1
ตนอักษรฯ (หน้า 18)
บทสัมภาษณ์ ศ.พิเศษ ดร.อ�ำภา โอตระกูล
แสดงความยินดีบัณฑิตใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๙ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
2
จดหมายข่าวเทวาลัย
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๙ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)
จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา
รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ผู้ช่วยคณบดี อ.William Whorton
ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th) เครดิตภาพหน้าปก: นางสาวโปลิน ถิรจิตตกุล
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์
อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th
3
พิธีถวายสักการะพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
4 ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ความรู้ทางภาษาศาสตร์กับการ ทดสอบทางสมรรถภาพทางภาษา" โดย ศ.กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
12 ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ
8
ข่าวจากฝ่ายกิจการพิเศษ
11
ข่าวจากหอพระไตรปิฎกนานาชาติ
""Kafka นักประพันธ์ ผู้โลกไม่ลืม" โดย ศ.กิตติคุณถนอมนวล โอเจริญ
16
ข่าวจากศูนย์ไทยศึกษา และศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา
14
ฅนอักษรฯ
23
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน
24
ปฏิทินกิจกรรม เดือนตุลาคม
ศ.พิเศษ ดร.อำ�ภา โอตระกูล
18
4
พิธีถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพปีที่ 164
ภาควิชาภาษาไทย
วันที่ 20 กันยายน 2560 ภาควิชาภาษาไทยจัดพิธีถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้าย วันพระบรมราชสมภพปีที่ 164 ณ ห้องโถงกลาง อาคารมหา จุฬาลงกรณ์ โดยมีคณบดีคณะอักษรศาสตร์เป็นประธานในพิธี โอกาสนี้ นิสิตภาควิชาภาษาไทยอ่านบทร้อยกรองถวายราชสดุดี สรรเสริญพระเกียรติคุณ นิสิตชมรมดนตรีไทยและชมรมภาษา ไทยบรรเลงเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์และเขมรไทรโยค เสร็จ พิธี ที่ประชุมร่วมกันร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์
5
6
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัยต่อการจากไปของ
รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิธีฌาปนกิจ: วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2560 เวลา 17.00 น. ณ วัดหัวล�ำโพง กรุงเทพมหานคร
7
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต และได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ
ข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.arts.chula.ac.th/ling/ ภาควิชาภาษาศาสตร์ขอแสดงความยินดีแด่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปราณี กุลละวณิชย์ ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎี บัณฑิต และศาสตราจารย์ ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองค�ำ ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปราณี กุลละวณิชย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาตระกูลไท และวากยสัมพันธ์ ท่านเป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ร่วมก่อตั้งภาควิชา ภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ เมื่อปี 2520 ท่านเคยด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิก สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองค�ำ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัทศาสตร์และสัทวิทยา ภาษาศาสตร์ภาค สนาม ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภาษาศาสตร์ภาคสนาม ท่านเป็นนักภาษาศาสตร์ไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิก กิตติมศักดิ์ของ Linguistic Society of America ท่านเคยด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์
8
ฝ่ายกิจการพิเศษ
วันที่ 26 กันยายน 2560 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำ�เงินที่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในพิธีบำ�เพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตครบ 1 ปีและการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2560 จำ�นวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ไปมอบแก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ ทางการแพทย์ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ถวายเป็นพระราชกุศล
9
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนาปรัชญากับมารค ตามไท" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/1yFLZp5W6MrVUQmnS7TnteV9uhKeiGTpU9528e1zrPMA/viewform?edit_requested=true
10
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1ab0M3Lq_zRq4ahDH5dmktP63ytVlS_1izVsAhhsyvZ0
11
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา พระราชวิสัยทัศน์ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 โดย ศ. ดร.สุภางค์ จันทวานิช และอาจารย์แม่ชีวิมุตติยา
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 22 "พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา พระราชวิสัยทัศน์ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9" โดย ศ. ดร.สุภางค์ จันทวานิช และอาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (รศ. ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) วันพฤหัสบดีที่ 19 ต.ค. 2560 12.00 - 13.00 น. (ลงทะเบียน 11.30 น.) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ มอบหนังสือ สมเด็จบรมบพิตร ผู้เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ แก่ผู้เข้าร่วม ผู้สนใจเข้าร่วมแจ้งชื่อได้ที่ โทร. 02-218-4916 หรือ e-mail: tipitaka.chula@gmail.com
12
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ความรู้ทางภาษาศาสตร์กับการทดสอบทางสมรรถภาพทางภาษา" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์
ฝ่ายวิจัยและภาควิชาภาษาศาสตร์ วันที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ความรู้ทางภาษาศาสตร์กับการทดสอบทางสมรรถภาพทางภาษา" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ณ ห้อง อเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
13
14
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ
""Kafka นักประพันธ์ ผู้โลกไม่ลืม"
โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณถนอมนวล โอเจริญ วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "Kafka นักประพันธ์ ผู้โลกไม่ลืม" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณถนอมนวล โอเจริญ ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคาร มหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
15
16
ศูนย์ไทยศึกษาและ ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา
การเสวนาวิชาการ
“ความทรงจำ�เคล้าจินตนาการ: อยุธยาในฝันกับการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทย" เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 เวลา 16.0018.30 น. ศูนย์ไทยศึกษาและศูนย์ลาตินอเมริกา ศึกษา คณะอักษรศาสตร์จัดเสวนาวิชาการ “ความทรงจ�ำเคล้าจินตนาการ: อยุธยาในฝันกับ การสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทย (Imagined Memories: The Ayutthayan Fantasy and the Making of National History in Thailand”) ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ภาพ ความทรงจ� ำ อาณาจั ก รอิ น คาและอาณาจั ก ร อยุธยาใน เรือนมยุรา และ Los ríos profundos (สายน�้ำลึก)” สนับสนุนโดยส�ำนักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การเสวนาดังกล่าวเป็นการน�ำเสนอหลากมุม มองที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อาณาจั ก รอยุธ ยาและการ สร้างจินตกรรม-ความทรงจ�ำที่เกี่ยวข้อง โดยมี วิทยากรคือ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรา-
นนท์ ในหัวข้อ "จากจินตกรรมแห่งอาณาจักร อยุธยาสู่ประวัติศาสตร์ชาตินิยมรัฐไทย" คุณ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ในหัวข้อ "จาก "กระเบื้องถ้วย กะลาแตก" ถึง "เสื่อผืนหมอน ใบ": จินตภาพจีนสยามจากอยุธยาสู่ยุครัฐชาติ" และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล ใน หัวข้อ “ภาพความทรงจ�ำอาณาจักรอินคาและ อาณาจักรอยุธยาใน เรือนมยุรา และ Los ríos profundos (สายน�้ำลึก) กิจกรรมนี้ด�ำเนิน รายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ และได้รับเกียรติจากบุคคลส�ำคัญ ในวงวิชาการและวงวรรณกรรมเข้าร่วมฟังการ บรรยายอย่างคับคั่ง อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ ผู้ประพันธ์ เรือนมยุรา คุณวีรพร นิติประภา นักเขียนรางวัลซีไรต์ คุณ เจฟฟรี ซึง นักวิชาการเจ้าของผลงาน The ASEAN Miracle
17
18
ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว
คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อำ�ภา โอตระกูล หากกล่าวถึง ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อ�ำภา โอตระกูล ในฐานะนักแปล ผู้เขียนรู้จักผลงาน แปลของอาจารย์อยู่หลายเล่มที่ทางส�ำนักพิมพ์ อมรินทร์น�ำวรรณกรรมเยาวชนเยอรมันมาแปล หลายต่อหลายเรื่อง นับตั้งแต่ เด็กกระป๋อง กับ พระราชาแตงกวา งานเขียนของคริสทีเนอ เนอ สลิงเงอร์ หรือ มงกุฎกระดาษ ของเรนาเตอเวลช์ และ ครูโย่งของ แอร์นส์ เอ.เอ๊กเคอร์ รวม ถึงผลงานแปลอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วนและหลาย ส�ำนักพิมพ์ ผู้เขียนโตมากับงานวรรณกรรม เยาวชนที่คุณแม่ชอบซื้อมาบ�ำเรอสายตาและ บ�ำรุงความสุข ชื่อของอาจารย์ในฐานะนักแปล จึงผ่านสายตาของผู้เขียนมาไม่น้อย ส่วนใน ฐานะของการเป็นครูผู้สอน แน่นอนว่าบทบาท หน้าที่ตลอดหลายปีที่ผ่าน อาจารย์เป็นที่ ยอมรับของคณาจารย์ทุกท่าน และมีลูกศิษย์ที่ เคารพรักมากมาย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. อ�ำภา โอตระกูล เข้าเป็นนิสิตน้องใหม่คณะ อักษรศาสตร์เมื่อ พ.ศ.2497 จึงเป็นอักษรศาสตรบัณฑิตปี 2501 หรือรุ่นที่ 22 วาระนี้จึง นับเป็นโอกาสอันดีที่ฅนอักษรฯ ฉบับนี้ จะนับ ย้อนวันเวลาเก่าก่อนของอาจารย์ จากแรกเริ่ม ของการเป็นนิสิตอักษรฯ นักแปลภาษาเยอรมัน คนแรก และอาจารย์ภาษาเยอรมันคนแรกของ คณะอักษรศาสตร์
19
ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลเยอรมัน
บรรยายที่ Herrenalb
บรรยายที่ Stuttgart
อ.อ�ำภากับภาษาเยอรมัน เนื่องจากสมัยที่เป็นนิสิตครูเป็นคนที่กล้าพูดคุยกับอาจารย์ อาจารย์ทุกท่านจึงรู้จักดีและมักเรียกไปใช้ง่ายบ่อยๆ ท่าน อาจารย์คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชา ภาษาตะวันตกในขณะนั้นได้เลือกครูให้เป็นอาจารย์ ท่าน บอกให้ต�ำแหน่งตั้งแต่ยังไม่สอบไล่ ตอนที่ท่านเรียกไปบอก นั้น ครูตกใจนั่งร้องไห้เลย ท่านถามว่าร้องไห้ท�ำไม ไม่ดีใจ หรือ ครูก็เรียนตามตรงว่า ตัวเองจะสอบไม่ได้ที่หนึ่งแน่ๆ เพราะไม่เก่งขนาดนั้น ก็เป็นที่รู้รู้กันอยู่ ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็น อาจารย์ คือผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งของรุ่น อาจารย์นพคุณท่านก็ บอกว่าไม่เป็นไรไม่ต้องที่หนึ่งก็ได้ แต่ท�ำให้ได้เกียรตินิยมก็ แล้วกัน ครูก็เลยกราบลาออกมาด้วยหัวใจที่หนักอึ้ง เมื่อประกาศผลสอบไล่ปลายปี ปรากฎว่าครูก็โชคดีติด เกียรตินิยมไปกับเขาด้วยเป็นคนสุดท้าย เรียกว่าผ่านไปเพียง เส้นยาแดง อาจารย์คมคายลุ้นแทบแย่ ครูก็เลยได้ต�ำแหน่ง เตรียมตัวเตรียมใจเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ทีนี้เกิด ทุกข์อีก (เราเป็นคนขี้กลัว ขี้เป็นทุกข์) คือทุกข์ว่า จะไปสอน นิสิตได้อย่างไร ในเมื่อตัวเองไม่เห็นจะมีความรู้อะไร ฉะนั้น เมื่ออาจารย์นพคุณประกาศในวันหนึ่งว่าทางรัฐบาลเยอรมัน ให้ทุนนิสิตจุฬาฯ หนึ่งทุนเพื่อไปเรียนภาษาเยอรมัน ไม่ต้องมี ความรู้เบื้องต้น เขาต้องการทดสอบว่าคนไทยจะเรียนรู้ ภาษาเยอรมันได้แค่ไหนภายในเวลา 1 ปี ครูก็ตัดสินใจทันที ว่าจะไปสมัคร ในหัวคิดมีเพียงว่า ภาษาเยอรมงเยอรมัน เรา ไม่สนหรอก ขอแค่หนีไปเที่ยวเมืองนอกก่อน เพื่อเลื่อนเวลา ที่จะต้องเป็นอาจารย์ออกไปอีกนิดเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ครูก็ได้ไปเยอรมันในเวลาอีก 4 สัปดาห์ต่อมา ทุก อย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว เร่งรีบ ไม่มีเวลาตั้งตัว ครูไปถึงก็ถูก จับเรียน เรียนอย่างเร่งรัด จบหลักสูตรที่เขาก�ำหนด เขาก็จับ ส่งกลับ พอมาถึงจุฬาฯ ครูก็เริ่มชีวิตอาจารย์สอนภาษา อังกฤษทีเดียว ทางภาคฯ จัดให้ไปสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ โอ้ย มันเป็นความทุกข์อย่างมหันต์เลยแหละ เพราะลูกศิษย์ ล้วนเป็นเด็กผู้ชายตัวโตๆ นั่งจ้องเราเต็มห้องเลย คิดดูว่ามัน แย่ขนาดไหน ครูก็เหมือนสาวอักษรฯ ส่วนใหญ่เคยกลัวเจ้า พวกวิศวะแล้วนี่อยู่ๆ ต้องมาเป็นครูสอนพวกนี้ สนุกเมื่อไหร่ ล่ะ ครูกลุ้มใจนั่งร้องไห้หลายหน พี่ตู่ (ม.ร.ว.ดวงใจ ชุมพล) ซึ่งตอนนั้นก็เป็นอาจารย์ภาษาอังกฤษด้วยกัน มาเห็นเข้า ก็ดุ เอาว่า เฮ้ยร้องไห้ท�ำไม อย่าไปกลัวพวกนิสิต คนอื่นท�ำได้ เรา ก็ต้องท�ำได้ ครูทนทุกข์ทรมานอยู่ไม่นานโชคก็ช่วย คือ อาจารย์นพคุณท่านบอกว่าอยากให้ครูไปเรียนภาษาเยอรมัน ต่อ ให้ไปเรียนอย่างจริงจังเพื่อกลับมาเปิดสอนที่คณะ แล้ว ท่านก็จัดการใช้อาจารย์ฮอยเซอร์ (Dr.G.Heuser) ผู้ เชี่ยวชาญเยอรมันที่เพิ่งมาประจ�ำที่คณะฯ หาทุนส่งครูไป เยอรมัน ครูก็เลยต้องกลับไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมันตาม จุดประสงค์ของภาควิชา คราวนี้ก็เลยหายไปนาน ไม่ได้ติดต่อ กับเพื่อนๆ เลย ชีวิตครูจึงหันเหจากอาจารย์ สายภาษา
20
อังกฤษ มาเป็นอาจารย์สายภาษาเยอรมันด้วยประการฉะนี้ และจะเรียกว่าเป็นชะตากรรม ก�ำหนดหรือว่าเราท�ำเองก็ไม่รู้เหมือนกัน สรุปว่าครูได้เป็นอาจารย์สอนภาษาเยอรมันของคณะอักษรศาสตร์คนแรกหลังจากสมัยสงคราม โลกครั้งทื่สอง โดยได้เริ่มท�ำงานกับอาจารย์ฮอยเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญภาษาเยอรมัน ได้เริ่มสร้าง หลักสูตรการเรียนการสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ระดับปริญญาตรีจนเป็นปึกแผ่น ได้วาง รากฐานสาขาวิชาอย่างดี เปิดสอนในระดับปริญญาโทเมื่อ พ.ศ.2517 นับเป็นแห่งแรกใน ประเทศไทย ต่อมาก็พัฒนาจนปัจจุบันมีการสอนถึงระดับปริญญาเอก นับเป็นแห่งเดียวใน ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวงการวิชาการ สาขาวิชาภาษาเยอรมันของคณะ อักษรศาสตร์ จุฬาฯ นับเป็นผู้น�ำ ผลิตครูอาจารย์ให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยอื่นๆ อย่างต่อ เนื่อง มีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในเยอรมนีอย่างใกล้ชิด ส่วนตัวครูเองก็ได้รับเชิญให้ไป บรรยายทางวิชาการให้แก่นักศึกษาเยอรมันที่เรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยฟังเป็นประจ�ำทุกปี จนปัจจุบัน หลักสูตรภาษาเยอรมันของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีความแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร ทางคณะฯ เรามีหลักสูตรครบตามขนบเดิม คือ สอนทั้งภาษาและวรรณคดี ขณะที่ทางมหาวิทยา
ลัยอื่นๆ จะเน้นสอนเฉพาะภาษาเป็นหลัก หลักสูตรภาษาเยอรมันที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จั ด เป็ น แห่ ง เดี ย วที่ ส อนครบทั้ ง ทางด้ า นภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ สังคมและการเมือง เพราะเรามีอาจารย์ที่มีความรู้ครบ และเพราะ ต้องการให้นิสิตมีความรู้รอบด้าน ครบองค์ความรู้ ทางด้านอักษรศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การเรียน วรรณคดี จ ะท� ำ ให้ นิ สิ ต เข้ า ใจความนึ ก คิ ด ของ เจ้าของภาษาโดยเฉพาะเข้าใจโลกทัศน์และปัญหา ของคนในสังคมตะวันตกที่แตกต่างจากโลกตะวันออก จะเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของนิสิตให้ กว้างขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะวรรณคดีจะสะท้อนให้ เห็นปัญหาของคนของสังคม กระตุ้นให้เกิดการคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ดังเช่น ปัญหาสงคราม ปัญหาการเหยียดผิว เรื่องคนอพยพ ไร้สัญชาติ ปัญหาความโดดเดี่ยวอ้างว้างของคนในสังคมเมือง ใหญ่ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องความเจริญของ เทคโนโลยี ที่ ท� ำ ลายความสมดุ ล ทางธรรมชาติ ท�ำลายความเป็นมนุษย์ มนุษย์กลายเป็น เครื่องจักร เป็นเพียงตัวเลข ปัญหาความรับผิดชอบของนักวิทยาศาสตร์ต่อสังคม ฯลฯ ที่นิสิตจะ พบในงานเขียนของนักเขียนเยอรมัน ท�ำให้นิสิตได้ ใช้ความคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบกับสังคมไทย ตลอดเวลา นอกจากความแตกต่างของหลักสูตรดังที่กล่าวมา นี้ การจัดการเรียนการสอนภาษาเยอรมันที่คณะ อักษรฯ จุฬาฯ ยังมีจุดที่คิดว่าไม่เหมือนที่อื่นๆ คือ การก�ำหนดให้นิสิตต้องอ่านหนังสือนอกเวลาทุก เทอม เทอมละ 1 เล่ม อีกทั้งยังมีการจัด Language Camp ทุกปี มีการจัดงานฉลองคริสต์มาส งานฉลองอีสเตอร์ ที่นิสิตจะต้องแสดงออกทาง ภาษาในรูปแบบการแสดงละครภาษาเยอรมัน ร้อง เพลง อ่านโคลง ฯลฯ และแจกรางวัลทุกปี ใน โอกาสเหล่านี้เราจะเชิญทูตวัฒนธรรมทั้ง 3 ชาติ คือ เยอรมัน ออสเตรียน และสวิสมาร่วมงานด้วย นับเป็นการผูกสัมพันธไมตรีอีกทางหนึ่ง ซึ่งครูได้ วางรากฐานมาแต่ต้น ความแตกต่างของนิสิตสมัยก่อนและนิสิตปัจจุบัน แตกต่างกันโดยกล่าวได้กว้างๆ ว่า นิสิตสมัยนี้มี ความเป็นตัวของตัวเอง มีความเป็นอิสระ และกล้า แสดงออกสูงกว่านิสิตสมัยก่อน ในขณะที่นิสิตสมัย ก่อนมีความเคารพนอบน้อม ย�ำเกรงอาจารย์มาก นิสิตรุ่นใหม่จะเพียงเคารพนับถืออาจารย์แต่ไม่ ขลาดกลัว ความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับอาจารย์ก็
21
จะอยู่ในลักษณะค่อนข้างเสมอกัน เป็นกันเอง ท�ำงานร่วมกัน มีการ ติดต่อกันทางโทรศัพท์มือถือ ทาง E-mail ซึ่งสมัยก่อนไม่มี ใครจะ กล้าโทรฯ ถึงอาจารย์ โทรศัพท์ก็ไม่มีทุกบ้านอย่างทุกวันนี้ พูดได้ว่า ความแตกต่างของยุคสมัยที่เห็นเด่นชัดคือเรื่องเทคโนโลยี ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนสมัยปัจจุบัน มองทางฝ่ายอาจารย์ผู้สอน เดิมการเตรียมการสอน ใช้วิธีพิมพ์ เนื้อหาด้วยพิมพ์ดีดแล้วจึงอัดโรเนียวแจกนิสิต ตัวหนังสือด�ำๆ ด่างๆ ไม่สวย กว่าจะได้แต่ละแผ่นใช้เวลามาก ปัจจุบัน อาจารย์ เตรียมเนื้อหาด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถแก้ไขได้อย่างสะดวกสบาย จัดหน้าได้ตามใจชอบ สวยงาม หรือใช้วิธีถ่ายเอกสารจากหนังสือ ต้นฉบับ รวดเร็ว ง่ายดาย เวลาสอนก็มีการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โปรเจกเตอร์ฉายขึ้นจอหน้าห้องเรียน นิสิตเห็นชัดเจนทุกคน หรือมีการ ฉายภาพยนตร์ ฉายวิดีโอประกอบ เหล่านี้ล้วนเป็นสื่อการสอนที่ใช้ ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีเลย มองทางฝ่ายนิสิตผู้เรียน สมัยก่อนนิสิตต้องพึ่งพาอาจารย์มาก ต้อง นั่งจด นั่งลอกบทเรียนจากอาจารย์ จากหนังสือ จากเพื่อนๆ สมัยนี้ ไม่มีแล้วเรื่องลอก อยากได้อะไร จากไหน ก็เอาไปให้เขาถ่าย เอกสาร กี่หน้าก็ได้ หรือไม่ก็ถ่ายเองด้วยโทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นเรื่อง สั้นๆ 1-2 หน้า นิสิตสมัยนี้แทบจะไม่ใช้ปากกาเขียนอะไรเลย เขาใช้ แต่มือถือถ่ายเอา เช่น ตารางสอน หรือประกาศที่บอร์ด นิสิตจะใช้ มือถือถ่ายทั้งนั้น ไม่มีการลอก ไม่มีการจด ถ้าพิจารณาเรื่องงานที่อาจารย์มอบให้ท�ำ นิสิตสมัยนี้จะพิมพ์ด้วย คอมพิวเตอร์ส่งเป็นตัวพิมพ์อย่างเรียบร้อย สะอาดตา ในขณะที่ สมัยก่อนนิสิตต้องเขียนส่งด้วยลายมือ ท�ำให้อาจารย์ต้องใช้สายตา เพ่ง แกะอ่านลายมือหวัดๆ ของแต่ละคนด้วยความเหนื่อยยาก การเรียนการสอนก็พัฒนาแตกต่างไปจากเดิม สืบเนื่องจากความ เจริญทางเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงอย่าง Internet คือสมัยก่อนครู จะเตรียมการสอนคนเดียวทั้งหมดแล้วจึงบรรยายให้นิสิตฟัง นิสิตก็ จด จด จด ไม่ต้องเที่ยวค้นหาอะไรเพิ่มเติมที่ไหน สมัยนี้ความรู้ทุก อย่างมีอยู่ใน Internet นิสิตหาอ่านเองได้ถ้าสนใจและขยัน บทบาทของภาษาเยอรมันกับภาษาอาเซียนเป็นอย่างไร หากดูภาพรวม กล่าวได้ว่า สมัยนี้ประเทศไทยและคนไทยหันไปให้ ความส�ำคัญกับประเทศซีกเอเชียตะวันออกมากขึ้น คือ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งสาธารณรัฐเกาหลี เพราะ ประเทศเหล่านี้มีพลังการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อย่างรวดเร็ว และมีนโยบายการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมที่ เข้มแข็งมาก จึงปลุกคนให้อยากเรียนภาษาจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีกัน อย่างแพร่หลาย เพราะหวังว่าจะน�ำไปเป็นประโยชน์ใช้ได้กับการ ท�ำงานในอนาคต จ�ำนวนผู้เรียนจึงเพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัด ในขณะ ที่ภาษาสายตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ซึ่งเป็นภาษาต่าง ประเทศที่ 2 ซึ่งมีมาแต่แรกเริ่มนั้นรู้สึกจะถูกบดบังรัศมีไป แต่ใน ความเป็นจริงแล้ว ความส�ำคัญของภาษาตะวันตก เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน อิตาเลียน ก็ยังคงมีอยู่ตลอดเวลา คือ อยู่ตัวเป็นของ คลาสสิก ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่มีความส�ำคัญในโลกที่เปิดกว้าง และมีการเดินทางติดต่อกันสะดวกง่ายดาย เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูด
ถึงโลกตะวันตก พูดถึงยุโรป ภาษาเยอรมันก็เป็นหนึ่งภาษาที่มีความส�ำคัญ แน่นอน จึงยังมีผู้ให้ความสนใจอย่างสม�่ำเสมอ กล่าวได้ว่า รู้ภาษาอังกฤษเป็น ความจ�ำเป็น รู้ภาษาเยอรมันคือก�ำไรที่เพิ่มเข้ามาเพราะประเทศเยอรมันมี เศรษฐกิจที่เข้มแข็งที่สุดในยุโรปปัจจุบัน เป็นผู้น�ำทางเศรษฐกิจ การเมือง การ อุตสาหกรรม และเทคนิคสมัยใหม่ อีกทั้งมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป จาก ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาท�ำให้มีผู้ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ถึง 100 ล้านคนใน ยุโรป กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ และมีถึง 7 ประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็น ภาษาราชการ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐออสเตรีย สมาพันธรัฐสวิส ราชรัฐลิกเตนสไตน์ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก แคว้นทางตะวันออกของ ประเทศเบลเยียม และทางทิโรลไต้คือภูมิภาคทางเหนือของสาธารณรัฐอิตาลีติด เขตแดนสาธารณรัฐออสเตรีย เพราะฉะนั้น การเลือกเรียนภาษาเยอรมันจึงย่อมได้ประโยชน์แน่ ไม่ทางใดก็ทาง หนึ่ง มีนิสิตเลือกเรียนอยู่ตลอดรวมทั้งนิสิตต่างคณะ จ�ำนวนผู้เรียนก็คงตัว คือไม่ ลดลง และไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญใดๆ อ.อ�ำภากับการแปลหนังสือ เรื่องแปลนี่ครูเริ่มเป็นคนแรกในประเทศไทยเลย คือตอนที่เรียน ปิดเทอมมันก็ ว่าง นอกจากอ่านหนังสือเล่น น้องสาวครู (อ.อ�ำพรรณ โอตระกูล) เขาเป็น นักเรียนทุนอยู่ที่ฝรั่งเศสส่วนครูอยู่เยอรมัน วันหนึ่งเขาเขียนจดหมายมาหาครูว่า ก�ำลังจะแปลเจ้าชายน้อยแล้ว ถามครูว่าจะไม่แปลอะไรเลยเหรอ ผ่านไป 1 ปี น้องสาวครูก็แปลหนังสือเสร็จ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้เราเริ่มมองอ่าน
22
หนังสือด้วยความคิดว่าจะต้องแปล ตอนนั้น ‘คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี’ เป็นบรรณาธิการให้ส�ำนักพิมพ์ดวงกมล ครูก็ เอางานแปลไปเสนอ แกก็พิมพ์ให้ ครูต้องขอบคุณคุณ สุชาติเพราะแกเปิดโลกให้ครู ตั้งแต่นั้นมาแกก็พิมพ์ให้ครู มาเรื่อย เล่มแรกที่ครูแปลคือวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง หมี เล็กท่องโลก นี่คือเริ่มต้น ตอนหลังครูได้รับเชิญไปเป็น อาจารย์ที่เยอรมัน มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก สอนภาษาไทย อยู่ 3 ปี ตอนที่เป็นอาจารย์ที่นั่น ครูเริ่มแปลเรื่องสั้นไทย เป็นภาษาเยอรมันหวังให้คนฝรั่งอ่าน พอกลับมาก็เอาให้ ส�ำนักพิมพ์เฉลิมนิจพิมพ์ จึงพูดได้ว่าเป็นรวมเรื่องสั้นไทย ที่แปลออกมาเยอะที่สุด และหนังสือที่ครูคิดว่าครูภาค ภูมิใจและส�ำนักพิมพ์อมรินทร์ตอนนั้นพิมพ์ซ�้ำออกมาอยู่ หลายครั้งคือเรื่อง เด็กกระป๋อง เพราะเนื้อเรื่องดีมากเลย ในเรื่องไอเดีย จนเดี๋ยวนี้ก็ยังทันสมัย การที่เขาสร้างให้ บริษัทผลิตเด็กออกมาอย่างที่คุณต้องการทุกอย่างครบ หมด เด็กคนนี้จึงสุภาพเรียบร้อย ขยัน แต่อยู่ในโลกไม่ได้ ผิดปกติ โลกในความจริง เด็กดีบริสุทธิ์อย่างนั้นอยู่ไม่ได้ (เรื่องราวของเด็กกระป๋องชื่อ ‘คอนราด’ ที่บริษัทผลิต แล้วส่งมาที่บ้านของคุณป้าบาร์โทลอตตี้ที่คลั่งการซื้อของ จนจ�ำไม่ได้ว่าตัวเองได้ซื้ออะไรไปบ้าง เนื้อความหลาย ตอนวิพากษ์สถาบันครอบครัวและสังคม) ที่ประเทศ เยอรมันถือเป็นหนังสือ 1 ใน 50 เล่มที่เด็กทุกคนต้องอ่าน เพราะฉะนั้นเล่มนี้เป็นเล่มที่ครูภาคภูมิใจมาก และใช้ สอน เพราะครูสอนวรรณคดีเด็กและเยาวชนภาษา เยอรมัน ครูก็ใช้เล่มนี้ และอีกเล่มหนึ่งที่ครูภาคภูมิใจและ ใหญ่โตแต่ไม่รู้จะออกมาในรูปแบบใด เพราะครูเสนอขอ ทุน คือเรื่องสมบัตินิเบิลลุง เพิ่งแปลเสร็จ แต่ยังไม่ได้พิมพ์ เป็นมหากาพย์สมัยกลางที่ส�ำคัญของเยอรมัน หรือตั้งชื่อ อีกอย่างได้ว่า ซิกฟรีกฆ่ามังกร อัศวินในเรื่องนี้ชื่อซิกฟรีก ถ้ารู้จักโอเปร่าของ วากเนอร์ (ริชาร์ด วากเนอร์) จะรู้จัก เรื่องนี้ เพราะวากเนอร์เอาเนื้อเรื่องจากนิเบิลลุงสมัย กลางมาท�ำโอเปร่า เพราะคนทั่วไปรู้จักเรื่องจากโอเปร่า ซึ่งมาจากต้นฉบับ เรื่องสมบัตินิเบิลลุง มันส�ำคัญส�ำหรับ เยอรมันเหมือนรามเกียรติ์เมืองไทย เหมือนโอดิสซีย์ของ กรีกยังไงยังงั้นต้องรู้จัก หรือว่าดอนกิโฆเต้ของสเปน นี่ ของเยอรมัน นับเป็นวรรณกรรมเยอรมันอีกเล่มที่ครูภาค ภูมิใจ
กับท่านทูตสุรพล ชัยนาม
23
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ท�ำอะไร ที่ไหน รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารายงานผล การด�ำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7) ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาเอกภาษาอังกฤษ ประจ�ำปีการศึกษา 2559 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรุณี อุดมศิลป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรุณี อุดมศิลป ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น กรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ตัวละครชายใน นวนิยายสามเรื่องของฟรองซวส ซากอง” ให้แก่นักศึกษาปริญญา โท สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา ในวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2560 ณ คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้ รับเชิญจากกระทรวงการต่างประเทศ เป็นวิทยากรในการจัด กิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลาตินอเมริกาและส่งเสริม การเรียนการสอนภาษาสเปน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ
อาจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญ จากบริษัท มิวท์ จ�ำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม “การประชุมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ โครงการพัฒนา และส่งเสริมสินค้าไลฟ์สไตล์เพื่อสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 ณ ห้อง West Wing ชั้น 3 The Oriental Residence Hotel
24
ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนตุลาคม 2560
6
19
28
ฝ่ายวิจัย
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
ฝ่ายวิจัย
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนา ปรัชญากับมารค ตามไท" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตาม ไท (เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคาร มหาจักรีสิรินธร)
"พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา พระราชวิสัยทัศน์ในรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 9" โดย ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช และอาจารย์แม่ชีวิมุตติยา (เวลา 12.00 - 13.00 น ณ หอ พระไตรปิฎกนานาชาติ)
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคม ไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค (เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร)
25
Year 9, No. 19: 30 September 2017 News from the International Affairs Section
Meeting with Fukui University Delegate
On September 27, 2017, Professor Koji Kobota, Deputy
include visits to cultural and historical sights. The conclusion
Dean of the Faculty of Global and Community Studies and
of the program will be presentations on selected topics by
Deputy Director of the International Center of the University
the Japanese visiting students. This experience abroad is
of Fukui, Japan visited the Faculty of Arts to develop a
expected to raise awareness of the students in international
collaborative activity between the two institutions. With an aim
competition and the dynamic of globalization in order to
to internationalize the students, Professor Kubota requested
develop the students into “global human resources”.
that the Faculty of Arts organize a week-long program for 20
addition to the above activity, Professor Kobota is hoping to
visiting students from the University of Fukui who will come
further the partnership towards collaborative student research
to Thailand in February 2018. The purpose of the visit will
and, ultimately, exchange programs in the near future.
be to broaden students’ experience in Asia by focusing on the
Established in 1949, the University of Fukui is a national
risks, the challenges, and the competition each Asian country
university of Japan located in the city of Fukui, the north-
is facing in the global arena. Professor Kobota suggested
central part of the prefecture on the coast of the Sea of Japan.
that it will be beneficial for the students to attend sessions
Serving as a center of academic and cultural activities, the
related to Thai culture, Asian literature, trends in Thai higher
University’s mission is to promote world-class education and
education, ASEAN economic unification, and Thai-Japanese
research of science and technology for peoples’ well-being.
partnerships. In relation to the sessions, the program will also
In
26
CALENDAR OF EVENTS 6
19
22
Research Affairs Division
International Tipitaka Hall
Research Affairs Division
Aksarapiwat
Talk
Series "Development of People and Aksarapiwat Talk Series "The
"Sing and Talk About Philos- Education: The Royal Vision Monarch and Thai Society: A ophy with Mark Tamthai" by of KIng Rama V and King Historical
Perspective"
by
Associate Professor Dr Mark Rama IX" by Professor Dr Professor Emeritus Dr PiyaTamthai (13:00-16:30 hrs, 9th Supang Chantavanich and nat Bunnag (13:00-16:30 hrs, floor, Maha Chakri Sirindhorn Mae Chee Vimuttiya (13:00- 9th floor, Maha Chakri SirindBuilding)
16:30 hrs, 9th floor, Maha horn Building) Chakri Sirindhorn Building)
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events to Ms Kankanok Chimsang at artspr08@hotmail.com, pr.arts.chulalongkorn@gmail.com Tel. 662 218 4885