วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม 2557

Page 1


มหาวิทยาลัยนครพนม Nakhon Phanom University Journal

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม เปนวารสารฉบับมนุษยศาสตรและสังคมศาสตรที่พิมพเผยแพรบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการและ/หรือบทความปริทัศน (Review articles) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อตีพิมพบทความดังกลาวในสาขา ศึกษาศาสตร บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร รัฐศาสตร รัฐประศาสนศาสตร นิติศาสตร นิเทศศาสตร สงเสริมการเกษตร ศิลปะ วัฒนธรรม และสาขาที่เกี่ยวของ เพื่อสงเสริมใหเกิดแนวความคิด เทคนิค และการพัฒนาสิ่งใหมๆ ขึ้น ตลอดจนเปนเวทีนําเสนอผลงานวิชาการของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป โดยมีกําหนดออกราย 4 เดือน ที่ปรึกษา ผูชวยศาสตราจารย ดร.นุชรัตน มังคละคีรี นายพัฒนธวัตร เอี่ยมสม ศาสตราจารย (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน ดร.สมเกียรติ กสิกรานันท ผูชวยศาสตราจารย ดร.ทัศนา ประสานตรี ดร.วรวุฒิ อินทนนท รองศาสตราจารย พันเอก ดร.วรศิษย อุชัย ผูตรวจสอบทางวิชาการ (Peer Review) ศาสตราจารย ดร.ธีระ รุญเจริญ รองศาสตราจารย ดร.ธร สุนทรายุทธ ศาสตราจารย ดร.บุญทัน ดอกไธสง รองศาสตราจารย ดร.สุรเชษฐ ชุติมา ศาสตราจารย ดร.เพิ่มพูน กีรติกสิกร รองศาสตราจารย ดร.วินิต ชินสุวรรณ ศาสตราจารย ดร.ศิริพร จิรวัฒนกุล ดร.ไพฑูรย พลสนะ รองศาสตราจารย ดร.บุญชม ศรีสะอาด ผูประเมินบทความ (Readers) ประจําปที่ 4 ฉบับที่ 3 ศาสตราจารย ดร.ธีระ รุญเจริญ มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ดร.สาโรช โศภีรักข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร รองศาสตราจารย ดร.สุมาลี ชัยเจริญ มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ผูชวยศาสตราจารย ดร.วัลนิกา ฉลากบาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รองศาสตราจารย ดร.ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข มหาวิทยาลัยขอนแกน ผูชวยศาสตราจารย ดร.สมาน เอกพิมพ มหาวิทยาลัยราขภัฏมหาสารคาม รองศาสตราจารย ดร.วัลลภา อารีรัตน มหาวิทยาลัยขอนแกน ผูชวยศาสตราจารย ดร.เยาวลักษณ อภิชาติวัลลภ มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ดร.นิติพล ภูตะโชติ มหาวิทยาลัยขอนแกน ผูชวยศาสตราจารย ดร.ศรินทิพย รักษาสัตย มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ดร.ธร สุนทรายุทธ มหาวิทยาลัยบูรพา ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิทธิพล อาจอินทร มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ดร.กิจบดี กองเบญจภุช มหาวิทยาลัยรามคําแหง ผูชวยศาสตราจารย ดร.วริยา ลํ้าเลิศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร รองศาสตราจารย ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ มหาวิทยาลัยแมโจ ดร.สมปอง ศรีกัลยา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รองศาสตราจารย ศิริพงษ ลดาวัลย ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม ดร.ภูษิต บุญทองเถิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รองศาสตราจารย ดร.รสชงพร โกมลเสวิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รองศาสตราจารย ดร.วิมลรัตน สุนทรโรจน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กองบรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิทธิพล อาจอินทร มหาวิทยาลัยขอนแกน รองศาสตราจารย ดร.ภัคพงศ ปวงสุข สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาผูชวยศาสตราจารย ดร.ศมณพร สุทธิบาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร เจาคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร รองศาสตราจารย ดร.จํานง วงษชาชม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผูชวยศาสตราจารย ดร.จิรวรรณ ดีประเสริฐ สถาบันการจัดการปญญาภิวัฒน รองศาสตราจารย จินตนา พุทธเมตะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.สุ ด ารั ต น คํ า ปลิ ว มหาวิ ทยาลัยมหาสารคาม ผูชวยศาสตราจารย ดร.วัลนิกา ฉลากบาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดร.โสรัจจ ประวีณวงศวุฒิ มหาวิทยาลัยนครพนม ผูชวยศาสตราจารย ดร.อนุชา เพียรชนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ดร.เชิดชัย โพธิ์ศรี มหาวิทยาลัยนครพนม บรรณาธิการ ดร.วนิดา หงษมณีรัตน ผูชวยบรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารย วาที่รอยเอก ดร.ชาญวิทย หาญรินทร ฝายจัดการ นางสุภาวดี สุตะโคตร นางสาวสุวภัทร กีกาศ ฝายศิลปกรรม อาจารยวัชระ สุตะโคตร สํานักงาน สํานักวารสารมหาวิทยาลัยนครพนม กําหนดเผยแพร ปละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม พิมพที่ บริษัท ศิริภัณฑ (2497) จํากัด อ.เมือง จ.ขอนแกน โทร. 0-4322-1141 www.siriphan.com บทความทุกเรื่องไดรับการตรวจความถูกตองทางวิชาการโดยผูทรงคุณวุฒิภายนอกอยางนอย 2 ทาน ความคิดเห็นในวารสารมหาวิทยาลัยนครพนม เปนความคิดเห็น ของผูเขียนมิใชความคิดเห็นของผูจัดทํา จึงมิใชความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยนครพนม และบทความในวารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนําไปเผยแพรตองไดรับอนุญาตเปนลายลักษณอักษรจากกองบรรณาธิการ


Nakhon Phanom University Journal

Nakhon Phanom University Journal of Humanities and Social Sciences publishes research articles, academic articles and/or review articles. Its objectives are to publish articles as above-mentioned in the fields of education, business administration, economics, political science, public administration, law, communications, agricultural extension, art, culture and related fields for promoting the concept, technique and development of something new and to provide a platform for the presentation of academic outputs among the universities’ personnel and people in general. It is issued every 4 months.

Consultants

Prof.Dr.Pavich Tongroach Assoc.Prof.Dr.Worasit Uchai Dr.Somkiat Kasikaranan

Asst.Prof.Dr.Tatsana Prasantree Asst.Prof.Dr.Nutcharat Maungkarakeree Dr.Worawut Inthanon

Mr.Patthawat Aeamsom

Peer Reviewers Prof.Dr.Teera Runcharoen Prof.Dr.Boontan Dokthaisong Prof.Dr.Pirmpoon Keerati-kasikorn Prof.Dr.Siriporn Chirawatkul

Assoc.Prof.Dr.Boonchom Srisa-ard Assoc.Prof.Dr.Dhorn Suntrayuth Assoc.Prof.Dr.Surachate Chutima Assoc.Prof.Dr.Winit Chinsuwan Dr.Paitoon Ponsana

Readers Journal ; Vol.4 No.3

Prof.Dr.Teera Runcharoen Khon Kaen University Assoc.Prof.Dr.Sumalee Chaijaroen Khon Kaen University Assoc.Prof.Dr.Thanomwan Prasertcharoensuk Khon Kaen University Assoc.Prof.Dr.Wallapha Ariratana Khon Kaen University Assoc.Prof.Dr.Nitipon Putachote Khon Kaen University Assoc.Prof.Dr.Dhorn Suntrayuth Burapha University Assoc.Prof.Dr.Kijaodi Kongbenjapuch Ramkhamhaeng University Assoc.Prof.Dr.Wittaya Damrongkiattisak Maejo University Assoc.Prof.Dr.Siripong Ladavalya Na Ayuthya Chiang Mai University Assoc.Prof.Dr.Rosechongporn Komolsevin Bangkok University Assoc.Prof.Dr.Wimonrat Soonthornrojana Mahasarakham University

Assoc.Prof.Dr.Saroch Sopeerak Kasetsart University Assoc.Prof.Yapawan Vannavanit Kasetsart University Asst.Prof.Dr.Wannika Chalakbang Sakon Nakhon Rajabhat University Asst.Prof.Dr.Samarn Ekkapim Rajabhat Mahasarakham University Asst.Prof.Dr.Yaowalak Apichatvullop Khon Kaen University Asst.Prof.Dr.Sarintip Raksasataya Khon Kaen University Asst.Prof.Dr.Sitthipon Art-in Khon Kaen University Asst.Prof.Dr.Wariya Lamlert National Institute of Development Administration Dr.Sompong Srikanlaya Rajabhat Mahasarakham University Dr.Poosit Boontongtherng Rajabhat Mahasarakham University

Assoc.Prof.Dr.Pakkapong Poungsuk Assoc.Prof.Dr.Chumnong Wongchachom Assoc.Prof.Jintana Puttamata Asst.Prof.Dr.Wannika Chalakbang Asst.Prof.Dr.Anucha Phianchana

Asst.Prof.Dr.Sitthipon Art-in Asst.Prof.Dr.Samonporn suttibak Asst.Prof.Dr.Jirawan Deeprasert Dr.Sudarat Compliew Dr.Sorat Praweenwongwuthi Dr.Cherdchai Phosri

Editorial Board

Editor Associate Editors Operating team Art designer Editorial Office Publication Frequency

Kingmongkut's Institute of Technology Ladkrabang Sakon Nakhon Rajabhat University Srinakharinwirot University Sakon Nakhon Rajabhat University Ubon Ratchathani Rajabhat University

Khon Kaen University Kasetsart University Chalemphrakiat Sakon Nakhon Province campus Panyapiwat Institute of Management Mahasarakham University Nakhon Phanom University Nakhon Phanom University

Dr.Wanida Hongmaneerat Asst.Prof.Dr.Chanwit Hanrin Mrs.Supawadee Sutakot Ms.Suwaphat Keekat Mr.Watchara Sutakot Nakhon Phanom University Journal Office 3 issues per year Issue 1, January-April and Issue 3, September-December Issue 2, May-August Siriphan (2497) Co.,Ltd., Mueang district, Khon Kaen province. Tel: 0-4322-1141, www.siriphan.com Place of Publication

Every article was peer-reviewed for the academic correctness by 2 qualified persons outside at least. The opinions in NPU Journal belong to the authors; do not belong to the Publisher. Thus, Nakhon Phanom University denies to be held responsible for them. The articles in NPU Journal are protected by copyright of Thailand. No part of each issue may be reproduced for dissemination without written permission from the Publisher.


สารบัญ ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง.................................................................... 7 The Opinions of Private Higher Learning Institutions’ Faculty on Their Administrator’s Leadership in Central Private Tertiary Education สันต์ชัย พูลสวัสดิ์

Sunchai Poolswat

การกระทำความผิดของครูที่มีผลกระทบต่อประชาชนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู........................................................... 15 และบุคลากรทางการศึกษาพุทธศักราช 2547 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2551 Teachers’ Offenses Affecting the People According to the Act of Rules for Teachers and Educational Personnel, B.E. 2547 and the Amendment No. 2, B.E. 2551 บุญเลิศ โพธิ์ขำ

Boonlert Phokham

การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติม............................ 23 สาระท้องถิ่น เรื่องประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 The Research and Development of School Curriculum for the Social Studies, Religion and Culture Strand on an Additional Course of Local Substance Entitled ‘Important Traditions of Ban Tharae, Sakon Nakhon’ for Prathom Suksa 6 Students ณัฐิยา ศิริสวัสดิ์

Natthiya Sirisawat

การจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร.............................................. 33 Management of Labor for the Quality of Work Life among the Burmese Migrant Workers in Samut Sakhon Province จำรัส อึ้งศรีวงษ์ วัชระ ยาคุณ พลศักดิ์ จิรไกรศิริ และ กรเอก กาญจนาโภคิน

Jamrat Ungsriwong, Vatchara Yakun, Polsak Jirakraisiri and Korneak Kanjanapokin

รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน............................................................ 43 The Administrative Process Model Affecting The Educational Quality Development in Basic Education Schools พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า และ สุวรรณ นาคพนม

Panwana Pathanaudomsinka and Suwan Nakpanom

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา................................................................................................ 51 คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ประเทศเวียดนาม Factors Influencing the Decision Making of Undergraduate Students in Pursuing a Bachelor Degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University, Vietnam. Mai Xuan Hung สืบชาติ อันทะไชย และ สมคิด สร้อยน้ำ

Mai Xuan Hung, Subchat Untachai and Somkid Sroinam


ก ารรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร................................................................................ 61 The Image perception towards Guzheng music of University Students in the Bangkok Area ศุภชัย ภิญญธนาบัตร และ ปริยา รินรัตนากร

Supphachai Pinyathanabat and Pariya Rinratanakorn

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะด้านฐานสมรรถนะวิชาชีพ เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล................................ 67 ของนักเรียนสาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับ บทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร กับการเรียนแบบปกติ A Comparison of Learning Achievements for Development of Professional Competency-Based Skills on Diesel Engine Work among Students of Department of Mechanics at Second Year Professional Certificate Level Who Learned Using Programmed Instruction in Collaboration with Triphetch Co. Ltd.’s Programmed Instruction versus Traditional Learning นภัทร เพ็ชรศรีกุล เผชิญ กิจระการ และ จารุณี ซามาตย์

Napat Phetsrikun, Pachoen Kidrakarn and Charuni Samat

การเปรียบเทียบผลการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบเครือข่าย และการใช้อินเทอร์เน็ต.............................. 76 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big six skills กับการสอนปกติ A Comparison of Learning Achievements and Critical Thinking Abilities on ‘the System of Network and the Use of the Internet’ among Mathayom Suksa 2 Students by means of Big Six Skills with Web Technology versus Traditional Learning สุพัตรี วงศ์วอ สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และ อัชชา เขตบำรุง

Suphatree Wohgwor, Suthipong Hoksuwan and Atcha Khatbumrung

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4................................ 85 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM A Comparison of Learning Achievements and English Communicative Skills among Prathom Suksa 4 Students through Learning Activity by TPR versus B-SLIM รุ่งทิวา อุ่นเจริญ ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

Roongthiwa Aunjaroen, Tatsana Prasantree and Montree Anantarak

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความฉลาดเชิงจริยธรรม เรื่องสำนวนไทย................................ 94 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วย กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) A Comparison of Learning Achievements, Analytical Thinking Skills, and Moral Quotients on Thai Idioms of Prathom Suksa 4 Students through STAD Cooperative learning versus Problem-Based Learning พิศอุดม พงษ์พวงเพชร ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

Phisudom Phongphuangphet, Tatsana Prasarntree and Montree Anantarak

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5....................................... 104 เรื่องประโยค ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT A Comparison of Learning Achievements and Analytical Thinking Skills on ‘Sentences’ of Prathom Suksa 5 Students through CIPPA versus 4 MAT Learning Activities วัลลภา ศรีวรขันธุ์ ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

Vallapa Sriworakhan, Tatsana Prasantree and Montree Anantarak


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอลและการควบคุมอารมณ์............................. 114

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค JIGSAW กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ A Comparison of Physical Education Learning Achievements on “Football Basic Skills” and of Emotional Controls among Prathom Suksa 6 Students through Jigsaw Cooperative Learning Management versus Traditional Learning

วีระศักดิ์ ศรีสมุทร ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์ Weerasak Srisamoot, Tatsana Prasantree and Montree Anantarak

การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ....................................... 124 The Conflict Management of School Administrators Under the Office of Bungkan Primary Education Service Area อาชิรญาณ์ เขียวชอุ่ม ประสาท อิศรปรีดา และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

Archiraya khiewchaum, Prasart Isarapreeda and Sumalee Sriputtarin

การส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1........... 132 Promoting Student’s Discipline of the Schools in Amphoe Plapak under The Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 มัตติกา จอกทอง สุเทพ ทองประดิษฐ์ และ มนตรี อนันตรักษ์

Mattika Chokthong, Suthep Thongpradista and Montree Anantarak

คำแนะนำในการเตรียมและการส่งต้นฉบับ........................................................................................................................................................... 140


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

7

ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง The Opinions of Private Higher Learning Institutions’ Faculty on Their Administrator’s Leadership in Central Private Tertiary Education สันต์ชัย พูลสวัสดิ์ Sunchai Poolswat Ed.D. (บริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่วนกลาง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของคณาจารย์ ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง จำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ ประชากรที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณาจารย์สถาบัน อุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง จำนวน 2,800 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้วิธีเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์ แ กน (Krejcie and Morgan. 1970) ได้ จ ำนวนกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง 338 คน เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล คื อ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้

t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร รองลงมาคือด้านความ สามารถในการแก้ปัญหา และด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน และด้าน ความเชื่อมั่นในตนเอง 2) ความคิดเห็นคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง ซึ่งมีเพศ ระดับ

การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ แตกต่างกัน มีความเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนคณาจารย์ที่มีอายุต่างกันมีความเห็นโดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน / ภาวะผู้นำผู้บริหาร / สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to investigate the opinions of private higher learning institutions’ faculty on their administrator’s leadership in Central Private Tertiary Education, 2) to compare the respondents’ opinions on their administrator’s leadership in Central Private Tertiary Education as classified by sex, age, educational level, job position and work experience. The study population was 2,800 private higher learning institutions’ faculty. A sample size of 338 was determined using the Krejcie and Morgan’s table. The instrument used for collecting data was a rating scale questionnaire. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test as well as F-test for testing a means difference. The findings of the study were as follows: 1) The opinions of private higher learning institutions’ faculty on their administrator’s leadership as a whole and each aspect were at high level; the aspect that gained the highest mean score was of ability to communicate, while the aspects of ability to solve the problems and of good governance ranked next; the aspects that gained the lowest mean scores were of being determined to accomplish the task and of being self-confident. 2) There was no significant difference in opinion of private higher learning institutions’ faculty of different sexes, educational levels, job positions and work experiences, but there was a significant difference as a whole and each aspect among those whose ages were different at the .01 level of significance. Keywords : Private Higher Learning Institutions’ Faculty / Administrator’s Leadership / Central Private Tertiary Education Institutions


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

8

บทนำ ปัจจุบันองค์กรที่มีการจัดการที่ดีทั้งหลายต่างต้องการ บุคลากรที่มีภาวะผู้นำทั้งเก่งและมีประสิทธิภาพมีความมุ่งมั่นใน การทำงาน มีความสามารถในการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและ ระหว่างองค์กรในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์ ให้เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันอย่างเต็มใจ (Participation Cooperation) เป็นการนำองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าและลด ปัญหาความขัดแย้งในการประสานงานกับบุคคลรอบข้าง ดังนั้น ผู้นำสมัยใหม่จะประสบความสำเร็จได้ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ ให้ทันต่อสภาวะของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถทำให้

ผู้ร่วมงานทำงานได้อย่างมีคุณภาพและเต็มความสามารถในโลก ของการเปลี่ ย นแปลงผู้ บ ริ ห ารจะต้ อ งเป็ น ผู้ น ำที่ ส ามารถ

แก้ปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยการกระตุ้นให้บุคคลอื่น เชื่อถือและยอมรับวิธีการทำงานของตน (ธงชัย สันติวงษ์. 2550) อีกทั้งผู้บริหารควรทำหน้าที่ประสานการทำงานของสมาชิกใน กลุ่มให้ประสบความสำเร็จช่วยเหลือผู้ร่วมงาน ขจัดปัญหาและ อุ ป สรรคต่ า งๆ ประสานการทำงานเพื่ อ การบรรลุ เ ป้ า หมาย

โดยทำให้วัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยการ ใช้พลังอำนาจที่ได้รับการยอมรับ ลูซี อาร์ เอ็น และ

อาชัว ซี เอฟ (Lussier R.N. and Achua C.F. 2009) สร้าง

แรงจู ง ใจต่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านให้ ท ำงานจนประสบความสำเร็ จ

ซึ่งการกระทำนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้นำมีภาวะผู้นำ ด้วยเหตุนี้ผู้นำ กับภาวะผู้นำจึงมีความสัมพันธ์กัน บรีแมน เอ (Bryman A. 2007) ได้กล่าวว่าภาวะผู้นำสามารถเรียนรู้ฝึกฝนและสร้างขึ้นได้ อีเดน ดี และ ชานิ เอ บี (Eden D. and Shani A.B. 2004)

ได้กล่าวผู้นำที่มีประสิทธิภาพเป็นหัวใจของความสำเร็จในทุก องค์กร ภาวะผู้ น ำถื อ ได้ ว่ า เป็ น คุ ณ สมบั ติ ภ ายในของบุ ค คลมี บุคลิกภาพพิเศษหลายอย่างสามารถที่จะบังคับบัญชาผู้อื่นได้ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) จากตำแหน่งและอำนาจ บารมี (Influence) ที่มีอยู่ในตน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่สามารถ สร้างอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความเชื่อถือยอมร่วมมือ หรือยอมรับในตัวของเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพลักษณะ

ของความเป็ น ผู้ น ำ ความสามารถ ความคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์

การตั ด สิ น ใจ เพื่ อ ให้ บ รรลุ ถึ ง จุ ด มุ่ ง หมายของกลุ่ ม หรื อ ของ องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับ พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร (2553) ที่อธิบายความหมายของภาวะ ผู้นำว่าเป็นศิลปะที่จำเป็นและสำคัญยิ่งต่อนักบริหารที่จะนำพา

องค์กรไปสู่ความสำเร็จ เป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดปัญหา วางแผน และรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ความอยู่ ร อดหรื อ การพั ฒ นาองค์ ก รเป็ น กระบวนการที่ มี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ คนอื่ น โดยกระตุ้ น ให้ ผู้ ร่ ว มงาน

ร่วมมือหรือปฏิบัติงานตามผู้นำนั้นด้วยความศรัทธาและด้วย ความเต็มใจอย่างประสานสัมพันธ์กันจนสำเร็จบรรลุเป้าหมาย ของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้นำองค์กรหรือผู้นำหน่วยงาน จะต้องมีพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม หรือสังคมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามวัฒนธรรมของแต่ละ องค์ ก รรวมทั้ ง ต้ อ งได้ รั บ การสนั บ สนุ น มี ศิ ล ปะในการใช้ ค น

มีความสามารถในการปรับปรุงองค์กร รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสร้างเสริมกำลังใจจนสามารถเอาชนะใจคนรอบข้างได้ ผู้นำ เป็ น เสมื อ นหนึ่ ง แกนกลางของการปรั บ ปรุ ง แก้ ไขและการจั ด ระบบงานให้สอดคล้องประสานเข้าด้วยกัน ผู้นำจึงต้องรู้จักใช้ ภาวะผู้นำในการชี้นำ และจัดการเพื่อสร้างอิทธิพลและแรงจูงใจ ให้ ผู้ ร่ ว มงานมี ค วามเข้ า ใจในงาน มี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผู้ชี้นำการปฏิบัติงานและกิจกรรม ผู้นำจึงต้องเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม กั บ สภาพแวดล้ อ ม อั น จะทำให้ อ งค์ ก รก้ า วหน้ า (วี ร ะวั ฒ น์

ปันนิตามัย. 2549) สภาวการณ์ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลง

ในทุกๆ ด้านอย่างรวดเร็ว ภาวะผู้นำจะต้องถูกปรับเปลี่ยนไป ด้ ว ยความเปลี่ ย นแปลงเป็ น สิ่ ง ที่ ท้ า ทายการทำงานของผู้ น ำ

ในการที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จกระบวนทัศน์

ในการมองภาวะผู้ น ำในลั ก ษณะบุ ค คลหรื อ กระบวนการนั้ น

ไม่กว้างและลึกพอที่จะพัฒนาผู้นำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ดังที่ อโวลิโอ (Avolio. 1999) เสนอว่า เราต้องเริ่มต้นคิดใหม่ว่า ภาวะผู้นำนั้นมีลักษณะที่เป็นระบบ ซึ่งจะทำให้มองภาวะผู้นำ

ได้กว้างและลึกพอที่เราจะสามารถพัฒนาภาวะผู้นำได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้นำที่ดีควรมีภาวะผู้นำแบบมี วิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาตนเองให้เป็นที่เลื่อม ใสศรัทธาของผู้ตามกระตุ้นให้ผู้ตามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ชาญฉลาดให้ความสำคัญกับผู้ตามอย่างทั่วถึงพัฒนาผู้นำและ

ผู้ตามในทุกส่วนขององค์กรได้ ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้สะท้อนให้เห็นถึง ความจำเป็ น อย่ า งเร่ ง ด่ ว นที่ ต้ อ งอาศั ย ผู้ บ ริ ห ารหรื อ ผู้ น ำทาง

การศึกษาที่มีความชัดเจนทั้งในด้านนโยบายและด้านการบริหาร และต่างมุ่งหวังความสำเร็จความก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นสถาบันแต่ละแห่งจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ โดย มีการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น คือ บทบาทและความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ระดับสูง และผู้บริหารยังช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาวิชาการ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ให้ก้าวหน้า เป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่เป็นผู้นำสาขาต่างๆ ที่มี ส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ สถาบันอุดมศึกษา เป็นแหล่ง สร้างรวบรวมรักษาเผยแพร่ถ่ายทอด ความรู้ที่ค้นพบจากการศึกษา วิจัยในสาขาต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่น การบริหารสถาบันอุดมศึกษา

จึงจำเป็นต้องได้ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เข้าใจบทบาทที่ สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะการสร้าง แรงจูงใจ มีความรู้ มีทักษะในการสื่อสารและการบริหารจัดการ มีคุณธรรม จริยธรรมและความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันอื่นๆ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนเป็ น สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา

ทางเลื อ ก จึ ง เป็ น สถาบั น ทางสั ง คมที่ มี บ ทบาทสำคั ญ ในการ จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาระดับสูงที่มี ความสำคั ญ อย่ า งยิ่ ง ในการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมของ ประเทศ เนื่องจากการศึกษาในระดับนี้มุ่งพัฒนาคนเข้าสู่วิชาชีพ ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาย่อมถือ ได้ ว่ า เป็ น ผู้ มี ค วามรู้ ใ นศาสตร์ ที่ ศึ ก ษาอย่ า งเพี ย งพอที่ จ ะเป็ น

พื้นฐานในการประกอบอาชีพได้ตามสมควร สถาบันอุดมศึกษา เอกชนจึ ง มี ค วามสำคั ญ ในการมี ส่ ว นร่ ว มจั ด การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาเพื่ อ แบ่ ง เบาภาระในการจั ด การศึ ก ษาของชาติ

ด้วยสภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่ เปลี่ยนแปลงรวมไปถึงความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งทาง ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงทางค่านิยม และวัฒนธรรมได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถาบัน อุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น จากการที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใช้การตลาดเชิงรุกทำให้มี สัญญาณว่าในอนาคตสภาพการแข่งขันทางด้านการจัดการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาระหว่างอุดมศึกษาเอกชนและอุดมศึกษาของ รัฐบาลและจากต่างประเทศจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น (มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. 2549) จากบทบาทที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงและระดับรอง ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหาร คือ รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วนงานของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนส่ ว นกลาง ในองค์ ป ระกอบทั้ ง 6 ด้ า น คื อ ด้ า นเป็ น

ผู้ มี วิ สั ย ทั ศ น์ ด้ า นเป็ น ผู้ มี ค วามมุ่ ง มั่ น ต่ อ ความสำเร็ จ ของงาน

ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสาร ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่น ในตนเอง ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา และด้าน เป็นผู้มีหลักธรรมาภิบาล

9

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะ ผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง สมมติฐานการวิจัย คณาจารย์ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ต่างกัน มีความ

คิ ด เห็ น ต่ อ ภาวะผู้ น ำของผู้ บ ริ ห ารสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชน

ส่วนกลาง แตกต่างกัน กรอบแนวคิดการวิจัย

ตัวแปรอิสระ

สถานภาพส่วนบุคคล 1. เพศ 2. อายุ 3. ระดับการศึกษา 4. ตำแหน่งหน้าที่ 5. ประสบการณ์

ตัวแปรตาม ความคิดเห็นของ คณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำ ของผู้บริหาร 1. ด้านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ 2. ด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่น ต่อความสำเร็จของงาน 3. ความเป็นผู้มีความสามารถ

ในการสื่อสาร 4. ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่น

ในตนเอง 5. ด้านเป็นผู้มีความสามารถ

ในการแก้ปัญหา 6. ด้านเป็นผู้มีหลัก ธรรมาภิบาล

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวย่าง ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ได้ แ ก่ คณาจารย์ ส ถาบั น อุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง จำนวน 2,800 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่วนกลาง จำนวน 338 คน ซึ่งเป็นคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สาธารณสุข ศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูป ของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) ศึกษา โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ดังตารางที่ 1


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

10

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รายชื่อมหาวิทยาลัยส่วนกลาง 1. มหาวิทยาลัยรังสิต 2. มหาวิทยาลัยสยาม 3. มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 5. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 6. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 7. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

รวม

ประชากร (คน) 450 450 450 450 350 400 300

กลุ่มตัวอย่าง (คน) 57 51 61 63 39 31 36

2,800

338

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบ ประมาณค่า (Rating Scale Questionnaire) มีค่าความเชื่อมั่น รวม 6 ด้านเท่ากับ 0.89 และค่า IOC (Index of Congruence) ระหว่าง 0.80-1.00 แบ่งเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป มีลักษณะ เป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) เพื่อศึกษาสถานภาพของ

ผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิ ด เห็ น ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลส่ง ทางไปรษณีย์ไปที่มหาวิทยาลัยเอกชน7 แห่ง 2. ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลภายใน 30 วันระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ถึง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำตอบในแบบสอบถาม ซึ่งได้รับกลับคืนมา 100 เปอร์เซ็นต์ 4. จัดหมวดหมู่ของข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยหา ค่าความถี่และร้อยละ 2. ความคิดเห็นของคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย 7 แห่ง วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ 3.1 การหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม

โดยใช้วิธี Item-Total Correlation 3.2 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ สัมประสิทธิ์อัลฟา (α - Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) 4. วิ เ คราะห์ ค วามแตกต่ า งระหว่ า งสองกลุ่ ม หรื อ

มากกว่าสองกลุ่มแล้วแต่กรณีใช้ t-test และ F-test

สรุปผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่วนกลาง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

มีระดับการศึกษาปริญญาเอก มีตำแหน่งอาจารย์ หัวหน้าคณะ และมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ขึ้นไป 2. ความคิ ด เห็ น ของคณาจารย์ ที่ มี ต่ อ ภาวะผู้ น ำของ

ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลางโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก

ทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านเป็นผู้มีความสามารถใน การสื่อสาร ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้านเป็น

ผู้มีหลักธรรมาภิบาลด้านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้านเป็นผู้มีความเชื่อ มั่นในตนเอง และด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน ตามลำดับ ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่ า คะแนนเฉลี่ ย และค่ า ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน ความคิ ด เห็ น ของคณาจารย์ ที่ มี ต่ อ ภาวะผู้ น ำของ

ผู้บริหารสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนส่วนกลาง

n = 338 ระดับ ลำดับ องค์ประกอบหลัก  S.D.

1. ด้านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ 2. ด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่น ต่อความสำเร็จของงาน 3. ด้านเป็นผู้มีความสามารถ ในการสื่อสาร 4. ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่น ในตนเอง 5. ด้านเป็นผู้มีความสามารถ ในการแก้ปัญหา 6. ด้านเป็นผู้มีหลักธรรมาภิบาล เฉลี่ยรวม

4.18

.63

มาก

4

4.11

.69

มาก

6

4.28

1.13

มาก

1

4.11

.66

มาก

5

4.21 4.21

.65 .76

มาก มาก

2 3

4.19

.66

มาก

3. ความคิดเห็นคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง หน้าที่ ประสบการณ์แตกต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ส่ ว นคณาจารย์ ที่ มี อ ายุ ต่ า งกั น มี ค วามคิ ด เห็ น โดยรวมและ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดย คณาจารย์ที่มีอายุระหว่าง 40-49 ปี มีความคิดเห็นภาวะต่อผู้นำ ของผู้บริหารสูงกว่าคณาจารย์อายุต่ำกว่า 40 ปี นอกนั้นมีความ

11

คิดเห็นไม่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ ย รวมของความคิ ด เห็ น ของคณาจารย์ ที่ มี ต่ อ ภาวะผู้ น ำของผู้ บ ริ ห ารสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนส่ ว นกลาง

จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ รายการ 1. เพศ 2. อายุ 3. การศึกษา

4. ตำแหน่งหน้าที่ 5. ประสบการณ์

ชาย หญิง ต่ำกว่า 40 ปี 40 – 49 ปี 50 – 60 ปี มากกว่า 60 ปี ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน อาจารย์หัวหน้าส่วน น้อยกว่า 5 ปี 5-10 ปี 11-15 ปี มากกว่า 16 ปี

เฉลี่ยรวม

4.16 4.21 4.04 4.39 4.21 4.19 4.12 4.17 4.20 4.41 4.11 4.18 4.19 4.06 4.51 4.17 4.19

ความหมาย

S.D. .65 .66 066 .56 .67 .61 .24 .68 .65 .24 .71 .64 .65 .69 .68 .66 .62

t

F

sig

มาก -.57 - มาก มาก มาก - 5.37** มาก มาก มาก - .12 มาก มาก มาก มาก - 1.61 มาก มาก มาก มาก - 1.6 มาก มาก

.57

.00

.89

.19

.19

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบรายคู่จำแนกตามอายุของคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง ในภาพรวม อายุ อายุ

ต่ำกว่า 40 ปี  = 4.04

40-49 ปี = 4.39

50-60 ปี 4.21

มากกว่า 60 ปี  = 4.19

=

ต่ำกว่า 40 ปี

= 4.04

-.34*

-.16

-.15

40-49 ปี

= 4.39

.18

.19

50-60 ปี

= 4.21

.02

มากกว่า 60 ปี

= 4.19

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

12

อภิปรายผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นคณาจารย์มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร ระดับรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าส่วนงาน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในส่วนกลางในระดับมากทุกด้าน 1.1 ด้ า นเป็ น ผู้ มี วิ สั ย ทั ศ น์ ค ณาจารย์ ส ถาบั น อุดมศึกษาเอกชนส่วนกลางเห็นว่าผู้บริหารระดับรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าส่วนงาน มีรูปแบบการจัดการ ที่เป็นระบบ รูปแบบความคิดที่เปิดกว้าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานเป็ น ที ม สอดคล้องกับแนวคิดของ คองเกอร์ แ ละ

คานู น โก้ (Conger and Kanungo. 2001) ที่ อ ธิ บ ายว่ า คุ ณ ลั ก ษณะพื้ น ฐานของผู้ น ำที่ มี ค วามสามารถพิ เ ศษ คื อ

1) การมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ที่เป็นวิสัย ทั ศ น์ ร่ ว มหรื อ ไปในทิศทางเดีย วกับ ของผู้ต าม ซึ่ งจะแตกต่ า ง อย่างชัดเจนจากสถานะเดิม (Status Quo) คือการแบ่งผู้นำ

3 แบบ 1.1) ผู้นำแบบตีความสามารถพิเศษที่มีประสิทธิภาพ 1.2) ผู้นำแบบไม่พิเศษแต่มีประสิทธิภาพ 1.3) ผู้นำแบบไม่มี ความสามารถและไม่มีประสิทธิภาพ 2) มีความคิดริเริ่ม กล้าได้ กล้าเสีย และใช้วิธีการจัดการแบบใหม่ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ ปรารถนา 3) มีการประเมินสภาพปัญหาและอุปสรรคตามความ เป็นจริง 1.2 ด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง เห็นว่าผู้บริหาร ระดับรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าส่วนงาน มีความต้องการนำพาองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จอย่างแรงกล้ามี ส่วนร่วมกับทีมงาน พัฒนางานเชิงปฏิบัติการ เอาชนะอุปสรรค ต่างๆ และรับผิดชอบผูกพันต่อภารกิจในหมู่ใต้ผู้บังคับบัญชา สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของอภิ ร ดี อำนรรฆมณี (Apiradee. 2002) ได้ศึกษาเรื่อง Demographic Influences on the Leadership Practices of Chief Faculty Officers during the Period of Reform (Thailand) ซึ่งพบว่าปัจจัยสำคัญที่นำ ไปสู่ความสำเร็จของการปฏิรูประบบการศึกษาไทยคือภาวะผู้นำ โดยผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาไทยต้องมีภาวะผู้นำ แบบใหม่ (A New Leadership Paradigm) เพื่อบริหารองค์กร ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและบรรลุ ต ามเป้ า หมายที่ ก ำหนดคื อ

การเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละมหาวิ ท ยาลั ย เพื่ อ

นวัตกรรม 1.3 ด้ า นเป็ น ผู้ มี ค วามสามารถในการสื่ อ สาร คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง เห็นว่าผู้บริหาร

มีการสื่อสารที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น การส่งจดหมาย การส่ง

ข้อความทางอีเมล์ บทความในจดหมายข่าว การประชุมร่วมผ่าน วิดีโอ สุนทรพจน์ผ่านทางวิดีโอเทป และการให้คำพูดชักชวนมี สี สั น เป็ น ภาษาที่ สื่ อ ทางอารมณ์ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ แมคคอลแลนด์ และลอมบาร์โด (มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. 2549 ; อ้างอิงจาก McCall and Lombardo. 1983) ที่ศึกษา คุ ณ ลั ก ษณะที่ จ ะทำให้ ผู้ น ำประสบความสำเร็ จ หรื อ ล้ ม เหลว ประกอบด้วย คุณลักษณะ 4 ประการคือ 1) ความมั่นคงทาง อารมณ์และบุคลิกภาพ ได้แก่ ความสุขุมเยือกเย็น ความสงบ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความตึงเครียด 2) การยอมรับผิด เมื่อมีข้อผิดพลาดเริ่มต้น 3) ทักษะการสื่อสารที่ดี คือ ความ สามารถที่จะโน้มน้าวและสื่อสารให้ผู้อื่นคล้อยตามความคิดเห็น โดยไม่ต้องใช้อำนาจข่มขู่ และ 4) ความฉลาด สามารถเข้าใจ เรื่องต่างๆ ได้หลากหลายมากกว่ารู้ลึกเพียงเรื่องหนึ่งเรื่องใดและ ใจแคบ ผู้บริหารจะต้องมีความจริงใจ 1.4 ด้านเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองคณาจารย์ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนส่ ว นกลางเห็ น ว่ า ผู้ บ ริ ห ารมี ค วาม พยายามปฏิบัติภารกิจแม้ว่างานนั้นจะมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ในสถานการณ์วิกฤติ เขาจะไม่ผลักภาระในการรับมือกับ ปัญหายากๆ หรือความรับผิดชอบที่ให้คนอื่น หรือโยนความ

รับผิดชอบให้คนอื่นเขาอาจจะปรึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ

ผู้ที่อยู่ในระดับเดียวกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทิชชีและ

เดวานนา (Tichy and Devanna. 1987) ที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่า ลักษณะของผู้นำที่รับผิดชอบไปสู่ เป้ า หมายที่ ดี ก ว่ า ต้ อ งเป็ น คนกล้ า และเปิ ด เผยกล้ า เผชิ ญ กั บ ความจริงเชื่อมั่นคนอื่นว่ามีความสามารถชี้ให้ผู้ตามตระหนักถึง คุณค่าของเป้าหมายสร้างแรงผลักดันให้ งานบรรลุเป้าหมาย เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสามารถในการเผชิญกับความสลับ ซับซ้อน ความคลุมเครือ ความไม่แน่นอนและเป็นผู้มีทัศนคติที่ดี ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ แบส (Bass. 1985) ที่ อ ธิ บ าย

ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงในแง่ของผลกระทบของผู้นำที่มีต่อ

ผู้ ต ามหรื อ ผู้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชาว่ า ผู้ ต ามจะรู้ สึ ก ไว้ ว างใจ (Trust) เลื่ อ มใส (Admiration) จงรั ก ภั ก ดี (Loyalty) และยอมรั บ (Respect) ในตัวผู้นำซึ่งทำให้เกิดแรงจูงใจและตั้งใจทำงานให้ มากกว่าที่เคยทำตามปกติ 1.5 ด้ า นเป็ น ผู้ มี ค วามสามารถในการแก้ ปั ญ หา คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลางเห็นว่าผู้บริหารมี การตัดสินใจให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เป็นไปในทางกระจาย อำนาจในส่ ว นต่ า งๆ เป็ น ไปตามนโยบายตามจุ ด หมายและ ระเบียบแบบแผนขององค์กร ตลอดจนแผนงานล่วงหน้าของ บุคคลหลายฝ่าย ตลอดจนชี้นำต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อมั่นและ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

พร้อมที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย สอดคล้องกับ แนวคิ ด ของสคี น (Schein. 1985) ที่ ส รุ ป ว่ า ผู้ น ำจะต้ อ งมี ศักยภาพในการสร้างหรือกำหนดรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กร และสนับสนุนให้สมาชิกยอมรับในวัฒนธรรมองค์กรไม่สร้างแรง กดดันและความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม แต่สร้างแรงจูงใจแก่ผู้ร่วม งานเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ จะทำให้ผู้นำทำงาน ได้ยาก 1.6 ด้ า นเป็ น ผู้ มี ห ลั ก ธรรมาภิ ค ณาจารย์ ส ถาบั น อุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง เห็นว่าผู้บริหารมีการพัฒนาระบบ การทำงาน และบริ ห ารโดยการประยุ ก ต์ ห ลั ก ประสิ ท ธิ ภ าพ

หลั ก ประสิ ท ธิ ภ าพ หลั ก ภาระรั บ ผิ ด ชอบ หลั ก ความโปร่ ง ใส

หลั ก การมี ส่ ว นร่ ว ม หลั ก การกระจายอำนาจ หลั ก นิ ติ ธ รรม

หลักความเสมอภาค และหลักมุ่งเน้นฉันทามติ ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของเบิร์น (Burns. 1978) อธิบายว่า จะต้องเป็นผู้นำ

ที่มีภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการกระทำให้อีก ฝ่ายหนึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริต หรือมีคุณธรรมและแรงจูงใจใน การทำงานมากขึ้ น ผู้ น ำแบบนี้ จ ะปลุ ก สำนึ ก ให้ มี อุ ด มการณ์

ค่านิยมที่มีคุณธรรม เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเสมอภาค ความสงบ และมนุษยธรรม 2. คณาจารย์มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาเอกชนส่ ว นกลาง จำแนกตามเพศ ระดั บ

การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ไม่แตกต่างกันยกเว้น อายุมีความคิดเห็นแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อาจเป็นเพราะความคิด เห็นของคณาจารย์ต่อภาวะผู้นำที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องมาจาก องค์ประกอบในทุกปัจจัยทั้งหมด ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นคุณสมบัติ

ขั้นต้นในการบริหารจัดการทั้งสิ้น ดังนั้นปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ จึงมีความ คิดเห็นไม่แตก ต่างกันทุกด้าน คณาจารย์ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี จะเป็ น อาจารย์ ผู้สอน ส่วนคณาจารย์อายุ 40–49 ปี ขึ้ น ไป

ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหาร ทำให้ความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำแตกต่างกัน สอดคล้องกับ เฟาชี วงค์ภักดี และ อโนทัย ประสาน (2556)

พบว่ า ความคิ ด เห็ น ของครู ต่ อ ภาวะผู้ น ำที่ พึ ง ประสงค์ ข อง

ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาเอกชนสอนศาสนาอสิ ล ามในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช พบว่ า ครู ที่ มี เ พศ วุ ฒิ ก ารศึ ก ษา และ ประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นทั้งโดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน

13

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ด้านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เป็นผู้จัดทำแผนงานประจำปีเสมอ ดังนั้นผู้บริหารควรมอง การณ์ไกลในการมอบหมายงานผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเรื่อง แผนงานปฏิบัติหน้าที่และไม่ควรเปลี่ยนแปลงบุคลากรทำงาน บ่อยๆ เพราะต้องเริ่มต้นศึกษางานใหม่การทำงานจะดำเนินไป ได้ช้า 2. ด้ า นเป็ น ผู้ มี ค วามมุ่ ง มั่ น ต่ อ ความสำเร็ จ ของงาน

พบว่ า ข้ อ ที่ มี ค่ า เฉลี่ ย น้ อ ยที่ สุ ด คื อ มี แ ผนการทำงานอย่ า ง

แน่วแน่ ดังนั้นผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบายและแผนงานที่ จะส่งเสริมการทำงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ด้วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิธีทำงานใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อมุ่งสู่ ความสำเร็จในงาน 3. ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสาร พบว่า ข้อที่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้บริหารควรรักษาคำพูดของตนไว้อย่าง มั่ น คง ผู้ บ ริ ห ารควรให้ ค วามสำคั ญ กั บ คำพู ด ที่ ใ ห้ แ ก่ ผู้ บั ง คั บ บัญชาเพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน และเป็นการสร้าง บรรยากาศในการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น 4. ด้ า นเป็ น ผู้ มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในตนเอง พบว่ า ข้ อ ที่ มี

ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้บริหารควรเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ รวดเร็ว ผู้บริหารควรแก้ไขข้อผิดพลาดที่ทำ และต้องปรับปรุง แก้ไขใหม่โดยเร็ว เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการดำเนินการครั้งต่อไป อีก โดยใช้หลักวิชาการที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ทำงานเป็นทีม และรับฟังความผิดของผู้อื่น 5. ด้านเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า

ค่าเฉลี่ยข้อที่มีน้อยที่สุดคือ ผู้บริหารควรต้องสามารถแยกแยะว่า อะไรคือสาเหตุของปัญหาที่สะสมมา แล้วใช้หลักการวิชาการแก้ อะไรควรแก้ก่อนหลัง แล้วประเมินผลการแก้ปันหานี้ 6. ด้านเป็นหลักธรรมาภิบาล พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ มีความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของสมาชิก และสามารถเก็ บ อารมณ์ แ ละความรู้ สึ ก ได้ ดี ดั ง นั้ น ผู้ บ ริ ห าร สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลางควรรับรู้ และตระหนัก และ พยายามสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสถาบัน เพื่อประโยชน์ แก่สมาชิกและสถาบันการศึกษาต่อไป ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมี ก ารวิ จั ย เรื่ อ งความคิ ด เห็ น ของคณาจารย์ที่มีต่อ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนภูมิภาค โดยเพิ่มตัวแปรที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความก้าวหน้า ความจงรักภักดี ความพึงพอใจ ความยึดเหนี่ยว และความผูกพัน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

14

เอกสารอ้างอิง Amnuckmanee Apiradee. (2002). Demographic Influences on the Leadership Practice of Chief Faculty Officers during the Period

of Reform (Thailand). D.B.A. in Business Administration. Nova Southeastern University. USA. Avolio, J. & Bernard M. (1999). ‘Transformational Leadership, Charisma, and Beyond’. In J.G., Hunt et al. (Eds.) Emerging Leadership vistas, 29-50. Lexington Books. Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York : Free Press. Bryman, A. (2007). Charismatic Leadership in Organizations. London : SAGE Publication. Boonprasert, Manit and Others. (2006). The Research Report on Development of Leadership at Higher Education Level. Bangkok : Office of the Education Council Secretary-General. มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Lussier, R. N. and Achua, C.F. (2009). Leadership : Theory, Application, Skill Development. Cincinnati, Ohio : South-Western College Publishing. Pannitanai, Weerawat. (2006). Transformational Leaders. Bangkok : Thana Press and Graphics. วีระวัฒน์ ปันนิตานัย. (2549). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค. Schein, E. H. (1985). Organizational Psychology.

New York : Prentice Hall. Suntiwong, Thongchai. (2007). Organizational Behavior

: An Investigation of the Administration of Managerial Organizational Behavior. 5th Ed. Bangkok : Thai Watthanaphanit. ธงชัย สันติวงษ์. (2550). พฤติกรรมองค์การ : การศึกษาการ บริหารพฤติกรรมองค์การเชิงบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. Tichy, N. M, and Devanna. M.A. (1987, July). “The Transformational Leader,” Training and Development Journal. 40(7) : 27-32. Wongkiatkhajon, Phichet. (2010). The New Era Administrative Leaders. Bangkok : Panyachon.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row.

พิ เชษฐ์ วงศ์ เ กี ย รติ์ ข จร. (2553). ผู้ น ำการบริ ห ารยุ ค ใหม่ . กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

Conger, J. A. and Kanungo, R. N. (2001). A Behavioral Attribute Measure of Charismatic leadership in Organizations. Paper presented at the Academy of Management Meetings : San Francisco.

Wongphakdi, Fowci and Prasaan, Anothai. (2013). Teachers’ Opinion on Desirable Leadership of Administrators of Private Schools Teaching Islam in Nakhon Si Thammarat Province.

An M.Ed. Thesis. Nakhon Si Thammarat : Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Eden, D. and Shani, A. B. (2004, April). ‘Pygmalion goes to boot camp : Expectancy, leadership and trainee performance,’ Journal of Applied Psychology. 67 : 194–199. Krejcie & Morgan. (1970, March). ‘Determining sample size for research activities’. Educational and Psychological Measurement. 607-610.

เฟาชี วงค์ภักดี และ อโนทัย ประสาน. (2556). ความคิดเห็น ของครู ต่ อ ภาวะผู้ น ำที่ พึ ง ประสงค์ ข องผู้ บ ริ ห าร

สถานศึ ก ษาเอกชนสอนศาสนาอสิ ล ามในจั ง หวั ด นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครราชศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

15

การกระทำความผิดของครูที่มีผลกระทบต่อประชาชนตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาพุทธศักราช 2547 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2551 Teachers’ Offenses Affecting the People According to the Act of Rules for Teachers and Educational Personnel, B.E. 2547 and the Amendment No. 2, B.E. 2551 บุญเลิศ โพธิ์ขำ Boonlert Phokham อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ การศึกษาถึงข้อกฎหมายในการกระทำความผิดของครูที่มีผลกระทบต่อประชาชน ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นแนวทาง

ในการประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบจรรยาบรรณของครูและการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องวินัยและ

การรักษาวินัยครู พร้อมทั้งหามาตรการในการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณครูและบทกำหนดโทษที่เหมาะสมกับ การกระทำความผิดของครูที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพุทธศักราช 2547และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2551 ตามมาตรา 88 โดยแบ่งเป็นหัวข้อได้แก่ ครูไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูไม่ให้ ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชน และครูดูหมิ่นเหยียดหยามข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการ คำสำคัญ : การกระทำความผิดของครู / ผลกระทบต่อประชาชน / กรอบจรรยาบรรณครู / วินัยและการรักษาวินัยครู / พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู

ABSTRACT This study of the law clauses concerned offenses of teachers which affected the people. The findings of study are guidelines for teachers about conducting themselves according to a code of conduct and about performance of official duties in accordance with the law on the subject of discipline and disciplinary maintenance for teachers and are measures to promote ethical conduct by teachers and penalty provision appropriate to the offense of a teacher which affects the people according to the Act of Rules for teachers and educational personnel, B.E. 2574 and the Amendment No. 2, B.E. 2551 under section 88. The study is divided into these topics: Teachers do not behave themselves as a good example; teachers do not ensure fairness to students and the people; and teachers hold in contempt and mistreat students and the people who come to officially contact with them. Keywords : Offenses of Teachers / Impact on the People / Code of Conduct for Teachers / Discipline and Disciplinary Maintenance for Teacher / The Act of Rules for Teachers and Educational Personnel


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

16

บทนำ ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ผู้สร้างสรรค์ ภูมิปัญญาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญ รุ่ ง เรื อ งของสั ง คมและประเทศชาติ ค รู นั บ เป็ น ปู ช นี ย บุ ค คล

ที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ทั้งในด้าน

วิชาการ และประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละดูแล เอาใจใส่ สั่ ง สอนอบรมให้ เ ด็ ก ได้ พ บกั บ แสงสว่ า งแห่ ง ปั ญ ญา

อั น จะเป็ น หนทางในการประกอบสั ม มาอาชี พ เลี้ ย งดู ต นเอง

รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

(กรมสามัญศึกษา. 2556) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

อดุลยเดช พระราชทานพระราชดำรัสแก่ครูอาวุโสในโอกาส

ที่ เข้ า เฝ้ า ฯ รั บ พระราชทานเข็ ม เครื่ อ งหมายเชิ ด ชู เ กี ย รติ มี ข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า “ครูที่แท้นั้น” ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะ พากเพี ย ร ต้ อ งเอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ แ ละเสี ย สละ ต้ อ งหนั ก แน่ น

อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติ ของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัว ปลีกใจ ออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจ อคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ และความรู้ในเหตุผล “ความหมายของครู” พุทธทาสภิกขุ (2527) กล่าวว่า คำว่า “ครู” เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็ นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรม เบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ โดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ (โอเคเนชั่น. 2556) ปัญหาครู กระทำความผิดนับวันยิ่งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในทางอาญาหรือ ทางแพ่งก็ตามยกตัวอย่าง เช่น ครูล่วงละเมิดทางเพศต่อนักเรียน ครูลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ ครูฉ้อโกงผู้อื่น เป็นต้น ผู้เขียน บทความต้ อ งการที่ จ ะเสนอข้ อ กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ กระทำความผิดของครูที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนตลอดจนเห็น ว่ามาตรการในการควบคุมการกระทำความผิดและบทลงโทษที่มี อยู่ในปัจจุบันยังมีความความเคร่งครัดหรือความรุนแรงในการ ลงโทษเพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความกลัวในโทษยังเหมาะสมไม่ เพียงพอในการลงโทษผู้กระผิดดังนั้นในการเสนอบทความใน ครั้งนี้ ผู้ เ สนอบทความมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการเสนอบทความ ได้แก่

1. เพื่อศึกษาข้อกฎหมายและวิเคราะห์ปัญหาข้อ กฎหมายการกระทำความผิดของครูที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน 2. เพื่ อ ศึ ก ษาบทลงโทษในการกระทำผิ ด ตาม

พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทาง

การศึ ก ษาพุ ท ธศั ก ราช 2547 และแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ฉบั บ ที่ 2

พุ ท ธศั ก ราช 2551 เพื่ อ จะให้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ด้ า นความรู้ เ กี่ ย วกั บ

การกระทำความผิดของครู 3. เพื่อได้มาตรการที่เหมาะสมในการกำหนดโทษ ครูที่กระทำความผิด 4. เพื่อป้องปรามครูที่กระทำความผิดให้เกิดความ เกรงกลัวไม่กล้าที่จะกระทำความผิด การกระทำความผิดของครูที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติ เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี แ ก่ ผู้ เรี ย น ชุ ม ชน สั ง คม มี ค วามสุ ภ าพ เรียบร้อย รักษาความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและใน การปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือ

ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม แก่ ผู้ เรี ย นและประชาชนผู้ ม าติ ด ต่ อ ราชการ การกลั่ น แกล้ ง

การดู ห มิ่ น เหยี ย ดหยามหรื อ ข่ ม เหงผู้ เรี ย นหรื อ ประชาชน

ผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรงเป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (สำนั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทาง

การศึกษา. 2551) ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาต้ องมีความ ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี คำว่า “แบบอย่าง” หมายความว่า เยี่ ย งอย่ า งที่ ค วรประพฤติ ต ามหรื อ ควรถื อ เป็ น บรรทั ด ฐาน

การประพฤติตน แบบอย่างที่ดีนั้นต้องดูที่ความประพฤติส่วนตัว โดยต้ อ งดู ต ำแหน่ ง หน้ า ที่ ป ระกอบด้ ว ย คำว่ า “เกื้ อ กู ล ” หมายความว่าช่วยเหลือเผื่อแผ่ เจือจุน อุดหนุนการช่วยเหลือ

ผู้ เรี ย นหรื อ ศิ ษ ย์ ไม่ ว่ า จะเป็ น เรื่ อ งการเรี ย นเรื่ อ งส่ ว นตั ว

ความสุภาพเรียบร้อยช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ การที่ กฎหมายบัญญัติให้ข้าราชการต้องสุภาพเรียบร้อยต่อข้าราชการ ด้วยกันและต่อผู้ร่วมปฏิบัติราชการก็เพราะการสุภาพเรียบร้อย ต่อกันจะเป็นการนำไปสู่ความสงบเรียบร้อย ความร่วมมือร่วมใจ และประสานงานกั น อย่ า งดี จะยั ง ผลให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ

ในการปฏิบัติราชการ คำว่า “สุภาพเรียบร้อย” หมายถึง

การแสดงออกทางกริ ย าหรื อ วาจาในลั ก ษณะอ่ อ นโยน

ละมุนละม่อม รวมทั้งการใช้กริยาวาจาที่ไม่หยาบคาย เหมาะสม แก่ บุ ค คลและกาละเทศะ (กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร. 2556) ข้ า ราชการทุ ก คนมี ห น้ า ที่ จ ะต้ อ งปฏิ บั ติ ใ นการให้ บ ริ ก ารแก่


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ประชาชนผู้มาติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนในลักษณะ

ที่สุภาพ เรียบร้อยต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมและ ให้การสงเคราะห์ ซึ่งจะต้องดำเนินการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2541) ถ้าผู้กระทำผิดได้กระทำไป ในลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้มา ติดต่อราชการก็เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง คำว่ า “ดู ห มิ่ น เหยี ย ดหยาม” ตามพจนานุ ก รม หมายความว่า ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอาย คำว่า “กดขี่” ตามพจนานุกรมหมายความว่า ข่มให้อยู่ ในอำนาจตนใช้อำนาจบังคับเอาแสดง อำนาจเอา คำว่า “ข่มเหง” ตามพจนานุกรมหมายความว่าใช้กำลัง รังแก แกล้งทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น (เปโส ขบวนดี. 2550)

ในการกระทำความผิดของครูที่มีผลกระทบต่อประชาชน จากการศึกษาของผู้เขียนบทความสามารถแยกเป็นประเด็นย่อย ได้ดังต่อไปนี้ 1. ครูไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างของสังคมและชุมชน ครู ถือว่าเป็นผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์

ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญ รุ่งเรืองของสังคมประเทศชาติการที่ครูไม่กระทำตนเป็นแบบ อย่างที่ดีเช่น การที่ ค รู ก ชอบเที่ ย วกลางคื น เป็ น อาจิ ณ และ

มีการดื่มสุราจนเมามายแล้วยังไปแสดงอาการก้าวร้าวต่อคนอื่น จนเกิ ด ทะเลาะวิ ว าทจนถู ก เจ้ า หน้ า ที่ ต ำรวจจั บ กุ ม และโดน เปรี ย บเที ย บปรั บ พร้ อ มโดนศาลสั่ ง ให้ บ ำเพ็ ญ ประโยชน์ เ ป็ น

เวลา 7 วัน การทะเลาะวิวาทหรือเข้าร่วมในการทะเลาะวิวาท หรือมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อกัน การหมิ่นประมาท การกล่าว อาฆาตพยาบาท พูดจาก้าวร้าว ลบหลู่อาฆาตพยาบาทผู้บังคับ บัญชาเพราะโกรธที่ไม่ได้ 2 ขั้น การที่ครูได้รับการยกย่องและนับถือจากสังคมจะเห็น

ได้ ไ ม่ ว่ า จะยุ ค สมั ย ใดก็ ต าม ครู ก็ ยั ง คงมี ค วามสำคั ญ ในฐานะ

ผู้ถ่ายทอดความรู้ในวิทยาการต่างๆ เป็นผู้อบรมจริยา สอนคุณ ธรรม หลักการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพตลอดจนแนวทางใน การครองชีวิตของศิษย์ แต่ละคนสังคมจึงได้ยกย่องครูในฐานะ วิ ช าชี พ พิ เ ศษที่ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ สั ง คมอย่ า งยิ่ ง วิ ช าชี พ ครู เ ป็ น วิชาชีพชั้นสูงที่มีความสำคัญในการสร้างชุมชนให้พัฒนาตนสู่ ความเป็ น ชี วิ ต ที่ ส มบู ร ณ์ ค รู จึ ง มี ภ ารกิ จ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ แ ละมี ค วาม สำคั ญ ต่ อ มนุ ษ ยชาติ โ ดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในภาวะที่ สั ง คมโลก

ยุ ค ใหม่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว เกิ ด วิ ก ฤติ แ ละปั ญ หา

17

การปรับตัวอย่างกว้างขวางและครูจึงถูกคาดหวังจากสังคมให้ทำ หน้าที่ช่วยแก้วิกฤติต่างๆ และยังเป็นความหวังให้เป็นผู้สร้างเสริม ปั ญ ญาอบรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมให้ เ ยาวชนและคนในสั ง คม

เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (ศักดิ์ไทย

สุรกิจบวร. 2556) แนวทางการแก้ไขปัญหาครูไม่กระทำตนเป็นแบบ อย่างที่ดี อัตราโทษของการกระทำความผิดของครูต่อประชาชน ในส่วนของครูไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่ในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 มาตรา 88 วรรค 1 บทกำหนด โทษจะเป็นในส่วนของความผิดที่ไม่ร้ายแรง เมื่อผู้กระทำผิดได้ กระทำความผิด และความผิดนั้นมีมูลชัดแจ้งบทกำหนดโทษอยู่ 3 สถาน ได้ แ ก่ ลงโทษภาคทั ณ ฑ์ ตั ด เงิ น เดื อ นและลดขั้ น

เงินเดือน ผู้เขียนบทความเห็นสมควรที่จะนำบทลงโทษสูงสุด ของการกระทำความผิดที่มีมูลอย่างชัดแจ้ง โดยนำมาตรการ ลงโทษในส่วนของการลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นบทลงโทษสูงสุดใน มาตรา 88 วรรค 1 มาเป็นบทลงโทษซึ่งจากพระราชบัญญัติ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ยังมิได้เขียนไว้อย่างชัดเจนซึ่งมาตรา 88 วรรค 1 ได้ บั ญ ญั ติ ไว้ แ ต่ เ พี ย งว่ า ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากร ทางการศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สั ง คม มี ค วามสุ ภ าพเรี ย บร้ อ ยรั ก ษาความสามั ค คี ช่ ว ยเหลื อ เกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติ ราชการ ต้อนรับให้ความสะดวกให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและ ประชาชนผู้มาติดต่อราชการโดยพิจารณาจากมาตรา 88 วรรค 1 ประเด็นที่ว่าครูไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดียังไม่มีข้อความ ใดเขียนไว้ในพระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษาเลย ว่าการกระทำความผิดแล้วจะต้องถูกดำเนินการลงโทษอย่างไร และมีระดับโทษฐานใดเพียงแต่เขียนไว้กว้างๆ ว่าเมื่อผู้กระทำผิด ได้กระทำความผิด และความผิดนั้นมีมูลชัดแจ้งบทกำหนดโทษ อยู่ 3 สถาน ได้แก่ ลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนและลดขั้น

เงิ น เดื อ น และจากการศึ ก ษาค้ น คว้ า ของผู้ เขี ย นบทความใน ประเด็ น การกระทำความผิ ด ดั ง กล่ า วต้ อ งนำหลั ก การในการ ลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้งมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการ ลงโทษหลักวิธีการการลงโทษตามหลักการเพื่อข่มขู่ยับยั้งนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งตัวผู้กระทำผิดที่ถูกลงโทษโดยไม่ให้ กระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกิดความเกรงกลัวในโทษที่ได้รับอันเป็น ผลให้ตัดโอกาสที่จะกระทำผิดขึ้น (Incapacitation) และยัง เป็ น การยั บ ยั้ ง บุ ค คลอื่ น มิ ใ ห้ ก ระทำผิ ด และการได้ รั บ โทษจน

ไม่อยากกระทำผิดเพราะเกรงกลัวในโทษ


18

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ในการลงโทษนั้น ตามหลักการลงโทษเพื่อการข่มขู่ยับยั้ง ของผู้กระทำผิดจะต้องมีความแน่นอน ในการลงโทษและความ เคร่งครัดหรือความรุนแรงในการลงโทษเพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิด ความกลัวในโทษ กลัวกระแสสังคมที่จะประณามการกระทำที่ เป็นความผิด จากหลักการเหตุผลที่กล่าวมาผู้เขียนบทความเห็น ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในตัวพระราชบัญญัติครูและบุคลากร ทางการศึกษาในมาตรา 88 วรรค 1 ว่าเมื่อมีการกระทำความ ผิ ด ของข้ า ราชการครู ที่ ไ ม่ เ ป็ น แบบอย่ า งที่ ดี แ ก่ ผู้ เรี ย น ชุ ม ชน สังคม ในกรณีที่เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้นำบทลงโทษลด ขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นบทลงโทษสูงสุดและตัดในส่วนโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนออก เหตุผลสนับสนุนโดยยึดหลักการการลงโทษ

ผู้กระทำผิดต้องมีความแน่นอนและเคร่งครัดหรือต้องมีความ รุนแรงในการลงโทษเพื่อให้ตัวผู้กระทำผิดเกิดความกลัว กลัว การประนามของสังคมและที่สำคัญครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงเป็นที่ เคารพนับถือและได้รับความคาดหวังจากสังคมอย่างสูงในการ เป็นต้นแบบดังนั้นครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักเรียน เพื่อน ร่วมงาน ประชาชนและสังคมให้เหมาะสมแก่การยกย่องนับถือ ว่าเป็นปูชนียบุคคล ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ควรกำหนดเป็น กฎหมายโดยให้มีการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบ อย่ า งที่ ดี แ ละให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการเลื่ อ นขั้ น เงิ น เดื อ นไว้ ใ น

พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 จากการศึกษาของผู้เขียน บทความเห็ น ว่ า ระดั บ ศั ก ดิ์ ข องกฎหมายถ้ า มี ก ารตราเป็ น

พระราชบัญญัติ ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์และมีศักดิ์ทางกฎหมาย เหนือกว่ากรอบจรรยาบรรณครูที่มีการกำหนดเป็นแนวทางถือ ปฏิบัติของข้าราชการครู เพื่อเป็นการส่งเสริมในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบของข้าราชการครูต้องมีการนำผลของการประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของครูที่จะเขียนไว้ในพระราชบัญญัติครู ให้เป็นส่วนหนึ่งของการนำไปพิจารณาความดีความชอบซึ่งใน ปัจจุบันจะพบเห็นว่าในการพิจารณาความดีความชอบมีการเรียก รั บ ผลประโยชน์ ก ารใช้ ค วามรู้ สึ ก ว่ า ชอบหรื อ ไม่ ช อบการเป็ น เพื่อนสนิทมิตรสหายมาเป็นเกณฑ์การพิจารณาความดีความ ชอบในการเลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้ า มี ก ารกำหนดการประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นเป็ น แบบ อย่ า งที่ ดี แ ละให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการเลื่ อ นขั้ น เงิ น เดื อ นไว้ เ ป็ น กฎหมายย่ อ มเป็ น แรงกระตุ้ น และส่ ง เสริ ม ให้ ข้ า ราชการครู กระทำความดี ป ฏิ บั ติ ต นเป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ยั ง ส่ ง ผลให้ สั ง คม

มีความสงบสุข ศีลธรรมเบ่งบานการดำเนินชีวิตเปี่ยมไปด้วย ความสุ ข ทั้ ง ผู้ ป ฏิ บั ติ แ ละผู้ ถู ก ปฏิ บั ติ โ ดยเป็ น ไปตามหลั ก การ

ของการเสริ ม แรงบวก (ตั ว เสริ ม แรงทางบวก (Positive Reinforcers) หมายถึง รางวัลซึ่งเป็นที่พึงปรารถนาของบุคคล) ให้กับผู้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีอีกทั้งยังส่งผลไปถึงผู้ที่ได้ พบเห็นพร้อมนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนตาม หลักการอรรถประโยชน์ (การกระทำที่ดีที่สุดคือการกระทำที่

ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สุ ข มากที่ สุ ด แก่ ค นจำนวนมากที่ สุ ด ) คื อ

การประพฤติปฏิบัติดีจะทำให้เกิดประโยชน์ที่ดีผู้ที่ได้พบเห็น

การกระทำที่เป็นแบบอย่างที่ดีแล้วเห็นว่าได้รับประโยชน์ย่อม เล็ ง เห็ น ผลที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น กั บ ตนเองและสั ง คมในปั จ จุ บั น และ

ในอนาคต 2. ครูไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชน การให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มา ติดต่อราชการ ถือเป็นหัวใจสำคัญ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2541) อี ก ประการหนึ่ ง ที่ จ ะส่ ง ผลกระทบต่ อ ตั ว ลู ก ศิ ษ ย์ แ ละ ประชาชนถ้าตราบใดการประพฤติปฏิบัติตนของปูชนียบุคคล ขาดความเป็นธรรมใครจะเป็นแบบอย่างที่ดีได้อีกต่อไป กรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น การที่ครูให้ คะแนนสูงสำหรับลูกศิษย์ที่นำของฝากมาให้ลูกศิษย์ที่ได้คะแนน สูงจากการที่นำของฝากมาให้ย่อมมีความรู้สึกว่าถ้าอยากได้สิ่งที่ ต้องการ ให้นำของฝากมาให้แล้ว การกระทำดังกล่าวจะส่งผล กระทบต่อลูกศิษย์ที่นำของมาฝากกล่าวคือ เมื่อลูกศิษย์เหล่านี้ เป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นคนที่ติดสินบน เพื่อให้ตนได้ตามที่ต้องการ

ถ้าเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม คือ มีการทุจริต คอร์รัปชั่น ทำให้ประเทศล้าหลังและขาดการพัฒนา สำหรั บ กรณี ลู ก ศิ ษ ย์ ที่ ไ ด้ ค ะแนนน้ อ ยก็ จ ะมองว่ า

ถ้าเรานำของมาฝากอาจารย์หรือติดสินบนก็จะได้ระดับคะแนน

ที่ สู ง ขึ้ น ถ้ า ลู ก ศิ ษ ย์ มี ค วามคิ ด ดั ง กล่ า วย่ อ มส่ ง ผลกระทบต่ อ

การดำเนินชีวิตเมื่อเข้าโตขึ้น และเป็นปัญหาของสังคม และ

ในส่วนของประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ถ้าครูซึ่งเป็นแบบอย่าง ของสังคมไม่ให้ความยุติธรรม ความเสมอภาคแล้ว ย่อมเป็นที่ ครหาทำให้เสื่อมเสียแก่ตัวครูเองและองค์กรวิชาชีพครู ไม่ได้รับ ความเชื่อถือจากสังคมและชุมชน กรณี ตั ว อย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประชาชนผู้ ม าติ ด ต่ อ ราชการเช่น การเลือกปฏิบัติ ให้บริการอย่างดี กับบุคคลที่รู้จัก สนิทสนม ให้ความสะดวกทุกประการ กลับกันบุคคลที่ไม่รู้จัก

ก็ให้บริการโดยไม่ใส่ใจ แนวทางการแก้ไขปัญหาครูไม่ให้ความ เป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ อัตราโทษ ของการกระทำความผิ ด ของครู ที่ ส่ ง ผลกระทบแก่ ผู้ เ รี ย น

และประชาชนและปัญหาครูไม่ให้ความเป็นธรรมปรากฏอยู่ใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 มาตรา 88 วรรค 1 บทกำหนดโทษจะเป็ น ในส่ ว นของความผิ ด ที่ ไ ม่ ร้ า ยแรง เมื่ อ

ผู้ ก ระทำผิ ด ได้ ก ระทำความผิ ด และความผิ ด นั้ น มี มู ล ชั ด แจ้ ง

บทกำหนดโทษมีอยู่ 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนและ ลดขั้นเงินเดือน ผู้เขียนบทความเห็นสมควรที่จะนำบทลงโทษ สู ง สุ ด ของการกระทำความผิ ด ที่ มี มู ล อย่ า งชั ด แจ้ ง มาใช้ คื อ

นำมาตรการลงโทษในส่วนของการลดขั้นเงินเดือนและตัดใน ส่วนโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนออก โดยมีเหตุผลสนับสนุนใน การลงโทษนั้นตามหลักการลงโทษเพื่อการข่มขู่ยับยั้งผู้กระทำ ผิดจะต้องมีความแน่นอนในการลงโทษและความเคร่งครัดหรือ ความรุ น แรงในการลงโทษเพื่ อ ให้ ผู้ ก ระทำผิ ด เกิ ด ความกลั ว

ในโทษ กลัวกระแสสังคมที่จะประนาม การลงโทษที่มีความ เคร่ ง ครั ด รุ น แรงมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ยั บ ยั้ ง ตั ว ผู้ ก ระทำผิ ด ที่ ถู ก ลงโทษเพื่อไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกิดความเกรงกลัวในโทษ ที่ได้รับอันเป็นผลให้ตัดโอกาสที่จะกระทำผิดขึ้น และยังเป็น

การยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กระทำผิดและการได้รับโทษจนไม่อยาก กระทำผิ ด เพราะเกรงกลัวในโทษครูซึ่งเป็นแบบอย่ า งจะต้ อ ง กระทำตนไม่ให้เสื่อมเกียรติ วิชาชีพครู ครูต้องยึดจรรยาบรรณ วิชาชีพเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ครูเป็นผู้สอนคุณธรรมจริยธรรม ให้กับนักเรียนถ้าหากครูไม่กระทำความผิดเพราะเกรงกลัวต่อบท ลงโทษที่มีความเคร่งครัดรุนแรง กลัวกระแสสังคมที่จะประนาม ก็จะเป็นหลักประกันได้ว่าวิชาชีพครูจะได้รับการยกย่องตลอดไป ไม่มีทางทำให้เสื่อมเกียรติวิชาชีพครูอย่างแน่นอน ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ควรกำหนดคือ

เป็นกฎหมายให้มีการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนในการให้ บริ ก ารผู้ เรี ย นและประชาชนด้ ว ยความเสมอภาคทั้ ง ในด้ า น กฎหมายและในด้านความมีศักดิ์ศรีการเป็นมนุษย์โดยให้นำผลที่ ได้รับจากการให้บริการผู้เรียนและประชาชนด้วยความเสมอภาค มาเป็นส่วนหนึ่งในการเลื่อนขั้นเงินเดือน และระบุไว้ในพระราช บั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา

พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 จากการศึกษาของ

ผู้เขียนบทความเห็นว่าระดับศักดิ์ของกฎหมายถ้ามีการตราเป็น

พระราชบัญญัติ ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์และมีศักดิ์ทางกฎหมาย เหนือกว่ากรอบจรรยาบรรณครูที่มีการกำหนดเป็นแนวทางถือ ปฏิบัติของข้าราชการครู ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมในการปฏิบัติ ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ของข้ า ราชการครู ต้องมีการนำผลที่ได้รับจากการให้ บ ริ ก าร

ผู้เรียนและประชาชนด้วยความเสมอภาคมาเขียนไว้ในพระราช บัญญัติครูให้เป็นส่วนหนึ่งของการนำไปพิจารณาความดีความ ชอบซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นว่าในการพิจารณาความดีความชอบ มีการเรียกรับผลประโยชน์การใช้ความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ

19

การเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายมาเป็นเกณฑ์การพิจารณาในการ เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้ า มี ก ารกำหนดการปฏิ บั ติ ใ ห้ ค วามเป็ น ธรรมแก่

ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการของข้าราชการครูให้เป็น ส่วนหนึ่งในการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เป็นกฎหมายย่อมเป็นแรง กระตุ้นและส่งเสริมให้ข้าราชการครูกระทำความดี ปฏิบัติตน เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ยั ง ส่ ง ผลให้ สั ง คมมี ค วามสงบสุ ข ศีลธรรม

เบ่งบาน การดำเนินชีวิตเปี่ยมไปด้วยความสุขทั้งผู้ปฏิบัติและ

ผู้ถูกปฏิบัติโดยเป็นไปตามหลักการของการเสริมแรงบวกให้กับ

ผู้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี อีกทั้งยังส่งผลไปถึงผู้ที่ได้พบเห็น พร้อมนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลัก การอรรถประโยชน์คือการประพฤติปฏิบัติดีจะทำให้เกิดประโยชน์ ที่ดี ผู้ที่ได้พบเห็นการกระทำที่เป็นแบบอย่างที่ดีแล้วเห็นว่าได้รับ ประโยชน์ย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและสังคมทั้งใน ปัจจุบันและในอนาคต 3. ครูดูหมิ่นเหยียดหยามข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชน ผู้มาติดต่อราชการ ข้ า ราชการครู ต้ อ งไม่ ก ลั่ น แกล้ ง ไม่ ดู ห มิ่ น เหยี ย ด หยามหรื อ ข่ ม เหงผู้ เรี ย นหรื อ ประชาชนผู้ ม าติ ด ต่ อ ราชการที่ เป็นการร้ายแรง จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2546 ในส่วนของจรรยาบรรณ ต่อผู้รับบริการ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรักเมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจแก่ลูกศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่ โดยเสมอหน้า ครูซึ่งเป็นเบ้าหลอมทางด้าน ความรู้ที่เป็นศาสตร์วิชาชีพให้กับศิษย์ เป็นเบ้าหลอมทางคุณธรรม ให้กับศิษย์ มีการเอาใจใส่ ช่วยเหลือ และส่งเสริมให้ลูกศิษย์

ที่มีความพร้อมทั้งศาสตร์ที่เป็นวิชาการและความพร้อมที่เป็น ส่วนของด้านจิตใจ คือ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่กับ สังคมได้อย่างมีความสุข (คุรุสภา. 2556) ตราบใดที่ครูผู้สอน กระทำตนตรงข้ามกับจรรยาบรรณครูในส่วนของจรรยาบรรณ ต่อผู้รับบริการแล้วลูกศิษย์หรือประชาชน ผู้รับบริการจะได้รับ ความเป็นธรรมได้อย่างไร (อารมณ์ ฉนวนจิตร. 2539) ยิ่งเป็น

การกระทำที่มีการดูหมิ่นเหยียดหยามต่อประชาชนผู้มาติดต่อ แล้ว วงการวิชาชีพครูที่ถูกยกย่องจะเสื่อมเสียเพียงใด ปัจจุบันในข่าวหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปจะเห็นข่าวครู กระทำตนไม่เหมาะสมกับการเป็นครู อาทิครูค้ายาบ้า ครูเสพ สุรา ครูทำร้ายนักเรียนจนเกินกว่าเหตุ แม้แต่ครูที่ทำการสอน วิชาพลศึกษาก็มีการกระทำอนาจารกับผู้เรียน เป็นต้น ปัญหา ต่างๆ ดังที่กล่าวมาก็จะปรากฏในมาตรา 88 พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547


20

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูจะต้องประพฤติ เป็นแบบอย่าง ที่ดีแก่ผู้เรียนและชุมชนสังคม ในการสร้างเสริมและพัฒนาวินัยข้าราชการ ครูและ บุคลากรทางด้านการศึกษา ด้านวินัยต่อประชาชนโดยการสร้าง ความตระหนักและให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปฏิบัติ หน้าที่ราชการทุกเรื่อง การให้บริการ การตรงต่อเวลา การต้อนรับ อำนวยความสะดวกและให้ความเป็นธรรม ให้ความช่วยเหลือ ประชาชน ควรนำมาสู่การปฏิบัติให้เกิดผลตามกฎระเบียบที่

วางไว้อย่างจริงจัง ควรคำนึงถึงการบริการและมิตรไมตรี รักษาความ สามัคคี ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและผู้ปกครอง ควรส่งเสริม ให้มีการพัฒนาวินัยในเรื่องการมีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวมของข้าราชการครู การบริการประชาชน ให้ ร วดเร็ ว ทั น ใจ การให้ ก ารต้ อ นรั บ ประชาชนควรเอาใจใส่

ให้มาก และควรเพียรติดต่อประชาชนที่มาติดต่อราชการ การมี ความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ เพื่อส่วนรวมของ ข้าราชการ การบริการประชาชนด้วยวาจาสุภาพ กริยาท่าทาง สุภาพและเป็นกันเอง ให้ความช่วยเหลือ สอดส่องดูแลนักเรียน ร่วมงานในชุมชน การให้ทรัพย์สินส่วนตัวแก่ข้าราชการ การอำนวย ความสะดวกในการติ ด ต่ อ ราชการเพื่ อ ประโยชน์ ต่ อ ผู้ อื่ น

การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลและความ สามัคคี การให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ การเข้าร่วมกิจกรรมกับประชาชน นักเรียนให้บ่อยครั้งการวาง ตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชน เพราะประชาชนให้ความ

คาดหวังกับครูอาจารย์ค่อนข้างสูง (คุรุสภา. 2556) กรณีตัวอย่างครูดูหมิ่นเหยียดหยาม ข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการ เช่น กลั่นแกล้งไม่นำเรื่อง

เบิกเงินงวดค่าก่อสร้างหรือแกล้งเบิกเงินล่าช้าเพราะต้องการหัก เปอร์ เซ็ น ต์ หรื อ ดู ห มิ่ น เหยี ย ดหยามผู้ เรี ย นว่ า โง่ เ ป็ น ควาย

ทั้งตระกูล เป็นต้น การกลั่นแกล้งดูหมิ่นเหยียดหยามกดขี่ข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชนนั้นมีผลเสียกระทบถึงภาพพจน์ ส่วนรวมของทาง ราชการคือ ทำให้ผู้เรียนหรือประชาชนเกิดความรู้สึกรังเกียจ หรือชิงชังบรรดาข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลายหรือ รังเกียจชิงชังรัฐบาลหรือทางราชการเป็นส่วนรวม จึงเป็นความ ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าหากการกระทำนั้นไม่มีผลเสียกระทบถึง ภาพพจน์ส่วนรวมของข้าราชการหรือของทางราชการก็ไม่เป็น ความผิดวินัยร้ายแรง แนวทางการแก้ ไขปั ญ หาครู ดู ห มิ่ น เหยี ย ดหยาม ข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการที่เป็นการร้ายแรง

มาตรการลงโทษการกระทำความผิดของครูดูหมิ่นเหยียดหยาม ข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการที่เป็นการร้ายแรง ถ้าการกระทำความผิดของครูมีมูลความผิดอย่างชัดแจ้งและ

เข้ากรณีเป็นความผิดวินัยร้ายแรง บทกำหนดโทษที่เขียนไว้ใน พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทาง

การศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 มาตรา 88 วรรค 2 เป็นบทกำหนดโทษให้เป็นโทษผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ซึ่งมี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก การกระทำความผิด

ที่มีมูลความผิดชัดแจ้ง มาตรการลงโทษต้องเป็นบทที่ลงโทษ หนักที่สุด คือ เป็นบทกำหนดโทษไล่ออกและตัดในส่วนโทษ ปลดออก ออกเหตุผลสนับสนุน ได้แก่ พฤติกรรม ที่มีผลเสีย กระทบถึงภาพพจน์ ส่วนรวมของทางราชการคือทำให้ผู้เรียน หรือประชาชนเกิดความรู้สึกรังเกียจหรือชิงชังบรรดาข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลายหรือรังเกียจชิงชังรัฐบาลหรือทาง ราชการเป็นส่วนรวมย่อมจะทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคและผลเสีย หายอันร้ายแรงในการปกครองประเทศขึ้นได้ในที่สุด จึงต้องใช้ บทลงโทษหนั ก สุ ด ตามหลั ก การลงโทษเพื่ อ การข่ ม ขู่ ยั บ ยั้ ง

ผู้ ก ระทำผิ ด จะต้ อ งมี ค วามแน่ น อนในการลงโทษและความ เคร่งครัดหรือความรุนแรงในการลงโทษเพื่อให้ผู้กระทำผิด เกิด ความกลัวในโทษ กลัวกระแสสังคมที่จะประนาม กลัวติดเป็น นิสัย การลงโทษที่มีความเคร่งครัดรุนแรง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยับยั้งตัวผู้กระทำผิดที่ถูกลงโทษโดยไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีกเพราะ เกิดความเกรงกลัวในโทษที่ได้รับอันเป็นผลให้ตัดโอกาสที่จะ กระทำผิดอีกและยังเป็นการยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กระทำผิดและ การได้รับโทษจนไม่อยากกระทำผิดเพราะเกรงกลัวในโทษ และ การที่ครูซึ่งเป็นแบบอย่างจะต้องกระทำตนเป็นแบบอย่าง โดย ครูมีจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ ครูเป็นผู้สอน คุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน ถ้าหากครูไม่กระทำความผิด เพราะเกรงกลัวต่อบทลงโทษที่มีความเคร่งครัดรุนแรง กลัวกระแส สังคมที่จะประนามก็จะเป็นหลักประกันได้ว่าวิชาชีพครูที่เป็น วิชาชีพชั้นสูงจะได้รับการยกย่องตลอดไป ไม่มีทางทำให้เสื่อม เกียรติแห่งวิชาชีพครูได้แต่อย่างใด

บทสรุป จากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการกระทำผิดของครูต่อ ประชาชนตามพระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ซึ่งปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วรวมถึงปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นไปในอนาคตผู้เขียนจึงขอเสนอแนะ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

แก้ไขปัญหาโดยการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำ ผิดของครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ในส่ ว นของมาตรการลงโทษและแนวทางบั ง คั บ ใช้ กฎหมายให้มีประสิทธิภาพตลอดจนบทกำหนดโทษที่เหมาะสม เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามการกระทำความผิดและแนวทาง

ในการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการลงโทษครูที่กระทำความผิด สรุปได้ว่า ครูไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้เขียนบทความเห็น ควรนำมาตรการลงโทษลดขั้นเงินเดือนมาเป็นบทลงโทษ ตัดใน ส่วนโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนออก และกำหนดเป็นกฎหมาย ให้มีการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีไว้ใน พระราชบั ญ ญั ติ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา

พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ปัญหาครูไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชน

ผู้เขียนบทความเห็นควรนำมาตรการลงโทษลดขั้นเงินเดือนมา เป็นบทลงโทษตัดในส่วนโทษ ภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนออก และควรกำหนดเป็ น กฎหมายให้ มี ก ารส่ ง เสริ ม การปฏิ บั ติ ต น

ต่ อ ประชาชนด้ ว ยความเสมอภาคเท่ า เที ย มกั น ในส่ ว นของ กฎหมายและศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ไว้ ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ปัญหาครูดูหมิ่นเหยียดหยาม ข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชน ผู้มาติดต่อราชการที่เป็นการร้ายแรง ผู้เขียนบทความเห็นควรนำ มาตรการลงโทษหนั ก ที่ สุ ด กรณี ที่ เ ป็ น ความผิ ด วิ นั ย ร้ า ยแรง

คือ เป็นบทกำหนดโทษ ไล่ออกและตัดในส่วนโทษปลดออก

ออกเพราะการกระทำความผิดถ้าเข้าองค์ประกอบความผิดและ มี มู ล ชั ด แจ้ ง พฤติ ก ารณ์ ค วามผิ ด ส่ ง ผลร้ า ยทำให้ เ กิ ด ปั ญ หา อุปสรรคและผลเสียหายอย่างร้ายแรงในการปกครองประเทศขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง Chanuanjit, Aarom. (1996). Teaching for Developing the Values and Ethics. Bangkok : Ramkhamhaeng

University Press. อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2539). การสอนเพื่อพัฒนาค่านิยมและ จริยธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Department of General Education. (2013). A Way to Developing Leader Teachers and Model

21

Teachers. [online], Available : http://isc.ru. ac.th/data/ED0002775.doc. [April, 2013]. กรมสามัญศึกษา. (2556). แนวทางการพัฒนาครูแกนนำและ ครูต้นแบบ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://isc.ru. ac.th/data/ED0002775.doc. [เมษายน, 2556]. Khabuandee, Peso. (2007). A Study on the Operating State of Discipline of Teacher Government Officials and Educational Personnel. Surin : The Press of Office of Surin Educational Service Area 1. เปโส ขบวนดี. (2550). การศึกษาสภาพการดำเนินการทาง วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สุรินทร์ : สำนักพิมพ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. Laabmala, Surasak. (2000). Office of the National Education Commission. Bangkok : the Phapphim Co. Ltd. Press. สุ ร ศั ก ดิ์ หลาบมาลา. (2543). สำนั ก งานคณะกรรมการ

การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทภาพ พิมพ์ จำกัด. Ministry of Education. (2013). Characteristics of Good Teachers. [online], Available : www.moe.go.th/ moe/th/blog.php?memberid=1402. [April, 2013]. กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ลั ก ษณะครู ที่ ดี . [ออนไลน์],

เข้าถึงได้จาก : www.moe.go.th/moe/th/blog.php? memberid=1402. [เมษายน, 2556]. Office of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission. (2008). The Act of Rules for Teacher Government Officials and Educational Personnel B.E. 2547 (2004), and the Amendment No. 2 B.E. 2551 (2008). Bangkok : Teachers Council Press, Ladphrao. สํ า นั ก งานคณะกรรมการข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการ ศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไข

เพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว.


22

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Office of the Teachers Council’s Secretary-General. (1998). Behavioral Regulations according to the Professional Conduct of Teachers B.E. 2539 (1996). Bangkok : Teachers Council Press, Ladphrao. สำนั ก งานเลขาธิ ก ารคุ รุ ส ภา. (2541). แบบแผนพฤติ ก รรม

ตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว. O.K. Nation. (2013). Meanings of Teacher. [online], Available : http://www.oknation. net/blog/ print.php?id=3135 01. [April, 2013]. โอเคเนชั่น. (2556). ความหมายของครู. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ จาก : http://www.oknation.net/blog/print. php?id=3135 01. [เมษายน, 2556]. Surakitbowon, Sakthai. (2013). Professional Teachers. [online], Available : www.kruthacheen. comindex. php?lay=show&ac=article&ld2. [August, 2013]. ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2556). ครูมืออาชีพ. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ จาก : www.kruthacheen.comindex. php?lay= show&ac=article&ld2. [สิงหาคม, 2556]. Teachers Council. (2013). Professional Conduct of Teachers. (1963). [online], Available : http:// www.edu.chula.ac.th/Know ledge/rule/rule 2506.htm. [May, 2513]. คุรุสภา. (2556). จรรยาบรรณครู 2506. [ออนไลน์], เข้าถึงได้ จาก : http://www.edu.chula.ac.th/knowledge/ rule/rule2506.htm. [พฤษภาคม, 2556]. Teachers Council. (2013). Teacher Professional Conduct B.E. 2546 (2003). [online], Available : http://www.sobkroo.Com /detail_room_index. php%Fnid %3D92. [May, 2013]. คุรุสภา. (2556). จรรยาบรรณวิชาชีพครู 2546. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://www. sobkroo.com/detail_ room_index.php%3 Fnid %3D92. [พฤษภาคม, 2556].


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

23

การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เรื่องประเพณีที่สำคัญ ของบ้านท่าแร่สกลนคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 The Research and Development of School Curriculum for the Social Studies, Religion and Culture Strand on an Additional Course of Local Substance Entitled ‘Important Traditions of Ban Tharae, Sakon Nakhon’ for Prathom Suksa 6 Students ณัฐิยา ศิริสวัสดิ์ Natthiya Sirisawat ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนท่าแร่วิทยา ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่นเรื่องประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรที่สร้างขึ้น 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนเรื่อง ประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนคร และ 4) ประเมินความเหมาะสมในการใช้หลักสูตรของ นักเรียน 5) ทดลองระหว่างปีการศึกษา 2552–2556 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าแร่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 18 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผนใช้เวลา 30 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.27-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21-0.79 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88

4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35-0.80 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 5) แบบประเมิน ความเหมาะสมในการใช้หลักสูตรของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59) และ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.20/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเรื่อง ประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนครโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.39) 4) ความเหมาะสมในการใช้หลักสูตรในทัศนะของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) 5) การนำหลักสูตรไปใช้ต่างโรงเรียนนักเรียนมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการใช้หลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

( = 4.60) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : หลักสูตรสถานศึกษา / รายวิชาเพิ่มเติม / สาระท้องถิ่น / ประเพณี / บ้านท่าแร่


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

24

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to develop and examine the efficiency of a school curriculum for the social studies, religion and culture strand on an additional course of local substance entitled ‘Important Traditions of Ban Tharae, Sakon Nakhon’ for Prathom Suksa 6 students based on the 80/80 criterion,

2) to compare the students’ learning achievements before and after learning with the developed curriculum,

3) to investigate the students’ attitude towards learning on important traditions of Ban Tharae, Sakon Nakhon,

4) to evaluate the appropriateness in using the curriculum among the students, and 5) to do an experiment in a period from academic year of 2009 to academic year of 2013. A sample used was Prathom Suksa 6 students at Tharae Withaya School under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 as selected

by stratified random sampling. The instruments used were: 1) supplementary reading books of 18 stories,

2) 18 lesson plans for 30 hours, 3) a 40–item learning achievement test whose difficulty values ranged between 0.27 and 0.80, discrimination power values between 0.21 and 0.79 and reliability value was 0.88, 4) an attitude assessment form consisting of 20 items, whose discrimination power values ranged between 0.35 and 0.80 and reliability value was 0.91 and 5) a 10-item form for assessing the appropriateness of using the course curriculum for students. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The findings were : 1) the developed curriculum had the highest level of appropriateness ( = 4.59) and had efficiency of 87.20/81.25 which met the criterion specified; 2) the students’ learning achievement after using the developed curriculum was significantly higher than that before using the developed curriculum at the .01 level;

3) the students’ attitude towards learning on important traditions of Ban Tharae, Sakon Nakhon as a whole was at high level ( = 4.39); 4) the appropriateness of using the developed curriculum as a whole was at the highest level ( = 4.55); and 5) when the developed curriculum was used in other schools, the appropriateness as a whole which was evaluated by students was at the highest level ( = 4.60) and the students’ learning achievement after using the curriculum was significantly higher than that before using the curriculum at the

.01 level. Keywords : School Curriculum / Additional Course / Local Substance / Tradition / Tharae Village

บทนำ หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานพุ ท ธศั ก ราช 2551 ได้ ก ำหนดจุ ด หมายให้ นั ก เรี ย นมี ทั ก ษะชี วิ ต มี จิ ต สำนึ ก

ในการอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมและภู มิ ปั ญ ญาไทย (กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร. 2552) สถานศึ ก ษาสามารถพั ฒ นารายวิ ช าสู่

การปฏิ บั ติ โ ดยจั ด ทำรายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ให้ ส อดคล้ อ งกั บ บริ บ ท

วิถีชีวิตและความต้องการของท้องถิ่นตลอดจนมวลประสบการณ์ ที่ ผู้ เรี ย นเกิ ด การเรี ย นรู้ โ ดยการปฏิ บั ติ จ ริ ง และสามารถใช้ ภู มิ ปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาผู้เรียนบนพื้นฐานสภาพชีวิตเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมประเพณีจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด (อุดม เชยกีวงศ์. 2545)

บ้านท่าแร่เป็นหมู่บ้านที่ประชากรประมาณร้อยละ 95 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งขึ้นโดยมิชชันนารี ชาวฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2427 มีชนชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ 2 กลุ่ม คื อ ชาวเวี ย ดนามและชาวลาวชาวท่ า แร่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์

ความเป็นมาวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนที่ยัง รักษาไว้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง ไปบ้างตามกาลเวลาและ เกิดการผสมผสานจากวัฒนธรรมภายนอกบ้างหรือเลือนหายไป บ้ า งเพื่ อ การอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น นั ก เรี ย นควรได้ เรี ย นรู้ ประวัติศาสตร์บ้านท่าแร่ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และอาชีพ การเมืองการปกครองและการศึกษารวมทั้งประเพณี ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น การแต่งงาน การตาย การทำบุญกองข้าว บุ ญ ร้ อ ยวั น และประเพณี ที่ เ กี่ ย วกั บ ศาสนา เช่ น การไปวั ด


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

วันอาทิตย์ การเรียนคำสอน การสวดสายประคำ การฉลองวัด การเตรี ย มตั ว เป็ น นั ก บวช วั น ปั ส กา วั น คริ ส ต์ ม าส เทศกาล

มหาพรต วันจุดเทียน เป็นต้น หากว่าไม่มีการอนุรักษ์ไว้ ไม่ให้ ความสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเพณีที่สำคัญ ของบ้านท่าแร่ ละเลยวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม อันดีงาม ของตนขาดความภาคภูมิใจไม่รักถิ่นกำเนิด อาจทำให้ ชุ ม ชนสู ญ เสี ย ความเป็ น ตั ว ตน หากชุ ม ชนสู ญ สลายไปโดย

ไม่สามารถพื้นฟูกลับคืนมาหรือไม่สามารถสร้างสรรค์ชุมชนใน รู ป ลั ก ษณ์ ใ หม่ ขึ้ น มาแทนก็ สู ญ เสี ย ความเป็ น ตั ว ตนและ เอกลักษณ์ของตนเองไป (อรรถจักร สัตยานุรักษ์. 2548) การได้ เรี ย นรู้ เรื่ อ งราวที่ ส อดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต สภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประเพณีและวัฒนธรรมที่แท้จริงในท้องถิ่น

ของตน ย่อมส่งผลให้นักเรียนเกิดความรัก ความผูกพัน ความ ภาคภู มิ ใจและอยากพั ฒ นาชุ ม ชนของตนให้ ก้ า วหน้ า ยิ่ ง ขึ้ น สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของสาลิ นี อุ ด มผล (2542) สุ ภ ารั ต น์

ปาละลี (2550) ดวงจันทร์ ประเสริฐอาษา (2550) พรทิพย์

พงษ์พันนา (2556) ที่ได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน ดั ง นั้ น ผู้ วิ จั ย เล็ ง เห็ น ปั ญ หาความจำเป็ น ที่ ต้ อ งทำการศึ ก ษา ค้นคว้าในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ พร้อมขยายผลหรือเผยแพร่ใน ลำดั บ ต่ อ ไปจึ ง ได้ จั ด ทำเป็ น หลั ก สู ต รสถานศึ ก ษากลุ่ ม สาระ

การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติม สาระท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนคร สำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 และได้ น ำเนื้ อ หามา พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 18 เรื่องซึ่งสื่อความหมาย ด้วยภาพ ทำให้นักเรียนมีความเพลิดเพลินกับรูปภาพในหนังสือ ภาพประกอบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เร้าความสนใจให้ติดตามอ่าน

เนื้อเรื่อง (สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. 2550) การสร้ า งหนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม และนำไปใช้ เ ป็ น การส่ ง เสริ ม

ให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความศรัทธาในแผ่นดินเกิด และช่วยกัน สร้างสรรค์ถิ่นเกิดของตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น (จักรภัทร พงศ์ภัทระ. 2546) และส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน สอดคล้อง กั บ งานวิ จั ย ของดวงจั น ทร์ ประเสริ ฐ อาษา (2550) พรทิ พ ย์

พงษ์พันนา (2556) วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เรื่องประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนครสำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่6ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

25

2. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของ นักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนด้วย 4. เพื่อศึกษาความเห็นของนักเรียนต่อความเหมาะสม

ในการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้นของนักเรียน 5. เพื่อ เปรี ยบเทียบผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง หลั ง เรี ย นและก่ อ นเรี ย นของ นั ก ศึ ก ษาใน 3 โรงเรี ย นที่ น ำ หลักสูตรไปใช้ สมมติฐานการวิจัย นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิธีดำเนินการวิจัย การพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ได้ดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2552–2556 แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ขั้ น ตอนที่ 1 การศึ ก ษาค้ น คว้ า และสำรวจข้ อ มู ล

พื้นฐาน โดย 1) การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนา หลักสูตร จากเอกสารตำราต่างๆ 2) ศึกษาความคิดเห็นของ

ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มเป้าหมาย ได้จากการเลือกแบบ เจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย 3) ศึกษาความคิดเห็น ของผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้รู้ในชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับแนวทางใน

การสร้างหลักสูตรและโครงสร้างของหลักสูตรกลุ่มเป้าหมาย

ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ใช้แบบสอบถาม เป็ น เครื่ อ งมื อ รวบรวมข้ อ มู ล จุ ด หมายหลั ก สู ต รต้ อ งการให้ นักเรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ประเพณีบ้านท่าแร่ โครงสร้าง และเนื้ อ หาควรประกอบด้ ว ย 3 หน่ ว ยการเรี ย นรู้ 18 เรื่ อ ง

30 ชั่วโมง แนวการจัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการกลุ่ม เชิญ วิ ท ยากรผู้ รู้ ม าให้ ค วามรู้ สื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละแหล่ ง การเรี ย นรู้

ควรใช้ ห ลากหลายเน้ น หนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม และร่ ว มกิ จ กรรม

กับชาวบ้าน การวัดผลและประเมินผลครอบคลุมความรู้ กระบวนการ และเจตคติ โดยมีโครงสร้างและเนื้อหา ดังตารางที่ 1


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

26

ตารางที่ 1 โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้

เนื้อหา

จำนวน ชั่วโมง

1. ประวัติบ้านท่าแร่ ที่ควรทราบ

2

2. สภาพทางภูมิศาสตร์

1

1. ความเป็นบ้านท่าแร่ 3. ชาติพันธุ์และวิถีชีวิต

1

2. ประเพณีในวิถีชีวิต

3. ประเพณีเกี่ยวกับ ศาสนา

4. เศรษฐกิจและอาชีพที่ลือเลื่อง

2

5. การเมืองการปกครองและ การศึกษาพาก้าวไกล

2

1. สุขใจบุญกองข้าว

2

2. รับศีลกล่าวหรือศีลแต่งงาน

2

3. การทำบุญร้อยวัน

2

4. เวียนมาถึงประเพณีการตาย

2

1. ร่วมมิสซาวันอาทิตย์

1

2. คิดถึงงานฉลองวัด

1

3. กว่าจะเป็นพระสงฆ์

2

4. ดำรงชีวิตด้วยคำสอน

1

5. วอนร่วมกันสวดสายประคำ

1

6. จดจำวันปัสกา

2

7. การเข้ามหาพรต

2

8. สุขสันต์วันคริสต์มาส

2

9. อย่าพลาดงานจุดเทียน

2

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร ดำเนินการโดย 1) สร้าง โครงร่างหลักสูตรที่ได้จากผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 ประกอบ ด้ ว ยสภาพปั ญ หาและความเป็ น มาของหลั ก สู ต ร วิ สั ย ทั ศ น์

หลั ก การ จุ ด มุ่ ง หมาย คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ส มรรถนะ สำคั ญ ของผู้ เรี ย น มาตรฐานการเรี ย นรู้ คำอธิ บ ายรายวิ ช า โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และ แหล่ ง การเรี ย นรู้ ผู้ เรี ย นตามหลั ก สู ต รและการประเมิ น ผล หลักสูตร 2) นำโครงร่างหลักสูตรที่พิจารณาแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมิน 3) ปรับปรุงหลักสูตร พิจารณาจาก ข้อมูลที่ได้จากการประเมินโครงร่างหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ

นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรเป็นนักเรียนที่เรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 โรงเรียนท่าแร่วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552–2555 จำนวน 419 คน 1.2 กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง เป็ น นั ก เรี ย นที่ เรี ย นชั้ นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าแร่วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552–2555 ปีการศึกษาละ 30 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้คะแนนการสอบปลายภาคเรียน ที่ 2 ของปีการศึกษาที่ ผ่านมาเป็นชั้น คือ คะแนนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรียงจาก คะแนนสู ง ไปหาคะแนนต่ ำ จากนั้ น แบ่ ง นั ก เรี ย นออกเป็ น

3 ระดับ คือ ร้อยละ 27 บน เป็นระดับเก่ง ร้อยละ 46 ตรงกลาง เป็ น ระดั บ ปานกลาง และร้ อ ยละ 27 ล่ า งเป็ น ระดั บ อ่ อ น นักเรียนจากระดับเก่ง 8 คน ปานกลาง 14 คน และอ่อน 8 คน รวม 30 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 2.1 หลั ก สู ต รสถานศึ ก ษากลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมรายวิชาเพิ่มเติมสาระท้องถิ่น เรื่องประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สกลนครสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 2.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 18 เรื่องได้แก่ ประวัติบ้านท่าแร่ที่ควรทราบ สภาพทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตเศรษฐกิจ และอาชีพที่ลือเลื่องการเมืองการปกครอง การศึ ก ษาพาก้ า วไกลสุ ข ใจบุ ญ กองข้ า ว รั บ ศี ล กล่ า วหรื อ ศี ล แต่งงาน การเข้ามหาพรต จดจำวันปัสการ่วมมิสซาวันอาทิตย์ คิดถึงงานฉลองวัด กว่าจะเป็นพระสงฆ์ดำรงชีวิตด้วยคำสอน วอนร่ ว มกั น สวดสายประคำการทำบุ ญ ร้ อ ยวั น สุ ข สั น ต์ วั น คริสต์มาสอย่าพลาดงานจุดเทียนเวียนมา ถึงประเพณีการตาย

มี วิ ธี ส ร้ า ง ดั ง นี้ 1) ศึ ก ษาหลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานและ หลักสูตรที่สร้างขึ้น 2) ศึกษาทฤษฎีหลักการ แนวคิด เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับ เด็ก 3) ถ่ายภาพแหล่งข้อมูลนำข้อมูลทั้งหมดมาศึกษาวิเคราะห์ ส่วนที่เหมือนกันและส่วนที่มีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันเพื่อ ให้ เ นื้ อ เรื่ อ งมี ค วามเป็ น เอกภาพถู ก ต้ อ งตามข้ อ เท็ จ จริ ง และ สอดคล้องกันอย่างสมเหตุสมผล 4) สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม และนำหนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม ไปให้ ผู้ เชี่ ย วชาญประเมิ น พบว่ า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53) 2.3 แผนการจัดการเรียนรู้มีวิธีสร้าง ดังนี้ 1) ศึกษา และวิเคราะห์หลักสูตร 2) ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้และเทคนิควิธี


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย 18 หน่วยย่อย 30 ชั่วโมง 4) ศึกษาแนวคิด รูปแบบการจัดการ เรียนรู้ ลักษณะและวิธีเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี 5) เขียน แผนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยย่อย 6) ตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบประเมิน ความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า ความ เหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61) 2.4 แบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นเป็ น แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ

มี วิ ธี ส ร้ า ง ดั ง นี้ 1) ศึ ก ษาเอกสารงานวิ จั ย ผลการเรี ย นรู้ ข อง หลักสูตร และวิธีการสร้างแบบทดสอบที่ดี 2) สร้างแบบทดสอบ วั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นแบบอิ ง เกณฑ์ จำนวน 60 ข้ อ ต้องการใช้จริง 40 ข้อ 3) ประเมินค่าความเหมาะสมและความ สอดคล้ อ งของแบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น โดย

ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( = 4.86) 4) จัดพิมพ์เป็นแบบทดสอบฉบับทดลอง แล้ว นำไปทดลองใช้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 100 คน 5) นำคะแนนที่ได้จากการตรวจมา วิ เ คราะห์ ข้ อ สอบรายข้ อ โดยวิ ธี ข องเบรนแนน (บุ ญ ชม

ศรีสะอาด. 2546) คัดเลือกข้อสอบไว้จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่า ความยากระหว่าง 0.27-0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.79 6) หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีของโลเวทท์

(บุญชม ศรีสะอาด. 2546) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 2.5 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า จำนวน 30 ข้อ โดย 1) ศึกษาจุดประสงค์ของ หลักสูตร ศึกษาเอกสารวิธีสร้างแบบวัดเจตคติ และงานวิจัย

2) สร้างแบบวัดเจตคติต่อการเรียนแบบลิเคิร์ท 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ใช้จริง 20 ข้อ 3) ประเมินค่าความเหมาะสมและความ สอดคล้องของแบบวัดเจตคติ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84) 4) นำแบบวัดเจตคติ ฉบั บ ทดลองไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นประถมศึ ก ษาปี ที่ 6

ปีการศึกษา 2552 จำนวน 100 คน หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 2.6 แบบประเมินความเหมาะสมในการใช้หลักสูตรของ นั ก เรี ย นเป็ น แบบมาตราส่ ว นประมาณค่ า 5 ระดั บ จำนวน

10 ข้ อ สร้ า งแบบประเมิ น ความเหมาะสมการใช้ ห ลั ก สู ต รที่ ครอบคลุมองค์ประกอบของการใช้หลักสูตรและปัญหาอุปสรรค ในการใช้ ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ ค่าคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56)

27

3. การดำเนินการทดลอง แบ่งเป็น 4 ระยะ โดยผู้วิจัย เป็นผู้ทดลองด้วยตนเองทั้งหมด ดังนี้ 3.1 การทดลองระยะที่ 1 ทดลองในปีการศึกษา 2552 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ท่าแร่วิทยา ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน ทดลองกลุ่ ม เล็ ก จำนวน 9 คน และทดลอง

ภาคสนาม จำนวน 30 คน เป็นการทดลองใช้เครื่องมือและตรวจ สอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการทำ แบบฝึกหัดท้ายเรื่องหนังสืออ่านเพิ่มเติมร้อยละ 87.07 3.2 การทดลองระยะที่ 2 ทดลองในปีการศึกษา 2553 เป็นการทดลองนำร่องและหาประสิทธิภาพหลักสูตรสุ่ม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองในวันที่ 4-29 พฤศจิ ก ายน 2553 ใช้ ร ะยะเวลา 18 วั น รวม 30 ชั่ ว โมง

(การทดลองครั้งนี้ไม่ได้ใช้แบบวัดเจตคติ) พบว่า หลักสูตรมีค่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.20/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 และมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมการใช้ หลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29) 3.3 การทดลองระยะที่ 3 ทดลองในปีการศึกษา 2554 สุ่ ม กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง จำนวน 30 คน ดำเนิ น การทดลอง

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2554 ใช้เวลา 18 วัน รวม 30 ชั่วโมงพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีเจตคติ ต่อการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07) และมีความคิด เห็ น ต่ อ ความเหมาะสมการใช้ ห ลั ก สู ต รอยู่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด

( = 4.51) 3.4 การทดลองระยะที่ 4 ทดลองในปีการศึกษา 2555 (ทดลองซ้ำ) ในวันที่ 6-29 พฤศจิกายน 2555 มีวิธีการ ดำเนิ น การทดลองเช่ น เดี ย วกั บ การทดลองระยะที่ 3 พบว่ า

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ( = 4.39) และมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสม

การใช้หลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร โดยพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนน เฉลี่ยเจตคติต่อการเรียน และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียน ต่อความเหมาะสมของการใช้หลักสูตร ระยะที่ 2 การนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ต่างโรงเรียน โดยผู้ใช้ไม่ใช่ผู้วิจัย ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ในโรงเรียน


28

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

3 โรงเรี ย นสั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา สกลนคร เขต 1 ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับโรงเรียนท่าแร่วิทยา และ พร้อมให้ความร่วมมือได้แก่ โรงเรียนเซนต์ โยเซฟท่าแร่ จำนวน นักเรียน 118 คน โรงเรียนนิรมลวิทยาจำนวนนักเรียน 94 คน และโรงเรียนทุ่งมนพิทยาคาร จำนวนนักเรียน 51 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โรงเรียน ละ 1 ห้องเรียนรวมนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน ได้แก่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟท่าแร่ จำนวน 39 คน โรงเรียนนิรมล วิทยา จำนวน 32 คน และโรงเรียน ทุ่งมนพิทยาคาร จำนวน

28 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 2.1 หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ประเพณีที่สำคัญ ของบ้านท่าแร่สกลนคร จำนวน 18 เรื่อง 2.2 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.4 แบบประเมินความเหมาะสมการใช้หลักสูตร 3. การดำเนินการทดลองในปีการศึกษา 2556 ตาม แผนการจัดการเรียนรู้ในเวลาที่โรงเรียนกำหนดใช้เวลาทดลอง โรงเรียนละ 18 วันดังนี้ โรงเรียนเซนต์โยเซฟท่าแร่ ระหว่างวันที่ 3-26 กรกฎาคม 2556 โดยนางศิวาพร ทองอันตัง โรงเรียน นิรมลวิทยาระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2556 โดย นางสาวพรทิพย์ เสมอพิทักษ์ โรงเรียนทุ่งมนพิทยาคาร ระหว่าง วันที่ 21 สิงหาคม ถึง 13 กันยายน2556 โดยนางสาวธนาภรณ์ เวชศิ ริ ย านั น ท์ ผลการทดลองพบว่ า นั ก เรี ย นมี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการใช้ หลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60) การเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร 1.1 การศึ ก ษาค้ น คว้ า และสำรวจข้ อ มู ล พื้ น ฐาน

การศึ ก ษาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ แนวทางในการพั ฒ นาหลั ก สู ต รจาก

1) เอกสารตำราต่ า งๆ 2) การสั ม ภาษณ์ ค วามคิ ด เห็ น ของ

ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 5 ท่าน 3) การศึกษา ความคิ ด เห็ น ของผู้ บ ริ ห าร นั ก เรี ย น ครู ผู้ ส อน ผู้ รู้ ใ นชุ ม ชน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน รวม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละประกอบการบรรยาย 1.2 การสร้างหลักสูตรประกอบด้วยสภาพปัญหา และความเป็ น มา วิ สั ย ทั ศ น์ จุ ด มุ่ ง หมาย คุ ณ ลั ก ษณะอั น

พึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู ้

คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ผู้เรียนตามหลักสูตร และการ ประเมิ น ผลหลั ก สู ต รโครงร่ า งหลั ก สู ต รพิ จ ารณาโดยคณะ กรรมการจำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนผู้รู้ในชุมชน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยาย ประเมิ น โครงร่ า งหลั ก สู ต รโดยผู้ เชี่ ย วชาญ จำนวน 5 คน หลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.59) มีค่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.20/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 1.3 การทดลองใช้หลักสูตร 1.3.1 ก่อนการทดลอง ใช้แบบทดสอบผลสัม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นเก็ บ คะแนนก่ อ นเรี ย น พบว่ า ปี ก ารศึ ก ษา 2553 ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.75 ปีการศึกษา 2554 ได้ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.92 และปีการศึกษา 2555 ได้คะแนน เฉลี่ยร้อยละ 46.67 1.3.2 ระหว่างทดลองประเมินผลงานกลุ่มของ นักเรียนโดยให้ทำแบบฝึกหัดท้ายหนังสืออ่านเพิ่มเติมแต่ละเรื่อง และทดสอบย่อยท้ายแผน ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนของนักเรียนในแต่ละปี การศึกษาที่ทดลองใช้หลักสูตร ปีการศึกษา

ประเมิน ผลงานกลุ่ม (ร้อยละ)

แบบฝึกหัด ท้ายหนังสือ (ร้อยละ)

ทดสอบ ย่อยท้ายแผน (ร้อยละ)

2553

89.72

82.67

84.17

2554

91.93

84.39

84.24

2555

91.56

84.15

83.87

1.3.3 หลังการทดลอง ทดสอบโดยใช้แบบทด สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติและแบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อความหมาะสมของการใช้หลักสูตร ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเจตคติและ ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการใช้หลักสูตร ในแต่ละปีการศึกษาที่ทดลองใช้หลักสูตร ปีการศึกษา

ผลสัมฤทธิ์ (ร้อยละ)

เจตคติ ()

ความเหมาะสม ()

2553

81.25

3.93

4.29

2554

88.17

4.07

4.51

2555

90.67

4.39

4.55


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ระยะที่ 2 การนำหลั ก สู ต รไปใช้ ต่ า งโรงเรี ย น ในปี

การศึกษา 2556 โดยครูที่สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในโรงเรียนนั้นๆ ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่ อ นเรี ย น และหลังเรียนและความคิดเห็นต่อความเหมาะสม ของการใช้หลักสูตรในแต่ละโรงเรียนที่นำหลักสูตร ไปใช้ คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์

ความเหมาะสม ()

โรงเรียน

ก่อนเรียน (ร้อยละ)

หลังเรียน (ร้อยละ)

เซนต์โยเซฟท่าแร่

49.17

83.59

4.79

นิรมลวิทยา

47.97

81.33

4.60

ทุ่งมนพิทยาคาร

45.63

80.89

4.41

เฉลี่ย

47.59

81.94

4.60

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. หาประสิ ท ธิ ภ าพของหลั ก สู ต รตามเกณฑ์ 80/80

ใช้สูตร E1/E2 (เผชิญ กิจระการ. 2544) ดังนี้ X E2 = ∑N F E 1 = ∑N x 100, A B x 10 เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ ∑X แทน ผลรวมของคะแนนระหว่างเรียน A แทน คะแนนเต็มระหว่างเรียน E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ∑F แทน ผลรวมของคะแนนหลังเรียน B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบ N แทน จำนวนผู้เรียน หลักสูตรมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 87.20/81.25 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน–หลังของ นักเรียนใช้ (t-test) แบบ Dependent Samples 3. วิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนและความคิดเห็นต่อ ความเหมาะสมการใช้หลักสูตรใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การแปลผลใช้เกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2546)

29

สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น ดังตารางที่ 5-6 ตารางที่ 5 ประสิทธิภาพของหลักสูตร (E1) รายการ

คะแนนเต็ม

S.D.

ร้อยละ

ผลงาน

60

53.83

1.88

89.72

ทดสอบท้ายแผนฯ

20

16.53

1.33

82.67

แบบฝึกหัดท้าย เรื่องหนังสืออ่านเพิ่มเติม

20

16.83

1.09

84.17

87.20

2.58

87.20

เฉลี่ย

ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียน (E1) = 87.20

จากตารางที่ 5 พบว่า นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรที่ สร้ า งขึ้ น ได้ ค ะแนนรวมเฉลี่ ย 87.20 จากคะแนนเต็ ม 100 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.20 (E1 = 87.20) ตารางที่ 6 แสดงคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนหลังใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น (E2) คะแนนเต็ม

S.D.

ร้อยละ

40

32.50

4.02

81.25

ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียน E2 = 81.25

จากตารางที่ 6 พบว่า เมื่อนักเรียนได้เรียนตามหลักสูตร ที่สร้างขึ้นหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์รวมเฉลี่ย 32.50 จากคะแนน เต็ม 40 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 81.25 (E2) = 81.25 หลักสูตรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.20/ 81.25 หมายความว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่

ตั้งไว้ 2. การเปรี ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของนั ก เรี ย น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ดังตารางที่ 7 ตารางที่ 7 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนเต็ม 40

หลังเรียน  S.D. 33.87

ก่อนเรียน  S.D.

t

sig

3.85 18.67 5.71 17.29** .00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

30

จากตารางที่ 7 พบว่ า ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นตาม หลักสูตรหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดั บ .01 แสดงว่ า นั ก เรี ย นมี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ประเพณีที่สำคัญของบ้านท่าแร่สูงขึ้น 3. เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนและผลการประเมิน ความเหมาะสมในการใช้หลักสูตร ดังตารางที่ 8

ตารางที่ 8 แสดงผลการวัดเจตคติของนักเรียน คะแนนเต็ม 5

เจตคติต่อการเรียน 

S.D.

ความเหมาะสมของ การใช้หลักสูตร

4.39

0.59

4.55

จากตารางที่ 8 พบว่า หลังเรียนตามหลักสูตรที่สร้างขึ้น นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนโดยรวมเฉลี่ย 4.39 แสดงว่า นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก 4. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อความเหมาะสมในการ ใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น โดยรวมเท่ากับ 4.55 แสดงว่าหลักสูตรมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 5.การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างหลัง เรียนและก่อนเรียนของนักเรียนใน 3 โรงเรียน ที่นำหลักสูตรไปใช้ ดังตารางที่ 9 ตารางที่ 9 แสดงผลการการเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท าง

การเรียนหลังเรียนและก่อนเรียนหลังนำหลักสูตร ไปใช้ต่างโรงเรียน ผลสัมฤทธิ์

โรงเรียน

หลังเรียน

ก่อนเรียน

S.D.

t

sig

S.D.

นิรมลวิทยา

4.79 33.44 4.17 19.67 4.51 20.02** 4.60 32.53 4.01 19.19 3.80 18.55**

.00

ทุ่งมนพิทยาคาร

4.41 32.36 3.83 18.25 3.44 25.21**

.00

เซนต์โยเซฟท่าแร่

เฉลี่ย

.00

4.60 32.78 4.00 19.04 3.92

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อภิปรายผลการวิจัย 1. หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบครบถ้วนคุณภาพ ของหลั ก สู ต รโดยรวมอยู่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด (  = 4.59) ประสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 87.20/81.25 สู ง กว่ า เกณฑ์ ที่ ก ำหนด

80/80 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 1 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะหลักสูตรได้รับการประเมินและปรับปรุงแก้ไขมาอย่าง

ต่อเนื่องตามลำดับ จนเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ มีคุณภาพตาม เกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกประการ ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาหลักสูตร อย่างมีระบบและเป็นขั้นตอนตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ได้บูรณาการตามขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของ ทาบา (Taba. 1962) ไทเลอร์ (Tyler. 1949) และสงัด อุทรานันท์ (2532)

อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาค้นคว้าและสำรวจ ข้อมูลพื้นฐานการสร้างหลักสูตร การทดลองใช้หลักสูตร และ การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร สอดคล้องกับกระบวนการ พัฒนาหลักสูตรของสาลินี อุดมผล (2542) ศรีวรรณ จันทร์หงส์ (2542) ซึ่งสามารถใช้กระบวนการดังกล่าวในการพัฒนาหลักสูตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานการวิจัย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้วิจัยได้จัดการเรียนรู้

ที่ ยึ ด นั ก เรี ย นเป็ น สำคั ญ มี ก ารให้ ค วามรู้ โ ดยวิ ท ยากรท้องถิ่น

มี ก ารแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ซึ่ ง กั น และกั น ทั้ ง ครู แ ละนั ก เรี ย น นักเรียนจะเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่ม นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอดคล้อง กับผลการพัฒนาหลักสูตรของ สุภารัตน์ ปาละลี (2550) ที่ได้ ทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสาระท้องถิ่น พบว่า เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองใช้หลักสูตรนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่สูงขึ้น 3. เจตคติ ต่ อ การเรี ย นโดยภาพรวมอยู่ ใ นระดั บ มาก

( = 4.39) ซึ่งเป็นไปวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 3 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะการจัดการเรียนรู้ของครูที่หลากหลาย เช่น การให้ข้อมูลที่ ถูกต้อง การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน การจัดกิจกรรมโดย อาศั ย ประสบการณ์ ต รงเป็ น การเสริ ม สร้ า งพั ฒ นาเจตคติของ นักเรียนได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ดวงจันทร์ ประเสริฐอาษา (2550) พรทิ พ ย์ พงษ์ พั น นา (2556) พบว่ า เมื่ อ เสร็ จ สิ้ น

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแล้ว นักเรียนมีเจตคติต่อเรื่องที่ เรียนดีขึ้น 4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการใช้ หลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) ซึ่งเป็นไป ตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ 4 ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจาก หลักสูตรที่สร้างขึ้นเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียน เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนซึ่งสอดคล้องกับ ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539) ที่ได้เสนอแนะว่า การเรียนรู้ที่ดีควรเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ ใกล้ตัว เพราะที่ผู้เรียนสามารถรับได้รวดเร็วกว่า หลักสูตรเกี่ยวกับ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ท้องถิ่นทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม ของท้องถิ่นตน ซึ่งจะช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรัก ความผูกพัน ภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข 5. ความคิ ด เห็ น ของนั ก เรี ย นต่ อ ความเหมาะสมต่ า ง โรงเรียนใน 3 โรงเรียนของการนำหลักสูตรที่สร้างขึ้นไปใช้ในปี การศึกษา 2556 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60) และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การวิจัยข้อ 5 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเมื่อเรียนตามหลักสูตรแล้ว นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ อันจะนำไปสู่ ความรัก ความผูกพันกับท้องถิ่นของตน สอดคล้องกับ บุญชม ศรีสะอาด (2546) แนะนำว่า สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมี ประสบการณ์ จึงง่ายต่อการเข้าใจและเอื้อต่อการนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ ก่อนนำหลักสูตรไปใช้ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ของ หลั ก สู ต ร แผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ ละหนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม ให้ เข้าใจ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญสถาปัตยกรรม บ้านร้อยปีของชาวท่าแร่

เอกสารอ้างอิง Choei-keewong, Udom. (2002). Local Curriculum : Strategy to Reform Learning. Bangkok : Bannakit. อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์ปฏิรูป การเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ. Chuarattanaphong, Jaithip. (1996). Developing a Curriculum : Principle and Practical Approach. Bangkok : Alene Place. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการ และแนวปåฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อลีนเพลส. Jan-hong, Sriwan. (1999). Development of a Curriculum for Transferring Local Wisdom

31

on Basketwork for Prathom Suksa 6 Students : A Case Study in Wat Yokkrabutra (Soob Ratnusorn), Samut Sakhon Province. An M. Ed. Thesis. Bangkok : Silpakorn University. ศรีวรรณ จันทร์หงส์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง งานจักสานชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 : ศึกษากรณีโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์ นุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. Kit-radarn, Phachoen. (2001). “An Analysis of Efficiency of Educational Media and Technology (E1/E2),” Educational Evaluation Mahasarakham University. 7 : 44-51. เผชิญ กิจระการ. (2544). “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2),” การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7 : 44-51. Ministry of Education. (2009). A Manual for Development of a Curriculum according to the Local Needs. Bangkok : The Agricultural Assembly of Thailand. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรตาม ความต้องการของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ชุมนุมการเกษตร แห่งประเทศไทย. Moonkham, Suwit and Sunthonprasert, Sununtha. (2007). Development of Academic Work for Being Promoted in Academic Status. Bangkok : Phapphim Ltd. Partnership. สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนา ผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. Palali, Supharat. (2007). School Curriculum Development on Indigo-Died Cloth for the Third Span of Classes at Duea-Sriphraiwan School under the Office of Educational Service Area 3. An M.Ed. ; Thesis. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.


32

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สุภารัตน์ ปาละลี. (2550). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ผ้าย้อมครามช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเดื่อศรี ไพรวัลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาตรมหาบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร.

Satayanurak, Atthachak. (2005). History for the Community : The New Direction of History Study. Bangkok : Office of Fund for Supporting Research (OFSR). อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Phongphanna, Phonthip. (2013, May-August). “Development of a Course Curriculum on Ban Chiangkhrua Ceramics, the Work, Career and Technology Learning Strand, for Mathayom Suksa 2 Students at Tharae Suksa School, under the Office of Secondary Education Service Area 23,” Nakhon Phanom University Journal. 3(2) : 56-63.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัย เกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรทิพย์ พงษ์พันนา. (2556, พฤษภาคม-สิงหาคม). “การพัฒนา หลั ก สู ต รรายวิ ช า เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาบ้ า นเชี ย งเครื อ

กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ก ารงานอาชี พ และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าแร่ศึกษา สำนักงานเขต พื้ น ที่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา เขต 23,” วารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม. 3(2) : 56-63.

Taba, H. (1962). Curriculum Development : heory and Practice. New York : Harcourt, Brace and world Inc. Tyler, R. W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago : University of Chicago Press.

Phongphatthara, Jakraphat. (2003). A Manual of Writing a Supplement of Experience according to the Local Needs. 3rd Ed. Bangkok : Thanuksorn.

Udomphon, Salinee. (1999). Development of Local Curriculum for Transferring Indigenous Wisdom on Cutting and Polishing Onyx. An M.Ed. Thesis. Bangkok : Silpakorn University.

จั ก รภั ท ร พงศ์ ภั ท ระ. (2546). คู่ มื อ การเขี ย นหนั ง สื อ เสริ ม ประสบการณ์ตามความต้องการของท้องถิ่น. พิมพ์ครั้ง ที่ 3. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

สาลิ นี อุ ด มผล. (2542). การพั ฒ นาหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่อง การเจียระไนนิล. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต . กรุ ง เทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Prasert-asa, Duangjan. (2007). Development of a Curriculum Using Local Wisdom, the Work, Career and Technology Learning Strand

on ‘Raising Crickets’ for Mathayom Suksa 1 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. ดวงจันทร์ ประเสริฐอาษา. (2550). การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีเรื่อง การเลี้ยงจิ้งหรีด ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Srisa-aad, Boonchom. (2003). Development of Curriculum and Curriculum Research. Bangkok : Suwiriyasaan.

Uthranun, Sa-ngad. (1989). The Basics and Principles of Curriculum Development. 3rd Ed. Bangkok : Mitr Siam. สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มิตรสยาม.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

33

การจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร Management of Labor for the Quality of Work Life among the Burmese Migrant Workers in Samut Sakhon Province จำรัส อึ้งศรีวงษ์1 วัชระ ยาคุณ2 พลศักดิ์ จิรไกรศิร3ิ และ กรเอก กาญจนาโภคิน4 Jamrat Ungsriwong,1 Vatchara Yakun,2 Polsak Jirakraisiri3 and Korneak Kanjanapokin4 1

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการบริหารจัดการรัฐกิจ คณะรัฐประศาสนศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2 ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) อาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 3 ร.ด. (รัฐศาสตร์) รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 4 ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา) อาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า

ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาระดับการดำเนินการด้านการจัดการแรงงานภาครัฐของเจ้าหน้าที่พื้นที่และนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ในจังหวัดสมุทรสาคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแรงงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า

ในจังหวัดสมุทรสาคร และ 4) สร้างตัวแบบการจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน การศึกษาวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณเป็นหลักและ วิธีเชิงคุณภาพเป็นวิธีเสริม โดยมีขอบเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ ภาครัฐในพื้นที่จำนวน 7 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และแบบสอบถามปลายปิดจากแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า จำนวน

1,045 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติขั้นสูงที่ใช้ได้ แก่ Canonical Correlation และ Path Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับต่ำ 2) การดำเนินการด้านการจัดการแรงงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

3) การจัดการแรงงานกับคุณภาพชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และ 4) การจัดการแรงงานในด้านการเสริมสร้างความ คุ้มครองมาตรฐานแรงงาน และการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานในด้านการได้รับ

ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตทั่วไป และด้านความเป็นธรรมในการทำงาน สามารถนำไปสู่ การสร้างตัวแบบการจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยวิธีการวิเคราะห์เส้นทางเพื่อเป็นแนวทาง

การเสริมสร้างความคุ้มครองมาตรฐานแรงงาน และการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ แรงงานต่างด้าวในการทำงานได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตทั่วไป และความเป็นธรรมใน การทำงาน บนหลักปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี คำสำคัญ : การจัดการแรงงาน / คุณภาพชีวิตการทำงาน / แรงงานต่างด้าว / จังหวัดสุมทรสาคร / หลักปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

34

ABSTRACT The objectives of this study were to: 1) investigate the operating level of quality of work life of the Burmese migrant workers in Samut Sakhon province, 2) examine the operating level of management of labor among local government officials and entrepreneurs, 3) examine the relationship between management of labor and quality of work life among the Burmese migrant workers in Samut Sakhon province, and 4) create a model of management of labor for quality of work life. The study mainly employed quantitative research method and used qualitative research method as a supplement. The scope of study area was limited to Samut Sakhon province. Data collection was conducted through in-depth interviews from 7 government officials and 10 entrepreneurs and through a close-ended questionnaire from 1,045 Burmese migrant workers. Data analysis was done using descriptive statistics of percentage, frequency, mean, and standard deviation. The advanced statistics of canonical correlation and path analysis were also employed. The findings were as follows: 1) The operating in Burmese migrant workers’ quality of work life in Samut Sakhon province was at low level; 2) the operating in management of labor as a whole was at moderate level; 3) management of labor and quality of work life were highly correlated; and 4) management of labor in terms of enhancing the protection of labor standards and enhancing responsibility for the society was in relation to the quality of work life in those aspects of being basically protected, of relationship between the work life and life in general, and of fairness in work. Such enhancements of labor in relationship with quality of work life are able to lead to creating a model of management of labor for migrant workers. The path analysis was conducted as a guide to enhancing the protection of labor standards and the responsibility for the society. This will affect migrant workers’ quality of work life. Basic protection is to be given to them by allowing them to relate their work life to life in general, and allowing them to receive fairness in work based on the principle of good labor practice (GLP). Keywords : Management of Labor / Quality of Work Life / Migrant Workers / Samut Sakhon Province / Principle of Good Labor Practice (GLP)

บทนำ การบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานจากภาครัฐ ที่ ข าดความจริ ง จั ง และการปฏิ บั ติ ใ ห้ ถู ก ต้ อ งตามกฎหมาย

ถู ก เพิ ก เฉยละเลยจากสถานประกอบการ ทำให้ เ กิ ด ปั ญ หา

ต่ อ แรงงานต่ า งด้ า วที่ ต้ อ งทำงานเสี่ ย งอั น ตรายต่ อ ชี วิ ต และ

อาชีวอนามัย ขัดต่อหลักการคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี ในการที่ ได้ทำงานอย่างมีคุณค่า (Decent Work) ซึ่งองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ กล่าวถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน ในการมี โอกาสและรายได้ การได้ แ สดงออก การได้ รั บ การยอมรั บ

ความมั่ น คงของครอบครั ว การได้ พั ฒ นาตนเอง การได้ รั บ

ความยุติธรรม และความเสมอภาคทางเพศ (สำนักงานแรงงาน ระหว่างประเทศ. 2552) จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม มีโครงสร้างพื้นฐาน ความต้องการใช้แรงงานไร้ฝีมือเพิ่มสูงขึ้น

ตลอดมา โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงทะเล และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งคนไทยไม่ต้องการทำเพราะ เป็นงานสกปรก (Dirty) เป็นงานยากลำบาก (Difficult) และ เป็นงานที่ต้องเสี่ยงกับอันตราย (Dangerous) แรงงานระดับล่าง เหล่ า นี้ จึ ง เป็ น แรงงานต่ า งด้ า วเสี ย ส่ ว นใหญ่ และถู ก เอารั ด

เอาเปรียบจากนายจ้างในการบังคับทำงานที่เกินเวลา อัตราค่าจ้าง ที่ต่ำ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะตามกฎระเบียบ ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในการปฏิบัติงาน สภาพที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมที่แออัดเสื่อมโทรม ไม่เป็นไปตามปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universalm Declaration of Human Rights) และกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ จากรายงานของสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ได้รายงาน การประสบอุ บั ติ เ หตุ อั น ตรายจากการทำงาน ระหว่ า งเดื อ น


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

มกราคม ถึงเดือนสิงหาคม 2554 มีแรงงานได้รับอุบัติเหตุทั้งสิ้น จำนวน 5,609 ราย เป็ น การสู ญ เสี ย ชี วิ ต จำนวน 11 ราย

สูญเสียอวัยวะ จำนวน 445 ราย ต้องหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 2,023 ราย และหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 3,130 ราย (วิษณุ มะลิวัลย์. 2554) ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและ งบประมาณของแผ่นดิน จากความเป็ น มาและความสำคั ญ ของปั ญ หาดั ง กล่ า ว

ข้ า งต้ น ผู้ วิ จั ย จึ ง ต้ อ งการศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การจั ด การแรงงาน ศึกษากรณีคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ผลที่ได้จากการวิจัยจะก่อให้เกิด ประโยชน์ สู ง สุ ด ด้ า นการจั ด การแรงงาน ในการแก้ ไขปั ญ หา

การทำงานของแรงงานต่างด้าว สามารถรองรับการเข้ารวมตัว ของประชาคมอาเซี ย น และยั ง เป็ น การป้ อ งกั น ปั ญ หาจาก มาตรการการกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศคู่ค้าที่ สำคั ญ จากการละเมิ ด สิ ท ธิ แรงงาน อั น จะก่ อ ให้ เ กิ ด ผลดี ท าง เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาระดั บ การดำเนิ น การด้ า นคุ ณ ภาพชี วิ ต

การทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร

2. เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการด้านการจัดการแรงงาน ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ และนายจ้างหรือสถานประกอบการ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแรงงาน กั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต การทำงานของแรงงานต่ า งด้ า วสั ญ ชาติ พ ม่ า

ในจังหวัดสมุทรสาคร 4. เพื่ อ สร้ า งตั ว แบบการจั ด การแรงงานเพื่ อ คุ ณ ภาพ ชีวิตการทำงาน กรอบแนวคิดการวิจัย จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้กรอบแนวคิด เกี่ยวกับการจัดการแรงงาน ตามแนวคิดของกระทรวงแรงงาน (2555) มีองค์ประกอบ คือ การเสริมสร้างความคุ้มครองตาม มาตรฐานแรงงาน การเสริมสร้างความคุ้มครองชีวิตแรงงาน

การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม และการบริการจัดการ แรงงานต่างด้าว ในส่วนของคุณภาพชีวิตการทำงานใช้กรอบ แนวคิดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Delamotte and Takezawa. 1984) มีองค์ประกอบ คือ การทำงานได้รับความ คุ้มครองขั้นพื้นฐาน ความเป็นธรรมในการทำงาน การมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น การได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ และความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชี วิ ต การทำงานกั บ ชี วิ ต ทั่ ว ไป

สรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้

35

ตัวแปรอิสระ การจัดการแรงงาน 1. การเสริมสร้างความ คุ้มครองตามมาตรฐาน แรงงาน 2. การเสริมสร้างความ คุ้มครองชีวิตแรงงาน 3. การเสริมสร้างความ รับผิดชอบต่อสังคม 4. การบริการจัดการแรงงาน ต่างด้าว

ตัวแปรตาม คุณภาพชีวิตการทำงาน 1. การทำงานได้รับความ คุ้มครองขั้นพื้นฐาน 2. ความเป็นธรรมในการ ทำงาน 3. การมีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็น 4. การได้ทำงานที่ท้าทาย ความสามารถ 5. ความสัมพันธ์ระหว่าง ชีวิตการทำงานกับชีวิต ทั่วไป

วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยนำการวิจัยเชิงปริมาณ ขึ้ น เป็ น ข้ อ มู ล หลั ก ร่ ว มกั บ การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพเป็ น ข้ อ มู ล รอง ประชากรและพื้นที่เป้าหมาย อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย คื อ 1) แรงงานต่ า งด้ า ว สัญชาติพม่าจำนวน 307,443 คน (สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพในราชการ. 2555) 2) เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กั บ แรงงานต่ า งด้ า ว จำนวน 7 คน และ 3) นายจ้ า งหรื อ

ผู้ประกอบการจำนวน 10 คน 2. กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ แรงงาน ต่างด้าวสัญชาติพม่า โดยใช้แนวคิดกำหนดขนาดตัวอย่างของ Yamane (1970) ที่ความคลาดเคลื่อน 3% ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,111 คน สุ่ ม กลุ่ ม ตั ว อย่ า งแรงงานแบบใช้ ค วามสะดวก (Convenience Sampling) หรือแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถาม ปลายปิ ด แบบมาตราส่ ว นประมาณค่ า 5 ระดั บ มี 3 ส่ ว น จำนวนรวมทั้ ง สิ้ น 61 ข้ อ ส่ ว นเครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย เชิ ง คุณภาพ เป็นแบบสอบถามลักษณะคำถามปลายเปิด รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย 1) หาค่าความ เที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) จากค่าความสอดคล้อง แต่ ล ะข้ อ ระหว่ า งวั ต ถุ ป ระสงค์ ตั ว แปร ดั ช นี ตั ว ชี้ วั ด ของ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ด้วยการคำนวณหาค่า IVC


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

36

(Item Variable Congruence Index) จากผู้ทรง คุณวุฒิที่มี ความเชี่ยวชาญ 5 คน โดยค่าความสอดคล้อง (Congruence) ตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ต้องมีค่ามากกว่า 0.7 (พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. 2556) สำหรั บ ค่ า ความเที่ ย งตรงตามเนื้ อ หาในที่ นี้ ไ ด้ เ ท่ า กั บ 0.88 และ 2) ทำการทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วย การนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติ เหมื อ นกั น แต่ ต่ า งพื้ น ที่ จำนวน 30 คน โดยคำนวณหาค่ า สัมประสิทธิ์อัลฟา ด้วยวิธีการของ Cronbach (Coefficient–α) ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.91 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขอหนังสืออนุเคราะห์เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ ภาครัฐและผู้ประกอบการจาก วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ 2. เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการอบรมอาสา สมัครต่างด้าว พม่า ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนแจก แบบสอบถามและเก็บรวบรวม 3. สั ม ภาษณ์ แ ละเก็ บ ข้ อ มู ล ด้ ว ยตนเอง โดยใช้ ร ะยะ เวลาระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ระดับการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานซึ่ง เป็นตัวแปรตามใช้ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีเกณฑ์การแปรผล ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เกณฑ์ในการแปลผลของตัวแปรตาม คะแนนเฉลี่ย ()

ความหมาย

4.50 - 5.00 มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานระดับ “มากที่สุด” 3.50 – 4.49 มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานระดับ “มาก” 2.50 - 3.49 มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานระดับ “ปานกลาง” 1.50 – 2.49 มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานระดับ “น้อย” 1.00 – 1.49 มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานระดับ “น้อยที่สุด” ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.)

ความหมาย

มากกว่า 1.75 มีความแตกต่าง “มาก” 1.25 – 1.75 มีความแตกต่าง “ปานกลาง” น้อยกว่า 1.25 มีความแตกต่าง “น้อย”

2) ระดับการดำเนินการด้านการจัดการแรงงานซึ่ง เป็นตัวแปรต้นใช้ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีเกณฑ์การแปรผล ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 เกณฑ์ในการแปลผลของตัวแปรต้น คะแนนเฉลี่ย ()

ความหมาย

4.50 - 5.00

มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ระดับ “มากที่สุด”

3.50 – 4.49

มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ระดับ “มาก”

2.50 - 3.49

มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ระดับ “ปานกลาง”

1.50 – 2.49

มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ระดับ “น้อย”

1.00 – 1.49

มีการดำเนินการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน ระดับ “น้อยที่สุด”

ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.)

ความหมาย

มากกว่า 1.75

มีความแตกต่าง “มาก”

1.25 – 1.75

มีความแตกต่าง “ปานกลาง”

น้อยกว่า 1.25

มีความแตกต่าง “น้อย”

ที่มา : พลศักดิ์ จิรไกรศิริ (2556) 3) ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการจั ด การแรงงานกั บ คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation) โดยมีเกณฑ์การแปรผล ดังตาราง

ที่ 3 ตารางที่ 3 เกณฑ์ในการแปลผลสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่าง

ความหมาย

(-) 0.91 ขึ้นไป (-) 0.71 ถึง (-) 0.90 (-) 0.51 ถึง (-) 0.70 (-) 0.31 ถึง (-) 0.50 (-) 0.00 ถึง (-) 0.30

มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับ “สูงมาก” มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับ “สูง” มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับ “ปานกลาง” มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับ “ต่ำ” มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับ “ต่ำมาก”

ที่มา : พลศักดิ์ จิรไกรศิริ (2556)


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4) สร้ า งความรู้ แ ละแนวคิ ด ใหม่ เพื่ อ สั ง เคราะห์ สร้างตัวแบบการจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน โดย วิธีการวิเคราะห์ลักษณะตัวแบบการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis Model) โดยใช้ ส ถิ ติ ก ารวิ เ คราะห์ ก ารถดถอย (Regression Analysis) สมการโครงสร้างในการพิจารณาค่า สัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเส้นตรงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สู่การสร้างตัวแบบ การวิเคราะห์เส้นทางใหม่

สรุปผลการวิจัย ได้ รั บ แบบสอบถามจากกลุ่ ม ตั ว อย่ า งแรงงานต่ า งด้ า ว สัญชาติพม่า จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1,045 ตัวอย่าง จาก จำนวน 1,111 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 94.06 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดั บ การดำเนิ น การด้ า นคุ ณ ภาพชี วิ ต การทำงาน

ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ในจังหวัด สมุทรสาคร ค่าเฉลี่ยในภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ ( = 2.48) เมื่อ พิ จ ารณารายด้ า นเรี ย งลำดั บ ค่ า เฉลี่ ย จากมากไปหาน้ อ ยตาม เกณฑ์การวิเคราะห์พบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตทำงาน กับชีวิตทั่วไป อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.64) ด้านความเป็น ธรรมในการทำงานอยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง (  = 2.62) ด้ า น

การทำงานได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.52) ด้านการได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ อยู่ใน ระดับปานกลาง ( = 2.51) และด้านการมีส่วนร่วมแสดงความ คิดเห็นอยู่ในระดับต่ำ ( = 2.10) ตามลำดับ ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงภาพรวมระดั บ การดำเนิ น การด้ า นคุ ณ ภาพ ชีวิตการทำงาน องค์ประกอบของคุณภาพ

1. ด้านการทำงานได้รับความ

2.52 คุ้มครองขั้นพื้นฐาน 2. ด้านความเป็นธรรมในการ 2.62 ทำงาน 3. ด้านการมีส่วนร่วมแสดง 2.10 ความคิดเห็น 4. ด้านการได้ทำงานที่ท้าทาย

2.52 ความสามารถ 5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง 2.64 ชีวิตทำงานกับชีวิตทั่วไป รวม 2.48

S.D.

ความหมาย

0.41

ปานกลาง

0.50

ปานกลาง

0.77

น้อย

0.46

ปานกลาง

0.46

ปานกลาง

0.38

น้อย

37

2. ระดั บ การดำเนิ น การด้ า นการจั ด การแรงงานของ

เจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ และนายจ้างหรือสถานประกอบการ ในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างของแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ค่าเฉลี่ยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.62) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา น้อยตามเกณฑ์การวิเคราะห์พบว่า ด้านการเสริมสร้างความ คุ้ ม ครองตามมาตรฐานแรงงาน อยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง ( = 2.76) ด้านการบริการจัดการแรงงานต่างด้าว อยู่ในระดับปาน กลาง ( = 2.74) ด้านการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถานประกอบการ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.63) และ ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครองชีวิตแรงงาน อยู่ในระดับต่ำ

( = 2.34) ตามลำดับ ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 แสดงภาพรวมระดั บ การดำเนิ น การด้ า นการจั ด

การแรงงาน องค์ประกอบของการจัดการ แรงงาน

S.D. ความหมาย

1. ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครอง 2.76 0.55 ตามมาตรฐานแรงงาน

ปานกลาง

2. ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครอง 2.39 0.65 ชีวิตแรงงาน

น้อย

3. ด้ า นการเสริ ม สร้ า งความรั บ ผิ ด 2.63 0.68 ชอบต่อสังคม

ปานกลาง

4. ด้านการบริการจัดการ แรงงานต่างด้าว

2.74 0.56

ปานกลาง

2.62 0.45

ปานกลาง

รวม

3. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแรงงานกับคุณภาพ ชีวิตการทำงาน มีผลการวิเคราะห์ ดังตารางที่ 6 -7


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

38

ตารางที่ 6 ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ ค าโนนิ ค อลค่ า ไอเกน

ค่าความแปรปรวนที่สกัดได้ค่าความทับซ้อนและ สถิติสำหรับทดสอบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง Variate number

ชุดที่ 1

ชุดที่ 2

ชุดที่ 3

ชุดที่ 4

Canonical correlation 0.7911 0.6227 Eigenvalues 0.6259 0.3877 Wilk’s lambda 0.1977 0.5284 F-value (chi square) 107.0601 61.6185 Significane (p<) 0.0000 0.0000 การแปรปรวนที่สกัดได้ (Variance extracted) (%) DV คุณภาพชีวิตการทำงาน 48.7542 21.0161 IV การจัดการแรงงาน 57.9045 20.3517 ความทับซ้อน (Redundancy) (%) DV คุณภาพชีวิตการทำงาน 30.5142 8.1483 IV การจัดการแรงงาน 36.2411 7.8907

0.3152 0.0993 0.8630 26.1380 0.0000

0.2044 0.0418 0.9582 22.3851 0.0000

10.6787 11.7213

10.2160 10.0226

1.0608 1.1644

0.4267 0.4187

จากชุ ด ความสั ม พั น ธ์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ เชิ ง เส้ น ตรงทั้ ง

4 ชุด เพราะค่า Sig. = 0.000 (p<0.01) มีนัยสำคัญทางสถิติ (พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. 2556) เมื่อพิจารณาค่าความทับซ้อนที่สูง ที่สุดคือชุดที่ 1 เท่านั้น พิจารณาค่าความสัมพันธ์คาโนนิคอล ระหว่างตัวแปรต้นการจัดการแรงงานกับตัวแปรตามคุณภาพ ชี วิ ต การทำงาน พบว่ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น สู ง ในทางบวก (Canonical Correlation = 0.79) พิจารณาค่า Eigen Value ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบที่สามารถบอกความแปรปร วนของตัวแปร ในชุดที่ 1 มีค่าร้อยละ 62.59 (Eigen Values = 0.62) และความสัมพันธ์ของการจัดการแรงงานกับตัวแปรเริ่มต้น และคุ ณ ภาพชี วิ ต การทำงานกั บ ตั ว แปรเริ่ ม ต้ น พบว่ า การจั ด

การแรงงานสามารถทำนายความแปรปรวนของตัวแปรเริ่มต้น ของการจั ด การแรงงานได้ ร้ อ ยละ 57.90 และคุ ณ ภาพชี วิ ต

การทำงานสามารถทำนายความแปรปรวนของตัวแปรเริ่มต้น ของคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 48.75 ตารางที่ 7 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลแบบ คะแนน มาตรฐานและแบบโครงสร้าง ตัวแปร ตัวแปรตาม (DV) : คุณภาพชีวิตการทำงาน DV1 การทำงานได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน DV2 ความเป็นธรรมในการทำงาน DV3 การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น DV4 การได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ DV5 ความสัมพันธ์ชีวิตการทำงานกับชีวิตทั่วไป ตัวแปรต้น (IV) : การจัดการแรงงาน IV1 การเสริมสร้างความคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงาน IV2 การเสริมสร้างความคุ้มครองชีวิตแรงงาน IV3 การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม IV4 การบริการจัดการแรงงานต่างด้าว

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล แบบคะแนน แบบเชิง มาตรฐาน โครงสร้าง -0.5235 -1.2850 -0.3040 -0.6080 0.1292 0.1678 -0.0874 -0.1893 -0.3939 -08.699 -0.4458 -0.2183 -0.3670 -0.2593

-0.8125 -0.3768 -0.5459 -0.4690

ผลการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล จากตางรางที่ 7 พบว่ า ค่ า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลแบบคะแนนมาตรฐาน ดัชนี ของตั ว แปรย่ อ ยทุ ก ตั ว ของตั ว แปรตาม คื อ คุ ณ ภาพชี วิ ต

การทำงาน สามารถเรี ย งลำดั บ ค่ า จากสู ง ไปต่ ำ ได้ ดั ง นี้ ด้ า น

การทำงานได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง (-0.5235) ด้านความสัมพันธ์ชีวิตการทำงานกับชีวิตทั่วไป อยู่ใน ระดับต่ำ (-0.3939) และมีค่าอยู่ในระดับต่ำมากคือ ด้านความ เป็นธรรมในการทำงาน (-0.3040) ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็น (0.1292) และด้านการได้ทำงานที่ท้าทายความ สามารถ (-0.0874) ตามลำดับ ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ ค าโนนิ ค อลแบบคะแนน มาตรฐาน ดั ช นี ข องตั ว แปรย่ อ ยทุ ก ตั ว ของตั ว แปรต้ น คื อ

การจัดการแรงงาน สามารถเรียงลำดับค่าจากสูงไปต่ำดังต่อไปนี้ ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครองมาตรฐานแรงงาน (-0.4458) และด้านการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (-0.3670) อยู่ ในระดั บ ต่ ำ และอยู่ ใ นระดั บ ต่ ำ มากคื อ ด้ า นการบริ ก ารจั ด

การแรงงานต่างด้าว (-0.2593) และด้านการเสริมสร้างความ คุ้มครองชีวิตแรงงาน (-0.2183) ตามลำดับ พิ จ ารณาค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ ส หสั ม พั น ธ์ ค าโนนิ ค อลเชิ ง โครงสร้างของตัวแปรต้นและตัวแปรตามทุกตัวแปร มีค่าตั้งแต่ 0.3000 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรคาโนนิคอลของตัวแปรตาม คือ คุณภาพชีวิตการทำงาน เป็ น ตั ว แปรที่ เ กิ ด ขึ้ น จากตั ว แปรย่ อ ยในด้ า นการทำงานได้ รั บ ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน (-0.5235) ด้านความสัมพันธ์ชีวิต

การทำงานกับชีวิตทั่วไป (-0.3939) และด้านความเป็นธรรมใน การทำงาน (-0.3040) สำหรับตัวแปรคาโนนิคอลของตัวแปรต้น คือการจัดการแรงงาน เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นจากตัวแปรย่อย ใน ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครองมาตรฐานแรงงาน (-0.4458) และการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (-0.3670) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การจัดการแรงงานในด้านการเสริม สร้างความคุ้มครองมาตรฐานแรงงาน อยู่ในระดับต่ำ (-0.4458) และด้านการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับต่ำ (-0.3670) ซึ่งมีความสัมพันธ์สามารถสนับสนุน คุณภาพชีวิต

การทำงาน ด้านการได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับ ปานกลาง (-0.5235) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตการทำงาน กับชีวิตทั่วไป อยู่ในระดับต่ำ (-0.3939) และมีความสัมพันธ์ สามารถสนับสนุนด้านความเป็นธรรมในการทำงานได้ในระดับที่ ต่ำมาก (-0.3040) ส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ในภาพรวมมีการทำงานบูรณาการ ร่วมกันตามนโยบายของจังหวัด โดยเฉพาะจัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และหน่วยงานราชการ อื่นๆ รวมทั้งมูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน มูลนิธิรักษ์ไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจ ด้วยการร่วมมือกันในการตรวจสภาพ การทำงานและสภาพการจ้ า งงาน ส่ ง เสริ ม ให้ ค วามรู้ ส ถาน ประกอบในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดการบริการ แรงงานต่างด้าว ด้วยการให้ความรู้ด้วยการฝึกอบรม ซึ่งได้มี

การดำเนินการด้านการจัดการแรงงาน อย่างครอบคลุมในทุก ด้านตามกรอบแนวคิดของการจัดการแรงงานที่ตั้งไว้ 4. ตัวแบบที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้าง ความคุ้ ม ครองตามมาตรฐานแรงงาน การเสริ ม สร้ า งความ คุ้มครองชีวิตแรงงาน การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม การบริ ก ารจั ด การแรงงานต่ า งด้ า ว จากแนวความคิ ด ของ

การจัดการแรงงาน (กระทรวงแรงงาน. 2555) ที่มีอิทธิพลหรือ ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะการทำงาน ได้ รั บ ความคุ้ ม ครองขั้ น พื้ น ฐาน ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชี วิ ต

การทำงานกั บ ชี วิ ต ทั่ ว ไป และความเป็ น ธรรมในการทำงาน (Delamotte and Takezawa. 1984) ดังตัวแบบที่ 1 การเสริมสร้างความคุ้มครอง ตามมาตรฐานแรงงาน IV1

การเสริมสร้างความคุ้มครอง ชีวิตแรงงาน IV2 การเสริมสร้างความ รับผิดชอบต่อสังคม IV3

IV การจัดการ แรงงาน

การบริการจัดการแรงงาน ต่างด้าว IV4 มึความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมาก มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ-ปานกลาง

DV คุณภาพ ชีวิตการ ทำงาน

39

การศึ ก ษาเพื่ อ หาแนวทางการจั ด การแรงงานเพื่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต การทำงานโดยวิ ธี ก ารวิ เ คราะห์ เ ส้ น ทาง (Path Analysis) เป็ น การวิ เ คราะห์ ท างสถิ ติ ที่ ม าจากการวิเคราะห์

การถดถอย (Regression Analysis) เพื่อระบุทิศทางและระดับ ของความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ การวิเคราะห์เส้น ทางจะเป็นการสร้างแผนภาพแสดงเส้นทางที่มีอิทธิพลโดยตรง (Direct Effect) และโดยอ้อม (Indirect Effect) จากการวิเคราะห์พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน โดยเฉพาะ ด้านการทำงานได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน ด้านความเป็น ธรรมในการทำงาน และด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชี วิ ต

การทำงานกับชีวิตทั่วไป มีความสัมพันธ์กับ 2 ตัวแปรต้นของ การจัดการแรงงานคือ ด้านการเสริมสร้างความคุ้มครองตาม มาตรฐานแรงงาน และด้านการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อ สังคม ซึ่งการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล สรุปเป็น ตัวแบบรวมผลการศึกษาได้ ดังตัวแบบที่ 2

การทำงานได้รับความคุ้มครอง ขั้นพื้นฐาน DV1 ความเป็นธรรม ในการทำงาน DV2 การมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น DV3 การได้ทำงาน ที่ท่าทายความสามารถ DV4 ความสัมพันธ์ระหว่าง ชีวิตทำงานกับชีวิตทั่วไป DV5

ตัวแบบที่ 1 ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการจั ด การแรงงานเพื่ อ คุณภาพชีวิตการทำงาน

ตัวแบบที่ 2 ตัวแบบรวมแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการ

แรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน จากการพิจารณาตัวแบบที่ 2 เป็นการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิ คอล ซึ่งเป็นตัวแบบ Bipartite Graphs แสดงความสัมพันธ์เชิง สถิติที่เต็มไปด้วยตัวเลขที่มีความเข้าใจยาก สามารถทำให้เข้าใจ ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังตัวแบบที่ 3


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

40

คุณภาพชีวิตการทำงาน ของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร ตามหลักปฏิบัติ การใช้แรงงานที่ดีและบนหลักการขั้นต่ำตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ความปลอดภัยและสุขอนามัย การใช้สิทธิตามกฎหมายหรือเรื่องอื่นที่ การไม่เลือกปฏิบัติของ บทบาทต่อสังคม นายจ้าง และชุมชน ในการทำงาน เกี่ยวข้องกับการทำงาน การทำงานได้รับ ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน

ความเป็นธรรมในการทำงาน

แรงงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย

ความสัมพันธ์ระหว่าง ชีวิตทำงานกับชีวิตทั่วไป

สถานประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การเสริมสร้างความคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงาน การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการ การจัดการแรงงาน ภายใต้พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน พ.ศ. 2541 และ มาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2546, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. 2549)

ตัวแบบที่ 3 การสร้างตัวแบบการจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน

อภิปรายผลการวิจัย 1. คุณภาพชีวิตการทำงานแรงงานต่างด้าว แม้อยู่ระดับ น้ อ ยในภาพรวม จากการสั ม ภาษณ์ ผู้ ป ระกอบการขึ้ น อยู่ กั บ ความสามารถของแต่ ล ะกิ จ การที่ ต อบสนองได้ แต่ ขั้ น ต่ ำ สุ ด

ก็ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานให้แรงงานได้รับ ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน ด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย

จากสภาพแวดล้ อ มการทำงาน เครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น ภั ย มาตรการวิธีและเครื่องมือป้องกันภัย และจากการตรวจสุขภาพ ประจำปี ด้านความเป็นธรรมในการทำงาน ในการใช้สิทธิตาม กฎหมายหรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการไม่เลือก ปฏิบัติของนายจ้างที่เกี่ยวกับการถูกเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบ การเปลี่ยนสภาพการจ้างที่แตกต่างไปจากสัญญา การประเมิน ผลงาน วินัยการลงโทษ และการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตทำงานกับชีวิตทั่วไป สอดคล้องกับ Delamotte and Takezawa (1984) โดยเฉพาะบทบาทต่อ สังคมและชุมชน ที่สถานประกอบการควรให้ความร่วมมือรักษา สภาพแวดล้ อ มในสถานประกอบการ และการมี ส่ ว นร่ ว มใน

การพัฒนาชุมชน 2. การจัดการแรงงาน ภาครัฐในส่วนเจ้าหน้าที่พื้นที่อยู่ ในระดั บ ปานกลาง สอดรั บ กั บ การสั ม ภาษณ์ เชิ ง ลึ ก ด้ า น

การเสริมสร้างความคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานที่ได้ดำเนินการ อยู่แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน พ.ศ. 2541 และยังส่งเสริมภาคเอกชนมีส่วนร่วมการสร้างมาตรฐานแรงงาน ไทย เพื่อกระตุ้นให้สถานประกอบการสนใจปรับปรุงพัฒนาหลัก ปฏิบัติพื้นฐานในการทำงาน การขจัดการบังคับการใช้แรงงาน การได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม การขจัดการเลือกปฏิบัติ การว่าจ้างและการทำงาน และการยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก

สอดคล้ อ งกั บ รั ง สรรค์ ธนะพรพั น ธ์ (2552) และกระทรวง แรงงาน (2555) ที่กล่าวถึงมาตรฐานแรงงานหลักการอนุสัญญา ขององค์การระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยและสุขภาพ

ในการทำงาน การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ชั่วโมงทำงาน ค่ า ตอบแทน เสรี ภ าพในการสมาคม การร่ ว มเจรจาต่ อ รอง

การป้องกันการเลือกปฏิบัติ และการลงโทษทางวินัยที่ขัดต่อ สิทธิมนุษยชน โดยการเสริมสร้าง ความรู้แก่แรงงานและผู้มีส่วน เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน การทำ งานบูรณาการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ด้ ว ยการจั ด อบรม แนะนำ ให้ ค ำปรึ ก ษาการประชาสั ม พั น ธ์

การประสานงาน กั บ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งดำเนิ น การตรวจ แรงงาน สร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานที่สามารถเข้าถึงและ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่แรงงานด้วยการจัดจ้างล่ามภาษาพม่า การเปิดศูนย์สายด่วน (Hotline) มีศูนย์ร้องทุกข์และติดตามผล 3. การจั ด การแรงงานมี ค วามสั ม พั น ธ์ แ ละสนั บ สนุ น คุณภาพชีวิตการทำงานแรงงานต่างด้าว (ตามตารางที่ 7 และ

ตั ว แบบที่ 2-3) เพราะนอกจากจะต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามพระราช บัญญัติกฎหมายแรงงานแล้ว ยังมี พระราชบัญญัติโรงงานสถาน ประกอบการ พ.ศ. 2535 และมาตรฐานแรงงานความรับผิดชอบ หรือ Social Accountability (SA 8000) (อภิญญา ตั้งเจริญยิ่ง. 2548) ที่ ป ระเทศคู่ ค้ า รายใหญ่ น ำมา ใช้ เ ป็ น พื้ น ฐานการทำ สัญญาซื้อขาย รวมถึงการจัดฝึกอบรมแนะนำจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ผลกระทบการดำเนิ น งานที่ ไ ม่ ร าบรื่ น ที่ มี ค นงาน

เข้าออกบ่อยๆ ที่กำชับให้ดูแลสภาพแวดล้อมการทำงาน และที่อยู่ อาศั ย ของแรงงานให้ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ การสร้ า งเครื อ ข่ า ยด้ า น สุขภาพ การวางตัวให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ทำให้สถานประกอบ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานแรงงานต่างด้าว ในด้านการทำงานได้รับ ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน ความเป็นธรรมในการทำงาน และ

ในด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งชี วิ ต ทำงานกั บ ชี วิ ต ทั่ ว ไป (Nagayama. 1993) 4. จากการพิจารณาภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่าง การจั ด การแรงงานเพื่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต การทำงาน นอกจาก

เจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎหมาย แรงงาน ด้ ว ยความจริ ง จั ง สม่ ำ เสมอ และเท่ า เที ย มกั น แล้ ว

ยังต้องทำควบคู่ไปด้วยกับด้านการเสริมสร้างความคุ้มครองตาม มาตรฐานแรงงาน และด้านการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อ สังคมของ สถานประกอบการแบบบูรณาการมีส่วนร่วม โดย เฉพาะผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน ตามหลักปฏิบัติการใช้แรงงาน ที่ดี เพื่อยกระดับทำให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานของแรงงาน ต่ า งด้ า ว ดั ง ตั ว แบบการจั ด การแรงงานเพื่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต

การทำงาน ดังกล่าวข้างต้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน ต้องมี ความเด็ดขาดต่อผู้ฝ่าฝืนอย่างเท่าเทียมกันตลอดทั้งสายการผลิต (Supply Chain) ตั้งแต่สถานประกอบการ แรงงานของผู้รับจ้าง (Contractor) และผู้จัดหาสินค้า (Supplier) 2. เอกสารทางราชการ ควรทำทั้งภาษาไทยและภาษา ของแรงงานต่างด้าว เพื่อแรงงานได้รับรู้ถึงสิทธิหน้าที่และความ คุ้มครองตามพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงาน เป็นการลดความ ขัดแย้งและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมสร้างกลุ่ม หรือเครือข่าย ในการสร้างมาตรฐานแรงงานแบบภาคสมัครใจ ด้ ว ยการให้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ หรื อ การรั บ รองผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ ว ย ประกาศหรือเครื่องหมายของจังหวัดให้เป็นที่ยอมรับและมีความ น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 4. กระตุ้ น จิ ต สำนึ ก ให้ ส ถานประกอบการ มี จ รรยา บรรณที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความรู้ข้อมูลแก่ลูกจ้าง ชุมชน ถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ใน การจัดการสารอันตรายและของเสีย โดยมีส่วนร่วมในการสังเกต ตรวจสอบ และการเฝ้าระวัง ข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้คือ การเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า คือ 1) ภาษาที่ใช้สื่อสาร 2) ลักษณะ

41

การทำงานที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ในแต่ ล ะประเภทธุ ร กิ จ อุตสาหกรรม และ 3) แรงงานเหล่านี้ไม่ได้ปฏิบัติงานในสถาน ประกอบการเดียวกันกับที่ทำการสัมภาษณ์นายจ้าง ผลการวิจัย ที่ได้จึงแสดงเป็นภาพรวมเท่านั้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป เพื่ อ ป้ อ งกั น ปั ญ หาความมั่ น คง และการค้ า มนุ ษ ย์

ควรศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “การบริ ห ารจั ด การแรงงานเพื่ อ ป้ อ งกั น

การใช้มาตรการการกีดกันทางการค้า”

เอกสารอ้างอิง Consultancy Institute for Development of Government Service Efficiency. (2012). The Master Plan for Management of Migrant Workers’ Labor. Samut Sakhon Province. สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2555). แผนแม่บทการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว จังหวัด สมุทรสาคร. ม.ป.ท. Delamotte, Y. and Takezawa, I. (1984). Quality of work life in international perspective. Geneva IL : International Labour Office. Department of Labor Welfare and Protection. (2006). The Project of Research on the Problem State and Obstacle of Management according to the Thai Labor Standards (TLS,8001-2003). Angkok : Excellent Business Management Co., Ltd. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2549). โครงการวิจัย สภาพปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ตามมาตรฐาน แรงงานไทย (มรท. 8001-2546). กรุงเทพฯ : บริษัท เอ๊กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจ เม้นท์ จำกัด. Jirakraisiri, Pholsak. (2013). Social Sciences Research Methodology : A Research Guide Map Technique. 7 th Ed. Bangkok : Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University. พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : เทคนิคแผนที่นำทางการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


42

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Maliwan, Wissanu. (2011). ‘Accidents in the Industry Area, Samut Sakhon Province’. Labor Communicators. วิ ษ ณุ มะลิ วั ล ย์ . (2554). การประสบอุ บั ติ เ หตุ ใ นเขต อุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรสาคร. นักสื่อสารแรงงาน. Minintry of Labor. (2012). The Four-Year Official Operating Plan, 2012-2015. Bangkok : Bangkok Block Limited Partnership. กระทรวงแรงงาน. (2555). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2555-2558. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอก บล็อก. Nagayama, Y. (1993). The concept of the Quality of Working Life of White Collar Workers, An International Comparison of Professional and Manager. Tokyo : The Japan institute of Labour. Office of International Labor. (2009). The Multi-Lateral Frame of International Labor Organization (ILO) concerning Migration of Transnational Worker. Bangkok : Office of the International Labour Office. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ. (2552). กรอบพหุภาคีของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยการ เคลื่ อ นย้ า ยถิ่ น ของแรงงานข้ า มชาติ . กรุ ง เทพฯ : สำนักงานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. Thanaphonphan, Rangsan. (2009). From GATT to WTO. Bangkok : Thammasart University Press. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2552). จาก GATT สู่ WTO. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Tungjaroenying, Apinya. (2005). A Comparison of Quality of Work Life, Job Satisfaction of Employees, and Effectiveness of Organizational Performance between the Organizations Being accredited of Social Accountability 8000 (SA 8000) and Those Being Not Accredited of It. An M.A.Thesis. Bangkok :

King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok (KMITNB). อภิญญา ตั้งเจริญยิ่ง. (2548). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต การทำงาน ความพึงพอใจในงานของพนักงาน และ ประสิทธิผลการทำงานขององค์การ ระหว่างองค์การที่ ได้รับการรับรองมาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคม 8000 (SA 8000) และองค์ ก ารที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ รอง มาตรฐานความรั บ ผิ ด ชอบ ทางสั ง คม 8000 (SA 8000). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. Yamane, T. (1970). Statistics : An Introduction Analysis. Tokyo : Harper International Edition.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

43

รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน The Administrative Process Model Affecting The Educational Quality Development in Basic Education Schools พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า1 และ สุวรรณ นาคพนม2 Panwana Pathanaudomsinka1 and Suwan Nakpanom2 นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี Ed.D. (Educational Administration) อาจารย์ สาขาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 1

2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ

3) ตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบไปด้วย ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารของโรงเรียน ผู้บริหาร โรงเรียนระดับเชี่ยวชาญ และครูผู้สอนระดับเชี่ยวชาญ ได้มาจากการ สุ่มแบบชั้นภูมิ กลุ่มที่ 2 ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนครูวิชาการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 368 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มที่ 3 ใช้ตัวอย่างเหมือน กลุ่มที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิดจัด ลำดับคุณภาพ 5 ระดับ ของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.868 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ การกระตุ้นการทำงาน การประสานงาน การควบคุม การจัดทำงบประมาณการเงิน และการเสนอรายงานและประเมินผล 2) รูปแบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก มีค่าส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานใกล้เคียงกัน ผลการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แสดงว่าตัวแปรสังเกตได้ ในแบบจำลองถือเป็นองค์ประกอบที่แท้จริงตามกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิเคราะห์พบว่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่กำหนดเป็น

เส้นอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหาร ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้ทรง คุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความถูกต้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ คำสำคัญ : กระบวนการบริหาร / การพัฒนาคุณภาพการศึกษา / สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน / รูปแบบ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

44

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to examine the components of administrative process that would affect the educational quality development in basic education schools, 2) to create an administrative process model that would affect the educational quality development in basic education schools, and 3) to verify the administrative process model that would affect the educational quality development in basic education schools. The samples used in this study were divided into 3 groups: The first group comprised administrators who were involved with policy making and control of administration, expert school administrators and expert teachers obtained by stratified random sampling. The second group comprised school directors, deputies of school directors or acting persons, academic teachers, and head-teachers of learning strands in basic education schools under the Offices of Primary Education Service Areas. The samples of 368 people were obtained by multi-stage random sampling. The sample of the third group was the same as that of the first group. The tools used in this study were: 1) a structured interview guide, 2) a Likert’s-like 5-rating scale questionnaire with the reliability value of 0.868, and 3) a questionnaire of opinion. Statistics used to analyze data were percentage, standard deviation and path analysis through Lisrel. The results revealed as follows: 1) The administrative process that affects the educational quality development consists of 10 factors, namely, planning, organizing, staffing, directing, stimulating, coordinating, controlling, budgeting, reporting and evaluating. 2) The administrative process model that affects the educational quality development was found that most of the observed variables had high-level mean scores with the standard deviations being so close. The results of analyzing the administrative process model which affects the educational quality development showed that the observed variables on the model are the real factors according to the conceptual framework of study. The results of analysis were found that the causal relationships determined by influential lines were statistically significant. 3) The results of verifying the administrative process model that affects the educational quality development were found by the experts that the created model was accurate, appropriate, feasible and useful. Keywords : Administrative Process / Educational Quality Development / Basic Education Schools / Model

บทนำ ในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบให้วิถีการดำรงชีวิต ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษามีบทบาทและความ จำเป็นมากขึ้น เพราะการศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น แม้ว่าการศึกษาของไทย จะกว้างขวางขึ้นมาเป็นเวลานานพอสมควรและได้รับการพัฒนา และปรับปรุงแก้ไขมาตลอดแต่ผลการปฏิรูปการศึกษารอบแรก (พ.ศ. 2542-2551) ยังมีปัญหาต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงและต่อยอด โดยเฉพาะด้านคุณภาพผู้เรียน ครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึ ก ษา ประสิ ท ธิ ภ าพของการบริ ห ารจั ด การ รวมทั้ ง

การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ดังที่ สำนักงานเลขาธิการสภา

การศึกษา (2552) รายงานว่า มีปัญหาหลายด้าน คือ ปัญหา

ความไม่เสมอภาคในการได้รับบริการทางการศึกษาปัญหาการ พัฒนาคุณภาพในการจัดการการศึกษาและปัญหาการพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สรุปได้ว่าประเทศไทยในปัจจุบันประสบวิกฤตการศึกษา หลายประการ ประการแรก ปัญหาความไม่เสมอภาคในการได้ รับบริการทางการศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาขนาดเล็กจะได้รับ การจัดสรรงบประมาณน้อยกว่ามีครูอาจารย์ตามวุฒิน้อยกว่า ทำให้ นั ก เรี ย นมี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษาโดยเฉลี่ ย ต่ ำ กว่ า

สถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ ประการที่สองในด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ พบว่า

ยังไม่มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทั้งสู่สถานศึกษาเขต พื้นที่การศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเป้าหมาย รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจาก


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552) ประการที่ ส าม ปั ญ หาการพั ฒ นาครู อาจารย์ แ ละ บุ คลากรทางการศึกษามีปัญหาขาดแคลนครูอาจารย์ ทั้ งด้ า น ปริมาณและคุณภาพ และประการที่สี่ปัญหาการพัฒนาคุณภาพ ในการจัดการศึกษาประเด็นปัญหาที่เร่งด่วนที่ต้องการแก้ไข คือ ปัญหาด้านการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาการยกระดับ คุ ณ ภาพและมาตรฐานการศึ ก ษาให้ สู ง ขึ้ น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ

เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาที่ ว่าพัฒนาคุณภาพ และ มาตรฐานการศึ ก ษาและเรี ย นรู้ ข อง คนไทย (Austin & Reynolds.1990) ; (Baskett & Miklos.1992) ; (Sergiovanni. 991) ได้ให้ความเห็นว่าบทบาทกระบวนการบริหารโรงเรียนมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การสร้ า งความสำเร็ จ และคุ ณ ภาพของโรงเรี ย น โรงเรียนที่ดีมีคุณภาพทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและ กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การเป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพนั้น คือคุณภาพ การบริหาร ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายข้อนี้ก็ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาเพราะผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น

ผู้ออกแบบและจัดระบบการศึกษาทั้งระบบความคิดและระบบ การบริหาร ซึ่งหมายรวมถึงการนำเอาทรัพยากรเพื่อการศึกษา ไปบริ ห ารให้ เ กิ ด คุ ณ ภาพในการจั ด การศึ ก ษาตามที่ ร ะบบ

การศึกษาของประเทศต้องการ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความ สำคัญมาก ผลสำรวจในประเทศไทยโดยสำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษาปี 2552 รายงานว่ามีสถานศึกษาจำนวนมากไม่ได้ มาตรฐาน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งการคิดวิเคราะห์ ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง คุณธรรมจริยธรรม คุณภาพการจัดการศึกษาโดยรวม หรือโดย เฉลี่ยของทั้งประเทศเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม และประเทศส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะวัดโดยผลสัมฤทธิ์ในการสอบวิชา สำคัญของนักเรียน การประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สั ง เคราะห์ และประยุ ก ต์ ใช้ เ ป็ น (สำนั ก งานเลขาธิ ก ารสภา

การศึ ก ษา. 2552) ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนั ก งาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ปี พ.ศ. 2552 ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับการศึกษาขั้น

พื้นฐานอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ อาทิผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ทุกวิชา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และ วิ ท ยาศาสตร์ ต่ ำ กว่ า ร้ อ ยละ 35 รวมทั้ ง การวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ใ น

การสอบระดับชาติในช่วงชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 โดยเฉลี่ย

ทั่วประเทศ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ ภาษาอั ง กฤษ สั ง คมศึ ก ษา รวมทั้ ง ลดลงจาก

45

ปีก่อนๆ ในหลายกรณีด้วย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552) จากความเป็ น มาและความสำคั ญ ของปั ญ หาดั ง กล่ า ว

ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น เป้ า หมายหลั ก ของ

การปฏิรูปการศึกษาและนโยบายของรัฐบาล ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะ ศึกษาเรื่อง“รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งผลการวิจัยจะ เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาสถานศึกษา ให้ ไ ด้ ต ามเกณฑ์ ม าตรฐานและส่ ง ผลถึ ง การพั ฒ นาคุ ณ ภาพที่

ยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารที่

ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่ อ สร้ า งรู ป แบบกระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. เพื่อตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบแนวคิดการวิจัย การวิ จั ย เพื่ อ วิ เ คราะห์ ตั ว ประกอบของกระบวนการ บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และนำเสนอรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ ผู้วิจัย ได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยการศึกษาจากแนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารในต่างประเทศ โดยใช้แนวคิด กระบวนการบริหารของกูลิค และเออร์วิค (Gulick & Urwick) แนวคิดกระบวนการบริหารของสมาคมผู้บริหารการศึกษาของ สหรัฐอเมริกา (ASSA) แนวคิดกระบวนการบริหารของโรล์ดเอฟ. แคมป์ เ บลล์ และคนอื่ น ๆ (Roald F. Campbell, et al.) แนวคิ ด กระบวนการบริ ห ารของรอบบิ น ส์ และสจ๊ ว ต-โคท์ ซ (Robbins & Stuart-Kotze); บาร์ตัน และมาร์ติน (Barton & Martin); สโตนเนอร์ แ ละฟรี แ มน (Stoner & Freeman);

รอบบินส์และเมอร์คีรี (Robbins & Mukeri) รอบบินส์และ

คอลเทอร์ (Robbins & Caulter) ; กิ๊ บ สั น , และคนอื่ น ๆ (Gibson, et al.) ; และ เบทแมนและสเนลล์ (Bateman & Snell) แนวคิดกระบวนการบริหารของคูทซ์ และโอดอนเนลล์ (Koontz & O’Donnell) แนวคิ ด ด้ า นการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ

การศึ ก ษาของยู เ นสโก แนวคิ ด ด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพ

การศึกษา และแนวคิดด้านการดำเนินการพัฒนาทางการศึกษา


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

46

ของต่างประเทศบางประเทศ นำมาเป็นแนวทางในการศึกษารูป แบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยดังนี้ ประมวล องค์ความรู้จาก ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวคิด ด้านการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ของยูเนสโก

แนวคิด กระบวนการบริหารของ กูลิค และ เออร์วิค (Gulick & Urwick) แนวคิด กระบวนการบริหาร ของ AASA แนวคิด กระบวนการบริหารของ โรคค์เอฟ แคมป์เบลล์ และคณะ (Roald F. Camgbell et al.) แนวคิด กระบวนการบริหารของ คูทซ์ และโอดอนเนลล์ (Koontz & O'Donmel)

รูปแบบ กระบวน การบริหาร

การพัฒนา คุณภาพ การศึกษา

แนวคิด กระบวนการบริหารของ รอบบินส์ และสจ๊วต-โครซี (Robbins & Stuart-kotzs) บาร์ตัน และมาติน (Barton & Martin) สโทนเนอร์ และฟรีเมน (Stoner & Freeman) รอบบินส์ และเมอร์คิริ (Robbins & Mukeri)

แนวคิด ด้านการประกัน คุณภาพ การศึกษา แนวคิด ด้านการดำเนิน การพัฒนา การศึกษาของ สิงคโปร์ แนวคิด ด้านการดำเนิน การพัฒนาทาง การศึกษา ของญี่ปุ่น

ประมวล ข้อมูลจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบรู ป แบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล จากการสั ม ภาษณ์ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ประกอบไปด้วย ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและ ควบคุมการบริหารของโรงเรียน จำนวน 183 คน ผู้บริหารที่เป็น ผู้ ป ฏิ บั ติ ใ นโรงเรี ย นที่ มี วิ ท ยฐานะไม่ ต่ ำ กว่ า ระดั บ เชี่ ย วชาญ จำนวน 40 คน และครู ผู้ ส อนที่ มี วิ ท ยฐานะไม่ ต่ ำ กว่ า ระดั บ เชี่ยวชาญ จำนวน 157 คน รวมทั้งหมด 380 คน ระยะที่ 2 การวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหาร ที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพของสถานศึ ก ษา ขั้ น พื้ น ฐาน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนครูวิชาการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่ม สาระการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ทั้งในเขตตรวจราชการส่วน

กลางและเขตตรวจราชการที่ 1-18 ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 45,881 คน จำนวน 4,171 โรงเรียน ระยะที่ 3 การตรวจสอบรู ป แบบกระบวนการ บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ประชากรเหมือนระยะที่ 1 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบรู ป แบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล จากการสั ม ภาษณ์ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ประกอบไปด้วย ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและ ควบคุมการบริหารของโรงเรียน จำนวน 5 คน ผู้บริหารที่เป็น

ผู้ ป ฏิ บั ติ ใ นโรงเรี ย นที่ มี วิ ท ยฐานะไม่ ต่ ำ กว่ า ระดั บ เชี่ ย วชาญ จำนวน 5 คน และครู ผู้ ส อนที่ มี วิ ท ยฐานะไม่ ต่ ำ กว่ า ระดั บ เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน รวม 15 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ

ชั้ น ภู มิ (Stratified Random Sampling) โดยกำหนดให้ ตำแหน่งงานเป็นชั้นภูมิ สุ่มบุคลากรในแต่ละชั้นภูมิชั้นภูมิละ5 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ระยะที่ 2 การวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหาร ที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ครูวิชาการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่ม สาระการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งไม่น้อยกว่า 381 คน

ได้ จ ากการเปิ ด ตารางกำหนดขนาดตั ว อย่ า งเครจซี่ และ

มอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) ดังนี้ ขั้ น ที่ 1 สุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบแบ่ ง ชั้ น (Stratified Random Sampling) กำหนดให้เขตตรวจราชการเป็นชั้น (Strata) ในแต่ ล ะชั้ น สุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบแบ่ ง กลุ่ ม (Cluster Random Sampling) โดยมีโรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Sampling Unit) สุ่ม จังหวัดตัวอย่างเขตตรวจราชการละ 1 จังหวัด ได้ 19 จังหวัด ขั้นที่ 2 เนื่องจากประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอน นี้เป็นบุคลากรในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

และประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีมากทุกโรงเรียน บริบทในการบริหารในแต่ละโรงเรียนจึงไม่มีความแตกต่างกัน แต่เพื่อให้โรงเรียนตัวอย่างที่สุ่มมามีการกระจายทั้งจังหวัด ผู้วิจัย จึ ง ใช้ ก ารสุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบระบบ (Systematic Random Sampling) จังหวัดละ 6 โรงเรียน ได้โรงเรียนตัวอย่างจำนวน 114 โรงเรียน ขั้นที่ 3 จากโรงเรียนที่สุ่มได้ในขั้นที่ 2 ได้ตัวอย่าง คือ

ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 114 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน จำนวน 114 คน ครูวิชาการโรงเรียน จำนวน 114 คนจากนั้ น สุ่ ม ตั ว อย่ า ง ครู หั ว หน้ า กลุ่ ม สาระ

การเรียนรู้ในโรงเรียนตัวอย่างที่สุ่มได้ในขั้นตอนที่แล้ว โรงเรียน ละ 1 คนด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ได้ครู ตัวอย่าง จำนวน 114 คน รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 456 คนซึ่งไม่น้อย กว่า 381 คน ตามที่กำหนดไว้ในเบื้องต้น ระยะที่ 3 การตรวจสอบรู ป แบบกระบวนการ บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ใช้ประชากรเหมือนระยะที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสั ม ภาษณ์ แ บบมี โ ครงสร้ า ง (Structured Interview) ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อ สรุปตัวประกอบของกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. แบบสอบถาม (Questionnaire) เกี่ยวกับรูปแบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยแบบสอบถามแบ่ง เป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษา และ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน โดยแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 กระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่าชนิดจัดลำดับคุณภาพ 5 ระดับของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่า ความเชื่ อ มั่ น เท่ า กั บ 0.87 เพื่ อ ประมวลตั ว ประกอบของ กระบวนการบริหารที่ส่งผล ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้จากแบบสอบถาม สรุปรูปแบบ (Model) ของการวิจัย 3. แบบสอบถามความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ รู ป แบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ

47

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานนำไปตรวจสอบยืนยันความความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ การนำไปใช้ประโยชน์ และ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะครอบคลุมของทั้งตัวประกอบและ

รู ป แบบกระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ

การศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ด้ ว ยวิ ธี ส นทนากลุ่ ม (Focus Group) การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขอหนังสือจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกาญจนบุรี ถึงผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อขอสัมภาษณ์ 2. นำหนั ง สื อ ที่ ไ ด้ รั บ จากสำนั ก งานบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี พร้อมด้วยแบบสัมภาษณ์ไป สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแบบปฏิสัมพันธ์ 3. ขอหนังสือจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎกาญจนบุรี ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูล 4. นำหนั ง สื อ ที่ ไ ด้ รั บ จากสำนั ก งานบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี พร้อมด้วยแบบสอบถามส่งถึง สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง และส่งทางไปรษณีย์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถาม 5. ผู้วิจัย ติดตามเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่ม ตัวอย่างด้วยตนเอง และผู้ตอบแบบสอบถามส่งคืนแบบสอบถาม ทางไปรษณีย์ โดยผู้วิจัยแนบซองผนึกดวงตราไปรษณีย์ยากร

จ่าหน้าซองถึงผู้วิจัย ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมดจำนวน 368 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80.70 6. ขอหนังสือจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎกาญจนบุรีถึงผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเชิญสนทนากลุ่ม (Focus Group) 7. นำหนั ง สื อ ที่ ไ ด้ รั บ จากสำนั ก งานบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ไปเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเข้าร่วม สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ระยะที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ดังนี้ 2.1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของแบบสอบถาม โดย

การแจกแจงความถี่ (Frequencies) และค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 วิเคราะห์ค่าระดับความคิดเห็นความสำคัญของ ตั ว แปรกระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ

การศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยหาค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

48

2.3 วิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ด้วย

โปรแกรมลิสเรล (Lisrel) ระยะที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความคิด เห็นโดยการแจกแจงความถี่ (Frequencies) และค่าร้อยละ (Percentage) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ระยะที่ 1 การหาคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ โดยผู้ทรง คุ ณ วุ ฒิ ต รวจสอบคุ ณ ภาพเพื่ อ ตรวจสอบความเที่ ย งตรงเชิ ง เนื้อหา (Content Validity) ด้วยเทคนิคการหาค่าดัชนีความ สอดคล้ อ ง (IOC) ซึ่ ง ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ป ระเมิ น ค่ า ดั ช นี ค วาม สอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ระยะที่ 2 การหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยการหา ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยเทคนิค การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และการหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.87 ระยะที่ 3 การหาคุณภาพของแบบสอบถามความ คิดเห็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบพิจารณาความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเที่ ย งตรงเชิ ง เนื้ อ หา (Content Validity) ด้วยเทคนิคการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00

สรุปผลการวิจัย 1. รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานประกอบด้ ว ย

9 องค์ ป ระกอบ ได้ แ ก่ 1) การวางแผน 2) การจั ด องค์ ก าร

3) การบริหารงานบุคคล 4) การอำนวยการ 5) การกระตุ้น

การทำงาน 6) การประสานงาน 7) การควบคุม 8) การจัดทำงบ ประมาณการเงิน 9) การเสนอรายงานและประเมินผล 2. รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ส่วนใหญ่มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใกล้เคียง กันและ ผลการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิเคราะห์พบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่กำหนดเป็นเส้นอิทธิพลตามที่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ผลการวิจัยข้อ 2 ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบ ในรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาขอสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบ

1. การวางแผน 2. การจัดองค์การ 3. การบริหารงานบุคคล 4. การอำนวยการ 5. การกระตุ้นการทำงาน 6. การประสานงาน 7. การควบคุม 8. การจัดทำงบประมาณ การเงิน 9. การเสนอรายงานและ ประเมินผล

4.35 4.29 4.05 4.19 4.28 4.22 4.19

รวม

S.D. Skewness Kurtosis

ความ หมาย

0.45 0.48 0.47 0.51 0.48 0.49 0.49

มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

-0.68 -0.53 -0.06 -0.26 -0.47 -0.21 -0.35

0.53 1.70 0.34 0.43 1.81 0.45 1.06

4.20 0.49 -0.51

0.89 มาก

4.26 0.47 -0.38

1.40 มาก

4.23 0.48 -0.38

0.96 มาก

3. ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ มี ค วามเห็ น ว่ า รู ป แบบกระบวนการ บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้นมีความถูกต้องเหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ทั้ง 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100

อภิปรายผลการวิจัย 1. จากการศึกษาระดับของกระบวนการบริหารที่ส่งผล ต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน

พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากโรงเรียนต่างๆ ได้บริหารโรงเรียนด้วยกระบวนการ บริหารที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยมุ่งเน้นระบบการบริหารความ เป็นเลิศของสถานศึกษา การบริหารเชิงระบบ และการบริหาร คุณภาพทั้งองค์การ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของศุภลักษณ์ เศษธะพานิ ช (2550) ได้ ศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง การพั ฒ นาระบบ

การบริ ห ารที่ มุ่ ง เน้ น ความเป็ น เลิ ศ ของสถานศึ ก ษาเอกชน

ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมของตัวแปรระบบการบริหารที่

มุ่งเน้นความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดั บ มาก และระบบการบริ ห ารที่ มุ่ ง เน้ น ความเป็ น เลิ ศ ของ สถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 9 ประเด็นหลัก คือ ภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษา การมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่ เกี่ ย วข้ อ ง การวางแผนกลยุ ท ธ์ โครงสร้ า งองค์ ก รการมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานการเงิน การบริหารงานทั่วไป และการจัดการสารสนเทศและความรู้


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ นุชนรา รัตนศิระประภา (2552)

ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมของตัวแปรการจัดการซัพพลาย เชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ

องค์ประกอบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ การวางแผนกลยุทธ์ การจัด ระเบี ย บระบบงานการมุ่ ง เน้ น การเรี ย นการสอน เทคโนโลยี

สารสนเทศ การมีส่วนร่วม การจัดการความสัมพันธ์ การจัดการ ความเสี่ยง การจัดการสมรรถนะบุคคล และการประกันคุณภาพ และรูปแบบการจัดการซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบเชิงระบบ ประกอบด้วย พหุองค์ประกอบที่มีความ สัมพันธ์กัน ซึ่งมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และถูกต้องครอบคลุมสอดคล้องกับทฤษฎีหลักการ และแนวคิด ตามกรอบการวิจัย 2. รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า รูปแบบ กระบวนการบริหารส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรูปแบบการบวนการบริหารที่โรงเรียนใช้ เป็นกระบวนการบริหารเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวีระยุทธ ชาตะกาญจน์ (2546) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒ นาตั ว บ่ ง ชี้ สถานภาพทางการศึกษาในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และ จังหวัด โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดกระบวนการบริหารงานแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management : RBM) ผสาน กับการใช้ดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balance Score Card : BSC) ผลการวิ จั ย พบว่ า ปั จ จั ย หลั ก แห่ ง ความสำเร็ จ ใน

การบริหารการศึกษา 4 ด้าน 17 ปัจจัย ประกอบด้วยด้านบริบท คือ สภาพแวดล้อมของการศึกษาด้านปัจจัยนำเข้า คือ การเข้าถึง ข้อมูลข่าวสาร โอกาสในการได้รับการศึกษาคุณภาพครู คุณภาพ ผู้บริหาร และคุณภาพหลักสูตรด้านกระบวนการ คือการกระจาย อำนาจทางการบริ ห าร การมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชน การจั ด กระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญการประกันคุณภาพ ประสิ ท ธิ ภ าพในการจั ด การศึ ก ษาการพั ฒ นาทั ก ษะอาชี พ

การพัฒนาสุขภาพครอบครัวชุมชนและสิ่งแวดล้อม การพัฒนา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและนันทนาการ และการพัฒนาความ เป็นพลเมืองและพลโลก 3. จากผลการตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหารที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น

พื้นฐาน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบกระบวนการ บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

49

ขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้นมีความถูกต้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก เครื่องมือที่ผู้วิจัย สร้ า งขึ้ น ได้ ผ่ า นกระบวนการตรวจสอบจากผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ทุ ก

ขั้ น ตอน ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของสำนั ก งานมาตรฐาน

การศึ ก ษาของประเทศอั ง กฤษ (Office for Standard in Education. 2003) ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาวิ จั ย การตรวจสอบคุ ณ ภาพ

การศึกษา พบว่า ควรดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยในการศึกษา วิ จั ย ครั้ ง นี้ ใช้ ห ลั ก การประเมิ น ที่ ส ามารถนำไปใช้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพตามหลักการประเมินผลทางการศึกษาประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดมาตรฐานการประเมิน4 ประการ คือ ด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาควรนำ

รู ป แบบกระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ

การศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานที่ ไ ด้ จ ากการศึ ก ษาวิ จั ย

ครั้งนี้ไปศึกษารายละเอียดของแต่ละตัวประกอบ 2. ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรนำข้อค้นพบที่ได้ จากการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของโรงเรียน โดยจัดลำดับความสำคัญของแต่ละตัวประกอบที่เหมาะสมกับ สภาพบริบทที่แท้จริงของโรงเรียน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก ในแต่ ล ะตั ว ประกอบ เนื่ อ งจาก แต่ ล ะตั ว ประกอบน่ า จะมี ค วามสำคั ญ ต่ า งกั น ตามบริ บ ทของ โรงเรียน 2. ควรนำรู ป แบบกระบวนการบริ ห ารที่ ส่ ง ผลต่ อ

การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานไป ทดลองใช้ตามขนาดขององค์กร

เอกสารอ้างอิง Austin, E. G. & Reynolds, D. J. (1990). Managing

for improved school effectiveness : An international survey. 10 : 2-3. Baskett, S. & Miklos, E. (1992). “Perspectives Of Effective Principals,” The Canadian Administrator. 32 : 1-10.


50

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Chatakan, Weerayut. (2003). Developing Indicators of Educational Status at the Village, Subdistrict, District and Province Levels. An Ed.D. Thesis. Bangkok : Chulalongkorn University. วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2546). การพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพ การศึกษาในระดับหมู่บ้านตำบล อำเภอ และจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sampling Size for Esearch Aactivities,” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610. Office of Educational Council Secretary-General. (2009). The Proposal for Education Reform in the Second Decade (2009-2018). Bangkok : Prikwan Graphics Ltd. _____ . (2009). The Nature of Thai Education, Years 2007/2008 : Problems of Equality and Quality of Thai Education. Bangkok: V.T.C. Communication. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูป การศึ ก ษาในทศวรรษที่ ส อง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. _____ . (2552). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 ปัญหา ความเสมอภาคและคุ ณ ภาพของการศึ ก ษาไทย. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น. Office for Standard in Education. (2003). Inspecting Schools : Framework for in specting schools. London : Ofsted. Rattanasiriprapha, Nutnara. (2009). A Model for Supplies Management in Basic Education Schools. A Ph.D. Thesis. Nakhon Pathom : Silpakorn University. นุ ช นรา รั ต นศิ ร ะประภา. (2552). รู ป แบบการจั ด การ ซัพพลายเชนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Sergiovanni, J. T. (1991). The principalship : A reflective practice perspective. (2 nd ed.). Needham Heights : Allyn and Bacon. Setthaphanit, Suphalak. (2007). Development of an Excellence-Oriented Administrative System of Private Schools. An Ed.D. Thesis. Bangkok : Chulalongkorn University. ศุภลักษณ์ เศษธะพานิช. (2550). การพัฒนาระบบการบริหาร ที่ มุ่ ง เน้ น ความเป็ น เลิ ศ ของสถานศึ ก ษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

51

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ประเทศเวียดนาม Factors Influencing the Decision Making of Undergraduate Students in Pursuing a Bachelor Degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University, Vietnam. Mai Xuan Hung1 สืบชาติ อันทะไชย2 และ สมคิด สร้อยน้ำ3 Mai Xuan Hung,1 Subchat Untachai2 and Somkid Sroinam3 นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจการตลาด โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 Ph.D. (Marketing) รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 Ph.D. (Education-Administraion) รองศาสตราจารย์ โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 1

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย กว๋างบิ่น 2) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น 3) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้า ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ สาขาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา 4) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ ตามสาขา ที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา จำนวน 402 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า

มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 ปี

เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มากกว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และนักศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด ก่อนเข้าศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดกว๋างบิ่น 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ

ปานกลาง และปัจจัยภายนอกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า กลุ่มตัวอย่าง

ที่มีเพศ และสาขาที่ศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด ไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับชั้นต่างกัน

มีการตัดสินใจต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยภายนอก

พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และสาขาที่ศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจต่อปัจจัยภายนอกไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับชั้น

ต่างกัน มีการตัดสินใจต่อปัจจัยภายนอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ส่วนประสมทางการตลาด / การตัดสินใจ / ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ-สังคม / คณะเศรษฐศาสตร์


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

52

ABSTRACT The purposes of this research were: 1) to investigate the general state of students at the undergraduate level in the Faculty of Economics, Quang Binh University, 2) to examine the factors of a marketing mix and the external factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University, 3) to compare the marketing mix factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University as classified by gender, program and particular year of study, 4) to compare the external factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University by gender, program and particular year of study. The sample of 402 students used in this study was selected by non- proportional random sampling. The tools used in this study were a rating scale questionnaire whose entire reliability value was 0.90. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test with the statistical significance determined at the .05 level. The findings were as follows: 1) Most of the respondents were female students with 21 years of age. There were more students in the accounting program than in the business administration program; and most of them were fourth-year students. Before being admitted to the University, most of them graduated high school and became domiciled

in Quang Binh province. 2) As for the marketing mix factors as a whole, it was found at the moderate level; and as for the external factors as a whole, it was found at the high level. 3) The results of comparing the marketing

mix factors were found that the students with different genders and programs had no difference in their

decision-making of the marketing mix factors, while the students with different particular years of study had a significant difference in it at the .05 level. And 4) the results of comparing the external factors were found that the students with different genders and programs had no difference in their decision-making of the external factors, while the students with different particular years of study had a significant difference in it at the .05 level. Keywords : Marketing Mix / Decision Making / Socio-Economic Factors / Faculty of Economics

บทนำ การศึ ก ษาเป็ น หั ว ใจสำคั ญ ของการพั ฒ นาประเทศ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือยุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนา สติ ปั ญ ญาและการต่ อ ยอดภู มิ ปั ญ ญาของผู้ เ รี ย น ดั ง นั้ น “อุ ด มศึ ก ษา” ถื อ เป็ น หั ว ใจสำคั ญ ในการผลิ ต กำลั ง คนและ

องค์ ค วามรู้ ซึ่ ง เป็ นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมูลค่ามากที่ สุ ด ใน

การพัฒนาประเทศเนื่องจาก “อุดมศึกษา” เป็นรอยต่อระหว่าง การเปลี่ยนผ่านคนในช่วงวัยเด็กและเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อม ก้าวขึ้นไปสู่วัยผู้ใหญ่ ที่จะเป็นกำลังสำคัญให้สังคมและประเทศ ชาติต่อไป (กัลยา อุ่นจาย. 2551) มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่นเป็น สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดกว๋างบิ่นบริเวณภาค กลางตอนบนของประเทศเวียดนามที่ร่วมปฏิรูปการอุดมศึกษา และทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการแก่สังคมทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรม ปรับปรุงและถ่ายทอดเทคโนโลยีส่งเสริม

และพั ฒ นาคุ ณ ภาพครู อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ

สิ่ ง แวดล้ อ ม คณะเศรษฐศาสตร์ ใ นฐานะเป็ น หน่ ว ยงานของ

มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่นที่มีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบใน การบริหารจัดการหลักสูตรการบัญชี และหลักสูตรบริหารธุรกิจ ให้ เ ป็ น ตามแนวทางการจั ด การศึ ก ษาในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา

คณะเศรษฐศาสตร์ได้จัดตั้งมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปี ปัจจุบัน

พบว่ า นั ก ศึ ก ษาที่ ตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษา ต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ใ น

คณะเศรษฐศาสตร์ยังมีเป็นจำนวนน้อย และลดลงเรื่อยๆ ในปี การศึกษา 2552 รับเข้าศึกษาได้จำนวน 264 คน ปีการศึกษา 2553 รับเข้าศึกษาได้จำนวน 253 คน ปีการศึกษา 2554 รับเข้า ศึกษาได้จำนวน 226 คน และปีการศึกษา 2555 รับเข้าศึกษาได้ จำนวน 173 คน (สำนักงานคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย กว๋างบิ่น. 2556) จากเหตุผล และความสำคัญดังกล่าว ทำให้

ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษา


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ในการเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ทั้งในภาพรวมและและรายสาขาวิชาผล การวิจัยจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา การแนะแนวการปรับปรุงและ พัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ให้มีประสิทธิภาพ และประสิ ท ธิ ผ ลรวมทั้ ง การผลิ ต บั ณ ฑิ ต ที่ มี คุ ณ ภาพต่ อ ไปใน อนาคต วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของนักศึกษาในระดับปริญญา ตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น 2. เพื่ อ ศึ ก ษาปั จ จั ย ด้ า นส่ ว นประสมการตลาด และ ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา ต่อระดับ ปริ ญ ญาตรี ข องนั ก ศึ ก ษาคณะเศรษฐศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย กว๋างบิ่น 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข อง

นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้น ที่ศึกษา 4. เพื่ อ ศึ ก ษาและเปรี ย บเที ย บปั จ จั ย ภายนอกที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ของ

นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา สมมติฐานการวิจัย 1. นักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ ศึ ก ษาต่ า งกั น มี ก ารตั ด สิ น ใจต่ อ ปั จ จั ย ด้ า นส่ ว นประสมทาง

การตลาดแตกต่างกัน 2. นักศึกษาที่มีเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ ศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจต่อปัจจัยภายนอกแตกต่างกัน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. เป็นข้อมูลสำหรับการจัดการคณะเศรษฐศาสตร์ให้มี ประสิทธิภาพคน 2. นำข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ไ ปเป็ น แนวทางสำหรั บ ผู้ บ ริ ห าร มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น และผู้บริหารสาขาวิชา อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษาใช้ในการปรับปรุงและรักษามาตรฐานหลักสูตร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และตรงกับความต้องการของผู้เรียน กรอบแนวคิดการวิจัย จากการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องนั ก ศึ ก ษา คณะเศรษฐศาสตร์

53

มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ประเทศเวียดนามยึดแนวคิดเรื่องปัจจัย ส่วนประสมการตลาดและปัจจัยภายนอกตามแนวคิดของ Rafiq & Ahmed (1995) และ สืบชาติ อันทะไชย (2556) ดังภาพที่ 1

ตัวแปรอิสระ 1. เพศ 1.1 ชาย 1.2 หญิง 2. สาขาวิชาที่ศึกษา 2.1 บริหารธุรกิจ 2.2 การบัญชี 3. ระดับชั้นที่ศึกษา 3.1 ปีที่ 1 3.2 ปีที่ 2 3.3 ปีที่ 3 3.4 ปีที่ 4

ตัวแปรตาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจ 1. ปัจจัยส่วนประสมทาง 1.1 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ 1.2 ปัจจัยด้านราคา 1.3 ปัจจัยด้านสถานที่ 1.4 ปัจจัยด้านการส่งเสริม การตลาด 1.5 ปัจจัยด้านบุคลากร 1.6 ปัจจัยด้านกระบวนการ 1.7 ปัจจัยด้านหลักฐานทาง กายภาพ 2. ปัจจัยภายนอก 2.1 ปัจจัยด้านเหตุผล 2.2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 2.3 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี 2.4 ปัจจัยด้านสังคมและ วัฒนธรรม

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ปีการ ศึกษา 2556 จำนวน 916 คน 2. กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา ระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย กว๋างบิ่น ด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วน จำนวน 402 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดมีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และปัจจัย ภายนอกมีค่าความเชื่อมั่น 0.90 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยนำแบบสอบถาม ไปให้นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจและสาขาวิชาการบัญชี


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

54

ระดับปริญญาตรีตอบระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

21 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.00 และศึกษาอยู่ในสาขาวิชาการบัญชี จำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 65.67 เป็นนักศึกษาปีที่ 4

มากที่ สุ ด คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 37.56 สำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ มัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 91.04 และมีภูมิลำเนา เดิมอยู่จังหวัดกว๋างบิ่นคิดเป็นร้อยละ 85.07 2. ผลการศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด และ ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับ ปริ ญ ญาตรี ข องนั ก ศึ ก ษาคณะเศรษฐศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย กว๋างบิ่น พบว่าความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยส่วนประสม การตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้าน ราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสถานที่ อยู่ในระดับ มาก และความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยภายนอก โดยภาพ รวมอยู่ ใ นระดั บ มาก เมื่ อ พิ จ ารณาเป็ น รายด้ า น พบว่ า อยู่ ใ น ระดับมากทุกด้าน ดังตารางที่ 1

การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ ความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 ปั จ จั ย ส่ ว นประสมทางการตลาด สถิ ติ ที่ ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 3 ปัจจัยภายนอก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ

F-test (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2550)

สรุปผลการวิจัย 1. ผลการศึ ก ษาข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของนั ก ศึ ก ษา พบว่ า

นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.70 มีอายุ

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดและปัจจัยภายนอก 

S.D.

แปลผล

3.48 3.75 3.65 3.73 3.23 3.31 3.28

0.83 0.91 0.87 0.85 0.82 0.94 0.81

ปานกลาง มาก มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

โดยรวม

3.49

0.86

ปานกลาง

ปัจจัยภายนอก

4.01 3.77 3.81 3.83

0.82 0.86 0.88 0.78

มาก มาก มาก มาก

3.88

0.84

มาก

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

1. 2. 3. 4.

ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านหลักฐานทางกายภาพ

ด้านเหตุผลส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยรวม

3. ผลการศึ ก ษาและเปรี ย บเที ย บปั จ จั ย ส่ ว นประสม

การตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญา ตรี ข องนั ก ศึ ก ษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย กว๋ า งบิ่ น จำแนกตามเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา

นั ก ศึ ก ษาเพศชายกั บ เพศหญิ ง มี ค วามคิ ด เห็ นเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการเปรี ย บเที ย บ พบว่ า โดยภาพรวมและรายด้ า น

ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า นักศึกษา


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สาขาวิ ช าบริ ห ารธุ ร กิ จ มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ ปั จ จั ย ส่ ว นประสม

การตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ขณะที่นักศึกษาสาขา วิชาการบัญชีมีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

55

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการ ตลาด และด้านหลักฐานทางกายภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลและผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

จำแนกตามเพศ และสาขาวิชาที่ศึกษา เพศ ปัจจัยส่วนประสม การตลาด

ชาย (n=158) 

S.D. 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 2. ด้านราคา 3. ด้านสถานที่ 4. ด้านการส่งเสริม การตลาด 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านกระบวนการ 7. ด้านหลักฐานทาง กายภาพ รวม

ความ หมาย

หญิง (n=244) 

S.D.

t

sig

ความ หมาย

3.44 3.51 ปานกลาง มาก 1.20 0.88 0.82 3.75 3.75 มาก มาก 0.62 0.96 0.88 3.65 3.65 มาก มาก 0.30 0.84 0.90 3.71 3.73 มาก มาก 0.20 0.87 0.84 3.30 3.30 ปานกลาง ปานกลาง 0.11 0.79 0.81 3.36 ปาน 3.33 ปาน 0.40 0.93 กลาง 0.92 กลาง 3.50 ปาน 3.43 ปาน 0.86 0.90 กลาง 0.92 กลาง 3.53 3.52 มาก มาก 0.22 0.88 0.87

สาขาที่ศึกษา บริหารธุรกิจ การบัญชี (n=138) (n=264)

.53 .97 .84 .91 68 .38 .82

ความ หมาย

sig

ความ หมาย S.D. 3.50 3.47 ปานกลาง ปานกลาง 0.84 0.80 0.84 3.73 3.76 มาก มาก 0.49 0.89 0.92 3.79 3.58 มาก มาก 3.39* 0.76 0.91 3.81 3.67 มาก มาก 2.03* 0.82 0.87 3.31 3.29 ปานกลาง ปานกลาง 1.61 0.76 0.82 3.31 ปาน 3.36 ปาน 0.79 0.94 กลาง 0.91 กลาง 3.64 3.37 ปาน มาก 3.80* 0.81 0.94 กลาง 3.58 3.50 ปาน มาก 1.95* 0.89 กลาง 0.83 

.20

t

S.D.

.40 .62 .00 .04 .87 .42 .00 .05

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนกตาม ระดับชั้นที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1และ 2 มีความคิดเห็น ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีความคิดเห็น โดยภาพรวมอยู่

ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วน ประสมการตลาด จำแนกตามระดับชั้นที่ศึกษา พบว่าโดยรวม และรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาด ดังตารางที่ 3


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

56

ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล และผลการเปรียบเทียบความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จำแนกตามระดับชั้นที่ศึกษา ปัจจัยส่วนประสม การตลาด 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 2. ด้านราคา 3. ด้านสถานที่ 4. ด้านการส่งเสริม การตลาด 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านกระบวนการ 7. ด้านหลักฐานทาง กายภาพ รวม

ปีที่ 1 (n=65) 

S.D. 3.63 0.70 3.97 0.81 3.97 0.79 3.86 0.82 3.58 0.72 3.72 0.83 3.86 0.79 3.80 0.78

ความ หมาย มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก

ปีที่ 2 (n=79) 

S.D. 3.48 0.81 3.56 0.93 3.73 0.82 3.72 0.87 3.30 0.84 3.33 0.96 3.50 0.99 3.52 0.89

ความ หมาย ปานกลาง มาก มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง มาก

ปีที่ 3 (n=107) 

S.D. 3.35 0.87 3.65 0.88 3.51 0.89 3.69 0.87 3.22 0.79 3.31 0.89 3.41 0.86 3.45 0.86

ความ หมาย ปานกลาง มาก มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

ปีที่ 4 (n=151) 

S.D. 3.49 0.83 3.80 0.92 3.58 0.88 3.68 0.84 3.23 0.79 3.20 0.90 3.31 0.90 3.47 0.87

F

sig

ปานกลาง

5.08*

.00

มาก

5.50*

.00

มาก

8.64*

.00

มาก

1.25

.29

ปานกลาง

9.32*

.00

ปานกลาง 11.31*

.00

ปานกลาง

9.74*

.00

ปานกลาง 11.33*

.00

ความ หมาย

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการศึ ก ษาและเปรี ย บเที ย บปั จ จั ย ภายนอกที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข อง

นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา นักศึกษาเพศชายกับนักศึกษาเพศหญิง มีความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยภายนอก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผล การเปรียบเทียบ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

ผลการศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยภายนอก จำแนก ตามสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ กับสาขาวิชาการบัญชี มีความคิดเห็นต่อปัจจัยภายนอก โดย ภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเศรษฐกิจและด้าน สังคมและวัฒนธรรมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ มีความคิด เห็นสูงกว่านักศึกษาสาขาการบัญชี ดังตารางที่ 4


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

57

ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล และผลการเปรียบเทียบความสำคัญต่อปัจจัยภายนอก จำแนกตาม เพศ และสาขาที่ศึกษา เพศ ชาย (n= 158)

ปัจจัยภายนอก 1. ด้านเหตุผลส่วนบุคคล 2. ด้านเศรษฐกิจ 3. ด้านเทคโนโลยี 4. ด้านสังคม และวัฒนธรรม รวม

หญิง (n=244)

t

 ความ S.D. หมาย 3.78 มาก 0.79 3.84 มาก 0.89 3.92 มาก 0.86 3.82 มาก 0.82

 ความ S.D. หมาย 3.79 มาก 0.11 0.80 3.75 มาก 1.44 0.84 3.85 มาก 1.00 0.83 3.75 มาก 1.02 0.81

3.84 0.84

3.75 0.82

มาก

มาก

สาขาที่ศึกษา บริหารธุรกิจ การบัญชี (n=138) (n=264)

sig

.90 .15 .31 .30

1.05

.29

t

sig

 ความ  ความ S.D. หมาย S.D. หมาย 3.77 3.79 มาก มาก 0.78 0.80 3.86 3.74 มาก มาก 0.79 0.89 3.93 3.95 มาก มาก 0.79 0.86 3.88 3.73 มาก มาก 0.73 0.85

0.34

.73

1.98*

.05

1.30

.19

2.66*

.00

3.86 0.77

1.70

.09

มาก

3.80 0.85

มาก

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย กว๋ า งบิ่ น จำแนกตามระดั บ ชั้ น ที่ ศึ ก ษา พบว่ า ความคิดเห็นของนักศึกษาทุกชั้นปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพล ต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องนั ก ศึ ก ษา

พบว่ามี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล และผลการเปรียบเทียบความสำคัญต่อปัจจัยภายนอก จำแนกตาม เพศ และสาขาวิชาที่ศึกษา ปัจจัยภายนอก

1. ด้านเหตุผลส่วนบุคคล 2. ด้านเศรษฐกิจ 3. ด้านเทคโนโลยี 4. ด้านสังคมและ วัฒนธรรม รวม

ปีที่ 1 (n=65) 

S.D. 3.94 0.75 4.00 0.77 4.04 0.72 3.99 0.75 3.99 0.75

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ความ หมาย มาก มาก มาก มาก มาก

ปีที่ 2 (n=79) 

S.D. 3.89 0.76 3.81 0.97 3.90 0.91 3.82 0.83 3.86 0.86

ความ หมาย มาก มาก มาก มาก มาก

ปีที่ 3 (n=107) 

S.D. 3.68 0.78 3.65 0.882 3.79 0.82 3.68 0.80 3.70 0.81

ความ หมาย มาก มาก มาก มาก มาก

ปีที่ 4 (n=151) 

S.D. 3.74 0.80 3.76 0.85 3.88 0.85 3.74 0.83 3.78 0.83

F

sig

มาก

4.95*

.00

มาก

4.51*

.00

มาก

2.72*

.04

มาก

4.24*

.29

มาก

5.57*

.00

ความ หมาย


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

58

เมื่อพบความแตกต่างผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความแตก ต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของปัจจัยภายนอกโดยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’s Method) ซึ่งปรากฏผล ดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักศึกษา ต่อปัจจัยภายนอก จำแนกตามระดับชั้นที่ศึกษา ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

3.99

3.86

3.70

3.78

3.99

-

0.13

0.29*

0.21*

ปีที่ 2

3.86

-

-

0.16

0.08

ปีที่ 3

3.70

-

-

-

0.08

ปีที่ 4

3.78

-

-

-

-

ระดับชั้น ที่ศึกษา

ปีที่ 1

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผลการวิจัย 1. จากการศึ ก ษาข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของนั ก ศึ ก ษาที่ ต อบ แบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 60.70 ส่วนใหญ่มีอายุ 21 ปี คิดเป็น ร้อยละ 26.0 สาขาการบัญชี มีจำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 65.67 นักศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนมากกว่านักศึกษาปี 3 ปีที่ 2 และปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 37.56 นักศึกษาส่วนใหญ่ก่อนหน้า เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 91.04 ภูมีลำเนา เดิมส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกว๋างบิ่น ทั้งนี้อาจจะเป็นความนิยม เพราะว่า ประเทศเวียดนามที่นักศึกษาเพศหญิงมีความต้องการ เข้ า ศึ ก ษาที่ ส าขาการบั ญ ชี ม ากกว่ า นั ก ศึ ก ษาเพศชาย และ

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามทำให้เกิดความ ต้องการอาชีพที่เกี่ยวกับการบัญชีในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็น อาชีพที่มีเงินเดือนและค่าจ้างสูง เมื่อเรียนจบก็สามารถทำงาน ทำในหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้ 2. ผลการศึ ก ษาความคิ ด เห็ น ของนั ก ศึ ก ษาต่ อ ปั จ จั ย ส่ ว นประสมทางการตลาดและปั จ จั ย ภายนอกที่ มี อิ ท ธิ พ ล

ต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ของนั ก ศึ ก ษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น พบว่า โดยภาพรวม นักศึกษาให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ใน ระดับปานกลางทั้งนี้อาจจะเพราะว่า คณะเศรษฐศาสตร์ จัดตั้ง ได้มากกว่า5 ปี เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่เปิดสอนยังไม่ได้ปรับปรุง ให้ ส มบู ร ณ์ อาจารย์ ที่ ส อนไม่ เ พี ย งพอ และขั้ น ตอนที่ ส มั ค ร

เข้าเรียนมีหลายขั้นตอน และนักศึกษาให้ความสำคัญกับปัจจัย ภายนอกในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเวียดนามทำให้แต่ละบุคคลมี ความต้ อ งการพั ฒ นาตนเองอยู่ เ สมอ โดยมี จุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ

การพัฒนาส่วนบุคคล เพื่อการประกอบการอาชีพเพื่อและมีงาน ทำ เพื่อการสร้างเสริมความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และเพื่อให้ ตนเองมีความรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผลการศึกษา

มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานวิจัยของประเทศไทย อาทิ พีรภาว์

พุแค (2551) ได้ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลื อ กเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องมหาวิ ท ยาลั ย เอกชน

พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดในระดับปานกลาง และให้ความสำคัญต่อปัจจัย ภายนอกในระดับมาก (กัลยา อุ่นจาย. 2551) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี สาขา การบัญชี (หลักสูตรต่อเนื่อง) ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามให้ ค วามสำคั ญ กั บ ปั จ จั ย ภายนอกในระดั บ มาก

ทุกปัจจัย 3. ผลการเปรี ย บเที ย บปั จ จั ย ส่ ว นประสมการตลาด

ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย กว๋ า งบิ่ น จำแนกตามเพศ

สาขาวิชาที่ศึกษา และระดับชั้นศึกษา นั ก ศึ ก ษาชายและหญิ ง มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ ส่ ว นประสม ทางการตลาด โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจ จะเพราะว่า ทั้งนักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิงมีวิสัย ทัศน์ในการรับรู้ การมองเห็น เหมือนกันในปัจจัยส่วนประสม การตลาดของมหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ที่ประเทศไทย อาทิ กิตติภณ กิตยานุรักษ์ (2551) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสาขา วิ ช ารั ฐ ประศาสนศาสตร์ ข องนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รรั ฐ ประศาสน ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ อุ ต รดิ ต ถ์ ผลการศึ ก ษาพบว่ า

นักศึกษาเพศชายและนักศึกษา เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ ก เข้ า ศึ ก ษา โดยภาพรวม

ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนก ตามสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ อาจจะเพราะว่า นักศึกษาสาขาการบัญชีและนักศึกษาสาขา บริหารธุรกิจ มีความต้องการ มีวิสัยทัศน์ในการรับรู้ การมอง เห็น ในปัจจัยส่วนประสมการตลาดของมหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น เหมือนกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านหลักฐาน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ทางกายภาพ โดยนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจมีความคิดเห็นสูง กว่านักศึกษาสาขาการบัญชี ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกับแนว ความคิ ด ของ สำนั ก งาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย กว๋างบิ่น (2556) ที่ว่า วัตถุประสงค์ของคณะเศรษฐศาสตร์ เพื่อ สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม และอำนวยความสะดวกในการเรี ย นแก่

นักศึกษาในทุกสาขาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีให้มีความรู้ และ มองเห็นในการพัฒนาเหมือนกัน ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนก ตามระดับชั้นที่ศึกษา พบว่าโดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะเพราะว่านักศึกษาแต่ละชั้นที่ศึกษามีอายุ ประสบการณ์ ในการรับรู้ การมองเห็นไม่เหมือนกัน ดังนั้นจะมีความคิดเห็นใน ปั จ จั ย ส่ ว นประสมการตลาด ของมหาวิ ท ยาลั ย กว๋ า วงบิ่ น

ไม่เหมือนกัน ซึ่งผลการศึกษามีความสอดคล้องกับการศึกษาที่ ประเทศไทย เช่น วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ (2538) ศึกษาปัจจัยที่ ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย ของรัฐ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการตัดสินใจ เข้ า ศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ ต่ า งกั น กั บ นั ก ศึ ก ษาปี ที่ 2

ปีที่ 3 และปีที่ 4 4. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยภายนอก ที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่นจำแนกตามเพศ สาขาวิชาที่ศึกษา และ ระดับชั้นศึกษา ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยภายนอก จำแนก ตามเพศ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้าน ทั้งนี้อาจเพราะว่า ทั้งนักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิงมี วิสัยทัศน์ในการรับรู้ การมองเห็นเหมือนกัน เพื่อการพัฒนา ตนเอง เพื่อการพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาสถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการประชาชนทั่วไปแห่งชาติ ประเทศเวี ย ดนาม (2556) ที่ เ สนอว่ า สั ง คมในปั จ จุ บั น นี้ ทั้ ง

เพศชายและเพศหญิงมีความทัดเทียมกัน โดยมีบทบาทและ ความสำคั ญ ในการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คม เพราะฉะนั้ น

ทั้งเพศชายและเพศหญิงต้องมีความต้องการพัฒนาตนเองเสมอ เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อดำรงรักษาพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ของประเทศ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยภายนอก จำแนก ตามสาขาที่ศึกษา พบว่าโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของสํ า นั ก งานคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย กว๋างบิ่น (2556) กล่าวว่า เป้าหมายของคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น คือ พัฒนาสาขาบริหารธุรกิจ

59

และสาขาการบั ญ ชี โ ดยการรั บ รู้ ก ารมองเห็ น เหมื อนกัน และ

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด แรงงานและสังคม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมสอดคล้องกับ ระบบคุณค่า (Value) ทางด้านประกอบอาชีพ และการพัฒนา เศรษฐกิจของเวียดนาม ผลการเปรี ย บเที ย บความคิ ด เห็ น ต่ อ ปั จ จั ย ภายนอก จำแนกตามระดับชั้นที่ศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ อาจจะเพราะว่ า ระดั บ ชั้ น ที่ ศึ ก ษาเป็ น ตั ว กำหนดวิ สั ย ทั ศ น์

ในการรับรู้ การมองเห็น ในปัจจัยภายนอก ซึ่งผลการศึกษา

มีความสอดคล้องกับการศึกษาของ ใจชนก ภาคอัต (2556)

ได้ ศึ ก ษาเรื่ อ งปั จ จั ย ด้ า นการพั ฒ นาคุ ณ ภาพของสถาบั น ที่ มี

ผลต่ อ การตั ด สิ น ใจเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโท

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่มี ระดับชั้นศึกษาแตกต่างกันจะมีความคิดเห็นกับปัจจัยภายนอก แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ ทางมหาวิทยาลัยควรวางแผนทางการตลาดให้สอดคล้อง กับส่วนประสมทางการตลาดให้ความสำคัญเรื่องหลักสูตรให้มี ความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญเรื่องผลงานทางวิชาการ เพื่อเป็นที่ยอมรับอย่าง กว้ า งขวางของคณาจารย์ สนั บ สนุ น ผลงานวิ จั ย ทางวิ ช าการ สำหรั บ คณาจารย์ และด้ า นที่ มี ค วามคิ ด เห็ น ในระดั บ มาก มหาวิ ท ยาลั ย กว๋ า งบิ่ น ควรดำรงรั ก ษาไม่ ใ ห้ ต่ ำ กว่ า และต้ อ ง พัฒนาให้อยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ควรจัดให้มีการอบรมหรือให้นักศึกษามีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ ร่ ว มกั น พร้ อ มทั้ ง มี ก ารจั ด การแข่ ง ขั น ด้ า นวิ ช าการเพื่ อ ให้

นักศึกษามีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และทางมหาวิทยาลัย ควรจัดให้มีความร่วมมือกับองค์กร และหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น เพื่ อ สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งนั ก ศึ ก ษากั บ ท้ อ งถิ่ น เช่ น

นำนั ก ศึ ก ษา เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมช่ ว งเทศกาลต่ า งๆ มี โ ครงการ ฝึกงานระหว่างองค์กร และหน่วยงานต่างๆ กับมหาวิทยาลัย เป็นต้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา ต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย กว๋างบิ่น 2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา ต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ข องนั ก ศึ ก ษา คณะเศรษฐศาสตร์ ของ

มหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

60

เอกสารอ้างอิง Attheerawong, Valailak. (1995, August). “Factors Affecting the Study of Freshmen in Government Universities,” Journal of Research and Development. 3(8) : 38-55. วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2538, สิงหาคม). “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ต่อการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของ รัฐ,” วารสารวิจัยและพัฒนา. 3 (8) : 38–55. Kitayanurak, Kiitiphon. (2008). Factors Affecting Decision-Making of Choosing to Further Study in the Public Administration Program, Department of Public Administration, Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit : Uttaradit Rajabhat University. กิตติภณ กิตยานุรักษ์. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลื อ กเข้ า ศึ ก ษาต่ อ หลั ก สู ต รสาขาวิ ช ารั ฐ ประศาสน ศาสตร์ ของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ อุ ต รดิ ต ถ์ . อุ ต รดิ ต ถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. Office of the Faculty of Economics, Quang Bihn University. (2013). The Number of Undergraduate Students in Accounting, Academic Years of 2009-2012. [online], Available : http://www. quangbinhuni.edu.vn/Dai-Hoc-QuangBinh/ PortalDetail/Tuye?n_ sinhTuyen_sinh_nganh_

kinh/412/2268. [April, 2013]. สํานักงานคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น. (2556). จํานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ปี การศึกษา 2552–2555. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : http://www.quangbinhuni. edu.vn/Dai-HocQuangBinh/PortalDetail/ Tuye?n_sinh/Tuyen_ sinh_nganh_kinh/412/2268. [เมษายน 2556]. Office of the Vietnam’s National General Public Commission. (2013). A Strategy to Develop the Vietnam’s People and Social Quality. [online], Available : http://tuyentruyen. dongthap. gov. vn/index.php/Gioi-va-Phattrien/Binh-danggioico-di-len-voi-kinh-te-phat-trien.html. [April, 2013]. สำนั ก งานคณะกรรมการประชาชนทั่ ว ไปแห่ ง ชาติ ป ระเทศ เวียดนาม. (2556). ยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพคน และสังคมประเทศเวียดนาม. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก :

http://tuyentruyen.dongthap.gov.vn/index.php/

Gioi-va-Phat-trien/Binh-danggioi-co-di-len-voikinh-te-phat-trien.html. [เมษายน 2556]. Oonjai, Kalaya. (2008). Factors Influencing DecisionMaking of Furthering Study at Undergraduate Level in Accounting (Continuing Curriculum) in Chiangmai Province. A Master of Accounting Independent Study. Chiangmai : Chiangmai University. กัลยา อุ่นจาย. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี (หลักสูตรต่อเนื่อง) ในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Phak-at, Jaichanok. (2013). Factors of Quality Development of the Institutions That Affect Students’ Decision to Further Their Study at Master’s Degree Level in National Institute of Development Administration. Bangkok : NIDA. ใจชนก ภาคอัต. (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของ สถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา ระดับปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Phukhae, Pheerapha. (2008). The Marketing Factor Affecting the Choosing to Study Further at the Private University’s Undergraduate Level. An M.Ed. Independent Study. Chon Buri : Sripatum University. พีรภาว์ พุแค. (2551). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสิน ใจเลื อ กเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ ปริ ญ ญาตรี ม หาวิ ท ยาลั ย เอกชน. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. Rafiq M. & Ahmed, P.K. (1995). “Using the 7Ps as a generic marketing mix : an exploratory survey of UK and European marketing acedemics,” Marketing Intelligence & Planning. 13(9) : 10. Untachai, Subchat. (2013). Marketing Management. Bangkok : Odeon Store. สืบชาติ อันทะไชย. (2556). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. Wanitbancha, Kalaya. (2007). Statistics for Research. 3rd Ed. Bangkok : Chulalongkorn University. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้ง

ที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

61

การรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร The Image perception towards Guzheng music of University Students in the Bangkok Area ศุภชัย ภิญญธนาบัตร1 และ ปริยา รินรัตนากร2 Supphachai Pinyathanabat1 and Pariya Rinratanakorn2 1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี Ph.D. (Communication Arts) อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับ ทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่ม ตัวอย่าง 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรด้านเพศ อายุ และรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่แตกต่างกัน 2) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่มีความ สัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ทัศนคติที่มีต่อดนตรี

กู่เจิงมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง คำสำคัญ : การรับรู้ภาพลักษณ์ / ดนตรีกู่เจิง / การเปิดรับข่าวสาร / ทัศนคติ / นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ABSTRACT This research had objectives to investigate: 1) the difference of media exposure to Guzheng music among university students in the Bangkok area, 2) the relationship between their media exposure and knowledge of Guzheng music, 3) the relationship between their knowledge and attitude towards Guzheng music, and 4) the relationship between their attitude and image perception of Guzheng music. The survey research with a sample of 400 students was conducted through multi-stage random sampling method. The tool for data collection was questionnaire of which the overall reliability was 0.83. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, test of means difference, one-way analysis of variance, and Pearson’s correlation coefficient. The research results showed that 1) the respondents with different genders, ages, and incomes had no difference of media exposure to Guzheng music; 2) the media exposure to Guzheng music did not have a relationship with the knowledge of Guzheng music; 3) the knowledge of Guzheng music had a relationship with the attitude towards Guzheng music; and 4) the attitude towards Guzheng music had a relationship with the image perception of Guzheng music. Keywords : Image Perception / Guzheng Music / Media Exposure / Attitude / University Students


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

62

บทนำ ความผูกพันที่ยาวนานและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิด ทำให้ ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนพัฒนาไป อย่างใกล้ชิดและแนบแน่นมาโดยตลอด ประชาชนของทั้งสอง ประเทศมีการไปมาหาสู่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรม

ทั้งแบบพื้นบ้านและแบบประจำชาติ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดี และได้รับการต้อนรับอย่างดีเสมอมา นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ ยังได้รับการส่งเสริมโดยพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย โดยเฉพาะ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงสน พระทัยในภาษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของจีน ทรงเป็น แบบอย่างที่ดีของประชาชน และเยาวชนในการศึกษาเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความ เข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ อีกทั้งสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีทรงมี พระอัจฉริยภาพทางดนตรี โดยทรงเป็นพระราชวงศ์พระองค์ แรกของโลกที่สามารถทรงเครื่องดนตรีของราชสำนักจีนอย่าง “กู่เจิง” ได้ไพเราะจนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนได้ ถวายตำแหน่ง “ทูตวัฒนธรรม”และทรงริเริ่มการแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความ ร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน ทั้งนี้ความสัมพันธ์ด้านสังคม และวัฒนธรรมนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากเกี่ยว พันอย่างลึกซึ้งต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนในด้านอื่นๆ (“เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์” เสด็จฯ กรุงปักกิ่ง ทรง “กู่เจิง” สานสายสัมพันธ์ไทย-จีน. หนังสือพิมพ์แนวหน้า. 2556) เห็ น ได้ ว่ า ตั้ ง แต่ ส มั ย อดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารแลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมที่ดีงามเรื่อยมาระหว่างไทย-จีน อีกทั้งประเทศจีน กำลังมีอิทธิพลในด้านต่างๆ ต่อประเทศไทยอย่างมาก จึงทำให้ การมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อกันเป็นเรื่องที่ดีต่อ ประเทศไทยและจีน ด้วยเหตุนี้เองดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ใน การสานสัมพันธ์ไทย-จีน อย่างเช่นดนตรีกู่เจิงในปัจจุบันเริ่มเป็น ที่สนใจของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นผู้ที่ทำให้ ประชาชนคนไทยนั้นได้รู้จักดนตรีกู่เจิงมากยิ่งขึ้น การรั บ รู้ ภ าพลั ก ษณ์ หมายถึ ง ข้ อ เท็ จ จริ ง บวกกั บ

การประเมิ น ส่ ว นตัว แล้วกลายเป็นภาพที่ฝังอยู่ในความรู้ สึ ก นึกคิดของบุคคล ข้อเท็จจริงที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งประสบอาจ แตกต่างจากความเป็นจริงก็ได้ เนื่องจากการรับรู้ การเรียนรู้ของ

แต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันจึงทำให้การประเมินส่วนตัวของ บุ ค คลต่ อ เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ๆ นั้ น มี ก ารตี ค วามให้ ส อดคล้ อ งกั บ

การเรียนรู้ และยากที่จะเปลี่ยนแปลงเพราะการเปลี่ยนภาพ ลักษณ์คือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ซึ่งเป็น โครงสร้างทางความคิดที่มีความรู้ ความเชื่อและทัศนคติเป็น

องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบดังกล่าว ถูกนำมาใช้ในการประเมิน ภาพลั ก ษณ์ ที่ บุ ค คลประสบถ้ า สอดคล้ อ งกั บ การเรี ย นรู้ แ ละ

การรั บ รู้ ตั้ ง แต่ อ ดี ต บุ ค คลนั้ น ยอมรั บ ในภาพลั ก ษณ์ แ ต่ ถ้ า

ไม่สอดคล้องบุคคลนั้นจะปฏิเสธ (เสรี วงษ์มณฑา. 2542) ใน การศึกษาครั้งนี้จะหมายถึง ภาพในใจเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของ

นักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน เขตกรุงเทพมหานคร สามารถสื่อ ให้เห็นถึงการรับรู้ภาพลักษณ์ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเครื่องดนตรี ด้านผู้บรรเลง ด้านวัฒนธรรมและด้านบทเพลง เนื่องจากดนตรีกู่เจิงเป็นเครื่องดนตรีราช สำนักจีน ซึ่ง หารั บ ชมรั บ ฟั ง ได้ ย าก โดยเฉพาะประชาชนคนไทยส่วนมาก

ยังไม่รู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้ ผู้วิจัยจึงทำศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูล เกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารความรู้ ทัศนคติและการรู้ภาพลักษณ์ เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ของเยาวชนของชาติที่กำลังศึกษาในระดับ อุดมศึกษา ที่กำลังจะออกไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จึง ทำการศึกษาเรื่อง “การรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิง ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” การวิจัยครั้งนี้ศึกษา เฉพาะสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานครที่เปิด สอนภาควิ ช าดนตรี เ ท่ า นั้ น เพราะนั ก ศึ ก ษาจะมี ก ารเปิ ด รั บ

ข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีมากกว่าสถานศึกษาที่ไม่มีภาควิชาดนตรี ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการสืบสานวัฒนธรรมและส่งเสริมความ สัมพันธ์ไทย-จีนต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติที่ มีต่อดนตรีกู่เจิง 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการรับรู้ ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง สมมติฐานการวิจัย 1. นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่ มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิงแตกต่างกัน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวดนตรีกู่เจิงของนั ก ศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับความรู้ เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3. ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มี ต่อดนตรีกู่เจิง 4. ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง กรอบแนวคิดการวิจัย การวิ จั ย เรื่ อ งการรั บ รู้ ภ าพลั ก ษณ์ ด นตรี กู่ เ จิ ง ของ

นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกำหนด กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเกิดภาพลักษณ์ ตามแนวคิด ของ Boulding (1975) สรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ดังนี้ ลักษณะทางประชากรของ การเปิ ด รั บ ข่ า วสารเกี่ ย วกั บ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน ดนตรี กู่ เจิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ H1 เขตกรุงเทพมหานคร อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร - เพศ - สื่อมวลชน - อายุ - อินเตอร์เน็ต - รายได้

H2 การรั บ รู้ ภ าพลั ก ษณ์ ต่ อ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรี

ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษา กู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาในเขต ในเขตกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร H3 - ด้านเครื่องดนตรี - ด้านผู้บรรเลง H4 ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ตนตรี กู่ เ จิ ง ของ นั ก ศึ ก ษาะดั บ อุ ด มศึ ก ษาในเขต - ด้านวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร - ด้านบทเพลง

วิธีดำเนินงานวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษา ระดับ อุดมศึกษา ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และเป็น

ผู้ที่เคยเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยกำหนด ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสุ่มตัวอย่างไม่เกินร้อยละ 5 หรือ .05 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลาย

ขั้นตอน ดังนี้

63

ขั้นตอนที่ 1 สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ใช้วิธีการจับฉลาก สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของ รั ฐ บาลและเอกชนที่ เ ปิ ด สอนภาควิ ช าดนตรี ไ ด้ ส ถานศึ ก ษา

รวม 4 แห่ง ขั้นตอนที่ 2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาแบบโควต้า (Quota Sampling) จากสถานศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาของ รั ฐ บาลและเอกชนที่ เ ปิ ด สอนภาควิ ช าดนตรี ที่ อ ยู่ ใ นเขต กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละ สถานศึกษาเท่าๆ กัน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการเปิดสอน เอกดนตรี ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่าง

1. สถานศึกษาของรัฐบาล 1 2. สถานศึกษาของรัฐบาล 2 3. สถานศึกษาของเอกชน 1 4. สถานศึกษาของเอกชน 2

100 100 100 100

รวม

400

ขั้นตอนที่ 3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และแจกแบบสอบถามให้ได้ครบตาม จำนวนที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามที่แบ่ง เป็น 5 ส่วน คือ 1) ลักษณะทั่วไปทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (Checklist) ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับเพศ อายุ และรายได้ ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการเปิดรับ ข่าวสารเกี่ยวกับดนตรี กู่เจิง 3) คำถามเกี่ยวกับความรู้ของกลุ่ม ตั ว อย่ า งที่ มี ต่ อ ดนตรี กู่ เจิ ง เป็ น แบบมาตราส่ ว นประมาณค่ า (Likert Scale) แบ่ ง ออกเป็ น 2 ระดั บ 4) คำถามเกี่ ย วกั บ ทัศนคติต่อดนตรีกู่เจิง และ 5) คำถามเกี่ยวกับการรับรู้ภาพ ลักษณ์ของดนตรีกู่เจิง แบบสอบถาส่วนที่ 2 , 4 และ 5 เป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Likert Scale) 5 ระดับ หาค่า ความเชื่ อ มั่ น ของแบบสอบถามโดย ใช้ สั ม ประสิ ท ธิ์ อั ล ฟา (Alpha-Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ เท่ากับ 0.83 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยติดตามเก็บข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่าง และ ได้กลับคืนมา จำนวน 400 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 เมื่อกลุ่ม ตัวอย่างกรอกแบบสอบถามเรียบร้อยแล้วจึงตรวจสอบความ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

64

ถูกต้องและความครบถ้วนของคำตอบเพื่อป้องกันแบบสอบถาม ที่กลับมาแบบไม่สมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัยครั้งนี้ตั้งแต่ เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2557 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ เ คราะห์ ร ะดั บ การเปิ ด รั บ ข่ า วสารของนั ก ศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่า เฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 2. การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ 2.1 วิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ข่าวสารกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 2.2 วิ เคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ กั บ ทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 2.3 วิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับ การรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง

สรุปผลการวิจัย 1. นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มี ลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิงไม่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 1-3 ตารางที่ 1 แสดงการทดสอบความแตกต่ า งระหว่ า งเพศ

กับการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง การเปิดรับข่าวสาร จำนวน  เพศ เกี่ยวกับดนตรีกู๋เจิง n สือมวลชน อินเตอร์เน็ต

ชาย หญิง ชาย หญิง

108 292 108 292

2.19 2.36 2.56 2.76

S.D. 1.017 0.963 1.24 1.3

t

sig

-1.594 .10 -1.373 .10

ตารางที่ 2 แสดงการทดสอบความแตกต่างระหว่างอายุ กับการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง การเปิดรับข่าวสาร เกี่ยวกับดนตรีกู๋เจิง สือมวลชน

อินเตอร์เน็ต

จำนวน n 17-19 ปี 147 20-22 ปี 219 23.25 ปี 34 รวม 400 17-19 ปี 147 20-22 ปี 219 23-25 ปี 34 รวม 400 อายุ

S.D.

2.30 2.33 2.25 2.31 2.70 2.67 2.97 2.70

0.98 0.98 0.97 0.98 1.38 1.28 1.35 1.32

F

sig

0.103 .90

0.774 .46

ตารางที่ 3 แสดงการทดสอบความแตกต่ า งระหว่ า งรายได้

กับการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง การเปิดรับ ข่าวสาร เกี่ยวกับ ดนตรีกู๋เจิง

จำนวน  n

รายได้

0-5,000 บาท 5,001-10,000 บาท 10,001-20,000 บาท สือมวลชน 20,001-30,000 บาท 30,001-50,000 บาท รวม 0-5,000 บาท 5,001-10,000 บาท 10,001-20,000 บาท อินเตอร์เน็ต 20,001-30,000 บาท 30,001-50,000 บาท รวม

164 135 80 17 4 400 164 135 80 17 4 400

2.31 2.35 2.22 2.55 2.08 2.31 2.61 2.76 2.74 3.12 2.25 2.70

S.D.

F sig

0.97 1.01 0.93 0.526 .72 0.64 0.63 0.98 1.33 1.38 1.28 0.816 .52 1.05 0.95 1.32

2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของนักศึกษา อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมี

นัยสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ

ดนตรีกู่เจิงกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ตัวแปร สื่อมวลชน โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต

ค่าสหสัมพันธ์กับความรู้ เกี่ยวกับดนตรีกู๋เจิง 0.077 0.075 0.078 0.043 0.061

sig .15 .13 .12 .39 .22

3. ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับ ต่ำมากกับทัศนคติที่ต่อดนตรีกู่เจิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 อธิบายได้ว่า นักศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง

มีทัศนคติเชิงบวกต่อดนตรีกู่เจิง ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 แสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความรู้ เ กี่ ย วกับดนตรี

กู่เจิงกับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง ตัวแปร

ค่าสหสัมพันธ์กับทัศนคติ ที่มีต่อดนตรีกู่เจิง

sig

ความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง

0.182**

.00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4. ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับปานกลาง อย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อธิบายได้ว่า นักศึกษาที่มีทัศนคติ เชิงบวกต่อดนตรีกู่เจิงก็จะมีการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรี

กู่เจิง ดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 แสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ดนตรี

กู่เจิงกับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ตัวแปร ทัศนคติที่มีต่อ ดนตรีกู่เจิง

การรับรู้ภาพ ลักษณ์

ค่าสหสัมพันธ์กับการ รับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยว กับดนตรีกู่เจิง

sig

ด้านเครื่องดนตรี ด้านผู้บรรเลง ด้านวัฒนธรรม ด้านบทเพลง ภาพรวม

0.61** 0.57** 0.64** 0.53** 0.69**

.00 .00 .00 .00 .00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อภิปรายผลการวิจัย 1. นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มี ลักษณะทางประชากร ด้านเพศ อายุ และรายได้แตกต่างกันมี การเปิดรับข่าวสารที่ไม่แตก ต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ (Wilbur Schramm. 1973) ที่กล่าวว่า บุคคลจะเปิดรับหรือไม่เปิดรับ และแสวงหาข้อมูลแตกต่างกันตามทฤษฎีความแตกต่างระหว่าง บุคคล กล่าวคือ แต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันออกไปใน เรื่องของอุปนิสัย บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา ความรู้และ ความสนใจ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ของแต่ละบุคคลด้วย 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่มีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า สื่ อ ที่ ไ ด้ น ำเสนอข่ า วสารเกี่ ย วกั บ ดนตรี กู่ เจิ ง มี อ ยู่ อ ย่ า งจำกั ด

ทั้งยังให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงในระดับพื้นฐาน (ด้ า นเครื่ อ งดนตรี ด้ า นผู้ บ รรเลง ด้ า นวั ฒ นธรรมและด้ า น บทเพลง) และมิได้มีความต่อเนื่องในการนำเสนอข่าวสารตลอด จนนำเสนอในระยะเวลาแค่ช่วงสั้นๆ ดังนั้น การเปิดรับข่าวสาร เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงจึงไม่สัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพร อ้วนคำ (2544) ศึ ก ษาเรื่ อ ง ข่ า วสาร ความรู้ การมี ส่ ว นร่ ว มในกิ จ กรรมเพื่ อ

65

สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียน สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ผลการวิจัยพบว่า การเปิ ด รั บ ข่ า วสารเรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มของนั ก เรี ย นที่ เข้ า ร่ ว ม โครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม 3. ความรู้ เ กี่ ย วกั บ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาในเขตกรุ ง เทพมหานคร มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งมี

นั ย สำคั ญ กั บ ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ดนตรั กู่ เจิ ง แต่ เ ป็ น ความสั ม พั น ธ์ ระดับต่ำมาก ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของ Zimbardo and Ebbesen (1969) ที่ ก ล่ า วว่ า องค์ ป ระกอบด้ า นความรู้ (Cognitive Component) คือ ส่วนที่ประกอบที่เป็นความเชื่อ ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ทั้งชอบและไม่ชอบ หากบุคคลมี ความรู้ หรือคิดว่าสิ่งใดดีมักจะมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งนั้น แต่หากมี ความรู้มาก่อนว่าสิ่งใดไม่ดี ก็จะมีทัศนคติไม่ดีต่อสิ่งนั้น และ อธิ บ ายระดั บ ความรู้ ข อง Bloom (1971) ที่ ว่ า ความรู้ เ ป็ น

สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การระลึ ก เรื่ อ งทั่ ว ๆ ไป กระบวนการ และ สถานการณ์ ซึ่งเน้นในด้านความจำ การเกิดความรู้ไม่ว่ากี่ระดับ ก็ตาม ย่อมเชื่อมโยงกับความรู้สึกนึกคิด ซึ่งทำให้บุคคลมีความ คิดและแสดงออกตามความคิดและ ความรู้สึก ดังนั้นจึงอาจ กล่าวได้ว่าความรู้ เป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดทัศนคติได้ 4. ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ ดนตรี กู่ เ จิ ง ของนั ก ศึ ก ษาระดั บ อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ดังคำอธิบาย Kotler Philip (2000) ที่กล่าวว่า “ภาพลักษณ์” เป็นองค์รวมของความเชื่อ ความคิ ด และความประทั บ ใจ ที่ บุ ค คลคลมี ต่ อ สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง

ซึ่งทัศนคติและการกระทำใดๆ ที่คนเรามีต่อสิ่งนั้นจะมีความ เกี่ยวพันอย่างสูงกับภาพลักษณ์ของสิ่งนั้นๆ นอกจากนี้แนวคิด ด้ า นภาพลั ก ษณ์ ข อง (Jefkins Frank. 1977) ที่ ก ล่ า วว่ า

ภาพลักษณ์ เกิดจากความประทับใจซึ่งได้มาจากการได้มีความรู้ และความเข้าใจในข้อเท็จจริงนั้นๆ นอกจากนี้กระบวนการเกิด ภาพลักษณ์ของ Boulding (1975) อธิบายว่า ภาพลักษณ์เป็น ความรู้ ความรู้สึกของคนเราที่มีต่อสิ่งต่างๆ โดยความรู้นั้นเป็น ความรู้ที่เราสร้างขึ้นมาเองเฉพาะตน เป็นความรู้เชิงอัตวิสัย ซึ่ง ประกอบด้วยข้อเท็จจริง คุณค่าที่เราเป็นผู้กำหนด โดยแต่ละ บุคคลจะเก็บสะสมความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่ได้ประสบ และมีความเชื่อว่าจริง เนื่องจากคนเราไม่สามารถที่จะรับรู้และ ทำความเข้ า ใจกั บ ทุ ก สิ่ ง ได้ ค รบถ้ ว นเสมอไป เรามั ก จะจำได้ เฉพาะบางส่วน ซึ่งอาจไม่ชัดเจนแน่นอนเพียงพอ แล้วตีความหมาย หรือให้ความหมายกับสิ่งนั้นๆ ด้วยตัวเราเองตามความรู้และ ทรรศนะของเรา และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ อุทัยรัตน์


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

66

เมืองแสน (2555) ศึกษาเรื่อง ทัศนคติของพนักงานไทยต่อภาพ ลักษณ์องค์กรจากประเทศญี่ปุ่น พบว่า ทัศนคติของพนักงาน ไทยมีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทข้ามชาติจาก ประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. จากการวิจัยพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ ดังนั้น สถาบันการศึกษาที่มีภาควิชาดนตรีจีน หรือดนตรีกู่เจิง ควรมีการส่งเสริมความรู้และประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับดนตรี กู่เจิงให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายรวมถึงวิธีการบรรเลงดนตรีกู่เจิง

ขั้นพื้นฐาน 2. จากผลวิจัยพบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรี กู่เจิงมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อ ดนตรีกู่เจิง ดังนั้น สถาบัน การศึกษาที่มีภาควิชาดนตรีจีนหรือดนตรีกู่เจิงควรสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือมีโครงการแลกเปลี่ยนทั้งนักศึกษา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-จีน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. การศึ ก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ ศึ ก ษาการเปิ ด รั บ ข่ า วสารจาก สื่อมวลชน และอินเตอร์เน็ต ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษา การเปิดรับข่าวสารสื่อบุคคล หรือนำรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มาใช้ เช่ น การสั ม ภาษณ์ เชิ ง ลึ ก

การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นต้น 2. การศึกษาครั้งนี้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทราบถึง การเปิดรับ ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับ ดนตรีกู่เจิงของประชาชนที่มีหลากหลายอาชีพ

เอกสารอ้างอิง Bloom, B. S. Thomas J. and Madaus G. F. (1971). Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : Mc Graw Hill Book Company. Boulding, K. E. (1975). The Image Knowledge in Life and Society. Michigan : The University of Michigan. Jefkins F. (1977). Planned Press and Public Relation. London : Blackie.

Kotler. P. (2000). Marketing Management. 10th ed. New Jersey : Prentice Hall Inc. Mueangsaen, Uthairat. (2012). ‘Attitude of Thai Employees towards the Image of Japanese Organization in Thailand,’ Valaya Alongkorn Journal of Review. 2(1) : 35-63. อุทัยรัตน์ เมืองแสน. (2555). “ทัศนคติของพนักงานไทยต่อภาพ ลั ก ษณ์ อ งค์ ก รจากประเทศญี่ ปุ่ น ในประเทศไทย,” วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2(1) : 55-63. Naewna Newspaper. (2013). ‘To Plait the Thailand and China Ties’. Khun Haen 34 : 11939. [December 2013]. หนั ง สื อ พิ ม พ์ แ นวหน้ า . (2556). สานสายสั ม พั น ธ์ ไ ทย-จี น .

คุณแหน. 34 : 11939. [ธันวาคม, 2556]. Schramm. W. (1973). The Process and Effects of Mass Communications. IL : The University of lllinois Prss. Uankham, Siriphon. (2001). The Exposure to Knowledge Message and the Participation in Activity for the Environment among Students in the Schools Being Involved in the Project of Outstanding Environmental Creation for Extoling the King. An M.Ed. Thesis. Bangkok : Chulalongkorn University. ศิริพร อ้วนคำ. (2544). การเปิดรับข่าวสารความรู้ การมีส่วน ร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียน สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดี เด่นเฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย. Wongmontha, Seri. (1999). How Important the Image Is!. Bangkok : Theera Film and Sai tex Co. Ltd. เสรี วงษ์มณฑา. (2542). ภาพพจน์นั้นสำคัญไฉน. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด. Zimbardo, P. G. & Ebbesen, E. B. (1969). Influencing Attitudes and Changing. Behavior. Reading MA : Addison Wesley Publishing Co.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

67

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะด้านฐานสมรรถนะวิชาชีพ เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล ของนักเรียนสาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูป ของบริษัทตรีเพชร กับการเรียนแบบปกติ A Comparison of Learning Achievements for Development of Professional Competency-Based Skills on Diesel Engine Work among Students of Department of Mechanics at Second Year Professional Certificate Level Who Learned Using Programmed Instruction in Collaboration with Triphetch Co. Ltd.’s Programmed Instruction versus Traditional Learning นภัทร เพ็ชรศรีกุล1, เผชิญ กิจระการ2 และ จารุณี ซามาตย์3 Napat Phetsrikun1, Pachoen Kidrakarn2 and Charuni Samat3 นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Ph.D. (Educational Media) รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3 ปร.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1 2

บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง งานเครื่องยนต์ดีเซล ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อผลการเรียนรู้ 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกับการเรียนแบบปกติ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน ซึ่งเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป และกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน ซึ่งเรียน แบบปกติ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.80 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 แผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า

1) บทเรียนสำเร็จรูป ประสิทธิภาพเท่ากับ 89.72/88.32 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปเท่ากับ 0.8729 3) นักเรียนกลุ่ม ทดลองมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่ม ทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73) คำสำคัญ : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ฐานสมรรถนะวิชาชีพ / บทเรียนสำเร็จรูป


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

68

ABSTRACT This research aimed to: 1) investigate efficiency of using programmed instruction on diesel engine work at the second year professional certificate level which produces results to students’ learning, 2) examine an effectiveness index of programmed instruction, 3) compare learning achievement of students who learned by programmed instruction with that of those who learned by traditional learning, 4) compare learning achievements between before and after learning, and 5) examine students’ satisfaction with learning through programmed instruction. The sample selected by cluster random sampling was 50 students at the second year professional certificate level who were divided into 2 equal groups of 25. One learned using the programmed instruction, the other using the traditional learning. The instruments used were: a programmed instruction in collaboration with Triphetch Co. Ltd.’s programed instruction; a learning achievement test with difficulty values ranging from 0.33 to 0.80, discrimination power values ranging from 0.25 to 0.80 and a reliability value of 0.80; a competency-based learning management plan with a reliability value of 0.90; and a satisfaction questionnaire with a reliability value of 0.82. Statistics used to analyze data were mean, standard deviation, and t-test for testing a hypothesis. The findings revealed as follows : 1) The programmed instruction had an efficiency index of 89.72/88.32; 2) the value of effectiveness index of the programmed instruction was 0.8729; 3) the treatment group of students had a significantly higher mean score of learning achievement after learning than that before learning at the .05 level;

4) the treatment group of students had a significantly higher learning achievement than the control group of students at the .05 level; and 5) the overall students’ satisfaction with the programmed instruction was at the highest level ( = 4.73). Keywords : Comparison of Learning Achievements / Professional Competency-Based Skills / Programmed Instruction

บทนำ ปัจจุบันความต้องการกำลังคนด้านอุตสาหกรรมมีแนวโน้ม เพิ่ ม มากขึ้ น เนื่ อ งจากโครงสร้ า งทางเศรษฐกิ จ เปลี่ ย นแปลง

ไปมากจากการผลิตโดยใช้กำลังคน เปลี่ยนเป็นการผลิตด้วย เทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากำลังคน ซึ่งจะต้องพัฒนา ในอั ต ราส่ ว นที่ เ หมาะสมทั้ ง ปริ ม าณและคุ ณ ภาพ นอกจากนี้

การผลิตกำลังคนยังต้องสอดคล้องกับความต้องการของสถาน ประกอบการผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาขาดคุณลักษณะด้าน ความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประเทศโดยเน้ น พั ฒ นาคนให้ มี ทั ก ษะชี วิ ต พั ฒ นาสมรรถนะ ทักษะกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ พร้อมก้าวสู่โลกของการทำงาน และการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ (พุทธ ธรรมสุนา และคณะ. 2554) ซึ่งสอดคล้องกับสถาบัน

ยานยนต์ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาด

โลกให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และเป็นอิสระในตัวเอง เท่าที่กฎหมายจะเอื้ออำนวย ความต้องการการพัฒนากำลังคน ของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านยานยนต์และชิ้นส่วน ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ประสบปัญหาและมีแนวโน้มขาดแรงงาน ขาดกำลังคน ขาดทักษะ ฝีมือ กำลังแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต การเรี ย นการสอนในระดั บ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขางานยานยนต์ นักเรียนยังขาดสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เนื่ อ งจากเทคโนโลยี ย านยนต์ มี ก ารพั ฒ นาไปอย่ า งรวดเร็ ว

โดยเฉพาะรถยนต์สมัยใหม่ได้ มีการนำระบบอิเล็กทรอนิคส์เข้า มาควบคุ ม การทำงานของเครื่ อ งยนต์ แ ละกลไกระบบต่ า งๆ ภายในรถ จึ ง มี ค วามจำเป็ น ยิ่ ง ที่ ต้ อ งยกระดั บ ศั ก ยภาพฝี มื อ แรงงานในสาขานี้ ให้มีความรู้ความสามรถเทียบเท่ากับวิทยาการ ของรถยนต์ ซึ่ ง นั ก เรี ย นมี ค วามรู้ ที่ มี ไ ด้ ม าจากการศึ ก ษาใน

บทเรียนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดเป้าหมายให้มีการศึกษา


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป ที่ ใช้ ร่ ว มกั บ บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป ของบริ ษั ท ตรี เ พชรนำมาประยุ ก ต์ ใช้ ใ นรายวิ ช าที่ มี เ นื้ อ หาสอดคล้ อ งกั น

เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของครู และการเรี ย นด้ ว ยตนเองของ

ผู้เรียนในวัยต่างๆ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนา ทั ก ษะสมรรถนะวิ ช าชี พ (รั ฐ กรณ์ คิ ด การ. 2550) บทเรี ย น สำเร็ จ รู ป ของบริ ษั ท ตรี เ พชร เป็ น โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ที่ มี

การออกแบบและพัฒนาตามหลักการสร้างโปรแกรมบทเรียน สื่ อ การเรี ย นการสอนของโครงการ บทเรี ย นแบบสั ม มนาเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารหลั ก สูตร “เทคโนโลยียานยนต์ อีซูซุ ขั้ น สู ง เป็ น โครงการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง ความรู้ พื้ น ฐานด้ า นยานยนต์ อี ซู ซุ ที่ มี เ นื้ อ หาสอดคล้ อ งกั บ

เรื่ อ งงานเครื่ อ งยนต์ ดี เซล สาขาวิ ช าช่ า งยนต์ ประกอบด้ ว ย

หลักการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างจริงจัง (Active Participation หรือ Active Learning) ด้วยการลงมือศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนได้รับผลป้อนกลับอย่าง ฉั บ พลั น (Immediate Feedback) หลั ก การให้ ผู้ เรี ย นมี ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (Successful Experiences) และหลักการให้ผู้เรียนได้เรียนไปตามลำดับขั้นทีละขั้น (Gradual Approximation) ระบบการจั ด การเรี ย นการสอนบทเรี ย น สำเร็จรูปนั้นยังประกอบด้วยระบบสื่อดิจิทัลที่มีเป็นสื่อประสม (Multimedia) (พิ ม พ์ พิ ช า ธรรมวงษ์ . 2555) ด้ ว ยเหตุ นี้ โปรแกรมบทเรียนจึงมีลักษณะที่ได้เปรียบสื่อสำเร็จรูป หรือสื่อ โปรแกรมอื่นๆ มีการเสนอเนื้อหาได้รวดเร็ว ผู้เรียนก็จะสามารถ เข้าเรียนบทเรียนสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย ได้ตามต้องการ โปรแกรมบทเรียนมีสื่อที่เป็นสี เสียง วีดีโอ และ ภาพเคลื่อนไหวประกอบ เมื่อผู้เรียนคลิกที่ส่วนประกอบการ โต้ ต อบจะเป็ น แบบกำหนดพื้ น ที่ เ ฉพาะส่ ว น มี ก ารโต้ ต อบ ระหว่างบทเรียนกับผู้เรียน สิ่งนี้ทำให้โปรแกรมบทเรียนสามารถ ควบคุมผู้เรียนหรือช่วยเหลือผู้เรียนได้มาก โปรแกรมบทเรียน สามารถบันทึกและประเมินผลการเรียน และประเมินผลผู้เรียน ได้ สามารถนำโปรแกรมบทเรียนติดตัวไปเรียนในสถานที่ต่างๆ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หรือสามารถเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2554) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงให้ความสนใจในการศึกษา การใช้บทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปของบริษัท ตรีเพชร และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะขึ้น มาพร้อมแทรกเนื้อหาของโปรแกรมบทเรียนลงไปเพื่อให้มีความ สอดคล้องกับรายวิชาของสาขาวิชาช่างยนต์ เรื่องงานเครื่องยนต์ ดีเซล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 บทเรียนสำเร็จรูป เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีรูปแบบการนำเสนอที่เป็นเทคโนโลยี

69

สมัยใหม่ ทำให้ผู้เรียนสนใจกิจกรรมการเรียน ซึ่งเป็นสื่อการสอน ที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และส่งผลดีต่อการพัฒนา

การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเป็นการเปรียบ เที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น เพื่ อ พั ฒ นาทั ก ษะด้ า นฐาน สมรรถนะวิชาชีพ ในสาขาวิชาช่างยนต์ เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนของบริษัทตรีเพชร กับการเรียน แบบปกติซึ่งจะได้นำไปเป็นแนวทางในการศึกษาโปรแกรมบท เรียนวิชาอื่นๆ ต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ บ ทเรี ย นสำเร็ จ รู ป เรื่อง งานเครื่องยนต์ดีเซล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น

ปีที่ 2 ที่มีต่อผลการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 มีตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ หาค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของบทเรี ย นสำเร็ จ รู ป เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชาช่างยนต์ ของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 3. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น เรื่ อ ง

งานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชาเครื่องกล ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกับการเรียนแบบ ปกติ 4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องงาน เครื่ อ งยนต์ ดี เซล สาขาวิ ช าช่ า งยนต์ ข องนั ก เรี ย น ระดั บ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ก่อนเรียนและหลังเรียน 5. เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจของนั ก เรี ย นระดั บ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียน สำเร็จรูป เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชา ช่างยนต์ สมมติฐานการวิจัย 1. นั ก เรี ย นระดั บ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น ปี ที่ 2

ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชา ช่างยนต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นั ก เรี ย นระดั บ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น ปี ที่ 2

ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล สาขา วิชาช่างยนต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่านักเรียน ที่ เรี ย นด้ ว ยการเรี ย นแบบปกติ อย่ า งมี นั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ที่

ระดับ .05


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

70

กรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2552)

ตัวแปรอิสระ กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

ตัวแปรตาม - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - ความพึงพอใจ

นิยามศัพท์เฉพาะ 1. บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง บทเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อ ใช้ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชรเป็นบทเรียนที่มี การนำเนื้อหาบางส่วนในบทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร เข้ามาจัดไว้ในบทเรียนที่สร้างขึ้น เป็นการนำเสนอด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนมัลติมีเดีย ที่มีการออกแบบและ พัฒนาเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน โดยผู้วิจัยได้ศึกษาประยุกต์ ใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านยานยนต์อีซูซุ ซึ่งมี เนื้อหาสอดคล้องกับสาขาวิชาช่างยนต์ เรื่อง งานเครื่องยนต์ ดีเซล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 2. ทักษะด้านฐานสมรรถนะวิชาชีพ หมายถึง ความสามารถ ในการปฏิบัติ (Performance) ในงานเครื่องยนต์ดีเซล ภายใต เงื่อนไข (Condition) โดยใชเครื่องมือวัสดุอุปกรณที่ระบุไวใหได มาตรฐาน (Standard) ตามเกณฑการปฏิบัติ (Performance Criteria) และมีหลักฐานการปฏิบัติ (Evidence) ใหประเมินผล และตรวจสอบได้

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรได้แก่ นักเรียนสาขาวิชาช่างยนต์ ระดับ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น ปี ที่ 2 วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค น้ ำ พอง

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 80 คน 2. กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง ได้ แ ก่ นั ก เรี ย นสาขาวิ ช า ช่ า งยนต์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 50 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่ ม ทดลอง คื อ กลุ่ ม ที่ เรี ย นด้ ว ยบทเรี ย น สำเร็จรูป เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 25 คน

2) กลุ่ ม ควบคุ ม คื อ กลุ่ ม ที่ เรี ย นแบบปกติ เป็ น นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิค น้ำพอง ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 25 คน 3. เนื้ อ หาในบทเรี ย นสำเร็ จ รู ป เรื่ อ งงานเครื่ อ งยนต์ ดีเซล สาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2) ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง 3) ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล 4) ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์ดีเซล 5) ระบบไอดีและระบบไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล 4. ระยะเวลาในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 15 ชั่วโมง โดยไม่รวมเวลา ในการทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. บทเรียนสำเร็จรูป งานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชา ช่ า งยนต์ ระดั บ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น ปี ที่ 2 จำนวน

15 ชั่วโมง ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน โดยใช้แบบ ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผลการประเมินพบว่า

มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ เรื่องงาน เครื่ อ งยนต์ ดี เซล สาขาวิ ช าช่ า งยนต์ ระดั บ ประกาศนี ย บั ต ร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 ชั่วโมง ซึ่งผ่านการพิจารณาจาก

ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้าน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้าน การวั ด และประเมิ น ผลโดยใช้ แ บบมาตราส่ ว นประมาณค่ า (Rating Scale) ผลการประเมิ น ของผู้ เชี่ ย วชาญ มี ค่ า เฉลี่ ย เท่ากับ 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อวัดฐาน สมรรถนะวิชาชีพของนักเรียน เรื่อง งานเครื่องยนต์ดีเซล สาขา วิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 เป็นแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ สร้างโดย

กรมอาชีวศึกษา ผลการประเมินดัชนีความสอดคล้องระหว่าง ข้อสอบและผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง (IOC) ของผู้เชี่ยวชาญด้าน การวัดผลทั้ง 3 คน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 หมายความว่าข้อสอบมีความเที่ยงตรงในการวัดผลตรงกับผล การเรียนรู้ที่คาดหวัง แบบทดสอบมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.80 และ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4. แบบทดสอบวัดความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูป ของผู้เรียน เรื่อง งานเครื่องยนต์ดีเซล สาขาวิชาช่างยนต์ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แบบทดสอบความพึงพอใจมี ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 หลังจากเรียนด้วยบทเรียน สำเร็จรูป นักเรียนกลุ่มทดลองให้คะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.74 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ช่วง เดือนพฤษภาคม 2555 ขอหนังสือราชการจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถึงผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สังกัดอาชีวศึกษา เพื่อ ขอความอนุเคราะห์ทดลองใช้เครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ช่ ว ง เดื อ นมิ ถุ น ายน–พฤศจิ ก ายน 2555 เตรี ย ม

บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป และจั ด ทำแผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบฐาน สมรรถนะ

71

2) วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป โดยสูตร (Effectiveness Index : E.I.) (เผชิญ กิจระการ. 2554) 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน เรียนและหลังเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้ t-test (Dependent Samples) (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2553) 4) วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ระหว่างการเรียนด้วย บทเรียนสำเร็จรูป กับการเรียนแบบปกติ โดยใช้ t-test (Dependent Samples) (บุญชม ศรีสะอาด

และคณะ. 2553) 5) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบท เรียนสำเร็จรูปโดยใช้ค่าเฉลี่ย

สรุปผลการวิจัย 1. บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป มี เรื่ อ ง งานเครื่ อ งยนต์ ดี เซล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 89.72/ 88.32 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ประสิ ท ธิ ภ าพของบทเรี ย นสำเร็ จ รู ป เรื่ อ งงาน

เครื่องยนต์ดีเซล ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น ปีที่ 2

ภาพที่ 1 บทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกับบทเรียน สำเร็จรูของ บริษัทตรีเพชร 3. ช่วง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ดำเนินการทดลอง และ เก็บรวบรวมข้อมูล กับนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน 2) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบในแต่ละหน่วยการ เรียน 3) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล 1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปตาม เกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2

ผลรวมของคะแนน จำนวนนักเรียน E1/E2 แบบฝึกหัด ทดสอบ (n) ร้อยละ ร้อยละ ระหว่างเรียน หลังเรียน 25

2,243

89.72 1,104 88.32

89.72/ 88.32

2. บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป มี ค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ล 0.8729

แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 87.29

ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการวิ เ คราะห์ ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของบทเรี ย น สำเร็จรูประดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 จำนวน คะแนน นักเรียน เต็ม (n) 25

50

ผลรวมของคะแนน ทดสอบ ก่อนเรียน 416

ดัชนี ทดสอบ ประสิทธิผล หลังเรียน 1,104

0.8729


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

72

3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปมีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 44.16 คิดเป็นร้อยละ 88.32 และ นักเรียนที่เรียนแบบปกติมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 35.56 คิดเป็นร้อยละ 71.12 ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของนั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ย

บทเรียนสำเร็จรูปกับการเรียนแบบปกติ ตัวแปร

จำนวน นักเรียน

ผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน

กิจกรรม การเรียน

S.D. ร้อยละ

25

เรียนด้วยบทเรียน 44.16 1.43 88.32 สำเร็จรูป

25

เรียนแบบปกติ 35.56 3.10 71.12

4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป มีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง งานเครื่องยนต์ดีเซลระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 การทดสอบ

n

S.D. df

t

sig

ผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียน 25 16.64 4.07 30 31.88** .00 ทางการเรียน หลังเรียน 25 44.16 1.43

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดย ใช้บทเรียน สำเร็จรูปอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73) เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนชอบและตั้งใจเรียน วิชาช่างยนต์ด้วยบทเรียน ทุกครั้ง ( = 4.95) และความสะดวก การใช้งานง่าย ของบทเรียนสำเร็จรูป ( = 4.95) ส่วนความ

พึงพอใจต่อการเรียนแบบปกติ อยู่ในระดับมาก ( = 4.24)

ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปกับ การเรียนแบบปกติ รายการประเมิน

บทเรียน สำเร็จรูป 

S.D.

การเรียน แบบปกติ

ความ หมาย

S.D.

ความ หมาย

1. นักเรียนมีความ เข้าใจเรื่องงาน 4.75 0.44 มากที่สุด 4.33 0.58 มาก เครื่องยนต์ดีเซล

เมื่อเรียน 2. นักเรียนสนุกกับ การเรียนด้วย 4.75 0.44 มากที่สุด 4.00 0.00 มาก บทเรียนสำเร็จรูป 3. นักเรียนชอบและ ตั้งใจเรียน วิชา 4.95 0.22 มากที่สุด 4.33 0.58 มาก ช่างยนต์ บทเรียน สำเร็จรูปทุกครั้ง 4. บทเรียนช่วยให้ นักเรียนเกิดความรู้ 4.45 0.69 มาก 4.33 0.58 มาก และค้นพบความรู้ ใหม่ด้วยตนเอง 5. ความสะดวก การใช้งาน 4.95 0.22 มากที่สุด 4.00 0.00 มาก ง่ายของบทเรียน 6. บทเรียนทำให้ 4.85 0.37 มากที่สุด 4.33 0.58 มาก นักเรียนสนใจเรียน 7. สี รูปภาพ และ ภาพเคลื่อนไหว 4.60 0.60 มากที่สุด 4.33 0.58 มาก ในบทเรียนมีความ เหมาะสม สวยงาม 8. เสียงประกอบใน โปรแกรมบทเรียน 4.75 0.55 มากที่สุด 4.00 0.00 มาก มีความเหมาะสม 9. ตัวอักษร อ่านง่าย 4.60 0.60 มากที่สุด 4.00 0.00 มาก ชัดเจน รวม

42.65 4.13

37.65 2.9

อภิปรายผลการวิจัย 1. บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป ที่ ใช้ ร่ ว มกั บ บทเรี ย นสำเร็ จ รู ป

ของบริ ษั ท ตรี เ พชร มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เท่ า กั บ 89.72/88.32 หมายความว่า บทเรียนสำเร็จรูปทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

เรียนรู้เฉลี่ย 89.72 และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน

ของบทเรียนสำเร็จรูป เฉลี่ยร้อยละ 88.32 แสดงว่าบทเรียน สำเร็ จ รู ป ที่ ผู้ วิ จั ย ศึ ก ษามี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง กว่ า เกณฑ์ 80/80 ทำให้ ก ารเรี ย นรู้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (เผชิ ญ กิ จ ระการ. 2554)

ผลการวิจัยข้างต้น 80 ตัวแรก (E1) คือผู้เรียนทั้งหมดทำแบบ ฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน ได้คะแนนร้อยละ 89.72 ถือว่าเป็น ประสิทธิภาพของกระบวนการ ส่วน 80 ตัวหลัง (E2) คือผู้เรียน ทั้ ง หมดทำแบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นหลั ง เรี ย น

ได้คะแนนร้อยละ 88.32 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ กำหนดไว้ ถือว่าบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพ สามารถนำไป ใช้ เ ป็ น โปรแกรมบทเรี ย นได้ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ สิทธิชัย ไตรโยธี (2556) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ ทางลมฟ้าอากาศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มัลติมีเดียที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.30/83.80 ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมบทเรียนมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ เป็นโปรแกรมบทเรียนได้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกับ บทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร คือ 0.8729 หรือคิดเป็น ร้อยละ 87.29 แสดงว่าโปรแกรมบทเรียนที่ผู้วิจัยศึกษา ทำให้ นั ก เรี ย นมี ค วามก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น จากก่ อ นเรี ย น

คิดเป็นร้อยละ 87.29 เนื่องจากบทเรียนสำเร็จรูปที่ผู้วิจัยศึกษานั้น ได้ออกแบบให้มีการแสดงเนื้อหา และสามารถทบทวนเนื้อหา ตามที่ผู้เรียนต้องการ มีการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจ ในการเรี ยน สร้างความแปลกและความตื่น เต้ น ให้ กั บ

ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นครไทย ขอนยาง (2551) ได้ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่องระบบกระดูก และ

ข้อต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่องระบบ กระดูกและข้อต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ พั ฒ นาขึ้ น มี ค่ า เท่ า กั บ 0.6361 ซึ่ ง สอดคล้องกับงานวิจัยของวรพงษ์ เถาว์ชาลี (2551) ได้ศึกษา

การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี รายวิชา ง40204 วิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ค่าดัชนี ประสิ ท ธิ ผ ลของบทเรียนเท่ากับ 0.6189 แสดงว่า นั ก เรี ย นมี ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 61.89 3. นั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ยบทเรี ย นสำเร็ จ รู ป ที่ ใช้ ร่ ว มกั บ

บทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง

73

สถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากเป็น สื่อที่มีสีสัน มีเสียงดนตรีประกอบบทเรียน มีรูปภาพประกอบ

ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอเนื้อหาใช้รูปแบบ

ตั ว อั ก ษรที่ น่ า สนใจ เหมาะสมกั บ วั ย ของนั ก เรี ย นนั ก เรี ย นมี

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนโดยการโต้ตอบ การฝึกปฏิบัติจริงและ เกิ ด การเรี ย นรู้ ไ ด้ ร วดเร็ ว ยิ่ ง ขึ้ น และสามารถทบทวนบทเรี ย น

ได้ตามต้องการ เป็นสื่อที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัย นนทิยา นนท์อาสา (2551) ได้ศึกษา

การเปรี ย บเที ย บผลการเรี ย น เรื่ อ ง งานใบตองของนั ก เรี ย น

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน กับการเรียนแบบโครงงาน พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรม บทเรียน เรื่อง งานใบตอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจาก การเรียนแบบโครงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ยบทเรี ย นสำเร็ จ รู ป ที่ ใช้ ร่ ว มกั บ

บทเรียนสำเร็จรูปของบริษัทตรีเพชร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าการเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณา พบว่านักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถทบทวนบทเรียนได้ตาม ต้องการ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่า นักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ง เป็ น ไปตามสมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เ นื่ อ งจากโปรแกรม

บทเรี ย น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ ศรี ส มพร จั น ทะเลิ ศ (2549) พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ประกอบ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบโครงงานมี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท าง

การเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเรียนตาม คู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 5. นั ก เรี ย นกลุ่ ม ทดลองมี ค วามพึ ง พอใจต่ อ การจั ด

การเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูป

ของบริษัทตรีเพชร ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากบทเรียน สำเร็จรูปที่ผู้วิจัยนำมาศึกษา ได้ออกแบบให้นักเรียนสามารถ เรียนรู้ตามศักยภาพตนเอง นักเรียนมีอิสระในการเรียน ทำให้ นักเรียนสามารถ คิดทำความเข้าใจกับบทเรียน และสามารถ ทบทวน เนื้อหาได้ตามความต้องการ เนื้อหามีการออกแบบ

โดยใช้ มั ล ติ มี เ ดี ย ได้ แ ก่ เสี ย งดนตรี เสี ย งบรรยาย ภาพนิ่ ง

ภาพเคลื่ อ นไหว อี ก ด้ ว ย ดั ง ที่ ไชยยศ เรื อ งสุ ว รรณ (2554)

กล่าวว่า การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนโดยทั่วไปจะยึดหลักการ พื้นฐานของการออกแบบระบบและวิธีการจัด การเรียนการสอน และการนำเสนอเนื้อหาที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

ให้ติดตามและตั้งใจเรียน โดยใช้เทคนิคของการเสริมแรง และ หลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้หลายๆ ประการที่สอดคล้องกับ จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

74

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การจั ด การเรี ย นการสอนด้ ว ยโปรแกรมบทเรี ย น

ควรได้รับการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งด้านการจัดสภาพ แวดล้อม เทคโนโลยี ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจถึง ขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ แ ละประโยชน์ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด การยอมรั บ ก่ อ น

การดำเนินการ เพื่อร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติกิจกรรม 2. ควรให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ แก่นักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนด้วยโปรแกรม บทเรียนแบบเสนอเนื้อหาใหม่

Learning Strand for Mathayom Suksa 4 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. นครไทย ขอนยาง. (2551). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง ระบบกระดูกและข้อต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึ ก ษาชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4. วิ ท ยานิ พ นธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Kidkan, Rathakorn. (2007). Educational Technology. Nakhon Ratchasima : Ratchasima Rajabhat University.

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียน รู ป แบบอื่ น ๆ กั บ ตั ว แปรตามอื่ น ๆ เช่ น การคิ ด อย่ า งมี ร ะบบ

การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา เป็นต้น 2. ควรศึกษาความคงทนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน 3. ควรศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม บทเรียนกับผู้เรียนที่มีลักษณะแตกต่างกัน

รัฐกรณ์ คิดการ. (2550). เทคโนโลยีการศึกษา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เอกสารอ้างอิง.

Non-asa, Nanthiya. (2008). A Comparison of Learning Achievements on Banana Leaf Work among Prathom Sukksa 5 Students through Learning with a Lesson Program versus Learning with a Project. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University.

Janthalert, Srisomphon. (2006). A Comparison of Learning Achievements on Information Technology, the Work, Career and Technology Learning Strand for Prathom Suksa 4 Students through Learning With Computer Lessons Accompanied by Project Learning Activity versus Learning as a Pair. Mahasarakham : Mahasarakham University. ศรีสมพร จันทะเลิศ. (2549). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่าง การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ประกอบการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนตามคู่. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Khonyang, Nakhonthai. (2008). Development of a Lesson Program on a System of Bones and Joints, the Hygiene and Physical Education

Kit-rakarn, Phachoen. (2011). Finding Effectiveness Indexes. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. เผชิ ญ กิ จ ระการ. (2554). การหาค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ล. วิ ท ยานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทิยา นนท์อาสา. (2551). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง งานใบตองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน กับการเรียน แบบโครงงาน. วิ ท ยานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Rueangsuwan, Chaiyot. (2011). Computer and Network-Lessons Design and Development. 15 th Ed. Mahasarakham : Mahasarakham University. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์และบทเรียนเครือข่าย. พิมพ์ครั้งที่ 15. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Srisa-aad, Boonchom and Others. (2009). Introduction to Educational Research. 5th Ed. Kalasin : Prasaan Press. บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. _____ . (2010). Statistical Procedure for Research. 5th Ed. Kalasin : Prasaan Press. _____ . (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้ง

ที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. Thammasuna, Buddha and Others. (2011, September). ‘Development of a Competency-BasedSchool Curriculum in the Motor Vehicle Technology Program of the Department of Machinery, Loei Technical College,’ Academic and Research Journal, Phranakhon Rajabhat University. 5(2) : 102-115. พุทธ ธรรมสุนา และคณะ. (2554, กันยายน). “การพัฒนา หลั ก สู ต รสถานศึ ก ษา ฐานสมรรถนะ สาขางาน เทคโนโลยียานยนต์ ของสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัย เทคนิคเลย,” วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร. 5(2) : 102-115. Thammawong, Phimphicha. (2012). A Comparison of Learning Achievements on Final Letter Sections for Prathom Suksa 2 Students through Learning with a New-Content-Offering Lesson Program versus Traditional Learning. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. พิมพ์พิชา ธรรมวงษ์. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่าง

การเรี ย นด้ ว ยโปรแกรมบทเรี ย นแบบเสนอเนื้ อ หา

ใหม่ กั บ การเรี ย นแบบปกติ . วิ ท ยานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษา

มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Thao-chalee, Woraphong. (2008). Development of a Lesson Program Using Web-Technology for the Course d40204 on Additional Computer for Mathayom Suksa 5 Students. An M.Ed.

75

Thesis : Mahasarakham : Mahasarakham University. วรพงษ์ เถาว์ชาลี. (2551). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยี รายวิชา ง40204 วิชาคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Traiyothee, Sithichai. (2013, January-April). “Development of Multi-Media Computer-Assisted Instruction Lessons, the Science Learning Strand, on the Wind, Sky and Weather Phenomena for Mathayom Suksa 1 Students,” Nakhon Phanom University Journal. 3(1) : 57-64. สิทธิชัย ไตรโยธี. (2556, มกราคม–เมษายน). “การพัฒนา

บทเรี ย นคอมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอนมั ล ติ มี เ ดี ย กลุ่ ม สาระ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ปรากฏการณ์ทางลมฟ้า อากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,” วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม. 3(1) : 57-64.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

76

การเปรียบเทียบผลการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบเครือข่าย และการใช้อินเทอร์เน็ต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big six skills กับการสอนปกติ A Comparison of Learning Achievements and Critical Thinking Abilities on ‘the System of Network and the Use of the Internet’ among Mathayom Suksa 2 Students by means of Big Six Skills with Web Technology versus Traditional Learning สุพัตรี วงศ์วอ,1 สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ2 และ อัชชา เขตบำรุง3 Suphatree Wohgwor,1 Suthipong Hoksuwan2 and Atcha Khatbumrung3 นิสิตระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Ph.D. (Educational Technology) รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3 Ph.D. (Environmental Education) อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 1

2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน ที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะปฏิบัติของ นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะปฏิบัติของนักเรียนระหว่างที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills กับการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น โรงเรียนนาสีนวนพิทยา สรรค์ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือ

ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีความยาก ระหว่าง 0.60 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.23 ถึง 0.56 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และแบบทดสอบวัดความสามารถใน

การคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีความยาก ระหว่าง 0.60 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.30 ถึง 0.52 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมมติฐานใช้ Hotelling T2 ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนที่ ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.56/88.67 2) บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีค่าดัชนี ประสิทธิผลเท่ากับ 0.8038 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.8038 หรือคิดเป็น ร้อยละ 80.38 3) นักเรียนกลุ่ม ทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills / การคิดวิเคราะห์ / ทักษะปฏิบัติ / การเปรียบเทียบผลการเรียน / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

77

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to develop lessons which employ Big Six Skills with Web Technology, 2) to examine an effectiveness index of the lessons that employ Big Six Skills with Web Technology, 3) to compare the learning achievements, the critical thinking abilities and the practical skills of students who learn with lessons which employ Big Six Skills with Web Technology before and after learning, and 4) to compare the learning achievements, the critical thinking abilities and the practical skills of students who learned with the lessons by Big Six Skills with Web Technology versus traditional learning. The sample selected by cluster random sampling was 60 Mathayom Suksa 2 students of whom 30 were from Nasinuan Phitthayasan School. This group was used as a treatment group, while the other group of 30 from Ban Srisuk Phitthayakhom was used as a control group. The instruments used were: the lessons which employ Big Six Skills with Web Technology; a learning achievement test whose difficulty values ranged between 0.60 and 0.77; discrimination power values between 0.23 and 0.56, and entire reliability value was 0.87; and a test of critical thinking abilities whose difficulty values ranged between 0.60 and 0.80, discrimination power values between 0.30 and 0.52, and reliability value was 0.80. Statistics used to analyze data were mean, standard deviation and Hotelling T2 for hypothesis testing. The findings revealed as follows: 1) The lessons which employ Big Six Skills with Web Technology had efficiency of 84.56/88.67; 2) the lessons which employ Big Six Skills with Web Technology had an effectiveness index of 0.8038 which shows that the students had an increased learning advance of 80.38%; 3) the students of treatment group who learned with the lessons by Big Six Skills with Web Technology had a significantly higher mean score after the learning than that before the learning at the .01 level; 4) the students of treatment group had a significantly higher mean score than those of control group at the .01 level. Keywords : Big Six Skills with Web Technology / Critical Thinking / Practical Skills / Comparison of / Learning Achievements

บทนำ ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว ด้วย อิทธิพลความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการด้าน การสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเครือข่าย ไปทั่วทุกมุมโลก ทำให้สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งข่าวสารข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระจาย ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำรง ชีวิตของมนุษย์ เช่น ด้านข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ข้อมูลผ่าน ทาง “อิ น เทอร์ เ น็ ต ” (Internet) เปรี ย บดั ง โลกไร้ พ รมแดน

ขณะเดียวกันนั้น กิจกรรมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การศึกษา สิ่งแวดล้อมถูกเชื่อมโยง เข้าถึงกันและกัน ทำให้ผู้เรียนจำเป็นต้องแสวงหาความรู้และ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา รู้จักการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศ ต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งพัฒนาตนเอง และสั ง คมอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สมรรถนะของ

ผู้ เรี ย นข้ อ ที่ 2 ซึ่ ง ผู้ เรี ย นจะต้ อ งมี ทั ก ษะการคิ ด วิ เ คราะห์

คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและ การคิ ด อย่ า งเป็ น ระบบเพื่ อ นำไปสู่ ก ารสร้ า งองค์ ค วามรู้ ห รื อ

สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่าง เหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) สภาพปัญหาในปัจจุบัน การเรียนการสอนมักจะไม่เน้น ให้ นั ก เรี ย นได้ ฝึ ก คิ ด วิ เ คราะห์ และผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น

กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (โรงเรียนนาสีนวนพิทยา สรรค์. 2555) มีคะแนนเฉลี่ยต่ำลงเรื่อยๆ ในซึ่งสอดคล้องกับ

ผลการประชุ ม วิ ช าการระดั บ ชาติ ที่ จั ด ขึ้ น โดยสำนั ก งาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันคีนันแห่ง เอเชีย และ สสวท. เพื่อ “การยกระดับคุณภาพการศึกษาวิทยา ศาสตร์ ขั้ น พื้ น ฐาน ปี 2555” โดยมี ค รู จ ากทั่ ว ประเทศเข้ า

ร่วมประชุมซึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลคะแนนสอบ PISA ของเด็ก ไทยว่ า คะแนนต่ ำ เพราะขาดการวิ เ คราะห์ จ ากการจั ด อั น ดั บ


78

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาโดย International Institute for Management Development : IMD ในปี 2554 พบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 51 จาก 57 ประเทศทั่วโลก จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับ 46 เมื่อปี 2550 นอกจากนี้คะแนน การสอบประเมิ น ผลนั ก เรี ย นนานาชาติ หรื อ Program for International Student Assessment (PISA) ด้ า น วิ ท ยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ประเทศไทยยัง คงอยู่ ใ น อันดับรั้งท้ายอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียยัง

อยู่ ใ นอั น ดั บ ต้ น ๆ ข้ อ สรุ ป ปั ญ หาดั ง กล่ า วจากมุ ม มองของ

นั ก การศึ ก ษาอย่ า ง ดร.ฮอง ซองซั ง ที่ ป รึ ก ษาด้ า นนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐเกาหลี มองว่า ผลการประเมินจาก PISA สามารถ สะท้ อ นคุ ณ ภาพการศึ ก ษาด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ ข องเด็ ก ไทยถึ ง กระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ไม่ได้ปรับปรุง เนื่องจาก การประเมินผลของ PISA เน้นการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ดั ง นั้ น การเรี ย นการสอนของไทยที่ ไ ม่ ทั น สมั ย จึ ง ไม่ ส ร้ า ง

การเรี ย นรู้ ใ ห้ เ ด็ ก เกิ ด กระบวนการคิ ด เมื่ อ มี ก ารวั ด ผลด้ ว ย ข้อสอบ PISA ขาดการประเมินผลที่ชัดเจนนอกจากนี้บทสรุป จากที่ประชุม พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการศึกษาของไทย คือ ขาดการประเมินผลและวัดผลที่มีรายละเอียด เพราะที่ผ่านมา

ครูมีเครื่องมือไม่เพียงพอและไม่ได้ถูกพัฒนาให้มีลำดับขั้นตอนที่ เหมาะสมที่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นเมื่อมีมาตรฐานที่ ละเอียดมากพอที่จะนำมาสู่หลักสูตรที่ชัดเจน และวิธีการที่ครู

จะต้องสอนอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ นำมาสู่

การจัดทำคู่มือการเรียนการสอน และแบบทดสอบในการประเมิน การเรี ย นรู้ มาตรฐานส่ ว นนี้ ก็ จ ะเป็ น ตั ว กำหนดเป้ า หมาย

การเรียนรู้ของเด็กที่ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่าปัญหาการขาดความ สามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นปัญหาระดับชาติ ปัญหาดังกล่าว สอดคล้องกับปัญหาของโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ กล่าวคือ ผลการประเมินภายนอกรอบที่ 1 มาตรฐานที่ 4 ด้านผู้เรียน นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปรับปรุง และผลการประเมิ น ภายนอกรอบที่ ส องอยู่ ใ นระดั บ พอใช้

ผลการประเมินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ยังจำเป็นที่จะต้องได้ รั บ การพั ฒ นา (โรงเรี ย นนาสี น วนพิ ท ยาสรรค์ . 2555) และ

ผลของการจั ด การเรี ย นการสอนของโรงเรี ย นบ้ า นค้ อ ต่ ำ กว่ า

เป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดร้อยละ 70 (สุภาพร ไพสณฑ์. 2555) แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศหรือ แบบ Big Six Skills เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียน

แก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศ เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมา

เป็นเครื่องมือในการค้นหา รวบรวม สังเคราะห์ นำเสนอและ ประเมิ น ผลสารสนเทศ ต่ า งจากรู ป แบบการจั ด การเรี ย นรู้

แบบอื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ น้ น การใช้ เ ทคโนโลยี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยใน

การจัดการสารสนเทศ การเรียนแบบ Big Six Skills มีแนวคิด พื้นฐานมาจากการบูรณาการระหว่างวิชาทักษะสารสนเทศและ วิชาทักษะคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์ อย่างมีความหมายและพัฒนาทักษะสารสนเทศโดยมีหลักการ พื้นฐานว่าการสอนทักษะนั้นจะต้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่มีอยู่ใน หลักสูตรเดิมโดยการมอบหมายงานและการจัดการเรียนรู้นั้น ต้ อ งมี ก ารจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ (ปาลิ ต า บั ว สี ด ำ. 2551)

ในการจั ด การเรี ย นการสอนเรื่ อ ง ระบบเครื อ ข่ า ยและการใช้

อินเทอร์เน็ตจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจ เกิดการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องและสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม และจากสิ่ ง แวดล้ อ มที่ จั ด ประสบการณ์ ไว้ ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ทำให้ ผู้ เ รี ย นสร้ า งความรู้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและยั ง มี

การเชื่ อ มโยงเป็ น เครื อ ข่ า ยไปได้ ทั่ ว โลก ทำให้ ผู้ เรี ย นมี แ หล่ ง ข้ อ มู ล ในการเรี ย นรู้ เ พิ่ ม มากขึ้ น จึ ง ต้ อ งช่ ว ยกั น ร่ ว มมื อ คิ ด วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ถูกจัดไว้ ตลอดจน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในระหว่างเพื่อน และครูซึ่งพบว่าเว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีคุณลักษณะ ของสื่ อ ที่ เ หมาะสมและสอดคล้ อ งกั บ เนื้ อ หาสาระของวิ ช าที่ นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนทำให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะปฏิบัติสูงขึ้น ผู้ วิ จั ย จึ ง มี ค วามสนใจที่ จ ะออกแบบและสร้ า งรู ป แบบ

การสอนคือ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบ

เครื อ ข่ า ยและการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 2

เพื่อที่จะได้รูปแบบการเรียนการสอน ที่เป็นระบบ และเหมาะสม กับผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ เพื่อจะนำไป พัฒนาให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติที่สูงขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยม

ศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ หาค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของบทเรี ย นที่ ใช้ เว็ บ เทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้ อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วย


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

79

บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ก่อนเรียนและ หลังเรียน 4. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ความ สามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะปฏิบัติระหว่างนักเรียน

ที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills กับ การสอนปกติ

3. ทักษะการปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการที่มุ่งให้ผู้ เรียนลงมือทำ หรือปฏิบัติชิ้นงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดทักษะ คือความชำนาญหรือปฏิบัติได้ตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติจากการ เรียนบนเครือข่ายและการเรียนตามปกติ วัดได้จากการใช้แบบ ประเมิ น ทั ก ษะปฏิ บั ติ ที่ ผู้ วิ จั ย พั ฒ นาจากแนวคิ ด ของ สมนึ ก ภัททิยธนี (2549)

สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะปฏิบัติและความ สามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอน ปกติ

กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มีกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้

นิยามศัพท์เฉพาะ 1. เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six skills หมายถึง ระบบ การเรียนบนเครือข่ายที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม ขั้นตอนของ Big Six Skills ด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี (พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. 2548) 2. การคิดวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถทางสมอง ของบุ ค คล ในการจำแนกแยกแยะองค์ ป ระกอบต่ า งๆ ของ

สิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจเป็นวัตถุสิ่งของ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ และ หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อ ค้นหาสภาพความเป็นจริงหรือสิ่งสำคัญของสิ่งที่กำหนด ซึ่งงาน วิจัยนี้ประกอบด้วยความคิด 3 ลักษณะ คือ 2.1 ความสามารถในการวิ เ คราะห์ ค วามสำคั ญ หมายถึ ง การพิ จ ารณาหรื อ จำแนกว่ า ชิ้ น ใด ส่ ว นใด เรื่ อ งใด เหตุการณ์ใด ตอนใด สำคัญที่สุด หรือหาจุดเด่น จุดประสงค์ สำคัญ สิ่งที่ซ่อนเร้น 2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญ ของเรื่องราว ว่าสองชิ้นส่วนใดสัมพันธ์กัน รวมถึงข้อสอบอุปมา อุปมัย 2.3 ความสามารถในการคิ ด วิ เ คราะห์ ห ลั ก การ หมายถึง การพิจารณาดูชิ้นส่วน หรือส่วนปลีกย่อยต่างๆ ว่ายึด หลักการใด สื่อสารสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ตัวแปรอิสระ วิธีการเรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บ เทคโนโลยีแบบ Big six skills 1. ขั้นการนิยามภาระงาน 2. ขั้นการกำหนดยุทธศาสตร์ การค้นหาสารสนเทศ 3. ขั้นการสืบค้นและเข้าถึง สารสนเทศ 4. ขั้นการใช้สารสนเทศ 5. ขั้นการสังเคราะห์ข้อมูล 6. ขั้นการประเมินผล

ตัวแปรตาม

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ความสามารถในการคิด

วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ 3. ทักษะปฏิบัติ

การเรียนแบบปกติ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นสอน ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้ แ ก่ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 2

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนในสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,582 คน 47 ห้องเรียน 2. กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ แ บ่ ง ออกเป็ น

2 กลุ่ม เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ กลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยแบ่งดังนี้ 1) กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 16 ชั่ ว โมง ซึ่ ง เป็ น การเรี ย นบนเครื อ ข่ า ยที่ มี ก ารจั ด กิ จ กรรม

การเรียนการสอนตามขั้นตอนของ Big Six Skills ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้ น การนิ ย ามภาระงาน ขั้ น ที่ 2 ขั้ น การกำหนดยุ ท ธศาสตร์


80

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การค้ น หาสารสนเทศ ขั้ น ที่ 3 ขั้ น การสื บ ค้ น และเข้ า ถึ ง

สารสนเทศ ขั้ น ที่ 4 ขั้ น การใช้ ส ารสนเทศ ขั้ น ที่ 5 ขั้ น

การสั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล และขั้ น ที่ 6 ขั้ น การประเมิ น ผล เป็ น นักเรียนโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ตำบลนาสีนวน อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน 2) กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนที่เรียนด้วยการสอน ปกติ ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่

บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นสอน และขั้นที่ 3 ขั้นสรุปเป็นนักเรียน โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1. บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต

ภาพที่ 1 บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่าย และการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 2 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบเครือข่ายและ

การใช้อินเทอร์เน็ต 3. แบบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น เรื่ อ งระบบ เครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ฉบั บ เป็ น แบบปรนั ย ชนิ ด เลื อ กตอบ 4 ตั ว เลื อ ก จำนวน

30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก

ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.56 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 โดยใช้สูตร ของโลเวท (บุญชม ศรีสะอาด. 2545) 4. แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีความยากตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.80 และมีค่า อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.52 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.80 โดยใช้สูตรของ โลเวท (บุญชม ศรีสะอาด. 2545)

5. แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติ เรื่อง ระบบเครือข่าย และการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขอความอนุเคราะห์ทดลองใช้เครื่องมือ ระหว่างวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 2. ให้กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนปกติ ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 3 ฉบับคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน

30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดทักษะปฏิบัติ จำนวน 1 ฉบับ 3. ทำการทดลอง โดยให้นักเรียนเรียนด้วยบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills และการสอนปกติ และทำ แบบทดสอบในแต่ละหน่วยการเรียน จำนวน 6 หน่วยการเรียน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 4. ให้กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนปกติ ทำแบบทดสอบหลังเรียน คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ แบบวัดทักษะปฏิบัติ 5. นำผลการทดสอบก่อนเรียนและผลการประเมินหรือ ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนมาวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ เ คราะห์ ห าประสิ ท ธิ ภ าพของบทเรี ย นที่ ใช้ เ ว็ บ เทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ตามเกณฑ์ 80/80 โดยคำนวณ จากสูตร (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2553) 2. วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนที่ใช้เว็บ เทคโนโลยี แ บบ Big Six Skills โดยอาศั ย การหาค่ า ดั ช นี ประสิทธิผล จากสูตร (Effectiveness Index : E.I.) 3. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บความสามารถในการคิ ด

วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills โดยใช้ t-test (Dependent Samples) 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติระหว่างกลุ่มที่ เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills กับ

การสอนปกติโดยใช้ Hotelling T2


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สรุปผลการวิจัย 1. บทเรี ย นที่ ใช้ เว็ บ เทคโนโลยี แ บบ Big Six Skills

ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.56/88.67 ดังตาราง ที่ 1 ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills จำนวน นักเรียน (n) 30

ผลรวมของคะแนน ทดสอบ ระหว่าง เรียน

ร้อยละ

3,044

84.56

ทดสอบ ร้อยละ หลังเรียน 798

E1/E2

88.67 84.56/88.67

2. บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีค่า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลเท่ า กั บ 0.8038 แสดงว่ า นั ก เรี ย นมี ค วาม ก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น 0.8038 หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 80.38 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนที่ใช้

เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ผลรวมของคะแนน จำนวน คะแนน ทดสอบ ทดสอบ ดัชนี นักเรียน ร้อยละ เต็ม ประสิทธิผล หลั ง ก่ อ น (n) เรียน เรียน 30

30

380

798

0.8038

80.38

3. นั ก เรี ย นกลุ่ ม ทดลองที่ เรี ย นด้ ว ยบทเรี ย นที่ ใช้ เว็ บ เทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะปฏิบัติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังตารางที่ 3

81

ตารางที่ 3 ผลการเปรี ย บเที ย บสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ความ สามารถในการคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละทั ก ษะปฏิ บั ติ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills การทดสอบ n  S.D. df t sig ผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียน 30 12.67 3.81 ทางการ 35 19.04** .00 หลั ง เรี ย น 30 26.60 1.25 เรียน ความสามารถ ก่อนเรียน 30 13.27 2.77 ในการคิด 39 23.39** .00 หลั ง เรี ย น 30 26.13 1.20 วิเคราะห์ ทักษะ ปฏิบัติ

ก่อนเรียน 30 7.10 1.03 หลังเรียน 30 17.37 2.29

40 22.47** .00

**มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. นั ก เรี ย นกลุ่ ม ทดลองที่ เรี ย นด้ ว ยบทเรี ย นที่ ใช้ เว็ บ เทคโนโลยี แ บบ Big Six Skills มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น

ความสามารถในการคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละทั ก ษะปฏิ บั ติ สู ง กว่ า นักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนปกติ ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผ ล ก า ร เ ป รี ย บ เ ที ย บ สั ม ฤ ท ธิ์ ท า ง ก า ร เรี ย น

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะ ปฏิบัติ ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills กับกลุ่มที่เรียนด้วยการสอน ปกติ ตัวแปร

n

ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน

30

ความ สามารถใน การคิด วิเคราะห์ ทักษะ ปฏิบัติ

30 30 30 30 30

กิจกรรม การเรียน เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills สอนปกติ เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills สอนปกติ เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills สอนปกติ

**มีนัยสำคัญที่ระดับ .01

S.D.

26.60 1.25

t

sig

11.81** .00

18.57 3.51 26.13 1.20

14.32** .00

19.57 2.21 17.37 1.03 13.13 1.80

11.19** .00


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

82

อภิปรายผลการวิจัย 1. บทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.56/88.67 หมายความว่าบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เฉลี่ย 84.56 และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน เฉลี่ยร้อยละ 88.67 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ทั้งนี้ เพราะบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและ

การใช้อินเทอร์เน็ต ได้ดำเนินการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ตามแนวคิ ด ทฤษฎี ห ลั ก วิ ช า เนื้ อ หาในบทเรี ย นและกิ จ กรรม

เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และวัยของนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบ Big Six Skills เน้นให้ผู้เรียนแก้ปัญหาโดยใช้

สารสนเทศและใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศมาเป็ น เครื่ อ งมื อ ใน

การค้นหา รวบรวมสังเคราะห์ นำเสนอและประเมินผลสารสนเทศ ต่างจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นการใช้ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการสารสนเทศสอดคล้อง กับ เพ็ญพัชชา เสนา (2553) อรวรรณ คิดถูก (2555) ที่ดำเนิน การวิจัยโดยใช้บทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills มีประสิทธิภาพ

สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังพบว่าบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนเข้าใจขั้นตอน ของการเรียนแบบ Big Six Skills ช่วยเสริมสร้างให้นักเรียน

มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คือ 0.8038 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.38 แสดงว่าบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ที่พัฒนา ขึ้ น ทำให้ นั ก เรี ย นมี ค วามก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น จาก

ก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 80.38 ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือ ในการแก้ปัญหา การค้นหาข้อมูลและการนำเสนอ ข้อมูล และที่เป็นเช่นนี้เพราะบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยี แบบ Big Six Skills ประกอบไปด้วยภาพนิ่ง มีสีสันสวยงาม มีการนำ เสนอเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถศึกษาทบทวนได้ตามความต้องการ และเมื่อมีข้อ สงสัยก็สามารถสืบค้นจากเอกสารเพิ่มเติมในบทเรียนได้ อีกทั้ง ยั ง สามารถสอบถามครู ผู้ ส อนได้ ทุ ก เมื่ อ ในกระดานสนทนา ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ปาลิตา บัวสีดำ (2551) บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่อง

ข้ อ มู ล สารสนเทศและคอมพิ ว เตอร์ เ บื้ อ งต้ น ชั้ น ประถมศึ ก ษา

ปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6335 แสดงว่านักเรียน

มี ค วามก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นร้ อ ยละ 63.35 ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจาก

บทเรียนบนเครือข่ายเป็นการออกแบบระบบการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถเร้าความสนใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น มีภาพสีสันสวยงาม และเสียงที่ทำให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหา ในบทเรียน ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งดัชนีประสิทธิผลจะเป็นตัวบ่งชี้ถึง ขอบเขตและประสิทธิภาพสูงสุดของสื่อหรือการสอน ค่าดัชนี ประสิทธิผลจะมีค่าอยู่ระหว่าง –1.00 ถึง 1.00 สอดคล้องกับ

อรวรรณ คิดถูก (2555) บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7016 แสดงว่านักเรียนมีความ ก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 70.16 เนื่องจากบทเรียนบนเว็บ แบบ Big Six Skills ที่พัฒนาขึ้นนั้นได้ออกแบบการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนมีกิจกรรมที่ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีภาพ สี และเสียงที่ ทำให้นักเรียนจดจำเนื้อหาในบทเรียนได้อย่างแม่นยำ 3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เรื่อง ระบบเครือข่ายและการใช้อินเทอร์เน็ต

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติสูงกว่าการสอนปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills เป็นบทเรียนที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพในการเรี ย นรู้ มี กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ 6 ขั้ น ได้ แ ก่ ขั้ น ที่ 1 ขั้ น การนิ ย ามภาระงาน ขั้ น ที่ 2 ขั้ น

การกำหนดยุ ท ธศาสตร์ ก ารค้ น หาสารสนเทศ ขั้ น ที่ 3 ขั้ น

การสืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศ ขั้นที่ 4 ขั้นการใช้สารสนเทศ ขั้นที่ 5 ขั้นการสังเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 6 ขั้นการประเมินผล (ปาลิตา บัวสีดำ. 2551 ; อ้างอิงจาก Eisenberg and Bertkowitz. 1996) เพื่อใช้แก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งสอดคล้อง กับงานวิจัย อรวรรณ คิดถูก (2555) พบว่านักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการสอนโดยใช้บทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills เป็นการพัฒนาเว็บในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยผู้เรียนสามารถ เรียนจากที่ใดและ ในเวลาใด ยกเว้นบางหลักสูตรที่ออกแบบให้

ผู้เรียนเข้ามาเรียนในเวลาที่กำหนด ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับ เนื้อหาบทเรียน ซึ่งใช้การนำเสนอในลักษณะไฮเปอร์มีเดียหรือ สื่อประสมต่างๆ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตาม สมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เป็นบทเรียนที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล

ผู้ เรี ย นสามารถเรี ย นตามลำดั บ ขั้ น ตอนที ล ะน้ อ ยจากง่ า ยไป

หายาก โดยสามารถเรี ย นรู้ ไ ด้ ด้ ว ยตนเอง สามารถทบทวน

บทเรียนได้ตามต้องการ เรียนตามความสนใจ ความถนัด และ ความสามารถของตน เหมาะสมกับวัยของนักเรียน นอกจากนี้ยัง มีการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้กระดานสนทนาออนไลน์ มีการติดต่อ สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ กับปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ นักเรียนมีความสนุกสนานใน การเรียน เกิดการเรียนรู้และเกิด ความชำนาญในแต่ละทักษะมากยิ่งขึ้น จะเห็นว่านักเรียนที่เรียน ด้วยบทเรียน บนเว็บแบบ Big Six Skills ได้ฝึกความสามารถใน การสืบค้นข้อมูลและการเข้าใช้สารสนเทศ ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติ สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จารุณี ซามาตย์ (2547) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ที่เรียนบทเรียน บนเครื อ ข่ า ยที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะต่ า งกั น กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ 1 มี ผ ล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง อาจเนื่องมาจากมัลติมีเดียได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ ด้วยตนเอง ในการแก้ปัญหา โดยการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่ง ข้ อ มู ล สอดคล้ อ งกั บ ปาลิ ต า บั ว สี ด ำ (2551) พบว่ า ผล

การเปรี ย บเที ย บทั ก ษะการแก้ ปั ญ หาโดยใช้ ส ารสนเทศจาก

การใช้บทเรียนบนเครือข่ายแบบ Big Six Skills เรื่องข้อมูล

สารสนเทศและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศหลังเรียน

สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็น ไปตามสมมติฐานที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะบทเรียนบนเครือข่ายมี การออกแบบระบบการนำเสนอที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเร้าใจ สนุกกับการเรียน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และมี กิ จ กรรมท้ า ยบทให้ ฝึ ก ปฏิ บั ติ นั ก เรี ย นได้ ใช้ เ ทคโนโลยี

สารสนเทศเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้นหาสารสนเทศและการนำเสนอ

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การพัฒนาบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills ผู้พัฒนาควรศึกษาปัจจัยนำเข้าให้เหมาะสมกับรายวิชาที่

83

นำมาสอน ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการ ลักษณะการเรียน ของผู้เรียน จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เพื่อเลือกรูปแบบ วิธีการเรียนการสอน กิจกรรมในบทเรียนให้เหมาะกับลักษณะ การเรียนและความต้องการของผู้เรียน 2. ผู้ที่ต้องการจะนำบทเรียนนี้ไปใช้ควรคำนึงถึงสภาพ ความเป็นจริงและความเป็นไปได้ในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต และเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ที่ มี อ ยู่ ทั้ ง ในเรื่ อ งความเร็ ว ของระบบ

อินเทอร์เน็ตและจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการพัฒนาบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills กับตัวแปรตามอื่นๆ เช่น การคิดอย่างมีระบบ การคิด สร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา และการคิดวิจารณญาณว่าจะส่ง ผลทำให้ผู้เรียนมีความสามารถ ด้านการคิดเพิ่มขึ้นหรือไม่ 2. ควรศึกษาข้อจำกัดและผลกระทบของบทเรียนที่ใช้ เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 3. ควรมีการศึกษารูปแบบวิธีการสอนร่วมกับการเรียน ด้วยบทเรียนที่ใช้เว็บเทคโนโลยีแบบ Big Six Skills เพื่อให้

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง Boonphakdi, Pongsak. (2005). Web Technology. Sukhothai : Sukhothai Polytechnic College. พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2548). เว็บเทคโนโลยี. สุโขทัย : วิทยาลัย สารพัดช่างสุโขทัย. Buasidam, Palita. (2008). A Use of Big-Six-Skills Network Lessons Entitled ‘Informational Data and Basic Computer Affecting the Learning Achievement and Problem Solving Skill Through Using Information’ for Prathom Suksa 5 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. ปาลิตา บัวสีดำ. (2551). การใช้บทเรียนบนเครือข่าย แบบ Big Six Skills เรื่องข้อมูลสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เบื้ อ งต้ น ที่ มี ต่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นและทั ก ษะ

การแก้ ปั ญ หาโดยใช้ ส ารสนเทศ ของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


84

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Chamat, Jaruni. (2004). Development of Lessons on the Network Entitled ‘Basic Knowledge in Communication of the Science Concept Course for Bachelor’s Degree Level, Department of Creative Media, Mahasarakham Universsity. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. จารุณี ซามาตย์. (2547). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่อง ความรู้ เ บื้ อ งต้ น ในการสื่ อ สารรายวิ ช ามโนทั ศ น์ วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาสื่อนฤมิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม. วิ ท ยานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Kitthook, Orawan. (2012). A Comparison of Learning Results on ‘Information Technology and Communication’ for Mathayom Suksa 4 Students through Lessons of Big Six Skills on Web and through Traditional Learning. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. อรวรรณ คิดถูก. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บแบบ Big Six Skills และการเรี ย นแบบปกติ . วิ ท ยานิ พ นธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Ministry of Education. (2008). The Core Curriculum of Basic Education B.E. 2551 (2008). Bangkok : Ministry of Education. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวง ศึกษาธิการ. Nasinuan Phitthayasun School. (2012). A Conclusion of Analysis Result of PISA Test Score. Mahasarakham : Nasinuan Phitthayasun School. โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์. (2555). สรุปผลวิเคราะห์ผล คะแนนสอบ PISA. มหาสารคาม : โรงเรียนนาสีนวน

พิทยาสรรค์. Phaison, Suphaphon. (2012, January-April). “A Comparison of Learning Achievements Entitled Adding, Subtracting, Dividing and Counting for

Prathom Suksa 5 Students through the TAI Learning Management versus Traditional Learning,” Nakhon Phanom University Journal. 2(1) : 65. สุภาพร ไพสณฑ์. (2555, มกราคม–เมษายน). “การเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การหาร จำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการ จัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบ TAI และแบบปกติ,” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2(1) : 65. Phatthiyathani, Somnuk. Basics of Educational Research. 3rd Ed. Kalasin : Prasan Press. สมนึก ภัททิยธนี. (2549). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. Rueangsuwan, Chaiyot. Designs of Lesson Program and of Lessons on Web. 14th Ed. Mahasarakham : Department of Educational Technology

and Communication, Faculty of Education, Mahasarakham University. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบโปรแกรม บทเรียน และบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 14. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษา ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Sena, Phenphatcha. (2010). A Comparison of Learning Achievements on Using Microsoft Word Program in the Additional Computer Learning Strand for Prathom Suksa 4 Students through Learning with Web Technology Computer Lessons versus Learning with Traditional Learning. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. เพ็ญพัชชา เสนา. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่อง

การใช้โปรแกรม Microsoft Word สาระเพิ่มเติม คอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ระหว่างการ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ใช้เว็บเทคโนโลยีกับ การเรียนตามปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Srisa-aad, Boonchom. (2002). Introduction to Research. 7th Ed. Bangkok : Chomrom Dek. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

85

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM A Comparison of Learning Achievements and English Communicative Skills among Prathom Suksa 4 Students through Learning Activity by TPR versus B-SLIM รุ่งทิวา อุ่นเจริญ1 ทัศนา ประสานตรี2 และ มนตรี อนันตรักษ์3 Roongthiwa Aunjaroen,1 Tatsana Prasantree2 and Montree Anantarak3 1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2 ค.ด. (ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 ค.ด. (การวัดผลและประเมินผลการศึกษา) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ 4) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการรู้ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 80 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR กลุ่มที่ 2 ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR

7 แผนๆ ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 14 ชั่วโมง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM 7 แผนๆ ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 14 ชั่วโมง แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.83 ค่าอำนาจ จำแนก ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.78 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 4 ทักษะ ชนิดเติมคำ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.59 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบวัดความ

พึงพอใจที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM เป็น มาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 ถึง 0.88 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TPR มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.71/80.75 และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM ประสิทธิภาพเท่ากับ 80.67/77.81 ซึ่งเป็น ไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR

คิดเป็นร้อยละ 64.63 และดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM คิดเป็นร้อยละ 60.24 3) นักเรียนที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงกว่ากิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ มากที่สุด และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน

การสอนภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ / กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Total Physical Response / กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Bilash’s Second Language Instructional Method


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

86

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to determine the effectiveness of organizing the Prathom Suksa 4 students’ English learning between learning activity by TPR and by B-Slim with the criterion set at 75/75, 2) to find effectiveness indices of organization of English learning, 3) to compare the English learning achievements, 4) to compare the English communicative skills, and 5) to compare the students’ satisfaction of English learning activity. The sample selected by cluster random sampling was 80 Prathom Suksa 4 students who were enrolled at Anuban Nakhon Phanom School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area in the first semester of academic year 2012. A total of them were divided into 2 groups with 40 students for each group. Group 1 underwent the learning activity by TPR, while group 2 underwent it by B-SLIM. The instruments used were: 7 learning activity plans with 2 hours per plan leading to a total of 14 hours by either TPR or B-SLIM; a 40item English learning achievement test with 4 choices whose difficulty values ranged between 0.20 and 0.83, discrimination power values between 0.23 and 0.78 and reliability value was 0.87; a 40-item test of 4 skills in English communication whose difficulty values ranged between 0.28 and 0.75, discrimination power values ranged between 0.24 and 0.59 and reliability value was 0.87; a rating scale questionnaire of satisfaction with learning English through activity by TPR or B-SLIM whose discrimination power values ranged between 0.33 and 0.88 and entire reliability value was 0.76. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and

t-test for hypothesis testing. The findings were as follows: 1) Learning activity by TPR had efficiency of 82.71/80.75, while learning activity by B-SLIM had efficiency of 80.67/77.81 which met the criterion set at 75/75. 2) The effectiveness index of English learning activity by TPR was equal to 64.63% while the effectiveness index of English learning activity by B-SLIM was equal to 60.24%. 3) The students who underwent the learning activity by TPR had a significantly higher learning achievement than those who underwent the learning activity by B-SLIM at the .05 level. 4) The students who underwent the learning activity by TPR had significantly higher English communicative skill than those who underwent the learning activity by B-SLIM at the .05 level. 5) The students who underwent the learning activity by TPR were satisfied with management of English instruction at the highest level; while those who underwent the learning activity by B-SLIM were satisfied with it at high level. Keywords : Learning Achievement / English Communicative Skill / Learning Activity by TPR (Total Physical Response) / Learning Activity by B-SLIM (Bilash’s Language Instructional Method)

บทนำ ในสั ง คมโลกปัจจุบันภาษาอังกฤษนับได้ว่าเป็ น การใช้ ภาษาต่ า งประเทศที่ ส ำคั ญ และแพร่ ห ลายที่ สุ ด บทบาทของ ภาษาอั ง กฤษอยู่ ใ นฐานะภาษานานาชาติ ที่ มี ผู้ ใช้ แ ละผู้ เรี ย น จำนวนมากที่ สุ ด ในโลกภาษาอั ง กฤษได้ ถู ก จั ด อั น ดั บ ว่ า เป็ น ภาษาสากลของโลก (จันทร์ทรงกลด คชเสนี. 2548) การเรียนรู้ ภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ใช้ในการศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพช่วยพัฒนา ผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น

นอกจากนี้ยังเป็นภาษาแห่งโอกาส เนื่องจากการที่บุคคล ที่มีความสามารถในการรับและสื่อสาร วัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าว สารและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและ สังคม รวมทั้งการเลือกใช้วิธีสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จากความสำคัญนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ของโรงเรียนอนุบาล นครพนม จากรายงานการประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ภาษาอั ง กฤษ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที 4 ปี ก ารศึ ก ษา

2550 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 56.00 ปีการศึกษา 2551 ได้


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

คะแนนเฉลี่ย 57.80 ปีการศึกษา 2552 ได้คะแนนเฉลี่ย 56.96 (แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้นักเรียนโรงเรียนอนุบาล นครพนม) ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ ไม่น่าพอใจและ เมื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุซึ่งพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนในโรงเรียนใช้แนวการเรียนการสอนแบบเดิมหนังสือ เรียนและใช้แบบฝึกหัดเป็น หลักในการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนนักเรียนมี จำนวนมากนักเรียนขาดสมาธิในการเรียนรู้ และนั ก เรี ย นบางส่ ว นมี ค วามบกพร่ อ งด้ า นทั ก ษะการสื่ อ สาร การนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปใช้ในเป็นทักษะเพื่อสื่อสารและ พบว่านักเรียนมีความต้องการสอดคล้องกันในเรื่องทักษะ การเรียนรู้คำศัพท์ คือ ต้องการมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดเพื่อการสื่อสาร ผู้วิจัยได้จัดทำแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียนการสอนตาม หลักสูตรที่กำหนด แต่ก็ยังประสบปัญหาผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจ เนื้อหาวิชาได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการจัดการเรียนการสอน นั ก เรี ย นที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น ทางพื้ น ฐานภาษาอั ง กฤษเป็ น

อย่ า งมาก นั ก เรี ย นไม่ ผ่ า นการเรี ย นการสอนระดั บ เตรี ย ม

ความพร้อม ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนมีทักษะและผู้เรียน ขาดความกระตือรือร้นไม่สนใจและขาดความตั้งใจในการปฏิบัติ จริ ง ครู ผู้ ส อนใช้ สื่ อ การจั ด การเรี ย นและเทคนิ ค การสอนที่

ไม่ ห ลากหลาย และไม่ ส อดคล้ อ งครอบคลุ ม กั บ ปั ญ หาของ

ผู้เรียน จึงทำให้มีปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ที่ไม่ครอบคลุมทุกด้าน ขาดความต่อเนื่อง ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและเลือกการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนแบบ TPR เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เน้นบทบาทของความเข้าใจในการรับรู้ภาษาที่สองของผู้เรียน โดยการใช้ ท่ า ทาง โดยให้ ผู้ เรี ย นฟั ง คำสั่ ง จากครู แ ล้ ว ผู้ เรี ย น

ทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของ ร่างกายเป็นการตอบรับการแสดงท่าทาง ผู้เรียนสามารถสื่อสาร โดยการฟัง และการแสดงออกด้วยภาษากาย การแสดงท่าทาง เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการฝึกการสอนคำศัพท์ และโครงสร้าง ประโยคจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ ความหมายได้ตรงที่สุด (อรอุมา ราษฎร์วงศ์ศรี. 2545) วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับ การเริ่มต้นเรียนภาษาที่สอง โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร เน้น ความเข้าใจ การรับรู้ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีลักษณะสำคัญ คือ การใช้ประโยคคำสั่งสั้นๆ ให้ผู้เรียนแสดงท่าทางตามคำสั่ง แต่ยัง ขาดการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถ ของตนเอง การแสดงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติเหมาะสมกับ

วัยผู้เรียน ผู้วิจัยจึงเพิ่มการแบ่งผู้เรียนตามความสามารถทาง

87

การเรียนรู้ เก่ง กลาง อ่อน เพื่อนักเรียนสามารถสร้างจินตนาการ และความคิดรวบยอดเหมาะสมกับความสามารถและวัยของ

ผู้เรียนยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความรู้พื้นฐานและการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ B-SLIM การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ของ Bilash’s Second Language Instructional Method (ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. 2549) เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการสอนภาษาที่สองที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน สามารถ ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ โดยการป้อนข้อมูล ใหม่ที่อยู่บนฐานความรู้เดิม มีการใช้สื่อสภาพจริงเปิดโอกาสให้

ผู้เรียนได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร มุ่งเน้นกิจกรรมที่เหมาะสมกับ ความสามารถของผู้เรียน สร้างความมั่นใจ ลดความวิตกกังวล เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปยาก เพื่อลดเงื่อนไขทางด้านจิตใจทำให้เกิด แรงจูงใจ การสอนภาษาที่สองตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสารและกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับ กระบวนการรับรู้ เพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร ผู้วิจัยเชื่อว่าการจัด

การเรี ย นการสอนที่ มุ่ ง เน้ น ทั ก ษะการสื่ อ สาร ประสบการณ์

การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และการจั ด กิ จ กรรม

การเรี ย นรู้ แ บบ B-SLIM เป็ น แนวทางในการพั ฒ นาการจั ด

การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษา อังกฤษ) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ หาประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด การเรี ย นรู้ ภ าษา อั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM ตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่ อ ศึ ก ษาดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM 3. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษา อั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM 4. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM 5. เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจที่ มี ต่ อ การจั ด การเรี ย น

การสอนภาษาอั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

88

ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM สมมติฐานการวิจัย 1. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ เรี ย นรู้ ภ าษา อั ง กฤษ ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และ

การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ B-SLIM มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท าง

การเรียนที่แตกต่างกัน 2. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ เรี ย นรู้ ภ าษา อั ง กฤษ ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM มีทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษแตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครพนม เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 205 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครพนมสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา นครพนม เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยการสุ่มแบบ กลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 ห้อง ได้แก่

นักเรียนชั้น ป. 4/3 จำนวน 40 คน นักเรียนชั้น ป. 4/5 จำนวน 40 คน โดยใช้หลักสูตรเดียวกัน มีการจัดนักเรียนคละความ สามารถ ทุกห้องเหมือนกันนักเรียนแต่ละห้องมีความสามารถ ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR จำนวน 7 แผนๆ ละ

2 ชั่วโมง รวม 14 ชั่วโมง 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM จำนวน 7 แผนๆ ละ

2 ชั่วโมงรวม 14 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ คุณภาพความยาก (P) 0.20 ถึง 0.83 ค่าอำนาจ จำแนก (r) 0.23 ถึง 0.87 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.87 ตามวิธีของ Lovett (สมนึก ภัททิยธนี. 2551) 4. ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ คุณภาพความยาก (P) 0.28 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.24 ถึง 0.59 และค่า

ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.87 โดยใช้สูตร KR-20 ตามวิธี ของ Kuder–Richardson (สมนึก ภัททิยธนี. 2551) 5. แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และแบบ B-SLIM แบ่งระดับความรู้สึกเป็น 5 ระดับ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 ถึง 0.88 มีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิ ธี ข องครอนบาค (Cronbach)

(บุญชม ศรีสะอาด. 2553) การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ปฐมนิ เ ทศนั ก เรี ย นทั้ ง กลุ่ ม ที่ เรี ย นรู้ ด้ ว ยกิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบ TPR และกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM 2. ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นจำนวน 40 ข้ อ แบบทดสอบความสามารถใน ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ ตอบแบบวัด ความพึงพอใจ 20 ข้อ 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้วิจัย กั บ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งทั้ ง สองกลุ่ ม คื อ ชั้ น ป. 4/3 ใช้ แ ผนการจั ด

การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM และนักเรียน

ชั้ น ป. 4/5 ใช้ แ ผนการกิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR ใน

ภาคเรียนที่ 1 เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ปีการศึกษา 2555 4. การเก็ บ ข้ อ มู ล และทดสอบย่ อ ยระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นการสอนโดยการประเมิ น ผลหลั ง สอน

14 ชั่วโมงติดต่อกัน 3 สัปดาห์ 5. ทดสอบหลังเรียนและวัดความพึงพอใจต่อการเรียน ภาษาอังกฤษและนำกระดาษคำตอบของนักเรียนมาตรวจให้ คะแนนเพื่อนำข้อมูลที่ได้ตามวิธีทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ เ คราะห์ ห าประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้เกณฑ์ 75/75 2. วิ เ คราะห์ ห าค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ

กรรมการเรียนรู้ 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยใช้ t-test (Independent Samples) 4. วิเคราะห์แบบวัดความพึงพอใจโดยการหาค่าเฉลี่ย


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สรุปผลการวิจัย 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีประสิทธิภาพ เท่ า กั บ 82.71/80.75 และการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ

B-SLIM ประสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 80.67/77.81 ซึ่ ง เป็ น ไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด 75/75 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้

แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM คะแนน การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ขบวนการของแผนแบบ TPR (E1) การทดสอบแบบ TPR (E1) ขบวนการของแผนแบบ B-SLIM (E1) การทดสอบ แบบ B-SLIM (E1)

คะแนน เต็ม

210

S.D.

ร้อยละ

173.70

3.05

82.71

40

32.30

2.44

80.75

210

169.43

1.68

80.67

40

31.12

2.01

77.81

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษา อังกฤษ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR นักเรียนมีค่าความ ก้ า วหน้ า ทางการเรี ย น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 64.63 และดั ช นี ประสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ B-SLIM นักเรียนมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 60.24 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TPR และการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ

B-SLIM การจัด กิจกรรม การเรียนรู้

n

คะแนนเต็ม ผลรวม (40) คะแนน

แบบ TPR

40

ก่อนเรียน หลังเรียน

729 18.23 0.6463 1292 32.30

แบบ B-SLIM 40

ก่อนเรียน หลังเรียน

707 17.68 0.6024 1245 31.12

ดัชนี ประสิทธิผล (E.I)

89

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ B-SLIM ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษา อังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบ TPR แบบ B-SLIM

n

S.D.

t

2.35* 40 31.13 2.01 40 32.30 2.44

sig .02

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงกว่ากิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ระหว่างการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบTPR และการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้แบบ B-SLIM การจัดกิจกรรม การเรียนรู้

n

S.D.

แบบ TPR

40 31.93 1.86

แบบ B-SLIM

40 31.05 1.60

t

sig

2.26*

.03

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ อยู่ใน ระดับมากที่สุด และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนภาษา อังกฤษ อยู่ในระดับมาก ดังตารางที่ 5


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

90

ตารางที่ 5 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ระหว่าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM การจัดกิจกรรม การเรียนรู้

n

S.D.

ความหมาย

แบบ TPR

40 4.36 0.15

มาก

แบบ B-SLIM

40 4.18 0.18

มาก

อภิปรายผลการวิจัย 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.71/80.75 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6/77.81 เพราะผู้วิจัย ได้ ศึ ก ษาแนวคิ ด และหลั ก การสอนแบบ TPR ที่ เ น้ น บทบาท

ของความเข้ า ใจในการรั บ รู้ ภ าษาที่ ส องของผู้ เรี ย นโดยการใช้ ท่ า ทาง การแสดงออกด้ ว ยภาษากาย เป็ น ทั ก ษะการสื่ อ สาร

เน้ น การสนทนาอย่ า งง่ า ยและสอดคล้ อ งกั บ ความรู้ พื้ น ฐาน

ตามลำดับขั้นตอนของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TPR ตามทฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ โ ดยนั ก การศึ ก ษาและนั ก จิ ต วิ ท ยาชาว อเมริ กั น เจมส์ แอชเชอร์ (Asher, J. 1982) ซึ่ ง ได้ แ นวคิ ด

การสอนภาษามาจากธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาแม่ของเด็กทารก เด็ ก จะเลี ย นแบบการใช้ ภ าษาด้ ว ยการสื่ อ ความหมายโดย

การเคลื่อนไหวอวัยวะของร่างกาย และแนวคิดและหลักการ สอนแบบ B-SLIM ที่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของผู้ เรี ย น กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตาม สภาพจริงตามตัวชี้วัด สอดคล้องกับหลักการและแนวคิดทฤษฎี มุ่ ง เน้ น การสื่ อ สารโดยอาศั ย พั ฒ นาการเชาวน์ ปั ญ ญาของ

ลิเคอรท์ (Likert, R. 1986) และผู้วิจัยได้พัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และนำไปทดลอง ใช้และนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องก่อนที่จะนำไปใช้จริงกับกลุ่ม ตัวอย่างให้มีความสมบูรณ์ 2. ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ภาษาอั ง กฤษ ที่ จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR นั ก เรี ย นมี

ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 64.63 และดัชนี ประสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ B-SLIM นักเรียนมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 60.24 แสดงว่ า การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR และการจั ด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM สามารถพัฒนาพฤติกรรมการ เรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนได้เรียนรู้ และปฏิ บั ติ กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต ามขั้ น ตอนเป็ น กระบวนการ จัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริรัตน์ มงคล (2553) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนา

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ B-SLIM มีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 76.42/70.13 และค่า ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.6077 แสดงว่านักเรียนมีความ ก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 60.77 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ B-SLIM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้พบว่า วิธีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ TPR เป็นวิธีสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนเพิ่งเริ่ม เรียนภาษาต่างประเทศและสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ดีขึ้น โดยความสามารถในการฟังสูงและความ สามารถในการฟังจะมาก่อนการพูด นอกจากนี้ทักษะการฟัง สำคัญต่อการพัฒนาทักษะการพูด อ่านและเขียน ซึ่งจะช่วยให้

ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นการเรียนรู้ ที่ใช้ประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวในการช่วยจำ การสอน ตามลำดั บ ทั ก ษะและคำนึ ง ถึ ง ความพร้ อ มของผู้ เ รี ย นด้ ว ย

วิ ธี ก ารจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ TPR เน้ น ให้ ผู้ เรี ย นได้ รั บ ประสบการณ์การเรียนที่สนุกสนานและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด ความอยากรู้ ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมผู้เรียนเป็น ผู้ปฏิบัติ ตาม ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากผู้สอนและเกิดจากการสังเกต

ผู้เรียนด้วยกันเอง สอดคล้องกับงานวิจัยของ แรกขวัญ ครองงาม (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการฟัง–พูด โดยใช้ วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่พบว่า วิธีการวิธีสอน แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) เป็นวิธีการสอนที่เหมาะสม กับนักเรียนที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ อีกทั้งวิธีการสอนนี้เน้นที่ พัฒนาทักษะการฟัง เพราะทักษะการฟังเป็นตัวจักรสำคัญใน การพัฒนาทักษะการพูด ซึ่งเป็นการสอนที่ไม่ฝืนทักษะธรรมชาติ ของการสอนภาษา การร่วมกิจกรรมก่อให้เกิดความสนุกสนาน 4. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ร้อยละ 80.94 สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ

B-SLIM ร้อยละ 78.56 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริภรณ์ ศรีนาค (2550) ได้ ท ำการวิ จั ย เรื่ อ งการเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ แ ละ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

เจตคติ ต่ อ การเรี ย นภาษาอั ง กฤษโดยการใช้ วิ ธี ส อนแบบตอบ สนองด้วยท่าทาง(TPR) กับวิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) มีค่าเฉลี่ยโดยรวม สูงกว่าวิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สอดคล้อง กั บ งานวิ จั ย ของ ดารุ ณี คำมู ล (2552) ได้ ท ำการวิ จั ย เรื่ อ ง

การศึกษาความสามารถด้านการฟัง และพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบ ตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ผลการวิจัยปรากฏว่า ความสามารถ ด้านการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดย

วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) มีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 81.48 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีคะแนน เฉลี่ ย ร้ อ ยละ 75 ขึ้ น ไป สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ ษมาศิ ร ิ โชติกลาง (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการฟัง–พูด โดยใช้ B-SLIM Model โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ใช้กระบวนการ ในชั้นเรียนปรับปรุงและพัฒนาทักษะการฟัง–พูดของนักเรียน

ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 2 โรงเรี ย นบ้ า นหนองม่ ว งวิ ท ยาคาร

กิ่งอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ B-SLIM Model กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง คื อ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองม่วงวิทยาคาร กิ่งอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัด นครราชสีมา ผลการวิจัยปรากฏว่า การจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารแบบ B-SLIM Model โดยใช้ เกมส์ เพลง และแบบฝึกหัดจากใบงาน ช่วยให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง–พูดเพิ่มขึ้น 5. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดั บ มากที่ สุ ด มี ค่ า เฉลี่ ย 4.67 และนั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก มี ค่ า เฉลี่ ย 4.18 สอดคลองกั บ งานวิ จั ย ของแรปสไตน์ (Raptine. 2004) ได้ศึกษาการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง และเล่ า เรื่ อ ง แนวทางปฏิ บั ติ แ ละทฤษฎี ใ นภาพรวมและ

การประเมินภายในกรอบมาตรฐานระดับชาติ โดยได้ทำการ ศึกษาการสอนภาษาต่างประเทศแบบตอบสนองด้วยท่าทางและ เล่าเรื่องพบว่าวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง โดยใช้ตัวแปร ต่ า งๆ เช่ น อายุ เพศ ระดั บ ชั้ น เป็ น นั ก เรี ย นโรงเรี ย นปกติ

104 คน นักเรียนในโรงเรียนพิเศษ 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสำรวจปรากฏว่านักเรียนโดยทั่วไปชอบวิธีการสอน แบบตอบสนองด้ ว ยท่ า ทางและเล่ า เรื่ อ ง นั ก เรี ย นหญิ ง ชอบ

การเรียนที่มีการเคลื่อนไหวมากกว่านักเรียนชาย และ (รุ่งนภา

91

เทศนา. 2550) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบทักษะการ สื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธี สอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีสอนปกติ โดยมี ความมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบตอบสนอง ด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีสอนปกติและเพื่อเปรียบเทียบพึงพอใจ ต่อภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอน แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีสอนปกติ ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการสื่อสารทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) สูงกว่าวิธี สอนแบบปกติอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR ทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูง กว่าการจัดการเรียนรู้แบบ B-SLIM ดังนั้นจึงควรนำไปใช้กับ นั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น อื่ น ๆ และกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ อื่นต่อไปครู

ผู้สอนควรให้ความสนใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM มาใช้ในการจัด

การเรี ย นการสอนโดยผู้ ส อนต้ อ งเตรี ย มอุ ป กรณ์ ก ารสอนที่ สอดคล้องและเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงการนำทักษะการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาและทดลองนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ TPR และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ B-SLIM ใช้จัด กิจกรรมการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่นและกลุ่มสาระอื่นๆ เพื่ อ ศึ ก ษาผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นรู้ ส าระอื่ น ที่ ใช้ กิ จ กรรมนี้

มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นที่ สู ง ขึ้ น สั ม พั น ธ์ แ ละสอดคล้ อ งกั บ

ผลการวิจัยในครั้งนี้หรือไม่

เอกสารอ้างอิง Asher, J. (1982). Learning Another Language Through Actions : The Complete Teacher’s Guidebook. Los Gatos. Calif : Sky Oaks. Productions.


92

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Chotiklang, Samasiri. (2004). Development of Listening-Speaking Using B-SLIM Model. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

แรกขวัญ ครองงาม. (2547). การพัฒนาทักษะการฟัง–พูด โดยใช้ วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ษมาสิริ โชติกลาง. (2547). การพัฒนาทักษะการฟัง–พูด โดยใช้ B-SLIM Model. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Likert, R. (1986). New Patterns of Management.

New York : McGraw-Hill.

Khammoon, Daruni. (2009). A Study of English Listening and Speaking Abilities of Prathom Suksa 5 Students as Taught with the Method of Teaching by Physiological Response. An M.Ed. Independent Study. Khon Kaen : Khon Kaen University. ดารุณี คำมูล. (2552). การศึกษาความสามารถด้านการฟัง และพู ด ภาษาอั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษา

ปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยวิธี สอนแบบตอบสนองด้วย ท่าทาง. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Khawangsawat, Roopthong. (2006). The English Teaching Manual. Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education. Mahasarakham : Mahasarakham University. ธู ป ทอง กว้ า งสวั ส ดิ์ . (2549). คู่ มื อ การสอนภาษาอั ง กฤษ.

ภาควิ ช าหลั ก สู ต รและการสอน คณะศึ ก ษาศาสตร์ . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Khotchaseni, Jansongklot. (2005). Dimensions for Language Development : The Foreign Language Learning Strand. Bangkok : Chulalongkorn University Press. จันทร์ทรงกลด คชเสนี. (2548). มิติเพื่อการพัฒนาภาษา : กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Khrong-ngam, Raekkhawan. (2004). Development

of Lestening-Speaking Skills Using the Method of Teaching by Physiological Response for Prathom Suksa 3 Students. An M.Ed. Independent Study. Mahasarakham : Mahasarakham University.

Mongkhon, Sirirat. (2010). Development of Learning English for Communication Using B-SLIM Model for Mathayom Suksa 1 Students. An M.Ed. Independent Study. Mahasarakham : Mahasarakham University. ศิริรัตน์ มงคล. (2553). การพัฒนาการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยใช้ B-SLIM Model ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษา มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Phatthiyathani, Somnuk. (2008). Educational Evaluation. 6th Ed. Kalasin : Prasan Press. สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. Raatwongsri, On-ooma. (2002). A Comparison of Achievements and Attitudes towards Learning English of Prathom Suksa 2 Students through Teaching by Song Supplement versus Teaching by Physiological Response. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. อรอุมา ราษฎร์วงศ์ศรี. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอน แบบใช้ เ พลงประกอบและการสอนแบบการโต้ ต อบ ทางสรีระ (TPR). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย. Raptine. (2004, November). TPR in Primary Classroom Second Language Acquisition and Second Language Learning. New York : Pergamon Press.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Srinak, Siriphon. (2007). A Comparison of Achievement and attitude towards Learning English of Prathom Suksa 3 Students through Teaching by Physiological Response versus by Approaching to Language Instruction for Communication. An M.Ed. Thesis. Lop Buri : Thepsatri Rajabhat University. ศิริภรณ์ ศรีนาค. (2550). การเปรียบเทียบผลสั ม ฤทธิ์ แ ละ เจตคติ ต่ อ การเรี ย นภาษาอั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้วิธีสอนแบบตอบสนอง ด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีสอนตามแนวการสอนภาษา เพื่ อ การสื่ อ สาร. วิ ท ยานิ พ นธ์ คุ รุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต . ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. Srisa-aad, Boonchom. (2010). Introduction to Research. 8th Ed. Bangkok : Suviriyasan. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. Thesana, Rungnapha. (2007). A comparison of English Communicative Skills of Prathom Suksa 6 Students through Teaching by Physiological Response versus Traditional Teaching. An M.Ed. Thesis. Lop Buri : Thepsatri Rajabhat University. รุ่งนภา เทศนา. (2550). การเปรียบเทียบทักษะการสื่อสาร ภาษาอั ง กฤษของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6

โดยวิธีสอนแบบ ตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธี สอนปกติ. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

93


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

94

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความฉลาดเชิงจริยธรรม เรื่องสำนวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วย กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) A Comparison of Learning Achievements, Analytical Thinking Skills, and Moral Quotients on Thai Idioms of Prathom Suksa 4 Students through STAD Cooperative learning versus Problem-Based Learning พิศอุดม พงษ์พวงเพชร1 ทัศนา ประสานตรี2 และ มนตรี อนันตรักษ์3 Phisudom Phongphuangphet,1 Tatsana Prasarntree2 and Montree Anantarak3 1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2 ค.ด. (ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 ค.ด. (การวัดและประเมินผลการศึกษา) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 2 รูปแบบ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 2 รูปแบบ 4) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ 5) เปรียบเทียบความฉลาดเชิง จริยธรรม ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 2 รูปแบบกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 80 คน ซึ่งได้ มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และ

การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) รูปแบบละ 8 แผน โดยใช้ทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง ต่อรูปแบบ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก ระหว่าง 0.29–0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23-0.78 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.23–0.77 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.28-0.72 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 แบบทดสอบความฉลาดเชิงจริยธรรม ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจ จำแนกระหว่าง 0.24–0.79 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และ แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.02/84.87 และ 82.21/81.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 2) ดัชนีประสิทธิผลของ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีค่าเท่ากับ 0.7023 และ 0.6632 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.23 และ 66.32 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับ

การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD มีความฉลาดเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ทักษะการคิดวิเคราะห์ / ความฉลาดเชิงจริยธรรม / กิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน

(PBL) / กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

95

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to determine the effectiveness of using STAD cooperative learning activity and problem-based learning (PBL) according to the set criterion of 80/80, 2) to examine effectiveness indexes of organizing the learning activity through both techniques, 3) to compare learning achievements by STAD cooperative learning activity versus problem-based learning (PBL), 4) to compare analytical thinking skills between both of the teaching techniques, and 5) to compare moral quotients using both activities of learning management. The sample consisted of 2 equal groups of the total 80 Prathom Suksa 4 students from Anuban Nakhon Phanom School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 in the first semester of academic year 2012. These students were selected by cluster random sampling. The instruments used were: 8 STAD cooperative learning activity plans and 8 problem-based learning (PBL) management plans using 16 hours per each technique; a 40-item and 4-choice achievement test whose difficulty values ranged between 0.29 and 0.80, discrimination power values ranged between 0.23 and 0.78, and reliability value was 0.76; a 20-item and 4-choice analytical thinking skill test whose difficulty values ranged between 0.23 and 0.77, discrimination power values ranged between 0.28 and 0.72 and reliability value was 0.86; a 20-item and 3-choice moral quotient test whose discrimination power values ranged between 0.24 and 0.79 and reliability value was 0.75. Statistics used were mean, percentage, standard deviation and t-test of independent samples. Results of this study were as follows: 1) the efficiency indexes of STAD cooperative learning activity and problem-based learning (PBL) were 86.02/84.87 and 82.21/81.37 respectively, which were higher than the criterion set at 80/80; 2) the effectiveness indexes of using STAD cooperative learning activity and PBL were 0.7023 and 0.66632, which showed that the students had a learning progress at 70.23 percent and 6.32 percent respectively; 3) the students who learned by STAD cooperative learning activity had a significantly higher learning achievement than those who learned by PBL at the .01 level; 4) the students who learned by STAD had a significantly high analytical thinking skill than those who learned by PBL at the .01 level; and 5) those who learned by STAD had a significantly higher moral quotient than those who learned by PBL at the .01 level. Keywords : Learning Achievement / Analytical Thinking Skill / Moral Quotient / Problem-Based Learning (PBL) / STAD Cooperative Learning Activity

บทนำ ภาษาไทยเป็ น เอกลั ก ษณ์ ป ระจำชาติ เ ป็ น สมบั ติ ท าง วัฒนธรรมอันก่อให้เกิดเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของ คนไทยในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่ อ สาร เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจและความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต่ อ กั น

ทำให้สามารถประกอบธุรกิจการงานและการดำรงชีวิตร่วมกัน

ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข เป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้หาประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อ พัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้

ทั น ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมและความก้ า วหน้ า ทาง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้

มีความมั่นงทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดง ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่ คู่ ช าติ ไ ทยตลอดไป (สำนั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึกษา. 2551) การคิ ด วิ เ คราะห์ เ ป็ น ความสามารถจำแนกแยกแยะ

องค์ ป ระกอบต่ า งๆ ของสิ่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง อาจจะเป็ น วั ต ถุ สิ่ ง ของ

เรื่องราว หรือเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง องค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นคว้าสภาพความเป็นจริงหรือสิ่ง

ที่ ส ำคั ญ ของสิ่ ง ที่ ก ำหนดนั้ น (สุ วิ ท ย์ มู ล คำ. 2550) การคิ ด วิเคราะห์ต้องใช้ความสามารถในการสังเกต ตีความ การสืบค้น


96

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่ดีเพื่อค้นหาความเป็นไปของเรื่อง นั้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความสามารถของสมองในการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2549) สภาพการจัดการเรียนการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้น พบว่า เด็กไทยร้อยละ 74 อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง คือ มีตั้งแต่อ่าน

ไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ วิเคราะห์ความหมายไม่ถูก ระบบ การศึ ก ษาไทยต่ ำ กว่ามาตรฐาน หมายถึงระบบการถ่ า ยทอด ความรู้ รวมทั้งครูผู้สอนมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน (สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. 2555) แนวทางในการพัฒนาการ เรียนการสอน ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพมีหลายวิธี เช่น การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สลาวิน (Slavin. 1995) การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็พื้นฐาน (Problem Based Learning หรือ PBL) เป็นการจัดการ เรียนรู้รูปแบบ หนึ่งที่มุ่งนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความ เป็นจริงที่มีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย เป็นตัว กระตุ้ น ให้ นั ก เรี ย นคิ ด วิ เ คราะห์ อย่ า งหลากหลาย โดยใช้ กระบวนการกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจปัญหา เชื่อมโยงปัญหาและ ระบุปัญหาให้ชัดเจนกำหนดแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคำตอบ (พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. 2548) ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD กั บ แบบปั ญ หาเป็ น ฐาน (PBL) การคิ ด วิเคราะห์และความฉลาดเชิงจริยธรรม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการ พัฒนาการเรียนการสอนต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ หาค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) 3. เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 4. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ ร ะหว่ า งการจั ด กิจกรรมการเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) 5. เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดเชิงจริยธรรมระหว่าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL)

สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) มีการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) มีความฉลาดเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน ขอบเขตการวิจัย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กลุ่มร่วมมือแบบ STAD การจัดกิจกรรมแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิด วิเคราะห์ และความฉลาดเชิงจริยธรรม ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้ แ ก่ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 5 ห้ อ ง รวมทั้ ง สิ้ น 205 คน ทุ ก ห้ อ งเรี ย นมี ก ารจั ด นักเรียนคละความสามารถ 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้ อ ง มี นั ก เรี ย น จำนวน 80 คน ซึ่ ง ใช้ ห ลั ก สู ต ร เดียวกันมีการจัดนักเรียนคละความสามารถทุกห้องเหมือนกัน นักเรียนแต่ละห้องมีความสามารถใกล้เคียงกันโดยวิธีการสุ่ม แบบกลุ่มด้วยการจับสลาก กลุ่มทดลองที่ 1 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 40 คน ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กลุ่มทดลองที่ 2 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 40 คน ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็น ฐาน (PBL)


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง 2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัว เลือก จำนวน 20 ข้อ 5. แบบวั ด ความฉลาดเชิ ง จริ ย ธรรม ชนิ ด เลื อ กตอบ

3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม โดย ใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ แบบ ทดสอบวัดผลการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดความ ฉลาดเชิงจริยธรรม จำนวน 20 ข้อ โดยมีแบบทดสอบ จำนวน 80 ฉบับ ได้รับคืนมาทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผู้วิจัยเก็บ แบบทดสอบด้วยตนเอง 2. ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม ร่ว มมื อแบบ STAD กับกลุ่มทดลองที่ 1 นักเรียนชั้น ประถม ศึกษาปีที่ 4/3 และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับกลุ่มทดลองที่ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5

ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2555 ถึ ง เดื อ นกรกฎาคม 2555 ใช้ เวลาในการสอนกลุ่ ม ละ

16 ชั่วโมง โดยทำการสอนติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ประเมินกิจกรรม ระหว่ า งเรี ย นและทดสอบย่ อ ยแต่ ล ะแผน ทั้ ง นี้ ไ ม่ ร วมเวลา ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เมื่อดำเนินการทดลองเสร็จ ทำการทดสอบหลังเรียน กั บ ทั้ ง 2 กลุ่ ม ด้ ว ยแบบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ท าง การเรี ย น จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และแบบวั ด ความฉลาดเชิ ง จริ ย ธรรม จำนวน 20 ข้ อ เป็ น

ฉบั บ เดี ย วกั น กั บ การทดสอบก่ อ นเรี ย น โดยมี แ บบทดสอบ จำนวน 80 ฉบั บ ได้ รั บ คื น มาทั้ ง หมดคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 100

ซึ่งผู้วิจัยเก็บแบบทดสอบด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ เ คราะห์ ห าประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้การคิดวิเคราะห์และความฉลาดเชิงจริยธรรม ทั้ง 2 รูปแบบ

97

3. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ 4. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ ระหว่ า ง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ 5. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บความฉลาดเชิ ง จริ ย ธรรม ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ

การทดสอบสมมติฐานใช้ t–test (Independent Samples)

สรุปผลการวิจัย 1. ประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ ว ย กลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.02/84.87 และประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบปั ญ หาเป็ น ฐาน (PBL) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.21/81.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ กำหนด 80/80 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้

แบบ STAD และแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง สำนวนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คะแนนการจัดกิจกรรม คะแนน การเรียนรู้ เต็ม

S.D.

ร้อยละ

ขบวนการของแผนแบบ STAD (E1)

320

240.85

10.34

86.02

การทดสอบ แบบ STAD (E2)

40

33.95

1.92

84.87

ขบวนการของแผนแบบ PBL (E1)

320

230.20

13.44

82.21

การทดสอบ แบบ PBL (E2)

40

32.55

2.05

81.37

2. ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของผลการจั ด การกิ จ กรรมการ เรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เท่ากับ 0.7023 หรือร้อยละ 70.23 และดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) เท่ากับ 0.6632 หรือร้อยละ 66.32 ดังตารางที่ 2


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

98

ตารางที่ 2 ผลการวิ เ คราะห์ ห าประสิ ท ธิ ผ ลของผลการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ STAD และแบบปั ญ หา

เป็นฐาน (PBL) เรื่องสำนวนไทยชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 การจัดกิจกรรม คะแนนเต็ม ผลรวม n การเรียนรู้ (40) คะแนน

ดัชนี  ประสิทธิผล (E.I)

แบบ STAD

40

ก่อนเรียน 776 19.40 หลังเรียน 1358 33.95

แบบ PBL

40

ก่อนเรียน 715 17.87 หลังเรียน 1302 32.55

0.7023 0.6632

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD กับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD และแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) การจัดกิจกรรม การเรียนรู้

n

แบบ STAD

40

33.95 1.92

แบบ PBL

40

32.58 2.09

S.D.

t

sig

3.07**

.00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD มีคะแนนการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนที่ ได้ รั บ การจั ด กิ จ กรรมการเรียนรู้แบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 การเปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ ข องนั ก เรี ย น

ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรม

การเรี ย นรู้ แ บบ STAD และแบบปั ญ หาเป็นฐาน (PBL) การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบ STAD แบบ PBL

n

S.D.

t

40 15.15 1.97

2.95** 40 13.92 1.82

sig .00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD มีคะแนนความฉลาดเชิงจริยธรรม สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 การเปรี ย บเที ย บความฉลาดเชิ ง จริ ย ธรรมของ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ระหว่ า งการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD และแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) การจัดกิจกรรม การเรียนรู้

n

S.D.

แบบ STAD

40 51.28 1.74

แบบ PBL

40 50.20 1.38

t

sig

3.06**

.00

**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อภิปรายผลการวิจัย 1. การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ ว ยกลุ่ ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD และการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ สู ง กว่ า เกณฑ์ ที่ ก ำหนด ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เนื่ อ งจากผู้ วิ จั ย ได้ ศึ ก ษา แนวคิ ด ทฤษฎี หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน

พุทธศักราช 2551 ศึกษาสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสำนวน ไทย ศึกษาวิธีการสอนทั้ง 2 รูปแบบ วิธีการสร้างสื่อ สร้างแบบ ทดสอบ นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เสนอคณะกรรมการควบคุ ม วิ ท ยานิ พ นธ์ ตรวจสอบรู ป แบบ ภาษาที่ใช้และเนื้อหาก่อนนำมาปรับปรุงและเสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจประเมินคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และนำไป ทดลองใช้ กับนักเรียนที่ไม่ ใช่กลุ่มตัวอย่าง แล้วจึงนำมาปรับปรุง


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ก่อนนำไปใช้จริง เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2553) ที่ได้ให้ความ

เห็นว่า การจัดกิจกรรมการสอนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็ น การจั ด การเรี ย นรู้ ที่ ค รู นำเสนอประเด็ น ใหม่ ใ ห้ ผู้ เรี ย น อภิปราย โดยจัดกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถคละกัน แต่ละ กลุ่มร่วมกันศึกษาประเด็นที่ครูนำเสนอจนเข้าใจแล้วทำแบบ ทดสอบนำคะแนนมารวมกันแล้วสรุปความรู้ที่ได้รับ และเสริม ด้วยกิจกรรมและสอดคล้องกับ สำนักมาตรฐานการศึกษาและ พัฒนาการเรียนรู้ (2550) ได้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้ ปั ญ หาเป็ น ฐาน มี ขั้ น ตอนตั้ ง แต่ ก ารเชื่ อ มโยงปั ญ หาและระบุ ปัญหา การกำหนดแนวทางที่เป็นไปได้ ดำเนินการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ความรู้ สรุป ประเมินค่า และนำเสนอผลงาน และ

ศิริพร จึงรัศมีพานิช (2554) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัด

การเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผสมผสานระหว่างเทคนิคกลุ่ม

ผลสัมฤทธิ์ STAD และเทคนิคกลุ่มเกมแข่งขัน (TGT) ผลการวิจัย พบว่ า แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภ าษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผสมผสาน ระหว่ า งเทคนิ ค กลุ่ ม ผลสั ม ฤทธิ์ STAD และเทคนิ ค กลุ่ ม เกม

แข่งขัน (TGT) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.80/82.67 สอดคล้อง กั บ รั ช นี ว รรณ สุ ข เสนา (2550) ได้ ศึ ก ษา การเปรี ย บเที ย บ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการเรียนรู้ ตามคู่มือครู พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน (PBL) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.60/82.10 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.7023 ซึ่งแสดงว่า นั ก เรี ย นมี ค วามก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น จากก่ อ นเรี ย น

คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 70.23 และค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ล ของการจั ด

การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีค่าเท่ากับ 0.6632 ซึ่ง

แสดงว่ า นั ก เรี ย นมี ค วามก้ า วหน้ า ทางการเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น จาก

ก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 66.32 ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นกระบวนการกลุ่มให้ นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อนทำ

การสอนครูอธิบายวิธีการจัดการเรียนรู้ สอนนักเรียนฝึกโดยครู ให้แนวปฏิบัติ นักเรียนสรุปสาระการเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้น ทักษะการคิด การเรียนที่เป็นระบบ และเป็นวิธีการสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกัน แลกเปลี่ยน

99

ประสบการณ์ ให้เหตุผลซึ่งกันและกัน เรียนรู้สภาพอารมณ์ความ รู้สึกนึกคิดของคนในกลุ่ม เพื่อเป็นแนวคิดที่จะนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน ตามความเหมาะสมของแต่ละคน ตลอดจนเพื่อเรียนรู้ และรั บ ผิ ด ชอบงานของคนอื่ น (ชั ย วั ฒ น์ สุ ท ธิ รั ต น์ . 2553) สอดคล้องกับผลการศึกษาของกฤติกา เจริญยศ (2552) ได้ ศึ ก ษาการพั ฒ นาแผนการจั ด การเรี ย นรู้ ภ าษาไทย ด้ ว ยกลุ่ ม

ร่ ว มมื อ แบบ STAD โดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะด้ า นการอ่ า นและ

การเขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า แผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดย ใช้แบบฝึกทักษะด้านการอ่านและการเขียนคำยาก ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.04/86.05 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ตั้งไว้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD โดยใช้ แ บบฝึ ก ทั ก ษะด้ า นการอ่ า นและ

การเขียนคำยาก มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7095 นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดย ใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนคำยาก โดยรวมและ รายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหา เป็ น ฐาน (PBL) เป็ น กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ ส ร้ า งความรู้ จ าก กระบวนการทำงานเป็ น กลุ่ ม เพื่ อ แก้ ปั ญ หาหรื อ สถานการณ์

ที่สนใจเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและมีความสำคัญต่อนักเรียนตัว ปั ญ หาจะเป็ น จุ ด ตั้ ง ต้ น ของกระบวนการเรี ย นรู้ แ ละเป็ น ตั ว กระตุ้นต่อไปในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและ การสื บ ค้ น ข้ อ มู ล ที่ ต้ อ งการ เป็ น การเรี ย นรู้ ที่ มุ่ ง เน้ น ทั ก ษะ

การเรี ย นรู้ ม ากกว่ า ความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ สอดคล้ อ งกั บ สำนั ก งาน เลขาธิการสภาการศึกษา (2550) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐานสามารถพัฒนาความคิดของผู้เรียน สามารถ ใช้สอนได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนจำเป็นต้องพิจารณา เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมในการใช้แนวทางนี้ไปพร้อมกับการจัด สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม การเรียนรู้แบบ ปัญหาเป็นฐานนี้ ไม่สามารถใช้ได้ทุกเนื้อหาและทุกกิจกรรมการ เรียนรู้ผู้สอนควรใช้เทคนิคอื่นๆ เข้ามาแทรกในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ เพื่อให้มีความหลากหลายตามความเหมาะสมกับ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธี จัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีจัดการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนด้ ว ยกลุ่ ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD เน้ น ผู้ เรี ย นเป็ น สำคั ญ

ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มุ่งส่งเสริม


100

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การคิดวิเคราะห์ รู้จักวางแผนและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างองค์ความรู้หรือแก้ปัญหาด้วยการศึกษาค้นคว้าทำงาน กลุ่มได้ สมาชิกในกลุ่มดูแลและช่วย เหลือกัน ซึ่งสามารนำความรู้ ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ทั้ ง ทางตรงและทางอ้ อ มและการจั ด

การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นกิจกรรมการเรียน การสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทำให้ นักเรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน มีกิจกรรม ที่หลากหลายโดยนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตัวเองทำให้เกิด ความชื่นชมในผลงานของตนเองและของกลุ่ม สามารถนำความ รู้เดิมมาผสมผสานกับความรู้ใหม่เกิดการสร้างความรู้ด้วยตัวเอง ทั้งจากการเรียนและการปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ จึงทำ ให้นักเรียนที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วย วิ ธี แ บบปั ญ หา เป็ น ฐาน (PBL) สอดคล้ อ งกั บ กิ ริ ย า ปี่ ท อง (2550) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความ รับผิดชอบ ในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปี ที่ 4 ที่ เรี ย นรู้ แ บบร่ ว มมื อ ตามวิ ธี STAD กั บ ที่ เรี ย นรู้ แ บบ

4 MAT พบว่า คะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านและความ

รับผิดชอบในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 ที่เรียนรู้แบบร่วมมือตามวิธี STAD หลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 คะแนน เฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านและความรับผิดชอบในการเรียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้แบบ 4 MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัด กิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ผลปรากฎว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ด้านการคิดวิเคราะห์ สูงกว่า การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ ว ยกลุ่ ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD เป็ น กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน กับเพื่อนๆ ได้แสดงความคิดเห็น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย

ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบซึ่งมุ่งส่งเสริมกระบวนการ คิดวิเคราะห์ ร่วมกันวางแผน เพื่อสร้างองค์ความรู้หรือแก้ปัญหา ด้วยการศึกษาค้นคว้า ทำงานตามขั้นตอน และสามารถนความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้นักเรียน มีผล สั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นหลั ง เรี ย นสู ง ขึ้ น สอดคล้ อ งกั บ เสวี ย ง

ผละผล (2549) ได้วิจัยผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ไทยที่เน้นการพัฒนาการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน

สำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 3 และการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลั ง เรี ย นแตกต่ า งจากการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม

ร่ ว มมื อ แบบ STAD เพราะนั ก เรี ย นยั ง ขาดประสบการณ์

ด้ า นการใช้ ปั ญ หาเพื่ อ การคิ ด วิ เ คราะห์ นั ก เรี ย นยั ง ไม่ รู้ จั ก วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปสู่การไปหาคำตอบที่ถูกต้อง 5. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ เรี ย นระหว่ า ง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับแบบ ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ผลปรากฎว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรม กลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้าน ความฉลาดเชิงจริยธรรม สูงกว่านับเป็นฐาน (PBL) ทั้งนี้เนื่อง การเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นการเรียนรู้ที่นักเรียน ได้ เรี ย นรู้ ด้ ว ยกั น มี ก ารปรึ ก ษาหารื อ ช่ ว ยเหลื อ กั น ทำงาน

ช่วยเหลือกันทั้งเด็กเก่ง ปานกลาง อ่อน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน จึงส่ง ผลให้นักเรียนที่เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแตกต่างจากการเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) สอดคล้องกับ เพ็ญศรี ใจกล้า (2554) ได้ศึกษาโมเดลความ สัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางจริยธรรมประกอบ ด้วย สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และ การคิดวิเคราะห์ มีอิทธิพลส่งเสริมความฉลาดทางจริยธรรม สภาพแวดล้ อ มทางโรงเรี ย น ประกอบด้ ว ย พฤติ ก รรมของ

กลุ่มเพื่อน พฤติกรรมของครู กิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทาง จริ ย ธรรม และสอดคล้ อ งกั บ รายงานการประเมิ น การจั ด

การเรี ย นรู้ ที่ ส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมของผู้ เรี ย นในสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550) ที่กล่าวว่า หากครูต้องการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ นักเรียน วิธีการที่เหมาะสมคือ การให้นักเรียนได้มีบทบาทใน การคิ ด มี บ ทบาทในการใช้ เ หตุ ผ ลอย่ า งหลากหลายเพื่ อ เปิ ด โอกาสให้มองเห็นทางเลือกในสถานการณ์นั้นๆ ได้หลายทาง เพื่อทางเลือกที่ดีที่เหมาะสมที่สุด จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของ สมองและยกระดับเหตุผลของผู้เรียน การให้เยาวชนได้มีโอกาส ถกแถลงเหตุผล ในประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งทางจริยธรรม และ ให้เข้าร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคม ใกล้หรือไกลตัว จะช่วยยกระดับจริยธรรมของนักเรียนได้ และ ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ประพันธ์ บุญพิมพ์ (2555) ได้ ศึกษาวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ระหว่างการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD กับการเรียนรู้


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 มีความ พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ ว ยกลุ่ ม ร่ ว มมื อ แบบ STAD กับแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ครูผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้อง

ในการจั ด การ ศึ ก ษาควรนำวิ ธี ก ารจั ด การเรี ย นรู้ ทั้ ง สองวิ ธี

ให้สอดคล้องกับหลักการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมและพัฒนา

การจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพัฒนาการทางการเรียนรู้ให้มี ประสิทธิภาพ 2. ครู ผู้ ส อนควรให้ ค วามสนใจศึ ก ษาและนำการจั ด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และแบบปัญหา เป็นฐาน (PBL) ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพราะวิธีการ

ทั้งสองรูปแบบเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาสามารถทำให้ผู้เรียน มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ด้ า นการคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละด้ า นความฉลาดเชิ ง จริยธรรมทางการเรียนสูงขึ้นได้ ดังนั้นครูผู้สอนและผู้บริหาร ควรส่งเสริมการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทยโดยเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างเป็น

ขั้นตอน เน้นการคิดวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน เพื่อเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จัก การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานและได้ ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการเปรียบเทียบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอื่นๆ เช่น 4 MAT TGT หรือแบบโครงงาน ในระดับชั้นอื่นๆ และ

รายวิชาอื่นๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. ควรศึกษารูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กลุ่มร่วมมือแบบ STAD และแบบปัญหาเป็น ฐาน (PBL) กับ กรณีตัวแปรตามอื่น เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณการคิด สร้างสรรค์ความคงทนในการเรียนรู้ เป็นต้น 3. ควรทำการวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในเนื้อหาอื่นและ ระดับชั้นอื่นโดย ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD หรือกิจกรรม

การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบปั ญ หาเป็ น ฐาน (PBL) กั บ วิ ธี ก ารจั ด

การเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ

101

เอกสารอ้างอิง Boonphim, Praphan. (2012, September-December). “A Comparison of Learning Achievement on Words Whose Final Letter Being Not the Same as the Section to Which It belongs between the Prathom Suksa 3 Students Who Learned by STAD Cooperative Group and Those Who Learned by 4 MAT,” Nakhon Phanom University Journal. 2(3) : 96-102. ประพันธ์ บุญพิมพ์. (2555, กันยายน-ธันวาคม). “การเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระว่าง การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT),” วารสารมหาวิทยาลัย นครพนม. 2(3) : 96-102. Jaikla, Phensri. (2011). A Model of Relations of the Factors Influencing the Morality Quotient of the Lower Secondary Students, Mahasarakham Province. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University. เพ็ญศรี ใจกล้า. (2554). โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความฉลาดเชิ ง จริ ย ธรรมของนั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ครุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Jaroenwongsak, Kriangsak. (2006). Analytical Thinking. Bangkok : Success Media Co. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซสมีเดีย. Jaroenyot, Klitika. (2009). Development of a Plan for Organizing the Thai Language Learning Activity with the STAD Cooperative Group Using the Skill Training Exercise of Reading and Writing the Difficult Words for Prathom Suksa 4 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University.


102

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

กฤติกา เจริญยศ. (2552). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดย ใช้แบบฝึกทักษะ ด้านการอ่านและการเขียน คำยากชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

_____ . (2012). The Thai Educational Situation in the World Stage B.E. 2555(2012). Bangkok : Phrikwan Graphics.

Juengratsamiphanit, Siriphon. (2011). Development of Learning Organization Plans, the Thai Language Learning Strand, for Mathayom Suksa 3 Students Using the Cooperative Learning Mix between the STAD Technique and the Competitive Games Group (TGT). An M. Ed. Thesis. Pathumthani : Walailongkorn University.

Office of the Educational Standards and Learning Development. (2007). The Problem-Based Learning Management. Bangkok : Office of Educational Standards and Learning Development, Ministry of Education.

ศิริพร จึงรัศมีพานิช. (2554). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ ก ารเรี ย นรู้ แ บบร่ ว มมื อ ผสมผสานระหว่ า ง เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD และเทคนิคกลุ่มเกม

แข่ ง ขั น (TGT). วิ ท ยานิ พ นธ์ ค รุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต . ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. Moonkham, Suwit. (2007). Strategy to Teach Analytical Thinking. Bangkok : Phapphim. สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์. Office of the Education Council. (2007). A Report on Evaluation of Organizing the Learning That Promotes Virtue and Ethical Conduct of Students in Basic Education Schools. Bangkok : Phimdee Printing. สำนั ก งานเลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา. (2550). รายงานการ ประเมินการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของผู้ เรี ย นในสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน. กรุ ง เทพฯ :

พิมพ์ดีการพิมพ์. _____ . (2007). The Problem-Based Learning Management. Bangkok : The Thailand Agricultural Cooperative Assembly. _____ . (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_____ . (2555). สภาวการณ์ศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนั ก มาตรฐานการศึ ก ษาและพั ฒ นาการเรี ย นรู้ . (2550).

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนั ก มาตรฐานการศึ ก ษาและพั ฒ นาการเรี ย นรู้ . กระทรวงศึกษาธิการ. Office of the Academic and Educational Standards. (2008). A Guideline for Conducting the Measurement and Evaluation in Learning Achievement according to the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). Bangkok : The Thailand Agricultural Cooperative Assembly. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวปฏิบัติการ วัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. Peethong, Kiriya. (2007). A Comparison of Reading Comprehension and Responsibility for Learning the Thai Language between the Prathom Suksa 4 Students Who Learned by STAD Cooperative Method and by 4 MAT. An M.Ed. Thesis. Phranakhon Sri-ayudhaya Rajabhat University. กิริยา ปี่ทอง. (2550). เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน และ ความรับผิดชอบในการเรียนภาษาไทย ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้แบบ ร่วมมือตามวิธี STAD กั บ การเรี ย นรู้ แ บบ 4 MAT. วิ ท ยานิ พ นธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Phalaphon, Sawiang. (2006). A Study of Learning Achievement in the Thai Language Learning Strand Emphasizing the Reading Development, Analytical Thinking and Writing for Prathom Suksa 3 Students. An M. Ed. Thesis. Khon Kaen : Khon Kaen University. เสวียง ผละผล. (2549). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทยที่เน้นการพัฒนาการอ่าน การคิด วิ เ คราะห์ แ ละการเขี ย น สำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถม ศึ ก ษาปี ที่ 3. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ทิ ต . ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Phosrithong, Phonson. (2005). On the Creative Way. Bangkok : S and G Graphics. พลสั ณ ห์ โพธิ์ ศ รี ท อง. (2548). บนเส้ น ทางที่ ส ร้ า งสรรค์ . กรุงเทพฯ : เอส แอนด์ จี กราฟฟิก. Slavin. R. E. (1995). Cooperative Learning : Research Practice. nglewood Cliffs, NJ : Prentice Hall. Suksena, Rachaniwan. (2007). A Comparison of Learning Achievement on Application Chapter, the Mathematics Learning Strand, of the Prathom Suksa 5 Students Who Learned by the Problem-Based Learning (PBL) Activity Management and Those Who Learned by Teacher’s Manual. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. รั ช นี ว รรณ สุ ข เสนา. (2550). การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องบทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิ ต ศาสตร์ ข องนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ระหว่ า งการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ โ ดยใช้ ปั ญ หา

เป็นฐาน (PBL) กับการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Sunthornrot, Wimonrat. (2010). Innovations for Learning. Kalasin : Prasaan Press. วิ ม ลรั ต น์ สุ น ทรโรจน์ . (2553). นวั ต กรรมเพื่ อ การเรี ย นรู้ . กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

103

Sutthirat, Chaiwat. (2010). 80 Student-centered Learning Management Innovations. Bangkok : Danex Intercorporation. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดแนกส์อินเตอร์

คอร์ปอเรชั่น.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

104

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องประโยค ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT A Comparison of Learning Achievements and Analytical Thinking Skills on ‘Sentences’ of Prathom Suksa 5 Students through CIPPA versus 4 MAT Learning Activities

วัลลภา ศรีวรขันธุ1์ ทัศนา ประสานตรี2 และ มนตรี อนันตรักษ์3 Vallapa Sriworakhan,1 Tatsana Prasantree2 and Montree Anantarak3 1

นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2 ค.ด. (ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 ค.ด. (การวัดผลและประเมินการศึกษา) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้เรียนแบบ CIPPA และการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยคของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA และจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 4) เปรียบเทียบทักษะในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA และแบบ 4 MAT 5) ศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 44 คน เป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านโพนก่อ จำนวน 23 คน และโรงเรียนบ้านรามราช จำนวน 21 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA และ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT รูปแบบละ 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.20-0.48 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21-0.87 มีค่า

ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.20-0.50 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.69 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 แบบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA และแบบ 4 MAT มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23-0.73 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA

มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.55/82.46 ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.85/80.63

2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA มีค่าเท่ากับ 0.6782 ส่วนดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 0.6473 3) นักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA มีการคิดวิเคราะห์ สูงกว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA มีความ

พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคสูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ทักษะในการคิดวิเคราะห์ / การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA / การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

105

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to find efficiency of learning management plans according to the 80/80 criterion, 2) to find effectiveness indices through CIPPA and 4 MAT learning activities, 3) to compare learning achievements on ‘sentences’ of Prathom Suksa 5 students through CIPPA and 4 MAT learning activities, 4) to compare analytical thinking skills by CIPPA and 4 MAT learning activities, and 5) to investigate students’ satisfaction of learning by CIPPA and 4 MAT learning activities. The sample used in this study was a total of 44 Prathom Suksa 5 students selected by cluster random sampling. Of whom, 23 were enrolled in Ban Phonkaw School and 21 in Ban Ramrat School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2 in the first semester of academic year 2012. The former and latter groups were managed by CIPPA and 4 MAT learning activities respectively. Each type of learning activity spent 12 hours. The instruments used in the study were: a 30item learning achievement test on ’sentences’ with 4 choices, whose difficulty values ranged between 0.20 and 0.48, discrimination power values between 0.21 and 0.87 and reliability value was 0.96; a 20-item analytical thinking skill test with 4 choices, whose difficulty values ranged between 0.20 and 0.50, discrimination power values between 0.33 and 0.69, and reliability value was 0.89; a questionnaire asking satisfaction of learning management by CIPPA and 4 MAT activities, whose discrimination power values ranged between 0.23 and 0.73 and entire reliability value was 0.88. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation and t-test (independent samples) for hypothesis testing. The results of study were as follows: 1) The learning organization by CIPPA had E1/E2 efficiency of 88.55/82.46, while the learning organization by 4 MAT had E1/E2 efficiency of 85.85/80.63; 2) the learning organization by CIPPA had an effectiveness index of 0.6782, while the learning organization by 4 MAT had an effectiveness index of 0.6473; 3) the students who learned by CIPPA showed a higher learning achievement than those who learned by 4 MAT at the .05 level of significance; 4) the students who learned by CIPPA showed a higher analytical thinking skill than those who learned by 4 MAT at the .05 level of significance; and 5) the Prathom Suksa 5 students who learned by CIPPA showed their higher satisfaction of learning by CIPPA than those who learned by 4 MAT at the .05 level of significance. Keywords : Learning Achievement / Analytical Thinking Skill / CIPPA Learning Activity / 4-MAT Learning Activity

บทนำ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า และความเปลี่ ย นแปลงทางด้ า น วิทยาการ หรือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบต่อวิถี ชีวิตของคนทั่วไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงจำเป็นที่จะต้อง ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนรู้จักวิธีที่จะปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การคิ ด วิ เ คราะห์ มี ค วามสำคั ญ ในการช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด

ในการดำรงชี วิ ต รู้ จั ก พิ จ ารณาไตร่ ต รองถึ ง ผลดี ผ ลเสี ย ของ

การกระทำ เนื่ อ งจากการกระทำบางอย่ า งต้ อ งใช้ เ วลาใน

การไตร่ ต รองถึ ง ทางเลื อ กและผลที่ จ ะ เกิ ด ขึ้ น ทำให้ มี ส ติ รู้ ว่ า

ตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ (ดาวนภา ฤทธิ์แก้ว. 2548) การคิด วิเคราะห์ คือการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาค้นคว้าว่าทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบ อะไร ประกอบขึ้ น มาได้ อ ย่ า งไรและเชื่ อ มโยงกั น ได้ อ ย่ า งไร

(ลักษณา สริวัฒน์. 2549) จากสภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรดังจะเห็นได้จากการประเมิน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของสำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา

ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่ การประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มี ค ะแนนเฉลี่ ย อยู่ ใ นเกณฑ์ ต่ ำ สะท้ อ นผลการจั ด การเรี ย น


106

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การสอนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้การประเมินภายนอก สถานศึกษา ครั้งที่ 2 ในปี 2550 นักเรียนโรงเรียนบ้านโพนก่อ โดยสำนั ก งานรั บ รองมาตรฐานและการประเมิ น คุ ณ ภาพ

การศึกษา (สมศ.) มีระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ ในระดั บ พอใช้ ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากครู ข าดเทคนิ ค วิ ธี ก ารสอนโดย เฉพาะการสอนให้คิดวิเคราะห์ และขาดสื่อการเรียนการสอน

ที่ ห ลากหลาย การจั ด การเรี ย นการสอนให้ บ รรลุ ม าตรฐาน

การเรียนรู้ภาษาไทย ครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจาก ผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียนเป็นการสนับสนุนสร้างประสบการณ์การ เรี ย นรู้ ที่ มี ค วามหมาย โดยใช้ เ ทคนิ ค อย่ า งหลากหลายที่ เ น้ น

ผู้เรียนเป็นสำคัญ คือให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและเรียน อย่าง มีความสุข ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของผู้เรียน และธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ที่เรียน (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2553) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐสุภางค์ ยิ่งสง่า (2550) ได้ทำการวิจัยการเปรียบเทียบการอ่านจับใจความภาษาไทยและ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง

การจัดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและ

การจัดกิจกรรมตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.39/ 91.77 ส่วนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร การเรี ย นรู้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 80.22/86.85 2) ดั ช นี ประสิ ท ธิ ผ ลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลั ก การ เรี ย นรู้ โ ดยใช้ ส มองเป็ น ฐาน มี ค่ า เท่ า กั บ 0.88 ส่ ว นดั ช นี ประสิ ท ธิ ผ ลของแผนการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต ามรู ป แบบ วั ฏ จั ก รการเรี ย นรู้ มี ค่ า เท่ า กั บ 0.803 นั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐานมีผลการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์สูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA เป็นรูปแบบของ การจัดการเรียนสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบหนึ่งที่

ได้รับความสนใจและมี นักการศึกษาหลายท่านได้ให้คำจำกัด ความ การจั ด การเรี ย นการสอนที่ เ น้ น ผู้ เรี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลาง CIPPA (ทิศนา แขมมณี. 2545 ; วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542) เป็ น แนวคิ ด เรื่ อ งการจั ด การเรี ย นการสอนที่ ยึ ด ผู้ เรี ย น เป็ น ศูนย์กลางมาเป็นระยะเวลานานแล้วหากแต่ยัง ไม่เกิดผลปฏิบัติ มากเท่าที่ควรสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งคือ ครูขาดความรู้ความ เข้าใจและขาดแนวทางจึงได้มีผู้แสวงหาหลักการรูปแบบแนว ทางใหม่ๆ ที่จะนำมาอธิบายและใช้แก้ปัญหานี้ ซึ่งหลักการที่

ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางที่ใช้หลักประสาน 5 แนวคิด หลัก คือ 1) แนวคิดการสร้างสรรค์ สร้างความรู้ (Constructivism) 2) แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Co-operative Learning) 3) แนวคิดเกี่ยวกับ ความพร้อมในการเรียนรู้ (Learning Readiness) 4) แนวคิด เกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning) 5) แนวคิด เกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning) (ทิศนา แขมมณี. 2542) ซึ่งผู้วิจัยพิจารณาเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ แบบ CIPPA เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนเพราะจะ ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการและสังเคราะห์ข้อมูล ความรู้ ไ ด้ ด้ ว ยตนเองอี ก ทั้ ง ยั ง สามารถเรี ย นรู้ กั บ กลุ่ ม เพื่ อ น สอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทและสภาพแวดล้ อ มได้ อ ย่ า งดี ต ลอดจน

การฝึกปฏิบัติในการ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ที่ตนสนใจได้อีกด้วย ถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์

อีกรูปแบบหนึ่งจากสภาพปัญหาและความสำคัญที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะเป็นครูผู้สอนที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทยของโรงเรียนจึงมีความสนใจและต้องการค้นหาคำตอบ ของการจัดกิจกรรมการเรียนภาษาไทยด้วยรูปแบบการเรียนรู้ แบบ CIPPA ว่าจะส่งผลต่อคุณภาพผลการเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้านใดบ้างทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไป ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ ครูผู้เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป การสอนแบบ 4 MAT เป็นการสอนในรูปแบบที่เริ่มมี คนใช้มากขึ้นเพราะความสะดวกง่ายต่อความ เข้าใจของครูมาก กว่าทฤษฎีใดๆ ที่สำคัญคือเป็นวิธี ที่ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่นได้ เป็นอย่างดี เช่น อาจนำ วิธีนี้มาใช้ร่วมกับการเรียนแบบสหร่วมใจ (Cooperative Learning) หรือแบบอื่นได้ด้วยความไม่ยุ่งยาก ซั บ ซ้ อ น และประสิ ท ธิ ภ าพของวิ ธี ก ารสอนเช่ น นี้ ท ำให้ เริ่ ม มี

การวิ จั ย เพิ่ ม ขึ้ น มี บ ทความหนั ง สื อ ต่ า งๆ มากมายกล่ า วถึ ง

การเรี ย นการสอนแบบนี้ ม ากขึ้ น จนในขณะนี้ นั ก การศึ ก ษา สำหรั บ เด็ ก ปั ญ ญาเลิ ศ และนั ก การศึ ก ษาทั่ ว ไปรู้ จั ก และเข้าใจ

มากขึ้น (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และคณะ. 2542) ได้เรียกรูปแบบ

การสอนแบบ 4 MAT ว่าวัฎจักรการเรียนรู้โดย ใช้วงกลมถูกแบ่ง ออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้และเส้น แห่งกระบวนการจัดข้อมูล รั บ รู้ เ ป็ น 4 ส่ ว น โดยให้ แ ต่ ล ะส่ ว นแทนกิ จ กรรมการเรี ย น

การสอน 4 ลักษณะ (เธียร พานิช. 2544) กล่าวว่า 4 MAT เป็นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ ของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT หรือแบบวัฏจักร การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้อีก แบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็น


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สำคั ญ ตามแนวทฤษฏี Constru Ctivism การเรี ย นรู้ แ ละ

การสอนจะต้องมีลักษณะการเรียนรู้ที่เคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับ ขั้นตอนตามวัฏจักรของการเรียนรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนซึ่งมี ลักษณะ แตกต่างกัน มีโอกาสได้เรียนและพัฒนาศักยภาพของ ตนเองอย่างมีความสุข โดยเน้นประสบการณ์ตรงจัดกระบวนการ คิดอย่างไตร่ตรองปรับเป็นการคิดรวบยอด ลงมือปฏิบัติจนเกิด ชิ้นงาน และนำเสนอผลงานผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิด ซึ่งกันและกันและยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2553) ซึ่งสอดคล้องกับ กันต์กมล บุญประเสริฐ์ (2552) ได้ศึกษาค้นคว้า ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง อิศรญาณภาษิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ผลปรากฏว่า แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาไทยที่จัดด้วยกิจกรรม แบบวัฏจักรการเรียนรู ้ 4 MAT มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 85.93/82.02 และดั ช นี ประสิ ท ธิ ผ ลของผลการจั ด การเรี ย นรู้ ภ าษาไทย ด้ ว ยการจั ด กิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เท่ากับ 69.12 นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องอิศรญาณภาษิต ด้วยการจัดกิจกรรมแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT อยู่ในระดับ มาก หลักสูตรภาษาไทยเป็นการจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และใฝ่เรียนรู้ สามารถ

เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ลักษณะของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยเป็นหลักสูตรที่เน้นด้านความรู้ทักษะและกระบวนการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และความสามารถของผู้เรียน มากกว่ า เน้ น เนื้ อ หา ครู ผู้ ส อนต้ อ งจั ด ให้ เ หมาะสมกั บ ผู้ เรี ย น

และสภาพแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด หลักการใช้ภาษาวรรณคดีและวรรณกรรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) จากสภาพปัญหาและความสำคัญที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัย ในฐานะเป็ น ครูผู้สอนที่รับผิดชอบการจัด การเรีย นการสอน ภาษาไทยของโรงเรียนจึงมีความสนใจศึกษาค้นหาคำตอบของ การจัดกิจกรรมการเรียนภาษาไทย ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA และการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบ 4 MAT ว่ า จะส่ ง ผลต่ อ

คุณภาพผลการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้าน ใดบ้างทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

107

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่ อ หาประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด การเรี ย นรู้ เรื่ อ ง ประโยค ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT

ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ ศึ ก ษาดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ เรื่องประโยคด้วยการจัดกิจกรรมแบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT 3. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT 4. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ เรื่ อ ง ประโยค นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA และแบบ 4 MAT สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนเรื่อง ประโยค ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนแตกต่างกัน 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนเรื่องประโยค ด้ ว ยการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นแบบ CIPPA กั บ แบบ 4 MAT

มีการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน ขอบเขตการวิจัย 1. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA และการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิด วิเคราะห์และความพึงพอใจ 2. สาระการเรียนรู้ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรี ย นรู้ ภ าษาไทย ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ภาคเรี ย นที่ 1

ปีการศึกษา 2555 เรื่องประโยค 3. ระยะเวลาในการวิ จั ย ผู้ วิ จั ย ได้ ท ำการวิ จั ย ใน

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถม ศึ ก ษาปี ที่ 5 จำนวน 210 คน โรงเรี ย นในกลุ่ ม เครื อ ข่ า ย


108

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

เวิ น พระบาท–รามราช สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 44 คน โรงเรียนบ้านโพนก่อ และ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5/2 โรงเรี ย นบ้ า นรามราช

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA เรื่ อ ง ประโยคชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2. การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ 4 MAT เรื่ อ ง ประโยคชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น กลุ่ ม สาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชนิด เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่องประโยคชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชนิดเลือกตอบ

4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 5. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT เรื่อง ประโยค ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert’s Scale) จำนวน 15 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทดสอบก่ อ นเรี ย นโดยใช้ แ บบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรี ย น และแบบทดสอบความสามารถ ในการคิ ด วิเคราะห์ 2. ดำเนินการสอนด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ แผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 โรงเรียนบ้านรามราชกับใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2555 ใช้เวลาในการสอน กลุ่มละ 12 ชั่วโมง โดยทำการสอนติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ประเมิน พฤติกรรมการเรียนผลงานในแต่ละแผน การสอบย่อยหลังแผน ทั้งนี้ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3. ทดสอบหลั ง เรี ย นโดยใช้ แ บบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความ พึ ง พอใจในการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA กั บ แบบ

4 MAT

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิ เ คราะห์ ห าประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT เรื่อง ประโยค กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์

80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 2. วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT เรื่องประโยคกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สูตร E.I. 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT โดย ใช้ t-test (Independent Samples) 4. เปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ ข องนั ก เรี ย นที่ เรี ย น ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT โดย ใช้สูตร t-test (Independent Samples) 5. วิ เ คราะห์ ร ะดั บ ความพึ ง พอใจต่ อ การจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) สถิ ติ พื้ น ฐาน ได้ แ ก่ ร้ อ ยละ ค่ า เฉลี่ ย ค่ า เบี่ ย งเบน มาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Sample)

สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เรื่อง ประโยค ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 88.55/82.46 และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 85.85/ 80.63 ซึ่ ง เป็ น ไปตามเกณฑ์ ที่ ตั้ ง ไว้ คื อ 80/80 ทั้ ง สองวิ ธ ี ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ประสิ ท ธิ ภ าพและค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ข องแผนการ จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA และแผนการจัดการเรียน รู้แบบ 4 MAT การวิเคราะห์ข้อมูล ประสิทธิภาพของการจัด การเรียนรู้ค่าดัชนีประสิทธิผล

CIPPA

4 MAT

88.55/82.46 85.85/80.63 0.6782 0.6473

2. ค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ เรื่ อ ง ประโยคชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ CIPPA มีค่าเท่ากับ 0.6782 แสดงว่านักเรียนมีความรู้

เพิ่ ม ขึ้ น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 67.82 และ ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 0.6473 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 64.73 3. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด

การเรียนรู้แบบ CIPPAมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 นั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ

การเรียนรู้แบบ 4 MAT การจัดการเรียนรู้

n

S.D.

แบบ CIPPA

23

24.74

0.96

แบบ 4MAT

21

24.19

0.68

t

sig

2.16*

.03

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด

การเรียนรู้แบบ CIPPA มีการคิดวิเคราะห์ สูงกว่า นักเรียนที่

ด้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 การเปรี ย บเที ย บการคิ ด วิ เ คราะห์ เรื่ อ งประโยค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT การจัดการเรียนรู้

N

แบบ CIPPA

23

17.09 0.37

แบบ 4 MAT

21

16.19 1.03

S.D.

t

sig

2.42* .02

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด

การเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA และแบบ 4 MAT มี ค วามพึ ง พอใจ

โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และ 4.47 ตามลำดับ ดังตารางที่ 4

109

ตารางที่ 4 ผลการวิ เ คราะห์ ค วามพึ ง พอใจของนั ก เรี ย น

ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ที่ มี ต่ อ การจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT

รายการประเมิน

การจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA (n=23) ความ  S.D. หมาย

จัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT (n=21) ความ  S.D. หมาย

1. เป็นการเรียนรู้ด้วย ตนเอง โดยยึด 4.52 0.51 มากที่สุด 4.43 0.51 มาก ผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. บทเรียนช่วยกระตุ้น ให้อยากเรียนรู้ เกิด 4.65 0.49 มากที่สุด 4.33 0.48 มาก การเชื่อมโยงความรู้ เก่ากับความรู้ใหม่ 3. มีการเชื่อมโยงเนื้อหา 4.57 0.59 มากที่สุด 4.57 0.60 มากที่สุด ภายในบทเรียน 4. ท้าทายความ 4.65 0.48 มากที่สุด 4.38 0.50 มาก สามารถของผู้เรียน 5. สอนตามจุดประสงค์ 4.60 0.49 มากที่สุด 4.38 0.50 มาก ของการเรียน 6. เกิดความสนุกสนาน เป็นกันเองระหว่าง 4.47 0.59 มาก 4.29 0.46 มาก เพื่อนในห้องเรียน 7. สามารถเรียนได้ ทุกที่ที่ต้องการ 4.60 0.49 มากที่สุด 4.57 0.60 มากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้อง เรียนใน 8. สามารถทบทวน บทเรียนได้สะดวก 4.52 0.51 มากที่สุด 4.48 0.51 มาก และง่ายขึ้น 9. นักเรียนมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรม 4.78 0.42 มากที่สุด 4.57 0.60 มากที่สุด ที่ตนเองถนัด 10. นักเรียนมีอิสระ ในการเรียนรู้

4.60 0.49 มากที่สุด 4.48 0.60 มาก

11. นักเรียนมีความ มั่นใจในตนเอง มากขึ้น

4.9 0.47 มากที่สุด 4.57 0.51 มากที่สุด


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

110

ตารางที่ 4 ผลการวิ เ คราะห์ ค วามพึ ง พอใจของนั ก เรี ย น

ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ที่ มี ต่ อ การจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบ CIPPA กับแบบ 4 MAT (ต่อ)

รายการประเมิน

การจัดการเรียนรู้ แบบ CIPPA (n=23) 

S.D.

ความ หมาย

จัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT (n=21) 

S.D.

ความ หมาย

12. เนื้อหาเหมาะสม กับวัยและวุฒิภาวะ 4.73 0.44 มากที่สุด 4.48 0.60 มาก ของผู้เรียน 13. การใช้ภาษา สามารถสื่อความ 4.82 0.38 มากที่สุด 4.57 0.51 มากที่สุด ได้ชัดเจน 14. การแสดงผล มีความเหมาะสม 4.56 0.50 มากที่สุด 4.67 0.48 มากที่สุด สามารถให้ข้อมูล ได้รวดเร็ว 15. นักเรียนสามารถ นำความรู้ที่ได้รับ 4.56 0.50 มากที่สุด 4.29 0.46 มาก ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ รวม

4.63 0.49 มากที่สุด 4.47 0.53 มาก

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผลการวิจัย 1. การจั ด การเรี ย นรู้ เรื่ อ งประโยคของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 5 ของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ CIPPA และการจัดกิจกรรมการเรียน รู้แบบ 4 MAT การจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ CIPPA มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.55/82.46 และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.85/80.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ที่เป็นเช่นนี้ เนื่ อ งมาจากการผู้ วิ จั ย ได้ ศึ ก ษาหลั ก สู ต รเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตาม หลั ก สู ต รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ศึกษาวิธีเขียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ทราบรูปแบบ

การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ โดยยึ ด ขั้ น ตอนการจั ด กิ จ กรรม

การเรี ย นการสอนภาษาไทยในแต่ ล ะขั้ น ตอน จุ ด ประสงค์

การเรี ย นรู้ ใ นการจั ด กิ จ กรรม การเลื อ กกิ จ กรรม เตรี ย มสื่ อ

การเรียนและเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับ ตัวชี้วัด นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น

ได้ผ่านการตรวจสอบแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ

ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตลอดจนการประเมินความถูกต้องและ ความเหมาะสมจากคณะผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งนำไปทดลองใช้กับ นักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างก่อนที่จะนำไปทดลองจริง เพื่อให้ เห็นข้อบกพร่องระหว่างการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อการ ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนทดลองสอนจริงเพื่อ ให้เกิดความสมบูรณ์และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของ สมหวัง บำรุงพันธุ์ (2552) ได้ศึกษาเรื่องชนิดของ คำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม รู ป แบบ CIPPA และการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต ามรู ป แบบ

4 MAT ผลการวิจัยการเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทยพบว่ า แผนการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ภ าษาไทย

ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1 เรื่ อ งชนิ ด ของคำโดยการจั ด กิ จ กรรม

การเรี ย นรู้ ต ามรู ป แบบ CIPPA และตามรู ป แบบ 4 MAT

มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 84.32/87.30 และ 86.11/84.74

ตามลำดับซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ เรื่ อ ง ประโยคของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ จั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบ CIPPA มีค่าเท่ากับ 0.6782 นักเรียนมีความรู้ เพิ่ ม ขึ้ น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 67.82 และดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของ

การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบ 4 MAT มี ค่ า เท่ า กั บ 0.6473 หรื อ นักเรียนความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 64.73 แสดงว่า การจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4 MAT สามารถพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ให้สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ตามขั้นตอนเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้

ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของ ประทินทิพย์ พรไชยา (2552) ได้ทำการวิจัย การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎี พ หุ ปั ญ ญากั บ การจั ด การเรี ย นรู้ แบบซิ ป ปา

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่องเรื่องราวบนเส้นทาง และ เรื่องระหว่างเธอกับฉัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA มีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า

การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ ต้องประมวลความรู้ทั้งหมด แล้วนำข้อความรู้มาจัดความสัมพันธ์ของเนื้อหา ลงมือปฏิบัติ ตามใบงานทำแบบทดสอบย่ อ ย ซึ่ ง เป็ น การเชื่ อ มโยงความรู้

จากความรู้เดิมไปสู่ความรู้ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุ ช าดา ขั น เชื้ อ (2550) ได้ ท ำการวิ จั ย การเปรี ย บเที ย บผล

การเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนตามรูปแบบ

ซิ ป ปา กั บ การสอนตามคู่ มื อ การเรี ย นรู้ ผลการวิ จั ย พบว่ า

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดย การสอนแบบซิ ป ปากั บ การสอนตามคู่ มื อ การจั ด การเรี ย นรู ้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) เจตคติต่อการเรียน กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ภ าษาไทยของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษา

ปีที่ 3 โดยการสอนตามรูปแบบซิปปา กับการสอนตามคู่มือ

การจั ด การเรี ย นรู้ แตกต่ า งกั น อย่ า งมี นั ย สำคั ญ ที่ ร ะดั บ .01

3) ทักษะการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนตามรูปแบบซิปปา กับการสอน ตามคู่ มื อ การจั ด การเรี ย นรู้ แ ตกต่ า งกั น อย่ า งมี นั ย สำคั ญ ที่

ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบ CIPPA มีการคิดวิเคราะห์ สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA เป็นการจัด กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางด้านร่างกาย สติ ปั ญ ญา อารมณ์ และสั ง คมด้ ว ยตนเอง ผู้ เรี ย นจึ ง เกิ ด

การจดจ่อในการคิดและสนุกในการคิด ทำให้การจัดกิจกรรม

การเรียนรู้เกิดกับผู้เรียนโดยตรง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ และชีวิตประจำวันของผู้เรียนสอดคล้องกับ ณัฐสุภางค์ ยิ่งสง่า (2550) ได้ทำการวิจัยการเปรียบเทียบการอ่านจับใจความภาษา ไทยและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และการจัดกิจกรรมตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ระหว่างการจัดกิจกรรม ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดกิจกรรม

การเรี ย นรู้ ต ามรู ป แบบวั ฏ จั ก รการเรี ย นรู้ แ ตกต่ า งกั น โดย นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็น ฐานมี ผ ลการคิ ด วิ เ คราะห์ สู ง กว่ า นั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ยรู ป แบบ วัฏจักรการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

111

5. นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 ที่ ไ ด้ รั บ การจั ด

การเรียนรู้แบบ CIPPA และ แบบ 4 MAT มีความพึงพอใจ

โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และ 4.47 สอดคล้องกับงานวิจัยของวรวิทย์ สินธุระหัส (2553) ได้ศึกษา เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นของนั ก เรี ย นชั้ น ประถม ศึกษาปีที่ 5 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ ซิปปา พบว่า นักเรียน มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบซิปปา ในด้าน C คือ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง I คือการปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น P คือ ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย P คือผู้เรียน ได้เรียนรู้ด้วยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากเรื่องลายไทยใน ระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบ CIPPA ทำให้ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนและการคิดวิเคราะห์สูงกว่า การจัด

การเรียนรู้แบบ 4 MAT ดังนั้นจึงควรนำการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA ไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นอื่นๆ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่นต่อไป 2. ครู ผู้ ส อนกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ภ าษาไทย ควรให้ ความสนใจและนำเอาการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA มาใช้ใน

การจัดการเรียนการสอนสาระภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะวิธีสอนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถพัฒนาผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ให้สูงขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ต้องมีการศึกษาแนวทางหรือปัญหาที่พบในการจัด

การเรี ย นการสอนให้ เ หมาะสมและสอดคล้ อ งกั บ ปั ญ หา

กลุ่มสาระอื่น ๆ 2. ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ ให้มีความคงทน ในการเรียนรู้มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง Bamrungphan, Somwang. (2009). A Comparison of Learning Achievement and Creative Writing for Mathayom Suksa 1 Students on ‘T ; ypes of Word’ through the CIPPA versus 4 MAT Learning Activity Management. Mahasarakham : Mahasarakham University.


112

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สมหวั ง บำรุ ง พั น ธุ์ . (2552). การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 เรื่องชนิดของคำ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแบบ CIPPA กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูป แบบ 4 MAT. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Boonprasert, Kankamon. (2009). Results of the Thai Language Learning Management on Isayaan Saying for Mathayom Suksa 3 Students through 4 MAT Learning Activity Management. An M.Ed. Independent Study. Mahasarakham : Mahasarakham University. กันต์กมล บุญประเสิรฐ. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่ อ งอิ ศ ญาณภาษิ ต ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 3 การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT. การศึกษาค้นคว้า อิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Khammanee, Thisana. (2002). The Science of Teaching for Managing the Efficient Learning Process. Bangkok : Bophit Printing. ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอนเพื่อจัดกระบวนการ เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์. Khanchuea, Suchada. (2007). A Comparison of Learning Results on ‘the Final Letter Sections’ in the Thai Language Learning Strand of Prathom Suksa 3 Students Using Instruction Based on the CIPPA Model versus Instruction Based on the Learning Management Manual. Lop Buri : Thepsatri Rajabhat University. สุชาดา ขันเชื้อ. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนตามรูปแบบ ซิ ป ปา (CIPPA MODEL) กั บ การสอนตาม คู่ มื อ

การจัดการเรียนรู้. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. Education Core Ministry of Education. (2008). The Basic Curriculum B.E. 2551(2008). Bangkok : The Thailand Agricultural Cooperative Assembly Press.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. Niranthawee, Sakchai and Others. (1999). The 4 MAT Learning Circle : Learning Process Management for Promoting the Quality of ‘Smart, Good, Happy.’ Bangkok : The Chulalongkorn Book Center. ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และคณะ. (2542). วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่ส่งเสริมคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์. Phanit, Thian. (2001). 4 MAT : Instructional Management in Accordance with the Students’ Nature of Learning. Bangkok : Sotsri Saritwong Foundation. เธียร พาณิช. (2544). 4 MAT การจัดการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงษ์. Phonchaiya, Prathinthip. (2009). A Comparison of Learning Achievement, Analytical Thinking and Attitude towards Learning the Thai Language by a Series of Speaker of Language for life of Prathom Suksa 5 Student through Learning Activity Management Using the Multi-Intelligence Theory Approach versus the SIPPA Learning Management. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham University. ประทินทิพย์ พรไชยา. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน ภาษาไทยชุ ด ภาษาพาที เพื่ อ ชี วิ ต (ภาษาภาพาที )

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต ามแนวทฤษฏี พ หุ ปั ญ ญากั บ

การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบซิ ป ปา. วิ ท ยานิ พ นธ์ ก ารศึ ก ษา

มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Ra-nguptook, Watthanaphon. (1999). The StudentCentered Instructional Management. Bangkok : Ton Oaw 1999 Co.Ltd.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

113

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้น นั ก เรี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลาง. กรุ ง เทพ ฯ : บริ ษั ท ต้ น อ้ อ 1999 จำกัด.

_____ . (2553). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด แบบ Backward Design. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

Ritkaew, Daonapha. (2005). A Comparison of Analytical Thinking Abilities of Mathayom Suksa 5 Students with a Different Aptitude in the Schools under the Office of the Mukdahan Educational Service Area. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University.

Yingsa-nga, Natsuphang. (2007). A Comparison of Reading Comprehension and Analytical Thinking between the Prathom Suksa 6 Students Whose Learning Undergone through the Brain-Based Learning Activity Management as Against the Learning Cycle Activity Management. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University.

ดาวนภา ฤทธิ์แก้ว. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มี ความถนัดทางการเรียนแตกต่างกันในโรงเรียนสังกัด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ จั ง หวั ด มุ ก ดาหาร. วิ ท ยานิ พ นธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม. Sariwat, Luxsana. (2006). Thinking. Bangkok : Odeon Store. ลักษณา สริวัฒน์. (2549). การคิด (Thinking). กรุงเทพฯ :

โอเดียนสโตร์. Sinthurahat, Worawit. (2010). A Comparative Study of Learning Achievement of Prathom Suksa 5 Students and Satisfaction of Students with the SIPPA Teaching Method. An M.Ed. Thesis. Bangkok : Srinakharinwirot University. วรวิทย์ สินธุระหัส. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. Sunthonrot, Wimonrat. (2010). Innovations for Learning. 5th Ed. Kalasin : Prasan Printing. วิ ม ลรั ต น์ สุ น ทรโรจน์ . (2553). นวั ต กรรมเพื่ อ การเรี ย นรู้ .

พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. _____ . (2010). A Design of Learning anagement according to the Idea of Backward Design. Mahasarakham : Mahasarakham University.

ณัฐสุภางค์ ยิ่งสง่า. (2550). การเปรียบเทียบการอ่านจับใจ ความและการคิ ด วิ เ คราะห์ ข องนั ก เรี ย นชั้ น ประถม ศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมตาม หลักการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ วัฏจักรการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

114

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล และการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค JIGSAW กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ A Comparison of Physical Education Learning Achievements on “Football Basic Skills” and of Emotional Controls among Prathom Suksa 6 Students through Jigsaw Cooperative Learning Management versus Traditional Learning วีระศักดิ์ ศรีสมุทร1 ทัศนา ประสานตรี2 และ มนตรี อนันตรักษ์3 Weerasak Srisamoot,1 Tatsana Prasantree2 and Montree Anantarak 3 1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2 ด.ด. (ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 ด.ด. (การวัดและประเมินผลการศึกษา) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล โดยใช้

การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนี ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนและการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 2 ห้องละ 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และแบบปกติ แบบประเมินทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.75

ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 แบบวัดการควบคุมอารมณ์ จำนวน 7 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ มีอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ

ค่ า เฉลี่ ย ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุ ติ ฐ านโดยใช้ t-test (Independent Samples) ผลการวิ จั ย พบว่ า

1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw เท่ากับ 88.07/87.50 และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เท่ากับ 83.69/81.33 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw เท่ากับ 0.7768 และดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เท่ากับ 0.6637 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นและการควบคุ ม อารมณ์ สู ง กว่ า นั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบปกติ อย่ า งมี นั ย สำคั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .01

4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัด

การเรียนรู้แบบปกติ คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / การควบคุมอารมณ์ / ความพึงพอใจ / การจัดการเรียนรู้แบบปกติ / การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือเทคนิค Jigsaw


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

115

ABSTRACT

The purposes of this study were: 1) to develop physical education learning management plans on “Football Basic Skills” through jigsaw cooperative learning management and traditional learning based on the efficiency criterion set at 80/80, 2) to examine the effectiveness indexes of jigsaw cooperative learning management and traditional learning, 3) to compare the learning achievements and the emotional controls among students through jigsaw cooperative learning management as against traditional learning, and 4) to investigate students’ satisfaction of physical education learning by jigsaw cooperative learning management and by traditional learning. The sample in this study as selected by purposive sampling was 2 equal classes of which each comprised 20 Prathom Suksa 6 students who were enrolled in the first semester of academic year 2011 at Nathon Withayanukul School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1. The instruments used in this study were: learning management plans for both of jigsaw cooperative learning management and traditional learning; a form for assessing practical skills in football; a 30-item learning achievement test whose difficulty values ranged between 0.34 and 0.73, discrimination power values between 0.35 and 0.75 and reliability value was 0.85; a 7-item emotional control test whose reliability value was 0.91; a 40-item questionnaire of satisfaction whose discrimination power values ranged between 0.36 and 0.75, and reliability value was 0.87. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test of independent samples for hypothesis testing. The findings were as follows: 1) The efficiency of jigsaw cooperative learning management plan was 88.07/87.50, while that of traditional learning was 83.69/81.33; 2) the effectiveness index of jigsaw cooperative learning management was 0.7768, while that of traditional learning was 0.6637; 3) the students who learned through jigsaw cooperative learning management had a higher achievement of learning and a higher emotional control than those who learned through traditional learning at the .01 level of significance; and 4) the students who learned through jigsaw cooperative learning management had a higher mean score of satisfaction than those who learned through traditional learning. Keywords : Learning Achievement / Emotional Control / Satisfaction / Traditional Learning Management / Jigsaw Cooperative Learning Management

บทนำ

การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติ ตามความสนใจ และเต็มศักยภาพ การจัดการศึกษาเน้นทั้งความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม เพื่อพัฒนาทักษะในด้าน ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมี ความสุ ข การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาตามพระราชบั ญ ญั ติ

การศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้มีการพัฒนาให้ปวงชนชาวไทยได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยยึดนักเรียน เป็นสำคัญ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานในการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

ผู้เรียนและสามารถปรับใช้ได้กับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบทั้ง ในระบบนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษานำไปใช้จัดการเรียนการ สอนจึ ง กำหนดโครงสร้ า งที่ เ ป็ น สาระการเรี ย นรู้ โ ดยคำนึ ง ถึ ง สภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งนี้สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชา แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ และความแตก ต่างระหว่างบุคคล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามี บทบาทสำคั ญ ยิ่ ง ต่ อ การพั ฒ นาสุ ข ภาพและสมรรถภาพของ มนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ ความสมดุล และมีคุณภาพ ให้ผู้เรียนมี


116

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ความสามารถเรี ย นรู้ แ ละเกิ ด การพั ฒ นาเกี่ ย วกั บ ความมั่ น ใจ

ในตนเอง ตระหนักในคุณค่า คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความ

รับผิดชอบ สามารถเลือกวิธีปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของตนเอง และผู้อื่น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) พลศึกษา คือ วิชาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทาง ด้ า นร่ า งกาย จิ ต ใจ อารมณ์ สั ง คมและทั ก ษะ ในการเรี ย น พลศึ ก ษานั ก เรี ย นต้ อ งลงมื อ ฝึ ก ปฏิ บั ติ ด้ ว ยตนเองอย่ า งถู ก วิ ธี เพราะไม่ มี ใ ครเรี ย นรู้ แ ทนกั น ได้ พลศึ ก ษาเป็ น กระบวนการ ทางการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผลงานของมนุษย์ และยกระดับการพัฒนาของมนุษย์ผ่านกิจกรรมทางพลศึกษา พลศึกษาไม่เพียงแต่ตระหนักถึงผลลัพธ์ทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังพัฒนาทางความรู้และเจตคติในการเรียนรู้ชีวิต (วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. 2539) กีฬาฟุตบอลเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย อีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลได้เป็นอย่างดี การเล่นฟุตบอล

มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ร่างกายมี พลานามัยสมบูรณ์ มีวินัยในตนเอง มีการควบคุมอารมณ์ของ ตนเองได้ ดี ทั ก ษะพื้ น ฐานนั บ ว่ า เป็ น หั ว ใจสำคั ญ ของการฝึ ก นักกีฬาที่มีความสามารถสูงจะต้องผ่านขั้นตอนของการฝึกขั้น พื้นฐาน มาทั้งสิ้น ไม่มีนักกีฬาคนใดที่เล่นฟุตบอลได้ดีโดยไม่ผ่าน การฝึ ก ขั้ น พื้ น ฐาน ทั้ ง นี้ เ พราะการฝึ ก ทั ก ษะขั้ น พื้ น ฐานเป็ น

การฝึกที่จะนำไปสู่การเล่นฟุตบอลเป็นทีมได้อย่างดียิ่ง เพราะ ต้องอาศัยความชำนาญของผู้เล่นแต่ละคนมาผสมกลมกลืนกัน (มงคล แฝงสาเคน. 2545) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา เรื่อง ทั ก ษะพื้ น ฐานกี ฬ าฟุ ต บอล ในระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6

ที่ผ่านมาของโรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล พบว่า ผู้สอนยังขาด เทคนิ ค และวิ ธี ก ารใหม่ ๆ ในการพั ฒ นากิ จ กรรมการเรี ย น

การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เน้นการฝึกทักษะ การรู้จัก แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น การควบคุมอารมณ์ ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ความเป็น ระเบียบวินัย ความสามัคคี การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี และทักษะ

พื้ น ฐานการเล่ น ฟุ ต บอลบางอย่ า งนั ก เรี ย นปฏิ บั ติ ไม่ ถู ก ต้ อ ง

จากผลการทดสอบทฤษฎีองค์ความรู้อยู่ในระดับ ไม่น่าพอใจ

ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดและการประเมินผล พฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย

ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (โรงเรียนนาถ่อนวิทยา นุกูล. 2553) จากการศึกษาวิธีจัดการเรียนรู้ที่จะใช้เป็นแนวทางใน

การแก้ปัญหาในการเรียนวิชาพลศึกษา พบว่า การเรียนแบบ กลุ่มร่วมมือ (Co-operative Learning) สามารถนำมาใช้กับ

การเรี ย นทุ ก วิ ช าโดยเฉพาะวิ ช าที่ เ น้ น คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม

การเสริ ม สร้ า งประชาธิ ป ไตยในชั้ น เรี ย น ทั ก ษะทางสั ง คม

การสร้างนิสัยความรับผิดชอบร่วมกันภาย ในกลุ่ม (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2545) การแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีความ สามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม

มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีความรับผิดชอบการทำงาน ของตนเอง มีการฝึกและการใช้ทักษะการทำงานกลุ่มร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาที่ศึกษา ทำให้นักเรียนได้มีโอกาส พัฒนาความสามารถ นักเรียนที่เรียนช้าได้รับความช่วยเหลือจาก เพื่อนทำให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนมากขึ้นไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีความรู้สึกอบอุ่น ภาคภูมิใจที่ตนเองสามารถเรียนรู้และเป็น ส่วนหนึ่ง ในความสำเร็จของกลุ่ม (Johnson & Johnson. 1994) และจากงานวิจัยของสุธรรม สอนเถื่อน (2543) พบว่า นั ก เรี ย นที่ เรี ย นด้ ว ยการเรี ย นแบบกลุ่ ม ร่ ว มมื อ มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามปกติ และยังช่วยส่งเสริม ในด้าน เจตคติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและการยอมรับ นับถือตนเองอีกด้วย นอกจากนี้การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือยัง ช่วยให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ เกิดแรงจูงใจภายใน และเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ รู้จักใช้เหตุผลและมีความสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬา เห็นคุณค่าของ ความแตกต่างและความหลากหลายในการประสานสัมพันธ์และ การรวมกลุ่ม รวมทั้งการมีสุขภาพจิตที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มากขึ้น (ทิศนา แขมมณี. 2545) จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

ผู้วิจัยจึงดำเนินการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล และการควบคุมอารมณ์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่ ว มมื อ เทคนิ ค Jigsaw และการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบปกติ ที่ มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่ อ ศึ ก ษาดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3. เพื่ อ เปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นและ

การควบคุมอารมณ์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาพลศึกษา ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

สมมติฐานการวิจัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ การควบคุมอารมณ์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ ขอบเขตการวิจัย 1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2. ตั ว แปรตาม ได้ แ ก่ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น

การควบคุมอารมณ์ และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชา พลศึกษา 3. เนื้อหา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล ชั้นประถม ศึ ก ษาปี ที่ 6 ได้ แ ก่ 1) ความรู้ ทั่ ว ไปเกี่ ย วกั บ กี ฬ าฟุ ต บอล

2) ความสำคัญของการบริหารกายและการเสริมสร้างสมรรถภาพ ทางกาย 3) การเคลื่อนไหวพื้นฐานและการสร้างความคุ้นเคยกับ ลูกบอล 4) การเตะลูกบอล 5) การหยุดลูกบอล 6) การเลี้ยง ลูกบอล และ 7) การโหม่งและการทุ่มลูกบอล

วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน จาก 2 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้ ว สุ่ ม อย่ า งง่ า ยเพื่ อ จั ด เป็ น กลุ่ ม ทดลอง ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 20 คน สำหรับจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และกลุ่ม ควบคุม ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 20 คน สำหรับจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม ร่ ว มมื อ เทคนิ ค Jigsaw และแบบปกติ โดยผ่ า นขั้ น ตอนการสร้ า งที่ มี ร ะบบ

การตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา การประเมินคุณภาพจาก

ผู้เชี่ยวชาญ โดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีคะแนนเฉลี่ยรายแผนตั้งแต่ 4.25 ถึง 4.49 คะแนน เฉลี่ ย โดยรวม 4.36 และแผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบปกติ

มี ค ะแนนเฉลี่ ย รายแผนตั้ ง แต่ 4.15 ถึ ง 4.41 คะแนนเฉลี่ ย

โดยรวม 4.32 จากการนำแผนไปทดลองครั้งที่ 1 แบบ 1 : 1 โดยเลื อ กนั ก เรี ย นเก่ ง ปานกลาง และอ่ อ น อย่ า งละ 1 คน ทดลองครั้งที่ 2 แบบ 3 : 3 โดยเลือกนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 3 คน และทดลองภาคสนามกับนักเรียน

1 ห้อง ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

117

2. แบบประเมิ น ทั ก ษะปฏิ บั ติ กี ฬ าฟุ ต บอล จำนวน

7 แบบ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ ค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00

ค่ า อำนาจจำแนกรายข้ อ (r xy ) ระหว่ า งคะแนนรายข้ อ กั บ

คะแนนรวมทุ ก ข้ อ (Item-total Correlation) โดยใช้ สู ต ร

สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.87 โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 ค่าความยากตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 โดยวิธี ของโลเวท (Lovett) 4. แบบวั ด การควบคุ ม อารมณ์ เป็ น แบบมาตราส่วน ประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 7 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค 5. แบบสอบถามความพึ ง พอใจต่ อ การจั ดการเรียนรู้ วิชาพลศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับ พฤติกรรมที่ต้องการวัดจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความสอดคล้อง

ตั้งแต่ .80 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ระหว่างคะแนน รายข้อกับคะแนนรวมทุกข้อ (Item-total Correlation) โดยใช้ สูตรสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ตั้งแต่ .36 ถึง .75 และมีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทดสอบก่ อ นการทดลอง (Pretest) นั ก เรี ย นทั้ ง

2 กลุ่ม โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบ วัดการควบคุมอารมณ์ 2. ทดลองตามแผนทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กลุ่มที่ 2 จัดการเรียนรู้แบบ ปกติ เวลาในการจัดกิจกรรมกลุ่มละ 14 ชั่วโมง ระหว่างเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม 2554 3. ประเมินทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอลกับกลุ่มทดลอง

ทั้ง 2 กลุ่ม หลังจากเรียนจบแต่ละแผน ทั้ง 7 แผน 4. ทดสอบหลังการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน แบบวัดการควบคุมอารมณ์ชุดเดิม 5. วัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้แบบสอบถาม หลังจากทดลองจนครบทุกแผน

ใช้เวลา 30 นาที


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

118

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 วิธี โดยการวิเคราะห์คะแนน ใช้สูตรคำนวณหาค่า E1/E2 2. วิ เ คราะห์ ค่ า ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของแผนการจั ด

การเรียนรู้ทั้ง 2 วิธี โดยใช้สูตรคำนวณหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) 3. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ระหว่างการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 วิธี โดยใช้ t-test (Independent Samples) 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ ระหว่าง การจั ด การเรี ย นรู้ ทั้ ง 2 วิ ธี โดยใช้ t-test (Independent Samples) 5. ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 วิธี โดยใช้หาค่าเฉลี่ย

สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทักษะพื้นฐาน กีฬาฟุตบอล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 88.07/87.50 และ 83.69/81.33 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง แบบ Jigsaw

คะแนนเต็ม

S.D.

ร้อยละ

E1

210

184.95

5.05

88.07

E2

30

26.25

1.16

87.50

ประสิทธิภาพ E1/E2 = 88.07/87.50 แบบปกติ

E1

210

175.75

4.29

83.69

E2

30

24.40

0.88

81.33

ประสิทธิภาพ E1/E2 = 83.69/81.33

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วม มือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทักษะ พื้นฐานกีฬาฟุตบอล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7768 และ 0.6637 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่ม ขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.68 และ 66.37 ตามลำดับ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม ร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จำนวน นักเรียน

คะแนนเต็ม

ผลรวม ของคะแนน

ก่อนเรียน

20

30

264

หลังเรียน

20

30

525

กลุ่มตัวอย่าง แบบ Jigsaw

ดัชนีประสิทธิผล E.I. = 0.7768 แบบปกติ

ก่อนเรียน

20

30

267

หลังเรียน

20

30

488

ดัชนีประสิทธิผล E.I. = 0.6637

3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วม มือเทคนิค Jigsaw มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการควบคุม อารมณ์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังตารางที่ 3 และ 4 ตารางที่ 3 การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น เรื่ อ ง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล ของนักเรียน ชั้นประถม ศึ ก ษาปี ที่ 6 ระหว่ า งการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม

ร่วมมือเทคนิค Jigsaw และจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง

n

S.D.

กลุ่มที่เรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw

20

26.25

1.16

กลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ 20

24.40

0.88

t

sig

5.66**

.00

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และจัดการเรียนรู้ แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง

n

กลุ่มที่เรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw

20

กลุ่มที่เรียนรู้ แบบปกติ

20

S.D.

t

sig

4.79**

.00

3.46 1.29 3.21 1.00

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วม มือเทคนิค Jigsaw มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้วิชาพลศึกษาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ ดังตารางที่ 5 ตารางที่ 5 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะ พื้นฐานกีฬาฟุตบอล ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง

n

S.D.

ความหมาย

แบบ Jigsaw

20

4.64

2.16

มากที่สุด

แบบปกติ

20

4.27

1.52

มาก

อภิปรายผลการวิจัย 1. แผนการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม ร่ ว มมื อ เทคนิ ค Jigsaw เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.07/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

ที่ ตั้ ง ไว้ ทั้ ง นี้ อ าจเป็ น เพราะว่ า ผู้ วิ จั ย ได้ ด ำเนิ น การสร้ า ง

และพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw ตามหลักการของการเรียนแบบร่วมมือที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน การฝึกเป็นรายบุคคล การร่วมกิจกรรม สั ม พั น ธ์ ใ นกลุ่ ม เล็ ก ๆ การสร้ า งแรงจู ง ใจที่ ดี ชี้ ช วนให้ ป ฏิ บั ติ

การแสดงออก การให้ดูต้นแบบ การให้นักเรียนฝึกในสถานการณ์ ต่างๆ มีการแจ้งรายงานผลและการเปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอ ความคิดใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด นักเรียน

ได้ รั บ การฝึ ก การเป็ น ผู้ น ำ การไว้ ว างใจผู้ อื่ น การตั ด สิ น ใจ

การแก้ ปั ญ หา การสร้ า งสั ม พั น ธภาพ การเห็ น ใจผู้ อื่ น และ

รับผิดชอบ จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ของวีระ วิไลแก้ว (2549) ที่พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องชีวิตและครอบครัวกลุ่ม สาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.35/86.25 เช่นเดียวกับผลการวิจัย ของพรรณิ ก า พลขาง (2550) ที่ พ บว่ า การจั ด การเรี ย นรู้

ภาษาไทยด้ า นการอ่ า นจั บ ใจความโดยใช้ แ ผนผั ง มโนทั ศ น์ ประกอบการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 5 มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ 85.31/89.76 และผลการวิจัยของวัชรา เวชบรรพต (2550)

ที่พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความนิทาน พื้ น บ้ า น โดยใช้ ก ารเรี ย นรู้ แ บบร่ ว มมื อ เทคนิ ค จิ ก ซอว์ สาระ

119

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.91/85.05 ส่วนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ผู้วิจัยได้ ดำเนินการสร้างและพัฒนาโดยผ่านกระบวนการสร้างที่มีระบบ เพื่อให้ได้การจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ได้ดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม ได้ร่วมแลกเปลี่ยน เรี ย นรู้ มี บ ทบาทหน้ า ที่ ใ นกลุ่ ม ที่ แ ตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะครั้ ง นักเรียนได้รับการฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคล และการเปิดโอกาสให้ นั ก เรี ย นได้ ต รวจแบบฝึ ก หรื อ แบบทดสอบย่ อ ยด้ ว ยตนเอง เป็นการทบทวนความรู้เป็นอย่างดี ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ แบบปกติ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ 83.69/81.33 ซึ่ ง สู ง กว่ า เกณฑ์ ที่ กำหนด สอดคล้องกับผลการวิจัยของเจียมรักษ์ ทาทอง (2554) ที่พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบปกติวิชาภาษาไทย เรื่อง ถ้อยคำ และสำนวนไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.54/80.38 2. ดั ช นี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของการจั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม

ร่วมมือเทคนิค Jigsaw เท่ากับ 0.7768 หรือร้อยละ 77.68 แสดงว่ า นั ก เรี ย นมี ค วามก้ า วหน้ า ในการเรี ย นหรื อ มี ค ะแนน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.68 แสดง

ให้ เ ห็ น ว่ า การจั ด การเรี ย นรู้ ก ลุ่ ม ร่ ว มมื อ เทคนิ ค Jigsaw มี ประสิ ท ธิ ภ าพในการพั ฒ นาความก้ า วหน้ า ในการเรี ย นรู้ ข อง

ผู้เรียน ส่วนดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เท่ากับ 0.6637 หรือร้อยละ 66.37 แสดงว่า นักเรียนมีความ ก้ า วหน้ า ในการเรี ย นหรื อ มี ค ะแนนผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น

เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.37 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การจัด

การเรียนรู้ทั้ง 2 วิธี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอน การเขียนแผนและได้ผ่านการเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและคณะ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้วิจัยได้นำเอาข้อเสนอแนะมา ปรับปรุงแก้ไขจนได้การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และอีก ประการหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น ครูจัดกิจกรรมที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน โดยผ่าน กระบวนการทำงานกลุ่ ม มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ต่ อ กั น ทำให้ เ กิ ด ความ สนุ ก สนาน เรี ย นรู้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข บรรยากาศในการเรี ย น

เอื้ อ ต่ อ การเรี ย นรู้ ท ำให้ นั ก เรี ย นไม่ เ บื่ อ หน่ า ยและได้ เรี ย นรู ้ ไปพร้อมกับการปฏิบัติจริง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อร่าม นราทร (2548) ที่พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบ ร่วมมือกันเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่ อ ง กรี ฑ าชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 เท่ า กั บ 0.3842 และ สอดคล้องกับงานวิจัยของวีระ วิไลแก้ว (2549) ที่พบว่า ดัชนี ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้ เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุข ศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7791


120

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิ ค Jigsaw มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นและการควบคุ ม อารมณ์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิ ค Jigsaw เป็ น การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ ส่ ง เสริ ม ให้

ผู้ เรี ย นเกิ ด การเรี ย นรู้ ที่ ดี ท ำให้ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ข องการเรี ย นของ นักเรียนสูงขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่แบ่งผู้เรียนออก เป็ น กลุ่ ม เล็ ก ๆ สมาชิ ก ในกลุ่ ม มี ค วามสามารถแตกต่ า งกั น

มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ทำให้ กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กอบกุล แสงสวาสดิ์. 2550) นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า การเรี ย นแบบร่ ว มมื อ จะช่ ว ยยก ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น นักเรียนที่เรียนเก่งจะ ช่ ว ยเหลื อ นั ก เรี ย นที่ เรี ย นช้ า (สุ ม ณฑา พรหมบุ ญ . 2540) นอกจากนี้หลักการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ยังสอดคล้อง กับหลักการเรียนแบบความร่วมมือมากกว่าแนวทางและหลัก การจัดการเรียนรู้แบบปกติ จึงทำให้การควบคุมอารมณ์ของกลุ่ม ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิกซอว์สูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ กอบกุล แสงสวาสดิ์ (2550) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค จิกซอว์ สูงกว่ากลุ่มที่การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 และความฉลาดทางอารมณ์ ข องกลุ่ ม ที่ จั ด

การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์สูงกว่ากลุ่มที่จัดการเรียนรู้ แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับ

ผลการวิจัยของปริญญา ปั้นสุวรรณ (2553) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นกลุ่ ม สาระการเรี ย นวรรณคดี ไ ทยหลั ง เรี ย นของ นักเรียน ที่เรียนด้วยแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์สูงกว่านักเรียน

ที่เรียน ด้วยแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นมี ผ ลต่ อ ความฉลาดทางอารมณ์

ทั้ง 3 ด้าน คือ เก่ง ดี และสุข ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่ว่า

ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ คะแนนรวมจาก

การวั ด ความฉลาดทางอารมณ์ อ ย่ า งมี นั ย สำคั ญ ทางสถิ ต ิ (วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. 2542) 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีคะแนน เฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรม การเรี ย นรู้ แ บบจิ๊ ก ซอว์ เ ป็ น กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบร่ ว มมื อ ที่

นักเรียนได้รับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าตามความสามารถของ ตนเอง มีการวางแผนร่วมกันในสมาชิกของแต่ละกลุ่มช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน มีความเป็นกันเองในกลุ่มสมาชิก ทำให้นักเรียน กล้ า แสดงความคิ ด เห็ น รวมทั้ ง การทำแบบทดสอบย่ อ ยท้ า ย แผนการจั ด การเรี ย นรู้ ครู ผู้ ส อนได้ แ จ้ ง ผลการประเมิ น ให้ นักเรียนทราบทันที ทำให้นักเรียนได้รับทราบความก้าวหน้าใน การเรียนรู้มีความภาคภูมิใจในผลงานและความสามารถของ ตนเอง ซึ่งเป็นการกระตุ้นหรือเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความ สนใจที่จะเรียนในขั้นต่อไป นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้แบบ จิ๊กซอว์ยังเป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล ความสามารถ ในการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้อย่างมีความสุขพร้อมๆ กับพัฒนาความดีงาม ความรู้ ความสามารถไปด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ ส่งผลให้มีความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอร่าม นราทร (2548) ที่พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ด้วยแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้

สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง กรีฑาโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และสอดคล้องกับงานวิจัยของจีรนันท์ คำพิลา (2553) ที่พบว่า นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4 มี ค วาม พึ ง พอใจต่ อ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw II เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับ มากที่สุด

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค Jigsaw มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูต้องศึกษาหลัก การ เป้าหมายให้ชัดเจน และเลือกเทคนิคของการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และวัยของผู้เรียน 2. ครู ผู้ ส อนต้ อ งเข้ า ใจบทบาทของครู ใ นการจั ด

การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw ว่าบทบาทของครูนั้น เปลี่ยนจากการเป็นผู้ควบคุมชั้นมาเป็นผู้คอยแนะนำ และเป็น

ผู้จัดบรรยากาศและสถานการณ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของ นักเรียน 3. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เป็นกันเองกับ นั ก เรี ย น เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นได้ มี ส่ ว นร่ ว มในกิ จ กรรม

ทุกขั้นตอน ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนได้ใช้ ทักษะกระบวนการต่างๆ ในการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้สามารถ ค้นพบความรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

4. ครูต้องพยามยามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนเท่าๆ กัน ชี้ให้เห็นความสำคัญของตนเองและผู้อื่น ควรกระตุ้นและให้ กำลังใจนักเรียนให้เกิดความมั่นใจในการเรียนและกล้าแสดง ความคิดเห็นต่อกลุ่ม และมีความรับผิดชอบในภาระงาน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ จั ด การเรี ย นรู้ แ บบกลุ่ ม ร่ ว มมื อ เทคนิ ค Jigsaw กั บ การจั ด

การเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ ในสาระอื่นๆ และนักเรียนชั้นอื่นๆ ทั้งนี้ โดยให้ ค ำนึ ง ถึ ง เนื้ อ หาและวั ต ถุ ป ระสงค์ ว่ า มี ค วามสอดคล้ อ ง สัมพันธ์หรือไม่ 2. ควรมีการศึกษาวิจัยผลการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค Jigsaw ร่วมกับทักษะทางสังคมด้านอื่นๆ เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นผู้นำ เป็นต้น 3. ควรศึ ก ษาความฉลาดทางอารมณ์ ใ ห้ ค รอบคลุ ม

ทุกด้าน ทั้ง ดี เก่ง มีสุข

เอกสารอ้างอิง Faengsakhen, Mongkol. (2002). Training of Football. Bangkok : Odeon Store. มงคล แฝงสาเคน. (2545). การฝึ ก ฟุ ต บอล. กรุ ง เทพฯ :

โอเดียนสโตร์. Johnson & Johnson. (1994). Learning to gether and along : Cooperative competitive and individualistic learning. 4th edition. Boston : Allyn & Bacon. Khaemmanee, Thisana. (2002). The Science of Teaching : A Body of Knowledge for Efficient Learning Process Management. Bangkok : Chulalongkorn University. ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Khamphila, Jeeranan. (2010). The Results of Learning Management on Information Technology by Jigsaw II Cooperative Learning Technique with a Supplementary Book on Electronics for Prathom Suksa 4 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University.

121

จี ร นั น ท์ คำพิ ล า. (2553). ผลการจั ด การเรี ย นรู้ เรื่ อ ง เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค JIGSAW II ประกอบหนังสือ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4. วิ ท ยานิ พ นธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม : Khunaprasit, Wasana. (1996). Teaching of Physical Education. Bangkok : Phimdee Co. Ltd. วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด. Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). Bangkok : The Thailand Agricultural Cooperative Assembly Limited. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. Narathorn, Aram. (2005). Development of a Cooperative Learning Plan in the Hygiene and Physical Education Learning Strand on Athletic Events for Prathom Suksa 4 Students. An M.Ed. Independent Study. Mahasarakham : Mahasarakham University. อร่าม นราทร. (2548). การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ กัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง กรีฑาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Nathon Witthayanukul School. (2010). The Students’ Quality Development Plan Based on the Emphasized Points of the Thai Education Reform in the Second Decade during Academic Years from 2010 to 2012. Nakhkon Phanom : Nathon Witthayanukul School. โรงเรี ย นนาถ่ อ นวิ ท ยานุ กู ล . (2553). แผนพั ฒ นาคุ ณ ภาพ

ผู้เรียนตามจุดเน้นการปฏิรูปการศึกษาไทย ในทศวรรษ ที่ 2 ปีการศึกษา 2553-2555. นครพนม : โรงเรียนนาถ่อน

วิทยานุกูล.


122

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Office of the National Education Commission. (2002). The National Education Development Plan (2002-2016). Bangkok : Phimdee Printing. สำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ . (2545). แผน พั ฒ นาการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (พ.ศ.2545- 2559). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์. Pansuwan, Parinya. (2010). A Comparison of Achievement in Learning the Thai Literature of Mathayom Suksa 2 Students through Jigsaw II Cooperative Learning Technique and through Traditional Learning. An M.Ed. Thesis. Bangkok : Silpakorn University. ปริ ญ ญา ปั้ น สุ ว รรณ. (2553). การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. Pannitamai, Weerawat. (1999). Emotional Quotient : A Happiness-and-Success Indicator of Life. Bangkok : Expernet. วี ร ะวั ฒ น์ ปั น นิ ต ามั ย . (2542). เชาว์ อ ารมณ์ (EQ) ดั ช นี

ชี้วัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต . กรุงเทพฯ : เอกซ์เปอร์เน็ต. Phonkhang, Phannida. (2007). The Results of Reading Comprehension Learning Management Using Conceptual Diagram as Part of the Jigsaw Cooperative Learning Technique for Prathom Suksa 5 Students. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarakham University. พรรณิกา พลขาง. (2550). ผลการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน จับใจความโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ประกอบการเรียน แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Phromboon, Sumontha. (1997). Cooperative Learning. Bangkok : Office of the National Education Commission.

สุ ม ณฑา พรหมบุ ญ . (2540). การเรี ย นแบบมี ส่ ว นร่ ว ม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. Saengsawaat, Kobkul. (2007). A Comparison of Learning Achievement in the Social Studies, Religion and Culture Learning Strand and Emotional Quotient of Mathayom Suksa 1 Students Learning through Jigsaw Cooperative Technique and through Traditional Learning. An M.Ed. Thesis. Phranakhon Sri-ayudhaya : Phranakhon Sri-ayudhaya Rajabhat University. กอบกุ ล แสงสวาสดิ์ . (2550). การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนสาระสังคมศึกษาศาสนาและ วัฒนธรรม และความฉลาดทางอารมณ์ ข องนั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยม ศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์ กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา. Sonthuean, Sutham. (2010). ‘Academic Meeting on Research in Classroom’ 4th Session, Academic Year 2007. Bangkok : Office of the Teacher Council’s Secretary-General. สุธรรม สอนเถื่อน. (2543). การประชุมวิชาการ “การวิจัยใน ชั้ น เรี ย น” ครั้ ง ที่ 4 ประจำปี ก ารศึ ก ษา 2550. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. Soonthonrot, Wimonrat. (2002). The Supplemet Document for the Course No. 0506711 on Seminar on Thai Curriculum and Instructional Development. Mahasarakham : Mahasarakham University. วิ ม ลรั ต น์ สุ น ทรโรจน์ . (2545). เอกสารประกอบการสอน

วิชา 0506711 สัมมนาพัฒนาหลักสูตรและการสอน

ภาษาไทย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Thathong, Jiamrak. (2011). A Comparison of Learning Achievement and Creative Thinking on Thai Expressions and Idioms of Prathom Suksa 6 Students Learning by 4 MAT as against Traditional Learning Management. An M.Ed. Thesis. Nakhon Phanom : Nakhon Phanom University.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

เจี ย มรั ก ษ์ ทาทอง. (2554). การเปรี ย บเที ย บผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ถ้อยคำ และสำนวนไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัด

การเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม. Waitbanphot, Watchara. (2007). Development of Thai Learning Management Plan on Reading Comprehension for Prathom Suksa 6 Students Using Jigsaw Technique. An M.Ed. Thesis. Mahasarakham : Mahasarkham University. วัชรา เวชบรรพต. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษา

ปี ที่ 6 ด้ ว ยเทคนิ ค จิ ก ซอว์ (Jigsaw). วิ ท ยานิ พ นธ์

การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Wilaikaew, Weera. (2006). Development of a Cooperative Learning Activity Management Plan Using Jigsaw Technique on ‘Live and Family’ in the Hygiene and Physical Education Learning Strand for Mathayom Suksa 3 Students. An M.Ed. Independent Study. Mahasarakham : Mahasarakham University. วี ร ะ วิ ไ ลแก้ ว . (2549). การพั ฒ นาแผนการจั ด กิ จ กรรม

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) เรื่องชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยม

ศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

123


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

124

การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ The Conflict Management of School Administrators Under the Office of Bungkan Primary Education Service Area อาชิรญาณ์ เขียวชอุ่ม1 ประสาท อิศรปรีดา2 และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์3 Archiraya khiewchaum,1 Prasart Isarapreeda2 and Sumalee Sriputtarin3 นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม Ph.D. (Education-Psychological & Cultural Studies) รองศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 กศ.ด. (การบริหารและพัฒนาการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 1

2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบวิธีการจัดการ ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 340 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน

90 คน ครู จำนวน 250 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ Thomas Kilmann Conflict Mode Instrument เป็น แบบสอบถามมี 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ

ไค–สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการประนีประนอม 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตก ต่างกัน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานใน โรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ : วิธีการจัดการความขัดแย้ง / ผู้บริหารสถานศึกษา / การบริหาร / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ABSTRACT The purposes of this study were: 1) to investigate methods of conflict management of school administrators, and 2) to compare the methods of conflict management of school administrators as classified by status and size of school. The sample used in this study consisted of 90 school administrators, and 250 teachers totaling 340 people under the Office of Bungkan Primary Education Service Area as selected by stratified random sampling. The sample size as such was determined using Krejcie and Morgan’s ready-made table. The instrument used was Thomas Kilmann Conflict Mode Instrument – a 30-item questionnaire, whose entire reliability value was 0.97. Statistics used were percentage, frequency and Chi-square for hypothesis testing. The results were as follows: 1) Most of the school administrators chose to employ compromise technique for managing conflict;

2) the opinions on conflict management among school administrators and teachers from a different status and school size were not significantly different. Keywords : Methods of Conflict Management / School Administrators / Management / Office of Bungkan Primary Education Service Area


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

บทนำ การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการนำทรัพยากร การบริ ห ารมาประกอบกั น ตามกระบวนการบริ ห ารให้ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ก ำหนดไว้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ทั้ ง นี้ เ พราะ

การบริหารมีหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าได้อย่างมี ระบบระเบียบ สาเหตุที่เรียกว่า “ศิลป์” ก็เพราะพฤติกรรม

การบริหารหลายประการต้องอาศัยความรอบรู้ ทักษะ และ

ไหวพริบ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้นำที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรม

การบริหารโดยใช้ทรัพยากรทางการบริหาร คือ คน เงิน วัสดุ สิ่งของ และวิธีการจัดการตลอดจนเทคนิคในการดำเนินงาน อย่างเหมาะสม ต้องเป็นบุคคลที่มีทั้งศาสตร์ และศิลป์ มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ มีความชำนาญในงานที่ตนเอง

รับผิดชอบและมีทักษะในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็น เรื่องที่ผู้บริหารต้องใช้ความรู้ ด้านจิตวิทยามากพอสมควรใน

การปกครองคน (ฉลาด กันกา. 2550) ได้กล่าวว่าการบริหารงาน ปั จ จุ บั น ทั ก ษะการบริ ห ารความขั ด แย้ ง มี ค วามสำคั ญ ต่ อ

การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น นักทฤษฎีองค์การได้พยายามศึกษา วิ จั ย ปั ญ หาเรื่ อ งความขั ด แย้ ง ในหน่ ว ยงาน หรื อ องค์ ก ารใน ลั ก ษณะต่ า งๆ เพื่ อ จะนำข้ อ มู ล เหล่ า นั้ น ไปปรั บ ปรุ ง แก้ ไข

การเปลี่ยนแปลงองค์การในทางที่สร้างสรรค์และนักการศึกษา

ได้นำศาสตร์ในเรื่องนี้เข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา ด้วย โดยเห็นว่าครูและผู้บริหารการศึกษาจะทำงานได้อย่างมี ประสิ ท ธิ ภ าพ จำเป็ น ต้ อ งอาศั ย ความรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ

วิธีการจัดการความขัดแย้งโดยจะต้องมีคุณลักษณะและทักษะ ของความเป็นผู้นำหลายประการ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าศักยภาพใน การจัดการกับความขัดแย้ง ศักยภาพดังกล่าวหากผู้บริหารมี

อยู่สูง ก็เชื่อว่าสามารถจัดการกับความขัดแย้งและนำไปสู่แนวทาง ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์การ หากมีน้อยหรือไม่มีเลยก็จะ

นำองค์ ก ารไปสู่ ค วามล้ ม เหลวได้ ห รื อ ด้ อ ยประสิ ท ธิ ภ าพใน

การปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่กล่าวถึงความขัดแย้งใน การบริหารงานของผู้บริหาร อาทิเช่น งานวิจัยของโธมัส Thomas (ปรีชา จ่าสิงห์. 2550) แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารระดับสูงและ ระดับกลางใช้เวลาประมาณ ร้อยละ 20 ของเวลาที่ทำงานเพื่อ จัดการความขัดแย้ง สถานศึกษาเป็นอีกองค์การหนึ่งในสังคมที่ไม่อาจหลีก เลี่ยงความขัดแย้งได้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ความ เข้าใจในปัญหาความขัดแย้ง ตลอดทั้งมีประสบการณ์ในการแก้ไข ปัญหา รู้จักใช้ภาวะผู้นำในการสร้างศรัทธาและความไว้วางใจ จากบุคลากร ประยุกต์ใช้หลักการบริหาร หลักศาสนา จิตวิทยา

125

มีคุณธรรมและปราศจากอคติในการบริหารงาน หากผู้บริหาร สถานศึ ก ษาบริ ห ารความขั ด แย้ ง ไม่ เ หมาะสมความขั ด แย้ ง

อย่างหนึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างอื่นได้ ซึ่งจะเป็นปัญหา

ต่อการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างมาก ปัจจุบันความขัดแย้ง ในสถานศึ กษามีมากขึ้น และมีแ นวโน้ม จะเพิ่มมากขึ้นทั้งด้าน ความถี่ แ ละความรุ น แรง ไม่ ว่ า จะเป็ น ความขั ด แย้ ง ระหว่ า ง

สถานศึ ก ษากั บ องค์ ก ารอื่ น ๆ ประกอบกั บ การเปลี่ ย นแปลง แนวทางการจัดการศึกษาได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทาง อ้อมต่อลักษณะนิสัย อารมณ์วิธีการทำงานของบุคลาการใน สถานศึกษา รวมทั้งการขาดแคลนทรัพยากรในการศึกษาและ ความหละหลวมของโครงสร้างการบริหารการศึกษา ยิ่งทำให้ ความขัดแย้งมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หากผู้บริหารสถาน ศึกษาไม่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการความขัดแย้งให้ อยู่ในภาวะที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย ต่ อ การบริ ห ารงานในสถานศึ ก ษาอย่ า งแน่ น อน (จิ ต ฑามาศ

เชื้อโฮม. 2553) สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึ ก ษาบึ ง กาฬ มี จ ำนวน 211 โรงเรี ย น ประกอบไปด้ ว ย

สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอ เซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า อำเภอ โซ่พิสัย และอำเภอปากคาด มีปัจจัยการบริหารงานที่แตกต่างกัน เนื่องจากในปัจจุบันบุคลากรเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น มีความรู้ ความสามารถมาก ที่ ส ำคั ญ มี วั ย วุ ฒิ ที่ ต่ า งกั น ดั ง นั้ น ความ

แตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คลย่ อ มมี ม ากและงานด้ า นการบริ ห าร

การศึ ก ษามี ค วามซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น อี ก ทั้ ง ยั ง ต้ อ งประสานงาน

กั บ ชุ ม ชนและองค์ ก ารภายนอกย่ อ มเกิ ด ความขั ด แย้ ง ขึ้ น ได้

ตลอดเวลา ซึ่งความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุหลาย ปัจจัย ดังที่ (ประกาทิพย์ ผาสุก. 2551) ได้กล่าวถึงความขัดแย้ง ว่ามักเกิดจากลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) ความขัดแย้ง

มักเกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรทางการศึกษามีไม่เพียงพอกับความ ต้องการของบุคคลหรือกลุ่มในสถานศึกษาหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษา ทรัพยากรในที่นี้อาจเป็นสิ่งที่มองเห็นได้หรือสิ่งที่ เห็นไม่ได้ เช่น คน เงิน วัสดุ ตำแหน่ง สถานภาพ หรือเกียรติยศ 2) ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มแสวงหาทางที่จะ ควบคุมกิจกรรม งานหรืออำนาจซึ่งเป็นสมบัติของคนอื่นหรือ กลุ่มอื่น ความขัดแย้งนี้เป็นผลมาจากการก้าวก่ายในงานหรือ อำนาจหน้าที่ของคนอื่น 3) ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคล หรือกลุ่มไม่สามารถที่จะตกลงกันได้เกี่ยวกับเป้าหมายหรือวิธี การต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้ ดังนั้นผู้อำนวยการสถาน ศึกษาจึงต้องมีทักษะในการบริหารความขัดแย้ง เพื่อที่จะให้


126

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ความขัดแย้งในโรงเรียนอยู่ในระดับสมดุล โดยการเปลี่ยนวิกฤต ให้เป็นโอกาส โรงเรียนจึงจะพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพ จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความ ประสงค์ ที่ จ ะศึ ก ษาวิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห าร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหาร และพั ฒ นาการบริ ห ารงานในสถานศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารจั ด

การความขั ด แย้ ง ให้มีประสิทธิภาพ ตรงตามพระราชบั ญ ญั ติ

การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม (ฉบั บ ที่ 2)

พ.ศ. 2545 มาตรา 6 คือ การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและ ครูต่อวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตาม สถานภาพและขนาดของสถานศึกษา สมมติฐานการวิจัย 1. ผู้ บ ริ ห ารสถานศึกษาและครูที่มีสถานภาพต่ า งกั น

มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ วิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห าร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬแตกต่างกัน 2. ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและครู ที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ น

สถานศึ ก ษาที่ มี ข นาดต่ า งกั น มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ วิ ธี ก ารจั ด

การความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬแตกต่างกัน กรอบแนวคิดการวิจัย การศึ ก ษาวิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห าร

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ ดังนี้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม สถานภาพ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา 2. ครู ขนาดสถานศึกษา 1. ขนาดเล็ก 2. ขนาดกลาง 3. ขนาดใหญ่

วิธีจัดการความคัดแย้ง 1. วิธีเผชิญหน้า 2. วิธีหลีกเลี่ยง 3. วิธีบังคับ 4. วิธีการไกล่เกลี่ย 5. วิธีการประนีประนอม

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาบึ ง กาฬ จำนวน 2,390 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 211 คน ครู จำนวน 2,179 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาบึ ง กาฬ จำนวน

340 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตารางสำเร็จรูป Krejcie and Mogan สุ่ ม แบบแบ่ ง ชั้ น จำแนกเป็ น ผู้ บ ริ ห าร จำนวน

90 คน ครู จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ สำหรับผู้บริหารสถาน ศึกษาและสำหรับครู มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม มี 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็น แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ประกอบด้วย สถานภาพ และขนาดสถานศึกษา ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยวัดพฤติกรรมของบุคคลเมื่อเผชิญ กั บ ความขั ด แย้ ง เครื่ อ งมื อ นี้ เรี ย กว่ า Thomas kilmann Conflict Mode Instrument วั ด การจั ด การความขั ด แย้ ง

มี 30 ข้อ แต่ละข้อมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก คือ ก. กับ ข. แต่ละ

ตัวเลือกเป็นสถานการณ์หรือคำอธิบายแบบของยุทธวิธีที่บุคคล แสดงออกในการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งมี 5 กลุ่ม คือ การเผชิญ หน้า การหลีกเลี่ยง การบังคับ การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม การตรวจให้คะแนน ให้คะแนนตามตัวเลือกที่ผู้ตอบแบบสอบถาม เลือก ข้อละ 1 คะแนน จากนั้นจัดกลุ่มตัวเลือก ก และ ข เป็น

5 กลุ่ม ตามรายละเอียดข้างต้น รวมคะแนนในแต่ละกลุ่มว่า พฤติกรรมแต่ละแบบ ตอบกี่ข้อ แบบพฤติกรรมที่ตอบมากที่สุด แสดงว่ามักแสดงพฤติกรรมแบบนั้นเมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง เช่น ผู้เลือกตอบมีคะแนนสูงสุดในแบบวิธีการไกล่เกลี่ย แสดงว่า มักมีพฤติกรรมการไกล่เกลี่ยเมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง วิเคราะห์ หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ทั้งฉบับ โดย หาค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ อั ล ฟ่ า (Alpha-Coefficient) ตามวิ ธี ข อง Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยเก็บ แบบสอบถามในช่ ว งเดื อ นมิ ถุ น ายน ได้ รั บ แบบสอบถามคื น


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ทั้งหมด 340 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 นำผลมาตรวจให้คะแนน ตามกลุ่ม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการ แจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ 2. นำแบบสอบถามตอนที่ 2 มาตรวจสอบและแจกแจง ความถี่ หาค่ า ร้ อ ยละ โดยนำผลการเลื อ กตอบแต่ ล ะข้ อ ใน แบบสอบถามของผู้ตอบแต่ละคนมาแจกแจงและจัดกลุ่มตาม แบบของโธมัส-คิลแมนน์ โดยจัดเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 3,8,10,17,25,28 และตัวเลือก ข ข้อ 6, 9, 13,14,16,22 แสดงว่าแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการเผชิญหน้า กลุ่ม 2 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 15,16,18,21,24,30 และตัวเลือก ข ข้อ 1,3,4,11,25,27 แสดงว่าแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการหลีกเลี่ยง กลุ่ม 3 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 1,6,7,9,12,27 และตัวเลือก ข ข้อ 5,15,17,19,23,29 แสดงว่าแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการบังคับ กลุ่ม 4 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 5,11,14,19,20,23 และตัวเลือก ข ข้อ 2,8,21,26,28,30 แสดงว่าแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย กลุ่ม 5 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 2,4,13,22,26,29 และตัวเลือก ข ข้อ 7,10,12,18,20,24 แสดงว่าแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการประนีประนอม 3. การตรวจให้คะแนน โดยการให้คะแนนตามตัวเลือก ที่ ผู้ ต อบแบบสอบถามเลื อ ก ข้ อ ละ 1 คะแนน กลุ่ ม ละ

12 คะแนน ตัวอย่างเช่น กลุ่ม 1 ผู้เลือกตอบตัวเลือก ก ข้อ 3,8,10,17,25,28 ได้ข้อละ 1 คะแนน รวม 6 คะแนน แต่ถ้า

ผู้เลือกตอบ ตอบข้อ 3 และข้อ 10 เป็นตัวเลือก ข จะไม่ได้ คะแนน หรือเท่ากับ 0 รวมคะแนนตัวเลือก ก จะได้ 4 คะแนน และตัวเลือก ข ข้อ 6, 9, 13,14,16,22 ได้ข้อละ 1 คะแนน รวม 6 คะแนน แต่ถ้าผู้เลือกตอบ ตอบข้อ 6, 13 และข้อ 14 เป็น

ตั ว เลื อ ก ก จะไม่ ไ ด้ ค ะแนน รวมคะแนนตั ว เลื อ ก ข จะได้

3 คะแนน เมื่อรวมคะแนนในกลุ่มที่ 1 จะได้เท่ากับ 7 คะแนน จากนั้นจัดกลุ่มตัวเลือก ก และ ข เป็น 5 กลุ่มตามรายละเอียด ข้างต้น รวมคะแนนในแต่ละกลุ่มว่าพฤติกรรมแต่ละแบบตอบ

กี่ข้อ แบบพฤติกรรมที่ตอบมากที่สุดแสดงว่ามักแสดงพฤติกรรม แบบนั้ น เมื่ อ เผชิญกับความขัดแย้ง เช่น ตอบมีคะแนนสู ง สุ ด

ในการตอบแบบหลีกเลี่ยง แสดงว่า มักมีพฤติกรรมการหลีก เลี่ยงเมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง

127

4. นำคะแนนผลการสรุ ป ในพฤติ ก รรมแต่ ล ะแบบไป เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่โธมัสและคิลแมนน์ เสนอไว้ ดังตาราง

ที่ 1 ตารางที่ 1 การจัดกลุ่มระดับการจัดการความขัดแย้ง ช่วงคะแนน วิธีการจัดการความขัดแย้ง

กลุ่ม กลุ่ม กลุ่ม ระดับต่ำ ระดับกลาง ระดับสูง

วิธีการเผชิญหน้า

0-3 ข้อ

4-7 ข้อ

8-12 ข้อ

วิธีการหลีกเลี่ยง

0-3 ข้อ

4-6 ข้อ

7-12 ข้อ

วิธีการบังคับ

0-4 ข้อ

5-7 ข้อ

8-12 ข้อ

วิธีการไกล่เกลี่ย

0-4 ข้อ

5-8 ข้อ

9-12 ข้อ

วิธีการประนีประนอม

0-5 ข้อ

6-9 ข้อ

10-12 ข้อ

เมื่อนำคะแนนสรุปแต่ละพฤติกรรมที่ตอบมาเปรียบเทียบ กับตารางข้างต้นเพื่อจัดกลุ่มระดับวิธีการจัดการความขัดแย้ง

ถ้าคะแนนแบบวิธีใดอยู่ในระดับสูงแสดงว่ามีพฤติกรรมแบบนั้น มากกว่าคนอื่นโดยทั่วไป หรือถ้าคะแนนยุทธวิธีแบบใดอยู่ใน ระดั บ ต่ ำ แสดงว่ า แสดงพฤติ ก รรมแบบนั้ น น้ อ ยกว่ า คนอื่ น

โดยทั่วไป หรือถ้าคะแนนยุทธวิธีแบบใดอยู่ในกลุ่มระดับปาน กลางแสดงว่ า แสดงพฤติ ก รรมแบบนั้ น มากพอๆ กั บ คนอื่ น

โดยทั่วไป 5. วิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บวิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ ไค–สแควร์ (Chi-Square)

ตามขั้นตอน ดังนี้ 5.1 เปรียบเทียบโดยการจำแนกตามสถานภาพใน การดำรงตำแหน่ง 5.2 เปรียบเทียบโดยการจำแนกตามขนาดสถาน ศึกษา

สรุปผลการวิจัย 1. วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาบึ ง กาฬ

เรียงตามอันดับ คือ ดังตารางที่ 2


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

128

ตารางที่ 2 การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ วิธีการจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา 1. 2. 3. 4. 5.

วิธีการเผชิญหน้า วิธีการหลีกเลี่ยง วิธีการบังคับ วิธีการไกล่เกลี่ย วิธีการประนีประนอม

จำนวน ร้อยละ ที่ตอบได้สูงสุด 43 65 19 94 119

12.65 19.12 5.58 27.65 35.00

อันดับ 4 3 5 2 1

2. ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและครู สั ง กั ด สำนั ก งานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ วิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห าร

สถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 เปรี ย บเที ย บความคิ ด เห็ น ระหว่ า งผู้ บ ริ ห ารและ

ครูต่อวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถาน ศึกษา วิธีการจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา 1. 2. 3. 4. 5.

วิธีการเผชิญหน้า วิธีการหลีกเลี่ยง วิธีการบังคับ วิธีการไกล่เกลี่ย วิธีการประนีประนอม

S.D.

อันดับ

3.73 4.19 3.13 5.51 6.63

1.88 1.85 1.71 1.84 2.29

4 3 5 2 1

อภิปรายผลการวิจัย 1. วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ส่วนใหญ่ เลื อ กใช้ วิ ธี ก ารประนี ป ระนอมมากที่ สุ ด ทั้ ง นี้ อ าจเป็ น เพราะ ลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความสงบ มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ และพึ่งพากัน ไม่นิยมความรุนแรง วิธีการประนีประนอมถือเป็น วิธีที่นุ่มนวลเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลงที่ลงตัวที่สุด ในลักษณะ พบกันครึ่งทางเพื่อให้บรรยากาศในการทำงานไม่ตึงเครียด และ ทำให้งานมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของจุฑามาศ รุจิรตานนท์ (2547) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษา สาเหตุ ค วามขั ด แย้ ง และวิ ธี ก ารจั ด การกั บ ความขั ด แย้ ง ของ

ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความ

ขั ด แย้ ง มากที่ สุ ด ในแต่ ล ะด้ า นนั้ น อาจมี ที่ ม าจากลั ก ษณะ

นิสัยใจคอและอารมณ์ส่วนบุคคล และวิธีการจัดการกับความ

ขั ด แย้ ง ที่ ผู้ บ ริ ห ารเลื อ กใช้ ม ากที่ สุ ด ได้ แ ก่ วิ ธี ป ระนี ป ระนอม

รวมถึงงานวิจัยของ รุจิเรข มีเจริญ (2548) ได้ศึกษาวิธีการ

แก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 พบว่า วิธีการแก้ปัญหา ความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก ยกเว้ น ด้ า นการหลี ก เลี่ ย ง อยู่ ใ นระดั บ ปานกลาง โดย

เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประนีประนอม ด้ า นการร่ ว มมื อ ด้ า นการยอมให้ ด้ า นการเอาชนะและด้ า น

การหลีกเลี่ยง รวมถึงงานวิจัยของสุนันทา เปลื้องรัตน์ (2550) ได้ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาสระแก้ ว เขต 1 พบว่ า

การแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น ด้านการเอาชนะอยู่ ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปน้ อ ยตามลำดั บ ได้ ดั ง นี้ ด้ า นการประนี ป ระนอม

ด้ า นการร่ ว มมื อ ด้ า นการยอมให้ และด้ า นการหลี ก เลี่ ย ง

ส่วน (วรนาถ แสงมณี. 2553) ได้กล่าวถึงการจัดการความขัดแย้ง

ด้ ว ยวิ ธี ก ารประนี ป ระนอมว่ า เป็ น การใช้ วิ ธี ก ารเจรจาต่ อ รอง

ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความยินยอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย หรือที่เรียกว่าพบกันครึ่งทาง หลักสำคัญคือคู่กรณีแต่ละฝ่าย

ต่างก็ได้ประโยชน์และต้องยอมเสียประโยชน์บ้าง มิใช่ฝ่ายหนึ่ง ได้หรือเสียอย่างเดียว อีกวิธีหนึ่งของการประนีประนอมคือกลุ่มที่

ขัดแย้งกันหาข้อยุติของปัญหาร่วมกัน เลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากัน หรือให้สิ่งตอบแทนแก่กลุ่มหนึ่ง เพื่อยุติข้อขัดแย้ง 2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นต่อวิธี การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ไม่แตกต่างกันสอดคล้อง กับงานวิจัยของ มนตรี พ่วงวงษ์ (2552) เรื่อง ปัญหาและวิธีการ แก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 พบว่า ปัญหา และวิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา

และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

ไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามสถานภาพ 3. ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและครู ที่ ป ฏิ บั ติ ง านในสถาน ศึกษาขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อวิธีการจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบึงกาฬ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

ของ จิ ต นภา ไชเทพา (2552) ศึ ก ษาเรื่ อ งการจั ด การความ

ขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 5 พบว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความคิดเห็น เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาขอนแก่ น เขต 5 โดยภาพรวม

ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของจิตฑามาศ เชื้ อ โฮม (2553) ศึ ก ษาเรื่ อ งวิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของ

ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาสั ง กั ด สำนั ก การศึ ก ษากรุ ง เทพมหานคร

พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานในขนาดโรงเรียนที่ต่างกันเลือกใช้การจัดการความ ขัดแย้งไม่แตกต่างกัน คือ วิธีชนะ-ชนะ และยังสอดคล้องกับ

งานวิจัยของ นครินทร์ เหลือบุญชู (2554) ได้ศึกษาสภาพและ ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. จากผลการศึ ก ษาวิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาบึงกาฬ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้วิธี การจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการประนีประนอมมากที่สุด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ ลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความสงบ มีความ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือและพึ่งพากัน ไม่นิยมความรุนแรง วิธีการ ประนีประนอมถือเป็นวิธีที่นุ่มนวลเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ข้อตกลง ที่ ล งตั ว ที่ สุ ด ในลั ก ษณะพบกั น ครึ่ ง ทางเพื่ อ ให้ บ รรยากาศใน

การทำงานไม่ตรึงเครียด ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะดังนี ้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเลือกใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งด้วย การประนีประนอม เมื่อพบว่า ความขัดแย้งนั้นพอยอมรับกันได้ ภายในเวลาที่ จ ำกั ด ทุ ก คนได้ รั บ เกี ย รติ เ ท่ า กั น ให้ อ อกความ

คิดเห็นได้อย่างอิสระโดยผลการสรุปการแก้ข้อขัดแย้งของวิธีนี้ จะทำให้ทุกคนพอใจได้มากที่สุด 2. วิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ส่วนใหญ่ เลือกใช้ เรียงตามอันดับ ดังนี้ อันดับ 1 วิธีการประนีประนอม อันดับ 2 วิธีการไกล่เกลี่ย อันดับ 3 วิธีหลีกเลี่ยง อันดับ 4 วิธี เผชิ ญ หน้ า และอั น ดั บ สุ ด ท้ า ยวิ ธี บั ง คั บ ดั ง นั้ น ผู้ ศึ ก ษาจึ ง ขอ

เสนอแนะดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการศึกษาและเลือกวิธี

การบริหารความขัดแย้งที่หลากหลายและเหมาะสมกับความ

129

ขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ความขัดแย้งลดลง และเกิดประโยชน์ต่อ องค์การมากที่สุด 3. เมื่อจำแนกตามสถานภาพ และขนาดสถานศึกษา พบว่ า ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษามี วิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง

ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะ ดังนี้ ผู้บริหารควร ศึ ก ษาข้ อ มู ล และลั ก ษณะนิ สั ย ของผู้ ที่ ร่ ว มงาน ในองค์ ก าร

สร้างความเข้าใจในการทำงาน เพื่อเป็นการลดความขัดแย้งที่ อาจเกิ ด ขึ้ น และเมื่ อ พบความขั ด แย้ ง ก็ ส ามารถเลื อ กวิ ธี ก าร จัดการความขัดแย้งได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น 4. พบว่า มีการเลือกใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งที่ หลากหลายวิธี ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะดังนี้ ผู้บริหาร สถานศึกษาควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาประยุกต์ ใช้ร่วมกับการจัดการความขัดแย้ง เพราะเป็นสิ่งที่สังคมไทยเรา ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้สังคมสงบ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ผู้ ศึ ก ษาได้ ก ำหนดกรอบแนวคิ ด ที่ ใช้ ใ นการศึ ก ษา

วิ ธี ก ารจั ด การความขั ด แย้ ง ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย วิ ธี เ ผชิ ญ หน้ า

วิธีหลีกเลี่ยง วิธีบังคับ วิธีการไกล่เกลี่ย และวิธีการประนีประนอม ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะสำหรับการศึกษาให้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย ที่ส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งภายในสถานศึกษา 2. การศึ ก ษาค้ น คว้ า ต่ อ ไป ควรเปรี ย บเที ย บวิ ธี ก าร จัดการความขัดแย้งระหว่างสถานศึกษาของรัฐกับสถานศึกษา ของเอกชน เพื่อเปรียบเทียบวิธีการจัดการความขัดแย้ง 3. ผู้ศึกษาได้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Thomas Kilmann Conflict Mode Instrument สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป ควรมีการศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งโดยใช้เครื่องมือแบบ อื่น เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและหาแนวทางในการจัดการความ ขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อองค์การมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง Chuahome, Jitthamaat. (2010). Methods of Conflict Management of School Administrators under the Office of Bangkok Metropolis’s Education. An M.Ed. Thesis. Bangkok : Ramkhamhaeng University. จิตฑามาศ เชื้อโฮม. (2553). วิธีการจัดการความขัดแย้งของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพ มหานคร. วิ ท ยานิ พ นธ์ ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


130

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Jaasing, Preecha. (2007). Conflict Mangement of School Administrators under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 4. An M.Ed. Thesis. Khon Kaen : Khon Kaen University.

รุจิเรข มีเจริญ. (2548). ศึกษาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีชา จ่าสิงห์. (2550). การจัดการความขัดแย้งของผู้อำนวย การสถานศึกษาสัง กัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึ ก ษา ขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Phaasuk, Prakathip. (2008). Conflict Management of School Administrators under the Office of Lamphun Educational Service Area 1.

An M.Ed. Independent Study. Chiangmai : Chiangmai University.

Kanka, Chalad. (2007). Conflict Management of Administrators at Primary Schools, Mueang District, Phrae Province. An M.Ed. Thesis. Uttaradit : Uttaradit Rajabhat University. ฉลาด กันกา. (2550). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรี ย นประถมศึ ก ษาอำเภอเมื อ ง จั ง หวั ด แพร่ . วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์. Khaithepha, Jitnapha. (2009). Conflict Management of Administrators under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 5. An M.Ed. Thesis. Loei : Loei Rajabhat University.

ประกาทิ พ ย์ ผาสุ ก . (2551). การจั ด การความขั ด แย้ ง ของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ลำพูน เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. Phuangwong, Montree. (2009). Problems and Methods of Resolving the Conflict of School Administrators and Teachers under the Office of Lopburi Educational Service

Area 1. An M.Ed. Thesis. Lopburi : Thepsatri Rajabhat University.

จิ ต นภา ไชเทพา. (2552). การบริ ห ารความขั ด แย้ ง ของ

ผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษา ขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เลย : มหาวิทยาราชภัฎเลย.

มนตรี พ่วงวงษ์. (2552). ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาความขัด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและครู ผู้ ส อน สั ง กั ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เทพสตรี.

Luaboonchu, Nakharin. (2011, July-December).

“The State and Problem of School-Based Administration of School Administrators under the Mueang Nakhon Phanom Municipality,” Nakhon Phanom University Journal. 1(2) : 70-76.

Pluang-rat, Sununtha. (2007). A Study of Conflict Management of School Administrators under Office of Sa Kaeo Educational Service Area 1. An M.Ed. Thesis. Chon Buri : Burapha University.

นครินทร์ เหลือบุญชู. (2554, กรกฎาคม-ธันวาคม). “สภาพและ ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้บริหาร โรงเรี ย นสั ง กั ด เทศบาลเมื อ งนครพนม,” วารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม. 1(2) : 70-76. Meecharoen, Rujirekk. (205). A Study of Methods of Resolving the Conflict by School Administrators under the Office of Chachoengsao Educational Service Area 2. An M.Ed. Thesis. Chon Buri : Burapha University.

สุนันทา เปลื้องรัตน์. (2550). ศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้ง ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษา สระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. Rujitanon, Juthamaat. (2004). An Investigation of the Causes of Conflict and Methods for Conflict Management among Administrators of Basic Education Schools of the 1st and 2nd Spans


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

under the Office of Suphan Buri Educational

Service Area. An M.Ed. Thesis Kanchanaburi

Rajabhat University. จุฑามาศ รุจิตานนท์. (2547). การศึกษาสาเหตุความขัดแย้ง และวิ ธี ก ารจั ด การกั บ ความขั ด แย้ ง ของผู้ บ ริ ห าร

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. Saengmanee, Woranat. (2010). Organization and Organizational Management. [online], Available : http://www.Kamsondeedee. com/ school/chapter-002/51-2008-12-13-14-44-22/ 112, [June 2555]. วรนาท แสงมณี. (2553). องค์การและการจัดการ องค์การ. [ออนไลน์ ] , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก : http://www.Kamson deedee.com/school/chapter-002/51-2008-1213-14-44-22/112, [June 2555].

131


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

132

การส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 Promoting Student’s Discipline of the Schools in Amphoe Plapak under The Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 มัตติกา จอกทอง1 สุเทพ ทองประดิษฐ์2 และ มนตรี อนันตรักษ์3 Mattika Chokthong,1 Suthep Thongpradista2 and Montree Anantarak3 นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม Ed.D. (Educational Administration) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 3 ค.ด. (การวัดและประเมินผลการศึกษา) อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 1

2

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษานครพนม เขต 1 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนและนักเรียน 3) เปรียบเทียบ

การส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 362 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.26-0.76 และได้ค่าความ

เชื่อมั่นเท่ากับ 0.9 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้

การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนส่งเสริมวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ครูผู้สอนและนักเรียนโดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ผู้สอนและนักเรียนในขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : การส่งเสริมวินัยนักเรียน / ความรับผิดชอบต่อตนเอง / คุณธรรมนักเรียน / ค่านิยมนักเรียน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม

ABSTRACT This research aimed to: 1) investigate the promotion of student’s discipline in Plapak district schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1, 2) compare the promotion of student’s discipline according to the opinions of teachers and students, and 3) to compare the promotion of student’s discipline as perceived by teachers and students of different-sized schools. A sample of 362 people used in the study was selected by stratified random sampling. The sample size was determined using a grid of Krejcie and Norgan. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire which had discrimination values of a 0.26-0.76 range and a reliability value of 0.9. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and t-test including F-test for hypothesis testing. The results showed that : 1) the schools promoted student’s discipline as a whole at high level; 2) the opinions of teachers and students were not different as a whole and each aspect;

3) the teachers and students with their opinion as a whole and each aspect showed no difference at the .01 level of significance. Keywords : Promotion of Student’s Discipline / Self-Responsibility / Student’s Virtue / Student’s Value / Office of Nakhon Phanom Educational Service Area


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

บทนำ พระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 ได้ กำหนดจุดหมายและหลักการในมาตรา 6 ไว้ว่า การจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชี วิ ต สามารถอยู่ ร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น ได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้ กำหนดจุ ด หมายเพื่ อ ให้ เ กิ ด กั บ ผู้ เรี ย น เมื่ อ จบการศึ ก ษาขั้ น

พื้ น ฐาน ข้ อ 1 ไว้ ว่ า “มี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และค่ า นิ ย มที่

พึ ง ประสงค์ เห็ นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิ บั ติ ต นตาม

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) และ หลั ก สู ต รยั ง ได้ ก ำหนดคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ที่ มุ่ ง พั ฒ นา

ผู้เรียนให้เป็นผู้มีวินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก (กระทรวง ศึกษาธิการ. 2551) ในส่วนการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย นั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนใน โรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย จำแนก ออกเป็น 6 ด้าน คือ การตรงต่อเวลา ความสะอาด การแต่งกาย การเข้าแถว การแสดงความเคารพ และด้านการปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ซึ่งด้านการตรงต่อ เวลาเป็นการส่งเสริมให้รู้จักการจัดการและวางแผนการใช้เวลา ในการทำกิจกรรมใดๆ ให้ถูกต้อง แต่พยายามทำให้เสร็จสิ้นตาม กำหนดเวลา และเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ด้านความ สะอาดนั้ น ส่ ง เสริ ม ให้ รู้ จั ก ควบคุ ม ตนเองประพฤติ ต นเอง

บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสาธารณสถาน ในด้านการแต่งกาย

ส่ ง เสริ ม ให้ รู้ จั ก แต่ ง กายให้ เ หมาะสมถู ก กาลเทศะ ส่ ว นด้ า น

การ เข้าแถวตามโอกาสต่างๆ ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปลอดภั ย ด้ า นการแสดงความเคารพรู้ จั ก มารยาทใน

การแสดงความเคารพในโอกาสต่างๆ ด้วยกิริยาวาจาที่สุภาพ ส่วนด้านการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติของ โรงเรี ย นส่ ง เสริ ม ให้ นั ก เรี ย นได้ ป ฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ

ตามจรรยามารยาทและการแต่งกายของนักเรียนและนักศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2546) ดังนั้น การพั ฒ นาวิ นั ย นั ก เรี ย นในสถานศึ ก ษาจึ ง จำเป็ น อย่ า งยิ่ ง

โดยเฉพาะนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะว่าเป็น บุ ค คล ที่ อ ยู่ ใ นวั ย แห่ ง การเสริ ม สร้ า งการเจริ ญ เติ บ โตทั้ ง ด้ า น ร่างกายและจิตใจอย่างรวดเร็ว เป็นวัยที่มีความคิดอยากเป็น อิ ส ระซึ่ ง ต้ อ งเผชิ ญ กั บ สภาพปั ญ หาต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม

133

มี ก ารตั ด สิ น ใจอย่ า งรวดเร็ ว วู่ ว าม แสดงออกทางอารมณ์

อย่างรุนแรง จากลักษณะการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นที่กล่าว

มาแล้วนั้น อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรม ที่เบี่ยงเบนไปในทางที่

ไม่พึงประสงค์เป็นปัญหาของสถานศึกษาของสังคม และประเทศ ชาติได้ในที่สุด ดังนั้นผู้บริหาร สถานศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องร่วมมือร่วมใจ เข้มงวดกวดขัน และต้องตั้งเกณฑ์ เพื่อหามาตรการป้องกันแก้ไข ปั ญ หาอุ ป สรรคที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น และร่ ว มกั น เสริ ม สร้ า งกิ จ กรรมที่

ต้องพัฒนาเยาวชน ให้มีความประพฤติที่ดี และมีระเบียบวินัย สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (ทวีศักดิ์ ใจนวน. 2552) จากหลักการเหตุผลดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของความ รับผิดชอบต่อตนเอง ยอมรับผลแห่งการกระทำของตนเองทั้ง

ผลดี แ ละผลเสี ย และพยายามปรั บ ปรุ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเองปฏิบัติตนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้

ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูผู้รับผิดชอบงานการส่งเสริมวินัยนักเรียนใน โรงเรี ย นต้ อ งกำกั บ ดู แ ลนั ก เรี ย น ตลอดจนปลู ก ฝั ง คุ ณ ธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียน ที่สำคัญคือความมีระเบียบวินัย จึงสนใจ ที่จะศึกษาการดำเนินการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนใน อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำไป ใช้ในการส่งเสริมวินัยนักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนใน อำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1 2. เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน 3. เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน สมมติฐานการวิจัย 1. การส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูและนักเรียนแตกต่างกัน 2. การส่ ง เสริ ม วิ นั ย นั ก เรี ย นของโรงเรี ย นตามความ

คิ ด เห็ น ของครู แ ละนั ก เรี ย นในโรงเรี ย นที่ มี ข นาดแตกต่ า งกั น

มีความแตกต่างกัน กรอบแนวคิดการวิจัย มีกรอบการวิจัยตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การดำเนินการ เพื่อส่งเสริมวินัยนักเรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. 2546)


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

134

ตัวแปรตาม

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ด้านการตรงต่อเวลา 2. ด้านความสะดวก 3. ด้านการแต่งกาย 4. ด้านการเข้าแถว 5. ด้านการแสดงความเคารพ 6. ด้านการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับและแนวปฏิบัติ ของโรงเรียน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนและนักเรียนในโรงเรียน อำเภอปลาปากสำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 6,426 คนจำแนก เป็นครูผู้สอน จำนวน 351 คน นักเรียน จำนวน 6,075 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำแนกเป็นครู จำนวน 147 คน นักเรียน จำนวน 215 คน รวมจำนวน 362 คน การกำหนด ขนาดของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งได้ ม าโดยใช้ ต ารางของเคร็ จ ซี่ แ ละ

มอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) (มนตรี อนั น ตรั ก ษ์

และคณะ. 2551)

ตัวแปรอิสระ สถานภาพ 1. ครู 2. นักเรียน ขนาดโรงเรียน 1. ขนาดเล็ก 2. ขนาดกลาง 3. ขนาดใหญ่

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสภาพและขนาดโรงเรียน

สถานภาพ

ครู

นักเรียน

รวม

ประชากร

กลุ่ม ตัวอย่าง

ประชากร

กลุ่ม ตัวอย่าง

ประชากร

กลุ่ม ตัวอย่าง

ขนาดเล็ก

136

75

1,933

125

2,069

200

ขนาดกลาง

143

56

2,560

70

2,703

126

ขนาดใหญ่

72

16

1,582

20

1,654

36

รวม

351

147

6,075

215

6,426

362

ขนาดโรงเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะ คำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ประกอบด้วย สถานภาพ และขนาดโรงเรียน ตอนที่ 2 การส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอ ปลาปาก โดยมีลักษณะคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Liker’ Five Rating Scale) มีค่า อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขอหนังสือจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นครพนม เพื่ อ ขอความอนุ เ คราะห์ ใ นการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ไปยั ง ผู้ อ ำนวยการโรงเรี ย นในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่างระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2555

2. ผู้ ศึ ก ษานำหนั ง สื อ พร้ อ มแบบสอบถาม จำนวน

362 ชุด ไปยังกลุ่มตัวอย่างเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล และได้เก็บกลับคืนมา จำนวน 362 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 โดย ผู้ศึกษาออกเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่และหาร้อยละ 2. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็น โดยภาพรวมรายด้าน และรายข้อ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) 3. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ 3.1 การตรวจสอบความเที่ ย งตรงเชิ ง เนื้ อ หาของ เครื่องมือในการวิจัย โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence)


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

3.2 ค่ า อำนาจจำแนกของแบบสอบถาม ใช้ ค่ า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างงง่าย (Item Total Correlation) ของเพียร์สัน 3.3 ค่ า ความเชื่ อ มั่ น (Reliability) โดยใช้ สู ต ร สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) 4. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานค่าที (t–test Independent) เปรียบเทียบความคิดเห็นตามสถานภาพระหว่างครู และนักเรียน และค่ า เอฟ (F-test) เปรี ย บเที ย บความคิ ด เห็ น ของครู แ ละ นักเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

สรุปผลการวิจัย 1. การส่ ง เสริ ม วิ นั ย นั ก เรี ย นของโรงเรี ย นในอำเภอ ปลาปากสั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา นครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การส่งเสริม วินัยนักเรียน การส่งเสริม วินัยนักเรียน

S.D.

ระดับการ ส่งเสริม

1. ด้านการตรงต่อเวลา

4.13 0.29

มาก

2. ด้านความสะอาด

3.83 0.26

มาก

3. ด้านการแต่งกาย

3.95 0.20

มาก

4. ด้านการข้าแถว

3.87 0.27

มาก

5. ด้านการแสดงความ เคารพ

4.09 0.33

มาก

6. ด้านการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับและแนวปฏิบัติ ของโรงเรียน

4.15 0.24

มาก

2. การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า โดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 3

135

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยตามความคิดเห็น ของครูผู้สอนและนักเรียน สถานภาพ วินัยนักเรียน

ครู 

1. ด้านการตรง ต่อเวลา

นักเรียน

S.D.

t

sig

S.D.

4.16 0.29 4.10 0.30 1.83

.06

2. ด้านความสะอาด 3.84 0.25 3.83 0.27 0.48

.63

3. ด้านการแต่งกาย 3.95 0.20 3.96 0.21 -0.37

.71

4. ด้านการเข้าแถว 3.88 0.28 3.87 0.27 0.14

.88

5. ด้านการแสดง ความเคารพ

4.09 0.32 4.09 0.35 0.11

.91

6. ด้านการปฏิบัติ ตามระเบียบ ข้อบังคับและ แนวปฏิบัติของ โรงเรียน

4.12 0.22 4.17 0.26 -1.66

.10

.01 .16 .00 .18

.79

รวม

.26

3. การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียนผล การวิจัยพบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยตามความคิดเห็น ของครูผู้สอนและนักเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน การส่งเสริม แหล่งความ วินัยนักเรียน SS แปรปรวน ของโรงเรียน

df

MS

F

sig

ระหว่างกลุ่ม .038 2 0.02 1. ด้านการ ภายในกลุ่ม 31.53 359 0.09 0.21 .81 ตรงต่อเวลา รวม 31.57 361 2. ด้านความ สะอาด

3. ด้านการ แต่งกาย

ระหว่างกลุ่ม 0.00

2

0.00

ภายในกลุ่ม 24.58 359 0.07 0.03 .97 รวม

24.58 361

ระหว่างกลุ่ม 0.01

2

0.00

ภายในกลุ่ม 15.13 359 0.04 0.08 .92 รวม

15.14 361


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

136

ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยตามความคิดเห็น ของครูผู้สอนและนักเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน

(ต่อ) การส่งเสริม แหล่งความ วินัยนักเรียน แปรปรวน ของโรงเรียน 4. ด้านการ เข้าแถว

SS

df

MS

ระหว่างกลุ่ม 0.01

2

0.00

F

sig

ภายในกลุ่ม 27.16 359 0.08 0.05 .95 รวม

27.16 361

ระหว่างกลุ่ม 0.49 2 0.25 5. ด้านการ แสดงความ ภายในกลุ่ม 40.07 359 0.11 2.21 .11 เคารพ รวม 40.56 361 6. ด้านการ ระหว่างกลุ่ม 0.02 2 0.01 ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อ ภายในกลุ่ม 21.58 359 0.06 0.17 .84 บังคับและ รวม 21.60 361 แนวปฏิบัติ ของโรงเรียน ระหว่างกลุ่ม 0.01 รวม

2

0.01

ภายในกลุ่ม 10.87 359 0.03 0.20 .82 รวม

10.88 361

อภิปรายผลการวิจัย 1. การวิจัยเป็นการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนใน อำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น

รายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อยดังนี้ด้านการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและ แนวปฏิบัติของโรงเรียนด้านการตรงต่อเวลา ด้านการแสดงความ เคารพ ด้านการแต่งกาย ด้านการเข้าแถว และด้านความสะอาด อาจเนื่องมาจากโรงเรียนได้มีการกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม และแก้ ไขความประพฤติ นั ก เรี ย นให้ เ ป็ น ผู้ มี วิ นั ย ประพฤติ ต น เหมาะสม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความตระหนัก และสร้างความเข้าใจที่ดี สร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่นักเรียนเพื่อ เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตที่ดีในสังคมโดยใช้การพัฒนาวินัยเป็น เครื่ อ งมื อ ในการพั ฒ นานั ก เรี ย น ตามแนวยุ ท ธศาสตร์ ข อง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547) ที่กำหนด

แนวปฏิ บั ติ ร ะดั บ สถานศึ ก ษาคื อ สถานศึ ก ษาจะต้ อ งแสวงหา แนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนอย่างมีความสุข และสามารถอยู่ ใ นระบบการศึ ก ษาได้ ต ลอดหลั ก สู ต รโดย

การพั ฒ นาระบบดู แ ลช่ ว ยเหลื อ นั ก เรี ย นให้ มี ค วามพร้ อ มใน

การป้ อ งกั น และแก้ ไขปั ญ หาและเน้ น การพั ฒ นาบุ ค ลากรใน โรงเรียนให้มีทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารยั ง ได้ อ อกกฎกระทรวงให้ โรงเรี ย นหรื อ สถานศึกษากำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษาในสังกัด ตามกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ดังนั้น จึงทำให้ผู้บริหาร และครูได้เอาใจใส่ในการดำเนินการส่งเสริมวินัยนักเรียนเป็น อย่างมาก และเห็นความสำคัญ ซึ่งงานส่งเสริมวินัยนักเรียนเป็น งานช่วยเตรียมตัวนักเรียนสำหรับการดำเนินชีวิต เป็นเครื่อง ปลูกฝังการรู้จักควบคุมตนเอง ให้เป็นคนดี มีความเจริญก้าวหน้า ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ดังนั้น จึงต้อง อาศัย วินัยเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติร่วมกัน นอกจากจะ เป็นการควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมแล้ว วินัยยังทำให้ สมาชิ ก งาม ดี วิ เ ศษ ไปจากสั ง คมที่ ไ ม่ มี วิ นั ย อี ก ด้ ว ย ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของสุ รี ย์ มุ ก ดอกไม้ (2550) ที่ ศึ ก ษา

การส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความคิดเห็นของข้าราชการครูใน โรงเรี ย นวั ด แสงสรรค์ สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ปทุมธานี เขต 2 พบว่า การส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความคิด เห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนวัดแสงสรรค์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบผลดังนี้ 1.1 ด้านการตรงต่อเวลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารและครูมีความตระหนักในบทบาท หน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนและปลูกฝังวินัยด้านการตรงต่อ เวลาของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรีย์ มุกดอกไม้ (2550) ที่ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครูในโรงเรียน วัดแสงสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาปทุมธานี เขต 2 พบว่า การส่งเสริมวินัยนักเรียนด้าน การตรงต่อเวลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2 ด้านความสะอาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่ อ งมาจากครู มี ก ารประชุ ม ชี้ แจงระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ ของ โรงเรียนให้นักเรียนรับทราบและถือปฏิบัติ มีการให้รางวัลแก่ นั ก เรี ย นที่ ป ฏิ บั ติ ต นในการกระทำความดี เ กี่ ย วกั บ การรั ก ษา

ความสะอาด ของร่างกาย เครื่องแต่งกาย และสมุดแบบเรียน


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

อย่างต่อเนื่อง มีการว่ากล่าวตักเตือนและดำเนินการแก้ไขปัญหา เดินรณรงค์รักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงเรียนและ ชุ ม ชนจั ด กิ จ กรรมประกวดคำขวั ญ การรั ก ษาความสะอาดให้ รางวัลแก่นักเรียนที่ปฏิบัติตนในการกระทำความดี และครูมี

การส่ ง เสริ ม ติ ด ตาม และประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ด้ า นความ สะอาดของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุรีย์ มุกดอกไม้ (2550) ที่ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนตาม ความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนวัดแสงสรรค์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 พบว่า การส่งเสริม วิยันนักเรียนด้านความสะอาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 ด้านการแต่งกาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก โรงเรียนมีการกำหนดระเบียบข้อบังคับและ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกายให้นักเรียนได้ปฏิบัติอย่าง ชัดเจน แต่งกายถูกต้องตามวันที่โรงเรียนกำหนดแต่งกายด้วย เครื่องแบบนักเรียนได้ถูกต้องตามระเบียบ โรงเรียนมีการกำหนด มาตรการลงโทษเมื่อนักเรียนแต่งกายไม่ถูกต้อง ครูมีการว่ากล่าว ตักเตือน–ลงโทษ มีการมอบรางวัลและเกียรติบัตรนักเรียนที่

แต่ ง กายสะอาดถู ก ต้ อ งตามระเบี ย บของโรงเรี ย นมี ก ารตรวจ เครื่องแต่งกายของนักเรียนหน้าเสาธงหรือก่อนเข้าเรียน มีการกำกับ ติ ด ตามและประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การแต่ ง กายของ นักเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของพิจิตตรา

วิ ช ะนา (2554) ที่ ศึ ก ษาผลการดำเนิ น งานเสริ ม สร้ า งวิ นั ย นั ก เรี ย นโรงเรี ย นในสั ง กั ด กลุ่ ม เครื อ ข่ า ยคำเตย อำเภอเมื อ ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 พบว่า ผลการ ดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายอยู่ในระดับ ประสบผลสำเร็จดี 1.4 ด้านการเข้าแถว โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่ อ งมาจากครู มี ก ารกำหนดระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ และแนว ปฏิบัติในการเข้าแถวประจำวันของนักเรียน มีการประชุมชี้แจง แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเข้าแถวให้นักเรียนปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่ ง เสริ ม ให้ นั ก เรี ย นเข้ า แถวซื้ อ อาหาร ตามลำดั บ ก่ อ นหลั ง

มี ก ารดู แ ลให้ นั ก เรี ย นเข้ า แถวร่ ว มกิ จ กรรมทุ ก ครั้ ง อย่ า งเป็ น ระเบียบ และมีการแนะนำให้รู้จักควบคุมตนเอง ในการเข้าแถว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสุรีย์ มุกดอกไม้ (2550) ที่ศึกษา การส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความคิดเห็นของข้าราชการครูใน โรงเรี ย นวั ด แสงสรรค์ สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ปทุ ม ธานี เขต 2 พบว่า การส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความ

คิ ด เห็ น ของข้ า ราชการครู ใ นโรงเรี ย นวั ด แสงสรรค์ สั ง กั ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 การส่งเสริมวินัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

137

1.5 ด้านการแสดงความเคารพ โดยรวมอยู่ ในระดับ มาก ทั้ ง นี้ อ าจเนื่ อ งมาจาก ครู มี ก ารส่ ง เสริ ม กำกั บ ติ ด ตาม

การปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพ ของนักเรียนอย่าง

ต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ วิ จั ย ของ ทวี ศั ก ดิ์ ใจนวน (2552)

ที่ศึกษาการพัฒนาวินัยนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึ ก ษามี ค วามคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ สภาพการพั ฒ นาวิ นั ย นักเรียนในสถานศึกษา ด้านการแสดงความเคารพ โดยรวมอยู่ ในระดับมาก 1.6 ด้านการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและแนว ปฏิบัติของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมา จากมีการกำหนดระเบียบข้อบังคับ และแนวปฏิบัติของโรงเรียน อย่างชัดเจน มีการส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบข้อ บังคับและแนวปฏิบัติของ โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้อง กับวิจัยของ ทวีศักดิ์ ใจนวน (2552) ที่ศึกษาการพัฒนาวินัย นักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ สภาพการพั ฒ นาวิ นั ย นั ก เรี ย นในสถานศึ ก ษา ด้ า นการปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ และแนวปฏิ บั ติ ข อง โรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรี ย บเที ย บการส่ ง เสริ ม วิ นั ย นั ก เรี ย นของ โรงเรียนในอำเภอปากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึ ก ษานครพนม เขต 1 ตามความคิ ด เห็ น ของครู ผู้ ส อนและ นั ก เรี ย น พบว่ า โดยรวมและรายด้ า นไม่ แ ตกต่ า งกั น ซึ่ ง

ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ สมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ทั้ ง นี้ อ าจเนื่ อ งมาจากใน

การดำเนินการส่งเสริมวินัยของ นักเรียนนั้น ครูผู้สอนมีการประชุม ชี้แจงระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนเกี่ยวกับ การส่งเสริมวินัยให้ นักเรียนได้รับทราบและถือปฏิบัติ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับวินัยนักเรียน และนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2555) 3. การเปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความ คิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน

พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ สมมุ ติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ ทั้ ง นี้ อ าจเนื่ อ งมาจากโรงเรี ย นทุ ก ขนาดได้ ดำเนินการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามจุดหมายของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้การจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชี วิ ต สามารถอยู่ ร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น ได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

138

ผู้เรียนเป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรมมีระเบียบวินัย (สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา. 2555) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ

สุรเกียรติ จอมไพรศรี (2555) ที่ศึกษาการพัฒนาวินัยนักเรียน

ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5

พบว่า ข้าราชการครูและบุคลาทางการศึกษาที่อยู่ในโรงเรียน ขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนในโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ 1. จากผลการวิ จั ย ด้ า นความสะอาดมี ค่ า เฉลี่ ย ต่ ำ

ผู้บริหารและครูควรจัดให้มีนักเรียน แกนนำเกี่ยวกับการรักษา ความสะอาดในบริเวณโรงเรียน และจัดกิจกรรม ติดตาม ประเมิน ผลอย่างต่อเนื่อง มีการรวมกลุ่มเครือข่ายในการพัฒนาส่งเสริม วินัยนักเรียนให้อยู่ในระดับที่ดีต่อไป 2. ผู้บริหารและครูมีการกำหนดแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีป้ายเตือน ป้ายคำขวัญต่างๆ และจัดกิจกรรมประกวดคำขวัญ การรักษาความสะอาด ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมี ก ารศึ ก ษาบทบาทการส่ ง เสริ ม วิ นั ย นั ก เรี ย น

ของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อหาสภาพปัญหาและแนวทางใน การพัฒนา การส่งเสริมวินัยนักเรียนต่อไป 2. ควรมี ก ารศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ กลยุ ท ธ์ ห รื อ รู ป แบบ

การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนดีเด่น ด้านการส่งเสริมวินัย นักเรียน

เอกสารอ้างอิง Anantarak, Montree and Others. (2008). The Basics of Research. 7th Ed. Kalasin : Prasan Press. มนตรี อนั น ตรั ก ษ์ และคณะ. (2551). พื้ น ฐานการวิ จั ย .

พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. Jainuan, Thaweesak. (2009). Development of Students’ Discipline in the Schools under the Office of Loei Educational Service Area 1.

An M.Ed. Thesis. Loei : Loei Rajabhat University. ทวีศักดิ์ ใจนวน. (2552). การพัฒนาวินัยนักเรียนในสถานศึกษา สั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เลย : มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย.

Jomphraisri, Surakiat. (2012). Development of Students’ Discipline in the Schools under the Office of Khaon Kaen Educational Service Area 5. An M.Ed. Thesis. Loei : Loei Rajabhat University. สุรเกียรติ จอมไพรศรี. (2555). การพัฒนาวินัยนักเรียนใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิ ท ยานิ พ นธ์ ค รุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต . เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. Ministry of Education. (2008). The Core Curriculum of Basic Education. Bangkok : The Press of Thailand Agricultural Cooperatives Community. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน. กรุ ง เทพฯ : โรงพิ ม พ์ ชุ ม นุ ม สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย. Mukdokmai, Suri. (2007). The Promotion of Students’ Discipline according to the Opinion of Teachers in Wat Saengsan School under the Office of Pathum Thani Educational Service Area 2. An M. Ed. Thesis. Phranakhon

Sri-ayudhaya : Phranakhon Sri-ayudhaya Rajabhat University. สุรีย์ มุกดอกไม้. (2550). การส่งเสริมวินัยนักเรียนตามความ คิ ด เห็ น ของข้ า ราชการครู ใ นโรงเรี ย นวั ด แสงสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. Office of the Academic and Educational Standards. (2012). Lessons Learned from Activity for Developing the Students Based on the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). Bangkok : Office of the Basic Education Commission. สำนั ก วิ ช าการและมาตรฐานการศึ ก ษา. (2555). การถอด

บทเรี ย นการจั ด กิ จ กรรมพั ฒ นาผู้ เรี ย นตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุ ง เทพฯ : สำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น

พื้นฐาน.


วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ; ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2557 Nakhon Phanom University Journal ; Vol.4 No.3 : September - December 2014

Office of the Basic Education Commission. (2003). A Way in Practice concerning the Operating

of Students’ Disciplinary Enhancement in the Schools under the Office of the Basic Education Commission. Bangkok : Office of the Basic Education Commission. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). แนวทาง ปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การดำเนิ น งานการเสริ ม สร้ า งวิ นั ย นักเรียนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. _____ . (2004). A Strategy and Way to the Prevention of the Problems of Students Who Have Inappropriate Behavior. Bangkok : Office of the Basic Education Commission. _____ . (2547). ยุทธศาสตร์และแนวทางการป้องกันแก้ไข ปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Wichana, Phichittra. (2011). The Results of Operating the Students’ Discipline Enhancement in the Schools under the Network Group of Kham Toei, Mueang District, Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. An M.Ed. Independent Study. Nakhon Phanom : Nakhon Phanom University. พิจิตตรา วิชะนา. (2554). ผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัย นักเรียนโรงเรียนในสังกัดกลุ่มเครือข่าย คำเตย อำเภอ เมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.

139


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.