สารบัญ 2
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
3
สารจากประธานกรรมการ
4
สารจากประธานอำนวยการ
9
โครงสร้างกลุ่มบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
10
ลักษณะการประกอบธุรกิจ
11
โครงสร้างรายได้
12
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
14
ปัจจัยความเสี่ยง
18
โครงสร้างการถือหุ้น
19
โครงสร้างองค์กร
20
โครงสร้างการจัดการ
28
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร
38
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
48
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ
49
รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน
50
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
51
งบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
104 ความรับผิดชอบต่อสังคม 105 ข้อมูลทั่วไปของบริษัท
1
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551
2550
2549
ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท
1,136.96 1,239.37 996.85 140.12 61.83
1,458.30 1,537.31 1,265.70 192.60 100.95
1,464.27 1,558.96 1,259.74 204.53 146.41
สินทรัพย์รวม
ล้านบาท
2,450.98
2,159.50
1,555.86
หนี้สินรวม
ล้านบาท
435.63
221.84
158.11
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว
ล้านบาท
764.76
762.27
530.46
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ล้านบาท
2,015.35
1,937.66
1,397.75
เงินสด
ล้านบาท
894.92
825.08
312.86
ผลการดำเนินงาน รายได้จากการขาย รายได้รวม ต้นทุนขาย กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ ฐานะการเงิน
ข้อมูลต่อหุ้น กำไรสุทธิต่อหุ้น
บาท
0.08
0.16
0.28
เงินปันผลต่อหุ้น
บาท
0.05
0.10
0.10
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
บาท
2.64
2.54
2.63
มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น
บาท
1.00
1.00
1.00
อัตรากำไรขั้นต้น
%
12.32
13.21
12.53
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
เท่า
0.54
0.83
1.02
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม
%
2.68
5.43
12.93
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
%
3.13
6.05
10.99
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
เท่า
0.22
0.11
0.11
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย
วัน
29
30
28
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย
วัน
55
55
52
ระยะเวลาจ่ายชำระหนี้เฉลี่ย
วัน
11
8
3
สินทรัพย์รวม
%
13.50
38.80
3.65
หนี้สินรวม
%
96.37
40.30
(32.90)
อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราการเติบโต
2
สารจากประธานกรรมการ ประเทศไทยได้เผชิญปัญหาทางการเมืองและความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลอันต่อเนื่องมาจากปี 2550 และในปลายปี 2551 ประเทศไทยยังได้รับผล กระทบจากการล่มสลายของสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในสหรัฐและยุโรป ภาคการผลิตและการส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ปัญหาการว่างงาน ความเชื่อมั่นการลงทุนจึงเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับรัฐบาลที่จะสามารถแก้ไขและบริหารประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติ รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเพื่อช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์ อาทิ การลดค่าธรรมเนียมการโอน จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งมาตรการดังกล่าวยัง มิได้ส่งผลให้ยอดขายโครงการบ้านเดี่ยวซึ่งสร้างเสร็จแล้วพร้อมขายบนทำเลอ่อนนุชและรังสิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่สำหรับโครงการคอนโดมิเนียม ยูดีไลท์ จำนวน 650 ยูนิต บนถนนประชาชื่นกลับได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเกินคาด คือมียอดขายถึงร้อยละ 50 ภายในระยะเวลา 3 เดือนกว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างประสบกับภาวะวิกฤตทางการเมือง ทั้งนี้ บริษัทฯ เชื่อว่ารูปแบบ ทำเล ราคาที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ สำหรับโครงการปาร์คเวนเชอร์ (เดิมชื่อ Wireless Square) บนบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต-วิทยุ ซึ่งเป็น โครงการอาคารสำนักงานและโรงแรม และจะเป็นแหล่งรายได้ค่าเช่าระยะยาวของบริษัทฯ ได้มีความคืบหน้าและพร้อมที่จะเริ่มงานก่อสร้างใน ระยะเวลาอันใกล้นี้ ดิฉันในฐานะประธานกรรมการบริษัท ขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณลูกค้าและผู้ถือหุ้นทุกท่านที่ให้การสนับสนุนบริษัทฯ ด้วยดีเสมอมา และขอขอบคุณ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกท่านที่ได้มุ่งมั่น ทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มที่และร่วมกันบริหารองค์กรแห่งนี้ ให้เป็นบริษัทจด ทะเบียนที่มีธรรมาภิบาลที่ดี
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ
3
สารจากประธานอำนวยการ เหตุการณ์ ที่สำคัญของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2551 ที่ผ่านมา คือการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นเพื่อทำรายการให้เช่าพื้นที่บางส่วนใน โครงการ ปาร์คเวนเชอร์ (เดิมชื่อ โครงการ Wireless Square) ให้แก่บริษัท ทีซีซี ลักซ์ชูรี โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจโรงแรมระดับ 5 ดาว โดยเป็นรายการที่มีความเกี่ยวโยงกับ บริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โครงการ ปาร์คเวนเชอร์ อยู่บนเนื้อที่ 5 ไร่เศษ บริเวณสี่แยก ถนนเพลินจิต - วิทยุ เป็นอาคารสำนักงานและโรงแรม สูง 33 ชั้น รวมพื้นที่ประมาณ 81,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการประมาณ 5 พันล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มในไตรมาส 1 ของปี 2552 และจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปีกว่า นอกจากโครงการดังกล่าวที่จะรับรู้รายได้ประเภทค่าเช่า เมื่อเริ่มเปิดโครงการใน ปี 2554 แล้ว บริษัทฯ ได้มีการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม ภายใต้คอนเซบต์ “ยู” โดยเน้นเรื่องฟังค์ชั่นการอยู่อาศัย (Practical Living) ความสะดวก (Affordable Living) และราคาที่เหมาะสม (Low cost Living) ซึ่งได้แก่ โครงการ ยู สบาย บนถนนพระราม 4 และยู ดีไลท์ บนถนนประชาชื่น ภายใต้บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียมที่มีเป้าหมายลูกค้าในกลุ่มบีและบีลบ โดยทั้งสองโครงการมีมูลค่ารวมกว่า 1,500 ล้านบาท สำหรั บ ธุ ร กิ จ สั ง กะสี อ๊ อ กไซด์ ใ นปี ที่ ผ่ า นมามี ย อดขายและกำไรเป็ น ไปตามเป้ า หมาย ถึ ง แม้ ว่ า บริ ษั ท ฯ ได้ ป ระสบกั บ สภาวะราคาสั ง กะสี ในตลาดโลกที่ลดลงถึงร้อยละ 57.82 และในปี 2552 คาดว่ายอดขายจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอยถึงร้อยละ 20 - 30 ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ คือกลุ่มโรงงานยางรถยนต์ซึ่งได้รับผลกระทบจากธุรกิจยานยนต์ที่หดตัว สำหรับ แผนงานปี 2552 บริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการลงทุนและการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหรือ โครงการที่ประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ ราคาค่าก่อสร้าง ค่าขนส่ง และวัสดุหลักๆ ได้มีการปรับตัวลงซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกหากภาวะเศรษฐกิจเริ่ม ฟื้นตัว นอกจากนี้บริษัทฯ จะจัดโครงสร้างบริษัทในกลุ่มของยูนิเวนเจอร์ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจหมวดพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ คือจะย้ายธุรกิจสังกะสีอ๊อกไซด์ที่ดำเนินงานภายใต้บริษัทฯ ไปดำเนินกิจการที่บริษัทย่อยคือบริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด สุ ด ท้ า ยนี้ ดิ ฉั น และคณะผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งานของบริ ษั ท ยู นิ เ วนเจอร์ จำกั ด (มหาชน) และบริ ษั ท ในเครื อ ขอขอบพระคุ ณ ลู ก ค้ า ผู้ ถื อ หุ้ น และ พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ ทุ ก ท่ า นที่ ก รุ ณ าให้ ค วามไว้ ว างใจและความร่ ว มมื อ ด้ ว ยดี ต ลอดมา คณะผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งานทุ ก ท่ า นจะมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะร่ ว มกั น ปฏิบัติหน้าที่ในการที่จะสร้างองค์กรแห่งนี้ให้มีความก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง โปร่งใสและ สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นทุกท่าน
4
นาง อรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ
Park Ventures “The Ecoplex on Witthayu” คือ อาคารรูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก ปรัชญา ของการ ก่อสร้างที่ผสานนวัตกรรมการออกแบบที่ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่กับคุณภาพชีวิตที่ดี ของผู้อยู่อาศัย ผ่านความใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบ Eco Driven Building ที่ทุกรายละเอียดเอื้อให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่ อาศัยมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างความสำเร็จ ทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Park Ventures “The Ecoplex on Witthayu” is the complex that has been developed from the philosophy of balancing innovative construction and the living quality of tenants. This Eco Driven building components and meticulous eco friendly details will enhance working stamina that will allow the tenants to have inspiration and will power to reach their goals.
ชื่อโครงการ : ที่ตั้ง : ประเภทอาคาร : จำนวนชั้น : พื้นที่จอดรถ : กำหนดแล้วเสร็จ : ส่วนอาคารสำนักงาน พื้นที่แต่ละชั้น : พื้นที่เช่าทั้งหมด : ส่วนโรงแรม จำนวนห้องทั้งหมด จำนวนร้านอาหาร เว็ปไซด์โครงการ
ปาร์คเวนเชอร์ บริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต - วิทยุ สำนักงาน และโรงแรม 6 ดาว 33 ชั้น 580 คัน สำนักงาน – กันยายน 2554 โรงแรม – มีนาคม 2555 1,800 ตร.ม. 27,000 ตร.ม.
Property Name : Location : Type : Storey : Parking Space : Year completed : Office Area Typical Floor Area : Total Lettable Area :
Park Ventures Ploenchit - Wireless Road Intersection Office and 6-star Hotel 33 580 cars Office – September 2011 Hotel – March 2012 1,800 sq.m. 27,000 sq.m.
: 245 ห้อง : 3 ร้าน
Hotel Area Total Keys No. of Restaurants
: 245 keys : 3 restaurants
: www.park-ventures.com
Website
: www.park-ventures.com
ผู้พัฒนาโครงการ : สถาปนิกและวิศวกร : ผู้จัดการงานก่อสร้าง : ผู้สำรวจเชิงปริมาณ : ที่ปรึกษางานก่อสร้างกระจกอาคาร : ที่ปรึกษาด้านเทคนิคแสง : ที่ปรึกษางานภูมิสถาปัตย์ : ที่ปรึกษาด้านอาคารอนุรักษ์พลังงาน : ที่ปรึกษาด้านพื้นที่อาคารสำนักงาน : ที่ปรึกษาด้านการออกแบบสื่อสาร : ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ :
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปาล์มเมอร์ แอนด์ เทอร์เนอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โปรเจค ไดเรคชั่น จำกัด บริษัท เดวิส แลงดอน แอนด์ เซียห์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คอนเนลล์ว๊ากเนอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีอีซี ลินคอล์น สก๊อตต์ (วิชั่น ดีไซน์) จำกัด บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร บริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท กราฟฟิค 49 จำกัด บริษัท แบรนด์ซเคพ จำกัด หจก. แบรนด์ดิตี้ จำกัด
© 2009 Univentures PLC. All rights reserved.
Developer : Architect and Engineer : Construction Management : Quantity Surveyor : Façade Consultant : Lighting Consultant : Landscape Consultant : Green Building Consultant : Office Space Consultant : Signage Consultant : Brand Consultant :
Univentures PLC. Palmer & Turner (Thailand) Co., Ltd. Project Direction Co., Ltd. Davis Langdon & Seah Co., Ltd. Connell Wagner Co., Ltd. EEC lincolnescott (Vision Design) Co., Ltd. P Landscape Co., Ltd. Dr. Atch Sreshthaputra CB Richard Ellis (Thailand) Co., Ltd. Graphic 49 Ltd. Brandscape Co., Ltd. Brandity Limited Partnership
Developed by
5
6
7
8
100%
บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด (TL) ทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 137.50 ล้านบาท
ธุรกิจผงสังกะสีอ๊อกไซด์ และเคมีภัณฑ์อื่น
100%
99.13%
49%
60%
100%
บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด *** (GUL) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 244.05 ล้านบาท
29.50%
บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด * (SUN) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (UVAM) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 22.31 ล้านบาท
กองทุนรวมกินรี พร็อพเพอร์ตี้ (KRF) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 2.88 ล้านบาท
บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด (PV) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 100 ล้านบาท
99.98%
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (Grand U) ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 380 ล้านบาท
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด (LRK) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 100 ล้านบาท
การลงทุนและพัฒนา อสังหาริมทรัพย์
31.81%
75%
พลังงาน
บริษัท สหสินวัฒนา ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ** (SSB) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด (FS) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 5 ล้านบาท
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด (UVC) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 10 ล้านบาท
หมายเหตุ : * ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ** ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด คิดเป็นร้อยละ 15 *** ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด คิดเป็นร้อยละ 59.99
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EEI) ทุนจดทะเบียน /ทุนชำระแล้ว 25 ล้านบาท
20%
20%
100%
100%
ธุรกิจอื่น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 (ส่วนที่ถือหุ้นทางตรงและทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป)
บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ** (SSC) ทุนจดทะเบียน / ทุนชำระแล้ว 92 ล้านบาท
บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (EV) ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท / ทุนชำระแล้ว 27.50 ล้านบาท
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 944.53 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 764.77 ล้านบาท
โครงสร้างกลุ่มบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
9
ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2523 โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์ (Zinc Oxide) ภายใต้เครื่องหมายการค้า รูป “เตาเผา” บริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ในปี 2531 และนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาการเงินให้สามารถดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ โดยจัดตั้งบริษัทย่อยหรือร่วมทุนกับบริษัทผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ที่มีประสบการณ์ จากการเปลี่ยนแปลงและการขยายการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2549 บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ย้ายหมวดธุรกิจจาก หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals Sector) เป็นหมวดพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ (Property Development Sector) การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม จำแนกประเภทธุรกิจหลักได้ดังนี้ 1 ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัยเพื่อขาย โดยดำเนินการผ่าน บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นทางตรงในสัดส่วนร้อยละ 60 ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและขายรวม 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพาร์ค วิว วิภาวดี 4 โครงการยู สบาย (พระราม 4 – กล้วยน้ำไท) และโครงการยู ดีไลท์ บางซื่อ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบ บริษัทฯ ได้ลงทุนใน บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 โดย มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและขาย คือ โครงการ ดิ ยูโรเปี้ยน ทาวน์ อ่อนนุช และ โครงการ ดิ นอร์ธเทิร์น ทาวน์ รังสิต นอกจากนี้ ในส่วนของสิทธิการเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต-วิทยุ โดยบริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน ร้อยละ 100 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพื่อที่จะพัฒนาเป็นโครงการอาคารสำนักงานและโรงแรมที่มีความสูง 33 ชั้น โดยคาดว่า จะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการประมาณปี พ.ศ. 2554 2 ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์ ดำเนินการโดยบริษัทฯ และบริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) 3 ธุรกิจพลังงาน มีลักษณะการดำเนินธุรกิจทั้งในรูปแบบของการลงทุนในธุรกิจบริหารและจัดการพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุเหลือใช้จาก ธรรมชาติร่วมกับเชื้อเพลิงที่ประหยัดและมีมลพิษต่ำ และการให้บริการปรึกษาด้านวิศวกรรมจัดการและอนุรักษ์พลังงาน โดยผ่าน บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 75) และบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 31.81) 4 ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุ ร กิ จ ผู้ แ ทนจำหน่ า ยเครื่ อ งบั น ทึ ก เวลา ระบบควบคุ ม การเข้ า ออกอาคารและลิ ฟ ท์ ผู้ โ ดยสาร และอุ ป กรณ์ ร ะบบควบคุ ม ที่ จ อดรถ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “AMANO” จากประเทศญี่ปุ่น ผ่านบริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด และบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) ดำเนินธุรกิจในลักษณะการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนอีกด้วย
10
22.75 17.23
153.74 12.40%
กำไร (ขาดทุน) จากการขายหลักทรัพย์เผื่อขาย (เงินลงทุนระยะยาว)
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
รายได้อื่น
รวมรายได้จากธุรกิจการลงทุน
105.76
6.88%
-
184.11 11.98%
-
184.11 11.98%
3.74%
1.08%
2.66%
73.92
34.81
39.11
141.28
ล้านบาท
%
70.41
4.52%
188.45 12.09%
-
188.45 12.09%
-
0.97%
0.23%
0.47%
2.02%
0.64%
0.61%
9.34%
57.2
17.64
39.56
3.67%
1.13%
2.54%
222.68 14.28%
-
15.08
3.55
7.38
31.54
9.96
9.54
145.63
100% 1,558.96 100.00%
4.81%
2.26%
2.54%
9.19%
-
-
1.39%
-
0.16% (9.89) (0.64%)
-
2.52
2.80%
0.04%
0.51%
6.31%
1.84%
-
0.36%
43.09
0.60
7.88
97.08
1,239.37 100.00% 1,537.31
46.37
รวมรายได้จากธุรกิจอื่น
รายได้รวม
13.43
รายได้อื่น:รายได้จากการขายผลพลอยได้จากการผลิต/ค่าที่ปรึกษา/ค่าบริการจัดการและดอกเบี้ยรับ
รายได้จากการขายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ควบคุมระบบจอดรถ
32.94
4.45
เงินปันผลรับ
3.42%
0.17%
-
5.23%
42.41
-
64.76
ดอกเบี้ยรับ
ธุรกิจอื่น
%
1,039.26 83.85% 1,322.11 86.00% 1,279.08 82.05%
3.14%
-
3.14%
2.14
บจ.ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม/ บจ.ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง/บจ.เอสโก้ เวนเจอร์
6.60%
รายได้ค่าเช่าและกำไรจากการขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ให้เช่า
กำไรจากการขายหลักประกันของลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
รายได้จากการขายห้องชุดพักอาศัย
กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้/ บมจ.ยูนิเวนเจอร์/ บจ.ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์
38.88 38.88
ธุรกิจการลงทุน
ล้านบาท
2549
1,000.38 80.72% 1,138.00 74.03% 1,090.63 69.96%
81.76
รวม
รวมรายได้จากธุรกิจผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์
%
2550
918.62 74.12% 1,032.24 67.15% 1,020.22 65.44%
ล้านบาท
2551
-
บจ.ไทย-ไลซาท
บมจ.ยูนิเวนเจอร์
ดำเนินการโดย
รายได้จากการขาย - ต่างประเทศ
รายได้จากการขาย - ในประเทศ
รวม
รายได้จากการขาย - ต่างประเทศ
รายได้จากการขาย - ในประเทศ
ธุรกิจผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์
กลุ่มธุรกิจ
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
โครงสร้างรายได้
11
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ในปี 2551 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากการขายและการให้บริการ 1,072.20 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.51 ของรายได้รวมทั้งหมด ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.23 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการลดลงของรายได้จาก ธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ ซึ่งแม้ว่าจะมีปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น 1,804 ตันหรือร้อยละ 15.79 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่เนื่องปัจจัยของราคาสังกะสีแท่งของตลาดโลกที่ลดลงอย่างมีสาระสำคัญ ทำให้ ราคาเฉลี่ยลดลงจาก 3,243 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2550 เป็น 1,828 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2551 หรือลดลงร้อยละ 43.62 สำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถมีรายได้ 32.94 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.77 รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เท่ากับ 64.76 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของรายได้รวมทั้งหมด ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.29 เนื่องจาก เป็นการขายต่อเนื่องของโครงการเดิม คือ โครงการพาร์ควิว วิภาวดี 1, 2 และ 3 สำหรับในปี 2551 บริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาหลาย โครงการซึ่งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพที่ดี ได้แก่ โครงการพาร์ควิว วิภาวดี 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่ในบริเวณหลักสี่ ซึ่งได้ทยอยรับรู้รายได้ไปบางส่วนแล้วในปี 2551 โครงการ ยู สบาย ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน พระราม 4 และโครงการ ยู ดีไลท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ในบริเวณหลักสี่ บางซื่อ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ในส่วนของรายได้อื่นจำนวน 79.66 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.39 ซึ่งเกิดจาก รายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้ค่าบริการ ที่ลดลง ในส่วนของต้นทุนขายรวมยังคงมีสัดส่วนใกล้เคียงกับปี 2550 ที่อัตราร้อยละ 87.67 ของรายได้จากการขาย รวมถึงแม้ว่า ณ เดือนธันวาคม 2551 บริษัทฯ มีการตั้งสำรองการด้อยค่าของวัตถุดิบสังกะสีแท่งตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อให้สะท้อนราคาตลาดโลก (Marked to Market) ทำให้ส่งผล กระทบต่อต้นทุนขายเพิ่มขึ้นจำนวน 20.14 ล้านบาท บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นโดยรวมในอัตราส่วนร้อยละ 12.32 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน แต่ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้นของการขายหน่วยในอาคารชุด เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 17.04 ในปีก่อน เป็นอัตราร้อยละ 18.73 เนื่องจากบริษัทฯ มีการควบคุมต้นทุนการก่อสร้างได้ดีขึ้น สำหรับการรับรู้ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในปี 2551 บริษัทฯ รับรู้ผลกำไร 22.75 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่รับรู้ผล ขาดทุน 9.89 ล้านบาท กล่าวโดยสรุป ในปี 2551 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิรวม 61.83 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 จำนวน 39.12 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38.75 ฐานะการเงิน สินทรัพย์รวม สินทรัพย์รวมตามงบการเงินรวม มีจำนวน 2,450.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 291.48 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.50 โดยมี รายการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 69.84 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ ระหว่างการพัฒนาและอสังหาริมทรัพย์มีไว้เพื่อขายจำนวน 196.55 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จำนวน 149.51 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญคือ การจ่ายเงินล่วงหน้าของค่าวัสดุก่อสร้างของโครงการปาร์ค เวนเชอร์ จำนวน 90 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทฯ ได้มีการมัดจำค่าที่ดิน จำนวน 25 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และอีกส่วนหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของมูลค่าโครงการในระหว่างการพัฒนาได้แก่ โครงการปาร์ค เวนเชอร์ (โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต-วิทยุ) จำนวน 174.90 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในอนาคต หนี้สินรวม หนี้สินรวมตามงบการเงินรวม มีจำนวน 435.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 213.79 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.37 เนื่องจากในปี 2551 ได้มีการบันทึกค่าเช่ารับล่วงหน้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามภาระผูกพันของสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต - วิทยุุ สำหรับ โครงการปาร์ค เวนเชอร์ จำนวน 250 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้นจำนวน 90 ล้านบาท จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์
12
วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินรวม มีจำนวน 2,015.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 77.69 ล้านบาท หรือคิดเป็น อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.01 ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินจากการตีราคาประเมินจำนวน 9.54 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่ม ขึ้นจำนวน 116.32 ล้านบาท อันเนื่องมาจากการที่บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท แกรนยูนิตี้ ดิเวลล็อปเม้นท์ จำกัด จำนวน 375 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 380 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจตามแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ กระแสเงินสด ปี 2551 บริ ษั ท ฯ มี ก ระแสเงิ น สดใช้ ไ ปในกิ จ กรรมการดำเนิ น งานสุ ท ธิ 375.23 ล้ า นบาท โดยนำไปใช้ ใ นการพั ฒ นาโครงการอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ในหลายโครงการตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนสุทธิ เพิ่มขึ้นจำนวน 22.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีรายการที่สำคัญคือ การเพิ่มขึ้นของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 35.34 ล้านบาทเนื่องจากบริษัทฯ ได้ขยายกำลังการผลิตของ ธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1200 เมตริกตันส่งผลให้มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12,000 เมตริกตัน ต่อปีประกอบกับการลงทุนเพิ่ม ขึ้นของมูลค่าโครงการในระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่าได้แก่โครงการปาร์ค เวนเชอร์ (โครงการพัฒนาที่ดินบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต-วิทยุุ) จำนวน 174.90 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในอนาคต บริษัทมีกระแสเงินสดได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินสุทธิ จำนวน 372.41 ล้านบาท จากเงินค่าเช่ารับล่วงหน้าจำนวน 250 ล้านบาทและเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินจำนวน 90 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีเงินสดคงเหลือสุทธิเท่ากับ 894.92 ล้านบาท อัตราส่วนสภาพคล่องที่สำคัญ อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ในระดับ 19.49 เท่า และอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วอยู่ในระดับ 13.14 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดีและมีสภาพคล่องสูงมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ 7.45 และ 6.49 เท่าตามลำดับ เนื่องจากบริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ระหว่าง การพัฒนาอยู่หลายโครงการ ซึ่งจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้ในปี 2552 ประกอบกับการมีหนี้สินหมุนเวียนลดลงจากการลดลงของรายการเงินกู้ยืมระยะสั้น จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และมีหนี้สินหมุนเวียนอื่นลดลงจากการที่บริษัทฯ ได้จ่ายชำระค่าหน้าดินบริเวณสี่แยกถนนเพลินจิต-วิทยุุ เพื่อโครงการ ปาร์ค เวนเชอร์ ในปี 2551
13
ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบจากธุรกิจการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ : 1
ความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ในปี 2551 ภาวะเศรษฐกิ จ โดยรวมยั ง คงได้ รั บ ผลกระทบอย่ า งรุ น แรงทั้ ง จากปั จ จั ย ความไม่ แ น่ น อนทางการเมื อ งภายในประเทศ และ วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันเนื่องมาจากปัญหาการล้มละลายของสถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนลดลง ธุรกิจหลายแห่งเริ่มแสดงผลประกอบการขาดทุน จนต้องจำกัดการขยายตัว และลดการจ้างงาน โดยเฉพาะในช่ ว งไตรมาสที่ 4 ทำให้ ผู้ บ ริ โ ภคมี ค วามระมั ด ระวั ง ในการใช้ จ่ า ยและบริ โ ภคสู ง ขึ้ น รวมถึ ง ชลอการตั ด สิ น ใจที่ จ ะลงทุ น ซื้ อ อสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่โครงการ (Pre-Financing) และสินเชื่อให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ (Post-Financing) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านการเงินกับโครงการที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติสินเชื่อ หรือโครงการที่อยู่ระหว่างการโอนห้องชุดให้แก่ลูกค้า เพราะหากลูกค้าไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ ก็จะไม่สามารถโอนห้องชุดได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเสี่ยงดังกล่าว และยังคงใช้ความระมัดระวังในการลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเน้นนโยบายการพัฒนา โครงการที่มีลักษณะของสินค้าตรงกับความต้องการของฐานลูกค้าที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ พร้อมกับปรับราคาและจำนวนเงินที่ผ่อนชำระค่า งวดให้มีความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้พยายามที่จะพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ให้แล้วเสร็จ โดยเร็ว เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจ และช่วยลูกค้าในการประสานงานกับสถาบันการเงินในการขออนุมัติสินเชื่อตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงจากกรณีลูกค้าไม่ได้รับสินเชื่อเมื่อถึงกำหนดการโอนห้องชุด
2
ความเสี่ยงจากสภาพการแข่งขัน จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังคงชลอการลงทุนในการพัฒนาโครงการใหม่ แต่พยายามเร่ง ก่อสร้างโครงการเก่าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาให้แล้วเสร็จก่อน และเร่งระบายสินค้าที่ยังคงค้างอยู่ออกไป อย่างไรก็ตาม ทำเลที่อยู่ในบริเวณ แนวเส้นรถไฟฟ้าทั้งส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนต่อขยาย ก็ยังคงมีโครงการใหม่ขึ้นมาแข่งขันกันอยู่ โดยเฉพาะโครงการที่เป็นแนวสูง ยังมีลูกค้า กลุ่มที่พร้อมจะลงทุนซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมแนวเส้นรถไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าทำเลอื่น เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางและ อยู่ในแหล่งชุมชน อย่ า งไรก็ ต าม บริ ษั ท ฯ ยั ง คงเลื อ กที่ จ ะลงทุ น ในทำเลที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารแข่ ง ขั น สู ง มากนั ก เพราะจะทำให้ มี ต้ น ทุ น ที่ ดิ น และค่ า การตลาด สู ง ต้ อ งพั ฒ นาเป็ น สิ น ค้ า ราคาแพง แต่ จ ะเน้ น ทำเลที่ มี จุ ด เด่ น ของโครงการในด้ า นอื่ น ๆ เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของลู ก ค้ า ได้ โดยจะยังคงลงทุนในที่ดิน หรือโครงการสร้างค้างที่ประสบกับปัญหาด้านการเงินแต่เป็นโครงการที่มีศักยภาพที่ดี ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนใน การได้มาต่ำและสามารถพัฒนาให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบ ไลฟ์สไตล์ของโครงการในราคาที่ไม่สูง และเน้นฐานลูกค้าระดับราคาปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก
3
ความเสี่ยงด้านต้นทุนการพัฒนาโครงการ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีสัญญาณชลอตัวลง และราคาเสนอขายที่ดินมีการปรับตัวลดลงบ้าง แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการปรับตัวของ ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นในปีก่อนหน้านี้ ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงชลอการตัดสินใจที่จะลงทุน ทำให้ยังมีการซื้อขายที่ดินเพื่อลง ทุนพัฒนาโครงการใหม่ไม่มากนัก ต้นทุนราคาที่ดินยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ในส่ ว นของต้ น ทุ น ค่ า ก่ อ สร้ า งก็ ยั ง คงมี ค วามผั น ผวน ถึ ง แม้ ว่ า น้ ำ มั น และเหล็ ก จะมี ร าคาลดลงเมื่ อ เที ย บกั บ ช่ ว งครึ่ ง ปี แ รกของปี 2551 แต่บริษัทฯ ได้เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของราคาวัสดุหลักอาทิ เหล็ก และซื้อบางส่วนที่อาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก ต้นทุนก่อสร้างที่จะสูงขึ้น
4
ความเสี่ยงจากผู้รับเหมาโครงการ แม้ว่าบริษัทฯ ได้มีการกำหนดแนวนโยบายที่จะบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณภาพ และมีความ น่าเชื่อถือเป็นปัจจัยหลักต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งได้แก่คุณภาพ และความเร็วเป็นสำคัญ บริษัทฯ ได้มีการเปรียบเทียบผู้รับเหมา และคัดเลือกโดยมีพันธมิตรที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในการให้คำปรึกษาพร้อมทั้งแนะนำผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่น่าเชื่อถือได้ในการเข้ามาพัฒนาโครงการที่ลงทุนร่วมกัน
14
ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบจากธุรกิจผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ : 1
ความเสี่ยงจากราคาวัตถุดิบ เนื่องจากราคาวัตถุดิบหลักของการผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์คือ สังกะสีแท่ง (ZINC INGOT) กำหนดโดยอ้างอิงจากราคากลางของตลาดโลกที่เรา เรียกว่าราคา LME (London Metal Exchange) ซึ่งราคาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเวลาและซื้อขายโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ณ วันที่ทำการซื้อขาย จากปั จ จั ย ดั ง กล่ า วบริ ษั ท ฯ ได้ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยความระมั ด ระวั ง และวางแผนบริ ห ารจั ด การเพื่ อ ลดความเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น บริ ษั ท ฯ ได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมทั้งวิเคราะห์ถึงสภาวะแวดล้อมอันเป็นปัจจัยภายนอกประเทศและภายในประเทศ และนำข้อมูล มากำหนดนโยบายการวางแผนให้เหมาะสมในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการและราคาขายของลูกค้าแต่ละราย เพื่อที่จะรักษาอัตรากำไรให้เป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ อนึ่ง บริษัทฯ ได้มีการปรับราคาของวัตถุดิบตามงวดบัญชีเพื่อให้สะท้อนมูลค่าตลาด (Mark – to – Market) โดยใช้ราคาเฉลี่ย 30 วันหลังจาก ปิดงวดบัญชี ซึ่งการบันทึกบัญชีนี้จะทำให้บริษัทฯ ลดความเสี่ยงในเรื่องราคาวัตถุดิบ หากมีความผันผวน
2
ความเสี่ยงจากการแข่งขันด้านราคา จากสภาวะเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่ถดถอยและชะลอตัวลงอย่างมากได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณความต้องการสั่งซื้อของผู้ซื้อลดลง ตาม อันเป็นผลทำให้เกิดสภาวะการแข่งขันการขายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นและเป็นผลให้คู่แข่งใช้กลยุทธ์ด้านราคานำตลาดเพื่อได้ส่วนแบ่งทาง การตลาดที่สูงขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบราคาของวัตถุดิบ Zinc Ingot ที่ใช้ในการผลิตผงสังกะสีอ๊อกไซด์ ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2551 กับเดือนมกราคมของปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน ราคาเฉลี่ยที่ใช้อ้างอิงในการซื้อขายปี 2552 มีการปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 60 ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงมีนโยบายปรับลด ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยการบริหารต้นทุนของสินค้า และ กลยุทธ์ราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด รวมถึงเพิ่มลูกค้ารายใหม่ๆ ทั้งนี้เพื่อ ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
3
ความเสี่ยงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น จากภาวะน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 ทำให้ปี 2551 ช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งจนถึงไตรมาสที่สามราคาน้ำมันยังคงเป็นตัวแปรสำคัญ ในการผลิตจน ณ ไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงบ้างเล็กน้อยโดยในปี 2550 น้ำมันที่ใช้ในการผลิตคิดเป็นร้อยละ 47 ของต้นทุนการผลิต เทียบกับปี 2551 น้ำมันที่ใช้ในการผลิตคิดเป็นร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.55 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่ง ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันยังคงมีราคาที่สูงกว่าปี 2550 แต่ทางบริษัทฯ ก็สามารถประหยัด การใช้น้ำมันลดได้ร้อยละ 4.07 รวมไปถึงยังให้ความสำคัญในกระบวนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ การเพิ่ม ประสิทธิภาพในการขนส่งโดยจัดการวางแผนเส้นทางขนส่ง และ/หรือในการว่าจ้างผู้รับเหมาในการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและในราคา ที่เหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตรวมไม่เกินเป้าหมายที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายไว้
4
ความเสี่ยงจากการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ เนื่องจากการผลิตสังกะสีอ็อกไซด์ ใช้วัตถุดิบสังกะสีแท่งบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.995 (Special High Grade Zinc Ingot) คิดเป็นอัตราส่วนต่อ การผลิตร้อยละ 80 ดังนั้นการจัดหาแหล่งวัตถุดิบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งครอบคลุมการต่อรองราคา ปริมาณการเก็บสินค้าคงเหลือ และการจัดส่งให้ทันกับแผนการผลิต การพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบในประเทศเพียงแหล่งเดียวอาจมีความเสี่ยง ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องจัดสรรการ สั่งซื้อวัตถุดิบโดยการนำเข้าจากต่างประเทศร่วมด้วย เพื่อบริหารความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีทางเลือกในการจัดซื้อวัตถุดิบมากขึ้น
15
ปัจจัยความเสี่ยง 5.
ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ราคาซื้อขายจะถูกกำหนดโดยอ้างอิงกับราคา ณ ตลาดกลางที่กรุงลอนดอน London Metal Exchange (LME) ประเทศอั ง กฤษ ซึ่ ง กำหนดเป็ น สกุ ล เงิ น เหรี ย ญสหรั ฐ โดยจะแปลงเป็ น สกุ ล เงิ น บาทที่ ค ำนวณราคาจากอั ต ราแลกเปลี่ ย น ณ วันที่ทำการซื้อ บริษัทฯ อาจมีความเสี่ยงในการกำหนดต้นทุนการผลิตหากค่าเงินบาทมีความผันผวน ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจึง ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินการมาตรการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยจะทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน ล่วงหน้า (Forward Contract) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท
ผลกระทบจากธุรกิจการลงทุนด้านพลังงาน : 1
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี และการรับประกันผลการประหยัดพลังงาน ธุรกิจด้านการจัดการพลังงาน คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมใหม่ทั้งภายในและต่างประเทศมาออกแบบระบบงาน เพื่อก่อให้เกิดการ ประหยัดพลังงานแก่ธุรกิจต่างๆ โดยมีการรับประกันผลการประหยัดพลังงานขั้นต่ำให้กับผู้ประกอบการตลอดระยะเวลาของโครงการ หาก โครงการนั้นๆ ไม่สามารถก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางเทคโนโลยี บริษัทฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าการ ประหยัดพลังงานขั้นต่ำให้กับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการพัฒนาโครงการประหยัดพลังงานมากกว่า 9 ปี ซึ่งได้ให้ความสำคัญในการคัดสรรเทคโนโลยีที่มี ประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกับธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จด้วยดี นอกจากนี้ ในการจัดจ้างและจัดซื้อ เครื่องจักรอุปกรณ์ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ได้ให้ความสำคัญโดยพิจารณาผู้ขายที่มีความน่าเชื่อถือ มีเงื่อนไข การรับประกันคุณภาพเครื่องจักร และรวมถึงการซื้อประกันภัยกรณีเครื่องจักรชำรุดเสียหาย (Machinery Breakdown Insurance) ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการประหยัดตามที่ออกแบบระบบไว้
2
ความเสี่ยงจากธุรกิจของผู้ร่วมพัฒนาโครงการ การดำเนินโครงการประหยัดพลังงาน ในกรณีที่บริษัทฯ เข้าลงทุนและร่วมพัฒนาโครงการ ผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด นั้น จำเป็นต้อง พึ่งพาผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ร่วมพัฒนาโครงการ ดังนั้นสถานะทางธุรกิจของผู้ร่วมพัฒนาโครงการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการ ประสบความสำเร็จ และให้ผลตอบแทนตามที่บริษัทฯ คาดหวัง บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการคัดเลือกผู้ร่วมพัฒนาโครงการ ที่มีความมั่นคงทางธุรกิจ โดยพิจารณาร่วมกับฝ่ายสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ต่างๆ โดยผู้ร่วมพัฒนาโครงการต้องมีกระแสเงินสดจากการ ดำเนินงานสม่ำเสมอ และมีศักยภาพการดำเนินการทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
3
ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรต่างๆ ในโครงการประหยัดพลังงาน ในกรณีที่ค่าเงินบาทมีค่าอ่อนตัวลง บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและป้องกันความเสี่ยงโดยทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับสถาบันการเงิน เพื่อควบคุมต้นทุนของโครงการให้เป็นไปตามประมาณการ ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่มีการร่วมทุนกับกองทุนจากต่างประเทศ ซึ่งนำเงินตรา ต่างประเทศเข้ามาลงทุน ก็สามารถนำเงินตราต่างประเทศนั้นมาใช้ในโครงการ และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ได้เป็นบางส่วน
16
ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบจากธุรกิจเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถ : 1
ความเสี่ยงจากสภาพการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากสินค้าเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถ ที่บริษัทฯ นำเข้ามาจาก ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นสินค้า ที่สามารถผลิตได้ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีนและไต้หวันซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้ผู้ค้าในประเทศหลายรายนำเข้ามาจำหน่าย ในประเทศไทย เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของตลาดในระดั บ กลางและล่ า งที่ อ่ อ นไหวต่ อ ราคาสิ น ค้ า แต่ มี เ ทคโนโลยี ใ กล้ เ คี ย งกั น อันส่งผลกระทบต่อการเติบโตของรายได้ของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ ต้องจัดหาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะ ในปี 2551 บริษัทฯ มีแผนการจัดหาสินค้าใหม่เข้ามาเปิดตลาด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยเน้นคุณภาพของสินค้าและการให้บริการหลังการขาย
2
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี สินค้าหลักที่บริษัทฯ ทำตลาดอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังคงใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภค ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ริเริ่มที่จะให้บุคคลากรภายในองค์กรพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ได้สินค้าที่เหมาะสมและตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้า ภายในประเทศ
3
ความเสี่ยงจากสภาพเศรษฐกิจและการเมือง เนื่องจากสินค้าที่บริษัทฯ จัดจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ยังคงอ้างอิงธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ระบบ ควบคุมที่จอดรถ โดยในปี 2551 ธุรกิจในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เริ่มได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและการเมืองบางส่วน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีการขยายฐานลูกค้าออกไปยังธุรกิจในกลุ่มอื่นๆ เช่น ย่านการค้าที่ต้องการจัดเก็บรายได้ค่าที่จอดรถ เป็นต้น
4
ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่บริษัทฯ ต้องนำเข้าเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ระบบควบคุมที่จอดรถจากต่างประเทศ และมีต้นทุนเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ และเงินเยน หากมีความผันผวนของค่าเงินบาท ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจะส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยตรง ดังนั้น บริษัทฯ จึงดำเนินมาตรการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยจะทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Contract) สำหรับสินค้า ที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท
17
โครงสร้างการถือหุ้น ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวนหุ้นที่ถือ ชื่อผู้ถือหุ้น 1) 2) 3) 4) 5) 6) 7) 8) 9) 10)
หุ้น
บริษัท อเดลฟอส จำกัด* UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED บริษัท ไทยเอ็นดีวีอาร์ จำกัด HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD CACEIS BANK LUXEMBOURG นางอรฤดี ณ ระนอง นายจงรักษ์ ศรีพันธ์พร MELLON BANK, N.A. บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) นายอภินันทน์ ฮ้อแสงชัย
%
431,297,126 80,125,400 48,128,324 35,490,600 12,136,400 6,841,000 6,800,000 6,500,000 5,000,000 5,000,000
56.40 10.48 6.29 4.64 1.59 0.89 0.89 0.85 0.65 0.65
หมายเหตุ : ข้อมูลจากบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด *บริษัท อเดลฟอส จำกัด ถือหุ้นโดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี ร้อยละ 50 และนายปนต สิริวัฒนภักดี ร้อยละ 50
ข้อจำกัดการถือหุ้นของบุคคลต่างด้าว บริษัทฯ มีข้อจำกัดการถือหุ้นของบุคคลต่างด้าว (Foreign limit) ไว้ร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีบุคคลต่างด้าวถือหุ้นของบริษัทฯ ร้อยละ 21.09 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและ ทุ น สำรองต่ า งๆ ทั้ ง หมดของงบการเงิ น รวมในแต่ ล ะปี ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ แผนการลงทุ น ความจำเป็ น และความเหมาะสมอื่ น ๆ ในอนาคต เมื่ อ คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินปันผลประจำปีแล้วจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ให้คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย คณะกรรมการของบริษัทย่อยจะพิจารณาจากกำไรสะสมกระแสเงินสดคงเหลือเปรียบเทียบกับงบลงทุน ของบริษัทย่อย หากกระแสเงินสดคงเหลือมีเพียงพอหลังการตั้งสำรองตามกฎหมายแล้วคณะกรรมการของบริษัทย่อยจะพิจารณาจ่ายเงินปันผล ตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป การจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา ของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ปี เงินปันผลประจำปี (บาทต่อหุ้น) กำไรสุทธิ ตามงบการเงินรวม (ล้านบาท) สัดส่วนการจ่ายเงินปันผลเทียบกับกำไรสุทธิ
18
2551
2550
2549
2548
2547
0.05
0.10
0.10
0.10
0.10
61.83
100.95
146.40
117.98
86.91
61.84 %
75.61%
36.40%
44.95%
60.54%
ฝ่ายกฎหมาย และบริหารทรัพย์สิน
ฝ่ายพัฒนาโครงการ
กรรมการผู้จัดการ
คณะกรรมการพิจารณา การลงทุน
คณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนและสรรหา
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
ประธานอำนวยการ
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริษัท
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ และงบประมาณ
ฝ่ายบัญชีและการเงิน
กรรมการบริหาร สายการเงินและอำนวยการ
ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และระบบควบคุมภายใน
คณะกรรมการตรวจสอบ
ฝ่ายธุรการ
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ฝ่ายจัดซื้อกลาง
โครงสร้างองค์กร
19
โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และมีคณะกรรมการชุดย่อย 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริหาร โดยมีประธานอำนวยการ เป็นผู้บริหารสูงสุด ของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ท่าน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ กรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนทั้งสิ้น 8 ท่าน กรรมการที่เป็นผู้บริหาร (Executive Directors) จำนวน 2 ท่าน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Directors) จำนวน 6 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้ ชื่อ – นามสกุล 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน 3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 5 นายปณต สิริวัฒนภักดี 6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 7 นางอรฤดี ณ ระนอง 8 นายธนพล ศิริธนชัย
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ/ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ/ประธานอำนวยการ กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ
วันที่ได้รับแต่งตั้ง 18 กรกฎาคม 2550 24 ตุลาคม 2546 16 ธันวาคม 2548 18 กรกฎาคม 2550 18 กรกฎาคม 2550 18 กรกฎาคม 2550 24 พฤษภาคม 2543 10 มิถุนายน 2546
โดยมี นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร เป็นเลขานุการบริษัท ตั้งแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หมายเหตุ : ที่ ป ระชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ประจำปี 2551 เมื่ อ วั น ที่ 23 เมษายน 2551 มี ม ติ แ ต่ ง ตั้ ง นายปณต สิ ริ วั ฒ นภั ก ดี นางสาวพจนี ย์ ธนวรานิ ช และ นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ดำรงตำแหน่งกรรมการต่ออีกวาระหนึ่ง
คำนิยาม กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานประจำของบริษัทฯ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่มิได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานประจำของบริษัทฯ อาจจะเป็น หรือไม่เป็นกรรมการอิสระก็ได้ กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการอิสระของบริษัทฯ ดังนี้
20
1
ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
2
ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาซึ่งได้รับเงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
3
ไม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างสายโลหิ ต หรื อ โดยการจดทะเบี ย น ในลั ก ษณะที่ เ ป็ น บิ ด ามารดา คู่ ส มรส พี่ น้ อ ง บุ ต ร รวมทั้ ง คู่ ส มรสของบุ ต ร กับผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหาร หรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือ บริษัทย่อย
โครงสร้างการจัดการ 4
ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวาง การใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
5
ไม่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่
6
ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการ เกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจาก บริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ ทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคล ให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของผู้ให้บริการ ทางวิชาชีพนั้น
7
ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของบริษัท ฯ
8 ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับ การดำเนินงานของบริษัทฯ ภายหลังรับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 1 ถึง 8 แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจ ในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยมีการตัดสินใจ ในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ตามหนังสือรับรองของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ออกโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุให้ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี หรือ นายปณต สิริวัฒนภักดี หรือ นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร หรือ นางอรฤดี ณ ระนอง หรือ นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการสองในจำนวนห้าคนลงลายชื่อ ร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทฯ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทฯ มีความรับผิดชอบและระมัดระวังต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้ เป็นไปตามเป้าหมายและแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงการปฏิบัติให้เป็น ไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ มติคณะกรรมการและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเว้นแต่ในเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติที่ ประชุมผู้ถือหุ้น การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทั้งใน ปัจจุบันและในระยะยาว คณะกรรมการบริษัทฯ อาจมอบอำนาจให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการบริษัท และ อาจยกเลิกเพิกถอนเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอำนาจนั้นๆ ได้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีอำนาจกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อกรรมการซึ่งมีอำนาจ ลงนามผูกพันบริษัทฯ ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯ อาจมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจ หน้าที่ในการปฏิบัติงานต่างๆ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ทั้งนี้การมอบอำนาจดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจหรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจสามารถอนุมัติรายการที่ตน หรือ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด) ทำกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้
21
โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยแต่งตั้งจากกรรมการบริษัทซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ กฎหมายหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์กำหนด มีจำนวนอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้ด้านบัญชีและการเงิน ปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ซึ่งเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ ดังรายชื่อต่อไปนี้ ชื่อ – นามสกุล
ตำแหน่ง
1 2
นายสุวิทย์ จินดาสงวน นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ
กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน
3
นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์
กรรมการตรวจสอบ
กรรมการอิสระ และมีความรู้ด้านบัญชีการเงิน
กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปีนับแต่วันแต่งตั้งหรือตามวาระการเป็นกรรมการ ในปี 2551 มีการประชุมคณะกรรมการ ตรวจสอบจำนวน 7 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัท ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1
สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
2
สอบทานให้ บ ริ ษั ท ฯ ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ และตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย ข้ อ กำหนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
3
พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ
4
สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้า หน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
5
สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการประเมินความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ
6
พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
7 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดย ประธานคณะ กรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่กี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัทฯ (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (charter) (ซ) การประเมินผลการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ (ฌ) รายการอืน่ ทีเ่ ห็นว่าผูถ้ อื หุน้ และผูล้ งทุนทัว่ ไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการบริษทั
22
โครงสร้างการจัดการ 8
ให้ความเห็นชอบแผนงานการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายใน
9
พิจารณาทบทวนเพื่อปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับกฎข้อบังคับของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย รวมทั้งภาวการณ์และความเหมาะสม
10 จัดหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพในกรณีจำเป็น โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว 11 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจ เชิญฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงให้ ความเห็นหรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็น และให้มี อำนาจว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพภายนอก ในกรณีจำเป็น หรือใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ดังรายชื่อต่อไปนี้ ชื่อ – นามสกุล 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 3 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 4 นางอรฤดี ณ ระนอง *
ตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร และเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร และเป็นกรรมการที่เป็นอิสระ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
หมายเหตุ : *นายสุ วิ ท ย์ จิ น ดาสงวน (กรรมการที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห าร และเป็ น กรรมการอิ ส ระ) ดำรงตำแหน่ ง คณะกรรมการพิ จ ารณาค่ า ตอบแทนและสรรหา และนางอรฤดี ณ ระนอง เป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552
คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นับแต่วันแต่งตั้งหรือตามวาระการเป็นกรรมการ ในปี 2551 มีการ ประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหาจำนวน 1 ครั้ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา 1 กำหนดหลักเกณฑ์ และนโยบายในการสรรหากรรมการและกรรมการชุดย่อยของบริษัทฯ 2 พิ จ ารณาสรรหาและคั ด เลื อ กบุ ค คลที่ เ หมาะสมที่ จ ะมาดำรงตำแหน่ ง กรรมการ ในกรณี ที่ มี ต ำแหน่ ง ว่ า งลงเพื่ อ เสนอคณะกรรมการบริ ษั ท พิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี 3 พิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการขึ้นไปในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง 4 พิจารณาเสนอรายชื่อกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการชุดย่อยเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งเมื่อมีตำแหน่งว่างลง 5 พิ จ ารณาเสนอแนะกำหนดค่ า ตอบแทนและผลประโยชน์ อื่ น ใดที่ จ ำเป็ น และเหมาะสมทั้ ง ที่ เ ป็ น ตั ว เงิ น และมิ ใ ช่ ตั ว เงิ น เพื่ อ จู ง ใจและ รักษาคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ 6 จัดทำหลักเกณฑ์ และนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนและสรรหาเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามแต่กรณี 7 ให้คำชี้แจงตอบคำถามเกี่ยวกับค่าตอบแทนของกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 8 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบ แทนและสรรหา
23
โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการบริหาร ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง 1 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 2 นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 3 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 4 นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 5 นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 6 นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ* กรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หมายเหตุ : * นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยกรรมการ 6 ท่าน ในปี 2551 มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร จำนวน 11 ครั้ง ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร พิจารณาและกำหนดนโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจบริหารต่างๆของบริษัทฯ และบริษัทย่อยร่วมกับฝ่ายบริหาร ระดับสูงเพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบรวมทั้งกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่กำหนดให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้รับ อนุมัติ อนุมัติการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในเรื่องต่างๆตามขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท กลั่นกรองในเรื่องที่ ฝ่ายบริหารระดับสูงเสนอให้พิจารณาในส่วนที่นอกเหนือจากอำนาจของคณะกรรมการบริหารเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทอีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้ การอนุมัติรายการจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอนุมัติที่ทำให้คณะกรรมการบริหารหรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารสามารถอนุมัติ รายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด) ทำกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้ คณะผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประกอบด้วยรายนาม ดังต่อไปนี้ ผู้บริหาร* บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) 1. นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการ และประธานอำนวยการ 2. นายธนพล ศิริธนชัย กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ 3. นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ** กรรมการบริหารสายการเงินและอำนวยการ 4. นายสุธี ลิมปนชัยพรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาโครงการ 5. นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและบริหารทรัพย์สิน 6. นายกำพล ปุญโสณี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 7. นายพรชัย เลิศชูมงคล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 8. นางสาวปรารถนา อุดมสิน ผู้อำนวยการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน หมายเหตุ : * ผู้บริหาร หมายถึง กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจาก ประธานอำนวยการลงมา และผู้ซึ่งดำรงตำแหน่ง เทียบเท่าผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกรายและรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงิน ** นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารสายการเงินและอำนวยการ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552
24
โครงสร้างการจัดการ ผู้บริหาร ของบริษัทย่อย 1. นายกรธวัช กิ่งเงิน 2. นายนพดล ถีระศิลป์ 3. นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร 4. นายกำพล ปุญโสณี 5. นายเนรมิต สร้างเอี่ยม
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด
ทั้งนี้ กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ ทุกท่าน เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ปรากฏว่ามีประวัติการทำความผิดตาม กฎหมาย ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในระยะ เวลาที่ผ่านมาเกี่ยวกับ (1) การถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายทางอาญา (2) การถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ (3) การเป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ การสรรหา แต่งตั้งและวาระการดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้ ง หมดนั้ น ต้ อ งมี ถิ่ น ที่ อ ยู่ ใ นราชอาณาจั ก ร และกรรมการของบริ ษั ท ฯ จะต้ อ งเป็ น ผู้ มี คุ ณ สมบั ติ แ ละไม่ มี ลั ก ษณะต้ อ งห้ า มตามที่ กฎหมายกำหนด ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการโดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง (2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้ผู้อื่น มากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับลงมา จะได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ใน กรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมา มีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้เลือก โดยวิธีจับสลากเพื่อให้ได้ตามจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ คณะกรรมการบริษัทจะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของ จำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวน ผู้ ถื อ หุ้ น ซึ่ ง มาประชุ ม และมี สิ ท ธิ อ อกเสี ย ง และมี หุ้ น นั บ รวมกั น ได้ ไ ม่ น้ อ ยกว่ กึ่ ง หนึ่ ง ของจำนวนหุ้ น ที่ ถื อ โดยผู้ ถื อ หุ้ น ที่ ม าประชุ ม และมี สิ ท ธิ ออกเสียงในการประชุมนั้น ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นทุกครั้ง กรรมการบริษัท จำนวน 1 ใน 3 ต้องพ้นจากตำแหน่ง กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งในปีแรกและ ปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้ใช้วิธีจับสลาก ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้เข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้
25
โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริหาร ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร การแต่งตัง้ ผูบ้ ริหารสูงสุดตัง้ แต่ระดับกรรมการผูจ้ ดั การขึน้ ไปนัน้ คณะกรรมการบริษทั จะแต่งตัง้ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา เพือ่ คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด และเสนอชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกที่สมควรได้รับการแต่งตั้งต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อคัดเลือกผู้ท ี่ เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งโดยวิธีลงคะแนนเสียงข้างมากต่อไป สำหรับเจ้าหน้าที่บริหารอื่นๆ คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ประธานอำนวยการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน • ค่าตอบแทนกรรมการ ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 29/2551 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 มีมติกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริษัทเสนอ ดังนี้ ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือนและค่าเบี้ยประชุม ประธานกรรมการได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 16,000 บาท ต่อเดือน และค่าเบี้ยประชุม 22,000 บาท ต่อครั้ง กรรมการแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 8,000 บาท ต่อเดือน และค่าเบี้ยประชุม 18,000 บาท ต่อครั้ง ค่ า ตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยค่าตอบแทนรายเดือน ประธานกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 40,000 บาท ต่อเดือน กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 30,000 บาท ต่อเดือน ค่าตอบแทนคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา ประกอบด้วยค่าเบี้ยประชุม ประธานกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและ สรรหา ได้รับค่าเบี้ยประชุม 22,000 บาท ต่อครั้ง กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหาแต่ละท่านได้รับค่าเบี้ยประชุม 18,000 บาท ต่อครั้ง ค่ า ตอบแทนคณะกรรมการบริ ห าร* ประกอบด้ ว ยค่ า ตอบแทนรายเดื อ น ประธานกรรมการบริ ห ารได้ รั บ ค่ า ตอบ แทนรายเดื อ น 25,000 บาท ต่อเดือน กรรมการบริหารแต่ละท่านได้รับค่าตอบแทนรายเดือน 20,000 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ ในปี 2551 ค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับ มีรายละเอียดดังนี้
คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา คณะกรรมการบริหาร *
หมายเหตุ : * ยกเว้นกรรมการบริหารที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทฯ
26
ค่าตอบแทนรวม (บาท) 1,752,000 1,200,000 76,000 780,000
โครงสร้างการจัดการ สรุปเปรียบเทียบค่าตอบแทนกรรมการ ปี 2550 และปี 2551 ค่าตอบแทน (บาท) ค่าตอบแทน (รายเดือนและเบี้ยประชุม)
ปี 2551 3,808,000
ปี 2550 3,520,000
• ค่าตอบแทนผู้บริหาร ในปี 2551 ค่าตอบแทนของผู้บริหารรวม 8 ท่าน ที่ได้รับจากบริษัทฯในรูปเงินเดือน โบนัส รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,101,416 บาท ค่าตอบแทนอื่น ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ได้แก่ โครงการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่ม ทุนของบริษัทฯ ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯและบริษัทย่อย ในวงจำกัดไม่เกิน 35 ราย รวม 2 โครงการ (ESOP-W2 / ESOP-W3) จำนวน 25,755,500 หน่วย อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 5 ปี ราคาเสนอขายหน่วยละ -0- บาท และกำหนดให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย สามารถซื้อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ราคาการใช้สิทธิ 1 บาทต่อหุ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแรงจูงใจและตอบแทนการปฏิบัติงานของ กรรมการและพนั ก งาน ให้ มุ่ ง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อ ย่ า งเต็ ม ความสามารถอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ตลอดจนสร้ า งความรู้ สึ ก เป็ น เจ้ า ของ และการมี ส่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารและพั ฒ นาองค์ ก ร ทั้ ง นี้ บริ ษั ท ฯ ได้ อ อกและเสนอขายใบสำคั ญ แสดงสิ ท ธิ ที่ จ ะซื้ อ หุ้ น สามั ญ เพิ่ ม ทุ น ดั ง กล่ า วเมื่ อ วันที่ 19 ธันวาคม 2546
27
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประเภทกรรมการ กรรมการที่เป็นอิสระ ตำแหน่งปัจจุบัน ประธานกรรมการ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา อายุ 62 ปี สัญชาติ ไทย คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ Syracuse University, ประเทศสหรัฐอเมริกา (ด้วยทุน USAID) การผ่านหลักสูตรอบรมของ The Role of Compensation Committee Program (RCC4/2550) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) The Role of Chairman Program (RCP13/2549) Directors Certificate Program (DCP17/2545) การถือหุ้นในบริษัทฯ 0% (-0- หุ้น) จำนวนปีที่เป็นกรรมการ 1 ปี 4 เดือน ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ประจำกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบัน กรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3 - กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาธุรกิจประกันภัยไทย ปัจจุบัน อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกีย่ วกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรมหาชน และองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับข องราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง - ไม่มี – กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ 2549 - 2551 รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติฝ่ายเศรษฐกิจ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ 2544 - 2551 กรรมการในคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 2545 - 2550 ประธานกรรมการ สถาบันประกันภัยไทย 2544 - 2549 อธิบดีกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา - ไม่มี -
28
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประเภทกรรมการ กรรมการที่เป็นอิสระ ตำแหน่งปัจจุบัน กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ อายุ 54 ปี สัญชาติ ไทย คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การผ่านหลักสูตรอบรมของ The Role of the Chairman Program (RCP 18/2551) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) The Role of Compensation Committee P rogram (RCC1/2549) Improving the Quality of F inancial Reporting (QFR 2/2549) Audit Committee Program (ACP4/2548) Directors Certification Program (DCP44/2547) Directors Accreditation Program (DAP14/2547) การถือหุ้นในบริษัทฯ 0.07% (500,000 หุ้น) จำนวนปีที่เป็นกรรมการ 5 ปี 2 เดือน ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ปัจจุบัน ประธานกรรมการ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เน็ท โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง - ไม่มี – กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ 2546 – 2550 กรรมการตรวจสอบ/กรรมการอิสระ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา - ไม่มี -
นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ ประเภทกรรมการ กรรมการที่เป็นอิสระ ตำแหน่งปัจจุบัน กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา อายุ 50 ปี สัญชาติ ไทย คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยคอร์แนล, นิวยอร์ค, ประเทศสหรัฐอเมริกา การผ่านหลักสูตรอบรมของสมาคม – Directors Certification Program (DCP initial) ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) Finance for Non-Finance Director (FND-2547) การถือหุ้นในบริษัทฯ 0% (-0- หุ้น) จำนวนปีที่เป็นกรรมการ 2 ปี 11 เดือน ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น - ไม่มี – ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเซียแอสเซทแมเนจเม้นท์ จำกัด ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง - ไม่มี – กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ - ไม่มี – ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา - ไม่มี -
29
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
30
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / ประธานกรรมการบริหาร / กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา 33 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ การเงินการธนาคาร เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอสตัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา Directors Accreditation Program (DAP10/2547) 28.20% (215,648,563 หุ้น) 1 ปี 4 เดือน กรรมการ / รองประธานกรรมการ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) รองประธานกรรมการ / รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ/ กรรมการบริหาร บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อเดลฟอส จำกัด - ไม่มี – - ไม่มี - - ไม่มี -
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายปณต สิริวัฒนภักดี ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ 2543 – 2547 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร 31 ปี ไทย ปริญญาโท ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยลอนดอน, ประเทศอังกฤษ Directors Certification Program (DCP46/2547) Finance for Non-Finance Director (FND10/2547) 28.20% (215,648,563 หุ้น) 1 ปี 4 เดือน กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท เบียร์ทิพย์ บริเวอรี่ (1991) จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด กรรมการ บริษัท ล้านช้าง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. แลนด์ เลเซอร์ จำกัด บริษัท อเดลฟอส จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเตท (ระยอง) จำกัด บริษัท พรรณธิอร จำกัด บริษัท สิริวนา จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด บริษัท เทอราโกร จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. แลนด์ จำกัด - ไม่มี – กรรมการ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) - ไม่มี –
31
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ตำแหน่งในกิจการที่แข่งขันเกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจของบริษัทฯ ที่อาจทำให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ประสบการณ์ 2540 – 2547 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
32
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร 54 ปี ไทย Mini MBA มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Directors Certification Program (DCP26/2546) DCP Refresher Course 0% (-0- หุ้น) 1 ปี 4 เดือน กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหาร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ / กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท อเดลฟอส จำกัด บริษัท อีสเทิร์นชีบอร์ดอินดัสเตรียลเอสเตล (ระยอง) จำกัด - ไม่มี – กรรมการ / กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางอรฤดี ณ ระนอง ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ประสบการณ์ 2545 – 2549 2543 - 2544 2541 - 2543 2537 - 2541 2529 - 2537 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา / กรรมการบริหาร / ประธานอำนวยการ 48 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ San Diego State University, ประเทศสหรัฐอเมริกา Role of the Compensation Committee Program (RCC7/2551) DCP Refresher Course (3/2549) Diploma of Directors Certification Program (DCP17/2545) 0.89% (6,841,000 หุ้น) 8 ปี 7 เดือน - ไม่มี กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด มูลนิธิมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรรมการ บริษัท แสนสิริ เวนเจอร์ จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บีโอเอ จำกัด กรรมการ / กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม มหานคร จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด ผู้จัดการส่วน บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด - ไม่มี -
33
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายธนพล ศิริธนชัย ประเภทกรรมการ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัญชาติ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวนปีที่เป็นกรรมการ ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น ตำแหน่งในกิจการอื่น ปัจจุบัน ประสบการณ์ 2546 – 2549 2544 – 2546 2541 – 2544 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
34
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการ / กรรมการบริหาร / กรรมการผู้จัดการ 41 ปี ไทย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Texas at Austin, ประเทศสหรัฐอเมริกา Directors Certification Program (DCP39/2547) Directors Accreditation Program (DAP10/2547) 0.16% (1,200,000 หุ้น) 5 ปี 6 เดือน - ไม่มี กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด กรรมการ บริษัท แสนสิริ เวนเจอร์ จำกัด ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางกันยารัตน์ โชคอุ่นกิจ ตำแหน่งปัจจุบัน
อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบัน 2544 – 2550 ก.ค. 2544 – ธ.ค. 2544 ม.ค. 2543 – มิ.ย. 2544 ธ.ค. 2541 – ธ.ค. 2542 ส.ค. 2539 – ธ.ค. 2541 พ.ค. 2535 – ส.ค. 2539 ก.พ. 2533 – พ.ค. 2535 พ.ย. 2530 – ก.พ. 2533 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการบริหาร / กรรมการบริหารสายการเงินและอำนวยการ 42 ปี 0% (-0- หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Director Certification Program (DCP102/2551) กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด Executive Chief Financial Officer บริษัท สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด Finance Director บริษัท ซัพพลายเออร์ คอนเนกซ์ จำกัด Executive Vice President บริษัท เอเชีย แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด Financial Planning & Analysis Manager บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด Vice President บริษัท เงินทุนเอเชียไฟแนนซ์ จำกัด (มหาชน) Vice President, Corporate Finance Senior Management Accountant บริษัท หลักทรัพย์เอกเอเซีย จำกัด (มหาชน) Semi Senior Auditor บริษัท สำนักงาน เอสจีวี ณ ถลาง จำกัด - ไม่มี –
นายสุธี สิมปนชัยพรกุล ตำแหน่งปัจจุบัน
อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน 2549 - 2551 2546 - 2549 2543 - 2545 2542 - 2543 2539 - 2540 2538 - 2539 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาโครงการ 34 ปี 0.01% (100,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารโครงการ CLEMSON University, USA - ไม่มี ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท แคปปิตอล แอดไวเซอรี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการโครงการอาวุโส บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) วิศวกรโครงการ Beers Skanska, Inc แอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ช่วยอาจารย์สาขาบริหารงานก่อสร้าง Clemson University มลรัฐเซาท์แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา วิศวกรออกแบบก่อสร้าง บริษัท คาจิมา ดีไซน์ เอเชีย จำกัด วิศวกรภาคสนาม บริษัท บีเคเค (1985) จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
35
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นายกำพล ปุญโสณี ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบัน ปัจจุบัน ปัจจุบัน 2546 - 2550 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 37 ปี 0.21% (1,573,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ University of Newcastle upon Tyne, ประเทศอังกฤษ - ไม่มี กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด กรรมการการลงทุน กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ กรรมการ บริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กรรมการ / รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด - ไม่มี -
นายอลงกรณ์ ประธานราษฎร์นิกร ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบัน ปัจจุบัน 2541 - 2550 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและบริหารทรัพย์สิน 43 ปี 0.08% (601,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท กฎหมาย McGeorge School of Law, University of the Pacific, ประเทศสหรัฐอเมริกา - ไม่มี กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กรรมการ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ผู้จัดการกองทุนอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด - ไม่มี-
นายพรชัย เลิศชูมงคล ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน 2549 - 2551 2543 - 2547 2539 - 2542 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
36
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ 39 ปี 0.02% (136,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ไม่มี ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท สยามพิวรรธ์ จำกัด ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ เครดิตสวิต (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีประเทศไทย บริษัท ไอเอ็นจี แบริ่ง จำกัด - ไม่มี -
กรรมการบริษัทและผู้บริหาร นางสาวปรารถนา อุดมสิน ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน 2549 - 2550 2547 - 2550 2528 - 2548 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน 47 ปี 0.05% (350,500 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง - ไม่มี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด ผู้จัดการ ฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) - ไม่มี -
นายกรธวัช กิ่งเงิน ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด 43 ปี 0.00% (3,000 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาตรี สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Directors Certification Program (DCP71/2549) - ไม่มี – - ไม่มี -
นายนพดล ถีระศิลป์ ตำแหน่งปัจจุบัน อายุ สัดส่วนการถือหุ้น ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด การผ่านหลักสูตรอบรมของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ทำงาน 2546 - 2547 2544 - 2546 ประวัติการทำผิดทางกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด 51 ปี 0.00 % (15,600 หุ้น) - ไม่มี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ Pacific States University California, ประเทศสหรัฐอเมริกา - ไม่มี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โมเดอร์น ไดนามิค กอล์ฟ จำกัด ผู้จัดการโครงการ บริษัท สยามโปโลปาร์ค จำกัด - ไม่มี-
37
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถเพิ่มมู ลค่าและผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ตลอดจนสร้างความเชื่ อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ คำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือ หุ้น และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร สอดคล้ อ งกั บ หลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ข องตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และระเบี ย บปฏิ บั ติ ข องคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดให้มีการทบทวนปรับปรุงอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สื่อสารสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ได้รับทราบและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้ - - - - -
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น และบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน จรรยาบรรณทางธุรกิจ
• ผู้ถือหุ้น : สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น บริ ษั ท ฯ ให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ สิ ท ธิ แ ละความเท่ า เที ย มกั น ของผู้ ถื อ หุ้ น โดยกำหนดเป็ น นโยบายขั้ น พื้ น ฐานของผู้ ถื อ หุ้ น ได้ แ ก่ สิ ท ธิ ในการได้รับใบหุ้นและสิทธิในการโอนหุ้น สิทธิในการมีส่วนแบ่งในผลกำไรของบริษัทฯ สิทธิในการได้รับสารสนเทศของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ ทั น เวลา และในรู ป แบบที่ เ หมาะสมต่ อ การตั ด สิ น ใจ นอกจากนี้ ยั ง ให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ สิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น ในการเข้ า ร่ ว มประชุ ม และออก เสียงลงคะแนน ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัทฯ เช่น การเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการการอนุมัติธุรกรรมที่สำคัญ และมีผลต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับบริษัทฯ และการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่สิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ และหากมีความจำเป็น เร่งด่วนต้องเสนอวาระเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งกระทบหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ กฎหมายที่ใช้บังคับที่ ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ บริษัทฯ เสนอระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นและชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการล่วงหน้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน โดยบริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการ ล่วงหน้า นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันเป็นธรรมและเป็นไปตาม ข้อกำหนด กฎหมาย โดยกำหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมเป็นไปตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง กำหนดให้กรรมการ อิสระเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบของ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยบริษัทฯ ได้ประกาศห้ามกรรมการ และผู้บริหาร ซื้อขาย หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนประกาศงบการเงินเป็นเวลา 1 เดือน และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และจัดส่งราย งานดังกล่าวให้บริษัทฯ รับทราบ ทั้งนี้ เพื่อมิให้กรรมการและผู้บริหารนำข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม • สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น กรรมการ พนักงานของบริษัทฯ ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง หน่วยงานอื่นๆที่บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกบริษัทฯ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ในคู่มือจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้กรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดใน การปฏิบัติงาน และถือเป็นภาระหน้าที่และเป็นวินัยที่ทุกคนพึงปฏิบัติ ดังนี้ ผู้ถือหุ้น : บริษัทฯ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทฯ ในระยะยาวและ ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น
38
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ พนักงาน :
บริษัทฯ ถือว่าพนักงานเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มีคุณค่า โดยเปิดโอกาสอย่างทั่วถึงและ สม่ำเสมอในการเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มศักยภาพ การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำ งานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของนักงาน รวมทั้งการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่เป็นธรรมทั้งในด้านเงินเดือน สวัสดิการและผลตอบแทนในรูปอื่น
ลูกค้า:
บริ ษั ท ฯ ตระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ในการสร้ า งความพึ ง พอใจและความมั่ น ใจให้ ลู ก ค้ า ที่ จ ะได้ รั บ สิ น ค้ า และบริ ก ารที่ ดี มี คุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม รักษาสัมพันธ์ภาพที่ดี ตลอดจนการจัดให้มีกระบวนการที่ให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการ การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วนถูกต้องเพียงพอและทันต่อ เหตุการณ์ รวมทั้งการรักษาความลับของลูกค้าซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้าหรือผู้มีอำนาจของบริษัทฯ ก่อนและไม่นำไปใช้เพื่อ ประโยชน์โดยมิชอบเว้นแต่เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องตามบทบังคับของกฎหมาย
คู่แข่ง :
บริษัทฯจะประพฤติปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบแห่งกฎหมายของการแข่งขันที่ดี ไม่ละเมิดความลับหรือล่วงรู้ความลับ ทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือด้วยวิธีการอื่นที่ไม่เหมาะสม และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาใน ทางร้ายและปราศจากซึ่งข้อมูลจริง
คู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ : บริษัทฯคำนึงถึงความเสมอภาคและเป็นธรรม คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้ รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้ง ปฏิบัติตามพันธะสัญญา ชุมชนและสังคม :
บริษัทฯ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และไม่กระทำการใดๆ ที่จะมีผลเสียหายต่อชื่อเสียงของประเทศ สิ่งแวดล้อม และประโยชน์สาธารณะ โดยได้ดำเนินการส่งเสริมพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความช่วยเหลือและ สนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมที่บริษัทฯ ตั้งอยู่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งได้ ตระหนั ก ถึ ง การปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานที่ เ กี่ ย วกั บ ความปลอดภั ย สุ ข อนามั ย และสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งถู ก ต้ อ ง เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
• การประชุมผู้ถือหุ้น ในปี 2551 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติตามแนวทางการจัดประชุม ผูถ้ อื หุน้ ทีด่ ขี องสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพือ่ ยกระดับคุณภาพการจัดการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปีของบริษทั ฯ ดังนี้ ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ในปี 2551 บริ ษั ท ฯ มี ก ารประชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น 1 ครั้ ง และการประชุ ม วิ ส ามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น 1 ครั้ ง โดยได้ เ ปิ ด เผยมติ ค ณะกรรมการบริ ษั ท กำหนดให้ จั ด การประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ในเว็ บ ไซต์ ข องตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยและของบริ ษั ท ฯ โดยบริ ษั ท ฯ ได้ น ำข้ อ มู ล หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ มี ร ายละเอี ย ดครบถ้ ว นเปิ ด เผยในเว็ บ ไซต์ บ ริ ษั ท ฯ ก่ อ นล่ ว งหน้ า 30 วั น และได้ จั ด ส่ ง หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม ซึ่ ง มี ว าระที่ สำคัญอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และข้อบังคับของบริษัทฯ ได้แก่ รายละเอียดวาระการประชุม ซึ่ ง ได้ ร ะบุ อ ย่ า งชั ด เจนในแต่ ล ะวาระที่ น ำเสนอว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ น ำเสนอเพื่ อ ทราบ เพื่ อ อนุ มั ติ หรื อ เพื่ อ พิ จ ารณา รวมทั้ ง นำเสนอความเห็ น ของ คณะกรรมการบริษัทในแต่ละวาระอย่างชัดเจน รายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา รายงานประจำปี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุม เอกสารที่ต้อง ใช้ในการมอบฉันทะและระบุวิธีการไว้ชัดเจน โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น 14 วัน และประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับ ภาษาไทย เรื่องคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน และก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อบอกกล่าวผู้ถือหุ้นล่วงหน้าใน เวลาที่เพียงพอสำหรับเตรียมตัวศึกษาข้อมูลในการพิจารณาเกี่ยวกับวาระการประชุมก่อนมาเข้าร่วมประชุม โดยจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อ ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมทั้งได้แต่งตั้งกรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ ผู้ถือหุ้นประสงค์จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทนสามารถเลือกมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการอิสระของบริษัทฯ เข้าประชุมแทนได้
39
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ วันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้กำหนดสถานที่ วัน และเวลาการประชุม ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทุกราย และให้ความมั่นใจด้านการรักษา ความปลอดภัยให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้แจ้งในเอกสารประกอบการประชุมที่จัดส่งพร้อมหนังสือเชิญประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทราบกระบวนการและ ขั้นตอนในการเข้าร่วมประชุม การตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานเพื่อแสดงสิทธิในการเข้าร่วมประชุม จัดเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน กำหนดจุดบริการรับ ลงทะเบียนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุม 1 ชั่วโมง และต่อเนื่องจนกว่า การประชุมผู้ถือหุ้นจะแล้วเสร็จ รวมถึงการเลี้ยงรับรองที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้นที่มาประชุมด้วย ในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ประธานกรรมการบริ ษั ท ได้ ท ำหน้ า ที่ ป ระธานในที่ ป ระชุ ม และก่ อ นดำเนิ น การประชุ ม ได้ แ จ้ ง รายละเอี ย ดของ องค์ประชุม อธิบายวิธีการลงคะแนน การนับคะแนน การใช้บัตรลงคะแนน การเก็บบัตรลงคะแนน และเปิดเผยผลการนับคะแนนในแต่ละวาระ อย่ า งชั ด เจน โปร่ ง ใส และเก็ บ บั ต รลงคะแนนไว้ เ พื่ อ ตรวจสอบภายหลั ง รวมทั้ ง เปิ ด โอกาสให้ ผู้ ถื อ หุ้ น ซั ก ถาม หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น อย่ า ง เหมาะสมและเพี ย งพอ และให้ ก รรมการที่ เ กี่ ย วข้ อ งชี้ แ จงและให้ ข้ อ มู ล ต่ า งๆ แก่ ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า งชั ด เจน สำหรั บ การลงคะแนนและนั บ คะแนน เสี ย ง บริ ษั ท ฯ ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท ฯ ที่ ก ำหนดให้ 1 หุ้ น เป็ น 1 เสี ย ง และนั บ เสี ย งข้ า งมากเป็ น มติ โดยใช้ บั ต รลงคะแนนเฉพาะ กรณี ที่ ผู้ ถื อ หุ้ น คั ด ค้ า น หรื อ งดออกเสี ย ง และเก็ บ บั ต รลงคะแนนไว้ เ พื่ อ ตรวจสอบได้ ใ นภายหลั ง ทั้ ง นี้ ใ นการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น มี ก รรมการเข้ า ร่ ว ม ประชุมรวม 8 ท่าน ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนและสรรหา กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา รวมทั้งมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ และผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุม หลังวันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯแจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันทำการถัดไป และผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยได้ ระบุผลของการลงคะแนนเสียง (เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / งดออกเสียง) ในแต่ละวาระ และจัดส่งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งจดบันทึกรายชื่อกรรมการที่ เข้าร่วมประชุม ผลของการลงคะแนนเสียง (เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย / งดออกเสียง) ในวาระที่ขอรับรอง / อนุมัติจากผู้ถือหุ้น รวมทั้งข้อซักถามของผู้ถือหุ้น ในแต่ละวาระและการชี้แจงของบริษัทฯ ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหน่วยงานราชการ ภายในระยะเวลา 14 วันนับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้น และเผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ • ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ เนื่ อ งจากบริ ษั ท ฯ เพิ่ ง เริ่ ม พั ฒ นาโครงการอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เ องเป็ น ปี แ รกหลั ง จากที่ ไ ด้ ย้ า ยหมวดธุ ร กิ จ มายั ง หมวดอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ดั ง นั้ น การกำหนดวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละกลยุ ท ธ์ ข องบริ ษั ท ฯ จึ ง เป็ น ภาระกิ จ ที่ ส ำคั ญ ที่ ค ณะกรรมการและฝ่ า ยกรรมการบริ ห ารได้ ม อบหมายให้ ป ระธาน อำนวยการเป็ น ผู้ น ำเสนอและอภิ ป รายก่ อ นที่ จ ะมี ก ารอนุ มั ติ ทั้ ง นี้ ป ระธานอำนวยการได้ น ำเสนอวิ สั ย ทั ศ น์ ใ นการมุ่ ง ที่ จ ะเป็ น บริ ษั ท พั ฒ นา อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำและมุ่งเน้นประสิทธิภาพเป็นสำคัญ ซึ่งประสิทธิภาพนี้คลอบคลุมถึงผลประกอบการที่มีโครงสร้างราคาและต้นทุนที่เหมาะสม ยุ ติ ธ รรม มี ก ารพั ฒ นาโครงการและลงทุ น โดยมี สั ด ส่ ว นโครงสร้ า งรายได้ จ ากการขายและค่ า เช่ า อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็ น ผู้ ป ระกอบการที่ ดี มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม พั ฒ นาความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ ลู ก ค้ า โดยเฉพาะการบริ ก ารหลั ง การขาย ผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งานมี ความเป็นมืออาชีพและมีมาตรฐานจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้กลยุทธ์และแนวทางธุรกิจสำหรับ 3 ปีข้างหน้า เริ่มตั้งแต่ปี 2552 ถึ ง ปี 2554 จะกำหนดเพื่ อ เป็ น แนวทาง ทั้ ง นี้ ก ลยุ ท ธ์ อ าจมี ก ารปรั บ โดยคำนึ ง ถึ ง สภาวะความพร้ อ ม ปั จ จั ย เสี่ ย ง ผลกระทบต่ อ บริ ษั ท ฯ และสภาวะตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งแผนงาน เป้าหมายและงบประมาณของแต่ละปี จะได้มีการพิจารณาและอนุมัติในกรรมการบริหารและกรรมการบริษัทฯ
40
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การเข้ารับการอบรมของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมสัมมนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีกรรมการบริษัทเข้ารับการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนา บริษัทฯ และบริษัทย่อย ดังนี้ ชื่อ - นามสกุล 1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
หลักสูตร - Directors Certification Program (DCP 17) - The Role of Chairman Program (RCP 13) - Role of the Compensation Committee Program (RCC 4)
2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน
- The Role of Chairman Program (RCP 18) - Directors Certification Program (DCP 44) - Directors Accreditation Program (DAP 14) - Audit Committee Program (ACP 4) - Role of the Compensation Committee Program (RCC 1) - Improving the Quality of Financial Reporting (QFR 2) - Directors Certification Program (DCP – initial) - Finance for Non-Finance Director (FND - 2547) - Directors Accreditation Program (DAP 10) - Directors Certification Program (DCP 46) - Finance for Non-Finance Director (FND10) - Directors Certification Program (DCP 26) - DCP Refresher Course 2 - Diploma of Directors Certification Program (DCP 17) - DCP Refresher Course 3 - Role of the Compensation Committee Program (RCC 7)
3 นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ 4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 5 นายปณต สิริวัฒนภักดี 6 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 7 นางอรฤดี ณ ระนอง
8 นายธนพล ศิริธนชัย
- Directors Certification Program (DCP 39) - Directors Accreditation Program (DAP 10)
41
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การปฐมนิเทศกรรมการใหม่ (Directors Orientation) บริษัทฯ จัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เพื่อให้กรรมการใหม่ได้รับทราบนโยบายธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงสร้างเงินทุน ผู้ถือหุ้น ผลการดำเนินงาน รวมทั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ พร้อมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเป็นกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1 พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 2 ข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน 3 หนังสือรับรองบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท 4 คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ 5 คู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียนของ ก.ล.ต. 6 ข้อแนะนำการให้สารสนเทศสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 7 หนังสือรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน 8 หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 9 รายงานประจำปีของบริษัทฯ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Compact Disc. • ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายที่จะไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการผู้บริหาร และพนักงานแสวงหา ประโยชน์ส่วนตน ซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจถึงข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ให้หลีกเลี่ยงการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกับตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมีราคาและเงื่อนไขเสมือนทำรายการกับบุคคล ภายนอก โดยกรรมการหรือพนักงานที่มีส่วนได้เสียในรายการนั้นจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ และในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท จดทะเบียนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ คณะกรรมการได้กำหนดข้อห้ามไม่ให้มีการใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตน หรือทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ หรือให้ข้อมูลภายใน แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ • จรรยาบรรณทางธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ ได้กำหนดข้อพึงปฏิบัติไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจน สะดวกแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ที่จะได้รับ ทราบถึงแนวทางในการประพฤติปฏิบัติควบคู่กับไปกับข้อบังคับและระเบียบของบริษัทฯ รวมทั้งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรม ทางธุรกิจ โดยให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีและมีหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามข้อประพฤติปฏิบัติที่กำหนดไว้ • การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร การแต่งตั้งกรรมการของบริษัทฯ เป็นไปตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา และคณะกรรมการบริ ษั ท ตามลำดั บ ตามข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท ฯ คณะกรรมการบริ ษั ท ประกอบด้ ว ย กรรมการอย่ า งน้ อ ย 5 ท่ า น ทั้ ง นี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการบริษัท มีจำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย - -
42
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 6 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยมีกรรมการที่เป็นอิสระ 3 ท่าน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 37.50 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอที่จะสามารถสร้างกลไกถ่วงดุลอำนาจภายในคณะกรรมการ บริษัท กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 2 ท่าน
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ และในปี 2552 คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีการประชุมกันเองตามความจำเป็น โดยไม่มีกรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือ ฝ่ายบริหารเข้าร่วมการประชุม ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียจึงมั่นใจได้ว่ากรรมการบริษัทจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นอิสระและมี การถ่วงดุลที่เหมาะสม • การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบแบบประเมินผลคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ เพื่อใช้ในการประเมินผลตนเองของคณะกรรมการบริษัท โดยให้ กรรมการบริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตนเองทุกปี เพื่อคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวนผลงาน ประเด็นและอุปสรรคต่างๆ ในรอบปี ที่ผ่านมา พร้อมทั้งจัดทำสรุปผลการประเมินกรรมการบริษัท เพื่อคณะกรรมการบริษัทจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการประเมินผลการดำเนินงานของประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการ • การรวมหรือแยกตำแหน่ง คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้ประธานกรรมการเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร เป็นบุคคลคนละคนกับประธานอำนวยการ และไม่มีความสัมพันธ์ ใดๆ กับฝ่ายบริหาร โดยมีบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารออกจากกันอย่างชัดเจน และเป็นลายลักษณ์อักษร • ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทกำหนดให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและสรรหา เป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการชุดย่อย และฝ่ายบริหารระดับสูงของบริษัทฯ และเพื่อเป็นการจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพตามที่บริษัทฯต้องการ และอยู่ในลักษณะที่เปรียบเทียบ ได้กับระดับที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นควรได้รับค่าตอบแทนเพิ่มที่เหมาะสม ส่วนกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และฝ่ายบริหารควรได้รับค่าตอบแทนที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และผลการปฏิบัติงานของกรรมการ หรือผู้บริหารแต่ละคน เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลที่ดีตามหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด รวมทั้งหลักการปฏิบัติที่ดีที่ยอมรับในระดับ สากล โดยค่าตอบแทนกรรมการเป็นไปตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารในปี 2551 ได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารแล้ว • การประชุมคณะกรรมการบริษัท บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดทั้งปี และแจ้งให้กรรมการทราบกำหนดการดังกล่าว โดย กำหนดการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน อาจมีการประชุมคณะกรรมการเป็นการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และเพื่อ ให้คณะกรรมการบริษัทสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท บริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมซึ่ง กำหนดวาระการประชุมที่ชัดเจนและเอกสารประกอบการประชุมที่ครบถ้วนเพียงพอให้คณะกรรมการบริษัทล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม การประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง และกรรมการ ทุกคนมีโอกาสอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย โดยมีประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้ประมวลความเห็นและข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม ในกรณี ที่กรรมการผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องที่กำลังพิจารณาต้องออกจากการประชุมระหว่างการพิจารณาเรื่องนั้นๆ มีการจดบันทึกการประชุม เป็นลายลักษณ์อักษร และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาร่างรายงานการประชุมดังกล่าว ก่อนทำการรับรองความถูกต้องของเอกสารใน การประชุ ม ครั้ ง ต่ อ ไป โดยประธานกรรมการบริ ษั ท ประธานอำนวยการ และเลขานุ ก ารบริ ษั ท เอกสารที่ จั ด เก็ บ จะมี ทั้ ง บั น ทึ ก การประชุ ม ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ และแฟ้มอีเลคโทรนิคซึ่งรวมถึงเอกสารที่ประกอบวาระการประชุมด้วย เพื่อความสะดวกสำหรับ กรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอ้างอิงได้ ในปี 2551 คณะกรรมการบริษัท มีการประชุมตามวาระปกติ จำนวน 4 ครั้ง และการประชุมนัดพิเศษ 2 ครั้ง
43
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ • คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ ความชำนาญที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อช่วยปฏิบัติงาน ศึกษาและกลั่นกรอง เรื่องสำคัญที่ต้องการดูแลอย่างใกล้ชิดในแต่ละด้าน และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ มีองค์ประกอบสมาชิก ขอบเขตหน้าที่และ ความรับผิดชอบ ตามรายละเอียดในหัวข้อการจัดการ • การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลในการปกป้องรักษาและดูแลเงินทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของบริษัทฯ มีฝ่ายตรวจสอบ ภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของการ ควบคุมภายใน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทดูแลให้ฝ่ายตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ และ ให้รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำตามเวลาที่กำหนดไว้ • การบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริ ษั ท ดู แ ลให้ มี ก ารประเมิ น ปั จ จั ย ความเสี่ ย ง กำหนดแผนการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย ง ติ ด ตามตรวจสอบ และประเมิ น ผล การปฏิบัติตามแผน โดยคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานกระบวนการ และติดตามการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญต่อเนื่อง โดยในปี 2551 บริษัทฯ มีนโยบายทบทวนความเสี่ยงเป็นรายเดือน และร่วมประชุมกับอนุกรรมการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Sub – Committee) เพื่อวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งหากเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบในทางลบ ทำให้เกิดความเสียหาย หรือ ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขให้ทันเวลา และสรุปผลรายงานต่อคณะกรรมการบริหารเป็นประจำทุกเดือน และรายงานผลการประเมินความ เสี่ยงต่อคณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น รายไตรมาส สำหรั บ ในปี 2552 บริ ษั ท ฯ ได้ เ พิ่ ม ระบบเตื อ นความเสี่ ย ง (warning system) และการรายงาน ต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการบริษัททันที เมื่อระดับความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่มีนัยสำคัญ • รายงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในรายงานการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้การจัดทำรายงานทางการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย มีการใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ รวมทั้งคณะกรรมการบริษัท ได้ให้ความเห็นไว้ในรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินคู่กับรายงานคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานของผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตแล้ว • ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยสารสนเทศทางการเงิน และไม่ใช่การเงินของบริษัทฯ ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่มีความถูกต้องครบ ถ้วน โปร่งใส สม่ำเสมอ ทันเวลา และทั่วถึง ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ ง ในทางตรงและทางอ้ อ มมาโดยตลอด และมอบหมายให้ ป ระธานอำนวยการ และ / หรื อ กรรมการผู้ จั ด การ ทำหน้ า ที่ สื่ อ สารโดยตรงกั บ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดให้มีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินกิจการและตอบข้อซักถาม ต่างๆ เกี่ยวกับบริษัทฯ ให้แก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) การร่วมกิจกรรมพบนักลงทุนรายย่อยกับตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (Opportunity Day) จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน (Press Conference) เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) นอกเหนือจากการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผ่านทางเว็บไซต์บริษัทฯ www.univentures.co.th ที่บริษัทฯ ปรั บ ปรุ ง ข้ อ มู ล ให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น อยู่ เ สมอ เพื่ อ ให้ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก กลุ่ ม ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ กิ จ กรรมของบริ ษั ท ฯ ได้ รั บ รู้ ข้ อ มู ล ของบริ ษั ท ฯ ที่ เ ป็ น ปัจจุบันอย่างเท่าเทียมกัน
44
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ นอกจากนี้ บ ริ ษั ท ฯ ได้ จั ด ให้ มี ช่ อ งทางติ ด ต่ อ กั บ นั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ ผ่ า นทางไซต์ www.univentures.co.th/newweb/contactinvestor.html. เพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารกับผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 888/210-212 ชั้น 2 อาคารมหาทุน พลาซ่า ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทร : 0-2100-7100 เบอร์แฟกซ์ : 0-2 255-9418 ติดต่อ : นักลงทุนสัมพันธ์ • การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ มีนโยบายด้านการเปิดเผยข้อมูล ความโปร่งใส รายงานทางการเงินและการดำเนินงาน โดยกำหนดข้อปฏิบัติในการเปิดเผยสารสนเทศทางการ เงินและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจและผลประกอบการของบริษัทฯ ที่ถูกต้องครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา อย่างสม่ำเสมอให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และบุคคลทั่วไป คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการ เปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสอย่างเคร่งครัด เมื่อกรรมการหรือผู้บริหารมีการเปลี่ยนแปลงการซื้อขายหุ้นตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการรายงานข้อมูลให้กับฝ่ายกำกับการปฏิบัติงานทราบตลอดเวลาโดยเคร่งครัด และในปี 2552 บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารรายงานการถือครองหลักทรัพย์ และเปิดเผยส่วนได้เสียของตนและผู้เกี่ยวข้อง ต่อ คณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้ มั่นใจว่ากรรมการ ผู้บริหารสามารถบริหารและดำเนินกิจการด้วยความซื่อ สัตย์สุจริต มีความชัดเจน โปร่งใส และมีส่วนช่วยให้ผู้ถือหุ้น ตลอดจน ผู้ลงทุนทั่วไปเกิดความเชื่อมั่นในผู้บริหารของบริษัทฯ ในการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น โดยกำหนดที่จะไม่ใช้โอกาส หรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการ ซื้ อ ขายหุ้ น บริ ษั ท ฯ หรื อ ให้ ข้ อ มู ล ภายในแก่ บุ ค คลอื่ น เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการซื้ อ ขายหุ้ น ของบริ ษั ท ฯ และในเรื่ อ งการทำธุ ร กิ จ ที่ แ ข่ ง ขั น กั บ บริ ษั ท ฯ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่ง แม้พ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ไปแล้ว และเพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีส่วนใกล้ชิดกับข้อมูลของบริษัทฯ นำข้อมูลภายในที่ตนรู้มา แสวงหาประโยชน์อันเป็นการฝ่าฝืนหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่มีต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น โดยจำกัดให้รับรู้ได้เฉพาะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมถึงห้ามกรรมการ และผู้บริหารซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนการประกาศงบการเงิน 1 เดือน โดยทุกๆ 3 เดือน บริษัทฯ จะได้แจ้งคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารถึงช่วงระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ การกระทำฝ่าฝืนใดๆอันเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายหรือสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ บริษัทฯ ถือเป็นการปฏิบัติขัดกับนโยบายและจริยธรรมทาง ธุรกิจ ต้องได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงและยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ในปี 2552 บริษัทฯ จะจัดให้มีแนวทางการรับพิจารณาเรื่องร้องเรียน หรือ คำแนะนำของผู้มีส่วนได้เสีย โดยประกาศให้ทราบผ่านทางเว็บไซด์ www.univentures.co.th
45
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ การเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน ประจำปี 2551 การเข้าร่วมประชุม/การประชุมทั้งหมด (ครั้ง)
รายชื่อกรรมการ
คณะกรรมการ บริษัท
คณะกรรมการ ตรวจสอบ
คณะกรรมการ พิจารณา ค่าตอบแทน/ สรรหา
คณะกรรม การบริหาร
1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 2 นายสุวิทย์ จินดาสงวน
6/6 6/6
7/7 7/7
1/1 -
-
3 4 5 6 7 8
6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6
7/7 7/7 7/7
1/1 1/1 1/1 -
10/11 8/11 11/11 11/11 11/11
นายนรรัตน์ ลิ่มนรรรัตน์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางอรฤดี ณ ระนอง นายธนพล ศิริธนชัย
การถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ประจำปี 2551
ชื่อ - นามสกุล 1 2 3 4 5 6 7 8
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช นายสุวิทย์ จินดาสงวน นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางอรฤดี ณ ระนอง นายธนพล ศิริธนชัย
จำนวนหุ้น ที่ถือครอง 500,000 215,648,563* 215,648,563* 6,841,000 1,200,000
ใบสำคัญแสดงสิทธิ #2 ที่ได้รับการ จัดสรร 500,000 2,497,500 -
คงเหลือ หลังใช้สิทธิ -
ใบสำคัญแสดงสิทธิ #3 ที่ได้รับการ จัดสรร 2,002,500 3,500,000
คงเหลือ หลังใช้สิทธิ 800,000*
หมายเหตุ *ใบสำคัญแสดง สิทธิหมดอายุ เดือนกันยายน 2551
หมายเหตุ : * เป็นการถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งถือหุ้นบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 431,297,126 หุ้น และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นบริษัท อเดลฟอส จำกัด รวมกัน 100 %
46
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ประจำปี 2551 ค่าตอบแทน (บาท) ชื่อ – นามสกุล ตำแหน่ง 1 2 3 4 5 6 7 8
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช นายสุวิทย์ จินดาสงวน นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางอรฤดี ณ ระนอง นายธนพล ศิริธนชัย
คณะกรรมการ บริษัท
คณะกรรมการ ตรวจสอบ
คณะกรรมการ พิจารณา ค่าตอบแทน / สรรหา
324,000 204,000 204,000 204,000 204,000 204,000 204,000 204,000
360,000 480,000 360,000
22,000 18,000 18,000
18,000
คณะกรรมการ บริหาร
300,000 240,000 240,000
รวม
706,000 684,000 582,000 522,000 444,000 444,000 222,000 204,000
การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าธรรมเนียมในการสอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบคัดเลือกผู้สอบบัญชีในเบื้องต้น โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติความเป็นอิสระ สามารถสอบทานงบการเงิน เสร็จตามกำหนดเวลา มีความรู้ ความเชี่ยวชาญของการให้บริการสอบบัญชี ตลอดจนเข้าใจในธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และเสนอความเห็น ให้คณะกรรมบริษัทพิจารณาเพื่อนำเสนอขออนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีในที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ และบริษัทย่อย จ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชีให้กับบริษัท สำนักงาน เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปี บัญชีที่ผ่านมามีจำนวนเงินรวม 2,700,000 บาท ประกอบด้วยค่าสอบบัญชีของบริษัทฯ จำนวน 950,000 บาท และค่าสอบบัญชีของ บริษัทย่อย 1,750,000 บาท ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา บริษัทฯและบริษัทย่อย มิได้จ่ายค่าตอบแทนของงานบริการอื่นให้กับผู้สอบบัญชี บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับ ผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และไม่มีค่าใช้จ่ายในอนาคต อันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จ ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ข้อพิพาททางกฎหมาย บริษัทฯ ไม่มีคดีซึ่งอาจมีผลกระทบด้านลบต่อสินทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 5 ของส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชี ล่าสุด หรือคดีที่มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 10 ของสินทรัพย์หมุนเวียน ณ วันสิ้นปีบัญชี คดีทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ ไม่มีคดีที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่สามารถประเมิน ผลกระทบเป็นตัวเลขได้หรือคดีที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยปกติของบริษัทฯ
47
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด(มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เฉพาะด้าน และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมี นายสุวิทย์ จินดาสงวน เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช และนายนรรัตน์ ลิ่มนรรรัตน์ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยที่กรรมการตรวจสอบแต่ละ ท่านไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร รวมทั้งไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร พนักงาน หรือเป็นผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทในเครือ และบริษัทร่วม คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทและสอดคล้องกับแนวทาง ปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ รวมถึงการสอบทานงบการเงิน การสอบทานความเหมาะสม ของระบบการควบคุมภายใน การสอบทานการเปิดเผยข้อมูลกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มี ความถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งพิจารณาคัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทฯ และค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีประจำปี ในปี 2551 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดยมีกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม ตัวแทนฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งได้พิจารณาสอบทานการจัดทำรายงานทางการเงินรายไตรมาสและประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับ อนุญาต โดยผู้บริหารที่รับผิดชอบได้ชี้แจงข้อซักถามก่อนที่คณะกรรมการตรวจสอบจะให้ความเห็นชอบงบการเงิน งบการเงินที่พิจารณาในแต่ละครั้งมี การจัดทำรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมีการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามความ เห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่แนบในงบการเงินแต่ละไตรมาสและประจำปีก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการสอบทานคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีแล้วมีความถูกต้องครบถ้วนตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้พิจารณาความเหมาะสมของค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีแล้ว จึงมีมติให้เสนอคณะกรรมการ บริษัท เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ พร้อมทั้งพิจารณาค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ประจำปี 2552 ต่อไป คณะกรรมการตรวจสอบได้แสดงความเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ เพียงพอและเหมาะสม ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ มีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศต่อบุคคลภายนอกที่เพียงพอ และมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไป อย่างถูกต้อง ตลอดจนได้มีการพิจารณาสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
48
นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประธานกรรมการตรวจสอบ
รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตลอดจนข้อมูลสารสนเทศทางการ เงินที่ปรากฏในรายงานประจำปีและในงบการเงินของบริษัทฯ ซึ่งรายงานทางการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือก ใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไป ทั้งนี้ งบการเงินดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบและให้ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่เป็นอิสระ งบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อย ได้รับการตรวจสอบโดยนายนิรันดร์ ลีลาเมธาวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316 แห่งบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ จั ด ให้ มี ร ะบบการควบคุ ม ภายในที่ เ หมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ ให้ มั่ น ใจได้ ว่ า มี ก ารบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ทางบั ญ ชี ข อง บริษัทฯ และบริษัทย่อยอย่างถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอ ทันเวลา และป้องกันช่องทางการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ นอกจากนี้ เพื่อให้มีการทบทวนระบบการควบคุ ม ภายในอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และสอบทานระบบการทำงานอย่ า งสม่ ำ เสมอ คณะกรรมการบริ ษั ท จึ ง ได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระเป็นผู้รับผิดชอบสอบทานรายงานทางการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้นำเสนอ ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอ รวมถึงการมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้แสดง ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวปรากฏในรายงานคณะกรรมการตรวจสอบที่ได้แสดงไว้ในรายงานประจำปีนี้แล้ว คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ และบริษัทย่อยโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจและสามารถสร้างความเชื่อมั่น อย่างมีเหตุผลว่ารายงานทางการเงินของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ได้แสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการบริษัท
49
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการ เปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจ การ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็น ต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นซึ่งได้แสดง ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่าง มีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่ เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการ เงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้า เชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 26 กุมภาพันธ์ 2552
50
(นิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316
งบดุล บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม สินทรัพย์
หมายเหตุ
2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550
2551
2550
สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
5
894,920,634
เงินลงทุนชั่วคราว
6
ลูกหนี้การค้า
7
127,698,035
216,042,397
118,016,223
201,410,280
4
155,041,269
296,594,175
287,749,227
368,569,816
สินค้าคงเหลือ
8
151,931,662
141,406,931
133,266,560
118,290,641
อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา
9
209,677,733
56,421,045
-
825,081,679 101,183,966
595,463,090 -
581,142,660 100,000,000
ลูกหนี้อื่นและเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน
อสังหาริมทรัพย์มีไว้เพื่อขาย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
43,285,327 10
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
164,226,593
14,716,449
-
-
-
-
4,626,446
9,715,051
1,746,781,253 1,651,446,642 1,139,121,546 1,379,128,448
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากธนาคารที่มีภาระค้ำประกัน
29
เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
11
74,080,573
50,950,843
เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
6
33,306,266
69,705,398
-
-
4, 12
346,257,101
171,356,681
-
-
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
13
236,574,181
205,655,128
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
14
3,435,055
อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่า
ค่าความนิยม สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์
-
546,000
-
564,907,578
149,527,568 3,093,617 -
349,461,532
125,697,886 -
679,977
299,580
-
9,864,050
9,538,389
3,721,242
3,536,128
704,197,203
508,052,019
721,250,005
478,695,546
2,450,978,456 2,159,498,661 1,860,371,551 1,857,823,994
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
51
งบดุล (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หมายเหตุ
2551
15
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550
2551
2550
-
-
หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า
1,210,148
4
26,162,310
36,921,905
8,367,078
31,972,865
4
10,727,228
32,850,000
3,599,477
6,859,056
15
57,114
137,073
57,114
137,073
5,400,629
27,632,035
5,045,572
21,028,598
47,288,949
123,030-,311
6,640,347
3,891,526
89,636,230
221,781,472
23,709,588
63,889,118
เจ้าหนี้อื่นและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น
16
รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน
15
หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ
15
ค่าเช่ารับล่วงหน้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
4
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น
-
-
57,114
-
-
57,114
250,000,000
-
-
-
5,990,000
-
-
-
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน
345,990,000
57,114
รวมหนี้สิน
435,626,230
221,838,586
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
52
90,000,000
23,709,588
57,114 63,946,232
งบดุล (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หมายเหตุ
2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550
2551
2550
ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น
17
ทุนจดทะเบียน
944,528,490
944,528,490
944,528,490
944,528,490
ทุนที่ออกและชำระแล้ว
764,766,980
762,268,274
764,766,980
762,268,274
474,567,342
473,332,950
474,567,342
473,332,950
147,567,416
138,033,416
110,261,000
103,091,000
(56,698,662)
(20,307,030)
-
-
998,860
-
998,860
ส่วนเกินทุน
18
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น การตีราคาที่ดิน
13
ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
17
-
กำไรสะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
18
50,862,333
45,402,000
48,380,333
42,920,000
489,910,862
509,868,090
438,686,308
411,266,678
1,870,976,271 1,909,596,560 1,836,661,963 1,793,877,762 144,375,955
28,063,515
-
-
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
2,015,352,226 1,937,660,075 1,836,661,963 1,793,877,762
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
2,450,978,456 2,159,498,661 1,860,371,551 1,857,823,994
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
53
งบกำไรขาดทุน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม หมายเหตุ รายได้
2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550
2551
2550
4, 20
รายได้จากการขายและการให้บริการ
1,072,204,443 1,361,221,472 1,000,806,606 1,139,372,030
รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุด
64,756,139
97,078,290
ดอกเบี้ยรับ
43,063,855
43,159,981
43,482,593
42,325,901
36,599,662
45,736,641
91,156,484
67,823,021
รายได้อื่น
21
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
22,750,407
รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย
-
-
-
1,239,374,506 1,547,196,384 1,135,445,683 1,249,520,952 4
ต้นทุนขายสินค้าและต้นทุนการให้บริการ
944,216,411 1,185,156,680
ต้นทุนขายหน่วยในอาคารชุด ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
-
-
22
52,626,031
80,535,130
164,455,367
113,181,801
893,972,513 -
987,857,405 -
94,312,180
70,252,761
7,995,413
21,976,272
ขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม
-
ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
-
-
9,890,205
1,161,297,809 1,388,763,816
รวมค่าใช้จ่าย กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้
-
-
996,280,106 1,080,086,438
78,076,697
158,432,568
139,165,577
169,434,514
780,781
2,007,553
21,596
1,180,645
31,061,846
54,473,928
29,937,328
45,893,489
46,234,070
101,951,087
109,206,653
122,360,380
61,829,795
100,945,836
109,206,653
122,360,380
(15,595,725)
1,005,251
46,234,070
101,951,087
109,206,653
122,360,380
ขั้นพื้นฐาน
0.08
0.16
0.14
0.19
ปรับลด
0.08
0.15
0.14
0.19
ดอกเบี้ยจ่าย
4, 24
ภาษีเงินได้
25
กำไรสำหรับปี ส่วนของกำไร (ขาดทุน) ที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท
20
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสำหรับปี กำไรต่อหุ้น
54
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
-
-
26
-
-
กำไรสำหรับปี
รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น
เงินปันผล
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
สำรองตามกฎหมาย
การตีราคา ที่ดิน
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
8,130,900
-
8,130,900
8,130,900
998,860
-
12,477,385
(13,964,425)
-
-
-
-
-
-
-
2,485,900
ยังไม่ได้ จัดสรร
รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น เฉพาะบริษัท
8,130,900
8,130,900
-
-
-
-
รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น
8,130,900
8,130,900
-
-
-
-
-
20,510,142
-
12,477,385
-
450,134,168
(53,294,180)
20,510,142
1,005,251 110,081,987
1,005,251 101,951,087
-
-
6,548,122 1,397,750,573
ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย
45,402,000 509,868,090 1,909,596,560 28,063,515 1,937,660,075
-
12,477,385
-
450,134,168
(53,294,180) (53,294,180)
-
100,945,836 109,076,736
100,945,836 100,945,836
-
-
6,371,000 (6,371,000)
-
-
-
-
-
-
-
-
-
39,031,000 468,587,434 1,391,202,451
จัดสรรเป็น สำรองตาม กฎหมาย
กำไรสะสม
งบการเงินรวม ขาดทุนที่ยัง ไม่เกิดขึ้นจริง เงินรับล่วงหน้า ของเงินลงทุน ค่าหุ้น
762,268,274 473,332,950 138,033,416 (20,307,030)
-
-
18
3,652,050
10,312,375
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่มจากการใช้สิทธิ ตามใบสำคัญแสดงสิทธิ
เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
221,500,000 228,634,168
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่ม
ทุนเรือนหุ้นที่ออกเพิ่ม
-
-
รายได้สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น
-
-
17
ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น
ส่วนเกินทุน
530,455,899 241,046,732 138,033,416 (28,437,930)
ทุนเรือน หุ้นที่ออก และชำระแล้ว
กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550
หมายเหตุ
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท)
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
55
56 -
18
สำรองตามกฎหมาย
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
-
-
1,234,392
-
(36,391,632)
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
9,534,000 (36,391,632)
-
9,534,000 (36,391,632)
9,534,000
-
764,766,980 474,567,342 147,567,416 (56,698,662)
-
17
เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
2,498,706
17
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่มจากการใช้สิทธิ ตามใบสำคัญแสดงสิทธิ
ทุนเรือนหุ้นที่ออกเพิ่ม
-
-
-
ซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย -
-
-
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น
27
-
-
รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้
เงินปันผล
-
-
กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี
-
-
-
-
13
-
งบการเงินรวม
-
-
2,734,238
(3,733,098)
-
-
-
-
-
-
-
-
998,860
รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น เฉพาะบริษัท
-
-
34,972,163
61,829,795
(26,857,632)
9,534,000
(36,391,632)
(5,460,333)
-
-
-
2,734,238
-
(76,326,690) (76,326,690)
-
-
61,829,795
61,829,795
-
-
-
รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น
(26,857,632)
9,534,000
(36,391,632)
-
-
-
-
(91,835)
-
2,734,238
-
(76,326,690)
(91,835)
132,000,000 132,000,000
(15,595,725) 19,376,438
(15,595,725) 46,234,070
-
-
-
28,063,515 1,937,660,075
ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย
50,862,333 489,910,862 1,870,976,271 144,375,955 2,015,352,226
5,460,333
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
45,402,000 509,868,090 1,909,596,560
ยังไม่ได้ จัดสรร
กำไรสะสม
ขาดทุนที่ยัง จัดสรรเป็น การตีราคา ไม่เกิดขึ้นจริง เงินรับล่วงหน้า สำรองตาม ที่ดิน ของเงินลงทุน ค่าหุ้น กฎหมาย
ส่วนเกินทุน
762,268,274 473,332,950 138,033,416 (20,307,030)
ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น
รายได้สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนเกินสุทธิจากการตีราคาที่ดิน
ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551
ทุนเรือน หุ้นที่ออก หมายเหตุ และชำระแล้ว
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ( หน่วย : บาท )
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
13
-
27 17 17 18
รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้
เงินปันผล ทุนเรือนหุ้นที่ออกเพิ่ม
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่มจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ
เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
สำรองตามกฏหมาย
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
-
กำไรสำหรับปี
764,766,980
-
-
2,498,706
-
รายได้สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น
-
762,268,274
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551
ส่วนเกินสุทธิจากการตีราคาที่ดิน
762,268,274
-
สำรองตามกฏหมาย
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
-
10,312,375
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่มจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ
เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น
221,500,000
หุ้นสามัญที่ออกเพิ่ม
-
เงินปันผล ทุนเรือนหุ้นที่ออกเพิ่ม
474,567,342
-
-
1,234,392
-
-
-
-
-
473,332,950
473,332,950
-
-
3,652,050
228,634,168
-
-
-
รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้
241,046,732 -
530,455,899
ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น
-
17
หมายเหตุ
ทุนเรือน หุ้นที่ออก และชำระแล้ว
110,261,000
-
-
-
-
7,170,000
-
7,170,000
7,170,000
103,091,000
103,091,000
-
-
-
-
-
-
-
103,091,000
-
-
2,734,238
(3,733,098)
-
-
-
-
-
998,860
998,860
-
12,477,385
(13,964,425)
-
-
-
-
2,485,900
กำไรสะสม
48,380,333
5,460,333
-
-
-
-
-
-
-
42,920,000
42,920,000
6,120,000
-
-
-
-
-
-
36,800,000
จัดสรรเป็น สำรองตาม กฎหมาย
งบการเงินเฉพาะกิจการ
เงินรับล่วงหน้า การตีราคาที่ดิน ค่าหุ้น
ส่วนเกินทุน
กำไรสำหรับปี
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ( หน่วย : บาท ) รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น เฉพาะบริษัท
-
12,477,385
-
450,134,168
(53,294,180)
122,360,380
122,360,380
-
2,734,238
-
(76,326,690)
116,376,653
109,206,653
7,170,000
7,170,000
438,686,308 1,836,661,963
(5,460,333)
-
-
(76,326,690)
109,206,653
109,206,653
-
-
411,266,678 1,793,877,762
411,266,678 1,793,877,762
(6,120,000)
-
-
-
(53,294,180)
122,360,380
122,360,380
348,320,478 1,262,200,009
ยังไม่ได้ จัดสรร
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
57
งบกระแสเงินสด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2551
2550
2551
2550
46,234,070
101,951,087
109,206,653
122,360,380
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
13,011,473
11,300,859
6,217,596
6,052,220
ดอกเบี้ยรับ
(43,063,855)
(43,159,981)
(43,482,593)
(42,325,901)
เงินปันผลรับ
(4,458,493)
(2,519,117)
(48,113,338)
(43,913,717)
ดอกเบี้ยจ่าย
780,781
2,007,553
21,596
1,180,645
-
8,209,149
-
3,463,461
20,136,644
2,253,451
20,579,810
21,976,272
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสำหรับปี รายการปรับปรุง
หนี้สงสัยจะสูญ ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลง ขาดทุนจากการลดมูลค่าเงินลงทุนใน บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
-
-
7,995,414
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
46,747
-
46,747
-
กำไรจากการขายหลักประกันลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
-
-
-
กำไรจากการลดหน่วยลงทุนในกองทุนรวม (บริษัทย่อย)
-
-
กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย
-
-
กำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
(7,879,321)
(132,226) -
(4,459,808)
(2,245,155)
(7,341,139)
ส่วนแบ่ง (กำไร) ขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
(22,750,407)
9,890,205
-
-
ภาษีเงินได้
31,061,846
54,473,928
29,937,328
45,893,489
-
3,209,601
-
3,209,601
ตัดจำหน่ายลูกหนี้สรรพากร
38,753,651
(181,222)
(1,521)
132,396,275
82,095,765
113,435,121
-
-
-
88,297,615
11,397,786
83,347,310
1,989,193
8,248,310
1,002
(1,583,427)
1,715,946
(30,661,375)
(15,692,618)
(35,555,729)
(30,811,757)
(147,266,688)
80,535,130
-
-
(43,285,327)
-
-
-
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน เงินฝากธนาคารที่มีภาระค้ำประกัน ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์มีไว้เพื่อขาย หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
58
546,000
งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550
2551
2550
(151,110,888)
2,024,509
2,465,264
(3,052,203)
(704,747)
(1,643,300)
(185,114)
(265,541)
(10,759,595)
7,118,881
(23,605,787)
11,674,184
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้อง
1,744,478
-
(3,259,579)
-
หนี้สินหมุนเวียนอื่น
(75,741,362)
(18,136,232)
2,748,821
(9,396,210)
จ่ายภาษีเงินได้
(53,293,252)
(43,914,892)
(45,920,354)
(40,445,891)
(375,233,180)
154,086,541
60,547,170
44,842,842
รับดอกเบี้ย
83,279,905
18,247,493
84,175,834
17,001,660
รับเงินปันผล
4,458,493
7,852,451
48,113,338
61,711,283
ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
(35,347,704)
(8,456,740)
(23,197,355)
(3,530,443)
ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
2,923,518
2,353,266
569,921
56,000
ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
(3,162,240)
เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
95,711,970
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
เงินให้กู้ยืมแก่กิจการอื่น
-
168,546,700
(3,162,240)
-
44,334,200
111,312,740
5,000,000
-
-
(64,612,032)
-
-
100,000,000
-
อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่า
(174,900,420)
เงินรับสุทธิจากการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว
101,183,966
เงินจ่ายสุทธิจากการลงทุนในเงินลงทุนชั่วคราว
-
(100,240,116)
-
(100,000,000)
เงินสดรับจากการลดหน่วยลงทุนในกองทุนรวม (บริษัทย่อย)
-
-
116,672,933
158,200,586
เงินจ่ายสุทธิจากการลงทุนในบริษัทย่อย
-
-
(338,494,601)
(118,325,129)
(1,487,626)
(14,169,738)
เงินจ่ายสุทธิจากการลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดสุทธิจากการซื้อหุ้นสามัญในบริษัทย่อย
(1,487,626)
-
(17,569,738)
-
31,218,393
-
-
-
7,879,321
-
-
เงินรับสุทธิจากการจำหน่ายหลักประกันของ ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมลงทุน
72,659,862
50,218,998
27,524,404
112,256,959
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
59
งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2550
2551
2550
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท
(648,031)
(2,007,553)
(21,596)
(1,180,645)
(76,326,713)
(53,294,180)
(76,326,713)
(53,294,180)
(1,210,148)
(82,803,311)
-
(50,000,000)
(24,000,000)
(16,000,000)
-
(13,000,000)
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงินลดลง ชำระคืนเงินกู้ยืมกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ
(137,073)
-
90,000,000
-
-
-
250,000,000
-
-
-
(998,860)
-
3,733,098
462,611,553
เงินสดรับค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย
132,000,000
(591,799)
3,733,098
-
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน
372,412,273
307,914,710
(73,751,144)
345,136,728
69,838,955
512,220,249
14,320,430
502,236,529
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี
825,081,679
312,861,430
581,142,660
78,906,131
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี
894,920,634
825,081,679
595,463,090
581,142,660
เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ค่าเช่ารับล่วงหน้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น เงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
60
(137,073)
(998,860) -
-
462,611,553
หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550
หมายเหตุ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34
สารบัญ ข้อมูลทั่วไป เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินหมุนเวียนอื่น ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินทุนและสำรองตามกฎหมาย ใบสำคัญแสดงสิทธิ ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายพนักงาน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ กำไรต่อหุ้น เงินปันผล การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เครื่องมือทางการเงิน ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไม่ได้ใช้ การจัดประเภทรายการใหม่
61
หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากกรรรมการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธิ์ 2552 1.
ข้อมูลทั่วไป บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2531 บริษัทใหญ่ในระหว่างปีได้แก่ บริษัท อเดลฟอส จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551 มีมติให้บริษัทดำเนินการโอนกิจการสังกะสีอ็อกไซด์ไปที่บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 บริษัทได้ดำเนินการดังกล่าวในเดือนมกราคม 2552 กลุ่มบริษัทดำเนินธุร กิจ หลั กในธุร กิจ พัฒนาอสั ง หาริม ทรั พย์ ผลิ ตและขายผงสั งกะสี อ็ อ กไซด์ รายละเอี ยดของบริ ษั ทย่อ ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้
ชื่อกิจการ บริษัทย่อยทางตรง บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสแซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ (ถือหุ้นทางอ้อมโดยกองทุนส่วน บุคคลของบริษัทย่อยร้อยละ 1) บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (ในปี 2550 ถือหุ้นทางอ้อม โดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมนเนจเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 11) บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด ( เดิม ชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเมนท์) (ถือหุ้นทางอ้อมโดย บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ร้อยละ 99.98)
62
ลักษณะธุรกิจ
ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง
บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 2551
2550
ขายสังกะสีอ็อกไซด์ และ เคมีภัณฑ์ ตัวแทนจำหน่ายเครื่อง บันทึกเวลาและอุปกรณ์ ควบคุมระบบจอดรถยนต์ ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน และการลงทุน ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน และให้บริการการจัดการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ไทย ไทย
100.00 99.99
100.00 99.99
ไทย
100.00
100.00
ไทย
100.00
100.00
ไทย
98.88
98.88
ลงทุนในธุรกิจการจัด การพลังงาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ไทย
75.00
75.00
ไทย ไทย
100.00 60.00
100.00 60.00
ไทย
59.99
58.98
(คอนโดมิเนียม)
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (คอนโดมิเนียม)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 2.
เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษได้จัดทำขึ้น เพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีไทย (“มาตรฐานการบัญชี”) รวมถึงการการตีความและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดย สภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศไทย กลุ่มบริษัทได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่โดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2550 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มี รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51 เรื่อง
งบกระแสเงินสด สัญญาเช่า สินค้าคงเหลือ ต้นทุนการกู้ยืม การนำเสนองบการเงิน นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด งบการเงินระหว่างกาล การรวมธุรกิจ สัญญาก่อสร้าง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
การใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และฉบับปรับปรุงเหล่านี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2551 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงใหม่หลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลา บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 และไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ปรับปรุงใหม่เหล่านี้ ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 32 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาทเว้นแต่ที่ระบุไว้เป็น อย่างอื่น งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ในนโยบายการบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารต้องใช้การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อ การกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย การประมาณและข้อสมมติฐานมาจาก ประสบการณ์ในอดีต และปัจจัยต่างๆ รวมถึงการประเมินผลกระทบที่สำคัญต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกลุ่มบริษัทอันเนื่องมา จากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะบันทึกในงวด บัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวน หากการปรับประมาณการกระทบเฉพาะงวดนั้นๆ และจะบันทึกในงวดที่ปรับและงวดในอนาคต หากการปรับประมาณการกระทบทั้งงวดปัจจุบันและอนาคต
3.
นโยบายการบัญชีที่สำคัญ (ก.) เกณฑ์ในการทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม รายการที่มีสาระสำคัญซึ่งเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อย ได้ถูกตัดรายการในการทำงบการเงินรวม
63
หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนด นโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของบริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ใน งบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและ การดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวมส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วมตาม วิธีส่วนได้เสีย นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้ รับปันจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่ม บริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม (ข.) เงินตราต่างประเทศ
รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงิน และเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือ ขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็นเงินบาทโดย ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ (ค.) เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เครือ่ งมือทางการเงินทีเ่ ป็นตราสารอนุพนั ธ์ได้ถกู นำมาใช้เพือ่ จัดการความเสีย่ งทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงในอัตราแลกเปลีย่ นเงินตราต่างประเทศ ที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมจัดหาเงิน และกิจกรรมลงทุน เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ไม่ได้มีไว้เพื่อค้า อย่างไรก็ตาม ตราสารอนุพันธ์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข การกำหนดให้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงถือเป็นรายการเพื่อค้า เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์จะถูกบันทึกบัญชีในขั้นแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำรายการดังกล่าวบันทึกใน งบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น การวัดมูลค่าใหม่ภายหลังการบันทึกครั้งแรกใช้มูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการวัดมูลค่าใหม่ให้เป็นมูลค่า ยุติธรรมบันทึกในงบกำไรขาดทุน มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือตามราคาตลาดของสัญญาล่วงหน้า ณ วันที่ใน งบดุล ถ้ามีราคาตลาด ในกรณีที่ ไม่มีราคาตลาด ให้ประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยการคิดลดจากผลต่างระหว่างราคาล่วงหน้าตามสัญญา กับราคาล่วงหน้าของสัญญาปัจจุบัน ณ วันที่ในงบดุลที่ครบกำหนดในวันเดียวกัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยประเภทที่ใช้กับธุรกรรมการเงินที่ปลอดความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล (ง.) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด (จ.) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
64
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ (ฉ.) สินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองโรงงานและวัตถุประกอบการผลิตคำนวณโดยใช้วิธีต้นทุนเจาะจงและวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน ตามลำดับ สินค้าสำเร็จรูป และสินค้าระหว่างผลิตคำนวณโดยใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยต้นทุนที่ซื้อ ต้นทุนในการดัดแปลงหรือต้นทุนอื่นเพื่อให้ สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพปัจจุบัน ในกรณีของสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตเอง ต้นทุนสินค้าคำนวณโดยการใช้ต้นทุน มาตรฐานซึ่งได้รับการปรับปรุงให้ใกล้เคียงกับราคาทุนถัวเฉลี่ย ซึ่งได้พิจารณารวมการปันส่วนของค่าโสหุ้ยการผลิตอย่างเหมาะสมโดย คำนึงถึงระดับกำลังการผลิตตามปกติ มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์มีไว้เพื่อขายและอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์มีไว้เพื่อขายและอสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่าแสดงในราคาทุนของแต่ละ โครงการ รวมต้ น ทุ น การกู้ ยื ม ต้ น ทุ น การพั ฒ นา ค่ า วั ต ถุ แ ละวั ส ดุ ที่ ใ ช้ ค่ า แรงงานและค่ า ใช้ จ่ า ยทางตรงอื่ น ๆ หั ก ด้ ว ยค่ า เผื่ อ ใดๆ ที่ฝ่ายบริหารเห็นว่าจำเป็น อสังหาริมทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (ช.) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงินลงทุนใน บริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนอื่น ตราสารหนี้และตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดซึ่งถือไว้เพื่อค้า จัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและแสดงในมูลค่า ยุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน ตราสารหนี้ซึ่งกลุ่มบริษัทตั้งใจและสามารถถือจนกว่าครบกำหนด แสดงในราคาทุนตัดจำหน่ายหักด้วยขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อมากับมูลค่าไถ่ถอนของตราสารหนี้จะถูกตัดจ่ายโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่เหลือ ตราสารหนี้ แ ละตราสารทุ น ซึ่ ง เป็ น หลั ก ทรั พ ย์ ใ นความต้ อ งการของตลาด นอกเหนื อ จากที่ ถื อ ไว้ เ พื่ อ ค้ า หรื อ ตั้ ง ใจถื อ ไว้ จ นครบกำหนด จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและแสดงในมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดย ตรง ยกเว้นขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนและกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จะรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ย จะต้องบัน ทึกดอกเบี้ยในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า
65
หมายเหตุประกอบงบการเงิน การจำหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับ และมูลค่าตามบัญชีและรวมถึงกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ที่ เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น จะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน (ซ.) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ยกเว้นที่ดินแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ราคาที่ตี ใหม่หมายถึงมูลค่ายุติธรรมซึ่งกำหนดจากเกณฑ์การใช้งานของสินทรัพย์ที่มีอยู่จริง ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมที่ คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ สินทรัพย์ที่เช่า การเช่าซึ่งกลุ่มบริษัทได้รับส่วนใหญ่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้นๆ ให้จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการ เงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาโดยทำสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำ ที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเช่าที่ชำระจะแยกเป็นส่วนที่ เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน และส่วนที่จะหักจากหนี้ตามสัญญา เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สำหรับยอดคงเหลือของหนี้สิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกโดยตรงในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่ การตีราคาใหม่ดำเนินการโดยผู้ประเมินราคาอิสระอย่างสม่ำเสมอพอ เพื่อให้มั่นใจว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ได้รับการประเมินไม่ แตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญจากมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ในงบดุล มูลค่าของสินทรัพย์ส่วนที่ตีเพิ่มขึ้นจะบันทึกไปยังส่วนของผู้ถือหุ้นภายใต้ “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน” ยกเว้นกรณีที่เคยประเมินมูลค่าของ สินทรัพย์ลดลงและรับรู้ขาดทุนในงบกำไรขาดทุนแล้ว จะบันทึกเฉพาะส่วนที่ตีมูลค่าเพิ่มในครั้งหลังเกินกว่าส่วนที่เคยบันทึกมูลค่าลดลงของ สินทรัพย์ชิ้นเดียวกัน ในกรณีที่มูลค่าของสินทรัพย์ลดลงจากการตีราคาใหม่จะบันทึกในงบกำไรขาดทุนสำหรับมูลค่าที่ลดลงเฉพาะจำนวนที่ลด ลงมากกว่าส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ที่เคยบันทึกไว้ครั้งก่อนในส่วนของผู้ถือหุ้นของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันนั้น ในกรณีที่มีการจำหน่าย สินทรัพย์ที่เคยตีราคาใหม่ ส่วนเกินทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ที่จำหน่ายจะโอนจากส่วนของผู้ถือหุ้นไปยังกำไรสะสมและไม่รวมใน การคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
66
20 5, 10 5 3-10
ปี ปี ปี ปี
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (ฌ.) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำกัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภท ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
5
ปี
(ญ.) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่ในงบดุลว่า มีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้จะทำการ ประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับ คืนขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์อื่น หมายถึงราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ หรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อน ภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อ ให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น ให้พิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้น มีความเกี่ยวข้องด้วย
การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจำหน่ายและตราสารหนี้ที่ จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภท เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยม จะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมี การเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่าตาม บัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อย ค่ามาก่อน (ฎ.) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในมูลค่ายุติธรรมหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเกิดหนี้สิน ภายหลังจากการบันทึกหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจะ บันทึกต่อมาโดยวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย ผลต่างระหว่างยอดหนี้เริ่มแรกและยอดหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน จะบันทึกในงบกำไรขาดทุนตลอด อายุการกู้ยืมโดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
67
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (ฏ.) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ฐ.) ผลประโยชน์พนักงาน โครงการสมทบเงิน ภาระหนี้สินตามโครงการสมทบเงินจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น (ฑ.) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนีส้ นิ จะรับรูใ้ นงบดุลก็ตอ่ เมือ่ กลุม่ บริษทั มีภาระหนีส้ นิ ตามกฎหมาย ทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั หรือทีก่ อ่ ตัวขึน้ อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ ในอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอน ว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สินดังกล่าว และสามารถ ประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณาจากการคิดลด กระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดย ใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจประเมินได้ในตลาด ปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน (ฒ.) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า การขายสินค้าและให้บริการ รายได้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของสินค้าที่มีนัยสำคัญไปให้กับผู้ซื้อแล้ว และจะไม่รับรู้ รายได้ถ้าฝ่ายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้า ที่ขายไปแล้วนั้นหรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสำคัญ ในการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ จากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจำนวนรายได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ นอนที่จะต้องรับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการ รายได้ตามสัญญาก่อสร้าง เมื่อผลงานการก่อสร้างตามสัญญาสามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ รายได้ตามสัญญาและต้นทุนที่เกิดขึ้นจะถูกรับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดย คำนวณจากความสำเร็จของกิจกรรมงานก่อสร้างตามสัญญา ณ วันที่ในงบดุล ขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้างคำนวณโดยวิธีการสำรวจงานที่ ทำในกรณีที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าต้นทุนทั้งสิ้นของโครงการเกินกว่ามูลค่ารายได้ตามสัญญา กลุ่มบริษัทจะรับรู้ประมาณการ ขาดทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงบกำไรขาดทุน โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รับรู้ในลักษณะเดียวกับรายได้จากสัญญาก่อสร้างภายใต้เงื่อนไขต่างๆ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญคือ
68
•เมื่ อ ทำสั ญ ญาขายแล้ ว หรื อ ในกรณี ข องการขายอาคารชุ ด จะต้ อ งมี ก ารทำสั ญ ญาขายแล้ ว ไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 40 ของ พื้ น ที่ โครงการอาคารชุดที่มีเพื่อขาย • แต่ละสัญญาที่จะรับรู้รายได้ จะต้องได้รับเงินล่วงหน้าประเภทไม่ต้องชำระคืนให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยร้อยละ 20 ของราคาขายตามสัญญา • โครงการที่พัฒนาต้องมีงานพัฒนาและงานก่อสร้างเสร็จแล้วอย่างน้อยร้อยละ 10 ของงานก่อสร้างทั้งหมด (โดยวัดจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับประมาณการต้นทุนทั้งสิ้นของโครงการ)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล รายได้อื่น รายได้อื่นบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง (ณ.) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญา รายจ่ายทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ยกเว้นในกรณีที่มีการบันทึกเป็นต้น ทุนส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ อันเป็นผลมาจากการใช้เวลายาวนานในการจัดหา ก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ดังกล่าวก่อนที่จะนำมาใช้เอง หรือเพื่อขาย ดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่างวดตามสัญญาเช่าการเงินบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายอื่นบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง (ด.) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ปัจจุบัน ภาษีเงินได้ปัจจุบันได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ณ วันที่ใน งบดุล ซึ่งเกี่ยวกับรอบบัญชีที่คำนวณภาษีเงินได้ ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ
4.
รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ได้ แ ก่ บุ ค คลหรื อ กิ จ การต่ า งๆ ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ กลุ่ ม บริ ษั ท และบริ ษั ท โดยการมี ผู้ ถื อ หุ้ น ร่ ว มกั น หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการบัญชีระหว่างบุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้น โดยใช้ราคาตลาดหรือในราคาที่ตกลงกันตามสัญญา หากไม่มีราคาตลาดรองรับความสัมพันธ์ที่บริษัท/กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็นกิจการที่บริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับกลุ่มบริษัท มีดังนี้ ชื่อกิจการ บจ. อเดลฟอส บจ. ไทย-ไลซาท
ประเทศที่จัดตั้ง /สัญชาติ ไทย ไทย
บจ. ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม
ไทย
บจ. ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง
ไทย
บจ. ยูนิเวนเจอร์ แอสแซท แมเนจเม้นท์
ไทย
กองทุนรวมกินรี พร็อพเพอร์ตี้
ไทย
บจ. เอสโก้ เวนเจอร์
ไทย
ลักษณะความสัมพันธ์ เป็นบริษัทใหญ่ของบริษัท และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 98.88 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 75 และมีกรรมการร่วมกัน
69
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ประเทศที่จัดตั้ง /สัญชาติ
ชื่อกิจการ บจ. แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์
ไทย
บจ. แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง ( เดิม ชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเมนท์ )
ไทย
บจ. เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์ เนชั่นแนล
ไทย
บจ. เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์
ไทย
บจ. ปริญเวนเจอร์
ไทย
บจ. สหสินวัฒนาโคเจน เนอเรชั่น
ไทย
บจ. สหสินวัฒนาไบโอ เอ็นเนอร์ยี่
ไทย
บมจ. แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ บจ. เยาววงศ์ บจ. ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ บจ. ลุมพินี โปรเจค มาเนจ เมนท์ เซอร์วิส บจ. เยาววงศ์ โฮลดิ้ง บจ. อาคเนย์แคปปิตอล บจ. ทีซีซี ลักซ์ชูรีโฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท
ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย
บจ. ทีซีซี เทคโนโลยี่
ไทย
ลักษณะความสัมพันธ์ เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 60 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นทางอ้อมโดย บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ร้อยละ 99.98 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 31.81 และมีกรรมการ ร่วมกัน เป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยถือหุ้นร้อยละ 29.50 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย บริษัทย่อยถือหุ้นร้อยละ 20 เป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย บริษัทย่อยถือหุ้นร้อยละ 20 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย มีกรรมการร่วมกัน มีกรรมการร่วมกัน มีกรรมการร่วมกัน มีกรรมการร่วมกัน กรรมการของบริษัท มีความเกี่ยวโยงเป็นญาติพี่น้องกัน กรรมการของบริษัท มีความเกี่ยวโยงเป็นญาติพี่น้องกัน
นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้: รายการ รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าที่ปรึกษา ดอกเบี้ยรับ ซื้อสินค้า ค่าเช่าจ่าย ค่านายหน้าจ่าย ค่าบริการระบบอิเล็กโทรนิกส์เมล ค่าตอบแทนกรรมการ ดอกเบี้ยจ่าย ซื้อเงินลงทุน
70
นโยบายการกำหนดราคา ราคาตลาด ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา อัตราร้อยละ 5 และ 9 และ MLR + 2 ต่อปี ราคาตลาด ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา อัตราร้อยละ 1.5-2.0 ของรายได้ ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น อัตราร้อยละ 1.5 และ 9 ต่อปี ราคาทุน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 สรุปได้ดังนี้
บริษัทย่อย ขายสินค้า ซื้อสินค้า รายได้ค่าเช่า รายได้จากการให้บริการ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ค่าเช่าจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย ค่านายหน้าจ่าย ซื้อเงินลงทุน บริษัทร่วม รายได้ค่าที่ปรึกษา ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยจ่าย กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ค่านายหน้าจ่าย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าบริการระบบอิเล็กโทรนิกส์เมล ค่าตอบแทนกรรมการ ขายที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม 2551 2550 -
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
-
420 14,564 120 32,459 6,649 48,113 1,560 15,276 32,725
1,369 1,368 720 3,780 1,762 38,580 1,560 481 17,619 -
2,628 18,684 832
759 6,974 5,333 133
18,684 -
31,536 5,333 -
641 3,261 1,963 15,268 -
420 639
1,666 15,268 -
12,657 -
12,657 12,000
71
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ ลูกหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัทร่วม บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด
ลูกหนี้อื่นและเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน รวม
(หน่วย พันบาท) งบการเงินรวม 2551 2550 -
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 -
171 171
171 171
136 154,905 155,041
132
-
-
46,595
1,584
38,070
250,000 296,595
286,165 287,749
330,500 368,570
132
ลูกหนี้อื่น-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
72
บริษัทย่อย บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย - ไลซาท จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด
-
บริษัทร่วม บริษัท สหสิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัท เยาววงศ์ จำกัด บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด รวม
-
10 126 136
37,593 9,000 2 46,595
132 16 446 972 18 1,584
-
-
1 475 1
37,593 38,070
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (ร้อยละต่อปี) อัตราดอกเบี้ย 2551 2550
งบการเงินรวม 2551 2550
(หน่วย พันบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด บริษัทร่วม บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัท สหสิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด รวม
5.00 5.00 5.00 5.00 9.00 MLR+2 8.00 9.00
5.00 5.00 5.00 9.00 MLR+2 9.00
-
-
2,500 2,500 125,000 -
2,000 41,000 1,500 36,000
149,165 740 5,000
245,000 5,000
149,165 5,000
245,000 5,000
154,905
250,000
286,165
330,500
73
หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ งบการเงินรวม เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2550
-
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551
2550
80,500 311,350 (259,850) 132,000
3,266 81,500 (4,266) 80,500
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
250,000 5,590 (100,685) 154,905
438,547 91,117 (279,664) 250,000
250,000 4,850 (100,685) 154,165
438,547 91,117 (279,664) 250,000
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
250,000 5,590 (100,685) 154,905
438,547 91,117 (279,664) 250,000
330,500 316,200 (360,535) 286,165
441,813 172,617 (283,930) 330,500
128
599
เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด
74
2551
(หน่วย : พันบาท)
-
-
หมายเหตุประกอบงบการเงิน (หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม เจ้าหนี้อื่นและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม เจ้าหนี้อื่น-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทร่วม บริษัท เอส.ยู.เอ็น แมเนจเม้นท์ จำกัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ทีซีซี เทคโนโลยี่ จำกัด บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด รวม
2551
2550
1,877 8,850 10,727
32,850 32,850
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551
2550
3,600 3,600
20
6,859 6,859
-
3,202 -
75 6,120 664
431
-
-
-
433 49 964 1,877
-
378 3,600
(ร้อยละ)
-
6,859
(หน่วย : พันบาท)
อัตราดอกเบี้ย 2551 2550
งบการเงินรวม 2551 2550
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทร่วม บริษัท เอส.ยู.เอ็น แมเนจเม้นท์ จำกัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท แอล.พี.เอ็น ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เยาววงศ์ จำกัด รวม
1.50
1.50
8,850
8,850
-
-
9.00 9.00
9.00 9.00
8,850
12,000 12,000 32,850
-
-
รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้
75
หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบการเงินรวม 2551 2550 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม บริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม
-
-
-
8,850 8,850
-
8,850 8,850
งบการเงินรวม
76
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
13,000 (13,000) -
-
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ
2551
2550
2551
2550
กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
24,000 (24,000) -
40,000 (16,000) 24,000
-
-
รวมเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
32,850 (24,000) 8,850
8,850 40,000 (16,000) 32,850
-
ค่าเช่ารับล่วงหน้าจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ทีซีซี ลักซ์ชูรีโฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด
250,000
-
-
13,000 (13,000) -
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีดังต่อไปนี้ สัญญาค่านายหน้าและค่าบริหารงานขาย ในปี 2548 บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทนกับบริษัท ลุมพินี พร้อพเพอร์ตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด โดยบริษัทย่อยตกลงที่จะจ่ายค่านายหน้าให้กับบริษัทดังกล่าวในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้จากการขายห้องชุดใน โครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 1 และในอัตราร้อยละ 1.6 ของรายได้จากการขายห้องชุดในโครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 2 โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 งวดที่ 2 งวดที่ 3
จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อมียอดขายเกิดขึ้นแล้วร้อยละ 50 จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรก จ่ายร้อยละ 40 เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ครบจำนวนของห้องชุดที่ขายได้ก่อนโอนงานขายให้ฝ่ายธุรกิจนายหน้า
ซึ่งคิดจากมูลค่าขายสุทธิหลังหักเงินที่เบิกจ่ายจากงวดที่ 1 และงวดที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด ( เดิมชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเมนท์ ) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าตอบ แทนกับบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด โดยบริษัทย่อยตกลงที่จะจ่ายค่าบริหารงานขาย เป็นรายเดือนๆ ละ 32,184 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551 และค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้จากการขายห้องชุดในโครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 4 โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 งวดที่ 2 งวดที่ 3
จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อมียอดขายเกิดขึ้นแล้วร้อยละ 50 จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรก จ่ายร้อยละ 40 เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้ร้อยละ 70 ของโครงการ
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด (เดิมชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเมนท์ ) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าตอบ แทนกับบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด โดยบริษัทย่อยตกลงที่จะจ่ายค่าบริหารงานขาย เป็นรายเดือนๆ ละ 150,318 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 ถึง 31 สิงหาคม 2552 และค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 2 ของรายได้จากการขายห้องชุดในโครงการ ยู สบาย โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อมียอดขายเกิดขึ้นแล้วร้อยละ 50 งวดที่ 2 จ่ายร้อยละ 30 ของมูลค่าโครงการ ณ วันเปิดงานขายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรก งวดที่ 3 จ่ายร้อยละ 40 เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้ร้อยละ 70 ของโครงการ สัญญาให้บริการที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ลงนามในสัญญาให้บริการที่ปรึกษาในโครงการยูโรเปี้ยนทาวน์ กับ บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 โดยรับชำระค่าบริการเป็นรายเดือนๆ ละ 80,000 บาท เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ลงนามในสัญญาให้บริการที่ปรึกษาในโครงการเดอะ นอร์ทเทิร์น ทาวน์ รังสิต กับบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 โดยรับชำระค่าบริการเป็นรายเดือนๆ ละ 80,000 บาท สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด เมื่ อ วั น ที่ 27 ธั น วาคม 2550 บริ ษั ท แกรนด์ ยู นิ ตี้ ดิ เ วลล็ อ ปเมนท์ จำกั ด ทำสั ญ ญาเช่ า พื้ น ที่ ห้ อ งชุ ด กั บ บริ ษั ท เยาววงศ์ จำกั ด มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 โดยบริษัทย่อยดังกล่าวมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่า เป็นรายเดือนๆ ละ 18,525 บาท
77
หมายเหตุประกอบงบการเงิน สัญญาบริหารจัดการ ในปี 2551 บริษัทได้ทำสัญญากับบริษัทย่อย 8 บริษัท เพื่อบริหารจัดการ Back office มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนๆ ละ 2,210,000 บาท สัญญาเช่ารถยนต์ บริษัทและบริษัทย่อย ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับ บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด จำนวน 6 คัน รวมมูลค่า 10.80 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี โดยชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนๆ ละ 179,963 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2556 สัญญาบริการดูแลระบบอิเล็กโทรนิกส์เมล เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 บริษัทและบริษัทย่อยได้ทำสัญญากับบริษัท ทีซีซี เทคโนโลยี จำกัด ในการรับบริการการดูแลระบบอิเล็กโทรนิกส์เมล และให้เช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยจ่ายค่าบริการตามที่ระบุในสัญญา สัญญาบริการ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัท แกรนด์ ยูลิฟวิ่ง จำกัด ( เดิมชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ ) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงค่าทำความสะอาด กับบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด สำหรับโครงการพาร์ควิว วิภาวดี เฟส 4 เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยชำระค่าบริการเป็นรายเดือนๆ ละ 11,500 บาท เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 บริษัท แกรนด์ ยูลิฟวิ่ง จำกัด ( เดิมชื่อ บจ.ไฮ-ไรซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ ) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงค่าทำความ สะอาดกับบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเม้นท์ จำกัด สำหรับโครงการ ยู สบาย เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยชำระค่าบริการเป็นรายเดือนๆ ละ 11,500 บาท สัญญาจะเช่าพื้นที่ ในเดือน กรกฎาคม 2551 บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด ได้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงให้เช่าพื้นที่ และลงนามในสัญญาจะให้เช่าพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ ในการประกอบกิจการโรงแรม แก่บริษัท ทีซีซี ลักซ์ชูรีโฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด โดยสัญญาเช่าระบุระยะเวลาของสิทธิการเช่าเป็นเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2554 บริษัทย่อยจะได้รับค่าตอบแทนจำนวน 1,358 ล้านบาท และค่าบริการตามที่จะตกลงทำสัญญากัน โดย ณ วันที่ทำสัญญาบริษัทย่อยได้รับเงินช่วยค่าก่อสร้างล่วงหน้าแล้ว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เป็นจำนวนเงิน 250 ล้านบาท สัญญาบริหารโครงการ บริษัทได้ทำสัญญากับบริษัท เลิศรัฐการ จำกัด เพื่อบริหารโครงการ มีกำหนดระยะเวลา 41 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 โดยคิดค่าบริการ ดังนี้ ช่วงระยะเวลาการให้บริการ เมษายน 2551 - ธันวาคม 2551 มกราคม 2552 - เมษายน 2554 พฤษภาคม 2554 - สิงหาคม 2554
78
(บาท) ค่าบริการรายเดือน 600,000 750,000 400,000
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีดังต่อไปนี้ ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริ ษั ท ในวงเงิ น 32 ล้ า นบาทโดย ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2551 บริ ษั ท ย่ อ ยดั ง กล่ า วได้ ใ ช้ ว งเงิ น ไปแล้ ว จำนวน 0.11 ล้ า นบาท (2550: 2 ล้านบาท) ภาระหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่บริษัทค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของ บริษัทไทย-ไลซาท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัทในวงเงิน 20 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีการใช้วงเงินดังกล่าวข้างต้น และมีค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า ในวงเงิน 0.58 ล้านบาท ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด ของ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ในวงเงิน 90 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีการ ใช้วงเงินข้างต้น ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัท ในวงเงิน 97.50 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทร่วมดังกล่าวได้ใช้วงเงินไปแล้วจำนวน 37.27 ล้านบาท (2550: 49 ล้านบาท) ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทย่อย แห่งหนึ่งค้ำประกันหนี้สินทุกประเภทที่มีต่อธนาคารของบริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทร่วมของบริษัทในวงเงิน 220 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทร่วมดังกล่าวได้ใช้วงเงินไปแล้วจำนวน 95.99 ล้านบาท โดยทั่วไปการค้ำประกันนี้มีผลผูกพันต่อบริษัท นานเท่าที่ภาระหนี้สินยังไม่ได้ชำระโดยบริษัทย่อยและบริษัทร่วมดังกล่าว บริษัทไม่มีการคิด ค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันดังกล่าว
5. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (หน่วย : พันบาท)
เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง รวม
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 343 468 72 76 (351) (10,634) (431) (5,391) 354,976 350,747 245,869 186,458 539,953 484,501 349,953 400,000 894,921 825,082 595,463 581,143
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท
6.
เงินลงทุนอื่น (หน่วย :พันบาท)
เงินลงทุนชั่วคราว เงินฝากระยะสั้นกับสถาบันการเงิน เงินลงทุนระยะยาวอื่น ตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย รวม
งบการเงินรวม 2551 2550
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
-
101,184
-
100,000
33,306 33,306
69,705 170,889
-
100,000
เงินลงทุนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท
79
หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายการเคลื่อนไหวในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ของตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขายมีดังนี้ (หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม 2551 2550
หลักทรัพย์เผื่อขาย ณ วันที่ 1 มกราคม ลดทุนระหว่างปี รายการปรับปรุงจากการตีราคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม
69,705 (7) (36,392) 33,306
61,574 8,131 69,705
7. ลูกหนี้การค้า
บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการอื่นๆ
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 -
-
(หน่วย : พันบาท) หมายเหตุ 4
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวม หนี้สงสัยจะสูญระหว่างปี
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 171 171 132 129,008 218,464 118,016 201,278 129,179 218,635 118,016 201,410 (1,481) (2,593) 127,698 216,042 118,016 201,410 -
การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้า มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)
ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินวันครบกำหนดชำระ: น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 95,667 197,051 88,066 185,221 31,851 1,661 129,179 (1,481) 127,698
โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัท มีระยะเวลาตั้งแต่ 7 วันถึง 90 วัน ลูกหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท
80
18,507 112 92 2,873 218,635 (2,593) 216,042
29,950 118,016 118,016
16,189 201,410 201,410
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 8.
สินค้าคงเหลือ (หน่วย : พันบาท)
สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ วัสดุโรงงาน วัตถุประกอบการผลิต สินค้าระหว่างทาง หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง รวม
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 58,592 101,846 38,858 74,305 2,986 112,183 41,071 112,183 41,071 240 215 240 216 2,604 2,721 2,565 2,699 90 176,605 145,943 153,846 118,291 (24,673) (4,536) (20,579) 151,932 141,407 133,267 118,291
ต้นทุนของสินค้าคงเหลือที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและได้รวมในบัญชีต้นทุนขายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวน 893 ล้านบาท (2550: 987 ล้านบาท) สำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการ และจำนวน 943 ล้านบาท (2550: 1,184 ล้านบาท) สำหรับงบการเงินรวม ในปี 2551 กลุ่มบริษัทมีการบันทึกขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลง จำนวน 20 ล้านบาท สำหรับบริษัท และกลุ่มบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดของวัตถุดิบ รายการดังกล่าวได้รวมในบัญชีต้นทุนขายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551
9.
อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา (หน่วย : พันบาท)
หัก ส่วนที่โอนไปเป็นต้นทุนขายสะสม ส่วนที่โอนไปเป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ส่วนที่โอนไปเป็นที่ดินและอาคาร รวม
งบการเงินรวม 2551 2550 1,212,362 1,007,482 169,969 132,731 26,445 23,776 1,408,776 1,163,989 (1,155,231) (1,103,105) (39,405) (4,463) (4,463) 209,677 56,421
ต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการพัฒนาระหว่างปี อัตราดอกเบี้ยของต้นทุนเงินกู้ยืม (ร้อยละต่อปี)
778 MLR-1.5%
ต้นทุนที่ดินและอาคารระหว่างก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการต่อ ดอกเบี้ยจ่ายที่ถือเป็นต้นทุน
-
81
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 10. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (หน่วย : พันบาท) หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เงินมัดจำที่ดิน อื่นๆ รวม
30
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 92,282 1,520 1,155 1,261 25,421 46,524 13,196 3,471 8,454 164,227 14,716 4,626 9,715
11. เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (หน่วย : พันบาท)
ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) สุทธิจาก เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย จำหน่าย โอนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย ซื้อเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า อื่น ๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม
82
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 50,951 66,418 349,462 392,684 22,750 1,487 (1,108) 74,080
(9,890) (116,541) (153,741) (23,147) 17,570 339,982 132,494 (7,995) (21,975) 50,951 564,908 349,462
บริษัทย่อย บริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด
บริษัทร่วม บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัท สหสินวัฒนาโคเจนเนอเรชั่น จำกัด บริษัท สหสินวัฒนาไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด รวม 31.81 29.50 49.00 20.00 20.00
31.81 29.50 49.00 20.00 20.00
(ร้อยละ) สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2551 2550
เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้
25,000 10,000 100,000 92,000 10,000
100.00 99.99 100.00 100.00 98.88 75.00 100.00 60.00
100.00 99.99 100.00 100.00 98.88 75.00 100.00 49.00
(ร้อยละ) สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2551 2550
25,000 10,000 100,000 92,000 10,000
ทุนชำระแล้ว 2551 2550
137,500 5,000 10,000 22,310 5,573 27,500 100,000 380,000
4,283 57,481 10,502 1,814 74,080
2,500 5,000 10,000 22,310 234,904 27,500 100,000 50,000
142,494 25,200 10,000 2,650 25,439 21,052 100,000 229,800
7,500 25,200 10,000 2,650 141,979 21,052 100,000 26,300
วิธีราคาทุน 2551 2550
31,186 17,471 1,955 50,951
339
วิธีส่วนได้เสีย 2551 2550
งบการเงินเฉพาะกิจการ
6,850 2,950 49,000 18,400 2,000 79,200
ทุนชำระแล้ว 2551 2550
8,337 2,950 49,000 18,400 2,000 80,687
วิธีราคาทุน 2551 2550
งบการเงินรวม
(หน่วย : พันบาท)
(หน่วย : พันบาท)
-
29,996 2,500 15,617 -
4,000 34,580 5,333
-
เงินปันผลรับสำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ 2551 2550
-
เงินปันผลรับสำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ 2551 2550
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
83
บริษัทร่วม บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด รวม หัก ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม สุทธิ
84 31.81 49.00
31.81 49.00
(ร้อยละ) สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2551 2550 25,000 100,000
25,000 100,000
ทุนชำระแล้ว 2551 2550 8,337 49,000 613,972 (45,010) (4,054) 564,908
6,850 49,000 390,531 (34,558) (6,511) 349,462
วิธีราคาทุน 2551 2550
งบการเงินเฉพาะกิจการ
(หน่วย : พันบาท)
48,113
43,913
เงินปันผลรับสำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ 2551 2550
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน กลุ่มบริษัทไม่รับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนของ บริษัท เอส.ยู.เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่บริษัทลงทุนและบันทึกเงินลงทุนตามวิธี ส่วนได้เสีย สำหรับขาดทุนสุทธิส่วนที่เกินกว่ามูลค่าเงินลงทุนของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วมนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 กลุ่มบริษัท ยังมีผลขาดทุนสะสมที่ยังไม่รับรู้ของบริษัทร่วมจำนวน 24.54 ล้านบาท และ 26.65 ล้านบาท ตามลำดับ กลุ่มบริษัทไม่มีภาระหนี้สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับผลขาดทุนเหล่านี้ ในระหว่างปี 2551 บริษัทได้จ่ายชำระค่าหุ้นเพิ่มเติม ของบริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 1.49 ล้านบาท และ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัทย่อยจากผู้ถือหุ้นเดิม 42,293 หุ้น ในราคาที่แตกต่างกันจำนวนเงิน รวม 0.47 ล้านบาท ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ของบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเม้นท์ จำกัดได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 50 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 5,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 600 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 60,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และเรียกชำระหุ้นละ 4.50 บาท เป็นจำนวนเงิน 247.50 ล้านบาทโดยได้นำไป จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 และได้จ่ายชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นจำนวน 121.27 ล้านบาท ( หุ้นสามัญ 26,950,000 หุ้น เรียกชำระหุ้นละ 4.50 บาท ) นอกจากนี้ บริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท แกรนยูนิตี้ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 6.60 ล้านหุ้น จาก บริษัท ยูนิเวนเจอร์แอสเซท แมนเนจเม้นท์ จำกัด เป็นจำนวน 32.73 ล้านบาท ( 550,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท และ 6,050,000 หุ้นราคาหุ้นละ 4.50 บาท ) ที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ของบริษัท แกรนด์ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเม้นท์ จำกัดได้มีมติอนุมัติเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมหุ้น ละ 1.50 บาท เป็นจำนวนเงิน 82.5 ล้านบาท โดยได้นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ของบริษัท ไทย-ไลซาท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียน จากเดิม 5 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 50,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) เป็น 140 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 1,400,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน โดยได้นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 คณะกรรมการลงทุนของกองทุนรวมกินรีพร็อพเพอร์ตี้ มีมติให้ลดเงินทุนที่เรียกชำระแล้วจำนวน 118 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 การจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย ที่ ป ระชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ของบริ ษั ท ไทย-ไลซาท จำกั ด เมื่ อ วั น ที่ 23 เมษายน 2551 มี ม ติ ใ ห้ จ่ า ยเงิ น ปั น ผลในอั ต ราหุ้ น ละ 600 บาท เป็นจำนวนรวม 30 ล้านบาท ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2551 มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 2.5 บาท รวมเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2551 มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 7 บาท รวมเป็นเงิน 15.62 ล้านบาท
12. อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้เช่า (หน่วย : พันบาท)
สิทธิการเช่า ค่านายหน้าและค่าบริการ อื่น ๆ รวม
หมายเหตุ 30
งบการเงินรวม 2551 2550 250,000 150,000 16,719 16,719 79,538 4,638 346,257 171,357
85
86
ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
ราคาทุน/ราคาประเมินใหม่ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เพิ่มขึ้น ส่วนเกินทุนจากการตีราคา จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
13. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
-
ที่ดิน
143.33 18.62 (14.87) (1.96) 145.12 9.53 154.65
ที่ดิน
14.38 2.47 16.85 3.22 (1.36) 18.71
เครื่องจักร และอุปกรณ์
อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง อื่น 9.42 8.32 (1.05) 16.69 2.23 18.92
25.72 0.31 26.03 13.90 (1.72) 38.21
เครื่องจักร และอุปกรณ์
17.60 44.51 0.72 (4.93) (9.32) 48.58 0.84 49.42
อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง อื่น
13.37 3.53 16.90 1.66 (6.51) 12.05
ยานพาหนะ
งบการเงินรวม
19.61 19.61 1.18 (6.68) 14.11
ยานพาหนะ
งบการเงินรวม
18.11 15.41 (0.29) 33.23 5.97 (7.22) 31.98
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และ เครื่องใช้ สำนักงาน
27.63 17.60 1.78 (0.43) 46.58 10.51 (7.58) 49.51
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และ เครื่องใช้ สำนักงาน
3.41 8.92
-
งานระหว่าง ก่อสร้าง
12.33
-
234.80 86.04 (14.87) (5.36) (11.28) 289.33 35.35 9.53 (15.98) 318.23
รวม
55.28 29.73 (1.34) 83.67 13.08 (15.09) 81.66
รวม
(หน่วย : ล้านบาท)
0.91 5.00 (2.50)
งานระหว่าง ก่อสร้าง
(หน่วย : ล้านบาท)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
154.65 154.65
ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 -
-
30.50
30.50
31.89
31.89
-
-
19.50
19.50
9.18
9.18
เครื่องจักร และอุปกรณ์
1.78 0.28 2.06
2.31 0.40 2.71
ยานพาหนะ
-
-
17.53
17.53
13.35
13.35
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และ เครื่องใช้ สำนักงาน
-
-
12.33
12.33
3.41
3.41
งานระหว่าง ก่อสร้าง
236.29 0.28 236.57
205.26 0.40 205.66
รวม
ราคาทุน/ราคาประเมินใหม่ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เพิ่มขึ้น ส่วนเกินทุนจากการตีราคา จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 107.87 107.87 7.17 115.04
ที่ดิน
11.97 1.12 13.09 0.76 13.85
อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง อื่น
-
(0.87) 23.65
14.04 0.31 14.35 10.17
11.50 11.50 (1.28) 10.22
21.52 0.56 (0.05) 22.03 7.89 (5.93) 23.99
งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และ เครื่องจักร เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ยานพาหนะ สำนักงาน
-
-
-
5.92
1.54 4.38
1.54
งานระหว่าง ก่อสร้าง
166.90 3.53 (0.05) 170.38 23.20 7.17 (8.08) 192.67
รวม
(หน่วย : ล้านบาท)
ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวน 40 ล้านบาท (2550: 28 ล้านบาท)
145.12 145.12
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
ที่ดิน
อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง อื่น
งบการเงินรวม
(หน่วย : ล้านบาท)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
87
88 107.87 107.87 115.04 115.04
ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
ที่ดิน
-
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550
ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
ที่ดิน
7.84
7.28 0.56
-
9.45 1.17 (1.28) 9.34
7.40 2.05
-
-
6.01
6.01
5.81
5.81
-
-
11.45
11.45
2.78
2.78
0.60 0.28 0.88
1.65 0.40 2.05
14.08 2.32 (0.02) 16.38 3.06 (5.68) 13.76
-
-
10.23
10.23
5.65
5.65
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และ เครื่องใช้ สำนักงาน
งบการเงินเฉพาะกิจการ
11.57 1.43 (0.80) 12.20
10.32 1.25
อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อื่น และอุปกรณ์ ยานพาหนะ
-
-
6.84 0.44
งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง อาคารและ ติดตั้ง และ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร เครื่องใช้ อื่น และอุปกรณ์ ยานพาหนะ สำนักงาน
-
-
38.64 6.06 (0.02) 44.68 6.22 (7.76) 43.14
รวม
5.92
5.92
1.54
1.54
149.25 0.28 149.53
125.30 0.40 125.70
รวม
(หน่วย : ล้านบาท)
งานระหว่าง ก่อสร้าง
-
งานระหว่าง ก่อสร้าง
(หน่วย : ล้านบาท)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มีจำนวน 27 ล้านบาท (2550: 22 ล้านบาท) บริษัทได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จำนวนเงินประมาณ 121 ล้านบาท (2550: 113 ล้านบาท) ไปค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น การประเมินราคาสินทรัพย์ ในระหว่ า งปี 2551 บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ยได้ บั น ทึ ก ราคาที่ ดิ น ด้ ว ยราคาประเมิ น ใหม่ ซึ่ ง ผู้ ป ระเมิ น อิ ส ระได้ ใ ช้ เ กณฑ์ ร าคาตลาด ตาม รายงานประเมิน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551 โดยได้ระบุราคาประเมินเป็นจำนวนเงินรวม 114.72 ล้านบาท สำหรับบริษัท และ 37.82 ล้านบาท สำหรับบริษัทย่อย ส่วนที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินจากการตีราคาประเมิน ได้บันทึกไว้ในบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน” ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นใน งบดุลเป็นจำนวนเงิน 110.26 ล้านบาทสำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการ และ 147.57 ล้านบาทสำหรับงบการเงินรวม
14. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (หน่วย : พันบาท)
ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
งบการเงินรวม ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
3,162 1,811 4,973
3,162 3,162
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
426 1,112 1,538
69 69
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
3,435
3,093
89
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 15. หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (หน่วย : พันบาท) หมายเหตุ ส่วนที่หมุนเวียน เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท ส่วนที่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี
4
งบการเงินรวม 2551 2550 -
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
1,210
-
-
8,850
32,850
-
-
57 8,907
137 34,197
57 57
137 137
(หน่วย : พันบาท) หมายเหตุ ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ รวม
งบการเงินรวม 2551 2550 90,000 90,000 98,907
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
-
-
57 57 34,254
57
57 57 194
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยซึ่งไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ แสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)
ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี รวม
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2551 2550 8,850 34,060 90,000 98,850 34,060 -
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยส่วนที่มีหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดของหลักประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
งบการเงินรวม 2551 2550 240,977 107,867
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 115,037 107,867
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 กลุ่มบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 481.90 ล้านบาท และ 228.08 ล้านบาท ตามลำดับ
90
หมายเหตุประกอบงบการเงิน หนี้สินตามสัญญาซื้อ หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดดังนี้
งบการเงินรวม 2551 2550 57 137 57 57 194
ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี รวม
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 57 137 57 57 194
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท
16. หนี้สินหมุนเวียนอื่น (หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม 2551 2550 7,213 4,900 21,928 109,000 18,148 9,131
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค้างจ่าย เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้า เจ้าหนี้อื่น อื่นๆ
47,289
รวม
123,031
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2,321 2,245 2 4,317 1,646 6,640
3,891
ในปี 2550 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน และสัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการกับเจ้าของที่ดิน เพื่อก่อสร้างสิ่งปลูก สร้างสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงแรมและ/หรืออาคารพักอาศัยพร้อมบริการ และ/หรืออาจใช้พื้นที่บางส่วนเป็นศูนย์การค้า โดยบริษัทย่อยจะต้อง ปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา รวมทั้งจ่ายค่าหน้าดินจำนวน 436.5 ล้านบาท ในระหว่างปี 2550 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ จ่ายชำระค่าหน้าดินดังกล่าวแล้วจำนวน 50 ล้านบาท และได้ตั้งค้างจ่ายสำหรับค่าหน้าดินงวดที่ 3 จำนวน 100 ล้านบาทไว้แล้ว ณ วันที่ใน งบดุลโดยรวมอยู่ในเจ้าหนี้อื่น
17. ทุนเรือนหุ้น (พันหุ้น / พันบาท)
(บาท)
ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ ทุนที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ เพิ่มทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ
ราคาตาม มูลค่าหุ้น
2551 2550 จำนวนหุ้น จำนวนเงิน จำนวนหุ้น จำนวนเงิน
1
944,528
944,528
944,528
944,528
1
944,528
944,528
944,528
944,528
1 1
762,268 2,499
762,268 2,499
530,456 231,812
530,456 231,812
1
764,767
764,767
762,268
762,268
91
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในเดือนธันวาคม 2550 มีการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (ESOP-W2 และ ESOP-W3) จำนวนทั้งสิ้น 998,860 หุ้น โดยบริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 1 ล้านบาท และได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 1 ล้านบาท กับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2551 ซึ่งจะทำให้ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 763.27 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 763.27 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในเดือนเมษายน 2551 มีการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (UV-W1 และ ESOP-W3) จำนวน ทั้งสิ้น 917,146 หุ้น โดยบริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 2.15 ล้านบาท และได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 0.91 ล้านบาท กับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 ซึ่งจะทำให้ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 764.18 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 764.18 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในเดือนกรกฎาคม 2551 มีการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (ESOP -W2 และ ESOP-W3) จำนวนทั้งสิ้น 582,700 หุ้น โดยบริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 0.58 ล้านบาท และได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนจำนวน 0.58 ล้านบาทกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ซึ่งจะทำให้ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 764.76 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 764.76 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท)
18. ส่วนเกินทุนและสำรองตามกฎหมาย การตีราคาและการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ส่วนเกินทุนจากการตีราคาและการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น รวมผลสะสมของส่วนเกินจากการตีราคา และ การเปลี่ยนแปลงสุทธิในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายจนกระทั่งมีการจำหน่ายเงินลงทุนนั้น สำรองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุน จดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้
19. ใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัทได้จัดสรรจำนวนหน่วยของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (UV-W1) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่ พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยในวงจำกัด (ESOP-W2) และ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่กรรมการและพนักงานและ/หรือ ที่ปรึกษาของบริษัท และบริษัทย่อยในวงจำกัด (ESOP-W3) การเปลี่ยนแปลงในใบสำคัญแสดงสิทธิดังนี้ อนุมัติโดย วันที่ออก จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออก (หน่วย) อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ (ปี) กำหนดเวลาการใช้สิทธิ วันที่ใช้สิทธิครั้งสุดท้าย ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) อัตราส่วนการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิต่อหุ้น สามัญ)
92
UV-W1 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2545 20 กุมภาพันธ์ 2546 17,427,299 7 ทุก 3 เดือน 19 กุมภาพันธ์ 2553 25
ESOP-W2 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2545 19 ธันวาคม 2546 13,500,000 5 ทุก 6 เดือน 30 มิถุนายน 2551 1
ESOP-W3 ที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2546 19 ธันวาคม 2546 12,255,500 5 ทุก 3 เดือน 30 กันยายน 2551 1
1:1
1:1
1:1
หมายเหตุประกอบงบการเงิน การเปลี่ยนแปลงจำนวนใบสำคัญแสดง สิทธิ ราคาใช้สิทธิและอัตราส่วนการ ใช้สิทธิ - จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ (ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ) (หน่วย) - ราคาใช้สิทธิต่อ1 หุ้นสามัญ (บาท) - อัตราส่วนการใช้สิทธิ
UV-W1
ESOP-W2
ESOP-W3
174,162,990 2.406 1 : 1.03899
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่งวดการใช้สิทธิในเดือนธันวาคม 2546
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จัดสรร ใช้สิทธิในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ใช้สิทธิในระหว่างงวดสิบสองเดือนแรกของปี 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
UV-W1 174,273 (3,727) 170,546 (845) 169,701
(พันหน่วย) ESOP-W2 13,500 (12,927) 573 (573)
ESOP-W3 12,255 (9,972) 2,283 (49)
-
2,234
20. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน กลุ่มบริษัทนำเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานโดยแสดงส่วนงานธุรกิจ เป็นรูปแบบหลักในการรายงาน โดยพิจารณาจากโครงสร้าง การบริหารและการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดส่วนงาน ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ ส่วนงาน 1 ส่วนงาน 2
ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจผลิตและขายสังกะสีอ๊อกไซด์ และเคมีภัณฑ์
ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจหลักในประเทศ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่า กลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิศาสตร์เพียงส่วนงานเดียว
93
หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายได้และผลการดำเนินงานจากส่วนงานทางธุรกิจในงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท) ส่วนงาน 1 ส่วนงาน 2 อื่นๆ รายการตัดบัญชี รวม 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 64,756 97,078 1,054,248 1,324,851 32,941 39,108 (14,985) (2,737) 1,136,960 1,458,300 12,130 16,543 109,348 155,790 15,445 18,715 3,195 1,560 140,118 192,608 43,064 43,160 36,600 45,737
รายได้ กำไรขั้นต้น ดอกเบี้ยรับ รายได้อื่น ส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากเงิน ลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิ
22,750 (9,890) (164,455) (113,182) (781) (2,008) (31,062) (54,474) 15,596 (1,005) 61,830 100,946 (หน่วย : พันบาท)
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ อสังหาริมทรัพย์ระหว่างการพัฒนา
ส่วนงาน 1 ส่วนงาน 2 อื่นๆ รายการตัดบัญชี 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 27,017 28,542 199,955 173,186 9,602 3,927 4,664 118,218 211,981 4,944 4,936 (128) (875) 142,333 135,817 9,598 5,590 209,678 56,421 -
สินทรัพย์อื่น รวมสินทรัพย์
รวม
2551 2550 236,574 205,655 127,698 216,042 151,931 141,407 209,678 56,421 1,725,097 1,539,974 2,450,978 2,159,499
21. รายได้อื่น
เงินปันผลรับ ค่าบริการและค่าที่ปรึกษา กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน อื่นๆ รวม
94
งบการเงินรวม 2551 2550 4,459 7,852 2,628 14,170 3,224 (414) 26,289 24,129 36,600 45,737
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 48,113 43,913 32,459 3,780 3,872 (195) 6,712 20,325 91,156 67,823
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 22.
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (หน่วย : พันบาท)
ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร อื่นๆ รวม
23.
งบการเงินรวม 2551 2550 21,822 6,839 69,935 41,068 72,698 65,275 164,455 113,182
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 14,036 17,782 51,449 26,028 28,827 26,443 94,312 70,253
ค่าใช้จ่ายพนักงาน (หน่วย : พันบาท)
เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อื่นๆ รวม
งบการเงินรวม 2551 2550 63,133 36,768 2,597 1,989 4,205 2,311 69,935 41,068
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 47,304 23,912 1,964 1,283 2,181 832 51,449 26,027
กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการเป็นสมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 5 ถึง อัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่มบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 5 ถึง อัตรา ร้อยละ 10 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อกำหนดของกระทรวง การคลังและจัดการกองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต
24. ดอกเบี้ยจ่าย (หน่วย : พันบาท)
ดอกเบี้ยจ่ายกับสถาบันการเงิน ส่วนที่บันทึกเป็นต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์ ระหว่างการพัฒนา รวม
งบการเงินรวม 2551 2550 1,559 2,007 (778) 781
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 22 1,181 -
2,007
22
1,181
95
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 25. ภาษีเงินได้ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 387 พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 5 กันยายน 2544 ให้สิทธิทาง ภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับ กำไรสุทธิทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือ หลังวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และยังได้รับสิทธิในการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแห่งพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 475 แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวนภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการและงบกำไรขาดทุนรวมแตกต่างจากจำนวนภาษีเงินได้ที่คำนวณโดยการใช้อัตราภาษีเงินได้ คูณกับยอดกำไรสุทธิตามบัญชีสำหรับปีเนื่องจาก (ก) กลุ่มบริษัทมีขาดทุนทางภาษียกมาจากปีก่อน และได้ถูกนำมาใช้เพื่อลดจำนวนกำไรเพื่อเสียภาษีในปีปัจจุบัน (ข) ความแตกต่ า งระหว่ า งการรั บ รู้ รายได้ แ ละค่ า ใช้ จ่ า ยทางบั ญ ชี กั บ รายได้ แ ละค่ า ใช้ จ่ า ยทางภาษี บางรายการโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในเรือ่ งเกี่ยวกับเงินปันผลรับจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงและขาดทุนจากมูลค่าเงินลงทุนลดลง
26. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและ จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปีโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก แสดงการคำนวณดังนี้
กำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) จำนวนหุ้นสามัญที่ออก ณ วันที่ 1 มกราคม ผลกระทบของหุ้นที่ออกจำหน่ายระหว่างปี จำนวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน) กำไรต่อหุ้น (ขั้นพื้นฐาน) (บาท) กำไรต่อหุ้นปรับลด
96
งบการเงินรวม 2551 2550 61,830 109,207 762,268 533,654 1,926 107,046
(พันบาท / พันหุ้น) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 109,207 122,360 762,268 533,654 1,926 107,046
764,194
640,700
764,194
640,700
0.08
0.16
0.14
0.19
หมายเหตุประกอบงบการเงิน กำไรต่อหุ้นปรับลดสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและ จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปี โดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก แสดงการคำนวณดังนี้ (พันบาท / พันหุ้น) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กำไรส่วนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ปรับลด) จำนวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน) ผลกระทบจากการออกสิทธิที่จะเลือกซื้อหุ้น UV-W1 ESOP-W2 ESOP-W3 จำนวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ปรับลด) กำไรต่อหุ้น (ปรับลด) (บาท)
27.
งบการเงินรวม 2551 2550
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
61,830
100,945
109,207
122,360
764,194
640,700
764,194
640,700
14,927 1,384
10,158 1,427 2,456
14,927 1,384
10,158 1,427 2,456
780,505 0.08
654,741 0.15
780,505 0.14
654,741 0.19
เงินปันผล ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2551 ของบริษัทมีมติอนุมัติการจัดสรรเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท เป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 76.33 ล้านบาท
28. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของกลุ่มบริษัทต่อไปนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 กลุ่มบริษัทแสดงค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจในราคาทุนหักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการ ด้อยค่า ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิง เศรษฐกิจ 10 ปี ในระหว่างปี 2550 สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ ซึ่งให้ถือปฏิบัติกับงบ การเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 กำหนดให้ผู้ซื้อต้องรับรู้ค่าความนิยม จากการรวมธุรกิจเป็นสินทรัพย์ ณ วันที่ซื้อในราคาทุนหลังจากรับรู้ค่าความนิยมเริ่มแรกแล้ว ค่าความนิยมจะถูกวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักด้วย ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม กลุ่มบริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบาย บัญชีของงบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ทำให้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการ ตัดจำหน่ายค่าความนิยม ซึ่งเกิดจากค่าตัดจำหน่ายสะสมของค่าความนิยมที่เคยรับรู้ภายใต้นโยบายการบัญชีเดิมจำนวนเงินประมาณ 0.68 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสำหรับปีเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกัน
97
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 29.
เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และจาก การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็ง กำไรหรือการค้า ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท เนื่องจากดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตราคงที่ กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เกิดจากเงินกู้ยืมคงที่ กลุ่มบริษัทได้ลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยทำให้แน่ใจว่าดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตราคงที่ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาของหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้และเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำหนดชำระหรือกำหนดอัตรา ใหม่มีดังนี้ (ร้อยละต่อปี)
ปี 2551 หมุนเวียน ลูกหนี้อื่นและเงินให้กู้ยืมแก่บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการอื่นๆ รวม ปี 2550 หมุนเวียน ลูกหนี้อื่นและเงินให้กู้ยืมแก่บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการอื่นๆ รวม
98
อัตราดอกเบี้ย ตามสัญญา
(พันบาท) งบการเงินรวม หลังจาก 1 ปีแต่ ภายใน 1 ปี ภายใน 5 ปี หลังจาก 5 ปี
9, MLR+2
155,041
4.25
155,041
9, MLR+2
296,595
4.25
296,595
108 108
184 184
รวม
-
155,041
-
108 155,149
-
296,595
-
184 296,779
หมายเหตุประกอบงบการเงิน อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาของหนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำหนดชำระหรือกำหนดอัตราใหม่มีดังนี้ (ร้อยละต่อปี) อัตราดอกเบี้ย ตามสัญญา ปี 2551 หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน รวม ปี 2550 หมุนเวียน เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ รวม
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม หลังจาก 1 ปีแต่ ภายใน 1 ปี ภายใน 5 ปี หลังจาก 5 ปี
1.5
MLR-1.5
8,850
-
-
8,850
57
-
-
57
8,907
90,000 90,000
-
90,000 98,907
1,210
-
-
1,210
32,850
-
-
32,850
137
-
-
137
-
57 34,254
-
1.5, 9
-
รวม
57 57
34,197
(หน่วย : พันบาท)
ปี 2551 หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ปี 2550 หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน หนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ รวม
งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปีแต่ ภายใน 1 ปี ภายใน 5 ปี หลังจาก 5 ปี
-
รวม
57
-
-
57
137
-
-
137
-
57 194
137
57 57
99
หมายเหตุประกอบงบการเงิน ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าและการขายสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ กลุ่ม บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ซึ่งรายการดังกล่าวจะมีอายุไม่เกินหนึ่งปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของสินทรัพย์และ หนี้สินทางการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ วันที่ในงบดุลเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับรายการซื้อ และขายสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศในงวดถัดไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม กลุ่มบริษัทและบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันเป็นผลมาจากการมีสินทรัพย์และหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังนี้ (พันเหรียญสหรัฐอเมริกา) เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา ลูกหนี้การค้า สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ-เจ้าหนี้การค้า สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ-ลูกหนี้การค้า
งบการเงินรวม 2551 2550 97 488 -
330
212 525
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 97 488 -
2 525
ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เมื่อครบกำหนด ฝ่ายบริหารได้กำหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำเสมอ โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่ในงบดุลไม่พบว่ามีความเสี่ยงจากสินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทาง ด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละรายการ ณ วันที่ในงบดุล อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มบริษัทมีฐานลูกค้า จำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสำคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้ ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง กลุ่มบริษัท มีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอต่อการ ดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจ ในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากสินทรัพย์ทางการเงินส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทระยะสั้นและมีเงินกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ฝ่ายบริหาร ของบริษัทและบริษัทย่อยจึงเชื่อว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินดังกล่าว จะไม่แตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญ กับมูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ระยะสั้นอื่นๆ เป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึกในบัญชี มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือตามราคาตลาดของสัญญาล่วงหน้า ณ วันที่ในงบดุล ถ้ามีราคาตลาด ในกรณี ที่ไม่มีราคาตลาด ให้ประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยการคิดลดจากผลต่างระหว่างราคาล่วงหน้าตามสัญญา กับราคาล่วงหน้าของสัญญาปัจจุบัน ณ วันที่ในงบดุลที่ครบกำหนดในวันเดียวกัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยประเภทที่ใช้กับธุรกรรมการเงินที่ปลอดความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล
100
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 30. ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม 2551 2550
ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ระยะเวลามากกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ระยะเวลามากกว่าห้าปี รวม
4,821 52,884 904,900 962,605
3,189 34,652 917,200 955,041
งบการเงินรวม 2551 2550
ภาระผูกพันอื่นๆ สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หนังสือค้ำประกันจากธนาคาร สัญญาบริการ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาโครงการพัฒนาอาคารสำนักงานและ โรงแรม สัญญาว่าจ้างออกแบบ สัญญาอื่นๆ รวม
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550 2,592 3,568 6,160
1,492 1,166 2,658
(หน่วย : พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2550
11,550 37,965 7,402 111,686
17,759 6,988 2,982 3,841 -
6,160 -
17,759 52 114 2,746 -
2,600 1,430 1,466 174,099
31,570
6,160
20,671
สัญญาสำคัญที่ทำกับกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน มีดังต่อไปนี้ สัญญาเช่าที่ดิน บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดิน เพื่อการพัฒนาตามโครงการกับเจ้าของที่ดินรายหนึ่ง เพื่อก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างสำหรับการดำเนินธุรกิจโรงแรม และ/หรืออาคารพักอาศัยพร้อมบริการ และ/หรือ อาจใช้พื้นที่บางส่วนเป็นศูนย์การค้า โดยมีระยะ เวลาก่อสร้าง 4 ปี และสัญญาเช่ามีอายุ 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2554 โดยบริษัทย่อยดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในสัญญา รวมทั้งรับผิดชอบรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมบนที่ดินเช่า บริษัทย่อยดังกล่าวได้ชำระค่าหน้าดินแล้วจำนวน 250 ล้านบาท และมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าหน้าดินอีกจำนวน 186.5 ล้านบาท ในปี 2552 และค่าเช่ารายปี รวมจำนวน 950 ล้านบาท โดยมีกำหนด ชำระดังนี้
ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 ปีที่ 11 ถึงปีที่ 15 ปีที่ 16 ถึงปีที่ 20 ปีที่ 21 ถึงปีที่ 25 ปีที่ 26 ถึงปีที่ 29 ปีที่ 30 รวมค่าเช่าจ่าย
ช่วงระยะเวลาการเช่า
(ล้านบาท) ค่าเช่าจ่าย 123.0 135.3 148.8 163.7 180.1 158.5 40.6 950.0
101
หมายเหตุประกอบงบการเงิน สัญญาเช่าและบริการสำนักงาน บริษัทและบริษัทย่อยได้ลงนามในสัญญาเช่าและบริการสำนักงานกับบริษัทแห่งหนึ่งโดยคิดค่าเช่าและค่าบริการ ดังนี้
ช่วงระยะเวลาการเช่า 1 กันยายน 2548 - 31 สิงหาคม 2551 1 กันยายน 2550 - 31 สิงหาคม 2553 1 ธันวาคม 2550 - 30 พฤศจิกายน 2553 1 มีนาคม 2551 - 30 พฤศจิกายน 2553 1 สิงหาคม 2551 - 31 กรกฎาคม 2554 1 กันยายน 2551 - 31 สิงหาคม 2554
ค่าเช่ารายเดือน 176,142 21,168 50,698 32,853 29,706 185,074
(หน่วย : บาท) ค่าบริการรายเดือน 147,736 21,168 50,698 32,853 29,706 185,074
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบุคคลภายนอกหลายรายเพื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แห่งหนึ่ง รวมมูลค่า 127.11 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายชำระเงินมัดจำล่วงหน้าเป็นจำนวนเงิน 25.42 ล้านบาท และจะจ่ายใน ส่วนที่เหลือเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวได้โอนให้แก่บริษัทย่อย สัญญาโครงการพัฒนาอาคารสำนักงานและโรงแรม ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้างและสัญญาออกแบบสำหรับโครงการพัฒนาอาคารสำนักงาน และโรงแรม กับบริษัทหลายแห่ง ซึ่งมีมูลค่างานรวมประมาณ 248.84 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยมีภาระผูกพัน เกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวคงเหลือรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 131.39 ล้านบาท สัญญาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทหลายแห่ง ในการดำเนินการออกแบบ และติดตั้งเครื่องจักรสำหรับโครงการ พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งมีมูลค่างานรวมประมาณ 6.22 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทย่อยมีภาระผูกพัน เกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวคงเหลือรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 4.13 ล้านบาท
31. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น บริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกบุคคลธรรมดาฟ้องร้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและสิ่งกีดขวางอื่นในที่ดินภาระจำยอมของบริษัท และเรียกร้องค่าชดเชยค่าเสียหายเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ไปจนกว่าบริษัทย่อยจะดำเนิน การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและสิ่งกีดขวางในที่ดินภารจำยอม ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 บริษัทย่อยได้เปิดทางเข้า-ออกแล้ว ทั้งนี้ศาลชั้นต้น ได้ตัดสินแล้ว ให้บริษัทย่อยเพียงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายตามที่ถูกฟ้องและปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์
102
หมายเหตุประกอบงบการเงิน 32.
เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ของบริษัทมติเห็นชอบให้เสนอการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 38.24 ล้านบาท กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2552 ให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีพิจารณาอนุมัติ
33. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไม่ได้ใช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่ในงบดุล เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุง ใหม่ดังต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
การด้อยค่าของสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก
บริษัทคาดว่าการกำหนดให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่องบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะ กิจการอย่างมีสาระสำคัญ
34. การจัดประเภทรายการใหม่ ดอกเบี้ยค้างรับจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้อื่นและเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้อง งบกระแสเงินสด ได้จัดประเภทรายการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด
103
ความรับผิดชอบต่อสังคม จากการที่บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยเห็นว่าการพัฒนาคุณภาพเยาวชนในประเทศให้มีศักยภาพ และมีความรู้ความสามารถ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับประเทศอย่างยั่งยื่นในอนาคต ในปี 2551 บริษัทฯ จึงได้ร่วมสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนา ศักยภาพและยกระดับความสามารถของเด็กและเยาวชนในด้านการศึกษา โดยได้มอบอุปกรณ์การเรียนการสอน และบริจาคเงินให้กับชุมชน โรงเรียน และมูลนิธิ ดังนี้
104
- มอบทุนการศึกษาและเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กบ้านคูรน้อย (ครูน้อย ทิมกุล) - มอบคอมพิวเตอร์ ให้มูลนิธิกระจกเงา เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการศึกษาให้แก่น้องๆ ที่ขาดแคลน - มอบของขวัญวันเด็ก ให้แก่ชุมชนสัมพันธ์ - มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ข้อมูลทั่วไปของบริษัท บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ เลขทะเบียนบริษัท ประเภทธุรกิจ หมวดธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ราคาพาร์ ข้อจำกัดการถือหุ้นต่างด้าว ที่ตั้งโรงงาน ที่ตั้งสำนักงาน บุคคลอ้างอิง
UV ทะเบียนเลขที่ 0107537001030 (เลขทะเบียนเดิม คือ บมจ. 350) ลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 944,528,490 บาท 764,766,980 บาท 1 บาท 49% เลขที่ 2 ซอยพหลโยธิน 90 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 0 2100 7111 โทรสาร : 0 2998 9144, 0 2998 9140 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7100 โทรสาร : 0 2255 9418, 0 2255 9417 เว็บไซต์ : www.univentures.co.th
ผู้สอบบัญชี
นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 50-51 195 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : 0 2677 2000 โทรสาร : 0 2677 2222
นายทะเบียนหลักทรัพย์
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 0 2229 2800 โทรสาร : 0 2359 1259
105
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท ไทย – ไลซาท จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
TL ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสังกะสีอ๊อกไซด์และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ www.univentures.co.th 0105515006258 (เลขทะเบียนเดิมคือ 627/2515) เลขที่ 3 ซอยพหลโยธิน 90 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 โทรศัพท์ : 0 2100 7111 โทรสาร : 0 2998 9840 1,400,000 หุ้น 1,375,000 หุ้น 100 บาท 137,500,000 บาท 100 %
บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
LRK พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการลงทุน www.univentures.co.th 0105550094052 เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7100 โทรสาร : 0 2255 9417 10,000,000 หุ้น 10,000,000 หุ้น 10 บาท 100,000,000 บาท 100 %
บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
106
Grand U พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อาคารที่พักอาศัยเพื่อขาย www.grandunity.com 0105544087228 (เลขทะเบียนเดิมคือ กท04-0139-44) เลขที่ 888/224 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7171 โทรสาร : 0 2253 3263 60,000,000 หุ้น 38,000,000 หุ้น 10 บาท 380,000,000 บาท 60 %
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เวบไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เวบไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
Grand U Living พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อาคารที่พักอาศัยเพื่อขาย www.grandunity.com 0105533024696 (เลขทะเบียนเดิมคือ 2470/2533) เลขที่ 888/224 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7171 โทรสาร : 0 2253 3263 24,404,940 หุ้น 24,404,940 หุ้น 10 บาท 244,049,400 บาท 99.98 %
PV พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อาคารที่พักอาศัยเพื่อขาย www.prinsiri.com 0105548055398 (เลขทะเบียนเดิมคือ 0108454808522) เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ ชั้น 12 อาคารเอ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ : 0 2671 6900 – 9 โทรสาร : 0 2671 6910 – 11 10,000,000 หุ้น 10,000,000 หุ้น 10 บาท 100,000,000 บาท 49 %
107
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
กองทุนรวม กินรีพร็อพเพอร์ตี้
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
108
KRF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือลงทุนใน สิทธิเรียกร้องที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน 11/2542 เลขที่ 989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 24 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2659 8847 โทรสาร : 0 2659 8864 288,000.084 หุ้น 288,000.084 หุ้น 10 บาท 2,880,010.84 บาท 99.13 %
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
UVAM การลงทุนและการจัดการ www.univentures.co.th 0105541027224 (เลขทะเบียนเดิมคือ (1)257/2541) เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7100 โทรสาร : 0 2255 9417 2,231,000 หุ้น 2,231,000 หุ้น 10 บาท 22,310,000 บาท 100 %
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัท เอส. ยู. เอ็น. แมเนจเม้นท์ จำกัด * ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SUN พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่าที่ดิน (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) พร้อมอาคารพาณิชย์ www.sansiri.com 10454501645 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : 0 2201 3905 โทรสาร : 0 2201 3904 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 29.50 %
หมายเหตุ : * ถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ยูนิเวนเจอร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด
บริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
EV ลงทุนในธุรกิจบริหารและจัดการพลังงาน www.univentures.co.th 0105548154680 (เลขทะเบียนเดิมคือ 0108454824587) เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7100 โทรสาร : 0 2255 9417 5,000,000 หุ้น 2,750,000 หุ้น 10 บาท 27,500,000 บาท 75 %
109
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด **
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SSC จัดหาและจำหน่ายพลังงานให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชยกรรม 0105548101268 (เลขทะเบียนเดิมคือ 0108154811501) เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : 0 2201 3466 – 7 โทรสาร : 0 2201 3465 9,200,000 หุ้น 9,200,000 หุ้น 10 บาท 92,000,000 บาท 20 %
หมายเหตุ : ** ถือหุ้น บริษัท สหสินวัฒนา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด
บริษัท สหสินวัฒนา ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด **
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
SSB จัดหาและจำหน่ายพลังงานให้ลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชยกรรม 0105550089211 เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : 0 2201 3466 – 7 โทรสาร : 0 2201 3465 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 20 %
หมายเหตุ : ** ถือหุ้น บริษัท สหสินวัฒนา ไบโอเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ทางอ้อมผ่านบริษัท เอสโก้ เวนเจอร์ จำกัด
110
รายชื่อบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
EEI ให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน www.eei.co.th 0105542011771 (เลขทะเบียนเดิมคือ (1)110/2542) เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 12 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ : 0 2201 3466 – 7 โทรสาร : 0 2201 3465 2,050,000 หุ้น 2,050,000 หุ้น 10 บาท 20,500,000 บาท 31.81 %
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ คอนซัลติ้ง จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
UVC ให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน www.univentures.co.th 0105543041526 (เลขที่ทะเบียนเดิมคือ (1)391/2543) เลขที่ 888/210-212 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7100 โทรสาร : 0 2255 9417 1,000,000 หุ้น 1,000,000 หุ้น 10 บาท 10,000,000 บาท 100 %
บริษัท ฟอร์เวิร์ด ซิสเต็ม จำกัด
ชื่อย่อ ประเภทธุรกิจ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท สถานที่ตั้งสำนักงาน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้น
FS ตัวแทนจำหน่ายเครื่องบันทึกเวลาและอุปกรณ์ควบคุมระบบจอดรถ www.forwardsystem.co.th 0105539131397 (เลขทะเบียนเดิมคือ (5)692/2539) เลขที่ 888/221-222 อาคารมหาทุนพลาซ่า ชั้น 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : 0 2100 7222 โทรสาร : 0 2255 8986-7 50,000 หุ้น 50,000 หุ้น 100 บาท 5,000,000 บาท 100 %
111