1
ตนอักษรฯ (หน้า 18)
บทสัมภาษณ์ อ.เนณุภา สุภเวชย์ ผู้จัดท�ำหนังสืออักษราฉายาลักษณ์
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๘ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๐
2
จดหมายข่าวเทวาลัย
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๘ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๐
วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)
จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา
รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ผู้ช่วยคณบดี อ.William Whorton
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์
ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th)
อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th
3
การบรรยายพิเศษเรื่อง "ความส�ำคัญของพระอภิธรรม ในพระพุทธศาสนา"
"การสวดพระอภิธรรมท�ำนองหลวง" และพิธีบ�ำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม
ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
4 งานเกษียณอายุราชการ และ แสดงมุทิตาจิตประจ�ำปี 2560
6
พิธีถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
7
ข่าวจากคณะวุฒยาจารย์
10 ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์
14
16
หัวข้อ "ชายเปลือยในพิพิธภัณฑ์ Louvre"
ข่าวจากศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา
ข่าวจากภาควิชาภาษาไทย
โดย ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
22
ข่าวจากหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
12
ฅนอักษรฯ
23
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน
24
ปฏิทินกิจกรรม เดือนกันยายน
อ.เนณุภา สุภเวชย์
18
4
การบรรยายพิเศษเรื่อง "ความส�ำคัญของพระอภิธรรมในพระพุทธศาสนา" "การสวดพระอภิธรรมท�ำนองหลวง" และพิธีบ�ำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
ฝ่ายกิจการพิเศษ
วันที่ 14 กันยายน 2560 คณะ อักษรศาสตร์ ร่วมกับหอพระไตรปิ ฎ กนานาชาติ แ ละวั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม จั ด การบรรยายพิ เ ศษเรื่ อ ง "ความส�ำคัญของพระอภิธรรมใน พระพุทธศาสนา" และ "การสวด พระอภิ ธ รรมท� ำ นองหลวง" พร้อมทั้งจัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลสวด พระอภิ ธ รรมถวายพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ในโอกาสครบรอบ หนึ่งปีแห่งการเสด็จสวรรคตและ การพระราชพิธีถวายพระเพลิง
พระบรมศพซึ่งจะมาถึงในเดือน ตุลาคม การบรรยายเรื่อง "ความส�ำคัญ ของพระอภิ ธ รรมในพระพุ ท ธศาสนา" อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) ประธานหอ พระไตรปิฎกนานาชาติ ได้กล่าว ถึงความส�ำคัญของพระอภิธรรม ในฐานะส่ ว นหนึ่ ง ของพระไตรปิฎก ซึ่งในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาอธิบายว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดาเพื่อทดแทน
5
พระคุณ จึงได้กลายเป็นประเพณีการสวดพระ อภิ ธ รรมในงานศพเพื่ อ อุ ทิ ศ แด่ ผู ้ ว ายชนม์ ผู ้ มี พระคุณ พระอภิธรรมประกอบด้วยเจ็ดคัมภีร์ เป็นธรรมะ ล้วนและแจกแจงสภาวธรรมต่างๆ อย่างละเอียด ลึกซึ้ง ให้เข้าใจความหมายของ "อนัตตา" ว่าทุก สิ่งล้วนประกอบขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ซึ่งเป็น "ปัญญา" ที่จะน�ำให้พ้นจากทุกข์ ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ซึ่งไปร่วมงานศพและ ได้ยินได้ฟังการสวดพระอภิธรรมอยู่เสมอจึงควร ได้แก่นสารสาระธรรมจากพระอภิธรรม เพื่อ สามารถปล่อยวางความยึดมั่นต่างๆ เพื่อจะถึง "นิพพาน" ได้ในแต่ละขณะของชีวิตประจ�ำวัน การบรรยายเรื่อง "การสวดพระอภิธรรมท�ำนอง หลวง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อธิบายความหมายและหน้าที่ของพระพิธีธรรม ซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระ อารามหลวงสิบพระอาราม และระเบียบพิธีการ สวดพระอภิธรรมของหลวง พระมหาวรวุฒิ ชิตธมฺโม หัวหน้าคณะพระพิธีธรรม จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้อธิบายท�ำนอง การสวดพระอภิธรรมแบบหลวง ทั้งท�ำนองกะ ท�ำนองเลื่อนหรือเคลื่อน ท�ำนองลากซุง และท�ำนอง สรภัญญะ ว่ามีลักษณะอย่างไร การสวดเป็นท�ำนอง ต่างๆ นี้น่าจะมีมานานแล้ว และได้เป็นระเบียบ แบบแผนชัดเจนขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็น ภูมิปัญญาไทยและประเพณีแห่งราชส�ำนักไทยที่ทรง คุณค่า ควรช่วยกันรักษาให้ด�ำรงอยู่ยั่งยืนต่อไป จากนั้นเป็นพิธีบ�ำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ซึ่ง การสวดมีสี่จบ บทที่สวดและท�ำนองสวดในพิธีครั้ง นี้ ได้แก่ จบที่หนึ่ง นโม ต่อด้วย สัญโญชนโคจฉกะ (อภิธรรม ใหม่) - ท�ำนองเลื่อน จบที่สอง พระวิภังค์ หรือปัญจักขันธา - ท�ำนอง ลากซุง จบที่สาม พระธาตุกถา หรือสังคโห - ท�ำนองกะ จบที่สี่ พระปัฏฐาน หรือเหตุปัจจโย - ท�ำนองเลื่อน (ส�ำเนียงจีน) การบรรยายและพิธีครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ยิ่ง ทั้ง ท�ำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ เกิดปัญญา และได้ ร่วมกันบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชในวาระอั น ส�ำคัญนี้ วิดีทัศน์การบรรยายและพิธีสวดพระอภิธรรมจะได้ เผยแพร่ในช่อง Aksornchannel เว็บไซต์ YouTube.com ต่อไป
6
ภาควิชาภาษาไทย
"พิธีถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ภาควิชาภาษาไทยขอเชิญร่วมพิธีถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 16.00 น. ณ ห้องโถงกลาง อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
7
ข่าวจากคณะวุฒยาจารย์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย ให้ดำ�รงตำ�แหน่งทางวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ อาจารย์เปาโล ยูรอน ได้รับแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย ใน การประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 804 วันที่ 29 มิถุนายน 2560 ให้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์
8
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "Kafka นักประพันธ์ ผู้โลกไม่ลืม" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณถนอมนวล โอเจริญ วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Cnu5f5VbrieFOjQtfO18Fi_Y4jGQJIN8YA28R3DXlNo
9
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนาปรัชญากับมารค ตามไท" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/1yFLZp5W6MrVUQmnS7TnteV9uhKeiGTpU9528e1zrPMA/viewform?edit_requested=true
10
งานเกษียณอายุราชการ และแสดงมุทิตาจิตประจำ�ปี 2560 ฝ่ายกิจการพิเศษ
วันที่ 11 กันยายน 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์จัด งานเกษียณอายุราชการและแสดงมุทิตาจิตประจ�ำปี 2560 แด่ 1. ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต 2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ร�ำไพ เปรมสมิทธ์ 4. นางวลัยพร ชวะเดช 5. นางสมพร ปลื้มกุศล 6. นายประกิจ แต่งโต๊ะ ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
11
12
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ
"ชายเปลือยในพิพิธภัณฑ์ Louvre"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
เมื่อเห็นรูปของชายที่เปลือยเปล่า เราไม่ได้ก�ำลังมองเพียงรูปกาย หรือเนื้อหนังที่สลักเสลาแต่งแต้มด้วยฝีมือช่าง แต่เรือนร่างอันกอปร ขึ้นเป็น "ศิลปะ" นั้นก�ำลังสื่อความคิด มโนทัศน์ อุดมคติ หรือปรัชญา บางอย่างของยุคสมัย ที่อิ่มอาบอยู่ในใจของศิลปินให้เราได้รับรู้ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ได้เก็บรักษาและจัดแสดงรูปชายเปลือยที่สร้างขึ้นใน ยุคต่างๆ ไว้มากมาย ตั้งแต่อียิปต์โบราณ กรีก-โรมัน ยุคกลาง เรเนสซองส์ ฯลฯ รูปประติมาหินอ่อน ภาพวาดบนแจกันหรือผืนผ้าใบ ทั้ง ที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดแบบคลาสสิกโบราณ คริสตศาสนา ยุคฟื้นฟู ศิลปวิทยาการ ต่างแสดงร่างกายของเทพเจ้าและมนุษย์ผู้ชาย ทั้งที่ แข็งแรงบึกบึน กล้ามเนื้องามสมส่วน และที่อ่อนช้อยงามละมุน ร่างชายเปลือยเหล่านี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดหลากหลาย ทั้งเพื่อแสดง ความแข็งแกร่ง พละก�ำลัง ร่างอันสมบูรณ์แบบ ความหยิ่งทะนง องอาจ ความงามอ่อนโยน สติปัญญาอารยธรรมอันสูงส่ง ไปจนถึง ร่างกายในฐานะฉายาของพระผู้เป็นเจ้า สิ่งอันพึงศึกษา คุกคุมขัง จิตวิญญาณ ก้าวข้ามไปจนถึงอมตภาพอันบริสุทธิ์ ไม่น่าเชื่อว่าร่างที่เปลือยเปล่าของมนุษย์ ไร้เสื้อผ้าอาภรณ์ใดๆ จนดู เหมือนว่าไม่ถูกจ�ำกัดกรอบด้วยวัฒนธรรม ก�ำลังบอกอะไรแก่เรา
มากมาย เพราะมนุษย์คิดต่างกัน และเปลี่ยนแปลงพัฒนาความคิด ไปเรื่อยๆ ทั้งยังน�ำเสนอความคิดผ่านงานศิลปะ แน่นอน แม้แต่ร่างเปลือยเปล่าของมนุษย์ผู้ชายก็ไม่มีข้อเว้น สมัยหนึ่งการเปลือยในที่สาธารณะเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การเล่น กีฬาของชายชาวกรีกที่ต้องเปลือยร่างเพื่ออวดมัดกล้าม ความแข็งแรง หรือวัยแห่งการศึกษาที่บรรดาหนุ่มน้อยต้องอยู่ในความดูแล ของ "ชายคนรัก" ที่สูงวัยและมีประสบการณ์ โดยปราศจากเสื้อผ้า อาภรณ์ใดๆ บางยุคสมัย ด้วยอิทธิพลของคริสตศาสนา ร่างที่เปลือยเปล่ากลาย เป็นของอุจาด ถึงกับต้องมีช่างเขียน ที่เรียกกันว่า "ช่างกางเกงใน" คอยวาดผ้าชิ้นน้อยๆ เพื่อปกปิดของสงวนของชายเปลือยในภาพ วาดต่างๆ ชายเปลือยในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ยังคงยืนคอย นั่งคอย และนอนคอยเรา เข้าไปค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อหนังเหล่านั้น ขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ส�ำหรับปาฐกถา "อักษราภิวัตน์" ผู้น�ำเราไปสนทนากับบรรดาชายเปลือย ผู้อวดเรือน ร่างของตนอย่างภาคภูมิมายาวนานนับพันปี
13
14
กึ่งศตวรรษมหัศจรรย์:
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ กับหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา
ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วม กั บ สถานเอกอั ค รราชทู ต โคลอมเบี ย ประจำ�ประเทศไทย จัดงาน “กึ่ง ศตวรรษมหัศจรรย์: กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซกับ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดด เดี่ยว” เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน
2560 เวลา 16.30-19.30 น. ณ ห้อง 301-302 อาคารมหาจักรีสิรินธร เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่นวนิยายเล่มเอกแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ลาตินอเมริกาตีพิมพ์ครบรอบ 50 ปี กิจกรรมนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เสวนา “อิทธิพลของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซในประเทศไทย” โดยคุณ วีรพร นิติประภา คุณกิตติพล สรัคคานนท์ และรองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์เป็นวิทยากร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล เป็นผู้ดำ�เนินรายการ ส่วนที่สองคือการฉายภาพยนตร์สารคดี “Gabo: The Magic of Reality” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ
15
16
ภาควิชาภาษาไทย
การประชุมวิชาการ "มณีปัญญา-ปรีชญมณี" และพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ภาควิชาภาษา ไทย จัดการประชุมวิชาการ "มณีปัญญาปรีชญมณี" เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของ คณาจารย์ และจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น ๙ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
17
18
ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว
คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน
อ.เนณุภา สุภเวชย์
หลายคนอาจยั ง ไม่ รู ้ ว ่ าผู ้ ป รับ ปรุงและ เขียนเว็บไซต์คณะอักษรศาสตร์ที่ใช้กัน ในอดีตช่วงหนึ่งคือใคร ฐานข้อมูล ประกันคุณภาพที่จัดเก็บง่าย สะดวก ไม่ ยุ่งยาก ซับซ้อน ใครเป็นผู้ออกแบบ ล่าสุดกับงานรวบรวมข้อมูลและรูปภาพ อีกเป็นพะเรอเพื่อจัดท�ำหนังสืออักษราฉายาลักษณ์ 80 รุ่นอักษรศาสตรบัณฑิตฯ เบื้องหลังความทุ่มเททั้งหมด หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคนๆ นั้นคือ อ.เนณุภา สุภเวชย์ อาจารย์ประจ�ำภาค วิชาบรรณารักษศาสตร์ (อ.หนิม) เป็น ผู้ริเริ่ม ลองผิดลองถูก เรียนรู้และพัฒนา อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงงานอดิเรกอัน แสนอร่อยที่หลายคนได้กินแล้วติดใจไป ตามๆ กัน หลายคนอาจยังไม่รู้เรื่องราว เหล่านี้...หรือรู้แล้ว? แต่ถ้ายังไม่รู้ และ อยากรู้โดยละเอียด โปรดอย่าพลาดตาม อ่านในฅนอักษรฯ ประจ�ำฉบับนี้
19
เอกสารนิเทศรุ่นแรกและอาจารย์ในดวงใจ เข้าเรียนอักษรศาสตร์ รุ่น 63 รหัส 38 เอกสารนิเทศรุ่นแรก ที่เปลี่ยนจากบรรณารักษศาสตร์เป็นสารนิเทศศาสตร์ ตอน นั้นตั้งใจเข้าสารนิเทศโดยเฉพาะ พอดีคุณแม่เรียนเอก ฝรั่งเศสมาก่อน เลยเรียนปริญญาตรี โท เอกฝรั่งเศสที่นี่ แล้วไปต่อปริญญาเอกที่ต่างประเทศ จ�ำได้ว่าเอกสารนิเทศ รุ่นแรกคนเยอะเป็นประวัติศาสตร์ เมื่อก่อนตอนเป็นเอก บรรณารักษ์ก็จะน้อยๆ 5 คน 8 คน แต่รุ่นนี้ 25 คน ทีนี้พอ เข้ามาเรียนก็ได้เรียนหลากหลายทั้งเบสิคพื้นฐาน เทคโนโลยี ตอนนั้นเรียนกับอาจารย์ดวงเนตร (อ.ดวงเนตร วงศ์ประทีป) วิชาเทคโนโลยีการจัดการสารนิเทศ เรียน Microsoft word office ขั้นสูง เรียนฐานข้อมูล Access ซึ่งเป็นพื้นฐานมา จนถึงทุกวันนี้ อาจารย์ดวงเนตรอยู่ในใจตลอดเวลาท�ำงาน เพราะอาจารย์สอนพื้นฐานไว้ดีมาก ตอนไปต่อเมืองนอก ถ้า ไม่ได้พื้นฐานอาจารย์ก็แย่เหมือนกัน บรรณารักษ์ประจ�ำห้องสมุด ไปเรียนต่อ กลับมาเป็นอาจารย์ งานที่แรกเป็นบรรณารักษ์อยู่ศูนย์ข้อมูล ท�ำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ท�ำควบคู่กันทั้งงานประชาสัมพันธ์และ งานบรรณารักษ์ประจ�ำห้องสมุด ก็สนุกดี ได้ท�ำงานตรงสาย แต่ว่าโครงการมันสั้นมาก คือโดนยกเลิกสัญญากับบริษัทที่ จ้าง หน่วยงานราชการที่จ้างบริษัทนี้เขาไปบอกยกเลิก สัญญา บริษัทเลยยกเลิกงานทั้งหมด ก็กลับมาที่ภาคฯ มาดู ประกาศรับสมัครงาน พอดีเจออาจารย์ที่ภาคฯ ชวนไป ท�ำงานที่ศูนย์เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ ท�ำใน ส่วนเก็บเอกสารที่ใช้งานแล้ว ไปจัดเอกสาร จัดระบบ คือเขา ก็มีคู่มือให้ เพราะตอนนั้นยังไม่เก่ง ไม่รู้จัดเอกสารยังไง เรา ไปเรียนรู้งานจากตรงนั้น หลังจากนั้นค่อยไปเรียนต่อ Information Science ที่อังกฤษ พอเรียนจบกลับมาก็ท�ำงานตรง สายอีก ท�ำ software อยู่ระบบจัดการเอกสาร ท�ำเอกสารส่ง ลูกค้า ท�ำโปรเจคไปเรื่อยๆ ไปวางระบบให้ลูกค้าที่นี่เสร็จก็ไป ท�ำที่ใหม่ต่อ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เดินทางเยอะแต่สนุก เพราะได้ เห็นโจทย์ว่าเขามีปัญหาอะไร เราก็เข้าไปจัดระบบให้เขา แต่ ก็พอดีอาจารย์ที่อักษรฯ ชวนมาสมัครเป็นอาจารย์เสียก่อน ตอนนั้นเข้ามาเป็นอาจารย์ปลายปี 2546 พลิกโฉมเว็บไซต์คณะ จริงๆ เข้ามาได้ปีเดียวผู้บริหารชุดนั้น (สมัย ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองค�ำ เป็นคณบดี) ก็ให้ไปช่วยท�ำฐานข้อมูลท�ำ เว็บไซต์คณะแล้ว อ.พรรณพิมล (ผศ.พรรณพิมล กุลบุญ รอง คณบดีฝ่ายวางแผน) ให้ไปช่วยท�ำฐานข้อมูลคณะ ซึ่งก็คืออัน เดียวกับที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ก็ประชุมกับ user ในคณะว่าเขา อยากให้ออกรายงานยังไง อยากเก็บข้อมูลแบบไหน ก็ ออกแบบฐานข้อมูลมาให้ ตอนนั้นเว็บไซต์คณะอักษรฯ มี แบบหน้าเดียวยาวๆ ทุกอย่างอยู่ในหน้าเดียวหมด อาจารย์
20
อนงค์นาฏ (รศ.ดร.อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ) ให้มาช่วยพัฒนาเว็บคณะ ตอนแรกก็มีเวอร์ชั่นเดียวก่อนเป็น ภาษาไทย ปีสองปีถัดมาอาจารย์ขอให้มีเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษด้วย ก็ท�ำคนเดียวเลย เป็นคนออกแบบทั้งหมด ออกแบบการจัดเก็บข้อมูลงานประกันคุณภาพ ไม่นึกไม่ฝันเหมือนกัน ตอนแรกก็รับเป็นผู้แทนของคณะเวลา ประชุมประกันคุณภาพ แล้วทางผู้บริหาร (สมัยต่อมาที่มี ผศ.ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เป็นคณบดี) บอกให้มาเป็นรองคณบดี ฝ่ายประกันคุณภาพเลยจะได้สั่งการท�ำงานคล่องตัวกว่า ตัวเอง เข้ามาเป็นคนสุดท้าย หลังจากที่เขาจัดตั้งชุดกันไปแล้ว แรกๆ กังวลไม่รู้เรื่องเลยเรื่องประกันคุณภาพ ก็ถามดาว (คุณพรลภัส ยวงงาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันคุณภาพ) ให้ดาวเป็นที่ปรึกษา จาก นั้นไปที่ส�ำนักยุทธศาสตร์ ถามเขาว่าต้องท�ำอะไรบ้าง ฐานข้อมูลที่ เก็บต้องจัดเก็บในรูปแบบไหน เขาก็อธิบายมา แต่ไม่รู้เรื่องเลย แต่ รู้ว่าต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้าง และด้วยความที่เรียน System analysis and Design มา ต้องคิดใหม่ ต้องวางแผนว่าจะจัดเก็บข้อมูล อะไรตอนไหน คือเป็นเหมือนนักคอมพิวเตอร์ ต้องเช็ครีไควเม้นต์ ต้องออกแบบระบบว่าจะเก็บข้อมูลยังไงให้มันครบทีเดียวจบและ เจนรีพอร์ทได้ทุกแบบ นี่คือกระบวนการคิดของ information Science หลังจากนั้นเลยออกแบบระบบที่จัดเก็บออกมาเป็น Excel ตรวจข้อมูลก็ง่าย คือถึงท�ำเป็นฐานข้อมูล มันก็ต้องส่งออกมา เป็น Excel ที่จะตรวจข้อมูลว่าซ�้ำซ้อนไหม อันไหนถูก อันไหนผิด อย่างนั้นก็ท�ำเป็น Excel เลยแล้วกัน น่าจะง่ายส�ำหรับทุกคน พูดถึงงานประกันคุณภาพ ตอนปีแรกๆ ก็รู้สึกว่าทุกข์ระทมนิดหน่อย ที่บอกว่าทุกข์ระทม เพราะมันใช้เวลามากกว่าจะผลิตงานออกมาได้หนึ่งเล่ม ตอนนั้น ระบบ CU-QA ยังไม่เลิก ทั้ง CU-QA ทั้ง สกอ. (ส�ำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา) ปีที่ 2 ก็ CU-QA กับ สกอ. พอมาปีที่ 3 มี CU-QA , สกอ . และ สมศ. (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา) เข้ามาอีก ก็แบบท�ำ สกอ. จบหนึ่ง เล่มก็ต้องมาท�ำต่ออีกเล่มหนึ่ง แต่ก็ผ่านมาได้ มันเป็นงานที่ค่อน ข้างจะต้องอาศัยความละเอียดมาก ต้องคอยดูตลอดเวลา แต่ จริงๆ นอกจากละเอียดแล้ว ถามว่าเสียสละไหม ไม่ได้คิดว่าเสีย สละนะ ถามว่ารักคณะไหม คิดว่าทุกคนก็รักคณะเหมือนกันหมด ไม่งั้นเราคงไม่มาท�ำงานที่นี่กัน และเจ้าหน้าที่ก็ดี อาจารย์ก็ดี เห็น สายตาก็รู้แล้วว่าทุกคนรักคณะ เลยไม่ได้คิดว่าเสียสละ คิดว่า รับปากเขาแล้วว่าจะท�ำงานนี้ให้ก็ท�ำ จริงๆ ถ้าไม่ได้เป็นรองคณบดี ก็ต้องท�ำวิจัยแล้ว แต่พอมาเป็นรองคณบดีอาจจะเป็นข้ออ้างก็ได้ เลยไม่ได้ท�ำวิจัยสักที แต่กับงานประกันคุณภาพ มันท�ำได้ไว อาจ เป็นเพราะศาสตร์ที่เรียน คือเด็กที่จบสารนิเทศศาสตร์จะมี ลักษณะแบบนี้
21
ประกันคุณภาพรสมือ จริงๆ เริ่มจากท�ำเค้กบลูเบอรี่ก่อน เพราะอาจารย์พรรณพิมล ชอบ ก็ท�ำให้แบบคิดค่าท�ำนิดหน่อย พอให้ไม่ขาดทุน หลัง จากนั้นก็ถามคนอื่นๆ เผื่อใครอยากกิน เพราะคนชิมก็พูด เป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติไม่เหมือนที่อื่น ใช้ของดี ขนมว่าง ตอนพักเบรคที่ใช้ตรวจประกันคุณภาพก็ท�ำมาเอง ส่วน อาหารนี่เริ่มจากกรรมการตรวจชุดอาจารย์เอ็ดดี้ ตอนนั้นท�ำ ข้าวผัดปูภูเขาไฟมา (เนื้อปูพูนจาน) อาจารย์กินแล้วติดใจ อาจารย์บอกไม่ท�ำขายเลยละ ก็เริ่มท�ำจากกิจการเล็กๆ ไม่กี่ คน แอดไลน์คนรู้จักแล้วก็ไปแอดต่อๆ กัน ก็สนุกดี แบบ ตรวจข้อมูลไปด้วย เลิกงาน 4-5 โมงเย็น ก็ไปหาอะไรท�ำเล่น สนุกๆ 3 ปีสุดท้าย ก็เลยเริ่มมีผลงานอาหารออกมา หนังสืออักษราฉายาลักษณ์ 80 รุ่น อักษรศาสตรบัณฑิต 100 ปี อักษรศาสตร์ ตอนท�ำกว่าจะได้ข้อมูลมามันก็ไม่ง่าย อย่างพวกรูปเก่าๆ ก็ จะมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่มันเป็นไฟล์แล้ว ซึ่งหน่วยโสตฯ เขา สแกนมาจากสไลด์ เมื่อก่อนตอนปฐมนิเทศน่าจะฉายสไลด์ ให้เด็กดูก็เลยมีรูปชุดนั้น แต่ข้อมูลที่เก่ามากกว่านั้นเยอะๆ มันจะหาไม่ได้ ส่วนหอประวัติไปขอรูปเขามาได้ แต่มีไม่เยอะ แต่โชคดีว่าตึกอักษรฯ มันเป็นมหาวิทยาลัยมาก่อน เพราะ ฉะนั้นรูปที่เขาถ่ายไว้มันก็คือรูปคณะเราก็เลยเอามาใช้ได้ ความยากล�ำบากก็คือข้อมูลกับรูป ไปได้รูปมาก็ไม่แน่ใจว่า มันเป็นปีอะไรกันแน่ เพราะมันไม่มี description มันมีแต่รูป คณะอักษรฯ ตอนท�ำก็มีอาจารย์ภาคประวัติศาสตร์เขามาดู ก็ช่วยกันสืบค้นกว่าจะเป็นหนังสือที่รวมรุ่นคณะที่มีรายชื่อ ของอักษรฯ ทั้งหมดกี่รุ่นๆ แล้วก็จะมีพวกงานเขียนของ ตัวแทนแต่ละรุ่น มีท�ำเนียบอาจารย์หัวหน้าภาค ซึ่งก็ได้ ข้อมูลจากคุณสุธรรม (คุณสุธรรม โตฤกษ์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจ งานสารบรรณ พิธีการ และอาคารสถานที่) แต่ก็ต้องให้ภาคฯ เขาช่วยตรวจสอบ เพราะบางทีข้อมูลก็ไม่ตรงกัน อันที่ยาก มากอีกอย่าง ซึ่งคิดว่ามีข้อมูลที่ผิดอยู่คือทะเบียนนิสิตฯ โชคดีที่ได้อาจารย์สุวิมล (ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ) มานั่งอ่านทีละ คน เช็คชื่อ-นามสกุลแบบละเอียดยิบ โดยเอาต้นฉบับ ประกาศจบเอามาให้เด็กในภาคช่วยขานชื่อแล้วตรวจเช็คที ละคนเลย ปรากฎว่ามีผิดอีกเพียบ แล้วรูปอีกกว่าจะเห็นออก มาเป็นแบบนี้ ตอนแรกที่ได้มากระจัดกระจายมากไม่รู้จะ แบ่งหมวดหมู่ยังไง กว่าจะท�ำเสร็จออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ก็อยากจะฝากหนังสืออักษราฉายาลักษณ์เล่มนี้ไว้ด้วยแล้ว กัน ราคาเล่มละ 800 บาท ดูรายละเอียดได้ตาม เว็บไซต์คณะ (https://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/aksara/) หรือสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ส�ำนักคณบดี True Coffee อาคารมหาจักรีฯ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรือถ้าจะให้ จัดส่งก็ Email มาตามรายละเอียดบนเว็บคณะไว้ได้เลยคะ
22
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
ฟื้นฟู SOTUS ตามความหมายในพระไตรปิฎก โดย อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา
(รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง)
หอพระไตรปิ ฎ กนานาชาติ ข อเชิ ญ ผู ้ สนใจเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมสนทนาแลก เปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 21 หัวข้อ "ฟื้นฟู SOTUS ตามความหมายในพระ ไตรปิฎก" โดย อาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) และ นิสิตวิชาพระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต วันพุธที่ 20 ก.ย. 2560 เวลา 12.00 13.00 น. (ลงทะเบียน 11.30 น. ) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 2 อาคารมหา จุฬาลงกรณ์ มอบหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ ๑๐๐ ปีจุฬาฯ แก่ผู้เข้าร่วม ผู้สนใจเข้าร่วมแจ้งชื่อได้ที่ โทร. 02218-4916 หรือ e-mail: tipitaka.chula@gmail.com
23
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ท�ำอะไร ที่ไหน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ร�ำไพ เปรมสมิทธ์
ผศ. ดร. พิมพ์ร�ำไพ เปรมสมิทธ์ ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ ได้ รับเชิญเป็นกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์แก่นักศึกษาระดับปริญญา เอก สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่12 กันยายน 2560 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร HS.05 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ. ดร. พิมพ์ร�ำไพ เปรมสมิทธ์ ได้รับเชิญวิพากษ์หลักสูตรศิลป ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ภาควิชา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม HB7801 อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 16 กันยายน 2560 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ภาควิชาภาษา ตะวันตก สาขาวิชาภาษาสเปน ได้รับเชิญจากกรมข่าวทหาร กอง บัญชาการกองทัพไทย เป็นวิทยากรในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ล่ามกองทัพไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00-16.00 น. ณ บ้านพักรับรอง 17 หาดเจ้าส�ำราญ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ภาควิชาภาษา ตะวันตก สาขาวิชาภาษาสเปน ได้รับเชิญจากกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน เป็นวิทยากรโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้า หน้าที่สื่อสารภาษา (ล่าม) ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2560 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ โรงแรม ปริ๊นส์ตั้น พาร์ค สวีท กรุงเทพมหานคร
24
ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนกันยายน 2560
22 ฝ่ายวิจัย ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" หัวข้อ "Kafka นักประพันธ์ ผู้โลก ไม่ลืม" โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณถนอมนวล โอเจริญ (เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคาร มหาจักรีสิรินธร)
25
Year 9, No. 18: 16 September 2017 News from the International Affairs Section
Meeting with delegates from the University of Glasgow
On Thursday, September 7, 2017, Penelope Morris, Ph.D., from the University of Glasgow’s (UofG) College of Arts paid a personal visit to the Faculty of Arts prior to her joining the MoU signing ceremony between the UofG and Chulalongkorn University (CU) on September 8. This is the follow up from her first visit to the Faculty of Arts with Professor Frank Coton, Vice President of the UofG, who had been received by Assistant Professor Nirada Chitrakara, Ph.D., Assistant Dean and Assistant Professor Verita Sriratana, Ph.D., then representing the Centre for European Studies. Welcoming the guest this time were Associate Dean, Associate Professor Suradech Chotiudompant, Ph.D., Dr. Chitrakara, and Dr. Sriratana, now Head of the Central and Eastern European Studies Section, Centre for European Studies and Deputy Director of the BALAC Program. To pursue its mission in broadening their global connections, the UofG is open to various kinds of partnerships in addition to undergraduate student exchange programs. The fruitful conversation with Dr. Morris bore more results than expected. The UofG wants to strengthen their field of language and culture by adding contents on Asian Culture. Moreover, as Dr. Morris’ specialization is Italian studies, a collaboration with the Faculty of Arts’ Italian section is a possible projection. Additionally, there may be hope for a staff exchange in the field of comparative literature.
A
graduate students exchange can also happen between the M.A. in English program at the Faculty of Arts and the UofG’s TEFL program.
Ultimately, the UofG is
looking forward to a double degree program with the Faculty of Arts.
26
Later, on September 8, 2017,
towards
Dr. Morris, Dr. Chitrakara, and
chances
for
Dr. Sriratana participated in the
partnerships
to
MoU signing ceremony between
promising.
internationalization, numerous emerge
are
UofG and CU hosted by the CU International Affairs Office
The UofG, founded in 1451, is
and presided by CU President,
considered one of the ancient
Professor Bundhit Eua-Arporn,
universities
Ph.D. Representing the UofG
Throughout
was Professor Frank Coton,
university
Vice President of the UofG. The
welcomed many famous figures
UofG party also included Clare
who made positive differences in
MagManus,
Katy
the world. Currently, as a major
Scott. The CU side was joined
research-led university operating
by Assistant Professor Pomtong
in an international context, the
Malakul, Ph.D., Vice President
UofG ranked 65 according to
of
QS World University Ranking
CU,
Ph.D.
and
representatives
from
of
Scotland.
its has
history,
the
fostered
and
the English as an International
in 2016.
Language Program (EIL) and
88 according to Times Higher
CU International Affairs Office.
Education
After the signing, participants
Ranking and 106 among the best
benefited from their limited time
global universities. The UofG’s
together by brainstorming further
leading
joint activities in an amicable
geography, computer sciences,
atmosphere.
dramatic arts, and arts and
With everyone
sharing the same goal in moving
This year, it ranked World
areas
humanities.
are
University
medicine,
27
SPANISH CLUB’S FIRST MEETING The Spanish Section, in collaboration with the Center of Latin
dor of Mexico, HE María del Carmen Martínez Arosemena,
American Studies and the Spanish Club, held the “Spanish
Ambassador of Panama, HE Fernando Quirós, Ambassador
Club’s First Meeting” on Tuesday 6 September 2017 at 17.00-
of Peru and Mr Patricio Kingsland, Chargé d'Affaires of the
19.00 at Room 304, Maha Chakri Sirindhorn Building, Faculty
Embassy of Argentina.
of Arts, Chulalongkorn University. This activity began with the
After this ceremony, the students listened to two talk sessions.
third annual award ceremony organised by the embassies of
The first one focused on the information about summer cours-
the Latin American and Caribbean Group (GRULAC) for the
es, and exchange programmes, and also on internships at
Spanish-major student who had recently graduated with the
embassies, travel agencies and press office (Agencia EFE).
highest GPA in all Spanish subjects. The student awarded at
In the second one, entitled “Stories from the Alumni”, Ms Sasi-
this ceremony was Ms Pattheera Hutachoke (GPA 4.00). Am-
kan Phootdee (Brand Manager, Pull & Bear Thailand) and Ms
bassadors and diplomats from Latin American countries who
Watcharabhorn Sa-Nguansin (Programme Officer for Thailand
participated in this event were HE Andelfo García, Ambassa-
and Myanmar, Terre des Hommes Netherlands) shared an ex-
dor of Colombia and Dean of GRULAC Ambassadors, HE Gil-
perience on their Master’s degree in Spain and their work in
berto Fonseca Guimaraes de Moura, Ambassador of Brazil,
different areas. This first meeting concluded with Spanish and
HE Christian Rehren, Ambassador of Chile, HE Hector Conde
Latin American food tasting.
Almeida, Ambassador of Cuba, HE Jaime Nualart, Ambassa-
28
29
CALENDAR OF EVENTS 22 Research Affairs Division Aksarapiwat
Talk
Series
"Franz Kafka -- the Immortal Author" by Professor Emeritus Thanomnuan O'charoen (13:00-16:30 hrs, 9th floor, Maha Chakri Sirindhorn Building)
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events to Ms Kankanok Chimsang at artspr08@hotmail.com, pr.arts.chulalongkorn@gmail.com Tel. 662 218 4885
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events at artscu.net Tel. 662 218 4885