From buddhist heart to buddhist art 2

Page 1



พุทธ #๒ ธรรมสร้าง ศิลป์

โดย คณาจารย์และนิสิต พุทธศิลปกรรม เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

From

ณ ขัวศิลปะ เชียงราย ห้องแสดงงานชั้น 1 ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2559

BUDDHIST HEART

TO

BUDDHIST ART

By Faculty of Buddhist Art Chiangrai, MahaChulalongkornrajavidyala University Chiangrai Sangha College. At ArtBridge Chiangrai (ABCR) 9th June - 15th July,2016



“...การสร้างงานศิลปะทุกอย่างทุกประเภท นอกจากจะต้องใช้

ความฝึกหัดชัดเจนในทางปฏิบัติ ประกอบกับวิธีการที่ดีอย่าง เหมาะสมแล้ว ศิลปินจำ�ต้องมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจใน การงานที่ทำ�ด้วย จึงจะได้ผลงานที่มีค่าควรแก่การยอมรับนับถือ...

พระราชดำ�รัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๑ วันศุกร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๕


พุทธศิลปะ : ศาสตร์และศิลป์แห่งชีวิต ในคัมภีรม์ งคลสูตรพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึง “ความมีศลิ ปะ” ว่าเป็นมงคลของชีวติ ซึง่ มีความสำ�คัญพอๆ กับ ความเป็น “พหูสตู ” เนือ่ งจากผูท้ มี่ ศี ลิ ป์นนั้ ถือว่าเป็นผูฉ้ ลาดใช้ความรู้ ฉลาดในการนำ�ความรูไ้ ปปฏิบตั ใิ ห้เกิดผล ฉะนัน้ “ความเป็นผู้มีศิลปะ” จึงเป็นศาสตร์และศิลป์ของชีวิตและยิ่งมีคำ�ว่า “พุทธศิลปะ” เข้าไปด้วยจึงมีความหมายที่สำ�คัญ ต่อการดำ�รงต่อชีวิตและความสุขของบุคคลและสังคม “ความมีพุทธะศิลปะ” อาจจะมีนัยสำ�คัญ ๓ ประการ คือ ๑) ความฉลาดในการนำ�ความรูม้ าใช้ให้บงั เกิดผล ฉลาดทีจ่ ะสร้างสรรค์สงิ่ ทีด่ งี าม ก่อให้เกิดความสุข ความเจริญ ให้กับชีวิตและสังคม ๒) ความฉลาดในแนวทางปฏิบัติแห่งชีวิต ด้วยการคิด พูด ทำ� ในสิ่งที่เกื้อกูลต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติใน ชีวติ ประจำ�วัน โดยสามารถสร้างสรรค์ศลิ ปะทางวัตถุธรรมให้งดงาม (กายศิลปะ) มีความรูแ้ ละฉลาดทางวาจาหรือเป็น ผู้มี “วาทศิลป์” ในการน้อมนำ�บุคคลเข้าสู่เส้นทางแห่งความจริงและมิตรภาพ ในขณะเดียวกันก็ “ฉลาดทางใจ” คือ มี สติสมั ปชัญญะ คิดสร้างสรรค์ คิดเพือ่ ยกระดับจิตใจให้สงู ขึน้ ฉะนัน้ ผูท้ มี่ ศี ลิ ปะจึงหมายถึง ผูท้ มี่ คี วามฉลาดในแนวทาง แห่งชีวิต ๓) ความฉลาดในการเสริมสร้างจิตวิญญาณแห่งการเรียนรูแ้ ละการหลุดพ้น สำ�หรับผูท้ สี่ ามารถสร้างสรรค์ศลิ ปะ ในสาขาต่างๆ ให้ดีขึ้น สวยงามขึ้น ประณีตขึ้น จนสามารถยกระดับจิตใจของตนเองและผู้คนให้เห็นถึงความจริงของ ชีวติ และการเปลีย่ นแปลงทางจริยธรรม และเป็นผูท้ ปี่ ระกอบ “มนุญการ” คือ มีความฉลาดในการสร้างความอิม่ เอิบใจ ความประทับใจ หรือเสริมสร้างจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้และความหลุดพ้นให้เติมเต็มนั้น ย่อมถือว่าเป็นผู้ที่มีศิลปะ อย่างสูงส่ง การได้มีส่วนแห่ง “ความมีศิลปะ” ของบุคคลและสังคมจึงถือเป็นมงคลชีวิตที่จะได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะที่ประทับใจ อิ่มใจ อันมาจากภายในจิตใจที่งดงาม... พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ดร. ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


พุทธธรรมสร้างพุทธศิลป์ “ความงาม ความศรัทธา แรงปรารถนาแห่งจิต” ศิลปินรับใช้รากเหง้าแห่งความเชื่อและความศรัทธาของตนอยู่เสมอ ในวัฒนธรรมของเรามีความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ ผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ เมื่อพระพุทธศาสนาได้เดินทางมาถึงและเผยแผ่หลักธรรมคำ�สั่งสอน หยั่งรากแก้วลง ไปสู่วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ปลูกฝังความดีงามภายในจิตใจ นำ�พาผู้คนในสังคมไปสู่ความสงบสุข บรรพบุรุษ ของเราได้สร้างงานพุทธศิลปกรรม ฝากไว้บนแผนดินนี้ ไม่วา่ จะเป็นพุทธสถาปัตยกรรม พระอุโบสถ์ พระวิหาร พระธาตุ เจดีย์ พระพุทธรูป ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ลายปูนปั้น เครื่องประดับตกแต่งตามสถาปัตยกรรม และเครื่องบูชาต่างๆ อันวิจิตร งดงาม นั่นคือ สุนทรียะความงามของอารยธรรมของเรา นั่นก็เพื่อตอบสนองความเชื่อและความศรัทธาใน พระพุทธศาสนาของตนและเชื้อชาติของตนเอง ทั้งหมดนี้คือการ “บูชา”พระรัตนตรัย ผลงานที่รังสรรค์ผ่านกาลเวลามาในอดีตเพื่อ “บูชา”คุณความดีของพระรัตนตรัย น้อมนำ�สู่การเข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการสร้างบารมีส่วนตนและส่วนรวม เป็นกุสโลบายในการเข้าถึงความดีได้อย่างระเมียดละไม สุขุมลุ่มลึกอย่างยิ่งยวด ด้วยกระบวนการของการสร้างพุทธศิลปกรรม อีกประการหนึ่งด้วยแรงปรารถนาแห่งจิตที่จะ หลุดพ้นความทุกข์ ซึง่ เป็นคำ�สอนของพุทธศาสนา อิทธิพลของ พระปัญญาคุณ พระบริสทุ ธิคณ ุ และพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า หลักพุทธธรรม พระธรรมและพระวินยั ตลอดจนถึงพระสงฆ์สาวกผูป้ ฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ ยังส่ง แรงบันดาลใจที่ถือว่าเป็นแก่นแกนให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลปกรรม เพื่อบูชาคุณความดีตลอดมา ปัจจุบนั การสร้างผลงานพุทธศิลป์ มีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและแนวความคิดทีเ่ ป็นแนวทางศิลปะร่วม สมัยของแต่ละบุคคล แต่จุดเด่นของงานพุทธศิลป์ยังคงมีอัตลักษณ์ที่พิเศษประการหนึ่งนั้นคือ มีนัยหรือธรรมะ เป็น สาระอยู่ภายในผลงานชิ้นนั้นๆ ซึ่งเป็นมุมมองของศิลปินในแต่ละท่าน บ้างแสดงความรู้สึกปิติในความงามของ มหา ปุริสลักษณะ เมื่อแรกเห็นของ พระพุทธะเจ้า บ้างแสดงเป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมและการไตร่ตรองด้วยสติปัญญา บ้างแสดงการสักการะด้วยรูปลักษณ์ของเครือ่ งบูชาให้เห็นถึงความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน และทัง้ หมดนัน้ ล้วนแล้ว แสดงคำ�ถามทีย่ อ้ นถามทำ�ให้ผชู้ มได้สอบถามตัวเองในความเป็นพุทธศาสนิกชนและความเข้าใจในหลักแห่งความ จริง ตรง แท้ ซึง่ เป็นหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทัง้ นีเ้ ป็นไปตามสภาวธรรมและเจตนาของศิลปินแต่ละ ท่านบนแนวทางของตน เมื่อผู้สร้างผลงานอันล้ำ�ค่าสำ�เร็จ หน้าที่ของผู้สร้างก็จบลง แต่หน้าที่ของผลงานพุทธศิลป์ยัง มีหน้าที่พูดคุยกับผู้คนที่มาพบเห็นเพื่อเผยแผ่ปรัชญา คำ�สอนและความงามของความเป็นมนุษย์สืบไป มานิตย์ กันทะสัก 18 พฤษภาคม 2559


ศิลปินรับเชิญพิเศษ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี อาจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ อาจารย์พรมมา อินยาศรี อาจารย์ชาตะ ใหม่วงค์

อาจารย์ประจำ�สาขาพุทธศิลปกรรม พระบุญรอด ปคุณธมฺโม (บุญมีประเสริฐ) อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง อาจารย์มานิตย์ กันทะสัก อาจารย์สุมนัส ไสยวิริยะ อาจารย์วาทิตย์ เสมบุตร อาจารย์ขจรเดช หนิ้วหยิ่น

อาจารย์พิเศษ/วิทยากร

พระผล กลฺยาณธมฺโม (คูเวียงหวาย) อาจารย์สมพงษ์ สารทรัพย์ อาจารย์ปรีชา ราชวงศ์ อาจารย์พานทอง แสนจันทร์ อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม อาจารย์บรรจบ ปูธิปิน อาจารย์ธีรยุทธ สืบทิม อาจารย์เสงี่ยม ยารังสี อาจารย์พิสิษฐ์ ไชยล้อม อาจารย์ธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ อาจารย์ลิขิต นิสีทนาการ อาจารย์อังกฤษ อัจฉริยโสภณ อาจารย์มานิตย์ โกวฤทธิ์ อาจารย์ทนงศักดิ์ ปากหวาน อาจารย์นพนันท์ ทันนารี นายศตวรรษ หน่อแก้ว

นิสิตสาขาพุทธศิลปกรรม

พระวิวัฒน์ ภูริวฑฺฒโน (อนุภาพ) พระคุณากร กิตตฺญาโณ (เทพเสน) พระนพพล ปญฺญาวโร (คัตสงฆ์) สามเณรธีรนัย ใจเขียว สามเณรสุวัฒนา คำ�ผง ชาลินี กาวิลาวัน สมัชชา คำ�เมทา วีรภัทร มั่นเขตวิทย์ ฐิติวัฒน์ พักนิน


(ภาพปก) พระรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ (พระเจ้าทองทิพย์) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ชื่อผลงาน พุทธศิลป์ ขนาด 60 x 80 cm. เทคนิค วาดเส้น


อาจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ ชื่อผลงาน สังสารวัฏ ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีน้ำ�มันบนผ้าใบ

แนวความคิด

ชีวิตหลังเกษียรจากราชการ คือการสร้างสรรค์ศิลปะตามจริตส่วนตัว สลับกันกับการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนัง ถวายเป็นพุทธบูชา ณ โบสถ์วัดป่า ยาง (ดอยสะโงะ) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้กับที่อยู่ปัจจุบันของข้าพเจ้า “การงานคือการปฏิบัติธรรม” ดังถ้อยคำ�ของท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้ ข้าพเจ้าจึงอาศัย การวาดรูป พิจารณาร่างกาย สังขาร ความรู้สึก นึกคิด สอบอารมณ์ตัวเอง เมื่อจิตดิ่งเข้าสู่สมาธิ มีความสงบ อัตตภาพทางศิลปะ ก็สามารถขัดเกลาเอาสิ่งที่ รกหัว ออกไปได้อย่างรวดเร็ว มนุษย์เรานี้จิตเป็นสิ่งที่ดีดดิ้น รวดเร็ว อยู่กับเราประเดี๋ยวเดียวก็วิ่งออกไป มีทั้งจิตที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นเรื่องที่ควรต้องรู้ การสร้างสรรค์ศิลปะของข้าพเจ้าจึงเป็นสื่อแสดงให้เห็นถึงสภาวะจิตที่น้อมรับ ธรรมะ เพื่อรักษาจิตใจ ธรรมชาติ ที่รายล้อมรอบตัวสอนให้เข้าใจในสภาพสิ่งล้วนพึ่งพา และความเป็น ธรรมดา ของทุกสภาพสิ่งไม่เคยหยุดนิ่งและเปลี่ยนไปทุกขณะจิต


อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ชื่อผลงาน - น้ำ�ใจไม่มีที่สิ้นสุด - หัวใจมิมีที่สิ้นสุด - ความรักมิมีที่สิ้นสุด ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค หมึกจีน สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ทุกสิ่งในโลกล้วนเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น


อาจารย์พรมมา อินยาศรี ชื่อผลงาน ดินแดนแห่งพุทธภูมิ ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ข้าพเจ้ามีแรงบันดาลใจในสถานที่ ปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าโดยนำ�เอา ธรรมเมกขสถูป มาเป็นสื่อสัญลักษณ์ในการสร้างงานจิตรกรรม เพื่อความ งามทางทัศนศิลป์ ข้าพเจ้าได้จินตนาการและสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นดินแดนแห่งพุทธภูมิ


อาจารย์ชาตะ ใหม่วงค์ ชื่อผลงาน ดอกของไม้ ขนาด 40 x 60 x 90 cm. เทคนิค ถากไม้

แนวความคิด

มองให้เห็นความหมาย แล้วลงมือทำ�ให้มีความหมาย ในความหมายคงมีคุณค่า และมีความงาม อยู่ในนั้น,


พระบุญรอด ปคุณธมฺโม (บุญมีประเสริฐ) ชื่อผลงาน ไม่มีตัวตน ขนาด 60 x 120 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

คนเราคิดว่า ตัวตนเองหาย จึงค้นหาตัวตน หาตัวเองให้เจอ เมื่อเขาหยุดค้นหา กลับพบว่าไม่มีสิ่งใดที่ต้องค้นหา


อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง

ชื่อผลงาน พุทธ 2016 ขนาด 230 x 190 cm. เทคนิค สีอะคริลิค ทองคำ�เปลวบนผ้าใบ

แนวความคิด

ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่ไม่ได้เป็นที่พึ่งทางหลักธรรม หรือ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพุทธศาสนิกชน จึง ทำ�ให้ผู้ใฝ่รู้ในธรรม ต้องเข้าไปศึกษาพระธรรมใน google ซึ่งหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอกาลิโก ไม่ขึ้นกับเวลา ไม่ว่าจะผ่านไปสู่ยุคสมัยใดหรือในสถาน ที่ไหน ก็ยังคงนำ�พา ความปิติ เบิกบาน สู่ผู้ปฏิบัติธรรมได้เสมอ


อาจารย์มานิตย์ กันทะสัก ชื่อผลงาน สพฺพญฺญูพุทฺธ ขนาด 190 x 230 cm. เทคนิค วาดเส้นจิตรกรรม

แนวความคิด

ผูร้ ู้ ผูต้ นื่ ผูเ้ บิกบาน นักปราชญ์ ผูร้ ทู้ กุ สิง่ ทุกอย่าง ผูร้ ทู้ วั่ ผูร้ สู้ งิ่ ทัง้ ปวง ผูร้ แู้ จ้งถึงสิง่ ทีเ่ ห็นและสิง่ ทีเ่ ร้นอยูท่ กุ สิง่ อย่างเป็นความหมายทีก่ ล่าวถึงพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้น�ำ ความหมายของคำ�ว่า”สัพพัญญู”มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจิตรกรรม สร้างรูปสัญลักษณ์ทงั้ รูปธรรมทีส่ ามารถ เห็นและรับรูไ้ ด้โดยง่ายจากสิง่ ทีม่ องเห็นและปรากฏ จากโลกมนุษย์ สิง่ ทีเ่ ป็นนามธรรม เป็นอุดมคติทสี่ ามารถรับรูไ้ ด้จากประสบการณ์ของชีวติ และประสบการณ์ ทางธรรมที่ปรากฏในจิตใจ ด้วยมิติที่ทับซ้อนของภพภูมิทั้งสาม ผ่านผลงานทัศนศิลป์ เพื่อแสดงความเป็น “สัพพัญญู” ของพุทธะ


อาจารย์สุมนัส ไสยวิริยะ ชื่อผลงาน เรา โลก และธรรม ขนาด 190x 230 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

หลัก “อิทัปปัจจยตา” เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เพราะ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด สรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลล้วนมีความประสานกลมกลืนและขัดแย้งกันอย่างสมดุล ทั้งมวลสาร ความว่างและการเกิดดับที่หมุนเวียนอยู่ ทุกขณะตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ข้าพเจ้าจึงใช้กระบวนการสร้างสรรค์ด้วยการเขียนภาพจิตรกรรม เพื่อแสดงความประทับใจในหลักธรรมนี้และความยิ่ง ใหญ่ของธรรมชาติ ด้วยสัญลักษณ์ระหว่าง เรา โลก และจักรวาล ที่มีความสัมพันธ์กัน


อาจารย์วาทิตย์ เสมบุตร ชื่อผลงาน Absolute no.2 ขนาด 190 x 230 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ฉุด กระชาก ลาก ถูก


อาจารย์ขจรเดช หนิ้วหยิ่น ชื่อผลงาน พฤกษา(อุดมคติ) ขนาด 190 × 230 cm. เทคนิค ประดับกระจก

แนวความคิด

ความเคลื่อนไหว จังหวะ ลีลา ทิศทาง อารมณ์และความรู้สึก ของธรรมชาติ ต้นไม้ พรรณพฤกษา ในดินแดนอุดมคติ (ป่าหิมพานต์) เป็นแรงบันดาล ใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยชิ้นนี้ขึ้น ถ่ายทอดและแสดงออกผ่านเทคนิควิธีการในรูปแบบเฉพาะตน


พระผล กลฺยาณธมฺโม (คูเวียงหวาย) ชื่อผลงาน สมมติสัจจะ ขนาด 100 x 100 x 100 cm. เทคนิค สีอะคริลิค ทองคำ�เปลวบนผ้าใบ

แนวความคิด

ใดๆ ในโลกล้วนเป็นสิ่งสมมติ


อาจารย์สมพงษ์ สารทรัพย์

ชื่อผลงาน เติมวัน เติมคืน add the day, add the night ขนาด 120 x 130 cm. เทคนิค สีอะคริลิค,สีน้ำ�มัน บนผ้าใบ

แนวความคิด

ชีวิตมีการเกิดดับทุกขณะ การเตือนตนมีสติปลุกทุกสิ่งตื่นรู้เห็น เกิดดับ


อาจารย์ปรีชา ราชวงศ์

ชื่อผลงาน จิตสัมผัสธรรม : The Dhamma Inspired Mind ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ในหลายครัง้ การดำ�เนินไปของชีวติ มีอปุ สรรคและปัญหาต่าง ๆ เกิดขึน้ การได้หยุดนิง่ ฉุกคิด ทบทวน มองเรือ่ งราวรอบ ๆ ตัว และมองภายในตนทีเ่ กิด ขึน้ แล้วมาประกอบกับธรรมะทีเ่ ป็นคำ�สอนของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเกิดเป็นความรู้ ได้เห็น ได้สมั ผัสคุณแห่งพระธรรม ทีเ่ ป็นดัง่ แสงสว่างในดวงจิต


อาจารย์พานทอง แสนจันทร์ ชื่อผลงาน พุทธะ 2012 ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

พระพุ ท ธศาสนาเพื่ อ สั ง คม เป็ น ชื่ อ สำ � หรั บ ใช้ เรี ย ก ขบวนการพระพุทธศาสนาแนวใหม่ทเี่ กิดขึน้ เพือ่ ตอบสนอง ปัญหาสังคมโลกยุคใหม่ หมายถึง ทัศนะที่ว่าพระพุทธ ศาสนากับสังคมต้องผูกพัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มี การแยกเรื่องศาสนากับสังคมออกจากกัน รวมทั้งความ พยายามที่จะตีความพุทธธรรมให้ครอบคลุมปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน เพราะเห็นว่าการสอนแบบ จารีตที่เน้นการแก้ปัญหาของปัจเจกบุคคล ไม่เพียงพอ ต่อการตอบปัญหาสังคมยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความสลับ ซับซ้อนได้ การแก้ปัญหาความทุกข์ของปัจเจกบุคคลและ สังคมสามารถดำ�เนินควบคู่กันไปได้ อีกความหมายหนึ่ง พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม หมายถึง ขบวนการหรือกลุ่ม นักกิจกรรมชาวพุทธเพื่อสังคม ที่พยายามนำ�พระพุทธ ศาสนาเข้าไปมีสว่ นร่วมในการแก้ปญ ั หาสังคม เช่น ปัญหา ความอยุตธิ รรมทางสังคม ปัญหาสิง่ แวดล้อม ปัญหาความ รุนแรง ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางการเมือง ประเทศไทย ได้รบั เอาวัฒนธรรมมาจากพระพุทธศาสนา มาประพฤติปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต จนกลายมาเป็นรูปแบบ เอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย พระพุทธศาสนาจึงถือว่า เป็นเอกลักษณ์และมรดกของชนชาติไทย ซึ่งจะเห็นได้ จากการที่มีวัดกระจายอยู่ทั่วไปในทุกหมู่บ้าน ทุกชุมนุม ของสังคมไทย วัดจัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทย ทั้ง มีบทบาทต่อสังคมในฐานะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทำ�บุญตามประเพณี จัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นที่พบปะสร้างสรรค์เนื่องในโอกาสต่าง ๆ ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ เห็นได้ชัด ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็มีลักษณะอนุรักษ์นิยมเช่นกัน แน่นอนว่าในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ในคำ�สอน ของพระพุทธเจ้าจึงไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำ�คำ�สอนของพระองค์ มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหลักในการดำ�เนินชีวิตในโลกยุค ดิจิตอลได้ ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้า เทคโนโลยีจะนำ�พามนุษย์ไปไหน จะดีขึ้นหรือแย่ลง ก็บอกไม่ได้ เพราะเมื่อก่อนเราเคยคาดหวังกันไว้สูงมาก ว่าเทคโนโลยีจะ ทำ�ให้สังคมเราดีขึ้น ชีวิตของเราดีขึ้น หรือทำ�ให้โลกมีสันติภาพ แต่ก็อย่างที่เรารู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับทำ�ให้มนุษย์ทำ�ลายล้างกันมากขึ้น จนทุก วันนี้โลกก็ยังไม่มีสันติภาพอย่างแท้จริง ในเวลาเดียวกันเคยมีคนคาดทำ�นายว่าในโลกยุคสารสนเทศ คนจะมีความรู้มากขึ้น อวิชชาจะน้อยลง แต่ความเป็น จริงก็คือทุกวันนี้ ความเท็จก็ยังแพร่ระบาดอยู่ และยิ่งแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็วกว่าเดิมด้วยซ้ำ� แม้กระทั่งในหมู่คนที่มีความรู้ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่า นี้ ก็ยังมีความหลง มีอวิชชา หรือเชื่อความเท็จได้ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง เทคโนโลยี ได้ เพราะฉนั้น เราจะสามารถนำ�เทคโนโลยีมาใช้ ควบคู่กับศาสนาสังคมและวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร เป็น คำ�ถามที่ทิ้งไว้ในผลงานชุด BUDDHA 2014


อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม

ชื่อผลงาน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 190 x 265 cm.

แนวความคิด

ประมุขแห่งพุทธจักรคณะสงฆ์ “เมื่อความตายมาถึง ไม่มีผู้ใดจะสามารถถนอมรักษาหวงแหน ทะนุบำ�รุงร่างของตนเองไว้ได้ แม้สมบัติพัสถานที่แสดงหาไว้ระหว่างมีชีวิตอยู่ จนเต็ม สติปัญญาความสามารถ ด้วยเหล่ห์ ด้วยกลก็ตาม เพื่อใช้ทะนุถนอมรักษาเชิดชูบำ�รุงร่างของตน ก็ติดกับร่างไปไม่ได้เลย เป็นจริงดังพุทธศาสนสุภาษิตว่า “ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้” ให้ความสุข ความสมบูรณ์ ความสะดวกสบาย ความปกป้องคุ้มกันร่างของคนตายไม่ได้ ต้องปล่อยให้ร่างนั้นผุพังเน่าเปื่อยคืนสู่สภาพเดิม เป็นดินน้ำ� ไฟลมประจำ�โลกต่อไป ต้องตามพุทธศาสนสุภาษิตว่า “สัตว์ทั้งปวงจักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก” สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


อาจารย์บรรจบ ปูธิปิน

ชื่อผลงาน ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 120 x 150 cm.

แนวความคิด

ธรรมะหรือคุณงามความดีได้เกิดขึ้นมานานแล้วผู้ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติตนย่อมจะเข้าถึงในไม่ช้าก็เร็วแตกต่างกันไปตามการกระทำ�ของแต่ละคน ดังคำ� กล่าวที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”


อาจารย์ธีรยุทธ สืบทิม

ชื่อผลงาน หุ่นนิ่งจากยอดดอย พ.ศ.๒๕๕๙ เทคนิค สีน้ำ�บนกระดาษ ขนาด 120 X 150 cm.

แนวความคิด

วิถีชีวิตที่เรียบง่ายบนดอยสูงอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นเผ่า อย่างอบอุ่น และมีความสุขด้วยพระบารมีพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย


อาจารย์เสงี่ยม ยารังสี ชื่อผลงาน วัดร่องขุ่น ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีน้ำ�มันบนผ้าใบ

แนวความคิด

บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัย วัดร่องขุ่นที่อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ท่านอุทิศตนสร้าง พุทธศิลปกรรม อันทรงคุณค่าต่อแผ่นดิน


อาจารย์พิสิษฐ์ ไชยล้อม ชื่อผลงาน “ทางแห่งความสงบ” ขนาด 120 x 150 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ทางแห่งความสงบเป็นผลงานที่ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้วยการใช้สีและองค์ประกอบให้มีความสงบนิ่งและนำ�เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา มาสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อแสดงออก ถึงเรื่องราวความสงบ


อาจารย์ธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ ชื่อผลงาน “ศรัทธา สำ�เร็จ ร่ำ�รวย” เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 120 x 150 cm.

แนวความคิด

การเคารพ สักการะพระพิฆเนศด้วยความศรัทธาจะบังเกิดความสำ�เร็จดังที่ตนปรารถนาจะนำ�มาซึ่งความร่ำ�รวยยิ่งๆขึ้นไป


อาจารย์ลิขิต นิสีทนาการ ชื่อผลงาน “ช้างนาฬาคิลิงค์ 2” เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 130 × 200 cm.

แนวความคิด

จากรูปทรงสัตว์ที่มีพลังอำ�นาจสูงนำ�มาสร้างงานในลักษณะกึ่งสัญลักษณ์ แสดงพลังอำ�นาจแห่งคุณงามความดี ผสมผสานเป็นรูปทรงใหม่โดยนำ�เอา ลายเส้นและฝีแปรงสร้างความทับซ้อนในลักษณะวาดเส้นทำ�ให้เกิดรูปทรงใหม่ประกอบกับทัศนธาตุให้มีพลังในทางสุนทรีย์


อาจารย์อังกฤษ อัจฉริยโสภณ ชื่อผลงาน 1643 เทคนิค สีน้ำ�มันบนผ้าใบ Oil on Canvas ขนาด 120 x 150 cm.

แนวความคิด

ไอไซอะห์ เบอลิน(Isaiah Berlin) นักปรัชญาพหุนิยมชาวอังกฤษ กล่าวว่า “If I pursue one set of values I may detest another, and may think it is damaging to the only form of life that I am able to live or tolerate for myself and others, in which case I may attack it, I may even in extreme cases have to go to war against it. But I still recognize it as a human pursuit.” มองในภาพรวมด้วยโครงสร้างของสีทเี่ ต็มไปด้วยแรงสัน่ สะเทือนเมือ่ ถูกจัดวางอยูร่ วมกัน หากใช้เวลาและลองแยกพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นจะเห็นว่าแต่ละ สีแยกกันเป็นอิสระ และเส้นทีเ่ กิดจากการปาดระบายพูก่ นั ในแนวตัง้ เป็นร่องรอยของการทำ�งานซ้�ำ ๆทีถ่ กู ควรคุมเพือ่ สังเกตการทำ�งานอย่างสะเปะสะปะของ ความคิด


อาจารย์มานิตย์ โกวฤทธิ์

ชื่อผลงาน “บรรยากาศแห่งศรัทธา” ขนาด 90 x 120 cm. เทคนิค สีอะคริลิค ทองคำ�เปลวบนผ้าใบ

แนวความคิด

“แสง”เปรียบเสมือนความสว่างแห่งปัญญา ทีข่ ้าพเจ้าได้นำ�มาสร้างเป็นบรรยากาศในภาพเขียน ซ่อนความรู้สึกถึงความเย็น สงบ อบอุ่น ความปิติ เต็ม เปี่ยมไปด้วยความศรัทธาที่ผู้เขียนมีต่อพระพุทธศาสนา โดยภาพผลงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ์วัดท่าข้าม อ.ฮอด จ.เชียงใหม่


อาจารย์ทนงศักดิ์ ปากหวาน ชื่อภาพ มุ่งสู่ธรรม (ปลาไม่เห็นน้ำ�) ขนาด 190 x 230 cm. เทคนิค สีฝุ่น สีอะคริลิค ทองคำ�เปลว

แนวความคิด

เป็นภาพอุปมาว่าปุถุชนนี้ แม้จะเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ ก็หาได้สำ�นึกรู้ตัวไม่ เหมือนปลาที่อยู่ในน้ำ� เกิดในน้ำ� แก่ในน้ำ� แล้วก็ตายในน้ำ� ยังหามอง เห็นน้ำ�ไม่ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ก็อยู่เพียงแค่รอบกายนี้เอง เช่นเดียวกับปุถุชนที่ไม่รู้เรื่องกามคุณ โทษของกามคุณและความทุกข์ จะรู้เรื่องนิพพานได้อย่างไร


อาจารย์นพนันท์ ทันนารี

ชื่อผลงาน ปลายฝนต้นหนาว ขนาด 130 x 180 cm. เทคนิค จิตรกรรมวาดเส้น เทคนิคผสม

แนวความคิด

ความคำ�นึงในชนบทบ้านเกิดของข้าพเจ้า ยังอบอวลอยู่ในใจลอยวนอยู่ในความทรงจำ�ด้วยรักเสมอมา


นายศตวรรษ หน่อแก้ว

ชื่อผลงาน : พระพุทธรูปไม้ไผ่สาน ขนาด 55 x 65 cm. เทคนิค ภาพถ่าย,2559

แนวความคิด

การบูชาธรรมมะผ่านกระบวนการการสานด้วยไม้ไผ่ของชุมชนบ้านเกาะช้าง อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านและ นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ข้าพเจ้าจึงมีความประสงค์ที่ถ่ายภาพนี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักและชื่นชมงานศิลปะของพระพุทธรูปในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ไม่บ่อยนัก ในประเทศไทย


พระวิวัฒน์ ภูริวฑฺฒโน (อนุภาพ) ชื่อผลงาน ก้อนเมฆ ขนาด 40 x 100 x 80 cm. เทคนิค แกะไม้

แนวความคิด

แนวความคิด : เมฆเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่พึ่งพากันเเละกัน แรงบัลดาลใจ : เมฆเป็นส่วนหนึ่งของความอุดมสมบรูณ์ของธรรมชาติสรรพสิ่งมีชีวิต ถ้าไม่ทีเมฆก็ไม่มีฝนก็จะเกิดความแห้งแล้งธรรมชาติสรรพสิ่งมี ชีวิตล้วนตายไปอย่างแน่นอน แต่ถ้ามีเมฆก็มีฝนเมฆคือการรวมตัวของกลุ่มไอน้ำ�มารวมตัวกันมากขึ้น มากขึ้น ก็เกิดปฏิกิริยาเกิดเป็นฝนตกลงมาที่เราเห็นนี้ เองเมือ่ ฝนตกลงมาก็รสู้ กึ ถึงความสดชืน่ ชุมเย็นสบายอากาศดี ทำ�ให้ธรรมชาติสรรพสิง่ สิง่ มีชวี ติ ทัง้ หลายเจริญเติบโตอุดมสมบรูณง์ อกงามสวยงาม สบายตา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นโดยการเเกะสลักไม้ โดยใช้ไม้ขนุนก็เพราะว่าไม้ขนุนมีความเชื่อว่าจะหนุนนำ�ทุกอย่างเกิดการเกี้อหนุนในสิ่งที่เรา คิดนั้นจะเกิดผลสำ�เร็จ และดียิ่งขึ้นไปสมกับไม้ขนุน(หนุน)


พระคุณากร กิตฺติญาโณ (เทพเสน) ชื่อผลงาน กองทุกข์ ขนาด 60 x 80 cm. เทคนิค วาดเส้น ดินสอ

แนวความคิด

ได้แรงบันดาลใจมาจากสิง่ ทีเ่ กิดจากคน ทีม่ กี เิ ลสในตนเอง ทีม่ คี วามเห็นแก่ตวั มีความอยากมากเกินไปจนมองไม่เห็นผูอ้ นื่ ถึงแม้ความอยากทีต่ อ้ งการ นั้นเป็นความสุขของตัวเองเพียงครู่เดียว แต่เป็นความทุกข์ของผู้อื่นตลอดกาลก็ตาม


พระนพพล ปญฺญาวโร (คัตสงฆ์) ชื่อผลงาน กามภูมิ ขนาด 20 x 20 x 60 cm. เทคนิค ไม้แกะสลัก

แนวความคิด

ของคนปัจจุบันซึ่งห่างไกลจากศีลทั้ง 5 ข้อและดำ�เนินชีวิตย่างประมาท จึงทำ�ให้สังคมวุ่นวายมีผู้กระทำ�ผิดเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการทำ�ผิดศีลธรรม และยึดติดถือติดในสิ่งที่ตัวเองรักตัวเองหลง จึงไม่มีการหลุดพ้นออกจากสิ่งนั้นไปได้จึงวนเวียนอยู่ในนั้น


สามเณรธรีนัย ใจเขียว ชื่อผลงาน บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขนาด 100 x 120 cm. เทคนิค ดินสอขาวบนผ้าใบ

แนวความคิด

คิดที่ทำ�เรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสื่อให้รู้ว่าการบูชาของตัวเรามีความเชื่อและความเลื่อมใส การบูชาพระธาตุอินแขวน คือความคิดในตัวของข้าพเจ้า คือ พระ ธาตุมีความศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่กลางหน้าผา ตากแดด ตากฝน ลมพัด แผ่นดินไหว แต่พระธาตุไม่เป็นอะไร


สามเณรสุวัฒนา คำ�ผง ชื่อผลงาน พญามาร ขนาด 100 x 200 cm. เทคนิค ดินสอขาวบนผ้าใบ

แนวความคิด

ข้าพเจ้าได้แนวความคิดจากเรื่องการแบ่งชั้น ด้านสว่างและเงามืด กิเลสและนิพพาน นำ�มาสร้างสรรค์สอดแทรกเรื่องราวทางพุทธประวัติ ในเรื่องของ การบรรลุนิพพาน สิ่งที่เลิศสุด ถือเป็นแสงสว่างและสวยงามบริสุทธิ์


นางสาวชาลินี กาวิลาวัน

ชื่อผลงาน ความจริง ขนาด 140 x 180 cm. เทคนิค สีอะคริลิค ดินสอบนผ้าใบ

แนวความคิด

เมื่อมีแสงย่อมต้องมีเงา แม้บางครั้งเงาที่ตกกระทบอาจบิดเบือนไป แต่สุดท้ายเงาก็สะท้อนความจริงของสิ่งเหล่านั้น ข้าพเจ้าต้องการสื่อถึง มนุษย์อยู่ ใกล้กับศาสนาแต่อยู่โดยไม่เข้าใจ อยู่โดยละเลย อยู่โดยบิดเบือน


นายสมัชชา คำ�เมทา ชื่อผลงาน อัฐบริขาร ขนาด 100 × 120 cm. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

แนวความคิด

ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจาก อัฐบริขาร(บริขารแปด) อัฐบริขาร คือเครื่องใช้ที่จำ�เป็นของภิกษุซึ่งมีอยู่ 8 อย่าง ซึ่งจำ�เป็นในการบวช แล้วข้าพเจ้านำ� มาสร้างสรรค์และจัดองค์ประกอบใหม่เพื่อสื่อถึงความปิติสุข เบิกบานใจในการออกบวช


นายวีรภัทร มั่นเขตวิทย์ ชื่อผลงาน ด้านดีด้านชั่ว ขนาด 10 x 12 cm. เทคนิค ดินสอขาวบนกระดาษดำ�

แนวความคิด

ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานประติมากรรมเทพเจ้าในประเทศเนปาล จึงได้นำ�มาเป็นแบบอย่างในการทำ�งานสร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนถึงด้าน ชั่วในตัวมนุษย์คือ “การทำ�ความดีมักจะมีผลที่ดีตามมา แต่ถ้าหากทำ�ชั่ว ผลที่ตามมาคือความชั่วที่เราทำ�ไป” ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบเฉพาะตน


นายฐิติวัฒน์ พักนิน

ชื่อผลงาน ความศรัทธาในคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ขนาด 100 × 120 cm. เทคนิค ดินสอขาวบนผ้าใบ

แนวความคิด

ได้มาจากคำ�สอนของพระพุทธเจ้าในเรือ่ งบัวสีเ่ หล่า ซึง่ เป็นแรงบันดาลใจจาก คำ�สอนของพระพุทธองค์ทถี่ งึ แม้จะปรินพิ านไปแล้วก็ยงั คงเหลือคำ�สอน ไว้เตือนสติเตือนใจ เปรียบได้เห็นชัดถึงการเจริญเติบโตของดอกบัวกับการใช้ชีวิตของมนุษย์


“มงคล ๓๘ ประการ “

ข้อที่ 1: ไม่คบคนพาล “อเสวนา จ พาลานํ” คนพาลคื อ คนโง่ เขลา คนเกเรแม้ ค นมี ป ริ ญ ญาสู ง ๆ แต่ ป ระพฤติ ทุ จ ริ ต ทางกาย วาจา ใจ เรี ย กว่ า คนพาล การไม่คบคนพาลจึงเป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไป หาผิด การไม่คบคนพาลจึงทำ�ให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้า สู่ความผิด นำ�มาซึ่งความสรรเสริญของคนทั่วไป ข้อที่ 2: คบบัณฑิต “ปณฑิตานญฺจ” เสวนา บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทำ� ในคำ�ที่พูด และเรื่องที่ คิด คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความสรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง ข้อที่ 3: บูชาบุคคลที่ควรบูชา “ปูชา จ ปูชะนียานํ” บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำ�เกรง กราบไหว้ ทำ�ด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำ�ให้เราลด ทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด เป็นการเชิดชูบณ ั ฑิตให้ สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี “กตัญญูกตเวที” ข้อที่ 4: อยู่ในถิ่นอันสมควร “ปฏิรูปเทสวาโส จ” คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ใน ประเทศอันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ ดีย่อมทำ�ให้เป็นคนดี คนเรากล้าต่อการเผชิญกับปัญหา เพื่อ สร้างสิง่ แวดล้อมทีด่ ไี ด้ ได้รบั ความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญ ก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม ข้อที่ 5: ทำ�บุญมาไว้ก่อน “ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา” การทำ � บุ ญ ไว้ ก่ อ นเป็ น มงคล เพราะการทำ � บุ ญ เป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมื อ นปลู ก ต้ น ไม้ ยื น ต้ น จะต้ อ งคอยผลไม้ นั้ น เป็ น ปี ๆ การทำ�บุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน การทำ�บุญในปัจจุบัน ส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ข้อที่ 6: ตั้งตนชอบ “อตฺตสมฺมาปณิธิ จ” เป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัย

ในอบายภูมิ ข้อที่ 7: เป็นพหูสูต “พาหุสจฺจญฺจ” หมายถึงความเป็นผูร้ ู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็น ผูค้ งแก่เรียน พหูสตู เป็นมงคล เพราะการฟังมาก ย่อมเพิม่ วุฒิ ปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นำ�ความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้

ข้อที่ 8: รอบรู้ในศิลปะ”สิปฺปญฺจ” ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะ ช่วยตัวเองได้ไม่วา่ จะตกอยูใ่ นสถานะใด คนมีศลิ ปะ ย่อมเจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และ โลกหน้า และทำ�ให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ทีว่ า่ “ศิลปกรรมนำ� ใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย”

ข้อที่ 9: มีวินัยที่ดี “วินโย จ สุสิกฺขิโต” มี วิ นั ย เป็ น มงคล เพราะวิ นั ย เป็ น ตั ว กำ � หนดให้ เ กิ ด ความสามั ค คี ความมี ร ะเบี ย บสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ใน กิจการงานต่างๆ ทำ�ให้สังคมที่ดีดำ�รงอยู่ ข้อที่ 10: มีวาจาอันเป็นสุภาษิต “สุภาสิตา จ ยา วาจา” วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความ เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสำ�เร็จใน เรื่องที่เจรจา ข้อที่ 11: ดูแลบำ�รุงบิดามารดา “ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ” การเลี้ ย งดู ม ารดาเป็ น มงคล เพราะเป็ น การสื บ ต่ อ สังคมโดยอัตโนมัติ การบำ�รุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทำ�ให้ได้รับ การยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า ข้อที่ 12: ดูแลสงเคราะห์บุตร”ปุตฺตสงฺคโห” แยกมาจาก “ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห” การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของ ครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตร


ให้ดีได้รับการศึกษา ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ข้อที่ 13: ดูแลสงเคราะห์ภรรยา (สามี)”ทารสงฺคโห” แยก มาจาก “ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห” การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทำ�ให้ชีวิตครอบครัว มัน่ คงยัง่ ยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มนั่ คง การสงเคราะห์ ภรรยาเป็ น การสร้ า งความมั่ น คงและมั่ น ใจให้ แ ก่ ภ รรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รบั การยกย่องสรรเสริญ และเป็น ตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ข้อที่ 14: ทำ�การงานไม่ให้คั่งค้าง “อนากุลา จ กมฺมนฺตา” งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้ว ย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผลงานไม่คั่งค้างจะทำ�ให้ฐานะของ ตน ครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึน้ เพราะฉะนัน้ งานทีท่ �ำ เสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล ข้อที่ 15: ให้ทาน “ทานญฺจ” การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสีย สละ เป็นการลดความเห็นแก่ตวั ถ้าต่างคนต่างมุง่ หวังให้ทาน ความเห็นแก่ตวั จะลดลง การทุจริตจะลดลง ทำ�ให้มชี อื่ เสียงใน สังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์ ข้อที่ 16: ปฏิบัติธรรม”ธมฺมจริยา จ” การประพฤติธรรมเป็นมงคล เพราะเป็นการยกระดับ จิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ) ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติ ตลอดเวลา สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวม เป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้ ข้อที่ 17: ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ/พี่น้อง “ญาตกานญฺจ สงฺคโห” การสงเคราะห์ญาติคอื เมือ่ ยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่น ดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ ข้อที่ 18: ทำ�งานที่ไม่มีโทษ “อนวชฺชานิ กมฺมานิ” ทำ�งานที่ไม่มีโทษ คือ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใสเมื่อได้ช่อง ต้องจำ� กระทำ�ไป

ได้กำ�ไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน งานที่ไม่มีโทษ ข้อที่ 19: ละเว้นการทำ�บาป”อารตี วิรตี ปาปา” บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ� ท่านว่าสิ่งที่ทำ�แล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑.ฆ่าสัตว์ ๒.ลักทรัพย์ ๓.ประพฤติผิดในกาม ๔.พูดเท็จ ๕.พูดส่อเสียด ๖.พูดคำ�หยาบ ๗.พูดเพ้อเจ้อ ๘.โลภอยากได้ ของเขา ๙.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น ๑๐.เห็นผิดเป็นชอบ ข้อที่ 20: สำ�รวมจากการดืม่ น้�ำ เมา”มชฺชปานา จ สญฺญโม” มีดังนี้๑.ทำ�ให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำ�เงินไปซื้อหา ทั้ง ๆ ที่เงินจำ�นวนเดียวกันนี้ สามารถนำ�เอาไปใช้ในสิ่งที่เป็น ประโยชน์อย่างอืน่ ได้มากกว่า ,๒.ทำ�ให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำ�ไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำ�เมาทำ�ให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ,๓.ทำ�ให้เกิดโรค โรคที่ เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกาย จนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน ,๔.ทำ�ให้ เสียชือ่ เสียง เมือ่ คนเมาไปทำ�เรือ่ งไม่ดเี ข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ท�ำ ให้วงศ์ตระกูล และหน้าทีก่ ารงานเสือ่ ม เสีย ข้อที่ 21: ไม่ดำ�รงตนอยู่ในความประมาท “อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ” คนที่ ป ระมาทในธรรมนั้ น มี ลั ก ษณะที่ ส รุ ป ได้ ดั ง นี้ คื อ ๑.ไม่ทำ�เหตุดี แต่จะเอาผลดี ,๒.ทำ�ตัวเลว แต่จะเอาผลดี, ๓.ทำ�ย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก ข้อที่ 22: มีความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ “คารโว จ” ความเคารพ นั บ ถื อ คื อ เสน่ ห์ ไม่ โ ลเล เหมื อ นลิ ง วิ่ ง หลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง ดังนี้ ๑.พระพุทธเจ้า ,๒.พระธรรม , ๓.พระสงฆ์ ,๔.การศึกษา ,๕.ความไม่ประมาท คือการดำ�เนิน ตามหลักธรรมคำ�สอนพระพุทธศาสนาอืน่ ๆ ด้วยความเคารพ ,๖.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ด้วยความเคารพ


ข้อที่ 23: มีความถ่อมตน “นิวาโต จ” โทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ ๑.ทำ�ให้เสียคน คือ ไม่สามารถกลับมาอยูใ่ นร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต ๒.ทำ�ให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ ไม่ใช่เพื่อนแท้ ข้อที่ 24: มีความสันโดษ”สนฺตุฏฺฐี จ” ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ลักษณะของ ความสั น โดษเป็ น ดั ง นี้ คื อ ๑.ยถาลาภสั น โดษ หมายถึ ง ความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่ อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำ�ใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น อยู่ ๒.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำ�ลัง เรามี กำ�ลังแค่ไหนก็พอใจเท่านัน้ ตัง้ แต่ก�ำ ลังกาย กำ�ลังทรัพย์ กำ�ลัง บารมี หรือกำ�ลังความสามารถเป็นต้น ข้อที่ 25: มีความกตัญญู”กตญฺญุตา” ผูท้ คี่ วรกตัญญูนนั้ มีดงั นี้ ๑.กตัญญูตอ่ บุคคล บุคคลทีค่ วร กตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทน พระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์ เป็นต้น ๒.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สตั ว์ทมี่ คี ณ ุ ต่อเราช่วยทำ�งานให้เรา เราก็ควรเลีย้ งดูให้ดี เช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น ข้อที่ 26: ฟังธรรมตามกาล”กาเลน ธมฺมสฺสวนํ” เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำ�คัญต่างๆ ก็ควร ต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อสดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ใน หลักธรรมนั้นๆ และนำ�มาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ ๑.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำ�คัญทางศาสนา ,๒.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่าง เช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตาม สถานที่ต่างๆ หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ ,๓.เมื่อมีโอกาสอัน สมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมือ่ มีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น ข้อที่ 27: มีความอดทน”ขนฺตี จ” ความอดทนนั้นสามารถจำ�แนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้

คือ ๑.ความอดทนต่อความลำ�บาก คือความลำ�บากที่ต้อง ประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น , ๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของ เราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น, ๓.ความอดทนต่อ ความเจ็บใจ คือการทีค่ นอืน่ ทำ�ให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้ เจ็บช้�ำ ใจ ไม่เป็นอย่างทีห่ วังเป็นต้น, ๔.ความอดทนต่ออำ�นาจ กิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทาง กายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ ต่ออำ�นาจเงินเป็นต้น ข้อที่ 28: เป็นผู้ว่าง่าย “โสวจสฺสตา” ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำ�คาญ ค่ำ�เช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ� ให้นำ�มาใช้ ข้อที่ 29: ได้เห็นสมณะ”สมณานญฺจ ทสฺสนํ” สมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ ๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำ�รวมในการกระทำ�ทุกอย่าง รวมถึงกิรยิ า มรรยาท ตามหลักศีลธรรม , ๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ใน กรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำ�พูดและ ภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี , ๓.ต้องสงบใจ คือการทำ�ใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ� ไม่วา่ จะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา ข้อที่ 30: สนทนาธรรมตามกาล”กาเลน ธมฺมสากจฺฉา” ก่ อ นที่ เราจะสนทนาธรรม ควรต้ อ งพิ จ ารณาและ คำ�นึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี ๒.ต้องพูด เรื่องจริง มีประโยชน์ ๓.ต้องเป็นคำ�พูดที่ไพเราะ ๔.ต้องพูด ด้วยความเมตตา ๕.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน ข้อที่ 31: บำ�เพ็ญตบะ “ตโป จ” การบำ � เพ็ ญ ตบะหมายความถึ ง การทำ � ให้ กิ เ ลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการ บำ�เพ็ญตบะมีดงั นี้ ๑.การมีใจสำ�รวมในอินทรียท์ งั้ ๖ (อายตนะ ภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้ หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กเิ ลสครอบงำ�


ใจเวลาที่ รั บ รู้ อ ารมณ์ ผ่ า นอิ น ทรี ย์ ทั้ ง ๖ (อิ น ทรี ย์ สั ง วร) ๒.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง ข้อที่ 32: ประพฤติพรหมจรรย์”พฺรหฺมจริยญฺจ” การประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยูด่ งั นีค้ อื ๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่วา่ จะเป็นทรัพย์ สิง่ ของ เงินทอง หรือปัญญา ๒.ช่วยเหลือผูอ้ นื่ ในกิจการงานทีช่ อบ ที่ ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย) ๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลัก ขโมย ไม่ทำ�ผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำ�เมา (เบญจศีล) ข้อที่ 33: เห็นอริยสัจ “อริยสจฺจานทสฺสน” อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจ มีอยู่ ๔ ประการดังนี้ ๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำ�ให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้น ๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้น ไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนัน่ เอง ๔.มรรค คื อ ข้ อ ปฏิ บั ติ หรื อ หนทางที่ นำ � ไปสู่ ก ารดั บ ทุ ก ข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ ข้อที่ 34: ทำ�ให้แจ้งซึง่ พระนิพพาน “นิพพ ฺ านสจฺฉกิ ริ ยิ า จ” ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผูร้ จนาคัมภีรว์ สิ ทุ ธิมรรค ท่าน เป็นพระอรหันต์ขนั้ ปฏิสมั ภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึก ถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่อง ระลึก ดังจะนำ�มา เขียนไว้เพือ่ เป็นเครือ่ งอุปกรณ์ในการระลึก ข้อที่ 35: มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม “ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺ เมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต” ในทางธรรมมี ๔ ประการคือ ๑.การได้ลาภ เมือ่ มีลาภผล ก็ยอ่ มมีความเสือ่ มเป็นธรรมดา ๒.การได้ยศ ยศถาบรรดาศักดิ์ ล้วนเป็นสิง่ สมมุตขิ นึ้ มาทัง้ นัน้ ๓.การได้รบั การสรรเสริญ ทีใ่ ด มีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่อง ธรรมดา ๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย ข้อที่ 36: มีจิตไม่เศร้าโศก”อโสกํ” ประการที่ทำ�ให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ ๑.ความโศก

เศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก ๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจาก ความใคร่ ๓.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยง ในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา ๔.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา ๕.ทุก อย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้ เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น มงคลชีวิตข้อที่ 37: มีจิตปราศจากกิเลส “วิรชํ” จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้ง ปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด เป็นจิตที่นำ�เอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก ข้อที่ 38: มีจิตเกษม”เขมํ” เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจ ที่ เ ป็ น สุ ข มี จิ ด เกษมก็ คื อ ว่ า มี จิ ต ที่ เ ป็ น สุ ข ในที่ นี้ ห มายถึ ง การละแล้วซึ่งกิเลส


ศิลปินรับเชิญพิเศษ

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี Phramaha Vudhijaya vajiramedhi www.dhamnatoday.com ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน

อาจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ Sriwan Janehuttakarnkit Tel : 086-4290916 E-mail : Sriwanjane@gmail.com

อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ Somluk Pantiboon Tel : 053-705291,081-9606681 E-mail : Doydindg@loxinfo.to.th

อาจารย์พรมมา อินยาศรี Phomma Inyasri Tel : 053-662469,089-5633325 E-mail :prommartgallery_@hotmail.com

อาจารย์ชาตะ ใหม่วงศ์ Chata Maiwong Tel : 086-1850515 E-mail : chata_1maiwong@hotmail.com


อาจารย์ประจำ�สาขาพุทธศิลปกรรม

อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง Songdej Thipthong Tel : 089-555-0758 E-mail : s.thipthong@gmail.com

พระอาจารย์บุญรอด ปคุณธมฺโม Phra Boonrawd Pagunadhammo Tel : 085-4637272 E-mail : beomanone@gmail.com

อาจารย์มานิตย์ กันทะสัก Manit Kantasak Tel : 086-0962380 E-mail : mr.kantasak@hotmail.com

อาจารย์สุมนัส ไสยวิริยะ Sumanus Saiwiriya Tel : 081-4384762 E-mail : Rainbow1753@gmail.com

อาจารย์วาทิตย์ เสมบุตร Wathit Sembut Tel : 097-9649163 E-mail : 3founder@gmail.com

อาจารย์ขจรเดช หนิ้วหยิ่น Kajondet Niwyin Tel : 086-6575113 E-mail : Kajondet002@gmail.com


อาจารย์พิเศษ/วิทยากร

พระผล กลฺยาณธมฺโม (คูเวียงหวาย) Tel : 081-7060506 E-mail : waingwai53@hotmail.com

อาจารย์สมพงษ์ สารทรัพย์ Sompong Sarasap Tel : 053-719110 , 053-666565 E-mail : artgallery9@hotmail.com

อาจารย์ปรีชา ราชวงค์ Preecha Rachawong Tel : 087-1899146 E-mail : Preecha_04@hotmail.co.th

อาจารย์พานทอง แสนจันทร์ Phanthong Saenchan Tel : 081-2897536 , 053-186157 E-mail : phan-t@hotmail.com

อาจารย์สุวิทย์ ใจป้อม Suwit Jaipom Tel : 02-7466387, 081-9157744 E-mail : wit-76@hotmail.com

อาจารย์บรรจบ ปูธิปิน Banjob Putipin Tel : 081-3467767 E-mail : eha_job@yahoo.com


อาจารย์ธีรยุทธ สืบทิบ Teerayut Suebtim Tel : 081-784-5592 E-mail : teerayutorapin_art@hotmail.com

อาจารย์พิสิษฐ์ ไชยล้อม Pisit Chailorm Tel : 081-0240472 E-mail : pisitchailorm@hotmail.com

อาจารย์เสงี่ยม ยารังสี Sa-ngiam Yarangsee Tel : 081-9500068 E-mail : sg_ngiam@hotmail.com

อาจารย์ธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ Thanyapisit Seanchun Tel : 085-6537623 , 094-0972753 E-mail : Saenchun@hotmail.com

อาจารย์ลิขิต นิสีทนาการ Likit Nisritanakarn Tel : 091-9941459 E-mail : loiktni@gmail.com


อาจารย์อังกฤษ อัจฉริยโสภณ Angkrit Ajchariyasophon Tel : 086-9115331 E-mail : angkrit@gmail.com

อาจารย์ทนงศักดิ์ ปากหวาน Thanongsak Pakwan Tel : 085-3817248 E-mail : Thanongsak _Pakwan@msn.com

อาจารย์มานิตย์ โกวฤทธิ์ Manit Gowarhit Tel : 086-1935008 E-mail : tu_art@hotmail.com

อาจารย์นพนันท์ ทันนารี Noppanan Tannaree Tel : 089-4359503 E-mail : mungdoi18@gmail.com

นายศตวรรษ หน่อแก้ว Sattawat Norkaew Tel : 094-6254411 E-mail : note10_sattawat@hotmail.com


นิสิตสาขาพุทธศิลปกรรม (บรรพชิต)

พระวิวัฒน์ ภูริวฑฺฒโน (อนุภาพ) Phra Wiwat Puriwattano Tel : 096-8641042 E-mail : tahkaptah@gmail.com

พระนพพล ปญฺญาวโร (คัตสงฆ์) Phra Noppol Kutsong Tel : 089-9185496 E-Mail : -

พระคุณากร กิตตฺญาโณ (เทพเสน) Phra Khunakorn Thepsen Tel : 087-5650268 E-mail : www.khunakorn10@hotmail.com

สามเณรธีรนัย ใจเขียว Novice Teeranai Jaikuew Tel : 094-6109926 E-mail : kotmaha@hotmail.com

สามเณรสุวัฒนา คำ�ผง Novice Suwuttana Khampong Tel : 091-7041443 E-mail : su.wutta.na.krem@gmail.com


นิสิตสาขาพุทธศิลปกรรม (คฤหัสถ์)

ชาลินี กาวิลาวัน Chalinee Kawilawan Tel : 080-9240390 E-mail : Chalineekawilawan@gmail.com

วีรภัทร มั่นเขตวิทย์ Weerapart Munkhetwit Tel : 094-7340560 E-mail : weerapart_999@hotmail.com

สมัชชา คำ�เมทา Smatcha Khammatha Tel : 080-5032508 E-mail : -

ฐิติวัฒน์ พักนิน Thitiwat Paknin Tel : 087-5193146 E-mail : thitiwat_paknin@hotmail.com



กราบขอบพระคุณ พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค ๖ เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย พระสุวรรณเมธาภรณ์ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระรัตนมุนี ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ดร. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พระบุญรอด ปคุณธมฺโม (บุญมีประเสริฐ) พระผล กลฺยาณธมฺโม (คูเวียงหวาย) อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง อาจารย์อังกฤษ อัจริยโสภณ อาจารย์อัศวิน พิชญกุล ปิยะเกสท์เฮาส์ แม่ฮ่องสอน PIYA GUESTHOUSE, MAEHONGSON




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.