Faculty Show 2009

Page 1




นิทรรศการผลงานศิลปะและการออกแบบ ของคณาจารย์ คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 12 15-30 กันยายน 2552 หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ออกแแบบจัดวางรูปเล่ม อาจารย์ อนุชา แสงสุขเอี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี ถ่ายภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อติวรรธน์ วิรุฬห์เพชร พิสูจน์อักษร นางภาวนา ใจประสาท ประสานงาน อาจารย์ สุพิชญา เข็มทอง อาจารย์ พรพรม ชาววัง อาจารย์ ศิดาลัย ฆโนทัย นางรัตนา สังข์สวัสดิ์ นางสาวรพีพร เพชรรัตน์ นายสยาม ระลึกมูล นายศุภฤกษ์ ทับเสน นางสาวกนกอร สว่างศรี นางสาวณัฐญภรณ์ บุญสมบัติ


สาส์นจากคณบดี ผลการจัดแสดงงานคณาจารย์ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมสั่งสมประสบการณ์อันตกผลึก ของแต่ละท่านที่สร้างสรรค์สู่สังคมในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งมีทั้งผลงานส่วนบุคคล และผลงานที่ส่งเสริมความ เข้มแข็งของชุมชนต่าง ๆ ทีอ่ าจารย์แต่ละท่านมีประสบการณ์ โดยพยายามสือ่ ให้เห็นถึงอีกมิตหิ นึง่ ของสังคมไทย ทีต่ อ้ งอาศัยพลังความรักสามัคคีในช่วงทีส่ งั คมไทยกำลังอ่อนแอด้วยความแตกแยกทางความคิด ข้าพเจ้าหวังว่า ผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นประจำทุกปี ในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยตระหนัก ในความเข้าใจตาม เจตนารมณ์ที่ศิลปินและนักออกแบบได้หวังไว้

รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ คณบดีคณะมัณฑนศิลป์



ปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเฟอร์นิเจอร์

โดย อาจารย์อินทรธนู ฟ้าร่มขาว ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑณศิลป์

* หมายเหตุ “เขา” ในบทความนี้ หมายถึง “เฟอร์นิเจอร์” “When sitting on a chair we are in touch not only with the object but also its human creator.” (John Pile, 1990) นั่นคือความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกวันนี้ใช้เวลามากมายนั่งอยู่บนเก้าอี้ แต่ละคนมีโอกาสที่จะนั่งบน ตัวเขาวันละมากกว่า 10-20 ตัว ทั้งในห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องรับประทานอาหาร ในรถยนต์ รถเมล์ หรือในห้องเรียน ห้องประชุม ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ที่บ้านหรือที่ทำงาน สิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้ (เก้าอี้และรวมถึงเฟอร์นิเจอร์) กำเนิดขึ้นมากกว่า 5,000 ปีแล้ว และยังมองไม่เห็นทีท่าว่า “เฟอร์นิเจอร์ “เหล่านี้จะสูญหายตายจากเราไป เรื่องราว ของเขาเกี่ยวพันอย่างแนบชิดกับพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณเรื่อยมาจนยุคบาโรก ตั้งแต่นีโอคลาสสิค อาร์มแชร์จนถึงโซฟาสไตล์โพสต์โมเดิร์น แต่ราวกับว่านักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ทั้งหลายพากันหลงลืม ไม่ทราบและไม่เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ตลอดเวลา แท้จริงแล้วเฟอร์นิเจอร์เปลี่ยนรูปโฉมไป มากตลอดช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา รูปแบบของเขามีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงตามปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่ง ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวงการเครื่องเรือนนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาประวัติศาสตร์เฟอร์นิเจอร์จะสามารถ เล่าเรื่องราวในอดีต รวมถึงสามารถคาดคะเนรูปแบบของเขาในปัจจุบันและอนาคตได้ ในยุคอียิปต์และกรีกโรมันโบราณ เหล่านักออกแบบให้ความสนใจกับแบบเสมือนจริง ดังจะเห็นได้จาก รูปทรงของขาเครื่องเรือน ที่แกะสลักโดยลอกเลียนมาจากช่วงขาของสัตว์ โดยเฉพาะสิงโต ถัดมาในยุคปลายที่รูปทรง สถาปัตยกรรมของกรีกโรมัน เช่น ทรงเสาไอโอนิค (Ionic Column) และทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (Pediment) เริ่ม มีอิทธิพลมากขึ้น และหลังจากโรมันตะวันตกเสื่อมลง ในปี ค.ศ. 476 กรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เมืองหลวง ของโรมันตะวันออกก็รุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ ในชื่อว่า อาณาจักรไบเซนไทน์ ความเชื่อในศาสนาคริสต์ เริ่มมีอิทธิพลและขยายอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้น เกิดการผสมผสานกับศิลปะ ตะวันออกและศิลปะอิสลาม เกิดรูปทรงแบบกอทิก (Gothic) คือพนักพิงมียอดแหลม สูงตระหง่าน ทรงดอกบัวตูม จนถึงช่วงศตวรรตที่ 14 ถึงปี ค.ศ.1600 ที่ปรัชญากรีกและโรมันโบราณ กลับมามีอิทธิพลอีกครั้ง มีการใช้เก้าอี้ไม้ อย่างแพร่หลาย โดยรูปทรงจะดูบอบบางขึ้นจากอดีต เรียกสไตล์ในยุคนี้ว่า เรอเนสซองค์ (Renaissance) ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งตรงกับยุคบาโรก (Baroque) ความรุ่งเรืองและอลังการของคริสตจักรในกรุงโรมและการขยายตัวทางการค้า ในยุโรป ส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์ยุคนี้มีความหรูหรา ฟู่ฟ่า ประดับประดาด้วยมุก งาช้าง กระดองเต่า และโลหะ ส่วน รูปแบบในศตวรรษที่ 18 ได้รับอิทธิพลจากการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่เป็นทางการมากขึ้น ประกอบกับนักออกแบบ ปฏิเสธชิ้นงานที่หนักทึบตันของบาโรก รูปทรงจึงเปลี่ยนเป็นอ่อนช้อยขึ้น มีเส้นโค้งมากกว่า ทำให้เครื่องเรือนในยุค ที่เรียกว่าโรโกโก (Rococo) นี้ ดูเป็นมิตรและเข้าถึงผู้คนหลายระดับมากกว่าเดิม ในช่วงปลายศตวรรษนี้ ดีไซเนอร์ หวนกลับไปให้ความสนใจงานยุคกรีกและโรมันคลาสสิคอีกครั้ง และเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้น เช่น เครื่องจักรไอน้ำ ปั๊ม มอเตอร์ และอื่น ๆ ส่งผลต่อกระบวนการผลิต และอุปกรณ์ฟิตติ้ง (Fitting) ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นโปเลียนแผ่ขยายอำนาจไปทั่วยุโรป จึงเกิดการผสมรูปแบบของฝรั่งเศสกับประเทศ ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จวบจนกระทั่งช่วงกลางของศตวรรษนี้ มีการล่าอาณานิคมอย่างกว้างขวาง จึงมีการนำไม้คุณภาพ เยี่ยมจากหลากหลายที่เข้ามา โดยเฉพาะไม้มาฮอกกานี (Mahogany) และผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคนั้นที่ นำเสนอวัสดุใหม่ ๆ เข้าในวงการ เช่น เหล็กหล่อ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการออกแบบเครื่องเรือนตาม ระบบอุตสาหกรรม จนกระทั่งช่วง 2 ทศวรรษสุดท้าย เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากนักออกแบบที่ปฏิเสธระบบสายการผลิต หันหน้าไปให้ความสนใจกับทักษะฝีมือมนุษย์อีกครั้ง

5


ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสูง ต่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ในศตวรรตที่ 20 เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสถาบันเบาเฮาร์ (Bauhaus) เมื่อเยอรมนีจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูประเทศ อันเป็นผลมาจากการแพ้สงคราม ทุกสิ่ง ทุกอย่างต้องการความเรียบง่าย สามารถผลิตได้รวดเร็ว แนวคิดนี้ส่งผลให้รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ในยุคนั้น (เรียกว่า โมเดิร์น) มีความเรียบง่าย สะอาดตา เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่นเดียวกับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กระบวน การผลิต เทคนิค และการออกแบบ ถูกปรับตามเทคโนโลยีของกองทัพ เช่น มีการใช้อะลูมิเนียมหล่อ หรือปรับตาม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินรบ ต่อมา ราวปี ค.ศ.1970 เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการอีกครั้ง เมื่อเหล่านักออกแบบ ที่หมดความศรัทธาในรูปแบบโมเดิร์น หันมาให้ความสนใจกับแนวคิดที่แปลกแหวกแนว มีการนำวัสดุหลากหลายมา ผสมผสานกัน กระบวนการผลิตทั้งแบบงานฝีมือและแบบใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เรียกงานในยุคนี้ว่า ”โพสต์โมเดิร์น” ซึ่ง มีอิทธิพลต่อโลกในวันนั้นจวบจนกระทั่งวันนี้ จากประวัติศาสตร์การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบของเขาเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด จากหลากหลายเหตุการณ์ที่สำคัญ มักเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของโลกและมนุษย์ ผู้เขียนเชื่อว่ามีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความคิดของมนุษย์ เรื่องวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี เช่น เครื่องจักร และวัสดุและเรื่องสุดท้ายคือ การปฏิเสธงานรูปแบบเดิม ๆ ของนักออกแบบ จึงชัดเจนว่ารูปแบบเฟอร์นิเจอร์จะถูก ปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงไปไม่มีวันจบสิ้น ตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงมีสมอง มีความคิดอยู่เช่นนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ โลกของการออกแบบแฟชั่นการแต่งกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ ตลอดเวลาเพื่อความทันสมัย เช่น รองเท้าตามแบบพวกสนีกเกอร์ กางเกงขาเดปหรือขาสั้น การเกาะติดกระแส แฟชั่นจากทั่วโลก ทั้งนิวยอร์ค ปารีส และโตเกียว ช่องแฟชั่นทีวี สยามพารากอน และเหล่าวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพล อย่างมากต่อการออกแบบทุกวงการ รวมถึงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วย ความคิดแหวกกฏเกณฑ์ด้วยการใช้วัสดุ ดิบ ๆ ให้ความสนใจที่รูปร่าง รูปทรง และสีสัน มากกว่าที่จะสนใจประโยชน์ใช้สอย (Function) หรือเออโกโนมิก (Ergonomics) ซึ่งอาจจะเป็นได้แต่เพียง ”เฟอร์แฟชั่น” ที่ดังเพียงข้ามคืน ผู้เขียนได้แต่หวังว่าเราชาวนักออกแบบจะ ประยุกต์ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน โดยไม่ทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป การรณรงค์เรื่องโลกร้อนของกลุ่มกรีนพีช และการตื่นตัว ในปัญหาดังกล่าว จะทำให้การใช้วัสดุรีไซเคิลได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้คนที่ให้ความสนใจกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อรูปแบบเครื่องเรือน ตั้งแต่ผู้บริโภคที่ ต้องการจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต การเลือกวัสดุ เหล่านี้จะ ส่งผลให้ “นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์“ มีหน้าที่ต้องตอบสนองความต้องการเหล่านี้ให้แก่ผู้คน ปรับเปลี่ยนแนวความคิด เลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ ให้ความใส่ใจในขั้นตอนการผลิตที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในอนาคต เทคโนโลยีจะมีอิทธิพลต่อทุกแง่มุมของชีวิต รวมทั้งศิลปะและงานออกแบบ ผู้เขียนเชื่อว่างาน ออกแบบเฟอร์นิเจอร์จะถูกสะท้อนมาจากการพัฒนาทั้งด้านวัสดุ และเทคโนโลยีการผลิต เหมือนกับความเห็นของ Shangle (1997) ที่กล่าวว่า การสื่อสาร วัสดุ และเทคโนโลยี จะมีความสำคัญอย่างสูง อย่างแรกคือการพัฒนาระบบ จัดเก็บข้อมูล การใช้สื่อโฆษณาแบบใหม่ ๆ การวิจัยตลาดและผู้บริโภค การวิเคราะห์ทิศทาง (trend) อย่างที่สอง คือการพัฒนาด้านวัสดุเช่น วัสดุวิศวกรรมใหม่ ๆ หรือเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้วัสดุคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความ สะดวกในการผลิตและความเรียบร้อยของชิ้นงาน และสุดท้ายคือการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ที่ได้รับ การปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดเวลา ส่งผลต่อการควบคุมการผลิตในโรงงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น และสามารถช่วยให้นัก ออกแบบ และโรงงานคิดค้นวิธีการใหม่ๆในการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ได้

6


ปัจจัยสุดท้ายที่จะส่งผลต่อรูปแบบเฟอร์นิเจอร์ คือการเปลี่ยนความคิด หรือความเชื่อของผู้คนรวมถึง ตัวนักออกแบบเองที่จะถึงจุดอิ่มตัว และจะปฏิเสธงานในยุคปัจจุบันแล้วหาแรงบันดาลใจใหม่อื่น ๆ หรือหวนกลับไป ให้ความสนใจงานในยุคก่อน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นแค่การนำเอกลักษณ์ หรือจุดเด่นบางอย่างกลับมาใช้ หรืออาจจะสนใจ แนวคิดของยุคนั้น หากให้ผู้เขียนวิเคราะห์รูปแบบในยุคต่อไปเฉพาะปัจจัยด้านนี้ ผู้เขียนเชื่อโดยส่วนตัวว่าเหล่า นักออกแบบจะเบื่อหน่ายงานที่ตกแต่งแต่เปลือกนอก ที่ดูประหนึ่งว่าน่าสนใจนักหนาของยุคโพสต์โมเดิร์น แล้วกลับ ไปใส่ใจกับยุคผู้ให้กำเนิด นั่นคือยุคโมเดิร์น อาจจะเป็นเพราะในอนาคตผู้คนต้องการความเรียบง่าย สุขสงบ แต่ต้อง คุ้มประโยชน์และราคาสมเหตุสมผล ด้วยเพราะภาวะเศรษฐกิจหรือเพราะเบื่อหน่ายต่อความฉูดฉาดหลอกลวงก็เป็นได้ กล่าวโดยสรุปแล้ว แม้ว่าเราจะสามารถคาดเดารูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ในอนาคตได้จากการศึกษาหลักฐาน ในอดีต หรือการวิจัยชีวิตและความต้องการของมนุษย์ในอนาคต แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันความแน่นอนได้ นี่อาจ เป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลที่ Ludwig mies van der rohe หนึ่งในสถาปนิกและนักออกแบบ ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก กล่าวว่า “a chair is a very difficult object. A skyscraper is almost easier.” เพราะว่าเฟอร์นิเจอร์ดีไซเนอร์ไม่ สามารถรู้ได้แน่ชัดว่า “เขา” ที่เราออกแบบควรออกมาเป็นรูปแบบใด แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความคิดของมนุษย์ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีจะส่งผลต่อรูปแบบของ ”เขา” ในอนาคตอย่างแน่นอน

References lists: • Cranz, G 2000, The chair: Rethinking culture, body, and design, W.W. Norton & Company, London. • Leonard, T 1999, Future of furniture looks a lot like its past, the news & record, สืบค้น มกราคม 2552, • Mang, K 1922, History of modern furniture, Verlag Gerd Hatje, Stuttgart. • Miller, J 2005, Furniture: World styles from classical to contemporary, Dorling Kindersley Limited, London. • Ratnasingam, J 2003, A matter of design in the South East Asian wooden furniture industry, published on line. • Shangle, M 1997, Future furniture design, Wood & wood product, สืบค้น มกราคม 2552, • S- hore, H 1982, Future challenge administering the arts in the eighties, The graduate program in art administration of south Australia Institute of Technology, South Australia. • Sorrentino, M 1992, The future of furniture manufacturing, The gale group, Michigan. • รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์, 2551 3 ทศวรรษกับงานออกแบบตกแต่งภายในของไทย, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ • http://www.highbeam.com/library/docFree.asp?docid=1G1:74 538451&key=0C177A56741C1568130C0 01F056806087D07720B727B790. • http://www.highbeam.com/library/docFree.asp?docid=1G1:20336380 &key = 0C177A56741C 1568130C031A066A06087D07770F747B770D7A0E.

7


PRINT IN FASHION

บทบาทของลายพิมพ์ ที่มีต่อโลกของแฟชั่น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ใครจะเชื่อว่า ลายดอกป๊อบปี้ สีแสดสดนั้น จะทำให้การแช่แข็งของแฟชั่น ที่อยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ของประเทศฟินแลนด์นั้นพลิกฟื้นขึ้นมาได้ “Marimekko” แบรนด์ดังแห่งฟินแลนด์ ก่อตั้ง Vilifo Ratio ในปี ค.ศ. 1949 โดยได้รับแรงบันดาลใจ จาก Armi ภรรยาของเค้าเอง เธอเชื่อว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะเปลี่ยนผลงานสิ่งทอที่มีอยู่ให้ แตกต่างไปจากสินค้าในท้องตลาดซึง่ ลวดลายของผ้า โดยส่วนใหญ่แล้วนัน้ ดูจดื ชืดหม่นหมองและแห้งแล้ง “Marimekko” แบรนด์ที่มีความหมายว่าเรียบง่ายเหนือกาลเวลานั้นนำเสนอสิ่งที่แตกต่างออกไปด้วยสีสันและรูปทรงง่าย ๆ ลวดลายพิมพ์ บนผืนผ้านั้น มีบทบาทสำคัญในการกำหนดคอลเลคชั่น และแพทเทริน์รวมทั้งโครงสร้างของ เสื้อผ้า ดังเช่น ผลงานลายพิมพ์สีสดและจัดจ้านของดีไซเนอร์ Emilio Pucci นั้น ทำให้เขากลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลใน โลกแฟชั่นระดับต้นๆ เลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 1950 นั้น ลายพิมพ์ของ Pucci ได้รับความนิยมถึงขีดสุด และนับเป็นปรากฏการณ์ของการก๊อบปี้ ลวดลายพิมพ์ อย่างกว้างขวางเลยทีเดียว จนกระทั่งมีคำเปรียบเทียบที่ว่า ผลงานที่ได้รับความนิยมตลอดกาลของ Pucci นั้น เหมือนกับความนิยมที่ไม่มีวันตายของศิลปินเพลงอย่าง “Beatles” ฉันใดก็ฉันนั้น ลายพิมพ์ผ้าสีแจ๊ดสดนั้น เปิดมุมมองใหม่ให้กับวงการแฟชั่น Pucci พิมพ์ผ้าลงบนวัสดุหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหมเจอร์ชี่ ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ผ้าไนลอน หรือแม้แต่ผ้าแคชเมียร์ขนนุ่ม ลวดลายที่เขาใช้ออกแบบนั้น มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลวดลายเรขาคณิต หรือลวดลายของภาพสะท้อนของกระจก (Kaleidoscopic) รวมถึงลาย ดอกไม้ ซึ่งในแต่ละลายนั้น มักใช้สีไม่ต่ำกว่า 10 สี หรือบางผืนนั้น ก็ใช้สี 12-13 สี เลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าลวดลายพิมพ์นั้น สะท้อนและบอกเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ได้อย่างดีทีเดียว ดังเช่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 นั้น เหล่า ศิลปินมิได้สร้างงานอยู่แต่บนผืนผ้าใบ หากแต่พวกเขาได้นำศิลปะช่วงยุคเรอเนอสซองนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ลวดลายสำหรับเสื้อผ้าด้วย ดังเช่น งานของศิลปิน “Sonia Delaunary” นั้น นำเสนอผลงานใน Op Art แบบเรียบง่ายและชัดเจน แต่ที่สำคัญที่สุด คือเธอออกแบบโดยเน้นถึงความสำคัญต่อรูปร่างของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการใช้สีตัดกัน หากแต่อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัวที่สุด เธอทำบางอย่างที่ศิลปินคนอื่นไม่สามารถทำได้ คือเธอใช้ ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุก ๆ วัน ผ้านับผืนที่ถูกออกแบบโดย Sonia นั้น ถือได้เป็นประวัติศาสตร์ของ งานผ้าเลยทีเดียว เทคนิคที่ดั้งเดิมที่ใช้ในงานผ้านั้น คือ เทคนิคการพิมพ์ในอินเดีย ญี่ปุ่น หรือแม้แต่แอฟริกานั้น นิยมใช้เทคนิค แม่พิมพ์ไม้ (Block Print) ถูกใช้มานานเป็นศตวรรษเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดีย แม่พิมพ์ไม้นั้น มี อิทธิพลอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ผ้าของอินเดีย ผ้าของประเทศอินเดีย ใช้ผ้าพิมพ์และแม่พิมพ์ไม้ ตลอดจนถึงต้น ศตวรรษที่ 19 เทคนิคการทำแม่พิมพ์ไม้ทำได้โดยการแกะลายบนไม้เนื้อบางให้เป็นรูปทรงตามที่ออกแบบไว้ จากนั้น นำไปจุ่มสีและแสตมป์ลงบนผืนผ้าตามที่ต้องการ และต่อมาในปี 1907 นั้น Samuel Simon นักเทววิทยา ลูกผสมชาวอเมริกา-เยอรมัน ได้ค้นพบเทคนิค การพิมพ์ด้วยตะแกรงไหมเป็นครั้งแรก และด้วยความสะดวกและรวดเร็วของเทคนิคนี้เอง จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันอย่าง กว้างขวางทั่วยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปของรูปแบบผ้าในวงการแฟชั่นอย่างแท้จริง โรงงานพิมพ์ หลากหลายแห่งก็ได้ก่อตั้งขึ้นทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ ตั้งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่มีต่ออุตสาหกรรม แฟชั่น และด้วยปริมาณความต้องการที่มากขึ้นในดีไซเนอร์หลายคนไม่ว่าจะเป็น Nicole de Leon นั้นไม่เพียงแต่ จะออกแบบเสื้อผ้าเก่า แต่ยังเปิดโรงงานเพื่อผลิตผ้าอีกด้วย

8


ในปัจจุบันนี้ เทคนิคการพิมพ์นั้นถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อ รองรับความต้องการของตลาดงานพิมพ์ผ้า เครื่องพิมพ์ “Digital Printing” นั้นใช้ง่ายขึ้นและไม่สิ้นเปลืองแรงงาน ทำให้เทคนิคนี้เป็นที่นิยมอย่างมากใน หมู่นักออกแบบ อย่างไรก็ตาม การพิมพ์แบบ Digital Print นั้น ทำให้นัก ออกแบบไม่ได้เรียนรู้ถึงวิธีและขั้นตอนในการพิมพ์ ซึ่งนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Ulster, Patricia Beffora กล่าวว่ากระบวนการพิมพ์นั้น จะช่วยให้นักออกแบบ เข้าใจหลักการออกแบบได้ดียิ่งขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการสื่อสารที่ก้าวหน้า ทั้งทาง โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตนั้น ทำให้นักออกแบบลายผ้าได้สื่อสารกันเป็นภาษา สากลมากขึ้น และในศตวรรษที่ 21 นั้นงานพิมพ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของ แฟชั่นโลก ลวดลายที่เป็นที่นิยมตลอดกาล ได้แก่ ลวดลายดอกไม้ รูปทรง เรขาคณิต ซึ่งมีทั้งรูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส-ผืนผ้า ลายก้างปลา หรือแม้แต่ ลายจุด จะเห็นได้ว่าลวดลายที่ใช้นั้นส่วนมากมาจากธรรมชาติรอบตัว รวมถึง เรื่องราวจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ลวดลายที่ถูกออกในแต่ละยุคสมัยนั้น มักจะ ถูกนำกลับมาใช้อยู่บ่อยครั้ง

ลายพิมพ์ของศิลปิน Emilio Pucci

ลายดอกป๊อปปี้ จาก แบรนด์ Marimekko ประเทศฟินแลนด์

Bibliography: • TOGG, M. PRINT IN FASHION DESIGN AND DEVELOPMENT IN TEXTILE FASHION, Page One Publishing Private Limited, SINGAPORE 2006 • FIELL,G & PETER . Scandinavian design, TASCHEN, India, 2005 • Joyee, G Textile Design, Watson-Guptill Publications, United States,1993 • KENNEDY, K , Pueei A RENAISSANCE IN FASHION, Abbeville press, New York 1991 • DAMASE, J, Sonia DELAUNAY Fashion and Fabrics, Harry N. ABRAMS, INC Publishers, New York 1991.

ผลงานของศิลปิน Sonia Delaunary

9


กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

ในนิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี 2552 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วผลงานสร้างสรรค์ตามทัศนะของศิลปินหรือนักออกแบบ จะไม่มีการอธิบายถึงกระบวนการ โดยส่วนมากมักจะมีชิ้นงานที่สร้างแรงบันดาลใจต่อผู้เข้าชม หรือชื่อผลงาน ศิลปินและนักสร้างสรรค์หลาย ๆ ท่าน อาจจะนำเสนอข้อความสั้น ๆ ชุดหนึ่งที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับชิ้นงานสร้างสรรค์นั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นแนวความคิดหรือแรง บันดาลใจของศิลปินนักออกแบบที่มีต่อชิ้นงานนั้น บางครั้งคำและข้อความเหล่านั้นยิ่งทำความเข้าใจได้ยาก ไม่ สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เข้าชม จนกระทั่งไม่สามารถเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นงานและเนื้อหาที่ผู้ สร้างสรรค์อธิบาย ดังนั้นสูจิบัตรจึงเป็นคำตอบของยุคสมัยที่ถือเป็นการจัดพิมพ์ผลงานและเนื้อหาของนิทรรศการนั้น รวมทั้งประวัติการแสดงผลงานประวัติต่าง ๆ บทความและเนื้อหาที่เจ้าของนิทรรศการนั้น ๆ แสดงความชัดเจนและ เป็นระบบระเบียบพอจะถือได้ว่าเป็นเอกสารหลักฐานในการพิจารณาประกอบในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่สูงขึ้น แต่จากสภาวะการณ์ในปัจจุบัน การบ่งชี้ถึงระดับของคุณภาพที่มากกว่าเพียงแค่มีปรากฏการณ์การจัดแสดง นิทรรศการและมีหลักฐาน ซึ่งอาจประกอบด้วยสูจิบัตรและภาพเคลื่อนไหวว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงนั้น เป็นความ พยายามที่หลาย ๆ สถาบันที่เกี่ยวข้อง กำลังหาทางที่จะออกแบบกลไกต่าง ๆ เพื่อจะหาสิ่งที่เหมาะสม ที่ชี้ถึงคุณภาพที่ มีมากกว่าที่มีอยู่เดิม ดังนั้นลักษณะของการจัดทำเป็นรูปแบบที่คู่ขนานกับระเบียบวิธีวิจัยตามกระบวนการทางศาสตร์จึง เกิดขึน้ สำหรับการเรียบเรียงเนือ้ หาและผลงานสร้างสรรค์ให้อยู่ในระบบไวยากรณ์ ทีม่ ผี ปู้ ระเมินคุณภาพผลงานวิชาการ ในรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน และเกิดการนำมาใช้ เสมือนเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของงาน ได้ประการหนึ่ง และด้วยเหตุนี้เอง จึงนำมาสู่การอธิบายกระบวนการสร้างสรรค์ในครั้งนี้ งานชิ้นนี้เป็นกรณีศึกษา การสร้างสรรค์ต้นแบบของที่ระลึก เพื่อชุมชนเกาะสมุยเข้มแข็ง โดยมีที่มาดังต่อไปนี้ สาเหตุและที่มาของประเด็นที่นำมาสู่แนวทางในการสร้างสรรค์ เกาะสมุย เป็นเกาะในอ่าวไทยอยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2499 ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเกาะสมุย 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองเกาะสมุย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2551 ครอบคลุม 7 ตำบล 39 หมู่บ้าน คือ ตำบลอ่างทอง 6 หมู่บ้าน ตำบลลิปะน้อย 5 หมู่บ้าน ตำบลตลิ่งงาม 5 หมู่บ้าน ตำบลหน้าเมือง 5 หมู่บ้าน ตำบลมะเร็ต 6 หมู่บ้าน ตำบลบ่อผุด 6 หมู่บ้าน และตำบลแม่น้ำ 6 หมู่บ้าน

ภาพที่ 1. แสดงแผนที่เกาะสมุย (ที่มา : ศูนย์กลางของชาวเกาะสมุย. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 , จาก http://www.samui-center.com/samuiforum/images_upload_answer/20075311127111.jpg)

10


1) 2) 3) 4) 5) 6) 7)

ตำบลอ่างทอง อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ พื้นที่ 28.10 ตารางกิโลเมตรเป็นศูนย์กลางของเกาะ เพราะเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ธนาคาร ท่าเทียบเรือ ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหน้าทอน (ตลาดหน้าทอน) บ้านบางมะขาม บ้านตะเกียน (บนเกียน) บ้านลิปะใหญ่ บ้านเกาะพลวย บ้านแหลมดิน ตำบลลิปะน้อย อยู่ทางทิศตะวันตกกึ่งกลางของเกาะ พื้นที่ 21.13 ตารางกิโลเมตร มี 5 หมู่บ้าน คือ บ้านแหลมดิน บ้านลิปะน้อย บ้านตรอกนารา บ้านโจ้งคลำท้องยาง และบ้านทุ่ง ตำบลตลิ่งงาม อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ พื้นที่ 27.47 ตารางกิโลเมตร มี 5 หมู่บ้าน คือ บ้านสระเกศ บ้านตลิ่งงาม บ้านพังกา บ้านท้องกรูด และบ้านแตน ตำบลหน้าเมือง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ พื้นที่ 41.63 ตารางกิโลเมตร มี 5 หมู่บ้าน คือ บ้านสวนทุเรียน บ้านหัวเวียง บ้านตะพ้อ บ้านบางเก่า (บ้านทะเล) และบ้านแหลมสอ ตำบลมะเร็ต อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ พื้นที่ 21.76 ตารางกิโลเมตร มี 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหาญ บ้านหัวถนน บ้านทุ่ง บ้านละไม บ้านมะเร็ต และบ้านตีนท่า ตำบลบ่อผุด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ พื้นที่ 59.79 ตารางกิโลเมตร มี 6 หมู่บ้าน คือ บ้านเขาพระ บ้านบางรักษ์ บ้านเฉวง บ้านปลายแหลม บ้านเกาะฟาน และบ้านบ่อผุด ตำบลแม่นำ้ อยูท่ างทิศเหนือของเกาะ พืน้ ที31.48 ่ ตารางกิโลเมตร มี6 หมูบ่ า้ น คือ บ้านแม่นำ้ บ้านออกท่า บ้านดอนทราย บ้านใต้ บ้านทุ่ง และบ้านบางปอ

จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เกาะสมุยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชาวต่างชาติมาพักอาศัยอยู่กันอย่างมากมาย เป็นเกาะที่มีความสวยงาม หาดทรายขาวสะอาดเหมาะแก่การพักผ่อนตากอากาศ คนท้องถิ่นส่วนใหญ่นิยมอาศัยอยู่ ในตัวเมือง ประกอบอาชีพค้าขาย ขายอาหารทะเล ประมง ฯลฯ บ้านเรือนโดยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น 2 ชั้น ผสมผสาน ระหว่างความเป็นไทยและจีน สินค้าที่มีชื่อเสียงของเกาะสมุยคือกาละแม น้ำมันมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว1 ด้วยเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นประธานรุ่นระหว่างกลางปี 2547 ถึงกลางปี 2551 จึงได้มีกิจกรรมการเดินทางไปเยี่ยมเยียนเครือข่ายศิษย์เก่า ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และทาง ภาคตะวันตกของประเทศ ในการเดินทางลงไปใต้คราวหนึ่ง ได้เดินทางลงไปเยี่ยมเยียนเครือข่ายศิษย์เก่าสวนกุหลาบ วิทยาลัย ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เดินทางไปเกาะสมุย และประทับใจในลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ รวมถึงน้ำใจของผู้คนและศิษย์เก่าที่มีความเข้มแข็งในสังคมเกาะ ซึ่งแตกต่างกับสังคมเมือง ในแผ่นดินใหญ่ จากการเดินทางในครั้งนั้นทำให้ได้มีโอกาสขึ้นล่องเกาะสมุยบ่อยขึ้น ประกอบกับมีเพื่อนสนิทท่านหนึ่ง เป็นคนพื้นเพที่นั่น ได้ขึ้นกรุงเทพฯ มาศึกษาต่อมหาบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทุก ๆ วันเสาร์อาทิตย์ จึงทำให้ ได้มีโอกาสได้ติดต่อทำธุระให้หลายครั้ง รวมไปถึงได้ทราบถึงปัญหาของเกาะสมุย ในแง่มุมที่น้อยคนจะทราบเพื่อช่วย จุดประกายหรือแลกเปลี่ยนแนวความคิดซึ่งกันและกันอยู่บ่อยๆ จากการสังเกตโดยทั่ว ๆ ไป จากตนเองในเกาะสมุย พบว่า มีค่าครองชีพสำหรับการมาท่องเที่ยวสูงมาก แต่ก็ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดปี และส่วนหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนภายในเกาะ ปัญหาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีกำลัง ซื้อสูง ๆ นั้นก็คือ จะใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติที่สวยงามและกิจกรรมที่ตนสนใจเท่านั้น ในขณะที่ชุมชนหลาย ๆ พื้นที่ ภายในเกาะก็ค่อย ๆ สูญเสียความเป็นชุมชนแบบชนบทไปทีละน้อย ๆ

1

ข้อมูลตัวอย่างชุมชน เทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ, เอกสารประกอบการนำเสนอการสัมมนา และปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน, 18 มีนาคม 2552.

11


เนื่องด้วยระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ผู้คนต้องดิ้นรนแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแบ่งขายที่ดินเพื่อทำ รีสอร์ตหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การเกษตรในชุมชน ก็ลดลง ๆ ที่นาในอดีต ปัจจุบันก็ไม่มีอีกต่อไป ลักษณะเจ้าของ ที่ดินให้เช่าในสมุยเองก็มีฐานะดีมากพอ กระทั่งไม่ได้สนใจสืบทอดการเกษตรที่ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษอีกต่อไป หากแต่ คนที่เข้ามาอาศัยอยู่ทีหลังที่เข้ามาใช้แรงงาน กลับเป็นผู้อาศัยที่ต้องกระเบียดกระเสียรอย่างอัตคัดพอควร เนื่องด้วย ภูมิประเทศเป็นเกาะและมีที่ราบจำกัด ดังนั้นวัตถุดิบต่าง ๆ สำคัญ ก็จะเข้ามาโดยเรือเฟอรี่ข้ามมาจากฝั่งแผ่นดินใหญ่ ในเกาะสมุยเองก็เปรียบเสมือนเมืองที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวภาษีป้าย และภาษีโรงเรือน เทศบาลเกาะสมุยซึ่งมี นโยบายชุมชนในการปรับปรุงและพัฒนารวมถึงส่งเสริมตามนโยบายจากรัฐส่วนกลาง และยังต้องธำรงวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของเกาะสมุย ก็มีภาระหนักในการประสานและกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมกันรวมไปถึง พยายามที่จะให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ ในกรณีนี้จึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจที่จะสร้างต้นแบบชิ้นงานศิลปะ สำหรับการผลิตซ้ำจำนวนมากอย่างง่าย ๆ เพื่อจำหน่ายนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่รสนิยมดีและมีฐานะทางการเงิน ประกอบกับเมื่อได้ตอบรับกิจกรรม SCG Artist and Designer Workshop 2008 ที่ผ่านมา ทำให้มีความเข้าใจ วัสดุที่ทนทานบางประเภทที่ได้นำมาทดลองใช้งานอย่างซีเมนต์และมอร์ตาร์ สำหรับการทำแบบแม่พิมพ์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากบริษัทเอกชนภายนอกด้วยแล้ว จึงยิ่งทำให้มีความพยายามอย่างมากที่จะ ทำภารกิจนี้อย่างดีและให้มีประสิทธิภาพ โดยได้ลงไปเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมานี้เอง โดยเน้นไปที่กิจกรรมของชุมชน ซึ่งเกิดความประทับใจกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติและประเพณี ชนควาย

ภาพที่ 2. แสดงบรรยากาศ การชนควาย ของชุมชนตำบลบ้านแม่น้ำ เทศบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มา : 25 พฤษภาคม 2552 เวลา 17.20 น.

12


ภาพที่ 3. ผลงาน SCG Artist and Designer workshop 2008 ที่ศูนย์เทคโนโลยีก่อฉาบ สระบุรี ที่เป็นแรงบันดาลใจในด้านเทคนิคการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ด้วยวัสดุคอนกรีต และมอร์ตาร์

ภาพที่ 4. ผลงาน ภาพพิมพ์แกะไม้ของอาจารย์ประพันธ์ ศรีสุตา ที่มา: (online) available : http:// thammadee.com/pic/PicPeople/Praphan/

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ 1) เพื่อศึกษาการผลิตชิ้นงานเทคนิคภาพแกะไม้ โดยเทคนิคการหล่อด้วยแม่พิมพ์คอนกรีต 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทภาพพิมพ์อย่างง่ายโดยได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตท้องถิ่น ที่กำลังจะหายไป 3) เพื่อจัดทำต้นแบบงานศิลปะสำหรับการผลิตซ้ำจำนวนมากอย่างง่าย เพื่อจำหน่ายนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติ 4) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเกาะสมุย

จากการวิเคราะห์วตั ถุประสงค์ของการศึกษาเพือ่ การสร้างสรรค์ทง้ั สามข้อ พบว่าเป็นวัตถุประสงค์เชิงแนวคิด ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ จึงนำมาออกแบบเป็นลักษณะคำถามประกอบการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ใหม่อีกครั้ง ดังนี้

13


คำถามของการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ 1) เทคนิคการสร้างชิน้ งานแกะไม้ทเ่ี หมาะสมกับการใช้เทคนิคเพือ่ หล่อแม่พมิ พ์ดว้ ยคอนกรีตมีลกั ษณะอย่างไร 2) แนวเรื่อง องค์ประกอบภาพ พื้นผิวและสีสันของผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตท้องถิ่นที่ กำลังจะหายไป มีอะไรบ้างที่น่าสนใจและภาพลักษณ์อย่างไร 3) ต้ น แบบงานศิ ล ปะสำหรั บ การผลิ ต ซ้ ำ จำนวนมากอย่ า งง่ า ยเพื่ อ จำหน่ า ยนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวต่ า งชาติ และเป็นการช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเกาะสมุย ควรมีหน้าตาภาพลักษณ์อย่างไร จากสามคำถามดังกล่าวพบว่าเป็นคำถามเชิงแนวคิด ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จึงได้ทำการวิเคราะห์เพื่อ แปรรูปคำถามเชิงแนวคิดเหล่านี้ (Conceptualization) มาสู่คำถามเชิงรูปธรรม ในการดำเนินการ (Operationalization) โดยได้วิธีการและลำดับขั้นตอนการศึกษาและลำดับขั้นตอนของการสร้างสรรค์ดังต่อไปนี้ คำถามเชิงแนวคิด ( Conceptualization ) 1) เทคนิคการสร้างชิ้นงานแกะไม้ที่เหมาะสมกับการใช้เทคนิคเพื่อ หล่อแม่พิมพ์ด้วยคอนกรีต มีลักษณะอย่างไร

คำถามเชิงปฏิบัติการได้จริง ( Operationalization ) 1.1 เทคนิคการสร้างชิ้นงานแกะไม้ที่เหมาะสมมีอะไรบ้างที่ เหมาะสมกับการใช้เทคนิคเพื่อหล่อแม่พิมพ์ด้วยคอนกรีต 1.2 ผู้ออกแบบตัดสินใจอย่างไรกับข้อ 1.1 เพื่อนำมาใช้ใน การสร้างสรรค์

2) แนวเรื่อง องค์ประกอบภาพ พื้นผิวและสีสันของผลงาน ศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตท้องถิ่นที่กำลังจะหาย ไป มีอะไรบ้างที่น่าสนใจและภาพลักษณ์อย่างไร

2.1 กรณีศึกษาเรื่ององค์ประกอบภาพ พื้นผิวและสีสันของผลงาน ศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตท้องถิ่นที่ได้รับการยอมรับ มีอะไรบ้างและมีภาพลักษณ์อย่างไร 2.2 แบบร่างภาพลักษณ์ของผลงานสร้างสรรค์ที่ได้แรงบันดาลใจ จากวิถีชีวิตท้องถิ่น มีหน้าตาอย่างไร 3) ต้นแบบงานศิลปะสำหรับการผลิตซ้ำจำนวนมากอย่างง่ายเพื่อ 3.1 หน้าตาต้นแบบงานเป็นอย่างไร จำหน่ายนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็ง 3.2 มีวิธีในการจัดทำโดยง่ายเพื่อการผลิตซ้ำจำนวนมากอย่างไร ของชุมชนเกาะสมุย มีหน้าตาภาพลักษณ์อย่างไร 3.3 มีวิธีในการบรรจุภัณฑ์ เพื่อจัดจำหน่ายอย่างไรเพื่อส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชนเกาะสมุย ตารางที่ 1. วิธีการและลำดับขั้นตอนการศึกษาและลำดับขั้นตอนของการสร้างสรรค์

เมื่อได้คำถามเชิงปฏิบัติการแล้วจึงต้องหาต่อไปถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมไปถึง วิธีหรือหน่วยในการวัดผลแต่ ละเรื่อง เพื่อให้ได้ตามหลักการขั้นตอนที่ร่างเอาไว้ โดยจำแนกตามรายละเอียดดังกล่าวได้ดังนี้ คำถามเชิงปฏิบัติการได้จริง ( Operationalization ) 1.1 เทคนิคการสร้างชิ้นงานแกะไม้ ที่เหมาะสม มีอะไรบ้างที่เหมาะสมกับการใช้เทคนิค เพื่อ หล่อแม่พิมพ์ด้วยคอนกรีต 1.2 ผู้ออกแบบตัดสินใจอย่างไรกับข้อ 1.1 เพื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ 2.1 กรณีศึกษาเรื่ององค์ประกอบภาพ พื้นผิวและ สีสันของผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจ จากวิถีชีวิตท้องถิ่นที่ได้รับการยอมรับ มีอะไรบ้างและมีภาพลักษณ์อย่างไร 2.2 แบบร่างภาพลักษณ์ของผลงานสร้างสรรค์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตท้องถิ่น มีหน้าตาอย่างไร 3.1 หน้าตาต้นแบบงานเป็นอย่างไร 3.2 มีวิธีในการจัดทำโดยง่าย เพื่อการผลิตซ้ำ จำนวนมาก อย่างไร 3.3 มีวิธีในการบรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย อย่างไร เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของ ชุมชนเกาะสมุย

เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ การสังเกต,สัมภาษณ์

วิธีและการวัดผล ความถี่ที่สอดคล้อง

หมายเหตุอื่นๆ ปริมาณ

ตัดสินใจ

ทัศนะเฉพาะตัวของ ผู้ออกแบบ รสนิยมของนักท่องเที่ยว ต่างชาติ

คุณภาพ

การพัฒนาแบบร่าง

ทัศนะเฉพาะตัว ของผู้ออกแบบ

ปริมาณ

ทดลองทำแม่พิมพ์คอนกรีต และทดลองพิมพ์งานออกมา ทดลองทำหลายแบบ หลายครั้ง ทดลองทำหลายแบบ หลายครั้ง

รสนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และทัศนะเฉพาะตัวของผู้ออกแบบ ความถนัดมากกว่า ในการทำของชุมชน ความถนัดมากกว่า ในการทำของชุมชน

ปริมาณ

เสก็ตช์แบบร่าง

ตารางที่ 2. คำถาม และเครื่องมือการวัดผล

14

คุณภาพ

ปริมาณ ปริมาณ


ภาพที่ 5 แสดงภาพร่างของการสร้างสรรค์ต้นแบบของที่ระลึกเพื่อชุมชนเกาะสมุยเข้มแข็ง ที่มา : กล้อง Ricoh Caplio GX-100

ภาพที่ 6-9 แสดงขั้นตอนการสร้างสรรค์ต้นแบบของที่ระลึกเพื่อชุมชนเกาะสมุย

15


ภาพที่ 10 ผลงานต้นแบบของที่ระลึกเพื่อชุมชนเกาะสมุยที่เสร็จสมบูรณ์

กล่าวโดยสรุปของกระบวนการสร้างสรรค์ต้นแบบของที่ระลึกเพื่อชุมชนเกาะสมุยเข้มแข็ง จะสังเกตได้ว่าจะได้ รูปธรรมของระเบียบและวิธีปฏิบัติในแต่ละเรื่องที่มีลำดับชัดเจนมากขึ้น โดยเป็นขั้นเป็นตอนที่สัมพันธ์กันทั้งหมดในลักษณะที่เป็น เหตุเป็นผลแก่กัน และสนับสนุนกันเชิงตรรกะอย่างมาก และเป็นหลักการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในขั้นของการรวบรวมข้อมูล ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการหาข้อสรุปและพิจารณาให้ได้กรอบ เกณฑ์ และแนวทางในการออกแบบนั้น จะได้มาจากการแตก ประเด็นของคำถามดังกล่าวด้วยระเบียบวิธีวิจัย ดังนั้นสมมติฐานที่คาดในการศึกษาหรือแนวทางภาพร่างของการสร้างสรรค์ที่ อาจจะเกิดพร้อม ๆ กันระหว่างทำการศึกษาหรือเกิดก่อนก็ตาม จึงเป็นทัศนะที่สำคัญในการให้อิทธิพลต่อกระบวนการจัดรูปร่าง ความคิด แรงบันดาลใจและแนวทางของงานสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก เพราะประกอบไปด้วยองค์ประกอบศิลป์ ทัศนะเฉพาะตัว หรือมุมมองที่สะท้อนรสนิยมของผู้สร้างสรรค์ และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ชี้ถึงคุณสมบัติของคุณภาพในงานออกแบบที่จะเกิด ตามมาได้อีกลักษณะหนึ่ง และหาใช่แต่เพียงการชี้คุณสมบัติด้านวิชาการในลักษณะระเบียบวิธีวิจัยเท่านั้น จึงอยากจะขอทิ้งท้าย เอาไว้ถึงกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการสร้างสรรค์นั้น ควรจัดเก็บและเรียบเรียงได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยอาศัยหลักการ พื้นฐานแบบเหตุและผลเบื้องต้น ในขณะที่ ใช้แรงบันดาลใจรสนิยมและลักษณะเฉพาะตัวด้านทัศนะหรือมุมมองต่าง ๆ ในการ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นคุณภาพที่สามารถใช้บ่งชี้งานสร้างสรรค์นั้นได้ตาม ทัศนะของข้าพเจ้า บรรณานุกรม ข้อมูลตัวอย่างชุมชน เทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ, เอกสารประกอบการนำเสนอ การสัมมนาและปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน, 18 มีนาคม 2552.

16


ผลงานศิลปะและการออกแบบ ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

17


หิ้ง... บูชา

แนวคิดในการนำไม้เก่าที่ผ่านกาลเวลามาประยุกต์ใช้ กับความเชื่อทางวัฒนธรรมชุมชนเพื่อความเคารพ โดยไม่ประสงค์ที่จะตั้งพระ หรือสิ่งสักการะอื่นใดที่เป็นรูปปั้น รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

18


ดำ - ขาว หมายเลข 1 ดำ - ขาว หมายเลข 2

เทคนิค Drawing-Cutting ขนาด 21 x 30 ซม. งานภายใน สมัยใหม่ สะอาด เกลี้ยงเกลา บนความสับสนชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร วิวรรธกะ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

19


แบบร่างบนกระดานดำ

เทคนิค สื่อผสม • ขนาด 260 x 140 ซม. ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลายประเภท การกำหนดแบบร่างเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ นักสร้างสรรค์ย่อม ขีด เขียน แสดงแนวคิด และกำหนดรูปทรงลงในแบบร่าง เพื่อให้เกิดลงตัวในความงาม ตามความคิด และจินตนาการเฉพาะตน ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอมาว่า กระบวนการกำหนดแบบร่างทุก ๆ ครั้ง อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด จินตนาการ ของนักสร้างสรรค์จะถูกถ่ายทอดสู่แบบร่างอย่างมหาศาล ซึ่งอาจจะมากกว่าการสร้างสรรค์ผลงานจริง หรือ ความจริง ผลงานจริงอาจเป็นแค่การจำลองตามแบบร่างเท่านั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เทิดศักดิ์ เหล็กดี ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

20


บันทึก เทคนิค ปากกาบนกระดาษ อาจารย์ สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

21


1

PHUPATRA อ่าวนางรีสอร์ท จังหวัดกระบี่ (1)

ศึกษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน จังหวัดกระบี่ แล้วนำมาประยุกต์เป็นศิลปะการตกแต่ง ตลอดจนการออกแบบภายในและสถาปัตยกรรม ให้ประสานสัมพันธ์เข้ากันอย่างเป็นเอกภาพ โดยทุกชิ้นทุกอนูในโครงการ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์และวัสดุท้องถิ่นทั้งสิ้น อันมีผลในการเพิ่มรายได้แก่ชุมชน เกิดงบประมาณหมุนเวียน อีกทั้งการออกแบบทุกส่วนสอดคล้องกับภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ และสังคมที่ตั้งอย่างกลมกลืน และยังสามารถสร้างแลนด์มาร์คให้กับชุมชนได้อีกด้วย อาจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

22


4

3

2

WOW BANGKOK สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร (2)

ศึกษางานศิลปะยุค 2002 ปรับปรุงอาคารพานิชย์หลังเก่าให้เป็นโรงแรมขนาดเล็ก โดยออกแบบให้เป็นเหมือนแหล่งท่องเที่ยวขนาดย่อม และแลนด์มาร์คใหม่ของชุมชนในเมืองหลวง ตลอดจนนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ด้านศิลปะประเพณี และวรรณกรรมของกรุงเทพมหานคร บันทึกไว้ในการออกแบบทั้งโครงการ

THAI KK (3)

ออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน โดยได้แรงบันดาลใจมาจากการผลิตสติกเกอร์และม้วนกระดาษของ THAI KK นำมาเกิดผลเป็นไอเดียในการออกแบบลักษณะ INFINITY LINE สะท้อนการผลิตของ THAI KK ที่ยั่งยืน

YLC นครศรีธรรมราช (4)

การพับกระดาษและสูตรของ DIMENTION ขนาดสัดส่วน เป็นกระบวนทัศน์ในการออกแบบที่สามารถต่อเนื่องกัน ระหว่างภายนอกและภายใน ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม วิถีชีวิต และระบบการซื้อขายธุรกิจนำมาออกแบบโครงการโชว์รูม วัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง รูปลักษณ์อาคารมาจากการเล็งองศาดวงอาทิตย์ ดินฟ้าอากาศ และมรสุม ประกอบกับหลักของฮวงจุ้ยสมัยใหม่ ให้โครงการเป็นแลนด์มาร์คของชุมชนและยังคงสอดคล้องกับสังคมด้วย

23


2

1

3

4

5

24


หัว “ก”ระบือ (1)

(“Head”…water buffalo) เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) • ขนาด 40 x 30 ซม. เป็นความประทับใจจากประเพณีของท้องถิ่น ได้แก่ การชนกระบือ ด้วยการลดทอนความรุนแรงและความสมจริง ของประเพณีดังกล่าว ด้วยการนำเสนอภาพของศีรษะกระบือเพื่อให้เหมาะกับเทคนิค และความสามารถในการผลิตซ้ำ ของชาวบ้านชุมชนเกาะสมุยได้อย่างง่ายด้วยตนเองได้ ให้เป็นภาพขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเรียกราคาได้สูง จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สนใจ

ผ่อนคลาย (2)

(Relax) เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) • ขนาด 20 x 30 ซม. เปลี่ยนเทคนิค เนื้อหาและวิธีการเพื่อต้องการสื่อความรู้สึกให้มีความเป็นพื้นบ้านมากขึ้น โดยนำเสนอภาพอิริยาบท ที่ผ่อนคลายของกระบือคู่ในธรรมชาติของสมุย ด้วยการขีดเขียนและแกะไปตามเทคนิคปกติของงานภาพพิมพ์แกะไม้ เพื่อให้เหมาะกับเทคนิคและความสามารถในการผลิตซ้ำของชาวบ้านชุมชนเกาะสมุยได้อย่างง่ายด้วยตนเองได้

วิถี (3)

(Life Way) เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) • ขนาด 20 x 30 ซม. เปลี่ยนเทคนิค, เนื้อหาและวิธีการเพื่อต้องการสื่อความรู้สึกให้มีความเป็นพื้นบ้านมากขึ้น โดยนำเสนอภาพวิถีของ หมู่กระบือในธรรมชาติของเกาะสมุยด้วยการขีดเขียนและแกะไปตามเทคนิคปกติของงานภาพพิมพ์แกะไม้ เพื่อให้เหมาะกับเทคนิคและความสามารถในการผลิตซ้ำของชาวบ้านชุมชนเกาะสมุยได้อย่างง่ายด้วยตนเองได้

ชน (4)

(Crashing) เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) • ขนาด 20 x 60 ซม. เป็นความประทับใจจากประเพณีของท้องถิ่น ได้แก่ การชนกระบือ ด้วยการลดทอนความรุนแรงและความสมจริง ของประเพณีดังกล่าว ด้วยการนำเสนอภาพของศีรษะกระบือเพื่อให้เหมาะกับเทคนิค และความสามารถในการผลิตซ้ำ ของชาวบ้านชุมชนเกาะสมุยได้อย่างง่ายด้วยตนเองได้ ให้เป็นภาพขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเรียกราคาได้สูง จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สนใจ

ทิวสมุย (5)

(Sammui Scape) เทคนิค ภาพพิมพ์แกะไม้ (wood cut) • ขนาด 20 x 60 ซม. ทดลองร่างภาพทิวทัศน์สมุยอย่างง่าย จากการลดทอนประสบการณ์ด้วยอารมณ์และจินตนาการเฉพาะของศิลปิน ผู้ออกแบบ โดยการลากเส้นไม่ยกปากกาเพียงครั้งเดียว อย่างรวดเร็วฉับพลัน เพื่อเก็บภาพในใจได้ทันที โดยนำเสนอ เพื่อให้เหมาะกับเทคนิคและความสามารถในการผลิตซ้ำของชาวบ้านชุมชนเกาะสมุยได้อย่างง่ายด้วยตนเองได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

25


1 2

ชมนก ชมไม้ (1)

(Chom Nok - Chom Mai) เครื่องเรือนใช้ภายนอกอาคาร แรงบันดาลใจจากพื้นที่ว่าง (Space) ร่มเงายามเย็นแดดร่มลมตก “ชมนก ชมไม้” ที่นั่งผิวสัมผัสของไม้เก่า หมุนได้รอบตัวบนฐานคอนกรีต โครงสร้างโลหะปลอดสนิมกรุตาข่ายโลหะ ถักทอด้วยกิ่งก้านชาฮกเกี้ยน (ชาดัด)

กินรี (2)

(Kinnaree) การเคลื่อนไหวร่างกายที่นุ่มนวลแม่นยำ ความวิจิตรตระการตาแห่งการร่ายรำที่อ่อนโยนประณีต กินรีสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่ปรากฏกายเสริมเสน่ห์เรื่องราววรรณกรรม นาฏศิลป์ สถาปัตยกรรมให้ครบองค์ประกอบแห่งความงาม “กินรี” เครื่องเรือนจักสานลีลาการต้อนรับในงานออกแบบตกแต่งภายใน อาจารย์ กศิตินทร ชุมวรานนท์ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

26


ตูม

(Toom) เทคนิค สื่อผสม เหล็ก ไม้ กระดาษ ดอกไม้สด • ขนาด 60 x 60 x 180 ซม. ตูม แปลว่า ไม่บาน ไม่คลี่ ไม่ขยายออก อริยมรรคองค์แปด ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ อาจารย์ พัฒนา เจริญสุข ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

27


บทความ แสงไฟกับ Lighting

การเขียนบทความตีความหมายแสดงความเป็นตัวตน E27 MAX 100W • ขนาด 65 x 45 ซม. 60W-100 incandescent light bulb แสงไฟ กับ Lighting คำ คำนี้ ต่างกัน หลังจากได้พบตัวตนของความแน่แท้ จากเหล่าผู้รู้ มากประสบการณ์ ด้วยกาลเวลา แสงไฟ ปรากฏ ความชัดเจนต่อเมื่อวัยเยาว์ วัยเจริญ วัยเรียนรู้ แสงไฟมอดลง เมื่อทุกอย่างเริ่มขึ้นสู่กาลเวลาที่สูงขึ้น แล้วพลันหยุดนิ่ง ความจริงแท้ผ่านมวลของประสบการณ์ผ่านชั้นบรรยากาศ บรรยายความหมายของ Lighting จากเหล่า Designers รับรู้ถึงความสวยงาม ความโชกโชน และความกดดันของชั้นบรรยากาศที่ยิ่งสูง ถึงระดับที่ความกดอากาศน้อย ย่อมหายใจลำบาก สำคัญนัก แสงไฟ และ Lighting อาจารย์ สุคนธรส คงเจริญ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน

28


“วังนํ้าเขียว ชุมชน อารมณ์ อนามัย”

โครงงานเพื่อการพัฒนาชุมชน วังนํ้าเขียว จ.นครราชสีมา เเนวงาน ออกเเบบเค้าร่าง จินตภาพ วิถีประชา เพื่อพัฒนานโยบาย สู่ความเป็นชุมชนที่เเข็งเเกร่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์

29


เรารักศิลปากร

ตราสัญลักษณ์ โปสเตอร์ ขนาด 16x24 นิ้ว โปสการ์ดขนาด 4x6 นิ้ว และภาพยนตร์โฆษณา ความยาว 3 นาที • เทคนิค โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Illustrator, iMovie ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์

30


ที่มาของโครงการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ถือเป็นจุดกำเนิดศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทย เป็นสถาบันที่ผลิต ศิลปินและนักออกแบบไทยมายาวนานกว่า 65 ปี เป็นชุมชนทางการศึกษาด้านศิลปะที่ประกอบด้วยบุคคลากร หลากหลาย ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ของคณะวิชาสำคัญ ๆ ที่เปิดสอน ทางศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรม คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางต่างๆ ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ ถึง 7 แห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี หอประติมากรรมต้นแบบ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ หอศิลป์พระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ และสวนประติมากรรมกลางแจ้งสวนแก้ว จึงอาจกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น ศูนย์กลางแห่งศิลปะวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ยังมีปัญหา ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง อาทิ ปัญหาความสะอาด ปัญหาการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ใน มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย และผิดระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ในขณะที่มหาวิทยาลัยได้ ประกาศตนเองว่าเป็นมหาวิทยาลัยสีขาว ที่ปลอดสุราและอบายมุขต่าง ๆ แต่ปัญหาดังกล่าวก็ถูกเพิกเฉยและ ไม่ได้รับการใส่ใจ โดยขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนอยู่ ไม่คำนึงถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ของคนร่วมชุมชน และภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาของตน วัตถุประสงค์และแนวทางการสื่อสาร โครงการนี้ได้มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่นักศึกษาโดยเฉพาะ โดยมีแนวทางในการสื่อสารโดยใช้สาระ สำคัญ (Key Message) ว่า “เรารักศิลปากร” เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการกระทำ ต่าง ๆ ของตน ที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง ผู้อื่นที่อยู่ในชุมชน และมหาวิทยาลัยซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ้าน ของกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ร่วมกันกับพี่น้องคนอื่น ๆ และเมื่อเกิดความรักต่อสถาบันเหมือนรักบ้านของตนแล้ว คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในทางที่ดีขึ้น การสื่อสารในสื่อโปสเตอร์ จะใช้สิ่งต่าง ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายรู้จักคุ้นเคยเช่น คำพูดของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวศิลปากรให้ความเคารพนับถือ เนื้อเพลงประจำมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่ประเด็น ปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องความสะอาด การดื่มสุราและสูบบุหรี่ ในมหาวิทยาลัย ด้วยคำพูดในเชิงเตือนใจและให้ข้อมูล ประกอบพร้อมกับปิดท้ายด้วยตราสัญลักษณ์ “เรารักศิลปากร” เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้คิดว่าจะสามารถ ทำอะไรที่ดีขึ้นให้แก่ชุมชนของตนแห่งนี้ได้บ้าง การสื่อสารในภาพยนตร์โฆษณา จะนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมาย เห็นถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัย ศิลปากร ด้วยข้อความต่าง ๆ จากนั้นจึงตามด้วยภาพถ่ายภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการนำเสนอปัญหา เรื่องความสะอาด ประกอบกับเพลงศิลปากรนิยม ซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันระหว่างภาพและเนื้อหาของ เพลง ที่กล่าวว่าศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งสวยงาม ลงท้ายด้วยคำถามว่าเราจะทำอะไรให้กับมหาวิทยาลัยได้บ้าง และ ตราสัญลักษณ์ เรารักศิลปากร สำหรับโปสการ์ด ออกแบบโดยใช้สิ่งที่นักศึกษาที่อยู่ในวัยรุ่นน่าจะชื่นชอบ โปสการ์ดนี้สามารถนำไป ตัดและประกอบเป็นตุ๊กตาเด็กชาย-หญิงได้ ซึ่งบนเสื้อของตุ๊กตามีตราสัญลักษณ์ เรารักศิลปากร เพื่อเป็นการ ประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักในวิธีที่นุ่มนวล ไม่ให้โครงการมีลักษณะที่เคร่งเครียดจริงจังมากนัก

31


สัญลักษณ์สู่ความสงบ

เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ • ขนาด 50 x 80 ซม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพจน์ สิงห์สาย ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์

32


เฟืองช่วยสอน

เทคนิค ดิบเถื่อนแต่จริงใจ • ขนาด 38 x 28 x 3.5 ซม. อยู่ด้วยกัน ช่วยกัน ไปด้วยกัน สามัคคีกัน ติดขัดบ้าง ก็แคะ ก็แกะ ก็ล้าง จะได้ไม่หยุดเดิน (ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เฟืองจาก คุณปุ๊ ร้านโฟโต้ก็อปปี้ ชั้น 1 คณะมัณฑนศิลป์) อาจารย์ โกศล สุวรรณกูฏ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์

33


1

34


2

การออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่กับการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สู่ชุมชน (1)

เทคนิค ลายเส้นปากกา • ขนาด 84 x 125 ซม. การออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่รูปทรงและประโยชน์ใช้สอย (Form & Function) ในสินค้าประเภทงานเฟอร์นิเจอร์ ของใช้และของตกแต่งบ้าน รวมทั้งของที่ระลึก

กระดานเขียนแบบราคาถูก (2)

เทคนิค วัสดุและชิ้นงานจริง 3 มิติ • ขนาด 40 x 60 x 80 ซม. (รวมขาตั้งโชว์) การประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ มาทำการดัดแปลงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นในกรณีการออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบนี้ อาจารย์ ดร. รัฐไท พรเจริญ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์

35


ระยะ

เทคนิค การดัดไม้ • ขนาด 180 x 57 x40 ซม ระยะห่างของคนแปลกหน้า และคุณสมบัติการยืดหยุ่นของไม้ อาจารย์ อินทรธนู ฟ้าร่มขาว ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์

36


วิญญาณของภูเก็ต หมายเลข 1 ไทยหัว-อดีตที่มีชีวิต

(THE SPIRIT OF PHUKET – I) เทคนิค สื่อผสม • ขนาด 37.5 x 55 ซม. จุดรวม 3 วัฒนธรรม ไทย + มาเลย์ + จีนฮกเกี้ยนปนโปรตุเกส ทำให้เมืองนี้มีเสน่ห์ประหลาดไม่เหมือนที่ใดในโลก รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชมุนี ภาควิชาประยุกศิลปศึกษา

37


สีเขียวคือ พระอินทร์

เทคนิค ภาพเขียนสีให้ดูใส ๆ สดชื่น • ขนาด 40 x 60 ซม. พระอินทร์ท่านมีสีเขียวอยู่กับองค์ บวงสรวงฟ้าดินให้ฝนตก ก่อนฝนมาฟ้าก็ร้อง กบก็ส่งเสียงก้อง ว่าทางฟ้าจะให้ดินได้ชื่น ความหวังจึงอยู่ที่ความงอกงามของพืชสีเขียว ๆ จึงให้ชีวิตแก่ผู้คนผู้คนต้องรู้คุณของฟ้าดิน และฝากขอกับพระอินทร์ท่าน อาจารย์ สุรศักดิ์ รอดเพราะบุญ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

38


โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบสู่ชุมชน ในสังคมเกษตรกรรมไทยโดยทั่วไป ความเป็นมาและความสำคัญ ในฐานะที่คณะมัณฑนศิลป์ เป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและการออกแบบ ซึ่งส่วนหนึ่ง โดยวิธีการเรียนการสอนได้เน้นถึงพื้นฐานการเรียนรู้ และแทนค่าความงามออกมาเป็นงานสร้างสรรค์ใด ๆ มักจะมี แง่มุมสะท้อนจากปัจเจกชนขึ้นมา แต่ทั้งนี้ก็ย่อมถูกหล่อหลอมด้วยสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมกับสังคมเป็นส่วนผสม อยู่เสมอ ในฐานะที่ประเทศชาติของเรา พลเมืองส่วนใหญ่ของเราเป็นสังคมเกษตรกรรม สังคมชนบทของเรามี รากฐานในวัฒนธรรมและสิ่งสืบเนื่องต่าง ๆ เป็นของเราเอง จนวันนี้เรามีการรื้อฟื้นและมีทางเลือกของวิธีคิดทาง เกษตรกรรมจนเกิดผู้ที่เป็นปราชญ์ชุมชนอยู่พอควร ผมจึงอยากให้สื่องานศิลปะได้ถ่ายทอดว่า เราระลึกถึงสิ่งที่เป็น แก่นสารของการงานอาชีพในวัฒนธรรมของเรา คือ เกษตรกรรม ที่กำหนดให้เราได้เป็นผู้รู้จักให้และเป็นผู้ให้ จาก ความอุดมสมบูรณ์ที่ธรรมชาติและภูมิธรรมปัญญาของบรรพบุรุษเรา แนวความคิดของเราที่มีสังคมเกษตรกรรมอยู่ใน ชนบทของเราต้องอยู่คงคู่ประเทศของเราต่อไป เพื่อสื่อถึงเกียรติอันยิ่งใหญ่ของการพึ่งพาตนเองได้และพอเพียง ดัง พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดผืนดินสีเขียวอันอุดมสมบูรณ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ ต้องการนำเสนอโครงการผลงานสร้างสรรค์เพื่อนำเสนอต่อชุมชนในสังคมชนบทโดยทั่วไปเป็นสังคมที่มี เกียรติยศและมีค่าในฐานะที่เป็นผู้ให้ อยากจะให้คนในสังคมเมืองโดยทั่วไป ได้นึกถึงบุญคุณ นึกถึงวัฒนธรรมและสิ่ง ที่ดีงามที่มีอยู่ในสังคมชนบท ตามโครงสร้างชุมชนฯ ในสังคมเกษตรกรรมของประเทศไทย ขอบเขต สร้างงานศิลปะ 2 มิติ ในลักษณะรูปแบบศิลปกรรมไทยที่นำมาจัดวางในผลงานแบบกราฟฟิกที่มีมาแต่เดิม ของไทย ตามความรู้สึกของการจัดวางองค์ประกอบภาพแบบร่วมสมัย เพื่อติดตั้งแสดง ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการยกย่องและให้เกียรติแก่ชุมชนเกษตรกรรมของเราโดยทั่วไป

39


ปิดทองหลังพระ

(Gold behind the scene) เทคนิค เย็บ ปัก ปะ ผ้า • ขนาด 99 x 299 ซม. ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจมาจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2506 ความว่า “…การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้น จะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง ที่พูดเช่นนี้เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ค่อยชอบ ปิดทองหลังพระกันนักเพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคน พากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้…” ข้าพเจ้าเชื่อว่า สังคมชุมชนใดก็ตาม จะเข้มแข็งไม่ได้ หากคนในชุมชนนั้นขาดคุณธรรม ขาดสามัคคี ขาดความรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่และขาดความเสียสละต่อส่วนรวม อาจารย์ พรพรม ชาววัง ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

40


โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบสู่ชุมชน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ความเป็นมาและความสำคัญ “…ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัล หรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและ ประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองของเรา อยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง…” (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัย เทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2530) คณะมัณฑนศิลป์ จัดตั้งเมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นคณะที่ 4 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเปิดสอน 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน การออกแบบนิเทศศิลป์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ประยุกตศิลปศึกษา เครื่องเคลือบดินเผา การออกแบบเครื่องประดับ และการออกแบบเครื่องแต่งกาย ปัจจุบันมีอาจารย์ ประจำ 74 คน เจ้าหน้าที่ 55 คน นักศึกษาปัจจุบันรวมทุกสาขาวิชา 1,066 คน วัตถุประสงค์ การถ่ายทอดศิลปกรรมสู่ชุมชนในครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีเป้าหมายเพื่อชุมชนใกล้ตัวของข้าพเจ้า นั่นคือ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหวังว่างานศิลปะจะเป็นสื่อที่ช่วยจรรโลงความรู้สึก ให้กำลังใจแก่ข้าราชการและ คนไทยทุกคนผู้เป็นข้าฯ แผ่นดิน ให้พึงรักและหวงแหน รับใช้แผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความเพียรอันบริสุทธิ์ เชื่อมั่นในคุณธรรม มีความเสียสละ รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีจรรยาบรรณต่ออาชีพของตนอย่างดีที่สุด ขอบเขต สร้างงานศิลปะ 2 มิติ เพื่อติดตั้งแสดง ณ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เกิดความสุข ความเข้มแข็งของชุมชนและประเทศชาติในยามนี้

41


ชุมชนคนมัณฑนศิลป์เข้มแข็งในวัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ เทคนิค ภาพถ่ายจากของจริงไม่ตกแต่งภาพ

แรงบันดาลใจ วัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ เป็นเสมือนดับเบิ้ลอภิมหาโปรแกรมการวิจัยชุมชนอันยิ่งใหญ่ที่สุด ในความเป็นจริงทางพระพุทธศาสนา ที่ได้รวบรวมข้อมูลของเหตุและผล ในการได้รับสิทธิเข้าอยู่ในแต่ละชุมชนย่อยที่รวมเป็นชุมชนใหญ่ มิได้ขึ้นกับความพอใจในดีไซน์ หรืองบประมาณที่มีอยู่ เหมือนการเลือกซื้อบ้านทั่วไป ทุกหน่วยชีวิตสามารถเลือกเข้าภพภูมิไหนก็ได้ ตามกรรมหรือการกระทำของตนเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เท่านั้น ซึ่งกรรมจะสร้างสรรค์ปั้นแต่งชีวิตออกมาเป็นรูปทรงทางกายภาพที่กำหนดสภาพความเป็นอยู่อันแตกต่าง มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตน ข้าพเจ้าพบว่า ตนเองได้มาเกิดในโลกเบื้องกลาง เป็นมนุษย์คนหนึ่งในชุมชนคนมัณฑนศิลป์ที่เข้มแข็ง เพราะรักศิลป์ สร้างศิลป์บูชาธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดมา ได้อนุโมทนากับการบวช มีการทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ให้ทานแก่คนยากจน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา และได้มีโอกาสศึกษาวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้าที่ช่วยเสริมความเข้าใจชีวิตในวัฏสงสารยิ่งขึ้น ข้าพเจ้ารวบรวมภาพถ่ายของชุมชนย่อยมาได้ส่วนหนึ่ง พอเป็นตัวอย่างให้ทุกท่านเกิดความสนใจ เพื่อศึกษาที่มาที่ไปของตนเอง ทราบวิธีหรือเคล็ดลับการออกแบบชีวิต เพื่อจับจองภพภูมิที่ต้องไปอยู่ต่อไปในชาติหน้าได้ง่ายขึ้น (เอกสารอ้างอิง หนังสือพระไตรปิฏกเรื่องโลกทีปนี) อาจารย์ บวรรัตน์ คมเวช ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

42


ดอกสาละ

เทคนิค เกรยอง • ขนาด 42 x 59 ซม. ดอกสาละดอกไม้ในสมัยพุทธกาล อาจารย์ อิทธิพล วิมลศิลป์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

43


ม้า….หมี่

เทคนิค ทอ:มัดหมี่ซ้อน • ขนาด 100 x 200 ซม. จากหมู่บ้านต้นแบบ หมู่บ้านหนองลิง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี พื้นฐานเดิมของกลุ่มเป็นการทอผ้าพื้น ผ้าลายทางธรรมดา สีสันตัดกันสดใส ทอเป็นผ้าหน้ากว้างสามารถเป็นผ้าคลุมไหล่ และสามารถนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าได้ การออกแบบ คงเน้นความเอกลักษณ์ของความเป็นหมู่บ้าน คงความสดใส ใส่สีสันของเส้นยืน และลวดลายของผ้ามัดหมี่แบบดั้งเดิม นำมาผสมผสานกัน คงซึ่งความเป็นผ้าขาวม้า ผ้าลายทาง ลายตาราง คงซึ่งความเป็นผ้ามัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์ คง...นำผ้าขาวม้า...บวกเข้ากับความเป็นผ้ามัดหมี่... อาจารย์ ประภากร สุคนธมณี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

44


ปลากลาย...เป็นความหวัง

เทคนิค เหล็ก • ขนาด 200 x 90 ซม. ปลาเป็นสัตว์ที่ไม่เคยย่อท้อต่อความลำบากต้องต่อสู้กับกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เป็นสัตว์นักสู้โดยกำเนิดตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้าย ถึงแม้จะเป็นเดรัจฉานมันก็มีความมุ่งมั่นอดทน บางทีมันอาจเป็นแรงบันดาลใจเป็นประกายแห่งความหวังให้มนุษย์มีความอุตสาหะ พยายามเพื่อความสำเร็จอย่างไม่ย่อท้อ อาจารย์ วรภรรท สิทธิรัตน์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา

45


ดอกไม้

(Flowers) 1 ชุด (6 ชิ้น) • เทคนิค Porcelain • เส้นผ่าศูนย์กลาง 14-18 ซม. ความสูง 17-25 ซม. “ดอกไม้งาม ต้นไม้งาม ชุมชนเข้มแข็ง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกา ปาลเปรม ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา

46


สับสน

เทคนิค สื่อผสม • ขนาด 122 x 62 x 25 ซม. การนำ การปฏิบัติที่สับสนก่อเกิดวิกฤต การตายถูกละเลย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเสริฐ พิชยะสุนทร ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา

47


incubator 2

ขนาด 20 x 30 x 20 ซม. ธรรมชาติเป็นที่บ่มเพาะของสรรพชีวิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สืบพงศ์ เผ่าไทย ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา

48


ถ้วยเทียน

(Candle cup) 1 ชุด (5 ชิ้น) • เทคนิค ceramic • ขนาด 7.5 x 7.5 x 2.5 ซม. โครงการออกแบบ ถ้วยเทียนบูชาพระเจดีย์ วัดป่าสุนันทวนาราม ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อสอดคล้องกับแนวความคิดเกี่ยวกับการบูชา เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา ได้ออกแบบภาชนะใส่เทียน จากรูปทรงของดอกบัวมาเป็นสัญลักษณ์เพื่อการน้อมบูชาคุณพระรัตนตรัยด้วยดวงประทีป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรธนา กองสุข ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา

49


Donation box

เทคนิค สื่อผสม • ขนาด 23 x 23 x 45 ซม การที่เราขัดสนหรือไม่มีสิ่งใด อาจเป็นเพราะเราละเลยการให้สิ่งนั้นกับผู้อื่น การให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนงานศิลปะที่มีความงาม และมีคุณค่าอยู่ในความทรงจำเสมอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณณา ธิธรรมมา ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา

50


นกเอี้ยง

(Asian Pied Starling) วัสดุ เงิน ถ่านไม้ไผ่ • ขนาด 6 x 7 x 2 ซม. เกิดเป็นควายไถนา ยังดีกว่าเป็นครูไถคน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูวนาท รัตนรังสิกุล ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

51


การพัฒนาแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับนิล (ร่วมกับชุมชนคลัสเตอร์พลอยไพลิน นิลเมืองกาญจน์)

เทคนิค ภาพถ่ายตัดต่อ Digital Collage รายละเอียดของภาพ ภาพที่ 1-7 ภาพรวมผลงานผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาการออกแบบจากกลุ่มคลัสเตอร์พลอยไพลิน นิลเมืองกาญจน์ ภาพที่ 8 และ 9 เป็นภาพตัดแนวคิดและภาพผลงานทดลอง • ขนาด 30 x 40 ซม. อาจารย์ ดร. วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

52


นิล เป็นหนึ่งในอัญมณีที่ใช้ในงานเครื่องประดับ

และนิลก็เป็นสินแร่ที่มีมากในจังหวัด กาญจนบุรี จนเกิดธุรกิจเหมืองแร่ และการนำสินแร่เหล่านั้นมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์นิลเมืองกาญจน์มานานหลายทศวรรษ เพื่อให้เกิดการ พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้สามารถยืนหยัดได้ในธุรกิจโลกาภิวัตน์ กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม โดยสำนักงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริษัทที่ปรึกษา ซี คิว เอ็ม จำกัด โดยคุณศุภชาติ ผาติหัตถกร ได้ร่วมมือกับชุมชนผู้ประกอบกิจการค้านิล เป็นกลุ่ม “คลัสเตอร์พลอยไพลิน นิลเมืองกาญจน์” ได้จัดกิจกรรมเพื่อในโครงการให้คำปรึกษา เชิงลึก ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม และได้เชิญข้าพเจ้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ โดยการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูล ศึกษาสังเกตผลิตภัณฑ์ กิจกรรมของชุมชน และได้จัดบรรยายหัวข้อเรื่อง กลยุทธการออกแบบผลิตภัณฑ์ (เครื่องประดับ) (Indy-Versal Design Strategy) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้กลยุทธการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และยกระดับความ สามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบกิจการค้านิล หลังจากนั้นคณะที่ปรึกษาธุรกิจและกลุ่มผู้ประกอบการ ได้นำแนวคิดจากการบรรยายดังกล่าว ไปพัฒนารูปแบบและวิธีการจนเกิดเป็นผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ของกลุ่ม โดยได้นำผลงานไปจัดแสดงที่งาน “นวัตกรรมอุตสาหกรรม 2009” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และด้วยความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจเอกชน ทำให้เกิดกิจกรรมการจัดสัมมนา บรรยายเชิงปฏิบัติการ การแสดงสินค้าต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชน อย่างต่อเนื่อง 53


เศษชา

วัสดุ เนื้อดินพอร์สเลน โลหะเงิน ทองคำและใบชา • เทคนิค หล่อน้ำดินพอร์สเลน การขึ้นรูปโลหะเงิน ทองคำ และใบชา เมื่อใบชากลั่นออกมาเป็นน้ำ น้ำชาที่ออกมาจากส่วนลึกของใจ ใจที่ไม่เคยหยั่งถึงที่สุด ....ไม่เหลือเศษ...ชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

54


ล้มลุก

(Hammering) 1 ชิ้น ขนาด 5 x 5 x 5 ซม. ล้ม...ลุก อาจารย์ เพ็ญสิริ ชาตินิยม ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

55


เมือง.....

(City...) เทคนิค Mixed technique • ขนาด 53 x 45 ซม. สังคมสะท้อนวัตถุ หรือ วัตถุสะท้อนชีวิตทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจารย์ ภูษิต รัตนภานพ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

56


ใคร?

(The Outer?) เทคนิค การขึ้นรูปโลหะทองเหลือง ไทยทำ ใครใช้ ไทยเจริญ Made in Thailand: Thai Usage for Universal Users • Made in Thailand: Making Thainess to the outer hands อาจารย์ ศิดาลัย ฆโนทัย ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

57


ฉลุลาย ลายสลัก

(Rigid Motif) วัสดุ โลหะเงิน • เทคนิค การฉลุ การสลักดุน และการขึ้นรูปโลหะ ผลงานสืบสานรากเหง้าด้านทักษะการขึ้นรูปเครื่องประดับไทยโบราณ • The Continuity of the Artistic Root of Thai Craftsmanship อาจารย์ ชาติชาย คันธิก ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ

58


Happy dolls

นำวัสดุที่หาได้ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น หวาย เศษด้าย หรือ ของเล่น มาออกแบบเพื่อใช้เป็นประติมากรรม ติดผนัง เพื่อเพิ่มบรรยากาศภายในห้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย

59


กลมเกลียว ซ.สามัคคี

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก หมู่บ้านประชานิเวศน์ 3 ซึ่งเป็นชุมชนอยู่ในละแวกบ้าน ที่มีร้านตัดเสื้อผ้าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละร้านก็จะมีเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เหลือจากการตัดเย็บอยู่ ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดที่ว่าถ้านำเศษผ้าที่เหลือใช้แล้วเหล่านี้มาสร้างเป็นงาน อาจารย์ วรุษา อุตระ สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย

60


ประวัติผู้ร่วมแสดงนิทรรศการ ผลงานศิลปะและการออกแบบของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

61


รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร วิวรรธกะ

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Dip. (Industrial Design) Domus Academy Milan Italy. - M.F.A. (Interior Architecture) The school of the arts institute of Chicago, U.S.A. งานวิจัย - โครงการพัฒนารูปแบบเครื่องจักสาน เพื่อส่งเสริมการส่งออก (Design development of Thai wickerwork products for Export promotion) - โครงการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ประเภทเครื่องจักสานใบลาน (Design and develop Laan for Packaging) บทความ - Minimalism/IMF วารสารคณะมัณฑณศิลป์ - แสงในงานพิพิธภัณฑ์ (บันทึกจากความทรงจำ ครั้งที่ 1) ข่าวสารคณะมัณฑนศิลป์ ปีที่ 12– ฉบับที่ 59 ธันวาคม 2541 - The Art of Landscap บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2541 - Loft Elements บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - Interior Year 2000 แนะนำภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - บทความงานออกแบบในนิตยสาร DNA ปี 2545 - 2546 ฉบับที่ 24 - 33 ผลงานสร้างสรรค์ 2529 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกเกษตรรุ่งเรือง 2530 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกใบหยกทาวเวอร์1 44 ชั้น 2534 - ออกแบบตกแต่งภายในและปรับปรุง ส่วนหน้า สำนักงานยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ 2541 - ออกแบบตกแต่งภายใน งานปรับปรุง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2542 - ออกแบบเครื่องเรือน โครงการฝ้ายแกมไหม 2543 - ออกแบบเครื่องเรือนแสดงสินค้าในงาน TIFF 2001 - 2002 2544 - ออกแบบบ้านพักตากอากาศ หาดตะวันรอน พัทยา ชลบุรี ผลงานแสดงนิทรรศการ 2541 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 2542 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2543 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2545 - นิทรรศการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ BIG 2002 ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค 2546 - นิทรรศการแฟชั่นโชว์เครื่องประดับ หอศิลปะและการออกแบบ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาที่ทำการสอน 360 104 Basic Drawing II 361 107 Interior Graphics II 361 225 Project Presentation 361 202 Interior Design VI 361 203 Interior Design V (Sketch Design) 361 212 Interior Design IV 361 104 Interior Design III (Sketch Design) 361 104 Interior Design III (Project) 361 214 Research Methodology for Thesis Preparation 361 215 Art Thesis ประวัติแสดงผลงานบางส่วน การแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ปี 2540-2546

62


อาจารย์ สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เทิดศักดิ์ เหล็กดี ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (สาขาศิลปะไทย) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารงานวัฒนธรรม) วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรติประวัติทางศิลปะ 2548 ศิลปินรับเชิญใน นิทรรศการ The 1st Poucheon Asian Art Festival (PAAF2005) ณ Poucheon City ประเทศเกาหลี 2543 รางวัลประกาศเกียรติคุณ ศิลปกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทฟิลลิป มอร์ริส 2542 รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จิตรกรรมบัวหลวง (จิตรกรรมแบบไทย ประเพณี) โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. ออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานออกแบบตกแต่งภายใน - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม (ชั้นที่ 1) - หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.เพชรบุรี - ห้องสมุดหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา (ชั้นที่ 1) - ห้องสมุดชุมชนตำบลสามควายเผือก อ.เมือง จ.นครปฐม - พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา - บ้านตัวอย่างโครงการ Blue Lagoon ถ.บางนา-ตราด กรุงเทพมหานคร ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม - มณฑปพระอัฐิธาตุหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ต.นาเวียง อ.ทรายมูล จ.ยโสธร - สถูปเจดีย์สุวรรณนภาศรี วัดทุ่งเศรษฐี รามคำแหง 2 กรุงเทพมหานคร - พระบรมธาตุเจดีย์ศรีวนานุสรณ์ วัดป่าเขาดินวนาราม ต.หนองกุง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น - ร่วมออกแบบอุโบสถ วิหารและเจดีย์ สำนักสงฆ์ป่าอ้อร่มเย็น ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย โครงการกำลังดำเนินการออกแบบ - โครงการออกแบบตกแต่งบ้านพักอาศัย 3 หลัง คุณตวงหงส์ ลีลาประชากุล ม.พรสุข ซ.ลาซาล - โครงการออกแบบบ้านพักตากอากาศ คุณลักขณาและคุณธวัชชัย พงษ์ วิทยาธร จ.ภูเก็ต - โครงการออกแบบบ้านพักอาศัยชั้นเดียว คุณสุวิทย์ คุณกิตติ จ.ขอนแก่น - โครงการออกแบบปรับปรุง Mini Mall for Bookmark คุณแพว เสนาขันธ์ (หน้า ม.เกษตรศาสตร์) - โครงการออกแบบตกแต่งบ้านพักอาศัย 4 ชั้น (18ห้องนอน) คุณวิวัฒน์ สุวรรณนภาศรี ซ.สวนฝรั่ง

63


อาจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (เกียรตินิยม) ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตำแหน่งปัจจุบัน - หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - พิธีกรและผู้ร่วมผลิตรายการ “อยู่สบาย” ทาง NATION CHANNEL - พิธีกรรายการ “เรารักษ์กรุงเทพ” ทาง TTV 2 - พิธีกรรายการ “DESIGN NEWS” ทาง NATION CHANNEL - ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านการออกแบบและผังเมือง ของศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผลงานที่ผ่านมาบางส่วน - พ.ศ. 2549 เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “ร้าว รั่ว ร้อน” “ทีหลังอย่าทำ” “รู้ทันช่าง” - ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทข่าวการออกแบบภายใต้ชื่อ “อยู่สบาย Design News” ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 21.00-22.00น. ทาง TTV 1 NATION CHANNEL - พ.ศ. 2550 เขียนหนังสือ “Terrazzo” - พ.ศ. 2550 เป็นคอลัมนิสต์ นิตยสาร@ kitchen, นิตยสาร Wallpaper, นิตยสาร Home care, นิตยสาร CASAVIVA , นิตยสาร Better Shop, นิตยสาร Franchise Focus, นิตยสาร Honeymoon Travel, นิตยสาร Inspire-Intrend, นิตยสาร smestoday, นิตยสาร Being Bangkok - พ.ศ. 2551 เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “แต่งร้านให้ได้ล้าน 3” - รางวัลออกแบบบูทดีเด่นประเภทออกแบบเข้ากับ THEME ในงานสถาปนิก50 การศึกษาดูงานต่างประเทศ - รับเชิญเข้าร่วมอบรมและบรรยายพิเศษ ของบริษัท BLUM ณ ประเทศออสเตรีย พ.ศ. 2545-2552 (ทุกปี) - รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านการตกแต่งระดับโลก มิลานแฟร์ ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2552 (ทุกปี) - ได้รับเชิญจากบริษัท Lighting Endoนำเสนอผลงานและบรรยายพิเศษ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น - เข้าร่วมบรรยายและดูงานออกแบบดวงโคม ที่ประเทศญี่ปุ่น - ได้รับเชิญจากบริษัท TOTO เข้าร่วมบรรยายและศึกษาดูงาน และพบปะ นักออกแบบ, สถาปนิก ณ ประเทศญี่ปุ่น - รับเชิญให้ไปศึกษาดูงานจากบริษัท ชไนเดอร์ อิเลคทริค ประเทศฝรั่งเศส - รับเชิญให้ไปศึกษาดูงานด้านการก่อสร้าง ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ - ได้รับเชิญให้เข้าร่วมศึกษาดูงานและสัมภาษณ์ผู้บริหาร ของบริษัทมีเดีย ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน - รับเชิญจากกลุ่มสินค้าเครือซีเมนต์ไทย ศึกษาดูงาน ที่ประเทศเยอรมัน

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - อดีตนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาวิจัยสภาพแวดล้อม ภายใน รุ่น 1 สจล. - นักศึกษามหาบัณฑิต (การออกแบบภายใน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รุ่นที่ 2

64


อาจารย์ กศิตินทร ชุมวรานนท์

อาจารย์ พัฒนา เจริญสุข

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master in Design del prodotto d’arredo, Florence, Italy รายวิชาที่ทำการสอน - Furniture Design I, II, III - Computer Aided Design I, II - Interior Design III, IV ประวัติการแสดงงาน - ชนะเลิศรางวัลที่ 1 ระดับประเทศการประกวดออกแบบหอไอเฟลใหม่ใน โอกาสฉลอง ครบรอบ 100 ปี หอไอเฟล, 2533 - แสดงงาน ณ ห้องทาวน์-ฮอลล์ ชั้น 2 หอไอเฟล กรุงปารีส, ฝรั่งเศส, 2534 - รางวัลชมเชยประกวดออกแบบหอคอย กรุงเทพฯ, 2545 - รองชนะเลิศประกวดออกแบบโคมไฟระดับนานาชาติ, อิตาลี, 2546

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2531-2534 - บริษัทเอกชนย่านทองหล่อ 2534-2544 - บริษัท เดคคอเรท แอททรีเรีย จำกัด คุณสมชาย จงแสง ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออก Asst. Design director 2544-2552 - ประกอบอาชีพมัณฑนากรอิสระ 2549-2551 - อาจารย์พิเศษ วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ ภาคปลาย 3 ปีการศึกษา ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

65


อาจารย์ สุคนธรส คงเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาที่ทำการสอน - Professional Special Project - Visual Communication Design II, - Design Process and Technology ผลงานออกแบบบางส่วน - Retouch ท.ท.ท. ชุด Amazing Thailand - Fineline ชุด “ทหาร, กระโปรง, มีด” - Thai oil “เส้นเลือดใหญ่, ป้อมปราการ” - Cover Design ปกหนังสือธรรมะ “คู่มือมนุษย์” รางวัลที่ ได้รับบางส่วน - ได้รับรางวัลการออกแบบหนังสือในงานหนังสือแห่งชาติ ปี 2526, 2530 และ 2531

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อวิทยานิพนธ์ การออกแบบ รีสอร์ทและสถานพักฟื้น สำหรับ ผู้สูงอายุ - ศม. ออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่อวิทยานิพนธ์ การศึกษาเรื่อง ‘’นำ้ ทางพุทธปรัชญา’’ มาสู่งานออกแบบภายใน รายวิชาที่ทำการสอน - Under study วิชา Interior Design II - Under study วิชา Cost Estimation and Marketing - Under study วิชา Technological System in Interior Design II - Under study วิชา History of Western Interior and Furniture Design II ประวัติแสดงผลงาน ผลงานที่นำมาแสดงครั้งนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการเขียนบทความ รางวัล...โคมไฟ Remind จาก Q-conceptstore โดย.....oom Magazine No.16 Adman All About Advertising People Issue ฉบับคนโฆษณา You Can Be Adman... คิดก๊อปปี้โฆษณาตัวเองแบบสั้น ๆ ภายใน สามบรรทัด

66


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพจน์ สิงห์สาย

ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (นฤมิตศิลป์) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายวิชาที่ทำการสอน ระดับปริญญาตรี - Multimedia - Marketing and Advertising - Individual Project II - Website Design - Copy Writing - Art Direction in Advertising ระดับปริญญาโท - Advanced Visual Communication Design I - Advanced Visual Communication Design Seminar ผลงานออกแบบบางส่วน - งานออกแบบปกและรูปเล่มพระไตรปิฎกสากล ชุดพิเศษ 40 เล่ม จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระณาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายแด่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนิครินทร์ เพื่อพระราชทานแก่สถาบันสำคัญระดับนานาชาติ อาทิ ทำเนียบประธานาธิบดี แห่งศรีลังกา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หอสมุดมหาวิทยาลัย อุปซาลา สวีเดน ฯลฯ - ออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์งานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 - รางวัลชนะเลิศออกแบบตราสัญลักษณ์สถานีโทรทัศน์ Thai PBS - ตราสัญลักษณ์รางวัลนักออกแบบแห่งปี (Designer of the year)

ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2526 - ศบ. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2533 - ศม. (สาขาจิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2548 - นิทรรศการศิลปกรรม “ครุศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ 4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง จังหวัดลำปาง - นิทรรศการ “ศิลปกรรม ศิลปากร กับ ท่านพุทธทาส 100 ปี” - นิทรรศการ “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ของศิลปินไทย-จีน ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันศิลปะแห่งกวางสี มณฑลกวางเจา สาธารณรัฐประชาชนจีน รางวัลที่ ได้รับบางส่วน 2532 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2533 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (จิตรกรรม) ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 36 2535 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2538 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 19 ของธนาคารกรุงเทพ 2539 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ครั้งที่ 8 ของบริษัท โตชิบ้า ประเทศไทย 2540 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 43 2541 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2542 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 2543 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 24 ของธนาคารกรุงเทพ 2544 - ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 ศิลปินยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี” ครั้งที่ 1 หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - รางวัล “PURCHASE PRIZE” โครงการแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้น นานาชาติ ฉลอง 60 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 2550 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 2551 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 2552 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54

67


อาจารย์ โกศล สุวรรณกูฏ

อาจารย์ ดร. รัฐไท พรเจริญ

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ศิลปอุตสาหกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคูณทหาร ลาดกระบัง รายวิชาที่สอน - การออกแบบผลิตภัณฑ์ 1, 2 - การทำหุ่นจำลอง - พื้นฐานการทำเครื่องประดับ - การออกแบบเครื่องประดับ 1, 2 ประวัติการแสดงผลงานบางส่วน - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ 36 ปี (พ.ศ. 2535) - นิทรรศการเพื่อถ่ายทอดผลงานตนแบบจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์ของ คณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2550) งานออกแบบบางส่วน - เครื่องปรับอากาศรุ่นตั้งพื้นและติดผนังของ บ. เอส.ซี. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด - เครื่องเตือนเมื่อเกิดควันจากการเกิดอัคคีภัย - เข็มกลัดสุภาพสตรี งานวิจัย - การเพิ่มคุณค่าพลอยจากแหล่งพลอยแพร่ด้วยการออกแบบ ระยะที่ 1, 2 - การพัฒนาแหล่งพลอยแพร่ในด้านการทำของที่ระลึกและการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ - การสำรวจผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้าน 10 จังหวัด ภูมิภาคตะวันตก

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) 2549 - มหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) 2541 - บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (วิทยาลัยครูสวนดุสิต) 2534 ประวัติการทำงาน - ปัจจุบัน ข้าราชการอาจารย์ 1 ระดับ 7 อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “เส้นและแนวคิดในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2549 - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับ รูปแบบสู่อนาคต” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 24 สิงหาคม 2550 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “เส้นสายปลายดินสอในการ ออกแบบผลิตภัณฑ์” ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ 7 ม.ค. 2551 - วิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อเรื่อง “ศิลปประยุกต์และการออกแบบ” ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 13 มกราคม 2551 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “การถ่ายทอดเทคนิคการ เขียนภาพเพื่อช่วยนำเสนอแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วันที่ 16 - 17 มกราคม 2552 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “เทคนิคการ Sketch ภาพ สำหรับนักออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยบูรพา 27 มิถุนายน 2552 ผลงานทางวิชาการ - งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบพัฒนารถเข็นอนามัยสำหรับการขายก๋วยเตี๋ยว” ระยะเวลาโครงการ 1 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 ถึง 28 มีนาคม 2551 แหล่งทุนให้การสนับสนุนงานวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) - สิทธิบัตร “สิ่งประดิษฐ์” เรื่อง “วิธีการเขียนรูปกล่องโครงสร้างมาตรฐาน ที่สร้างเป็นแผ่นแบบสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์” เลขที่คำขอ 0801003833 วันรับคำจด 24 กรกฎาคม 2551 - งานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาเครื่องทอผ้าพื้นเมืองที่เหมาะสมกับสภาพ สังคมและเศรษฐกิจอีสาน ปี พ.ศ. 2549 - งานวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการใช้ กล่องโครงสร้างมาตรฐานกับแกนโครงสร้างมาตรฐานในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” ปี พ.ศ. 2542 - งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบเครื่องกรองอากาศชนิดพกติดตัว” ปี พ.ศ. 2534 ผลงานที่ดำเนินการอยู่ โครงงานวิจัยเรื่อง “ การออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่กับการสร้าง ต้นแบบผลิตภัณฑ์สู่ชุมชน” หน่วยงานให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยสำนักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ในโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์รุ่นใหม่ (ต่อยอดปริญญาเอก) 2551

68


อาจารย์ อินทรธนู ฟ้าร่มขาว

รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชมุนี

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master of Fine Art and Design (Furniture Design), School of Arts, University of Tasmania, Australia รายวิชาที่สอน - การออกแบบผลิตภัณฑ์ 3, 4 - การทำหุ่นจำลอง - แนวความคิดและคุณลักษณะพิเศษของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ - การออกแบบเครื่องเรือน 1, 2 ผลงานออกแบบบางส่วน - ออกแบบโลโก้ บริษัท Taskforce - ผลิตภัณฑ์ Finger Print Scanner บริษัท Ezlog Technology, Singapore - ออกแบบตกแต่งภายในโรงเรียนสอนภาษา Boston Bright สาขาลาดพร้าว - ชุดเครื่องเรือนของอาคารชุดพักอาศัย รางวัลการประกวดบางส่วน - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบลวดลายบนสก็อตไบรท์ บริษัท 3M - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบเมาส์ (คอมพิวเตอร์) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ประวัติการแสดงผลงาน - แสดงผลงานเดี่ยวศิลปนิพนธ์ ณ Gallery of Art, School of Arts, UTAS - แสดงผลงาน Furniture Collection, IXL Gallery, Australia - โครงการ Talent Thai งาน BIG & BIH, เมืองทองธานี

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2510-2514 - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วทบ.ชีวเคมี 2516-2519 - สถาบันแพรตต์ นครนิวยอร์ค ศิลปบัณฑิต (ศิลปศึกษา) เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง 2519-2521 - สถาบันแพรตต์ โรงเรียนศิลปะและการออกแบบ ศิลปมหาบัณฑิต (วิชาเอก จิตรกรรม วิชาโท ประวัติศาสตร์ศิลป์) 2531 - มหาวิทยาลัย นิวยอร์ค คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอกทางการศึกษา (ศิลปศึกษา) ประวัติแสดงผลงาน 2520 - มหกรรมศิลปะนานาชาติ สถาบันแพรตต์ นครนิวยอร์ค 2521 - แสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต งานจิตรกรรม ชุด “ดอกบัวกับพุทธปรัชญา” 2525 - กลุ่มไม้ไผ่ บริติชเคาน์ซิล กรุงเทพฯ 2533 - การแสดงผลงานอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2538 - กลุ่มนิมิต ที่ริเวอร์ซิตี้ 2540-2551 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ 2549 - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะและการออกแบบเนื่องในวโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 “6 ทศวรรษครองราชย์” ระหว่างวันที่ 15 - 30 กันยายน 2549 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 7th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 19 - 29 มิ.ย. 2549 2550 - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่ง ธรรมชาติ” “The hart of Nature” ครั้งที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย 21 เม.ย.- 21 2550 - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2550 เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 - Meeting of Thai-American Art and Cultural Exchange Program Under the Collaboration of Art Center, Silpakorn University and California Polytechnic State University and San Joes State University 29 August - 13 September 2007 at Art Center, Silpakorn University 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 20 - 29 ส.ค. 2551 - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 9th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 4 - 19 มิ.ย. 2551 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 10th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 1 - 13 มิ.ย. 2552

69


อาจารย์ สุรศักดิ์ รอดเพราะบุญ

อาจารย์ บวรรัตน์ คมเวช

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ - ศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2549 - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะและการออกแบบเนื่องในวโรกาสฉลอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549“ 6 ทศวรรษครองราชย์” ระหว่างวันที่ 15-30 กันยายน 2549 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมบาทวิถี ของมูลนิธิ 14 ตุลา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 7th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 19 - 29 มิ.ย. 2549 2550 - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่งธรรมชาติ” “The hart of Nature” ครั้งที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย 21 เม.ย.- 21 พ.ค. 2550 - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ในโครงการศิลปกรรมของศิลปไทย-จีน เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบรอบ 80 พรรษา 24 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2550 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2550 เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา - Meeting of Thai - AmericanArt and Cultural Exchange Program Under the Collaboration of Art Center, Silpakorn University and California Polytechnic State University and San Joes State University 29 August - 13 September 2007 at Art Center, Silpakorn University 2 - 28 November 2007 at University Art Gallery, Department of Art & Design California Polytechnic State University 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 20 - 29 ส.ค. 2551 2552 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมไทย ครั้งที่ 9 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ส.ค. 2552

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ดุริยางค์ศิลป์) คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2520-ปัจจุบัน - ออกแบบและผลิตกระเป๋าตราจรวดแต่ผู้เดียว 2524 - ผู้ช่วยออกแบบเครื่องแต่งกายภาพยนตร์ไทยเรื่อง “น้ำพุ” 2536 - แสดงผลงานเดี่ยวจิตรกรรมผ้าปะ “ก้อนหิน หาดทราย ลายผ้า” 2537 - ผู้ช่วยผู้จัดการการถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง เกิดอีกทีต้องมีเธอ ของบริษัท อาร์เอสโปรโมชั่น แสดงผลงานกลุ่มผู้หญิง 4 คน 2538 - นักออกแบบเครื่องแต่งกายภาพยนตร์ เรื่อง ครูสังคม ทองมี ของบริษัทไทยเอนเตอร์เทนเมนต์ 2541-2547 - ร่วมโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย 9 โครงการ 9 จังหวัด 2543 - ออกแบบแพทเทิร์น เพื่อการตัดเย็บอาสนะต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ 30,000 รูป วันสลายร่าง คุณยายอาจารย์มหารัตนแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิด วัดพระธรรมกาย 2545-2550 - กรรมการตัดสินสินค้า OTOP แผนกผลิตภัณฑ์ผ้าและ เครื่องแต่งกาย 2547 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครั้งที่ 7/2547 โครงการนิทรรศการ ศิลปะและการออกแบบ “ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิริกิติ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี 2547 - หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย 5 จังหวัดภาคเหนือ 2548 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครั้งที่ 8 เนื่องใน วันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมโครงการศิลปินไทย-อินเดีย และแสดงผลงานร่วมกันที่ อินเดียและไทย 2549 - นักออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยเพื่อการส่งออกบริษัทไข่ทอง 2549 - กรรมการแนะแนวทาง การพิจารณาเนื้อหา การศึกษาสิ่งทอไทย ในระบบการศึกษาของรัฐบาล 2551 - ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และวิชาธรรมกาย ระบบรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียมช่อง DMC (DHAMA MEDIA CHANNEL)

70


อาจารย์ พรพรม ชาววัง ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. เกียรตินิยมอันดับ 2 (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร นิทรรศการศิลปะ 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพื่อถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบัติการสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ครั้งที่ 2 พ.ศ.2551 - นิทรรศการ “เรียนรู้จากประเทศเพื่อนบ้าน” ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2550 - ร่วมแสดงศิลปกรรมไทย-อินเดีย 2006 โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ณ หอศิลป์ที่ Kala- Bha vana, Visva - Bharati University, India และละลานตาไฟน์อาร์ต ถนนสีลม กรุงเทพฯ - นิทรรศการ ใต้ถุนบ้านมัณฑนศิลป์ นิทรรศการเพื่อถ่ายทอดผลงาน ต้นแบบปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1 พ.ศ.2550 - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทยครั้งที่ 8 ประจำปี 2550 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2549 - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษาครั้งที่ 2 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะและการออกแบบเนื่องในวโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 “6ทศวรรษครองราชย์” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลประกาศเกี่ยรติคุณที่ ได้รับ 2552 - ได้รับรางวัล ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรมศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 9 ในโครงการเชิดชูเกียรติ ศิลปินยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย รางวัลศิลป์ พีระศรี ประจำปี พ.ศ. 2552 2550 - ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนศิลปินจังหวัดบุรีรัมย์ แสดงงานนิทรรศการ จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ “พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่” Painting Exhibition to Commemorate the King’s 80th Birthday “King Bhumibol Adulyadej : The Great Achiever” ณ ชั้น 4 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 9 ธันวาคม 2550 - 15 มกราคม 2551 โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

อาจารย์ อิทธิพล วิมลศิลป์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 10th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 1 - 13 มิถุนายน 2552 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน ของนักศึกษา ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 20 - 29 สิงหาคม - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 9th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2550 - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ในโครงการศิลปกรรมของศิลปิน ไทย-จีน เนื่องในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุ ครบรอบ 80 พรรษา 24 พฤษภาคม 2550 - 2 มิถุนายน 2550 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่งธรรมชาติ” “Sufficiency The hart of Nature” ครั้งที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย 21 เม.ย.- 21 พ.ค. 2550 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรม นิทรรศการ “โฉมหน้าศิลปิน” ณ เดอะ สีลม แกลเลอเรีย กรุงเทพฯ 9 มี.ค. - 9 เม.ย. - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2549 - แสดงนิทรรศการศิลปะและการออกแบบเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 “ 6 ทศวรรษครองราชย์” ระหว่าง วันที่ 15 - 30 กันยายน 2549 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 7th ”ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ

71


อาจารย์ ประภากร สุคนธมณี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. เกียรตินิยมอันดับ 2 ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร - ศ.ม. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2552 - ร่วมแสดงนิทรรศการวาดเส้นสาธิตศิลปกรรม ครั้งที่ 2 ของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 3 - 31 สิงหาคม 2552 ณ สำนักหอสมุดกลาง พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม - ร่วมแสดงงาน “Face & Flower” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2551 - ร่วมแสดงงานวันพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา ของ อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร - นิทรรศการสร้างสรรค์ผลงานคณาจารย์ ครั้งที่ 11 “Waste less for Green World” ระหว่างวันที่ 15 - 30 กันยายน 2551 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ “วันศิลป์ พีระศรี” ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการศิลปะสิ่งทอร่วมสมัย “BLOSSOM” ฤดูดอกไม้บานกับการมา เยือนของความเหงา 28 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน 2551 ณ สำนักหอ สมุดกลาง พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 9th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรกฎาคม 2551 2550 - นิทรรศการ “สายธารแห่งสีน้ำ” เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และร่วมส่งผลงานภาพสีน้ำเข้าร่วมแสดงศิลปกรรม “สายธารแห่งสีน้ำ” เมื่อวันที่ 1 - 5 ธันวาคม 2550 ณ อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร จาก โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ - นิทรรศการเพื่อถ่ายทอดผลงานต้นแบบจากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร “ใต้ถุนบ้าน... มัณฑนศิลป์” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ - นิทรรศการ “มัดหมี่ บนกี่ นอกกรอบ” นิทรรศการศิลปะสิ่งทอร่วมสมัย บนแนวคิดใหม่ ณ ร้านออนอาร์ตสามเสน ระหว่างวันที่ 5 - 31 ก.ค. - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th ” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 4-17 มิถุนายน 2550 - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม เรื่อง “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ของศิลปินไทย-จีน ระหว่างวันที่ 24 - 31 พฤษภาคม 2550 - นิทรรศการแสดงศิลปกรรม “พอเพียง หัวใจแห่ง ธรรมชาติ” (Sufficiency The Heart of Nature) ระหว่างวันที่ 21 เมษายน - 21 พฤษภาคม 2550 ณ สีลมแกลเลอเรีย - ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการศิลปกรรมไทย-อินเดีย (โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ)

อาจารย์ วรภรรท สิทธิรัตน์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Diploma of Fine Arts. TAFE, Australia - Advance diploma of Fine Arts. TAFE , Australia - Master of art, The University of New South Wales. Sydney, Australia ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 10th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 1 - 13 มิถุนายน 2552 2551 - ร่วมแสดงงาน” ภาพของพ่อ : บารมีแห่งแผ่นดิน ณ หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 สิงหาคม 2552 พ.ศ.2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพื่อถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบัติการสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2 พ.ศ.2551 2550 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 4 - 17 มิถุนายน 2550 2549 - นิทรรศการศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย ครั้งที่ 7 หัวข้อ “บันทึกศิลปินถึงในหลวง”

72


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกา ปาลเปรม ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครูพระนคร - การศึกษามหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมศึกษา มศว.ประสานมิตร ประวัติการแสดงผลงาน 2548 - ร่วมแสดงงาน Thai – India Art and Cultural Exchange ม.ศิลปากร และ Visva Bharati, Santiniketan 2549 - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ ครั้งที่ 1 2549 - ร่วมแสดงผลงานใน ASIAN CERAMIC NETWORK ครั้งที่ 2 และศิลปินรับเชิญในงานเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 2550 - ร่วมแสดงผลงานใน ASIAN CERAMIC NETWORK ครั้งที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 2551 - ร่วมแสดงผลงานใน ศิลปะในสวน(แห่งการให้) สาธารณะ CRACK 2: Artistic Flowers in the Park ณ อุทยานเบญจสิริ กรุงเทพฯ 2551 - ร่วมแสดงผลงานใน ASIAN CERAMIC NETWORK ครั้งที่ 4 กรุงโซล ประเทศเกาหลี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเสริฐ พิชยะสุนทร ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศม. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์วิชาชีพและผลงานสร้างสรรค์ 2549-2550 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ 2549 - ออกแบบปั้นขยายและหล่อโลหะ องค์พระประธานทั้ง 3 องค์ ณ พระอุโบสถวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 2551 - ร่วมโครงการคณะมัณฑนศิลป์ ในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์และ ตกแต่งฝาผนัง อาคารพิทยาพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช งานวิชาการ - เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะไทยปริทัศน์ - เอกสารประวัติศาสตร์แสดงผลงานบางส่วน - กรรมการดำเนินงานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ในลักษณะโครงการพิเศษ - เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตร ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาเครื่องเคลือบดินเผา - กรรมการวิพากษ์หลักสูตร คณะศิลปกรรมและการออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลอีสาน

73


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรธนา กองสุข ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2535 - ศบ. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2540 - ศม.(ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2549 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550 - นิทรรศการศิลปกรรม “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ของศิลปินไทย-จีน - มหกรรมศิลปะร่วมสมัยไทย เนื่องในศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2550 “น้ำ : Water” ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ -“Haiku - Sculpture2007” โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น 2551 - มหกรรมศิลปะร่วมสมัยไทย เนื่องในศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2551 “รัก” ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - การแสดงศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาเตาฟืน 4 สถาบัน - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาลัยศิลปากร 2552 - การแสดงศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาราคุ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สืบพงศ์ เผ่าไทย ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร EDUCATION - M.F.A Ceramics Silpakorn University, Bangkok, Thailand EXHIBITION 2006 - The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member 2006 - The2nd Exhibition of Asian Ceramic Network. BKK, Thailand. 2007 - The Art Exhibition of Thai-India, Golgatta, India 2007 - The Art Exhibition of Thai-India. BKK, Thailand 2007 - The3nd Exhibition of Asian Ceramic Network ( International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network and Selsius), Malasia 2008 - CRACK 2 : artistic flowers in the park, benjasiri park, BKK, Thailand 2008 - ASIAN ART NETWORK; SOUEL, KOREA 2008 - 2nd The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member, Bkk, Thailand 2008 - The 14th National Ceramics Exhibition, Nakornpathom, Thailand

74


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูวนาท รัตนรังสิกุล ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2532 - ศบ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2540 - Master of Art (Jewellery & 3 Dimensional Design) Curtin University of Technology, Western Australia ผลงานวิจัย 2552 - ผู้ร่วมวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบและสร้าง มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่” สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) โครงการบริการสังคม 2549 - รองประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการบริการชุมชน “การพัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP จังหวัดนครปฐม” งบประมาณแผ่นดิน (ผู้ว่า CEO) 2549 - หัวหน้าโครงการบริการชุมชน “การสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์และ ของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมระบบการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี ชุมชนในบริเวณแหล่งโบราณคดีโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี” งบประมาณแผ่นดิน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณา ธิธรรมมา ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร EDUCATION - M.F.A Ceramics Silpakorn University, Bangkok, Thailand EXHIBITION 2006 - 2008 The 9th - 11th At the Exhibition of Art and Design by The Faculty of Art members Silpakorn University, Bangkok, Thailand. 2006 - Arts From Kala Bhavana Visva Bharati Santiniketan of India - The 1st Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok,Thailand - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Bangkok, Thailand 2007 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Malaysia 2008 - The 2nd Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok, Thailand 2008 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Korea - Seoul International Ceramic Accessory Festival, Korea 2009 - mini Matters By 50 Contemporary Thai Artists, Galerie N, Bangkok, Thailand AWARDS 2002 - Award Winner Ceramic Tea set - Coffee set Thai style

75


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2543-2547 - ปริญญาเอก(เครื่องประดับ) สถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์ มิงแฮม เบอร์มิงแฮม ประเทศสหราชอาณาจักร 2540-2542 - ปริญญาโท (โลหะและเครื่องประดับ) โรยัลคอลเลจออฟอาร์ท, ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร 2540 - ประกาศนียบัตร (การขึ้นรูปเครื่องประดับ และเทคนิคการลงยาสี บนงานเครื่องประดับ) เซนทรัล เซนต์มาร์ติน, ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร 2535-2539 - ศบ. (เครื่องเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2549 - ผู้วิจัย “วิวัฒน์แห่งเครื่องเงินอาเซี่ยน” โดยความร่วมมือระหว่างสมาคม AHPHADA และ ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2549 - ผู้ควบคุมโครงการ “วิวัฒน์แห่งเครื่องเงินไทย: รากเหง้าทางภูมิปัญญา จิตวิญญาณ และฝีมือ จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต” โดยความร่วมมือ ระหว่างสมาคม AHPHADA และ ศูนย์ศิลปาชีพ จ.พระนครศรีอยุธยา 2549 - ผู้วิจัย “ศิลปะเครื่องประดับในประเทศไทย” โครงการหนังสือเพื่อ รวบรวมผลงานแฟชั่นนักออกแบบไทย Stone โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น กระทรวงอุตสาหกรรม ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2550 - มีนาคม นิทรรศการ 50 ปี แห่งการออกแบบไทย 2550 มกราคม ทำงานตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ชื่อ ภูฟ้าผสมผสาน และได้รับพระราชทานของที่ระลึกจาก สมเด็จพระเทพฯ เป็นการส่วนพระองค์ 2549 (21-28 กุมภาพันธ์ 2549) ได้รับรางวัล “นักออกแบบยอดเยี่ยมแห่ง ปี 2548” นิทรรศการนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน, กทม. 2549 - ภาพผลงาน “หนึ่งวงสะท้อนของน้ำ” โครงการหนังสือเพื่อรวบรวมผล งานแฟชั่นนักออกแบบไทย Stone, โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น กระทรวงอุตสาหกรรม 2548 (14-24 มิถุนายน 2548) “ลา เฟส 2005: เดอะ เฟรนช์ เคาเจอรัล อิน แบงคอก” (ร่วมแสดง) นิทรรศการศิลปะและการออกแบบ, อาคารเพลย์กราวน์ กทม. รางวัลที่ ได้รับและทุน 2549 - รางวัล นักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2548, มหาวิทยาลัยศิลปากร 2541 - ทุนสนับสนุน การทำงานศิลปะนอกสถานที่, โรยัลคอลเลจออฟอาร์ท, ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร 2541 - เหรียญรางวัล ออกแบบดีเด่น, โรยัลคอลเลจออฟอาร์ท, ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร

อาจารย์ ดร. วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2544-2548 - ปริญญาเอก Ph.D title: A New Model of Instruction and Learning in Contemporary Jewellery Education, (Mphil in related topic) Birmingham Institute of Art and Design (BIAD) University of Central England (UCE), Birmingham,UK. 2542- 2544 - ประกาศนียบัตรชั้นสูง วิชาการออกแบบเครื่องประดับ Diploma Diploma in Disegno del gioiello, Instituto Europeo di Design (IED), Milan Italy. 2541 - ประกาศนียบัตร ประติมากรรม Certificato di Scultura, Accademia di Belle Arte di Firenze, Florence Italy 2533-2537 - ศบ. ประติมากรรม (เกียรตินิยมอันดับสอง ) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์และศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน - อาจารย์ประจำ (หัวหน้าภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ 2551) กรรมการร่าง หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - หัวหน้าโครงการวิจัย “นวัตกรรมใหม่ในการผลิตเครื่องประดับ” ได้รับทุนสนับ สนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2551-2552 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา อัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2550 - ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ งานนิทรรศการศิลปะนานาชาติ “เชิญคุณก่อน ขอหยุดคิด” (ภัณฑารักษ์ คุณอภิศักดิ์ สนจด ศิลปิน อ.อัมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ อ.นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์) 52th La Biennale di Venezia, Venice Italy 2550 - ผู้ประสานงานนิทรรศการเชิดชูเกียรติ ศิลปินชั้นเยี่ยม รศ.เข็มรัตน์ กองสุข นิทรรศการ“ประติมากรรมแห่งชีวิต” ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ และกิจกรรม ”สัมมนากับศิลปิน” ณ หอศิลป์ พระพรหมวิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร 2549 - กรรมการโครงการ GIT (Gems and Jewellery Institute of Thailand) 1st International Conference 2006 ผู้ดำเนินรายการในช่วงการสัมมนา Jewellery Design and Business 2549 - วิทยากรบรรยายและเขียนบทความ “เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการสร้าง สรรค์จิตรกรรมในระดับนานาชาติ” สัมมนาวิชาการจัดโดยภาควิชา จิตรกรรม คณะจิตรกรรมฯ ณ.หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ กรุงเทพฯ ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2551 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ “Wastless for Green World” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2551 - ร่วมแสดงศิลปะ “โฉมหน้าศิลปิน” ณ หอแสดงศิลปะ สีลม แกลลอเรีย กรุงเทพฯ 2550 - ร่วมแสดงศิลปะ “กลุ่มต้นน้ำ” หัวข้อ “พอเพียง” ณ หอแสดงศิลปะ สีลม แกลลอเรีย กรุงเทพฯ 76


อาจารย์ เพ็ญสิริ ชาตินิยม

อาจารย์ ภูษิต รัตนภานพ

ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2539 - ศบ. (เครื่องเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2542 - ศม. การออกแบบ เซนต์มาร์ติน คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ ประเทศสหราชอาณาจักร ประวัติการทำงาน 2539 - (ร่วมแสดง) นิทรรศการภาพถ่ายศิลปะนานาชาติ “Premfoto” ครบรอบ 20 ปี พิพิธภัณฑ์ Museul Trii Crisurilor Oradea เมือง Oradia ประเทศโรมาเนีย 2544 - ผู้ช่วยวิจัย “โครงการวิจัยพัฒนาของที่ระลึกจังหวัดเพชรบุรี” คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - (ร่วมแสดง) นิทรรศการเครื่องประดับร่วมสมัย “แฮปปี้แนส แอนด์ เซเลเบรชั่น” หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสหกรรมขนาดย่อม และ ดีไซน์เซนเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550- ทุนแลกเปลี่ยน “CRAFTSNET Exchange Visit Programme to the Netherlands” ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดย European Commission Fund 2550 - กรรมการตัดสิน “SEAL of Excellence for Handicraft 2007 South East Asia Programme” โดย UNDEP UNESCO

ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติการทำงาน 2545 - 2549 อาจารย์พิเศษสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2551 - วิทยากรรับเชิญอบรมศิลปะเด็กบริษัทสยามคูโบต้า 2550 - แสดงผลงานคณาจารย์ “ใต้ถุนบ้าน” หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กทม. 2549 - ได้รับคัดเลือกสร้างประติมากรรมติดสวนประติมากรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2547 - โครงการร่วมมือทางศิลปะ ระหว่าง ไทย-เยอรมัน

77


อาจารย์ ศิดาลัย ฆโนทัย

อาจารย์ ชาติชาย คันธิก

ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2547 - ปริญญาโทนอกเวลา แขนงวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544 - ศบ. ออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติการทำงาน 2550 - ปัจจุบันอาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - Freelance Designer ออกแบบลายพรมและสิ่งทอ บริษัท Tai Ping 2545 - Freelance Designer ออกแบบเครื่องประดับ บริษัท Piyapoom Jewelry 2544 - Freelance Designer ออกแบบเครื่องประดับ บริษัท Trendor - ตำแหน่งผู้วิจัยและออกแบบโครงการวิจัย และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โดยคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัล 2542 - Top Ten Jewelry Designers Award 1999 ครั้งที่ 7 “แหวนแต่งงาน รักนิรันดร์” จัดโดยสมาคมผู้ค้าอัญมณี ไทยและเครื่องประดับ ร่วมกับ กรมส่งเสริมการส่งออก สถาบันกรุงเทพอัญมณีศิลป์ ชมรมนักออกแบบ เครื่องประดับอัญมณีแห่งประเทศไทย 2541 - รางวัลที่ 2 การประกวดออกแบบ “จิวเวลรี่เพื่อการส่งออก” บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 25 ปี บทสัมภาษณ์โทรทัศน์ 2548 - รายการดีไซน์ ช่อง 9 2551 - รายการ ดีไซน์นิวส์ ช่องเนชั่น ผลงานงานเครื่องประดับสร้างสรรค์ งานออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้แนวความคิด “Nokia The Inspiration”

ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2544 - ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาช่างทองหลวง ประสบการณ์การทำงาน 2550 - ปัจจุบัน อาจารย์ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2539 - 2547 อาจารย์พิเศษ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สำนักพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) ผลงานสร้างสรรค์ งานเครื่องถมถวายพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 1 งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 5 งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 9 งานจัดสร้างพระลองทองใหญ่

78


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล

อาจารย์ วรุษา อุตระ

สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร EDUCATION 2005 - Doctor of Philosophy Birmingham Institute of Art and Design University of Central England, Birmingham, UK 1999 - Certificat De Stage Aterlier National d’Art Textile, Paris, France. 1995 - 1997 - Master of Visual Arts University of South Australia, Adelaide, Australia 1993 - Bachelor of Fine Art (Applied Arts Studied) Silpakorn University, Bangkok, Thailand EXHIBITION 2009 -‘Elna Exploring the Art’ Saha Group Fair, Queen Sirikit National Convention Center 2008 -‘ENDLESS’ ZEN Event Gallery ZEN Department 2005 -‘Explorations Thai as we are’ (Body Design) TCDC, Bangkok. 2005 - Present work pieces to participate in “ Thai-India Art And Culture Exchange 2005” Art Gallery Silpakorn University 2005 - participate in “ Thai-India Art And Culture Exchange 2005 Santinikaetun Art Gallery Santinikaetun University India

สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติแสดงผลงานบางส่วน 2009 - 2009 International Exhibtion & Fashion Show Asia Forever, Museum of Siam 2009 - Fruzberry Ice Cream Yogurt’s Cup Exhibition 2008 - A Sorrowful Nature, The princess mother memorial park 2004 - Landscape and Seascape 2004, Silpakorn Univercity

79


!

คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๙๐ / ๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ จากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน --------------------- เพื่อให้การดำเนินงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบจากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน ประจำปี ๒๕๕๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ และครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วยบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งและรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ๒. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ ๓. อาจารย์สัญญา สุขพูล ๔. อาจารย์สุพิชญา เข็มทอง ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา นาควัชระ ๖. อาจารย์พรพรม ชาววัง ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ ๘. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย ๙. อาจารย์วรุษา อุตระ ๑๐. หัวหน้างานแผนและส่งเสริมทางวิชาการ ๑๑. นางภาวนา บุญปก ๑๒. นางสาวนันทนา แซ่ลี

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

สั่ง ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

(รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์

80


!

คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๗ / ๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการสร้างสรรค์ผลงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ จากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน --------------------- เพื่อให้การดำเนินงานตาม โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด เรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะมัณฑนศิลป์ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ - ๒๕๕๖ และการสร้างสรรค์ผลงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบจากปฏิบัติการ สร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน ๒๕๕๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง และรายชื่อดังต่อไปนี้

คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดสัมมนาทางวิชาการ ๑. คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ ๒. รองคณบดีฝ่ายบริหาร ๓. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ๔. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ ๕. รองคณบดีวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ๖. รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ๗. หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน ๘. หัวหน้าภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ๙. หัวหน้าภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ๑๐. หัวหน้าภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ๑๑. หัวหน้าภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา ๑๒. หัวหน้าภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ ๑๓. ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ๑๔. ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย ๑๕. หัวหน้างานบริการการศึกษา ๑๖. หัวหน้างานบริหารและธุรการ ๑๗. หัวหน้างานคลังและพัสดุ ๑๘. หัวหน้างานแผนและส่งเสริมทางวิชาการ ๑๙. หัวหน้างานบริหารพระราชวังสนามจันทร์ ๒๐. หัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา หน้าที่ความรับผิดชอบ - วางแผนโครงการ เตรียมการจัดสัมมนา - จัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา

81

ประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


- จัดทำแบบลงทะเบียน แบบประเมินผลการสัมมนา - สรุปผลการสัมมนา นำเสนอกรรมการคณะและภาควิชา - ประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์

คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สิ่งพิมพ์ และสูจิบัตร ๑. อาจารย์สุพิชญา เข็มทอง ประธาน ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติวรรธน์ วิรุฬห์เพชร อนุกรรมการ ๓. อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม อนุกรรมการ ๔. อาจารย์พรพรม ชาววัง อนุกรรมการ ๕. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย อนุกรรมการ ๖. นางภาวนา ใจประสาท อนุกรรมการ ๗. นางรัตนา สังข์สวัสดิ์ อนุกรรมการ ๘. นางสาวรพีพร เพชรรัตน์ อนุกรรมการ ๙. นายสยาม ระลึกมูล อนุกรรมการ ๑๐. นายศุภฤกษ์ ทับเสน อนุกรรมการและเลขานุการ ๑๑. นางสาวกนกอร สว่างศรี อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๒. นางสาวณัฐญภรณ์ บุญสมบัติ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ - จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ การ์ดเชิญ และเอกสารอื่น ๆ - จัดส่งเอกสารประชาสัมพันธ์ และการ์ดเชิญ ไปยังหน่วยงาน / สื่อ / แขกผู้มีเกียรติ - รวบรวมบทความ คัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้อ่าน ประสานงานกับเจ้าของบทความ - วางรูปเล่ม จัดพิมพ์ต้นฉบับ พิสูจน์อักษร จัดทำสูจิบัตร - บันทึกภาพการจัดงาน พิธีเปิดนิทรรศการ และประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คณะอนุกรรมการฝ่ายรวบรวมผลงานและติดตั้งนิทรรศการ ๑. ผู้อำนวยการหอศิลปะและการออกแบบ ประธาน ๒. อาจารย์สัญญาสุขพูล อนุกรรมการ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ สิงห์สาย อนุกรรมการ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา นาควัชระ อนุกรรมการ ๕. อาจารย์อุณรุท กสิกรกรรม อนุกรรมการ ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ อนุกรรมการ ๗. อาจารย์ภูษิต รัตนภานพ อนุกรรมการ ๘. อาจารย์วรุษา อุตระ อนุกรรมการ ๙. นางภาวนา บุญปก อนุกรรมการและเลขานุการ ๑๐. นางสาวอโนมา รัตนน้อย อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๑. นางสาวชนัญชิดา วาราปรีย์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ - คัดสรรและรวบรวมผลงาน ประสานการถ่ายภาพผลงานเพื่อส่งจัดพิมพ์และจัดแสดงผลงาน - วางแผนและกำกับดูแลจัดแสดงผลงานนิทรรศการ - จัดเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ เจ้าหน้าที่สำหรับบริการและอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาที่ จัดแสดงงาน และประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 82


คณะอนุกรรมการฝ่าย เลขานุการ การเงิน และประเมินผล ๑. นางมาลินี วิกรานต์ ประธาน ๒. นางสาวสุวัลญา เชื้อมั่นศิลธรรม อนุกรรมการ ๓. นางสาวจิตตรี ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ อนุกรรมการ ๔. นางมัญธรัตน์ จิตมาลีรัตน์ อนุกรรมการ ๕. นางสาวชุติญาณ์ พงษ์สูงเนิน อนุกรรมการ ๖. นางสาวสุรีพร แป้นพิบูลลาภ อนุกรรมการ ๗. นางสาววิไลศรี ชำนาญกิจ อนุกรรมการ ๘. นางสาวสุธาสินี วาจนะวินิจ อนุกรรมการ ๙. นางสาวพรพรรณ แก้วประเสริฐ อนุกรรมการ ๑๐. นางสาวนฤภร คเชนทรกำแหง อนุกรรมการ ๑๑. นางสาวมุกดา จิตพรมมา อนุกรรมการและเลขานุการ ๑๒. นางสาวนันทนา แซ่ลี อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๓. นางสาวนฤมล โหราเรือง อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ - แจ้งคณาจารย์เข้าร่วมโครงการ ประสานงานที่พัก ติดต่อสถานที่จัดสัมมนา - ประสานงานกับอาจารย์ในภาควิชา/สาขาวิชา เพื่อเข้าร่วมสัมมนาฯ /สร้างสรรค์ผลงาน - ประสานการจัดสัมมนา และการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน - จัดเตรียมวัสดุฝึกปฏิบัติ อุปกรณ์โสต - จัดทำแบบลงทะเบียน จัดทำแบบประเมินผล แจกสูจิบัตร - สรุปรายงานทางการเงิน และสรุปผลการดำเนินงาน - ประสานงานร่วมกับคณะอนุกรรมการฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สั่ง ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

(รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์

83


!

คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๑๘ / ๒๕๕๒ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการสร้างสรรค์ผลงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ จากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน เพิ่มเติม --------------------- เพื่อให้การดำเนินงานตาม โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด เรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการเรียน การสอนคณะมัณฑนศิลป์ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ - ๒๕๕๖ และการสร้างสรรค์ผลงานโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบจาก ปฏิบัติการสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์สู่ชุมชน ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน ๑๕๕๒ เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพิ่มเติม ดังนี้

คณะอนุกรรมการฝ่าย เลขานุการ การเงิน และประเมินผล

๑. นางสาวจันทิมา เขมะนุเชษฐ์

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ - แจ้งคณาจารย์เข้าร่วมโครงการ ประสานงานที่พัก ติดต่อสถานที่จัดสัมมนา - ประสานงานกับอาจารย์ในภาควิชา / สาขาวิชา เพื่อเข้าร่วมสัมมนาฯ / สร้างสรรค์ผลงาน - ประสานการจัดสัมมนา และการปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน - จัดเตรียมวัสดุฝึกปฏิบัติ อุปกรณ์โสต - จัดทำแบบลงทะเบียน จัดทำแบบประเมินผล แจกสูจิบัตร - สรุปรายงานทางการเงิน และสรุปผลการดำเนินงาน - ประสานงานร่วมกับคณะอนุกรรมการฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สั่ง ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

(รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์

84




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.