สารบัญ
หน้า
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
2
สารจากประธานกรรมการ
3
สารจากประธานอำนวยการ
4
โครงสร้างกลุ่มบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
5
ลักษณะการประกอบธุรกิจ
6
โครงสร้างรายได้
7
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
8
ปัจจัยความเสี่ยง
9
โครงสร้างการถือหุ้น
12
โครงสร้างองค์กร
13
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร
14
โครงสร้างการจัดการ
22
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
28
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ
36
รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน
37
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
38
งบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
39
ข้อมูลทั่วไปของบริษัท
73
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม
2550
2549
2548
ผลการดำเนินงาน รายได้จากการขาย
ล้านบาท
1,361.22
1,318.64
749.57
รายได้รวม
ล้านบาท
1,537.31
1,558.96
1,107.23
ต้นทุนขาย
ล้านบาท
1,185.16
1,153.40
682.99
กำไรขั้นต้น
ล้านบาท
176.06
165.24
66.58
กำไรสุทธิ
ล้านบาท
100.95
146.41
117.98
สินทรัพย์รวม
ล้านบาท
2,159.50
1,555.86
1,501.11
หนี้สินรวม
ล้านบาท
221.84
158.11
235.65
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว
ล้านบาท
762.27
530.46
527.67
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ล้านบาท
1,937.66
1,397.75
1,265.46
เงินสด
ล้านบาท
825.08
312.86
191.01
ฐานะการเงิน
ข้อมูลต่อหุ้น กำไรสุทธิต่อหุ้น
บาท
0.16
0.28
0.22
เงินปันผลต่อหุ้น
บาท
0.10
0.10
0.10
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
บาท
2.54
2.63
2.40
มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น
บาท
1.00
1.00
1.00
อัตรากำไรขั้นต้น
%
12.93
12.53
8.88
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
เท่า
0.83
1.02
0.73
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม
%
8.53
12.93
9.14
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
%
6.05
10.99
9.56
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
เท่า
0.11
0.11
0.19
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย
วัน
32
28
42
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย
วัน
59
52
64
ระยะเวลาจ่ายชำระหนี้เฉลี่ย
วัน
9
3
12
สินทรัพย์รวม
%
38.80
3.65
(3.21)
หนี้สินรวม
%
40.30
(32.90)
(32.42)
อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราการเติบโต
2
สารจากประธานกรรมการ
นับแต่ปี 2549 ประเทศไทยประสบกับภาวะการณ์ชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการปรับลดGDPของปี 2548 และปี 2549 ที่ลดลงจากปี 2547 ที่ร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5 ตามลำดับ มิใช่แต่เพียงปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศที่ส่งผล กระทบโดยตรงเท่านั้น หากแต่ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลสำคัญ อาทิเช่น ความผันผวนของราคาน้ำมัน ทองคำ หรือสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ อเมริกาล้วนแต่เป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศทั้งสิ้น การบริหารตลาดทุนภายใต้โลกที่ไร้พรมแดนจะมีความซับซ้อนและ ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการจึงต้องมีความพร้อมทั้งเงินทุนที่แข็งแกร่ง และเร่งปรับตัวให้มีศักยภาพตลอดเวลา จึงเป็นที่น่ายินดีที่บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งที่จะรองรับ แผนธุรกิจที่จะเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ โดยค่าเช่าจากโครงการเชิงพาณิชย์ บนแยกถนนวิทยุ-เพลินจิต ขนาด 5 ไร่ จะเป็นรายได้ที่สำคัญ ของบริษัทฯ ในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการในระยะยาวแล้ว บริษัทฯ ยังได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด เป็นร้อยละ 60 เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย และคาดว่าการรับรู้รายได้จะเริ่มเกิดขึ้นประมาณกลางปี 2552 เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2550 ที่ผ่านมาจะต่ำกว่าปีก่อนร้อยละ 31.05 หรือลดลงจาก 146.40 ล้านบาท เป็น 100.95 ล้านบาท ก็ตาม บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะกลับมาสร้างรายได้และผลกำไรได้ในอนาคต ทั้งนี้ เป็นผลจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการลงทุนในบริษัทร่วมดังที่ได้กล่าวมา ข้างต้น ดิฉันในฐานะประธานกรรมการบริษัท ขอถือโอกาสนี้ขอขอบพระคุณลูกค้าและผู้ถือหุ้นทุกท่านที่ให้การสนับสนุนบริษัทฯ ด้วยดีเสมอมา และขอขอบคุณ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกท่านที่ได้มุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มที่ และร่วมกันบริหารองค์กรแห่งนี้ให้เป็นบริษัทจดทะเบียน ที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ
3
สารจากประธานอำนวยการ
ปี 2550 ที่ผ่านมา นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งสำหรับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญทั้ง โครงสร้างผู้ถือหุ้นและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต กล่าวคือ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมได้มีการขายหุ้นให้บริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ ถือหุ้นโดยคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี และคุณปณต สิริวัฒนภักดี และบริษัทฯ ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท อเดลฟอส จำกัด อยู่ที่ ร้อยละ 51.29 โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่นี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่บริษัทฯ เพื่อที่จะพัฒนาโครงการบนเนื้อที่ 5 ไร่ สี่แยกถนนวิทยุและเพลินจิต เป็นทำเลทีอ่ ยูใ่ จกลางเมืองและมีศกั ยภาพในเชิงธุรกิจ โดยโครงการทีพ่ ฒ ั นาจะเป็นโรงแรมและ อาคารสำนักงานระดับมาตรฐานสากล ซึง่ จะทำให้บริษทั ฯ มีรายได้ จากค่าเช่าในระยะยาวจากสิทธิการเช่าบนที่ดินผืนนี้เป็นระยะเวลา 30 ปี และระยะเวลาก่อสร้างอีก 4 ปี มูลค่าโครงการเบื้องต้นประมาณ 4,000 ล้านบาท นอกจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการได้สิทธิการเช่าที่เพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ ยังได้มีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จากสัดส่วนเดิมร้อยละ 33.33 เป็นร้อยละ 60 โดยมีบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เยาววงศ์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 เท่ากัน ซึ่งการปรับโครงสร้างเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะส่งผลดีให้กับการ ร่วมทุนคือบริษัทฯ จะสามารถกำหนดแนวทางธุรกิจได้ชัดเจน และทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย นอกเหนือจากรายได้ค่าเช่า ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการหัวมุมวิทยุและเพลินจิตซึ่งจะเกิดขึ้นใน 3 - 4 ปี ข้างหน้า ทั้งนี้ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด มีประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในการพัฒนาคอนโดมิเนียมทั้งอาคารแนวราบและอาคารแนวสูง รวมมูลค่าแล้วกว่า 5,700 ล้านบาท อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ชั้นนำในอนาคตได้ตามเจตนารมณ์ที่บริษัทฯ ได้ย้ายหมวดธุรกิจจาก หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็น หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นับตั้งแต่ปี 2549 บริษัทฯ จึงมีแผนการที่จะเพิ่มกำลังคน และพัฒนาระบบงานเพื่อที่จะรองรับการขยายธุรกิจใน 1 - 2 ปี ข้างหน้านี้ ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและปัญหาทางการเมืองยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการที่บริษัทฯ ได้ชะลอการซื้อโครงการหรือที่ดิน มาเพื่อพัฒนาในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ คาดว่าจะมีโครงการที่ประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากความไม่แข็งแกร่งของผู้ประกอบการ ซึ่งก็จะเป็นโอกาส ของบริษัทฯ ที่จะได้พิจารณาและลงทุนในโครงการต่างๆ ที่ประสบปัญหาทางการเงิน สำหรับผลประกอบการในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจผลิตผงสังกะสี อ๊อกไซด์ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากปัจจัยบวกจากการขยายกำลังการผลิต ราคาสังกะสีในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น และการขยายกำลังการผลิตของโรงงาน ยางรถยนต์ในประเทศ และบริษัทฯ คาดว่าราคาสังกะสีในตลาดโลกจะลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและมีความผันผวนน้อยลง อย่างไรก็ตาม อาจจะมีปัจจัยที่จะมี ผลกระทบต่อราคาได้หากมีการเก็งกำไรของกองทุน สุดท้ายนี้ ดิฉัน คณะผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือขอขอบคุณลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และพันธมิตรทางธุรกิจทุกท่าน ที่กรุณาให้ความไว้วางใจและสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยดีตลอดมา คณะผู้บริหาร และพนักงานทุกท่านจะมุ่งมั่น ที่จะร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ในการที่จะสร้างองค์กรแห่งนี้ให้มีความก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง โปร่งใส และสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นทุกท่าน
4
อรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ
100%
99.88%
49%
60%
100%
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (UVAM) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 22.31 ล้านบาท
กองทุนรวมกินรี พร็อพเพอร์ตี้ (KRF) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 234.90 ล้านบาท
บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด (PV) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 100 ล้านบาท
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (Grand U) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 50 ล้านบาท
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด (LRK) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 100 ล้านบาท
การลงทุนและพัฒนา อสังหาริมทรัพย์
29.50%
บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด (TL) ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 2.50 ล้านบาท
บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด * (SUN) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
100%
ธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ และจำหน่ายเคมีภัณฑ์อื่น
บริษัท สหสินวัฒนา ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ** (SSB) 20% ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
บริษัท สหสินวัฒนา 20% โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ** (SSC) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 92 ล้านบาท
บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (EV) ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 27.50 ล้านบาท
บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด (FS) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 5 ล้านบาท
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด (UVC) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
หมายเหตุ : * ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ** ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด คิดเป็นร้อยละ 15
100%
100%
ธุรกิจอื่น
ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 (ส่วนที่ถือหุ้นทางตรงและทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป)
โครงสร้างกลุ่มบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EEI) 31.81% ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 20.50 ล้านบาท
75%
พลังงาน
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 944.53 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 763.27 ล้านบาท
บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด * (SUN) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
5
ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2523 โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์ (Zinc Oxide) ภายใต้เครื่องหมายการค้ารูป “เตาเผา” บริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2531 และนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาการเงินให้สามารถดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ โดยจัดตั้งบริษัทย่อยหรือร่วมทุนกับบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีประสบการณ์ จากการเปลี่ยนแปลงและการขยายการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2549 บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ย้าย หมวดธุรกิจจากหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals Sector) เป็นหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development Sector) การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม จำแนกประเภทธุรกิจหลักได้ดังนี้ ธุรกิจการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
อาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย ดำเนินการโดย บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมร้อยละ 60) มีผลงาน พัฒนาโครงการ ภายใต้ชื่อ โครงการลุมพินี เพลส วอเตอร์คลิฟ โครงการลุมพินี ทาวน์โฮม รัชดา - พระราม 3 โครงการลุมพินี สวีท รัชดา - พระราม 3 โครงการแกรนด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ โครงการแกรนด์ พาร์ควิว อโศก และโครงการพาร์ควิว วิภาวดี (เฟส I II และ III)
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กินรีพร็อพเพอร์ตี้ (บริษัทฯ ถือหุ้นรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมร้อยละ 99.88) ลงทุนพัฒนาโครงการบ้านอิงรัก โครงการสาทร เซเว่น เรสซิเดนท์ และโครงการนราทร เพลส
บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เพื่อขาย ดำเนินการโดย บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49) ดำเนินการพัฒนาโครงการ ดิ ยูโรเปี้ยน ทาวน์ อ่อนนุช และโครงการ ดิ นอร์ธเทิร์น ทาวน์ รังสิต
ปัจจุบัน บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) ได้สิทธิการเช่าที่ดิน บริเวณหัวมุมถนนวิทยุ เนื้อที่ 5-0-36.2 ไร่ อายุสิทธิการเช่า 34 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาในรายละเอียดของรูปแบบโครงการ ซึ่งจะพัฒนาเป็นโรงแรม และอาคารสำนักงาน ซึ่งจะมีพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 80,000 ตารางเมตร
ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์
ดำเนินการผลิตโดยบริษัทฯ และจำหน่ายโดยบริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100)
ธุรกิจพลังงาน
มีลักษณะการดำเนินธุรกิจทั้งในรูปแบบของการลงทุนในธุรกิจบริหารและจัดการพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติร่วมกับ เชื้อเพลิงที่ประหยัดและมีมลพิษต่ำ และการให้บริการปรึกษาด้านวิศวกรรมจัดการและอนุรักษ์พลังงาน โดยผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 75) และบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 31.80)
ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่
6
ธุรกิจผู้แทนจำหน่ายเครื่องบันทึกเวลา ระบบควบคุมการเข้าออกอาคารและลิฟท์ผู้โดยสาร และอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “AMANO” จากประเทศญี่ปุ่น ผ่านบริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100)
นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด และบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเมนจเม้นท์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) ดำเนินธุรกิจใน ลักษณะการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนอีกด้วย
7
ธุรกิจผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์ รายได้จากการขาย - ในประเทศ รายได้จากการขาย - ต่างประเทศ รวม รายได้จากการขาย - ในประเทศ รายได้จากการขาย - ต่างประเทศ รวม รวมรายได้จากธุรกิจผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์ ธุรกิจการลงทุน รายได้จากการขายห้องชุดพักอาศัย กำไรจาการขายหลักประกันของลูกหนี้เงินให้กู้ยืม รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ให้เช่า ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ กำไร (ขาดทุน) จากการขายหลักทรัพย์เผื่อขาย (เงินลงทุนระยะยาว) ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย รวมรายได้จากธุรกิจการลงทุน ธุรกิจอื่น รายได้จากการขายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ควบคุมระบบจอดรถ รายได้อื่น : รายได้จากการขายผลพลอยได้จากการผลิต / ค่าที่ปรึกษา / ค่าบริการจัดการและดอกเบี้ยรับ รายได้รวม
กลุ่มธุรกิจ
บจ. ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม / บจ.ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง / บจ.เอสโก้ เวนเจอร์
กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ / บมจ.ยูนิเวนเจอร์ / บจ.ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์
บจ. ไทย – ไลซาท
บมจ. ยูนิเวนเจอร์
ดำเนินการโดย
39.11 34.81 1,537.31
(9.89) 141.28
-
97.08 7.88 0.60 43.09 2.52
184.11 1,322.11
-
1,032.24 105.76 1,138.00 184.11
ปี 2550
ล้านบาท
100%
2.54% 2.26%
6.31% 0.51% 0.04% 2.80% 0.16% (0.64%) 9.19%
74.03% 11.98% 11.98% 86.01%
6.88%
67.15%
%
39.56 17.64 1,558.96
145.63 9.54 9.96 31.54 7.38 3.55 15.08 222.68
188.45 1,279.08
1,020.22 70.41 1,090.63 188.45
%
100%
2.54% 1.13%
9.34% 0.61% 0.64% 2.02% 0.47% 0.23% 0.97% 14.28%
69.96% 12.09% 12.09% 82.05%
4.52%
65.44%
ปี 2549
ล้านบาท
37.76 12.01 1,107.23
16.73 9.12 20.73 36.92 345.65
-
262.15
326.25 37.29 363.54 345.76 2.51 348.27 711.81
32.83% 31.23% 0.23% 31.46% 64.29%
3.37%
29.46%
%
100%
3.41% 1.08%
23.68% 1.51% 0.82% 1.87% 3.33% 31.22%
ปี 2548 ล้านบาท
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
โครงสร้างรายได้
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
8
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2550 งบการเงินรวมของบริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 1,361.22 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 88.55 ของรายได้รวมทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนประมาณร้อยละ 3 ซึ่งรายได้จากการขายส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ประมาณ 1,322.11 ล้านบาท และเกิดจากธุรกิจจำหน่าย เครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถประมาณ 39.11 ล้านบาท
สำหรับรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เท่ากับ 97.08 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของรายได้รวมทั้งหมด ลดลงจากปีก่อนประมาณ ร้อยละ 33 เนื่องจากเป็นการขายต่อเนื่องของโครงการเดิมคือโครงการพาร์ควิววิภาวดี และโครงการนราทร เพลส ซึ่งการขายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปี 2549 สำหรับในปี 2550 ยังไม่มีโครงการใหม่ที่พัฒนาแล้วเสร็จพร้อมขายเกิดขึ้นนอกจากนี้ ในส่วนของรายได้อื่น 88.90 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ ร้อยละ 11.7 ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของต้นทุนขายยังคงสัดส่วนประมาณร้อยละ 87 ของรายได้จากการขาย ก่อให้เกิดกำไรขั้นต้นในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 13 ซึ่งอยู่ในระดับเดียว กับปีก่อนแต่ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นของการขายหน่วยในอาคารชุด ลดลงจากอัตราร้อยละ 27 ในปีก่อนลดลงมาอยู่ในอัตราร้อยละ 17 เนื่องจาก โครงการพาร์ควิว วิภาวดี (เฟส II) ได้มีการทำโปรโมชั่นเพื่อเร่งปิดการขายโครงการดังกล่าว
สำหรับการรับรู้ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในปี 2550 เกิดรับรู้ผลขาดทุน 9.89 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่รับรู้กำไร 15.08 ล้าน บาทส่งผลต่อกำไรสุทธิรวมให้ลดลงด้วย
กล่าวโดยสรุปในปี 2550 กำไรสุทธิรวม 100.95 ล้านบาทลดลงจากปีก่อน 45.45 ล้านบาทหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 31 สาเหตุหลักนั้นเนื่องจาก การลดลงของรายได้และกำไรขั้นต้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัทร่วมอีกส่วนหนึ่ง
ฐานะการเงิน
สินทรัพย์รวม
สินทรัพย์รวมตามงบการเงินรวม มีจำนวน 2,159.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 603.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 สาเหตุหลัก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด รวมทั้งเงินลงทุนชั่วคราว 613.41 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนในระหว่าง ปี และอีกส่วนหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของมูลค่าโครงการในระหว่างการพัฒนา (โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณหัวมุมถนนวิทยุ) 171.36 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในอนาคต
หนี้สินรวม
หนี้สินรวมตามงบการเงินรวม มีจำนวน 221.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 63.73 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เนื่องจากในปี 2550 ได้ บันทึกเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันของสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวบริเวณหัวมุมถนนวิทยุ 109 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจ่ายจริงในเดือนมกราคม 2551 นอกจากนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น 24 ล้านบาท จากการซื้อบริษัทย่อย (บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเม้นท์ จำกัด) ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ ปรากฎในงบการเงินรวมเป็นจำนวนเงินภายหลังการตัดรายการระหว่างกันกับบริษัทฯ แล้ว ในส่วนของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น ใน ปี 2550 ลดลง 82.80 ล้านบาท จากการลดลงของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ระยะสั้นจากการชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้แก่ธนาคาร
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินรวม มีจำนวน 1,937.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 539.91 ล้านบาท หรือคิดเป็น อัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 เนื่องจากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขายเฉพาะเจาะจงให้กับบริษัท อเดลฟอส จำกัด จำนวน 221.50 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 2.04 บาท รวมเป็นเงินหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเท่ากับ 450.13 ล้านบาท และมีการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น สามัญอีกจำนวน 10.31 ล้านหุ้นเป็นเงิน 13.96 ล้านบาท ดังนั้น จึงทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น จากเงินเพิ่มทุน 464.10 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสมอีก 47.65 ล้านบาท ทั้งนี้ การเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานเงินทุน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจตามแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
กระแสเงินสด
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน 170.33 ล้านบาท ในปี 2550 ส่วนใหญ่เกิดจากการขายห้องชุดของกองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ และการปรับ นโยบายการขายของธุรกิจจำหน่ายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถให้เป็นการขายเงินสดมากขึ้นแทนการให้เครดิตเทอมกับลูกค้า ในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ในปีนี้ บริษัทฯ ได้จ่ายเงินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าที่ดินบริเวณหัวมุมถนนวิทยุเป็นเงิน 64.61 ล้านบาท และนำ เงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในเงินลงทุนชั่วคราวในรูปเงินฝากประจำ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.25 จำนวน 100 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็ได้รับเงินคืนจาก การให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องเป็นเงิน 168.55 ล้านบาท โดยเมื่อพิจารณาร่วมกับการเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในกิจกรรมการลงทุนในเรื่องอื่นๆ ทำให้สุทธิแล้ว บริษัทฯ ได้รับเงินจากกิจกรรมการลงทุนเป็นเงิน 31.97 ล้านบาท และเนื่องจากบริษัทฯ มีเงินสดรับเข้าจากการเพิ่มทุน 462.61 ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นปี 2550 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีเงินสดคงเหลือสุทธิเท่ากับ 825.08 ล้านบาท
อัตราส่วนสภาพคล่องที่สำคัญ
อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ในระดับ 7.45 เท่า และอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วอยู่ในระดับ 6.32 เท่า ซึ่งคิดว่าเป็นเกณฑ์ที่ดีมีสภาพคล่องสูงมากและยังอยู่ ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ทั้งนี้ สภาพคล่องที่มีอยู่มากเนื่องจากบริษัทฯ มีเงินสดรับจากการเพิ่มทุนเข้ามาในระหว่างปี และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ที่จะใช้ไปในการขยายธุรกิจ
ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบจากธุรกิจการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ : 1 ความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
สื บ เนื่ อ งจากการชะลอตั ว ทางเศรษฐกิ จ ภายในประเทศ ประกอบกั บ ผลกระทบจากปั ญ หาการผิ ด นั ด ชำระหนี้ สิ น เชื่ อ จำนองที่ ป ล่ อ ยกู้ ใ ห้ กั บ ลู ก หนี้ ด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา (Suprime) ซึ่งได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วยนั้น สถาบันการเงินข้ามชาติหลายแห่ง ประสบผลขาดทุน ลดการจ้างงาน การลงทุนในภาคส่วนอื่นก็จำกัดการขยายตัว ทั้งหมดนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจในการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย ดังจะเห็นได้จากโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการยังคงมีปริมาณสินค้าคงค้างอยู่ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นบริษัทฯ จึงยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุนเป็นอย่างมาก โดยมีนโยบายที่จะเลือกพัฒนาโครงการที่มีขนาดเหมาะสมกับ ฐานลูกค้าในบริเวณนั้นๆเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องสินค้าคงค้าง นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พยายามพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ลูกค้าได้มีความมั่นใจและสามารถดำเนินการปิดโอนให้แก่ลูกค้าต่อไป
2 ความเสี่ยงจากสภาพการแข่งขัน
ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีที่ผ่านมา ยังคงมีการแข่งขันในระดับสูงทั้งโครงการแนวราบและแนวสูง ทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่โดย เฉพาะอย่างยิ่งในทำเลที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้า หรือเส้นทางที่มีรถไฟใต้ดินผ่าน หร ือ ในบริ เ วณที่ อ ยู่ ติ ด กั บ ถนนสายหลั ก เพื่ อ ให้ ลู ก ค้ า มี ค วามสะดวกใน การเดินทางโดยรถสาธารณะ
จากปัจจัยดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้พยายามเลือกที่จะลงทุนในโครงการที่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่มีการแข่งขันสูงมากนัก แต่มีจุดเด่นของโครงการในด้านอื่นๆ ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยจะยังคงเน้นการลงทุนในที่ดิน หรือโครงการสร้างค้างที่ประสบกับปัญหาด้านการเงินแต่เป็นโครงการที่มี ศักยภาพที่ดี ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนในการได้มาต่ำและสามารถพัฒนาให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงใช้นโยบายในการพัฒนาโครงการ ที่มีระดับราคาปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก
3 ความเสี่ยงด้านต้นทุนการพัฒนาโครงการ
สืบเนื่องจากสภาพการแข่งขันที่มีอยู่สูง ทำให้ความต้องการที่ดินเปล่ามีมากจึงผลักดันให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการประเมินราคาที่ดิน ใหม่ของทางกรมที่ดิน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 ก็มีผลต่อการปรับราคาที่ดินในทำเลที่มีศักยภาพเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อต้นทุนการก่อสร้าง รวมทั้งราคาวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่มีแนวโน้มปรับราคาขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัยพ์ต้องประสบกับความยากลำบากในการบริหารจัดการ เพื่อจะ รักษาระดับความสามารถในการทำกำไรไว้
ในส่วนนี้บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวนโยบายที่จะบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และมีผลงาน เป็นที่น่าเชื่อถือได้
ผลกระทบจากธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ : ความเสี่ยงจากราคา 1 ความเสี่ยงจากราคาวัตถุดิบที่ผันแปรไปตามราคาซื้อขายของตลาดโลก
สังกะสีแท่ง (Zinc Ingot) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตคิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของต้นทุนการผลิตรวม และจัดเป็นสินค้าประเภทคอมมอดิตี้ (Commodity Product) โดยที่ราคาซื้อขายในแต่ละวันถูกกำหนดโดยอ้างอิงกับราคา ณ ตลาดกลางที่กรุงลอนดอน London Metal Exchange (LME) ประเทศอังกฤษ ซึ่งกำหนดเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ โดยจะแปลงเป็นสกุลเงินบาทที่คำนวณราคาจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ทำการซื้อ ดังนั้นบริษัทฯ อาจมีความเสี่ยงในต้นทุนการผลิต เนื่องจากวัตถุดิบหลักมีความผันผวนด้านราคาสูงและอิงกับดีมานด์และซัพพลายในตลาดโลก
ราคาสังกะสีแท่งเดือนมกราคม - ธันวาคม 2550 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,242 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน ลดลงจากราคาเฉลี่ยของปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 1.16 หรือเท่ากับ 38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน เนื่องจากความต้องการใช้โลหะสังกะสีลดลง ขณะเดียวกันสต็อคสังกะสีมีปริมาณเพิ่มขึ้นและไม่มี ปัจจัยข่าวการประท้วงของเหมืองผู้ผลิตสังกะสี ในบางช่วงราคาอาจมีการผันผวนขึ้นไปสูงอาจเป็นเพราะการเก็งกำไรของกองทุน ทำให้เกิดความผันผวน ของราคาอยู่บ้าง
9
ปัจจัยความเสี่ยง
บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายในการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว โดยได้วิเคราะห์ ติดตามและประเมินข่าวสารข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมเพื่อให้การจัดซื้อวัตถุดิบสอดคล้องกับปริมาณการขายในแต่ละรายลูกค้า เพื่อ่ให้ได้ราคาที่สามารถรักษาอัตราการทำกำไรได้
2 ความเสี่ยงจากการแข่งขันด้านราคาของผลิตภัณฑ์
ในปี 2551 ราคาวั ต ถุ ดิ บ Zinc Ingot ได้ มี ก ารปรั บ ตั ว ลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพราะสภาวะเศรษฐกิ จ ในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าอยู่ ใ นช่ ว งถดถอย ประกอบกับการที่นักลงทุนต่างๆ ยังคงไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้นักลงทุนไม่สนใจที่จะลงทุนในหมวดนี้ มากเหมือนที่ผ่านมา และอีกปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ดีก็คือ การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ ค่าเงินของสกุลอื่นๆ มีการปรับค่าแข็งขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าในปี 2551 นี้ ราคาของผงสังกะสีอ๊อกไซด์จะต้องปรับราคาลงตามภาวะของตลาดโลก
และจากสภาวะดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลในเรื่องการแข่งขันด้านราคาของผลิตภัณฑ์ที่คงจะต้องมีการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าปีผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาผลิตภัณฑ์ในประเทศ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบราคาวัตถุดิบในช่วงเดือนมกราคมของปี 2551 กับช่วงเดือนเดียวกันของ ปี 2550 ราคาเฉลี่ยที่ใช้อ้างอิงในการซื้อขาย ณ ตลาด LME (London Metal Exchange) มีราคาเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ 39 ทำให้ผู้ขายแต่ละรายในตลาด เสนอกลยุทธ์ลดราคาให้ต่ำเพื่อเพิ่มยอดขาย เนื่องจากอำนาจการต่อรองขึ้นอยู่กับผู้ซื้อเป็นสำคัญ
3 ความเสี่ยงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น
จากภาวะน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นมากจากราคา 10 - 11 บาทต่อลิตร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 และปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอด จน ณ ไตรมาสที่สี่ของ ปี 2550 ราคาปรับตัวขึ้นถึง 18 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าปี 2549 ประมาณ 7 - 8 บาทต่อลิตร ซึ่งน้ำมันที่ใช้ในการผลิตคิดเป็นร้อยละ 5 ของต้นทุนการผลิตรวม จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตพอสมควร อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในกระบวนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งโดยจัดการวางแผนเส้นทางขนส่ง และ/หรือในการว่าจ้างผู้รับเหมาในการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและในราคาที่เหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตรวมไม่เกินเป้าหมายที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ความเสี่ยงจากการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ
เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตร้อยละ 80 คือ สังกะสีแท่งบริสุทธิ์ 99.995% (Special High Grade Zinc Ingot) การจัดหาแหล่งวัตถุดิบจึงเป็นปัจจัย ที่สำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการต่อรองราคา ปริมาณการเก็บสินค้าคงเหลือ และการจัดส่งให้ทันกับแผนการผลิต การพึ่งแหล่งวัตถุดิบในประเทศ เพียงอย่างเดียวอาจมีความเสี่ยง ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องจัดสรรการสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศร่วมด้วย เพื่อบริหารความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีทางเลือกในการจัดซื้อแหล่งวัตถุดิบมากขึ้น
ผลกระทบจากธุรกิจการลงทุนด้านพลังงาน : 1 ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี และการรับประกันผลการประหยัดพลังงาน
ธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆ จากต่างประเทศมาออกแบบระบบงาน เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน แก่ธุรกิจต่างๆ โดยมีการรับประกันผลการประหยัดพลังงานขั้นต่ำให้กับผู้ประกอบการของโครงการ หากโครงการนั้นๆ ไม่สามารถก่อให้เกิดการประหยัด พลังงานอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางเทคโนโลยี บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าการประหยัดพลังงานขั้นต่ำให้กับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการพัฒนาโครงการประหยัดพลังงานมากว่า 8 ปี ซึ่งให้ความสำคัญในการคัดสรรเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกับธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จด้วยดี นอกจากนี้ ในการจัดซื้ออุปกรณ์ก็ได้ให้ความสำคัญโดยพิจารณาผู้ขายที่มีความน่าเชื่อถือและมีเงื่อนไขการรับประกันคุณภาพของอุปกรณ์เพื่อให้ได้ผลการประหยัด ตามที่ออกแบบระบบไว้
2 ความเสี่ยงจากธุรกิจของผู้ร่วมพัฒนาโครงการ
10
การดำเนินโครงการประหยัดพลังงาน ในกรณีที่บริษัทฯ เข้าลงทุนและร่วมพัฒนาโครงการ ผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด นั้น ต้องพึ่งพาผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ร่วมพัฒนาโครงการ และเป็นผู้รับซื้อพลังงานที่ได้จากโครงการ เช่น ไอน้ำ และไฟฟ้า อีกทั้งผู้ประกอบการอาจเป็นผู้จัดหาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโครงการด้วย ดังนั้นสถานะทางธุรกิจของผู้ร่วมพัฒนาโครงการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ และให้ผลตอบแทนตามที่บริษัทคาดหวัง บริษัทจึง ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาคัดเลือกผู้ร่วมพัฒนาโครงการที่มีความมั่นคงทางธุรกิจ และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ
ปัจจัยความเสี่ยง 3 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการประหยัดพลังงาน สำหรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และกลุ่มพาณิชยกรรม อาทิเช่น โรงแรมและอาคาร สำนักงาน โดยส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นลักษณะการว่าจ้างผลิต (Made to order) ซึ่งใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ดังนั้นเทอมการชำระเงินในอนาคตอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว อาจส่งผลให้ต้นทุนโครงการ สูงขึ้น บริษัทได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว และป้องกันความเสี่ยงโดยทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับสถาบันการเงิน เพื่อควบคุมต้นทุน ของโครงการให้เป็นไปตามประมาณการ ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่มีการร่วมทุนกับกองทุนจากต่างประเทศ ซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุน ก็สามารถ นำเงินตราต่างประเทศนั้นมาใช้ในโครงการ และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้เป็นบางส่วน
ผลกระทบจากธุรกิจเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถ : 1 ความเสี่ยงจากสภาพการแข่งขันด้านราคา
เนื่องจากสินค้าเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถ ที่บริษัทนำเข้ามาจาก ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นสินค้าที่สามารถผลิตได้ ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีนและไต้หวันซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้ค้าในประเทศหลายรายนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อตอบสนองความ ต้องการของตลาดในระดับกลางและล่างที่อ่อนไหวต่อราคาสินค้า แต่มีเทคโนโลยี่ใกล้เคียงกัน อันส่งผลกระทบต่อการเติบโตของรายได้ของบริษัท ทำให้ บริษัทต้องจัดหาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาดโดยเฉพาะในปี 2551 บริษัทมีแผนการจัดหาสินค้าใหม่เข้ามาเปิดตลาด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ หลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยเน้นคุณภาพของสินค้าและการให้บริการหลังการขาย
2 ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี
สินค้าหลักที่บริษัททำตลาดอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังคงใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวทางที่จะพัฒนาบุคคลากรภายในองค์กร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะของตนเองเพื่อให้ได้สินค้าที่เหมาะสมและตอบสนองต่อ กลุ่มลูกค้าภายในประเทศ
3 ความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจและการเมือง
เนื่องจากสินค้าที่บริษัทจัดจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ยังคงอ้างอิงธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ระบบควบคุม ที่จอดรถ ดังนั้น หากในปี 2551 ธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและการเมือง ก็อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทได้
4 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
โดยที่บริษัทต้องนำเข้าเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถจากต่างประเทศ และมีต้นทุนเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ และเงินเยน หากมีความผันผวนของค่าเงินบาท ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจะส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยตรง ดังนั้น บริษัทจึงดำเนินมาตรการ ป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยจะทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Contract) สำหรับสินค้าที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อ ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท
11
โครงสร้างการถือหุ้น ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุด ณ วันที่ 25 มกราคม 2551 ชื่อผู้ถือหุ้น
จำนวนหุ้นที่ถือ หุ้น
1) บริษัท อเดลฟอส จำกัด 1/ 2) บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 3) UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED 4) HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 5) CACEIS BANK LUXEMBOURG 6) นางอรฤดี ณ ระนอง 7) นายจงรักษ์ ศรีพันธ์พร 8) MELLON BANK, N.A. 9) นายอภินันทน์ ฮ้อแสงชัย 10) บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
391,502,726 85,881,424 74,391,000 39,571,900 17,179,000 6,841,000 6,800,000 6,500,000 5,135,900 5,000,000
%
51.29 11.25 9.75 5.18 2.25 0.90 0.89 0.85 0.67 0.66
หมายเหตุ : ข้อมูลจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 1/ บริษัท อเดลฟอส จำกัด ถือหุ้นโดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี ร้อยละ 50 และนายปณต สิริวัฒนภักดี ร้อยละ 50
ข้อจำกัดการถือหุ้นของบุคคลต่างด้าว บริษัทฯ มีข้อจำกัดการถือหุ้นของบุคคลต่างด้าว (Foreign limit) ไว้ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดย ณ วันที่ 25 มกราคม 2551มีบุคคลต่างด้าวถือ หุ้นของบริษัทฯ ร้อยละ 21.30 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้แล้วตามงบ การเงินรวมในแต่ละปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคต เมื่อคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินปันผล ประจำปีแล้วจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ให้คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้ และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป สำหรับบริษัทย่อย บริษัทฯ มิได้มีการกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา ของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ปี เงินปันผลประจำปี (บาทต่อหุ้น) กำไรสุทธิ ตามงบการเงินรวม (ล้านบาท) สัดส่วนการจ่ายเงินปันผลเทียบกับกำไรสุทธิ
12
2550 0.10 100.95 75.61%
2549 0.10 146.40 36.40%
2548 0.10 117.98 44.95%
2547 0.10 86.91 60.54%
2546 0.10 224.89 23.15%
13
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย และบริหารทรัพย์สิน
กรรมการผู้จัดการ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาโครงการ
คณะกรรมการพิจารณา การลงทุน
คณะอนุกรรมการกำหนด ค่าตอบแทนและสรรหา
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
กรรมการและ ประธานอำนวยการ
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริษัท
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายธุรการ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
กรรมการบริหาร สายการเงินและอำนวยการ
ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบควบคุมภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบ
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากร
ผู้อำนวยการจัดซื้อกลาง
ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ และงบประมาณ
ผู้อำนวยการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน
โครงสร้างองค์กร
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัท 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 5 นายปณต สิริวัฒนภักดี 6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 7 นางอรฤดี ณ ระนอง 8 นายธนพล ศิริธนชัย
14
ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
6
5
4 1
2
3 7
8
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร
คณะกรรมการตรวจสอบ 1 นายสุวิทย์ จินดาสงวน 2 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์
ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริหาร 1 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 2 นายปณต สิริวัฒนภักดี 3 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 4 นางอรฤดี ณ ระนอง 5 นายธนพล ศิริธนชัย 6 นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ
ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร
3
1
3
2 6 1
2
5 4
15
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ 2544 - 2549 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการที่เป็นอิสระ ประธานกรรมการ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา 62 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ Syracuse University, ประเทศสหรัฐอเมริกา (ด้วยทุน USAID) Role of Compensation Committee Program (RCC4/2550) Directors Certificate Program (DCP17/2549) The Role of Chairman Program (RCP13/2548) 0% (-0- หุ้น) 8 เดือน กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, วุฒิสภา กรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3 - กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติฝ่ายเศรษฐกิจ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ - ไม่มี – อธิบดีกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ - ไม่มี -
นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา
16
ปัจจุบัน ปัจจุบัน
กรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ 53 ปี ไทย ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Role of Compensation Committee Program (RCC1/2549) Improving the Quality of Financial Reporting (QFR 2/2549) Audit Committee Program (ACP4/2548) Directors Certification Program (DCP44/2547) Directors Accredited Program (DAP14/2547) 0.07% (500,000 หุ้น) 4 ปี 6 เดือน ประธานกรรมการ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เน็ท โซลูชั่น โพรวายเดอร์ จำกัด - ไม่มี –
-ไม่มี-
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน
กรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / อนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา 49 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยคอร์แนล, นิวยอร์ค, ประเทศสหรัฐอเมริกา Directors Certification Program (DCP initial) Finance for Non-Finance Director (FND-2547) 0% (-0- หุ้น) 2 ปี 3 เดือน - ไม่มี – กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด - ไม่มี –
- ไม่มี – - ไม่มี -
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / ประธานกรรมการบริหาร / อนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา 33 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ การเงินการธนาคาร เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอสตัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา Directors Accreditation Program (DAP10/2547)
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียน ตำแหน่งในกิจการอื่น ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน
25.65% (195,751,363 หุ้น) 8 เดือน กรรมการ / รองประธานกรรมการ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ / รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ/ กรรมการบริหาร บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อเดลฟอส จำกัด - ไม่มี – - ไม่มี - - ไม่มี -
17
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายปณต สิริวัฒนภักดี ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร 31 ปี ไทย ปริญญาโท ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยลอนดอน, ประเทศอังกฤษ Directors Certification Program (DCP46/2547) Finance for Non-Finance Director (FND10/2547) 25.65% (195,751,363 หุ้น) 8 เดือน กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท เบียร์ทิพย์ บริเวอรี่ (1991) จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด กรรมการ บริษัท ล้านช้าง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. แลนด์ เลเซอร์ จำกัด บริษัท อเดลฟอส จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเตท (ระยอง) จำกัด บริษัท พรรณธิอร จำกัด บริษัท สิริวนา จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด บริษัท เทอราโกร จำกัด กรรมการ -ไม่มี-
2543 – 2547 กรรมการ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
18
ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร 53 ปี ไทย Mini MBA มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Directors Certification Program (DCP26/2546) DCP Refresher Course 0% (-0- หุ้น) 8 เดือน กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อเดลฟอส จำกัด บริษัท อีสเทอนอินดัสเตรียลเอสเตท (ระยอง) จำกัด - ไม่มี –
2540 – 2547
กรรมการ / กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางอรฤดี ณ ระนอง ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน 2545 – 2549
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / อนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา / กรรมการบริหาร / ประธานอำนวยการ 47 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ San Diego State University, ประเทศสหรัฐเมริกา Directors Certification Program (DCP17/2545) DCP Refresher Course (3/2549) 0.90% (6,841,000 หุ้น) 8 ปี - ไม่มี กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด มูลนิธิมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรรมการ บริษัท แสนสิริ เวนเจอร์ จำกัด - ไม่มี -
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร / กรรมการผู้จัดการ 41 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Texas at Austin, ประเทศสหรัฐเมริกา Directors Certification Program (DCP39/2547) Directors Accreditation Program (DAP10/2547) 0.16% (1,200,000 หุ้น) 4 ปี 10 เดือน - ไม่มี กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด กรรมการ บริษัท แสนสิริ เวนเจอร์ จำกัด ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
นายธนพล ศิริธนชัย ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน 2546 – 2549 2545 – 2546
19
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ ตำแหน่ง อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการบริหาร / กรรมการบริหารสายการเงินและอำนวยการ 42 ปี 0% (-0- หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ไม่มี -
ปัจจุบัน 2544 – 2550 ก.ค. 2544 – ธ.ค. 2544 ม.ค. 2543 – มิ.ย. 2544 ธ.ค. 2541 – ธ.ค. 2542 ส.ค. 2539 – ธ.ค. 2541 พ.ค. 2535 – ส.ค. 2539 ก.พ. 2533 – พ.ค. 2535 พ.ย. 2530 – ก.พ. 2533
กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด Executive Chief Financial Officer บริษัท สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด Finance Director บริษัท ซัพพลายเออร์ คอนเนกซ์ จำกัด Executive Vice President บริษัท เอเชีย แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด Financial Planning & Analysis Manager บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด Vice President บริษัท เงินทุนเอเชียไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) Vice President, Corporate Finance Senior Management Accountant บริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย จำกัด (มหาชน) Semi Senior Auditor บริษัทสำนักงาน เอสจีวี ณ ถลาง จำกัด - ไม่มี –
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด 43 ปี 0.004% (30,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาตรี สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Directors Certification Program (DCP71/2549)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด 50 ปี 0.003% (20,600 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ Pacific States University California, ประเทศสหรัฐเมริกา - ไม่มี -
2546 - 2547 2544 - 2546
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โมเดอร์น ไดนามิค กอล์ฟ จำกัด ผู้จัดการโครงการ บริษัท สยามโปโลปาร์ค จำกัด - ไม่มี -
นายกรธวัช กิ่งเงิน ตำแหน่ง อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
- ไม่มี – - ไม่มี -
นายนพดล ถีระศิลป์ ตำแหน่ง อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
20
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร อายุ ตำแหน่ง สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
43 ปี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและบริหารสินทรัพย์ 0.05% (366,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท กฎหมาย McGeorge School of Law, University of the Pacific, ประเทศสหรัฐอเมริกา - ไม่มี -
ปัจจุบัน ปัจจุบัน 2541 - 2550
กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ผู้จัดการกองทุนอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด - ไม่มี -
36 ปี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 0.08% (573,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Newcastle upon Tyne, ประเทศอังกฤษ - ไม่มี -
ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน 2546 - 2550
กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด กรรมการการลงทุน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กินรีพร็อพเพอร์ตี้ กรรมการ บริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด - ไม่มี -
นายกำพล ปุญโสณี อายุ ตำแหน่ง สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
21
โครงสร้างการจัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และมีคณะกรรมการชุดย่อย 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการ กำหนดค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริหาร โดยมีประธานอำนวยการ เป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการ ทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 8 ท่าน กรรมการ ที่เป็นผู้บริหาร (Executive Directors) จำนวน 2 ท่าน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Directors) จำนวน 6 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้ ชื่อ - นามสกุล 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 5 นายปณต สิริวัฒนภักดี 6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 7 นางอรฤดี ณ ระนอง 8 นายธนพล ศิริธนชัย
หมายเหตุ :
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและประธานอำนวยการ กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ (เลขานุการคณะกรรมการบริษัท)
วันที่ได้รับแต่งตั้ง 18 กรกฎาคม 2550 24 ตุลาคม 2546 16 ธันวาคม 2548 18 กรกฎาคม 2550 18 กรกฎาคม 2550 18 กรกฎาคม 2550 24 พฤษภาคม 2543 10 มิถุนายน 2546
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2550 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 มีมติแต่งตั้งกรรมการ ดังนี้ - นายสุวิทย์ จินดาสงวน นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ และ นายธนพล ศิริธนชัย ดำรงตำแหน่งกรรมการต่ออีกวาระหนึ่ง คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ลาออก - นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ แทน นายวิกิต ขจรณรงค์วณิช ซึ่งลาออกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 - นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่งกรรมการ แทน นายกำพล ปุญโสณี ซึ่งลาออกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 - นายปณต สิริวัฒนภักดี ดำรงตำแหน่งกรรมการ แทน นายโรเบิร์ต พอล วอเร็นซ์ คอลลินซ์ ซึ่งลาออกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 - นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ แทน นายเอียน สจ๊วต ดอนนาคี ซึ่งลาออกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550
คำนิยาม กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานประจำของบริษัทฯ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่มิได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานประจำของบริษัทฯ อาจจะเป็นหรือไม่เป็น กรรมการอิสระก็ได้ กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย ์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการอิสระของบริษัทฯ ดังนี้ 1 2
22
ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาซึ่งได้รับเงินเดือนประจำจากบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
โครงสร้างการจัดการ 3 4 5
ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ทั้งในด้านการเงินหรือการบริหารงานของบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความขัดแย้งในลักษณะที่จะทำให้ขาดความเป็นอิสระ ไม่ใช่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทกับผู้บริหาร กรรมการ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัทฯ
รวมทั้งสามารถแสดงความเห็นหรือรายงานผลการปฏิบัติงานได้อย่างอิสระตามหน้าที่ที่ได้รับมอบจากคณะกรรมการบริษัทโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือญาติสนิทของบุคคลดังกล่าว รวมถึงไม่มีสถานการณ์ใดๆ ที่จะมาบีบบังคับให้ไม่สามารถแสดงความเห็นได้ ตามที่พึงจะเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ จนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระหรือคล่องตัว เช่น ซัพพลายเออร์ ลูกค้า เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ตามหนังสือรับรองของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ออกโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุให้ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี หรือ นายปณต สิริวัฒนภักดี หรือ นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร หรือ นางอรฤดี ณ ระนอง หรือ นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการสองในจำนวนห้าคนลงลายชื่อร่วมกัน พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีความรับผิดชอบและระมัดระวังต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไป ตามเป้าหมายและแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผล ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงการปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ มติคณะกรรมการและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเว้นแต่ในเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทั้งในปัจจุบันและในระยะยาว คณะกรรมการบริษัทอาจมอบอำนาจให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการบริษัท และอาจ ยกเลิกเพิกถอนเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอำนาจนั้นๆ ได้คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทอาจมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่างๆ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ทั้งนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจหรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจสามารถอนุมัติรายการที่ตน หรือบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต.ประกาศกำหนด) ทำกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็น การอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยแต่งตั้งจากกรรมการบริษัทซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำหนด มีจำนวนอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้ด้านบัญชีและการเงิน ปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ซึ่งเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ ดังรายชื่อต่อไปนี้
23
โครงสร้างการจัดการ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง 1 นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน 2 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน หมายเหตุ: นายวิกิต ขจรณรงค์วณิช กรรมการตรวจสอบ ลาออกจากกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปีนับแต่วันแต่งตั้งหรือตามวาระการเป็นกรรมการ และกรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ต่อเนื่องต่อไปได้ไม่เกิน 2 วาระ ในปี 2550 มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 5 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัท ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขอบคณะกรรมการตรวจสอบ (1) สอบทานให้บริษัทฯ มีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องเพียงพอตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (2) สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล (3) สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยหรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ (4) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ กรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องครบถ้วน และโปร่งใส (5) พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งการพิจารณาเสนอค่าตอบแทน (6) สอบทานรายงานผลการตรวจสอบ แนวทางการตรวจสอบ และประเมินผลการตรวจสอบการดำเนินงานด้านต่างๆ ของบริษัทฯ ตามวิธีการและมาตรฐาน ที่ยอมรับโดยทั่วไป (7) ให้ความเห็นชอบแผนงานการตรวจสอบของหน่วยงานเกี่ยวกับการตรวจสอบ (8) จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ (9) ทบทวนและเสนอข้อแก้ไข ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ (10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเชิญ ฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงให้ความเห็นหรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็น และให้มีอำนาจว่าจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพภายนอก ในกรณีจำเป็น หรือใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจัดตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้ ชื่อ - นามสกุล 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 3 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 4 นางอรฤดี ณ ระนอง หมายเหตุ:
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร และเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร และเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
นายวิกิต ขจรณรงค์วณิช กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 นายสุวิทย์ จินดาสงวน กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 นายโรเบิร์ต พอล วอเร็นซ์ คอลลินซ์ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550
คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นับแต่วันแต่งตั้งหรือตามวาระการเป็นกรรมการ ในปี 2550 มีการประชุม คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหาจำนวน 2 ครั้ง
24
โครงสร้างการจัดการ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา (1) กำหนดหลักเกณฑ์ และนโยบายในการสรรหากรรมการ และกรรมการชุดย่อยของบริษัทฯ (2) พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการ ในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลงเพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี (3) พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการขึ้นไปในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง (4) พิจารณาเสนอรายชื่อกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการชุดย่อยเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งเมื่อมีตำแหน่งว่างลง (5) พิจารณาเสนอแนะกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดที่จำเป็นและเหมาะสมทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เพื่อจูงใจและรักษาคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ (6) จัดทำหลักเกณฑ์ และนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และสรรหาเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามแต่กรณี (7) ให้คำชี้แจงตอบคำถามเกี่ยวกับค่าตอบแทนของกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและด้วยความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
คณะกรรมการบริหาร ชื่อ - นามสกุล 1 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
2 นายปณต สิริวัฒนภักดี
กรรมการ
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
3 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร
กรรมการ
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
4 นางอรฤดี ณ ระนอง
กรรมการ
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
5 นายธนพล ศิริธนชัย
กรรมการ
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
6 นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ
กรรมการ
กรรมการที่เป็นผู้บริหาร (แต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551)
หมายเหตุ : นายโรเบิร์ต พอล วอเร็นซ์ คอลลินซ์ ประธานกรรมการบริหาร ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550 นายเอียน สจ๊วต ดอนนาคี กรรมการบริหาร ลาออกจากกรรมการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550
คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยกรรมการ 6 ท่าน ในปี 2550 มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร จำนวน 11 ครั้ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร พิจารณาและกำหนดนโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจบริหารต่างๆ ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยร่วมกับฝ่ายบริหารระดับสูง เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบ รวมทั้งกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่กำหนดให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้รับอนุมัติ อนุมัติ การดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทย่อยในเรื่องต่างๆ ตามขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท กลั่นกรองในเรื่องที่ฝ่ายบริหารระดับสูง เสนอให้พิจารณาในส่วนที่นอกเหนือจากอำนาจของคณะกรรมการบริหารเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทอีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้ การอนุมัติรายการจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอนุมัติที่ทำให้คณะกรรมการบริหารหรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารสามารถอนุมัติรายการ ที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด) ทำกับบริษัทฯ หรือ บริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้ คณะผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประกอบด้วยรายนาม ดังต่อไปนี้ ผู้บริหาร บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) 1 นางอรฤดี ณ ระนอง 2 นายธนพล ศิริธนชัย 3 นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ
กรรมการ และประธานอำนวยการ กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหารสายการเงินและอำนวยการ
25
โครงสร้างการจัดการ ผู้บริหาร ของบริษัทย่อย 1 นายกรธวัช กิ่งเงิน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด
2 นายนพดล ถีระศิลป์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด
3 นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (แต่งตั้งวันที่ 1 มกราคม 2551)
4 นายกำพล ปุญโสณี
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด (แต่งตั้งวันที่ 1 มกราคม 2551)
หมายเหตุ: ผู้บริหาร หมายถึง กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าผู้ดำรง ตำแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย
ทั้งนี้ กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ ทุกท่าน เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ปรากฏว่ามีประวัติการทำความผิดตามกฎหมาย ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในระยะเวลาที่ผ่านมาเกี่ยวกับ (1) การถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายทางอาญา (2) การถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ (3) การเป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ การสรรหา แต่งตั้งและวาระการดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้ ง หมดนั้ น ต้ อ งมี ถิ่ น ที่ อ ยู่ ใ นราชอาณาจั ก ร และกรรมการของบริ ษั ท ฯ จะต้ อ งเป็ น ผู้ มี คุ ณ สมบั ติ แ ละไม่ มี ลั ก ษณะต้ อ งห้ า มตามที่ ก ฎหมายกำหนด ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการโดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
(1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง (2) ผูถ้ อื หุน้ แต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงทีม่ อี ยูท่ งั้ หมดเลือกบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้ผอู้ นื่ มากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับลงมา จะได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่ง ได้รบั การเลือกตัง้ ในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการทีจ่ ะพึงมีหรือพึงเลือกตัง้ ในครัง้ นัน้ ให้เลือกโดยวิธจี บั สลากเพือ่ ให้ได้ตามจำนวน กรรมการที่จะพึงมี
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ คณะกรรมการบริษัทจะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมาย เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมา ประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงในการประชุมนั้น ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นทุกครั้ง กรรมการบริษัท จำนวน 1 ใน 3 ต้องพ้นจากตำแหน่ง กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลัง จดทะเบียนบริษัทนั้น ให้ใช้วิธีขจัดสลาก ส่วนปีหลังๆต่อไปให้เข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริหาร ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร การแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการขึ้นไปนั้น คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา เพื่อคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด และเสนอชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกที่สมควรได้รับการแต่งตั้งต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่ง โดยวิธีลงคะแนนเสียงข้างมากต่อไป สำหรับเจ้าหน้าที่บริหารอื่นๆ คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ประธานอำนวยการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง
26
โครงสร้างการจัดการ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน • ค่าตอบแทนกรรมการ
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 มีมติกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และสรรหา และคณะกรรมการบริษัทเสนอ ดังนี้
ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือนและค่าเบี้ยประชุม ประธานกรรมการได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 16,000 บาทต่อเดือน และค่าเบี้ยประชุม 22,000 บาทต่อครั้ง กรรมการแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 8,000 บาทต่อเดือน และค่าเบี้ยประชุม 18,000 บาทต่อครั้ง
ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือน ประธานกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 40,000 บาทต่อเดือน กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 30,000 บาทต่อเดือน
ค่าตอบแทนคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ประกอบด้วยค่าเบี้ยประชุม ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหาได้รับค่าเบี้ย ประชุม 22,000 บาทต่อครั้ง กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหาแต่ละท่านได้รับค่าเบี้ยประชุม 18,000 บาทต่อครั้ง
ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหาร* ประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือน ประธานกรรมการบริหารได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 25,000 บาทต่อเดือน กรรมการบริหารแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 20,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ ในปี 2550 ค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับ มีรายละเอียดดังนี้ ค่าตอบแทนรวม (บาท)
คณะกรรมการบริษัท
1,876,452
คณะกรรมการตรวจสอบ
1,213,548
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา
170,000
คณะกรรมการบริหาร *
260,000
หมายเหตุ : * ยกเว้นกรรมการบริหารที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทฯ
สรุปเปรียบเทียบค่าตอบแทนกรรมการ ปี 2549 และปี 2550 ค่าตอบแทน (บาท) ค่าตอบแทน (รายเดือนและเบี้ยประชุม)
ปี 2550
ปี 2549
3,520,000
2,838,000
• ค่าตอบแทนผู้บริหาร ในปี 2550 ค่าตอบแทนของผู้บริหาร รวม 7 ท่าน ที่ได้รับจากบริษัทฯ ในรูปเงินเดือน โบนัส ค่าครองชีพ ค่าเบี้ยประชุม เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สมทบ และผลตอบแทนอื่นๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,942,520 บาท ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ได้แก่ โครงการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในวงจำกัดไม่เกิน 35 ราย รวม 2 โครงการ (ESOP-W2 / ESOP-W3) จำนวน 25,755,500 หน่วย อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 5 ปี ราคาเสนอขายหน่วยละ -0- บาท และกำหนดให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย สามารถซื้อหุ้นสามัญ 1 หุ้น/ราคาการใช้สิทธิ 1 บาทต่อหุ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแรงจูงใจและตอบแทนการปฏิบัติงานของกรรมการและพนักงาน ให้มุ่งปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถอย่าง ต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2546
27
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย และเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ คำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น และความรับผิดชอบต่อ ผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดให้มีการทบทวนปรับปรุงอยู่ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สื่อสารสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ได้รับทราบและ ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้ - - - - -
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น และบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จรรยาบรรณทางธุรกิจ
ผู้ถือหุ้น : สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น โดยกำหนดเป็นนโยบายขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น ได้แก่ สิทธิในการได้รับใบหุ้นและสิทธิใน การโอนหุ้น สิทธิในการมีส่วนแบ่งในผลกำไรของบริษัทฯ สิทธิในการได้รับสารสนเทศของบริษัทฯอย่างเพียงพอ ทันเวลา และในรูปแบบที่เหมาะสมต่อ การตัดสินใจ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนน ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ของบริษัทฯ เช่น การเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการการอนุมัติธุรกรรมที่สำคัญและมีผลต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับบริษัทฯ และการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่สิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ และหากมีความจำเป็นเร่งด่วนต้อง เสนอวาระเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งกระทบหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ กฎหมายที่ใช้บังคับที่ต้องได้รับการอนุมัติ จากผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น คนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ เสนอระเบียบวาระการประชุม ผู้ถือหุ้นและชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการล่วงหน้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน โดยบริษัทฯได้กำหนด หลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการล่วงหน้า นอกจากนี้ บริษัทฯมีนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันเป็นธรรมและเป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมายโดยกำหนดให้สทิ ธิออกเสียงในทีป่ ระชุมเป็นไปตามจำนวนหุน้ ทีผ่ ถู้ อื หุน้ ถืออยู ่ โดยหนึง่ หุน้ มีสทิ ธิเท่ากับหนึง่ เสียงกำหนดให้กรรมการอิสระเป็นผูม้ หี น้าทีด่ แู ล ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบของกรรมการบริษัท ผู้บริหารรวม ทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยบริษัทฯได้ประกาศห้ามกรรมการ และผู้บริหาร ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯก่อนประกาศงบการเงินเป็น เวลา 1 เดือน และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯและจัดส่งรายงานดังกล่าวให้บริษัทฯรับทราบ ทั้งนี้ เพื่อมิให้กรรมการและผู้บริหารนำข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น กรรมการ พนักงานของบริษัทฯ ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง หน่วยงานอื่นๆ ที่บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกบริษัทฯ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดแนวทาง ปฏิบัติไว้ในคู่มือจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติงาน และถือเป็น ภาระหน้าที่และเป็นวินัยที่ทุกคนพึงปฏิบัติ ดังนี้
28
ผู้ถือหุ้น : บริษัทฯจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทฯในระยะยาวและผลตอบแทนที่ ดีแก่ผู้ถือหุ้น
พนักงาน : บริษัทฯ ถือว่าพนักงานเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯที่มีคุณค่า โดยเปิดโอกาสอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอใน การเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มศักยภาพ การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานรวมทั้งการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่เป็นธรรมทั้งในด้านเงินเดือนสวัสดิการและผลตอบแทนในรูปอื่น
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้ลูกค้าที่จะได้รับสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เป็น ธรรม รักษาสัมพันธ์ภาพที่ดี ตลอดจนการจัดให้มีกระบวนการที่ให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ ความปลอดภัยของสินค้าและ บริการการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วนถูกต้องเพียงพอและทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งการรักษาความลับของ ลูกค้าซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้าหรือผู้มีอำนาจของบริษัทฯก่อน และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยมิชอบ เว้นแต่เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ต่อบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องตามบทบังคับของกฎหมาย
ลูกค้า :
คู่แข่ง : บริษัทฯ จะประพฤติปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบแห่งกฎหมายของการแข่งขันที่ดี ไม่ละเมิดความลับหรือล่วงรู้ความลับทาง การค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือด้วยวิธีการอื่นที่ไม่เหมาะสม และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายและ ปราศจากซึ่งข้อมูลจริง
คู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ : บริษัทฯ คำนึงถึงความเสมอภาคและเป็นธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับ ผ ลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดวามขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งปฏิบัติตาม พันธะสัญญา
ชุมชนและสังคม การประชุมผู้ถือหุ้น
:
บริษัทฯ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และไม่กระทำการใดๆ ที่จะมีผลเสียหายต่อชื่อเสียงของประเทศสิ่งแวดล้อม และ ประโยชน์สาธารณะ โดยได้ดำเนินการส่งเสริมพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมที่บริษัทฯตั้งอยู่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งได้ตระหนักถึงการปฏิบัติ ตามมาตรฐานที่เกี่ยวกับความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบที่ก่อให้ เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ในปี 2550 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติตามแนวทางการจัดประชุม ผู้ถือหุ้นที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทฯ ดังนี้
ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น
ในปี 2550 บริษัทฯมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง และการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยได้เปิดเผยมติคณะกรรมการบริษัทกำหนดให้จัดการประชุม ผู้ถือหุ้นในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและของบริษัทฯ บริษัทฯได้นำข้อมูลหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่มีรายละเอียดครบถ้วนเปิดเผยใน เว็บไซต์บริษัทฯก่อนล่วงหน้า 30 วัน และได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุม ซึ่งมีวาระที่สำคัญอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และข้อบังคับของบริษัทฯ ได้แก่ รายละเอียดวาระการประชุมซึ่งได้ระบุอย่างชัดเจนในแต่ละวาระที่นำเสนอว่าเป็นเรื่องที่นำเสนอเพื่อทราบ เพื่อ อนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา รวมทั้งนำเสนอความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในแต่ละวาระอย่างชัดเจน รายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา รายงานประจำปี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุม เอกสารที่ต้องใช้ในการมอบฉันทะและระบุวิธีการไว้ชัดเจน โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น 14 วันและประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย เรื่องคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน และก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อบอกกล่าวผู้ถือหุ้นล่วงหน้าในเวลาที่เพียงพอสำหรับเตรียมตัวศึกษาข้อมูลในการพิจารณาเกี่ยวกับวาระการประชุมก่อนมาเข้าร่วมประชุม โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมทั้งได้แต่งตั้งกรรมการอิสระเป็นผู้รับ มอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นประสงค์จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทนสามารถเลือกมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการอิสระ ของบริษัทฯเข้าประชุมแทนได้
วันประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ได้กำหนดสถานที่ วัน และเวลาการประชุม ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทุกราย และให้ความมั่นใจด้านการรักษา ความปลอดภัยให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้แจ้งในเอกสารประกอบการประชุมที่จัดส่งพร้อมหนังสือเชิญประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทราบกระบวนการและขั้นตอน ในการเข้าร่วมประชุม การตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานเพื่อแสดงสิทธิในการเข้าร่วมประชุม จัดเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน กำหนดจุดบริการรับลงทะเบียน อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุม 1 ชั่วโมง และต่อเนื่องจนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้น จะแล้วเสร็จ รวมถึงการเลี้ยงรับรองที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้นที่มาประชุมด้วย
29
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
ในการประชุมผู้ถือหุ้น ประธานกรรมการบริษัทได้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และก่อนดำเนินการประชุมได้แจ้งรายละเอียดขององค์ประชุมอธิบายวิธี การลงคะแนน การนับคะแนนการใช้บัตรลงคะแนน การเก็บบัตรลงคะแนน และเปิดเผยผลการนับคะแนนในแต่ละวาระอย่างชัดเจน โปร่งใส และเก็บบัตร ลงคะแนนไว้เพือ่ ตรวจสอบภายหลัง รวมทัง้ เปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมและเพียงพอ และให้กรรมการทีเ่ กีย่ วข้องชีแ้ จง และให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ถือหุ้นอย่างชัดเจน สำหรับการลงคะแนนและนับคะแนนเสียง บริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดและนับเสียงข้างมาก เป็นมติ โดยใช้บัตรลงคะแนนเฉพาะกรณีที่ผู้ถือหุ้นคัดค้าน หรืองดออกเสียง และเก็บบัตรลงคะแนนไว้เพื่อตรวจสอบได้ใน ภายหลังทั้งนี้ในการประชุม ผู้ถือหุ้นมีกรรมการเข้าร่วมประชุมรวม 6 ท่าน ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบกรรมการตรวจสอบประธาน คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา รวมทั้งมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ และ ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมได้
หลังวันประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันทำการถัดไป และผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยได้ระบุผล ของการลงคะแนนเสียง(เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / งดออกเสียง) ในแต่ละวาระ และจัดส่งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งจดบันทึกรายชื่อกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ผลของการลงคะแนนเสียง (เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / งดออกเสียง) ในวาระที่ขอรับรอง / อนุมัติจากผู้ถือหุ้น รวมทั้งข้อซักถามของผู้ถือหุ้นในแต่ละวาระ และ จั ด ส่ ง รายงานการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ซึ่ ง จดบั น ทึ ก รายชื่ อ กรรมการที่ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม และการงลคะแนนเสี ย ง (เห็ น ด้ ว ย / ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย / งดออกเสี ย ง) ในวาระทีข่ อรับรอง / อนุมตั จิ ากผูถ้ อื หุน้ รวมทัง้ ข้อซักถามของผูถ้ อื หุน้ ในแต่ละวาระและการชีแ้ จงของบริษทั ฯให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหน่วย งานราชการ ภายในระยะเวลา 14 วันนับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้น และเผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และประสบการณ์การทำงานจากหลากหลายสาขา ทำให้การปฏิบัติหน้าที่กรรมการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มีการจัดทำ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย นโยบาย ทิศทางการดำเนินงานแผนกลยุทธ์แผนธุรกิจงานและงบ ประมาณประจำปีของบริษัทฯ โดยมอบหมายให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้นำเสนอ และคณะกรรมการบริษัทจะแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกับฝ่ายบริหารอย่าง เต็มที่ เพื่อให้เกิดความเห็นชอบร่วมกันก่อนที่จะพิจารณาอนุมัติ ตลอดจนกำกับดูแลให้ผู้บริหารมีการปฏิบัติตามแผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้ อย่างสม่ำเสมอ ติดตามผลการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงหลักการตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรม รวมทั้งกำกับ ดูแลให้การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารเป็นไปตามเป้าหมายและแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น การเข้ารับการอบรมของคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมสัมมนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีกรรมการบริษัทเข้ารับการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนา บริษัทฯ และบริษัทย่อย ดังนี้ 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
หลักสูตร
- Directors Certification Program (DCP 17) - The Role of Chairman Program (RCP 13) - Role of the Compensation Committee Program (RCC 4)
2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน
- Directors Certification Program (DCP 44) - Directors Accreditation Program (DAP 14) - Audit Committee Program (ACP 4) - Role of the Compensation Committee Program (RCC 1) - Improving the Quality of Financial Reporting (QFR 2)
3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์
- Directors Certification Program (DCP – initial) - Finance for Non-Finance Director (FND - 2547)
4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
- Directors Accreditation Program (DAP 10)
5 นายปณต สิริวัฒนภักดี
- Directors Certification Program (DCP 46) - Finance for Non-Finance Director (FND10)
6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร
- Directors Certification Program (DCP 26) - DCP Refresher Course 2 - Diploma of Directors Certification Program (DCP 17) - DCP Refresher Course 3 - Directors Certification Program (DCP 39) - Directors Accreditation Program (DAP 10)
7 นางอรฤดี ณ ระนอง 8 นายธนพล ศิริธนชัย
30
ชื่อ - นามสกุล
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การปฐมนิเทศกรรมการใหม่ (Directors Orientation)
บริษัทฯ จัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เพื่อให้กรรมการใหม่ได้รับทราบนโยบายธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงสร้างเงินทุน ผู้ถือหุ้น ผลการดำเนินงาน รวมทั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ พร้อมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเป็นกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1 พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 2 ข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน 3 หนังสือรับรองบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท 4 คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ 5 คู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียนของ ก.ล.ต. 6 ข้อแนะนำการให้สารสนเทศสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 7 หนังสือรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน 8 หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 9 รายงานประจำปีของบริษัทฯ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Compact Disc.
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายที่จะไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการผู้บริหาร และพนักงานแสวงหาประโยชน์ ส่วนตน ซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจถึงข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ให้หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับ ตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท กำหนดให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมีราคาและเงื่อนไขเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการหรือ พนักงานที่มีส่วนได้เสียในรายการนั้นจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ และในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ คณะกรรมการได้กำหนดข้อห้ามไม่ให้มีการใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตน หรือ ทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งไม่ใช้ข้อมูลภาย ในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ หรือให้ข้อมูลภายในแก่ บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ จรรยาบรรณทางธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยบริษัทฯ ได้กำหนดข้อพึงปฏิบัติไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจน สะดวกแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯที่จะได้รับทราบถึงแนวทางใน การประพฤติปฏิบัติควบคู่กับไปกับข้อบังคับและระเบียบของบริษัทฯ รวมทั้งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมทางธุรกิจ โดยให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีและมีหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาปฏิบัติตามข้อประพฤติปฏิบัติที่กำหนดไว้ การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร การแต่ ง ตั้ ง กรรมการของบริ ษั ท ฯ เป็ น ไปตามมติ ที่ ป ระชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น โดยผ่ า นการพิ จ ารณาของคณะกรรมการกำหนดค่ า ตอบแทนและ สรรหา และคณะกรรมการบริษัท ตามลำดับ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 5 ท่าน ทั้งนี้ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย - กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 6 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยมีกรรมการที่เป็นอิสระ 3 ท่านคิดเป็นสัดส่วน ร้ อ ยละ 37.50 ของจำนวนกรรมการทั้ ง หมด ซึ่ ง เป็ น จำนวนที่ ม ากพอที่ จ ะสามารถสร้ า งกลไกถ่ ว งดุ ล อำนาจภายในคณะกรรมการบริ ษั ท - กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 2 ท่าน ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียจึงมั่นใจได้ว่ากรรมการบริษัทจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นอิสระ และมีการถ่วงดุลที่เหมาะสม
31
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบแบบประเมินผลคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ เพื่อใช้ในการประเมินผลตนเองของคณะกรรมการบริษัท โดยให้ กรรมการบริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตนเองทุกปี เพื่อคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวนผลงาน ประเด็นและอุปสรรคต่างๆในรอบ ปี ที่ ผ่ า นมา พร้ อ มทั้ ง จั ด ทำสรุ ป ผลการประเมิ น กรรมการบริ ษั ท เพื่ อ คณะกรรมการบริ ษั ท จะนำผลการประเมิ น มาปรั บ ปรุ ง การปฏิ บั ติ ง านให้ มี ประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการประเมินผลการดำเนินงานของประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการ การรวมหรือแยกตำแหน่ง คณะกรรมการบริ ษั ท กำหนดให้ ป ระธานกรรมการเป็ น กรรมการที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร เป็ น บุ ค คลคนละคนกั บ ประธานอำนวยการ และไม่ มี ความสัมพันธ์ใดๆกับฝ่ายบริหาร โดยมีบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร ออกจากกันอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้คณะอนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา เป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการชุดย่อย และ ฝ่ายบริหารระดับสูงของบริษัทฯ และเพื่อเป็นการจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพตามที่บริษัทฯต้องการ และอยู่ในลักษณะที่เปรียบเทียบได้กับระดับ ที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นควรได้รับค่าตอบแทนเพิ่มที่เหมาะสม ส่วนกรรมการที่ เป็นผู้บริหาร และฝ่ายบริหารควรได้รับค่าตอบแทนที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯและผลการปฏิบัติงานของกรรมการ หรือผู้บริหารแต่ละคน เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลที่ดีตามหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด รวมทั้งหลักการปฏิบัติที่ดีที่ยอมรับในระดับสากล โดยค่าตอบแทน กรรมการเป็นไปตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารในปี 2550 ได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารแล้ว การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ทไว้อ ย่างเป็ นทางการล่ วงหน้ าตลอดทั้ง ปี และแจ้ ง ให้กรรมการทราบกำหนดการดั ง กล่ าว โดยกำหนดการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน อาจมีการประชุมคณะกรรมการเป็นการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และเพื่อให้ คณะกรรมการบริษัทสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท บริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมซึ่งกำหนด วาระการประชุมที่ชัดเจนและเอกสารประกอบการประชุมที่ครบถ้วนเพียงพอให้คณะกรรมการบริษัทล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลาอย่างน้อย 5 - 7 วันเพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม การประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง และกรรมการทุก คนมีโอกาสอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย โดยมีประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้ประมวลความเห็นและข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม ในกรณีที่ กรรมการผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องที่กำลังพิจารณาต้องออกจากการประชุมระหว่างการพิจารณาเรื่องนั้นๆ มีการจดบันทึกการประชุมเป็น ลายลักษณ์อักษร และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาร่างรายงานการประชุมดังกล่าว ก่อนทำการรับรองความถูกต้องของเอกสารในการประชุม ครั้งต่อไป โดยประธานกรรมการบริษัท ประธานอำนวยการ และเลขานุการคณะกรรมการบริษัท เอกสารที่จัดเก็บจะมีทั้งบันทึกการประชุมซึ่งจัดเก็บอยู่ ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ และแฟ้มอีเลคโทรนิคซึ่งรวมถึงเอกสารที่ประกอบวาระการประชุมด้วย เพื่อความสะดวกสำหรับกรรมการและผู้ที่ เกี่ยวข้องตรวจสอบอ้างอิงได้ ในปี 2550 คณะกรรมการบริษัท มีการประชุมตามวาระปกติ จำนวน 4 ครั้ง และการประชุมนัดพิเศษ 4 ครั้ง คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ ความชำนาญที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อช่วยปฏิบัติงาน ศึกษาแลกลั่นกรองเรื่อง สำคั ญที่ ต้ อ งการดู แ ลอย่ า งใกล้ ชิ ด ในแต่ ล ะด้ า น และเสนอความเห็ น ต่ อ คณะ กรรมการบริ ษั ท ทั้ ง นี้ มี อ งค์ ป ระกอบสมาชิ ก ขอบเขตหน้ า ที่ แ ละ ความรับผิดชอบ ตามรายละเอียดในหัวข้อการจัดการ
32
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลในการปกป้องรักษาและดูแลเงินทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของบริษัทฯ มีฝ่ายตรวจสอบ ภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของการควบคุม ภายใน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทดูแลให้ฝ่ายตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ และให้รายงาน ตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำตามเวลาที่กำหนดไว้ ด้านการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มีการประเมินปัจจัยความเสี่ยง กำหนดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ติดตามตรวจสอบ และ ประเมินผลการปฏิบัติตามแผนโดยคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานและติดตามการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญต่อเนื่อง รายงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในรายงานการเงินรวมของบริษัทฯและบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้การจัดทำรายงานทางการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย มีการใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ รวมทั้งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความเห็นไว้ในรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินคู่กับรายงานคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยสารสนเทศทางการเงิน และไม่ใช่การเงินของบริษัทฯ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีความถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส สม่ำเสมอ ทันเวลาและทั่วถึง ผ่านช่องทางต่างๆทั้ง ในทางตรงและทางอ้อมมาโดยตลอด และมอบหมายให้ประธานอำนวยการ และ/หรือกรรมการผู้จัดการ ทำหน้าที่สื่อสารโดยตรงกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดให้มีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินกิจการและตอบข้อซักถามต่างๆเกี่ยวกับ บริษัทฯให้แก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) การร่วมกิจกรรมพบนักลงทุนรายย่อยกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Opportunity Day) จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน (Press Conference) เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) นอกเหนือจากการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและผ่านทางเว็บไซต์บริษัทฯ www.univentures.co.th เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของบริษัทฯได้รับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ มีนโยบายด้านการเปิดเผยข้อมูล ความโปร่งใส รายงานทางการเงินและการดำเนินงาน โดยกำหนดข้อปฏิบัติในการเปิดเผยสารสนเทศ ทางการเงินและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจและผลประกอบการของบริษัทฯ ที่ถูกต้องครบถ้วน เพียงพอเชื่อถือได้ และทันเวลาอย่างสม่ำเสมอให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และบุคคลทั่วไป คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ การเปิ ด เผยข้ อ มู ล และความโปร่ ง ใสอย่ า งเคร่ ง ครั ด เมื่ อ กรรมการหรื อ ผู้ บ ริ ห ารมี ก ารเปลี่ ย นแปลงการซื้ อ ขายหุ้ น ตามข้ อ กำหนดของสำนั ก งาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการรายงานข้อมูลให้กับฝ่ายกำกับการปฏิบัติงานทราบตลอดเวลาโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการ ผู้บริหารสามารถบริหารและดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความชัดเจน โปร่งใส และมีส่วนช่วยให้ผู้ถือหุ้นตลอดจน ผู้ลงทุนทั่วไปเกิดความเชื่อมั่นในผู้บริหารของบริษัทฯ ในการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือข้อมูลที่ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น โดยกำหนดที่จะไม่ใช้โอกาส หรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อ ขายหุ้นบริษัทฯ หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ และในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯหรือธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่อง ไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทฯต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่ง แม้พ้นสภาพการเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือพนักงาน ของบริษัทฯไปแล้ว และเพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีส่วนใกล้ชิดกับข้อมูลของบริษัทฯนำข้อมูลภายในที่ตนรู้มาแสวงหา ประโยชน์อันเป็นการฝ่าฝืนหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีต่อบริษัทฯและผู้ถือหุ้น โดยจำกัดให้รับรู้ได้เฉพาะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง เท่านั้น รวมถึงห้ามกรรมการ และผู้บริหารซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนการประกาศงบการเงิน 1 เดือน โดยทุกๆ 3 เดือน บริษัทฯ จะได้แจ้ง คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารถึงช่วงระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ การกระทำฝ่าฝืนใดๆอันเป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับความเสียหายหรือสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ บริษัทฯถือเป็นการปฏิบัติขัดกับนโยบายและจริยธรรมทาง ธุรกิจ ต้องได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงและยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
33
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน รายชื่อกรรมการ 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรรัตน์ 4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 5 นายปณต สิริวัฒนภักดี 6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 7 นางอรฤดี ณ ระนอง 8 นายธนพล ศิริธนชัย
การเข้าร่วมประชุม/การประชุมทั้งหมด (ครั้ง) คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกำหนด ตรวจสอบ ค่าตอบแทน/สรรหา 2/3 1/1 5/5 5/5 2/2 1/1 2/2 -
คณะกรรมการ บริษัท 4/4 8/8 8/8 4/4 4/4 4/4 8/8 8/8
คณะกรรมการ บริหาร 3/5 5/5 5/5 11/11 11/11
การเข้าดำรง ตำแหน่งระหว่างปี 18 ก.ค. 2550 18 ก.ค. 2550 18 ก.ค. 2550 18 ก.ค. 2550 -
การถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ประจำปี 2550 ชื่อ - นามสกุล 1 2 3 4 5 6 7 8
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช นายสุวิทย์ จินดาสงวน นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางอรฤดี ณ ระนอง นายธนพล ศิริธนชัย
จำนวนหุ้นที่ ถือครอง 500,000 195,751,363* 195,751,363* 6,841,000 1,200,000
ใบสำคัญแสดงสิทธิ #2 ที่ได้รับ คงเหลือหลัง การจัดสรร ใช้สิทธิ 500,000 2,497,500 2,497,500 -
ใบสำคัญแสดงสิทธิ #3 ที่ได้รับ คงเหลือ การจัดสรร หลังใช้สิทธิ 2,002,500 2,002,500 3,500,000 800,000
หมายเหตุ แต่งตั้ง วันที่ 18 ก.ค. 2550 แต่งตั้ง วันที่ 18 ก.ค. 2550 แต่งตั้ง วันที่ 18 ก.ค. 2550 แต่งตั้ง วันที่ 18 ก.ค. 2550 -
หมายเหตุ : เป็นการถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งถือหุ้นบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 391,502,726 หุ้น และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นบริษัท อเดลฟอส จำกัด รวมกันร้อยละ 100
ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ประจำปี 2550 ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช นายสุวิทย์ จินดาสงวน นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางอรฤดี ณ ระนอง นายธนพล ศิริธนชัย นายโรเบิร์ต พอล วอเร็นซ์ คอลลินซ์ * นายเอียน สจ๊วต ดอนนาคี * นายวิกิต ขจรณรงค์วณิช *
คณะกรรมการ บริษัท
คณะกรรมการ ตรวจสอบ
171,613 240,000 240,000 115,613 115,613 115,613 240,000 240,000 178,000 110,000 110,000
163,548 480,000 360,000 210,000
หมายเหตุ : * กรรมการบริษัทที่ลาออกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2550
34
ค่าตอบแทน (บาท) คณะอนุกรรมการ กำหนดค่าตอบแทน/ สรรหา 22,000 22,000 36,000 18,000 36,000 18,000 18,000
คณะกรรมการ บริหาร 100,000 80,000 80,000 -
รวม 357,161 742,000 636,000 233,613 195,613 195,613 276,000 240,000 196,000 110,000 338,000
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าธรรมเนียมในการสอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบคัดเลือกผู้สอบบัญชีในเบื้องต้น โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติความเป็นอิสระ สามารถสอบทานงบการเงินเสร็จตามกำหนด เวลา มีความรู้ ความเชี่ยวชาญของการให้บริการสอบบัญชี ตลอดจนเข้าใจในธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และเสนอความเห็นให้คณะกรรมบริษัทพิจารณาเพื่อ นำเสนอขออนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีในที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ และบริษัทย่อย จ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชีให้กับบริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำนวนเงิน รวม 2,330,000 บาท ประกอบด้วยค่าสอบบัญชีของบริษัทฯ จำนวน 740,000 บาท และค่าสอบบัญชีของบริษัทย่อย 1,590,000 บาท ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา บริษัทฯ และบริษัทย่อย มิได้จ่ายค่าตอบแทนของงานบริการอื่นให้กับผู้สอบบัญชี บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและ สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และไม่มีค่าใช้จ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ข้อพิพาททางกฎหมาย คดีที่อาจมีผลกระทบด้านลบต่อสินทรัพย์ บริษัทฯ ไม่มีคดีซึ่งอาจมีผลกระทบด้านลบต่อสินทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชีล่าสุด หรือคดีที่มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 10 ของสินทรัพย์หมุนเวียน ณ วันสิ้นปีบัญชี คดีทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ ไม่มีคดีที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่สามารถประเมินผลกระทบเป็นตัวเลขได้หรือคดีที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจ โดยปกติของบริษัทฯ
35
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เฉพาะด้าน และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมี นายสุวิทย์ จินดาสงวน เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช และนายนรรัตน์ ลิ่มนรรรัตน์ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยที่กรรมการ ตรวจสอบแต่ละท่านไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร รวมทั้งไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร พนักงาน หรือเป็นผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทในเครือ และบริษัทร่วม คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทและสอดคล้อง กับแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยกำหนดไว้ รวมถึงการสอบทานงบการเงินการสอบทาน ความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน การสอบทานการเปิดเผยข้อมูลกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งพิจารณาคัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทฯ และกำหนดค่าตอบแทน การสอบบัญชีประจำปี ในปี 2550 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยมีกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม กับตัวแทนฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งได้พิจารณาสอบทานการจัดทำรายงานทางการเงินรายไตรมาสและประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตโดยผู้บริหารที่รับผิดชอบได้ชี้แจงข้อซักถามก่อนที่คณะกรรมการตรวจสอบจะให้ความเห็นชอบงบการเงิน ซึ่งเห็นว่างบการเงินที่ พิจารณาในแต่ละครั้งมีการจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมีการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องตามที่ ควรในสาระสำคัญตามความเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่แนบในงบการเงินแต่ละไตรมาสและประจำปีก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อ พิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการสอบทานคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีแล้วมีความถูกต้องครบถ้วนตามประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้พิจารณาความเหมาะสมของ ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีแล้ว จึงมีมติให้เสนอคณะกรรมการบริษัท เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ พร้อมทั้งพิจารณาค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ประจำปี 2551 ต่อไป คณะกรรมการ ตรวจสอบได้แสดงความเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ มีการเปิดเผยข้อมูล สารสนเทศต่อบุคคลภายนอกที่เพียงพอ และมีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตลอดจนได้มีการพิจารณาสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
สุวิทย์ จินดาสงวน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
36
รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตลอดจนข้อมูล สารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปีและในงบการเงินของบริษัทฯ ซึ่งรายงานทางการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไป ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบและให้ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขจาก ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่เป็นอิสระ งบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้รับการตรวจสอบโดยนางสาวทิพวัลย์ นานานุวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3459 แห่งบริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีของ บริษัทฯ และบริษัทย่อยอย่างถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอ ทันเวลา และป้องกันช่องทางการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ นอกจากนี้ เพื่อให้มีการทบทวนระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง และสอบทานระบบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการบริษัทจึงได้ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระเป็นผู้รับผิดชอบสอบทานรายงานทางการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้นำ เสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอ รวมถึงการมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวปรากฏในรายงานคณะกรรมการตรวจสอบที่ได้แสดงไว้ในรายงานประจำปีนี้แล้ว คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ และบริษัทย่อยโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจและสามารถสร้าง ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่ารายงานทางการเงินของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ได้แสดงฐานะ การเงิน และผลการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว
พจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการบริษัท
37
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 งบกำไรขาดทุนรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และงบกระแสเงินสดรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยและได้ตรวจสอบงบการเงิน เฉพาะกิจการของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลใน งบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความ เชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐาน ประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการ เกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอใน งบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับ ปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยและเฉพาะของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้อง ตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยมิได้เป็นการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินข้างต้น ข้าพเจ้าขอให้สังเกตตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ จากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุน โดยบริษัทฯ ได้ปรับย้อนหลังงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว
ทิพวัลย์ นานานุวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3459
บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด กรุงเทพฯ: 28 กุมภาพันธ์ 2551
38
งบดุล บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
หมายเหตุ สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หัก : ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ - สุทธิ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ดอกเบี้ยค้างรับจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลูกหนี้อื่น อื่น ๆ รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้ เงินลงทุนในบริษัทย่อย - สุทธิ เงินลงทุนในบริษัทร่วม - สุทธิ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย - สุทธิ โครงการระหว่างการพัฒนา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ ค่าความนิยมรอตัดบัญชี - สุทธิ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
(ปรับปรุงใหม่)
825,081,679 101,183,966
312,861,430 -
581,142,660 100,000,000
78,906,131 -
6.2
171,200 218,464,072 (2,592,875) 216,042,397 9,001,550
524,300 229,492,020 (2,847,188) 227,169,132 -
131,653 201,278,627 201,410,280 -
14,552 203,384,921 203,399,473 19,513,097
6.3 8 9
250,000,000 141,406,931 56,421,045
438,546,700 127,967,764 92,501,530
330,500,000 118,290,641 -
441,812,740 87,478,884 -
6.4
37,592,625 2,889,325 11,827,124
15,304,564 22,472,768 4,399,571
38,069,816 72,078 9,642,973
15,369,415 7,910,601 2,801,884
1,651,446,642
1,241,223,459
1,379,128,448
857,192,225 334,618,197 58,065,520 128,274,142 3,270,586 524,228,445 1,381,420,670
7 6.1
546,000 10 11 12 13 14
-
50,950,843 69,705,398 171,356,681 205,655,128 299,580 9,538,389 508,052,019
179,524,606 471,497 6,651,593 314,640,524
300,122,532 49,339,000 125,697,886 3,536,128 478,695,546
2,159,498,661
1,555,863,983
1,857,823,994
66,418,330 61,574,498
-
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
39
งบดุล (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
หมายเหตุ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน รวมเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินหมุนเวียนอื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี อื่น ๆ รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
40
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
(ปรับปรุงใหม่)
15
1,210,148
84,013,459
-
50,000,000
6.5
6.6 6.7
36,921,905 36,921,905 32,850,000
21,515,923 21,515,923 8,850,000
599,200 31,373,665 31,972,865 6,859,056 -
2,525,200 17,773,481 20,298,681 7,214,732 13,000,000
13
4,900,211 27,632,035 109,000,000
14,875,105 17,072,635 -
2,245,363 21,028,598 -
5,660,005 15,581,313 -
137,073 9,130,100 221,781,472
3,435,645 8,156,456 157,919,223
137,073 1,646,163 63,889,118
3,008,533 4,263,210 119,026,474
57,114 57,114 221,838,586
194,187 194,187 158,113,410
57,114 57,114 63,946,232
194,187 194,187 119,220,661
งบดุล (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
หมายเหตุ ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 944,528,490 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้ว หุ้นสามัญ 762,268,274 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2549 : หุ้นสามัญ 530,455,899 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) ทุน ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่)
16 944,528,490
944,528,490
944,528,490
944,528,490
16
762,268,274
530,455,899
762,268,274
530,455,899
17 12 16.5
473,332,950 138,033,416 (20,307,030) 998,860
241,046,732 138,033,416 (28,437,930) 2,485,900
473,332,950 103,091,000 998,860
241,046,732 103,091,000 2,485,900
45,402,000 509,868,090
39,031,000 468,587,434
42,920,000 411,266,678
36,800,000 348,320,478
1,909,596,560 1,391,202,451 1,793,877,762
1,262,200,009
18
28,063,515
6,548,122
-
-
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
1,937,660,075 1,397,750,573 1,793,877,762
1,262,200,009
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
2,159,498,661 1,555,863,983 1,857,823,994
1,381,420,670
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
41
งบกำไรขาดทุน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
หมายเหตุ รายได้ รายได้จากการขาย รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุด ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม รายได้อื่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย กำไรจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย กำไรจากการขายหลักประกันของลูกหนี้เงินให้กู้ยืม กำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ให้เช่า รายได้ค่าบริการ อื่น ๆ รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุด ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร ขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม รวมค่าใช้จ่าย กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กำไรหลังภาษีเงินได้นิติบุคคล (กำไร) ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิสำหรับปี กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิ จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (หุ้น) กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรสุทธิ จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (หุ้น) หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
42
11.1
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
(ปรับปรุงใหม่)
1,361,221,472 1,318,643,506 1,139,372,030 1,091,635,152 97,078,290 145,633,040 15,076,940 31,812,477 42,325,901 32,252,315 43,159,981 43,913,717 220,381,472 7,379,557 2,519,117 28,427,150 4,459,808 6,197,022 3,545,849 9,539,786 7,879,321 1,142,211 3,780,000 3,780,000 3,243,878 9,535,792 10,552,66 15,669,496 22,500,668 25,802,411 1,547,196,384 1,558,957,750 1,249,520,952 1,392,785,934 1,185,156,680 1,153,398,746 80,535,130 106,335,645 113,181,801 101,554,393
11.1
987,857,405 70,252,761
954,722,989 62,679,087
1,610,837 21,976,272 9,890,205 1,388,763,816 1,361,288,784 1,080,086,438 1,019,012,913 158,432,568 197,668,966 169,434,514 373,773,021 (5,940,051) (1,180,645) (8,557,924) (2,007,553) (54,473,928) (43,046,213) (45,893,489) (37,809,144) 101,951,087 146,064,829 122,360,380 330,023,826 335,956 (1,005,251) 100,945,836 146,400,785 122,360,380 330,023,826
21 0.16 640,699,993
0.28 530,401,829
0.19 640,699,993
0.62 530,401,829
0.15 654,741,501
0.27 536,149,197
0.19 654,741,501
0.62 536,149,197
43
762,268,274
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
241,046,732 228,634,168 3,652,050 -
530,455,899 221,500,000 10,312,375 -
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ออกหุ้นเพิ่มทุน 16.3 ออกหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 16.1, 16.2,16.4 เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน เงินปันผลจ่าย 24 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย กำไรสุทธิสำหรับปี สำรองตามกฎหมายส่วนของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น โอนไปสำรองตามกฎหมาย 473,332,950
241,046,732
527,671,999 2,783,900 530,455,899
24
241,046,732 -
ทุนที่ออก และชำระแล้ว
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ออกหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น ขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงจากการขายเงินลงทุน กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน เงินปันผลจ่าย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น กำไรสุทธิสำหรับปี สำรองตามกฎหมายส่วนของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น โอนไปสำรองตามกฎหมาย
หมายเหตุ
ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ
138,033,416
138,033,416 -
138,033,416
138,033,416 -
ส่วนเกินทุน จากการ ตีราคาที่ดิน
(20,307,030)
(28,437,930) 8,130,900 -
(28,437,930)
(60,699,784) 23,739,052 8,522,802 -
ขาดทุน ที่ยังไม่เกิดขึ้น จริงของเงิน ลงทุน
998,860
2,485,900 (13,964,425) 12,477,385 -
2,485,900
2,672,400 (2,672,400) 2,485,900 -
เงินรับล่วงหน้า ค่าหุ้น
งบการเงินรวม
45,402,000
39,031,000 251,000 6,120,000
39,031,000
29,450,000 2,231,000 7,350,000
จัดสรรแล้ว สำรองตาม กฎหมาย
509,868,090
468,587,434 (53,294,180) 100,945,836 (251,000) (6,120,000)
468,587,434
384,802,089 (53,034,440) 146,400,785 (2,231,000) (7,350,000)
ยังไม่ได้จัดสรร
กำไรสะสม
รวม
28,063,515
6,548,122 20,510,142 1,005,251 -
6,548,122
1,937,660,075
1,397,750,573 450,134,168 12,477,385 8,130,900 (53,294,180) 20,510,142 101,951,087 -
1,397,750,573
2,484,078 1,265,460,930 111,500 2,485,900 23,739,052 8,522,802 (53,034,440) 4,400,000 4,400,000 (335,956) 146,064,829 -
ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยใน บริษัทย่อย
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
44 473,332,950
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
762,268,274
241,046,732 241,046,732 228,634,168 3,652,050 -
241,046,732 -
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 - ตามที่รายงานไว้เดิม 530,455,899 ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการ บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม 4 530,455,899 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 - หลังการปรับปรุง 221,500,000 ออกหุ้นเพิ่มทุน 16.3 10,312,375 ออกหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 16.1,16.2,16.4 เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น เงินปันผลจ่าย 24 กำไรสุทธิสำหรับปี โอนไปสำรองตามกฎหมาย
527,671,999 2,783,900 -
241,046,732
241,046,732
24
4
527,671,999
ทุนที่ออก ส่วนเกิน และชำระแล้ว มูลค่าหุ้นสามัญ
530,455,899
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 - หลังการปรับปรุง
บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 - หลังการปรับปรุง ออกหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น กำไรที่เกิดขึ้นจริงจากการขายเงินลงทุน เงินปันผลจ่าย กำไรสุทธิสำหรับปี โอนไปสำรองตามกฎหมาย
ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการ
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 - ตามที่รายงานไว้เดิม
หมายเหตุ
103,091,000
138,033,416 (34,942,416) 103,091,000 -
103,091,000
(34,942,416) 103,091,000 -
138,033,416
ส่วนเกินทุนจากการ ตีราคาที่ดิน
-
(28,437,930) 28,437,930 -
-
63,817,986 3,118,202 (3,118,202) -
(60,699,784)
998,860
2,485,900 2,485,900 (13,964,425) 12,477,385 -
2,485,900
2,672,400 (2,672,400) 2,485,900 -
2,672,400
42,920,000
36,800,000 36,800,000 6,120,000
36,800,000
29,450,000 7,350,000
29,450,000
411,266,678
470,818,434 (122,497,956) 348,320,478 (53,294,180) 122,360,380 (6,120,000)
348,320,478
(306,120,997) 78,681,092 (53,034,440) 330,023,826 (7,350,000)
384,802,089
ยังไม่ได้จัดสรร
กำไรสะสม ขาดทุน เงินรับล่วงหน้า จัดสรรแล้ว ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ค่าหุ้น สำรองตามกฎหมาย ของเงินลงทุน
งบการเงินเฉพาะกิจการ
1,793,877,762
1,391,202,451 (129,002,442) 1,262,200,009 450,134,168 12,477,385 (53,294,180) 122,360,380 -
1,262,200,009
(277,245,427) 985,731,425 111,500 2,485,900 (3,118,202) (53,034,440) 330,023,826 -
1,262,976,852
รวม
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
งบกระแสเงินสด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
(ปรับปรุงใหม่)
กระแสเงินสดได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิ ปรับกระทบกำไรสุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน :ส่วนแบ่ง (กำไร) ขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม กำไร (ขาดทุน) สุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ค่าความนิยมตัดจำหน่าย ขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยตัดจ่าย หนี้สงสัยจะสูญ ตัดจำหน่ายลูกหนี้สรรพากร ขาดทุนจากสินค้าเสื่อมสภาพ เงินปันผลรับ กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย กำไรจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย กำไรจากการขายหลักประกันของลูกหนี้เงินให้กู้ยืม กำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ให้เช่า
หมายเหตุประกอบงบ.3การเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
(กำไร) ขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน สินทรัพย์ดำเนินงานลดลง (เพิ่มขึ้น) :ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดอกเบี้ยค้างรับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) :เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน
100,945,836 146,400,785 122,360,380
330,023,826
9,890,205 (15,076,940) 1,005,251 (335,956) 311,861 2,069,166 - 21,976,272 10,988,998 13,546,989 6,052,220 1,143,667 8,209,149 2,228,969 3,463,461 3,209,601 3,209,601 2,253,451 474,075 (2,519,117) (7,379,557) (43,913,717) - (4,459,808) - (3,545,849) (7,879,321) (9,539,786) - (1,142,211) -
1,610,837 6,041,199 1,143,667 1,871,984 (220,381,472) (28,427,150) (6,197,022) -
(7,341,139)
1,149
(1,521)
(7,392)
119,074,775 128,844,501 108,686,888
85,678,477
11,397,786 (79,556,775) 1,989,193 1,715,531 (15,692,18) (6,883,427) (30,811,757) 80,535,130 99,459,605 (22,288,061) (4,494,397) (2,700,401) (598,916) (5,050,153) (5,675,628) (1,643,300) 1,802,477 (265,541)
(93,080,587) 51,969 (1,239,006) (4,505,704) (6,338,993) 476,657
7,118,881 7,571,158 (7,577,196) 6,724,747 170,326,481 148,417,736
8,698,714 13,650,527 3,392,054
11,674,184 (3,948,612) 60,663,857
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
45
งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย : บาท)
งบการเงินรวม 2550 2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
(ปรับปรุงใหม่)
กระแสเงินสดจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เพิ่มขึ้น) ลดลง เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการอื่น (เพิ่มขึ้น) ลดลง เงินลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น เงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น เงินสดสุทธิจากการซื้อหุ้นสามัญในบริษัทย่อย เงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้น เงินสดรับจากการลดหน่วยลงทุนในกองทุนรวม (บริษัทย่อย) เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดรับจากการขายหลักประกันของลูกหนี้เงินให้กู้ยืม เงินสดรับจากเงินปันผล เงินสดรับจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ให้เช่า เงินสดรับจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อโครงการระหว่างการพัฒนา เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นลดลง เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น (ลดลง) เงินปันผลจ่าย เงินรับจากการเพิ่มทุน เงินสดรับ (จ่าย) ค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระแสเงินสด :เงินสดจ่ายระหว่างปีสำหรับ ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล รายการที่ไม่ใช่เงินสดประกอบด้วย :ลงทุนในโครงการระหว่างการพัฒนาโดยยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์โดยยังมิได้รับชำระเงิน โอนที่ดินเป็นต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
46
168,546,700 (194,446,700) 111,312,740 5,000,000 (3,850,000) (17,569,738) (46,229,860) (14,169,738) - (118,325,129) 31,218,393 (100,240,116) - (100,000,000) - 158,200,586 76,258,799 2,735,670 7,879,321 27,824,610 7,852,451 109,555,577 61,711,283 - 146,550,000 2,353,266 41,400 56,000 (8,456,740) (5,991,771) (3,530,443) (64,612,032) 31,971,505 112,447,725 95,255,299
(194,446,700) (35,229,860) (16,500,000) 138,425,612 13,278,820 202,583,906 7,400 (3,341,773) 104,777,405
(82,803,311) (92,974,233) (16,000,000) (53,294,180) (53,034,440) 462,611,553 2,597,400 (591,799) 4,400,000 309,922,263 (139,011,273) 512,220,249 121,854,188 312,861,430 191,007,242 825,081,679 312,861,430
(50,000,000) (13,000,000) (53,294,180) 462,611,553 346,317,373 502,236,529 78,906,131 581,142,660
(101,040,614) 13,000,000 (53,034,440) 2,597,400 (138,477,654) (30,308,195) 109,214,326 78,906,131
789,531 45,738,195
8,046,300 30,499,153
1,514,549 40,471,194
5,503,094 24,359,774
106,744,649 9,000,000 14,867,976
-
-
-
หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549
1. ข้อมูลทั่วไป
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและมีภูมิลำเนาในประเทศไทย บริษัทฯ มีบริษัท อเดลฟอส จำกัด เป็นบริษัทใหญ่ ธุรกิจหลักของบริษัทฯ คือการผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์และลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีที่อยู่ตามที่จดทะเบียนคือเลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน
2.1 งบการเงิ น นี้ จั ด ทำขึ้ น ตามมาตรฐานการบั ญ ชี ที่ ก ำหนดในพระราชบั ญ ญั ติ วิ ช าชี พ บั ญ ชี พ.ศ. 2547 และการแสดงรายการในงบการเงิ น ได้ ท ำขึ้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ กำหนดในประกาศกรมพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้ า ลงวั น ที่ 14 กั น ยายน 2544 ออกตามความในพระราชบั ญ ญั ติ การบัญชี พ.ศ. 2543
2.2 เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี ก) งบการเงินรวมนี้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยดังต่อไปนี้
บริษัท
ลักษณะธุรกิจ
จัดตั้งขึ้น ใน ประเทศ
ร้อยละของสินทรัพย์ ที่รวมอยู่ใน สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม
อัตราร้อยละของ การถือหุ้น
ร้อยละของรายได้ ที่รวมอยู่ในรายได้รวม สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม
2550
2549
2550
2549
2550
2549
บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทฯโดยตรง บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด
ขายผงสังกะสีออกไซด์
ไทย
100.00
100.00
5.14
8.48
11.88
15.68
บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด
ตัวแทนจำหน่ายเครื่อง
ไทย
99.99
99.99
0.75
1.63
2.55
2.59
ไทย
100.00
100.00
0.67
1.06
0.41
0.22
ไทย
100.00
100.00
4.23
7.55
0.46
0.72
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ไทย
98.88
98.88
5.34
19.11
5.35
10.67
บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด
ลงทุนในธุรกิจการจัดการพลังงาน
ไทย
75.00
60.00
1.18
1.06
-
-
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ไทย
100.00
-
9.60
-
-
-
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ (คอนโดมิเนียม) แอสเซท แมนเนจเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 11)
ไทย
49.00
-
5.69
-
2.21
-
ไทย
58.98
-
1.37
-
0.89
-
บันทึกเวลาและอุปกรณ์ ควบคุมระบบจอดรถยนต์ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด
ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน และการลงทุน
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสแซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้
ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน และให้บริการการจัดการ
(ถือหุ้นทางอ้อมโดยกองทุนส่วน บุคคลของบริษัทย่อยร้อยละ 1)
บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยอ้อม บริษัท ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 98.30)
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (คอนโดมิเนียม)
47
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในระหว่างปีได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในกลุ่มบริษัทดังนี้ :
- - -
บริษัทฯ ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยเป็นการถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของทุน จดทะเบียนของบริษัทดังกล่าว (หมายเหตุ 10) บริษัทฯ ได้ชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือของบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทย่อย) นอกจากนี้ยังได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทย่อยดังกล่าว ซึ่งได้มีการเรียกชำระค่าหุ้นแล้วร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นเพิ่มทุน รวมทั้งได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งทำให้สัดส่วนใน การลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 ของทุนชำระแล้ว (หมายเหตุ 10) บริษัทฯ ได้ลงทุนในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด โดยซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มจากอัตราร้อยละ 33.33 เป็ น อั ต ราร้ อ ยละ 49 ของทุ น ชำระแล้ ว นอกจากนี้ บ ริ ษั ท ย่ อ ยแห่ ง หนึ่ ง ได้ ล งทุ น ในบริ ษั ท ดั ง กล่ า วในอั ต ราร้ อ ยละ 11 ทำให้ บ ริ ษั ท ดังกล่าวเปลี่ยนสถานะจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อย (หมายเหตุ 10)
ข) ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำคัญได้ตัดออกจากงบการเงินรวมนี้แล้ว
ค) ยอดเงินลงทุนในบริษัทย่อยในบัญชีของบริษัทฯ ได้ตัดกับส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแล้ว ผลต่างที่เหลือจะตัดจำหน่ายภายในระยะเวลา 10 ปี
นับตั้งแต่วันที่เข้าซื้อหุ้นในบริษัทย่อย
2.3 บริษัทฯ ได้จัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุน
3. การประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่
สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 9/2550 ฉบับที่ 38/2550 และฉบับที่ 62/2550 เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี
โดยให้ใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ดังต่อไปนี้ ก) มาตรฐานการบัญชีที่มีผลบังคับใช้ในปี 2550
ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550)
งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริษัทร่วม ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
มาตรฐานการบั ญ ชี ข้ า งต้ น ให้ ถื อ ปฏิ บั ติ กั บ งบการเงิ น สำหรั บ รอบระยะเวลาบั ญ ชี ที่ เ ริ่ ม ในหรื อ หลั ง วั น ที่ 1 มกราคม 2550 เป็ น ต้ น ไป ในระหว่ า งไตรมาสที่ 1 ของปี ปั จ จุ บั น บริ ษั ท ฯ ได้ เ ปลี่ ย นแปลงนโยบายการบั ญ ชี เ กี่ ย วกั บ การบั น ทึ ก เงิ น ลงทุ น ในบริ ษั ท ย่ อ ยและบริ ษั ท ร่ ว ม ในงบการเงินเฉพาะกิจการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 และ 45 ฉบับปรับปรุงใหม่ ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ 4
ข) มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปี 2550
48
ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) ฉบับที่ 51
งบกระแสเงินสด สัญญาเช่า สินค้าคงเหลือ ต้นทุนการกู้ยืม การนำเสนองบการเงิน นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด งบการเงินระหว่างกาล การรวมธุรกิจ สัญญาก่อสร้าง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
มาตรฐานการบัญชีข้างต้นให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ฝ่ายบริหาร ของบริษัทฯ ได้ประเมินแล้วเห็นว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินสำหรับปีที่เริ่มใช้มาตรฐาน การบัญชีฉบับดังกล่าว
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 4. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงิน เฉพาะกิจการ จากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กิจการซึ่งกำหนดให้เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่มีการควบคุมร่วมกัน และเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ ต้องแสดงตามวิธีราคาทุน
ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทฯ ได้ปรับย้อนหลังงบการเงินเฉพาะกิจการปีก่อนที่นำมาแสดงเปรียบเทียบเสมือนว่า บริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุนมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 21.4 ล้านบาท (0.03 บาทต่อหุ้น) โดยเพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิจำนวน 100.9 ล้านบาท เป็น 122.3 ล้านบาท และ 183.6 ล้านบาท (0.35 บาทต่อหุ้น) โดยเพิ่มขึ้น จากกำไรสุทธิจำนวน 146.4 ล้านบาท เป็น 330.0 ล้านบาท ตามลำดับ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวได้แสดงไว้ ในหัวข้อ “ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม” ในงบแสดงการเปลี่ยน แปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการแล้ว
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว มีผลกระทบเฉพาะต่อรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่องบการเงินรวมแต่อย่างใด 5. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
5.1 การรับรู้รายได้ ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้ารับรู้เมื่อบริษัทฯ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว รายได้จากการขายแสดงมูลค่าตามราคาในใบกำกับสินค้าโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าที่ได้ส่งมอบหลังจากหักส่วนลดแล้ว
รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุด บริษัทย่อยรับรู้รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุด เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ ที่เปิดขายและได้รับชำระเงินขั้นต้นเกินกว่าร้อยละ 20 แล้วตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ (Percentage of completion method) อัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จถือตามอัตราส่วนที่ประเมินโดยผู้ควบคุมโครงการและที่ปรึกษา หรือเมื่อมีการโอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ ที่มีนัยสำคัญในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อแล้ว
รายได้ค่าบริการ รายได้ค่าบริการรับรู้เมื่อได้ให้บริการแล้ว โดยพิจารณาถึงขั้นความสำเร็จของงาน ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เงินปันผลรับ เงินปันผลรับถือเป็นรายได้เมื่อมีสิทธิในการรับเงินปันผล 5.2 ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุด ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุด คำนวณขึ้นโดยการแบ่งสรรต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับหน่วยในโครงการอาคารชุด ที่ขายได้แล้วตามเกณฑ์ราคาขายแล้วจึงบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามสัดส่วนของการรับรู้รายได้ 5.3 ดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุน ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนงานก่อสร้างระหว่างการพัฒนาของโครงการ และจะหยุดบันทึกเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์หรือหยุดชะงักลงจนกว่าจะมีการดำเนินงานพัฒนาต่อไป
49
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
5.4 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งถึงกำหนด จ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำกัดในการเบิกใช้ 5.5 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงตามมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับผลขาดทุนโดยประมาณที่ อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาจากประสบการณ์การเก็บเงินและการวิเคราะห์อายุลูกหนี้ 5.6 สินค้าคงเหลือ สินค้าสำเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตแสดงมูลค่าตามราคาทุน (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำ กว่า ราคาทุนดังกล่าวหมายถึงต้นทุนในการผลิตทั้งหมดรวมทั้งค่าโสหุ้ยโรงงานด้วย วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองโรงงานและวัตถุประกอบการผลิตแสดงมูลค่าตามราคาทุน (วิธีต้นทุนเจาะจงและวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน ตามลำดับ) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า และจะถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตเมื่อมีการเบิกใช้ 5.7 ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แสดงตามราคาทุน ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนในการได้มาซึ่งที่ดิน อาคารระหว่างก่อสร้างและ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการต่อ 5.8 เงินลงทุน
ก) เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงตามมูลค่ายุติธรรม บริษัทฯ บันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นรายการแยก ต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้นจนกระทั่งจำหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวออกไป จึงบันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้นในงบกำไรขาดทุน ข) เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ค) เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน
มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดคำนวณจากราคาเสนอซื้อหลังสุด ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายของปีของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการคำนวณต้นทุนของเงินลงทุน 5.9 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาที่ตีใหม่ อาคาร อาคารโรงงานและอุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อ การด้อยค่าของสินทรัพย์ (ถ้ามี) บริษัทฯ บันทึกมูลค่าเริ่มแรกของที่ดินในราคาทุน ณ วันที่ได้สินทรัพย์มา หลังจากนั้นบริษัทฯ จัดให้มีการประเมินราคาที่ดินโดยผู้ ประเมินราคาอิสระและบันทึกที่ดินดังกล่าวในราคาที่ตีใหม่ ทั้งนี้บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินราคาที่ดินดังกล่าวเป็นครั้งคราวเพื่อมิให้ราคา ตามบัญชี ณ วันที่ในงบดุลแตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีสาระสำคัญ บริษัทฯ บันทึกราคาตามบัญชีของที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ในบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน” ในส่วนของผู้ถือหุ้น ในงบดุล
ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำนวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณดังนี้ อาคารและส่วนปรับปรุงอาคาร 20 ปี เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5, 10 ปี เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์สำนักงาน 5, 10 ปี ยานพาหนะ 5 ปี
ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน
ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดิน โครงการระหว่างการพัฒนา และสินทรัพย์ระหว่างติดตั้ง
50
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
5.10 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำนาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกควบคุมโดยบริษัทฯ ไม่ว่า จะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ
นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญกับบริษัทฯ ผู้บริหารสำคัญ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำนาจในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ
5.11 เงินตราต่างประเทศ
รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็น เงินตราต่างประเทศคงเหลืออยู่ ณ วันที่ในงบดุลได้แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล
กำไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนรวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน
5.12 การด้อยค่าของสินทรัพย์
ทุกวันที่ในงบดุล บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำการประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ซึ่งแสดงว่าสินทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยด้อยค่าลง หรือไม่ หากมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำการประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์และหากพบว่า ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะลดมูลค่าของสินทรัพย์นั้นลงให้ เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน และรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงบกำไรขาดทุน (มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของ สินทรัพย์หมายถึงราคาขายสุทธิหรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้นแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
5.13 ผลประโยชน์พนักงาน
บริษัทฯ รับรู้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ
5.14 ภาษีเงินได้
บริษัทฯ บันทึกภาษีเงินได้โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษีตามกฎหมายภาษีอากร
5.15 ประมาณการหนี้สิน
บริษัทฯ จะบันทึกประมาณการหนี้สินไว้ในบัญชีเมื่อภาระผูกพันซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และมีความ เป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริษัทฯ จะเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจไปเพื่อปลดเปลื้องภาระผูกพันนั้น และบริษัทฯ สามารถประมาณ มูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
5.16 ตราสารอนุพันธ์
สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะถูกแปลงค่าตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดบัญชี กำไร ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศดังกล่าวจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ส่วนเกินหรือส่วนลดที่เกิดขึ้นจากการ ทำสัญญาจะถูกตัดจำหน่ายด้วยวิธีเส้นตรงตามอายุของสัญญา
5.17 การใช้ประมาณการทางบัญชี
ในการจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในบางสถานการณ์ฝ่ายบริหารอาจต้องใช้การประมาณและการตั้ง สมมติฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วยเหตุนี้ผลที่เกิดขึ้นจริงจึงอาจ แตกต่างไปจากจำนวนที่ประมาณไว้
6. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในระหว่างปี บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำคั ญ กั บ บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น รายการธุ ร กิ จ ดั ง กล่ า วเป็ น ไปตาม เงือ่ นไขทางการค้าและเกณฑ์ตามที่ตกลงกันระหว่างบริษัทฯ และบริษัทเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจโดยสามารถสรุปได้ดังนี้
51
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 2550 2549
นโยบายการกำหนดราคา
รายการธุรกิจกับบริษัทย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) : ขายสินค้า ซื้อสินค้า รายได้ค่าเช่า ดอกเบี้ยรับ ค่าบริการจัดการรับ เงินปันผลรับ ค่าเช่าจ่าย ค่านายหน้าจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย รายการธุรกิจกับบริษัทร่วม รายได้ที่ปรึกษา ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยจ่าย รายการธุรกิจกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ดอกเบี้ยจ่าย (ประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับ ดำเนินงานและดอกเบี้ยจ่าย สำหรับต้นทุนโครงการ) ค่านายหน้าจ่าย ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
-
-
1,369 1,368 720 1,762 3,780 38,580 1,560 17,619 481
1,005 37,893 720 161 3,780 119,381 1,410 16,414 377
ราคาใกล้เคียงกับราคาตลาด ราคาใกล้เคียงกับราคาตลาด ราคาตามที่ตกลงร่วมกัน อัตราดอกเบี้ยตามหมายเหตุ 6.3 ราคาตามที่ตกลงร่วมกัน หมายเหตุ 10 ราคาตามที่ตกลงร่วมกัน คิดตามอัตรารัอยละ 1.5 - 2.0 ของรายได้ อัตราดอกเบี้ยตามหมายเหตุ 6.7
2,756 31,536 5,333 133
2,785 31,568 102,176 133
31,536 5,333 -
31,568 101,000 -
ราคาตามสัญญา อัตราดอกเบี้ยตามหมายเหตุ 6.3 หมายเหตุ 11 อัตราดอกเบี้ยตามหมายเหตุ 6.7
639
-
-
- ร้อยละ 9 ต่อปี
420 12,000
-
-
- โปรดดู (1) - ราคาประมูล
(1) ค่านายหน้าจ่าย บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด และบริษัทย่อยได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทนกับบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันโดยทั้งสองบริษัทตกลงที่จะจ่ายค่านายหน้าให้กับบริษัทดังกล่าวในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้จาก การขายห้องชุดใน โครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 1 และในอัตราร้อยละ 1.6 ของรายได้จากการขายห้องชุดในโครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 2 โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 งวดที่ 2 งวดที่ 3
52
จ ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อมียอดขายเกิดขึ้นแล้วร้อยละ 50 จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรก จ่ายร้อยละ 40 เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ครบจำนวนของห้องชุดที่ขายได้ก่อนโอนงานขายให้ฝ่ายธุรกิจนายหน้า ซึ่งคิดจากมูลค่า ขายสุทธิหลังหักเงินที่เบิกจ่ายจากงวดที่ 1 และงวดที่ 2
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
ในปี 2550 และ 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้จ่ายเงินเดือน ค่าเบี้ยประชุมและเงินบำเหน็จให้แก่ กรรมการและผู้บริหาร เป็นจำนวน เงิน 24.8 ล้านบาท และ 23.9 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะของบริษัทฯ: 19.6 ล้านบาท และ 19.8 ล้านบาท ตามลำดับ) ภาระค้ำประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
บริษัทฯ มีภาระจากการค้ำประกันให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 25.2
ยอดคงค้างของรายการดังกล่าวข้างต้นแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบดุล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
6.1 ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 2549 บริษัทย่อย บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัทร่วม บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด* บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด รวมลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน * เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
-
-
132
15
171 171
353 171 524
132
15
6.2 ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 2549 บริษัทย่อย บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เยาววงศ์ จำกัด บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) รวมลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
-
-
-
11 1,533 17,798 124 47
9,000 2 9,002
-
-
19,513
53
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
6.3 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม
อัตราดอกเบี้ย ต่อปี
2549
กู้เพิ่ม
จ่าย ชำระคืน
โอนรายการ จากการ ลงทุนเพิ่ม เป็นบริษัทย่อย
2550
2549
กู้เพิ่ม
งบการเงินเฉพาะกิจการ โอนรายการ จากการ จ่าย ลงทุนเพิ่ม ชำระคืน เป็นบริษัทย่อย
2550
บริษัทย่อย บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด
ร้อยละ 5
-
-
-
-
-
3,266
3,000
(4,266)
-
2,000
บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด
ร้อยละ 5
-
-
-
-
-
-
41,000
-
-
41,000
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด
ร้อยละ 5
-
-
-
-
-
-
1,500
-
-
1,500
ร้อยละ 9
-
-
-
-
-
-
16,000
-
20,000
36,000
200,000 238,547
86,117
(180,000) (79,664)
(20,000) -
245,000
200,000 238,547
86,117
(180,000) (79,664)
(20,000) -
245,000
ร้อยละ 9
-
5,000
-
-
5,000
-
5,000
-
-
5,000
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
438,547
91,117
(259,664)
(20,000)
250,000
441,813
152,617
(263,930)
-
330,500
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด(1)* บริษัทร่วม บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด(1)* บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด(2)
ร้อยละ 9 MLR+ร้อยละ2
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(1) เงินให้กู้ยืมตามสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ลงวันที่ 13 มกราคม 2547 จำนวน 200 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี (ร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ให้กู้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2548) โดยไม่มีหลักประกัน ครบกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งจำนวนภายในไตรมาสแรกของปี 2549 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ขยายเวลาการชำระคืนโดยได้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินใหม่ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม (2) เงินให้กู้ยืมประเภทด้อยสิทธิเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์วงเงิน 250 ล้านบาท เงินให้กู้ยืมดังกล่าวไม่มีหลักประกัน *
เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
6.4 ดอกเบี้ยค้างรับจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 2549 บริษัทย่อย บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัทร่วม บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด รวมดอกเบี้ยค้างรับจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
54
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
-
-
1 475 1
64 -
37,593 37,593
15,305 15,305
37,593 38,070
15,305 15,369
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
6.5 เจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 2549 บริษัทย่อย บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
-
599
2,525
6.6 เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 2549 บริษัทย่อย บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ รวมเจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 -
75 6,120 664 6,859
5,816 1,399 7,215
6.7 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ย ต่อปี บริษัทย่อย บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัทร่วม บริษัท เอส.ยู.เอ็น แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท แอล.พี.เอ็น ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เยาววงศ์ จำกัด รวมเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินเฉพาะกิจการ
เพิ่มขึ้น จากการซื้อ บริษัทย่อย
2550
2549
2549
กู้เพิ่ม
จ่าย ชำระคืน
กู้เพิ่ม
จ่าย ชำระคืน
2550
ร้อยละ 5
-
-
-
-
-
8,000
-
(8,000)
-
ร้อยละ 5
-
-
-
-
-
5,000
-
(5,000)
-
ร้อยละ 1.5
8,850
-
-
-
8,850
-
-
-
-
ร้อยละ 9 ร้อยละ 9
8,850
-
(8,000) (8,000) (16,000)
20,000 20,000 40,000
12,000 12,000 32,850
13,000
-
(13,000)
-
55
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
7. ลูกหนี้การค้า
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ (หน่วย : บาท)
งบการเงินรวม 2550
2549
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549
ลูกหนี้ค้างชำระ ไม่เกิน 1 เดือน มากกว่า 1 เดือนถึง 6 เดือน มากกว่า 6 เดือนถึง 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน รวม ยังไม่ครบกำหนดชำระ รวม หัก : ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
17,678,156 941,047 91,925 2,872,716 21,583,844 197,051,428 218,635,272 (2,592,875)
25,320,193 9,282,406 1,597,398 1,909,586 38,109,583 191,906,737 230,016,320 (2,847,188)
16,189,343 16,189,343 185,220,937 201,410,280 -
19,024,069 2,303,572 21,327,641 182,071,832 203,399,473 -
ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
216,042,397
227,169,132
201,410,280
203,399,473
8. สินค้าคงเหลือ (หน่วย : บาท)
สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ สินค้าระหว่างทาง วัตถุประกอบการผลิต วัสดุสิ้นเปลืองโรงงาน รวม หัก : ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
56
งบการเงินรวม 2550 2549 101,845,812 106,967,989 10,580,078 41,070,873 9,143,623 89,878 206,577 2,721,234 3,245,931 215,549 106,530 145,943,346 130,250,728 (4,536,415) (2,282,964) 141,406,931 127,967,764
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 74,304,540 74,982,800 41,070,873 9,143,623 2,699,679 3,245,931 215,549 106,530 118,290,641 87,478,884 118,290,641 87,478,884
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
9. ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 โครงการนราทร เพลส ต้นทุนที่ดินและอาคารระหว่างก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการต่อ รวม หัก : ส่วนที่โอนไปเป็นต้นทุนขายสะสม สุทธิ โครงการอาคารชุดพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 1 และ 2 ต้นทุนที่ดิน อาคารระหว่างก่อสร้าง ดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุน รวม หัก : ส่วนที่โอนไปเป็นต้นทุนขายสะสม ส่วนที่โอนไปเป็นที่ดินและอาคาร สุทธิ โครงการอาคารชุดพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 3 ต้นทุนที่ดิน รวม ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ - สุทธิ
2549
156,134 132,731 288,865 (259,239) 29,626
156,134 132,731 288,865 (196,363) 92,502
273,750 562,730 23,776 860,256 (843,866) (4,463) 11,927
-
14,868 14,868 56,421
92,502
10. เงินลงทุนในบริษัทย่อย (หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ชื่อบริษัท บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ (ถือหุ้นทางอ้อมโดยกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทย่อยร้อยละ 1.00) บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 11) รวม ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทย่อย - สุทธิ
ทุนเรียกชำระแล้ว 2550 2549 2,500 5,000 10,000 22,310
2,500 5,000 10,000 22,310
234,904 27,500 100,000 50,000
489,268 17,600 50,000
สัดส่วนเงินลงทุน โดยบริษัท 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ 100.00 100.00 99.99 99.99 100.00 100.00 100.00 100.00 98.88 75.00 100.00 49.00
98.88 60.00 -
ราคาทุน 2550 2549
เงินปันผลรับระหว่างปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
7,500 25,200 10,000 2,650
7,500 25,200 10,000 2,650
4,000 34,580
65,000
141,979 21,052 100,000
295,720 10,560 -
-
54,381 -
26,300 334,681 (34,558) 300,123
351,630 (17,012) 334,618
38,580
119,381
57
ในระหว่างปี 2550 มีการเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทย่อยดังนี้
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
- ในไตรมาสที่สอง กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ (บริษัทย่อย) ได้ลดหน่วยลงทุนลงจำนวนรวม 25,436,393 หน่วย ในราคาเฉลี่ยหน่วยละ 6.2902 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 160 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้รับเงินตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนจำนวน 158.2 ล้านบาท บริษัทฯ ยังคงมีสดั ส่วนการลงทุนในกองทุนดังกล่าวร้อยละ 98.88
-
ในไตรมาสที่สอง บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทย่อย) เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมจากเงินลงทุนของบริษัทฯจำนวน 1.2 ล้านหุ้น อีกร้อยละ 12 คิดเป็นเงินจำนวน 1.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเรียกชำระเต็มจำนวนแล้ว นอกจากนี้ในเดือนกันยายน 2550 บริษัทย่อย ดังกล่าวได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 3 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของบริษัทย่อยดังกล่าว ตามสัดส่วนที่บริษัทฯ ถือหุ้น จำนวน 1.8 ล้านหุ้นเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาท โดยทาง บริษัทย่อยดังกล่าวได้เรียกชำระค่าหุ้นแล้วร้อยละ 25 รวมเป็นจำนวน 4.5 ล้านบาท และในไตรมาสที่สี่ บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญของ บริษัทย่อยดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 750,000 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 4.6 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2550 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550 ได้มีมติให้จัดตั้งบริษัท เลิศรัฐการ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 10 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) บริษัทฯ ลงทุน ในหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวจำนวน 9,999,993 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท
58
-
ในวันที่ 19 กันยายน 2550 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (บริษัทร่วมซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อย 33.33) จากผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทดังกล่าว โดยกำหนดว่าการซื้อขายหุ้นเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ซึ่งบริษัทฯ และ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้เข้าซื้อหุ้นสามัญในบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นจำนวน 783,333 หุ้นๆ ละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 7,833,330 บาทและ 550,000 หุ้นๆ ละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 5,500,000 บาท ตามลำดับ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ 49 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ดังนั้นบริษัทฯ จึงถือเงินลงทุนดังกล่าวเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อย และผู้ขาย ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัทร่วมดังกล่าวเพิ่มเติม โดยระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับราคาหุ้นที่ทำการซื้อขายกันว่าเมื่อครบ กำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่การซื้อขายหุ้นเสร็จสมบูรณ์ โดยเทียบกับงบการเงินที่สอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทร่วมดังกล่าว ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ปรั บ ราคาค่ า หุ้ น เพิ่ ม หรื อ ลดลง (ตามแต่ ก รณี ) ตามวิ ธี ก ารที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นบั น ทึ ก ข้ อ ตกลง หรื อ วิ ธี ก ารอื่ น ใดที่ คู่ สั ญ ญาจะได้ ต กลง เปลีย่ นแปลงกันต่อไป โดยเป็นการปรับราคาจากวันที่มีการปิดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
- จ่ายค่าธรรมเนียมใดๆ ในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ หรือภาระค่าใช้จ่าย และความรับผิดชอบของบริษัทที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนการ ถือหุ้นเดิม ตามวิธีการที่ระบุในบันทึกข้อตกลง หรือวิธีการอื่นใดที่คู่สัญญาจะได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกัน
บริษัทฯ ได้มีการประมาณมูลค่าของเงินลงทุนในส่วนที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปของราคาซื้อขายหุ้นจากการซื้อธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง มูลค่าของประมาณการดังกล่าวไม่กระทบต่องบการเงินของบริษัทฯ อย่างเป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากต่อมาในภายหลังเหตุการณ์ ในอนาคตอาจทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องทบทวนประมาณการที่ทำไว้ บริษัทฯ จะมีการปรับปรุงต้นทุนการซื้อธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีผล กระทบต่อค่าความนิยมที่เกิดจากการซื้อกิจการ
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
มูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่รับภาระมา ณ วันที่ซื้อบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ (หน่วย : พันบาท)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ดินและต้นทุนโครงการ – สุทธิ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – สุทธิ สินทรัพย์อื่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินอื่น รวมสินทรัพย์สุทธิ หัก: ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย บวก: ค่าความนิยมจากการรวมกิจการ หัก: เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย (ร้อยละ 33.33) เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย หัก : เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของบริษัทย่อย เงินสดสุทธิจากการซื้อหุ้นสามัญในบริษัทย่อย
44,552 29,587 47,543 4,414 (3,400) (60,000) (11,018) 51,678 (20,671) 140 (17,814) 13,333 (44,552) (31,219)
11. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 11.1 รายละเอียดของบริษัทร่วม (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม บริษัท
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด* บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด) บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัท สหสินวัฒนาโคเจนเนอเรชั่น จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด) บริษัท สหสินวัฒนาไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด)
ลักษณะธุรกิจ
ให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรมการจัด การพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (คอนโดมิเนียม) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ให้เช่าอาคารพาณิชย์ระยะยาว) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (หมู่บ้านจัดสรร) ผลิตและขาย ไอน้ำ, ไฟฟ้า และน้ำเย็น ผลิตและขาย ไอน้ำ, ไฟฟ้า และน้ำเย็น
รวม
จัดตั้งขึ้น ในประเทศ
ไทย
สัดส่วนเงินลงทุน 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ 31.81 26.98
มูลค่าตามบัญชี ตามวิธีส่วนได้เสีย 2550 2549
ราคาทุน 2550 2549 6,850
4,317
339
2,236
ไทย
-
33.33
-
18,467
-
28,279
ไทย
29.50
29.50
2,950
2,950
-
-
ไทย
49.00
49.00
49,000
37,363
31,186
19,711
ไทย
20.00
20.00
18,400
17,000
17,471
16,192
ไทย
20.00
-
2,000
-
1,955
-
79,200
80,097
50,951
66,418
* เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
59
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัท
ลักษณะธุรกิจ
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด* บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด
จัดตั้งขึ้น ในประเทศ
ให้คำปรึกษาทางด้าน วิศวกรรมการจัดการ พลังงานและอนุรกั ษ์พลังงาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (คอนโดมิเนียม) พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (หมู่บ้านจัดสรร)
สัดส่วนเงินลงทุน 2549 2550 ร้อยละ ร้อยละ
ราคาทุน 2550 2549
ค่าเผื่อการด้อยค่า ของเงินลงทุน 2550 2549
มูลค่าตามบัญชี ตามวิธีราคาทุน - สุทธิ 2550 2549
ไทย
31.81
26.98
6,850
4,317
(6,511)
(2,081)
339
2,236
ไทย
-
33.33
-
18,467
-
-
-
18,467
ไทย
49.00
49.00
49,000
37,363
-
-
49,000
37,363
55,850
60,147
(6,511)
(2,081)
49,339
58,066
รวม * เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
(หน่วย: พันบาท)
บริษัท
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจาก เงินลงทุนในบริษัทร่วม ในระหว่างปี 2550 2549
เงินปันผลรับระหว่างปี 2550 2549
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(4,429)
1,132
-
-
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด*
(5,132)
30,509
5,333
101,000
-
(655)
-
-
-
-
-
-
บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด
(163)
(15,290)
-
-
บริษัท สหสินวัฒนาโคเจนเนอเรชั่น จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด) บริษัท สหสินวัฒนาไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด)
(121)
(619)
-
-
(45)
-
-
-
(9,890)
15,077
5,333
101,000
บริษัท แสนสิริ เวนเจอร์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด) บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด)
รวม * เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
60
งบการเงินรวม
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 11.2 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วม (หน่วย: ล้านบาท)
บริษัท
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด* บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด) บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัท สหสินวัฒนาโคเจนเนอเรชั่น จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด) บริษัท สหสินวัฒนาไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด)
ทุนเรียกชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
หนี้สินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
รายได้รวมสำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549
20.5
16.0
23.2
21.3
22.2
13.7
30.0
31.0
(11.0)
3.6
50.0
50.0
-
738.8
-
653.8
-
1,079.5
-
91.9
10.0
10.0
245.9
254.6
265.5
272.6
10.0
11.8
(1.6)
0.5
100.0
76.3
943.0
1,222.7
834.0
1,157.7
941.1
41.8
20.3
(10.0)
92.0
85.0
178.5
143.8
91.2
62.8
42.7
0.3
(0.6)
(3.1)
10.0
-
16.3
-
6.6
-
-
-
(0.2)
-
* เปลี่ยนจากบริษัทร่วมเป็นบริษัทย่อยในไตรมาสที่สี่ของปีปัจจุบัน
11.3
บริษัทฯ มีเงินลงทุนในบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้รับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวจนมูลค่าตามบัญชี ตามวิธีส่วนได้เสียเท่ากับศูนย์ บริษัทได้หยุดรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้มีภาระผูกพัน ตามกฎหมายหรือทางพฤตินัยที่ต้องจ่ายเงินเพื่อชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วมดังกล่าว ส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทฯ ยังไม่ได้รับรู้ มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)
ส่วนแบ่งผลขาดทุนที่ยังไม่ได้รับรู้
บริษัท บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด (ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด) รวม
ส่วนแบ่งผลขาดทุนในระหว่างปี สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2550
ส่วนแบ่งผลขาดทุนสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
(0.5)
(8.7)
(0.5)
(8.7)
61
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ในระหว่างปี 2550 มีการเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทร่วมดังนี้
-
ในไตรมาสที่สอง บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทร่วม) จากผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 66,116 หุ้น ในราคาหุ้นละ 15.8 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 1.0 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการลงทุนในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 31.12 นอกจากนี้ในไตรมาสที่สี่บริษัทร่วมดังกล่าวได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 16 ล้านบาท เป็น 25 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญ ใหม่จำนวน 900,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ได้รับจัดสรรหุ้นตามสิทธิรวมกับส่วนเกิน เนื่องจากการสละสิทธิจองซื้อของ ผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมจำนวน 297,521 หุ้น รวมมูลค่า 3.0 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31.81 โดย บริษัทร่วมดังกล่าวได้เรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแล้วร้อยละ 50 เป็นจำนวน 1.5 ล้านบาท
- ในไตรมาสที่สอง บริษัทฯ ได้ชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด (บริษัทร่วม) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจำนวน 11.6 ล้านบาท สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่บริษัทฯ ซื้อในปี 2549 จำนวน 4,900,000 หุ้น ราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท ซึ่งเป็นการเรียกชำระเต็มจำนวน แล้ว รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 49 ล้านบาท
-
ในไตรมาสที่สามปี 2550 บริษัท สหสินวัฒนาโคเจนเนอเรชั่น จำกัด (บริษัทร่วมซึ่งถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด) มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 85 ล้านบาท เป็น 92 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 700,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ซึ่งได้ เสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์จำกัด (บริษัทย่อย) ได้ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวจำนวน 140,000 หุ้น รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น1.4 ล้านบาทและได้มีการจ่ายชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว นอกจากนี้บริษัทย่อยดังกล่าวได้เข้าลงทุน ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท สหสินวัฒนาไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัดจำนวน 200,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เรียกชำระแล้วเต็มมูลค่าเป็นจำนวน ทั้งสิ้น 2 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้วของบริษัทดังกล่าว
12. เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 2550 2549 หุ้นสามัญ - ราคาทุน
90,012
90,012
-
-
หัก : ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
(20,307)
(28,438)
-
-
รวมเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย - มูลค่ายุติธรรม
69,705
61,574
-
-
13. โครงการระหว่างการพัฒนา (หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2550 สิทธิการเช่า ค่านายหน้าและค่าบริการ อื่นๆ โครงการระหว่างการพัฒนา - สุทธิ
62
150,000 16,719 4,638 171,357
2549 -
หมายเหตุประกอบงบการเงิน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2550 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน และสัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการกับเจ้าของ ที่ดิน เพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงแรมและ/หรือ อาคารพักอาศัยพร้อมบริการ และ/หรืออาจใช้พื้นที่บางส่วนเป็นศูนย์ การค้า โดยบริษัทย่อยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา รวมทั้งจ่ายค่าหน้าดินจำนวน 436.5 ล้านบาท ในระหว่างปี ปัจจุบันบริษัทย่อยดังกล่าวได้จ่ายชำระค่าหน้าดินดังกล่าวแล้วจำนวน 50 ล้านบาท และได้ตั้งค้างจ่ายสำหรับค่าหน้าดินงวดที่ 3 จำนวน 100 ล้านบาทไว้แล้ว ณ วันที่ในงบดุล โดยรวมอยู่ในเจ้าหนี้อื่น บริษัทย่อยดังกล่าวได้บันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าวเป็น ต้นทุนของโครงการระหว่างการพัฒนา
14. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (หน่วย : บาท)
งบการเงินรวม สินทรัพย์ซึ่งแสดง ตามราคาตีใหม่ อาคารและ ส่วนปรับปรุง อาคาร
เครื่องจักร และ อุปกรณ์
สินทรัพย์ซึ่งแสดงตามราคาทุน เครื่องตกแต่ง และอุปกรณ์ งานระหว่าง สำนักงาน ก่อสร้าง ยานพาหนะ
ที่ดิน ราคาทุน / ราคาที่ตีใหม่ 31 ธันวาคม 2549 143,327,113 17,604,019 25,722,784 27,630,832 ซื้อเพิ่ม 1,119,350 312,840 2,024,606 เพิ่มขึ้นจากการซื้อบริษัทย่อย 18,619,741 43,386,136 15,575,660 จำหน่าย (4,930,334) (430,203) โอน ไปเป็นต้นทุนโครงการ (14,867,976) โอนเข้า (ออก) 715,000 1,782,234 31 ธันวาคม 2550 147,078,878 57,894,171 26,035,624 46,583,129 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2549 9,417,208 14,376,584 18,106,204 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 1,078,942 2,476,242 3,914,112 เพิ่มขึ้นจากการซื้อบริษัทย่อย 7,246,387 11,505,905 ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำหน่าย (1,053,606) (294,863) 31 ธันวาคม 2550 16,688,931 16,852,826 33,231,358 ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2549 ค่าเผื่อการด้อยค่าที่เพิ่มขึ้นจากการ ซื้อบริษัทย่อย (1,961,605) (9,324,833) 31 ธันวาคม 2550 (1,961,605) (9,324,833) มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2549 143,327,113 8,186,811 11,346,200 9,524,628 31 ธันวาคม 2550 145,117,273 31,880,407 9,182,798 13,351,771 ค่าเสื่อมราคา (ซึ่งอยู่ในงบกำไรขาดทุน) ปี 2549 (2.0 ล้านบาทรวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร) ปี 2550 (1.9 ล้านบาทรวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร)
รวม
19,607,163 4,951 (1,260) 19,610,854
907,593 4,999,944 (2,497,234) 3,410,303
234,799,504 8,456,740 77,586,488 (5,361,797) (14,867,976) 300,612,959
13,374,902 3,519,702 4,874 (1,200) 16,898,278
-
55,274,898 10,988,998 18,757,166 (1,349,669) 83,671,393
-
-
-
-
-
(11,286,438) (11,286,438)
6,232,261 2,712,576
907,593 3,410,303
179,524,606 205,655,128 9,852,217 10,988,998
63
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
(หน่วย : บาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ สินทรัพย์ซึ่งแสดง ตามราคาตีใหม่
ที่ดิน
อาคารและ ส่วนปรับปรุง อาคาร
เครื่องจักร และ อุปกรณ์
สินทรัพย์ซึ่งแสดงตามราคาทุน เครื่องตกแต่ง และอุปกรณ์ งานระหว่าง สำนักงาน ก่อสร้าง ยานพาหนะ
ราคาทุน / ราคาที่ตีใหม่ 31 ธันวาคม 2549 107,867,113 11,967,976 14,043,017 21,522,709 ซื้อเพิ่ม 1,119,349 308,340 558,601 จำหน่าย (72,785) 31 ธันวาคม 2550 107,867,113 13,087,325 14,351,357 22,008,525 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2549 6,836,116 10,315,897 14,079,205 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 435,724 1,253,667 2,317,277 ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำหน่าย (18,306) 31 ธันวาคม 2550 7,271,840 11,569,564 16,378,176 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2549 107,867,113 5,131,860 3,727,120 7,443,504 31 ธันวาคม 2550 107,867,113 5,815,485 2,781,793 5,630,349 ค่าเสื่อมราคา (ซึ่งอยู่ในงบกำไรขาดทุน) ปี 2549 (2.0 ล้านบาทรวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร) ปี 2550 (1.9 ล้านบาทรวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร)
รวม
11,503,791 11,503,791
1,544,153 1,544,153
166,904,606 3,530,443 (72,785) 170,362,264
7,399,246 2,045,552 9,444,798
-
38,630,464 6,052,220 (18,306) 44,664,378
4,104,545 2,058,993
1,544,153
128,274,142 125,697,886 6,041,199 6,052,220
ที่ดินประเมินราคาโดยผู้ประเมินราคาอิสระในเดือนสิงหาคม 2546 โดยใช้เกณฑ์ราคาต้นทุนเปลี่ยนแทนในการประเมินราคา
หากบริษัทฯ แสดงมูลค่าของที่ดินดังกล่าวด้วยวิธีราคาทุน มูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 จะเป็นดังนี้ (หน่วย : บาท)
งบการเงินรวม 2550 ที่ดิน
64
5,293,697
2549 5,293,697
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 4,776,113
2549 4,776,113
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีอาคารและอุปกรณ์จำนวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ยังใช้งานอยู่ราคาทุน ของสินทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวน 28 ล้านบาท (2549: 25 ล้านบาท) (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 22 ล้านบาท 2549: 22 ล้านบาท) บริษัทฯ ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวนเงินประมาณ 113 ล้านบาท (2549: 113 ล้านบาท) ไปค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
15. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท ตั๋วสัญญาใช้เงิน รวมเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2550
2549
2550
2549
1,210 1,210
9,013 75,000 84,013
-
50,000 50,000
วงเงินเบิกเกินบัญชีจากธนาคารของบริษัทฯ ค้ำประกันโดยการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีทเป็นเจ้าหนี้ทรัสต์รีซีทของบริษัทย่อยกับธนาคารแห่งหนึ่ง คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี ครบกำหนดชำระ ในระหว่างไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี 2551 และค้ำประกันโดยบริษัทฯ
16. ทุนเรือนหุ้น
16.1
ในเดือนธันวาคม 2549 มีการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (ESOP-W2, ESOP-W3) จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,485,900 หุ้น บริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 2,485,900 บาท ทำให้ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว เพิ่มขึ้นเป็น 532,941,799 บาท (หุ้นสามัญ 532,941,799 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท) บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุน กับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550
16.2
ในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2550 มีการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (ESOP-W2, ESOP-W3) จำนวนทั้งสิ้น 4,589,000 หุ้น โดยบริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 4,589,000 บาท ทำให้ทุนที่ออกและ เรียกชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 537,530,799 บาท (หุ้นสามัญ 537,530,799 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท) บริษัทฯ ได้ดำเนินการ จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 11 เมษายน 2550 และ 5 กรกฎาคม 2550 ตามลำดับ
16.3 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2550 ของบริษัทฯ ได้มีมติดังนี้
16.3.1 อนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จากเดิม 944,528,490 บาท (944,528,490 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท) เป็น 723,028,490 บาท (723,028,490 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท) โดยการลดหุ้นจดทะเบียนที่ยังมิได้ออกจำหน่ายจำนวน 221,500,000 หุ้น
16.3.2 อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ อีกจำนวน 221,500,000 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 723,028,490 บาท เป็นทุน จ ดทะเบียนใหม่จำนวน 944,528,490 บาท แบ่งเป็นหุ้นทั้งสิ้นจำนวน 944,528,490 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
16.3.3
อนุมัติให้บริษัทฯ จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 221,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อเสนอขายเป็น การเฉพาะเจาะจง (private placement) ให้กับบริษัท อเดลฟอส จำกัด ในราคาหุ้นละ 2.04 บาท บริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุน ทั้งสิ้นเป็นจำนวน 451.9 ล้านบาท และได้มีค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทุนดังกล่าวประมาณ 1.7 ล้านบาท ซึ่งได้แสดงหักอยู่ในส่วน เกินมูลค่าหุ้นสามัญ ทำให้ทุนที่ออกและชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 759,030,799 บาท (759,030,799 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท) บริษัทฯ ได้จดทะเบียนการเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
65
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
16.4
16.5 เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
ในเดื อ นกั น ยายน 2550 มี ก ารจั ด สรรหุ้ น สามั ญ ใหม่ ใ ห้ แ ก่ ผู้ ใ ช้ สิ ท ธิ ต ามใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ (UV-W1, ESOP-W3) จำนวนรวมทั้ ง สิ้ น 3,237,475 หุ้ น บริ ษั ท ฯ ได้ รั บ เงิ น เพิ่ ม ทุ น ทั้ ง สิ้ น เป็ น จำนวน 6,889,525 บาท ทำให้ ทุ น ที่ อ อกและเรี ย กชำระแล้ ว เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น 762,268,274 บาท (หุ้ น สามั ญ 762,268,274 หุ้ น มู ล ค่ า ตราไว้ หุ้ น ละ 1 บาท) บริ ษั ท ฯ ได้ ด ำเนิ น การจดทะเบี ย นเพิ่ ม ทุ น กับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2550
ในเดื อ นธั น วาคม 2550 มี ก ารจั ด สรรหุ้ น สามั ญ ใหม่ ใ ห้ แ ก่ ผู้ ใ ช้ สิ ท ธิ ต ามใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ (ESOP-W2, ESOP-W3) จำนวนทั้ ง สิ้ น 998,860 หุ้ น โดยบริ ษั ท ฯ ได้ รั บ เงิ น เพิ่ ม ทุ น ทั้ ง สิ้ น เป็ น จำนวน 998,860 บาท และได้ ด ำเนิ น การจดทะเบี ย น เพิ่ ม ทุ น กั บ กระทรวงพาณิ ช ย์ แ ล้ ว เมื่ อ วั น ที่ 9 มกราคม 2551 ซึ่ ง จะทำให้ ทุ น ที่ อ อกและเรี ย กชำระแล้ ว เพิ่ ม ขึ้ น เป็ น 763,267,134 บาท (หุ้ น สามั ญ 763,267,134 หุ้ น มู ล ค่ า ที่ ต ราไว้ หุ้ น ละ 1 บาท) เงิ น รั บ จากการใช้ สิ ท ธิ ดั ง กล่ า วได้ แ สดงไว้ ภ ายใต้ หั ว ข้ อ “เงิ น รั บ ล่ ว งหน้ า ค่าหุ้น” ในส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ในงบดุล
17. ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน
ยอดคงเหลือในงบดุลรวมประกอบด้วยส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินของบริษัทฯ จำนวนเงิน 103,091,000 บาท และจากที่ดินของบริษัทย่อยจำนวน 34,942,416 บาท
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถนำมาหักกับขาดทุนสะสมและไม่สามารถจ่ายเป็นเงินปันผลได้
18. สำรองตามกฎหมาย
เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามมาตรา 116 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ บ ริ ษั ท มหาชนจำกั ด พ.ศ. 2535 บริ ษั ท ฯ ต้ อ งจั ด สรรกำไรสุ ท ธิ ป ระจำปี ส่ ว นหนึ่ ง ไว้ เป็ น ทุ น สำรองไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 5 ของกำไรสุ ท ธิ ป ระจำปี หั ก ด้ ว ยยอดขาดทุ น สะสมยกมา (ถ้ า มี ) จนกว่ า ทุ น สำรองนี้ จ ะมี จ ำนวนไม่ น้ อ ยกว่ า ร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สำรองตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนำไปจ่ายเงินปันผลได้
19. ใบสำคัญแสดงสิทธิ
บริ ษั ท ฯ ได้ จั ด สรรใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ ให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น เดิ ม (UV-W1) ใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ ให้ แ ก่ พ นั ก งาน ของบริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยในวงจำกั ด (ESOP-W2/2545) และ ใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ ให้ แ ก่ ก รรมการและพนั ก งานและ/หรื อ ที่ปรึกษาของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในวงจำกัด (ESOP-W3/2546) โดยไม่คิดมูลค่า รายละเอียดของใบสำคัญแสดงสิทธิมีดังนี้ อนุมัติโดย
วันที่ออก จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออก (หน่วย) อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ (ปี) กำหนดเวลาการใช้สิทธิ วันที่ใช้สิทธิครั้งสุดท้าย ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) อัตราส่วนการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิต่อหุ้นสามัญ) การเปลี่ยนแปลงจำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ ราคาใช้สิทธิและอัตราส่วนการใช้สิทธิ - จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ (ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ) - ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท)* - อัตราส่วนการใช้สิทธิ* มีผลบังคับใช้ตั้งแต่งวดการใช้สิทธิในเดือนธันวาคม 2546
*
66
UV-W1 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2545 20 กุมภาพันธ์ 2546 17,427,299 7 ทุก 3 เดือน 19 กุมภาพันธ์ 2553 25 1:1
ESOP-W2 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2545 19 ธันวาคม 2546 13,500,000 5 ทุก 6 เดือน 30 มิถุนายน 2551 1 1:1
ESOP-W3 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2546 19 ธันวาคม 2546 12,255,500 5 ทุก 3 เดือน 30 กันยายน 2551 1 1:1
174,162,990 2.406 1 : 1.03899
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
การเปลี่ยนแปลงในจำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิแสดงดังนี้
(หน่วย)
UV-W1 174,272,990 (1,227,000) 173,045,990 (2,500,000) 170,545,990
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จัดสรร ใช้สิทธิในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2549 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ใช้สิทธิในระหว่างปี 2550 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
ESOP-W2 13,500,000 (9,768,750) 3,731,250 (3,158,050) 573,200
ESOP-W3 12,255,500 (6,902,500) 5,353,000 (3,069,810) 2,283,190
20. จำนวนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน
งบการเงินรวม 2550 2549 155 147 57,570 56,388
จำนวนพนักงาน ณ วันสิ้นปี (คน) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานสำหรับปี (พันบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 100 101 39,832 40,951
21. การกระทบยอดกำไรต่อหุ้นปรับลด
กำไรต่อหุ้นปรับลดคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยผลรวมของจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ออกอยู่ในระหว่างปีกับจำนวนถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่บริษัทฯ อาจต้องออกเพื่อแปลงหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดทั้งสิ้นให้เป็นหุ้นสามัญ โดยสมมติว่าได้มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ ณ วันต้นปีหรือ ณ วันออกหุ้นสามัญเทียบเท่า
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี
การกระทบยอดระหว่างกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด แสดงได้ดังนี้ งบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม จำนวนหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 2550 2549 2550 2549 (บาท) (บาท) (หุ้น) (หุ้น)
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิ ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด UV-W1 ESOP-W2 ESOP-W3 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ สมมติว่ามีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญจาก ใบสำคัญแสดงสิทธิ
100,945,836
146,400,785
640,699,993
530,401,829
-
-
10,158,374 1,426,832 2,456,302
2,821,890 2,925,478
100,945,836
146,400,785
654,741,501
536,149,197
กำไรต่อหุ้น 2550 (บาท)
2549 (บาท)
0.16
0.28
0.15
0.27
67
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
งบการเงินเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม จำนวนหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 2550 2549 2550 2549 (บาท) (บาท) (หุ้น) (หุ้น) (ปรับปรุงใหม่) กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิ 122,360,380 ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด UV-W1 ESOP-W2 ESOP-W3 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญสมมติว่ามีการ ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญจากใบสำคัญแสดงสิทธิ 122,360,380
กำไรต่อหุ้น 2550 2549 (บาท) (บาท) (ปรับปรุงใหม่)
330,023,826 640,699,993 530,401,829 -
10,158,374 1,426,832 2,456,302
0.19
0.62
0.19
0.62
2,821,890 2,925,478
330,023,826 654,741,501 536,149,197
22. การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำเนินกิจการใน 2 ส่วนงานหลักคือ (1) ธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ และ (2) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และดำเนินธุรกิจ ในส่วนงานทางภูมิศาสตร์หลักในประเทศไทย ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 มีดังต่อไปนี้ (หน่วย : พันบาท) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ธุรกิจผลิต ผงสังกะสีอ็อกไซด์ 2550 2549
2550
2549
การตัดรายการบัญชี ระหว่างกัน 2550 2549
อื่น ๆ
รวม 2550
2549
1,324,851
1,317,976
97,078
145,633
39,108
39,565
(2,737)
(38,897)
1,485,300
1,464,277
155,790
147,864
16,543
39,297
18,715
15,968
1,560
1,413
192,608
204,542
ดอกเบี้ยรับ
43,160
32,252
รายได้อื่น
45,737
47,352
(113,182)
(101,554)
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
(9,890)
15,077
ดอกเบี้ยจ่าย
(2,008)
(8,558)
(54,474)
(43,046)
(1,005)
336
100,946
146,401
รายได้ กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิ
68
ธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ 2550 2549
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
(หน่วย : พันบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ธุรกิจผลิต ผงสังกะสีอ็อกไซด์ 2550 2549
ธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ 2550 2549
การตัดรายการบัญชี ระหว่างกัน 2550 2549
อื่น ๆ 2550
2549
รวม 2550
2549
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลูกหนี้การค้า
173,186 211,981
175,181 217,616
28,542 -
-
3,927 4,936
4,344 12,093
(875)
(2,540)
205,655 216,042
179,525 227,169
สินค้าคงเหลือ
135,817
119,853
-
-
5,590
8,115
-
-
141,407
127,968
-
-
56,421
92,502
-
-
-
-
56,421
92,502
สินทรัพย์ส่วนกลาง
1,539,974
928,700
รวมสินทรัพย์
2,159,499
1,555,864
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
บริษัทฯ และบริษัทย่อยใช้เกณฑ์ในการกำหนดราคาระหว่างกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6
23. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทฯ และบริษัทย่อยและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริษัทฯ และบริ ษั ท ย่ อ ย และพนั ก งานจะจ่ า ยสมทบเข้ า กองทุ น เป็ น รายเดื อ นในอั ต ราร้ อ ยละ 5-10 ของเงิ น เดื อ น กองทุ น สำรองเลี้ ย งชี พ นี้ บ ริ ห ารโดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และจะจ่ายให้พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในระหว่าง ปี 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯเป็นจำนวนเงิน 2.6 ล้านบาท (2549: 2.7 ล้านบาท)
24. เงินปันผล
เงินปันผลที่ประกาศจ่ายสำหรับปี 2550 และ 2549 มีดังนี้
(หน่วย : บาท)
อนุมัติโดย เงินปันผลประจำปีสำหรับปี 2549 เงินปันผลประจำปีสำหรับปี 2548
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2550 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2549
จำนวนเงิน
เงินปันผลต่อหุ้น
53,294,180
0.10
53,034,440
0.10
25. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น 25.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาเช่าดำเนินงาน
25.1.1 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้องกับการเช่าพื้นที่ในอาคารสำนักงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ และ สัญญาบริการ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯมีภาระผูกพันในการจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเช่าดังกล่าวดังนี้
ล้านบาท จ่ายชำระภายใน 1 ปี 2 ถึง 5 ปี
4 2
69
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
25.1.2
บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดิน เพื่อการพัฒนาตามโครงการกับเจ้าของที่ดินรายหนึ่ง เพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงแรม และ/หรืออาคารพักอาศัยพร้อมบริการ และ/หรือ อาจใช้พื้นที่ บางส่วนเป็นศูนย์การค้า โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี และสัญญาเช่ามีอายุ 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2554 โดย บริษัทย่อยดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา รวมทั้งรับผิดชอบรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิม บนที่ดินเช่า บริษัทย่อยดังกล่าวมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าหน้าดินอีกจำนวน 286.5 ล้านบาท และค่าเช่ารายปี รวม จำนวน 950 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ปี 2551 2552 รวมค่าหน้าดิน
จำนวนเงิน 100.0 186.5 286.5
ช่วงระยะเวลาการเช่า ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ปีที่ 11 ถึงปีที่ 15 ปีที่ 16 ถึงปีที่ 20 ปีที่ 21 ถึงปีที่ 25 ปีที่ 26 ถึงปีที่ 29 ปีที่ 30 รวมค่าเช่าจ่าย
ค่าเช่าจ่าย 123.0 135.3 148.8 163.7 180.1 158.5 40.6 950.0
(หน่วย : ล้านบาท)
25.2 การค้ำประกัน
25.2.1 ประกันวงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อให้แก่บริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
70
- - - -
ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทฯ ค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ในวงเงิน 32 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ใช้วงเงินไป แล้วจำนวน 2.0 ล้านบาท ภาระหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่บริษัทฯ ค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ในวงเงิน 20 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีการใช้ วงเงินข้างต้น ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทฯ ค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ในวงเงิน 90 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีการใช้วงเงินข้างต้น ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทฯ ค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในวงเงิน 817 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทร่วมดังกล่าวได้ใช้วงเงิน ไปแล้วจำนวน 49 ล้านบาท
โดยทั่วไปการค้ำประกันนี้มีผลผูกพันต่อบริษัทฯ นานเท่าที่ภาระหนี้สินยังไม่ได้ชำระโดยบริษัทย่อย และบริษัทร่วมดังกล่าว บริษัทฯ ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันดังกล่าว
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
25.2.2
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในนามของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเหลืออยู่เป็น จำนวน 1.2 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 0.1 ล้านบาท) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับภาระผูกพันทางปฏิบัติบางประการตามปกติธุรกิจของ บริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งประกอบด้วยหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาจำนวน 0.8 ล้านบาท เพื่อ ค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าและอื่นๆ จำนวน 0.4 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 0.1 ล้านบาท)
25.3 ภาระผูกพันในส่วนของเงินลงทุนที่ยังไม่เรียกชำระ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ มีภาระผูกพันในส่วนของเงินลงทุนที่ยังไม่เรียกชำระในบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทย่อย) จำนวนรวม 16.9 ล้านบาท บริษัทไทย-ไลซาท จำกัด (บริษัทย่อย) จำนวนรวม 2.5 ล้านบาท และบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทร่วม) จำนวน 1.5 ล้านบาท
26. เครื่องมือทางการเงิน 26.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง
เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯ ตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 48 “การแสดงรายการและการเปิดเผย ข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง กัน เงินลงทุน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้เช่าซื้อ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงดังนี้
ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและ ลูกหนี้อื่น ฝ่ายบริหารควบคุมความเสี่ยงนี้โดยการพิจารณากำหนดวงเงินสินเชื่อที่จะให้กับลูกค้าหรือคู่สัญญา และวิเคราะห์ฐานะ ทางการเงินของลูกค้าหรือคู่สัญญาอย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงไม่คาดว่าจะได้รับความเสียหายที่เป็นสาระสำคัญจาก การให้สินเชื่อนอกจากนี้การให้สินเชื่อของบริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการกระจุกตัว เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีฐานของลูกค้า ที่หลากหลายและมีจำนวนมากราย จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อคือมูลค่าตามบัญชี ของลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันและลูกหนี้อื่นที่แสดงอยู่ในงบดุล
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่สำคัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบี้ย และสำหรับสินทรัพย์ และหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกำหนด หรือวันที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่มี การกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ถึงก่อน) ได้ดังนี้
งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ย ไม่มีอัตรา ปรับขึ้นลงตาม ดอกเบี้ย ราคาตลาด
อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน มากกว่า 1 ปี 1 ถึง 5 ปี สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินลงทุนระยะยาว หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
(หน่วย: ล้านบาท)
รวม
อัตรา ดอกเบี้ยต่อปี (ร้อยละ)
485.0 101.2 5.0 591.2
-
338.0 245.0 583.5
2.1 216.0 9.0 120.7 338.8
825.1 101.2 216.0 9.0 250.0 120.7 1,513.5
0.25-3.15 3.25 8.88-9.75 -
1.2 32.9 34.1
-
-
36.9 36.9
1.2 36.9 32.9 71.0
3.50 1.50-9.0
71
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ย ไม่มีอัตรา ปรับขึ้นลงตาม ดอกเบี้ย ราคาตลาด
อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน มากกว่า 1 ปี 1 ถึง 5 ปี สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า - สุทธิ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินลงทุนระยะยาว หนี้สินทางการเงิน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
(หน่วย: ล้านบาท)
อัตรา ดอกเบี้ยต่อปี (ร้อยละ)
รวม
400.5 100.0 85.5 586.0
-
180.6 245.0 425.6
201.4 349.5 550.9
581.1 100.0 201.4 330.5 349.5 1,562.5
0.25-3.15 3.25 5.00-9.00 -
-
-
-
32.0 6.9 38.9
32.0 6.9 38.9
-
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องจากการซื้อหรือขายสินค้า บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ตกลง ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ซึ่งมีอายุสัญญาไม่เกินหนึ่งปีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าคงเหลือดังนี้ อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญาของ
สกุลเงินตราต่างประเทศ บริษัทฯ เหรียญสหรัฐอเมริกา บริษัทย่อย เหรียญสหรัฐอเมริกา
จำนวนที่ซื้อ (ล้าน)
จำนวนที่ขาย (ล้าน)
จำนวนที่ซื้อ จำนวนที่ขาย (บาทต่อหน่วยเงินตราต่างประเทศ)
0.5
-
33.69 - 33.94
-
-
0.2
-
34.05
สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวนที่ไม่มีสาระสำคัญ
26.2 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน
เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจัดอยู่ในประเภทระยะสั้น บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึง ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบดุล
มู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรม หมายถึ ง จำนวนเงิ น ที่ ผู้ ซื้ อ และผู้ ข ายตกลงแลกเปลี่ ย นสิ น ทรั พ ย์ กั น ในขณะที่ ทั้ ง สองฝ่ า ยมี ค วามรอบรู้ และเต็ ม ใจ ในการแลกเปลี่ ย นและสามารถต่ อ รองราคากั น ได้ อ ย่ า งเป็ น อิ ส ระในลั ก ษณะที่ ไ ม่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั น วิ ธี ก ารกำหนดมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรมขึ้ น อยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำหนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำหนดขึ้นโดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม
27. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบให้เสนอการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท รวมเป็นเงิน 76.3 ล้านบาท กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีพิจารณาอนุมัติ
28. การจัดประเภทรายการในงบการเงิน
นอกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 ซึ่งมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิและส่วนของผู้ถือหุ้น ตามที่ได้รายงานไปแล้ว บริษัทฯ ได้มีการจัดประเภทรายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับ การจัดประเภทรายการบัญชีในปีปัจจุบัน ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิหรือส่วนของผู้ถือหุ้นนอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว
29. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551
72
ข้อมูลทั่วไปของบริษัท บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ เลขทะเบียนบริษัท ประเภทธุรกิจ หมวดธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ราคาพาร์ ข้อจำกัดการถือหุ้นต่างด้าว ที่ตั้งโรงงาน ที่ตั้งสำนักงาน
UV ทะเบียนเลขที่ 0107537001030 (เลขทะเบียนเดิม คือ บมจ. 350) ลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 944,528,490 บาท 763,267,134 บาท 1 บาท 49% เลขที่ 2 ซอยพหลโยธิน 90 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 0 2998 9140-3, 0 2531 2891-2 โทรสาร : 0 2998 9144 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2255 9401 โทรสาร : 0 2255 9418, 0 2256 0505 เว็บไซต์ : www.univentures.co.th
บุคคลอ้างอิง ผู้สอบบัญชี
นายทะเบียนหลักทรัพย์
นางสาวทิพวัลย์ นานานุวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3459 บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด อาคารเลครัชดา ชั้น 33 193/136–137 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2264 0777, 0 2661 9190 โทรสาร : 0 2264 0790, 0 2661 9192
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2229 2800 โทรสาร : 0 2359 1259
73
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
TL ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ www.univentures.co.th 0105515006258 เลขที่ 3 ซอยพหลโยธิน 90 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 12130 โทรศัพท์ 0 2998 9141 – 4 โทรสาร 0 2998 9840 50,000 หุ้น 25,000 หุ้น 100 บาท 2,500,000 บาท 100 %
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น
LRK พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการลงทุน www.univentures.co.th 0105550094052 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2255 9401 – 16 โทรสาร 0 2255 9417 10,000,000 หุ้น 10,000,000 หุ้น 10 บาททุนชำระแล้ว 100,000,000 บาท 100 %
Grand U พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อาคารที่พักอาศัยเพื่อขาย www.grandunity.com 0105544087228 เลขที่ 888/224 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2253 4488 โทรสาร 0 2253 3263 5,000,000 หุ้น 5,000,000 หุ้น 10 บาท 50,000,000 บาท 60 %
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
74
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เวบไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
PV พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อาคารที่พักอาศัยเพื่อขาย www.prinsiri.com 0108444807451 เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ ชั้น 12 อาคารเอ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0 2671 6900 – 9 โทรสาร 0 2671 6910 – 11 10,000,000 หุ้น 10,000,000 หุ้น 10 บาท 100,000,000 บาท 49 %
กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ
เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
KRF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือลงทุนใน สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน 11/2542 เลขที่ 989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 24 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2659 8847 โทรสาร 0 2659 8864 23,490,448.227 หุ้น 23,490,448.227หุ้น 10 บาท 234,904,482.27 บาท 99.88 %
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
UVAM การลงทุนและการจัดการ www.univentures.co.th 0105541027224 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2255 9401 – 16 โทรสาร 0 2255 9417 2,231,000 หุ้น 2,231,000 หุ้น 10 บาท 22,310,000 บาท 100 %
75
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท เอส. ยู. เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด * ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SUN พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่าที่ดิน (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) พร้อมอาคารพาณิชย์ www.sansiri.com 10454501645 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2201 3905 – 6 โทรสาร 0 2201 3904 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 29.50 %
หมายเหตุ : * ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
76
EV ลงทุนในธุรกิจบริหารและจัดการพลังงาน www.univentures.co.th 0105548154680 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2255 9401 – 16 โทรสาร 0 2255 9417 5,000,000 หุ้น 2,750,000 หุ้น 10 บาท 27,500,000 บาท 75 %
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ** ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SSC จัดหาและจำหน่ายพลังงานให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชยกรรม 0108154811501 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2201 3466 – 7 โทรสาร 0 2201 3465 9,200,000 หุ้น 9,200,000 หุ้น 10 บาท 92,000,000 บาท 20 %
หมายเหตุ : ** ถือหุ้น บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท สหสินวัฒนา ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ** ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SSB จัดหาและจำหน่ายพลังงานให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชยกรรม 0105550089211 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2201 3466 – 7 โทรสาร 0 2201 3465 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 20 %
หมายเหตุ : ** ถือหุ้น บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด
77
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
EEI ให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน www.eei.co.th 0105542011771 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0 2201 3466 – 7 โทรสาร 0 2201 3465 2,050,000 หุ้น 2,050,000 หุ้น 10 บาท 20,500,000 บาท 31.81 %
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
UVC ให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน www.univentures.co.th 0105543041526 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2255 9401 – 16 โทรสาร 0 2255 9417 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 100 %
บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด
78
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เวบไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน
ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
FS ตัวแทนจำหน่ายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ควบคุมระบบจอดรถ www.forwardsystem.co.th 0105539131397 เลขที่ 888/221-222 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0 2255 4700 – 9 โทรสาร 0 2255 8986 – 7 50,000 หุ้น 50,000 หุ้น 100 บาท 5,000,000 บาท 100 %