จดหมายข่าวเทวาลัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 12 วันที่ 17 มิถุนายน 2560

Page 1

1

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๒ วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐


2

จดหมายข่าวเทวาลัย

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๒ วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐

วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)

จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา

รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี ผศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ผู้ช่วยคณบดี อ.William Whorton

ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th) ถ่ายภาพหน้าปก นส.เมษมา จันทร์วริ ัช (อักษรศาสตร์#81)

ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"

เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์

อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th

5-6


3

การประชุมวิชาการระดับชาติ "สรรพ์วิทยา-วิชญมาลา"

11 ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "สู่โลกกว้างต้องสร้าง องค์ความรู้ด้านภาษา"

4

ข่าวจากคณะวุฒยาจารย์

7

ข่าวจากฝ่ายวิจัย

22

ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน

23

ปฏิทินกิจกรรม เดือนมิถุ​ุนายน

โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ

14

ฅนอักษรฯ อ.ดร.กัญญา วัฒนกุล

16

ข่าวจากภาควิชาภาษาศาสตร์

8

ข่าวจากฝ่ายวิจัยและภาควิชาภาษาอังกฤษ

8

ข่าวจากหอพระไตรปิฎกนานาชาติ

12


4

ข่าวจากคณะวุฒยาจารย์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย ให้ดำ�รงตำ�แหน่งทางวิชาการ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี เจริญพงศ์ อาจารย์ประจำ�ภาค วิชาประวัติศาสตร์ได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 803 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ให้ดำ�รงตำ�แหน่งรองศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2559


5

ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"

เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "วรรณวิถี วรรณคดีเปรียบเทียบ: ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามศิลป์" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://goo.gl/forms/eh0LJU5On40yGb8r2


6

ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"

เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "ความส�ำคัญของพุทธศาสน์ศึกษาในโลกวิชาการยุคปัจจุบัน" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://goo.gl/forms/5rWTPhBBkl6e8Gp52


7

ฝ่ายวิจัย

การบรรยายชุดอาศรมวิจัย หัวข้อ “ทำ�วิจัยอย่างไรเมื่อไม่มีเวลา”

โดย ผศ.ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี

วันที่ 7 มิถุนายน 2560 เวลา 11.30-13.00 น. ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จัดการบรรยาย ชุดอาศรมวิจัย หัวข้อ “ทำ�วิจัยอย่างไรเมื่อ ไม่มีเวลา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี


8

ภาควิชาภาษาศาสตร์

การจัดท�ำสื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบสามมิติ โดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality

อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้จัดท�ำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ สามมิติ โดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality ประกอบการสอนรายวิชา 2209161 ภาษาทัศนาซึ่งเป็นรายวิชาบังคับของนิสิตคณะอักษรศาสตร์ชั้นปีที่ 1 หัวข้อเสียงใน ภาษา สื่อการเรียนรู้สามมิติดังกล่าวแสดงกลไกการผลิตเสียงในภาษาแบบเสมือน จริง โดยประกอบด้วย 4 กระบวนการที่ท�ำงานสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน คือ กระบวนการ กระแสลม (airstream process) กระบวนการเปล่งเสียง (phonation process) กระบวนการโอษฐ์-นาสิก (oro-nasal process) และกระบวนการฐานกรณ์ (articulatory process) สื่อการเรียนรู้สามมิติเรื่องกลไกการผลิตเสียงในภาษาท�ำให้นิสิตสามารถมองเห็นการ ท�ำงานของอวัยวะในกระบวนการต่าง ๆ แบบเสมือนจริงรวมถึงเห็นการเคลื่อนไหว ของอวัยวะได้จากทุกมุม จากการใช้สื่อสามมิติประกอบการสอนดังกล่าว พบว่านิสิตให้ ความสนใจและเข้าใจเนื้อหาการเรียนหัวข้อดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีทัศนคติที่ดีต่อ การเรียนเกี่ยวกับกลไกการผลิตเสียงในภาษาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ สื่อ การเรียนรู้สามมิติเรื่องกลไกการผลิตเสียงในภาษาที่จัดท�ำโดยอาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ถือเป็นนวัตกรรมการสอนด้านสรีรสัทศาสตร์ (articulatory phonetics) ชิ้น แรกในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


9


10

ภาควิชาภาษาศาสตร์

"เวทีสาธารณะมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 9"

วิทยากรหลัก: Prof. Dr. James Matisoff (UC Berkeley) โครงการเวที วิ จั ย มนุ ษ ยศาสตร์ ไ ทย หน่วยวิจัยมนุษยศาสตร์ โดยส�ำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย (สกว.) ร่วมกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ มนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เข้า ร่วมกิจกรรมวิชาการโครงการ "เวที สาธารณะมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 9" วิทยากรหลัก: Prof. Dr. James Matisoff (UC Berkeley) ผู้เข้าฟังไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาศาสตร์ บรรยายภาษาอังกฤษ แปลสรุปภาษา ไทย สามารถอ่านบทความล่วงหน้า ได้ที่ http://stedt.berkeley.edu/ JAM/pubs ผู ้ ส นใจสามารถลงทะเบี ย นได้ ที่ https://goo.gl/forms/m1IStyiC6yFdAzV33 ทุนสนับสนุนการเดินทางดูรายละเอียด ได้ที่ http://bit.ly/2qUmfJJ


11

MACHO

การประชุมวิชาการระดับชาติ

"สรรพ์วิทยา-วิชญมาลา" วันที่ 2 มิถุนายน 2560 คณบดีคณะอักษรศาสตร์ให้เกียรติเป็น ประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ "สรรพ์วิทยา-วิชญ มาลา" จัดโดยภาควิชาภาษาไทย เพื่อเผยแพร่ผลงานของนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านภาษา วรรณคดี และคติชนไทย ผู้เข้าร่วมเสนอผลงานมีทั้งสิ้น 23 คนจาก 4 สถาบัน ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การประชุ ม วิ ช าการนี้ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากโครงการ ยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย และ เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอง 100 ปี ภาควิชาภาษาไทย ในปี พุทธศักราช 2560


12


13


14

ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ

"สู่โลกกว้างต้องสร้างองค์ความรู้ด้านภาษา"

โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ

ฝ่ายวิจัยและภาควิชาภาษาอังกฤษ

วันที่ 3 มิถุนายน 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "สู่โลกกว้างต้องสร้างองค์ความ รู้ด้านภาษา" โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ ณ ห้อง 303 - 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร


15


16

ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว

คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน

อ.ดร.กัญญา วัฒนกุล

อั น ที่ จ ริ ง เราลื ม ถามถึ ง ความรู ้ สึ ก ของวั น แรกที่ ม าเป็ น อาจารย์ว่ามีความรู้สึกอย่างไร เพราะอีกไม่ถึงเดือนก็ จะเวียนบรรจบครบหนึ่งปีเต็มในฐานะอาจารย์รุ่นใหม่ ไฟแรง ‘อ.ดร.กัญญา วัฒนกุล’ หรือ ‘อาจารย์หญิง’ จบปริ ญ ญาโทและเอกทางด้ า นคติ ช นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย อินเดียน่า สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจ�ำอยู่ ที่ศูนย์ไทยศึกษา ดูแลนิสิตปริญญาโท ปริญญาเอก และ นิสิตชาวต่างชาติ นอกจากงานด้านการสอนที่รับผิดชอบ แล้ว ยังรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการวารสารอักษรศาสตร์

อีกหนึ่งต�ำแหน่ง ฅนอักษรฯ ประจ�ำฉบับนี้ จึงอยากพา มารู้จักกับอาจารย์ที่สังกัดอยู่ศูนย์ไทยศึกษาคนนี้ให้มาก ขึ้นไปพร้อมๆกับผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาโทในงาน วรรณกรรมของฮารูกิ มุราคามิ และวิทยานิพนธ์ปริญญา เอกเรื่องความเชื่อเรื่องผีปอบในหมู่บ้านภาคอีสาน แต่ หลังจากการพูดคุยแล้ว เราไม่ต้องถามก็เข้าใจถึงความ รู้สึกที่มากมายจากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้


17

“วรรณคดีกับความเชื่อเหนือธรรมชาติ” ตอนแรกเรียนปริญญาโทที่อักษรฯ ทางด้านวรรณคดีเปรียบเทียบ แต่เนื่องจากมีทุนรัฐบาลเปิดในปี 2554 (ทุน สกอ.พัฒนา ก�ำลังคนด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) แล้วรัฐบาลให้ ทุนไปเรียนทางคติชน แล้วจริงๆ ด้วยความที่ตัวเองสนใจด้าน วรรณกรรมเป็นพื้นอยู่แล้ว แต่ก็เหมือนกับว่าพอมันไม่มีทุน ทางด้านวรรณกรรมโดยเฉพาะ แล้วตัวเราก็มีความสนใจเกี่ยว กับวรรณกรรมชาวบ้าน ความเชื่อเหนือธรรมชาติ จึงมีความ คิดว่าวรรณคดีกับความเชื่อเหนือธรรมชาติ มันน่าจะมาผสาน รวมกันได้ แล้วผสานรวมกันได้ในศาสตร์แบบไหนล่ะ มันต้อง เป็นศาสตร์คติชนใช่ไหม ก็เลยตัดสินใจไปเรียนคติชน “สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของมุราคามิ มันจะเกี่ยว กับความโดดเดี่ยวและความแปลกแยกของสังคมเมือง” จริงๆ แล้วพื้นฐานความสนใจเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ เริ่มมา จากตอนเรียนปริญญาโทที่อักษรฯ เพราะว่าท�ำวิทยานิพนธ์ เรื่อง ‘สัจนิยมมหัศจรรย์และสหบทในนวนิยายเรื่อง คาฟกา ออน เดอะชอร์ของ ฮารูกิ มุราคามิ’ กับอาจารย์สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์จะพูดถึงเรื่อง เหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่มันเกิดขึ้นมาจริงๆ คือในโลกของ ตัวบทเหตุการณ์มหัศจรรย์นั้นจะเกิดขึ้นมาแล้วคนในสังคมที่ มีกรอบคิดแบบวิทยาศาสตร์ ก็จะเกิดความตกใจและสงสัยว่า ตามกรอบคิดแบบวิทยาศาสตร์ เหตุการณ์เหนือธรรมชาติแบบ นี้มันไม่สมควรจะเกิดขึ้น แต่ว่าในโลกของสัจนิยมมหัศจรรย์ เหตุการณ์เหนือธรรมชาตินั้นมันก็เกิดขึ้น แล้วในตอนนั้นเมื่อปี 2548 นักวิชาการท�ำเรื่องสัจนิยมมหัศจรรย์ไปเยอะพอสมควร แล้ว ส่วนมากเขาโฟกัสไปที่สัจนิยมมหัศจรรย์ในบริบทของ ลาตินอเมริกัน แล้วในบริบทของลาตินอเมริกัน สัจนิยม มหั ศ จรรย์ มั น ถู ก ใช้ ใ นการโต้ ก ลั บ วาทกรรมของนั ก ล่าอาณานิคม เพราะว่าในบริบทของลาตินอเมริกันมี ประวัติศาสตร์เรื่องการครอบครองของนักล่าอาณานิคมอยู่ แต่ ว่าพอมาดูญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์ตรงนี้มันไม่มีแล้ว ก็คือเหมือน กับว่าสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมญี่ปุ่นมันจะเป็นอีกรูป แบบหนึ่งที่มันถูกผลิตขึ้นมาในบริบททางประวัติศาสตร์ที่ต่าง กันแล้วก็ตอบสนองความต้องการที่ต่างกันด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าสัจนิยมมหัศจรรย์ของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ใน ลาตินอเมริกา มันก็จะพูดไปถึงประวัติศาสตร์การกดขี่ของชาติ อาณานิคมและตัวตนของคนท้องถิ่นที่ถูกน�ำเสนอผ่านความ เชื่อในเรื่องสิ่งมหัศจรรย์ แต่ว่าสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรม ของมูราคามิ มันจะเกี่ยวกับความโดดเดี่ยวและความแปลกแยกของสังคมเมือง ภาพปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่ตัวเอกเจอ มันจะบอกถึงสภาวะข้างในจิตใจที่มันแปลกแยกจากสังคม ทุนนิยมและบริโภคนิยม ดังนั้นมันเป็นสัจนิยมมหัศจรรย์ แต่

มันพูดถึงความมหัศจรรย์ ซึ่งใช้ในคนละบริบทและในคนละความหมายกันเลย “ความเชื่อเรื่องผีปอบเป็นความมหัศจรรย์ที่มันอยู่ในชีวิตชนบทจริงๆ” มันก็ไปต่อยอดตรงที่เราไปเรียนปริญญาเอก จึงมานั่งทบทวนว่าแล้วอะไรล่ะ ที่เหตุการณ์มหัศจรรย์มีอยู่จริงๆ ในสังคมภาคอีสาน เพราะตัวเราเองเป็นคน จังหวัดอุบลราชธานี และเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่มันมีอยู่จริงๆ ในวิถีชีวิตของ ชาวบ้าน คือความเชื่อเรื่องผีปอบนี่แหละ เพราะว่ารากฐานความเชื่อเรื่องผีปอบ มันเกิดมาจากปรากฏการณ์ที่คนตายติดๆ กัน โดยที่เป็นคนที่แข็งแรงแล้วอยู่ ดีๆ ตายโดยไม่ทราบสาเหตุแล้ววิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้ ท�ำให้ชาวบ้านหันไป ท�ำพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีปอบหรือใช้ความเชื่อเรื่องผีปอบมาอธิบายปรากฏการณ์ มหัศจรรย์อันนี้ มันก็คล้ายกับโลกในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ที่เหตุการณ์ เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นมาแล้วคนก็พยายามจะหาค�ำอธิบายให้กับเหตุการณ์ มหัศจรรย์ที่มันไม่เข้ากับกรอบคิดแบบวิทยาศาสตร์แบบนี้ แล้วพอก�ำหนดได้แล้ว ว่าความเชื่อเรื่องผีปอบเป็นความมหัศจรรย์ที่มันอยู่ในชีวิตชนบทจริงๆ จากการ


18

เก็บข้อมูลภาคสนาม ก็พบว่าภาพเสนอของ ผีปอบที่มีอยู่ในสื่อต่างๆ ไม่เหมือนกับพิธีกรรม หรือความเชื่อเรื่องผีปอบที่ชาวบ้านเขานับถือ กันอยู่ในชุมชนจริงๆ เพราะว่าในภาพเสนอ ที่มันอยู่ในสื่อ พิธีกรรมเรื่องผีปอบน�ำไปสู่ พิ ธี ก รรมที่ โ หดร้ า ยป่ า เถื่ อ นอยู ่ ต ลอดเวลา อย่างเช่นถ้าใครโดนกล่าวหาว่าเป็นปอบก็จะ โดนขับไล่ออกจากหมู่บ้านหรือว่าโดนกระท�ำ รุ น แรงเอาหิ น ไปปาบ้ า นด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ นานา แต่ว่าสิ่งที่พบในการส�ำรวจภาคสนาม พบว่าจริงๆ แล้วมากกว่าครึ่งหมู่บ้านที่ยังมี ความเชื่อเรื่องผีปอบเขาไม่ได้ใช้ความรุนแรง ในการท�ำพิธีกรรมเรื่องผีปอบแล้วก็ไม่มีการ ท�ำร้ายคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบแต่อย่างใด แต่ใช้พิธีกรรมหรือวิธีการอื่นๆ ที่มีการจัดการ คนที่โดนกล่าวหาอย่างละมุนละม่อม และ ช่วยให้คนๆ นั้นกลับเข้าสู่สังคมได้โดยที่ไม่มี ความรุนแรงอะไรเลย ดังนั้นความแตกต่างกัน ระหว่างการลงพื้นที่ภาคสนามกับภาพเสนอ ของผีปอบที่ปรากฏอยู่ในสื่อเลยกลายมาเป็น หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีใจความส�ำคัญที่ว่า จริงๆ แล้วคนนอกมีภาพเหมารวมบางอย่าง มีแนวโน้มที่จะตีตราหรือว่าตัดสินคนที่มีความเชื่อ

เหนือธรรมชาติว่า งมงาย ป่าเถื่อน ล้าสมัย จึง น�ำไปสู่การผลิตซ�้ำภาพเหมารวมที่ปรากฏใน สื่อ ซึ่งภาพเหมารวมเหล่านั้น มันไม่ได้สะท้อน วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ห รื อ ว่ า วิ ธี ก ารนั บ ถื อ ความเชื่ อ เรื่องผีปอบจริงๆ ที่คนอีสานท�ำกันจริงๆ ใน บริบทจริงๆ “ศูนย์ไทยศึกษาเป็นที่เดียวที่เปิดสอน” ในประเทศไทย ก็จะมีเฉพาะในสถาบันไทย ศึกษาซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ไม่มีการเรียนการ สอน มุ่งเน้นไปที่การผลิตงานวิจัยเป็นหลัก แต่ ศู น ย์ ที่ มี ก ารเรี ย นการสอนไทยศึ ก ษาใน ประเทศไทยในขณะนี้ ก็จะมีเฉพาะที่คณะ อักษรศาสตร์ที่เดียวเท่านั้นค่ะ จุดเด่นประการ ที่หนึ่งก็คือ ถ้ามาเรียนกับไทยศึกษาก็จะ เรียนกับอาจารย์ที่หลากหลายมาก เพราะว่า วิชาบังคับของเรา ส่วนมากโครงสร้างจะเป็น ลักษณะ Team Teaching หมายความว่า อา จารย์หลายๆ ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ สาขาต่างๆ ก็จะมาให้ข้อมูลหรือว่าให้ความรู้ เกี่ยวกับนิสิตในด้านต่างๆ ในด้านวัฒนธรรม สังคม ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ทั้ง จากคณะเศรษฐศาสตร์และอาจารย์ทั้งจากใน

จุฬาฯ และนอกจุฬาฯ เองด้วยในวิชาเดียว เรา จะแบ่งเลกเชอร์ออกแล้วก็เลือกคนที่มีความ ถนัดในด้านนั้นจริงๆ มาสอนในเลกเชอร์นั้นๆ แต่ว่าลักษณะการสอนที่ไม่เป็น Team Teaching ก็มีเหมือนกัน แต่ว่าลักษณะนั้นก็จะเป็นใน วิชาเลือก อย่างเช่นวิชาคติชนในสังคมไทยที่ ตัวเราเองสอน แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเชิญ นักวิชาการหรือว่าอาจารย์ที่มีความโดดเด่น ในหัวข้อย่อยต่างๆ มาบรรยาย แล้วก็มีการพา นิสิตไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ด้วย ดังนั้น 1. ก็ คือจะได้ความหลากหลายของอาจารย์ผู้สอน และก็ 2.ความหลากหลายในหมู่ผู้เรียนเองด้วย เพราะว่ า เพื่ อ นในชั้ น เรี ย นก็ จ ะหลากหลาย อย่างที่ผ่านมาเด็กที่มาเรียนในวิชาคติชนใน สังคมร่วมสมัยที่เราสอน ก็จะมีทั้งชาติเยอรมนี อิสราเอล อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น ดังนั้นถ้ามา เรียนกับไทยศึกษารับรองว่าจะมีกลุ่มเพื่อนที่ เป็นอินเตอร์เนชั่นแนล และก็สามารถสร้าง ความสัมพันธ์ เพราะว่าเรามีเพื่อนต่างๆ อยู่ ทั่วทุกภูมิภาคเลย ดังนั้นสังคมและโลกทัศน์ ของนิสิตที่มาก็จะกว้างขึ้นด้วย


19

“เปิดรับคนไทยและคนต่างชาติ เพราะว่า เราสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด” เนื่ อ งจากว่ า เป็ น โปรแกรมที่ เ ป็ น นานาชาติ หลักสูตรนานาชาติ ดังนั้นเราก็จะรับ นักศึกษาอยู่ 3 ระดับค่ะ ระดับที่หนึ่งก็จะ เป็น Non-Degree คือเป็นคนที่มีความสนใจ เรื่องทางวัฒนธรรม สังคม ประวัติศาสตร์ไทย อยากจะมาลองนั่งเรียนดูว่าเป็นอย่างไร ก็ สามารถมานั่งเรียนได้โดยที่ไม่ต้องเอาปริญญา โทหรือว่าปริญญาเอก อันนั้นก็จะเป็นทาง เลือกที่หนึ่ง ส่วนทางเลือกที่สองนั้นก็จะเป็น นั ก ศึ ก ษาต่ า งชาติ ห รื อ คนไทยเองก็ ต ามที่ มี ความสนใจที่ อ ยากเรี ย นเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ เมื อ ง ไทยและอยากได้ปริญญาโทก็จะเป็นโปรแกรม บัณฑิตศึกษาปริญญาโท แล้วก็ระดับที่สูงขึ้น ไปก็จะเป็นโปรแกรมปริญญาเอก แต่ทั้งนี้และ ทั้งนั้นนักศึกษาก็จะรับได้ทั้งคนไทยและคน ต่างชาติเพราะว่าเราสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งหมด แล้วกระบวนการท�ำวิทยานิพนธ์ หรือว่าขั้นตอนการดูแลต่างๆ ก็ท�ำเป็นภาษา อังกฤษทั้งหมดค่ะ “งานประชุมที่โตรอนโต” งานประชุ ม นี่ ไ ปเมื่ อ เดื อ นมี น าคมที่ ผ ่ า นมา ก็ไปน�ำเสนอเรื่อง Demonizing Loose Women: Gender Roles and Ghost Panic in Contemporary Northeast Thailand แต่ว่าเราจะเป็นหนึ่งในสมาชิกของ คณะผู้อภิปรายซึ่งเป็นการอภิปรายที่เกี่ยวกับเรื่องของผู้หญิงแล้วก็เรื่องของภาวะหลัง อาณานิ ค มแล้ ว ก็ ภ าวะหลั ง สมั ย ใหม่ แ ล้ ว เอกสารที่น�ำเสนอก็จะพูดถึงเรื่อง Gender แล้วก็ Ghost Panic ในภาคอีสานก็คือ พูด ถึงเรื่องผีปอบ แต่ว่าประเด็นที่ยกมาจะต่าง จากในวิทยานิพนธ์ คือว่าในสิ่งที่น�ำเสนอจะ ตั้งข้อสังเกตว่า มันมีหลายกรณีเลยที่ผู้หญิงที่ ท�ำตัวผิดแผกไปจากความคาดหวังของสังคม ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ อย่างเช่นผู้หญิงที่มี สามีเยอะเกินไปและก็เป็นผู้หญิงที่สวยและ มีเสน่ห์ผิดปกติก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ เราก็เลยหยิบปรากฏการณ์อันนี้มาวิเคราะห์ ว่า มันมีปัจจัยทางสังคมหรือวัฒนธรรมอะไร

ที่ท�ำให้คนในชุมชนพากันชี้นิ้วมาหาผู้หญิงที่ ท�ำตัวผิดจากบทบาททางเพศที่สังคมคาดหวัง และถูกประณามว่าเป็นผีปอบ ซึ่งข้อค้นพบ เบื้องต้นที่ตัวเราเองน�ำเสนอไปก็คือว่ามันเป็น มุมมองที่ขัดแย้งกันระหว่างบทบาททางเพศ ในสังคมเก่ากับบทบาททางเพศในสังคมใหม่ คือบทบาททางเพศในสังคมใหม่ผู้หญิงจะต้อง เป็นคนที่เหมือนมี agency คือมีสิทธิ์ในการ เลือกคบหาผู้ชายได้ไม่ใช่ว่าต้องรอพ่อแม่มา เลือกให้ หรือว่ามีสิทธิ์ที่จะเลือกผู้ชายหลายๆ คนหรื อ ถ้ า คู ่ แ ต่ ง งานหรื อ ว่ า คู ่ ส มรสของ ตัวเองคนนี้ตายไปก็มีสิทธ์ที่จะไปหาคนอื่นๆ ได้ มันคือโลกที่ให้ความส�ำคัญและสนับสนุน ให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจเรื่องชีวิตรักเรื่อง ทางเพศของตัวเองได้ แต่ในขณะเดียวกันค่า นิยมของสังคมเก่ามันบอกว่าผู้หญิงท�ำในส่วน นี้ไม่ได้ เป็นผู้หญิงก็ต้องรักนวลสงวนตัว รัก เดียวใจเดียว ถ้าสามีตายก็อยู่เป็นแม่หม้ายไป อะไรประมาณนี้ แต่สังคมภาคอีสานพอมัน เกิดการปะทะกันระหว่างค่านิยมสองชุดนี้ที่ มันมีแนวคิดว่าผู้หญิงควรจะท�ำตัวอย่างไรที่ แตกต่างกัน คนในชุมชนก็เลยเกิดภาวะที่ไม่รู้ ว่าจะรับค่านิยมอันไหนดี ผู้หญิงที่โดนกล่าว หาว่าเป็นปอบ อย่างที่บอกไปแล้วว่ามักจะ เป็นผู้หญิงที่มีเอเจนซี่โดยเฉพาะเรื่องทางเพศ สามารถจัดการควบคุมผู้ชายหลายๆ คนได้ ในคราวเดียวกัน ซึ่งคนในสังคมก็คาดคะเนว่า อันนี้มันเป็นบทบาทใหม่ของผู้หญิงที่มันถูก ผูกโยงกับสังคมทันสมัยในเมือง มันเป็นภาพ ลักษณ์ของผู้หญิงในเมืองที่สังคมสมัยใหม่เขา พยายามเชิดชู แต่ในขณะเดียวกันมันขัดแย้ง กับค่านิยมเดิมในสังคมที่มี ดังนั้นมันจึงชี้นิ้ว ไปประณามตรงๆ ไม่ได้เพราะมันจะแสดง ถึงความล้าหลังของชุมชนตัวเอง ก็เลยบิด ไปเสียว่า แทนที่จะมาบอกว่าเธอท�ำตัวเป็น ผู้หญิงร่าน มันก็บอกตรงๆ ไม่ได้ ก็เลยหาวิธี การอื่นด้วยการชี้นิ้วบอกว่าเธอเป็นปอบ แต่ จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่าการตีความแบบนี้ มันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะดูถูกคนในชุมชน มัน เหมือนกับว่าคนในชุมชนต้องการที่จะจัดการ กับผู้หญิงที่ท�ำตัวนอกกรอบก็เลยเอาความเชื่อ เหนือธรรมชาติมาอ้างหรือมาครอบเอาไว้


20

“เด็กโปรแกรม Global Studies จากเยอรมนี” เนื่องจากเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับ มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งในเยอรมนี ซึ่งเป็นเรื่องที่ ท้าทายมาก คือเราต้องจัดหลักสูตรให้เขาหนึ่งคอร์ส ที่ให้ภาพรวมเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมไทย อาจารย์ วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ (ผอ.ศูนย์ไทยศึกษา) เป็นคนดูแล แต่ อ าจารย์ ว าสนาก็ ใ ห้ เ รารั บ ผิ ด ชอบในส่ ว นที่ เ ป็ น ความเชื่อในสังคมไทย ก็ไปเลกเชอร์ให้นักศึกษากลุ่ม นี้มาแล้ว 2 ครั้ง การสอนเด็กจากโปรแกรม Global Studies ก็จะค่อนข้างเหนื่อย เพราะเหมือนเราพูดยัง ไม่ทันจะจบประโยคเด็กก็จะยกมือถามแล้ว แล้วมัน เป็นค�ำถามที่เราไม่เคยได้รับจากนักเรียนไทย เช่น ศาลพระภูมิท�ำไมเป็นส่วนหนึ่งในห้างสรรพสินค้า โมเดิร์น มันก็คือโมเดิร์นไม่ใช่เหรอ ฉันคิดว่าศาลพระภูมิจะต้อง อยู่ตามชุมชนเล็กๆ ในชนบท แต่ของเราศาลพระภูมิ เอราวัณอยู่ข้างๆ กับเซ็นทรัลเวิล์ด พารากอน พอคน ซื้อของเสร็จก็มากราบไหว้ อย่างเรามันเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจ�ำวันอยู่แล้ว เราจะไม่รู้สึกว่ามันประหลาด แต่เขาจะมองว่าบ้านเขาไม่ได้มีศาลพระภูมิ หรือก็ไม่ ได้มีแบบจีซัส ไครสต์ มาตั้งอยู่กลางห้าง นอกจากวัน คริสต์มาสที่มาประดับตกแต่ง เขาก็จะงง ก็จะไม่เข้าใจ เราก็จะตอบเขาว่าส�ำหรับสังคมไทย ตรรกะคิดแบบ วิทยาศาสตร์กับตรรกะคิดแบบเหนือธรรมชาติมันไม่ ได้แยกกัน เหมือนคนเราไปหาหมอแบบเจ็บป่วย คนๆ หนึ่งสามารถไปหาได้ทั้งหมดผีและหมอแผนปัจจุบัน แล้วคนไทยเราก็จะไม่รู้สึกด้วยว่ามันเป็นสิ่งที่ขัดแย้ง กันหรือว่าเป็นสิ่งที่ท�ำไม่ได้ เพราะคนไทยก็จะคิดว่า ก็ดีสิมีไว้ทั้งสองอย่าง มันไม่ใช่ว่าแบบไปหาหมอใน โรงพยาบาลแล้วจะไปหาหมอผีในชุมชนไม่ได้ เราใช้ไป ทั้งสองอย่าง เราไม่ได้คิดว่ามันเป็นอะไรที่มันไปด้วยกัน ไม่ได้ “นอกเหนือจากงานประจ�ำ” ตอนนี้ ก็ ไ ม่ ค ่ อ ยได้ อ ่ า นงานวรรณกรรมเท่ า ไหร่ แ ล้ ว เพราะแค่ตรวจงานนิสิตก็ไม่ค่อยทันแล้ว หากมีเวลา ว่างจริงๆก็จะชอบไปออกก�ำลังกายที่ศูนย์ CU Sport Complex แล้วก็ดูซีรี่ส์เกาหลี ซีรี่ส์จีนบ้าง ละครไทย ก็ชอบดูค่ะ แล้วก็มีไปช็อปปิ้งบ้าง งานอดิเรกก็จะ ประมาณนี้ค่ะ


21

ข่าวจากหอพระไตรปิฎกนานาชาติ

กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 18 "ขงจื่อในวิถีชีวิตปัจจุบัน" รองศาสตราจารย์ ดร.หาน ซี ผู้อำ�นวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 22 มิ.ย. 2560 12.00 - 13.00 น. (ลงทะเบียน 11.30 น. เริ่มบรรยายตรงเวลา) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ผู้สนใจเข้าร่วมแจ้งชื่อได้ที่ โทร. 02-218-4916 หรือ e-mail: tipitaka.chula@gmail.com


22

ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ท�ำอะไร ที่ไหน รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์ ภาควิชา ภาษาอังกฤษ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น external examiner วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “An Experimental Study on Developing Reading Skills through Motivational Strategies among First Year Engineering Students In Coimbatore District” ของ Department of English, Government Arts College ประเทศอินเดีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ

ผศ.ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเชิญ เป็น Invited Speaker น�ำเสนอผลงานวิจัยหัวข้อ Keyness, Nativeness, Non-nativeness: A Corpus-driven Study of Learner English Argumentative Essays ในการประชุม วิชาการนานาชาติ Learning from Big Data for Linguistics and Language Education ณ Institute for the Study of Language and Information, Kyung Hee University กรุง โซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2560 อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน

อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้ รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจคุณภาพด้านเนื้อหาของบทความวิจัย วารสารเทคโนโลยี สุรนารี Suranaree Journal of Social Science


23

ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนมิถุนายน 2560

21 ฝ่ายประกันคุณภาพ การพัฒนานวัตกรรมส�ำหรับงาน อักษรศาสตร์ โดย อาจารย์วรโชค ไชยวงศ์ (เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร)


24

Year 9, No. 12: 16 June 2017 News from the International Affairs Section

EU-SHARE Workshop in Manila

On June 12-13, 2017, Assistant Professor Suradech Choti-

ties both in Thailand and the Philippines, could exchange

udompant, Ph.D., Associate Dean in Internationalization

ideas on how to enhance the platform usage as well as

and Organizational Image Enhancement, together with In-

to discuss the strengths and constraints of credit transfer

ternational Office Director Kaewjai Nacaskul, was invited

issues.

to join the 5th Credit Transfer System Capacity-Building Workshop in Manila, the Philippines. The workshop was aimed to orientate the participants with the EU-SHARE student mobility program as well as to streamline the process of exchange through an on-line user-friendly platform. In addition, the participants in the workshop, comprising Campus France experts and delegates from member universi-

Hosted by Campus France, the two-day meeting took place at the Holiday Inn and Suites in the city center of Manila. The first day started with Johanna Rasplus, Deputy Head of European Projects, and Fabrice HĂŠnard, SHARE Team Leader, relating how Campus France had been involved in the EU-SHARE program. Then, together with HĂŠnard, Syl-


25

vie Bonichon, SHARE Credit Transfer Core Expert, introduced the participants to the on-line platform, in which all information regarding exchange students and mobility details would be systematically stored. The second day of the meeting began with the platform presentation and close tutorial of the platform use by SHARE expert StĂŠphane Pardo. This was followed by a special session on the important role of Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Center for Higher Education and Development (SEAMEO RIHED) in this significant EU-SHARE program. This session was conducted by SEAMEO RIHED Program Director Phunyanuch Pattanotai and her support officer Christelle Mae Agustin. The afternoon session started with the discussion on learning outcomes and assessment methods involved to reach desired outcomes as well as how these details could be registered on the on-line platform as a significant part to determine the exchange course for each student. In addition to the orientation to the aforementioned platform, which will eventually put the ASEAN exchange system on par with such European systems as Erasmus, the participants were also able to secure international networking, especially between delegates from Thailand and from the Philippines. The Faculty of Arts, Chulalongkorn University, has remained one of the most attractive destinations for prospective overseas exchange students from the ASEAN. Last semester the Faculty welcomed a student from Myanmar under the EU-SHARE program and this coming semester one of our students, Nuttaphat Saebae, will be an exchange student at Uppsala University with the generous sponsorship from this program.


26

Chalermprakiat Center of Translation and Interpretation

ARTIS@BANGKOK2017 ARTIS@BANGKOK2017 Advancing Research in Translation and Interpreting Studies

Advancing Research in Translation and Interpreting Studies Theme: "Translatorship� 29-30 July 2017

Theme: "Translatorship� 29-30 July 2017

Jointly

organised

by

Chalermprakiat

Center of Translation and Interpretation, Chulalongkorn University, and the MA program in English-Thai translation,Thammasat University

Venue: The Ivory Lounge, Huachang Heritage Hotel

Programme : https://artisinitiative.org/ events/upcoming-events/artisbangkok-translatorship/#programme Registration Fee: http://www.arts.chula.ac.th/~artis2017/ index.php/registration-fees/ Registration is now open for first-day lectures and panel discussions: http://www.arts.chula.ac.th/~artis2017/ index.php/registration-form/ Early-bird rates are applicable until 30th June 2017 Registration closes on 21st July 2017

Otam venim invenimusci consequas ipsunto tectatet volessi conestibus, ut facesequam, officia nderate porecusam


27

CALENDAR OF EVENTS 21 Quality Assurance Division Lecture on "The Innovative Development

in

the

Hu-

manities" by Ajarn Worachok Chaiwong (10:00-12:00 hrs, 304, Maha Chakri Sirindhorn Building)


The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator

Please send any announcements or information on your current as well as past events at artscu.net Tel. 662 218 4885


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.