1
ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑
2
จดหมายข่าวเทวาลัย ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑
วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)
จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา
รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อ.William Whorton
ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th)
กิจกรรมเนื่องในโอกาส ๑๐๑ ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ หน้า 4
อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th
3
Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) 2017
8 ซีรีย์เสวนา ริอ่าน: ส�ำรวจความพยศของตัวบททางเลือก
12
ฅนอักษรฯ คุณวีรวุฒ เหลืองพลสินกุล
10
อาจารย์อาวุโส คณะอักษรศาสตร์ ได้รับรางวัล นราธิปพงศ์ประพันธ์ ประจำ�ปี ๒๕๖๐
11
ข่าวจาก หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
16
ปฏิทินกิจกรรม: เดือนมกราคม
14
4
กิจกรรมเนื่องในโอกาส
101 ปี
วันคล้ายวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (3 มกราคม 2561) และวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561
เวลา 7.15 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชด�ำเนินเป็นการ ส่วนพระองค์ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี คณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะ คณาจารย์ บุคลากร และ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ เฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพิธี บ�ำเพ็ญกุศล ณ บริเวณลานหน้าอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และอาคารมหาวชิราวุธ เวลา 10.30 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์และถวาย ภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จ�ำนวน 10 รูปจากวัดปทุม วนาราม ราชวรวิหาร มีพระธรรมธัชมุนี เจ้าอาวาส เป็น ประธานสงฆ์ ณ โถงอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษร ศาสตร์
5
6
7
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์
8
Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) 2017
งานวิจัย คณะอักษรศาสตร์
วันที่ 16-17 ธันวาคม 2560 งานวิจัย คณะ อักษรศาสตร์ ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา และคณะรัฐศาสตร์ จัดงานประชุมวิชาการ นานาชาติ Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) 2017 ในหัวข้อเรื่อง “Unity in Diversity: Transgressive Southeast Asia” ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และอาคารมหา จักรีสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อ รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ทูลเกล้า ฯ ถวายพวงมาลัย
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กราบบังคมทูลรายงาน
เป็นเวทีสำ�หรับการแลกเปลี่ยนและอภิปรายเกี่ยวกับพัฒนาการ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริบทต่างๆ ของโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีผู้เข้าร่วมนำ�เสนอผลงานกว่า 200 คน จาก 31 ประเทศทั่วโลก ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ พระราชดำ�เนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ณ หอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 เวลา 17.00 น. และทรงฟังการแสดงปาฐกถาของ ศาสตราจารย์ ดร.ขัยวัฒน์ ส ถาอานันท์ เรื่อง “CELESTIAL AXE: ON THE POLITICS OF NAMING”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชด�ำรัสเปิดการประชุม
รายนามคณะทำ�งานการประชุมวิชาการนานาชาติ SEASIA 2017 คณะอักษรศาสตร์: 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริดา มโนมัยพิบูลย์ 4. อาจารย์ ดร.ปิยฤดี ไชยพร 5. อาจารย์ ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 6. อาจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ 7. อาจารย์ ดร.กัญญา วัฒนกุล 8. อาจารย์ ดร.นยา สุจฉายา 9. คุณวิภา หอมศิริ 10. ว่าที่ ร.ต.หญิงทองสุข จิตวิมลประเสริฐ 11. คุณสุธรรม โตฤกษ์ 12. คุณวราพร พวงจันทร์หอม 13. คุณวรรณภา จัดสนาม 14. คุณกมลรัตน์ โกมลนิรมิต
9
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฟังปาฐกถา เรื่อง “CELESTIAL AXE: ON THE POLITICS OF NAMING” โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการแสดงวัฒนธรรม โดยนิสิตชมรมนาฎศิลป์ คณะอักษรศาสตร์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปฏิสันถารกับองค์ปาฐก (ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์)
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และองค์ปาฐก ร่วมถ่ายรูปหมู่กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตอาสา คณะอักษรศาสตร์ เพื่อเป็นที่ระลึกการจัดงานพิธีเปิด งานประชุมวิชาการนานาชาติ SEASIA 2017
10
อาจารย์อาวุโสคณะอักษรศาสตร์ ได้รับรางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประจำ�ปี 2560 คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อาจารย์อาวุโสของคณะอักษรศาสตร์ 3 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล และอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์อกี 1 ท่าน คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ ได้รับรางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ประจ�ำปี 2560 ทั้ังนี้ จะมีพิธีมอบรางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์วันที่ 20 มกราคม 2561 ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ในเวลา 8.30 น. รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ ถือก�ำเนิดขึ้นใน พ.ศ.2544 อันเป็นปีที่สมาคม นักเขียนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งครบ 30 ปี ประจวบกับในปี 2544 เดียวกันนี้ เป็น ปีครบรอบ 110 พรรษาของศาสตราจารย์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2435 - 2519) และครบรอบ 10 ปีที่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศยกย่ อ งให้ พ ระองค์ เ ป็ น บุ ค คลส� ำ คั ญ ของโลกที่ มี ผ ลงานดี เ ด่ น ด้ า น วัฒนธรรม สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดย นายประภัสสร เสวิกุล เป็น นายกสมาคมฯ จึงด�ำริให้มีรางวัลนราธิปขึ้น ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของ ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร ทายาทของพระองค์ในการเชิญ พระนาม “นราธิปพงศ์ประพันธ์” มาเป็นชื่อรางวัล รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์ มอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโสที่สร้างสรรค์ ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และผลงานเป็นที่ยก ย่องอย่างกว้างขวางในปี 2560
11
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 25
"มหาชาติในขณะจิตเดียว"
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 25 "มหาชาติในขณะจิตเดียว" โดย อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) ประธานหอพระไตรปิฎกนานาชาติ วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 12.00 - 13.00 น. (ลงทะเบียน 11.30 น. ) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ของขวัญวันปีใหม่ส�ำหรับผู้เข้าร่วม : “บทเจริญพุทธานุสสติ” ปกหน้าปกหลังเป็นภาพพระพุทธเมตตาที่พุทธคยา ผู้สนใจเข้าร่วมแจ้งชื่อได้ที่ โทร. 02-218-4916 หรือ e-mail: tipitaka.chula@gmail.com
12
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
ซีรีย์เสวนา
ริอ่าน:
ส�ำรวจความพยศของตัวบททางเลือก
จะท�ำอย่างไรเมื่อตัวบทในการศึกษาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะวรรณคดี ประวัติศาสตร์ หรือสารคดี ปฎิเสธไม่ได้ว่าใน ปัจจุบันเราได้เผชิญกับตัวบททางเลือกใหม่ อาทิ แฟนฟิค เกม หรือแม้ กระทั่งโซเชียลมีเดีย ที่มีส่วนส�ำคัญในกระแสวิถีชีวิตคนร่วมสมัย ค�ำถาม ส�ำคัญที่เกิดตามมาคือ เราจะมีวิธีการมองตัวบททางเลือกกลุ่มต่างๆ เหล่า นี้อย่างไร และตัวบทเหล่านี้สะท้อนภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร บ้าง ร่วมส�ำรวจแนวทางศึกษาตัวบทใหม่ๆ นี้ได้ในซีรีย์เสวนา "ริอ่าน: ส�ำรวจ ความพยศของตัวบททางเลือก" ร่วมจัดโดยภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ The Reading Room ขอเชิญผู้ที่สนใจตัวบททางเลือกใหม่ๆ หรือสนใจพรมแดนความรู้ที่ขยาย ตัวอย่างไม่รู้จบ ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยจัด ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2561
13
ตารางกิจกรรม 18 มกราคม: แฟนฟิค โดย เสาวณิต จุลวงศ์ และ อรรถ บุนนาค (ด�ำเนินรายการโดย ทอแสง เชาว์ชุติ) 22 กุมภาพันธ์: เกม โดย เดชรัต สุขก�ำเนิด และ ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ (ด�ำเนินรายการโดย ภาณุ ตรัยเวช) 8 มีนาคม: ละครเพลง โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล และ เกียรติภูมิ นันทานุกูล (ด�ำเนินรายการโดย นภัสรพี สุนทรธิรนันทน์) *21 เมษายน: บันทึกการเดินทาง โดย ปรีดี หงษ์สต้น และ อรสุธี ชัยทองศรี (ด�ำเนินรายการโดย จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร) *12 พฤษภาคม: สื่อโซเชียล โดย ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ และ เมธาวี โหละสุต (ด�ำเนินรายการโดย อรรถพล ปะมะโข) *2 มิถุนายน: หนังสืองานศพ ฉลอง สุนทราวาณิชย์ และ นิภาพร รัชตพัฒนากุล (ด�ำเนินรายการโดย ธีราภา ไพโรหกุล) สถานที่จัด คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ห้องสรรพศาสตร์สโมสร) เวลา 13:00-15:00น. *สถานที่จัด The Reading Room สีลม 19 เวลา 14:00-16:00น.
14
ฅนอักษรฯ
สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว
คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน
คุณวีรวุฒ เหลืองพลสินกุล
“ไม่ว่าคุณจะใช้ชีวิตในแต่ละวินาที ยังไง หรือไม่ว่าจะมีคนเกลียดคุณอยู่ หรือไม่ ขอแค่คุณไม่คลาดสายตา จากดวงดาวน�ำทาง ซึ่งก็คือ “การ ช่วยเหลือคนอื่น” แล้วคุณจะไม่มีวัน หลงทาง คุณจะมีอิสรภาพและ สามารถท�ำในสิ่งที่อยากท�ำ ใครจะ เกลียดคุณก็ปล่อยให้เขาเกลียดไป” ผู ้ เ ขี ย นรู ้ หั ว ใจตั ว เองมาตลอดว่ า ชื่นชอบงานเขียน จึงเต็มที่และสนุก ทุกครั้งที่ได้ลงมือเขียน โดยเฉพาะ พื้ น ที่ ใ นจดหมายข่ า วเทวาลั ย กั บ คอลัมน์เล็กๆ ฅนอักษรฯ ซึ่งในแต่ ละครั้ง แต่ละคน ก็มีความสนใจและ ความถนัดเฉพาะทางที่แตกต่างกัน ออกไป อีกทั้งหลายคนก็ยังให้บท เรียนเป็น ‘ครู’ ทางอ้อมให้กับผู้เขียน ด้วยเช่นกัน คุณวีรวุฒ เหลืองพลสิน กุล หรือคุณวี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เห็น ได้ ชั ด ว่ า เดิ น ตามเส้ น ทางที่ ตั ว เอง ถนัดและสนใจมาโดยตลอด และถือ เป็ น น้ อ งใหม่ ไ ฟแรงมากประสบการณ์ที่ขยันมากคนหนึ่ง จนท�ำ ให้ฅนอักษรฯ ฉบับฉายแสงต้อนรับปี ใหม่ประจ�ำปี 2561 นี้ อยากท�ำความ รู้จักกับเขาคนนี้ให้มากขึ้น
15
ระหว่างทางกว่าจะมาถึงอักษรฯ ปี 2550 ผมเคยท�ำงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา ท�ำอยู่ประมาณ 8 ปี ต�ำแหน่งเจ้าหน้าทีบริการงานช่าง P8 ระหว่างนั้น ผมลงเรียนปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขา ศิลปศาสตร์ แขนงสารสนเทศศาสตร์ จน กระทั่งเรียนจบ ผมอยากพัฒนาตัวเอง จึง สมัครสอบเข้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬา ในปี 2559 ต�ำแหน่ง เจ้าหน้าทีบริการงานช่าง P8 ปัจจุบันก็อย่างที่ ทราบ ผมเข้าท�ำงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะ อักษรศาสตร์ ต�ำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ P7 (ระบบคอมพิวเตอร์) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน เรียกได้ว่า อยู่ในสายคอมฯ มาตลอดครับ ระหว่างทางของการท�ำงาน ขออธิบายคร่าวๆ อย่างนี้แล้วกันครับ เริ่ม ตั้งแต่จัดเวรเจ้าหน้าที่เพื่อเปิด-ปิด และ ประจ�ำศูนย์คอมพิวเตอร์ จัดเวรตรวจสภาพ ศูนย์คอมพิวเตอร์ เช็คอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ใน สภาพดีพร้อมให้บริการ รวมทั้งติดตามการให้ บริการซ่อมบ�ำรุง/แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์เชื่อมต่อนอกจากนั้นก็มีให้ค�ำปรึกษา ด้านไอที เทคโนโลยีการสื่อสาร ติดตามและ ตรวจสอบการท�ำสถิติประจ�ำเดือนและประจ�ำ ปีของนิสิตผู้เข้ามาใช้ห้องคอมพิวเตอร์ และให้ บริ ก ารห้ อ งคอมพิ ว เตอร์ เ พื่ อ การเรี ย นการ สอนและการอบรม เก็บข้อมูลจากกล่องรับ ความคิดเห็น นัดหมาย จัดประชุมประจ�ำ เดือนผู้อ�ำนวยการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ เพื่อรายงานผลการด�ำเนินงาน ติดตามและ ตรวจสอบการร่างงบประมาณประจ�ำปีเพื่อ หารือกับผู้อ�ำนวยการศูนย์ ตรวจทานการ ออกแบบและตรวจสอบคุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะ ของอุปกรณ์ไอทีก่อนส่งให้ผู้อ�ำนวยการศูนย์ คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ครับ หลักคิดในการท�ำงาน ตั้งใจในงานทุกงานที่ท�ำ
เสมอ มีน�้ำใจกับคนรอบข้าง การมองโลกในแง่ ดี จะท�ำให้มีก�ำลังใจและพลังที่จะท�ำงาน ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลส�ำเร็จ คนที่มีความคิดทางบวกจะเป็นคนที่สนุกและ มีความสุขกับงานที่ท�ำ และท�ำให้งานออกมาดี เวลามีปัญหาในการท�ำงานแก้ไขหรือรับมือกับ ปัญหาอย่างไร หากเจอปัญหาในการท�ำงานเราควรมีสติและ ใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา ดูว่า อะไรคือปัญหาและสาเหตุ ค่อยๆ แก้ไขไปที ละอย่าง เพราะการท�ำงานต้องมีปัญหาให้เรา คอยแก้ไขเสมอ ให้มองปัญหาเป็นบทเรียนบท ทดสอบของการท� ำ งานเพื่ อ ที่ จ ะได้ น� ำ มา ปรับปรุงและแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น ความประทับใจ ถ้าพูดถึงความประทับใจ ก็คงจะเป็นการได้ ท�ำงานร่วมกับอาจารย์ ดร. วรรณชัย คัมภีระ เพราะผมจะท� ำ งานร่ ว มกั บ อาจารย์ ม าโดย ตลอด อาจารย์ช่วยสอนงานให้ค�ำแนะน�ำ ต่างๆ ในศูนย์คอมพิวเตอร์ ให้ค�ำแนะน�ำ แนวทางการจัดการ ในส่วนของเพื่อนร่วมงาน ที่ได้ท�ำงานร่วมด้วยบ่อยๆ ก็จะผู้จัดการงาน บริหารอาคารตึก มหาจักรีฯ หัวหน้าหน่วย โสตฯ ผู้จัดระบบงานยานพาหนะ ต้องขอ ขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ กั น เป็ น อย่างดีในการท�ำงานและเสียสละเวลามาให้ ข้อมูลรวมทั้งข้อเสนอแนะ ถ้าไม่มีทุกท่าน งานหรือโครงการที่ท�ำอยู่คงไปต่อไม่ได้และไม่ ส�ำเร็จได้
อาจารย์และบุคลากรในคณะที่เป็นแบบอย่าง ที่ดี เนื่องจากผมเพิ่งเข้ามาท�ำงานในคณะอักษรฯ ยังได้ไม่นาน ก็เลยยังไม่ค่อยรู้จักบุคลากรใน คณะฯ ไม่เท่าไหร่แค่ไม่กี่คนเอง ก็จะมีแต่ อาจารย์ ดร. วรรณชัย คัมภีระ ที่จะติดต่อ ท�ำงานบ่อยที่สุด อาจารย์เป็นบุคลากรที่น่า ชื่นชม ท�ำงานเรียบร้อย ละเอียดรอบคอบ ให้โอกาสคนได้ พัฒนาตนเองอยู่ และให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ
แสดงฝีมือแสดงความสามารถที่เรามีอยู่ ผมต้อง ขอบคุณอาจารย์มากครับ คาดหวังว่าศูนย์คอมฯ ที่เราท�ำอยู่จะพัฒนาต่อไป อย่างไร มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจัดระบบการใช้งานที่มี คุ ณ ภาพและกระบวนการให้ บ ริ ก ารแก่ นิ สิ ต บุคลากร และบุคคลภายนอก ที่เหมาะสมมากยิ่ง ขึ้น เนื่องในคณะอักษรครบ 101 ปี มีอะไรอยากฝาก ถึงคณะ อยากให้ทุกคนมีน�้ำใจในการท�ำงานต่อกัน ช่วย เหลือและแบ่งปันประสบการณ์ในการท�ำงานร่วม กัน เพราะการท�ำงานเราต้องพบปะใครต่อใคร มากมาย แต่ละคนก็จะมีบุคลิก อุปนิสัย ที่ต่างกัน ไป เพราะฉะนั้น เราท�ำงานอยู่คณะเดียวกันก็ควรมี ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนร่วมงาน ด้วยกันเอง
16
ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนมกราคม 2561
18
24
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
แฟนฟิค โดย เสาวณิต จุลวงศ์ และ อรรถ บุนนาค (เวลา 13.00 - 15.00 น. ณ สรรพศาสตร์สโมสร อาคารมหาจักรีสิรินธร)
"มหาชาติในขณะจิตเดียว" โดย อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (เวลา 12.00-13.00 น. เป็นต้นไป ณ หอ พระไตรปิฎกนานาชาติ อาคาร มหาจุฬาลงกรณ์)
17
Year 10, No. 1: 6 January 2018 Department of English
A Lesson from the Holodomor by Mevarath Boonrab An English major, Chulalongkorn University
I attended an event organized by the Embassy of Ukraine collaborating with the Embassy of Canada on the occasion of the 85th anniversary commemoration of the Great Famine, Holodomor. The event was held at UNESCAP in the United Nations Conference Centre to reminisce the Holodomor -- the Ukrainian Genocide in which millions of Ukrainians were killed by man-made starvation during 19321933. Holodomor is a Ukrainian word which means ‘to kill by starvation’. Stalin used famine as a weapon to attack the Ukrainians and to destroy the land where there were freedom, tradition, and fertility. The commemoration was divided into two sequences: an exhibition and a film
screening. In the foyer was the exhibition on background information of the Holodomor. Some of the members of the audience expressed their regret that this tragedy had been buried in world history and had so far remained unmentioned in Thailand. Before the screening time, guests gathered in the foyer, some greeting each other and some conversing about global situation. I overheard a very interesting phrase from a middle-aged man. “Do you know what this sign means?” he asked the three women who were there as he was pointing at a huge Holodomor sign.
“No, we don’t,” they replied. “This sign is even more heartbreaking than the picture of the Cross. It is a reminder of the incident that millions of people were starved to death,” he continued. Suddenly, this conversation inspired me to question the difference between these huge losses and how they affected the world. His words motivated me to look forward to watching the movie. After the exhibition, every visitor was invited to the theatre to watch the movie, Bitter Harvest. Although the movie was set in Soviet Ukraine during the Holodomor, it was produced by Canadian film producers, hence, the collaboration between the two
18
embassies. It was surprising how the director preferred narrating the history through a romantic-action genre to a grand epic. The narrator described the country before the genocide, stating that “Ukraine is where everything was possible”: they once had abundant natural resources, peaceful neighborhoods and unique traditions. The story started with young lovers who fell in love since their childhood. It mainly focused on the male protagonist whose name was Yuri. When he introduced himself, the character always mentioned his father’s and grandfather’s names. The audience, as a result, would look at the Holodomor through the eyes of Yuri, who was a child, a grandchild, and a lover, like all of us. This visual version of the Holodomor contradicted how the Holodomor had been presented in world history. In the exhibition, there was an expression, “the world knew but failed to act.” The cause of the unawareness may have occurred from the way people analyze death. Even though death is inevitable and irreversible as an incident that everyone will eventually undergo, people have different interpretations of it. When death is translated in informative sources such as news reports or historical texts, only numbers or statistics of casualties were mentioned. Lives are converted into figures, focusing mainly on how many people were killed. At the end of the day, lessons would not be learned, tragedies would be left undiscussed. However, in Bitter Harvest, the audience could see how the death of a father meant to a child and how the death of a husband meant to a wife. The film touchingly reminded me that the worst injustice, if once occurred in an inhumane way, causing millions of lives, could forever change the land where everything was once possible.
19
CALENDAR OF EVENTS 18
24
Department of Comparative Literature
International Tipitaka Hall
Alternative Text Series #1 Mahajati in One Very Moment Fan Fict by Assistant Profes- by Mae Chee Vimuttiya (Assor Saowanit Chunlawong, sociate Professor Suphapan PhD and Artch Bunnag (13:00- Na Bangchang (12:00-13:00 15:00 hrs, Learning Commons, hrs, International Tipitaka Hall) Maha Chakri Sirindhorn Building)
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events at artscu.net Tel. 662 218 4885