The splendour of nature

Page 1

สีสัน พรรณพฤกษ์ The Splendour of Nature


นิทรรศการศิลปกรรม Art Exhibition

สีสัน พรรณพฤกษ์ ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น

ศิลปะยืนยาวได้ ตลอดกาล พระพุทธรูปสถูปสถาน สร้างไว้ ชีวิตไม่ยาวนาน ดังวาด หวังนา สุขทุกข์ฉุกเจ็บไข้ ยากไร้วายวาง เพ็ญศิริ หวังแก้ว บุญสวน

The Splendour of Nature

โดย by

จรูญ บุญสวน Charoon Boonsuan นิทรรศการจัดแสดง : Exhibition on view : วันที่ 7 สิงหาคม - 15 กันยายน 2558 7 August - 15 September 2015 ณ ขัวศิลปะ เชียงราย at ArtBridgeChiangRai (ABCR)


21 มกราคม 2481

โรงเรียนศิลปศึกษา

ผมเกิดวันนี้ แต่ในบัตรประชาชนผมเกิดวันที่ 2 กรกฎาคม 2481 เหตุเพราะพ่อไปแจ้ง เกิดช้าไป จากบ้านผมไปอำเภอบางระจันไกล ไม่มีถนน ต้องเดินตัดท้องนา หากเดิน เลาะแม่น้ำก็จะไปได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น พ่อบอกว่า คนรับแจ้งเกิดเมากลางวัน เขา ไม่ยอมเขียนวันเกิดเป็นวันที่ 21 มกราคม ก็ต้องเลยตามเลย

ปี พ.ศ.2497 ผมจบ ม.6 ก็มาเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปศึกษา เพียงแค่ไปอ่านหนังสือ “แนะแนวทางศึกษาต่อ” เขาบอกว่า ถ้าเรียนจบศิลปศึกษา 3 ปี สามารถประกอบอาชีพ ทางวาดรูปได้ ผมอยากเรียนวาดรูป แต่ไม่อยากเรียนที่เพาะช่าง เพราะหากจบจากเพาะ ช่าง ก็ต้องออกมาเป็นครู ซึ่งเป็นอาชีพที่พ่อไม่อยากให้ทำ (พ่อเคยเป็นครูประชาบาลอยู่ พักหนึ่ง เลยไม่อยากให้ลูกเป็นครู ที่ไหนได้เมื่อผมจบจากศิลปากร ผมไปเป็นครูอยู่กว่า 30 ปี) ผมมีความปรารถนาสูงสุดในชีวิต เมื่อตัดสินใจเรียนวาดรูปก็เพราะอยากเขียน ฉากลิเกเท่านั้น (เมื่อเป็นเด็กผมชอบดูลิเกมาก ขนาดดูจนสว่างคาตาก็เคย)

บ้านที่ผมเกิดไม่มีเลขที่ ไม่มีประปา ไม่มีไฟฟ้า ต้องอาศัยตะเกียงเท่านั้น ผมเกิดที่บ้าน อาศัยหมอตำแยพื้นบ้าน บ้านผมอยู่ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

เรื่องของผม

โรงเรียนประชาบาลวัดโพชนไก่ ผมเรียนชั้นประถมที่นี่ สมัยผมเรียน เด็กต้องมีอายุ 8 ขวบ เรียนชั้น ก.ชั้น ข.ป.1 – ป.4 นักเรียนสมัยผม เมื่อจบ ป.4 จะเป็นหนุ่มเป็นสาว เพื่อนนักเรียนของผมผู้หญิงชื่อแฟ้ม พอจบ ป.4 แต่งงานเลย เพราะเป็นสาวแล้ว สำหรับผมไปเป็นเด็กวัดตั้งแต่ 5 ขวบ อ่าน – เขียนกับพระเลย เข้าเรียนเร็ว อายุ 10 ขวบ ผมอยู่ ป.4 แล้ว

โรงเรียนชละเอมวิทยา ผมจบ ป.4 ผมเป็นคนเดียวของโรงเรียนที่ไปเรียนต่อมัธยมที่ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ผมเรียน ที่นี่ชั้น ม.1 ถึง ม.3 ผมเริ่มชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ผมพบครูวิชาไวยากรณ์ไทยที่มักจะ เขียนแผ่นป้ายโฆษณา ท่านเขียนรูปคนโดยการตีตาราง ผมเห็นผมก็เอามาทำบ้าง ทำให้ ผมสามารถเขียนรูปอะไรก็ได้ โดยการตีตาราง ครูคนนั้น ชื่อ สังวาล กลิ่นแก้ว

โรงเรียนสิงห์บุรี “สิงหะวัฒนะพาหะ” ผมเข้าเรียนชั้น ม.4 ที่นี่ โรงเรียนชื่อยาว แต่ไพเราะ ผมจบ ม.6 ที่นี่ด้วยคะแนนค่อนข้าง สูง สมัยผมเรียนใช้ข้อสอบรวมทั้งประเทศ ปัจจุบันโรงเรียนนี้ไม่มีแล้ว ถูกยุบไปรวมกับ โรงเรียนหญิง เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสิงห์บุรี”

มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2501 ผมเข้าเรียนที่ศิลปากร (เลยไม่ได้เขียนฉากลิเกสักที) ปัจจุบันผมเขียนรูป เกือบทุกวัน แต่ยังไม่ได้เขียนฉากลิเกเหมือนกัน ผมเรียนที่นี่จนจบปี 5 ทีแรกตั้งใจจะตก ปี 5 สักปี บังเอิญ อาจารย์ศิลป์ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อผมกำลังจะขึ้นปี 5 ก็เลยไม่ตก การสอบตกไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ส่งงานเรียนไม่ครบชิ้นเดียวก็ต้องซ้ำชั้นแล้ว เมื่อไม่มี อาจารย์ศิลป์ ผมก็เลยเรียนเพื่อจบ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี และอาชี ว ศึ ก ษา วิ ท ยาเขตเทคนิ ค ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ นครราชสีมา ชื่อยาวจริงๆ 2506 ผมจบจากศิลปากรก็มาเป็นครูที่นี่ ตามธรรมเนียม

คนโบราณ เมื่อเรียนจบต้องทำงานหาเงินช่วยพ่อแม่ ส่งน้องเรียนหนังสือ ผมคิดว่าจะมา เป็นครู ทำงานสักพักแล้วก็จะเลิกไปเป็นศิลปินอาชีพ ตามความประสงค์ของอาจารย์ ศิลป์ ที่ปรารถนาให้นักศึกษาที่ได้เรียน ปี 4 – ปี 5 จบออกมาเป็นศิลปิน แต่ยังเป็นไม่ได้ ผมรับราชการเรื่อยมาจนอายุได้ 55 ปี จึงได้ลาออกจากราชการมาวาดรูปเต็มตัว ปัจจุบัน ออกมา 20 กว่าปีแล้ว ยังไม่ได้เป็นศิลปินสักที เป็นแค่คนวาดรูปไปวันๆ เท่านั้นเอง ที่ตั้งใจจะอยู่ในราชการสัก 2 – 3 ปี แล้วจะออกไปวาดรูป แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะผมมี ครอบครัวที่นครราชสีมา มีลูก 4 คน อยู่ที่นี่ถึง 16 ปี ปี 2522 ผมย้ายไปอยู่เมืองเหนือ ที่ลำพูนซึ่งเป็นบ้านเกิดของอาจารย์เพ็ญศิริ ภรรยาของผม และคงอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ผมน่าจะตายที่นี่แหละ (ผมอุทิศศพให้โรงพยาบาลสวนดอกตั้งแต่ปี 2526)


วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา วิทยาเขตภาคพายัพ เชียงใหม่

การแสดงงาน

อาชีพทำ ส.ค.ส.ขาย

วิทยาลัยเทคนิค ลำพูน

การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ เป็นความดำริของท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เพื่อ เปิดโอกาสให้ศิลปินได้แสดงงานศิลปะของตัวเอง และให้ประชาชนได้รับชม ผมส่งงานเข้าแสดงตั้งแต่ปี 2504 ผมเรียนอยู่ปี 4 ศิลปากร ไม่ได้หวังรางวัลอะไรกับเขา หรอก เพี ย งแต่ อ ยากเห็ น รู ป เขี ย นของตั ว เองแสดงบ้ า งเท่ า นั้ น เอง สมั ย นั้ น ศิ ล ปกรรม

แห่งชาติ วันๆ จะมีคนดูไม่น่าจะเกิน 20 คน ครึ่งหนึ่งก็จะเป็นศิลปินที่มีรูปแสดง (ผมด้วย) ไปดูกันเอง อาจจะมี 5 ตนตั้งใจมาดู และอีก 5 คน บังเอิญเดินผ่านมาเลยแวะเข้าไปดู เสียหน่อย ส่วนมากก็จะพูดว่า ไม่สวย ไม่เห็นเหมือน เขียนรูปอะไรดูไม่รู้เรื่อง ได้รางวัล มายังไงวะ ผมก็ส่งง่านเข้าแสดงเรื่อยมา แม้จะไปอยู่นครราชสีมาแล้ว ส่งเกือบทุกปีกว่าผม จะได้รางวัล โน่น ปี 2525 ใช้เวลา 21 ปี ถึงได้ ปี 2525 ผมได้ 1 รางวัล 2526 ไม่ได้ 2527 ผมได้ 3 รางวัล จาก 3 งาน คือ ศิลปกรรมแห่งชาติ บัวหลวง และกสิกรไทย ปี 2528 ผมก็ได้รางวัลเดิมคือ 3 รางวัล 3 งาน ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบันผมก็เลิกส่ง และไม่เคยคิดจะ ส่ง พอแล้ว มากเกินแล้ว รางวัลต่าง ๆ มันหลอกผม มันหาว่าผมเก่ง ทั้งๆ ที่ผมเขียนรูปยัง ไม่ดี แม้ทุกวันนี้ ถึงผมจะเขียนรูปเกือบทุกวัน วันละประมาณหลายๆ ชั่วโมง ผมก็ยังรู้สึกว่า เขียนรูปไม่ดีสักที หวังว่า ชาติหน้าหากได้เกิดเป็นคนอีก ผมน่าจะเขียนรูปได้ดีกว่าชาตินี้

เมื่อเป็นครูใหม่ๆ ผมได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมศิลปกรรม และถ่ายรูป ผมได้รับมอบหมายให้ทำบัตร ส.ค.ส. ขายให้กับนักศึกษา ผมรู้สึกโกรธ เลยแกล้งทำบัตร ส.ค.ส. เป็นแบบ ABSTRACT (ขณะเวลานั้น ศิลปะแบบ ABSTRACT เพิ่งจะเข้ามาเมือง ไทย) ที่ไหนได้ มีเท่าไรขายหมด แถมมีนักศึกษามาเล่าให้ฟังว่าส่งไปให้เพื่อนที่มหาวิทยาลัย กรุงเทพ อาจารย์เขาขอเอาไปติดบอร์ด บอกเป็นตัวอย่างของ ส.ค.ส. ที่มีคุณค่า เมื่อ หลังจากไม่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผมก็ทำ ส.ค.ส.ขายเองเรื่อยมา เป็นที่เยาะเย้ย ถากถางของชาวศิลปากรกันโดยถ้วนหน้า แต่นั่นแหละ เป็นอาชีพสุจริต แม้จะไม่ได้เงิน มากมายอะไรนัก แต่ก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัว จุนเจือพ่อแม่ ส่งน้องๆ เรียนหนังสือได้ ผมมาเลิกทำ ส.ค.ส. เมื่อปี 2525 เพราะมีปัญหาการเก็บเงินกับห้างใหญ่แห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯ ผมต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ(ผมย้ายมาอยู่ลำพูนแล้ว) เกือบ 10 เที่ยว หากต้อง เสียค่าโดยสารรถ บ.ข.ส. ผมคงหมดตัว แต่เผอิญ คนขับรถ บ.ข.ส. เป็นเพื่อนกัน เขา เมตตาให้นั่งฟรี ผมก็เลยปฏิญาณว่า จะเลิกทำ ส.ค.ส. ทุกวันนี้ผมเก็บตัวอย่าง ส.ค.ส. ที่ ผมทำไว้ที่บ้าน ใส่กรอบกระจกจัดแสดงไว้อย่างดี ส.ค.ส.ผมไม่ใช้วิธีพิมพ์ แต่จะเขียนทีละ ใบแล้วมาติดการ์ดเอา รูปเขียนเป็นแบบ ABSTRACT ล้วน ผมเขียนรูป ABSTRACT เล็กๆ เพื่อเป็น ส.ค.ส. ปีละประมาณ 5,000 ใบ เกือบ 20 ปี ผมเขียนรูป ABSTRACT เล็กๆ เกือบแสนใบ

การแสดงงานจิตรกรรมบัวหลวง

กลุ่ม 35ดีกรี

การแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย

เป็นกลุ่มครูศิลปะของเทคโนที่ผมสอนอยู่ จับกลุ่มกันเพื่อแสดงงานของตัวเอง ที่ใช้ชื่อว่า กลุ่ม 35 ดีกรี เพราะไปได้ความคิดที่จะแสดงรูปขณะกินเหล้า 35 ดีกรี กันอยู่ ผมก็กิน เหล้า 35 ดีกรี แต่ผมจะผสมด้วยน้ำอัดลมยี่ห้อ Fanta รสองุ่น เพราะฉะนั้นก็เท่ากับผม กินเหล้าองุ่นนั่นเอง กลุ่มนี้สลายตัวไปเพราะต่างคนต่างแยกย้ายไปรับราชการที่อื่น ผม ย้ายมาเมืองเหนือ อ.สุวิช ย้ายไปขอนแก่น อ.เทพศักดิ์ ย้ายไปบูรพา อ.สุวิชาญ ลาออก ทรงพล (เป็นนักธุรกิจคนเดียว) ก็ขาดการติดต่อไป ก็เป็นอันจบกิจกรรมนี้เพียงระยะสั้นๆ

ปี 2522 ผมย้ายจากนครราชสีมา มาเชียงใหม่ อยู่ที่นั่น 3 ปี ก็โอนไปอยู่กรมอาชีวะ ศึกษา ที่วิทยาลัยเทคนิคลำพูน เพราะปัญหาการเดินทางไปทำงาน และการเรียนของลูก อยู่ลำพูนผมไม่มีอะไรจะสอน ที่ตรงกับวิชาที่เรียน เมื่อ ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช คณบดี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาชวนผมไปสอนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ผมก็เลยย้ายไปสอนที่นี่ ผมได้สอนศิลปะ จริง ๆ จัง ๆ ก็ที่นี่แหละ แต่ก็สอนอยู่ ไม่ถึง 10 ปี ผมก็ลาออกเมื่ออายุได้ 55 ปี เมื่อลาออกจากราชการ ผมปรับชีวิตส่วนตัวใหม่ โดยที่เคยตื่นเช้าไปเซ็นชื่อทำงาน ผมก็ เปลี่ยนไปออกกำลังกายแทน 8 หรือ 9 โมงเช้า เคยเข้าสอน ผมก็เปลี่ยนเป็นเขียนรูป แทน ผมจะหยุดพักเพื่อทานอาหารกลางวันก่อนเที่ยง จากนั้น ผมจะนอนหลับประมาณ 20 นาที ถึงบ่ายโมงผมเริ่มเขียนรูปภาคบ่าย จะเลิกไม่ก่อน 4 โมงเย็น แต่ไม่เกิน 5 โมง เย็น เลิกกินเหล้า ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูข่าวจากทีวี อ่านแต่หนังสือการ์ตูน ธรรมะ นิดหน่อย ไม่อา่ นหนังสือทีเ่ ป็นความรู้ นวนิยาย จะเข้านอนไม่เกิน 4 ทุม่ ตืน่ ตี 5 พยายาม เป็นอย่างนี้ทุกวัน มากว่า 20 ปีแล้ว ทุกวันนี้ ผมมีบ้าน มีหอศิลป์ ไว้เก็บรูปเขียนและแสดงงานของตัวเองที่บ้าน เลขที่ 33/2 หมู่ 10 ต.เหมืองง่า ถนนลำพูน-เชียงใหม่ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 โทรศัพท์ 053-510739, 081 – 9506919

ผมจำไม่ได้ว่า การแสดงงานของทั้ง 2 รายการเริ่มเมื่อไร ผมก็ส่งงานเข้าแสดงเรื่อยมาตั้งแต่ เริ่ม ทั้ง 2 งาน ผมมาได้รางวัลพร้อมกัน คือ ปี 2527 และ 2528 หลังจากนั้นผมก็เลิกส่ง แสดงเดี่ยวครั้งแรกที่สำนักข่าวสารอเมริกัน นครราชสีมา พ.ศ. 2507 ผมอยูน่ ครราชสีมา ก็เขียนรูปอยูเ่ รือ่ ยๆ เมือ่ มีเวลาว่างจากการสอนและกิจกรรมที่ ได้รับมอบหมายให้ทำ เมื่อเขียนรูปไว้เยอะ ผมก็ไปติดต่อสำนักข่าวสารอเมริกัน หรือ ยูซิส เพื่อขอแสดงงาน เขาก็อนุญาต แต่เจ้ากรรม ผมกำหนดจัดงานวันที่ 4 กรกฎาคม (จำได้ แม่น ) ไม่ มีฝ รั่ง มาสัก คนเดี ยว (เพราะเป็นวันชาติของเขา) มีแต่แขกซึ่งเป็นครูเพื่อนกัน ประมาณ 20 คน เท่านั้น นี่เป็นการแสดงครั้งแรกในชีวิตของผม

ศิลปินกลุ่นลานนา ปี 2522 ผมย้ายมาอยู่เทคโนห้วยแก้ว ที่เชียงใหม่ มีศิลปินเยอะ พวกเขารวมตัวกันจัด งานแสดงศิลปะ เรียกว่า “ศิลปินกลุ่มลานนา” มีการแสดงรูปและมีการประกวดงาน

ศิลปะเด็ก ผมก็ร่วมกับกลุ่มนี้ ผมเริ่มแสดงตั้งแต่ครั้งที่ 2 และแสดงเรื่อยมาอีกหลายปี จนกระทั่งถึงคราวล่มสลาย ประมาณปี 2531 เคยดำริจะฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เพราะหลังๆ กิจกรรมเรื่องการแสดงรูปมีอย่างแพร่หลาย ไม่ต้องลำบากเหมือนเมื่อก่อน

สีสันพรรณพฤกษ์ รำลึกถึงครู “ศ.ศิลป์ พีระศรี” เมื่อผมลาออกจากราชการแล้ว มีเวลาเขียนรูปมาก รูปเขียนผมก็มากขึ้นเรื่อยๆ ผมยัง แข็งแรงสามารถออกไปเขียนรูปนอกสถานที่ได้สบาย เวลาไปเขียนรูปนอกสถานที่ผมจะ ขับรถยนต์ไป มีอุปกรณ์การเขียนรูป คือ ร่มขนาดใหญ่ ขาหยั่งเขียนรูป อาหาร น้ำ เรียบร้อย ศ.ศิลป์ พีระศรี ท่านเป็นครูที่ผมเคารพนับถือสุดหัวใจ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ เกือบ 70 ปี พ.ศ.2551 ผมอายุได้ 70 ปี ก็สมมุติว่ากำลังจะเขียนรูปให้ อ.ศิลป์ ตรวจ ซึ่งหลังจากไม่ ได้ตรวจรูปเขียนของผมมาเกือบ 45 ปี ผมก็เลยตั้งใจเขียนรูปให้ใหญ่หน่อย ขนาดกว้าง 1.25 x 3.00 เมตร ทีแรกตั้งใจจะทำให้ได้ 30 รูป แต่ทำไม่ทัน ทำได้ 20 รูป และเขียน ABSTRACT ขนาด 1.30x 5.00 เมตร อีก 2 รูป (สมัยเรียน อ.ศิลป์ท่านไม่ต้องการให้ นักศึกษาทำงานแบบ ABSTRACT) ผมขออาศัยหอศิลป์จามจุรี ซึ่งทางหอศิลป์อนุญาต ให้ผมใช้ถึง 2 ห้องใหญ่ ดูเหมือนการแสดงเดี่ยวคราวนี้จะประสบความสำเร็จมากพอ สมควรทีเดียว

นิทรรศการ จิตรกรรมสีน้ำมันชุด “แม่น้ำน้อย” บ้านเกิดผมอยู่ติดแม่น้ำน้อย (เป็นแม่น้ำที่แยกตัวเองจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท และ ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่ใต้จังหวัดอยุธยา) แม่น้ำน้อยสมัยก่อนเป็นแม่น้ำ สำคัญ ผู้คนอาศัยน้ำใช้ทำมาหากินทุกอย่าง ผมเองสมัยก่อนเมื่อไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ

ก็อาศัยนั่งเรือจากหน้าบ้านไปกรุงเทพ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 ชั่วโมง จำได้ว่า

ค่าโดยสารคนละ 6 บาท เรือจะไปจอดทีท่ า่ เตียน ประมาณตี 4 ผมจะนอนบนเรือจนกระทัง่ สว่าง ลงจากเรือก็ไปวัด ผมอาศัยอยู่วัดมหาธาตุ ใกล้ๆ ศิลปากร ผมไปมหาวิทยาลัยไม่ เคยต้องนั่งรถโดยสาร


เฟื่องฟ้าหลายสี สีน้ำมันบนผ้าใบ 125 x 850 ซ.ม. Fuang - Fha Oil on canvas 125 x 850 cm

แม่น้ำน้อยหมดความสำคัญเมื่อมีรถยนต์ขนสินค้า ผู้โดยสาร แม่น้ำน้อยทุกวันนี้จึงเป็น เสมือนของไม่มีค่าอะไร น้ำที่จะใช้ก็มีประปาเสียแล้ว หาดทรายที่ผมเคยอาศัยวิ่งเล่นเมื่อ หน้าแล้งหายไปเพราะเขื่อนชัณสูตร ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากแม่น้ำก็เพียงอาศัยเลี้ยง ปลาเท่านั้น วันที่ 12 เมษายน 2548 แม่ผมตาย อายุได้ 88 ปี ตามธรรมเนียมโบราณของภาคกลาง จะมีการเก็บศพไว้ก่อน ผมตั้งใจจะเก็บศพแม่ไว้ 1 ปี ผมมีความคิดจะเขียนรูปแม่น้ำน้อย เพื่อระลึกถึงแม่โดยจะเขียนเฉพาะจากหน้าอำเภอบางระจัน จนถึงวัดสนามชัย ซึ่งบริเวณ แม่น้ำน้อยส่วนนี้ผมกับแม่เคยมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น พายเรือไปขายของ ไปซื้อสินค้า ไป ทำบุญและอื่น ๆ เท่าที่จะนึกได้ ผมจะแถมลำน้ำแม่ลาด้วย ลำน้ำแม่ลา พ่อและแม่เคย ไปทำนาที่นี่ แม่ลาปลาช่อน สีดำ อร่อยที่สุดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันลำน้ำแม่ลาแทบ จะไม่มีแล้ว ตื้นเขิน ปลาช่อนที่เคยโด่งดัง ก็กลายเป็นปลาเลี้ยงในกระชัง หาความอร่อย ไม่ได้ สมัยผมเป็นเด็ก ปลาชุมมาก ถึงขนาดทำน้ำแกงไว้ก่อนแล้วเดินไปท่าน้ำ หาสวิงไป ตักปลาได้เลย

ผมอาศัยวัดอยู่เพื่อเรียนหนังสือ ไม่มีเงินก็ต้องไปซื้อหัวปลากับพุงปลา แม่ค้าเขามัดขาย ดูเหมือนจะราคาสิบ-ยี่สิบสตางค์ ไม่มีใครซื้อกิน ชาวบ้านที่ซื้อพุงปลาและหัวปลา หมาย ถึงเขาซื้อไปเลี้ยงเป็ด ผมยังอายเวลาไปซื้อต้องเปรยๆ ว่า เอาไปเลี้ยงเป็ด ผมเขียนรูปแม่น้ำน้อย และแม่ลา ได้ 28 รูป ตั้งใจไว้ 50 แต่ไม่สำเร็จก็เลยตั้งใจอีกครั้งจะ เขียนแม่น้ำน้อยให้ได้ 100 รูป จะจัดแสดงเมื่อแม่มีอายุ 100 ปี ในปี พ.ศ.2561 ก็เหลือ อีกแค่ 3 ปี ขณะปัจจุบันนี้ ผมเขียนได้ประมาณ 40 รูปแล้ว ผมก็เริ่มจะแก่ จะเขียนไหว หรือเปล่า สังขารไม่ให้ แต่ใจสู้ครับ ผมจัดแสดงรูปแม่น้ำน้อยบนศาลาวัดหลังสระที่จะเผาแม่ ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2549 ถือเสียว่า ให้แม่ดู เสียดายตรงที่ขณะที่พ่อและแม่มีชีวิตอยู่ ผมไม่เคยพาพ่อและ แม่ไปดูงานแสดงรูปเลย

สีสันพรรณพฤกษ์รำลึก 60 ปี จรูญ บุญสวน ผมเคยสอนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่หลายปี ผมลาออกตอนอายุ 55 ปี เมื่ออายุครบ 60 ปี ผมขออนุญาตทางคณะวิจิตรศิลป์ไปแสดงรูปเพื่อเป็นการรำลึกถึง คณะ การแสดงก็ไม่มีอะไรพิเศษที่จะบันทึกไว้ ณ ที่นี้ หากไม่มีคนมาดูคนหนึ่ง เขียนไว้ ในสมุดคำติชมว่า (ขออนุญาตจับแต่ใจความ ผมหาสมุดบันทึกเล่มนี้ไม่เจอ) อาจารย์ ครับ ทุกวันนี้ ผมไม่มีความสุขเลย ผมคิดถึงความตายตลอดเวลา เพราะผมมีเชื้อ HIV อยู่ ในตัวเอง แต่ 1 ชั่วโมงขณะที่ผมได้ดูรูปอาจารย์ ผมมีความสุขมาก ผมลืมความตาย ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ เท่านี้แหละครับที่ผมต้องการในชีวิตของการวาดรูป มายาวนาน ผมปรารถนาให้ผู้ดูมีความสุขกับการดูรูปครับ อย่าเอาความทุกข์ ความ วุ่นวาย และอะไรต่ออะไรที่ไม่เป็นสุขมาใส่ในศิลปะเลยครับ ศิลปะเป็นอาหารทางใจ ชีวิตเราทุกข์กันมากมายก่ายกอง ขออย่าให้ศิลปะมาเพิ่มความทุกข์ให้กับใจของเราอีก เลยครับ

ผมเขียนรูปเกือบทุกวัน ด้วยความตั้งใจ สงบ และมีความสุข ปรารถนาให้ผู้ชมมีความสุข ด้วย เมื่อใครดูแล้วมีความสุขผมก็ดีใจ หากดูแล้วเฉยๆ ก็ไม่ว่ากันครับ ผมแสดงรูปหลายครั้งมากทั้งเดี่ยวและกลุ่ม เอาไว้โอกาสหน้าเมื่อผมจัดแสดงรูปอีกผมจะ เขียนใหม่ครับ ก่อนจบขอเขียนถึงคุณหมอท่านหนึ่ง ท่านมาดูรูปที่บ้านผม เมื่อท่านกลับไป กรุงเทพ ท่านส่งเงินมาซื้อสูจิบัตรการแสดงรูปของผม เพื่อให้ส่งไปให้ครูศิลปะโรงเรียนคนหู หนวกที่ขอนแก่น ท่านเขียนว่า “ดิฉันเป็นหมอ มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อยทั้งการดู งานและอบรม ท่านบอกว่า เมื่อมีเวลาว่าง ท่านมักจะเข้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ในงานศิลปะนั้น ท่านมีทั้งชอบและไม่ชอบ แต่เมื่อมาดูรูปของอาจารย์ ดิฉันชอบและมีความสุขมากค่ะ” ขอบพระคุณมากครับหมอ ทำให้ผมมีความสุขและภูมิใจที่ได้เขียนรูปมายาวนาน มีคนชอบ และมีความสุข ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ จรูญ บุญสวน


ลิลลี่หลากสี สีน้ำมันบนผ้าใบ 120 x 260 ซ.ม. Lily in colour Oil on canvas 120x 260 cm.

ขอเชิญชนทุกผู้

ดูงาน

สืบศาสตร์ศิลปะชาญ

เชี่ยวชี้

อยู่ยั้งสถาพรนาน

กว่าชีพ ตนนา

จำหลักไว้โลกนี้

ถิ่นแคว้นแดนสยาม


เฟื่องฟ้าในสวน สีน้ำมันบนผ้าใบ 135 x 300 ซ.ม. Fuang – Fha in my garden Oil on canvas 135 x 300 cm.

เฟื่องฟ้าขาว-แดง สีน้ำมันบนผ้าใบ 135 x 300 ซ.ม. Fuang-Fha in White-Red Oil on canvas 135 x 300 cm


พลับพลึงแดง สีน้ำมันบนผ้าใบ 125 x 300 ซ.ม. Plub – Plueng in Red Oil on canvas 125 x 300 cm

พลับพลึงขาว สีน้ำมันบนผ้าใบ 125 x 300 ซ.ม. Plub – Plueng in White Oil on canvas 125 x 300 cm


(ซ้าย / Left) ปักษาสวรรค์ สีน้ำมันบนผ้าใบ 55 x 65 ซ.ม. Bird of Paradise Oil on canvas 55 x 65 cm (ขวา / Right) ปักษาสวรรค์ สีน้ำมันบนผ้าใบ 55 x 65 ซ.ม. Bird of Paradise Oil on canvas 55 x 65 cm.

พวงโกเมน สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. Poung – Ko-Main Oil on canvas 115 x 140 cm


พวงโกเมน สีน้ำมันบนผ้าใบ 125 x 300 ซ.ม. Poung – Ko -Main Oil on canvas 125 x 300 cm


ดอกผักโขม สีน้ำมันบนผ้าใบ 135x300 ซ.ม. The Flower of Phuk-Khom Oil on canvas 135 x 300 cm

(ซ้าย / Left) ดอกผักโขม สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. The flower of Phuk - Khom Oil on canvas 115 x 140 cm (ขวา / Right) บัวสวรรค์ -กระเจียว สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. Lotus of Thailand –Krajiew Oil on canvas 115 x 140 cm


บัวสวรรค์-กระเจียว สีน้ำมันบนผ้าใบ 135 x 300 ซ.ม. Lotus of Thailand-Krajiew Oil on canvas 135 x 300 cm.

(ซ้าย / Left) บัวสวรรค์ในสวน สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. Lotus of Thailand in my garden Oil on canvas 115 x 140 cm (ขวา / Right) บัวสวรรค์-กระเจียว สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. Lotus of Thailand-- Krajiew Oil on canvas 115 x 140 cm


(ซ้ายบน / Left upper) พวงหยก สีน้ำมันบนผ้าใบ 90 x 105 ซ.ม. Poung - Yok Oil on canvas 90 x 105 cm (ซ้ายล่าง / Left below) พวงหยก สีน้ำมันบนผ้าใบ 55 x 68 ซ.ม. Poung - Yok Oil on canvas 55 x 68 cm (ขวา / Right) พวงหยก สีน้ำมันบนผ้าใบ 68 x 80 ซ.ม. Poung - Yok Oil on canvas 68 x 80 cm

ซิมบิเดียมในสวน สีน้ำมันบนผ้าใบ 135 x 300 ซ.ม Cymbidium in my garden Oil on canvas 135 x 300 cm


ฟาแลน สีน้ำมันบนผ้าใบ 115 x 140 ซ.ม. Pha-Lan Oil on canvas 115x 140 cm

ฟาแลน สีน้ำมันบนผ้าใบ 135 x 300 ซ.ม. Pha - Lan Oil on canvas 135 x 300cm




จรูญ บุญสวน เกิด การศึกษา ที่อยู่ โทรศัพท์

21 มกราคม 2481 สิงห์บุรี ศิลปะมหาบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร 33/2 หมู่ 10 ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000 053-510739, 081-9506919

การแสดงผลงาน 2504 – 08 - แสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ 2513 – 21 - แสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ 2513 – 28 - แสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ 2507 - แสดงที่สำนักข่าวสารอเมริกัน นครราชสีมา 2516 - แสดงงานร่วมกับอาจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ

ณ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ 2519-22, 2524 – 28 - แสดงงานจิตรกรรมบัวหลวงกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด 2521 – 23, 2525-2528 - แสดงงานจิตรกรรมร่วมสมัยกับธนาคารกสิกรไทย จำกัด 2521 - แสดงงานกับกลุ่ม “ศิลปากร 20” กรุงเทพ 2522 - แสดงงานร่วมกับกลุ่ม 35 ดีกรี

ณ สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน กรุงเทพฯ 2521 - 31 - แสดงงานกลุ่มลานนาเชียงใหม่ 2523 - แสดงงาน 2 คน กับ คุณวันเจริญ จ่าประคัง ที่เยอรมัน 2524 - แสดงงานศิลปกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน

(มาเลเซีย อินโดนิเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และ ไทย) 2528 - แสดงงานจิตรกรรมร่วมสมัยจากประเทศไทย ณ ASIA WORLD ART GALLERY, TAIPEI,TAIWAN 2531 - แสดงงานจิตรกรรมจากประเทศไทย “ A view from Thailand” ณ Pacific – Asia museum, Pasadena California, USA 2541 - แสดงงานนิทรรศการเดี่ยว “60 ปี แห่งสีสัน จรูญ บุญสวน” ณ ห้องแสดงภาพ เพลสออฟอาร์ต สุขุมวิท 31 - แสดงงานนิทรรศการเดี่ยว “สีสันพรรณพฤกษ์ รำลึกหกสิบ” ณ หอศิลป์ครูเทพ เชียงใหม่ - แสดงงานนิทรรศการเดี่ยว เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2542 - แสดงนิทรรศการจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว

ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎเชียงราย 2545 - แสดงงานนิทรรศการเดี่ยว “สีสันพรรณพฤกษ์รำลึกหกสิบห้า” ณ ศูนย์การค้า ดิเอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ 2546 - แสดงศิลปกรรมร่วมสมัยหกสิบปี คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ


2547 2548 2549 2550 2551 2553 2555 2556 2556

- แสดงนิทรรศการ จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ

ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก - แสดงนิทรรศการ “สีสันพรรณพฤกษ์”

ณ หอศิลป์ จามจุรี แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - แสดงนิทรรศการงานจิตรกรรม ศิลปินอาวุโส

ณ แกลเลอรี ปาณิศา เชียงใหม่ - แสดงนิทรรศการ สีสันพรรณพฤกษ์ ชุด “แม่น้ำน้อย”

ณ พีซีซี อาร์ต เซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ - การแสดงศิลปกรรม ในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา

80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดปี 7 ครั้ง - การแสดงศิลปกรรม “ สีสันพรรณพฤกษ์ รำลึกถึงครู

ศ.ศิลป์ พีระศรี ชาตะกาล 115 ปี ณ หอศิลป์วฒ ั นธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - การแสดงศิลปกรรม “ สีสันพรรณพฤกษ์ รำลึกถึงครู

ศ.ศิลป์ พีระศรี” ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย - แสดงนิทรรศการจิตรกรรม “สีสันพรรณพฤกษ์”

ณ แอด บอง แกลเลอเรีย กรุงเทพฯ - นิทรรศการจิตรกรรม “สีสันพรรณพฤกษ์”

ณ โอ พี การ์เด้น กรุงเทพฯ - การแสดงศิลปกรรม “สีสันพรรณพฤกษ์”

ณ หอศิลป์หลักเมือง จังหวัดขอนแก่น - การแสดงศิลปกรรม “สีสันพรรณพฤกษ์

ณ ศรีนครินทร์” ณ โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - นิทรรศการ จิตรกรรมนามธรรม ณ หอศิลป์วัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร

รางวัลที่ได้รับ 2525 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท จิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 28 2527 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท จิตรกรรม - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 30 2528 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท จิตรกรรม - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 31 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงินบัวหลวง ประเภทไทยร่วมสมัย นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 9 - รางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย โดยการ สนับสนุนของ ธนาคารกสิกรไทย ประจำปี 2528

CHAROON BOONSUAN Born Jan 21st 1938, Singburi,Thailand Education B.F.A. (Painting) Silpakorn University, Bangkok M.F.A. (Painting) Silpakorn University, Bangkok Occupation - Art Lecturer,Faculty of Fine Arts,Chiang Mai University - Freelance Artist ( 1993- Present) Studio 33/2 Moo10Muang- Nga,Muang, Lamphun 51000 Tel. 053-510739 , 081-9506919 Exhibition 1961 – 65 - National Exhibition of Art, Bangkok 1970 – 78 - National Exhibition of Art, Bangkok 1980 – 85 - National Exhibition of Art, Bangkok 1976 – 79 - Bualuang Exhibition of Art, Bangkok 1981 – 85 - Bualuang Exhibition of Art, Bangkok 1980 - Group Exhibition with Mr.WanchareonJapakang at Galarie CHRISTIAN, Bobillingen, W.Germany 1981 - ASEAN Art Exhibition in Malaysia, Indonesia, Singapore, Philippines and Thailand. 1985 - Contemporary Art Exhibition by Thai Group

At Asia World Art Gallery, Taipei, Taiwan. 1988 - Contemporary Art Exhibition by Thai Group

“A View From Thailand” at Pacific – Asia Museum, Pasadena, California, U.S.A. 1998 - Solo Exhibition “Charoon Boonsuan Sixty Birthday” At Palace of Art, Bangkok . - Solo Exhibition “Variety Flower 5th Cycle BirthdayW At KruThep Art Gallery, Chaing Mai. - Solo Exhibition “SilpaBhirasri Day at Chiang Mai 1999 - 72nd Celebration Rama IX Art Exhibition

At Rajabhat Institution Chiang Rai. 2002 - Solo Exhibition “The Splendour of Nature”

At Emporium tower. 2003 - 60 Years of Silpakorn University at National Gallery, Bangkok. 2004 - 72nd Celebration Queen Sirikit Art Exhibition

At Naresuan University Art Gallery. 2005 - Solo Exhibition “TheSplendour of Nature”

At Jamjuree Art Gallery, Chulalongkorn University, Bangkok.

2006 2007 2008

2010 2012 2013

- Exhibition of Painting at Panisa Gallery, Chaing Mai. - Exhibition “The Splendour of Nature” MaenamNoiSerie at PCC Art Center, Bangkok. - The Exhibition of Painting in The 80 Celebration Birthday of the King 7 times. - Exhibition “The Splendour of Nature in the 115 th Birthday of Prof.Silp Bhirasri. At Art Culture, Chiangmai University - Exhibition “The Splendour of Nature” in the memory of My Greatest Teacher, Professor SilpaBhirasri. At Jamjuree Art Gallery, Chulalongkorn University, Bangkok - Art Exhibition “The Splendour of Nature”

At @Bon Galleria, Bangkok. - Art Exhibition “The Splendour of Nature” At O.P. Garden, Bangkok. - Art Exhibition “The Splendour of Nature”

At LakMuang Gallery, KhonKaen. - Art Exhibitiion“The Splendour of Nature”

At Srinagarind Hospital,KhonKaen. - Art Exhibition “Abstract Painting By Charoon Boonsuan” At Bangkok art and Culture, Bangkok.

Awards 1982 - 3nd Prize, Bronze Medal (Painting) The 28th National Art Exhibition, Bangkok. 1984 - 3nd Prize, Bronze Medal (Painting). The 30th National rt Exhibition, Bangkok - 3nd Prize, Bronze Medal, Contemporary Thai Art Section. The 8th BuaLuang Painting Contest, Bangkok. - Award Winner, Contemporary Art Competition 1984 by Thai Farmers Bank, Bangkok. 1985 - 3rd Prize, Bronze Medal (Painting). The 31st National Art Exhibition, Bangkok - 2nd Prize, Silver Medal, Contemporary Thai Art Section, the 9thBuaLuang Painting Contest, Bangkok. - Award Winner, Contemporary Art Competition 1985 by Thai Farmers Bank, Bangkok.

ขอขอบคุณ อาจารย์นคร พงษ์น้อย คุณสมลักษณ์ ปัณติบุญ คุณเพ็ญศิริ บุญสวน คุณพลับ – คุณทัศศิณา - เด็กหญิงปริยาภัทร บุญสวน คุณพลัม บุญสวน คุณเสงี่ยม ยารังสี คุณอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ คุณชัยวิชิต สิทธิวงค์ คุณไทรทอง เหง้าน้อย คุณพจวรรณ พันธจินดา คุณอุกฤษฏ์ วงศ์สัมพันธ์ คุณมา นาใจ เจ้าหน้าที่ขัวศิลปะ ทุกท่าน


“...ทุกวันผมเขียนรูปด้วยความตั้งใจ และเพื่อความสุขของตัวเอง หากผู้ชมมีความสุขด้วย ผมก็ดีใจ...” จรูญ บุญสวน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.