จดหมายข่าวเทวาลัย ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒๑ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Page 1

1

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒๑ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐


2

จดหมายข่าวเทวาลัย

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒๑ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)

จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา

รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ผู้ช่วยคณบดี อ.William Whorton

ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th) ภาพปก นส.สุวิภา เชษฐานนท์ (อักษรศาสตร์#81)

ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์

อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th


3

ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศ.กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค

6 ขวงฉี: ฝันนี้มี “เธอ”

8 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นชมละครเวที "สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ" (Bangkok Notes) รอบปฐมทัศน์

5

ข่าวจากหอพระไตรปิฎกนานาชาติ

10

ฅนอักษรฯ

15

ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน

16

ปฏิทินกิจกรรม เดือนตุลาคม

คุณสุรีพร เอมโอช

12


4

ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"

เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "รอดได้เพราะแม่ไม้เพลงไทย" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1fouogkGl0KQH8rt3hNI9fh1VzlwA6Y5uYYW49kWxF7s


5

หอพระไตรปิฎกนานาชาติ

พระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๗

ในการจัดทำ�หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก

กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งที่ 23

"พระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๗ ในการจัดท�ำหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก" โดย อาจารย์เจตน์ ตันติวณิชชานนท์

ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา 12.00 - 13.00 น. (ลงทะเบียน 11.30 น. ) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ มอบหนังสือวัฒนธรรมประชาธิปไตย แก่ผู้เข้าร่วม ผู้สนใจเข้าร่วมแจ้งชื่อได้ที่ โทร. 02-218-4916 หรือ e-mail: tipitaka.chula@gmail.com


6

ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค

ฝ่ายวิจัยและภาควิชาประวัติศาสตร์ วันที่ 28 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์


7


8

ขวงฉี: ฝันนี้มี “เธอ”

งานทดลองสร้างสรรค์ข้ามสาขาข้ามศตวรรษ

เมื่อนางเอก “เก๋งโบตั๋น” ฝันถึงนางเอก “ม่านประเพณี” เมื่อเครื่องประกอบจังหวะของงิ้วโบราณประสานท่วงทำ�นองกับดนตรีตะวันตก ละคร Y จากไต้หวันจะมาแสดงนอกประเทศครั้งแรกที่ “Bangkok International Performing Arts Meeting” (BIPAM) ภาควิชาศิลปการละคร Photo credit: Chingju Cheng

ในช่วงเทศกาลละครกรุงเทพ (BTF) ปีนี้ เครือ ข่ายละครกรุงเทพ (BTN) ด้วยความสนับสนุน หลักจากสำ�นักงานส่งเสริมการจัดการประชุม และนิทรรศการ (TCEB) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จะ จัดงาน Bangkok International Performing Arts Meeting (BIPAM) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านละครในระดับ นานาชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศ ไต้หวัน ซึ่งมีนโยบาย Southbound Policy สนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรม ระหว่างประเทศไต้หวันกับประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว จึงร่วมกับ สำ�นั ก งานเศรษฐกิ จ และวั ฒ นธรรมไทเป ประจำ�ประเทศไทย และภาควิชาศิลปการ ละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นำ�การแสดง ร่วมสมัยในรูปแบบ “music theatre” ซึ่ง หาชมได้ยากในประเทศไทย เรื่อง ขวงฉี ฝัน

นี้มี “เธอ” (Kuang Qi) โดยคณะ M.O.V.E. Theatre จากกรุงไทเป มาเปิดการแสดงใน ส่วนของ BIPAM Showcase ที่ศูนย์ศิลปการ ละครสดใส พันธุมโกมล ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายนนี้ เพียง 4 รอบเท่านั้น ขวงฉี ฝันนี้มี “เธอ” ได้รับแรงบันดาลใจจาก วรรณกรรมจีนคลาสสิกสองเรื่อง คือ “เก๋ง โบตั๋น” (The Peony Pavilion) และ “ม่าน ประเพณี” (The Butterfly Lovers) ซึ่งผู้ชม ชาวไทยรู้จักดี ในการตีความรูปแบบ “เรื่อง เก่าเล่าใหม่” ครั้งนี้ ตู้ ลี่เหนียง (“เก๋งโบตั๋น”) คุ ณ หนู ผู้ ส วยงามและฉลาดเฉลี ย วในสั ง คม ศักดินาที่เคร่งครัดในระเบียบประเพณี ไม่ได้ ฝันถึง หลิ่ว เหมิ้งเหมย หนุ่มหล่อผู้เรียบร้อย แต่ฝันถึง จู้ อิงไถ (“ม่านประเพณี”) ผู้มา ปรากฏตัวในเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ

ในการแสดงรูปแบบ “music theatre” ซึ่ง ให้ความสำ�คัญของดนตรีมากเท่า ๆ กับเรื่อง ราวของละครนี้ ผู้กำ�กับดนตรีประจำ�คณะ M.O.V.E. Theatre ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Lin Kuei-ju ภาควิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย Shih-Chien ได้ร่วมงานกับ Wu Cheng-han ทดลองนำ�ดนตรีของงิ้วโบราณ แบบ Kunqu มาผสมกับเครื่องประกอบ จังหวะของตะวันตกเกิดเป็นท่วงทำ�นองใหม่ ที่ ส ะท้ อ นแรงปรารถนาของตั ว ละครซึ่ ง ถู ก บรรทัดฐานทางสังคมตีกรอบออกมาได้อย่าง น่าประทับใจ คณะ M.O.V.E. Theatre ก่อตั้งขึ้นโดย Fu Hong-zheng เมื่อปี 2549 งานส่วนใหญ่ ของคณะนี้เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกายนัก แสดงในรูปแบบ physical theatre สมาชิก หลักของคณะประกอบด้วยศิลปินต่างสาขา ทั้งละครเวที นาฏยศิลป์ และดนตรี นอกจาก


9

นั้น M.O.V.E. Theatre ยังร่วมงานกับศิลปินหลายสาขาในการสร้างสรรค์งาน แนวทดลองอย่างต่อเนื่อง ขวงฉี ฝันนี้มี “เธอ” นับเป็นครั้งแรกที่ M.O.V.E. Theatre ร่วมงานกับศิลปินงิ้วโบราณแบบ Kunqu ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ หัวหน้าภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และกรรมการจัดงาน BIPAM ได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไต้หวันให้ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ ที่ปรึกษาประจำ�ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Advisory Committee) ได้ปรึกษาหารือกับศิลปินและคณาจารย์ชาวไต้หวันในการคัดเลือก ขวงฉี ฝันนี้มี “เธอ” มาจัดแสดงที่ BIPAM ครั้งนี้ กล่าวว่า “หลังจากที่เราเคยประทับใจการแสดงร่วมสมัยจากไต้หวันของคณะ Cloud Gate Dance Theatre และ U-Theatre ในมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรี นานาชาติที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ เมื่อหลายปีก่อน เราก็ไม่ค่อยได้ชมการแสดงจาก ไต้หวันกันอีกเลย จากที่ผมได้มีโอกาสไปดูงานและไปประชุมมา พบว่าวงการ ศิลปะร่วมสมัยของไต้หวันปัจจุบันคึกคักมาก มีงานหลากเนื้อหาและหลายรูป แบบ การจะเลือกมา BIPAM เพียงหนึ่งงานจึงเป็นเรื่องยาก สุดท้ายแล้วเราก็เลือก งานแบบ ‘เรื่องเก่าเล่าใหม่’ ที่มีลักษณะการทำ�งานข้ามสาขา เป็นงานสร้างสรรค์ ของคณะละครร่วมสมัย ซึ่งเนื้อหาสะท้อนบริบททางสังคมปัจจุบันของประเทศ แรกในเอเชียที่คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย และรูปแบบของ music theatre ซึ่งคอดนตรีก็ฟังได้ และแฟนละครก็ดูดี ที่เราไม่ค่อยได้ชมกันใน ประเทศไทย ผมเชื่อมั่นว่า ‘งานหลายเด้ง’ แบบ ขวงฉี ฝันนี้มี “เธอ” น่าจะเป็น แรงบันดาลใจที่ทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะไหน ๆ เราก็ชอบไปเที่ยวไต้หวัน และเพื่อน ไต้หวันก็ชอบมาเที่ยวเมืองไทยกันอยู่แล้ว” ขวงฉี ฝันนี้มี “เธอ” แสดงครั้งแรก (world premiere) ที่ Taiwan Traditional Theatre Centre เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ การมาจัดแสดงนอก ประเทศครั้งแรก (exclusive international premiere) ใน BIPAM Showcase ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายนนี้ ได้รับ ความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไต้หวัน สำ�นักงาน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำ�ประเทศไทย หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร และภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ [รูปแบบ] [สถานที่]

music theatre ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วันและเวลา] วันพุธและพฤหัสบดีที่ 15 และ 16 พฤศจิกายน 2560 เวลา 19.30 น. วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14 น. และ 20 น. [ราคาบัตร] 600 บาท (นักเรียน นักศึกษา 300 บาท ศิลปินและผู้ชมอายุไม่เกิน 27 ปี 400 บาท) จองบัตรที่ www.BangkokTheatreFestival.com หรือ 08 1559 7252 และ 0 2218 4802 *แสดงเป็นภาษาจีนและไทย มีคำ�แปลภาษาอังกฤษฉายประกอบ* Facebook: DramaArtsChula รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ: คุณธันยธร “เฟิร์น” บุตรยี่ ferinfinus@gmail.com ChulaDrama@gmail.com ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้น 8 อาคารบรมราชกุมารี โทร: 0 2218 4802 and 08 1559 7252 โทรสาร: 0 2218 4803 Photo credit: Chingju Cheng


10

Photo credit:Thitipun Srinarmwong

เอกอั ค รราชทู ต ญี่ ปุ่ น ชมละครเวที "สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ" (Bangkok Notes) รอบปฐมทัศน์ ภาควิชาศิลปการละคร เฯพณฯ นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ� ประเทศไทย ให้เกียรติมาชมละครเวที "สงคราม ภาพ วาด ผู้คน ฯลฯ" (Bangkok Notes) รอบปฐมทัศน์ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล หลังจบการแสดงได้มอบพวงมาลัยแสดง ความยินดีแก่ อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ ผู้ดัดแปลงบท ละครจากเรื่องเดิม "Tokyo Notes" และตัวแทนนักแสดง นางสาวสุมณฑา สวนผลรัตน์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปการละคร ผู้รับบทนำ�ในละครเรื่องนี้ รอง ศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี มอบ พวงมาลัยแสดงความยินดีและขอบคุณแด่ ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ อาจารย์ประจำ�มหาวิทยาลัยศิลปะแห่ง โตเกียว ผู้อำ�นวยการคณะละครเซอิเน็นดัง ผู้เขียนบท และกำ�กับ ละครเวทีระดับ โลกซึ่ ง เคยนำ�ผลงานละครเวที มาจัดแสดงที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ มาแล้ว 3 ครั้ง คือ "Tokyo Notes" (2549) "ซาโยนาระ" (2555) และ "กล

{กล}าย" (2558) ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ฮิราตะได้มา สร้างสรรค์ละครเวที "สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ" ร่วม กับคณาจารย์ นิสิต และศิษย์เก่าของภาควิชา และศิลปิน ละครเวทีกลุ่มต่าง ๆ ของไทย รวมทั้งสอนวิชาการเขียน บทละครที่คณะอักษรศาสตร์ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ละครเวที "สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ" (Bangkok Notes) จัดโดยโครงการศิลปะการแสดงนานาชาติ ภาค วิชาศิลปการละคร ร่วมกับเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และเครือข่ายละครกรุงเทพฯ เป็นกิจกรรมหนึ่งในการ เฉลิมฉลอง 130 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น และ เป็นการแสดงเปิดเทศกาลละครกรุงเทพฯ ประจำ�ปี 2560 จัดแสดงระหว่างวันที่ 2-4 และ 9-11 พฤศจิกายน แสดงเป็นภาษาไทย และมีคำ�แปลภาษาญี่ปุ่นและ อังกฤษฉายประกอบตลอดเรื่อง รายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook "Drama Arts Chula" หรือโทร. 08 1559 7252


11

Photo credit:Thitipun Srinarmwong

Photo credit:Teeraphan Ngowjeenana


12

ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว

คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน

คุณสุรีพร เอมโอช

คนทั่วไป เพราะเขาเหล่านั้นจะเป็นคนที่จุดไฟได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอ ให้ใครสั่งหรือบอกได้ท�ำ พวกเขาจะไล่ล่าความฝันจนบรรลุถึงเป้าหมาย ก่อนจะได้รับค�ำสั่งเสียอีก คนเหล่านี้เมื่ออยากท�ำสิ่งใหม่ๆ ก็จะจดจ่อกับสิ่ง นั้นตลอดเวลาและคลั่งไคล้ในสิ่งที่ท�ำ บุคคลประเภทนี้จึงมักประสบความ ส�ำเร็จได้ไม่ยาก เพราะนิสัยที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ใช้ชีวิตและหมั่น ท�ำงานได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังส่งต่อพลังบวกนี้ไปยังคนรอบตัวได้อีก เมื่อฅนอักษรฯ ประจ�ำฉบับนี้ของเรา ได้กล่าวความประทับใจที่มีต่อบุคคล ด้วย’ ตัวเล็กๆ อย่าง ‘คุณสงัด ปันสัน’ ซึ่งเราได้ท�ำสัมภาษณ์ไปเมื่อครั้งหนึ่งนาน และคงจะเช่นเดียวกับที่พลังบวกนี้ได้ส่งต่อไปถึง คุณสุรีพร เอมโอช หรือ สาวสวยน่ารักประจ�ำศูนย์ศูนย์บริการวิชาการ และเป็นแรง มาแล้ว เลยท�ำให้ผู้เขียนนึกถึงค�ำสอนของ ดร.คะสึโอะ อินะโมะริ ผู้ก่อตั้ง ‘น้องโจ้’ บริษัทเคียวเซร่าและเคดีดีไอ ซึ่งกล่าวถึงหลักการท�ำงานไว้ในหนังสือ ‘ช้า ดลใจในการท�ำงานในทุกๆ วันของเธอ ให้ชนะ’ ได้อย่างน่าสนใจว่า ‘คนที่ประสบความส�ำเร็จส่วนใหญ่จะต่างจาก “บุคคลที่ชื่นชอบในคณะ ก็จะเป็นลุงสงัด ลุงเป็นคนที่มีน�้ำใจโอบอ้อมอารี กับทุกๆ คนเสมอ ใครจะฝากอะไรลุงก็มีแต่ “ได้ครับ” ไม่เคยปฏิเสธ ถ้าลุง ท�ำให้ได้ ลุงท�ำหมด ไม่เคยเห็นลุงโมโหใคร ลุงมีแต่ยิ้มแย้มทุกวัน ตอนเย็นก็ จะเจอลุงเอาอาหารไปให้นก ให้สุนัข ในตอนเช้าก็จะเห็นลุงมาท�ำงานแต่ เช้าตรู่เพราะลุงต้องมาส่งภรรยาท�ำงาน ก็เลยเห็นว่าลุงปฏิบัติงานได้ดีทั้ง เรื่องการท�ำงานและเรื่องครอบครัว”


13

“คณะอักษรฯ เป็นงานที่แรก” ชื่อ สุรีพร เอมโอช ชื่อเล่น โจ้ นะคะ จบปริญญาตรี สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ ราชภัฎสวนสุนันทา เมื่อปี 2551 เมื่อ เรียนจบก็มาท�ำงานที่นี่เลย โดยการชักชวนของพี่ฐา (นาง ขนิษฐา สุวัณณะสิริ) เพราะในขณะนั้นเจ้าหน้าที่ศูนย์ บริการวิชาการลาออก ท�ำให้เหลือเจ้าหน้าที่แค่คนเดียว ตอนที่เข้ามาเป็นพนักงานเหมาจ่าย คณะอักษรฯ จึงเป็น งานประจ�ำที่แรกหลังเรียนจบที่เข้ามาท�ำคะ “งานของศูนย์บริการวิชาการ เป็นงานที่ต้องให้บริการกับ บุคคลภายนอกเป็นส่วนใหญ่” หน้าที่รับผิดชอบในศูนย์บริการวิชาการ ต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานบริหารงานทั่วไป ปกติจะท�ำงานอยู่กับกิ๊บ (รัศมี สุวรรณก�ำเนิด) งานหลักก็จะเป็นงานให้บริการเปิดอบรม ภาษาแก่บุคคลภายนอกทั่วไปทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เปิดอบรมโครงการต่างๆ ตามที่บริษัทต้องการ โดยปกติจะ มีเปิดอบรมตลอดทั้งปี ครั้งละประมาณ 15 ภาษา จ�ำนวน คนต่อครั้งก็ 1,000 กว่าคน งานของศูนย์บริการวิชาการ เป็นงานที่ต้องให้บริการกับบุคคลภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ปกติเมื่อได้รับงานมาก็จะรีบท�ำให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพราะ ทุกอย่างล้วนส�ำคัญมาก “ศูนย์บริการวิชาการมีปัญหาเกือบทุกวัน” เพราะเราต้องติดต่อสื่อสารกับคนจ�ำนวนมาก แต่ก็เป็น ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในการท�ำงานเท่านั้น เมื่ออธิบายกับผู้ ที่มาติดต่อเขาก็เข้าใจ แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ใหญ่ ก็จะปรึกษา กับท่านผู้อ�ำนวยการศูนย์บริการวิชาการ (ผศ.ดร.รักสงบ วิ จิตรโสภร-ผอ.ศูนย์ฯ คนปัจจุบัน) “ในส่วนผู้ร่วมงานก็รู้สึกประทับใจพี่กิ๊บ” ในส่วนตัวของโจ้ ก็จะประทับใจการท�ำงานกับอาจารย์ผู้ สอนโครงการอบรมภาษาของศูนย์บริการวิชาการทุกๆ คน เพราะทุกคนน่ารัก เป็นกันเอง มีอะไรก็จะบอก จะเตือน ตลอดเวลา ท�ำให้บรรยากาศการท�ำงานเป็นไปด้วยดี ใน ส่วนผู้ร่วมงานก็รู้สึกประทับใจพี่กิ๊บ เพราะว่าพี่กิ๊บเป็นคนที่ ท�ำงานเก่งคนหนึ่ง เป็นคนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี รู้จัก การวางแผนการท�ำงาน รู้สึกท�ำงานด้วยแล้วสบายใจ มี อะไรก็จะพูดจะเล่าให้พี่กิ๊บฟังตลอด รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่มี เพื่อนร่วมงานที่ดี


14

“ลุงสงัดเป็นคนที่มีน�้ำใจโอบอ้อมอารีกับทุกๆ คนเสมอ” ปกติก็จะเลือกดูแบบอย่างบุคคลที่เขาท�ำงานดีแล้วน�ำมาปรับใช้กับตัว เอง บุคคลที่ชื่นชอบในคณะ ก็จะเป็นลุงสงัด ลุงเป็นคนที่มีน�้ำใจโอบอ้อม อารีกับทุกๆ คนเสมอ ใครจะฝากอะไรลุงก็มีแต่ ได้ครับ ไม่เคยปฏิเสธ ถ้าลุงท�ำให้ได้ ลุงท�ำหมด ไม่เคยเห็นลุงโมโห ลุงมีแต่ยิ้มแย้มทุกวัน ตอน เย็นก็จะเจอลุงเอาอาหารไปให้นก ให้สุนัข ในตอนเช้าก็จะเห็นลุงมา ท�ำงานแต่เช้าตรู่เพราะลุงต้องมาส่งภรรยาท�ำงาน ก็เลยเห็นว่าลุงปฏิบัติ งานได้ดีทั้งเรื่องการท�ำงานและเรื่องครอบครัว “คุณแม่น้องวินทร์” นอกเหนือจากงานประจ�ำ ณ เวลานี้ ยามว่างเสาร์ – อาทิตย์ของโจ้ ก็จะ ท�ำหน้าที่คุณแม่ของน้อง วินทร์ (ลูกชาย) ก็จะพาน้องวินทร์ไปเรียน เสริมพัฒนาการ เรียนว่ายน�้ำ ไปสนามเด็กเล่น ซึ่งเป็นการออกก�ำลังกาย ไปด้วยในตัว ก็เป็นวันหยุดที่ได้ท�ำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างมี ความสุข

“ขอให้คณะฯ ค�ำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรทุกระดับชั้น” เนื่องในอักษรศาสตร์ 100 ปี โจ้ก็อยากให้คณะอักษรศาสตร์ผลิต บุคลากรที่ดีแบบนี้ตลอดไป และขอให้คณะฯ ค�ำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ ของบุคลากรทุกระดับชั้น มีสวัสดิการหลายๆ อย่างเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็น ขวัญและก�ำลังใจให้บุคลากรที่เป็นแรงช่วยให้คณะได้พัฒนาต่อไปใน อนาคต เช่นที่ส่วนงานของศูนย์บริการวิชาการ ณ ตอนนี้ก็พัฒนาอย่าง ต่อเนื่องจากในอดีตเป็นอย่างมาก ก็อยากให้พัฒนาแบบนี้สืบไปเรื่อยๆ ค่ะ


15

ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ท�ำอะไร ที่ไหน อาจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส

อาจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้เข้าร่วมการประชุมครูผู้สอนภาษา เยอรมันระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ „International, Interkulturell, Interdisziplinär – DaF in Zeiten der Globalisierung“ จัดโดยสมาคมครูผู้สอนภาษา เยอรมันในเวียดนาม (VDLV) ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮานอยและองค์กรแลกเปลี่ยนทาง วิชาการเยอรมัน (DAAD) ในระหว่างวันที่ 6 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ณ เมืองฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และได้แสดงปาฐกถาน�ำในหัวข้อ„Mehrperspektivisch, kulturreflexiv, authentisch: Landeskundliches Lernen im DaF-Unterricht außereuropäischer Länder“ (วัฒนธรรมศึกษาในชั้นเรียนภาษาเยอรมันในฐานะภาษา ต่างประเทศในประเทศนอกทวีปยุโรป) อาจารย์ ดร.สิริวรรณ จุฬากรณ์

อาจารย์ ดร.สิริวรรณ จุฬากรณ์ ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสมาคมครูฝรั่งเศส แห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น กรรมการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 3 การสอนภาษาฝรั่งเศส: สร้างสรรค์ นวัตกรรม เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส


16

ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนพฤศจิกายน 2560

10

11

ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ฝ่ายวิจัย

"นววิถี วิธีวิทยา : New Turns in ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" the Humanities" (เวลา 9.00- หัวข้อ "รอดได้เพราะแม่ไม้เพลง 16.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น ไทย" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร) ดร.เจตนา นาควัชระ (เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร)


17

Year 9, No. 21: 4 November 2017 News from the International Affairs Section

A Visit to Maria Curie-Sklodowska University, Lublin, Poland

On Friday, October 20, 2017, Assistant Professor Nirada Chitrakara, representing the Department of English and the Faculty of Arts, visited Maria Curie-Sklodowska University (UMCS) Lublin, Poland to discuss possible collaborations with the Vice Dean of the Faculty of Humanities, Irmina Wawrzyczek, Ph.D. and the Vice Head of the Department of English, Associate Professor Adam Glaz, Ph.D. Although the Faculty of Humanities rarely has visitors from Asia, the partnership is promising because it offers courses of similar nature to the Faculty of Arts. The UMCS was willing to work on the exchange program for both students and faculty staff with Chulalongkorn University. Their graduate programs in humanities are also looking forward to welcome our students. At the moment, they are expecting to make the collaboration official through the signing of a university level MoU. Located close to the Ukrainian border, the UMCS is the largest public academic institution in Eastern Poland. Founded in 1944, the university prides itself in offering high quality of teaching based on European standards. Nowadays, the UMCS comprises 12 faculties offering 39 programs and over 120 specializations. It also offers over 80 programs in postgraduate and extended education. All teaching is conducted in English and European languages. The language departments are well-equipped with translation computer laboratories, media incubator, computer software and systems for making translations in the form of film subtitles and dialogue scripts for voice-over presentation, the Trados computer program to assist a translator’s work, and multimedia equipment. Its affiliations comprise not only humanities related organizations in Poland, but also universities in Europe, UK, and the US.


18

KUANG CHI

A daring experimentation of traditional Chinese opera arts through the approach of contemporary theatre Live music hybrid of Chinese Luogu and modern Western percussion Exclusive international premiere at the inaugural “Bangkok International Performing Arts Meeting” (BIPAM)

DEPARTMENT OF DRAMATIC ARTS

Photo credit: Chingju Cheng

As part of “BIPAM Showcase” in the inaugural “Bangkok International Performing Arts Meeting”, Ministry of Culture, Republic of China (Taiwan), Taipei Economic and Cultural Office in Thailand and the “World Performances @ Drama Chula” programme by Department of Dramatic Arts, Faculty of Arts, Chulalongkorn University present KUANG CHI by M.O.V.E. Theatre at Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts, for four performances only from November 15 to 17. A “music theatre” work rarely seen in Thailand, KUANG CHI combines traditional opera, a traditional opera percussion ensemble, contemporary music, body movements and theatre.

The story revolves around two noted female characters of Chinese Opera, Du Li-niang from THE PEONY PAVILION and Zhu Ying-tai from THE BUTTERFLY LOVERS. What if it were not actually a handsome man that Du Li-niang sees in her dreams, but a woman in man’s disguise? Would her desires and repression remain the same? The 400-year-old classic THE PEONY PAVILION has drawn a lot of attention from the feminist community, as its main character Du Li-niang is seen as defying tradition and old feudal thinking. KUANG CHI uses the female archetype in traditional opera to delve into female desire and its transformation. With language and body movements as

means of expression, the piece exhibits a high level of gender awareness that transcends time and space. KUANG CHI attempts to be free from the stereotypical norms and rules. M.O.V.E. Theatre’s resident composer and music director Lin Kuei-ju, recipient of Taishin Arts Award 2013, detaches the work from the original indication of traditional Gongs and Drums Notation. The musical composition creates a refreshing dialogue performed by percussionists from both reign of the Western and the Eastern training. The masculine dynamics depict the female struggles under social norm, while the fluid soundscape implies the bourgeoning desire.


19

M.O.V.E. Theatre was founded by artistic director Fu Hong-zheng in 2006. M.O.V.E. Theatre provides artists with a creative space for exploring the aesthetics of physical theatre through movement, observation, and experimentation. Composed of artists from a variety of artistic disciplines—including theatre, music and dance—the troupe is dedicated to creating works that could be described as total theatre. They typically feature a poetic theatrical style of language that probes and reveals the minds of people today, with themes covering literature, mythology, history, society and more. The troupe also works with contemporary artists from different backgrounds to create interdisciplinary experimental works. Pawit Mahasarinand, BIPAM committee member and chairperson of Chulalongkorn University’s Department of Dramatic Arts, has been appointed a member of Southeast Asia Advisory Committee (SEAAC) by Taiwan’s Ministry of Culture, and has been consulting with many Thai and Taiwanese artists, scholars and producers in selecting KUANG CHI for BIPAM. “It’s been many years since we watched and enjoyed contemporary performing arts from Taiwan and yet the memory of performances by Cloud Gate Dance Theatre and U-Theatre is still fresh. The contemporary arts scene in Taiwan is really thriving and that makes it more difficult to choose one work for BIPAM. It came down to two keywords in the end—‘interdisciplinary’ and ‘experimental’. KUANG CHI is probably the highest artistic risk M.O.V.E. Theatre, a physical theatre company, has ever taken and I personally admire artists who do not just sit in their comfort zone and create works in the same old recipe that they’re certain their audience will like. Watching a rehearsal of KUANG CHI in Taipei two months ago, I felt unique bursts of energy from its intriguing soundscape and captivating physical movements and acting and enjoyed the queer re-interpretation of the two traditional stories. And thus I’m sure that BIPAM audiences will enjoy a glimpse of and learn about contemporary Taiwan from watching KUANG CHI and that performing arts collaboration and exchanges between the two countries will be re-energized.” KUANG CHI had its world premiere at Taiwan Traditional Theatre Center on September 29 this year. This exclusive international premiere at BIPAM is made possible through the kind support by Ministry of Culture, R.O.C. (Taiwan) and the Taipei and Economic Office in Thailand. Special thanks also to Department of Music, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. [Genre] Music Theatre [Venue] Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts Faculty of Arts, Chulalongkorn University [Date & Time] Wednesday and Thursday, November, 15 & 16, 2017 at 7:30pm Friday, November 17, 2017 at 2pm and 8pm [Tickets] Bt 600 (Students: Bt 300; Artists and audiences younger than 27 years old: Bt 400), available now at www.BangkokTheatreFestival.com, or by calling 08 1559 7252 and 0 2218 4802 *In Mandarin and Thai, with English surtitles* Facebook: DramaArtsChula For more information: Tanyatorn “Fern” Butryee ferinfinus@gmail.com ChulaDrama@gmail.com Department of Dramatic Arts, Faculty of Arts, Chulalongkorn University 8th Floor, Boromratchakumari Bldg. Tel: 0 2218 4802 and 08 1559 7252 Fax: 0 2218 4803 Photo credit: Chingju Cheng


20

Photo credit:Thitipun Srinarmwong

Japanese ambassador attended the premiere of "Bangkok Notes" Department of Dramatic Arts On Thursday, November 2, 2017, H.E. Mr. Shiro Sa-

Faculty of Arts. The collaboration has taken one

doshima, the Japanese Ambassador to Thailand

step further this year: Professor Hirata has spent

attended the premiere of Bangkok Notes at Sodsai

the past two months working with the Department

Pantoomkomol Center for Dramatic Arts. Later, he

of Dramatic Arts' faculty members, students and

congratulated Sawita Diteeyont, Ph.D., who adapt-

alumni as well as professional actors from various

ed the script from the original play Tokyo Notes, and

companies in creating Bangkok Notes, in addition

the leading actress, Sumontha Suanpholrat, a recent

to teaching a playwriting class.

graduate from the MA program in Dramatic Arts. Associate Professor Suradech Chotiudompant, Ph.D., As-

Co-organized by World Performances @ Drama

sociate Dean, then congratulated and thanked Tokyo

Chula project, Japan Foundation Bangkok and

University of the Arts' Professor Oriza Hirata, artistic

Bangkok Theatre Network, Bangkok Notes com-

director of Seinendan Theatre and internationally re-

memorates the 130th anniversary of Thailand-Ja-

nowned playwright and director.

pan's diplomatic relations and was the opening performance of Bangkok Theatre Festival 2017.

Before Bangkok Notes, the Thai theatre-going public

The play, in Thai with Japanese and English subti-

had watched three works by Professor Hirata--namely

tles, is scheduled for eight performances from No-

Tokyo Notes (2006), Sayonara (2012) and Metamor-

vember 2-4 and 9-11. For more details, please visit

phosis (Android Version) (2015), all performed at the

Facebook Drama Arts Chula or call 08 1559 7252.


21

Photo credit:Thitipun Srinarmwong

Photo credit:Teeraphan Ngowjeenana


22

CALENDAR OF EVENTS 10

11

Department of Comparative Literature

Research Affairs Division

Conference "New Turns in the Humanities" (8:30-16:00 hrs, 9th floor, Maha Chakri Sirindhorn Building)

Aksarapiwat

Talk

Series

"Survival Thanks to Thai Music" by Professor Emeritus Dr Chetana Nagavajara (13:0016:30 hrs, 9th floor, Maha Chakri Sirindhorn Building)

The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator

Please send any announcements or information on your current as well as past events to Ms Kankanok Chimsang at artspr08@hotmail.com, pr.arts.chulalongkorn@gmail.com Tel. 662 218 4885


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.