12,814 30,536 21,880 65,230

หนี สินทีมีภาระดอกเบียจัดตามประเภทสกุลเงินตรา ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

รายงานทางการเงิน

สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวม

92,920 6,038 98,958

- 65 -

185

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

55,715 9,717 65,432

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินนเฉพาะกิ งบการเงิ เฉพาะกิจจการ การ 2559 2558 2559 2558 14,181 18,504 3,314 9,369 17,495 27,873

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558 12,180 18,213 5,358 9,717 17,538 27,930


อัตราดอกเบียต่ อปี

ยต่ อปี ้ย อัอัตตราดอกเบี ราดอกเบี ต่อปี

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) USD 21.32 USD 35.54 LIBOR บวกด้วย USD 21.32 USD 35.54 LIBOR บวกด้วย ส่ วนเพิม ส่ วนเพิม USD 62.50 LIBOR บวกด้วย USD 62.50 LIBOR บวกด้วย ส่ วนเพิม ส่ วนเพิม USD 42.50 USD 85.00 LIBOR บวกด้วย USD 42.50 USD 85.00 LIBOR บวกด้วย ส่ วนเพิม ส่ วนเพิม USD 85.00 USD 85.00 LIBOR บวกด้วย USD 85.00 USD 85.00 LIBOR บวกด้วย ส่ วนเพิม ส่ วนเพิม อัตราคงทีตามที อัตราคงทีตามที ระบุในสัญญา ระบุในสัญญา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด บริษัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด อัตราคงทีตามที อัตราคงทีตามที ระบุในสัญญา ระบุในสัญญา 6MTHBFIX บวกด้วย 6MTHBFIX บวกด้วย ส่ วนเพิม ส่ วนเพิม อัตราคงทีตามที อัตราคงทีตามที ระบุในสัญญา ระบุในสัญญา

ยอดเงินกูน ้ คงเหลื อ ยอดเงิ กู้คงเหลื อ ยอดเงินกู้คงเหลื อ สกุลเงินต่ างประเทศ งประเทศ (ล้าน) สกุลสกุเงิลนเงิต่น(ล้ต่าาางประเทศ น) (ล้ าน) 2559 25582558 2559 2559 2558

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

- 66 - 66 -

ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 4 งวด เริ ม ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 4 งวด เริ ม ปี 2562 จนถึงปี 2564 ปี 2562 จนถึงปี 2564 ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 2 งวด ใน ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 2 งวด ใน ปี 2563 ปี 2563 ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 7 งวด เริ ม ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 7 งวด เริ ม ปี 2562 จนถึงปี 2565 ปี 2562 จนถึงปี 2565

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

ครบกําหนดชําระคืนทังจํานวนในปี 2561 ครบกําหนดชําระคืนทังจํานวนในปี 2561

ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 20 งวด ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 20 งวด เริ มปี 2551 จนถึงปี 2561 เริ มปี 2551 จนถึงปี 2561 ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 2 งวด ใน ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 2 งวด ใน ปี 2558 และ ปี 2559 ปี 2558 และ ปี 2559 ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 4 งวด ใน ทยอยชําระคืนเงินต้นเป็ นงวดจํานวนเท่าๆ กันทังหมด 4 งวด ใน ปี 2559 และปี 2560 ปี 2559 และปี 2560 ครบกําหนดชําระคืนทังจํานวนในปี 2561 ครบกําหนดชําระคืนทังจํานวนในปี 2561

กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้น

กําหนดชําระคืนเงินต้ น กําหนดชําระคืนเงินต้ น

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี ทุกงวดครึ งปี

คืนดอกเบี้ย

กำ�หนดชำ�ระ

กําหนดชําระ กําหนดชําระ คืนดอกเบีย คืนดอกเบีย

รายละเอียยดของเงิ ดของเงินนกูกูยย้​้ มมื​ื ระยะยาว ระยะยาว ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม สรุ สรุ ปปได้ ได้ดดงงั​ั นีนี รายละเอี

เงิเงินนกูกู้​้ยย้ยื​ืมมืมระยะยาว ระยะยาว ระยะยาว

บริ บริษษัทัท แอดวานซ์ แอดวานซ์ อิอินนโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ ววสสิ​ิ จํจําากักัดด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษษัทัทย่ย่ ออยย หมายเหตุ หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินน สํสํ าาหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2559 2559

รายงานทางการเงิน

รายงานประจำ�ปี 2559

186

3,082 3,082

3,060 3,060

5,000 5,000 12,300 12,300 5,000 5,000

12,300 12,300 5,000 5,000

4,000 4,000

3,082 3,082

1,530 1,530

2,265 2,265

1,288 1,288

5,000 5,000

-

-

768 768

งบการเงินรวม 2559 2559 2558 2558 2559 2558

งบการเงินรวม งบการเงินรวม

หน่ วย : ล้ านบาท

-

-

-

-

3,060 3,060

1,530 1,530

-

768 768

-

-

-

4,000 4,000

3,082 3,082

3,082 3,082

2,265 2,265

1,288 1,288

งบการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ นเฉพาะกิ จการ เฉพาะกิ จการ 2559 2558 2559 2558 2559 2558

หน่หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท นบาท


187

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

-

-

-

-

-

USD 18.89

รวมเงินกู ้ หัก ต้นทุนธุ รกรรม เงินกู้ยืมระยะยาว

-

-

ยอดเงินกู้คงเหลือ ยอดเงิ นกู้คงเหลือ างประเทศ สกุลสกุเงิลนเงิต่นาต่งประเทศ (ล้าน) (ล้ าน) 2559 2558 2559 2558 ทุกงวดครึ งปี

6MTHBFIX บวกด้วย ส่วนเพิม 6MBIBOR บวกด้วย ส่วนเพิม 6MBIBOR บวกด้วย ส่วนเพิม 6MTHBFIX บวกด้วย ส่วนเพิม 6MLIBOR บวกด้วย ส่วนเพิม ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี

ทุกงวดครึ งปี

คืนดอกเบี้ย

กำ�หนดชำ�ระ

อัตราดอกเบี้ย ต่อปี

อัตราดอกเบีย ต่ อปี

กําหนดชําระ คืนดอกเบีย

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

- 67 -

ทยอยชําระคื นเงิ นต้นเป็ นงวดจํานวนเท่ าๆกันทังหมด 6 งวดเริ มปี 2563 - จนถึงปี 2566 ทยอยชําระคื นเงิ นต้นเป็ นงวดจํานวนเท่ าๆกันทังหมด 5 งวดเริ มปี 2562 - จนถึงปี 2566 ทยอยชําระคื นเงิ นต้นเป็ นงวดจํานวนเท่ าๆกันทังหมด 6 งวดเริ มปี 2564 - จนถึงปี 2566 ทยอยชําระคื นเงิ นต้นเป็ นงวดจํานวนเท่ าๆกันทังหมด 2 งวด ในปี 2565

ครบกําหนดชําระคืนทังจํานวน ในปี 2563

กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้น

กําหนดชําระคืนเงินต้ น

รายงานทางการเงิน

4,200 40,217 (67) 40,150

4,200 14,000 7,000 4,500 680 58,038 (35) 58,003

งบการเงินรวม 2558 25592559 2558

งบการเงินรวม

5,358 (3) 5,355

-

-

-

-

13,717 (34) 13,683

-

-

-

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงิน เฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558

หน่หน่วยวย:: ล้ล้าานบาท นบาท


397 7,789

7,789 1,776

7,820 7,180

7,180

7.79 1.78

1.78 6.64

6.64 7.82

7.82 7.18

11 เมษายน เมษายน 2557 2557 11

11 เมษายน เมษายน 2557 2557 11

11 พฤษภาคม เมษายน 2557 11 2559

11 พฤษภาคม พฤษภาคม 2559 2559 11

11 พฤษภาคม 2559 7.18 รวมหุ ้นกู้ หัก ต้นทุนในการออกหุ ้นกู้ รวมหุ ้นกู้ หุ้นกู้ระยะยาว หัก ต้นทุนในการออกหุ ้นกู้ หุ้นกู้ระยะยาว

(ล้ านบาท)

6,638 7,820

1,776 6,638

นวนเงินน จำจํ�านวนเงิ (ล้(ล้านบาท) นบาท) 397

วันทีจําหน่ าย (ล้ าน) จำ จํ�านวนหน่ นวนหน่ววยย บริษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด (ล้(ล้าาน) ำ�หน่ายาย วัวันนทีทีจ่จําหน่ น) 11 เมษายน 2557 0.39 บริษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด 11 เมษายน เมษายน 2557 2557 0.39 11 7.79

คงทีร้อยละ 2.78

คงทีรร้​้ออยละ ยละ 2.78 2.51 คงที

คงทีรร้​้ออยละ ยละ 2.51 4.94 คงที

คงทีรร้​้ออยละ ยละ 4.94 4.56 คงที

คงทีรร้​้ออยละ ยละ 4.56 4.17 คงที

คงทีรร้​้ออยละ ยละ 4.17 3.39 คงที

อัตราดอกเบีย ต่ อปี

ทุกงวดครึ งปี

งวดครึ งปี งปี ทุทุกกงวดครึ

งวดครึ งปี งปี ทุทุกกงวดครึ

งวดครึ งงปีปี ทุทุกกงวดครึ

งวดครึ งงปีปี ทุทุกกงวดครึ

งวดครึ งงปีปี ทุทุกกงวดครึ

- 68 -

- 68 -

11 เมษายน 2560 ครบกํ ครบกําาหนดไถ่ หนดไถ่ถถอนทั อนทั งงจํจําานวนในวั นวนในวันนทีที 11 เมษายน 2560 11 เมษายน 2562 ครบกํ ครบกําาหนดไถ่ หนดไถ่ถถอนทั อนทั งงจํจําานวนในวั นวนในวันนทีที 11 11 เมษายน เมษายน 2562 2564 ครบกํ า หนดไถ่ ครบกําหนดไถ่ถถอนทั อนทั งงจํจําานวนในวั นวนในวันนทีที 11 เมษายน 2567 2564 11 เมษายน ครบกํ ครบกําาหนดไถ่ หนดไถ่ถถอนทั อนทั งงจํจําานวนในวั นวนในวันนทีที 11 เมษายน 2567 11 พฤษภาคม 2566 ครบกํ ครบกําาหนดไถ่ หนดไถ่ถถอนทั อนทั งงจํจําานวนในวั นวนในวันนทีที 11 11 พฤษภาคม พฤษภาคม 2566 2569 ครบกําหนดไถ่ถอนทังจํานวนในวันที 11 พฤษภาคม 2569

�หนดย คืนกำดอกเบี กําหนดชํ าระคืนเงินต้ น กําชำหนดชํ อัตรา �ระคืนาระ ้ยต่ย อต่ปีอปี คืนดอกเบี กำ�หนดชำ อัตดอกเบี ราดอกเบี ดอกเบี้ยย กําหนดชํ าระคืน�เงิระคื นต้ นนเงินต้น คงทีร้อยละ 3.39 ทุกงวดครึ งปี ครบกําหนดไถ่ถอนทังจํานวนในวันที

397 397 7,789 7,789 1,776 1,776 6,638 6,638 -16,600 (20) 16,600 16,580 (20) 16,580

397 397 7,789 7,789 1,776 1,776 6,638 6,638 7,820 7,820 7,180 31,600 7,180 (35) 31,600 31,565 (35) 31,565

2559 2558 งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558

่มบริ ษทั ออกหุ น้ กูร้ ะยะยาวประเภทไม่ดอ้ ยสิ ทธิ และไม่มีหลักประกัน มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี ณ วันที 31 ธันวาคมจํกลุ านวนหน่ วย จํานวนเงิน กําหนดชํ าระ งบการเงินรวม

สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 หุหุ้นนกูกู้ระยะยาว ะยะยาว  31 ธันวาคม กลุ่มบริ ษทั ออกหุ น้ กูร้ ะยะยาวประเภทไม่ดอ้ ยสิ ทธิ และไม่มีหลักประกัน มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี หุณ้ นวักูน้ รทีะยะยาว

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ สํหมายเหตุ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม น 2559

รายงานทางการเงิน

รายงานประจำ�ปี 2559

188

--

--

--

--

--

-

--

--

--

--

--

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ หน่ วย น : ล้ านบาท 2559 2558 เฉพาะกิ จการ งบการเงิ นเฉพาะกิ จการ 2559 2558 2559 2558

านบาท หน่หน่วยวย: ล้: ล้านบาท


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่มบริ ษทั มีขอ้ จํากัดทีตอ้ งปฏิบตั ิตาม รวมทังการรักษาอัตราส่ วนทางการเงินทีกาํ หนดไว้ในข้อกําหนด กลุ่มบริ ษทั มีขอ้ จํากัดทีตอ้ งปฏิบตั ิตาม รวมทังการรักษาอัตราส่ วนทางการเงินทีกาํ หนดไว้ในข้อกําหนด ว่าด้วยสิ ทธิ และหน้าทีของผูอ้ อกหุ น้ กูแ้ ละเงินกูย้ มื ระยะยาว ว่าด้วยสิ ทธิ และหน้าทีของผูอ้ อกหุ น้ กูแ้ ละเงินกูย้ มื ระยะยาว ณ วัน ที 31 ธัน วาคม 2559 กลุ่ม บริ ษ ทั มีวงเงินกู ย้ ืม ซึ งยัง มิได้เบิก ใช้จาํ นวน 6,000 ล้านบาท และ 38 ณ วัน ที 31 ธัน วาคม 2559 กลุ่ม บริ ษ ทั มีวงเงินกู ย้ ืม ซึ งยัง มิได้เบิก ใช้จาํ นวน 6,000 ล้านบาท และ 38 ล้า นดอลลาร์ ส หรั ฐ และ ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 กลุ่ ม บริ ษทั มี วงเงิ นกู้ยืม ซึ งยังมิ ได้เบิ กใช้จาํ นวน ล้า นดอลลาร์ ส หรั ฐ และ ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 กลุ่ ม บริ ษทั มี วงเงิ นกู้ยืม ซึ งยังมิ ได้เบิ กใช้จาํ นวน 32,000 ล้านบาท สําหรับบริ ษทั ไม่มีวงเงินกูย้ มื ซึ งยังมิได้เบิกใช้ 32,000 ล้านบาท สําหรับบริ ษทั ไม่มีวงเงินกูย้ มื ซึ งยังมิได้เบิกใช้ ราคาตามบัญชี และมูลค่ายุติธรรมของหุ ้นกูร้ ะยะยาว (ยอดรวมก่อนหักค่าใช้จ่ายในการออกหุ ้นกู)้ ณ วันที ราคาตามบัญชี และมูลค่ายุติธรรมของหุ ้นกูร้ ะยะยาว (ยอดรวมก่อนหักค่าใช้จ่ายในการออกหุ ้นกู)้ ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี 31 ธันวาคม มีดงั นี หน่ วย : ล้ านบาท

หน่วย : ล้านบาท หน่ วย : ล้ านบาท

งบการเงิ งบการเงินรวม

หุน้ กูร้ ะยะยาว หุน้ กูร้ ะยะยาว

รรม ราคาตามบั ราคาตามบัญชีชี งบการเงินรวม มูลค่ าายุยุตตธิ ิธรรม* 2559 2559 2559ราคาตามบัญชี2558 2558 2559มูลค่ ายุตธิ รรม*2558 2558 2559 31,600 31,600

2558 16,600 16,600

2559 32,082 32,082

2558 17,958 17,958

รายงานทางการเงิน

* มูลค่ายุติธรรมของหุ ้นกูท้ ีมีการซื อขายในตลาดหุ ้นกูค้ าํ นวณจากราคาซื อขายทีประกาศอยู่ในสมาคม * ตลาดตราสารหนี มูลค่ายุติธรรมของหุ ้นกูท้ ีมีการซื อขายในตลาดหุ ้นกูค้ าํ นวณจากราคาซื ด ณ วันสิ นรอบระยะเวลาที รายงาน  อขายทีประกาศอยู่ในสมาคม  ไทย โดยใช้ราคาปิ ตลาดตราสารหนีไทย โดยใช้ราคาปิ ด ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน รายการเคลือนไหวของหนีสินทีมีภาระดอกเบียสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี รายการเคลือนไหวของหนีสินทีมีภาระดอกเบียสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี หน่ วย : ล้ านบาท ณ วันที 1 มกราคม ณ เพิมวันขึนที 1 มกราคม เพิ ต้นมทุขึน นการกูย้ มื ต้ต้นนทุทุนนในการออกหุ การกูย้ มื น้ กู้ ต้จ่านยชํ ทุนาระคื ในการออกหุ น้ กู้ น จ่ยกเลิ ายชํการะคื หนีสนิ นภายใต้สญ ั ญาเช่าการเงิน ยกเลิ กหนี ั ราแลกเปลี ญาเช่าการเงิ  สินนภายใต้ (กําไร) ขาดทุ จากอัสตญ ยนทีนยงั ไม่ (กํเกิ าไร) ดขึ นขาดทุ จริ ง นจากอัตราแลกเปลียนทียงั ไม่ ขึนาจริยเป็ง นค่าใช้จ่าย ตัดเกิจํดาหน่ ตัดจําหน่ายเป็ นค่าใช้จ่าย ณ วันที 31 ธันวาคม ณ วันที 31 ธันวาคม

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2559งบการเงินรวม2558 2558 2559 2558 65,432 37,050 65,432 37,050 80,169 46,329 80,169 46,329 (5) (32) (5) (20) - (32) (20) (46,026) (18,635) (46,026) (18,635) (634) (634) 42 42 98,958 98,958

- 69 - 69 -

189

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

693 693 27 27 65,432 65,432

หน่วย : ล้านบาท หน่ วย :จล้การ านบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ จ2558 การ 2559 2559 นเฉพาะกิ2558 2559 2558 27,930 15,430 27,930 15,430 14,523 31,116 14,523 31,116 --(24,286) (19,315) (24,286) (19,315) (17) (17)

(660) (660) 31 31 17,538 17,538

693 693 23 23 27,930 27,930


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 อัตราดอกเบียทีแท้จริ งถัวเฉลียถ่วงนําหนัก ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี งบการเงิ งบการเงินรวม นรวม 2559 2558 2559 2558 1.63 1.64 2.60 2.97 3.62 4.50 5.79 5.59

เงินกูย้ มื ระยะสัน เงินกูย้ มื ระยะยาว หุน้ กูร้ ะยะยาว หนีสินตามสัญญาเช่าการเงิน

หน่หน่วยวย: ร้: อร้ยละต่ อยละต่ออปีปี งบการเงิ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ 2559 2558 2559 2558 1.62 1.64 2.58 3.25 4.81 4.84

18. ารค้าและเจ้ าและเจ้าหนี าหนีอ ืน้อื่น 18. เจ้าหนีก ้การค้

เจ้าหนีการค้าและเจ้าหนีอืน ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หมายเหตุ

เจ้ าหนีอ ืน ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ภาษีมูลค่าเพิมค้างจ่าย ภาษีหกั ณ ทีจ่ายค้างจ่าย อืนๆ รวมเจ้ าหนีอ ืน รวมเจ้ าหนีก ารค้ าและเจ้ าหนีอ ืน

34

300 17,437 17,737

323 14,035 14,358

219 38 257

264 279 543

34

15,700 171 262 422 16,555 34,292

12,668 154 280 291 13,393 27,751

2,814 8 5 2 2,829 3,086

2,527 79 45 282 2,933 3,476

34

รายงานทางการเงิน

เจ้ าหนีก ารค้ า บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกัน บุคคลหรื อกิจการอืนๆ รวมเจ้ าหนีก ารค้ า

หมายเหตุ

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558

หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ 2559 2558 2559 2558

- 70 -

รายงานประจำ�ปี 2559

190


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เจ้าหนีการค้าจัดตามประเภทสกุลเงินตรา ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินยูโร สกุลเงินเยน สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ รวม

งบการเงินรวม นรวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 12,278 10,525 5,438 3,611 1 56 1 166 19 17,737 14,358

หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท นบาท หน่ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 222 372 15 108 1 58 5 19 257 543

19. ใบอนุญญาตให้ โทรคมนาคมค้ างจ่ าายงจ่าย 19. าตให้ใช้ใช้คคลืนลืความถี ่นความถี ่โทรคมนาคมค้ รายงานทางการเงิน

ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคมค้างจ่าย ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

ใบอนุญาตให้ ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคมค้ างจ่ าย เลขทีใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีเพือกิจการโทรคมนาคม NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิมเติมครังที 1) เลขทีใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีเพือกิจการโทรคมนาคม NBTC/FREQ/TEL/55/1 (เพิมเติมครังที 2) หัก ส่วนของใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถีโทรคมนาคมค้างจ่าย ทีจะครบกําหนดชําระภายใน 1 ปี ใบอนุญาตให้ ใช้ คลืนความถีโทรคมนาคมค้ างจ่ าย

- 71 -

191

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินรวม 2559 2558 2559 2558

19,790

19,902

62,407 82,197

19,902

(10,017) 72,180

19,902


บริ บริษษัทัท แอดวานซ์ แอดวานซ์ อิอินนโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ ววสสิ​ิ จํจําากักัดด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษษัทัทย่ย่ ออยย หมายเหตุ หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินน สํสํ าาหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2559 2559 รายการเคลื 31 ธัธันนวาคม วาคม รายการเคลืออนไหวของใบอนุ นไหวของใบอนุ ญ ญาตให้ าตให้ใใช้ช้คคลืลืนนความถี ความถีโโทรคมนาคมค้ ทรคมนาคมค้าางจ่ งจ่าายสํ ยสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 มีมีดดงงั​ั นีนี หน่ วย : ล้ านบาท หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ น รวม งบการเงิ น รวม งบการเงินรวม 2559 2558 2559 2558 2559 2558 19,902 3,656 19,902 3,656 69,113 40,346 69,113 40,346 (8,040) (24,149) (8,040) (24,149) 1,222 49 1,222 49 82,197 19,902 82,197 19,902

ณ ณ วัวันนทีที 11 มกราคม มกราคม เพิ ม ขึ น   เพิมขึน จ่จ่าายชํ ยชําาระ ระ ตัตัดดจํจําาหน่ หน่าายดอกเบี ยดอกเบี ยยจ่จ่าายรอตั ยรอตัดดบับัญ ญชีชี ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม

20. ภาระผูกกกพั 20. ภาระผู พัพันนนผลประโยชน์ ผลประโยชน์ งาน 20. ผลประโยชน์พพพนันักกนังาน กงาน

รายงานทางการเงิน

กลุ กลุ่​่มมบริ บริ ษษททั​ั และบริ และบริ ษษททั​ั มีมีภภาระผู าระผูกกพั พันนเกี เกียยวกั วกับบผลประโยชน์ ผลประโยชน์พพนันักกงานตามข้ งานตามข้ออกํกําาหนดของพระราชบั หนดของพระราชบัญ ญญั ญัตติ​ิ คุคุ มม้​้ ครองแรงงาน ครองแรงงาน พ.ศ. พ.ศ. 2541 2541 ในการให้ ในการให้ผผลประโยชน์ ลประโยชน์เเมืมืออเกษี เกษียยณแก่ ณแก่พพนันักกงานตามสิ งานตามสิ ททธิธิ แและอายุ ละอายุงงานและ านและ ผลประโยชน์ ผลประโยชน์จจากการให้ ากการให้บบริริ กการระยะยาว ารระยะยาว

โครงการผลประโยชน์ โครงการผลประโยชน์ททีี กกาาํ​ํ หนดไว้ หนดไว้มมี​ี คความเสี วามเสี ยยงจากการประมาณการตามหลั งจากการประมาณการตามหลักกคณิ คณิ ตตศาสตร์ ศาสตร์ ปประกั ระกันนภัภัยย ได้ ได้แแก่ก่คความเสี วามเสี ยยงของช่ งของช่ววงชี งชี ววิ​ิตต ความเสี ความเสี ยยงจากอั งจากอัตตราแลกเปลี ราแลกเปลี ยยนน ความเสี ความเสี ยยงจากอั งจากอัตตราดอกเบี ราดอกเบี ยย และความเสี และความเสี ยยงง จากตลาด จากตลาด (เงิ (เงินนลงทุ ลงทุนน)) ภาระผู ภาระผูกกพั พันนตามงบแสดงฐานะการเงิ ตามงบแสดงฐานะการเงินน ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม มีมีดดงงั​ั ต่ต่ออไปนี ไปนี

มูมูลลค่ค่าาปัปั จจจุจุบบนนั​ั ของภาระผู ของภาระผูกกพั พันน

งบการเงินนนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2,555 2,555

2,294 2,294

หน่ วย : ล้ านบาท หน่ หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 327 431 327 431

- 72 - 72 -

รายงานประจำ�ปี 2559

192


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 การเปลียนแปลงในมูลค่าปั จจุบนั ของภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

รายงานทางการเงิน

ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ณ วันที 1 มกราคม ต้นทุนบริ การปัจจุบนั และดอกเบีย ผลประโยชน์จ่าย โอนพนักงานไปบริ ษทั ย่อย (กําไร) ขาดทุนจากการประมาณการ ตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย ภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงาน ณ วันที 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2559 2558 2559 2558 2,294 293 (32) -

1,500 172 (15) -

-

637

2,555

2,294

หน่ หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 431 38 (29) (113)

406 51 (4) (8)

-

(14)

327

431

ค่าใช้จ่ายทีรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

ต้นทุนบริ การปัจจุบนั ดอกเบียจากภาระผูกพัน รวม

งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558 214 79 293

- 73 -

193

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

114 58 172

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 28 35 10 16 38 51


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั รับรู ้ค่าใช้จ่ายในรายการต่อไปนีในงบกําไรขาดทุนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

ต้นทุนการให้บริ การและให้เช่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการบริ หาร ค่าตอบแทนผูบ้ ริ หาร ต้นทุนทางการเงิน รวม

งบการเงินนรวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 20 193 1 79 293

9 104 1 58 172

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 27 34 1 1 10 16 38 51

(กําไร) ขาดทุนจากการประมาณตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัยทีรับรู ้ในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็ จอืน สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

1,360 1,360

723 637 1,360

-

403 403

รายงานทางการเงิน

รวมอยู่ ในกําไรสะสม ณ วันที 1 มกราคม รับรู ้ระหว่างปี ณ วันที 31 ธันวาคม

งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 417 (14) 403

(กําไร) ขาดทุ นจากการประมาณตามหลักคณิ ตศาสตร์ ป ระกันภัยที รับ รู ้ ในงบกําไรขาดทุ นและกําไร ขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืน สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม เกิดขึนจาก

สมมติฐานทางการเงิน สมมติฐานประชากร การปรับปรุ งจากประสบการณ์ รวม

งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558 -

439 (23) 221 637

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 64 (12) (66) (14)

- 74 -

รายงานประจำ�ปี 2559

194


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน (แสดงโดยวิธีถวั เฉลียถ่วงนําหนัก)

อัตราคิดลด การเพิมขึนของเงินเดือนในอนาคต

งบการเงินนรวม งบการเงิ รวม 2559 2558 2559 2558 3.5 9

3.5 9

หน่หน่วยวย: :ร้ อร้อยละ ยละ งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558 3.5 3.5 9 9

ข้อสมมติเกียวกับอัตรามรณะในอนาคตถือตามข้อมูลทางสถิติทีเผยแพร่ ทวั ไปและจากอัตราตารางมรณะไทย ปี 2551 (“TMO08”)

รายงานทางการเงิน

การวิเคราะห์ ความอ่ อนไหว การเปลียนแปลงในแต่ละข้อสมมติฐานทีเกียวข้องในการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ ประกันภัย ทีอาจเป็ นไปได้อย่างสมเหตุสมผล ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน โดยถือว่าข้อสมมติฐานอืนๆ คงที จะมีผลกระทบต่อภาระผูกพันผลประโยชน์ทีกาํ หนดไว้ ณ วันที 31 ธันวาคม เป็ นจํานวนเงินดังต่อไปนี

อัตราคิดลด - เพิมขึนร้อยละ 1 - ลดลงร้อยละ 1 การเพิม ขึนของเงินเดือนในอนาคต - เพิมขึนร้อยละ 1 - ลดลงร้อยละ 1

งบการเงิ นรวม งบการเงิ นรวม 2559 2558 2559 2558

หน่หน่ววยย: :ล้ล้านบาท านบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558

(375) 459

(338) 414

(51) 61

(49) 58

427 (359)

385 (323)

57 (49)

54 (47)

แม้ว่าการวิเคราะห์ น ี ไม่ได้คาํ นึ งการกระจายตัวแบบเต็มรู ป แบบของกระแสเงิ นสดที คาดหวังภายใต้ โครงการดังกล่าว แต่ได้แสดงประมาณการความอ่อนไหวของข้อสมมติฐานต่างๆ

- 75 -

195

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 21. ทุนเรื ออนหุ 21. นหุ้ น้น

รายการเคลือนไหวของทุนเรื อนหุ น้ สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

ทุนจดทะเบียน ณ วันที 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

2559 2559 นวนเงินน จำจํา�นวนหุ นวนหุ้น้น จำจํ�านวนเงิ

จำจํ�านวนหุ นวนหุ้น้น

2558 2558

นวนเงินน จำจํ�านวนเงิ

1.00

4,997

4,997

4,997

4,997

1.00

4,997

4,997

4,997

4,997

1.00

2,973

2,973

2,973

2,973

1.00

2,973

2,973

2,973

2,973

รายงานทางการเงิน

ทุนทีออกและชําระแล้ ว ณ วันที 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

มูมูลลค่ค่าาหุหุ้ น้น ต่อหุ้น (บาท) (บาท)

(ล้านหุ้น/ล้านบาท) นบาท)

ณ วันที 31 ธันวาคม 2559 และ 2558 ทุ นที ออกของบริ ษทั ประกอบด้วย หุ ้นสามัญจํานวน 2,973 ล้านหุ ้น มูลค่าหุ น้ ละ 1.00 บาท หุ น้ ทังหมดได้ออกและชําระเต็มมูลค่าแล้ว ผูถ้ ื อหุ ้ นสามัญจะได้รับ สิ ท ธิ ในการรั บเงิ นปั นผลจากการประกาศจ่ายเงิ นปั นผลและมี สิ ทธิ ออกเสี ยง ลงคะแนนหนึงเสี ยงต่อหนึงหุ น้ ในทีประชุ มของบริ ษทั

ส่วนเกิ นเกินนมูมูลลค่ค่าาหุหุ้ น้นสามั สามัญญ

ตามบทบัญญัติแห่ งพระราชบัญญัติบริ ษทั มหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณี ทีบริ ษทั เสนอขายหุ ้น สู งกว่ามูลค่าหุ น้ ทีจดทะเบียนไว้ บริ ษทั ต้องนําค่าหุ น้ ส่ วนเกินนีต งั เป็ นทุนสํารอง (“ส่ วนเกินมูลค่าหุ น้ สามัญ”) ส่ วนเกินมูลค่าหุ น้ นีจะนําไปจ่ายเป็ นเงินปั นผลไม่ได้

22. สํสำา�รองตามกฎหมาย 22. รองตามกฎหมาย

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริ ษทั มหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริ ษทั จะต้องจัดสรรทุนสํารอง (“สํารองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกําไรสุ ทธิ ประจําปี หลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสํารองดังกล่าวมีจาํ นวนไม่น้อยกว่าร้ อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสํารองนี จะนําไปจ่ายเป็ น เงินปั นผลไม่ได้

- 76 -

รายงานประจำ�ปี 2559

196


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

23. องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

23. องค์ ประกอบอืนของส่ วนของผู้ถือหุ้น การจ่ ยโดยใช้หุ้หนุ้นเป็เป็นเกณฑ์ นเกณฑ์ การจ่ าายโดยใช้ โครงการ Performance shareshare plan plan โครงการ Performance ครังที 1 ในเดือนมีนาคม 2556 ทีประชุ มสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจําปี ครังที 1/2556 ได้อนุ มตั ิการออกใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ทีจะซื อหุ ้นสามัญของบริ ษทั โดยใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ได้เสนอขายให้แก่พนักงานของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย รวมถึ งกรรมการของบริ ษทั ทีมีคุณสมบัติตามโครงการ Performance share plan (“ESOP - Grant I”) โดยข้อมูล สําคัญของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ซื อหุ น้ สามัญ มีดงั นี

รายงานทางการเงิน

วันทีอนุมตั ิ: จํานวนหน่วยทีเสนอขาย: ราคาใช้สิทธิทีจะซือหุน้ : จํานวนหุน้ ทีออกเพือรองรับ: อายุของโครงการ: ราคาเสนอขายต่อหน่วย: อัตราการใช้สิทธิ:

27 มีนาคม 2556 405,800 หน่วย 206.672 บาท/หุน้ 405,800 หุน้ 5 ปี นับจากวันทีมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิซือหุน้ สามัญครังแรก หน่วยละ 0 บาท (ศูนย์บาท) ใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซือหุน้ สามัญได้ 1 หุน้

ครังที 2 ในเดื อนมีนาคม 2557 ทีประชุ มสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจําปี ครังที 1/2557 ได้อนุ มตั ิการออกใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ทีจะซื อหุ ้นสามัญของบริ ษทั โดยใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ได้เสนอขายให้แก่พนักงานของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย รวมถึงกรรมการของบริ ษทั ทีมีคุณสมบัติตามโครงการ Performance share plan (“ESOP - Grant II”) โดยข้อมูล สําคัญของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ซื อหุ น้ สามัญ มีดงั นี วันทีอนุมตั ิ: จํานวนหน่วยทีเสนอขาย: ราคาใช้สิทธิทีจะซือหุน้ : จํานวนหุน้ ทีออกเพือรองรับ: อายุของโครงการ: ราคาเสนอขายต่อหน่วย: อัตราการใช้สิทธิ:

26 มีนาคม 2557 680,000 หน่วย 211.816 บาท/หุน้ 680,000 หุน้ 5 ปี นับจากวันทีมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิซือหุน้ สามัญครังแรก หน่วยละ 0 บาท (ศูนย์บาท) ใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซือหุน้ สามัญได้ 1 หุน้

- 77 -

197

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ครังที 3 ในเดื อนมีนาคม 2558 ทีประชุ มสามัญผูถ้ ื อหุ ้นประจําปี ครังที 1/2558 ได้อนุ มตั ิการออกใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ทีจะซื อหุ น้ สามัญของบริ ษทั โดยใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ได้เสนอขายให้แก่พนักงานของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย รวมถึ งกรรมการของบริ ษ ทั ที มี คุณ สมบัติตามโครงการ Performance share plan (“ESOP - Grant III”) โดยข้อมูลสําคัญของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ซือหุ น้ สามัญ มีดงั นี 24 มีนาคม 2558 872,200 หน่วย 249.938 บาท/หุน้ 872,200 หุน้ 5 ปี นับจากวันทีมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิซือหุน้ สามัญครังแรก หน่วยละ 0 บาท (ศูนย์บาท) ใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซือหุน้ สามัญได้ 1 หุน้ ภายใน 1 ปี นับจากวันทีทีประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจําปี 2558 ให้ออกและ เสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิตามโครงการใบสําคัญแสดงสิ ทธิ

รายงานทางการเงิน

วันทีอนุมตั ิ: จํานวนหน่วยทีเสนอขาย: ราคาใช้สิทธิทีจะซือหุน้ : จํานวนหุน้ ทีออกเพือรองรับ: อายุของโครงการ: ราคาเสนอขายต่อหน่วย: อัตราการใช้สิทธิ: ระยะเวลาเสนอขาย:

ครังที 4 ในเดื อนมีนาคม 2559 ทีประชุ มสามัญผูถ้ ื อหุ ้นประจําปี ครังที 1/2559 ได้อนุ มตั ิการออกใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ทีจะซื อหุ น้ สามัญของบริ ษทั โดยใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ได้เสนอขายให้แก่พนักงานของบริ ษทั และบริ ษทั ย่อย รวมถึ งกรรมการของบริ ษ ทั ที มี คุณ สมบัติตามโครงการ Performance share plan (“ESOP - Grant IV”) โดยข้อมูลสําคัญของใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ซือหุ น้ สามัญ มีดงั นี วันทีอนุมตั ิ: จํานวนหน่วยทีเสนอขาย: ราคาใช้สิทธิทีจะซือหุน้ : จํานวนหุน้ ทีออกเพือรองรับ: อายุของโครงการ: ราคาเสนอขายต่อหน่วย: อัตราการใช้สิทธิ: ระยะเวลาเสนอขาย:

29 มีนาคม 2559 826,900 หน่วย 166.588 บาท/หุน้ 826,900 หุน้ 5 ปี นับจากวันทีมีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิซือหุน้ สามัญครังแรก หน่วยละ 0 บาท (ศูนย์บาท) ใบสําคัญแสดงสิ ทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซือหุน้ สามัญได้ 1 หุน้ ภายใน 1 ปี นับจากวันที ทีประชุมสามัญผูถ้ ือหุ ้นประจําปี 2559 ให้ออกและ เสนอขายใบสําคัญแสดงสิ ทธิตามโครงการใบสําคัญแสดงสิ ทธิ

- 78 -

รายงานประจำ�ปี 2559

198


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 การเปลียนแปลงใบสําคัญแสดงสิ ทธิ ทีจะซื อหุ น้ สามัญแสดงได้ดงั นี

ESOP - Grant I - กรรมการ - พนักงาน ESOP - Grant II - กรรมการ - พนักงาน

รายงานทางการเงิน

ESOP - Grant III - กรรมการ - พนักงาน ESOP - Grant IV - กรรมการ - พนักงาน รวม

ณ วันที 1 มกราคม ณ วันที่ 2559 2559 1 มกราคม (หน่ วย)

ออกให้ ออกให้

(หน่ วย)

รายการระหว่ าางปีงปี รายการระหว่

ใช้ใช้สสิ ทิทธิธิ ริริบบคืคืนน (หน่ วย) (หน่วย) (หน่ วย)

(หน่ วย)

-

19,824 352,476 372,300

-

-

-

(19,824) (352,476) (372,300)

29,816 611,768 641,584

-

-

(33,636) (33,636)

-

29,816 578,132 607,948

51,600 725,716 777,316

-

-

(39,366) (39,366)

-

51,600 686,350 737,950

1,791,200

56,800 653,900 710,700 710,700

-

(5,200) (5,200) (78,202)

(372,300)

56,800 648,700 705,500 2,051,398

การวัดดมูมูลลค่ค่ายุาตยุิธตรรม การวั ิธรรม

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั วัดมูลค่าของรายจ่ายโครงการ โดยอ้างอิงกับมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนทีออกให้ ณ วันทีให้สิทธิ โดยใช้ Monte Carlo Simulation technique โดยมีขอ้ สมมติฐานทีสาํ คัญดังนี

ครังที 1 มูลค่ายุติธรรมถัวเฉลียถ่วงนําหนัก ณ วันทีให้สิทธิ ราคาหุน้ ณ วันทีให้สิทธิ ราคาการใช้สิทธิ ความผันผวนของหุน้ ทีคาดหวัง เงินปันผลทีคาดหวัง อัตราดอกเบียปลอดความเสี ยง

183.499 บาทต่อหุน้ 262.000 บาทต่อหุน้ 206.672 บาทต่อหุน้ ร้อยละ 23.51 ร้อยละ 4.16 ร้อยละ 3.07

- 79 -

199

รัรับบคืคืนน

ณ วันที 31 ธันวาคม ณ วันที่ 2559 2559 31 ธันวาคม (หน่ วย)

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 101.617 บาทต่อหุน้ 240.000 บาทต่อหุน้ 211.816 บาทต่อหุน้ ร้อยละ 25.15 ร้อยละ 5.00 ร้อยละ 3.08

ครังที 3 มูลค่ายุติธรรมถัวเฉลียถ่วงนําหนัก ณ วันทีให้สิทธิ ราคาหุน้ ณ วันทีให้สิทธิ ราคาการใช้สิทธิ ความผันผวนของหุน้ ทีคาดหวัง เงินปันผลทีคาดหวัง อัตราดอกเบียปลอดความเสี ยง

82.907 บาทต่อหุน้ 236.000 บาทต่อหุน้ 249.938 บาทต่อหุน้ ร้อยละ 22.99 ร้อยละ 5.28 ร้อยละ 2.34

ครังที 4 มูลค่ายุติธรรมถัวเฉลียถ่วงนําหนัก ณ วันทีให้สิทธิ ราคาหุน้ ณ วันทีให้สิทธิ ราคาการใช้สิทธิ ความผันผวนของหุน้ ทีคาดหวัง เงินปันผลทีคาดหวัง อัตราดอกเบียปลอดความเสี ยง

67.742 บาทต่อหุน้ 165.000 บาทต่อหุน้ 166.588 บาทต่อหุน้ ร้อยละ 27.70 ร้อยละ 8.48 ร้อยละ 1.72

รายงานทางการเงิน

ครังที 2 มูลค่ายุติธรรมถัวเฉลียถ่วงนําหนัก ณ วันทีให้สิทธิ ราคาหุน้ ณ วันทีให้สิทธิ ราคาการใช้สิทธิ ความผันผวนของหุน้ ทีคาดหวัง เงินปันผลทีคาดหวัง อัตราดอกเบียปลอดความเสี ยง

สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั บันทึ กรายจ่ายโดยใช้หุ้นเป็ นเกณฑ์ จํานวน 35 ล้านบาท และ 35 ล้านบาท ตามลําดับ ในงบการเงิ นรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ (สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2558 : 31 ล้านบาท และ 31 ล้านบาท ตามลําดับ) ส่ วนเกินจากการลดสั ดส่ วนของเงินลงทุนทีย งั ไม่ เกิดขึน จริง ส่ วนเกิ นจากการลดสั ดส่ วนของเงิ น ลงทุ นที ยงั ไม่เกิ ดขึ นจริ งประกอบด้วยผลรวมการเปลี ย นแปลง สัดส่ วนของเงินลงทุนจนกระทัง มีการขายหรื อจําหน่าย

- 80 -

รายงานประจำ�ปี 2559

200


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ผลต่ างจากการเปลีย นแปลงในมูลค่ ายุติธรรมของเงินลงทุนเผือขาย ผลต่างจากการเปลี ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนเผือขายแสดงในส่ วนของเจ้าของประกอบด้วย ผลรวมการเปลียนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนเผือขายจนกระทัง มีการตัดรายการหรื อเกิดการด้อยค่า

24. ทางการเงินจํนาจำแนกตามส่ �แนกตามส่ วนงาน 24. ข้อมูลลทางการเงิ วนงาน

กลุ่มบริ ษทั มี 3 ส่ วนงานทีรายงาน ดังรายละเอียดข้างล่าง ซึ งเป็ นหน่วยงานธุ รกิจทีสําคัญของกลุ่มบริ ษทั หน่วยงานธุ รกิจทีสําคัญนี ผลิ ตสิ นค้าและให้บริ การทีแตกต่างกัน และมีการบริ หารจัดการแยกต่างหาก เนื องจากใช้เทคโนโลยีและกลยุท ธ์ ท างการตลาดที แตกต่างกัน ประธานเจ้าหน้าที บ ริ หารสอบทาน รายงานการจัดการภายในของแต่ละหน่วยงานธุ รกิจทีสาํ คัญอย่างน้อยทุกไตรมาส การดําเนินงานของแต่ ละส่ วนงานทีรายงานของกลุ่มบริ ษทั โดยสรุ ปมีดงั นี

รายงานทางการเงิน

ส่ วนงาน 1 ส่ วนงาน 2 ส่ วนงาน 3

บริ การโทรศัพท์เคลือนทีและศูนย์ให้ข่าวสารทางโทรศัพท์ ขายเครื องโทรศัพท์เคลือนที บริ การสื อสารข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์และอินเตอร์ เน็ตความเร็ วสู ง

ข้อมูลผลการดําเนิ นงานของแต่ละส่ วนงานทีรายงานได้รวมอยูด่ งั ข้างล่างนี ผลการดําเนิ นงานวัดโดยใช้ กําไรก่อนภาษีเงินได้ของส่ วนงาน ซึ งนําเสนอในรายงานการจัดการภายในและสอบทานโดยประธาน เจ้าหน้าทีบริ หารของกลุ่มบริ ษทั ผูบ้ ริ หารเชื อว่าการใช้กาํ ไรก่อนภาษีเงิ นได้ในการวัดผลการดําเนิ นงานนัน เป็ นข้อมูลทีเหมาะสมในการประเมินผลการดําเนินงานของส่ วนงานและสอดคล้องกับกิจการอืนทีดาํ เนินธุ รกิจ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

- 81 -

201

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริ ษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ น วสิ 2559 บริ ษษัทัทบแอดวานซ์ โฟร์ สํบริาหรั ปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันอิอิทีนน 31 วาคม แอดวานซ์ โฟร์ธันเซอร์ เซอร์ วสิ จํจําากักัดด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษษัทัทย่ย่ ออยย สํหมายเหตุ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินน ข้ อมูลตามส่ วนทีรธัายงาน สํสํ าาหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธันนวาคม วาคม 2559 2559 ข้ อมูลตามส่ วนทีราหรั ายงาน ผลการดํ าเนินงานสํ บปี สินสุดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

ผลการดํ าเนินงานสํ บปี สินสุดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี ข้ อมูลตามส่ วนทีราหรั ายงาน บริการโทรศัพท์ เคลือนที ข้อมูลลตามส่ ตามส่ววนทีนทีรายงาน ่รายงาน

และศูนนสุย์ ใดห้ ขวั่ านวสาร ผลการดํ ธันวาคม ขายเครื มีดงั นีองโทรศัพท์ นที ธันวาคม มีดงั นี ผลการดําาเนิ เนินนงานสํ งานสําาหรั หรับบบริปีปีกสิสิารโทรศั นสุดพวัท์นเคลืทีทีอ 31 31 ทางโทรศัพท์ เคลือนที

ขายเครื องโทรศัพท์ และศู นย์ ให้ ข่าวสาร 2559 2559 2558 บริการโทรศั พท์พเท์คลื2558 อนที ทางโทรศั เคลือนที บริ การโทรศัพ พท์ เคลื อนที  ่ บริ2559 กและศู ารโทรศั เคลื2558 ่อนที ขายเครื  อ งโทรศั พ ท์ นย์ ให้ ข่าท์วสาร 2559 ขายเครื อ่องโทรศั พ2558 ท์พท์ และศูนนย์ย์ ใให้ห้ขข่ า่าวสาร และศู วสาร ขายเครื งโทรศั รายได้จากลูกค้าภายนอก 126,046 126,435 23,947 27,827 ทางโทรศัพท์ เคลือนที ทางโทรศัพพ ท์ ท์ เคลือ่อนที ทางโทรศั เคลื นที ่ 2558 2559 2558 รายได้จากลูกค้าภายนอก 2559 126,046 126,435 23,947 27,827 2559 2558 2559 2558 รายได้จากการลงทุน 184 268 18 14 2559 2558 2559 2558 ต้รายได้ นทุนจทางการเงิ น (4,233) (1,958) (2) (2) ากลูกค้าภายนอก 126,046 126,435 23,947 27,827 รายได้จจากลู ากการลงทุ น 184 268 18 14 รายได้ กค้าภายนอก 126,046 126,435 23,947 27,827 ค่าเสื อมราคาและ ต้นทุนทางการเงิน (4,233) (1,958) (2) (2) (20,950) (20,291) (6) (7) ค่าตัดจจํากการลงทุ าหน่าย น 184 268 18 14 ค่รายได้ า เสื  อ มราคาและ จ่ายที ากการลงทุ นาคัญ 184 268 18 14 (23,011) (15,064) (2,691) (1,119) ค่ต้รายได้ านใช้ จ ม  ี ส าระสํ (4,233) (1,958) (2) (2) (20,950) (20,291) (6) (7) ค่าทุทุตันนดทางการเงิ จําหน่าย นน ทางการเงิ (4,233) (1,958) (2) (2) ไร อ(ขาดทุ น) ของ กํค่ต้าานเสื ่มราคาและ (23,011) (15,064) (2,691) (1,119) ค่ค่าาเสื ใช้ อจมราคาและ ายทีมีสาระสําคัญ 39,354 51,185 (3,694) (1,476) ส่าวตันงานก่ (20,291) (6) (7) ดจําหน่อนานภาษี ย เงินได้ (20,950) กํค่ค่าไร (20,950) (20,291) (6) (7) าตัด(ขาดทุ จําหน่าย) ของ ่ (23,011) (15,064) (2,691) (1,119) ค่ส่าใช้ จ า ยที ม  ี ส าระสํ า คั ญ 39,354 51,185 (3,694) (1,476) ว นงานก่ อ นภาษี เ งิ น ได้ ่ (23,011) (2,691) ายทีมีสาระสําคัญ สิค่กํกํนาาาไรไรใช้ ทรัจ(ขาดทุ พย์ แนละหนี  ินตามส่ วนงาน ณ วัน(15,064) ที 31 ธันวาคม มีดงั นี (1,119) ) ของ ส (ขาดทุน) ของ 39,354 (3,694) วนงานก่อนภาษีเงินได้ สินส่ส่ทรั พย์ แอนภาษี ละหนี  ได้ินตามส่ วนงาน ณ วัน51,185 ที 31 ธันวาคม มีดงั นี (1,476) 39,354 51,185 (3,694) (1,476) วนงานก่ เงินส

บริการโทรศัพท์ เคลือนที ทางโทรศัพท์

และศู นย์ให้พข่าวสาร บริ กการโทรศั คลือ่อนที นที ่ บริ ท์ เคลื 2559 บริ ก ารโทรศั พขท์พ่าเวสาร อนที ทางโทรศั ท์คลื2558 และศู น ย์ ใ ห้ และศู นย์ให้ ข่าพวสาร ทางโทรศั ท์2558 และศู นย์ให้ ข่าวสาร 2559 ทางโทรศั พ ท์ สิ นทรัพย์ส่วนงาน 262,117 ทางโทรศัพท์170,199 2559 2558

เคลื องโทรศั อนที พท์ ขายเครื 2559 เคลือ่อนที  2558พท์ ขายเครื งโทรศั ขายเครืเคลื  องโทรศั พ่ ท์ อ ่ นที ขายเครื พท์ 2559  องโทรศั2558 เคลือนที 9,892 7,375 2559เคลือนที 2558 2559 2558 4,932 4,758 2559 2558 7,375 9,892

หน่ วย : ล้ านบาท

(1) 2,157 2,1572 (1) (711) 2 2 (30) (1) (711) (1) (30) 205 (711) (711) (30) 205 (30)

1,014 1,0149 (197) 9 9 (111) -(197) (111) (555) (197) (197) (111) (555) (111)

หน่ วย : ล้ านบาท รวมส่ วนงานที รายงาน หน่ววนงานที ย : ล้ านบาท รวมส่  หน่ วย : ล้ านบาท หน่ นบาท 2559 วย : ล้า2558 รายงาน วนงานที2558  2559รวมส่ รวมส่ วนงานที155,276  152,150 รายงาน รายงาน่รายงาน รวมส่วนงานที 2559 2558 152,150 155,276 2559 2558 204 291 2559 2558 (4,236) (1,960) 152,150 155,276 204 291 152,150 155,276 (4,236) (1,960) (21,667) (20,495) 204 291 204 291 (25,732) (16,294) (4,236) (1,960) (21,667) (20,495) (4,236) (1,960) (25,732) (16,294) 35,865 49,154 (21,667) (20,495) (21,667) (20,495) (25,732) (16,294) 35,865 49,154 (25,732) (16,294)

205 205

(555) (555)

35,865 49,154 หน่ วย : ล้ านบาท 35,865 49,154

บริการสื อสารข้ อมูล ผ่บริ านสายโทรศั พท์อแมูละ การสื อสารข้ ล อิผ่นาเตอร์ เ น็ ต ความเร็ ว พท์อแมูละลสู ง บริบรินสายโทรศั กการสื ่อ สารข้ สารข้ ารสื อมูล 2558 บริ การสื อท์มูแวลละ อิผ่น2559 เตอร์ เน็ อตสารข้ ความเร็ สู ง า นสายโทรศั พ านสายโทรศั พท์ และ อินผ่ผ่2559 เตอร์ เ น็ ต ความเร็ ว านสายโทรศัพ2558 ท์ และสูง อิน6,178 เตอร์ เน็ตความเร็ วสู ง 1,670 อินเตอร์ วสู ง 2559เน็ตความเร็ 2558 2559 2558 5,225 1,303 2559 2558 6,178 1,670

หน่ วย : ล้ านบาท รวมส่ วนงานที หน่ ววยย: :ล้ล้านบาท หน่ านบาท รายงาน หน่ ย : ล้ านบาท รวมส่ ววนงานที  2559 รายงาน 2558 รวมส่ วนงานที  รวมส่ วนงานที ่รายงาน รวมส่ วนงานที  2559 2558 รายงาน 181,761 275,670 2559รายงาน 2558 2559 2558 232,962 133,268 2559 2558 275,670 181,761

รายงานทางการเงิน

สิสินนทรั ววนนงาน ณวสาร วันทีที 31 ธันวาคม มีดดงงั​ั นีนี พท์ ทรัพพย์ย์ แและหนี ละหนีสส ิ​ินนตามส่ ตามส่ นงาน ย์ให้พขท์่ าณ ขายเครืมี องโทรศั บริและศู การโทรศั เคลืวัอนนที  31 ธันวาคม

บริการสื อสารข้ อมูล ผ่านสายโทรศัพท์ และ บริการสื อสารข้ อมูล อินเตอร์ เน็ตความเร็ วสู ง ผ่านสายโทรศัพท์ และ 2559การสื อสารข้ อ2558 มูวลสู ง อินบริ เน็ อตสารข้ ความเร็ บริเตอร์ การสื ารสื อมูอ ล บริ ก อ ่ สารข้ ผ่ า นสายโทรศั พ ท์ แ ละมูล 2558 ผ่า2,157 านสายโทรศั นสายโทรศัพท์พ แ1,014 ละและ ผ่อิ2559 ท์ เตอร์ เน็ตความเร็ วสู ง เตอร์ เน็น็ตตความเร็ วสู งวสูง อินอินนเตอร์ ความเร็ 2559 2558 2,157 1,014 2559 2558 25592 25589

2559 2558 222,805 127,207 หนี สินพส่ย์วสนงาน 2559 2558 ่วนงาน 262,117 170,199 สิ น ทรั 222,805 127,207 4,932 4,758 5,225 1,303 232,962 133,268 หนีสินส่วนงาน 262,117 181,761 พย์ส่วนงาน มูสิสิลนนค่ทรั าการเพิ ม ขึน ของสิ นทรัพย์ ไม่ ห170,199 มุนเวียนทีม สี 7,375 าระสําคัญ สํา9,892 หรับปี สินสุ ด6,178 วันที 31 ธัน1,670 วาคม มีดงั นี275,670  262,117 170,199 7,375 9,892 6,178 1,670 275,670 181,761 ทรั พย์ส่วนงาน 222,805 ิ นส่วนงาน านบาท มูหนี ลค่ สสาการเพิ ม ขึน ของสิ นทรัพย์ ไม่ ห127,207 มุนเวียนทีม สี 4,932 าระสําคัญ สํา4,758 หรับปี สินสุ ด5,225 วันที 31 ธัน1,303 วาคม มีดงั นี232,962  หน่ วย : ล้133,268 222,805 127,207 4,932 4,758 5,225 1,303 232,962 133,268 หนี ิ นส่วนงาน บริการโทรศัพท์ เคลือนที บริการสื อสารข้ อมูล หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท มูมูลลค่ค่ าาการเพิ ม  ขึ น  ของสิ น ทรั พ ย์ ไ ม่ ห มุ น เวี ย นที ม  ส ี าระสํ า คั ญ สํ า หรั บ ปี สิ  น สุ ดดานสายโทรศั วัวันนทีที 31 ธัธัพนนท์วาคม มีมีดดงงั​ั นีนี รวมส่ การเพิม ขึน ของสิบริและศู นกทรั พ ย์ ไ ม่ ห มุ น เวี ย นที ม  ส ี าระสํ า คั ญ สํ า หรั บ ปี สิ  น สุ 31 วาคม ขายเครื  อ งโทรศั พ ท์ ผ่ แ ละ วนงานที น ย์ ใ ห้ ข ่ า วสาร ารโทรศั พ ท์ เ คลื  อ นที  บริ ก ารสื  อ สารข้ อ มู ล บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการสื่อสารข้อมูล หน่ วย : ล้ านบาท ทางโทรศั พข่ าวสาร ท์วสาร เคลื องโทรศั อ่อนที  พท์พท์ อิผ่นาาเตอร์ เน็ตความเร็ วละละ สู ง รายงาน หน่ วนงานที ย : ล้ านบาท และศู น ย์ ใ ห้ า ่ ขายเครื งโทรศั นสายโทรศั พ ท์ แ และศู น ย์ ใ ห้ ข ขายเครื นสายโทรศั พ ท์ แ รวมส่ ว  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์บริเซอร์ วสิ พจํท์าเพคลื กัท์ดอนที (มหาชน) และบริ ษนทีัท่ ย่ อย อินบริเตอร์ การโทรศั  การสืเน็ อตสารข้ อมูลวสูง รวมส่วนงานที่รายงาน ทางโทรศั เคลื อ ่ ความเร็ 2559 2559 เคลือนที 2558 2558 2559 รายงาน 2558 บริ การโทรศั พท์พเท์คลื2558 อนที บริเตอร์ การสื อมูวลสู ง ทางโทรศั อิน2559 เน็ อตสารข้ ความเร็ ขายเครื องโทรศั2558 พท์ ผ่2559 านสายโทรศัพ2558 ท์ และ รวมส่ วนงานที  และศู หมายเหตุประกอบงบการเงิ น นนย์ย์ใให้ห้ ขข่​่ าาวสาร 2559 2558 2559 2559 2558 ขายเครื พท์ ผ่2559 านสายโทรศัพ2558 ท์ และ รวมส่ วนงานที  และศู วสาร 2559 2558 2559  องโทรศั2558 2559 2558 ทางโทรศัพท์73,816 เคลือนที 4 อิน3,104 เตอร์ เน็ตความเร็ วสู ง รายงาน 75,504 117,087 1 1,684 120,192 รายจ่ า ยฝ่ ายทุ น ทางโทรศั พท์ เคลือนที อินเตอร์ เน็ตความเร็วสู ง รายงาน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 117,087 73,816 1 4 3,104 1,684 120,192 75,504 รายจ่ายฝ่ ายทุน

วนงานภู ส่รายจ่ นงานภู าสตร์ 117,087 ายฝ่ ายทุมนมิศิศาสตร์ รายจ่ายฝ่ ายทุน 117,087

73,816 73,816

1 1

4 4

3,104 3,104

1,684 1,684

120,192 120,192

75,504 75,504

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ดําเนิ นธุ รกิจเฉพาะในประเทศเท่านัน ไม่มีรายได้จากต่างประเทศหรื อสิ นทรัพย์ ในต่างประเทศทีมีสาระสําคัญ ลูกค้ ารายใหญ่ - 82 ไม่มีลูกค้ารายใดรายหนึ งเป็ นลู กค้ารายใหญ่ เนื- อ82 งจากลู ั และบริ ษทั มีลูกค้าจํานวนมาก - กค้าของกลุ่มบริ ษท ซึงได้แก่ผใู ้ ช้บริ การทังภาคธุ รกิจและผูใ้ ช้บริ การรายย่ อยทัว ไป - 82 - 82 -

25. รายได้ จากการให้ บริการภายใต้ ข้อบังคับของ กสทช. รายงานประจำ�ปี 2559 รายได้จากการให้บริ การภายใต้ขอ้ บังคับของ กสทช. ของบริ ษทั สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้ วย

202


หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ส่ วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ดําเนิ นธุ รกิจเฉพาะในประเทศเท่านัน ไม่มีรายได้จากต่างประเทศหรื อสิ นทรัพย์ ในต่างประเทศทีมีสาระสําคัญ

ลูกกค้ค้าารายใหญ่ รายใหญ่

ไม่มีลูกค้ารายใดรายหนึ งเป็ นลู กค้ารายใหญ่ เนื องจากลู กค้าของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีลูกค้าจํานวนมาก ซึงได้แก่ผใู ้ ช้บริ การทังภาคธุ รกิจและผูใ้ ช้บริ การรายย่อยทัว ไป

25. รายได้ รายได้ จจากการให้ ข้อบัขง้อคับับงของ กสทช.กสทช. 25. ากการให้บริบกริารภายใต้ การภายใต้ คับของ

รายได้จากการให้บริ การภายใต้ขอ้ บังคับของ กสทช. ของบริ ษทั สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

หน่ หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 1 4,950 31,530 4,950 31,531

รายงานทางการเงิน

ใบอนุญาตการให้บริ การอินเทอร์เน็ต แบบทีหนึง รายได้ค่าบริ การอืน รวม

26. รายได้ รายได้ จจากการลงทุ นน 26. ากการลงทุ

รายได้จากการลงทุนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย หมายเหตุ เงินปันผลรับ บริ ษทั ย่อย อืน ๆ ดอกเบีย รับ บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ร่ วม สถาบันการเงิน

หมายเหตุ

งบการเงิ รวม งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558

10, 34

34 34

- 83 -

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

-

-

-

-

งบการเงิ การ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ 2559 2558 2559 2558 40 40

204 204 204

รวม

203

หน่หน่วยวย: :ล้ล้าานบาท นบาท

2 249 251 291

28,009 28,009

36,725 20 36,745

1,508

1,520

-

-

23 1,531 29,540

49 1,569 38,314


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

27. ากการดำ นงานอื 27. รายได้ รายได้ จจากการดํ าเนิ�นเนิงานอื น ่น

รายได้จากการดําเนินงานอืนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย

หนีสูญได้รับคืน รายได้ค่าบริ หารจัดการ อืนๆ รวม

งบการเงิ รวม งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558

หมายเหตุ หมายเหตุ

112 252 364

34 34

111 337 448

นบาท หน่หน่ววยย::ล้ล้าานบาท งบการเงิ การ งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ 2559 2558 2559 2558 34 33 1,542 209 87 267 1,663 509

28. รองเลีย งชี้ยงชี 28. กองทุ กองทุนนสํสำา�รองเลี พพ

รายงานทางการเงิน

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้จดั ตังกองทุนสํารองเลียงชี พสําหรับพนักงานของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั บนพืนฐาน ความสมัครใจของพนักงานในการเป็ นสมาชิ กของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั จ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตรา ร้อยละ 7 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสํารองเลียงชี พนีได้จดทะเบียนเป็ นกองทุนสํารองเลียงชี พ ตามข้อกําหนดของกระทรวงการคลังและจัดการกองทุนโดยผูจ้ ดั การกองทุนทีได้รับอนุญาต

29. ค่าาใช้ใช้จจ่ า่ายตามลั 29. ยตามลักษณะ กษณะ

งบกําไรขาดทุนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ได้รวมการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามหน้าที ค่าใช้จ่าย ตามลักษณะทีมีสาระสําคัญได้เปิ ดเผยตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับต่างๆ ดังนี

ค่าเสื อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ค่าเสื อมราคาและค่าตัดจําหน่ายของสิ นทรัพย์ ภายใต้สญ ั ญาอนุญาตให้ดาํ เนินการ ค่าตัดจําหน่ายใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถี โทรคมนาคม ค่าตัดจําหน่ายของสิ นทรัพย์ทีไม่มีตวั ตน หนีสงสัยจะสูญและหนีสูญ (หนีสูญได้รับคืน) ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าใช้จ่ายเกียวกับพนักงาน

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม หมายเหตุ หมายเหตุ 2559 2558 2559 2558 11 15,465 10,153

หน่หน่ววยย::ล้ล้าานบาท นบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจการ งบการเงิ การ 2559 2558 2559 2558 127 289

12

-

8,606

-

8,606

14 15 7

5,545 658 1,538 16,012 8,182

1,200 536 1,315 6,901 8,078

25 (2) 22 772

41 138 1,183

- 84 -

รายงานประจำ�ปี 2559

204


บริ บริษษัทัท แอดวานซ์ แอดวานซ์ อิอินนโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ ววสสิ​ิ จํจําากักัดด (มหาชน) (มหาชน) และบริ และบริษษัทัทย่ย่ ออยย หมายเหตุ หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินน สํสํ าาหรั หรับบปีปี สิสินนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2559 2559 30. 30. ทางการเงินนน 30. ต้ต้ นนทุทุนนทางการเงิ ทางการเงิ

ต้ต้นนทุทุนนทางการเงิ ทางการเงินนสํสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม ประกอบด้ ประกอบด้ววยย

บริ บริ ษษททั​ั ย่ย่ออยย บริ บริ ษษททั​ั ร่ร่ ววมและกิ มและกิจจการที การทีเเกีกียยวข้ วข้อองกั งกันน สถาบั สถาบันนการเงิ การเงินน รวม รวม

หมายเหตุ หมายเหตุ หมายเหตุ 34 34 34 34

งบการเงิ รวม งบการเงิ งบการเงินนนรวม รวม 2559 2558 2559 2558 2559 2558 --

35 35 4,201 4,201 4,236 4,236

--

55 1,954 1,954 1,959 1,959

หน่ านบาท หน่หน่ววยยวย:: ล้ล้: าาล้นบาท นบาท งบการเงิ เฉพาะกิ การ งบการเงิ งบการเงินนนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจจการ การ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 91 57 91 57 66 -521 653 521 653 618 710 618 710

31. 31. ยภาษีเเงิงิเนนงินได้ 31. ค่ค่ าาใช้ ใช้ใช้จจจ่​่ าา่ายภาษี ยภาษี ได้ได้

รายงานทางการเงิน

ค่ค่าาใช้ ใช้จจ่า่ายภาษี ยภาษีเเงิงินนได้ ได้ททีีรรั​ับบรูรู ้​้ใในงบกํ นงบกําาไรขาดทุ ไรขาดทุนนสํสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม ประกอบด้ ประกอบด้ววยย

ค่ค่ าาใช้ ใช้ จจ่​่ าายภาษี ยภาษีเเงิงินนได้ ได้ ขของงวดปั องงวดปัจจจุจุบบันัน สํสําาหรั หรับบปีปี ปัปั จจจุจุบบนนั​ั รายการปรั รายการปรับบปรุ ปรุ งงสํสําาหรั หรับบปีปี ก่ก่ออนๆ นๆ ค่ค่ าาใช้ ใช้ จจ่​่ าายภาษี ยภาษีเเงิงินนได้ ได้ รรอการตั อการตัดดบับัญ ญชีชี การเปลี การเปลียยนแปลงของผลแตกต่ นแปลงของผลแตกต่าางชั งชัวว คราว คราว รวมค่ า ใช้ จ ่ า ยภาษี เ งิ น ได้ รวมค่ าใช้ จ่ายภาษีเงินได้

หมายเหตุ หมายเหตุ หมายเหตุ

งบการเงิ รวม งบการเงิ งบการเงินนนรวม รวม 2559 2558 2559 2558 2559 2558

16 16

- 85 - 85 -

205

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

6,513 6,513 28 28 6,541 6,541

9,666 9,666 14 14 9,680 9,680

(1,366) (1,366) 5,175 5,175

319 319 9,999 9,999

หน่ านบาท หน่หน่ววยยวย:: ล้ล้: าาล้นบาท นบาท งบการเงิ เฉพาะกิ การ งบการเงิ งบการเงินนนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจจการ การ 2559 2558 2559 2558 2559 2558 ----

--

(803) (803) (803) (803)

11 11 600 600 601 601


หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริ ษัทบแอดวานซ์ โฟร์ธันเซอร์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย สํ าหรั ปี สินสุ ดวันอิทีน 31 วาคมวสิ 2559 ภาษีปเงิระกอบงบการเงิ นได้ทีรับรู ้ในกํนาไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้วย หมายเหตุ วย : ล้ านบาท สํ าหรับภาษี ปี สินเงิสุนดได้วันทที​ีรับ 31รู ้ใธันกํ นวาคม 2559นเบ็ดเสร็ จอืนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้หน่ าไรขาดทุ วย

อัอัตตราภาษี ราภาษี กําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ รายได้ทีไม่ตอ้ งเสี ยภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รายจ่ายฝ่ ายทุนทีมีสิทธิหกั ได้เพิมขึน การใช้ผลแตกต่างชัว คราวทีเดิมไม่ได้บนั ทึก รายการปรับปรุ งสําหรับปี ก่อนๆ ผลกระทบจากการตัดรายการกับบริ ษทั ย่อย ผลขาดทุนในปี ปัจจุบนั ทีไม่ได้รับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ตัดจําหน่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี รวม

2559 2559

(ร้(ร้ออยละ) ยละ)

งบการเงินรวม งบการเงิ

ล้านบาท

35,865 7,173 97 (835) (1,281) 28 (7)

20

- 86 -

ราภาษี อัอัตตราภาษี ยละ) (ร้(ร้ออยละ)

20

5,175

- 86 -

14

20

- 86 -

อัตราภาษี

2559

งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราภาษี

รายงานทางการเงิน

งบการเงินรวม 2558 หน่ วย : ล้ านบาท ภาษีเงินได้ทีรับรู ้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็ จอืนสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม ประกอบด้ วย งบการเงิ รายได้นรวม หน่ หน่ววยย:: ล้ล้าานบาท นบาท ก่ อน (ค่ า2558 ใช้ จ่าย) สุ ทธิจาก งบการเงิ รวม นนรวม รายได้ ภาษีเงินได้ ภาษี เงินได้ ภาษีเงินได้ 2558 2558 ก่ อ น (ค่ า ใช้ จ ่ า ย) สุ ทธิจาก ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย รายได้ (ค่าใช้จา่ ย) สุทธิจาก รายได้ เงิ(637) นเงิได้ เเงิงินน129 ภาษีเงิเนงิ(508) นได้ได้ ภาษี ได้ได้ ก่อภาษี นภาษี นได้ ภาษี ภาษี สําหรับภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ก่ อน (ค่ าใช้ จ่าย) สุ ทธิจาก ขาดทุ รวม นจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย (637) 129 (508) ภาษีเงิ(637) นได้ ภาษีเงิน129 ได้ ภาษีเงิ(508) นได้ สําหรับภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ขาดทุ รวม นจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย (637) 129 หน่ วย : ล้ า(508) นบาท สําหรับภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน (637) งบการเงินเฉพาะกิ 129 จการ (508) นบาท หน่ววยย :: ล้ล้าา(508) นบาท รวม (637) 2558129 หน่ งบการเงิ การ งบการเงิรายได้ นเฉพาะกิจการ 2558 หน่ วย : ล้ านบาท 2558 ก่ อน (ค่ า ใช้ จ ่ า ย) จาก รายได้น(ค่เฉพาะกิ าใช้จา่ ย)จการ สุสุททธิจธิาก งบการเงิ รายได้ เงินเงิได้ ภาษีเงิเนงินได้ได้ ภาษีเเงิงินนได้ได้ ก่อภาษี นภาษี นได้ ภาษี ภาษี 2558 ก่ อ น (ค่ า ใช้ จ ่ า ย) สุ ทธิจาก บริษัทกํแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํกาคณิ กัดต(มหาชน) และบริ าไรจากการประมาณการตามหลั ศาสตร์ประกั นภัย ษัทย่ อย รายได้ ภาษีเงิน14 ได้ ภาษี เงิน(3) ได้ ภาษีเงิน11 ได้ บภาระผูกพันผลประโยชน์ พนักงาน หมายเหตุสําปหรั ระกอบงบการเงิ น ก่ อน (ค่ าใช้ จ่าย) สุ ทธิจาก กําไรจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย 14 (3) 11 สํ าหรับรวม ปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ภาษีเงิน14 ได้ ภาษีเงิน(3) ได้ ภาษีเงิน11 ได้ สําหรับภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน กํรวม าไรจากการประมาณการตามหลักคณิ ตศาสตร์ประกันภัย 14 (3) 11 การกระทบยอดเพื อ  หาอั ต ราภาษี ท  ี แ ท้ จ ริ ง สํ า หรั บ ปี สิ น สุ ด วั น ที  31 ธั น วาคม มี ด ง ั นี   สําหรับภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน 14 (3) 11 หน่ ว ย : ล้ า นบาท รวม 14 (3) 11 2558 2558

ล้านบาท

49,154 9,831 (6) 9 (1,042) 14 (32) 1,087 138 9,999

หน่ วย : ล้านบาท 2558รายงานประจำ�ปี 2559

206


รายการปรับปรุ งสําหรับปี ก่อนๆ ผลกระทบจากการตัดรายการกับบริ ษทั ย่อย ผลขาดทุนในปี ปัจจุบนั ทีไม่ได้รับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ตัดจําหน่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี รวม

14

อัอัตตราภาษี ราภาษี (ร้(ร้ออยละ) ยละ)

2559 2559

รายงานทางการเงิน

กําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ 20 รายได้ทีไม่ตอ้ งเสี ยภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี การใช้ผลแตกต่างชัว คราวทีเดิมไม่ได้บนั ทึก รายการปรับปรุ งสําหรับปี ก่อนๆ ผลขาดทุนในปี ปัจจุบนั ทีไม่ได้รับรู ้เป็ นสิ นทรัพย์ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัท ตัแอดวานซ์ เซอร์ วดบัสิ ญจํชีากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย ดจําหน่ายภาษีอิเนงินโฟร์ ได้รอการตั หมายเหตุ (3) รวมประกอบงบการเงิน

สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

28 (7)

14 (32)

5,175

1,087 138 9,999

20

หน่ วย : ล้านบาท

งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจการ งบการเงิ การ

ล้านบาท

29,159 5,832 (5,602) (17) (1,016) -

ราภาษี อัอัตตราภาษี ยละ) (ร้(ร้ออยละ)

20

(803)

2

2558 2558

ล้านบาท

39,198 7,840 (7,349) 58 (1,109) 1 1,022 138 601

ตามพระราชกฤษฎี ก าฉบับ ที 577 พ.ศ. 2557 ออกตามความในประมวลรั ษ ฎากรว่าด้วยการลดอัตรา 87 - 2557 ให้คงจัดเก็บอัตราภาษี เงิ นได้นิติบุคคลในอัตรา รัษฎากรซึ งมีผลบังคับใช้ต งั แต่วนั ที 11 พฤศจิก-ายน ร้อยละ 20 ของกําไรสุ ทธิ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีทีเริ มในหรื อหลังวันที 1 มกราคม 2558 แต่ไม่เกินวันที 31 ธันวาคม 2558 พระราชบัญ ญัติ แก้ไขเพิ ม เติ ม ประมวลรั ษ ฎากร (ฉบับ ที 42) พ.ศ. 2559 ซึ งมี ผ ลบังคับ ใช้ ต ังแต่ ว นั ที 5 มี นาคม 2559 เป็ นต้นไป ให้ลดอัตราภาษี เงิ นได้นิติบุคคลจากร้ อยละ 30 เป็ นร้ อยละ 20 ของกําไรสุ ทธิ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีทีเริ มในหรื อหลังวันที 1 มกราคม 2559 เป็ นต้นไป กลุ่ มบริ ษ ทั และบริ ษ ทั ใช้อตั ราภาษี เงิ นได้ร้อยละ 20 ในการคํานวณค่าใช้จ่ายภาษี เงิ นได้นิติบุ คคล และ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี สําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 และ 2558 32. กําไรต่ อหุ้น กําไรต่ อหุ้นขันพืน ฐาน กําไรต่อหุ ้นขันพืนฐานสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม คํานวณจากกําไรสําหรับปี ทีเป็ นส่ วนของผูถ้ ือหุ ้น สามัญของบริ ษทั และจํานวนหุ ้นสามัญทีออกจําหน่ายแล้วระหว่างปี ในแต่ละปี โดยถัวเฉลี ยถ่วงนําหนัก โดยแสดงการคํานวณดังนี

207

กําไรทีเ ป็ นส่ วนของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท (ขันพืนฐาน)

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2559 2558

(ล้ านบาท/ล้ านหุ้น) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558

30,667

29,962

39,152

38,597


31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2558 2558 พระราชบั พระราชบัญ ญ ญั ญัตติ​ิ แแก้ก้ไไขเพิ ขเพิ มม เติ เติ มม ประมวลรั ประมวลรั ษษ ฎากร ฎากร (ฉบั (ฉบับบ ทีที 42) 42) พ.ศ. พ.ศ. 2559 2559 ซึซึ งมี งมี ผผ ลบั ลบังงคัคับบ ใช้ ใช้ ตต ั​ังงแต่ แต่ วว นนั​ั ทีที าคม 2559 2559 เป็ 55 มีมี นนาคม เป็ นต้ นต้นนไป ไป ให้ ให้ลลดอั ดอัตตราภาษี ราภาษี เเงิงิ นนได้ ได้นนิ​ิ ตติ​ิ บบุ​ุ คคคลจากร้ คลจากร้ ออยละ ยละ 30 30 เป็ เป็ นร้ นร้ ออยละ ยละ 20 20 ของกํ ของกําาไรสุ ไรสุ ททธิธิ หรับบรอบระยะเวลาบั รอบระยะเวลาบัญ ญชีชีททีีเเริริ มมในหรื ในหรื ออหลั หลังงวัวันนทีที 11 มกราคม มกราคม 2559 2559 เป็ เป็ นนต้ต้นนไป ไป สํสําาหรั กลุ กลุ่​่ มมบริ บริ ษษ ททั​ั และบริ และบริ ษษ ททั​ั ใช้ ใช้ออตตั​ั ราภาษี ราภาษี เเงิงิ นนได้ ได้รร้​้ ออยละ ยละ 20 20 ในการคํ ในการคําานวณค่ นวณค่าาใช้ ใช้จจ่​่าายภาษี ยภาษี เเงิงิ นนได้ ได้นนิ​ิ ตติ​ิ บบุ​ุ คคคล คล และ และ ภาษีเเงิงินนได้ ภาษี ได้รรอตั อตัดดบับัญ ญชีชี สํสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม 2559 2559 และ และ 2558 2558

32. กำ�ไรต่อหุ้น

32. 32. กํกําาไรต่ ไรต่ ออหุหุ้​้ นน กำกํา�ไรต่ ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กําไรต่ ออหุหุ้​้ นนขัขั นนพืพืนน ฐาน ฐาน กํกําาไรต่ ไรต่ออหุหุ ้น้นขัขั นนพืพืนนฐานสํ ฐานสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม คํคําานวณจากกํ นวณจากกําาไรสํ ไรสําาหรั หรับบปีปี ทีทีเเป็ป็ นส่ นส่ ววนของผู นของผูถถ้​้ ื​ืออหุหุ ้น้น สามั สามัญ ญของบริ ของบริ ษษททั​ั และจํ และจําานวนหุ นวนหุ ้​้นนสามั สามัญ ญทีทีอออกจํ อกจําาหน่ หน่าายแล้ ยแล้ววระหว่ ระหว่าางปี งปี ในแต่ ในแต่ลละปี ะปี โดยถั โดยถัววเฉลี เฉลียยถ่ถ่ววงนํ งนํ าาหนั หนักก โดยแสดงการคํ โดยแสดงการคําานวณดั นวณดังงนีนี งบการเงิ งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558 2559 2558

สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

39,152 39,152

29,962 29,962

38,597 38,597

2,973 2,973 13.17 13.17

2,973 2,973 10.08 10.08

2,973 2,973 12.98 12.98

รายงานทางการเงิน

กํกําาไรที ไรทีเเ ป็ป็ นส่ นส่ ววนของผู นของผู้​้ถถื​ืออหุหุ้​้ นนสามั สามัญ ญของบริ ของบริษษัทัท (ขั 30,667 (ขันนพืพืนนฐาน) ฐาน) 30,667 จําานวนหุ นวนหุ้​้ นนสามั สามัอินญ ญโดยวิ โดยวิธธีถีถัวัวเฉลี เฉลีย ถ่ วงนํ หนั บริ กักัดดาา หนั (มหาชน) และบริ กก บริษษัทัทจํแอดวานซ์ แอดวานซ์ อินโฟร์ โฟร์ เซอร์ เซอร์ ววสสิ​ิ ย ถ่จํจํวาางนํ (มหาชน) และบริษษัทัทย่ย่ ออยย (ขั นนฐาน) 2,973 (ขัปนนพืพืระกอบงบการเงิ ฐาน) 2,973 หมายเหตุ นน หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ (บาท) 10.31 ไรต่ (ขัทีนน พืพื31นนฐาน) ฐาน) (บาท)2559 10.31 สํ าหรับกํกํปีาาไรต่ สินออสุหุหุด้​้ นนวัน(ขั ธันวาคม

(ล้ านบาท/ล้าาานหุ นหุ้​้ นน้น))) (ล้(ล้าานบาท/ล้ นบาท/ล้ นหุ งบการเงิ เฉพาะกิ การ งบการเงิ งบการเงินนนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจจการ การ 2559 2558 2559 2558 2559 2558

ไรต่ ปรั ลด กำกํกําา�ไรต่ ไรต่อออหุหุหุ้​้ นน้นปรั ปรับบบลด ลด

กํกําาไรต่ ไรต่ออหุหุ ้น้นปรั ปรับบลดสํ ลดสําาหรั หรับบปีปี สิสิ นนสุสุ ดดวัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม คํคําานวณจากกํ นวณจากกําาไรสํ ไรสําาหรั หรับบปีปี ทีทีเเป็ป็ นส่ นส่ ววนของผู นของผูถถ้​้ ื​ืออหุหุ ้​้นน ของบริ ของบริ ษษททั​ั และจํ และจําานวนหุ นวนหุ ้​้นนสามั สามัญ ญทีทีอออกจํ อกจําาหน่ หน่ าายแล้ ยแล้ววระหว่ ระหว่าางปี งปี ในแต่ ในแต่ลละปี ะปี โดยวิ โดยวิธธี​ี ถถววั​ั เฉลี เฉลี ยยถ่ถ่ววงนํ งนํ าาหนั หนักก หลั หลังงจากที จากทีไได้ด้ปปรัรับบปรุ ปรุ งงผลกระทบของหุ ผลกระทบของหุนน้​้ ปรั ปรับบลด ลด ดัดังงนีนี งบการเงินรวม

กํกําาไรที ไรทีเเป็ป็ นส่ นส่ววนของผู นของผูถถ้​้ ื​ืออหุหุนน้​้ ของบริ ของบริ ษษททั​ั (ขั (ขั นนพืพืนนฐาน) ฐาน) กํกําาไรที ไรทีเเ ป็ป็ นส่ นส่ ววนของผู นของผู้​้ถถื​ืออหุหุ้​้ นนของบริ ของบริษษัทัท (ปรั (ปรับบลด) ลด) จํจําานวนหุ นวนหุนน้​้ สามั สามัญ ญโดยวิ โดยวิธธี​ีถถววั​ั เฉลี เฉลียยถ่ถ่ววงนํ งนํ าาหนั หนักก (ขั (ขั นนพืพืนนฐาน) ฐาน) จํจําานวนหุ ้ น นวนหุ้นสามั สามัญ ญโดยวิ โดยวิธธีถีถัวัวเฉลี เฉลียย ถ่ถ่ ววงนํ งนําา หนั หนักก (ปรั (ปรับบลด) ลด) กํกําาไรต่ ไรต่ ออหุหุ้​้ นน (ปรั (ปรับบลด) ลด) (บาท) (บาท)

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 2558 -- 88 -882559

(ล้ านหุ้​้ นน)) (ล้(ล้าานบาท/ล้ นบาท/ล้ านบาท/ล้าานหุ นหุ้น) งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558 2559 2558

30,667 30,667 30,667 30,667

39,152 39,152 39,152 39,152

29,962 29,962 29,962 29,962

38,597 38,597 38,597 38,597

2,973 2,973

2,973 2,973

2,973 2,973

2,973 2,973

2,973 2,973 10.31 10.31

2,973 2,973 13.17 13.17

2,973 2,973 10.08 10.08

2,973 2,973 12.98 12.98

33. 33. เงิเงินนปัปันนผล ผล ในการประชุ ในการประชุ มม สามั สามัญ ญ ประจํ ประจําาปีปี ผูผู ถถ้​้ ื​ื ออหุหุ ้​้ นน ของบริ ของบริ ษษ ัทัท เมื เมื ออ วัวันน ทีที 24 24 มีมี นน าคม าคม 2558 2558 ผูผู ถถ้​้ ื​ื ออหุหุ ้​้ นน มีมี มม ติติ ออนุนุ มม ัตัติ​ิ กก าร าร รายงานประจำ �ปีบ ่ จัจัดดสรรกํ า ไรเป็ นเงิ น ปั น ผลในอั ต ราหุ ้ น ละ 12.00 บาท ทั ง นี บ ริ ษ ท ั ได้ จ า ยเงิ น ปั น ผลระหว่ า งกาลสํ า หรั   สรรกําไรเป็ นเงิ นปั นผลในอัตราหุ ้นละ 12.00 บาท ทังนี บริ ษทั ได้จ่ายเงิ นปั นผลระหว่างกาลสําหรับ2559 หุ ้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 6.04 บาท เมือวันที 2 กันยายน 2557 ดังนันจึงคงเหลื อเงินปั นผลจ่ายในอัตราหุ ้นละ

208


กําไรทีเ ป็ นส่ วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ปรับลด)

30,667

39,152

29,962

38,597

จํานวนหุน้ สามัญโดยวิธีถวั เฉลียถ่วงนําหนัก (ขันพืนฐาน) จํานวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลีย ถ่ วงนํา หนัก (ปรับลด)

2,973

2,973

2,973

2,973

2,973

2,973

2,973

2,973

กําไรต่ อหุ้น (ปรับลด) (บาท)

10.31

13.17

10.08

12.98

33. ผล 33. เงินปันผล

ในการประชุ ม สามัญ ประจําปี ผู ถ้ ื อหุ ้ น ของบริ ษ ัท เมื อ วัน ที 24 มี น าคม 2558 ผู ถ้ ื อหุ ้ น มี ม ติ อนุ ม ัติก าร จัดสรรกําไรเป็ นเงิ นปั นผลในอัตราหุ ้นละ 12.00 บาท ทังนี บริ ษทั ได้จ่ายเงิ นปั นผลระหว่างกาลสําหรับ หุ ้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 6.04 บาท เมือวันที 2 กันยายน 2557 ดังนันจึงคงเหลื อเงินปั นผลจ่ายในอัตราหุ ้นละ 5.96 บาท เป็ นจํา นวนเงิ นทังสิ น 17,718 ล้านบาท เงิ นปั นผลดัง กล่าวได้จ่ายให้แก่ผูถ้ ื อหุ ้น เมื อวันที 22 เมษายน 2558

บริษัท ทีแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํษาทั กัดเมื(มหาชน) ษัท2558 ย่ อย คณะกรรมการได้อนุ ม ัติให้ จ่ายเงิ น ปั นผล  ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ  อวันที 3 สิและบริ งหาคม หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ ระหว่ างกาลสําหรับหุน้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 6.50 บาท เป็ นจํานวนเงินทังสิ น 19,324 ล้านบาท เงินปั นผล กล่ธัาวได้ จ่ายให้ แก่ผถู ้ ือหุ น้ เมือวันที 1 กันยายน 2558 สํ าหรับระหว่ ปี สินาสุงกาลดั ดวันทีง 31 นวาคม 2559

รายงานทางการเงิน

ในการประชุ ม สามัญ ประจําปี ผู ถ้ ื อหุ ้ น ของบริ ษ ัท เมื อ วัน ที 29 มี น าคม 2559 ผู ถ้ ื อหุ ้ น มี ม ติ อนุ ม ัติก าร จัดสรรกําไรเป็ นเงิ นปั นผลในอัตราหุ ้นละ 12.99 บาท ทังนี บริ ษทั ได้จ่ายเงิ นปั นผลระหว่างกาลสําหรับ หุ ้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 6.50 บาท เมือวันที 1 กันยายน 2558 ดังนันจึงคงเหลื อเงินปั นผลจ่ายในอัตราหุ ้นละ 6.49 บาท เป็ นจํา นวนเงิ นทังสิ น 19,295 ล้านบาท เงิ นปั นผลดัง กล่าวได้จ่ายให้แก่ผูถ้ ื อหุ ้น เมื อวันที 22 เมษายน 2559 - 89 ที ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษ ัท เมื อ วัน ที 4 สิ ง หาคม 2559 คณะกรรมการได้อนุ ม ัติใ ห้ จ่ายเงิ น ปั น ผล ระหว่างกาลสําหรับหุ ้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 5.79 บาท เป็ นจํานวนเงิ นทังสิ น 17,214 ล้านบาท เงินปั นผล ระหว่างกาลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผถู ้ ือหุ น้ ในวันที 1 กันยายน 2559 34. บุคคลหรื อกิจการทีเ กีย วข้ องกัน กิจการและบุคคลทีควบคุมบริ ษทั หรื อถูกควบคุมโดยบริ ษทั หรื ออยูภ่ ายใต้การควบคุมเดียวกับบริ ษทั ทังทางตรงหรื อทางอ้อมไม่วา่ จะโดยทอดเดียวหรื อหลายทอด กิจการและบุคคลดังกล่าวเป็ นบุคคลหรื อ กิจการที เกี ยวข้องกับบริ ษทั บริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ย่อยลําดับถัดไป บุ คคลที เป็ นเจ้าของส่ วนได้เสี ยใน สิ ท ธิ ออกเสี ย งของบริ ษ ทั ซึ งทําให้ผูเ้ ป็ นเจ้าของดังกล่ าวมี อิท ธิ พ ลอย่างเป็ นสาระสําคัญ เหนื อกิ จการ ผูบ้ ริ หารสําคัญรวมทังกรรมการและพนักงานของบริ ษทั และสมาชิ กในครอบครัวที ใกล้ชิดกับบุคคล เหล่านัน กิจการและบุคคลทังหมดเป็ นบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกับบริ ษทั ในการพิ จารณาความสั ม พัน ธ์ ระหว่างบุ ค คลหรื อกิ จการที เกี ย วข้องกัน ซึ ง อาจมี ข ึ น ได้ ต้องคํานึ ง ถึ ง รายละเอียดของความสัมพันธ์มากกว่ารู ปแบบทางกฎหมาย

209

ในระหว่างปี กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ดาํ เนิ นการค้าตามปกติกบั กิจการทีเกียวข้องกัน โดยกลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั ได้คิดราคาซือ-ขายสิ นค้า และบริ การกับบุคคลทีเกียวโยงกันด้วยราคาทีสมเหตุสมผล มีการเปรี ยบเทียบ กับราคากลางของตลาดในธุ รกิจนันๆ แล้ว โดยมีเงือนไขต่างๆ ตามปกติธุรกิจ ในปี 2558 รายการค่าทีปรึ กษา บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) และบริ หารงานคิดราคาตามทีตกลงร่ วมกัน โดยคํานวณตามอัตราร้อยละของสิ นทรัพย์ ในขณะทีรายการ


6.49 บาท เป็ นจํา นวนเงิ นทังสิ น 19,295 ล้านบาท เงิ นปั นผลดัง กล่าวได้จ่ายให้แก่ผูถ้ ื อหุ ้น เมื อวันที 22 เมษายน 2559 ที ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษ ัท เมื อ วัน ที 4 สิ ง หาคม 2559 คณะกรรมการได้อนุ ม ัติใ ห้ จ่ายเงิ น ปั น ผล ระหว่างกาลสําหรับหุ ้นสามัญในอัตราหุ ้นละ 5.79 บาท เป็ นจํานวนเงิ นทังสิ น 17,214 ล้านบาท เงินปั นผล ระหว่างกาลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผถู ้ ือหุ น้ ในวันที 1 กันยายน 2559 34. บุคคลหรื องกัอนงกัน 34. คลหรืออกิกิจจการที การทีเ กีย่เกีวข้่ยวข้

กิจการและบุคคลทีควบคุมบริ ษทั หรื อถูกควบคุมโดยบริ ษทั หรื ออยูภ่ ายใต้การควบคุมเดียวกับบริ ษทั ทังทางตรงหรื อทางอ้อมไม่วา่ จะโดยทอดเดียวหรื อหลายทอด กิจการและบุคคลดังกล่าวเป็ นบุคคลหรื อ กิจการที เกี ยวข้องกับบริ ษทั บริ ษทั ย่อยและบริ ษทั ย่อยลําดับถัดไป บุ คคลที เป็ นเจ้าของส่ วนได้เสี ยใน สิ ท ธิ ออกเสี ย งของบริ ษ ทั ซึ งทําให้ผูเ้ ป็ นเจ้าของดังกล่ าวมี อิท ธิ พ ลอย่างเป็ นสาระสําคัญ เหนื อกิ จการ ผูบ้ ริ หารสําคัญรวมทังกรรมการและพนักงานของบริ ษทั และสมาชิ กในครอบครัวที ใกล้ชิดกับบุคคล เหล่านัน กิจการและบุคคลทังหมดเป็ นบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกับบริ ษทั

ในการพิ จารณาความสั ม พัน ธ์ ระหว่างบุ ค คลหรื อกิ จการที เกี ย วข้องกัน ซึ ง อาจมี ข ึ น ได้ ต้องคํานึ ง ถึ ง รายละเอียดของความสัมพันธ์มากกว่ารู ปแบบทางกฎหมาย

รายงานทางการเงิน

ในระหว่างปี กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ดาํ เนิ นการค้าตามปกติกบั กิจการทีเกียวข้องกัน โดยกลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั ได้คิดราคาซือ-ขายสิ นค้า และบริ การกับบุคคลทีเกียวโยงกันด้วยราคาทีสมเหตุสมผล มีการเปรี ยบเทียบ กับราคากลางของตลาดในธุ รกิจนันๆ แล้ว โดยมีเงือนไขต่างๆ ตามปกติธุรกิจ ในปี 2558 รายการค่าทีปรึ กษา บริษัทและบริ แอดวานซ์ อินโฟร์ดราคาตามที เซอร์ วสิ จํตากลงร่ กัด (มหาชน) และบริ ษัทย่ อย ตราร้อยละของสิ นทรัพย์ ในขณะทีรายการ หารงานคิ วมกัน โดยคํ านวณตามอั หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ ดังกล่ าวคํานวณจากสันดส่ วนการทํางานทีบริ ษทั ได้ทาํ ให้กบั บริ ษทั ผูว้ า่ จ้างในปี 2559 โดยมีผลบังคับใช้ สํ าหรับตัปีงแต่ สินวสุนั ดทีวั น1ทีมกราคม  31 ธันวาคม 2559 2559 เป็ นต้นไป ความสัมพันธ์ทีกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีกบั บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกัน มีดงั นี ชื อกิจการ

ชื่อกิจการ บริ ษทั ย่อย บริ ษทั อินทัช โฮลดิงส์ จํากัด (มหาชน) และกิจการทีเกียวข้องกัน (“กลุ่มอินทัช”) SingTel Strategic Investments Pte Ltd. และกิจการทีเกียวข้องกัน (“กลุ่ม SingTel”) บริ ษทั อินฟอร์เมชัน ไฮเวย์ จํากัด บริ ษทั อมตะ เน็ทเวอร์ค จํากัด บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน

ประเทศที่จจ ัดดั ตั้ง ประเทศที /สั/สัญชาติ ไทย ไทยและลาว

- 90 -

สิ งคโปร์

ไทย ไทย ไทย

ลักษณะความสัมพันธ์

ลักษณะความสัมพันธ์ กิจการทีอยูภ่ ายใต้การควบคุมของกลุ่มบริ ษทั บริ ษทั อินทัช โฮลดิงส์ จํากัด (มหาชน) (“อินทัช”) ซึ งเป็ น ผู ้ถื อ หุ ้ น ที มี อิ ท ธิ พ ลอย่ างมี นั ยสํ าคัญ ต่ อ บริ ษั ท และมี กรรมการร่ วมกัน SingTel Strategic Investments Pte Ltd. (“SingTel”) ซึงเป็ นผูถ้ ือหุน้ ทีมีอิทธิพลอย่างมีนยั สําคัญต่อบริ ษทั บริ ษทั ร่ วม การร่ วมค้า เป็ นบุคคลทีเกียวข้องกับกรรมการของบริ ษทั หรื อกิจการ ทีมีกรรมการบริ ษทั ร่ วมกัน

รายการทีสาํ คัญกับบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม สรุ ปได้ดงั นี งบการเงินรวม 2559 2558

หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ รายงานประจำ�ปี 2559 2559 2558

210


SingTel Strategic Investments Pte Ltd. และกิจการทีเกียวข้องกัน (“กลุ่ม SingTel”) บริ ษทั อินฟอร์เมชัน ไฮเวย์ จํากัด บริ ษทั อมตะ เน็ทเวอร์ค จํากัด บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน

สิ งคโปร์

SingTel Strategic Investments Pte Ltd. (“SingTel”) ซึงเป็ นผูถ้ ือหุน้ ทีมีอิทธิพลอย่างมีนยั สําคัญต่อบริ ษทั

ไทย ไทย ไทย

บริ ษทั ร่ วม การร่ วมค้า เป็ นบุคคลทีเกียวข้องกับกรรมการของบริ ษทั หรื อกิจการ ทีมีกรรมการบริ ษทั ร่ วมกัน

รายการทีสาํ คัญกับบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม สรุ ปได้ดงั นี งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม 2559 2558 2559 2558

รายได้ จากการให้ บริการ บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช 31 บริษัท กลุ แอดวานซ์ อิ น โฟร์ เซอร์ ว ส ิ จํ า กั ด (มหาชน) และบริ ษ ่ม SingTel 402ัทย่ อย หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้นองกันอืน 135 สํ าหรับรวม ปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 568 ขายสินทรัพย์ ถาวรและสินทรัพย์อืนๆ บริ ษทั ย่อย รายงานทางการเงิน

เงินปันผลรับ บริ ษทั ย่อย ดอกเบีย รับ บริ ษทั ย่อย บริ ษทั ร่ วม รวม รายได้ อืน บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช รวม ค่ าเช่ าและค่ าบริการอืน บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช กลุ่ม SingTel บริ ษทั ร่ วม บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน รวม

211

ค่ าโฆษณา กลุ่มอินทัช

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

-

34 649 2 685

หน่หน่วยวย: :ล้ล้านบาท านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558 4,593 1 4,594

24,377 9 150 24,536

หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงิ 22 นเฉพาะกิจการ 365 2559 2558

- งบการเงินรวม2559 2558 -

-

28,009

36,725

- 91--

-

2 2

1,508 1,508

1,520 1,520

-

-

8 8

1,577 1,577

310 1 311

3,732 1 95 3,828

8,838 20 74 8,932

-

9 9

-

519 283 176 1 979

498 464 43

1,005

1

22

-

3


รวม ค่ าเช่ าและค่ าบริการอืน บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช กลุ่ม SingTel บริ ษทั ร่ วม บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน รวม ค่ าโฆษณา กลุ่มอินทัช

9

-

8

-

519 498 283 464 176 43 1 979งบการเงินรวม 1,005

2559

2558

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัท1 ย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน ค่ าใช้ จ่ายในการส่ งเสริมการขาย สํ าหรับบริปี สิษนทั ย่สุอดยวันที 31 ธันวาคม 2559 ค่ านายหน้ า บริ ษทั ย่อย

ซือสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์ อืนๆ บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช บริ ษทั ร่ วม รวม ต้ นทุนทางการเงิน บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช บริ ษทั ร่ วม บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน รวม เงินปันผลจ่ าย อินทัช SingTel รวม

- 92 -

-

-

2 6 27 35

14,768 8,514 23,282

2559 -

-

59 59

-

3

15

หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 12 253 2559 2558

199 10 209

-

2558

2

งบการเงินรวม 2558

130 27 157

3,732 8,838 1 20 95 74 หน่วย : -ล้านบาท 3,828 นเฉพาะกิจ8,932 งบการเงิ การ

-

141 9 150

311

1 3 1 5

14,984 8,638 23,622

141 9 150

-

199 10 209

-

รายงานทางการเงิน

ค่ าตอบแทนผู้บริหาร ผลประโยชน์ระยะสัน การจ่ายโดยใช้หุน้ เป็ นเกณฑ์ รวม

2559

22

1,577

10

10

-

91

6 97

14,768 8,514 23,282

-

57

57

14,984 8,638 23,622

รายงานประจำ�ปี 2559

212


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ยอดคงเหลือกับบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกัน มีดงั นี งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ

เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด เงินฝากธนาคาร บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน

ณ วันที ณ วันที่ 31 31ธัธันนวาคม วาคม 2559

ณ วันที ณ วันที่ 31 วาคม 31 ธัธันนวาคม 2558 2558

113

199

รายงานทางการเงิน

ลูกหนีก ารค้ าและลูกหนีอ ืน ลูกหนีก ารค้ า บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช กลุ่ม SingTel บุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันอืน

-

รายได้ ค้างรับ บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช กลุ่ม SingTel บริ ษทั ร่ วม

-

รวมลูกหนีก ารค้ า ลูกหนีอ ืน - ดอกเบียค้างรับ บริ ษทั ย่อย รวมลูกหนีอ ืน รวมลูกหนีก ารค้ าและลูกหนีอ ืน (ดูหมายเหตุขอ้ 7)

-

6 19 31 56 3 8 1 12 68

68

-

-

4 1 5 2 4 6 11

11

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ การ งบการเงินเฉพาะกิจจการ ณ วันที ณ วันที ณ วันที่ ณ วันที่ 31 ธั น วาคม 31 วาคม 31 ธันวาคม 31 ธัธันนวาคม 2559 2558 2558 1

-

-

49 4 53 3

3 56

-

711 711 -

910

910 1,621

123 123 179

508 508 2,129

เงินปันผลค้ างรับ บริ ษทั ย่อย

-

-

12,093

19,944

เงินให้ ก้ ูยืมระยะสันแก่ กจิ การทีเ กีย วข้ องกัน บริ ษทั ย่อย

-

-

39,244

44,244

ณ วัน ที 31 ธันวาคม 2559 บริ ษ ทั มีเงิ น ให้กู ย้ ืม ระยะสั น แก่บ ริ ษ ทั ย่อยเป็ นตัว สัญ ญาใช้เงิ น ประเภท เรี ยกคืนเมือทวงถาม ซึ งมีอตั ราดอกเบียเฉลียร้อยละ 2.84 ต่อปี (31 ธันวาคม 2558: เฉลียร้อยละ 3.67 ต่อปี )

- 94 -

213

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 รายการเคลือนไหวของเงินให้กูย้ มื แก่กิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

เงิ เงินนให้ ให้ กก้​้ ู​ูยยื​ืมมระยะสั ระยะสั นนแก่ แก่ กกจจิ​ิ การที การทีเเ กีกียย วข้ วข้ อองกั งกันน ณ วัวันนทีที 11 มกราคม มกราคม ณ เพิ เพิมมขึขึ นน ลดลง ลดลง ณ ณ วัวันนทีที 31 31 ธัธันนวาคม วาคม

-----

---

95 95 (95) (95)

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม นรวม ณ วัวันนงบการเงิ ณ วัวันนทีที ณ ทีที ณ ณ วั น ที ่ ณธันวัวาคม นที่ 31 31 3131ธัธัธันนนวาคม วาคม 31 วาคม วาคม 31 ธัธันนวาคม 2559 2558 2559 2558 2559 2558 --

--

--

--

เจ้ เจ้ าาหนี หนีกก ารค้ ารค้ าาและเจ้ และเจ้ าาหนี หนีออ ืืนน เจ้ าาหนี หนีกก ารค้ ารค้ าา เจ้ บริ บริ ษษททั​ั ย่ย่ออยย กลุ กลุ่ม่มอิอินนทัทัชช กลุ่ม่ม SingTel SingTel กลุ บุบุคคคลหรื คลหรื ออกิกิจจการที การทีเเกีกียยวข้ วข้อองกั งกันนอือืนน บริ ษษททั​ั ร่ร่ ววมม บริ รวมเจ้ รวมเจ้ าาหนี หนีกก ารค้ ารค้ าา

--

25 25 269 269 66 300 300

--

44,244 44,244 25,839 25,839 (30,839) (30,839) 39,244 39,244

หน่ ววยย :: ล้ล้ าานบาท นบาท หน่ งบการเงิ หน่วยจจ: การ ล้านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิ การ ณงบการเงิ ณจวัวัการ ณ วัวันนทีที นเฉพาะกิ ณ นนทีที ณ วั น ที ่ ณ วั นที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 31 วาคม 31 ธัธันนวาคม วาคม 31 ธัธันนวาคม 2559 2558 2559 2558 2559 2558 --

89 89 229 229 55 323 323

35,590 35,590 39,157 39,157 (30,503) (30,503) 44,244 44,244

----

รายงานทางการเงิน

เงิ เงินนมัมัดดจํจําาค่ค่ าาเช่ เช่ าาระยะยาว ระยะยาว บริ ษษททั​ั ย่ย่ออยย บริ

งบการเงินนรวม งบการเงิ รวม 2559 2558 2559 2558 2559 2558

หน่ ววหน่ยย ว:: ยล้ล้ าา: นบาท นบาท หน่ ล้านบาท งบการเงิ เฉพาะกิ การ งบการเงิ งบการเงินนนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจจการ การ 2559 2558 2559 2558 2559 2558

742 742

199 199 20 20

219 219

195 195 11 68 68 --264 264

95 --- 95

รายงานประจำ�ปี 2559

214


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

เจ้ าหนีอ ืน - เจ้าหนีอืน บริ ษทั ย่อย

งบการเงินรวม ณ วังบการเงิ นที นรวมณ วันที ที่ ณ ธัวันนทีวาคม ่ 31ณธัวันนวาคม 31 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2559 2558 2559 2558

รายงานทางการเงิน

- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บริ ษทั ย่อย กลุ่มอินทัช กลุ่ม SingTel บริ ษทั ร่ วม

-

-

-

-

รวมเจ้ าหนีอ ืน รวมเจ้ าหนีก ารค้ าและเจ้ าหนีอ ืน (ดูหมายเหตุขอ้ 18) หนีส ินตามสัญญาเช่ าการเงิน บริ ษทั ร่ วม

50 22 17 89 89 389

85

เงินกู้ยืมระยะสันจากกิจการทีเ กีย วข้ องกัน บริ ษทั ย่อย

-

-

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : จล้การ านบาท งบการเงินเฉพาะกิ งบการเงิ ณ วันที นเฉพาะกิณจการ วันที ณ วั น ที ่ ณ วั น ่ 31 ธันวาคม 31 ธันทีวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2559 2558 2559 2558

-

273 273

111

91 31 10 132 132 455

-

72

-

-

6,440

6,490

-

15 126 126 345

-

584

-

16

600 873 1,137

ณ วัน ที 31 ธัน วาคม 2559 เงิ น กู ย้ ืม ระยะสั นจากกิจการทีเกีย วข้องกัน เป็ นตัว สัญ ญาใช้เงิ น ประเภท เรี ยกคืนเมือทวงถาม ซึ งมีอตั ราดอกเบียเฉลียร้อยละ 1.41 ต่อปี (31 ธันวาคม 2558: เฉลียร้อยละ 1.40 ต่อปี )

- 96 -

215

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย บริ ษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ น สํหมายเหตุ าหรับปี สิปนระกอบงบการเงิ สุ ดวันที 31 ธันวาคม น 2559 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 รายการเคลือนไหวของเงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันวาคม มีดงั นี รายการเคลือนไหวของเงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันหน่ วาคม มีดงั นี วย : ล้ านบาท รายการเคลือนไหวของเงินกูย้ มื ระยะสันจากกิจการทีเกียวข้องกันสําหรับปี สิ นสุ ดวันที 31 ธันหน่ วาคม วยหน่มี: วล้ดยางั นบาท :นีล้ านบาท เงินกู้ยืมระยะสันจากกิจการทีเ กีย วข้ องกัน เงิ  นจากกิจการทีเ กีย วข้ องกัน ณนวักูน้ ยทีืม 1ระยะสั มกราคม เงิ นกู้ยืมระยะสันจากกิจการทีเ กีย วข้ องกัน ณ เพิมวันขึนที 1 มกราคม ณ เพิ มวันขึนที 1 มกราคม ลดลง เพิ มขึน ลดลง ณ วันที 31 ธันวาคม (ดูหมายเหตุขอ้ 17) ลดลง ณ วันที 31 ธันวาคม (ดูหมายเหตุขอ้ 17) ณ วันที 31 ธันวาคม (ดูหมายเหตุขอ้ 17)

งบการเงินรวม งบการเงินนรวม รวม ณ วันงบการเงิ ที ณ วันที นรวม ณณวัวันนทีงบการเงิ ที่ ณ วันนทีที่  31 ธันวาคม 31ณธันวัวาคม วาคม 31ณธัธันวันนวาคม วาคม ที ที 3131ณธัธันวันนวาคม 31 2559 2558 2559 2558 31 ธั2559 นวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 37 37 37 37 13 13 37 37 13 13 50 50 13 13 50 50 50 50

งบการเงินเฉพาะกิจการ วย : ล้จาจการ นบาท งบการเงินหน่ นเฉพาะกิ การ งบการเงิ 2559 เฉพาะกิ2558 งบการเงิ จการ 2559 2559 นเฉพาะกิ2558 2558 2559 2558 6,490 6,490 2,523 7,190 6,490 2,523 7,190 (2,573) (700) 2,523 7,190 (2,573) (700) 6,440 6,490 (2,573) (700) 6,440 6,490 6,440 6,490 หน่ วย : ล้ านบาท หน่ วย : ล้ านบาท งบการเงินเฉพาะกิ หน่วยจ:การ ล้านบาท หน่เฉพาะกิ วย : ล้จานบาท งบการเงิ น การ ณงบการเงิ วันที นเฉพาะกิ ณ วัจนการ ที ณณงบการเงิ วัวันนทีที่  นเฉพาะกิ ณณจวัการ น นทีที ่ 31 ธันวาคม 31 ธันวัวาคม 31ณธัธันวันนวาคม วาคม วาคม ที ที 31 3131ณธัธันวันนวาคม 2559 2558 2559 2558 31 ธั2559 นวาคม 31 ธั2558 นวาคม 2559 2558 -----

รายงานทางการเงิน

หุ้นกู้ระยะยาว หุกลุ้ น่มกูอิ้ รนะยะยาว ทัช หุกลุ้ น่มกูอิ้ รนะยะยาว บุคคลหรืทัอชกิจการทีเกียวข้องกันอืน กลุ อินทัอชกิจการทีเกียวข้องกันอืน บุค่มคลหรื รวม (ดูหมายเหตุขอ้ 17) ยวข้องกันอืน บุรวม คคลหรื อกิจการที (ดูหมายเหตุ ขอ้ เกี17) (ดูหมายเหตุ สัรวม ญญาสํ าคัญทีท ขอาํ้ กั17) บกิจการทีเ กีย วข้ องกัน

งบการเงินรวม งบการเงินรวม 2559งบการเงินรวม2558 2559 2558 2559งบการเงินรวม 2558 2559 2558 -4,000 --4,000 (4,000) 4,000 (4,000) (4,000) --

ญญาสํ าคัญทีท าํ กับกิจการทีเ กีย วข้ องกัน สัสักลุ ญ ญาสำ คัญที่ทำ�กัจบการที ่เกี่ยวข้องกัน บริ ษาทั คั�และบริ ทกิาํ จสัการที ญเ กีญากั สั ญ่มญาสํ ญทีท าํ กัษบทั กิได้ ย วข้บอบุงกัคนคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันและมีภาระผูกพันทีจะต้องรับเงินและ

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ทาํ สัญญากับบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกันและมีภาระผูกพันทีจะต้องรับเงินและ จ่กลุายเงิ ตราและเงื ว้ในสัอญกิญา สัญญาสํ ทีทาํ กับบุภคาระผู คลหรื อกิจการที กียบวข้เงิอนงกั ่มบรินนตามอั ษทั และบริ ษทั ได้ออนไขตามที ทาํ สัญญากัรรบะบุ บุคไไคลหรื จการที เกียวข้าาคัคัอญ จะต้อเเงรั และนน จ่ายเงิ ตามอั ตราและเงื นไขตามที ะบุ ว้ในสัญญา สัญญาสํ ญงกัทีนทและมี าํ กับบุคคลหรืกพัอนกิจทีการที กียวข้องกั งั ต่นอตามอั ไปนี จ่มีมีาดดยเงิ งั ต่อไปนี ตราและเงือนไขตามทีระบุไว้ในสัญญา สัญญาสําคัญทีทาํ กับบุคคลหรื อกิจการทีเกียวข้องกัน ่มบริ ษทั ได้ทาํ สัญญาการเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมและสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม มี1)ดงั ต่อกลุ ไปนี 1) กลุ่มบริ ษทั ได้ทาํ สัญญาการเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมและสัญญาการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม กและการระงั บ สัญาญาเป็ นไปตามหลัก เกณฑ์ และเงืโ อครงข่ นไขของสํ านักงาน 1) ระหว่ กลุ่มบริาางกั ษทั นนได้การยกเลิ ทาํ สัญญาการเชื  อมต่อโครงข่ ยโทรคมนาคมและสั ญญาการใช้ ายโทรคมนาคม ระหว่ งกั การยกเลิ กและการระงั บ สัญ ญาเป็ นไปตามหลัก เกณฑ์ และเงื อนไขของสํ านักงาน คณะกรรมการกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ ระหว่ างกัน การยกเลิ กและการระงับงสัชาติ ญ ญาเป็ นไปตามหลัก เกณฑ์และเงื อนไขของสํานักงาน คณะกรรมการกิ จการโทรคมนาคมแห่ จการโทรคมนาคมแห่ 2) คณะกรรมการกิ กลุ่ ม บริ ษ ัท มี ก ารทํ าสั ญ ญาระหว่างกังนชาติ ในการให้ บ ริ ก ารพื น ที และระบบพื น ฐานในการติ ดตัง 2) กลุ่ ม บริ ษ ัท มี ก ารทําสั ญ ญาระหว่างกัน ในการให้ บ ริ ก ารพื น ที และระบบพื น ฐานในการติ ดตัง ่ สั ญ ญามี อุ ป่ มกรณ์ ิ ท ธิ บ อกเลิบกริสักญารพื ญาได้ ดยแจ้ง เป็ นหนั ง สื อบอกกล่ดตัา วง 2) กลุ บริ ษโโัททรคมนาคม มี ก ารทําสั ญโดยคู ญาระหว่ างกันสสในการให้  น ที แโโละระบบพื  น ฐานในการติ ่ สั ญ ญามี อุ ป กรณ์ ทรคมนาคม โดยคู ิ ท ธิ บ อกเลิ ก สั ญ ญาได้ ดยแจ้ง เป็ นหนั ง สื อบอกกล่ า ว ล่อุวปงหน้ า เป็ น เวลาไม่ น อ ้ ยกว่ า 60 วั น กรณ์าเป็โทรคมนาคม โดยคู ล่วงหน้ นเวลาไม่นอ้ ยกว่ า 60่ สั ญวันญามี สิ ท ธิ บ อกเลิ ก สั ญ ญาได้โดยแจ้ง เป็ นหนัง สื อบอกกล่ า ว ล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 60 วัน - 97 - 97 - 97 -

รายงานประจำ�ปี 2559

216


รายงานทางการเงิน

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 3)

บริ ษทั ย่อยได้รับการให้บริ การข้อมูลข่าวสารทางโทรศัพท์จากบริ ษทั แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็ นเตอร์ จํากัด (“ACC”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย โดย ACC จะให้บริ การข้อมูลข่าวสาร รวมทังให้คาํ แนะนําและ แก้ไขปั ญหาในการใช้บริ การแก่ลูกค้าของกลุ่มบริ ษทั

4)

บริ ษทั แอดวานซ์ คอนแท็ค เซ็ นเตอร์ จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้ทาํ สัญญาจ้างบริ ษทั เทเลอินโฟ มีเดีย จํากัด (มหาชน) (“TMC”) ซึ งเป็ นกิจการทีเกียวข้องกัน โดย TMC จะเป็ นผูจ้ ดั หาบุคลากรและ ศูนย์ให้ข่าวสารทางโทรศัพท์ เพือดําเนิ นการให้บริ การข้อมูลข่าวสารทางโทรศัพท์ โดยคู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน

5)

บริ ษทั และกิจการทีเกียวข้องกันได้ทาํ สัญญาจ้างบริ ษทั แอดวานซ์ เมจิคการ์ ด จํากัด และบริ ษทั แอดวานซ์ เอ็ ม เปย์ จํา กัด ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ย่อย ในการให้ บ ริ ก ารชําระค่ าสิ น ค้าหรื อบริ ก ารผ่า น การชําระเงิ นทางอิเล็กทรอนิ กส์ และบัตรเงิ นสด โดยคู่สัญญามี สิทธิ บอกเลิ กสัญญาได้โดยแจ้ง เป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน

6)

บริ ษทั แอดวานซ์ เมจิคการ์ ด จํากัด และบริ ษทั แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้เข้า ทํา สั ญ ญากับ บริ ษ ัท ไวร์ เลส ดี ไ วซ์ ซั พ พลาย จํา กัด ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ย่อ ย ในการจํา หน่ า ยเงิ น อิเล็กทรอนิ กส์ และบัตรเงิ นสด โดยคู่สัญญามี สิทธิ บอกเลิ กสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอก กล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน

7)

บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยได้ทาํ สัญญาจ้าง บริ ษทั ไวร์ เลส ดี ไวซ์ ซัพพลาย จํากัดซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ในการบรรจุ ภ ัณ ฑ์ บ ัตรโดยคู่สั ญ ญามี สิ ท ธิ บ อกเลิ ก สั ญ ญาได้โดยแจ้ง เป็ นหนัง สื อ บอกกล่ า ว ล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน

8)

บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยได้ทาํ สัญญาบริ การเครื อข่ายระหว่างประเทศกับกลุ่ม SingTel ซึ งเป็ นบริ ษทั ทีเกียวข้องกันโดยคู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิ กสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ น เวลาไม่นอ้ ยกว่า 60 วัน

9)

บริ ษทั และบริ ษทั ย่อยได้ทาํ สัญญากับบริ ษทั ไมโม่เทค จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ในการให้บริ การ รวบรวมข้อมู ลบริ การเสริ มบนโทรศัพท์เคลื อนที หรื ออุ ปกรณ์ ไร้ สาย (Content Aggregator) โดย คู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน

- 98 -

217

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 10) บริ ษัท และบริ ษัท ย่อ ย ได้ ท ํา สั ญ ญาในการให้ บ ริ ก ารรวบรวมข้ อ มู ล บริ ก ารเสริ ม สํ า หรั บ โทรศัพท์เคลือนที หรื ออุปกรณ์ไร้สาย (Content Aggregator) กับกิจการทีเกียวข้องกัน โดยคู่สัญญา มีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน 11) บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด ได้ทาํ สัญญาเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากบริ ษทั ไทยคม จํากัด (มหาชน) ซึ งเป็ นบริ ษทั ทีเกียวข้องกัน โดยบริ ษทั ตกลงชําระค่าบริ การเป็ นรายเดือน ตามอัตรา และเงือนไขทีระบุในสัญญา สัญญาดังกล่าวมีผลถึงวันที 19 พฤศจิกายน 2560 12) บริ ษ ัท ไมโม่ เทค จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ย่อย ได้ท ําสั ญ ญาบริ ก ารระบบคอมพิ วเตอร์ และบริ ก าร ซ่ อมแซมและบํารุ งรักษาโปรแกรมและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ กบั บริ ษทั ไอ.ที . แอพพลิ เคชัน แอนด์ เซอร์ วิซ จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ที เกี ยวข้องกัน โดยสัญญามี กาํ หนด 1 ปี และต่ออายุได้อีกคราวละ 1 ปี คู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 3 เดือน รายงานทางการเงิน

13) บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ ทเวอร์ ค จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย ได้ทาํ สัญญาระบบเคเบิลใยแก้ว นําแสงและสิ งอํานวยความสะดวกกับบริ ษทั อินฟอร์ เมชัน ไฮเวย์ จํากัด (“IH”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ร่ วม โดย IH ให้บ ริ การระบบเคเบิล ใยแก้วนําแสงรวมถึ งให้บ ริ การสิ งอํานวยความสะดวกในพื นที เฉพาะเจาะจง คู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิ กสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้าเป็ นเวลา ไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน 14) บริ ษ ัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ ท เวอร์ ค จํา กัด ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ย่อ ย ได้ท ํา สั ญ ญากับ บริ ษ ัท ที ซี บรอดคาสติ ง จํากัด ซึ งเป็ นบริ ษ ัท ที เกี ย วข้องกัน เพื อรั บ บริ ก ารอุ ป กรณ์ ระบบดาวเที ย มและ สัญญาณโทรทัศน์ โดยคู่สัญญามีสิทธิ บอกเลิ กสัญญาได้โดยแจ้งเป็ นหนังสื อบอกกล่าวล่วงหน้า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย เป็ นเวลาไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

35. เครื่องมือทางการเงิน

35. เครื องมือทางการเงิน นโยบายการจัดดการความเสี  ยงทางด้ านการเงิ น น นโยบายการจั การความเสี ่ยงทางด้ านการเงิ การจัดการความเสี ยงเป็ นส่ วนทีสําคัญของธุ รกิจของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ซึ งกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีระบบในการควบคุ มให้มีความสมดุ ลของระดับความเสี ยงให้เป็ นทียอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่าง ต้น ทุ น ที เกิ ด จากความเสี ยงและต้น ทุ น ของการจัด การความเสี ยง ฝ่ ายบริ หารได้ มี ก ารควบคุ ม กระบวนการการจัดการความเสี ยงของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั อย่างต่อเนื องเพือให้มนั ใจว่ามีความสมดุล ระหว่างความเสี ยงและการควบคุมความเสี ยง - 99 -

การบริหารจัดการทุน กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีเป้ าหมายทีจะบริ หารโครงสร้างเงินทุนให้มีความแข็งแกร่ งในระดับทีรายงานประจำ เหนือกว่�ปีา2559 บริ ษ ัทอื นในอุ ตสาหกรรมเดี ยวกัน และพยายามคงสถานะอันดับเครดิ ตในระดับที สามารถลงทุ นได้

218


นโยบายการจัดการความเสี ยงทางด้ านการเงิน การจัดการความเสี ยงเป็ นส่ วนทีสําคัญของธุ รกิจของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ซึ งกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีระบบในการควบคุ มให้มีความสมดุ ลของระดับความเสี ยงให้เป็ นทียอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่าง ต้น ทุ น ที เกิ ด จากความเสี ยงและต้น ทุ น ของการจัด การความเสี ยง ฝ่ ายบริ หารได้ มี ก ารควบคุ ม กระบวนการการจัดการความเสี ยงของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั อย่างต่อเนื องเพือให้มนั ใจว่ามีความสมดุล ระหว่างความเสี ยงและการควบคุมความเสี ยง การบริหหารจั การบริ ารจัดดการทุ การทุน น

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีเป้ าหมายทีจะบริ หารโครงสร้างเงินทุนให้มีความแข็งแกร่ งในระดับทีเหนือกว่า บริ ษ ัทอื นในอุ ตสาหกรรมเดี ยวกัน และพยายามคงสถานะอันดับเครดิ ตในระดับที สามารถลงทุ นได้ (Investment Grade) ซึ งจะทําให้กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีสถานะการเงินทีมีความพร้อมและมีความคล่องตัวสู ง ในการเติบโตธุ รกิจเมือเทียบกับคู่แข่ง อันหมายรวมถึ งการมีแหล่งเงิ นทุนทีหลากหลาย ความสามารถ ในการจัดหาเงินทุนทีคล่องตัว และมีระดับต้นทุนทีเหมาะสม

ในระยะ 3-5 ปี อุ ตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยอาจมี การเปลี ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ งจําเป็ น บริษัท ต้แอดวานซ์ อินโฟร์ สิ จํ่ มากับริด ษ(มหาชน) อย ่ ม บริ ษ ทั และบริ ษ ทั มี ความพร้ อมทางด้าน องมี ก ารลงทุ นเพิเซอร์ ม เติ มวกลุ ทั และบริและบริ ษ ัท เชื อษว่ัทาย่กลุ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ โครงสร้ างเงินทุนเพียนงพอต่อการขยายการเติบโตในอนาคต และมีศกั ยภาพในการหาแหล่งเงินทุนผ่าน สํ าหรับการเพิ ปี สินสุมดระดั วันบทีหนี  31 สธัิ นนเพื วาคม 2559 อรองรั บการขยายตัวของธุ รกิจ

ความเสี านอัตราดอกเบี ตราดอกเบี ความเสี ย่ยงด้งด้านอั ย ้ย

รายงานทางการเงิน

ความเสี ยงด้านอัตราดอกเบี ย หมายถึ ง ความเสี ยงที เกิ ดจากการเปลี ยนแปลงที จะเกิ ดในอนาคตของอัตรา ดอกเบี ยในตลาด ซึ งส่ งผลกระทบต่อการดําเนิ น งานและกระแสเงิ น สดของกลุ่ ม บริ ษ ทั และบริ ษ ัท เนื องจากดอกเบียของหลักทรัพย์ทีเป็ นตราสารหนี และเงินกูย้ มื บางส่ วนมีอตั ราลอยตัว กลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั มีความเสี ยงด้านอัตราดอกเบียทีเกิดจากเงินกูย้ มื (ดูหมายเหตุขอ้ 17) กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ลด ความเสี ยงดังกล่าวโดยทําให้แน่ใจว่าดอกเบียทีเกิดจากหลักทรัพย์ทีเป็ นตราสารหนีและเงินกูย้ ืมส่ วนใหญ่ มีอตั ราคงที และใช้เครื องมือทางการเงินทีเป็ นตราสารอนุ พนั ธ์ซ ึ งส่ วนใหญ่เป็ นสัญญาแลกเปลียนอัตรา ดอกเบีย เพือใช้ในการจัดการความเสี ยงทีเกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบียทีเกิดจากหลักทรัพย์ทีเป็ น ตราสารหนีและเงินกูย้ มื เป็ นการเฉพาะ

ความเสี งจากเงินตราต่ นตราต่ างประเทศ ความเสี ย่ยงจากเงิ างประเทศ

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีความเสี ยงจากอัตราแลกเปลี ยนเงิ นตราต่างประเทศซึ งเกิดจากค่าใช้จ่ายและ เงิ นกูย้ ืมทีเป็ นเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ได้ทาํ สัญญาซื อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า - 100 ซึ งรายการดังกล่าวจะมี อายุไม่เกินหนึ งปี เพือป้ องกันความเสี ยงของหนี สินทางการเงิ นที เป็ นเงิ นตรา ต่างประเทศและสัญญาแลกเปลี ยนและสัญญาอัตราแลกเปลี ยนล่วงหน้า เพือป้ องกันความเสี ยงของ เงิ น กูย้ ืมระยะยาวที เป็ นเงิ นตามต่างประเทศ สัญญาซื อขายเงิ นตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ วันสิ นรอบ ระยะเวลาทีรายงานเป็ นรายการทีเกียวข้องกับเงินกูย้ มื ทีเป็ นเงินตราต่างประเทศในงวดถัดไป

219

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 กลุ่ ม บริ ษ ทั และบริ ษ ทั มี ค วามเสี ยงจากอัตราแลกเปลี ยนเงิ นตราต่างประเทศอันเป็ นผลมาจากการมี สิ นทรัพย์และหนีสินทีเป็ นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที 31 ธันวาคม ดังนี หมายเหตุ เงินสดและรายการเทียบเท่ าเงินสด เงินดอลลาร์ สหรัฐ เงินยูโร รวม

หมายเหตุ 4

7

หนีส ิ นทีมีภาระดอกเบีย เงินดอลลาร์ สหรัฐ รวม

17

เจ้ าหนีก ารค้ า เงินดอลลาร์ สหรัฐ เงินยูโร เงินเยน เงินดอลลาร์ สิงคโปร์ รวม ยอดบัญชีทีมีความเสี ยงใน งบแสดงฐานะการเงิน สัญญาแลกเปลียน - สัญญาซื อ - สัญญาขาย รวมสัญญาแลกเปลียน สัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า ยอดความเสี ยงคงเหลือสุ ทธิ

18

งบการเงิ รวม งบการเงินนรวม 2559 2558 2559 2558 477 111 588

153 3 156

630 1 631

59 1 60

(6,038) (6,038) (5,450) (1) (1) (19) (5,471)

-

157 2 159

100 2 102

13 13

8 1 9

(9,717) (9,717)

(5,358) (5,358)

(9,717) (9,717)

(3,611) (56) (166)

(15) (1)

(108) (58) (5)

-

-

(3,833)

(19) (35)

(10,290)

(13,334)

(5,221)

(9,777)

6,473 (1,308) 5,165 4,943 (182)

8,159

4,511

8,159

-

8,159 8,190 3,015

-

รายงานทางการเงิน

ลูกหนีก ารค้ า เงินดอลลาร์ สหรัฐ เงินยูโร รวม

หน่ววยย: :ล้าล้นบาท านบาท หน่ งบการเงิ เฉพาะกิจการ จการ งบการเงินเฉพาะกิ 2559 2558 2559 2558

(171)

4,511 89 (621)

8,159 147 (1,471)

สัญญาแลกเปลี ยนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้ามีไว้เพือป้ องกันความเสี ยงจากอัตราแลกเปลียน สําหรั บ ยอดบัญ ชี ที มี ค วามเสี ย งในงบแสดงฐานะการเงิ น ณ วัน ที 31 ธัน วาคม 2559 และ 2558 และ สําหรับการซื อภายในอนาคตบางส่ วน

- 102 -

รายงานประจำ�ปี 2559

220


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ลู กหนี (เจ้าหนี ) ตามสัญญาแลกเปลี ยนและสัญญาอัตราแลกเปลี ยนล่วงหน้าสุ ทธิ ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หมายเหตุ

สัญญาแลกเปลีย น - สัญญาซือ ลูกหนีตามสัญญาแลกเปลียน เจ้าหนีตามสัญญาแลกเปลียน*

7,289 (6,473) 816

9,565 (8,159) 1,406

5,267 (4,511) 756

9,565 (8,159) 1,406

-

-

-

รวมลูกหนีตามสัญญาแลกเปลียน

1,308 (1,361) (53) 763

1,406

756

1,406

สัญญาอัตราแลกเปลีย นล่ วงหน้ า ลูกหนีตามสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า เจ้าหนีตามสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า* รวมลูกหนีตามสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า

4,994 (4,943) 51

8,227 (8,190) 37

91 (89) 2

152 (147) 5

- สัญญาขาย ลูกหนีตามสัญญาแลกเปลียน* เจ้าหนีตามสัญญาแลกเปลียน รายงานทางการเงิน

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

- 103 -

221

หน่หน่วยวย: ล้: าล้นบาท านบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจการ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

รวมสัญญาแลกเปลีย นและสัญญาอัตรา แลกเปลีย นล่ วงหน้ า ลูกหนีตามสัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า เจ้าหนีตามสัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า รวมลูกหนีต ามสัญญาแลกเปลีย น และสัญญาอัตราแลกเปลีย นล่ วงหน้ า *

งบการเงิ งบการเงินรวม 2559 2558 2559 2558

หน่หน่ วยวย: ล้: าล้นบาท านบาท งบการเงิ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558

13,591

17,792

5,358

9,717

(12,777)

(16,349)

(4,600)

(8,306)

814

1,443

758

1,411

ราคาตามสัญญาของสัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า คือ มูลค่าของสัญญาทีบริ ษทั ทําไว้กบั ธนาคารตังแต่เริ มต้น และจะต้องจ่ายชําระคืนเมือถึงวันครบกําหนดตามสัญญา

สินทรัพย์ หมุนเวียน สิ นทรัพย์หมุนเวียนอืน รวมสินทรัพย์ หมุนเวียน

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

รายงานทางการเงิน

การจัดประเภทสัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราการแลกเปลียนล่วงหน้าในงบการเงิน ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หน่หน่ วยวย: ล้: าล้นบาท านบาท งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2559 2558 2559 2558

236 236

648 648

241 241

616 616

สินทรัพย์ ไม่ หมุนเวียน ลูกหนีตามสัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า รวมสินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน

578 578

795 795

517 517

795 795

รวม

814

1,443

758

1,411

- 104 -

รายงานประจำ�ปี 2559

222


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ราคาตามสัญญาและมูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี ยนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

หน่หน่ววยย: :ล้ล้าานบาท นบาท

สัญญาแลกเปลียน - สัญญาซือ - สัญญาขาย รวมสัญญาแลกเปลียน สัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า รวม

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม ราคาตามสัญญญา** ญา** รรม* ราคาตามสั มูมูลลค่ค่าายุยุตติธธิ รรม* 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 6,473 1,308 7,781 4,943 12,724

8,159

7,174 1,262 8,436

8,190 16,349

5,025 13,461

-

8,159

-

9,326 9,326

8,289 17,615

รายงานทางการเงิน

หน่ นบาท หน่ววยย :: ล้ล้าานบาท

สัญญาแลกเปลียน - สัญญาซือ สัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า รวม

งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ ราคาตามสัญญญา** ญา** รรม* ราคาตามสั มูมูลลค่ค่าายุยุตติธธิ รรม* 2559 2558 2559 2558 2559 2558 2559 2558 4,511 89 4,600

8,159 147 8,306

5,140 91 5,231

9,326 153 9,479

* มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า คือ การปรับมูลค่าของสัญญาทีบริ ษทั ทําไว้กบั ธนาคารตังแต่เริ มต้น ด้วยราคาตลาด ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงานเพือสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของ สัญญา ณ เวลาปั จจุบนั มากขึน ** ราคาตามสัญญาของสัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า คือ มูลค่าของสัญญาทีบริ ษทั ทําไว้กบั ธนาคารตังแต่เริ มต้น และจะต้องจ่ายชําระคืนเมือถึงวันครบกําหนดตามสัญญา

-- 105 105 --

223

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

ความเสี งทางด้านสิ านสิ ความเสี ย่ยงทางด้ นเชืน อเชื่อ

ความเสี ยงทางด้านสิ นเชื อ คือ ความเสี ยงที ลูกค้าหรื อคู่สัญญาไม่สามารถชําระหนี แก่กลุ่มบริ ษทั และ บริ ษทั ตามเงือนไขทีตกลงไว้เมือครบกําหนด ฝ่ ายบริ หารได้กาํ หนดนโยบายทางด้านสิ นเชื อเพือควบคุมความเสี ยงทางด้านสิ นเชื อดังกล่าวอย่างสมําเสมอ โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของลูกค้าทุกรายทีขอวงเงินสิ นเชือในระดับหนึงๆ ณ วันสิ นรอบระยะเวลา ทีรายงานไม่พบว่ามีความเสี ยงจากสิ นเชือทีเป็ นสาระสําคัญ

ความเสี งจากสภาพคล่ ความเสี ย่ยงจากสภาพคล่ อง อง

กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั มีการควบคุ มความเสี ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสด และรายการเที ยบเท่าเงิ นสดให้เพี ยงพอต่อการดําเนิ นงานของกลุ่ม บริ ษ ทั และบริ ษ ทั และเพื อทําให้ ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง

พย์พแย์ละหนี ส ิ น้สทางการเงิ น น มูลค่ค่าายุยุตติธิธรรมของสิ รรมของสินทรั นทรั และหนี ินทางการเงิ

รายงานทางการเงิน

สิ นทรัพย์และหนีสินทางการเงินทีวดั ด้วยมูลค่ายุติธรรมในงบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที 31 ธันวาคม 2558 มีดงั นี (31 ธันวาคม 2559 : ไม่มี)

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท

สินทรัพย์ หมุนเวียน เงินลงทุนเผือขาย

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ มูลค่ าตามบัญชี รรม มูลมูค่ลาค่ยุายุตติธธิ รรม มูลค่าตามบัญชี ระดับ 1 ระดับบ 22 ระดับบ33 ระดับ 1 ระดั ระดั 305

-

305

-

รวม รวม 305

- 106 -

รายงานประจำ�ปี 2559

224


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 สิ นทรัพย์และหนีสินทางการเงินทีไม่ได้วดั ด้วยมูลค่ายุติธรรมในงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดง ฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี (เปิ ดเผยมูลค่ายุติธรรม) มูลค่ าตามบัญชี

รายงานทางการเงิน

มูลค่าตามบัญชี

รวม รวม

วันที 31 ธันวาคม 2559 สัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า หุน้ กู้

12,776 31,600

-

32,082

13,461 -

13,461 32,082

วันที 31 ธันวาคม 2558 สัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า หุน้ กู้

16,349 16,600

-

17,958

17,615 -

17,615 17,958

วันที 31 ธันวาคม 2559 สัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า วันที 31 ธันวาคม 2558 สัญญาแลกเปลียนและสัญญา อัตราแลกเปลียนล่วงหน้า

งบการเงินนเฉพาะกิ งบการเงิ เฉพาะกิจจการ การ มูลค่ าตามบัญชี มูมูลลค่ค่าายุยุตติธธิ รรม รรม มูลค่าตามบัญชี ระดับ 1 ระดั ระดับ 1 ระดับบ22 ระดับบ 3

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

หน่ วย : ล้ านบาท หน่วย : ล้านบาท รวม รวม

4,600

-

-

5,231

5,231

8,306

-

-

9,479

9,479

- 107 -

225

งบการเงิ งบการเงินนรวม รวม มูมูลลค่ค่าายุติธรรม ระดั ระดับบ22 ระดับบ 3 ระดับบ11 ระดั

หน่หน่วยวย: ล้: าล้นบาท านบาท


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

ลำลํ�า ดับบชัชั น้นของมู ของมูลลค่ค่ายุาตยุิธตรรม ิธรรม

ตารางข้างต้นวิเคราะห์การวัดมูลค่ายุติธรรมทีเกิดขึนประจําสําหรับสิ นทรัพย์ทางการเงิน การวัดมูลค่า ยุติธรรมเหล่านี ถูกจัดประเภทอยู่ในระดับที ต่างกันของลําดับชันมู ลค่ายุติธรรมตามข้อมู ลที ใช้ในการ ประเมินมูลค่า นิยามของระดับต่างๆ มีดงั นี

ข้อมูลระดับ 1 เป็ นราคาเสนอซื อขาย (ไม่ตอ้ งปรับปรุ ง) ในตลาดทีมีสภาพคล่องสําหรับสิ นทรัพย์หรื อ หนีสินอย่างเดียวกัน ซึงกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั สามารถเข้าถึงตลาดนัน ณ วันทีวดั มูลค่า ข้อมูลระดับ 2 เป็ นข้อมู ลอืนที สังเกตได้ไม่ว่าโดยทางตรงหรื อโดยทางอ้อมสําหรับสิ นทรัพย์น ันหรื อ หนีสินนันนอกเหนือจากราคาเสนอซือขายซึ งรวมอยูใ่ นข้อมูลระดับ 1 ข้อมูลระดับ 3 เป็ นข้อมูลทีไม่สามารถสังเกตได้สาํ หรับสิ นทรัพย์น นั หรื อหนีสินนัน

รายงานทางการเงิน

กลุ่มบริ ษทั พิจารณามูลค่ายุติธรรมระดับ 2 สําหรับเงินลงทุนเผือขาย ด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด ซึ งใช้ กระแสเงินสดตามสัญญาและอัตราคิดลดทีเกียวข้องกับตลาด สําหรับการเปิ ดเผยข้อมูล กลุ่มบริ ษทั พิจารณามูลค่ายุติธรรมระดับ 2 สําหรับมูลค่ายุติธรรมของหุ ้นกู้ ทีมีก ารซื อขายในตลาดหุ ้นกู ค้ าํ นวณจากราคาซื อขายทีป ระกาศอยู่ใ นสมาคมตลาดตราสารหนี ไทย โดยใช้ราคาปิ ด ณ วันสิ นรอบระยะเวลาทีรายงาน สําหรับการเปิ ดเผยข้อมูล กลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั พิจารณามูลค่ายุติธรรมระดับ 3 สําหรับมูลค่ายุติธรรมของ สัญญาแลกเปลียนและสัญญาอัตราแลกเปลียนล่วงหน้า โดยใช้อตั ราทีกาํ หนดโดยธนาคารของกลุ่มบริ ษทั และบริ ษทั ด้วยการพิจารณาเงือนไขในตลาดทีมีอยู่ ณ วันทีในงบแสดงฐานะการเงิน มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี และเจ้าหนี การค้า ลูกหนี และเจ้าหนี อืน เป็ นมูลค่าทีใกล้เคียงกับราคาทีบนั ทึก ในบัญชี มู ล ค่ายุติธรรมของเงิ นให้กู้ยืม และเงิ นกู้ยืมจากกิ จการที เกี ยวข้องกัน เป็ นมู ลค่าที ใกล้เคี ยงกับ ราคาที บันทึกในบัญชี เนืองจากส่ วนใหญ่ของเครื องมือทางการเงินเหล่านีมีดอกเบียในอัตราตลาด มูลค่ายุติธรรมของเงินกูย้ ืมระยะยาว เป็ นมูลค่าทีใกล้เคียงกับราคาทีบนั ทึกในบัญชี เนื องจากส่ วนใหญ่ ของเครื องมือทางการเงินเหล่านีมีดอกเบียในอัตราตลาด

- 108 -

รายงานประจำ�ปี 2559

226


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 36. ภาระผูกกพัพันนกักับบบุบุคคคลหรื ไ ม่ เกี่ ไม่ย เวข้ งกัอนงกัน 36. คลหรือกิอจกิการที จการที กี่ยอวข้

ภาระผูกพันกับบุคคลหรื อกิจการทีไม่เกียวข้องกัน ณ วันที 31 ธันวาคม มีดงั นี

รายงานทางการเงิน

ภาระผูกพันรายจ่ ายฝ่ ายทุน สัญญาทียงั ไม่ได้รับรู ้ อาคารและอุปกรณ์ เงินบาท เงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยน เงินยูโร เงินดอลลาร์สิงคโปร์

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

14,927 129 50 1 -

21,174 385 82 3

ค่ าบํารุงรักษา เงินบาท เงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยน

1,880 15 -

2,025 23 12

-

ใบสังซือสินค้ าและวัสดุคงเหลือ เงินบาท เงินดอลลาร์สหรัฐ

7,236 37

5,146 124

-

- 109 -

227

หน่หน่วยวย: :ล้ล้านาน งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

-

1

-

31

33

507 1 7

-


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่ าดําเนินงานที ยกเลิกไม่ ได้ ภายในหนึงปี หลังจากหนึงปี แต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี รวม

3,101 2,750 74 5,925

2,099 2,339 6 4,444

11,416

94,275 1,687 107,378

-

124 238

-

221 56

362

277

16,349

4,600

8,306

21,928 1,052 39,329

-

-

227 4,827

รายงานทางการเงิน

ภาระผูกพันอืน สัญญาแลกเปลียนและสัญญาซือขาย เงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หนังสื อคําประกันจากธนาคาร - ใบอนุญาตให้ใช้คลืนความถี โทรคมนาคมค้างจ่าย - อืนๆ รวม

งบการเงินนรวม รวม งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

ล้านบาท หน่ วหน่ ย ว: ยล้ า: นบาท งบการเงินนเฉพาะกิ เฉพาะกิจจการ การ งบการเงิ 2559 2558 2559 2558

259 8,565

สัญ ญญาที ญาทีส ํ่สาคัำ�ญคัญ -

-

กลุ่มบริ ษทั ได้ทาํ สัญญาเช่าและบริ การสําหรับทีทาํ การสํานักงาน รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และสถานี ฐาน โดยมีระยะเวลาการเช่าตังแต่ 1 ปี ถึง 15 ปี และสามารถต่ออายุได้ กลุ่ ม บริ ษ ัท ได้ท ํา สั ญ ญาบริ ก ารกับ บริ ษ ัท แห่ ง หนึ ง โดยกลุ่ ม บริ ษ ัท ได้รั บ บริ ก ารด้า นการใช้ โครงสร้างพืนฐานโทรคมนาคมและการบริ การทัว ไปอืน ตามทีระบุไว้ในสัญญา โดยกลุ่มบริ ษทั จะ จ่ายค่าธรรมเนี ยมจากการบริ ก ารในอัตราตามที ระบุ ไว้ในสั ญ ญา สัญ ญาดังกล่ าวจะสิ นสุ ดลงก็ ต่อเมือฝ่ ายหนึงฝ่ ายใดยืน จดหมายบอกกล่าวเป็ นลายลักษณ์อกั ษรล่วงหน้า 90 วัน

- 110 -

รายงานประจำ�ปี 2559

228


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 37. หนี้ส ินที่อ าจเกิ 37. าจเกิดดขึขึน ้น

กรมสรรพากรได้มีหนังสื อแจ้งให้นาํ ส่ งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ทีจ่าย ฉบับลงวันที 18 มกราคม 2556 ให้บริ ษทั และบริ ษทั ดิ จิตอลโฟน จํากัด (“DPC”) ซึ งเป็ นบริ ษทั ย่อย จ่ายชําระเงินเพิมจํานวนเงิ น 128 ล้านบาท และ 6 ล้านบาท ตามลําดับ จากกรณี การหักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ายของเงินผลประโยชน์ตอบแทนโดยได้นาํ เงินค่าภาษีสรรพสามิตทีได้จ่ายไว้แล้วมาหักออก ซึ งกรมสรรพากรพิจารณาว่าเงินค่าภาษีสรรพสามิตถื อเป็ น ส่ วนหนึงของค่าผลประโยชน์ตอบแทน ดังนันการทีบริ ษทั และ DPC นําส่ งภาษีจากจํานวนเงินทีนาํ ภาษี สรรพสามิ ตมาหักออกเป็ นการนําส่ งภาษี ที ไม่ค รบถ้วน ต้องรั บ ผิดชําระเงิ นเพิม ตามจํานวนดังกล่ าว บริ ษทั และ DPC ได้ยนื อุทธรณ์คดั ค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขณะนีกรณี ดงั กล่าวอยูใ่ นขันตอน การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

38. เหตุกการณ์ าและคดี ความทีคส วามที ํ าคัญ ่ส�ำ คัญ 38. ารณ์สสํ าคัำ�ญคัญข้ อข้พิอพพิาททางการค้ พาททางการค้ าและคดี

เฉพาะบริษัท เฉพาะบริ ษัท

รายงานทางการเงิน

1)

กรณี การนําภาษี ส รรพสามิ ตมาหักออกจากเงิ นส่ วนแบ่งรายได้ระหว่างบริ ษทั กับบริ ษ ทั ที โอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”)

เมื อ วัน ที 22 มกราคม 2551 ที โ อที ไ ด้ ยื น คํา เสนอข้ อ พิ พ าทคดี ห มายเลขดํา ที 9/2551 ต่ อ สถาบัน อนุ ญาโตตุลาการ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เพือเรี ยกร้องให้บริ ษทั ชําระเงินส่ วนแบ่ง รายได้เพิมเติมอีกประมาณ 31,463 ล้านบาท ตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นกิจการบริ การโทรศัพท์เคลื อนที พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของเงินดังกล่าว นับตังแต่วนั ที 10 มกราคม 2550 อันเป็ นวัน ผิดนัดจนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น จํานวนเงินทีทีโอทีเรี ยกร้องดังกล่าวเป็ นจํานวนเดียวกันกับภาษีสรรพสามิตทีบริ ษทั ได้นาํ ส่ งตังแต่วนั ที 28 มกราคม 2546 ถึ งวันที 26 กุมภาพันธ์ 2550 และนํามาหักออกจากส่ วนแบ่งรายได้ ซึ งเป็ นการปฏิ บตั ิ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมือวันที 11 กุมภาพันธ์ 2546 ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และมีการปฏิบตั ิเช่นเดียวกัน ทังอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลือนที อีกทังทีโอทีได้เคยมีหนังสื อตอบ เลขที ทศท. บย./843 ลงวันที 10 มีนาคม 2546 โดยระบุว่า บริ ษทั ได้ปฏิ บตั ิถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี แล้ว และบริ ษทั มีภาระเท่าเดิมตามอัตรา ร้อยละทีกาํ หนดไว้ในสัญญา ซึ งการดําเนิ นการยืน แบบชําระภาษีสรรพสามิตดังกล่าว ไม่มีผลกระทบต่อ ข้อสัญญาแต่ประการใด

- 111 -

229

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 20 พฤษภาคม 2554 คณะอนุ ญาโตตุลาการได้มีคาํ ชี ขาดให้ยกคําเสนอข้อพิพาทของทีโอที โดยให้ เหตุผลสรุ ปได้วา่ บริ ษทั มิได้เป็ นผูผ้ ิดสัญญา โดยบริ ษทั ได้ชาํ ระหนีผลประโยชน์ตอบแทนเสร็ จสิ นและ หนีทงั หมดได้ระงับไปแล้ว ทีโอทีจึงไม่มีสิทธิ เรี ยกร้องให้บริ ษทั ชําระหนีซ าํ เพือเรี ยกส่ วนทีอา้ งว่าขาดไป เมือวันที 22 กันยายน 2554 ที โอที ได้ยืนคําร้ องขอเพิกถอนคําชี ขาดของคณะอนุ ญาโตตุ ลาการต่อศาล ปกครองกลางเป็ นคดีหมายเลขดําที 1918/2554 เมือวันที 11 สิ งหาคม 2559 ศาลปกครองกลางได้ตดั สิ นยกคําร้ องของที โอที ทีขอให้เพิกถอนคําชี ขาด ของคณะอนุญาโตตุลาการ 2)

สัญญาการเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมตามประกาศคณะกรรมการกิ จการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (“กทช.”)

1) 2) 3) 4) 5) 6) 7)

ผู้ประกอบการ

ระยะเวลาการมีผลบังคับใช้

บริ ษทั โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จํากัด (มหาชน) บริ ษทั ทรู มูฟ จํากัด บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด บริ ษทั ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด บริ ษทั ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์ แซล คอมมิวนิ เคชัน จํากัด (เดิมชื อ บริ ษทั เรี ยล ฟิ วเจอร์ จํากัด)

30 พฤศจิกายน 2549 เป็ นต้นไป 16 มกราคม 2550 เป็ นต้นไป 1 มิถุนายน 2552 เป็ นต้นไป 7 เมษายน 2553 เป็ นต้นไป 1 เมษายน 2556 เป็ นต้นไป 1 กรกฎาคม 2556 เป็ นต้นไป 1 กรกฎาคม 2556 เป็ นต้นไป

รายงานทางการเงิน

ตามพระราชบัญญัติการประกอบการกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และประกาศคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่ งชาติ (“กทช.”) ว่าด้วยการใช้และเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 บริ ษทั ได้ท าํ สัญญาการเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผูร้ ับใบอนุ ญาตรายอื น โดยได้ผ่านการเห็ นชอบจาก กทช.และ ระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของสัญญาเป็ นดังนี

- 112 -

รายงานประจำ�ปี 2559

230


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 31 สิ งหาคม 2550 บริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ได้ยนื ฟ้ องสํานักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติต่อศาลปกครองกลาง เพือขอเพิกถอนประกาศฯ ดังกล่าว วันที 15 กันยายน 2553 ศาลปกครองกลางได้มี ค าํ พิ พ ากษายกฟ้ องกรณี ที โอที ยืน ฟ้ อ งขอเพิ ก ถอนประกาศของกทช. ว่าด้วยการใช้และเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และทีโอทีได้ยืนอุทธรณ์ ต่อศาลปกครอง สู งสุ ดแล้ว และเมือวันที 4 กุมภาพันธ์ 2551 ทีโอที ได้มีหนังสื อแจ้งให้บริ ษทั ทราบว่า บริ ษทั ควรรอให้ ศาลมี คาํ พิ พ ากษาเพื อยึดถื อเป็ นแนวทางในการปฏิ บตั ิ ต่อไป และหากบริ ษ ทั ดําเนิ นการตามประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ งชาติก่อนศาลมีคาํ พิพากษาถึ งทีสุดทีโอทีจะไม่รับรู ้ และบริ ษทั จะต้องเป็ นผูร้ ับผิดชอบในการดําเนินการดังกล่าว

รายงานทางการเงิน

บริ ษ ทั ได้พิ จารณาหนังสื อของที โอที ดังกล่ าวและกฎหมายที เกี ยวข้องประกอบกับ ความเห็ น ของที ปรึ ก ษากฎหมาย ฝ่ ายบริ ห ารของบริ ษัท เห็ น ว่า การไม่ ป ฏิ บ ัติ ต ามสั ญ ญาการเชื อ มต่ อ โครงข่ า ย โทรคมนาคมข้างต้น อาจถือได้วา่ เป็ นการขัดต่อประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่า ด้ว ยการใช้ แ ละเชื อ มต่ อ โครงข่ า ย บริ ษ ัท จึ ง ได้ต ัด สิ น ใจปฏิ บ ัติ ต ามสั ญ ญาการเชื อ มต่ อ โครงข่ า ย ซึ งเป็ นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทีมีผลใช้บงั คับอยูใ่ นปั จจุบนั ตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นกิจการบริ การโทรศัพท์เคลือนที (“สัญญาอนุ ญาตฯ”) กําหนดให้บริ ษ ทั ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนให้ทีโอทีเป็ นรายปี โดยจ่ายเป็ นจํานวนเงินขันตําตามทีสัญญากําหนด ในแต่ ล ะปี หรื อ ในอัต ราร้ อ ยละของรายได้ และผลประโยชน์ อื น ใดที บ ริ ษ ัท พึ ง ได้ รั บ ในรอบปี ก่ อ นหัก ค่ าใช้จ่า ยและค่า ภาษี ใด ๆ ทัง สิ น จํานวนไหนมากกว่า ให้ ถื อ เอาจํา นวนนัน อย่างไรก็ ต าม ค่ า เชื อ มต่ อ โครงข่ า ยโทรคมนาคมเป็ นรายการที ต้ อ งปฏิ บ ั ติ ต ามกฎหมาย และที โ อที ต้ อ งการ รอคําพิพากษาถึงทีสุดในเรื อง ขอเพิกถอนประกาศฯ จากศาล จึงเป็ นรายการทีบริ ษทั คาดว่าจะมีการเจรจา ตกลงเรื องวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ในเวลาต่อมา เพือให้เป็ นไปตามหลักความระมัดระวัง บริ ษ ั ท จึ งคํานวณค่ า ผลประโยชน์ ต อบแทนรายปี จากรายได้ สุ ทธิ ตามที ป ฏิ บ ัติ ในทางเดี ยวกัน ทั ง อุ ตสาหกรรมกิ จการโทรคมนาคม ส่ วนจํานวนผลประโยชน์ ตอบแทนที บ ริ ษ ทั ต้องจ่ายให้แก่ ทีโอที น ัน ขึนอยู่กบั ผลการตัดสิ นจากศาลในเรื องขอเพิ กถอนประกาศฯ และการเจรจาตกลงระหว่างบริ ษ ทั กับ ที โ อที ใ นภายหลัง โดยบริ ษ ัท จะปรั บ ปรุ ง รายการในงบการเงิ น ในงวดที การเจรจาตกลงสิ นสุ ดลง ซึ งผูบ้ ริ หารของบริ ษทั เชื อว่าจะไม่เกิดค่าใช้จ่ายมากไปกว่าจํานวนทีบนั ทึกไว้อย่างมีสาระสําคัญ

- 113 -

231

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 อย่างไรก็ตาม บริ ษทั ได้พิจารณาหนังสื อของ ทีโอที ดังกล่าวและกฎหมายทีเกียวข้องประกอบกับความเห็ น ของที ป รึ กษากฎหมาย ฝ่ ายบริ หารของบริ ษ ัท เห็ นว่าการไม่ ป ฏิ บ ัติ ตามสั ญ ญาการเชื อมต่ อโครงข่ าย โทรคมนาคมข้างต้น อาจถื อได้ว่าเป็ นการขัดต่อประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื อมต่อโครงข่าย บริ ษทั จึ งได้ตดั สิ นใจปฏิ บ ตั ิ ตามสั ญญาการเชื อมต่อโครงข่าย ซึ งเป็ นไปตามบทบัญญัติแห่ งกฎหมายที มีผ ลใช้ บังคับอยูใ่ นปั จจุบนั โดยออกใบแจ้งหนีเพือเรี ยกเก็บค่าเชือมต่อโครงข่ายจากคู่สัญญา

รายงานทางการเงิน

ในวันที 30 ธันวาคม 2551 บริ ษทั ได้นาํ ส่ งเงินผลประโยชน์ตอบแทนจากการเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ตังแต่เดื อนกุมภาพันธ์ 2550 ถึ งเดื อนมิ ถุ นายน 2551 จํานวนเงิ น 761 ล้านบาท ซึ งคํานวณจากรายได้สุ ทธิ ตามอัตราและวิธี คิ ดคํานวณของบริ ษ ัทให้ แก่ ที โอที ซึ งต่ อมาได้มี การจัดตังคณะทํางานเจรจาเกี ยวกับ อัตราผลประโยชน์ตอบแทนจากค่าเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างบริ ษทั กับทีโอที แต่ก็ไม่สามารถ มี ข ้อยุติร่วมกันได้ เนื องจากที โอที ต้องการให้ บริ ษ ัท ชําระเงิ นส่ วนแบ่งรายได้จากค่าเชื อมต่อโครงข่ าย โทรคมนาคมที บริ ษทั ได้รับทังจํานวนตามอัตราร้ อยละที กาํ หนดไว้ในสัญญาอนุ ญาตฯ โดยมิให้บริ ษทั นํา ค่า เชื  อ มต่อ โครงข่า ยโทรคมนาคมที  บ ริ ษ ทั ถู ก ผู ป้ ระกอบการรายอื  น เรี ย กเก็บ มาหัก ออกก่ อ น ในวันที 26 มกราคม 2554 ทีโอทีจึงได้มีหนังสื อแจ้งให้บริ ษทั ชําระเงิ นผลประโยชน์จากรายได้ค่าเชื อมต่อ โครงข่ายโทรคมนาคมของปี ดําเนิ นการที 17 - 20 เป็ นเงินรวม 17,803 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดื อน แต่บริ ษทั ไม่เห็ นด้วยโดยได้มีหนังสื อโต้แย้งคัดค้านไปยังทีโอที และบริ ษทั ได้เสนอข้อพิพาทต่อ สํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุลาการเป็ นข้อพิพาทหมายเลขดําที 19/2554 แล้ว เมือวันที 9 มีนาคม 2554 เพือให้คณะอนุ ญาโตตุลาการมีคาํ ชีขาดว่า ทีโอทีไม่มีสิทธิ เรี ยกร้องเงินผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว ในวันที 29 กรกฎาคม 2557 ที โอที ได้ยื นคําเสนอข้อพิ พ าท เลขที 55/2557 เรี ยกร้ องให้ บ ริ ษ ัทชําระเงิ น ส่ วนแบ่งรายได้ของค่าเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของปี ดําเนิ นการที 21 - 22 เป็ นจํานวนเงิ นรวม 9,984 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของจํานวนเงินทีคา้ งชําระในแต่ละปี นับจากวันผิดนัด จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น และขอรวมพิจารณากับคดีขอ้ พิพาทหมายเลขดําที 19/2554 เมือวันที 23 สิ งหาคม 2559 บริ ษทั ได้เสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุลาการเป็ น ข้อพิพาทหมายเลขดําที 83/2559 เพือให้คณะอนุ ญาโตตุลาการมีคาํ ชี ขาดว่าทีโอที ไม่มีสิทธิ เรี ยกร้ องส่ วน แบ่งรายได้เพิ ม เติ ม ของค่าเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของปี ดําเนิ นการที 23 - 25 เป็ นจํานวนเงิ นรวม 8,368 ล้า นบาท พร้ อมดอกเบี ย ในอัตราร้ อยละ 1.25 ต่อ เดื อ นของจํา นวนเงิ นทีค า้ งชําระในแต่ล ะปี ตามหนังสื อทีโอทีแจ้งมา และบริ ษทั ขอรวมพิจารณากับคดี ข อ้ พิพ าทหมายเลขดําที 55/2557 ขณะนี ข้อพิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนการพิจารณาของอนุ ญาโตตุลาการ

- 114 -

รายงานประจำ�ปี 2559

232


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 3)

ภาระผูกพันในหนังสื อคําประกันจากธนาคารกรณี สัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนินการบริ การโทรศัพท์เคลือนที (“สัญญาอนุญาตฯ”)

ตามสั ญญาอนุ ญาตฯ บริ ษ ัทมี หน้ าที ส่ งมอบหนังสื อคําประกันของธนาคารให้ แก่ บริ ษ ัท ที โอที จํากัด (มหาชน) (“ที โอที ”) เพือเป็ นหลักประกันการชําระเงิ นผลประโยชน์ตอบแทนขันตําในแต่ละปี ดําเนิ นงาน โดยจะได้รับคืนหนังสื อคําประกันฉบับของปี ดําเนิ นงานทีผา่ นมา ทีโอทีมิได้คืนหนังสื อคําประกันเงินประโยชน์ตอบแทนขันตําของปี ดําเนิ นงานที 17 - 21 รวมเป็ นจํานวนเงิน ทังสิ น 7,007 ล้านบาท โดยอ้างว่าบริ ษ ทั ชําระเงิ นผลประโยชน์ ตอบแทนไม่ครบถ้วนจากกรณี การนําเงิ น ค่ าภาษี สรรพสามิ ตมาหั กออกจากเงิ นผลประโยชน์ ตอบแทนและกรณี รายได้จากค่ าเชื อมต่ อโครงข่ าย โทรคมนาคมซึ งเป็ นข้อพิพาททีอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของคณะอนุ ญาโตตุลาการ

รายงานทางการเงิน

ทังนี เมือวันที 11 พฤษภาคม 2554 และวันที 5 ตุลาคม 2555 บริ ษทั ได้เสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุ ลาการเป็ นข้อพิ พาทหมายเลขดําที 40/2554 และ 119/2555 ให้ คณะอนุ ญาโตตุ ลาการมี คําวิ นิ จฉั ยชี ขาดให้ ที โอที ส่ งคื นหนั งสื อคําประกันดังกล่ าวให้ แก่ บริ ษ ัท เนื องจากบริ ษ ัทได้ช ําระเงิ น ผลประโยชน์ตอบแทนขันตําในแต่ละปี ดําเนิ นงานครบถ้วน และได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามกฎหมายและข้อสัญญา ทีเกียวข้องทุกประการแล้ว เมื อวันที 10 กุมภาพันธ์ 2557 คณะอนุ ญาโตตุ ลาการได้มีคาํ ชี ขาดให้ที โอที คืนหนังสื อคําประกันเงิ น ประโยชน์ ตอบแทนขัน ตําของปี ดําเนิ น งานที 17 - 21 ให้ บ ริ ษ ัท ต่อมาเมื อวัน ที 16 พฤษภาคม 2557 ทีโอทีได้ยนื คําร้องต่อศาลปกครองกลางเป็ นคดีดาํ เลขที 660/2557 เพือ ขอเพิกถอนคําชีขาดดังกล่าว ต่ อ มาเมื อ วัน ที 19 พฤษภาคม 2557 บริ ษ ัท ยื น คํา ร้ อ งเป็ นคดี ด ํา ที 666/2557 ต่ อ ศาลปกครองกลาง เพื อ ขอให้ ศ าลมี ค ํา บัง คับ ให้ ที โ อที คื น หนั ง สื อ คํา ประกัน ปี ที 17-21 ให้ แ ก่ บ ริ ษ ัท ตามคํา ชี ขาดของ อนุ ญาโตตุลาการและชําระเงินค่าธรรมเนี ยมทีบริ ษทั ได้ชาํ ระให้แก่ธนาคารผูอ้ อกหนังสื อคําประกันเป็ น จํา นวนเงิ น รวม 6.65 ล้ า นบาท พร้ อ มดอกเบี ยในอัต ราร้ อ ยละ 7.5 ต่ อ ปี นั บ แต่ ว ัน ที ผู ้เรี ยกร้ อ ง ชําระค่าธรรมเนี ยมแก่ธนาคารผูอ้ อกหนังสื อคําประกัน ขณะนี คดี ดงั กล่าวอยู่ในขันตอนการพิ จารณา ของศาลปกครองกลาง

- 115 -

233

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 4)

กรณี ผใู ้ ช้บริ การในระบบ 900 MHz โอนย้ายไปใช้บริ การในระบบ 3G 2100 MHz

ในวันที 25 กันยายน 2557 บริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ยืนคําเสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับ ข้อพิพ าทสถาบันอนุ ญาโตตุ ลาการ เป็ นข้อพิ พาทหมายเลขดําที 80/2557 เพือเรี ยกร้ องให้บริ ษทั ชําระ ค่าเสี ยหายจากกรณี ทีมีผูใ้ ช้บริ การในระบบ 900 MHz ได้ขอโอนย้ายผูใ้ ห้บริ การไปยังระบบ 3G 2100 MHz ซึ งให้บริ การโดยบริ ษทั ย่อยของบริ ษทั เป็ นจํานวน 9,126 ล้านบาท พร้ อมดอกเบียในอัตราร้ อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วนั ที 25 กันยายน 2557 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น ในวันที 29 มีนาคม 2559 ทีโอทีได้ยนื ขอแก้ไขคําเสนอข้อพิพาทในส่ วน ของค่าเสี ยหายตังแต่พฤษภาคม 2556 ไปจนถึ งสิ นสุ ดสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการในเดื อนกันยายน 2558 เป็ นจํานวนเงิน 32,813 ล้านบาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิมและดอกเบียอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ตังแต่เดือนมิถุนายน 2556 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น

5)

รายงานทางการเงิน

ขณะนีขอ้ พิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนของอนุญาโตตุลาการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชือว่า บริ ษทั ได้ปฏิบตั ิ ถูกต้องตามข้อสัญญาทีเกียวข้องทุกประการแล้ว ดังนันผลของข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลีคลายไปในทางทีดี และไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่องบการเงินของบริ ษทั กรณี การเรี ยกร้องผลประโยชน์ตอบแทนเพิมเติมจากการทําข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ น กิจการบริ การโทรศัพท์เคลือนที (“สัญญาอนุญาตฯ”) ครังที 6 และ 7

เมื อวันที 30 กันยายน 2558 บริ ษทั ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทหมายเลขดําที 78/2558 ต่อสถาบันอนุ ญาโตตุ ลาการ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เพือมีคาํ ชีขาดให้ขอ้ ตกลงต่อท้ายสัญญาอนุ ญาตฯ ครังที 6 ซึ งกระทําขึนเมือวันที 15 พฤษภาคม 2544 และ ครังที 7 ซึ งกระทําขึนเมือวันที 20 กันยายน 2545 มีผลผูกพัน บริ ษทั และบริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ให้ตอ้ งปฏิ บตั ิตามจนกว่าสัญญาจะสิ นสุ ด และบริ ษทั ไม่มี หน้าที ต้องชําระผลประโยชน์ ตอบแทนตามที ที โอที ได้มี ห นังสื อ ลงวันที 29 กัน ยายน 2558 เรื อ ง ขอให้ชาํ ระผลประโยชน์ตอบแทน แจ้งมายังบริ ษทั ให้ชาํ ระเงินเพิมจํานวน 72,036 ล้านบาท โดยกล่าวอ้างว่า การทําข้อตกลงต่อท้ายสัญญาครังที 6 และ 7 เป็ นการแก้ไขสัญญาในสาระสําคัญทําให้ ทีโอที ได้ผลประโยชน์ ตอบแทนตํากว่าทีกาํ หนดในสัญญาหลัก

- 116 -

รายงานประจำ�ปี 2559

234


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ขณะนี ขอ้ พิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนของอนุ ญาโตตุลาการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชื อว่าข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาครังที 6 และ 7 มี ผลผูกพันจนกระทัง สิ นสุ ดสัญญาเมื อวันที 30 กันยายน 2558 เนื องจาก บริ ษ ัท ได้ป ฏิ บ ัติ ถู ก ต้อ งตามข้อ สั ญ ญาที เกี ย วข้อ งทุ ก ประการแล้ว อี ก ทัง สํ านัก งานคณะกรรมการ กฤษฎี กาได้เคยให้ความเห็ นต่อกรณี การแก้ไขสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการฯ ระหว่างทีโอที กบั บริ ษทั เรื องเสร็ จที 291/2550 ความตอนหนึ ง ว่า “... กระบวนการแก้ไ ขเพิม เติ ม สั ญ ญาอัน เป็ นนิ ติ ก รรมทาง ปกครอง สามารถแยกต่างหากออกจากข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุ ญาตฯ ทีทาํ ขึนได้ และข้อตกลงต่อท้าย สัญญาอนุ ญาตฯ ทีทาํ ขึนนันยังคงมีผลอยูต่ ราบเท่าทียงั ไม่มีการเพิกถอนหรื อสิ นผลโดยเงือนเวลาหรื อ เหตุอืน ” ดังนันผลของข้อพิ พาทดังกล่าวน่ าจะคลี ค ลายไปในทางที ดีและไม่น่าจะมี ผ ลกระทบอย่าง มีนยั สําคัญต่องบการเงินของบริ ษทั

รายงานทางการเงิน

ต่ อ มาวัน ที 30 พฤศจิ ก ายน 2558 ที โ อที ยื น คํา เสนอข้อ พิ พ าทหมายเลขดํา ที 122/2558 ต่ อ สถาบัน อนุ ญ าโตตุ ล าการ สํ า นั ก ระงับ ข้อ พิ พ าท สํ า นั ก งานศาลยุ ติ ธ รรมเพื อ แก้ไ ขจํา นวนเงิ น ที เรี ย กร้ อ ง ผลประโยชน์ตอบแทนลดลงเป็ น 62,774 ล้านบาท เนื องจากการปรั บปรุ งอัตราร้ อยละในการคํานวณ ส่ วนแบ่งรายได้ ข้อพิพาทนีเป็ นเรื องเดียวกับข้อพิพาทที 78/2558 6)

ค่าเช่าสถานทีติดตังเสา และอุปกรณ์ ในการให้บริ การตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นกิจการบริ การ โทรศัพท์เคลือนที (สัญญาอนุญาตฯ)

เมือวันที 30 กันยายน 2558 บริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทหมายเลข ดําที 76/2558 ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการฯ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เพือมีคาํ ชีขาด ให้บริ ษทั ดําเนิ นการเช่าสถานทีจาํ นวน 11,883 สถานี ฐาน ทีใช้เป็ นสถานทีติดตังเสาและอุปกรณ์ในการ ให้บริ การตามสัญญาอนุ ญาตฯ ต่อเนื องไปอีก 2 ปี หลังจากสัญญาอนุ ญาตฯ สิ นสุ ดลง หากไม่สามารถ ปฏิ บตั ิได้ ให้บริ ษทั ชําระเงิ นค่าเช่าสถานที พร้ อมค่าใช้จ่ายอืนๆ ที เกียวข้องตลอดระยะเวลา 2 ปี นับแต่ สิ นสุ ดสัญญาอนุญาตฯ คิดเป็ นเงินจํานวนเงิน 1,911 ล้านบาท หรื อนําเงินจํานวนดังกล่าวมาวางศาล ขณะนีขอ้ พิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนของอนุญาโตตุลาการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชือว่า บริ ษทั ไม่มี หน้าที ตอ้ งชําระค่าเช่าสถานที ติดตังเสาและอุปกรณ์ ในการให้บ ริ การตามสัญญาอนุ ญาตฯ ภายหลังที สัญญาอนุ ญาตฯ สิ นสุ ดลง เนื องจากบริ ษทั ได้ปฏิ บตั ิ ถูกต้องตามข้อสัญญาที เกี ยวข้องทุ กประการแล้ว ดังนันผลของข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลีคลายไปในทางทีดีและไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่อ งบการเงินของบริ ษทั

- 117 -

235

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 7)

กรณี ติ ด ตัง หรื อ เชื อ มต่ อ อุ ป กรณ์ โ ทรคมนาคมย่า นความถี 900 MHz บนสถานี ฐ านที บ ริ ษ ัท ดิจิตอล โฟน จํากัด ส่ งมอบกรรมสิ ทธิ ให้แก่ บริ ษทั กสท.โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท”) ตามสั ญ ญาให้ ด ํา เนิ น การให้ บ ริ ก ารวิ ท ยุ ค มนาคมระบบเซลลู ล่ า ระหว่า ง กสท. กับ บริ ษ ัท ดิจิตอลโฟน จํากัด

รายงานทางการเงิน

เมื อ วัน ที 29 เมษายน 2559 กสท. ได้ยื น ฟ้ อ งบริ ษ ัท แอดวานซ์ อิ น โฟร์ เซอร์ วิ ส จํา กัด (มหาชน) (“บริ ษ ทั ”) ต่อศาลปกครองกลาง เป็ นคดี หมายเลขดําที 613/2559 เพื อให้ รื อถอนเครื องและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมที มีไว้ใช้สําหรับให้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที ย่านความถี 900 MHz หรื อย่านความถี อืน หรื อ เครื  อ งและอุ ป กรณ์ โ ทรคมนาคมอื  น ๆ ของบริ ษ ทั ที  ติ ด ตัง บนสถานี ฐ าน จํา นวน 95 แห่ ง ที บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด ส่ งมอบให้ กสท. ตามสัญญาให้ดาํ เนินการฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก กสท. ดังนัน กสท. จึ งเรี ยกร้ องให้บริ ษทั ชดใช้ค่าเสี ยหายจากการใช้ทรัพย์สินที กสท.อ้างเป็ นเจ้าของ กรรมสิ ท ธิ ตัง แต่เดื อนมกราคม 2556 ถึ งเมษายน 2559 จํานวนเงิ น 125.52 ล้านบาท พร้ อมดอกเบี ย ร้ อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันถัดจาก วันฟ้ องเป็ นต้นไปจนกว่าจะชําระค่าเสี ยหายเสร็ จสิ น และ ค่าเสี ยหาย นับแต่วนั ฟ้ องอีกเดื อนละ 2.83 ล้านบาท พร้อมดอกเบียร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าเสี ยหายทีคา้ งชําระให้แก่ กสท.ในแต่ละเดือน จนกว่าจะดําเนินการรื อถอนอุปกรณ์ดงั กล่าวออกเสร็ จสิ น ขณะนีคดีดงั กล่าวอยูใ่ นขันตอนของการพิจารณาของศาลปกครองกลาง โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชือว่า บริ ษทั ได้ปฏิ บตั ิ ถูกต้องตามข้อสัญญาที เกี ยวข้องทุ กประการแล้ว ดังนันผลของคดี ดงั กล่าวไม่น่าจะมี ผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่องบการเงินของบริ ษทั บริษัท ดิจิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) 1)

กรณี ก ารนําภาษี ส รรพสามิ ตมาหัก ออกจากเงิ น ส่ วนแบ่งรายได้ระหว่าง DPC กับ บริ ษ ทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

เมื อวันที 9 มกราคม 2551 กสท. ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทหมายเลขดําที 3/2551 ต่อสถาบันอนุ ญาโตตุ ลาการ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เพือเรี ยกร้องให้ DPC ชําระเงินส่ วนแบ่งรายได้เพิมเติมอีก ประมาณ 2,449 ล้านบาท ตามสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ด ําเนิ น การให้ บ ริ ก ารวิท ยุ ค มนาคมระบบเซลลู ล่ า พร้ อมเรี ยกเบี ยปรับ ในอัตราร้ อยละ 1.25 ต่อเดื อนของจํานวนเงิ นที คา้ งชําระในแต่ละปี นับจากวันผิดนัด จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ นซึ งคํานวณถึ งเดือนธันวาคม 2550 คิดเป็ นเบียปรับทังสิ นจํานวน 1,500 ล้านบาท รวมเป็ นเงินประมาณ 3,949 ล้านบาท

- 118 -

รายงานประจำ�ปี 2559

236


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ต่อมาเมื อวันที 1 ตุ ลาคม 2551 กสท. ได้ยืนคําร้ องขอแก้ไขจํานวนทุ นทรั พ ย์รวมเบี ยปรั บ ลดลงเหลื อ 3,410 ล้านบาท ซึ งคํานวณจากเงิ นส่ วนแบ่งรายได้คา้ งชําระถึ งเดื อนมกราคม 2551 ซึ งได้รวมเบียปรับ จํานวน 790 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิมจํานวน 171 ล้านบาท จํานวนเงิ นส่ วนแบ่งรายได้ที กสท. เรี ยกร้ องดังกล่าวเป็ นจํานวนเดี ยวกันกับ ภาษีส รรพสามิตที DPC ได้นําส่ งตังแต่วนั ที 16 กัน ยายน 2546 ถึ งวันที 15 กัน ยายน 2550 และได้นํามาหัก ออกจากส่ วนแบ่ ง รายได้ ซึ งเป็ นการปฏิบตั ิตามมติคณะรัฐมนตรี เมือวันที 11 กุมภาพันธ์ 2546 ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และมี การปฏิ บตั ิเช่ นเดี ยวกันทังอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื อนที อีกทัง กสท. เคยมีหนังสื อ เลขที กสท. 603 (กต.) 739 แจ้งให้ DPC ปฏิบตั ิตามมติคณะรัฐมนตรี ดงั กล่าว

รายงานทางการเงิน

เมือวันที 1 มีนาคม 2554 คณะอนุ ญาโตตุลาการได้มีคาํ ชี ขาดให้ยกคําเสนอข้อพิพาทของกสท. โดยให้ เหตุผลสรุ ปได้ว่า DPC มิได้เป็ นผูผ้ ิดสัญญา โดย DPC ได้ชาํ ระหนี ผลประโยชน์ตอบแทนเสร็ จสิ นและ หนี ท งั หมดได้ระงับไปแล้ว กสท. จึงไม่มีสิทธิ เรี ยกร้องให้ DPC ชําระหนี ซ าํ เพือเรี ยกส่ วนที อา้ งว่าขาดไป รวมถึงเบียปรับและภาษีมูลค่าเพิมตามทีอา้ งมา เมื อวันที 3 มิ ถุ นายน 2554 กสท. ได้ยืนคําร้ องขอเพิ กถอนคําชี ขาดของคณะอนุ ญาโตตุ ลาการต่อศาล ปกครองกลางเป็ นคดีหมายเลขดําที 1259/2554 เมือวันที 28 กรกฎาคม 2558 ศาลปกครองกลางได้ตดั สิ นยกคําร้องของ กสท. ทีขอให้เพิกถอนคําชี ขาด ของคณะอนุญาโตตุลาการ ต่อมาวันที 25 สิ งหาคม 2558 กสท. ได้ยืนอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสู งสุ ดเป็ นคดี หมายเลขดําที อ. 1070/2558 ขณะนีคดีดงั กล่าวอยูใ่ นขันตอนการพิจารณาของศาลปกครองสู งสุ ด 2)

กรณี ก ารนําค่าเชื อมโยงโครงข่าย (Access Charge) มาหัก ออกจากเงิ นส่ วนแบ่งรายได้ระหว่าง DPC กับ บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

ตามมติในทีประชุ มร่ วมกันระหว่างบริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”) บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) และ บริ ษทั ทรู มูฟ จํากัด (“True Move”) โดยมี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื อสาร เป็ นประธาน เมือวันที 14 มกราคม 2547 ว่าเพือให้มี ความเท่าเที ยมในการแข่งขันของผูป้ ระกอบการทัง 3 ราย ที โอที ยินยอมให้ลดค่าเชื อมโยงโครงข่าย โทรศัพท์เคลื อนที จากส่ วนแบ่งรายได้ทีทีโอที ได้รับ จาก กสท. จํานวน 22 บาทต่อเลขหมายต่อเดื อน ให้ แก่ DPC และ True Move ตังแต่ ปี การดําเนิ น การปี ที 6 เช่ น เดี ย วกับ ที ที โอที ใ ห้ ส่ วนลดกับ บริ ษ ัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน จํากัด (มหาชน) (“DTAC”) - 119 -

237

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ต่ อ มาเมื อ วัน ที 12 ตุ ล าคม 2549 ที โอที มี ห นัง สื อ แจ้ง กสท. ว่า ไม่ ส ามารถลดค่ า เชื อ มโยงโครงข่ า ย โทรศัพท์เคลือนทีให้แก่ DPC และ True Move ได้ และเรี ยกร้องให้ กสท. ชําระค่าเชื อมโยงโครงข่ายใน ส่ วนที DPC และ True Move ได้หกั ไว้เป็ นส่ วนลดค่าเชื อมโยงโครงข่ายให้ทีโอที จนครบถ้วน พร้อมดอกเบียตาม อัตราทีกฎหมายกําหนด นับแต่วนั ครบกําหนดชําระจนถึงวันทีชาํ ระครบถ้วน เมื อวันที 29 กรกฎาคม 2551 กสท. ได้ยืนคําเสนอข้อพิพ าทต่อสถาบันอนุ ญาโตตุ ล าการ สํานักระงับ ข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม ข้อพิพาทหมายเลขดําที 68/2551 เรี ยกร้องให้ DPC ชําระค่าเชื อมโยง โครงข่ายโทรศัพท์เคลือนทีที DPC ได้หกั ไว้จาํ นวน 154 ล้านบาท (ผลประโยชน์ตอบแทนส่ วนเพิมของ ปี ดําเนิ นการที 7-10) พร้อมภาษีมูลค่าเพิมและเบียปรับในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของเงินต้นดังกล่าว นับแต่วนั พ้นกําหนดชําระเงินของปี ดําเนินงานในแต่ละปี ตังแต่ปีที 7 ถึงปี ที 10 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น

รายงานทางการเงิน

เมื อ วัน ที 15 ตุ ล าคม 2552 กสท. ได้ยื น คําเสนอข้อ พิ พ าทต่ อ สถาบัน อนุ ญ าโตตุ ล าการ สํ า นัก ระงับ ข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม ข้อพิพาทหมายเลขดําที 96/2552 เรี ยกร้องให้ DPC ชําระค่าเชื อมโยง โครงข่ายโทรศัพท์เคลือนทีที DPC ได้หกั ไว้จาํ นวน 22 ล้านบาท (ผลประโยชน์ตอบแทนส่ วนเพิมของปี ดําเนิ นการที 11) พร้ อมเบียปรับในอัตราร้ อยละ 1.25 ต่อเดื อน ซึ งคํานวณถึงวันที 15 ตุลาคม 2552 รวม เป็ นจํานวนเงินทีเรี ยกร้องทังสิ น 26 ล้านบาท เมือวันที 23 มีนาคม 2555 คณะอนุ ญาโตตุลาการได้มีคาํ ชีขาดให้ยกคําเสนอข้อพิพาททังสองของ กสท. โดยให้เหตุผลสรุ ปได้วา่ กสท. ยังมิได้ชาํ ระค่าส่ วนลดค่าเชื อมโยงโครงข่ายจํานวน 22 บาทต่อเลขหมาย ต่อเดือนให้แก่ ทีโอที อีกทัง กสท. ไม่สามารถนําสื บได้วา่ DPC เป็ นผูผ้ ิดสัญญาและชําระผลประโยชน์ ตอบแทนไม่ครบถ้วน ดังนัน กสท. จึงไม่มีสิทธิ เรี ยกร้ องให้ DPC ชําระเงิ นในส่ วนทีขาดไป รวมถึ ง เบียปรับและภาษีมูลค่าเพิมตามทีอา้ งมา เมื อวันที 25 มิถุนายน 2555 กสท. ได้ยืนคําร้ องขอเพิกถอนคําชี ขาดของคณะอนุ ญาโตตุลาการต่อศาล ปกครองกลางเป็ นคดีหมายเลขดําที 1016/2555 และในวันที 16 กันยายน 2557 ศาลปกครองกลางได้มี คํา พิพากษายกคําร้ องของ กสท. ต่อมาในวันที 15 ตุ ลาคม 2557 กสท. ได้ยืนอุ ท ธรณ์ ต่อศาลปกครอง สู งสุ ด ขณะนีคดีดงั กล่าวอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสู งสุ ด

- 120 -

รายงานประจำ�ปี 2559

238


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 3)

กรณี เรี ยกร้องให้ชาํ ระค่าเชื อมโยงโครงข่าย (Access Charge) และ การนําค่าเชื อมโยงโครงข่ายมา หัก ออกจากเงิ นส่ วนแบ่ งรายได้ระหว่าง DPC กับ บริ ษ ัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) และบริ ษทั ทีโอที จํากัด (มหาชน) (“ทีโอที”)

เมือวันที 9 พฤษภาคม 2554 ทีโอทีได้ยืนฟ้ อง กสท. เป็ นผูถ้ ูกฟ้ องคดีที 1 และ DPC เป็ นผูถ้ ูกฟ้ องคดีที 2 คดี ห มายเลขดํา ที 1099/2554 ต่ อ ศาลปกครองกลาง เรี ยกร้ อ งให้ กสท. และ DPC ร่ ว มกัน ชํ า ระ ค่าเชื อมโยงโครงข่าย เป็ นเงิ นจํานวน 2,436 ล้านบาทพร้ อมภาษี มูลค่าเพิม และดอกเบียซึ งคํานวณถึ ง วันที 9 พฤษภาคม 2554 รวมเป็ นเงินทีเรี ยกร้องทังสิ นจํานวน 2,954 ล้านบาท พร้อมดอกเบียนับจากวัน ฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น โดยแบ่งเป็ น

รายงานทางการเงิน

1) ส่ วนของ DPC ซึ งคํานวณจากจํานวนเลขหมายโทรศัพ ท์เคลื อนที ที DPC มี ก ารให้บ ริ ก าร อัตรา 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน เป็ นจํานวนเงิน 432 ล้านบาท 2) ส่ วนของ กสท. ซึ งคํานวณจากครึ งหนึ งของส่ วนแบ่งรายได้ที กสท. ได้รับจาก DPC เป็ นจํานวนเงิ น 2,331 ล้านบาท 3) ส่ วนลดค่าเชื อมโยงโครงข่ายจํานวน 22 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน ที DPC นํามาหักออกจาก เงิ น ส่ วนแบ่ งรายได้ เป็ นจํานวนเงิ น 191 ล้านบาท ส่ วนหนึ งนัน เป็ นจํานวนเดี ยวกัน กับ ที กสท. เรี ย กร้ อ งตามข้อ พิ พ าทหมายเลขดํา ที 68/2551 ข้างต้น แต่ แตกต่า งกัน ที จาํ นวนปี ที เรี ยกร้องและการคํานวณดอกเบีย ต่อมาในวันที 31 กรกฎาคม 2557 ที โอที ได้ยืนคําร้ องขอแก้ไ ขเพิ ม เติ ม คําฟ้ องต่อศาลปกครองกลาง โดยขอแก้ไขจํานวนเงินค่าเชื อมโยงโครงข่ายทีเรี ยกร้องซึ งคํานวณจนถึงวันที 16 กันยายน 2556 อันเป็ น วันสิ นสุ ดสัญญา พร้อมภาษีมูลค่าเพิมและดอกเบียซึ งคํานวณถึ งวันที 10 กรกฎาคม 2557 รวมเป็ นเงินทังสิ น 5,454 ล้านบาทพร้อมดอกเบียนับจากวันที 10 กรกฎาคม 2557 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น โดยแบ่งเป็ น 1) ส่ วนของ DPC ซึ งคํานวณจากจํานวนเลขหมายโทรศัพ ท์เคลือนทีที DPC มีการให้บ ริ ก าร อัตรา 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน เป็ นจํานวนเงิน 1,289 ล้านบาท 2) ส่ วนของ กสท. ซึ งคํานวณจากครึ งหนึงของส่ วนแบ่งรายได้ที กสท. ได้รับจาก DPC เป็ นจํานวนเงิน 3,944 ล้านบาท 3) ส่ วนลดค่าเชือมโยงโครงข่ายจํานวน 22 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน ที DPC นํามาหักออกจาก เงินส่ วนแบ่งรายได้ เป็ นจํานวนเงิน 221 ล้านบาท

- 121 -

239

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ขณะนี คดี ดงั กล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชื อว่า ผลของข้อพิพาทและคดีดงั กล่าวน่าจะคลีคลายไปในทางทีดีและไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่อ งบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั เนืองจาก DPC ได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามกฎหมายและข้อสัญญาทีเกียวข้องทุก ประการแล้ว 4)

กรณี ส่งมอบและโอนกรรมสิ ทธิ เสาอากาศ/เสาสู ง (Tower) พร้ อมอุ ปกรณ์ แหล่งจ่ายกําลังงาน ระหว่าง DPC กับบริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

รายงานทางการเงิน

เมือวันที 3 กุมภาพันธ์ 2552 กสท. ได้เสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุลาการ ตามข้อพิพาทหมายเลขดําที 8/2552 เพือเรี ยกร้องให้ DPC ส่ งมอบและโอนกรรมสิ ทธิ เสาอากาศ/เสาสู ง (Tower) จํานวน 3,343 ต้น พร้อมอุปกรณ์แหล่งจ่ายกําลังงาน จํานวน 2,653 เครื อง ตามสัญญาให้ดาํ เนิ นการ ให้บริ การวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า หากไม่สามารถส่ งมอบได้ให้ DPC ชดใช้เงินเป็ นจํานวน 2,230 ล้านบาท ซึ ง DPC เห็ นว่า เสาอากาศ/เสาสู ง (Tower) พร้ อมอุป กรณ์ แหล่งจ่ายกําลังงานมิ ใช่ เครื องหรื ออุ ปกรณ์ ตามทีกาํ หนดไว้ในสัญญา เมื อวันที 18 กรกฎาคม 2555 คณะอนุ ญ าโตตุ ล าการได้มี ค าํ ชี ข าดให้ย กคําเสนอข้อพิ พ าทของ กสท. โดยให้เหตุผลสรุ ปได้วา่ การที กสท. เรี ยกร้องให้ DPC ส่ งมอบทรัพย์สินเป็ นการใช้สิทธิ เรี ยกร้องก่อน ครบกําหนดระยะเวลาทีอาจให้สิทธิ ตามสัญญาได้ เมื อ วัน ที 25 ตุ ล าคม 2555 กสท. ได้ยื น คํา ร้ อ งขอเพิ ก ถอนคํา ชี ขาดของคณะอนุ ญ าโตตุ ล าการต่ อ ศาลปกครองกลางเป็ นคดี หมายเลขดําที 2757/2555 ขณะนี คดี ดงั กล่าวอยู่ในขันตอนการพิจารณาของ ศาลปกครองกลาง

- 122 -

รายงานประจำ�ปี 2559

240


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 5)

กรณี ป รั บ ลดอัตราค่าใช้เครื อข่ ายร่ วม (Roaming) ระหว่าง DPC กับ บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

รายงานทางการเงิน

ตามที ก สท. ได้อ นุ ม ัติ ใ ห้ บ ริ ษ ัท ดิ จิ ต อล โฟน จํา กัด (“DPC”) ซึ งเป็ นบริ ษ ัทย่อย ปรั บลดอัตราค่ าใช้ เครื อข่ายร่ วม (Roaming) จาก 2.10 บาทต่อนาที เหลื ออัตรานาที ละ 1.10 บาท เพื อให้สอดคล้องกับ อัตรา ค่าใช้บริ การทีลดตําลงเรื อยๆ เป็ นเวลา 3 เดื อนเริ มตังแต่วนั ที 1 กรกฎาคม 2549 เป็ นต้นไปและ DPC ได้มี หนังสื อขยายระยะเวลาต่อไปอีกคราวละ 3 เดื อน ซึ ง กสท. ได้อนุ มตั ิเรื อยมาจนถึ งวันที 31 มี นาคม 2550 โดยหลัง จากนั น กสท . มิ ไ ด้มี ห นั ง สื อ ตอบปฏิ เสธให้ DPC ทราบแต่ อ ย่า งใด จนกระทัง ในวัน ที 24 มีนาคม 2551 กสท. ได้มีหนังสื อแจ้งให้ DPC ปรับอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมในอัตรานาทีละ 2.10 บาท ตังแต่ วนั ที 1 เมษายน 2550 เป็ นต้นไป ในวันที 8 พฤษภาคม 2551 DPC จึ งได้มี ห นัง สื อ ขอให้ กสท. พิจารณาทบทวนการปรับอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วม โดยคํานึ งถึงสภาวะการแข่งขันของโทรศัพท์เคลือนที ในปั จจุบนั ทีมีอตั ราค่าใช้บริ การในตลาดที ต าํ กว่าอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมที กาํ หนดมาก ซึ งทําให้ DPC ไม่สามารถให้บริ การเครื อข่ายร่ วมกับผูป้ ระกอบการที มาขอใช้บริ การได้ และในระหว่างรอการพิ จารณา DPC จะใช้อตั ราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมในนาที ละ 1.10 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื อนไขทีได้รับอนุ มตั ิและถื อ ปฏิ บตั ิมา ซึ งต่อมาเมื อวันที 31 มีนาคม 2552 กสท.ได้มีหนังสื ออนุ มตั ิให้ DPC ใช้อตั ราค่าใช้เครื อข่ายร่ วม ในอัตรานาที ละ 1.10 บาท ในช่ วงวันที 1 มกราคม 2552 ถึ งวันที 31 มี นาคม 2552 นอกจากนี เมื อวันที 16 มิ ถุ นายน 2552 DPC และบริ ษ ัทได้ท ําสั ญญาการให้ ใช้ โครงข่ ายโทรคมนาคม (Roaming) โดยใช้ อ ัตรา 1.10 บาทต่อนาที และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแล้ว เมือวันที 15 กรกฎาคม 2553 กสท. ได้ยืนเสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุลาการ ตามข้อพิ พาทหมายเลขดําที 62/2553 เพื อเรี ยกร้ องให้ DPC ชําระผลประโยชน์ ตอบแทนส่ วนเพิ มของปี ดําเนิ นการที 10 - 12 ซึ งเกิดจากการที DPC ปรับลดอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมจากอัตรานาทีละ 2.10 บาท คงเหลือ 1.10 บาท ในช่ วงระหว่างวันที 1 เมษายน 2550 - 31 ธั นวาคม 2551 เป็ นจํานวนเงิ นรวม 1,636 ล้านบาท พร้อมเบียปรับทีคาํ นวณถึ งเดื อนมีนาคม 2553 เป็ นจํานวน 364 ล้านบาท รวมเป็ นเงิ นทังสิ น 2,000 ล้านบาท และเรี ยกเบียปรับในอัตราร้ อยละ 1.25 ต่อเดื อน นับแต่เดื อน เมษายน 2553 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น โดยอ้าง ว่า กสท. ได้อนุมตั ิการปรับลดอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมดังกล่าวจนถึงวันที 31 มีนาคม 2550 เท่านัน

- 123 -

241

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 12 กันยายน 2554 กสท. ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุ ญาโตตุลาการ สํานักระงับข้อพิพาท ข้อพิพาทหมายเลขดําที 89/2554 เรี ยกร้ องให้ DPC ชําระผลประโยชน์ ตอบแทนส่ วนเพิมของปี ดําเนิ นการ ที 12 ที เกิ ดจากการที DPC ปรั บลดอัตราค่าใช้เครื อข่ายร่ วมจากอัตรานาที ละ 2.10 บาท ลงเหลื อ 1.10 บาท ในช่ วงระหว่างวันที 1 เมษายน 2552 - 15 มิ ถุ นายน 2552 เพิมเติ ม จํานวน 113 ล้านบาท พร้ อมเบี ยปรั บใน อัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของเงินต้นดังกล่าว นับตังแต่วนั ที 1 เมษายน 2552 จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น ขณะนี ขอ้ พิ พาทดังกล่าวอยู่ในขันตอนการพิ จารณาของอนุ ญาโตตุ ล าการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษ ทั เชื อว่าคําวินิจฉัยชี ขาดของคณะอนุ ญาโตตุ ลาการเกียวกับข้อพิ พาทดังกล่าวไม่น่าจะมี ผลกระทบใด ๆ ต่องบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั เนืองจาก DPC ได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามกฎหมายและข้อสัญญาทีเกียวข้อง ทุกประการแล้ว 6)

กรณี ความเสี ยหายเนื องจากไม่สามารถเรี ยกเก็บเงินค่าบริ การโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ระหว่าง DPC กับบริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) รายงานทางการเงิน

เมือวันที 8 เมษายน 2554 กสท. ได้ยืนคําเสนอข้อพิพาทหมายเลขดําที 32/2554 ต่อสถาบันอนุ ญาโตตุลาการ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เพือเรี ยกร้องให้ DPC ชําระเงินจํานวน 33 ล้านบาท พร้อม ดอกเบียในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินต้นดังกล่าว รวมเป็ นจํานวนเงินทังสิ น 35 ล้านบาท โดย กสท. กล่าวอ้างว่า DPC ผิดสั ญญาให้ดาํ เนิ นการ เนื องจากสั ญ ญาเช่ าใช้บ ริ การวิท ยุค มนาคมระบบเซลลู ล่ า ระหว่าง DPC กับ ผูใ้ ช้บ ริ ก าร ในระหว่างปี 2540 - 2546 จํานวน 1,209 เลขหมาย มี ก ารปลอมแปลง เอกสารหรื อลายมือชื อ เป็ นเหตุให้ กสท. ได้รับความเสี ยหายเนื องจากไม่สามารถเรี ยกเก็บค่าใช้บริ การ ระหว่างประเทศได้ เมือเลขหมายดังกล่าวมีการใช้บริ การโทรศัพท์ระหว่างประเทศของ กสท. เมือวันที 28 พฤษภาคม 2556 คณะอนุ ญาโตตุลาการ ได้มีคาํ วินิจฉัยชี ขาดให้ยกคําขอของ กสท. โดยชี ขาดว่า ข้อพิ พาทในคดี น ี เป็ นเรื องพิ พาททางละเมิ ด มิ ได้เป็ นการกระทําอันเกิ ดจากการผิดสั ญญาให้ ดาํ เนิ นการ ดังนันข้อพิพาทในคดีน ีจึงไม่อยูใ่ นอํานาจพิจารณาของอนุ ญาโตตุลาการ เมื อ วัน ที 6 กัน ยายน 2556 กสท. ได้ยื น คํา ร้ อ งขอเพิ ก ถอนคํา ชี ขาดของคณะอนุ ญ าโตตุ ล าการต่ อ ศาลปกครองกลางเป็ นคดี หมายเลขดําที 1767/2556 ขณะนี คดี ดงั กล่าวอยู่ในขันตอนการพิจารณาของ ศาลปกครองกลาง

- 124 -

รายงานประจำ�ปี 2559

242


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 7)

กรณี ส่วนแบ่งรายได้จากค่าเชือมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่าง DPC กับบริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

เมื อวันที 24 สิ งหาคม 2555 กสท.ได้ยืนคําเสนอข้อพิ พาทหมายเลขดําที 110/2555 ต่อสถาบันอนุ ญาโตตุ ลาการ สํานักระงับข้อพิพาท เพือเรี ยกร้ องให้ DPC ชําระผลประโยชน์ตอบแทนส่ วนเพิมของปี ดําเนิ นการที 10 - 14 จํานวน 183 ล้านบาท พร้ อมเบี ยปรั บในอัตราร้ อยละ 1.25 ต่อเดื อนของเงิ นต้นดังกล่าว นับแต่วนั พ้น กําหนดชําระเงินของปี ดําเนินงานในแต่ละปี จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น

รายงานทางการเงิน

ต่ อ มาเมื อ วัน ที 1 เมษายน 2557 กสท. ได้ยื น คํา เสนอข้อ พิ พ าทหมายเลขดํา ที 26/2557 ต่ อ สถาบัน อนุ ญาโตตุลาการ สํานักระงับข้อพิพาท เพือเรี ยกร้องให้ DPC ชําระผลประโยชน์ตอบแทนส่ วนเพิมของ ปี ดําเนิ นการที 15 จํานวน 141 ล้านบาท พร้อมเบียปรับในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือนของเงินต้นดังกล่าว นับแต่วนั พ้นกําหนดชําระเงินของปี ดําเนิ นงานในแต่ละปี จนกว่าจะชําระเสร็ จสิ น ซึ งจํานวนเงินดังกล่าว กสท. คํานวณผลประโยชน์ ตอบแทนจากรายได้ค่ าเชื อมต่ อโครงข่ ายโทรคมนาคมที DPC ได้รั บ จาก ผูป้ ระกอบการรายอืนทังจํานวนตามอัตราร้ อยละทีกาํ หนดไว้ในสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นกิจการบริ การ โทรศัพ ท์เคลื อนที โดยไม่ ให้นํารายจ่ายค่าเชื อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที DPC ถู ก ผูป้ ระกอบการ รายอืนเรี ยกเก็บมาหักออก ขณะนี ขอ้ พิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนของอนุ ญาโตตุ ลาการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชื อว่า ผลของ ข้อพิพาทดังกล่าวน่าจะคลีคลายไปในทางทีดีและไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่องบการเงินรวม ของบริ ษทั เนืองจาก DPC ได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามกฎหมายและข้อสัญญาทีเกียวข้องทุกประการแล้ว 8)

ภาระผูกพันในหนังสื อคําประกันจากธนาคารกรณี สัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการ

ตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการ บริ ษทั ดิจิตอลโฟน จํากัด (“DPC”) มีหน้าทีส่งมอบหนังสื อคําประกัน ของธนาคารให้แก่บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) เพือเป็ นหลักประกันการชําระเงิ น ผลประโยชน์ ต อบแทนขัน ตําในแต่ล ะปี ดําเนิ น งาน โดยจะได้รับ คื น หนังสื อ คํา ประกัน ฉบับ ของปี ดําเนินงานทีผา่ นมา กสท. มิ ไ ด้คื น หนัง สื อคําประกัน เงิ น ประโยชน์ ตอบแทนขัน ตําของปี ดําเนิ น งานที 10 - 14 รวมเป็ น จํานวนเงินทังสิ น 2,606 ล้านบาท โดยอ้างว่า DPC ชําระเงินผลประโยชน์ตอบแทนไม่ครบถ้วนจากกรณี การนําเงิ นค่าภาษี ส รรพสามิ ตมาหัก ออกจากเงิ นผลประโยชน์ ตอบแทนและกรณี รายได้จากค่าเชื อม ต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ส่ วนลดค่าเชื อมโยงโครงข่าย และกรณี ป รั บ ลดอัตราค่า Roaming ซึ งเป็ น ข้อพิพาททีอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ - 125 -

243

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมือวันที 8 ตุลาคม 2555 DPC ได้เสนอข้อพิพาทต่อสํานักระงับข้อพิพาท สถาบันอนุ ญาโตตุลาการเป็ น ข้อพิพาทหมายเลขดํา 120/2555 เพือให้คณะอนุ ญาโตตุลาการมีคาํ วินิจฉัยชีขาดให้ กสท. ส่ งคืนหนังสื อ คําประกัน ดังกล่ าวให้แก่ DPC เนื องจาก DPC ได้ช ําระเงิ น ผลประโยชน์ ตอบแทนขัน ตําในแต่ล ะปี ดําเนินงานครบถ้วน และได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามกฎหมายและข้อสัญญาทีเกียวข้องทุกประการแล้ว เมือวันที 28 พฤษภาคม 2558 คณะอนุ ญาโตตุลาการมีคาํ ชี ขาดให้ กสท. ส่ งคืนหนังสื อคําประกันพร้อม ค่าธรรมเนี ยมธนาคารดังกล่ าวให้แก่ DPC ต่อมาเมื อวันที 15 กันยายน 2558 กสท. ได้ยืนคําร้ องเป็ น คดี หมายเลขดําที 1671/2558 ต่อศาลปกครองกลาง เพือขอเพิกถอนคําชี ขาดของคณะอนุ ญาโตตุลาการ ขณะนีคดีดงั กล่าวอยูใ่ นขันตอนการพิจารณาของศาลปกครองกลาง 9)

กรณี ก ารเรี ย กค่ า ใช้ /ค่ า ตอบแทนจากการใช้ เครื อ งและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมและโครงข่ า ย โทรคมนาคมช่วงระยะเวลาคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราว รายงานทางการเงิน

เมื อ วัน ที 20 พฤษภาคม 2558 บริ ษ ทั กสท โทรคมนาคม จํา กัด (มหาชน) (“กสท.”) ได้ยืน ฟ้ อ ง สํานัก งานคณะกรรมการกิ จ การกระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทัศ น์ แ ละกิ จ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“สํานักงานกสทช.”), คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (“กทค.”), คณะกรรมการกิจการกระจาย เสี ย ง กิจการโทรทัศ น์และโทรคมนาคมแห่ งชาติ (“กสทช.”), บริ ษ ทั ทรู มูฟ จํากัด (“ทรู มูฟ ”) และ บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) ต่อศาลปกครองกลาง เป็ นคดีหมายเลขดําที 918/2558 เพือให้ชาํ ระ ค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครื องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและโครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท. ช่วง ระยะเวลาคุม้ ครองตามประกาศ กสทช. เรื อง มาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราวในกรณี สินสุ ด การอนุ ญาต สัมปทานหรื อสัญญาการให้บริ การโทรศัพท์เคลือนที ซึ งคํานวณตังแต่วนั ที 16 กันยายน 2556 ถึ ง วันที 15 กันยายน 2557 เป็ นจํานวนเงินดังนี 1. สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 24,117 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 2. ทรู มูฟ ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 18,025 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี 3. DPC ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 6,083 ล้านบาท พร้อมดอกเบียใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

- 126 -

รายงานประจำ�ปี 2559

244


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ต่ อ มาเมื อ วัน ที 11 กัน ยายน 2558 กสท. ได้ยื น ฟ้ อ งต่ อ ศาลปกครองกลางเป็ นคดี ห มายเลขดํา ที 1651/2558 เพื อเรี ยกร้ องให้ช ําระค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครื องและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมและ โครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท. ตังแต่วนั ที 16 กันยายน 2557 ถึงวันที 17 กรกฎาคม 2558 เพิมเติมเป็ น จํานวนเงินดังนี 1. สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 6,521 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 2. ทรู มูฟ ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 4,991 ล้านบาท พร้อมดอกเบีย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 3. DPC ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 1,635 ล้านบาท พร้อมดอกเบีย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

รายงานทางการเงิน

ต่ อ มาเมื อ วัน ที 27 พฤษภาคม 2559 กสท. ได้ยื น ฟ้ อ งต่ อ ศาลปกครองกลางเป็ นคดี ห มายเลขดํา ที 741/2559 เพื อ เรี ย กร้ อ งให้ ช ําระค่ าใช้/ค่ าตอบแทนจากการใช้เครื อ งและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมและ โครงข่ายโทรคมนาคมของ กสท. ตังแต่วนั ที 18 กรกฎาคม 2558 ถึงวันที 25 พฤศจิกายน 2558 เพิมเติม เป็ นจํานวนเงินดังนี 1. สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 2,857 ล้านบาท พร้อมดอกเบียในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 2. ทรู มูฟ ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 2,184 ล้านบาท พร้อมดอกเบีย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี 3. DPC ร่ วมกับ สํานักงาน กสทช., กทค. และ กสทช. จํานวน 673 ล้านบาท พร้อมดอกเบียใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะนี ขอ้ พิพาทดังกล่าวอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลาง โดยฝ่ ายบริ หารของ บริ ษทั เชื อว่า DPC ไม่มีหน้าทีตอ้ งชําระค่าใช้/ค่าตอบแทนจากการใช้ เครื องและอุปกรณ์ โทรคมนาคม และโครงข่ายโทรคมนาคมตามที กสท. เรี ยกร้อง เนื องจาก DPC ได้ปฏิบตั ิถูกต้องตามประกาศ กสทช. แล้วทุ กประการ ดังนันผลของข้อพิพาทดังกล่าวน่ าจะคลี คลายไปในทางทีดีและไม่น่าจะมีผลกระทบ อย่างมีนยั สําคัญต่องบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั

- 127 -

245

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 10) กรณี การฟ้ องเพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (“กทค”) ทีมีคาํ สังให้นาํ ส่ งรายได้จากการ ให้บริ การในช่วงระยะเวลาคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราว วันที 16 พฤศจิกายน 2558 บริ ษทั ดิ จิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) ยืนฟ้ องคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศ น์แ ละกิจ การโทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (“กสทช.”) ต่อ ศาลปกครองกลางที 1997/2558 เรื อง ขอให้เพิกถอนมติ กทค. ให้นาํ ส่ งรายได้ช่วงเยียวยา เนื องจากสํานักงานกสทช. เรี ยกร้องให้ DPC นําส่ งเงินรายได้จากการให้บริ การในช่วงเยียวยาลูกค้า ระหว่างวันที 16 กันยายน 2556 ถึงวันที 17 กรกฎาคม 2557 จํานวน 628 ล้านบาท

รายงานทางการเงิน

ในเรื องเดี ยวกันนี เมื อวันที 16 กันยายน 2559 กสทช. และสํ านักงานคณะกรรมการกิ จการกระจายเสี ยง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ งชาติ (“สํานักงาน กสทช.”) ได้ยืนคําฟ้ องต่อศาลปกครองกลาง เป็ นคดี หมายเลขดําที 1441/2559 ขอให้บริ ษ ทั นําส่ งรายได้ช่ วงเยียวยา ระหว่างวันที 16 กันยายน 2556 ถึ ง วันที 17 กรกฎาคม 2557 จํานวน 680 ล้านบาท (รวมดอกเบี ยคํานวณถึ งวันที ฟ้ อง 52 ล้านบาท) พร้ อ ม ดอกเบียในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน นับแต่วนั ถัดจากวันฟ้ องจนกว่าจะนําส่ งรายได้พร้อมดอก ผลและดอกเบียเสร็ จสิ น โดยผูบ้ ริ หารพิจารณาว่า DPC ได้ปฏิบตั ิตามประกาศ เรื อง มาตรการคุม้ ครองผูใ้ ช้บริ การเป็ นการชัว คราว ในกรณี สินสุ ดการอนุญาต สัมปทาน หรื อสัญญาการให้บริ การโทรศัพท์เคลือนที พ.ศ. 2556 ซึ งกําหนดให้ DPC ต้องนําส่ งเงินรายได้หลังหักรายจ่ายให้แก่สาํ นักงานกสทช. เนืองจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว DPC มีรายจ่ายมากกว่ารายได้จากการให้บริ การแก่ผูใ้ ช้บริ การ DPC จึงไม่มีรายได้คงเหลือทีจะนําส่ งให้แก่ กสทช. ตามทีประกาศดังกล่าวกําหนดไว้ ขณะนีคดีดงั กล่าวอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

- 128 -

รายงานประจำ�ปี 2559

246


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 11) กรณี การนําเครื องและอุปกรณ์ โทรคมนาคมตามสัญญาอนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการให้บริ การวิทยุคมนาคม ระบบเซลลู ล่ า ระหว่าง กสท. กับ บริ ษ ัท ดิ จิตอลโฟน จํากัด ไปให้ ผูใ้ ห้ บริ การโทรศัพท์เคลื อนที รายอืนใช้ร่วม เมือวันที 30 มิถุนายน 2559 บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) ได้ยืนข้อพิพาทต่อสถาบัน อนุ ญาโตตุลาการ สํานักระงับข้อพิพาท สํานักงานศาลยุติธรรม เป็ นข้อพิพาทหมายเลขดําที 57/2559 เพือให้มี คําชี ขาดให้ บริ ษ ทั ดิ จิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) ทําการรื อถอนเครื องและอุ ปกรณ์ โทรคมนาคมที มี ไว้ใช้ สําหรั บให้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที ย่านความถี 2100 MHz รวมทังเครื อง หรื ออุ ปกรณ์ โทรคมอื นๆ ของ บริ ษทั แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด (“AWN”) และเครื องและอุปกรณ์ โทรคมนาคมทีมีไว้ใช้สําหรับ ให้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที ย่านความถี 900 MHz หรื อย่านความถี อืนรวมทังเครื อง หรื ออุ ปกรณ์ โทรคม อืนๆ ของ บริ ษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) (“บริ ษทั ”) ทีติดตังบนสถานี ฐาน จํานวน 97 แห่ง ตามสัญญาให้ดาํ เนิ นการฯ ของ DPC โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก กสท. รายงานทางการเงิน

โดยหาก DPC ไม่ยอมรื อถอนไม่ว่ากรณี ใด ขอให้ DPC ชดใช้ค่าเสี ยหายแก่ กสท. เป็ นเงิ นเดื อนละ 4.84 ล้านบาท พร้ อมดอกเบี ยร้ อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าเสี ยหายที DPC ค้างชําระ กสท. นับถัดจากวันยืนคําเสนอ ข้อพิพาทเป็ นต้นไปจนกว่าจะรื อถอนเครื องและอุปกรณ์ เสร็ จสิ น และค่าเสี ยหายจากการยินยอมให้ บริ ษทั และ AWN ใช้ทรั พย์สิ นที กสท. เป็ นเจ้าของกรรมสิ ทธิ จํานวน 97 สถานี ฐาน ตังแต่ เดื อนมกราคม 2556 จนถึ งเดื อนมิถุนายน 2559 รวมเป็ นค่าเสี ยหาย 175.19 ล้านบาท พร้ อมดอกเบี ยร้ อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิ น และห้ามมิ ให้ DPC นําเครื องและอุ ปกรณ์ โทรคมนาคม รวมทังโครงสร้ างพื นฐานโทรคมอื นๆ ตามสัญญา อนุ ญาตให้ดาํ เนิ นการฯ ไปให้ผูใ้ ห้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที รายอืนใช้ร่วม เว้นแต่ได้รับอนุ ญาตจาก กสท. เป็ นลายลักษณ์อกั ษร ขณะนี ขอ้ พิพาทดังกล่าวอยูใ่ นขันตอนของอนุ ญาโตตุลาการ โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชือว่า DPC ได้ปฏิบตั ิ ถู กต้องตามข้อสั ญญาที เกี ยวข้องทุ กประการแล้ว ดังนันผลของคดี ดังกล่ าว ไม่น่ าจะมี ผลกระทบอย่างมี นัยสําคัญต่องบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั

- 129 -

247

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จํากัด (“AIN”) กรณี การส่ งทราฟฟิ คการให้บริ การโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศผ่านเครื องหมาย + ระหว่าง AIN กับ บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”)

รายงานทางการเงิน

เมื อวันที 7 มีนาคม 2551 บริ ษทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) ได้ยืนฟ้ องบริ ษทั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จํากัด (มหาชน) (“บริ ษทั ”) เป็ นจําเลยที 1 และ บริ ษทั เอไอเอ็น โกลบอลคอม จํากัด (“บริ ษทั ย่อย”) เป็ นจําเลยที 2 คดี หมายเลขดําที 1245/2551 ต่อศาลแพ่ง เพือเรี ยกร้ องให้ร่วมกันชดใช้ ค่าเสี ยหาย พร้ อมดอกเบี ย ในอัตราร้ อยละ 7.5 ต่อปี จนถึ งวันฟ้ อง รวมเป็ นจํานวนเงิ น 130 ล้านบาท โดยอ้า งว่า ความเสี ยหายดังกล่ าวเกิ ดจากกรณี ที บ ริ ษ ัท กับ บริ ษ ัท ย่อย เปลี ยนแปลงการส่ งทราฟฟิ ค การให้บริ การโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ในช่ วงระหว่างวันที 1 ถึ ง 27 มี นาคม 2550 ที ผูใ้ ช้บริ การ โทรศัพ ท์ เคลื อนที ข องบริ ษ ัท ใช้ บ ริ ก ารผ่ านเครื องหมาย + จากเดิ มที เป็ น 001 ของ กสท. มาเป็ น 005 ของบริ ษ ทั ย่อย โดยไม่ แจ้งให้ผูใ้ ช้บริ การทราบก่ อน ต่อมาเมื อวันที 4 กันยายน 2551 กสท. ได้ยืนคําร้ อง ขอแก้ไขเพิมเติ มฟ้ องในส่ วนของค่าเสี ยหาย 583 ล้านบาท (รวมดอกเบี ย) โดยอ้างว่าการกระทําดังกล่ าว เป็ นเหตุให้ กสท. ได้รับความเสี ยหายเป็ นระยะเวลาต่อเนืองเรื อยมาจนถึงวันที 7 มีนาคม 2551 ต่อมาวันที 19 พฤศจิกายน 2551 กสท. ได้ยืนคําร้องขอให้ศาลมีคาํ สังคุ ม้ ครองชัว คราวห้ามไม่ให้บริ ษทั และ บริ ษทั ย่อยทําการโยกย้าย ทราฟฟิ ค 001 หรื อเครื องหมาย + ของ กสท. ไปยังทราฟฟิ ค 005 ของบริ ษทั ย่อย ซึ งศาลได้มี คาํ สังยกคําร้ องขอคุ ม้ ครองชัวคราวของ กสท. เมื อวันที 26 กุ มภาพันธ์ 2552 และ กสท. ได้ยืน อุทธรณ์ คาํ สังยกคําร้ องขอคุ ม้ ครองชัว คราวดังกล่าวในวันที 20 มี นาคม 2552 ต่อมา ศาลอุทธรณ์ ได้มีคาํ สัง ยืนตามคําสังของศาลชันต้นให้ยกคําร้ องขอคุ ม้ ครองชัวคราวของ กสท. เมื อวันที 16 สิ งหาคม 2555 โดย กสท. ฎี กาคําสังดังกล่าวเมือวันที 19 ตุลาคม 2555 และเมื อวันที 3 กุมภาพันธ์ 2558 ศาลฎี กาได้มีคาํ สัง ยืนตามคําสังของศาลอุทธรณ์ให้ยกคําร้องขอคุม้ ครองชัว คราวของ กสท.

- 130 -

รายงานประจำ�ปี 2559

248


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 เมื อวันที 17 ธันวาคม 2552 ศาลแพ่งได้มีคาํ พิพากษายกฟ้ อง กสท. เนื องจากข้อเท็จจริ งรับฟั งไม่ได้ว่า กสท. มีสิทธิ ในการใช้เครื องหมาย + ในการให้บริ การโทรศัพท์ ระหว่างประเทศแต่ผูเ้ ดี ยวหรื อมีสิทธิ หวงห้ามมิให้ บริ ษทั และ AIN ซึ งเป็ นผูใ้ ห้บริ การโทรศัพท์รายอืนใช้เครื องหมาย + และรับฟั งไม่ได้ว่า การที บริ ษทั กระทําการแปลงสัญญาณโทรศัพท์ที ใช้ผ่านเครื องหมาย + จากหมายเลข 001 ของ กสท. เป็ นผ่านรหัสหมายเลข 005 ของ AIN เป็ นการทําให้ผใู ้ ช้บริ การโทรศัพท์ระหว่างประเทศเข้าใจผิดว่าเป็ น การใช้บริ การผ่านรหัสหมายเลข 001 ของกสท. การกระทําของบริ ษทั ดังกล่าวจึงมิได้เป็ นการกระทําอัน เป็ นการละเมิดสิ ทธิ ใดๆ ของ กสท. สําหรับ AIN ที กสท. ฟ้ องอ้างว่าร่ วมกระทําละเมิดกับบริ ษทั นัน จึงมิได้กระทําการละเมิดต่อ กสท. ตามฟ้ องด้วย ซึ ง กสท. ได้ยืนอุทธรณ์คาํ พิพากษาดังกล่าวเมือวันที 10 มี นาคม 2553 ต่อมาศาลอุ ทธรณ์ ได้มีคาํ พิพากษายกฟ้ อง กสท. ยืนตามศาลชันต้น เมือวันที 27 มิ ถุนายน 2556 และกสท. ฎีกาคําสัง ดังกล่าวเมือวันที 16 กันยายน 2556 เมือวันที 24 พฤษภาคม 2559 ศาลฎีกาได้มีคาํ สังยืนตามคําสังของศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้ อง กสท. โดยศาลแพ่ง ได้อ่านคําพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวในวันที 13 กันยายน 2559 รายงานทางการเงิน

บริษัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ทเวอร์ ค จํากัด (“AWN”) กรณี ติดตังหรื อเชื อมต่ออุปกรณ์โทรคมนาคมย่านความถี 2100 MHz ของ AWN บนสถานี ฐานที บริ ษทั ดิจิตอล โฟน จํากัด (“DPC”) ส่ งมอบกรรมสิ ทธิ ให้แก่ บริ ษทั กสท.โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ตามสัญญา ให้ดาํ เนินการให้บริ การวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า ระหว่าง กสท. กับ DPC เมื อวันที 30 มิ ถุ นายน 2559 บริ ษ ทั กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (“กสท.”) ได้ยืน ฟ้ องบริ ษ ัท แอดวานซ์ ไวร์ เลส เน็ ทเวอร์ ค จํากัด (“AWN”) ต่อศาลปกครองกลาง เป็ นคดี ดาํ ที 1039/2559 เพื อให้ รื อถอนเครื อ งและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมที มี ไ ว้ใ ช้สํ าหรั บ ให้ บ ริ ก ารโทรศัพ ท์ เคลื อ นที ย่านความถี 2100 MHz และหรื อเครื องและอุปกรณ์โทรคมนาคมอืนๆ ของ AWN ทีติดตังบนสถานี ฐาน จํานวน 67 แห่ง ตามสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ด ํา เนิ น การฯ ของ DPC โดยไม่ ไ ด้รับ ความยิ น ยอมจาก กสท. ดัง นัน กสท. จึงเรี ยกร้ องให้ AWN ชดใช้ค่าเสี ยหายจากการใช้ทรัพย์สินที กสท. อ้างเป็ นเจ้าของกรรมสิ ทธิ ตังแต่เดื อน มกราคม 2556 จนถึ ง เดื อ นมิ ถุ น ายน 2559 จํา นวน 57.53 ล้า นบาท พร้ อ มดอกเบี ยร้ อ ยละ 7.5 ต่ อ ปี นับจากวันถัดจากวันฟ้ องเป็ นต้นไปจนกว่าจะชําระค่าเสี ยหายเสร็ จสิ น และค่าเสี ยหายเดื อนละ 2 ล้านบาท พร้ อ มดอกเบี ยร้ อ ยละ 7.5 ต่ อ ปี ของค่ า เสี ยหายที ค ้ า งชํ า ระให้ แ ก่ กสท.ในแต่ ล ะเดื อ น จนกว่ า จะดํา เนิ น การรื อถอนอุ ป กรณ์ ดัง กล่ า วออกเสร็ จ สิ น และห้ า มมิ ใ ห้ AWN นํ า เครื อ งและอุ ป กรณ์ โทรคมนาคมสําหรับให้บริ การโทรศัพท์เคลื อนที ย่านความถี 2100 MHz และหรื อเครื องและอุปกรณ์ โทรคมนาคมอื น ๆ มาติ ด ตังหรื อเชื อ มต่ ออุ ป กรณ์ โทรคมนาคม ตามสั ญ ญาอนุ ญ าตให้ ด าํ เนิ น การฯ ระหว่าง กสท. กับ DPC เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กสท. เป็ นลายลักษณ์อกั ษร - 131 -

249

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วสิ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่ อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สํ าหรับปี สินสุ ดวันที 31 ธันวาคม 2559 ขณะนี คดีดงั กล่าวอยูใ่ นขันตอนของการพิจารณาของศาลปกครองกลาง โดยฝ่ ายบริ หารของบริ ษทั เชื อว่า AWN ได้ปฏิ บตั ิถูกต้องตามข้อสัญญาทีเกียวข้องทุกประการแล้ว ดังนันผลของคดีดงั กล่าวไม่น่าจะมี ผลกระทบอย่างมีนยั สําคัญต่องบการเงินรวมของกลุ่มบริ ษทั 39. 39.

เหตุกการณ์ งรอบระยะเวลารายงาน ารณ์ภภายหลั ายหลั งรอบระยะเวลารายงาน เงินปันผล ผล

ในการประชุมคณะกรรมการเมือวันที 3 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีมติให้เสนอจ่ายเงินปั นผลประจําปี 2559 ให้แก่ผูถ้ ื อหุ ้น ในอัตราหุ ้นละ 10.08 บาท ซึ งบริ ษทั ได้จ่ายเงิ นปั นผลดังกล่าวไปแล้วในอัตราหุ ้นละ 5.79 บาท ในการจ่ายเงินปั นผลระหว่างกาลเมือวันที 1 กันยายน 2559 ทังนี การเสนอดังกล่าวจะต้อง ได้รับการอนุมตั ิจากทีประชุมผูถ้ ือหุ น้ ของบริ ษทั

40. บการเงิ 40. การอนุ การอนุมมัตัติงิงบการเงิ นน

รายงานทางการเงิน

งบการเงินนีได้รับการอนุมตั ิให้ออกงบการเงินโดยคณะกรรมการบริ ษทั เมือวันที 3 กุมภาพันธ์ 2560

- 132 -

รายงานประจำ�ปี 2559

250


คำ�อธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ประจำ�ปี 2559 บทวิเคราะห์โดยสรุป

รายงานทางการเงิน

สร้างโครงข่าย 4G ครอบคลุม 98% ของประชากรภายในหนึง่ ปี ปี 2559 เป็นปีทเี่ อไอเอสให้ความสำ�คัญกับการขยายพืน้ ที่ให้บริการ 4G และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ด้วยเงินลงทุน 47,554 ล้านบาท หลังจากเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800x15 เมกะเฮิรตซ์ ไปเมื่อเดือนมกราคม 2559 เอไอเอสเดินหน้าพัฒนา เครือข่ายอย่างต่อเนือ่ ง โดยได้ด�ำ เนินการดังนี้ 1) ได้รบั ใบอนุญาต การใช้คลื่น 900x10 เมกะเฮิรตซ์ 2) นำ�เทคโนโลยี Carrier Aggregation มาเสริมในพื้นที่ในเมือง 3) ร่วมมือกับทีโอทีเพื่อ ทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์บนคลืน่ 2100x15 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่ ภาพรวมของการแข่งขันยังคงเน้นการออกแคมเปญแจกและลด ราคามือถือเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่า แม้จะมี แรงกดดันจากการแข่งขัน รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ น ปรับตัวดีขึ้น 1% จากปี 2558 เนื่องจากโครงข่าย 4G ที่ครอบคลุม และความนิยมใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขี้น เดินหน้าสร้างธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเป็นฐาน รายได้ใหม่ หลังจากทีเ่ อไอเอส ไฟเบอร์เปิดให้บริการมาเป็นปีทสี่ อง ได้มีผู้ใช้บริการ ณ สิ้นปี 2559 รวม 301,500 ราย และมีโครงข่าย ครอบคลุม 28 จังหวัด การแข่งขันในตลาดสูงขึ้นโดยผู้ให้บริการ ต่างออกแคมเปญทัง้ รูปแบบลดค่าบริการในช่วงสัน้ ๆ และการปรับ เพิม่ ความเร็วในอัตราค่าบริการเท่าเดิม เพือ่ ดึงดูดทัง้ ลูกค้ารายใหม่ และลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนจาก ADSL มาเป็นไฟเบอร์ ในระหว่าง ปี 2559 เอไอเอสได้พัฒนาประสิทธิภาพในการดำ�เนินงานอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงขยายช่องทางและตัวแทนจำ�หน่าย ณ ไตรมาส 4/2559 รายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคิดเป็นสัดส่วน 1.2% ของรายได้จากการให้บริการและมีอัตราการเติบโตของ ผู้ใช้บริการ 35,000 คนต่อเดือน ซึ่งนับได้ว่าอยู่ในระดับเทียบ เท่ากับผู้ให้บริการหลักในตลาด รายได้ปรับตัวขึน้ ในช่วงครึง่ ปีหลังท่ามกลางสภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรง รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เติบโต 1.6% สอดคล้องกับประมาณการที่คาดไว้ ส่วนค่าใช้จ่าย ทางการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 10.5% ของรายได้รวม เนื่องจาก แคมเปญแจกและลดราคามือถือมูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านบาท (รวมแคมเปญอุดหนุนให้ลูกค้า 2G ไปใช้งาน 3G) ในปี 2559 ต้นทุนโครงข่ายเพิม่ ขึน้ จากการขยายโครงข่ายและค่าใช้จา่ ย การใช้คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เสา และอุปกรณ์โครงข่าย แก่ทโี อทีเป็นเงิน 3,775 ล้านบาท ส่วนอัตรา EBITDA margin อยูท่ ี่ 39.9% สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย เนื่องจากการทำ�ข้อตกลง พันธมิตรทางธุรกิจกับทีโอทีเริม่ ต้นช้ากว่าเดิมทีป่ ระมาณการ และ มีกำ�ไรสุทธิ อยู่ที่ 30,667 ล้านบาท ลดลง 22% จาก EBITDA ที่อ่อนตัวลงและค่าตัดจำ�หน่ายของใบอนุญาตที่เพิ่มขึ้น 251

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

เพิม่ อัตราการทำ�กำ�ไรและรักษาความคล่องตัวทางการเงินเพือ่ รองรับการแข่งขันในอนาคต ในปี 2560 เอไอเอสคาดว่ารายได้จาก การให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) จะเติบโตประมาณ 4-5% จากการให้บริการโครงข่าย 3G และ 4G ทีค่ รอบคลุม ขณะที่ ประมาณการอัตรา EBITDA margin ที่ 42-44% และคาดว่า จะใช้เงินลงทุนโครงข่ายประมาณ 40,000-45,000 ล้านบาท ซึ่ง ส่วนใหญ่จะใช้พัฒนาโครงข่าย 4G และขยายบริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งาน นอกจากนี้เอไอเอส ได้ปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผล โดยจะจ่ายไม่ต่ากว่า 70% ของ กำ�ไรสุทธิ เพื่อรักษาความแข็งแกร่งและสภาพคล่องทางการเงิน ให้พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคต (รายละเอียดเพิ่มเติมของ ประมาณการฉบับเต็มของปี 2560 ในหน้า 258)

เหตุการณ์ส�ำ คัญในไตรมาส 4/2559

1. ในไตรมาส 4/2559 เอไอเอสเริ่มจ่ายค่าใช้คลื่นความถี่ ให้กบั ทีโอทีเป็นเงินจำ�นวน 975 ล้านบาทต่อไตรมาส ตามข้อตกลง ทดลองใช้งานเชิงพาณิชย์บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ รวมถึงได้ จ่ายค่าบริการการใช้เสาและอุปกรณ์โครงข่ายเป็นเงินจำ�นวน 1,400 ล้านบาทต่อไตรมาส ส่วนในปี 2560 เอไอเอสจะมีการชำ�ระเงิน ทัง้ สามส่วนดังกล่าวเป็นรายเดือนให้กบั ทีโอทีรวม 2,375 ล้านบาท ต่อไตรมาส จนกว่าจะมีการลงนามในสัญญา 2. ตามที่ พ ระราชกฤษฎี กาฯ ว่ า ด้ ว ยการยกเว้ น รั ษ ฎากร (ฉบับที่ 604) ลงวันที่ 18 เมษายน 2559 ได้ก�ำ หนดให้มกี ารยกเว้น ภาษีเงินได้ 2 เท่า สำ�หรับรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ และ อาคารถาวร (ไม่รวมถึงทีด่ นิ และอาคารถาวรที่ใช้เพือ่ การอยูอ่ าศัย) ในระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 - 31 ธันวาคม 2559 ซึ่งสิทธิ ประโยชน์ทางภาษีนจี้ ะทยอยรับรูเ้ ป็นระยะเวลา 5 ปี โดยเริม่ ตัง้ แต่ ปี 2559 ซึ่งมีการรับรู้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมูลค่า 835 ล้านบาท และส่วนของสิทธิประโยชน์ ในอีก 4 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าโดย ประมาณใกล้เคียงกับปี 2559

สภาวะตลาดและการแข่งขันในไตรมาส 4/2559

ในไตรมาส 4/2559 ผูใ้ ห้บริการต่างเร่งพัฒนาโครงข่าย 4G เพือ่ ครองความเป็นผู้นำ�ในด้านบริการดาต้าและมีการออกแคมเปญ แจกมือถือเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ ทั้ง แคมเปญลดราคากลุม่ สมาร์ทโฟนในระดับราคาสูง (high end) และ แคมเปญการเปิดตัวไอโฟน 7 ส่งผลให้คา่ ใช้จา่ ยทางการตลาดของ อุตสาหกรรมโดยรวมปรับสูงขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณดาต้า บนแพ็คแจกแบบไม่จ�ำ กัดการใช้งาน (Fair Usage Policy) ยังคงเป็น ปัจจัยหลักที่กดดันรายได้ แม้ปริมาณการใช้งานยังคงเติบโตอย่าง ต่อเนือ่ ง ขณะทีก่ ารหยุดจำ�หน่ายซิมเติมเงิน เอไอเอส วัน-ทู-คอล


ในร้านเซเว่นอีเลเว่นส่งผลกระทบต่อรายได้เพียงเล็กน้อย เนือ่ งจาก ผู้ใช้บริการได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปเติมเงินผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ตู้เติมเงิน ร้านค้าตัวแทนจำ�หน่าย และแอปพลิเคชันmPAY สำ�หรับตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผู้ให้บริการต่างขยาย พื้นที่ให้บริการและนำ�เสนอแพ็คเกจราคาที่ดึงดูด ซึ่งเทคโนโลยี ไฟเบอร์ ได้รับความนิยมและความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการอย่าง ต่อเนื่อง ขณะที่การแข่งขันยังคงมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความเร็ว ในแพ็คเกจและออกโปรโมชั่นในแพ็คเกจระดับสูง

สรุปผลการดำ�เนินงาน

สำ�หรับธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในไตรมาส 4/2559 มีผใู้ ช้บริการเพิม่ ขึน้ 1.2 ล้านราย จากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้มี จำ�นวนผูใ้ ช้บริการทัง้ หมด 41 ล้านราย โดยแบ่งเป็นระบบรายเดือน 6.4 ล้านราย เพิม่ ขึน้ 320,900 ราย และระบบเติมเงิน 34.6 ล้านราย เพิ่มขึ้น 836,900 ราย เป็นผลมาจากการเปิดให้บริการ 4G และ แคมเปญมือถือทีห่ ลากหลาย ในช่วงครึง่ หลังของปี 2559 เอไอเอส ไตรมาส 4/2558

ไตรมาส 1/2559

ไตรมาส 2/2559

ไตรมาส 3/2559

ไตรมาส 4/2559

5,431,200 33,056,900 38,488,100

5,412,400 33,515,900 38,928,300

5,812,800 33,542,200 39,355,000

6,108,700 33,764,700 39,873,400

6,429,600 34,601,600 41,031,200

68,000 609,400 677,400

-18,800 459,000 440,200

400,400 26,300 426,700

295,900 222,500 518,400

320,900 836,900 1,157,800

612 195 254

608 194 251

608 188 248

597 186 248

600 186 251

330 286 292

320 272 279

313 234 246

305 213 226

296 201 215

2,360 1,910 2,000

2,680 2,030 2,160

3,430 2,380 2,590

4,090 2,670 2,960

4,970 3,200 3,580

N/A

16%

19%

24%

29%

44,000 18,000 615

72,000 28,000 583

115,000 43,000 520

195,000 80,000 498

301,500 106,500 510

ระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน รวมจำ�นวนผู้ใช้บริการ

จำ�นวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น (เลขหมาย) ระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน รวมจำ�นวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ARPU (บาท/เลขหมาย/เดือน) ระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน เฉลี่ย

MOU (นาที/เลขหมาย/เดือน) ระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน เฉลี่ย

VOU (เมกะไบต์/เลขหมายที่ใช้อินเทอร์เน็ต/เดือน) ระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน เฉลี่ย

อัตราการใช้เครื่องโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ 4G

ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำ�นวนผู้ใช้บริการ จำ�นวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ARPU (บาท/ราย/เดือน)

รายงานประจำ�ปี 2559

252

รายงานทางการเงิน

ธุรกิจมือถือ จำ�นวนผู้ใช้บริการ (เลขหมาย)

มุ่งเน้นการออกแคมเปญสมาร์ทโฟนในระดับราคาปานกลางและ ราคาสูงทำ�ให้อัตราผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็น 70% ของ ผูใ้ ช้บริการทัง้ หมด รายได้เฉลีย่ /เลขหมาย/เดือน (ARPU) เพิม่ ขึน้ จาก 248 บาท เป็น 251 บาท จากการเติบโตของผู้ใช้งานดาต้า ที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งคิดเป็น 57% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด ปริมาณ การใช้ดาต้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.0 กิกะไบต์/เลขหมายที่ใช้บริการ ดาต้า/เดือน เป็น 3.6 กิกะไบต์ ขณะที่การใช้บริการเสียงยังคง ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยอัตราการโทรเฉลี่ยอยู่ที่ 215 นาที ลดลง จาก 226 นาที/เลขหมาย/เดือน สำ�หรับธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เอไอเอส ไฟเบอร์ มีผใู้ ช้บริการเพิม่ ขึน้ 106,500 รายในไตรมาส 4/2559 เมือ่ เทียบกับ 80,000 ราย ในไตรมาส 3/2559 และ 18,000 ราย ในไตรมาส 4/2558 โดยส่งผลให้ในไตรมาส 4/2559 มีผู้ใช้บริการรวม 301,500 ราย และเพิ่มขึ้น 257,500 รายในปี 2559 และมีรายได้ต่อรายต่อเดือน อยู่ที่ 510 บาท เพิ่มขึ้นจาก 498 บาทในไตรมาสที่แล้ว


รายงานทางการเงิน

สรุปผลประกอบการไตรมาส 4/2559

รายได้ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแม้ตลาดจะออกแคมเปญแจก และลดราคามือถืออย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 4/2559 เอไอเอส มีรายได้รวม 41,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% จากปีก่อน และ เพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาสก่อน จากผู้ใช้บริการ 4G ที่เพิ่มขึ้น และการทำ�แคมเปญมือถือ อัตรากำ�ไรของรายได้จากการขายซิม และโทรศัพท์อยู่ที่ -3.3% ปรับตัวดีขึ้นจาก -16% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการวางจำ�หน่ายสมาร์ทโฟนรุน่ ใหม่ที่ให้อตั รากำ�ไรสูงใน ไตรมาสที่ 4/2559 รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยง โครงข่าย) อยู่ที่ 31,617 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% จากปีก่อน และ เพิม่ ขึน้ 3.2% จากไตรมาสก่อน จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทีเ่ พิม่ เป็น 3.6 กิกะไบต์/เลขหมาย/เดือน ขณะทีร่ ายได้ธรุ กิจอินเทอร์เน็ต ไฟเบอร์เติบโต 64% จากไตรมาสก่อน จากทั้งจำ�นวนผู้ใช้บริการ และรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจาก เอไอเอสเริม่ จ่ายค่าใช้คลืน่ ความถี่ให้กบั ทีโอทีตามข้อตกลงทดลอง ใช้งานเชิงพาณิชย์บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นมูลค่า 975 ล้านบาทต่อไตรมาส โดยบันทึกเป็นต้นทุนโครงข่ายตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป หากไม่รวมรายการดังกล่าวต้นทุน โครงข่ายจะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมีค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตคิดเป็นสัดส่วน 5.8% ของรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวม ค่าเชือ่ มโยงโครงข่าย) ทรงตัวจากไตรมาสก่อน และค่าใช้จา่ ยในการ ขายและการบริหารเพิ่มขึ้น 9.6% จากไตรมาสก่อน จากการออก แคมเปญมือถืออย่างต่อเนื่องและค่าใช้จ่ายการตั้งสำ�รองหนี้สูญ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ในส่วนการเปรียบเทียบค่าใช้จา่ ยโดยรวมกับงวดเดียวกัน ของปีก่อน ค่าใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่าย การ ออกแคมเปญมือถือ รวมถึงมีคา่ ใช้จา่ ยตามข้อตกลงกับทีโอที และ ค่าตัดจำ�หน่ายใบอนุญาตคลื่นความถี่ใหม่ โดยรวมแล้ว EBITDA ปรับตัวลดลง 12% จากปีก่อน และ 1.3% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ ที่ 15,058 ล้านบาท และ EBITDA margin เท่ากับ 36.4% กำ�ไร สุทธิ เท่ากับ 6,468 ล้านบาท ลดลง 40% จากปีก่อน และลดลง 0.9% จากไตรมาสที่แล้ว

สรุปผลประกอบการประจำ�ปี 2559

รายได้ รายได้รวม (ไม่รวมค่าก่อสร้าง) ทั้งปี 2559 อยู่ที่ 152,150 ล้านบาท ลดลง 2% จากปี 2558 เนื่องจากรายได้จากการขาย โทรศัพท์ที่ลดลง ขณะที่รายได้จากการให้บริการขยายตัว รายได้จากการขายซิมและโทรศัพท์ อยู่ที่ 23,924 ล้านบาท ลดลง 14% จากปีก่อน จากแคมแปญแจกและลดราคาโทรศัพท์ ส่งผลให้อัตราการขาดทุนจากการขายซิมและโทรศัพท์สูงขึ้นเป็น -4.2% เทียบกับ -0.8% ในปี 2558 253

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชือ่ มโยงโครงข่าย) เท่ากับ 122,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% จากปีก่อน และสอดคล้องกับ ที่คาดการณ์ เป็นผลจากการขยายโครงข่าย 4G อย่างรวดเร็ว ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 แม้รายได้ในช่วงครึ่งแรกของปีจะ ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในการให้บริการคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ • รายได้จากการโทร อยู่ที่ 51,250 ล้านบาท ลดลง 15% จากปีก่อน จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตทดแทนการโทร • รายได้จากการให้บริการข้อมูล อยู่ที่ 63,857 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 20% จากปีกอ่ น จากความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟน ทีย่ งั คงเพิม่ ขึน้ รวมถึงการใช้งานดาต้าเพิม่ ขึน้ จาก 2 กิกะไบต์/ เลขหมาย/เดือน ในปีกอ่ น เป็น 3.6 กิกะไบต์ ขณะทีป่ ริมาณ ผูใ้ ช้งานมือถือ 4G เพิม่ ขึน้ เป็น 12 ล้านราย และมีรายได้จาก การใช้งานดาต้าคิดเป็น 46% ของรายได้จากการให้บริการ จาก 37% ในปีก่อน • รายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อยูท่ ี่ 860 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 616% จาก 120 ล้านบาทในปีกอ่ น และมีฐานรายได้ ในไตรมาส 4/2559 คิดเป็น 1.2% ของรายได้จากการ ให้บริการ โดยการเติบโตเป็นผลจากทัง้ จำ�นวนผูใ้ ช้บริการและ รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น • รายได้จากบริการต่างประเทศและรายได้อื่นๆ อยู่ที่ 6,594 ล้ า นบาท ลดลง 2.5% จากรายได้ จ ากการโทรออก ต่างประเทศที่ลดลง ขณะที่รายได้ของบริการข้ามแดน อัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นจากภาพรวมการท่องเที่ยวในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้นในปี 2559 ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายสุทธิ (Net IC) อยู่ที่ 285 ล้านบาท ลดลงจาก 681 ล้านบาทในปีกอ่ น โดยรายได้และค่าใช้จา่ ยเชือ่ มโยง โครงข่ายลดลงจากมีการปรับอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่ายตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2558 จาก 0.45 บาท/นาที เป็น 0.34 บาท/นาที และ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายได้ปรับลดลงมา อยู่ที่ 0.27 บาท/นาที ต้นทุนและค่าใช้จ่าย ต้นทุนรวม (ไม่รวมค่าก่อสร้าง) อยู่ที่ 82,992 ล้านบาท ลดลง 2.1% จากปีก่อน จากค่าต้นทุนโครงข่ายและการทำ�แคมเปญ มือถือที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและ ส่วนแบ่งรายได้ลดลง • ต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและส่วนแบ่งรายได้ อยู่ที่ 10,414 ล้านบาท ลดลง 26% เทียบกับปีก่อน จากการ ดำ�เนินงานภายใต้ระบบสัมปทานที่สิ้นสุดลงในไตรมาส 2/2559 ขณะที่ในไตรมาส 3/2559 ต้นทุนค่าธรรมเนียมได้ ลดลงมาอยู่ ในระดับที่ใกล้เคียงค่าธรรมเนียมใบอนุญาต


งบกำ�ไรขาดทุน (ล้านบาท) รายได้จากการโทร (Voice) รายได้จากบริการข้อมูล (Non-voice) รายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติ และรายได้อื่นๆ รวมรายได้จากการให้บริการไม่รวม IC รายรับค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (IC) รายได้จากการขายซิมและโทรศัพท์ รวมรายได้ (ไม่รวมค่าก่อสร้าง) ค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งรายได้ ค่าตัดจำ�หน่าย ค่าใช้จ่ายด้านโครงข่าย ต้นทุนการให้บริการอื่นๆ ต้นทุนการให้บริการไม่รวม IC ต้นทุนค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (IC) ต้นทุนการขายซิมและโทรศัพท์ รวมต้นทุน (ไม่รวมค่าก่อสร้าง)

ไตรมาส 4/2558

ไตรมาส 3/2559

• ค่าใช้จ่ายการตลาด อยู่ที่ 16,012 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132% เทียบกับปีกอ่ น จากการทำ�แคมเปญแจกและลดราคามือถือ โดยมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายการตลาดอยู่ที่ 10.5% ของ รายได้รวม เทียบกับ 4.4% ในปี 2558 และหากไม่รวม ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากแคมเปญดังกล่าวค่าใช้จ่ายการตลาด ปกติจะอยู่ที่ 4-4.5% • ค่าใช้จ่ายในการบริหาร อยู่ที่ 11,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5% เทียบกับปีก่อน • ค่าเสื่อมและค่าตัดจำ�หน่าย อยู่ที่ 414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากปีก่อน เนื่องมาจากการขยายเอไอเอส ช็อป ในการให้บริการลูกค้า • ค่าใช้จา่ ยการตัง้ สำ�รองหนีส้ ญู อยูท่ ี่ 1,538 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 17% เทียบกับปีกอ่ น สัดส่วนค่าใช้จา่ ยการตัง้ สำ�รองหนีส้ ญู อยูท่ ี่ 3.7% ของรายได้จากผูใ้ ช้บริการระบบรายเดือน เพิม่ ขึน้ จาก 3.4% ในปี 2558 เนือ่ งจากมีการขยายผูใ้ ช้บริการระบบ รายเดือนเพิ่มขึ้น ต้นทุนทางการเงิน อยู่ที่ 4,236 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116% เทียบกับปีก่อน จากหนี้สินที่เพิ่มขึ้นเพื่อชำ�ระค่าใบอนุญาตและ ขยายโครงข่าย ทั้งนี้ต้นทุนทางการเงินได้รวมถึงดอกเบี้ยรอ ตัดบัญชีที่เกิดจากใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ1800 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1,200 ล้านบาท ในปี 2559 กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 277 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 229 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกำ�ไรที่รับรู้แล้วจากการ ชำ�ระเงินลงทุนโครงข่าย ขณะที่มีการทำ�สัญญาป้องกันความเสี่ยง สำ�หรับหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศเต็มจำ�นวน ไตรมาส 4/2559

14,085 12,494 12,329 14,174 16,242 17,265 65 232 380 1,563 1,659 1,643 29,887 30,626 31,617 1,475 1,405 1,387 8,422 5,064 8,315 39,784 37,096 41,319 (2,662) (1,769) (1,834) (3,495) (6,156) (6,717) (2,672) (4,094) (5,065) (1,749) (1,518) (1,539) (10,578) (13,537) (15,155) (1,349) (1,354) (1,332) (8,485) (5,878) (8,592) (20,412) (20,769) (25,079)

%YoY

%QoQ

ปี 2558

ปี 2559

%YoY

-13% 22% 485% 5.1% 5.8% -6.0% -1.3% 3.9% -31% 92% 90% -12% 43% -1.2% 1.3% 23%

-1.4% 6.4% 64% -0.9% 3.2% -1.3% 64% 11% 3.7% 9.1% 24% 1.3% 12% -1.6% 46% 21%

60,547 53,193 120 6,760 120,621 6,794 27,798 155,213 (14,116) (20,146) (9,620) (6,742) (50,624) (6,113) (28,019) (84,755)

51,250 63,857 860 6,594 122,561 5,665 23,924 152,150 (10,414) (21,253) (14,810) (6,216) (52,694) (5,380) (24,918) (82,992)

-15% 20% 616% -2.5% 1.6% -17% -14% -2.0% -26% 5.5% 54% -7.8% 4.1% -12% -11% -2.1

รายงานประจำ�ปี 2559

254

รายงานทางการเงิน

ที่กสทช.กำ�หนด โดยรวมในปี 2559 ต้นทุนค่าธรรมเนียม คิดเป็นสัดส่วน 8.5% ของรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวม ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เมื่อเทียบกับ 11.7% ในปีก่อน • ค่าเสือ่ มและค่าตัดจำ�หน่าย อยูท่ ี่ 21,253 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 5.5% เทียบกับปีกอ่ น จากค่าตัดจำ�หน่ายใบอนุญาตใช้คลืน่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่เพิ่มเข้ามาชดเชยกับ ค่ า ตั ด จำ � หน่ า ยของสิ น ทรั พ ย์ ภ ายใต้ สั ม ปทานที่ สิ้ น สุ ด ในไตรมาส 3/2558 โดยรวมในปี 2559 มีค่าตัดจำ�หน่าย ใบอนุญาตใช้คลื่น 2100 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ รวม 5,500 ล้านบาท และมีค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้นจากการขยาย โครงข่าย 4G อย่างต่อเนื่อง • ต้นทุนโครงข่าย อยู่ที่ 14,810 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% เทียบกับปีก่อน จากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากข้อตกลงกับทีโอที และการขยายโครงข่าย 4G ในปี 2559 เอไอเอสเริ่มชำ�ระ ค่าใช้คลื่น เสาและอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,775 ล้านบาท ให้กับ ทีโอที และสาหรับปี 2560 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะอยู่ที่ 9,500 ล้านบาทต่อปี • ต้นทุนการให้บริการอืน่ ๆ อยูท่ ี่ 6,216 ล้านบาท ลดลง 7.8% เทียบกับปีกอ่ น จากการเปลีย่ นวิธบี นั ทึกต้นทุนอุปกรณ์และ ค่ า ติ ด ตั้ ง ของธุ ร กิ จ อิ น เทอร์ เ น็ ต ความเร็ ว สู ง จากเดิ ม ที่ บั น ทึ ก เป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยเปลี่ ย นเป็ น สิ น ทรั พ ย์ ทุ น และ ตัดจำ�หน่ายตั้งแต่ไตรมาส 1/2559 เป็นต้นไป ค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร อยูท่ ี่ 29,776 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 48% เทียบกับปีก่อน จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้น


ไตรมาส 4/2558

ไตรมาส 3/2559

19,372 (5,643) (2,209) (3,020) (321) (93) 13,730 196 68 (597) (2,598) (7) 10,791

16,327 (7,260) (3,828) (2,976) (350) (106) 9,067 67 94 (1,311) (1,371) (17) 6,529

ไตรมาส 4/2558

ไตรมาส 3/2559

13,730 3,588 1 (74) (41) 17,204 - 17,204 43.2% 43.2%

9,067 6,262 - (39) (33) 15,257 - 15,257 41.1% 41.1%

กำ�ไรสุทธิที่ไม่รวมรายการพิเศษ (ล้านบาท)

ไตรมาส 4/2558

ไตรมาส 3/2559

กำ�ไรสุทธิ การรับรู้ค่าธรรมเนียม USO (หลังหักภาษี) การรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี การรับรู้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กำ�ไรสุทธิที่ไม่รวมรายการพิเศษ

10,791 - - - 10,791

6,529 - - - 6,529

งบกำ�ไรขาดทุน (ล้านบาท)

รายงานทางการเงิน

กำ�ไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายในการบริหารและพนักงาน ค่าใช้จ่ายการตั้งสำ�รองหนี้สูญ ค่าตัดจำ�หน่ายในการขายและบริหาร กำ�ไรจากการดำ�เนินงาน กำ�ไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้ (ค่าใช้จ่าย) อื่น ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษีเงินได้ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำ นาจควบคุม กำ�ไรสุทธิ

EBITDA (ล้านบาท) กำ�ไรจากการดำ�เนินงาน ค่าตัดจำ�หน่าย (กำ�ไร)/ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าใช้จ่ายการเงินอื่นๆ EBITDA รายการพิเศษค่าธรรมเนียม USO (ก่อนหักภาษี) Normalized EBITDA อัตรา EBITDA margin (%) อัตรา EBITDA margin ไม่รวมรายการพิเศษ (%)

255

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

ไตรมาส 4/2559

%YoY

%QoQ

ปี 2559

%YoY

-16% 41% 81% 8.5% 82% 19% -40% -97% 69% 123% -77% -16% -40%

-0.5% 70,457 69,158 9.6% (20,091) (29,776) 4.2% (6,901) (16,012) 10% (11,526) (11,812) 67% (1,315) (1,538) 4.4% (349) (414) -8.7% 50,366 39,382 -91% 229 277 21% 518 442 1.6% (1,960) (4,236) -57% (9,999) (5,175) -65% (2) (23) -0.9% 39,152 30,667

-1.8% 48% 132% 2.5% 17% 19% -22% 21% -15% 116% -48% 847% -22%

%YoY

%QoQ

ปี 2558

ปี 2559

%YoY

8,279 -40% 6,828 90% 23 2,784% (41) -45% (32) -21% 15,058 -12% - - 15,058 - 36.4% 36.4%

-8.7% 9.0% N/A 4.1% -2.3% -1.3% - -

50,366 20,495 303 (209) (178) 70,776 - 70,776 45.6% 45.6%

39,382 21,667 23 (150) (181) 60,741 2,208 62,949 39.9% 41.4%

-22% 5.7% -92% -28% 1.5% -14% -11%

%YoY

%QoQ

ปี 2558

ปี 2559

%YoY

-40% - - - -48%

-0.9% - - - -14%

39,152 - - - 39,152

30,667 1,767 (919) (835) 30,680

-22% -22%

16,240 (7,961) (3,988) (3,278) (584) (111) 8,279 6 114 (1,331) (594) (6) 6,468

ไตรมาส 4/2559

ไตรมาส 4/2559 6,468 - - (835) 5,633

ปี 2558


ฐานะการเงิน

ไตรมาส 4/2558 9,865 4,752 11,030 5,059 7,301 38,007 51,791 84,291 3,192 1,252 3,229 181,761 14,358 12,856 5,364 24,956 57,533 52,416 23,319 133,268 22,813 25,680 48,493

5.4% 2.6% 6.1% 2.8% 4.0% 21% 28% 46% 1.8% 0.7% 1.8% 100% 7.9% 7.1% 3.0% 14% 32% 29% 13% 73% 12% 14% 27%

ไตรมาส 4/2559 11,226 2,963 11,377 3,085 3,248 31,899 115,378 118,271 4,099 2,618 3,404 275,670 17,737 11,685 5,361 34,545 69,328 87,130 76,504 232,962 16,971 25,737 42,708

4.1% 1.1% 3.9% 1.1% 1.2% 12% 42% 43% 1.5% 0.9% 0.7% 100% 6.4% 4.2% 1.9% 13% 25% 32% 28% 85% 6.2% 9.3% 15%

ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส 4/2558 3/2559 4/2559

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำ คัญ เงินกู้ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เงินกู้สุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เงินกู้สุทธิต่อ EBITDA อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย อัตราส่วนความสามารถในการชำ�ระหนี ้ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

1.32 1.02 0.70 0.66 30 3.9 82%

2.30 1.97 1.38 0.46 14 3.4 67%

ตัวเลขจากงบกาไรขาดทุนเป็นตัวเลขตั้งแต่ต้นปี เทียบให้เป็นเต็มปี

ตารางการชำ�ระหนี้ ล้านบาท 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 2568 2569

หุ้นกู้ 397 - 7,789 - 1,776 - 7,820 6,638 - 7,180

การชำ�ระค่าใบอนุญาตใช้คลื่น เงินกู้ 11,001 2,799 3,364 23,929 10,129 9,882 5,350 - - -

1800MHz 10,247 10,247 - - - - - - - -

900MHz 4,020 4,020 59,574 -

(ล้านบาท)

แหล่งที่มาและแหล่งใช้ ไปของเงินทุนในปี 2559 แหล่งที่มาของเงินทุน กระแสเงินสดจากการดำ�เนินงาน 71,538 เงินกู้ยืมระยะยาว 41,154 เงินกู้ยืมระยะสั้น 700 การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนสุทธิ 303 ดอกเบี้ยรับ 215 เงินรับจากการขายสินทรัพย์ 17 รวม 113,927

2.94 2.57 1.53 0.49 16 1.7 90%

แหล่งใช้ไปของเงินทุน เงินลงทุนในโครงข่ายและสินทรัพย์ถาวร เงินปันผลจ่าย ชำ�ระค่าใบอนุญาตใช้คลื่น ชำ�ระเงินกู้ระยะยาว ภาษีเงินได้ ชำ�ระต้นทุนทางการเงินและสัญญาเช่าทางการเงิน เงินลงทุนในบริษัทร่วมทุน เงินสดเพิ่ม รวม

47,554 36,509 8,069 7,699 9,902 2,818 15 1,361 113,927

อันดับเครดิต

Fitch National rating: AA+ (THA), Outlook: Stable S&P BBB+, Outlook: Negative

รายงานประจำ�ปี 2559

256

รายงานทางการเงิน

(ล้านบาท/ร้อยละของสินทรัพย์รวม) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินฝากธนาคารและเงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ อื่นๆ รวมสินทรัพย์หมุนเวียน ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี ่ โครงข่าย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี อื่นๆ สินทรัพย์รวม เจ้าหนี้การค้า ส่วนของเงินกู้ถึงกำ�หนดชำ�ระใน 1 ปี ผลตอบแทนค้างจ่าย อื่นๆ รวมหนี้สินหมุนเวียน หุ้นกู้และเงินกู้ระยะยาว อื่นๆ รวมหนี้สิน กำ�ไรสะสม อื่นๆ รวมส่วนผู้ถือหุ้น


รายงานทางการเงิน

กำ�ไร ในปี 2559 EBITDA อยู่ที่ 60,741 ล้านบาท ลดลง 14% จาก ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เนื่องมาจากการชำ�ระค่าใช้จ่ายตาม ข้อตกลงให้แก่ทโี อทีและค่าใช้จา่ ยการตลาดทีเ่ พิม่ ขึน้ จากแคมเปญ มือถือ ทัง้ นีอ้ ตั รา EBITDA margin อยูท่ ี่ 39.9% สูงกว่าประมาณการ ที่คาดไว้เล็กน้อย แต่ลดลงจาก 45.6% ในปี 2558 กำ�ไรสุทธิอยู่ที่ 30,667 ล้านบาทลดลง 22% เทียบกับปี 2558 จากค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำ�หน่ายรวมถึงต้นทุนทางการเงินทีเ่ พิม่ ขึน้ แม้คา่ ใช้จา่ ย ทางภาษีจะลดลง (ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน เหตุการณ์ส�ำ คัญ หน้า 1) หากไม่รวมรายการพิเศษ ได้แก่ 1) การรับรู้รายการพิเศษต้นทุน ค่ า ธรรมเนี ย ม (USO) และสิ น ทรั พ ย์ ภาษี เ งิ น ได้ ร อตั ด บั ญ ชี ในไตรมาส 1/2559 และ 2) สิทธิประโยชน์ทางภาษีในไตรมาส 4/2559 แล้ว กำ�ไรสุทธิจะอยู่ที่ 30,680 ล้านบาท ลดลง 22% เทียบกับปี 2558 และมีอัตรากำ�ไรสุทธิอยู่ที่ 20.2% เมื่อเทียบกับ 25.2% ในปี 2558 ฐานะการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 เอไอเอสมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 52% จากปีก่อน อยู่ที่ 275,670 ล้านบาท จากใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้รับในเดือนมิถุนายน 2559 และการลงทุนขยาย โครงข่าย 4G โดยที่ดิน อาคาร อุปกรณ์โครงข่าย และใบอนุญาตมี สัดส่วนรวมประมาณ 85% ของสินทรัพย์รวม สินทรัพย์หมุนเวียน อยู่ที่ 31,899 ล้านบาท ลดลง 16% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เนื่องจาก มีสินค้าคงคลังที่เป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือสำ�หรับจำ�หน่ายลดลง ในขณะที่ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 3.1% จากปีก่อน หนี้สินรวมอยู่ที่ 232,962 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75% เทียบกับปีก่อน จากการประมูล ใบอนุญาตใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์และเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น โดย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 64,000 ล้านบาท ในปี 2558

257

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

เป็นประมาณ 98,000 ล้านบาท เพื่อชำ�ระค่าใบอนุญาตและขยาย โครงข่าย ส่วนของผูถ้ อื หุน้ อยูท่ ี่ 42,708 ล้านบาท ลดลง 12% จาก ปีก่อนจากกำ�ไรสุทธิและกำ�ไรสะสมลดลง โดยรวมแล้วเอไอเอส ยังมีความสามารถในการจ่ายเงินกู้ในระดับดีด้วยอัตราส่วนหนี้สิน สุทธิต่อ EBITDA อยู่ที่ 1.38 เท่า และอัตราส่วนความสามารถใน การจ่ายดอกเบี้ย (Interest coverage ratio) ที่ 14 เท่า เอไอเอส ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ BBB+ จัดเป็นอันดับที่น่าลงทุน (Investment grade) โดย S&P ในส่วนของสภาพคล่องยังอยู่ ในระดับดีด้วยอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ 0.46 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากเจ้าหนี้การค้าสำ�หรับเงินลงทุนโครงข่ายรอจ่าย กระแสเงินสด ในปี 2559 เอไอเอสมีกระแสเงินสดจากการดำ�เนินงาน (หลัง หักภาษี) รวม 61,635 ล้านบาท ทรงตัวจากปีก่อนแม้กำ�ไรสุทธิ จะปรับตัวลง ขณะทีเ่ งินลงทุนโครงข่ายส่วนใหญ่ใช้เพือ่ ขยายโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 3G อยู่ที่ 47,554 ล้านบาท เทียบกับ 32,108 ล้านบาท ในปี 2558 หรือคิดเป็นสัดส่วนเงินลงทุนโครงข่าย 39% ต่อรายได้จากการให้ บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) เพิ่มขึ้นจาก 27% ในปีก่อน นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้ช�ำ ระค่าใบอนุญาตให้ใช้คลืน่ ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ งวดแรกให้กับกสทช. เป็นเงิน 8,069 ล้านบาท ส่งผล ให้มีกระแสเงินสดอิสระอยู่ที่ 6,012 ล้านบาท และมีเงินกู้ยืมสุทธิ อยู่ที่ 34,155 ล้านบาท ขณะที่เงินปันผลรอบผลประกอบการช่วง ครึง่ หลังของปี 2558 ถึงครึง่ แรกของปี 2559 อยูท่ ี่ 36,509 ล้านบาท ทั้งนี้ เอไอเอสมีเงินสดเพิ่มขึ้น 1,361 ล้านบาท ซึ่งทำ�ให้มีเงินสด สุทธิจำ�นวน 11,226 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559


คาดการณ์และมุมมองของผู้บริหารต่อแนวโน้มและกลยุทธ์ ในปี 2560 รายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย) • คาดการณ์เพิ่มขึ้นประมาณ 4-5% รายได้จากการขายเครื่องมือถือ • คาดการณ์รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น ด้วยอัตรากำ�ไรใกล้เคียงระดับเท่าทุนหรือใกล้เคียง 0% อัตรา EBITDA margin • 42-44% เงินลงทุนโครงข่าย • 40,000-45,000 ล้านบาท เงินปันผล • ไม่ต่ำ�กว่า 70% ของกำ�ไรสุทธิ

สร้างความเป็นผู้นำ�ในตลาดการให้บริการดาต้า

ในปี 2559 หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เอไอเอสได้เร่งขยายโครงข่าย 4G ให้ครอบคลุมกว่า 98% ของจำ�นวนประชากร เพือ่ พัฒนาคุณภาพของบริการดาต้าให้รองรับต่อความต้องการใช้งานทีเ่ พิม่ ขึน้ โดยบริการ 4G จะช่วยส่งเสริม ประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าที่ต้องการความเร็วดาต้าที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2560 เอไอเอสยังเน้นสร้างความเป็นผู้นำ�ในธุรกิจมือถือโดย เฉพาะการให้บริการดาต้า โดยวางแผนลงทุนเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพของโครงข่าย 4G และขยายการใช้เทคโนโลยี 2-Carrier และ 3-Carrier Aggregation ในบริเวณพืน้ ทีต่ วั เมืองหลัก พร้อมกับการส่งเสริมให้ลกู ค้าใช้สมาร์ทโฟนเพิม่ ขึน้ และทำ�แคมเปญมือถือเฉพาะกลุม่ สำ�หรับ ผู้ใช้บริการ 2G อย่างต่อเนื่อง

เจาะจงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและเพิ่มฐานลูกค้าบนโครงข่าย ปัจจุบัน

รายได้และ EBITDA เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ประมาณการรายได้จากการให้บริการในปีนี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 4-5% จากปีก่อน และมีอัตรากำ�ไรจากการขายเครื่อง โทรศัพท์ปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงระดับเท่าทุน (หรือใกล้เคียง 0%) โดยเน้นการทำ�แคมเปญกับกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ ในส่วนการใช้บริการ คลืน่ ความถี่ เสา และอุปกรณ์โครงข่ายผ่านข้อตกลงกับทีโอทีในปี 2560 จะมีการบันทึกเต็มปี โดยรวมแล้วอัตรา EBITDA margin มีแน้ว โน้วปรับตัวดีขึ้นเป็น 42-44% และประมาณการงบลงทุนโครงข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ไม่รวมค่าใบอนุญาต) โดยรวม 40,000-45,000 ล้านบาท

ปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผล : จ่ายไม่ต่ากว่า 70% ของกำ�ไรสุทธิ

เอไอเอสมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวและส่งมอบผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นมาอย่างสม่ำ�เสมอต่อเนื่อง เอไอเอส จึงให้ความสำ�คัญต่อการรักษาสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งและมีความคล่องตัวเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต นโยบายการจ่าย เงินปันผลใหม่จะจ่ายไม่ต่ำ�กว่า 70% ของกำ�ไรสุทธิ โดยมีผลตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป การปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลนี้จะทำ�ให้ เอไอเอสมีกระแสเงินสดเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการเป็นผู้นำ�ตลาด ความสามารถในการแข่งขัน และ โอกาสในการเติบโตของธุรกิจ รวมถึงพร้อมรับต่อสภาวะการณ์ต่างๆที่อาจเปลี่ยนแปลง เอไอเอสยังคงการจ่ายเงินปันผลปีละสองครั้งจากผลการดำ�เนินงานบริษัทและกำ�ไรสะสมบนงบการเงินเฉพาะกิจการ ทั้งนี้การจ่าย เงินปันผลในทุกกรณี จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดและแผนการลงทุน รวมถึงความจำ�เป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคตของบริษัท และ/หรือ บริษัทย่อย และการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่เกินกำ�ไรสะสมที่ปรากฏในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทและ/หรือมี ผลกระทบอย่างมีนัยสำ�คัญต่อการดำ�เนินงานปกติของบริษัทและบริษัทย่อย ข้อปฎิเสธความรับผิดชอบ ในเอกสารฉบับนี้อาจจะมีข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ ในอนาคตโดยใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหลายด้านซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวรวมถึง แผนธุรกิจ กลยุทธ์ และความเชื่อของบริษัท รวมทั้งข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต ตัวอย่างของคำ�ที่ใช้ในการคาดการณ์ในอนาคต เช่น “อาจจะ”, “จะ”, “คาดว่า”, “ตั้งใจว่า, “ประมาณ”, “เชื่อว่า”, “ยังคง”, “วางแผนว่า” หรือคำ�ใดๆ ที่มีความหมายทำ�นองเดียวกัน เป็นต้น แม้วา่ การคาดการณ์ดงั กล่าวจะถูกจัดทำ�ขึน้ จากสมมุตฐิ านและความเชือ่ ของฝ่ายบริหาร โดยอาศัยข้อมูลทีม่ อี ยู่ในปัจจุบนั เป็นพืน้ ฐานก็ตาม สมมุตฐิ านเหล่านีย้ งั คงมีความเสีย่ งและความไม่แน่นอนต่างๆ ซึง่ อาจจะทำ�ให้ผลงาน ผลการดำ�เนินงาน ความสำ�เร็จทีเ่ กิดขึน้ จริงแตกต่างจากทีบ่ ริษทั ฯ คาดการณ์ไว้ในอนาคต ดังนัน้ ผูใ้ ช้ขอ้ มูลดังกล่าวจึงควรระมัดระวังในการใช้ขอ้ มูลข้างต้น อีกทัง้ บริษทั และผูบ้ ริหาร/ พนักงาน ไม่อาจควบคุมหรือรับรองความเกี่ยวข้อง ระยะเวลาที่จะเกิดขึ้น หรือความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว รายงานประจำ�ปี 2559

258

รายงานทางการเงิน

ตั้งแต่เปิดบริการในเดือนเมษายน 2558 เอไอเอส ไฟเบอร์ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ขยายพื้นที่ให้บริการเต็มพิ้นที่ตัวเมือง ใน 28 จังหวัด และครอบคลุมกว่า 5.2 ล้านครัวเรือน ด้วยเงินลงทุนรวมตั้งแต่เริ่มต้นประมาณ 10,000 ล้านบาท และให้บริการลูกค้า กว่า 301,500 ราย ณ สิ้นปี 2559 โดยเป้าหมายในสามปีข้างหน้าเอไอเอสยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการรายหลักในตลาด อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยการสร้างรากฐานการดำ�เนินงานทีแ่ ข็งแกร่งและขยายธุรกิจอย่างต่อเนือ่ ง สำ�หรับปี 2560 ซึง่ นับเป็นปีทสี่ าม ของการเปิดให้บริการ เอไอเอส ไฟเบอร์จะขยายโครงข่ายโดยพิจารณาจากความต้องการใช้งานในแต่ละพื้นที่และอัตราผลตอบแทน ในการลงทุน รวมถึงเพิม่ ฐานลูกค้าบนโครงข่ายปัจจุบนั ด้วยการพัฒนาและเพิม่ ประสิทธิภาพของตัวแทนและช่องทางจำ�หน่าย ในขณะที่ ยังคงกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า ในปี 2560 เราคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 5,000 ล้านบาท


ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสำ�คัญอื่น ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ชื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ : ชื่อย่อหลักทรัพย์ : วันที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด : ทุนจดทะเบียน : ทุนจดทะเบียนชำ�ระแล้ว : จำ�นวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด : สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) : ประเภทธุรกิจ : ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ : เลขทะเบียนบริษัท : เว็บไซต์ : เว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ : โทรศัพท์ : โทรสาร :

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน) ADVANC 5 พฤศจิกายน 2534 437,045.01 ล้านบาท (ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2559) 4,997,459,800 บาท 2,973,095,330 บาท 54,420 ราย (ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2559 วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด เพื่อสิทธิในการได้รับเงินปันผล) 36.22% ให้บริการสือ่ สารโทรคมนาคม โดยรวมถึงธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลือ่ นที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจดิจิทัล คอนเทนต์ เลขที่ 414 อาคารเอไอเอส 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 0107535000265 http://www.ais.co.th http://investor.ais.co.th/ (66) 2029 5000 (66) 2029 5165

American Depositary Receipt

ชื่อย่อของหลักทรัพย์ วิธีการซื้อขาย นายทะเบียน อัตราส่วน (ADR to ORD) หมายเลข ADR CUSIP

259

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)

: : : : :

AVIFY ซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter: OTC) The Bank of New York Mellon 1:1 00753G103


ข้อมูลทั่วไปของบริษัทย่อย บริษัทย่อย

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน มูลค่าที่ตราไว้ ทุนชำ�ระแล้ว สัดส่วนการ (ล้านหุ้น) ต่อหุ้น (บาท) (ล้านบาท) ถือหุ้น (%)

บริษัท ดิจิตอล โฟน จำ�กัด (DPC) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำ�นักงานเลขที่ 404 อาคารพหลโยธินเซ็นเตอร์ และบริการโทรคมนาคม ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

365.55

10

3,655.47

98.55

บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค ให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย คอมมิวนิเคชั่นส์ จำ�กัด (ADC) สายโทรศัพท์ และสาย Optical Fiber (บริษัทย่อยโดยอ้อมผ่าน DPC) สำ�นักงานเลขที่ 408/157 อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น 38 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019 เว็บไซต : www.adc.co.th

95.75

10

957.52

51.001)

บริษัท แอดวานซ์ คอนแท็คเซ็นเตอร์ จำ�กัด ให้บริการศูนย์ให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ (ACC) สำ�นักงานเลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

27.2

10

272

99.99

บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำ�กัด (AMP) ให้บริการการชำ�ระเงินค่าสินค้าและบริการ สำ�นักงานเลขที่ 408/60 อาคารพหลโยธินเพลส ทางอิเล็กทรอนิกส์และบัตรเงินสด ชั้น 15 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

30

10

300

99.99

บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำ�กัด (AMC) จำ�หน่ายบัตรเงินสดอิเล็คทรอนิกส์ สำ�นักงานเลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

25

10

250

99.99

บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำ�กัด (AIN) ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สำ�นักงานเลขที่ 408/127 อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น 29 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019 เว็บไซต์ : www.ain.co.th

2

100

100

99.99

รายงานประจำ�ปี 2559

260


ข้อมูลทั่วไปของบริษัทย่อย บริษัทย่อย

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน มูลค่าที่ตราไว้ ทุนชำ�ระแล้ว สัดส่วนการ (ล้านหุ้น) ต่อหุ้น (บาท) (ล้านบาท) ถือหุ้น (%)

บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (SBN) สำ�นักงานเลขที่ 408/157 ชั้น 38 อาคารพหลโยธินเพลส ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019 เว็บไซต์ : www.sbn.co.th

ให้บริการโทรคมนาคม และบริการโครงข่าย โทรคมนาคม เช่น บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) บริการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศและ บริการชุมสายอินเตอร์เน็ต บริการโครงข่าย โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (IPLC & IP VPN) บริการเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Voice over IP) และบริการโทรทัศน์ผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (IP Television)

3

100

300

99.99

บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำ�กัด (WDS) นำ�เข้าและจัดจำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำ�นักงานเลขที่ 404 อาคารพหลโยธินเซ็นเตอร์ และอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

0.5

100

50

99.99

บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (AWN) สำ�นักงานเลขที่ 408/60 ชั้น 15 อาคารพหลโยธินเพลส ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

ให้ บ ริ การโทรคมนาคมที่ ใ ช้ ค ลื่ น ความถี่ ในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ความถี่ 900 เมกะเฮิ ร ตซ์ และ 1800 เมกะเฮิ ร ตซ์ ผู้จัดจำ�หน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้ให้บริการ โทรศั พ ท์ ร ะหว่ า งประเทศ ให้ บ ริ ก าร โทรคมนาคม บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และบริ ก ารโครงข่ า ยกระจายเสี ย งและ โทรทัศน์ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่

13.5

100

1,350

99.99

บริษัท ไมโม่เทค จำ�กัด (MMT) สำ�นักงานเลขที่ 1291/1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ (IT) บริการ รวบรวมข้อมูลสำ�หรับบริการเสริมบนโทรศัพท์ เคลื่อนที่ (Content Aggregator) และให้ บริ การในการเรี ย กเก็ บ และรั บ ชำ � ระเงิ น จากลูกค้า

0.5

100

50

99.99

บริษัท แฟกซ์ ไลท์ จำ�กัด (FXL) ให้เช่าและบริการพื้นที่ ที่ดินและอาคาร สำ�นักงานเลขที่ 1291/1 ถนนพหลโยธิน และสิง่ อำ�นวยความสะดวกต่างๆ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2029 5000 โทรสาร : (66) 2029 5019

0.01

100

1

99.98

บริษัท แอดวานซ์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด ปัจจุบันยังมิได้ประกอบธุรกิจ (ABN) สำ�นักงานเลขที่ 408/60 อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น 15 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

0.75

100

752)

99.99

261

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด (มหาชน)


ข้อมูลทั่วไปของบริษัทร่วมทุน บริษัทร่วมทุน

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน มูลค่าที่ตราไว้ ทุนชำ�ระแล้ว สัดส่วนการ (ล้านหุ้น) ต่อหุ้น (บาท) (ล้านบาท) ถือหุ้น (%)

บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำ�กัด (CLH) สำ�นักงานเลขที่ 598 อาคารสาทร สแควร์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ห้องเลขที่ 403 ชั้นที่ 4 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (66) 2646 2523 โทรสาร : (66) 2168 7744

ศู น ย์ ใ ห้ บ ริ ก ารระบบสารสนเทศและ ฐานข้อมูลกลาง ประสานงานการโอนย้าย ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพื่อการคงสิทธิ เลขหมายโทรศั พ ท์ (Mobile Number Portability: MNP)

บริดจ์ โมบาย พีทีอี แอลทีดี (BMB) 750 Chai Chee Road, #03-02/03, Technopark @ Chai Chee, ประเทศสิงคโปร์ 469000 โทรศัพท์ : (65) 6424 6270 โทรสาร : (65) 6745 9453

ให้ บ ริ ก ารเกี่ ย วกั บ เครื อ ข่ า ยโทรศั พ ท์ 9 เคลื่อนที่ในภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก เพื่อ ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ

0.02

100

2

1 9 ล้าน เหรียญสหรัฐ เหรียญสหรัฐ

20.00

10.00

บริษัท อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำ�กัด (IH) ให้ เ ช่ า อุ ป กรณ์ โ ครงข่ า ยสื่ อ สั ญ ญาณ โทรคมนาคม 52/1 หมู่ที่ 5 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำ�บลบางสีทอง อำ�เภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

0.5

100

14.5

29.00

บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (AN)3) 2126 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

1

100

25

60

ให้ บ ริ ก ารโครงข่ า ยเส้ น ใยแก้ ว นำ � แสง ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ

หมายเหตุ: 1) สัดส่วนการถือหุ้นใน ADC ที่เหลืออีกร้อยละ 49 ถือโดยบุคคลอื่นที่ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกัน 2) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ABN ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากเดิม 15 ล้านบาท ทำ�ให้ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 75 ล้านบาท 3) บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำ�กัด (AN) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ABN กับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด (มหาชน) ตามที่บริษัทได้แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2558 โดยได้ จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559

ข้อมูลของบุคคลอ้างอิงอื่นๆ นายทะเบียนหลักทรัพย์หุ้นสามัญ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : (66) 2009 9383 โทรสาร : (66) 2009 9476 ผู้สอบบัญชี ดร. ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3356 บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โทมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำ�กัด อาคาร เอไอเอ สาทร เทาวเวอร์ ชั้น 23-27 11/1 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ : (66) 2034 0000 โทรสาร : (66) 2034 0100 ข้อมูลเพิ่มเติมสำ�หรับรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายหลังวันทีใ่ นรายงานของผูส้ อบบัญชี ผูส้ อบบัญชีได้อา่ นและพิจารณาว่าข้อมูลอืน่ ซึง่ รวมอยูใ่ นรายงานประจำ�ปีทจี่ ดั เตรียมโดยบริษทั มีความขัดแย้งที่มีสาระสำ�คัญกับงบการเงินหรือกับความรู้ที่ได้รับจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีหรือปรากฏว่าข้อมูลอื่นมีการแสดง ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ ทั้งนี้ผู้สอบบัญชีไม่พบว่ามีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญที่ผู้สอบบัญชีต้องรายงานแต่อย่างไร รายงานประจำ�ปี 2559

262





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.