TTA : Annual Report 2015 (TH)

Page 1

A

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


วิสัยทัศน์ของ TTA

ภายในปี 2563 TTA จะก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มบริษัทเพื่อการลงทุนชั้นน�ำในเอเชีย ที่ได้รับความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือมากที่สุด


สารบัญ 002 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป 004 สารจากประธานกิตติมศักดิ์ 005 สารจากประธานกรรมการ 006 สารจาก CEO 010 ประวัติความเป็นมา 012 คณะกรรมการและผู้บริหาร 015 โครงสร้างองค์กร 016 ข้อมูลและแนวโน้มธุรกิจ 062 นโยบายและพันธกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม 078 รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ 101 ปัจจัยความเสี่ยง 108 รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ 110 การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง 113 จุดเด่นทางการเงิน

114 โครงสร้างรายได้ 115 ค�ำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ 132 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อ รายงานทางการเงิน 133 งบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัท 271 รายการระหว่างกัน 275 นโยบายการจ่ายเงินปันผล 276 ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี 277 โครงสร้างการจัดการ 291 รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการ และผู้บริหาร 302 รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของ คณะกรรมการและผู้บริหาร 304 โครงสร้างการถือหุ้น 305 การลงทุนในบริษัทต่างๆ 309 ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท


002

ข้ อ มู ล ทางการ เงิ น โดย ส รุ ป

ข้อมูลทางการเงิน โดยสรุป รายได้

สัดส่วนรายได้

กลุ่มธุรกิจพลังงาน

กลุ่มธุรกิจขนส่ง

กลุ่มธุรกิจโครงสร้าง พื้นฐาน (ล้านบาท)

(ล้านบาท)

19,569.6

22,341.3 21,425.8

27%

19%

18%

26%

27%

19,569.6

22,341.3

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2556(1)

สัดส่วน

EBITDA

(4)

21,425.8

48%

47%

ปี 2556

34%

54%

ปี 2557(2)

EBITDA

(4)

ปี 2558

กลุ่มธุรกิจขนส่ง

กลุ่มธุรกิจพลังงาน

อื่นๆ

โฮลดิ้ง

กลุ่มธุรกิจโครงสร้าง พื้นฐาน (ล้านบาท)

(ล้านบาท)

3,576.2

32%

7%

2,586.9

-10%

-15% 13%

1,841.7

2,586.9

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

-22% 35%

3,576.2

76%

62%

ปี 2556(1)

ปี 2557(2)

38%

8% 23%

1,841.7 52%

ปี 2558

ผลก�ำไรสุทธิจาก การด�ำเนินงาน (ล้านบาท)

902.1

ก�ำไรสุทธิจากการด�ำเนินงานปกติ(3) ของ TTA

974.6

(82.4)

(256.3)

(4,751.4) (11,335.1)

ปี 2556(1)

ปี 2557(2)

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ก�ำไร(ขาดทุน)สุทธิของ TTA

ปี 2558


003

ข ้ อ มู ล ท า งก า ร เ งิ นโ ด ยส รุ ป

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป

(ล้านบาท)

2556

รวมสินทรัพย์ เงินสด รายการเทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น สินทรัพย์หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน หนี้สินเฉพาะที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย หนี้สินอื่นๆ รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

(2)

2558

44,903

2557

51,679

45,346

9,417

8,280

13,423

(1)

6,594

7,128

7,387

21,546

27,261

18,387

7,346

9,010

6,149

17,821

19,433

18,358

14,256

14,979

14,401

3,564

4,454

3,957

27,083

32,246

26,988

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญ

(ล้านบาท)

สัดส่วนทางการเงิน

2556(1)

2557(2)

2558

2556(1)*

2557(2)*

2558*

2.41

1.69

1.91

2.41

1.69

1.91

EBITDA ต่อรายได้ (%)

13.2%

16.0%

8.6%

13.2%

16.0%

8.6%

ก�ำไรสุทธิต่อรายได้ (%)

-24.3%

4.0%

-52.9%

-0.4%

4.4%

-1.2%

-8.1%

4.3%

-29.4%

1.8%

3.5%

0.6%

-24.2%

4.1%

-49.4%

-0.4%

4.5%

-1.1%

หนี้สินเฉพาะที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

0.53

0.46

0.53

0.53

0.46

0.53

หนีส้ น ิ สุทธิเฉพาะทีม่ ภ ี าระดอกเบีย้ จ่ายต่อส่วนของผูถ้ อื หุน ้ (เท่า)

0.18

0.21

0.04

0.18

0.21

0.04

หนี้สินสุทธิเฉพาะที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อ EBITDA (เท่า)

1.87

1.87

0.53

1.87

1.87

0.53

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (เท่า)

ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (%) ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%)

*ก�ำไรสุทธิจากการด�ำเนินงานปกติ = ก�ำไร(ขาดทุน)สุทธิ - รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจ�ำ

ข้อมูลผลตอบแทนต่อหุ้น และเงินปันผลประจ�ำปี ตค. 55 - กย. 56 ก�ำไรต่อหุ้น (บาท) เงินปันผล (บาทต่อหุ้น) จ�ำนวนหุ้น (หน่วยเป็นล้านหุ้น)*

ตค. 56 -กย. 57 ตค. 57 - ธค. 57

มค. - ธค. 58

(5.91)

0.88

0.06

(6.61)

-

0.25

0.025

0.05(5)

992

1,293

1,301

1,822

* เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

0.88 0.25

0.06

ก�ำไรต่อหุน้ (บาท) 0.025

0.05

เงินปันผล (บาทต่อหุน้ )

1. งบการเงินที่ไม่ได้ตรวจสอบ

(5.91)

ตค. 55 กย. 56

(6.61)

ตค. 56 กย. 57

ตค. 57 ธค. 57

มค. 58 ธค. 58

2. งบการเงินที่ไม่ได้ตรวจสอบ 3. ก�ำไร(ขาดทุน)สุทธิ = ก�ำไร(ขาดทุน)สุทธิ - รายการที่ไม่ได้เกิด ขึ้นเป็นประจ�ำ 4. EBITDA = ก�ำไรก่อนดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจ�ำหน่าย 5. ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุมสามัญประจ�ำปีผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ในวันที่ 27 เมษายน 2559

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


004

สาร จ ากประธาน กร ร ม การ กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์

ผมเชื่อว่า... โอกาสที่ดีของเรา จะมาในช่วงเวลา ที่ท้าทายเช่นนี้ ประยุ ท ธ มหากิ จ ศิ ริ ประธานกรรมการกิ ต ติ ม ศั ก ดิ์

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


005

ส า ร จ า ก ป ร ะธ า นก ร ร ม กา ร

สารจากประธานกรรมการ ปัจจุบัน TTA มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีเงินสด และเงินลงทุนระยะสั้นรวมกัน มากกว่า 13,000 ล้านบาท และมีหนี้สินต่อทุนต�่ำ เพียงแค่ 0.68 เท่า เท่านั้น ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ เรียน ท่านผู้ถือหุ้นทุกท่าน ปี 2558 นับว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกมีการ ซวนเซอย่างเห็นได้ชดั อันเป็นผลมาจากปัจจัย ด้านลบที่ส�ำคัญคือ การที่เศรษฐกิจจีนชะลอ การเติบโตเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ และราคา น�้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้า โภคภัณฑ์อยู่ในระดับต�่ำ จนเกิดผลกระทบ ต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศ ก� ำ ลั ง พั ฒ นา โดยเฉพาะกั บ ประเทศคู ่ ค ้ า ของจีน ยิ่งไปกว่านั้น เงินทุนจ�ำนวนมากยัง ไหลออกจากประเทศเศรษฐกิ จ เกิ ด ใหม่ เคลือ่ นย้ายไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา เนือ่ งจาก ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED ได้ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เมื่อปลายปี 2558 อีกด้วย แน่นอนว่าภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำและความ ผันผวนอย่างต่อเนือ่ งเช่นนี้ ย่อมส่งผลกระทบ โดยตรงต่อผลการด�ำเนินงานของ TTA ในปีนี้ อย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ โดยสองธุ ร กิ จ หลั ก ของ TTA คือ ธุรกิจเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง และธุรกิจให้บริการนอกชายฝัง่ ในอุตสาหกรรม น�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติ ทีต่ อ้ งเผชิญกับภาวะ ตกต�่ำยืดเยื้อและความผันผวนอย่างรุนแรง ของตลาดมาตัง้ แต่กลางปี 2557 และต่อเนือ่ ง มาจนถึงปี 2558 ตลอดทั้งปี ธุรกิจเรือขนส่ง สินค้าแห้งเทกองต้องเผชิญกับปัญหาอัตรา ค่ า ระวางเรื อ ตกต�่ ำ ที่ สุ ด เป็ น ประวั ติ ก ารณ์ อันเนือ่ งมาจากอุปสงค์ลดลงจากการชะลอตัว ของเศรษฐกิจจีน และอุปทานล้นจากปัญหา ปริมาณกองเรือโลกล้นตลาด ในขณะที่ธุรกิจ ให้บริการนอกชายฝั่งในอุตสาหกรรมน�้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ก็ได้รับผลกระทบจาก ราคาน�้ำมันที่ดิ่งลง ส่งผลให้บริษัทน�้ำมันท�ำ การทบทวนและปรั บ ลดแผนการลงทุ น ใน การส�ำรวจและผลิตลงให้สอดคล้องกับราคา

น�้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งกระทบต่อทุกธุรกิจใน ห่วงโซ่อุตสาหกรรม ในขณะที่ธุรกิจปุ๋ยเองก็ได้รับผลกระทบใน ทางลบจากภาวะฝนทิ้ ง ช่ ว งและภั ย แล้ ง ที่ ยาวนานและต่อเนื่องในแถบภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดการชะลอ ความต้องการใช้ปุ๋ย เช่นเดียวกับตลาดธุรกิจ ถ่านหิน ก็เผชิญกับภาวะอ่อนตัว ราคาตกต�ำ่ เนื่องจากผู้น�ำเข้าถ่านหินสามรายใหญ่ที่สุด ของโลก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งครอง ส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 50 ลดการ น�ำเข้าถ่านหินลงอย่างต่อเนื่อง แม้วา่ สภาพตลาดจะมีความผันผวนตามภาวะ เศรษฐกิ จ โลกและวั ฏ จั ก รของธุ ร กิ จ แต่ เนื่องจากธุรกิจหลักที่ TTA เข้าไปลงทุนโดย มากเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ เ ป็ น รากฐานในการช่ ว ย อ�ำนวยความสะดวกในการใช้ชวี ติ ไม่วา่ จะเป็น ขนส่ง พลังงาน อาหาร หรือ ปุ๋ย ซึ่งถือเป็น จุดแข็งของ TTA ที่บริษัทฯ มุ่งมั่นจะรักษา ไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ใน ขณะเดียวกัน เราเองก็ได้เตรียมรับมือกับ สถานการณ์ตกต�่ำของอุตสาหกรรม เพื่อการ ด�ำรงอยู่อย่างแข็งแกร่ง ทั้งทางด้านรายจ่าย โดยเน้ น ดู แ ลควบคุ ม ต้ น ทุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยให้ มี ประสิทธิภาพ เร่งแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่ แต่ละหน่วยธุรกิจต้องเผชิญ และทางด้าน รายได้ ด้วยการเพิม่ ประสิทธิภาพในการสร้าง รายได้ แสวงหาช่องทางใหม่ในการหาสัญญา ขยายพืน้ ทีใ่ นการให้บริการ สร้างความสัมพันธ์ กับลูกค้ารายใหม่ และดูแลให้บริการลูกค้าเก่า เป็นอย่างดี ในส่วนของการขยายการลงทุนนั้น แม้ว่า ขณะนี้บริษัทฯ มีเงินสดในมือมากเพียงพอ ที่จ ะลงทุ น ใหม่ แต่ ด ้ ว ยสถานการณ์ ที่

ไม่เอื้ออ�ำนวย ท�ำให้บริษัทฯ ต้องเพิ่มความ ระมัดระวังและใช้ความรอบคอบอย่างสูงใน การลงทุ น ทั้ ง ในธุ ร กิ จ เดิ ม และธุ ร กิ จ ใหม่ ในช่ ว งเวลาที่ เ ศรษฐกิ จ มี ค วามผั น ผวน สูงเช่นนี้ การรักษาสภาพคล่องและเงินสดไว้ จะท�ำให้บริษัทฯ สามารถรับมือกับเหตุการณ์ ต่างๆ และประคับประคองบริษทั ฯ ให้ผา่ นพ้น วิกฤตนี้ไปได้อย่างมั่นคง ซึ่งปัจจุบัน TTA มี สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีเงินสด และเงิ น ลงทุ น ระยะสั้ น รวมกั น มากกว่ า 13,000 ล้านบาท และมีหนีส้ นิ ต่อทุนต�ำ่ เพียง แค่ 0.68 เท่า เท่านั้น สุ ด ท้ า ยนี้ ผมในนามของคณะกรรมการ บริ ษั ท ฯ ขอขอบคุ ณ ผู ้ ถื อ หุ ้ น TTA ที่ ใ ห้ การต้ อ นรั บ การเสนอขายหุ ้ น IPO ของ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ PMTA อย่างคับคั่งในปี 2558 และท�ำให้เราสามารถน�ำ PMTA จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในฐานะ บริษทั โฮลดิง้ ส์ทลี่ งทุนในต่างประเทศได้สำ� เร็จ เป็นรายที่สองของประเทศ ซึ่งความส�ำเร็จ อย่างงดงามของ PMTA ยิ่งตอกย�้ำให้เห็น ถึงโอกาสในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของ TTA ในฐานะบริ ษั ท โฮลดิ้ ง ส์ ที่ มี ศั ก ยภาพ ซึ่ ง เราไม่ ไ ด้ จ� ำ กั ด ขี ด การเติ บ โตไว้ เ พี ย งใน ประเทศเท่ า นั้ น แต่ เ รายั ง มุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะเป็ น บริษทั โฮลดิง้ ส์ชนั้ น�ำทีไ่ ด้รบั การยอมรับระดับ สากลอย่างเต็มภาคภูมิในอนาคตอันใกล้นี้ ขอแสดงความนับถือ

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


006

สารจ าก CEO

ส�ำหรับปี 2559... พันธกิจแรกของเราคือ การท�ำให้ TTA อยูใ่ นสถานะทีแ่ ข็งแกร่ง และมีการด�ำเนินงาน ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะรับมือกับ ความผันผวนที่อาจจะมากขึ้น

เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Message 2558 ปีแห่งความผันผวน from CEO

ในช่วงปี 2558 ที่ผ่านมา เราต้องเผชิญกับ ภาวะความผันผวนทีล่ ากยาวของอุตสาหกรรม น�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติ เรือขนส่งสินค้าแห้ง เทกอง และถ่านหิน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็น เช่นนีต้ อ่ เนือ่ งไปจนถึงปี 2560 สถานการณ์ ความผันผวนดังกล่าวได้ทำ� ให้ปี 2558 กลาย เป็นปีที่ท้าทายและยากล�ำบากไม่ใช่เพียง เฉพาะเรา แต่รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจใน อุตสาหกรรมต่างๆ ทัว่ โลก ซึง่ ต้องยอมรับว่า แม้ปจั จัยลบเหล่านีไ้ ด้สง่ ผลกระทบโดยตรงต่อ ผลการด�ำเนินงานของบริษทั ฯ แต่ผมก็ภมู ใิ จ ทีเ่ รายังคงสามารถรักษา EBITDA ให้เป็นบวก ทีร่ ะดับ 1,800 ล้านบาท และยังมีเงินสดทีเ่ กิด จากการด�ำเนินงานทีแ่ ข็งแกร่งอีก 635.5 ล้าน บาทในปีทผี่ า่ นมา ทัง้ นี้ ในสภาวการณ์ทกี่ าร ชะลอตัวทางเศรษฐกิจยังคงสร้างความท้าทาย และด�ำเนินต่อไป ผมเชื่อว่าการปลดภาระ ต้นทุนทางการเงินให้นอ้ ยลงได้เท่าไร ก็จะช่วย ให้เราแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น และจะเป็น สิ่งที่ช่วยให้เราสามารถฝ่าฟันสถานการณ์ ท้าทายในอีก 2 ปีขา้ งหน้าได้เป็นอย่างดี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

การบันทึกการด้อยค่าทาง สินทรัพย์ ดังนั้น เพื่อให้การด�ำเนินงานของเราเป็นไป ตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการและหลักการ บัญชีที่ดี ซึ่งจ�ำเป็นต้องมีการเปิดเผยข้อมูล อย่างโปร่งใสในการจัดท�ำรายงานทางบัญชี บริษัทฯ จึงได้บันทึกการด้อยค่าที่มีสาระ ส�ำคัญและตั้งส�ำรองบางรายการ ส่งผลให้ บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 11,335.1 ล้านบาทในปี 2558 ในขณะทีผ่ ลขาดทุนทีเ่ กิด จากการด�ำเนินงานจริงมีอยู่เพียงแค่ 256.3 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ดี การตั้งด้อยค่า ดังกล่าวเป็นเพียงการบันทึกรายการทางบัญชี ที่ไม่ใช่เงินสดเท่านั้น จึงไม่ส่งผลกระทบต่อ สถานะทางการเงินของบริษัทฯ แต่อย่างใด โดยงบดุล ณ สิ้นปี 2558 บริษัทฯ ยังคงมี เงินสดทีเ่ กิดจากการด�ำเนินงาน 635.5 ล้านบาท รวมถึงมูลค่าเงินสดและเงินลงทุนระยะสัน้ รวม กันทัง้ สิน้ 13,423 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่า ประมาณ 7.37 บาทต่อหุน้ ส่งผลให้เราก้าวเข้า สูป่ ี 2559 ด้วยงบดุลทีส่ ะท้อนภาพของการ ด�ำเนินงานทีแ่ ท้จริง ซึง่ จะช่วยให้เราสามารถปรับ


007

ส า ร จ า ก CE O

สถานะผลประกอบการให้แข็งแกร่งขึ้นใน ในขณะเดียวกัน ธุรกิจการให้บริการนอก อนาคต ชายฝั ่ ง ในอุ ต สาหกรรมน�้ ำ มั น และก๊ า ซ ธรรมชาติ ก็ตอ้ งเผชิญกับภาวะราคาน�ำ้ มัน ผลการด�ำเนินงาน ตกต�่ำ จากที่เคยยืนอยู่เหนือระดับ 100 ในรอบปีทผี่ า่ นมา ธุรกิจเรือขนส่งสินค้าแห้ง ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรลเมื่อช่วง เทกองต้องเผชิญกับภาวะตกต�่ำอย่างถึง กลางปี 2557 ดิ่งลงมาอยู่ในระดับ 30 ทีส่ ดุ ในรอบ 30 ปี เมือ่ ค่าเฉลีย่ ของดัชนี BDI ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรล เมือ่ ปลาย ในปี 2558 ได้ตกลงมาอยูท่ รี่ ะดับ 718 จุด ปี 2558 ทีผ่ า่ นมา ถึงแม้วา่ จะต้องเผชิญกับ หรือลดลงร้อยละ 35 จากค่าเฉลีย่ ที่ 1,105 สถานการณ์ผันผวนดังกล่าว รายได้ของ จุดในปี 2557 ซึง่ ก็ตำ�่ อยูแ่ ล้ว ถึงแม้วา่ จะ เมอร์เมดในปี 2558 ยังคงเติบโตขึน้ ร้อยละ 8 ต้องเผชิญกับความท้าทายดังกล่าว แต่ มาอยูท่ ี่ 11,527.3 ล้านบาท และยังมี EBITDA โทรีเซน ชิปปิง้ ของเรา ยังคงรักษา EBITDA เป็นบวกและก�ำไรก่อนการหักรายการพิเศษ ให้เป็นบวกได้ทรี่ ะดับ 573.2 ล้านบาท โดย อยูท่ รี่ ะดับ 52.8 ล้านบาท เมือ่ เปรียบเทียบ มี EBITDA margin อยูท่ รี่ อ้ ยละ 10 ในปี ผลการด�ำเนินงานทีด่ ขี นึ้ จากปีทแี่ ล้ว พบว่า 2558 ซึ่ ง ทั้ ง หมดเป็ น ผลมาจากความ รายได้ที่ดีขึ้นของเมอร์เมดเป็นผลมาจาก สามารถทีย่ อดเยีย่ มของทีมงานฝ่ายขาย ที่ การเติบโตและท�ำก�ำไรได้ดีขึ้นของธุรกิจ ท�ำให้อัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) ของ วางสายเคเบิล้ ใต้นำ�้ รวมถึงการเติบโตอย่าง โทรีเซน ชิปปิง้ อยูท่ รี่ ะดับ 7,507 ดอลลาร์ ต่อเนือ่ งของธุรกิจการให้บริการวิศวกรรมใต้ สหรัฐอเมริกาต่อวัน ซึง่ ดีกว่าอัตราค่าระวาง ทะเล ซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่ เรือเฉลี่ยของอุตสาหกรรมของเรือขนาด เกิดขึน้ ในอุตสาหกรรมแล้ว เมอร์เมดยังคง Supramax (BSI) ถึงร้อยละ 22 ทั้งนี้ มีสถานะทีแ่ ข็งแกร่ง ด้วยงบดุลทีเ่ ข้มแข็งซึง่ โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังคงให้ความส�ำคัญกับการ เป็นผลมาจากการมีกระแสเงินสดทีด่ ี และ ดูแลค่าใช้ จ ่ า ยให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดย หนี้สินต่อทุนต�่ำ นอกจากนี้ ณ วันที่ 31 ต้นทุนค่าใช้จา่ ยเงินสดเพือ่ การด�ำเนินงาน ธันวาคม 2558 เมอร์เมดยังคงมีสัญญา ในปี 2558 อยู่ที่ระดับ 5,794 ดอลลาร์ ล่วงหน้าในมืออีก 255.5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต่อวัน อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะ สหรัฐอเมริกา ซึง่ แม้วา่ จะต�ำ่ กว่าปีทผี่ า่ นมา อุปสงค์ออ่ นตัวจากจีน และปริมาณของเรือ แต่กถ็ อื ว่าดีมากเพราะเราก�ำลังอยูใ่ นจุดต�ำ่ ที่ยังคงล้นตลาดทั้งในปีน้ีและในอีก 2 ปี ทีส่ ดุ ของอุตสาหกรรม ข้างหน้า จะยังคงส่งผลกดดั น ให้ อั ต รา ค่าระวางเรือต�่ำในระดับนี้ต่อไปอีกระยะ ส่วนกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานมีผลการ ซึ่งสภาวการณ์เช่นนี้ จะเป็นการกดดันให้ ด�ำเนินทีข่ ดั แย้งกันในปี 2558 โดย UMS มี ผูป้ ระกอบการธุรกิจขนส่งทางเรือบางส่วน ผลขาดทุนสุทธิที่ 329.2 ล้านบาทให้กับ ต้ อ งออกจากธุ ร กิ จ ไป แต่ ด ้ ว ยงบดุ ล ที่ TTA แต่ในทางกลับกัน PMTA สามารถท�ำ แข็งแกร่งและการเตรียมแผนรับมือกับ ผลก�ำไรสุทธิได้ที่ 233 ล้านบาท แม้วา่ จะ สถานการณ์ตา่ งๆ จะท�ำให้โทรีเซน ชิปปิง้ ต้องเผชิญกับความท้าทายตลอดทั้งปีจาก ภาวะฝนแล้งและฝนทิง้ ช่วงในภูมภิ าคเอเชีย สามารถฝ่าฟันวิกฤตครัง้ นีไ้ ปได้ดว้ ยดี ตะวันออกเฉียงใต้ ซึง่ ส่งผลกระทบต่อความ ต้องการใช้ปยุ๋ ในภูมภิ าคนี้ โดยตลอดทัง้ ปี

2558 PMTA มีพัฒนาการความก้าวหน้า หลายประการ เช่น การติดตัง้ สายการผลิต ปุย๋ ปัม๊ เม็ดอัดไอน�ำ้ ใหม่ ซึง่ ช่วยเพิม่ ยอดการ ส่งออกปุ๋ยไปยังต่างประเทศ การเปิดตัว พืน้ ทีเ่ ก็บสินค้าเพือ่ เปิดให้เช่า และการเปิด ตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึง่ ผลงานทีเ่ ป็นบวกจาก PMTA คือสิง่ ทีพ่ สิ จู น์วา่ การด�ำเนินกลยุทธ์ การลงทุ น แบบกระจายความเสี่ ย งของ บริษทั ฯ เป็นแนวทางทีถ่ กู ต้องแล้ว โดยภาพรวมของทัง้ ปี 2558 PMTA ยังคง สามารถสร้างส่วนแบ่งผลก�ำไรที่ดีให้กับ TTA ได้ ในขณะทีอ่ กี 3 ธุรกิจหลักต้องเผชิญ กับความท้าทายและภาวะตกต�ำ่ ยืดเยือ้ ของ อุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี สถานะทางการเงิน ของ TTA ยังคงแข็งแกร่งและมีสภาพคล่อง มากเพียงพอ แม้วา่ จะต้องบันทึกการด้อยค่า และตัง้ ส�ำรองค่าใช้จา่ ยในปีทผี่ า่ นมา

ความส�ำเร็จในรอบปีทผี่ า่ นมา

สิง่ ทีเ่ ราได้ดำ� เนินการในปี 2558 เพือ่ ประคับ ประคองธุรกิจให้ฝ่าคลื่นลมแรงในครั้งนี้ เริม่ ต้นจากการตัดสินใจขยายการลงทุนไป สูธ่ รุ กิจอาหารและเครือ่ งดืม่ ด้วยการลงทุน ในบริษทั ไซโน แกรนด์เนส ฟูด้ อินดัสตรี กรุป๊ จ�ำกัด (“ไซโน แกรนด์เนส”) ซึง่ เป็นผูผ้ ลิต และจ�ำหน่ายอาหารกระป๋องและเครือ่ งดืม่ น�ำ้ ผลไม้ในประเทศจีน ทีจ่ ดทะเบียนอยูใ่ น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์เมื่อ ต้นปีทผี่ า่ นมา เพือ่ สร้างความหลากหลายให้ กับธุรกิจในฐานะบริษทั โฮลดิง้ ส์ชนั้ น�ำ และ เพื่ อ กระจายการลงทุ น ไปสู ่ ธุ ร กิ จ ที่ ไ ม่ มี ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของวัฏจักร อุตสาหกรรม ต่อมาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) หรือ PMTA ได้กลายมาเป็นบริษทั ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


008

สาร จ าก CEO

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ด้วยการเสนอขาย หุน้ IPO จ�ำนวน 35.42 ล้านหุน้ ทีร่ าคา 18 บาทต่อหุน้ สามารถระดมเงินทุนได้ทงั้ สิน้ 600 กว่าล้านบาท ส่งผลให้ PMTA เป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ (Holding Company) ทีล่ งทุนในต่าง ประเทศเป็นรายทีส่ องทีเ่ ข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึง่ การเข้าจดทะเบียนเป็น กิจการในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ PMTA ทีล่ งทุนโดยการถือหุน้ ร้อยละ 100 ในบาคองโค ซึง่ ประกอบธุรกิจผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายปุย๋ เคมีชนั้ น�ำในประเทศเวียดนาม และส่งออกไปยัง หลายประเทศทัว่ โลก นอกจากจะตอกย�ำ้ ถึงศักยภาพทีแ่ ข็งแกร่งของ TTA แล้ว ยังสะท้อน ถึงการเป็นกิจการทีไ่ ด้รบั การยอมรั บ ในระดั บ ภู มิ ภ าคและระดั บ โลกอีกด้วย นอกจากการขยายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เรายังเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่ง ทางการเงิน โดยการออกหุน้ เพิม่ ทุนจ�ำนวน 739,383,450 หุน้ ในราคาเสนอขายหุน้ ละ 14 บาท เพือ่ ขยายกิจการและเตรียมรับโอกาสลงทุนทีส่ ร้างการเติบโตอย่างมัน่ คงและยัง่ ยืน พร้อมทัง้ ออกหุน้ กูอ้ ายุ 3 ปี ดอกเบี้ ย ร้ อ ยละ 4.25 วงเงิ น 2 พันล้านบาท เพื่อรองรับ การรีไฟแนนซ์ชำ� ระคืนหนี้ และเสริมฐานะการเงินให้แข็งแกร่ง เตรียมพร้อมลงทุนในธุรกิจ ใหม่ในอนาคต นอกจากการขยายการลงทุน และการสร้างฐานะการเงินให้แข็งแกร่งแล้ว TTA ยังได้ดำ� เนิน โครงการเพือ่ ตอบแทนคืนสูส่ งั คมอีก 2 โครงการในปี 2558 นั่นคือ โครงการยุตกิ าร รังแกกันในโรงเรียน ซึง่ เราได้รว่ มมือกับมูลนิธริ กั ษ์ไทย ในการท�ำกิจกรรมให้กบั เด็กๆ ใน โรงเรียนต่างๆ ได้เรียนรูแ้ ละตระหนักถึงความส�ำคัญของการอยูร่ ว่ มกันโดยไม่รงั แกกัน ซึง่ เป็นเรือ่ งทีผ่ ใู้ หญ่มองข้าม ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่มีผลต่อพัฒนาการทางการเรียนและด้าน อารมณ์ของเด็ก ซึง่ เป้าหมายของเราในการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ก็ เ พื่ อ ต้ อ งการ สร้างเยาวชนที่ มีคุ ณ ภาพ มี ค วามพร้ อ ม และมี จิ ต ส� ำ นึ ก ในการอยู ่ รว่ มกัน ลดความ ขัดแย้งและความรุนแรง เพือ่ ให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีคณ ุ ภาพและมีความสุข ส่วนอีกหนึง่ โครงการได้แก่ อ่านสนุก สุขใจ ได้ปัญญา ทีร่ ว่ มกับมูลนิธไิ ทยคม แบ่งปันโอกาสด้านการ เรียนรูใ้ ห้กบั เด็กไทย ด้วยการระดมทุนเพื่ อน� ำ ไปจั ด ซื้ อ หนั ง สื อ นิ ท าน 2 ภาษามอบให้ กับน้องๆ ในโรงเรียนทีข่ าดแคลนเพือ่ เสริมสร้างนิสยั รักการอ่าน ดังนัน้ ตลอดระยะเวลา 1 ปีทผี่ า่ นมา เรามีค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจที่ จ ะรั ก ษาเสถี ย รภาพ ด้านการเติ บโตธุ ร กิ จ การขยายโอกาสการลงทุน การรักษาความแข็งแกร่งของฐานะ การเงิน และการตอบแทนคืนสูส่ งั คม เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ TTA ร่วมภาคภูมใิ จไปพร้อมๆ กับเรา

2559 ยังคงมุง่ มัน่ ไขว่คว้าโอกาสทีด่ ี ส�ำหรับปี 2559 พันธกิจแรกของเราคือ การท�ำให้ TTA อยูใ่ นสถานะทีแ่ ข็งแกร่งและมี การด�ำเนินงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ พร้อมทีจ่ ะรับมือกับความผันผวนทีอ่ าจจะมากขึน้ โดย รักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุน เพื่อท�ำให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมมีเสถียรภาพ มีความมัน่ คงมากขึน้ และเพือ่ ลดผลกระทบทีเ่ กิดจากความผันผวนจากธุรกิจให้บริการนอก ชายฝั่งในอุตสาหกรรมน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 ของพอร์ตการลงทุนทัง้ หมดในปัจจุบนั โดยเราได้วางเป้าหมายในการลงทุนใหม่ เพือ่ ปรับโครงสร้างพอร์ตการลงทุนของ TTA ให้ มีการกระจายความเสีย่ งมากขึน้ เพือ่ ให้เกิดความสมดุล เสถียรภาพ และความมัน่ คง โดย จะมองหาและเลือกลงทุนในธุรกิจใหม่ทไี่ ม่เป็นวัฏจักรเข้าสูพ่ อร์ตเพิม่ มากขึน้ โดยหวังจะ

Message from CEO บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


009

ส า ร จ า ก CE O

ให้สดั ส่วนของธุรกิจหลักดัง้ เดิมทีม่ ลี กั ษณะเป็นวัฏจักรลงให้เหลือแค่รอ้ ยละ 50 ของพอร์ตรวม เพือ่ ลดความผันผวน ทัง้ นี้ ธุรกิจใหม่ที่ TTA ให้ความสนใจ ประกอบด้วยธุรกิจอาหารและเครือ่ งดืม่ เพราะเป็นสิง่ จ�ำเป็นในชีวติ ประจ�ำวัน ธุรกิจพลังงานทางเลือก ตามแนวโน้มของการใช้พลังงานในอนาคต และธุรกิจ โครงสร้ า งพื้นฐาน เนื่องจากในแถบภูมิภาคนี้ต้องเร่งการเจริญเติบโตให้ ทัดเทียมและแข่งขันได้ รองรับการเปิด AEC ดังนั้นการเดินทางและ การติดต่อสือ่ สารจึงเป็นปัจจัยพืน้ ฐานส�ำคัญ TTA ยังคงมีเป้าหมายทีจ่ ะก้าวขึน้ มาเป็นกลุม่ บริษทั เพือ่ การลงทุนชัน้ น�ำใน เอเชียทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจและความน่าเชือ่ ถือมากทีส่ ดุ และเป็นหนึง่ ในบริษทั ในกลุม่ SET50 ในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะเดียวกัน เราได้มกี ารปรับเปลีย่ นวิธี การด�ำเนินการเพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมายดังกล่าว เนือ่ งจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่ในภาวะซบเซาและเปลี่ยนแปลงไปจากที่เรา คาดการณ์ไว้ สิง่ ทีผ่ มให้ความส�ำคัญทีส่ ดุ ในตอนนีค้ อื การประคับประคองธุรกิจให้ผา่ นพ้น ความซบเซาและความตกต�ำ่ ของธุรกิจ ตลอดจนภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจที่ ก�ำลังจะเกิดขึน้ ในปี 2559 ซึง่ กระทบกับธุรกิจหลักของ TTA โดยตรง ซึง่ ที่ ผ่านมาเราได้ดำ� เนินการปรับโครงสร้างธุรกิจ ควบคุมดูแลต้นทุนค่าใช้จา่ ย เพือ่ รักษาสถานะทางการเงินทีแ่ ข็งแกร่งไว้ การเตรียมความพร้อม ความยืดหยุน่ ในการด�ำเนินการ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์อย่างทันท่วงที ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อผนวกรวมกับจุดแข็งที่ ส�ำคัญของ TTA นัน่ คือ ทีมงานทีม่ ปี ระสบการณ์ และพร้อมจะทุม่ เทกับงาน ท�ำให้ผมมั่นใจว่า TTA ยังคงมีศักยภาพที่จะพลิกฟื้นกลับเข้ามาสู่เส้นทาง แห่งการเติบโตได้อกี ครัง้ เมือ่ สถานการณ์โดยรวมกลับเข้าสูภ่ าวะปกติ การฟันฝ่าวิกฤตในปี 2558 หรือการรับมือกับปี 2559 ทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ต่างก็ ล้วนแต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝาย ซึ่งในนามของ คณะผู้บริหาร ผมต้องขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเดิน เคียงข้างไปกับ TTA โดยเฉพาะแรงสนับสนุนจากการเพิ่มทุนที่ผู้ถือหุ้นให้ การตอบรับเป็นอย่างดี รวมถึงการน�ำหุน้ PMTA เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ ก็ได้รบั ความสนใจจากผูถ้ อื หุน้ ของ TTA เป็นอย่างมาก ซึง่ ผม และทีมงานผูบ้ ริหารและพนักงานทุกคนจะทุม่ เทอย่างเต็มที่ เพือ่ ตอบแทน ความไว้วางใจทีผ่ ถู้ อื หุน้ ทุกท่านมีให้กบั เราเสมอมา ขอแสดงความนับถือ

เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


010

ประวั ติ ค วามเป็ น มา

ประวัติความเป็นมา 2554

บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี (“โซลีอาโด”) เข้าถือหุ้นร้อยละ 20 ใน บาเรีย เซเรส โดยเป็นส่วนหนึ่งของ กลยุทธ์ที่จะสร้างธุรกิจโลจิสติกส์แบบ ครบวงจรในประเทศเวียดนาม

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“TTA” หรือ “บริษัทฯ”) ได้ซื้อเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองรวม 3 ล�ำ เป็นเรือในตลาดมือสอง 2 ล�ำ และเรือที่สั่งต่อใหม่อีก 1 ล�ำ

บริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิงค์ จ�ำกัด (“AOD”) ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ร่ ว มที่ บริ ษั ท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 33.8 ได้ ระดมเงินทุนจ�ำนวน 180 ล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา จากตลาดทุนในประเทศ และได้เซ็นสัญญาสร้างเรือขุดเจาะแบบ Jack-up จ�ำนวน 3 ล�ำ มูลค่ารวม 538 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกากับ Keppel FELS Ltd. ประเทศสิงคโปร์

โซลีอาโด เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท ปิ โ ตรลิ ฟ ต์ จ� ำ กั ด (“ปิ โ ตรลิ ฟ ต์ ” ) ร้อยละ 1.17 เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ในปิโตรลิฟต์ เป็นร้อยละ 40

2555 TTA ได้ซื้อเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง มื อ สอง 1 ล� ำ และได้ มี ก ารโอนเรื อ สัญชาติไทยจ�ำนวน 8 ล�ำ ของบริษัทฯ ไปยังบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี (“TSS”) ทั้งนี้เป็นไปตาม แผนการปรับโครงสร้างธุรกิจเรือขนส่ง สินค้าแห้งเทกองของบริษัทฯ

หุ้นกู้แปลงสภาพของ TTA ได้ถึงวันครบ ก�ำหนดอายุไปเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555

TSS ได้ซอื้ เรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองมือ สองรวม 6 ล�ำ

บริษัท พรีโม ชิปปิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.9 เป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากการควบ 45 บริษัทย่อยในกลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า แห้ ง เทกองของ TTA ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ที่ ไ ม่ ไ ด้ ด� ำ เนิ น กิ จ การแล้ ว เพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพในด้านการปฏิบัติการเรือ ขนส่งสินค้าแห้งเทกองทั้งในด้านของ รายได้และการบริหารจัดการต้นทุนให้ ดียิ่งขึ้น

บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”) จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ถือหุ้นโดย TTA ร้อยละ 99.9 และได้แปรสภาพเป็น บริ ษั ท มหาชนจ� ำ กั ด เมื่ อ วั น ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 PMTA เป็นบริษัทที่ ประกอบธุรกิจโดยการถือหุน้ โดยลงทุน ในบริษัท บาคองโค จ�ำกัด (“บาคอง โค”) ร้อยละ 100

2556 TSS ได้ รั บ มอบเรื อ ขนส่ ง สิ น ค้ า แห้ ง เทกองรวม 3 ล�ำ เป็นเรือมือสอง 1 ล�ำ และเรือที่สั่งต่อใหม่อีก 2 ล�ำ AOD ได้รับมอบเรือขุดเจาะแบบ Jack-up ที่ สั่งต่อใหม่อีก 3 ล�ำ

TTA ได้ก่อตั้งบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เดนมาร์ก เอพีเอส เพือ่ ใช้เป็นส�ำนักงาน สาขาด้ า นการขายและการตลาดใน กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กเพือ่ ให้บริการลูกค้าในแถบทวีปยุโรป

TTA ได้ระดมเงินทุนโดยการออกหุ้น เพิ่ ม ทุ น ควบใบส� ำ คั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะ ซื้ อ หุ ้ น สามั ญ ของบริ ษั ท ฯ ครั้ ง ที่ 3 (TTA-W3) รวมเป็นเงินที่ได้รับจากการ ออกหุ้นสามัญเป็นจ�ำนวน 3,964 ล้าน บาท เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ ของบริษัทฯ

เมอร์เมด ได้ระดมเงินทุนโดยการออก หุ้นเพิ่มทุนจ�ำนวนเงิน 175.78 ล้าน ดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อรองรับการเติบโต ของธุรกิจของเมอร์เมด

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

2557

TTA ได้ ข ายเงิ น ลงทุ น ในบริ ษั ท PT Perusahaan Pelayaran Equinox (“Equinox”) ซึ่งเป็นบริษัทที่ TTA ถือ หุน้ อยูร่ อ้ ยละ 49 เมือ่ วันที่ 29 มกราคม 2557

TTA ได้ระดมเงินทุนโดยการออกหุ้น เพิ่ ม ทุ น ควบใบส� ำ คั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะ ซื้ อ หุ ้ น สามั ญ ของบริ ษั ท ฯ ครั้ ง ที่ 4 (TTA-W4) รวมเป็ น เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ จาก การออกหุ้นสามัญเป็นจ�ำนวน 4,174 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของ ธุรกิจของบริษัทฯ


011

ประวั ติ ค วามเป็ น มา

2558 โซลี อ าโด เข้ า ถื อ หุ ้ น ร้ อ ยละ 9 ใน บริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ ๊ ป จ� ำ กั ด (“ไซโน แกรนด์ เ นส”) ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ผู ้ ผ ลิ ต และจั ด จ� ำ หน่ า ย เครื่องดื่มน�้ำผลไม้และอาหารกระป๋อง ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็น บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์

บริษทั ฯ ได้เปลีย่ นรอบบัญชีของบริษทั ฯ จากเดิมเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม และ สิน้ สุดลงในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เป็นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดลง ในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ตามที่ได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากที่ ป ระชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น ของ บริษัทฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 โดยให้เริ่มงวดบัญชีแรกในรอบวันที่ 1 ตุลาคม 2557 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธั น วาคม 2557 และรอบบั ญ ชี แ รก ส�ำหรับรอบระยะเวลา 12 เดือน ให้เริ่ม ต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 และ สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2558

TTA ได้ระดมเงินทุนโดยการออกหุ้น เพิ่ ม ทุ น ควบใบส� ำ คั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะ ซื้ อ หุ ้ น สามั ญ ของบริ ษั ท ฯ ครั้ ง ที่ 5 (TTA-W5) รวมเป็นเงินที่ได้รับจากการ ออกหุ้นสามัญเป็นจ�ำนวน 7,286 ล้าน บาท เพื่อการขยายธุรกิจของบริษัทฯ และการช�ำระคืนหนี้ของบริษัทฯ

PMTA ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย TTA ร้อยละ 67.2 ประกอบธุรกิจการ ลงทุนโดยการถือหุ้นในบาคองโค ซึ่ง เป็นบริษัทผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและผลิตภัณฑ์ เคมีเพือ่ การเกษตรในประเทศเวียดนาม ได้ จ ดทะเบี ย นหลั ก ทรั พ ย์ ใ นตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558

TTA ได้ออกหุ้นกู้ในประเทศประเภท ไม่ดอ้ ยสิทธิและไม่มหี ลักประกันจ�ำนวน 2,000 ล้านบาท เพือ่ ใช้ในการรีไฟแนนซ์ หนี้เงินกู้และเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนของ บริษัทฯ

เมอร์เมด และ บริษัท ปตท. ส�ำรวจและ ผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) (“ปตท. สผ”) ลงนามในบันทึกความร่วมมือทาง ด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น�้ำ ควบคุ ม ด้ ว ยตนเอง (Autonomous Underwater Vehicle (“AUV”) เพื่อ เพิม่ ขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของ คนไทยในการพัฒนา AUV เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558

PMTA ได้เป็นผู้แทนจ�ำหน่ายปุ๋ยยูเรีย สูตร N-Protect แต่เพียงผู้เดียว ซึ่ง เป็ น นวั ต กรรมที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ของบริ ษั ท ผลิ ต สารเคมี ชั้ น น� ำ ระดั บ โลก “โซลเวย์ แห่งเบลเยี่ยม” โดย ผลิตภัณฑ์นี้จะช่วยเร่งการเจริญเติบโต ของต้ น ไม้ และช่ ว ยลดการใช้ ปุ ๋ ย ลง ได้ถึงร้อยละ 20 และใช้ในประเทศ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และบางประเทศ ในแถบแอฟริกา

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 TTA เป็น เจ้าของเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง 24 ล�ำ เรือบริการนอกชายฝั่ง 7 ล�ำ เรือ ขุดเจาะ 2 ล�ำ และเรือขุดเจาะแบบ Jack-up 3 ล�ำ (โดย เมอร์เมด เป็น เจ้าของร้อยละ 33.8) นอกจากนี้ ในรอบ ปี บั ญ ชี 2558 ยั ง มี เ รื อ บรรทุ ก สินค้าแห้งเทกองอีกเป็นจ�ำนวนประมาณ 14.2 ล�ำ ที่กลุ่มบริษัทโทรีเซนได้เช่ามา เสริมเพิ่มเติมแบบเต็มระยะเวลาเพื่อ ตอบสนองความต้ อ งการของลู ก ค้ า ในช่วงระหว่างปี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


012

คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

คณะกรรมการ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (อายุ 63 ปี)

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (อายุ 37 ปี)

นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ (อายุ 56 ปี)

ประธานคณะกรรมการ/ประธานกรรมการ บริหาร วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ): 0.01

กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร/กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการ การลงทุน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร: 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 22.02 (รวมจ�ำนวนหุ้นที่ถือผ่านคัสโตเดียนแล้ว)

กรรมการ/กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการ บริหารความเสี่ยง/กรรมการการลงทุน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

นายสันติ บางอ้อ (อายุ 69 ปี)

นางสาวอุษณา มหากิจศิริ (อายุ 35 ปี)

กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทน/ประธานกรรมการก�ำกับ ดูแลกิจการ/กรรมการตรวจสอบ วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

กรรมการ/กรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน/กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 3.89

ประวัติของคณะกรรมการปรากฏอยู่ในหัวข้อ “รายละเอียดของคณะกรรมการและผู้บริหาร”

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


013

คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง (อายุ 75 ปี)

นายกฤช ฟอลเล็ต (อายุ 66 ปี)

กรรมการ/กรรมการบริหาร/กรรมการการลงทุน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 30 มกราคม 2557 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ตนเอง: ไม่มี คู่สมรส: 0.0006 รวม: 0.0006

กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ/ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 12 เมษายน 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี (อายุ 45 ปี) กรรมการอิสระ/กรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 30 มกราคม 2556 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ (อายุ 69 ปี) กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/กรรมการ บริหารความเสี่ยง วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 30 มกราคม 2556 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ (อายุ 66 ปี)

นายอีฟ บาบิว (อายุ 77 ปี)

กรรมการอิสระ วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 13 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

กรรมการ วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 12 กรกฎาคม 2556 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


014

คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

คณะผู้บริหาร นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ

นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา

นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี

กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการการลงทุน วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 22.02 (รวมจ�ำนวนหุ้นที่ถือผ่านคัสโตเดียนแล้ว)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน/กรรมการบริหาร วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 13 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 0.0030 (ถือหุ้นผ่าน Thai NVDR)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและ ประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 1 มิถุนายน 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ตนเอง : ไม่มี คู่สมรส : 3.89 รวม : 3.89

(อายุ 37 ปี)

(อายุ 51 ปี)

(อายุ 38 ปี)

ประวัติของผู้บริหารปรากฏอยู่ในหัวข้อ “รายละเอียดของคณะกรรมการและผู้บริหาร”

นายซิกมันต์ สตรอม

นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ - ชิปปิ้งและโลจิสติกส์ วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 6 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 0.0079

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน (ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน & กลยุทธ์ และบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 20 มกราคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

(อายุ 59 ปี)

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

(อายุ 38 ปี)


015

โครงสร้ า งองค์ ก ร

โครงสร้างองค์กร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

บริษทั อะธีน โฮลดิง้ ส์ จ�ำกัด

100%

บริษทั โซลีอาโด โฮลดิง้ ส์ พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิง้ ส์ จ�ำกัด (มหาชน)

ธุรกิจพลังงาน

ธุรกิจขนส่ง

67.2%

ธุรกิจโครงสร้างพืน้ ฐาน

บริษทั พรีโม ชิปปิง้ จ�ำกัด (มหาชน)

99.9%

บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (2)

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ สิงคโปร์ พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั เมอร์เมด ดริลลิง่ ค์ จ�ำกัด

บริษทั ยูนคิ ไมนิง่ เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด (มหาชน) (1)

88.7%

95%

บริษทั ยูเอ็มเอส ดิสทริบวิ ชัน่ จ�ำกัด

99.9%

58.2%

บริษทั ทอร์ ฟอร์จนู ชิปปิง้ พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-1 (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั ยูเอ็มเอส ไลเตอร์ จ�ำกัด

99.9%

บริษทั ทอร์ เฟรนด์ชปิ ชิปปิง้ พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-2 (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี (9)

100%

บริษทั ยูเอ็มเอส เพลเลท เอ็นเนอร์ยี่ จ�ำกัด

99.9%

บริษทั ทอร์ ฮอไรซัน ชิปปิง้ พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-1 จ�ำกัด (9)

100%

บริษทั ยูเอ็มเอส พอร์ต เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด

99.9%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ เดนมาร์ก เอพีเอส

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-2 จ�ำกัด

100%

บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จ�ำกัด

99.9%

บริษทั บาคองโค จ�ำกัด (4)

บริษทั เมอร์เมด ดริลลิง่ ค์ (มาเลเซีย) เอสดีเอ็น. บีเอชดี. (9) 100%

บาเรีย เซเรส (3)

100% 20%

บริษทั โทรีเซน ชาร์เตอร์รง่ิ (เอชเค) จ�ำกัด

99.9%

บริษทั เมอร์เมด ดริลลิง่ ค์ (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี (4)

100%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ เยอรมัน จีเอ็มบีเอช

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-3 (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั ชิดลม มารีน เซอร์วสิ เซส แอนด์ ซัพพลายส์ จ�ำกัด

99.9%

บริษทั โทรีเซน ชาร์เตอร์รง่ิ (พีทอี )ี จ�ำกัด

100%

บริษทั เอ็มทีอาร์-4 (สิงคโปร์) พีทอี ี แอลทีดี

100%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ เอฟแซดอี

100%

บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ มอริเชียส จ�ำกัด

100%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ แอนด์ โลจิสติกส์ จ�ำกัด

49%

บริษทั เมอร์เมด อินเตอร์เนชัน่ แนล เวนเจอร์ส

100%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ แอนด์ โลจิสติกส์ (เมียนมาร์) จ�ำกัด

70%

บริษทั เมอร์เมด ซับซี เซอร์วสิ เซส (อินเตอร์เนชัน่ แนล) จ�ำกัด (5)

100%

บริษทั กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด

51%

บริษทั ซับเทค ซาอุดิ อาระเบีย จ�ำกัด

95%

50%

บริษทั เมอร์เมด ซับซี เซอร์วสิ เซส แอลแอลซี (6)

49%

49%

บริษทั เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิง่ ค์ จ�ำกัด 33.8%

บริษทั โทรีเซน (อินโดไชน่า) เอส.เอ. บริษทั โทรีเซน-วินามา เอเยนต์ซสี ์ จ�ำกัด

บริษทั โทรีเซน-วินามา โลจิสติกส์ จ�ำกัด 100%

51%

บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ เอฟแซดอี

100%

บริษทั ชาร์จา พอร์ต เซอร์วสิ เซส แอลแอลซี

บริษทั เฟิรน์ เล่ย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด

49%

บริษทั เฟิรน์ เล่ย์ ชิปโบรคกิง้ ไพรเวท จ�ำกัด

99.9%

บริษทั เมอร์เมด ซับซี เซอร์วสิ เซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด (7) 100%

40%

บริษทั ซีสเคป เซอร์เวยส์ พีทอี ี แอลทีดี

บริษทั เอเชีย ออฟชอร์ ริก 3 จ�ำกัด 100%

100%

บริษทั พีที ซีสเคป เซอร์เวยส์ อินโดนีเซีย 49% บริษทั พีที ซีสเคป เซอร์เวยส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด(9) 100% บริษทั เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วสิ เซส พีทอี ี แอลทีดี 100% บริษทั เมอร์เมด เอ็มทีเอ็น พีทอี ี แอลทีดี

(8,9)

บริษทั ไซโน แกรนด์เนส ฟูด้ อินดัสตรี กรุป๊ จ�ำกัด (3)

10.6%

บริษทั พีเอ็มเอฟบี จ�ำกัด

99.9%

1) บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด ถือหุ้นร้อยละ 88.7 ในบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) 2) บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ถือหุ้นทางตรงร้อยละ 49.5 บริษัท โซลีอาโด โฮลดิง้ ส์ พีทีอี แอลทีดี ถือหุ้นร้อยละ 7.2 และบริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด ถือหุ้นร้อยละ 1.4 ในบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) 3) บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี ถือหุ้นร้อยละ 20 ในบาเรีย เซเรส และถือหุ้นร้อยละ 10.5 ในบริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป จ�ำกัด 4) บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) ถือหุ้นบริษัท บาคองโค จ�ำกัด และ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี ร้อยละ 100 5) บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (อินเตอร์เนชั่นแนล) จ�ำกัด เดิมชื่อ บริษัท ซับเทค จ�ำกัด 6) บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส แอลแอลซี เดิมชื่อ บริษัท ซับเทค กาตาร์ ไดวิ่ง แอนด์ มารีน เซอร์วิสเซส แอลแอลซี 7) บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด เดิมชื่อ บริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จ�ำกัด 8) บริษัท เมอร์เมด เอ็มทีเอ็น พีทีอี แอลทีดี เดิมชื่อ บริษัท เอ็มทีอาร์-5 (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี 9) อยู่ในขั้นตอนการเลิกบริษัท

100%

บริษทั ซามิล เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วสิ เซส แอลแอลซี 40% Meton Investments NL BV

49%

อืน่ ๆ

บริษทั เอเชีย ออฟชอร์ ริก 1 จ�ำกัด 100% บริษทั เอเชีย ออฟชอร์ ริก 2 จ�ำกัด 100%

บริษทั ปิโตรลิฟต์ จ�ำกัด

บริษทั จีเอซี โทรีเซน โลจิสติคส์ จ�ำกัด

100%

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


016

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ส่วนองค์กรหลัก

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“TTA”)

ข้อมูลในภาพรวม เกี่ยวกับบริษัทฯ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (หรือ (“TTA” หรือ “บริษัทฯ”) ก่อตั้งขึ้น ในปี 2447 โดยเติบโตขึ้นจากจุดเริ่มต้น เล็ ก ๆ ในฐานะของบริ ษั ท ที่ เ ป็ น ผู ้ ใ ห้ บริการขนส่งสินค้าทางทะเล และปัจจุบนั เติบโตเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจการ ลงทุ น โดยการถื อ หุ ้ น ในบริ ษั ท อื่ น เชิ ง กลยุทธ์ (a strategic investment holding company) ที่ ไ ด้ รั บ การ จัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 100 ล�ำดับแรก ของบริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) ทั้งนี้ TTA ประกอบธุรกิจในสามกลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจพลังงาน และ ธุรกิจโครงสร้างพืน้ ฐาน ซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั ใน ระดับสากลไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา

TTA เริ่มให้บริการด้านการขนส่งสินค้า แห้งเทกองในปี 2528 ความสนใจใน ด้านพาณิชยนาวีได้ขยายตัวขึ้น เมื่อ TTA ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทแห่งหนึ่งซึ่ง ด�ำเนินธุรกิจให้บริการขุดเจาะน�้ำมัน และก๊าซธรรมชาตินอกชายฝัง่ เพือ่ ทีจ่ ะ เจาะเข้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจ ดังกล่าว ด้วยการก่อตั้งของนักเดินเรือ พาณิชยนาวีชาวเดนมาร์กในประเทศไทย ภายใต้ ชื่ อ บริ ษั ท เมอร์ เ มด มารี น เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด ซึง่ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญใน ธุรกิจให้บริการขุดเจาะน�้ำมันและก๊าซ ธรรมชาตินอกชายฝั่ง ซึ่งต่อมาได้เข้า จดทะเบียนในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศสิงคโปร์ในปี 2550 และเปลีย่ น ชื่อเป็น บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) TTA ได้ขยาย ธุรกิจไปนอกเหนือกลุม่ พาณิชยนาวีในปี


017

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

2552 โดยการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) (“UMS”) และได้เสริมสร้าง ความแข็งแกร่งโดยเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ผู ้ ผ ลิ ต ปุ ๋ ย ของเวียดนามที่ชื่อว่า บริษัท บาคองโค จ� ำ กัด นอกจากนี้ TTA ยัง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของกิจการผ่าน การน� ำ บริ ษั ท พี เ อ็ ม โทรี เ ซน เอเชี ย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”) เข้า จดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยได้ส�ำเร็จในปี 2558 ที่ผ่านมา รวมทั้ ง บริ ษั ท ที่ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ในด้ า น โครงสร้างพืน้ ฐานอืน่ ๆ ของกลุม่ ฯ ได้รวมตัว ก่อเกิดเป็นธุรกิจใหม่ภายใต้กลุ่มธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน นอกจากจะเป็นการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ แล้ว การลงทุนในกิจการดังกล่าวยังท�ำให้ TTA สามารถลดการพึ่งพิงธุรกิจพาณิชย นาวี ซึง่ มีลกั ษณะของการเป็นรอบวัฏจักร ของอุตสาหกรรมและยังท�ำให้สามารถมี รายได้จากธุรกิจอื่นเพิ่มขึ้น การเริ่มต้น กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจในระยะยาวเช่นนี้ ท�ำให้ TTA เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนใน เชิงกลยุทธ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ต่อมาในปี 2554 เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ ส�ำคัญขึน้ กับ TTA เมือ่ ครอบครัวมหากิจศิริ ได้ ก ลายมาเป็ น ผู ้ ถื อ หุ ้ น รายใหญ่ ข อง บริษัทฯ การด�ำเนินธุรกิจภายใต้การน�ำ ของนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ โดยปรับ เปลี่ยนสถานะทางธุรกิจของ TTA ใหม่ และได้สร้างความเปลีย่ นแปลง โดยเป็นไป ด้วยความรอบคอบในการวางรากฐานและ ปูแนวทางเพือ่ รองรับการเติบโตในอนาคต ความส�ำคัญล�ำดับแรกคือการสร้างเสริม ความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการเงิน และปรับปรุงศักยภาพของธุรกิจหลักที่มี อยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น TTA ได้ระดมเงินทุน จ�ำนวน 8.1 พันล้านบาทได้สำ� เร็จ โดยการ ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ให้กับผู้ถือหุ้น เดิมสองครัง้ เพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทาง ธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนเมอร์เมดได้ออก และเสนอขายหุน้ สามัญเพิม่ ทุนให้กบั ผูถ้ อื หุน้ เดิมและบุคคลในวงจ�ำกัด จ�ำนวน 176 ล้ า นดอลลาร์ สิ ง คโปร์ เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง สถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งมากขึ้น

TTA ได้ก�ำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจใหม่ ในปี 2557 โดยมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้น มาเป็นกลุ่มบริษัทเพื่อการลงทุนชั้นน�ำใน เอเชียที่ได้รับความไว้วางใจและความน่า เชื่อถือมากที่สุด ภายในปี 2563 (“To be the Most Trusted Asian Investment Group by 2020”) TTA ยังคงมุ่งมั่น ในการด�ำเนินธุรกิจทีม่ อี ยู่ ในขณะเดียวกัน TTA ก็มีความปรารถนาที่จะขยายธุรกิจ ออกไปโดยแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ ที่เติบโต อย่างยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น เพื่อสร้าง มูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น กลยุทธ์ใหม่ในการ ด�ำเนินธุรกิจเริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2557 ด้วยการที่ TTA ได้เริม่ เข้าไปในกลุม่ ธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่มโดยการเข้าซื้อหุ้น ใน ไซโน แกรนด์เนส ซึ่งเป็นผู้ผลิตผักและ ผลไม้บรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มโลโคท หรือลูกแพร์ยักษ์ (loquat juice) ชั้นน�ำ สัญชาติจนี ทีจ่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศสิงคโปร์ (SGX) และเพื่อ เป็ น การเสริ ม เงิ น ทุ น ส� ำ รองเพื่ อ ใช้ ใ น การลงทุนให้มากขึ้น TTA ได้ระดมทุนอีก รอบในปี 2558 ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน จ�ำนวนเงิน 7,286 ล้านบาท

กลยุทธ์ทางธุรกิจและ วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของเรา “TTA จะก้าวขึ้นมาเป็น กลุม่ บริษทั เพือ่ การลงทุนชัน้ น�ำในเอเชียที่ ได้รับความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ มากที่สุดภายในปี 2563” เพื่อเป็นผู้น�ำ ทางธุรกิจโดยการด�ำเนินงานด้วยความ รับผิดชอบและเป็นเลิศในด้านธุรกิจอย่าง ยัง่ ยืน รวมทัง้ สร้างมูลค่าและการเติบโตใน ระยะยาว ด้ ว ยเป้ า หมายที่ จ ะส่ ง ผ่ า น ประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานไป สู่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ TTA มีความ มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืน เสริมสร้างชื่อ เสียงทางธุรกิจและการเงินที่เหนือกว่า และสร้างผลก�ำไรให้กับทุกกลุ่มธุรกิจของ บริษัทฯ บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญกับรูปแบบการ ด�ำเนินธุรกิจที่มีความหลากหลายรวมทั้ง ธุ ร กิ จ หลั ก ขององค์ ก ร โดยจะแสวงหา โอกาสใหม่ๆ และพัฒนาขีดความสามารถ

ในการด�ำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ด้วย การพัฒนาปรับปรุงในด้านต่างๆ อย่าง ทันท่วงที เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุด นับเป็นความท้าทาย อย่างยิ่งในการที่จะบริหารงานท่ามกลาง ภาวะตลาดทีม่ คี วามผันผวนเช่นนี้ บริษทั ฯ จึ ง พยายามที่ ป รั บ เปลี่ ย นแนวทางการ ด�ำเนินธุรกิจหลัก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ธุรกิจ ขนส่ง และธุรกิจให้บริการขุดเจาะน�้ำมัน และก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง ด้วยการ ปรับโครงสร้างการด�ำเนินงาน และปรับ ปรุงโครงสร้างต้นทุน บริษัทฯ จะเสริม สร้างสถานะในด้านความได้เปรียบทาง การแข่งขันของบริษทั ต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นพอร์ต การลงทุนของบริษทั ฯ ให้มคี วามแข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะรักษาและเพิ่มขีดความ สามารถในการด�ำเนินงานให้ยั่งยืน ปี 2559-2563 จะเป็นยุคแห่งการเปลี่ยน แปลงเชิงกลยุทธ์ เนื่องจาก TTA จะมีทั้ง กลยุทธ์ในการรวมธุรกิจและสร้างความ หลากหลายทางธุรกิจ นอกเหนือไปจาก ธุรกิจหลักเดิมที่มีอยู่ ด้วยเงินสดที่ส�ำรอง ไว้เพื่อใช้ในการลงทุน TTA ก�ำลังมองหา ธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโต โดย เน้ น การใช้ ก ลยุ ท ธ์ ที่ ยื ด หยุ ่ น แต่ รั ด กุ ม ในการท�ำธุรกิจในประเทศไทยและแถบ อินโดจีนเป็นหลัก ด้วยเป้าหมายทีจ่ ะสร้าง รายได้และกระแสเงินสดที่มีความมั่นคง ยิ่งขึ้น TTA ได้มุ่งเป้าที่จะลงทุนในธุรกิจที่ น่าสนใจหลายกลุม่ ด้วยกัน อาทิ โครงสร้าง พืน้ ฐาน พลังงานทดแทน โลจิสติกส์ สินค้า อุปโภคบริโภค เป็นต้น TTA จะมีความ เข้มงวดและมีวินัยทางการเงินโดยมุ่งเน้น ที่การเติบโต ผลตอบแทน และการสร้าง มูลค่าจากการเข้าซื้อและการรวมกิจการ หรือในการขยายกิจการ นอกจากนี้ TTA จะสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าทางธุรกิจ ให้แข็งแกร่งเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง แท้จริง ในฐานะที่บริษัทประกอบธุรกิจการลงทุน โดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Investment Holding) ความส�ำเร็จของ TTA ขึน้ อยูก่ บั ความสามารถในการบริ ห ารการลงทุ น และธุ ร กิ จ ด้ ว ยความรอบคอบและมี ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


018

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ประสิทธิภาพในแต่ ล ะรอบวั ฏ จั ก รของ อุตสาหกรรมและสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนด้วย การบริหารจัดการในระยะยาว TTA จะยัง คงแสวงหานวั ต กรรมและแนวทางการ แก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม และรักษา บุคลากรที่มีความสามารถและมีศักยภาพ สูง รวมทั้งการก�ำกับดูแลและวินัยที่เข้ม งวดในทุกธุรกิจของบริษัทฯ TTA จะเป็นกลุม่ บริษทั ทีม่ คี วามหลากหลาย ทางธุรกิจยิ่งขึ้น โดยให้ความส�ำคัญกับ ผลประกอบการและการสร้างมูลค่าให้กับ ผู้ถือหุ้น

พอร์ตการลงทุนทางธุรกิจ

ด้ ว ยเป้ า หมายสู ง สุ ด ในการสร้ า งและ ท�ำให้มูลค่าของผู้ถือหุ้นมีความยั่งยืน TTA มุ่งเน้นที่การบริหารจัดการและการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับพอร์ตการลงทุนทางธุรกิจ ในภาพรวม ในฐานะที่ บ ริ ษั ท ประกอบ ธุรกิจการลงทุนโดยการถือหุน้ ในบริษทั อืน่ (Holding Company) กลุ่มบริษัทฯ มี พอร์ตการลงทุนทางธุรกิจทีห่ ลากหลายใน สามกลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ขนส่ง พลังงาน และโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนเริ่มแรก ในบริษัทเครื่องดื่มชั้นน�ำของจีน คือ ไซโน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

แกรนด์เนส เมื่อปลายปี 2557 ได้เร่งการ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ขยายตัวของกลุ่มบริษัทฯ ในธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มให้เติบโตขึ้นในปีที่แล้ว โดย  บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ กลุ่มบริษัทฯ ได้จัดตั้งฝ่ายบริหารกลยุทธ์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (สั ด ส่ ว นการถื อ หุ ้ น ด้ า นอาหารและเครื่ อ งดื่ ม ขึ้ น มาใหม่ ร้อยละ 67.2) ภายใต้การดูแลของบริษัท พีเอ็มเอฟบี บริษทั ทีป่ ระกอบธุรกิจการลงทุนโดยการ จ�ำกัด ทั้งนี้ TTA ยังคงมีจุดมุ่งหมายที่จะ ถือหุน้ ในบริษทั อืน่ (Holding Company) ขยายธุรกิจเหมือนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา  บริษัท บาคองโค จ�ำกัด (สัดส่วนการ พอร์ต การลงทุ น ทางธุ ร กิ จ หลั ก ที่ ส� ำ คั ญ ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยถือผ่านบริษัท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 ประกอบด้วย พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด กลุ่มธุรกิจหลักสามกลุ่มและบริษัทย่อย (มหาชน)) ผู้ผลิตและจ�ำหน่ายปุ๋ยและ ของแต่ละกลุ่ม ดังนี้ ให้บริการให้เช่าพื้นที่โรงงานชั้นน�ำใน ประเทศเวียดนาม ธุรกิจขนส่ง  บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด  บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี (มหาชน) (สัดส่วนการถือหุน้ ร้อยละ 88.7) แอลทีดี (สัดส่วนการถือหุน้ ร้อยละ 100) ผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ผูใ้ ห้บริการโลจิสติกส์ถา่ นหินในประเทศ ไทย ธุรกิจพลังงาน ในปี 2558 บริ ษั ท ย่ อ ยหลั ก สี่ บ ริ ษั ท  บริษท ั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี (“โทรีเซน ชิปปิ้ง”) บริษัท (สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 58.2) ผูใ้ ห้บริการวิศวกรรมใต้ทะเลและบริการ เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) นอกชายฝั่งในอุตสาหกรรมน�้ำมันและ (“เมอร์เมด”) บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”) และ ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) (“UMS”) สร้างรายได้ประมาณ ร้อยละ 98.75 ของรายได้ทั้งหมด


019

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


020

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

EBITDA

573.2

ล้านบาท

ระวางบรรทุกรวม

1.2

ล้านเดทเวทตัน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


021

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ปริมาณขนส่งสินค้า

12.6

ล้านตัน

ธุรกิจขนส่ง สินค้าแห้งเทกอง โทรีเซน ชิปปิ้ง

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


022

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกอง โทรีเซน ชิปปิ้ง

ข้อมูลและภาพรวมธุรกิจ TTA ประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ภายใต้ชื่อ โทรีเซน ชิปปิ้ง ซึ่งเป็นหนึ่งใน ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารเรื อ ขนส่ ง สิ น ค้ า แห้ ง เทกอง ระหว่างประเทศชั้นน�ำ ที่สั่งสมชื่อเสียง และประสบการณ์อันเชี่ยวชาญในแวดวง พาณิชยนาวีระดับโลกมาอย่างยาวนาน กว่า 110 ปี โทรีเซน ชิปปิ้ง ให้บริการเรือเดินทะเล ขนส่งสินค้าไปยังทุกภูมิภาคของโลก ตาม ความต้องการของลูกค้า โดยสินค้าทีข่ นส่ง มีทั้งสินค้าประเภทหีบห่อและสินค้าแห้ง เทกอง ได้แก่ แร่เหล็ก ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร วัสดุก่อสร้าง และเหล็ก เป็นต้น กองเรือของโทรีเซน ชิปปิ้ง มีรูปแบบการ ให้บริการทีห่ ลากหลาย ตามความต้องการ ของลูกค้า อาทิ แบบการให้เช่าเหมาล�ำ ตามราคาตลาดภายใต้ระยะเวลาทีก่ ำ� หนด (spot market under time charters) บริการให้เช่าเรือตามการเซ็นสัญญารับ ขนส่ ง สิ น ค้ า ล่ ว งหน้ า (Contracts of Affreightment หรือ “COA”) นอกจาก จะให้ บ ริ ก ารด้ ว ยกองเรื อ ที่ ต นเองเป็ น เจ้าของแล้ว โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังมีการเช่า เรือมาเสริมเพื่อรองรับความต้องการของ ลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย กองเรือทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดย ที ม งานมื อ อาชี พ ที่ มี ป ระสบการณ์ ซึ่ ง ประจ�ำอยู่ที่ส�ำนักงานในสิงคโปร์และไทย กองเรือที่โทรีเซนเป็นเจ้าของ รวมทั้งเรือ ที่เช่ามาเสริมนั้น ได้ติดตั้งปั้นจั่นไว้บนเรือ เพื่อความสะดวกในการยกสินค้าขึ้น/ลง จากเรือ และขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ หาก ท่ า เรื อ นั้ น ไม่ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก ประจ�ำชายฝั่งหรือมีอยู่อย่างจ�ำกัด ใน กรณีไปจอดเทียบยังท่าที่เข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจ เกิดใหม่ โทรีเซนสามารถเรียกค่าบริการ เพิ่มเติมได้จากการให้บริการขนส่งสินค้า ทางเรือที่ไม่มีผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้า

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

เทกองรายอื่นที่ล�ำใหญ่กว่าหรือสะดวก กว่าให้บริการ อัตราการแข่งขันในธุรกิจเดินเรือทั่วโลก ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มา ข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขันของ โทรีเซนในปัจจุบนั มาจากประสิทธิภาพใน การด�ำเนินงาน รวมถึงทักษะของบุคลากร มากกว่าที่จะมาจากตัวเรือเองเสียอีก เพื่อที่จะพัฒนาข้อได้เปรียบทางด้านการ แข่งขัน โทรีเซนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการ ท�ำงานในปี 2558 การพัฒนาที่ส�ำคัญ ได้แก่  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร และโครงสร้างทางธุรกิจ  การปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพการด� ำ เนิ น งาน  การมุ ่ ง เน้ น ที่ ก ารควบคุ ม ต้ น ทุ น และ ความเสี่ยง ตลาดทางด้ า นธุ ร กิ จ ขนส่ ง สิ น ค้ า แห้ ง เทกองได้เผชิญความท้าทายที่เกิดขึ้นในปี 2558 เนื่องจาก ดัชนีบอลติค (BDI) ของ เรือประเภท Supramax โดยเฉลี่ยอยู่ที่ เพียง 6,966 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยประจ�ำปีที่อยู่ในระดับต�่ำ สุดของดัชนีนี้เท่าที่เคยมีมาตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ ปัจจัยส�ำคัญที่ผลักดันให้ราคาตลาด ตกต�่ำ ได้แก่ การที่ประเทศจีนมีปริมาณ ความต้องการสินค้าเทกองลดลงอย่างมาก ในขณะที่ จ� ำนวนเรื อ บรรทุ ก สิ น ค้ า แห้ ง เทกองได้ขยายตัวเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีร่ วดเร็ว อันเนือ่ งมาจากเรือล�ำใหม่ตามค�ำสัง่ ต่อเรือ ใหม่ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาได้ถูกส่ง มอบให้เจ้าของเรือแล้ว จากการประมาณการเกี่ยวกับอุปสงค์/ อุปทานที่เกิดขึ้นในกลุ่มกองเรือประเภท Handymax/Supramax ของตลาดสินค้า แห้งเทกอง คาดว่าภาวะอุปทานล้นตลาด จะพุง่ แตะระดับ 9.5 ล้านเดทเวทตัน หรือ ประมาณ 350 ล�ำ และจะยังคงเพิ่มสูงขึ้น

เรื่อยๆ ไปจนถึงระดับ 24 ล้านเดทเวทตัน หรือประมาณ 450 ล�ำ ภายในสิ้นปี 2559 ปัจจัยเหล่านี้จะยังคงสร้างความท้าทาย ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมด้านธุรกิจขนส่ง สิ น ค้ า แห้ ง เทกองทั้ ง กลุ ่ ม ต่ อ ไป โดย โทรีเซน ชิปปิ้ง ก�ำลังด�ำเนินการในด้าน ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะมีความ พร้อมในการรับมือกับการชะลอตัวของ อัตราค่าระวางเรือที่ยืดเยื้อนี้ได้ โทรี เ ซนมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ที่ จ ะเตรี ย มความ พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิง่ การมุง่ เน้นทีก่ าร บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพในด้าน รายได้ ต้นทุน และความเสี่ยง 1) การเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า งการ บริหารและโครงสร้างทางธุรกิจเพื่อให้ เหมาะสมกับกลยุทธ์ในการด�ำเนินงาน ในปี 2558 TTA ได้ปรับเปลีย่ นการบริหาร งานในส่วนการขนส่งสินค้าทางเรือและ พาณิชยนาวีทงั้ หมด โดยการรวมศูนย์การ จัดการของโทรีเซน ชิปปิ้ง และการลงทุน ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ อาทิ ท่าเรือ ธุรกิจตัวแทนเรือ และนายหน้าเช่า เหมาเรือ เป็นต้น ฝ่ายเดินเรือและขนส่งได้ถูกปรับให้อยู่ ภายใต้การบริหารของนายซิกมันต์ สตรอม ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการลงทุนของ กลุ่มบริษัทฯ ในประเทศเวียดนามด้วย ภายในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า การรวม ศูนย์การจัดการเช่นนี้จะสร้างโอกาสและ การลงทุนที่ดีให้เกิดการสร้างรายได้อัน เกิดจากความร่วมมือภายในหน่วยงาน เดียวกัน นอกจากนี้ การรวมศูนย์ในการ บริหารจัดการยังช่วยให้เกิดการแบ่งปัน ทรัพยากรร่วมกัน โดยจะท�ำให้เกิดการ ประหยัดต้นทุน ซึ่งจะช่วยให้เราคงความ สามารถในการแข่งขันในภาวการณ์ของ ตลาดที่ยากล�ำบากนี้ได้


023

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

2) การปรับปรุงประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน ด้วยการตระหนักว่าการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายและรายได้ที่ เพิ่มขึ้นจะสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงการสื่อสารให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น การเพิ่มความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในการ ท�ำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ และการส่งเสริมความร่วมมือ อย่างใกล้ชิด ระหว่างศูนย์ควบคุมต้นทุนกับหน่วยงานที่ปฏิบัติ งานด้านบัญชี โทรีเซนจึงได้ย้ายแผนกปฏิบัติการด้านการค้าจาก สิงคโปร์กลับมาที่กรุงเทพฯ ในระหว่างปี 2558 บริษัทฯ เริ่มมีก�ำไรจากรายการต้นทุนที่ส�ำคัญ อาทิ การจัดซื้อ น�้ำมัน และการประสานงานกับท่าเรือ ซึ่งคาดว่าการรวมกลุ่ม เพื่อเสริมความแข็งแกร่งนี้ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลประกอบการ ของบริษัทฯ ได้ ในปี 2559 3) การมุ่งเน้นที่การควบคุมต้นทุนและความเสี่ยง ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ตัดสินใจที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจให้ เป็นไปตามแผนธุรกิจของบริษทั ฯ เพือ่ เตรียมรับมือกับภาวการณ์ ที่ท้าทายของตลาดธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกอง บริษัทฯ ได้ ปิดส�ำนักงานในกรุงโคเปนเฮเกน แอฟริกาใต้ และดูไบ ท�ำให้ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงานลงได้ 1.5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาโดยประมาณ และบริษทั ฯ ได้ยตุ กิ ารบริหารกองเรือ เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Pool Operation) ซึ่งท�ำให้ สามารถประหยัดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ บริหารจากส�ำนักงานในกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ด้วยสภาวะตลาดที่ย�่ำแย่เช่นนี้ อาจส่งผลให้ความเสี่ยงจากการ ผิดสัญญาของลูกค้าเพิม่ ขึน้ ได้ บริษทั ฯ จึงมุง่ เน้นไปยังการบริหาร

จัดการความเสี่ยงทางด้านอัตราค่าระวางเรือ ราคาน�้ำมัน และ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อของคู่สัญญาในปี 2558 โดยการปรับปรุง กระบวนการทางด้านสินเชือ่ ของบริษทั ฯ การจ�ำกัดขอบเขตความ เสีย่ งทีส่ ามารถยอมรับได้ รวมทัง้ เรียกหลักทรัพย์ทมี่ หี ลักประกัน จากลูกค้าเพิ่มมากขึ้น บริษัทฯ ได้ขยายการท�ำสัญญาป้องกัน ความเสีย่ งในการผันผวนของอัตราค่าระวางมากขึน้ และได้พฒ ั นา ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยองค์รวมทั้งหมด ของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นได้รอบด้านและครบถ้วนยิ่งขึ้น ซึ่งการด�ำเนินการ ทัง้ หมดเหล่านีไ้ ด้ชว่ ยให้ผลประกอบการของธุรกิจขนส่งสินค้าใน ปี 2558 ปรับตัวดีขึ้นกว่าสภาวะตลาด ถึงแม้วา่ อัตราค่าระวางเรือตกต�ำ่ ลง โทรีเซน ชิปปิง้ ยังคงมีเงินสด คงเหลือตลอดปี 2558 ด้วยการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือ ไปยังพื้นที่ซึ่งได้รับค่าระวางเรือที่มากกว่า การตัดทอนค่าใช้จ่าย และการมุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง

ก: ผลิตภัณฑ์และบริการ

โครงสร้างกองเรือและรูปแบบการให้บริการ ณ สิ้นปี 2558 โทรีเซน ชิปปิ้ง เป็นเจ้าของเรือรวม 24 ล�ำ ซึ่ง ประกอบด้วย เรือประเภท Handymax 8 ล�ำ และเรือประเภท Supramax 16 ล�ำ โดยมีขนาดระวางบรรทุกสินค้ารวม 1.2 ล้านเดทเวทตัน เรือทอร์ ไดนามิค ซึ่งมีอายุมากที่สุด คือ 25 ปี ณ สิ้นปี 2558 จะถึงก�ำหนดปลดระวางในช่วงต้นปี 2559 ทั้งนี้ อายุเฉลี่ยของกองเรือโทรีเซน ไม่รวมเรือทอร์ ไดนามิค เท่ากับ 11.66 ปี และขนาดระวางบรรทุกเฉลี่ยอยู่ที่ 50,946 เดทเวทตัน

โครงสร้างกองเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง 1) โครงสร้างกองเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง

Handymax Supramax รวม

จ�ำนวนเรือ เรือที่บริษัทเป็นเจ้าของ เรือที่เช่ามาเป็นระยะเวลา 8 2 16 12 24 14

เรื่อที่สั่งต่อใหม่ -

รวม 10 28 38

เรื่อที่สั่งต่อใหม่ -

รวม 16.18 6.33 7.95

2) อายุเฉลี่ยกองเรือ (DWT-Weighted Average Age)

Handymax Supramax รวม

อายุเฉลี่ยของกองเรือ เรือที่บริษัทเป็นเจ้าของ เรือที่เช่ามาเป็นระยะเวลา 18.58 15.11 9.02 5.96 12.21 7.19

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


024

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

3. รายชื่อเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ปี 2558 เรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง วันที่ส่งมอบเรือ จากอู่ต่อเรือ 22/07/2553 07/07/2554 19/02/2554 20/01/2554 03/06/2554 23/05/2554 13/06/2554 06/06/2556

เดทเวทตัน 57,015 56,026 56,023 55,862 55,710 55,695 55,695 54,881

อายุ 5.98 9.34 9.59 10.25 9.34 10.25 10.42 10.15

13/01/2553

54,123

5.97

10 ทอร์ ฟอร์จูน

15/06/2554

54,123

4.55

11 ทอร์ เบรฟ

15/11/2555

53,506

3.13

12 ทอร์ บรีซ

20/08/2556

53,506

2.36

13 14 15 16 17

02/07/2555 20/12/2553 21/12/2553 02/04/2544 21/03/2545

52,489 52,407 52,383 52,375 47,111

10.13 14.19 13.91 14.76 13.79

18 ทอร์ ฮอไรซัน

01/10/2545

47,111

13.26

19 ทอร์ ไดนามิค * 20 ทอร์ เอนเดฟเวอร์

30/04/2534 11/04/2538

43,497 42,529

24.69 20.74

21 ทอร์ เอนเนอร์ยี

16/11/2537

42,529

21.14

22 ทอร์ เอนเตอร์ไพรส์

28/07/2538

42,529

20.44

23 ทอร์ เวฟ

30/07/2538

39,042

17.43

24 ทอร์ วิน

18/11/2541

39,087

17.13

1 2 3 4 5 6 7 8

ชื่อเรือ ทอร์ แอ็คชีพเวอร์ ทอร์ โมนาดิค ทอร์ มากันฮิลด์ ทอร์ เมอร์คิวรี่ ทอร์ เมเนลอส ทอร์ แม็กซิมัส ทอร์ เมด็อค ทอร์ เฟียร์เลส

9

ทอร์ เฟรนด์ชิป

ทอร์ อินสุวิ ทอร์ อินดิเพนเด็นซ์ ทอร์ อินฟินิตี้ ทอร์ อินทิกริตี้ ทอร์ ฮาร์โมนี่

รวมระวางบรรทุกของกองเรือโทรีเซน 1,215,254 เดทเวทตัน

ABS : Amercian Bureau of Shipping DNV : Det Norske Veritas

ชนิดของเรือ การจัดชั้นเรือ Standard Bulk > 40,000 dwt BV Standard Bulk > 40,000 dwt NKK Standard Bulk > 40,000 dwt NKK Standard Bulk > 40,000 dwt ABS Standard Oshima - 53 Korean Classed Standard Oshima - 53 Korean Classed Standard Oshima - 53 Korean Classed Open Hatch/ Oshima - 53 NKK Box Shape Semi-Open/ Oshima - 53 NKK Box Shape Semi-Open/ Oshima - 53 NKK Box Shape Open Hatch/ Vinashin DNV Box Shape Open Hatch/ Vinashin DNV Box Shape Standard Tess - 52 NKK Standard Tess - 52 NKK Standard Tess - 52 NKK Standard Bulk > 40,000 dwt BV Open Hatch/ Bulk (Box) DNV Box Shape Open Hatch/ Bulk (Box) BV Box Shape Standard Bulk > 40,000 dwt BV Open Hatch/ Bulk (Box) NKK Box Shape Open Hatch/ Bulk (Box) NKK Box Shape Open Hatch/ Bulk (Box) DNV Box Shape Open Hatch/ < 40,000 dwt ABS Box Shape Open Hatch/ Bulk (Box) ABS Box Shape

BV : Bureau Veritas NKK : Nippon Kaiji Kyokai

หมายเหตุ : * เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 บริษัทฯ ได้ขายเรือทอร์ ไดนามิค เพื่อน�ำไปท�ำเป็นเศษซาก ดังนั้น กองเรือของกลุ่มบริษัทโทรีเซนจะเหลือ 23 ล�ำ รวมระวาง บรรทุก 1,171,757 เดทเวทตัน ขนาดระวางบรรทุกเฉลี่ย 50,946 เดทเวทตัน อายุเฉลี่ยของกองเรือ 11.66 ปี ที่มา : TTA

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


025

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

แผนภูมิ: กองเรือโทรีเซน ปี 2551-2558 จ�ำนวนเรือ 50 45 40 35

เดทเวทตัน 1,600,000 1,400,000 1,200,000

ข: การตลาดและคู่แข่ง 1. การขนส่งสินค้าและลูกค้ากลุม่ เป้าหมาย และ ความได้เปรียบในการด�ำเนินธุรกิจ การขนส่งสินค้าและลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

1,000,000

ตลอดทั้งปี 2558 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ทุ่มเทความพยายามใน การสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าหลักของบริษัทฯ อัน 25 800,000 ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่ บริษัทการค้าระหว่าง 20 600,000 ประเทศ และผู้ส่งออกสินค้าเฉพาะด้านของภูมิภาค 15 400,000 10 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการ 200,000 ความเสี่ยงขององค์รวมทั้งหมด โดยใช้วิธีการกระจายความเสี่ยง 5 ทางด้านคูค่ า้ เพือ่ กระจายความเสีย่ งไปยังลูกค้าหลากหลายกลุม่ 0 0 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 ในปี 2558 โทรีเซนได้ท�ำสัญญากับคู่ค้าจ�ำนวน 152 ราย โดย จ�ำนวนเรือ 44 36 27 15 16 18 24 24 เดทเททตัน 1,243,273 1,050,839 905,809 702,853 755,342 880,243 1,215,254 1,215,254 รายได้ของบริษัทฯ ร้อยละ 37 มาจากลูกค้ารายใหญ่ 10 ราย หมายเหตุ * เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 บริษัทฯ ได้ขายเรือทอร์ ไดนามิค เพื่อ รายได้ร้อยละ 36 มาจากลูกค้า 37 ราย และที่เหลืออีกร้อยละ น� ำ ไปท� ำ เป็ น เศษซาก ดั ง นั้ น กองเรื อ ของกลุ ่ ม บริ ษั ท โทรี เ ซนจะเหลื อ 27 มาจากบริษัทต่างๆ 105 แห่งจากทั่วโลก 23 ล�ำ รวมระวางบรรทุก 1,171,757 เดทเวทตัน ขนาดระวางบรรทุกเฉลีย่ 50,946 การกระจายความเสีย่ งทางด้านคูค่ า้ เป็นปัจจัยส�ำคัญทีช่ ว่ ยลดการ เดทเวทตัน อายุเฉลี่ยของกองเรือ 11.66 ปี ที่มา : TTA เรียกร้องค่าเสียหาย หรือการผิดนัดช�ำระหนีข้ องลูกค้าให้นอ้ ยลง และถือเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญของกลยุทธ์ทางการค้าของ รูปแบบการให้บริการของกองเรือ บริษัทฯ ท่ามกลางสภาวการณ์ของตลาดที่มีความผันผวนเช่นนี้ คุณลักษณะที่ส�ำคัญประการหนึ่งของการให้บริการของเราคือ การรักษาสัดส่วนการให้บริการเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองให้มี แผนภูมิ: ลูกค้าจ�ำแนกตามรายรับ ปี 2558 ความสมดุล นับตั้งแต่การให้บริการแบบให้เช่าเหมาล�ำแบบเป็น 10% 17% ระยะเวลาแก่บริษทั ทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือ และกระจายการให้บริการ ให้เช่าเหมาล�ำเป็นระยะเวลาอย่างทัว่ ถึง ไปยังน่านน�ำ้ หลัก 3 แห่ง ได้แก่ แอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก ซึ่งตาม แผนงานแล้วเรือจ�ำนวนหนึ่งในสามของเรือที่เข้าสู่ตลาดเพื่อ ปล่อยเช่าจะต้องมีสถานะพร้อมให้บริการในแต่ละน่านน�้ำ และ กองเรือจะถูกส่งไปยังซีกตะวันตกในช่วงเวลาที่เหมาะสมของปี 37% เพือ่ เตรียมพร้อมส�ำหรับการส่งออกเมล็ดธัญพืชของแอตแลนติก ในสองฤดูหลัก 36% นอกจากนี้ ด้วยความหลากหลายของบริษัทตัวแทนจัดหาสินค้า ท�ำให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองต่อความผันผวนของตลาดได้ 0.5-1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ลูกค้าหลัก 10 รายแรก อย่างรวดเร็วทันท่วงที ด้วยการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือ < 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต�่ำลง < 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ 30

ที่มา : TTA

โทรีเซนขนส่งสินค้าปริมาณ 12.6 ล้านตันในปี 2558 ซึ่งสามารถ แบ่งได้โดยคร่าวออกเป็นร้อยละ 50/50 ได้แก่ สินค้าแห้งเทกอง กลุ่มหลัก อาทิ ถ่านหิน สินแร่เหล็ก และผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าแห้งเทกองกลุ่มย่อย อาทิ เหล็ก ปุ๋ย ซีเมนต์ และทราย

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


026

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

แผนภูมิ : สินค้าทีข่ นส่งจ�ำแนกตามประเภทของสินค้าในปี 2558 6.25%

1.73%1.53% 0.09 4.23%

0.25

8.80%

13.83%

27.21%

ในการทีจ่ ะช่วยสนับสนุนให้การขนส่งสินค้าของลูกค้าประสบผล ส�ำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยการเน้นย�ำ้ ถึงความส�ำคัญของประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน การสื่อสารที่เข้มแข็ง และพอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายความ เสี่ยง ทั้งในส่วนของกองเรือและสินค้าที่ขนส่ง เราเชื่อว่าโทรีเซน ยังคงเป็นผู้แข่งขันที่แข็งแกร่งรายหนึ่ง ที่จะสามารถต้านทานลม มรสุมที่เกิดขึ้นจากภาวะตกต�่ำทางเศรษฐกิจในตลาดการขนส่ง สินค้าทางเรือในระดับโลกได้

ตลาดธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกอง

ปี 2558 นับเป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สมดุลที่เพิ่ม สูงขึ้น ระหว่างจ�ำนวนเรือกับปริมาณความต้องการในการขนส่ง 21.39% สินค้า 14.69% กองเรือขนาด Handymax ขนาด Supramax และขนาด ซิเมนต์ ถ่านหิน Ultramax ทัว่ โลก (ซึง่ ในทีน่ จี้ ะเรียกว่า Supramax) ขยายตัวขึน้ ทราย แร่/สินแร่ จากจ�ำนวนเรือ 172 ล�ำ เพิ่มขึ้นเป็น 3,242 ล�ำ และจาก 9.5 กระดาษผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า ล้านเดทเวทตัน เป็น 175.4 ล้านเดทเวทตัน สินค้าทั่วไป/อื่นๆ ผลิตภัณฑ์เกษตร เคมี ภ ณ ั ฑ์ สินแร่เหล็ก การชะลอตั ว ทางเศรษฐกิ จ ของประเทศจี น ส่ ง ผลต่ อ ปริ มาณ ปุ๋ย อุปสงค์ของตลาดเกินกว่าทีเ่ คยคาดการณ์ไว้ในปี 2556 และ 2557 ที่มา : TTA อย่างมาก ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักทางด้าน ความได้เปรียบในการด�ำเนินธุรกิจ โทรีเซนยังคงความเป็นบริษัทที่ด�ำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าแห้ง อุปสงค์ของตลาดการขนส่งสินค้า จ�ำพวก สินแร่เหล็ก ซีเมนต์ เทกองอย่างครบวงจร คู่แข่งทางธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัทฯ มัก และถ่านหิน เพื่อการก่อสร้างและการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้ง ต้องพึ่งพาการบริการจากหน่วยงานภายนอก อาทิ การจัดหา เมล็ดธัญพืช ข้าวสาลี และถั่วเหลืองเพื่อการบริโภค ในปี 2558 ลูกเรือ การบริหารจัดการด้านเทคนิค ประกันภัย และการจัดซื้อ การผลิตเหล็กพุง่ สูร่ ะดับสูงสุดและเริม่ ตกลงร้อยละ 2.3 เมือ่ เทียบ จัดหา แต่โทรีเซนมีหน่วยงานภายในที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่อง กับปีที่แล้ว เหลือ 803.83 ล้านเมตริกตัน และลดลงอีกร้อยละ 5.2 ในเดือนธันวาคม เหลือเพียง 64.37 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ดังกล่าวด้วยตนเอง ปริมาณการขนส่งสินแร่เหล็กทางทะเลยังคงเพิม่ ขึน้ แต่เนือ่ งจาก นอกจากนี้ ลูกเรือและบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ รวมทั้ง สินแร่เหล่านี้จะต้องถูกขนส่งโดยเรือขนส่งสินค้าเทกองแห้งที่มี แผนกปฏิบัติการเรือ (Marine Operations Department) ซึ่ง ขนาดใหญ่กว่าเรือของโทรีเซน การเพิม่ ขึน้ นีจ้ งึ ไม่ได้สง่ ผลกระทบ ประจ�ำอยูท่ กี่ รุงเทพฯ ล้วนทุม่ เทในการปฏิบตั งิ าน เพือ่ สร้างความ เชิงบวกในปี 2558 ทั้งนี้ สินค้าปริมาณร้อยละ 22 ของสินค้าที่ มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ด�ำเนินงานโดยมีค่าใช้จ่ายรายวันที่เกี่ยวข้อง โทรีเซนเป็นผู้ขนส่งในปี 2558 คือ แร่เหล็กและเหล็ก กับการเดินเรือต�่ำที่สุดรายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกเหล็กที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน การที่มีค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงานต�่ำท�ำให้บริษัทฯ สามารถคง ไปยังภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และอื่นๆ ส่งผลต่อสภาพตลาดที่ ความได้เปรียบในการด�ำเนินธุรกิจเมือ่ ไปประมูลงานกับลูกค้า ซึง่ ปรับตัวดีขนึ้ ของเรือชนิด Box Shape ของบริษทั ฯ และส่วนแบ่ง คู่แข่งหลายรายไม่สามารถจะสู้ได้ในด้านต้นทุน ทางการตลาดของเราในตลาดส่งออกเหล็กขยายตัวขึ้น 1.9 การผนวกความเชี่ยวชาญของหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกันใน ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 15 ของปริมาณการขนส่งสินค้า เชิงลึก อันประกอบด้วย ลูกเรือ การด�ำเนินงานด้านเทคนิค การ ประจ�ำปี และเทียบเท่ากับร้อยละ 1.7 ของส่วนแบ่งทางการตลาด ปล่อยเช่าเหมาล�ำ การปฎิบตั กิ ารเชิงพาณิชย์ การเงิน และในด้าน การส่งออกเหล็กของจีน ความเสี่ยง ล้วนสะท้อนสู่สายตาของลูกค้าอุตสาหกรรมของเรา การน�ำเข้าถ่านหินส�ำหรับการผลิตไฟฟ้าของประเทศจีนลดลง ได้เป็นอย่างดี ลูกค้าของเราทราบดีวา่ การขนส่งสินค้าทางเรือด้วย ร้อยละ 30 เหลือเพียง 204.1 ล้านตันในปี 2558 อันเป็นผลมา บริการของโทรีเซนจะมั่นใจได้ในเรื่องของประสิทธิภาพ การ จากความพยายามในการลดมลภาวะในเมืองใหญ่ต่างๆ และ ด�ำเนินการอย่างมืออาชีพ และยืดหยุ่นได้ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งจ�ำเป็น การเปลี่ยนไปผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน�้ำและก๊าซแทน บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


027

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

จากข้อมูลของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ จีน (The China Academy of Sciences) คาดว่าปริมาณผลผลิตถ่านหินดิบจะลดลง ร้อยละ 4.2 ในปี 2559 เหลือ 3.6 ล้านตัน ลดลงจาก 3.76 ล้านตันโดยประมาณในปี 2558 ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีการน�ำเข้าเพิ่ม ขึน้ ในปี 2559 ถึงแม้วา่ ปริมาณกองเรือล้น ตลาดจะยังคงส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ อัตราค่าระวางเรือก็ตาม การน�ำเข้าเมล็ดธัญพืชและถั่วเหลืองของ ประเทศจี น ขยายตั ว ขึ้ น ในปี 2558 ประมาณร้อยละ 11 แต่ถกู ชดเชยด้วยการ เก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต เมล็ ด ธั ญ พื ช ภายใน ประเทศทัง้ หมดประมาณ 621.43 ล้านตัน ในปี 2558 ดังนัน้ จึงไม่ได้สง่ ผลต่อการเพิม่ ขึ้ น ของความต้ อ งการในการขนส่ ง ทาง ทะเลอย่างมีนัยส�ำคัญ ในปี 2559 บริษัทฯ คาดว่าปริมาณการ ผลิตเหล็กของจีนลดลงอีกร้อยละ 4 ซึ่ง เมื่อผนวกกับการขึ้นภาษีน�ำเข้าในตลาด ส่งออกหลักในยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว จะเป็นปัจจัยหลักในการจ�ำกัดการส่งออก เหล็ก นอกจากนี้ การน�ำเข้าถ่านหินของ ประเทศจีนจะลดลงอีกร้อยละ 10-15 เมือ่ เปรียบเทียบกับปี 2558 ในขณะทีป่ ริมาณ การน�ำเข้าผลผลิตทางการเกษตรจะยังคง อยู่ในระดับเดิม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ความไม่สมดุล กั น ของอุ ป สงค์ แ ละอุ ป ทานส� ำ หรั บ เรื อ ขนาด Supramax จะยังคงสร้างความ กดดันต่ออัตราค่าระวางเรือในปี 2559 และในอนาคตต่อไป ประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน การผนึก ก�ำลังในการสร้างรายได้ และการให้ความ ส�ำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ล้วนมี ส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแกร่งให้กบั ฝ่ายขนส่งสินค้าทางเรือ ให้สามารถทนต่อ แรงกดดันต่างๆ ที่มีต่ออัตราค่าระวางเรือ และปริมาณการขนส่งสินค้าเทกองได้

2. ลักษณะอุตสาหกรรมและ แนวโน้มในอนาคต ปี 2559 คาดว่าจะเป็นปีที่ท้าทายส�ำหรับ ธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ผู้แข่งขัน ที่มีประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน และ มีต้นทุนที่ต�่ำเท่านั้นที่จะสามารถฟันฝ่า วิกฤติตกต�่ำในครั้งนี้ได้ สาเหตุของการที่ตลาดธุรกิจขนส่งสินค้า แห้งเทกองอยู่ในภาวะตกต�่ำในปัจจุบัน อาจสื บ ย้ อ นกลั บ ไปได้ ถึ ง วิ ก ฤตการณ์ ทางการเงินที่เริ่มก่อตัวขึ้นในปี 2551 ซึ่ง สามารถแยกแยะได้เป็นหลายสาเหตุ แต่ ยังคงเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับเหตุการณ์ทาง เศรษฐกิจระดับมหภาคที่เกิดขึ้นทั่วโลก  คลื่ น ลู ก ที่ 1: คลื่ น สหรั ฐ ฯ (The US Wave) ก่อตัวขึน้ โดยเริม่ จากการทีต่ ลาด อสังหาริมทรัพย์พงั ทลายลง ซึง่ ขยายผล ต่อไปจนเกิดเป็นวิกฤติสินเชื่อ (Credit Crunch) และการล่มสลายของเลห์แมน (Lehman Collapse) จนตามมาด้วย การออกมาตรการผ่ อ นคลายในเชิ ง ปริมาณทางการเงิน (Quantitative Easing) ของรั ฐ บาลสหรั ฐ อเมริ ก า โดยการอัดฉีดเงินอย่างไม่จ�ำกัดเข้าสู่ ตลาดประเทศเศรษฐกิ จ เกิ ด ใหม่ ซึ่ ง มี อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับสูง  คลืน ่ ลูกที่ 2: คลืน่ ยุโรป (The European Wave) เริ่ ม ต้ น ขึ้ น เมื่ อ ธนาคารต่ า ง พากันหาหนทางในการบรรเทาภาวะ ขาดทุนในสหรัฐอเมริกา และได้แพร่ ขยายออกไปจนกระทั่งกลายเป็นวิกฤติ ระดับชาติ ทัง้ ยังขาดกลไกในการแบ่งหนี้ ทัว่ ภูมภิ าคยุโรปอีกด้วย โดยจบลงทีก่ าร ออกมาตรการโครงการซือ้ พันธบัตรของ ธนาคารกลางของสหภาพยุโรป (The Outright Monetary Transactions) ซึง่ ได้ให้คำ� สัญญาว่า “จะท�ำทุกวิถที าง” และสุ ด ท้ า ยคื อ การออกมาตรการ ผ่อนคลายในเชิ ง ปริ มาณทางการเงิ น ซึ่ ง เป็ น การอั ด ฉี ด ฟองสบู ่ เ ข้ า สู ่ ต ลาด ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่  คลื่ น ลู ก ที่ 3: คลื่ น ตลาดประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่ (The Emerging Markets Wave) เกิดขึ้นพร้อมกับการ ปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์

เนื่องจากการชะลอตัวลงของการลงทุน ในสินทรัพย์ถาวรในประเทศจีน คุณลักษณะที่ส�ำคัญของคลื่นลูกที่ 3 คือ การที่ เ งิ น ทุ น จ� ำ นวนมากไหลออกจาก ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เคลือ่ นย้ายกลับ ไปสู่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่ง ท�ำให้ค่าเงินในสกุลต่างๆ ของประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่แข็งค่าอย่างรุนแรง โดย ยิง่ ท�ำให้ความต้องการของสินค้าโภคภัณฑ์ หดตัวลง ส่งผลให้สนิ ค้าโภคภัณฑ์ลน้ ตลาด ปฏิกิริยาของผู้ผลิตจึงตามมาด้วยการตัด การส่ ง ออกสิ น ค้ า เพื่ อ พยุ ง ราคาและ ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศของตน ด้วยเหตุที่การเติบโตของอุปสงค์ชะลอตัว ลง ผลของปฏิกิริยาในฝั่งของอุปทาน คือ ต้องถูกลดปริมาณอุปทานลงตามไปด้วย จนกว่าตลาดจะกลับเข้าสู่ระดับที่สมดุล ซึง่ เป็นจุดทีจ่ ะสามารถกลับมาเติบโตได้อกี ครั้ง เราเชือ่ ว่าขณะนีเ้ ราก�ำลังด�ำเนินอยูท่ า่ มกลาง คลื่นลูกที่สาม ซึ่งจะยังคงถาโถมต่อไป ในตลาดการลงทุนและสินค้าโภคภัณฑ์ ทั่วโลก ธุรกิจเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองได้รับผล กระทบเร็วมากต่อการลดลงของอุปทาน และการระงับการส่งออกแร่โดยประเทศ อินโดนีเซียและประเทศอินเดีย รวมทั้ง อุปสงค์ที่ลดลงของสินค้าเทกองในจีน ซึ่ง ปัจจัยทั้งสองด้านนั้นสัมพันธ์กับปริมาณ กองเรือที่ล้นตลาดเป็นประวัติการณ์ อัน ส่งผลอย่างรุนแรงต่ออัตราค่าระวางเรือ บริษทั ฯ คาดว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจโลก อย่างในปัจจุบันจะยังคงด�ำเนินต่อเนื่อง จนกว่าปฏิกิริยาของฝั่งอุปทานจะเกิดขึ้น จากอุตสาหกรรมเดินเรือขนส่งสินค้า ด้วย การน�ำสินค้าเทกองทีล่ น้ ตลาดไปจัดเก็บไว้ และการปลดระวางเรือเก่า อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่ามีเรือล�ำใหม่จ�ำนวนมากที่ เพิม่ เข้ามาในกองเรือทัว่ โลกในทุกส่วนของ ตลาดสินค้าแห้งเทกองภายในปีที่จะถึงนี้ ท�ำให้ภาวะการล้นตลาดของสินค้าเทกอง ทรุดหนักลง และท�ำให้ปริมาณระหว่าง อุปสงค์กับอุปทานในตลาดเกิดความไม่ สมดุลกัน ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


028

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ตารางด้านล่างนี้ได้แสดงการประมาณการของเฟิร์นเล่ย์ซึ่งเป็น นายหน้าเช่าเหมาเรือชัน้ น�ำ เกีย่ วกับจ�ำนวนเรือทีม่ กี ารสัง่ ต่อใหม่ ส�ำหรับการขนส่งสินค้าแห้งเทกองจากทั่วโลกในปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2558 โดยได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความท้าทายที่ อุตสาหกรรมเดินเรือต้องเผชิญในการลดจ�ำนวนเรือขนส่งสินค้า เทกองที่ก�ำลังให้บริการอยู่ทั่วโลกลง

ส�ำหรับแนวทางการจัดการในด้านนี้ โทรีเซนได้ด�ำเนินการขนส่ง สินค้าแห้งเทกองด้วยเรือประเภท Handymax และ Supramax ถึงแม้วา่ จะมีเรือประเภท Ultramax เพิม่ ขึน้ ในน่านน�ำ้ ในปี 2559 ซึ่งจะเพิ่มความกดดันทางการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจนี้ก็ตาม

ตาราง: จ�ำนวนเรือที่สั่งต่อใหม่ส�ำหรับการขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 ขนาดระวางบรรทุกรวม ประเภทขนาดเรือ ขนาดเดทเวทตัน จ�ำนวนเรือ (ล้านเดทเวทตัน) VLOC 200,000+ 128 28.4 Capesize 100,000 - 200,000 123 21.3 Panamax 70,000 - 100,000 277 22.8 Ultramax 60,000 - 70,000 401 25.2 Supramax 50,000 - 60,000 67 3.7 Handymax 40,000 - 50,000 27 1.1 Handysize 10,000 - 40,000 294 10.6 รวม 1,317 113.1

% ของกองเรือ ที่มีอยู่เดิม 27.5% 10.3% 12.1% 68.3% 3.4% 3.1% 16.0% 14.7%

ที่มา: เฟิร์นเล่ย์

แรงผลักดันที่ถูกก�ำหนดไว้ล่วงหน้าของเราในการลดต้นทุน การ เพิ่มประสิทธิภาพ และการผนึกก�ำลังในการสร้างรายได้ ล้วนมี เป้าหมายในการสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินของโทรีเซน และ เพื่อให้สามารถที่จะฉกฉวยโอกาสในการขยายธุรกิจท่ามกลาง ภาวะตกต�่ำของอัตราค่าระวางเรืออย่างเป็นประวัติการณ์เช่นนี้ ในปีที่ก�ำลังจะมาถึง

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ประโยชน์ที่ได้รับจากราคาน�้ำมันที่ต�่ำลง ราคาน�้ ำ มั น ดิ บ ที่ ต�่ ำ ลงส่ ง ผลกระทบโดยตรงกั บ ราคาน�้ ำ มั น เชื้อเพลิงที่บริษัทฯ ใช้ในการเดินเรือ เรือประเภท Supramax แบบมาตรฐาน จะใช้นำ�้ มันอยูท่ ปี่ ระมาณวันละ 30-35 เมตริกตัน ต่อวัน ราคาน�ำ้ มันดิบทีล่ ดลงตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายน 2557 ต่อเนือ่ ง มาจนถึ ง ปี 2558 ซึ่ ง มี ร าคา ณ สิ้ น ปี อยู ่ ที่ 35 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรล หรือประมาณ 180 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่อตันส�ำหรับน�้ำมันเชื้อเพลิง โดยลดลงจาก 600 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต่อตันโดยเฉลี่ยในปี 2554 มาจนถึงกลางปี 2557 จากนโยบายการจั ด หาน�้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ประจ� ำ ปี ที่ ป ระมาณ 70,000 เมตริกตัน ท�ำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของน�้ำมันเชื้อเพลิง ของบริษัทฯ ลดลงอย่างมาก ซึ่งช่วยชดเชยกับการขาดทุนที่เกิด ขึ้นจากตลาดค่าระวางเรือ


029

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


030

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

รายได้รวมเติบโต จากปีก่อนหน้า

8%

มูลค่าสัญญา ที่มีอยู่ในมือ

349

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ล้านบาท


031

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

EBITDA

968.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจการให้บริการ นอกชายฝั่ง บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน)

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


032

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ธุรกิจการให้บริการนอกชายฝั่ง บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”)

ข้อมูลและภาพรวมธุรกิจ ธุรกิจการให้บริการนอกชายฝั่งของ TTA ขับเคลื่อนโดยบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) ซึ่ง TTA ถือหุน้ อยูร่ อ้ ยละ 58.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เมอร์เมดเปิดด�ำเนินการเป็นครัง้ แรก ในปี 2526 จากนั้นในปี 2538 TTA จึง ได้เข้าซื้อหุ้นบางส่วนในเมอร์เมด และน�ำ เมอร์เมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศสิงค์โปร์ (“SGX”) ได้สำ� เร็จใน วันที่ 16 ตุลาคม 2550 เมอร์เมดเป็นที่ร้จู ักในฐานะผู้นำ� ระดับโลก ด้านการให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเล และบริการเรือขุดเจาะท้องแบนแก่บริษัท น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกหรือให้ บริการแก่ผรู้ บั จ้างช่วงต่อจากบริษทั น�ำ้ มัน โดยพื้นที่ในการให้บริการของเมอร์เมด อยู ่ ใ นภู มิ ภ าคเอเซี ย แปซิ ฟ ิ ค และแถบ ตะวันออกกลางเป็นหลัก ส� ำ นั ก งานใหญ่ ข องเมอร์ เ มดตั้ ง อยู ่ ใ น ประเทศไทย ส่วนฐานปฏิบตั กิ ารมีกระจาย อยู่ในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กาตาร์ ซาอุดอิ าระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้บริการ ลูกค้าได้อย่างทัว่ ถึง ปัจจุบนั เมอร์เมดเป็น หนึ่งในผู้ให้บริการสัญชาติเอเชียไม่กี่ราย ที่มีรูปแบบการบริการนอกชายฝั่งแบบ ครบวงจร ซึง่ มีทมี งานทีเ่ ชีย่ วชาญระดับมือ อาชีพจ�ำนวนกว่า 1,000 คน ประกอบด้วย ทีมนักประดาน�้ำ นักขุดเจาะ ช่างเทคนิค นั ก ส� ำ รวจ ผู ้ บ ริ ห ารและที ม งานฝ่ า ย สนับสนุน ปี 2558 นับเป็นปีทที่ า้ ทายส�ำหรับเมอร์เมด และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการนอกชายฝั่ง เนื่องจากราคาน�้ำมันยังมีการลดลงอย่าง ต่อเนือ่ งนับตัง้ แต่เดือนตุลาคม 2557 ราคา น�้ำมันดิบเบรนท์ลดลงกว่า 100 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรลต�่ำสุดนับตั้งแต่ ปี 2546 อยูท่ ี่ 27.67 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่อบาร์เรล บริษัทน�้ำมันต่างๆ ต้องตัดการ ใช้จ่ายด้านงานส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม (“E&P”) โดยเฉลี่ ย ร้ อ ยละ 19 ท� ำ ให้ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

อัตราการใช้ประโยชน์จากเรือและอัตราค่า เช่าเรือรายวันลดลงอย่างมาก บริษทั ทีเ่ ป็น ที่ รู ้ จั ก ดี ใ นกลุ ่ ม ธุ ร กิ จ เดี ย วกั น จ� ำ นวน หลายรายต้องเลิกประกอบธุรกิจในวงการ อุตสาหกรรมน�้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอก ชายฝั่ง ในขณะที่อีกหลายเจ้าต้องแบกรับ กับภาระหนีแ้ ละยืนอยูบ่ นความเสีย่ งตราบ ใดที่ราคาน�้ำมันยังคงตกต�่ำอยู่ ถึงกระนั้น เมอร์เมดยังสามารถท�ำผลประกอบการ ให้ มี ผ ลบวกและยั ง คงมี ฐ านะการเงิ น ที่ แข็งแกร่ง ณ สิ้นปี 2558 ในปี 2558 เมอร์ เ มดได้ เ ซ็ น สั ญ ญาให้ บริการงานใต้ทะเลหลายแห่งทั่วภูมิภาค ต่างๆ และมีอตั ราการใช้เรือทีถ่ อื ว่าประสบ ความส�ำเร็จอย่างสูงด้วยความสัมพันธ์ที่ดี กับกลุ่มลูกค้าเดิม และยังขยายฐานรายได้ จากงานวางสายเคเบิลใต้ทะเลเพิม่ ขึน้ ด้วย ท่ามกลางแรงกดดันด้านราคาในอุตสาหกรรม น�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติ เมอร์เมดสามารถ ท�ำรายได้จ�ำนวน 336,600,000 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาสูงสุดเป็นประวัตกิ ารณ์ เพิม่ ขึ้น 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือ ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับปี 2557 เรือสามล�ำที่สร้างรายได้สูงสุด (เมอร์เมด คอมมานเดอร์ เมอร์เมด เอนดัวเรอร์ และ เมอร์เมด เอเชียน่า) เข้ารับการตรวจเช็ค สภาพประจ�ำ 5 ปี ในช่วงไตรมาสแรกของ ปีนี้ ท�ำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มและก�ำไรลดลง โดยน�ำเรือเช่า เบอร์บอน อิโวลูชัน 806 ท�ำงานแทนเรือเมอร์เมด เอเชียน่า ในช่วง 2 เดือนที่เรือเข้าอู่ซ่อมบ�ำรุง ส่วนเรืออีก สองล�ำเข้าตรวจเช็คสภาพในช่วงนอกฤดู ของงาน (low season) พอดีจึงไม่กระทบ การสร้างรายได้มากนัก จากภาวะราคาน�้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง เมอร์เมดจะพิจารณาเรื่องแนวโน้มของ ธุรกิจน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอีก 12 เดือนข้างหน้าอย่างรอบคอบ เนื่องจาก บริษัทน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติอาจมีการ ทบทวนงบประมาณใช้จ่ายของบริษัทอีก ครั้ง อย่างไรก็ดี กองเรือวิศวกรรมใต้ทะเล

และเรือขุดเจาะของเมอร์เมดเป็นกองเรือ ส�ำหรับการให้บริการขุดหาแหล่งน�้ำมัน และก๊ า ซธรรมชาติ ใ นเขตทะเลน�้ ำ ตื้ น ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดแข็ง และได้รบั ผลกระทบจากราคาน�ำ้ มันลดลง ค่อนข้างน้อย เนื่องจากจุดคุ้มทุนของการ ขุดหาแหล่งน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติใน เขตน�้ำตื้นจะต�่ำกว่าในเขตน�้ำลึก ดังนั้น แนวโน้มการหดตัวของอุปสงค์ในบริเวณ เขตน�้ำตื้นจึงน้อยกว่าเขตน�้ำลึก โดยรวม แล้วเมอร์เมดยังคงมองว่ายังมีลกู ค้าเฉพาะ กลุ่มที่ต้องการใช้บริการของเมอร์เมดอยู่ ในช่วงปี 2558 สร้างผลก�ำไรเป็นทีน่ า่ พอใจ แม้จะมีผลการด�ำเนินงานลดลงในปีที่ผ่าน มา เนื่องจากภาวะกดดันด้านราคาน�้ำมัน กับการที่เรือต้องท�ำการตรวจเช็คสภาพ ตามแผนระยะห้าปี และค่าใช้จ่ายการเช่า เรือที่เพิ่มขึ้นมา ในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ เมอร์เมดเจรจา ขอเลิกการเช่าเรือระยะยาวก่อนก�ำหนด ส�ำหรับเรือวินเดอร์เมียร์ และเรือเอนเดฟเวอร์ ในเดือนธันวาคมเพื่อลดภาระผูกพันทาง การเงิ น ในสภาพตลาดที่ ท ้ า ทายเช่ น นี้ กลยุทธ์ของเมอร์เมดคือการคงไว้ซงึ่ เงินสด และอัตราส่วนหนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ สุทธิ ต่อทุน 0.13 เท่า ซึ่งจะช่วยให้เมอร์เมด ยังคงมีสภาพคล่องพร้อมทีฉ่ วยโอกาสสร้าง การเติบโตในธุรกิจหลักและธุรกิจอื่นเพื่อ ต่อยอดธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อตลาด ฟื้นกลับมา

ก: ผลิตภัณฑ์และบริการ โครงสร้างและบริการของ กองเรือ บริการวิศวกรรมใต้ทะเล

บริ ก ารวิ ศ วกรรมใต้ ท ะเลของเมอร์ เ มด ประกอบด้วยการให้บริการประดาน�้ำและ การให้บริการส�ำรวจตรวจสอบใต้ทะเลด้วย ยานส�ำรวจใต้ทะเลด้วยระบบแผงควบคุม


033

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

วงจร (“ROV”) ซึ่งด�ำเนินการโดยบริษัทย่อยของเมอร์เมด 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (อินเตอร์เนชั่นแนล) จ�ำกัด และ บริษัท ซีสเคป เซอร์เวย์ ซึ่งได้ร่วมกิจการกันและเปิด ให้บริการภายใต้ชื่อใหม่ร่วมกันว่า “เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส” โดยมีขอบเขตการให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลที่หลากหลาย ครอบคลุมตัง้ แต่งานส�ำรวจ งานซ่อมแซมและการบ�ำรุงรักษางาน ก่อสร้างงานติดตั้ง และงานโครงการวางท่อและสายเคเบิล เป็นต้น รายได้จากธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้ทะเลมีจ�ำนวน 336,500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากปีก่อน ซึ่งมาจาก งานการวางสายเคเบิลใต้ทะเล ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 42,400,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเป็น 111,300,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 162 เมือ่ เทียบปีตอ่ ปี งานซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษา ถูกกดจากอัตราค่าใช้รายวัน ในขณะที่อัตราการใช้ประโยชน์เรือ ยังคงรักษาระดับอยู่ที่จ�ำนวนร้อยละ 65 วันท�ำการ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ทั้งนี้ รายได้มีการลดลง 36,800,000 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา หรือลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กองเรือวิศวกรรมใต้ทะเลประกอบด้วย เรือสนับสนุนงานวิศวกรรมใต้ทะเลจ�ำนวน 13 ล�ำ (รวมเรือที่เช่า

มา) โดย 5 ใน 7 ล�ำ เป็นเรือสนับสนุนนักประด�ำน�้ำ (dive support vessels) แบบพิเศษ และยานส�ำรวจใต้ทะเลระบบ รีโมทคอนโทรล (ROV) อีก 15 ล�ำ ทีม่ รี ะบบสนับสนุนงานก่อสร้าง ขนาดใหญ่ส�ำหรับน�้ำลึกและน�้ำลึกมาก นอกจากกองเรือเหล่านี้ แล้ว ส่วนงานวิศวกรรมใต้ทะเลจะมีทีมนักประดาน�้ำมืออาชีพ ช่างเทคนิค ช่างส�ำรวจ บุคลากรที่เชี่ยวชาญและพนักงานพิเศษ อีกประมาณ 1,000 คน ไม่นับรวมพนักงานประจ�ำที่มีอยู่แล้ว ที่ ช่วยงานในโครงการบริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลต่างๆ

บริการของกองเรือและบริการนักประดาน�้ำ

เรือทุกล�ำได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบัน DNV หรือ ABS ซึ่งทั้ง 2 สถาบันเป็นสถาบันจัดชั้นเรือระดับแนวหน้า เรือทุกล�ำ ต้องเข้ารับการตรวจสภาพเรืออย่างสม�่ำเสมอจากสถาบันจัดชั้น เรือ นอกเหนือจากการเข้าอู่ซ่อมแห้งและเข้าศูนย์ซ่อมบ�ำรุงตาม ระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ ความสามารถที่ ส� ำ คั ญ อี ก ด้ า นหนึ่ ง ของส่ ว นธุ ร กิ จ วิ ศ วกรรม ใต้ทะเล คือ การให้บริการนักประดาน�้ำตามมาตรฐานระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานที่ก�ำหนดโดยสมาคมผู้ผลิตน�้ำมัน และก๊าซนานาชาติ (International Oil and Gas Producers Association - OGP)

ตาราง : รายการกองเรือบริการและสนับสนุนงานวิศวกรรมใต้ทะเลของเมอร์เมด ล�ำดับที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13.

ชื่อเรือ เมอร์เมด คอมมานเดอร์ เมอร์เมด เอนดัวเรอร์ เมอร์เมด เอเชียน่า เมอร์เมด แซฟไฟร์

ประเภทเรือ เรือสนับสนุนการด�ำน�้ำลึกระบบ DP2 เรือสนับสนุนการด�ำน�้ำลึกระบบ DP2 เรือสนับสนุนการด�ำน�้ำลึกระบบ DP2 เรือซึ่งสนับสนุนระบบควบคุมยานส�ำรวจใต้ทะเลและ นักประดาน�้ำระบบ DP2 เมอร์เมด ชาเลนเจอร์ เรือบริการและสนับสนุนงานวิศวกรรมใต้ทะเลชนิด อเนกประสงค์ เมอร์เมด สยาม เรือสนับสนุนการก่อสร้างระบบ DP2 เอส. เอส. บาร์ราคูด้า เรือบริการและสนับสนุนงานวิศวกรรมใต้ทะเลชนิด อเนกประสงค์ เอนเดฟเวอร์ เรือซึ่งสนับสนุนระบบควบคุมยานส�ำรวจใต้ทะเลและ นักประดาน�้ำระบบ DP2 เรโซลูชัน เรือซึ่งสนับสนุนระบบควบคุมยานส�ำรวจใต้ทะเลและ นักประดาน�้ำระบบ DP2 มูบารัก ซัพพอร์ตเตอร์ เรือก่อสร้างระบบ DP2 เบอร์บอน อิโวลูชัน 806 เรือบริการสนับสนุนวิศวกรรมใต้ทะเลอเนกประสงค์ วินเดอร์เมียร์ เรือสนับสนุนการด�ำน�้ำลึกแบบ DP2 เรือ DSV ใหม่ MT 6024* เรือสนับสนุนการด�ำน�้ำ

ปีปฏิทิน (พ.ศ.) ปีที่สร้าง ปีที่ซื้อ 2530 2548 2553 2553 2553 2553 2552 2552 2551

2551

2545 2525

2553 2553

2551

2555 (เช่า)

2556

2556 (เช่า)

2557 2557 (เช่า) 2556 ตุลาคม 2557 (เช่า) 2553 2557 (เช่า) 2558/59 รับมอบในปี 2559

หมายเหตุ : *อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีก�ำหนดส่งมอบในปี 2559 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


034

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

บริการหลักของส่วนงานวิศวกรรมใต้ทะเล มีรายละเอียดดังนี้ : การส�ำรวจ การพัฒนา การผลิต

การส�ำรวจก่อนการติดตั้ง ซึ่งได้แก่ การก�ำหนดต�ำแหน่งที่จะท�ำการขุดเจาะและการให้ความช่วยเหลือในการ ติดตั้งแท่นขุดเจาะ และการซ่อมบ�ำรุงอุปกรณ์ใต้น�้ำ การติดตั้งท่อส่งใต้น�้ำ การวางท่อขนส่ง การจัดเตรียมเชือกช่วยชีวิต (control umbilicals) ชุดท่อและเสา การ วางและฝังท่อ การติดตั้งและยึดเสาและอุปกรณ์ท่อ การเดินเครื่อง การทดสอบและการตรวจสอบ และการวาง และเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลและเชือกช่วยชีวิต การตรวจสอบ การซ่อมบ�ำรุงและการซ่อมแซมโครงสร้างที่ใช้ในการผลิต เสา ท่อส่ง และอุปกรณ์ใต้น�้ำ

บริการขุดเจาะนอกชายฝั่ง

บริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด (“MDL”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เมอร์เมดถือหุ้นอยู่ร้อยละ 95 เป็นเจ้าของเรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) จ�ำนวน 2 ล�ำและเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเรือที่พักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด (“AOD”) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่เมอร์เมดถือหุ้นอยู่ร้อยละ 33.8 และเป็นเจ้าของและด�ำเนิน งานกองเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ ฉพาะตัวสูงและทันสมัย AOD ได้รบั มอบเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) AOD I AOD II และ AOD III ในปี 2556 โดยในปี 2558 เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ของ AOD ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่สามของสัญญา ระยะเวลา 3 ปีกับ Saudi Aramco โดยมีรายได้รวม 223.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2558 เรือขุดเจาะใหม่ทั้งสามล�ำมี อัตราการใช้งานโดยเฉลี่ยร้อยละ 98 ตาราง : รายชื่อกองเรือขุดเจาะ ล�ำดับที่ ชื่อเรือ 1. MTR-1 2. MTR-2 3. AOD I

ประเภทของเรือ

4.

AOD II

5.

AOD III

6.

เรือใหม่ MTR 3 *

เรือที่พัก เรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวสูง เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวสูง เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวสูง เรือขุดเจาะแบบท้องแบน

7.

เรือใหม่ MTR 4 **

เรือขุดเจาะแบบท้องแบน

หมายเหตุ : * มีก�ำหนดส่งมอบในไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ** มีก�ำหนดส่งมอบในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ปีที่สร้าง 2521 2524 2556

ปีปฏิทิน (พ.ศ.) ปีที่ซื้อ 2548 2548 2553

2556

2553

2556

2554

2558/2559

ร้อยละ 15 ในปี 2557 ร้อยละ 85 ในปี 2559 ร้อยละ 15 ในปี 2557 ร้อยละ 85 ในปี 2559

2558/2559


035

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

เรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) และ เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) ต้องได้ รับการจัดอันดับชั้นจากสมาคมจัดอันดับ ชั้ น เรื อ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งโดยจั ด ล� ำ ดั บ จาก มาตรฐานของการปฏิบัติงานและความ ปลอดภัย ซึ่งเรือขุดเจาะของ MDL ได้รับ การจัดอันดับชั้นจากองค์กรระดับสากล เช่น Det Norske Veritas (“DNV”) American Bureau of Shipping (“ABS”) หรือ Bureau Veritas (“BV”) โดยเรือ ขุดเจาะแบบท้องแบน MTR-1 ถูกจัดล�ำดับ ชัน้ โดย ABS และเรือขุดเจาะแบบท้องแบน MTR-2 ถูกจัดล�ำดับชั้นโดย ABS โดย สมาคมจัดชั้นเรือดังกล่าวจะเข้ามาตรวจ สภาพเรือทุกปี เรือขุดเจาะแบบท้องแบน ต้องเข้าอู่ซ่อมแห้งทุกๆ 5 ปีและได้รับ การตรวจสภาพบ� ำ รุ ง รั ก ษา (Special Periodic Survey) จากสมาคมจัดอันดับ ชัน้ เรือต่างๆ ดังกล่าว ส่วนเรือขุดเจาะแบบ สามขา (Jack-up) ของ AOD จะได้รับการ จัดอันดับชั้นโดย ABS

บริการของกองเรือ

สัญญาให้บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่ง ของ MDL จะมีการเจรจาต่อรองเป็นรายๆ ไปและมีเงื่อนไขและข้อก�ำหนดที่แตกต่าง กั น ส่ ว นใหญ่ MDL ได้ รั บ สั ญ ญามา จากการประมูลแข่งขันกับผูร้ บั จ้างรายอืน่ ๆ โดยทั่วไป สัญญาว่าจ้างในการขุดเจาะ จะก�ำหนดเงื่อนไขการช�ำระเงินเป็นอัตรา ค่าจ้างรายวัน โดยอัตราค่าเช่าเรือในช่วงที่ เรือขุดเจาะปฏิบตั งิ านจะสูงกว่าในช่วงของ การเตรียมการ หรือเมื่อการปฏิบัติงาน ขุดเจาะหยุดชะงัก หรือถูกจ�ำกัด เนือ่ งจาก ความเสียหายของอุปกรณ์หรือสภาพอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของ MDL สัญญาให้บริการขุดเจาะซึ่งใช้อัตราค่าเช่า เรือรายวันโดยทั่วไปมักจะครอบคลุมช่วง ระยะเวลาหนึง่ โดยเป็นไปตามเงือ่ นไขของ สัญญาที่ก�ำหนดไว้ หรือเป็นงานขุดเจาะที่ เป็นหลุมเดีย่ ว หรือหลุมทีเ่ ป็นกลุม่ อย่างไร ก็ตาม สัญญาบางฉบับที่ MDL ตกลงกับ ลูกค้าไว้แล้ว ลูกค้าสามารถขอใช้สทิ ธิบอก เลิกได้โดยช�ำระค่าปรับในการบอกเลิก สัญญาก่อนก�ำหนด แต่เงินค่าปรับดังกล่าว

อาจจะไม่ ส ามารถชดเชยกั บ มู ล ค่ า การ สูญเสียสัญญาของ MDL ได้ทั้งหมด เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) จ�ำนวน สามล�ำของ AOD ได้รับการออกแบบใน ชั้ น MOD V-B ซึ่ ง เป็ น ที่ เ ข้ า ใจว่ า เป็ น การออกแบบเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jackup) ทีม่ สี เปคตามทีบ่ ริษทั ขุดเจาะรายใหญ่ ต้องการและบริษทั น�ำ้ มันต่างๆ นิยมใช้งาน ในพื้นที่น�้ำตื้นทุกแห่งของโลก เรือขุดเจาะ แบบนี้จะได้รับการออกแบบให้สามารถ ปฎิบตั งิ านได้ตลอดทัง้ ปีในพืน้ ทีอ่ า่ วเม็กซิโก มหาสมุ ท รอิ น เดี ย ทะเลเหนื อ ทางใต้ บริเวณชายฝัง่ ตะวันออกกลาง นอกชายฝัง่ อิ น เดี ย นอกชายฝั ่ ง ออสเตรเลี ย นอก ชายฝั่งนิวซีแลนด์และนอกชายฝั่งเอเชีย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ในสภาพแวดล้ อ ม ปัจจุบัน มักจะมีการเข้าท�ำสัญญาเช่าใช้ เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) เป็น ระยะเวลานาน 300 วันขึ้นไป

ข: การตลาดและคู่แข่ง

1. ลู ก ค้ า และลู ก ค้ า กลุ ่ ม เป้าหมายช่องทางการจัด จ�ำหน่าย บริการวิศวกรรมใต้ทะเล ลูกค้า ลูกค้าของเมอร์เมดประกอบด้วยผู้ผลิต และจัดหาน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติอิสระ รายใหญ่ บริษัทขนส่งทางท่อและบริษัท ก่อสร้างงานวิศวกรรมใต้ทะเล โดยในปี 2558 เมอร์เมดให้บริการวิศวกรรมใต้ทะเล แก่ลูกค้ากว่า 40 ราย ลูกค้าในตะวันออกกลางยังคงเป็นลูกค้า หลัก ของธุ ร กิ จ เมอร์ เ มด สั ญญาการให้ บริการการประดาน�ำ้ ฉบับส�ำคัญทีบ่ ริษทั ฯ ได้มาในปี 2556 ผ่านบริษัท Zamil ซึ่ง เป็นกิจการร่วมค้าของเมอร์เมดในตะวัน ออกกลาง ท�ำให้เมอร์เมดยังคงมีรายได้ และผลก�ำไรที่สูงและจะยังคงเป็นเช่นนี้ ต่อไป จนกว่าจะครบสัญญาในปี 2560 ซึง่ มีสทิ ธิทจี่ ะได้รบั การต่อสัญญาออกไปได้ หลังจากสิ้นสุดสัญญา

ในระหว่างปี 2558 เมอร์เมดได้รับจ้างช่วง ท�ำงานวางสายเคเบิลใต้ทะเลให้กับลูกค้า 6 ราย ที่ ป ระเทศซาอุ ดิ อ าระเบี ย และ กาตาร์มรี ายได้รวม 111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อเมริกา โดยใช้เรือที่เช่าช่วงระยะสั้นมา ท�ำงานเพื่อให้เป็นไปตามระยะเวลาการ ท�ำงานทีก่ ำ� หนดของโครงการ ท�ำให้เมอร์เมด ยืนหยัดและเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะ ผู้รับเหมางานวางสายเคเบิลใต้ทะเล ในเอเชีย เรือเมอร์เมด คอมมานเดอร์ ได้ รับจ้างงานจ�ำพวกการประกอบและติดตั้ง ในอ่าวไทยให้กบั CUEL เป็นปีที่ 10 ติดต่อ กัน จนเสร็จสมบูรณ์ โดยปราศจากภาวะ หยุดชะงักจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ แต่อย่างใด (Lost Time Injury) อัตราการ ใช้งานของเรือยังคงสูงจากกลุ่มลูกค้าที่ใช้ บริการอย่างต่อเนือ่ ง ตามแผนกลยุทธ์ดา้ น ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัท เมอร์เมดมีการปรับกลยุทธ์อีกครั้งในช่วง ต้นปี 2558 โดยทีมผู้บริหารอาวุโสของ เมอร์เมดได้วางกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น (“การ สร้างความเข้มแข็งหลัก”) และระยะยาว (“การวางต�ำแหน่งเพือ่ เติบโต”) ทีจ่ ะท�ำให้ เมอร์เมดมีความสามารถและขีดจ�ำกัดใน การสร้างมูลค่าของผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ ธุรกิจหลักนั้น ด้วยกลไกของสองหลักการ ส�ำคัญ กลยุทธ์เมอร์เมดในระยะสั้นจะ เน้นการรักษารายได้และเงินสด ซึง่ มาจาก รากฐานอั น มั่ น คงขององค์ ก รที่ มี ค วาม คล่องตัวและมาตรฐานมากขึ้นกว่าเดิม ส�ำหรับการวางต�ำแหน่งเพือ่ การเจริญเติบโต กลยุทธ์ของเมอร์เมดในระยะยาวจะมุง่ เน้น การค่อยๆ ย้ายฐานการสร้างมูลค่าไปยัง กลุ่มโครงการวิศวกรรมใต้ทะเลที่มีมูลค่า สูงกว่าให้มากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้เมอร์เมด ได้ เ ข้ า ท� ำ สั ญ ญารั บ เหมาแบบเบ็ ด เสร็ จ (Turnkey Contracts) หรือสัญญาที่มี ราคาตายตัว (Lump Sum Contracts) อย่างธุรกิจการวางสายเคเบิลใต้ทะเล ทัง้ นี้ เมอร์ เ มดยั ง อยู ่ ใ นช่ ว งเริ่ ม ต้ น แผนการ ด�ำเนินการเพื่อเลือกขยายตัวทางธุรกิจ ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


036

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

เมอร์เมด คาดหวังว่าจะรักษาระดับการ เติบโตของงานวิศวกรรมใต้ทะเลให้เกิดขึน้ ทั่ ว ทั้ ง ภู มิ ภ าคตะวั น ออกกลาง เอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้และทะเลเหนือ ในระดับนี้ ต่อไปในอีกสองสามปีข้างหน้า นอกจากนี้ เมอร์เมด ยังคงหาทางเพิ่ม อัตราการใช้ประโยชน์ในเรือให้สงู ขึน้ ต่อไป และในขณะเดียวกันก็เน้นการให้บริการ เสริมแก่ลูกค้ามากขึ้น รวมถึงหาสัญญา ที่ มี ร ะยะเวลาสั ญ ญาที่ ย าวขึ้ น ในพื้ น ที่ ที่ต้องการสร้างความเติบโต เช่น เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง และ ทะเลเหนือ

คู่แข่ง การท� ำ สั ญ ญาในธุ ร กิ จ ทางทะเลมี ก าร แข่งขันสูงมาก ในขณะที่ราคาเป็นปัจจัย อย่างหนึ่งแต่ความสามารถที่จะจัดหาเรือ พิเศษและว่าจ้างและรักษาบุคลากรที่มี ทักษะความสามารถ รวมทั้งมีประวัติการ ท�ำงานทีด่ ี มีความปลอดภัยก็มคี วามส�ำคัญ เช่นกัน คูแ่ ข่งในส่วนงานวิศวกรรมใต้ทะเล ได้แก่ บริษัทในท้องถิ่น ซึ่งมีฐานอยู่ใน เอเชียและตะวันออกกลาง รวมถึงบริษัท ข้ามชาติขนาดใหญ่ที่เป็นบริษัทของยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นผูป้ ระกอบธุรกิจทางด้านงาน วิศวกรรมงานจัดหาและนายหน้ารับเหมา โครงการ (“EPIC”) อย่างไรก็ตาม บริการประเภทนีย้ งั คงอยูใ่ น ตลาดเฉพาะกลุ่มและมีผู้ให้บริการและ หน่วยบริการทัว่ โลกอยูจ่ ำ� นวนจ�ำกัด ท�ำให้ ธุรกิจนี้ยังคงมีอนาคตที่สดใส เมอร์เมดยัง คงมองเห็นการเติบโตของอุปสงค์ส�ำหรับ เรือให้บริการใต้ทะเลและบริการทีเ่ กีย่ วข้อง อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเห็นได้จากสัญญา ต่างๆ ที่เมอร์เมดได้มา รวมถึงมีความ ต้องการเพิม่ เติมจากลูกค้าทัง้ รายใหม่และ รายเดิม

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

บริการขุดเจาะนอกชายฝั่ง ลูกค้า MDL ประกอบธุ ร กิ จ ด้ า นการขุ ด เจาะ นอกชายฝั ่ ง ให้ กั บ บริ ษั ท น�้ ำ มั น ระหว่ า ง ประเทศชั้นน�ำต่างๆ ทั้งจากที่ควบคุมโดย รัฐบาลและบริหารโดยเอกชน MTR-1 และ MTR-2 เป็ น เรื อ ขุ ด เจาะอายุ ง านสู ง ที่ จอดรอเข้าอู่เพื่อท�ำการตรวจสภาพตั้งแต่ ต้นปีที่ผ่านมาและไม่มีการใช้งานในช่วง ระหว่างปี เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) จ�ำนวน 3 ล�ำของ AOD ยังคงให้บริการแก่ Saudi Aramco บริษทั น�ำ้ มันและก๊าซทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก โดยสัญญาฉบับนี้จะสิ้นสุดลงใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 (โดยได้สิทธิใน การต่อสัญญาออกไปได้ถึงปี 2560) ด้วย เหตุนี้ AOD จึงมีอัตราการใช้งานที่สูงถึง ร้อยละ 98 โดยเฉลีย่ ส�ำหรับเรือขุดเจาะทัง้ สามล�ำ ซึ่งเป็นไปตามแผนที่บริษัทวางไว้ อัตราการใช้งานทีส่ งู นีเ้ ป็นผลมาจากการที่ เรือขุดเจาะปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานไม่ได้น้อยมาก บริ ษั ท มี ค วามมั่ น ใจว่ า AOD จะยั ง คง สามารถให้บริการแก่ลูกค้ารายนี้ต่อไปได้ อีกหลังจากสัญญาสิ้นสุดลง ซึ่งเห็นได้จาก ที่ผ่านมา ลูกค้ารายเดิมได้ท�ำการขยาย สัญญาทั้งในระยะสั้นและระยะกลางของ ผู้รับจ้างให้บริการเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) รายอืน่ ทีค่ รบก�ำหนดระยะเวลา ไปแล้ว

คู่แข่ง คู่แข่งรายส�ำคัญของ MDL คือบริษัทผู้ให้ บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่งในระดับ ภู มิ ภ าคและทั่ ว โลก รวมถึ ง Sapura Kencana บริษัทผู้ให้บริการนอกชายฝั่ง ของมาเลเซีย

เรื อ ขุ ด เจาะแบบท้ อ งแบน (Tender) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ให้บริการอยูใ่ นแถบ เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ต ามสั ญญาที่มี ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี ตลาดส�ำหรับ แท่นขุดเจาะแบบท้องแบนเป็นตลาดเฉพาะ กลุ่ม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีวัฏจักรเดียวกันกับ ตลาดส� ำ หรั บธุ ร กิ จ ขุ ด เจาะนอกชายฝั่ง เคลื่อนที่อื่นๆ โดยเฉพาะเรือขุดเจาะแบบ สามขา (Jack-up) อย่างไรก็ตาม พบว่าเรือ ขุดเจาะแบบท้องแบนก�ำลังเป็นต้องการใน พื้นที่นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก กองเรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) ก�ำลังมีอายุมากขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งของ เรือทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วโลก มีอายุมากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ มีเรือขุดเจาะแบบท้องแบน ทั้ ง หมดทั่ ว โลกจ� ำ นวน 25 ล� ำ โดยใน จ�ำนวนนี้ มี 15 ล�ำ ที่ได้รับสัญญาจ้างงาน ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นเรือขุดเจาะใหม่ทอี่ ายุนอ้ ย ในขณะทีอ่ กี 10 ล�ำยังไม่มสี ญ ั ญา ต้องจอด นิ่งหรือรอเข้าซ่อมแซมหรือบ�ำรุงรักษา (cold stacked) หรือก�ำลังรอท�ำสัญญาอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือที่มีอายุมาก และใน จ�ำนวนเรือ 15 ล�ำที่มีสัญญาว่าจ้างงาน มี 10 ล�ำ ที่ท�ำงานอยู่ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และทีเ่ หลืออีก 5 ล�ำอยูใ่ นแอฟริกา ตะวันตก นอกจากนี้ ยังมีเรือขุดเจาะแบบ ท้องแบน (Tender) ใหม่ 7 ล�ำ ซึ่งก�ำลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีก�ำหนดการ ส่งมอบภายในปี 2558 และ 2559

2. ลักษณะอุตสาหกรรม และแนวโน้มในอนาคต 1. สรุปภาพรวมปี 2558

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าปี 2558 ถือเป็น ปีทที่ า้ ทายส�ำหรับอุตสาหกรรมงานบริการ นอกชายฝัง่ ในทุกภาคส่วน โดยผลของการ ลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาน�้ำมันตั้งแต่ เดื อ นตุ ล าคมปี 2557 ราคาน�้ ำ มั น ดิ บ เบรนท์ลดกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่อบาร์เรลต�่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2546 อยู่ที่ 27.67 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อบาร์เรล ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะน�้ำมันล้นตลาด และการขาดอุปสงค์ประกอบกับปัจจัยอืน่ ๆ


037

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

แผนภูมิ : อุปสงค์ของตลาดโลกและการใช้จา่ ยการส�ำรวจและผลิต

อายุเรือ 120 100

คาดการณ์ช่วงอุปสงค์

80

600 400 300

40 20 0

700 500

60

2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563

การใช้จ่ายการส�ำรวจและผลิต

ปี

200 100 0

อุปสงค์ในอดีต

ที่มา : The Global Subsea Market to 2010

แผนภูมิ: การใช้จ่ายการส�ำรวจผลิตขนส่งทั่วโลก แบ่งตาม ภูมิภาค (การใช้จ่ายการส�ำรวจและผลิตปี 2559)

$70

13%

$66.3 $60

800 การใช้จ่ายการส�ำรวจและผลิตต่อพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่ ง ผลให้ เ กิ ด สถานการณ์ ที่ เ ป็ น อยู ่ ใ นปั จ จุ บั น การชะลอตั ว ทางเศรษฐกิจของจีนท�ำให้ความต้องการส�ำหรับสินค้าโดยทั่วไป ลดลง ในขณะที่ประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน�้ำมัน จ�ำนวนหนึ่งในสามของสมาชิกองค์การกลุม่ ประเทศผูส้ ง่ ออกน�ำ้ มัน (“OPEC”) มีความต้องการที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดของตน มากกว่าที่จะตัดการผลิตเพื่อกระตุ้นราคา ในขณะเดียวกันการ ที่น�้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (shale oil) โดยสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู ้ ผ ลิ ต ได้ รั บ ความนิ ย มสู ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ปั จ จุ บั น สหรัฐอเมริกามีการน�ำเข้าน�ำ้ มันในประเทศน้อยลงส่งผลให้ภาวะ น�้ำมันล้นตลาดโลกเพิ่มขึ้น หากพิจารณาจากการเติบโตของธุรกิจบริการนอกชายฝั่งใน ทศวรรษที่ผ่านมา และความเสถียรของธุรกิจนี้ตลอดช่วงปีที่ ซบเซาก่อนหน้านี้ ความตกต�่ำอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ ดังกล่าวนับเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่คาดคิด ตลอดปี 2558 ตลาดการ บริการนอกชายฝั่งนับว่ามีลักษณะภาวะล้นตลาดเพิ่มขึ้น ท�ำให้ อุปสงค์ของการใช้เรือน้อยลง กลายเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายส�ำหรับวงการ ธุรกิจนี้มากที่สุดในประวัติการณ์ แผนภูมิ: ราคาน�้ำมันดิบเบรนท์ต่อบาร์เรลในปี 2558

18%

4% กิจกรรมนอกชายฝั่ง ร้อยละ -17 ของ การใช้จ่ายทั้งหมด

$50 $40 $35.3 $30 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

2. การส�ำรวจและผลิตในปี 2559

บริษัทน�้ำมันต่างปรับตัวจากภาวะราคาน�้ำมันที่ลดต�่ำลงโดยการ ตัดค่าใช้จ่ายด้านงานการส�ำรวจและผลิต (“E&P”) โดยเฉลี่ย ร้อยละ 19 และตัดงบเงินลงทุนธุรกิจบริการนอกชายฝัง่ ประมาณ ร้อยละ 49 ในปี 2559 กิจกรรมด้าน E&P จะยังคงชะลอตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าบริษัทน�้ำมันทั้งหลายจะลดค่าใช้จ่าย ด้านงบประมาณและลดพนักงานอีกประมาณร้อยละ 11 ซึ่งนับ เป็นภาวะการถดถอยในธุรกิจนี้สองปีติดต่อกันเป็นครั้งแรก นับจากช่วงกลางทศวรรษที่ 80 ทัง้ นี้ อัตราการใช้จา่ ยงานขุดเจาะ นอกชายฝั่งโดยรวมอาจลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 72.3 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในปี 2559

65% ระหว่างประเทศบนฝั่ง ระหว่างประเทศนอกชายฝั่ง

กลุ่ม NAM นอกชายฝั่ง กลุ่ม NAM บนฝั่ง

ที่มา: IHS Petrodata, Barclays Research

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


038

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ตาราง: คาดการณ์การใช้จ่ายการส�ำรวจผลิตขนส่งของงานนอกชายฝั่งแบ่งตามภูมิภาค จ�ำนวนการใช้จ่ายทั้งหมดของหลุมผลิตนอกชายฝั่ง (พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) 2558 ภูมิภาค 2557 ประมาณการ แอฟริกา 19.1 15.5 ยุโรป 17.8 15.4 อินเดีย เอเชีย และ ออสเตรเลีย 21.2 16.1 ละตินอเมริกา 22.7 19.1 ตะวันออกกลาง 10.0 9.6 อเมริกาเหนือ 18.8 17.2 รัสเซีย/กลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตในอดีต 0.8 0.0 รวม 110.4 92.9

อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 2559 2557 2558 ประมาณการ เทียบกับ 2558 เทียบกับ 2559 12.2 -19 -21 11.5 -13 -25 7.3 -24 -55 17.0 -16 -11 7.8 -4 -19 15.0 -9 -12 1.5 -100 0 72.3 -16 -22

ที่มา: IHS Petrodata, Barclays Research

3. อุตสาหกรรมด้านงานบริการวิศวกรรม ใต้ทะเล 3.1 ตลาดธุรกิจงานวิศวกรรมใต้ทะเล

ช่วงสิ้นปี 2558 สัญญาบ�ำรุงรักษางานวิศวกรรมใต้ทะเลจ�ำนวน มากที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเจรจาต่อรองเงื่อนไขกันใหม่ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราการใช้งานและอัตราค่าบริการทุกภาคส่วนลดลง ตลอดทั้งปี หนึง่ ในสามของงานบริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลเป็นงานด้านการ ติดตัง้ ส่วนทีเ่ หลือโดยหลักเป็นงานในพืน้ น�ำ้ ตืน้ ส�ำหรับโครงการ ที่เสร็จแล้ว ผู้รับเหมาไม่ได้ต่อสัญญามากไปกว่าหนึ่งในห้าของ งานคงค้างในมือ อุปทานที่ลดลงจากการหมดสภาพหรือถูกตัด จ�ำหน่ายของเรือและอุปกรณ์เก่านั้นมีผลกับผู้รับเหมาบางส่วน แต่ไม่สามารถชดเชยได้กับอุปสงค์ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาได้ ใน ความพยายามทีจ่ ะลดผลกระทบดังกล่าว ผูร้ บั เหมางานรายใหญ่ๆ เลือกทีจ่ ะพักงานเรือทีม่ อี ยู่ หรือ ยกเลิกสัญญาเช่าเรือและสัญญา การบริการต่างๆ ซึ่งเป็นแรงกดดันส่งผ่านไปยังธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างขนาดเล็กและธุรกิจซ่อมบ�ำรุง (IRM) ทัง้ นี้ คาดว่าอุปสงค์ของการใช้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลจะยัง คงลดลงต่อไปในปี 2559 อัตราการใช้งานโดยรวมคาดว่าจะ ลดลง ในทางกลับกัน มีการคาดการณ์ว่าราคาน�้ำมันในช่วงต้นปี 2560 จะเพิ่ ม ขึ้ น อั ต ราการใช้ ป ระโยชน์ ข องเรื อ ขุ ด เจาะ นอกชายฝัง่ ทีต่ ำ�่ เมือ่ เทียบกับการเพิม่ ขึน้ ของราคาน�ำ้ มันดังกล่าว น่าจะกระตุ้นอุปสงค์ทางด้านงานบ�ำรุงรักษาและงานวิศกรรมใต้ ทะเลในส่วนที่เป็นน�้ำตื้น (น้อยกว่า 300 เมตรที่การด�ำน�้ำจะ เข้าถึง) เช่น แถบตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก และเม็กซิโก บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

แผนภูมิ: อัตราการใช้ประโยชน์สุทธิของเรือทั่วโลก 100% 90% 80% 70% 60% 50% 40%

2542 2544 2546 2548 2550 2552 2554 2556 2558 2560 2562 ด�ำน�้ำ วางท่อ

สนับสนุน ROV รวม

ที่มา : The Global Market Subsea to 2020

3.2 ประเภทเรือวิศวกรรมใต้ทะเล ธุรกิจบริการนอกชายฝัง่ เป็นภาคอุตสาหกรรมทีม่ คี วามหลากหลาย โดยมีเรือปฎิบัติการหลายประเภทให้บริการในงานที่แตกต่างกัน ไปด้วยระบบและอุปกรณ์เฉพาะตัว ซึ่งอาจจะเป็นเรือที่สร้างขึ้น มาเพื่อใช้เฉพาะงาน เช่น เพื่องานประดาน�้ำโดยเฉพาะ หรืออาจ จะเป็นเรือที่มีการดัดแปลงบ่อยครั้งจากเรือประเภทหนึ่งให้เป็น อีกประเภทหนึ่ง ตามความเหมาะสมในการด�ำเนินงานของธุรกิจ ดั ง นั้ น การจะกล่ า วถึ ง ลั ก ษณะของการด� ำ เนิ น งาน เรื อ อเนกประสงค์ทใี่ ห้บริการงานวิศวกรรมนอกชายฝัง่ จึงครอบคลุม เรือหลายชนิดและการปฏิบตั กิ ารหลายประเภท ซึง่ เป็นเรือ่ งยาก


039

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ที่จะให้ภาพรวมที่ชัดเจน ค�ำว่าเรือที่ให้บริการงานวิศวกรรม นอกชายฝั่งจึงอาจหมายรวมถึงเรือได้หลายประเภท ซึ่งเป็นเรื่อง แปลกส�ำหรับเรือล�ำหนึ่งที่จะให้บริการเฉพาะงานประเภทใด ประเภทหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น เรือล�ำหนึ่งอาจสามารถปฏิบัติงานได้ ทัง้ งานด�ำน�ำ้ งานยานส�ำรวจใต้ทะเลแบบไร้คนขับ (ROV) งานส�ำรวจ และงานสนับสนุนการก่อสร้าง เรือสนับสนุนการด�ำน�ำ้ ในอุตสาหกรรมนอกชายฝัง่ จึงอาจมาจาก เรือแปลงสภาพทีม่ าพร้อมกับระบบพืน้ ฐานปฏิบตั กิ ารด�ำน�ำ้ แบบ ใช้อากาศ (rudimentary air driving) จนไปถึงเรือต่อใหม่ที่มา พร้อมกับระบบการท�ำงานอย่างสมบูรณ์แบบและซับซ้อนขึน้ เพือ่ การด�ำน�้ำลึก เรือสนับสนุน ROV อาจจะเป็นเรือที่มาพร้อมกับ ระบบส่งยานแบบเคลือ่ นที่ ซึง่ สามารถน�ำขึน้ เรือและปลดประจ�ำ การเรือภายในระยะเวลาทีส่ นั้ มาก ในขณะทีเ่ รือสนับสนุนการงาน ก่อสร้างจะมีคณ ุ สมบัตแิ ละการออกแบบทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำน�ำ้ และการปฏิบัติงาน ROV ดังนั้น หน้าที่หลักของเรือให้บริการ ก่อสร้างจะเป็นเรื่องของการติดตั้งและรื้อถอนงานใต้น�้ำและบน พื้นผิวน�้ำ เรือที่ให้บริการงานวางท่ออาจมีลักษณะการออกแบบ ที่แตกต่างกันของระบบและอุปกรณ์บนเรือ แต่หน้าที่หลักของ เรือเหล่านี้จะเป็นการวางท่อในก้นทะเลหรือเส้นทางที่ก�ำหนด

4. อุตสาหกรรมบริการด้านขุดเจาะ 4.1 ตลาดการขุดเจาะนอกชายฝั่ง

ปี 2557 ที่มีอัตราตายตัวถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 500,000–600,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ในขณะที่กองเรือ Petrobras ใน ประเทศบราซิล ลดการเช่าเรือขุดเจาะจาก 72 ล�ำในปี 2557 เหลือ 55 ล�ำในปี 2558 โดยยังคงท�ำการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อด�ำเนินการตามสัญญาที่ได้ท�ำไปแล้วนั้น บริษัทน�้ำมันใหญ่ๆ จะต่อรองเงื่อนไขในสัญญาใหม่ โดยขอส่วนลดค่าบริการเป็น จ�ำนวนมากจากอัตราที่เคยคิดจากการประเมินจ�ำนวนงานที่มี อยู ่ ซึ่ ง ในระหว่ า งปี ที่ ผ ่ า นมาไม่ มี ง านให้ ส ่ ง มอบแต่ อ ย่ า งใด เจ้าของเรือหลายรายได้ยกเลิกสัญญาต่อเรือและหรือเลื่อนการ ส่งมอบเรือออกไปถึงปี 2561/2562 การน�ำเรือเก่ากลับมาใช้ใหม่และการปลดระวางเรือมีให้เห็นชัด ในปี 2558 เรือขุดเจาะกว่า 35 ล�ำถูกตัดจ�ำหน่าย ท�ำให้จ�ำนวน เรือที่สามารถท�ำงานได้ในตลาดลดลง แม้ว่าการปลดระวางเรือ จะเป็นทิศทางที่ถูกต้องในการจัดการกับสภาวการณ์ปัจจุบัน แต่ หลายคนโต้แย้งว่ายังมีอกี หลายสิง่ ทีจ่ ะต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จ ในแง่การปรับปรุงกองเรือโดยวิธตี อ่ เรือใหม่ ประเทศตุรกี อินเดีย และจีนเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการน�ำเรือเก่ากลับมาใช้ ใหม่ โดยผู้ขุดเจาะต่างๆ มุ่งมั่นที่จะตัดจ�ำหน่ายสินทรัพย์ของตน อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม แผนภูมิ: อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือขุดเจาะ 100% 95%

ก.พ.-49 ก.ค.-49 ธ.ค.-49 พ.ค.-50 ต.ค.-50 มี.ค.-51 ส.ค.-51 ม.ค.-52 มิ.ย.-52 พ.ย.-52 เม.ย.-53 ก.ย.-53 ก.พ.-54 ก.ค.-54 ธ.ค.-54 พ.ค.-55 ต.ค.--55 มี.ค.-56 ส.ค.-56 ม.ค.-57 มิ.ย.-57 พ.ย.-57 เม.ย.-58 ก.ย.-58

อัตราการใช้ประโยชน์

ปัจจุบันมีแท่นขุดเจาะประมาณ 500 แห่งทั่วโลกที่รอการท�ำงาน 90% คิดเป็นประมาณร้อยละ 17 ของกองเรือขุดเจาะทั้งหมด ใน 85% ส่วนสถิตติ วั เลขอัตราการใช้ประโยชน์ของเรือขุดเจาะแบบสามขา 80% (Jack-up) และเรือแท่นเจาะแบบลอยน�้ำ Floater จะอยู่ที่ 75% ประมาณร้อยละ 50 เท่าๆ กัน และมากกว่า 200 ล�ำที่ไม่มีงาน 70% โดยอัตราค่าเช่าเรือรายวันของเรือขุดเจาะได้ลดลงจากผลของ ภาวะอุ ป ทานส่ว นเกิน มีรายงานว่าเรือขุด เจาะแบบสามขา 65% (Jack-up) ประมาณ 100 ล�ำ จากทั้งหมด 130 ล�ำ ไม่มีงาน 60% ผูร้ บั เหมาขุดเจาะหลายรายท�ำสัญญากับบริษทั อูต่ อ่ เรือเพือ่ ขยาย 55% การส่งมอบเรือออกไปนานหลายเดือนหรือหลายปี ทั้งนี้ สัญญา 50% ต่ อ เรื อ มากกว่ า 25 ฉบั บ ถู ก ขยายระยะเวลาออกไปหรื อ มี การยกเลิ ก สั ญ ญา ซึ่ ง สั ญ ญาต่ อ เรื อ ที่ ถู ก ยกเลิ ก ส่ ว นใหญ่ จ ะ Drillship เป็นการต่อเรือเพือ่ ขุดเจาะในน�ำ้ ลึก และเรือทีต่ อ่ ใหม่ทงั้ หมด 146 Semisubmersible ล�ำ คาดว่าจะเริ่มออกหางานในตลาดในอีก 12 เดือนข้างหน้า Jack-up การประมูลงานทีไ่ ม่มคี วามชัดเจนส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานส่วน ที่มา: Ringzone เกินในตลาดมากยิง่ ขึน้ กลุม่ บริษทั น�ำ้ มันข้ามชาติ (“IOCs”) เลือ่ น หรื อ ยกเลิ ก งานขุ ด เจาะและส� ำ รวจหลั ก ๆ ที่ มี ต ้ น ทุ น สู ง เมื่ อ เทียบกับราคาน�้ำมันปัจจุบันเกือบทั้งหมด ในปี 2558 มีเพียง บริษัท Exxon Ghana to Stena Drilling เพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ที่ได้เซ็นสัญญารับงานขุดเจาะน�้ำลึก ด้วยอัตราที่มีรายงานว่าต�่ำ กว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน เมื่อเทียบกับช่วงต้น

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


040

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ตาราง : แท่นเรือขุดเจาะนอกชายฝั่งแบบเคลื่อนที่ จ�ำแนก โดยประเภทและปีที่ส่งมอบ

เรือขุดเจาะแบบ Semisubmersible

ที่มา : AXSMarine

เรือขุดเจาะแบบ Semisubmersible เป็นแท่นขุดเจาะลอยน�้ำที่ ใช้เสาและทุ่นลอยพร้อมกับระบบถ่วงท้องเรือที่ช่วยปรับระดับ ตัวแท่นให้สัมพันธ์กับความสูงของล�ำท้องเรือที่กึ่งจมกึ่งลอยใน ทะเล ทัง้ นี้ ตัวแท่นอาจจะมีลกั ษณะทีส่ ามารถขับเคลือ่ นด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ได้ เรือขุดเจาะนี้ใช้ระบบ DP หรือการถ่วงเพื่อรักษา ต�ำแหน่งของเรือให้อยู่ในระดับแนวหัวเครื่องเจาะ เรือขุดเจาะ แบบ Semisubmersible สามารถท�ำงานได้ในระดับน�ำ้ ความลึก ช่วง 1,000 ถึง 12,000 ฟุต และสามารถเจาะได้ลึกมากกว่า 40,000 ฟุต

4.2 ประเภทของเรือขุดเจาะ

เรือขุดเจาะแบบ Drillship

2558 2559 2560 2561

เรือขุดเจาะ เรือขุดเจาะ เรือขุดเจาะแบบ แบบ Jack-up แบบ Drillship Semi-sub 29 11 4 114 13 19 20 13 4 1 10 1

เรือขุดเจาะมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ส่วนมากจะเป็นที่รู้จักในนาม แท่นเรือขุดเจาะนอกชายฝั่งแบบเคลื่อนที่ (“MODU”)

เรือขุดเจาะแบบ Drillship ใช้ลักษณะของล�ำเรือเป็นพื้นฐานใน การออกแบบและสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง โดยใช้ระบบ DP หรือการถ่วงเพื่อรักษาต�ำแหน่งของเรือเหนือหัวเครื่องเจาะ การขุ ด เจาะจะด� ำ เนิ น การโดยใช้ ป ั ้ น จั่ น ขนาดใหญ่ แ ละสระ ทรงกลดเพื่อขนส่งเรือด�ำน�้ำ (Moon pool) ซึ่งจะติดตั้งอยู่กลาง เรือ เรือขุดเจาะแบบ Drillship เหมาะส�ำหรับการขุดเจาะในพืน้ ที่ ห่างไกลเนื่องด้วยความคล่องตัวของเรือ เรือขุดเจาะชนิดนี้ สามารถท�ำงานได้ในระดับน�ำ้ ความลึก 1,000 ถึง 12,000 ฟุตและ สามารถเจาะได้ลึกมากกว่า 40,000 ฟุต

4.3 ตลาดเรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) ประมาณครึ่ ง หนึ่ ง ของเรื อ ขุ ด เจาะแบบท้ อ งแบน (Tender) ทั่วโลกที่มีอยู่ประมาณ 40 ล�ำ ได้รับการจ้างงาน ปัจจุบันมีการ ก่อสร้างเรือขุดเจาะชนิดนี้น้อยกว่า 5 ล�ำ ส่วนใหญ่เรือขุดเจาะ ประเภทนีจ้ ะด�ำเนินการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทมี่ สี ภาพเป็น เขตแนวน�ำ้ ตืน้ ซึง่ เหมาะส�ำหรับงานทีต่ อ้ งใช้เรือขุดเจาะแบบท้อง เรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) แบน (Tender) ดังกล่าว โดยเรือส่วนใหญ่ของกองเรือทีใ่ ห้บริการ เรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) เป็นเรือที่จอดอยู่ข้างฐาน อยู่ในขณะนี้เป็นของบริษัทสามบริษัท ขุดเจาะทีม่ าพร้อมกับอุปกรณ์ขดุ เจาะในตัวของมันเอง มีเครนยก ความต้องการในการใช้บริการเรือขุดเจาะแบบท้องแบน (Tender) ที่สามารถติดตั้งปั้นจั่นบนฐานขุดเจาะอื่นได้ ท�ำให้ไม่ต้องใช้เรือ น่าจะยังคงลดลงต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2559 และ 2560 เจ้าของ ปั้นจั่นและอุปกรณ์อื่นแยกต่างหาก เรือขุดเจาะแบบท้องแบน เรือขุดเจาะที่ทันสมัยอาจจะเป็นบริษัทเดียวที่สามารถได้รับการ (Tender) สามารถท�ำงานในน�ำ้ ลึกที่ 2,000 ฟุต และสามารถเจาะ จ้างงาน ในทางกลับกันกลุม่ นายหน้าเรือ BRS รายงานว่าเจ้าของ ได้ลึกถึง 18,000 ฟุต เรือก�ำลังเลือกสินทรัพย์ที่เป็นเรือขุดเจาะที่มีอายุมากเพื่อตัด จ�ำหน่าย เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) เรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) เป็นแท่นขุดเจาะเคลื่อนที่ที่ ยกระดับได้ดว้ ยตัวมันเอง พร้อมกับขาทีส่ ามารถหย่อนลงไปทีพ่ นื้ มหาสมุทร เมือ่ ฐานยึดติดเรียบร้อยแล้ว แท่นขุดเจาะจะยกตัวขึน้ จากขาหยั่งโดยอยู่เหนือค่าความสูงของคลื่นในบริเวณนั้นเรือ ขุดเจาะแบบสามขา (Jack-up) สามารถท�ำงานในน�ำ้ ลึก 350-450 ฟุตและมีความสามารถของการขุดเจาะได้ลึกถึง 40,000 ฟุต

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

4.4 ตลาดเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-Up)

ปัจจุบันมีรายงานการสั่งต่อเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-Up) อยู่ประมาณ 130 ล�ำ ซึ่งท�ำให้จ�ำนวนรวมของเรือประเภทนี้อยู่ที่ 600 ล�ำทั่วโลก ในขณะที่เรือจ�ำนวนไม่กี่ล�ำถูกตัดจ�ำหน่าย หลาย ล�ำจอดทิง้ ไว้เพือ่ รอการซ่อมแซมบ�ำรุงรักษา และในจ�ำนวนนี้ กลุม่ นายหน้าเรือ BRS ประเมินว่าจะมีการปลดระวางเรือที่มอี ายุการ ใช้งานมานานในรอบวัฏจักรหน้า ในส่วนของการส่งมอบเรือนัน้ คาด


041

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ว่ า ในปี ที่ 2559 จะมี ก ารส่ ง มอบเรื อ ประมาณ 80 ล�ำ ซึง่ แนวโน้มล่าสุดเจ้าของ ต่างพยายามที่จะชะลอ (หรือแม้กระทั่ง ปฏิเสธ) การรับมอบเรือมากที่สุดเท่าที่จะ ท�ำได้ เนือ่ งจากการชะลอตัวของธุรกิจน�ำ้ มันและ ก๊าซธรรมชาติในทุกๆ ภาคส่วน อัตราการ ใช้ประโยชน์ของเรือขุดเจาะแบบสามขา (Jack-Up) จึงลดลงตามไปด้วย ปัจจัยการ ใช้เรือชนิดนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ซึ่งจะมี อัตราเพิ่มขึ้นหรือลดลงประมาณร้อยละ 50 (ร้อยละ 40 ส�ำหรับภูมิภาคแอฟริกา ตะวันตกร้อยละ 50 ในเอเชีย) และน้อย กว่ า ร้ อ ยละ 10 ของเรื อ ขุ ด เจาะแบบ สามขา (Jack-Up) ที่ได้รับการยืนยันการ จ้างงานในปี 2559 ส�ำหรับแอฟิกาตะวันตก และอเมริกาเหนือกลุ่มนายหน้าเรือ BRS คาดว่ า ตลาดจะยั ง คงไม่ คึ ก คั ก และ ปี 2559 จะเป็นปีที่มีการแข่งขันสูงทั่วโลก ในละติ น อเมริ ก ามี ค วามคาดหวั ง ว่ า ใน ปี 2559 อาจจะมีการจ้างงานวางท่อ (เช่น จากกลุม่ Oro Negro) และมีความคาดหวัง ว่าตลาดเม็กซิโกอาจจะมีการฟื้นตัว แต่ ไม่มีอะไรที่ยืนยันได้แน่นอน ในขณะที่ อินเดียยังเป็นตลาดที่ไม่มีการเปิดประมูล งานใดมากนัก ทั้งนี้ บริษัทน�้ำมันกลุ่ม ONGC ยังคงเสนออัตราค่าเช่าเรือรายวัน ที่ ต่� ำ มากอยู ่ และจากสถานการณ์ ข อง ตลาดในปัจจุบันเป็นที่คาดว่าเรือขุดเจาะ จะมีมากขึ้นเพื่อรอการใช้งานในปี 2559 /2560

5. ต�ำแหน่งทางการตลาด การมุ่งเน้น IRM เจาะกลุ่มวาง สายเคเบิ ล ใหม่ ๆ และเป็ น ของเมอร์เมด เมอร์เมดจะพิจารณาอย่างรอบคอบใน เรือ่ งของแนวโน้มน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติ ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากภาวะ ที่ราคาน�้ำมันตกต�่ำ และข่าวที่ว่าบริษัท น�้ ำ มั น ต่ า งๆ อาจจะทบทวนเรื่ อ งการ ใช้จ่าย และด้วยเหตุที่ราคาน�้ำมันอ่อนค่า ผูป้ ระกอบการในวงการน�ำ้ มันต่างหยิบยก คุณสมบัติเด่นของตนในฐานะผู้ให้บริการ งานน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝัง่ ที่ จะแสดงให้เห็นว่าตนอยู่เหนือกว่าผู้ให้ บริการรายอื่น และเมื่อพิจารณาถึงปัจจัย ต่างๆ เหล่านีแ้ ล้ว เมอร์เมดเชือ่ ว่าเมอร์เมด เป็นหนึง่ ในบริษทั กลุม่ ทีม่ ชี นั้ เชิงเหนือกว่า เนือ่ งจากกลยุทธ์ในต�ำแหน่งทางการตลาด ของเมอร์เมด ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังต่อ ไปนี้

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และการ มุ่งเน้นงานน�้ำตื้น กองเรือเมอร์เมดมีเรือบริการวิศวกรรม ใต้ทะเลในเขตน�้ำตื้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็น ที่รู้กันดีว่ามีจุดแข็งและได้รับผลกระทบ ไม่มากนักจากราคาน�ำ้ มันทีล่ ดต�ำ่ ลง เนือ่ ง จากมีการรายงานว่าจุดคุ้มทุนของงาน ประเภทนี้ต�่ำกว่าในส่วนของงานในเขต น�ำ้ ลึก ดังนัน้ จึงมีโอกาสน้อยทีจ่ ะโดนผล กระทบของภาวะหดตัวของอุปสงค์ในตลาด เมอร์เมดยังได้เข้าท�ำกิจการร่วมค้าทีม่ นั่ คง กับผู้ประกอบการท้องถิ่นหลายราย เพื่อ ให้บริการแก่กลุ่มบริษัทน�้ำมันระดับชาติ (NOCs) เหนือน่านน�้ำของประเทศที่ได้ รับเอกสิทธิ์ตามกฎ Cabotage ประเทศ เหล่านั้น รวมถึงกาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย จึงท�ำให้เมอร์เมดได้รับ ประโยชน์ ข องการขยายธุ ร กิ จ ท้ อ งถิ่ น เนื่องจาก NOCs มุ่งมั่นที่จะเติบโตอย่าง ต่อเนื่องและเน้นความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่ ง มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะมี ค วามอ่ อ นไหวของ ราคาน้อยกว่า

ผู้ให้บริการงานวิศวกรรมโยธา ใต้ทะเล

เมอร์เมดยังคงทุม่ เทและให้ความส�ำคัญกับ งานในช่วงการผลิตของธุรกิจทางด้านการ ส�ำรวจและผลิต (E&P) ดังนั้นเมอร์เมดจึง ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องการลดรายจ่าย ฝ่ายทุน (capital expenditure) โดย เฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ตลาดระยะกลาง ถึงระยะยาวคาดว่าจะยังคงอยู่ค่อนข้าง สมบูรณ์ ซึ่งน่าจะเป็นลางดีส�ำหรับความ ต้องการการผลิตอย่างต่อเนื่อง เมอร์เมดยังคงมุ่งมั่นให้บริการและขยาย ตั ว ทางภู มิ ศ าสตร์ โดยให้ ค วามส� ำ คั ญ ในงานบริการวางสายเคเบิลและวางท่อ ลักษณะอ่อนพร้อมเจาะตลาดในประเทศ เหล่านั้น ซึ่งมีอุปสงค์ของการใช้บริการ ค่อนข้างสูง การกระจายศูนย์รวมปฏิบัติ การในตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิก ยังช่วยให้มีการขยายงานได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน

ชื่อเสียงด้านคุณภาพและ ความปลอดภัย แหล่ง สินทรัพย์ที่ทันสมัย เมอร์เมดยังคงเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่ ส� ำ คั ญ ในอุ ต สาหกรรมที่ มี ป ระวั ติ ก าร ปฏิบัติการและความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม รวมทั้ ง ที ม ผู ้ บ ริ ห ารที่ มี ค วามมั่ น คง ซึ่ ง จะช่วยให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในสภาพตลาดที่ ย ากล� ำ บากมากขึ้ น เนื่องจากกลุ่มบริษัทน�้ำมันและก๊าซธรรม ชาติใหญ่ๆ จะเลือกผู้รับเหมาที่มีประวัติ การท�ำงานมายาวนานมากกว่าผูใ้ ห้บริการ หน้าใหม่

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


042

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

กองเรือวิศวกรรมใต้ทะเลของเมอร์เมดมี เรือทีอ่ ายุการใช้งานน้อยส่วนใหญ่นอ้ ยกว่า 10 ปี จึงท�ำให้เมอร์เมดอยู่ในฐานะที่ได้ เปรียบกว่า เพราะกลุ่มบริษัทน�้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติหลักๆ มักมีแนวโน้มทีเ่ ลือกใช้ อุปกรณ์ทใี่ หม่กว่าเนือ่ งจากมีประสิทธิภาพ ในการปฏิ บั ติ ง านและศั ก ยภาพในการ ท�ำงานที่เหนือกว่า เมอร์เมดยังด�ำเนินการขยายกองเรือตาม แผนงาน โดยการเช่าเรือบริการวิศวกรรม ใต้ ท ะเลเข้ า มาเพิ่ ม เติ ม ซึ่ ง จะช่ ว ยให้ เมอร์เมดมีความยืดหยุ่นในการตอบสนอง ต่ อ อุ ป สงค์ ใ นตลาดหรื อ ยกเลิ ก การเช่ า ในกรณีที่ความต้องการในตลาดลดลงโดย ไม่จ�ำเป็นต้องใช้จ่ายเงินทุนที่ส�ำคัญ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

เมอร์ เ มดมี ย อดสั่ ง จองบริ ก ารประมาณ 255,500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ส่วนใหญ่ส�ำหรับ การให้บริการวิศวกรรมโยธาใต้ทะเล โดย คาดว่าจะเป็นสัญญาทีม่ รี ะยะเวลานานขึน้ สัญญาว่าจ้างงานเหล่านี้คาดว่าจะช่วย สร้างรายได้หลักในปี 2559 และสร้าง โอกาสที่ดีอื่นๆ ตามมา การลงทุนของเมอร์เมดในเรือขุดเจาะแบบ สามขา (Jack-Up) จ� ำ นวน 3 ล� ำ กั บ บริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด (“AOD”) คาดว่าจะทรงตัวในปี 2559 และมีเหตุผลทีเ่ ชือ่ ได้วา่ เรือขุดเจาะทัง้ หมด ดังกล่าวจะได้รับการต่ออายุการท�ำงาน เกิ น ปี 2559 เนื่ อ งจากประสิ ท ธิ ภ าพ

การด�ำเนินงานและการปรับปรุงเรือให้ เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ในสภาวะตลาดทีท่ า้ ทายนีเ้ อง เมอร์เมดยัง คงมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต�่ำและเงินสด ส�ำรองเพียงพอ ซึ่งจะช่วยให้เมอร์เมดยัง คงมีความคล่องตัว และพร้อมที่จะฉวย โอกาสในการเติบโตของธุรกิจหลักและ การต่อยอดธุรกิจอื่นที่อาจจะมีเข้ามาใน สถานการณ์ปัจจุบันนี้ก็เป็นได้


043

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


044

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

450,000 เมตริกตัน

คือก�ำลังการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อ การเกษตรรวมทั้งหมดของ บาคองโค รายได้จากการขาย

3,258.5 ล้านบาท

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


045

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ส่งออกปุ๋ยไปขาย

30

ประเทศทั่วโลก

ธุรกิจปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรและ บริการให้เช่าพื้นที่โรงงาน บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน)

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


046

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ธุรกิจปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรและ บริการให้เช่าพื้นที่โรงงาน

บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”)

ธุรกิจปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตร

บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA” หรือ “บริษทั ฯ”) ประกอบธุรกิจการลงทุนโดยการถือหุน้ ในบริษทั บาคองโค จ�ำกัด (“บาคองโค”) และ บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี (“PMTS”) ปัจจุบันบาคองโคประกอบ ธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตร (Agrochemicals) โดย มีสำ� นักงานใหญ่ตงั้ อยูท่ างตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ห่างจาก นครโฮจิมนิ ห์ประมาณ 70 กิโลเมตร ในขณะที่ PMTS เป็นบริษทั ที่จัดตั้งในประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้บริการจัดซื้อจัดหาส่วนผสม ของสารอาหารหลักทีใ่ ช้สำ� หรับการผลิตปุย๋ เคมีเพือ่ การเกษตรให้ กับบาคองโค ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต (P2O5) และ โพแทส (K2O) บาคองโคพัฒนา ผลิต ด�ำเนินกิจกรรมทางการตลาด ขาย และ จั ด จ� ำ หน่ า ยปุ ๋ ย เคมี เ ชิ ง ผสมปุ ๋ ย เคมี เ ชิ ง เดี่ ย วและปุ ๋ ย เคมี เ ชิ ง ประกอบ โดยมี ก�ำ ลั ง การผลิ ต รวมอยู ่ ที่ ป ระมาณ 450,000 เมตริกตันต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้น 100,000 เมตริกตันจากปี 2556 อั น เป็ น ผลมาจากการขยายก� ำ ลั ง การผลิ ต ปุ ๋ ย เคมี ช นิ ด เม็ ด (Granular) ซึ่งเริ่มผลิตเพื่อจ�ำหน่ายในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2558 และมีกำ� ลังการบรรจุหบี ห่อประมาณ 550,000 เมตริกตันต่อปี ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีทั้งหมดของบาคองโคที่จัด จ�ำหน่ายในประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา และประเทศลาว เป็ น การด� ำ เนิ น กิ จ กรรมทางการตลาดและการขายภายใต้ เครือ่ งหมายการค้า “STORK” ทีบ่ าคองโคจดทะเบียนไว้เป็นของ ตนเองตั้งแต่ปี 2548 เครื่องหมายการค้า STORK ของบาคองโค เป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือด้านคุณภาพอันเป็นผลจาก การที่บาคองโควางกลยุทธ์ที่จะเป็นผู้ผลิตปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงที่มี ส่วนผสมของสารอาหารหลัก อันได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต (P2O5) และโพแทส (K2O)

เพื่ อ เป็ น การขยายฐานลู ก ค้ า เพิ่ มช่ อ งทางการขาย และจัด จ�ำหน่ายในต่างประเทศ บาคองโคด�ำเนินการผลิตตามค�ำสั่งซื้อ และจัดจ�ำหน่ายให้แก่ลูกค้าภายนอก ปัจจุบัน บาคองโคมีการ ส่งออกผลิตภัณฑ์ปยุ๋ เคมีไปยัง 30 กว่าประเทศทัว่ โลก โดยมีกลุม่ ลูกค้าหลักเป็นประเทศในแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากผลิตภัณฑ์ปยุ๋ เคมีทกี่ ล่าวไปแล้ว นัน้ บาคองโคมีการจัดจ�ำหน่ายสารเคมีปอ้ งกันและก�ำจัดศัตรูพชื และสารก�ำจัดแมลงในประเทศเวียดนามและปุ๋ยทางใบทั้งใน ประเทศเวียดนามและต่างประเทศ โดยกระบวนการผลิตและการ บรรจุหีบห่อส�ำหรับสารเคมีป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืชเป็นการ ว่าจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ตามสูตรและมาตรฐานที่ บาคองโคก�ำหนด นอกจากนี้ บาคองโค เป็นผู้ด�ำเนินกิจกรรม ทางการตลาด ขาย และจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี สารเคมี ป้องกันและก�ำจัดศัตรูพชื และปุย๋ ทางใบภายใต้เครือ่ งหมายการค้า ที่มีการจดทะเบียนไว้เป็นของตนเองในประเทศเวียดนาม และ ต่างประเทศ อาทิ ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา

ก. ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ 1. ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี

สารอาหารหลักในปุ๋ยเคมี คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต (P2O5) ซึง่ ให้ฟอสฟอรัส (P) แก่พชื และ โพแทส (K2O) ซึง่ ให้โพแทสเซียม (K) แก่พืช นอกจากนี้ ยังประกอบไปด้วยสารอาหารเสริมอีก หลากหลายชนิด โดยทั้งสารอาหารหลักและสารอาหารเสริมจะ ท�ำหน้าที่ฟื้นฟูและเพิ่มสารอาหารในดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตร ไนโตรเจนมีประโยชน์ ในการเร่งการเจริญเติบโตของใบซึง่ ช่วยในการสังเคราะห์แสง อีก ทั้งยังช่วยในการผลิตเมล็ดพืช ฟอสฟอรัสมีประโยชน์ในการ พัฒนาและเจริญเติบโตของล�ำต้นและช่วยให้ระบบรากแข็งแรง โพแทสเซียมมีประโยชน์ในการสร้างและเคลื่อนย้ายสารอาหาร จ�ำพวกแป้งและน�้ำตาลไปเลี้ยงในส่วนที่ก�ำลังเจริญเติบโต หรือที่ หัวและล�ำต้นเพือ่ เป็นเสบียง และเพือ่ ลดโอกาสการติดโรคอีกด้วย

ปุ๋ยเคมีเชิงผสม NPK

เครือ่ งหมายการค้า STORK ของบาคองโคได้รบั การจดทะเบียน ในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2548

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ปุ๋ยเคมีเชิงผสม NPK ประกอบไปด้วยสารอาหารหลักสามชนิด คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต (P2O5) ซึ่งให้ฟอสฟอรัส (P) แก่พืช และโพแทส (K2O) ซึ่งให้โพแทสเซียม (K) แก่พืช โดยปุ๋ยเคมี เชิงผสม NPK แต่ละสูตรจะมีส่วนผสมของ N P และ K ที่ แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์และความต้องการทางชีวภาพของ พืชแต่ละชนิด โดยปุ๋ยเคมีเชิงผสม NPK เป็นผลิตภัณฑ์หลักของ


047

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

บาคองโคที่มีการจัดจ�ำหน่ายทั้งในประเทศเวียดนามและต่าง ประเทศ ส�ำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2558 บาคองโคมีรายได้จากการขายปุ๋ยเคมีเชิงผสม NPK คิดเป็น ร้อยละ 94.5 และ 94.4 ของรายได้จากการขาย ตามล�ำดับ ทั้งนี้ บาคองโคผลิ ต ปุ ๋ ย เคมี เ ชิ ง ผสม NPK ส� ำ หรั บ การเพาะปลู ก กาแฟ ข้าว ยาง ผัก และพืชอีกหลากหลายชนิดรวมกว่า 95 สูตร

ปุ๋ยเคมีอื่น

สินค้าในกลุม่ ผลิตภัณฑ์ปยุ๋ เคมีอนื่ ประกอบไปด้วยปุย๋ เคมีเชิงเดีย่ ว หรือแม่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว และปุ๋ยเคมีเชิงประกอบ ที่ได้จากกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้น ไป ปุ๋ยเคมีชนิดดังกล่าวนิยมใช้กันเนื่องจากความยืดหยุ่นในการ ผสมสูตรตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนหรือพืชแต่ละชนิด โดยปุย๋ ทีม่ ไี นโตรเจน (N) เป็นส่วนผสมหลักมีประโยชน์ในการเร่ง การเจริญเติบโตของใบซึง่ ช่วยในการสังเคราะห์แสง และการผลิต เมล็ดพืช ปุย๋ ทีม่ ฟี อสเฟต (P) เป็นส่วนผสมหลักมีประโยชน์ในการ พัฒนาและเจริญเติบโตของล�ำต้นและระบบราก ขณะที่ปุ๋ยที่มี โพแทส (K) เป็น ส่ว นผสมหลัก มีป ระโยชน์ในการสร้ า งและ เคลื่ อ นย้ า ยสารอาหารไปเลี้ ย งในส่ ว นที่ ก� ำ ลั ง เจริ ญ เติ บ โต เพิ่มคุณภาพของดอกผล และเพิ่มปริมาณโปรตีนเพื่อป้องกัน การติดโรค ทัง้ นี้ ส�ำหรับรอบปีบญ ั ชีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2558 บาคองโคมีรายได้จากการขายปุ๋ยเคมีอื่น คิดเป็นร้อยละ 1.1 และ 1.3 ของรายได้จากการขายตามล�ำดับ

สารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชและสารก�ำจัด แมลง สารเคมีป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืชและสารก�ำจัดแมลง เป็นสาร เคมีชีวภาพหรือสารเคมีสังเคราะห์เพื่อการป้องกัน ท�ำลาย ไล่ หรือลดปัญหาของศัตรูพชื และแมลง ซึง่ ศัตรูพชื ทีพ่ บได้บอ่ ยทีส่ ดุ คือแมลง โรคพืช วัชพืช และจุลินทรีย์ที่เป็นพาหะน�ำโรคและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตรกรรมและส่งผลให้ผลผลิต ลดลง บาคองโคจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ภายใต้เครื่องหมาย การค้า STORK ในประเทศเวียดนามเท่านั้น

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบเป็นปุ๋ยสารละลายที่ใช้ในการฉีดพ่นพืชเพื่อการดูดซึม ทางใบ เนือ่ งจากสารอาหารจะถูกดูดซึมทางใบได้เร็วกว่าทางราก ปุย๋ ทางใบให้สารอาหารคล้ายคลึงกับปุย๋ เคมีเชิงผสม NPK จึงนิยม ใช้กับการปลูกผักและผลไม้โดยจะให้ผลผลิตที่สูงและคุณภาพดี กว่า

3. ก�ำลังการผลิตปุ๋ยเคมี

ปั จ จุ บั น โรงงานผลิ ต ปุ ๋ ย ของบาคองโค มี ก� ำ ลั ง การผลิ ต ปุ ๋ ย ประมาณ 450,000 เมตริกตันต่อปี เพิม่ ขึน้ จากประมาณ 350,000 เมตริกตันต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการขยายก�ำลังการผลิตปุ๋ย เคมีชนิดเม็ด (Granular) เพื่อรองรับปริมาณความต้องการของ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โดยการ ผลิตเชิงพาณิชย์ได้เริม่ ด�ำเนินการมาตัง้ แต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 บาคองโคมีก�ำลังการบรรจุหีบห่อประมาณ 550,000 เมตริกตัน ต่อปี อย่างไรก็ดี ก�ำลังการผลิตรวมดังกล่าวถูกจ�ำกัดด้วยก�ำลัง 2. ผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่น การผลิตของกระบวนการผลิตหลัก คือ การผลิตปุ๋ยเคมีชนิด สินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่นประกอบไปด้วย เม็ด (Granular) และการปั๊มเม็ดแบบคอมแพ็ค (Compacted) สารเคมี ป ้ อ งกั น และก� ำ จั ด ศั ต รู พื ช และสารก� ำ จั ด แมลง ซึ่ ง จากผลการด�ำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 และ บาคองโคเป็ น ผู ้ รั บ ซื้ อ จากผู ้ จั ด จ� ำ หน่ า ยและส่ ง ให้ แ ก่ บุ ค คล 2558 บาคองโคมีอตั ราการใช้กำ� ลังการผลิตอยูท่ ปี่ ระมาณร้อยละ ภายนอก (Outsource) เพื่อท�ำการบรรจุภัณฑ์โดยจ�ำหน่าย 49 และร้อยละ 39 ตามล�ำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการใช้ก�ำลังการ ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบาคองโค แล้วน�ำมาจ�ำหน่าย ผลิตนั้นต�่ำกว่าก�ำลังการผลิตสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากวัฏจักร ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบาคองโครวมถึง ปุ๋ยชนิดน�้ำหรือ อุตสาหกรรมปุย๋ ทัง้ ในประเทศเวียดนามและประเทศอืน่ ๆ ทัว่ โลก ปุ๋ยทางใบ ดังนั้น ช่วงที่ผ่านมา ผู้บริหารของบาคองโคจึงเน้นการส่งออก ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2558 บาคองโคมี มากขึ้น ท�ำให้มีการใช้ก�ำลังการผลิตในช่วงที่ไม่ใช่ช่วงที่นิยม รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่น คิดเป็น (Off-peak) มากขึน้ ส่งผลให้การผลิตตลอดปีมปี ระสิทธิภาพดีขนึ้ ร้อยละ 4.4 และ 4.3 ของรายได้การขายตามล�ำดับ ส�ำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2558 บาคองโคมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่น คิดเป็นร้อยละ 4.4 และ 4.3 ของรายได้จากการขายตามล�ำดับ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


048

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

4. กระบวนการผลิต วัตถุดิบ ซึ่งคือ แม่ปุ๋ย อาทิเช่น DAP MOP ยูเรีย และ แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น ที่ประกอบไปด้วย สารอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสเฟต (P2O5) และ โพแทส (K2O)

ยูเรีย ซูเปอร์ฟอสเฟต (USP) กระบวนการบีบอัด (Compaction)

กระบวนการผลิตปั๊มเม็ดด้วยไอน�้ำ (Steam Granulation)

สารอินทรีย์กระตุ้นประสิทธิภาพ (Bio Stimulant)

กระบวนการผสม (Bulk Blending)

ผลิตภัณฑ์สำ�เร็จรูป (ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด ปุ๋ยเคมีชนิดคอมแพ็ค หรือ ปุ๋ยเคมีชนิดคลุกเคล้า)

เครื่องผสมปุ๋ยชนิดคลุกเคล้า

เครื่องปั๊มเม็ด

การบรรจุห่อ

เครื่องอบแห้งปุ๋ยชนิดเม็ด

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

บาคองโคผลิตปุ๋ย 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเม็ด (Granulated) ชนิดเม็ดแบบคอมแพ็ค (Compacted) และชนิดคลุกเคล้า (Bulk Blending) อีกทัง้ ยังสามารถผลิตสารเพิม่ ประสิทธิภาพทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ยูเรีย ซุปเปอร์ ฟอสเฟต (Urea Super Phosphate หรือ USP) และสารอินทรียก์ ระตุน้ ประสิทธิภาพ (Bio Stimulant) ซึ่งใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ของปุ๋ยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า (Value add) ให้แก่ผลิตภัณฑ์และความคุ้มค่าแก่ ลูกค้าอีกด้วย กระบวนการผลิตปุ๋ยจ�ำเป็น ต้องใช้ความเชี่ยวชาญอย่างสูงควบคู่กับ เทคโนโลยีการผลิตทีท่ นั สมัย โดยบาคองโค จะผลิตปุ๋ยแต่ละชนิดไม่น้อยกว่า 50,000 เมตริกตันต่อแต่ละสายการผลิต


049

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ข. การตลาดและการแข่งขัน

1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและช่องทางการจัดจ�ำหน่าย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ในขณะที่บาคองโคประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตร โดยมีการพัฒนา ผลิต ด�ำเนินกิจกรรมทางการตลาด ขาย และ จัดจ�ำหน่ายปุ๋ยเคมีหลากหลายประเภท กลุ่มสินค้าหลักของบาคองโค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีซึ่งมีการจัดจ�ำหน่ายทั้งในประเทศ เวียดนามภายใต้เครื่องหมายการค้า STORK และในต่างประเทศ รวมถึงผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่นๆ เนื่องจากลักษณะ การด�ำเนินธุรกิจของบาคองโคที่แตกต่างกันส�ำหรับตลาดในประเทศเวียดนามและตลาดในต่างประเทศ บาคองโคจึงมีกลุ่มลูกค้า เป้าหมายที่แตกต่างกันในแต่ละตลาด กลุม่ ลูกค้าทางตรงหลักของบาคองโคในประเทศเวียดนาม ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ปยุ๋ เคมีเชิงผสม NPK ปุย๋ เคมีเชิงเดีย่ ว ปุย๋ เคมีเชิงประกอบ ปุ๋ยทางใบ และสารเคมีป้องกันและก�ำจัดศัตรูพืช ได้แก่ บริษัทค้าส่ง ซึ่งจะด�ำเนินการกระจายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกและกลุ่มผู้ใช้สินค้า (End Users) อีกต่อหนึ่ง ในตลาดส่งออก กลุ่มลูกค้าทางตรงของบาคองโคส�ำหรับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีเชิงผสม NPK ปุ๋ยเคมีเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเคมีเชิงประกอบ และปุ๋ย ทางใบ ได้แก่ บริษัทที่ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไป (Trader) ซึ่งในตลาดดังกล่าวบาคองโคท�ำหน้าที่เป็นผู้รับจ้างผลิต และผลิตภัณฑ์ ของบาคองโคจะไม่น�ำไปขายภายใต้เครื่องหมายการค้า STORK

ช่องทางการจ�ำหน่ายและการกระจายสินค้า ธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตร ภายในบาคองโค กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ ปุุ๋ยเคมี

จ้างบุคคลภายนอกให้ ดำ�เนินการผลิต หีบห่อ และ บรรจุภัณฑ์ (Outsource) สารเคมี ป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช

ลูกค้าตรงของบาคองโค การจัดเก็บ สินค้าสำ�เร็จรูป ในอาคาร BCC I และ / หรือ BCC III

ผู้ค้าส่งในประเทศ

เครือข่ายผู้ค้าปลีก ผูู้ค้าปลีก ผูู้ค้าปลีก ผูู้ค้าปลีก

ผู้ใช้และเกษตรกร

สำ�หรับข้าวและ กาแฟเป็นหลัก

ผูู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่งใน ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น บริษัทชื้อมา ขายไป (Trader)

ผูู้ค้าปลีก ผูู้ค้าปลีก ผูู้ค้าปลีก

สำ�หรับพืชทุกชนิด

ผูู้ค้าปลีก

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


050

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

บาคองโคจ�ำหน่ายสินค้าโดยตรงให้แก่บริษัทค้าส่งในประเทศ เวียดนาม ซึง่ จะจ�ำหน่ายสินค้าดังกล่าวให้แก่ผคู้ า้ ปลีกซึง่ เป็นผูน้ ำ� ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปกระจายต่อแก่ผ้ใู ช้อีกต่อหนึง่ ส�ำหรับตลาด ในประเทศเวียดนาม บาคองโคมีบคุ ลากรการขาย (Sales Team) จ�ำนวนทั้งหมด 61 คน กระจายตามพื้นที่การขาย ซึ่งก�ำหนดโดย พั น ธุ ์ พื ช ต่ า งชนิ ด กั น ในขณะที่ ก ลุ ่ ม ลู ก ค้ า ของบาคองโคใน ต่างประเทศ คือ บริษัทที่ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไป (Trader) ซึ่งว่าจ้างให้บาคองโคผลิตและจัดหาตามสูตรการผลิต ทั้งนี้ บา คองโคมีเครือข่ายผู้ค้าปลีกมากกว่า 5,000 ราย ในประเทศ เวียดนาม

จากการทีบ่ าคองโคมีเครือข่ายลูกค้าประเภทค้าส่งทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศกว่า 300 ราย ท�ำให้ปริมาณและมูลค่าการ ส่งออกเติบโตขึน้ จาก 1,057.8 ล้านบาทในปี 2557 เป็น 1,097.2 ล้านบาทในปี 2558 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นยังเป็น การช่วยป้องกันความเสี่ยง (Natural Hedging Strategy) จาก อัตราแลกเปลี่ยนเงินดองเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกิด ขึ้นจากการน�ำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตปุ๋ยเคมี

ตารางต่อไปนี้แสดงรายได้จากการขายของธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตรแบ่งตามตลาดในประเทศและต่างประเทศ

รายได้จากการขายในประเทศเวียดนาม รายได้จากการขายในต่างประเทศ รวมรายได้จากการขาย

ล้านบาท 2,030.2 1,057.8 3,088.0

2. ลักษณะอุตสาหกรรมและแนวโน้มใน อนาคต ภาพรวมอุตสาหกรรมและการแข่งขัน

บาคองโคตั้งและด�ำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศเวียดนาม ดังนั้น ฐานะทางการเงินและผลประกอบการของบาคองโคจึงมีความ สัมพันธ์กับสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะอุตสาหกรรมการเกษตร ของประเทศเวียดนาม จากข้อมูลส�ำหรับรอบระยะเวลาในปี 2553 - 2557 ของส�ำนักงานสถิติทั่วไปแห่งชาติของประเทศ เวี ย ดนาม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมในประเทศเวี ย ดนาม (Gross Domestic Product หรือ GDP) ขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีอัตรา การเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.9 หากจ�ำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม เศรษฐกิจในภาพรวมทัง้ ระบบของประเทศเวียดนาม สามารถแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ประกอบไปด้วยภาคการเกษตรซึ่งรวม ถึงกิจกรรมทางการเกษตร ป่าไม้และประมง (Agriculture, Forestry and Fishery) ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง (Industrial and Construction) และภาคการบริการ (Service) ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนามในปี 2557 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 19.66 ร้อยละ 36.92 และร้อยละ 43.42 ตามล�ำดับ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

2557

ส�ำหรับปีสิ้นสุด ร้อยละ 65.7 34.3 100.0

ล้านบาท 2,161.3 1,097.2 3,258.5

2558

ร้อยละ 66.3 33.7 100.0

แผนภู มิ ต ่ อ ไปนี้ แ สดงจ� ำ นวนและการเติ บ โตของผลิ ต ภั ณ ฑ์ มวลรวมแบ่งตามภาคอุตสาหกรรมของเวียดนาม มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (ล้านล้านดอง) 4,000.00 3,500.00 3,000.00 2,500.00

1,537 43.42%

2,000.00 1,500.00 1,000.00 500.00

1,307 36.92% 696 19.66%

0.00 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร

ที่มา: General Statistics Office of Vietnam

แม้ว่าจะมีอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้สูงเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย จากนโยบายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม แต่ ภาคการเกษตรและธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตร ยั ง คงเป็ น ภาคส่ ว นหลั ก ที่ ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ของเวี ย ดนาม สืบเนื่องจากการที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่พื้นที่ เพาะปลูกมีอยู่อย่างจ�ำกัด จากข้อมูล World Bank ส�ำหรับปี


051

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

2557 ประเทศเวียดนามมีประชากรประมาณ 90.73 ล้านคน โดย ส�ำนักงานสถิติทั่วไปแห่งชาติของประเทศเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam) ได้คาดการณ์วา่ ประเทศเวียดนาม จะมีประชากรมากกว่า 100 ล้านคนภายในปี 2568 ทั้งนี้ จาก ข้อมูลของส�ำนักงานสถิติทั่วไปแห่งชาติของประเทศเวียดนาม (General Statistics Office of Vietnam) เผยว่ า พื้ น ที่ เพาะปลูกในประเทศไม่ได้มกี ารเพิม่ ขึน้ อย่างมีนยั ส�ำคัญ ส่งผลให้ ความต้องการปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงและประสิทธิภาพสูงเพิ่มสูงขึ้น

ตลาดเวียดนาม

ถึงแม้วา่ จะต้องเผชิญกับสภาวะทางเศรษฐกิจทีท่ า้ ทาย ตลาดปุย๋ ในเวียดนามยังคงท�ำผลงานได้ดี ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการ ใช้ปุ๋ยที่มีอย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ เนื่องจากมากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรในเวียดนามอยู่ในภาคการเกษตร ประกอบกับ พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขี้นร้อยละ 1 ทุกปี ในขณะเดียวกันความ ต้องการบริโภคอาหารก็เพิ่มขึ้นมากกว่าจ�ำนวนประชากรที่มีอยู่ สืบเนื่องจากความส�ำคัญของภาคการเกษตรที่มีต่อเศรษฐกิจ ตลาดโลกโดยรวม ประเทศเวี ย ดนาม รั ฐ บาลเวี ย ดนามจึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น ที่ จ ะ จากข้อมูลของรายงานทิศทางและแนวโน้มธุรกิจปุ๋ยของตลาด ต้องแทรกแซงกลไกตลาดธุรกิจปุ๋ยเคมี โดยการบริหารงานผ่าน โลกจนถึ ง ปี 2561 โดยองค์ ก รอาหารและการเกษตรของ รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ Vietnam National Chemical Group สหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) พบว่า (“Vinachem”) และ Vietnam Oil and Gas Group ภาพรวมของการอุ ป โภคปุ ๋ ย จะอยู ่ ที่ ป ระมาณ 183.2 ล้ า น (“PetroVietnam”หรือ “PVN”) ตามรายงานของ InterControl เมตริกตัน ในปี 2556 และคาดว่า จะเพิ่มเป็น 200.5 ล้าน ปั จ จุ บั น PVN มี บ ริ ษั ท ที่ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมเคมี เ พื่ อ การเกษตร 2 บริษัท โดยเน้นการผลิตปุ๋ยยูเรียเป็นหลัก ในขณะ เมตริกตันภายในปี 2561 ที่ Vinachem มี บริ ษั ท ที่ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมเคมีเพื่อ ตลาดเอเชียเป็นตลาดซึ่งมีการอุปโภคปุ๋ยเคมีมากที่สุด นับเป็น การเกษตร 9 บริษัท ซึ่งผลิตปุ๋ยเคมีหลากหลายชนิดรวมถึงปุ๋ย ส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 58.5 ส่วนมากการบริโภคมา เคมีเชิงผสม NPK ด้วย จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้

ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่โรงงาน

PHU MY Industrial Park, Vung Tau •Baria Serece Port •Baconco

นิคมอุตสาหกรรม Phu My I ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม

บาคองโคตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม Phu My I ในเขตพื้นที่ Ba Ria Vung Tau ทางตอนใต้ของเวียดนาม ซึ่งอยู่ห่างจากนคร โฮจิมนิ ส์ ประมาณ 70 กิโลเมตร ด้วยท�ำเลทีต่ งั้ ซึง่ อยูต่ ดิ กับแม่นำ�้ นิคมอุตสาหกรรม Phu My I จึงมีความโดดเด่นในการดึงดูด ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง การส่งออกทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ นิคม อุตสาหกรรมแห่งนี้ยังได้รับประโยชน์จากความต้องการบริการ

Baconco ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม Phu My I และอยู่ติดกับ ท่าเรือของนิคม บนแม่น�้ำ Thi Vai

ด้านพืน้ ทีเ่ ก็บสินค้า เพือ่ เก็บสินค้าหรือวัตถุดบิ ก่อนการส่งออกไป ยังท่าเรือหรือสถานที่ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ บาคองโคจึงเล็งเห็น โอกาสทางธุรกิจในการประกอบธุรกิจให้เช่าพื้นที่โรงงานให้แก่ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการสร้างแหล่งรายได้ ต่อเนื่อง (Recurring Income) และช่วยให้บาคองโคสามารถ เติบโตอย่างยั่งยืนจากการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


052

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

พื้นที่เก็บสินค้าของบาคองโคตั้งอยู่ติดกับท่าเรือ Baria ซึ่งเป็น ท่าเรือหลักของนิคมอุตสาหกรรม Phu My I จึงมีความได้เปรียบ ในการแข่งขันทัง้ ในด้านการควบคุมต้นทุนและด้านการให้บริการ ด้วยท�ำเลทีต่ งั้ ดังเช่นทีก่ ล่าวมา ท�ำให้บาคองโคสามารถลดต้นทุน การขนส่งและโลจิสติกส์จากการขนถ่ายวัตถุดิบและการขนส่ง ผลิตภัณฑ์สำ� เร็จรูปลงได้ รวมทัง้ สามารถให้บริการด้านโลจิสติกส์ ได้อย่างตรงเวลาอีกด้วย ซึ่งการตรงต่อเวลาเป็นปัจจัยส�ำคัญใน การจัดจ�ำหน่ายปุ๋ยทั้งในเวียดนามและต่างประเทศ นอกเหนือ จากการแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพแล้ว การบริการเป็นอีก หนึ่งปัจจัยส�ำคัญในการรักษาลูกค้าเดิมและดึงดูดลูกค้าใหม่ โดย เฉพาะเมื่อมีค�ำสั่งซื้อจ�ำนวนมากในช่วงฤดูการเพาะปลูก อีกทั้ง ราคาของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีมีความผันผวนอย่างมากจากสภาวะ ตลาดโลก ดังนัน้ การส่งผลิตภัณฑ์ตรงต่อเวลาไม่ได้เป็นประโยชน์ ต่อการบริการลูกค้าเท่านัน้ แต่เป็นประโยชน์ตอ่ การด�ำเนินธุรกิจ และสถานะทางการเงินของบาคองโคอีกด้วย

Agencies Co., Ltd. หรือ “TVA”) ซึ่งเป็นผู้ถือใบอนุญาต ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์และสามารถให้บริการเช่าพืน้ ทีเ่ ก็บสินค้า แก่ลูกค้ารายย่อยได้ตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของ เวียดนาม ภายใต้เงื่อนไขการก�ำหนดราคาและเงื่อนไขอื่นๆ บาคองโคมีการร่วมมือทางธุรกิจกับ TVA TVL และ Baria Serece ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งธุรกิจปุ๋ยเคมีและธุรกิจให้เช่าพื้นที่เก็บ สินค้า ผลจากการร่วมมือดังกล่าวท�ำให้บาคองโคสามารถให้ บริการแก่ลกู ค้าในด้านการขนส่งตรงเวลาและการกระจายสินค้า ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญในการเร่งการเติบโต ของธุ ร กิ จ ปุ ๋ ย เคมี ป ระเทศเวี ย ดนาม ซึ่ ง มี ก ารแทรกแซงทาง การตลาดจากรัฐบาล ดังนั้น พันธมิตรทางธุรกิจดังกล่าวนับเป็น จุดแข็งด้านการแข่งขันที่บาคองโคมีเหนือบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ทั้งนี้ บาคองโคเป็ น หนึ่ ง ในผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ ปุ ๋ ย เคมี ไ ม่ กี่ ร ายซึ่ ง มี กระบวนการผลิตครบวงจร กล่าวคือ มีกระบวนการผลิตปุย๋ พืน้ ที่ เก็บสินค้าส�ำหรับจัดเก็บวัตถุดบิ และสินค้าส�ำเร็จรูป รวมทัง้ ความ สามารถในด้านโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ในการเก็บพักสินค้า บาคองโค 1 (“BCC I”) และบาคองโค 3 (“BCC III”) จะถูกใช้ ก่อนการขนถ่ายไปยังท่าเรือ บาคองโคจึงสร้างพื้นที่เก็บสินค้า ส�ำหรับเก็บวัตถุดิบ สินค้าส�ำเร็จรูป อะไหล่และอื่นๆ ที่จ�ำเป็น 3 แห่ง กระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม Phu My I ซึ่งลูกค้าของ ต่อการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อการเกษตรของ แต่ละพืน้ ทีเ่ ก็บสินค้าแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ในการใช้งาน บาคองโคเป็นหลัก ในขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลืออาจจะจัดสรรให้ และขนาดของพื้นที่ที่เช่า อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยข้อจ�ำกัดการ ผู้อื่นเช่าในช่วงระยะสั้น บาคองโค 5 (“BCC V”) นั้น ได้รับการ ถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ (Foreign Limit) ในบริษัท ออกแบบเป็นพิเศษส�ำหรับเป็นพืน้ ทีเ่ ก็บสินค้าโดยเฉพาะ โดยร้อย ที่ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ตามกฎหมายของประเทศ ดังนั้น ละ 75 ของลูกค้าท�ำสัญญาเช่า ระยะยาว (2 ปี + 1 ปี) ส่วนที่ บาคองโคซึง่ เป็นบริษทั จ�ำกัดความรับผิดทีม่ เี จ้าของเพียงรายเดียว เหลืออีกร้อยละ 25 จะเป็นการท�ำสัญญาเช่าในระยะสั้น ทั้งนี้ (Single Member Limited Liability Company) และมี พื้นที่เก็บสินค้าของบาคองโคสามารถจัดแบ่งได้หลายขนาดเพื่อ ผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนที่ออก ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ ยัง และช�ำระแล้ว จึงไม่สามารถให้เช่าพืน้ ทีโ่ ดยตรงแก่ลกู ค้ารายย่อย มีบริการเสริมที่ครบวงจร เช่น ลานจอดรถบรรทุก จุดถ่ายสินค้า ได้ ในต้นปี 2553 บาคองโคจึงได้ลงนามในสัญญาให้เช่าพื้นที่แก่ บริการด้านการรักษาความปลอดภัย และระบบสาธารณูปโภค บริษัท โทรีเซน วินาม่า เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (Thoresen Vinama อื่นๆ (ไฟฟ้า น�้ำประปาและระบบระบายอากาศ) เป็นต้น

ก. ผลิตภัณฑ์และบริการ

รายละเอียดของพื้นที่เก็บสินค้ามีดังนี้ พื้นที่เก็บสินค้า ชื่อ: เริ่มด�ำเนินการ: พื้นที่โรงงาน: ประเภทสินค้าที่จัดเก็บ:

บาคองโค 1 BCC I เมษายน 2553

บาคองโค 3 บาคองโค 5 BCC III BCC 5A BCC 5B.1 BCC 5B.2 กุมภาพันธ์ 2555 มีนาคม 2556 และ มีนาคม 2558 กุมภาพันธ์ 2559 มกราคม 2557 2,000 ตรม. 6,000 ตรม. 26,800 ตรม. 11,300 ตรม. 8,200 ตรม. ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีและวัตถุดิบ สินค้าและผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่น

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


053

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ข. การตลาดและการแข่งขัน ทิศทางธุรกิจพื้นที่เก็บสินค้าในเวียดนาม

ภาคอุตสาหกรรมในเวียดนามแบ่งออกเป็นเขตเศรษฐกิจส�ำคัญ 3 แห่งได้แก่ เขตเศรษฐกิจส�ำคัญภาคเหนือ (The Northern Key Economic Region – NKER) เขตเศรษฐกิจส�ำคัญภาคกลาง (The Central Key Economic Region – CKER) เขตเศรษฐกิจ ส�ำคัญภาคใต้ (The Southern Key Economic Region – SKER) ซึง่ เขตเศรษฐกิจส�ำคัญภาคใต้มจี ำ� นวนนิคมอุตสาหกรรมหนาแน่น ที่สุด โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับ Baria และท่าเรือ Phu My มีนิคมอุตสาหกรรมถึง 10 แห่ง

ณ ปัจจุบัน มีระบบท่าเรือของเวียดนามก�ำลังได้รับการพัฒนา อย่างมีนัยส�ำคัญ โดยเฉพาะท่าเรือที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ แต่ โครงสร้างพืน้ ฐานทีร่ องรับก็ยงั มีขอ้ จ�ำกัดในแง่การรองรับตูส้ นิ ค้า และสินค้าเทกอง ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่เก็บสินค้า และความพร้อมในการให้เช่า ผนวกกับการบริหารจัดการทางด้านโลจิสติกส์อย่างเชี่ยวชาญ คือ ปัจจัยส�ำคัญในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ และ ภาคอุตสาหกรรมของเวียดนาม

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


054

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ธุรกิจโลจิสติกส์ถ่านหิน

บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน)

20

ไร่

ขนาดพื้นที่จัดเก็บและ ที่ดินให้เช่า

12,000

ตรม.

ขนาดพื้นที่คลังสินค้าให้เช่า ในร่ม

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


055

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

4,300

ตรม.

ขนาดพื้นที่ส�ำนักงาน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


056

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ธุรกิจโลจิสติกส์ถ่านหิน

บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) (“UMS”)

ข้อมูลและภาพรวมธุรกิจ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) หรือ (“UMS”) ประกอบธุรกิจ การน�ำเข้าถ่านหินคุณภาพดี มีค่าพลังงาน ความร้อนปานกลาง และมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมน้อย โดยน�ำเข้าจากประเทศ อินโดนีเซีย เพื่อจัดจ�ำหน่ายให้กับโรงงาน อุตสาหกรรมทัง้ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและ ขนาดเล็ก โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง UMS มีอตุ สาหกรรม ที่เป็นเป้าหมายหลัก คือ อุตสาหกรรม อาหารและเครื่ อ งดื่ ม อุ ต สาหกรรม กระดาษ และอุตสาหกรรมสิง่ ทอ โดยบริษทั มี ก ลยุ ท ธ์ น� ำ ถ่ า นหิ น ดั ง กล่ า วมาท� ำ การ คั ด เลื อ กและปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพเพื่ อ ให้ ถ่ า นหิ น มี คุ ณ ภาพตรงกั บ คุ ณ สมบั ติ เ ชิ ง วิศวกรรมของหม้อไอน�ำ้ ของแต่ละโรงงาน อุตสาหกรรม นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วม ประมูลขายถ่านหินให้กับบริษัทเอกชนใน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้าที่มีการประมูลจัดซื้อถ่านหิน อีกด้วย UMS วางรูปแบบการจัดส่งถ่านหินให้ถึง มือลูกค้าอย่างทันท่วงที ด้วยการบริหาร จัดการห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) แบบครบวงจร โดยมีการบริหารจัดการกับ กองถ่านหิน และคลังสินค้าเป็นอย่างดี เพือ่ ให้มนั่ ใจว่า เรามีถา่ นหินเพียงพอส�ำหรับส่ง มอบให้ลูกค้า ซึ่งท�ำให้ลูกค้าไม่ต้องคอย กังวลเกี่ยวกับเรื่องการส�ำรองถ่านหินและ เตรียมพื้นที่หรือคลังสินค้าในการจัดเก็บ ถ่านหินด้วยตัวเอง

ก: ผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีปริมาณ ส�ำรองอยู่มากโดยแหล่งถ่านหินกระจาย อยูใ่ นประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศ ทั่ ว โลก ท� ำ ให้ ถ ่ า นหิ น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี ความมัน่ คงสูงและราคามีการแข่งขันกันสูง ส่งผลให้มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ก๊ า ซธรรมชาติ แ ละ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

น�้ำมันเตาถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งและมี แร่ธาตุที่ส�ำคัญคือคาร์บอน โดยทั่วไปแล้ว ถ่านหินจะมีสนี ำ�้ ตาลเข้มหรือสีดำ� และแบ่ง ได้หลายประเภท ถ่านหินที่มีคุณภาพดี ที่สุด (พิจารณาจากค่าความร้อน ค่าความชืน้ และปริ ม าณก� ำ มะถั น ) เรี ย งตามล� ำ ดั บ ได้แก่ แอนทราไซต์ บิทูมินัส ซับบิทูมินัส และลิกไนต์ UMS เน้ น การน� ำ เข้ า ถ่ า นหิ น ประเภท บิทูมินัสและซั บบิ ทู มินั ส เนื่ อ งจากเป็ น ถ่านหินที่มีคุณภาพดี มีค่าความร้อนใน ระดับปานกลาง มีคา่ ความชืน้ และปริมาณ เถ้าในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ ง มี ป ริ ม าณก� ำ มะถั น ที่ ต�่ ำ เมื่ อ เที ย บกั บ น�้ำมันเตา (น�้ำมันเตามีปริมาณก�ำมะถัน ประมาณร้อยละ 0.1-3.0) ท�ำให้มมี ลภาวะ กับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ส�ำหรับถ่านหิน ประเภทแอนทราไซต์ บริษัทไม่ได้น�ำเข้า ถ่านหินประเภทนี้เนื่องจากมีราคาสูงกว่า มาก อีกทั้งปริมาณการใช้ภายในประเทศ มี จ� ำ กั ด และไม่ มี แ นวโน้ ม การขยายตั ว ส่วนถ่านหินประเภทลิกไนต์เป็นถ่านหิน คุณภาพต�่ำที่สุด มีปริมาณก�ำมะถันมาก ท�ำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ดังนั้น ถ่ า นหิ น ประเภทนี้ จึ ง ไม่ เ ป็ น ที่ นิ ย มของ ลูกค้า ขั้นตอนในการด�ำเนินธุรกิจของ UMS เริ่ม จากน�ำเข้าถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซีย และจ�ำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ ส�ำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ ทั้ ง หมดและโรงงานอุ ต สาหกรรม ขนาดกลางบางราย บริษัทสามารถจัดส่ง ถ่ า นหิ น ให้ ลู ก ค้ า ได้ ทั น ที โ ดยไม่ ต ้ อ งพั ก สินค้าที่คลังสินค้าของบริษัท แต่ส�ำหรับ ลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางบาง รายและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ต้องการถ่านหินทีผ่ า่ นกระบวนการคัดเลือก ปรับปรุงคุณภาพและการคัดขนาดโดยใน การน�ำเข้าถ่านหินแต่ละครั้ง (50,00070,000 ตัน) จะมีถ่านหินที่มีคุณสมบัติ

แตกต่างกันในด้านค่าความร้อน ความชื้น ปริ ม าณขี้ เ ถ้ า และปริ ม าณก� ำ มะถั น ซึ่ ง บริษัทจ�ำเป็นต้องท�ำการคัดเลือกคุณภาพ ถ่านหินก่อน ซึ่งถ่านหินที่น�ำเข้าแต่ละ ประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ในด้านค่าความร้อน ความชื้นแม้ว่าจะมา จากเหมืองเดียวกันก็ตาม (ถ่านหินในแต่ละ ชั้ น ดิ น จะมี คุ ณ สมบั ติ แ ตกต่ า งกั น เช่ น ซับบิทูมินัส อาจแยกออกเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับค่าความร้อน ความชื้น ปริมาณ ขี้ เ ถ้ า และปริ ม าณก� ำ มะถั น เป็ น ต้ น ) หลังจากนัน้ บริษทั จึงน�ำถ่านหินมาผสมกัน ตามสู ต รเฉพาะของบริ ษั ท เพื่ อ ให้ ไ ด้ คุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ และบริษัท จะท� ำ การคั ด ขนาดถ่ า นหิ น เพื่ อ ให้ มี คุณภาพที่เหมาะสมส�ำหรับหม้อไอน�้ำของ โรงงานอุ ต สาหกรรมของลู ก ค้ า แต่ ล ะ ราย เนือ่ งจากหม้อไอน�ำ้ มีการออกแบบเชิง วิ ศ วกรรมที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไปเพื่ อ ให้ การเผาผลาญเชือ้ เพลิงเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มากที่สุด และบริษัทจะให้บริการจัดส่ง สิ น ค้ า ให้ กั บ ลู ก ค้ า โดยจั ด ส่ ง ทุ ก วั น เพื่ อ ความสะดวกในการใช้งานของลูกค้าและ ยังเป็นการช่วยลดจ�ำนวนถ่านหินทีจ่ ะต้อง เก็บในโกดังเก็บถ่านหินของลูกค้าอีกด้วย เนือ่ งจากลูกค้าหลายรายไม่มสี ถานทีเ่ พียง พอในการเก็บถ่านหิน

ข: การตลาดและการ แข่งขัน นโยบายการตลาด

UMS ท� ำ แผนการตลาดเชิ ง รุ ก โดยใช้ จุ ด แข็ ง ของถ่ า นหิ น ซึ่ ง เป็ น พลั ง งานที่ มีต้นทุนต�่ำกว่าการใช้น�้ำมันเตา และยัง มี ป ริ ม าณส� ำ รองที่ ม ากกว่ า ซึ่ ง บริ ษั ท ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดีในการเพิ่ม ฐานลู ก ค้ า ในกลุ ่ ม โรงงานอุ ต สาหกรรม ขนาดกลางและขนาดเล็ ก โดยบริ ษั ท มีกลยุทธ์การตลาดในด้านต่างๆ ที่ส�ำคัญ ดังนี้


057

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

กลยุทธ์การแข่งขัน

(1) ด้านสินค้าและบริการ UMS มีกลยุทธ์ทสี่ ำ� คัญทางด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งแตกต่างจากบริษัทคู่แข่งทั่วไป โดย บริษทั มีกระบวนการคัดเลือกและปรับปรุง คุ ณ ภาพถ่ า นหิ น ให้ เ หมาะสมกั บ หม้ อ ไอน�้ ำ ของแต่ ล ะโรงงานอุ ต สาหกรรม เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด ในการ เผาผลาญเชือ้ เพลิง ณ ปัจจุบนั บริษทั ด�ำเนิน นโยบายนีใ้ ห้กบั โรงงานอุตสาหกรรมขนาด กลางและขนาดเล็ก เป็นการสร้างมูลค่า เพิ่ ม ให้ กั บ สิ น ค้ า เพื่ อ ลดการแข่ ง ขั น ด้ า นราคาโดยเฉพาะกั บ ผู ้ จั ด จ� ำ หน่ า ย ถ่านหินรายใหญ่ในประเทศ โดยบริษัท มุ ่ ง เน้ น การท� ำ ตลาดโดยเจาะในกลุ ่ ม โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาด เล็กทีม่ อี ยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก เนือ่ งจากบริษทั มีก�ำไรขั้นต้นที่สูงกว่าการขายถ่านหินให้ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ UMS มีขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพ ถ่านหินอย่างละเอียดเพื่อให้ลูกค้ามีความ มั่นใจในคุณภาพถ่านหิน โดยมีขั้นตอน เริ่ ม จากก่ อ นส่ ง ถ่ า นหิ น จากประเทศ อิ น โดนี เ ซี ย ผู ้ จั ด จ� ำ หน่ า ย/ผู ้ ผ ลิ ต จะมี การตรวจสอบคุณภาพถ่านหินโดยสถาบัน ทีไ่ ด้รบั มาตรฐานการตรวจสอบจากประเทศ อิ น โดนี เ ซี ย โดยตรวจสอบคุ ณ ภาพใน ด้านค่าความร้อน ค่าคาร์บอน ค่าความชืน้ ค่ า ขี้ เ ถ้ า ที่ เ กิ ด จากการเผาไหม้ แ ละ ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หลังจากน�ำเข้ามา ในประเทศไทยแล้ ว บริ ษั ท จะท� ำ การ ตรวจสอบคุณภาพของถ่านหินซ�ำ้ อีกครัง้ หนึง่ โดยบริษัทจะท�ำการเก็บตัวอย่างถ่านหิน ขณะที่ท�ำการขนถ่านหินขึ้นจากเรือ เพื่อ น�ำไปตรวจสอบคุณภาพโดยองค์กรชั้นน�ำ ที่ได้รับความยอมรับ เช่น บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท โคเทคนา อินสเปคชัน่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด และ การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อ�ำเภอ แม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง เป็นต้น ก่อนการ ส่งมอบสินค้าให้กบั ลูกค้า หรือในบางกรณี ลูกค้ามีข้อตกลงในการตรวจสอบคุณภาพ

เพิ่มเติมโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ บริษทั จะจัดส่งตัวอย่างถ่านหิน ให้กับ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือองค์กรชั้นน�ำอื่นๆ ที่เป็นบริษัท รับท�ำการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานเป็นที่ ยอมรับและมีสาขาต่างๆ มากมายในหลาย ประเทศ นอกจากนี้ ในเรื่ อ งของการให้ บ ริ ก าร บริ ษั ท สามารถให้ บ ริ ก ารได้ ต ามความ ต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยบริษทั สามารถจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ตลอด หากลูกค้ามีความต้องการใช้ถ่านหินก็จะ สามารถจัด ส่งได้ทันทีต ามเวลาที่ลูกค้า ต้ อ งการ ส่ ง ผลให้ ลู ก ค้ า ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ ง เก็ บ สต็ อ กสิ น ค้ า มากและลู ก ค้ า มี ค วาม สะดวกในการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

(2) ด้านการขยายฐานลูกค้า เนื่องจากถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาต�่ำ รวมถึ ง เป็ น แหล่ ง เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี ป ริ ม าณ ส�ำรองสูงเมื่อเปรียบเทียบกับน�้ำมันเตา และก๊ า ซธรรมชาติ และมี ผ ลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก (ถ่านหินประเภท บิ ทู มิ นั ส และซั บ บิ ทู มิ นั ส ที่ บ ริ ษั ท เป็ น ผู ้ จ� ำ หน่ า ย) ดั ง นั้ น ในระยะยาวโรงงาน อุ ต สาหกรรมต่ า งๆ จึ ง มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะ เปลี่ยนมาใช้ถ่านหินเพิ่มมากขึ้น บริษัทมี เป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุม่ โรงงานอุตสาหกรรมทีใ่ ช้นำ�้ มันเตา เนือ่ งจาก เป็ น กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ที่ มี อ ยู ่ เ ป็ น จ� ำ นวนมาก อี ก ทั้ ง จะขยายไปสู ่ ก ลุ ่ ม ลู ก ค้ า รายใหญ่ เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตไฟฟ้า เป็นต้น บริษัทมีโครงการที่จะเข้าไปน�ำเสนอทาง เลือกให้กบั ลูกค้าอืน่ ๆ เพิม่ เติม เพือ่ ให้เห็น ถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้ ถ่านหินเป็นแหล่งเชื้อเพลิงแทนน�้ำมันเตา โดยบริ ษั ท ใช้ ก ลยุ ท ธ์ เ ข้ า ไปน� ำ เสนอถึ ง ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ โดยใช้ระยะเวลา คืนทุนประมาณ 9-24 เดือน รวมถึงให้ ความรูก้ บั ลูกค้าเพือ่ ให้เปลีย่ นทัศนคติทไี่ ม่ ถูกต้องเกีย่ วกับถ่านหินในเรือ่ งของการก่อ ให้เกิดมลภาวะกับสิง่ แวดล้อม ท�ำให้ลกู ค้า ให้ความสนใจหันมาใช้ถ่านหินมากขึ้น

นอกจากนี้ บริษทั ยังมีชอ่ งทางการจ�ำหน่าย ถ่านหินผ่านบริษทั ตัวแทนจัดจ�ำหน่ายหม้อ ไอน�้ำ โดยหลังจากที่บริษัทได้เข้าไปน�ำ เสนอข้ อ มู ล การใช้ แ หล่ ง เชื้ อ เพลิ ง จาก ถ่ า นหิ น และลู ก ค้ า มี ค วามสนใจในการ เปลี่ ย นมาใช้ ถ ่ า นหิ น ดั ง กล่ า ว บริ ษั ท จะแนะน�ำบริษัทตัวแทนจัดจ�ำหน่ายหม้อ ไอน�ำ้ ให้กบั ลูกค้าด้วย โดยแนะน�ำประเภท ของหม้อไอน�้ำที่ตรงกับคุณภาพถ่านหิน ของบริษัททั้งนี้เพื่อให้การใช้ถ่านหินเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ในอีกแนวทางหนึง่ บริษทั เหล่านีจ้ ะท�ำการ ตลาดในการขายหม้อไอน�้ำให้กับโรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ และแนะน�ำลูกค้าให้กบั ทางบริ ษั ท โดยหลั ง จากที่ ซื้ อ หม้ อ ไอน�้ ำ แล้ว โรงงานอุตสาหกรรมนั้นก็จะท�ำการ ซื้อถ่านหินของบริษัท ต่อจากค�ำแนะน�ำ ของบริษัทตัวแทนจัดจ�ำหน่ายหม้อไอน�้ำ ซึ่ ง ช่ อ งทางการจ� ำ หน่ า ยดั ง กล่ า วท� ำ ให้ บริษัทสามารถขายถ่านหินได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มฐานลูกค้าให้หันมา ใช้ ถ ่ า นหิ น เพิ่ ม จะต้ อ งใช้ ร ะยะเวลาพอ สมควร เนื่องจากโดยทั่วไปการติดตั้งหม้อ ไอน�้ำขนาดเล็กจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน (รวมเวลาในการน�ำเข้าหม้อไอน�้ำ) แต่ถ้าเป็นหม้อไอน�้ำขนาดกลางถึงขนาด ใหญ่จะใช้เวลาติดตั้งนานถึง 8-15 เดือน บริษัทจึงจะเริ่มขายถ่านหินของบริษัทได้ นอกจากนีล้ กู ค้าส่วนใหญ่จะท�ำการทดลอง เปลีย่ นหม้อไอน�ำ้ จากการใช้นำ�้ มันเตาเป็น เชือ้ เพลิงเป็นการใช้ถา่ นหินแทนก่อน และ ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งานประมาณ 3-6 เดือน ลูกค้าจึงจะท�ำการเปลี่ยนหม้อไอน�้ำ ที่เหลือเพื่อใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ท�ำให้ บริษัทคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นได้อย่าง ต่อเนื่อง

(3) ด้านการบริหารต้นทุน บริ ษั ท มี ก ารวางแผนการซื้ อ สิ น ค้ า ที่ มี ประสิทธิภาพ โดยการบริหารสินค้าคง คลังให้อยูใ่ นระดับทีเ่ หมาะสม การวางแผน การขนส่งที่เป็นระบบ รวมถึงการมีคลัง สินค้าซึ่งอยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ เป็นฐานลูกค้า ท�ำให้ประหยัดค่าขนส่งได้ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


058

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

มาก และบริษัทมีเรือโป๊ะเป็นของบริษัท เอง ท�ำให้ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัท ขนส่งภายนอกลง บริษทั มีความสัมพันธ์ทดี่ กี บั ผูจ้ ดั จ�ำหน่าย/ ผู้ผลิตถ่านหินที่ติดต่อกันมาหลายปี ส่งผล ให้ บ ริ ษั ท สามารถซื้ อ ขายถ่ า นหิ น ได้ ใ น ระดับราคาที่แข่งขันได้ โดยทั่วไปบริษัท มีสัญญาก�ำหนดจ�ำนวนตันในการสั่งซื้อ ถ่านหินจากผู้จัดจ�ำหน่าย/ผู้ผลิตถ่านหิน หลัก ส่วนราคาถ่านหินจะมีการก�ำหนดให้ เป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ บริษัท น�ำเข้าถ่านหินจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม อี ก หลายแหล่ ง เพื่ อ ให้ มี อ� ำ นาจในการ ต่อรองการซือ้ ถ่านหินและสามารถแข่งขัน ด้านราคาได้

ลักษณะของกลุ่มลูกค้า และช่องทางการ จัดจ�ำหน่าย

บริ ษั ท จ� ำ หน่ า ยถ่ า นหิ น ให้ แ ก่ โ รงงาน อุ ต สาหกรรมในประเทศโดยแบ่ ง เป็ น โรงงานอุ ต สาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาด กลางและขนาดเล็ก บริษัทมีนโยบายใน การขยายฐานลู ก ค้ า ไปยั ง อุ ต สาหกรรม ขนาดกลางและขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งกลุ่ม โรงงานเหล่านีไ้ ม่ได้เป็นเป้าหมายของผูจ้ ดั จ�ำหน่ายถ่ า นหิ น รายใหญ่ ใ นประเทศจึ ง เป็นการลดการแข่งขันในด้านราคากับผูจ้ ดั จ�ำหน่ายถ่านหินรายใหญ่ ปัจจุบันบริษัทมี กลุม่ ลูกค้าทีเ่ ป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาด เล็กและขนาดกลางจ�ำนวนประมาณ 100 รายและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ประมาณ 10 ราย ซึ่งมีฐานลูกค้า อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โรง กระดาษขนาดใหญ่ และโรงผลิตไฟฟ้าเป็น หลัก กลุ ่ ม ลู ก ค้ า เป้ า หมายของบริ ษั ท จะอยู ่ ในอุ ต สาหกรรมที่ ต้องใช้พลังงานความ ร้อนผลิตไอน�้ำในกระบวนการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมถุงมือยาง และอุตสาหกรรม สิ่ ง ทอเป็ น ต้ น ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น ส่ ว นใหญ่ ใช้พลังงานความร้อนจากน�้ำมันเตา ท�ำให้ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

บริษัทมีโอกาสในการน�ำเสนอทางเลือก ให้กับลูกค้ากลุ่มนี้โดยหันมาใช้พลังงาน จากถ่ า นหิ น ทดแทนน�้ ำ มั น เตาเพื่ อ ให้ มี ต้นทุนพลังงานที่ถูกกว่า บริษัทมีการจัด จ�ำหน่ายไปยังหลายๆ อุตสาหกรรมเพื่อ ลดความเสี่ยงจากการที่อุตสาหกรรมใด อุ ต สาหกรรมหนึ่ ง อาจมี ผ ลกระทบจาก วัฏจักรของเศรษฐกิจ ทัง้ นี้ เพือ่ ท�ำให้บริษทั มีรายได้ที่มั่นคงในระยะยาวโดยบริษัทจะ ให้พนักงานขายตรงซึง่ มีความรูค้ วามเข้าใจ ในตัวสินค้าของบริษัทเข้าไปน�ำเสนอถึง ข้อเปรียบเทียบระหว่างการใช้น�้ำมันเตา และถ่ า นหิ น ทั้ ง ในด้ า นค่ า ใช้ จ ่ า ยและ ผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ ให้ ลู ก ค้ า สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง บริ ษั ท แบ่ ง กลุ ่ ม ลู ก ค้ า ตามขนาดของ โรงงานอุตสาหกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.2 กลุม่ ลูกค้าทีย่ งั ไม่เคยใช้ถา่ นหิน เป็นแหล่งเชื้อเพลิง

1. กลุ ่ ม โรงงานอุ ต สาหกรรม ขนาดกลางและขนาดเล็ก

โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทใี่ ช้ถา่ นหิน ของบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรม ปู น ซี เ มนต์ ซึ่ ง จะท� ำ การซื้ อ ถ่ า นหิ น ใน ปริ ม าณมากและส่ ว นใหญ่ จ ะใช้ วิ ธี ก าร ประมูลโดยปัจ จั ย หลั ก ในการตั ด สิ น ใจ ซื้อถ่านหินของลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นเรื่อง ของราคาบริ ษั ท จะเริ่ ม ท� ำ ตลาดลู ก ค้ า กลุ่มนี้มากขึ้น เพื่อต้องการขยายปริมาณ การขายและขยายตลาดให้เพิ่มขึ้น

กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ของบริษัท โดยลู ก ค้ า กลุ ่ มนี้ มีอ ยู ่ มากทั้ ง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี และอยุธยา ผู้บริหารคาดว่าในภาคกลางมี โรงงานอุ ต สาหกรรมที่ ใ ช้ น�้ ำ มั น เตาอยู ่ ประมาณ 5,000 โรงงาน ท�ำให้บริษัทมี ช่องว่างทางการตลาดอีกมาก นอกจากนี้ บริษัทมีนโยบายในการขยายฐานลูกค้า รายย่อยเพือ่ ให้มรี ายได้ทมี่ นั่ คงในระยะยาว โดยบริษทั แบ่งลูกค้ากลุม่ นีอ้ อกเป็น 2 กลุม่ ย่อย ดังนี้

เนือ่ งจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยงั คงใช้นำ�้ มันเตาเป็นแหล่งเชือ้ เพลิงทีส่ ำ� คัญ และยังไม่เคยใช้ถ่านหินมาก่อน ท�ำให้ยัง ไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ดีพอในการ ใช้ถ่านหิน ดังนั้นบริษัทจึงมีโอกาสสูงใน การที่ จ ะชั ก ชวนให้ ก ลุ ่ ม ลู ก ค้ า เหล่ า นี้ เปลี่ ย นมาใช้ ถ ่ า นหิ น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง แทน น�้ ำ มั น เตาเนื่ อ งจากจุ ด เด่ น ของการใช้ ถ่ า นหิ น คื อ การลดต้ น ทุ น ของการใช้ พลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดในการ ชักจูงให้ลูกค้ากลุ่มนี้หันมาใช้ถ่านหินแทน โดยมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ย 9-24 เดือน

2. กลุ ่ ม โรงงานอุ ต สาหกรรม ขนาดใหญ่

ภาวะการแข่ ง ขั น และ แนวโน้มอุตสาหกรรม ภาวะการแข่งขัน

การจ� ำ หน่ า ยถ่ า นหิ น ให้ กั บ โรงงาน

1.1 กลุม่ ลูกค้าเดิมทีม่ กี ารใช้ถา่ นหิน อุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่มี อยู่แล้ว ผูป้ ระกอบการประมาณ 20 ราย โดยบริษทั กลุม่ ลูกค้านีเ้ ป็นกลุม่ ทีม่ คี วามรูแ้ ละคุน้ เคย กับการใช้ถ่านหินเป็นอย่างดี เป็นฐาน ลูกค้าในการซื้อขายกับบริษัทมาหลายปี และไว้ ว างใจในคุ ณ ภาพสิ น ค้ า ของ บริษัทมาโดยตลอดโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมถุงมือยาง และอุตสาหกรรม กระดาษ เป็นต้น

มีคู่แข่งทางการค้าที่ส�ำคัญได้แก่ บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลานนารี ซอร์สเซส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชีย กรี น เอนเนอจี จ� ำ กั ด (มหาชน) และ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซิงเฮงเส็ง จ�ำกัด บริษัท ฟินิกซ คอมโมดิตี้ส์ จ�ำกัด เป็นต้น บริษัทมุ่งเน้น การเพิม่ ลูกค้าในกลุม่ โรงงานอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดเล็ก และพร้อมกลับ มองหาโอการที่ จ ะเข้ า ตลาดลู ก ค้ า กลุ ่ ม


059

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพือ่ เพิม่ ฐานการขายและปริมาณ แผนภูม:ิ สถานการณ์ราคาถ่านหินอินโดนีเชีย 12 เดือน ปี 2558 ยอดขายให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อการเติบโตที่มากขึ้นของธุรกิจ ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน

แนวโน้มอุตสาหกรรม

70

ถ่านหินยังเป็นพลังงานที่ถูกจับตาดู เนื่องจากโลกเริ่มตื่นตัวหลัง จากประสบภาวะโลกร้อน ประเทศยักษ์ใหญ่ทปี่ ล่อยก๊าซคาร์บอน ออกมามากที่สุด 2 ประเทศ อย่างจีนและสหรัฐอเมริกาจ�ำเป็น ต้องลดการปล่อยก๊าซลง โดยหันไปใช้พลังงานทดแทนให้มากขึน้ นั่นแปลว่าการใช้ถ่านหินและเชื้อเพลิงอื่นลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ถ่านหินยังถือเป็นเป็นแหล่งพลังงานที่มีความ ส�ำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะถ่านหินเป็นพลังงาน ที่ราคาต�่ำกว่าก๊าซธรรมชาติและน�้ำมันเตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เช่นประเทศใน แถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยนั้นยังคงใช้ถ่านหินอยู่เนื่องจาก ราคาที่ ถู ก และลดลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง รั ส เซี ย เริ่ ม มาเป็ น ผู ้ ผ ลิ ต ถ่ า นหิ น ก็ เ ป็ น ที่ น ่ า จั บ ตามองว่ า อาจจะมี ผ ลกระทบใด ต่อตลาดถ่านหินในอาเซียนและอินเดีย รัฐบาลของไทยยังมีโครงการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นอีก 2 โรงในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม การใช้ถา่ นหินยังจะมีการลดลงอย่างช้าๆ เนือ่ งจาก สภาวะทางเศรษฐกิจของทวีปที่ชะลอตัว

การใช้ถ่านหินและลิกไนต์ในประเทศไทย

ในปี 2558 (ม.ค.-พ.ย.) ปริมาณการใช้ถ่านหินและลิกไนต์รวม ประมาณ 33.94 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.47 จากช่วงเดียวกัน ของ ปี 2557 ซึ่งมีปริมาณการใช้รวมประมาณ 35.90 ล้านตัน การใช้ลิกไนต์ในปี 2558 (ม.ค.-พ.ย.) ประมาณ 14.08 ล้านตัน แบ่งเป็นภาคการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.จ�ำนวน 13.55 ล้านตัน และ

60 50 40 30 20 10

ม.ค.-59 ก.พ.-59 มี.ค.-59 เม.ย.-59 พ.ค.-59 มิ.ย.-59 ก.ค.-59 ส.ค.-59 ก.ย.-59 ต.ค.-59 พ.ย.-59 ธ.ค.-59

6,500 AR 5,800 AR

ที่มา : www.argusmedia.com

5,000 AR 4,200 AR 3,400 AR

อีก 0.53 ล้านตัน น�ำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ การผลิตปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร ในขณะที่การใช้ถ่านหินน�ำ เข้าในปี 2558 ประมาณ 19.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27 เป็นการใช้ในอุตสาหกรรมจ�ำนวน 12.43 ล้านตัน ที่เหลืออีก ประมาณ 7.42 ล้านตัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ของ SPP และ IPP

ตาราง : ปริมาณการใช้ถ่านหินน�ำเข้าและลิกไนต์ในประเทศไทย ประเภท

การบริโภคลิกไนต์ ผลิตกระแสไฟฟ้า (กฟผ.) อุตสาหกรรม การบริโภคถ่านหิน ผลิตกระแสไฟฟ้า (SPP และ IPP) อุตสาหกรรม ความต้องการโดยรวม

ปริมาณ (ล้านตัน) 2557 (ม.ค.-พ.ย.) 2558 (ม.ค.-พ.ย.) 16.86 14.08 15.57 13.55 1.29 0.53 19.04 19.86 7.85 7.42 11.19 12.43 35.90 33.94

อัตราการเติบโต (ร้อยละ) -16.46 -12.94 -58.85 4.27 -5.48 11.11 -5.47

ที่มา : ส�ำนักนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


060

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

การจัดหาถ่านหินน�ำเข้า และลิกไนต์

สัดส่วนการจัดหาถ่านหินน�ำเข้า/ลิกไนต์

พันตัน 40,000 35,000

39%

59%

30,000

2558*

25,000

20,279

20,000

13,263

530

15,000

2%

10,000 5,000 0

น�ำเข้า อื่นๆ แม่เมาะ

2553 48% 6% 45%

2554 43% 10% 47%

2555 51% 4% 45%

2556 50% 3% 47%

2557 54% 2% 44%

2558* 59% 2% 39%

การจัดหาถ่านหินน�ำเข้า/ลิกไนต์ 4.3%

รวมทั้งสิ้น 34,072 พันตัน *เดือน ม.ค. - พย.

น�ำเข้า อื่นๆ แม่เมาะ

หมายเหตุ : อื่ น ๆ หมายถึ ง ลิ ก ไนต์ ข องเหมื อ งเอกชนภายในประเทศ ไม่ใช่เหมืองแม่เมาะ

ที่มา : ส�ำนักนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

ปริมาณการใช้ถ่านหินน�ำเข้า และลิกไนต์

สัดส่วนการใช้ถ่านหินน�ำเข้า/ลิกไนต์

18,000 16,000 14,000

7,976

พันตันเทียบเท่าน�้ำมันดิบ (KTOE)

12,000

50%

10,000

2558*

7,990

50%

8,000 6,000 4,000 2,000 0

2553 อุตสาหกรรม 52% ผลิตไฟฟ้า 48%

2554 49% 51%

2555 45% 55%

2556 43% 57%

2557 47% 53%

การใช้ถ่านหินน�ำเข้า/ลิกไนต์ 2.4% ที่มา : ส�ำนักนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

2558* 50% 50%

อุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า

รวมทั้งสิ้น 15,965 พันตัน *เดือน ม.ค. - พย.


061

ข้ อ มู ล และแนวโน้ ม ธุ ร กิ จ

ในรอบปี 2558 ราคาถ่านหินโลกลดลงมากเป็นประวัตกิ ารณ์ จาก อุปสงค์ที่อ่อนตัวท�ำให้เกิดภาวะถ่านหินล้นตลาด โดยราคา ถ่านหิน GAR 4,200 ได้ลดลงมาต�่ำกว่าระดับ 27 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต่อเมตริกตัน การทีร่ าคาถ่านหินในตลาดโลกลดลง อย่างต่อเนือ่ งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย แต่สาเหตุหลักๆ เป็นผล มาจากการที่สหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งครองส่วนแบ่งอุปสงค์ ถึงร้อยละ 50 ของตลาด ลดปริมาณการใช้ถ่านหินลง โดย สหรัฐอเมริกาหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะ shale gas ที่ถูกค้นพบในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีต้นทุนถูกมากและเป็น สาเหตุทที่ ำ� ให้ราคาน�ำ้ มันโลกตกลง นอกจากนี้ การชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน ประกอบกับแรงกดดันจากหน่วยงานก�ำกับดูแลด้าน สิ่งแวดล้อม ก็ส่งผลให้จีนลดปริมาณการน�ำเข้าถ่านหินลงเป็น จ�ำนวนมาก ซึ่งปัจจัยหลักดังกล่าวได้ส่งผลกระทบมาถึงตลาด ถ่านหิน ท�ำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเพื่อช่วงชิงตลาด จนน�ำ ไปสู่ภาวะถ่านหินล้นตลาดในปัจจุบัน จากปัญหาราคาถ่านหินที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และภาวะ การแข่งขันในประเทศทีส่ งู ขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การแข่งขันทาง ด้านราคา ประกอบกับปริมาณการใช้ถ่านหินที่ลดลง บริษัทจึง ขยายตลาดได้ไม่มากนัก ประกอบกับวงเงินหมุนเวียนทีใ่ ช้ในธุรกิจ มีอยู่อย่างจ�ำกัด จึงท�ำให้การน�ำเข้าถ่านหินลดลง ส่งผลให้ UMS ต้องเผชิญกับปัญหาฐานะการเงิน และสภาพคล่องในปี 2558 อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการช�ำระเงินต้นและภาระดอกเบี้ยแก่ กลุ ่ ม เจ้ า หนี้ ส ถาบั น การเงิ น ตรงตามก� ำ หนดอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยตลอด และได้ท�ำการขอการสนับสนุนวงเงินกู้จ�ำนวน 345

ล้านบาท จาก TTA เพื่อเสริมสภาพคล่องในการด�ำเนินธุรกิจใน ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 ในขณะเดียวกัน จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญและผู้ประเมิน ราคาจากภายนอก พบว่า ถ่านหินที่ค้างสต็อค มีปัญหาการ ปนเปือ้ นกับเศษดินและเศษหินเป็นระยะเวลานาน ท�ำให้คณ ุ ภาพ ของถ่ า นหิ น ดั ง กล่ า วลดลงและไม่ ส ามารถจ� ำ หน่ ายได้ในเชิง พาณิ ช ย์ ดั ง นั้ น เมื่ อ พิ จ ารณาปั จ จั ย ทางธุ ร กิ จ รอบด้ า นและ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบกับการบันทึกมูลค่ายุติธรรม ของการด�ำเนินงานและสินทรัพย์ บริษัทจึงได้บันทึกรายการ มูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงและรายการด้อยค่าส�ำหรับทรัพย์สิน ถาวรที่ไม่ได้มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องคัดขนาด เครื่องจักร อาคารโรงงานบางส่วนในจังหวัดสมุทรสาครและ อยุธยา และรายการด้อยค่าส�ำหรับเงินลงทุนในบริษทั ย่อยทีไ่ ม่ได้ ด�ำเนินธุรกิจแล้ว ซึง่ ทัง้ หมดเป็นไปตามหลักการบัญชีโดยยึดหลัก ความระมัดระวัง ทั้งนี้ บริษัทก�ำลังอยู่ระหว่างการด�ำเนินงานตามแผนปรับปรุงผล การด�ำเนินงานให้กลับมามีผลก�ำไร และมีสถานะทางการเงินที่ มั่นคง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วน ได้เสียทุกฝ่าย

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


062

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

นโยบายและพั น ธกิ จ เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นา อย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบาย

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“TTA” หรือ “บริษัทฯ”) ยึดหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) ภายใต้จรรยาบรรณในการด�ำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ เคารพ กฎระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับทีเ่ กีย่ วข้อง นอกจากนี้ TTA ยังให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของพนักงาน ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการรู้จักประหยัดพลังงานและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเรามีความ มุ่งหวังที่จะเป็นบริษัทฯ เพื่อการลงทุนชั้นน�ำที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในเอเชีย โดยเราจะ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน พันธมิตร ทางธุรกิจ ชุมชน และสังคม ด้วยการสร้างความสมดุลและสร้างผลกระทบในเชิงบวกอันจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนมิติ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาธุรกิจของ TTA ให้ยั่งยืนต่อไป

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


063

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

พันธกิจ

มิติแห่งความยั่งยืน

มิติด้านเศรษฐกิจ

TTA ได้มีการน�ำแนวคิด “Sustainable Value Creation” ที่มีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายอย่างสมดุลโดยมีผลตอบแทน จากการลงทุนเป็นเสมือนทางผ่านไปสู่ ประโยชน์สุขร่วมกันของทุกฝ่าย ในการ ทีจ่ ะเติบโตอย่างยัง่ ยืนไปพร้อมๆ กัน มา เป็ น แนวทางปฏิบัติเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ดังนี้

รักษาพอร์ตการลงทุนทีส่ มดุลและ สนับสนุนการเติบโต โดยท�ำการวิเคราะห์จดุ อ่อนและจุดแข็ง ของแต่ละธุรกิจอย่างละเอียดรอบคอบ มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ค�ำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าและประโยชน์ สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย

บริษทั ฯ จึงให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนา ขีดความสามารถของพนักงานโดยการ จัดฝึกอบรมอย่างต่อเนือ่ งทัง้ ภายในและ ภายนอกองค์กร

มิติด้านสังคม

TTA มุง่ เน้นการพัฒนาสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยูข่ องคนในสังคมไทยให้ดขี นึ้ ผ่านการด�ำเนินโครงการและกิจกรรม เพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่าง ต่อเนือ่ ง เนือ่ งจากเห็นว่าการด�ำเนินธุรกิจ อย่างมีจิตส�ำนึกแบ่งปันและตอบแทน สู ่ สั ง คมและส่ ว นรวม จะเป็ น พลั ง ขับเคลือ่ นทีส่ ำ� คัญ อันน�ำไปสูก่ ารพัฒนา ที่ยั่งยืนทั้งในระดับองค์กร ชุมชนและ ระดับประเทศ

TTA วางกรอบการบริหาร จั ด การโดยอ้ า งอิ ง มาจาก แนวทางการด� ำ เนิ น การ ตามมิ ติ แ ห่ ง ความยั่ ง ยื น ซึง่ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ด ้ า น สั ง ค ม แ ล ะ ด ้ า น สิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ให้ ก าร ด�ำเนินงานของธุรกิจเชือ่ มโยง สัมพันธ์กนั จึงมีการก�ำหนด แนวทางและเป้าหมาย การด�ำเนินงานให้ทุกกลุ่ม ธุรกิจสามารถน�ำไปปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

แสวงหาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ TTA ตระหนักดีว่าธุรกิจที่เข้าไปลงทุน ส่วนใหญ่จะต้องพึง่ พิงทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับสถานการณ์ พิจารณาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ทีม่ ี ศักยภาพ ด้วยการวางแผนการลงทุน อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับ ประโยชน์จากการลงทุน

พัฒนาบุคลากร เพื่อมุ่งสู่องค์กร แห่งความเป็นเลิศด้านการลงทุน TTA เชื่อว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มี คุ ณ ค่ า ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ของกลุ ่ ม

จึ ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การใช้ ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ สูงสุดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้ อ ยที่ สุ ด ด้ ว ยการใช้ เ ทคโนโลยี ที่ มี ประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และ เป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม พร้ อ มกั บ การปลูกฝังให้พนักงานมีจิตส�ำนึกใน การปฏิบตั งิ านที่ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


064

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร

TTA มีความตั้งใจน�ำหลักการแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจ ทัง้ นี้ เพือ่ ให้บคุ ลากรเห็นคุณค่าและความส�ำคัญเกีย่ วกับความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิง่ แวดล้อม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต โดยได้ก�ำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาธุรกิจ อย่างยั่งยืน ดังรายละเอียดดังแสดงในภาพต่อไปนี้

1

10

การก�ำกับดูแล กิจการที่ดี

2

การจัดท�ำ รายงานความ รับผิดชอบต่อ สังคม

การประกอบ กิจการด้วยความ เป็นธรรม

9

นวัตกรรมและ การเผยแพร่

3

ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ทุกกลุ่ม

การต่อต้าน การทุจริต

4

การเคารพ สิทธิมนุษยชน

8

การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม

7

5

การปฏิบัติต่อ แรงงานอย่าง เป็นธรรม

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

6

ความรับผิดชอบ ต่อผู้ถือหุ้นและ พันธมิตรทางธุรกิจ

การร่วมพัฒนา ชุมชนและสังคม


065

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

1. การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี TTA มีนโยบายในการด�ำเนินธุรกิจและการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการจัดให้มีระบบบริหารจัดการอย่างรู้หน้าที่ และมีความรับผิดชอบ ตลอดจนมีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเกิดความเชื่อมั่นและ ไว้วางใจในบริษัท ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการ เพือ่ ท�ำหน้าทีท่ บทวนแนวปฏิบตั ใิ นการก�ำกับดูแลกิจการ และคูม่ อื จริยธรรมธุรกิจ และตรวจสอบการปฏิบตั ใิ ห้เป็น ไปตามกรอบของจริยธรรมซึ่งองค์ประกอบส�ำคัญของนโยบายการก�ำกับดูแลกิจการของ TTA แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้ การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 1. สิทธิและการปฏิบัติอย่าง เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น

แนวทางในการปฏิบัติ บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทั้งในแง่ การเปิดเผยข้อมูล วิธกี ารท�ำบัญชี การใช้ขอ้ มูล ภายใน และผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง  บริ ษั ท ฯ ตระหนั ก ถึ ง หน้ า ที่ ใ นการปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู้ถือหุ้นทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน  บริษัทฯ มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์และสิทธิ ของผู้ถือหุ้น รวมถึงสิทธิในการได้เงินปันผล และรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเพียงพอ จากบริษัทฯ ในเวลาอันสมควร  บริษัทฯ มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างโปร่งใส และแสดงความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารผ่าน การจัดประชุมผู้ถือหุ้น 

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ ข้อมูลรายงานทางการเงินของบริษัทฯ มี ความถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ที่รับรองโดยทั่วไปและผ่านการตรวจสอบ จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  บริ ษั ท ฯ จั ด การประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น ตามที่ กฎหมายก� ำ หนด และเปิ ด โอกาสให้ ผูถ้ อื หุน้ ใช้สทิ ธิของตนอย่างเต็มที่ โดยได้รบั ข้อมูลอย่างดีก่อนหน้าที่จะใช้สิทธิดังกล่าว 

2. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ เล็งเห็นและตระหนักถึงความส�ำคัญ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น ผูถ้ อื หุน้ พนักงาน คูส่ ญ ั ญา ลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม  บริษัทฯ ปกป้องสิทธิของบุคคลดังกล่าวด้วย การปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ที่ใช้บังคับอย่างเคร่งครัด ตลอดจนก�ำหนด ให้ มี ร ะบบควบคุ ม ภายในที่ เ หมาะสม และ ตรวจสอบการปฏิบัติตามด้วย

คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ อ นุ มั ติ ใ ห้ มี นโยบายการต่ อ ต้ า นการคอร์ รั ป ชั่ น และ รวบรวมข้ อ พึ ง ปฏิ บั ติ ไ ว้ เ ป็ น ลายลั ก ษณ์ อักษร  บริ ษั ท ฯ จั ด ท� ำ และประกาศใช้ คู ่ มื อ จริยธรรมธุรกิจซึง่ ครอบคลุมหลักการปฏิบตั ิ งานตามหลักจริยธรรมควบคู่ไปกับความ ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อสร้างมาตรฐานระดับสูง ในการประกอบธุรกิจต่างๆ อย่างมืออาชีพ ต่ อ กลุ ่ ม ผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก กลุ ่ ม เพื่ อ ให้ คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ผู ้ บ ริ ห าร และ พนักงานทุกคนปฏิบัติตาม

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


066

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 3. การเปิดเผยข้อมูลและ ความโปร่งใส

แนวทางในการปฏิบัติ จัดท�ำนโยบายการประกอบธุรกิจและจริยธรรม ในการด�ำเนินธุรกิจ เพือ่ ใช้ในการก�ำกับองค์กร การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียและการเปิดเผย ข้อมูล โดยจะต้องสามารถตรวจสอบได้และ มีความโปร่งใส  จั ด ท� ำ กระบวนการในการติ ด ตามผลการ ตั ด สิ น ใจด� ำ เนิ น งานและจั ด เก็ บ หลั ก ฐาน การด�ำเนินงาน  จัดท�ำรายงานทางการเงินมีความถูกต้องเป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป  จัดท�ำรายงานประจ�ำปีเพือ ่ น�ำเสนอต่อผูถ้ อื หุน้ และนักลงทุน 

4. โครงสร้างและความรับผิดชอบ  มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน และ โปร่งใส ของคณะกรรมการ  ก�ำหนดให้คณะกรรมการของบริษท ั ฯ ประกอบ ด้วยบุคคลที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ทั้งด้าน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดกับบริษัทฯ โดยจัดตั้ง คณะกรรมการ/คณะท�ำงาน เช่น คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการ ก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การ คณะกรรมการบริ ห าร ความเสี่ยง และคณะกรรมการการลงทุน  ก�ำหนดระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบ ภายใน และมาตรการบริหารความเสี่ยงที่มี ประสิทธิผล

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ บริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่ เป็นข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องผ่านทางระบบสื่อสารของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ในเวลาที่ เ หมาะสม ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรม SET Opportunity Day ที่ จั ด โดยตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ทุ ก ไตรมาส  บริ ษั ท ฯ จั ด ช่ อ งทางในการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร ส�ำหรับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เว็บไซต์ ส่วน นักลงทุนสัมพันธ์ และส่วนประชาสัมพันธ์  บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางในการแสดงความ เห็น ค�ำแนะน�ำ หรือรายงานเบาะแสในการ กระท�ำผิดมายังคณะกรรมการตรวจสอบทัง้ ผ่านทางไปรษณีย์ อีเมล์ และเว็บไซต์ และ ออกมาตรการคุ้มครองให้กับผู้ที่ให้ความ ร่วมมือในการรายงานดังกล่าว 

บริษัทฯ จัดให้จ�ำนวนและโครงสร้างของ คณะกรรมการเป็ น ไปตามที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 และข้อบังคับของบริษัทฯ

บริษัทฯ ก�ำหนดให้ผู้เกี่ยวข้องทุกรายรวม ถึงคณะกรรมการและฝ่ายจัดการตระหนัก ถึงหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของตนและปฏิบตั ิ หน้าทีด่ งั กล่าว ด้วยความรับผิดชอบ ความ ใส่ใจ และความซื่อสัตย์ และเป็นไปตาม กฎหมาย วั ต ถุ ป ระสงค์ ข้ อ บั ง คั บ ของ บริษทั ฯ และตามมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น  บริษท ั ฯ จัดให้มกี ารประชุมของคณะกรรมการ และคณะท� ำ งานทุ ก ชุ ด เพื่ อ ประเมิ น พิ จ ารณา ทบทวนและอนุ มั ติ แ ผนการ ด�ำเนินงานต่างๆ ของบริษัทฯ  บริ ษั ท ฯ สนั บ สนุ น ให้ ก รรมการเข้ า ร่ ว ม หลั ก สู ต รหรื อ กิ จ กรรมที่ มุ ่ ง ปรั บ ปรุ ง การ ท� ำ งานของคณะกรรมการบริ ษั ท ฯ โดย บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการ อบรม 

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


067

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

การก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 5. จริยธรรมทางธุรกิจและ จรรยาบรรณ

แนวทางในการปฏิบัติ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษาความยุติธรรมและ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งเท่ า เที ย มกั น ต่ อ คู ่ สั ญ ญา เพื่ อ หลีกเลีย่ งสถานการณ์ทจี่ ะน�ำไปสูค่ วามขัดแย้ง ทางผลประโยชน์  บริ ษั ท ฯ รั บ ผิ ด ชอบงานอย่ า งมื อ อาชี พ และ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  บริ ษั ท ฯ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยวิ นั ย และหลั ก การ ด้านจริยธรรม และเป็นไปตามข้อกฎหมาย กฎและระเบียบต่างๆ 

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ ที่ประชุมบริษัทฯ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มมี ติอนุมตั คิ มู่ อื จริยธรรมธุรกิจ ซึง่ ครอบคลุมค่านิยม พันธกิจ ตลอดจนหลัก การปฏิบตั งิ านตามหลักจริยธรรมและความ ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อสร้างมาตรฐานของการ ท�ำงานอย่างมืออาชีพต่อผู้มีส่วนได้เสียทุก กลุ่ม โดยบริษัทฯ ได้มีการอบรมจริยธรรม ธุรกิจให้แก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานทุกคน เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า ทุกคน ได้เข้าใจหลักปฏิบัติที่ดี

หมายเหตุ : ทั้งนี้ รายละเอียดของการด�ำเนินงานตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการข้างต้น ได้ถูกจัดท�ำแยกไว้ในหัวข้อ “รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ”

2. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม TTA มีนโยบายในด�ำเนินธุรกิจและการลงทุนอย่างมีจรรยาบรรณ และส่งเสริมการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม และได้วาง ขอบเขตและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ได้รับทราบ ดังนี้ การประกอบกิจการด้วย ความเป็นธรรม 1. การแข่งขันอย่างเป็นธรรม

แนวทางในการปฏิบัติ  ก� ำ หนดนโยบายในด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ และการ ลงทุนในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎหมาย และข้อบังคับ  ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ ธุรกิจทุกขั้นตอน

2. การส่งเสริมความรับผิดชอบ ต่อสังคมในคู่ค้า

ออกระเบี ย บปฏิ บั ติ ว ่ า ด้ ว ยการจั ด ซื้ อ / จัดจ้างที่โปร่งใส ค�ำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ขององค์กรในการเจรจาทางการค้า จะตั้ง อยูบ่ นพืน้ ฐานของความถูกต้องและยุตธิ รรม และไม่ใช้อ�ำนาจในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม ทางการค้า

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  บริษัทฯ มีนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ ในการจั ด ซื้ อ เพื่ อ ป้ อ งกั น การแข่ ง ขั น ที่ ไม่เป็นธรรม โดยนโยบายดังกล่าวประกาศ ใช้ตั้งแต่ปี 2556  บริษท ั ฯ มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รปั ชัน่ และห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลอืน่ ใดทีก่ ระท�ำการในนามบริษทั ฯ ด�ำเนินการอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เหมาะสม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบ ทางธุรกิจ

ก�ำหนดแนวทางปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์ อั ก ษรและเผยแพร่ ใ ห้ พ นั ก งานทราบ โดยทั่วกัน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


068

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

3. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-corruption)

TTA ยึดถือหลักการก�ำกับดูแล และนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รปั ชัน่ ในการด�ำเนินธุรกิจและการลงทุน โดยส่งเสริมให้บริษทั ฯ ในกลุม่ ยึดหลักการเดียวกันเพือ่ ให้ได้รบั ความน่าเชือ่ ถือและการยอมรับจากคูค่ า้ และลูกค้า ตลอดจนมีการรณรงค์ให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน หลีกเลี่ยงการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบอีกด้วย การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น 1. บริหารความเสี่ยงของธุรกิจ

แนวทางในการปฏิบัติ  จัดท�ำประเภทของความเสี่ยงและสาเหตุของ การทุจริตแล้วด�ำเนินการปฏิบัติเพื่อป้องกัน อย่างจริงจัง ตลอดจนรักษาและปฏิบัติตาม นโยบายต่อต้านการทุจริตโดยต่อเนือ่ ง  ก�ำหนดกลไกการรายงานสถานะทางการเงิน ทีถ่ กู ต้องและโปร่งใส 2. การด�ำเนินธุรกิจและการลงทุน  ก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินธุรกิจ โดยห้าม มิ ใ ห้ ก รรมการ ผู ้ บ ริ ห าร และพนั ก งาน ติ ด สิ น บนตอบแทน หรื อ ให้ เ งิ น แก่ บุ ค คล เจ้าหน้าที่รัฐ หรือบริษัทห้างร้านใด เพื่อรับ ประโยชน์ทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมหรือเพื่อมี อิทธิพลต่อการด�ำเนินธุรกิจ  ก� ำ หนดนโยบายห้ า มมิ ใ ห้ มี ก ารเรี ย กร้ อ ง ด�ำเนินการ หรือ ยอมรับการคอร์รัปชั่น เพื่อ ประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว เพื่อน และ คนรูจ้ กั 3. สร้างและรักษาระบบต่อต้าน  ก�ำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่ผู้บริหาร ทุจริต และพนักงาน ไม่ให้เข้าไปร่วมสนับสนุนกิจกรรม ใดๆ ที่ผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับการทุจริต คอร์รปั ชัน่

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  จัดตั้งฝ่ายบริหารความเสี่ยงเพื่อท�ำหน้าที่ ประเมิน วิเคราะห์ ติดตาม ควบคุม และ รวบรวมฐานะความเสีย่ งในภาพรวมให้อยู่ ในระดับทีย่ อมรับได้

บริ ษั ท ฯ มี น โยบายต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต คอร์รปั ชัน่ และห้ามมิให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน และบุคคลอื่นใดที่กระท�ำการ ในนามบริษัทฯ ด�ำเนินการอันมิชอบด้วย กฎหมาย หรือไม่เหมาะสม เพื่อให้ได้มา ซึง่ ความได้เปรียบทางธุรกิจ  ก�ำหนดแนวทางปฏิบต ั ไิ ว้ในคูม่ อื จริยธรรม ธุรกิจ

จัดอบรมให้กับพนักงานใหม่ให้ทราบถึง นโยบาย ข้อก�ำหนด กฎระเบียบ และ จริยธรรมธุรกิจ ในการท�ำงาน  จัดให้มช ี อ่ งทางแจ้งเบาะแสการกระท�ำผิด ผ่านทางเว็บไซต์ หรือตู้ไปรษณีย์ และ มีกระบวนการตรวจสอบเบาะแสที่ได้รับ แจ้งอย่างเป็นธรรม 

4. การเคารพสิทธิมนุษยชน

TTA มีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์สากล รวมทั้ง เคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติก�ำหนดไว้ ดังนี้ การเคารพสิทธิมุษยชน 1. หลักการพื้นฐานและสิทธิใน การท�ำงาน

แนวทางในการปฏิบัติ  จั ด ให้ มี เ งื่ อ นไขการจ้ า งงานที่ เ ป็ น ธรรมแก่ ค น ทุกกลุ่มที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของ ต�ำแหน่งงาน และมอบค่าตอบแทนที่เหมาะสม ตามทักษะและความเชี่ยวชาญ โดยไม่เลือกปฏิบัติ อันเนื่องด้วย เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ สีผิว ความพิการ ฐานะ และชาติตระกูล  การปฏิบต ั ติ อ่ พนักงานทุกคนอย่างให้เกียรติ เคารพ ในสิทธิสว่ นบุคคลของพนักงานทุกคน และส่งเสริม ให้มีการเปิดรับความคิดเห็นของพนักงาน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  บริษัทฯ มีข้อบังคับและระเบียบเกี่ยว กับการท�ำงาน ทีส่ อดคล้องกับบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และพระราชบั ญ ญั ติ แ รงงานสั ม พั น ธ์ ตลอดจนกฎหมายอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ด�ำเนินธุรกิจ (ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553)


069

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

การเคารพสิทธิมุษยชน 2. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

แนวทางในการปฏิบัติ  จด ั ท�ำกลไกการร้องเรียนและร้องทุกข์อย่างเหมาะสม ส� ำ หรั บ เป็ น ช่ อ งทางให้ พ นั ก งานในกิ จ การหรื อ ผู ้ ที่ เ ชื่ อ ว่ า สิ ท ธิ ข องตนถู ก ละเมิ ด หรื อ ได้ รั บ การ ปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม สามารถแสวงหาหนทาง เยียวยาได้โดยควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กลไกนี้ เป็นที่รับทราบอย่างทั่วถึง

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  จั ด ท� ำ นโยบายและกระบวนการแจ้ ง การกระท� ำ ที่ ผิ ด ปกติ ใ นองค์ ก ร และ นโยบายการต่อต้านการแก้แค้นอันเนือ่ ง มาจากการท�ำผิดดังกล่าว (the whistle blowing and non-retaliation policy and procedures)

5. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

TTA ตระหนักดีว่า “บุคลากร” เป็น “สินทรัพย์ที่มีค่าของบริษัทฯ” จึงมีนโยบายปฏิบัติต่อพนักงานอย่างดีเสมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่ง ของครอบครัวเดียวกัน พนักงานมีโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน และได้รับสวัสดิการต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อมีคุณภาพชีวิต ที่ดีและมีความสุขในการท�ำงาน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 1. เคารพสิทธิ์ในการท�ำงานตามหลัก สิทธิมนุษยชนและตามปฎิญญาว่า ด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน ในการท�ำงานขององค์กรแรงงาน ระหว่างประเทศ

แนวทางในการปฏิบัติ กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  ก�ำหนดระเบียบในการจ้างงานโดยไม่เลือก  จด ั อบรมให้ความรูเ้ รือ่ งกองทุนส�ำรอง ปฏิบตั ิ ยืนยันความเสมอภาคทางโอกาสโดย เลี้ยงชีพแก่พนักงาน ไม่น�ำความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ  สนับสนุนให้พนักงานได้สมัครเรียน ภาวะ ศาสนา สัญชาติ ภูมิหลังของบุคคล หลักสูตรที่จัดโดยสถาบันอื่นๆ เช่น ความคิดเห็นทางการเมือง อายุ หรือ ความ ทุพพลภาพ มาเป็นปัจจัยในการพิจารณา - หลักสูตรการเขียนรายงานความยัง่ ยืน ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตัดสินการจ้างงาน และสถาบันไทยพัฒน์  พฒ ั นาพนักงานเพือ่ ฝึกฝนทักษะและเพิม่ พูน ศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีการ - หลักสูตร อบรม Smart Disclosure เรียนรู้และเลื่อนต�ำแหน่งเพื่อความก้าวหน้า Program (“SDP”) จั ด โดยตลาด ในการท� ำ งานเมื่ อ มี โ อกาสที่ เ หมาะสม หลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยและ ส�ำนักงาน ก.ล.ต. ส่งเสริมให้ผหู้ ญิงได้ขนึ้ สูต่ ำ� แหน่งงานทีส่ งู ขึน้ ในสัดส่วนที่สมดุลกับผู้ชายได้มากยิ่งขึ้น - หลักสูตร Audit Committee Seminar: Get ready for the Year End จัดโดย  จัดให้มีช่องทางในการน�ำส่งข้อร้องเรียนมา ยังคณะกรรมการตรวจสอบ โดยผ่านทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ ส�ำนักงาน ก.ล.ต. สภาวิชาชีพบัญชี เว็บไซต์ หรือ ตูป้ ณ. ส�ำหรับพนักงานทีไ่ ด้รบั ในพระบรมราชูปถัมภ์ Thai Institute การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม of Directors (“IOD”) และ สมาคม บริษัทจดทะเบียนไทย

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


070

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 2. ให้ความคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองสภาพการท�ำงาน ของลูกจ้าง

แนวทางในการปฏิบัติ  จด ั ให้มเี งือ่ นไขการจ้างงานทีเ่ ป็นธรรมส�ำหรับ พนักงานและให้พนักงานได้รับค่าตอบแทน ที่เหมาะสมตามศักยภาพ  จัดหาสถานท�ำงานที่เหมาะสมให้พนักงาน ท�ำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี  ก�ำหนดระเบียบการจ่ายค่าจ้างการท�ำงาน ล่วงเวลาทีส่ มเหตุสมผล มีวนั พักผ่อนประจ�ำ สัปดาห์และวันลาพักผ่อนประจ�ำปี  จั ด สวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ เช่ น ระบบการดู แ ล สุขภาพและความปลอดภัยการดูแลครรภ์ และการลาคลอด เป็นต้นโดยที่พนักงาน สามารถท�ำงานได้เต็มศักยภาพและแบ่งเวลา ให้แก่ครอบครัวได้เช่นเดียวกัน  จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ ความปลอดภั ย อาชีวอนามัย และสภาวะแวดล้อมในบริษทั ฯ เพือ่ ดูแลให้พนักงานทุกคนท�ำงานในสถานที่ ทีม่ คี วามปลอดภัย และด�ำเนินนโยบายความ ปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบ การอย่างเคร่งครัด  จั ด ตั้ ง คณะกรรมการสวั ส ดิ ก าร เพื่ อ ให้ ค� ำ แนะน� ำ เกี่ ย วกั บ สวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ ของ พนักงาน  มก ี ารวิเคราะห์ และหามาตรการเพือ่ ควบคุม ความเสี่ ย งด้ า นความปลอดภั ย และอาชี ว อนามัยในการท�ำงานรวมถึงจัดให้มีระบบ การแจ้งเหตุและความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดอันตราย ในระหว่างการปฏิบตั งิ านทัง้ จากอุบตั ภิ ยั และ โรคภัย

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  จั ด ท� ำ และปรั บ ปรุ ง คู ่ มื อ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ ในการท� ำ งานตามความ เหมาะสมกั บ สถานการณ์ พรบ. คุ ้ ม ครองแรงงานและพรบ.แรงงาน สั ม พั น ธ์ รวมถึ ง กฎหมายอื่ น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง

3. ความคุ้มครองสุขภาพและ ความปลอดภัยในการท�ำงาน

ก�ำหนดให้พนักงานทุกคนจะต้องรายงาน สภาพแวดล้อมในการท�ำงานที่ไม่ปลอดภัย ต่อผู้บังคับบัญชาพร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ (ถ้ามี)

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

จัดกิจกรรมซ้อมหนีไฟประจ�ำปี และ ตรวจสอบประสิทธิภาพในการสือ่ สาร Call Tree เพือ่ ให้ความรูแ้ ก่พนักงาน เกี่ ย วกั บ สิ่ ง ที่ ค วรปฏิ บั ติ แ ละไม่ ค วร ปฏิ บั ติ ห ากเกิ ด ไฟไหม้ ใ นอาคาร ส�ำนักงาน และการดูแลความปลอดภัย ของพนั ก งานหลั ง จากออกมาจาก อาคารได้ และให้แน่ใจว่าพนักงาน เข้าใจและท�ำตามระเบียบปฏิบัติได้ ถูกต้อง

จั ด หาอุ ป กรณ์ ค วามปลอดภั ย และ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน บุคคลทีจ่ ำ� เป็นให้พนักงาน เช่น พนักงาน ทุกคนจะได้รบั Survival Pack ไว้ใช้ใน กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้

ประกาศวันหยุดพิเศษ 1 วัน ให้แก่ พนักงานที่ช่วงครบรอบวันเกิด โดย ไม่คิดเป็นวันลา เพื่อให้พนักงานได้ มี โ อกาสไปท� ำ บุ ญ ฉลองวั น เกิ ด และ มีความสุขอยูก่ บั ครอบครัว


071

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

แนวทางในการปฏิบัติ  จั ด หา สวั ส ดิ ก ารที่ เ หมาะสมและเป็ น ประโยชน์ส� ำ หรั บ พนั ก งาน เช่ น วั น หยุ ด ประจ�ำปี วันหยุดลาคลอด วันลาพักผ่อน ประจ�ำปีค่ารักษาพยาบาล กองทุนส�ำรอง เลี้ ย งชี พ ประกั น ชี วิ ต ประกั น สุ ข ภาพ ส่วนบุคคล การตรวจสุขภาพประจ�ำปี

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  จั ด กิ จ กรรม “Thoresen Movie Lover” อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครัง้ โดยมอบบัตรชมภาพยนต์ จ�ำนวน 2 ทีน่ งั่ พร้อมกับอาหารว่าง 1 ชุด เพือ่ ให้พนักงานได้ไปชมภาพยนตร์อย่าง สนุ ก สนานกั บ เพื่ อ นหรื อ สมาชิ ก ใน ครอบครัว

จั ด กิ จ กรรมฉลองวั น ปี ใ หม่ ให้ กั บ พนักงาน เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ พนักงานที่ทุ่มเทท�ำงานอย่างเต็มที่ใน ปีทผี่ า่ นมารวมถึงเป็นขวัญและก�ำลังใจ ให้กับพนักงานส�ำหรับการรับมือกับ เป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่ง ขึน้ ในปีตอ่ ไป

จดั กิจกรรม Team Building ทีจ่ งั หวัด นครราชสีมาเป็นเวลา 2 วัน 1 คืน เพื่อสานความสัมพันธ์ที่ดี และปลุก พลังแห่งความสามัคคีให้กับองค์กร โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างแรงจูงใจ เพิม่ ความกระตือรือร้น ตลอดจนปรับ ทัศนคติและลดข้อขัดแย้งของพนักงาน ในองค์กร รวมถึงใช้โอกาสนีพ้ าพนักงาน ไปท�ำกิจกรรมจิตอาสาให้กับชุมชน ใกล้ทพี่ กั อีกด้วย

6. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและพันธมิตรทางธุรกิจ

TTA ในฐานะที่เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนชั้นน�ำ ซึ่งมีกลยุทธ์ในการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายทั้งในประเทศไทยและในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น เรื่องความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและพันธมิตรทางธุรกิจจึงเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญอย่างมาก ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และพันธมิตรทางธุรกิจ 1. การลงทุนที่หลากหลาย

แนวทางในการปฏิบัติ  เ พื่ อ รั ก ษาพอร์ ต การลงทุ น ที่ ส มดุ ล และ เป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เลือกลงทุนในธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้าง รายได้และให้ผลตอบแทนในระยะสั้นและ ระยะยาว

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  การลงทุนในบริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผลิต และส่งออกอาหารกระป๋องและเครื่อง ดื่มน�้ำผลไม้ในประเทศจีน เพื่อกระจาย ความเสี่ยงจากความผันผวนของธุรกิจ ขนส่งทางเรือและภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในประเทศจีน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


072

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และพันธมิตรทางธุรกิจ 2. การขยายธุรกิจ

แนวทางในการปฏิบัติ  ดำ � เนินการเพิม่ ทุนหรือระดมทุนใหม่ๆ เพื่อ ขยายธุรกิจ และพัฒนาดูแลธุรกิจที่เข้าไป ลงทุน

3. การบริหารจัดการธุรกิจ อย่างมืออาชีพ

ปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ในการบริหาร จั ด การธุ ร กิ จ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาวะ เศรษฐกิจ การแข่งขันในตลาด และปัจจัย อื่ น ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ รั ก ษาผลประโยชน์ สู ง สุ ด และลดผลกระทบที่ จ ะมี ต ่ อ รายได้ ของธุรกิจให้มีน้อยที่สุด

4. การเปิดเผยข้อมูลที่จ�ำเป็น

เผยแพร่ข้อมูลผลประกอบการ และฐานะ ทางการเงิน ให้แก่ผู้ถือหุ้น และพันธมิตร ทางธุ ร กิ จ อย่ า งถู ก ต้ อ ง โปร่ ง ใส และ เพียงพอทั้งบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ หนังสือ รายงานประจ�ำปี รวมทั้งรายงานผ่านสื่อ ประชาสัมพันธ์และกิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  ด� ำ เนิ น การน� ำ บริ ษั ท พี เ อ็ ม โทรี เ ซน เอเชี ย โฮลดิ้ ง ส์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“PMTA”) เข้ า จดทะเบี ย นในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและประสบ ความส�ำเร็จในการขายหุ้น IPO เพื่อ น�ำเงินมาขยายกิจการต่อไป  ประกาศผังโครงสร้างองค์กรใหม่ เพือ ่ ให้ สอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจที่ลงทุน อยูใ่ นปัจจุบนั โดยมีการจัดตัง้ กลุม่ ธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่ม และฝ่ายพัฒนา กลยุ ท ธ์ แ ละการลงทุ น และแต่ ง ตั้ ง ผู้บริหารระดับสูง เพื่อดูแลรับผิดชอบ งานในหน่วยงานดังกล่าว

จดั ท�ำรายงานความเคลือ่ นไหวต่างๆ ส่ง แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ

จดั ท�ำเอกสารข่าวเพือ่ การประชาสัมพันธ์ ส่งให้สื่อมวลชน

จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี

จดั งาน Set Opportunity Day ประจ�ำ ไตรมาส

จัดประชุมนักวิเคราะห์ ประจ�ำไตรมาส

7.การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ในการด�ำเนินธุรกิจของ TTA และกลุ่มบริษัทฯ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่งและโลจิสติกส์จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้น บริษัทฯ จึงปลูกจิตส�ำนึกให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปฏิบัติ งานอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งรณรงค์ให้มีใช้ทรัพยากรและใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ ด�ำเนินงานเพือ่ เพิม่ มูลค่าและสร้างความยัง่ ยืนให้กบั ธุรกิจของบริษทั ฯ รวมทัง้ สังคม ชุมชน เศรษฐกิจและประเทศชาติ และประชาชน โดยรวม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

แนวทางในการปฏิบัติ

1. การป้องกันมลภาวะและปกป้อง  ม อบนโยบายให้ กั บ บริ ษั ท ในเครื อ ที่ ด�ำเนินธุรกิจด้านการขนส่ง การให้บริการ สิ่งแวดล้อม แก่บริษทั น�ำ้ มัน โรงงานปุย๋ และโรงงาน คัดแยกถ่านหิน ให้มกี ารวางแผนจัดการ และควบคุมกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดมลภาวะ และปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการด�ำเนิน ธุรกิจ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ โทรีเซน ชิปปิง้ ปฏิบตั ติ ามกฎข้อบังคับว่าด้วยเรือ่ ง จัดการเปลี่ยนถ่ายน�้ำอับเฉาเรือ (water ballast treatment) เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ในทะเล เพื่อ ลดและขจัดปัญหาการย้ายถิ่นหรือแพร่ระบาด ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และเชื้อโรคที่เป็น อันตราย ที่ติดอยู่ในน�้ำอับเฉาเรือ เพื่อป้องกัน ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และสุขภาพอนามัย ของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก


073

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 2. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

แนวทางในการปฏิบัติ รณรงค์แนวคิด “ลด” “ใช้ซ�้ำ” และ “น�ำกลับมาใช้ใหม่ ให้คมุ้ ค่า”

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ ตดิ ป้ายและน�ำกล่องกระดาษรีไซเคิลไปวางในจุด ที่มีเครื่องพิมพ์งาน

การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

ก ารน� ำ วั ส ดุ ที่ ใ ช้ แ ล้ ว กลั บ มาใช้ ใ หม่ เช่ น ใช้ กระดาษพิมพ์งานแบบสองด้าน

สั่งการให้ฝ่าย IT ติดตั้งการตั้งค่าการพิมพ์ใน เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นแบบขาวด�ำ เพื่อประหยัด ทรัพยากร

มมี าตรการประหยัดพลังงานในทีท่ ำ� งาน โดยการ ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การปิดไฟและเครือ่ ง ปรับอากาศในจุดที่ไม่จ�ำเป็นต้องใช้งาน หรือใน ช่วงพักกลางวัน และช่วงนอกเวลางาน

3. การลดสภาวะโลกร้อน

ก�ำหนดให้บริษัทในกลุ่ม TTA ปฏิบัติ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ มาตรฐานต่างๆ ในอุตสาหกรรม อย่างเคร่งครัด

โทรีเซน ชิปปิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ด�ำเนิน ธุรกิจขนส่งทางเรือ มีการปฏิบตั ติ ามกฎ MARPOL Annex VI ในการใช้เชื้อเพลิงซัลเฟอร์ต�่ำส�ำหรับ เรือทุกล�ำในกองเรือ ทั้งในขณะที่เรืออยู่ในเขต บังคับการปล่อยแก๊สและเขตทั่วโลก และให้การ สนับสนุนอย่างเต็มที่ในการจัดการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการเกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณก๊าซไนโตรเจน ออกไซด์

โ ทรี เ ซน ชิ ป ปิ ้ ง ปฏิ บั ติ ต ามมาตรการเพิ่ ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO) อย่างเคร่งครัด

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


074

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

8. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

TTA มีนโยบายส่งเสริมการท�ำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคม โดยจัดงบประมาณส่วนหนึ่งจากรายได้ของบริษัทฯ เพื่อจัดกิจกรรม เพื่อสังคม (CSR) ของบริษัทฯ เอง และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของหน่วยงาน มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ โดยในปี 2558 TTA ได้ด�ำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมหลายโครงการ และได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับหน่วยงานและองค์กรการกุศลอีกหลายแห่ง ตลอดจน มีการเผยแพร่ขอ้ มูลและภาพของกิจกรรมต่างๆ ทีน่ า่ สนใจให้พนักงานได้รบั รู้ เพือ่ ให้พนักงานเห็นคุณค่าของการท�ำประโยชน์ เพื่อสังคม และชุมชน เพราะ TTA เชื่อว่าชุมชนและสังคมและธุรกิจควรจะเติบโตอย่างยั่งยืนคู่กัน TTA มีแนวทางตอบแทนสู่สังคมและชุมชน 4 ด้านหลัก ได้แก่  ด้านพัฒนาจริยธรรมและภูมิคุ้มกันสังคม  ด้านพัฒนาชุมชนยั่งยืน  ด้านส่งเสริมการศึกษาและสุขภาพอนามัยที่ดี  ด้านบรรเทาทุกข์และสาธารณกุศล

กรอบการท�ำงาน

โครงการ

ผู้ได้รับผลประโยชน์

1. ด้านพัฒนาจริยธรรม  โครงการกล้าท�ำดี “ยุติการ  นักเรียนระดับชั้นประถมที่ได้ และภูมิคุ้มกันสังคม รังแกในโรงเรียน” รับผลกระทบจากการรังแกใน โรงเรียน จ�ำนวน 1,860 คน ใน ปี 2558

ครู จ�ำนวน 120 คน

2. ด้านพัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืน

โครงการเกษตรเพื่ออาหาร กลางวัน สนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัด ท�ำการเกษตรอย่างครบวงจร เพื่ อ ให้ มี แ หล่ ง ผลิ ต อาหาร ให้ กั บ นั ก เรี ย นอย่ า งยั่ ง ยื น โดยงบประมาณครอบคลุม เมล็ดพันธ์พืช ก้อนเชื้อเห็ด พันธ์เป็ดไข่ พันธ์ปลาน�้ำจืด อุปกรณ์สำ� หรับวางระบบน�ำ้ เพือ่ การเกษตร และปรับปรุง โรงเรือนเพาะเห็ด

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ทางตรง  นักเรียนโรงเรียนบ้านหนอง ใหญ่พัฒนา อ.เสิงสาง จ. นครราชสีมา จ�ำนวน 152 คน

ครูและผู้ปกครองของนักเรียน จ�ำนวน 250 คน ทางอ้อม  เด็กในชุมชนจ�ำนวน 200 คน  ผู้ใหญ่ในชุมชน จ�ำนวน 250 คน 

ผลผลิต/ผลกระทบ นักเรียนที่ร่วมโครงการเรียนรู้ที่จะ ยอมรับผู้อื่นที่แตกต่างไปจากตนเอง และรูว้ า่ การรังแกผูอ้ นื่ จะด้วยการพูด ดู ถู ก ล้ อ เลี ย น หรื อ การท� ำ ร้ า ย ร่างกายเป็นการกระท�ำที่ไม่ถูกต้อง

100% ของนักเรียน มีแหล่งอาหาร ที่มีโปรตีนไว้ส�ำหรับประกอบจัดท�ำ อาหารกลางวันในปริมาณที่เพียงพอ และถูกหลักโภชนาการ

โรงเรียนสามารถผลิตผลผลิตทาง การเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนโครงการ อาหารกลางวันอย่างยัง่ ยืน โดย นักเรียนเป็นคนด�ำเนินการ

50% ของนักเรียนมีความรู้ความ เข้าใจในการผลิตผลทางการเกษตร ที่มีคุณภาพ และการเลี้ยงสัตว์ไว้ รับประทาน และน�ำทักษะไปใช้ใน ชีวิตประจ�ำวัน ขยายผลไปสู่ชุมชน และท้องถิ่นได้


075

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

กรอบการท�ำงาน 3. ด้านส่งเสริมการ ศึกษาและสุขภาพ อนามัยที่ดี

โครงการ มอบเงินสนับสนุนโครงการ สร้างอาคารเรียนส�ำหรับ เด็กบกพร่องทางสติปัญญา ให้แก่มูลนิธิสถาบัน แสงสว่างในพระอุปภัมถ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  มอบเงินสมทบทุนโครงการ “อ่านสนุก สุขใจ ได้ปญั ญา” ของมูลนิธไิ ทยคม

ผู้ได้รับผลประโยชน์ เด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม ภายใต้การอุปถัมภ์ ของมูลนิธิฯ

ผลผลิต/ผลกระทบ

เด็กมีความต้องการพิเศษดังกล่าวนี้ ได้มีอาคารเรียนหลังใหม่ 4 ชั้น ที่มี ห้องเรียน ห้องฝึกทักษะ ห้องฝึก อาชีพ และห้องกิจกรรมต่างๆ รวม 34 ห้อง ท�ำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะ การเรียนรู้และการช่วยเหลือพึ่งพา ตนเอง ตลอดจนอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข  นักเรียนระดับประถมศึกษา  นั ก เรี ย นได้ อ ่ า นหนั ง สื อ นิ ท านสอง ในโรงเรียนขนาดเล็ก ภาษาทีเ่ สริมสร้างจินตนาการ ทักษะ ทั่วประเทศ ประมาณ 28 แห่ง ภาษาและท�ำ ให้มี นิ สั ย รั ก การอ่า น มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น

4. ด้านบรรเทาทุกข์และ  บริจาคเงินสนับสนุน สาธารณกุศล สภากาชาดไทย ส�ำหรับ จัดงานคอนเสิรต์ การกุศล "ICON A CONCERT FOR CHARITY"

ผู้ที่ความพิการบนใบหน้าและ  ศูนย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขความ กะโหลกศีรษะ ที่มารักษาตัว พิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ชนิดรุนแรง มีเงินทุนส�ำหรับให้ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและ บริการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้น กระโหลกศีรษะที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  บริจาค "มูลนิธิโรงพยาบาล  ผู้ป่วยจิตเวช  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยามี สมเด็จเจ้าพระยาในพระบรม สถานที่และอุปกรณ์จ�ำเป็นรองรับ ราชูปถัมภ์ฯ" ระดมทุนจัด การให้บริการผู้ป่วยได้เพียงพอ หารายได้สร้างอาคารผู้ป่วย จิตเวชสูงอายุ  บริจาคเงินให้กบ ั สมาคม  สมาชิกสมาคมวัฒนธรรม  สมาคมฯ มีเงินทุนในการด�ำเนินงาน วัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-จีน เศรษฐกิจไทย-จีน จ�ำนวน ของสมาคมฯ เพื่อส่งเสริมและ 409 คน สนับสนุนสมาชิกที่เป็นนักธุรกิจ ไทย-จีน  บริจาคเงินสมทบ “เข็มวัน  พระภิกษุอาพาธ  มูลนิธิอานันทมหิดลมีรายได้เพื่อน�ำ ไปสงเคราะห์พระภิกษุอาพาธอานันทมหิดล” ประจ�ำปี  ผูป ้ ว่ ยยากไร้ ผู้ป่วยยากไร้” ซึ่งรักษาตัวที่ 2558 ให้แก่มลู นิธคิ ณะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มหาวิทยาลัย  มอบทุนช่วยเหลือเด็กที่  เด็กที่ป่วยที่อยู่ภายใต้การดูแล  เพิ่มโอกาสในการรักษาพยาบาลแก่ ปราศจากทุนทรัพย์ดา้ นการ ของโครงการปันฝัน ปันยิ้ม เด็กและเยาวชนที่เจ็บป่วย รักษาโรคและร่วมสนับสนุน รายการ “ปันฝัน ปันยิม้ ”

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


076

การพั ฒ น าอ ย่ า งยั่ ง ยื น และ คว าม รั บ ผิ ดช อ บ ต ่ อ สั งคม

9. นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมการด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม

ด้วยการด�ำเนินนโยบายประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม TTA จึงมีนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกระบวนการด�ำเนินธุรกิจ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมดหรือการพัฒนา ต่อยอด เพื่อน�ำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและความยั่งยืนของธุรกิจ รวมทั้งการฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมการ ด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม 1. การบริหารจัดการธุรกิจ

แนวทางในการปฏิบัติ กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  ส� ำ รวจกระบวนการธุ ร กิ จ ของ  น วั ต กรรมที่ ใ หม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการเรี ย นรู ้ ใ นการ กิจการว่าก่อให้เกิดความเสี่ยง ปฏิบัติงาน ของ โทรีเซน ชิปปิ้ง ได้แก่ หรื อ มี ผ ลกระทบทางลบต่ อ มาตราการลดมลพิษ และปริมาณการปล่อยก๊าซ สังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เรือนกระจก

การใช้น้�ำมันเชื้อเพลิง Low Sulfur ซึ่งมีส่วนผสม ของก�ำมะถันต�่ำ และการทดลองใช้น�้ำยาพิเศษผสม ในน�ำ้ มันเชือ้ เพลิงเพือ่ ช่วยท�ำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น

การใช้ระบบควบคุมปริมาณน�้ำมันหล่อลื่น (Alpha Lubricator) ของเชื้อสูบเครื่องจักรใหญ่ และการ ติดตั้งอุปกรณ์ Mewis Duct ให้กับเรือเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ มาตรการประหยัดพลังงาน 

การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สามารถค�ำนวณหาอัตราการ กินน�้ำลึกของเรือได้อย่างเหมาะสมกับร่องน�้ำใน แต่ละเขต ท�ำให้ประหยัดพลังงานในการใช้ขบั เคลือ่ น เครื่องยนต์

เพิ่มความถี่ในการขัดล้างตัวเรือและใบจักร เพื่อลด แรงเสียดทานขณะเรือวิ่ง

ทดสอบกระบวนการขัดล้างตัวเรือ 100% และใช้สี ที่ลดแรงเสียดทานของน�้ำทะเล

ก ารศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ข องการใช้ แ รงลมขั บ เคลื่อนตัวเรือโดยใช้ Sky Sail

ปรับโหมดเดินเรือให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน

การใช้สีกันเพรียง ปลอดสารดีบุก ระหว่างที่น�ำเรือ เข้าอู่เพื่อซ่อมบ�ำรุงรักษา

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


077

ก า ร พั ฒ นา อ ย ่ า งยั่ งยื นแล ะค ว า ม รั บ ผิ ด ชอ บ ต ่ อ สั ง คม

นวัตกรรมการ ด�ำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ระดับพันธมิตรทางธุรกิจ

3. การเผยแพร่สู่สาธารณะ

แนวทางในการปฏิบัติ  ส่งเสริมให้มีการร่วมมือกับ คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้าง รูปแบบการท�ำงานร่วมกัน แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น การพัฒนาสินค้าใหม่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่ด�ำเนินการ  บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น บริษัทในเครือได้ร่วมกับบริษัท ปตท. ส�ำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกความ ร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนายานยนต์ใต้น�้ำ อัตโนมัติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และ ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายใน การสร้างเทคโนโลยียานยนต์ใต้น�้ำอัตโนมัติต้นแบบ ทีใ่ ช้งานได้จริง (pilot-scale) ทีพ่ ฒ ั นาโดยฝีมอื คนไทย  ก ารสื่ อ สารข้ อ มู ล ต่ า งๆ ไว้ ใ น  เผยแพร่ข้อมูลในเว็บไซต์ หรือรายงานประจ�ำปี และ เว็บไซต์บริษทั ฯ หนังสือรายงาน สื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ ประจ�ำปี และสือ่ ประชาสัมพันธ์ ภายในองค์กร ฯลฯ เพือ่ ให้กลุม่ ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบอย่าง ทั่วถึง

10. การจัดท�ำรายงานแห่งความยั่งยืน

ในการด�ำเนินกิจการของ TTA ต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ตลอดจนมีธรรมาภิบาลเป็นเครื่องก�ำกับ ความโปร่งใสและยุติธรรม โดยค�ำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการท�ำงานของทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ผลทางบวกหรือทางลบ (ส่งเสริมผลทางบวกและลดหรือขจัดผลทางลบให้หมดไป) โดยเรามีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงกระบวนการ ในการด�ำเนินธรุกิจให้หล่อหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR in Process) เพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน โดย ในระหว่างนี้ TTA ยังคงมีการเผยแพร่ข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านสื่อ ประชาสัมพันธ์ภายใน ภายนอกและเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่างสม�่ำเสมอ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


078

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ

ารก�ำกับดูแลกิจการ หมายถึง ระบบที่จัดให้มีโครงสร้าง และกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อสร้างความ สามารถในการแข่งขัน น�ำไปสู่การเติบโตและเพิ่มคุณค่าให้กับ ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“บริ ษั ท ฯ” หรือ “TTA”) ที่จัด ขึ้น เมื่อวัน ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการก�ำกับดูแล กิจการ เพือ่ ท�ำหน้าทีท่ บทวนแนวปฏิบตั ใิ นการก�ำกับดูแลกิจการ และคู่มือจริยธรรมธุรกิจ และตรวจสอบการปฏิบัติให้เป็นไป ตามกรอบของจริยธรรม คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการได้ทบทวนนโยบายการก�ำกับ ดูแลกิจการของบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2555 หลักการก�ำกับดูแลกิจการของ TTA มีดังต่อไปนี้  ข้ อ ก� ำ หนดของกฎหมาย การบริ ห ารจั ด การและการด� ำ เนิ น ธุรกิจจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย กฎบัตร กฎเกณฑ์และมติ ของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง  ความรั บ ผิ ด ชอบ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งทุ ก ราย รวมถึ ง คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการจะต้องตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ของตน  ความโปร่งใส การประกอบธุรกิจและการด�ำเนินการทางธุรกิจ จะต้องสามารถตรวจสอบได้และมีความโปร่งใส  การมีส่วนร่วม ต้องรับรู้และยอมรับในสิทธิของผู้ถือหุ้นและ ผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัทฯ  หลักความคุ้มค่า ในการลงทุนและการใช้ทรัพยากรทั้งหลาย จะต้องค�ำนึงถึงผลตอบแทนทางการเงินและเศรษฐกิจ องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ ของนโยบายการก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การของ บริษัทฯ อันสอดคล้องกับแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) มีดังต่อไปนี้ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น 2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 5. โครงสร้างและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการได้ตรวจสอบรายงานว่าด้วย การก�ำกับดูแลและมีความเห็นว่า TTA ได้ปฏิบตั ติ ามข้อพึงปฏิบตั ิ ในการก�ำกับดูแลกิจการโดยทั่วไป

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

การด�ำเนินงานตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการส�ำหรับรอบปีบญ ั ชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้

1. สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษทั ฯ เล็งเห็นและตระหนักถึงความส�ำคัญของผูถ้ อื หุน้ และการ ปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทฯ ปกป้องสิทธิของ ผู้ถือหุ้นด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่ใช้ บังคับอย่างเคร่งครัด ตลอดจนก�ำหนดให้มีระบบการควบคุม ภายในที่เหมาะสมและตรวจสอบการปฏิบัติตามด้วย

การประชุมผู้ถือหุ้น

นโยบายของบริษัทฯ คือจะจัดประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมาย ก�ำหนด และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่ โดยได้รับข้อมูลอย่างดีก่อนหน้าที่จะใช้สิทธิดังกล่าว บริษัทฯ จะ จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปีภายใน 4 เดือน นับจาก วันสิน้ รอบปีบญ ั ชีของบริษทั ฯ โดยเป็นไปตามกฎหมายทีใ่ ช้บงั คับ และข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ นับตั้งแต่การเรียกประชุม การแจ้งวาระการประชุม การส่งเอกสารการประชุม การด�ำเนิน การประชุมไปจนถึงการน�ำส่งรายงานการประชุม การประชุม ผูถ้ อื หุน้ คราวอืน่ นอกจากทีก่ ล่าวมาแล้ว ในกรณีทบี่ ริษทั ฯ มีความ จ� ำ เป็ น เร่ ง ด่ ว นต้ อ งเสนอวาระเป็ น กรณี พิ เ ศษ ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ ง ทีก่ ระทบหรือเกีย่ วข้องกับผลประโยชน์ของผูถ้ อื หุน้ หรือเกีย่ วข้อง กั บ เงื่ อ นไขหรื อ กฎเกณฑ์ กฎหมายที่ ใ ช้ บั ง คั บ ที่ ต ้ อ งได้ รั บ การอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เป็นกรณีไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ตีพิมพ์หนังสือบอกกล่าวการประชุมใน หนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยอย่างน้อย 1 ฉบับ และ หนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 ฉบับ เป็นเวลา ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน ซึ่งไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนการประชุม สามั ญ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ประจ� ำ ปี แ ต่ ล ะครั้ ง รวมถึ ง บริ ษั ท ฯ ยั ง ได้ เผยแพร่หนังสือบอกกล่าวการประชุมในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ http://www.thoresen.com อีกด้วย ทั้ ง นี้ ในรอบปี บัญชี 2557 บริ ษั ท ฯ ได้ จั ด การประชุ มใหญ่ สามัญประจ�ำปีของผูถ้ อื หุน้ ครัง้ ที่ 1/2558 เมือ่ วันที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องแอทธินีคริสตัลฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม พลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ เลขที่ 61 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2558 ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องแอทธินีคริสตัลฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ เลขที่ 61 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ มหานคร 10330 ประเทศไทย เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยน รอบบัญชี จากเดิมเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดลงใน


079

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เป็นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดลง ในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ตามมติของทีป่ ระชุมสามัญประจ�ำ ปีผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 โดยให้เริ่ม งวดบัญชีแรกในรอบวันที่ 1 ตุลาคม 2557 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่มีการเรียกประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) รายละเอียดกระบวนการประชุมผู้ถือหุ้น มีดังนี้

นี้ หนังสือบอกกล่าวการประชุมดังกล่าวได้ถูกน�ำมาลงไว้ใน เว็บไซต์ของบริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมี เวลาในการศึกษาข้อมูลเพือ่ ประกอบการตัดสินใจ ทัง้ นีค้ วามเห็น ของคณะกรรมการบริษทั ฯ จะมีอยูใ่ นแต่ละวาระของการประชุม บริษัทฯ สนับสนุนส่งเสริมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทุกกลุ่ม รวมถึง ผูถ้ อื หุน้ ประเภทสถาบันให้เข้าร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ ทัง้ นี้ นอกเหนือ จากการส่งเอกสารทางไปรษณีย์แล้ว เพื่อผลประโยชน์ของ ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงได้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบผ่านช่องทาง ของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ถึ ง การเผยแพร่ ห นั ง สื อ บอกกล่ า ว (ก) วิธีการก่อนการประชุม การประชุ ม ใหญ่ ส ามั ญ ประจ� ำ ปี ผู ้ ถื อ หุ ้ น ของบริ ษั ท ฯ ครั้ ง ที่ ในรอบปีบัญชี 2557 ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่ง 1/2558 และครั้งที่ 2/2558 พร้อมเอกสารประกอบการประชุม ประชุมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ ทั้ ง ชุ ด ให้ ส ามารถดาวน์ โ หลดจากเว็ บ ไซต์ ข องบริ ษั ท ฯ ที่ สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ในวันที่ 28 มกราคม http://www.thoresen.com ได้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2558 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องแอทธินีคริสตัลฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม และวันที่ 8 เมษายน 2558 ตามล�ำดับ พลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ เลขที่ 61 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ตีพิมพ์หนังสือบอกกล่าวการประชุม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ประเทศไทย ในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยอย่างน้อย 1 ฉบับ และ นอกจากนี้ ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 หนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 ฉบับ เป็นเวลา ในทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ ซึง่ ประชุมเมือ่ วันที่ 17 มีนาคม ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน ซึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันล่วงหน้าก่อนการ 2558 มีมติให้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้น ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปีแต่ละครั้ง ทั้งนี้ หนังสือบอกกล่าว ครั้งที่ 2/2558 ในวันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.30 น. ณ การประชุ ม ใหญ่ ส ามั ญ ประจ� ำ ปี ผู ้ ถื อ หุ ้ น ของบริ ษั ท ฯ ครั้ ง ที่ ห้องแอทธินคี ริสตัลฮอลล์ ชัน้ 3 โรงแรมพลาซ่าแอทธินี กรุงเทพฯ 1/2558 ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เลขที่ 61 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 3 วัน คือวันที่ 21-23 มกราคม 2558 และหนังสือบอก 10330 ประเทศไทย กล่าวการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ครั้งที่ โดยสถานที่จัดการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าว เป็นสถานที่ซึ่งมี 2/2558 ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบบขนส่งมวลชนทีผ่ ถู้ อื หุน้ สามารถใช้ในการเดินทางไปเข้าร่วม เป็นเวลา 3 วัน คือวันที่ วันที่ 8 - 10 เมษายน 2558 ประชุมได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แจ้งก�ำหนดวัน เวลา นอกจากนี้ ก่อนการประชุมสามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้นในแต่ละ สถานที่ประชุมและระเบียบวาระการประชุมพร้อมรายละเอียด ครัง้ ผูถ้ อื หุน้ จะได้รบั รายละเอียดการประชุม เช่น เวลา และสถานที่ ประกอบมติคณะกรรมการบริษัทฯ ในแต่ละวาระที่เสนอต่อที่ จัดการประชุม ระเบียบวาระการประชุมประกอบกับเหตุผลและ ประชุม ให้ผู้ถือหุ้นรับทราบผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ในแต่ละวาระที่เสนอต่อที่ ในวันท�ำการถัดจากวันที่คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้เรียก ประชุม แบบฟอร์มหนังสือมอบฉันทะ และรายการเอกสารทีต่ อ้ ง ประชุมผู้ถือหุ้น ใช้ในการเข้าร่วมประชุม เพื่อช่วยผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิและลง บริษัทฯ ก�ำหนดวันปิดสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น เพื่อเป็น คะแนนเสียงในแต่ละวาระการประชุม การให้เวลาในการพิจารณาหนังสือบอกกล่าวการประชุม หรือ (ข) ณ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น การขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการประชุม โดยบริษัทฯ ได้ส่งหนังสือ บอกกล่าวการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้นครั้งที่ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้อ�ำนวยความสะดวกในการ 1/2558 และเอกสารการประกอบการพิจารณาให้กับผู้ถือหุ้น ลงทะเบี ย นผู ้ ถื อ หุ ้ น โดยการจั ด ช่ อ งลงทะเบี ย นแยกระหว่ า ง และตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 และบริษัทฯ ผูถ้ อื หุน้ และผูร้ บั มอบฉันทะ และได้นำ� ระบบบาร์โค้ดมาใช้ในการ ได้ ส ่ ง หนั ง สื อ บอกกล่ า วการประชุ ม ใหญ่ ส ามั ญ ประจ� ำ ปี ข อง ลงทะเบียนส�ำหรับผู้เข้าร่วมประชุม และใช้ในการนับคะแนน ผูถ้ อื หุน้ ครัง้ ที่ 2/2558 และเอกสารการประกอบการพิจารณาให้ พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้แนบซองจดหมายแบบตอบรับไว้ เพื่อให้ กับผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558 ผู้ถือหุ้นส่งหนังสือมอบฉันทะมาทางไปรษณีย์อีกด้วย นอกจากนี้ ซึ่งไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนการประชุมแต่ละครั้ง อย่างไรก็ดี บริษทั ฯ ได้มกี ารน�ำระบบการลงคะแนนเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์ บริษทั ฯ จะพยายามอย่างเต็มทีท่ จี่ ะด�ำเนินการจัดส่งหนังสือบอก (e-voting) ของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวการประชุมให้แก่ผถู้ อื หุน้ ให้ได้มากกว่า 14 วันล่วงหน้าก่อน จ�ำกัด (TSD) มาใช้ในการลงทะเบียนผู้ถือหุ้นและการนับคะแนน การประชุม ตามหลักปฏิบัติที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจาก เสียงเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


080

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

(ค) ระหว่างการประชุม

บริษัทฯ จัดเตรียมและน�ำส่งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2558 และ ครั้งที่ 2/2558 ให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ประธานกรรมการท�ำหน้าที่เป็นประธานการประชุมผู้ถือหุ้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายในระยะเวลา เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้กบั ผูถ้ อื หุน้ และเพือ่ ให้เกิดความชัดเจน ที่ ก� ำ หนดหลั ง จากการประชุ ม นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารเผยแพร่ มีการใช้สื่อมัลติมีเดียในการน�ำเสนอระหว่างการประชุมทั้งหมด รายงานการประชุมในเว็บไซต์ของบริษัทฯ อีกด้วย บริษัทฯ จัดการประชุมตามวาระที่ได้ก�ำหนดและเปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นทุกคนได้ลงคะแนนเสียงของตนอย่างเท่าเทียมกัน 2. การปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ อย่างเท่าเทียมกัน ในที่ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2558 ที่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 และครั้งที่ 2/2558 ที่จัดขึ้น 2.1 การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน เมือ่ วันที่ 27 เมษายน 2558 ทีผ่ า่ นมานัน้ บริษทั ฯ ได้เชิญทีป่ รึกษา บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทั้งในแง่การเปิดเผยข้อมูล กฎหมายจากบริษัทกฎหมาย เอชเอ็นพี จ�ำกัด เป็นคนกลางที่ วิธีท�ำบัญชี การใช้ข้อมูลภายใน และผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง เป็นอิสระ (independent inspector) เพื่อท�ำหน้าที่ตรวจสอบ บริษัทฯ ตระหนักถึงหน้าที่ในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกคนอย่าง การลงทะเบียนและการนับคะแนนเสียงในที่ประชุม และใน เท่าเทียมกัน บริษัทฯ มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์และสิทธิของ การประชุมผูถ้ อื หุน้ ทัง้ สองครัง้ ดังกล่าวประธานในทีป่ ระชุมได้ขอ ผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงสิทธิในการได้รับเงินปันผลและรับทราบข้อมูล ให้มีผู้ถือหุ้น 2 คนมาเป็นสักขีพยาน ในการนับคะแนนเสียงด้วย ที่เกี่ยวข้องและเพียงพอจากบริษัทฯ ในเวลาอันสมควรอย่าง ส�ำหรับการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2558 สม�่ำเสมอ บริษัทฯ ยังมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างโปร่งใสและ มีผู้ถือหุ้นในที่ประชุม 2 คน เสนอขอเป็นสักขีพยานในการ แสดงความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารผ่านการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ นับคะแนนเสียงในการประชุม เพื่อให้การประชุมผู้ถือหุ้นของ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติที่จะอ�ำนวยความ บริษัทฯ เป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย สะดวกให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ในการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้ง บริษัทฯ ได้รับการประเมินผลจากการส�ำรวจการก�ำกับดูแล ก่อนการประชุมผูถ้ อื หุน้ ใดก็ตาม ผูถ้ อื หุน้ แต่ละรายจะได้รบั ข้อมูล กิจการบริษัทจดทะเบียนในระดับ “ดีเลิศ” (ช่วงคะแนนระหว่าง ทีค่ รบถ้วนและเพียงพอเกีย่ วกับวาระการประชุมทีม่ กี ารน�ำเสนอ 90-99) ส�ำหรับคุณภาพของการจัดงานการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ซึ่งจะแนบไปพร้อมกับหนังสือบอกกล่าวการประชุม ประจ�ำปี อย่างต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ ปี 2550 ทัง้ นี้ ในปี 2558 บริษทั ฯ ได้รบั ผลคะแนนการประเมินคุณภาพการจัดงานการประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นจะได้รับแบบฟอร์มหนังสือมอบฉันทะ เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2558 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ผู้ถือหุ้นแต่งตั้งตัวแทน หรือเลือกกรรมการอิสระคนใดคนหนึ่ง เท่ากับ 98.00คะแนน/1 เพิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับ ปี 2557 ทีไ่ ด้ 96.125 เป็นผูร้ บั มอบอ�ำนาจในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงมติใน คะแนน โดยผลคะแนนอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” สูงกว่าคะแนน ที่ประชุมแทนตน เฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมทั้งหมด 575 บริษัทที่เข้า ร่วมโครงการ ทั้งนี้ ผลการประเมินมาจากแบบการประเมิน 2.2 การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน ด�ำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors คณะกรรมการบริษทั ฯ ห้ามมิให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงาน Association or TIA) ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับ ใช้โอกาสหรือข้อมูลทีไ่ ด้รบั ขณะท�ำงานในต�ำแหน่งของตนเพือ่ หา หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) และสมาคมบริษัท ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อจัดตั้งธุรกิจที่แข่งหรือเกี่ยวข้องกับ จดทะเบียนไทย ธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงการห้ามใช้ข้อมูลภายในที่ส�ำคัญ /1 หมายเหตุ ไม่มีการประเมินคุณภาพการจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจ�ำ เพือ่ ซือ้ หรือขายหุน้ และหลักทรัพย์ของบริษทั ฯ เพือ่ ผลประโยชน์ ปีผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 เนื่องจาก ของบุ ค คลเหล่ า นั้ น และห้ า มการให้ ข ้ อ มู ล ภายในแก่ บุ ค คล สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ประเมิน หรือนิติบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายหุ้นและหลักทรัพย์ของบริษัทฯ คุณภาพการจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีครัง้ หลังสุด คือ ครัง้ ที่ 2/2558 บริษัทฯ ได้ก�ำหนดให้กรรมการและผู้บริหารจะต้องรายงาน เท่านั้น ธุรกรรมการซือ้ ขายหุน้ และหลักทรัพย์ของบริษทั ฯ และฐานะการ (ง) วิธีการหลังการประชุม ถือครองหุน้ ของตนทุกครัง้ เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลง โดยให้รายงาน บริษัทฯ ได้แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมรายละเอียดผลการ การซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทฯ ในวันเดียวกับที่ส่งรายงาน ออกเสียงลงคะแนนของแต่ละวาระการประชุมผ่านช่องทาง ต่อ ก.ล.ต. บริษทั ฯ มีขอ้ ก�ำหนดห้ามกรรมการและผูบ้ ริหารอาวุโส ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ ทุกคนซื้อขายหุ้นและหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง 3 สัปดาห์ ก่อนการเปิดเผยผลการด�ำเนินงานทางการเงินรายไตรมาสและ http://www.thoresen.com รายปีของบริษัทฯ ข้อห้ามนี้ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่กรรมการ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


081

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

ของบริษัทฯ มีส่วนได้เสียที่เป็นประโยชน์ นิติบุคคลที่ว่าจ้าง กรรมการของบริษัทฯ หรือที่กรรมการของบริษัทฯ ท�ำการ เป็ น ตั ว แทน โดยเลขานุ ก ารบริ ษั ท จะท� ำ หน้ า ที่ แ จ้ ง เตื อ น คณะกรรมการและผูบ้ ริหารเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนถึงช่วงระยะเวลาห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์

(ข) พนักงาน

บริษทั ฯ ถือว่าพนักงานเป็นหนึง่ ในทรัพยากรทีส่ ำ� คัญของบริษทั ฯ จึงได้วา่ จ้างพนักงานทีม่ คี วามสามารถและประสบการณ์ตามแผน กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของบริษัทฯ และมุ่งรักษาพนักงาน ให้ทำ� งานในระยะยาว โดยสร้างสมดุลระหว่างชีวติ การท�ำงานและ ชีวิตส่วนตัวให้กับพนักงาน บริษัทฯ มีการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ 2.3 การเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสีย พนักงานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการจ่ายผลตอบแทน ตั้งแต่ปี 2552 บริษัทฯ ได้ก�ำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของ ของอุ ต สาหกรรมเดี ย วกั น บริ ษั ท ฯ มี น โยบายค่ า ตอบแทน บริษัทฯ ส่งรายงานการมีส่วนได้เสียซึ่งมีเนื้อหาสรุปเกี่ยวกับการ พนักงานที่สอดคล้องกับผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งใน ถือครองหุน้ และการเป็นกรรมการในบริษทั อืน่ ของกรรมการและ ระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งระยะสั้น ได้แก่ เงินเดือน เงินรางวัล ผู้บริหารของบริษัทฯ และของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ประจ�ำปี โดยการพิจารณาค่าตอบแทนของพนักงานจะพิจารณา และผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ซึง่ ข้อมูลนีจ้ ะถูกเก็บไว้กบั บริษทั ฯ เพือ่ จากผลประเมินการปฏิบัติงานของพนักงาน และผลการด�ำเนิน ติดตามรายการเกี่ยวโยงหรือรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจ งานของบริษทั ฯ และในระยะยาวได้แก่ กองทุนส�ำรองเลีย้ งชีพให้ เกิดขึน้ กรรมการและผูบ้ ริหารอาวุโสทีเ่ ข้าใหม่ของบริษทั ฯ จะส่ง แก่พนักงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการด�ำรงชีพ และเพื่อ รายงานนี้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นหลักประกันแก่พนักงานภายหลังสิน้ สุดการเป็นพนักงานหรือ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของบุคคลเกี่ยวโยงและญาติสนิท เกษียณอายุการท�ำงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดให้มีสวัสดิการ กรรมการและผู ้ บ ริ ห ารจะส่ ง รายงานที่ แ ก้ ไ ขใหม่ ใ ห้ บ ริ ษั ท ฯ ต่างๆ ให้กับพนักงานประจ�ำ ซึ่งรวมถึง ประกันชีวิต ประกัน ภายใน 14 วันหลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง สุขภาพส่วนบุคคล วันหยุดลาคลอด และวันหยุดประจ�ำปี และ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องละเว้นจากการท�ำ ในปี 2558 ได้เพิ่มวันลาหยุดที่ตรงกับวันเกิดของพนักงาน เพื่อ ธุรกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งใดๆ ทีอ่ าจน�ำไปสูก่ ารขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้พนักงานได้มีเวลาไปท�ำกิจกรรมกับครอบครัวในวันเกิด มี กับบริษัทฯ นอกจากนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานคนใดที่ การจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อที่จะให้ค�ำปรึกษาและค�ำ มีสว่ นได้เสียจะไม่ได้รบั อนุญาตให้เข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจ แนะน� ำ เกี่ ย วกั บ สวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ ของพนั ก งาน โดยหน้ า ที่ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง กรรมการจะถู ก ห้ า มไม่ ใ ห้ พิ จ ารณาหรื อ และความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการสวัสดิการ ประกอบ ลงคะแนนเสียงในเรื่องที่อาจมีการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ ไปด้วย การให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ การตรวจเช็ค และตรวจสอบสวัสดิการที่มอบให้แก่พนักงาน รวมทั้งให้ความ ของกรรมการเหล่านั้นกับบริษัทฯ เห็น และเสนอแนะแนวทางเพิม่ เติม หรือทีจ่ ำ� เป็นเกีย่ วกับการจัด สวัสดิการต่างๆ 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ในด้านสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยในสถานที่ท�ำงาน บริษัทฯ 3.1 การดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ได้กำ� หนดนโยบายความปลอดภัย และจัดตัง้ คณะกรรมการอาชีว อนามัยความปลอดภัยและสิง่ แวดล้อมในสถานประกอบการ เพือ่ (ก) ผู้ถือหุ้น สร้างอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในบริษัทฯ ที่ปลอดภัยกับทั้ง บริษัทฯ มุ่งที่จะด�ำเนินการเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในระยะยาว ชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและของบริษัทฯ พนักงานทุกคน สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นด้วยการพิจารณาความเสี่ยงในการด�ำเนินธุรกิจ จะต้องรายงานสภาพแวดล้อมของการท�ำงานทีไ่ ม่ปลอดภัยให้กบั อย่างรอบคอบ บริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดอย่างยุติธรรมและ ผูบ้ งั คับบัญชาหรือผูท้ ไี่ ด้รบั มอบหมายจากบริษทั ฯ ทราบ ส�ำหรับ โปร่งใสในเวลาอันสมควร และพยายามอย่างดีที่สุดที่จะปกป้อง พนักงานใหม่ ได้มีการอบรมเรื่องความปลอดภัยในวันปฐมนิเทศ ทรัพย์สิน และชื่อเสียงของบริษัทฯ พนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากสิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐาน สิ ท ธิ ที่ ก� ำ หนดไว้ ใ นกฎหมายและ ได้ในที่ท�ำงาน และรู้ถึงการปฏิบัติตัวในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ข้อบังคับบริษัทฯ อาทิ สิทธิในการขอตรวจสอบจ�ำนวนหุ้น สิทธิ อันตรายดังกล่าว ในปี 2558 บริษัทฯ ไม่มีรายงานสถิติการเกิด ในการได้รับใบหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียง อุบตั เิ หตุจากการท�ำงานของพนักงาน และไม่มพี นักงานทีเ่ สียชีวติ ลงคะแนน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในที่ประชุม หรือได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการท�ำงานแต่อย่างใด ผู้ถือหุ้น รวมถึงสิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมแล้ว บริษัทฯ รณณรงค์ และส่งเสริมให้พนักงานทุกฝ่าย ตระหนักถึง บริ ษั ท ฯ ยั ง ได้ ใ ห้ สิ ท ธิ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ในการเสนอแนะข้ อ คิ ด เห็ น ข้อพึงระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปฎิบัติงาน ต่างๆ เกี่ยวกับการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในฐานะเจ้าของ รณรงค์แนวคิด ลด ใช้ซ�้ำ และน�ำกลับมาใช้ใหม่ให้คุ้มค่า เช่น บริ ษั ท ฯ ผ่ านกรรมการอิสระ โดยทุก ๆ ข้อคิด เห็ น จะได้ รั บ การใช้ ก ระดาษพิ ม พ์ ส องด้ า น การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ในรู ป แบบ การรวบรวมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


082

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

อิเลคทรอนิคส์ จัดให้มมี าตรการประหยัดพลังงานในทีท่ ำ� งาน การ ปิดไฟและเครื่องปรับอากาศในจุดที่ไม่จ�ำเป็นต้องใช้งาน หรือใน ช่วงพักกลางวัน และช่วงนอกเวลางาน ในด้านธุรกิจขนส่งทางเรือ บริษัทฯ ได้จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมในด้านการจัดการปริมาณการใช้น�้ำมันเชื้อเพลิง ของเรือสินค้า ส�ำหรับพนักงานเรือ และการจัดการประสิทธิภาพ การใช้พลังงานของเรือสินค้า ส�ำหรับพนักงานออฟฟิศ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ยังให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาของพนักงาน โดยผลักดัน ผ่านแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของพนักงานแต่ละคน บริษัทฯ ส่งเสริมให้มกี ารเรียนรูแ้ ละการพัฒนาของบุคลากร โดยสนับสนุน และจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ ใน หลักสูตรทีเ่ หมาะสมกับอายุงาน สายอาชีพ และความรับผิดชอบ ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มี

การจัดอบรมและสนับสนุนให้พนักงานได้รบั การอบรมทัง้ หมด 26 หลักสูตร โดยหัวข้อการอบรมครอบคลุมทั้งความรู้ด้านเทคนิค และทักษะต่างๆ ในการท�ำงาน (Technical Skills and Soft Skills) บริษัทฯ เชื่ออย่างยิ่งว่าการพัฒนาขีดความสามารถของ พนักงานจะช่วยเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรใน ระยะยาว ในปี 2558 บุคลากรของบริษัทฯ ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนา ในหลักสูตรทีห่ ลากหลาย ได้แก่ Anti-Corruption for Executive Program, Audit Committee Seminar Get Ready for the Year End, Update and Impact: New Accounting Standard 2015 หลักสูตร COSO-2013 กรอบแนวทางระบบการควบคุม ภายใน การจัดท�ำรายงานความยั่งยืนตามกรอบ GRI ฉบับ G4 โดยมีชั่วโมงการฝึกอบรมรวม 560 ชั่วโมง และการฝึกอบรม เฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อคนต่อปี

ข้อมูลสรุปการฝึกอบรมบุคลากรแยกตามระดับของบุคลากรในปี 2558 มีดังนี้ ระดับของบุคลากร ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมจ�ำนวนชั่วโมงการฝึกอบรม

จ�ำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมรวม 136 ชั่วโมง 176 ชั่วโมง 248 ชั่วโมง 560 ชั่วโมง

(ค) คู่สัญญา

จ�ำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี 11.3 ชั่วโมง/คน/ปี 6.5 ชั่วโมง/คน/ปี 5.5 ชั่วโมง/คน/ปี 6.6 ชั่วโมง/คน/ปี

โดยเคร่งครัด ทั้งในเรื่องการชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย และ บริษัทฯ ด�ำเนินธุรกิจกับผู้มีส่วนได้เสียที่ส�ำคัญ ซึ่งรวมถึง ลูกค้า ค่าธรรมเนียม การดํารงอัตราส่วนทางการเงิน และเงื่อนไขอื่นๆ คู่แข่ง เจ้าหนี้ และคู่ค้า และอื่นๆ ตามข้อก�ำหนดและเงื่อนไขการ เป็นต้น และหากเกิดกรณีทบี่ ริษทั ฯ ไม่สามารถปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไข ซื้อขายที่ได้ท�ำเป็นสัญญาอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม โดยมี ข้อใดข้อหนึ่งได้ บริษัทฯ จะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว เพื่อร่วม แนวปฏิบตั ติ อ่ คูส่ ญ ั ญา เพือ่ สร้างความเข้าใจอันดีและความร่วมมือ กันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข ทัง้ นีใ้ นปีทผี่ า่ นมา บริษทั ฯ ไม่มเี หตุ ผิดนัดชําระหนี้แต่อย่างใด ระหว่างกัน ดังนี้ คู่แข่ง บริษัทฯ มีแนวปฏิบัติต่อคู่แข่งโดยการด�ำเนินธุรกิจด้วย คูค่ า้ บริษทั ฯ มีหลักการคัดเลือกคูค่ า้ หรือผูใ้ ห้บริการจากภายนอก โดยเน้นการพิจารณาจากการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจของผูใ้ ห้บริการ ความซื่อตรงและเป็นมืออาชีพ ดังนี้ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ เช่น ความสามารถ  บริ ษั ท ฯ จะไม่ ก ระท� ำ การใดๆ ที่ เ ป็ น การฝ่ า ฝื น หรื อ ขั ด ต่ อ ในการแข่งขัน ความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ การป้องกันและดูแลลูกค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้า และวิธกี ารบริหารความเสีย่ ง หลักเกณฑ์การคัดเลือกผูใ้ ห้บริการ จากภายนอก มีดังนี้  มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลอื่นใดที่กระท�ำการในนามของ  ความสามารถทางเทคนิค รวมถึงความเชีย่ วชาญและประสบการณ์ บริษทั ฯ ด�ำเนินการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เหมาะสมเพือ่  สถานภาพทางการเงิน ให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจ  ความมีชื่อเสียงทางธุรกิจ เจ้าหนี้ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน  ประวัติที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนและการด�ำเนินคดี ระหว่างบริษัทฯ และเจ้าหนี้อยู่เสมอ บริษัทฯ มีนโยบายใน  นโยบายด้านการให้บริการ การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยให้ข้อมูล  ความเสี่ยงจากการให้บริการลูกค้าหลายราย ที่ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้แก่เจ้าหนี้ และยึดมั่นใน  การรักษาความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขของสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้  ประวัติการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


083

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

ในทางกลับกัน บริษทั ฯ มีการปฏิบตั อิ ย่างเป็นธรรมต่อผูใ้ ห้บริการ ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ด้านทุจริตคอร์รัปชั่น จากภายนอก ของบริษทั ฯ โดยได้กำ� หนดกระบวนการเกีย่ วกับการควบคุมต่างๆ เช่น การก�ำหนดกรอบอ�ำนาจในการอนุมัติการท�ำรายการต่างๆ (ง) ลูกค้า ของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ก�ำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดซื้อที่มี บริษัทฯ ตระหนักดีว่าลูกค้ามีความส�ำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความ ระบบ เพื่อป้องกันการทุจริต โดยระบุขั้นตอนการจัดซื้อ อ�ำนาจ ส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงมุ่งที่จะสร้าง หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ คณะกรรมการชุดย่อยที่ท�ำการ ความพอใจให้แก่ลกู ค้าด้วยการให้บริการทีม่ คี ณ ุ ภาพสูง ซึง่ ตอบสนอง ตรวจรับสินค้า ซึ่งจะเป็นคนละกลุ่มกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างยุติธรรมและ บริษัทฯ ได้จัดให้มีหน่วยงานบริหารความเสี่ยง เพื่อท�ำการ อย่ า งมื อ อาชี พ โดยบริ ษั ท ฯ มี น โยบายและแนวทางปฏิ บั ติ ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้าน รวมถึงการประเมิน ต่อลูกค้า ซึง่ ได้กำ� หนดไว้ในคูม่ อื จริยธรรมธุรกิจของบริษทั ฯ ดังนี้ ความเสีย่ งด้านคอร์รปั ชัน่ มีการติดตามแผนการบริหารความเสีย่ ง  ส่งมอบการให้บริการ และสินค้าทีม ่ คี ณ ุ ภาพตามทีล่ กู ค้าต้องการ และมีการทบทวนความเหมาะสม และคณะกรรมการของบริษทั ฯ  ให้ ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ สิ น ค้ า และบริ ก ารของบริ ษั ท ฯ ที่ ถู ก ต้ อ ง ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง ท�ำหน้าทีใ่ นการ ครบถ้วน และในเวลาที่เหมาะสมแก่ลูกค้า ด�ำเนินการทบทวนกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง และ  ปฏิบต ั ติ ามข้อก�ำหนด และเงือ่ นไขทีใ่ ห้ไว้กบั ลูกค้าอย่างเคร่งครัด โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งในข้อเสนอแนวทางใน  ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างสุภาพ และอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ การบริหารความเสีย่ ง และในส่วนการควบคุมภายใน ฝ่ายตรวจสอบ ได้มาซึ่งความไว้วางใจจากลูกค้า ภายใน ท�ำหน้าที่ประเมินระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ เป็น  รักษาความลับของลูกค้า และหลีกเลีย ่ งการใช้ความลับดังกล่าว ประจ�ำทุกปี เพื่อให้ความมั่นใจว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุม เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลอื่นใด ภายในที่เพียงพอและเหมาะสมกับการด�ำเนินธุรกิจ

(จ) ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ เกิดประโยชน์สูงสุด มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีการ น�ำเทคโนโลยีมาใช้และมีการพัฒนากระบวนการท�ำงานทีเ่ ป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมไปกับการปลูกฝังให้พนักงานมีจิตส�ำนึก ในการค�ำนึงถึงผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมควบคูไ่ ปกับการปฏิบตั งิ าน ในหน้าที่ บริษทั ฯ เชือ่ ว่าธุรกิจทีเ่ จริญก้าวหน้าและเติบโตได้อย่าง มัน่ คงยัง่ ยืน จะต้องพัฒนาองค์กรควบคูไ่ ปกับความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม รายละเอียดต่างๆ อยู่ในหัวข้อ “นโยบาย และพันธกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบ ต่อสังคม” ของบริษัทฯ

3.2 การด�ำเนินการในการต่อต้านคอร์รปั ชัน่

บริษทั ฯ ด�ำเนินธุรกิจอย่างมีคณ ุ ธรรม โดยยึดมัน่ ในความรับผิดชอบ ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เกี่ ย วกั บ การต่ อ ต้ า นคอร์ รั ป ชั่ น คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ อนุมตั ใิ ห้มนี โยบายการต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ (Anti-Corruption Policy) อีกทัง้ ยังได้มกี ารรวบรวมข้อพึงปฏิบตั ไิ ว้เป็นลายลักษณ์ อักษรมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ ในเรื่องการต่อต้านการทุจริต บริษัทฯ ได้เผยแพร่นโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นให้ พนักงานในองค์กรได้รบั ทราบผ่านทางอินทราเน็ต และได้สอื่ สาร ให้แก่ทั้งกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทราบ และก�ำหนดให้มี ระบบการควบคุมภายในตามมาตรการต่อต้านการคอร์รปั ชัน่ เพือ่

3.3 การต่อต้านการทุจริตและการจ่ายสินบน

บริษัทฯ ได้ก�ำหนดเป็นแนวปฏิบัติข้อหนึ่งในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ทีพ่ นักงานทุกคนจะต้องปฏิบตั ใิ นเรือ่ งเกีย่ วกับของขวัญ และการ เลีย้ งรับรองต่างๆ พนักงานไม่ควรรับหรือให้ของขวัญ ความช่วยเหลือ ในการเลี้ยงรับรองต่างๆ หากการรับหรือการให้นั้นผูกมัดหรือดู เหมือนว่าจะผูกมัดผูร้ บั หรือหากการรับหรือการให้นนั้ ถือว่าเป็น ความพยายามที่จะให้มีอิทธิพลอยู่เหนือการตัดสินใจ กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน และสมาชิกครอบครัวของ บุคคลเหล่านี้ ไม่ควรจะยอมรับหรือรับของขวัญหรือการเลี้ยง รับรองใดๆ ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ เชิงธุรกิจที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา (ข) มีมูลค่าสูงมาก (ค) อาจตีความ ได้วา่ เป็นเงินทีม่ ภี าระผูกพัน เงินสินบน หรือการจ่ายเงินทีล่ ะเมิด ต่ อ กฎหมาย (ง) ละเมิ ด ต่ อ กฎหมายหรื อ เสื่ อ มเสี ย ชื่ อ เสี ย ง แก่บริษัทฯ หากถูกเปิดเผย

3.4 การด�ำเนินการในกรณีมีผู้แจ้งเบาะแส และการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส

บริษัทฯ มีมาตรการคุ้มครองให้กับผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน ผู้แจ้ง เบาะแสในการกระท�ำผิด หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงาน ดังกล่าว (Whistle Blowing Policy) โดยผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผูแ้ จ้งเบาะแสสามารถเลือกทีจ่ ะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็น ว่าการเปิดเผยนัน้ จะท�ำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือความเสียหาย และบริษัทฯ จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ และค�ำนึง ถึงความปลอดภัยของผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส บริษัทฯ ได้ก�ำหนดนโยบายคุ้มครองการร้องเรียนที่สุจริตกรณี ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


084

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

ผูร้ อ้ งเรียนเป็นพนักงาน เพือ่ ปกป้องพนักงานผูร้ อ้ งเรียนจากการ ถูกตอบโต้หรือแก้แค้น โดยบริษัทฯ จะด�ำเนินการทางวินัย รวม ถึ ง การเลิ ก จ้ า งพนั ก งานที่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การตอบโต้ หรือการแก้แค้นดังกล่าว ตามที่ได้ระบุไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ของบริษัทฯ

ของกรรมการอิสระแต่ละท่านอย่างสม�่ำเสมอทุกปี บริษัทฯ เห็น ว่า กรรมการของบริษัทฯ ทุกคนที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นต่างเป็นกรรมการที่ทรงคุณวุฒิมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ตลอดมา และหากที่ ป ระชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น ยั ง คงให้ ค วามไว้ ว างใจ โดยเลือกตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเป็นกรรมการของ 3.5. ช่องทางในการติดต่อบริษัทฯ ส�ำหรับ บริษัทฯ ก็ย่อมจะต้องเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงไม่ ได้มีการก�ำหนดจ�ำนวนวาระการด�ำรงต�ำแหน่งติดต่อกันของ ผู้มีส่วนได้เสีย กรรมการหรือกรรมการอิสระไว้ตายตัว บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางในการรายงานมายังคณะกรรมการ ตรวจสอบ หากมีขอ้ สงสัย หรือพบเห็นการฝ่าฝืน หรือการกระท�ำ (2) บริ ษั ท ฯ ไม่ ไ ด้ ก� ำ หนดจ� ำ นวนบริ ษั ท ที่ ก รรมการและ ทุ จ ริ ต และคอร์ รั ป ชั่ น โดยแจ้ ง ผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ ข องบริ ษั ท ฯ ผูบ้ ริหารระดับสูงแต่ละคนจะไปด�ำรงต�ำแหน่งไว้ เนือ่ งจากเกรงว่า ที่ http://www.thoresen.com หรื อ ทางอี เ มล จะท�ำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสในการได้บุคลากรที่มีคุณภาพมา whistleblowing@thoresen.com หรื อ ทางไปรษณี ย ์ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้ มีการทบทวนจ�ำนวนบริษัทที่กรรมการแต่ละคนด�ำรงต�ำแหน่ง ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ อย่างสม�่ำเสมอทุกปี บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ตู้ ป.ณ.12 ปณฝ. ไทยพาณิชย์ แขวงลุมพินี 4.2 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ได้ ร ายงานไว้ แ ล้ ว ในหั ว ข้ อ “โครงสร้ า งการจั ด การ” เรื่ อ ง ทั้งนี้ ส�ำหรับข้อมูลที่ได้รับ แผนกตรวจสอบภายใน (Internal ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร Audit) จะเปิดกล่องไปรษณีย์เดือนละ 2 ครั้ง จากนั้นจดหมาย ทัง้ หมดจะถูกส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบ (หากมี) เพือ่ รายงาน 4.3 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อ ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมเป็นรายไตรมาส รายงานทางการเงิน

4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของการ บริษัทฯ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เป็นข้อมูล จัดท�ำงบการเงินของบริษัทฯ ที่สามารถแสดงรายละเอียดข้อมูล ทางการเงิน และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ทางการเงินอย่างเพียงพอ มีความโปร่งใสถูกต้อง รวมทั้งมี ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเผยแพร่ให้กับผู้ถือหุ้น การเปิดเผยข้อมูลส�ำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางระบบการสื่อสารของตลาด งบการเงินของบริษัทฯ ตามมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสม และ หลักทรัพย์ฯ ทางเว็บไซต์ของบริษทั ฯ (http://www.thoresen.com) ถือปฏิบัติอย่างสม�่ำเสมอ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบ ข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ (press release) แบบแสดง บั ญ ชี รั บ อนุ ญ าตที่ มี ค วามเป็ น อิ ส ระและมี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ รายการข้อมูลประจ�ำปี 56-1 และทางรายงานประจ�ำปีของ ที่ได้รับการรับรองจาก ก.ล.ต. และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ตลอดจนการเข้าร่วมกิจกรรม SET’s Opportunity และผ่านการสอบทานจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว รวมถึง ได้เปิดเผยค่าสอบบัญชีและค่าบริการอืน่ ๆ ไว้ในรายงานประจ�ำปี Days ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกไตรมาส ทัง้ นีค้ ณะกรรมการบริษทั ฯ ได้จดั ท�ำรายงานความรับผิดชอบของ ข้อมูลส�ำคัญที่เปิดเผย มีดังนี้ คณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินไว้ในรายงานประจ�ำปี และ แบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำปี 56-1 ด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ 4.1 นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการและ ได้มีการจัดประชุมพบปะกับนักวิเคราะห์และมีการแถลงข่าว ต่อสื่อมวลชน รวมถึงการจัดท�ำจดหมายข่าวที่น�ำเสนอถึงฐานะ ผลการปฏิบัติ การเงินของบริษัทฯ ในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้ 4.4 บทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของ ปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ยกเว้นเรื่องต่อไปนี้ (1) บริษทั ฯ ไม่ได้ระบุวาระการด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการอิสระ คณะกรรมการ ไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากบุคลากรที่มีประสบการณ์และความรู้ บริษัทฯ เปิดเผยรายนามพร้อมประวัติของกรรมการแต่ละคน ความสามารถในกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ มีอยู่อย่างจ�ำกัด รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการทบทวนคุณสมบัติ บริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


085

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

ก�ำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง คณะกรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการการลงทุน ไว้ในหัวข้อ “รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ” นี้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและ ผูเ้ กีย่ วข้องทราบถึงความรูค้ วามสามารถ ประสบการณ์และข้อมูล ที่ส�ำคัญอื่นๆ ของกรรมการที่ช่วยสนับสนุนให้บริษัทฯ ประสบ ความส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจได้

โทรสาร 02 655-5631 อีเมลที่ Investors@thoresen.com หรือ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษทั ฯ ที่ www.thoresen.com ซึง่ มีขอ้ มูล ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษที่ ไ ด้ ป รั บ ปรุ ง ให้ ทั น สมั ย เป็ น ปัจจุบันอยู่เสมอ ประกอบด้วยข้อมูลส�ำคัญๆ อาทิ  ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ บริ ษั ท ฯ ประกอบด้ ว ย ประวั ติ ค วามเป็ น มา ลักษณะการประกอบธุรกิจ วิสัยทัศน์และพันธกิจ ค่านิยม องค์กร โครงสร้างทางธุรกิจ รายชือ่ คณะกรรมการและผูบ้ ริหาร 4.5 ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน  รายงานประจ�ำปี (แบบ 56-2)/ แบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำ บริ ษั ท ฯ ได้ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยงานสื่ อ สารองค์ ก ร (Corporate ปี (แบบ 56-1) Communications) และนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations)  การก�ำกับดูแลกิจการ ได้แก่ รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแล กิจการที่ดีของบริษัทฯ รายชื่อคณะกรรมการ คณะกรรมการ เพื่อท�ำหน้าที่ในการสื่อสารกับนักลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ ชุดย่อยและเลขานุการบริษัท จรรยาบรรณธุรกิจ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง และประชาชนทัว่ ไปอย่างเหมาะสมและเท่า  ข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ นั ก ลงทุ น ได้ แ ก่ ข้ อ มู ล ส� ำ คั ญ ทางการเงิ น เทียมกัน งบการเงิน ค�ำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ในรอบปีบญั ชี 2558 สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31  ข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ได้ แ ก่ หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม ผุ ้ ถื อ หุ ้ น ธันวาคม 2558) บริษัทฯ ได้มีการพบปะและให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจ รายงานการประชุมผุ้ถือหุ้น รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ในหลายโอกาส ดังนี้  ข่าวสารและกิจกรรมขององค์กร ได้แก่ ข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจ 1. การประชุมตัวต่อตัวกับผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และนักวิเคราะห์ และข่าวสารเกี่ยวกับโครงการเพื่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม หลักทรัพย์ (40 ครั้ง)  ความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วยนโยบายความรับผิดชอบ 2. การรายงานผลประกอบการของบริษัทฯ ประจ�ำไตรมาส ต่อสังคม กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ในงาน SET’s Opportunity Day ทีจ่ ดั ขึน้ ทีต่ ลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อพบปะพูดคุยถึงผลการด�ำเนินงานทางการเงินครั้งล่าสุด 4.6 นโยบายการแจ้งเบาะแสและนโยบาย ของบริษัทฯ กับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักลงทุนต่างๆ คุ้มครองการร้องเรียนที่สุจริต (4 ครั้ง) 3. การเปิดเผยสารสนเทศทีต่ อ้ งรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี บริษทั ฯ มีนโยบายการแจ้งเบาะแสและนโยบายคุม้ ครองการร้อง (Periodic Reports) เช่น งบการเงินรายไตรมาส รายงาน เรียนที่สุจริต ซึ่งเป็นนโยบายที่อยู่ภายใต้จริยธรรมธุรกิจของ ผลประกอบการประจ�ำไตรมาส สรุปผลการด�ำเนินงานของ บริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ มีการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี และให้สิทธิ บริษัทฯ และบริษัทย่อย (แบบ F45-3) แบบแสดงรายการ แก่พนักงานทุกคนและผูม้ สี ว่ นได้เสียมีชอ่ งทางในการสือ่ สารมายัง ข้อมูลประจ�ำปี 56-1 และ รายงานประจ�ำปี เป็นต้น (14 ครัง้ ) คณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง กรณีมีข้อสงสัย หรือพบเห็น 4. การเปิ ด เผยสารสนเทศตามเหตุ ก ารณ์ (Non-Periodic การฝ่าฝืน หรือการกระท�ำทุจริตและคอร์รัปชั่น การกระท�ำผิด Reports) เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การ กฎหมาย ผิดจรรยาบรรณหรือนโยบายบริษทั ฯ หรือการร้องเรียน ได้มาและจ�ำหน่ายไปซึง่ สินทรัพย์ การลงทุนต่างๆ ของบริษทั ฯ การถูกละเมิดสิทธิ และในการแสดงความคิดเห็น ข้อร้องเรียน เป็นต้น (44 ครั้ง) หรือค�ำแนะน�ำใดๆ ที่มีผลต่อบรรษัทภิบาลและจริยธรรมธุรกิจ 5. ข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ (ทั้งหมด 29 ครั้ง แบ่ง ช่องทางการสื่อสาร มีดังนี้ เป็นข่าวประชาสัมพันธ์ press release 22 ครั้ง special  เว็บไซต์ http://www.thoresen.com report /Advertorials 7 ครั้ง)  อีเมล whistleblowing@thoresen.com 6. การส่งข่าวและภาพข่าวกิจกรรมของบริษทั ฯ ให้แก่สอื่ มวลชน  ทางไปรษณีย์ ที่ตู้ ป.ณ.12 ปณฝ. ไทยพาณิชย์ แขวงลุมพินี (ทั้งหมด 10 ครั้ง แบ่งเป็น ภาพข่าว 4 ครั้ง ข่าวสังคมทั่วไป เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 6 ครั้ง) 7. การจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับสื่อมวลชน (ทั้งหมด 20 ครั้ง แบ่ง เบาะแส ข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะต่างๆ จะได้รับการ เป็น กิจกรรมสัมพันธ์ 2 ครั้ง การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พิจารณาและด�ำเนินการตามความเหมาะสม โดยพิจารณาเป็น ในประเทศ 15 ครั้ง และกับสื่อมวลชนต่างประเทศ 3 ครั้ง) รายกรณี และไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งเบาะแส รวมทั้งด�ำเนินการ จั ด เก็ บ ข้ อ มู ล การร้ อ งเรี ย นไว้ เ ป็ น ความลั บ และมี ม าตรการ โดยผูบ้ ริหารมีสว่ นร่วมในการด�ำเนินงานนักลงทุนสัมพันธ์ทกุ ครัง้ คุม้ ครองผูแ้ จ้งเบาะแส เพือ่ ให้ผแู้ จ้งเบาะแสและผูร้ อ้ งเรียนมัน่ ใจ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสามารถติดต่อหน่วยงานนักลงทุน ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน สัมพันธ์ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02 254-8437 ต่อ 292 หมายเลข ดังกล่าว

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


086

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

4.7 นโยบายว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจด ทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส ได้รายงานไว้แล้วในหัวข้อ “นโยบายและพันธกิจเกี่ยวกับการ พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรสของบุตร ของกรรมการรายอืน่ พัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม” ของบริษัทฯ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอ�ำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะ รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอ�ำนาจ 5. โครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้ควบคุ มของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ของคณะกรรมการ 4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของ (ก) โครงสร้างคณะกรรมการ บริษทั ฯ ในลักษณะทีอ่ าจเป็นการขัดขวางการใช้วจิ ารณญาณ จ�ำนวนของคณะกรรมการเป็นไปตามทีร่ ะบุไว้ใน พระราชบัญญัติ อย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย บริษัทมหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 และข้อบังคับของบริษัทฯ หรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ บริ ษั ท ฯ บริ ษั ท ย่ อ ย บริ ษั ท ร่ ว ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น รายใหญ่ ห รื อ กรรมการทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลายประการตาม ผู ้ มี อ� ำ นาจควบคุ ม ของบริ ษั ท ฯ เว้ น แต่ จ ะได้ พ ้ น จากการ ทีร่ ะบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ ในการด�ำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนได้รับการ กรรมการจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความใส่ใจ แต่งตั้ง และความซือ่ สัตย์ และควรต้องเป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูม้ อี ำ� นาจควบคุมของบริษทั ฯ และ (ก.1) กรรมการอิสระ ไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอ�ำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของ กรรมการอิสระคือกรรมการที่ไม่ได้บริหารจัดการบริษัทฯ หรือ ส�ำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทย่อยของบริษัทฯ มีความเป็นอิสระจากคณะผู้บริหาร บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของ และผู ้ ถื อ หุ ้ น รายใหญ่ และไม่ มี ธุ ร กิ จ กั บ บริ ษั ท ฯ ซึ่ ง อาจส่ ง บริษทั ฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่ จะได้พน้ จากการมีลกั ษณะดังกล่าว ผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ/หรือผล มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง ประโยชน์ของผู้ถือหุ้น 6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการ ทั้งนี้ คุณสมบัติของกรรมการอิสระเป็นไปตามค�ำนิยามของคณะ ให้บริการเป็นทีป่ รึกษากฎหมายหรือทีป่ รึกษาทางการเงิน ซึง่ กรรมการก�ำกับตลาดทุน (Capital Market Supervisory Board) ได้รบั ค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปี จากบริษทั ฯ บริษทั ซึง่ เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ของบริษทั ฯ กรรมการอิสระแต่ละคนต้อง ย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ บริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอ�ำนาจควบคุม หรือ หุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจ�ำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ก่อน ทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้รับการแต่งตั้ง หรือผูม้ อี ำ� นาจควบคุมของบริษทั ฯ ทัง้ นี้ ให้นบั รวมการถือหุน้ ของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของ กรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พนักงาน ทีป่ รึกษาทีไ่ ด้เงินเดือนประจ�ำหรือผูม้ อี ำ� นาจควบคุม ของบริษทั ฯ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยล�ำดับเดียวกัน 8. ไม่ประกอบกิจการทีม่ สี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขัน ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือของผูม้ อี ำ� นาจควบคุมของบริษทั ฯ เว้นแต่ ที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้น จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วม ก่อนได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวม บริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจ�ำ ถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษา หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจ�ำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง ของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอ�ำนาจ ทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่าง ควบคุมของบริษัทฯ เดียวกันและเป็นการแข่งขันทีม่ นี ยั กับกิจการของบริษทั ฯ หรือ บริษัทย่อย

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


087

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ท�ำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็น อิสระเกี่ยวกับการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็น ไปตามข้อ (1) ถึง (9) แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ตัดสินใจในการด�ำเนินกิจการของ บริษทั ฯ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยล�ำดับเดียวกัน ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผู้มีอ�ำนาจควบคุมของบริษัทฯ โดยมีการตัดสินใจ ในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้

(ก.2) คณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการ 11 คน โดยเป็น กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน (ร้อยละ 9.10 จากจ�ำนวน กรรมการทั้งหมด) กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 5 คน (ร้อยละ 45.45 จากจ� ำ นวนกรรมการทั้ ง หมด) และกรรมการอิ ส ระ 5 คน (ร้อยละ 45.45 จากจ�ำนวนกรรมการทั้งหมด) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริษทั ฯ ประกอบไปด้วยกรรมการ ดังต่อไปนี้

รายนามคณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ชื่อ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 4. นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง 5. นายกฤช ฟอลเล็ต 6. นายสันติ บางอ้อ 7. นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 8. นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี 9. นายอีฟ บาบิว 10. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 11. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์/1

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการการลงทุน กรรมการ/กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการบริหาร ความเสี่ยง/กรรมการการลงทุน กรรมการ/กรรมการบริหาร/กรรมการการลงทุน กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ/กรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน/ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ/ กรรมการตรวจสอบ กรรมการ/กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน/ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ/กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการอิสระ

วันที่ได้รับการ แต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัทฯ ครั้งแรก 31 มกราคม 2555 31 มกราคม 2555 31 มกราคม 2555 30 มกราคม 2557 12 เมษายน 2555 31 มกราคม 2555 31 มกราคม 2555 30 มกราคม 2556 12 กรกฎาคม 2556 30 มกราคม 2556 13 พฤษภาคม 2558

หมายเหตุ /1นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทน นายกานิม ซาอัด เอ็ม อัลซาอัด อัล-คูวารี กรรมการที่ลาออก

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


088

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

อ�ำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ 1) พิจารณาทบทวนและอนุมัติวิสัยทัศน์ พันธกิจ และคู่มือ จริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุน ให้การบริหารงานของบริษทั ฯ เป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแล กิจการที่ดี 2) พิจารณาทบทวนและอนุมัติกลยุทธ์ แผนธุรกิจ งบประมาณ และนโยบาย รวมถึงแผนธุรกิจประจ�ำปี งบประมาณการ ลงทุน และวัตถุประสงค์ในการด�ำเนินงานของบริษัทฯ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย และมอบหมายอ�ำนาจหน้าที่ ให้กับคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการ ตามทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการ บริษัทฯ 4) มอบอ�ำนาจหน้าที่ให้แก่กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร ในการบริหารงานบริษัทฯ ให้เป็นไปตาม นโยบาย กลยุทธ์ แผนธุรกิจ งบประมาณ และวัตถุประสงค์ ในการด�ำเนินงาน 5) ติดตามให้ฝา่ ยบริหารปฏิบตั ติ ามแผนงานให้เป็นไปตามทิศทาง และกลยุทธ์องค์กรอย่างสม�่ำเสมอ 6) ทบทวนและอนุมัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล และ แผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงก�ำหนดนโยบายค่าตอบแทนที่ เหมาะสม 7) ก�ำหนดให้บริษทั ฯ มีระบบการสือ่ สารทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่าการสือ่ สารกับผูม้ สี ว่ นได้เสียและสาธารณชนมีประสิทธิผล และตรวจสอบการใช้ระบบสื่อสารดังกล่าว 8) ก�ำหนดแนวทางในการประเมินผลคณะกรรมการบริษทั ฯ และ ด�ำเนินการประเมินผลการท�ำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม�่ำเสมอ

หน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการ 1) เรียกประชุมคณะกรรมการและมอบหมายให้เลขานุการ บริษัทดูแลเรื่องการจัดส่งหนังสือเชิญประชุม รวมทั้งเอกสาร ต่างๆ เพือ่ ให้คณะกรรมการได้รบั ข้อมูลอย่างเพียงพอและทัน เวลา 2) เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ 3) เป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้น และด�ำเนินการประชุมให้เป็น ไปตามข้อบังคับบริษัทฯ และตามระเบียบวาระที่ก�ำหนดไว้ 4) ดูแลให้การติดต่อสือ่ สารระหว่างกรรมการและผูถ้ อื หุน้ เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้โดยเฉพาะให้เป็นหน้าที่ ของประธานกรรมการ หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการใหญ่และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีอ�ำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารบริษัทฯ ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย และจะต้ อ งบริ ห ารบริ ษั ท ฯ ตามแผนงาน หรื อ งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ รักษา ผลประโยชน์ของบริษทั ฯ และผูถ้ อื หุน้ อ�ำนาจหน้าทีข่ องกรรมการ ผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารครอบคลุมถึงเรื่อง อื่นๆ ด้วย ดังนี้ 1) ด�ำเนินกิจการ และบริหารงานประจ�ำวันของบริษัทฯ 2) อนุมตั คิ า่ ใช้จา่ ยในการด�ำเนินงาน รายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตาม งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ

(ก.4) วาระการด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการบริษทั ฯ

จ�ำนวนปีที่ด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการบริษัทฯ (ก.3) การแยกต�ำแหน่ง ข้อบังคับของบริษทั ฯ ได้กำ� หนดจ�ำนวนปีทดี่ ำ� รงต�ำแหน่งในแต่ละ คณะกรรมการบริษทั ฯ แต่งตัง้ กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหารหนึง่ คน วาระของกรรมการบริษัทฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัท ให้ เ ป็ น ประธานกรรมการ ประธานกรรมการและกรรมการ มหาชนจ�ำกัด โดยในการประชุมสามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้น ผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะไม่เป็นบุคคลคน กรรมการบริษทั ฯ ต้องออกจากต�ำแหน่งจ�ำนวน 1 ใน 3 ถ้าจ�ำนวน เดียวกัน ประธานกรรมการท�ำหน้าที่ดูแลการใช้นโยบายและ กรรมการแบ่งออกให้ตรงเป็น 3 ส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจ�ำนวน แนวทางการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ ใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 ทั้งนี้ กรรมการบริษัทฯ ที่จะต้องออก และฝ่ายบริหารได้พิจารณาและจัดท�ำขึ้น ตลอดจนดูแลให้การ จากต� ำ แหน่ ง นั้ น ให้ พิ จ ารณาจากกรรมการบริ ษั ท ฯ ที่ อ ยู ่ ใ น ประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ ด�ำเนินไปจนส�ำเร็จลุลว่ ง กรรมการ ต�ำแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากต�ำแหน่ง ซึ่งกรรมการแต่ละคน ทุกคนควรมีสว่ นร่วมในการประชุมและตัง้ ค�ำถามส�ำคัญๆ ระหว่าง จะด�ำรงต�ำแหน่งตามวาระประมาณ 3 ปี กรรมการบริษทั ฯ ทีค่ รบ วาระนั้นอาจได้รับเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งอีกก็ได้ การประชุมแต่ละครั้ง อ�ำนาจของคณะกรรมการและฝ่ายบริหาร ได้รับการจ�ำกัดความ และแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานประจ�ำ หรือกิจกรรมทางธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบของฝ่ายบริหาร บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


089

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

จ�ำนวนวาระการด�ำรงต�ำแหน่งติดต่อกันของกรรมการ บริษทั ฯ เห็นว่า กรรมการของบริษทั ฯ ทุกคนทีไ่ ด้รบั เลือกตัง้ จาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่างเป็นกรรมการที่ทรงคุณวุฒิมีความรู้ ความ สามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ได้เป็น อย่างดีตลอดมา และหากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ยังคงให้ความไว้วางใจ โดยเลือกตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเป็นกรรมการของ บริษัทฯ ก็ย่อมจะต้องเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงไม่ได้มี การก�ำหนดจ�ำนวนวาระการด�ำรงต�ำแหน่งติดต่อกันของกรรมการ หรือกรรมการอิสระไว้ตายตัว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯ จะหาแนวทางที่เหมาะสม เกี่ยวกับจ�ำนวนวาระการด�ำรงต�ำแหน่งติดต่อกันของกรรมการ และกรรมการอิสระต่อไป การสรรหากรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน ท�ำหน้าที่สรรหาบุคคลผู้ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมในการเป็นกรรมการบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการสรรหา และก� ำ หนดค่ า ตอบแทนจะพิ จ ารณาประวั ติ อายุ ความรู ้ ประสบการณ์ ศักยภาพ และปัจจัยอื่นๆ ที่พิจารณาว่าเหมาะสม ที่จะเป็นกรรมการของบริษัทฯ ได้ การประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ก�ำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ จ�ำนวนอย่างน้อย 6 ครั้งต่อปี โดยก�ำหนดวันประชุมไว้เป็น การล่วงหน้าตลอดทั้งปี และแจ้งให้กรรมการแต่ละคนทราบ ใน การจัดประชุมคณะกรรมการ ประธานกรรมการจะเป็นผู้ดูแลให้ ความเห็นชอบก�ำหนดวาระการประชุม ทั้งนี้ให้กรรมการแต่ละ คนมีอิสระที่จะเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เข้าสู่วาระ การประชุมด้วย โดยเลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ ท�ำหน้าที่ จั ด ส่ ง หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม พร้ อ มระเบี ย บวาระการประชุ ม และเอกสารประกอบการประชุมให้กรรมการล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่า 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษามาก่อนล่วงหน้าตาม ข้อบังคับของบริษัทฯ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ต้อง มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ�ำนวนกรรมการ ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) บริษัทฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการ บริษทั ฯ รวมทัง้ สิน้ 11 ครัง้ และมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจ�ำนวนทั้งสิ้น 11 ครั้ง

(ข) เลขานุการบริษัทและคณะกรรมการ ชุดย่อย

คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ แ ต่ ง ตั้ ง เลขานุ ก ารบริ ษั ท และ คณะกรรมการชุดย่อย 6 คณะ ได้แก่ 1) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) 2) คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) 3) คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee) 4) คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Committee) 5) คณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย ง (Risk Management Committee) และ 6) คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)

(ข.1) เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษัทฯ แต่งตั้ง นางสาวมัณฑนี สุรกาญจน์กุล ให้ เป็นเลขานุการบริษทั เมือ่ วันที่ 14 สิงหาคม 2551 เพือ่ รับผิดชอบ เรื่องที่เกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น และเพื่อ ช่วยเหลืองานทีเ่ กีย่ วกับแนวปฏิบตั ดิ า้ นการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี นอกจากนี้ ยังท�ำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ และ คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ ดังนี้  ให้ค�ำแนะน�ำแก่กรรมการเกี่ยวกับข้อก�ำหนด กฎ ระเบียบและ ข้ อ บั ง คั บ ต่ า งๆ ของบริ ษั ท ฯ และติ ด ตามข้ อ ก� ำ หนดและ กฎหมายใหม่ๆ อย่างสม�่ำเสมอ และแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่ ส�ำคัญให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ  จั ด การประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น และประชุ ม กรรมการให้ เ ป็ น ไปตาม กฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทฯ และข้อพึงปฏิบัติต่างๆ  บันทึกรายงานการประชุมผูถ ้ อื หุน้ และการประชุมคณะกรรมการ บริษทั ฯ รวมทัง้ ติดตามให้มกี ารปฏิบตั ติ ามมติทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ และมติที่ประชุมคณะกรรมการ  ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศ ในส่วนที่ รับผิดชอบตามระเบียบและข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.  ดูแลและประสานงานกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมถึงการ ปฐมนิเทศกรรมการ  ดู แ ลเอกสารส� ำ คั ญ ของบริ ษั ท ฯ ได้ แ ก่ ทะเบี ย นกรรมการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะ กรรมการ รายงานประจ�ำปี หนังสือนัดประชุมผูถ้ อื หุน้ รายงาน การประชุมผูถ้ อื หุน้ และรายงานการมีสว่ นได้เสียของกรรมการ หรือผู้บริหาร

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


090

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

รายละเอียดของเลขานุการบริษัท สัดส่วน การถือหุ้นใน บริษัทฯ ณ วันที่ 31 ชื่อ ธันวาคม 2558 คุณวุฒิทางการศึกษา นางสาวมัณฑนี ร้อยละ 0.002  ปริญญาโท สาขาการ สุรกาญจน์กุล บริหาร สถาบันบัณฑิต (อายุ 50 ปี) บริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์ เลขานุการบริษัท มหาวิทยาลัย (ตั้งแต่วันที่ 14  อักษรศาสตร์บัณฑิต สิงหาคม 2551 จุฬาลงกรณ์ - ปัจจุบัน) มหาวิทยาลัย

รายละเอียดหน้าที่ของเลขานุการบริษัทมีอยู่บนเว็บไซต์ของ บริษัทฯ และในแบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำปี 56-1 ของ บริษทั ฯ ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ได้สนับสนุนให้เลขานุการบริษทั เข้าอบรม หลักสูตรเกี่ยวเนื่องกับเลขานุการบริษัท มาโดยตลอด

(ข.2) คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบประกอบไปด้วยกรรมการอิสระอย่าง น้อย 3 คน ในวันที่ 14 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ประวัติการอบรม  Company Secretary Program (CSP) รุ่นที่ 15/2549 จาก สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD)  Effective Minutes Taking (EMT) รุ่นที่ 2/2549 จากสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)  Improving the Quality of Financial Reporting (QFR) รุ่นที่ 2/2549 จากสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)  Understanding the Fundamental of Financial Statements (UFS) รุ่นที่ 1/2549 จากสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)  Directors Certification Program (DCP) รุ่น 1/2543 จากสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD)

ประสบการณ์ ท�ำงาน 2533-ปัจจุบัน: ผู้อ�ำนวยการแผนก ทะเบียนหุ้น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

ความสัมพันธ์ทาง ครอบครัวระหว่าง กรรมการและ ผู้บริหาร ไม่มี

คณะกรรมการตรวจสอบได้รบั อ�ำนาจอย่างเต็มทีจ่ ากคณะกรรมการ บริษัทฯ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนทั้งนี้ ได้มีการก�ำหนด แผนตรวจสอบประจ� ำ ปี แ ละการประชุ ม ของคณะกรรมการ ตรวจสอบ เพือ่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานกระบวนการ รายงานข้ อ มู ล ทางการเงิ น ระบบการควบคุ ม ภายในและ การบริหารจัดการความเสีย่ งทางการเงิน กระบวนการตรวจสอบ รวมถึงกระบวนการในการติดตามก�ำกับดูแลการปฏิบัติตาม กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ


091

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบไปด้วยกรรมการต่อไปนี้ ที่ ชื่อ 1 นายกฤช ฟอลเล็ต 2 นายสันติ บางอ้อ 3 นายเชิดพงษ์ สิรวิ ิชช์

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 12 เมษายน 2555 14 กุมภาพันธ์ 2555 14 กุมภาพันธ์ 2556

กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นกรรมการอิสระทั้งสิ้น  พิจารณาและอนุมัติแผนการตรวจสอบ งบประมาณประจ�ำปี แผนอัตราก�ำลัง และแผนพัฒนาความรูแ้ ละทักษะของบุคลากร ในรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการ ของฝ่ายตรวจสอบภายใน เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าการตรวจสอบเป็นไป ตรวจสอบได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจ อย่างครอบคลุมทัง้ ด้านการเงิน บัญชี และการปฏิบตั กิ าร พร้อม ทั้งติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนงานต่างๆ เหล่านั้น สอบ 1. สอบทานความถูกต้อง ความเพียงพอ ความเชื่อถือได้ และ 3. สอบทานการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่า การ ด�ำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ ความเที่ยงตรงของกระบวนการรายงานข้อมูลทางการเงิน และตลาดหลักทรัพย์ ข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ โดยการประสานงานร่ ว มกั บ ผู ้ ส อบบั ญ ชี และผู ้ บ ริ ห าร กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ที่รับผิดชอบในการจัดท�ำรายงานข้อมูลทางการเงินราย 4. พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็น ไตรมาส และรายปี อิสระ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงการ 2. สอบทานความเหมาะสม และประสิทธิผลของระบบการ ต่อรองค่าสอบบัญชีและด�ำเนินกิจกรรมหลักดังต่อไปนี้ ควบคุมภายใน และหน้าที่ของการตรวจสอบภายใน เพื่อให้ มั่นใจในความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน รวมถึง  สอบทานผลการปฏิ บั ติ ง านของผู ้ ส อบบั ญ ชี โดยพิ จ ารณา ถึงความเชื่อถือได้ ความเพียงพอของทรัพยากร ขอบเขต หน้าที่ของการตรวจสอบภายใน โดยประสานงานร่วมกับ ผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อพิจารณาในประเด็น การปฏิบตั งิ าน และประสบการณ์ของผูช้ ว่ ยผูส้ อบบัญชีทไี่ ด้รบั มอบหมายให้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ ดังต่อไปนี้  สอบทานกิจกรรมการด�ำเนินงาน และการจัดโครงสร้างองค์กร  สอบทานขอบเขตและแนวทางการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีการจ�ำกัด เพื่อให้มั่นใจในความเหมาะสมและมิได้มีการจ�ำกัดขอบเขต ขอบเขตการปฏิบัติงาน การตรวจสอบ  ประเมินความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน  ให้ ค� ำ แนะน� ำ แก่ ค ณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ในการแต่ ง ตั้ ง ผู ้ ส อบ บัญชี  พิจารณาและอนุมต ั กิ ารแต่งตัง้ ถอดถอน โอนย้าย หรือเลิกจ้าง  พิจารณารายงานการตรวจสอบและข้อเสนอแนะที่เสนอโดย ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายตรวจสอบภายใน ผูส้ อบบัญชี และก�ำกับดูแลการปฏิบตั ติ ามข้อเสนอแนะดังกล่าว  พิจารณารายงานการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะทีน ่ ำ� เสนอโดย ฝ่ายตรวจสอบภายในและก�ำกับดูแลการปฏิบัติตามข้อเสนอ  ในระหว่างปี คณะกรรมการตรวจสอบจะประชุมร่วมกับผู้สอบ บัญชีและหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยไม่มฝี า่ ยบริหารเข้า แนะ ร่วมด้วยอย่างน้อยปีละหนึง่ ครั้ง  สอบทานความเพี ย งพอในการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งของ บริษัทฯ อีกทั้งเพื่อให้มั่นใจว่า การบริหารจัดการความเสี่ยง 5. พิจารณาการด�ำเนินธุรกิจรวมถึงรายการที่เกี่ยวโยงกัน เพื่อ ดังกล่าวเป็นไปตามแนวปฏิบตั ขิ องหน่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง ให้มนั่ ใจว่าไม่มคี วามขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการพิจารณา และสอดคล้องกับนโยบายภายในของบริษัทฯ ด�ำเนินรายการค้าระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย หรือ ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องอืน่ ๆ ทัง้ นี้ เพือ่ ให้มนั่ ใจในประสิทธิภาพของ  ประเมินผลการปฏิบต ั งิ านของผูบ้ ริหารระดับสูงฝ่ายตรวจสอบ ระบบการก�ำกับดูแลการปฏิบตั ติ ามกฎหมายและกฎระเบียบ ภายในร่วมกับกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ ต่างๆ รวมถึงความสมเหตุสมผลของการด�ำเนินรายการ เพือ่ บริหาร คงไว้ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


092

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

6. จัดท�ำและเปิดเผยรายงานคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่ง ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบในรายงานประจ�ำปี ของบริษัทฯ โดยรายงานคณะกรรมการตรวจสอบดังกล่าว ต้องประกอบไปด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้  ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วนและความเชื่อถือได้ ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ  ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ของบริษัทฯ  ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ  ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี บริษัทฯ มี นโยบายในการรักษาความเป็นอิสระของผูส้ อบบัญชี โดยจ�ำกัด มิให้ผู้สอบบัญชีให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานสอบบัญชีและ งานบริการด้านภาษี และทบทวนความเหมาะสมของผู้สอบ บัญชีทุกๆ 3 – 5 ปี  ความเห็นต่อรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์  จ� ำ นวนการประชุ ม ของคณะกรรมการตรวจสอบและจ� ำ นวน การเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละคน  ความเห็ น หรื อ ข้ อ สั ง เกตโดยรวมที่ ค ณะกรรมการตรวจสอบ ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร  รายการอืน ่ ทีเ่ ห็นว่าผูถ้ อื หุน้ และผูล้ งทุนทัว่ ไปควรทราบ ภายใต้ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการบริษัทฯ 7. ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั ฯ มอบหมายด้วย ความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 8. รายงานผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบให้แก่ คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบเป็นรายไตรมาส 9. สอบทานข้อสรุป และหลักฐานการฉ้อโกงของพนักงานหรือ ผูบ้ ริหาร ซึง่ ส่งผลให้บริษทั ฯ ได้รบั ความเสียหายและน�ำเสนอ รายงานทีไ่ ด้รบั การสอบทานโดยคณะกรรมการตรวจสอบให้ แก่คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา 10. สอบทานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ประจ�ำปี 11. สอบทานและประเมิ น ความเหมาะสมของกฎบั ต รคณะ กรรมการตรวจสอบ และน�ำเสนอข้อปรับปรุงแก้ไขให้แก่ คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่ออนุมัติ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและการก�ำหนดค่าตอบแทนในการสอบ บัญชี คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผูพ้ จิ ารณา และเสนอการแต่งตัง้ ผูส้ อบบัญชีและค่าตอบแทน ในการสอบบัญชีแก่ผู้ถือหุ้น เพื่อขอความเห็นชอบในที่ประชุม ใหญ่สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ในที่ประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปีของผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบดังต่อไปนี้ 1. แต่งตั้ง นายวีระชัย รัตนจรัสกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลข ทะเบียน 4323 หรือ นางศิริเพ็ญ สุขเจริญยิ่งยง ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตเลขทะเบียน 3636 หรือ นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4068 หรือ นางสาว พรทิพย์ ริมดุสิต ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 5565 จากบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จ�ำกัด ให้เป็นผู้สอบ บัญชีของบริษัทฯ ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) 2. ค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีจ�ำนวน 3.63 ล้านบาท เพื่อ สอบทานและตรวจสอบงบการเงินของบริษัทฯ และงบการ เงินรวม หลังจากพิจารณาข้อก�ำหนดและค่าธรรมเนียมในการว่าจ้างการ สอบบัญชีตามทีม่ กี ารเสนอแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบได้ชแี้ จง ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบถึงผลการประเมินของตน และ แนะน�ำคณะกรรมการบริษทั ฯ ให้แต่งตัง้ ผูส้ อบบัญชี และก�ำหนด ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี โดยจะน�ำเสนอผู้ถือหุ้นในที่ประชุมใหญ่ สามัญประจ�ำปีของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบจึ ง เสนอบริ ษั ท เคพี เ อ็ ม จี ภู มิ ไ ชย สอบบัญชี จ�ำกัด ให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ซึ่งจะเสนอต่อ ผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั ฯ ในทีป่ ระชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีของผูถ้ อื หุน้ ครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2559

(ข.3) คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ บริหาร ในที่ประชุมคณะกรรมการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 และในการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 15 มีนาคม 2555 คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 4 คน ที่มา จากกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ


093

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริหาร ประกอบไปด้วยกรรมการต่อไปนี้ ที่ 1 2 3 4 5

ชื่อ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง ในรอบ ปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) หน้าที่หลักของคณะกรรมการบริหารรวมถึงการพิจารณาแผน ธุรกิจ และงบประมาณประจ�ำปีของบริษัทฯ เพื่อที่จะเสนอต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ และการพิจารณากลยุทธ์ของการลงทุน และการเงินของบริษัทฯ และอนุมัติรายการต่างๆ ตามกรอบ อ�ำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 14 กุมภาพันธ์ 2555 14 กุมภาพันธ์ 2555 14 กุมภาพันธ์ 2555 12 กุมภาพันธ์ 2557 13 พฤษภาคม 2558

(ข.4) คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบ แทน คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนประกอบไปด้วย กรรมการที่ ไ ม่ เ ป็ น ผู ้ บ ริ ห ารอย่ า งน้ อ ย 3 คน เมื่ อ วั น ที่ 13 พฤษภาคม 2554 คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติกฎบัตรของ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน ประกอบไปด้วยกรรมการต่อไปนี้ ที่ ชื่อ 1 นายสันติ บางอ้อ 2 นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 3 นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนได้มีการประชุม รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง ในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) หน้าทีห่ ลักของคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนรวม ถึงการก�ำหนดกระบวนการ และหลักเกณฑ์ในการสรรหา และ คุณสมบัตขิ องผูท้ ไี่ ด้รบั การเสนอชือ่ รับการคัดเลือกตามโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบของคณะกรรมการตามที่ได้ก�ำหนด ไว้ และทบทวนและเสนอค�ำแนะน�ำต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับคัดเลือก (ไม่ว่าจะโดย คณะกรรมการ หรืออื่นๆ) เพื่อการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ บริษัทฯ โดยพิจารณาถึงประวัติ อายุ ความรู้ ประสบการณ์ ศักยภาพ จ�ำนวนครั้งที่ได้เคยด�ำรงต�ำแหน่งในคณะกรรมการ บริษัทฯ และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนยังมีหน้าที่ในการ ประเมินผลงานประจ�ำปีของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ได้แก่ กรรมการผู ้ จั ด การใหญ่ แ ละประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร และ ผูบ้ ริหารในระดับผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ซึง่ ผลการประเมิน

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 14 กุมภาพันธ์ 2556 14 กุมภาพันธ์ 2555 14 กุมภาพันธ์ 2556

การท�ำงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร และผู้บริหารในระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะถูกน�ำมาใช้ในการเสนอค่าตอบแทนของผู้บริหาร เพื่อให้ คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ ในส่ ว นของค่ า ตอบแทนกรรมการที่ ไ ม่ เ ป็ น ผู ้ บ ริ ห ารทั้ ง หมด คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณา และน�ำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อน�ำเสนอให้ผู้ถือหุ้น อนุมัติ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามแนวทางของสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทยเกีย่ วกับแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการ ก�ำหนดค่าตอบแทนกรรมการ (ฉบับเดือนกันยายน 2549)

(ข.5) คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษทั ฯ อนุมตั ใิ ห้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการก�ำกับ ดูแลกิจการ ในที่ประชุมคณะกรรมการ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 และในการประชุมคณะกรรมการวันที่ 21 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการก�ำกับ ดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ จะประกอบด้วย กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างน้อย 3 คน ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


094

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วยกรรมการต่อไปนี้ ที่ ชื่อ 1 นายสันติ บางอ้อ 2 นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 3 นายกฤช ฟอลเล็ต

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ

หน้าทีห่ ลักของคณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการรวมถึงการทบทวน นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการ และคู่มือจริยธรรมธุรกิจ และ ตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามนโยบายและหลักการของการก�ำกับดูแล กิจการเพื่อที่จะได้คงไว้ให้อยู่ในกรอบของหลักจริยธรรม และ ตรวจสอบพัฒนาการเทียบจากผลที่ประเมิน คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการได้มีการประชุม 3 ครั้ง ในรอบปี บัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) ในปี 2556 - 2557 คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ ได้พิจารณา และน�ำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ ในการออกนโยบายต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษร และปรับปรุงนโยบายที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น อาทิ นโยบายการมอบหมายอ�ำนาจหน้าที่ นโยบายการบริหาร ความเสีย่ งองค์กร นโยบายการตรวจสอบภายใน นโยบายการจัด ซื้อจัดจ้าง นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่น นโยบายการใช้ ข้อมูลภายใน นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายการเดินทาง และค่ารับรอง และนโยบายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 14 กุมภาพันธ์ 2555 14 กุมภาพันธ์ 2555 22 ธันวาคม 2557

ในปี 2558 คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ ได้พิจารณาการน�ำ แบบฟอร์มประเมินตนเองของคณะกรรมการและคณะกรรมการ ชุดย่อยรายบุคคล และแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ ชุดย่อยแบบรายคณะ มาใช้ ซึ่งเพิ่มเติมจากแบบประเมินตนเอง ของคณะกรรมการรายคณะทีบ่ ริษทั ฯ ได้นำ� มาใช้กอ่ นหน้านี้ และ พิจารณาปรับปรุงนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ นโยบายเกี่ยวกับการ เปิดเผยข้อมูล นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม

(ข.6) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารความเสีย่ ง ในทีป่ ระชุมคณะกรรมการวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 และในที่ประชุมคณะกรรมการวันที่ 14 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติกฎบัตรของคณะกรรมการบริหาร ความเสีย่ ง โดยคณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง จะประกอบด้วย สมาชิกอย่างน้อย 4 คนที่มาจากคณะกรรมการบริษัทฯ และ คณะผู้บริหารของบริษัทฯ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบไปด้วยสมาชิกต่อไปนี้ ที่ ชื่อ 1 นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 2 นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 3 นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา /1 4 นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด /2

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหารความเสี่ยง/ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่การเงิน กรรมการบริหารความเสี่ยง/ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 22 ธันวาคม 2557 26 พฤศจิกายน 2557 19 ตุลาคม 2558 19 ตุลาคม 2558

หมายเหตุ /1 นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 แทนนายสมพร จิตเป็นธม ผู้บริหารที่ลาออก /2 นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 แทนนายชาตรี อัครจรัลญา ผู้บริหารที่ ลาออก

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุม 4 ครั้ง ในรอบ ปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558)

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

หน้าที่หลักของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการ ทบทวนประสิทธิภาพของระบบการจัดการความเสีย่ งขององค์กร ภายในกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถระบุปัจจัยความ เสี่ยงที่ส�ำคัญได้อย่างครบถ้วน และมีกระบวนการจัดการความ เสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการก�ำหนดและปรับปรุงนโยบาย ของกลุ่มบริษัทฯ อย่างเหมาะสม


095

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้จดั ให้มกี ารประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร และการ อบรมด้านการบริหารความเสี่ยงส�ำหรับแต่ละกลุ่มธุรกิจ การ อบรมมุ่งเน้นถึงแนวคิด หลักการ และการด�ำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารความเสีย่ งทัว่ ทัง้ องค์กร เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าบริษทั ฯ มีการ เติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสีย และผูถ้ อื หุน้ ในระยะยาว อีกทัง้ การบริหารความเสีย่ งยังได้ถกู รวม เป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญในการประเมินผลการปฏิบตั งิ านของพนักงาน อีกด้วย

(ข.7) คณะกรรมการการลงทุน ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 คณะกรรมการอนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน ประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 5 คน ที่มาจากคณะกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ ณ ปัจจุบัน ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ ใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการจากคณะกรรมการ บริหาร 2 คน และอีก 2 คนเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าทีก่ ารเงิน และผูอ้ ำ� นวยการสายงานการเงินและ บริหารการลงทุน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการการลงทุน ประกอบไปด้วยสมาชิกต่อไปนี้ ที่ 1 2 3 4

ชื่อ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา

5 นายวิทวัส เวชชบุษกร

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการการลงทุน กรรมการการลงทุน กรรมการการลงทุน กรรมการการลงทุน/ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่การเงิน กรรมการการลงทุน/ผู้อ�ำนวยการสายงานการเงินและ บริหารการลงทุน

คณะกรรมการการลงทุนได้มีการประชุม 4 ครั้ง ในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) หน้าที่หลักของคณะกรรมการการลงทุน ได้แก่ การทบทวนและ อนุมัติการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ และกลยุทธ์การ จัดสรรเงินลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารเงินสด (Cash Management) ของบริษัทฯ กลยุทธ์การลงทุนด้านการเงิน มุง่ เน้นการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินทีม่ คี วามเสีย่ งต�ำ่ เป็นหลัก อันได้แก่ ตราสารในตลาดเงิน เงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับตราสารหนี้ต่างๆ และเงินลงทุนจ�ำนวนน้อยที่ ลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษทั จดทะเบียนทีม่ พี นื้ ฐานดีและมีการ เติบโตในอนาคต ตั้งแต่ปี 2552 บริษัทฯ ได้ก�ำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของ บริษัทฯ ส่งรายงานการมีส่วนได้เสียซึ่งมีเนื้อหาสรุปเกี่ยวกับการ ถือครองหุน้ และการเป็นกรรมการในบริษทั อืน่ ของกรรมการและ ผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ และของบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับกรรมการและ ผู้บริหารของบริษัทฯ ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกเก็บไว้กับบริษัทฯ เพื่อ ติดตามรายการเกี่ยวโยงหรือรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจ เกิดขึน้ กรรมการและผูบ้ ริหารอาวุโสทีเ่ ข้าใหม่ของบริษทั ฯ จะส่ง รายงานนี้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง

วันที่ได้รับแต่งตั้งครั้งแรก 27 เมษายน 2558 27 เมษายน 2558 27 เมษายน 2558 27 เมษายน 2558 27 เมษายน 2558

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของบุคคลเกี่ยวโยงและญาติสนิท กรรมการและผู ้ บ ริ ห ารจะส่ ง รายงานที่ แ ก้ ไ ขใหม่ ใ ห้ บ ริ ษั ท ฯ ภายใน 14 วันหลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานจะต้องละเว้นจากการท�ำธุรกรรม ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งใดๆ ที่ อ าจน� ำ ไปสู ่ ก ารขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ กับบริษัทฯ นอกจากนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานคนใดที่ มีสว่ นได้เสียจะไม่ได้รบั อนุญาตให้เข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมการจะถูกห้ามไม่ให้พิจารณาหรือลง คะแนนเสียงในเรื่องที่อาจมีการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของ กรรมการเหล่านั้นกับบริษัทฯ

(ค) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องประชุมกันอย่างน้อยทุกไตรมาส ต่อปี ตามข้อบังคับของบริษัทฯ การประชุมพิเศษจะจัดขึ้นตาม ความจ�ำเป็นตามจุดประสงค์เฉพาะกิจ ในรอบปีบัญชีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริษัทฯ ประชุมทั้งหมด 11 ครั้ง วาระการประชุมหลัก ได้แก่ พิจารณาทิศทางเชิงกลยุทธ์ ของบริษทั ฯ แผนธุรกิจและงบประมาณประจ�ำปี รายงานการเงิน รายไตรมาส และการเข้าซื้อและจ�ำหน่ายสินทรัพย์ที่ส�ำคัญ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


096

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

คณะกรรมการบริษทั ฯ ก�ำหนดให้สมาชิกทุกคนอุทศิ เวลาอย่างเพียงพอให้กบั งานของคณะกรรมการบริษทั ฯ รับผิดชอบต่อหน้าทีข่ อง กรรมการ และพยายามอย่างสุดความสามารถทีจ่ ะเข้าประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ ทุกครัง้ ได้มกี ารสนับสนุนให้กรรมการทุกคนเข้า ร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจ�ำนวนการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งหมดที่ได้จัดให้มีขึ้นใน รอบปี รายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัทฯ และกรรมการชุดย่อย ในรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) การประชุมกรรมการบริษัทฯ ในรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กรรมการ กรรมการ สรรหาและ กรรมการ กรรมการ บริษัทฯ กรรมการ กรรมการ ก�ำหนด ก�ำกับดูแล บริหาร (รวม 11 ตรวจสอบ บริหาร ค่าตอบแทน กิจการ ความเสี่ยง ครั้ง) (รวม 7 ครั้ง) (รวม 13 ครั้ง) (รวม 7 ครั้ง) (รวม 3 ครั้ง) (รวม 4 ครั้ง) 10/11 13/13 11/11 12/13 -

3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ

11/11

-

13/13

-

-

4/4

4. นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง

11/11

-

13/13

-

-

-

5. นายกฤช ฟอลเล็ต 6. นายสันติ บางอ้อ 7. นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 8. นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี 9. นายอีฟ บาบิว 10. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 11. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์/1

11/11 11/11 8/11 7/11

7/7 7/7 -

-

7/7 7/7 6/7

3/3 3/3 2/3 -

-

การด�ำรงต�ำแหน่ง กรรมการระหว่างรอบ ปีบัญชี 2558 สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นประธานกรรมการ การลงทุนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เป็นกรรมการ การลงทุนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เป็นกรรมการ การลงทุนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 -

10/11 10/11 4/4

7/7 -

-

-

-

3/4 -

-

รายชื่อกรรมการ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ

หมายเหตุ /1 นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทนนายกานิม ซาอัด เอ็ม อัลซาอัด อัล-คูวารี กรรมการที่ลาออก * ในรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวม 11 ครั้ง เป็นการประชุมปกติ 6 ครั้ง และประชุมนัดพิเศษ 5 ครั้ง ** สาเหตุทกี่ รรมการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ เนือ่ งจากติดภารกิจไปต่างประเทศหรือติดภารกิจอืน่ โดยกรรมการแต่ละคนจะมีการส่งหนังสือ ลาประชุมให้กับประธานกรรมการหรือบอกกล่าวให้ทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


097

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

(ง) การประเมินตนเองของคณะกรรมการ และกรรมการชุดย่อย

(ง.1) การประเมินตนเองของคณะกรรมการ รายคณะและเป็นรายบุคคล ในปี 2558 คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้มกี ารประเมินผลการท�ำงาน ของคณะกรรมการเป็นรายคณะ และการประเมินตนเองของ คณะกรรมการเป็นรายบุคคล โดยประธานกรรมการก�ำกับดูแล กิจการเป็นผูด้ ำ� เนินการส่งแบบประเมินผลงานของคณะกรรมการ เป็นรายคณะและแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการเป็น รายบุคคลให้แก่กรรมการแต่ละคนโดยแบบฟอร์มที่ตอบกลับมา จะเก็บไว้ที่เลขานุการบริษัท เพื่อประมวลภาพรวมและสรุปผล คะแนนโดยมีเกณณ์การให้คะแนนดังนี้ 1. ระดับดีเยีย่ ม โดยมีคะแนนประเมินระหว่างร้อยละ 90 - 100 2. ระดับดีมาก โดยมีคะแนนประเมินระหว่างร้อยละ 80 - 89 3. ระดับดี โดยมีคะแนนประเมินระหว่างร้อยละ 70 - 79 4. ระดับพอใช้ โดยมีคะแนนประเมินต�่ำกว่าร้อยละ 69 ทัง้ นี้ การประเมินตนเองของคณะกรรมการเป็นรายคณะแบ่งเป็น เรื่องหลักๆ 6 หัวข้อ ดังนี้ 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2. บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ 3. การประชุมคณะกรรมการ 4. ผลงานของคณะกรรมการ 5. ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร 6. การพัฒนาส่วนบุคคลของกรรมการ การประเมินตนเองของคณะกรรมการเป็นรายบุคคล แบ่งเป็น เรื่องหลักๆ 3 หัวข้อ ดังนี้ 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2. การประชุมคณะกรรมการ 3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยประธานกรรมการก� ำ กั บ ดู แ ลกิ จ การจะรายงานผลการ ประเมินต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ในปี 2558 ผลประเมิน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะ (as a whole) อยู่ ในเกณฑ์ “ดีมาก” โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ร้อยละ 87.60 และราย บุคคลอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ร้อยละ 87.19 โดยคณะกรรมการบริษทั ฯ ได้มกี ารหารือเกีย่ วกับผลการประเมิน และการปรับปรุง และขอให้คณะกรรมการชุดย่อยคณะต่างๆ เสนอวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของคณะกรรมการ

(ง.2) การประเมิ น ตนเองของคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยราย คณะและรายบุคคล ในปี 2558 คณะกรรมการชุดย่อยของบริษทั ฯ ได้แก่ คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ และ คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน ได้มีการประเมินผลการท�ำงาน ของคณะกรรมการชุดย่อยเป็นรายคณะ และการประเมินตนเอง ของคณะกรรมการชุดย่อยเป็นรายบุคคล โดยประธานกรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการเป็นผู้ด�ำเนินการส่งแบบประเมินผลงานของ คณะกรรมการชุดย่อยเป็นรายคณะและแบบประเมินตนเองของ คณะกรรมการชุดย่อยเป็นรายบุคคลให้แก่กรรมการแต่ละคนโดย แบบฟอร์ ม ที่ ต อบกลั บ มาจะเก็ บ ไว้ ท่ี เ ลขานุ ก ารบริ ษั ท และ ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการจะรายงานผลการประเมินต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยเป็นราย คณะและรายบุคคลแบ่งเป็นเรื่องหลักๆ 3 หัวข้อ ดังนี้ 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2. การประชุมคณะกรรมการ 3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ในปี 2558 ผลประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบเป็นรายคณะ (as a whole) และรายบุคคลอยู่ใน เกณฑ์ “ดีเยี่ยม” และของคณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการและ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ “ดี มาก”

(จ) นโยบายค่าตอบแทน

(จ.1) นโยบายค่าตอบแทนกรรมการ บริษัทฯ ได้ก�ำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการ โดยประกอบ ด้วย ค่าตอบแทนรายเดือน ค่าเบีย้ ประชุม ค่าเบีย้ เดินทาง (เฉพาะ กรรมการต่ า งชาติ ที่ พ� ำ นั ก นอกประเทศไทย และเงิ นรางวัล ประจ�ำปี (จ่ายเมื่อผลประกอบการบรรลุตามเป้าหมาย) โดย ค�ำนึงถึงความเหมาะสม ภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมาย และสามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมและ มี ข นาดใกล้ เ คี ย งกั น และเหมาะสมเพี ย งพอที่ จ ะดู แ ลรั ก ษา กรรมการ และจูงใจให้กรรมการปฏิบัติงานกับบริษัทฯ ให้บรรลุ เป้าหมายและมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการที่โปร่งใส เป็น ที่มั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้น ในการก�ำหนดค่าตอบแทน บริษัทฯ มอบ หมายให้ ค ณะกรรมการสรรหาและก� ำ หนดค่ า ตอบแทนเป็น ผู้พิจารณาและน�ำเสนอจ�ำนวนค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อคณะ กรรมการบริษัทฯ เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนน�ำเสนอให้ผู้ถือหุ้น พิจารณาอนุมัติต่อไป

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


098

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

(จ.2) นโยบายค่าตอบแทนกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่และประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร การจ่ายเงินค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร จะพิจารณาจากคะแนนประเมิน ผลการปฏิบัติงานและผลประกอบการโดยรวมของบริษัทฯ โดย กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารจะประเมิน ตนเองและน�ำเสนอผลการประเมินตนเองให้คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนพิจารณา และคณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนจะพิจารณาค่าตอบแทนเพือ่ เสนอ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป ส�ำหรับการจ่ายเงินค่าตอบแทนผูบ้ ริหาร จะพิจารณาจากคะแนน ประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านและผลประกอบการโดยรวมของ บริษัทฯ โดยผู้บริหารจะประเมินตนเองและน�ำเสนอผลการ ประเมินตนเองให้กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ บริหารพิจารณาก่อนน�ำส่งให้คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่ า ตอบแทนพิ จ ารณา เพื่ อ เสนอให้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท ฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป นโยบายค่าตอบแทนของกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่และประธานเจ้า หน้าที่บริหารและผู้บริหาร มีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่ง ระยะสั้น ได้แก่ เงินเดือน เงินรางวัลประจ�ำปี และในระยะยาว ได้แก่ กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ และสวัสดิการต่างๆ ซึ่งรวมถึง กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพส่วนบุคคล

ปฏิ บัติ ห น้ า ที่ ไ ด้ อ ย่ า งเร็ ว ที่ สุ ด โดยมีก รรมการผู ้ จั ดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะเป็นผู้ด�ำเนินการปฐมนิเทศให้ กับสมาชิกใหม่ของคณะกรรมการบริษทั ฯ ในการประชุมดังกล่าว จะมีการชี้แจงนโยบายของบริษัทฯ และธุรกิจหลักๆ นอกจากนี้ กรรมการเข้าใหม่จะได้มีโอกาสพบปะผู้บริหารของบริษัทฯ ใน กลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อรับทราบข้อมูลธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ ใน รายละเอียดที่มากขึ้น นอกจากนี้ บริษทั ฯ ยังสนับสนุนให้กรรมการเข้าร่วมหลักสูตรหรือ กิจกรรมทีม่ งุ่ ปรับปรุงการท�ำงานของกรรมการในคณะกรรมการ บริษทั ฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ปัจจุบนั กรรมการ 9 คน จาก จ�ำนวนทัง้ หมด 11 คน ได้เข้าอบรมหลักสูตรกรรมการของสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association (“IOD”)) ซึ่ ง รวมถึ ง หลั ก สู ต ร The Role of Chairman Program (“RCP”) หลักสูตร The Director Accreditation Program (“DAP”) หลั ก สู ต ร Director Certification Program (“DCP”) หลักสูตร The Finance for Non-Finance Director Program (“FND”) หลักสูตร The Role of the Compensation Committee Program (“RCC”) หลักสูตร The Audit Committee Program (“ACP”) หลักสูตร 4M; Monitoring Fraud Risk Management (“MFM”), Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (“MIR”), Monitoring the Internal Audit Function (“MIA”), Monitoring the Quality of Financial (“MFR”) และหลักสูตร Diploma Examination (ฉ) การปฐมนิเทศและการพัฒนากรรมการ Reporting (“EXAM”) บริษัทฯ ได้มีการจัดท�ำคู่มือกรรมการบริษัทฯ ซึ่งสรุปข้อมูลของ บริ ษั ท ฯ สนั บสนุ น ให้ ก รรมการที่ ยั ง มิ ไ ด้ เ ข้ า รั บการอบรมใน บริษัทฯ นโยบายและกฎบัตรต่างๆ ของบริษัทฯ โครงสร้างของ หลักสูตรดังกล่าวข้างต้น เข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวโดย กลุ ่ ม บริ ษั ท ฯ และแจกให้แ ก่ก รรมการทุก คนเพื่อเป็น ข้ อ มู ล บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการอบรม เบื้องต้น บริษัทฯ มีการจัดการปฐมนิเทศให้กับสมาชิกใหม่ของ คณะกรรมการบริษทั ฯ เพือ่ ให้กรรมการทีเ่ ข้ารับต�ำแหน่งสามารถ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


099

ร า ย งา นว ่ า ด ้ ว ย ก า ร ก� ำ กั บ ดู แล กิ จกา ร

หลักสูตรที่กรรมการบริษัทฯ ได้ผ่านการอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) มีดังนี้ Finance for Role of the Role of Director Director Non-Finance Compensation Audit Chairman Accreditation Certification Director Committee Committee Diploma Program Program Program Program Program Program Examination รายชื่อกรรมการ (RCP) (DAP) (DCP) (FND) (RCC) (ACP) (EXAM) 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ RCP DAP 26/2547 28/2555 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ DAP 30/2547 DCP 53/2548 3. นายเชีย วัน ฮัท โจ เซฟ DCP 165/2555 4. นายฌ็อง ปอล เท เวอแน็ง DAP 74/2551 5. นายกฤช ฟอลเล็ต 6. นายสันติ บางอ้อ

7. นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 8. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 9. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์

DCP 149/2554 DCP 12/2544

DAP30/2557 RCP DAP DCP 10/2547 8/2547 104/2551 DCP 42/2547

นอกจากนี้ ในปี 2558 บริษัทฯ ได้สนับสนุนให้กรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมอบรม ได้แก่ นายกฤช ฟอลเล็ต และนายสันติ บางอ้อ ได้ผ่านการอบรมหลักสูตร Audit Committee Seminar - Get Ready for the Year End จั ด โดยสภาวิ ช าชี พ ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2558 และนายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้เข้าร่วมการประชุม Directors Forum 2/2015 หั ว ข้ อ “Building Better Board through Effective Independent Director” จั ด โดยสมาคมส่ ง เสริ ม สถาบั น กรรมการบริษัทไทย (IOD) ในเดือนตุลาคม 2558

4M

EXAM 32/2555 RCC 16/2556

FND 13/2547 FND 9/2547

ACP 42/2556

MFM 9/2556 MIR 14/2556 MIA 14/2556 MFR 17/2556

ACP 27/2552 RCC 10/2553

(ช) จริยธรรมทางธุรกิจและจรรยาบรรณ ของบริษัทฯ

แนวทางด้านจริยธรรมและการปฏิบัติการของ บริษัทฯ บริษัทฯ มีแนวทางด้านจริยธรรมและการปฏิบัติการ ดังนี้ 1. ความยุติธรรม บริษทั ฯ เชือ่ ในความยุตธิ รรมต่อคูส่ ญ ั ญาทุกรายทีม่ คี วามสัมพันธ์ ทางธุรกิจกับบริษทั ฯ และหลีกเลีย่ งการปฏิบตั ติ อ่ บุคคลใดบุคคล หนึ่งดีกว่าบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ที่จะน�ำไปสู่การขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ 2. ความเป็นมืออาชีพ บริษัทฯ รับผิดชอบงานของบริษัทฯ อย่างมืออาชีพ และมุ่งมั่นที่ จะด�ำเนินการอย่างเป็นเลิศด้วยการท�ำงานให้ได้ผลในระดับที่ดี ขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้วิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


100

ร ายงาน ว่ า ด้ ว ยการ ก� ำ กั บ ดู แลกิ จการ

3. การท�ำงานเชิงรุก บริษทั ฯ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและการเปลีย่ นแปลง ทางสังคม เทคนิค และเศรษฐกิจ และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับ สถานการณ์ 4. วินัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ บริษัทฯ ด�ำเนินธุรกิจด้วยวินัยและหลักการด้านจริยธรรม และ ท�ำการทุกอย่างให้มนั่ ใจว่าธุรกิจของบริษทั ฯ เป็นไปตามกฎหมาย กฎและระเบียบต่างๆ

จรรยาบรรณ

คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้ให้ความเห็นชอบกรอบค่านิยมหลักของ องค์กร พันธกิจ และวิสัยทัศน์ (VMV Framework) เพื่อเป็น แนวทางในการด�ำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติอนุมัติคู่มือ จรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อน�ำกรอบค่านิยม พันธกิจ และวิสัยทัศน์ ดังกล่าวมาใช้ โดยเน้นค่านิยมหลัก 4 ประการของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการอบรมจรรยาบรรณให้แก่พนักงานทุกคน เพือ่ ทีจ่ ะได้มนั่ ใจได้วา่ พนักงานทุกคนได้เข้าใจหลักการปฏิบตั ทิ ดี่ ี และยังได้รวมการอบรมจรรยาบรรณเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการ ปฐมนิเทศส�ำหรับพนักงานใหม่อีกด้วย

ค่านิยมหลักของบริษทั ฯ มี 4 ประการ ได้แก่

1. คุณธรรม เราจะเป็นบุคคลที่เปิดเผย และซื่อสัตย์ต่อกัน และกันในการท�ำงานร่วมกัน จะปฏิบัติตามที่ให้สัญญาไว้ ตลอดเวลา และจะสร้างและรักษาความไว้วางใจในการท�ำงาน ร่วมกัน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

2. ความเป็นเลิศ เราจะท�ำงานด้วยมาตรฐานระดับสูงในด้าน คุณภาพ ความปลอดภัย การรักษาสภาพแวดล้อม ความมัน่ คง การบริการ เราพร้อมรับมือกับงานท้าทายเสมอ และจะด�ำเนิน ธุรกิจของเราอย่างมืออาชีพ 3. จิตส�ำนึกของการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม เราใส่ใจในลูกค้า พนักงาน และคูค่ า้ ของเรา และจะปฏิบตั ติ นในอันทีจ่ ะส่งเสริม และสร้างสรรค์การร่วมมือกันท�ำงานเป็นทีม และเคารพ ต่อกันและกัน 4. การยึ ด มั่ น ในพั น ธะ เราจะค� ำ นึ ง ถึ ง อนาคตของบริ ษั ท ฯ ตลอดเวลา และจะเป็นผูร้ บั ผิดชอบต่อผลและความส�ำเร็จทาง ธุรกิจของบริษัทฯ

คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้กำ� หนดวิสยั ทัศน์และพันธกิจ ส�ำหรับปี 2558-2563 ไว้ดังนี้ (ก) วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ คือ “ภายในปี 2563 TTA จะก้าว ขึ้นมาเป็นกลุ่มบริษัทเพื่อการลงทุนชั้นน�ำในเอเชีย ที่ได้ รับความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือมากที่สุด ด้วยการ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดี ในทุกแง่มุมให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ” (ข) พันธกิจของบริษัทฯ มี 4 ประการดังนี้ 1. ก่อประโยชน์สุงสุดให้กับมูลค่าการลงทุนของผู้ถือหุ้น 2. สร้างและดูแลให้กจิ การทีบ่ ริษทั ฯ เข้าไปลงทุนให้มกี ารเติบโต อย่างยั่งยืน 3. ก�ำหนดกรอบการลงทุน การบริหารจัดการและการขยาย กิจการในพอร์ตการลงทุนให้ชัดเจน 4. คืนกลับสู่สังคม


101

ป ั จ จั ย ค ว า ม เสี่ ย ง

ปัจจัยความเสี่ยง ในการด�ำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้ บริษทั ฯ ต้องเผชิญกับความเสีย่ งในด้านต่างๆ ทัง้ จากภายในและ ภายนอกองค์กร ดังนั้นการท�ำความเข้าใจธรรมชาติของความ เสี่ยงเหล่านี้ การระบุถึงความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที และการ บริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ล้ ว นเป็ น องค์ประกอบที่ส�ำคัญในการวางแผนกลยุทธ์รวมถึงกระบวนการ ปฏิบตั งิ านของบริษทั ฯ การบริหารความเสีย่ งอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มบริษัทฯ สามารถบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจได้ และหากน�ำการบริหาร จัดการความเสีย่ งมาปฏิบตั ไิ ด้สำ� เร็จแล้ว จะสามารถป้องกันความ สูญเสียทีอ่ าจเกิดขึน้ และยังช่วยให้กลุม่ บริษทั ฯ ได้รบั โอกาสทาง ธุรกิจใหม่ๆ ที่ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย กลุ่มบริษัทฯ บริหารความเสี่ยง ภายใต้ทิศทางในภาพรวมที่ก�ำหนดโดยคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและ คณะกรรมการตรวจสอบ ทัง้ นี้ กรอบการบริหารความเสีย่ งองค์กร ของบริษทั ฯ (TTA Enterprise Risk Management Framework) ช่วยให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมด้าน ความเสี่ยงที่เข้มแข็งอีกด้วย

กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของบริษัทฯ ประกอบด้วย:

1. วัตถุประสงค์และวิธีการในการ บริหารความเสี่ยง เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ามาตรฐานและแนวปฏิบตั ใิ นการบริหารความเสีย่ ง มีความสอดคล้องกัน กลุ่มบริษัทฯ ได้ก�ำหนดวัตถุประสงค์และ วิธีการในการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน รวมถึงได้มีการก�ำหนด ขีดจ�ำกัดของความเสี่ยงที่บริษัทฯ รับได้ไว้อีกด้วย

2. โครงสร้างและหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ในการบริหารความเสี่ยงของกลุ่ม บริษัทฯ

กลุ ่ มบริ ษั ท ฯ ได้ ก� ำ หนดโครงสร้ า งการบริ ห ารความเสี่ยงให้ สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยง ท�ำให้มีวิธีการที่เป็น ระบบและสอดคล้องตามหลักเหตุผล เพือ่ ใช้ในการระบุ วิเคราะห์ บรรเทา และติดตามความเสีย่ งหลักทีอ่ าจมีผลกระทบต่อบริษทั ฯ กระบวนการบริหารความเสี่ยงถูกขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการ บริษทั ฯ โดยได้รบั ความช่วยเหลือและสนับสนุนในการปฎิบตั งิ าน จากคณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งและคณะกรรมการ ตรวจสอบ ส่ ว นคณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งมี ห น้ า ที่ ดูแล สนับสนุน และติดตามการบริหารความเสี่ยงในทุกด้านของ กลุม่ บริษทั ฯ ยึดมัน่ ในการปฏิบตั ติ ามกรอบการบริหารความเสีย่ ง กลุ่มบริษัทฯ องค์กร เพือ่ ให้แน่ใจว่า กลุม่ บริษทั ฯ มีการบริหารความเสีย่ งอย่าง มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม เพื่อจุดมุ่งหมายในการปกป้อง 2.1. คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะ ทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของกลุ่ม กรรมการตรวจสอบ บริษัทฯ ที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการออกแบบกรอบการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นในการบริหารความเสี่ยง บริหารความเสี่ยงองค์กรนั้น กลุ่มบริษัทฯ ได้อิงตามมาตรฐาน ของกลุม่ บริษทั ฯ คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้ตรวจสอบและติดตาม ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่ ดูแลประสิทธิภาพของการบริหารความเสีย่ งของกลุม่ บริษทั ฯ ใน ยอมรับในระดับสากล ตามแนวทางของ The Committee of ภาพรวม เพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงหลักของธุรกิจได้ถูกทบทวน Sponsoring Organizations of the Treadway Commission ติดตาม และบริหารจัดการให้อยู่ในขีดจ�ำกัดที่บริษัทฯ รับได้ ซึ่ง (“COSO”) เพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และนับแต่นั้น สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจของกลุม่ บริษทั ฯ คณะกรรมการ มา กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของบริษัทฯ ค่อยๆ ได้รับ บริษทั ฯ ได้ให้ความส�ำคัญและก�ำหนดแนวทางในการบริหารความ การพัฒนาขึน้ จนเกิดเป็นกระบวนการท�ำงานแบบองค์รวมทีเ่ ป็น เสี่ยงตั้งแต่ระดับผู้บริหาร เพื่อช่วยส่งเสริมการบริหารความเสี่ยง ระบบ ในการระบุ วิเคราะห์ และบริหารความเสี่ยงของกลุ่ม อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ รวมถึงการรับรองกรอบการบริหารความ บริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารและอบรมพนักงาน เสีย่ งของกลุม่ บริษทั ฯ และสนับสนุนการปฏิบตั ติ ามแผนงานการ เกีย่ วกับกรอบการบริหารความเสีย่ งอย่างสม�ำ่ เสมอ เพือ่ ช่วยสร้าง บริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการก�ำกับ วัฒนธรรมองค์กรด้านบริหารความเสี่ยง ซึ่งในท้ายที่สุดจะช่วย ดูแลกิจการที่ดี ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ก�ำกับดูแล เพิ่มมูลค่าและมาตรฐานในการปฏิบัติงานในทุกส่วนขององค์กร กระบวนการและแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงภายใน ให้สูงขึ้น และช่วยให้กลุ่มบริษัทฯ มีความสามารถในการบริหาร กลุม่ บริษทั ฯ เพือ่ ให้แน่ใจว่ามีการควบคุมอย่างเพียงพอในขัน้ ตอน จัดการความเสี่ยงภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่ การบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงมีประสิทธิภาพและเป็นไป รวดเร็วทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงที่วางไว้

กรอบการบริ ห ารความเสี่ ย ง องค์กรของบริษัทฯ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


102

ปั จ จั ย ความเสี่ ย ง

2.2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 2.3.1. ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายบริหารความเสีย่ งขึน้ ตรงต่อคณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง ของบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่ช่วยคณะกรรมการ บริษทั ฯ ปฏิบตั หิ น้าทีด่ า้ นการบริหารความเสีย่ งของกลุม่ บริษทั ฯ ในการควบคุมดูแลการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทฯ อย่าง เป็นอิสระ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีความรับผิดชอบใน การก�ำหนดระดับขีดจ�ำกัดของความเสี่ยงที่บริษัทฯ ยอมรับได้ รวมถึงนโยบายในการควบคุมความเสี่ยง รวมทั้งมีหน้าที่ทบทวน และติดตามความเสี่ยงในทุกด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสีย่ งด้านปฏิบตั กิ าร ความเสีย่ งด้านการเงิน และความเสีย่ ง ด้านการปฏิบัติตามข้อก�ำหนด ซึ่งความเสี่ยงที่มีนัยส�ำคัญเหล่านี้ จะได้รับการทบทวนและน�ำไปหารืออย่างจริงจังในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส โดยคณะกรรมการ บริ ห ารความเสี่ ย งจะคอยดู แ ลและติ ด ตามให้ มี ก ารวางแผน บรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อน�ำไปปฏิบัติ หน้าที่ความ รับผิดชอบหลักอื่นๆ ประกอบด้วย: ปรับปรุงและก�ำหนดแนวทางในการบริหารจัดการและการ รายงานความเสี่ยง

มีหน้าทีก่ ำ� หนดนโยบาย และปฏิบตั งิ านตามกลยุทธ์และแผนงาน ด้านการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทฯ หน่วยงานนี้ได้ประสานงาน ร่วมกับตัวแทนด้านความเสี่ยงจากหน่วยธุรกิจต่างๆ ในการ ทบทวนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงหลัก ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวได้ รวมถึงการรายงานและติดตามการเปลีย่ นแปลง ของความเสี่ ย งหลั ก และการปฏิ บั ติ ต ามแผนงานบรรเทา ความเสี่ ย งต่ อ คณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งของบริ ษั ท ฯ นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังมีหน้าที่สนับสนุนการแบ่งปัน ความรูแ้ ละการสือ่ สารด้านการบริหารความเสีย่ ง รวมถึงการสร้าง วัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยงในกลุ่มบริษัทฯ อีกด้วย

2.3.2. ฝ่ายก�ำกับดูแลการปฏิบัติตาม ข้อก�ำหนด

หน่วยงานนี้มีหน้าที่ก�ำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและ ขั้นตอนการปฏิบัติงานในทุกกระบวนการของการด�ำเนินงาน  ทบทวนและอนุมัติกรอบ นโยบาย กลยุทธ์ และแผนด้านการ ทุกด้านภายในกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ บริหารความเสี่ยง งานเหล่านี้มีส่วนช่วยในการจ�ำกัดและควบคุมความเสี่ยงในการ ด�ำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการปกป้อง  ทบทวนและตรวจสอบติดตามความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินขององค์กร รวมถึงการรักษา  ส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินงานตามแผนงานการบริหาร ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หน่วยงานนี้ยังได้มีการก�ำกับดูแลการ ความเสี่ยงภายในกลุ่มบริษัทฯ ปฏิบัติงานของหน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตาม กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ และมีหน้าทีใ่ นการรายงาน  น�ำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงแก่คณะกรรมการตรวจสอบ การไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดต่างๆ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ทุกไตรมาสเพื่อช่วยในการวางแผนการตรวจสอบภายใน

ฝ่ายตรวจสอบภายใน 2.3. การบริหารความเสี่ยงในระดับกลุ่ม 2.3.3. ฝ่ายตรวจสอบภายในมีสว่ นช่วยในการเพิม่ ประสิทธิภาพของการ บริษัทฯ บริหารความเสี่ยงในภาพรวม ด้วยการประเมินประสิทธิภาพใน เพือ่ ให้การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการบริษทั ฯ ในการจัดการ ความเสี่ยงเป็นไปอย่างราบรื่น บริษัทฯ ได้แต่งตั้งหน่วยงานของ องค์กรในระดับกลุ่มบริษัทฯ ขึ้น ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีส่วน สนับสนุนการปฏิบัติงานและการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการ บริหารความเสีย่ ง โดยมีการจัดตัง้ ระบบบริหารและติดตามความ เสีย่ ง เพือ่ ช่วยบรรเทาผลกระทบอย่างมีนยั ส�ำคัญทีเ่ กิดจากความ เสี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธุรกิจของบริษัทฯ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

การปฏิบัติงานตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทฯ ฝ่ายตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดย มีหน้าทีต่ รวจสอบประสิทธิภาพของแผนงานควบคุมความเสีย่ งที่ ก�ำหนดไว้ และการปฏิบัติตามแผนงานจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมและขั้นตอนใน การบริหารความเสี่ยงนั้นได้ถูกน�ำมาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล และมีกรอบการควบคุมทีเ่ พียงพอในการบริหารความเสีย่ งภายใน กลุ่มบริษัทฯ


103

ป ั จ จั ย ค ว า ม เสี่ ย ง

2.3.4. หน่วยงานอื่นๆ

หน่วยงานอื่นๆ หมายรวมถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบในวงกว้าง ต่อการด�ำเนินงาน หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ ซึ่งต้องการความ เชีย่ วชาญเฉพาะทาง เช่น แผนฟืน้ ฟูความเสียหายและการบริหาร ความต่อเนื่องในการด�ำเนินธุรกิจ (เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง ที่อาจส่งผลให้การด�ำเนินธุรกิจหยุดชะงัก และความเสี่ยงใน ด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศ) และหน่ ว ยงานสื่ อ สารองค์ ก ร (เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและ ภาพลักษณ์ของบริษัทฯ)

2.4. การบริหารความเสีย่ งในระดับหน่วย ธุรกิจ

เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการ จัดการความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างเหมาะสม และทันเวลา หน่วย ธุรกิจมีหน้าทีค่ วามรับผิดชอบในการระบุและบริหารจัดการความ เสีย่ งหลัก และรายงานต่อฝ่ายบริหารความเสีย่ งเพือ่ น�ำไปรายงาน ต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ต่อไป บริษัทฯ มีแผนทีจ่ ะปรับปรุงการบริหารจัดการความเสีย่ งของหน่วยธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายใหม่ที่ถูก ก�ำหนดขึน้ โดยคณะกรรมการบริหารความเสีย่ งของบริษทั ฯ โดย การให้หน่วยธุรกิจแต่ละแห่งจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความ เสี่ยงในระดับหน่วยธุรกิจ ซึ่งคณะกรรมการในระดับหน่วยธุรกิจ เหล่านีจ้ ะประกอบด้วยผูบ้ ริหารระดับสูงของหน่วยธุรกิจนัน้ ๆ ท�ำ ให้บริษัทฯ สามารถวิเคราะห์และจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะ เกิดขึน้ อย่างทันท่วงที คณะกรรมการบริหารความเสีย่ งของหน่วย ธุรกิจจะมีหน้าที่ก�ำหนดโครงสร้างและกลยุทธ์การบริหารความ เสีย่ ง ผลักดันให้เกิดการน�ำแผนงานด้านการบริหารความเสีย่ งมา ปฏิบัติภายในหน่วยธุรกิจ และรายงานผลการปฏิบัติงานด้าน ความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เป็น ประจ�ำทุกไตรมาส

ชื่อเสียงของกลุ่มบริษัทฯ โดยจะมีการก�ำหนดแผนงานบรรเทา ความเสี่ยงและติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด กระบวนการ บริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบด้วย:

3.1 การระบุความเสี่ยง

การระบุความเสี่ยงเป็นขั้นตอนที่กระท�ำอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่ม จากการมีความเข้าใจในเป้าหมายธุรกิจอย่างชัดเจน รวมถึงการ ตระหนักถึงความเสีย่ งต่างๆ ว่ามีผลกระทบกับความส�ำเร็จในการ บรรลุเป้าหมายได้อย่างไรบ้าง โดยกระบวนการระบุความเสี่ยง นั้น บริษัทฯ ได้มีการก�ำหนดความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงในทุกด้านที่อาจส่งผลกระทบต่อการ ด�ำเนินงานทางธุรกิจ อันประกอบด้วยความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยง ด้านการเงินและสินเชื่อ และความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก

3.2 การประเมินความเสี่ยง

ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ องค์กรจากความเสีย่ งด้านต่างๆ ทีไ่ ด้ระบุไว้ รวมถึงพิจารณาความ เป็นไปได้ที่ความเสี่ยงเหล่านี้จะมีโอกาสเกิดขึ้น และน�ำมาจัด ล�ำดับตามความส�ำคัญของผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ผู้รับผิดชอบ ในการประเมินความเสี่ยงมีการใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลาก หลาย อาทิ การเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน การวิเคราะห์ สถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น เพื่อประเมินโอกาสที่จะ เกิดความรุนแรง และความสามารถในการบริหารจัดการความ เสี่ยง และน�ำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับขีดจ�ำกัดความเสี่ยงที่ได้ ระบุไว้ ซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของบริษัทฯ โดยหลักเกณฑ์และขีดจ�ำกัดในการประเมินความเสี่ยงจะถูก ทบทวนเป็นระยะ เพือ่ ให้สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายธุรกิจ รวมถึงเกิดการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและต่อ เนื่อง โดยการทบทวนหลักเกณฑ์และขีดจ�ำกัดในการประเมิน ความเสี่ยงจะค�ำนึงถึงสภาพแวดล้อมและโอกาสในการด�ำเนิน ธุรกิจ รวมถึงขีดจ�ำกัดในการรับความเสี่ยงของบริษัทฯ

3. กระบวนการบริหารความเสี่ยง 3.3 การจัดการความเสี่ยง เพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ซึ่งอยู่ ของบริษัทฯ นอกเหนือขีดจ�ำกัดที่ยอมรับได้ และเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายใน กระบวนการบริ ห ารความเสี่ ย งของบริ ษั ท ฯ ถู ก ก� ำ หนดขึ้ น ตามแนวทางกรอบการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการน�ำนโยบาย ขั้นตอน และแนวปฏิบัติต่างๆ จากผู้บริหาร มาประยุกต์ใช้อย่าง เป็นระบบ ในการระบุ วิเคราะห์ จัดการ ติดตาม และรายงาน ความเสี่ยง ความเสี่ยงในระดับสูง/สูงสุดจะถูกระบุและประเมิน ในแง่ผลกระทบที่มีต่อการด�ำเนินงาน สถานะทางการเงิน และ

การบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่บริษัทฯ ยอมรับได้ บริ ษั ท ฯ มี ก ารใช้ ก ลยุ ท ธ์ ใ นการบรรเทาความเสี่ ย งต่ า งๆ ที่ เหมาะสมตามลักษณะของแต่ละความเสี่ยง เช่น การยอมรับ (Accept) หลีกเลี่ยง (Avoid) บรรเทา (Mitigate) โอนถ่าย (Transfer) และการแสวงหาประโยชน์ (Exploit) เพื่อบริหาร จัดการความเสี่ยง หากความเสี่ยงที่เหลืออยู่ยังคงอยู่ในระดับ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


104

ปั จ จั ย ความเสี่ ย ง

ที่สูงเกินกว่าขีดจ�ำกัดความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้ ผู้รับผิดชอบใน การประเมินความเสี่ยงจะต้องจัดท�ำแผนงานบรรเทาความเสี่ยง ขึน้ เพือ่ ลดโอกาสทีจ่ ะเกิดหรือลดผลกระทบของความเสีย่ งทีร่ ะบุ ไว้ให้ลงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

เปรียบเทียบข้อมูล และสมมุติฐานต่างๆ ที่บริษัทฯ น�ำมาใช้ จาก แหล่งข้อมูลของสถาบันต่างๆ ทีเ่ ชือ่ ถือได้ และได้มกี ารปรึกษากับ ผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อท�ำการวิเคราะห์ และคาดการณ์สภาพ เศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการด�ำเนินธุรกิจ

3.4 การรายงานและการติดตามความเสีย่ ง 1.2 ความเสีย่ งด้านการลงทุนในโครงการ ผลที่เกิดจากการบริหารความเสี่ยงจะถูกน�ำไปรายงานต่อคณะ ใหม่ ผู้บริหาร อันประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาในหน่วยธุรกิจ และ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ งของบริษทั ฯ ต่อจากนัน้ จะถูกน�ำ ไปรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจ�ำทุกไตรมาส การพิจารณาน�ำเสนอการลงทุนในแต่ละครัง้ บริษทั ฯ จะพิจารณา ปัจจัยหลักต่างๆ ในการลงทุนเพือ่ ประเมินความเสีย่ งทีอ่ าจจะเกิด ขึ้น เช่น ความสอดคล้องกับเป้าหมายกลยุทธ์ การควบคุมการ ด�ำเนินงาน ผลกระทบทางการเงิน ภาระผูกพันทางกฎหมาย รวม ทั้งกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศ ความช�ำนาญทาง เทคนิค รวมถึงทรัพยากรต่างๆ ทีม่ อี ยู่ เพือ่ น�ำไปพิจารณาประกอบ การตัดสินใจลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบ

ความเสี่ยงหลักและมาตรการ บรรเทาความเสี่ยง 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

บริษัทฯ ได้มองหาโอกาสการลงทุนใหม่ เพื่อเป็นการต่อยอดทาง ธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ อาจเป็นเรือ่ งยากในการหาการลงทุนทีด่ แี ละเหมาะสม และถึงแม้ ว่าบริษัทฯ จะสามารถหาโครงการลงทุนใหม่ที่เหมาะสมได้แล้ว ก็ตาม ความส�ำเร็จในการลงทุนนัน้ อาจได้รบั ผลกระทบจากปัจจัย ด้านลบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากมูลค่าเงินลงทุนโครงการ หุ้นส่วน ร่วมทุน ค่าสมมติฐานที่ใช้ในการค�ำนวณมูลค่าของโครงการ สิง่ แวดล้อมในการด�ำเนินธุรกิจ กฎระเบียบข้อบังคับ สภาวะตลาด และการแข่งขัน เพื่อให้การตัดสินใจในการลงทุนเป็นไปอย่าง รอบคอบและเหมาะสม กลุม่ บริษทั ฯ ได้กำ� หนดขัน้ ตอนการอนุมตั ิ การลงทุน โดยมีวิธีการในการพิจารณาที่เป็นระเบียบแบบแผน รวมถึงการทบทวนเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในการลงทุน นอกจากนี้ รายละเอียดการลงทุน และ ธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนจะถูกทบทวนอย่างละเอียด โดยทีมงานจากสายงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้แน่ใจว่าบริษทั ฯ ได้น�ำเสนอโครงการลงทุนที่ดีและเหมาะสมต่อคณะกรรมการ บริหารและคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อตรวจสอบในขั้นสุดท้าย และพิจารณาอนุมัติ

1.1 ความเสี่ยงในการปฏิบัติตามแผน กลยุทธ์ 1.3 ความเสี่ยงด้านการร่วมทุน/หุ้นส่วน ถึงแม้ว่ากลุ่มบริษัทฯ ได้มีการพิจารณาความเสี่ยงเป็นประเด็น ธุรกิจ ส�ำคัญในการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ แต่การที่บริษัทฯ ไม่สามารถก�ำหนดและปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้อย่าง ถูกต้อง รวมถึงไม่สามารถปรับแผนกลยุทธ์ตามการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างทันเวลา เป็นความเสี่ยง ที่อาจมีผลกระทบด้านลบต่อการท�ำก�ำไรของบริษัทฯ บริษัทฯ จัดการกับความเสี่ยงนี้โดยการจัดตั้งระบบและกระบวนการใน การทบทวนแผนกลยุทธ์ที่ท�ำขึ้นโดยหน่วยงานต่างๆ เป็นระยะ โดยค�ำนึงถึงความสามารถในการแข่งขัน และการขยายแผนการ ลงทุนเพือ่ สร้างมูลค่าธุรกิจ บริษทั ฯ มีการจัดประชุมคณะกรรมการ บริหารทุกเดือน เพื่อตรวจสอบผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปรับแผนธุรกิจ และแผน กลยุทธ์ในระยะสั้น เพื่อให้บริษัทฯ สามารถบรรลุตามเป้าหมาย ทีต่ งั้ ไว้ รวมถึงการรายงานต่อกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร หากมีความจ�ำเป็นที่ต้องเปลี่ยนทิศทางการ ด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ท�ำการวิเคราะห์ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

กลุ่มบริษัทฯ มีการท�ำธุรกิจกับบริษัทร่วมทุนและหุ้นส่วนหลาย บริษัท ซึ่งหุ้นส่วนเหล่านี้อาจมีผลประโยชน์หรือเป้าหมายทาง ธุรกิจหรือเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มบริษัทฯ และอาจ ด�ำเนินการที่ขัดกับผลประโยชน์ของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อบรรเทา ความเสีย่ งในด้านนี้ กลุม่ บริษทั ฯ จึงได้พจิ ารณาคัดเลือกผูร้ ว่ มทุน และหุน้ ส่วนธุรกิจอย่างละเอียดรอบคอบ โดยบริษทั ฯ ได้มกี ารท�ำ สัญญากับผู้ร่วมทุน/หุ้นส่วนธุรกิจ ซึ่งในสัญญาจะมีการระบุ เงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการร่วมทุนเหล่านั้น อย่างเหมาะสมและรัดกุม เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของ บริษัทฯ


105

ป ั จ จั ย ค ว า ม เสี่ ย ง

1.4 ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง

บริษทั ฯ ใช้จรรยาบรรณทางธุรกิจเป็นแนวทางในการด�ำเนินธุรกิจ ส�ำหรับทั้งตัวบริษัทฯ และบริษัทย่อยในกลุ่ม การท�ำให้พนักงาน ทุกคนปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณดังกล่าว เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะการทีบ่ ริษทั ฯ ไม่ปฏิบตั ติ ามหรือถูกเข้าใจว่าไม่ทำ� ตามหลัก จรรยาบรรณและข้อก�ำหนดทางกฎหมายนั้น อาจท�ำให้ชื่อเสียง ของบริษัทฯ เสียหาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตใน การด�ำเนินกิจการ ชื่อเสียงบริษัทฯ โอกาสและความสามารถใน การลงทุนหรือหาทรัพยากรใหม่ๆ ท�ำให้โอกาสในการเข้าถึงแหล่ง เงินทุนมีจ�ำกัด ซึ่งส่งผลต่อผลการด�ำเนินงานและสถานะการเงิน ของบริษัทฯ ในที่สุด ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงอาจเกิดจากปัจจัย หลายด้าน ได้แก่ ความโปร่งใสและความยุติธรรมในแนวปฏิบัติ ทางธุรกิจ ความปลอดภัยในสถานที่ท�ำงาน ความรับผิดชอบทาง ด้านสิ่งแวดล้อม และการตระหนักถึงความส�ำคัญของชุมชนและ สังคม ในการจะบริหารความเสีย่ งเหล่านี้ บริษทั ฯ ได้ทบทวนจรรยาบรรณ ในการด�ำเนินธุรกิจอย่างสม�่ำเสมอ และได้ก�ำหนดทิศทางการ ด�ำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อรักษาสมดุลทางด้านชื่อเสียงของ องค์กรทีม่ ตี อ่ ผูม้ สี ว่ นได้เสียได้อย่างเหมาะสม กลุม่ บริษทั ฯ มีการ สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และเท่าเทียมกัน โดยหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์และ สื่อสารองค์กร ได้สื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อผูถ้ อื หุน้ นักวิเคราะห์ สือ่ ทีเ่ กีย่ วข้อง และประชาชนทัว่ ไป โดย ได้จัดประชุมนักวิเคราะห์และนักลงทุนเป็นรายไตรมาส การ ประชุมกับนักลงทุน การเดินทางเพื่อพบนักลงทุนทั้งในและ ต่างประเทศ การเปิดเผยรายงานต่างๆ เป็นระยะ เช่น รายงาน ทางการเงิน และข่าวประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเปิดเผยรายงาน ตามเหตุการณ์ เช่น รายการได้มาและจ�ำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และการลงทุน

2. ความเสี่ยงด้านการเงิน 2.1 ความเสี่ยงด้านการตลาด

กิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ มีความเสี่ยงหลายด้าน ซึ่ง รวมถึงอัตราแลกเปลีย่ น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราดอกเบีย้ ซึ่งล้วนมีความผันผวนและไม่แน่นอน เพื่อที่จะบริหารความ เสีย่ งเหล่านี้ กลุม่ บริษทั ฯ ได้ใช้เครือ่ งมือทางการเงินทีห่ ลากหลาย ได้ แ ก่ สั ญ ญาซื้ อ ขายเงิ น ตราต่ า งประเทศล่ ว งหน้ า สั ญ ญา แลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย สัญญาซื้อขายค่าระวางเรือล่วงหน้า สัญญาแลกเปลีย่ นราคาน�ำ้ มัน และการซือ้ สิทธิซอื้ ขาย (Option) ต่างๆ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ มีการจัดให้รายจ่ายและเงินกู้เป็น เงินสกุลเดียวกับรายได้ให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงด้านความ ผันผวนของสกุลเงิน ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือทางการเงินจะถูก

ควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยนโยบายและขอบเขตอ�ำนาจที่ได้รับ การอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ

2.2 ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ

ความเสี่ยงด้านสินเชื่อจะเกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติ ตามข้อตกลงได้ โดยปกติกลุ่มบริษัทฯ จะด�ำเนินกิจกรรมทาง ธุรกิจกับคู่สัญญาโดยพิจารณาจากฐานะทางการเงินและความ น่าเชือ่ ถือของคูส่ ญ ั ญาเป็นหลัก ซึง่ กระท�ำได้โดยการประเมินและ ติดตามการผิดนัดช�ำระหนี้และความเสี่ยงด้านสินเชื่อของลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า ผู้รับเหมา ผู้ร่วมทุน และสถาบันการเงินต่างๆ ความน่าเชือ่ ถือของคูส่ ญ ั ญาด้านสินเชือ่ จะได้รบั การประเมินเป็น ระยะด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในบางกรณีบริษัทฯ อาจต้องมีการ เพิ่มมาตรการลดความเสี่ยง โดยการขอให้เพิ่มหลักประกัน หรือ ลดระยะเวลาในการให้เครดิตทางการค้า ส�ำหรับคู่สัญญาที่มี สถานะทางการเงินที่ไม่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังได้ ทบทวนความเสีย่ งด้านการกระจุกตัวของสินเชือ่ กับคูส่ ญ ั ญาราย บุคคลหรือตามภูมิล�ำเนาด้วย

2.3 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการ เงิน/แหล่งเงินทุน

บริษทั ฯ บริหารความเสีย่ งนีเ้ พือ่ ให้บรรลุเป้าหมายทีต่ อ้ งการให้มี แหล่งเงินทุนทีเ่ พียงพอต่อความจ�ำเป็นในด้านเงินลงทุน และเพือ่ ผลักดันให้บริษัทฯ เติบโต ไม่ว่าจะด้วยการขยายธุรกิจ หรือรวม กิจการ นอกเหนือจากการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบัน ทางการเงินต่างๆ แล้ว บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งระบบการท�ำงานที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพในการวางแผน ก� ำ หนดงบประมาณและการ คาดการณ์ เพื่อประเมินความจ�ำเป็นทางสภาพคล่องในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มาตรการเหล่านี้ประกอบด้วยการ บริหารเงินสดจากศูนย์กลาง การรักษาระดับเงินทุนและการ เข้าถึงสินเชื่อได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และการทดสอบระดับกระแสเงินสดเพือ่ รักษาความมัน่ คงทางการ เงิน กลุ่มบริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อพร้อมใช้ที่ได้รับอนุมัติแล้ว กับธนาคารที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ

3. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 3.1 ความเสีย่ งด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

การด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ ที่เข้มงวดในด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้วยความส�ำคัญขององค์ประกอบสามด้านนี้ บริษัทฯ ได้มุ่งเน้น การบริหารความเสีย่ งด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิง่ แวดล้อม ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


106

ปั จ จั ย ความเสี่ ย ง

อย่างจริงจังทัว่ ทัง้ กลุม่ บริษทั ฯ ซึง่ ความเสีย่ งเหล่านีล้ ว้ นเกีย่ วข้อง กั บ กิ จ กรรมและบริ ก ารของบริ ษั ท ฯ จึ ง ต้ อ งมี ก ารติ ด ตาม ตรวจสอบ และประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ หากมีการตรวจพบการไม่ปฏิบตั ติ าม ข้อบังคับจะมีการน�ำมาตรการแก้ไขและป้องกันมาใช้เพือ่ ลดความ เสี่ยงลง นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อ สนับสนุนด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อาทิ การ รณรงค์ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ และกิจกรรมการตรวจสอบ ทีบ่ ริษทั ฯ ได้ดำ� เนินการเพือ่ ตรวจเช็คความปลอดภัยด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน

แห่ ง ในการก� ำ หนดแผนบริ ห ารความต่ อ เนื่ อ งทางธุ ร กิ จ และ แผนการจัดการในภาวะวิกฤติ ซึ่งจะช่วยลดหรือจ�ำกัดโอกาสใน การเกิดภาวะธุรกิจหยุดชะงัก และยังช่วยให้บริษทั ฯ สามารถตอบ สนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล

เนื่องจากบริษัทฯ มีการด�ำเนินธุรกิจทั่วโลก จึงต้องประเมินและ ติดตามความเสีย่ งของประเทศต่างๆ ทีม่ กี ารประกอบกิจการอย่าง ต่อเนือ่ ง ทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจ-สังคม ระบบภาษีและกฎหมาย ไป จนถึงสถานการณ์ทางการเมือง ความขัดแย้งภายในประเทศ และ ภัยธรรมชาติ โดยได้ประเมินความเสี่ยงเหล่านี้เป็นประจ�ำเพื่อ ให้กลุม่ บริษทั ฯ สามารถระบุความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ และสามารถ รั บ มื อ กั บ ความเสี่ ย งเหล่ า นี้ อ ย่ า งทั น ท่ ว งที ด ้ ว ยกลยุ ท ธ์ ก าร บริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม กลุ่มบริษัทฯ ยังได้ท�ำประกันเพื่อ คุม้ ครองความเสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ ซึง่ สามารถลดผลกระทบจาก ความเสี่ยงลงได้

ลักษณะการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัทฯ จ�ำเป็นต้องมีบุคลากรที่ มีทกั ษะและมีความสามารถเฉพาะทางในการปฏิบตั งิ าน อย่างไร ก็ตาม บุคลากรทีม่ คี วามเชีย่ วชาญเฉพาะด้านเหล่านีม้ จี ำ� นวนน้อย และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในบาง อุตสาหกรรม ดังนั้นกลุ่มบริษัทฯ จึงต้องแข่งขันกับบริษัทอื่นทั้ง ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม เพื่อเฟ้นหา พนักงานที่มีคุณภาพและประสบการณ์ตามที่บริษัทฯ ต้องการ หากกลุ่มบริษัทฯ ไม่สามารถรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้ได้ อาจจะ ส่งผลกระทบต่อความส�ำเร็จของการด�ำเนินงาน ซึ่งจะส่งผลต่อ ศักยภาพของกลุ่มบริษัทฯ ได้ในท้ายที่สุด บริษัทฯ เชื่อว่าความรู้ ความสามารถที่แข็งแกร่งของทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหลักใน การช่วยให้บริษทั ฯ สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ บริษทั ฯ จึง ได้ก�ำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการพนักงานให้อยู่ในระดับที่ แข่งขันได้ เพื่อจูงใจและรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ บริษัทฯ ยังได้ริเริ่มจัดท�ำการวางแผนสืบทอดต�ำแหน่งด้วย เพื่อ ให้มั่นใจได้ว่าความรู้และทักษะต่างๆ ได้ถูกส่งต่อไปยังรุ่นต่อไป บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรยากาศในที่ท�ำงานที่เอื้อต่อ การท�ำงานของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพือ่ ให้พนักงานทุก คนสามารถทีจ่ ะพัฒนาเติบโตในสายอาชีพต่อไปและมีความสมดุล ระหว่างชีวิตการท�ำงานและชีวิตส่วนตัว

3.3 การจัดการภาวะวิกฤติและการบริหาร ความต่อเนื่องทางธุรกิจ

เป็นส่วนหนึง่ ของแผนการบริหารความเสีย่ งองค์กร เพือ่ ใช้บริหาร จั ด การภั ย คุ ก คามหรื อ เหตุ ก ารณ์ ด ้ า นลบต่ า งๆ ซึ่ ง ขั ด ขวาง การด�ำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งได้แก่ โรคระบาด ภัยจากการ ก่อการร้าย ภัยธรรมชาติซงึ่ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สนิ ส�ำคัญ ของบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถกลับมาด�ำเนินงานได้ตาม ระยะเวลาทีก่ ำ� หนดไว้ บริษทั ฯ จะท�ำงานร่วมกับหน่วยงานแต่ละ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

4. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก และการปฏิบตั ติ ามระเบียบข้อบังคับ 4.1 ความเสี่ยงจากสภาวการณ์ทางธุรกิจ

4.2 การเปลี่ ย นแปลงข้ อ ก� ำ หนดตาม กฎหมาย

กลุ่มบริษัทฯ มีการด�ำเนินธุรกิจทั่วโลก จึงต้องเผชิญกับการ เปลีย่ นแปลงของข้อก�ำหนดตามกฎหมายต่างๆ มากมาย บริษทั ฯ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ จึงได้ จัดท�ำรายการข้อก�ำหนดต่างๆ ที่บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามขึ้นเพื่อ ให้แต่ละหน่วยงานใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อก�ำหนด ต่างๆ ตามกฎหมาย แม้ แต่ ภ ายใต้ ส ถานการณ์ ค วามไม่ แน่ น อนทางการเมื อ ง ซึ่ง ส่งผลให้มกี ารเปลีย่ นแปลงทางด้านกฎระเบียบข้อบังคับ บริษทั ฯ จะด�ำเนินทุกมาตรการที่เป็นไปได้เพื่อท�ำให้การปฏิบัติงานของ บริ ษั ท ฯ สอดคล้ อ งและถู ก ต้ อ งตามกฎหมาย รวมถึ ง สร้ า ง มาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากข้อก�ำหนดทาง กฎหมาย เพือ่ สะท้อนความมุง่ มัน่ ของกลุม่ บริษทั ฯ บริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ใช้จรรยาบรรณทางธุรกิจเป็นแนวทางในการด�ำเนินธุรกิจและเพือ่ ให้แน่ใจว่ามีการปฏิบตั ติ ามข้อก�ำหนดอย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกระบวนการรับข้อร้องเรียนในการแจ้ง เบาะแสเกี่ยวกับการละเมิดและไม่ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดต่างๆ ด้วย


107

ป ั จ จั ย ค ว า ม เสี่ ย ง

4.3 ความเสี่ยงทางด้านสังคมและชุมชน

การด�ำเนินธุรกิจของกลุม่ บริษทั ฯ ทัง้ ในปัจจุบนั และทีอ่ าจเกิดขึน้ ในอนาคต ไม่ ว ่ า จะตั้ ง อยู ่ ใ นชุ ม ชนหรื อ บริ เ วณใกล้ เ คี ย งนั้ น อาจถูกมองหรือเข้าใจว่ามีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายกับ สิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ ความคาดหวังของชุมชนมีความ ซับซ้อน เนื่องจากมีมุมมองจากผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่มที่อาจไม่ ตรงกันซึ่งยากจะแก้ไข ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและการ ยอมรับจากชุมชนอาจได้รับอิทธิพลจากหลายด้าน เช่น อิทธิพล จากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติงานของกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน ประเทศและ ภูมิภาคในพื้นที่ที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของบริษัทฯ ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ สามารถลดความเสี่ ย งด้ า นนี้ ล งได้ บริ ษั ท ฯ ได้ ติ ด ตามและ วิเคราะห์ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการเปลีย่ นแปลงของข้อก�ำหนด และกฎหมายต่างๆ ทีว่ า่ ด้วยเรือ่ งสิง่ แวดล้อมและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และได้ประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้น�ำข้อมูลที่ เกี่ยวข้องไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนงานและมาตรการ รองรั บ ต่ า งๆ เช่ น การจั ด ท� ำ โครงการที่ แ สดงออกถึ ง ความ รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อเป็นการให้ความส�ำคัญกับชุมชน และ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้าน ความเสี่ยงที่เข้มแข็ง

ในขณะที่กลุ่มบริษัทฯ มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้าน การบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง แต่การบริหารความเสี่ยง จะส�ำเร็จไม่ได้ หากทั้งองค์กรไม่น�ำไปปฏิบัติเพื่อสร้างให้เกิด วัฒนธรรมองค์กรด้านความเสี่ยงที่เข้มแข็ง ผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทฯ ได้มีการสื่อสารถึงความส�ำคัญของการบริหารความ เสี่ยงและสร้างความเข้าใจว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นความ รับผิดชอบของบุคลากรทุกคนในองค์กร ความมุง่ มัน่ ของผูบ้ ริหาร ในด้านนี้ท�ำให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยง ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่รวดเร็วทั้งในและ ต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ผนวกกระบวนการ บริหารความเสี่ยงเข้ากับการด�ำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอีกด้วย สิง่ เหล่านีจ้ ะท�ำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมด้านความเสีย่ งทีเ่ ข้มแข็งขึน้ ซึง่ จะช่วยเพิม่ คุณค่าในกระบวนการด�ำเนินงานทัง้ หมดของธุรกิจ ในท้ายที่สุด

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


108

ร ายงาน คณะกรรมกา ร ต ร วจส อ บ

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ ส�ำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระจ�ำนวน 3 ท่าน ทุกท่านมีความเป็นอิสระ ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วม ในการบริหารงานของบริษัทฯ จ�ำนวน 3 ท่าน โดยมีนายกฤช ฟอลเล็ต เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ นายสันติ บางอ้อ และนายเชิ ด พงษ์ สิ ริ วิ ช ช์ เป็ น กรรมการตรวจสอบ และมี นายสมชาติ สุรกิตติด�ำรง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน (Chief Audit Executive “CAE”) ท�ำหน้าที่เป็นเลขานุการ คณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบทุกท่านมีคณ ุ สมบัติ ครบถ้วนและได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความ รั บ ผิ ด ชอบตามที่ ก� ำ หนดไว้ ใ นกฎบั ต รของคณะกรรมการ ตรวจสอบซึง่ เป็นไปตามเกณฑ์และแนวทางปฏิบตั ขิ องส�ำนักงาน คณะกรรมการก� ำ กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2558 มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง และกรรมการตรวจสอบทุกคนได้เข้าประชุมครบทุกครั้ง หน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการตรวจสอบคือ การให้การสนับสนุนต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ในการท�ำหน้าที่ ก� ำ กั บ ดู แ ลในเรื่ อ งที่ เ กี่ ย วกั บ รายงานทางการเงิ น ความมี ประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม ภายใน การปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง การติดตามดูแลคุณสมบัติ ความเชีย่ วชาญ ความเพียงพอของทีม งานและความเป็นอิสระของทั้งผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจ สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งการประเมินประสิทธิผลของการ ปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผล การปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม�ำ่ เสมอ เมือ่ ใดก็ตามทีค่ ณะกรรมการตรวจสอบมีขอ้ สงสัย หรือมีความเห็นว่าควรมีการด�ำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงในเรือ่ ง ที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน รายงาน ทางการเงิน หรือในเรื่องอื่นๆ ที่ตรวจสอบพบ คณะกรรมการ ตรวจสอบจะรายงานข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะในเรื่องต่างๆ ต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ อย่างทันท่วงที การปฏิบัติหน้าที่ที่ส�ำคัญ ของคณะกรรมการตรวจสอบสามารถสรุปได้ดังนี้

1. การสอบทานรายงานทางการเงิน

คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานและรับฟังค�ำชี้แจงจาก ผูส้ อบบัญชีและผูบ้ ริหารทีร่ บั ผิดชอบในการจัดท�ำรายงานทางการ เงินในเรื่องข้อมูลที่ส�ำคัญของงบการเงิน รวมทั้งงบการเงินรวม ของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัท ย่อย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีที่มีสาระส�ำคัญ รายการระหว่างกันกับบุคคลทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกันทีม่ สี าระส�ำคัญ รายการได้มาหรือจ�ำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ ที่มีสาระ ส�ำคัญ การเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน รายการ บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ผิดปกติและประมาณการที่มีสาระส�ำคัญ (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ ของนักลงทุนหรือผู้ใช้งบการเงินก่อนเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทฯ เพื่ออนุมัติงบการเงินดังกล่าวในการสอบทาน คณะ กรรมการตรวจสอบได้สอบทานรายงานที่ได้รับจากทั้งผู้บริหาร และผู ้ ส อบบั ญ ชี โดยเฉพาะการรายงานในเรื่ อ งความเสี่ ย ง หรือการประเมินต่างๆ ที่มีสาระส�ำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายบริหารเพื่อปรึกษาหารือกันอย่างอิสระถึงข้อมูลที่มี สาระส�ำคัญในการจัดท�ำงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลที่ เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและเป็นประโยชน์ กับผูใ้ ช้งบการเงิน รวมทัง้ ปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบตั หิ น้าที่ ของผูส้ อบบัญชีรวมทัง้ พฤติการณ์อนั ควรสงสัยตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบั บ ที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่ ง ในปี 2558 ผู ้ ส อบบั ญ ชี ไ ม่ ไ ด้ มี ข้อสังเกตที่เป็นสาระส�ำคัญ และไม่พบพฤติการณ์อันควรสงสัย ดังกล่าวคณะกรรมการตรวจสอบจึงมีความเห็นว่าบริษัทฯ มี ระบบรายงานทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อการเปิดเผยข้อมูล ทางการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง อันเป็นสาระส�ำคัญ และมีการจัดท�ำตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน

2. ระบบการควบคุมภายใน

คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบ ภายในประจ� ำ ปี 2558 รวมทั้ ง ได้ ส อบทานความเป็ น อิ ส ระ และความเพียงพอของทรัพยากรต่างๆ ต่อการปฏิบัติงานของ ฝ่ายตรวจสอบภายในตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานของ ผู ้ อ� ำ นวยการฝ่ า ยตรวจสอบภายใน นอกจากที่ ก ล่ า วคณะ กรรมการตรวจสอบได้ประเมินระบบการควบคุมภายในด้านการ บริหาร ด้านการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ตาม แนวทางทีก่ ำ� หนดโดยส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ฝ่ายตรวจสอบภายในได้แจ้งผลการตรวจสอบ และประเด็นที่พบแก่ผู้รับตรวจและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ข้ อ แนะน� ำ ที่ เ หมาะสมและติ ด ตามการด� ำ เนิ น การแก้ ไ ขหรื อ ปรับปรุงและรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจ�ำ ทุ ก ไตรมาส นอกจากที่ ก ล่ า ว ผู ้ ส อบบั ญ ชี ไ ด้ ใ ห้ ค วามเห็ น ที่ สอดคล้องว่าไม่พบข้อบกพร่องในการควบคุมภายในที่เป็นสาระ ส�ำคัญที่มีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทฯ คณะกรรมการ ตรวจสอบจึงมีความเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ เหมาะสมและเพียงพอรวมถึงการประเมินสภาพแวดล้อมการ ควบคุมขององค์กร การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม ผลการด�ำเนินงานตามที่ฝ่ายบริหารเห็นว่าจ�ำเป็นส�ำหรับการ


109

ร า ย งา นค ณะก ร ร ม ก า ร ต ร ว จ ส อบ

ประกอบกิจการของบริษัทฯ และไม่พบข้อบกพร่องของการ จากการพิจาณาอย่างรอบคอบคณะกรรมการตรวจสอบมีมติ ควบคุมภายในที่มีสาระส�ำคัญ เสนอ บริษทั เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จ�ำกัด เป็นผู้สอบบัญชี ให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา ก่อนเสนอขออนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นแต่งตั้ง นางศิริเพ็ญ สุขเจริญยิ่งยง ผู้สอบบัญชี 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับและ ทีรับ่ปอนุระชุญมาตเลขที ่ 3636 และ/หรือ นายเจริญ ผูส้ มั ฤทธิเ์ ลิศ ผูส้ อบ ระเบียบ บัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4068 และ/หรือ นายวีระชัย รัตนจรัสกุล คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานก�ำกับดูแล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4323 และ/หรือ นางสาวพรทิพย์ และหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องของบริษทั ฯ เพือ่ สอบทานการปฏิบตั ิ ริมดุสิต ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 5565 จากบริษัท เคพีเอ็มจี ตามกฏหมายข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ผู้ตรวจสอบภายในได้ ภูมิไชย สอบบัญชี จ�ำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ส�ำหรับ ท�ำการสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความ ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และอนุมัติค่าสอบบัญชีส�ำหรับ ขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าว เป็น งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ และส�ำหรับบริษัทในกลุ่มบริษัทฯ เป็น ไปตามข้อก�ำหนดของส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์ จ�ำนวนเงิน 3.70 ล้านบาท และ 19.35 ล้านบาท ตามล�ำดับ และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ หน่วยงานก�ำกับดูแลอื่นๆ มีความสมเหตุสมผลเพื่อประโยชน์ 6. การประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข อง สูงสุดของบริษัทฯ ผลการสอบทานได้น�ำเสนอต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบและคณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ตามล� ำ ดั บ เพื่ อ ให้ มี คณะกรรมการตรวจสอบ ความมั่นใจว่ารายการเกี่ยวโยงกันมีความโปร่งใส สมเหตุสมผล คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ เป็นธรรม ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในสาระส�ำคัญ คณะกรรมการตรวจสอบร่วมกันทั้งคณะ และรายบุคคล ตาม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯ ทั้งนี้คณะกรรมการ กฎบั ต รคณะกรรมการตรวจสอบที่ ไ ด้ รั บ การอนุ มั ติ จ าก ตรวจสอบได้ มี ค วามเห็ น ว่ า บริ ษั ท ฯ ได้ ป ฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย คณะกรรมการบริษัทฯ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และตามที่ได้รับ ข้อบังคับและระเบียบที่ใช้บังคับกับการด�ำเนินงานของบริษัทฯ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั ฯ การประเมินผลการปฏิบตั ิ งานเป็นไปตามเกณฑ์ตามแบบประเมินจากคณะกรรมการก�ำกับ ตามกฎหมายที่ส�ำคัญ หลั ก ทรั พ ย์ ซึ่ ง ผลของการประเมิ น แสดงว่ า คณะกรรมการ 4. การรั บ แจ้ ง ข้ อ มู ล การกระท� ำ ผิ ด และ ตรวจสอบได้มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิผลดีเยี่ยม โดยสรุป คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความ การทุจริต (Whistleblowing) รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ด้วย ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นคณะกรรมการตรวจสอบจะได้ ความระมัดระวังและรอบคอบ และมีความเป็นอิสระอย่างเพียง รับทราบรายการสรุปข้อร้องเรียนการกระท�ำผิดและการทุจริต พอ ตลอดจนได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพือ่ ประโยชน์ รวมถึงผลการสอบสวนของผู้ตรวจสอบภายในตามนโยบายการ ต่ อ ผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก ฝ่ า ยอย่ า งเท่ า เที ย มกั น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ให้ข้อมูลการกระท�ำผิดและการทุจริต ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่อง คณะกรรมการตรวจสอบให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การมี ร ะบบการ การกระท�ำผิดหรือการทุจริตในรอบปีนี้ ควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ต่อเนื่องซึ่งจะท�ำให้ บริษทั ฯ มีการก�ำกับดูแลทีด่ ี โดยมีระบบการควบคุมภายในทีเ่ พียง พอและเหมาะสมกับธุรกิจของบริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยง 5. การพิจารณาเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ที่มีประสิทธิภาพ ระบบบัญชีและรายงานทางการเงินมีความ คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประเมินความเหมาะสมของ ถูกต้องและน่าเชือ่ ถือ และการปฏิบตั ติ ามกฎหมายและข้อบังคับ ขอบเขตการปฏิบตั งิ าน ความโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพใน ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี ตลอดจนความเหมาะสมของ ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าสอบบัญชีโดยจะพิจารณาครอบคลุมในเรือ่ งต่างๆ เช่น คุณภาพ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ของการตรวจสอบทัง้ หมด การใช้เวลาในการให้คำ� แนะน�ำในการ แก้ปัญหา คุณภาพของทีมงานในเรื่องความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ในธุรกิจหลักของบริษัทฯ และการท�ำงานตามแผน งานที่วางไว้ นายกฤช ฟอลเล็ต ประธานกรรมการตรวจสอบ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


110

การควบคุ ม ภายใน และ การ บ ริ หาร จั ดก าร ความ เ สี่ ย ง

การควบคุมภายในและ การบริหารจัดการความเสี่ยง ส�ำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

“TTA ตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่องการควบคุมภายในอย่าง  ได้รบั การรายงานผลของการตรวจสอบและการควบคุมภายใน ต่อเนื่อง ฝ่ายจัดการได้มอบหมายให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน การปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบและข้อบังคับทีเ่ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะ ท�ำการประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบ ในเรื่องที่มีสาระส�ำคัญอย่างสม�่ำเสมอ การควบคุมภายในเป็นประจ�ำทุกปี และคณะกรรมการบริษัทฯ  การให้ความเชื่อมั่นในเรื่องที่ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชี ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบสอบทานผลการประเมิน ภายนอก การควบคุมภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ สามารถด�ำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การรายงานมีความถูกต้อง ฝ่ายตรวจสอบภายใน เป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและ เชื่อถือได้ และมีการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานด้านการ ด�ำเนินงานต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง” บริหาร ฝ่ายตรวจสอบภายในท�ำหน้าที่ในการสนับสนุนการ ท�ำงานของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ โดยการท�ำการประเมินความเหมาะสมของระบบการควบคุม ภายในที่ส�ำคัญ บริษัทฯ ได้มีการออกแบบและปฏิบัติตามระบบการควบคุม ภายในอย่ า งเพี ย งพอ เพื่ อ ลดความเสี่ ย งที่ ส� ำ คั ญ ซึ่ ง อาจมี ฝ่ายตรวจสอบภายในได้จัดท�ำแผนการตรวจสอบประจ�ำปี โดย ผลกระทบต่อผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ และเมื่อพบจุด พิจารณาตามปัจจัยเสี่ยง (Risk Based Approach) ซึ่งจะเน้น บกพร่องของระบบ บริษทั ฯ ได้มกี ารปรับปรุงและแก้ไขระบบการ ความเสี่ยงที่มีความส�ำคัญ มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของ ควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการ บริษทั ฯ และความถูกต้องของรายงานทางการเงิน คณะกรรมการ ด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปัจจุบันและอนาคต และสอดคล้อง ตรวจสอบพิ จ ารณาสอบทานและอนุ มั ติ แ ผนการตรวจสอบ ประจ�ำปีดงั กล่าว และติดตามผลการตรวจสอบและผลการปฏิบตั ิ กับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานของฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นรายไตรมาส คณะกรรมการบริษทั รับผิดชอบในการก�ำกับดูแลให้ TTA มีระบบ การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ประเด็ น ที่ ต รวจพบจะถู ก น� ำ มาพิ จ ารณาว่ า มี ผ ลกระทบใน เพื่อปกป้องเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นและทรัพย์สินของบริษัทฯ วงกว้างหรือไม่ ประเด็นจากการตรวจสอบทีส่ ำ� คัญจะถูกรายงาน ต่ อ คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริ ษั ท ฯ โดยพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้ คณะกรรมการตรวจสอบจะท�ำการติดตามการแก้ไขหรือปรับปรุง  ก�ำหนดลักษณะและขนาดของความเสี่ยงที่มีสาระส�ำคัญที่ ของผู้บริหารจนกว่าจะได้ข้อสรุปเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ สามารถยอมรับได้ในการที่จะท�ำให้บริษัทฯ สามารถบรรลุ รายงานที่ส�ำคัญจะถูกน�ำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและ เป้าหมายทางกลยุทธ์ (the Board’s risk appetite) และ คณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม�่ำเสมอทั้งจากผู้บริหาร ฝ่าย  ก�ำหนดให้ผู้บริหารจัดให้มีกระบวนการในการระบุ ประเมิน ตรวจสอบภายใน และฝ่ายก�ำกับดูแล โดยรายงานจะครอบคลุม ในเรื่องทางธุรกิจ การเงิน การควบคุมภายในในการด�ำเนินงาน รวมทั้งการลดระดับความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ รั บ มอบหมายให้ รั บ ผิ ด ชอบใน ด้ า นการสอบทานการมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพของระบบการควบคุ ม การควบคุมภายในของบริษัทฯ ปฏิบัติตามกรอบโครงสร้างการ ภายในของบริษัทฯ ในการสอบทานคณะกรรมการตรวจสอบได้ ควบคุมภายในซึง่ อ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway พิจารณาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลดังต่อไปนี้ Commission (COSO) ซึง่ สรุปตามองค์ประกอบของการควบคุม  การให้ความเชือ่ มัน่ จากการท�ำงานของผูต้ รวจสอบภายในผ่าน แต่ละด้านดังนี้ ขั้นตอนการวางแผนการตรวจสอบประจ�ำปีซึ่งได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการตรวจสอบ ในการวางแผนการตรวจสอบ จะเน้นในเรือ่ งการพิจารณาประเมินความเสีย่ งและการควบคุม ภายในที่ส�ำคัญที่ได้ถูกวางไว้เพื่อลดระดับหรือป้องกันความ เสี่ยงนั้น

การควบคุมภายใน

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


111

ก า ร ค ว บ คุ ม ภ า ย ใ นแล ะก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ค ว า ม เสี่ ย ง

1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)

สภาพแวดล้อมของการควบคุมถือเป็นรากฐานที่ส�ำคัญของการ ควบคุ ม ภายในที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ล อี ก ทั้ ง ยั ง ให้ ห ลั ก ปฏิ บั ติ แ ละ โครงสร้างแก่องค์ประกอบอื่นๆ ของระบบการควบคุมภายใน ทั้ ง นี้ องค์ ป ระกอบหลัก ของสภาพแวดล้อมการควบคุ มของ บริษัทฯ มีดังนี้  บริษทั ฯ สนับสนุนให้มีสภาพแวดล้อมการท�ำงานที่ดี โดยมีการ ก�ำหนดนโยบาย การวางแผน การด�ำเนินการการควบคุม และ การก�ำกับดูแลที่ชัดเจน และเหมาะสม  บริ ษั ท ฯ ยึ ด มั่น ในปรัช ญาและจรรยาบรรณธุรกิ จ ผ่ า นการ กระท�ำและพฤติกรรม ซึ่งมีส่วนส�ำคัญในการช่วยระบบการ ควบคุมภายในสามารถท�ำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้จัดท�ำคู่มือพนักงาน (Codes of Conduct) เพื่อใช้เป็น แนวปฏิบัติให้แก่ กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกคน  คณะกรรมการบริษทั ฯ และฝ่ายบริหารในทุกระดับชัน้ ได้แสดง ให้เห็นถึงความส�ำคัญของคุณค่าความซื่อสัตย์และมีจริยธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกันโดยค�ำนึง ถึงความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี  มีการจัดโครงสร้างการบริหารองค์กรให้เหมาะสมกับขนาดและ การด�ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยระบุถึงสายอ�ำนาจการบังคับ บัญชาและความรับผิดชอบที่ชัดเจน  บริษทั ฯ ได้นำ� นโยบายการให้ขอ้ มูลการกระท�ำผิดและการทุจริต มาใช้ เพือ่ เป็นช่องทางในการรายงานการทุจริต ความผิดพลาด และการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยฝ่ายบริหาร โดยคณะกรรมการ ตรวจสอบจะสอบทานรายงานการรับแจ้งข้อมูลการกระท�ำผิด และการทุจริตเป็นประจ�ำทุกไตรมาส

เพือ่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและสภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป

3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)

บริษัทฯ ให้ความส�ำคัญกับการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้เหมาะสมกับธุรกิจและ การปฏิบัติงานของพนักงานในแต่ละฝ่าย การควบคุมภายในถูก ก�ำหนดให้มกี ารปฏิบตั ผิ า่ นข้อก�ำหนด นโยบาย และวิธกี ารปฏิบตั ิ งานของบริษทั ฯ และได้มกี ารสอบทานและพัฒนาอย่างสม�ำ่ เสมอ การท�ำรายการธุรกรรมระหว่างบริษทั ฯ และบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกัน รวมทั้งข้อตกลงต่างๆ ทางการค้า ได้มีการควบคุมดูแลอย่าง ระมัดระวังและรอบคอบ และเป็นไปตามข้อก�ำหนดของส�ำนักงาน คณะกรรมการก� ำ กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ และ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยและหน่ ว ยงานก� ำ กั บ ดู แ ล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนให้พนักงาน ให้ความส�ำคัญกับการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ วางไว้ รวมทั้งกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งความเสี่ยง จากการทุจริตและการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ

4. ข้อมูลและการติดต่อสือ่ สาร (Information and Communication)

ระบบสารสนเทศได้รบั การพัฒนาเพือ่ ประสิทธิภาพในการด�ำเนิน ธุรกิจ บริษัทฯ ยังให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับความถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันต่อเวลาของข้อมูลสารสนเทศ รวมถึงการสื่อสารข้อมูล เพื่อน�ำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ทันเวลา ตลอดจนมี ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการก�ำหนดแผน ส�ำรองฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ ส�ำหรับป้องกันในเรื่องความ ปลอดภัยของระบบสารสนเทศขณะทีม่ อี บุ ตั ภิ ยั ร้ายแรงจนระบบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีระบบการ 2. การประเมินความเสี่ยง จัดเก็บข้อมูลที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องย้อนหลังได้ และ ระบบข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์หรือบ่งชี้จุดที่อาจจะเกิดความ (Risk Assessment) เสี่ยง ซึ่งท�ำการประเมินและจัดการความเสี่ยงพร้อมทั้งบันทึก ผู้บริหารมีการก�ำหนดนโยบาย มาตรฐาน และข้อพึงปฏิบัติ หรือรายงานผลไว้อย่างครบถ้วนโดยบริษัทฯ ได้ด�ำเนินการตาม เกีย่ วกับการบริหารความเสีย่ ง โดยเน้นเรือ่ งการบริหารความเสีย่ ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และ ในการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล จราจรทางคอมพิ ว เตอร์ ต ามประกาศ พนักงานทุกคน เพื่อให้มั่นใจในการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร บริษทั ฯ ได้ลงทุน ของบริษัทฯ เพื่อสร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งจากภายในและ คณะกรรมการของบริษทั ฯ ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการบริหาร ภายนอกบริษัทฯ จัดให้มีการสื่อสารภายในองค์กรผ่านช่องทาง ความเสีย่ ง ท�ำหน้าทีใ่ นการด�ำเนินการทบทวนกรอบนโยบายการ หลายช่องทาง เอกสารซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เพียงพอต่อ บริหารความเสี่ยง และโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง รวมทั้ง การตั ด สิ น ใจส� ำ หรั บ การประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น และการประชุ ม ให้ข้อเสนอแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องต่อ คณะกรรมการได้ถูกจัดส่งแก่ผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการบริษัทฯ ทิศทางกลยุทธ์การด�ำเนินงานและแผนธุรกิจ พร้อมก�ำกับ ดูแล ล่วงหน้าก่อนการประชุมในระยะเวลาที่เหมาะสม ติดตาม และสอบทานการรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ส�ำคัญ ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


112

การควบคุ ม ภายใน และ การ บ ริ หาร จั ดก าร ความ เ สี่ ย ง

5. การติดตามผล (Monitoring)

จากระบบข้อมูลในปัจจุบันที่สามารถให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และ ทันต่อเวลา ท�ำให้ฝา่ ยบริหารและคณะกรรมการบริษทั ฯ สามารถ ควบคุมและติดตามผลการด�ำเนินงานผ่านรายงานทางการเงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพือ่ ช่วยสนับสนุนให้การด�ำเนินงานสามารถ บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ที่ ว างไว้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสอบทาน ประเมิน และให้ค�ำแนะน�ำ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง แผนธุ ร กิ จ ผ่ า นกระบวนการก� ำ กั บ ดู แ ลที่ มี ประสิทธิภาพโดยฝ่ายตรวจสอบภายในท�ำการตรวจสอบการ ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบที่ได้รับ การอนุมัติและติดตามผลจากคณะกรรมการตรวจสอบ แผนการ ตรวจสอบซึ่งท�ำขึ้นจากผลการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง ของบริษัทฯ รวมถึงล�ำดับความส�ำคัญของบริษัทย่อยในกลุ่ม บริษัทฯ กลุ่มธุรกิจหลักและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ผลของ การตรวจสอบ การติดตามการปรับปรุงแก้ไขจะน�ำเสนอต่อ คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ จนถึ ง ปัจจุบัน ผลการตรวจสอบไม่พบข้อบกพร่องของการควบคุม ภายในที่มีสาระส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม ได้มีการเสนอแนะการ ปรับปรุงระบบการควบคุมภายในบางจุดที่ตรวจพบ นอกจากนี้ ฝ่ า ยตรวจสอบภายในยั ง ได้ ส อบทานระบบการปฏิ บั ติ ง าน หลักและกิจกรรมทางการเงินทีส่ ำ� คัญ เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ามีการด�ำเนิน งานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามข้อก�ำหนดของกฎหมาย

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทฯ จะท�ำการสอบทานประสิทธิภาพของ ระบบการควบคุมภายในเป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดย ค�ำนึงถึงความเสี่ยงที่มีสาระส�ำคัญ ประเมินผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น และการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้นๆ โดยใช้แนวทาง แบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในทีถ่ กู จัด ท�ำโดยส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ ครัง้ ที่ 3/2559 เมือ่ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม ด้ ว ย คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ ป ระเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพของ ระบบการควบคุมภายในของบริษทั ฯ ใน 5 องค์ประกอบดังกล่าว ข้างต้น และมีขอ้ สรุปว่าบริษทั ฯ ได้กำ� หนดให้มรี ะบบการควบคุม ภายในที่พอเพียงและมีประสิทธิภาพ และไม่พบข้อบกพร่อง ในระบบการควบคุมภายในที่ส�ำคัญ บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จ�ำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชี ของบริษัทฯ ได้ให้ความเห็นในรายงานการตรวจสอบงบการเงิน ส� ำ หรั บ ปี สิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 ว่ า ไม่ ต รวจพบ ข้อบกพร่องในระบบการควบคุมภายในในด้านการบัญชีและการ เงินที่ส�ำคัญ


113

จุ ด เ ด ่ นท า งก ารเงิ น

จุดเด่นทางการเงิน งบก�ำไรขาดทุน: รายได้จากการเดินเรือ ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือ/1 ค่าใช้จา่ ยในการด�ำเนินงานเกีย่ วกับเรือเดินทะเล-ส่วนของเจ้าของเรือ/1 รายได้จากธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ค่าใช้จ่ายจากธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง รายได้จากการขาย ต้นทุนขาย/1 รายได้จากกลุ่มบริษัทที่ให้บริการและแหล่งอื่นๆ/1 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ�ำหน่าย ค่าใช้จ่ายทั่วไปและค่าใช้จ่ายการบริหาร/1 ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยรับ ส่วนแบ่งก�ำไร จากการลงทุนในบริษัทร่วม ก�ำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ก�ำไร (ขาดทุน) สุทธิ ข้อมูลต่อหุ้น: ก�ำไร (ขาดทุน) สุทธิ-ขั้นพื้นฐาน เงินปันผลจ่าย/3 มูลค่าทางบัญชี งบดุล (ณ วันสิ้นรอบบัญชี): เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น เรือเดินทะเล เรือขุดเจาะ เครื่องจักร และอุปกรณ์สุทธิ รวมสินทรัพย์ หนี้สินรวม ทุนเรือนหุ้นที่จดทะเบียนและช�ำระแล้ว (บาท) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น ข้อมูลทางการเงินอื่นๆ: กระแสเงินสดได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมด�ำเนินงานสุทธิ กระแสเงินสดได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุนสุทธิ กระแสเงินสดได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมในจัดหาเงินสุทธิ ค่าใช้จ่ายฝ่ายทุน: ยอดรวมการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อัตราส่วนทางการเงิน: อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%)/4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (%)/4 อัตราก�ำไรสุทธิต่อรายได้รวม (%) ยอดหนี้สินที่มีภาวะดอกเบี้ยทั้งหมดต่อทุนทั้งหมด ยอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนสุทธิ

ส�ำหรับงวดสามเดือน ส�ำหรับปีสิ้นสุด สิ้นสุด 31 ธันวาคม ส�ำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558/2 2557/2 (ปรับปรุงใหม่) 30 กันยายน 2557 (หน่วย:ล้านบาท ยกเว้น หุ้น/ข้อมูลต่อหุ้นและอัตราส่วนทางการเงิน) 5,756.14 3,588.69 1,323.19 11,527.29 9,594.86 3,793.50 3,151.91 446.10 1,779.33 2,433.09 501.25 78.89 822.61 244.11 (11,335.10)

2,213.70 1,644.52 321.22 3,234.74 2,641.08 693.94 550.79 92.44 422.12 481.53 121.34 13.52 258.06 73.34 84.00

6,887.49 4,543.36 1,072.70 10,088.18 7,494.80 4,201.60 3,324.86 353.63 1,534.26 2,057.88 475.76 55.37 1,186.09 181.47 1,015.23

(6.61) 0.05 11.86

0.06 0.025 18.64

0.88 0.25 18.35

13,423.01 16,493.28 45,346.40 18,358.04 1,822,454,100 26,988.36

8,280.33 23,009.97 51,678.91 19,432.81 1,301,174,740 32,246.10

7,632.30 22,840.47 49,330.73 17,731.34 1,293,234,815 31,599.38

635.46 (8,051.25) 5,554.81

501.50 (98.81) 933.55

2,582.63 (7,477.25) 3,852.97

1,332.84

287.68

6,958.03

-49.43% -30.50% -52.90% 0.35 0.03

1.40% 1.09% 1.35% 0.32 0.17

4.85% 3.51% 4.74% 0.30 0.16

หมายเหตุ /1 ไม่รวมรายการ one-off items /2 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนรอบบัญชี จากเดิมเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เป็นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยให้เริ่มงวดบัญชีแรกในรอบวันที่ 1 ตุลาคม 2557 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และรอบบัญชีแรกส�ำหรับรอบระยะเวลา 12 เดือนให้ เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 /3 ตามทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ เมือ่ วันที่ 16 มีนาคม 2559 คณะกรรมการมีมติอนุมตั เิ สนอการจ่ายเงินปันผลประจ�ำรอบปีบญ ั ชีสนิ้ สุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นในที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2559 เพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ดังกล่าวต่อไป /4 ปรับเป็นตัวเลขเต็มปี ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

% การถือหุ้น ของ TTA 100 58.2 88.7 100 51/100

ส�ำหรับปี สิ้นสุด 30 ก.ย. 2557 6,901,909,046 10,088,183,138 1,038,473,327 3,192,005,566 210,667,192 339,592,667 21,770,830,936

หมายเหตุ: /1ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด /2 ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน)

กลุ่มธุรกิจ ด�ำเนินการโดย กลุ่มธุรกิจขนส่ง ชิปปิ้ง กลุ่มธุรกิจพลังงาน เมอร์เมด ถ่านหิน/กลุม่ ธุรกิจโครงสร้างพืน้ ฐาน UMS /1 ปุ๋ย/กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน บาคองโค /2 กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานอื่น GTL/CMSS รายได้อื่น รวม

โครงสร้างรายได้ % 32 46 5 15 1 1 100

รายได้ (บาท) ส�ำหรับงวดสามเดือน สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2557 (ปรับปรุงใหม่) 2,214,424,491 3,234,735,324 112,524,124 588,964,714 56,027,778 84,995,367 6,291,671,798 % 35 52 2 9 1 1 100

ส�ำหรับปี สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2558 5,765,685,998 11,527,292,397 577,509,567 3,307,625,800 247,644,163 272,872,806 21,698,630,731

% 27 53 3 15 1 1 100

114 โคร งสร้ า งรายได้


115

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

ค�ำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“TTA”) ได้ เปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีจาก 1 ตุลาคม ถึง 30 กันยายนของ ปีถัดไป มาเป็นรอบปีบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของ ทุกปี ดังนั้น งบการเงินของรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ได้ถูกจัดท�ำขึ้นตามรอบระยะเวลาบัญชีใหม่นี้แทนรอบ บัญชีเดิมคือ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 อย่างไร

ก็ตามเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ข้อมูลทางการเงิน TTA ได้จัดท�ำงบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมที่ ไม่ได้ตรวจสอบส�ำหรับงวดสิบสองเดือนสิน้ สุด 31 ธันวาคม 2557 เปรียบเทียบกับปี 2558 ซึ่งค�ำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่าย จัดการได้จัดท�ำขึ้นเพื่อประกอบการอธิบายดังกล่าว

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“TTA”) EBITDA ยังคงแข็งแกร่งที่ 1.8 พันล้านบาท และกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมด�ำเนินงาน 635.5 ล้านบาท เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้น 13.4 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2558  PMTA ยังคงมีผลการด�ำเนินการที่แข็งแกร่งให้กับ TTA  มีการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด จ�ำนวน 11.5 พันล้านบาท  

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปผลการด�ำเนินงาน in Million Baht Revenues Gross Profit Gross Margin (%) EBITDA EBITDA Margin (%) Net Profit/(Loss) Net Profit Margin (%) Net Profit/(Loss) to TTA Number of Shares (million Shares) Basic earnings per share (in Baht) Normalized Net Profit Normalized Net Profit to TTA

FY14 FY15 % YoY 4Q/14 22,341.3 21,425.8 -4% 6,206.7 4,641.2 3,613.9 -22% 1,017.4 21% 17% 16% 3,576.2 1,841.7 -49% 799.2 16% 9% 13% 1,388.5 (14,797.9) -1166% 138.2 6% -69% 2% 902.1 (11,335.1) -1357% 84.0 1,301.2 1,822.5 1,301.2 0.73 (6.61) 0.63 1,486.5 (233.3) -116% 248.1 974.6 (256.3) -126% 171.1

3Q/15 4Q/15 %YoY %QoQ 5,792.1 5,059.3 -18% -13% 1,337.1 827.3 -19% -38% 23% 16% 1,081.9 (228.7) -129% -121% 19% -5% 633.4 (15,277.2) -11156% -2512% 11% -302% 382.7 (11,564.8) -13868% -3122% 1,822.5 1,822.5 0.21 (6.25) 748.5 (804.5) -424% -207% 495.8 (576.0) -437% -216%

*Normalized Net Profit / (Loss) = Net Profit/(Loss) - Non-Recurring Items

ในปี 2558 อุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางเรือ อยู่ท่ามกลาง สภาวะที่อัตราค่าระวางเรือปรับตัวต�่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี โดยดัชนีบอลติค (BDI) ได้ปรับลดลงอยู่ที่ระดับต�่ำที่สุดตั้งแต่มี การบันทึกมาและเฉลี่ยอยู่ที่ 718 ในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 35 จากค่าเฉลี่ยที่ 1,105 ในปี 2557 ซึ่งดัชนี BDI ได้ลดลงจาก อุปสงค์ส�ำหรับเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองที่ลดลง และมีอุปทาน ของเรือที่มีมากเกินไปจากการสั่งต่อเรือในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดน�้ำมันได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง จากราคา น�ำ้ มันปรับตัวลดลงจากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตัง้ แต่ กลางปี 2557 ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงปลายปี 2558 เนื่องจากอุปทานส่วนเกินทั่วโลกและความ

ต้องการลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในประเทศจีน ปัจจัยภายนอกเหล่านี้ได้มีผลกระทบอย่างมีนัยส�ำคัญผลการ ด�ำเนินงานของกลุ่ม TTA ในปี 2558 ทั้งๆ ที่กลุ่ม TTA มี ความพยายามและแผนการที่จะลดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่อ่อนแอใน ปี 2558 และเพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบทางบัญชีอย่างถูกต้อง TTA จึงได้มีการมีการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ เงินสดจ�ำนวน 11.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2558 กําไรก่อน หักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) ยังคงเป็นบวกที่ 1.8 พันล้านบาท

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


116

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

โทรีเซน ชิปปิ้ง กรุ๊ป (“TSG”) มีอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยใน ปี 2558 ของ TSG อยู่ที่ 7,507 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งสูง กว่าอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยของตลาด Supramax ที่ปรับฐาน แล้ว ที่ 6,154 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันถึงร้อยละ 22 แม้ว่าลดลง ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 9,436 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2557 ทั้งนี้ TSG ได้ท�ำการบันทึกการด้อยค่าสินทรัพย์กองเรือที่บริษัท เป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสดประมาณ 4.7 พันล้าน บาท โดยถ้าไม่รวมการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ TSG จะมีผลขาดทุนสุทธิปกติ ที่ 128.8 ล้านบาท ท่ามกลางสภาวะ ตลาดที่ค่อนข้างอ่อนแอ ในปี 2558 บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“MML Group”) มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากรายได้จากงานบริการ วางสายเคเบิ้ล ใต้ ทะเลที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ อัตราการใช้ ประโยชน์ของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับ ปีที่แล้ว ที่ร้อยละ 61 ในขณะที่เรือ tender rig (MTR1 และ MTR2) ยังคงไม่ได้มกี ารถูกน�ำไปใช้งานระหว่างปี และถูกก�ำหนด ให้มีการพยายามขายออกไป นอกจากนี้ เพื่อสอดคล้องกับหลัก การของบริษัทฯ ในเรื่องความโปร่งใสและวิธีการทางบัญชีที่ถูก ต้อง MML Group ได้มกี ารบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ทไี่ ม่ใช่ เงินสดเป็นจ�ำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 6 พันล้านบาทในปี 2558 ช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมน�้ำมันและก๊าซของโลกยังคงที่จะเผชิญ ความท้ าทายที่ ส� ำ คัญ จากสภาพแวดล้อมราคาน�้ำมัน ที่ ต�่ ำ ใน ปัจจุบัน ถ้าไม่รวมการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ MML Group มีผลก�ำไรจากการด�ำเนินปกติ (normalized profit) ที่ 52.8 ล้านบาท PMTA ยังคงแสดงผลการด�ำเนินงานก�ำไรที่โดดเด่นส�ำหรับ TTA ในปี 2558 แม้จะเป็นปีที่มีความท้าทายจาก ภัยแล้งใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอัตราก�ำไรขั้นต้นที่ร้อยละ 24 และมียอดขายปุ๋ยเท่ากับ 198,541 ตันต่อปี อุปสงค์การเช่า พืน้ ทีโ่ รงงานยังคงอยูใ่ นระดับสูงจากลูกค้าปัจจุบนั และเป็นผลให้ อัตราการใช้ประโยชน์ของพืน้ ทีโ่ รงงานให้เช่าของ PMTA ทีอ่ ยูใ่ น ระดับร้อยละ 100 นอกจากนี้ PMTA อยู่ในระหว่างการสร้างบา คองโค 5-B เฟส 2 (พื้นที่ 8,200 ตร.ม.) PMTA มีส่วนก�ำไร 174.9 ล้านบาทให้กับ TTA ในปี 2558 ในระหว่างไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 มีสถานการณ์ทที่ ำ� ให้ผบู้ ริหาร ได้สรุปว่า TTA ได้สูญเสียความมีอิทธิพลอย่างมีนัยส�ำคัญใน Sino Grandness Food Industry Group Limited (“Sino Grandness”) และเงินลงทุนใน Sino Grandness ได้ถูกเปลี่ยน การจัดประเภทเป็นเงินลงทุนระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ยอดขายของ UMS ลดลงร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จาก 339 พันตันในปี 2557 มาอยู่ที่ 259 พันตันในปี 2558 การลดลงของปริมาณยอดขายเป็นผลมาจากปริมาณขายถ่านหิน ขนาด 0-5 มิลลิเมตรที่ลดลงในปี 2558 จากการที่ในปี 2557 บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ฝ่ายบริหารของ UMS ได้มงุ่ เน้นการลดปริมาณสินค้าคงเหลือของ ถ่านหินขนาด 0-5 มิลลิเมตร และจ�ำกัดการผลิตถ่านหินคัดขนาด เพือ่ ปรับสมดุลโครงสร้างเงินทุนของ UMS ซึง่ ได้ดำ� เนินการอย่าง ต่อเนือ่ งมาถึงปี 2558 ส่งผลให้เกิดยอดขายเพือ่ ลดปริมาณสินค้า คงเหลือถ่านหินเป็นจ�ำนวนมากในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ใน ปี 2558 UMS ยังได้รับผลกระทบจากข้อจ�ำกัดทางด้านวงเงิน สินเชื่อ เพื่อการน�ำเข้าถ่านหิน ดังนั้นในปี 2558 UMS รายงาน ขาดทุ น สุ ท ธิ 371.2 ล้ า นบาท และมี ผ ลขาดทุ น จากการ ด�ำเนินงานปกติ 100.1 ล้านบาท ภาพรวมในปี 2558 TTA มีผลขาดทุนสุทธิจ�ำนวน 11,335.1 ล้านบาทและมีผลขาดทุนสุทธิจากการด�ำเนินการปกติที่ 256.3 ล้านบาท โดยที่ TTA ยังคงมีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรม ด�ำเนินงาน 635.5 ล้านบาท และมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น รวมกันในงบดุลรวมจ�ำนวน 13.4 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2015 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 กลุ่มบริษัทได้ถือปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีผลกระทบต่องบการเงินของกลุ่มบริษัทอย่างเป็นสาระ ส�ำคัญดังนี้ ก) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในกิจการอื่น ข) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การ วัดมูลค่ายุติธรรม 2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 กลุ่มบริษัทได้เปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงจากเงินตรา ต่างประเทศและอัตราดอกเบีย้ เพือ่ สะท้อนความเป็นจริงทาง เศรษฐกิจของรายการป้องกันความเสีย่ งดังกล่าวเป็นวิธเี กณฑ์ คงค้างดังนัน้ งบการเงินเปรียบเทียบระยะเวลาปี 2557 จ�ำเป็น ต้องได้รับการปรับปรุงใหม่ บทสรุ ป ของเหตุ ก ารณ์ ที่ มี ผ ลกระทบอย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ ต่ อ งบการเงินในปี 2558 1. มกราคม 2558 : TTA ลงทุนร้อยละ 9 ใน Sino Grandness ผ่าน Soleado Holdings Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อย โดยมีมูลค่าการลงทุน 610 ล้านบาท 2. มีนาคม 2558 : TTA เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ตามสัดส่วนการถือหุน้ (Right Offering) โดยมียอดเงินรับสุทธิ หลังหักค่าใช้จ่าย 7,282 ล้านบาท 3. พฤษภาคม 2558 : เสนอขายหุ้นสามัญของ PMTA โดย TTA ถือหุ้นร้อยละ 65 ของทุนจดทะเบียนช�ำระแล้ว (หลัง IPO) 4. พฤษภาคม 2558 : จ่ายเงินปันผลประจ�ำปี 0.025 บาทต่อหุน้ ส�ำหรับรอบบัญชีงวดสามเดือนสิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 5. กรกฎาคม 2558 : TTA ออกเสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 ปี มูลค่า 2 พันล้านบาท อัตราดอกเบีย้ ร้อยละ 4.25 ต่อปี แก่ประชาชน ทั่วไปและ/หรือนักลงทุนสถาบัน


117

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

สรุปผลการด�ำเนินงานรวม

Consolidated Income Statement

FY14 (Restate) FY15 in million Baht (MB) MB % MB Revenues 22,341.3 100.0 21,425.8 Costs (17,700.1) (79.2) (17,811.8) Gross Profit 4,641.2 20.8 3,613.9 Other Income 164.0 0.7 176.2 Gain/(Loss) on Investment (9.2) (0.0) (155.2) SG&A (2,401.8) (10.8) (2,615.9) EBITDA from Operation 2,394.1 10.7 1,019.1 Equity Income 1,182.1 5.3 822.6 EBITDA 3,576.2 16.0 1,841.7 Depreciation & Amortization (1,597.4) (7.1) (1,779.3) EBIT 1,978.8 8.9 62.4 Financial Cost (497.7) (2.2) (518.8) Gain/(Loss) from Foreign Exchange 213.0 1.0 244.1 Non-Recurring Items-Impairment on Assets (66.2) (0.3) (11,571.2) Non-Recurring Items-Other (31.7) (0.1) (2,993.4) Profit before income tax 1,596.2 7.1 (14,777.0) Income Tax Expense (207.7) (0.9) (21.0) Net Profit/(Loss) 1,388.5 6.2 (14,797.9) Net Profit/(Loss) attributable to Non-controlling interest 486.5 2.2 (3,462.8) Net Profit/(Loss) attributable to TTA 902.1 4.0 (11,335.1) Non-Recurring Items-Impairment on Assets to TTA (49.5) (9,206.8) Non-Recurring Items-Other to TTA (23.1) (1,872.1) Normalized Net Profit to TTA 974.6 (256.3)

%YoY % MB % 100.0 (915.5) -4% (83.1) 111.8 1% 16.9 (1,027.2) -22% 0.8 12.2 7% (0.7) 145.9 1577% (12.2) 214.1 9% 4.8 (1,375.0) -57% 3.8 (359.5) -30% 8.6 (1,734.5) -49% (8.3) 182.0 11% 0.3 (1,916.5) -97% (2.4) 21.1 4% 1.1 31.1 15% (54.0) 11,505.0 17367% (14.0) 2,961.7 9351% (69.0) (16,373.2) -1026% (0.1) (186.7) -90% (69.1) (16,186.5) -1166% (16.2) (3,949.3) -812% (52.9) (12,237.2) -1357% 9,157.3 18502% 1,849.0 8014% (1,230.9) -126%

*Normalized Net Profit/(Loss) = Net Profit/(Loss) - Non-Recurring Items Non-Recurring Items - Other includes share of impairment losses from MML’s group drilling associate of Baht 2.2 billion in 2015.

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


118

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

ในปี 2558 รายได้รวมอยู่ที่ 21,425 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย เพียงร้อยละ 4 จากปีกอ่ น ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้ทลี่ ด ลงของกลุม่ ธุรกิจขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากอัตราค่าระวางเรือ บรรทุกสินค้าแห้งเทกองที่อยู่ในภาวะอ่อนตัว ในทางตรงกันข้าม ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1 จากปีก่อนหน้ามาอยู่ ที่ 17,811 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มพลังงานเนื่องจาก กลุ่ม MML อยู่ในช่วงการเรียนรู้และเริ่มต้นธุรกิจใหม่กับการท�ำ ธุรกิจวางสายเคเบิลใต้น�้ำในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 ดังนั้นก�ำไร ขั้นต้นลดลงร้อยละ 22 จากปี 2557 มาอยู่ที่ 3,613.9 ล้านบาท คิดเป็นอัตราก�ำไรขั้นต้นที่ร้อยละ 17 ในปี 2558 ส่วนแบ่งก�ำไรลดลงร้อยละ 30 จากปีก่อน มาเป็น 822.6 ล้าน บาท โดยส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ผลมาจากส่ ว นแบ่ ง ก� ำ ไรจาก Asia Offshore Drilling (“AOD”) ที่ลดลง (บริษัทหลักที่ให้มีส่วน แบ่งก�ำไรในปี 2557) การลดลงเป็นไปตามข้อตกลงกันกับ ลูกค้าในซาอุดิอาระเบียที่จะปรับลดอัตราค่าเช่าเรือ ซึ่งเริ่มต้นที่ 1 เมษายน 2558

งบแสดงฐานะการเงิน 51,679 8,280 7,128

4,454

45,346

14,979

3,957

13,423 14,401 7,387

27,261 32,246

18,387

9,010 31 ธันวาคม 2557

26,988

6,149 31 ธันวาคม 2558

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดินอาคารอุปกรณ์ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินสดรายการเทียบเท่าและเงินลงทุนระยะสั้น

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินอื่น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 TTA มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 45,346.4 ล้านบาท ลดลง 6,332.5 ล้านบาท จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ที่จ�ำนวน 51,678.9 ล้านบาท สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่มาจากเงินสดสุทธิที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นเพิ่ม ทุนตามสิทธิ (right offering) จ�ำนวน 7,282.3 ล้านบาท ในขณะ ที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนลดลง 11,734.9 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากการลดลงของที่ดินอาคารและอุปกรณ์ เนื่องจากค่าเสื่อม ราคาและการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 TTA มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 18,358 ล้าน บาท ลดลงเป็นจ�ำนวน 1,074.8 ล้านบาท จากสิ้นปี 2557 ที่ 19,432.8 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากหนี้ที่มีภาระ ดอกเบี้ยลดลง ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 5,257.7 ล้านบาทจาก 32,246.1 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2557 เป็น 26,988.4 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เนื่องจากการลดลงของก�ำไรสะสมจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด

งบกระแสเงินสด

ส�ำหรับงบกระแสเงินสด ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 TTA มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมด�ำเนินงาน 635.5 ล้านบาท ในขณะที่ ก ระแสเงิ น สดที่ ใ ช้ ไ ปในกิ จ กรรมลงทุ น สุ ท ธิ เ ท่ า กั บ 8,051.3 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ไปกับการลงทุนระยะสั้นใน หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (marketable securities) การเอาเรือเข้าอู่แห้ง การซื้อที่ดิน อาคารอุปกรณ์ และอื่นๆ นอกจากนี้ TTA มีกระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินสุทธิ จ�ำนวน 5,554.8 ล้านบาท จากการจ่ายช�ำระคืนหุ้นกู้และเงินกู้ ยืมระยะยาว ช�ำระดอกเบี้ยสถาบันการเงินและสัญญาเช่าซื้อ จ่ายเงินปันผล และอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินสดและรายการเทียบ เท่าเงินสด ณ วันต้นงวด และผลต่างจากการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผลกระทบของอัตราแลก เปลี่ยนของเงินตราในสกุลต่างประเทศในเงินสดและรายการ เทียบเท่าเงินสดรวมทัง้ สิน้ 7,793.1 ล้านบาท ท�ำให้ TTA มีเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2558 เท่ากับ 5,932.1 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินลงทุนชั่วคราวแล้วบริษัทฯ จะมีเงินสด และรายการเที ย บเท่ า เงิ น สดและเงิ น ลงทุ น ระยะสั้ น รวมกั น ทั้งสิ้น 13,423 ล้านบาท


119

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

อัตราส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญ Financial Ratios อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้จากการขาย (%) อัตราส่วนก�ำไรสุทธิต่อรายได้จากการขาย (%) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (%) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%) อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อ EBITDA (เท่า)

2557 1.69 16.0% 4.0% 4.3% 4.1% 0.46 0.21 1.87

2558 1.91 8.6% -52.9% -29.4% -49.4% 0.53 0.04 0.53

2557* 1.69 16.0% 4.4% 3.5% 4.5% 0.46 0.21 1.87

2558* 1.91 8.6% -1.2% 0.6% -1.1% 0.53 0.04 0.53

*Normalized Net Profit/(Loss) = Net Profit/(Loss)-Non-Recurring Items หมายเหตุ : อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน หาร หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้จากการขาย = EBITDA หาร รายได้จากการขาย อัตราส่วนก�ำไรสุทธิต่อรายได้จากการขาย = ก�ำไร (ขาดทุน) สุทธิ หาร รายได้จากการขาย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = ก�ำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ หาร สินทรัพย์รวมเฉลี่ย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = ก�ำไรสุทธิ (ของผู้ถือหุ้นใหญ่) หาร ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ (เฉลี่ย) อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หาร รวมส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุน ชั่วคราว หาร รวมส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุน ชั่วคราว หาร EBITDA

ธุรกิจขนส่ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง กรุ๊ป (“TSG”) อัตราค่าระวางเรือของ TSG สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด Supramax ที่ปรับฐาน (Adjusted) แล้วถึงร้อยละ 22 แม้ว่าจะเป็นปีที่ ค่อนข้างผันผวน  ผลการด�ำเนินงานได้รับผลกระทบจากการบันทึกรายการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด ในขณะที่ EBITDA ยังคงเป็นบวกที่ 573.2 ล้านบาท  มีผลขาดทุนจากการด�ำเนินงานปกติ 128.8 ล้านบาท  ยังคงมีการเช่าเรือเพื่อด�ำเนินการ (chartered-in) และคาดว่าจะยังด�ำเนินการต่อไปในอนาคต 

สรุปผลการด�ำเนินงาน Income Statement* in million Baht (MB) Freight Revenue Vessel Operating Expenses Gross Profit Other Income Gains (Losses) on Investment SG&A EBITDA Depreciation & Amortization

FY14 FY15 7,661.2 5,756.1 (6,443.8) (4,911.9) 1,217.4 844.3 190.7 50.6 32.1 (314.8) (353.7) 1,093.3 573.2 (607.8) (714.2)

%YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 -25% 2,213.7 1,388.6 1,398.3 -24% (1,965.7) (1,154.6) (1,174.8) -31% 248.0 234.0 223.5 -73% 46.9 0.9 4.6 0% 12% (62.3) (81.5) (107.5) -48% 232.6 153.3 120.6 18% (171.8) (185.2) (188.3)

%YoY %QoQ -37% 1% -40% 2% -10% -4% -90% 429% 0% 0% 73% 32% -48% -21% 10% 2% ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


120

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

in million Baht (MB)

FY14 FY15 %YoY EBIT 485.6 (140.9) -129% Financial Cost (137.2) (172.9) 26% Gain/(Loss) from Foreign Exchange 6.9 210.2 2927% Non-Recurring Items (29.5) (4,731.2) 15923% Profit before Income Tax 325.8 (4,834.8) -1584% Income Tax Expense (69.1) (25.2) -64% Net Profit/(Loss) 256.7 (4,860.0) -1993% Normalized Net Profit/(Loss) 286.3 (128.8) -145% Gross Margin (%) 16% 15% EBITDA Margin (%) 14% 10% Net Profit Margin (%) 3% -84%

4Q/14 60.8 (41.3) 15.0 (2.0) 32.4 (13.6) 18.8 20.9 11% 11% 1%

3Q/15 4Q/15 %YoY %QoQ (32.0) (67.7) -211% 112% (43.8) (44.8) 8% 2% 231.2 (26.7) -278% -112% 0.0 (4,731.2) 155.5 (4,870.4) -15123% -3233% (4.7) (4.4) -68% -7% 150.8 (4,874.7) -3333% 150.8 (143.5) -788% -195% 17% 16% 11% 9% 11% -349%

*as consolidated on TTA’s P&L *Normalized Net Profit/(Loss) = Net Profit/(Loss) - Non-Recurring Items

หลังจากผ่านปีที่ค่อนข้างมีความผันผวน ดัชนีบอลติค (BDI) ซึ่ง เป็นตัวบ่งชี้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับลดลงอยู่ที่ ระดับต�่ำที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 718 ในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 35 จากค่าเฉลี่ยที่ 1,105 ในปี 2557 ซึ่ง ดัชนี BDI ลดลงจากสาเหตุหลักๆ สองประการคือ การลดลงของ อุปสงค์ส�ำหรับเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองหรือการลดลงของการ ค้าระหว่างประเทศ และมีการเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนเรือที่มากเกิน ไปจากการสั่งต่อเรือล่วงหน้าเพื่อให้ทันกับในการสร้างเรือแต่ละ ล�ำที่อย่างน้อย 2 ปี ทั้งนี้ เรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองถูกใช้ในการ ขนสินค้าแห้ง ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นพวกวัตถุดิบ โดยที่อุปสงค์ ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ เป็นตัวบ่งชี้ว่าการผลิตสินค้าใน อนาคตจะมากเท่าใด ซึ่งสามารถส่งสัญญาณถึงการเติบโตทาง เศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนซึ่งมีเศรษฐกิจขึ้น อยู่กับการน�ำเข้าและส่งออกที่มีมูลค่าเกือบ 4 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐนัน้ ในปี 2558 การน�ำเข้าของจีนลดลงร้อยละ 13 ส่วนการ ส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 2 Dry Bulk Market Index Dry Bulk Market Index

TC Rate USD/Day

BDI (RHS)

TC Avg BSI

TC Avg BHSI

BDI Index 1,600

18,000

1,500 16,000

1,400 1,300

14,000

1,200 1,100

12,000

1,000 900

10,000

800 8,000

700 600

6,000

500 400

4,000

300 200

2,000

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

Jan-16

Mar-16

Feb-16

Oct-15

Dec-15

Nov-15

Jul-15

Sep-15

Aug-15

Apr-15

Jun-15

May-15

Jan-15

Mar-15

Feb-15

Oct-14

Dec-14

Nov-14

Jul-14

Sep-14

Aug-14

Apr-14

Jun-14

May-14

Jan-14

Mar-14

Feb-14

Oct-13

Dec-13

Nov-13

Jul-13

Sep-13

Aug-13

Apr-13

Jun-13

May-13

Jan-13

Feb-13

Mar-13

100 -

-

ทั้งนี้ การน�ำเข้าถ่านหินและแร่เหล็ก ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญส�ำหรับ BDI มีการปรับตัวลดลงเป็นครัง้ แรกในรอบสิบปี รวมถึงการชะลอ ตัวของการผลิตเหล็กอีกด้วย นอกจากนี้ การส่งออกของจีนที่ลด ลงคาดว่าเป็นผลมาจากอุปสงค์จากสหรัฐและประเทศในยุโรปที่ อ่อนตัวลง นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกยังปรับตัวลด ลง โดยราคาทองแดงอยู่ในระดับต�่ำสุดในรอบหลายปี เช่นเดียว กับอะลูมิเนียม สังกะสี ดีบุกและสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวสาลี ข้าวโพดและถัว่ เหลือง จากรายงานต่างๆ ระบุวา่ สาเหตุหนึง่ ของ การปรับตัวลงของ BDI เกิดจากปรับตัวลงอย่างมากของปริมาณ การขนส่งสินค้าในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนืออันเนื่องมาจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ผลคืออัตราค่าระวางเรือเฉลีย่ ของ เรือ Capesize ลดลงร้อยละ 49 มาอยู่ที่ 6,997 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อวันในปี 2558 จากที่เคยสูงถึง 13,800 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 เช่นเดียวกับอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยของเรือ Panamax ก็ลดลงร้อยละ 28 จาก 7,718 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2557 มาอยู่ที่ 5,560 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2558 ในขณะที่อัตรา ค่าระวางส�ำหรับเรือขนสินค้าขนาดเล็กไม่ได้ปรับลดลงมาก เหมือนอัตราค่าระวางเรือ Capesize โดยลดลงร้อยละ 29 ส�ำหรับ เรือ Supramax และร้อยละ 30 ส�ำหรับเรือ Handysize ทั้งนี้ อัตราค่าระวางเรือเฉลีย่ ของเรือ Supramax (อัตราอ้างอิงส�ำหรับ TSG) อยู่ที่ 6,966 เหรีญสหรัฐต่อวันในปี 2558 เทียบกับ 9,818 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในปี 2557 ขณะที่อัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย ของเรือ Handysize เฉลี่ยอยู่ที่ 5,381 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันใน ปี 2558 เทียบกับ 7,681 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2557 ด้วย การทีเ่ รือส่วนใหญ่ของ TSG เป็นเรือ Supramax ดังนัน้ จึงได้รบั ผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของอัตราค่าระวางเรือของ ตลาดน้อยกว่าเจ้าของเรือประเภท Capesize และ Panamax


121

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

ในปี 2558 อัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยของ TSG อยู่ที่ 7,507 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยของ ตลาด Supramax ที่ปรับฐานแล้วที่ 6,154 ดอลลาร์สหรัฐต่อ วันถึงร้อยละ 22 แม้ว่าลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 9,436 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันในปี 2557 จากการที่ดัชนีสินค้าแห้งเทกอง ปรับลดลงตลอดทั้งปี ทั้งนี้ อัตราค่าระวางเรือเฉลี่ยของ TSG ส�ำหรับปี 2558 มาจากอัตราค่าระวางเรือส�ำหรับเรือที่ TSG เป็น เจ้าของที่ 6,753 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และอัตราก�ำไรที่เพิ่มขึ้น จากเรือที่เช่ามาเพิ่ม (Chartered-in) ที่ 754 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อวัน ซึง่ โดยรวมแล้ว TSG ด�ำเนินการกองเรือเฉลีย่ 37.3 ล�ำ (เรือ ของบริษัท 23.1 ล�ำและเรือเช่า 14.3 ล�ำ) ในปี 2558 โดยลดลง จากจ�ำนวนเฉลี่ยที่ 41 ล�ำ (เรือของบริษัท 21.4 ล�ำและเรือเช่า 19.6 ล�ำ) ในปี 2557 จากโอกาสทางการตลาดที่จ�ำกัดส�ำหรับ ธุรกิจการเช่าเรือ (Chartered-in business) รายได้จากการขนส่งสินค้าของ TSG ลดลงมาที่ 5,756.1 ล้าน บาทในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 25 จาก 7,661.2 ล้านบาท ในปี 2014 ด้วยก�ำไรขัน้ ต้น 844.3 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 31 Fleet Data Summary Average DWT (Tons) Calendar days for owned fleet(1) Available service days for owned fleet(2) Operating days for owned fleet(3) Owned fleet utilization(4) Voyage days for chartered-in fleet Average number of vessels(5) Market Rate (USD/Day) BDI Index BSI Index Mkt TC Avg BSI Adjusted Mkt TC Avg BSI

FY14 50,636 8,047 7,888 7,808 99.0% 7,169 41.0

เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อัตราก�ำไรขั้นต้นยังคงอยู่ที่ร้อยละ 15 ในปี 2558 ใกล้เคียงกับร้อยละ 16 ในปี 2557 นอกจากนี้ ค่าใช้ จ่ายเงินสดจากการด�ำเนินงานต่อวันในปี 2558 อยู่ที่ 5,794 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ใกล้เคียงกับปี 2557 แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายใน การเอาเรือเข้าอู่ซ่อมบ�ำรุงที่เพิ่มขึ้นมา TSG มี EBITDA ที่ 573.2 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 48 จากปี ก่อนหน้า) และมี EBITDA margin ที่ร้อยละ 10 แม้ว่าจะอยู่ ภายใต้ภาวะที่ตลาดค่อนข้างอ่อนแอในปี 2558 ทั้งนี้ TSG ได้ ท�ำการบันทึกการด้อยค่าสินทรัพย์กองเรือที่บริษัทเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่ตัวเงินสดประมาณ 4.7 พันล้านบาท จาก การทีม่ ลู ค่าของเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองและอัตราค่าระวางเรือ ล่วงหน้า (forward rates) ของปีต่อๆ ไปนั้น ลดลงอย่างมากใน ไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ซึ่งส่งผลกระทบต่อมูลค่าเรือ ดังนั้น TSG จึงได้ทำ� การทดสอบการด้อยค่า เพือ่ ให้สะท้อนมูลค่าทีแ่ ท้จริงของ สินทรัพย์ของบริษัท โดยสรุป TSG รายงานผลขาดทุนสุทธิ 4,860.0 ล้านบาทในปี 2558 โดยเป็นผลขาดทุนจากการ ด�ำเนินงานปกติ ที่ 128.8 ล้านบาท

FY15 50,636 8,760 8,451 8,418 99.6% 5,204 37.3

%YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 %YoY %QoQ 0% 50,636 50,636 50,636 0% 0% 9% 2,208 2,208 2,208 0% 0% 7% 2,172 2,180 2,084 -4% -4% 8% 2,143 2,169 2,084 -3% -4% 1% 98.7% 99.5% 100.0% 1% 1% -27% 1,942 1,281 1,323 -32% 3% -9% 44.4 37.5 37.0 -17% -1%

FY14 FY15 1,105 718 939 666 9,818 6,966 8,465 6,154

%YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 %YoY %QoQ -35% 1,120 974 640 -43% -34% -29% 936 840 553 -41% -34% -29% 9,825 8,782 5,779 -41% -34% -27% 8,494 7,759 5,106 -40% -34%

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


122

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

Average Daily Operating Results (6) (USD/Day) Thoresen TCE Rate (7) TCE Rate of Owned Fleet TCE Rate of Chartered-In Expenses Vessel operating expenses (Owner’s expenses) Dry-docking expenses General and administrative expenses Cash costs Finance costs, net Depreciation Total costs USD/THB Rate (Daily Average)

FY14 FY15 9,436 7,507 8,988 6,753 448 754 3,884 604 1,237 5,725 (4) 2,372 8,093 32.48

%YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 %YoY %QoQ -20% 8,683 8,047 7,611 -12% -5% -25% 8,653 7,371 6,761 -22% -8% 68% 30 676 850 2733% 26%

3,844 -1% 728 20% 1,222 -1% 5,794 1% 595 13,713% 2,468 4% 8,856 9% 34.25 5%

3,896 625 905 5,426 110 2,418 7,954 32.71

3,755 804 1,061 5,619 566 2,411 8,596 35.25

3,932 748 1,440 6,121 597 2,521 9,239 35.84

1% 20% 59% 13% 443% 4% 16% 10%

5% -7% 36% 9% 6% 5% 7% 2%

*The per day basis is calculated based on available service days. **Restated in compliance with IFRS Note: 1) Calendar days are the total calendar days TTA owned the vessels in our fleet for the relevant period, including off hire days associated with major repairs, dry dockings, or special or intermediate surveys. 2) Available service days are calendar days(1) less planned off hire days associated with major repairs, dry dockings, or special or intermediate surveys. 3) Operating days are the available days (2) less unplanned off-hire days, which occurred during the service voyage. 4) Fleet utilisation is the percentage of time that our vessels generated revenues and is determined by dividing operating days by available service days for the relevant period. 5) Average number of vessels is the number of vessels that constituted our fleet for the relevant period, as measured by the total operating days for owned fleet plus voyage days for chartered in fleet during the period divided by the number of calendar days in the relevant period. 6) Adjusted Mkt TC Avg BSI = Market TC Avg BSI adjusting commission fee and Thoresen Fleet Type 7) The per day basis is calculated based on available service days 8) Thoresen TCE Rate = Owned Vessel TCE Rate + Chartered-In Rate TCE Rate = Time-Charter Equivalent Rate TC Rate = Time-Charter Rate BDI = The Baltic Exchange Dry Index BSI = The Baltic Exchange Supramax Index BHSI = The Baltic Exchange Handysize Index

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


123

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

Adjusted Market BSI vs Thoresen’s TCE Rate

1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 Thoresen TCE Rate 10,528 9,933 8,917 8,683 8,091 6,244 8,047 7,611 TCE Rate of 10,314 9,323 7,994 8,653 6,312 6,482 7,371 6,761 Owned Fleet TCE Rate of 215 610 923 30 1,778 (238) 676 850 Chartered-In Adjusted Mkt 9,945 7,765 7,674 8,494 5,684 5,977 7,759 5,106 TC Avg BSI

Revenue vs Cost Structure (per vessel day)

FY14 FY15 9,436 7,507 8,988 6,753 448

754

8,465 6,154

Owner’s expenses SG&A Dry-docking expenses Finance costs, net Depreciation Thoresen TCE Rate

1Q/14 3,962 1,380 559 -126 2,257 10,528

2Q/14 3,998 1,493 612 -93 2,362 9,933

3Q/14 3,718 1,242 613 52 2,429 8,917

4Q/14 3,896 905 625 110 2,418 8,683

1Q/15 4,008 1,309 656 633 2,490 8,091

2Q/15 3,686 1,083 691 587 2,448 6,244

3Q/15 3,755 1,061 804 566 2,411 8,047

4Q/15 3,932 1,440 748 597 2,521 7,611

FY14 3,884 1,237 604 -4 2,372 9,436

FY15 3,844 1,222 728 595 2,468 7,507

ธุรกิจพลังงาน

บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“MML Group”) รายได้รวมเติบโตร้อยละ 8 จากปีก่อนหน้า จากงานบริการวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเลที่เติบโตขึ้น  อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะมีการซ่อมบ�ำรุงใหญ่ในไตรมาสแรก  ก�ำไรจากการด�ำเนินงานปกติ 52.8 ล้านบาท และมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 2,072 ล้านบาท  ธุรกิจวิศวกรรมใต้ทะเลยังคงมีงานอย่างต่อเนื่องจากฐานลูกค้าหลักซึ่งเป็นบริษัทน�้ำมันแห่งชาติ 

สรุปผลการด�ำเนินงาน Income Statement in million Baht Total Revenues Total Costs Gross Profit/(Loss) Other Income SG&A EBITDA from Operation Equity Income EBITDA Depreciation & Amortization

FY14 FY15 % YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 % YoY 10,664.4 11,527.3 8% 3,234.7 3,404.6 2,578.3 -20% (8,178.4) (9,594.9) 17% (2,641.1) (2,475.9) (2,205.2) -17% 2,486.0 1,932.4 -22% 593.7 928.8 373.1 -37% 22.1 14.7 -34% 5.9 3.1 3.5 -40% (1,270.4) (1,486.0) 17% (329.2) (379.7) (370.4) 13% 1,237.6 461.1 -63% 270.4 552.2 6.2 -98% 1,005.4 507.3 -50% 229.8 264.8 (243.9) -206% 2,243.0 968.4 -57% 500.2 817.0 (237.7) -148% (776.8) (840.1) 8% (197.6) (200.4) (275.6) 40%

% QoQ -24% -11% -60% 13% -2% -99% -192% -129% 38%

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


124

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

Income Statement in million Baht

EBIT Financial Cost Gain/(Loss) from Foreign Exchange Non-Recurring Items Non-Recurring Items-share of impairment losses from MML’s drilling associate Profit/(Loss) before income tax Income Tax Expense Net Profit/(Loss) Net Profit/(loss) attributable To Non-controlling interest To TTA Normalized Net Profit/(Loss) Normalized Net Profit/(Loss) to TTA Gross Margin (%) EBITDA Margin (%) Net Profit Margin (%)

FY14 1,466.2 (119.5) 25.0

FY15 % YoY 4Q/14 3Q/15 128.3 -91% 302.6 616.6 (116.8) -2% (28.1) (32.2) 59.4 137% 10.6 20.8

4Q/15 % YoY (513.3) -270% (30.7) 9% 3.7 -65%

% QoQ -183% -5% -82%

(53.3) (6,002.9) 11159% - (2,232.1)

(53.9) -

1,318.4 (8,164.1) -719% (138.1) (18.1) -87% 1,180.3 (8,182.2) -793%

231.2 (89.2) 142.0

605.4 (8,775.8) -3896% (25.9) 28.6 132% 579.4 (8,747.2) -6258%

-1550% 210% -1610%

505.7 (3,467.9) -786% 674.6 (4,714.3) -799%

60.5 81.5

241.4 (3,698.9) -6215% 338.0 (5,048.3) -6290%

-1632% -1593%

1,233.7 705.4

52.8 76.8

23% 21% 11%

17% 8% -71%

-96% -89%

0.2 (6,003.5) 11040% -3066431% - (2,232.1)

195.9 112.7

579.2 337.9

(511.6) (256.8)

18% 15% 4%

27% 24% 17%

14% -9% -339%

-361% -328%

-188% -176%

*Normalized Net Profit/(Loss) = Net Profit/(Loss) - Non-Recurring Items

สภาวะตลาดน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติได้ผลกระทบอย่างหนักจาก การปรับตัวลงของราคาน�้ำมันตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2557 จาก ระดับราคามากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยูท่ รี่ ะดับ ราคาประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ สิ้นปี 2558 ทั้งนี้ การปรับตัวลงของราคาน�้ำมันโลกนั้น มีสาเหตุหลักจากการที่มี อุปทานล้นตลาด อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตน�้ำมัน จากชั้นหินดินดาน (shale oil) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การคง ก�ำลังการผลิตน�้ำมันของกลุ่มประเทศ OPEC ที่ระดับ 30 ล้าน บาร์เรลต่อวัน เพื่อรักษาสัดส่วนทางการตลาด ตลอดจนอุปทาน จากอิหร่านทีเ่ พิม่ ขึน้ จากการยกเลิกมาตรการคว�ำ่ บาตรต่างๆ จาก สหรัฐและสหภาพยุโรป ในทางกลับกัน ยังมีความไม่แน่นอน ในส่วนอุปสงค์ของน�้ำมันจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในประเทศจีน ส่งผลให้เกิดการลดลงของเงินลงทุน ในอุตสาหกรรมน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ตลอดจนสัญญาหรือปริมาณงานบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ วิศวกรรมใต้และธุรกิจเรือขุดเจาะ ซึง่ ล้วนก่อให้เกิดความไม่สมดุล กันของอุปสงค์และอุปทานและส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการ ใช้ประโยชน์และอัตราค่าว่าจ้างของธุรกิจดังกล่าว อย่างไรก็ดี บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“MML Group”) มีการแผนการทางธุรกิจที่ดีและได้รับการยอมรับ ในอุตสาหกรรม โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์จากการให้บริษัท เป็นบริษัทน�้ำมันข้ามชาติ (multinational oil companies) มา เป็นการเน้นให้บริการกับบริษัทน�้ำมันแห่งชาติ (national oil companies) เป็นหลักในช่วงปีกอ่ นๆ ส่งผลให้ปริมาณงานในมือ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันปริมาณงานจากบริษัทน�้ำมัน แห่งชาติเหล่านีค้ ดิ เป็นประมาณร้อยละ 78 ของงานในมือทัง้ หมด ของ MML Group และมีมลู ค่าทีส่ งู ถึงประมาณ 255 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ณ สิน้ ปี 2558 ท่ามกลางความผันผวนของตลาดน�ำ้ มันโลก


125

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

Revenues Breakdown by Services

Subsea IRM-Vessels Revenue Breakdown 6,602.8

11,527.3

Unit : Million Baht

2,089.9

10,664.4

2,522.7 2,817.7

Unit : Million Baht

3,560.1 3,404.6

3,234.7 1,9842.2

1,770.5

2,578.3

5,949.1

2,072.3

1,863.2

1,646.5

2,045.4 1,383.3

1,105.1 683.6

1Q/14 2Q/14 3Q/14 Drilling (Tender Rigs) 14% 8% 4% Cable Laying 7% 1% 9% Subsea Services 27% 21% 13% Non Vessels Subsea IRM - Vessels 53% 70% 74%

4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 FY14 FY15 5% - 7% 30% 44% 37% 25% 29% 13% 33% 14% 21% 11% 15% 17% 18% 15% 51% 34% 52% 60% 54% 62% 52%

Vessel Working Days & U-Rate*

1Q/14 2Q/14 Short Term 0.1 38.1 Chartered-In Long Term 280.1 417.3 Chartered-In Owned Fleet 824.8 1,315.0

3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 179.0 - 107.4 -

FY14 FY15 219.6 112.6

405.3 261.0 105.9 402.8 566.1 548.1 1,365.4 1,599.9 1,488.0 1,385.5 470.3 1,460.4 1,479.3 835.2 5,017.9 4,236.5

Rigs Working Days & U-Rate*

1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 FY14 FY15 Utillzattion rate 51% 71% 73% 48% 33% 74% 80% 55% 61% 61% Chartered-in 121 165 183 81 74 152 203 205 550 634 Owned 295 420 424 318 222 523 532 302 1,457 1,579 *Total Working Days/Total Vessel Calendar Days Utilization Rate are blended Rate of Owned and Chartered-in In 2014, based on 9 vessels. In 2015, based on 10 vessels.

1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 FY14 FY15 Blended Rate 74% 76% 78% 78% 74% 72% 73% 74% 77% 73% Tender rig 90 83 92 83 348 Jack-up rig 244 265 266 275 266 263 267 274 1,050 1,070 *Total Working Days/Total Vessels Calendar Days Utilization Rate are blended Rate of Owned and Chartered-in In 2014, based on 5 rigs. In 2015, based on 4 rigs.

ในปี 2558 MML Group มีรายได้รวมประมาณ 11,527.3 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8 จากปีกอ่ นหน้าที่ 10,664.4 ล้านบาท แม้ ว ่ า จะมี ก ารซ่ อ มบ� ำ รุ ง ของเรื อ วิ ศ วกรรมใต้ ท ะเลสามล� ำ ที่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในช่วงไตรมาสแรกของปี ทัง้ นี้ การเพิม่ ขึน้ ของรายได้ใน ปี 2558 มาจากรายได้จากงานบริการวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล ที่เติบโตขึ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 33 ของรายได้รวมหรือเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 162 จากปี 2557 ในขณะที่รายได้จากกองเรือ ทีใ่ ห้บริการส�ำรวจและซ่อมแซมใต้ทะเล ปรับตัวลดลงร้อยละ 10

จากปีก่อนหน้าที่ 6,602.8 ล้านบาท มาอยู่ที่ 5,949.1 ล้านบาท ในปี 2558 นอกจากนี้ อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือวิศวกรรม ใต้ทะเลยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับปีที่แล้ว ที่ร้อยละ 61 ด้วย จ�ำนวนวันท�ำงาน 2,213 วันในปี 2558 (เรือ 10 ล�ำ) และ 2,007 วันในปี 2557 (เรือ 9 ล�ำ) จ�ำนวนเรือที่เพิ่มขึ้นในปี 2558 เกิด จากการท�ำสัญญาเช่าเรือ “Windermere” ซึ่งถูกส่งกลับคืนเรือ ไปแล้วในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ส�ำหรับธุรกิจเรือขุดเจาะโดยรวมนั้น อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือยังคงสูงที่ระดับร้อย 73 แม้ว่าลด ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


126

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

ลงจากร้อยละ 77 ในปีกอ่ นหน้า ทางด้านเรือ tender rig (MTR1 และ MTR2) ยังคงไม่ได้มีการถูกน�ำไปใช้งานระหว่างปี และถูก ก�ำหนดให้มีการพยายามขายออกไป ในส่วนของค่าใช้จ่ายรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของงานสายเคเบิ้ลใต้ ทะเล ซึ่งในช่วงแรกนั้นยังประสบผลขาดทุนจากการพยายาม ศึกษางานด้านธุรกิจดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนในปีน้ีสูงขึ้น ทั้งนี้ ส่งผลให้ EBITDA จากการด�ำเนินงานปกติยงั คงเป็นบวกแต่ลด ลงมาที่ 461.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 63 จากปีก่อนหน้าที่ ประมาณ 1,237.6 ล้านบาท นอกจากนี้ ในปี 2558 MML Group ได้ประกาศต่อตลาด หลักทรัพย์ของสิงคโปร์ว่า Asia Offshore Drilling (“AOD” ซึง่ ด�ำเนินงานส�ำหรับ Jack-up rig 3 ล�ำ) ตกลงทีจ่ ะปรับลดอัตรา ค่าว่าจ้างรายวันที่ท�ำไว้กับลูกค้าที่ประเทศซาอุดิอาระเบียโดย ลดลงร้อยละ 10 มาอยู่ที่ 162,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และ มีให้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2558 อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากการ ปรับลดดังกล่าวยังไม่ได้ถูกสะท้อนในงบการเงินของบริษัท ณ ขณะนั้น แต่ได้ถกู ปรับย้อนหลัง และสะท้อนเต็มปีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558

MML Group มี EBITDA 968.4 ล้านบาทในปี 2558 หรือลด ลงร้อยละ 57 ของ EBITDA ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ เพื่อ สอดคล้องกับหลักการของบริษัทฯ ในเรื่องความโปร่งใสและวิธี การทางบัญชีที่ถูกต้อง MML Group ได้ประกาศรายได้ด้อยค่า สินทรัพย์ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสดเป็นจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น ประมาณ 6 พันล้านบาทในปี 2558 นอกจากนี้ ยังมีรายการที่ไม่ ได้เกิดขึน้ เป็นประจ�ำ (non-recurring item) จากการรับรูข้ าดทุน จากด้อยค่าของ AOD จ�ำนวนประมาณ 2.2 พันล้านบาทซึ่งเป็น ไปตามหลักการของมาตรฐานบัญชีสากล MML Group มีผลการด�ำเนินงานขาดทุนสุทธิในปี 2558 ที่ 8,182.2 ล้านบาท ก�ำไรจากการด�ำเนินปกติ (normalized profit) 52.8 ล้านบาท กระแสเงินสดจากการด�ำเนินการยัง แข็งแกร่งที่ 215.7 ล้านบาท มีเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด จ�ำนวน 2,072 ล้านบาท และมีสัดส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสุทธิ ต่อส่วนทุนที่ 0.15 ณ สิ้นปี 2558

กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) (“UMS”)  ปริมาณและรายได้จากการขายลดลงแต่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงจากโปรแกรมการลดค่าใช้จ่าย  ธุรกิจและการบริการแบบใหม่ช่วยเพิ่มรายได้อื่น  ขาดทุนสุทธิในส่วนของ TTA จ�ำนวน 329.2 ล้านบาท

สรุปผลการด�ำเนินงาน Income Statement in million Baht Total Revenues Total Costs Gross Profit Other Income SG&A EBITDA Depreciation & Amortization EBIT Financial Cost Gain/(Loss) from Foreign Exchange Non-Recurring Items Profit/(loss) before income tax Income Tax Expense Net Profit/(Loss) Net Profits/(losses) attributable To Non-controlling interest To TTA บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

FY14 FY15 % YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 % YoY % QoQ 711.5 577.5 -19% 112.5 114.5 104.8 -7% -9% (494.4) (457.1) -8% (73.0) (106.9) (74.0) 1% -31% 217.1 120.4 -45% 39.5 7.6 30.8 -22% 303% (3.6) 3.2 189% 0.5 6.1 (4.24) -900% -170% (181.8) (110.6) -39% (31.4) (25.4) (22.6) -28% -11% 31.7 13.0 -59% 8.7 (11.6) 3.9 -55% 134% (59.9) (54.9) -8% (14.8) (13.1) (13.2) -11% 1% (28.2) (41.8) 49% (6.1) (24.7) (9.3) 52% -62% (66.0) (55.4) -16% (14.7) (13.3) (13.1) -11% -2% 0.4 (2.9) -860% (0.7) (2.4) 0.5 168% 119% (25.2) (271.1) 977% (0.5) (19.2) (251.8) 46424% 1212% (118.9) (371.2) 212% (22.1) (59.6) (273.7) 1138% 359% (118.9) (371.2) 212% (22.1) (59.6) (273.7) 1138% 359% (13.5) (42.0) (105.5) (329.2)

212% 212%

(2.5) (19.6)

(6.8) (31.0) (52.9) (242.7)

1138% 1138%

359% 359%


127

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

in million Baht Normalized Net Profit/(Loss) Normalized Net Profit/(Loss) to TTA Gross Margin (%) EBITDA Margin (%) Net Profit Margin (%)

FY14 FY15 % YoY 4Q/14 3Q/15 4Q/15 % YoY % QoQ (93.8) (100.1) 7% (21.6) (40.5) (21.9) 2% -46% (83.1) (88.8) 7% (19.1) (35.9) (19.4) 2% -46% 31% 21% 35% 7% 29% 4% 2% 8% -10% 4% -17% -64% -20% -52% -261%

As consolidated on TTA’s P&L Normalized Net Profit/(Loss) = Net Profit/(Loss) - Non-Recurring Items Non-Recurring Items include obsolescence and declining in value of inventories and impairment against machines and buildings.

ในปี 2558 UMS มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 371.2 ล้าน บาท เทียบกับปี 2557 ที่ขาดทุน 118.9 ล้านบาท สาเหตุหลัก ของผลการด�ำเนินงานที่ปรับตัวลดลงของ UMS เป็นผลมา จากยอดขายถ่านหินระหว่างปีที่อยู่ในระดับต�่ำ และรายการที่ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจ�ำ (non - recurring item) จ�ำนวน 271.1 ล้านบาท หลังจากทีต่ ลาดถ่านหินได้มกี ารเติบโตอย่างมากเป็นเวลากว่าสิบ ปีที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันอุปสงค์ของถ่านหินได้มีการปรับตัวลดลง ข้อมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA ได้ระบุว่า ราคาถ่านหินปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ถ่านหิน ล้นตลาดผนวกกับความต้องการในการใช้ถ่านหินที่ลดลงโดย เฉพาะจากประเทศจีน อุปสงค์ถ่านหินในจีนลดลงจากการที่ เศรษฐกิจจีนหันมาเน้นการพัฒนาภาคการบริการมากขึ้น ใน ขณะที่ อุ ต สาหกรรมที่ ต ้ อ งพึ่ ง พิ ง พลั ง งานกลั บ น้ อ ยลง ทั้ ง นี้ พลังงานน�ำ้ นิวเคลียร์ ลม และแสงอาทิตย์มสี ว่ นอย่างมากต่อการ ลดลงของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในจีน โดยมีสาเหตุมาจาก ความกังวลเกีย่ วกับความมัน่ คงด้านพลังงานและสภาพภูมอิ ากาศ รวมถึงความพยายามที่จะลดมลพิษในประเทศอีกด้วย Newcastle Coal Index (USD/Ton)

80 75 70

USD/Ton

65 60 55 50

74.6 71.1 68.2

64.7 62.3 56.8

นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงด้านอุปทาน จะเห็นได้ว่า ในช่วงปี 2550 - 2554 มีการลงทุนท�ำเหมืองถ่านหินเพิม่ ขึน้ มากในประเทศ ออสเตรเลีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ จากความ ต้องการถ่านหินที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ดี เหมืองเหล่านี้เริ่มด�ำเนินการผลิตในช่วงเวลาที่อุปสงค์ในจีนปรับ ตัวลง ขณะที่ก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานในประเทศสหรัฐ (shale gas) ซึ่งมีราคาถูกได้เข้ามาแทนที่ถ่านหิน ส่งผลให้ราคา ถ่านหิน Newcastle Index ลดลงร้อยละ 19 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น หน้าที่ 68.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2557มาอยู่ที่ 55.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2558 และลดลงร้อยละ 54 จากช่วงที่ ราคาสูงสุดในปี 2554 ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ยอดขายของ UMS ลดลงร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จาก 339 พันตันในปี 2557 มาอยู่ที่ 259 พันตันในปี 2558 การลดลงของปริมาณยอดขายเป็นผลมาจากปริมาณขายถ่านหิน ขนาด 0-5 มิลลิเมตรทีล่ ดลงในปี 2558 เป็นผลมาจากในปี 2557 ฝ่ายบริหารของ UMS ได้มงุ่ เน้นการลดปริมาณสินค้าคงเหลือของ ถ่านหินขนาด 0-5 มิลลิเมตรและจ�ำกัดการผลิตถ่านหินคัดขนาด เพือ่ ปรับสมดุลโครงสร้างเงินทุนของ UMS ซึง่ ได้ดำ� เนินการอย่าง ต่อเนือ่ งมาถึงปี 2558 ส่งผลให้เกิดยอดขายเพือ่ ลดปริมาณสินค้า คงเหลือถ่านหินเป็นจ�ำนวนมากในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ใน ปี 2558 UMS ยังได้รับผลกระทบจากข้อจ�ำกัดทางด้านวงเงิน สินเชื่อเพื่อการน�ำเข้าถ่านหิน ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 339 Sales Volume (‘000 Tons)

60.8

259 53.9 50.6

55.5

118 122

45 40

1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15

53 47

FY14 FY15

Newcastle index* data source : Bloomberg *Newcastle Coal is thermal coal exported (delivered FOB) out of the port of Newcastle in New South Wales, Australia. It is the price benchmark for seaborne thermal coal in the Asia-Pacific region. Net Calorific Value (AR) = 6,000 Kcal/kg

Coal : 0-5 mm. size Coal : Classified size

86 77

54 43

1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 FY14 FY15 61 84 30 8 19 18 16 10 183 63 56 37 23 39 67 59 38 33 156 197

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


128

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

Revenue Breakdown

3. ลดต้ น ทุ น การด� ำ เนิ น งานโดยการทบทวนค่ า ใช้ จ ่ า ยและ ต้นทุนในการด�ำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลด ค่าใช้จ่ายที่ไม่จ�ำเป็น นอกจากนี้ มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณการ ขายซึ่งจะช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) อีกด้วย 4. ปรับโครงสร้างทางการเงินของ UMS อาทิ การเพิ่มทุน จากแผนการลดค่าใช้จา่ ยทีไ่ ด้ถกู ด�ำเนินการไปในระหว่างปี 2558 UMS สามารถลดค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหารได้ถงึ ร้อยละ 39 จากปีก่อนหน้า EBITDA ในปี 2558 ลดลงมาอยู่ที่ 13 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น EBITDA margin ร้อยละ 2 นอกจากนี้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจ�ำหน่ายลดลงร้อยละ 8 จากปีที่แล้ว ขณะที่ต้นทุน 1Q/14 2Q/14 3Q/14 4Q/14 1Q/15 2Q/15 3Q/15 4Q/15 FY14 FY15 ทางการเงินลดลงร้อยละ 16 นอกจากนี้ ในปี 2558 มีการบันทึก Coal : 0-5 mm. size 40% 60% 46% 10% 14% 15% 19% 14% 43% 15% Coal : Classified size 60% 40% 54% 90% 86% 85% 81% 86% 57% 85% ขาดทุนจากรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจ�ำ (non –recurring item) จ�ำนวน 271.1 ล้านบาท โดยหลักๆ มาจากการด้อยค่าที่ อย่างไรก็ตามจากรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ใช่ตัวเงินและการตั้งส�ำรอง ซึ่งมาจาก ผูถ้ อื หุน้ ของ UMS ได้อนุมตั ใิ นการร้องขอความช่วยเหลือทางการ เงินจาก TTA ซึ่งจะช่วยลดความกังวลในเรื่องสภาพคล่องตลอด 1. รายการค่าเผื่อมูลค่าสินค้าที่ลดลงและสินค้าค้อยคุณภาพที่ ไม่ใช่ตวั เงินจํานวน 198 ล้านบาท สาเหตุทตี่ อ้ งทําการบันทึก จนภาระทางการเงินของ UMS อย่างไรก็ตาม สภาวะตลาดภายใน รายการค่าเผื่อมูลค่าสินค้าที่ลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจาก ประเทศนั้น ยังมีการแข่งขันที่เข้มข้นด้านราคา ปัญหาเชิงคุณภาพของถ่านหินค้างสต๊อกทีค่ า้ งอยูม่ าหลายปี ในปี 2558 รายได้รวมลดลงร้อยละ 19 ขณะที่ต้นทุนลดลง และเป็นถ่านหินบนพืน้ และใต้พนื้ บริเวณกองเก็บถ่านหิน โดย เพียงร้อยละ 8 เมือ่ เทียบกับปีทผี่ า่ นมา ส่งผลให้กำ� ไรขัน้ ต้นลด ถ่านหินดังกล่าวมีการปนเปื้อนกับเศษดิน เศษหินทําให้ ลงร้อยละ 45 จากปีก่อนหน้าโดยลดลงมาอยู่ที่ 120.4 ล้าน คุณภาพของถ่านหินดังกล่าวลดต�ำ่ ลง (ทัง้ ในส่วนของค่าความ บาท เทียบกับ 217.1 ล้านบาทในปี 2557 ส่วนรายได้อื่นเพิ่ม ร้อนและสัดส่วนขี้เถ้า) ตามรายงานตรวจสอบถ่านหินที่จัด ขึ้นร้อยละ 189 จากปีก่อนหน้า จากการที่ UMS ได้เริ่มด�ำเนิน ทําโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระเฉพาะด้าน ทั้งนี้คาดว่าถ่านหินดัง การตามแผนฟื้นฟูธุรกิจเพื่อที่จะพลิกฟื้นกลับมามีก�ำไรอีกครั้ง กล่าวไม่สามารถจําหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ จากแผนที่วางไว้ UMS ตั้งเป้าที่จะด�ำเนินการ 2. บันทึกรายการด้อยค่าที่ไม่ใช่ตัวเงินจ�ำนวน 57 ล้านบาท 1. เพิม่ ปริมาณการขายถ่านหิน ทัง้ ประเภทคัดขนาดและถ่านหิน ส�ำหรับเครื่องจักรและอาคารที่ตั้งอยู่ที่โรงงานในจังหวัด ไม่คัดขนาด (0-5 มิลลิเมตร) กับทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้า สมุทรสาครและอยุธยา เครื่องจักรดังกล่าวส่วนใหญ่เป็น ใหม่ซึ่งโดยมากแล้วเป็นโรงงานประเภท SME ทั้งนี้แผนการ เครื่องจักรเก่าและไม่ได้ใช้งานมาหลายปี จากการประเมิน เพิ่มปริมาณการขายดังกล่าวต้องพิจารณาถึงสภาวะการ ราคาตลาดของผู้ประเมินราคาอิสระพบว่ามูลค่าทางบัญชี แข่งขันของตลาดและโอกาสในการท�ำก�ำไรเป็นส�ำคัญ ของสินทรัพย์ดังกล่าวสูงกว่าราคาตลาด 2. ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของ UMS และบริษทั 3. บันทึกรายการด้อยค่าที่ไม่ใช่ตัวเงินจ�ำนวน 3.5 ล้านบาท ย่อยรวมถึงการให้บริการเช่าพืน้ ทีใ่ นการกองเก็บถ่านหินและ ส�ำหรับเงินลงทุนในบริษัท ยูเอ็มเอส ดิสทริบิวชั่น จ�ำกัด ซึ่ง เสนอบริการคัดขนาดถ่านหินให้กับผู้ค้าถ่านหินประเภทซื้อ เป็นบริษัทย่อยที่ไม่ได้ด�ำเนินธุรกิจแล้ว มาขายไป ตลอดจนเพิ่มปริมาณให้บริการเรือล�ำเลียงและ บริการด้านการขนส่งทีเ่ กีย่ วข้อง นอกจากนี้ แผนการยังรวม ดังนัน้ ในปี 2558 UMS รายงานขาดทุนสุทธิ 371.2 ล้านบาท และ ถึงการบริหารจัดการเพือ่ ลดภาระค่าใช้จา่ ยในการบ�ำรุงรักษา เป็นการขาดทุนสุทธิในส่วนของ TTA จ�ำนวน 329.2 ล้านบาท และเป็นการลดภาระทางการเงินของ UMS

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


129

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

บริษทั พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิง้ ส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”)  รายได้จากการขายปุ๋ยเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 170.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  ยอดขายปุ๋ยในเวียดนามยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งในภูมิภาค  เปิดสายการผลิตปุ๋ยปั๊มเม็ดใหม่ (กําลังการผลิต 100,000 ตัน) เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดส่งออก  ขยายพื้นที่โรงงานส�ำหรับให้เช่าจาก 31,000 ตร.ม. โดยเพิ่มขึ้นอีก 11,300 ตร.ม. รวมเป็น 42,300 ตร.ม. และอีก 8,200 ตร.ม. (บาคองโค 5-B เฟส 2) อยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะเปิดให้บริการในต้นปี 2559 ซึ่งมีอัตราการเช่าร้อยละ 100 และอุปสงค์จาก ลูกค้าปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สรุปผลการด�ำเนินงาน Income Statement in Million Baht Sales Revenue Raw Material Costs Gross Profit Service & Other Income Operating Cost Cost of providing services SG&A EBITDA Depreciation & Amortization EBIT Financial Cost Gain/(Loss) from Foreign Exchange Profit before income tax Income Tax Expense Net Profit Net Profit/(loss) attributable To Non-controlling interest To TTA Gross Margin (%) EBITDA Margin (%) Net Profit Margin (%)

FY14 FY15 % YoY 4Q/14 3,088.0 3,258.5 6% 589.0 (2,270.8) (2,472.3) 9% (425.0) 817.2 786.2 -4% 163.9 36.6 52.4 43% 11.1 (207.3) (236.0) 14% (50.7) (5.4) (10.5) 95% (1.6) (266.1) (243.6) -8% (52.6) 375.0 348.6 -7% 70.2 (40.8) (57.2) 40% (10.2) 334.2 291.4 -13% 60.0 (0.9) (6.3) 593% (0.6) 13.3 (2.4) -118% 10.6 346.6 282.6 -18% 70.0 (63.6) (49.6) -22% (14.6) 283.0 233.0 -18% 55.3 283.0 26% 12% 9%

58.1 174.9 24% 11% 7%

ปี 2558 เป็นอีกปีหนึ่งที่ PMTA สามารถสร้างผลก�ำไร โดยมี ก� ำ ไรสุ ท ธิ ทั้ ง สิ้ นจ�ำนวน 233 ล้านบาท อันเป็นผลมาจาก พัฒนาการทีส่ ำ� คัญหลายประการทีส่ ำ� เร็จลงได้ดว้ ยความพยายาม อย่างยิ่งยวดของ PMTA ซึ่งประกอบด้วยการเพิ่มสายก�ำลังการ ผลิตปุ๋ยปั๊มเม็ดใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตโดยเฉพาะ ส�ำหรับตลาดส่งออก การขยายพื้นที่โรงงานให้เช่า และการเปิด ตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในปีที่ผ่านมา

28% 12% 9%

3Q/15 4Q/15 % YoY % QoQ 802.3 904.8 54% 13% (616.6) (672.1) 58% 9% 185.7 232.7 42% 25% 14.4 13.4 20% -7% (63.7) (67.7) 33% 6% (2.4) (4.0) 151% 66% (58.6) (63.3) 20% 8% 75.4 111.0 58% 47% (15.2) (16.2) 60% 7% 60.3 94.8 58% 57% (1.0) (1.3) 105% 23% 0.9 (1.1) -110% -216% 60.2 92.4 32% 54% (11.1) (16.9) 15% 52% 49.1 75.6 37% 54% 16.8 32.3 23% 9% 6%

25.4 50.2 26% 12% 8%

51% 55%

จากความเข้มแข็งของตราสินค้า การมีสินค้าที่หลากหลาย และกิจกรรมทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ PMTA มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3,258.5 ล้านบาทใน ปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับ 3,088 ล้านบาท ในปี 2557 แม้จะเป็นปีทมี่ คี วามท้าทายจากปัญหาการขาดแคลน ปริมาณน�้ำฝนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งส่งผลกระทบต่อ อุปสงค์ของการใช้ปุ๋ย

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


130

ค� ำ อ ธิ บ ายและ การวิ เ ค ร า ะ ห์ ข อ งฝ ่ า ย จั ดกา ร

อัตราการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โรงงานให้เช่า 100% 96%

89%

2556

2557

2558

ที่มา : บาคองโค

PMTA สามารถรักษายอดขายไว้ได้ที่ระดับเดียวกันกับปีก่อน หน้ า โดยในปี 2558 ยอดขายปุ ๋ ย เท่ า กั บ 198,541 ตั น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่มียอดขายปุ๋ย จ�ำนวน 196,986 ตัน โดยอุปสรรคของการเติบโตของยอด ขายมาจากโอกาสทีจ่ ำ� กัดในการส่งออกไปยังประเทศในแอฟริกา ตลอดจนภาวะภัยแล้งในหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ อุปสงค์การเช่าพื้นที่โรงงานยังคงอยู่ในระดับสูง ด้วยอุปสงค์ที่ เพิม่ ขึน้ จากลูกค้าปัจจุบนั เป็นผลให้อตั ราการใช้ประโยชน์ของ พื้นที่โรงงานให้เช่าของบริษัทฯ ในปี 2558 อยู่ในระดับร้อยละ 100 ด้วยเหตุนี้รายได้จากการให้บริการจากธุรกิจให้เช่าพื้นที่ โรงงานเพิ่มขึ้นจาก 32.1 ล้านบาท มาที่ 49.1 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ PMTA อยู่ ในระหว่างการสร้างบาคองโค 5-B เฟส 2 (พื้นที่ 8,200 ตร.ม.) เพือ่ มารองรับอุปสงค์ทเี่ พิม่ ขึน้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส ที่ 1 ปี 2559

Fertilizer Sales Volume Unit: Tons FY14 FY15 Fertilizer NPK 191,743 193,075 Single fertilizer 2,642 3,224 Pesticide 2,601 2,242 Total 196,986 198,541

% YoY 1% 22% -14% 1%

4Q/14 34,243 201 790 35,235

3Q/15 46,013 553 546 47,112

4Q/15 48,733 2,549 587 51,869

% YoY % QoQ 42% 6% 1170% 361% -26% 7% 47% 10%

Sales Volume Breakdown Unit: Tons FY14 Domestic 117,432 Export 79,554 Total 196,986

% YoY 1% 0% 1%

4Q/14 23,453 11,781 35,235

3Q/15 26,620 20,492 47,112

4Q/15 32,673 19,196 51,869

% YoY 39% 63% 47%

FY15 118,851 79,690 198,541

% QoQ 23% -6% 10%

ในปี 2015 รายได้จากการขายปุ๋ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับ เหนือไปจากนี้ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2557 รัฐบาลเวียดนามมี ปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 3,088 ล้านบาท มาที่ 3,258.5 ล้าน ค� ำ สั่ ง ยกเลิ ก ภาษี มู ล ค่ า เพิ่ ม ร้ อ ยละ 5 ส� ำ หรั บ การขายปุ ๋ ย บาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิม่ ขึน้ ของรายได้จากการขายต่อตันทีเ่ พิม่ ทุกประเภทเพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรเวียดนาม ซึ่งได้มี ขึ้นจาก 15,676 บาทต่อตัน มาที่ 16,412 บาทต่อตัน หรือเพิ่ม ผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นมา ขึ้นร้อยละ 5 จากปี 2557 ในขณะที่ปริมาณยอดขายปุ๋ยเพิ่มขึ้น รายได้จากการให้บริการและอืน่ ๆ เพิม่ ขึน้ ถึงร้อยละ 43 เมือ่ เทียบ เพียงร้อยละ 1 จากปี 2557 คือเพิ่มขึ้นจาก 196,986 ตัน มาที่ กับปี 2557 โดยเพิ่มขึ้นมาที่ 52.4 ล้านบาท จาก 36.6 ล้านบาท 198,541 ตัน ในทางตรงกันข้ามต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในปี 2557 โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากการให้บริการและอื่นๆ จากปี 2557 โดยเพิ่มขึ้นจาก 2,270.8 ล้านบาทมาที่ 2,472.3 คือรายได้จากธุรกิจการให้เช่าพืน้ ทีโ่ รงงาน ด้วยอัตราการเช่าพืน้ ที่ ล้านบาท เป็นผลให้ต้นทุนค่าวัตถุดิบต่อตันเพิ่มขึ้นจาก 11,528 โรงงานส�ำหรับเช่าที่มีในปัจจุบันที่ร้อยละ 100 และอุปสงค์ บาทต่อตัน มาที่ 12,452 บาทต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อ การเช่าพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีการสร้างบาคองโค 5-B เฟส 2 เทียบกับปีก่อนหน้า ด้วยอัตราการเติบโตของต้นทุนวัตถุดิบที่สูง ซึ่งขณะนีอ้ ยู่ในระหว่างการก่อสร้าง กว่าอัตราการเติบโตของรายได้จากการขายปุ๋ย ท�ำให้อัตราก�ำไร ขั้นต้นในปี 2558 ลดลงมาที่ร้อยละ 24 เทียบกับร้อยละ 26 นอก บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


131

ค� ำ อ ธิ บ า ย แล ะก า ร วิ เ ค ร า ะห ์ ข อ งฝ่ า ย จั ด การ

ค่าใช้จา่ ยในการด�ำเนินงานเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 14 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น หน้าจาก 207.3 ล้านบาทในปี 2557 มาที่ 236 ล้านบาทในปี 2558 เนือ่ งจากสายการผลิตใหม่ยงั ไม่ได้เปิดใช้เต็มก�ำลังการผลิต ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงเนื่องจากการ ควบคุมต้นทุน โดยลดลงจาก 266.1 ล้านบาทในปี 2557 มาที่ 243.6 ล้านบาทในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า

กําไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) ปี 2558 อยู่ที่ 348.6 ล้านบาท ลดลงจาก 375 ล้านบาทในปี 2557 หรือลดลงร้อยละ 7 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ นหน้า ดังนั้นอัตราส่วนกําไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และ ค่าตัดจําหน่าย (EBITDA margin) ลดลงจากร้อยละ 12 มาที่ ร้อยละ 11 ในปี 2558 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ�ำหน่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 40.8 ล้านบาท มาที่ 57.2 ล้านบาทในปี 2558 เนื่องจากการติดตั้ง สายการผลิตปุ๋ยปั๊มเม็ดใหม่ ดังนัน้ PMTA จึงรายงานงบการเงินรวมสําหรับปี 2558 ด้วยก�ำไร สุทธิจำ� นวน 233 ล้านบาท โดยลดลงร้อยละ18 เมือ่ เทียบกับ 283 ล้านบาทในปี 2557

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


132

ร ายงาน ความรั บ ผิ ด ช อ บ ข อ งคณ ะ ก ร ร ม ก า ร ต ่ อ ร า ย ง า น ทา งกา ร เ งิ น

รายงานความรับผิดชอบของ คณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรียน ผู้ถือหุ้น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความส�ำคัญต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการดูแลกิจการบริษัทฯ ให้มีการจัดการที่ดีให้เป็นไป ตามกฎหมายวัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รักษา ผลประโยชน์ของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป โดยก�ำกับดูแลให้รายงานทางการเงินของบริษัทฯ มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีที่ ถูกต้องครบถ้วน สามารถสะท้อนฐานะการเงินและผลด�ำเนินงานที่เป็นจริงของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการอิสระที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เข้ามาท�ำหน้าที่สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานการเงินอย่างถูกต้อง เพียงพอ สอบทานระบบควบคุมภายใน รวมทั้งสอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจของบริษทั ฯ ซึง่ คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงาน ผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ แล้ว คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถให้ความ มั่นใจอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) ซึ่งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ได้ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และแสดงความเห็นว่างบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการด�ำเนินงานโดยถูกต้อง ตามที่ควรในสาระส�ำคัญตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


133

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

รายงานของผูสอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอ ผูถือหุนบริษทั โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) ขาพเจาไดตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย (“กลุมบริษัท”) และของเฉพาะบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) ตามลําดับ ซึ่งประกอบดวยงบแสดงฐานะ การเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 งบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของผูถือหุนรวมและงบแสดง การเปลี่ยนแปลงสวนของผูถือหุนเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวัน เดียวกัน รวมถึงหมายเหตุซึ่งประกอบดวยสรุปนโยบายการบัญชีที่สําคัญและเรื่องอื่น ๆ ความรับผิดชอบของผูบริหารตองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ผูบริหารเปนผูรับผิดชอบในการจัดทําและการนําเสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเหลานี้โดยถูกตองตามที่ควรตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผูบริหารพิจารณาวาจําเปนเพื่อใหสามารถจัดทํางบ การเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการที่ปราศจากการแสดงขอมูลที่ขัดตอขอเท็จจริงอันเปนสาระสําคัญไมวาจะเกิดจากการทุจริต หรือขอผิดพลาด ความรับผิดชอบของผูสอบบัญชี ขาพเจาเปนผูรับผิดชอบในการแสดงความเห็นตองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการดังกลาวจากผลการตรวจสอบของขาพเจา ขาพเจาไดปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกําหนดใหขาพเจาปฏิบัติตามขอกําหนดดานจรรยาบรรณ รวมถึง วางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อใหไดความเชื่อมั่นอยางสมเหตุสมผลวา งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการปราศจากการ แสดงขอมูลที่ขัดตอขอเท็จจริงอันเปนสาระสําคัญหรือไม

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


134

งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

การตรวจสอบรวมถึงการใชวิธีการตรวจสอบเพื่อใหไดมาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจํานวนเงินและการเปดเผยขอมูลในงบ การเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใชขึ้นอยูกับดุลยพินิจของผูสอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงขอมูลที่ขัดตอ ขอเท็จจริงอันเปนสาระสําคัญของงบการเงินไมวาจะเกิดจากการทุจริตหรือขอผิดพลาดในการประเมินความเสี่ยงดังกลาว ผูสอบบัญชี พิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวของกับการจัดทําและการนําเสนองบการเงินโดยถูกตองตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการ ตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ แตไมใชเพื่อวัตถุประสงคในการแสดงความเห็นตอประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผูบริหารใชและความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชี ที่จัดทําขึ้นโดยผูบริหาร รวมทั้งการประเมินการนําเสนองบการเงินโดยรวม ขาพเจาเชื่อวาหลักฐานการสอบบัญชีที่ขาพเจาไดรับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใชเปนเกณฑในการแสดงความเห็นของขาพเจา ความเห็น ขาพเจาเห็นวา งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการขางตนนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการของกลุม บริษัท และบริษัท ตามลําดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ผลการดําเนินงานรวมและผลการดําเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงิน สดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกตองตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน ขอมูลและเหตุการณที่เนน โดยมิไดแสดงความเห็นอยางมีเงื่อนไข ขาพเจาขอใหสังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 28 เกี่ยวกับการที่กลุมบริษัทและบริษัท บันทึกขาดทุนจากการดอยคาและตัดจําหนายสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เปนจํานวนเงิน 11,571 ลานบาท และ 3,582 ลานบาท ตามลําดับ นอกจากนี้ ขาพเจาขอใหสังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 3 (ง) ซึ่งไดอธิบายถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ บัญชีของกลุมบริษัทและบริษัทเรื่องการปองกันความเสี่ยงจากเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีผลตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 ตัวเลขเปรียบเทียบที่นํามาแสดงนํามาจากงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการที่ผานการตรวจสอบแลว ณ วันที่ และ สําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ภายหลังจากการปรับปรุงรายการตามที่อธิบายไวในหมายเหตุประกอบงบการงิ นขอ 3 (ง)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

2


135

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

เรื่องอื่น ๆ ขาพเจาขอใหสังเกตเกี่ยวกับการที่กลุมบริษัทไดเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชีจากสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เปนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม สงผลใหขอมูลที่แสดงเปรียบเทียบซึ่งเปนขอมูลสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ไมสามารถเปรียบเทียบ กันไดกับขอมูลสําหรับระยะเวลาสิบสองเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุมบริษัทจึงไดนําเสนอขอมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินขอ 39 ซึ่งประกอบดวยงบกําไรขาดทุนรวมที่ไมไดรับการตรวจสอบ สําหรับงวดระยะเวลาสิบสองเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และขาพเจาไมไดตรวจสอบและแสดงความเห็นตอขอมูลเพิ่มเติมดังกลาว

(วีระชัย รัตนจรัสกุล) ผูสอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 4323 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จํากัด กรุงเทพมหานคร 29 กุมภาพันธ 2559

3

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


136

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบแสดงฐานะการเงิ น งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

1 ตุลาคม

(พันบาท)

สินทรัพยหมุนเวียน บริษเงิัทนโทรี เซนไทย เอเยนต ากัด (มหาชน) และบริษัทยอย 6 สดและรายการเที ยบเทซาีสเงิ นจํสด งบแสดงฐานะการเงิ เงินลงทุนระยะสั้นน 7 ลูกหนี้การคา 5, 8 ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 หมายเหตุ5 สินทรั ย กูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินพให สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 5 สินทรัตนพทุยนหสัมุญนญารอการตั เวียน ดบัญชี 9 เงินสดและรายการเที 6 10 สินคาคงเหลือ ยบเทาเงินสด เงินลงทุ ้น สิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล 7 วัสดุนแระยะสั ละของใช ลูกหนีคา้กใชารค 5, 8 จาายจายลวงหนา ลูกหนีสิน้อทรั ื่น พยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย ลูกหนีสิน้กทรั ิจการที วขยอนอื งกั่น 5 11 พยห่เมุกีน่ยเวี เงินใหรวมสิ กูระยะสั 5 นทรั้นพแก ยหกมุิจนการที เวียน่เกี่ยวของกัน สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ทีสิ่ถนึงทรั กําพหนดชํ 5 ยไมหามุระภายในหนึ นเวียน ่งป ตนทุเงินนสัญใหญารอการตั ดบักญิจชีการที่เกี่ยวของกัน 9 5 กูระยะยาวแก สินคเงิาคงเหลื 10 7 นลงทุนอระยะยาว วัสดุแเงิละของใช สิ้นเปลื าหรับเรือเดิวมค นทะเล นลงทุนในบริ ษัทอรงสํ วมและการร า 12 คาใชเงิจนายจ า ยล ว งหน า ลงทุนในบริษัทยอย 13 สินทรัคาพความนิ ยไมหมุยนมเวียนที่ถือไวเพื่อขาย 15 สินทรัทีพ่ดินยหอาคารและอุ มุนเวียนอื่น ปกรณ 11 16 รวมสิสินทรัพยไหมมุมนีตเวี ยน ัวตน 17 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัสินพทรั ยไพมหยไมุมนหเวีมุนยนเวียนอื่น เงินใหรวมสิ กูระยะยาวแก นทรัพยไมกหิจมุการที นเวีย่เกีน่ยวของกัน เงินลงทุนระยะยาว เงินลงทุ นในบริ รวมสิ นทรัษพัทยรวมและการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทยอย คาความนิยม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน รวมสินทรัพย

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

18 19 5 7 12 13 15 16 17 18 19

5,939,570 7,483,440 4,822,952 225,420 31 ธันวาคม 8,687 2558 -

7,710,089 6,289,847 126,967 2,919,996 2,052,840 570,243 1,323,849 5,507,151 44,848 47,792 4,439,868 4,243,971 งบการเงินรวม349,535 428,153 3,066งบการเงินเฉพาะกิจการ364 12,799 31 ธันวาคม 10,802 1 ตุลาคม 6,774 31 ธันวาคม120,917 31 ธันวาคม 466,639 1 ตุลาคม 495,690 2557 2557 2558 5,517,012 2557 1,462,280 2557 2,083,753 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) 2,073 2,073 2,073 9,573 6,573 607,723 134,750 190,275 203,385 5,939,570 7,710,089 6,289,847 126,967 2,919,996 2,052,840 743,973 770,657 659,058 7,483,440 570,243 1,323,849 5,507,151 44,848 47,792 334,320 673,102 696,790 4,822,952 4,439,868 4,243,971 134,942 227,591 195,651 4,386 4,925 4,591 225,420 349,535 428,153 3,066 12,799 149,416 - 364 8,687 10,802 6,774 120,917 466,639 495,690 980,198 463,743 386,726 24,679 20,200 20,978 - 20,810,325 - 15,407,978 - 14,585,693 5,517,012 1,462,280 2,083,753 11,313,751 4,925,825 5,326,166

2,073 134,750 743,973 663,245 334,320 4,574,552 134,942 - 74,568 980,198 18,386,615 20,810,325 50,874

2,073 190,275 770,657 673,102 7,102,538 227,591 984,598 463,743 27,260,692 15,407,978 225,765

2,073 203,385 659,058 696,790 5,972,030 195,651 149,416 978,620 386,726 26,924,236 14,585,693 246,558

301,413 484,807 -24,536,074 663,245 4,574,552 45,346,399 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

259,730 437,609 - 36,270,932 7,102,538 51,678,910 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 36,270,932

45,346,399

51,678,910

-

4

217,454 445,506 - 34,784,404 5,972,030 49,370,097 978,620 26,924,236 246,558 217,454 445,506 34,784,404

9,573 7,500 - 62,352 4,386 20,720,857 - 24,679 147,500 11,313,751 26,460 189,105 13,031 7,500 21,166,805 62,352 32,480,556 20,720,857 147,500 26,460 189,105 13,031 21,166,805

6,573 694,508 - 62,352 4,925 23,328,744 - 20,200 179,374 4,925,825 49,360 161,545 1,691 694,508 24,477,574 62,352 29,403,399 23,328,744 179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574

607,723 - 734,876 - 60,336 4,591 27,733,152 - 20,978 182,404 5,326,166 53,396 119,646 511 734,876 28,884,321 60,336 34,210,487 27,733,152 182,404 53,396 119,646 511 28,884,321

49,370,097

32,480,556

29,403,399

34,210,487


137

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

1 ตุลาคม

(พันบาท)

สินทรัพยหมุนเวียน บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 6 งบแสดงฐานะการเงิน เงินลงทุนระยะสั้น 7 ลูกหนี้การคา 5, 8 ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 หมายเหตุ5 หนี้สเงิ​ินนและส วนของผู หุน ่เกี่ยวของกัน ใหกูระยะสั ้นแกกถิจือการที สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 5 ทุนนสัเวี ญญารอการตั ดบัญชี 9 หนี้สตินนหมุ ยน สิ น ค า คงเหลื อ 10 เงินเบิกเกินบัญชี 20 ดุและของใช เงินกูวัรสะยะสั ้น สิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล 20 คาใชจายจายลวงหนา เจาหนี้การคา สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย เจาหนี้อื่น สินทรัพยหมุนเวียนอื่น 11 เจาหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 รวมสินทรัพยหมุนเวียน

เงินรับลวงหนาจากลูกคา เงินกูสิรนะยะสั ้นจากกิจการที่เกี่ยวของกัน ทรัพยไมหมุนเวียน สวนของเงิ ระยะยาวทีกิจ่ถการที ึงกําหนดชํ ่งป เงินใหกนูรกูะยะยาวแก ่เกี่ยวขาอระภายในหนึ งกัน สวนของหุ ที่ถึงกําหนดไถถอนภายในหนึ่งป เงินลงทุนนกูระยะยาว หนี้สเงิ​ินนตามสั ญาเชษาัทการเงิ นที่ถึงกํวามค หนดชํ ลงทุนญในบริ รวมและการร า าระภายในหนึ่งป เงินคเงิานหุลงทุ นคานงชํในบริ าระที ถ ่ ง ึ กํ า หนดชํ า ระภายในหนึ ่งป ษัทยอย ภาษีคเงิานความนิ ไดคางจ ยมาย คาใชทีจ่ดาินยคอาคารและอุ างจาย ปกรณ ทรันพเวี ยไยมนอื มีต่นัวตน หนี้สสิ​ินนหมุ สินทรั ยภนาษีเวีเงิยนนไดรอการตัดบัญชี รวมหนี ้สินพหมุ

5, 20 20 5 20 7 20 12 13 15 16 17 18 19

สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น หนี้สรวมสิ ินไมหนมุทรันพเวียยไนมหมุนเวียน

เงินกูระยะยาว รวมสินทรัพย หุนกู หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน รวมหนี้สินไมหมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

20 20 20 18 21

5,939,570 7,710,089 7,483,440 570,243 4,822,952 4,439,868 225,420 งบการเงินรวม 349,535 31 ธันวาคม 8,687 31 ธันวาคม 10,802 2558 2557 -

(ปรับปรุงใหม) 2,073 134,750 743,973 7,479 334,320 380,385 134,942 953,792 119,285 980,198 9,632 20,810,325

151,159 3,300 6,861,751 - 663,245 6,064 4,574,552 - 119,008 74,568 18,386,615 1,928,335 50,874 371,796 301,413 10,911,986

2,640,446 45,346,399 4,496,034 5,812 125,366 178,395 7,446,053

484,807 24,536,074

18,358,039

2,073 190,275 770,657 8,525 673,102 473,279 227,591 1,702,766 193,288 463,743 5,698 15,407,978

190,640

6,289,847 126,967 2,919,996 1,323,849 5,507,151 44,848 4,243,971 428,153 3,066งบการเงินเฉพาะกิจการ 364 1 ตุลาคม 6,774 31 ธันวาคม120,917 31 ธันวาคม466,639 2557 2558 5,517,012 2557 1,462,280

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม) 2,073 (พั นบาท)

203,385 659,058 4,244 696,790 284,044 195,651 1,229,828 149,416 152,607 386,726 7,576 14,585,693

9,573 - -

4,386

3,858 2 24,679 57,905

11,313,751

2,052,840 47,792 12,799 1 ตุลาคม 495,690 2557 2,083,753

(ปรับปรุงใหม) 6,573

- -

6,5844,925

-

-

20,200 4,925,825

55,407

607,723 - -

9,6864,591 61 20,978 365,001 5,326,166

2,480,309 2,055,386 6,693 7,102,538 57,310 165,548 984,598 27,260,692 1,465,201 225,765 322,807 259,730 9,127,450

171,248 2,284,284 2,017,010 6,264 5,972,030 66,047 154,030 978,620 26,924,236 1,580,498 246,558 363,114 217,454 8,320,794

1,403,305 418,6527,500 - 62,352 - 20,720,857 - 147,500 58,343 26,460 10,614 189,105 1,952,679

1,287,653 316,765 694,508 2,055,386 62,352 - 23,328,744 - 179,374 43,791 49,360 16,647 161,545 3,782,233

5,816,657 371,649 734,876 2,017,010 60,336 - 27,733,152 - 182,404 102,438 53,396 137,308 119,646 8,819,810

7,764,888 51,678,910 2,180,267 9,332 195,860 155,016 10,305,363

7,181,210 49,370,097 2,141,589 9,186 163,757 111,663 9,607,405

32,480,556 4,496,034 17,458 4,513,492

510,798 29,403,399 2,180,267 13,196 2,704,261

604,869 34,210,487 2,141,589 12,343 2,758,801

6,466,171

6,486,494

437,609 36,270,932

19,432,813

445,506 34,784,404

17,928,199

13,031 21,166,805

1,691 24,477,574

511 28,884,321

11,578,611

4 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


138

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบแสดงฐานะการเงิ น งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

งบแสดงฐานะการเงิน สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย สินทรัพยหมุนเวียน งบแสดงฐานะการเงิ น ยบเทาเงินสด เงินสดและรายการเที เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ลูกหนี้อื่น หนีลู้สกินหนี และส วนของผู หุนน ้กิจการที ่เกี่ยวขถอืองกั เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สวนของผู น าระภายในหนึ่งป ที่ถึงถกํือาหุหนดชํ ทุนเรืตนอทุนหุนสันญญารอการตัดบัญชี สิทุนนคจดทะเบี าคงเหลืยอน ทุ น ที อกและชํสาิ้นระแล วัสดุแ่อละของใช เปลือวงสําหรับเรือเดินทะเล สวนเกิ คาหุายล นสามั ญา คาใชนมูจลายจ วงหน กําไรสะสม สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สรรแล ารองตามกฎหมาย สิจันดทรั พยหวมุ-นทุเวีนยสํนอื ่น ยังไมไนดทรั จัดพสรร รวมสิ ยหมุนเวียน องคประกอบอื่นของสวนของผูถือหุน

เงินลงทุนในบริษัทยอย รวมหนี ้สินและส คาความนิ ยม วนของผูถือหุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน รวมสินทรัพย

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

(พันบาท)

6 7 5, 8

หมายเหตุ 5 5

สินทรัพยไมหมุนเวียน รวมส นของผู ถือหุนของบริ ษัท่เกี่ยวของกัน เงินวให กูระยะยาวแก กิจการที สวนได สียทีน่ไระยะยาว มมีอํานาจควบคุม เงินเลงทุ รวมส นของผู ถือหุษนัทรวมและการรวมคา เงินวลงทุ นในบริ

1 ตุลาคม

5 22 9 10

23 11

5 14 7 12 13 15 16 17 18 19

5,939,570 7,483,440 4,822,952 31 ธันวาคม 225,420 2558 8,687 -

7,710,089 6,289,847 126,967 2,919,996 570,243 1,323,849 5,507,151 44,848 งบการเงิน4,439,868 รวม งบการเงิ น เฉพาะกิ 4,243,971 - จการ 31 ธันวาคม349,535 1 ตุลาคม428,153 31 ธันวาคม 3,066 31 ธันวาคม 364 2557 10,802 2557 6,774 2558 120,917 2557 466,639 (ปรับปรุงใหม ) (ปรั บ ปรุ ง ใหม ) (ปรั บ ปรุงใหม ) 5,517,012 1,462,280 (พันบาท)

2,052,840 47,792 1 ตุลาคม 12,799 2557 495,690 (ปรับปรุงใหม ) 2,083,753

2,073 134,750 2,276,847 743,973 1,822,454 334,320 16,059,845 134,942 110,340 980,198 522,476 20,810,325 3,101,332

2,073 190,275 1,544,106 770,657 1,301,175 673,102 9,282,187 227,591 110,340 463,743 12,223,812 15,407,978 1,332,079

2,073 203,385 1,544,106 659,058 1,293,235 696,790 9,161,644 195,651 149,416 98,830 386,726 12,151,324 14,585,693 863,262

9,573 2,276,847 1,822,454 16,059,845 4,386 110,340 24,679 8,045,019 11,313,751 (23,273)

6,573 1,544,106 1,301,175 9,282,187 4,925 110,340 20,200 12,233,775 4,925,825 (10,572)

607,723 1,544,106 1,293,235 9,161,644 4,591 98,830 20,978 12,085,938 5,326,166 (7,771)

21,616,447 5,371,913 663,245 26,988,360 4,574,552

24,249,593 7,996,504 32,246,097 7,102,538

23,568,295 7,873,603 31,441,898 5,972,030

26,014,385 7,500 - 26,014,385 62,352

22,916,905 694,508 - 22,916,905 62,352

22,631,876 734,876 - 22,631,876 60,336

45,346,399 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

51,678,910 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 36,270,932

49,370,097 978,620 26,924,236 246,558 217,454 445,506 34,784,404

20,720,857 32,480,556 147,500 26,460 189,105 13,031 21,166,805

23,328,744 29,403,399 179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574

27,733,152 34,210,487 182,404 53,396 119,646 511 28,884,321

45,346,399

51,678,910

49,370,097

32,480,556

29,403,399

34,210,487

4


139

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน

งบก�ำไรขาดทุน สินทรัพย

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

หมายเหตุ

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย น สินทรัพยหมุงบกํ นเวีายไรขาดทุ น

เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป ตนทุนสัญญารอการตั รายได ดบัญชี สินคาคงเหลืรายได อ จากการบริการ วัสดุและของใชคสาระวาง ิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลควางหน บริกาารจากธุรกิจนอกชายฝง สินทรัพยไมหมุคนาเวี ่ถือไวเพืานายหน ่อขาย า บริยกนที ารและค สินทรัพยหมุรายได นเวียนอื น ่ จากการขาย รวมสินทรัพรวมรายได ยหมุนเวียน สินทรัพยไมตหนมุทุนนเวียน ตนทุนการให บริก่เกีาร่ยวของกัน เงินใหกูระยะยาวแก กิจการที คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล เงินลงทุนระยะยาว

ยในการบริวกมคารจากธุ เงินลงทุนในบริคษาใช ัทรจวามและการร า รกิจนอกชายฝง เงินลงทุนในบริคษาใช ัทยจอายยในการใหบริการและคานายหนา คาความนิยมตนทุนขาย ที่ดิน อาคารและอุ รวมตนปทุกรณ น สินทรัพยไมมีตัวตน กําเงิไรขั น ดบัญชี สินทรัพยภาษี นได้นรตอการตั รายได จ ากการดํ สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น าเนินงานอื่น รวมสินทรัพกํยาไไรก มหมุอนนคเวีายใช น จาย

6 7 5, 8 5 5 5 9 10

11

1 ตุลาคม

(พันบาท)

5,939,570 7,710,089 6,289,847 126,967 2,919,996 งบการเงิ นรวม งบการเงิ 7,483,440 570,243 1,323,849 5,507,151นเฉพาะกิจการ 44,848 สําหรับงวดสามเดื4,243,971 อน สําหรับ-ป สําหรับงวดสามเดื อน 4,822,952สําหรับป 4,439,868 สิ น ้ สุ ด วั น ที ่ สิ น ้ สุ ด วั น ที ่ สิ น ้ สุ ด วั น ที ่ สิ น ้ สุ ด วั น ที ่ 225,420 349,535 428,153 3,066 364 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 8,687 10,802 31 ธันวาคม 6,774 31 ธันวาคม 120,917 466,639 หมายเหตุ 2558 2557 25585,517,012 2557 1,462,280 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) 2,073 2,073 9,573 6,573 (พั2,073 นบาท) 134,750 190,275 203,385 743,973 770,657 659,058 334,320 5,756,143 673,102 696,790 -2,213,697 - 134,942 11,527,292 227,591 195,651 3,234,735 - 4,386 - 4,925 149,416 348,821 64,307 980,198 3,793,501 463,743 386,726 693,937 - 24,679 - 20,200 20,810,325 15,407,978 14,585,693 11,313,751 4,925,825 25 21,425,757 6,206,676 -

5 7 12 13 15 16 17 18 19

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 26 484,807 24,536,074

คาใชจายในการขาย รวมสินทรัพย คาใชจายในการบริหาร

45,346,399

5,621,17210,395,2377,102,538 188,3313,416,819 984,598 19,621,55927,260,692 225,765 1,804,198 259,730 272,873 437,609 2,077,071 36,270,932

2,136,311 2,830,048 5,972,030 36,726 978,620 567,346 26,924,236 5,570,431 246,558 636,245 217,454 84,995 445,506 721,240 34,784,404

7,500 - - 62,352 -20,720,857 - - 147,500 26,460 - 189,105 809,678 13,031 809,678 21,166,805

694,508 -- 62,352 23,328,744 -- 179,374 49,360 - 161,545 346,711 1,691 346,711 24,477,574

201,646 51,678,910 3,101,949 11,571,203 14,874,798

44,491 49,370,097 543,037 51,309 638,837

32,480,556 833,104

29,403,399 111,432

3,582,188 4,415,292

36,260 147,692 199,019

การดอยคาและการตัดจําหนาย รวมคาใชจาย

28

กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงาน สวนแบงกําไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุน ในบริษัทรวมและการรวมคา

25

(12,797,727)

82,403

(3,605,614)

12

(1,409,481)

258,063

-

(14,207,208) 569,746 (14,776,954) 20,958 (14,797,912)

340,466 128,936 211,530 73,356 138,174

(3,605,614) 236,704 (3,842,318) (24,385) (3,817,933)

(11,335,102) (3,462,810) (14,797,912)

83,998 54,176 138,174

(3,817,933) (3,817,933)

กําไร (ขาดทุน) กอนตนทุนทางการเงินและภาษีเงินได ตนทุนทางการเงิน กําไร (ขาดทุน) กอนภาษีเงินได คาใชจายภาษีเงินได (ผลประโยชน) กําไร (ขาดทุน) สุทธิสําหรับป/ งวด การปนสวนกําไร (ขาดทุน) สุทธิ สวนที่เปนของผูถือหุนของบริษัท สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

กําไร (ขาดทุน) ตอหุน กําไร (ขาดทุน) ตอหุนขั้นพื้นฐาน (บาท) กําไร (ขาดทุน) ตอหุนปรับลด (บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี� หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

29

30

2,052,840 47,792 12,799 495,690 2,083,753 607,723 4,591 20,978 5,326,166

734,876 60,336 27,733,152 182,404 53,396 119,646 511 28,884,321 34,210,487

199,019 80,870 118,149 (41,198) 159,347

159,347 159,347

30 (6.61) -

0.06 0.06

7

(2.23) -

0.12 0.12

4 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


140

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบแสดงฐานะการเงิ น งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบการเงินรวม

สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริ ษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย

1 ตุลาคม

(พันบาท)

สินทรัพยหมุนเวียน งบกํ าไรขาดทุนเบ็ยดบเทเสร็าเงิจนสด เงินสดและรายการเที 6 เงินลงทุนระยะสั้น 7 ลูกหนี้การคา 5, 8 ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 5 ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี 9 สิ น ค า คงเหลื อ 10 กําไร (ขาดทุน) สุทธิสําหรับป/ งวด วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น คาใชจายจายลวงหนา รายการที่จะไมถูกจัดประเภทรายการใหมเขาไปไวใน สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย อขาดทุ สินทรักํพายไรหรื หมุนเวี ยนอื่น น 11 กําไรจากการประมาณการตามหลั กคณิตศาสตรประกันภัย รวมสิ นทรัพยหมุนเวียน

สําหรับโครงการผลประโยชนพนักงาน - สุทธิจากภาษีเงินได

สินรายการที ทรัพยไมห่อมุาจถู นเวียกนจัดประเภทรายการใหมเขาไปไวใน เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน กําไรหรือขาดทุน เงินลงทุนระยะยาว ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา เงินนตราต เงินลงทุ ในบริษางประเทศ ัทยอย ผลต า งจากการเปลี ่ยนแปลงในมูลคายุติธรรม คาความนิยม ที่ดินของเงิ อาคารและอุ นลงทุปนกรณ เผื่อขาย สินสํทรั พ ย ไ ม ม ต ี ว ั ตน ารองสําหรับการจายโดยใชหุนเปนเกณฑ สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี คาใชจายภาษีเงินได (ผลประโยชน) เกี่ยวกับองคประกอบ สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น ของกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน

กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่นสําหรับป/ งวด รวมกํ รวมสินาไร ทรัพ(ขาดทุ ย น) เบ็ดเสร็จสําหรับป/ งวด

การปนสวนกําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จ สวนที่เปนของผูถือหุนของบริษัท สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

5 7 12 13 15 16 17 18 19

5,939,570 7,710,089 6,289,847 7,483,440 570,243 1,323,849 งบการเงินรวม 4,822,952สําหรับป 4,439,868 4,243,971 สําหรับงวดสามเดื อน 225,420 349,535 428,153 สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 8,687 10,802 6,774 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม -

2558

2557 2,073 2,073 (ปรับปรุงใหม)2,073 134,750 190,275 203,385 (พันบาท) 743,973(14,797,912)770,657 659,058 138,174

334,320 134,942 980,198 20,810,325

673,102 227,591

696,790 195,651 149,416 386,726 14,585,693

463,743 15,407,978

4,589 663,245 4,574,552 7,102,538 2,295,06974,568 984,598 18,386,615 27,260,692 (98,046) 50,874 225,765 301,413 259,730 484,807 437,609 18,223 24,536,074 36,270,932

2,219,835 45,346,399 (12,578,077) 51,678,910

(9,772,023) (2,806,054) (12,578,077)

4

126,967 2,919,996 5,507,151 งบการเงินเฉพาะกิจ44,848 การ สํ- าหรับป สํ- าหรับงวดสามเดือน 3,066 364 สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 120,917 466,639 315,517,012 ธันวาคม 31 ธันวาคม 1,462,280

2558

9,573 - (3,817,933) 4,386 24,679 11,313,751

-

2557 (ปรั บปรุงใหม) 6,573

4,925

578,133 716,307 49,370,097

525,642 190,665 716,307

4,591

-

-

20,200 4,925,825

20,978 5,326,166

-

7,500 -

607,723

159,347 -

5,972,030 552,573 978,620 26,924,236 32,469 246,558 (416) 217,454 445,506 (6,493) 34,784,404

2,052,840 47,792 12,799 495,690 2,083,753

694,508

734,876

-

-

62,352 62,352 20,720,857 23,328,744 147,500(15,876) 179,374 26,460 49,360 189,105 161,545 13,031 1,691 3,175 21,166,805 24,477,574

60,336 27,733,152 (3,502) 182,404 53,396 119,646 511 701 28,884,321

(12,701) (2,801) (3,830,634) 29,403,399 156,54634,210,487 32,480,556

(3,830,634) (3,830,634)

156,546 156,546


11

10

743,973 334,320 134,942 980,198 20,810,325

463,743 15,407,978

-

770,657 673,102 227,591

659,058 696,790 195,651 149,416 386,726 14,585,693

4,386 24,679 11,313,751

-

-

5 7 12 13 15 16 17 18 19

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

หมายเหตุปประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงิ วนหนึ �งของงบการเงิ หมายเหตุ นเป็นนเป็ส่นวส่นหนึ �งของงบการเงิ นนี� นนี�

1,301,175

-

กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสําหรับงวด กําไรสุทธิสําหรับงวดปรับปรุงใหม กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น รวมกําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสําหรับงวดปรับปรุงใหม

โอนไปสํารองตามกฎหมาย ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ปรับปรุงใหม

120,543

7,940

9,282,187

-

-

-

9,161,644 9,161,644

120,543

1,293,235 1,293,235

7,940

22

3

4

11,510 110,340

-

-

-

-

98,830 98,830

ทุนที่ออก สวนเกิน ทุนสํารอง ว มูลคาหุนสามัญ 51,678,910 ตามกฎหมาย หมายเหตุ และชําระแล 45,346,399

รายการกับผูถือหุนที่บันทึกโดยตรงเขาสวนของผูถือหุน เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน ออกหุนสามัญ เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุนที่ไมมีอํานาจควบคุม ของบริษัทยอย การลดลงของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม ของบริษัทยอย การเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียของบริษัทใหญในบริษัทยอย รวมเงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ตามที่รายงานในปกอน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ปรับปรุงใหม

รวมสินทรัพย

4,925 20,200 4,925,825

-

4,591 20,978 5,326,166

-

-

7,500 694,508 734,876 7,102,538 5,972,030 62,352 62,352 60,336 20,720,857 งบการเงินรวม23,328,744 27,733,152 984,598 978,620 องคประกอบอื ่นของสวนของผูถือหุ-น 27,260,692 26,924,236 147,500 179,374 182,404 225,765 246,558 26,460 49,360 53,396 ผลตางจากการ 259,730 217,454 ผลตางจาก 189,105 119,646 เปลี่ยนแปลงใน สํ161,545 ารอง มูลคายุติธรรม สวนทุน1,691 จาก การเปลี่ยนแปลง 511 สํารอง 437,609 445,506การเปลีย่ นแปลง 13,031 น ของเงินลงทุน 24,477,574 การปรับ สวนไดเสีย28,884,321 ของ สําหรับ 36,270,932กําไรสะสม 34,784,404อัตราแลกเปลี่ย21,166,805

(11,510) 12,223,812

83,998 83,998

-

-

-

12,308,809 (157,485) 12,151,324

9

(1,120,729)

416,084 416,084

-

-

-

(1,536,813) (1,536,813)

-

-

-

-

-

-

18,205

25,976 25,976

(7,771)

(7,771)

(50,030)

-

-

-

-

(50,030) (50,030)

2,483,759

-

25,973 1,200 27,173

-

-

2,456,586 2,456,586

-

-

-

-

-

874

(416) (416)

1,290 1,290

1,332,079

441,644 441,644

25,973 1,200 27,173

-

-

863,262 863,262

รวม องคประกอบอื่น เงินตรา เผื่อขาย สุทธิจาก โครงสราง บริษัทใหญ การจายโดยใช ของสวนของ ยังไมได49,370,097 จัดสรร ตางประเทศ32,480,556 ภาษีเงินได ธุรกิจ ในบริษัทย34,210,487 อย หุนเปนเกณฑ ผูถือหุน 29,403,399 (พันบาท)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สินทรัพยไมหมุนเวียน เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน บริ ัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย เงินษลงทุ นระยะยาว งบแสดงการเปลี วนของผู เงินลงทุนในบริษ่ยัทนแปลงส รวมและการร วมคาถือหุน เงินลงทุนในบริษัทยอย คาความนิยม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สินคาคงเหลือ วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลวงหนา สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สินทรัพยหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยหมุนเวียน

24,249,593

83,998 441,644 525,642

25,973 1,200 155,656

-

128,483

23,725,780 (157,485) 23,568,295

รวมสวน ของผูถือหุน ของบริษัท

1,334

7,996,504

54,176 136,489 190,665

(69,098) (67,764)

-

7,873,603 7,873,603

สวนของ สวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจ ควบคุม

32,246,097

138,174 578,133 716,307

(43,125) 1,200 87,892

1,334

128,483

31,599,383 (157,485) 31,441,898

รวมสวนของ ผูถือหุน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

141

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


11

334,320 134,942 980,198 20,810,325

463,743 15,407,978

-

673,102 227,591

696,790 195,651 149,416 386,726 14,585,693

4,386 24,679 11,313,751

-

-

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

7,102,538 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 36,270,932

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

รายการกับผูถือหุนที่บันทึกโดยตรงเขาสวนของผูถือหุน เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน ออกหุนสามัญ เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุนที่ไมมีอํานาจควบคุมของบริษัทยอย การไดมาซึ่งสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมโดยอํานาจควบคุม ไมเปลี่ยนแปลง เงินปนผลจายใหแกผูถือหุน เงินปนผลจายจากบริษัทยอยใหแกสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุม รวมเงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสําหรับป ขาดทุนสุทธิสําหรับป กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น รวมกําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสําหรับป ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ตามที่รายงานในปกอน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ปรับปรุงใหม

รวมสินทรัพย

4,925 20,200 4,925,825

-

4,591 20,978 5,326,166

-

-

31

22 13 6,777,658 16,059,845

521,279

1,822,454

6,777,658 -

-

521,279 -

4

110,340

-

-

-

(11,335,102) 4,589 (11,330,513) 522,476

(370,823)

(370,823)

-

10

1,638,313 1,638,313 517,584

-

-

-

(79,823) (79,823) (61,618)

-

-

-

-

(50,030)

-

-

-

2,694,522

210,763

30,956 -

179,807

-

-

-

-

874

1,558,490 1,558,490 3,101,332

210,763

30,956 -

179,807

7,500 694,508 734,876 5,972,030 62,352 62,352 60,336 20,720,857 23,328,744 27,733,152 งบการเงิน-รวม 978,620 องคประกอบอื่นของสวนของผูถือหุน 26,924,236 147,500 179,374 182,404 246,558 26,460 49,360 53,396 ผลตางจากการ 217,454 189,105 161,545 119,646 ผลตางจาก เปลี่ยนแปลงใน สํารอง 445,506 13,031 1,691 511 การเปลี่ยนแปลง มูลคายุติธรรม สวนทุนจาก การเปลี่ยนแปลง สํารอง รวม 34,784,404 21,166,805 24,477,574 28,884,321 กําไรสะสม อัตราแลกเปลี่ยน ของเงินลงทุน การปรับ สวนไดเสียของ สําหรับ องคประกอบอื่น ทุนที่ออก สวนเกิน ทุนสํารอง เงินตรา เผื่อขาย สุทธิจาก โครงสราง บริษัทใหญ การจายโดยใช ของสวนของ 45,346,399 51,678,910 49,370,097 32,480,556 29,403,399 34,210,487 หมายเหตุ และชําระแลว มูลคาหุนสามัญ ตามกฎหมาย ยังไมไดจัดสรร ตางประเทศ ภาษีเงินได ธุรกิจ ในบริษัทยอย หุนเปนเกณฑ ผูถือหุน (พันบาท) 1,301,175 9,282,187 110,340 12,452,026 (1,120,729) 18,205 (50,030) 2,483,759 874 1,332,079 3 (228,214) 1,301,175 9,282,187 110,340 12,223,812 (1,120,729) 18,205 (50,030) 2,483,759 874 1,332,079

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สินทรัพยไมหมุนเวียน เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 นระยะยาว บริเงิษนัทลงทุโทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย 7 เงินลงทุนในบริษ่ยัทนแปลงส รวมและการร วมคา ถือหุน 12 งบแสดงการเปลี วนของผู เงินลงทุนในบริษัทยอย 13 คาความนิยม 15 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ 16 สินทรัพยไมมีตัวตน 17 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี 18 สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น 19 รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลวงหนา สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สินทรัพยหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยหมุนเวียน

(11,335,102) 1,563,079 (9,772,023) 21,616,447

7,138,877

30,956 (370,823)

7,298,937 179,807

24,477,807 (228,214) 24,249,593

รวมสวน ของผูถือหุน ของบริษัท

(168,307) 7,320,340

(72,611) (370,823)

7,298,937 633,144

32,474,311 (228,214) 32,246,097

รวมสวนของ ผูถือหุน

(3,462,810) (14,797,912) 656,756 2,219,835 (2,806,054) (12,578,077) 5,371,913 26,988,360

(168,307) 181,463

(103,567) -

453,337

7,996,504 7,996,504

สวนของ สวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจ ควบคุม

142 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


11

10

743,973 334,320 134,942 980,198 20,810,325

463,743 15,407,978

-

770,657 673,102 227,591

659,058 696,790 195,651 149,416 386,726 14,585,693

4,386 24,679 11,313,751

-

-

5,972,030 978,620 26,924,236 246,558 217,454 445,506 34,784,404

สวนเกิน 49,370,097

7,102,538 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 36,270,932

ทุนที่ออก 51,678,910

รวมสินทรัพย

7,500

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

โอนไปสํารองตามกฎหมาย ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ปรับปรุงใหม

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับงวด กําไรสุทธิสําหรับงวด ปรับปรุงใหม ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับงวดปรับปรุงใหม

รายการกับผูถือหุนที่บันทึกโดยตรงเขาสวนของผูถือหุน เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน ออกหุนสามัญ รวมเงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ปรับปรุงใหม

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ตามที่รายงานในปกอน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

22

3

4

11

9,282,187

-

1,301,175

-

120,543 120,543

9,161,644

9,161,644 -

มูลคาหุนสามัญ

-

7,940 7,940

1,293,235

1,293,235 -

หมายเหตุ และชําระแลว

45,346,399

11,510 110,340

-

-

-

98,830

98,830 -

ตามกฎหมาย

4,925

62,352

694,508

4,591

60,336

734,876

20,978 5,326,166

-

-

179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574

-

(11,510) 12,233,775

159,347 159,347

-

12,085,938

12,243,423 (157,485)

ยังไมไดจัดสรร (พันบาท)

29,403,399

(2,801) (2,801)

(7,771)

(10,572)

-

-

-

(7,771)

เผื ่อขาย สุทธิจาก 34,210,487 ภาษีเงินได

ของเงินลงทุน

มูลคา511 ยุติธรรม 28,884,321

ผลตางจากการ 53,396 เปลี119,646 ่ยนแปลงใน

182,404

(2,801) (2,801) (10,572)

-

-

(7,771)

(7,771) -

ของสวนของ ผูถือหุน

รวม องคประกอบอื่น

- ประกอบอื่นของสวนของผูถือหุน องค

งบการเงิ นเฉพาะกิจการ27,733,152 23,328,744

-

20,200 4,925,825

-

-

กําไรสะสม

ทุนสํารอง 32,480,556

62,352 20,720,857 147,500 26,460 189,105 13,031 21,166,805

-

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย สินบริ ทรัษ พยัทไมหโทรี มุนเวีเซนไทย ยน เงินงบแสดงการเปลี ใหกูระยะยาวแกกิจการที ่เกี่ยวของกัวนนของผูถือหุน 5 ่ยนแปลงส เงินลงทุนระยะยาว 7 663,245 เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา 12 4,574,552 เงินลงทุนในบริษัทยอย 13 คาความนิยม 15 74,568 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ 16 18,386,615 สินทรัพยไมมีตัวตน 17 50,874 สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี 18 301,413 สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น 19 484,807 รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน 24,536,074

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สินคาคงเหลือ วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลวงหนา สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สินทรัพยหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยหมุนเวียน

22,916,905

159,347 (2,801) 156,546

128,483 128,483

22,631,876

22,789,361 (157,485)

รวมสวนของ ผูถือหุน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

143

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


11

334,320 134,942 980,198 20,810,325

463,743 15,407,978

-

673,102 227,591

696,790 195,651 149,416 386,726 14,585,693

4,386 24,679 11,313,751

-

-

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

5 7 12 13 15 16 17 18 19

หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ นเป็�งนของงบการเงิ ส่วนหนึ�งนของงบการเงิ นนี� หมายเหตุประกอบงบการเงิ นเป็นส่วนหนึ นี�

รวมขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับป ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับป ขาดทุนสุทธิสําหรับป ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น

ออกหุนสามัญ เงินปนผลจายใหแกผูถือหุน รวมเงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน

รายการกับผูถือหุนที่บันทึกโดยตรงเขาสวนของผูถือหุน เงินทุนที่ไดรับจากผูถือหุน

สวนเกิน 49,370,097

ทุนที่ออก 51,678,910

22 31

3

4

12

16,059,845

6,777,658

521,279 1,822,454

6,777,658

9,282,187 9,282,187

521,279

1,301,175 1,301,175

มูลคาหุนสามัญ

5,972,030 978,620 26,924,236 246,558 217,454 445,506 34,784,404

7,102,538 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 36,270,932

หมายเหตุ และชําระแลว

45,346,399

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ตามที่รายงานในปกอน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ปรับปรุงใหม

รวมสินทรัพย

เงินลงทุนระยะยาว เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทยอย คาความนิยม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน

งบแสดงการเปลี นแปลงส ถือหุน เงินใหกูระยะยาวแกกิจ่ยการที ่เกี่ยวขอวงกันของผู น

7,500

110,340 110,340

ตามกฎหมาย

110,340

-

4,925

62,352

694,508

4,591

60,336

734,876

20,978 5,326,166

-

-

(3,817,933) 8,045,019

(3,817,933)

(370,823) (370,823)

12,461,989 (228,214) 12,233,775

ยังไมไดจัดสรร (พันบาท)

29,403,399

(12,701) (23,273)

(12,701)

-

(10,572) (10,572)

ภาษีเงินได

เผื่อขาย สุทธิจาก 34,210,487

ของเงินลงทุน

มูลค511 ายุติธรรม 28,884,321

182,404 ผลต างจากการ 53,396 เปลี ่ยนแปลงใน 119,646

(12,701) (23,273)

(12,701)

-

(10,572) (10,572)

ของสวนของ ผูถือหุน

รวม องคประกอบอื่น

งบการเงินเฉพาะกิจการ 23,328,744 27,733,152 -องคประกอบอื่นของสวนของผูถือหุน

-

20,200 4,925,825

-

-

179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574 กําไรสะสม

ทุนสํารอง 32,480,556

62,352 20,720,857 147,500 26,460 189,105 13,031 21,166,805

-

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สินทรัพยไมหมุนเวียน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลวงหนา สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สินทรัพยหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยหมุนเวียน

(3,830,634) 26,014,385

(3,817,933) (12,701)

7,298,937 (370,823) 6,928,114

23,145,119 (228,214) 22,916,905

รวมสวนของ ผูถือหุน

144 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


145

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน

งบกระแสเงินสด สินทรัพย

หมายเหตุ

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย

สินทรัพยหมุนนเวีสด ยน งบกระแสเงิ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 6 เงินลงทุนระยะสั้น 7 ลูกหนี้การคา 5, 8 ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 5 ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี 9 สินคาคงเหลือ 10 กระแสเงิ นสดจากกิ เนินนทะเล งาน วัสดุและของใช สิ้นเปลือจงสํกรรมดํ าหรับเรือาเดิ จายจายลนว)งหน กําคไราใช(ขาดทุ สุทาธิสําหรับป/ งวด สินทรัพยไมบหมุปรุ นเวีงยนที่ถือไวเพื่อขาย รายการปรั สินทรัพยหมุนเวียนอื่น 11 คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนายที่ดิน อาคารและอุปกรณ รวมสินทรัพยหมุนเวียน

และสินทรัพยไมมีตัวตน คาสิเผื ่อหนี จะสู นทรั พยไ้สมงสั หมุยนเวี ยน ญ เงิ น ให ก ร  ู ะยะยาวแก กิจการที 5 คาตัดจําหนายและค าเผื่อ่เกีมู่ยลวขคอางกัอื่น เงิ น ลงทุ น ระยะยาว ประมาณการ (กลับรายการ) คาเผื่อมูลคาสินคาลดลง 7 มและการรวมคา ตัดเงิจํนาลงทุ หนนาในบริ ยที่ดษินัทรวอาคารและอุ ปกรณ และสินทรัพยไมมีตัว12ตน เงินลงทุนในบริษัทยอย 13 การด อยคาและตัดจําหนาย คาความนิยม 15 ตนที่ดทุินนอาคารและอุ ทางการเงิปนกรณ 16 คาสิใช งินได (ผลประโยชน) นทรัจพายภาษี ยไมมีตัวเตน 17 นทรัท พยธิภจาษี เงินไดรอการตั บัญ่ดชี ิน อาคารและอุปกรณ 18 กําสิไรสุ ากการจํ าหนาดยที สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น 19 และสินทรัพยไมมีตัวตน รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน เงินปนผลรับจากเงินลงทุนระยะสั้น เงิรวมสิ นปนนผลรั ทรัพบยจากบริษัทรวม บริษัทยอย และการรวมคา กําไรสุทธิจากการจําหนายเงินลงทุนในบริษัทรวม บริษัทยอย และการรวมคา กําไรสุทธิจากการจําหนายเงินลงทุนระยะสั้น ขาดทุนจากการสูญเสียความมีอิทธิพล อยางมีนัยสําคัญ ในบริษัทรวม สวนแบงขาดทุน (กําไร) จากเงินลงทุนในบริษัทรวม และการรวมคา ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไมเกิดขึ้นจริง ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไมเกิดขึ้นจริง ตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย คาใชจายจากการจายโดยใชหุนเปนเกณฑ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

1 ตุลาคม

(พันบาท)

5,939,570 7,483,440 4,822,952 225,420 8,687 2,073 หมายเหตุ 134,750 743,973 334,320 134,942 980,198 16, 17, 20,810,325

25, 27

663,245 10 4,574,552 28 74,568 18,386,615 29 50,874 301,413 484,807 26 24,536,074

26 26 45,346,399

7,710,089 6,289,847 570,243 1,323,849 งบการเงิ น รวม 4,439,868 4,243,971 สําหรั บป สํ428,153 าหรับงวด 349,535 6,774 สิ้นสุด10,802 วันที่ สามเดือนสิ ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม

2558

2,073 190,275 770,657 673,102 227,591 (14,797,912) 463,743 15,407,978

2,263,269 95,699 - 458,006 - 163,690 7,102,538 4,473 11,571,203 984,598 569,746 27,260,692 20,958 225,765

259,730 437,609 (28,406) 36,270,932

(30,745) 51,678,910

126,967 2,919,996 2,052,840 5,507,151 44,848 47,792 งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ สําหรับป สํ364าหรับงวด 3,066 12,799 120,917 466,639 สิ้นสุดวันที่ สามเดื อนสิ้นสุดวันที่ 495,690 5,517,012 31 ธันวาคม 1,462,280 31 ธันวาคม 2,083,753

2557 2558 2,073 9,573 (ปรั203,385 บปรุงใหม) 659,058 (พันบาท) -

2557 (ปรับปรุงใหม)

6,573 -

696,790 195,651 4,386 4,925 138,174 (3,817,933) 149,416 386,726 24,679 20,200 14,585,693 11,313,751 4,925,825

517,515 4,160 12,775 (13,210) 5,972,030 2,805 51,309 978,620 128,936 26,924,236 246,55873,356

33,408 7,500 (6,415) 62,352 20,720,857 3,582,188 147,500236,704 26,460 (24,385)

217,454 189,105 445,506 13,031 (5,180) 34,784,404 21,166,805

49,370,097

694,508 62,352 23,328,744 179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574

607,723 -

159,347

20,978 5,326,166

8,038 -

734,876 -

60,336 27,733,152 36,260 80,870 182,404 (41,198) 53,396 119,646 511 28,884,321

(3,555) (22,245) 32,480,556(424,728) 29,403,399 (328,643) 34,210,487

26 26

(65,431)

-

12

169,647

-

-

-

12

1,409,481 331,504 164,400

(258,063) 78,184 4,401

344,837 149,874

104,894 85,009

(2,869)

(13) 96 697,097

(2,869)

(13)

(206,950)

104,564

2,296,713

(38,148)

(218,560) (33,271)

-

4 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

4,591

-


146

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบแสดงฐานะการเงิ น งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

งบกระแสเงินสด (ไม่ได้ตรวจสอบ) งบการเงินรวม

สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย บริ ษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด (ไมไดตรวจสอบ)

1 ตุลาคม

(พันบาท)

สินทรัพยหมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี สินคาคงเหลือ วัสดุและของใช สิ้นเปลือจงสํกรรมดํ าหรับเรือาเดิเนินทะเล กระแสเงิ นสดจากกิ นงาน (ตอ) คาใชจายจายลวงหนา การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพยและหนี้สินดําเนินงาน สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย ลูกหนี้การคา สินทรัพยหมุนเวียนอื่น ลูกนหนี รวมสิ ทรัพ้อยื่นหมุนเวียน

6 7 5, 8 5 5 5 9 10

11

5,939,570 7,483,440 4,822,952 225,420 8,687 -

7,710,089 6,289,847 570,243งบการเงินรวม 1,323,849 4,439,868 4,243,971 สําหรับป สําหรับงวด 349,535 428,153 สิ้นสุด10,802 วันที่ สามเดือ6,774 นสิ้นสุดวันที่ - ธันวาคม 31- ธันวาคม 31

2558

2,073 134,750 743,973 334,320 134,942 980,198 20,810,325

2,073 190,275 770,657 673,102 227,591

-

ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน

สินทรัพยไมหมุนเวียน สินคาคงเหลือ เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สดุนแระยะยาว ละของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล เงินวัลงทุ ค า ใช จ ายจษัทายล วงหนา วมคา เงินลงทุนในบริ รวมและการร เงินสิลงทุ นในบริ นทรั พยหษัทมุยนอเวีย ยนอื่น คาความนิยม สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ เจาพหนี สินทรั ยไม้กมีตารค ัวตนา สินทรั ยภาษี นไดรอการตั ดบัอญงกั ชี น เจาพหนี ้กิจเงิการที ่เกี่ยวข สินทรั พ ย ไ ม ห มุ น เวี ย นอื น ่ เจาหนี้อื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน

5 7 12 13 15 16 17 18 19

เงินรับลวงหนาจากลูกคา ภาษี รวมสิ นทรัเงิพนยไดคางจาย คาใชจายคางจาย หนี้สินหมุนเวียนอื่น ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน เงินสดไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน จายตนทุนทางการเงิน จายภาษีเงินได เงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074 45,346,399

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ และสินทรัพยไมมีตัวตน เงินสดจายใหเงินกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินสดจายลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา เงินปนผลรับจากเงินลงทุนระยะสั้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

14

2557 2558 2,073 9,573 (ปรับปรุงใหม) 203,385 (พันบาท) 659,058 -

2557 (ปรับปรุงใหม)

6,573 -

696,790 195,651 4,386 4,925 149,416 (146,555) 24,679 386,726 20,200 14,585,69378,618 11,313,751 (7,145) 4,925,825

(211,187) 463,743 140,271 15,407,978 122,251 (137,005) - 284,417 106,662 7,102,538 - (360,759) 984,598 (69,711) 27,260,692 (848,075) 225,765 259,730 3,774 437,609 13,860 36,270,932 (54,269) 12,378 51,678,910 286,204 (280,465) 19,695 1,324,754 (502,394) (186,905) 635,455

(53,126) (107,749) 77,050 (27,883) 5,972,030 (62,080) 978,620 19,941 26,924,236 448,861 246,558 217,454 (2,126) 445,506(80,941) 34,784,404 16,226 49,370,097(49,468) (111,335) (44,780) 41,361 693,111 (158,617) (32,990) 501,504

(1,332,844) (204,672) 28,069

(287,681) (649,413) -

4

126,967 2,919,996 2,052,840 5,507,151 งบการเงินเฉพาะกิ 44,848จการ 47,792 สําหรับป สําหรับงวด 3,066 364 12,799 สามเดื อนสิ้นสุดวันที่ 495,690 สิ้นสุดวันที่ 120,917 466,639 5,517,012 31 ธันวาคม 1,462,280 31 ธันวาคม 2,083,753

4,591

-

-

-

694,508 -

538 62,352 62,352 20,720,857 3,277 23,328,744 (11,340) 147,500 179,374 26,460 (2,726) 49,360 189,105 1,024 161,545 13,031 1,691 21,166,805 24,477,574 32,480,556 29,403,399 14,276 (6,004) 4,262 (207,551) (175,355) (1,204) (384,110)

(1,988) (4,564,516) (45,028) 19,569

20,978

12,4355,326,166 46,395

3,237 7,500

607,723 -

-

734,876 -

(333) 60,336 96527,733,152 (1,180) 182,404 (3,102) 53,396 296,260 119,646 (327) 511 28,884,321 34,210,487 (50,667) (120,661) 853 285,202 (353,952) (190) (68,940)

(358) (756,894) (767,801) -


147

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบแสดงฐานะการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบกระแสเงินสด (ไม่ได้ตรวจสอบ) งบการเงินรวม

สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

เซนไทยเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษซ ัทยีส อย ์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริษบริษัทัท โทรีโทรี เอเยนต์

1 ตุลาคม

(พันบาท)

สินทรัพงบกระแสเงิ ยหมุนเวียน นสด (ไมไดตรวจสอบ) เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 6 เงินลงทุนระยะสั้น 7 ลูกหนี้การคา 5, 8 ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน 5 เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 5 ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี 9 สินคาคงเหลือ 10 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (ตอ) วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล เงินปนผลรับจากบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา คาใชจายจายลวงหนา บจากการจํ ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพเงิ ยไนมหสดรั มุนเวี ยนที่ถือไวเพืาหน ่อขาย นทรั สินทรัพยหมุและสิ นเวียนอื ่น พยไมมีตัวตน 11 เงินพสดรั รวมสินทรั ยหมุบนเวี(จยานย) สุทธิจากเงินลงทุนระยะสั้น

5,939,570 7,483,440 4,822,952 225,420 8,687 -

หมายเหตุ

2558

2,073 134,750 743,973 334,320 134,942 980,198 20,810,325

เงินสดรับจากการจําหนายเงินลงทุนในบริษัทยอย

สินทรัพเงิยไนมสดรั หมุนบเวีจากการลดทุ ยน นในบริษัทยอย เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 เงินสดรับคืนจากเงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินลงทุนระยะยาว 7 เงินสดรับคืนจากเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา 12 นสดสุ เงินลงทุเงิ นในบริ ษัททยธิอไยดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมลงทุน 13 คาความนิยม 15 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ 16 บจากเงินกูระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวของกัน 17 สินทรัพเงิ ยไนมมสดรั ีตัวตน สดรั นกูดรบัะยะยาว สินทรัพเงิ ยภนาษี เงินบไดจากเงิ รอการตั ญชี 18 บย(จนอืา่นย) สุทธิจากเงินกูระยะสั้น สินทรัพเงิ ยไนมหสดรั มุนเวี 19 รวมสินทรั ยไมหบมุสุนทเวีธิจยนากการจําหนายหุนกู เงินพสดรั

7,710,089 6,289,847 570,243 งบการเงินรวม 1,323,849 4,439,868 4,243,971 สําหรับป สําหรับงวด 349,535 428,153 สิ้นสุดวั10,802 นที่ สามเดือนสิ้น6,774 สุดวันที่ 31 ธั-นวาคม 31 ธั- นวาคม 2,073 190,275 770,657 673,102 363,370 227,591 -

40,564 463,743 (6,945,738) 15,407,978 7,102,538 (8,051,251) -

13 663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 20 301,413 484,807 24,536,074 20

984,598 27,260,692 3,300 225,765 120,000 259,730 (116,185) 437,609 36,270,932 1,992,311

(2,000,000) 51,678,910 (1,688,732) (168,307) (370,823) 7,298,937

เงินสดจายคืนหุนกู 20 45,346,399 เงินสดจายคืนเงินกูระยะยาวและหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน เงินปนผลจายจากบริษัทยอยใหแกสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม เงินปนผลจายใหแกผูถือหุน เงินสดรับจากการเพิ่มทุนเรือนหุน เงินสดรับจากการจําหนายหุนของบริษัทยอยโดย อํานาจควบคุมไมเปลี่ยนแปลง 13 เงินสดจายสุทธิสําหรับสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ย เงินสดสุทธิไดมาจาก (ใชไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน

รวมสินทรัพย

เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 / 1 ตุลาคม 2557 ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราในสกุลตางประเทศ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบดวย เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินเบิกเกินบัญชี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี� หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

126,967 2,919,996 5,507,151 44,848 งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับป สําหรับงวด 3,066 364 สิ้นสุ120,917 ดวันที่ สามเดือนสิ466,639 ้นสุดวันที่ 315,517,012 ธันวาคม 31 1,462,280 ธันวาคม

2557 2558 9,573 (ปรับปรุง2,073 ใหม) 203,385(พันบาท) -

-

659,058 696,790 195,651 149,416 19,380 386,726 816,506 14,585,693

23,080 24,679 (5,486,398) 11,313,751

-20,200 (555) 4,925,825

2,403 5,972,030 - (98,805)

491,760 7,500 353,341 62,352 (8,785,452) 20,720,857

264,693 694,508 1,296,489 612,257 62,352 976,474 23,328,744

978,620 26,924,236 246,558 1,144,976 217,454 189,235 445,506 34,784,404 -

(526,080) 128,483

49,370,097

-

2557 (ปรับปรุ6,573 งใหม)

424,728 4,386

-

-

328,643

(2,000,000) (420,000) (370,852) 7,298,937

32,480,556

607,723 -

4,925

-

-

147,500 26,460 189,105 13,031 21,166,805 1,992,311

2,052,840 47,792 12,799 495,690 2,083,753

179,374 -49,360 161,545 - 1,691 24,477,574 -

(160,000) 128,483

29,403,399

633,144 (148,839) 5,554,806

1,334 (4,401) 933,547

(148,839) 6,351,557

-

(1,860,990)

1,336,246

(2,818,005)

871,616

7,701,564 149,028 (57,511) 5,932,091

6,285,603 70,557 9,158 7,701,564

2,919,996 24,976 126,967

2,052,840 (4,460) 2,919,996

5,939,570 (7,479) 5,932,091

7,710,089 (8,525) 7,701,564

126,967 126,967

2,919,996 2,919,996

4,591 20,978 5,326,166

734,876 60,336 27,733,152 182,404 53,396 119,646 511 28,884,321 34,210,487

(4,401) (35,918)

15 4 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


148

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบแสดงฐานะการเงิ น งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

งบกระแสเงินสด (ไม่ได้ตรวจสอบ) งบการเงินรวม

สินทรัพย

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

1 ตุลาคม

31 ธันวาคม

31 ธันวาคม

2558

2557

2557

2558

2557

2557

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

(ปรับปรุงใหม)

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย สินทรัพยหนมุสด นเวีย(ไม น ไดตรวจสอบ) งบกระแสเงิ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ลูกหนี้อื่น ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน สวนของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี สินคาคงเหลือ วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล คาใชจายจายลวงหนา สินทรัพ่ไยมไใมชหมุเงินนเวีสด ยนที่ถือไวเพื่อขาย รายการที สินทรัพยหมุนเวียนอื่น หนี้สินคางชําระจากการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ รวมสินทรัพยหมุนเวียน

6 7 5, 8 5 5 5 9 10

11

และสินทรัพยไมมีตัวตน

ทรัพยาไงจ มหามุยนเวียน เงินปสินนผลค เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน 5 เงินลงทุนในบริษัทยอยโดยการหักกลบลบหนี้กับ เงินลงทุนระยะยาว 7 เงิเงินนให ก ย  ู ม ื ระยะสั น ้ แก บ ริ ษ ท ั ย อ ย ลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา 12 ลงทุนนในบริ ยอย ษัทรวมและการรวมคาโดยการ 13 จําหนเงิานยเงิ ลงทุษนัทในบริ คาความนิยม 15 หัทีก่ดกลบลบหนี ้กับเงินลงทุนในบริษัทยอย ิน อาคารและอุปกรณ 16 การซืสิ้อนการร โดยแลกเปลี่ยนกับเงินลงทุน ทรัพยไวมมค มีตัวาตน 17 สินทรัษ พยัทภราษีวมและการร เงินไดรอการตัดวบัมค ญชีา 18 ในบริ สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น 19 เงินปรวมสิ นผลค างรับจากเงินลงทุนระยะสั้นและเงินลงทุนในบริษัทรวม นทรัพยไมหมุนเวียน รวมสินทรัพย

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ�งของงบการเงินนี�

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

1 ตุลาคม

(พันบาท)

5,939,570 7,483,440 4,822,952 225,420 8,687 2,073 134,750 743,973 334,320 134,942 980,198 20,810,325

7,710,089 6,289,847 126,967 2,919,996 2,052,840 570,243 1,323,849 5,507,151 44,848 47,792 งบการเงิ น รวม งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ 4,439,868 4,243,971 349,535 3,066 364 สําหรั บป สํ428,153 าหรับงวด สําหรับป สําหรับงวด 12,799 10,802 6,774 120,917 466,639 495,690 สิ้น-สุดวันที่ สามเดื- อนสิ้นสุดวันที่ 5,517,012 สิ้นสุดวันที่ 1,462,280 สามเดือนสิ้นสุดวัน2,083,753 ที่

31 ธันวาคม 25582,073 190,275 770,657 673,102 227,591

31 ธันวาคม 2,073 2557

31 ธันวาคม

9,5732558

463,743 15,407,978

203,385 (ปรั659,058 บปรุงใหม) (พันบาท) 696,790 195,651 4,386 149,416 386,726 24,679 14,585,693 11,313,751

663,245 4,574,552 74,568 18,386,615 50,874 301,413 484,807 24,536,074

7,102,538 984,598 27,260,692 225,765 259,730 437,609 246,351 36,270,932

7,500 5,972,030 62,352 20,720,857 978,620 (152,138) 147,500 26,924,236 246,558 26,460 217,454 189,105 168,646 445,506 13,031 34,784,404 21,166,805

45,346,399

51,678,910

49,370,097

-

61,579 3,956

4

86,087 3,985

32,480,556

216 3,956 -

31 ธันวาคม 2557

6,573

607,723 (ปรับปรุงใหม)4,925 4,591 20,200 20,978 4,925,825 5,326,166 -

206 3,985

694,508 -

734,876

-

62,352 23,328,744 179,374 49,360 161,545 1,691 24,477,574

(4,908,857)60,336

29,403,399

34,210,487

-

27,733,152 182,404 53,396 119,646 511 28,884,321


149

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

หมายเหตุ ประกอบงบการเงิน บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย

บริ ษัท ปโทรี เซนไทยน เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยน) หมายเหตุ ระกอบงบการเงิ หมายเหตุ

สารบัญ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30

ขอมูลทั่วไป เกณฑการจัดทํางบการเงิน การเปลีย่ นแปลงนโยบายการบัญชี นโยบายการบัญชีที่สําคัญ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การคา ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี สินคาคงเหลือ สินทรัพยหมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทยอย สวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม คาความนิยม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ทุนเรือนหุนและใบสําคัญแสดงสิทธิ สํารอง การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ สวนงานดําเนินงาน รายไดจากการดําเนินงานอื่น คาใชจายตามลักษณะ การดอยคาและตัดจําหนาย คาใชจายภาษีเงินได (ผลประโยชน) กําไร (ขาดทุน) ตอหุน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


150 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท

หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายเหตุ

สารบัญ

31 32 33 34 35 36 37 38 39

เงินปนผล สิทธิประโยชนจากการสงเสริมการลงทุน เครื่องมือทางการเงิน ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึน้ การจัดตั้งโครงการออกหุนกูหลายสกุลเงิน เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน การจัดประเภทรายการใหม มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไมไดใช ขอมูลเพิ่มเติม (ไมไดตรวจสอบ)

18 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

151

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ไดรับการอนุมัติใหออกงบการเงินจากคณะกรรมการเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ 2559 1

ขอมูลทั่วไป บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) เปนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยูจดทะเบียน ตั้งอยูเลขที่ 26/26-27 อาคารอรกานต ชั้น 8 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538 บริษัทและบริษัทยอย (“กลุมบริษัท”) ประกอบธุรกิจหลักในธุรกิจเจาของเรือเดินทะเลประเภทเทกอง ธุรกิจบริการที่เกี่ยวของ กับการเดินเรือทะเล ธุรกิจบริการน้ํามันและกาซนอกชายฝง ผลิตและจําหนายปุย ถานหิน และธุรกิจบริการคลังเก็บสินคาและ ขนสง ซึ่งธุรกิจของกลุมบริษัทสามารถแบงออกเปน 4 ประเภทหลัก คือ ธุรกิจขนสง ธุรกิจโครงสรางพื้นฐาน ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการถือหุนเพื่อการลงทุน รายละเอียดของบริษัทยอย บริษัท รวมและการรวมคา ณ วันที่ 31 ธัน วาคม 2558 และ 2557 ไดเป ดเผยไวในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินขอ 12 และ 13

2

เกณฑการจัดทํางบการเงิน

(ก)

เกณฑการถือปฏิบัติ งบการเงินนี้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใชโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบและประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพยที่เกี่ยวของ สภาวิชาชีพบัญชีไดออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใชตั้งแตรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 ในเบื้องตนการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมนั้น มีผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของกลุมบริษัทในบางเรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เปนสาระสําคัญตอ งบการเงินไดเปดเผยไวในหมายเหตุขอ 3

19

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ152 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน นอกเหนือจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมขางตน สภาวิชาชีพบัญชีไดออกและปรับปรุงมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น ๆ ซึ่งมีผลบังคับสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีท่ีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เปนตนไป และไมไดมีการนํามาใชสําหรับการจัดทํางบการเงินนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมที่เกี่ยวกับการ ดําเนินงานของกลุมบริษัทไดเปดเผยในหมายเหตุขอ 38 (ข)

เกณฑการวัดมูลคา งบการเงินนี้จัดทําขึ้นโดยถือหลักเกณฑการบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเวนที่กลาวไวในนโยบายการบัญชี

(ค)

สกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานและการนําเสนองบการเงิน งบการเงินนี้จัดทําและแสดงหนวยเงินตราเปนเงินบาทซึ่งเปนสกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานของบริษัท ขอมูลทางการเงินทั้งหมดมี การปดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อใหแสดงเปนหลักพันบาท ยกเวนที่ระบุไวเปนอยางอื่น

(ง) การใชวิจารณญาณและการประมาณการ ในการจัดทํางบการเงินใหเปนไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผูบริหารตองใชวิจารณญาณ การประมาณและขอ สมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบตอการกําหนดนโยบายการบัญ ชีและการรายงานจํานวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย หนี้สิน รายได และคาใชจาย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกตางจากที่ประมาณไว ประมาณการและขอสมมติฐานที่ใชในการจัดทํางบการเงินจะไดรับการทบทวนอยางตอเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะ บันทึกโดยวิธีเปลี่ยนทันทีเปนตนไป ขอมูลเกี่ยวกับความไมแนนอนของการประมาณการที่สําคัญซึ่งมีความเสี่ยงอยางมีนัยสําคัญที่เปนเหตุใหตองมีการปรับปรุง จํานวนเงิน ที่ รับ รูในงบการเงิน ได แสดงอยู ในหมายเหตุ ป ระกอบงบการเงินข อ 28 เกี่ย วกับ ข อ สมมติ ฐานที่ สําคั ญ สําหรั บ การประมาณการในการคิดลดกระแสเงินสดในอนาคต การวัดมูลคายุติธรรม นโยบายการบัญชีและการเปดเผยขอมูลของกลุมบริษัทหลายขอกําหนดใหมีการวัดมูลคายุติธรรมทั้งสินทรัพยและหนี้สิน ทางการเงินและไมใชทางการเงิน กลุมบริษัทกําหนดกรอบแนวคิดของการควบคุมเกี่ยวกับการวัดมูลคายุติธรรม กรอบแนวคิดนี้รวมถึงกลุมผูประเมินมูลคาซึ่งมี ความรับผิดชอบโดยรวมตอการวัดมูลคายุติธรรมที่มีนัยสําคัญ รวมถึงการวัดมูลคายุติธรรมระดับ 3 และรายงานโดยตรงตอ ผูบริหารสูงสุดทางดานการเงิน

20 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

153

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

กลุมผูประเมินมูลคามีการทบทวนขอมูลที่ไมสามารถสังเกตได และปรับปรุงการวัดมูลคาที่มีนัยสําคัญอยางสม่ําเสมอ หากมี การใชขอมูลจากบุค คลที่สามเพื่อวัดมู ลคายุติ ธรรม เชน ราคาจากนายหน า หรือการตั้ งราคา กลุมผูป ระเมินได ประเมิ น หลักฐานที่ไดมาจากบุคคลที่สามที่สนับสนุนขอสรุปเกี่ยวกับการวัดมูลคารวมถึงการจัดระดับชั้นของมูลคายุติธรรมวาเปนไป ตามที่กําหนดไวในมาตรฐานการรายงานทางการเงินอยางเหมาะสม ประเด็นปญหาของการวัดมูลคาทีม่ ีนัยสําคัญจะถูกรายงานตอคณะกรรมการตรวจสอบของกลุมบริษทั เมื่อวัดมูลคายุติธรรมของสินทรัพยหรือหนี้สิน กลุมบริษัทไดใชขอมูลที่สามารถสังเกตไดใหมากที่สุดเทาที่จะทําได มูลคา ยุติธรรมเหลานี้ถูกจัดประเภทในแตละลําดับชั้นของมูลคายุติธรรมตามขอมูลที่ใชในการประเมินมูลคา ดังนี้ • ขอมูลระดับ 1 • ขอมูลระดับ 2 • ขอมูลระดับ 3

เปนราคาเสนอซื้อขาย (ไมตองปรับปรุง) ในตลาดที่มีสภาพคลองสําหรับสินทรัพยหรือ หนี้สินอยางเดียวกัน เป น ข อมู ล อื่ น ที่ สั งเกตได โดยตรง (เช น ราคาขาย) หรือ โดยอ อ ม (เช น ได ม าจากราคา) สํ าหรั บ สินทรัพยนั้นหรือหนี้สินนั้นนอกเหนือจากราคาเสนอซื้อขายซึ่งรวมอยูในขอมูลระดับ 1 เปนขอมูลสําหรับสินทรัพยหรือหนี้สินที่ไมไดมาจากขอมูลที่สังเกตได (ขอมูลที่ไมสามารถสังเกตได)

หากขอมูลที่นํามาใชในการวัดมูลคายุติธรรมของสินทรัพยหรือหนี้สินถูกจัดประเภทลําดับชั้นของมูลคายุติธรรมที่แตกตางกัน การวัดมูลคายุติธรรมโดยรวมจะถูกจัดประเภทในภาพรวมในระดับเดียวกันตามลําดับชั้นของมูลคายุติธรรมของขอมูลที่อยูใน ระดับต่ําสุดที่มีนัยสําคัญสําหรับการวัดมูลคายุติธรรมโดยรวม ขอมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขอสมมติฐานที่ใชในการวัดมูลคายุติธรรม อยูในหมายเหตุประกอบงบการเงินดังตอไปนี้ หมายเหตุขอ 7 หมายเหตุขอ 33

เงินลงทุนอื่น เครื่องมือทางการเงิน

(จ) การเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชี ที่ประชุมสามัญประจําปผูถือหุนของบริษัท เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 ผูถือหุนมีมติอนุมัติการเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชี ของบริษัทจากเดิมเริ่มตนวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน เปนเริ่มตนวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งบริษัทไดจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรอบระยะเวลาบัญชีดังกลาวกับกรมพัฒนาธุรกิจการคา กระทรวงพาณิชย และไดรับการ อนุมัติจากกรมสรรพากรเสร็จสิ้นแลว ซึ่งสงผลใหรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เปลี่ยนแปลงของบริษัทสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ดังนั้น ขอมูลที่นําเสนอเปรียบเทียบสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จึงไมสามารถเปรียบเทียบกันไดกับขอมูล สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ขอมูลเพิ่มเติมซึ่งประกอบดวยงบกําไรขาดทุนรวมที่ไมไดรับการตรวจสอบสําหรับงวด ระยะเวลาสิบสองเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ตามทีใ่ นหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 39

21 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ154 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 3

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

(ก) ภาพรวม ตั้ งแต วัน ที่ 1 มกราคม 2558 กลุ ม บริษั ท ได ถื อ ปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ อ อกและปรั บ ปรุงใหม ซึ่ ง มี ผลกระทบตองบการเงินของกลุมบริษัทอยางเปนสาระสําคัญดังนี้

• มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 • มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13

เรื่อง การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น เรื่อง การวัดมูลคายุติธรรม

นอกจากนี้ ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กลุมบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการบัญชีการปองกันความเสี่ยงจาก รายการที่เปนเงินตราตางประเทศและการปองกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย รายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีดังกลาวไดแสดงอยู ในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 3 (ข) ถึง 3 (ง) ดังนี้ (ข) การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 ไดรวบรวมการเปดเผยเกี่ยวกับสวนไดเสียของบริษัทในบริษัทยอย การรวมการ งาน และบริษัทรวมไวในมาตรฐานฉบับเดียวกัน นอกจากนี้มาตรฐานฉบับนี้ยังกําหนดใหเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับลักษณะ ความ เสี่ยง และผลกระทบทางการเงินของสวนไดเสียเหลานี้ (ค) การวัดมูลคายุติธรรม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 กําหนดกรอบแนวคิดเดียวกันสําหรับการวัดมูลคายุติธรรมและการเปดเผยขอมูล เกี่ ย วกั บ การวั ด มู ล ค ายุ ติ ธ รรม เมื่ อ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบั บ อื่ น กํ า หนดหรือ อนุ ญ าตให วั ด มู ล ค า ยุ ติ ธ รรม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้ใหคํานิยามของมูลคายุติธรรมที่สอดคลองกันวาเปน ราคาที่ จะไดรับจากการขาย สินทรัพย หรือจะจายเพื่อโอนหนี้สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหวางผูรวมตลาด ณ วันที่มีการวัดมูลคา อีกทั้งได กําหนดการเปดเผยขอมูลโดยทดแทนหรือขยายการเปดเผยเกี่ยวกับการวัดมูลคายุติธรรมตามที่ระบุในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่น ๆ ตามที่กําหนดไวในการปฏิบัติในชวงเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 กลุมบริษัทใชแนวทางการ ปฏิบัติใหมเกี่ยวกับการวัดมูลคายุติธรรมโดยวิธีเปลี่ยนทันทีเปนตนไป และไมไดใหขอมูลเปรียบเทียบสําหรับการเปดเผยขอมูล ใหม

22 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


155

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

(ง) การบัญชีเกี่ยวกับการปองกันความเสี่ยงจากเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย ภายใตนโยบายการบัญชีของกลุมบริษัทที่เคยถือปฏิบัติในงวดกอน กําไรหรือขาดทุนจากสัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศ ลวงหนา และสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ที่ถูกใชในการปองกันความเสี่ยงของรายการที่เปนเงินตราตางประเทศที่ คาดวาจะเกิด ขึ้น ในอนาคต จะไมถู กบั น ทึ กในบั ญ ชี จนกวารายการที่ค าดไวเกิ ดขึ้ น ในขณะที่ กําไรหรือ ขาดทุ น จากอัต รา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศถูกรับรูในสินทรัพยหรือหนี้สินที่ถูกปองกันความเสี่ยง ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กลุมบริษัท ไดเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการปองกันความเสี่ยงจากเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย เพื่อสะทอนความ เปนจริงทางเศรษฐกิจของรายการปองกันความเสี่ยงดังกลาวเปนวิธีเกณฑคงคางตามที่กลาวไวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ขอ 4 (ค) ซึ่งผลกระทบเชิงปริมาณที่มีสาระสําคัญจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกลาวในงบแสดงฐานะการเงิน และ งบกําไรขาดทุน ของกลุมบริษัท มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 1 ตุลาคม 2558 2557 2557 (พันบาท) 112,346 57,053 39,371 (58,651) (16,765) (11,649) (55,759) (17,565) (378) 247 242 (30,798) (24,869) (503,323) (181,567) (143,020) (228,214) (157,485) (449,386)

งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่

สินทรัพยภาษีเงินไดรอตัดบัญชีเพิม่ ขึ้น เงินกูระยะยาวสวนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปเพิ่มขึ้น สวนของหุนกูที่ถึงกําหนดไถถอนภายในหนึ่งปเพิ่มขึ้น คาใชจายคางจายลดลง (เพิ่มขึ้น) เงินกูระยะยาวเพิ่มขึ้น หุนกูเพิ่มขึ้น สินทรัพยสุทธิลดลง กําไรสะสมลดลง การปนสวนทีเ่ ปนของผูถือหุนของบริษัทลดลง สวนของผูถือหุนลดลง

(449,386) (449,386) (449,386)

(228,214) (228,214) (228,214)

(157,485) (157,485) (157,485)

23 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ156 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบกําไรขาดทุนสําหรับป/ งวด

รายไดจากการดําเนินงานอื่นเพิม่ ขึ้น (ลดลง) คาใชจายในการบริหารเพิ่มขึ้น ตนทุนทางการเงินลดลง (เพิ่มขึ้น) ผลประโยชนภาษีเงินไดเพิ่มขึ้น กําไรสําหรับป/งวด ลดลง กําไรตอหุนลดลง - กําไร (ขาดทุน) ตอหุนขั้นพื้นฐานลดลง (บาท) - กําไรตอหุนปรับลดลดลง (บาท) 4

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับป สําหรับงวด สําหรับป สําหรับงวด สิ้นสุด สามเดือนสิ้นสุด สิ้นสุด สามเดือนสิ้นสุด วันที่ วันที่ วันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) (238,353) (73,325) 2,868 (8,986) (180,978) (14,194) (422,199) (78,533) 142,865 (892) 142,865 (892) 55,294 17,682 55,294 17,682 (221,172) (70,729) (221,172) (70,729)

(0.13)

(0.05)

(0.13)

(0.05)

-

(0.05)

-

(0.05)

นโยบายการบัญชีที่สําคัญ นโยบายการบัญชีที่นําเสนอดังตอไปนี้ไดถือปฏิบัติโดยสม่ําเสมอสําหรับงบการเงินทุกรอบระยะเวลาที่รายงาน

(ก) เกณฑในการจัดทํางบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบดวยงบการเงินของบริษัทและบริษัทยอย และสวนไดเสียของกลุมบริษัทในบริษัทรวมและการรวมคา และการดําเนินงานรวมกัน (รวมกันเรียกวา “กลุมบริษัท”) การรวมธุรกิจ กลุมบริษัทบันทึกบัญชีสําหรับการรวมธุรกิจตามวิธีซื้อ เมื่อการควบคุมถูกโอนไปยังกลุมบริษัท ยกเวนในกรณีที่เปนการรวม ธุรกิจภายใตการควบคุมเดียวกัน การควบคุมหมายถึงอํานาจในการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของกิจการเพื่อใหไดมาซึ่งประโยชนจาก กิจกรรมของกิจการนั้น ในการพิจารณาอํานาจในการควบคุม กลุมบริษัทตองนําสิทธิในการออกเสียงที่เกิดขึ้นมารวมในการ พิจารณา วันที่ซื้อกิจการคือวันที่อํานาจในการควบคุมนั้นไดถูกโอนไปยังผูซื้อ การกําหนดวันที่ซื้อกิจการและการระบุเกี่ยวกับ การโอนอํานาจควบคุมจากฝายหนึ่งไปยังอีกฝายหนึ่งตองใชดุลยพินิจเขามาเกี่ยวของ 24 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

157

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

คาความนิยมถูกวัดมูลคา ณ วันที่ซื้อ โดยวัดจากมูลคายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่โอนใหซึ่งรวมถึงการรับรูจํานวนสวนไดเสียที่ ไมมีอํานาจควบคุมในผูถูกซื้อ หักดวยมูลคาสุทธิ (มูลคายุติธรรม) ของสินทรัพยที่ระบุไดที่ไดมาและหนี้สินที่รับมาซึ่งวัดมูลคา ณ วันที่ซื้อ สิ่งตอบแทนที่โอนใหตองวัดดวยมูลคายุติธรรมของสินทรัพยที่โอนไป หนี้สินที่กลุมบริษัทกอขึ้นเพื่อจายชําระใหแกเจาของเดิม และสวนไดเสียในสวนของเจาของที่ออกโดยกลุมบริษัท ทั้งนี้สิ่งตอบแทนที่โอนใหยังรวมถึงมูลคายุติธรรมของหนี้สินที่อาจ เกิดขึ้นและมูลคาของโครงการจายโดยใชหุนเปนเกณฑที่ออกแทนโครงการของผูถูกซื้อเมื่อรวมธุรกิจ หากการรวมธุรกิจมีผลให สิ้นสุดความสัมพันธของโครงการเดิมระหวางกลุมบริษัทและผูถูกซื้อ ใหใชราคาที่ต่ํากวาระหวาง มูลคาจากการยกเลิกสัญญา ตามที่ระบุในสัญญา และมูลคาองคประกอบนอกตลาด ไปหักจากสิ่งตอบแทนที่โอนให และรับรูเปนคาใชจายอื่น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นของบริษัทที่ถูกซื้อที่รับมาจากการรวมธุรกิจ รับรูเปนหนี้สินหากมีภาระผูกพันในปจจุบันซึ่งเกิดขึ้นจาก เหตุการณในอดีต และสามารถวัดมูลคายุติธรรมไดอยางนาเชื่อถือ กลุมบริษัทวัดมูลคาสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมตามอัตราสวนไดเสียในสินทรัพยสุทธิที่ไดมาจากผูถูกซื้อ ตนทุนที่เกี่ยวของกับการซื้อของกลุมบริษัทที่เกิดขึ้นซึ่งเปนผลมาจากการรวมธุรกิจ เชน คาที่ปรึกษากฎหมาย คาธรรมเนียม วิชาชีพและคาที่ปรึกษาอื่นๆ ถือเปนคาใชจายเมื่อเกิดขึ้น การรวมธุรกิจภายใตการควบคุมเดียวกัน การรวมธุรกิจของกิจการหรือการรวมธุรกิจภายใตการควบคุมเดียวกันบันทึกบัญชีโดยใชวิธีเสมือนวาเปนวิธีการรวมสวนไดเสีย และตามแนวปฏิบัติที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหวางป 2552 บริษัทยอย บริ ษั ท ย อ ยเป น กิ จ การที่ อ ยู ภ ายใต ก ารควบคุ ม ของกลุ ม บริ ษั ท การควบคุ ม เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ กลุ ม บริ ษั ท เป ด รั บ หรือ มี สิ ท ธิ ใน ผลตอบแทนผันแปรจากการเกี่ยวของกับกิจการนั้นและมีความสามารถในการใชอํานาจเหนือกิจการนั้นทําใหเกิดผลกระทบตอ จํานวนเงินผลตอบแทนของกลุมบริษัท งบการเงินของบริษัทยอยไดรวมอยูในงบการเงินรวม นับแตวันที่มีการควบคุมจนถึง วันที่การควบคุมสิ้นสุดลง การสูญเสียการควบคุม เมื่อกลุมบริษัทสูญเสียการควบคุมในบริษัทยอย กลุมบริษัทตัดรายการสินทรัพยและหนี้สินของบริษัทยอยนั้นออก รวมถึงสวน ไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมและสวนประกอบอื่นในสวนของเจาของที่เกี่ยวของกับบริษัทยอยนั้น กําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้น จากการสูญเสียการควบคุมในบริษัทยอยรับรูในกําไรหรือขาดทุน สวนไดเสียในบริษัทยอยเดิมที่ยังคงเหลืออยูใหวัดมูลคาดวย มูลคายุติธรรม ณ วันที่สูญเสียการควบคุม

25 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ158 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน สวนไดเสียในเงินลงทุนที่บันทึกตามวิธีสวนไดเสีย สวนไดเสียของกลุมบริษัทในเงินลงทุนที่บันทึกตามวิธีสวนไดเสีย ประกอบดวยสวนไดเสียในบริษัทรวมและการรวมคา บริษัทรวมเปนกิจการที่กลุมบริษัทมีอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญโดยมีอํานาจเขาไปมีสวนรวมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทาง การเงินและการดําเนินงานแตไมถึงระดับที่จะควบคุมหรือควบคุมรวมในนโยบายดังกลาว การรวมคาเปนการรวมการงานที่ กลุมบริษัทมีการควบคุมรวมในการงานนั้น โดยมีสิทธิในสินทรัพยสุทธิของการรวมการงานนั้นมากกวาการมีสิทธิในสินทรัพย และภาระผูกพันในหนี้สินที่เกี่ยวของกับการรวมการงานนั้น สวนไดเสียในบริษัทรวมและการรวมคาบันทึกบัญชีตามวิธีสวนไดเสีย โดยรับรูรายการเมื่อเริ่มแรกดวยราคาทุนซึ่งรวมถึงตนทุน การทํารายการ ภายหลังการรับรูรายการเริ่มแรก สวนแบงกําไรหรือขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของเงินลงทุนที่บันทึก ตามวิธีสวนไดเสียของกลุมบริษัทจะถูกบันทึกในงบการเงินรวมจนถึงวันที่กลุมบริษัทสูญเสียความมีอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญ หรือการควบคุมรวม การตัดรายการในงบการเงินรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหวางกิจการในกลุม รวมถึงรายได หรือคาใชจายที่ยังไมเกิดขึ้นจริงซึ่งเปนผลมาจากรายการ ระหวางกิจการในกลุม ถูกตัดรายการในการจัดทํางบการเงินรวม กําไรที่ยังไมเกิดขึ้นจริงซึ่งเปนผลมาจากรายการกับบริษัทรวม และกิจการที่ควบคุมรวมกันถูกตัดรายการกับเงินลงทุนเทาที่กลุมบริษัทมีสวนไดเสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม เกิดขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับกําไรที่ยังไมเกิดขึ้นจริง แตเทาที่เมื่อไมมีหลักฐานการดอยคาเกิดขึ้น (ข) เงินตราตางประเทศ รายการบัญชีที่เปนเงินตราตางประเทศ รายการบัญชีที่เปนเงินตราตางประเทศแปลงคาเปนสกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานของแตละบริษัทในกลุมบริษัท โดยใชอัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพยและหนี้สินที่เปนตัวเงินและเปนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่รายงาน แปลงคาเปนสกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานโดย ใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น สินทรัพยและหนี้สินที่ไมเปนตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เปนเงินตราตางประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑราคาทุนเดิม แปลงคา เปนสกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพยและหนี้สินที่ไมเปนตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เปนเงินตราตางประเทศซึ่งแสดงในมูลคายุติธรรม แปลงคาเปน สกุลเงินที่ใชในการดําเนินงานโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่มีการพิจารณามูลคายุติธรรม 26 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

159

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น จากการแปลงคา ให รับรูเป นกําไรหรือขาดทุน ในงวดบัญ ชีนั้น แตผลตางของอัตรา แลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการแปลงคาของตราสารทุนที่ถือไวเพื่อขายจะรับรูเขากําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (เวนแตการดอยคา ผลตางจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เคยรับรูเขากําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะถูกจัดประเภทใหมไปเขากําไรหรือขาดทุน) หนวยงานในตางประเทศ สินทรัพยและหนี้สินของหนวยงานในตางประเทศ รวมถึงคาความนิยมและรายการปรับปรุงมูลคายุติธรรมที่เกิดขึ้นจากการซื้อ หนวยงานในตางประเทศ แปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน คาความนิยมและรายการปรับปรุงมูลคายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อหนวยงานในตางประเทศ แปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันทีเ่ กิดรายการ รายไดและคาใชจายของหนวยงานในตางประเทศ แปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยนที่ใกลเคียงกับอัตรา ณ วันที่เกิด รายการ ผลตางจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแปลงคา บันทึกในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และแสดงเปนรายการผลตางจากอัตรา แลกเปลี่ยนในสวนของผูถือหุนจนกวามีการจําหนายเงินลงทุนนั้นออกไปยกเวนผลตางจากการแปลงคาที่ถูกปนสวนใหสวนได เสียที่ไมมีอํานาจควบคุม เมื่อหนวยงานตางประเทศถูกจําหนายสวนไดเสียทั้งหมดหรือเพียงบางสวนที่ทําใหสูญเสียการควบคุม ความมีอิทธิพลอยางมี สาระสําคัญหรือการควบคุมรวมกัน ผลสะสมของผลตางจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกี่ยวของกับหนวยงานตางประเทศนั้นตองถูก จัดประเภทเปนกําไรหรือขาดทุนโดยเปนสวนหนึ่งของกําไรขาดทุนจากการจําหนาย หากกลุมบริษัทจําหนายสวนไดเสียใน บริษัทยอยเพียงบางสวนแตยังคงมีการควบคุม ผลสะสมตองถูกปนสัดสวนใหกับสวนของผูถือหุนที่ไมมีอํานาจควบคุม หาก กลุมบริษัทจําหนายเงินลงทุนในบริษัทรวมหรือการรวมคาเพียงบางสวนโดยที่กลุมบริษัทยังคงมีอิทธิพลหรือการควบคุมรวมที่มี สาระสําคัญอยู กลุมบริษัทตองจัดประเภทยอดสะสมบางสวนที่เกี่ยวของเปนกําไรหรือขาดทุน รายการที่เปนตัวเงินที่เปนลูกหนี้หรือเจาหนี้กับหนวยงานในตางประเทศ ซึ่งรายการดังกลาวมิไดคาดหมายวาจะมีแผนการ ชําระหนี้หรือไมมีความเปนไปไดวาจะชําระเงินในอนาคตอันใกล กําไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากรายการทาง การเงินดังกลาวจะถูกพิจารณาเปนสวนหนึ่งของเงินลงทุนสุทธิในหนวยงานตางประเทศ และรับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และแสดงเปนรายการผลตางจากอัตราแลกเปลี่ยนในสวนของผูถือหุน จนกวามีการจําหนายเงินลงทุนนั้นออกไป (ค) การปองกันความเสี่ยง การปองกันความเสี่ยงจากรายการที่เปนเงินตราตางประเทศที่จะมีในอนาคต สัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศลวงหนาเปนเครื่องมือทางการเงินที่ใชในการปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยน โดยกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตที่สินทรัพยหรือหนี้สินที่เปนเงินตราตางประเทศที่จะไดรับหรือตอง จายชําระ สัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศลวงหนาจะรับรูในงบการเงิน ณ วันทําสัญญาและจะถูกวัดมูลคา ณ วันที่ รายงานดวยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น คาธรรมเนียมสวนเกินหรือสวนลดที่เกิดขึ้นจากการทําสัญ ญาซื้อขายเงินตรา ตางประเทศลวงหนาจะตัดจําหนายตลอดอายุของสัญญา 27 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ160 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย เปนการตกลงระหวางกลุมบริษัทและคูสัญญาที่จะแลกเปลี่ยนเงินตน ในสกุลเงินที่แตกตางกันเมื่อวันเริ่มแรกของสัญญา โดยอาจทยอยแลกเปลี่ยนในระหวางระยะเวลาของสัญญาหรือเมื่อครบ กําหนดอายุสัญญาแลวแตการตกลงกันของคูสัญญา นอกจากนั้น คูสัญญาแตละฝายจะจายและรับดอกเบี้ยที่คํานวณจากเงิน ตนและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไวลวงหนาตลอดอายุสัญญา รายการลูกหนี้และเจาหนี้ตามสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ยซึ่งมีไวเพื่อปองกันความเสี่ยงที่เกิดจาก การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในตลาด ในสวนของลูกหนี้และเจาหนี้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ตางประเทศจะถูกแปลงคาตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กําไรขาดทุนที่ยังไมเกิดขึ้นจากการแปลงคา เงินตราตางประเทศดังกลาวจะถูกบันทึกในสวนของกําไรหรือขาดทุน ในขณะที่ผลตางที่กลุมบริษัทจะไดรับหรือตองจายชําระ ตามสวนของการตกลงแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจะถูกบันทึกเปนสวนหนึ่งของรายไดหรือคาใชจายดอกเบี้ยตลอดอายุของ สัญญา กําไรและขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาหรือการชําระคืนเงินกูยืมกอนกําหนดรับรูเปนรายไดหรือคาใชจายในสวนของ กําไรหรือขาดทุน การปองกันความเสี่ยงจากราคาน้ํามันและคาระวางเรือ ผลตางที่เกิดจากสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ํามันถูกรับรูแ ละบันทึกโดยปรับปรุงกับราคาตนทุนของน้ํามันที่ไดรับการปองกันความ เสี่ยงนั้น ในกรณีของสัญญาซื้อขายคาระวางเรือลวงหนา จํานวนเงินที่ไดรับหรือจายเมื่อชําระดวยเงินสด ซึ่งเปนกําไรหรือ ขาดทุนจะถูกบันทึกรอไวในบัญชีและรับรูตลอดชวงอายุของสินทรัพยหรือหนี้สินที่เปนตัวเงินโดยการปรับปรุงกับรายไดคา ระวาง ในกรณีของสัญญาซื้อคาระวางเรือชนิดสามารถเลือกใชสิทธิ สวนเพิ่มที่จายจะรวมเปนสินทรัพยอื่นหรือหนี้สินอื่นในงบ แสดงฐานะการเงิน และจะตัดบัญชีเปนดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจายตลอดอายุของสัญญา (ง)

เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดในงบกระแสเงินสดประกอบดวย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคลองสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะตองชําระคืนเมื่อทวงถามถือเปนสวนหนึ่งของเงินสดและ รายการเทียบเทาเงินสด/กิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด

(จ) ลูกหนีก้ ารคาและลูกหนี้อนื่ ลูกหนี้การคาและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจงหนี้หักคาเผื่อหนีส้ งสัยจะสูญ คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะหประวัติการชําระหนี้ และการคาดการณเกี่ยวกับการชําระหนี้ในอนาคตของลูกคา ลูกหนี้จะถูกตัดจําหนายจากบัญชีเมื่อทราบวาเปนหนี้สูญ (ฉ) สินคาคงเหลือ สินคาคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลคาสุทธิที่จะไดรับแลวแตราคาใดจะต่ํากวา

28 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

161

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ตนทุนของสินคาคํานวณโดยใชวิธีถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก ตนทุนสินคาประกอบดวยตนทุนซื้อ ตนทุนแปลงสภาพหรือตนทุนอื่น เพื่อใหสินคาอยูในสถานที่และสภาพปจจุบัน ในกรณีของสินคาที่ผลิตเองและสินคาระหวางผลิต ตนทุนของสินคาไดรวมการปน สวนของคาโสหุยการผลิตอยางเหมาะสมโดยคํานึงถึงระดับกําลังการผลิตตามปกติ มูลคาสุทธิที่จะไดรับเปนการประมาณราคาที่จะขายไดจากการดําเนินธุรกิจปกติหักดวยคาใชจายที่จําเปนโดยประมาณการใน การขาย (ช) วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเลสวนใหญประกอบดวยน้ํามัน วัสดุและของใชสิ้นเปลืองประจําเรือเดินทะเล น้ํามัน แสดงตามราคาทุนโดยวิธีเขากอนออกกอน วัสดุและของใชสิ้นเปลืองประจําเรือเดินทะเลแสดงตามราคาทุนโดยใชวิธีถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก สวนวัสดุและของใชสิ้นเปลืองประจําเรือขุดเจาะแสดงตามราคาทุนเริ่มแรกโดยใชหลักเกณฑราคาเฉพาะเจาะจง วัสดุ และของใชสิ้นเปลืองประจําเรือเดินทะเล และเรือขุดเจาะที่ซื้อเพื่อเปลี่ยนแทนวัสดุสิ้นเปลืองที่ถูกใชไปในระหวางปแสดงเปน คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล และคาใชจายในการบริการจากธุรกิจนอกชายฝงในงบกําไรขาดทุน (ซ) สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขาย สินทรัพยไมหมุนเวียน ( หรือกลุมสินทรัพยที่ยกเลิกซึ่งประกอบดวยสินทรัพยและหนี้สิน) ที่คาดวามูลคาตามบัญชีที่จะไดรับคืน สวนใหญ มาจากการขายมากกวามาจากการใชสินทรัพยนั้นต อไป จัดเปนประเภทสินทรัพยที่ถือไวเพื่ อขาย สิ นทรัพย (หรือ สวนประกอบของกลุมสินทรัพยที่ยกเลิก) วัดมูลคาดวยจํานวนที่ต่ํากวาระหวางมูลคาตามบัญชีกับมูลคายุติธรรมหักตนทุนในการ ขาย ผลขาดทุนจากการดอยคาสําหรับกลุมสินทรัพยที่ยกเลิกนําไปปนสวนใหกับคาความนิยมเปนลําดับแรก แลวจึงปนสวนใหกับ ยอดคงเหลือของสินทรัพยและหนี้สินตามสัดสวน ยกเวนไมปนสวนรายการขาดทุนใหกับสินคาคงเหลือ สินทรัพยทางการเงิน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี และอสังหาริมทรัพยเพื่อการลงทุน ผลขาดทุนจากการดอยคาสําหรับการลดมูลคาในครั้งแรก และผลกําไรและขาดทุนจากการวัดมูลคาในภายหลังรับรูในกําไรหรือขาดทุน ผลกําไรรับรูไมเกินยอดผลขาดทุนจากการดอยคา สะสมที่เคยรับรู (ฌ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใชวิธีราคาทุน สวน การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษทั รวมและการรวมคาในงบการเงินรวมใชวิธีสวนไดเสีย เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนอื่น ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเปนหลักทรัพยในความตองการของตลาดซึ่งถือไวเพื่อคา จัดประเภทเปนสินทรัพยหมุนเวียนและ แสดงในมูลคายุติธรรม กําไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพยไดบันทึกในกําไรหรือขาดทุน 29 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ162 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ตราสารหนี้ซึ่งกลุมบริษัทตั้งใจและสามารถถือจนครบกําหนดจัดประเภทเปนเงินลงทุนที่จะถือจนครบกําหนด เงินลงทุนที่จะ ถือจนครบกําหนด แสดงในราคาทุนตัดจําหนายหักดวยขาดทุนจากการดอยคาของเงินลงทุน ผลตางระหวางราคาทุนที่ซื้อมา กับมูลคาไถถอนของตราสารหนี้จะถูกตัดจายโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่เหลือ ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเปนหลักทรัพยในความตองการของตลาด นอกเหนือจากที่ถือไวเพื่อคาหรือตั้งใจถือไวจนครบ กําหนดจัดประเภทเปนเงินลงทุนเผื่อขาย ภายหลังการรับรูมูลคาในครั้งแรก เงินลงทุนเผื่อขายจะแสดงในมูลคายุติธรรม และ การเปลี่ยนแปลงที่ไมใชผลขาดทุนจากการดอยคาและผลตางจากสกุลเงินตราตางประเทศของรายการที่เปนตัวเงิน บันทึก โดยตรงในสวนของผูถือหุน สวนผลขาดทุนจากการดอยคาและผลตางจากการแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศรับรูในกําไรหรือ ขาดทุน เมื่อมีการตัดจําหนายเงินลงทุน จะรับรูผลกําไรหรือขาดทุนสะสมที่เคยบันทึกในสวนของผูถือหุนโดยตรงเขากําไรหรือ ขาดทุน ในกรณีที่เปนเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ย จะตองบันทึกดอกเบี้ยในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไมใชหลักทรัพยในความตองการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการดอยคา มูล คา ยุติธ รรมของเครื่อ งมือ ทางการเงิน สํา หรับ หลัก ทรัพ ยเพื่อ คา และหลัก ทรัพ ยเผื่อ ขายจะใชร าคาเสนอซื้อ ณ วัน ที่ รายงาน การจําหนายเงินลงทุน เมื่อมีการจําหนายเงินลงทุน ผลตางระหวางจํานวนเงินสุทธิที่ไดรับและมูลคาตามบัญชีและรวมถึงกําไรหรือขาดทุนสะสมที่เคย บันทึกในสวนของผูถือหุน จะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุน ในกรณีที่กลุมบริษัทจําหนายบางสวนของเงินลงทุนที่ถืออยู การคํานวณตนทุนสําหรับเงินลงทุนที่จําหนายไปและเงินลงทุนที่ยัง ถืออยูใ ชวิธีถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักปรับใชกับมูลคาตามบัญชีของเงินลงทุนที่เหลืออยูทั้งหมด (ญ) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ การรับรูและการวัดมูลคา สินทรัพยที่เปนกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณแสดงดวยราคาทุนหักคาเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการดอยคา (ถามี) ราคาทุนรวมถึงตนทุนทางตรงที่เกี่ยวของกับการไดมาของสินทรัพย ตนทุนของการกอสรางสินทรัพยที่กิจการกอสรางเอง ซึ่ง รวมถึงตนทุนของวัสดุ แรงงานทางตรง และตนทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับการจัดหาสินทรัพยเพื่อใหสินทรัพยนั้นอยูใน สภาพที่พรอมจะใชงานไดตามความประสงค ตนทุนในการรื้อถอน การขนยาย การบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพยและตนทุน การกูยืม สําหรับเครื่องมือที่ควบคุมโดยลิขสิทธิ์ซอฟแวรซึ่งไมสามารถทํางานไดโดยปราศจากลิขสิทธิ์ซอฟแวรนั้นใหถือวา ลิขสิทธิ์ซอฟแวรดังกลาวเปนสวนหนึ่งของอุปกรณ 30 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


163

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ส ว นประกอบของรายการที่ ดิ น อาคาร และอุ ป กรณ แ ต ล ะรายการที่ มี อ ายุ ก ารให ป ระโยชน ไม เท า กั น ต อ งบั น ทึ ก แต ล ะ สวนประกอบที่มีนัยสําคัญแยกออกจากกัน กําไรหรือขาดทุนจากการจําหนายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ คือผลตางระหวางสิ่งตอบแทนสุทธิที่ไดรับจากการจําหนายกับ มูลคาตามบัญชีของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ โดยรับรูสุทธิเปนรายไดอื่นหรือคาใชจายในการบริหารในกําไรหรือขาดทุน สินทรัพยที่เชา การเชาซึ่งกลุมบริษัทไดรับความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพยสินที่เชาเปนสวนใหญนั้น ใหจัดประเภทเปน สัญญาเชาการเงิน สวนที่ดิน อาคาร และอุปกรณท่ไี ดมาโดยทําสัญญาเชาการเงินบันทึกเปนสินทรัพยดวยมูลคายุติธรรมหรือ มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ตองจายตามสัญญาเชาแลวแตจํานวนใดจะต่ํากวา หักดวยคาเสื่อมราคาสะสมและขาดทุน จากการดอยคา คาเชาที่ชําระจะแยกเปนสวนที่เปนคาใชจายทางการเงิน และสวนที่จะหักจากหนี้ตามสัญญา เพื่อใหอัตรา ดอกเบี้ยแตละงวดเปนอัตราคงที่สําหรับยอดคงเหลือของหนี้สิน คาใชจายทางการเงินจะบันทึกโดยตรงในกําไรหรือขาดทุน ตนทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง ตนทุนในการเปลี่ยนแทนสวนประกอบจะรับรูเปนสวนหนึ่งของมูลคาตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ถามีความ เปนไปไดคอนขางแนที่กลุมบริษัทจะไดรับประโยชนเชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสวนประกอบนั้น และสามารถวัดมูลคาตนทุนของ รายการนั้นไดอยางนาเชื่อถือ สวนประกอบที่ถูกเปลี่ยนแทนจะถูกตัดจําหนายตามมูลคาตามบัญชี ตนทุนที่เกิดขึ้นในการซอม บํารุงที่ดิน อาคาร และอุปกรณที่เกิดขึ้นเปนประจําจะรับรูในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น คาเสื่อมราคา คาเสื่อมราคาคํานวณจากมูลคาเสื่อมสภาพ ซึ่งประกอบดวยราคาทุนของสินทรัพยหรือตนทุนในการเปลี่ยนแทนหักดวยมูลคา คงเหลือของสินทรัพย คาเสื่อมราคาบันทึกเปนคาใชจายในกําไรหรือขาดทุน คํานวณโดยวิธีเสนตรงตามเกณฑอายุการใหประโยชนโดยประมาณของ สวนประกอบของสินทรัพยแตละรายการ ประมาณการอายุการใหประโยชนของสินทรัพยแตละประเภทแสดงไดดังนี้ 3 3 5 4 1 2 1 2

อาคารและโรงงาน สวนปรับปรุงอาคาร เรือสนับสนุนนอกชายฝง เรือเดินทะเล (เรือใชแลวและเรือใหม) เรือขุดเจาะมือสอง คาใชจายในการซอมเรือครั้งใหญ เครื่องจักรและอุปกรณ เครื่องตกแตง ติดตั้งและอุปกรณเครื่องใชสํานักงาน

-

20 20 30 25 20 5 20 10

ป ป ป ป ป ป ป ป

31 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ164 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน รถยนต เรือยนต เรือขนถานหิน

3 - 10 10 15 - 29

ป ป ป

ไมมีการคิดคาเสื่อมราคาสําหรับที่ดินและสินทรัพยที่อยูระหวางการกอสราง วิธีการคิดคาเสื่อมราคา อายุการใหประโยชนของสินทรัพย และมูลคาคงเหลือ ถูกทบทวนทุกสิ้นรอบปบัญชี และปรับปรุงหาก มีความเหมาะสม (ฎ) คาความนิยม การรับรูมูลคาเริ่มแรกของคาความนิยม ไดอธิบายในหมายเหตุขอ 4(ก) ภายหลังจากการรับรูเริ่มแรก คาความนิยมจะถูกวัด มูลคาดวยวิธีราคาทุนหักผลขาดทุนจากการดอยคาสะสม สําหรับตราสารทุน – การบัญชีดานผูลงทุน มูลคาตามบัญชีของคา ความนิยมรวมอยูในมูลคาตามบัญชีของเงินลงทุน และผลขาดทุนจากการดอยคาในเงินลงทุนตองไมถูกปนสวนใหสินทรัพยใด ๆ ที่เปนสวนหนึ่งของมูลคาตามบัญชีของเงินลงทุนรวมถึงคาความนิยม (ฏ) สินทรัพยไมมีตัวตน คาลิขสิทธิ์ซอฟตแวร สิท ธิ การใชลิ ข สิท ธิ์ ซอฟต แ วรที่ ไดม าจะบั น ทึ ก เป น รายจ ายฝ ายทุ น ด วยต น ทุ น ในการได ม าและการดํ าเนิ น การให ลิ ข สิท ธิ์ ซอฟตแวรนั้นสามารถใชงานได ความสัมพันธกับลูกคา ความสัมพันธกับลูกคาที่ไดมาจากการรวมธุรกิจถูกบันทึกเปนสินทรัพยดวยมูลคายุติธรรม ณ วันที่ไดมา ความสัมพันธกับลูกคา มีระยะเวลาการใหประโยชนที่จํากัดและแสดงดวยราคาทุนหักคาตัดจําหนายสะสมและคาเผื่อการดอยคา (ถามี) คาตัดจําหนาย คาตัดจําหนายคํานวณจากราคาทุนของสินทรัพยหรือจํานวนอื่นที่ใชแทนราคาทุนหักดวยมูลคาคงเหลือ

32 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


165

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

คาตัดจําหนายรับรูในกําไรขาดทุนโดยวิธีเสนตรงตลอดอายุการใหประโยชน โดยเริ่มตัดจําหนายเมื่อสินทรัพยนั้นพรอมที่จะให ประโยชน ซึ่งโดยสวนใหญจะสะทอนรูปแบบการใชประโยชนเชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพยไดใกลเคียงที่สุด ระยะเวลาที่ คาดวาจะไดรับประโยชนสําหรับปปจจุบันและปเปรียบเทียบแสดงไดดังนี้ คาลิขสิทธิ์ซอฟตแวร ความสัมพันธกับลูกคา

1 - 10 8.2

ป ป

วิธีการตัดจําหนาย ระยะเวลาที่คาดวาจะไดรับประโยชนและมูลคาคงเหลือจะไดรับการทบทวนทุกสิ้นรอบปบัญชีและปรับปรุง ตามความเหมาะสม (ฐ) การดอยคา ยอดสินทรัพยตามบัญชีของกลุมบริษัทไดรับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานวามีขอบงชี้การดอยคาหรือไม ในกรณีท่ีมีขอบงชี้ จะทําการประมาณมูลคาสินทรัพยที่คาดวาจะไดรับคืน ขาดทุ น จากการด อ ยค า รั บ รู เมื่ อ มู ล ค า ตามบั ญ ชี ข องสิ น ทรั พ ย หรื อ มู ล ค า ตามบั ญ ชี ข องหน ว ยสิ น ทรั พ ย ที่ ก อ ให เกิ ด เงินสดสูงกวามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน ขาดทุนจากการดอยคาบันทึกในกําไรหรือขาดทุน เมื่อมีการลดลงในมูลคายุติธรรมของสินทรัพยทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งบันทึกในสวนของผูถ ือหุน และมีความชัดเจนวาสินทรัพย ดังกลาวมีการดอยคา ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในสวนของผูถือหุนจะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุนโดยไมตองปรับกับยอด สินทรัพยทางการเงินดังกลาว ยอดขาดทุนที่บันทึกในกําไรหรือขาดทุนเปนผลตางระหวางราคาทุนที่ไดมากับมูลคายุติธรรมใน ปจจุบันของสินทรัพย หักขาดทุนจากการดอยคาของสินทรัพยทางการเงินนั้น ซึ่งเคยรับรูแลวในกําไรหรือขาดทุน การคํานวณมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของหลักทรัพยที่ถือไวจนกวาจะครบกําหนดที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจําหนาย คํานวณโดยการหา มูลคาปจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดที่จะไดรับในอนาคต คิดลดดวยอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของสินทรัพยทางการเงินสําหรับหลักทรัพยเผื่อขายคํานวณโดยอางอิงถึงมูลคายุติธรรม มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของสินทรัพยที่ไมใชสินทรัพยทางการเงิน หมายถึง มูลคาที่จะไดรับจากการใชของสินทรัพยหรือ มูลคายุติธรรมของสินทรัพยหักตนทุนในการขายแลวแตมูลคาใดจะสูงกวา ในการประเมินมูลคาที่จะไดรับจากการใชงานของ สินทรัพย ประมาณการกระแสเงินสดที่จะไดรับในอนาคตจะคิดลดเปนมูลคาปจจุบันโดยใชอัตราคิดลดกอนภาษีเพื่อใหสะทอน มูลคาที่อาจประเมินไดในตลาดปจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลา และความเสี่ยงที่มีตอสินทรัพย สําหรับสินทรัพยที่ไมกอใหเกิด กระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพยอื่น จะพิจารณามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนรวมกับหนวยสินทรัพยที่กอใหเกิดเงินสดที่ สินทรัพยนั้นเกี่ยวของดวย 33 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ166 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน การกลับรายการดอยคา ขาดทุนจากการดอยคาของสินทรัพยทางการเงินจะถูกกลับรายการเมื่อมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการ เพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธโดยตรงกับเหตุการณที่เกิดขึ้นภายหลังการรับรูขาดทุนจากการดอยคาที่เคยรับรูแลวในกําไรหรือขาดทุน สําหรับสินทรัพยทางการเงินที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจําหนายและตราสารหนี้ที่จัดประเภทเปนหลักทรัพยเผื่อขาย การกลับ รายการจะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุน สําหรับสินทรัพยทางการเงินที่เปนตราสารทุนที่จัดประเภทเปนหลักทรัพยเผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ขาดทุนจากการดอยคาของคาความนิยมจะไมมีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการดอยคาของสินทรัพยที่ไมใชสินทรัพย ทางการเงินอื่นที่เคยรับรูในงวดกอนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ ที่ออกรายงานวามีขอบงชี้วาขาดทุนหรือไม ขาดทุนจากการ ดอยคาจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใชในการคํานวณมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน ขาดทุนจากการ ดอยคาจะถูกกลับรายการเพียงเทาที่มูลคาตามบัญชีของสินทรัพยจะไมเกินกวามูลคาตามบัญชีภายหลังหักคาเสื่อมราคาหรือคา ตัดจําหนาย เสมือนหนึ่งไมเคยมีการบันทึกขาดทุนจากการดอยคามากอน (ฑ) หนี้สินทีม่ ีภาระดอกเบี้ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในมูลคายุติธรรมหักคาใชจายที่เกี่ยวกับการเกิดหนี้สิน ภายหลังจากการบันทึกหนี้สินที่มี ภาระดอกเบี้ยจะบันทึกตอมาโดยวิธีราคาทุนตัดจําหนาย ผลตางระหวางยอดหนี้เริม่ แรกและยอดหนี้เมื่อครบกําหนดไถถอนจะ บันทึกในกําไรหรือขาดทุนตลอดอายุการกูยืมโดยใชวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริง (ฒ) เจาหนี้การคาและเจาหนี้อื่น เจาหนี้การคาและเจาหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ณ) ผลประโยชนของพนักงาน โครงการสมทบเงิน โครงการสมทบเงินเปนโครงการผลประโยชนพนักงานหลังออกจากงาน ซึ่งกิจการจายสมทบเปนจํานวนเงินที่แนนอนไปอีก กิจการหนึ่งแยกตางหาก และจะไมมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันโดยอนุมานที่จะตองจายสมทบเพิ่มเติม ภาระ ผูกพันในการสมทบเขาโครงการสมทบเงินจะถูกรับรูเปนคาใชจายพนักงานในรอบระยะเวลาที่พนักงานไดทํางานใหกับกิจการ โครงการผลประโยชนที่กําหนดไว

34 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

167

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

โครงการผลประโยชนที่กําหนดไวเปนโครงการผลประโยชนหลังออกจากงานนอกเหนือจากโครงการสมทบเงิน การคํานวณนั้น จั ด ทํ า โดยนั ก คณิ ต ศาสตร ป ระกั น ภั ย อิ ส ระโดยวิ ธี คิ ด ลดแต ล ะหน ว ยที่ ป ระมาณการไว มู ล ค า ป จ จุ บั น ของภาระผู ก พั น ผลประโยชนคํานวณจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจายออกไปในอนาคตโดยใชอัตราดอกเบี้ยตามพันธบัตรรัฐบาลที่ใชสกุล เงิน เดี ยวกับ สกุ ลเงิน ของภาระผูก พั น และมี อายุ ก ารครบกําหนดชํ าระใกล เคี ยงกั บ ระยะเวลาที่ ต อ งจ ายผลประโยชน เมื่ อ เกษียณอายุ กําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยที่เกิดจากการปรับปรุงจากประสบการณ และ การเปลี่ยนสมมติฐานทางสถิติถูกรับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ผลประโยชนเมื่อเลิกจาง ผลประโยชนเมื่อเลิกจางจะรับรูเปนคาใชจายเมื่อวันใดวันหนึ่งตอไปนี้เกิดขึ้นกอน เมื่อกลุมบริษัทไมสามารถยกเลิกขอเสนอการ ให ผ ลประโยชน ดั งกล า วได อี ก ต อ ไป หรื อ เมื่ อ กลุ ม บริ ษั ท รั บ รูต น ทุ น สํ าหรั บ การปรั บ โครงสร าง หากระยะเวลาการจ า ย ผลประโยชนเกินกวา 12 เดือนนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ผลประโยชนเมื่อเลิกจางจะถูกคิดลดกระแสเงินสด ผลประโยชนระยะสั้นของพนักงาน ภาระผูกพันผลประโยชนระยะสั้นของพนักงานวัดมูลคาโดยมิไดคิดลดกระแสเงินสดและรับรูเปนคาใชจายเมื่อพนักงานทํางาน ให หนี้สินรับรูดวยมูลคาที่คาดวาจะจายชําระสําหรับแผนระยะสั้นในการจายโบนัสเปนเงินสด หากกลุมบริษัทมีภาระผูกพันตาม กฎหมายหรือภาระผูกพันโดยอนุมานที่จะตองจายอันเปนผลมาจากการที่พนักงานไดทํางานใหในอดีตและภาระผูกพัน นี้ สามารถประมาณไดอยางสมเหตุสมผล การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ กลุมบริษัทดําเนินโครงการผลตอบแทนพนักงานโดยใชหุนเปนเกณฑที่ชําระดวยตราสารทุน โดยที่กิจการไดรับบริการจาก พนั กงาน เป นสิ่ งตอบแทนสํ าหรับ ตราสารทุ น (สิท ธิซื้อหุ น ) ที่ กิจ การออกให มู ลค ายุ ติธรรมของบริการของพนั กงานเพื่ อ แลกเปลี่ยนกับการใหสิทธิซื้อหุนจะรับรูเปนคาใชจาย จํานวนรวมที่ตัดเปนคาใชจายจะอางอิงจากมูลคาของยุติธรรมของสิทธิ ซื้อหุนที่ออกใหโดย • รวมเงื่อนไขทางการตลาด • ไมรวมผลกระทบของการบริการและเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขการตลาด (ตัวอยางเชน ความสามารถทํากําไร การ เติบโตของกําไรตามที่กําหนดไว และพนักงานจะยังเปนพนักงานของกิจการในชวงเวลาที่กําหนด) และ • ไมรวมผลกระทบของเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขการบริการหรือผลงาน (ตัวอยางเชน ขอกําหนดดานความปลอดภัย ของพนักงาน)

35 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ168 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน เงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขทางตลาดจะรวมอยูในขอสมมติฐานเกี่ยวกับจํานวนของสิทธิซ้ือหุนที่คาดวาจะไดรับสิทธิ คาใชจายทั้งหมดจะรับรูตลอดระยะเวลาไดรับสิทธิ ซึ่งเปนไปตามเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่กําหนดไว กลุมบริษัทจะทบทวนการ ประเมินจํานวนของสิทธิซื้อหุนที่คาดวาจะไดรับสิทธิ ซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขการตลาด และจะรับรู ผลกระทบของการปรับปรุงประมาณการเริ่มแรกในงบกําไรหรือขาดทุนพรอมกับการปรับปรุงรายการไปยังสวนของผูถือหุน ณ วันที่สิ้นรอบระยะเวลาการรายงาน เมื่อมีการใชสิทธิ บริษัทจะออกหุนใหม สิ่งตอบแทนที่ไดรับสุทธิของตนทุนในการทํารายการทางตรงจะเครดิตไปยังทุนเรือนหุน (มูลคาตามบัญชี) และสวนเกินมูลคาหุนเมื่อมีการใชสิทธิ กรณี ที่ ก ลุ ม บริ ษั ท ให สิ ท ธิ ซื้ อ ตราสารทุ น แก พ นั ก งานของกลุ ม บริ ษั ท และปฏิ บั ติ เ หมื อ นการเพิ่ ม ทุ น อย า งหนึ่ ง กลุมบริษัทตองวัดมูลคายุติธรรมของบริการของพนักงาน โดยอางอิงกับมูลคายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกให มูลคาของตรา สารทุนเหลานั้นตองวัด ณ วันที่ใหสิทธิ ซึ่งจะรับรูตลอดระยะเวลาที่ไดรับสิทธิ เชนเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนใน บริษัทยอย และบันทึกไปยังสวนของผูถือหุน (ด) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรูก็ตอเมื่อกลุมบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปจจุบันหรือที่กอตัวขึ้นอันเปนผลมาจาก เหตุการณ ในอดีต และมีความเปนไปไดคอนขางแนนอนวาประโยชนเชิงเศรษฐกิจจะตองถูกจายไปเพื่อชําระภาระหนี้สิน ดังกลาว ประมาณการหนี้สนิ พิจารณาจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจายในอนาคตโดยใชอัตราคิดลดในตลาดปจจุบันกอน คํานึงถึงภาษีเงินได เพื่อใหสะทอนจํานวนที่อาจประเมินไดในตลาดปจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีตอหนี้สิน ประมาณการคาใชจายจากสัญญาที่เสียเปรียบหรือกอใหเกิดภาระ ประมาณการคาใชจายของสัญญาที่เสียเปรียบหรือกอใหเกิดภาระแกกลุมบริษัทจะบันทึกเมื่อประโยชนท่ีกลุมบริษัทพึงไดรับ นอยกวาตนทุนที่จําเปนในการดําเนินการตามขอผูกพันในสัญญา การประมาณคาใชจายรับรูดวยมูลคาปจจุบันของตนทุนสุทธิ ที่คาดวาจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดสัญญา หรือ ตนทุนสุทธิที่คาดวาจะเกิดขึ้นเมื่อดําเนินสัญญาตอ แลวแตมูลคาใดจะต่ํากวา (ต) ทุนเรือนหุน หุนสามัญ หุนสามัญจัดประเภทเปนทุน ตนทุนสวนเพิ่มที่เกี่ยวของโดยตรงกับการออกหุนสามัญและสิทธิซื้อหุน (สุทธิจากผลกระทบทาง ภาษี) รับรูเปนรายการหักจากสวนของทุน (ถ) รายได รายไดที่รับรูไมรวมภาษีมูลคาเพิ่ม และแสดงสุทธิจากสวนลดการคา และสวนลดพิเศษ 36 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

169

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายไดจากการใหบริการ กลุมบริษัทรับรูคาระวางเรือแตละเที่ยวเปนรายไดเมื่อเที่ยวเรือสิ้นสุดลงและรับรูรายไดคาระวางเรือของเที่ยวที่ยังอยูระหวาง การเดินทาง ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน โดยกลุมบริษัทจะรับรูรายไดตามสัดสวนของระยะเวลาที่เรือไดเดินทางไปแลว เทียบกับระยะเวลาที่ตองใชในการเดินเรือทั้งหมดของเที่ยวเรือนั้น คาระวางที่แสดงอยูในงบกําไรขาดทุนเปนยอดสุทธิหลังหัก คานายหนาที่เกี่ยวของ กลุมบริษัทรับรูรายไดจากการใหบริการนอกชายฝงแกลูกคาเมื่อไดใหบริการโดยอางอิงตาม (ก) อัตราคาบริการรายวันตาม สัญญา และจํานวนวันที่ดําเนินงานในระหวางงวด หรือ (ข) อัตราคาบริการที่ตกลงกันตามสัญญา กิจกรรมการเคลื่อนยายอุปกรณเกี่ยวกับเรือขุดเจาะ เปนการเคลื่อนยายเรือขุดเจาะจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งภายใต สัญญาบริการ สัญญาบริการบางสัญญาไดรวมคาธรรมเนียมการเคลื่อนยายอุปกรณเกี่ยวกับเรือขุดเจาะซึ่งจะมีการจาย ณ วัน เริ่มตนสัญญา ในกรณีที่คาธรรมเนียมการเคลื่อนยายอุปกรณเรือขุดเจาะรวมถึงคาปรับปรุงโดยทั่วไปหรือเจาะจงสําหรับเรือขุด เจาะหรืออุปกรณเพื่อใหเปนไปตามที่ผรู ับบริการตองการ คาธรรมเนียมดังกลาวจะรับรูเปนรายไดตลอดอายุของสัญญา ในกรณี ที่คาธรรมเนียมการเคลื่อนยายอุปกรณเรือขุดเจาะรวมคาใชจายในการเริ่มดําเนินงาน ณ วันเริ่มตนของสัญญา คาธรรมเนียม ดังกลาวจะรับรูเปนรายไดในงวดเดียวกันกับที่เกิดคาใชจาย การขายสินคา รายไดจากการขายสินคารับรูเมื่อไดโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเปนเจาของสินคาที่มีนัยสําคัญไปใหกับผูซื้อแลว และจะไมรับรูรายไดถาฝายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินคาที่ขายไปแลวนั้นหรือมีความไมแนนอนที่มีนัยสําคั ญ เกี่ยวกับการไดรับชําระเงิน ตนทุนที่เกิดขึ้น หรือมีความเปนไปไดคอนขางแนที่จะตองรับคืนสินคา คานายหนา คานายหนาจากการใหบริการแกเรือและคาบริการตางๆ รับรูเปนรายไดเมื่อบริษัทไดใหบริการแลวเสร็จและเรียกเก็บเงิน รายไดคาเชา รายไดคาเชารับรูตามเกณฑคงคางตามจํานวนที่ระบุในสัญญาเชา รายไดเงินปนผล รายไดเงินปนผลรับรูในกําไรหรือขาดทุนในวันที่กลุมบริษัทมีสิทธิไดรับเงินปนผล ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยรับรูในกําไรหรือขาดทุนตามเกณฑคงคาง

37 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ170 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน (ท) ตนทุนทางการเงิน ตนทุนทางการเงินประกอบดวยดอกเบี้ยจายของเงินกูยืม ขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพยทางการเงินที่ถือไวเพื่อขาย และ ขาดทุนจากมูลคายุติธรรมของสินทรัพยทางการเงินที่รับรูในกําไรหรือขาดทุน ตนทุนการกูยืมที่ไมไดเกี่ยวกับการไดมา การกอสรางหรือ การผลิตสินทรัพยท่ีเขาเงื่อนไข รับรูในกําไรหรือขาดทุนโดยใชวิธี อัตราดอกเบี้ยที่แทจริง (ธ)

สัญญาเชาดําเนินงาน รายจายภายใตสัญญาเชาดําเนินงานบันทึกในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีเสนตรงตลอดอายุสญ ั ญาเชา คาเชาที่อาจเกิดขึ้นตองนํามารวมคํานวณจํานวนเงินขั้นต่ําที่ตองจายตามระยะเวลาที่คงเหลือของสัญญาเชา เมื่อไดรับการ ยืนยันการปรับคาเชา

(น) ภาษีเงินได คาใชจายภาษีเงินไดสําหรับปประกอบดวยภาษีเงินไดของงวดปจจุบันและภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ภาษีเงินไดของงวดปจจุบัน และภาษี เงินได รอการตัด บัญ ชีรับ รูในกําไรหรือขาดทุ นเวนแต ในสวนที่เกี่ยวกับ รายการที่เกี่ยวของในการรวมธุรกิจ หรือ รายการที่รับรูโดยตรงในสวนของผูถือหุนหรือกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ภาษีเงินไดของงวดปจจุบันไดแกภาษีที่คาดวาจะจายชําระหรือไดรับชําระ โดยคํานวณจากกําไรหรือขาดทุนประจําปที่ตองเสีย ภาษี โดยใชอัตราภาษีที่ประกาศใชหรือที่คาดวามีผลบังคับใช ณ วันที่รายงาน ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการ ในปกอนๆ ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีบันทึกโดยคํานวณจากผลแตกตางชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหวางมูลคาตามบัญชีของสินทรัพยและหนี้สิน และจํานวนที่ใชเพื่อความมุงหมายทางภาษี ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีจะไมถูกรับรูเมื่อเกิดจากผลแตกตางชั่วคราวตอไปนี้ การรับรูคาความนิยมในครั้งแรก การรับรูสินทรัพยหรือหนี้สนิ ในครั้งแรกซึ่งเปนรายการที่ไมใชการรวมธุรกิจและรายการนั้นไม มีผลกระทบตอกําไรขาดทุนทางบัญชีหรือทางภาษี และผลแตกตางที่เกี่ยวของกับเงินลงทุนในบริษัทยอยและการรวมคาหาก เปนไปไดวาจะไมมีการกลับรายการในอนาคตอันใกล การวัดมูลคาของภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีตองสะทอนถึงผลกระทบทางภาษีที่จะเกิดจากลักษณะวิธีการที่กลุมบริษัทคาดวาจะ ไดรับผลประโยชนจากสินทรัพยหรือจะจายชําระหนี้สินตามมูลคาตามบัญชี ณ วันที่สิ้นรอบระยะเวลาที่รายงาน ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีวัดมูลคาโดยใชอัตราภาษีที่คาดวาจะใชกับผลแตกตางชั่วคราวเมื่อมีการกลับรายการโดยใชอัตราภาษี ที่ประกาศใชหรือที่คาดวามีผลบังคับใช ณ วันที่รายงาน

38 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

171

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ในการกําหนดมูลคาของภาษีเงินไดของงวดปจจุบันและภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี กลุมบริษัทตองคํานึงถึงผลกระทบของ สถานการณทางภาษีที่ไมแนนอนและอาจทําใหจํานวนภาษีที่ตองจายเพิ่มขึ้น และมีดอกเบี้ยที่ตองชําระ กลุมบริษัท เชื่อวาได ตั้งภาษีเงินไดคางจายเพียงพอสําหรับภาษีเงินไดที่จะจายในอนาคต ซึ่งเกิดจากการประเมินผลกระทบจากหลายปจจัย รวมถึง การตีความทางกฏหมายภาษี และจากประสบการณในอดีต การประเมินนี้อยูบนพื้นฐานการประมาณการและขอสมมติฐาน และอาจจะเกี่ยวของกับการตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณในอนาคต ขอมูลใหมๆอาจจะทําใหกลุมบริษัทเปลี่ยนการตัดสินใจโดย ขึ้นอยูกับความเพียงพอของภาษีเงินไดคางจายที่มีอยู การเปลี่ยนแปลงในภาษีเงินไดคางจายจะกระทบตอคาใชจายภาษีเงินได ในงวดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีสามารถหักกลบไดเมื่อกิจการมีสิทธิตามกฎหมายที่จะ นําสินทรัพยภาษีเงินไดของงวดปจจุบันมาหักกลบกับหนี้สินภาษีเงินไดของงวดปจจุบันและภาษีเงินไดนี้ประเมินโดยหนวยงาน จัดเก็บภาษีหนวยงานเดียวกันสําหรับหนวยภาษีเดียวกันหรือหนวยภาษีตางกัน สําหรับหนวยภาษีตางกันนั้นกิจการมีความ ตั้งใจจะจายชําระหนี้สินและสินทรัพยภาษีเงินไดของงวดปจจุบันดวยยอดสุทธิหรือตั้งใจจะรับคืนสินทรัพยและจายชําระหนี้สิน ในเวลาเดียวกัน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีจะบันทึกตอเมื่อมีความเปนไปไดคอนขางแนนอนวากําไรเพื่อเสียภาษีในอนาคตจะมีจํานวน เพียงพอกับการใชประโยชนจากผลแตกตางชั่วคราวดังกลาว สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีจะถูกทบทวน ณ ทุกวันที่ รายงานและจะถูกปรับลดลงเทาที่ประโยชนทางภาษีจะมีโอกาสถูกใชจริง (บ) กําไรตอหุน กลุมบริษัทแสดงกําไรตอหุนขั้นพื้นฐานและกําไรตอหุนปรับลดสําหรับหุนสามัญ กําไรตอหุนขั้นพื้นฐานคํานวณโดยการหาร กําไรหรือขาดทุนของผูถ ือหุนสามัญของบริษัท ดวยจํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่ออกจําหนายระหวางป กําไรตอหุน ปรับลดคํานวณโดยการหารกําไรหรือขาดทุนของสวนที่เปนของผูถือหุนสามัญที่ปรับปรุงดวยจํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ยถวง น้ําหนักที่ออกจําหนาย และผลกระทบของตราสารที่อาจเปลี่ยนเปนหุนสามัญปรับลดทั้งหมดและสิทธิซื้อหุนของพนักงาน (ป) การจายเงินปนผล เงินปนผลที่จะจายใหแกผูถือหุนของบริษัทจะบันทึกเปนหนี้สินในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการในงวดที่มีการอนุมัติ โดยคณะกรรมการของบริษัท สําหรับเงิน ปน ผลระหวางกาล และเมื่ อมีการอนุมั ติโดยผูถือ หุนของบริษั ทสํ าหรับ เงินป นผล ประจําป (ผ) รายงานทางการเงินจําแนกตามสวนงาน ผลการดํ าเนิ นงานของส วนงานที่ รายงานตอประธานเจาหนาที่ บ ริห ารของกลุม บริษั ท (ผู มีอํ านาจตัด สิน ใจสูงสุด ดานการ ดําเนินงาน) จะแสดงถึงรายการที่เกิดขึ้นจากสวนงานดําเนินงานนั้นโดยตรงรวมถึงรายการที่ไดรับการปนสวนอยางสมเหตุสมผล

39 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย บริษ172 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 5

บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน เพื่อวัตถุประสงคในการจัดทํางบการเงิน บุคคลหรือกิจการเปนบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกันกับกลุมบริษัท หากกลุมบริษัทมี อํานาจควบคุมหรือควบคุมรวมกันไมวาทั้งทางตรงหรือทางออม หรือมีอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญตอบุคคลหรือกิจการในการตัดสินใจ ทางการเงินและการบริหารหรือในทางกลับกัน หรือกลุมบริษัทอยูภายใตการควบคุมเดียวกันหรืออยูภายใตอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญ เดียวกันกับบุคคลหรือกิจการนั้น การเกี่ยวของกันนี้อาจเปนรายบุคคลหรือเปนกิจการ ความสัมพันธกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน ยกเวนบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา ที่ไดเปดเผยไวแลวในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินขอ 12 และ 13 มีดังนี้ ชื่อกิจการ/บุคคล ผูบริหารสําคัญ

ประเทศที่จัดตั้ง/ สัญชาติ หลายสัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ บุคคลที่มีอํานาจและความรับผิดชอบการวางแผน สั่งการและควบคุม กิจกรรมตาง ๆ ของกิจการไม วาทางตรงหรือทางออม ทั้ งนี้ รวมถึ ง กรรมการของกลุมบริษัท (ไมวาจะทําหนาที่ในระดับบริหารหรือไม)

นโยบายการกําหนดราคาสําหรับแตละประเภทรายการอธิบายไดดังตอไปนี้ รายการ รายไดคาบริการสารสนเทศและคาเชา สํานักงานและอุปกรณสํานักงาน รายไดคาบริการจากธุรกิจนอกชายฝง รายไดคาบริการ รายไดคาบริหารจัดการ ดอกเบี้ยรับ/ดอกเบีย้ จาย คาธรรมเนียมการบริหารและการจัดการ คาใชจายบริการสารสนเทศและคาบริการ คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับ เรือเดินทะเล คาใชจายในการบริการจากธุรกิจ นอกชายฝง และตนทุนขาย

นโยบายการกําหนดราคา ราคาปกติที่ใหบริการกับบุคคลภายนอก ราคาปกติที่ใหบริการกับบุคคลภายนอก ราคาปกติที่ใหบริการกับบุคคลภายนอก ราคาตนทุนบวกกําไรสวนเพิ่ม อางอิงกับอัตราตลาด/ตนทุนการกูยืมของบริษัทที่ใหเงินกู ราคาตนทุนบวกกําไรสวนเพิ่ม ราคาปกติที่รับบริการจากบุคคลภายนอก ราคาปกติที่รับบริการจากบุคคลภายนอก

40 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


173

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายการที่มีสาระสําคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกันสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 สรุปไดดังนี้ งบการเงินรวม สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 บริษัทยอย รายไดคาบริการสารสนเทศและคาเชา สํานักงานและอุปกรณสํานักงาน รายไดอื่น ดอกเบี้ยรับ คาใชจายบริการสารสนเทศและคาบริการ ดอกเบี้ยจาย

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 (พันบาท)

-

18,451 997 22,964 1,432 1,468

4,534 160 4,732 481 33,661

การรวมคา รายไดคาบริการสารสนเทศและคาเชา สํานักงานและอุปกรณสํานักงาน รายไดคาบริการจากธุรกิจนอกชายฝง ดอกเบี้ยรับ คาใชจายในการบริการจากธุรกิจนอกชายฝง คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล ตนทุนขาย คาใชจายในการบริหาร คาธรรมเนียมการบริหารและการจัดการ ดอกเบี้ยจาย

49,113 2,670,485 176 19,535 137 75,918 61,085 3,848 211

9,614 691,913 45 4,780 11 12,882 12,496 300 -

176 -

45 -

บริษัทรวม รายไดคาบริการสารสนเทศและคาเชา สํานักงานและอุปกรณสํานักงาน รายไดอื่น คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล คาใชจายเกี่ยวกับอุปกรณสํานักงาน ตนทุนขาย คาใชจายในการบริหาร

3,573 79 162 3 13,533 12,419

1,721 313 4,038 1,590

3,330 317 3 -

1,721 313 -

41 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


174 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนต งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิซ น ีส ข อ จํ งบาริกั ษัด ท (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 ผูบริหารสําคัญ คาตอบแทนผูบริหารสําคัญ ผลประโยชนระยะสั้น ผลประโยชนหลังการจางงาน รวมคาตอบแทนผูบริหารสําคัญ

224,851 11,008 235,859

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 (พันบาท)

48,997 2,660 51,657

76,964 8,518 85,482

14,048 2,130 16,178

คาตอบแทนผูบริหารสําคัญประกอบดวยเงินเดือน ผลประโยชนอื่น คาตอบแทนอื่น และคาเบี้ยประชุม ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีดังนี้

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

ลูกหนีก้ ารคา การรวมคา

ลูกหนีก้ ิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย การรวมคา บริษัทรวม หัก คาเผื่อหนีส้ งสัยจะสูญ สุทธิ

8

1,591,778

1,094,436

-

-

276,040 8,535 284,575 (275,888) 8,687

256,920 1,937 258,857 (248,055) 10,802

463,201 32 181 463,414 (342,497) 120,917

465,676 32 931 466,639 466,639

42 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


175

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

เงินใหกูระยะสัน้ แกกิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย การรวมคา หัก คาเผื่อการดอยคา สุทธิ

155,181 155,181 (155,181) -

141,741 141,741 (141,741) -

5,689,152 5,689,152 (172,140) 5,517,012

1,462,280 1,462,280 1,462,280

บริษัท เงินใหกูระยะสั้นแกบริษัทยอยมีกําหนดเวลาชําระคืนเมื่อทวงถามและไมมีหลักประกัน โดยเงินใหกูแกบริษัทยอยแหงหนึ่งคิด ดอกเบี้ยในอัตรารอยละ 4.6 ถึงรอยละ 4.7 ตอป (31 ธันวาคม 2557: รอยละ 4.6 ตอป) รายการเคลื่อนไหวของเงินใหกูระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกันระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และระหวางงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้

หมายเหตุ เงินใหกูระยะสัน้ แกกิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย ณ วันที่ 1 มกราคม/ 1 ตุลาคม เพิ่มขึ้น ชําระคืน กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึน้ จริง การดอยคา ผลตางจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงคา หนวยเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

28

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

-

-

1,462,280 4,564,516 (353,341) (1,035) (172,140)

2,083,753 756,894 (1,296,489) (90,965) -

-

-

16,732 5,517,012

9,087 1,462,280

43 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 176 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม 2558 2557 เงินใหกูระยะยาวแกกจิ การที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย การรวมคา

644,450 644,450 (642,377) 2,073

หัก คาเผื่อการดอยคา สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

588,814 588,814 (586,741) 2,073

3,977,053 2,073 3,979,126 (3,962,053) 17,073

3,977,053 2,073 3,979,126 (3,278,045) 701,081

บริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทไดใหเงินกูระยะยาวในสกุลเงินบาทซึ่งเปนเงินใหกูที่ไมมีหลักประกันแกบริษัทยอย เปน จํานวนเงินทั้งสิ้น 3,977 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 3,977 ลานบาท) โดยเงินใหกูแกบริษัทยอยแหงหนึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่ ธนาคารพาณิชยเรียกเก็บจากลูกคารายใหญชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (“MOR”) บวกสวนเพิ่มตอป (31 ธันวาคม 2557: อัตราดอกเบี้ย MOR บวกสวนเพิ่มตอป) นอกจากนี้ บริษัทยังใหเงินกูระยะยาวที่ไมมีหลักประกันแกการรวมคาแหงหนึ่งจํานวน 2.1 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 2.1 ลาน บาท) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย MOR บวกสวนเพิ่มตอป (31 ธันวาคม 2557: อัตราดอกเบี้ย MOR บวกสวนเพิ่มตอป) รายการเคลื่อนไหวของเงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกันระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และระหวางงวดสาม เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวม 2558 2557 หมายเหตุ เงินใหกูยืมระยะยาวแกกิจการ ที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย ณ วันที่ 1 มกราคม / 1 ตุลาคม ชําระคืน กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง การดอยคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม หัก สวนของเงินใหกูระยะยาวที่ถึงกําหนด ชําระภายในหนึ่งป เงินใหกูระยะยาว - สุทธิจากสวนที่ถึง กําหนดชําระภายในหนึ่งป

(พันบาท)

28

44 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

-

-

699,008 (684,008) 15,000

1,340,526 (612,257) 10,356 (39,617) 699,008

-

-

(7,500)

(4,500)

-

-

7,500

694,508


177

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

การรวมคา ณ วันที่ 1 มกราคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม หัก สวนของเงินใหกูระยะยาวที่ถึงกําหนด ชําระภายในหนึ่งป เงินใหกูระยะยาว - สุทธิจากสวนที่ถึง กําหนดชําระภายในหนึ่งป

2,073 2,073

2,073 2,073

2,073 2,073

2,073 2,073

(2,073)

(2,073)

(2,073)

(2,073)

-

-

-

งบการเงินรวม 2558 2557

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

เจาหนี้กิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย การรวมคา บริษัทรวม เงินกูระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย การรวมคา

8,145 1,487 9,632

5,492 206 5,698

3,300 3,300

-

57,905 57,905

55,407 55,407

1,403,305 1,403,305

1,287,653 1,287,653

บริษัท เงินกูระยะสั้นจากบริษัทยอยมีกําหนดเวลาชําระคืนเมื่อทวงถามและไมมีหลักประกัน โดยเงินกูจากบริษัทยอยแหงหนึ่งคิดอัตรา ดอกเบี้ยรอยละ 2.2 ตอป (31 ธันวาคม 2557: รอยละ 2.2 ตอป) งบการเงินรวม เงินกูระยะสั้นจากการรวมคามีกําหนดเวลาชําระคืนเมื่อทวงถามและไมมีหลักประกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ย MOR บวกสวนเพิ่ม ตอป (31 ธันวาคม 2557:ไมม)ี

45 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ178 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6

เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด งบการเงินรวม 2558 2557 เงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร รวม

22,685 5,916,885 5,939,570

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

(พันบาท) 11,713 30 7,698,376 126,937 7,710,089 126,967

30 2,919,966 2,919,996

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เงินฝากธนาคารมีอัตราดอกเบี้ยระหวางรอยละ 0.1 ถึง 2.5 ตอป (31 ธันวาคม 2557: รอยละ 0.1 ถึง 2.7 ตอป) 7

เงินลงทุนอื่น

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

หมุนเวียน ตราสารทุนถือไวเพื่อคา ตราสารหนี้ถือไวเพื่อคา ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย ตราสารหนี้ที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย ตราสารหนี้อื่นที่จะถือจนครบกําหนด เงินฝากประจํา การเปลีย่ นแปลงในมูลคายุติธรรม รวม ไมหมุนเวียน ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย การเปลีย่ นแปลงในมูลคายุติธรรม รวม รวม

12

590,410 2,550,146 671,099 2,769,042 523,123 505,847 7,609,667 (126,227) 7,483,440

554 68,903 1,297 476,731 547,485 22,758 570,243

590,410 2,550,146 671,099 1,050,074 523,123 202,326 5,587,178 (80,027) 5,507,151

554 56,209 1,297 58,060 (13,212) 44,848

663,245 663,245 663,245 8,146,685

570,243

5,507,151

44,848

46 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

179

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายการเคลื่อนไหวในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ของตราสารทุนและตราสารหนี้ที่อยูในความตองการของตลาดมี ดังนี้ งบการเงิน งบการเงินรวม เฉพาะกิจการ (ลานบาท) ตราสารทุนถือไวเพื่อคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ซื้อระหวางป ขายระหวางป รายการปรับปรุงจากการปรับมูลคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

655.5 (65.1) (65.6) 524.8

655.5 (65.1) (65.6) 524.8

ตราสารหนี้ถือไวเพื่อคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ซื้อระหวางป ขายระหวางป รายการปรับปรุงจากการปรับมูลคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

0.6 11,085.1 (8,535.5) 14.6 2,564.8

0.6 11,085.1 (8,535.5) 14.6 2,564.8

93.6 614.9 (48.6) (10.6) 649.3

45.0 614.9 (10.6) 649.3

ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย หมุนเวียน ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ซื้อระหวางป ขายระหวางป รายการปรับปรุงจากการปรับมูลคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

47 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย 180 หมายเหตุ ประกอบงบการเงิ งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ นนข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงิน หมายเหตุ งบการเงินรวม เฉพาะกิจการ (ลานบาท) ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย ไมหมุนเวียน ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 การเปลีย่ นประเภทจากเงินลงทุนในบริษัทรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

663.2 663.2

12

ตราสารหนี้ที่เปนหลักทรัพยเผื่อขาย ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ซื้อระหวางป ขายระหวางป กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไมเกิดขึ้นจริง รายการปรับปรุงจากการปรับมูลคา ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

2.1 2,788.3 (26.2) 2.1 (54.2) 3.5 2,715.6

-

2.1 1,046.6 2.1 (8.0) 1,042.8

มูลคายุติธรรมของเงินลงทุนระยะสั้นและเงินลงทุนระยะยาว รวมถึงมูลคาตามบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดง ฐานะการเงินเฉพาะกิจการ มีดังตอไปนี้

มูลคาตามบัญชี ระดับ 1 31 ธันวาคม 2558 หมุนเวียน ตราสารทุนถือไวเพื่อคา ตราสารหนี้ถือไวเพื่อคา ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพย เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่เปนหลักทรัพย เผื่อขาย ไมหมุนเวียน ตราสารทุนที่เปน หลักทรัพย เผื่อขาย

รวม

524.8 2,564.8

234.9 -

289.9 2,564.8

-

524.8 2,564.8

649.3

42.8

606.5

-

649.3

2,715.6

-

2,715.6

-

2,715.6

663.2

663.2

-

663.2

48 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

งบการเงินรวม มูลคายุติธรรม ระดับ 2 ระดับ 3 (ลานบาท)

-


181

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มูลคาตามบัญชี ระดับ 1 31 ธันวาคม 2558 หมุนเวียน ตราสารทุนถือไวเพื่อคา ตราสารหนี้ถือไวเพื่อคา ตราสารทุนที่เปนหลักทรัพย เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่เปนหลักทรัพย เผื่อขาย

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลคายุติธรรม ระดับ 2 ระดับ 3 (ลานบาท)

รวม

524.8 2,564.8

234.9 -

289.9 2,564.8

-

524.8 2,564.8

649.3

42.8

606.5

-

649.3

1,042.8

-

1,042.8

-

1,042.8

บริษัทพิจารณามูลคายุติธรรมระดับ 2 สําหรับตราสารทุน/ ตราสารหนี้ ดวยมูลคาสินทรัพยสุทธิรวมของเงินลุงทุนของบริษัท ซึ่งเปนขอมูลจากรายงานรายวัน/รายเดือนจากบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย 8

ลูกหนีก้ ารคา

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

กิจการที่เกี่ยวของกัน ลูกหนี้การคา

1,591,778

1,094,436

-

-

หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

3,201,496 317,323 3,518,819 (287,645) 3,231,174

2,991,345 546,033 3,537,378 (191,946) 3,345,432

-

-

รวม

4,822,952

4,439,868

-

-

85,474

1,484

-

-

กิจการอื่น ๆ ลูกหนี้การคา รายไดคางรับ

หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ

5

49 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 182 โทรีเซนไทย  จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีส อ งบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน การวิเคราะหอายุของลูกหนี้การคา มีดังนี้ งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

กิจการที่เกี่ยวของกัน ยังไมครบกําหนดชําระ เกินกําหนดชําระ : นอยกวา 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกวา 12 เดือน

434,150

625,622

-

-

763,942 378,618 199 14,869 1,591,778

468,814 1,094,436

-

-

985,883

1,513,873

-

-

หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

1,526,642 321,832 113,404 253,735 3,201,496 (287,645) 2,913,851

974,871 267,120 53,809 181,672 2,991,345 (191,946) 2,799,399

-

-

รวม

4,505,629

3,893,835

-

-

กิจการอื่น ๆ ยังไมครบกําหนดชําระ เกินกําหนดชําระ : นอยกวา 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกวา 12 เดือน

โดยปกติระยะเวลาการใหสินเชื่อแกลูกคาของกลุมบริษัทมีระยะเวลาตั้งแต 30 วัน ถึง 90 วัน บริษัทตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไวเต็มจํานวนสําหรับลูกหนี้การคาที่ผูบริหารพิจารณาวาจะไมสามารถเรียกชําระเงินได

50 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 9

183

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี

ณ วันตนป/งวด ตนทุนสัญญาตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ณ วันสิ้นป/งวด

งบการเงินรวม 2558 2557 (พันบาท) 190,275 203,385 (69,814) (16,686) 14,289 3,576 134,750 190,275

ณ วันที่ 30 กัน ยายน 2555 เงิน จํานวน 9.3 ลานเหรียญสหรัฐฯ (เที ยบเท ากั บ 286.7 ล านบาท) ซึ่ งจ ายโดย Mermaid Subsea Services (International) Ltd. บริษั ทยอยแหงหนึ่งของบริษัท เมอรเมด มาริไทม จํากัด (มหาชน) (“MMPLC”) ใหแก General Technology & Systems Co., Ltd. (“Gentas”) โดยการจายดังกลาวประกอบดวย (ก) จํานวน 0.3 ลาน เหรียญสหรัฐฯ (เทียบเทากับ 9.2 ลานบาท) เปนการจายสําหรับการซื้อสวนไดเสียรอยละ 30 ใน Subtech Saudi Arabia ที่ ถือโดย Gentas (บันทึกในบัญชีลูกหนี้อื่น) และ (ข) จํานวน 9.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ (เทียบเทากับ 277.5 ลานบาท) (บันทึกใน บัญ ชีตนทุนสัญญารอการตัดบัญชี) เปนการจายสําหรับ (1) คาชดเชยการสูญเสียกําไรของ Gentas ที่คาดวาจะไดรับหาก Gentas ไมไดขายสวนไดเสียรอยละ 30 ใน Subtech Saudi Arabia ซึ่งกําไรดังกลาวเกี่ยวเนื่องกับการไดรับสัญญาในการ ใหบริการสํารวจใตน้ํา ซอมแซม และซอมบํารุง เปนระยะเวลา 5 ปที่ทํากับ Saudi Aramco (“สัญญา IRM”) ที่มีมูลคารายได มากกวา 530 ลานเหรียญสหรัฐฯ และ (2) เงินจายลวงหนาสําหรับบริการที่ Gentas ชวยเหลือในการใหไดมาซึ่งสัญญา IRM เงินจายจํา นวน 9.0 ลา นเหรีย ญสหรัฐ ฯ เปน ตน ทุน สัญ ญาที่เ กี่ย วขอ งกับการใหไ ดม าซึ่ง สัญ ญา IRM และจะดํา เนินงาน โดย Zamil Mermaid Offshore Services Co. (LLC) (“ZMOS”) ซึ ่ง เปน กิจ การดํ า เนิน งาน ที ่ค วบ คุม รว มกัน (Jointly-controlled operation) แหง หนึ่งของ MMPLC โดยตน ทุน สัญ ญารอการตัด บัญ ชีจ ะบัน ทึกตัด จํา หนา ยตาม สัด สว นตลอดอายุข องสัญ ญา ซึ่ง มีร ะยะเวลาโดยประมาณ 5 ป นับ จากวัน ที่มีก ารรับ รูร ายไดเ ปน ครั้ง แรก โดยรายได ทั้ง หมดตามสัญ ญา IRM สํา หรับ ระยะเวลา 5 ป คิดเปน จํานวนเงิน รวมประมาณ 530 ลา นเหรีย ญสหรัฐ ฯ กลุม บริษัท คาดวารายไดที่จะเกิด ภายใตสัญ ญา IRM อยูร ะหวา งรอ ยละ 60 ถึงรอ ยละ 70 ของรายไดตามสัญ ญา IRM ตลอดชว ง ระยะเวลาดังกลาว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ZMOS ไดรับงานตามสัญ ญา IRM โดย ZMOS เปนกิจการที่ตั้งขึ้นใหมซึ่งมีการควบคุมรวมกัน ระหวางกลุมบริษัทกับ Zamil Offshore Services Co. (“Zamil”) โดยที่ ZMOS จะเรียกเก็บ Saudi Aramco ตามอัตราที่ ตกลงในสัญญา IRM และผูรวมคาทั้งสองฝายจะเรียกเก็บ ZMOS สําหรับตนทุนที่เกิดจากการดําเนินงานภายใตสัญญา IRM

51 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ184 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 10

สินคาคงเหลือ งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

สินคาคงเหลือ เครื่องมือและวัสดุสิ้นเปลือง รวม หัก คาเผื่อมูลคาสินคาลดลง สุทธิ

1,028,573 58,888 1,087,461 (343,488) 743,973

899,826 50,629 950,455 (179,798) 770,657

-

-

ตนทุนของสินคาคงเหลือที่บันทึกเปนคาใชจาย และไดรวมในบัญชีตนทุนขาย - ตนทุนขาย - ประมาณการคาเผื่อ (กลับรายการ) มูลคาสินคาลดลง สุทธิ

3,054,130 163,690 3,217,820

460,629 (13,210) 447,419

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 สินคาคงเหลือมูลคา 205 พันลานดองเวียดนาม หรือคิดเปนเงินบาทจํานวน 327 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557 : 222 พันลานดองเวียดนาม หรือเทียบเทากับ 355 ลานบาท) ไดถูกนําไปใชเพื่อเปนหลักประกันวงเงินกูกับ ธนาคารพาณิ ชยแหงหนึ่ งจํานวน 270 พั นลานดองเวียดนาม หรือ 432 ลานบาท (31 ธัน วาคม 2557 : 270 พัน ลานดอง เวียดนาม หรือเทียบเทากับ 432 ลานบาท) 11

สินทรัพยหมุนเวียนอื่น งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

เงินปนผลคางรับจากบริษัทรวม ภาษีจายลวงหนาและภาษีมลู คาเพิ่มที่คาดวาจะ ไดรับคืนสุทธิ เงินฝากที่มีภาระค้ําประกันเงินกูระยะสั้น สินทรัพยหมุนเวียนอื่นสุทธิ รวม

243,675 377,598 320,755 38,170 980,198 52

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

315,423 148,320 463,743

1,204 23,475 24,679

20,200 20,200


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

185

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

เมื่ อ วั น ที่ 23 ธั น วาคม 2558 Asia Offshore Drilling Limited (“AOD”) ซึ่ ง เป น บริ ษั ท ร ว มภายใต ก ลุ ม พลั ง งานประกาศ จายเงินปนผลจํานวน 0.333 เหรียญสหรัฐฯตอหุน ซึ่งรวมเปนเงินทั้งสิ้น 6.8 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเทา 243.7 ลาน บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยกลุมบริษัทไดรับชําระเงินปนผลเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 12

เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 ประกอบดวยเงินลงทุนในบริษัทดังตอไปนี้

ชื่อของบริษัทรวม/การรวมคา

ประเภทกิจการ

ประเทศที่ จดทะเบียน

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

นายหนาเชาเหมาเรือ

ประเทศไทย

49.0

49.0

” นายหนาเชาเหมาเรือ ตัวแทนเรือ

ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศไทย

49.0

49.0

สาธารณรัฐแหง สหภาพเมียนมาร

ใหบริการทาเรือ ขนถายสินคา

ประเทศ สหรัฐอาหรับ เอมิเรต

49.0

49.0

ใหบริการขุดเจาะแก ธุรกิจปโตรเคมี

ประเทศเบอรมิวดา

33.8

33.8

” ” ”

ประเทศเบอรมิวดา ประเทศเบอรมิวดา ประเทศเบอรมิวดา

ชื่อของบริษัทรวม บริษัท กลุม ขนสง - บริษัท เฟรนเลย (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งมีบริษัทยอย ดังนี้ - PT. Fearnleys Indonesia - Fearnleys Shipbroking Private Limited - บริษัท โทรีเซน ชิปปง แอนด โลจิสติกส จํากัด ซึ่งมีบริษัทยอย ดังนี้ - Thoresen Shipping and Logistics (Myanmar) Company Limited งบการเงินรวม กลุมขนสง - Sharjah Ports Services LLC (ถือหุนโดย Thoresen Shipping FZE) กลุมพลังงาน - Asia Offshore Drilling Limited (ถือหุนโดย MMPLC) ซึ่งมีบริษัทยอย ดังนี้ - Asia Offshore Rig 1 Limited - Asia Offshore Rig 2 Limited - Asia Offshore Rig 3 Limited

53 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท186 โทรีเซนไทย เอเยนต งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ขซอีส งบ ริจํษัาทกัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ชื่อของบริษัทรวม/การรวมคา กลุมโครงสรางพื้นฐาน - Baria Serece (ถือหุนโดย Soleado) - Sino Grandness Food Industry Group Limited (ถือหุนโดย Soleado)

ประเภทกิจการ

ประเทศที่ จดทะเบียน

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ใหบริการทาเรือขนถาย สินคา ผลิตและจําหนาย อาหารและ เครื่องดื่ม

ประเทศเวียดนาม

20.0

20.0

ประเทศสิงคโปร

-

9.0

ตัวแทนเรือ

ประเทศปานามา

50.0

50.0

ตัวแทนเรือและ บริการที่เกี่ยวของ

ประเทศเวียดนาม

ตัวแทนเรือ

ประเทศไทย

51.0

51.0

ใหบริการขนสง ทางเรือ

ประเทศฟลิปปนส

40.0

40.0

ใหบริการ ตรวจสอบติดตั้งและ ซอมแซมแกธุรกิจ ปโตรเคมี เหมืองถานหิน

ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย

40.0

40.0

ประเทศฟลิปปนส

40.0

40.0

ชื่อของการรวมคา บริษัท กลุมขนสง - Thoresen (Indochina) S.A. ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Thoresen - Vinama Agencies Co., Ltd. กลุมโครงสรางพื้นฐาน - บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จํากัด งบการเงินรวม กลุมขนสง - Petrolift Inc. (ถือหุนโดย Soleado) กลุมพลังงาน - Zamil Mermaid Offshore Services Co. (LLC) (ถือหุนโดย MMPLC)

- SKI Energy Resources Inc. (ถือหุนโดย MIN)

54 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


187

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุ

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

บริษัทรวม ณ วันตนป/ งวด ซื้อเงินลงทุน รายไดเงินปนผล สวนแบงกําไรจาก เงินลงทุนในบริษัทรวม สวนแบงขาดทุนจากการดอยคา จากเงินลงทุนในบริษัทรวม เปลี่ยนประเภทเปนเงินลงทุน ระยะยาว ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม การรวมคา ณ วันตนป/ งวด ซื้อเงินลงทุน รายไดเงินปนผล สวนแบงกําไรจาก เงินลงทุนในการรวมคา กลับรายการ (คาเผื่อการดอยคา) สุทธิ ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

28

5,804,516 75,299 (495,331)

4,861,412 606,661 -

42,368 -

42,368 -

682,171

241,698

-

-

(2,232,095)

-

-

-

(869,108)

-

-

-

358,409 3,323,861

94,745 5,804,516

42,368

42,368

1,298,022 (99,284)

1,110,618 168,647 -

19,984 -

17,968 -

140,443 (153,881)

16,365 -

-

2,016

65,391 1,250,691

2,392 1,298,022

19,984

19,984

55 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


188 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

รวม ณ วันตนป/ งวด ซื้อเงินลงทุน รายไดเงินปนผล สวนแบงกําไรจากเงิน ลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา สวนแบงขาดทุนจากการดอยคา จากเงินลงทุนในบริษัทรวม กลับรายการ (คาเผื่อการดอยคา) สุทธิ เปลี่ยนประเภทเปนเงินลงทุน ระยะยาว ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

7,102,538 75,299 (594,615)

5,972,030 775,308 -

822,614

258,063

62,352 -

60,336 -

-

-

(2,232,095) (153,881)

-

-

2,016

(869,108)

-

-

-

423,800 4,574,552

97,137 7,102,538

62,352

62,352

รายการเปลีย่ นแปลงเงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคาในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังตอไปนี้ การซื้อกิจการ ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 Soleado ซื้อหุนสามัญของ Sino Grandness Food Industry Group Limited (“SGFI”) ในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศสิงคโปรจํานวน 10,603,700 หุน ที่ราคาหุนถัวเฉลี่ย 0.28 เหรียญสิงคโปรตอหุน เปนจํานวนเงิน 3.0 ลานเหรียญสิงคโปร หรือ 75.3 ลานบาท ทําใหสวนไดเสียของกลุม บริษัทใน Sino Grandness Food Industry Group Limited เพิ ่ม ขึ้น จากรอ ยละ 9.0 ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2557 เปน รอยละ 10.6 ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม 2558

56 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

189

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การเปลี่ยนประเภทเปนเงินลงทุนระยะยาว ในระหวางไตรมาสที่ 4 ของป 2558 มีสถานการณที่ทําใหผูบริห ารลงความเห็นวา กลุมบริษัทไดสูญ เสียความมีอิท ธิพ ล อยางมีนัยสําคัญในบริษัทรวมแหงหนึ่ง และเงินลงทุนในบริษัทรวมนั้น ไดถูกเปลี่ยนประเภทเปนเงินลงทุนระยะยาวเผื่อ ขาย กลุมบริษัทรับรูผลขาดทุนจากการเปลี่ยนประเภทเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดังนี้ หมายเหตุ การลดลงในมูลคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทรวม การเพิ่มขึ้นในเงินลงทุนระยะยาวเผื่อขาย จํานวนที่เคยบันทึกไวในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ขาดทุนจากการเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนในบริษัทรวม เปนเงินลงทุนระยะยาวเผื่อขาย

7

งบการเงินรวม (พันบาท) (869,108) 663,245 36,216 (169,647)

การลดลงของสวนไดเสียในบริษัทรวม กลุมบริษัทบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทรวมแหงหนึ่งตามวิธีสวนไดเสีย ในเดือน กรกฎาคม 2554 สัดสวนการถือหุนของกลุม บริษัทในบริษัทรวมดังกลาวไดลดลง ขาดทุนจากสัดสวนการถือหุนที่ลดลงจํานวน 5.7 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเทา 195.0 ลานบาท ถูกบันทึกอยูในสวนแบงกําไรของกลุมบริษัทกอนขาดทุนจากการดอยคาในบริษัทรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สวนแบงขาดทุนจากการดอยคาในเงินลงทุนในบริษัทรวม การลดลงอยางตอเนื่องของราคาน้ํามันระหวางป 2558 ไดสงผลกระทบตอธุรกิจโดยรวมของบริษัทรวมแหงหนึ่งของกลุมบริษัท โดยทําใหการดําเนินธุรกิจและสัญญาบริการขุดเจาะนอกชายฝงลดลง นอกจากนี้ปริมาณแทนขุดเจาะนอกชายฝงในตลาดที่มี ปริมาณเพิ่มมากขึ้น และยังมีสัญญากอสรางแทนขุดเจาะใหมซึ่งความไมสมดุลระหวางอุปสงคและอุปทานจะมีผลกระทบทางลบ ตออัตราการใชประโยชนและอัตราคาบริการรายวันของสัญญาจางงานบริการขุดเจาะนอกชายฝง ซึ่งปจจัยเหลานี้เปนขอบงชี้ สําคัญ ถึงการดอยคาของสินทรัพยของบริษัทรวมดังกลาว ในระหวางป 2558 บริษัทรวมรับรูขาดทุนจากการดอยคาจากแทนขุดเจาะจํานวนหนึ่ง เปนจํานวน 193.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเทา 6,610.0 ลานบาท ซึ่งเปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนต่ํากวามูลคาตามบัญชี กลุมบริษัทไดรับรูสวนแบง ขาดทุนจากการดอยคานี้เปนจํานวน 65.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเทา 2,232.1 ลานบาท

57 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทรวม บริษัท เฟรนเลย (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท โทรีเซน ชิปปง แอนด โลจิสติกส จํากัด Sharjah Ports Services LLC (ถือหุน โดย Thoresen Shipping FZE) Asia Offshore Drilling Limited (ถือหุนโดย MMPLC) Baria Serece (ถือหุนโดย Soleado) Sino Grandness Food Industry Group Limited (ถือหุนโดย Soleado) 14 50 135 1,978 326 2,337

14

50

147

1,978 326

2,445

ทุนชําระแลว 2558 2557

3,395

2,964 334

55

24

18

2558

ราคาทุน

607 4,002

58

3,324

2,661 470

2,964 334

21

59

113

24

18

55

2557

607 5,804

4,557 432

113

35

60

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

งบการเงินรวม มูลคาตามวิธีสวนไดเสีย การดอยคา 2558 2557 2558 2557 (ลานบาท)

3,324

2,661 470

113

21

59

607 5,804

4,557 432

113

35

60

มูลคาตามวิธีสวนไดเสีย-สุทธิ 2558 2557

เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 และรายไดเงินปนผลจากเงินลงทุนดังกลาวสําหรับปและสําหรับงวดสามเดือน ตามลําดับ มีดังตอไปนี้

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

24

9

495

462 -

-

-

-

-

-

-

รายไดเงินปนผล 2558 2557

190 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


รวม

การรวมคา Thoresen (Indochina) S.A. บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จํากัด Petrolift Inc. (ถือหุนโดย Soleado) Zamil Mermaid Offshore Services Co. (LLC) (ถือหุนโดย MMPLC) SKI Energy Resources Inc. (ถือหุนโดย MIN) 8 22 936 18 443

9

22 975

18

461

ทุนชําระแลว 2558 2557

ราคาทุน

9

4,521

169 1,126

7

11 930

2558

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

9

5,128

169 1,126

7

11 930

2557

59

4,728

154 1,404

39

17 1,011

183

7,102

169 1,298

14

11 975

129

(154)

(154) (154)

-

-

-

-

-

-

-

-

งบการเงินรวม มูลคาตามวิธีสวนไดเสีย การดอยคา 2558 2557 2558 2557 (ลานบาท)

4,574

1,250

39

17 1,011

183

7,102

169 1,298

14

11 975

129

มูลคาตามวิธีสวนไดเสีย-สุทธิ 2558 2557

99

89

594

-

-

-

10

-

-

-

-

-

รายไดเงินปนผล 2558 2557

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

191

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

8 22

การรวมคา Thoresen (Indochina) S.A. บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จํากัด

รวม

14 50

บริษัทรวม บริษัท เฟรนเลย (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท โทรีเซน ชิปปง แอนด โลจิสติกส จํากัด

8 22

14 50

ทุนชําระแลว 2558 2557

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

2558

62

9 11 20

18 24 42

ราคาทุน 2557

62

9 11 20

18 24 42

-

-

-

-

-

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ การดอยคา 2558 2557 (ลานบาท)

62

9 11 20

18 24 42

ราคาทุน-สุทธิ 2558 2557

62

9 11 20

18 24 42

-

-

19

10

10

9 9

-

-

-

รายไดเงินปนผล 2558 2557

192 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


(4,615)

สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม สวนที่เปนของผูถือหุนของผูถูกลงทุน

658

1,164 658 658 713

-

193

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558

61

285

Sino Grandness Food Industry Group Limited Baria Serece สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557* 2558 2557 (ลานบาท) 18,059 659 172 713 193 285 713 193 285

*Soleado ไดซื้อเงินลงทุน SGFI ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2557 จึงทําใหไมมสี วนแบงกําไรจาก SGFI ในระหวางงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557

3,901 (4,615) (4,615)

รายได กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงานอยางตอเนื่อง กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวม

Asia Offshore Drilling Limited สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557

145

1,007 145 145

15

235 15 15

Petrolift Inc. สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557

ตารางตอไปนี้สรุปขอมูลทางการเงินของบริษัทรวมและการรวมคาที่รวมอยูในงบการเงินของบริษัทรวมและการรวมคา ปรับปรุงดวยการปรับมูลคายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ และความแตกตางของนโยบายการ บัญชี การกระทบยอดรายการระหวางขอมูลทางการเงินโดยสรุปดังกลาวกับมูลคาตามบัญชีของสวนไดเสียของกลุมกิจการในกิจการเหลานี้

บริษัทรวมและการรวมคา

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

193


สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน สินทรัพยสุทธิ สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม สวนที่เปนของผูถือหุนของผูถูกลงทุน สวนไดเสียของกลุมบริษัทในสินทรัพยสุทธิของผูถูก ลงทุน ณ วันที่ 1 มกราคม/ 1 ตุลาคม กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสวนที่เปนของกลุมบริษัท ซื้อเงินลงทุนในระหวางป/ งวด รายไดเงินปนผลระหวางป/ งวด เปลี่ยนประเภทเปนเงินลงทุนระยะยาว สวนไดเสียของกลุม บริษัทในสินทรัพย สุทธิของผูถูกลงทุน ณ วันสิ้นป/ งวด คาความนิยม มูลคาตามบัญชีของสวนไดเสียในผูถูกลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

2,260 22,661 (1,237) (10,725) 12,959 12,959 4,253 304 4,557 4,557

3,202 17,062 (2,283) (10,100) 7,881 7,881 4,557 (1,434) (462) 2,661 2,661

Asia Offshore Drilling Limited 2558 2557

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

62

-

-

607 187 75 (869)

607

607 -

607 -

470

260 210

222 38 -

432

222 210

196 26 -

Sino Grandness Food Industry Group Limited Baria Serece 2558 2557 2558 2557 (ลานบาท) 8,928 800 338 5,003 951 964 (4,214) (452) (152) (107) (41) 9,610 1,299 1,109 9,610 1,299 1,109

1,011

768 243

732 125 (89) -

743 2,894 (485) (1,232) 1,920 1,920

975

732 243

728 4 -

502 2,910 (360) (1,131) 1,921 1,921

Petrolift Inc. 2558 2557

194 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


195

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

บริษัทรวมและการรวมคาทีไ่ มมสี าระสําคัญ ตารางตอไปนี้สรุปขอมูลทางการเงินของสวนไดเสียของกลุมบริษัทในบริษัทรวมและการรวมคาที่ไมมีสาระสําคัญ จากจํานวน เงินที่รายงานในงบการเงินรวมของกลุมบริษัท บริษัทรวมที่ไมมีสาระสําคัญ การรวมคาทีไ่ มมีสาระสําคัญ 2558 2557 2558 2557 (ลานบาท) มูลคาตามบัญชีของสวนไดเสียในบริษัทรวมและการรวม คาที่ไมมสี าระสําคัญ สวนแบงของกลุมบริษัทใน - กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงานอยางตอเนื่อง - กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น - กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวม 13

196

209

240

323

(10) (10)

36 36

73 73

19 19

เงินลงทุนในบริษัทยอย เงินลงทุนในบริษัทยอย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 ประกอบดวยเงินลงทุนในบริษัทดังตอไปนี้

ชื่อของบริษัทยอย กลุมการถือหุนเพื่อการลงทุน - Soleado Holdings Pte. Ltd. (“Soleado”) ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Merton Investments NL BV (“MIN”) ซึ่งมีการรวมคาดังนี้ - SKI Energy Resources Inc. ซึ่งมีบริษัทรวมดังนี้ - Baria Serece

ประเภทกิจการ

ประเทศที่ จดทะเบียน

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

เพื่อการลงทุน

ประเทศสิงคโปร

100.0

100.0

ประเทศเนเธอรแลนด

100.0

100.0

เหมืองถานหิน

ประเทศฟลิปปนส

บริการทาเรือเกี่ยวกับการ ขนถายสินคา

ประเทศเวียดนาม

63 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


196เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย บริษัท โทรี งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ชื่อของบริษัทยอย ประเภทกิจการ กลุมการถือหุนเพื่อการลงทุน (ตอ) - Sino Grandness Food Industry ผลิตและจําหนาย Group Limited***** อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการรวมคาดังนี้ - Petrolift Inc. บริการขนสงทางทะเล - บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส จํากัด (“ATH”) เพื่อการลงทุน ” - บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส จํากัด (มหาชน) (“PMTA”) ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - PM Thoresen Asia (Singapore) เพื่อการคาทั่วไป Pte. Ltd. - Baconco Co., Ltd. ผลิตและจําหนายปุย กลุมขนสง - บริษัท พรีโม ชิปปง จํากัด (มหาชน) (“Premo”) - Thoresen Shipping Singapore Pte. Ltd. (“TSS”) ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Thor Friendship Shipping Pte. Ltd. - Thor Fortune Shipping Pte. Ltd. - Thor Horizon Shipping Pte. Ltd. - Thoresen Shipping Denmark APS

- Thoresen Shipping South Africa (PTY) Ltd. - Thoresen Shipping Arabia DMCC - บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จํากัด

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ประเทศสิงคโปร

ประเทศฟลิปปนส ประเทศไทย ประเทศไทย

99.9 67.2

99.9 99.9

ประเทศสิงคโปร

100.0

100.0

ประเทศเวียดนาม

100.0

100.0

รับจัดการเรือเดินทะเล

ประเทศไทย

99.9

99.9

ขนสงสินคาระหวาง ประเทศทางทะเล

ประเทศสิงคโปร

100.0

100.0

” ” ” ใหบริการเชาเรือและรับ ขนสงสินคาแหง เทกอง ”

ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร ประเทศเดนมารก

100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0

ประเทศแอฟริกาใต

100.0

100.0

ประเทศสหรัฐ อาหรับเอมิเรต ประเทศไทย

100.0

-

” รับจัดการเรือเดินทะเล

64 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

ประเทศที่ จดทะเบียน

99.9

99.9


197

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ชื่อของบริษัทยอย กลุมขนสง (ตอ) - Thoresen Chartering (HK) Ltd.** - Thoresen Shipping Germany GmbH - บริษัท เฮราเคิลส ชิปปง จํากัด* - บริษัท เฮรอน ชิปปง จํากัด* - Thoresen Chartering (PTE) Ltd.** - บริษัท พีเอ็มเอฟบี จํากัด (เดิมชือ่ บริษัท โทรีเซน เซอรวิส เซ็นเตอร จํากัด)**** - บริษัท เอเชีย โคดติ้ง เซอรวสิ เซส จํากัด** - Thoresen Shipping FZE ซึ่งมีบริษัทรวมดังนี้ - Sharjah Ports Services LLC

กลุมพลังงาน - บริษัท เมอรเมด มาริไทม จํากัด (มหาชน) (“MMPLC”) ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - บริษัท เมอรเมด ซับซี เซอรวสิ เซส (ประเทศไทย) จํากัด

ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - บริษัท ซีสเคป เซอรเวยส (ประเทศไทย) จํากัด

- Seascape Surveys Pte. Ltd. ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - PT Seascape Surveys Indonesia***

ประเภทกิจการ ขนสงสินคาระหวาง ประเทศทางทะเล ” ” ” นายหนาเชาเหมาเรือ ใหบริการดานการ บริหารงาน บริการทาสีเรือ

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ประเทศที่ จดทะเบียน

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ประเทศฮองกง

99.9

99.9

ประเทศเยอรมนี ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศสิงคโปร ประเทศไทย

100.0 99.9 99.9 100.0 -

100.0 99.9 99.9 100.0 99.9

ประเทศไทย

99.9

99.9

ตัวแทนเรือ

ประเทศสหรัฐ อาหรับเอมิเรต

100.0

100.0

บริการทาเรือเกี่ยวกับ การขนถายสินคา

ประเทศสหรัฐ อาหรับเอมิเรต

ลงทุนในธุรกิจใหบริการนอก ชายฝง

ประเทศไทย

58.2

57.8

ใหบริการธุรกิจ นอกชายฝงที่เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมน้ํามันและกาซ ธรรมชาตินอกชายฝง

ประเทศไทย

100.0

100.0

ใหบริการสํารวจแผนที่ทาง ทะเลและ การวางตําแหนงใน อุตสาหกรรมปโตรเลียม ”

ประเทศไทย

100.0

100.0

ประเทศสิงคโปร

100.0

100.0

ประเทศอินโดนีเซีย

49.0

49.0

65 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


198

บริษัทงบการเงิ โทรีเซนไทย  จํริาษักัท ด (มหาชน) และบริษัทยอย น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซ ข อีสงบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ชื่อของบริษัทยอย กลุมพลังงาน (ตอ) - Mermaid Offshore Services Pte. Ltd. - บริษัท เมอรเมด ดริลลิ่งค จํากัด

ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - บริษัท เอ็ม ทีอาร - 1 จํากัด - บริษัท เอ็ม ทีอาร - 2 จํากัด - Mermaid Drilling (Malaysia) Sdn. Bhd. - MTR-1 (Singapore) Pte. Ltd. - MTR-2 (Singapore) Pte. Ltd. - Mermaid Drilling (Singapore) Pte. Ltd.

- MTR-3 (Singapore) Pte. Ltd. - MTR-4 (Singapore) Pte. Ltd. - Mermaid MTN Pte. Ltd. - Mermaid Maritime Mauritius Ltd. ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Mermaid International Ventures ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้

ประเภทกิจการ

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ใหบริการดานการตลาด สําหรับธุรกิจสํารวจและขุด เจาะปโตรเลียม ใหบริการและ สนับสนุนงานสํารวจ และขุดเจาะแกธุรกิจ ปโตรเคมี นอกชายฝงทะเล

ประเทศสิงคโปร

100.0

100.0

ประเทศไทย

95.0

95.0

ใหบริการขุดเจาะแก ธุรกิจปโตรเคมี ” ”

ประเทศไทย

95.0

95.0

ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย

95.0 95.0

95.0 95.0

” ” ใหบริการและ สนับสนุนงานสํารวจ และขุดเจาะแกธุรกิจ ปโตรเคมี นอกชายฝงทะเล ” ” ” เพื่อการลงทุน

ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร

95.0 95.0 100.0

95.0 95.0 100.0

ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร ประเทศสิงคโปร ประเทศมอริเชียส

100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0

หมูเกาะเคยแมน

100.0

100.0

66 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

ประเทศที่ จดทะเบียน


199

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ชื่อของบริษัทยอย ประเภทกิจการ กลุมพลังงาน (ตอ) - Mermaid Subsea Services ใหบริการสํารวจแผนที่ทาง (International) Ltd. ทะเลและบริการตรวจสอบใต น้ําและรับเหมาสําหรับธุรกิจ สํารวจและขุดเจาะ ปโตรเลียม ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Subtech Saudi Arabia ” Limited - Mermaid Subsea ” Services LLC*** ซึ่งมีบริษัทรวมดังนี้ - Asia Offshore Drilling ใหบริการขุดเจาะแก Limited ธุรกิจปโตรเคมี ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - Asia Offshore Rig 1 Limited ” - Asia Offshore Rig 2 Limited ” - Asia Offshore Rig 3 Limited ” ซึ่งมีการรวมคาดังนี้ - Zamil Mermaid Offshore ใหบริการตรวจสอบ, Services Co. (LLC) ติดตั้ง และซอมแซม แกธุรกิจปโตรเคมี กลุมโครงสรางพื้นฐาน - บริษัท ชิดลม มารีน เซอรวิสเซส แอนด ซัพพลายส จํากัด - บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติกส จํากัด - บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอรวิสเซส จํากัด (มหาชน) (“UMS”) (ถือหุนโดย บริษัท อะธีน โฮลดิ้ง จํากัด) ซึ่งมีบริษัทยอยดังนี้ - บริษัท ยูเอ็มเอส ดิสทริบิวชั่น จํากัด

- บริษัท ยูเอ็มเอส ไลทเตอร จํากัด

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ประเทศที่ จดทะเบียน

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ประเทศเซเชลส

100.0

100.0

ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ประเทศกาตาร

95.0

95.0

49.0

49.0

ประเทศเบอรมิวดา

ประเทศเบอรมิวดา ประเทศเบอรมิวดา ประเทศเบอรมิวดา ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย

จัดหาอุปกรณสาํ หรับจัดวาง สินคาในเรือเดินทะเล คลังเก็บสินคา จําหนายถานหิน

ประเทศไทย

99.9

99.9

ประเทศไทย ประเทศไทย

51.0 88.7

51.0 88.7

บริหารจัดการดาน ขนถายสินคาและ จําหนายปุย ขนสงทางน้ํา 67

ประเทศไทย

99.9

99.9

ประเทศไทย

99.9

99.9

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


200

น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีสอ งบ บริษัท งบการเงิ โทรีเซนไทย จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ชื่อของบริษัทยอย กลุมโครงสรางพื้นฐาน (ตอ) - บริษัท ยูเอ็มเอส เพลเลท เอ็นเนอรยี่ จํากัด - บริษัท ยูเอ็มเอส พอรต เซอรวสิ เซส จํากัด - Baconco Co., Ltd. (ลงทุนโดย PMTA) - บริษัท พีเอ็มเอฟบี จํากัด (เดิมชื่อ บริษัท โทรีเซน เซอรวสิ เซ็นเตอร จํากัด) **** * ** *** ****

*****

ประเทศที่ จดทะเบียน

ประเภทกิจการ

อัตรารอยละของหุนที่ถือ 2558 2557

ขนสงทางบกและ จําหนายเชื้อเพลิง ชีวมวล บริการทาเทียบเรือ

ประเทศไทย

99.9

99.9

ประเทศไทย

99.9

99.9

ผลิตและจําหนายปุย จําหนายอาหารและ เครื่องดื่ม

ประเทศเวียดนาม ประเทศไทย

100.0 99.9

100.0 -

อยูในกระบวนการจดทะเบียนเลิกกิจการ บริษัทหยุดการดําเนินธุรกิจ ณ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 สวนไดเสียของกลุมบริษัทเทากับรอยละ 100 เมื่อรวมกับผูถือหุนที่เปนตัวแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท พีเอ็มเอฟบี จํากัด (เดิมชื่อ บริษัท โทรีเซน เซอรวิส เซ็นเตอร จํากัด) ไดถูกจัด ประเภทเปน บริษั ท ภายใต กลุม โครงสรางพื้ นฐานเนื่ องจากมีการเปลี่ย นประเภทธุรกิ จจากให บริการดานการ บริหารงานเปนจําหนายอาหารและเครื่องดื่ม (31 ธันวาคม 2557: บริษัทหยุดการดําเนินธุรกิจ และจัดประเภท เปนบริษัทในกลุมขนสง) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 SGFI ไมไดเปนบริษัทรวมของ Soleado

หมายเหตุ ณ วันตนป/ งวด จําหนายเงินลงทุน รับเงินสด หักกลบกับเงินกูยืมระยะสั้นจากบริษัทยอยและลูกหนี/้ เจาหนี้บริษัทยอย ซื้อเงินลงทุน กลับรายการ(คาเผื่อการดอยคา)ของเงินลงทุนสุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

68 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท) 23,328,744 27,733,152

ก)

(273,200)

(264,693)

ข) 28

45,028 (2,379,715) 20,720,857

(4,908,857) 767,801 1,341 23,328,744


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

201

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การซื้อและจําหนายเงินลงทุนในบริษัทยอยในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังตอไปนี้ ก)การประสบผลสําเร็จในการเสนอขายหุนสามัญตอประชาชนเปนครั้งแรกของ PMTA เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 บริษัทไดขายหุนสามัญของ PMTA จํานวน 27.32 ลานหุน ดวยราคา 18 บาทตอหุนและรับรูกําไร จากการจําหนายเงินลงทุนดังกลาวจํานวน 218.56 ลานบาท ในงบการเงินเฉพาะกิจการสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 รายละเอียดของการจําหนายมีดังตอไปนี้ งบการเงินเฉพาะกิจการ (พันบาท) 491,760 (273,200) 218,560

สิ่งตอบแทนที่ไดรับ มูลคาสุทธิตามบัญชีของเงินลงทุน กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนในบริษัทยอย

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 PMTA ประสบผลสําเร็จในการเสนอขายหุนตอประชาชนเปนครั้งแรก (“IPO”) โดยออกหุน สามัญใหมจํานวน 8.10 ลานหุนและขายหุนเดิมซึ่งถือโดยบริษัทจํานวน 27.32 ลานหุนในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย ดวยราคาเสนอขาย 18 บาทตอหุน รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียมีดังตอไปนี้

สิ่งตอบแทนที่ไดรับ หัก ตนทุนในการออกจําหนายหุนสามัญ PMTA สุทธิ การปรับลดสวนไดเสียใหแกสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม การเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียของบริษัทใหญในบริษัทยอย

งบการเงินรวม (พันบาท) 637,560 (4,416) 633,144 (453,337) 179,807

ผลจาก IPO ดังกลาว ทําใหสวนไดเสียของบริษัทใน PMTA ลดลงจากรอยละ 99.9 เปนรอยละ 65.0

69 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


202 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ข) ซื้อเงินลงทุน ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทไดซื้อหุนของ PMTA ที่ขายในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทยจํานวน 2,223,800 หุนดวยราคาหุนถัวเฉลี่ย 20.25 บาทตอหุน เปนจํานวนเงิน 45.0 ลานบาท ทําใหสวนไดเสียของกลุมบริษัทใน PMTA ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เพิ่มขึ้นจากรอยละ 65.0 เปนรอยละ 67.2 บริษัทยอย - TSS เมื่ อ วั น ที่ 7 ม ก ราค ม 2558 TSS ได ซื้ อ หุ น ส ามั ญ ข อ งบ ริ ษั ท ย อ ย แห งให ม Thoresen Shipping Arabia DMCC จํานวน 10 หุน ในราคา 10,000 สหรัฐอาหรับเอมิเรตสเดอรแฮมตอหุน เปนจํานวนเงิน 100,000 สหรัฐอาหรับเอมิเรตสเดอรแฮม ซึ่งสวนไดเสียของกลุมบริษัทในบริษัทยอยแหงใหมนี้คือรอยละ 100 บริษัทยอย - Soleado ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 Soleado ไดซื้อหุนสามัญ ของ MMPLC ที่ขายในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศ สิงคโปร จํานวน 5,603,900 หุนดวยราคาหุนถัวเฉลี่ย 0.20 เหรียญสิงคโปรตอหุน เปนจํานวนเงิน 1.1 ลานเหรียญสิงคโปร หรือ 27.6 ลานบาท ทําใหสวนไดเสียของกลุมบริษัทใน MMPLC เพิ่มขึ้นจากรอยละ 57.8 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เปน รอยละ 58.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

70 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัทยอยโดยตรง Soleado Holdings Pte. Ltd. บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส จํากัด บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส จํากัด (มหาชน) บริษัท พรีโม ชิปปง จํากัด (มหาชน) Thoresen Shipping Singapore Pte. Ltd. Thoresen Chartering (HK) Ltd. Thoresen Shipping Germany GmbH บริษัท เฮราเคิลส ชิปปง จํากัด บริษัท เฮรอน ชิปปง จํากัด Thoresen Chartering (Pte) Ltd. บริษัท พีเอ็มเอฟบี จํากัด (เดิมชื่อ บริษัท โทรีเซน เซอรวิส เซ็นเตอร จํากัด) บริษัท เอเชีย โคดติ้ง เซอรวิสเซส จํากัด Thoresen Shipping FZE

ชื่อของบริษัทยอย

3,092 100 931 2,220 11,490 3 1 2 1 2 35 80 7

3,092 100 1,012 2,220 11,490 3 1 2 1 2 35 80 7

ทุนที่ชําระแลว 2558 2557

35 80 7

703 2,225 11,490 3 1 1 1 2

3,092 100

71

35 80 7

931 2,225 11,490 3 1 1 1 2

3,092 100

ราคาทุน 2558 2557

-

(35) (1)

(2,709) (1) (1) (1) -

(168) (100)

-

(35) (1)

(499) (1) -

(100)

งบการเงินเฉพาะกิจการ การดอยคา 2558 2557 (ลานบาท)

79 7

703 2,225 8,718 3 2

2,924 -

79 7

931 2,225 10,991 3 1 1 2

3,092 -

ราคาทุน-สุทธิ 2558 2557

-

-

-

209

-

-

329

รายไดเงินปนผล 2558 2557

เงินลงทุนในบริษัทยอยที่บริษัทลงทุนทางตรง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 และรายไดเงินปนผลจากบริษัทยอยดังกลาวสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

203

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

1,413 70 75

1,413 70 75

บริษัท เมอรเมด มาริไทม จํากัด (มหาชน) บริษัท ชิดลม มารีน เซอรวิสเซส แอนด ซัพพลายส จํากัด บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติกส จํากัด รวม 70 38 23,737

5,889 70 38 23,965

5,889

ราคาทุน 2558 2557

(3,016)

(636)

งบการเงินเฉพาะกิจการ การดอยคา 2558 2557 (ลานบาท) 70 38 20,721

5,889

70 38 23,329

5,889

ราคาทุน-สุทธิ 2558 2557

406

197

-

-

329

รายไดเงินปนผล 2558 2557

72

เงิ นลงทุ น ทางตรงและทางอ อมในบริ ษั ทย อยของบริ ษั ท เกื อบทั้ งหมดไม เป นเงิ นลงทุ น ในกิ จการที่ จดทะเบี ยนในตลาดหลั กทรั พ ย ดั งนั้ นจึ งไม มี ราคาที่ เป ดเผยต อสาธารณชน ยกเว น บริ ษั ท เมอร เมด มาริไทม จํากัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอรวิสเซส จํากัด (มหาชน) และบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส จํากัด (มหาชน) ซึ่งเปนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศสิงคโปร ประเทศไทยและ ประเทศไทย ตามลําดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีราคาปดอยูที่ 0.15 เหรียญสิงคโปรตอหุน 6.95 บาทตอหุน และ 19.40 บาทตอหุน ตามลําดับ (31 ธันวาคม 2557: 0.29 เหรียญสิงคโปรตอหุน 5.65 บาทตอหุน และไมมี ตามลําดับ) มูลคายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัท เมอรเมด มาริไทม จํากัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอรวิสเซส จํากัด (มหาชน) และบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส จํากัด (มหาชน) ทั้งทางตรง และทางออม เทากับ 123 ลานเหรียญสิงคโปรหรือเทียบเทากับ 3,148 ลานบาท 946 ลานบาท และ 1,319 ลานบาท ตามลําดับ (31 ธันวาคม 2557:237 ลานเหรียญสิงคโปรหรือเทียบเทากับ 5,896 ลานบาท และ 769 ลานบาท และไมมี ตามลําดับ)

ทุนที่ชําระแลว 2558 2557

ชื่อของบริษัทยอย

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

204 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


205

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 14

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

สวนของผูถือหุน ที่ไมมีอํานาจควบคุม ตารางตอไปนี้สรุปขอมูลรวมทั้งมูลคายุติธรรมปรับปรุงดวยราคาซื้อเกี่ยวกับบริษัทยอยแตละรายของกลุมบริษัทที่มีสวนไดเสียที่ ไมมีอํานาจควบคุมที่มีสาระสําคัญ

MMPLC ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 รอยละของสวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน หัก: สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม ในบริษัทยอย สินทรัพยสุทธิ มูลคาตามบัญชีของสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 รายได กําไร(ขาดทุน) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวม กําไร (ขาดทุน) ที่แบงใหกับ สวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม กําไรเบ็ดเสร็จอื่นที่แบงใหกับสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุม

บริษัทยอยอื่นที่ PMTA ไมมสี าระสําคัญ (ลานบาท)

รวม

41.8 7,165 10,872 (6,241) (211) 11,585

32.8 1,318 710 (413) (19) 1,596

223 983 (1,134) (82) (10)

8,706 12,565 (7,788) (312) 13,171

22 11,607

1,596

(10)

22 13,193

4,832

505

35

5,372

9,877 (8,103) 1,512 (6,591)

3,307 224 224

753 (455) 1 (454)

13,937 (8,334) 1,513 (6,821)

(3,468)

58

(53)

(3,463)

632

25

-

657

73 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ206 ัท โทรีนเรซนไทย ซีสริ ษั จํท ากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ วมและ งบ กเอเยนต าร เ งิ น ข อ งบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทยอยอื่นที่ PMTA ไมมสี าระสําคัญ (ลานบาท)

MMPLC สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กระแสเงินสดจาก (ใชไปใน) กิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจาก (ใชไปใน) กิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจาก (ใชไปใน) กิจกรรม จัดหาเงิน (รวมเงินปนผลที่จายใหกับ สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม) เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ

453

205

(51)

607

(701)

(167)

5

(863)

(595)

(1)

44

(552)

(843)

37

(2)

(808)

MMPLC ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 รอยละของสวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน หัก: สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมใน งบการเงินของบริษัทยอย สินทรัพยสุทธิ มูลคาตามบัญชีของสวนไดเสียที่ไมมี อํานาจควบคุม

74 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

รวม

บริษัทยอยอื่นที่ไมมี สาระสําคัญ (ลานบาท)

รวม

42.2 7,543 17,619 (2,882) (3,625) 18,655

476 1,169 (1,143) (116) 386

8,019 18,788 (4,025) (3,741) 19,041

(60) 18,595

386

(60) 18,981

7,909

88

7,997


207

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

บริษัทยอยอื่นที่ไมมี สาระสําคัญ (ลานบาท)

MMPLC สําหรับงวดสามเดือนสิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายได กําไร (ขาดทุน) กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวม กําไร (ขาดทุน) ที่แบงใหกับสวนไดเสียทีไ่ มมี อํานาจควบคุม กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่แบงใหกับ สวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจาก (ใชไปใน) กิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจาก (ใชไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน (รวมเงินปนผลที่จายใหกับสวนไดเสียที่ ไมมีอํานาจควบคุม) เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 15

รวม

3,486 142 323 465

152 (34) (34)

3,638 107 324 431

60

(6)

54

136

-

136

800 500

52 (3)

852 497

(156)

(70)

(226)

1,144

(21)

1,123

คาความนิยม รายการเคลื่อนไหวของคาความนิยมในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และระหวางงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวม หมายเหตุ

2558

2557 (พันบาท)

มูลคาสุทธิทางบัญชีตนป/งวด การดอยคา ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ มูลคาสุทธิทางบัญชีสิ้นป/งวด

28

984,598 (939,671) 29,641 74,568

978,620 5,978 984,598

75 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้น โอน จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น โอน จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

16

710

36,743 1,470,070 7,043 (5,007) 153,818 1,625,924

494

608,126 (66)

2,621 610,681

4,378 204,530

192,128 5,727 4,873 (2,576)

191,055 363 -

1,433,327 -

สวน ปรับปรุง อาคาร

607,632 -

ที่ดิน

อาคาร และ โรงงาน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

2,927,125 34,718,064

32,435,374 10,765 (655,200)

552,035

31,878,884 4,455 -

เรือเดินทะเล เรือสนับสนุน เรือกลเดินทะเล และเรือขุดเจาะ

76

(298,405) 2,075,388

1,632,542 741,251 -

-

1,531,815 96,047 4,680 -

คาใชจาย ในการ ซอมเรือ ครั้งใหญ

451,219 5,264,804

4,579,949 224,779 95,546 (86,689)

85,216

4,367,616 81,635 104,008 (58,526)

งบการเงินรวม เครื่องตกแตง ติดตั้ง เครื่องจักร และอุปกรณ เครื่องใช (พันบาท)

5,387 170,621

175,144 14,639 (24,549)

3,967

164,240 7,731 (794)

รถยนต

3,491 42,525

33,920 5,114 -

604

33,049 267 -

เรือยนต

137,317

140,655 62 (3,400)

-

140,374 1,056 (775)

เรือขน ถานหิน

4,560 2,747,466

2,550,022 298,417 (105,533) -

49,569

2,390,621 218,520 (108,688) -

งานระหวาง กอสราง

3,254,194 47,597,320

43,817,930 1,302,683 (777,487)

729,338

42,738,613 410,074 (60,095)

รวม

208 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


คาเสื่อมราคาและการดอยคา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 คาเสื่อมราคาสําหรับงวด การดอยคา - สุทธิ จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 คาเสื่อมราคาสําหรับป การดอยคา - สุทธิ โอน จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

28

หมายเหตุ

564,885 18,445 11,978 595,308 75,661 19,930 (5,032) 9,377 695,244

-

-

-

-

ที่ดิน

อาคาร และ โรงงาน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

3,414 166,315

150,313 14,520 (197) (1,735)

570

145,839 3,904 -

สวน ปรับปรุง อาคาร

1,138,241 20,344,405

12,353,056 1,136,509 6,370,930 (654,331)

197,202

11,833,395 274,003 48,456 -

เรือเดินทะเล เรือสนับสนุน เรือกลเดินทะเล และเรือขุดเจาะ

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558

77

(378,908) 1,391,749

855,897 483,944 430,816 -

(11,960)

773,668 95,392 (1,203) -

คาใชจาย ในการ ซอมเรือ ครั้งใหญ

185,300 3,828,826

2,428,945 435,417 816,304 197 (37,337)

47,151

2,330,782 97,040 2,255 (48,283)

งบการเงินรวม เครื่องตกแตง ติดตั้ง เครื่องจักร และอุปกรณ เครื่องใช (พันบาท)

3,404 107,583

106,503 21,080 (23,404)

1,850

100,590 4,857 (794)

รถยนต

1,647 22,072

13,366 7,059 -

223

11,539 1,604 -

เรือยนต

56,280

47,444 1,801 8,747 (1,712)

-

47,273 405 (234)

เรือขน ถานหิน

18,155 2,598,231

6,406 2,573,670 -

-

6,406 -

งานระหวาง กอสราง

980,630 29,210,705

16,557,238 2,175,991 10,220,397 (723,551)

247,014

15,814,377 495,650 49,508 (49,311)

รวม

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

209


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

607,632

608,126

610,681

มูลคาสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ที่ดิน

930,680

874,762

868,442

อาคาร และ โรงงาน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

38,215

41,815

45,216

สวน ปรับปรุง อาคาร

14,373,659

20,082,318

20,045,489

เรือเดินทะเล เรือสนับสนุน เรือกลเดินทะเล และเรือขุดเจาะ

78

683,639

776,645

758,147

คาใชจาย ในการ ซอมเรือ ครั้งใหญ

1,435,978

2,151,004

2,036,834

งบการเงินรวม เครื่องตกแตง ติดตัง้ เครื่องจักร และอุปกรณ เครื่องใช (พันบาท)

63,038

68,641

63,650

รถยนต

20,453

20,554

21,510

เรือยนต

81,037

93,211

93,101

เรือขน ถานหิน

149,235

2,543,616

2,384,215

งานระหวาง กอสราง

18,386,615

27,260,692

26,924,236

รวม

210 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


99,947 99,947 (17,100) 82,847

-

คาเสื่อมราคา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 คาเสื่อมราคาสําหรับงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 คาเสื่อมราคาสําหรับป จําหนายและตัดจําหนาย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ที่ดิน

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น จําหนายและตัดจําหนาย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558

79

139,109 2,368 141,477 8,406 (137) 149,746

203,746 203,746 (1,900) 201,846

อาคาร

65,444 646 66,090 2,005 (2,091) 66,004

80,244 3,170 (1,440) 81,974

70,344 972 71,316 1,007 (2,117) 70,206

79,256 988

92,176 92,176 237 (2,088) 90,325

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้งและ อาคาร อุปกรณ (พันบาท)

2,806 (2,806) -

2,806 -

2,806 2,806 (2,806) -

รถยนต

290,617 13,581 (6,474) 297,724

286,615 4,002

469,019 972 469,991 1,244 (26,011) 445,224

รวม

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

211


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

มูลคาสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 1 มกราคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

99,947 99,947 82,847

ที่ดิน

64,637 62,269 52,100

อาคาร

12,920 11,932 8,351

4,900 5,226 4,202

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแตง สวนปรับปรุง ติดตั้งและ อาคาร อุปกรณ (พันบาท)

รถยนต

-

182,404 179,374 147,500

รวม

212 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

213

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายการเคลื่อนไหวที่สําคัญของทีด่ ิน อาคารและอุปกรณของกลุมบริษัทในระหวางปส้ินสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวด สามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้ การเพิ่มขึ้น การจําหนาย และการตัดจําหนายที่สําคัญ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 การเพิ่มขึ้นทีส่ าํ คัญ ไดแก ก) การจายเงินสําหรับการปรับปรุงและการซอมเรือครั้งใหญของเรือเดินทะเล ข) การจายเงินสําหรับ อุปกรณที่ใชสําหรับเรือสนับสนุนนอกชายฝงและเรือขุดเจาะน้ํามันและจายเงินตามขั้นความสําเร็จของอุปกรณใหมที่อยูระหวาง กอสรางและติดตั้ง และ ค) การจายเงินสําหรับการกอสรางโกดังสินคา สินทรัพยที่ใชค้ําประกัน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่ใชค้ําประกันวงเงินกูตาง ๆ สามารถสรุปไดดังนี้ •

เรือเดินทะเลจํานวนหลายลํา มูลคาตามบัญชีสุทธิ 180.5 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 312.1 ลานเหรียญสหรัฐฯ)ได ถูกจํานองไวกับสถาบันการเงินหลายแหงเพื่อค้ําประกันเงินกูตาง ๆ โดยมีมูลคาการจํานองทั้งหมด 139.6 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 161.3 ลานเหรียญสหรัฐฯ)

เรือวิศวกรรมโยธาใตน้ําจํานวนหลายลําและเรือขุดเจาะน้ํามัน 1 ลํา ซึ่งมีมูลคาตามบัญชีสุทธิ 148.5 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 176.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ)ไดถูกจํานองไวกับธนาคารหลายแหงเพื่อค้ําประกันเงินเบิกเกินบัญชีและวงเงินกูตาง ๆ โดยมีมูลคาการจํานองทั้งหมด 110.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 110.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ)

เรือขนลําเลียงหนึ่งลํา ซึ่งมีมูลคาตามบัญชีสุทธิเปนศูนย ไดถูกจํานองไวกับธนาคารแหงหนึ่งเพื่อเปนหลักประกันวงเงินเบิกเกิน บัญชีธนาคารที่ยังไมไดใชจํานวน 5.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: เรือขนลําเลียงจํานวน 10 ลําซึ่งมีมูลคาตามบัญชีสุทธิจํานวน 122.4 ลานบาท ไดถูกจํานองไวกับธนาคารแหงหนึ่งเพื่อเปนหลักประกันเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกูระยะยาวโดยมีมูลคา การจํานองรวม 125.0 ลานบาท)

ที่ดิน อาคารและเครื่องจักรบางสวนของกลุมบริษัท ซึ่งมีมูลคาตามบัญ ชีสุทธิ 373.0 ลานบาท 2.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ และ 297,576 ลานดองเวียดนาม (31 ธันวาคม 2557: 603.3 ลานบาท 2.5 ลานเหรียญสหรัฐฯ และ 79,421 ลานดองเวียดนาม)ไดถูก จํานองไวกับธนาคารหลายแหงเพื่อค้ําประกันวงเงินกู วงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และหนังสือค้ําประกันโดยมีมูลคาการจํานอง รวม 745.0 ลานบาท และ 7.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 748.5 ลานบาท และ 7.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ)

81 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ214 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 17

สินทรัพยไมมีตัวตน งบการเงินรวม

ความสัมพันธ กับลูกคา ราคาทุน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้น จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น โอน จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

สินทรัพย ไมมตี ัวตนอื่น

โปรแกรม คอมพิวเตอร (พันบาท)

563,851 -

8,256 -

340,014 1,413 (19,709)

1,044

550

1,244

564,895 -

8,806 -

564,895

8,806

82 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

โปรแกรม คอมพิวเตอร ระหวาง ติดตั้ง

6,095 -

รวม

918,216 1,413 (19,709)

-

2,838

322,962 8,748 6,095 (80)

6,095 (6,095) -

902,758 8,748 (80)

6,373 344,098

-

6,373 917,799


215

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม

หมายเหตุ คาตัดจําหนายและการดอยคา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 คาตัดจําหนายสําหรับงวด การดอยคา - สุทธิ จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 คาตัดจําหนายสําหรับป การดอยคา – สุทธิ 28 จําหนายและตัดจําหนาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลคาสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

ความสัมพันธ กับลูกคา

สินทรัพย ไมมตี ัวตนอื่น

โปรแกรม คอมพิวเตอร (พันบาท)

โปรแกรม คอมพิวเตอร ระหวาง ติดตั้ง

รวม

405,941 12,804 -

5,753 278 -

259,964 8,783 133 (18,995)

-

671,658 21,865 133 (18,995)

1,044

402

886

-

2,332

419,789 51,214 93,892 -

6,433 1,156 -

250,771 34,908 3,827 (147)

-

676,993 87,278 97,719 (147)

564,895

31 7,620

5,051 294,410

-

5,082 866,925

157,910

2,503

80,050

6,095

246,558

145,106 -

2,373 1,186

72,191 49,688

6,095 -

225,765 50,874

83 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท216 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ โปรแกรม โปรแกรม คอมพิวเตอร

คอมพิวเตอร ระหวางติดตั้ง (พันบาท)

ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เพิ่มขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 เพิ่มขึ้น โอน

186,376 -

6,095 -

192,471 -

186,376 754 6,095

6,095 (6,095)

192,471 754 -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

193,225

-

193,225

ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557

139,075

-

139,075

คาตัดจําหนายสําหรับงวด

4,036

-

4,036

1 มกราคม 2558

143,111

-

143,111

คาตัดจําหนายสําหรับป

19,827

-

19,827

3,827

-

3,827

166,765

-

166,765

รวม

ราคาทุน

คาตัดจําหนายและการดอยคา

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ

การดอยคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มูลคาสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557

47,301

6,095

53,396

43,265

6,095

49,360

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 1 มกราคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

26,460

84 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

-

26,460


217

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 18

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี สินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีดังนี้

สินทรัพย

เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน ภาระผูกพันผลประโยชน พนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม หักกลบภาษีเงินได สินทรัพย (หนี้สิน) ภาษีเงินได รอการตัดบัญชีสุทธิ

13,672 26 (81,370) (178)

(4,551) 6,372 (83,768) (63,750)

สุทธิ

2558

2557 (ปรับปรุงใหม)

13,672 26 21,456 -

2,643 6,372 14,943 -

23,424 231,909 17,308 307,795 (6,382)

23,538 210,100 16,242 273,838 (14,108)

(1,472) (27,272) (131,748) 6,382

(40,313) (209,968) 14,108

21,952 231,909 (9,964) 176,047 -

23,538 210,100 (24,071) 63,870 -

301,413

259,730

(125,366)

(195,860)

176,047

63,870

สินทรัพย 2558

เงินลงทุนระยะสั้น สินทรัพยไมมีตัวตน ภาระผูกพันผลประโยชน พนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม หักกลบภาษีเงินได สินทรัพยภาษีเงินได รอการตัดบัญชีสุทธิ

งบการเงินรวม หนี้สิน 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) (7,194) (102,826) (98,711) (178) (63,750)

2557 (ปรับปรุงใหม)

งบการเงินเฉพาะกิจการ หนี้สิน 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) (276)

5,818 2,471

2,643 -

3,492 174,197 3,127 189,105 -

2,639 155,913 626 161,821 (276)

-

189,105

161,545

-

2558

2557 (ปรับปรุงใหม)

สุทธิ 2558

2557 (ปรับปรุงใหม)

5,818 2,471

2,643 (276)

(276) 276

3,492 174,197 3,127 189,105 -

2,639 155,913 626 161,545 -

-

189,105

161,545

85 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม

(4,551) 6,372 (83,768) (63,750) 23,538 210,100 (24,071) 63,870

ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 (ปรับปรุงใหม)

86

(6,346) 3,841 63,571 (142) 21,809 14,107 96,840

กําไรหรือ ขาดทุน

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่น (พันบาท) 18,223 (1,444) 16,779

งบการเงินรวม บันทึกเปนรายจาย/(รายไดใน)

(1,443) 1 (1,442)

ผลตางจากการ เปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตรา ตางประเทศ

13,672 26 (81,370) (178) 21,952 231,909 (9,964) 176,047

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

รายการเคลื่อนไหวของสินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

218 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

1,942 6,281 (93,913) (69,363) 13,459 165,361 29,930 53,697

ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 (ปรับปรุงใหม)

91 10,950 5,635 10,079 44,739 (54,001) 17,493

-

กําไรหรือ ขาดทุน

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่น (พันบาท) (6,493) (6,493)

งบการเงินรวม บันทึกเปนรายจาย/(รายไดใน)

(805) (22) (827)

ผลตางจากการ เปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตรา ตางประเทศ

(4,551) 6,372 (83,768) (63,750) 23,538 210,100 (24,071) 63,870

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 (ปรับปรุงใหม)

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

219

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


220

บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนต งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิซ น ีส ข อ จํ งบาริกั ษัด ท (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเปนรายจาย / (รายไดใน)

เงินลงทุนระยะสั้น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม

ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 กําไรขาดทุน (ปรับปรุงใหม) กําไรหรือขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น (พันบาท) 2,643 3,175 (276) 2,747 2,639 853 155,913 18,284 626 2,501 161,545 24,385 3,175

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 5,818 2,471 3,492 174,197 3,127 189,105

งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเปนรายจาย / (รายไดใน) ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 (ปรับปรุงใหม) เงินลงทุนระยะสั้น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ยอดขาดทุนยกไป อื่นๆ รวม

1,942 (1,067) 2,468 105,592 10,711 119,646

88 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

กําไรขาดทุน กําไรหรือขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น (พันบาท) 701 791 171 50,321 (10,085) 41,198 701

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 (ปรับปรุงใหม) 2,643 (276) 2,639 155,913 626 161,545


221

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีท่ีเกิดจากผลแตกตางชั่วคราวและยอดขาดทุนยกไปที่มิไดรับรูในงบการเงินมีรายละเอียด ดังนี้ งบการเงินรวม 2558 ผลแตกตางชั่วคราว ขาดทุนทางภาษีที่ยังไมไดใช รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

2557

3,948,544 647,313 4,595,857

(พันบาท) 1,518,170 1,499,594 285,199 1,803,369 1,499,594

782,749 782,749

ขาดทุนทางภาษีจะสิ้นอายุในป 2559 ถึง 2566 ผลแตกตางชั่วคราวที่ใชหักภาษีที่ยังไมสิ้นอายุตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได ปจจุบันนั้น กลุมบริษัทและบริษัทยังมิไดรับรูรายการดังกลาวเปนสินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีเนื่องจากยังไมมีความ เปนไดคอนขางแนวากลุมบริษัทและบริษัทจะมีกําไรทางภาษีเพียงพอที่จะใชประโยชนทางภาษีดังกลาว 19

สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

ลูกหนี้คาสินไหมทดแทนสุทธิ เงินฝากสถาบันการเงินติดภาระผูกพัน เกินกวาหนึ่งป เงินใหกูระยะยาวแกกิจการอื่นสุทธิ สินทรัพยอื่น รวม

120,735

196,138

-

-

211,099 152,973 484,807

131,899 19,995 89,577 437,609

13,031 13,031

1,691 1,691

เงินฝากสถาบันการเงินติดภาระผูกพันเปนเงินค้ําประกันภายใตสัญญาเงินกูระยะยาวกับสถาบันการเงินในประเทศแหงหนึ่ง ซึ่งกํา หนดวา จํานวนเงิน ฝากสถาบัน การเงิน จะตอ งคงไวไมต่ํา กวาจํา นวนของเงิน ตน และดอกเบี้ย ที ่ตอ งจายในสองงวด ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาปลอดชําระเงินตนสองปในเดือน กันยายน 2556

89 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


222

บริษัทงบการเงิ โทรีเซนไทย  จํริาษักัท ด (มหาชน) และบริษัทยอย น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซ ข อีสงบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 20

หนี้สินทีม่ ีภาระดอกเบี้ย งบการเงินรวม หมายเหตุ

2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (ปรับปรุงใหม)

2557 (ปรับปรุงใหม) (พันบาท)

สวนที่หมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกูระยะสั้น เงินกูระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวของกัน สวนของเงินกูระยะยาวที่ถึง กําหนดชําระภายในหนึ่งป สวนของหุนกูที่ถึงกําหนด ไถถอนภายในหนึ่งป หนี้สินตามสัญญาเชาการเงินที่ ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป สวนที่ไมหมุนเวียน เงินกูระยะยาว หุนกู หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน รวม

7,479 380,385 5

8,525 473,279

-

-

1,403,305

1,287,653

6,861,751

2,480,309

418,652

316,765

-

2,055,386

-

2,055,386

6,064 7,258,979

6,693 5,024,192

1,821,957

3,659,804

2,640,446 4,496,034 5,812 7,142,292 14,401,271

7,764,888 2,180,267 9,332 9,954,487 14,978,679

4,496,034 4,496,034 6,317,991

510,798 2,180,267 2,691,065 6,350,869

3,300

90 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

-


223

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ระยะเวลาการครบกําหนดของเงินกูระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีดังตอไปนี้

ครบกําหนดภายในหนึ่งป ครบกําหนดหลังจากหนึ่งป แตไมเกินหาป ครบกําหนดหลังจากหาป รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) 6,861,751 2,480,309 418,652 316,765 2,094,596 545,850 9,502,197

5,282,236 2,482,652 10,245,197

418,652

510,798 827,563

บริษัท เงินกูระยะยาว เงินกู เพื่ อการไถถอนหุ นกู แปลงสภาพเป นเงินกู จากธนาคารพาณิ ชย ในประเทศแห งหนึ่ งในสกุ ลเงินบาท ซึ่ งได เข าทํ าสั ญญา แลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยในสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 418.7 ลาน บาท (31 ธันวาคม 2557: 827.6 ลานบาท) มีระยะเวลาชําระหนี้คืนภายใน 5 ป และไมมีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยเงินกูเปน อัตราดอกเบี้ยลอยตัวบวกสวนเพิ่ม หุนกู ในเดือนกรกฎาคม 2553 บริษัทไดออกและเสนอขายหุนกูสกุลเงินบาทประเภทไมดอยสิทธิและไมมีหลักประกันจํานวน 2 ชุด ในราคาตามมูลคารวมเปนจํานวนเงิน 4 พันลานบาท ในเดือนกรกฎาคม 2558 บริษัทไดไถถอนหุนกูชุดที่ 1 ป 2553 เต็มจํานวน และครบกําหนดชําระสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวของ ในเดือนเดียวกันนี้บริษัทไดออกและเสนอขายหุนกู สกุลเงินบาทประเภทไมดอยสิทธิและไมมีหลักประกัน ในราคาตามมูลคารวมเปนจํานวนเงิน 2 พันลานบาทและไดเขาทําสัญญา แลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยในสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 4,496.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 4,235.7 ลานบาท)

91 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 224 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดของหุนกู ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังตอไปนี้

ปที่ออก หุนกู จํานวนหนวย 2553 / ชุดที่ 2 2558

ราคาตาม มูลคา/ หนวย (บาท)

2,000,000 2,000,000

1,000 1,000

อัตราดอกเบีย้ (รอยละตอป)

อัตราสัญญา แลกเปลีย่ นสกุลเงิน (บาท/เหรียญ สหรัฐฯ)

3.82 4.25

30.45 33.77

อัตราดอกเบีย้ ตาม สัญญาแลกเปลี่ยน (รอยละตอป) 3.60 LIBOR 3 เดือน บวก 3.00

วันที่ครบกําหนด ไถถอน 29 มิถุนายน 2560 19 กรกฎาคม 2561

หุนกูดังกลาว มีกําหนดชําระดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน และครบกําหนดไถถอนหุนกูตามวันครบกําหนดไถถอน รายการเคลื่ อ นไหวของหุ นกู ใ นระหว า งป สิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 และสํ า หรั บ งวดสามเดื อ นสิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) 4,235,653 4,158,599 2,034,095 (2,000,000) (34,095) (7,689) 261,286 76,328 4,711 413 2,073 313 4,496,034 4,235,653 (2,055,386) 4,496,034 2,180,267

ณ วันตนป/ งวด รับเงิน ชําระคืน สวนลดมูลคาหุนกู คาใชจายในการออกหุนกู กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไมเกิดขึ้นจริง คาตัดจําหนายสวนลดมูลคาหูนกู คาตัดจําหนายคาใชจายในการออกหุนกู ณ วันที่ 31 ธันวาคม หัก สวนของหุนกูที่ถึงกําหนดไถถอนภายในหนึ่งป หุนกู - สุทธิจากสวนที่ถึงกําหนดไถถอนภายในหนึ่งป

92 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


225

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม เงินกูระยะสั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุมบริษัทมีเงินกูระยะสั้นในรูปแบบของตั๋วสัญญาใชเงิน สัญญาทรัสตรีซีทและเงินกูระยะสั้นจาก สถาบันการเงินจํานวน 380.4 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 473.3 ลานบาท) ค้ําประกันโดยสิทธิในบัญชีเงินฝาก ที่ดินบางสวน และสิ่งปลูกสรางบนที่ดิน เครื่องจักรบางสวน สินคาคงเหลือ และสินทรัพยหมุนเวียนอื่นของบริษัทยอย และค้ําประกันโดย บริษัทยอยแหงหนึ่ง เงินกูระยะยาว รายการเคลื่อนไหวของเงินกูระยะยาวในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้

ณ วันตนป/ งวด เพิ่มขึ้น ชําระคืน กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไมเกิดขึ้นจริง คาตัดจําหนายสวนลดของเงินกูยืมระยะยาว ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลีย่ น เงินตราตางประเทศ คาตัดจําหนายคาใชจายในการไดรบั เงินกู ณ วันที่ 31 ธันวาคม หัก สวนของเงินกูระยะยาวที่ถึงกําหนด ชําระภายในหนึ่งป เงินกูระยะยาว - สุทธิจากสวนทีถ่ ึง กําหนดชําระภายในหนึ่งป

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สําหรับป สามเดือน สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) 10,245,197 9,465,494 827,563 976,518 120,000 1,144,976 (1,681,873) (524,363) (420,000) (160,000) 11,333 10,566 9,825 10,566 1,264 479 1,264 479 802,509 3,767 9,502,197

146,970 1,075 10,245,197

418,652

827,563

(6,861,751)

(2,480,309)

(418,652)

(316,765)

2,640,446

7,764,888

-

510,798

93 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


226 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ก)

เงินกูเพื่อซื้อและกอสรางเรือเดินทะเล เรือขุดเจาะ เรือสนับสนุนและอุปกรณ และเรือขนลําเลียง -

เงินกูเพื่อซื้อและกอสรางเรือเดินทะเลเปนเงินกูจากสถาบันการเงินตางประเทศหลายแหง โดยกูในสกุลเงินเหรียญ สหรัฐฯ มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 139.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 161.3 ลานเหรียญสหรัฐฯ) มีระยะเวลาชําระหนี้คืนภายใน 5 ถึง 17 ป นับจากวันสงมอบเรือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อัตราดอกเบี้ยการกูยืมและหลักทรัพยค้ําประกันมีดังนี้ • เงินกูจํานวน 23.6 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 27.1 ลานเหรียญสหรัฐฯ) : อัตราดอกเบี้ยคงที่และ อัตรา LIBOR บวกสวนเพิ่ ม เงิน กูดังกลาวไดรับการค้ําประกันโดยการจํานองเรือเดิน ทะเล 2 ลํา และค้ํา ประกันโดยบริษัท • เงินกูจํานวน 115.6 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 134.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ) : อัตราดอกเบี้ย LIBOR บวกสวนเพิ่ ม และไดรับ การค้ําประกันโดยการจํานองเรือเดินทะเลของกลุมบริษัทจํานวน 15 ลํา สัญญาประกันภัยของเรือเดินทะเล ซึ่งไดทําสัญญาค้ําประกันเรือเดินทะเล จํานําหรือเปลี่ยนบัญชีธนาคาร และค้ําประกันโดยบริษัท

-

เงินกูเพื่อซื้อเรือสนับสนุนนอกชายฝงและอุปกรณ เปนเงินกูจากธนาคารพาณิชยในประเทศหลายแหง โดยกูในสกุล เงินเหรียญสหรัฐฯ มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 104.4 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 113.4 ลานเหรียญสหรัฐฯ) มีระยะเวลาชําระหนี้คืนภายใน 8 ถึง 10 ป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีอัตรา ดอกเบี้ย USD-LIBOR บวกสวนเพิ่ม (31 ธันวาคม 2557: USD-LIBOR บวกสวนเพิ่ม) ปจจุบันเงินกูดังกลาวไดรับ การค้ําประกันโดยการจํานองเรือสนับสนุนนอกชายฝง และค้ําประกันโดยบริษัทยอยแหงหนึ่ง

-

เงิน กู เ พื ่อ ซื ้อ เรือ ขนลํ า เลีย ง เปน เงิน กู จ ากธนาคารพาณิช ยใ นประเทศแหง หนึ ่ง โดยกู ใ นสกุล เงิน บาท มีย อดคงเหลือ ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2557 จํา นวน 6.4 ลา นบาท มีระยะเวลาชําระคืนภายใน 7 ป โดยเงินกู ดังกลาวมีอัตราดอกเบี้ย MLR หักดวยสวนลดและไดรับการค้ําประกันโดยการจํานองเรือขนลําเลียงทั้งหมด เงินกู ดังกลาวไดถูกจายชําระเต็มจํานวนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558

ภายใตเงื่อนไขของสัญญาเงินกูกําหนดวาบริษัทและบริษัทยอยตองไมนําสินทรัพยที่ติดภาระค้ําประกันไปกอภาระผูกพัน หรือยินยอมใหมีการกอภาระผูกพันอื่นอีก เวนแตจะไดรับคํายินยอมจากผูใหกูอยางเปนทางการ อีกทั้งบริษัทและบริษัท ยอยจะตองปฏิบัติตามเงื่อนไขและขอจํากัดอื่นตามที่ระบุไวในสัญญาเงินกู

94 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

227

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ข)

เงินกูเพื่อการกอสรางอาคารและคลังสินคา เปนเงินกูจากธนาคารพาณิชยในประเทศหลายแหง โดยกูในสกุลเงินบาท มี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 31.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 46.5 ลานบาท) มีระยะเวลาชําระ หนี้คืนภายใน 6.5 ถึง 8 ป โดยเงินกูดังกลาวมีอัตราดอกเบี้ย MLR หักสวนลด และไดรับการค้ําประกันโดยการจํานอง ที่ดินและอาคารของบริษัทยอย และค้ําประกันโดยบริษัท

ค)

เงินกูเพื่อการกอสรางเครื่องจักรและคลังสินคาและใชเปนเงินทุนหมุนเวียน เปนเงินกูจากธนาคารพาณิชยในประเทศ หลายแหงโดยกูในสกุลเงินบาท มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 264.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 319.9 ลานบาท) มีระยะเวลาชําระหนี้คืนภายใน 3 ถึง 7 ป เงินกูดังกลาวมีอัตราดอกเบี้ย MLR และ MLR หักสวนลด และไดรับการค้ําประกันโดยการจํานองที่ดินบางสวนและอาคารกอสรางบนที่ดินนั้นของบริษัทยอยและค้ําประกันโดย บริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทในฐานะผูค้ําประกันเงินกูของบริษัทยอย และบริษัทยอยบางบริษัทในฐานะผูกูไมสามารถ ปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการที่กําหนดในสัญญาเงินกู ภายใตมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การนําเสนอ งบการเงิน กิจการตองจัดประเภทหนี้สินเปนหนี้สินหมุนเวียน หากกิจการไมสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญาเงินกู ระยะยาวที่มีผลในหรือกอนวันที่ที่ออกรายงาน แมวาภายหลังจากวันที่ที่ออกรายงานและกอนวันที่ที่งบการเงินไดรับการอนุมัติ ใหเปดเผยสูสาธารณะ ผูใหกูจะยินยอมไมเรียกคืนเงินกู เนื่องจากการไมปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 สวนของเงินกูยืมระยะยาวที่จะถึงกําหนดชําระเกิน 1 ป จํานวน 5,034.7 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 983.4 ลานบาท) จึง ถูกจัดประเภทเปนหนี้สินหมุนเวียน ปจจุบันผูบริหารอยูในระหวางการเจรจากับธนาคารที่เกี่ยวของ และมีความเห็นวาผลการ เจรจาดังกลาวจะไมสงผลกระทบทางลบอยางมีสาระสําคัญ มูลคายุติธรรมของเงินกูยืมระยะยาวและการกูยืมที่ใชอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ถูกกําหนดใหเปนอัตราดอกเบี้ยในตลาดซึ่งถูกใชใน การประมาณมูลคายุติธรรม

95 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท228 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 21

ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน งบการเงินรวม สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 (พันบาท)

งบแสดงฐานะการเงิน สําหรับ ผลประโยชนหลังออกจากงาน ผลประโยชนระยะยาวอื่น รวม

171,510 6,885 178,395

149,185 5,831 155,016

16,522 936 17,458

12,295 901 13,196

งบกําไรขาดทุน ผลประโยชนหลังออกจากงาน ผลประโยชนระยะยาวอื่น รวม

50,587 2,133 52,720

44,923 462 45,385

8,505 271 8,776

925 61 986

รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรจากการประมาณตามหลัก คณิตศาสตรประกันภัย ที่รับรูในระหวางป

(6,033)

-

-

-

ผลประโยชนเมื่อเกษียณอายุ บริษัทและบริษัทยอยในประเทศไทยจัดการโครงการบําเหน็จบํานาญพนักงานตามขอกําหนดของพระราชบัญญัติคุมครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 ในการใหผลประโยชนเมื่อเกษียณแกพนักงานตามสิทธิและอายุงาน โครงการผลประโยชนที่กําหนดไวมีความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ไดแก ความเสี่ยงของชวง ชีวิต ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงจากตลาด

96 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


229

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายการเคลื่อนไหวของภาระผูกพันผลประโยชนเมื่อเกษียณอายุในระหวางปสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสาม เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

2557 (พันบาท)

ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน ณ วันที่ 1 มกราคม/ 1 ตุลาคม รับรูในกําไรขาดทุน ตนทุนบริการปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย โบนัสสะสม ขาดทุน / (กําไร) จากการยกเลิกโครงการ จัดประเภทรายการจากคาใชจายคางจาย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร ประกันภัย ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ อื่นๆ ผลประโยชนจาย ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

155,016

111,663

13,196

12,343

49,131 2,022 120 (8,696) 427

10,169 425 32,800

4,040 458 4,278 -

904 82 -

9,958 52,962

1,991 45,385

8,776

986

(5,791)

-

-

-

(242) (6,033)

-

-

-

(23,550) (23,550)

(2,032) (2,032)

(4,514) (4,514)

(133) (133)

178,395

155,016

17,458

13,196

97 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


230 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน กําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยที่รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เกิดขึ้นจาก งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

สมมติฐานประชากร สมมติฐานทางการเงิน การปรับปรุงจากประสบการณ รวม

(245) 96 (5,884) (6,033)

-

-

-

ขอสมมติในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ขอสมมติฐานหลักในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย ณ วันที่รายงาน (แสดงโดยวิธีถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก) ไดแก งบการเงินรวม 2558 อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตราการตาย อัตราการลาออก

2557

(รอยละ) 2.1 – 8.4 1.7 – 9.1 4-8 4.5 - 8 0.1 – 1.0 และ 0.1 - 1.0 และ TMO2008* TMO2008* 0 - 30 0 - 34

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (รอยละ) 3.5 3.5 6 6 TMO2008* TMO2008* 0 - 23

0 - 23

* Male and Female Thai Mortality Ordinary Table of 2008 คือตารางอัตราการตายลาสุ ดจาก สํ านั กงานคณะกรรมการ กํากับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

98 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


231

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การวิเคราะหความออนไหว การเปลี่ยนแปลงในแตละขอสมมติฐานที่เกี่ยวของในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยที่อาจเปนไปไดอยาง สมเหตุสมผล ณ วันที่รายงาน โดยถือวาขอสมมติฐานอื่นๆ คงที่ จะมีผลกระทบตอภาระผูกพันผลประโยชนที่กําหนดไวเปน จํานวนเงินดังตอไปนี้ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ (พันบาท)

ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อัตราคิดลด (เปลี่ยนแปลงรอยละ 1) การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต (เปลี่ยนแปลงรอยละ 1) อัตราการลาออก (เปลี่ยนแปลงรอยละ 1) อายุคาดหวังเฉลี่ย (เปลีย่ นแปลงภายใน 1 ป)

22

เพิ่มขึ้น

ลดลง

เพิ่มขึ้น

ลดลง

(4,422)

4,776

(1,440)

1,528

5,228 (445) 823

(4,457) 429 (816)

1,422 275

(1,354) (273)

แมวาการวิเคราะหนี้ไมไดคํานึงการกระจายตัวแบบเต็มรูปแบบของกระแสเงินสดที่คาดหวังภายใตโครงการดังกลาว แตไดแสดง ประมาณการความออนไหวของขอสมมติฐานตางๆ ทุนเรือนหุนและใบสําคัญแสดงสิทธิ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มูลคาหุน ตอหุน (บาท) ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 และ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 - หุนสามัญ ลดมูลคาหุน ออกหุนใหม ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุนสามัญ

2558 จํานวนหุน

2557 บาท จํานวนหุน (พันหุน / พันบาท)

บาท

1 1 1 1

1,544,106 (6,642) 739,383

1,544,106 (6,642) 739,383

1,544,106 -

1,544,106 -

1

2,276,847

2,276,847

1,544,106

1,544,106

99 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


232

บริษัท งบการเงิ โทรีเซนไทย จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีสอ งบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มูลคาหุน ตอหุน (บาท) ทุนที่ออกและชําระแลว ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 และ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 - หุนสามัญ ออกหุนใหม ใชสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุนสามัญ

2558 จํานวนหุน

1 1 1 1 1

2557 บาท จํานวนหุน (พันหุน / พันบาท)

บาท

1,301,175 520,470 809

1,301,175 520,470 809

1,293,235

1,293,235

7,940

7,940

1,822,454

1,822,454

1,301,175

1,301,175

การใชสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีการจดทะเบียนทุนที่ออกและชําระแลวจากการใชสิทธิ TTA-W3 TTA-W4 และ TTA-W5 จํานวน 807,433 บาท 1,412 บาท และ 56 บาท ตามลําดับ เปนผลใหทุนที่ชําระแลวของบริษัทเพิ่มขึ้นเปน จํานวน 1,301.98 ลานบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ใบสําคัญแสดงสิทธิ TTA-W3 ทั้งหมดไดหมดอายุการใชสิทธิ ที่ ป ระชุ ม ใหญ ส ามั ญ ประจํ า ป ข องผู ถื อ หุ น ครั้ งที่ 1/2558 เมื่ อ วั น ที่ 28 มกราคม 2558 ผู ถื อ หุ น ได มี ม ติ อ นุ มั ติ ดั งต อ ไปนี้ การลดและเพิ่มทุนจดทะเบียน • การลดทุน จดทะเบียนของบริษั ท ที่ยังไมได ชําระจํานวน 6,642,035 หุน เป นผลให ทุน จดทะเบียนของบริษั ทลดลงจาก 1,544,105,835 บาท เปน 1,537,463,800 บาท แบงออกเปนหุนสามัญ 1,537,463,800 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 1 บาท • การเพิ่ มทุ นจดทะเบี ยนของบริ ษั ทจํ านวน 739,383,450 หุ น มู ลค าที่ ตราไว หุ นละ 1 บาท จากทุ นจดทะเบี ยนเดิ มจํ านวน 1,537,463,800 บาท เปนทุนจดทะเบียนใหมจํานวน 2,276,847,250 บาท แบงเปนหุนจํานวน 2,276,847,250 หุน มูลคาที่ตรา ไวหุนละ 1 บาท และแกไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณหสนธิขอ 4 ของบริษัท เพื่อใหสอดคลองกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท

100 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

233

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การออกหุนสามัญและใบสําคัญแสดงสิทธิ • ออกและเสนอขายหลักทรัพยมีรายละเอียดดังตอไปนี้ - หุนสามัญเพิม่ ทุนของบริษัทจํานวนไมเกิน 520,470,459 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 1 บาท ควบคูกับ - ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุนสามัญใหมของบริษัทครั้งที่ 5 (“TTA-W5” หรือ “ใบสําคัญแสดงสิทธิ”) จํานวนไมเกิน 173,490,153 หนวย หลักทรัพยดังกลาวจะเสนอขายใหแกผูถือหุนเดิมตามสัดสวนการถือหุน (Rights Offering : RO) ในอัตราสวน 15 หุน สามัญเดิม ตอ 6 หุนสามัญใหมควบกับ 2 หนวยใบสําคัญแสดงสิทธิ (15:6:2) ในราคาเสนอขายหุนสามัญเพิ่มทุนหุนละ 14 บาท ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ หนวยละ ศูนยบาท และมีราคาใชสิทธิซื้อหุนตามใบสําคัญแสดงสิทธิ 18.5 บาทตอหุน (เวนแตในกรณีมีการปรับสิทธิ) ทั้งนี้ผูถือหุนเดิมที่ใชสิทธิจองซื้อหุนสามัญเพิ่มทุนจะตองใชสิทธิจองซื้อ ใบสําคัญแสดงสิทธิ ทั้งหมดในคราวเดียวกันและเปนไปตามสัดสวน • ใหจัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุน ดังตอไปนี้ การเสนอขายหุนสามัญเพิม่ ทุน - จัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุนใหมจํานวนไมเกิน 520,470,459 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 1 บาทเสนอขายใหแกผูถือหุนเดิมตาม สัดสวนการถือหุน ในอัตราสวน 15 หุนสามัญเดิม ตอ 6 หุนสามัญใหม โดยเสนอขายในราคาหุนละ 14 บาท - ผูถือหุนเดิมมีสิทธิจองซื้อหุนสามัญเพิ่มทุนเกินกวาสิทธิของตนตามอัตราสวนที่กําหนดไวขางตนได โดยแสดงความจํานง จองซื้อหุนสามัญเพิ่มทุนเกินกวาสิทธิไดไมเกินรอยละ 20 ของจํานวนหุนเดิมที่ผูถือหุนแตละรายนั้นถืออยู ทั้งนี้ผูถือหุนเดิม ที่จองซื้อหุนเกินกวาสิทธิจะไดรับการจัดสรรหุนที่จองซื้อเกินกวาสิทธิก็ตอเมื่อมีหุนที่เหลือจากการจัดสรรใหแกผูถือหุนเดิม ที่ไดจองซื้อตามสิทธิครบถวนทั้งหมดแลวเทานั้น และการจัดสรรหุนที่จองซื้อเกินกวาสิทธิดังกลาวเปนไปตามสัดสวนการ ถือ หุน และอยูภายใตขอบังคั บหลักเกณฑ ขอจํากัดการถือหุน ของคนตางดาวตามที่ ระบุ ไวในขอบั งคับ ของบริษัท ซึ่ ง ปจจุบันอนุญาตใหคนตางดาวถือหุนอยูในบริษัท ไดไมเกินรอยละ 49 ของจํานวนหุนที่ออกจําหนายทั้งหมดของบริษัท ในกรณีที่มีหุนสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรใหแกผูถือหุนเดิม บริษัทจะจัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุนที่เหลืออยูดังกลาวแก บุคคลในวงจํากัด (“การเสนอขายหุนที่ออกใหมตอบุคคลในวงจํากัด”) โดยราคาเสนอขายหุนที่ออกใหมตอบุคคลในวงจํากัด นี้จะไมต่ํากวารอยละ 90 ของราคาตลาด อยางไรก็ตาม ราคาเสนอขายหุนที่ออกใหมตอบุคคลในวงจํากัดนี้จะไมต่ํากวาราคา เสนอขายหุนตอผูถือหุนเดิมตามสัดสวน

101 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


234เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย บริษัท โทรี งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน การจัดสรรหุนสามัญเพิม่ ทุนเพื่อรองรับการใชสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ - จัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุนจํานวนไมเกิน 173,490,153 หุน เพื่อรองรับการใชสิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ครั้งที่ 5 เพื่อซื้อ หุนสามัญของบริษัทที่จะเสนอขายใหแกผูถือหุนเดิมของบริษัทตามสัดสวน - จัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุนจํานวนไมเกิน 29,367,109 หุน เพื่อรองรับการปรับสิทธิของผูถือใบสําคัญแสดงสิทธิ ครั้งที่ 3 (TTA-W3) ในการเสนอขายหุนสามัญเพิ่มทุนใหแกผูถือหุนเดิมตามสัดสวนในครั้งนี้ - จัดสรรหุนสามัญเพิ่มทุนจํานวนไมเกิน 16,055,729 หุน เพื่อรองรับการปรับสิทธิของผูถือใบสําคัญแสดงสิทธิ ครั้งที่ 4 (TTA-W4) ในการเสนอขายหุนสามัญเพิ่มทุนใหแกผูถือหุนเดิมตามสัดสวนในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 บริษัทไดประกาศผลของการขายหุนใหกับผูถือหุนเดิมจํานวน 520,470,459 หุน เปนผลใหไดรับ เงินสดจํานวน 7,286.59 ลานบาท (ทุนที่ชําระแลวจํานวน 520.47 ลานบาท และ สวนเกินมูลคาหุนสามัญ จํานวน 6,766.12 ลานบาท) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2558 บริษัทไดประกาศผลของการออกและเสนอขายหลักทรัพย TTA-W5 ใหแกผูถือหุนเดิมที่ซื้อหุน สามัญที่ออกใหมและไดรับจัดสรร TTA-W5 จํานวน 173,482,938 หนวย ที่ราคาเสนอขายหนวยละศูนยบาท หุนสามัญที่ออกใหมและ TTA-W5 ไดมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 และ 7 เมษายน 2558 ตามลําดับ ใบสําคัญแสดงสิทธิ รายการเคลื่อนไหวของจํานวนสิทธิซื้อหุนที่คงเหลือ และราคาใชสิทธิถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่เกี่ยวของกันมีดังนี้

ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 สิทธิที่ออกให สิทธิที่มีการใชสิทธิ สิทธิที่หมดอายุ

งบการเงินรวม ราคาใชสิทธิ ถัวเฉลี่ย ตอหุน จํานวนสิทธิ (บาท) (พันสิทธิ) 17.6 229,510 18.5 173,483 18.0 (725) 17.0 (130,618) 18.5

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

102 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

271,650

งบการเงินเฉพาะกิจการ ราคาใชสิทธิ ถัวเฉลี่ย ตอหุน จํานวนสิทธิ (บาท) (พันสิทธิ) 17.6 229,510 18.5 173,483 18.0 (725) 17.0 (130,618) 18.5

271,650


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

235

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ 2558 บริษัทไดปรับปรุงราคาการใชสิทธิและสัดสวนของการใชสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3 (“TTA-W3”) และครั้งที่ 4 (“TTA-W4”) ดังตอไปนี้ ใบสําคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 3 (“TTA-W3”) ราคาใชสิทธิเดิมกอนการปรับสิทธิ ราคาใชสิทธิใหมหลังการปรับสิทธิ สัดสวนการใชสิทธิเดิมกอนการปรับปรุง สัดสวนการใชสิทธิใหมหลังการปรับปรุง

: 16.1655 บาท ตอ 1 หุนสามัญ : 15.2628 บาท ตอ 1 หุนสามัญ : 1 หนวย ตอ 1.0516 หุนสามัญ : 1 หนวย ตอ 1.1138 หุนสามัญ

ใบสําคัญแสดงสิทธิครั้งที่ 4 (“TTA-W4”) ราคาใชสิทธิเดิมกอนการปรับสิทธิ ราคาใชสิทธิใหมหลังการปรับสิทธิ สัดสวนการใชสิทธิเดิมกอนการปรับปรุง สัดสวนการใชสิทธิใหมหลังการปรับปรุง

: 18.5000 บาท ตอ 1 หุนสามัญ : 17.4669 บาท ตอ 1 หุนสามัญ : 1 หนวย ตอ 1.0000 หุนสามัญ : 1 หนวย ตอ 1.0591 หุนสามัญ

สวนเกินมูลคาหุน ตามบทบัญญัติแหงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 บริษัทจะตองจัดสรรจํานวนเงินคาหุนสวนเกิน เปนเงินทุนสํารอง เงินสํารองนี้จะนําไปจายเปนเงินปนผลไมได 23

สํารอง สํารองประกอบดวย การจัดสรรกําไรและ/หรือ กําไรสะสม สํารองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแหงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะตองจัดสรรทุนสํารอง (“สํารองตาม กฎหมาย”) อยางนอยรอยละ 5 ของกําไรสุทธิประจําปหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถามี) จนกวาสํารองดังกลาวมีจํานวนไม นอยกวารอยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสํารองนี้จะนําไปจายเปนเงินปนผลไมได องคประกอบอืน่ ของสวนของผูถอื หุน ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศแสดงในสวนของเจาของประกอบดวยผลตางการแปลงคา ทั้งหมดจากงบการเงินของหนวยงานในตางประเทศ

103 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ236 ัท โทรีนเซนไทย งบการเงิ ร วมและ งบ เอเยนต ก าร เ งิ น ข อซ งบีสริ ษัจํทากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของเงินลงทุนเผื่อขาย ผลต า งจากการเปลี่ ย นแปลงในมู ล ค า ยุ ติ ธ รรมของเงิน ลงทุ น เผื่ อ ขายแสดงในส ว นของเจ า ของประกอบด วยผลรวมการ เปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของเงินลงทุนเผื่อขายจนกระทั่งมีการตัดรายการหรือเกิดการดอยคา การเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียของบริษัทใหญในบริษัทยอย การเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียของบริษัทใหญในบริษัทยอยในสวนของผูถือหุนประกอบดวย ผลกระทบจากการปรับลดสัดสวน การถือหุนของบริษัทในบริษัทยอย และผลตางจากการเปลี่ยนแปลงสวนไดเสียของบริษัทใหญในบริษัทยอยโดยที่ไมไดทําให บริษทั ใหญสูญเสียอํานาจในการควบคุม 24

การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ ในระหวางป MMPLC มีโครงการใหสิทธิการซื้อหุนสามัญจํานวน 2 โครงการที่ใชในการดําเนินงาน โครงการทั้งหมดดังกลาวถือ เปนการจายโดยใชหุนเปนเกณฑที่ชําระดวยตราสารทุน (ก) โครงการใหสิทธิการซื้อหุนสามัญแกพนักงานป 2553 (“ESOP 2010”) ไดรับการอนุมัติโดยผูถือหุนของ MMPLC เมื่อ วันที่ 28 มกราคม 2553 โครงการดังกลาวอนุมัติใหออกสิทธิการซื้อหุนสามัญใหแกผูบริหารระดับอาวุโสของ MMPLC โดยสิทธิในการซื้อหุนดังกลาวสามารถใชสิทธิไดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแตวันครบรอบปที่ 3 นับจากวันที่สิทธิดังกลาวไดออก และจะหมดอายุในปที่ 5 นับจากวันออกสิทธิ โดยสิทธิทั้งหมดที่ออกจะถือวาหมดอายุโดยอัตโนมัติ และจะไมมีการออก สิทธิเพิ่มเติมภายใตโครงการนี้ (ข) โครงการใหสิทธิการซื้อหุนสามัญแกพนักงานป 2554 (“ESOP 2011”) ไดรับการอนุมัติโดยผูถือหุนของ MMPLC เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 โครงการดังกลาวอนุมัติใหออกสิทธิการซื้อหุนสามัญผูบริหารระดับอาวุโสของ MMPLC โดยสิทธิในการ ซื้อหุนดังกลาวสามารถใชสิทธิไดทุก 6 เดือน เริ่มตั้งแตวันครบรอบปที่ 3 นับจากวันที่สิทธิดังกลาวไดออก และจะหมดอายุใน ปที่ 5 นับจากวันออกสิทธิ โดยสิทธิทั้งหมดที่ออกจะถือวาหมดอายุโดยอัตโนมัติ และจะไมมีการออกสิทธิเพิ่มเติมภายใต โครงการนี้ MMPLC ใหสิทธิซื้อหุนแกกรรมการ(ไมวาจะทําหนาที่ในระดับบริหารหรือไม)ที่ไดรับเลือกของ MMPLC และบริษัทยอย มูลคา ของสิทธิการซื้อหุนเทากับราคาตลาดถัวเฉลี่ยซึ่งคํานวณจากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักของหุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย สิงคโปร ในชวง 15 วันที่มีการซื้อขายในตลาดติดตอกันกอนวันที่ไดรับสิทธิ ผูไดรับสิทธิตองเปนพนักงานที่ปฏิบัติงานตลอด 3 ป (ระยะเวลาการไดรับสิทธิ) และใชสิทธิไดภายหลัง 3 ปนับจากวันที่ไดรับสิทธิ กลุม MMPLC ไมมภี าระผูกพันทางกฎหมายในการ ซื้อสิทธิกลับคืน หรือจายชําระสิทธิซื้อหุนเปนเงินสด ซึ่งไมมีผูที่รวมโครงการดังกลาวที่ไดรับสิทธิรอยละ 5 หรือสูงกวา ของจํานวนสิทธิท้ังหมดของแตละโครงการและไมมีสิทธิการ ซื้อหุนที่ออกในราคาสวนลด นอกจากนี้กรรมการและผูถือหุนที่มีอํานาจควบคุมของ MMPLC ถือสิทธิการซื้อหุนตามโครงการ ดังกลาวและไมมีสิทธิการซื้อหุนที่ถือโดยบริษัทหรือบริษัทยอยอื่นๆ รวมทั้งกรรมการและพนักงานของบริษัท 104

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

237

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายการเคลื่อนไหวของจํานวนสิทธิซ้ือหุนที่คงเหลือ และราคาใชสิทธิถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่เกี่ยวของกันมีดังตอไปนี้ งบการเงินรวม

ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 สิทธิที่ใช สิทธิที่หมดอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

ราคาใชสิทธิ ถัวเฉลี่ย เหรียญสิงคโปร (ตอหุน) 0.46 0.21 0.72 0.31

จํานวนสิทธิ (พันสิทธิ) 1,501 (248) (622) 631

ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 สิทธิที่ถูกริบ สิทธิที่หมดอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

0.31 0.28 0.40 0.21

631 (124) (270) 237

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 สิทธิซื้อหุนคงเหลือจํานวน 236,643 สิทธิ (31 ธันวาคม 2557: 631,049 สิทธิ) ที่สามารถใชสิทธิได ราคาหุนถัวเฉลี่ยในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เทากับ 0.23 เหรียญสิงคโปรตอหุน (1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557: 0.32 เหรียญสิงคโปรตอหุน) สิทธิซื้อหุนคงเหลือ ณ วันสิ้นป/สิ้นงวดสามเดือนแยกแสดงตามวันที่หมดอายุการใชสิทธิ และมีราคาใชสิทธิดังตอไปนี้ ราคาใชสิทธิ เหรียญ สิงคโปร (ตอหุน) วันหมดอายุการใชสิทธิ 1 ธันวาคม 2558 15 ธันวาคม 2559

0.40 0.21

งบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2558

31 ธันวาคม 2557 (พันหุน)

237 237

315 316 631

มูลคายุติธรรมถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักของสิทธิการซื้อหุนที่ใหสิทธิระหวางป 2554 ประมาณโดยใชแบบจําลองการวัดมูลคาแบบ Binomial Lattice มีมูลคา 0.09 เหรียญสิงคโปรตอสิทธิ ขอมูลสําคัญที่ใชในแบบจําลองคือราคาหุนถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก ณ วัน ใหสิทธิ มูลคา 0.23 เหรียญสิงคโปร คาความผันผวนรอยละ 45 อัตราผลตอบแทนของเงินปนผลรอยละศูนย ประมาณการอายุ ของสิทธิ 3.85 ป และอัตราดอกเบี้ยปราศจากความเสี่ยงรอยละ 3.015 ถึงรอยละ 3.081 ตอป 105 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ238 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 25

สวนงานดําเนินงาน กลุมบริษัทประกอบดวย 4 สวนงานที่รายงาน ดังรายละเอียดขางลาง ซึ่งเปนหนวยงานธุรกิจที่สําคัญของกลุมบริษัท หนวยงาน ธุรกิจที่สําคัญนี้ผลิตสินคาและใหบริการที่แตกตางกัน และมีการบริหารจัดการแยกตางหาก เนื่องจากใชเทคโนโลยีกลยุทธทาง การตลาด และทรัพยากรที่แตกตางกัน ผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดดานการดําเนินงานสอบทานรายงานการจัดการภายในของแต ละหนวยงานธุรกิจที่สําคัญอยางนอยทุกไตรมาส การดําเนินงานของแตละสวนงานที่รายงานของกลุมบริษัทโดยสรุปมีดังนี้ สวนงานธุรกิจ สวนงาน 1 สวนงาน 2 สวนงาน 3 สวนงาน 4

กลุมขนสง กลุมโครงสรางพื้นฐาน กลุมพลังงาน กลุมการถือหุนเพื่อการลงทุน

ขอมูลผลการดําเนินงานของแตละสวนงานที่รายงานไดรวมอยูดังขางลางนี้ ผลการดําเนินงานวัดโดยใชกําไรกอนภาษีเงินไดของ สวนงาน ซึ่งนําเสนอในรายงานการจัดการภายในและสอบทานโดยผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดดานการดําเนินงานของกลุมบริษัท ผูบริหารเชื่อวาการใชกําไรกอนภาษีเงินไดในการวัดผลการดําเนินงานนั้นเปนขอมูลที่เหมาะสมในการประเมินผลการดําเนินงาน ของสวนงานและสอดคลองกับกิจการอื่นที่ดําเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน

106 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


194,620 (67,760) (48,851) 53,136

135,414 (172,914) (25,483) (4,726,194)

(4,718,090)

รายการทีไ่ มเปนตัวเงินอื่นที่มีสาระสําคัญ - การดอยคาและตัดจําหนาย

(70,881)

4,132,780 4,132,780 132,718 (24,873)

5,839,958 (74,272) 5,765,686 921,420 (4,663,211)

รายไดจากการดําเนินงาน รายไดระหวางสวนงานธุรกิจ รายไดจากบุคคลภายนอก คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงาน สวนแบงกําไร (ขาดทุน) ในบริษัทรวม และการรวมคา ตนทุนทางการเงิน ผลประโยชน (คาใชจาย) ภาษีเงินได กําไร (ขาดทุน) สุทธิสาํ หรับป

กลุมขนสง

กลุมโครงสราง พื้นฐาน

107

(5,851,111)

(1,739,515) (116,800) (18,113) (8,196,991)

(5,266,434)

(236,703) 71,489 (4,628,477)

กลุมการถือหุน กลุมพลังงาน เพื่อการลงทุน (พันบาท) 11,527,291 11,527,291 1,117,303 91,819 (6,322,563) (4,463,263)

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

4,335,313

24,431 2,700,614

(74,272) 74,272 9 2,676,183

การตัดรายการ ระหวางสวนงาน ทางธุรกิจ

รายไดและผลการดําเนินงานจากสวนงานทางธุรกิจในงบการเงินรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 มีดังนี้

ขอมูลเกี่ยวกับสวนงานที่รายงาน

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

(11,571,203)

(1,409,481) (569,746) (20,958) (14,797,912)

21,425,757 21,425,757 2,263,269 (12,797,727)

รวม

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

239

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

สินทรัพยรวม หนี้สินรวม

12,729,350 (5,996,289)

กลุมขนสง

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

3,178,204 (1,589,704)

กลุมโครงสราง พื้นฐาน

108

18,037,211 (6,451,359)

กลุมพลังงาน

39,769,244 (15,940,647)

กลุมการถือหุน เพื่อการลงทุน (พันบาท)

งบการเงินรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

(28,367,610) 11,619,960

การตัดรายการ ระหวางสวนงาน ทางธุรกิจ

45,346,399 (18,358,039)

รวม

240 งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท


สินทรัพยรวม หนี้สินรวม

รายการทีไ่ มเปนตัวเงินอื่นที่มี สาระสําคัญ - การดอยคาและตัดจําหนาย

รายไดจากการดําเนินงาน รายไดระหวางสวนงานธุรกิจ รายไดจากบุคคลภายนอก คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย กําไรจากการดําเนินงาน สวนแบงกําไรในบริษัทรวมและ การรวมคา ตนทุนทางการเงิน ผลประโยชน (คาใชจาย) ภาษีเงินได กําไรสุทธิสําหรับงวด

17,660,740 (6,586,188)

3,227,323 (1,639,424)

-

109

25,162,367 (6,507,514)

49,288

229,818 (28,085) (89,159) 142,035

14,049 (17,045) (16,424) 42,241

14,196 (41,328) (13,660) 31,719

2,021

3,234,734 3,234,734 248,569 29,461

กลุมพลังงาน

757,581 (64) 757,517 30,060 61,661

กลุมโครงสราง พื้นฐาน

33,549,648 (12,010,905)

-

(80,870) 46,886 131,391

กลุมการถือหุน เพื่อการลงทุน (พันบาท) 22,609 165,375

(27,921,168) 7,311,218

-

38,392 (999) (209,212)

(41,904) 41,904 (9) (246,605)

การตัดรายการ ระหวางสวนงาน ทางธุรกิจ

งบการเงินรวม สําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (ปรับปรุงใหม)

2,256,265 (41,840) 2,214,425 216,286 72,511

กลุมขนสง

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

51,678,910 (19,432,813)

51,309

258,063 (128,936) (73,356) 138,174

6,206,676 6,206,676 517,515 82,403

รวม

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

241

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


242 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ขอมูลทางภูมิศาสตร กลุมบริษัทขยายการลงทุนและดําเนินกิจการในตางประเทศ โดยนําเสนอขอมูลเกี่ยวกับการจําแนกขอมูลทางภูมิศาสตรสําหรับ รายการรายไดจากการขายและสินทรัพยไมหมุนเวียนที่มีมูลคาเปนสาระสําคัญ โดยรายไดจากการขายตามสวนงานแยกตาม ที่ตั้งทางภูมิศาสตรของลูกคา และรายการสินทรัพยไมหมุนเวียนตามสวนงานแยกตามสถานที่ตั้งตามภูมิศาสตรของสินทรัพย งบการเงินรวม

เอเชีย แอฟริกา อเมริกา ยุโรป อื่นๆ รวม

รายไดจากการขาย สินทรัพยไมหมุนเวียน สําหรับงวด สามเดือน สําหรับป สิ้นสุดวันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) 4,246,641 23,463,907 35,841,147 17,086,756 1,830,427 417,893 769,922 316 837,733 388,961 1,106,910 832 169,739 1,450,850 46,271 219,991 21,425,757 6,206,676 24,234,661 36,011,202

ลูกคารายใหญ รายไดจากลูกคารายใหญจากสวนงานกลุมบริษัทพลังงานสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เปนจํานวนเงินประมาณ 4,516.2 ลานบาท (สําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557: 1,393.5 ลานบาท) จากรายไดรวมของกลุมบริษัท

110 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


243

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 26

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

รายไดจากการดําเนินงานอื่น

รายไดเงินปนผล กําไรจากการจําหนายที่ดนิ อาคาร อุปกรณและสินทรัพยไมมีตัวตน กําไรสุทธิจากการจําหนาย เงินลงทุนระยะสั้น กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนใน บริษัทรวมและการรวมคา กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนใน บริษัทยอย ดอกเบี้ยรับ รายไดอื่น รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับปสิ้นสุด สําหรับงวดสามเดือน สําหรับปสิ้นสุด สําหรับงวดสาม วันที่ สิ้นสุดวันที่ วันที่ เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท) 446,973 328,643 30,745 28,406

5,180

65,431

-

-

38,148

78,886 69,405 272,873

13,521 28,146 84,995

3,555

-

33,271

-

-

-

218,560 79,020 28,299 809,678

11,144 6,924 346,711

111 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ244 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 27

คาใชจายตามลักษณะ งบกําไรขาดทุนไดรวมการวิเคราะหคาใชจายตามหนาที่ คาใชจายตามลักษณะไดเปดเผยตามขอกําหนดในมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับตางๆ ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) คาใชจายซึ่งรวมอยูในคาใชจายในการดําเนินงาน เกี่ยวกับเรือเดินทะเล คาใชจายในการเดินเรือ 2,161,931 998,106 คาใชจายเกี่ยวกับวัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับ เรือเดินทะเลและคาใชจายในการซอมแซม บํารุงรักษาเรือ 329,871 80,562 คาใชจายเกี่ยวกับลูกเรือและพนักงาน 586,097 146,100 คาเชาเรือ 1,426,760 646,415 คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย 916,041 214,963 คาใชจายซึ่งรวมอยูในคาใชจายบริการ จากธุรกิจนอกชายฝง คาใชจายเกี่ยวกับวัสดุและของใชสิ้นเปลือง สําหรับเรือและคาใชจายในการซอมแซมเรือ คาใชจายเกี่ยวกับลูกเรือ พนักงานและผูร ับเหมา คาเชาเรือและคาเชาอุปกรณ คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย คาใชจายซึ่งรวมอยูในตนทุนขาย ตนทุนวัตถุดิบ คาใชจายเกี่ยวกับวัสดุและของใชสิ้นเปลือง และคาใชจายในการซอมแซมบํารุงรักษา คาใชจายเกี่ยวกับพนักงาน คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย

2,749,468 3,226,300 2,110,471 1,077,570

561,829 1,112,706 781,100 239,970

-

-

3,099,170

507,266

-

-

53,556 110,773 66,696

9,547 19,739 16,553

-

-

112 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


245

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) คาใชจายซึ่งรวมอยูในคาใชจายในการใหบริการ การขายและการบริหาร คาใชจายเกี่ยวกับพนักงาน คาธรรมเนียมวิชาชีพ คาเชาสํานักงานและอุปกรณสํานักงาน คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย 28

1,579,943 141,942 79,454 202,962

265,957 58,126 15,312 46,029

202,911 48,459 7,451 33,408

4,449 4,912 2,218 8,038

การดอยคาและตัดจําหนาย งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) การดอยคาและตัดจําหนาย สินทรัพยหมุนเวียน ลูกหนี้กิจการทีเ่ กี่ยวของกัน เงินใหกูระยะสั้นแกกิจการทีเ่ กี่ยวของกัน วัสดุและของใชสิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล สินทรัพยหมุนเวียนอื่น

4,304 98,308 442 103,054

-

342,498 172,140 514,638

-

113 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


246 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (พันบาท) สินทรัพยไมหมุนเวียน เงินใหกูระยะยาวแกกิจการที่เกีย่ วของกัน เงินลงทุนในการรวมคา เงินลงทุนในบริษัทยอย คาความนิยม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวม

153,881 939,671 10,220,397 97,719 56,481 11,468,149 11,571,203

51,175 134 51,309 51,309

684,008 2,379,715 3,827 3,067,550 3,582,188

39,617 (2,016) (1,341) 36,260 36,260

การประเมินมูลคาการดอยคา เรือเดินทะเล อุปกรณที่เกี่ยวของ คาใชจายลวงหนาในการซอมแซมเรือครั้งใหญ งานระหวางกอสราง และวัสดุและของใช สิ้นเปลืองสําหรับเรือเดินทะเล TSS และบริษัทยอย เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ํา ประกอบกับอุปทานสวนเกินของธุรกิจเรือขนสงสินคาแหงเทกอง เปนผลใหอัตราคา ระวางลดลงและยังสงผลในทางลบตอภาพรวมของธุรกิจขนสงทางทะเล ซึ่งการลดลงของอัตราคาระวางและภาวะตลาดที่ตกต่ํา เปนขอบงชี้สําคัญของการดอยคาของสินทรัพยที่ใชในการดําเนินงาน ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 TSS และบริษัทยอยรับรูขาดทุนจากการดอยคาเปนจํานวน 130.1 ลานเหรียญ สหรัญฯ (เทียบเทากับ 4,685.2 ลานบาท) สําหรับเรือเดินทะเลทั้งหมดและคาใชจายลวงหนาในการซอมแซมเรือครั้งใหญ ซึ่ง เปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนต่ํากวามูลคาตามบัญชี

114 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

247

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของเรือเดินทะเลถูกพิจารณาจากมูลคาที่สูงกวาของมูลคาการใชประโยชนและมูลคายุติธรรมหัก ตนทุนในการขาย มูลคายุติธรรมถูกพิจารณาจากขอมูลของบริษัทผูประเมินอิสระแหงหนึ่ง มูลคาการใชประโยชนถูกพิจารณา โดยวิธีรายได (Income approach) ซึ่งคํานวณจากการประมาณการกระแสเงินสดของเรือแตละลํา ผูบริหารเปนผูกําหนด วิธีการประเมินและขอสมมติฐานการดอยคา ซึ่งไดถูกสอบทานความเหมาะสมโดยผูประเมินอิสระ การประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตรวมถึงการประมาณการโดยวิธีเฉพาะเจาะจงสําหรับระยะเวลา 6 ปขางหนา หลังจาก นั้นกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจายจากการดําเนินงานจะถูกคํานวณโดยใชอัตราการเติบโตสุดทาย (Terminal growth) รอยละ 0 ซึ่งจะสงผลใหประมาณการอัตรากําไรจากการดําเนินงานในระยะยาวจากสินทรัพยในแตละลํามีอัตราที่คงที่ การ ประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตโดยวิธีเฉพาะเจาะจงถูกคิดจากผลการดําเนินงานในอดีตและการคาดการณถึงการเติบโต ของตลาดในอนาคต กระแสเงินสดรับไดคํานวณจากประมาณการที่ดีที่สุดของผูบริหารที่เกี่ยวกับอัตราคาระวางเรือรายวัน ตลอดอายุการใชงานที่เหลืออยูของเรือ กระแสเงินสดจายประมาณจาก (1) ตนทุนดําเนินงานจากผลการดําเนินงานในอดีต (2) คาใชจายในการบํารุงรักษาที่จําเปนสําหรับการซอมแซมเรือครั้งใหญ ตน ทุ นถั วเฉลี่ย ถวงน้ําหนั กของเงิน ทุน (“WACC”) ในอัต รารอ ยละ 8.5 ถูกใชเป นอั ตราคิด ลดในการคํานวณมูล คาการใช ประโยชน องคประกอบของตนทุนของสวนของผูถือหุนคํานวณมาจากแบบจําลองการกําหนดราคาสินทรัพยลงทุน (Capital asset pricing moldel (“CAPM”)) รวมทั้ งวิธี ก ารเปรีย บเที ย บกั บ บริษั ท ในกลุ ม อุ ต สาหกรรมเดี ย วกั น (Benchmarking) ตนทุนของหนี้สินถูกประมาณการจากวงเงินกูระยะสั้นในปจจุบันของ TSS และอัตราดอกเบี้ยเงินกูยืมในตลาด MMPLC ในระหวางป 2558 อุตสาหกรรมน้ํามันยังคงอยูในภาวะตกต่ํา ซึ่งสงผลใหภาพรวมธุรกิจของ MMPLC ในการดําเนินการและ การทําสัญญาตาง ๆ ที่ไดมาจากธุรกิจวิศวกรรมใตทะเลและขุดเจาะนอกชายฝงลดลง นอกจากนี้ ในสภาวะตลาดที่ไมมีสัญญา ใหมรองรับสําหรับแทนขุดเจาะนอกชายฝงและเรือวิศวกรรมโยธาใตน้ํารวมทั้งเรือที่สรางใหมท่ียังไมถูกสงมอบ เนื่องจากอุป สงคและอุปทานของเรือสนับสนุนนอกชายฝงยังไมสมดุลกันจึงสงผลกระทบดานลบตออัตราการใชประโยชนและคาบริการ รายวันของเรือสนับสนุนนอกชายฝง ซึ่งเปนขอบงชี้สําคัญของการดอยคาของสินทรัพยที่ใชในการดําเนินงานของ MMPLC ในระหวางป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 MMPLC รับรูการดอยคาเปนจํานวนเงิน 152.5 ลานเหรียญสหรัฐ (เปนจํานวน เงินเทียบเทา 5,463.6 ลานบาท) สําหรับเรือสนับสนุนนอกชายฝงและเรือขุดเจาะบางลํา เครื่องมือและอุปกรณ คาใชจายใน การซอมเรือครั้งใหญที่เกี่ยวของและงานระหวางกอสราง ซึ่งเปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนต่ํากวาเมื่อเทียบกับมูลคา ตามบัญชี

115 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 248 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของที่ดิน อาคารและอุปกรณถูกกําหนดจากมูลคาที่สูงกวาระหวางมูลคาการใชประโยชนและมูลคา ยุติธรรมหักตนทุนในการขาย มูลคายุติธรรมถูกพิจารณาจากขอมูลของบริษัทผูประเมินอิสระแหงหนึ่ง มูลคาการใชประโยชน ถูกพิจารณาโดยวิธีรายได (Income approach) ซึ่งคํานวณจากการประมาณการกระแสเงินสดของสินทรัพยแตละชิ้น ผูบริหาร เปนผูกําหนดวิธีการประเมินและขอสมมติฐานการดอยคา ซึ่งไดถูกสอบทานความเหมาะสมโดยผูประเมินอิสระ ขอสมมุติฐานสําคัญที่สงผลกระทบตอการประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตรวมถึงอัตราการใชประโยชนในอนาคต อัตรา คาบริการรายวัน ตนทุนเงินสดจากการดําเนินงาน อายุการใชงานคงเหลือ และอัตราคิดลด โดยใชอัตราการเติบโตสุดทาย (Terminal growth) ที่ รอยละ 0 และใชต น ทุน ถัวเฉลี่ ยถ วงน้ํ าหนั กของเงิน ทุ น (“WACC”) ในอัต รารอ ยละ 10.75 ในการ คํานวณอัตราคิดลดเพื่อคํานวณมูลคาการใชประโยชน องคประกอบของตนทุนของสวนผูถือหุนคํานวณมาจากแบบจําลองการ กําหนดราคาเพื่อสินทรัพยลงทุน (Capital asset pricing model (“CAPM”)) ตนทุนของหนี้สินถูกประมาณการโดยใชวงเงินกู ระยะสั้นของ MMLPC เงินลงทุนในบริษัทยอยและการรวมคา งบการเงินรวม ในระหวางป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุมบริษัทไดรับรูขาดทุนจากการดอยคาสําหรับเงินลงทุนใน SERI รวมเปนเงิน ทั้งสิ้น 153.9 ลานบาท เนื่องจากผูบริหารคาดวา SERI จะมีเงินทุนในการดําเนินงานไมเพียงพอที่จะผลิตถานหินจนสามารถ ผานจุดคุมทุนได บริษัท ในระหวางป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทรับรูขาดทุนจากการดอยคาเงินลงทุนใน TSS รวมเปนเงินทั้งสิ้น 2,210.7 ลานบาท ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งเปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรบั คืนในเงินลงทุนดังกลาวต่ํากวามูลคาตามบัญชีของ เงินลงทุน มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนจาก TSS พิจารณาจากมูลคาของสวนของผูถือหุนของ TSS ซึ่งประมาณจากวิธีรายได (Income approach)โดยใชตนทุนถัวฉลี่ยถวงน้ําหนักของเงินทุน (“WACC”) รอยละ 8.5 นอกจากนี้ ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทรับรูขาดทุนจากการดอยคาในเงินลงทุนใน Soleado ซึ่งลงทุน ทางอ อมใน SERI ผานการลงทุ น ใน MIN เป น จํานวน 167.8 ลานบาท เนื่ องจากผูบ ริห ารคาดวา SERI จะมี เงิน ทุ น ในการ ดําเนินงานไมเพียงพอที่จะผลิตถานหินจนสามารถผานจุดคุมทุนได

116 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

249

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

คาความนิยม งบการเงินรวม เพื่อวัตถุประสงคในการทดสอบการดอยคา กลุมบริษัทไดปนสวนคาความนิยมจํานวน 650.5 ลานบาท ซึ่งเกิดจากการเขาซื้อ กิจการของ MMPLC เปนหนวยสินทรัพยที่กอใหเกิดเงินสด (Cash generating unit (“CGU”)) ของ MMPLC มูลคาที่คาดวา จะไดรับคืนของหนวยสินทรัยพที่กอใหเกิดเงินสดนี้ขึ้นอยูกับมูลคาการใชประโยชน ซึ่งคํานวณจากประมาณการกระแสเงินสด ในอนาคตที่คาดวาไดรับจากการใชหนวยสินทรัพยท่ีกอใหเกิดเงินสดอยางตอเนื่อง มูลคาตามบัญชีของหนวยของสินทรัพยที่ กอใหเกิดเงินสดถูกพิจารณาวามีจํานวนที่สูงกวามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน และผลขาดทุนจากการดอยคาถูกปนสวนใหคา ความนิยมดังกลาวจํานวนเงิน 650.5 ลานบาท ขอสมมติฐานสําคัญที่ใชในการประมาณการมูลคาจากการใช มีดังตอไปนี้ ขอสมมติฐานสําคัญ มูลคา อัตราคิดลด รอยละ 10.75 อัตราการเติบโตของมูลคาปจจุบันสุดทาย รอยละ 0 (Terminal value growth rate) อัตราการเติบโตถัวเฉลีย่ ของประมาณการกําไรกอนหักดอกเบี้ย รอยละ 3.21 ภาษีเงินได คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย (“Average budgeted EBITDA growth rate”)

วิธีที่ถูกใชในการพิจารณามูลคา แหลงขอมูลจากภายนอก อัตราเงินเฟอคงที่ ประสบการณในอดีต

MMPLC เงินลงทุนในบริษัทยอยของ MMPLC –Seascape CGU มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของ Seascape CGU ถูกพิจารณาจากมูลคาจากการใชซึ่งนอยกวามูลคาตามบัญชีของ Seascape CGU และคาความนิยมที่ปนสวนสําหรับ CGU ดังกลาว ซึ่งเปนผลใหคาความนิยมที่ถูกปนสวนของ Seascape CGU เปน จํานวน 8.1 ลานเหรียญสหรัฐ (เทียบเทากับ 289.2 ลานบาท) ถูกดอยคาทั้งจํานวน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กระแสเงินสด ถูกประมาณการตลอดชวงเวลา 25 ป กอนอัตราการเติบโตของมูลคาปจจุบันสุดทายเพื่อใหสอดคลองกับการประเมินของ ผูบริหารในเรื่องวัฏจักรอัตราคาบริการรายวันที่ไดรับจาก Seascape CGU

117 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 250 โทรีเซนไทย  จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีส อ งบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ขอสมมติฐานสําคัญที่ใชในการประมาณการมูลคาจากการใช มีดังตอไปนี้ ขอสมมติฐานสําคัญ อัตราคิดลด อัตราการเติบโตของมูลคาปจจุบันสุดทาย (Terminal value growth rate) อัตราการเติบโตของกําไรกอนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได คา เสื่อมราคา และคาตัดจําหนาย (EBITDA growth)

มูลคา รอยละ 10.75 รอยละ 0

วิธีที่ถูกใชในการพิจารณามูลคา แหลงขอมูลจากภายนอก อัตราเงินเฟอคงที่

จนถึงรอยละ 4.3

ประสบการณในอดีต

เงินลงทุนในบริษัทยอยของ MMPLC –Mermaid Subsea Services (International) (“MSSI”) CGU มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของ MSSI CGU ถูกพิจารณาจากมูลคาจากการใชซึ่งสูงกวามูลคาตามบัญชีของ MSSI CGU และคา ความนิยมปนสวนสําหรับ CGU ดังกลาว ซึ่งเปนผลใหคาความนิยมที่ถูกปนสวนให MSSI CGU ไมดอยคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กระแสเงินสดถูกประมาณการตลอดชวงเวลา 25 ป กอนใชอัตราการเติบโตของมูลคาปจจุบันสุดทายเพื่อใหสอดคลอง กับการประเมินของผูบริหารในเรื่องวัฏจักรอัตราคาบริการรายวันที่ไดรับจาก MSSI CGU ขอสมมติฐานสําคัญที่ใชในการประมาณการมูลคาจากการใช มีดังตอไปนี้ ขอสมมติฐานสําคัญ อัตราคิดลด อัตราการเติบโตของมูลคาปจจุบันสุดทาย (Terminal value growth rate) อัตราการเติบโตของกําไรกอนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได คา เสื่อมราคา และคาตัดจําหนาย (EBITDA growth)

มูลคา รอยละ 10.75 รอยละ 0

วิธีที่ถูกใชในการพิจารณามูลคา แหลงขอมูลจากภายนอก อัตราเงินเฟอคงที่

จนถึงรอยละ 10.0

ประสบการณในอดีต

เงินกูและลูกหนี้จากกิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัท ในระหวางป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทรับรูขาดทุนจากการดอยคาในเงินใหกูระยะสั้นแก ATH จํานวน 85.4 ลาน บาท ซึ่งเปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนจากเงินลงทุนทางออมใน MMPLC ต่ํากวามูลคาตามบัญชี มูลคาที่คาดวาจะ ได รั บ คื น จาก MMPLC ถู ก กํ า หนดจากมู ล ค า ของส ว นของผู ถื อ หุ น ของ MMPLC ซึ่ ง ประมาณจากวิ ธี ร ายได (Income approach) โดยใชตนทุนถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักของเงินทุน (“WACC”) ซึ่งเทากับรอยละ 10.75

118 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


251

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

นอกจากนี้ บริ ษั ท รั บ รู ข าดทุ น จากการด อ ยค า ในลู ก หนี้ กิ จ การที่ เกี่ ย วข อ งกั น เงิ น ให กู ร ะยะสั้ น และเงิ น ให กู ร ะยะยาว แก ATH จํานวน 342.0 ลานบาท 86.7 ลานบาท และ 684.0 ลานบาท ตามลําดับ ซึ่งเปนผลมาจากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน จากเงินลงทุนทางออมใน UMS ต่ํากวามูลคาตามบัญ ชี เนื่องจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 UMS มีสวนขาดในสวนของ ผูถือหุน สินทรัพยไมมีตัวตน งบการเงินรวม ในระหวางป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุมบริษัทรับรูขาดทุนจากการดอยคาสําหรับความสัมพันธกับลูกคาที่เกิดจากการ เขาซื้อกิจการของ UMS เปนจํานวนเงิน 93.9 ลานบาท เนื่องจากมุมมองของผูบริหารคาดวาไมสามารถกอใหเกิดประโยชนทาง เศรษฐกิจในอนาคตจากความสัมพันธกับลูกคาดังกลาว 29

คาใชจายภาษีเงินได (ผลประโยชน) ภาษีเงินไดแสดงในงบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุนเฉพาะกิจการคํานวณจากกําไรสุทธิทางภาษีจากกิจการซึ่งไมไดรับ การสงเสริมการลงทุนและในอัตราภาษี ที่ใชบังคั บอยูในประเทศไทยและอัตราเฉพาะเจาะจงของแตละประเทศสําหรับการ ดําเนิ นงานในต างประเทศ รายการที่ ไมไดรับ การสงเสริมการลงทุ น ไดแก กําไรจากการจํ าหน ายสิน ทรัพ ย งานบริก ารที่ เกี่ยวของกับการเดินเรือ เชน สวนงานธุรกิจตัวแทนเรือ สวนงานบริการการขุดเจาะนอกชายฝงที่อยูนอกประเทศไทยและบริการ อื่นที่เกี่ยวของกับบริการนอกชายฝง และธุรกิจการผลิตและจําหนายปุยและถานหิน ภาษีเงินไดรับรูในกําไรหรือขาดทุน

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม หมายเหตุ 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท)

ภาษีเงินไดของปจจุบัน สําหรับปปจ จุบัน/งวด ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี การเปลีย่ นแปลงของ ผลแตกตางชั่วคราว รวมคาใชจายภาษีเงินได (ผลประโยชน)

18

117,798

90,849

-

-

(96,840)

(17,493)

(24,385)

(41,198)

20,958

73,356

(24,385)

(41,198)

119 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท โทรี252 เซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ภาษีเงินไดที่รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบการเงินรวม สําหรับงวดสามเดือน สําหรับป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายได รายได กอนภาษีเงิน (คาใชจาย) สุทธิจากภาษี กอนภาษี (คาใชจาย) สุทธิจากภาษี ได ภาษีเงินได เงินได เงินได ภาษีเงินได เงินได (พันบาท) ผลตางจากการเปลี่ยนแปลง ในมูลคายุติธรรมของเงิน ลงทุนเผื่อขาย ผลตางจากการประมาณ การตามหลักคณิตศาสตร ประกันภัย รวม

(98,046)

18,223

(79,823)

32,469

(6,493)

25,976

6,033 (92,013)

(1,444) 16,779

4,589 (75,234)

32,469

(6,493)

25,976

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับป สําหรับงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายได รายได กอนภาษีเงิน (คาใชจาย) สุทธิจากภาษี กอนภาษี (คาใชจาย) สุทธิจากภาษี ได ภาษีเงินได เงินได เงินได ภาษีเงินได เงินได (พันบาท) ผลตางจากการเปลี่ยนแปลง ในมูลคายุติธรรมของเงิน ลงทุนเผื่อขาย

(15,876)

3,175

120 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

(12,701)

(3,502)

701

(2,801)


253

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แทจริง

สําหรับป

งบการเงินรวม สําหรับงวดสามเดือน

สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 อัตราภาษี (รอยละ) (พันบาท) (14,776,954) 20 (2,955,391) (9,022)

กําไร (ขาดทุน) กอนภาษีเงินได จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินไดในประเทศไทย การลดภาษีเงินได ผลกระทบจากความแตกตางของอัตราภาษีสําหรับ กิจการในตางประเทศ รายไดที่ไมตองเสียภาษี คาใชจายตองหามทางภาษี การใชขาดทุนทางภาษีที่เดิมไมไดบันทึก ผลขาดทุนในปปจจุบันที่ไมรับรูเ ปน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ภาษีหัก ณ ที่จายที่ตัดจําหนาย ภาษีงวดกอนๆ ที่บันทึกต่ําไป (สูงไป) ผลตางจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลีย่ นเงินตรา ตางประเทศ รวม

สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อัตราภาษี (รอยละ) (พันบาท) 211,530 20 42,306 5 14,982

(7) 7 (1) -

1,073,119 (1,046,834) 96,600 (48,019)

19 (46) 24 (1)

57,568 (136,228) 71,814 (2,606)

(19) -

2,853,616 2,437

11 (7)

32,019 148 (20,876)

(1) (1)

54,452 20,958

5 30

14,229 73,356

งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับป สําหรับงวดสามเดือน

กําไร (ขาดทุน) กอนภาษีเงินได จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินไดในประเทศไทย รายไดที่ไมตองเสียภาษี คาใชจายตองหามทางภาษี ภาษีงวดกอนๆ ที่บันทึกต่ําไป (สูงไป) ผลขาดทุนในปปจจุบันที่ไมรับรูเ ปน สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี รวม

สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 อัตราภาษี (รอยละ) (พันบาท)

สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อัตราภาษี (รอยละ) (พันบาท)

20 1 (2) -

(3,842,318) (768,464) (41,553) 68,784 4

20 (21) 4 (14)

118,149 23,630 (43,986) 7,618 (28,460)

(18) 1

716,844 (24,385)

(11)

(41,198)

121 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ254 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน การลดอัตราภาษีเงินไดนิติบุคคล พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรวาดวยการลดอัตราและยกเวนรัษฎากร ฉบับที่ 577 พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 ใหลดอัตราภาษีเงินไดนิติบุคคลรอยละ 20 ของกําไรสุทธิสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีป 2558 ที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแหงชาติไดมีมติอนุมัติใหปรับลดอัตราภาษีเงินไดนิติบุคคลจากอัตรา รอยละ 30 เปนอัตรารอยละ 20 ของกําไรสุทธิ สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เปนตนไป กลุมบริษัทใชอัตราภาษีเงินไดรอยละ 20 ในการวัดมูลคาสินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 ตามคําชี้แจงของสภาวิชาชีพบัญชีที่ออกในป 2555 30

กําไร (ขาดทุน) ตอหุน กําไร (ขาดทุน) ตอหุนขั้นพื้นฐาน การคํานวณกําไร (ขาดทุน) ตอหุนขั้นพื้นฐานสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 คํานวณจากกําไร (ขาดทุน) สําหรับป/งวดที่เปนสวนของผูถือหุนสามัญ ของบริษัทและจํานวนหุนสามัญ ที่ ออกจําหนายแลวระหวางงวดโดยวิธีถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก แสดงการคํานวณดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท/พันหุน) กําไรสุทธิ (ขาดทุน) สําหรับป/ งวด ที่เปนของผูถือหุนสามัญของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) จํานวนหุนสามัญ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 และ 1 ตุลาคม 2557 ผลกระทบจากหุนที่ออก จําหนายระหวางป/งวด จํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก (ขั้นพื้นฐาน)

(11,335,102)

83,998

(3,817,933)

159,347

1,301,175

1,293,235

1,301,175

1,293,235

413,758

7,163

413,758

7,163

1,714,933

1,300,398

1,714,933

1,300,398

122 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


255

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สําหรับงวด สําหรับงวด สําหรับป สามเดือน สําหรับป สามเดือน สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 2558 2557 2558 2557 (ปรับปรุงใหม) (ปรับปรุงใหม) (พันบาท/พันหุน) ผลกระทบจากการใชสิทธิตามใบสําคัญแสดง สิทธิ TTA-W3 ผลกระทบจากการใชสิทธิตามใบสําคัญแสดง สิทธิ TTA-W4 จํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ย ถวงน้ําหนัก (ปรับลด) กําไร (ขาดทุน) ตอหุนขั้นพื้นฐาน (บาท) กําไรตอหุนปรับลด (บาท)

-

26,992

-

26,992

-

7,778

-

7,778

1,714,933 (6.61) -

1,335,168 0.06 0.06

1,714,933 (2.23) -

1,335,168 0.12 0.12

กําไร (ขาดทุน) ตอหุนปรับลด เนื่องจากราคาของหุนถัวเฉลี่ยในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีมูลคาต่ํากวาราคาใชสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ จึง ไมมีผลกระทบตอกําไร (ขาดทุน) ตอหุนปรับลดจากใบสําคัญแสดงสิทธิ 31

เงินปนผล ก) สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท ที่ประชุมใหญสามัญประจําปของผูถือหุนครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 ผูถือหุนไดอนุมัติการจายเงินปนผล สําหรับปสิ้นสุด 30 กันยายน 2557 เปนจํานวน 0.25 บาทตอหุน รวมเปนเงินทั้งสิ้น 325.3 ลานบาท โดยเงินปนผลไดถูก จายใหแกผูถือหุนในวันที่ 23 กุมภาพันธ 2558 ที่ประชุมใหญสามัญประจําปของผูถือหุนครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ผูถือหุนไดอนุมัติการจายเงินปนผล สําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เปนจํานวน 0.025 บาทตอหุน รวมเปนเงินทั้งสิ้น 45.5 ลานบาท โดย เงินปนผลไดถูกจายใหแกผูถือหุนในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558

123 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ256 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน ข) สําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 PMTA เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการของ PMTA ไดอนุมัติการจายเงินปนผลระหวางกาล สําหรับปสนิ้ สุดวันที่ 30 กันยายน 2557 เปนจํานวน 328.6 ลานบาท โดยเงินปนผลไดถูกจายใหแกผูถือหุนเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557 32

สิทธิพิเศษที่ไดรับจากการสงเสริมการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทยอยทางออมแหงหนึ่ง ไดรับสิทธิพิเศษจากคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน ภายใตบริการ ประเภทตางๆ รวมถึงการบริการตรวจสอบโครงสรางใตทองทะเลและการขนสงทางทะเล สิทธิพิเศษที่สําคัญรวมถึงการไดรับ ยกเวนอากรขาเขาสําหรับการนําเขาเครื่องจักรและการไดรับยกเวนภาษีเงินไดนิติบุคคลสําหรับกิจการที่ไดรับการสงเสริมเปน ระยะเวลา 8 ป นับตั้งแตวันที่เริ่มมีรายไดจากกิจการที่ไดรับการสงเสริมหรือวันที่ไดรับอนุมัติจากคณะกรรมการสงเสริมการ ลงทุน เพื่อใหไดรับสิทธิพิเศษดังกลาว กลุมบริษัทยอยจะตองปฏิบัติตามเงื่อนไขและขอกําหนดที่เกี่ยวของกับสิทธิและประโยชนที่ ไดรับนั้นตามที่ระบุไวในบัตรสงเสริมการลงทุน

33

เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางดานการเงิน กลุมบริษัทตองเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินที่สําคัญไดแกความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราตางประเทศความเสี่ยง จากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากราคาน้ํามัน ความเสี่ยงจากอัตราคาระวางและความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อ กลุมบริษัทใช เครื่องมือทางการเงินเพื่ อลดความไมแนนอนของกระแสเงินสดในอนาคตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อัตรา ดอกเบี้ย ราคาน้ํามัน และอัตราคาระวาง และเพื่อชวยในการบริหารสภาพคลองของเงินสด การบริหารจัดการทุน นโยบายของคณะกรรมการบริษัท คือ การรัก ษาระดับ เงิน ทุน ใหมั่น คงเพื่อ รัก ษานัก ลงทุน เจา หนี้แ ละความเชื่อ มั่น ของ ตลาดและกอใหเกิดการพัฒ นาของธุรกิจในอนาคต คณะกรรมการไดมีการกํากับดูแลผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งกลุม บริษัทพิจารณาจากสัดสวนของผลตอบแทนจากกิจ กรรมดําเนิน งานตอสวนของเจาของรวม ซึ่งไมรวมสว นไดเสีย ที่ไมมี อํานาจควบคุมอีกทั้งยังกํากับดูแลระดับการจายเงินปนผลใหแกผูถือหุน ในการดํารงไวหรือปรับโครงสรางของทุน กลุมบริษัทอาจปรับนโยบายการจายเงินปนผลใหกับผูถือหุน และออกหุนสามัญ ใหมหรือหุนกู 124

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


257

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงดานอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งสงผล กระทบตอการดําเนินงานและกระแสเงินสดของกลุมบริษัท เนื่องจากดอกเบี้ยของหลักทรัพยที่เปนตราสารหนี้และเงินกูยืมบางสวน มีอัตราคงที่ กลุมบริษัทไดลดความเสี่ยงดังกลาวโดยทําใหแนใจวาดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกูยืมสวนใหญมีอัตราลอยตัว กลุมบริษัท ใชเครื่องมือทางการเงินที่เปนตราสารอนุพันธซึ่งสวนใหญเปนสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อใชในการจัดการความเสี่ยง ที่เกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกูยืมเปนการเฉพาะ กลุมบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ซึ่งเกิดจากการซื้อสินคาและการขายสินคาที่เปนเงินตรา ตางประเทศ กลุมบริษัทไดทําสัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศลวงหนา ซึ่งรายการดังกลาวจะมีอายุไมเกินหนึ่งป เพื่อปองกัน ความเสี่ยงของสินทรัพยและหนี้สินทางการเงินที่เปนเงินตราตางประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราตางประเทศลวงหนา ณ วันที่ รายงานเปนรายการที่เกี่ยวของกับรายการซื้อและขายสินคาที่เปนเงินตราตางประเทศในงวดถัดไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 กลุมบริษัทและบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศซึ่งเกิดจาก การมีสินทรัพยและหนี้สินทางการเงินซึ่งกําหนดในสกุลเงินตางประเทศ มีดังตอไปนี้ งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

เหรียญสหรัฐฯ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น ลูกหนี้การคา ลูกหนี้กิจการทีเ่ กี่ยวของกัน เงินใหกูระยะสั้นแก กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินใหกูระยะยาวแกบุคคลภายนอก เงินกูระยะสั้น เงินกูระยะสั้นจาก กิจการที่เกี่ยวของกัน เจาหนี้การคา เจาหนี้อื่น เจาหนี้กิจการทีเ่ กี่ยวของกัน เงินรับลวงหนาจากลูกคา เงินกูระยะยาว หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน ความเสี่ยงสุทธิ

4,645,766 2,304,530 5,191,795 1,586,665

4,442,962 17,898 2,830,674 1,098,593

23,874 359,224 4,440

506,113 -

(93,281)

20,110 (219,329)

3,664,177 -

-

(3,973,511) (2,146,322) (2,026) (275,825) (9,207,217) (109) (1,969,535)

(1,151,365) (127,685) (1,454) (459,046) (9,869,217) (3,417,859)

(1,335,047) (2) (29) (302) (418,652) 2,297,683

(1,219,394) (1,185) (27) (275) (827,563) (1,542,331)

125 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


258 บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนต ากัริ ษัดท(มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก ารซ เ งิ นีสข อจํงบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

เหรียญสิงคโปร เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ลูกหนี้การคา เงินใหกูยืมระยะสั้นแก กิจการที่เกี่ยวของกัน เจาหนี้การคา เจาหนี้อื่น เจาหนี้กิจการทีเ่ กี่ยวของกัน ความเสี่ยงสุทธิ

73,047 274

167,378 65

271 -

266 -

(20,811) (9,111) 43,399

(25,183) (4,262) 137,998

765,027 (51,459) 713,839

747,331 (51,118) 696,479

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

ดองเวียดนาม เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ลูกหนี้การคา เจาหนี้การคา ความเสี่ยงสุทธิ

103,979 188,934 (53,450) 239,463

151,756 13,029 (33,642) 131,143

งบการเงินรวม 2558 2557

-

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

ปอนดสเตอรลงิ เงินลงทุนระยะสั้น ความเสี่ยงสุทธิ

18,904 18,904

126 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

18,093 18,093

18,904 18,904

18,093 18,093


259

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 (พันบาท)

รูเปย อินโดนีเซีย เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ลูกหนี้การคา เจาหนี้การคา เจาหนี้อื่น หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน ความเสี่ยงสุทธิ

4,799 1,934 (44,169) (1,340) (38,776)

6,823 (19,549) (19,041) (31,767)

-

-

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเปนความเสี่ยงหลักที่ตองเผชิญเนื่องจากกลุมบริษัทมีการซื้อสินคาและใหบริการที่เปนเงินตรา ตางประเทศ สวนความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยเปนความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่ง ความผันผวนดังกลาวจะสงผลกระทบตอผลการดําเนินงานและกระแสเงินสดของกลุมบริษัท โดยกลุมบริษัทบริหารความเสี่ยง ดังกลาว ดังตอไปนี้

ก) สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ย บริษัท บริษัทไดทําสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินแหงหนึ่งสําหรับหุนกูสกุลเงินบาท อายุ 3 ป และจะครบกําหนดในป 2561 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่เปนสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ อัตรา LIBOR ประเภท 3 เดือน บวกรอยละ 3 ตอป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 หุนกูมียอดคงเหลือจํานวน 59.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ โดยหุนกูนี้มียอดตาม สกุลเงินเดิมจํานวน 2,000.0 ลานบาท บริษัทไดทําสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินแหงหนึ่งสําหรับหุนกูสกุลเงินบาท อายุ 7 ป และจะครบกําหนดในป 2560 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่เปนสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ รอยละ 3.60 ตอป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 หุนกูมียอดคงเหลือจํานวน 65.7 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 65.7 ลานเหรียญสหรัฐฯ) โดยหุน กูนี้มียอดตามสกุลเงินเดิมจํานวน 2,000.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557: 2,000.0 ลานบาท)

127 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


260

บริษัท โทรี เซนไทย เอเยนต งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิซ น ีส ข อ จํ งบาริกั ษัด ท (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทไดทําสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินแหงหนึ่งสําหรับหุนกูสกุลเงินบาท อายุ 5 ป และจะครบกําหนดในป 2558 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่เปนสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ รอยละ 3.65 ตอป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 หุนกูมียอดคงเหลือจํานวน 62.2 ลานเหรียญสหรัฐฯ โดยหุนกูนี้มียอดตามสกุลเงินเดิมจํานวน 2,000.0 ลานบาท ทั้งนี้หุนกูดังกลาวไดจายชําระทั้งจํานวนแลวเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 บริษัทไดทําสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินแหงหนึ่งสําหรับเงินกูระยะยาวซึ่งมี กําหนดชําระคืนมากกวา 5 ป บริษัทไดแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยคงที่สําหรับสกุลเงินบาทประจํา 6 เดือนบวกรอยละ 2 ตอป เปนอัตราดอกเบี้ยสําหรับสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ อัตรา LIBOR ประเภท 6 เดือนบวกรอยละ 2.93 ตอป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ยอดคงเหลือของเงินกูระยะยาวจํานวน 11.6 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 25.0 ลานเหรียญสหรัฐฯ) โดยเงินกูยืมนี้มียอดตามสกุลเงินเดิมจํานวน 360.0 ลานบาท (31 ธันวาคม 2557 : 780.0 ลานบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 สัญ ญาแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและดอกเบี้ยถูกรับรูตามเกณฑคงคางและมีมูลคา ยุติธรรมจํานวน 609.4 ลานบาท โดยอางอิงราคาจากนายหนา ซึ่งเปนการวัดมูลคายุติธรรมระดับ 2 และไดมีการทดสอบ ความสมเหตุสมผลของราคาเหลานั้น โดยการคิดลดกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดการณไวดวยอัตราดอกเบี้ยในตลาด สําหรับเครื่องมือทางการเงินที่เหมือนกัน ณ วันที่วัดมูลคา มูลคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินสะทอนผลกระทบของ ความเสี่ยงดานเครดิตและได รวมการปรับ ปรุงความเสี่ย งดานเครดิต ของกลุม บริษั ท /บริษั ท และคูสัญ ญา ตามความ เหมาะสม

ข) สัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ํามัน ในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทยอยไดทําสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ํามันกับธนาคารพาณิชย เพื่อปองกัน ความเสี่ยงจากราคาน้ํามัน ที่เกี่ยวของกับภาระผูกพันในการใหบริการตามสัญญาขนสงระยะยาว ภายใตสัญญาแลกเปลีย่ น ราคาน้ํามันนี้ ราคาน้ํามันจะถูกกําหนดอยูในชวง 138.8 เหรียญสหรัฐฯ ถึง 194.1 เหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557 เป น 365.0 ถึ ง 383.5 เหรีย ญสหรั ฐฯ) ณ วั น ที่ 31 ธัน วาคม 2558 ปริม าณน้ํ ามั น คงเหลื อ เท ากั บ 5,200 เมทริก ตั น (31 ธันวาคม 2557 เปน 2,000 เมทริกตัน) มูลคายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ํามันมีจํานวน 0.5 ลานเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกําหนดจากราคาจากนายหนาที่จัด ประเภทเปนขอมูลระดับ 2 ของมูลคายุติธรรม ซึ่งไดมีการทดสอบตามวิธีการแบบเดียวกับที่ระบุในหมายเหตุ 33(ก)

128 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

261

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ค) สัญญาซื้อขายคาระวางลวงหนา TSS ไดทําสัญญาซื้อขายคาระวางลวงหนากับสถาบันการเงิน เพื่อปองกันความเสี่ยงจากราคาคาระวางสําหรับเรือเดินทะเล เชา ภายใตสัญญาซื้อขายคาระวางลวงหนานี้ ราคาคาระวางจะถูกกําหนดอยูในชวง 5,110 เหรียญสหรัฐฯ ถึง 6,190 เหรียญ สหรัฐฯตอวัน (31 ธันวาคม 2557: 8,750 เหรียญสหรัฐฯ ถึง 9,500 เหรียญสหรัฐฯตอวัน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท มีสัญญาซื้อขายคาระวางลวงหนาสําหรับขาย จํานวน 240 วัน (31 ธันวาคม 2557: 420 วัน) มูลคายุติธรรมของสัญญาซื้อขายคาระวางลวงหนามีจํานวน 0.4 ลานเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกําหนดจากราคาจากนายหนาที่จัด ประเภทเปนขอมูลระดับ 2 ของมูลคายุติธรรม ซึ่งไดมีการทดสอบตามวิธีการแบบเดียวกับที่ระบุในหมายเหตุ 33(ก) ความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อ ความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อ ความเสี่ยงที่ลูกคาหรือคูสัญญาไมสามารถชําระหนี้แกกลุมบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไวเมื่อครบ กําหนด ฝายบริหารไดกําหนดนโยบายทางดานสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางดานสินเชื่อดังกลาวอยางสม่ําเสมอ โดยการวิเคราะห ฐานะทางการเงินของลูกคาทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่ง ๆ ณ วันที่รายงานไมพบวามีความเสี่ยงจากสินเชื่อที่เปน สาระสําคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางดานสินเชื่อแสดงไวในราคาตามบัญชีของสินทรัพยทางการเงินแตละรายการในงบแสดงฐานะ การเงิน อยางไรก็ตามเนื่องจากกลุมบริษัทมีฐานลูกคาจํานวนมาก ฝายบริหารไมไดคาดวาจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสําคัญจาก การเก็บหนี้ไมได ความเสี่ยงจากสภาพคลอง กลุมบริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคลองโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดให เพียงพอตอการดําเนินงานของกลุมบริษัท และเพื่อทําใหผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง มูลคายุติธรรมของสินทรัพยและหนี้สินทางการเงิน นอกเหนือจากที่กลาวไวในหมายเหตุขอ 7, 20 และ 33 (ก) ถึง 33 (ค) มูลคายุติธรรมของสินทรัพยและหนี้สินทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีมูลคาโดยประมาณเทียบเทากับมูลคาตามบัญชี เนื่องจากสินทรัพยและหนี้สินทางการเงินเหลานั้นมี อายุใกลครบกําหนดชําระหรือไดรับคืน

129 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษ262 ัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 34

ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

34.1 ภาระผูกพันฝายทุน กลุมบริษัทมีภาระผูกพันฝายทุนที่สําคัญจากสัญญาเกี่ยวกับอาคาร เครื่องจักร การกอสรางโกดังเก็บสินคา การสรางเรือ การ ซอมเรือครั้งใหญ และอุปกรณสําหรับเรือ แตยังไมไดรับรูเปนหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 ดังตอไปนี้ งบการเงินรวม 2558 2557 - เหรียญสหรัฐฯ - ดองเวียดนาม - บาท

373.6 5,220.3 1.9

(ลานบาท) 374.4 47,752.6 1.9

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 -

-

34.2 ภาระผูกพันอื่น ภาระผูกพันตามสัญญาเชาดําเนินงาน จํานวนเงินขั้นต่ําที่กลุมบริษัทตองจายในอนาคตตามสัญญาเชาดําเนินงานที่ไมสามารถยกเลิกไดของเรือและที่ดิน มี ดังตอไปนี้ งบการเงินรวม 2558 2557 ภายใน 1 ป ระหวาง 1 ป แตไมเกิน 5 ป มากกวา 5 ป รวม

426,378 51,396 188,394 666,168

130 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)

(พันบาท) 1,483,077 2,315,962 160,620 3,959,659

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557 -

-


263

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

34.3 สัญญาที่สําคัญ สัญญาเชาเรือเดินทะเลและเรือขุดเจาะน้ํามัน งบการเงินรวม 2558 2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 2557

สัญญาใหเชาระยะยาว จํานวนเรือเดินทะเลและเรือขุดเจาะน้ํามัน ระยะเวลาที่เหลือ (เดือน)

1 12-14

1 15

-

-

สัญญาเชาระยะยาว จํานวนเรือเดินทะเล ระยะเวลาที่เหลือ (เดือน)

3 1-11.5

3 14-60

-

-

34.4 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ก) การค้ําประกัน บริษัทและกลุมบริษัทไดค้ําประกันเพื่อประโยชนในการประกอบธุรกิจตามปกติ ดังนี้ 31 ธันวาคม 2558 งบการเงินรวม

หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารออก ใหในนามกลุมบริษัท ภาระค้าํ ประกันโดยกลุมบริษัท แกสถาบันการเงินเพื่อค้ําประกัน วงเงินสินเชื่อและการซื้อวัตถุดิบ

ลานบาท

ลานเหรียญ สหรัฐฯ

ลานดอง เวียดนาม

ลานเหรียญ สหรัฐอาหรับ เอมิเรต

22.5

27.9

42,366.7

-

-

0.9

256.9

-

-

13.1

ลานริยาล กาตาร

131 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


264

บริษัท งบการเงิ โทรีเซนไทย จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีสอ งบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 31 ธันวาคม 2558 งบการเงินเฉพาะกิจการ ลานบาท ลานเหรียญสหรัฐฯ หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารออกให ในนามกลุมบริษัท

2.7

-

ภาระค้าํ ประกันโดยบริษัทแกสถาบัน สถาบันการเงินเพื่อค้ําประกันวงเงินสินเชื่อ

0.9

133.5

31 ธันวาคม 2557 งบการเงินรวม ลานเหรียญ สหรัฐฯ

ลานดอง เวียดนาม

ลานเหรียญ สหรัฐอาหรับ เอมิเรต

25.7

26.5

128,174.5

0.1

3.1

252.3

ลานบาท หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารออกให ในนามกลุมบริษัท ภาระค้าํ ประกันโดยกลุมบริษัทแก สถาบันการเงินเพื่อค้ําประกันวงเงิน สินเชื่อและการซื้อวัตถุดิบ

-

-

31 ธันวาคม 2557 งบการเงินเฉพาะกิจการ ลานบาท ลานเหรียญสหรัฐฯ หนังสือค้ําประกันที่ธนาคารออกให ในนามกลุมบริษัท

2.7

-

ภาระค้าํ ประกันโดยบริษัทแกสถาบัน สถาบันการเงินเพื่อค้ําประกันวงเงินสินเชื่อ

3.1

127.9

ข) หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทยอยแหงหนึ่งมีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นอื่นเปนจํานวนประมาณ 2 ลานเหรียญสหรัฐฯ (31 ธันวาคม 2557: 2 ลานเหรียญสหรัฐฯ)

132 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 35

265

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

การจัดตั้งโครงการออกหุนกูหลายสกุลเงิน ที่ประชุมใหญสามัญประจําปของผูถือหุนของ MMPLC เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ผูถือหุนมีมติอนุมัติการออกหุนกูและตรา สารหนี้ที่ไมมีวันหมดอายุ (Perpetual security) ในวงเงินไมเกิน 500 ลานเหรียญสหรัฐฯ (หรือสกุลเงินอื่น ๆ ที่เทียบเทา) ซึ่ง ใหเปนไปตามโครงการออกหุนกูหลายสกุลเงิน ที่ถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558

36

เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน บริษัท เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 บริษัทไดลงนามในสัญญารวมคากับบริษัท Suez Environnement South East Asia จํากัด เพื่อ จัดตั้ง TTA-SUEZ โดยมีจุดประสงคการรวมคาเพื่อแสวงหาและเขาไปมีสวนรวมในโครงการบริหารจัดการน้ําดื่ม น้ําเสีย และ กําจัดขยะมูลฝอย เพื่อองคกรสาธารณะและเอกชนในประเทศไทยรวมถึงกิจกรรมอื่นที่สงเสริมวัตถุประสงคของ TTA-SUEZ ที่ อาจจะตกลงกันในอนาคต บริษัทยอย - TSS เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 TSS ไดขายเรือทอรไดนามิค ซึ่งเปนเรือเดินทะเลลําหนึ่งมูลคา 1.4 ลานเหรียญสหรัฐฯ หรือ เทียบเทา 48.8 ลานบาท บริษัทยอย - UMS ที่ประชุมวิสามัญของผูถือหุนของ UMS ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ 2559 ผูถือหุนของ UMS อนุมัติการเพิ่มทุนจด ทะเบี ย นเป น จํานวน 358.1 ล านหุ น มู ล คาที่ ต ราไวหุ น ละ 0.5 บาท จากทุ น จดทะเบี ย นเดิม จํ านวน 76.7 ล านบาท แบ ง ออกเปนหุนสามัญจํานวน 153.5 ลานหุน หลังจากเพิ่มทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนใหมจะเปนจํานวน 255.8 ลานบาท แบง ออกเป น 511.5 ลานหุ น ทุ น จดทะเบี ย นจะเสนอขายให แก ผูถือ หุ น เดิม ตามสัด ส วนการถือ หุ น (Rights Offering: RO) ใน อัตราสวน 3 หุนสามัญเดิมตอ 7 หุนสามัญใหม ในราคาเสนอขายหุนละ 1 บาท ผูถือหุนของ UMS เดิม มีสิทธิจองซื้อหุนสามัญเพิ่มทุนเกินกวาสิทธิของตนตามอัตราสวนที่กําหนดไวขางตนได สิทธิดังกลาวจะ ใชไดไมเกินรอยละ 100 ของจํานวนหุนที่ผูถือหุนแตละรายนั้นถืออยู โดยผูถือหุนเดิมที่จองซื้อหุนเกินกวาสิทธิจะไดรับการ จัดสรรหุนที่จองซื้อเกินกวาสิทธิก็ตอเมื่อมีหุนที่เหลือจากการจัดสรรใหแกผูถือหุนเดิมที่ไดจองซื้อตามสิทธิครบถวนทั้งหมดแลว เทานั้น วันที่ใชสิทธิจองซื้อหุนและจายชําระคือ 29 กุมภาพันธ ถึง 4 มีนาคม 2559

133 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท266 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 37

การจัดประเภทรายการใหม รายการบางรายการในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ซึ่งรวมอยูในงบการเงิน ป 2558 เพื่อวัตถุประสงคในการเปรียบเทียบ ไดมีการจัดประเภทรายการใหมเพื่อใหสอดคลองกับการนําเสนอในงบการเงินป 2558 รายการจัดประเภทดังกลาวมีดังตอไปนี้ 31 ธันวาคม 2557 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ กอนจัด จัดประเภทใหม หลังจัด กอนจัด จัดประเภทใหม หลังจัด ประเภทใหม ประเภทใหม ประเภทใหม ประเภทใหม (พันบาท) งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินสดและรายการเทียบ เทาเงินสด 7,710,644 เงินลงทุนระยะสั้น 587,780 ลูกหนี้อื่น 349,537 สินทรัพยหมุนเวียนอื่น 445,649

(555) (17,537) (2) 18,094 -

7,710,089 570,243 349,535 463,743

2,920,551 62,385 366 2,106

(555) (17,537) (2) 18,094 -

2,919,996 44,848 364 20,200

1 ตุลาคม 2557 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ กอนจัด จัดประเภทใหม หลังจัด กอนจัด จัดประเภทใหม หลังจัด ประเภทใหม ประเภทใหม ประเภทใหม ประเภทใหม (พันบาท) งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เงินลงทุนระยะสั้น สินทรัพยหมุนเวียนอื่น

1,342,450 368,125

(18,601) 18,601 -

1,323,849 386,726

66,393 2,377

(18,601) 18,601 -

47,792 20,978

การจั ดประเภทรายการใหมนี้ เนื่อ งจากผู บริห ารเห็ นวามีค วามเหมาะสมกั บธุรกิจ ของกลุม กิจการมากกวา รวมถึ งตั วเลข เปรียบเทียบซึ่งแสดงในงบกระแสเงินสดไดถูกจัดประเภทรายการใหมเชนกัน

134 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


267

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 38

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไมไดใช มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมหลายฉบับไดมีการประกาศและยังไมมีผลบังคับใชและไมไดนํามาใช ในการจัดทํางบการเงินนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมเหลานี้อาจเกีย่ วของกับการดําเนินงานของ กลุมบริษัท และถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริม่ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 กลุมบริษัทไมมีแผน ที่จะนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินเหลานี้มาใชกอนวันถือปฏิบัติ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง

ปที่มีผล บังคับใช

การนําเสนองบการเงิน สินคาคงเหลือ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ ทางบัญชีและขอผิดพลาด เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ภาษีเงินได ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สัญญาเชา รายได ผลประโยชนของพนักงาน ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงของอัตรา แลกเปลีย่ นเงินตราตางประเทศ ตนทุนการกูยืม การเปดเผยขอมูลเกีย่ วกับบุคคลหรือกิจการที่ เกี่ยวของกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน เมื่อออกจากงาน งบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา กําไรตอหุน งบการเงินระหวางกาล การดอยคาของสินทรัพย ประมาณการหนี้สิน หนีส้ ินที่อาจเกิดขึ้น และ สินทรัพยที่อาจเกิดขึ้น สินทรัพยไมมีตัวตน

2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559 2559

135 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


268

น ร วมและเอเยนต งบ ก าร เ งิ นซขีส อ งบ บริษัท งบการเงิ โทรีเซนไทย  จํริาษักัทด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เรื่อง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2558) การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2558) การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2558) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2558) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 14 (ปรับปรุง 2558)

การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ

2559

การรวมธุรกิจ

2559

สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขายและการ ดําเนินงานที่ยกเลิก สวนงานดําเนินงาน

2559

งบการเงินรวม

2559

การรวมการงาน

2559

การเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น

2559

การวัดมูลคายุติธรรม

2559

ภาษีเงินได-การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางภาษี ของกิจการหรือของผูถือหุน การประเมินเนื้อหาสัญญาเชาที่ทําขึ้นตามรูปแบบ กฎหมาย การประเมินวาขอตกลงประกอบดวยสัญญาเชา หรือไม งบการเงินระหวางกาลและการดอยคา

2559

ข อ จํ า กั ด สิ น ทรั พ ย ต ามโครงการผลประโยชน ขอกําหนดเงินทุนขั้นต่ําและปฏิสัมพันธของรายการ เหลานี้ สําหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ผลประโยชนของพนักงาน

ปที่มีผล บังคับใช

2559

2559 2559 2559 2559

ผูบริหารอยูในระหวางการพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใชกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงินที่ปรับปรุง ใหมและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหมมาใชและถือปฏิบัติครั้งแรกบนงบการเงินรวมและงบการเงิน เฉพาะกิจการ

136 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


269

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน 39

งบ ก า ร เ งิ นร ว ม แล ะงบ ก า ร เ งิ นข อ งบ ริ ษั ท

ขอมูลเพิ่มเติม (ไมไดตรวจสอบ) ตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอที่ 2 (จ) เรื่องการเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท งบการเงินรวมสําหรับ ระยะเวลาสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ไดถูกจัดทําและนําเสนอสําหรับรอบระยะเวลาใหมตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซึ่งเปนไปตามรูปแบบการนําเสนองบการเงินที่กําหนด เพื่อประโยชนตอผูใชงบการเงินในการเปรียบเทียบและวิเคราะหขอมูลทางการเงิน บริษัทจึงไดจัดทําขอมูลเพิ่มเติมในรูปแบบ งบกํ า ไรขาดทุ น รวมที่ ไม ได รั บ การตรวจสอบสํ า หรั บ งวดระยะเวลาสิ บ สองเดื อ นสิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2557 โดยมี รายละเอียดดังตอไปนี้ งบกําไรขาดทุนรวม 2558

2557 (ปรับปรุงใหม และ ไมไดตรวจสอบ) (พันบาท)

รายได รายไดจากการบริการ คาระวาง คาบริการธุรกิจนอกชายฝง คาบริการและคานายหนา รายไดจากการขาย รวมรายได

5,756,143 11,527,292 348,821 3,793,501 21,425,757

7,661,246 10,664,400 245,457 3,770,150 22,341,253

ตนทุน ตนทุนการใหบริการ คาใชจายในการดําเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล คาใชจายในการบริการจากธุรกิจนอกชายฝง คาใชจายในการใหบริการและคานายหนา ตนทุนขาย รวมตนทุน

5,621,172 10,395,237 188,331 3,416,819 19,621,559

7,071,331 8,923,249 134,459 3,023,431 19,152,470

137 ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริษัท 270 โทรีเซนไทย เอเยนตซีส จํากัด (มหาชน) และบริษัทยอย งบการเงิ น ร วมและ งบ ก าร เ งิ น ข อ งบ ริ ษั ท หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบกําไรขาดทุนรวม 2558

2557 (ปรับปรุงใหม และ ไมไดตรวจสอบ) (พันบาท)

กําไรขั้นตน รายไดจากการดําเนินงานอื่น กําไรกอนคาใชจาย

1,804,198 272,873 2,077,071

3,188,783 383,093 3,571,876

201,646 3,101,949 11,571,203 14,874,798

281,902 2,311,865 66,247 2,660,014

กําไร (ขาดทุน) จากการดําเนินงาน สวนแบงกําไร (ขาดทุน) จากบริษัทรวมและการรวมคา

(12,797,727) (1,409,481)

911,862 1,182,068

กําไร (ขาดทุน) กอนตนทุนทางการเงินและภาษีเงินได ตนทุนทางการเงิน

(14,207,208) 569,746

2,093,930 497,696

กําไร (ขาดทุน) กอนภาษีเงินได คาใชจายภาษีเงินได กําไร (ขาดทุน) สุทธิสําหรับป

(14,776,954) 20,958 (14,797,912)

1,596,234 207,685 1,388,549

(11,335,102) (3,462,810) (14,797,912)

902,054 486,495 1,388,549

(6.61)

0.73 0.71

คาใชจายในการขาย คาใชจายในการบริหาร การดอยคาและการตัดจําหนาย รวมคาใชจาย

การปนสวนกําไร (ขาดทุน) สุทธิ สวนที่เปนของผูถือหุนของบริษัท สวนที่เปนของสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กําไร (ขาดทุน) ตอหุน กําไร (ขาดทุน) ตอหุนขึ้นพื้นฐาน (บาท) กําไรตอหุนปรับลด (บาท)

-

138 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำ�กัด (มหาชน)


ราคาปกติที่ให้กับบุคคล ภายนอก 4,780,115 (บันทึกเป็นต้นทุน บริการ) 19,535,019 (บันทึกเป็นต้นทุน บริการ)

บริ ษั ท เมอร์ เ มด ซั บ ซี เซอร์ วิ ส เซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด ว่าจ้างบริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด เพือ่ ให้บริการเดินพิธีการทางศุลกากรในการ น�ำเข้าสินค้าและการขนส่ง

TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ใน บริษัท เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) และถือหุ้นร้อยละ 51 ใน บริษทั กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด และเมอร์เมดถือหุ้นร้อยละ 100 ในบริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด

บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด

2. บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด

ราคาปกติที่ให้กับบุคคล ภายนอก 691,912,286 (บันทึกเป็นรายได้ จากการให้บริการ)

2,670,484,615 (บันทึกเป็นรายได้ จากการให้บริการ)

TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม 2557: ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ใน บริษัท เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) โดย เมอร์เมด ถือหุน้ ร้อยละ 100 ในบริษทั เมอร์เมด ซับซี เซอร์วสิ เซส (อินเตอร์เนชั่นแนล) จ�ำกัด และถือหุ้น ร้อยละ 40 ใน Zamil Mermaid Offshore Services Company LLC

Zamil Mermaid Offshore Services Company LLC

1. บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (อินเตอร์ เนชั่นแนล) จ�ำกัด

Zamil Mermaid Offshore Services Company LLC ว่าจ้างบริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (อินเตอร์เนชั่นแนล) จ�ำกัด เพือ่ ให้บริการนอกชายฝัง่ แก่ บริษทั Saudi Aramco

นโยบายการคิดราคา

31 ธันวาคม 2557 (3 เดือน)

ลักษณะรายการ

ความสัมพันธ์

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

บริษัท

31 ธันวาคม 2558 (12 เดือน)

มูลค่ารายการ (บาท)

รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบริษัทย่อย หรือระหว่างกันภายในบริษัทย่อย ได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบของงบการเงินรวมของบริษัทฯ แล้ว ทั้งนี้ รายการระหว่างกันซึ่งมีสาระส�ำคัญของ บริษัทฯ และบริษัทย่อยกับบริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้า หรือรายการระหว่างกันกับบริษัทหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีดังต่อไปนี้

ส�ำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

รายการระหว่างกัน

ร า ย ก า ร ร ะห ว ่ า งกั น

271

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

1,425,600 (บันทึกเป็นรายจ่าย ค่าเช่าส�ำนักงาน)

31 ธันวาคม 2558 (12 เดือน) 77,500 (บันทึกเป็นรายได้จาก ค่าเช่าและ การให้บริการ)

672,050 (บันทึกเป็นรายได้ ค่าเช่าส�ำนักงาน)

TTA ให้เช่าพื้นที่ส�ำนักงาน ชั้น 10 อาคาร 1,544,880 อรกานต์ ขนาด 314 ตารางเมตร แก่ (บันทึกเป็นรายได้ เมอร์ เ มด (มี ก ารเปลี่ ย นแปลงผู ้ เ ช่ า ใน ค่าเช่าและค่าธรรมเนียม) สัญญาเช่าจาก บริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด เป็น เมอร์เมด ในเดือนธันวาคม 2558)

129,000 (บันทึกเป็นรายได้ ค่าเช่าส�ำนักงาน)

386,220 (บันทึกเป็นรายได้ ค่าเช่าและ ค่าธรรมเนียม)

(ไม่มีรายการระหว่างปี 2557)

415,800 (บันทึกเป็นรายจ่าย ค่าเช่าส�ำนักงาน)

31 ธันวาคม 2557 (3 เดือน) 17,500 (บันทึกเป็นรายได้จาก ค่าเช่าและ การให้บริการ)

มูลค่ารายการ (บาท)

TTA ให้เช่าพื้นที่ส�ำนักงาน ชั้น 10 อาคาร 721,600 อรกานต์ ขนาด 352 ตารางเมตร แก่ (บันทึกเป็นรายได้ เมอร์เมด ค่าเช่าและค่าธรรมเนียม)

TTA เช่าพื้นที่ส�ำนักงาน ชั้น 9 อาคาร อรกานต์ ขนาด 360 ตารางเมตร จาก เมอร์เมด

บริ ษั ท พี เ อ็ ม โทรี เ ซน TTA ถือหุ้นร้อยละ 67.2 (31 ธันวาคม TTA ให้เช่าพื้นที่ส�ำนักงาน ชั้น 8 อาคาร เอเชี ย โฮลดิ้ ง ส์ จ� ำ กั ด 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 99.9) ในบริษัท อรกานต์ ขนาด 182 ตารางเมตร แก่ (มหาชน) พีเอ็ม โทรีเซน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) PMTA (“PMTA”) โดยมีนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นกรรมการและผูถ้ อื หุน้ ในทัง้ TTA และ PMTA

4. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

3. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

2. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

5. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

ลักษณะรายการ TTA ให้ เ มอร์ เ มดเช่ า ห้ อ งประชุ ม และ ที่จอดรถ

บริษัทที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม จ�ำกัด (มหาชน) 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ในบริษัท เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) โดยมีนายเฉลิมชัย มหากิจ ศิริเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในทั้งสอง บริษัท บริษัท เมอร์เมด TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ในบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์ เมด”) โดยมี น ายเฉลิ ม ชั ย มหากิ จ ศิ ริ เป็นกรรมการและผูถ้ อื หุน้ ในทัง้ สองบริษทั บริษัท เมอร์เมด TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) 2557 : ถื อ หุ ้ น ร้ อ ยละ 57.8) ใน บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) โดยมี นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นกรรมการและผูถ้ อื หุน้ ในทัง้ สองบริษทั บริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม จ�ำกัด 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ในบริษัท เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) และเมอร์เมดถือหุ้นร้อยละ 95 ในบริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด โดยมี น ายเฉลิ ม ชั ย มหากิ จ ศิ ริ เป็ น กรรมการและผู้ถือหุ้นในทั้ง TTA และ เมอร์เมด

บริษัท 1. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

นโยบายการคิดราคา ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

272 ร ายการ ร ะ หว่ า งกั น


11. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

10. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

9. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

8. บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน)

7. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัท 6. บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

บริษัท เมาน์เท่น ครีก ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด

TTA ว่ า จ้ า งบริ ษั ท โฟร์ วั น วั น เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ�ำกัด ในการจัดงาน ฉลองปีใหม่ในปี 2557 และ 2558 ให้กับ พนักงาน

TTA ซื้ อ ขนมเป็ น ของขวั ญ ปี ใ หม่ จ าก บริษัท พีเอช มาการอง (ประเทศไทย) จ�ำกัด

เมอร์เมดซื้อขนมเป็นของขวัญปีใหม่จาก บริษัท พีเอช มาการอง (ประเทศไทย) จ�ำกัด

TTA ให้เช่าห้องประชุมแก่บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด

ลักษณะรายการ TTA ให้บริการแก่ PMTA ในด้านต่างๆ ดังนี้  บริการด้าน IT  การเช่าห้องประชุม  บริการอื่นๆ

นายเฉลิม ชั ย มหากิ จ ศิ ริ และนางสาว TTA ว่าจ้างบริษัท เมาน์เท่น ครีก อุษณา มหากิจศิริ เป็นกรรมการและผู้ถือ ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด ในการจัดกิจกรรม หุ้นใน TTA และเป็นกรรมการในบริษัท Team Building ประจ�ำปี 2558 เมาน์เท่น ครีก ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด

บริษัทที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ บริ ษัท พี เอ็ ม โทรี เซน TTA ถือหุ้นร้อยละ 67.2 (31 ธันวาคม เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด พ.ศ. 2557 :ถือหุน้ ร้อยละ 99.9) ในบริษทั (มหาชน) พีเอ็ม โทรีเซน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”) โดยมีนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นกรรมการและผูถ้ อื หุน้ ในทัง้ TTA และ PMTA บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด TTA และ บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด มี กรรมการร่วมกัน ได้แก่ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ และนางสาวอุษณา มหากิจศิริ โดยทีน่ ายเฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ในทั้งสองบริษัท บริษัท พีเอช มาการอง TTA ถือหุ้นร้อยละ 58.2 (31 ธันวาคม (ประเทศไทย) จ�ำกัด 2557 : ถือหุ้นร้อยละ 57.8) ในบริษัท เมอร์ เ มด มาริ ไ ทม์ จ� ำ กั ด (มหาชน) (“เมอร์ เ มด”) โดยมี น ายเฉลิ ม ชั ย มหากิจศิริ และนางสาวอุษณา มหากิจศิริ เป็นผูถ้ อื หุน้ ใน เมอร์เมด และบริษทั พีเอช มาการอง (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท พีเอช มาการอง นายเฉลิ ม ชั ย มหากิจ ศิ ริ และนางสาว (ประเทศไทย) จ�ำกัด อุษณา มหากิจศิริ เป็นผู้ถือหุ้นในทั้ง TTA และบริษทั พีเอช มาการอง (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท โฟร์ วัน วัน TTA และ บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ�ำกัด เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ�ำกัด มีกรรมการ ร่วมกัน ได้แก่ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ และ นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 492,000 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ด้านสันทนาการ)

2,924,680 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ด้านสันทนาการ)

(ไม่มีรายการระหว่าง ปี 2558)

(ไม่มีรายการระหว่าง ปี 2558)

(ไม่มีรายการระหว่าง ปี 2558)

31 ธันวาคม 2558 (12 เดือน) 207,632 (บันทึกเป็นรายได้จาก การให้บริการ)

(ไม่มีรายการระหว่าง ปี 2557)

(ไม่มีรายการระหว่าง ปี 2557)

308,000 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในการบริหาร)

197,430 (บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย ในการบริหาร)

10,000 (บันทึกเป็นรายได้ค่าเช่า และค่าธรรมเนียม)

31 ธันวาคม 2557 (3 เดือน) 56,954 (บันทึกเป็นรายได้ จากการให้บริการ)

มูลค่ารายการ (บาท)

ราคาปกติที่รับบริการ จากบุคคลภายนอก

ราคาปกติที่รับบริการ จากบุคคลภายนอก

ราคาปกติที่รับบริการ จากบุคคลภายนอก

ราคาปกติที่รับบริการ จากบุคคลภายนอก

ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

นโยบายการคิดราคา ราคาใกล้เคียงกับ ราคาตลาด

ร า ย ก า ร ร ะห ว ่ า งกั น

273

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


274

ร ายการ ร ะ หว่ า งกั น

ความจ�ำเป็นและความสมเหตุสมผลของ มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการ รายการระหว่างกัน ท�ำรายการระหว่างกัน ในกรณีที่บริษัทฯ หรือบริษัทย่อยเข้าท�ำสัญญาใดๆ ก็ตาม หรือ มีการท�ำรายการระหว่างกันกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม และ/หรือ บุ ค คลภายนอก บริ ษั ท ฯ จะพิ จ ารณาถึ ง ความจ� ำ เป็ น และ ความเหมาะสมในการเข้ า ท� ำ สั ญ ญานั้ น ๆ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นหลัก

ในกรณีที่บริษัทฯ หรือบริษัทย่อยเข้าท�ำสัญญาใดๆ ก็ตาม หรือมี การท�ำรายการระหว่างกันกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทที่ เกี่ยวข้อง บุคคลภายนอก และ/หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เพือ่ ประโยชน์ของบริษทั ฯ คณะกรรมการบริษทั ฯ ก�ำหนดให้ตอ้ ง ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฎิบัติการของบริษัทจดทะเบียนใน รายการที่เกี่ยวโยงกัน และให้มีราคาและเงื่อนไขเสมือนการท�ำ รายการกับบุคคลภายนอก และท�ำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของ บริษัทฯ และผู้ถือหุ้น โดยกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ทีม่ สี ว่ นได้เสียในรายการนัน้ จะต้องไม่มสี ว่ นในการพิจารณาอนุมตั ิ

นโยบายการท�ำรายการระหว่างกันในอนาคต

กรรมการตรวจสอบและบริษัทฯ จะร่วมกันดูแลรายการระหว่าง กันดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะเป็นรายการที่มีความ จ�ำเป็นและให้เป็นไปในราคาที่ยุติธรรม

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


275

นโ ย บ า ย ก า ร จ ่ า ย เ งิ นปั น ผ ล

นโยบายการจ่ายเงินปันผล ช่วงเวลาและจ�ำนวนเงินปันผล (ถ้ามี) ขึน้ อยูก่ บั ผลการด�ำเนินงาน สถานะทางการเงิน ความต้องการใช้เงินสด และเงินสดที่มีอยู่ ข้อจ�ำกัดต่างๆ ที่ระบุไว้ตามสัญญากู้เงิน และปัจจัยอื่นๆ ที่ เกีย่ วข้องตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษทั ฯ ประกอบ ธุรกิจโดยการเข้าไปถือหุ้นและไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ นอกจากหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ดังนั้น ความ สามารถในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นจะขึ้นอยู่กับผลก�ำไร และเงินปันผลจ่ายของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของก�ำไรสุทธิของงบการเงินรวมหลังหักภาษีเงินได้ แต่ไม่ รวมก�ำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดย คณะกรรมการของบริษัทฯ อาจจะพิจารณาทบทวน และแก้ไข นโยบายการจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งคราว เพื่อให้เป็นไปตาม แผนการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต ความต้องการ ใช้เงินลงทุนและปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เห็นสมควร ทั้งนี้ การจ่าย เงินปันผลดังกล่าว จะไม่เกินก�ำไรสะสมทีป่ รากฏอยูใ่ นงบการเงิน เฉพาะของบริษัทฯ การประกาศจ่ายเงินปันผลจะเป็นไปตามข้อก�ำหนดทางกฎหมาย ไทย ตัวอย่างเช่น กฎหมายก�ำหนดไว้ว่าการประกาศและจ่าย เงินปันผลประจ�ำปีจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่ ง จะพิ จ ารณาตามที่ ค ณะกรรมการเสนอ และในกรณี ก าร ประกาศและจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจะขึน้ อยูก่ บั ดุลยพินจิ ของ คณะกรรมการ นอกจากนี้ กฎหมายไทยยังห้ามจ่ายเงินปันผล

จากเงินประเภทอื่นนอกจากก�ำไร (ก�ำไรสุทธิรวมก�ำไรสะสมและ หักขาดทุนสะสมใดๆ) ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดสรรเงินไว้เป็น ทุนส�ำรองจนกว่าจะมีจ�ำนวนถึงหนึ่งในสิบของทุนของบริษัท หรือมากกว่านัน้ ตามข้อบังคับของบริษทั อีกทัง้ ห้ามจ่ายเงินปันผล หากบริษัทอยู่ในภาวะล้มละลายหรืออาจเข้าข่ายล้มละลาย ถ้าท�ำการจ่ายเงินปันผล บริษัทย่อยของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของก�ำไรสุทธิ ของบริษัทย่อย ยกเว้นบริษัทที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการ เดินเรือที่มีขนาดเล็ก บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) (“เมอร์เมด”) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) (“UMS”) และ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) (“PMTA”) ซึ่ ง จากการที่ เ มอร์ เ มดเป็ น บริ ษั ท ที่ จดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศสิ ง คโปร์ และ UMS เป็ น บริ ษั ท ที่ จ ดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ MAI และ PMTA เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย คณะกรรมการของเมอร์เมด UMS และ PMTA จะ ใช้ดุลยพินิจในการจ่ายเงินปันผลเช่นเดียวกับคณะกรรมการ บริษัทฯ การจ่ายเงินปันผลของเมอร์เมด UMS และ PMTA ในอนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ รวมถึง ผลตอบแทน ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ก�ำไรสะสม ผลประกอบการที่คาดไว้ใน อนาคต ประมาณการค่าใช้จ่ายฝ่ายทุน และแผนการการลงทุน อื่นๆ รวมทั้งข้อจ�ำกัดในการจ่ายเงินปันผล ที่อาจเกิดขึ้นจากการ จัดหาทุน เงินกู้ต่างๆ เป็นต้น

การจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ ในรอบ 5 ปีบัญชีที่ผ่านมา เป็นดังนี้ ส�ำหรับงวด สามเดือนสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2557 2557 รอบปีบัญชี (ปรับปรุงใหม่) อัตราก�ำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.06 0.88 อัตราเงินปันผลต่อหุ้น (บาท) 0.025 0.25

ส�ำหรับปีสิ้นสุด 30 กันยายน 2556 2555 2554 (ปรับปรุงใหม่) (ปรับปรุงใหม่) (ปรับปรุงใหม่) (5.91) (6.35) 0.24 งดจ่าย งดจ่าย 1.00/1

2553 1.12 0.26

หมายเหตุ : /1 เงินปันผลจ่ายของบริษัทฯ ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2554 รวม 1.00 บาทต่อหุ้น แบ่งเป็น 1) เงินปันผลจ่ายระหว่างรอบปีบัญชี 2554 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท และ 2) เงินปันผลจ่ายสิ้นสุดรอบปีบัญชี 2554 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


276

ค่ า ตอ บแทน ของผู ้ ส อ บบั ญ ชี

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) บริษัท บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยอื่น รวมค่าสอบบัญชี (แยกตามสังกัดผู้สอบบัญชี)

ผู้สอบบัญชีของ บริษัทสังกัด KPMG 3,626,000 17,131,017 20,757,017

ผู้สอบบัญชีของ บริษัทสังกัดอื่นๆ 2,149,517 2,149,517

หน่วย:บาท รวมค่าสอบบัญชี (แยกตามบริษัท) 3,626,000 19,280,534 22,906,534

ค่าบริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชี ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558) บริษัท บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยอื่น รวมค่าบริการอื่น (แยกตามสังกัดผู้สอบบัญชี)

ผู้สอบบัญชีของ บริษัทสังกัด KPMG 1,593,996 1,593,996

ผู้สอบบัญชีของ บริษัทสังกัดอื่นๆ 1,205,658 934,920 2,140,578

หน่วย:บาท รวมค่าสอบบัญชี (แยกตามบริษัท) 1,205,658 2,528,916 3,734,574

หมายเหตุ: ค่าบริการอื่นที่มิใช่การสอบบัญชีส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) ส่วนใหญ่เป็น การตรวจสอบบริษัทย่อยเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) การยื่นช�ำระภาษีและให้ค�ำปรึกษาทางด้านภาษี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


277

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย 6 คณะได้แก่ 1) คณะกรรมการ บริหาร (Executive Committee) 2) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) 3) คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee) 4) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) 5) คณะกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Committee) และ 6) คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)

1. คณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11.

จ�ำนวนครั้ง การเข้าร่วม การประชุม การประชุม รายชื่อกรรมการ ต�ำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร 11 10 นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ 11 11 กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการการลงทุน นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ กรรมการ/กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการบริหาร 11 11 ความเสี่ยง/กรรมการการลงทุน นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง กรรมการ/กรรมการบริหาร/กรรมการการลงทุน 11 11 นายกฤช ฟอลเล็ต กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ/ 11 11 กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ นายสันติ บางอ้อ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการสรรหาและก�ำหนด 11 11 ค่าตอบแทน/ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ/ กรรมการตรวจสอบ นางสาวอุษณา มหากิจศิริ กรรมการ/กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน/ 11 8 กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด กรรมการอิสระ/กรรมการสรรหาและก�ำหนด 11 7 เอ็ม. อัลนัสซารี ค่าตอบแทน นายอีฟ บาบิว กรรมการ 11 10 นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ 11 10 กรรมการบริหารความเสี่ยง นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ * กรรมการอิสระ 4 4

หมายเหตุ: * นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทนนายกานิม ซาอัด เอ็ม อัลซาอัด อัล-คูวารี กรรมการที่ลาออก

กรรมการผู้มีอ�ำนาจผูกพันบริษัทฯ กรรมการซึง่ มีอำ� นาจลงลายมือชือ่ แทนบริษทั ฯ ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิตบิ คุ คล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 คือ นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง หรือ นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ ลงนามร่วมกันกับ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ หรือ นางสาวอุษณา มหากิจศิริ รวมเป็นสองคนและประทับตราบริษัท

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


278

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

กรรมการของบริษทั ย่อยทีเ่ ป็นธุรกิจหลัก ได้แก่ บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ สิงคโปร์ พีทอี ี แอลทีดี บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท บาคองโค จ�ำกัด มีดังนี้ ก) บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

รายชื่อกรรมการ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ นางสาวอุษณา มหากิจศิริ นายเอียน คลิฟฟอร์ด แคลกซ์ตั้น นายซิกมันด์ สตรอม* นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ** นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง** นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา** นายลี เวย์ ชุง นายตัน คิง ชาง

ต�ำแหน่ง กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการตัวแทน

การเข้าร่วม จ�ำนวนครั้ง การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ 11 11 11 11 11 11 7 7 11 11 -

หมายเหตุ: * นายซิกมันด์ สตรอม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 ** นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ และนายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่ วันที่ 28 ธันวาคม 2558

ข) บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

การเข้าร่วม จ�ำนวนครั้ง การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ รายชื่อกรรมการ ต�ำแหน่ง นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร 12 11 นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองประธานกรรมการบริหาร/ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร 12 11 นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ กรรมการบริหาร 12 12 นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง กรรมการ 12 12 นายโต๊ะ เวิน เคียง โจอะคิม กรรมการอิสระ 12 11 นายอึง เชอ ยาน กรรมการอิสระ 12 12 นายเจน โจเซฟ สโกรูปา กรรมการอิสระ 12 9

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


279

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

ค) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) ที่ รายชื่อกรรมการ 1. พลต�ำรวจเอก ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 4. นายเอกวัจน์ อมรวิวัฒน์ 5. นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล 6. พลต�ำรวจโท ค�ำรบ ปัญญาแก้ว 7. นายธราธร วงศ์ประศาสตร์ 8. นายวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์*

ประธานกรรมการ

ต�ำแหน่ง

รองประธานกรรมการบริษัท/กรรมการบริหาร กรรมการ/กรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน/ กรรมการบริหาร กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ประธาน สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ

จ�ำนวนครั้ง การเข้าร่วม การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ 9 9 9 9

5 9

9 9

9 8

9 9

6 5

5

5

หมายเหตุ: * นายวิชาย ชืน่ สุขสวัสดิ์ ได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการบริษทั และกรรมการผูจ้ ดั การ เมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 แทนนายสมพร จิตเป็นธม ที่ลาออก

กรรมการที่ลาออกในระหว่างรอบปีบัญชี 2558 ที่ รายชื่อกรรมการ 1. นายสมพร จิตเป็นธม*

ต�ำแหน่ง กรรมการ/รักษาการกรรมการผู้จัดการ

จ�ำนวนครั้ง การเข้าร่วม การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ 4 3

หมายเหตุ: * นายสมพร จิตเป็นธม ลาออกจากการเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 และนายวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการแทนนายสมพร จิตเป็นธม

ง) บริษัท บาคองโค จ�ำกัด ที่ รายชื่อกรรมการ 1. นายซิกมันต์ สตรอม 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ *

ต�ำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท กรรมการ กรรมการ

จ�ำนวนครั้ง การเข้าร่วม การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ 5 5 5 5 4 4

หมายเหตุ: * นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 แทนนายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ กรรมการที่ลาออก เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


280

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

กรรมการที่ลาออกในระหว่างรอบปีบัญชี 2558 ที่ รายชื่อกรรมการ 1. นายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ *

จ�ำนวนครั้ง การเข้าร่วม การประชุม การประชุม คณะกรรมการ คณะกรรมการ 1 1

ต�ำแหน่ง กรรมการ

หมายเหตุ: * นายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ ลาออกจากการเป็นกรรมการเมือ่ วันที่ 20 มกราคม 2558 และนายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ ได้รบั การแต่งตัง้ เป็น กรรมการแทนนายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์

2. ผู้บริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

รายชื่อผู้บริหาร นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา /1 นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี /2 นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด /3 นายซิกมันด์ สตรอม /4 นางสาวอุไร ปลื้มส�ำราญ /5

ต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ – ชิปปิ้งและโลจิสติกส์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและการก�ำกับดูแลกิจการ

หมายเหตุ: /1 นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา ได้รบั แต่งตัง้ เป็นผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส และประธานเจ้าหน้าทีก่ ารเงิน เมือ่ วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 /2 นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี ได้รบั แต่งตัง้ เป็นผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส และประธานกลุม่ อาหารและเครือ่ งดืม่ เมือ่ วันที่ 1 สิงหาคม 2558 /3 นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิดได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน & กลยุทธ์ และบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2559 /4 นายซิกมันด์ สตรอม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ – ชิปปิ้งและโลจิสติกส์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 /5 นางสาวอุไร ปลื้มส�ำราญ ลาออกจากการเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและก�ำกับดูแลกิจการ มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เนื่องด้วยเกษียณอายุ

ผู้บริหารที่ลาออกในระหว่างรอบปีบัญชี 2558 ที่

รายชื่อผู้บริหาร

1. นายชาตรี อัครจรัลญา /1

ต�ำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

หมายเหตุ: /1นายชาตรี อัครจรัลญา ลาออกจากการเป็นผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และประธานกลุม่ อาหารและเครือ่ งดืม่ มีผลตัง้ แต่วนั ที่ 1 กรกฎาคม 2558

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


281

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

ผูบ้ ริหารของบริษทั ย่อยทีเ่ ป็นธุรกิจหลัก ได้แก่ บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ สิงคโปร์ พีทอี ี แอลทีดี บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) มีดังนี้ ก) บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

รายชื่อผู้บริหาร นายเอียน คลิฟฟอร์ด แคลกซ์ตั้น นายไมเคิล มาร์ค แอนเดอร์สัน/1 นายมิเคล โบ Ms. Aikaterini Kanellopoulou /2 นายทอนนี่ พรีเบ็น แฮนส์ซัน /3 นายสติค อัลเบิร์ต เฮ็นริคเซ็น /4

ต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายพาณิชย์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายกฎหมายและสินไหมทดแทน หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการเชิงพาณิชย์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายเช่าเรือ

หมายเหตุ: /1 นายไมเคิล มาร์ค แอนเดอร์สัน ลาออกจากการเป็นผู้บริหาร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 /2 Ms. Aikaterini Kanellopoulou ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทั่วไปฝ่ายกฎหมายและสินไหมทดแทน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 /3 นายทอนนี่ พรีเบ็น แฮนส์ซันได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 /4 นายสติค อัลเบิร์ต เฮ็นริคเซ็นได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทั่วไปฝ่ายเช่าเรือ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 * ฝ่ายบริหารกองเรือและฝ่ายบัญชีด�ำเนินการโดยบริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จ�ำกัด

ข) บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

รายชื่อผู้บริหาร นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ นายพอล ไวลีย์ นายนีล โฮวี นายปีเตอร์ ริคเคิลไมเออร์/1 นายคฑารัฐ สุขแสวง นายเจฟฟรีย์ อัลเลน บรีล/2 นายวิลเลี่ยม แม็คโดนัลด์/3

ต�ำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร/ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการบริหาร เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส Group Regional Director, Western Hemisphere Group Regional Director, Eastern Hemisphere ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน Operations Manager, Mermaid Drilling Group Regional Director, Eastern Hemisphere

หมายเหตุ: /1 นายปีเตอร์ ริคเคิลไมเออร์ ลาออกจากการเป็นผู้บริหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 /2 นายเจฟฟรี่ย์ อัลเลน บรีล ลาออกจากการเป็นผู้บริหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 /3 นายวิลเลี่ยม แม็คโดนัลด์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558

ค) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) ที่ 1. 2. 3. 4.

รายชื่อผู้บริหาร นายวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์/1 นายพรเทพ เลิศวรธรรรม/2 นายตัน เต้า ซง/3 นางสาวนวลจันทร์ วศินานุรักษ์ /4

ต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ/รักษาการรองกรรมการผู้จัดการ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ผู้อ�ำนวยการอาวุโสสายงานธุรกิจถ่านหินและพลังงาน ผู้อ�ำนวยการอาวุโสสายงานการเงินและการบริหาร

หมายเหตุ: /1 นายวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 /2 นายพรเทพ เลิศวรธรรม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่การเงิน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 /3 นายตัน เต้าซง ลาออกจากการเป็นผู้อ�ำนวยการอาวุโสสายงานธุรกิจถ่านหินและพลังงาน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 /4 นางสาวนวลจันทร์ วศินานุรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อ�ำนวยการอาวุโสสายงานการเงินและการบริหาร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


282

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

ง) บริษัท บาคองโค จ�ำกัด ที่ 1. 2. 3. 4. 5.

รายชื่อผู้บริหาร นาย Pierre Siquet นาย Didier Pinguet นาย Ho Ngoc Chau นาย Nguyen Dang Cat นาย Ngo Xuan Giang

ต�ำแหน่ง

General Director Deputy General Director, Commercial Director Financial and Administrative Director Plant Manager Hai Phong Office Manager

โครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการ

คณะกรรมการก�ำกับ ดูแลกิจการ คณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง เลขานุการบริษัทฯ

คณะกรรมการการลงทุน

คณะกรรมการบริหาร

ส�ำนักประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร

กรรมการผู้จัดการใหญ่และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้จัดการใหญ่อาวุโส และประธานเจ้า และประธานกลุ่ม หน้าที่การเงิน อาหารและเครื่องดื่ม

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน

คณะกรรมการตรวจสอบ

แผนกตรวจสอบภายใน

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่-ชิปปิ้ง และโลจิสติกส์

ผู้ช่วยกรรมกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหาร ความเสี่ยงและ ก�ำกับดูแลกิจการ

สายงานทรัพยากร บุคคล

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

สายงานสื่อสาร องค์กร


283

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

3. เลขานุการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้ง นางสาวมัณฑนี สุรกาญจน์กุล เป็นเลขานุการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 โดยก�ำหนด ขอบเขตหน้าที่ตามรายงานก�ำกับดูแลกิจการหัวข้อ เลขานุการบริษัทและกรรมการชุดย่อย

4. ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร 4.1 บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน)

ค่าตอบแทนคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และผู้บริหาร ค่าตอบแทนของคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการที่มิใช่เป็นกรรมการบริหารจะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนและค่าเบี้ยประชุม ประธานกรรมการจะได้รบั ค่าเบีย้ ประชุมเป็นเงินจ�ำนวน 1.20 เท่า ของกรรมการทีม่ ใิ ช่เป็นผูบ้ ริหาร และคณะกรรมการชุดย่อยอืน่ ๆ กรรมการที่พ�ำนักนอกประเทศไทยจะได้รับเบี้ยเดินทาง เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการหรือ คณะกรรมการชุดย่อย กรรมการที่เป็นผู้บริหารจะไม่ได้รับค่าตอบแทนรายเดือนหรือค่าตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ ค่าตอบแทนในรูปของเงินรางวัลประจ�ำปี (โบนัส) จะจ่ายเพิ่มเติมให้แก่กรรมการต่อเมื่อผลการด�ำเนินงานบรรลุถึงตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ตามนโยบายการจ่ายเงินรางวัลประจ�ำปี (โบนัส) ของกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เป็นเงินสด (เงินเดือน) โบนัส และค่าตอบแทนอื่นๆ ประกอบ ด้วย กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ และเงินประกันสังคม 

 ว

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


284

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

ค่าตอบแทนที่เป็นเงินสด ค่าตอบแทนของกรรมการและกรรมการชุดย่อย ตามมติที่ประชุมสามัญประจ�ำปีผู้ถือหุ้นปีครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รับทราบการจ่าย ค่าตอบแทนส�ำหรับกรรมการและกรรมการชุดย่อย ส�ำหรับปีปฏิทิน 2558 มีรายละเอียดดังนี้ ค่าตอบแทนกรรมการและกรรมการชุดย่อย ส�ำหรับปีปฏิทิน 2558 คณะกรรมการ กรรมการที่มิใช่เป็น กรรมการบริหาร

คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน คณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ ก�ำกับดูแลกิจการ

ประเภทค่าตอบแทนกรรมการ อัตราค่าตอบแทนกรรมการ ค่าตอบแทนรายเดือน 150,000 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 35,000 บาทส�ำหรับกรรมการที่มิใช่เป็นกรรมการบริหาร ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง 54,000 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 45,000 บาทส�ำหรับกรรมการที่มิใช่เป็นกรรมการบริหาร ค่าเบี้ยเดินทางส�ำหรับกรรมการ จากเอเชีย: 500 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ที่พ�ำนักนอกประเทศไทย จากยุโรป/อเมริกา/ทวีปอื่นๆ : 1,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน โบนัส การจ่ายค่าตอบแทนเพิม่ เติมให้แก่กรรมการ ในรูปของเงินรางวัลประจ�ำ ปี (โบนัส) โดยจะจ่ายค่าตอบแทนกรรมการในรูปของเงินรางวัลประจ�ำ ปีให้แก่กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 1 ของก�ำไร สุทธิของงบการเงินรวมของบริษัทฯ (หลังหักก�ำไร/ขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง) ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ จะก�ำหนดเงินรางวัลประจ�ำปีให้แก่ กรรมการตามที่เหมาะสม (โดยเป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินรางวัล ประจ�ำปีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น) ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง 48,000 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 40,000 บาทส�ำหรับกรรมการ ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง

36,000 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 30,000 บาทส�ำหรับกรรมการ

ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง

21,600 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 18,000 บาทส�ำหรับกรรมการ 21,600 บาทส�ำหรับประธานกรรมการ 18,000 บาทส�ำหรับกรรมการ

ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


หน่วย : บาท

315,000 450,000 450,000 180,000 4,735,000

280,000 896,000

2,340,000

180,000 642,000

144,000

1,437,000 1,392,000 54,000 1,726,000 446,452 140,400 19,513,852

13,000 29,000 42,000

เบี้ยประชุมกรรมการส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 เบี้ยเดินทาง คณะกรรมการ รวม (ส�ำหรับกรรมการ สรรหา คณะกรรมการ คณะกรรมการ (ค่าตอบแทน ชาวต่างชาติ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ และก�ำหนด ก�ำกับดูแล บริหาร มาตรฐานและ เท่านั้น) (ดอลลาร์ บริษัทฯ ตรวจสอบ บริหาร ค่าตอบแทน กิจการ ความเสี่ยง เบีย้ ประชุม) สหรัฐอเมริกา) 1,000,000 - 1,300,000 5,144,000 495,000 520,000 86,400 2,043,400 495,000 520,000 1,957,000 495,000 336,000 51,000 1,824,000 495,000 280,000 252,000 60,000 2,029,000 360,000 210,000 33,000 1,545,000 -

หมายเหตุ : *นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทนนายกานิม ซาอัด เอ็ม อัลซาอัด อัล-คูวารี กรรมการที่ลาออก

ชื่อ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 4. นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง 5. นายกฤช ฟอลเล็ต 6. นายสันติ บางอ้อ 7. นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 8. นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี 420,000 522,000 9. นายอีฟ บาบิว 420,000 522,000 10. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 420,000 522,000 11. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์* 266,452 รวม 5,426,452 5,220,000

ค่าตอบแทน มาตรฐาน โบนัส 1,800,000 1,044,000 420,000 522,000 420,000 522,000 420,000 522,000 420,000 522,000 420,000 522,000

คณะกรรมการบริษัทฯ

ค่าตอบแทนและเงินรางวัลประจ�ำปี (โบนัส) ของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยของ TTA ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

285

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


286

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

ค่าตอบแทนของผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของผู้บริหารของ TTA ในรูปของเงินเดือนและโบนัส และค่าตอบแทนอื่น มีดังนี้ ส�ำหรับปีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2558 จ�ำนวน ผู้บริหาร จ�ำนวนเงิน 7 ราย 41.274 ล้านบาท 7 ราย 2.620 ล้านบาท

/1

ค่าตอบแทน เงินเดือนและโบนัสรวม ค่าตอบแทนอื่น (รวมเงินประกันสังคมและเงิน สมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ)

ส�ำหรับงวดสามเดือน สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2557 ส�ำหรับปีสิ้นสุด 30 ก.ย. 2557 จ�ำนวน จ�ำนวน ผู้บริหาร จ�ำนวนเงิน ผู้บริหาร จ�ำนวนเงิน 5 ราย 9.296 ล้านบาท 10 ราย 56.32 ล้านบาท 5 ราย 0.808 ล้านบาท 10 ราย 6.45 ล้านบาท

หมายเหตุ: /1จ�ำนวนผู้บริหาร ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 7 ราย สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เหลือผู้บริหาร 6 ราย

ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทย่อยหลักที่เป็นธุรกิจหลักได้แก่ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท บาคองโค จ�ำกัด มีดังนี้

4.2 บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ก) ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการของบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี 1. ข) ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารจ�ำนวน 3 ราย ส�ำหรับรอบปี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือน และโบนัส คิดเป็นเงินรวม 1,085,346.48 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 : 530,755 ดอลลาร์สิงคโปร์) (2) ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ไม่มี ค่าตอบแทนอื่นของผู้บริหาร ไม่มี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


287

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

4.3 บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน)

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ก) ค่าตอบแทนกรรมการของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 7 ราย ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้ ต�่ำกว่า 100,000 ชื่อ ดอลลาร์สิงคโปร์ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 4. นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง 5. นายโต๊ะ เวินเคียง โจอะคิม 6. นายอึง เชอ ยาน 7. นายเจน โจเซฟ สโครูปา 

100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ถึง 200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 

  

-

200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ถึง ถึง 300,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 400,000 ดอลลาร์สิงคโปร์  -

ข) ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 6 ราย ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้ ชื่อ 1. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 2. นายพอล ไวลีย์ 3. นายนีล โฮวี 4. นายปีเตอร์ ริคเคิลไมเออร์ 5. นายคฑารัฐ สุขแสวง 6. นายเจฟฟรีย์ อัลเลน บรีล

ต�่ำกว่า 250,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ -

250,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และสูงกว่า    

-

-

(2) ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ไม่มี ค่าตอบแทนอื่นของผู้บริหาร เงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพโดยบริษัทได้สมทบในอัตราส่วนร้อยละ 7 ของเงินเดือน โดยบริษัทได้จ่ายเงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพส�ำหรับผู้บริหารจ�ำนวน 3 ราย จ�ำนวน 1,775,854 บาท ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (งวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 : 42,000 บาท)

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


288

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

4.4 บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน)

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (ก) ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2558 ของบริษทั ยูนคิ ไมนิง่ เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด (มหาชน) ได้พจิ ารณาค่าตอบแทนของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย โดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับประเภท ขนาด และความเกี่ยวโยงกับผลการด�ำเนินงาน รวมถึง ความเหมาะสมกับการท�ำหน้าที่และความรับผิดชอบ และได้อนุมัติค่าตอบแทนคณะกรรมการในปี 2558 ให้เหมือนกับปี 2557 เพื่อให้เหมาะสมกับผลการด�ำเนินงานของบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้  ค่าตอบแทนประธานกรรมการและกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้บริหาร เดือนละ 20,000 บาทต่อคน และค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ที่ไม่เป็นผู้บริหาร 15,000 บาทต่อครั้งต่อคน  ค่าเบี้ยประชุมกรรมการตรวจสอบ 15,000 บาทต่อครั้งต่อคน  ค่าเบี้ยประชุมกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน 7,500 บาทต่อครั้งต่อคน  ประธานของแต่ละคณะกรรมการจะได้รับค่าเบี้ยประชุม 1.2 เท่าของค่าเบี้ยประชุมแต่ละครั้ง  ค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวจะจ่ายเฉพาะผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น ค่าตอบแทนกรรมการของบริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวน 8 ราย ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้

ชื่อ – นามสกุล 1. พล.ต.อ. ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ 3. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 4. นายเอกวัจน์ อมรวิวัฒน์ 5. นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล 6. พล.ต.ท. ค�ำรบ ปัญญาแก้ว 7. นายธราธร วงศ์ประศาสตร์ 8. นายวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์

เบี้ยประชุมกรรมการส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการ ค่าตอบแทน คณะกรรมการ คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนด รวมเป็นเงิน มาตรฐาน บริษัท ตรวจสอบ ค่าตอบแทน (บาท) ไม่รับค่าตอบแทน เนื่องจากได้รับเป็นเงินเดือน 240,000 90,000 330,000 240,000 120,000 22,500 382,500 240,000 135,000 108,000 483,000 240,000 105,000 90,000 27,500 462,000 240,000 105,000 75,000 420,000 240,000 75,000 15,000 330,000 ไม่รับค่าตอบแทน เนื่องจากได้รับเป็นเงินเดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,407,500

ค่าตอบแทนและโบนัสส�ำหรับกรรมการที่ได้ลาออกในช่วงรอบปีบัญชี 2558 ชื่อ 1. นายสมพร จิตเป็นธม

คณะกรรมการบริษัทฯ เบี้ยประชุม รวม (ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนมาตรฐาน คณะกรรมการบริษัทฯ มาตรฐานและเบี้ยประชุม) ไม่รับค่าตอบแทน เนื่องจากได้รับเป็นเงินเดือน

หมายเหตุ: นายสมพร จิตเป็นธม ลาออกจากการเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


289

โ ค ร งส ร ้ า งก า ร จั ด กา ร

ข) ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงินของผูบ้ ริหารของบริษทั ยูนคิ ไมนิง่ เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด (มหาชน) ในรูปของเงินเดือนและโบนัส มีดงั นี้

เงินเดือนรวม โบนัสรวม รวม

ส�ำหรับปีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2558/1 จ�ำนวนราย จ�ำนวนเงิน 3 5.47 ล้านบาท 3 5.47 ล้านบาท

ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2557/2 จ�ำนวนราย จ�ำนวนเงิน 2 1.02 ล้านบาท 2 1.02 ล้านบาท

หมายเหตุ: /1 ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ได้แก่ 1. คุณวิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ 2. คุณสถาพร ตากด�ำรงค์กุล 3. คุณตัน เต้า ซง /2 ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ได้แก่ 1. คุณสถาพร ตากด�ำรงค์กุล 2. คุณตัน เต้า ซง

(2) ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ไม่มี ค่าตอบแทนอื่นของผู้บริหาร เงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) ได้สมทบเงินเข้ากองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้บริหารของบริษัทดังนี้ ส�ำหรับปีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2558 จ�ำนวนราย จ�ำนวนเงิน เงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ

1

0.111 ล้านบาท

ส�ำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2557 จ�ำนวนราย จ�ำนวนเงิน 1

0.027 ล้านบาท

4.5 บริษัท บาคองโค จ�ำกัด

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ก) ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการของบริษัท บาคองโค จ�ำกัด ข) ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งประกอบด้วยเงินเดือนและโบนัส คิดเป็นเงินรวม 11,904,613 บาท (งวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557: 2,614,751 บาท) (2) ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ไม่มี ค่าตอบแทนอื่นของผู้บริหาร ไม่มี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


290

โคร งสร้ า งการ จั ด การ

5. บุคลากร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 TTA มีพนักงานทั้งสิ้น 84 คน ประกอบด้วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ 6 คน และพนักงานอีก 78 คน โดยมีพนักงานของแต่ละสายงานดังนี้ สายงานหลัก

1. สายงานบัญชีและการเงิน 2. สายงานทรัพยากรบุคคล 3. สายงานสนับสนุนส่วนกลาง (Group Supports) และส�ำนักงานประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO’s Office) 4. สายงานกลยุทธ์ (Group Business Development) 5. สายงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน รวม จ�ำนวนพนักงานตามสายธุรกิจหลัก

กลุ่มธุรกิจขนส่ง กลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

จ�ำนวนพนักงาน (เฉพาะสังกัด TTA) 16 4 47 10 7 84 จ�ำนวนพนักงาน 90 323 733

รวมจ�ำนวนพนักงานของ TTA และบริษัทย่อย เท่ากับ 1,230 คน ทั้งนี้ไม่รวมคนประจ�ำเรือ  ผลตอบแทนรวมของพนักงาน TTA และบริษัทย่อย ไม่รวมผู้บริหารและกรรมการบริหารของ TTA เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เป็นต้น ไม่รวมคนประจ�ำเรือ ส�ำหรับรอบปีบัญชี 2558 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นเงินจ�ำนวน 1,248,484,807 บาท (งวด สามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557: 184,635,713 บาท)  TTA ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพแก่พนักงาน รวมเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ไม่รวมคนประจ�ำเรือ) ส�ำหรับรอบปี บัญชี 2558 สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นจ�ำนวน 27,351,663 บาท (งวดสามเดือนสิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557: 17,727,381 บาท)  แผนพัฒนาพนักงาน อยู่ในหัวข้อ รายงานว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ 

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


291

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

ประวัติคณะกรรมการ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (อายุ 63 ปี) คุณวุฒิการศึกษา

ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี 2555  ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2554  ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 31 มกราคม 2555 ประธานคณะกรรมการ/ประธานกรรมการ บริหาร

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั ฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 0.01

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2551

ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ปี 2551 ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2550  ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (M.B.A.) Utah State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2520  ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2518 ประวัติการอบรม  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) สถาบันวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 3 ปี 2556  หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 28/2555  หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 26/2547  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 3 ปี 2549  หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 6 ปี 2546  Certificate in Advanced Management Program (AMP), Harvard Business School รุ่นที่ 155 ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2541  หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ 4010) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 10 ปี 2541 ประสบการณ์การท�ำงาน 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ไทยคม จ�ำกัด (มหาชน) 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ/กรรมการบริหารความเสีย่ งองค์กร บริษทั ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 2555 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) 2554 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) 2554 - ปัจจุบนั : กรรมการอิสระ/ประธานคณะกรรมการสรรหาและก�ำกับดูแลกิจการ/ กรรมการพัฒนาความเป็นผูน้ ำ� และก�ำหนดค่าตอบแทน/กรรมการทบทวน กลยุทธ์และโครงสร้างองค์กร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) 2557 - ปัจจุบัน : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2557 - ปัจจุบัน : รองกรรมาธิการพลังงานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการพลังงาน สมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ 2554 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) 2554 - 2558 : กรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 2550 - 2554 : กรรมการ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จ�ำกัด (มหาชน) 2549 - 2556 : ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร/กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน) 2548 - 2554 : ประธานกรรมการ/กรรมการ บริษัท ปตท.เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) 2546 - 2554 : กรรมการ/ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 2543 - 2554 : ประธานกรรมการ/กรรมการ บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) 2549 - 2551 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี  

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


292

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (อายุ 37 ปี)

คุณวุฒิการศึกษา ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2547 กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน  ปริญญาตรี สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยซัฟฟอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2544 เจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการบริหาร/ ประธานกรรมการการลงทุน ประวัติการอบรม วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ :  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD) รุ่นที่ 53/2548 31 มกราคม 2555  หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษท ั ไทย (IOD) รุ่นที่ 30/2547 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 17 ปี 2556 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 22.02 ประสบการณ์การท�ำงาน มิ.ย. 2556 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ (รวมจ�ำนวนหุ้นที่ถือผ่านคัสโตเดียนแล้ว) บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) มิ.ย. 2555 - ปัจจุบัน : ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) มิ.ย. 2555 - ปัจจุบัน : รองประธานกรรมการ บริษทั ยูนคิ ไมนิง่ เซอร์วสิ เซส จ�ำกัด (มหาชน) ก.พ. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป จ�ำกัด ส.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท พรีโม ชิปปิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) เม.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี เม.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ มอริเชียส จ�ำกัด มี.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ชิดลม มารีน เซอร์วิสเซส แอนด์ ซัพพลายส์ จ�ำกัด ก.พ. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด ก.พ. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติคส์ จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด เอ็มทีเอ็น พีทีอี แอลทีดี (เดิมชื่อ บริษัท เอ็มทีอาร์-5 (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี) พ.ย. 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี พ.ย. 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท บาคองโค จ�ำกัด พ.ย. 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน (อินโดไชน่า) เอส.เอ. ก.พ. 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท พีเอ็ม ควอลิตี้ ฟูด แอนด์ เบฟเวอเรจ จ�ำกัด 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด (เดิมชื่อ บริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จ�ำกัด) 2555 - ปัจจุบนั : ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ�ำกัด ก.ค. 2555 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี ก.ย. 2554 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โพสโค-ไทยน๊อคซ์ จ�ำกัด (มหาชน) เม.ย. 2554 - ปัจจุบัน : รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยฟิล์ม อินดัสตรี่ จ�ำกัด (มหาชน) 2548 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด 2541 - ปัจจุบัน : กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลควูด คันทรีคลับ จ�ำกัด 2541 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เลควูด แลนด์ จ�ำกัด ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ควอลลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ จ�ำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : พี่ชายของนางสาวอุษณา มหากิจศิริ 

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


293

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ (อายุ 56 ปี) คุณวุฒิการศึกษา กรรมการ/กรรมการบริหาร/ประธาน กรรมการบริหารความเสี่ยง/กรรมการ การลงทุน

วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

 ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับ Kellogg Graduate School of Management of Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการอบรม  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD) รุ่นที่ 165/2555 ประสบการณ์การท�ำงาน  มิ.ย. 2555 - ปัจจุบัน : กรรมการ และ กรรมการบริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) มิ.ย. 2555 - ปัจจุบัน : กรรมการ และ กรรมการบริหาร บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) ธ.ค. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี ม.ค. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท บาคองโค จ�ำกัด ก.พ. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จ�ำกัด ก.พ. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิ้ปปิ้ง แอนด์ โลจิสติคส์ จ�ำกัด ส.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) ม.ค. 2555 - ปัจจุบัน : ผู้อ�ำนวยการบริหารอาวุโส บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด 2548 - 2554 : ผู้อ�ำนวยการบริหารอาวุโส สายงานการเงิน บริษัท แอดวานซ์ ไฟแนนซ์ จ�ำกัด (มหาชน)

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง (อายุ 75 ปี) คุณวุฒิการศึกษา กรรมการ/กรรมการบริหาร/ กรรมการการลงทุน

ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาโลหะวิทยา มหาวิทยาลัยออร์เซย์ ประเทศฝรัง่ เศส  ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า 

วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : ประวัติการอบรม  หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ 30 มกราคม 2557 บริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 74/2551 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ประสบการณ์การท�ำงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ม.ค. 2556 - ปัจจุบนั : กรรมการ/กรรมการบริหาร บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) ตนเอง : ไม่มี 2548 - 2553 : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยน็อคซ์ เสตนเลส จ�ำกัด (มหาชน) คู่สมรส : 0.0006 31 ธ.ค. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (อินเตอร์เนชั่นแนล) รวม : 0.0006 จ�ำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ซับเทค จ�ำกัด) 28 ธ.ค. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี มิ.ย. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จ�ำกัด มิ.ย. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท Seascape Surveys (Thailand) จ�ำกัด พ.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด เอ็มทีเอ็น พีทีอี แอลทีดี (เดิมชื่อ บริษัท เอ็มทีอาร์-5 (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี) ก.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เมอร์เมด ดริลลิ่งค์ จ�ำกัด ก.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เอ็มทีอาร์-1 จ�ำกัด ก.ย. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เอ็มทีอาร์-2 จ�ำกัด 2541 - 2547 : ประธานหอการค้าฝรั่งเศส-ไทย

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


294

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายกฤช ฟอลเล็ต (อายุ 66 ปี)

กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการ ตรวจสอบ/กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ

คุณวุฒิการศึกษา

ปริญญาโท พาณิชย์ศาสตร์ มหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2531 ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2512

 

วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ : ประวัติการอบรม  หลักสูตร Audit Committee Seminar - Get Ready for the Year End สภาวิชาชีพใน 12 เมษายน 2555 พระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ  หลักสูตร Diploma Examination (EXAM) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : (IOD) รุ่นที่ 32/2555 ไม่มี  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 149/2554  Advance Management Program, Harvard Business School ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2543

ประสบการณ์การท�ำงาน 2556 - ปัจจุบนั : กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษทั สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิง้ จ�ำกัด (มหาชน) 2555 - ปัจจุบนั : กรรมการอิสระและประธานกรรมการบริหารความเสีย่ ง บริษทั ไทยวาโก้ จ�ำกัด (มหาชน) 2554 - ปัจจุบนั : กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษทั ธนูลกั ษณ์ จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - ธ.ค. 2558 : กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษทั พร๊อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - ปัจจุบนั : กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนครพนม 2552 - 2556 : ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จ�ำกัด 2551 - 2552 : ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายปฏิบัติการ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2547 - 2551 : ผูอ้ ำ� นวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ธนาคารแห่งประเทศไทย 2545 - 2547 : ผู้อ�ำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบ 1 สายก�ำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย 2535 - 2538 : ผู้อ�ำนวยการฝ่ายตรวจสอบตลาดทุน ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


295

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายเชิดพงษ์ สิรวิ ชิ ช์ (อายุ 69 ปี)

กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการบริหารความเสี่ยง

คุณวุฒิการศึกษา  M.A. Economics, มหาวิทยาลัย Georgetown ประเทศสหรัฐอเมริกา  เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ : ประวัติการอบรม  หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) 30 มกราคม 2556 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 27/2552 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 104/2551 ไม่มี  หลักสูตร Finance for Non- Finance Directors (FND) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 13/2547  หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 10/2547  หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 8/2547  หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 40  หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส�ำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5  หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (นบส.1) รุ่นที่ 13/2536  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 5

ประสบการณ์การท�ำงาน พ.ค. 2552 - ปัจจุบัน : เม.ย. 2552 - ปัจจุบัน : 2553 - ปัจจุบัน : 2552 - ปัจจุบัน : 2555 - ปัจจุบัน : 2554 - ปัจจุบัน : 2552 - ปัจจุบัน : พ.ย. 2554 - ต.ค. 2557 : 2549 - 2552 : 2548 - 2550 : 2547 - 2551 : 2547 - 2551 : 2546 - 2550 : 2546 - 2550 : 2546 - 2547 2545 - 2549

ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท โซลาร์ตรอน จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท เงินทุนแอ๊ดวานซ์ จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จ�ำกัด ประธานกรรมการ บริษัท วิทัยไบโอเพาเวอร์ จ�ำกัด กรรมการ บริษัท เอเวอร์กรีน พลัส จ�ำกัด ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ไออาร์พีซี จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ/กรรมการสรรหา บริษัท ปตท. เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท โรงกลั่นน�้ำมันระยอง จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตการไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) : ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย : ปลัดกระทรวงพลังงาน

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


296

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายสันติ บางอ้อ (อายุ 69 ปี)

กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน/ประธาน กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ/ กรรมการตรวจสอบ

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเท็กซัส เทค สหรัฐอเมริกา ปี 2523  ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต (การคลัง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2511

ประวัติการอบรม  หลักสูตร Audit Committee Seminar - Get Ready for the Year End สภาวิชาชีพใน วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ : พระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2558 31 มกราคม 2555  หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 42/2556 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ  หลักสูตร Monitoring Fraud Risk Management (MFM) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : บริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 9/2556 ไม่มี  หลักสูตร Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (MIR) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 14/2556  หลักสูตร Monitoring the Internal Audit Function (MIA) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 14/2556  หลักสูตร Monitoring the Quality of Financial Reporting (MFR) สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 17/2556  หลักสูตร Role of the Compensation Committee Program (RCC) สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 16/2556  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD) รุ่นที่ 12/2544  ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 38 ปี 2538  ประกาศนียบัตร สาขาการพัฒนา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร ปี 2518

ประสบการณ์การท�ำงาน 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการก�ำกับดูแลกิจการ บริษัท ประชาอาภรณ์ จ�ำกัด (มหาชน) 2553 - ปัจจุบัน : กรรมการตรวจสอบ บริษัท ประชาอาภรณ์ จ�ำกัด (มหาชน) 2555 - ปัจจุบัน : อนุ ก รรมการจั ด ท� ำ บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงและประเมิ น ผลการด� ำ เนิ น งาน รัฐวิสาหกิจ สาขาสือ่ สารและพลังงานของคณะกรรมการประเมินผลงาน รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง 2549 - 2552 : อธิการบดี มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดล�ำปาง 2544 - 2545 : กรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2542 - 2544 : กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง 2540 - 2549 : รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2539 - 2542 : กรรมการ กองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


297

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นางสาวอุษณา มหากิจศิริ (อายุ 35 ปี) คุณวุฒิการศึกษา

 ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปี 2548 ซึง่ เป็นโครงการร่วมกับ Kellogg Graduate School of Management of Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ :  ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2545 31 มกราคม 2555 ประวัติการอบรม สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ  หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : บริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 30/2547 3.89 ประสบการณ์การท�ำงาน 2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ไทยฟิลม์อินดัสตรี่ จ�ำกัด (มหาชน) มี.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ชิดลม มารีน เซอร์วิสเซส แอนด์ ซัพพลายส์ จ�ำกัด ก.พ. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติคส์ จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี ม.ค. 2557 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี 2554 - ปัจจุบนั : ประธานเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยบริหารและปฏิบตั กิ าร บริษทั พีเอ็ม กรุป๊ จ�ำกัด 2553 - ปัจจุบัน : กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะเนสท์ พร็อพเพอร์ตี้ จ�ำกัด 2553 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ควอลลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ จ�ำกัด 2551 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จ�ำกัด 2549 - ปัจจุบัน : กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมาน์เท่น ครีก ดีเวลอปเม้นท์ จ�ำกัด 2541 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เลควูดคันทรี่คลับ จ�ำกัด 2541 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เลควูด แลนด์ จ�ำกัด

กรรมการ/กรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน/กรรมการก�ำกับดูแลกิจการ

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : น้องสาวของนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ และคู่สมรสของนายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี คุณวุฒิการศึกษา  สาขานิติศาสตร์ Emirates University ประวั ติการอบรม : กรรมการอิสระ/กรรมการสรรหาและ  ไม่มี ก�ำหนดค่าตอบแทน ประสบการณ์การท�ำงาน วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ : ปัจจุบัน : สมาชิก The National Consulting Council สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 30 มกราคม 2556 ปัจจุบัน : Assistant-Undersecretary in the Financial Department of สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปั จ จุ บ น ั : Director General of Pvt. & Official office of H.H Sheikh Mohammed ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : Bin Khalifa Bin Zayed Al Nahyan แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่มี ปัจจุบัน : รองประธาน Youth Hostel Society สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท The Emirates Insurance Company สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท The National Investor Company สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท Alwifaq Finance Company สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปัจจุบัน : ผู้จัดการทั่วไป Al Ain Equestrian, Shooting & Golf Club สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท Gulf Islamic Investment Company สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์

นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี (อายุ 45 ปี)

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


298

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ (อายุ 66 ปี) กรรมการอิสระ

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาเอก Industrial Engineering, Lamar University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2522  ปริญญาโท Industrial Engineering, Lamar University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2517  ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2513

วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ : ประวัติการอบรม 13 พฤษภาคม 2558  หลักสูตร Role of the Compensation Committee (RCC) สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 10/2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) :  หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) ไม่มี สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 42/2547  หลักสูตร Finance for Non-Finance Director Program (FND) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 9/2547  คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ (NCGC) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)  หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ. 4212) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 12  Stanford Executive Program, Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประสบการณ์การท�ำงาน 2555 - 2557 : ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ รีซอร์สเซส จ�ำกัด 2552 - 2555 : ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ รีซอร์สเซส จ�ำกัด 2551 - 2552 : ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและ ก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 2546 - 2550 : รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจส�ำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) 2543 - 2546 : รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ปฏิบัติงานในต�ำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


299

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ Harvard Business School ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2516 กรรมการ วันทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ฯ:  ปริญญาโท จาก Institut d’Administration des Entreprises de Paris ประเทศฝรั่งเศส ปี 2510 12 กรกฎาคม 2556  ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา Ecole Centrale de Paris ประเทศฝรั่งเศส ปี 2504 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ประวั ติการอบรม : ไม่มี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ประสบการณ์การท�ำงาน ไม่มี ปัจจุบัน : กรรมการบริหาร บริษัท Claranor ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน : กรรมการบริหาร บริษัท Lucibel ประเทศฝรั่งเศส 2546 - ปัจจุบัน : ประธานบริหาร บริษัท Elsa Consultant S.A. 2543 - 2547 : ประธานบริหาร บริษัท CPG Market S.A. 2539 - 2543 : ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท NESTLE ITALY 2536 - 2539 : ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท NESTLE FRANCE 2532 - 2535 : ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท SOPAD NESTLE ประเทศฝรั่งเศส 2531 - 2532 : ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท NESTLE THAILAND 2521 - 2524 : ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท NESTLE BELGIUM 2519 - 2521 : ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท NESTLE VENEZUELA

นายอีฟ บาบิว (อายุ 77 ปี)

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


300

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

ประวัติคณะผู้บริหาร นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (อายุ 37 ปี) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการบริหาร/ประธานกรรมการการลงทุน

ประวัติของ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ปรากฏอยู่ในหัวข้อ “รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการและผู้บริหาร”

วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร : 31 มกราคม 2555 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 22.02 (รวมจ�ำนวนหุน้ ทีถ่ อื ผ่านคัสโตเดียนแล้ว)

นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา (อายุ 51 ปี)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน/กรรมการบริหาร วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 13 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั ฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 0.0030 (ถือหุ้นผ่าน Thai NVDR)

คุณวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี สาขา Commerce (Honors), University of Delhi ประเทศอินเดีย  Fellow Chartered Accountant (FCA) ประวัติการอบรม  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 78/2549  หลักสูตร The Board’s Role in Mergers and Acquisition (M&A) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 1/2554 ประสบการณ์การท�ำงาน  ธ.ค. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษทั โทรีเซน ชิปปิง้ สิงคโปร์ พีทอี ี แอลทีดี  มิ.ย. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี  มิ.ย. 2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี  พ.ย. 2554 - มี.ค. 2558 : Executive Director & CFO, Jindal Stainless Limited Board’s Member, Jindal Stainless Limited  ส.ค. 2548 - ต.ค. 2554 : CFO and Acting Managing Director บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จ�ำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โพสโค-ไทยน๊อคซ์ จ�ำกัด (มหาชน))  ส.ค. 2546 - ส.ค. 2548 : Finance Director Asia, Dole Asia ประเทศฟิลิปปินส์  เม.ย. 2545 - ส.ค. 2546 : Asia Regional Treasurer, Dole Food Company ฮ่องกง  เม.ย. 2541 - เม.ย. 2545 : Finance Director and Controller, Dole Thailand Limited  ส.ค. 2539 - ก.พ. 2541 : Finance Director, Seagate Technology ประเทศไทย  ส.ค. 2531 - ส.ค. 2539 : ด�ำรงอีกหลากหลายต�ำแหน่งในระดับก้าวหน้าในประเทศอินเดียและในต่างประเทศ 

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

นายซิกมันต์ สตรอม (อายุ 59 ปี) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ - ชิปปิ้งและโลจิสติกส์ วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 6 พฤษภาคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : 0.0079

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาโท สาขา Computer Science, Finance/Administration, EDB Hoeyskolen ประเทศนอร์เวย์ ประวัติการอบรม  หลักสูตร Director Certification Program (DCP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 182/2556 ประสบการณ์การท�ำงาน  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ/กรรมการบริหาร/กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่า ตอบแทน บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน)  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติคส์ จ�ำกัด  2558 - ปัจจุบัน : บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จ�ำกัด  2558 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ปิโตรลิฟต์ จ�ำกัด  2557 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท โทรีเซน-วินามา เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด  2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท ชาร์จา พอร์ต เซอร์วิสเซส แอลแอลซี  2556 - 2557 : กรรมการ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด  2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย (สิงคโปร์) พีทีอี แอลทีดี  2556 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี  2553 - ปัจจุบน ั : กรรมการ Baria Joint Stock Company of Services for Import Export of Agro-Forestry Products and Fertilizers (“บาเรีย เซเรส”)  2555 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท โทรีเซน-วินามา โลจิสติกส์ จ�ำกัด  2552 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ บริษัท บาคองโค จ�ำกัด  2546 - ปัจจุบัน : กรรมการ บริษัท โทรีเซน (อินโดไชน่า) เอส.เอ.  2543 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการ The NORDIC Chamber of Commerce กรุงโฮจิมินห์ ประเทศ เวียดนาม ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร : ไม่มี

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


301

รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ คณะกรรมการและผู ้ บ ริ ห าร

นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี (อายุ 38 ปี)

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา  ปริญญาตรีด้านวิศวกรรมอุตสาหการและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยแมสซาจูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 1 มิถุนายน 2558

ประวัติการอบรม  หลักสูตร Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) รุ่นที่ 119/2552  Pacific Basin Economic Council Thailand (PBEC) - Director General 2545 - 2547

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและ ประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ตนเอง : ไม่มี คู่สมรส : 3.89 รวม : 3.89

ประสบการณ์การท�ำงาน  2556 - ปัจจุบัน : Chief Business Development Officer บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จ�ำกัด  2553 - ปัจจุบัน : CEO/Founder บริษัท มูเกนได จ�ำกัด  2550 - 2556 : Vice President: Business Development บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จ�ำกัด  2544 - 2547 : Marketing Analyst บริษัท กรีนสปอต จ�ำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผูบ้ ริหาร: คู่สมรสของนางสาวอุษณา มหากิจศิริ

นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด (อายุ 38 ปี) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน (ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน & กลยุทธ์ และบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559) วันที่ได้รับการแต่งตั้ง : 20 มกราคม 2558 สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 (ร้อยละ) : ไม่มี

คุณวุฒิการศึกษา  ปริญญาตรี สาขา Commerce & Management, Lincoln University ประเทศนิวซีแลนด์ ปี 2541 ประวัติการอบรม  Chartered Financial Analyst (CFA) charter holder with the CFA Institute  CPA Australia ประสบการณ์การท�ำงาน  2556 - 2557 : Senior Vice President, Maybank Kim Eng ประเทศสิงคโปร์  2548 - 2555 : Executive Director, Goldman Sachs ประเทศสิงคโปร์  2547 - 2548 : Vice President, ECM Libra ประเทศมาเลเซีย  2543 - 2547 : Analyst, HSBC Securities ประเทศมาเลเซีย  2541 - 2543 : Auditor, Ernst & Young ประเทศมาเลเซีย ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร: ไม่มี

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

เปลี่ยนแปลง ระหว่างปี 52,000 0 118,117,180 0 3,200 0 0 0 0 0 0 20,227,353 0 0 0 0 0 0 0 0 0 138,399,733

ณ 31 ธันวาคม ณ 31 ธันวาคม 2557 2558 10,000 0 0 0 23,490,645 23,490,645 0 0 1,000 1,000 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 4,228,148 4,228,148 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 27,729,793 27,719,793

เปลี่ยนแปลง ระหว่างปี (10,000) 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 (10,000)

จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิ # TTA-W4

หมายเหตุ: /1 จ�ำนวนหุ้นที่ถือ ณ 31 ธันวาคม 2558 รวมหุ้นที่ถือผ่านคัสโตเดียนแล้ว /2 นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทนนายกานิม ซาอัด เอ็ม อัลซาอัด อัล-คูวารี กรรมการที่ลาออก /3 TTA-W5 ออกและจัดสรรให้ในปี 2558

ณ 31 ธันวาคม ณ 31 ธันวาคม รายชื่อกรรมการ 2557 2558 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 130,000 182,000 คู่สมรส 0 0 2. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ /1 283,231,202 401,348,382 3. นายฌ็อง ปอล เทเวอแน็ง 0 0 คู่สมรส 8,000 11,200 4. นายเชีย วัน ฮัท โจเซฟ 0 0 คู่สมรส 0 0 5. นายกฤช ฟอลเล็ต 0 0 คู่สมรส 0 0 6. นายสันติ บางอ้อ 0 0 คู่สมรส 0 0 7. นางสาวอุษณา มหากิจศิริ 50,568,384 70,795,737 คู่สมรส 0 0 8. นายโมฮัมหมัด ราเชด อาหมัด เอ็ม. อัลนัสซารี 0 0 คู่สมรส 0 0 9. นายอีฟ บาบิว 0 0 คู่สมรส 0 0 10. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 0 0 คู่สมรส 0 0 11. นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์/2 0 0 คู่สมรส 0 0 รวม 333,937,586 472,337,319

จ�ำนวนหุ้น

การถือครองหลักทรัพย์ TTA โดยกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นดังนี้

การถือครองหลักทรัพย์โดยคณะกรรมการ ณ 31 ธันวาคม 2558 0 0 38,430,826 0 1,066 0 0 0 0 0 0 6,742,451 0 0 0 0 0 0 0 0 0 45,174,343

จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิ # TTA-W5 /3

รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของคณะกรรมการและผู้บริหาร

302 ร ายงาน การถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย ์ ข อ งคณ ะก ร ร ม ก าร และ ผู ้ บริ หาร


จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิ # TTA-W4 ณ 31 ธันวาคม ณ 31 ธันวาคม เปลี่ยนแปลง 2557 2558 ระหว่างปี 23,490,645 23,490,645 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 4,228,148 4,228,148 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 27,718,793 27,718,793 0 ณ 31 ธันวาคม 2558 38,430,826 33 0 0 6,742,451 0 0 0 20,810 0 45,194,120

จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิ #TTA-W5 /7

หมายเหตุ: /1 จ�ำนวนหุ้นที่ถือ ณ 31 ธันวาคม 2558 รวมหุ้นที่ถือผ่านคัสโตเดียนแล้ว /2 นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 แทนนายสมพร จิตเป็นธม ผู้บริหารที่ลาออก และ นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา ถือหุ้น TTA ผ่าน Thai NVDR /3 นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และประธานกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2558 แทนนายชาตรี อัครจรัลญา ผู้บริหารที่ลาออก /4 นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์ การลงทุน และบริหารความเสี่ยง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 /5 นายซิกมันต์ สตรอม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ชิปปิ้งและโลติสติกส์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 /6 นางสาวอุไร ปลื้มส�ำราญ ลาออกจากการเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยงและก�ำกับดูแลกิจการ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 /7 TTA-W5 ออกและจัดสรรให้ในปี 2558

รายชื่อผู้บริหาร 1. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ/1 2. นายจิเทนเดอร์ พอล เวอร์มา/2 คู่สมรส 3. นายกมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี/3 คู่สมรส 4. นายคิท เหว่ย อึ้ง เดวิด/4 คู่สมรส 5. นายซิกมันต์ สตรอม/5 6. นางสาวอุไร ปลื้มส�ำราญ/6 คู่สมรส รวม

จ�ำนวนหุ้น ณ 31 ธันวาคม ณ 31 ธันวาคม เปลี่ยนแปลง 2557 2558 ระหว่างปี 283,231,202 401,348,382 118,117,180 55,000 55,000 0 0 0 0 0 0 0 50,568,384 70,795,737 20,227,353 0 0 0 0 0 0 0 143,200 143,200 156,076 68,506 (87,570) 0 0 0 334,010,662 472,410,825 138,400,163

การถือครองหลักทรัพย์ TTA โดยผู้บริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นดังนี้

การถือครองหลักทรัพย์โดยผู้บริหาร

ร า ย งา นก า ร ถื อ ค ร อ งห ลั ก ท รั พย ์ ข อ งค ณะก ร ร ม ก า ร แล ะผู ้ บ ริ ห า ร

303

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


304

โคร งสร้ า งการ ถื อ หุ ้ น

โครงสร้างการถือหุ้น ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรกของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 รายแรกของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ณ วันปิดสมุดทะเบียน ผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด ของบริษัทฯ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ล�ำดับ ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

รายชื่อผู้ถือหุ้น นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ Credit Suisse AG, Singapore Branch นางสาวอุษณา มหากิจศิริ นายทวีฉัตร จุฬางกูร บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จ�ำกัด นายประทีป ตั้งมติธรรม นางสุวิมล มหากิจศิริ นายณัฐพล จุฬางกูร นางสมทรง ลาภานันต์รัตน์ East Fourteen Limited-Dimensional Emer Mkts Value FD รวม ผู้ถือหุ้นอื่น จ�ำนวนผู้ถือหุ้นรวมทั้งสิ้น

จ�ำนวนหุ้น 251,348,382 150,100,000 70,795,737 56,200,800 42,518,362 35,575,807 27,845,223 24,000,000 21,482,400 14,685,178 694,551,889 1,127,902,211 1,822,454,100

ร้อยละของ จ�ำนวนหุ้นทั้งหมด 13.79 8.24 3.88 3.08 2.33 1.95 1.53 1.32 1.18 0.81 38.11 61.89 100.00

หมายเหตุ: ทุนจดทะเบียนและทุนช�ำระแล้วของบริษัทฯ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับ 2,276,847,250 บาท และ 1,822,454,100 บาท ตามล�ำดับ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

การกระจายการถือหุ้นของบริษัทฯ การกระจายการถือหุ้นของ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุดของบริษัทฯ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้ถือหุ้นแบ่งตามสัญชาติ ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย ผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าว รวมทั้งสิ้น

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

จ�ำนวนราย 27,611 119 27,730

จ�ำนวนหุ้น 1,577,746,154 244,707,946 1,822,454,100

ร้อยละของจ�ำนวนหุ้นทั้งหมด 86.57 13.43 100.00


305

ก า ร ล งทุ นใ นบ ริ ษั ท ต่ า งๆ

การลงทุนในบริษัทต่างๆ การลงทุนของบริษัทฯ ในบริษัทอื่น ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดังต่อไปนี้ จ�ำนวนหุ้น จ�ำนวน ล�ำดับที่ ชื่อบริษัท ชนิดของหุ้น ที่ช�ำระแล้ว หุ้นที่ถือ

สัดส่วนการ ถือหุ้น%

มูลค่าหุ้น ที่ตราไว้

9,470,000 3,029,994

99.9/1

10 บาท

22,199,907

99.9

100 บาท

499,999

99.9

1 ดอลลาร์ ฮ่องกง

464,337,671

100.0

1 ดอลลาร์ สิงคโปร์

25,000

100.0

1 ยูโร

80,000

100.0/1

1 โครน เดนมาร์ก

245,000

49.0

100 บาท

ธุรกิจขนส่ง

ประเภทธุรกิจ : รับจัดการเรือเดินทะเล หุ้นสามัญ 9,470,000 1 บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จ�ำกัด หุ้นบุริมสิทธิ์ 3,030,000 26/26-27 อาคารอรกานต์ ชั้น 8 ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2250-0569 หุ้นสามัญ 22,200,000 2 บริษัท พรีโม ชิปปิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) 26/32-34 อาคารอรกานต์ ชั้น 10 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2250-0569 ประเภทธุรกิจ : ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเล หุ้นสามัญ 500,000 3 บริษัท โทรีเซน ชาเตอร์ริ่ง (เอชเค) แอลทีดี Suite B 12/F Two Chinachem Plaza 135 Des Voeux Road Central, Hong Kong หุ้นสามัญ 464,337,671 4 บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี 3 Church Street, #22-06 Samsung Hub, Singapore 049483 โทรศัพท์ : +65 6578-7000 หุ้นสามัญ 25,000 5 บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เยอรมันนี จีเอ็มบีเอช Stavendamm 4a, 28195 Breman, Germany โทรศัพท์ : 421 336 52 22 ประเภทธุรกิจ : ให้บริการเช่าเรือและรับขนส่งสินค้าแห้งเทกอง 80,000 6 บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เดนมาร์ก เอพีเอส หุ้นสามัญ Tuborg Boulevard 12, 3. 2900 Hellerup, Denmark ประเภทธุรกิจ : ตัวแทนเรือ หุ้นสามัญ 500,000 7 บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จ�ำกัด 26/26-27 อาคารอรกานต์ ชั้น 8 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2254-0266

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


306

การล งทุ น ใน บริ ษั ท ต่ า งๆ

จ�ำนวนหุ้น ที่ช�ำระแล้ว 22,000

ล�ำดับที่ ชื่อบริษัท ชนิดของหุ้น หุ้นสามัญ 8 บริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จ�ำกัด 26/30-31 อาคารอรกานต์ ชั้น 9 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2650-7400 9 โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี หุ้นสามัญ 1 1901-19th Floor, Golden Tower Opp. Marbella Resort, Al Buhairah Corniche Road Sharjah, UAE. โทรศัพท์ : 971-6-574 2244 10 โทรีเซน (อินโดไชน่า) เอส.เอ. หุ้นสามัญ 2,500 17th Floor, Petroland Tower 12 Tan Trao Street, Tan Phu Ward, District 7 Ho Chi Minh City, Vietnam โทรศัพท์ : +84 8 5411 1919 ประเภทธุรกิจ : นายหน้าเช่าเหมาเรือ หุ้นสามัญ 135,000 11 บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 26/55 อาคารอรกานต์ ชั้น 15 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2253-6160 หุ้นสามัญ 100,000 12 บริษัท โทรีเซน ชาเตอร์ริ่ง (พีทีอี) แอลทีดี 3 Church Street, #22-06 Samsung Hub Singapore 049483 โทรศัพท์ : +65 6578-7000 ประเภทธุรกิจ : เรือบรรทุกน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 13 บริษัท ปิโตรลิฟต์ จ�ำกัด หุ้นสามัญ 1,259,350,452 th 6 Floor, Mapfre Insular Corporate Center Madrigal Business Park I, 1220 Acacia Avenue, Ayala Alabang Muntinlupa City, Philippines

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

จ�ำนวน หุ้นที่ถือ 11,215

สัดส่วนการ ถือหุ้น% 51.0

มูลค่าหุ้น ที่ตราไว้ 1,000 บาท

1

100.0

550,550 เดอร์แฮม

1,250

50.0

100 ดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา

66,144

49.0

100 บาท

100,000

100.0

1 ดอลลาร์ สิงคโปร์

503,740,176

40.0/4

1 ฟิลิปปินส์ เปโซ


307

ก า ร ล งทุ นใ นบ ริ ษั ท ต่ า งๆ

ล�ำดับที่

ธุรกิจพลังงาน

ชื่อบริษัท

ชนิดของหุ้น

ประเภทธุรกิจ : บริการนอกชายฝั่ง 14 บริษทั เมอร์เมด มาริไทม์ จ�ำกัด (มหาชน) หุ้นสามัญ 26/28-29 อาคารอรกานต์ ชั้น 9 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2255-3115-6

จ�ำนวนหุ้น ที่ช�ำระแล้ว

จ�ำนวน หุ้นที่ถือ

สัดส่วนการ ถือหุ้น%

มูลค่าหุ้น ที่ตราไว้

1,413,328,857

700,000,000 20,398,420/3 101,913,293/4

58.2

1 บาท

699,993

99.9

100 บาท

382,496

51.0

100 บาท

73,500

49.0/2

100 เดอร์แฮม

407,816

20.0/4

100,000 เวียดนามดอง

136,083,041

88.7/3

0.50 บาท

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

ประเภทธุรกิจ : บริการวัสดุจัดเรียงสินค้าบนเรือ โลจิสติกส์ ขนถ่ายสินค้า หุ้นสามัญ 700,000 15 บริษัท ชิดลม มารีน เซอร์วิสเซส แอนด์ ซัพพลายส์ จ�ำกัด 26/22-23 อาคารอรกานต์ ชั้น 7 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2250-0569 750,000 16 บริษัท จีเอซี โทรีเซน โลจิสติคส์ จ�ำกัด หุ้นสามัญ 26/30-31 อาคารอรกานต์ ชั้น 9 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 3818-5090-2 ประเภทธุรกิจ : บริหารท่าเรือ หุ้นสามัญ 150,000 17 ชาร์จา พอร์ต เซอร์วิสเซส แอลแอลซี P.O.Box 510, Port Khalid Sharjah, United Arab Emirates โทรศัพท์ : 971-6-528 1327 หุ้นสามัญ 2,039,080 18 บาเรีย เซเรส Phu My Borough, Tan Thanh District, Ba Ria Vung Tau Province, Vietnam โทรศัพท์ : +84 64 3876 603 ประเภทธุรกิจ : โลจิสติกส์ถ่านหิน หุ้นสามัญ 153,454,064 19 บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จ�ำกัด (มหาชน) 26/54-55 อาคารอรกานต์ ชั้น 15 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2655-7501-2

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


308

การล งทุ น ใน บริ ษั ท ต่ า งๆ

จ�ำนวนหุ้น ที่ช�ำระแล้ว

จ�ำนวน หุ้นที่ถือ

ล�ำดับที่ ชื่อบริษัท ชนิดของหุ้น ประเภทธุรกิจ : ขายปุ๋ยเคมี ทุนจดทะเบียนที่ออกและช�ำระแล้ว 20 บริษัท บาคองโค จ�ำกัด 377,072,638,790 เวียดนามดอง Phu My I Industrial Park, Tan Thanh Town Baria Vung Tau Province, Vietnam โทรศัพท์ : +84 64 3893 400

สัดส่วนการ ถือหุ้น%

มูลค่าหุ้น ที่ตราไว้

100.0/5

-

ธุรกิจอื่น

ประเภทธุรกิจ : ลงทุนโดยการถือหุ้น 21 บริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี 3 Church Street, #22-06 Samsung Hub, Singapore 049483 โทรศัพท์ : +65 6578-7000 22 บริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด 26/32 อาคารอรกานต์ ชั้น 10 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2254-8437 23 บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) 26/26-27 อาคารอรกานต์ ชั้น 8 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2254-8437 ประเภทธุรกิจ : อื่นๆ 24 บริษัท พีเอ็มเอฟบี จ�ำกัด/6 26/22-23 อาคารอรกานต์ ชั้น 7 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2254-8437 25 บริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป จ�ำกัด 56th Floor, Block A, Union Plaza No.5022 Binhe Road, Futian District, Shenzhen, The People’s Republic of China 518033 โทรศัพท์ : + 86 755 82821186

หุ้นสามัญ

130,000,000

130,000,000

100.0

1 ดอลลาร์ สิงคโปร์

หุ้นสามัญ

1,000,000

999,993

99.9

100 บาท

หุ้นสามัญ

101,200,000

68,003,798

67.2

10 บาท

หุ้นสามัญ

60,000,000

599,993

99.9

100 บาท

หุ้นสามัญ

673,344,828

71,204,735

10.6/4

ไม่มีมูลค่าหุ้น ที่ตราไว้

หมายเหตุ: /1ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี แอลทีดี /3 ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท อะธีน โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด /5 ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จ�ำกัด (มหาชน) บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)

ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี ถือหุ้นโดยอ้อมผ่านบริษัท โซลีอาโด โฮลดิ้งส์ พีทีอี แอลทีดี /6 เดิมชื่อ บริษัท โทรีเซน เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จ�ำกัด /2 /4


309

ข ้ อ มู ล เ กี่ ย ว กั บ บ ริ ษั ท

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ชื่อบริษัท ชื่อย่อ เลขทะเบียนบริษัท วันก่อตั้งบริษัท วันจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจ�ำกัด วันที่หุ้นสามัญของบริษัทฯ เริ่มท�ำการซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประเภทธุรกิจ

: : : : : :

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จ�ำกัด (มหาชน) TTA 0107537002737 16 สิงหาคม 2526 15 ธันวาคม 2537 25 กันยายน 2538

:

ที่ตั้งส�ำนักงาน

:

แผนกนักลงทุนสัมพันธ์

:

ส�ำนักงานเลขานุการบริษัท และแผนกทะเบียนหุ้น

:

แผนกตรวจสอบภายใน

:

ธุรกิจลงทุนโดยการถือหุน้ ในบริษทั อืน่ โดยลงทุนในธุรกิจหลัก 4 กลุม่ ได้แก่ ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจ อื่นๆ 26/26-27 อาคารอรกานต์ ชั้น 8 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2254-8437 โทรสาร: +66 (0) 2655-5631 อีเมล: tta@thoresen.com เว็บไซต์: http://www.thoresen.com โทรศัพท์: +66 (0) 2254-8437 ต่อ 292 โทรสาร: +66 (0) 2655-5631 อีเมล: Investors@thoresen.com โทรศัพท์: +66 (0) 2254-8437 ต่อ 144 โทรสาร: +66 (0) 2655-5631 อีเมล: COR@thoresen.com โทรศัพท์: +66 (0) 2254-8437 ต่อ 515 โทรสาร: +66 (0) 2655-5635

หุ้นสามัญ ทุนจดทะเบียน ทุนช�ำระแล้ว จ�ำนวนหุ้นที่ออกจ�ำหน่าย มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ ใบส�ำคัญแสดงสิทธิ (TTA-W4) จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิที่ออก จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิคงเหลือ ราคาใช้สิทธิ อัตราใช้สิทธิ วันที่ออกใบส�ำคัญแสดงสิทธิ อายุของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย

: : : :

2,276,847,250 บาท 1,822,454,100 บาท 1,822,454,100 บาท 1 บาท

: : : :

99,369,017 หน่วย 98,167,544 หน่วย 17.4669 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ 1 หน่วยใบส�ำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1.0591 หุ้นสามัญ (หลังการปรับสิทธิในเดือนกุมภาพันธ์ 2558) 14 มีนาคม 2557 36 เดือน หรือ 3.0 ปี นับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิ 28 กุมภาพันธ์ 2560

: : :

ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


310

การล งทุ น ใน บริ ษั ท ต่ า งๆ

ใบส�ำคัญแสดงสิทธิ (TTA-W5) จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิที่ออก : 173,482,938 หน่วย จ�ำนวนใบส�ำคัญแสดงสิทธิคงเหลือ : 173,482,882 หน่วย ราคาใช้สิทธิ : 18.50 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ อัตราใช้สิทธิ : 1 หน่วยใบส�ำคัญแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้นสามัญ วันที่ออกใบส�ำคัญแสดงสิทธิ : 13 มีนาคม 2558 อายุของใบส�ำคัญแสดงสิทธิ : 48 เดือน หรือ 4.0 ปี นับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิ วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย : 28 กุมภาพันธ์ 2562 หุ้นกู้ในประเทศของบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2553 ครบก�ำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2560 มูลค่ารวมของหุ้นกู้ที่ออกจ�ำหน่าย : 2,000 ล้านบาท วันที่ออกหุ้นกู้ : 9 กรกฎาคม 2553 อายุของหุ้นกู้ : 7.0 ปี วันที่หุ้นกู้ในประเทศขึ้นทะเบียนกับสมาคม : 9 กรกฎาคม 2553 ตลาดตราสารหนี้ไทย วันครบก�ำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ : 29 มิถุนายน 2560 หุ้นกู้ในประเทศของบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2558 ครบก�ำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2561 มูลค่ารวมของหุ้นกู้ที่ออกจ�ำหน่าย : 2,000 ล้านบาท วันที่ออกหุ้นกู้ : 17 กรกฎาคม 2558 อายุของหุ้นกู้ : 3.0 ปี วันที่หุ้นกู้ในประเทศขึ้นทะเบียนกับสมาคม : 17 กรกฎาคม 2558 ตลาดตราสารหนี้ไทย วันครบก�ำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ : 17 กรกฎาคม 2561

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


311

ข ้ อ มู ล เ กี่ ย ว กั บ บ ริ ษั ท

บุคคลอ้างอิง หน่วยงานก�ำกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์

หน่วยงานก�ำกับบริษัทจดทะเบียน

นายทะเบียนหุ้นสามัญ และใบส�ำคัญแสดงสิทธิ

นายทะเบียนหุ้นกู้

ผู้สอบบัญชี

ที่ปรึกษากฎหมาย

: ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2695-9999 โทรสาร: +66 (0) 2695-9660 อีเมล: info@sec.or.th เว็บไซต์: http://www.sec.or.th : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) 93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2009-9000 โทรสาร: +66 (0) 2009-9991 SET Contact Center: +66 (0) 2009-9999 อีเมล: SETContactCenter@set.or.th เว็บไซต์: http://www.set.or.th : บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 93 ชั้น 14 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2009-9000 โทรสาร: +66 (0) 2009-9991 SET Contact center: +66 (0) 2009-9999 อีเมล: SETContactCenter@set.or.th เว็บไซต์: http://www.set.or.th/tsd : ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2544-1000 โทรสาร: +66 (0) 2544-2658 : นายวีระชัย รัตนจรัสกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4323 ส�ำนักงานบัญชี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จ�ำกัด 195 ถนนสาธรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาธร กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66 (0) 2677-2000 โทรสาร: +66 (0) 2677-2222 : บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ จ�ำกัด 990 อาคารอับดุลราฮิม ชั้น 5, 22-25 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2636-2000 โทรสาร: +66 (0) 2636-2111

หมายเหตุ: ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลประจ�ำปี (แบบ 56-1) ของบริษัทฯ ที่แสดงไว้ใน เว็บไซต์ของคณะก�ำกับหลักทรัพย์และดูแลหลักทรัพย์ที่ http://www.sec.co.th. หรือในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ http://www.thoresen.com ราย งาน ป ระจ� ำ ปี 2558


312

บริ ษั ท โทรี เ ซนไทย เอเยนต์ ซี ส ์ จ� ำ กั ด (มหาชน)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.