รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2561

Page 1


รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน LIVABLE ประจำ�ปี 2561 COMMUNITY บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)


สารบัญ • สารจากประธานกรรมการ • ผลงานที่ภาคภูมิใจปี 2561 • รางวัลด้านความยั่งยืนปี 2561 • วิสัยทัศน์และพันธกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน • LPN WAY วิถีองค์กรขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน • เป้าหมายเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน • เกี่ยวกับแอล.พี.เอ็น SUSTAINABLE POLICY

ความยั่งยืนระดับนโยบาย • • • • • • •

LPN กับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน TRIPLE BOTTOM LINE 6 GREEN LPN 8 STAKEHOLDERS 10 PROCESSES แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

IN PROCESS

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมในกระบวนการ • การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญกับ การบริหารจัดการและทุนมนุษย์ • การกำ�หนดผลตอบแทนและการเติบโต ขององค์กรให้เหมาะสม • การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

2 4 5 6 8 10 14

18 20 21 22 23 24 26 30

34 36 48 54

• • •

การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมในกระบวนการก่อสร้าง การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิต ของผู้พักอาศัยในโครงการหลังส่งมอบ OUT PROCESS

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมนอกกระบวนการ

60 68 76

86

• กิจกรรมหลักขององค์กรที่จัดต่อเนื่องทุกปี • กิจกรรมชมรมลุมพินี • ความคิดริเริ่มด้านส่งเสริมการศึกษา

87 89 92

AS PROCESS

93

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมอิงกระบวนการ • LPC Social Enterprise • LPN Academy: สถาบัน แอล.พี.เอ็น

94 97

• นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน • ข้อมูลพนักงาน • GRI INDEX

104 108 114


สารจากประธานกรรมการ ในปี 2561 บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ได้ดำ�เนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ องค์กร “Year of Change” สอดคล้องตามวิสยั ทัศน์ชว่ งปี 2560-2562 ทีม่ งุ่ สร้างสมดุลและบูรณาการ ประสิทธิภาพการดำ�เนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทได้ดำ�เนินงานในหลายมิติ ทั้งการยกระดับ ดำ�เนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการขยาย ขอบข่ายการให้บริการ ที่จะต้องปรับตัวเพื่อพร้อมรับมือกับความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของ สถาบันการเงินที่เพิ่มมากขึ้นตามทิศทางการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา รวมไปถึง แนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต บริ ษัท มี ก ลยุ ท ธ์ ใ นการรองรั บ ความเปลี่ย นแปลงดั ง กล่ า วด้ ว ยการขยายกลุ่ม ลู ก ค้ า ไปยั ง ระดั บ กลาง-บนมากขึ้น เน้นโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ควบคู่ไปกับการขยาย การพัฒนาโครงการประเภทบ้านพักอาศัย และโครงการมิกซ์ยูสที่มีพร้อมทั้งที่พักอาศัยและอาคาร ชุดสำ�นักงานเพิ่มเติม โดยการพัฒนาธุรกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจาก ลูกค้า ส่งผลให้ผลประกอบการดีขึ้นตามลำ�ดับ สำ � หรั บ กลุ่ ม ธุ ร กิ จ ให้ บ ริ การนั้ น บริ ษั ท ได้ รั บ ความสนใจและความเชื่ อ มั่ น จากบริ ษั ท พั ฒ นา อสังหาริมทรัพย์อ ย่างยิ่ งจากการให้ บริ การภายในชุ ม ชนและธุ ร กิ จบริ การที่ ปรึ ก ษาการพั ฒ นา อสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร โดยถึงแม้บริษัทจะสามารถขยายงานบริการได้อย่างต่อเนื่องใน หลายโครงการ แต่บริษัทยังคงไม่ละเลยที่จะเพิ่มพูนศักยภาพในส่วนของบริการฝากขาย-ฝากเช่า แบบครบวงจรให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่เข้มข้นขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มบริการเช่าห้องชุด เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้ประจำ�ของบริษัท บริษัทเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า ความสำ�เร็จเชิงเศรษฐกิจในด้านผลประกอบการที่ดีขึ้นผ่านการ ยอมรับจากคู่ค้าและลูกค้านี้ เป็นผลมาจากการวางกลยุทธ์ 6 Green LPN ที่มิได้มุ่งหวังเพียง ตัวเลขการเติบโตของผลประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำ�นึงถึงผลกระทบและการพัฒนาใน มิติสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป จนเกิดการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 8 กลุ่มขององค์กร 10 กระบวนการหลักภายใต้กลยุทธ์ 6 Green LPN ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการลงมือปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ โดยสิ่งหนึ่งที่บริษัทได้ดำ�เนินงานอย่างเข้มข้นมากขึ้นใน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเพื่อตอกย้ำ�นิยาม “ความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัย” ควบคู่ไปกับการร่วม กับผิดชอบต่อสังคม คือการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยและบ้านพักอาศัย ด้วยมาตรฐาน Green Design Concept และ Green Construction Process ให้ครอบคลุมตลอดทุกกระบวนการ โดยบริษทั ได้พฒ ั นามาตรฐานดังกล่าวจากเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล อย่าง Leadership in Energy and Environmental Design หรือ LEED และเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของ Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability หรือ TREES โดยได้ปรับให้เหมาะสมกับบริบทของ ประเทศไทย รวมไปถึงการดูแลและบริหารชุมชนตามแนวทาง Green Community Management ภายใต้แนวคิด “ชุมชนน่าอยู่” พร้อมกันนี้ ในปี 2561 เรายังได้จับมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี เพื่อมอบทุนที่อยู่อาศัยแก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี แต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์สำ�หรับพักอาศัย สนับสนุนงานในส่วน “Out process” ขององค์กร

2

INTRODUCTION

SD Report


ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทต่อการดำ�เนินธุรกิจทั้งการให้บริการ และการเป็นบรรษัทพลเมืองดีต่อสังคมนี้เอง นอกจากการ ปฏิบัติตามมาตรฐานภายในที่บริษัทได้กำ�หนดขึ้นเองแล้ว ในปี 2561 บริษัทในเครือ แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป กล่าวคือ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำ�กัด และบริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำ�กัด ได้ผ่านการ รับรองมาตรฐานในระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ในขณะที่ บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำ�กัด ก็ได้ผา่ นการรับรองมาตรฐานใน 2 ระบบด้วยกัน ได้แก่ ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 และระบบจัดการ สิง่ แวดล้อม ISO 14001 : 2015 นอกจากนัน้ บริษทั แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำ�กัด ยังได้รับการรับรองจากกระทรวง พั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ให้ เ ป็ น บริ ษั ท วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นกลุ่มแรกของประเทศไทยอีกด้วย ความสำ�เร็จที่เกิดขึ้นดังกล่าว กระผมใคร่ขอขอบคุณผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงาน LPN Team Lumpini Team และหน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และ เอกชน ที่ มี ส่ ว นสนั บ สนุ น ให้ การดำ � เนิ น งานของบริ ษั ท เป็ น ไปตามแนวนโยบายและเจตนารมณ์ ที่ ตั้ ง ไว้ แม้ สถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ จะอยู่ ใ นช่ ว งชะลอตั ว และ การแข่ ง ขั น ทวี ความรุ น แรงขึ้ น ก็ ตาม แต่ ด้ ว ยปณิ ธ าน ในการดำ�เนินงานเพื่อสร้างสรรค์ส่งิ ที่ดีให้สังคมไทย ทั้งการ ส่งมอบที่พักอาศัยและบริการที่มีคุณภาพแบบครบวงจร การประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ รอบคอบ และกอปร ด้ ว ยธรรมาภิบาล คำ�นึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ในทุกมิติ ในกระบวนการทำ�งาน ไปจนถึงการตอบสนอง ต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals) ทั้งหมดนี้ ผมเชื่อมั่นว่าจะก่อให้ เกิดการยอมรับและสร้างการเติบโตให้กับทุกภาคส่วนอย่าง ยั่งยืนตลอดไป

6 GREEN LPN

(อมรศักดิ์ นพรัมภา) ประธานกรรมการบริษัท

3


ผลงานที่ภาคภูมิใจปี 2561 พนักงานที่ได้รับการอบรม เรื่องการต่อต้านการทุจริตขององค์กร ในปี 2561

= 18.44% NPS ปี 61

รายได้รวม

11,302 ล้านบาท

เติบโต

17%

กำ�ไรสุทธิ

1,367 ล้านบาท

= 51%

สร้างงานแก่สตรีด้อยโอกาส รวมทั้งสิ้น

ดูแลบริหารชุมชน จำ�นวน

1,331 ครอบครัว

141 ชุมชน

128,000 ครอบครัว กว่า 224,000 คน รวมพื้นที่ที่ดูแล 7,000,000 ต.ร.ม.

ปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น

0.60*

บาท

* รออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2562

4

ส่งมอบโครงการ

เปิดขายโครงการ

ทั้งสิ้น

ทั้งสิ้น

10 โครงการ

9 โครงการ INTRODUCTION

SD Report


รางวัลด้านความยั่งยืนปี 2561

ได้รับการจัดอันดับให้ป็นบริษัทที่มีการกำ�กับดูแลกิจการใน ระดับดีเลิศ (ระดับ 5 ตราสัญลักษณ์) จากสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

ได้ รั บ คั ด เลื อ กให้ อ ยู่ ใ นรายชื่ อ หลั ก ทรั พ ย์ จ ดทะเบี ย นติ ด อันดับ ESG100 ประจำ�ปี 2561 ด้วยการดำ�เนินงานที่โดดเด่น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยสถาบันไทยพัฒน์

ได้รับรางวัล “ดีเยี่ยม” โครงการประกาศรายงานความยั่งยืน ประจำ�ปี 2561 (Sustainability Report Awards 2018) จัดโดย ความร่วมมือของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โดย CSR Club และสถาบันไทยพัฒน์ (โดยได้รับระดับรางวัล ที่สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2 ระดับ)

ได้รับโล่ระดับประกาศเกียรติคุณและฉลากรับรองแบบอาคาร ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงาน ในงาน “BEC Awards 2018” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวง พลังงาน มีอาคารที่ได้รับการรับรอง จำ�นวน 54 อาคาร จาก 3 โครงการ คือ • โครงการลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 (ประหยัดพลังงาน 62%)

ได้รับการจัดให้อยู่ในรายชื่อ “หุ้นยั่งยืน” หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ประจำ�ปี 2561 จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษทั ลุมพินี พรอพเพอร์ต้ี มาเนจเมนท์ จำ�กัด ได้รับมอบโล่ เชิดชูเกียรติ “โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์” จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6 GREEN LPN

• โครงการลุมพินี สวีท ดินแดง-ราชปรารภ (ประหยัดพลังงาน 42%) • โครงการเดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน (ประหยัดพลังงาน 60%) โดยอาคารที่ ได้รับรองทั้งหมดมีค่าการใช้พลังงานน้อยกว่า มาตรฐานของกระทรวงพลังงาน นอกจากนี้ LPN ยังเป็นบริษัท เอกชนแห่งแรกที่ส่งแบบอาคารเข้าร่วมการประเมินมากที่สุด

5


วิสัยทัศน์และพันธกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์ปี 2560 - 2562 “สร้างความสมดุลและบูรณาการประสิทธิภาพ ของการดำ�เนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และพัฒนาที่พักอาศัย ในมิติผลประกอบการ รวมถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย จากการดำ�เนินงาน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

พันธกิจต่อผู้มีส่วนได้เสีย

6

ผู้ถือหุ้น

พนักงาน

ลูกค้า

คู่ค้า (LPN Team)

สร้างความสมดุล และ บูรณาการประสิทธิภาพ เพื่อผลตอบแทนที่เหมาะสม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการบริหารความเสี่ยง

ให้อาชีพ ให้โอกาส ให้ความ ก้าวหน้า พร้อมส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพภายใต้ วิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) ด้วยความผูกพันและห่วงใย จากรุ่นสู่รุ่น

สร้างความผูกพันกับลูกค้า และผู้อยู่อาศัย (Customer Engagement) ด้วยการ ส่งมอบ “ความสุขที่แท้จริง ของการอยู่อาศัย” ภายใต้ กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่ เพื่อทุกวัย”

ร่วมกันพัฒนา เพื่อความเติบโต และผลตอบแทน ที่เหมาะสม ภายใต้ความเป็น “หุ้นส่วนธุรกิจ”

INTRODUCTION

SD Report


บ้านข้างเคียง

ผู้อยู่อาศัย

แรงงาน

สิ่งแวดล้อม

รับผิดชอบ เยียวยา และดูแลผลกระทบ จากการดำ�เนินงาน รวมทัง้ สร้างการ มีสว่ นร่วมและสัมพันธ์ อันดีระหว่างกัน

ส่งมอบ “ความสุขที่แท้จริง ของการอยูอ่ าศัย” ภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่เพื่อทุกวัย” ด้วยราคาที่เหมาะสม (Affordable Price) กับลูกค้าทุกกลุ่ม

ร่วมดูแลคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และชีวอนามัย ผ่านการสนับสนุน การดำ�เนินงานของปิยมิตร และการจัดกิจกรรม

ดำ�เนินงานอย่างรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตามแนวทาง 6 Green LPN เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

7


LPN WAY

วิถีองค์กรขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน วิถแี อล.พี.เอ็น. (LPN Way) ประกอบด้วยคุณค่า 2 เสาหลัก คือ “การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง” (Continuous Development) และ “การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย” (Respect for Stakeholders) โดยมีองค์ ประกอบค่านิยม 7 ประการ คือ “C-L-A-S-S-I-C” ซึ่งเป็นแนวทางบูรณาการในการดำ�เนินธุรกิจที่ ทุกองคาพยพของบริษัทยึดถือและนำ�ไปปฏิบัติ ซึ่งพัฒนาไปเป็นค่านิยมองค์กร (Corporate Values) และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็น LPN Way โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำ�เนินงานในทุกภาคส่วน บรรลุเป้าหมาย ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ “การพัฒนาและเติบโต อย่างยั่งยืน” (Sustainable Development)

LL

S

ER

O

S

S

T N

W IT H Q U A LIT Y

UAL I TY COS T LEADER SH I CO P NT S

COST WI TH Q

AB

S

S

S

VE

E

E

EC

AM

NT

LPN WAY

E LOPM LD T T O S TA K E H O LP N TE A R C ORPO NCE RA G OVERNA TIO N Y INTEGRIT

ON

LL

C

C

TE

E

D SP RE

E

N

NC

LP

A

L IA

MIC

D OUS EVELO U IN T A I N A B P L US

CO

CORPORATE VALUES ค านิยมองค กร

NA DY

AL

ME

C

T

THINKING

A

LA

L ERA

HU MAN C M ERV E N T R I C IN IC DE E D SPEED

C-L-A-S-S-I-C สมรรถนะหลักองค กร (Core Competency)

II

8

INTRODUCTION

SD Report


Core Competency C – Cost with Quality

C L A S

บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ

L - Lateral Thinking คิดนอกกรอบ

ผู้นำ�ด้านต้นทุน

Dynamic

ความยืดหยุ่น

การคิดใหม่ท่ยี ืดหยุ่นและแตกต่างจากเดิม โดยไม่กังวลถึงอุปสรรค เพื่อปรับปรุง เปลีย่ นแปลง พัฒนา และสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำ�ไปปฏิบัติและวัดผลได้จริง โดยมีเป้าหมายเพือ่ เพิม่ คุณค่าให้กบั ผลิตภัณฑ์ การบริการ และความก้าวหน้าขององค์กร

A – Alliance ปิยมิตร

LPN Team

แอล.พี.เอ็น. ทีม

การปฏิบัติต่อมิตรแท้ทางธุรกิจที่ทำ�งานร่วมกันมายาวนาน ด้วยความไว้วางใจ และเป็นธรรม ร่วมมือเกื้อหนุนกันและกัน และพัฒนาการทำ�งานอย่างต่อเนื่อง เสมือนหนึ่งเป็นองค์กรเดียวกัน เพื่อบรรลุความสำ�เร็จร่วมกัน

S – Speed with Quality รวดเร็วพร้อมคุณภาพ

การมุง่ มัน่ พัฒนากระบวนการทำ�งานและการแก้ไขปัญหา ด้วยการคิดเร็ว ทำ�เร็ว ใส่ใจ ในรายละเอียด เพื่อให้งานมีคุณภาพและเสร็จก่อนกำ�หนดหรือเร็วกว่าเดิมจนล้ำ�หน้า ผู้อื่นตลอดเวลา

S I

I – Integrity

6 GREEN LPN

Cost Leadership

การตระหนักถึงความสำ�คัญของการใช้ทรัพยากรด้วยความระมัดระวังและรอบคอบและ บริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุง่ เน้นลดต้นทุนทัง้ ต้นทุนตรงและต้นทุนแปร รวมทัง้ ค่าใช้จา่ ยส่วนเกินในทุกส่วนงานอย่างต่อเนือ่ ง โดยคำ�นึงถึงคุณภาพของโครงการ เป็นเป้าหมายสำ�คัญ

S – Service Minded

C

Corporate Value

Human Centric

คนเป็นศูนย์กลาง

ใจบริการ

การดูแลเอาใจใส่ผมู้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ ตลอดเวลา ด้วยการคิดในมุมมองของเขาและ แสดงออกอย่างกระตือรือร้น ให้บริการอย่างครบวงจรด้วยความเต็มใจและเกินความ คาดหมายเพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการและความประทับใจ

จริยธรรม

การปฏิบตั ติ นต่อองค์กรและทำ�ธุรกิจกับผูเ้ กีย่ วข้องด้วยความซือ่ สัตย์ รับผิดชอบ โปร่งใส ไม่เอาเปรียบและมีศีลธรรม

C- Collaboration ร่วมมือร่วมใจ

การรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการร่วมมือร่วมใจทำ�งาน ร่วมกันรับผิดชอบและ ช่วยเหลือซึง่ กันและกันในงานหรือกิจกรรมของบริษัท ด้วยจิตอาสาและจิตสำ�นึกการ แบ่งปันและเอื้ออาทร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

Corporate Governance ธรรมาภิบาล

ONE LPN

หนึ่งเดียว แอล.พี.เอ็น.

9


เป้าหมายเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน 1 NO POVERTY

2 ZERO HUNGER

HEALTH 3 GOOD 4 AND WELL-BEING

7 AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY

WORK INDUSTRY, REDUCED SUSTAINABLE 8 DECENT 9 10 11 AND ECONOMIC INNOVATION AND INEQUALITIES CITIES AND GROWTH INFRASTRUCTURE COMMUNITIES

13 CLIMATE ACTION

JUSTICE PARTNERSHIPS 14 LIFE 15 LIFE ON LAND 16 PEACE, 17 BELOW WATER AND STRONG FOR THE GOALS INSTITUTIONS

QUALITY EDUCATION

5 GENDER QUALITY

6

CLEAN WATER AND SANITATION

12 RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION

เพื่อให้การดำ�เนินงานของทุกภาคส่วนในองค์กรมีทิศทางที่มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทได้กำ�หนดวิสัยทัศน์ ไว้เป็นแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจ มากว่า 15 ปี โดยได้เพิม่ ความเข้มข้นและเป้าหมายการเติบโตทีเ่ หมาะสมในแต่ละรอบวิสยั ทัศน์ เพือ่ ให้เกิดการพัฒนาและขับเคลือ่ นองค์กร รวมทัง้ ได้ กำ�หนดแผนธุรกิจขององค์กร (Business Plan) หรือเป้าหมายระยะสั้นในแต่ละปี ทั้งในเชิงคุณค่าและเชิงเงินตรา ให้สอดคล้องกับพันธกิจที่มีต่อผู้มี ส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสมดุลของผลตอบแทน ส่งมอบคุณค่าจากการดำ�เนินงาน และรับผิดชอบต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจสำ�หรับปี 2560-2562 นี้ บริษัทดำ�เนินธุรกิจต่อยอดจาก “Year of Shift” เป็น “Year of Change” โดยได้เชื่อมโยงนโยบาย และกลยุทธ์ขององค์กรทีม่ ตี อ่ การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน เข้ากับเป้าหมายโลกด้านการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ปี ค.ศ. 2030 เพือ่ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทเล็งเห็นว่าสามารถมีส่วนร่วมในประเด็นความยากจน สุขภาวะ การศึกษา ความเท่าเทียม ทางเพศ น้ำ�และการสุขาภิบาล พลังงาน เศรษฐกิจและการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม ความเหลื่อมล้ำ� เมืองและ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การบริโภคที่ยั่งยืน สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการสร้างภาคีเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน

10

INTRODUCTION

SD Report


SDGs

1 NO POVERTY

Green Enterprise แบ่งปันคืนสู่สังคม ด้วยการสนับสนุน การดำ�เนินงานของ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” เพือ่ สร้างงาน คุณภาพ ชีวติ และศักดิ์ศรี ของสตรีด้อยโอกาส

Green Design Concept

Green Financial Management

Green Marketing Management

Green Construction Process

Green Community Management

สร้างโอกาสใน การมีบ้านหลังแรก เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตให้กับลูกค้า ด้วยการพัฒนาสินค้า ที่เหมาะสมกับกลุ่ม ที่มีรายได้น้อย

2 ZERO HUNGER HEALTH 3 GOOD AND WELL-BEING

ต่อยอดความร่วมมือ ด้านสุขภาวะกับ สสส. และกำ�หนดให้ สุขภาวะเป็นวาระ สำ�คัญขององค์กร ดูแลสุขภาวะและ ความปลอดภัยใน การทำ�งานของ พนักงาน

4

QUALITY EDUCATION

5 GENDER QUALITY

ดูแลสุขภาวะและ ความปลอดภัยใน การทำ�งานของ แรงงานก่อสร้าง

ดูแลสุขภาวะและ ความปลอดภัยของ ผู้พักอาศัยในชุมชน ลุมพินี

รับผิดชอบต่อ ผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ กับสิ่งแวดล้อมและ สังคม เช่น การบำ�บัด น้ำ�เสียก่อนปล่อยออก การดูแลความปลอดภัย ในการทำ�งาน การจัดการ ขยะก่อนนำ�ไปกำ�จัด

พัฒนามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์และบริการ ตามแนวคิด “ชุมชน น่าอยู่สำ�หรับทุกวัย” เพื่อให้ทุกเพศ ทุกวัย อาศัยอยู่ร่วมกันได้ อย่างมีความสุข

อบรมพัฒนาความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ในการ ทำ�งานให้แก่พนักงาน ผ่านสถาบันแอล.พี.เอ็น. ให้การศึกษากับ สตรีด้อยโอกาส เพื่อไม่ให้ถูกเอารัด เอาเปรียบทางสังคม พัฒนาวิทยากรภายใน เพือ่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และคุณค่าองค์กร แบ่งปันประสบการณ์ และความรู้ให้กับ สังคมด้วยการเปิดให้ องค์กรของรัฐ สถาบัน การศึกษา และเอกชน เข้ามาศึกษาดูงาน ไม่เลือกปฏิบัติหรือ กีดกันทางเพศ ในทุกระดับ อัตราส่วนรายได้ระหว่าง ชายหญิงเท่าเทียมกัน

11


SDGs

Green Enterprise

Green Design Concept

Green Financial Management

Green Marketing Management

ลดการใช้น้ำ�ด้วย สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ�

WATER 6 CLEAN AND SANITATION

Green Construction Process

Green Community Management

บำ�บัดน้ำ�เสียก่อน นำ�กลับมาใช้หรือ ปล่อยออกสู่ สาธารณะ

บำ�บัดน้ำ�เสียก่อนนำ� กลับมาใช้หรือปล่อย ออกสู่สาธารณะ รณรงค์ลดการใช้น้ำ� นำ�น้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัด แล้วมาใช้ประโยชน์ ในชุมชน บริหารจัดการการใช้ พลังงานในโครงการ จัดกิจกรรมลดการใช้ พลังงานอย่างต่อเนือ่ ง

ศึกษาการใช้พลังงาน ทดแทน

7 AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY

ออกแบบอาคารให้ มีการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ

12

ลดอุปสงค์ดา้ นคมนาคม ด้วยการส่งเสริมการ ร่วมเดินทางในชุมชน กำ�หนดผลตอบแทน และการเติบโตของ กำ�ไรทุกบริษทั ในเครือ อย่างเหมาะสม

WORK 8 DECENT AND ECONOMIC GROWTH

สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างกำ�ไร เชิงเศรษฐกิจจากการ ดำ�เนินงาน ดำ�เนินงานด้านการ ต่อต้านการคอร์รปั ชัน

9 INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE

สนับสนุนนวัตกรรม ทัง้ เชิงกระบวนการ เชิงผลิตภัณฑ์และ บริการ และนวัตกรรม ทางรูปแบบธุรกิจ (Business Model Innovation)

10 REDUCED INEQUALITIES

ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม เคารพสิทธิมนุษยชน และให้ความสำ�คัญ กับการให้โอกาสที่ เท่าเทียมแก่ผพู้ กิ าร

ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม

11SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES

พัฒนาชุมชนเมือง ต้นแบบขนาดใหญ่ ตามกลยุทธ์ FBLES+P

ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ ความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนนวัตกรรม ทัง้ เชิงกระบวนการ เชิงผลิตภัณฑ์และ บริการ และนวัตกรรม ทางรูปแบบธุรกิจ (Business Model Innovation) ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม

ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม

ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม

ปฏิบตั กิ บั ผูม้ ี ส่วนได้เสียทุกกลุม่ อย่างเท่าเทียม

สร้างวัฒนธรรม การอยู่อาศัยใน ชุมชนลุมพินี “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน”

INTRODUCTION

SD Report


SDGs

Green Enterprise

12 RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION

ให้ความสำ�คัญ กับสิ่งแวดล้อมใน ทุกกระบวนการ ดำ�เนินงาน

13 CLIMATE ACTION

Green Design Concept

Green Financial Management

Green Marketing Management

Green Construction Process

Green Community Management

ใช้ระบบ Building Information Modeling (B.I.M) ในการพิจารณา โครงการ เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากร

ป้องกันและ ลดผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อมในการ บริหารโครงการด้วย การดำ�เนินงานตาม มาตรฐาน Green Construction Process Standard

สร้างจิตสำ�นึก ความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมกับ ผู้พักอาศัยด้วย กิจกรรม Green /Clean/Lean

ออกแบบโครงการ ทีเ่ ป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมตาม มาตรฐาน Green Design Concept Standard ทีส่ อดคล้อง กับมาตรฐานอาคาร เขียวของ LEED และ TREES

พัฒนาโครงการทีเ่ ป็น มิตรกับสิง่ แวดล้อม ตามมาตรฐาน Green Construction Process Standard ทีส่ อดคล้อง กับมาตรฐานอาคาร เขียวของ LEED และ TREES

14 LIFE BELOW WATER

15 LIFE ON LAND

JUSTICE 16 PEACE, AND STRONG INSTITUTIONS

ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบที่ เกีย่ วข้องกับการทุจริต อย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อป้องกันการ ทุจริตคอร์รัปชัน

17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กำ�หนดเป็นเป้าหมาย องค์กรตามเป้าหมาย สากลและร่วม สนับสนุนกิจกรรม ขององค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภากาชาดไทย สสส. กรมอนามัย เป็นต้น

13


เกี่ยวกับแอล.พี.เอ็น ชื่อบริษัท : บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ลักษณะกิจการ : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชื่อย่อหลักทรัพย์ : LPN วันที่จดทะเบียน : วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ทุนจดทะเบียน : 1,475,698,768 บาท เลขทะเบียนบริษัท : 0107537002303 พื้นที่การดำ�เนินธุรกิจ : ประเทศไทย ที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ : 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 ช่องทางการติดต่อ : โทรศัพท์ : 0-2689-6888 เว็บไซต์ www.lpn.co.th

ลักษณะการประกอบธุรกิจและบริษัทในเครือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer)

ธุรกิจบริการ (Service Provider)

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) (LPN) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในรูปแบบอาคารชุดพักอาศัย

บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำ�กัด (LPP) ให้บริการบริหารจัดการชุมชนแบบครบวงจร

บริษัท พรสันติ จำ�กัด (PST) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากอาคารชุดพักอาศัย

บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำ�กัด (LPS) ให้บริการด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำ�กัด (LPC) ให้บริการงานบริการด้านต่างๆ ในชุมชน บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำ�กัด (LWS) ให้บริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

14

INTRODUCTION

SD Report


ผลิตภัณฑ์และบริการ และตลาดการให้บริการของ แอล.พี.เอ็น. LPN ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขาย มุ่งเน้นการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยสำ�หรับผู้ที่มีรายได้ระดับ กลางถึงกลาง-ล่างเป็นกลุม่ เป้าหมายหลัก และได้ขยายกลุม่ เป้าหมายไปสูผ่ มู้ รี ายได้ระดับกลาง-ล่างถึงบนตัง้ แต่ปี 2560 สร้างความแตกต่างด้วยการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของโครงการภายใต้แนวคิด “LPN Design” มุ่งเน้นการออกแบบเพื่อให้คนทุกวัยสามารถทำ�กิจกรรมร่วมกันได้ รวมถึงการออกแบบด้วยหลัก Universal Design เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงวัยให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ (Independent Elderly: IE) โดดเด่นด้วยงานบริการหลังการขายภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” โดยได้พัฒนาเป็น “ชุมชนน่าอยู่สำ�หรับคนทุกวัย” ในเวลาต่อมาบริษัทได้กำ�หนด ตำ�แหน่งของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการรับรู้และครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท จำ�แนกออกเป็น 14 แบรนด์ย่อย มุ่งเน้น กลุ่มเป้าหมายและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ภายใต้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก 2 รูปแบบ คือ บ้านหลังแรกในเมือง และบ้านหลังที่สองที่เป็นคอนโด พักตากอากาศ

6 GREEN LPN

15


1

บ้านหลังแรกในเมือง :

มุ่งส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตของคนเมือง ด้วยที่อยู่อาศัยคุณภาพดีในราคาที่เป็นธรรม เน้นกลุ่มลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดอุดรธานี ชลบุรี เพชรบุรี และเขตการปกครองพิเศษพัทยา แบรนด์

ลักษณะการให้บริการและกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์บา้ นพักอาศัยระดับพรีเมียม ซึง่ ถือเป็นอีกหนึง่ เรือธงสำ�คัญในการพัฒนาโครงการประเภท บ้านเดีย่ วและทาวน์โฮมของบริษัท เน้นความพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกที่ดิน โดยโครงการแรก พัฒนาบนทำ�เลพระราม 3 เนื่องจากเป็นทำ�เลที่อยู่ในเมือง แต่มีความเป็นส่วนตัว ตอบโจทย์ ความต้องการบ้านในเมืองสำ�หรับลูกค้าทีม่ ีกำ�ลังซื้อสูง และมีแนวโน้มขยายครอบครัวเพื่อรองรับ การอยู่อาศัยที่รวมคน 3 วัยไว้ด้วยกัน แบรนด์ระดับพรีเมียมที่ได้รบั การพัฒนาขึน้ เนือ่ งในโอกาสพิเศษการดำ�เนินธุรกิจครบรอบ 24 ปี ของ LPN บนทำ�เลที่มีศักยภาพสูงสุดในซอยสุขุมวิท 24

แบรนด์ระดับบนเพื่อตอบสนองความต้องการทีอ่ ยูอ่ าศัยของเจ้าของธุรกิจ หรือผู้บริหารระดับ สูงที่ต้องการชีวิตที่สะดวกสบายสูงสุด มีความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยสูง เน้น ทำ�เลเขตใจกลางศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) จำ�นวนยูนิตในแต่ละโครงการที่ไม่สูงมาก ทำ�ให้ ผู้อยู่อาศัยมีความเป็นส่วนตัวสูงสุด แบรนด์ระดับกลาง-บน พัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย คนรุ่นใหม่ที่มีเอกลักษณ์ ในการใช้ชีวิต ทำ�เลใกล้มหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย พัฒนาโครงการให้มีรูปแบบเป็นแคมปัสคอนโดที่มีการออกแบบ ภายในห้องชุดด้วย New LPN Design เป็นห้องชุดแบบรูมเมท และมีพื้นที่สำ�หรับการนั่ง ทำ�งาน หรือประชุมระดมสมอง แบรนด์ระดับกลาง-บน ที่พัฒนาขึ้นสำ�หรับกลุ่มเป้าหมายคนวัยทำ�งานที่เป็นผู้บริหาร อายุ ประมาณ 30-40 ปี ทำ�เลในการพัฒนาโครงการดังกล่าว จึงอยู่ในเขตที่มีความหนาแน่นสูง ติด ถนนใหญ่ อาจอยู่ในเขตใจกลางหรือรอบศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) สะดวกในการเดินทางด้วย ทำ�เลที่ใกล้ระบบคมนาคมขนาดใหญ่ที่ทันสมัย ครบครันด้วยสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่สมบูรณ์ พร้อมต่อการใช้ชีวิตประจำ�วัน แบรนด์ระดับกลาง-บน ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นสำ�หรับชุมชนขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มคุณค่าของ ผลิตภัณฑ์ ที่นำ�ไปสู่คุณค่าของงานบริการ ด้วยการพัฒนา “สวนรวมใจ” (Community Park) สวนพักผ่อนขนาดใหญ่ ที่ร่มรื่นด้วยพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ที่ผู้อยู่อาศัยสามารถทำ� กิจกรรมร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างครอบครัวหรือเพื่อนบ้านในโครงการ สอดรับกับ แนวคิดของการสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” ที่ผู้อยู่อาศัยร่วมกันด้วยวัฒนธรรม “ร่วมใจ ห่วงใย และแบ่งปัน” โดยเริ่มโครงการแรกที่โครงการลุมพินี พาร์ค ปิ่นเกล้า

16

INTRODUCTION

SD Report


แบรนด์

ลักษณะการให้บริการและกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ระดับกลาง ซึ่งถูกพัฒนาและต่อยอดมาจากแบรนด์ “ลุมพินี เพลส” เพื่อคนในวัย ทำ�งานซึ่งอาจเป็นผู้บริหารระดับต้นอายุไม่เกิน 35 ปี ต้องการความสะดวกในการเดินทางและ การอยู่อาศัยที่เป็นส่วนตัว ทำ�เลที่ตั้งโครงการจึงอยู่ในเขตที่มีความหนาแน่นสูง ใกล้แหล่งงาน และสิ่งอำ�นวยความสะดวก “ลุมพินี วิลล์” จึงเป็นทางเลือกสำ�หรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิต ในแบบของตนเอง ขณะที่ยังคงอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวเดิม แบรนด์สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลาย ราคาไม่สูงมาก เน้นทำ�เลที่มีศักยภาพ เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมขนาดใหญ่ และยังไม่มีการพัฒนาที่พักอาศัยในลักษณะอาคารชุด พักอาศัย แบรนด์ระดับกลาง-ล่าง ที่มุ่งสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับกลุ่มคนวัยเริ่มต้น การทำ�งาน ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เน้นทำ�เลที่ตั้งในเขตรอยต่อระหว่างใจกลางเมืองกับเขต รอบนอกที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ที่มีความต้องการทีพ่ กั อาศัยสูง เพื่อให้เป็นบ้านหลังแรกที่มีคุณภาพ และเป็นจุดเริ่มต้นของครอบครัวที่อบอุ่นสำ�หรับผู้ที่อยู่ ในวัยเริ่มต้นของชีวิตครอบครัว

2

แบรนด์ระดับล่างที่บริษัทพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้โดยง่าย ด้วยราคาที่จับต้องได้ ภายใต้กลยุทธ์การสร้าง “ชุมชนเมืองน่าอยู่” สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายระดับ ล่าง มีจำ�นวนยูนิตในโครงการสูง ห้องชุดขนาดเล็ก 21.50-26.00 ตารางเมตร แต่พรั่งพร้อม ด้วยสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่จำ�เป็นต่อการใช้ชีวิตภายในโครงการอย่างครบครันเพื่อรองรับ ผู้อยู่อาศัยจำ�นวน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่ผู้อยู่อาศัย

บ้านหลังที่ 2 :

ที่เป็นคอนโดพักตากอากาศ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ต้องการมีคอนโดพักตากอากาศเป็นของตนเอง แบรนด์ระดับกลาง-บน ต่อยอดมาจากแบรนด์ “ลุมพินี พาร์ค” ผสมผสานระหว่างบรรยากาศ ของ “สวนรวมใจ” และความมีชีวิตชีวาของบรรยากาศชายทะเล มีการนำ�การบริหารจัดการ ชุมชนน่าอยู่ เป็นจุดแข็งของบริษัทนำ�เสนอแก่ผู้พักอาศัยภายในโครงการ แบรนด์ระดับกลาง เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายคนในวัยทำ�งาน ซึ่งอาจเป็นผู้บริหารระดับต้น อายุไม่เกิน 35 ปี ที่ต้องการบ้านหลังที่ 2 ที่เป็นบ้านพักตากอากาศวิวชายทะเล ในราคาที่ สามารถเป็นเจ้าของได้โดยง่าย สำ�หรับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก ของบริษัท ภายใต้การบริหารจัดการ “ชุมชนน่าอยู่” และการให้บริการที่สนองตอบต่อวิถีชีวิต ของผู้ที่มาพักในรีสอร์ทคอนโด

6 GREEN LPN

17


1

ความยั่งยืนระดับนโยบาย บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

18


ความยั่งยืนระดับนโยบาย หลักคิดในด้านการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนได้ถกู รวบรวมและกลัน่ กรองเป็นองค์ความรูภ้ ายในองค์กร รวมทัง้ เป็นแนวทางทีท่ กุ ภาคส่วนปฏิบตั อิ ย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ แนวคิดต่างๆ เหล่านีจ้ ะเป็นพืน้ ฐานที่สำ�คัญและมั่นคง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์กรในการกำ�หนดกลยุทธ์องค์กรและกลยุทธ์ปฏิบัติการ

นโยบายองค์กร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระดับกลยุทธ์ LPN PLATFORM 3-6-8-10

ระดับปฏิบัติการ แนวทางและผลการดำ�เนินงาน เพื่อความยั่งยืน

พื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง บริษัทดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยการสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสำ�คัญกับกระบวนการดำ�เนินงานภายใน เพื่อให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร ภายหลังจากการเกิด วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรและสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งยังรักษาการเติบโต ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้น�ำ เอาหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้เป็นแนวทางการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท

3 ห่วง 2 เงื่อนไข ความรู้

1

2

3

สร้างภูมิคุ้มกัน

คุณธรรม

2 เงื่อนไข

1. ความพอประมาณ

1. ความรู้

อัตราการเติบโตที่เหมาะสม ผลกำ � ไรที ่ พ อประมาณ ไม่เอารัด เอาเปรียบ และไม่เบียดเบียนลูกค้า และสังคม คืนกำ�ไรสู่สังคม

พอประมาณ

มีเหตุผล

3 ห่วง

2. ความมีเหตุผล พั ฒ นาที่ พั ก อาศั ย สำ � หรั บ กลุ่ ม เป้ า หมายรายได้ ร ะดั บ กลาง-ล่ า ง ถึงบน คำ�นึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ด้วยแนวคิด “ชุมชนน่าอยู่” สร้างความสมดุลของผลตอบแทน ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม คำ�นึงถึงผลกระทบจากกระบวนการ ดำ�เนินธุรกิจทุกมิติ

กำ�หนดให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และ แบ่งปันองค์ความรู้ โดยมีสถาบันแอล.พี.เอ็น. เป็นแกนกลางในการขับเคลือ่ น

2. คุณธรรม กำ�หนดให้ “คุณธรรม” เป็นหนึ่งในค่านิยม องค์กร (Corporate Value) เพื่อนำ�ไปสู่การ เป็นบรรษัทภิบาล

3. การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การพั ฒ นา บุคลากร กำ � หนดกลยุ ท ธ์ ท่ีเ หมาะสมกั บ ทุ ก สภาวะของธุรกิจ ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การบริ ห าร ความเสี่ยง 6 GREEN LPN

19


LPN กับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน PROFIT เศรษฐกิจ

PEOPLE สังคม

ECONOMIC

PLANET สิ�งแวดล อม

SOCIETY

ENVIRONMENT

GREEN ENTERPRISE

STAFF

การบร�หารจัดการเพ�่อความยั่งยืนและทุนมนุษย

1

PROJECT LOCATION

2

การเลือกทำเล

LAND PURCHASE

3

การซื้อที่ดิน

พนักงาน

GREEN DESIGN CONCEPT

การออกแบบโครงการ ENVIRONMENT

สิ�งแวดล อม

6

CUSTOMER EXPERIENCE

5

การบร�หาร ประสบการณ ลูกค า

GREEN MARKET MANAGEMENT

4

การบร�หารการตลาด และการขาย

GREEN FINANCIAL MANAGEMENT

การบร�หารจัดการ ทางการเง�น

CUSTOMERS

7

GREEN

8

CONSTRUCTION PROCESS

การบร�หารโครงการ SUPPLY CHAIN

คู ค า

LABORS

แรงงาน

SHAREHOLDERS

ลูกค า

ผูถ อื หุน

HAND OVER

การส งมอบห องชุด

9

MOVE IN

การเตร�ยมความพร อม ก อนพักอาศัย

NEIGHBORS

บ าน ข างเคียง

GREEN

10

COMMUNITY MANAGEMENT การบร�หารชุมชน

RESIDENTS

ผู อยู อาศัย

6 GREEN LPN เป็นแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่มีต่อ 8 ผู้มีส่วนได้เสียจาก 10 กระบวนการหลักของการดำ�เนินงาน ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ของการดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ บริษัทได้ยึดแนวคิด “3 Bottom Line” ที่สะท้อนมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อันเป็นหลักสำ�คัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนขององค์กร อันประกอบด้วย แนวคิด 6 GREEN LPN เพือ่ เป็นแนวทางบริหารจัดการผลกระทบทีม่ ตี อ่ 8 Stakeholders เพือ่ ระบุผู้มีส่วนได้เสีย และ 10 Processes เพื่อกำ�หนดกระบวนการหลักของการดำ�เนินงาน หรือเรียกโดยย่อว่า LPN Platform 3-6-8-10

20

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


3P

TRIPLE BOTTOM LINE

บริษัทนําหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Triple Bottom Line) ที่ให้ความสําคัญกับ 3 องค์ประกอบสุดท้าย ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางในการกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน ภายใต้กลยุทธ์ 6 GREEN LPN ที่รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 8 กลุม่ ใน 10 กระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพือ่ รักษาสมดุลและสร้างการเติบโตที่มั่นคง โดยกําหนดเป้าหมายสุดท้ายของการดําเนินธุรกิจ ทัง้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้

PROFIT

PEOPLE

PLANET

เป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจที่สำ�คัญของ บริษทั คือการสร้างสมดุลของผลตอบแทน หรือกำ�ไรในการดำ�เนินงานที่พอประมาณ และต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการกำ�กับ ดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบในการ ประกอบกิจการด้วยความโปร่งใสและ เปิดเผย บริหารความเสี่ยงในระดับ ทีเ่ หมาะสม รวมถึงคำ�นึงถึงการแบ่งปัน ผลตอบแทนไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

บริษัทคำ�นึงอยู่เสมอว่า ธุรกิจนั้นจะเติบโต ได้ด้วยพื้นฐานของสังคมที่ดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย การรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทจึงไม่ได้จำ�กัดอยู่เฉพาะบุคลากร ภายในเท่านัน้ แต่ยงั คำ�นึงถึงสังคมภายนอก คู่ค้า ลูกค้า และผู้พักอาศัยในโครงการ รวมถึงชุมชนข้างเคียง (เพือ่ นบ้าน) แรงงาน ก่อสร้าง ตลอดจนสภาพสังคมโดยรวมของ ประเทศ

ในฐานะผูป้ ระกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทีม่ บี ทบาทและสร้างผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ในหลายมิติ บริษทั จึงให้ความสำ�คัญต่อ การรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ลดผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ในกระบวนการ (In Process) ตั้งแต่ กระบวนการออกแบบและกระบวนการ ก่อสร้าง รวมทั้ง ดูแ ลสิ่งแวดล้อมและ คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน และชุมชนข้างเคียงภายหลังการส่งมอบ

ECONOMIC

6 GREEN LPN

SOCIETY

ENVIRONMENT

21


6G

6 GREEN LPN ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีของการดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ ก่อให้เกิดการพัฒนา แนวคิด 6 GREEN LPN ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริหารชุมชน เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการสร้างสมดุลอย่าง ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ปัจจุบันแนวคิด 6 GREEN LPN ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่

GREEN ENTERPRISE

GREEN FINANCIAL MANAGEMENT

GREEN DESIGN CONCEPT

การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญกับ การบริหารจัดการและทุนมนุษย์

การกำ�หนดผลตอบแทนและการเติบโต ขององค์กรให้เหมาะสม

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

GREEN MARKETING MANAGEMENT

GREEN CONSTRUCTION PROCESS

GREEN COMMUNITY MANAGEMENT

การตลาดทีเ่ ป็นธรรมกับผูบ้ ริโภคและคู่แข่ง

การบริหารจัดการผลกระทบ ที่มีผลต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคม ในกระบวนการ ก่อสร้าง

การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิต ของผู้พักอาศัยในโครงการหลังส่งมอบ

22

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


8S

8 STAKEHOLDERS

บริษัทสามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก (First Tier) ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานในกระบวนการต่างๆ โดยพิจารณาจากการประเมินระดับ ความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในด้านความสำ�คัญที่มีผลต่อบริษัทและการดำ�เนินงาน และผลกระทบที่ได้รับจากการดำ�เนินงานของบริษัท เพื่อให้สามารถระบุความสำ�คัญ วางกลยุทธ์ ในการสร้างการมีส่วนร่วม และกำ�หนดกรอบการดำ�เนินงานเพื่อลดผลกระทบที่มีความสำ�คัญแก่ ผู้มีส่วนได้เสีย โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์กร แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มดังนี้

SHAREHOLDERS

STAFF

CUSTOMERS

SUPPLY CHAIN

ผู้ถือหุ้น หมายถึง ผู้ถือหุ้นของบริษัท ทั้งในฐานะบริษัท กองทุน และบุคคล ที่ได้รับผลตอบแทน จากการดำ�เนินงาน ซึ่งให้ความ สำ�คัญกับการกำ�กับดูแลกิจการ ตามหลักธรรมาภิบาล และ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม

พนักงาน หมายถึง ผู้ที่ทำ�งานให้แก่ บริษัท ช่วยขับเคลื่อนให้ การดำ�เนินงานของบริษัท ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน โดยหมายรวมถึงพนักงาน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ปฏิบัติการจนถึงระดับบริหาร

ลูกค้า หมายถึง ผู้ที่ให้ความสนใจ ห้องชุดของบริษัทและได้ ดำ�เนินการจองซื้อและชำ�ระเงิน ค่าผ่อนดาวน์ ซึ่งในอนาคต เมื่อโครงการพัฒนาเสร็จ สมบูรณ์ ลูกค้าจะพัฒนาไป สู่การเป็นผู้อยู่อาศัย

คู่ค้า หมายถึง คู่ค้าหรือปิยมิตร ผูเ้ ข้ามามีสว่ นร่วมในกระบวนการ ออกแบบ วางผังโครงการ และการก่อสร้างของบริษัท เสมือนหนึ่งเป็นพนักงาน In-house ของบริษัท เพื่อให้ การบริหารโครงการเป็นไป ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

NEIGHBORS

RESIDENTS

LABORS

ENVIRONMENT

บ้านข้างเคียง หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ติดหรือใกล้กับโครงการที่กำ�ลัง ดำ�เนินงานก่อสร้างของบริษัท ซึ่งได้รับผลกระทบตั้งแต่เริ่ม พัฒนาโครงการ จนถึงผลกระทบ จากการอยู่อาศัยภายหลัง การส่งมอบโครงการ

6 GREEN LPN

ผู้อยู่อาศัย หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยใน โครงการที่ได้ส่งมอบแล้วของ บริษัท ไม่ว่าจะในฐานะลูกค้าที่ ซื้อห้องชุดในโครงการ หรือ ผูท้ เ่ี ช่าพักอาศัย ซึง่ เป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชนที่บริษัทให้การดูแล

แรงงาน หมายถึง แรงงานของ LPN Team (ปิยมิตร) ที่รับจ้าง ทำ�งานก่อสร้างโครงการให้ บริษัท ทั้งแรงงานที่มีสัญชาติ ไทยและแรงงานต่างด้าว

สิ่งแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบของ ความยั่งยืนที่เป็นพื้นฐานใน การประกอบกิจการ ซึ่งธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่งผล กระทบโดยตรง บริษัทจึงมุ่ง เน้นการดูแลและลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบบริเวณ โครงการเป็นสำ�คัญ

23


10P

10 PROCESSES

1 ไม่เพียงแต่ตั้งปณิธานในการเป็น “องค์กร คุณค่า” ที่ให้ความสำ�คัญกับการบริหาร จัดการและทุนมนุษย์ บริษัทยังคำ�นึง ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุกกลุม่ ในทุกกระบวนการดำ�เนินงาน ซึง่ โดยทั่ว ไปความรั บ ผิ ด ชอบของบริ ษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักจะสิ้นสุดที่การ ส่งมอบผลิตภั ณ ฑ์ ห รื อ ห้ อ งชุดแก่ลูกค้า แต่ ในทางกลับกัน บริษัทเล็งเห็นถึง ความสำ�คัญของการดูแลคุณภาพชีวิต ของผู้พักอาศัยในโครงการ ซึ่งไว้วางใจ ในการเลือกซื้อห้องชุด ภายใต้แบรนด์ “ลุมพิน”ี จึงเป็นจุดเริม่ ต้นของการพัฒนา แนวคิดการบริการหลังการขาย “ชุมชน น่าอยู่” ที่ต่อยอดการบริหารอาคารสู่ การบริหารชุมชนมาเกือบ 30 ปี ทำ�ให้ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ที่เกี่ยวข้องของบริษัท ในกระบวนการ ดำ�เนินธุรกิจนัน้ เริ่มตั้งแต่ระดับนโยบาย ในการบริ หารจัด การภายในองค์กรไป จนถึง 10 กระบวนการหลักในการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ของบริษัท อันได้แก่

24

การเลือกทำ�เล

2

การซื้อที่ดิน

วางแนวคิดและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับ การพัฒนาโดยมีแนวคิด 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงการนำ�ร่อง (Pilot Project) คือ การ พัฒนาโครงการในทำ�เลใหม่ๆ ที่ยังไม่มี คู่แข่ง หรือทำ�เล Blue Ocean Location และโครงการต่อเนือ่ ง (Expanded Project) คือการขยายการพัฒนาโครงการในทำ�เล ที่ประสบความสำ�เร็จ แต่ยังคงมีความ ต้องการที่พักอาศัยอยู่

ผู้บริหารจะตัดสินใจซื้อที่ดินโดยพิจารณา จากประสบการณ์และวิสัยทัศน์ รวมทั้ง ข้อมูลของสำ�นักวิจัย และฝ่ายการตลาด ที่ศึกษาอุปสงค์ อุปทาน และความเป็น ไปได้ในการพัฒนาโครงการ (Feasibility Study) เพื่อให้โครงการเหมาะสม สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและ ตามความต้องการของลูกค้า

6

7

การบริหาร ประสบการณ์ลูกค้า

ความเชื่อมั่นในแบรนด์เป็นหัวใจสำ�คัญ ในการบริหารประสบการณ์ลูกค้า โดย ในทุกจุดสัมผัส (Touch Point) จะมีการ กำ�หนดมาตรฐานการบริการ รวมถึง เปิดให้มีช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่ลูกค้า สามารถสะท้อนความคิดเห็นกลับมายัง บริษัทได้ เพื่อรับฟังและปรับปรุงบริการ

SUSTAINABLE POLICY

การบริหารโครงการ

การก่อสร้างถือเป็นกระบวนการที่สร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มากที่สุด ผู้ประกอบการจึงควรมีความ รับผิดชอบ เพือ่ ลดความรุนแรงของปัญหา ทีอ่ าจเกิดขึน้ จึงเป็นทีม่ าของกลยุทธ์การ บริหารโครงการ Q-C-S-E-S+P ของ บริษัท เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการ ดำ�เนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน

SD Report


3

การออกแบบโครงการ

4

การบริหารจัดการ ทางการเงิน

5

การบริหารการตลาด และการขาย

ออกแบบและวางผังโครงการตาม LPN Green Design Concept Standard ซึง่ บริษทั พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับ มาตรฐานอาคารเขียว reen Building) ของสหรัฐอเมริกา (LEED-The Leadership in Energy and Environment Design) โดยพิจารณาผลกระทบในทุกด้าน ต่อผู้มีส่วนได้เสีย

เริ่มตั้งแต่การกำ�หนดการเติบโตและ ผลตอบแทนของผูม้ สี ว่ นได้เสียให้สอดคล้อง กับเป้าหมายองค์กรในแต่ละปี จัดทำ�ต้นทุน การก่อสร้างและกำ�ไรรายโครงการให้เหมาะสม (Profit and Loss) และจัดทำ�งบการเงิน ทีถ่ กู ต้อง และเชื่อถือได้ โดยทุกขั้นตอน เน้นที่ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่มีวาระ ซ่อนเร้น และมีการบริหารความเสี่ยงทาง การเงินอย่างสม่ำ�เสมอ

ยึดหลัก “Human Centric” หรือการให้ ความสำ�คัญกับลูกค้า ด้วยนโยบายใน การสร้างบ้านหลังแรกให้แก่ผู้ที่ยังไม่มี บ้าน เป็นการคืนกำ�ไรให้แก่ลูกค้าและ สังคม นอกจากนั้น ยังให้ความสำ�คัญ กับการเคารพสิทธิของผู้บริโภค และ การดำ�เนินงานตามสัญญาที่ให้ไว้กบั ลูกค้า

8

9

10

การส่งมอบห้องชุด

การตรวจคุณภาพมาตรฐานของห้องชุด และพื้นที่ส่วนกลางก่อนการส่งมอบ เพื่อ “ชุมชนน่าอยู่” ที่สมบูรณ์แบบ มีความปลอดภัยและอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีพ่ ร้อม ใช้งาน นอกจากนั้น ยังให้บริการลูกค้าใน การโอนกรรมสิทธิ์ เพื่ออำ�นวยความสะดวก

6 GREEN LPN

การเตรียมความพร้อม ก่อนพักอาศัย

การอยู่อาศัยร่วมกันของคนหมู่มาก จำ�เป็นต้องมีข้อตกลงและกฎระเบียบร่วมกัน เพื่อความเป็นระเบียบ และก่อนการ เข้าพักอาศัย บริษัทได้มีการสื่อสารและ ทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทาง ในการบริหารชุมชนของบริษทั ตามแนวทาง “ชุมชนน่าอยู่” กับผู้พักอาศัยในชุมชน เพือ่ ให้เกิดการยอมรับและอยูอ่ าศัยร่วมกัน อย่างมีความสุข

การบริหารชุมชน

กลยุทธ์หลักที่สำ�คัญขององค์กร คือ การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย ภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ซึ่งไม่เพียง ดูแลบริหารอาคาร แต่ยังให้ความสำ�คัญ กับการดูแลคุณภาพชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมที่ดี และสร้างวัฒนธรรม การอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน”

25


แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย บริษทั สามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานในกระบวนการต่างๆ โดยพิจารณาจากการประเมินระดับความเกีย่ วข้องของ ผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทั้งในด้านความสำ�คัญที่มีผลต่อบริษัทและการดำ�เนินงาน และผลกระทบที่ได้รับจากการดำ�เนินงานของบริษัท เพื่อให้สามารถระบุ ความสำ�คัญ โดยได้นำ�แนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors : IOD) และกรอบหลักเกณฑ์ ASEAN CG Scorecard มาประกอบการพิจารณา และได้ระบุแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม วิธีการ ความถี่ในการสื่อสาร และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มไว้ดังนี้ ผู้มีส่วนได้เสีย

26

การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

SHAREHOLDERS ผู้ถือหุ้น

• เคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท • ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน • มีกลไกที่ทำ�ให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นว่า จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและผลตอบแทนที่เหมาะสม การรับผลตอบแทนตามนโยบาย การจ่ายเงินปันผลของบริษัท • มีการควบคุมการทำ�รายการระหว่างกัน มาตรการป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เกี่ยวกับข่าวสารที่เป็นความลับเพื่อประโยชน์ส่วนตน

SUPPLY CHAIN คู่ค้า

คือ คู่ค้าของบริษัทเป็นเครือข่ายของผู้ประกอบการด้านต่างๆ อาทิ บริษัทสถาปนิก วิศวกร ที่ปรึกษา บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง ผู้ประกอบธุรกิจขนส่ง บริษัทรักษาความปลอดภัย เป็นต้น • สร้างความร่วมมือในแบบของ “ปิยมิตร” โดยได้พัฒนาเป็น LPN Team ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบริษัทในเครือ • ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือคำ�นึงแต่ผลกำ�ไรของบริษัท ดำ�เนินธุรกิจร่วมกันโดยอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นธรรม • มีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยคู่ค้าทุกรายจะต้องเสนอราคาอัตราค่าจ้าง และบริษทั จะพิจารณาราคาที่เหมาะสม และยุติธรรม คำ�นึงถึงความสมเหตุสมผลของราคา คุณภาพและบริการที่ได้รับ โดยมีแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท

STAFF พนักงาน

• • • • • •

ดูแลและมีการปฏิบัติที่เป็นธรรม ทั้งด้านโอกาส ผลตอบแทน การแต่งตั้งหรือโยกย้าย ให้เหมาะสมกับผลการปฏิบัติงานของ พนักงานแต่ละคนและผลสำ�เร็จทางธุรกิจของบริษัท จัดให้มีโครงสร้างค่าตอบแทนของพนักงานในระยะสั้น โดยพิจารณาจากผลกำ�ไรของบริษัทในแต่ละปีที่พนักงานได้มีส่วนร่วม ในผลสำ�เร็จของอค์กร พิจารณาค่าตอบแทนของพนักงานโดยภาพรวมด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานตามดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPIs) และอัตราค่าตอบแทนจะต้องสอดคล้องกับอัตราค่าตอบแทนในตลาดแรงงาน โดยคำ�นึงถึงความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเป็นสำ�คัญ รวมถึงความเท่าเทียมและเป็นธรรมภายในบริษัท และ นำ�ข้อมูลเงินเฟ้อ (inflation) และผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นเกณฑ์พิจารณาร่วม มีรางวัลตอบแทนการทำ�งานแก่พนักงานเป็นรายปี โดยพิจารณาจากผลการดำ�เนินงานของบริษัทในแต่ละปี จัดให้มีสวัสดิการต่างๆ เช่น การประกันสุขภาพแก่พนักงาน การตรวจสุขภาพประจำ�ปี กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ สวัสดิการ กู้ยืม เงินช่วยเหลือกรณีพนักงาน หรือบิดามารดาของพนักงาน หรือคู่สมรสถึงแก่กรรม การจัดให้มีสถานที่ออกกำ�ลังกาย (Fitness) เป็นต้น สนับสนุนความสมดุลของการทำ�งานและชีวิตส่วนตัวของพนักงาน (Work-Life Balance) การตรวจสอบความปลอดภัย ของสถานที่ทำ�งานอย่างสม่ำ�เสมอ การจัดให้มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยต่างๆ แก่พนักงาน การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

CUSTOMER ลูกค้า

• •

ให้ความสำ�คัญและรับผิดชอบต่อลูกค้าทุกรายอย่างสม่ำ�เสมอ สร้างความพึงพอใจและความมั่นใจอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ รับผิดชอบต่อคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามที่ได้โฆษณาหรือสัญญาไว้ พัฒนาและปรับปรุงการให้ บริการแก่ลูกค้า และรักษาความลับลูกค้า จัดให้มีหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า ได้แก่ ศูนย์รับแจ้งเหตุ ฝ่ายบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Call Center) โทร (02) 689-6888

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง

วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม

ความถี่ในการดำ�เนินการ

• สร้างการเติบโตและผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม • รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม • สร้างความสมดุลของผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม • ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล • บริหารจัดการความเสี่ยง • ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน • เคารพในสิทธิของผู้ถือหุ้น • ดำ�เนินนโยบาย 6 GREEN LPN เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

• รายงานประจำ�ปีและรายงานการพัฒนา อย่างยั่งยืน • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น • จดหมายข่าวผู้ถือหุ้น • เยี่ยมชมโครงการ • การพบปะนักวิเคราะห์ • การพบปะนักลงทุนและผู้จัดการกองทุน • การรายงานความคืบหน้าโครงการ

รายปี

• • • • • •

สร้างความเป็นหนึ่งเดียว กำ�หนดแผนธุรกิจร่วมกัน แบ่งปันองค์ความรู้ สมดุลของผลตอบแทน ให้การสนับสนุนในการพัฒนาองค์กร ส่งต่อจิตสำ�นึกในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน

• การประชุม LPN Team ระดับผู้บริหาร • การประชุม LPN Team ระดับปฏิบัติการ • การอบรมและแบ่งปันความรู้ • กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์

รายไตรมาส เป็นประจำ� รายเดือน รายไตรมาส

• • • • • •

สร้างสมดุลระหว่างการทำ�งานและชีวิต การเรียนรู้และเติบโตในหน้าที่การงาน องค์กรน่าอยู่และความสุขในการทำ�งาน สมรรถนะหลักไปสู่ค่านิยมองค์กร ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม ความเท่าเทียมและสิทธิขั้นพื้นฐาน

• การประเมินความสุขในการทำ�งาน • สถาบันแอล.พี.เอ็น. • กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม • ทีมงานพนักงานสัมพันธ์ • การประเมินผลการปฏิบัติงาน • เว็บไซต์และอีเมลภายใน • การแบ่งปันความรู้จากผู้บริหาร • คณะกรรมการสวัสดิการ • WhatsApp / Line@

รายไตรมาส เป็นประจำ� เป็นประจำ� เฉพาะกิจ รายครี่งปี เป็นประจำ� เป็นประจำ� เฉพาะกิจ รายวัน

• • • •

บ้านที่สามารถเป็นเจ้าของได้ มีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ สร้างความพึงพอใจและบริหารข้อร้องเรียน เคารพในสิทธิของผู้บริโภค

• Call Center • กิจกรรมต่างๆ • การสำ�รวจความพึงพอใจ • Lumpini Family Day • Touch Point • การบริหารประสบการณ์ลูกค้า • การวิจัยทางการตลาด • www.lpn.co.th • Line@

รายวัน เฉพาะกิจ เป็นประจำ� รายปี เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ�

6 GREEN LPN

รายปี รายไตรมาส รายปี รายไตรมาส เป็นประจำ� เป็นประจำ�

27


ผู้มีส่วนได้เสีย

การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

RESIDENTS ผู้อยู่อาศัย

• ร่วมมีส่วนในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้อยู่อาศัยผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

LABORS แรงงาน

ดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานบ้านพักคนงานของบริษัท จัดให้มีปัจจัยที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีพ อาทิ การโภชนาการ และสุขาภิบาลที่เหมาะสม และได้มีการสำ�รวจบ้านพักคนงานก่อสร้างในโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความ เรียบร้อยและให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และได้จัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ - กิจกรรมตัดผมและเลี้ยงอาหารกลางวันคนงานก่อสร้าง - การตรวจสารเสพติดคนงานก่อสร้าง - การสรุปปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในโครงการเพื่อการบริหารจัดการให้ถูกสุขอนามัย - กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและการใช้ยาสำ�หรับคนงานก่อสร้าง - กิจกรรมตรวจสุขภาพคนงานประจำ�ปีและการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ

NEIGHBORS บ้านข้างเคียง

• การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง • การจัดการน้�ำ ทิ้งและการจัดการขยะภายในชุมชนลุมพินี

ENVIRONMENT สิ่งแวดล้อม

• กำ�หนดเป็นนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างจิตสำ�นึกของพนักงานภายในบริษัท และถ่ายทอดแนวคิดใน การรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและสังคมให้กับบริษัทคู่ค้า รวมถึงชุมชนที่บริษัทได้เข้าไปบริหารจัดการหลังส่งมอบแล้ว • จัดตั้งคณะอนุกรรมการกำ�กับดูแลกิจการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อติดตาม ควบคุม ดูแล การดำ�เนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย และกำ�หนดกฎบัตรทีช่ ดั เจน โดยมีเจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงในกระบวนการดำ�เนินงานทีส่ �ำ คัญ • ใช้แนวทางความยั่งยืน Triple Bottom Line (3P) อันได้แก่ ผลประกอบการ สังคม และสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์และกำ�หนด เป็นแนวทาง 3-6-8-10 อันได้แก่ 6 GREEN LPN / 8 Stakeholders / 10 Processes และให้ความสำ�คัญต่อ (CESR In Process) โดย 6 GREEN LPN ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคมในกระบวนการ 6 ประการ ได้แก่ 1. Green Enterprise 2. Green Design Concept 3. Green Financial Management 4. Green Marketing Management 5. Green Construction Process 6. Green Community Management • จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CESR Out Process) และได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำ�เสมอ

28

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


ประเด็นข้อกังวลและความคาดหวัง

วิธีการสร้างการมีส่วนร่วม

ความถี่ในการดำ�เนินการ

• คุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ • สร้างความพึงพอใจและบริหารข้อร้องเรียน • เคารพในสิทธิของผู้บริโภค • สร้างวัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย และแบ่งปัน” • สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CESR • ส่งเสริมการเรียนรู้แก่เยาวชนที่อยู่อาศัยในโครงการ • เปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมกำ�หนดแนวทางการบริหารจัดการ

• การประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม • Mobile App • Call Center • กิจกรรมต่างๆ • การสำ�รวจความพึงพอใจ • Lumpini Family Day • เสวนาประธานกรรมการนิติบุคคล • Touch Point • การบริหารประสบการณ์ลูกค้า • การวิจัยทางการตลาด • www.lpn.co.th • Line@

รายปี เป็นประจำ� รายวัน เฉพาะกิจ เป็นประจำ� รายปี รายปี เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ�

• ความปลอดภัยในการทำ�งาน • ดูแลคุณภาพชีวิต ทั้งบ้านพักคนงานและสุขอนามัย • สิทธิและค่าตอบแทนขั้นพื้นฐาน • การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

• QCSES+P • กิจกรรมดูแลคุณภาพชีวิต • ตรวจสุขภาพ

รายวัน เฉพาะกิจ รายปี

• การป้องกันเสียง ฝุ่น และผลกระทบจากการก่อสร้าง • การรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางการทำ�งาน • การปฏิบัติตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม • การออกแบบที่คำ�นึงถึงความยั่งยืนของพื้นที่

• ประชาพิจารณ์ • เยี่ยมเยียน พบปะ พูดคุย • เพิ่มพื้นที่สีเขียว • ปรับปรุงพื้นที่ • การออกแบบที่คำ�นึงถึงความยั่งยืนของพื้นที่ • กล่องรับเรื่องร้องเรียน

เฉพาะกิจ รายวัน เป็นประจำ� เป็นประจำ� เป็นประจำ� รายสัปดาห์

• การลดผลกระทบจากการก่อสร้าง • การร่วมรณรงค์คัดแยกขยะในชุมชนที่บริหารจัดการ • ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน • การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า • การออกแบบโครงการเพื่อความยั่งยืน • สร้างจิตสำ�นึก CESR แก่ชุมชนที่บริหารจัดการ • สร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สตรีด้อยโอกาส • แบ่งปันองค์ความรู้องค์กรสู่ภายนอกผ่านสถาบันแอล.พี.เอ็น.

• 6 GREEN LPN • LPN Green Signature Project • QCSES+P

เป็นประจำ� เฉพาะกิจ เป็นประจำ�

6 GREEN LPN

29


เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ แนวทางการจัดทำ�รายงาน รายงานการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนประจำ�ปี 2561 ของ บริษทั แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ฉบับนี้ จัดทำ�ขึน้ เป็นฉบับที่ 5 ภายหลังจาก ที่องค์กรได้จัดทำ�รายงานฉบับแรกขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและเปิดเผยผลกระทบเชิงบวกและลบที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อันเป็นผลจากการดำ�นินงานขององค์กร พร้อมถ่ายทอดแนวคิดการดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างความยั่งยืนของบริษัท ด้วยแนวทางบริหารจัดการ 6 GREEN LPN ควบคู่ไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ต้องขับเคลื่อนควบคู่ไปกับความรู้คู่คุณธรรม ข้อมูลรายงานฉบับนี้มีรอบการรายงานข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2561 ทั้งนี้ บริษัทได้จัดทำ�เนื้อหาทั้งในเชิงข้อมูลทั่วไปของ องค์กร แนวการบริหารจัดการ และตัวบ่งชี้การดำ�เนินงาน อ้างอิงตามมาตรฐานการรายงานระดับสากล Global Reporting Initiative Standard (GRI Standard) ในแบบหลัก (Core) ซึ่งเปลี่ยนไปจากการจัดทำ�รายงานของปีที่ผ่านมาที่ใช้กรอบการรายงาน GRI ฉบับ G4 อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะธุรกิจที่เป็นผู้ก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจึงใช้แนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนสำ�หรับ อุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ (Construction and Real Estate Sector Disclosure) ฉบับ G4 ตามคำ�แนะนำ�ของ GRI Standard เพื่อให้ เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำ�คัญต่อผู้ดำ�เนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งได้นำ�เสนอความเชื่อมโยงระหว่าง แนวทางการดำ�เนินงานขององค์กรกับเป้าหมายโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) (Sustainable Development Goals 2030: SDG2030)

การกำ�หนดเนื้อหาและกรอบรายงาน บริษทั กำ�หนดเนือ้ หาและกรอบการรายงานโดยได้คำ�นึงถึงสาระสำ�คัญและประโยชน์ของเนื้อหาเป็นหลัก โดยได้ประเมินประเด็นทีเ่ ป็นสาระสำ�คัญต่อ ความยั่งยืน (Material Sustainability Aspect Assessment) ประกอบกับการพิจารณาบริบทด้านความยั่งยืน (Sustainability Context) ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Inclusiveness) และความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Completeness) ตามหลักการรายงานสากล GRI โดยมีขั้นตอนการกำ�หนดเนื้อหาและกรอบการรายงาน ดังนี้

กระบวนการระบุประเด็นที่สำ�คัญและกรอบการรายงาน (Defining Material Aspects and Boundary Process)

เร�่อง

ประเด็น

การเป ดเผยแนวการบร�หารจัดการ

ขั้นที่ 1 : ระบุประเด็น

ขั้นที่ 2 : จัดลำดับ

ขั้นที่ 3 : ตรวจสอบ

สารัตถภาพ

บร�หารความยั่งยืน

ตัวบ งชี้การดำเนินงาน

ความสมบูรณ

รายงาน

ความครอบคลุมผู มีส วนได เสีย ขั้นที่ 4 : ทบทวน บร�บทความยั่งยืน

30

ความครอบคลุมผู มีส วนได เสีย

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


ขั้นที่

1

ระบุประเด็นความยั่งยืน (Identifying Sustainability Topics) รายงานการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนประจำ�ปี 2561 ได้พจิ ารณาเรือ่ งต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง (Relevant Topics) ต่อการเป็นผู้ ประกอบการในกลุม่ อุตสาหกรรมธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ทอ่ี าจมีผลกระทบต่อความคาดหวัง การประเมิน และการตัดสินใจของผูม้ สี ว่ นได้เสีย ต่อการดำ�เนินงานอย่างรับผิดชอบขององค์กร โดยพิจารณาจากประเด็นความ ยัง่ ยืน (Sustainability Aspects) ตามกรอบการรายงานสากล GRI นอกจากนี้ ยังได้น�ำ ประเด็นความยั่งยืนที่ได้เคยพิจารณาในปีที่ผ่านมา กลับมาพิจารณาอีกครั้ง รวมไปถึงการนำ� เสียงสะท้อนจากผูม้ สี ว่ นได้เสียแต่ละกลุม่ แนวทางดำ�เนินงาน และการประเมินด้านความยัง่ ยืนจากหน่วยงานต่างๆ มารวมกับประเด็นอืน่ ทีม่ อี ยู่ เพือ่ ให้การพิจารณาประเด็นทีม่ นี ยั สำ�คัญสำ�หรับปี 2561 มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิง่ ขึน้

ขั้นที่

2

ขั้นที่

3

ขั้นที่

4

6 GREEN LPN

จัดลำ�ดับประเด็นที่สำ�คัญ (Prioritizing Material Aspects) เมือ่ พิจารณาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทแล้ว คณะทำ�งานได้จดั ลำ�ดับ ความสำ�คัญของแต่ละประเด็นโดยพิจารณาจากประเด็นที่มีอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วน ได้เสีย (Influence on Stakeholder Assessments and Decisions) และผลกระทบทีส่ �ำ คัญจากการดำ�เนินงานของ องค์กรทีม่ ตี อ่ เศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และสังคม (Significance of Economic, Environmental, and Social Impacts) เพือ่ ให้ได้มาซึง่ สาระสำ�คัญหรือ “สารัตถภาพ” (Materiality) ของการรายงาน

ตรวจสอบประเด็นให้ครบถ้วนสมบูรณ์ (Validating Material Aspects) คณะทำ�งานได้เสนอประเด็นที่ได้พจิ ารณาแล้วว่ามีสาระสำ�คัญต่อ แอล.พี.เอ็น. ต่อประธานกรรมการบริษัท ซึ่งเป็น ผูบ้ ริหารระดับสูงสุดขององค์กร พิจารณาตรวจสอบชุดประเด็นทีม่ สี าระสำ�คัญอีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ให้มน่ั ใจว่า ชุดประเด็น ดังกล่าวครอบคลุมผลกระทบที่อาจเป็นผลจากการดำ�เนินงานของ แอล.พี.เอ็น. และเป็นประเด็นที่สำ�คัญต่อผูม้ ี ส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างรอบด้าน และนำ�ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนและ การจัดทำ�รายงานความยัง่ ยืนในลำ�ดับต่อไป โดยบริษทั สามารถระบุประเด็นทีเ่ ป็นสาระสำ�คัญต่อการดำ�เนินงานด้าน ความยัง่ ยืนขององค์กรได้ ตามการวิเคราะห์ประเด็นทีม่ สี ารสำ�คัญต่อบริษทั ในหน้า 32

ทบทวน (Reviewing) ภายหลังจากการเผยแพร่รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2560 บริษัทได้นำ�ข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย มาใช้ปรับปรุงและพัฒนารายงานในปี 2561 โดยผ่านกระบวนการทบบวนเนื้อหาและนำ�มาพิจารณาว่าอาจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง (Relevant topics) กับประเด็นความยั่งยืนขององค์กร ทั้งนี้เพื่อให้การดำ�เนินงานของ บริษัทบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีเกี่ยวข้อง (Relevant) และมีนัยสำ�คัญ (Significant) กับ องค์กรมากที่สุด และใช้ประกอบการกำ�หนดทิศทางการดำ�เนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรใน ระยะต่อไป โดยสำ�หรับปี 2561 ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนการดำ�เนินงานอย่าง รับผิดชอบและยั่งยืนเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืนได้ตามช่องทางต่างๆ ขององค์กร รวมไปถึง แบบสอบถามที่ได้แนบไว้ท้ายเล่มนี้

31


ประเด็นที่มีสาระสำ�คัญต่อบริษัท ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำ�คัญ

ช่องทางการเผยแพร่รายงาน สูง

10

1

4

11

2

5

3

6

12

กลาง

7 8 9

ผู้ติดต่อเกี่ยวกับการจัดทำ�รายงาน และการดำ�เนินงานเพื่อความยั่งยืน

ต่�ำ

นางสาวมนพัทธ์ ศุภกิจจานุสันติ์ ฝ่ายพัฒนาแบรนด์ สายงานบริหารแบรนด์

ต่�ำ

กลาง

สูง

ประเด็นที่เป็นผลกระทบที่สำ�คัญต่อ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

32

• เว็บไซต์ http://www.lpn.co.th หัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” หัวข้อย่อย “การกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ”ี เรือ่ ง “รายงานการ พัฒนาอย่างยัง่ ยืน” • เอกสารเผยแพร่ฉบับภาษาไทย จำ�นวน 3,000 เล่ม ฉบับภาษาอังกฤษ จำ�นวน 30 เล่ม • สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบซีดี จำ�นวน 16,000 แผ่น

การใช้ทรัพยากรและการจัดการ (วัสดุ, พลังงาน, น้�ำ , ของเสีย)

บริษทั แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทรศัพท์ : 02-285-5011-6 อีเมล : bnd@lpn.co.th แฟกซ์ : 02-285-5017

การรับข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสียที่สำ�คัญ การจ้างงาน การฝึกอบรมแรงงานและความปลอดภัย ในการทำ�งาน ความปลอดภัยของลูกค้า การดำ�เนินงานด้านสิทธิมนุษยชนภายในห่วงโซ่อุปทาน การสื่อสารการตลาดและให้ข้อมูลลูกค้า ผลการดำ�เนินงานทางเศรษฐกิจ การต่อต้านการทุจริต การดูแลชุมชนท้องถิ่น ความหลากหลายและโอกาสแห่งความเท่าเทียม ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย บทบาทในตลาด

SUSTAINABLE POLICY

SD Report


6 GREEN LPN

33

กระบวนการรับข้อร้องเรียน ด้านสิทธิมนุษยชน พนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม

การรับข้อร้องเรียนจาก ผู้มีส่วนได้เสียที่สำ�คัญ 5

6

สุขภาพและความปลอดภัย ของลูกค้า

การต่อต้านการทุจริต

ชุมชนท้องถิ่น กระบวนการ รับข้อร้องเรียนด้านสังคม

ความหลากหลายและโอกาส แห่งความเท่าเทียม

ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม ระหว่างหญิงและชาย

บทบาทในตลาด

การต่อต้านการทุจริต

การดูแลชุมชนท้องถิ่น

ความหลากหลายและโอกาส แห่งความเท่าเทียม

ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม ระหว่างหญิงและชาย

บทบาทในตลาด

DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

GENDER QUALITY

5 8

GENDER QUALITY

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

PEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS

DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

5

3

16

8

8

3

NO POVERTY

GENDER QUALITY

CLEAN WATER AND SANITATION

10

11

9

12

9

3

8

7

REDUCED INEQALITIES

SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES

INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE

RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

GOOD HEALTH AND WELL-BEING

DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY

17

11

4

10

13

PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES

QUALITY EDUCATION

REDUCED INEQALITIES

CLIMATE ACTION

SDG2030

8

17

DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

LPN PST LWS LPS LPP LPC

ดำ�เนินธุรกิจโดย โครงการ โครงการภายใต้ โครงการ ก่อสร้าง การบริหาร รื้อถอน ใหม่ จัดการ หรือ หรือให้เช่า พัฒนาใหม่

ระยะดำ�เนินการ 1

ขอบเขตการรายงาน ภายในองค์กร

หมายเหตุ: 1 อ้างอิงตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตามการดำ�เนินกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ตามกรอบการรายงานสากล GRI

ฉลากผลิตภัณฑ์และบริการ การสื่อสารการตลาด ผลเชิงเศรษฐกิจ

การสื่อสารการตลาดและ ให้ข้อมูลลูกค้า ผลการดำ�เนินงานทางเศรษฐกิจ

การดำ�เนินงานด้านสิทธิมนุษยชน การประเมินผลกระทบ ภายในห่วงโซ่อุปทาน ที่เกิดจากผูส้ ่งมอบ

ความปลอดภัยของลูกค้า

1 การจ้างงาน การฝึกอบรมแรงงาน การจ้างงาน อาชีวอนามัยและ และความปลอดภัยในการทำ�งาน ความปลอดภัย การฝึกอบรมแรงงาน

วัสดุ พลังงาน น้ำ� ของเสีย

กรอบการรายงานสากล GRI

ประเด็นความยั่งยืน

การใช้ทรัพยากรและการจัดการ

LPN

กรอบรายงาน

ผู้ถือหุ้น

พนักงานและแรงงาน

พนักงานและแรงงาน

สิ่งแวดล้อม บ้านข้างเคียง

ผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้น

ลูกค้าและผู้อยู่อาศัย

คู่ค้าและแรงงาน

ผู้อยู่อาศัย

พนักงานและแรงงาน

สิ่งแวดล้อม พนักงาน แรงงาน คู่ค้า ลูกค้า บ้านข้างเคียง ผู้อยู่อาศัย

สิ่งแวดล้อม คู่ค้า บ้านข้างเคียง ผู้อยู่อาศัย

ภายนอกองค์กร


2

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ในกระบวนการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

34


GREEN ENTERPRISE

การดำ�เนินธุรกิจที่ให้ความสำ�คัญกับการบริหารจัดการและทุนมนุษย์ บริษัทได้น้อมนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในการดำ�เนินธุรกิจ ที่ให้ ความสำ�คัญกับการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน และการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของการดำ�เนินงานในกระบวนการตามหลัก 6 GREEN LPN ที่ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนา อย่างยั่งยืนด้วยการกำ�หนดนโยบายระดับองค์กร (Corporate Policy) ที่มุ่งสู่ “องค์กรคุณค่า” โดยแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Management) 2. การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management)

การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Management) 1. การเติบโตและการสร้างผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นถึงแนวคิดของความยัง่ ยืนในระดับนโยบายองค์กร บริษทั ได้พัฒนาแนวทางและแผนกลยุทธ์การบริหารด้วยการกำ�หนดเป้าหมายการ เติบโตและการสร้างผลกำ�ไรอย่างเหมาะสม ให้ผลตอบแทนที่ต่อเนื่องและมั่นคง

2. บ้านที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ด้วยการยึดมั่นในหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความใส่ใจต่อสังคม นำ�มาสู่ นโยบายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่ต้องการสร้างที่อยู่อาศัยในราคา ที่เหมาะสมและสามารถเป็นเจ้าของได้ ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ กับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง

3. ดูแลคุณภาพชีวิตภายใต้วัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่ดี ร่วมกัน นอกเหนือจากการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย บริษัทยังใส่ใจการดูแลคุณภาพ ชีวติ ให้กบั ทุกครอบครัว ผ่านสิง่ อำ�นวยความสะดวกภายในโครงการ การรักษา ความปลอดภัย และสิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ การสร้างจิตสำ�นึกของการอยู่อาศัย ที่ดีร่วมกัน ภายใต้วัฒนธรรม “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” ผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการ

4. การสร้างความสมดุลของผลตอบแทนแก่ผมู้ สี ว่ นได้เสีย บริษัทมองการเติบโตระยะยาวเป็นสำ�คัญภายใต้หลักธรรมาภิบาลและหลักความ ยัง่ ยืน จึงดำ�เนินนโยบายในการสร้างผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ แก่ผมู้ สี ว่ นได้ เสียทัง้ หมดอย่างสมดุลและเหมาะสม

6 GREEN LPN

35


5. การบริหารความเสี่ยงและการดำ�เนินงาน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล

7. จิตสำ�นึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคม

การบริหารจัดการความเสีย่ งให้อยู่ในระดับทีค่ วบคุมได้ในทุกมิติ กำ�หนด กรอบของการตอบแทนตามสถานการณ์ของการแข่งขันและผลประกอบการ ลดความเสี่ยงด้วยการสำ�รองเงินทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ ที่นำ�มาสู่ หลักการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน คำ�นึงถึงคุณธรรม ความโปร่งใส และ ตรวจสอบได้ ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือคำ�นึงถึงแต่ผลกำ�ไรของบริษทั

บริษัทรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการดำ�เนินงาน และส่งเสริม การมีจิตสำ�นึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วย การปฏิบัติอย่างจริงจังตั้งแต่การเสริมสร้างคุณธรรมในองค์กรให้แก่ พนักงาน และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมผ่านการดำ�เนินงานและ กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

6. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ บริษทั ต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก ได้แก่ การกำ � หนดแนวทางปฏิบัติงานที่รัดกุมเพื่อลดความเสี่ยง การสื่อสารให้บุคลากรเห็นความสำ�คัญ การกำ�หนดให้คุณธรรมเป็น ค่านิยมขององค์กร การประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการคอร์รปั ชัน การปฏิบัติตามกฎหมายและการชำ�ระภาษีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

8. การแบ่งปันคืนสู่สังคม บริษทั ร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างสังคมทีด่ ี ด้วยการจัดตั้งและสนับสนุน การดำ�เนินงานของ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ในรูปแบบของการแบ่งปัน โอกาสในการสร้างงาน รายได้ และศักดิศ์ รีแก่สตรีดอ้ ยโอกาส รวมทั้ง แบ่งปันองค์ความรู้ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การทำ�งาน เพื่อเป็น วิทยาทานแก่สังคม

การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) 1. กำ�หนดค่านิยมองค์กร (Corporate Value) บริษทั ให้ความสำ�คัญกับการสร้างบุคลากรเพื่อต่อยอดความสำ�เร็จของธุรกิจ วิถีแอล.พี.เอ็น. หรือ LPN Way จึงได้รับการพัฒนาขึ้นจากสมรรถนะ หลักของบุคลากร หรือ Core Competency เพือ่ เป็นหลักปฏิบตั ทิ จ่ี ะส่งเสริมและก่อให้เกิดความยัง่ ยืนในการบริหารจัดการบุคลากรแบบบูรณาการ เพือ่ สร้างเอกลักษณ์ขององค์กรและเป็นบรรทัดฐานในการทำ�งาน ซึง่ วิถแี อล.พี.เอ็น. นี้ ประกอบด้วยคุณค่า 2 เสาหลัก คือ “การพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง” และ “การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย” โดยมีองค์ประกอบค่านิยม 7 ประการ ที่บริษัทให้นิยามว่า “C-L-A-S-S-I-C” อันได้แก่

• การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

• การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย

C L A S

- Cost with Quality บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ

S I C

- Service Minded ใจรักบริการ

- Integrity คุณธรรม

- Lateral Thinking คิดนอกกรอบ

- Collaboration ร่วมมือร่วมใจ

- Alliance ปิยมิตร

- Speed with Quality รวดเร็วพร้อมคุณภาพ

2. สร้างความสุขผ่าน 6 ปัจจัยองค์กรน่าอยู่ (Vibrant Organization) หลักคิดพื้นฐานของการจัดการทุนมนุษย์ของบริษัท คือ การสร้างความสุขผ่าน 6 ปัจจัยที่นำ�ไปสู่ความสุขที่แท้จริงของการทำ�งาน (Real Pleasure of Working) โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มคี ณุ ภาพอย่างต่อเนือ่ ง ส่งเสริมบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ เพื่อนำ�ไปสู่การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ พร้อมปลูกฝังวิธีการทำ�งานภายใต้วัฒนธรรมและวิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) ตามแนวทางการสร้าง “องค์กรน่าอยู่”

36

IN PROCESS

ENTERPRISE - กลยุทธ์

SD Report


6

ปัจจัยองค์กรน่าอยู่ บุคลากร

งาน

ที่ทำ�งาน

รักษาและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สร้างความสุขในที่ทำ�งาน ด้วยการจัด กิจกรรมภายใน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีร่วมกัน ตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึง บุคลากรในทุกส่วน และสนับสนุน ให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมทั่วไปในองค์กรและกิจกรรม เพือ่ สิง่ แวดล้อมและสังคมภายนอกองค์กร

ส่งเสริมการปรับปรุงการทำ�งาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสิทธิภาพ ของกระบวนการทำ�งาน และผลักดันการ คิดนอกกรอบของบุคลากร เพื่อพัฒนา ไปสู่การสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการ

ดูแลสถานที่ทำ�งานให้เหมาะสมกับ การทำ�งาน ทั้งสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศในการทำ�งาน มีสุขอนามัย ที่ดี มีความปลอดภัยให้แก่บุคลากร

ผลตอบแทน

โอกาสในหน้าที่การงาน

ความภูมิใจในองค์กร

กำ�หนดผลตอบแทนที่สอดคล้องกับ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการ ทำ�งาน และจัดหาสวัสดิการให้ตาม ความเหมาะสมอย่างเป็นธรรมและ เท่าเทียม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ บุคลากร โดยสนับสนุนให้มีความสมดุล ทั้งในชีวิตและงาน (Work-Life Balance)

ให้โอกาสในความก้าวหน้าและกำ�หนด เส้นทางการเติบโตให้แก่บุคลากรใน ทุกระดับ ด้วยความเท่าเทียมและ เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง รวมทั้งส่งเสริมความสามารถด้วยการ อบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

สร้างชื่อเสียงของบริษัท ด้วยหลักธรรมาภิบาล เคารพสิทธิ มนุษยชน และดำ�เนินงานอย่างโปร่งใส ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สังคม เพื่อความ ภาคภูมิใจแก่บุคลากรที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในองค์กร

3. พัฒนาบุคลากรด้วย A-S-K (Learning & Growth)

4. สร้างความสมดุลระหว่างการทำ�งานและชีวติ (Work-Life Balance)

ด้วยความมุง่ มัน่ พัฒนาองค์กรไปสูค่ วามยัง่ ยืน บริษทั จึงได้จดั ตัง้ สถาบัน แอล.พี.เอ็น. หรือ LPN Academy เพือ่ ทำ�หน้าที่ในการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ให้กับบุคลากร ในองค์กรให้เติบโตทันต่อการขยายตัวของธุรกิจ ถ่ายทอดคุณค่าและ วัฒนธรรมองค์กรตามวิถีแอล.พี.เอ็น. หรือ LPN Way ผ่านการอบรม และหลักสูตรต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภายนอก ในอนาคต

บริษัทดูแลคุณภาพชีวิตและการทำ�งานของพนักงาน ส่งเสริมให้รู้จัก การแบ่งเวลาให้กบั ตนเองและครอบครัว ไม่หมกมุ่นและทุ่มเทให้กับการ ทำ�งานมากจนเกินควร โดยกำ�หนดเวลาทำ�งานต่อสัปดาห์ให้เหมาะสม และกำ�หนดให้พนักงานทุกส่วนงานต้องหยุดพักร้อนประจำ�ปีตามที่ได้ รับสิทธิ

6 GREEN LPN

37


ธรรมาภิบาลและโครงสร้างการบริหารจัดการ การมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ดี มีการแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบและการบริหารจัดการที่ชัดเจน เอื้อต่อความสามารถในการตรวจสอบและ ถ่วงดุลอำ�นาจระหว่างกันได้นน้ั เป็นคุณลักษณะทีส่ �ำ ตัญต่อการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ แี ละมีธรรมาภิบาล ด้วยตระหนักดีวา่ การมีโครงสร้างการบริหารจัดการเพือ่ เอือ้ ต่อการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ นี น้ั สามารถเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ด้วย การบริหารจัดการพืน้ ฐานของความซือ่ สัตย์สจุ ริต มีคณุ ธรรมและจริยธรรม อันจะนำ�ไปสูก่ ารดำ�เนินงานร่วมกันระหว่างผูม้ สี ว่ นได้เสียกับองค์กรอย่าง โปร่งใส ตรวจสอบได้ นำ�มาซึง่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทีพ่ ม่ิ มากขึน้ เป็นองค์กรทีม่ รี ากฐานธุรกิจทีม่ น่ั คงและเจริญเติบโตอย่างยัง่ ยืน ลดความเสีย่ ง ในการบริหารจัดการ ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย แสดงให้เห็นถึงการ มีสว่ นร่วมรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร คณะกรรมการบริษทั จึงได้ก�ำ หนดหลักการทีเ่ ป็นแนวทางสำ�คัญสำ�หรับการกำ�กับดูแลกิจการของบริษทั และบริษทั ย่อยทีบ่ ริษทั ถือหุน้ อยูม่ ากกว่าร้อยละ 90 ดังนี้ • ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม • มุ่งมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด • กำ�หนดจรรยาบรรณทางธุรกิจของคณะกรรมการบริษัทและพนักงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับหลักการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี ในปี 2561 บริษัทมีโครงสร้างคณะกรรมการและอนุกรรมการทั้งหมดจำ�นวน 6 คณะ ภายใต้โครงสร้างองค์กร รายละเอียดดังนี้

โครงสร้างองค์กร คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะอนุกรรมการด้านความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

สำ�นักตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหาร

สำ�นักส่งเสริมจริยธรรม

สถาบัน แอล.พี.เอ็น.

สำ�นักพัฒนาธุรกิจ

สำ�นักงานบริหารทรัพยากรมนุษย์

สำ�นักวิจัย

สำ�นักสารสนเทศ

คณะกรรมการผู้จัดการ รอง/ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารการเงิน การเงิน บัญชี

38

สายงานบริหารแบรนด์ สื่อสารองค์กร บริหารประสบการณ์ลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม

IN PROCESS

สายงานบริหารการขาย บริหารงานขาย 1 บริหารงานขาย 2 บริหารงานขาย 3

ENTERPRISE - กลยุทธ์

สายงานสนับสนุน สำ�นักกรรมการ สำ�นักกฎหมาย ธุรการ

SD Report


คณะอนุกรรมการกำ�กับดูแลกิจการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม คณะอนุกรรมการชุดนี้ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำ�หน้าที่ ในการกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยด้านความรับผิดชอบต่อสิ่ง แวดล้อมและสังคมโดยมุ่งเน้นการพิจารณาผลกระทบจากการดำ�เนินงานที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อผู้มีส่วนได้เสียขงองค์กร คณะกรรมการบริษัทมีส่วนร่วมในการดำ�เนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรผ่านคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ โดยจะเป็น ผู้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่มีความเหมาะสมให้ดำ�รงตำ�แหน่งประธานอนุกรรมการ และประธานอนุกรรมการจะมีอำ�นาจและหน้าที่ในการคัดเลือก อนุกรรมการจากทุกส่วนงานของบริษทั บริษทั ย่อยและบริษทั ในเครือทีม่ คี ณุ สมบัตเิ หมาะสม โดย ณ สิน้ ปี 2561 คณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้มีประธาน คณะอนุกรรมการและอนุกรรมการรวม 24 คน องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการชุดนี้ นับได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมเพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างผู้บริหารระดับสูงสุด ขององค์กร บริษัทย่อยและคู่ค้า ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพิจารณาความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และธรรมาภิบาลอย่าง รอบด้าน จากเสียงสะท้อนของผู้มีส่วนได้เสียที่มีนัยสำ�คัญและมีผลต่อการตัดสินใจขององค์กร โดยจะมีการประชุมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง (ราย ละเอียดรายชื่อคณะอนุกรรมการฯ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่รายงานประจำ�ปี 2561)

การกำ�กับดูแลกิจการ บริษทั ได้ประกาศนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ขี ององค์กรเอาไว้อย่างเปิดเผย ง่ายต่อการเข้าถึงจากผูม้ สี ว่ นได้เสียและสาธารณชน โดยได้เปิดเผยไว้ บนเว็บไซต์ www.lpn.co.th หัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” หัวข้อย่อย “การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี” สำ�หรับคณะกรรมการบริษัทในฐานะที่เป็นผู้นำ�สูงสุด ขององค์กรให้ปฏิบัติตาม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำ�คัญที่ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เช่นกัน โดยบริษัทได้กำ�หนดหลักปฏิบัติภายใต้นโยบายดังกล่าวไว้ ดังนี้ • ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทในฐานะผู้นำ�องค์กรที่สร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน • กำ�หนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน • เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล • สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร • ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ • ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม • รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล • สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

การบริหารจัดการทุนมนุษย์ การจ้างงานอย่างเป็นธรรมและความหลากหลายของพนักงาน บริษทั ให้ความสำ�คัญกับทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญขององค์กรในทุกกระบวนการเป็นอย่างสูงโดยมิได้ละเลยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งในส่วนของ พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย พนักงานผู้พิการ รวมไปถึงกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มสตรีด้อยโอกาส โดยบริษัทได้ดูแลผ่านการพัฒนาศักยภาพ ของแม่บา้ นเหล่านี้ให้มกี ารพัฒนาฝีมอื สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สามารถยังชีพได้ในระยะยาว ซึง่ สิง่ เหล่านีถ้ อื เป็นความรับผิดชอบด้านการจ้างงาน ตลอดห่วงโซ่อปุ ทานของแอล.พี.เอ็น. นอกจากนี้ การยึดมัน่ ในการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม จ้างงานอย่างเป็นธรรมโดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ศาสนา หรือความ หลากหลายอืน่ ๆ ยังเป็นความรับผิดชอบขององค์กรอีกประการหนึง่ และถือเป็นคุณธรรมในการดำ�เนินธุรกิจของเรา ในปี 2561 แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กรุป๊ มีอัตรากำ�ลังทั้งพนักงานประจำ�และพนักงานสัญญาจ้างทัง้ หมด 3,167 คน ในจำ�นวนนีเ้ ป็นพนักงาน หญิงทัง้ หมด 2,785 คน คิดเป็นร้อยละ 77 ของพนักงานทัง้ หมด และมีการว่าจ้างผูพ้ กิ ารเข้าเป็นพนักงานทัง้ หมด 37 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 1.02 ของพนักงานทัง้ หมด

6 GREEN LPN

39


พนักงาน

พนักงานชาย

พนักงานหญิง

พนักงาน

3,617 คน

832 คน

2,785 คน

37 คน

ทั้งหมด

ทั้งหมด

ทั้งหมด

ผู พ�การ

ชาย

23%

สัดส วนเพศ ของพนักงาน

หญิง

77%

การดูแลพนักงาน บริษทั มุง่ มัน่ ทีจ่ ะดูแลพนักงานทุกระดับอย่างครอบคลุมและทัว่ ถึงในประเด็นทีม่ นี ยั สำ�คัญต่อองค์กร ทัง้ ในเรือ่ งของสวัสดิการและค่าตอบแทนทีเ่ หมาะสม สุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน รวมไปถึงชีวติ ความเป็นอยูข่ องพนักงานและสถาบันครอบครัว โดยมีสวัสดิการขัน้ พืน้ ฐาน ดังนี้

การตรวจสุขภาพประจำ�ปี

ประกันสุขภาพ

เป็นสวัสดิการที่บริษัทจัดให้กับพนักงาน โดยพนักงานจะเข้ารับการ ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ซึ่งในปี 2561 มีพนักงาน เข้ารับการตรวจสุขภาพ จำ�นวน 1,127 คน พบว่า พนักงานที่มีผล การตรวจสุขภาพทุกรายการอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 10 ของ พนักงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าผลการตรวจสุขภาพใน รายการทีผ่ ดิ ปกติจากค่ามาตรฐาน ยังไม่มเี รือ่ งใดทีเ่ ป็นประเด็นข้อกังวล หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวหรือชีวิตของพนักงาน

นอกจากการทำ�ประกันสังคมให้กบั พนักงานตามทีก่ ฎหมายกำ�หนดแล้ว บริษัทยังมีการมอบประกันสุขภาพให้กับพนักงาน เพื่อเป็นการเพิ่ม ช่องทางและอำ�นวยความสะดวกในการรักษาพยาบาลให้กับพนักงาน และพนักงานยังได้สิทธิพิเศษในการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมให้ สมาชิกในครอบครัวได้อกี ด้วย

ทั้งนี้ หากพนักงานมีความกังวลด้านปัญหาสุขภาพหรือต้องการขอเข้า รับคำ�ปรึกษาจากแพทย์ บริษัทได้จัดให้แพทย์ข้ามาประจำ� ณ บริษัท ในทุกวันพฤหัสบดี ตั้งแต่วลา 13.00 - 16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บริษัทมีการจัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพสำ�หรับพนักงาน เพื่อให้ พนักงานมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็ น หลั ก ประกั น ให้ กั บ ครอบครั ว ในกรณี ที่ พ นั ก งานเสี ย ชี วิ ต โดยเงินกองทุนมาจากพนักงานประมาณ 2% - 15% ของเงินเดือน และบริษัทสมทบเงินให้ในอัตราส่วนที่ไม่ต่ำ�กว่าเงินที่พนักงานสะสม

เครื่องแบบพนักงาน

กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ

พนักงานทุกคนจะได้รบั เครือ่ งแบบพนักงานตัง้ แต่วนั แรกทีเ่ ริม่ ทำ�งาน

40

IN PROCESS

ENTERPRISE - กลยุทธ์

SD Report


สวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพือ่ ให้การดูแลพนักงานเป็นไปอย่างทัว่ ถึง บริษทั ได้จดั ตัง้ คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ เพือ่ คุม้ ครองสวัสดิภาพและความเป็นธรรม สำ�หรับพนักงานซึ่งมาจากการเลือกตั้งและมีวาระ 2 ปี เมื่อครบวาระจะมีการเลือกตั้งใหม่ ปัจจุบันมีคณะกรรมการสวัสดิการทั้งหมด 28 คน คิดเป็นร้อยละ 0.76 ของจำ�นวนพนักงานทั้งหมด และพนักงานประจำ�ทุกคน (ร้อยละ 100) มีสิทธิ์ในข้อตกลงและสวัสดิการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้ การดำ�เนินงานและการตัดสินใจของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการมีบทบาทหน้าทีเ่ ป็นสือ่ กลางในการนำ�เสนอความต้องการของพนักงานให้นายจ้างรับทราบ และช่วยลด ข้อขัดแย้งต่างๆ โดยใช้หลักของแรงงานสัมพันธ์เข้ามาดำ�เนินกิจกรรมแบบทวิภาคี พร้อมทัง้ เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอข้อคิดเห็นแก่นายจ้าง บริษทั มีการให้คา่ ตอบแทนพนักงานทีเ่ หมาะสมและเป็นธรรม โดยมิได้ค�ำ นึงถึงความแตกต่างทางเพศ เชือ้ ชาติ หรือความหลากหลายอืน่ ๆ แต่พจิ ารณา จากผลการทำ�งานของพนักงานเป็นสำ�คัญ และได้จดั ให้มกี ารจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ�ให้พนักงานในอัตรา 330 บาทต่อวัน ซึ่งสูงกว่าค่าแรงขัน้ ต่�ำ ทีก่ ฎหมาย กำ�หนด 10% (ค่าแรงขั้นต่ำ� 300 บาท) และจัดสรรค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากค่าแรง โดยพิจารณาความเหมาะสมตามหน้าที่รับผิดชอบ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้วยบริษทั ดำ�เนินธุรกิจเกีย่ วกับการก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษทั ต้องดูแลพนักงานทัง้ ในส่วนทีป่ ฏิบตั งิ าน ณ สำ�นักงานใหญ่ และพืน้ ที่ โครงการ ซึง่ ในระยะก่อนและระหว่างก่อสร้างนัน้ พนักงานขององค์กรบางส่วนและพนักงานของบริษทั ผูร้ บั เหมาต้องเผชิญกับความเสีย่ งด้านสุขภาพ และอุบตั เิ หตุทอ่ี าจเกิดขึน้ ทัง้ ก่อนและระหว่างการก่อสร้าง ซึง่ บริษทั ได้ถอื ว่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานเป็นประเด็นความยัง่ ยืนทีม่ ี นัยสำ�คัญต่อองค์กรเป็นอย่างสูง ณ สิน้ ปี 2561 มีพนักงานได้รบั บาดเจ็บ จำ�นวน 21 คน และลาหยุดงานต่อเนือ่ งเกิน 3 วัน จำ�นวน 19 คน แต่ไม่มผี เู้ สียชีวติ จากการทำ�งานหรือเป็น โรคทีเ่ กิดจากการทำ�งาน

การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบตั ติ อ่ พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเป็นนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทยึดมั่น เนื่องจากองค์กรมีความเชื่อมั่นว่าบุคลากรแต่ละคน ต่างมีศักยภาพในตัวเองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน รวมไปถึงผู้พิการที่บริษัทได้ให้ความเชื่อมั่นด้วยการมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบงานของบริษัท ซึง่ บริษทั มีการดำ�เนินงานด้านการจ้างงานผู้พิการสูงกว่าที่กฎหมายกำ�หนดอยู่ที่ร้อยละ 1.03 (จำ�นวน 37 คน) โดยนอกจากการให้โอกาส ผ่านการจ้างงานแล้ว บริษัทยังจัดให้มกี ารอบรมและการทำ�กิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างคุณค่าและศักยภาพของพนักงานผู้พิการ และส่งเสริมการ ทำ�งานร่วมกันระหว่างพนักงานทุกคนตลอดทัง้ ปี 2561 ทัง้ นี้ บริษทั คำ�นึงว่าการให้โอกาสในการทำ�งานแก่ผู้พิการนี้เป็นเครื่องบ่งชี้การให้โอกาสแห่งความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบตั ปิ ระการหนึง่ ขององค์กร ซึ่งเป็นสิทธิด้านมนุษยชนที่คนทุกคนพึงมี และในปี 2561 ไม่บริษัทไม่พบกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

6 GREEN LPN

41


ผลการดำ�เนินงาน GREEN ENTERPRISE เพื่อให้มั่นใจว่าหลักในการบริหารจัดการให้ LPN เป็น “Green Enterprise” นั้นประสบความสำ�เร็จหรือได้ดำ�เนินไปตามที่ได้วางกรอบเอาไว้ บริษัทมีการติดตามการดำ�เนินงานและประเมินผลทั้งในเรื่องการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ซึ่งหมายรวมถึง กำ�กับดูแลกิจการและธรรมาภิบาล ความเสี่ยง รวมไปถึงการใส่ใจรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นที่มีนัยสำ�คัญต่อองค์กร และการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการดูแล บุคลากรในด้านต่างๆ ด้วยความเป็นธรรม โดยในปี 2561 มีแนวการบริหารจัดการและผลการดำ�เนินงาน ดังนี้

การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน การบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่สังคมนั้นถือเป็นหัวใจหลักของ 6 Green LPN ด้วยเป็นสิ่งที่จะต้องบูรณาการการดำ�เนินงานใน ทุกๆ ด้านขององค์กรเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Green Financial Management, Green Design Concept, Green Marketing Management, Green Construction Process, หรือ Green Community Management ซึง่ การบริหารจัดการเพือ่ ความยัง่ ยืนภายใต้แนวคิด Green Enterprise นี้ ครอบคลุมการดำ�เนินงานในเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการขององค์กร ทีม่ งุ่ เน้นการเป็นองค์กรทีม่ ธี รรมาภิบาลและเป็นบรรษัทพลเมืองทีด่ ขี องสังคม

การบริหารความเสี่ยง ในทุกกระบวนการของการดำ�เนินธุรกิจย่อมสามารถเกิดโอกาสและความเสี่ยงได้อยู่เสมอ บริษัทจึงต้องมีขั้นตอนและมาตรฐานที่รัดกุมในการ ประเมินและระแวดระวังความเสี่ยงในมิติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในลักษณะการประกอบธุรกิจโดยทั่วไป ความเสี่ยงต่อการเกิด การทุจริตคอร์รัปชัน หรือความเสี่ยงเฉพาะด้านอย่างเรื่องความยั่งยืน ที่หากเกิดขึ้นแล้ว อาจนำ�มาซึ่งความเสียหายต่อองค์กร

การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ บริษัทดำ�เนินงานอยู่นี้ บริษัทตระหนักดีกว่าเราได้สร้างผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ อย่างมีนัยสำ�คัญ ซึ่งสองสิ่งนี้นับเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับมิติด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ บริษัทได้ดำ�เนินการเพื่อลดความเสี่ยงด้าน ความยั่งยืนดังกล่าวภายใต้หลักการ Green Construction Process ในด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกโครงการก่อสร้าง (ร้อยละ 100) ซึ่งการดำ�เนินงานเช่นนี้จะช่วยให้ บริษัทได้ทราบถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น อันมีผลต่อการดำ�เนินธุรกิจขององค์กรในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมแผนรองรับ การหาแนวทางป้องกันผลกระทบ หรือการแก้ไขเยียวยาในกรณีที่เกิดผลกระทบใดๆ ขึ้น นอกจากนี้ การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการดำ�เนินงานที่ลดความเสี่ยงทางความยั่งยืนที่อาจเกิดขึ้นและมีผลเชิงลบแก่บริษัทเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของชื่อเสียง ความเสี่ยง ต่อการถูกฟ้องร้อง ค่าปรับ ฯลฯ หากบริษัทละเลยหรือไม่มีการดำ�เนินงาน ในด้านชุมชน ภายใต้หลักการ Green Construction Process บริษัทได้ดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ ชุมชนโดยรอบอย่างเคร่งครัด ยึดหลักการมีการดำ�เนินงานอย่างระแวดระวัง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของฝุ่น น้ำ�ทิ้ง การจัดการบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ฯลฯ เพื่อไม่ให้เกิดความไม่สบายใจหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของชุมชน อันอาจนำ�ไปสู่การร้องเรียน ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงและ การดำ�เนินงานขององค์กร ทั้งนี้ บริษัทได้บรรจุความเสี่ยงเรื่อง “ความตื่นตัวต่อผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของธุรกิจ” เข้าไว้ในความเสี่ยงขององค์กรด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและควบคุมการดำ�เนินงานขององค์กรให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

42

IN PROCESS

ENTERPRISE - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การสอบทานการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน สำ�หรับการบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยทั่วไป ตามหลักการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน บริษัทได้สอบทานนโยบายการบริหาร ความเสีย่ ง และแนวทางการบริหารจัดการความเสีย่ งระดับองค์กรอยูเ่ สมอ เพือ่ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ โดยพิจารณาทัง้ จากปัจจัยภายใน ภายนอก และโอกาสทีจ่ ะเกิดผลกระทบ เพือ่ ให้แนวทางการบริหารความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร จะมี คณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นอิสระจากคณะกรรมการบริหาร ทำ�หน้าที่เสนอแนะแนวทาง ให้คำ�แนะนำ�กับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและ ตรวจสอบการบริหารความเสีย่ งให้สอดคล้องและสนับสนุนกลยุทธ์องค์กร การสอบทานและทบทวนระบบการควบคุมภายในร่วมกับผูส้ อบบัญชีได้ถกู ดำ�เนินการเป็นประจำ�ทุกไตรมาส โดยพิจารณาในเรือ่ งการดำ�เนินงาน การใช้ ทรัพยากร การดูแลทรัพย์สนิ การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหายหรือการทุจริต ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน การปฏิบัติ ตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ เพือ่ ให้ระบบการควบคุมภายในขององค์กรมีความเหมาะสมและรัดกุมเพียงพอ

การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

ในการดำ � เนิ น งานของการเป็ น ผูพ้ ฒ ั นาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องประสานและมีปฏิสัมพันธ์กับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนหลายส่วนงาน ซึ่งบริษัท ตระหนักดีวา่ ในทุกการดำ�เนินงาน นัน้ อาจมีความเสีย่ งต่อการเกิดการ ทุจริตคอร์รปั ชันขึน้ ได้

นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน บริษทั มีนโยบายในการต่อต้านการคอร์รปั ชันทุกรูปแบบ โดยได้ก�ำ หนดให้การดำ�เนินงานทุกกระบวนการไม่วา่ จะเป็นภายในหรือภายนอก อยู่ในขอบเขต ของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน และได้บรรจุเรื่อง “ความเสี่ยงต่อระบบราชการ” (Compliance Risk) เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนธุรกิจ และมีการติดตามธุรกรรมกับทางราชการอย่างสม่�ำ สมอ รวมไปถึงการชำ�ระภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน นอกจากความเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในทุกกระบวนการแล้ว ปัจจัยที่สำ�คัญคือการปลูกฝังให้บุคลากรไม่ทนต่อการทุจริตคอร์รัปชัน โดยได้ก�ำ หนดรือ่ ง “คุณธรรม” (Integrity) เป็นหนึง่ ในจรรณยาบรรณของบริษทั (Code of Conduct) ทีพ่ นักงานและผูบ้ ริหารทุกคนต้องยึดเป็นหลักใน การปฏิบตั งิ านอย่างเคร่งครัด พร้อมทัง้ มีการสือ่ สารผ่านการฝึกอบรมและสือ่ ภายในองค์กรเพือ่ สร้างความรับผิดชอบและคุณธรรม โดยบุคลากรทุกคน ต้องได้รบั ทราบแนวทางปฏิบตั ดิ า้ นการต่อต้านการคอร์รปั ชันและการอบรมเรือ่ งค่านิยมองค์กรดังกล่าว

6 GREEN LPN

43


นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทมีนโยบายในการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยได้กำ�หนดให้การดำ�เนินงานทุกกระบวนการไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก อยู่ใน ขอบเขตของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน และได้บรรจุเรื่อง “ความเสี่ยงต่อระบบราชการ” (Compliance Risk) เข้าเป็น ส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ และมีการติดตามธุรกรรมกับทางราชการอย่างสม่ำ�สมอ รวมไปถึงการชำ�ระภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน นอกจากความเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามกฎหมายในทุกกระบวนการแล้ว ปัจจัยที่สำ�คัญคือการปลูกฝังให้บุคลากรไม่ทนต่อการทุจริตคอร์รัปชัน โดยได้กำ�หนดรื่อง “คุณธรรม” (Integrity) เป็นหนึ่งในจรรณยาบรรณของบริษัท (Code of Conduct) ที่พนักงานและผู้บริหารทุกคนต้องยึดเป็นหลัก ในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีการสื่อสารผ่านการฝึกอบรมและสื่อภายในองค์กรเพื่อสร้างความรับผิดชอบและคุณธรรม โดยบุคลากร ทุกคนต้องได้รับทราบแนวทางปฏิบัติด้านการต่อต้านการคอร์รัปชันและการอบรมเรื่องค่านิยมองค์กรดังกล่าว

แนวทางในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามและการสื่อสารนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน บริษทั มีวธิ กี ารเพือ่ ให้พนักงานในองค์กรร่วมกันปฏิบตั ติ ามและมีสว่ นร่วมต่อนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยถือเป็นหน้าที่ของบุคลากร ทุกคน ผ่านวิธกี ารหลายช่องทางด้วยกัน เช่น

• บรรจุเป็นหลักสูตรของการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ โดยทุกครัง้ จะต้องมีการทดสอบความรูจ้ ริงหลังจากการอบรม • อบรมให้ความรูแ้ ก่พนักงานปัจจุบนั ทุกระดับ • กำ�หนดให้การประเมินความเสีย่ งด้านการคอร์รปั ชัน เป็นหนึง่ ในหัวข้อการประเมินผลการดำ�เนินงานทีเ่ กีย่ วข้อง • ทบทวนมาตรการต่อต้านการคอร์รปั ชันกับหน่วยราชการอย่างสม่�ำ เสมอ • สือ่ สารไปยังผูม้ สี ว่ นได้เสียกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงแนวนโยบายด้านการต่อต้านคอร์รัปชันของ แอล.พี.เอ็น. อย่างต่อเนื่อง เพือ่ ป้องกัน เหตุการณ์ทจุ ริตทีอ่ าจเกิดขึน้ ภายในองค์กร • พัฒนาเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยลดโอกาสในการเกิดคอร์รปั ชันผ่านสือ่ ต่างๆ อย่างเป็นลายลักษณ์อกั ษร อาทิ ระบบออนไลน์ ป้ายประกาศ หลักสูตร การอบรม ฯลฯ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส เปิดเผยและตรวจสอบได้ โดยจะเปิดเผยให้ทกุ คนในองค์กรได้รบั รู้ • จัดให้มชี อ่ งทางในการร้องเรียนเมือ่ พบเห็นการกระทำ�ทุจริต หรือการกระทำ�ผิดต่อระเบียบข้อบังคับ ในปี 2561 พนักงานใหม่ทั้งหมด 552 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานเข้าใหม่ ได้รับการปฐมนิเทศซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการต่อต้านการทุจริต และพนักงานปัจจุบัน จำ�นวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 18.44 ของพนักงานทั้งหมด ได้รับการอบรมในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านการต่อต้านการทุจริต เช่นกัน

18.44%

คือ ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการอบรม เรื่องการต่อต้านการทุจริตขององค์กร ในปี 2561

44

IN PROCESS

ENTERPRISE - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) โดยเป็นสมาชิกที่ได้รับการรับรองในระดับที่ 4 คือ ได้รับ Certified หรือได้ผ่านการตรวจสอบ เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระจากหน่วยงานภายนอก โดยมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่นในทุกกระบวนการทำ�งาน แบ่งการประเมินความเสี่ยงเป็น 4 ช่วงดังนี้ กระบวนการทำ�งาน

ระดับความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดทุจริต (ต่ำ�ไปสูง)

1. การซือ้ ทีด่ นิ 2. การเตรียมการสำ�หรับดำ�เนินโครงการ 3. การดำ�เนินการก่อสร้างพัฒนาโครงการ 4. การขอใช้อาคาร/จดทะเบียนอาคารชุดและพืน้ ทีส่ ว่ นกลาง จากผลการประเมินความเสี่ยง สำ�นักงานตรวจสอบภายในได้นำ�ผลการประเมินมาจัดทำ�แนวทางและแผนการดำ�เนินงาน เพื่อป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่นในทุกกระบวนการทำ�งาน (ร้อยละ 100)

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงาน บริษัทมีนโยบายเกี่ยวกับการรับฟังข้อร้องเรียนต่างๆ จากพนักงาน ทั้งในเรื่องการทุจริตและข้อร้องเรียนอื่นๆ โดยมีแนวปฏิบัติในการรักษา ความลับของผู้ให้ข้อมูลหรือผู้แจ้งข้อร้องเรียนตามกระบวนการคุ้มครองผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ พนักงานผู้แจ้งข้อร้องเรียน หรือเสนอความคิดเห็น เพื่อให้บริษัทดำ�เนินการแก้ไขหรือปรับปรุงการดำ�เนินงาน ในปี 2561 บริษัทได้รับข้อร้องเรียนจากพนักงานจำ�นวน 5 กรณี และเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับการทุจริต 2 กรณี ที่ได้แจ้งข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียนเข้ามาผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

1. แจ้งประธานกรรมการบริหารโดยตรง 2. แจ้งผ่าน Whatsapp ของประธานกรรมการบริหาร 3. ตูไ้ ปรษณียเ์ ฉพาะ ปณ. 21 4. กล่องรับข้อคิดเห็นในสำ�นักงาน (Suggestion Box) 5. แบบประเมินความผูกพันต่อองค์กร 6. ติดต่อฝ่ายพัฒนาองค์กร สำ�นักบริหารทรัพยากรมนุษย์

การจัดการกรณีทุจริตคอร์รัปชัน ในฐานะที่ บริษทั ยึดมัน่ ในการดำ�เนินงานอย่างมีธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม หากเกิดกรณีการทุจริตคอร์รปั ชันของพนักงานขึ้น บริษัทไม่รีรอที่จะดำ�เนินการอย่างเคร่งครัดโดยมีแนวทางจัดการและบทลงโทษที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในปี 2561 พบกรณีการกระทำ�ทุจริตคอร์รัปชัน และได้มีการลงโทษโดยการให้ออกและไล่ออกจากงาน จำ�นวน 2 ครั้ง รายละเอียด ดังนี้ พบการกระทำ�ทุจริตและมีการลงโทษ จำ�นวน

2 ครั้ง

6 GREEN LPN

• ทุจริตต่อนายจ้างหรือจงใจทำ�ให้บริษทั เกิดความเสียหาย • ทุจริตบันทึกค่าล่วงเวลาทำ�งาน (OT)

1 1

กรณี กรณี

45


การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการที่บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ไม่เพียงแต่จะทำ�ให้ การทำ�ธุรกิจร่วมกันนัน้ มีความราบรืน่ จนสามารถสร้างความสำ�เร็จร่วมกันได้เท่านัน้ แต่ในยาม ที่เกิดวิกฤตก็จะสามารถจับมือเพือ่ ผนึกเป็นกำ�ลังทีแ่ ข็งแกร่งจนฟันฝ่าวิกฤตนัน้ ไปได้ ซึ่งการ ที่องค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งในที่นี้หมายถึงคู่ค้า ยังคงสามารถดำ�เนินธุรกิจในสังคมได้ อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเรื่องที่บ่งชี้ว่าการดำ�เนินธุรกิจขององค์กรสามารถสร้างความยั่งยืน ในสังคมได้อย่างแท้จริงอันจะเห็นได้จากการที่บริษัทได้เผชิญวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 และสามารถผ่านพ้นสถานการณ์มาได้ เหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้น นอกจากตัวตนและค่านิยมขององค์กรอันแข็งแกร่ง ของ LPN ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุมแล้ว การมีคู่ค้าที่ดีได้รับความ ร่วมมือร่วมใจและเกื้อกูลกันในยามที่ประสบปัญหา ยังเป็นจุดพลิกผันสำ�คัญที่ทำ�ให้บริษัท ฝ่าฟันวิกฤตสามารถประสบความสำ�เร็จได้จนทุกวันนี้ กว่า 20 ปีที่ “คู่ค้า” ของบริษัทได้ถูกพัฒนามาเป็น “พันธมิตร” หลังจากนั้นได้กลายมา เป็น “ปิยมิตร” และปัจจุบันกำ�หนดให้เป็น “LPN Team” เพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนา ธุรกิจและเติบโตร่วมกัน มีระบบการทำ�งานที่เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ทำ�ให้ทุกกระบวนการทำ�งานตลอดแนวห่วงโซ่อุปทานของบริษัท เกิดความร่วมมือร่วมใจ ระหว่างกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานขององค์กร บริษัทตระหนักดีว่าธุรกิจที่มีลักษณะห่วงโซ่อุปทานเช่นนี้จะต้องสร้างคุณค่าร่วมกัน ประสบ ความสำ�เร็จร่วมกัน ผลประกอบการจากการดำ�เนินธุรกิจมิได้เป็นเครื่องยืนยันว่าธุรกิจจะ อยู่รอดได้หากเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นอีก แต่ความรับผิดชอบและการสร้างความผูกพันร่วมกัน อย่างเหนียวแน่นเพื่อทำ�ให้ “ปิยมิตร” ดำ�เนินธุรกิจได้ จะเป็นเครื่องชี้วัดว่าบริษัทก็สามารถ ดำ�รงการดำ�เนินธุรกิจอยู่ได้ เพื่อความเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

46

IN PROCESS

ENTERPRISE - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


กระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัท

MUNICATE M O

L

ENT

GE

C

IMP

EM

SS ASSE

MUNICATE COM

MEASU RE

COMMIT

ENG

A

บริษัทมีการสื่อสารและรายงานข้อมูลผ่านระหว่างบุคลากร ของบริษัทและบุคลากรของ LPN Team ตลอดกระบวนการ ทำ�งานในลักษณะของการสื่อสารแบบสองทาง (Two-Way Communication) ผ่านช่องทาง WhatsApp อย่างสม่ำ�เสมอ ส่งผลให้ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรที่มีส่วนร่วมสามารถ แสดงความเห็นร่วมกัน ทันต่อเหตุการณ์ เกิดการเรียนรู้ ส่งผล ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ�งาน

ระดับความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดทุจริต (ต่ำ� - สูง)

COMMIT

LPN จัดทำ�แผนธุรกิจของบริษทั

ASSESS

LPN และ LPN Team ประชุมเพือ่ • รับทราบแผนงานและกำ�หนดเป้าหมายร่วมกัน • รับฟังความคิดเห็นและความคาดหวังของกันและกัน • ระบุและพิจารณาผลกระทบทีอ่ าจเกิดระหว่างการทำ�งานร่วมกัน • วางแผนป้องกันความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้

ENGAGE

การมีสว่ นร่วมของ LPN และ LPN Team ในการพัฒนาแต่ละโครงการ

IMPLEMENT

LPN และ LPN Team ปฏิบตั ติ ามแผนงานทีก่ �ำ หนดไว้

MEASURE

LPN และ LPN Team จัดให้มกี ารประชุมรายเดือน • ติดตามงาน ประเมินผล และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เพื่อปรับปรุงการดำ�เนินงาน หรือปรับแผนการดำ�เนินงาน ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ตา่ งๆ ทีอ่ าจเปลีย่ นแปลงไป อันจะนำ�ไปสูก่ ารเพิม่ ประสิทธิภาพการทำ�งานตลอด ห่วงโซ่อปุ ทาน

6 GREEN LPN

47


GREEN FINANCIAL MANAGEMENT

การกำ�หนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กรให้เหมาะสม

คือ การกำ�หนดเป้าหมายการทำ�ธุรกิจที่มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน มีผลกำ�ไรที่เติบโต อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และนำ�ผลตอบแทนนั้นไปกระจายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในทุกกระบวนการพัฒนาโครงการอย่างสมดุล โดยการบริหารจัดการอัตราส่วนทางการเงิน และค่าใช้จ่ายของบริษัทและบริษัทย่อยให้เหมาะสมกับเป้าหมายรายได้และแผนธุรกิจของ องค์กร นับตัง้ แต่การกำ�หนดนโยบายปันผลกำ�ไรสุทธิในอัตราไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 50 แก่ผถู้ อื หุ้น การให้ผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมกับผูบ้ ริหารและพนักงาน การกำ�หนดราคาขายห้องชุดให้ถูกกว่า คู่แข่งเพื่อคืนกำ�ไรให้กับลูกค้า รวมทั้งการกำ�หนดงบประมาณสำ�หรับการดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมในกระบวนการก่อสร้างให้เป็นสัดส่วนตามงบประมาณโครงการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำ�งบการเงินที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และจัดทำ�เอกสารเพื่อสื่อสาร ผลประกอบการไปยังผู้ถือหุ้นในทุกไตรมาส เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และให้ความสำ�คัญกับ การมีวินัยทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน

Accountability Financial Statement บริษัทตระหนักถึงความสำ�คัญในความถูกต้องและโปร่งใสของงบการเงิน จึงจัดให้มรี ะบบ ควบคุมภายในทีเ่ หมาะสมและมีประสิทธิภาพ จัดให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลทีส่ �ำ คัญอย่างเพียงพอ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน พร้อมทั้งคำ�อธิบายและการวิเคราะห์ เพื่อให้ความมัน่ ใจ ว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นและ นักลงทุนในการใช้งบการเงิน ตามหลักการของ Accountability Financial Statement อันได้แก่

48

IN PROCESS

FINANCIAL - กลยุทธ์

SD Report


1. ความโปร่งใส (Transparency)

4. สอบวัดได้ (Measurable)

บริษทั มีนโยบายการจัดการด้านการเงินอย่างโปร่งใสภายใต้หลักการ กำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี โดยจัดให้มรี ะบบควบคุมภายในทีเ่ หมาะสมและ มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระจำ�นวน 4 ท่าน โดยมี กรรมการตรวจสอบจำ�นวน 3 ท่าน ที่มีความรู้และประสบการณ์ใน ด้านบัญชี-การเงิน ทำ�หน้าที่สอบทานนโยบายการบัญชีและตรวจ สอบคุณภาพของรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบการควบคุม ภายใน ซึง่ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบจะปรากฏในแบบ รายงาน 56-1 และรายงานประจำ�ปี

เพื่อการสร้างมาตรฐานของการตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส และเปิดเผย ที่จะเป็นผลต่อความยั่งยืนของบริษัท การรายงาน ทางการเงินของบริษัท จะเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงินภายใต้พระราชบัญญัตวิ ชิ าชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และแสดง รายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 เรื่องกำ�หนดรายการย่อที่ต้องมีใน งบการเงิน พ.ศ. 2554 และตามข้อกำ�หนดของคณะกรรมการกำ�กับ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ว่ า ด้ ว ยการจั ด ทำ � และนำ � เสนอ รายงานทางการเงิ น ภายใต้ พ ระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

2. การตรวจสอบอย่างสมํ่าเสมอ (Auditability) คณะกรรมการบริษทั ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อกำ�กับ ดูแลและตรวจสอบการดำ�เนินงาน รวมถึงสอบทานแผนการตรวจสอบ ประจำ�ปี และแผนการตรวจสอบระยะยาว โดยเน้นให้สุ่มสอบทาน เกี่ยวกับรายการในงบการเงิน โดยมีการพิจารณาผลการสอบทาน ทุกฉบับเป็นรายไตรมาส และให้ติดตามแก้ไขในประเด็นที่สำ�คัญ โดยเร็ว คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทมีระบบการ ตรวจสอบภายในทีเ่ พียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล รวมทั้ง สนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพงานตรวจสอบในด้านบุคลากร และการปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลอย่าง ต่อเนื่อง

3. การเปิดเผย (Disclosure) ไม่มีวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) บริษัทเปิดเผยข้อมูลที่สำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน พร้อมทั้งคำ�อธิบายและการวิเคราะห์ เพื่อให้ความ มั่นใจว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วน เพื่อ ประโยชน์สูงสุดของผู้ ถื อ หุ้ น และนั ก ลงทุ น ในการใช้ ง บการเงิน โดยเฉพาะการเปิดเผยและรายงานราคาที่ดินทุกแปลงที่ได้ทำ�การ ซื้อขายแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

6 GREEN LPN

5. มีวินัย (Discipline) การบริหารจัดการทางการเงินของบริษัท เป็นไปอย่างมีวินัยและ ได้รับการตรวจสอบตลอดเวลา มีการควบคุมการลงทุน ไม่นำ� เงินทุนของบริษัทไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีความถนัด ไม่นำ�เงิน ทุ น ไปลงทุ น ในกิ จ กรรมที่ มี ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ข อง บริษัท และการรักษาระดับทุนหมุนเวียนในบริษัทให้เพียงพอต่อ การจ่ายเงินตอบแทนการทำ�งานให้แก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งหมด

6. ความเสี่ยงทางการเงิน (Risk Management) บริษัททำ�การลงทุนหรือดำ�เนินงานทางการเงินโดยมองความเสี่ยง เป็นสำ�คัญ ไม่ลงทุนโดยการกู้ยืมจนเกินกำ�ลัง แต่ลงทุนด้วย ทรัพยากรที่มีและองค์ความรู้เป็นหลัก รักษาระดับสัดส่วนหนี้ต่อ ทุนไม่เกิน 1 : 1 และมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการความเสี่ยง อย่างสม่ำ�เสมอ

49


Green Financial Management Standard Checklist ของ LPN นอกจากหลักการ Accountability Financial Statement แล้ว บริษัทยังได้พัฒนารายการตรวจสอบ (Checklist) สำ�หรับมาตรฐานการจัดการ ทางการเงินสีเขียว หรือ Green Financial Management ขององค์กรเอง ซึ่ง Checklist ดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นโดยสายงานบริหารการเงิน ในปี 2560 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการ ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และ มีระบบควบคุมภายในที่ดีมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีการจัดสรรผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม เพราะเป้าหมาย ที่ส�ำ คัญในการดำ�เนินธุรกิจ คือ ผลตอบแทนและผลกำ�ไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องวางแผนและกำ�หนดกลยุทธ์ ในการบริหารการเงิน ให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ปี 2561 มีการปรับปรุง Green Financial Management Standard Checklist ซึ่งจากเดิมมีหัวข้อ จำ�นวน 28 ข้อ ปรับลดเหลือ 13 ข้อ โดยยังคง มาตรฐานหลักทั้ง 4 มาตรฐานไว้เช่นเดิม เพื่อให้มีความครอบคลุม กระชับ และเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจากการประเมินตนเอง (Self-Assessment) พบว่าองค์กรมีการดำ�เนินงานครบตาม Checklist ที่ได้กำ�หนดไว้ตามแต่ละมาตรฐานมีดังนี้

• Green Financial Management Standard Checklist

มาตรฐานที่ 1

จำ�นวน 3 ข้อ • ด้านเป้าหมาย กำ�หนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กร อย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ 2

มาตรฐานที่ 3

มาตรฐานที่ 4

จำ�นวน 3 ข้อ • ด้านการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล

50

IN PROCESS

จำ�นวน 4 ข้อ • ความสมดุลของผลตอบแทน สร้างสมดุลของผลตอบแทน หรือ กำ�ไรในการดำ�เนินงานที่พอประมาณ และต่อเนื่องบนพื้นฐาน ของการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการแบ่งปันผลตอบแทนไป สู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (จำ�นวน 4 ข้อ)

จำ�นวน 3 ข้อ • ด้านงบการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลบริหารงบการเงิน และภาษี ทีถ่ กู ต้องเชือ่ ถือได้ เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

FINANCIAL - กลยุทธ์

SD Report


6 GREEN LPN

51


ผลการดำ�เนินงาน

GREEN FINANCIAL MANAGEMENT • ผลการดำ�เนินงานด้านการกำ�หนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กรให้เหมาะสม % ของ % ของ ปี 2559 ปี 2560 รายการ รายได้รวม

รายได้รวม

ปี 2561

% ของ

รายได้รวม

มูลค่าทางเศรษฐกิจทีส่ ร้างขึน้ รวมรายได้จากการขายและบริการ 14,601,520,851.04 99.66% 9,612,852,073.13 99.56% 11,252,248,898.64

รายได้จากการลงทุนทางการเงิน รายได้จากยอดขายสินทรัพย์ รายได้อื่นๆ

1 รวมรายได้

99.56% 7,398,988.69 0.08% 7,622,988.25 0.07% 6,927,704.80 0.05% 5,216,508.78 0.05% 11,768,402.02 0.10% 2,206,004.35 0.02% 29,671,336.37 0.31% 30,252,224.74 0.27% 39,980,838.63 0.27% 14,650,635,398.82 100.00% 9,655,138,906.97 100.00% 11,301,892,513.65 100.00%

มูลค่าทางเศรษฐกิจทีแ่ จกจ่าย 8,496,746,139.07 688,269,779.22 1,036,884,015.51 716,523,949.43 24,481,551.07

75.18% 6.09% 9.17% 6.34% 0.22%

2 รวมรายจ่ายและเงินปันผล 13,939,785,775.55 95.15% 9,898,134,045.41 102.52% 10,962,905,434.30

97.00%

ค่าดำ�เนินงาน

ค่าจ้างและสวัสดิการพนักงาน เงินที่ชำ�ระแก่เจ้าของเงินทุน เงินที่ชำ�ระแก่รัฐ การลงทุนในชุมชน

1 - 2 มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม

710,849,623.27

0.22% เง�นที่ชำระแก รัฐ 6.34% เง�นที่ชำระแก เจ าของเง�นทุน 9.17% การลงทุนในชุมชน

ค าจ างและ สวัสดิการ พนักงาน

6.09%

73.37% 7,406,780,916.57 76.71% 4.50% 569,176,975.92 5.90% 10.04% 1,304,823,758.46 13.51% 7.00% 597,061,378.11 6.18% 20,291,016.35 0.21% 0.24%

10,749,536,733.83 658,613,293.35 1,471,176,658.15 1,025,794,953.12 34,664,137.10

-242,995,138.44

4.85%

มูลค าทาง เศรษฐกิจสะสม

การกระจาย มูลค า ทางเศรษฐกิจ

-2.52%

3.00%

338,987,079.35

3.00%

ค าดำเนินงาน

75.18%

การลงทุนในชุมชน

24.48 ล้านบาท

52

IN PROCESS

FINANCIAL - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


สำ�หรับการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน บริษัท ได้ดำ�เนินการบริหารการเงินอย่างจริงจัง ทั้งเรื่องความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การรายงานและเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณะ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งก่ อ นรอบเวลาที่ กำ � หนดในฐานะที่ เ ป็ น บริ ษั ท จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และได้กำ�หนดกรอบของการบริหาร จัดการทางการเงินที่ให้ความสำ�คัญกับวินยั ทางการเงิน โดยมีตัวชี้วัด หรือ Indicator เพื่อให้ทราบสถานะและติดตามผลการดำ�เนินงาน ของบริษัท ทั้งยังเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมการดำ�เนินกิจการ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อ การเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง และสร้างผลกำ�ไรจากระบบงาน ที่มีประสิทธิภาพ โดยได้เปิดเผยผลการดำ�เนินงานทั้งหมดอย่าง ละเอียดไว้ในรายงานประจำ�ปีของบริษัท ซึ่งรวมไปถึงตัวชี้วัดหลัก ที่มีส่วนสนับสนุนการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน ได้แก่

ตัวชี้วัดที่บริษัทกำ�หนด (Indicators) 1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) คือ อัตราส่วนที่นำ�หนี้สินรวมหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ ทุนจดทะเบียน โดยอัตราส่วนนี้จะแสดงถึงโครงสร้างเงินทุนของ กิจการว่า สินทรัพย์ของกิจการมาจากการกู้ยืมหรือมาจากทุน ซึง่ หากอัตราส่วนนีอ้ ยู่ในเกณฑ์ทส่ี งู ย่อมแสดงถึงความเสีย่ งที่กิจการจะ ไม่สามารถชำ�ระดอกเบี้ยได้ตามกำ�หนด เนื่องจากหนี้สินที่มากจะ ทำ�ให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องชำ�ระดอกเบี้ยทุกงวด ไม่ว่าจะอยู่ ในสภาวการณ์กำ�ไรหรือขาดทุน แต่หากอัตราส่วนนี้อยู่ในเกณฑ์ ที่ต่ำ�ก็จะแสดงให้เห็นถึงการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือทุนในการ ลงทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตและการแข่งขันในอุตสาหกรรม บริษัทได้กำ�หนดอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ในอัตรา 1 ต่อ 1 ถือเป็นเพดานในการบริหารการเติบโตและการดำ�เนินงาน ของบริษัท การเติบโตจะเกิดจากการกู้ในปริมาณที่สามารถชำ�ระ ดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากนโยบายและการปฏิบัติในข้อนี้ อาจทำ�ให้บริษทั ดูเติบโตอย่าง ไม่หวือหวา แต่กเ็ ป็นข้อบ่งชีท้ ส่ี ร้างความมัน่ ใจให้แก่ผมู้ สี ว่ นได้เสียถึง ความยัง่ ยืนและมัน่ คงของกิจการได้

6 GREEN LPN

2. กำ�ไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) คือ สัดส่วนของกำ�ไรขั้นต้นกับยอดขายสุทธิของกิจการ อันเป็น ตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของการประกอบกิจการในด้านการสร้าง ผลกำ�ไรและการบริหารต้นทุน โดยกิจการทีม่ อี ตั รากำ�ไรขัน้ ต้นทีด่ จี ะ แสดงถึงความสามารถในการสร้างยอดขายทีม่ ากทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับ ต้นทุนที่ใช้ไปในการขาย อย่างไรก็ตาม อัตรากำ�ไรขั้นต้นไม่ควร สูงจนเกินไป เพราะอาจหมายถึงการเอาเปรียบลูกค้า พนักงาน คู่ค้า รวมถึงการไม่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งขัด ต่อนโยบายการสร้างสมดุลของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่บริษัทได้ กำ�หนดไว้ บริษทั ได้ก�ำ หนดกรอบและเป้าหมายของอัตรากำ�ไรขัน้ ต้นทีเ่ หมาะสม ต่อการดำ�เนินงาน โดยมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม เพือ่ ใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของการประกอบกิจการ

3. อัตราส่วนเงินปันผลต่อกำ�ไรสุทธิ (Dividend per Net Profit Ratio) คือ สัดส่วนของกำ�ไรสุทธิจากผลการดำ�เนินงานของบริษทั ในแต่ละปี เพือ่ ที่จะนำ�ไปจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะแสดงถึงผลกำ�ไร ที่เกิดขึ้นกับการลงทุนในบริษัท โดยบริษัทจะนำ�เสนอต่อที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปีเพื่อขออนุมัติการจ่ายเงินปันผลต่อไป โดย ดัชนีชี้วัดในเรื่องนี้แสดงถึงประสิทธิภาพการดำ�เนินงานของบริษัท อย่างแท้จริง บริษัทได้กำ�หนดเป้าหมายของกำ�ไรสุทธิต่อหุ้นและการปันผล ในจำ�นวนและอัตราส่วนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น เพื่อการลงทุนและ ขยายตัวของธุรกิจอย่างต่อเนือ่ ง สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้ ทั้งยังสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้นถึงการสร้างผลตอบแทนที่ดี อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนสืบไป

53


GREEN DESIGN CONCEPT

การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม Green Design Concept คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม บริษัทให้ความสำ�คัญกับการออกแบบและพัฒนาโครงการ ตั้งแต่แนวคิดการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และวางผังโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็น แนวทางที่บริษัทพัฒนาขึ้นและสอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ของสหรัฐอเมริกา (LEED : The Leadership in Energy and Environmental Design) โดย Green Design Concept มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. Strategic Location 2. LPN Green Project 3. Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านนํ้าสีคราม) และในปี 2561 บริษทั ได้น�ำ เกณฑ์การประเมินความยัง่ ยืน TREES ของสถาบันอาคารเขียวไทย มาร่วมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเรา

1. Strategic Location คือ การเลือกทำ�เลเชิงกลยุทธ์ที่มีคู่แข่งน้อยแต่มีศักยภาพในการพัฒนา และอยู่ใกล้ สิ่งอำ�นวยความสะดวก ระบบขนส่งมวลชนและทางด่วน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการ ลดปริมาณการจราจร และการใช้พลังงานทางตรงจาก การใช้ยานพาหนะในการเดินทาง

2. LPN Green Project คือ การกำ�หนดแนวทางการออกแบบและวางผังโครงการภายใต้แนวคิด “LPN Green Project” ซึง่ บริษัทได้นำ�เสนอออกสู่สาธารณชน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีใน ด้านยอดขาย อย่างไรก็ตาม แม้ “LPN Green Project” จะเป็นแนวคิดที่พัฒนาจากเกณฑ์ อาคารเขียวของสหรัฐ (LEED) แต่บริษัทได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และตอบสนองต่อการประกอบธุรกิจ โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่

54

IN PROCESS

DESIGN CONCEPT - กลยุทธ์

SD Report


พัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable Site Development) คือ การลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมในการพัฒนาโครงการ โดยการเลือกที่ตั้งโครงการ ในบริเวณที่มีความหนาแน่นสูง มีสิ่งอำ�นวยความสะดวกครบครันในบริเวณใกล้เคียง ตั้งอยู่บนถนนใหญ่ที่มีการคมนาคมสะดวก ใกล้ทางด่วน และมีระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร และร่วมสนับสนุนให้ผู้พักอาศัยหันมาใช้ระบบขนส่ง มวลชนมากขึ้น ด้วยการจัดระบบขนส่งมวลชนภายในโครงการ (Shuttle Bus) เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ รวมถึงชดเชยพืน้ ที่โล่งเดิมด้วยพื้นที่สีเขียว และภูมิทัศน์ในโครงการ

การใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Water Efficiency) ได้แก่ การเลือกสุขภัณฑ์ประหยัดนํ้าเพื่อการใช้นํ้าที่มีประสิทธิภาพ เช่น โถสุขภัณฑ์ แบบ Dual Flush ซึ่งสามารถลดการใช้นํ้าลงถึงร้อยละ 50 รณรงค์ ให้ผู้พักอาศัย อาบนา้ํ ด้วยฝักบัวแทนการใช้อา่ งอาบนํา้ เพือ่ ลดปริมาณการใช้นา้ํ โดยตรง และการนำ� นา้ํ เสียทีผ่ า่ นการบำ�บัดมารดนํา้ ต้นไม้ภายในโครงการ ซึง่ เป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพของ การใช้น�ำ้ และยังเป็นการลดการระบายน้ำ�จากโครงการลงสู่ระบบระบายน้ำ�สาธารณะ รวมทั้งติดตั้งระบบการรดน้ำ�ต้นไม้ภายในโครงการที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบ น้ำ�หยดเพื่อลดการสูญเสียน้ำ�

สร้างสิง่ แวดล้อมภายในอาคารทีม่ คี ณ ุ ภาพ กับผูพ ้ กั อาศัย (Indoor Environment Quality) โดยเน้นประสิทธิภาพการบริหารชุมชนทีย่ ง่ั ยืนด้วยกลยุทธ์ F-B-L-E-S+P ได้แก่ การ บริหารระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำ�นวยความสะดวกภายในโครงการ การบริห าร การเงินและงบประมาณ การเสริมสร้างวินัยและวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยร่วมกัน การรักษาสภาพแวดล้อมภายในชุมชน รวมทัง้ การใช้พลังงานอย่างเหมาะสม การบริหาร ระบบรักษาความปลอดภัยและมาตรการในด้านต่างๆ อย่างเข้มข้น และการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานบริหารชุมชน

6 GREEN LPN

55


การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) ด้วยการออกแบบห้องชุดให้มีกันสาดและระเบียงเพื่อลดปริมาณความร้อนที่มากับ แสงแดดที่ส่งผ่านเข้ามาภายในห้องชุดโดยตรง ออกแบบระบบแสงสว่างและระบบ ปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการใช้งาน ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ส�ำ หรับดวงโคมแสงสว่างในบริเวณสวน และได้มกี ารบรรจุบทบาท หน้าที่ให้ฝ่ายบริหารชุมชน บริหารการใช้พลังงานภายในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพ โดยคำ�นึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยควบคู่กันไป

นวัตกรรมจากการออกแบบ (Innovation in Design) ได้แก่ การวางผังอาคารและโครงการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยพึ่งพาแสง และลมจากธรรมชาติ ทำ�การวางผังและออกแบบช่องเปิดของห้องชุด ทั้งประตูและ หน้าต่าง ให้สอดคล้องกับการอยู่อาศัย และร่นระยะเวลาการก่อสร้างด้วยระบบ Semi Prefabrication System

การใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างประหยัด และเหมาะสม (Material and Resources) โดยการเลือกใช้วสั ดุทดแทนทีพ่ สิ จู น์แล้วว่ามีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม แทนวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เพื่อลดการทำ�ลายสภาวะแวดล้อม เช่น การใช้พื้นไม้ ลามิเนตแทนการใช้พื้นปาร์เก้ไม้จริง การออกแบบให้มิตติ า่ งๆ ของอาคารสอดคล้อง กับมิติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ และลดเศษวัสดุ ซึง่ เป็นขยะที่ต้องทิ้งกลับสู่สภาพแวดล้อม ผนังกั้นห้องภายในห้องชุดใช้กระจกลายฝ้า แทนผนังทึบ เพือ่ รับแสงสว่างจากธรรมชาติ และยังคงมีความเป็นส่วนตัวควบคูก่ นั ไป กระจก ภายนอกด้านทิศตะวันตก เลือกใช้กระจก Insulated Glass เพื่อลดความร้อนที่มา พร้อมกับแสงแดดในช่วงบ่ายซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงที่สุดในรอบวัน การออกแบบให้ มี Green Wall ในส่วนผนังของที่จอดรถยนต์ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ ความร้อนเข้าสู่ส่วนพักอาศัยและบริเวณโดยรอบ การบริหารจัดการขยะโดยกำ�หนดให้ มีการคัดแยกขยะและการจัดเก็บอย่างเหมาะสม ทัง้ ในช่วงของการก่อสร้างและช่วงภายหลัง เมือ่ มีผู้เข้าพักอาศัยแล้ว

56

IN PROCESS

DESIGN CONCEPT - กลยุทธ์

SD Report


3. Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านนํ้าสีคราม) คือ การหลีกเลี่ยงทำ�เลที่มีคู่แข่งจำ�นวนมาก ราคาที่ดินสูง เพื่อลดต้นทุนและสามารถ พัฒนาโครงการที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง โดยเพิ่ม คุณค่าด้วยการจัดรถรับส่งเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งมวลชน การจัดให้มีสิ่งอำ�นวย ความสะดวกที่ครบครันในโครงการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ร้านซักรีด ร้านอาหาร และการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางให้เหมาะกับวิถีชีวิตของผู้พักอาศัย เพื่อส่งเสริมการใช้พื้นที่ส่วนกลางและสร้างชุมชนที่ดี

6 GREEN LPN

57


ผลการดำ�เนินงาน

GREEN DESIGN CONCEPT การออกแบบคอนโดมิเนียมสีเขียว บริษัทให้ความสำ�คัญกับการออกแบบและพัฒนาโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่แนวคิดการออกแบบและวางผังโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสภาวะน่าสบายและคุณภาพชีวิต รวมทั้งต้องประหยัดพลังงาน ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางทีบ่ ริษทั พัฒนาขึน้ จากแนวคิดสถาปัตยกรรม เพื่อความยั่งยืน ที่ให้ความสำ�คัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นที่การสร้าง สภาพแวดล้อมที่ดีสำ�หรับการอยู่อาศัยให้กับผู้อยู่อาศัยทุกวัย ตามแนวทางการสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” จากแนวคิดดังกล่าว จึงนำ�มาสูก่ ารพัฒนา Green Design Concept Standard ในปี 2557 และพัฒนาต่อยอดมาตรฐานดังกล่าวให้มคี วามเข้มข้น มากขึน้ ตามเทคโนโลยีและความสามารถของทีมนักออกแบบ และเพือ่ ให้สอดรับกับปัญหาสิง่ แวดล้อมทีท่ วีความรุนแรง และเพือ่ ยกระดับมาตรฐาน การออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท โดยตั้งเป้าหมายการดำ�เนินงานด้านการออกแบบคอนโดมิเนียมสีเขียว ไว้ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

• Green Design Concept Standard Checklist มาตรฐานการออกแบบคอนโดมิเนียมสีเขียวมีประเด็นในการพิจารณาทั้งหมด 9 หมวด ซึ่งแต่ละหมวดมีหัวข้อย่อยดังนี้

หมวดที่ 1

หมวดที่ 2

14 ข้อ

หมวดที่ 3

• ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม

• การประหยัดนํ้า

• พลังงานและบรรยากาศ

หมวดที่ 4

3 ข้อ • วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง

หมวดที่ 5

3 ข้อ • คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายใน อาคาร (พื้นที่ส่วนกลาง)

หมวดที่ 6

หมวดที่ 7

หมวดที่ 8

หมวดที่ 9

• การออกแบบเพื่อคนทุกวัย (พื้นที่ส่วนกลาง)

58

8 ข้อ

28 ข้อ

14 ข้อ

• การออกแบบเพื่อคนทุกวัย (ภายในห้องชุด)

IN PROCESS

7 ข้อ

3 ข้อ • คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายใน อาคาร (ภายในห้องชุด) 6 ข้อ • Innovation (เฉพาะ Signature Green Project)

DESIGN CONCEPT - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


หมวดที่ 1 ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม (8 ข้อ) เน้นด้านที่ตั้งโครงการทีส่ ามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้โดยง่าย เข้าถึงแหล่งอำ�นวยความสะดวกได้ในระยะเดินถึง มีพน้ื ทีส่ เี ขียวในอาคารจอดรถ มีการจัดการน้ำ�ฝนไหลล้น มีที่จอดจักรยานและที่จอดสำ�หรับรถยนต์ประสิทธิภาพสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

หมวดที่ 2 การประหยัดนํ้า (14 ข้อ) เน้นด้านการลดการใช้น้ำ�ในพื้นที่สีเขียว เช่น เลือกพืชพันธุ์พื้นถิ่นที่ทนแล้ว จำ�กัดพื้นที่สนามหญ้าที่ใช้น้ำ�มาก มีระบบรดน้ำ�ต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการใช้น้ำ�ในอาคารด้วยการเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่มีฉลากประหยัดน้ำ� มีการจัดการน้ำ�เสียภายในโครงการก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ เป็นต้น

หมวดที่ 3 พลังงานและบรรยากาศ (7 ข้อ) เป็นการลดการใช้พลังงานในอาคาร กำ�หนดให้มีการทำ� Environmental Analysis (Building Orientation and ventilation) ตั้งแต่ขั้นตอนการวาง ทิศทางอาคาร ไปจนถึงการเลือกใช้หลอดไฟ อุปกรณ์ ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำ�ความเย็นที่ไม่ทำ�ลายชั้นบรรยากาศ

หมวดที่ 4 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง (3 ข้อ) ให้ความสำ�คัญกับการใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศเพื่อลดการขนส่ง เลือกใช้วัสดุที่ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อม เลือกใช้สีและสารเคลือบที่มีสารพิษต่ำ� เป็นต้น

หมวดที่ 5 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร พื้นที่ส่วนกลาง (3 ข้อ) หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร ภายในห้องชุด (3 ข้อ) ออกแบบช่องเปิดให้มีแสงธรรมชาติเข้าถึงและมองเห็นวิวที่มีคุณภาพ รวมถึงปริมาณการระบายอากาศผ่านข้อกฏหมาย

หมวดที่ 7 การออกแบบเพื่อคนทุกวัย ในพื้นที่ส่วนกลาง (28 ข้อ) ออกแบบช่องเปิดให้มีแสงธรรมชาติเข้าถึงและมองเห็นวิวที่มีคุณภาพ รวมถึงปริมาณการระบายอากาศผ่านข้อกฏหมาย

หมวดที่ 8 การออกแบบเพื่อคนทุกวัย ในห้องชุด (14 ข้อ) เป็นมาตรฐานการออกแบบโครงการให้สะดวกและปลอดภัยในการใช้งานสำ�หรับเด็ก คนชรา ผู้พิการ และคนทั่วไป ลดอุบัติเหตุ รวมถึงมีอุปกรณ์ แจ้งเหตุฉุกเฉินตามจุดสำ�คัญ

หมวดที่ 9 นวัตกรรม (5 ข้อ) สำ�หรับโครงการที่เป็น Signature Green จะสามารถเลือกทำ�คะแนนเพิ่มเติมในหมวดนี้ได้ โดยเป็นการเพิ่มวัสดุอาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเลือกใช้พลังงานทดแทน ในปี 2561 บริษัทที่ปรึกษาได้ดำ�เนินการตรวจมาตรฐานการออกแบบตาม Green Design Concept Standard ทั้งสิ้น 7 โครงการ ได้แก่ 1. ลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 76-แบริ่ง สเตชั่น (2) 2. ลุมพินี เพลส รัชดา-สาธุ 3. ลุมพินี พาร์ค พหล 32 4. ลุมพินี เพลส พระราม3-ริเวอร์ไรน์ 5. ลุมพินี เพลส สุขสวัสดิ์-พระราม 2 6. ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจักร 7. ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร-สะพานควาย

โดยตั้งเป้าหมายให้ดำ�เนินการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานไม่น้อยกว่า 80%

6 GREEN LPN

59


GREEN MARKETING MANAGEMENT

การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง

GREEN Marketing Management คือ การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง บริษัท กำ�หนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับปณิธานในการสร้างบ้านหลังแรกที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ให้กับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงกลาง-ล่าง เพื่อสร้าง คุณภาพชีวิตและสังคมที่ดี ด้วยความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคทั้งก่อนและหลังการส่งมอบ และดำ�เนินนโยบายการตลาดที่เป็นธรรม เคารพสิทธิของผู้บริโภค รวมทั้งปฏิบัติต่อคู่แข่ง อย่างเป็นธรรม ไม่โจมตี โดยแบ่งตามกลยุทธ์ทางการตลาด 6 ประการ (6Ps) อันได้แก่

1. กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)

ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ทโ่ี ดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง ทั้งห้องชุดและพื้นที่ส่วนกลาง โดย พัฒนารูปแบบจากองค์ความรูแ้ ละประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการ และการบริหารจัดการ ชุมชนตามแนวทาง “ชุมชนน่าอยู”่ เพือ่ ตอบสนองกับวิถชี วี ติ ของผูพ้ กั อาศัย รวมทัง้ ควบคุม มาตรฐานการก่อสร้างและการเลือกใช้วสั ดุ เพือ่ ให้ได้ผลิตภัณฑ์หอ้ งชุดทีเ่ หมาะกับการใช้ชีวิต

2. กลยุทธ์ด้านราคา (Price)

ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ตํ่ากว่าของคู่แข่งในระดับเดียวกัน ด้วยการบริหารต้นทุน และค่าใช้จา่ ย ในทุกกระบวนการผลิต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของได้ โดยกำ�หนดอัตรากำ�ไรและ วางเงือ่ นไขการผ่อนดาวน์ที่เหมาะสมตามสถานะกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดหาบริการ ทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือให้ลูกค้ามีความสะดวกในการยื่นขอสินเชื่อและสร้างโอกาสใน การมีที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น

60

IN PROCESS

MARKETING - กลยุทธ์

SD Report


3. กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำ�หน่าย (Place)

ทำ�เลที่ตั้งของสำ�นักงานขายต้องตั้งอยู่หรืออยู่ใกล้กับพื้นที่พัฒนาโครงการ เพื่อความสะดวกในการเดินทางและเข้าถึงข้อมูล โครงการ รวมถึงสามารถให้รายละเอียดการขายทีช่ ดั เจน ไม่มวี าระซ่อนเร้น เข้าใจง่าย ในโครงการต่างจังหวัดบางโครงการ อาจมีหอ้ งตัวอย่างให้ชมในสำ�นักงานขายกลางย่านธุรกิจใจกลางเมือง เพือ่ ความสะดวกในการเดินทางแก่ลกู ค้าทีส่ นใจ

4. กลยุทธ์ด้านกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion)

ทำ�การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้บริโภคด้วยความโปร่งใส โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย มีเงื่อนไข การขายที่คำ�นึงถึงความสามารถด้านการเงินของลูกค้า โฆษณาประชาสัมพันธ์ ในทางสร้างสรรค์ ชัดเจน ไม่เอารัดเอา เปรียบ และไม่มีวาระซ่อนเร้น รวมทั้งปฏิบัติต่อคู่แข่งทางธุรกิจอย่างเป็น ธรรม ไม่โจมตี หรือเอาเปรียบในการแข่งขัน

5. กลยุทธ์ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง (People)

ให้ความสำ�คัญกับความพึงพอใจของลูกค้า โดยมีการกำ�หนดมาตรฐานและอบรมการบริการทุกจุดสัมผัส (Touch Point) เช่น พนักงานขาย แม่บ้าน รปภ. ตาม LPN Service Culture (S-E-R-V-I-C-E-S) อย่างต่อเนื่อง เพือ่ สร้างประสบการณ์เชิง บวก และสร้างยอดขายจากการบอกต่อ โดยมีตัวชี้วัดความภักดีของลูกค้า (NPS) เป็นการประกันบริการหลังการขาย รวมทั้ง มีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะและเรื่องร้องเรียน เพื่อนำ�มาปรับปรุงการให้บริการ

6. กลยุทธ์ด้านขั้นตอนและกระบวนการ (Process)

คำ�นึงถึงความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นสำ�คัญ ขั้นตอนการจองและทำ�สัญญาจะต้องรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน มีวิธีและช่อง ทางชำ�ระเงินทีส่ ะดวก ทำ�ได้หลายช่องทาง การยึดและคืนเงินมัดจำ� ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คำ�นึงถึงปัญหาและความ จำ�เป็นของลูกค้าเป็นหลัก รวมทั้งลดข้อร้องเรียนที่เกิดจากความคาดหวังด้วยการระบุประเด็นสำ�คัญไว้ในสัญญาจองซื้อ และสื่อสารสร้างความเข้าใจกับลูกค้า

6 GREEN LPN

61


Green Marketing Management Standard Checklist ของ LPN บริษัทได้กำ�หนดรายการตรวจสอบการบริหารจัดการด้านการตลาดสีเขียว หรือ Green Marketing Management Standard Checklist ไว้เป็น มาตรฐานการดำ�เนินงานด้านการสื่อสารการตลาดอย่างเป็นธรรมเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ Green Marketing Management ขององค์กร ซึ่งรายการ ตรวจสอบดังกล่าวนับเป็นจรรยาบรรณในเชิงสมัครใจขององค์กรที่ได้กำ�หนดขึ้นเองและใช้เพื่อการประเมินภายใน เพื่อความเป็นธรรมในการทำ� กิจกรรมหรือสื่อสารการตลาดแก่ลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมกัน Checklist ดังกล่าว ได้นำ�หลัก 7P ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) สถานที่ (Place) โปรโมชั่น (Promotion) บุคคล (People) กระบวนการดำ�เนินงาน (Process) และ กายภาพ (Physical) มาเป็นหลักในการกำ�หนดข้อควรปฏิบัติในแต่ละรายการ เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการ บริหารจัดการด้านการตลาดที่ยั่งยืน มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการอย่างตรงไปตรงมา ไม่เกินความจริง รวมถึงการใช้ข้อความ ในการโฆษณาที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือนำ�ไปสู่ความเข้าใจผิดในสาระสำ�คัญ

• Green Marketing Management Standard Checklist

ผลิตภัณฑ์ (Product)

บุคคล (People)

• การส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ตรงตามที่สื่อสารไว้ • การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบลูกค้าทุกครั้ง • การรับประกันและให้การดูแลหลังส่งมอบผลิตภัณฑ์

• มาตรฐานการให้บริการตามทีก่ �ำ หนด (Human Touch Point) • อบรมและให้ความรู้แก่พนักงานรวมถึงจรรยาบรรณ • กำ�หนดมาตรฐานในการสื่อสารของพนักงานขาย ต่อลูกค้า ด้วยความชัดเจนถูกต้อง • ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ราคา (Price) • ราคาและเงื่อนไขการชำ�ระเงินเหมาะสมตรงตามกลุ่มเป้าหมาย • กำ�ไรที่เหมาะสมตรงตามกลุ่มเป้าหมาย

สถานที่ (Place) • สำ�นักงานขายพร้อมให้บริการกับลูกค้าตามข้อกำ�หนด

โปรโมชั่น (Promotion) • โฆษณา ส่งเสริมการขายชัดเจน โปร่งใส ไม่มีวาระซ่อนเร้น และ ไม่โจมตีคู่แข่งขัน • ส่งเสริมให้คนมีบ้าน ด้วยโครงการ “บ้านสานฝัน”

กระบวนการดำ�เนินงาน (Process) • กำ � หนดรายละเอี ย ดเงื่ อ นไขการซื้ อ ขายให้ เ ป็ น ไปตาม ข้อกำ�หนดของ สคบ. • เอกสารประกอบการขายทุ ก ประเภทต้ อ งชั ด เจนโปร่ ง ใส ไม่คลุมเครือ ไม่มีวาระซ้อนเร้น ตรวจสอบได้ • อบรมพนักงานขาย ให้เป็นทีป่ รึกษาด้านผลิตภัณฑ์และการเงิน • ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกค้ากรณีถูกปฏิเสธสินเชื่อ หรือมี ความจำ�เป็นบางประการในการยกเลิกการซือ้ จะมีการพิจารณา คืนเงินให้ • มีช่องทางให้ลูกค้าในการแจ้งข่าวสารหรือร้องเรียน เมื่อเกิด ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์และบริการ

ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Physical Evidence) • ส่งมอบ “ชุมชนน่าอยู่” ให้เป็นไปตามข้อมูลที่ให้ไว้ เช่น มี Co-Dining, Co-Living

62

IN PROCESS

MARKETING - กลยุทธ์

SD Report


ผลการดำ�เนินงาน

GREEN MARKETING MANAGEMENT การบริหารประสบการณ์ลูกค้าผ่าน Touch Point การบริหารประสบการณ์ลูกค้าผ่านจุดสัมผัส หรือ Touch Point ผ่านระยะของการให้บริการ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1. ก่อนซื้อ 2. ระหว่างซื้อ และ 3. หลังซื้อ แสดงให้เห็นถึงความสำ�คัญที่ LPN ได้มีต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำ�คัญที่สุดขององค์กร นั่นคือ “ลูกค้า” เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) วิเคราะห์และพัฒนาการบริการลูกค้าให้ตรงตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุของลูกค้า (Customer Life Cycle) และ สร้างความพึงพอใจในการให้บริการ เพิม่ ความภักดี (Brand Loyalty) ของลูกค้าทีม่ ตี อ่ องค์กร ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน

ก่อนซื้อ

ระหว่างซื้อ

หลังซื้อ

ตัง้ แต่เริม่ สนใจโครงการ ลูกค้าต้องได้รับข้อมูล ที่ถูกต้องตรงความต้องการ ไม่บิดเบือน เพื่อ การตัดสินใจ การได้รับข้อมูลข่าวสารจาก ช่องทางที่สะดวกและได้รับบริการที่ประทับใจ

ลูกค้าต้องได้รบั การสือ่ สารข้อมูลความคืบหน้า โครงการและกระบวนการในการดำ�เนินงาน ของบริษัท เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณค่า ผลิตภัณฑ์และบริการ และเตรียมความพร้อม ในการเข้าอยู่อาศัย ร่วมทั้งคุณค่าที่ลูกค้าจะ ได้รับเมื่อเข้าพักอาศัย

เริ่มตั้งแต่รับมอบผลิตภัณฑ์และเข้าอยู่อาศัย ลูกค้าจะได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตและความ ปลอดภัย ผ่านการบริหารชุมชน ตามแนวคิด “ชุมชนน่าอยู่”

ช่องทางการสร้างประสบการณ์ลูกค้า 35. พนักงานขับรถตู 34. แจ วคอนโด 33. เจ าหน าที่ธุรกิจนายหน า

23. สิ�งอำนวยความสะดวก

ประสบการ ณ ระ หว

25. ห องชุด 24. ทรัพย ส วนกลาง

ลูกค าผู สนใจโครงการ (Prospect)

เจ าของร วม /ผู พักอาศัย (Resident /Co-owner)

ารซือ้ อ นก

27. เจ าหน าที่ธุรการนิติฯ 26. ผู จัดการชุมชน

ก ารณ

30. แม บ านนิติฯ 29. รปภ. นิติฯ 28. ช างอาคาร

ศยั ก ัพ อา าร

างก

32. เจ าหน าที่ซ อมหลังโอน 31. รปภ.สัมพันธ

1. ที่จอดรถ 2. สำนักงานขาย 3. www.lpn.co.th 4. ห องตัวอย าง ประ สบ 5. กิจกรรมงานขาย ก 6. Call Center 7. เจ าหน าที่ขาย 8. แม บ านสำนักงานขาย 9. รปภ. สำนักงานขาย ลูกค า ผ อนดาวน (Customer)

Touch Point Wheel

10. กิจกรรมงานรับมอบห องชุด 11. สำนักงานโอนฯ 12. สำนักงานนิติฯ 13. LPN Payment Card

22. เจ าหน าที่ธนาคาร 14. ระบบติดตามค างวด ประส 21. เจ าหน าที่ป ยมิตร บ ก า ร ณ ร ะ ห ว า ง ซ ื้ อ 15. Mobile App. 20. เจ าหน าที่ก อสร าง 16. เจ า หน าที่โอนฯ 19. เจ าหน าที่บร�หารประสบการณ ลูกค า 18. เจ าหน าที่ LPN 17. เจ าหน าที่การเง�น

6 GREEN LPN

MARKETING - ผลการดำ�เนินงาน

63


ช่องทางการรับฟังเสียงสะท้อนจากลูกค้า บริษทั เปิดโอกาสให้ลกู ค้าแสดงความคิดเห็น เพือ่ นำ�มาปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีชอ่ งทางสำ�หรับการรับเรือ่ งร้องเรียน เพือ่ แก้ปญั หาให้กบั ลูกค้าด้วยกระบวนการบริหารจัดการเรือ่ งร้องเรียน ผ่านช่องทางการรับเรือ่ งร้องเรียน 3 ช่องทาง คือ

Call Center โทร 02-689-6888 ทุกวัน 8.30 - 19.00 น.

เว็บไซต์ https://www.lpn.co.th /en/contact/contact-us

แอพลิเคชัน บนมือถือ LPN Care

• จำ�นวนเสียงสะท้อนจากลูกค้า ปี 2561 • ชมเชย

132

กรณี

• ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ร องเร�ยน

67.04% 45 ครั้ง

64

• เสนอแนะ

1

45

กรณี

• ร้องเรียน

360

ชมเชย

24.58%

กรณี

กรณี (อยู่ระหว่างดำ�เนินการแก้ ไข)

เสียงสะท อน จากลูกค า ป 2561

537 ครั้ง

IN PROCESS

132 ครั้ง

เสนอแนะ

MARKETING - ผลการดำ�เนินงาน

8.38 % 45 ครั้ง

SD Report


• จำ�นวนเสียงสะท้อนจากลูกค้า ปี 2557-2561 (ครั้ง) ครัง้ 1,201

1,250 938

879

625 291

38

111

48

ปี 2557

284

134 134

0

ปี 2558

ชมเชย

640

603

502

313 0

870

806

เสนอแนะ

461 110 69

0

ปี 2559

ร้องเรียน

132

0

45

ปี 2560

อืน่ ๆ

537

360 0

ปี

ปี 2561

รวม

• ตารางเทียบความเปลี่ยนแปลงของเสียงสะท้อนจากลูกค้า ปี

ปี 2557

ปี 2559

ปี 2558

ประเภท

ครัง้ สัดส่วน ครัง้

ชมเชย

38

ปี 2561

ปี 2560

ครัง้ สัดส่วน

ครัง้

สัดส่วน ครัง้

9.24% 134 15.40%

110

17.19% 132 24.58% 20.00% 247.38%

เสนอแนะ

291 33.11% 284 23.65% 133 15.29%

69

ร้องเรียน

502 57.11% 806 67.11% 603 69.31%

461

อื่นๆ

รวม

48

สัดส่วน

4.32% 111

5.46%

-

0.00%

-

0.00%

879 100.00% 1,201 100.00% 870 100.00%

-

สัดส่วน

อัตรา ความเปลี่ยนแปลง (%) ปีท่ี 5 ปี ผ่านมา ย้อนหลัง

10.78% 45

8.38% -34.78% -84.54%

72.03% 360 67.04% -21.91% -28.29% 0.00%

-

0.00%

N/A

N/A

640 100.00% 537 100.00% -16.09% -38.91%

จากผลการติดตามเสียงสะท้อนลูกค้า 5 ปียอ้ นหลังพบว่า ถึงแม้ในปี 2561 สัดส่วนของข้อร้องเรียนยังอยูท่ ่ี 67.04% จากประเภทการร้องเรียนทัง้ หมด อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวลดงจากปี 2560 ทีม่ สี ดั ส่วนอยูท่ ่ี 72.03% สำ�หรับจำ�นวนครัง้ ของการร้องเรียนนัน้ ก็ลดลงเช่นกัน โดยจากเดิม 461 ครัง้ เหลือเพียง 360 ครัง้ ในปี 2561 หรือคิดเป็นอัตราทีล่ ดลง 21.91% สำ�หรับในส่วนของคำ�ชมเชยนัน้ สัดส่วนเพิม่ ขึน้ อย่างมีนยั สำ�คัญจาก 17.19% ในปีทผ่ี า่ นมาเป็น 24.58% ในปี 2561 หรือหากเทียบเป็นจำ�นวนครัง้ พบว่า ในปี 2561 ได้รบั คำ�ชมเชย 132 ครัง้ สูงกว่าปีทผ่ี า่ นมาที่ ได้รบั คำ�ชมเชย 110 ครัง้ หรือสูงขึน้ 20.00% และสูงขึน้ ถึง 247.38% หากเทียบการดำ�เนินงานใน 5 ปี ย้อนหลัง นับได้ว่าเป็นเครื่องยืนยันความสำ�เร็จจากการดำ�เนินกลยุทธ์ 6 Green LPN โดยเฉพาะในเรื่อง Green Marketing Management ของบริษัท ทั้งนี้ เราจะดำ�เนินงานเพื่อร่วมสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า นำ�เสียงสะท้อนในด้านลบมาดำ�เนินการปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ในขณะเดียวกันก็จะ ยังคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่ได้รบั ฟังจากคำ�ชมเชยให้ดยี ง่ิ ๆ ขึน้ ไป สร้างความสุขให้ แก่ผู้อยู่อาศัยเป็น “ชุมชนน่าอยู่” อย่างยั่งยืน

6 GREEN LPN

ได้รับคำ�ชมเชยมากขึ้น จากปีที่ผ่านมา

20.00% 65


กระบวนการบริหารจัดการเสียงสะท้อนจากลูกค้า บริษัทรวบรวมและจัดกลุ่มข้อร้องเรียนต่างๆ ที่ได้รับ เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำ�เนินงาน โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งนี้ บริษัทได้แบ่งกลุ่มข้อร้องเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (Product Value) และ กลุ่มคุณค่าบริการ (Service Value) และมีกระบวนการจัดการเสียงสะท้อนและข้อร้องเรียนจากลูกค้าในแต่ละขั้นตอน ดังนี้

• กระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนของบริษัท มีดังนี้ กระบวนการ

ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง

1. รับเรือ่ งร้องเรียนจากช่องทางต่างๆ - LPN Care, Website, Call Center, Line - สายตรงถึงพนักงาน - เว็บไซต์ภายนอก เช่น pantip.com - ผูบ้ ริหาร

ฝ่ายบริหารประสบการณ์ ลูกค้า (CEM)

ลูกค้า/ ผูอ้ ยูอ่ าศัย

เริ่มต้น รับเรื่องร้องเรียน

2. ส่งต่อเรือ่ งร้องเรียนหรือโทรแจ้งฝ่าย ทีเ่ กีย่ วข้องภายใน 1 วัน และบันทึก ในระบบร้องเรียน

สำ�เนารายงาน เรื่องร้องเรียน

รายงานเรื่องร้องเรียน และบันทึกในระบบ

3. ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องรับเรือ่ งร้องเรียน เพือ่ ติดต่อลูกค้าภายใน 1 วัน หลังจากรับเรือ่ งร้องเรียน

รับรายงาน เรื่องร้องเรียน

สอบถาม ปัญหา

4. ดำ�เนินการ แก้ไข และบันทึก ผลการแก้ไขในระบบและโทรแจ้ง แนวทางการแก้ปญั หากับลูกค้า

ดำ�เนินการแก้ไข

อธิบายการ แก้ปัญหา

5. ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องรายงานผลการแก้ไข กับฝ่ายบริหารประสบการณ์ลกู ค้า และผูบ้ ริหาร

รายงานผลการแก้ไข

รายงานผลการแก้ไข สอบถามผล การแก้ไขปัญหา

6. ติดต่อลูกค้าเพือ่ สอบถามผลการแก้ไขปัญหา 7. สรุปรายงานประจำ�เดือนส่งผูบ้ ริหาร และฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง

รายงานเรือ่ งร้องเรียน

8. จัดเก็บรายงาน พร้อมนำ�กรณีทน่ี า่ สนใจ แบ่งปันและศึกษา เพือ่ เป็นองค์ความรู้ (Knowledge Sharing)

66

ผูบ้ ริหาร

จัดเก็บรายงาน

IN PROCESS

MARKETING - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การประเมินและความพึงพอใจของลูกค้า นอกเหนือจากการประเมินความพึงพอใจ Net Promoter Score (NPS) ซึง่ เป็นการประเมินทีอ่ งค์กรได้จัดทำ�ขึนเป็นประจำ�ทุกปีแล้ว ไตรมาสที่ 3 มีการนำ�ระบบ Service Evaluation มาใช้ประเมินระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ และระดับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร โดยเริ่มนำ�มาใช้ ประเมินในส่วนงานขาย – โอน (Condo) และงานขาย – โอน (Housing) และหลังจากนั้น ไตรมาสที่ 4 บริษัทก็ได้นำ�ระบบ Service Evaluation มาใช้ประเมินระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการเพิ่มเติมในงานด้านธุรกิจนายหน้าเพิ่มเติมจากการประเมินที่มีอยู่

• ความพึงพอใจการให้บริการ % 100 80 60 40 20 0

93%

93%

85%

88% ปี

2558

2559

2560

2561

• ระดับการเป็นผู้สนับสนุนองค์กร (Net Promoter Score: NPS) % 80 60 40 20 0

44% 2558

43% 2559

36% 2560

51% 2561*

ปี

ภาพรวมความพึงพอใจ และคะแนน NPS ที่สูงขึ้น เป็นผลจากการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านความจริงใจ การรับฟัง เสียงสะท้อนจากลูกค้า

หมายเหตุ *คะแนน NPS เฉลี่ยระหว่าง LPN, PST และ LPP

แนวทางป้องบริหารข้อร้องเรียนเพื่อความยั่งยืน นอกจากการบริหารจัดการข้อร้องเรียหรือเสียงสะท้อนจากลูกค้าที่เกิดขึ้นแล้ว บริษัทยังมีวิธีการบริหารจัดการเพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้ ข้อร้องเรียนเดิมๆ เกิดขึ้นอีกเพื่อความพึงพอใจและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า โดยหลักประการหนึ่งในการนำ�ข้อร้องเรียนมาเป็นกรณีตัวอย่าง ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยมีหลักการต่อเนื่องจากการบริหารจัดการข้อร้องเรียน ดังนี้

1Hour 1การตอบสนอง

ข้อร้องเรียน จากภายใน 1 ชม.

6 GREEN LPN

Q&A

2

นำ�ข้อร้องเรียนซ้�ำ มาจัดทำ� เป็นความรู้ และ Q&A เพื่อสื่อสารล่วงหน้า

3

บริหารข้อร้องเรียน ตามลำ�ดับความรุนแรง และผลกระทบต่อลูกค้า

67


GREEN CONSTRUCTION PROCESS

การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในกระบวนการก่อสร้าง

กระบวนการก่อสร้างเป็นกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากที่สุด ด้วย ความตระหนักในประเด็นดังกล่าว บริษทั ได้พฒ ั นากระบวนการดำ�เนินงานอย่างต่อเนือ่ ง โดย นำ�เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม นอกเหนือจากการดำ�เนินงานตามกลยุทธ์ Q-C-S-E-S+P ที่เป็นแนวทางในการ บริหารจัดการโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้แก่ทั้งบุคลากรของบริษัท รวมถึงปิยมิตร ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมา โดยเฉพาะการให้ความสำ�คัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Responsibility) และความปลอดภัยสำ�หรับคนงาน และผู้เกี่ยวข้อง (Safety of Workers and Participants) โดยกลยุทธ์ Q-C-S-E-S+P มีดังนี้

68

IN PROCESS

CONSTRUCTION - กลยุทธ์

SD Report


Q C

Quality of Product

การบริหารโครงการก่อสร้างโดยคำ�นึงถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพือ่ ให้เป็นไปตามความ คาดหวังทั้งพื้นที่ส่วนกลางและห้องชุด ซึ่งนอกจากการเลือกใช้วสั ดุทม่ี คี ณุ ภาพ เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมแล้ว หน่วยงานก่อสร้างต้องมีระเบียบและได้มาตรฐาน

Cost Control and Management

การควบคุมและบริหารต้นทุนให้รัดกุมอยู่ในระดับที่ประเมินไว้ ทั้งต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและดำ�เนินงาน โดยเน้นการสร้างประสิทธิภาพของกระบวนการทำ�งาน

S

Speed of Delivery

E

Environmental Responsibility

S P 6 GREEN LPN

การควบคุมความเร็วในการก่อสร้างและกระบวนการทำ�งานให้รวดเร็วกว่าระยะเวลาที่ กำ�หนด เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างและลดความเสี่ยงของลูกค้า ซึ่งต้องอาศัย ความชำ�นาญในการทำ�งานและความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนงาน

การรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้างทั้งในบริเวณ ก่อสร้างและบริเวณข้างเคียง โดยกำ�หนดให้มีการปฏิบัติตามแนวทางลดผลกระทบ ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

Safety of Workers and Participants

การดูแลความปลอดภัยของคนงานและผูเ้ กีย่ วข้องในระหว่างการก่อสร้าง โดยกำ�หนด มาตรฐานการปฏิบัติงานที่เข้มงวดในด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจเกิดขึ้น และตรวจสอบอุปกรณ์ก่อสร้างและตัวอาคารอยู่เสมอ รวมทั้งให้ความ สำ�คัญด้านอาชีวอนามัยและคุณภาพชีวิตของแรงงาน

People Management

การบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ การให้ความเป็น ธรรมด้านสิทธิแรงงานและคุณภาพชีวติ แก่แรงงานก่อสร้างที่มักถูกมองข้ามจาก ผู้ประกอบการ การดูแลรับผิดชอบผลกระทบกับเพือ่ นบ้านข้างเคียงทีอ่ ยูร่ อบพืน้ ที่ ก่อสร้าง การพัฒนาและเติบโตร่วมกันกับปิยมิตรหรือคู่ค้าของบริษัท รวมทั้งการ ร่วมพัฒนาชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยรอบของโครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างการก่อสร้าง

69


ผลการดำ�เนินงาน

GREEN CONSTRUCTION PROCESS บริษัทให้ความสำ�คัญต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งก่อนก่อสร้าง ระหว่างก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง โดยได้มีการดูแลตรวจประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ ที่กำ�ลังก่อสร้างอยู่ของบริษัท มีการบริหารจัดการวัสดุขณะก่อสร้างให้มีประสิทธิผลสูงสุด พร้อมทั้งได้ตรวจ ประเมินโครงการด้วย Green Construction Process Standard ที่บริษัทจัดทำ�ขึ้นเพื่อการติดตามผลการดำ�เนินงานตามกลยุทธ์ 6 Green LPN ขององค์กร นอกจากการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลต่อกระทบรวมไปถึงชุมชนโดยรองพื้นที่ก่อสร้างแล้ว บริษัทยังให้ความสำ�คัญต่อบุคลากรภายใน ห่วงโซ่อุปทานของเรา นั่นคือคนงานก่อสร้าง ทั้งนี้ บริษัทมีการดูแลคุณภาพชีวิตคนงานก่อสร้างในหลายๆ ด้าน ทั้งความต้องการพื้นฐาน อาหาร สุขอนามัย น้ำ�และที่พักอาศัยที่สะอาด เป็นต้น

การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในปี 2561 มีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ในปี 2561 มีจำ�นวน 9 โครงการ จากผลการตรวจวัด พบว่า ทุกโครงการมีผลการตรวจวัด ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำ�หนด โดยพารามิเตอร์ที่ตรวจวัดมีดังนี้

คุณภาพอากาศ พารามิเตอร์ทต่ี รวจวัดคือ ปริมาณฝุน่ ละอองรวม (Total Suspended Particulate: TSP) ปริมาณฝุน่ ละอองขนาดเล็ก (PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซต์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์ (NO2) คาร์บอนมอนอกไซต์ (CO) และ ก๊าซไฮโดรคาร์บอนรวม (THC)

ระดับเสียง พารามิเตอร์ที่ตรวจวัดคือ ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 hrs) ระดับเสียงสูงสุด (Lmax) และเสียงรบกวน

ความสั่นสะเทือน

ตรวจวัดระดับความสั่นสะเทือนตามแนวตั้ง (Vertical) แนวขวาง (Transverse) และแนวนอน (Longitudinal)

คุณภาพน้ำ�เสียที่ผ่านการบำ�บัดแล้ว

พารามิเตอร์ทต่ี รวจวัดคือ กรด - ด่าง (pH) ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids: SS) ของแข็งทัง้ หมดทีล่ ะลายน้�ำ (Total Dissolved Solids: TDS) ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย ์ (Biochemical Oxygen Demand: BOD) ของแข็ง แขวนลอยทัง้ หมด (Total Suspended Solids: TSS) น้�ำ มันและไขมัน (Oil & Grease : O&G) ไนโตรเจนทัง้ หมด (Total Kjeldahl Nitrogen: TKN) ค่าซัลไฟด์ และปริมาณแบคทีเรียกลุม่ ฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria: FCB)

70

IN PROCESS

CONSTRUCTION - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนงานก่อสร้าง คนงานก่อสร้างถือเป็นส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้บรรลุผล ตามเป้าหมายที่กำ�หนด บริษัทจึงให้ความสำ�คัญกับการดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ คนงานก่อสร้างทั้งในบริเวณพืน้ ทีก่ อ่ สร้างและบริเวณบ้านพักคนงาน เพราะเชือ่ ว่าถ้าคนงาน ก่อสร้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีปัจจัยพื้นฐานในการดำ�รง ชีวิตอย่างน้ำ�และอาหารที่เพียงพอ สุขภาวะอนามัยที่ดี จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนั้น บริษัทยังได้นำ�มาตรฐานบ้านพักคนงานที่ปรับปรุงใหม่มาใช้ กับทุกโครงการ และจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ตรวจสุขภาพ ของคนงานก่อสร้าง

ตรวจสารเสพติด ของคนงานก่อสร้าง

อบรมหลั ก สู ต รการป้ อ งกั น โรค ติดต่อในบ้านพักคนงานก่อสร้าง

การตรวจสุขภาพคนงานก่อสร้าง เป็นการ ดูแลคุณภาพชีวิตคนงานก่อสร้างที่สำ�คัญ ด้านหนึ่ง นอกเหนือจากการดูแลสภาพ แวดล้อมของบ้านพักคนงาน ปี 2561 มี การตรวจสุขภาพคนงานก่อสร้าง 304 คน ใน 3 โครงการ

ปี 2561 มีการสุ่มตรวจสารเสพติด จำ�นวน 5 โครงการ โดยผลจากการตรวจไม่พบ สารเสพติดในคนงานก่อสร้างในทุกโครงการ

อบรมหลั ก สู ต รการป้ อ งกั น โรคติ ด ต่ อ ใน บ้านพักคนงานก่อสร้าง ให้กับผู้ดูแลบ้านพัก คนงาน (LPN Team) จำ�นวน 2 ครั้ง มี ผูเ้ ข้าอบรมรวมทัง้ สิน้ 71 คน เพือ่ ให้ทราบถึง โรคติดต่อที่อยู่ในช่วงฤดูฝน พาหะนำ�โรค วิธีป้องกันโรคติดต่อ และวิธีการรักษา

อบรมหลั ก สู ต รปฐมพยาบาล และการใช้ยาสามัญประจำ�บ้าน

ส่งเสริมการคัดแยกขยะ ในหน่วยงานก่อสร้าง

กิจกรรมตัดผมและเลี้ยงอาหาร กลางวัน

บริ ษั ท เชิ ญ วิ ท ยากรจากศู น ย์ บ ริ ก าร สาธารณสุข 41 คลองเตย มาให้ความรูใ้ ห้กับ ผู้ ดู แ ลห้ อ งพยาบาลและคนงานก่ อ สร้ า ง เพื่ อ ให้ ค นงานมี ค วามรู้ พื้ น ฐานในการ ปฐมพยาบาลเบื้ อ งต้ น และใช้ ย าสามั ญ ประจำ�บ้านได้อย่างถูกต้อง โดยจัดอบรม ทั้งหมด 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 100 คน

โดยการให้ความรู้ผ่านกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้คนงานก่อสร้างทราบถึงประโยชน์ และคัดแยกขยะได้ถกู ต้อง ในปี 2561 จัดให้ ความรูท้ ง้ั หมด 6 โครงการ มีผเู้ ข้าร่วมอบรม รวม 1,950 คน

เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและสร้างขวัญ กำ�ลังใจให้กบั คนงานก่อสร้าง โดยจัดกิจกรรม จำ�นวน 3 โครงการ มีผู้เข้าร่วม จำ�นวน 1,400 คน

6 GREEN LPN

71


• รายละเอียดการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนงาน การประเมิน

โครงการ ก่อสร้างในปี 2561

การตรวจวัด คุณภาพ สิง่ แวดล้อม

ไม่เกิน ค่ามาตรฐาน ทีก่ ฏหมายกำ�หนด

การส่งเสริมคุณภาพชีวติ คนงานก่อสร้าง ตรวจ ตรวจสาร อบรมการ อบรม บริการ สุขภาพ เสพติด ปฐมพยาบาล การคัด ตัดผม คนงาน และยาสามัญฯ แยกขยะ เลีย้ งอาหาร 100 304 ไม่พบ 1,950 1,400 คน คน สารเสพติดใน คน คน

คนงานก่อสร้าง

ลุมพินี สวีท เพชรบุร-ี มักกะสัน ลุมพินี วิลล์ พระนัง่ เกล้า-ริเวอร์ววิ ลุมพินี ซีววิ ชะอำ� เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย แอล.พี.เอ็น. ลุมพินี สวีท ดินแดง-ราชปรารภ ลุมพินี เพลส พระราม 3-ริเวอร์ไรน์ ลุมพินี เพลส รัชดา-สาธุ ลุมพินี พาร์ค พหล 32 ลุมพินี วิลล์ สุขมุ วิท 76-แบริง่ สเตชัน่ (2) ลุมพินี วิลล์ สุขสวัสดิ-์ พระราม 2 ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร-สะพานควาย ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจกั ร (ทีพ่ กั อาศัย) ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจกั ร (ออฟฟิศ A) ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจกั ร (ออฟฟิศ B) ลุมพินี พาร์ค บรมราชชนนี-สิรนิ ธร บ้านลุมพินี สวนหลวง ร.๙ ลุมพินี ทาวน์วลิ ล์ เพิม่ สิน-วัชรพล ลุมพินี ทาวน์วลิ ล์ รังสิต-คลอง 2 ลุมพินี ทาวน์วลิ ล์ วัดสัก ลุมพินี ทาวน์วลิ ล์ ลาดปลาดุก-บางไผ่ สเตชัน่ ลุมพินี ทาวน์วลิ ล์ ท่าข้าม-พระราม 2 บ้าน 365 พระราม 3 72

IN PROCESS

CONSTRUCTION - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


แนวทางการดูแลบ้านข้างเคียงเพื่อลดผลกระทบจากการก่อสร้าง นอกจากการดูแลผลกระทบจากการก่อสร้าง บริษทั มีนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนข้างเคียงด้วยการประสานงานกับผู้นำ�ชุมชนเพื่อเข้า สำ�รวจพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่รอบๆ โครงการ ตั้งแต่ก่อนดำ�เนินการก่อสร้างในพื้นที่ และให้ความสำ�คัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ติดกับโครงการหรือพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ (พื้นที่อ่อนไหว) เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง ความกังวลใจเกี่ยวกับการก่อสร้าง กิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนต้องการ การสนับสนุน โดยบริษทั จะเข้าประสานงานดำ�เนินการให้กบั ชุมชนเพือ่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทด่ี รี ะหว่างกัน และช่วยลดข้อร้องเรียนทีอ่ าจเกิดขึ้น ภายหลัง

ขัน้ ตอนการดำ�เนินงาน

ระยะเวลา

ฝ่ายก่อสร้าง

1. สำ�รวจสภาพแวดล้อมรอบโครงการ

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็ม

เริ่มต้น

ก่อนเริม่ ก่อสร้าง สำ�รวจสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการ จัดทำ�แผนผังบ้านข้างเคียง ระบุบา้ นเลขที่ ชือ่ เจ้าของบ้าน เบอร์โทรศัพท์ พร้อมเข้าแนะนำ�ตัว

สำ�รวจสภาพแวดล้อม รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบ้านข้างเคียง

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็มและ ทุกสัปดาห์

สร้างความสัมพันธ์ กับบ้านข้างเคียง

3. กำ�หนดมาตรการป้องกันมลภาวะที่เกิดจากโครงการ

ก่อนเริ่มงาน เสาเข็ม

กำ�หนดมาตรการ ป้องกันมลภาวะ

เข้าพบบ้านข้างเคียง เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ทด่ี แี ละรับฟัง ความคิดเห็น สอบถามผลกระทบ ขึงผ้าใบกันฝุ่น ป้องกันเสียงดัง การกวาดขยะ การสร้างบ้านพักคนงาน ฯลฯ

4. ตรวจสอบสภาพแวดล้อม และติดตามความคืบหน้า

ตรวจสอบ สภาพแวดล้อม บ้านข้างเคียง

ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบโครงการอย่างสม่�ำ เสมอ หากพบปัญหาหรือได้รบั ข้อร้องเรียนทีก่ อ่ ให้เกิด ความเดือดร้อนกับบ้านข้างเคียง ให้รบี ดำ�เนินการแก้ไข

5. ดำ�เนินการแก้ไขปัญหา

เมือ่ มีความเดือดร้อนและความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จาก โครงการ จะต้องหาทางดำ�เนินการแก้ไขให้คลีค่ ลาย โดยทันที

ผูร้ บั เหมา

ภายใน 1 วัน

ไม่พบ ปัญหา

ดำ�เนินการ ตามมาตรการ

พบปัญหา

ดำ�เนินการแก้ไข

6. รวบรวมข้อมูล

6.1 ความรูส้ กึ ของบ้านข้างเคียง 6.2 ปัญหาและแนวทางการแก้ปญั หา 6.3 สิง่ ทีค่ วรปรับปรุงและผลทีเ่ กิดขึน้ หลังจากการปรับปรุง

7. สรุปประเมินผล

รวบรวมข้อมูล

ทุกเดือน

สรุปประเมินผล จบการทำ�งาน

6 GREEN LPN

73


การใช้วัสดุในโครงการก่อสร้าง การบริหารโครงการก่อสร้างโดยคำ�นึงถึงชนิดวัสดุที่นำ�มาใช้เพื่อให้สามารถส่งมอบได้ตามความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งนอกจากการเลือกใช้วัสดุที่มี คุณภาพแล้ว บริษัทยังคำ�นึงถึงการใช้วัสดุให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยคำ�นึงถึงการนำ�กลับมาใช้ใหม่ สัดส่วนของวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อลดความสิ้น เปลืองทางทรัพยากร เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งองค์กรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำ�เนินงานภายใต้กลยุทธ์ Green Construction Process ของบริษัท โดยปริมาณรวมของวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการของบริษัทในปี 2561 สามาถจำ�แนกชนิดและความสามารถในการนำ� กลับมาใช้ใหม่ได้ ดังตารางนี้

• จำ�นวนวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างประจำ�ปี 2561 หน่วย

ปริมาณรวม

สัดส่วนการนำ�กลับมาใช้ใหม่ ของวัสดุแต่ละชนิด

งานขนย้ายดิน

ลบ.ม.

39,587.65

100%*

ไม้แบบ

ตร.ม.

438,476.80

1%**

เหล็กเสริมคอนกรีต

ตัน

10,232.11

5%**

บ้านพักคนงาน

ห้อง

950.00

5%**

รั้วผ้าใบโครงเหล็ก รอบโครงการ ความสูง 6.00 ม.

ม.

2,477.97

40%**

ลบ.ม.

138,919.48

0%

ลบ.ม.

7,335.00

0%

ชนิดของวัสดุ

รายการวัสดุ

สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable)

ไม่สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ คอนกรีต (Non-renewable) ทรายถม หมายเหตุ : * ดินสามารถขนย้ายดินไปยังโครงการอื่นได้ ** สามารถนำ�วัสดุที่เหลือไปใช้ได้อีกประมาณ 2-3 โครงการ

สามารถนำกลับมาใช ใหม ได (Renewable) ขนยายดิน 39,587.65 ลบ.ม.

ไมแบบ 438,476.80 ตร.ม.

เหล็กเสริมคอนกรีต 10,232.11 ตัน

บานพักคนงาน 950 หอง

รั้วผาใบโครงเหล็กรอบ 117,525.19 ตร.ม.

ไม สามารถนำกลับมาใช ใหม ได (Non-renewable) คอนกรีต 138,919.48 ลบ.ม.

74

ทรายถม 7,335.00 ลบ.ม.

IN PROCESS

CONSTRUCTION - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การจัดการขยะและวัสดุเหลือใช้ การจัดการขยะในพื้นที่ก่อสร้างสามารถแบ่งขยะออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ขยะที่เกิดจากการก่อสร้าง และขยะที่เกิดจากคนงาน โดยบริษัท ตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่ต้องนำ�ไปกำ�จัด ด้วยการนำ�วัสดุจากการก่อสร้างบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก เศษไม้ หรือนำ�มา ทำ�สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องออกกำ�ลังกายในบ้านพักคนงานก่อสร้าง

• แผนผังการจัดการขยะในพื้นที่ก่อสร้างโครงการ

ประเภทขยะและการจัดการ

ขยะที่เกิดจากการก อสร าง วัสดุร� ไซเคิลได เศษไม / เศษเหล็ก / เศษอลูมิเนียม จำหน าย

6 GREEN LPN

นำกลับมาใช

ขยะที่เกิดจากคนงาน

วัสดุร� ไซเคิลไม ได เศษปูน / เศษยิปซั่ม ฝ งกลบ

รวบรวมส งหน วยงานภาครัฐ นำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล

ถมที่

75


GREEN COMMUNITY MANAGEMENT

การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในโครงการหลังส่งมอบ ความรับผิดชอบของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ควรสิ้นสุดเพียงแค่การส่งมอบ “ทีอ่ ยูอ่ าศัย” ให้แก่ลูกค้า แต่ควรเข้ามาบริหารจัดการอาคาร (Building Management) ให้อยู่ในสภาพที่ พร้อมใช้ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี อย่างไรก็ตาม บริษัทมองเห็นถึงความสำ�คัญที่มากกว่านั้น จึงได้ พัฒนาแนวคิดจากการบริหารอาคารสู่การบริหารชุมชน เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดี สังคม ที่อยู่อาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข ตลอดเวลากว่า 30 ปี บริษทั สร้างสรรค์และส่งมอบ “บ้าน” ให้กบั สมาชิก “ครอบครัวลุมพินี” กว่า 120,000 ครอบครัว รวมทัง้ ดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ ให้กับผูอ้ ยู่อาศัยและ ชุมชนโดยรอบโครงการที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ด้วยกลยุทธ์ “ชุมชน น่าอยู่” หรือ “Livable Community” ซึ่งไม่เพียงดูแลรักษาอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิด ความพร้อมและความปลอดภัยในการใช้งานเท่านัน้ แต่ยงั ให้ความสำ�คัญกับการสร้างความสุข และสังคมทีด่ ี มีความอบอุน่ ปลอดภัย รวมทั้งสร้างจิตสำ�นึกของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่าง จริงจังและสม่ำ�เสมอ ตามแนวทาง F-B-L-E-S+P ที่ได้ศึกษาและพัฒนาจากประสบการณ์ การบริหารชุมชนมาเป็นระยะเวลานาน จนพัฒนาสู่ “ชุมชนน่าอยู่เพื่อทุกวัย” เพื่อส่งมอบ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และสังคมที่ดีให้กับสมาชิกในชุมชนลุมพินี ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่ง แนวทาง F-B-L-E-S+P ประกอบด้วยการบริหารจัดการองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

76

IN PROCESS

COMMUNITY - กลยุทธ์

SD Report


F

Facility Management

B

Budgeting Management

L

การบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง ด้วยการดูแลทรัพย์ส่วนกลางให้คงประสิทธิภาพ พร้อมและปลอดภัยสำ�หรับการใช้งาน ทั้งทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นงานสถาปัตยกรรม สิง่ อำ�นวยความสะดวก และงานระบบอาคารต่างๆ เช่น ลิฟต์ เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น

การบริ ห ารจั ด การงบประมาณการเงิ น ของนิ ติ บุ ค คลอาคารชุ ด ให้ เ ป็ น ไปตาม นโยบายที่ได้รบั การอนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม และบริหารเงินกองทุน และทรัพย์สว่ นกลางให้มเี สถียรภาพและรายได้ เพือ่ ความมัน่ คงทางการเงินของชุมชน จัดทำ�รายงานการเงินที่ง่ายต่อความเข้าใจ เน้นความโปร่งใส และตรวจสอบได้

Life Quality Management

การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ส่งเสริมให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและ ข้อบังคับอาคารชุด เพือ่ การอยูอ่ าศัยร่วมกันอย่างมีความสุข และสร้างวัฒนธรรมการ อยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” สนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชน รวมทัง้ จัดกิจกรรมเพือ่ สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระหว่างสมาชิก “ลุมพิน”ี และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม

E

Environment Management

S

Security & Safety Management

6 GREEN LPN

การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำ�คัญอย่างยิ่ง โดยยึดหลัก Green Clean Lean เป็นสำ�คัญ อาทิ การดูแลรักษาหรือการปลูกต้นไม้ทดแทน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชนและสังคมโดยรวม การคัดแยกขยะเพื่อให้ง่ายต่อ การกำ�จัด หรือนำ�เข้ากระบวนการรีไซเคิล การบำ�บัดน้ำ�เสียให้ได้คณุ ภาพก่อนปล่อย ออกสู่แหล่งน้�ำ สาธารณะและการนำ�กลับมาใช้ใหม่ในโครงการ การรณรงค์ประหยัด พลังงานและสนับสนุนพลังงานทางเลือก

การบริหารจัดการความปลอดภัย ตั้งแต่การออกแบบผังโครงการ การตรวจสอบ และรักษามาตรฐานของระบบและอุปกรณ์ เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบ สัญญาณเตือนภัย และระบบสื่อสาร รวมถึงการอบรมพัฒนาบุคลากรที่ทำ�หน้าที่ ในการรักษาความปลอดภัยอยูเ่ สมอ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมจาก ทั้งภายในชุมชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของ สมาชิกภายในชุมชนเป็นสำ�คัญ

77


+P People Management การบริหารจัดการผู้เกี่ยวข้องในงานบริหาร ชุมชน ไม่วา่ จะเป็นฝ่ายจัดการฯ คณะกรรมการ นิติบุคคลอาคารชุด และผู้อยู่อาศัย เพื่อให้ เกิดความร่วมมือร่วมใจและความพึงพอใจ รวมทั้ ง บริ ห ารจั ด การปั ญ หาข้ อ ขั ด แย้ ง ของผู้พักอาศัยที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน โดยมุ่ ง เน้ น ที่ จ ะพั ฒ นาทั ศ นคติ แ ละทัก ษะ ของบุคลากร และกำ�หนดแนวทางการสื่อสาร เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในการบริหาร ชุมชนแก่คณะกรรมการนิตฯิ โดยเฉพาะประธาน กรรมการนิตฯิ เพือ่ ให้การบริหารจัดการชุมชน นัน้ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่งผลให้การ ดำ�เนินการตามแนวทาง F-B-L-E-S+P มี ประสิทธิภาพไปด้วย ซึ่งการสร้างชุมชนที่ ยั่งยืน มีองค์ประกอบของบุคลากรดังต่อไปนี้

78

IN PROCESS

บุคลากรภายใน ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดการชุมชน และทีมงานฝ่ายจัดการฯ ทีม่ บี ทบาทต่อ การจัดการให้ชุมชนมีความยั่งยืน ซึ่งบริษัทได้ทำ�การพัฒนาบุคลากร ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมการให้บริการ เพือ่ สร้างความไว้วางใจและความร่วมมือ เพือ่ ผลสัมฤทธิ์ตามกลยุทธ์การ สร้างชุมชนน่าอยู่

COMMUNITY - กลยุทธ์

SD Report


ผู้อยู่อาศัย

คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

ได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการ ทั้งเจ้าของร่วมและผู้เช่า ซึง่ เป็นทั้งผู้กำ�หนดแนวทางและผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ชุมชนมี ความน่าอยูแ่ ละยัง่ ยืนตามเป้าหมายร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายจัดการฯ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีความเข้าใจ ต่อการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสังคมที่ดี และสร้างชุมชนน่าอยู่ต่อไป

ซึง่ เป็นตัวแทนของผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายในโครงการ และขับเคลื่อน กระบวนการของการสร้างชุมชนน่าอยู่ โดยการเสริมความรู้ให้แก่ ประธานและคณะกรรมการนิติฯ ที่จะนำ�ไปสู่การปฏิบัติ

6 GREEN LPN

79


ผลการดำ�เนินงาน

GREEN COMMUNITY MANAGEMENT การบริหารชุมชนภายใต้กลยุทธ์ Green Community Management เป็นไปเพือ่ ตอบสนองต่อแนวคิด “ชุมชนน่าอยู”่ ของบริษทั และการร่วมรับผิดชอบ ต่อลูกค้าในฐานะ “ผู้อยู่อาศัย” และชุมชนโดยรอบให้มีคุณภาพชีวิติที่ดี ซึ่งสองกลุ่มนี้นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่สำ�คัญของเรา โดยใช้หลักการ บริหารจัดการ FBLES+P คือ Facility, Budgeting, Life Quality, Environment, Security and Safety Management, และ People Management โดยในปี 2561 มีผลการดำ�เนินงาน ดังนี้

159 นิติบุคคล 400 อาคาร

126,900 ครอบครัว

137 ชุมชน (29 ชุมชนต้นแบบ)

218,800 คน*

* คิดจากค่าเฉลี่ย 1.75 คนต่อ 1 ห้องชุด

6,940,400 ตร.ม.

เด็กและเยาวชน 19,690 คน วัยทำ�งาน 194,740 คน ผู้สูงอายุ 4,370 คน

การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตสำ�หรับผู้พักอาศัย • ปรับปรุงห้องสมุดและห้องอเนกประสงค์ บริษัทได้มีการปรับปรุงห้องสมุดและห้องอเนกประสงค์ ในโครงการเก่าให้เป็นห้อง สมุดมีชีวิตสำ�หรับคนทุกวัย เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ และเป็นพื้นที่สำ�หรับ ให้ผู้พักอาศัยมาพบปะสังสรรค์ร่วมกัน จำ�นวน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-ลาดปลาเค้า 2 2. โครงการลุมพินี สวีท ปิ่นเกล้า

80

IN PROCESS

COMMUNITY - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนลุมพินี ในปี 2561 ประเด็นขยะได้กลายมาเป็นประเด็นด้านสิง่ แวดล้อมทีถ่ กู กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางทัว่ โลก โดยในส่วนของหน่วยงานขององค์การ สหประชาชาติ ยังได้ก�ำ หนดแนวคิด (Theme) ของวันสิง่ แวดล้อมโลก ปี 2561 ให้ด�ำ เนินภายใต้ธมี “Beat Plastic Pollution” หรือการร่วมเอาชนะ ขยะพลาสติก และยังเป็นส่วนหนึง่ ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนของโลก ข้อ 12 แผนการบริโภคและการผลิตทีย่ ง่ั ยืน บริษัทมิได้นิ่งนอนใจในการเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อความริเริ่มเพื่อความยั่งยืนดังกล่าว เราจึงรึเริ่มโครงการ “ลุมพินี Zero Waste” ขึน้ โดยมุง่ เน้นการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยเฉพาะขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือ Single-use Plastic ในโครงการนำ�ร่อง ณ ชุมชน ลุมพินี พาร์ค ปิน่ เกล้า ในส่วนของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ อย่างไฟฟ้า น้ำ� ขยะ บริษัทยังคงติดตามผลการดำ�เนินงานอย่างใกล้ชดิ และ ต่อเนือ่ งในทุกโครงการ

Lumpini Zero Waste Project โครงการ “ลุมพินี Zero Waste” เป็นหนึง่ ในการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อมในชุมชนลุมพินที เ่ี กิดขึน้ จาก ความต้องการตอบสนองต่อประเด็นด้านสิง่ แวดล้อมทีม่ นี ยั สำ�คัญ ณ ปัจจุบนั และมีความเสีย่ งต่อผลกระทบ เชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยบริษัทริเริ่มการลดใช้พลาสติกประเภท Single-use เพือ่ ลดขยะ พลาสติกตัง้ แต่ตน้ ทาง ควบคูไ่ ปกับการสร้างความตระหนัก และการมีสว่ นร่วมจากเจ้าหน้าที่ ผูป้ ระกอบการ ร้านค้า และผูพ้ กั อาศัย ภายในโครงการลุมพินี พาร์ค ปิน่ เกล้า ผ่านการดำ�เนินงานใน 3 ส่วน คือ 1. ให้ความรูผ้ า่ นนิทรรศการและสือ่ ผสม 2. สร้างแรงจูงใจผ่านเกมและกิจกรรม 3. สร้างการมีสว่ นร่วมผ่านการลงมือทำ� ภายหลังจากที่ได้ด�ำ เนินโครงการไประยะหนึง่ แล้วและได้มีการสอบถามร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ พบว่ามี ผู้พักอาศัยให้ความสนใจและมีสว่ นร่วม เช่น การนำ�ภาชนะมาใส่อาหารและเครือ่ งดืม่ หรือการนำ�ถุงผ้ามา ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ ในร้านสะดวกซื้อมีจุดบริการให้ยืมถุงผ้าสำ�หรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมมา เพือ่ ลด การรับถุงพลาสติก

• เกมส์

6 GREEN LPN

• ร่วม DIY ของใช้

• GREEN MARKET

81


การจัดการขยะในชุมชนลุมพินี ขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนลุมพินี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย โดยในปี 2561 มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 1,050 ตันต่อเดือน สูงขึน้ จากปีทผ่ี า่ นมา 0.19% อย่างไรก็ตามเมือ่ ติดตามในรายละเอียดข้อมูลเฉลีย่ /วันแล้วพบว่า จากการส่งเสริมการแยกขยะ ในชุมชนที่ผ่านมา ปริมาณขยะที่สามารถนำ�ไปรีไซเคิลได้นั้นมีสัดส่วนที่สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา และปริมาณขยะทั่วไปลดลง โดยมีขยะทัว่ ไป 94.88% (ลดลงจากปี 2560 ทีม่ ปี ริมาณขยะทัว่ ไป 33,371 กิโลกรัม/วัน สัดส่วน 95.51%) ขยะรีไซเคิล 5.06% (เพิม่ ขึน้ จากปี 2560 ทีม่ ปี ริมาณขยะทัว่ ไป 1,595 กิโลกรัม/วัน สัดส่วน 4.42% ) และขยะอันตราย 0.06% (ลดลงจากปี 2560 ทีม่ ปี ริมาณขยะอันตราย 18 กิโลกรัม/วัน สัดส่วน 0.07%) บริษัทได้ศึกษาองค์ประกอบขยะในอาคารชุด เพื่อรวบรวมข้อมูลปริมาณและชนิดของขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมทัง้ ระบบการจัดการขยะที่ใช้อยู่ ในปัจจุบนั เพือ่ นำ�ข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการขยะให้มคี วามเหมาะสม มีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้

• ปริมาณขยะต่อวัน ขยะทั่วไป/เศษอาหาร 29,915 กก./วัน

พนักงานบริการชุมชน คัดแยก 292 กก./วัน

(94.88%)

ขยะรวม 31,528 กก./วัน

ขยะรีไซเคิล 1,595 กก./วัน

(คิดเป็นใน 1 วัน 1 คนทิง้ ขยะ ประมาณ 142 กรัม)

ขยะอันตราย 18 กก./วัน

(~1,050 ตัน/เดือน)

(5.06%)

ถังคัดแยก 1,303 กก./วัน

(4.13%)

(0.06%)

ขยะร� ไซเคิล

ขยะทั่วไป

(0.93%)

94.88%

5.06%

ขยะอันตราย

0.06%

ปร�มาณขยะ ในชุมชน (ข้อมูลทุกโครงการ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561)

82

IN PROCESS

COMMUNITY - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


• ระบบการจัดการขยะภายในโครงการ ถังขยะ ประจำ�ชั้น

แม่บ้านคัดแยกประเภทขยะ ขั้นต้นและขนย้าย ไปห้องพักขยะ

แม่บ้านคัดแยกประเภทขยะ ครั้งที่ 2 และรวบรวมไปไว้ ที่ห้องพักขยะรวม

รถจัดเก็บขยะ กทม. เข้าขนย้ายทุก 1-2 วัน

ถังขยะ รี ไซเคิล

รวบรวมขยะรี ไซเคิล ไว้ในห้องพักขยะแห้ง

ขายขยะรี ไซเคิล 2-4 ครั้งต่อเดือน

โรงกำ�จัด ขยะมูลฝอย

ถังขยะ อันตราย

รถจัดเก็บขยะ กทม. เข้าขนย้ายทุก 1-2 วัน

โรงกำ�จัด ขยะอันตราย

ขยะจาก ห้องพัก • เจ้าของร่วม • ผูพ้ กั อาศัย • พืน้ ทีส่ ว่ นกลาง

การบริหารจัดการไฟฟ้า • ปริมาณการใช้ ไฟฟ้าในชุมชนลุมพินี

ห องชุดพักอาศัย

70%

มีปร�มาณ การใช ไฟฟ า ของปร�มาณไฟฟ าทั้งหมดในชุมชน

ปริมาณการใช้ ไฟฟ้าเฉลี่ย ต่อเดือนสำ�หรับพื้นที่ส่วนกลาง และงานระบบลดลง

1.48% 6 GREEN LPN

พ�้นที่ส วนกลางและงานระบบ ปร�มาณ การใช ไฟฟ า ในชุมชนลุมพ�นี

30%

มีปร�มาณการใช ไฟฟ า ของปร�มาณไฟฟ าทั้งหมดในชุมชน

โดยเป็นไฟฟ้าที่ใช้ส�ำ หรับระบบลิฟต์ ระบบปัม๊ น้�ำ ดี ระบบบำ�บัดน้�ำ เสีย ระบบแสงสว่าง ระบบไฟฟ้าหลัก สระว่ายน้ำ�และเครื่องออกกำ�ลังกาย ระบบเครื่อง ปรับอากาศ ฯลฯ โดย ณ สิน้ ปี 2561 มีการใช้ไฟฟ้า งานระบบและพื้นที่ส่วนกลางเฉลี่ย 5,028,563 หน่วย (kWh) / เดือน หรือ 60,342,753 หน่วย / ปี ซึง่ ลดลงจากปีก่อนหน้า 1.48% คิดเป็นค่าไฟฟ้า 223 ล้านบาท/ปี

83


• การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ในปี 2561 บริษัทได้ดำ�เนินกิจกรรมที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยได้กำ�หนดให้ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของทุกเดือนเป็นสัปดาห์กิจกรรม ปิดไฟ ทั้งนี้ มีจำ�นวนโครงการที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 156 โครงการ สามารถประหยัดไฟได้ 51,395 กิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือคิดเป็นเงิน 190,028 บาท

ป ดไฟ 1 ชั่วโมง ประหยัดไฟ

156 โครงการ

51,395 kWh

คิดเป นเง�น

190,028

เข าร วม

บาท

#LPNCHANGE

อุปกรณ์และระบบงานไฟฟ้า บริษัท ได้ดำ�เนินการการติดตั้งเครื่องมือ ควบคุมการใช้ไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงาน ไฟฟ้า วางแผนการใช้ไฟฟ้าและการเดินระบบเครือ่ งจักรเป็นเวลา สำ�หรับ ไฟฟ้าส่วนกลางและงานระบบ โดยแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำ�วันของผู้พักอาศัย

กิจกรรมรณรงค์และส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เพื่อให้ผู้พักอาศัย มีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน ได้แก่ กิจกรรมปิดไฟฟ้าในพื้นที่ ส่วนกลาง 1 ชั่วโมง ทุกวันเสาร์ที่ 3 และ 4 ของเดือน มีชุมชนลุมพินี เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 156 แห่ง

• การใช้พลังงานทดแทนในชุมชนลุมพินี มีการติดตั้ง Solar Rooftop ในบางโครงการเพื่อทดแทนการนำ�ข้า พลังงานภายนอก โดยแผงโซลาเซลล์ที่ติดตั้งบนดาดฟ้าสามารถผลิต ไฟฟ้าได้ 80 กิโลวัตต์ ซึง่ คาดว่าจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 15 - 20% หรือสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้สงู สุด 57,500 บาทต่อเดือน คืนทุนได้ ภายใน 5 ปี และอายุการใช้งานนานประมาณ 20 ปี โดยได้ทำ�การติดตั้ง ใน 2 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา 2. โครงการลุมพินี เพลส พระราม 8

84

IN PROCESS

COMMUNITY - ผลการดำ�เนินงาน

SD Report


การบริหารจัดการน้ำ� แหล่งน้ำ�ใช้ในชุมชนลุมพินีมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค โดยในปี 2561 มีปริมาณการใช้น้ำ�เฉลี่ย เท่ากับ 542,012 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน (ข้อมูลเฉลี่ยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - ตุลาคม 2561) น้ำ�ที่ผ่านการใช้แล้วหรือน้ำ�เสียที่ปล่อยออก มามีปริมาณเฉลี่ย 433,609 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน คิดเป็น 80% ของปริมาณน้ำ�ทั้งหมดในชุมชน ส่วนปริมาณน้ำ�ที่เหลือบางส่วนระเหยไป ตามธรรมชาติ และบางส่วนถูกกักเก็บไว้ใช้ มีปริมาณเฉลี่ย 108,402 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน คิดเป็น 20% ของปริมาณน้ำ�ทั้งหมดในชุมชน โดยน้ำ�ที่ผ่านการใช้แล้วหรือน้ำ�เสียทั้งหมดจะผ่านการบำ�บัดก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ�สาธารณะ ซึ่งการบำ�บัดน้ำ�เสียแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การบำ�บัดด้วยระบบบำ�บัดน้ำ�เสียของชุมชนลุมพินี จำ�นวน 106 แห่ง การบำ�บัดโดยระบบบำ�บัดกลางของกรุงเทพมหานคร/ท้องถิ่น มีจำ�นวน 42 แห่ง และโครงการบ้านลุมพินี จำ�นวน 14 แห่ง ทั้งนี้น้ำ�เสียที่ผ่านการบำ�บัดด้วยระบบบำ�บัดน้ำ�เสียของชุมชนประมาณ 7.3% ของน้ำ�เสียที่ ผ่านการบำ�บัดแล้ว จะนำ�กลับมาใช้ภายในชุมชน เช่น นำ�ไปรดต้นไม้ ล้างพื้นถนน และฉีดทำ�ความสะอาดบ่อบำ�บัดน้ำ�เสีย ส่วนน้ำ�เสียที่ผ่าน การบำ�บัดแล้วประมาณ 92.7% ที่เหลือจะถูกปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ�สาธารณะ

การบริหารจัดการน้ำ� แหล่งน้ำ�ที่ใช้ : การประปานครหลวง / การประปาส่วนภูมิภาค 542,012 ลบ.ม./เดือน

น้ำ�เสียที่เข้าสู่ระบบบำ�บัดน้ำ�เสีย (80%) 433,609 ลบ.ม./เดือน

ระบบบำ�บัดภายในชุมชนลุมพินี

น้ำ�ที่กักเก็บไว้ใช้ (20%) 108,402 ลบ.ม./เดือน

ระบบบำ�บัดภายนอกชุมชนลุมพินี

7.3% นำกลับมาใช ใหม

คุณภาพน้ำ�

ไม่ผ่าน

นำไปรดต นไม ล างพ�้นถนน และฉีดทำความสะอาดบ อบำบัดน้ำเสีย

เกณฑ์มาตรฐาน

คุณภาพน้ำ

ผ าน

เกณฑ มาตรฐาน

6 GREEN LPN

อยสู แหล งนํ้า 92.7% ปล สาธารณะ

85


3

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม นอกกระบวนการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

86

OUT PROCESS

SD Report


กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกกระบวนการ ความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการทำ�งาน (CSR-in-process) อย่างกระบวนการก่อสร้างสีเขียว (Green Construction Process) เป็น กลยุทธ์สำ�คัญในการลดผลกระทบเชิงลบที่บริษัทมีต่อชุมชนอย่างยั่นยืน อย่างไรก็ตาม การอยู่ร่วมกันเป็น “ชุมชนลุมพินี” ได้อย่างมีความสุข มากยิ่งขึ้นนั้น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการกระชับสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัย การสร้างกิจกรรมสัมพันธ์ การทำ�สิ่งดีๆ คืนสู่สังคมร่วมกัน ย่อมจะทำ�ให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและผู้อยู่อาศัยแน่นแฟ้นและมีความผูกพันร่วมมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงตั้งใจที่จะขยายขอบเขตความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมสู่สังคมภายนอก โดยต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่ม ทั้งบุคลากร ลูกค้า ปิยมิตร ดังคำ�ที่ว่า “สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดีต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน เมื่อเราพร้อมจึงขยายออกไปสู่ชุมชนที่ เราพัฒนาและบริหาร และสุดท้ายจึงขยายไปสู่ชุมชนรอบข้าง” (From Corporate ESR to Community ESR) ดังนั้นในปี 2561 จึงมีกิจกรรมและโครงการต่างๆ เกิดขึน้ มากมายซึง่ เป็นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่ส�ำ คัญขององค์กร เพือ่ ตอบสนองต่อ นโยบายการบริหารจัดการชุมชนที่บริษัทมุ่งพัฒนาให้ทุกโครงการเป็น “ชุมชนน่าอยู่” และเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รายอื่น โดยได้แบ่งเป็น 1) กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัทที่เป็นกิจกรรมหลักและจัดต่อเนื่องทุกปี (Corporate ESR) และ 2) กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของชมรมลุมพินีอาสา (Community ESR)

กิจกรรมหลักขององค์กรที่จัดต่อเนื่องทุกปี กิจกรรมรับบริจาคโลหิต บริษัทเริ่มตั้งเป้าหมายในการจัดหาและส่งมอบโลหิตสำ�รองให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จำ�นวน 1 ล้านซี.ซี. ขึน้ ในปี 2559 และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในปีดงั กล่าว ต่อมาบริษทั ได้รเิ ริม่ ตัง้ เป้าหมายขึ้นเป็นประจำ�ทุกปี จนมาถึงในปี 2561 ที่บริษัทตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 1,500,000 ซี.ซี. อย่างไรก็ตาม ตลอดปี 2561 บริษัทได้รับบริจาคโลหิตทั้งหมด 1,205,400 ซี.ซี. ซึ่งถึงแม้จะ ต่�ำ กว่าเป้าที่ได้กำ�หนดไว้ แต่ก็ถือว่าสูงกว่าในปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.20 โดยได้รับโลหิตจาก หน่วยรับบริจาคในชุมชนลุมพินี มีทั้งหมด 10 หน่วย ดังนี้

• อาคารลุมพินี ทาวเวอร์ • กลุม่ โครงการลุมพินี สุขมุ วิท 77 • โครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-นวมินทร์ • กลุม่ โครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ • โครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทรเดชา-รามคำ�แหง • โครงการพี.เอส.ที ซิต้โี ฮม • โครงการลุมพินี เมกะซิต้ี บางนา • โครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา • กลุม่ โครงการลุมพินี พระราม 8 • โครงการลุมพินี พาร์ค ปิน่ เกล้า

6 GREEN LPN

แอล.พี.เอ็น. สามารถจัดหาและ ส่งมอบโลหิตสำ�รองให้ศนู ย์บริการ โลหิตแห่งชาติ จำ�นวน

1.2

ล้าน ซี.ซี.

(จำ�นวน 1,205,400 ซี.ซี.) สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.2

87


การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก แบ่งการดำ�เนินงานเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การพัฒนาชุมชนหน่วยงานราชการบริเวณโดยรอบ 2. การส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม

• การพัฒนาชุมชนและหน่วยงานราชการบริเวณ โดยรอบโครงการ

• การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม

ในปี 2561 มีหน่วยงานที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่แล้ว จำ�นวน 5 แห่ง ดังนี้

บริษทั มีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมของชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ เพือ่ ร่วมพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กบั สังคม รวม 80,000 บาท

หน่วยงาน สำ�นักงานเขตดินแดง สำ�นักงานเขตพญาไท สำ�นักงานเขตบางพลัด สำ�นักงานเขตยานนาวา โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว เขตจอมทอง

88

รายละเอียดการปรับปรุง ทาสีสำ�นักงานฝ่ายโยธา ปรับปรุงพื้นที่สำ�นักทะเบียน ปรับปรุงพื้นที่สำ�นักทะเบียน ปรับปรุงพื้นที่สำ�นักทะเบียน ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่โรงเรียน

หน่วยงานทีบ่ ริษทั สนับสนุน โรงเรียนวัดบางขุนนนท์ ชุมชนซอยกอไผ่ วัดจันทรสุข มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย โรงเรียนบ้านหัวดอน โรงเรียน ตชด.นเรศวรบ้านห้วยโสก วัดศรีทรงธรรม มูลนิธสิ ากลเพือ่ คนพิการ ชมรมเพือ่ นช่วยเพือ่ นตำ�รวจแห่งชาติ มูลนิธสิ ทุ ธิรตั น์ อยูว่ ทิ ยา

OUT PROCESS

จำ�นวนเงิน (บาท) 3,000 10,000 20,000 10,000 2,000 2,000 10,000 3,000 10,000 10,000

SD Report


กิจกรรมชมรมลุมพินี ชมรมลุมพินีเป็นชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของเจ้าของร่วม เพื่อทำ�กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งบริษัทได้ร่วมส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมของชมรมอย่างต่อเนื่อง มีการดำ�เนินกิจกรรมดังนี้

• กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ชือ่ กิจกรรม

จัดโดย

อาสาปล่อยปู 1 รวมพลคนใจดี พืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติ

ชมรมรวมพลคนใจดี ลุมพินอี าสา

กิจกรรม : • บริจาคเงิน จำ�นวน 7,000 บาทให้กับกลุ่มประมงเรือเล็กฯ • ปล่อยปูดำ� จำ�นวน 100 ตัว • ปลูกต้นโกงกาง จำ�นวน 100 ต้น • รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ที่สวนลุงทองใบ วันที่จัดกิจกรรม : 1 กรกฎาคม 2561

2 ฅนอาสาสร้างฝายชะลอน้�ำ

ชมรมฅนอาสา

กิจกรรม : • สร้างฝายชะลอน้ำ�และปลูกต้นไม้ 100 ต้น ที่หน่วยจัดการ ต้นน้�ำ แก่งกระจาน • ท่องเที่ยวที่ Camel Republic วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 26 สิงหาคม 2561

องนาวา ปล่อยปู ปลูกป่า 3 ล่เฮฮารอบเกาะ เลาะหาด

ชมรมชุมชนน่าอยู่ ลุมพินีสัมพันธ์

กิจกรรม : • ปลูกต้นโกงกาง 499 ต้น และปล่อยปูม้า 5 ล้านตัว • เก็บขยะชายหาดทีเ่ กาะขาม วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 26 สิงหาคม 2561

น้�ำ ใจ 4 ปัคืนนความสุ ขสูป่ า่ สร้างฝาย

ชมรมปันน้ำ�ใจลุมพินี

กิจกรรม : • สร้างฝ่ายชะลอน้ำ� • ทำ�โป่งเทียม • ปลูกต้นไม้ • ยิงเมล็ดมะค่าโมง วันที่จัดกิจกรรม : 7 ตุลาคม 2561

ยิงเมล็ดเพาะพันธ์มะค่าโมง ทำ�โป่งเทียม

6 GREEN LPN

รายละเอียดกิจกรรม

89


• กิจกรรมด้านสังคมและนันทนาการ ชือ่ กิจกรรม มบ้านพ่อ สวนจิตรลดา 1 เยีวังย่ ของกษั ตริยผ์ พู้ อเพียง

จัดโดย

รายละเอียดกิจกรรม

ชมรมเพื่อผู้สูงวัย ชุมชนลุมพินี

กิจกรรม : การฟังบรรยายและเดินชมโครงการส่วนพระองค์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 1 พฤษภาคม 2561

ชมรมเพือ่ ผูส้ งู วัย ลุมพินรี ว่ มกับ LPN รวมใจแบนด์คลับ

กิจกรรม : • การแสดงดนตรีจากวง LPN รวมใจแบรนด์คลับ • เปิดฟลอร์ให้ผสู้ งู วัยร่วมเต้นรำ� • ประกวดการแต่งกายย้อนยุคในธีมละครบุพเพสันนิวาส • กิจกรรมพับดอกไม้จากใบเตย • การนวดผ่อนคลาย • รับประทานอาหารร่วมกัน วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 24 มิถนุ ายน 2561

3 สิกรุงงหาเทพฮาล์2018ฟ มาราธอน

ชมรมลุมพินี เดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ

กิจกรรม : เดิน - วิง่ และได้รบั ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ 9 รางวัลอันดับที่ 1 ของสมาชิก ทีส่ ง่ ผูร้ ว่ มกิจกรรมมากทีส่ ดุ วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 12 สิงหาคม 2561

4 ฟังสร้างสุข

ธนาคารจิตอาสา สสส.

กิจกรรม : เรียนรูท้ กั ษะการสือ่ สารและการฟังอย่างลึกซึง้ เพือ่ ให้เกิด ความเข้าใจผูอ้ น่ื วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 5 เมษายน, 28 มิถนุ ายน, 8 กันยายน 2561

รวมใจสูงวัย 5 LPN ร่วมใจมอบความสุขแด่

ชมรมเพื่อผู้สูงวัย ชุมชนลุมพินี

กิจกรรม : • ทำ�กิจกรรมกับผูพ้ กิ ารทางสายตา โดยมีวงดนตรีจาก LPN รวมใจแบนด์คลับ • มอบสิง่ ของบริจาคและเงินสนับสนุนจำ�นวน 69,000 บาท • เข้าชมพิพธิ ภัณฑ์ ณ สัทธาอุทยานไทย วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 4 พฤศจิกายน 2561

ทีส่ ดุ ในโลก

2 รวมใจวัยเก๋า ย้อนวัยอลวน

น้องๆ โรงเรียนธรรมิกวิทยา

90

OUT PROCESS

SD Report


• กิจกรรมการระดมทุนและบริจาค ชือ่ กิจกรรม นน้�ำ ใจ ร่วมพัฒนา 1 ปัสถานคุ ม้ ครองสวัสดิภาพ

จัดโดย ชมรมปันน้ำ�ใจลุมพินี

กิจกรรม : • การแข่งวอลเลย์บอล • บริจาคสิง่ ของอุปโภคและบริโภค • เลีย้ งอาหารกลางวันน้องๆ วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 23 มิถนุ ายน 2561

บริษทั แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

กิจกรรม : รับบริจาคเงินช่วยผูป้ ระสบภัย สปป.ลาว ผ่านบัญชีสภากาชาดไทย มียอดบริจาครวม 27,877.75 บาท วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 26 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม 2561

เด็กภาคตะวันออก จังหวัดระยอง

นน้�ำ ใจช่วย 2 ร่ผูวป้ มปัระสบภั ยพิบตั ิ สปป.ลาว

รายละเอียดกิจกรรม

ร่วมบริจาค ชมรมรวมพลคนใจดี 3 รวมพลคนใจดี และเลีย้ งอาหารกลางวันน้องๆ ลุมพินีอาสา

กิจกรรม : • บริจาคเงินและเครือ่ งอุปโภคบริโภค • เลีย้ งอาหารกลางวัน วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 17 พฤศจิกายน 2561

BANGKOK 4 BDMS MARATHON 2018

กิจกรรม : LPN สนับสนุนค่าสมัครทุกคนคนละ 100 บาท เพือ่ เป็นการส่งเสริมกิจกรรมคนในชุมชนลุมพินี วันทีจ่ ดั กิจกรรม : 18 พฤศจิกายน 2561

ณ สถานสงเคราะห์เด็กพิการ จังหวัดราชบุรี

6 GREEN LPN

ชมรมลุมพินี เดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ

91


ความคิดริเริ่มด้านส่งเสริมการศึกษา ทุนที่พักอาศัยเพื่อการศึกษาของนักศึกษา (LPN Scholarship)

นอกจากกิจกรรมเพือ่ สิง่ แวดล้อมและสังคมที่จัดขึ้นโดยบริษัทและชมรมลุมพินอี าสาแล้ว ในปี 2561 นับเป็นก้าวย่างทีส่ �ำ คัญอีกประการหนึง่ ของ LPN โดยบริษัทตระหนักดีว่าผลิตภัณฑ์และบริการในการเป็น “ที่อยู่อาศัย” ของเรานั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตของ มนุษย์และมีสว่ นสำ�คัญต่อโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศ ดังนัน้ ในปี 2561 เราจึงได้รเิ ริม่ การสนับสนุนห้องพักแก่ผทู้ ข่ี าดแคลนผ่านความร่วมมือกับ หน่วยงานภายนอกในลักษณะของการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) ขึ้น บริษัทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านทุนที่พักอาศัยเพื่อการศึกษาของนักศึกษา (LPN Scholarship) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าครองชีพของนักศึกษาผ่านการให้ทุนที่พักอาศัยแก่เยาวชนที่ประพฤติดี การเรียนดี แต่ขาดแคลนที่พักอาศัยในระหว่างการศึกษา เป็นระยะเวลา 4 ปี เพื่อให้นักศึกษามีที่พัก ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีที่พักอยู่ใกล้สถานศึกษา รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง รับทุนการศึกษาอีกด้วย ทั้งนี้ บริษัทจะสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำ�กิจกรรมตอบแทนสังคม ช่วยเหลือกิจกรรมชุมชน ผ่านกิจกรรม GIVE & TAKE หรือกิจกรรมอื่นใดที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำ� กิจกรรมตอบแทนสังคมในโอกาสต่างๆ เช่น การเป็นจิตอาสา ทำ�หน้าที่ถ่ายทอดความรู้หรือเป็น ครูพิเศษ เพื่อให้ความรู้แก่เด็กๆ ในชุมชน การช่วยเหลือกิจกรรมชุมชน ในการบริหารชุมชน หรือ การฝึกงานกับบริษัทเพื่อเสริมประสบการณ์ ในการทำ�งาน การหารายได้พิเศษช่วงวันหยุด ในการ เป็นพนักงานขายเสริม โดยมีค่าตอบแทนให้ในวันที่ทำ� เป็นต้น สำ�หรับในปีที่ผ่านมา บริษัทได้สนับสนุนห้องชุดพักอาศัยในโครงการโครงการอาคารชุด ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำ�นวน 50 ยูนิต แก่นักศึกษาจำ�นวน 100 คน (100 ทุน) ซึ่งการสนับสนุนทุนที่พักอาศัยนี้ นอกจากจะเป็นการใช้ ศักยภาพและทรัพยากรขององค์กรมาเป็นประโยชน์ตอ่ สังคมแล้ว ยังเป็นการเพิม่ โอกาสทางการศึกษา ให้แก่นักศึกษาต่างจังหวัดที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายและมีส่วนสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สังคมไทยผ่านการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน

92

OUT PROCESS

LPN สนับสนุนห้องชุด พักอาศัยให้แก่นกั ศึกษา เสมือนเป็นทุนการศึกษา ด้านทีพ ่ กั อาศัย จำ�นวนทัง้ สิน้

50

ยูนิต

มอบแก่นักศึกษา 100 ทุน จำ�นวนทั้งสิ้น

100

คน

SD Report


4

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม อิงกระบวนการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

6 GREEN LPN

93


กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อิงกระบวนการ ในส่วนของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอิงกระบวนการ กล่าวคือ เป็นกิจการที่มีลักษณะการดำ�เนินงานให้เป็นไปเพื่อด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมโดยเฉพาะหรือ CESR-as-process ของ LPN นี้ โดยที่ผ่านมาได้ดำ�เนินงานภายใต้ชื่อ บริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำ�กัด (LPC) เพื่อเป็นหน่วยงานในการช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิตสำ�หรับสตรีด้อยโอกาสทางสังคมในลักษณะของกิจการเพื่อ สังคม (Social Enterprise) และในปีที่ผ่านมา ต้องถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทที่หนึ่งในหน่วยงานที่เรามุ่งหวังให้เป็นกิจการเพื่อสังคม นี้เอง ได้รับการรับรองจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อย่างเป็นทางการ ให้เป็นบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นกลุ่มแรก ของประเทศไทย โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำ�กัด ภายหลังได้รับการรับรอง นอกจากการดำ�นินงานในลักษณะของกิจการเพื่อสังคมแล้ว บริษัทยังได้จัดตั้งสถาบันแอล.พี.เอ็น. (LPN Academy) ขึ้นมาเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรเป็นการเฉพาะอีกด้วย

LPC SOCIAL ENTERPRISE

ด้วยธุรกิจของ LPN ที่ประกอบด้วยพนักงานหญิงเป็นส่วนใหญ่ และต้องพึ่งพิงพนักงาน แม่บ้าน ซึ่งโดยมากจะเป็นสตรีที่มีรายได้น้อย มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว และมีการ ศึกษาในระดับที่ต่ำ�กว่าประถมศึกษา บริษัทจึงให้ความสำ�คัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มนี้ จนได้กลายมาเป็น บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำ�กัด เพื่อให้โอกาสสตรี ผู้ด้อยโอกาสอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้ให้คำ�นิยามของคำ�ว่า “สตรีด้อยโอกาสทางสังคม” ประกอบด้วย 5 เกณฑ์ ดังนี้

94

1) มีการศึกษาน้อย (ไม่รหู้ นังสือ - ประถมศึกษา) 2) มีภาระเลีย้ งดูครอบครัวคนเดียว 3) ถูกนายจ้างเก่าเอารัดเอาเปรียบ 4) ผูส้ งู อายุ (เกษียณอายุ) 5) ผูพ้ กิ าร (มีบตุ รผูพ้ กิ าร)

LPC มีพนักงานทั้งหมด 2,012 คน คิดเป็น

55.63% ของพนักงานทั้งหมด

พนักงานหญิงของ LPC จำ�นวน 1,915 คน คิดเป็น

52.94% ของพนักงานทั้งหมด

AS PROCESS

SD Report


LPC Social Enterprise ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาสตรีด้อยโอกาสที่เสี่ยงต่อการถูกนายจ้างเอารัด เอาเปรียบ มุ่งหวังสร้างคุณภาพชีวิตสตรีกลุ่มนี้ให้สามารถดำ�รงชีพได้ด้วยตนเอง ผ่านการให้โอกาส ทางการศึกษา ค่าจ้างที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ� 10% ฝึกทักษะอาชีพด้านอื่นๆ เพื่อเป็นอาชีพเสริมใน การยังชีพ รวมไปถืงการเป็นตัวกลางในการแก้ปญั หาหนีน้ อกระบบของพนักงานกับเจ้าหนี้ โดยบริษัทจะ มีการพิจารณาเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยและส่งเสริมวินัยการออมให้แก่พนักงานกลุ่มนี้อีกด้วย โดย LPC จะเป็น “วิสาหกิจเพือ่ สังคม” ทีม่ งุ่ “แก้ไขปัญหาสังคม” อย่างแท้จริงผ่านกลุม่ สตรีผดู้ อ้ ยโอกาสเหล่านี้ บริษัทเปิดโอกาสให้สตรีผู้ด้อยโอกาสเข้ารับการพิจารณาตามเกณฑ์ที่บริษัทกำ�หนด โดยตลอดปี ที่ผ่านมา มีพนักงานบริการชุมชนที่เข้ารับการพิจารณาทั้งหมด 2,005 คน มีผู้ที่เข้าเกณฑ์ จำ�นวน 1,331 คิดเป็น 66% และผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ (ไม่ด้อยโอกาสทางสังคม) จำ�นวน 674 คน คิดเป็น 34% และสำ�หรับพนักงานผู้พิการและพนักงานผู้สูงอายุ มีการจัดสรรงาน ด้านบริการชุมชนลุมพินีและ ช่วยเหลือสังคมตามความเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนพนักงานกลุ่มนี้ในด้านอื่นๆ เช่น การส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริม วิชาชีพ และการสร้างความสุข เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

66%

คือสัดส่วนของผู้ที่เข้าเกณฑ์​ สตรีด้อยโอกาส ทำ�ให้เเกิดการ จ้างงานสตรีด้อยโอกาส 1,331 คน ในปี 2561

การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ เป็นพื้นฐานสำ�คัญที่ช่วยผลักดันให้พนักงานบริการชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บริษทั จึงสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ให้พนักงานบริการชุมชน รวมถึงการมอบทุนการศึกษาให้กบั บุตรพนักงานด้วย รายละเอียดดังนี้

• ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน โครงการส่งเสริม การศึกษานอกระบบ (กศน.)

โครงการทวิภาคี

(รับการศึกษาในระดับ ปวส. สาขาไฟฟ้า และสาขาบัญชี)

โครงการมอบทุนการ ศึกษาแก่บุตรพนักงาน (วันครอบครัว LPN)

โครงการมอบทุน การศึกษาแก่บุตร พนักงานที่เรียนดี

47 คน 3 คน 437 ทุน 32 ทุน จบการศึกษาจำ�นวน

(ณ เดือนเมษายน 2561)

จำ�นวน

(1 คน / ทุน) ทุนละ 4,000 บาท รวม 1,748,000 บาท

การส่งเสริมวิชาชีพ จัดโครงการส่งเสริมวิชาชีพ จำ�นวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรนวดแผนไทย มีผู้จบหลักสูตรแล้ว 51 คน และหลักสูตรการทำ�น้ำ�ยาล้างจานและสบู่เหลว มีผู้เข้าอบรม จำ�นวน 36 คน

6 GREEN LPN

มีผู้จบหลักสูตรการส่งเสริม วิชาชีพใน 2 หลักสูตร รวม

87 คน

95


การส่งเสริมพนักงานทำ�ความดี บริษัทสนับสนุนและชื่นชมพนักงานบริการชุมชนที่ทำ�ความดีจากการ เก็บทรัพย์สนิ พร้อมทัง้ ส่งคืนผูร้ บั และการช่วยเหลือผูพ้ กั อาศัยในชุมชน ลุมพินี มีพนักงานบริการชุมชนทำ�ความดี จำ�นวน 1,469 คน

พนักงานความดีที่ช่วยเหลือ ผู้พักอาศัยในชุมชนลุมพินี

1,469 คน

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561)

มีการช่วยเหลือ และจัดกิจกรรมจิตอาสาทั้งหมด

การช่วยเหลือสังคมด้วยกิจกรรมจิตอาสา มีการจัดแบ่งพนักงานบริการชุมชนออกเป็นกลุม่ โครงการ เพือ่ ลงพืน้ ที่ ทำ�ความสะอาดพื้นที่สาธารณะต่างๆ ได้แก่ วัด ชุมชน สถานีตำ�รวจ และชายหาด เป็นต้น ซึง่ มีการจัดกิจกรรมจิตอาสาทัง้ หมด 2,353 ครัง้

2,353 ครั้ง

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561)

การส่งเสริมและสร้างความสุข ให้กับพนักงานบริการชุมชน รายละเอียดการดำ�เนินงาน

ผลการดำ�เนินงาน

ข้าวหม้อเดียวกัน

มอบหม้อหุงข้าวและข้าวสารให้กับพนักงาน เพื่อใช้หุงรับประทานร่วมกันในชุมชนลุมพินี

มอบให้ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4,842 ถุง

มอบข้าวสารให้พนักงาน

เพื่อช่วยลดภาระครัวเรือนของพนักงาน

คนละ 2 กิโลกรัม รวม 5,830 ถุง

ตรวจสุขภาพประจำ�ปี

เพื่อส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีสุขภาพที่ดี

มีพนักงานเข้ารับการตรวจ 1,863 คน

โครงการ

1 2 3 4

เพื่อช่วยลดภาระครัวเรือนของพนักงาน ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

5

กิจกรรม Outing ประจำ�ปี

พาพนักงานบริการชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก

ผู้เข้าร่วม จำ�นวน 170 คน

6

โครงการจดแล้วไม่จน

เพื่อช่วยพนักงานปลดหนี้นอกระบบ โดยบริษัทนัดพบ เจ้าหนี้เพื่อปลดหนี้นอกระบบ จะมีการติดตามผลภายหลัง ปลดหนีแ้ ล้วเพือ่ ไม่ให้พนักงานกลับไปเป็นหนีน้ อกระบบซ้�ำ อีก

ใช้งบประมาณ 2,275,000 บาท มีพนักงานที่ได้รับการปลดหนี้ นอกระบบแล้ว จำ�นวน 84 คน

7

โครงการรักการออม

สนับสนุนให้พนักงานมีเงินออม ด้วยการเปิดบัญชีออมทรัพย์ และฝากเงินตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป โดยหักจากเงินเดือน และ เมื่อฝากครบ 12 เดือน บริษัทจะสมทบเงินฝากให้เดือนละ 50 บาท โดยฝากเข้าบัญชีของพนักงานปีละ 1 ครั้ง

มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำ�นวน 270 คน

คนละ 2 กิโลกรัม รวม 5,830 ถุง

การผลิตน้ำ�หมักจุลินทรีย์ การผลิตน้ำ�หมักจุลินทรีย์สำ�หรับใช้ในกิจกรรมทำ�ความสะอาดภายในโครงการ

96

AS PROCESS

SD Report


LPN Academy : สถาบันแอล.พี.เอ็น. บริษัทมีนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะด้านภาวะผู้นำ� (Leadership Competency) ด้านการสอนงาน (Coaching) ให้กับพนักงานระดับ บริหาร และการพัฒนาสมรรถนะตามลักษณะงาน (Professional Competency) ให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ และคุณภาพเป็นมืออาชีพ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับสำ�นักทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ ทั้งด้านการวางแผนการเติบโต การสร้างและสรรหา ผู้สืบทอดตำ�แหน่ง การแต่งตั้งโยกย้าย การประเมินผลงานประจำ�ปี รวมถึงการพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารและ พัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงการสร้างและรักษาบุคลากรต่อการนำ�พาองค์กรไปสู่การเป็น “องค์กรคุณค่า” ทั้งหมดนี้ บริษัทได้ดำ�เนินงานผ่าน “สถาบัน แอล.พี.เอ็น.” เพื่อความชัดเจนในบทบาทการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพให้บคุ ลากรของบริษัทและบริษัทย่อย ทัง้ หมด

1. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร (Competency-Based Development) สถาบันแอล.พี.เอ็น. มีภารกิจหลักในการพัฒนาสมรรถนะร่วมกับผู้บังคับบัญชา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะหรือทัศนคติให้ได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งจะมีการประเมินสมรรถนะทุกปีในหลายรูปแบบ เพื่อวัด พฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่สะท้อนสมรรถนะแต่ละด้านว่าแสดงออกมากน้อยเพียงใด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาช่องว่างและนำ�มาวางแผนพัฒนา ฝึกอบรมรายบุคคล รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่หัวหน้างานใช้ในการวางแผนพัฒนาทีมงานได้อีกด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรประกอบ ด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน ดังนี้

ฒนาสมรรถนะหลัก 1 การพั (Core Competency หรือ

Core Competency

C-L-A-S-S-I-C)

หมายถึง การพัฒนาความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะทีท่ กุ คนในองค์กรจำ�เป็นต้องมี โดย การทบทวน กระตุ้นให้เกิดการนำ�ไปใช้ และ วัดผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดพฤติกรรม คนเก่งและคนดีที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์กร บรรลุ เ ป้ า หมายและภารกิ จ ตามวิ สั ย ทั ศ น์ ที่ องค์กรกำ�หนด

C-L-A-S-S-I-C (7 ตัว)

Leadership Competency Leadership (7 ตัว)

ฒนาสมรรถนะด้านความรู้ในงาน 2 การพั (Functional Competency) หมายถึง การพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่บุคลากร แต่ละสายงานจำ�เป็นต้องมี เพือ่ ใช้ในการปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามลักษณะ งานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

6 GREEN LPN

3

Functional Competency สายงานบริหารชุมชน สายงานบริหารโครงการ หน่วยงานธุรกิจนายหน้า สายงานบริหารงานขาย สายงานบริการชุมชน หน่วยงานบำ�รุงรักษา

การพัฒนาสมรรถนะด้านภาวะผู้นำ� (Leadership Competency) หมายถึง การพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ของผู้นำ� รวมถึงความรู้ ทักษะ ด้านการบริหารจัดการ ที่จำ�เป็นสำ�หรับระดับบริหารและหัวหน้างานที่มีหน้าที่ ในการบริหารงานและบริหารทีม

97


2. การพัฒนาและฝึกอบรม แผนการอบรมด้านการบริหารและภาวะผู้นำ� (Managerial & Leadership Course)

แผนอบรมด้านความรู้ในงาน (Functional Course)

บริ ษั ท กำ � หนดแผนการพั ฒ นาและฝึ ก อบรมเพื่ อ พั ฒ นาความรู้ แ ละ ทักษะ โดยมุง่ เน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะในด้านการบริหาร จัดการ ทั้งตัวบุคคล ทีมงานและงาน การสร้างภาวะผูน้ �ำ เพื่อพัฒนา สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ�ให้ได้ตามระดับความสามารถ (Proficiency Level) ที่องค์กรคาดหวัง โดยแผนการพัฒนาของบริษัทแบ่งหลักสูตร อบรมออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. หลักสูตรหลัก (Core Course) มุง่ เน้นการเสริมสร้างทัศนคติทด่ี กี บั มาตรฐานการทำ�งานแบบ LPN เช่น วิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) จรรยาบรรณ (Code of Conduct) LPN SERVICES Culture, LPN Business Practice Platform (3-6-8-10) และความรับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้งการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนา องค์กรสู่ความยั่งยืน เป็นต้น

แผนการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะตามลักษณะการทำ�งาน ของบริษัท มุ่งเน้นเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะในงาน โดย วิเคราะห์ตามจุดอ่อน จุดแข็ง จากผลการดำ�เนินงานในปีที่ผ่านมา และความจำ�เป็นในวิชาชีพที่สำ�คัญ และจัดทำ�เป็นแผนอบรมแยกตาม ประเภทงานหลัก ได้แก่ งานขาย-โอน-ธุรกิจนายหน้า งานบริหาร โครงการ งานบริหารชุมชน งานบำ�รุงรักษา งานสนับสนุน และงาน บริการชุมชน (พัฒนา ASK ให้พนักงานบริการชุมชนตามนโยบายช่วย เหลือสตรีด้อยโอกาส)

หลักสูตรเสริม (Elective Course) เป็นหลักสูตรเพื่อเสริมความรู้และทักษะของพนักงานทุกสายงาน โดย พนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่มีในหลักสูตรนี้ได้ตาม ความสนใจ เช่น หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลักสูตร Mind Map : จับประเด็นเห็นภาพรวม และหลักสูตรเข้าถึงใจสร้างสุข (สุขใจ กับการทำ�งาน) เป็นต้น

2. หลักสูตรด้านบริหารจัดการ (Managerial Course) มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะด้าน การบริหารจัดการและการสอนงาน เช่น หลักสูตร Systematic Planning & Effective Presentation with A3 Report หลักสูตร The Seed Idea Suggestion เป็นต้น โดยมีแผนการอบรมหลักสูตรด้านบริหารจัดการ 4 ระดับ ดังนี้ - แผนการพัฒนาผูบ้ ริหารระดับสูง (ระดับ 11-13) - แผนการพัฒนาผูบ้ ริหารระดับกลาง (ระดับ 8-10) - แผนการพัฒนาหัวหน้างานระดับต้น (ระดับ 5-7) - แผนการพัฒนาพนักงานระดับปฏิบตั กิ าร (ระดับ 2-4)

Support Function Mgt.

Community Mgt.

Preventive & Maintenance

Sale Mgt.

Service Community Mgt.

Project Mgt. Functional Course

Elective Course

S-E-R-V-I-C-E-S

Leader as Coach

Effective Supervisory Skill

First Line Manager Manager as Coach

Managerial & Leadership Course

The Seeds #4

Code of Conduct LPN Way

Core Course

98

AS PROCESS

SD Report


แนวทางการเรียนรู้ในสัดส่วน 70 : 20 : 10 บริษทั ได้น�ำ สัดส่วนการเรียนรู้ 70 : 20 : 10 มาปรับใช้ในการวางแผนพัฒนาและฝึกอบรมพนักงาน ที่ได้ขยายผลไปสูก่ ารใช้ประโยชน์ จากสถานทีป่ ฏิบตั งิ าน (On the Job Training - OJT) และการเรียนรูผ้ า่ นสังคมรอบข้าง เพือ่ การปรับปรุงและส่งเสริมการนำ�ความรู้ที่ ได้จากในห้องเรียนไปสูส่ ถานทีท่ �ำ งาน

70% หมายถึง การเรียนรู้ภายใน กระบวนการ ในสถานที่ทำ�งาน และการสนับสนุนต่างๆ

20%

70% OJT 1) การคุยกันยามเช า (Morning Talk) 2) การแบ งป นความรู หลังการอบรม (Sharing After Talk) หร�อการแบ งป นความรู ประสบการณ ณ จ�ดปฏิบัติการ โดยผู บร�หาร (Knowledge of Experience Sharing) 3) การสอนงานพนักงานใหม ในที่ทำงาน (New Staff OJT) 4) การสอนงาน พนักงานในที่ทำงาน เมื่อมีการมอบหมาย งานใหม เพ�่อเพ��มคุณค า (Job Enrichment) หร�อการเพ��มปร�มาณในงาน (Job Enlargement)

การอบรม พัฒนาที่มี ประสิทธิภาพ

20%

Coaching 1) L.8-13 Leader as Coach in Action 2) L.5-7 Manager as Coach in Action

10%

หมายถึง การเรียนรู้ผ่านสังคม และคนรอบข้าง ทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้การโค้ช การเป็นพี่เลี้ยง หรือการให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�ผ่าน เครือข่ายเชิงสังคม

10% หมายถึง การเรียนรู้ในรูปแบบ การฝึกอบรม การจัด Workshop

6 GREEN LPN

Training 1) หลักสูตรมาตรฐานองค กร 1.1 LPN Way 1.2 RMTC 1.3 SD, CESR, CG และ LPN Green Workshop 1.4 การให บร�การด วยใจ : SERVICES 2) หลักสูตรด านภาวะผู นำและการบร�หาร 4) กิจกรรมส งเสร�มความรู 2.1 L.8-13 : Leader as Coach 4.1 Book Briefing 2.2 L.5-7 : Manager as Coach 4.2 Knowledge Sharing 2.3 L.2-4 : The Seed Generation 2 4.3 Learning Delivery 4.4 E-Learning 3) หลักสูตรด านว�ชาชีพ 4.5 Morning Talk 3.1 งานขายโอน 4.6 Mind Map 3.2 งานบร�หารโครงการ 4.7 Learning from Movie 3.3 งานบร�หารชุมชน 3.4 งานบำรุงรักษา 5) การอบรมภายนอก 3.5 งานบร�การชุมชน 6) Business Simulation 3.6 งานธุรกิจนายหน า Mobile Technology

99


ผลการพัฒนาและฝึกอบรม การฝึกอบรมสำ�หรับพนักงาน LPN

การฝึกอบรมเฉลีย่ (ชม./คน/ปี) พนักงานทั้งหมด จำ�แนกตามเพศ • เพศหญิง • เพศชาย

บริษัทมิได้จำ�กัดการพัฒนาศักยภาพของแต่เฉพาะ พนักงานแอล.พี.เอ็น.เพียงอย่างเดียว แต่ยังขยาย ขอบข่ายความรับผิดชอบไปยัง LPN Team ซึ่งเป็น คู่ค้าของบริษัทอีกด้วย โดยในส่วนของการฝึกอบรม ประจำ�ปี 2561 ของพนักงาน บริษัทได้ตั้งเป้าหมาย ชั่วโมงการอบรมเฉลี่ยไว้ที่ 56 ชั่วโมงต่อคนต่อปี โดยมีผลการดำ�เนินงาน ดังนี้

จำ�แนกตามระดับพนักงาน • ผู้บริหารระดับสูง (L.11-15) • ผู้บริหารระดับกลาง (L.8-10) • หัวหน้างานระดับต้น (L.5-7) • พนักงานระดับปฏิบัติการ (L.2-4)

38.71 ชม./คน/ปี คือจำ�นวนชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย ของพนักงาน LPN ทั้งหมด *ยกเว้นพนักงาน LPC

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

85

80

38.71

64.97 96.65

65.34 58.75

38.89 38.19

123.33 150.08 89.83 66.55

128.17 149.79 74.30 45.73

71.90 81.63 48.34 31.34

การอบรมด านพัฒนาการบร�หารจัดการ

35 หลักสูตร

หลักสูตรอบรมภายนอก

175 หลักสูตร

งานว�จัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ และบร�การ

การฝ กอบรม สำหรับพนักงาน LPN (รวม 270 หลักสูตร)

13 หลักสูตร

100

1 หลักสูตร งานบร�หารชุมชน

งานบร�การชุมชน

งานบร�หารโครงการ

60 หลักสูตร

งานฝากขาย-ฝากเช า

1 หลักสูตร

9 หลักสูตร

การอบรมด านความรู ในงาน

การอบรม ความรู ในงาน

(รวม 60 หลักสูตร)

AS PROCESS

20 หลักสูตร งานบำรุงรักษา

15 หลักสูตร

SD Report


การฝึกอบรมสำ�หรับพนักงานของ LPN Team

8.06 ชม./คน/ปี

การฝึกอบรมสำ�หรับพนักงานของ LPN Team ผู้ซึ่งเป็นทั้งคู่ค้าและปิยมิตรของบริษัท ในปี 2561 ประกอบด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมจำ�นวน 9 หลักสูตร มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 418 คน จำ�นวนชั่วโมง การอบรมฉลี่ย 8.06 ชม./คน/ปี รายละเอียด ดังนี้

หลักสูตร • LPN & TEAM Sharing ครัง้ ที่ 1-3/61 • ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก • เจ้าหน้าทีค่ วามปลอดภัยในงานระดับบริหาร • เจ้าหน้าทีค่ วามปลอดภัยในงานระดับหัวหน้างาน • คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในงานทำ�งาน (คปอ.) • โรคติดต่อในช่วงฤดูฝน • การออกแบบอาคารเพือ่ การอนุรกั ษ์พลังงาน • ความรูม้ าตรฐาน TREES & LEED • ประชุม LPN Team

รวม จำ�นวนชัว่ โมงอบรมเฉลีย่ (ชม./คน/ปี)

6 GREEN LPN

คือจำ�นวนชั่วโมงการอบรมเฉลี่ย ต่อพนักงาน LPN Team 1 คน

ผูเ้ ข้าอบรม (คน)

ชัว่ โมงอบรม/คน (ชม.)

ชัว่ โมงอบรมรวม (ชม.)

180 22 20 20 30

9 3 16 16 13

1,620 66 320 320 390

37 34 25 50 418

4 6 4 4

148 204 100 200 3,368

8.06

101


การต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชมงาน สถาบันแอล.พี.เอ็น. ต้อนรับคณะเยี่ยมชมงานพร้อมทั้งจัดหาวิทยากร เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ในการดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีคณะ เยีย่ มชมงานเข้าดูงาน รายละเอียดดังนี้

หัวข้อการเยีย่ มชม

หน่วยงานทีเ่ ข้าเยีย่ มชมงาน

• กลยุทธ์การบริหารโครงการก่อสร้าง

กรมช่างโยธาทหารอากาศ จำ�นวน 32 คน

• โครงสร้างนิตบิ คุ คลอาคารชุด การบริหารอาคารชุด รูปแบบ FBLES+P

อาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำ�นวน 26 คน

• การบริหารชุมชนน่าอยูแ่ ละแนวทางการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน

อาจารย์และนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำ�นวน 26 คน

• โครงสร้างนิตบิ คุ คลอาคารชุด การบริหารชุมชน ตามกลยุทธ์ FBLES + P

อาจารย์ประจำ�หลักสูตรและพนักงานการเคหะแห่งชาติ จำ�นวน 45 คน

• สถานการณ์ปญั หาและทางออกของการอยูอ่ าศัยสำ�หรับ ผูส้ งู อายุในประเทศไทย

คณะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการเคหะแห่งชาติ จำ�นวน 25 คน

• ระบบและเครือ่ งมือกับการสือ่ สาร

คณะแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายแผน จำ�นวน 11 คน

• การบริหารจัดการงานชุมชน

อาจารย์และนิสิตปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง จำ�นวน 25 คน

102

AS PROCESS

SD Report


การแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์สู่ภายนอก

มีการแบ่งปันองค์ความรูส้ ภู่ ายนอกโดยผูบ้ ริหาร จำ�นวน 4 ครัง้ รายละเอียด ดังนี้

วิทยากร

รายละเอียดการแบ่งปันองค์ความรู้

1

หัวข้อ : Facility Management & Property Management” จัดโดย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณธำ�รงค์พล แดงบุบผา

2

หัวข้อ : แนวทางการบริหารอาคารชุดพักอาศัย” จัดโดย : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คุณเมธี กรัดไวยเนตร

3

หัวข้อ : เราจะทำ�อย่างไรกับปัญหาธรรมาภิบาลของบริษัทเอกชน : กรณีศึกษาบริษัทอิตาเลียนไทย จัดโดย : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์

4

หัวข้อ : การขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งความรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Organization) จัดโดย : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณสมศรี เตชะไกรศรี

งบประมาณที่ใช้ ในการพัฒนา ฝึกอบรม และสัมมนาต่างๆ ในปี 2561 บริษัทสนับสนุนงบประมาณสำ�หรับการดำ�เนินงานพัฒนา ฝึกอบรม และสัมมนาต่างๆ ผ่านสถาบันแอล.พี.เอ็น. เป็นเงินรวมทัง้ สิน้ 11,000,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จา่ ยอบรมเฉลีย่ 6,769.23 บาท ต่อคน (ยกเว้นพนักงานรายวันของบริษทั LPC) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ค าใช จ ายในการอบรมภายใน

17.68%

ค าใช จ ายอื่นๆ

29.41%

6 GREEN LPN

งบประมาณที่ใช ในการ พัฒนา ฝ กอบรม และสัมมนาต างๆ

11 ล านบาท

ค าใช จ ายในการอบรมภายนอก

52.91%

103


5

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน)

104

INNOVATION

SD Report


นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทสร้างสรรค์อสังหาริมทรัพย์ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ�นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนด้านที่อยู่อาศัยผ่านกรอบการ ดำ�เนินงานของบริษัท ทั้งในเชิงกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ โดยได้ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนานวัตกรรมทุกรูปแบบ รวมถึงส่งเสริม ให้เกิดบรรยากาศในการสร้างนวัตกรรมในทุกกระบวนการดำ�เนินงาน ด้วยการกำ�หนดให้หนึง่ ในสมรรถนะหลักขององค์กร คือ “การคิดนอกกรอบ” ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้บริหารและพนักงาน กระตุ้นให้เกิดการตระหนักและเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรอบการดำ�เนินงานด้านนวัตกรรมของบริษัทแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

นวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ คือ นวัตกรรมที่สนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์องค์กร อาทิ

• ชุมชนน่าอยู่เพื่อทุกวัย นำ�เสนอที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่ลูกค้าทุกช่วงวัย ตามที่บริษัทได้ดำ�เนินธุรกิจเติบโตเคียงคู่สังคมไทยมาตลอด 3 ทศวรรษ

นวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ คือ นวัตกรรมที่สนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์องค์กร อาทิ

• การออกแบบห้องชุดในรูปแบบ LPN Design ตอบสนองต่อวิถีชีวิตและความต้องการของลูกค้าด้วยขนาดที่เหมาะสม

• การออกแบบโครงการสีเขียว LPN Green Project การนำ�มาตรฐานอาคารเขียวของ TREES และ LEED มาใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้าง

• ห้องสมุดมีชีวิตและสวนรวมใจ พื้นที่สันทนาการภายในชุมชนสำ�หรับผู้อยู่อาศัย

• นวัตกรรมเชิงกระบวนการ คือ การปรับปรุงกระบวนการดำ�เนินงานหรือการบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

• One-page Training Material คู่มือการเรียนรู้อย่างง่ายสำ�หรับแม่บ้าน “สอนงานให้เข้าใจง่ายในแผ่นเดียว”

• การนำ�ระบบ B.I.M. เข้ามาใช้ในกระบวนการก่อสร้าง นวัตกรรมเพื่อการบริหารการก่อสร้างที่ยั่งยืน ผ่านแบบจำ�ลองภาพ 3 มิติ ที่จะแสดงข้อมูลเชิงตัวเลขต่างๆ ได้อย่างใกล้เคียง ข้อเท็จจริงมากที่สุด อาทิ รูปร่าง ขนาด ระดับความสูง ชนิดของวัสดุ ฯลฯ ทำ�ให้ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรและวัสดุในการ ก่อสร้าง และประมาณการต้นทุนโครงการได้อย่างใกล้เคียง เพื่อการตั้งราคาสินค้าอย่างเหมาะสม

• กระบวนการขาย กระบวนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุด การตลาดและการสื่อสารแบรนด์ ฯลฯ

6 GREEN LPN

105


โครงการลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี-จตุจักร

การก่อสร้างอาคารคุณภาพตามมาตรฐานอาคารเขียวไทย TREES-CS ระดับ Silver ในปี 2561 บริษัทได้พัฒนา “โครงการลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี-จตุจักร” โดยเป็นอาคารที่ LPN มีความตั้งใจให้ก่อสร้างตามกระบวนการ ประเมินอาคารเขียว Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability หรือ TREES เน้นการออกแบบ และก่อสร้างโครงการ ที่ประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ดี สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ LPN ทั้งด้านการ ออกแบบ (Green Design Concept) การก่อสร้าง (Green Construction Process) และการบริหารจัดการชุมชนน่าอยูภ่ ายใน (Green Community Management) โดยการพิจารณาของ TREES แบ่งออกเป็น 8 หมวดหลัก ดังนี้

• เกณฑ์การดำ�เนินการ 8 หมวดหลัก ตามมาตรฐานอาคารเขียวไทย • การบริหารจัดการอาคาร • ผังบริเวณและภูมิทัศน์ • การประหยัดนํ้า • การใช้พลังงานและบรรยากาศ • วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง • สภาพแวดล้อมภายในอาคาร • การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • นวัตกรรม

106

INNOVATION

SD Report


ประหยัดค่าใช้จ่าย บริหารอาคาร

บริหารจัดการให้เกิด ชุมชนที่น่าอยู่ตามแนวคิด Green Community Management

ส่งเสริม สภาพแวดล้อมที่ดี แก่ผู้ใช้อาคาร

40% ของอาคาร เป็นพื้นที่เขียว

มีพื้นที่สำ�หรับจอดรถ ประหยัดพลังงาน

เลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัด น้ำ�และปลูกพืชท้องถิ่น ลดการใช้น้ำ�ลง 35%

ประหยัดพลังงาน 20% จากการใช้ระบบปรับ อากาศแบบ High COP หลอดไฟ LED และ กระจกกรองความร้อน ประสิทธิภาพสูง

วัสดุของระบบ ระบายอากาศภายใน อาคารที่มีสารประกอบ อินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ระดับต่ำ�

30% ของวัสดุก่อสร้าง ภายในอาคารเป็นวัสดุ ที่จัดหาได้จากภายใน ประเทศ

30% ของวัสดุก่อสร้าง ภายในอาคารเป็นวัสดุที่มี ส่วนผสมของวัสดุรี ไซเคิล

แผนควบคุมสวัสดิภาพ ภายในพื้นที่ก่อสร้าง

แผนควบคุมมลพิษ จากการก่อสร้าง

6 GREEN LPN

107


ข้อมูลพนักงาน จำ�นวนพนักงาน จำ�นวนและสัดส่วนพนักงานประจำ�และสัญญาจ้าง (1)

การจำ�แนก พนักงาน

จำ�แนกตามพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน สำ�นักงานใหญ่

บริษทั LPN PST LPP LPS LPC

จำ�นวน (คน) ร้อยละ (%) จำ�นวน (คน) ร้อยละ (%) จำ�นวน (คน) ร้อยละ (%) จำ�นวน (คน) ร้อยละ (%) จำ�นวน (คน) ร้อยละ (%)

รวม จำ�นวน (คน) ทั้งหมด ร้อยละ (%)

พืน้ ที่โครงการ

จำ�แนกตามระดับพนักงาน ปฏิบตั กิ าร (1-4)

จัดการ (5-7)

บริหาร (8-10)

บริการ (11-14)

ชาย

ชาย

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

11 2.96% 0.00% 18 1.73% 5 3.21% 1 0.05%

2 0.54% 0.00% 2 0.19% 2 1.28% 0.00%

8 2.16% 0.00% 0.00% 0.00% 1 0.05%

371 100.00% 36 100.00% 1,042 100.00% 156 100.00% 2,012 100.00%

131 499 618 2,510 178 231 30 35 6 9 3.62% 13.80% 17.09% 69.39% 4.92% 6.39% 0.83% 0.97% 0.17% 0.25%

3,617 100.00%

ชาย

หญิง

ชาย

107 28.84% 4 11.11% 420 40.31% 92 58.97% 78 3.88%

219 59.03% 29 80.56% 452 43.38% 42 26.92% 1,544 76.74%

15 30 71 142 39 88 10 4.04% 8.09% 19.14% 38.27% 10.51% 23.72% 2.70% 0 3 2 24 2 8 0.00% 8.33% 5.56% 66.67% 5.56% 22.22% 0.00% 82 88 418 410 70 112 12 7.87% 8.45% 40.12% 39.35% 6.72% 10.75% 1.15% 15 7 34 23 65 21 6 9.62% 4.49% 21.79% 14.74% 41.67% 13.46% 3.85% 19 371 93 1,911 2 2 2 0.94% 18.44% 4.62% 94.98% 0.10% 0.10% 0.10%

701 2,286 19.38% 63.20%

หญิง

หญิง

หญิง

รวม

หมายเหตุ : ร้อยละของพนักงานทั้งหมดตามระดับและพื้นที่ปฏิบัติงาน

พนักงานชาย ทั้งหมด 832 คน

23%

ง 77% พนัทั้งหมดกงานหญิ 2,785 คน สัดส วนของ พนักงาน LPN

108

SD Report


จำ�นวนพนักงานแต่ละระดับจำ�แนกตามอายุ บริษทั

ช่วงอายุ (ปี)

ระดับพนักงาน ปฏิบตั กิ าร (1-4)

จัดการ (5-7)

บริหาร (8-10)

บริการ (11-14)

รวม

LPN

ต่�ำ กว่า 30 ปี 30-50 ปี 50 ปีขน้ึ ไป รวม

158 51 4 213

16 106 5 127

17 4 21

5 5 10

PST

ต่�ำ กว่า 30 ปี 30-50 ปี 50 ปีขน้ึ ไป รวม

22 4 26

1 9 10

-

-

174 179 18 371 23 13 36

LPP

ต่�ำ กว่า 30 ปี 30-50 ปี 50 ปีขน้ึ ไป รวม ต่�ำ กว่า 30 ปี 30-50 ปี 50 ปีขน้ึ ไป รวม

614 212 3 829 39 16 1 56

24 156 1 181 9 69 9 87

27 2 29 9 2 11

1 2 3 1 1 2

638 396 8 1,042 48 95 13 156

ต่�ำ กว่า 30 ปี 30-50 ปี 50 ปีขน้ึ ไป รวม

238 1,378 389 2005

3 1 4

2 1 3

-

238 1,383 391 2,012

LPS

LPC

อัตราส่วนเงินเดือนขั้นพื้นฐานและค่าตอบแทนระหว่างพนักงานผู้หญิงและผู้ชาย พืน้ ที่

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

ปทุมธานี

สมุทรปราการ พัทยา/ชลบุรี

อุดรธานี

ชาย : หญิง

ชาย : หญิง

ชาย : หญิง

ชาย : หญิง

ชาย : หญิง

ชาย : หญิง ชาย : หญิง

ไตรมาส 1

2.19 : 1.55

2.08 : 1.38 2.01 : 1.46

2.13 : 1.92

2.01 : 1.53

2.44 : 1.76 2.95 : 1.63

ไตรมาส 2

2.58 : 1.98

2.51 : 1.86 1.00 : 2.24

1.92 : 2.33

2.46 : 1.97

3.05 : 2.10 2.97 : 2.06

ไตรมาส 3

2.63 : 1.97

2.51 : 1.90 2.30 : 1.94

2.49 : 2.08

2.58 : 1.91

3.03 : 1.89 2.93 : 2.06

ไตรมาส 4

2.78 : 2.09

2.82 : 1.98 2.88 : 2.38

2.86 : 2.57

2.50 : 2.06

3.28 : 2.26 2.89 : 2.19

ช่วงเวลา

เฉลีย่

6 GREEN LPN

ชะอำ�

ชาย : หญิง = 2.79 : 2.11

109


การเปลี่ยนแปลงของพนักงาน (1) (คน) พนักงานใหม่ขององค์กร

การเปลีย่ นแปลง ในแต่ละปี

เกณฑ์ องค์ประกอบพนักงาน

2559

2560

พนักงานใหม่ขององค์กร

2561

จำ�นวน ร้อยละ** จำ�นวน ร้อยละ** จำ�นวน ร้อยละ** (คน) (คน) (คน)

พืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน

ช่วงอายุ

เพศ

จำ�นวนทั้งหมด 3,157 100.00% จำ�นวนการเปลี่ยนแปลง 534 16.91% 134 4.24% ชาย 400 12.67% หญิง 344 10.90% < 30 183 5.80% 30 - 50 7 0.22% > 50 กรุงเทพมหานคร 438 13.87% 27 0.86% นนทบุรี 21 0.67% ปทุมธานี 20 0.63% สมุทรปราการ 5 0.16% อุดรธานี 8 0.25% ชะอำ� 15 0.48% ชลบุรี/พัทยา

3,448 543 222 321 429 110 4 486 22 12 3 1 19

100.00% 3,617 100.00% 15.75% 552 15.26% 6.44% 244 6.75% 9.31% 308 8.52% 12.44% 463 12.80% 3.19% 87 2.41% 0.12% 2 0.06% 14.10% 500 13.82% 0.64% 21 0.58% 0.35% 11 0.30% 0.09% 1 0.03% 0.00% 1 0.03% 0.03% 3 0.08% 0.55% 15 0.41%

2559 จำ�นวน (คน)

ร้อยละ**

3,157 100.00% 448 14.19% 116 3.67% 332 10.52% 251 7.95% 182 5.76% 15 0.48% 380 12.04% 19 0.60% 13 0.41% 3 0.10% 7 0.22% 6 0.19% 21 0.67%

2560

2561

จำ�นวน ร้อยละ** (คน) 3,448 100.00% 423 12.27% 156 4.52% 267 7.74% 286 8.29% 125 3.63% 12 0.35% 388 11.25% 11 0.32% 6 0.17% 4 0.12% - 0.00% 3 0.09% 11 0.32%

จำ�นวน (คน)

ร้อยละ**

3,617 100.00% 412 11.39% 167 4.62% 245 6.77% 278 7.69% 129 3.57% 5 0.14% 380 10.51% 17 0.47% 4 0.11% - 0.00% - 0.00% - 0.00% 11 0.30%

หมายเหตุ : * xxx ระบุวา่ เป็นจำ�นวนพนักงานทีล่ าออกโดยสมัครใจหรือไม่ xxx ** ร้อยละของจำ�นวนพนักงานทัง้ หมด

อัตราการบาดเจ็บของพนักงาน ประเภท IR ODR LDR AR

110

ข้อมูลรายปี จำ�แนกตามเพศ จำ�นวน อัตรา จำ�นวน อัตรา จำ�นวน อัตรา จำ�นวน อัตรา

2559

2560

รวม

รวม

10 0.31 0 0 104 3.18 5,574 170.37

20 0.58 0 0 119 3.45 21,271 5,015.52

2561 ชาย

หญิง

1 0.23 0 0 2 0.11 11,887 66.26

20 1.38 0 0 95 5.05 25,901 144.37

SD Report


จำ�นวนและสัดส่วนคณะกรรมการสวัสดิการ บริษทั จำ�นวนพนักงาน ทัง้ หมด

จำ�นวนคณะกรรมการสวัสดิการ รวม

ปฏิบตั กิ าร (1-4)

จัดการ (5-7)

บริหาร (8-10)

ร้อยละ บริการ (11-14)

คณะกรรมการสวัสดิการ ต่อพนักงานทัง้ หมด

ผูบ้ ริหารใน คณะกรรมการสวัสดิการ

LPN

371

7

1

6

-

-

1.89%

0.00%

PST

36

-

-

-

-

-

0.00%

0.00%

LPP

1,042

7

1

3

3

-

0.67%

0.29%

LPS

156

7

-

7

-

-

4.49%

0.00%

LPC

2,012

7

7

-

-

-

0.35%

0.00%

หมายเหตุ : * เนือ่ งจากบริษทั พรสันติ จำ�กัด มีจ�ำ นวนพนักงานน้อยกว่าจำ�นวนขัน้ ต่�ำ ที่ พ.ร.บ. คุม้ ครองแรงงานกำ�หนดจึงไม่ได้สง่ ตัวแทนมาร่วม เป็นคณะกรรมการสวัสดิการ

การลาคลอด กรณีของการลา • จำ�นวนพนักงานเพศหญิง • จำ�นวนพนักงานที่มีสิทธิ์คลอดได้ • จำ�นวนพนักงานตามเพศที่ได้ใช้สิทธิ์ลาคลอด • จำ�นวนพนักงานที่กลับมาทำ�งานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาคลอด • จำ�นวนพนักงานที่กลับมาทำ�งานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาคลอด และยังทำ�งาน ต่อหลังจากนั้นไป 1 ปี • อัตรากลับมาทำ�งาน (Return to Work Rate) ที่กลับมาทำ�งานหลังจาก ระยะการลาสิ้นสุดลงแล้ว • การคงอยู่ของพนักงาน (Retention Rate) ที่กลับมาทำ�งานหลังจาก ระยะการลาสิ้นสุดลงแล้ว

2560

2561

2,629 2,629 39 32 32

2,785 2,785 25 23 23

82.05%

92.00%

100.00%

100.00%

หมายเหตุ : 1 อัตรากลับมาทำ�งาน (Return-to-work Rate) = (จำ�นวนพนักงานทีก่ ลับมาทำ�งานหลังจากสิน้ สุดระยะการลาคลอด/จำ�นวนพนักงาน ตามเพศที่ได้ใช้สิทธิ์ลาคลอด) x100 2 การคงอยูข่ องพนักงาน (Retention Rate) = (จำ�นวนพนักงานที่กลับมาทำ�งานหลังจากสิ้นสุดระยะการลาคลอดและยังทำ�งานต่อ หลังจากนัน้ ไป 1 ปี/จำ�นวนพนักงานทีก่ ลับมาทำ�งานหลังจากสิน้ สุดระยะการลาคลอด) x 100

6 GREEN LPN

111


112

SD Report


6 GREEN LPN

113


GRI INDEX GRI 102: General Disclosures GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Organizational Profile 102-1 102-2 102-3 102-4 102-5 102-6 102-7 102-8

Name of the organization Activities, brands, products, and services Location of headquarters Location of operations Ownership and legal form Markets served Scale of the organization Information on employees and other workers

SD: p. cover, 14 SD: p.15-17 SD: p.14 SD: p.14 SD: p.14 SD: p.15-17 SD: p.108 AR: p.10-11

102-9 102-10 102-11 102-12

Supply chain Significant changes to the organization and its supply chain Precautionary Principle or approach External initiatives

SD: p.20, 24-25 SD: p.20, 46-47 SD: p.42-43 SD: p.2-3, 10-13, 19, 54, 107, 114

102-13

Membership of associations

SD: p.45, 114

102-14 102-15

Statement from senior decision-maker Key impacts, risks, and opportunities

SD: p.2-3 SD: p.2-3

102-16 102-17

Values, principles, standards, and norms of behavior Mechanisms for advice and concerns about ethics

SD: p.8-9, 18-25 SD: p.43-45

102-18 102-20

Governance structure Executive-level responsibility for economic, environmental, and social topics Consulting stakeholders on economic, environmental, and social topics Composition of the highest governance body and its committees Chair of the highest governance body

SD: p.38-39 SD: p.39

Identifying and managing economic, environmental, and social impacts Review of economic, environmental, and social topics

SD: p.21, 36, 42-45, 49 SD: p.30-31, 38-39

8. Decent work and economic growth

No significant change

SDG2030, Sufficiency Economy, LEED, TREES, ISO9001:2015, ISO14001 LEED Pilot Committee (USGBC), CAC

Strategy Ethics and integrity Governance

102-21 102-22 102-23 102-29 102-31

114

SD: p.26-29, 121 SD: p.38 AR: p.12-29 AR: p.12, 14

16. Peace, justice and strong institution

16. Peace, justice and strong institution 5. Gender quality 16. Peace, justice The Chairman is not the same person as CEO and is and strong institution an independent director

SD Report


GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Stakeholder engagement 102-40 102-41

List of stakeholder groups Collective bargaining agreements

SD: p.26-29 SD: p.41, 111

102-42 102-43 102-44

Identifying and selecting stakeholders Approach to stakeholder engagement Key topics and concerns raised

SD: p.26-29 SD: p.26-29 SD: p.26-29

All full-time employees (100%) entitled with benefits under the agreement

8. Decent work and economic growth

Reporting Practice 102-45 102-46 102-47 102-48 102-49 102-50 102-51 102-52 102-53 102-54 102-55 102-56

Entities included in the consolidated financial statements Defining report content and topic Boundaries List of material topics Restatements of information Changes in reporting Reporting period Date of most recent report Reporting cycle Contact point for questions regarding the report Claims of reporting in accordance with the GRI Standards GRI content index External assurance

AR: p.73-75 SD: p.30-33 SD: p.32-33 SD: p.30 SD: p.30 SD: p.30 SD: p.30 SD: p.32 SD: p.30

No restatement From GRI G4 to GRI Standard

SD: p.114-119 SD: p.112-113

Material Topics GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Economic Performance GRI 103 Management Approach

103-1 103-2 103-3

GRI 201 Economic Performance

6 GREEN LPN

201-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Direct economic value generated and distributed

SD: p.48-50 SD: p.48-50 SD: p.48-50

8. Decent work and economic growth

SD: p.52-53

115


Material Topics GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Indirect Ecomomic Impacts GRI 103 Management Approach

103-1 103-2 103-3

GRI 203 Indirect Economic Impact

203-1 203-2

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Infrastructure investments and services supported Significant indirect economic impacts

SD: p.48-50, 92

8.Decent work and economic growth

SD: p.48-50

9.Industry innovation and infastructure

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Operations assessed for risks related to corruption Communication and training about anti-corruption policies and procedures Confirmed incidents of corruption and actions taken

SD: p.42-45

SD: p.48-50 SD: p.92 SD: p.92

11. Sustainable cities and communities 17.Partnership for the goal

Anti-corruption GRI 103 Management Approach GRI 205 Anti -corruption

103-1 103-2 103-3 205-1 205-2 205-3

Materials GRI 103 Management Approach

103-1 103-2 103-3

GRI 301 Materials

301-1 301-2

16. Peace, justice and strong institution

SD: p.42-45 SD: p.42-45 SD: p.44-45 SD: p.44-45 SD: p.44-45

Explanation of the material topic and its SD: p.56, 68-69 boundary SD: p.56, 68-69 The management approach and its components Evaluation of the management approach SD: p.56, 68-69, 72, 74-75 SD: p.74 Materials used by weight or volume SD: p.74 Recycled input materials used

8.Decent work and economic growth 12.Responsible consumption and production

Energy GRI 103 Management Approach

103-1 103-2 103-3

116

Explanation of the material topic and its SD: p.76-77, 84 boundary SD: p.76-77, 84 The management approach and its components Evaluation of the management approach SD: p.76-77, 84

SD Report


GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Energy GRI 302 Energy

302-1 302-2 302-4 302-5

Energy consumption within the organization Energy consumption outside of the organization Reduction of energy consumption Reduction in energy requirements of products and services

SD: p. 83-84 SD: p. 83-84 SD: p. 83-84 SD: p. 83-84

7. Affordable and clean energy 12.Responsible consumption and production 13.Climate action

103-1 103-2 103-3 303-1 303-3

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Water withdrawal by source Water recycled and reused

SD: p.77, 85 SD: p.77, 85 SD: p.77, 85 SD: p.85 SD: p.85

6.Clean water and sanitation

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Water discharge by quality and destination Waste by type and disposal method

SD: p.77, 81-83 SD: p.77, 81-83 SD: p.77, 81-83 SD: p. 81-83, 85 SD: p. 81-83, 85

6.Clean water and sanitation

SD: p.70-73 SD: p.70-73

16. Peace, justice and strong institution

Water GRI 103 Management Approach GRI 303 Water

12.Responsible consumption

Effluents and Waste GRI 103 Management Approach GRI 306 Effluents and Waste

103-1 103-2 103-3 306-1 306-2

Environmental Compliance GRI 103 Management Approach

103-1 103-2

103-3 GRI 307 307-1 Environmental Compliance

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Non-compliance with environmental laws and regulations

SD: p.70-73 SD: p.70-73, 64

Supplier Environmental Assessment GRI 103 Management Approach GRI 308 Supplier Environmental Assessment

6 GREEN LPN

103-1 103-2 103-3 308-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach New suppliers that were screened using environmental criteria

SD: p.46-47, 101 SD: p.46-47, 101 SD: p.46-47, 101 -

308-2

Negative environmental impacts in the supply chain and actions taken

SD: p.64

No new suppliers were screened but all LPN suppliers are required to comply with internal ‘green checklist’ 1 negative feedback on environmental issue

117


Material Topics GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Employment GRI 103 Management Approach GRI 401 Employment

103-1 103-2 103-3 401-1 401-3

SD: p.39-41 SD: p.39-41 SD: p.39-41 SD: p.110 SD: p.111

5.Gender Equality

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Workers representation in formal joint management–worker health and safety committees Type of injury and rates of injury, occupational diseases, lost days, and absenteeism, and number of work-related fatalities Workers with high incidence or high risk of diseases related to their occupation

SD: p.40-41 SD: p.40-41 SD: p.40-41 SD: p.41, 111

3.Good health and well-being

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Average hours of training per year per employee Programs for upgrading employee skills and transition assistance programs

SD: p.97-99 SD: p.97-99 SD: p.97-99 SD: p.100 SD: p.95-96, 98-99

4.Quality education

SD: p.39 SD: p.39 SD: p.39 AR: p.14-39 SD: p.108-109

5.Gender equality

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach New employee hires and employee turnover Parental leave

8.Decent work and economic growth

Occupational Health and Safety GRI 103 Management Approach

103-1 103-2 103-3 403-1

GRI 403 Occupational Health and Safety

403-2 403-3

5.Gender Equality 8.Decent work and economic growth

SD: p.110 SD: p.110

Training and Education GRI 103 Management Approach GRI 404 Training and Education

103-1 103-2 103-3 404-1 404-2

5.Gender Equality 8.Decent work and economic growth

Diversity and Equal Opportunity GRI 103 Management Approach GRI 405 Diversity and Equal Opportunity

118

103-1 103-2 103-3 405-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Diversity of governance bodies and employees

10.Reduced inequalities BoD Male : Female = 14 : 1

SD Report


GRI Standard

Source

Omission / Additional Information

Relation to SDGs

Local Communities GRI 103 Management Approach GRI 413 Local communities

103-1 103-2 103-3 413-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Operations with local community engagement, impact assessments, and development programs 413-2 Operations with significant actual and potential negative impacts on local communities

SD: p.76-80, 87-91 SD: p.76-80, 87-91 SD: p.76-80, 87-91 SD: p.76-80, 87-91

11. Sustainable cities and communities

SD: p.76-80, 87-91

Customer Health and Safety GRI 103 Management Approach GRI 416 Customer Health and Safety

103-1 103-2 103-3 416-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Assessment of the health and safety impacts of product and service categories 416-2 Incidents of non-compliance concerning the health and safety impacts of products and services

SD: p.58-59 SD: p.58-59 SD: p.58-59 SD: p.59 -

16.Peace, justice and strong institution

No incident

Marketing and Labeling GRI 103 Management Approach GRI 417 Marketing and Labeling

103-1 103-2 103-3 417-1

Explanation of the material topic and its boundary The management approach and its components Evaluation of the management approach Requirements for product and service information and labeling

SD: p.60-66 SD: p.60-66 SD: p.60-66 SD: p.63

12.Responsible consumption and production 16.Peace, justice and strong institution

GRI Standard 2016 SDG Compass: Linking the SDGs and GRI, 2017

6 GREEN LPN

119


120

SD Report


แบบสอบถามความคิดเห็นของผู อ านรายงานความยั่งยืน บร�ษัท แอล.พ�.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท จำกัด (มหาชน) • ส วนที่ 1 : ข อมูลทั่วไป 1.1 ความเกี่ยวข องของท านกับบร�ษัท ผู ถือหุ น พนักงาน ลูกค า

เจ าของร วม / ผู อยู อาศัย คู ค า แรงงาน

บ านข างเคียง อื่นๆ โปรดระบุ

1.2 ท านเคยอ านรายงานความยั่งยืนของบร�ษัทมาก อนหร�อไม เคย

ไม เคย

• ส วนที่ 2 เนื้อหารายงานและการนำเสนอข อมูลรายงาน

มาก

ปานกลาง

น อย

ควรปรับปรุง

2.1 ท านทราบและเข าใจการดำเนินงานโดยทั่วไปของบร�ษัทได มากยิ�งข�้น 2.2 ท านทราบและเข าใจการดำเนินงานด านความรับผิดชอบ ต อสังคม เศรษฐกิจ และสิ�งแวดล อม 2.3 เนื้อหาครอบคลุมการดำเนินงานที่สำคัญตามความคาดหวังของท าน 2.4 เนื้อหามีความชัดเจน 2.5 เนื้อหาอ านเข าใจง าย 2.6 เนื้อหาเป นประโยชน 2.7 รูปเล มสวยงาม 2.8 ความพ�งพอใจต อการรายงานในภาพรวม

• ส วนที่ 3 การพัฒนาการจัดทำรายงาน 3.1 รายงานฉบับนี้ได กล าวถึงเร�่องที่อยู ในความสนใจของท านหร�อไม ใช ไม ใช (โปรดระบุเร�่องที่อยู ในความสนใจของท านและต องการให บร�ษัทรายงานในป ถัดไป)

3.2 ข อคิดเห็นหร�อเสนอแนะอื่นๆ

สามารถส งแบบสอบถามได ที่ ฝ ายพัฒนาแบรนด บร�ษัท แอล.พ�.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท จำกัด (มหาชน) ที่อยู : 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพ�นี ทาวเวอร ถนนพระราม 4 แขวงท ุงมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 อีเมล : bnd@lpn.co.th

6 GREEN LPN

ข อคิดเห็นของท านเป นประโยชน ยิ�ง ต อการพัฒนาอย างยั่งยืนของบร�ษัท จ�งขอขอบพระคุณในความร วมมือ ของท านมา ณ โอกาสนี้

121


ใบอนุญาตเลขที่ ปน. (ต) / 5011 ปณจ. ยานนาวา ถาฝากสงในประเทศไมตองผนึกตราไปรษณียากร

บริการธุรกิจตอบรับ

ฝายพัฒนาแบรนด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท จำกัด (มหาชน) 1168/109 ชั้น 36 อาคารลุมพินี ทาวเวอร ถนนพระราม 4 แขวงทุงมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร (แบบสอบถามความคิดเห็นของผูอานรายงานความยั่งยืน)

122

SD Report


6 GREEN LPN

123


124

SD Report


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.