25 writing samples 23

Page 1

B-MY GUEST

110

วิทวัชช์ เจริญพงศ์ สถาปนิกและอาจารย์ เจ้าของสตูดิโอ Vittvat Charoenpong Architect สถานที่: Boat House


โลกหมุนไปแบบไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้นทุกสรรพสิ่งจึงต้องปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปตามกาลเวลา นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ เรารู้ว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขับเคลื่อนมาได้อย่างไร มีคำ�ถามหลายคำ�ถามที่ถูกตั้งขึ้นโดยอ้างอิงอดีต เพื่อตอบโจทย์ใน ปัจจุบัน และมุ่งสู่อนาคต และคำ�ถามเหล่านั้น B-1 ก็กำ�ลังจะส่งต่อให้กับ ‘วิทวัชช์ เจริญพงศ์’ สถาปนิกและอาจารย์ ที่ไม่อาจ จำ�กัดความได้ด้วยรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมแบบใดแบบหนึ่ง ณ ขณะนี้ ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต วิทวัชช์จบปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก ‘Syracuse University’ ที่นิวยอร์ก และ ในปีถัดมาเขาก็ศึกษาปริญญาโททางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมต่อที่มหาวิทยาลัยเดียวกันนี้ แต่เป็นที่สาขาฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยได้รับทุนวิจัยจาก 'Le Corbusier Foundation' กระทั่งทำ�งานในฝรั่งเศสและอิตาลี ปัจจุบันก็เป็นอาจารย์ประจำ�คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และมีสำ�นักงานสถาปนิกส่วนตัว 'Vittvat Charoenpong Architect' ซึ่งรับงานอิสระ ในสไตล์ที่เรียกได้ว่าเป็น 'signaturist' ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของงานแต่ละ งาน โดยเราเองก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าเขาจะหยิบจับอะไรมาเป็น signature นั้น และในอนาคต เราเองก็คาดการณ์ไม่ได้ว่า ผลงานของคุณวิทวัชช์จะเป็นอย่างไร แต่สำ�หรับวันนี้ ก็ถือได้ว่านี่เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่เราจะได้สำ�รวจตรวจสอบถึงสิ่งที่กำ�ลังขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมของ สถาปนิกผู้นี้ ซึ่งสิ่งนั้นก็น่าจะ ขับเคลื่อนคุณและเราได้ด้วยในขณะเดียวกัน B-1: ต้ อ ง ข อ เ รี ย ก แ บ บ ลู ก ศิ ษ ย์ ว่ า ‘อาจารย์’ ด้วยเลยนะครับ ...แล้วในปัจจุบัน อาจารย์ทำ�อะไรอยู่บ้าง?

วิทวัชช์: ตอนนี้ผมก็สอนอยู่ที่ ม.รังสิต รับงาน อิสระและงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นวิทยากร อาจารย์ พิเศษ กรรมการตัดสินการประกวดแบบต่างๆ ล่าสุดก็ เป็นโครงการ ‘Thailand Boutique Awards 2010’ ซึ่ง เป็นการประกวดโรงแรมบูติกครั้งแรกในประเทศไทย B-1: ก่อนที่จะเข้าสู่งานออกแบบ อยาก ทราบว่า อาจารย์มีวิธีการสอนอย่างไร?

วิทวัชช์: ผมจะ open มากๆ คือ พยายามที่จะ ให้นักศึกษามี creative ที่สูงที่สุด และพยายามให้เขา หาวิธี แนวทาง หรือตัวตนของเขาในด้าน creative ซึ่งจะไปใน direction ไหนเค้าก็ต้องเป็นคนค้นหา และพอผมเห็นว่าสิ่งไหนที่เขาท�ำเสนอออกมาเข้าท่า ผมก็จะช่วยสนับสนุนเขา ช่วยต่อยอด ช่วย inspire ให้เขาไปไกลที่สุดเท่าที่เขาจะไปได้ในด้าน creative ที่เป็นตัวตนของเขาเอง ซึ่งผมจะพยายามหลีกเลี่ยง การเอาข้อจ�ำกัดในเรือ่ งอะไรก็ตามแต่มาตีกรอบความ คิดสร้างสรรค์ของเขา

B-1: แล้วถ้าจะให้อาจารย์เจาะจงถึงความ ถนัดของอาจารย์ล่ะครับ อาจารย์มีความถนัด ในงานออกแบบประเภทไหน?

วิทวัชช์: การออกแบบส�ำหรับผม ทัง้ ฟอร์มและตัว ฟังก์ชั่นไม่ได้เป็นตัวก�ำหนด ซึ่งผมว่า ไม่ได้แตกต่าง อะไร แต่ ผ มชอบงานที่ จ ะได้ สั ม ผั ส ใกล้ ชิ ด กั บ เจ้าของ หาความพิเศษจากวิถีชีวิตจากเจ้าของ และ เอกลักษณ์ที่น่าสนใจของบริบท (context) และงานที่ เจ้าของอยากจะสร้างสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าจริงๆ ส� ำ หรั บ งานบางประเภทอาจจะเป็ น commercial 111


Boat House

เกินไป ซึ่งต้องมีการประชุมอะไรต่างๆ และทุกคนก็จะ พูดถึงแต่เรื่องของผลประโยชน์ โดยไม่ค่อยค�ำนึงถึง คุณค่าทางสถาปัตยกรรมนัก ...ถ้าเป็นงานประเภทนี้ ผมก็จะไม่ค่อยชอบนัก

B-1: อยากให้ เ ล่ า ถึ ง โปรเจ็ ค ต์ ชิ้ น แรกๆ ของอาจารย์

วิทวัชช์: ‘Cubic House’ หรือบ้านลูกบาศก์ ซึ่ง งบประมาณแค่แปดแสนกว่าบาท อยู่แถวสุขุมวิท คือ เพื่อนผมเพิ่งเรียนจบ แล้วก็มีงบประมาณอยู่แค่นั้น เขาไม่ต้องการรบกวนคุณพ่อคุณแม่ ผมก็ต้องสร้าง ให้ได้ในงบแปดแสนห้า ซึ่งในสมัยก่อนก็ถือว่าเป็น งานที่หินมากนะครับ ก็ไปรื้อวงกบเก่าของบ้านญาติที่ เขาไม่ใช้แล้วมาประกอบเพื่อลดต้นทุน แต่ส�ำหรับผม ยังไงก็ตามขอให้เจ้าของบ้านเข้าใจ และอยากให้รู้ว่า ผมหาความพิเศษ หาเอกลักษณ์ ในความงาม หรือ เอกลักษณ์ ในด้าน creative เพื่อที่จะสร้างอะไรที่มี innovation ด้วยงบประมาณน้อยแค่ไหน ผมก็ต้อง พยายามท�ำให้ได้ B-1: อาจารย์ มี ส ไตล์ ส่ ว นตั ว ที่ พ อจะ นิยามตัวเองได้ไหมครับว่า เป็น modern หรือ decon หรืออะไรประมาณนี้?

วิทวัชช์: ผมไม่นิยามตัวเองนะครับ แต่ก็มีคนอื่น ที่เขานิยามให้จากหลายๆ งานที่เขาเห็น ก็ค่อนข้างจะ น่าสนใจครับ แต่ว่าคนที่ติดตามงานของผมมาเรื่อยๆ ก็จะจ�ำงานของผมได้ เช่น งานใหม่ๆ ของผม บางที ที่เขาขับรถไปเห็นโดยบังเอิญ เขาก็จะคิดว่า ต้องใช่ 112

Boat House

Cubic House

ประตูเมืองตราด

สวนพุทธมณฑล

งานผม ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยออกสื่อหรืออะไรมาก่อนเลย แล้วผมก็ไม่ได้ท�ำงานซ�้ำๆ กันด้วยนะ ผมไม่ได้ตั้งใจ ที่จะท�ำงานที่มี signature หรือว่าตั้งใจที่จะสร้าง signature นะ ผมไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย แต่น่าจะเป็น ที่คุณภาพของ space, character ของ space ที่มัน ออกมาในแต่ละงาน ที่มันมี character ต่างกันมากๆ นะครับ ท�ำให้เขาจ�ำได้ แล้วบางที เขาก็ comment มาในทางที่ดีนะครับว่า คุณภาพของ space แบบนี้ที่ เขาชอบ ที่เขาประทับใจ แม้ว่ามันจะไปเกิดขึ้นในงาน ในสไตล์ที่ต่างกัน จากข้อจ�ำกัดที่ต่างกัน แต่มันก็สื่อ ออกมาเหมือนเป็น signature ของผม

ผมจะหาความพิเศษในแต่ละงาน จะเป็นความพิเศษ ในด้านวิถีชีวิต การด�ำเนินชีวิตของเจ้าของ เรื่องของ งบประมาณ ข้อจ�ำกัดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของ context หรือ บริบท ซึง่ มันมีผล มีอทิ ธิพล ลูกศิษย์ผม บางคนก็จะนิยามให้ผมว่าเป็น 'signaturist' บ้าง หลังๆ คนที่เข้ามาหาผม ก็บอกเลยว่าให้ผมท�ำอะไรก็ได้ แต่ เขาก็อยากให้บ้านของเขามีความพิเศษ มีคุณค่าทาง ศิลปะ ซึ่งมันก็ดี แต่สถาปนิกยุคหลังๆ ที่เพิ่งเริ่มท�ำ งานใหม่ๆ นีจ่ ะไม่คอ่ ยได้เจอกับลูกค้าแบบนีเ้ ท่าไหร่นกั

วิทวัชช์: ถ้าถามตัวผมนะ ผมว่าผมไม่ใช่ อย่าง งานของผมฝรั่งเขาจะเรียกว่า ‘futuristic’ แต่ตัวผม เองก็ไม่ได้คิดหรอกนะว่า ตัวเองเป็น futurist ถ้าจะให้ ผมนิยามเอง ผมอาจจะเรียกว่า มันเป็นการพัฒนาไป อีกขั้นของงาน บางครั้งที่ผมท�ำงานนี่ ผมอาจจะได้ เจอกับเจ้าของบ้านทีเ่ ป็นชาวสวนอยูร่ มิ คลองบางกรวย ผมก็สนใจที่จะท�ำงานในแนวทางนั้น ผมจะสนุกไปกับ การตอบโจทย์ ตอบปัญหา หาทางสร้างสรรค์จากข้อ จ�ำกัดต่างๆ ส�ำหรับผมมันท�ำให้สนุกกับการท�ำงาน ผม ไม่อยากทีจ่ ะมีสไตล์เป็นของตัวเอง ว่าทุกๆ งานจะต้อง ท�ำแบบนัน้ แบบนี้ แล้วผมคิดว่า เจ้าของทีเ่ ขาจะมาหา ผมจะมาท�ำไม ถ้าจะต้องได้งานในแบบสไตล์ผม แต่วา่

วิทวัชช์: ยากกว่าในเรื่องที่ว่า เราจะท�ำอะไร ก็ได้ อาจจะดูเหมือนง่ายนะ แต่มันกว้างมาก ซึ่งเราก็ ต้องหาทางที่ว่า จะท�ำอะไรที่เรารู้ว่าเป็นตัวตนของเรา เราพอใจ เราชอบที่จะท�ำ ณ ขณะนั้น ณ เวลา นั้น จริงๆ ซึ่งโจทย์มันกว้างกว่างานของเจ้าของที่เรารู้ว่า คนๆ นั้นมีความชอบ มีวิถีชีวิต การใช้ชีวิต ในฟังก์ชั่น ต่างๆ ไปในแนวไหน มันก็ท�ำให้แคบลง

B-1: ถ้ า จะบอกว่ า อาจารย์ คื อ หนึ่ ง ใน ความเคลื่อนไหวของสไตล์ decon อาจารย์ คิดว่าใช่ไหมครับ?

B-1: ด้ ว ยความเป็ น สถาปนิ ก อาจารย์ คงต้ อ งผ่ า นการออกแบบบ้ า นให้ ค นอื่ น มา เยอะแยะ แล้วในกรณีที่อาจารย์ออกแบบบ้าน ให้ตัวเองล่ะครับ มันยากกว่าออกแบบบ้านให้ คนอื่นไหม?

B-1: แล้วในแต่ละโปรเจ็คต์ที่ออกแบบมา draft แรก และ draft สุดท้าย หรือกระทั่ง หน้างานมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไรเพิ่มเติม เข้าไปบ้างไหมครับ?

วิทวัชช์ : บางครั้งก็เป็น first impression ที่


โดนเลย คือ ใช้ได้เลย บางครั้ง final product ก็ไม่ เกี่ยวอะไรกับ draft แรกเลยก็มี คือ มีทั้งสองกรณี คือ ผมใช้เวลามากกับการคิด concept กับการพัฒนาซึ่ง ผมก็เชือ่ ว่า ณ เวลานัน้ มีเวลาเท่านัน้ ผมก็คดิ ว่าท�ำได้ ดีที่สุดแล้ว หากมองย้อนกลับไป แน่นอนว่า ถ้าเราท�ำ ใหม่มันก็คงจะดีขึ้น แต่ผมก็รู้สึกว่า พอใจที่ได้ทุ่มเท เต็มที่ ณ เวลานัน้ ซึง่ ก็ได้ out put ออกมาเป็นแบบนัน้ ก็ไม่มีอะไรที่ต้องเสียใจว่า ไม่น่าท�ำแบบนั้นครับ B-1: อาจารย์ ส นใจสถาปนิ ก กลุ่ ม ไหน หรือใครเป็นพิเศษบ้างไหมครับ?

วิทวัชช์: ก็มีเยอะนะครับ ในบ้านเราที่ท�ำงานดีๆ ก็มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ ก็หลากหลาย คงไม่ระบุ ถึงใครเป็นคนๆ เพียงแต่ว่า mentality ของผู้ใหญ่ รวมถึ ง นั ก การเมื อ ง หรื อ ข้ า ราชการผู ้ ใ หญ่ ที่ มี influence สูงต่อนโยบายกว้างๆ ของประเทศเขาไม่คอ่ ย ตามเรือ่ งพวกนี้ หรือไม่คดิ จะตามเลย ท�ำให้เหตุการณ์ อะไรดีๆ ใหม่ๆ ทีก่ ำ� ลังจะเกิด หรือในโครงการที่ใหญ่ๆ ที่มีผลมากๆ ต่อประเทศไม่ได้เกิด B-1: สำ � หรั บ โครงการประกวดแบบใน บ้านเรา อาจารย์มีความสนใจ หรือมีส่งงาน เข้าประกวดบ้างไหม?

วิทวัชช์: ส�ำหรับการประกวดก็มีหลากหลายนะ เพียงแต่ส่วนใหญ่ผมก็รู้สึกเหมือนว่า จะมีการล็อค กันบ้าง เพื่อผลประโยชน์ หรือมี corruption อีกส่วน ก็คอื คนทีจ่ ะตัดสิน ซึง่ ก็อาจจะไม่มคี วามรูห้ รือความเข้าใจ จริงๆ ในการเลือกว่า อะไรดีจริง อะไรไม่ดี หรืออะไร ที่มันดีในระกับสากลได้ ผมจะท�ำงานประกวดน้อย มากครับ เพราะไม่ค่อยมีเวลา จริงๆ งานส่วนตัวผม ก็ไม่ค่อยจะทันอยู่แล้ว (หัวเราะ) ส�ำหรับงานประกวด ของผมที่ได้สร้างก็อย่างเช่น ประตูเมืองตราด ซึ่ง ผมก็ไปท�ำ research ไปหาว่าตราดเขามีของดีอะไร ทัง้ สถานที่ ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และทัง้ ด้านประวัตศิ าสตร์ และงานประกวดอีกที่ซึ่งก�ำลังก่อสร้างอยู่ตอนนี้ก็คือ สวนของพุทธมณฑล B-1: แล้วแนวความคิดสำ�หรับสวนพุทธมลฑลเป็นอย่างไรบ้างครับ?

วิ ท วั ช ช์ : งานนี้ ผ มท� ำ ร่ ว มกั บ คุ ณ ชาญวิ ท ย์ อนันต์วัฒนกุล โดยใช้คอนเซ็ปต์ที่เปรียบเทียบกับ บัวสี่เหล่า ไล่ล�ำดับจากเป็นบัวในตม ตามด้วยบัวที่ อยู่ใต้น�้ำ และมาตรงลานเอนกประสงค์ก็จะเป็นบัว พ้นน�้ำออกมาครึ่งหนึ่ง ส่วนฐานของพระพุทธรูปก็ เปรียบเสมือนบัวเหนือน�้ำ B-1: แล้ ว อาจารย์ มี แ นวคิ ด อย่ า งไรต่ อ อาคารที่เกี่ยวกับศาสนา?

วิทวัชช์: พระพุทธเจ้าท่านประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพานใต้ต้นไม้ ซึ่งพอพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว ก็ ไม่มีศาสนสถานเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ศาสนาพุทธ

เป็นธรรมชาติมากๆ แต่คนไทยเรานี่รับศาสนาพุทธ มาซึ่งปะปนกับฮินดู ปนกับพราหมณ์ ผมก็เลยคิดว่า ถ้าไม่มชี อ่ ฟ้า ใบระกา หางหงส์ อะไรต่างๆ พวกนีแ้ ล้ว จะไม่ใช่พุทธหรอ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิด หรือลืมไป แล้วก็ได้ว่า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้หลงใหลในเครื่องประดับตกแต่ง เช่น พญานาค ครุฑ และพระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยอยากจะให้เราไปยึดติดกับอะไร เพราะศาสนสถาน ก็ไม่เคยมีอยู่ในสมัยพระพุทธกาล แล้วถ้าอย่างนั้น ท�ำไมเราจะต้องไปว่า ถ้าไม่มเี ครือ่ งประดับฟุง้ เฟ้ออะไร พวกนี้ จะไม่ใช่พุทธ ในเมือ่ พุทธน่าจะสมถะ เรียบง่าย เข้ากับธรรมชาติ ที่สุด ผมก็เคยเลือกที่จะน�ำเสนออาคารที่ไม่มีเครื่องประดับตกแต่งเลย ผมเคยไปดูตามศาลาสวดศพ ต่างๆ ได้ไปเห็นตรงทีว่ างศพก็ขมุกขมัวน่ากลัว มีมา่ น เก่าๆ หยากใย่ พอแหวกม่านไปข้างหลังก็เจอโต๊ะหมู่ บูชา ข้าวของระเกะระกะไปหมดเลย ผมไม่กล้าไปยืน เลยกลัวผีจะโผล่มาจับขา (หัวเราะ) ผมก็คิดว่า ท�ำไม งานแต่งงาน เจ้าบ่าวเจ้าสาวเขาก็อยู่ในจุดเด่นของงาน แต่ พ องานศพท� ำ ไมเราไม่ ใ ห้ เ กี ย รติ ศ พให้ อ ยู ่ ใ น ต�ำแหน่งพิเศษ น่าสนใจ ผมก็เลยท�ำแท่นวางศพ เป็นกระจกหมดเลย ลอยไปอยู่เหนือน�้ำ ท�ำให้รู้สึก ไกลออกไป แล้วรอบล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม เป็น background เหมือนเค้าได้หลุดไปอยู่ในโลกของ คนตาย ไปอยู่ในโลกที่สะอาด สว่าง สวยงาม ส่วนพระและฆราวาสก็อยู่ในโลกของคนเป็น แล้ว ก็ใช้ element ความเป็นไทยจากรูปฟอร์มของประเพณี แต่ว่าไม่ได้ใช้สัญลักษณ์ ไม่ได้ใช้รายระเอียด พวก กระจกอะไรนี่ ก็เป็นหน้าบันที่สร้างด้วยอลูมิเนียมกับ วัสดุอะไรง่ายๆ เหมือนกับเป็นจั่ว เอาแสงธรรมชาติ เหมื อ นแสงเหนื อ จากพระเจ้ า ลงมา แสงที่ ม าเข้ า ข้างหลังอาสนะก็จะเป็นแสงที่ control เหมือนเวลา ที่พระนั่งอยู่ ก็กันไม่ให้เห็นความวุ่นวายข้างหลังพระ เวลามองข้างหลังพระยังมีแสงสะท้อนเข้าแต่ก็ยังสงบ เล่นกับแสงในลักษณะที่ต่างกัน ส�ำหรับลูกค้าที่ให้ผมออกแบบศาลาสวดศพนี่ เขา ก็เห็นงานผมจากทางหนังสือ ซึ่งเขาก็จะสร้างให้แม่ เขา คือแม่เขาเสีย แล้วจะเผาที่วัดนี้ เขาก็บอกผมว่า เขาเห็นงานออกแบบบ้านของผมน่ารักน่าอยู่จัง จะ ออกแบบศาลาสวดศพให้หน่อยได้ไหมมีงบอยูไ่ ม่กแี่ สน ผมก็บอกยินดี เจอกันเขาก็ถามว่า ศาลาจะหน้าตา เป็นอย่างไร เพราะบ้านแต่ละหลังที่ผมออกแบบก็มี character ของตัวเอง ผมก็บอกว่า เอาอย่างนี้ เวลาคน เห็นบ้านทีผ่ มสร้างแล้วบอกว่าน่าอยู่ ผมก็จะสร้างศาลา สวดศพที่คนเห็นแล้วคุณอยากไปอยู่ (หัวเราะ) นั่น แหละทีผ่ มต้องการจะสือ่ ว่า ท�ำไมศาสนสถานจะต้องมี เครื่องประดับฟุ้งเฟ้อ ท�ำไมเราไม่อยู่กันแบบเรียบง่าย สมถะ ไม่สิ้นเปลืองน่าจะเข้ากับปรัชญาศาสนาพุทธ

มากกว่า เจ้าอาวาสท่านเห็นท่านก็ชอบ ท่านก็บอกว่า อาตมาสบายใจนะ คือตอนกลางคืนก็มองเห็นของ ของ อาตมาก็จะไม่หาย

B-1: ทฤษฎีหรือแนวทางอะไรที่อาจารย์ ถือเป็นคติพจน์ในการออกแบบ?

วิทวัชช์: ถ้าจะให้ผมไปฟันธงอันนั้นอันนี้เลยก็ ไม่ใช่นะครับ แต่อันนึงที่ผมมักจะใช้ในงานของผม ก็คือ ผมจะเคารพ แล้วก็จะใช้ประโยชน์จากบริบทที่ มีอยู่ให้สูงที่สุด แต่จริงๆ ถ้าพูดถึงเรื่องบริบทนี่ งาน สถาปัตยกรรมดีๆ ในโลกนี้เขาก็ ให้ความส�ำคัญกับ บริบทค่อนข้างสูงกันทั้งนั้นแหละ ใครไปปฏิเสธบริบท หรือไม่ใช้ประโยชน์จากบริบทเลยมันก็เสียโอกาส B-1: ในการทำ � งานด้ า นสถาปั ต ยกรรม อาจารย์ให้เวลากับอะไรมากเป็นพิเศษ?

วิทวัชช์: ผมให้เวลามากกว่าไปกับการ inspect ไซต์งาน เพราะอย่างทีบ่ อกว่าช่าง ผูร้ บั เหมา เป้าหมาย ของเขาต่างจากเราเยอะ คนละขัว้ กันเลย เพราะฉะนัน้ เราต้องดูแลในช่วงขัน้ ตอนการก่อสร้าง เพราะส่วนใหญ่ โปรเจ็คต์ของผมมันอยู่ในสเกลโครงการเล็กถึงกลาง ถ้าโปรเจ็คต์สเกลใหญ่มันก็จะง่ายกว่าหน่อย เพราะใน สเกลใหญ่ บริษัทผู้รับเหมาจะเป็นเรื่องเป็นราว และ contract ตัว working drawing สัญญามันชัดเจนว่า ต้องท�ำตามแบบไหน จะหลุดการตีความไปบ้างก็น้อย ไม่น่าเป็นห่วง แต่งานสเกลเล็กกับกลาง ถ้าเราปล่อย ทิ้งไซต์ ไม่เข้าไปดูมากพองานก็จะเละ B-1: แล้วอาจารย์มีวิธีประนีประนอมหรือ คุยงานกับทางช่างอย่างไร?

วิ ท วั ช ช์ : มั น เริ่ ม จากว่ า ผลกรรมดี ที่ เ ราได้ ท� ำ (หัวเราะ) จากผลงานดีๆ ทีเ่ รามีออกไปตัง้ แต่เริม่ ท�ำให้ เจ้าของที่เข้ามาหาผมทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อนเคารพ นะครับ เขาเข้าใจว่าสิ่งที่ผมท�ำคืออะไร เขาก็จะให้ authority เราระดับหนึ่ง ค่อนข้างจะสูงเหมือนกับว่า ช่างหรือผู้รับเหมาก็ต้องท�ำตามที่สถาปนิกบอก เพื่อ ที่เขาจะได้ผลงานตามที่เขาอยากได้ แล้วเขาก็ดีด้วย ไม่ได้มาวุ่นวาย หรือมีอะไรเขาก็จะปรึกษาผมก่อน จะเพิ่มเติม จะแก้ อะไรต่างๆ ผมก็จะช่วยปรับไม่ให้ ไอเดียต่างๆ เสียไป หรือท�ำให้มันดีขึ้นอีก อันนั้น เป็นการปรับความเข้าใจกันระหว่าง เรากับ owner พอมี ตรงนีเ้ กิดขึน้ ผูร้ บั เหมากับช่างเขาก็จะรูแ้ ล้ว ผูร้ บั เหมา ที่ดีๆ ตั้งใจดี ฝีมือดีนี่มีไม่มาก หายาก แต่ว่าด้วย ความที่เจ้าของเข้าใจเรา ไว้ใจเราแล้วก็ให้เราเป็น ตัวแทน ซึ่งก็ท�ำให้ผู้รับเหมาหรือช่าง ที่จะบิดพริ้ว ที่จะฉวยโอกาส ที่จะมักง่าย ที่จะหลอกเจ้าของ เพื่อ ผลประโยชน์ของเขาก็ท�ำได้ยากขึ้น ถ้าเราคอยเข้าไป ดูงานอยู่เรื่อยๆ อะไรที่มันเกิดจากทั้งความตั้งใจและ ไม่ตั้งใจ เราก็จะแก้ปัญหาตรงนั้นทัน เรื่องที่สองก็เป็นเรื่องความเข้าใจกัน เรื่องของ 113


บ้านสะพาน

ศาลาสวดศพ

attitude ในการท�ำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมากๆ คือ designer หรือสถาปนิก ควรจะเข้าใจช่าง ควรจะเข้าใจ ในด้านผู้รับเหมาด้วยว่าเป็นแบบนั้น ส่วนพฤติกรรม ด้านฉวยโอกาส ด้านลบมันก็มีอยู่แล้วแหละ ซึ่งเราก็ พยายามดูแลตรงนั้นไม่ให้เกิด สอง เราต้องเข้าใจว่า nature ของเขา เขาท�ำงานอย่างไร ค่าแรงของช่าง ได้วันละเท่านั้น พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของเขาอยู่ ที่เท่านั้น ผู้รับเหมาก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของเขา เพื่อให้ได้ก�ำไรสูงสุดอยู่ที่เท่านั้น แล้วก็ศักยภาพของ ช่าง ความคุ้นเคยของเขา ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็มาจาก ชาวไร่ชาวนา ความคุ้นเคย ความสามารถ ศักยภาพ ของเขาท�ำได้จ�ำกัด เราก็จะต้องรู้ว่า เราจะขอให้เขา ท�ำอะไร ถ้าเราอยากจะให้เขาท�ำในสิ่งที่เขาไม่คุ้นเคย และท�ำดีกว่าที่เขาเคยท�ำ เราจะต้องมีวิธีบอกเขาว่า จะท�ำอย่างไร ตรงนี้ส�ำคัญมากๆ สถาปนิกที่จบใหม่ๆ หรือจบจากต่างประเทศอะไรพวกนี้ จะไม่เข้าใจ ไม่คุ้นเคยกับ practicality ในบ้านเรา B-1: งานดีไซน์ของอาจารย์ถูกศาสตร์ ทางด้ า นฮวงจุ้ ย เข้ า มาปรั บ แก้ บ้ า งมั้ ย ครั บ ? แล้วถ้ามี อาจารย์มีวิธีการรับมืออย่างไร?

วิทวัชช์: ที่ผมเคยสัมผัสก็คือว่า ผมก็พยายาม เข้าใจเขาว่า หนึ่ง คนที่เชื่อหมอฮวงจุ้ย พื้นฐาน ของเขาเป็นยังไง เขาคิดอะไรอยู่ เขาอยากได้อะไร พยายามเข้าใจมุมมองของ owner สอง ก็คือเข้าใจ หมอฮวงจุ้ยว่า เขาท�ำมาหากินอย่างไร ซึ่งบางงานที่ ผมได้เคยสัมผัส ผมก็รจู้ กั กับหมอฮวงจุย้ ท่านหนึง่ ผม ก็เคยไปคุยกับเขา ไปท�ำความรู้จัก ผมบอกเขาไปว่า 114

บ้านภูเขา

ถ้าผมมีงานอะไร ผมจะแนะน�ำคุณหมอให้ เขาก็งาน เยอะ คือรายได้เขาก็ดีอยู่แล้ว ผมก็อธิบายงานของ ผมให้เขาฟัง เขาก็บอกว่า น่าสนใจ ซึง่ ผมไปออกแบบ บ้านให้เจ้าของ ซึ่งเป็นอาม่า อากง ที่ concern เรื่อง ฮวงจุย้ มาก เขาก็บอกให้ผมแนะน�ำหมอฮวงจุย้ ให้ดว้ ย ผมก็บอกว่า ผมร้จู กั และก่อนผมจะพาหมอฮวงจุย้ ไป แนะน�ำให้เจ้าของบ้าน ผมก็อธิบายลักษณะงานของ ผมให้เขาฟังว่า ผมท�ำงานจริงจัง ด้วยความตั้งใจที่ ดีที่สุด และด้วยความที่ต้องการจะสร้างคุณค่าทาง สถาปัตย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรที่คุณคิดว่ามันไม่ดี มั น ขั ด กั บ ฮวงจุ ้ ย ให้ บ อกผมก่ อ นตั้ ง แต่ ผ มยั ง ท� ำ แบบร่าง ผมจะได้ปรับ เพื่อเขาจะได้ถูกใจด้วย เวลา อธิ บ ายให้ เ จ้ า ของงานจะได้ ส บายใจได้ ว ่ า หมอดู ฮวงจุ้ย approve ซึ่งเขารู้ว่า ผมท�ำงานแบบนี้ ไม่ใช่ ท�ำงานตลาด ไม่ได้ท�ำงานเพื่อธุรกิจอะไร เพราะผม ท�ำเพื่อคุณค่าทางสถาปัตยกรรมจริงๆ เขาก็บอกว่า ชอบ ต่อไปเขาจะแนะน�ำลูกค้าเขาให้ผมบ้าง ก็ปรากฏ ว่า สองถึงสามงานที่ผมเอาแบบไปให้เขาดูก่อน และ พาไปพบเจ้าของงาน เขาไม่เคยติอะไรผมเลยสัก ค�ำเดียว ไม่เคยที่ผมต้องแก้แบบเลยสักครั้งเดียว

B-1: อาจารย์พอจะวิเคราะห์ศาสตร์ของ ฮวงจุ้ยให้ฟังได้ไหมครับ?

วิทวัชช์: เมื่อผมได้ฟังจากหลายๆ ฝ่ายเขาพูด เขาติอะไรต่างๆ ผมก็พยายามหาเหตุผลด้วยตัวเอง ด้วยความเข้าใจของตัวเองว่า จากทีเ่ รามีประสบการณ์ การเรียน การท�ำงานต่างๆ สิง่ ทีฮ่ วงจุย้ เขาบอกมันตรง

บ้านอิงก�ำแพง

กับเราไหม มันดีหรือไม่ดี สิ่งที่ผมสามารถเข้าใจได้ ก็คือว่า สองสามพันปีก่อนมันไม่มีคณะสถาปัตย์ ไม่มี มหาวิทยาลัย ไม่มีการเรียนกันด้วยตรรกกะ เหตุผล แล้วถ้าอยู่ดีๆ คุณไปบอกเขาว่า ห้ามท�ำแบบนั้นแบบ นี้ ใครเขาจะเชือ่ เพราะมันไม่มมี หาวิทยาลัยไง เพราะ ฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดเมื่อสองสามพันปีก่อน สิ่งที่เขาใช้ อธิบายได้ว่า ท�ำอะไรแล้วมันจะดีก็จากประสบการณ์ ซึ่งเขาก็พยายามรวบรวมมาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง แต่ปัจจุบันมนุษย์เข้าใจอะไรมากขึ้น ค้นพบและหา ค�ำตอบจากปรากฏการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น ได้ดีขึ้น จึง ได้มาเป็นคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ อะไรพวกนี้ขึ้นมา ทุกอย่างตอบได้ด้วยเหตุผล คุณก็ลองคิดดูว่า ศาสตร์อันไหนมันน่าจะ apply ให้เข้ากับชีวิตเราได้ดี กว่ากัน จะไปยึดติดกับสองพันกว่าปีทแี่ ล้ว ซึง่ เขาไม่มี คณะสถาปัตย์ เขามีซนิ แส ซึง่ เป็นเหมือนอาจารย์ เขา มีประสบการณ์ แต่ปัจจุบันเรามีค�ำตอบอะไรได้เยอะ กว่า แล้วสถานที่ระหว่างเมืองจีนกับไทยก็ต่างกัน ทัง้ ในด้านภูมปิ ระเทศ ภูมอิ ากาศ เพราะฉะนัน้ เวลาเรา จะไปเชื่อเราก็ควรจะคิดสักหน่อยว่า เราจะเอาเหตุผล ตรงยุคไหนมาเป็นตัวตัดสิน ทีนี้ เบสิกต่างๆ ที่ผมเคย ได้ยนิ มา มันไม่ตา่ งกัน แต่ทผี่ มเห็นก็คอื ว่า ค�ำอธิบาย ของซินแส จากทฤษฎีเมือ่ หลายพันปีทแี่ ล้ว มันอธิบาย ได้นอ้ ยกว่าปัจจุบนั คือเขาจะห้ามไปเลยว่า แบบนี้ไม่ดี แล้วก็จบ แต่ดว้ ยความเข้าใจในการออกแบบในปัจจุบนั ด้วยเทคโนโลยี รูปแบบ life style หรือ function ของ


ปัจจุบัน ซึ่งเราก็มีวิธีที่สามารถท�ำตรงกันข้ามกับที่ เขาบอก แล้วก็ท�ำให้มันดีได้ แต่ด้วยทฤษฎีที่มันมีเมื่อ สองสามพันปีกอ่ นมันจะต้องเป็นแบบนี้ แบบนัน้ เท่านัน้ แต่สมัยนี้ ถ้าเราท�ำแบบที่เขาห้าม แล้วท�ำออกมาให้ดี ก็ท�ำได้ ถ้าผู้ออกแบบเข้าใจ แล้วท�ำแบบที่เขาบอกว่า ดี ให้มันไม่ดีก็ได้ B-1: สรุปคือเรื่องของฮวงจุ้ยก็ไม่ได้มีผล ต่อการทำ�งานของอาจารย์ใช่ไหมครับ

วิทวัชช์: ที่ผ่านมายังไม่มีนะครับ เพราะเจ้าของ เขาก็เข้าใจในงานของเราด้วย

B-1: แล้ ว ในเรื่ อ งมุ ม มองของอาจารย์ การเรี ย นการสอนสถาปั ต ยกรรมในบ้ า นเรา เป็นอย่างไรบ้าง?

วิทวัชช์: บ้านเราทุ่มเทขยันไปในเรื่องที่เป็นราย ละเอียด หรือส่วนประกอบเยอะ แต่ไม่เน้นด้านความ คิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะพัฒนาการ ที่ ต ่ อ เนื่ อ งจากสั ง คม ตั้ ง แต่ ยุ ค เกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม เนื่องจากการที่บ้านเราเป็นประเทศ ก�ำลังพัฒนา และเนือ่ งจากรายได้ของประเทศ ผลิตผล จากสังคมยุคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ท�ำให้ วิสัยทัศน์ของคนยังเป็นแบบนั้น ทุกวันนี้เราแข่งกัน ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ถ้าเรามัวแต่ไปตามเขาอย่าง เดียว เราก็เหมือนไปตามซื้อเขาตลอด ที่ผมคิดว่า มันส�ำคัญเพราะว่า ประเทศของเราจะแข่งกับเขา ได้ เราต้องท�ำด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตัวศิลปะกับ ตัวสถาปัตยกรรม มันมีส่วนช่วยกระตุ้นให้สมองซีก ขวา ซีกสร้างสรรค์ได้ท�ำงาน ถ้าเราเห็นอะไรซ�้ำๆ กัน ตลอดเราก็ไม่ได้พัฒนาสมองซีกความคิดสร้างสรรค์ ถ้าสถาปัตยกรรมสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ได้ มั น ก็ จ ะดี กั บ โลกทั้ ง ใบ เพราะการที่ เ ราซึ่ ง เป็ น มนุษย์ ต่างจากสัตว์ชนิดอื่นมีความคิดสร้างสรรค์ก็ จะท�ำให้เราปรับตัวอยู่ได้ ไม่สูญพันธุ์ เราไม่รู้ว่าเมื่อ ไหร่ดาวหางจะมาชนโลก ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่แกนของ โลกจะหยุดหมุน ไม่รู้ว่าโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ น�้ำท่วม โลก หรือมีโรคภัยไข้เจ็บสายพันธุ์ใหม่ เราจะหนีไปอยู่ ไหน ถ้าปราศจากจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิทยาการเดิมๆ มันก็แก้ปัญหาใหม่ๆ พวกนี้ไม่ได้ วิทยาการหรือว่าวิทยาศาสตร์มันก็ต้องอาศัยความ คิดสร้างสรรค์ที่จะคิดพัฒนาอะไรใหม่ๆ ผมจึงคิดว่า ตัวสถาปัตยกรรม ตัวศิลปะจะเป็นตัวกระตุน้ ให้ความคิด สร้างสรรค์ และจินตนาการของมนุษย์ท�ำงาน ส�ำหรับ ผมเองนอกจากการที่สร้างบ้านสร้างอาคารให้ค น ได้ใช้สอย แล้วผมก็ยังสนใจว่า มันท�ำหน้าที่อื่นได้ เพื่อเป็นตัวพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ ได้ใช้สอย B-1: แล้วจำ�เป็นไหมทีจ่ ะต้องนำ�ความเป็น ไทยมาใส่ในตัวงานสถาปัตยกรรม?

วิทวัชช์: มันก็แล้วแต่ลักษณะงาน ถ้าคุณไปสร้าง วัด หรือพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับความเป็นไทยต่างๆ มัน ก็ควรจะมี แต่ถ้าเป็นอาคารที่ไม่ต้องการ ก็ไม่จ�ำเป็น แต่ความเป็นไทย มันก็ต้องมีการตีความว่า ไทยระดับ ไหน จะเป็นไทยแท้แต่โบราณ ไทยร่วมสมัย หรือไทย ประยุกต์

B-1: แล้ ว ในตั ว ผลงานของอาจารย์ อาจารย์ได้ใส่อะไรที่สื่อถึงความเป็นไทยเข้าไป บ้างไหมครับ?

วิทวัชช์: ก็จะเห็นจากงานของผม เช่น บ้าน สะพาน งานศาลาสวดศพ ผมก็ใส่ แต่ความเป็นไทย ของผม ก็ถูกใส่ลงไปในผลงานในรูปแบบที่ผมอยาก จะน�ำเสนอ ผมสนใจความเป็นไทยร่วมสมัย เพราะ ผมคิดว่าความเป็นไทยแบบหลายร้อยปีที่แล้วเป็น แบบที่สวย สมบูรณ์ที่สุด ถ้าผมไปท�ำเพิ่มอีกซักหลัง ก็คงจะไม่มีประโยชน์ซักเท่าไหร่ เพราะเขาก็ได้ท�ำไว้ อย่างดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยเทคโนโลยี ด้วยวิทยาการ ปัจจุบัน ผมมีอะไรในมือที่หลายร้อยปีที่แล้วไม่มี แล้ว วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันมันต่างจากสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลพบุรีอะไรแค่ไหน เรามี คอมพิวเตอร์ มีรถยนต์ เราไม่ได้อยู่แบบคนในสมัย โบราณที่เขาอยู่กันมา ผมคิดว่าความเป็นไทยสมัยนี้น่าจะเหมาะสมกับ ชีวิตคนไทยสมัยนี้ เพราะเราไม่ได้สร้างให้คนไทยใน สมัยก่อนใช้ ยกตัวอย่าง สถาปนิกเอกของโลกที่ผม ประทับใจในอดีต เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี กับไมเคิล แองเจโล ถ้าผมให้เขานัง่ Time Machine กลับมาคุยกับ เราแล้วบอกให้คณ ุ พาทัง้ ดา วินชีและไมเคิล แองเจโล ไปเที่ยวตระเวนทั่วโลกเลย หัดให้เขาใช้คอมพิวเตอร์ พาไปดูงานดีๆ ให้ทั่ว คุยกับสถาปนิกเก่งๆ ในสมัย นี้ แล้วบอกเขาทั้งสองคนว่า เรามีโครงการสร้าง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Basilica of Saint Peter) อีกหลัง อยูแ่ ถวๆ โรม คุณคิดว่าเขาทัง้ สองจะสร้างงาน ออกมาเหมือนในอดีตหรือเปล่า?

B-1: ผมว่า ไม่ ...งานออกแบบของพวก เขาก็คงจะเป็นไปตามสมัยมากขึ้น

วิทวัชช์: และถ้าเราถามไมเคิล แองเจโลว่า ท�ำไม ออกแบบงานไม่เห็นมีความคลาสสิก เสาดอริค หรือ อะไรเลย หายไปไหนหมด คุณว่าเขาจะตอบคุณว่าไง?

B-1: …ก็ ไ ม่ ท ราบเหมื อ นกั น ครั บ แล้ ว อาจารย์คิดว่า เขาจะพูดยังไง?

วิทวัชช์: ผมคิดว่า เขาก็คงสงสัยว่า ท�ำไมคุณถึง อยากให้เขาท�ำแบบเดิม ในเมื่อปัจจุบันเราท�ำอะไรให้ มันดีกว่านั้นได้ตั้งเยอะ ง่ายกว่านั้นตั้งเยอะ แล้วถ้า เป็นเรา เราเองจะกลับไปท�ำแบบนั้นมั้ย? แล้วถ้าเขา มาเห็นคุณออกแบบโดยใช้เสาโรมันกันอยู่ คุณคิดว่า เขาจะว่ายังไง?

B-1: ก็ น่ า คิ ด ครั บ อย่ า งที่ อ าจารย์ บ อก ว่า งานดีไซน์มันก็ต้องเป็นไปตามยุคสมัยของ มั น ถ้ า อย่ า งนั้ น เราข้ า มไปเรื่ อ งที่ ยุ ค สมั ย นี้ ซึ่ ง มี ส ถาปั ต ยกรรมที่ ถู ก ตี ต รา brand ของ สถาปนิ ก คนใดคนหนึ่ ง ติ ด อยู่ ด้ ว ย อาจารย์ มี ความเห็นอย่างไรเรื่องนี้?

วิ ท วั ช ช์ : มี ก็ ไ ด้ ไม่ มี ก็ ไ ด้ ถ้ า มั น เป็ น งานที่ ดี มั น ไม่ ควรจะมี ก ฏข้ อ บั ง คั บ ว่ า งานที่ ดี จ ะต้ อ งเป็ น แบบไหน ขอให้ มั น เป็ น งานที่ ดี ที่ น ่ า สนใจ แต่ ผ ม เชื่อว่างานทุกงาน ทุกอาชีพ เวลาเราท�ำอะไรบ่อยๆ จนมีประสบการณ์ เราก็จะเริม่ มีความถนัดในสิง่ ทีเ่ ราท�ำ เพราะเราได้ลองท�ำไปแล้วเรารู้ข้อผิดพลาด เจอข้อที่ ควรเอาไปปรับปรุง เราก็ท�ำคล้ายๆ เดิมให้มันดีมาก ขึ้น ได้ง่ายขึ้น ได้เร็วขึ้น ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ว่าท�ำไม artist ในทุกๆ field ถึงมีสไตล์เป็นของตัวเอง เพราะมัน คงจะยากมากที่จะท�ำงานให้ดีทุกสไตล์ ถ้าจะให้ Zaha มาออกแบบให้ดีให้เหมือน Frank Lloyd Wright ถาม ว่า เขาท�ำได้ไหม เขาก็อาจจะท�ำได้นะ แต่อาจจะต้อง ใช้เวลา อาจจะต้องมาศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ Frank Lloyd Wright ก็คงจะต้องลองท�ำซักงาน สองงาน แล้วค่อยๆ พัฒนาขึ้นไป ในอนาคตอาจจะท�ำได้ดีหรือว่า ดีกว่า Frank Lloyd Wright แต่ว่า เขาก็ไม่ได้สนใจแบบนั้น แล้วจะมาเสียเวลาท�ำแบบนั้นท�ำไม

B-1: อาจารย์มใี ครทีม ่ อ ี ท ิ ธิพลต่อการ ออกแบบหรือเปล่าครับ?

วิ ท วั ช ช์ : มี เ ยอะครั บ ส� ำ หรั บ ผม สถาปนิ ก ดี ๆ เก่งๆ งานที่ดีๆ ผมชอบหมดนั่นแหละ ทุกยุคทุกสมัย เลย ไล่มาตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแขนงอื่นก็แล้วแต่นะครับ painting ประติมากรรม ดนตรี อาหาร ขอให้เป็นอะไรที่มนุษย์ ท�ำด้วยความตั้งใจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนา สิ่งที่มันดีอยู่แล้วให้มันดีขึ้นเนี่ยะ ผม appreciate หมด อย่างทีผ่ มบอก ผมเชือ่ ว่า นีจ่ ะเป็นตัวทีท่ ำ� ให้การท�ำงาน ด้วย innovation เพือ่ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มัน จะท�ำให้มนุษยชาติอยู่รอดได้ นานที่สุด จากบทสนทนากับอาจารย์วิทวัชช์ ในห้องรับแขก B-My Guest ซึ่ ง เต็ ม ไปด้ ว ยแรงบั น ดาลใจ และ แง่มุมต่างๆ ในแนวทางของสถาปัตยกรรมที่ ไม่ได้ ตีตราว่าเป็นแบรนด์ของวิทวัชช์ ส�ำหรับใจความส�ำคัญ นั้นคงไม่ได้อยู่ที่ตัวตนในชั้นเชิงความเป็นปัจเจคบุคคล หากแต่สิ่งที่ถือเป็นใจความส�ำคัญที่อาจารย์วิทวัชช์ ก� ำ ลั ง จะถ่ า ยทอดสู ่ เ รานั้ น คื อ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่ง ซึ่งในวันข้างหน้าเราเองก็ คาดการณ์ ไม่ออกเช่นกันว่าสถาปัตยกรรมของเขา จะเป็นเช่นไร แต่ที่รู้ๆ ก็คือ “มันจะไม่เหมือนเดิม แน่นอน” Image courtesy of Vittvat Charoenpong Architect 115


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.