Dec'Journal Vol. 2

Page 1



คำนำ เป็นอีกความพยายาม และการผลักดันในความก้าวหน้าทางวิชาการ ของคณะมัณฑนศิลป์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่คณาจารย์มีช่องทางในการเผยแพร่ ผลงานวิชาการของแต่ละท่านสู่สังคม วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับที่ 2/2550 จึงเกิดขึ้นด้วยความ ร่วมมืออันเข้มแข็งของคณะทำงานที่ดำเนินการอย่างมีขั้นตอนที่เหมาะสม โดย บทความทุกบทความได้ผ่านการพิจารณา และได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขานั้นๆ ก่อนจะมาสู่สายตาของผู้อ่าน เป็นที่น่ายินดีว่าในวารสารฉบับนี้ มีบทความจากทุกภาควิชาที่ ให้ความ ร่วมมือ โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานวิชาการจากคณาจารย์รุ่นใหม่ และได้รับความ อนุเคราะห์บทความวิชาการจากผู้ช่วยศาสตราจารย์วรดิษ กาญจนอัครเดช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภกา ปาลเปรม มาร่วมเสริมความเข้มแข็งให้แก่วารสาร วิชาการฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตจะมีวารสารวิชาการเล่มต่อไปออกมา อย่างต่อเนื่องและต้องขอขอบคุณพร้อมทั้งให้กำลังใจกองบรรณาธิการและ คณะทำงาน ที่ทำให้วารสารสำเร็จลุล่วงมาได้ด้วยดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน คณบดี คณะมัณฑนศิลป์


วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับที่ 2/2550 ISSN 1906 0238 กองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำ้ฝน ไล่สัตรูไกล รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ วงศ์พันธุเศรษฐ์ อาจารย์สิทธิโชค ชัยวรรณ นางมาลินี วิกรานต์ กองบรรณาธิการฝ่ายศิลปกรรม อาจารย์นพดล ยุทธมนตรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี อาจารย์อุณรุท กสิกรกรรม อาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ ศิริเวสมาศ นางภาวนา ใจประสาท นายสิทธิชัย คำคง พิมพ์ที่ Graphic Box 11/586 ถ.สุขาภิบาล-บางกะปิ เขตลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทร. 02 935 8610


สารบัญ 5

15 23 33 47

55 79

87

13 ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่สำหรับขนมไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาขนมไทย จังหวัดเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรดิษ กาญจนอัครเดช 21 เคลือบผลึก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภกา ปาลเปรม 31 สื่อแฝงในบรรยากาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี 45 ศิลปะเครื่องประดับกายสัมผัส กับการสักการะทางจิตวิญญาณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ 53 ตัวอย่างการบูรณาการศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมประยุกต์ สู่ประเด็นในการออกแบบภายใน: กรณีศึกษาพุทธสถาปัตยกรรม ในจินตภาพวัยรุ่นไทยปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ 77 ศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์ สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สุพิชญา เข็มทอง 85 โครงการออกแบบงานสร้างสรรค์ประติมากรรม ภายในห้องประชาสัมพันธ์ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง โครงสร้างอารมณ์จากธรรมชาติ กรกต อารมย์ดี 99 โครงการออกแบบศิลปะภาพพิมพ์เพื่อติดตั้ง ”เดอะ สปา” เรื่อง ”ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” สรรพจน์ มาพบสุข



ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่สำหรับ ขนมไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าและ ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาขนมไทย จังหวัดเพชรบุรี The Prototype Packages of Thai Dessert for Value Added and Tourism Business Promotion: Case Study of Thai Dessert at Petchburi Province

คณะผู้วิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรดิษ กาญจนอัครเดช | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ วงศ์พันธุเศรษฐ์ | อาจารย์ ศักดิ์ศยาม พงษ์ดำ | อาจารย์ อินทิรา นาควัชระ | นางมาลินี วิกรานต์ | นางภาวนา ใจประสาท บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพชรบุร ี ให้เป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ของลักษณะสินค้าที่มีเอกลักษณ์และส่งเสริมธุรกิจ การท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี โดยวิธีการสำรวจและศึกษาข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาเป็นกรอบในการออกแบบ การวิเคราะห์เพื่อนำเสนอการพัฒนา บรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยวิธีการออกแบบตามระดับและกลุ่มผู้บริโภค การทดสอบ แบบกับกลุ่มเป้าหมาย การปรับปรุงแบบ การพัฒนาต้นแบบ และการนำเสนอ ผลการออกแบบต่อกลุ่มผู้จำหน่าย คณะผู้วิจัยได้จัดจำแนกการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามกลุ่มผู้บริโภค เป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม A เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อขนมเพื่อเป็นของขวัญ หรือเพื่อเป็น นักท่องเที่ยวที่ซื้อขนมเป็นของฝากโดยคำนึงถึงความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ กลุ่ม B เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อขนมเป็นของฝากและคำนึงถึงราคาของสินค้าที่ เหมาะสมพร้อมรูปแบบบรรจุภัณฑ์ตามสมควร และกลุ่ม C เป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อ เพื่อบริโภคเองเป็นหลัก หรือลูกค้าในท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรีเอง ซึ่งคำนึงถึง ถึงรสชาติและความเชื่อถือในฝีมือการผลิตขนม ผลการวิจัย จากต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้งสิ้นรวม จำนวน 49 แบบ แบ่งเป็นงานออกแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่ม A จำนวน 23 แบบ งานออกแบบ บรรจุภัณฑ์กลุ่ม B จำนวน 18 แบบ และงานออกแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่ม C จำนวน 8 แบบสรุปผลการวิจัยที่นำเสนอเป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับ ขนมไทยเพชรบุรี ดังนี้ 1. การออกแบบโครงสร้าง รูปร่าง รูปทรงของบรรจุภัณฑ์ขนม จะ ตอบสนองเรื่องความเหมาะสมกับ ขั้นตอนการบรรจุใส่ โดยพบว่าการบรรจุขนม โดยร้านค้าที่ผลิตขนมเอง ส่วนใหญ่ของบรรจุภัณฑ์จะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่พิมพ์ เสร็จแล้ว หรือชิ้นส่วนบางชิ้นเท่านั้น การออกแบบจึงมุ่งเน้นงานโครงสร้างที ่


สามารถรักษารูปทรงทางกายภาพของขนมได้คงเดิมจาก การขนส่ง และป้องกันความเสียหายต่อรูปทรงขนมที่อาจ เกิดขึ้นระหว่างการกระจายสินค้าเพื่อจำหน่าย 2. การออกแบบในส่วนกราฟิก เป็นการสร้าง ยี่ห้อให้เห็นภาพลักษณ์ของสินค้าขนมไทยเพชรบุรี การ ออกแบบส่วนนี้เน้นการแสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี ให้โดดเด่น โดยนำกราฟิกแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้ง สถานที่และวัฒนธรรมเพชรบุรีมาเป็นส่วนประกอบของงาน ออกแบบ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอการสร้างงานกราฟิก ให้เป็นชุดบรรจุภัณฑ์ โดยรวมขนมประเภทเดียวกันหลายๆ ชนิด และสร้างเอกลักษณ์ให้กับชุดขนมนั้น เพื่อบอกให้รู้ ว่าขนมชุดนั้นมาจากแหล่งผลิตที่มีเอกลักษณ์เดียวกัน คือ จังหวัดเพชรบุรี และยังออกแบบให้ขนมดูสะดุดตาชวนเชิญ ให้ผู้บริโภคซื้อ รวมถึงการจัดระดับการออกแบบกราฟิก ตามการวางตำแหน่งของสินค้าในตลาดและวัตถุประสงค์ ในการซื้อของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย Abstract The objective of this research study was to design Petchaburi Province Sweets Packages in order to strengthen their product identity, and to promote Petchaburi tourist industry. Research strategy comprises 2 stages: 1. Data survey and study on Thai sweets, food packaging, consumer needs and behavior, local sweet shops and their distributors. 2. Data analysis and summary: design conceptis set by testing the preliminary design to the target consumer, then using the test results to develop the prototypes, before presented the design to the sweet-shops and their distributors. The research study has categorized consumer into 3 groups: A Group was the customer who bought the sweets for souvenirs. Their buying behavior concerns with aesthetics, product & package identity, and transportation.

B Group was the customer who bought the sweets as presentation to their friends and family members. Their concerns were the product price versus quantity, and design of the packages. C Group was the customer who bought the sweets for their own consumption. Their concerns were mainly on the quality of sweets. The outcome of the study was 49 package designs: 23 designs were for Group A customer, 18 designs were for Group B customer, 8 designs were for Group C customers. The design process was divided into Structural Design and Graphic Design. Structural Design; the study revealed that cookhouses and distributors in Petchburi province were mainly small and medium enterprises. They did not have substance financial capital to invest in fully automated package industrial systems, therefore, common packages which were readily available in the market were suitable for the principal structural design. These packages were inexpensive, they provided adequate physical protection to the sweets, convenient to pack, print, and transport. In general, the die-cut and the printing process were done by package manufacturers, forming the cartons and packing the sweets were done at the sweet-shops. Graphic Design; brand development was essential for customers to recognized on the sweets reputation. The sample trademarks on the package prototypes only aimed to visualize the using of the packages. Sweet-shops have to modify the logotypes to their own brands before register them as their trademarks. This graphic design process included the design for cooperate-identity, and design to suit target customers’ taste. The Petchburi identity was developed by using tourist attractions, Petchburi culture, and local natural materials as inspirations for the design.


ความเป็นมาของปัญหาการวิจัย ขนมไทย นับได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่กับสังคมไทยมาช้านาน หากแต่ยังไม่ได้ ถูกให้ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจน ให้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และช่วย ในการส่งเสริมให้เกิดความสามารถขยายตลาด เพื่อสร้างรายได้ ช่วยให้เกิด การจ้างงาน ทั้งแรงงานคนและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่จัดได้ว่าเป็น อาชีพของกลุ่มคนระดับรากหญ้าในสังคมส่วนใหญ่ของประเทศไทย ขนมไทย เพชรบุรีเป็นผลิตผลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี มีลักษณะเฉพาะตัวของ ตนเองและถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าควรแก่การส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนารูปแบบ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้สามารถจัดจำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง และเป็นสากล ปัญหาของบรรจุภัณฑ์เดิมของขนมไทยเพชรบุรีที่พบคือ ยังไม่มี ภาพลักษณ์ดึงดูดหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภค และให้การปกป้อง คุ้มครองตัวขนมได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังไม่สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคใน ความสะอาดของบรรจุภัณฑ์เดิม ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล ไม่เอื้อ ต่อการขยายตลาดเพื่อเพิ่มการผลิต จึงไม่สามารถกระจายตัวให้เป็นไปใน ทิศทางที่ต้องการได้ คณะวิจัยได้เล็งเห็นว่าการช่วยส่งเสริมในด้านศักยภาพที่ม ี อยู่ของคณะวิชามัณฑนศิลป์ ในการวิจัยเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ของไทยที่จะช่วยให้เกิดการส่งเสริมการขาย การขยายตลาด การปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้สามารถนำพาไปจำหน่ายในที่ต่างๆ ได้ง่ายและสะดวก อีกทั้ง เพิ่มรูปลักษณ์ใหม่ พร้อมกับนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี ที่ เป็นแหล่งผลิตสินค้าไปด้วยในตัว ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า โดย การนำเสนอรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ใหม่สำหรับขนมไทยที่มีเอกลักษณ์ของ จังหวัดเพชรบุรี วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่สำหรับขนมไทย โดยใช้จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดต้นแบบในการวิจัย ด้วยชื่อเสียงอันเป็นที่รู้จัก ของจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องขนมไทย ทำให้เกิดเป็นภาพสะท้อนอย่างชัดเจนของ การวิจัยที่จักส่งผลในการช่วยส่งเสริมได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ประกอบ การภายในจังหวัดเพชรบุรี และเป็นต้นแบบแก่จังหวัดอื่นๆ ที่มีการผลิตขนมไทย จำหน่าย อันเป็นการยังประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาติให้เกิด การตื่นตัวโดยรวมทุกๆ แหล่งผลิตต่อไป สมมติฐานการวิจัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทยเพชรบุรี ให้เป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ใหม่จะมีความสัมพันธ์กับการออกแบบโครงสร้างที่สามารถรักษารูปทรงทาง กายภาพของขนมได้คงเดิมจากการขนส่ง การป้องกันความเสียหายของรูปทรง ขนมระหว่างการขนส่ง และการออกแบบกราฟิกตามระดับการวางตำแหน่งของ สินค้าในตลาด การจำแนกกลุ่มลูกค้า และการแสดงเอกลักษณ์ของจังหวัด เพชรบุรี

รูปที่ 1 พิพิธภัณฑ์พระราชวังบ้านปืน สถานที่ท่องเที่ยวอันทรงคุณค่าของจังหวัดเพชรบุรี รูปที่ 2 พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี


3

4

5

6

วรรณกรรม กรอบแนวความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย กรอบ แนวความคิด ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามหลักการออกแบบ บรรจุภัณฑ์อาหาร (ปุ่น คงเจริญเกียรติ: 2541) กำหนดไว้ดังนี้ 1. บรรจุภัณฑ์จะต้องดูสะอาด ให้ความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่สามารถ รับประทานได้ โดยเน้นความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ด้วยวัสดุที่ ใช้สีที่พิมพ์ลงใน ลักษณะของกราฟิก 2. บรรจุภัณฑ์สามารถมองเห็นรูปลักษณ์ขนมที่บรรจุอยู่ภายใน โดย พิจารณาควบคูก่ บั ระยะเวลา ขนมรอการจำหน่าย เวลาของการขนส่งบรรจุภณ ั ฑ์ เพื่อกระจายการจำหน่าย 3. บรรจุภัณฑ์ควรมีรูปลักษณ์ที่น่ารักสวยงาม มากกว่าดูจริงจังเป็น ทางการซึ่งใช้บรรจุขนมที่เป็นของทานเล่นหรือเป็นของว่าง ใช้ทานเป็นส่วนเสริม 4. บรรจุภัณฑ์ควรมีลักษณะที่สามารถปกป้อง หรือป้องกันสิ่งที่มี ผลกระทบต่อสภาพขนมที่บรรจุอยู่ภายในได้ดีตามสภาพ โดยเกณฑ์กำหนดของ ข้อมูลที่ต้องแจ้ง ได้แก่ • ชื่อผลิตภัณฑ์ • ส่วนผสม • ปริมาณสุทธิ • วันหมดอายุ • สภาวะในการเก็บหรือสภาวะในการใช้ • ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้บรรจุ หรือผู้ขาย • แหล่งกำเนิดสินค้า • ข้อเสนอแนะในการบริโภค ทฤษฎี ท ี ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การวิ จ ั ยใช้ ห ลั ก การสื ่ อ สารบนบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ (GRAPHIC ON PRODUCT) เพราะหากบรรจุภัณฑ์ที่ทำขึ้นไม่มีลักษณะพิเศษ หรือเป็นบรรจุภัณฑ์มาตรฐานที่มีจำหน่ายทั่วไป เช่น กล่อง ถุง ซอง แล้ว ข้อมูล การสื่อสารที่เป็นลักษณะของภาพกราฟิกก็จะเป็นตัวสำคัญที่ต้องพิจารณาใน การออกแบบต่อไป

7 รูปที่ 3-4 ลักษณะบรรจุภัณฑ์และกราฟิกจากต่างประเทศ รูปที่ 5-6 บรรจุภัณฑ์ขนมไทยที่แสดงตนของขนมที่บรรจุอยู่ภายใน รูปที่ 7 บรรจุภัณฑ์ขนมไทยที่มีกราฟิกด้านสีสันเป็นชุดเน้น ความอ่อนหวานสวยงาม รูปที่ 8 บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโครงสร้างให้ปกป้องสินค้า และแสดงรายละเอียดข้อมูลของสินค้าภายใน

8


ระเบียบวิธีวิจัย • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โครงการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่ม เป้าหมายตามหัวข้อโครงการที่ได้กำหนดไว้คือจังหวัดเพชรบุรี โดยจัดแบ่งเป็น ดังนี้ ประชากร ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภคขนมไทยประเภทขนม อบกรอบ นึ่ง ขนมประเภทเชื่อม ขนมประเภทกวน ในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และวิธีบังเอิญจากกลุ่มผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และกลุ่มผู้บริโภคจากร้านขนมภายใน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 150 คน • เครื่องมือวิจัยประกอบ - แบบสัมภาษณ์ ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค - แบบสอบถามในการทดสอบแบบ - ต้นแบบทดสอบบรรจุภัณฑ์ขนาดเท่าจริง จำนวนประมาณ 80 แบบ • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สำรวจรูปแบบ คุณสมบัติและบรรจุภัณฑ์ของขนมที่มีการ ผลิตในตลาด 2. ศึกษาความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับขนม เพื่อใช้ เป็นข้อมูลในการออกแบบ 3. รวบรวมข้ อ มู ล ขนมที ่ เ ป็ น ความนิ ย มของผู ้ บ ริ โ ภคจาก ผู้จำหน่ายและการรวบรวมข้อมูล โดยการสอบถามตรงจาก ผู้บริโภค และการสังเกตการณ์ 4. จัดจำแนกขนมตามระดับการบริโภคของกลุ่มลูกค้า เพื่อใช้ เป็ น ข้ อ มู ลในการแจกแจงงานบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ท ี ่ น ำไปสู ่ ก าร พัฒนางานออกแบบในขั้นต่อไป 5. รวบรวมข้อมูลลำดับความต้องการ ประเภทของขนมที่ ใช้ บรรจุ คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแบบ การปฏิบัติงานภาคสนามในพื้น ที่เ ป้ า หมายเพื ่ อ การเก็ บ รวบรวม ข้อมูลมีจำนวนรวม 5 ครั้ง ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ 3 ครั้ง การลงพื้นที่เพื่อการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและทดสอบต้นแบบ เพื่อการ พัฒนารวม 2 ครั้ง และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิต ผู้สนใจ และผู้มีส่วนในการเรียนการสอน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจัดสัมมนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อแนะนำการ ผลิตแบบ และเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาแบบ ได้จัดแบ่งการวิเคราะห์ ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการตอบแบบสอบถาม การสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค และการให้ข้อมูลของผู้ประกอบการการสรุปเพื่อ วิเคราะห์ ในขั้นที่ 2 ออกแบบและทดลองทำเป็นต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการ ทดสอบบรรจุจริง ทั้งขนมชนิดทำขายวันต่อวัน และขนมอบกรอบแบบที่วาง


9

14 10

16 11

15

12

13

10

17

รูปที่ 9 ขนมหวานเมืองเพชรบุรีในบรรจุภัณฑ์แบบถาดอลูมิเนียม และถาดพลาสติก รูปที่ 10 ขนมบ้าบิ่นในบรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนาจากถาดเป็นลักษณะถ้วยกระดาษฟอยด์ขนาดพอดีคำ และบรรจุบนถาดโฟมและห่อหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกใสเพื่อแสดงตนของขนม(รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของขนม ไทยเพชรบุรีที่พบเห็นได้ทั่วไป และเกือบทุกชนิดและประเภทของขนม รูปที่ 11 ขนมผิงในบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นถุงพลาสติกใส มีพบเห็นได้ทั่วไปช่วงก่อนการวิจัย รูปที่ 12 ขนมเสน่ห์จันทร์ในบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นถาดพลาสติกใส มีพบเห็นได้ทั่วไปช่วงก่อนการวิจัย รูปที่ 13 ขนมจ่ามงกุฎในบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นถาดพลาสติกใส มีพบเห็นได้ทั่วไปช่วงก่อนการวิจัย รูปที่ 14 บรรจุภัณฑ์ใหม่ผลไม้กวนที่ออกแบบโครงสร้างกระดาษขึ้นรูปทั้งหมด รูปที่ 15 บรรจุภัณฑ์ใหม่ขนมจ่ามงกุฏที่ออกแบบให้นำเสนอความสวยงามของสี และรูปลักษณ์ขนมได้ อย่างเชิญชวนให้ลองชิม รูปที่ 16 บรรจุภัณฑ์ใหม่ขนมหม้อแกงต้นแบบใหม่ รูปที่ 17 บรรจุภัณฑ์ชุดขนมเชื่อมที่แสดงชนิดขนม และ ความใหม่สดของขนม


จำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ โดยผลการสรุปรวมที่นำมาวิเคราะห์ทั้ง 2 ขั้นนั้น สามารถนำเสนอเป็นต้นแบบได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ผลการวิจัย และการอภิปรายผล จากการวิจัยครั้งนี้ ได้สรุปเป็นแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบจำนวนรวม 49 แบบ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลสนองต่อความสัมฤทธิ์ผลที่มุ่งหวังไว้ 5 แนวทาง ด้วยกัน 1. บรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ลักษณะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัด เพชรบุรี 2. บรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะที่มีเอกลักษณ์ไทยในด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยและจังหวัดเพชรบุรี 3. บรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะความสวยงามทางศิลปะไทย ผสมผสานหลัก การออกแบบ 4. บรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะรูปแบบสากลตามสมัยนิยม 5. บรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะของการใช้วัสดุธรรมชาติภายในท้องถิ่น นอกเหนือจากสรุปผลข้อมูลการวิเคราะห์ข้างต้น นำมาทำเป็นต้นแบบ ของบรรจุภัณฑ์ขนมไทย ตามเป้าหมายแล้ว ทำให้ได้รับทราบถึงข้อมูลที ่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดจำหน่ายและผลิตผลของการทำขนม ดังนี้ ตัวแปรที่เป็นปัจจัยในการตัดสิน นำบรรจุภัณฑ์มาใช้บรรจุภัณฑ์ขนมไทย เพื่อจำหน่าย ได้แก่ 1. ความมั่นใจในความมีชื่อเสียงของฝีมือทำ หรือรสชาติขนมที่อร่อย ทำให้ไม่เห็นความจำเป็นว่าบรรจุภัณฑ์จะมาช่วยในการขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ 2. ชนิดขนมที่ทำขายวันต่อวัน ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะนำไปรับประทาน หมดภายในวันเดียวหรือไม่เกินกำหนด โดยไม่ใส่ใจกับบรรจุภัณฑ์มากนัก 3. ผู้ผลิตขนมยังผลิตขนมขายแบบดั้งเดิมคือ ผลิตขนมในปริมาณ พอดีกับจำนวนที่คิดว่าจะขายได้หมดในเวลาครึ่งวัน หรือเฉพาะที่กำหนดไว้ว่า ให้หมดพอดีกับเวลาที่ตั้งไว้ เป็นแบบเมื่อขนมหมดก็หมดเลยไม่ทำเพิ่มหรือทำ ให้ปริมาณมากกว่าเดิม ในวันต่อไปจะใช้วิธีให้ลูกค้ามาซื้อให้ทันเวลาในวันรุ่งขึ้น 4. ผู้ผลิตสินค้ายังไม่มีความคิดที่จะขยายตลาด หรือแสวงหาตลาด ใหม่ๆ เพราะการทำขนมจำหน่ายยังมีลักษณะเป็นแบบธุรกิจขนาดเล็ก ลักษณะ ผลิตภัณฑ์ภายในครอบครัวอยู่ ไม่มีการตลาดมาบริหารให้เกิดวงจรทางธุรกิจได้

11


5. ขาดความเข้าใจถึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสากล โดยมุ่งแต่จะ นำเสนอขนมของที่ผลิตจำหน่าย ทำให้ภาพของบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนเกินและเพิ่ม ต้นทุนในการขาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องการนำเสนอสิ่งที่คิดว่าต้องการให้ลูกค้า สามารถจดจำ เช่น รปู ถ่ายเจ้าของ สรรพคุณขนมทีท่ ำ โดยไม่คำนึงถึงภาพลักษณ์ ที่แสดงออกทางศิลปะของรูปทรงสีสัน คุณสมบัติ ลักษณะของวัสดุที่ ใช้ทำ บรรจุภัณฑ์ 6. ขาดความเข้าใจถึงความเป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัย ในทุก ขั้นตอนของการผลิตขนมที่ต้องรักษาความสะอาดทั้งเบื้องหน้า (ส่วนวางจำหน่าย) และเบื้องหลัง (ส่วนที่ ใช้ปรุงขนม) ได้แก่ การปกปิดที่มิดชิด ของทุกสภาพ ทุกขั้นตอนที่ทำขนม ภาชนะที่ ใช้ตักตวง ภาชนะในการผสมส่วนประกอบ ตลอดจนมีสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงอยู่ภายในบ้านยังมีลักษณะปะปนไปกับกระบวนการ ของการผลิตขนมอย่างล่อแหลมต่อการปนเปื้อน ซึ่งข้อนี้ควรจะให้ความสำคัญ มาก เพราะหากสามารถนำเสนอความสะอาดควบคู่กับรสชาติขนมที่อร่อยแล้ว จะทำให้มีความมั่นใจในการนำเสนอ เพื่อการจัดจำหน่ายได้อย่างที่มาตรฐาน สากลยอมรับ ข้อเสนอแนะ โดยธรรมชาติของขนมไทยจะมีลักษณะรูปแบบที่สวยงาม จากการ ออกแบบประดิษฐ์ประดอยด้วยความประณีตพิถีพิถัน เป็นลักษณะแบบอย่าง ที่ทำแบบงานฝีมือ โดยมีวิธีการทำอย่างประณีตบรรจงมาจากราชนิกูล หรือเป็น แนวที่ทำขึ้นจากในวังมาก่อน ที่จะสืบสานถ่ายทอดออกมาสู่สังคมทั่วไปภายนอก ขนมไทยจึงคงคุณค่ารูปลักษณะสวยงามดูมีคุณค่าน่ารับประทาน ทั้งสีสันที่ เหลืองหอม ผ่านการอบกรอบ จนมีกลิน่ หอมหวนชวนรับประทาน อันเกิดจากส่วน ประกอบที่ได้นำมาทำเป็นส่วนผสม และจากกลิ่นหอมที่ปรุงแต่งเพิ่มเติมได้แก่ กลิ่นหอมของดอกไม้ กลิ่นหอมของเทียนหอม และกลิ่นหอมของส่วนประกอบ ของขนมเอง เช่น มะพร้าว น้ำตาลโตนด ฯลฯ คุณค่าที่มีอยู่ของขนมไทยต่างๆ เหล่านี้ควรที่จะนำมาถ่ายทอดลงผ่านการสื่อสารแก่ผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความ รู้สึกซาบซึ้งนอกเหนือจากรสชาติที่ได้รับ ซึ่งปัญหาของกราฟิกที่นักออกแบบที่ จะต้องเจอก็คือ รายละเอียดต่างๆ ที่จะต้องคงไว้ หรือที่จะต้องมีตามมาตรฐาน ของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความต้องการของลูกค้า หากลูกค้า เข้าใจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักออกแบบ งานออกแบบกราฟิกก็จะง่ายขึ้นใน ระดับหนึ่ง หรือไม่ก็จะสามารถมีความสวยงามตามลักษณะแบบอย่างทางทฤษฎี ศิลปะได้ แต่หากลูกค้าเข้ามามีส่วนในการกำหนด หรือตัดสินใจตัวกราฟิกด้วย แล้วก็จะทำให้งานที่ทำออกมาบางครั้งจะไม่ได้ดังความรู้ความสามารถของ นักออกแบบที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดออกมาเองได้ทั้งหมดอย่างถูกต้อง เช่น ลูกค้า ต้องการใช้ชื่อสินค้าปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดใหญ่ตัวโตดูเด่นเห็นชัดกว่า ส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้การจัดวางองค์ประกอบในภาพรวมจะไม่ได้ความสอดคล้อง หรือกลมกลืนกัน

12


เอกสารอ้างอิง ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสาขาสินค้าหัตถอุตสาหกรรมไทย , หอการค้า สมาคมการบรรจุหีบห่อไทย เอกสารการสัมมนา เรื่อง “การเพิ่มมูลค่า หัตถกรรมด้วยการบรรจุหีบห่อ” วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 โรงแรมอิมพีเรียล , 215 หน้า. อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล และคณะ หีบห่อจากวัสดุธรรมชาติ : การศึกษางานออกแบบเพื่อการอนุรักษ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร .2546. Griffin,Roger C. Principle of Package Development U.S.A. : Van Nostrand Reinhold Company , 1985. Hine , Thomas. The Tole Package. U.S.A. : Little Brown and Company, 1995. Oka, Hideyuki. How to Wrap Five Eggs. Tokyo : Bijutsu Shuppan-Sha & John Weatherhill, 1969. Papaleck, Victor. Design for the Real World. New York : Pantheon Books, 1971.

13


14


เคลือบผลึก Crystalline Glazes

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกา ปาลเปรม เคลือบผลึก เป็นเคลือบที่มีลักษณะพิเศษ และมีเสน่ห์ที่มีความงดงาม เฉพาะตน เคลือบผลึกเกิดจากการตกผลึกของสารบางตัวที่แยกออกมาให้เห็น ได้ และมีลักษณะเป็นดอกดวงขนาดใหญ่ หรือเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นเส้นคล้าย เข็มก่ายซ้อนกันอยู่ในผิวเคลือบหรือบนผิวเคลือบ ผลึกของเคลือบมีรูปร่างที่ หลากหลาย การตกผลึกของเคลือบจะเกิดขึ้นได้เมื่อทำให้เคลือบเย็นตัวลงใน สภาวะที่ควบคุมไว้เป็นพิเศษ เคลือบผลึกถูกพบครั้งแรกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย Mr. Ebelman ชาวเยอรมัน เป็นคนแรกที่ค้นพบวิธีการทำ และนำออก เผยแพร่สู่สาธารณชน เคลือบผลึกสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรก เป็นผลึกที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Micro Crystalline) ต้องใช้กล้องส่องขยายดูจึงจะเห็นได้ เนื่องจากผลึกที่เกิดขึ้นเป็น ผลึกที่มีขนาดเล็กมากและเกิดขึ้นอย่างหนาแน่น จนทำให้การมองด้วยตาเปล่า ปรากฏเห็นเป็นพื้นผิวที่มีลักษณะด้าน หรือกึ่งด้านกึ่งมัน ดูอ่อนนุ่มเป็นประกาย หรือเป็นเงามันคล้ายหินที่มีความมัน หรือคล้ายกับพื้นผิวของเปลือกไข่ที่มีความ นุ่มเมื่อสัมผัส หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เคลือบด้าน (Matt Glaze) ประเภทที่สอง เป็นผลึกที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Macro Crystalline) หรือเป็นผลึกที่เกิดขึ้นภายในเคลือบ หรือผิวเคลือบ เคลือบผลึก ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ 1. เคลือบอะเวนทูริน (Aventurine Glazes) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เคลือบทรายทอง เป็นเคลือบผลึกชนิดหนึ่งที่มีขนาดของผลึกใหญ่เพียงพอที่จะ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลักษณะของผลึกที่เกิดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ ที ่ เรียกว่า Flitter ซึ่งอยู่ภายในผิวเคลือบ หรืออาจมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ที่วางตัวซ้อนกันอยู่ในลักษณะที่สามารถสะท้อนแสงจากด้านในของผลึก ทำให้ มีลักษณะเป็นประกายดูระยิบระยับคล้ายกากเพชร หรือแร่ที่เรียกว่า Cat eye ส่วนมากผลึกของเคลือบอะเวนทูรีน เกิดจากการรวมตัวกันของซิลิกา (Silica) กับแร่ชนิดต่างๆ เช่น แร่เหล็ก (Haematite) หรือโครเมียม (Chromium) เป็นต้น แล้วเกิดการตกผลึกที่มีขนาดเล็กจำนวนมากมายที่มีลักษณะสะท้อน แสงเป็นประกายดังกล่าว

(บน) ที่มา: www.samhoffman.com/New : สิงหาคม 2549 (ล่าง) ที่มา: www.billboydceramics.com : สิงหาคม 2549

15


แสดงลักษณะของเคลือบอะเวนทิวริน ที่ผู้เขียนทดลอง ที่มา : ถ่ายภาพโดยผู้เขียน : 6 กันยายน 2549

แสดงลักษณะผลึกรูปแบบต่างๆ โดยผลการทดลองของผู้เขียน ที่มา : ถ่ายภาพโดยผู้เขียน : 6 กันยายน 2549

16

ปัจจัยสำคัญในการทำเคลือบอะเวนทูรีน ได้แก่ ส่วนผสมของเคลือบ ต้องมีอลูมินาผสมอยู่ในปริมาณน้อย ใช้ออกไซด์ของโลหะ เช่น เหล็กออกไซด์ และโครเมียม ออกไซด์ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปเคลือบอะเวนทูรีน จะมีส่วน ผสมของเหล็กออกไซด์ อยู่ประมาณร้อยละ 8-15 ที่เรียก อีกชื่อหนึ่งว่า เคลือบเทมโมกุ (Temmoku) หรือใช้โครเมียม ออกไซด์อยู่ประมาณร้อยละ 10 ผสมลงในเคลือบที่มีตะกั่ว เป็นส่วนผสม และปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเย็น ตัวของเคลือบ ต้องปล่อยให้เคลือบเย็นตัวอย่างช้าๆ จึงจะมี ผลึกเกิดขึ้น (Hopper, 1984 :114-116) 2. เคลือบผลึก (Crystalline Glazes) เป็นเคลือบ ที ่ ถ ื อ เป็ น แบบฉบั บ ของเคลื อ บผลึ ก ทั ้ ง หมดที ่ ก ล่ า วมา ลักษณะของผิวเคลือบจะมีผลึกเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ หรือ อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วน ผลึกบางส่วนอาจซ่อนอยู่ใต้ผิว เคลือบ หรือแทรกตัวอยู่ในผิวเคลือบที่หลอมเป็นแก้ว ผลึก ที่เกิดขึ้นโดยปกติจะเกิดเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วไปบนผิว เคลือบ สามารถมองเห็นเป็นดอกดวงได้อย่างชัดเจน นับ เป็นความอัศจรรย์ยิ่งที่ชวนให้ค้นหาและทดลองทำ เคลือบ ผลึกที่อยู่ในกลุ่มนี้เกิดจากการใช้สังกะสีออกไซด์ (Zinc oxide) ผสมเข้าไปในเคลือบเพื่อให้ทำปฏิกิริยากับซิลิกาที่ ผสมอยู่ในเคลือบ เกิดเป็นซิงค์ซิลิเกต (Zinc Silicate หรือ ZnO2.SiO4 หรือ 2ZnO.SiO2 ) ที่จะตกผลึกในเคลือบเมื่อ เผาให้ถึงจุดหลอมละลายของเคลือบ แล้วลดอุณหภูมิให้อยู่ ระหว่างช่วง 1,000-1,180๐C ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่ทำให้ ซิงค์ซิลิเกตตกผลึกเป็นรูปต่างๆ ได้ดังภาพประกอบ การทำเคลือบผลึกนั้น มีความแตกต่างจากการ ทำเคลือบธรรมดา หรือเคลือบที่มีความมันวาวทั่วๆ ไป เนื่องจากมีเรื่องของเทคนิควิธีการทำที่ซับซ้อน ประกอบกับ มีองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการตก ผลึกขึ้นในเคลือบ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เคลือบ เกิดการตกผลึก มีดังนี้ 1. วัตถุดิบที่ ใช้ในการทำเคลือบผลึกนั้นจะต้องมี ปริมาณของสารประกอบจำพวกอลูมินา (Alumina) หรือ สารที่อยู่ในกลุ่มกลางผสมอยู่ในปริมาณน้อย เนื่องจาก เคลือบผลึกต้องการการไหลตัวของเคลือบสูง และสาร จำพวกด่างจะช่วยให้เคลือบมีการไหลตัวได้มากขึ้น ในทาง ตรงกันข้ามเนื่องจากอลูมินาจะเป็นตัวเพิ่มความหนืดให้แก่


เคลือบ และทำให้เคลือบไหลตัวได้ยาก อลูมินาจึงเท่ากับ เป็นตัวที่ขัดขวาง หรือตัวควบคุมอัตราการเกิดผลึก ขนาด ของผลึก และการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิของเคลือบ ดังนั้นในเคลือบผลึกจึงควรมีอลูมินาผสมอยู่ในช่วงระหว่าง 0.2 - 0.5 โมเลกุล 2. สารเคมีที่ใช้ในเคลือบผลึก โดยเฉพาะสารเคมี ที่อยู่ในกลุ่มด่าง (Basic oxide) ควรเป็นสารเคมีที่ม ี น้ำหนักอะตอมต่ำและใช้ในปริมาณมาก ซึ่งได้แก่ โซเดียม (Sodium), โพแทสเซียม (Potassium), แคลเซียม (Calcium), แมกนีเซียม (Magnesium) และสังกะสี (Zinc) เป็นต้น เนื่องจากสารเหล่านี้จะช่วยให้เคลือบไหลตัวได้ด ี และเกิดการตกผลึกได้ง่าย นอกจากนี้การใช้สารจำพวก ด่างน้อยตัว จะให้ผลดีกว่าการใช้สารจำพวกด่างมากตัว ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการใช้ด่างจำนวนมากตัวจะทำให้ เคลือบหลอมเป็นแก้วมากกว่าการทำให้เคลือบตกผลึก ส่วนสารที่เป็นโลหะหนักหรือโลหะที่มีน้ำหนักอะตอมหนัก เช่น แบเรียม (Barium) และตะกั่ว (Lead) จะไม่ช่วยให้เกิด การตกผลึกในเคลือบ 3. สารเคมีที่อยู่ในกลุ่มกรด (Acid group) ซึ่งเป็น ออกไซด์ที่มีน้ำหนักอะตอมสูง เช่น ซิลิกา (Silica) และ ไทเทเนียม (Titanium) เป็นต้น จะเป็นตัวทำให้เคลือบเกิด การตกผลึกได้ดี 4. การใช้หินฟันม้า (Feldspar) ในเคลือบผลึก ควรเลือกใช้หินฟันม้าชนิดโซดา (Soda Feldspar) จะทำให้ เกิดการตกผลึกได้มากกว่า ขนาดใหญ่กว่า ซึ่งดีกว่าการใช้ หินฟันม้าชนิดโพแทส (Potash feldspar) เนื่องจากหิน ฟันม้าชนิดโซดามีจุดหลอมละลายต่ำกว่าหินฟันม้าชนิด โพแทส จึงทำให้เคลือบไหลตัวได้ดีกว่าด้วย 5. สารเคมีที่เป็นตัวสำคัญที่ทำเป็นตัวตกผลึกใน เคลือบ และทำให้เกิดผลึกขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ อย่างชัดเจนและนิยมใช้ทำเคลือบผลึกทั่วไป ได้แก่ สังกะสี ออกไซด์ (Zinc oxide), ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide) และเหล็กออกไซด์ (Iron oxide) สังกะสีออกไซด์ จะตกผลึกเป็นรูปพัด (เป็นส่วน ประกอบของ 2ZnO.SiO2 ) Mr.Purdy และ Mr.Kbielreh พบว่าอัตราส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์และอัลคาไลน์ (Alkali) พวกโซเดียมและโพแทสเซียม ควรอยู่ในช่วงดัง ต่อไปนี้ (อ้างจาก Parmelee,1951 :191)

ภาพผลึกของสังกะสีออกไซด์ และผลึกของไททาเนียมไดออกไซด์ตามลำดับ ที่มา : http://www.puckergallery.com : สิงหาคม 2549.

0.3 - 0.6 ZnO 0.7 - 0.4 KNaO ไททาเนียมไดออกไซด์ จะตกผลึกเป็นรูปเข็ม ซึ่ง บางครั้งอาจเกิดผลึกขนาดเล็กที่มีความหนาแน่นจนทำให้ ผิวเคลือบกลายเป็นเคลือบด้านไป Mr. Hein Severijns ชาวฮอลแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญ ในการทำเคลือบผลึก กล่าวถึงอัตราส่วนผสมที่เหมาะสม สำหรับการตกผลึกของ ซิงค์-แบเรียม-ซิลิเกต จะเกิดขึ้น เสมอเมื่อมีอัตราส่วนผสมในสูตรเอมไพริคัล (Empirical Formula) อยู่ในช่วงดังต่อไปนี้ (อ้างจาก Lane,1995 :180) KNaO 0.15-0.20 ZnO 0.35-0.50 BaO 0.20-0.40 . Al2O3 0.15-0.20 . SiO2 1.5-2.2 CaO 0.05-0.15 MgO 0.05-0.10 การเตรียมให้เคลือบเกิดผลึก สามารถเตรียมได้ 3 วิธี คือ 1. การเตรียมโดยใช้ตัวกลางในการทำให้เกิด การตกผลึกในเคลือบ ซึ่งได้แก่ สังกะสีออกไซด์ (ZnO), ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2), นิเกิ้ลออกไซด์ (NiO), แมงกานีสออกไซด์ (MnO) เป็นต้น ผสมลงในเคลือบ โดยตรง 2. การเตรียมโดยการนำตัวที่ทำให้เกิดการตก ผลึกในเคลือบมาทำให้อยู่ในรูปของฟริต (Frit)1 โดยทำ เฉพาะเคลือบที่มีส่วนผสมเป็น อัลคะไลน์ (Alkalines)2 เช่น โซเดียม (Sodium), โพแทสเซียม (Potassium) และ ลิเทียม (Lithium) ซึ่งมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ถ้าไม่ทำให้ เป็นฟริตเสียก่อนจะมีผล ทำให้ส่วนผสมในสูตรเคลือบไม่ คงที่ บางครั้งเกิดผลึกและบางครั้งอาจไม่เกิดผลึก ซึ่งขึ้นอยู่ 17


กับผลิตภัณฑ์ที่ชุบเคลือบนั้นว่ามีความสามารถที่จะดูดซับ เอาสารเหล่านั้นไว้ได้มากหรือน้อย เพราะสารพวกนี ้ ละลายปนอยู่ในน้ำที่ผสมเคลือบนั่นเอง ถ้าผลิตภัณฑ์ สามารถดูดซับเอาน้ำที่ผสมอยู่ในเคลือบไว้ได้มาก เคลือบก็ จะหลอมละลายและไหลตัวได้ดี มีผลให้เคลือบเกิดการ ตกผลึกได้ดีเช่นกัน และในทางตรงข้าม ถ้าผลิตภัณฑ์ สามารถดูดเอาน้ำที่ผสมอยู่ในเคลือบไว้ได้น้อยเคลือบก็จะ หลอมละลายและไหลตัวได้ยากมีผลให้เคลือบไม่เกิดการ ตกผลึก 3. การเตรียมโดยการทา หรือเคลือบสารที่ทำให้ เกิดการตกผลึกในเคลือบลงบนผลิตภัณฑ์ที่เผาเคลือบ แล้ว และนำไปเผาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง F.H. Norton ได้ทดลอง สร้างนิวเคลียส โดยใช้สังกะสีออกไซด์ 162 กรัม ผสมกับ ซิลิกา 60 กรัม บดเปียก แล้วใช้หลอดเป่าใส่เคลือบใน ขณะที่อุณหภูมิของเคลือบอยู่ในช่วงการตกผลึก หรือใช้ เหล็กปลายแหลมจุ่มส่วนผสมดังกล่าวไปติดบนผิวเคลือบ ขณะเผาชิ้นงาน หรืออาจใช้วิธีแต้มส่วนผสมดังกล่าวหลัง จากเผาเคลือบแล้ว และนำไปเผาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (อ้างจาก H.Sandess , 1974.: 21) เนื้อดินสำหรับการทำเคลือบผลึก เนื้อดินที่เหมาะกับการทำเคลือบผลึก ควรเป็น เนื้อดินที่มีเนื้อละเอียด มีพื้นผิวเรียบเนียน และไม่มีส่วน ผสมของดินเชื้อ (Grog) หรือทราย เนื่องจากพื้นผิวของดิน ที่มีเนื้อหยาบจากการผสมทรายหรือดินเชื้อนั้นจะรบกวน ผลึกที่เกิดขึ้นจนทำให้ผลึกขาดความแจ่มชัด นอกจากนี้สี ของเนื้อดินก็มีผลต่อเคลือบผลึกเช่นกัน เนื่องจากเคลือบ ผลึกจะมีความใสและเป็นมันวาว ดังนั้นเนื้อดินที่เหมาะสม กับเคลือบผลึกจึงควรมีสีขาวมากกว่าเนื้อดิน ที่มีสีเข้ม เพราะเนื้อดิน สีขาวจะช่วยขับสีของเคลือบที่มีความใส ความมันวาวและสีของผลึกให้ดูสดใสยิ่งขึ้น ดังนั้นเนื้อดิน ที่เหมาะกับการทำเคลือบผลึกจึงควรเป็นเนื้อดินสโตนแวร์ (Stoneware body) หรือดินพอร์สเลน (Porcelains body) เท่านั้น เนื่องจากมีเนื้อละเอียดและมีสีขาว นอกจากนี ้ ยังมีความทนไฟสูง สามารถทนความร้อนได้ตั้งแต่ 1,2501,300๐C

18

การเคลือบชิ้นงาน และการเตรียมชิ้นงานเข้าเผา เคลือบผลึกเป็นเคลือบที่ต้องการการเคลือบที่ มีความหนาของเคลือบมากกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไปเคลือบ ผลึกมักเคลือบให้มีความหนาของเคลือบประมาณ 1.5 - 2.5 มิลลิเมตร และเนื่องจากเคลือบผลึกมีการไหลตัวของ เคลือบสูงมากและมักไหลตัวอย่างอิสระกับพื้นผิวที่ลาด เอียงหรือพื้นผิวที่ตั้งในแนวดิ่ง ดังนั้นการใช้เคลือบผลึก จึงต้องคำนึงถึงข้อนี้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้น กับแผ่นรองเผาหรือชิ้นงานได้ง่าย เช่น เคลือบไหลจนติด แผ่นชั้นรอง และหากเคาะออกได้ก็มักเกิดการบิ่น หรือ แตกหักเสียหายของชิ้นงานได้หากขาดการป้องกัน ที่ด ี ดังนั้นการเตรียมชิ้นงานก่อนทำการเผาจึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง โดยทั่วไปจะใช้วงแหวนดิน (มีลักษณะคล้ายขา รองตู้กับข้าว) ที่ทำขึ้นด้วยดินขาว รองชิ้นงานไว้ไม่ให้ เคลือบไหลติดแผ่นชั้นรอง ซึ่งหลังจากเผาชิ้นงานแล้วจะ สามารถเจียรและขัดแหวนดินนั้นออกได้ง่ายโดยชิ้นงานไม่ แตกเสียหาย นอกจากนี้อาจใช้ส่วนผสมระหว่าง ดินขาว 1 ส่วน ผสมกับ ซิลิกา 1 ส่วนทาที่ฐานรอง 2-3 ชั้น (H: Sandess,1974 : 39) หรืออาจใช้ส่วนผสมระหว่างกาว 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 1 ส่วน และดินขาว ผสมกันและนำ ส่วนผสมนั้นมาปั้นเป็นวงแหวนดิน แล้วใช้อลูมินาไฮเดรท (Alumina hydrate) ทาตรงรอยต่อระหว่างชิ้นงานกับ ส่วนผสมดังกล่าว เพื่อให้สามารถแยกชิ้นงานออกมาได้ง่าย ภายหลังการเผา (www.http.//crystalline-ceramics. info/catchers.html :สิงหาคม 2549)

ลักษณะแหวนดินสำหรับใช้รองชิ้นงานในเตาเผา ที่มา : www.http.//crystalline-ceramics.info/catchers.html: สิงหาคม 2549


การเผาเคลือบผลึก การทำเคลือบผลึกนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการทำเคลือบ ชนิดอื่น นับจากปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการทำให้เคลือบตกผลึก และส่วนผสมของ เคลือบที่มีส่วนผสมที่ซับซ้อนดังกล่าวในข้างต้นแล้วนั้น การเผาเคลือบนับเป็น ขั้นตอนที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ด้วยเหตุที่ว่า อัตราส่วนผสมของเคลือบดี และเป็นไปตามปัจจัยที่กำหนดแล้ว แต่มิได้ควบคุมการเผาให้เป็นพิเศษตามแบบ ฉบับของการทำเคลือบผลึก ผลที่ได้ก็อาจไม่มีผลึกเกิดขึ้นให้เห็น หรืออาจมีแต่ ขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกลายเป็นเคลือบด้านไป การเผาเคลือบผลึกต้องมีการควบคุมอัตราเร่งของอุณหภูมิการเผาเป็นกรณี พิเศษ โดยเฉพาะในช่วงการเย็นตัวของเคลือบ เพื่อทำให้เคลือบเกิดการตกผลึก ที่มีขนาดใหญ่และมีความแจ่มชัด การเผาเคลือบผลึกตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงจุดสุกตัวของเคลือบ การเผา คงเป็นไปตามปกติของการเผาเคลือบทั่วๆ ไป แต่จะแตกต่างกับการเผาเคลือบ ทั่วๆ ไปตรงที่การควบคุมอัตราการเย็นตัวของเคลือบโดยการเผาเคลือบผลึก จะต้องควบคุมอัตราการเย็นตัวของเคลือบให้มีการเย็นตัวอย่างช้าๆ ในช่วง ระดับอุณหภูมิ 1,000-1,180๐C ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการตกผลึก ของเคลือบมากที่สุด และจะทำการเผายืนไฟ หรือเผาแช่ (Soaking)3 เป็น เวลานานประมาณ 1-6 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นช่วงที่เคลือบมีการเคลื่อนตัวช้าลงและ เกิดการรวมตัวระหว่างซิงค์ออกไซด์กับซิลิกาและตกผลึกกลายเป็นซิงค์ซิลิเกต ที่มีผลึกขนาดใหญ่ ก่อนที่เคลือบจะถึงจุดแข็งตัว (Freezing point) ผู้เขียนเคย ทดลองเผาเคลือบผลึกบางตัวที่อุณหภูมิ 1,250๐C และยืนไฟที่อุณหภูมิ1,250๐C เป็นเวลา 45 นาที ได้ผลึกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร

เวลา

เวลา ยืนไฟ

อุณหภูมิ กราฟแสดงการเย็นตัวของเคลือบผลึก

อุณหภูมิ กราฟแสดงการเย็นตัวของเคลือบทั่วๆไป

19


แสดงรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับเคลือบผลึก ที่มา 1 : http://www.puckergallery.com , สิงหาคม 2549. ที่มา 2 : http://home.tiscalinet.ch/magryk/ main.html , สิงหาคม 2549. ที่มา 3 : http://www.jessehull.com/content/ galryCb.html , สิงหาคม 2549.

การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับเคลือบผลึก การทำเคลือบผลึกนอกจากเนื้อดิน ที่ ใช้จะมีผลโดยตรงกับเคลือบ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็เช่นเดียวกันที่มีส่วนสัมพันธ์ กับเคลือบโดยตรง เนื่องจากเคลือบผลึกนั้นต้องมีการไหลตัวของเคลือบสูงจึง จะมีการตกผลึก ซึ่งนอกจากจะต้องใช้ดินที่มีเนื้อละเอียดแล้ว การออกแบบ ชิ้นงานก็จำเป็นต้องออกแบบให้มีพื้นผิวที่เรียบเนียน ไม่ขรุขระ เพื่อเอื้อให้เคลือบ มีการไหลตัวได้ดี และมีการตกผลึกได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นรูปทรงภาชนะที่ม ี ลักษณะกลมคล้ายลูกบอล หรือรูปทรงแจกันแบบจีนที่เรียกว่า แจกันทรงเหม่ผิง จึงเป็นรูปทรงที่ได้รับความนิยมในการทำเคลือบผลึก นอกจากนี้ส่วนฐานของ ภาชนะควรมีขนาดเล็กเนื่องจากการไหลตัวของเคลือบ ทำให้ต้องมีการเจียร หรือขัดส่วนฐานของชิ้นงานเสมอ ฐานของชิ้นงานที่มีขนาดเล็กจะทำให้ง่ายต่อ การขัดแต่งหลังการเผา การออกแบบชิ้นงานที่มีการขูดเป็นร่องลึกจะมีผลให้ ผลึกที่เกิดขึ้นไม่เด่นชัด จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การทำเคลือบผลึก มิใช่ของใหม่แต่อย่างใด กลับมีผู้สนใจศึกษามาแล้วมากมายนับแต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 19 เป็นต้นมา กระทั่งปัจจุบันก็ยังมีผู้ให้ความสนใจในการค้นคว้า และทดลอง ทำ ซึ่งมีเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลึกที่มีขนาดใหญ่และสวยงามเกิดขึ้นอยู ่ เสมอ ซึ่งอาจเป็นเทคนิคเฉพาะบุคคลที่มิได้เปิดเผย โดยเฉพาะในประเทศไทย การทำเคลือบผลึกยังมิได้มีการแพร่หลายเท่าที่ควร อาจเนื่องมาจากผู้ทำมัก ประสบปัญหาในการทำ และไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ จึงทำให้การทำ เคลือบผลึกในบ้านเราไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ทั้งที่เคลือบผลึกเองมีความ มหัศจรรย์ในสายตาของผู้ชมส่วนมาก ดังนั้นผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่ผู้เขียนบทนี้ คงเป็นแนวทางพื้นฐานให้แก่ผู้สนใจได้นำไปศึกษาและ ทดลองเพื่อพัฒนาการทำเคลือบผลึกต่อไปได้ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งที่ ผู้เขียนพบอยู่เสมอ คือรูปทรงของภาชนะที่จะนำมาใช้กับเคลือบผลึก มักมี รูปทรงแบบดั้งเดิม หากได้รับการออกแบบรูปทรงของชิ้นงาน ให้มีความ ร่วมสมัย หรือเป็นแบบสมัยใหม่คงจะมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น และคงจะมีผลงานที่ เคลือบด้วยเคลือบผลึกมาอวดกันบ้างในโอกาสต่อไป ท้ายนี้ผู้เขียนขอฝากสูตร เคลือบผลึกที่ นางสาวจารุวรรณ ธนากิจพานิช นักศึกษาของภาควิชาเครื่อง เคลือบดินเผาได้เคยทดลองไว้เป็นเบื้องต้น และผู้เขียนได้นำมาทดลองเพิ่มเติม ซึ่งผลที่ได้นั้นให้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจในระดับหนึ่ง โดยที่ผู้เขียนเผาแช่ที่อุณหภูมิ 1,250๐C เป็นเวลานาน 45 นาที จึงปล่อยให้เคลือบเย็นตัวตามปกติ 20


ตัวอย่างสูตรเคลือบ ของนางสาวจารุวรรณ ธนากิจพานิช สูตรที่ 1 เคลือบผลึกที่อุณหภูมิ 1,250๐C Soda Feldspar 51% Zinc oxide 30% Talc 2% ดินขาวลำปาง 5% Calcium carbonate 6% Silica 6% เพิ่ม Copper oxide 1.5% และ Titanium oxide 5% จะให้พื้นสีเขียว และผลึกดอกสีน้ำตาล สูตรที่ 2 เคลือบผลึกที่อุณหภูมิ 1,250๐C Soda Feldspar 51% Zinc oxide 24% Talc 2% ดินขาวลำปาง 5% Calcium carbonate 12% Silica 6% 1. เพิ่ม Copper oxide 1.5% และ Titanium oxide 5% จะให้พื้นสีเขียวเข้มและผลึกดอกสีเขียวอ่อน 2. เพิ่ม Cobalt oxide 1.5% และ Manganese oxide 4% จะให้พื้นสีน้ำเงินเข้ม และผลึกดอกสีน้ำเงินอ่อน ตัวอย่างสูตรเคลือบ ของ Mr.Hein Severijns. เคลือบผลึกที่อุณหภูมิ 1,260๐C Nepheline syenite 50% Barium carbonate 15% Zinc oxide 20% Flint 15% Titanium oxide 4% หมายเหตุ เผาตามปกติที่เผาเคลือบทั่วไปและ ปล่ อ ยให้ เ คลื อ บเย็ น ตั ว อย่ า งรวดเร็ ว จนถึ ง อุ ณ หภู ม ิ 1,080๐C แล้วเผาให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 1,150๐C และยืนไฟ ที่อุณหภูมิ 1,150๐C นาน 3 ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ อุณหภูมิลดลงถึง 1,120๐C, 1,100๐C และ 1,050๐C โดย ใช้เวลาแต่ละช่วงห่างกัน ครึ่งชั่วโมงสี่สิบห้านาที และ หนึ่ง ชั่งโมงตามลำดับ แล้วเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 1,100๐C, 1,070๐C, 1,040๐C และ 1,000๐C โดยใช้เวลาแต่ละ ช่วงห่างกัน ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่งโมง และสี่สิบห้านาที ตาม ลำดับเช่นกัน จากนั้นปล่อยให้เคลือบเย็นตัวตามปกติ

เชิงอรรถ 1. ฟริต (Frit) หมายถึง การนำวัตถุดิบที่ละลายน้ำได้หรือวัตถุดิบที่มีพิษไปห ลอมให้เป็นแก้วก่อนนำไปใช้ผสมเคลือบ เพื่อมิให้วัตถุดิบนั้นละลายน้ำได้อีก และลดความเป็นพิษ ของวัตถุดิบลง 2. อัลคะไลน์ (Alkaline) หมายถึงวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติเป็นด่างที่ละลายน้ำได้ ต้องนำไปหลอมให้เป็นฟริตก่อนนำไปใช้ผสมเคลือบ 3. เผายืนไฟ หรือเผาแช่ (Soaking time) คือการเผา ณ อุณหภูมิเดิมเป็น เวลานานตามที่กำหนด บรรณานุกรม โกมล รักษ์วงศ์. เอกสารคำสอน น้ำเคลือบ 2. ภาควิชาเครื่องปั้นดินเผา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร, 2538. เดโช ฉัตรกุล. เอกสารประกอบการสอน “เคลือบผลึก” มปป. ศุภกา ดอกไม้. เคลือบผลึกและเทคนิคการทำ. สูจิบัตรการแสดงศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา ครั้งที่ 3 : หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 2527. ศุภกา ปาลเปรม. เอกสารประกอบการสอนวิชา 365 108 เคลือบ 1. ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร.วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2547. Cooper, Emmanuel & Royle, Derek. Glazes For The Studio Potter. London : BT Batsford Ltd, 1978. Hopper, Robin. The Ceramic Spectrum. London : William Collins Sons and Co., Ltd, 1984. Lane, Peter. Contempory Porcelain. London : A & C Black Publishers. 1995. Parmelle, Culen W. Ceramic Glazes. Bosston, Massachusetts : Cahners Books Company, Inc.,1973. Sandess H., Herbert. Glazes For Special Effect. Canada Watson Guptill Publication.,1974. www.billboydceramics.com : สิงหาคม 2549 www.http.//crystalline-ceramics.info/catchers.html : สิงหาคม 2549 www.samhoffman.com/New : สิงหาคม 2549 http://www.puckergallery.com , สิงหาคม 2549. http://home.tiscalinet.ch/magryk/main.html , สิงหาคม 2549. http://www.jessehull.com/content/galryCb.html , สิงหาคม 2549.

21


22


สื่อแฝงในบรรยากาศ Ambient Media

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาวิน อินทรังษี “เราไม่มีทางหนีโฆษณาพ้น” คำกล่าวนี้อาจเป็นจริงสำหรับชีวิตคนไทย และคนทั่วโลกในปัจจุบัน ในยุคของการทำการตลาดแบบผสมผสาน หรือ IMC: Integrated Marketing Communication ทำให้สื่อโฆษณาอยู่กับเราอย่าง ใกล้ชิดไปทุกที่ ดังจะเห็นได้จาก สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ที่เข้าถึงบ้านเรือน และเมื่อเราก้าวออกจากบ้าน เราก็จะพบป้ายโฆษณาตาม ท้องถนน ซึ่งมีขนาดและรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบป้ายธรรมดา ป้ายแบบไตรวิชั่น (Tri-Vision) จนกระทั่งเป็นจอภาพขนาดใหญ่ที่ฉายภาพเคลื่อนไหวมีสีสันสวย งามสมจริง หรือแม้แต่ตามห้างร้านต่างๆ เช่น ในซุปเปอร์มาร์เกต เราจะพบสื่อ ณ จุดขาย (P.O.P: Point of Purchase) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อชักจูง เชิญชวน ให้เราเชื่อถือ คล้อยตาม แล้วก็ซื้อสินค้าหรือบริการในที่สุด ที่กล่าวมานี้ยังไม่ รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Event Marketing) ซึ่งมีบทบาทค่อนข้างสูงในปัจจุบัน การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) การตลาดทางตรง (Direct Marketing) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ฯลฯ ย้อนกลับไปถึงสื่อโทรทัศน์ หลายคนอาจคิดถึงภาพยนตร์โฆษณา ซึ่ง เราเห็นกันอยู่เป็นประจำทุกวันในฟรีทีวี ในยุคหนึ่งผู้ชมรายการโทรทัศน์จะกด เปลี่ยนช่องโทรทัศน์เพื่อชมรายการอื่นขณะพักโฆษณา แต่ปัจจุบันบรรดานัก สร้างสรรค์งานโฆษณาหรือที่เราเรียกว่า Creative ต่างสรรหาวิธีการทำโฆษณา ให้กลายเป็นสื่อบันเทิงที่คนอยากจะดูมากขึ้น และภาพยนตร์โฆษณาบางเรื่อง กลายเป็นสิ่งที่คนนำไปพูดถึงด้วยความประทับใจไปทั่วบ้านทั่วเมือง (Talk of the town) แต่การโฆษณาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น แม้แต่ในรายการโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่ผู้ชมกำลังชมอยู่นั้น ก็มีการโฆษณาแฝงตัวมาอยู่ด้วย การแฝง โฆษณาลักษณะนี้เรียกว่า การทำ Product placement ซึ่งนิยมกันมากในต่าง ประเทศ และได้มีการจัดการประกวดรางวัลขึ้น เช่น รางวัล Brandchannel’s 2004 Product Placement Awards ซึ่งจัดโดยเว็บไซต์ www.brandchannel. com การทำ Product placement คือการนำสินค้า ตราสัญลักษณ์ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าไปแทรกอยู่ในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ ได้อย่างกลมกลืน โดยให้ตัวละครใช้สินค้า พูดถึงสินค้า หรือมีภาพตราสินค้าอยู่ ในฉากต่างๆ หรือแม้แต่บนเสื้อผ้าของตัวละคร แต่ถ้าใครเป็นคอละครตลกที่เรา เรียกว่า sitcom (situation comedy) โดยเฉพาะละครของไทย ก็จะคุ้นเคยกับ การทำโฆษณาแฝงลักษณะนี้เป็นอย่างดี จนในบางครั้งเราจะรู้สึกว่าโดน ยัดเยียดขายสินค้า เมื่อจู่ๆ ตัวละครก็มีบทพูดแนะนำสินค้าหรือใช้สินค้านั้นแบบ ไม่มีเหตุผล ทั้งนี้เพราะขาดความกลมกลืนในการนำเสนอนั่นเอง 23


นอกจากนี้ ในรายการเกมโชว์ หรือรายการ ถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาทางโทรทัศน์ เราก็จะพบการ โฆษณาในรูปแบบของผู้สนับสนุนรายการ (Sponsorship) โดยใช้การกล่าวขอบคุณ แสดงโลโก้บนแผ่นป้าย บนเสื้อผ้า นักกีฬา การใช้สินค้าประกอบในการเล่นเกม และอื่นๆ สำหรับสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์นั้น หลายคนคงนึกถึง โฆษณาในหน้านิตยสารและหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ในความ จริงแล้ว ยังมีสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ในลักษณะอื่นๆ อีก มากมายนัก ทั้งโปสเตอร์ที่ปิดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ใบปลิว หรือแผ่นพับที่จะถูกส่งให้ถึงมือเมื่อเราไปเดินอยู่ในสถาน ที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือแจกหน้าทางเข้าที่จอดรถพร้อมกับ บัตรจอดรถ หรือมาเสียบที่หน้ากระจกรถยนต์ ในตู ้ ไปรษณีย์ ที่รั้วหน้าบ้าน ฟรีโปสการ์ดที่มีแจกอยู่ตาม สถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่บนด้านหลังสลิป ATM หลังใบเสร็จ รับเงินค่าทางด่วน ก็ยังเป็นพื้นที่โฆษณาได้ ณ วันหนึ่งเมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกได้ พัฒนามากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้เพื่อเป็น สื่อในการโฆษณาด้วยเช่นกัน ได้แก่ อินเตอร์เนต และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งนับว่าเป็นสื่อใหม่ที่เข้าถึงกลุ่ม คนรุ่นใหม่ได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น เพราะพวกเขาใช้ชีวิต ส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และมีโทรศัพท์มือถืออยู่ ข้างตัวเสมอ โฆษณาต่างๆ จะมาในรูปแบบของเว็บไซต์ (web site) อินเตอร์เนตแบนเนอร์ (Internet Banner) จดหมายข่าวอิเลคทรอนิคส์ (E-mail) และสำหรับผู้ที่ ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) การโฆษณาก็จะมาในรูปแบบของข้อความสั้น (SMS: Short Message Services) หรือข้อความโฆษณาที่จะได้ ยินเสียงเมื่อกดรับสายที่เรียกเข้ามา จากที่ได้กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่านักการตลาดและ นักโฆษณาต่างสรรหาวิธีการต่างๆ เพื่อใช้ในการโฆษณา และการสื่อสารการตลาด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ มากที่สุด แต่การที่มีสื่อปริมาณมากๆ นี้เอง จึงจำเป็นจะ ต้องสร้างความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะดึงดูด ความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่ชินชากับงานโฆษณาให้ ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีสื่อประเภทหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาทใน ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และนักสร้างสรรค์โฆษณา ต่างก็เริ่มให้ความสนใจในสื่อนี้มากขึ้น กระทั่งการประกวด งานโฆษณาในประเทศไทยและต่างประเทศต่างให้ความ สำคัญโดยจัดประกวดรางวัลสื่อประเภทนี้ขึ้นโดยทั่วกัน 24

สื่อแฝงในบรรยากาศ (Ambient Media) ในระยะแรก สื่อประเภทนี้ถูกเรียกว่าสื่อใหม่ (New media) หมายถึงสื่อที่มีลักษณะนอกเหนือจากสื่อ ประเภทเดิมๆ ที่เคยมีมา (traditional Media) เช่น โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ หรือป้ายโฆษณา ซึ่งในช่วงแรกๆ ที ่ เกิดสื่ออินเตอร์เนตขึ้น ก็เรียกสื่ออินเตอร์เนตนั้นว่าเป็น สื่อใหม่ด้วย แต่ในปัจจุบันภาพรวมของสื่อประเภทนี ้ ชัดเจนมากขึ้นจนมีการบัญญัติศัพท์ ที่ ใช้เรียกสื่อประเภท นี้ขึ้นมาว่า Ambient Media คำว่า Ambient Media ยังเป็นคำที่ถือว่าใหม่ ในวงการโฆษณาเมืองไทย ส่วนใหญ่ก็เรียกทับศัพท์ภาษา อังกฤษไปเลย แต่ก็ได้มีผู้บัญญัติศัพท์คำนี้เป็นภาษาไทย ว่า “สื่อแฝงในบรรยากาศ” โดยการประกวดโฆษณา Adman Awards & Symposium ซึ่งจัดโดยสมาคมโฆษณา ธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้ใช้คำนี้เป็นชื่อประเภทรางวัล รางวัลหนึ่งในการประกวด Quinion (1998) ได้อธิบายคำว่า Ambient Advertising ไว้ว่า “คำว่า Ambient Advertising (โฆษณา แฝงในบรรยากาศ) ปรากฏขึ้นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 1998 ในบทความในหนังสือพิมพ์ Sunday Business ของ อังกฤษ ดังนี้ “The genuine impact of ambient media is difficult to measure as it often takes TV and press coverage to attract wider public attention to it.” ซึ่งตอนนี้คำว่า Ambient นี้ ดูเหมือน จะกลายเป็นศัพท์มาตรฐานของวงการโฆษณาไปแล้ว Ambient Advertising หมายถึงการโฆษณา ที่ไม่ใช่สื่อมาตรฐานที่อยู่นอกบ้าน ตัวอย่างเช่น ข้อความ ที่ติดอยู่หลังบัตรจอดรถ อยู่ในก้นหลุมกอล์ฟ แขวนอยู่บน ชั้นวางของบนรถไฟ อยู่บนที่จับของรถเข็นในซุปเปอร์ มาร์เกต และอยู่บนด้านข้างของรังใส่ไข่ (บางทีก็พิมพ์ ข้อความลงไปบนเปลือกไข่เลย ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ท ี่ ทันสมัย) และยังรวมไปถึงการติดภาพขนาดยักษ์บนผนัง ตึก หรือสโลแกนบนบอลลูน“ จากผลการสำรวจตลาดการโฆษณานอกบ้านของ IPA (Institute of Practitioners in Advertising) สถาบัน ผู้ประกอบการธุรกิจโฆษณาในประเทศอังกฤษ ที่พบว่ามี การเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้สื่อแฝงในบรรยากาศ และสื่อดิจิตอล ในปี 2002-2003 ดังแผนภูมิที่ 1 เป็นสิ่งที่ ยืนยันได้ดีถึงความนิยมของการใช้สื่อประเภทนี้ที่มีมากขึ้น


แผนภูมิที่ 1 แสดงการเติบโตของสื่อแฝงในบรรยากาศและสื่อดิจิตอล ที่มา: www.ipa.co.uk/statistics.cfm

สาเหตุที่ทำให้การใช้สื่อแฝงในสภาพแวดล้อมมีความเติบโตขึ้นใน ปัจจุบัน 1. การตกต่ำของสื่อแบบดั้งเดิม จากหลายสาเหตุ ทั้งด้านพฤติกรรม การรับสื่อของผู้บริโภค ราคาของสื่อที่สูงและงบประมาณที่จำกัดในการซื้อสื่อ รวมทั้งขาดความแปลกใหม่ในรูปแบบของสื่อ 2. มีความต้องการการสื่อสาร ณ จุดขายมากขึ้น 3. ความสามารถในการสื่อสารได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 4. มีความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์ได้ดี สื่อแฝงในบรรยากาศนี้ อาจจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของสื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) แต่เป็นสื่อที่ไม่ใช่สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ที่ใช้กันมา อาจกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเราในที่สาธารณะทั้ง คน สัตว์ สิ่งของ สามารถกลายเป็นสื่อโฆษณาได้หมด และด้วยสาเหตุนี้เองทำให้นัก สร้างสรรค์โฆษณาสามารถคิดงานโฆษณาได้อย่างอิสระ แต่ด้วยความที่มี ลักษณะเป็นสื่อนอกบ้านนั้น ก็อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างเรื่องปริมาณข้อความ โฆษณาที่จะทำการสื่อสารจะต้องไม่ยาวเกินไป เพราะผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ กับที่และไม่ได้มีเวลามาหยุดอ่านข้อความโฆษณายาวๆ พูดง่ายๆ ว่า ต้องมี ปริมาณน้อยแต่ต้องได้คุณภาพ คือสามารถสื่อสารได้เข้าใจ และตอบสนอง วัตถุประสงค์ของการโฆษณา อย่างไรก็ตาม สื่อนี้ก็ไม่ได้มีมาตรฐานตายตัวเหมือนสื่อดั้งเดิมอื่นๆ เช่น เรื่องระยะการมองเห็น เทคนิคการผลิต องค์ประกอบของสื่อ ฯลฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งใดจะกลายเป็นสื่อ และกลุ่มเป้าหมายเป็นคนกลุ่มใด สื่อนี้อาจ จะอยู่ในห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งมองเห็นได้ในระยะใกล้ หรืออาจจะอยู่ในพื้นที่ เปิดโล่ง ซึ่งมองเห็นได้จากระยะไกลก็ได้ นอกจากนี้สื่อนี้อาจเคลื่อนที่ (transit) หรืออยู่กับที่ก็ได้ ที่สำคัญค่าใช้จ่ายของสื่อประเภทนี้ถูกกว่าการใช้สื่อที่เป็นสื่อ มวลชน (Mass Media) อย่างสื่อโทรทัศน์และสื่อหนังสือพิมพ์มาก และยังเข้า 25


ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากกว่า เพราะสามารถเลือก สถานที่ที่จะนำเสนอสื่อได้ เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก วัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ใช้แหล่งที่มีวัยรุ่นพลุกพล่าน มากที่สุดอย่างสยามสแควร์ เป็นสถานที่ที่นำเสนอโฆษณา ส่ ว นจะใช้ อ ะไรเป็ น สื ่ อ นั ้ น ก็ ข ึ ้ น อยู ่ ก ั บ ไอเดี ย ของนั ก สร้างสรรค์โฆษณาที่จะคิดค้นกันขึ้นมาได้ สำหรับเรื่ององค์ประกอบของสื่อนั้น หากเป็นสื่อ ดั้งเดิมอื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ก็จะต้องมีภาพประกอบ พาดหัวหลัก พาดหัวรอง โลโก้ ฯลฯ แต่สำหรับองค์ประกอบ ของสื่อประเภทนี้จะมีอะไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการ สื่อสารออกไป Belch (1995) ได้กล่าวถึงข้อดี-ข้อเสียของสื่อ โฆษณานอกบ้านไว้ สรุปได้ดังนี้ 1. เป็นสื่อที่มีปริมาณผู้พบเห็นได้มากและหลาก หลาย แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่ได้เห็นอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ของเราก็ได้ ในเชิงการตลาดจะถือว่าวัดผลการทำโฆษณา ได้ยาก จึงไม่เหมาะกับการทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) (ในข้อนี้น่าจะเป็นข้อเสียของสื่อนอกบ้านแบบ ดั้งเดิมเช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งขนาดใหญ่ ซึง่ เป็นลักษณะ ของสื่อมวลชน (Mass media): ผู้เขียน) 2. เป็นสือ่ ทีถ่ ูกพบเห็นได้บอ่ ย ทำให้ชว่ ยช่วยสร้าง การรู้จักได้ดี (Awareness) แต่ในขณะเดียวกันถ้าถูกเห็น บ่อยๆ ก็อาจจะทำให้ไม่สนใจมันอีก 3. มีความยืดหยุ่นกับสภาพแวดล้อม สามารถอยู่ ที่ไหนก็ได้ที่กฎหมายไม่ห้าม 4. สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้ดี แต่ถูก จำกัดด้วยปริมาณข้อมูลที่จะนำเสนอ และต้องระวังเรื่อง ปัญหาด้านภาพลักษณ์ถ้าใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เกิน ขอบเขตมากเกินไป วิทวัส ชัยปาณี (2548) กล่าวถึงการใช้สื่อแฝง ในสภาพแวดล้อมไว้ว่า ...คนส่วนมากยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การใช้สื่อใหม่ๆ เหล่านี้ เพราะสังเกตที่หลายคนทำกัน อยู่ เป็นเพียงการนำโลโก้ของแบรนด์ไปปะติดตามที่ต่างๆ ให้เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด จึงเป็นการเพิ่มความถี ่ (frequency) ในการเห็นชื่อแบรนด์เท่านั้น เรียกว่าเป็นการ กระจายการเห็นของแบรนด์ให้มากขึ้น (Brand Visibility) ซึ่งต้องใช้ในปริมาณมากๆ เข้าว่า และเป็นวิถีทางเก่าๆ

26

การสร้างสื่อรอบตัว (Ambient Media) ที่ถูกต้อง ในยุคนี้จะต้องเลือกสื่อที่เหมาะเจาะ และสามารถนำเสนอ แบรนด์ไอเดียได้ชัดเจนมากกว่า บางสื่ออาจจะเห็นได้บ่อย กว่า แต่สื่อสารแบรนด์ได้ไม่ลงตัว เราก็ไม่เลือกมาใช้เพราะ ขาดความลงตัว... ลักษณะของสื่อแฝงในบรรยากาศ สื่อแฝงในบรรยากาศนี้อาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ คือ 1. เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ โดยไม่ได้ใช้สิ่งของหรือ พื้นที่ช่วยในการนำเสนอความคิด เว้นแต่การติดตั้งเพื่อให้ ทรงตัวอยู่ได้ ลักษณะนี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบ สิ่งของหรือชิ้นงานประติมากรรมที่อยู่ ในพื้นที่สาธารณะ และมักจะมีขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดสายตา หรือรูปแบบอื่นๆ เช่น การใช้คนช่วยในการนำเสนอ หรือการทำให้เป็นสื่อที่ เคลื่อนที่ได้

ที่มา: http://www.ad-dict.com ภาพที่ 1 โฆษณาของ Malteser ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะกุศล โดยใช้คนใส่ชุดของหน่วยงานหามเปลพยาบาลเดินไปตามที่ สาธารณะต่างๆ แต่ทำให้ดูน่าแปลกใจด้วยการให้มีคนหามเปลคน เดียว และบนเปลมีป้ายซึ่งเขียนข้อความว่า “ต้องการผู้ช่วยอาสา สมัคร” พร้อมที่อยู่เว็บไซต์ และโลโก้ขององค์กร


ภาพที่ 2 สร้างสรรค์โดย Hakuhodo DY Media Partners, Tokyo, Japan กระจกขนาดยักษ์ที่มีเสื้อผ้าติดอยู่นี้ ทำให้คนที่สัญจรผ่านไปมา ได้หยุดและดู ตัวเองสวมใส่เสื้อผ้าของ Indivi เหมือนได้ลอง สวมใส่เสื้อผ้าในร้านเลยทีเดียว

ที่มา: http://adarena.blogspot.com ภาพที่ 3 โฆษณาบริการ 3G ของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ Vodafone โดยทำเป็นโต๊ะทำงานที่วิ่งได้ รถ (โต๊ะ) คันนี้วิ่งไปรอบเมืองลอนดอน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ประหลาดใจให้ผู้คน และน่าสนใจที่บริการนี้เป็นบริการของโทรศัพท์ เคลื่อนที่และยังใช้สื่อที่เคลื่อนที่ นับว่าเป็นการ เลือกใช้สื่อได้อย่างกลมกลืนกับลักษณะ ของบริการ ที่มา: http://adarena.blogspot.com

2. เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ประกอบกับสิ่งที่มีอยู่แล้วในสภาพแวดล้อม เป็นการนำวัตถุ สิง่ ของ ภาพ หรือข้อความไปติดหรือประกอบเข้ากับสิง่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม ในสภาพแวดล้อม เช่น เสาไฟฟ้า ผนังตึก พื้นถนน โถส้วม ราวบันได ฯลฯ โดยอาศัยรูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ลักษณะการใช้งาน การเคลื่อนไหว ของสิ่งที่ อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น เป็นตัวช่วยในการสื่อสารความคิด ภาพที่ 4 สร้างสรรค์โดย JWT Toronto เป็นสื่อโฆษณารณรงค์ให้คนล้างมือมากขึ้น เพื่อสุขอนามัยที่ดี สนับสนุนโดย Purell โดยทำเป็นสติกเกอร์ที่พิมพ์ข้อความเตือนใจ เช่น “ระวัง! ถูกจับโดยผู้ป่วยตั้งแต่ ตุลาคม 2005” “ระวัง! ถูกจามใส่เบาๆ ตั้งแต่ตุลาคม 2002” สติ๊กเกอร์นี้จะถูกนำ ไปติดบนปกหนังสือที่ให้อ่านระหว่างรอพบแพทย์ ในคลินิก หรือโรงพยาบาล

ที่มา: http://www.adverbox.com

27


ภาพที่ 5 “We just love to print” แคมเปญโฆษณาของบริษัท Look ในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งประกอบธุรกิจพิมพ์ภาพ ดิจิตอลขนาดใหญ่ โดยการพิมพ์ภาพพื้นผิว ต่างๆ ไปติดตามที่ต่างๆ อย่างกลมกลืน เช่น บนพื้นถนน รั้วไม้ ต้นไม้ เพื่อสื่อสาร จุดยืนของบริษัทที่รักการพิมพ์ โดยมีเพียง ข้อความโฆษณาว่า “We just love to print” และโลโก้บริษัทเท่านั้น

ภาพที่ 6 สื่อโฆษณารณรงค์ให้รักษาความ สะอาดของชายหาด ขององค์กรกึ่งรัฐบาล BCNeta ซึ่งดูแลการเก็บขยะในเมือง บาเซโลน่า โดยสื่อนี้ถูกติดตั้งบนชายหาด Barceloneta ทำเป็นบับเบิ้ลข้อความ เหมือนหาดทรายกำลังร้องเตือนคน ไม่ให้ทิ้งขยะลงบนชายหาด

ที่มา: http://www.adverbox.com

ที่มา: http://www.ibelieveinadv.com ภาพที่ 7 โฆษณายาแก้ปวด Panadol extra สร้างสรรค์โดย Ogilvy & Mather Hong Kong มีวิธีการง่ายๆ แต่นำเสนอ ไอเดียได้ดี ด้วยการพิมพ์ภาพคนแสดง อาการเจ็บหัวหรือปวดหัวลงบนสิ่งของ ต่างๆ เช่นถุง แก้วกาแฟ เป็นการนำเสนอ ให้เห็นถึงปัญหาและทางแก้ปัญหา ด้วยการใช้สินค้า ภาพที่ 8 สร้างสรรค์โดย Grey, Hong Kong เป็นแผ่นรองเม้าส์ที่อยู่ใน อินเตอร์เนตคาเฟ่ ในฮ่องกง เพื่อรณรงค์ ให้เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็ง เต้านมด้วยตนเอง โดยพิมพ์รูปเต้านมลง บนแผ่นรองเม้าส์ ตรงกลางภาพมีข้อความ โฆษณาว่า Examine Regularly (ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ) และที่ด้านล่าง มีชื่อเว็บไซต์ breastcamcerhk.org สำหรับลูกเล่นในการนำเสนอความคิด ของโฆษณาชิ้นนี้คือการขยับมือเพื่อบังคับเม้าส์ จะเสมือนกับการใช้มือตรวจหาสิ่งผิดปกติ ในเต้านมนั่นเอง และหากต้องการข้อมูล เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ตามที่อยู่ เว็บไซต์ที่อยู่บนแผ่นรองเม้าส์ได้ทันที

ที่มา: http://www.adverbox.com

ที่มา: http://www.adverbox.com

28


ภาพที่ 9 สร้างสรรค์โดย Scholz & Friends Berlin GmbH, Berlin เป็นแคมเปญโฆษณา ของเว็บไซต์จัดหางาน jobsintown.de ซึ่งแสดงอารมณ์ขันแบบตลกร้าย โดยติดภาพคนกำลังทำงานอยู่ ในเครื่องอัตโนมัติ เช่น เครื่องถอนเงิน เครื่องขายกาแฟ โดยมีข้อความโฆษณาว่า Life’s too short for the wrong job! ชีวิตนี้สั้นนัก อย่ามัวเสียเวลากับการทำงานผิดๆ อยู่เลย ลองหางานดีๆ ทำได้ที่ jobsintown.de

ที่มา: http://www.ad-dict.com ภาพที่ 10 เป็นโฆษณากระดาษชำระ Scott สำหรับใช้ในครัว ซึ่งนำเสนอจุดขายของ สินค้าคือสามารถซึมซับน้ำได้เป็นอย่างดี โดยการทำหุ่นจำลองม้วนกระดาษที่ถูกบิดอยู่ แล้วนำไปวางไว้ในบ่อน้ำพุ ทำให้ดู เสมือนว่ามีน้ำถูกบิดออกจากม้วนกระดาษ

ที่มา: http://www.ad-dict.com

3. เป็นการใช้ที่สร้างขึ้นมาใหม่ร่วมกับสื่อดั้งเดิม เช่น ใช้ร่วมกับป้าย โฆษณากลางแจ้ง หรือโฆษณาบนตัวรถประจำทาง (Bus Body Ad.) โดยอาศัย ลักษณะบางอย่างของสื่อนั้นช่วยนำเสนอความคิด วิธีการนี้จะช่วยให้สื่อแบบ ดั้งเดิมมีความน่าสนใจมากขึ้น

29


ภาพที่ 11 “ระวัง พื้นลื่น! จ้องเบอร์เกอร์ นานๆ อาจทำให้คุณน้ำลายหกได้” เป็นข้อความโฆษณาที่อยู่บนป้ายเตือน ที่ตั้งอยู่หน้าป้ายโฆษณาของร้านอาหาร Eatalica restaurant เป็นการใช้สื่อใหม่ ร่วมกับสื่อดั้งเดิมได้อย่างกลมกลืน

ที่มา: http://adarena.blogspot.com ภาพที่ 12 โฆษณาของแผ่นกำจัดขน Veet โดยเป็นการใช้ร่วมกับสื่อดั้งเดิมคือ ป้ายโฆษณากลางแจ้ง โดยติดภาพผิวที่ เรียบเนียนพร้อมโลโก้และข้อความโฆษณา บนแผ่นป้ายโฆษณาและทำเป็นแผ่นกำจัด ขนขนาดใหญ่ที่กำลังลอกหลุดออกมา จากตัวป้าย

ภาพที่ 13 โฆษณาของสารคดีเกี่ยวกับฉลาม ของ National Geographic Channel ที่ใช้การโฆษณาบนตัวถังรถบัส (Bus body) โดยใช้ลูกเล่นของการเปิด-ปิดประตูของรถ ให้เหมือนฉลามกำลังอ้าปากงับคนเข้าไป และเข้ากับข้อความโฆษณาข้างตัวรถ ที่บอกว่า “Built for the Kill”

ที่มา: www.adsoftheworld.com

ที่มา: www.adsoftheworld.com 30


สรุป จากรูปแบบที่หลากหลายที่ไม่จำกัด และความแปลกใหม่ของการนำ เสนอเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดความสนใจของคนที่ได้พบเห็น ทำให้สื่อประเภทนี้เริ่มมี การเติบโตขึ้นอย่างมาก และเป็นอีกสื่อหนึ่งที่ช่วยในการสร้างประสบการณ์ให้ กับผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ในแง่มุมต่างๆ ยิ่งสื่อนั้นแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้ อย่างยอดเยี่ยมและมีรูปแบบที่น่าสนใจมาก ก็จะเป็นการสร้างความประทับ ใจต่อกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ในใจ ของผู้บริโภคให้มากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างสรรค์สื่อแฝงใน บรรยากาศ คือ ปริมาณและรูปแบบของสื่อ กล่าวคือ ถ้ามีปริมาณของสื่อมาก เกินไป อาจทำให้คนรู้สึกรำคาญหรือเบื่อหน่าย เหมือนกับสื่อแบบดั้งเดิมที่ม ี ปริมาณมากจนคนเกิดความชินชาหรือเบื่อหน่าย รวมทั้งรูปแบบที่ไม่สวยงาม หรือไม่เหมาะสม เช่น มีภาพหรือข้อความที่ผิดศีลธรรมหรือขัดกับวัฒนธรรม ประเพณี หรือดูรุนแรงเกินไป กีดขวางทางสัญจร บดบังทัศนียภาพ สื่อนี้ก็จะ กลายเป็นมลภาวะทางสายตาไปทันที ซึ่งก็จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ เลวร้ายให้กับผู้บริโภค และย่อมไม่เป็นผลดีต่อแบรนด์เช่นเดียวกัน เพราะต้อง ไม่ลืมว่าผู้บริโภคไม่สามารถปิดการรับสื่อได้เหมือนสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่อ สิ่งพิมพ์ หากพวกเขาจำเป็นต้องสัญจรผ่านไปในสภาพแวดล้อมนั้นเป็นประจำ และอยู่ในภาวะ ”หนีโฆษณาไม่พ้น” ความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นสิ่งที่นัก โฆษณาและนักการตลาดพึงมีอยู่เสมอ

แหล่งอ้างอิง วิทวัส ชัยปาณี. 2548. สร้างแบรนด์อย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มติชน. Belch, George E. 1995. Advertising and promotion: an integrated marketing communications perspective. United States of America: Von Hoffman Press, Quinion, Michael. 1998. Ambient Advertising Available: http://www.worldwidewords.org/ turnofphrase/tp-amb1.htm 13 November 2006. Ambient Media. Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Ambient_media 13 November 2006. 31


32


ศิลปะเครื่องประดับกายสัมผัส กับการสักการะทางจิตวิญญาณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ บทนำ ศิลปะเครื่องประดับ๑ ของประเทศไทยครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จวบกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ถูกรังสรรค์สำหรับมนุษย์ มิใช่แต่เพียงแค่จุด มุ่งหมายในการแสดงทักษะทางฝีมืออันวิจิตรหรือเพื่อตกแต่งร่างกายภายนอก เท่านั้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับศิลปะเครื่อง ประดับที่ปรากฏในการขุดพบ สามารถอนุมานได้ว่า เครื่องประดับเป็นวิธีการ แรกๆ ที่มนุษย์ใช้ในการแสดงออกทางสุนทรียภาพและการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างตัวเอง ชุมชน และสภาพแวดล้อม แต่สารัตถะ๒ ที่สำคัญที่สุดคือ เครื่อง ประดับนั้นมีจุดประสงค์เพื่อ “การสักการะ๓ จิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธ์แห่ง ธรรมชาติและตนเอง” โดยมีนโยบายในการใช้ “ร่างกาย” เข้าไปมีส่วนร่วมใน ฐานะตัวขับเคลื่อน๔ “บริบทภายใน” ฉะนั้น บทความครั้งนี้จึงใคร่ขอแนะแนวทาง อันมีการสนับสนุนทางหลักการและวิเคราะห์ถึงกระบวนการที่สำคัญต่อองค์ ความรู้ทางศิลปะเครื่องประดับ เพื่อที่อนุชนรุ่นหลังจะสามารถฉุดรั้งสารัตถะที่ กำลังจะเลือนหาย ให้กลับมาเป็นแสงสว่างที่รุ่งโรจน์อีกครั้ง

๑ เครื่องประดับแต่เดิมมีคำศัพท์ที่แยกประเภทเครื่องประดับอยู่ ๒ คำ คือ ศิราภรณ์ หมายถึงเครื่อง ประดับศีรษะ และถนิมพิมพาภรณ์ คือเครื่องประดับกาย อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมักใช้คำกลางๆ คือคำว่า “เครื่องประดับ” ไม่ได้แยกเรื่องเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นอกจากกรณีที่ต้องการชี้เฉพาะเจาะจง ๒ สารัตถะ น. เนื้อหาหลัก ใจความสำคัญ ความคิดสำคัญของเรื่อง ผู้เขียนใคร่ขอใช้แทนคำว่า สาระ เนื่องจาก สาระ หมายความแค่ ส่วนสำคัญ หรือข้อใหญ่ใจความ ซึ่งคำว่า สารัตถะ ดูจะครอบคลุมและ ลึกซึ้งกว่า (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒, หน้า ๑๑๔๘, ๑๑๘๓) ๓ สักการะ ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันบูชา (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒, หน้า ๑๑๔๗) ๔ ขับเคลื่อน ก. ผลักหรือดันให้ไปด้วยแรงดันไอน้ำหรือกังหันเป็นต้น (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒, หน้า ๑๗๘) ซึ่งผู้เขียนใคร่ขอใช้เพื่อให้เห็นภาพของกระบวนการที่คล้ายคลึงกันคือ การที่ร่างกาย จะเคลื่อนไหวได้นั้นก็อาศัยการผลักหรือดัน โดยเริ่มจากกระบวนการแรกคือ การรับรู้จากประสาทสัมผัส ทั้ง๖; ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นข้อมูลส่งต่อไปยังทางสมอง ซึ่งสมองจะสั่งการมาที่อวัยวะต่างๆ และเส้นประสาท จนสามารถเคลื่อนไหวได้ดังความปรารถนา

33


ประวัติศาสตร์เครื่องประดับของไทย เริ่มต้นขึ้น เมื่อประมาณ ๕๐,๐๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ การค้นพบที่เก่าแก่ดังกล่าวระบุว่า มีการขุด พบสร้อยคอและกำไลที่ทำจากเปลือกหอยหรือกระดูกสัตว์ อยู่ภายในหลุมศพของทั้งมนุษ ย์ผู้ชายและผู้หญิง ส่วน เหตุผลที่เครื่องประดับมักจะถูกสวมใส่ หรือติดมาพร้อม กับโครงกระดูกในหลุมฝังศพนั้น นักมานุษ ยวิทยาทาง วัฒนธรรมตั้งประเด็นว่า สังคมในยุคนั้นเชื่อว่าความตาย อาจเป็นการสืบเนื่องของชีวิตอย่างหนึ่ง คล้ายกับความเชื่อ ทางศาสนาพราหมณ์ (ศาสนาพุทธซึ่งเกิดในภายหลังได้ รับอิทธิพลจากความเชื่อนี้ติดมาด้วย) ที่ว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว วิญญาณจะมีการเกิดใหม่ เครื่องประดับจึงน่าจะเป็นวัตถุ ที่สามารถติดตามบุคคลที่ล่วงลับไป เพื่อทำหน้าที่รับใช้ บุคคลนั้นต่อไปในโลกข้างหน้านั่นเอง (กรมศิลปากร ๒๕๓๕, หน้า ๓๗, ๔๒) นอกจากมนุษ ย์พยายามที่จะเข้าใจสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางวัตถุรอบตัว ด้วยการปั้นแต่งรูปแบบของ สิ่งแวดล้อมเสียใหม่ด้วยมือของตนเองแล้ว เขาก็ยังศึกษา ถึงคุณสมบัติในส่วนลึกของความเป็น ปัจเจกบุคคลและ ชุมชนอีกด้วย ดังจะสังเกตได้จากการรังสรรค์พื้นที่สำหรับ วัฒนธรรมอันเป็นระบบ จนสามารถสยบความโกลาหล ของธรรมชาติได้ ในการศึกษาวิวัฒนาการทางอารยธรรม ความคิดข้างต้นปรากฏอยู่ในรูปร่างของความเชื่อ ซึง่ มนุษย์ จะหลอมรวมตนเองเข้าไปผ่านพื้นฐานของขนบธรรมเนียม ที่ตนบัญญัติ แทรกซึมเข้าไปในบุคลิกลักษณะของแต่ละ บุคคล จนก่อให้เกิด “แนวทางปฏิบัติ” เฉพาะตนขึ้น เครื่องประดับและ/หรือวัตถุดิบที่เร้นลับจึงเป็นสัญญะใน การสักการะของการหลอมรวมนี้โดยปริยาย เพราะมัน ใกล้ ช ิ ด กั บ ร่ า งกายและสะท้ อ นถึ ง การแสดงออกทาง พฤติกรรมของมนุษย์ได้ดีที่สุด แม้ว่ามนุษย์ยังคงจัดสรรรูปแบบขนบธรรมเนียม ของตนเองให้ใหม่อยู่เสมอ แต่ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อ พลังทางวัตถุซึ่งแสดงออกในเบื้องหลังยังคงไม่เปลี่ยน แปลง สังเกตได้จากการยืนยันที่จะสร้างสรรค์วัตถุใน สิ ่ ง แวดล้ อ มเพื ่ อ เป็ น วั ต ถุ ด ิ บ อั น เร้ น ลั บ สำหรั บ การ สั ก การะจิ ต วิ ญ ญาณอั น ศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธ์ แ ละชี ว ิ ต ของตนเอง ต่อไป โดยแสดงขอบเขตที่เหมาะสมของความเชื่อนั้นด้วย พิธีกรรมทางศาสนาซึ่งได้รับการสนับสนุนในรูปแบบของ วัตถุทางวัฒนธรรมภายนอกหรือเครื่องประดับนั่นเอง 34

ความเชื่อนี้มักสืบต่อมาในรูปแบบของการเล่าเรื่อง เช่น เดี ย วกั บ ภาพแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ ก ั บ ธรรมชาติ อำนาจ และรูปแบบของโลก ความสำคัญ ทั้งหลายต่างถูกเข้ารหัสให้มนุษ ย์ ได้เลือกตัวเลือกอัน เหมาะสมกับบริบทที่จะนำเสนอ อาทิเช่น วัตถุดิบ รูปแบบ สี สัญลักษณ์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พิธีกรรมดังกล่าวจะ ปราศจาก “ร่างกาย” มิได้ เนื่องจากร่างกายเป็นด่านแรก ที่มีปฏิสัมพันธ์และสัมผัสสนิทแนบไปกับเครื่องประดับ ขณะเดียวกันร่างกายก็เป็นตัวขับเคลื่อนบริบทภายใน เครื่องประดับให้ออกมาแสดงตน ก่อนที่พิธีกรรมในการ สักการะจิตวิญญาณเพื่อความบริสุทธิ์และผ่องแผ้วนี้จะ สำเร็จบริบูรณ์ สำหรับการสักการะที่มีสติ วัตถุดิบที่เร้นลับ สำหรับมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นพื้นฐานทาง ความเชื่อของจิตใจที่มีมาในระยะก่อนจะเป็นคำพูดโดย การทำให้มีอยู่จริง ผ่านภาษา รูปลักษณ์ และรูปร่าง ฉะนั้น อารยธรรมทางวัตถุที่สืบต่อกันมาจากอดีต จึงถูก แสดงออกด้วยสุนทรียภาพทางโครงสร้าง เวลา หรือเวลา ที่เป็นนิรันดร์ในลักษณะของสัญลักษณ์ สัญลักษณ์เหล่านี้ ล้วนถูกเชื่อมโยงกับเรื่องราว และภาพลักษณ์ของเครื่อง ประดับในฐานะผลลัพธ์สำหรับความตั้งใจของมนุษย์ ที ่ ปรารถนาจะสักการะจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธ์ในแง่มุม ต่างๆ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง องค์ความรู้ที่ ๑ บริบททางภูมิปัญญากับการ สักการะในแง่มุมที่ต่างกันของ “เครื่องประดับ” บทความนี้ เป็นบทความแห่งการสำรวจเชิง วิพากษ์เกี่ยวกับสารัตถะที่มีอยู่ ในศิลปะเครื่องประดับ ของประเทศไทยครั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบกระทั่งยุค รัตนโกสินทร์ ที่ได้ถือกำเนิดและแสดงวิถีทางภูมิปัญญา ให้มนุษย์ได้เติมเต็ม หรือขยายปัญญาสำหรับการสักการะ จิตวิญญาณอันบริสุทธ์ ในบริบทที่แตกต่างออกมา หลากหลายทิศทางและมีระดับในการส่งสารของตน ผล จากข้อมูลเบื้องต้นสืบไปถึงเหตุที่เด่นชัดได้ดังนี้คือ มนุษย์ พัฒนามุมมอง และความคิดผันแปรตามวัฒนธรรมที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ยังคงธำรงไว้ซึ่งความหมาย ของศิลปะเครื่องประดับดั้งเดิม จุดประสงค์ของการกำเนิดเครื่องประดับในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์จวบถึงปัจจุบันนั้นมีบริบทที่เด่นชัดทาง ภูมิปัญญาอยู่ ๔ บริบทใหญ่ คือ เครื่องประดับเพื่อการ


สักการะทางสถานภาพ เครื่องประดับเพื่อการสักการะ ความศักดิส์ ทิ ธ์ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล ป้องกันภยันอันตราย และเป้าหมายทางไสยศาสตร์ เครื่องประดับเพื่อการ สักการะพิธีกรรมทางชีวิต และเครื่องประดับเพื่อการ สักการะความงามทางปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ ฉะนั้น ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์บริบททั้ง ๔ นี้ ถือเป็นการ รวบรวมภาพหรือรูปแบบของมรดกแห่งความละเอียดอ่อน ของวิถีทางภูมิปัญญาชาวไทย ๑) เครื ่ อ งประดั บ เพื ่ อ การสั ก การะทาง สถานภาพ เนื ่ อ งจากวั ฒ นธรรมพุ ท ธของไทยมี ก ารรั บ อิ ท ธิ พ ลจากอภิ ป รั ช ญาทางศาสนาพราหมณ์ แ ละฮิ น ดู การผสมสานคตินามธรรมจนเป็นเจตคติ ที่พัฒนาระบบ ความคิดของผู้คน อันแสดงออกมาในรูปของความศรัทธา เกี่ยวกับเรื่อง “ภาวะอุดมคติ” ซึ่งเป็นภาวะข้ามพ้นไปจาก โลกแห่งผัสสะธรรมดาอันไม่สามารถหยั่งถึงได้ ภาวะนี ้ มีพลานุภาพที่จะสามารถเปลี่ยนแปลง โลก มนุษย์ หรือ วัตถุได้ วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมนี้จึงให้ความสำคัญต่อ สถานภาพของปัจเจกบุคคลที่มีปัจเจกภาพ อันได้รับจาก อำนาจเหนือจริง สถานภาพดังกล่าว สามารถแบ่งแยกได้ ดังนี้คือ สถานภาพของความเป็นเทวะ อมนุษย์ สัตว์ ศักดิ์สิทธิ์ หรืออื่นๆ เครื่องประดับจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ จะสักการะสถานภาพหลากหลายสถานะนี้ได้อย่างชัดเจน มนุษย์เอง ได้รับคตินิยมเบื้องต้นมากำหนดฐานะ ชนชั้น และบรรดาศักดิ์ เพื่อปฏิบัติเป็นขนบธรรมเนียม มากที่สุด ด้วยเหตุผลทางการสื่อสารและปกครอง โดย เฉพาะระบบสมมุติเทพของราชวงศ์กษัตริย์และเจ้านาย ชั้นสูง ที่มีอำนาจความชอบธรรมและบุญบารมีที่จะดำรง สถานภาพได้ ดังจะเห็นได้จากกฎหมายตราสามดวง ซึ่ง บัญญัติไว้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีหรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ระบุแน่ชัดถึงการกำหนด สถานภาพที่แตกต่างกันของฐานันดร ด้วยวิธีการกำหนด จำนวนเครื่องประดับที่มีค่า การแสดงระดับของฐานันดร ด้วยวัสดุที่นำมาใช้ในเครื่องประดับ สัญลักษณ์หรือ ลวดลายภายในเครื่องประดับที่ก้าวก่ายกันมิได้ และ กฎระเบี ย บของการจัดวางตำแหน่งของเครื ่ อ งประดั บ ทั้งหมดที่กล่าวมา บุคคลใดละเมิดหรือฝ่าฝืนจะมีการ ลงโทษ ทั้งนี้ถือเป็นการรับรู้ทั่วกันจะแอบอ้างว่ามิรู้ไม่ได้ (ศรีศักร ๒๕๔๕, หน้า ๓๒)

๕ ภาพที่ ๑ การขุดพบต่างหูและกำไลที่ทำจากกระดูกสัตว์อยู่ภายในหลุมศพ ของมนุษย์แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภาพที่ ๒ ปฏิมากรรมพระโพธิสัตว์ อันพร้อมพรั่งไปด้วยการสักการะของ ถนิมพิมพาภรณ์ ภาพที่ ๓ องค์พระพุทธรูป อันพร้อมพรั่งไปด้วยการสักการะของ ถนิมพิมพาภรณ์ ประดิษฐาน ณ วัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา ภาพที่ ๔ สมเด็จเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเครื่อง อาภรณ์ต่างๆ ภาพที่ ๔ พระฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่๕ พระอัครมเหสี และพระโอรส ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์แบบโบราณราชประเพณีผสมกับเครื่องประดับ แบบตะวันตก

35


๗ ภาพที่ ๕ ภาพจิตรกรรม “รามเกียรติ์” โดยอาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ภาพที่ ๖ ภาพสีน้ำมัน ‘รัดเกล้าเปลว’ โดยอาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ภาพที่ ๗ เครื่องประดับศรีษะของสตรีชนเผ่า อาข่า เครื่องหมาย แสดงความอุดมสมบูรณ์ และร่ำรวย

๑ ศิวลึงค์ น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือ พระอิศวร ทำเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็น วัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ (พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒, หน้า ๑๑๐๒) 36

จริงอยู่ที่กฎหมายตราสามดวงนี้อาจเป็นหลักฐานแรกในรูปของตัวบท กฎหมายที่ชี้ชัดถึงเนื้อความของการกำหนดสถานภาพทางชนชั้น แต่อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าการสร้างเครื่องประดับเพื่อการสักการะทางสถานภาพนี้ ได้ถูกกำหนดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก เพราะถนิมพิมพาภรณ์ใน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยฟูนัน ทวารวดี หรือศรีวิชัย ก็มีการกำหนดไว้ แม้จะไม่ได้มีการบันทึกที่เป็นกิจจะลักษณะ แต่หลักฐานที่ขุดพบในหลุมฝังศพก็ บ่งบอกได้ อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นการกำหนดสถานภาพทางวิญญาณที่มีอยู่จริง ของผู้เป็นเจ้าของเครื่องประดับ หรือการบันทึกที่ไม่เป็นทางการของภาพ จิตรกรรมฝาผนังในสมัยสุโขทัย ทีแ่ สดงภาพเด่นชัดว่า ถนิมพิมพาภรณ์ของบุคคล ชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถประดับประดาด้วยทอง เงิน และรัตนชาติชนิดมีค่า ๒) เครื่องประดับเพื่อการสักการะความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริ มงคล ป้องกันภยันอันตราย และเป้าหมายทางไสยศาสตร์ การสื่อสารในรูปแบบของเครื่องมือทางภาษาพิเศษยังคงทำหน้าที่ หลักต่อไป หากตอนนี้มิได้ระบุเพียงแค่สถานภาพ แต่ทรงไว้ด้วยอำนาจและ พลังเร้นลับภายใน ด้วยภาพลักษณ์ของวัตถุหรือเครื่องประดับที่สร้างสรรค์ขึ้น ด้วยความเชื่อที่ว่า มันจะชักนำพลังศักดิ์สิทธ์อันเหนือจริง มาสถิตอยู่ในวัตถุนั้น ได้ เครื่องประดับประเภทนี้ไม่ได้แสดงตัวตนในฐานะที่เปิดเผยเยี่ยงเครื่อง ประดับที่หยิบยกเบื้องต้น มันมีสถานที่ติดตั้งส่วนตน เพราะเหตุผลที่ผู้สวมใส่ นั้นต้องการซ่อนเร้นพลัง และสื่อสารเพื่อมีแรงยึดเหนี่ยวหรือแบ่งเบาภาระทาง จิตใจอย่างลับๆ ได้ส่วนบุคคล เครื่องประดับเพื่อการสักการะความศักดิ์สิทธิ์ อันส่งผลทางจิตใจเพื่อ ตนเองข้างตนนั้น มีแนวทางใหญ่ที่ต่างกัน ซึ่งอาจแบ่งได้ ๓ แนวทาง คือ • เพื่อความเป็นสิริมงคล อาทิเช่น คนไทยโบราณมีความเชื่อถือกัน ว่าการใช้เครื่องประดับต้องให้ถูกโฉลกกับสีของวันและปีเกิด อันสอดคล้อง ตามหลักทางศาสตร์แห่งดวงดาว ดาวเคราะห์ หรือบริวาร ดังนั้นจึงต้องมีการ เลือกสีของอัญมณีให้ถูกต้อง เพื่อที่จะทำอะไร จะได้มีมงคลแก่ตนเอง (ห้องโหร ศรีมหาโพธิ์ ๒๕๑๗, หน้า ๗๐๑-๗๐๒) เป็นต้น • ป้องกันภยันอันตรายอาทิเช่น บุรุษยามออกศึก จะต้องมีการพก หรือสวมใส่เครื่องประดับในรูปเครื่องราง จำพวกตะกรุด ประคำ หรือแหวน พิรอด ฯลฯ อันได้รับการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธ์ เพื่อความเชื่อที่ว่าจะ แคล้วคลาด ปลอดภัย และยึดเหนี่ยวทางใจ • เป้าหมายทางไสยศาสตร์ บางครั้งมนุษย์ก็มีการตีความ ถึงเรื่อง สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่แตกต่างจากตัวอย่างทั้งสองด้านบน โดยออกมาในรูปของความ เหนือจริงหรือแสดงอิทธิฤทธิ์มหัศจรรย์ ซึ่งแน่นอนที่สุดที่เครื่องประดับก็เป็น การสักการะและรองรับแนวความเชื่อนั้น ดังตัวอย่างที่เรามักจะเห็นการคล้อง ศิวลึงค์๑ ที่บั้นเอวของสตรี (ปกติแล้วเด็กชายจะเป็นผู้ใช้) นอกจากความเชื่อมั่น ถึงอำนาจเร้นลับภายในจะนำมาซึ่งความเป็นมงคลแล้ว หากสตรีใดถอดเครื่อง ประดับรูปทรงศิวลึวค์ดังกล่าวออกมากวนน้ำดื่มจำนวน ๓ ครั้ง ก่อนจะดื่มน้ำ นั้น สตรีผู้นี้จะเป็นสตรีผู้ทรงเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามอย่างน่าอัศจรรย์


๑๐

๑๑

๑๓ ภาพที่ ๙ พระเครื่ององค์เล็ก ภาพที่๑๐ แหวนพญานาค สกุลช่างเพชรบุรี ภาพที่๑๑ แหวนพิรอดทำด้วยผ้ายันต์หรือด้ายดิบ ภาพที่๑๒ ตะกรุดแบบแผ่นโลหะม้วน ภาพที่๑๓ จี้ปลุกเสกและคาถาทางไสยศาสตร์บนผิวหนัง ภาพที่๑๔ ภาพร่างของอ.จักรพันธ์ โปษยกฤต โปรดสังเกต เครื่องประดับรูปทรงศิวลึงค์ที่ส่วนเอวแสดงเพศของเด็กชาย

๑๒

๑๔

๓) เครื่องประดับเพื่อการสักการะพิธีกรรม ทางชีวิต ถ้าเราสืบค้นดูถึงวัฏจักรแห่งชีวิตมนุษย์ คือ เกิด แก่ เจ็บ และตาย เราจะพบว่าเครื่องประดับเป็นหนึ่งในวัตถุ ที่โอบอุ้มเอาบริบททางวัฒนธรรม คุณค่า และเรื่องราว เอาไว้ เพื่อให้ภาพลักษณ์ และจิตวิญญาณของศิลปะ เครื่องประดับนั้น สะท้อนเกี่ยวกับวิถีแต่ละช่วงชีวิตของ มนุษย์ และบ่งบอกแนวคิดเรื่องกาลเวลา ศิ ล ปะเครื ่ อ งประดั บ ประเภทนี ้ ป รารถนาที ่ จ ะ สักการะสัมพันธภาพของปัจเจกบุคคล โดยทำหน้าที่เสมือน ตัวกลางในการเติมเต็มระหว่างการผูกเรื่องราวของชีวิต กับหน้าที่การใช้สอยของวัตถุทางจิตวิญญาณเข้าไว้ด้วยกัน วัตถุเช่นนี้เปิดโอกาสให้ผู้สวมใส่ได้สัมผัสถึงความสำคัญ ของการอยู่ร่วมกันของจิตใจ ร่างกายและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของซึ่งกันและกัน กับ ขนบธรรมเนียม นอกจากนี้ศิลปะเครื่องประดับยังแสดง องค์ประกอบทางกายภาพของ “ความเป็นสาธารณะ” อัน สำเหนียกถึงจุดประสงค์ในการเพิ่มเอกภาพให้ชุมชนตาม บริบทที่สังเกตได้ อาทิเช่น ในพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ผู้หลักผู้ใหญ่นิยมเอาแหวน สายสร้อย หรือเครื่องประดับ มีค่า ฯลฯ ใส่อ่างก่อนจะอาบน้ำเด็กแรกเกิด เพื่อเอาเคล็ด ว่าจะได้มั่งคั่งเมื่อเติบใหญ่ หรือในวันพระราชพิธีโสกันต์ทั้ง พระโอรส พระธิดา พิธีเกศากันต์ของพระบรมราชวงศ์ เจ้านายรุ่นเยาว์ หรือแม้กระทั่งพิธีโกนจุกของบุตรหลาน ขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จะได้รับการแต่งพระองค์ แต่งองค์ หรือแต่งตัวด้วยเครื่องประดับต่างๆ อย่างวิจิตร อลังการ ประดุจว่าเป็นเครื่องประดับนั้นเป็นเครื่องหมาย แสดงการสักการะก้าวใหม่ของการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ฯลฯ ๔) เครื่องประดับเพื่อการสักการะความงาม ทางปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ สิ่งที่ทำให้แนวคิดแบบนี้แตกต่างมากจากแนวคิด ก่อนๆ นั้น คือ มนุษย์เริ่มมีการมองเครื่องประดับเป็นผลงาน ทางศิลปะและ/หรือการออกแบบ อิทธิพลของการยึดติด ในจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธ์ หรือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้อง และสัมผัสได้ด้วยตาค่อยๆ สลายไป การแสดงความรู้สึก ส่วนตัวจึงเข้ามามีบทบาทและความสำคัญแทนที่ เครื่อง ประดับเทียบได้กับสื่อทางปรัชญาและสุน ทรียศาสตร์ การให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ ทั ก ษะทางการสร้ า งสรรค์ ง าน 37


ภาพที่ ๑๕ เจ้านายรุ่นเยาว์ทรงเครื่อง อาภรณ์เต็มยศยศสำหรับพิธีโสกันต์ ภาพที่๑๖ เข็มกลัดเผ่าเย้าใช้กลัดใน พิธีศักดิ์สิทธ์ ภาพที่๑๗-๑๘ เงินพดด้วงของสมัยโบราณ ซึ่งผู้คนสมัยก่อนมักถักร้อยเพื่อสะดวกใน การพกพา ภาพที่๑๙ ความเชื่อเรื่องวัสดุเงิน อันแสดง ความบริสุทธิ์สูงสุดในจิตวิญญาณของ ชนเผ่ากะเหรี่ยง

๑๗

๑๕

๑๘

๑๖

๑๙

เชิงช่าง หรือความสนใจกับเลือกสรรวัตถุดิบใหม่ๆเพื่อตอบสนองภาพแนวคิด ต่างๆ จึงเติบโตเป็นเงาตามตัว และเครื่องประดับประเภทนี้ก็มีวิวัฒนาการใน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเด่นชัดที่สุดตั้งแต่สมัยยุคประวัติศาสตร์จวบ กระทั่งยุครัตนโกสินทร์ เครื่องประดับเพื่อการสักการะความงามทางปรัชญาและสุน ทรีย ศาสตร์ มีการนำเสนอแรงจูงใจทางทฤษฎีศิลป์ องค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีการ ออกแบบ หรือปรัชญาด้านต่างๆ ที่ไม่มีตัวตนให้เป็นที่รู้จัก บางครั้งก็นำไปสู่การ ฉีกตัวออกจากกรอบอ้างอิงทางขนบธรรมเนียมเดิมๆ เครื่องประดับเป็นเสมือน หัวใจหรือจินตนาการที่ปลดปล่อยการแสดงออกและสามารถเปลี่ยนแปลง ความคิด อารมณ์ รวมถึงความรู้สึก แถมทั้งยังกุมเรื่องราวต่างๆ ไว้ เพราะมนุษย์ แต่ละบุคคลก็มีเรื่องราว มีความเรียง และจิตแห่งบทกวีของตนเอง จนกระทั่ง มนุษย์สามารถเข้าถึงคุณค่าและความบริสุทธิ์ทางรูปแบบเสมือนสื่อได้ แต่ใน ขณะเดียวกันเครื่องประดับประเภทนี้ก็ต้องการทักษะที่พิเศษ และวัตถุดิบ หน้าตาใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ตัวมัน เพื่อที่จะสะท้อนภาพความคิด และการ รับรู้อันมีประสิทธิภาพของผู้สวมใส่ด้วย เพราะนั่นหมายถึงการเชื่อมโยงการ 38


๒๐

๒๑

๒๒ ภาพที่ ๒๐ ภาพจิตรกรรมฝาผนังตอน พระแม่ธรณีบีบมวยผม โปรดสังเกตว่าทุกชีวิตใน ภาพไม่เว้นแม้สิงสาราสัตว์ก็ต่าง แต่งองค์ทรงเครื่องสอดคล้องธรรมชาติ ของตน ภาพที่ ๒๑ เครื่องประดับสำหรับสักการะ ชนชั้นกษัตริย์สมัยอยุธยาเป็นทองคำฝัง รัตนชาติ ภาพที่๒๒ เครื่องประดับสักการะสรีระ ของสตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดสังเกตที่ต่างหูจะ มีตะขอไว้สำหรับเกี่ยวพวงดอกไม้ประดับเสริม

สื่อสารถึงความหมายสากลและ/หรือประสบการณ์ร่วม ผ่านจากมนุษย์คนหนึ่ง ไปสู่มนุษย์อีกคนหนึ่งด้วยกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ในกรณีสร้างสรรค์เพื่อตนเอง เครื่องประดับก็ต้องการสัญญะที่จะตอบโต้กับเงื่อนไขของบุคคลนั้นๆ อยู่ดี ขณะ นี้คงเห็นแล้วว่าเครื่องประดับเหล่านี้ ได้รวมเอาการตระหนักรู้ทางการสื่อสาร เข้ากับการสร้างสรรค์ที่มีสุนทรียภาพ เครื่องประดับเพื่อการสักการะความงามทางปรัชญาและสุน ทรีย ศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ตามลักษณะสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปคือ • เครื่องประดับลักษณะศิลปะบริสุทธิ์ คือ เครื่องประดับที่มุ่งเน้นการ พวยพุ่งทางปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งการประจักษ์ทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และแสดงออกอย่างมีสุนทรียภาพ • เครื่องประดับลักษณะมัณฑนศิลป์หรือประยุกตศิลป์ เครื่องประดับ นี้มีความแตกต่างจากประเภทที่หนึ่งออกไปอยู่เล็กน้อยคือ เสรีภาพในแสดงออก ทางศิลป์ที่ยังต้องการการคำนึงถึงมนุษย์ผู้เสพ หรือประโยชน์ที่จะพึงมีในการ สวมใส่ผลงาน • เครื่องประดับลักษณะพาณิชย์ศิลป์หรืออุตสาหกรรม คือ เครื่อง ประดับที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อล่อใจเรื่องการรู้รสแห่งศิลป์ ด้วยลักษณะที่เข้าใจ ง่าย และมีการดำเนินการผลิตที่มาก รวมถึงเหมาะเจาะกับรสนิยมของผู้คน จำนวนมาก แม้นว่าการสำรวจครั้งนี้จะเปิดเผยเพียงแค่อณูของแง่มุมที่แตกต่าง แห่ง “บริบททางภูมิปัญญาของมนุษย์ไทยเพียง ๔ บริบทใหญ่” และจุดประสงค์ ของการกำเนิดเครื่องประดับในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จวบถึงปัจจุบันนั้น อาจ จะสอดแทรกบริบททางภูมิปัญญาทั้ง ๔ อยู่ทั้งหมด แต่ถ้าลองพิจารณาให้ดีจะ เห็นได้ว่า ประเภทของเครื่องประดับแต่ละชนิดนั้นจะมีประเด็นอยู่หนึ่งเดียว ซึ่ง เป็นประเด็นเด่นชัดเสมือนเป็นแก่นนำประเด็นอื่นๆ ทั้งนี้เพราะมีการคำนึงถึง เป้าหมายในการสักการะเป็นมุมหลัก และความรู้จากการแบ่งแยกบริบททาง ภูมิปัญญาในแง่มุมต่างๆ จึงมิได้สูญเปล่า หรือสร้างความงงงวยในการแยก ประเด็นแต่ละส่วนให้ออกจากกัน หากบทความแห่งการสำรวจเชิงวิพากษ์นี้ยัง สามารถคลอบคลุมสารัตถะที่แท้แห่งเครื่องประดับไว้ได้ในระดับหนึ่ง ด้วยความ ปรารถนาที่จะแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ร่วมของศิลปะเครื่องประดับไทยด้าน การสักการะจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อบูรณาการชีวิตของตนเองและสิ่ง แวดล้อมเดียวกัน ในฐานะที่มันสามารถสร้างนโยบายในการใช้ร่างกายได้อย่าง มีสุนทรียภาพ และเป็นศิลปะที่มีการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับมนุษย์อย่างตรงไปตรงม ามากที่สุด องค์ความรู้ที่ ๒ การสักการะที่ปราศจาก “ร่างกาย” มิได้ ดังที่กล่าวไว้ในบทนำว่า การสักการะในแง่มุมต่างๆของเครื่องประดับ อาจจะสัมฤทธิ์ผลมิได้ ถ้าปราศจากพิธีกรรมเชื่อมโยงทาง “ร่างกาย” มิว่าทาง หนึ่งทางใด ด้วยเหตุที่ว่าร่างกายนั้นเป็นด่านแรกอันประกอบขึ้นจากการรับรู้ ทางผัสสะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งกระทบและสนิทแนบไปกับ 39


๒๓

๒๖

๒๔

๒๕

ภาพที่ ๒๓–๒๔ ศิราภรณ์ และเครื่อง ประดับกายสำหรับนางละคร อันสามารถ บ่งชี้สถานภาพ และระดับที่แตกต่าง ภาพที่ ๒๕ หัวโขนที่มีการประดับประดา ตกแต่ง ที่ต้องการรูปทรงและสีทางคติ นิยมของวัฒนธรรมพุทธของไทยเพื่อบ่งชี้ สถานภาพ และระดับ ภาพที่ ๒๖ แหวนรูปหัวนมปรับเปลี่ยนหัวได้ ตามการสักการะทางอารมณ์หรือความต้องการ ของผู้สวมใส่ โดย อาจารย์รสชง ศรีลิโก ไตรสุริยธรรมา ภาพที่ ๒๗ กำไลข้อมือเงิน ส่วนตรงกลางคือ ก้านประดับพลอยสีหมุนได้ นอกจาก เพื่อแสดงความเคลื่อนไหวทางอารมณ์แล้ว ยังให้ความรู้สึกถึงการถูกปกป้อง และเป็นการสักการะพื้นที่ส่วนบุคคล โดย อาจารย์ ดร.อภิญญา บุญประกอบ ภาพที่ ๒๘ สร้อยคอวัสดุเงินบริสุทธิ์ แสดง การสักการะความลึกซึ้งแห่งการกลายรูป ทางความรูปทรงตั้งแต่ความเป็นสี่เหลี่ยม จตุรัสจวบถึงวงกลมที่มีความเชื่อมโยง ระหว่างกัน โดย อาจารย์พรพิไล (จงสุนทรธุรกิจ) มีมาลัย

40

๒๗

เครื่องประดับ ทั้งนี้ “ร่างกายก็เป็นตัวขับเคลื่อนบริบทภายในของเครื่อง ประดับ” ให้ออกมาแสดงตน หรือแสดงการเคลื่อนไหวที่อาจเปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งหมดได้ในทันทีทันใด ก่อนที่จะได้รับประจักษ์ทางปัญญา ถึงการตีความ พินิจ และการขยายสารัตถะภายในเครื่องประดับทั้งทางกายและใจอย่างสมบูรณ์ ศิลปะเครื่องประดับตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบกระทั่งยุค รัตนโกสินทร์ มีการบัญญัตินโยบายในการใช้ร่างกาย และภายในพื้นที่ว่าง ระหว่างร่างกายมนุษย์กับเครื่องประดับที่น่าสนใจอย่างละเมียดละไม ทั้งนี้เรา สามารถสังเกตนโยบายในการใช้ร่างกายที่เด่นชัดได้อยู่ ๔ นโยบาย ดังนี้ • ความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ส่วน หรือพื้นที่ของร่างกายนั้นมีจิตวิญญาณ อันศักดิ์สิทธ์สถิตอยู่ อันสมควรค่าอย่างยิ่งที่จะสักการะบูชา และแสดงความ เคารพนับถือ • ความงามทางสรีระ ส่วน หรือพื้นที่ของร่างกายนั้นๆ และภายใน พื้นที่ว่างระหว่างร่างกายมนุษย์ อันสมควรค่าอย่างยิ่งที่จะสักการะด้วยการ ตกแต่ง ส่งเสริม หรือประดับประดา บางครั้งอาจหมายรวมถึงการสร้างความ งามเชิงอุดมคติเสียใหม่ • ความไม่งาม หรือความบกพร่องทางสรีระ ส่วน หรือพื้นที่ของ ร่างกายนั้นๆ และภายในพื้นที่ว่างระหว่างร่างกายมนุษย์ อันสมควรค่าอย่างยิ่ง ที่จะสักการะด้วยการตกแต่ง ส่งเสริม ปกปิด บัง หรือประดับประดาเพื่อการ บิดเบือน


๒๙

๓๐

๓๑

๓๔

๓๒

๓๕

• การมีสหาย พึ่งพิง ยึดเหนี่ยว นำติด พกพา หรือจดจำ เพื่อเรียกสำนึกหรือความทรงจำเกี่ยวกับสารัตถะ แห่งการสักการะนั้นๆ ให้อยู่เคียงคู่ ตราบเท่าที่มนุษย์ผ ู้ สวมใส่ปรารถนาที่จะปฎิสัมพันธ์ กว่าที่มนุษย์จะอิ่มเอมบริบทภายในศิลปะเครื่อง ประดับชิ้นนั้นๆ ได้ ต่อเมื่อพิจารณาผลทางการขับเคลื่อน หลังจากพิธีกรรมแห่งการปฏิสัมพันธ์กับเครื่องประดับชิ้น นั้นบนพื้นที่ ส่วน หรือสถานที่ของร่างกายที่มีการติดตั้ง อย่างเหมาะเจาะกัน หากความคิดเกี่ยวกับสุนทรียภาพใน การติดตั้งศิลปะเครื่องประดับไม่ปรากฏในสถานที่บน ร่างกาย หรือภายในพื้นที่ว่างระหว่างร่างกายมนุษย์ท ี่ ชัดเจนแล้ว มนุษย์ผู้สัมผัสก็จะไม่สามารถรู้สึกอะไรใน “พิธีกรรมแห่งการปฏิสัมพันธ์” ผ่านผัสสะใดๆ ถึงบริบท ภายในงานชิ้นนั้นได้เลย เนื่องจากองค์ประกอบทางวัตถุดิบ ทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นตามเกณฑ์ของบริบทภายในเครื่อง ประดับ ด้วยหมายที่จะให้มนุษย์ได้มีสมาธิรับรู้ สังเกต รวม ถึงสื่อสารก่อนที่จะตีความผ่านผิวสัมผัสและสิ่งที่ตาเห็น หรือสิ่งที่ตามมา ด้วยการสังเกตธรรมชาติของความหมาย ที่สื่อสารผ่านประสาทสัมผัสกับการเรียนรู้ และการเตรียม

๓๓

๓๖

๓๗

ภาพที่ ๒๙ การสักการะพื้นที่ต่างๆขององค์พระพุทธรูปอันมีจิตวิญญาณ ศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ด้วยถนิมพิมพาภรณ์อย่างอลังการ ในสมัยอยุธยา ภาพที่ ๓๐-๓๑ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงวิถีการแต่งกายของบรุษ และสตรีล้านนา ภาพที่ ๓๒ ภาพสีน้ำ “เย็นเอย เย็นย่ำ” โดย อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ภาพที่ ๓๓ ภาพร่างหนุมานตอนเกี้ยวพาราสีนางสุพรรณมัจฉา โดย อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ภาพที่ ๓๔ หญิงสาวชาวกะเหรี่ยงกับเครื่องประดับลำคอ เสน่ห์แห่งความ งามแบบอุดมคติ ภาพที่ ๓๕ เล็บเสริมของระบำมโนราห์ ความงามเหนือจริง ภาพที่ ๓๖ เครื่องประดับเนินคิ้ว โดย อาจารย์ ดร. อภิญญา บุญประกอบ ภาพที่ ๓๗ เครื่องประดับได้ยิน จากจินตนาการของเด็กผู้มีความบกพร่อง ทางโสตประสาท

41


พื้นฐานสำหรับผลลัพธ์ทางการสักการะอันบูรณาการจิตใจ องค์ความรู้ที่ ๓ ความรู้จากบริบทแห่งการ สักการะใดๆ ที่สมบูรณ์ย่อมต้องการสัมพัทธภาพที่สมดุล ทาง “กาล และ เทศะ” เงื่อนไขที่ระบุไว้เบื้องต้นได้แสดง ให้เห็นถึงการ ขับเคลื่อนสุนทรียะของ เครื่องประดับซึ่งรับรู้ได้ด้วยใจ ตา รส กลิ่น เสียง และสัมผัสผ่านร่างกายและผัสสะทั้งหก ที ่ ต้องการการสร้างสรรค์คุณค่าทางการสื่อสารนอกเหนือ จากความงาม ซึ่งช่วยให้มนุษย์เข้าใจบริบทภายในได้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า มันคือการโคจรที่พบกันอันเหมาะสม ระหว่างศิลปะเครื่องประดับ กับมนุษย์ทีเดียว แต่ถ้ามนุษย์ เกิ ด ความสงสั ยในความเป็ น นิ ร ั น ดร์ ข องบริ บ ทภายใน เครื่องประดับเหล่านี้ในทุกๆ ครั้งที่จะสัมผัสขึ้นมา การโคจร นั้นจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับบริบทเดิมอยู่ทุกครั้งหรือ ไม่ ยังมีอะไรนอกเหนือจากนี้อีกที่ต้องการให้มนุษย์เรียนรู ้ หรือทำความคุ้นเคยกับ ขีดจำกัดที่แฝงมา โดยที่มนุษย์ม ิ สามารถรับรู้ได้ในตอนสัมผัสหรือใช้งานในครั้งแรก มีทฤษฎีของ “อัลเบริต์ ไอน์สไตน์” นักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ได้กล่าวถึง สัมพัทธภาพแห่งการกำเนิด สรรพสิ่งที่แท้จริงนั้นต้องประกอบด้วยความสมดุลระหว่าง “กาล และ เทศะ” หรือ เวลา และ ที่ว่าง จะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่แยกออกจากกันมิได้ เนื่องจากเวลาและที่ว่างไม่ดำรงอยู ่ อย่างอิสระจากจักรวาลหรือจากกันและกัน เวลาและที่ว่าง ถูกกำหนดแล้วซึ่งการวัดภายในของจักรวาล จะกล่าวอีก อย่างหนึ่งก็คือ เวลามีการเริ่มต้นและมีจุดจบ อีกทั้งเวลา เป็นส่วนที่มีบทบาทต่อความเป็นไปของวัตถุทั้งหลายใน จักรวาล (ฮอว์คิง อ้างถึงไอน์สไตน์ ๒๕๔๔, หน้า ๓๒ - ๓๔) ผลพวงของทฤษฎีนี้จึงช่วยไขปุจฉาที่มีอยู่ ในศิลปะเครื่อง ประดับ รวมถึงยิ่งทำให้มีความเข้าใจในสัจจะของสสารที่มี อยู่ในจักรวาล นอกเหนือจากสัจธรรมของศาสนาพุทธของ เราที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง และทั้งสอง สิ่งไม่สามารถปรากฏอยู่ได้โดยไม่มีอีกสิ่งหนึ่ง และทั้งสอง เป็นแง่มุมที่ ไม่สามารถแยกกันได้ในความจริงแท้อันเป็น หนึ่งเดียว อะไรคือ “สัมพัทธภาพ” ที่สมดุลระหว่างเครื่อง ประดับและมนุษย์ผู้สัมผัส ในแง่ของผลลัพธ์ในการสักการะ ที่มีประสิทธิภาพ เครื่องประดับแต่ละชิ้นจะต้องมีสัญลักษณ์ นัยยะ การกระตุ้นปฏิกิริยาบางอย่าง และ/หรือร่องรอย ที่สามารถอธิบายได้ในฐานะหน้าที่ทางการสื่อสาร ความ 42

สัมพันธ์ซึ่งกันและกันนี้จะเป็นรูปเป็นร่างได้ด้วยการอาศัย จุดประสงค์ พิธีกรรมแห่งการปฏิสัมพันธ์ รวมถึงกระบวนการ ทางเวลาซึ่งบางครั้งมีปริศนาธรรมที่แยบยลคอยสอนสั่ง อาทิเช่น ในกรณีที่รูปและ/หรือนามของเครื่องประดับนั้น สูญสลายไปแล้ว แต่บริบทนั้นก็จะผันกลายเป็นพลังงาน บริสุทธ์เสมือนเป็นเครื่องประดับที่ไร้ตัวตน และประดับไว้ ที่จิตใจของมนุษย์นั้นตราบเท่าที่ต้องการ เพราะอนุภาคใน สสารภายในจักรวาลมิเคยสูญสลาย “มันเป็นส่วนหนึ่งของ กันและกันไม่ว่าจะเปลี่ยนผันเป็นรูปแบบไหน” ดังข้อมูล และตัวอย่างของศิลปะเครื่องประดับในประเทศไทย ซึ่งมัก จะระบุเค้าโครงทางกาลและเทศะที่น่าสนใจ • แสดงกาลใด หรือ ณ ช่วงกาลหนึ่ง บนเทศะ เฉพาะ เพื่อกำเนิดสมดุลตราบเท่าที่เครื่องประดับนั้นสูญ สลาย หรือเพื่อกำเนิดสมดุลตามฐานะของเครื่องประดับ ได้เพียงช่วงกาลนั้น และมีจุดสิ้นสุด • ไร้กาล บนเทศะเฉพาะ เพื่อกำเนิดสมดุลตราบ เท่าที่เครื่องประดับนั้นสูญสลาย หรือตราบเท่าที่ชีวิตของ มนุษย์นั้นจะดับสูญ และ/หรือบนเทศะไร้รูป ในกรณีที่เครื่อง ประดับนั้นสูญสลายไปแล้ว แต่บริบทนั้นก็จะผันกลายเป็น พลังงานบริสุทธ์เสมือนเป็นเครื่องประดับที่ไร้ตัวตน และ ประดับไว้ที่จิตใจของมนุษย์ • แสดงกาลเฉพาะ บนเทศะเฉพาะ เพื่อกำเนิด สมดุลได้เพียงครั้งเดียว และจบไป หากแม้ศิลปะเครื่องประดับจะมีบริบทแห่งการ สักการะ และระบุการแสดงสถานที่สำหรับติดตั้งบนร่างกาย หรือภายในพื้นที่ว่างระหว่างร่างกายมนุษย์ ซึ่งเทียบค่าได้ เท่ากับการมี “เทศะ” อย่างครบครัน แต่การโคจรที่พบกัน อันเหมาะสมดังกล่าวก็มิอาจสมดุล เพราะเมื่อเพ่งพิจารณา ถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่องประดับให้ลึกซึ้ง ยังมี “เวลา” หรือกาล เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขภายในการก่อร่าง สร้างตนของมัน ซึ่งสามารถบ่งบอกหรือกระซิบสอนถึง สัจธรรมหลายอย่างจากคราบหรือร่องรอยของวัสดุของมัน อย่างที่เทศะไม่สามารถอธิบายได้ และไม่สามารถขาดออก จากกัน เนื่องจากเป็นสารัตถะที่ให้ความรู้และประสบการณ์ ทางสุนทรียภาพอันแตกต่างกันคนละมุม ฉะนั้น ความรู้จาก บริบทแห่งการสักการะใดๆที่สมบูรณ์จึงต้องการ การกำเนิด สัมพัทธภาพที่สมดุลระหว่างสารัตถะทางกาล และสารัตถะ ทางเทศะ


๓๘

๓๙

๔๐

๔๑

๔๒

๔๓

๔๔

๔๕

๔๖

ภาพที่ ๓๘ ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงวิถีชีวิต การสวมใส่เครื่องประดับของผู้คน ภาพที่ ๓๙ เครื่องประดับสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการใช้ประโยชน์ได้ หลากหลาย ทั้งเป็นสังวาล จี้ และหัวเข็มขัด ภาพที่ ๔๐ รัชกาลที่๗ ทรงเครื่องเต็มอิสริยยศ พร้อมเหล่าขุนนาง ข้าราชบริพาร ทั้ง ๓ ภาพได้แสดงกาลของเครื่องประดับ หรือ ณ ช่วงกาลหนึ่ง บนเทศะเฉพาะ ภาพที่ ๔๑ สร้อยคอพร้อมพระเครื่อง เครื่องสักการะความยึดเหนี่ยวทาง จิตใจในรูปของเครื่องประดับติดกาย ภาพที่ ๔๒ เครื่องประดับนิ้ว ๒ชิ้น สามารถประกอบและแยกออกจากกัน ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมร่วมสมัยเลื่องชื่อของ เชน ซิลเวอร์สโตน เรื่อง การเดินทางของส่วนที่หายไป โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ภาพที่ ๔๓–๔๔ เครื่องประดับได้ยิน จากจินตนาการของเด็กผู้มีความ บกพร่องทางโสตประสาท ภาพที่ ๔๕ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงการหยอกเอินระหว่างชายหญิงด้วย การสักการะเครื่องประดับ ภาพที่ ๔๖ เครื่องประดับบรรจุภัณฑ์สำหรับวุ้น หรือเยลลี่ ที่สามารถสวมใส่ แช่ตู้เย็น และมีส่วนใช้จิ้มรับประทาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ภาพที่ ๔๗ การสักการะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการถักร้อยเครื่องประดับ ด้วยดอกไม้สด ทั้ง ๓ ภาพแสดงกาลเฉพาะตามคุณสมบัติของวัสดุ บนเทศะเฉพาะ เพื่อ กำเนิดสมดุลได้เพียงครั้งเดียว และจบไป ภาพที่ ๔๘ -๔๙ เครื่องประดับรูปทรงใบโพธ์ซ้อนเรียงตัวกัน ถักร้อยเป็น กำไลร่วมกับดอกไม้สด หรือถอดออกมาเล่นเป็นภาพปริศนาธรรม ภาพที่ ๕๐–๕๑ มีกุศโลบายให้พบชิ้นงานร่วมกับการนั่งทำสมาธิ เมื่อเทียน ถูกบรรจุในดอกบัวที่มีรูสอดนิ้วหัวแม่มือของทั้งสองมือในท่าสมาธิ เพื่อจุด กำหนดเวลาการทำสมาธิ แหวนที่พบอยู่ภายในเป็นผลของความเพียร ผลงานทั้ง ๒ ชิ้นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ทั้ง ๒ ภาพมุ่งเน้นให้เห็นถึงกรณีที่เครื่องประดับนั้นๆสูญสลายไปแล้ว แต่บริบทภายในก็จะผันกลายเป็นพลังงานบริสุทธิ์เสมือนเป็นเครื่องประดับ ที่ไร้ตัวตน และประดับไว้ที่จิตใจของมนุษย์ผู้สัมผัสตลอดไป

๔๗

๔๘ ๕๑

๔๙

๕๐ 43


บทสรุป ผลสรุปสุดท้ายของบทความแห่งการสำรวจเชิง วิพากษ์เกี่ยวกับสารัตถะที่มีอยู่ในศิลปะเครื่องประดับของ ประเทศไทย ครั้งยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบกระทั่งยุค รัตนโกสินทร์ครั้งนี้ ไม่ได้ชี้เฉพาะว่าเครื่องประดับนั้นมี จุดประสงค์ในการผลิตวัตถุเพื่อการสักการะซึ่งกระตุ้น ให้เกิดประสบการณ์ทางศิลปะหรือการตอบสนองความ พึงใจในความงามเป็นจุดมุ่งหมายแต่ประการเดียวเท่านั้น หากมีการซุกซ่อนอยู่ของประเด็นต่างๆ จำนวนมหาศาลใน กระบวนการสืบค้นในระดับต่างๆ กัน ทั้งระดับวัฒนธรรม ระดับจิตวิทยา ระดับปรัชญา และอื่นๆ อีกทั้งบทความแห่ง การสำรวจเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสารัตถะที่มีอยู่ ในศิลปะเ ครื่องประดับนี้ มุ่งเน้นให้เห็นถึงสิ่งสามารถเรียกได้ว่า “สัมผัสอันฉับไว” ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ได้รับการฝึกฝนจาก การปฏิสัมพันธ์ร่วมกับศิลปะเครื่องประดับอยู่เป็น นิจ นั่นเอง แถมทั้งยังแสดงรัศมีอันบริสุทธิ์ระหว่างผัสสะกับ การรับรู้ และความหมายกับการสื่อสารอันแผดแสงที ่ ละเอียดอ่อนอย่างละเมียดละไม นอกจากนี้ ศิลปะเครื่องประดับนั้นมี “มิติทาง จิตวิญญาณ” หรือมิติทางการสร้างสรรค์ศิลปะเครื่อง ประดั บ เพื ่ อ การประจั ก ษ์ ท างปั ญ ญาอั น การสั ก การะ เช่นนี้จะนำพาจิตของมนุษย์เหล่านี้ ให้เข้าถึงรูปแบบของ “การรู้แจ้ง” ดังการสนับสนุนโดยบริบททางภูมิปัญญาทั้ง ๔ ที่มีการแสดงจุดร่วมทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับความเชื่อ ต่อความหมายของวัตถุเดียวกัน กล่าวคือวัตถุมีศักยภาพ ในการยกระดับจิตใจของมนุษย์จากความโง่เขลาต่อบาง สิง่ สู่อสิ รภาพในการค้นหาทางออก มิว่าจะแตกฉานโดยการ พิจารณาองค์ประกอบทั้งหลายของจิตวิญญาณผ่านสัจจะ ของวัสดุต่างๆที่ประกอบขึ้นภายในของวัตถุ การจดจ่อที่ วัตถุเสมือนหยุดเพื่อเฝ้าดูตนเอง การตระหนักรู้ทาง จริยธรรม หรือกำเนิดวินัยทางจิตตามกติกาของตัววัตถุ แต่ไม่ใช่วิธีเข้าถึงความจริงสูงสุด เนื่องจากประการหลังนี้

44

เป็นการเติมเต็มทางจิตวิญญาณด้วยตนเอง รวมถึงการ ปรับทัศนคติ หลักการ ความเชื่อ การมอบคุณค่าแด่ ตนเองด้วยหนทางที่เปี่ยมไปด้วยความหมาย และการให้ ความสามารถแก่ตนเองที่จะชื่นชมพลังงานบริสุทธิ์แห่ง บริบทภายในศิลปะเครื่องประดับเช่นนี้ ราวกับว่ามนุษย์ ผู้สัมผัสสามารถเป็นศิลปินแห่งชีวิตได้ด้วยตนเองเช่นกัน และที่แน่นอนที่สุดก็คือ ศิลปะของเครื่องประดับนี้เติมเต็ม ชีวิตของมนุษย์ให้กลับสู่ความเป็นธรรมชาติ ประสบความ สว่างและสงบอย่างแท้จริง แม้รูปและนามของตัวมันอาจ สูญสลาย มิอาจปรากฏให้จับต้องหรือมองเห็นได้อีก อีกหนึ่งมิติที่ทำให้รัศมีอัน บริสุทธิ์นี้เรืองรอง มากขึ้นคือ ความเกื้อกูลร่วมของ “มิติทางสุนทรียะ” หรือ ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ อันสามารถนำมนุษย์ให้ พลิกผันสถานการณ์ที่สับสนซึ่งเป็นรากของความล้มเหลว ในการดำรงชีวิตให้ผ่านพ้นไปด้วยดี ศิลปะเครื่องประดับ เหล่านี้มีพลังเพียงพอที่จะโน้มน้าวจิตใจ และการเจริญสติ ของมนุษ ย์ผู้สัมผัสในฐานะที่มันก่อให้เกิดความรู้สึกถึง ตัวตนอันไม่จีรัง และไม่ได้กระตุ้นให้รู้สึกครอบครองหรือ เป็นเจ้าของ เนื่องจากทุกคนสามารถสร้างสรรค์วัตถุเพื่อ การสักการะขึ้นเองได้ เพราะมันสอดแทรกพุทธิปัญญา มากกว่าคุณค่าของราคาค่างวด อันผ่านอำนาจทาง ภาพลักษณ์และวัสดุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจแฝงกลที่จะพยายาม ชักจูงความโลภให้เข้าสู่ความหมกมุ่นต่อวัตถุแห่งความ พึงพอใจ มิติทางสุนทรียะนี้จึงเป็นสัจธรรมสำคัญของ ธรรมชาติในบริบทของวัฒนธรรมพุทธศาสนาของไทย ดังนั้น มนุษย์สามารถตระหนักถึงคุณค่าสูงสุดเกี่ยวกับ ประสบการณ์ ท างความงามแท้ ร ะหว่ า งศิ ล ปะเครื ่ อ ง ประดับและมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย เครื่องประดับนี้จะกลาย เป็นรูปแบบทางศิลปะของการมีชีวิต ท้ายที่สุด องค์ความรู้ทั้งสามร่วมกับข้อสรุปทั้ง หมดที่กล่าวไป จึงเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนและงดงามของ จักรวาลแห่งศิลปะเครื่องประดับในประเทศไทย มิว่าครั้ง


ภาพที่ ๕๒ พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร กับการทรงเครื่อง ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว ตามกฎมณเฑียรบาลระบุไว้ว่า องค์กษัตริย์จะเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่จะสามารถ ผลัดเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูได้ ซึ่งปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จแทนพระองค์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จวบกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ บทความแห่งการสำรวจ เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสารัตถะที่มีอยู่ในศิลปะเครื่องประดับนี้ เปิดเผยความหวัง อันแรงกล้าด้วยว่า องค์ความรู้ทั้งหมดคงสามารถท้าทายสำนึกในเรื่องความ รู้สึกของมนุษย์ ที่มีต่อวัตถุอันมีความสัมพันธ์โดยตรงอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์มา หลายพันปี และด้วยความรู้สึกจากสัมผัสในสิ่งที่เราสวมใส่นั้นมีมาแต่โบราณ ผ่านรูปแบบของการสักการะด้วยพิธีกรรมอันแสดงความศรัทธา ด้วยดวงจิตอัน บริสุทธิ์ ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ พัฒนา และยังคงเป็นพื้นฐานที่สามัญชน หรือในสายตา ศิลปินเยี่ยงเราควรจะเชิดชูสุนทรียศาสตร์ทางความเชื่อดังกล่าว บ้าง แม้จักต้องเปลี่ยนรูปแปรค่าตามความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมก็ตาม สำนึกดังที่กล่าว ไปจะธำรงตนคู่ขนานไปกับนิยามของจักรวาลแห่งศิลปะเครื่อง ประดับ ที่ซึ่งสารัตถะยังคงดำเนินการประกาศสัจจะสำหรับมนุษย์เพื่อ “การ สักการะจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์แห่งธรรมชาติ” โดยมีนโยบายในการใช้ “ร่างกาย” เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะตัวขับเคลื่อนระหว่าง “บริบทภายในบน สภาวะที่สมดุลของ กาล และ เทศะ” อย่างบริบูรณ์ต่อไป และปรากฏแสงสว่าง ที่ฉายโชนซึ่งกันและกันอย่างมิรู้ดับ บรรณานุกรม กรมศิลปากร, ถนิมพิมพาภรณ์, กองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, กรุงเทพฯ ๒๕๓๕ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน, นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น, กรุงเทพฯ ๒๕๔๒ ห้องโหรศรีมหาโพธิ์, ตำราพรหมชาติ, สำนักพิมพ์ธรรมบรรณาคาร, กรุงเทพฯ ๒๕๑๗ ศรีจักร วัลลิโภดม, กฎหมายตราสามดวงกับความเชื่อของไทย, เมืองโบราณ, กรุงเทพฯ ๒๕๔๕ ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล, จักรวาลในเปลือกนัท ของ สตีเฟน ฮอว์คิง, บริษัท บริสุทธิ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ ๒๕๔๖

45


46


ตัวอย่างการบูรณาการศาสตร์ทาง สถาปัตยกรรมประยุกต์ สู่ประเด็นในการออกแบบภายใน: กรณีศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมใน จินตภาพวัยรุ่นไทยปัจจุบัน The Architectural adaptive research exsample to Interior design program; The Trandisciplinary approach case study: Buddhist Architecture in Thai’s teenagers imagery.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ ปัจจุบันนี้องค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาการต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเคย แยกกันอยู่ในอดีต กำลังจะกลับฟื้นคืนด้วยการนำมาให้คุณค่าและความสำคัญ ใหม่ในแนวทางที่เรียกว่าการบูรณาการข้ามศาสตร์ (Transdisiplinary) ซึ่งการ บูรณาการ หรือ integration ความหมายคือการทำให้สมบูรณ์ การทำให้หน่วย ย่อยๆ ทั้งหลาย ที่สัมพันธ์อิงอาศัยซึ่งกันและกัน เข้ามาร่วมทำหน้าที่ประสาน กลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว โดยอาศัยการ เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อทั้งการขยายฐานและเพื่อการต่อยอดทางความคิด และ ความรู้ที่ผ่านมา การจัดการประชุมวิชาการของอิโคโมสไทยประจำปี 2549 และ การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง ”การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรม ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์” (Sustainable Local Heritage Conservation: The Transdisciplinary Approach) นั้นแสดงให้ เราเห็นถึงความเป็นไปได้ในการผนวกรวมเอาองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเอกภาพทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่นด้วยกระบวนการทางศาสตร์ที่หลากหลายกว่าเดิม ลักษณะของการเกิดขึ้นของวิธีมองและแนวปฏิบัติดังกล่าว ในสาขา วิชาชีพทางด้านศิลปะและการออกแบบบางสาขาวิชานั้น มีการศึกษาศาสตร์ ทางด้ า นศิ ล ปะและการออกแบบควบคู ่ ไ ปกั บ การศึ ก ษาศาสตร์ ท างด้ า น สถาปัตยกรรม จนอาจกล่าวได้ว่าได้มีความพยายามและได้ดำเนินการโดย วิธีการทางบูรณาการมานานพอสมควรแล้ว ด้วยความที่ปณิธานและปรัชญา ของแต่ละสถาบัน จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมทางการศึกษานั้นจะเป็น ผลงานออกแบบและผลงานสร้างสรรค์ของทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ อันเกิด จากอุตสาหะพากเพียรทั้งด้านความรู้ และทักษะที่ผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน อย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอนเพื่ออธิบายกระบวนการ ปัญหาของการชี้วัดระดับความสร้างสรรค์ของผลงานนั้นถูกสังคมวิชา การและสังคมวิชาชีพ ได้ตั้งคำถามอยู่หลายยุคหลายสมัยและดูเหมือนว่าจะยัง คงท้าทายศักยภาพในการประเมินต่อนักวิชาการศึกษาอยู่กระทั่งปัจจุบัน

47


ตราบกระทั่งองค์รวมของความรู้ (Holistic View) และตัวอย่างผลงานวิจัยจากศาสตร์ข้างเคียง ได้ถูกนำมา ทำความเข้าใจและพิจารณาอย่างละเอียด ได้ทำให้เราได้ เห็นถึงความเป็นไปได้ในความพยายามที่จะค้นหา เพื่อให้ ค้นพบตัวชี้วัดต่อการวิจัย โดยอาศัยการเทียบเคียงศาสตร์ ในสาขาแวดล้อมต่างๆ และกรณีเสนอแนะการศึกษา ตัวอย่างกรณีที่จะกล่าวต่อไปนี้ ก็ถือเป็นความพยายามที ่ ทำให้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ต่อเมื่อเราได้กำหนด ประเด็นปัญหาจากสภาพการณ์ในปัจจุบัน และพยายาม ทำความคลุมเครือนั้นให้กระจ่าง เราก็จะได้ค้นพบว่าความ เป็นจริงสากลของทุกสิ่งนั้นล้วนมีรากเหง้ามาจากความ จริงสูงสุดเดียวกัน พุทธสถานที่เรียกว่าวัดนั้นมีความสำคัญต่อสังคม ของสยามประเทศมาช้านาน โดยตัวพุทธสถานอันหมายถึง วัดนี้นอกจากจะใช้เป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์แล้ว ก็ยัง นำมาใช้ประกอบศาสนพิธีรวมถึงเมื่อได้ปรับเข้ากับค่านิยม และความเชื่อของคนสยามแล้ว วัดก็ยังเป็นศูนย์กลาง การศึกษาแห่งแรกของสยามในอดีตด้วย และเหตุนี้เองที่ ทำให้วัดนั้นจึงเป็นศูนย์กลางทางสังคมของชุมชนและก่อ ให้เกิดความเลื่อมใสต่อบวรพุทธศาสนาที่นำมาสู่รูปแบบ สถาปัตยกรรมศรัทธาที่โดดเด่นและเฉพาะตัว ความโดดเด่นเฉพาะตัวของรูปแบบสถาปัตยกรรม เกิดจากคตินิยม และความเชื่อ ที่อาศัยแนวคิดแบบ คล้อยตามกันที่ยอมรับเอาระบบความคิดใดๆ มายึดถือเป็น แบบแผนที่ก่อให้เกิดชุดระบบคุณค่าหนึ่งร่วมกัน ก่อให้เกิด แบบแผนวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมต่างๆ และ ผูกพันกันมาในสังคมสยาม และเพราะเอกภาพของสยาม นั้นอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย จากช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นองค์ รวมของสังคมไทยก็ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแบบแยกส่วนมาก ขึ้น การนำเข้าแนวคิดรัฐนิยมและทุนนิยมที่มีรากฐานจาก แนวคิดแบบแยกส่วน ได้เข้ามายึดครองพื้นที่ทางความคิด และการบริหารจัดการในหลายส่วนของสังคมไทย กระแส ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่เข้ามา ก็ยิ่งเร่งรัดกระบวนการแปรรูป สังคมไทยให้เป็นแบบแยกส่วนมากขึ้นไปอีก จนในวันนี้ พื้นที่ของความเป็นองค์รวมก็ลดน้อยลงอย่างที่ไม่เคยเป็น มาก่อน มาวันนี้ อัตลักษณ์ที่หลากหลายของผู้คนกำลังถูก ทำให้เหลือเป็นเพียงการเป็นทรัพยากรของชาติเท่านั้น 48

จากการปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะโครงสร้างทาง สังคมก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ศูนย์กลางทางสังคมของ ชุมชนอย่างวัดในอดีตจึงค่อยๆ เริ่มต้นถูกลดบทบาทลงที ละน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นการเปลี่ยน ศูนย์กลางการศึกษาจากวัด เป็นโรงเรียนตามระบบการ ศึกษาที่ได้รับแบบแผนมาจากชาติตะวันตก วัยเด็กที่เคยได้ รับการปลูกฝังอุ้มชูจากวัดจึงได้เหินห่างออกไปเรื่อยๆ ศาสนาและความเชื่อ รวมถึงพัฒนาการความรู้ จากชาติตะวันตกส่งผลต่อทัศนคติในอดีตที่ถูกถ่ายทอด ปลูกฝังกันมาก่อให้เกิดการประทะและการเผชิญหน้ามาก ขึ้น ข้อเท็จจริงและเหตุผลต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมซึ่งเป็นผลของการรับ เอาความรู้และแนวความคิดแบบตะวันตกมาปรับใช้อย่าง ไม่มีการคาดคะเนหรือดูแลอย่างรอบคอบ ผลกระทบดังกล่าวค่อยๆ เริ่มเป็นปัญหาต่อเด็กที่ อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น ในด้านจิตวิทยาและในด้าน พฤติกรรม การแสดงออกที่ก้าวร้าว และขาดความยับยั้ง ชั่งใจเริ่มเข้ามาเป็นปัญหาใหม่ ในสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะของการจัดการทางสังคมของบุคคลที่มีพื้นฐาน จากคตินิยม ความเชื่อ และประเพณี ถูกท้าทายและถูก จัดวางทางความคิดของบุคคลบางวัยมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวัยรุ่น วัยที่ ในระยะวัยรุ่นตอนต้น มีการเรียนรู ้ บทบาทและกฎเกณฑ์ของสังคม ที่เป็นรากฐานของ มนุษยสัมพันธ์ที่จะรู้จักผูกพันใกล้ชิด และทำให้สร้าง สัมพันธ์อย่างดีต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ แต่กระนั้น วัยรุ่นช่วงนี้ ยังมีลักษณะของเด็กที่ยังเอาแต่ใจตนเองโดยยึดความคิด และเอาตนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งโดยลักษณะดังกล่าวนั้นใน สังคมไทยในอดีตจะอาศัยกลไกทางสังคมที่มีพื้นฐานแบบ ครอบครัวขยายมาใช้จัดการกับปัญหาต่างๆ ซึ่งถือเป็น วัฒนธรรม ซึ่งถือเป็น “ข้อตกลงของกลุ่ม” หรือ “กฎต่างๆ ของกลุ่ม” ที่เกิดจากการยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม และ ปฏิบัติร่วมกัน ข้อตกลงของกลุ่มนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปทัสถาน” หรือ Norm ของกลุ่ม ซึ่งความรักและความผูกพันด้วยลักษณะความ สัมพันธ์ทางสังคมรูปแบบนี้เองที่สูญเสียไป ทำให้บทบาท ของเพื่อน การมีเพื่อน และการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน เป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาทางจิตใจของวัยรุ่นในปัจจุบัน


วัยรุ่นบางคนอาจจะมีระยะเวลาสั้นๆ ที่ตนเองรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่ห่าง จากคนอื่นๆ เหมือนอยู่คนเดียวในโลก บางครั้งมีความรู้สึกเหมือนว่าจะควบคุม ความคิดตนเองไม่ได้ สิ่งเหล่านี้เกิดชั่วครั้งชั่วคราว ความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ เกิด ขึ้นในวัยรุ่นได้เสมอ และจะเกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ลัทธิ การเมือง ปรัชญา ฉะนั้นวัยรุ่นที่ปรับตัวได้ดี จะไม่หมกหมุ่นกับความคิดของ ตนเองเกินไป

1.1 ภาพที่ 1.1 ภาพวัยรุ่นไทยที่ใช้เวลาทำงาน กับเอ็นจีโอ ที่มา :ลูกโซ่-ลูกศร “New Hope” ของวัยรุ่นไทย. (27 ส.ค.2550). Available URL: http://www.thaingo.org/images3/hope001. jpg ภาพที่ 1.2 ภาพวัยรุ่นไทยถือถุงยางอนามัย ที่มา: วัยรุ่นไทยเซ็กซ์สำส่อน ตัวเลขเอดส์ หน้าใหม่พุ่งปรี๊ด. (27 ส.ค.2550). Available URL: http://www.nmpp.go.th/ web/news_read.php?id=98 ภาพที่ 1.3 ภาพนักร้องวัยรุ่นไทยถือป้าย รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ที่มา :เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ รณรงค์ให้วัยรุ่นไทย งดเหล้า เข้าพรรษา. (27 ส.ค.2550). Available URL: http://entertainment.hunsa.com/view. php?cid=13162&catid=9

1.2

1.3

การรู้สึกคล้อยตามเป็นเหตุการณ์ทางจิต เป็นพฤติกรรมภายใน หรือ Covert behavior แต่เมื่อการรู้สึกนี้แสดงออกมาเป็นการกระทำ ก็เรียกว่า พฤติกรรมภายนอก หรือ Overt behavior ถ้าเป็น Cognitive Psychology ก็ใช้ ทั้งพฤติกรรมภายใน และพฤติกรรมภายนอก แต่ถ้าเป็นBehaviorism ส่วนใหญ่ จะใช้แต่พฤติกรรมภายนอกอย่างเดียว เราอาจพบเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้จากสื่อต่างๆ ในสังคม ปัจจุบัน การเรียกร้องสิทธิการเลือกศาสนาเวลาเกิด และความเสื่อมถอย ของศีลธรรมจริยธรรมของวัยรุ่น ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากระบบคุณค่าใน ประสบการณ์ของเด็กวัยรุ่นที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ที่เราเรียกกันว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบมโนทัศน์ (Conceptual System) อันเป็นการจัด ระเบียบทางความคิดในจิตที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายนอกต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนทรรศน์ (Paradigm) หรือความคิดเห็น หรือ ทรรศนะพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันกำหนดแบบแผนการคิด และการปฏิบัติในประชาคมหนึ่ง ๆ ซึ่งกระบวนทรรศน์ของประชาคมกลุ่มวัยรุ่น นี้ อาจกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง (Paradigm shift) หากแต่เปลี่ยนแปลงไป เป็นแบบไหน ขนาดไหน อย่างไร และถือว่าเป็นการพัฒนาหรือไม่ เมื่อเทียบกับ ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอยู่ เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับคติ ความเชื่อที่ ใช้สร้างลักษณะสำคัญขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมใน สถาปัตยกรรมไทยอันเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงความเหมาะสมในปัจจุบัน คติ “ลูกปูเดินตามอย่างแม่ปู” ที่กระทั่งนำมาสร้างสรรค์ล้อเป็นเพลง ลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ อาจสามารถใช้อธิบายภาพสะท้อนถึงการ ละเลยปัญหา ให้ค้างคา และให้ประสบอยู่ ต่อเรื่องการนำภาพลักษณ์ด้าน ศิลปวัฒนธรรมแค่เพียงการแสดงออกทางภาพลักษณ์ออกมาเผยแพร่ต่อสากล สาธารณะด้วยเป้าประสงค์เพียงเพื่อจะ “ขายหรือส่งออก” เพียงวัฒนธรรม 49


ผลลัพท์ทางสายตา ตั้งแต่ครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบันที่ผลของ มันได้ทำให้สังคมของนักออกแบบหรือนักสร้างสรรค์ ความ พึงพอใจต่อธุรกิจบริการ และการให้บริการความพึงพอ ใจกับลูกค้าและนักท่องเที่ยว ได้สร้างโศกนาฏกรรมทาง การออกแบบและการสร้างสรรค์ โดยอาศัยรูปแบบของ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในสถาปัตยกรรมไทยมา ใช้กับการตกแต่งโดยมิได้ทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ ซึ่งสร้างความสับสนในการรับรู้ให้เกิดขึ้นในสังคม การรับรู้ความเป็นสถานที่ต่างๆ และความ แตกต่างกันของสถานที่ ในระบบมโนทัศน์ของเด็กวัยรุ่นต่อ ศาสนสถานยังคงถูกทำให้สับสนมากเข้าไปอีกอันเกิดจาก พฤติกรรมการแสดงภาพลักษณ์ของบุคคลที่ส่อนัยยะไป ทางปัจเจกบุคคลมากขึ้น ในยุคหลังสมัยใหม่นี้ความรู้สึก นึกคิดที่เป็นปัจเจกบุคคลส่งผลต่อการรับรู้สภาพแวดล้อม และการตีความไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกในด้านต่างๆ ที่พบเห็นผ่านระบบสื่อสารมวลชน เช่น ภาพยนตร์และ รายการโทรทัศน์หรือแม้แต่โฆษณา รายการแข่งขัน นางแบบจากประเทศตะวันตกปีหนึ่ง ที่ใช้ประเทศไทยเป็น ฉากหลักในการถ่ายทำโดยมีการจำลองสภาพการตกแต่ง ภายในพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทเพื่อใช้เป็นฉากสำคัญ สำหรับการคัดเลือกนางแบบ การลอกแบบสถาปัตยกรรม พุทธสถานของวัดต่างๆ เช่น วัดไหล่หิน จังหวัดลำปางเพื่อ นำมาทำเป็นห้องจัดเลี้ยงขนาดเล็กในโรงแรมแห่งหนึ่งทาง ภาคเหนือของประเทศไทย ความนิยมในเรื่องเสื้อผ้าเครื่อง แต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เน้นไปในภาพลักษณ์ที่ทำให้ นึกถึงศาสนา เช่น การนำเอาผ้ามาย้อมสีกลักเพื่อตัดเป็น ชุดแฟชั่นโชว์ของศิลปินและนักออกแบบชื่อดังทั้งในและ ต่างประเทศ ในด้านพฤติกรรม เช่น การเกี้ยวพาราสีหรือกิริยา อาการที่ ไม่สำรวมในศาสนสถานที่เราได้ปรากฏพบเห็น ผ่านสื่อต่างๆ มีอยู่มากมายไม่ขาดสายในช่วงเทศกาล สำคัญทางศาสนาต่างๆ ของไทยซึ่งโดยมากมักเป็นช่วงคืน พระจั น ทร์ เ ต็ ม ดวงที ่ ค ล้ า ยกั บ เทศกาลคื น งานฉลอง พระจันทร์เต็มดวงซึ่งจัดเป็นเทศกาลสำคัญต่อนักท่องเที่ยว ชาติตะวันตกในเกาะบางเกาะทางตอนใต้ของประเทศไทย พฤติกรรมการแสดงออกดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนคลุมเครือและอาจขาดความเหมาะสมต่อสถานที่หรือ

50

2.1

2.2 ภาพที่ 2.1 ภาพแสดงทัศนียภาพของวัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง ที่มา: วัดไหล่หินหลวง. (27 ส.ค.2550).Available URL: http://www.tourthai.com/gallery/ancient/pic08962.shtml ภาพที่ 2.2 ภาพแสดงทัศนียภาพกลุ่มอาคารจำลองจากวัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง ที่มา: แมนดารินโอเรียนเต็ล ดาราเทวี. (27 ส.ค. 2550). Available URL: paworn.blogspot.com/2006/05/blog-post.html

กาลเทศะ ถ้าเราใช้ประสบการณ์ทางสังคมของเราในฐานะ ผู้ที่ได้ผ่านมาแล้วเป็นมุมมอง แต่ข้อเท็จจริงคืออาจเป็นไป ได้ว่าบุคคลขาดความรู้ในเรื่องสิ่งที่พึงปฏิบัติต่อศาสน สถาน หรือกระทั่งบุคคลอาจขาดความรู้จักแยกแยะถึง สัญญาณชี้แนะทางทัศนาการที่จำแนกพุทธศาสนสถาน ในระบบมโนภาพออกจากอาคารสถานสาธารณะทั ่ ว ๆ ไปอันส่งผลให้ปรากฏเป็นระบบมโนทัศน์และทัศนคติหรือ กระบวนทรรศน์ที่บิดเบือนไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนรบกวน จิตใจต่อ “เรา” ในฐานะผู้สังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ที่ ทั้งแบ่งปันรูปแบบของประสบการณ์ใหม่ๆ ในสังคมและ ตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน


3.1

3.2

3.3

3.4

3.5

3.6

เพื่อต้องการจะทราบลักษณะความเกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์กัน ของปัญหาในมุมมองของนักออกแบบ และสถานภาพความเป็นบุคลากรด้าน การศึกษาจึงได้ทดลองดำเนินการสร้างข้อเสนอที่มีวัตถุประสงค์ของการ ศึกษา 3 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษาลักษณะของพุทธสถาปัตยกรรมที่ส่งผลถึง การรับรู้ภาพลักษณ์ทั่วๆ ไป โดยหมายจะได้องค์ความรู้สำคัญที่จะใช้แยกแยะ องค์ประกอบทางการเห็นภาพสถาปัตยกรรม เพื่อจำแนกประเภทรูปร่าง และ รูปทรงบางประการ ซึ่งมีผลต่อการรับรู้เฉพาะทางพุทธสถาปัตยกรรม ที่มีต่อ กลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันโดยปัจจัยเฉพาะพื้นฐานเช่น เพศ วัย สถานภาพ ฯลฯ ประการต่อมา คือ เพื่อศึกษาจินตภาพในการรับรู้ภาพลักษณ์ สถาปัตยกรรม โดยความรู้ที่ได้จากประการนี้จะนำมาใช้อธิบายถึงขั้นตอนและ กลไกในการรับรู้ของบุคคลต่อการพบเห็นรูปทรงและรูปร่างบางประเภทที่ม ี นัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการรับรู้ถึงความเป็นสถาปัตยกรรม ซึ่งในที่นี้จะนำไป สู่วัตถุประสงค์ในข้อสุดท้ายคือ เพื่อศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในจินตภาพของ วัยรุ่นปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการบูรณาการความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ค้นพบใน วัตถุประสงค์ 2 ข้อแรก ให้ได้กระบวนการทดลองที่เหมาะสมในการหาคำตอบ และใช้อธิบายผลที่เกิดขึ้น รวมถึงในการเสนอแนะในบทสรุปของการศึกษา อนึ่ง แนวในการตั้งคำถามเพื่อการศึกษาน่าจะมีลักษณะที่สะท้อนถึงความ ต้องการตัวคำตอบโดยมีลักษณะของหัวคำถามว่ามีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร มีวิธ ี ใดบ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร โดยในคำถามส่วนต่างๆ นั้นจะต้องอาศัยองค์ ความรู้เพิ่มเติมเพื่อใช้ช่วยในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 3.1-3.6 ภาพแสดงบรรยากาศ การตกแต่งภายในโรงแรมสุโขทัย กรุงเทพมหานครฯ ที่มา :The Sukhothai Bangkok. (27 ส.ค. 2550). Available URL: www.sukhothaihotel.com/career.php.

51


1. พุทธสถานมีภาพลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมอะไรบ้างที่บุคคลรับรู้ได้ 1.1 องค์ประกอบของพุทธสถานในเชิงสถาปัตยกรรม 1.2 กระบวนการรับรู้ทางทัศนาการ (Visual perception process) 1.3 การวิเคราะห์พฤติกรรมภายนอก (Overt - behavioral analysis) 2. จินตภาพในการรับรู้ภาพลักษณ์สถาปัตยกรรมของวัยรุ่นเป็นอย่างไร 2.1 องค์ความรู้เรื่องการศึกษาจินตภาพของสภาพแวดล้อม 2.3 การรับรู้จินตภาพของสถาปัตยกรรมของบุคคลเป็นอย่างไร 2.3 ความแตกต่างเรื่องวัยในการรับรู้จินตภาพของสถาปัตยกรรม 3. มีวิธีใดในการค้นหาพุทธสถาปัตยกรรมสถานในจินตภาพของวัยรุ่น 3.1 ความรู้ในการทดลองค้นหาจินตภาพของสภาพแวดล้อม 3.2 ความรู้ในเรื่องกระบวนการวิเคราะห์ผลการทดลอง 4. เมื่อทำการทดลองค้นหาพุทธสถาปัตยกรรมสถานในจินตภาพของวัยรุ่นแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร 4.1 การออกแบบการทดลองและการชี้วัดผล 4.2 การอธิบายผลของการศึกษาทดลอง 4.3 การสรุปและการตั้งข้อสังเกต 4.4 การสรุปรวมและเสนอแนะต่อข้อผิดพลาดหรือการศึกษาครั้งต่อไป เมื่อกรรมวิธีเกิดขึ้นในภาพร่างทางความคิด ก็ควรจะจัดทำผังโครงสร้างทางความคิด (Conceptual Model) เพื่อกำหนดเป็นลำดับขั้นตอนทางภาพ เพื่อจะใช้เป็นประโยชน์ต่อการวางขอบเขตของกลุ่มความคิดที่เชื่อมโยงกันจะได้ หาวิธีหรือหน่วยในการชี้วัดที่เหมาะสมต่อไป โดยในการเสนอแนะครั้งนี้จะขอกล่าวข้ามไปและวางกรอบต่อขอบเขตเอา ไว้เบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1. ขอบเขตด้านรูปแบบของพุทธสถาปัตยกรรม I. มุ่งศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมประเภทวัดเท่านั้น 2. ขอบเขตด้านภาพลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม I. มุ่งศึกษาภาพลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเฉพาะที่เป็นองค์ประกอบบนพื้นที่เพียงส่วนเดียวได้แก่เขต พุทธาวาส เท่านั้น 3. ขอบเขตด้านกระบวนการรับรู้ทางทัศนาการ (Visual perception process) I. มุ่งศึกษากระบวนการรับรู้ทางทัศนาการ (Visual perception process) ที่ก่อให้เกิดนิรูปของเค้าโครง ทางจิตที่นำไปสู่จินตภาพของพุทธสถาปัตยกรรมบนท้องถิ่นเดียวกันเท่านั้นโดยมุ่ง ศึกษาไปที่รูปแบบของพุทธ สถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเทียบเคียงกันได้โดยตัดประเด็นมิติทางวัฒนธรรมที่กว้าง ต่อการรับรู้ออกจากการศึกษา 4. ขอบเขตด้านองค์ความรู้เรื่องการศึกษาจินตภาพของสภาพแวดล้อม I. มุ่งศึกษาเฉพาะจินตภาพของพุทธสถาปัตยกรรมที่นำไปสู่การเข้าใจความหมายที่ก่อให้เกิดมิติฐานมูล ของความรู้สึก ต่อพุทธสถาปัตยกรรมนั้น 5. ขอบเขตของการค้นหาพุทธสถาปัตยกรรมในจินตภาพของวัยรุ่น I. มุ่งศึกษาเฉพาะวัยรุ่นจากกลุ่มทดลองที่เป็นคนไทย และนับถือศาสนาพุทธ II. มุ่งทำการศึกษาโดยใช้วิธีหรือแนวทางของผู้ที่เคยศึกษาในลักษณะคล้ายคลึงกันมาแล้วเป็นหลัก 6. ขอบเขตของความรู้ในกระบวนการวิเคราะห์ผลการทดลอง I. มุ่งใช้การผสมผสานหลักวิชาหลายหลักทางด้านจิตวิทยาสภาพแวดล้อม โดยทำการวิเคราะห์และสรุป การทดลองด้วยแบบนิรนัยเป็นหลัก 52


จะเห็นได้ว่า เมื่อเราดำเนินการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบขั้นตอนกระบวนการเพื่อใช้จำแนกอย่างชัดเจน จึงเป็น วิธีที่มีเหตุผลที่จะนำมาใช้อธิบายต่อความยุ่งเหยิงและซับซ้อนในความรู้และกระบวนการของขั้นรายละเอียด การวางข้อ จำกัดในการศึกษา รวมไปถึงขอบเขตของการศึกษา โดยเจตนาแล้ว มิได้หมายถึงการยอมประนีประนอมแลกจรรยาบรรณ ของผู้สอนต่อความท้าทายในการทำการศึกษา หากแต่เพื่อทำความชัดเจนให้กระจ่างและเพื่อการก้าวต่อไปข้างหน้า โดย ไม่คำนึงถึงความสำคัญของผลลัพท์ หรือคำตอบต่อการ เป็นข้อสรุปสากล (Generalization) เพื่อเป็นทั้งขยายฐาน ทางเทคนิคความรู้ต่อการบูรณาการข้ามศาสตร์และเพื่อเป็นการต่อยอดทีละเล็กละน้อย โดยยืนอยู่บนมิติความรู้ความคิด และความเข้าใจที่เป็นบริบทของ “เรา” เอง หากจะเทียบความเหมือนหรือความต่างของหัวข้อการศึกษาวิจัยดังกล่าว ต่อการศึกษาวิจัยโดยทั่วไป ซึ่งคงจะ ต้องอาศัยความพากเพียรอย่างมากโดยตนเอง ต่อการศึกษาดังกล่าวในการทบทวนวรรณกรรมและการสรุปสาระสำคัญ ที่กระจัดกระจายนั้น ให้ปะติดปะต่อกันอาทิเช่น การศึกษากรณีตัวอย่างนี้ จำต้องอาศัยความรู้ที่มีในเรื่องต่างๆ ดังเช่น - การเกิดเค้าโครงทางจิต (mental schemata) ในกระบวนการรับรู้ - ส่วนหนึ่งที่ปรากฏเป็นจินตภาพ เป็นส่วนที่เกิดจากการรับรู้สภาพแวดล้อมกายภาพทางทัศนาการและจะ ชัดเจนได้หากเป็นจินตภาพของสภาพแวดล้อมเฉพาะ - การศึกษาของโทลแมน (Tollman, 1948) การเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ - การศึกษาของลินช์ (Lynch, 1960)การศึกษาจินตภาพของเมือง - การศึกษาของบลอท และเสตีย (Blaut and Stea,1971; Mark,1972 ) การใช้เทคนิคแบบของเล่นที่ตรวจสอบ เกี่ยวกับความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งต่างๆ - การศึกษาความหมายของสภาพแวดล้อม - การค้นหามิติฐานมูลของความรู้สึก (semantic-differential) - การศึกษาของออสกูด (Osgood et al.,1957) คำที่ ใช้สื่อความหมายทางอารมณ์หรือที่เป็นนัย - การศึกษามิติฐานมูลของความรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมกายภาพ - การศึกษาของหรยางกูร (Horayangkura ,1978; Lowenthal and Riel ,1972 ; Canter, 1971; Hersberger,1970; Vielhauer 1965 ฯลฯ) - การศึกษาของโลเวนทอลและรีล (Lowenthal and Riel, 1972) การค้นหามิติสำคัญของเมืองในสหรัฐ 4 เมืองโดยการเดินผ่านสภาพแวดล้อมต่างๆที่เลือกแล้วว่าเป็นตัวแทนของสภาพแวดล้อมทั้งหมดของแต่ละเมือง - การศึกษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น repertory Grid และ multidimensionalscaling. ผลลัพท์ของการศึกษานี้น่าจะได้มาซึ่งวิธีหรือเกณฑ์ ที่จะทำให้ความคิดหรือที่เรียกว่า “ กระบวนทรรศน์” ต่อ รูปแบบในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะ “อย่างแบบแผนไทย” นั้นเปลี่ยนไป และอาจนำมาซึ่งการตั้งคำถาม ที่ท้าทายศักยภาพที่สร้างสรรค์โดยสังคมทั้งทางวิชาการและวิชาชีพที่ตามมาอย่างมากมาย และน่าจะทำให้แวดวง วิชาชีพและวิชาการทางด้านศิลปะและการออกแบบ รวมไปถึงสาขาวิชาแวดล้อมได้เดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง และภาคภูมิ โดยปราศจากการแบ่งแยกทางความรู้ใดๆ ...อย่างสร้างสรรค์และงดงาม เชิงอรรถ 1 บูรณาการกับพัฒนาการ. (27 พย.2549). Available URL: http://www.seameo.org/vl/th_education/educate/integrate.htm . 2 สมคิด จิระทัศนกุล, วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545. 3 สังคมไทยแบบองค์รวมกับองค์รวมแบบไทยๆ. (24สิงหาคม2549). Available URL: http://nokkrob.org/index.php?&obj=forum.view (cat_id=c002,id =19)&PHPSESSID= a5e9c6b0551815a952f331a9c79ce0a5. 4 พ.ญ.ลำดวน นำศิริกุล. “วัยรุ่น”, แม่และเด็ก . 21 ,315 (พ.ค.-มิ.ย. 2541): 125-130. 5 เรื่องเดียวกัน. 6 วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, “โครงสร้างของสิ่งที่เรียนรู้และจำได้ในจากสภาพแวดล้อมกายภาพ:ระบบมโนทัศน์” ในพฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545),153. 7 วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, “การศึกษาจินตภาพของสภาพแวดล้อม” ใน พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทาง พฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545),155. 53


54


A Study of Web Elements in Designing Website for Natural Products วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ปีการศึกษา 2547 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบ เว็บไซต์สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ สุพิชญา เข็มทอง

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้องค์ประกอบ ในการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล และตอบ สนองความต้องการของผู้ใช้บริการเว็บไซต์สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 3 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน เว็บไซต์ 4 คน นักออกแบบเว็บไซต์ 4 คน และผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ตารางวิเคราะห์องค์ประกอบ ในการออกแบบเว็บไซต์ 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ชุด สำหรับ ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ 1 ชุด และสำหรับผู้บริโภคที่ใช้งานเว็บไซต์ 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 3 ตอน คือ 1) คุณลักษณะของเว็บไซต์ สินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2) แนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและนัก ออกแบบในการออกแบบองค์ประกอบของเว็บไซต์ 3) แนวคิดของผู้ใช้บริการที่ มีต่อองค์ประกอบของเว็บไซต์ ในด้านความสะดวกในการใช้งานและการดึงดูด ความสนใจ จากการวิจัยสามารถสรุปลักษณะองค์ประกอบที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ สินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ดังนี้ เว็บไซต์ควรมีการเชื่อมโยงข้อมูล (Site Structure) แบบลำดับชั้น และมีการแสดงผลหน้าเว็บใหม่ในกรอบหน้าต่างเดิม เนวิเกชั่นที่กลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่มเห็นว่าออกแบบและใช้งานง่าย คือ รายการลิงค์แบบแถบ (Menu Bar) ซึ่งอยู่ด้านบนหรือด้านซ้ายของหน้าเว็บ เนวิเกชั่นควรตอบสนองต่อการ ใช้งาน และมีลักษณะเป็นกราฟิกผสมกับตัวอักษร โดยไม่จำเป็นต้องมีลูกเล่น (Gimmick) ในการนำเสนอมาก โครงสร้างของหน้าเว็บควรเป็นแบบพอดีหน้าจอในหน้าแรก และแบบ แนวตั้งในหน้าที่มีข้อมูลมาก ควรมีพื้นที่ว่างสำหรับพักสายตา และหากมีการ จัดวางข้อความเป็นแถว (Column) ไม่ควรมีข้อความเกิน 3 แถวใน 1 หน้าเว็บ ภาพที่ ใช้ในเว็บไซต์ ควรใช้ผสมกันระหว่างภาพถ่าย 70% เพื่อสร้าง ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และภาพกราฟิก 30% ภาพทั้ง 2 ประเภทต้องสามารถ ใช้เป็นลิงค์ได้ (Hyperlink)

55


ตัวอักษรที่ ใช้เป็นหัวข้อควรมีบุคลิกแบบไม่เป็น ทางการ ส่วนข้อความยาวๆ ควรมีบุคลิกเป็นทางการเพื่อ ให้อ่านง่าย โดยใช้ตัวอักษรสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน ซึ่งเป็น พื้นหลังแบบสีพื้นเรียบๆ ไม่ให้แข่งกับภาพประกอบ โทนสีที่นิยม คือ สีหม่น (Obscure) แบบเอิร์ธ โทน สร้างความผ่อนคลาย และน่าเชื่อถือแก่เว็บไซต์ รอง ลงมาเป็นโทนสีอ่อน (Light) สร้างความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ ปลอดภัยให้กับตัวสินค้า ระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล 1 หน้า ไม่ ควรเกิน 35 วินาที ถ้ามีการแสดงความคืบหน้าของการ ดาวน์โหลดหน้าเว็บ จะมีผลให้ผู้ใช้บริการอดทนรอได้นาน ขึ้น โดยเฉลี่ย 10 วินาที Abstract The purpose of this research were to study the usage of web elements in order to increase efficiency of information presentation and to serve the need of users of natural products websites by interviewing 3 groups of purposive sampling that consist of 4 experts, 4 web designers and 20 users. The instruments used for gathering data were; 1) a table of web matrix analysis; 2) two versions of interview guide, one for experts and web designers, another for users. The analysis was divided into three parts 1) the attribute of web elements used in natural product website 2) the opinions of expert and web designer in designing web elements 3) the opinions of user about the convenience in using web elements and the attractiveness of website. The conclusion of this research was an attribute of web elements that most suited to natural products website, from both view of designers and users. Navigation system: all of 3 groups preferred hierarchical site structure and compound navigator, both graphic and text. Menu Bar was the easiest design and comprehends. The most proper position of navigator was on the top of page either on the left. Link should interact with users and link target 56

was supposed to be in the same window. There’s no need a lot of gimmicks in one site. Page Layout was depend on an amount of information. Fixed size was suited to homepage or intro page while vertical layout suited to information page. Space was needed and in one page shouldn’t have more than 3 columns of content. 70% of images used in natural products websites should be photograph in order to make sense of pure natural products and 30% should be graphic. Both type of image should be hyperlink. Typography of heading or topic should be casual look while body or content should be formal look. For the most legibility, typography should be dark color on light plain color background. The most favorite color was obscure or earth tone to present relaxation and reliability. Secondary was light to present pure, clean and safety Access Time should be 35 seconds or less and plus 10 seconds if website had graphic that display a progress of web page downloaded. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปั จ จุ บ ั น ตลาดของสิ น ค้ า ประเภทผลิ ต ภั ณ ฑ์ ธรรมชาติได้ขยายตัวขึ้นมาก โดยมีอัตราการเติบโตของ ตลาดเพิ่มขึ้น 20-30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่สินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นสินค้าที่มีกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย แบบเฉพาะเจาะจง (Niche Market) ซึ่งจำเป็นต้องใช้สื่อ เพื่อเข้าถึงความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะ และ สื่อที่เข้าถึงตัวบุคคลได้ดีที่สุดก็คือ อินเตอร์เน็ต จากการ ศึกษาพบว่า ผู้บริโภคสินค้าประเภทนี้ ตัดสินใจซื้อสินค้า จากการศึกษาข้อมูลคุณประโยชน์ของสินค้า สื่อที่ ใช้จะ ต้องสามารถนำเสนอข้อมูลจำนวนมากได้อย่างเป็นระเบียบ น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และสวยงาม เพื่อให้ข้อมูลสรรพคุณ ของสินค้า ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ เกิดการซื้อสินค้า ซึ่งสอดคล้องกับจุดเด่นของเว็บไซต์ท ี่ สามารถนำเสนอข้อมูลจำนวนมากได้โดยไม่จำกัดระยะเวลา ในการนำเสนอ สืบค้นข้อมูลได้ในเวลารวดเร็ว สามารถ เชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ได้ และมีองค์ประกอบที ่ ดึงดูดความสนใจ เช่น ภาพ เสียง การเคลื่อนไหว


เป็นต้น ทั้งยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติได้ด้วย ทำให้เว็บไซต์เป็น ช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้บริโภคสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ครอบคลุมตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ของสินค้าให้น่าเชื่อถือ และช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า (Value Added) ในฐานะนักออกแบบ ผู้วิจัยต้องการวิเคราะห์การออกแบบเว็บไซต์ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติว่า มีการใช้งานส่วนประกอบต่างๆ ของ เว็บไซต์ เช่น รูปภาพ ตัวอักษร พื้นหลัง การจัดวางข้อความ การเชื่อมโยงและ การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูล ฯลฯ อย่างไรบ้าง รวมถึงแนวคิดของ ผู้บริโภคที่มีต่อการใช้งานส่วนประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ ที่มีผลต่อความ สะดวกในการค้นหาข้อมูลและการดึงดูดความสนใจ เพื่อประโยชน์ในการ ออกแบบเว็บไซต์สินค้าประเภทนี้ต่อไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการ รับข้อมูลข่าวสารจากสื่ออินเตอร์เน็ตของกลุ่มผู้บริโ ภคของสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเว็บไซต์ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้านการออกแบบกราฟิกเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้ ใช้บริการ (Graphic User Interface) และด้านเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูล (เว็บไซต์ที่มีในช่วงเวลา 2 ปีนับแต่หัวข้อได้รับการอนุมัติ) 3. เพื่อศึกษาแนวทางการใช้องค์ประกอบ ในการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล และตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ใช้บริการเว็บไซต์ ในด้านความสะดวกใน การค้นหาข้อมูลและการดึงดูดความสนใจ สมมติฐานของการศึกษา คำถามสำคัญในการวิจัย คือ องค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ควรมีลักษณะอย่างไร จึงจะเพิ่ม ความสามารถในการนำเสนอข้อมูล และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ใช้บริการเว็บไซต์ได้ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย แบ่งเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้ 1. การทำงานของอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ “อินเตอร์เน็ต” คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบทั่วโลกเข้าด้วยกัน มีมาตรฐานในการสื่อสาร และรับส่งข้อมูลแบบเดียวกัน คือ TCP / IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์สำหรับเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทำหน้าที่แบ่ง งานให้ส่วนประกอบในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง บริการ เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web - WWW) คือ บริการ ค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนิยม ใช้สูงสุด เพราะทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยข้อมูลจะถูกแบ่งออก เป็นหน้าๆ เรียกว่า “เว็บเพจ” (Web Page) ซึ่งใช้ HTML (Hyper Text 57


Markup Language) กำหนดตำแหน่งและลักษณะของ รูปภาพ กราฟิก ตัวหนังสือ ผู้ใช้บริการสามารถใช้เมาส์ คลิกบนภาพหรือตัวหนังสือที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ เพื่อ เชื่อมโยง (Link) ไปยังจุดต่างๆ ที่มีข้อมูลเพิ่มเติมได้ การ นำเสนอข้อมูลในรูปของเว็บเพจหลายๆ หน้าเชื่อมโยงกันเรียกว่า เว็บไซต์ (Website) ซึ่ง การเชื่อมโยงอาจอยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกันหรือเว็บไซต์ อื่นๆ ทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน เหมือนใยแมงมุม เว็บไซต์ประกอบด้วยเว็บเพจหลายหน้า หน้าแรก หรือหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงข้อมูล เรียกว่า “โฮมเพจ” (Homepage) เป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าเป็น เว็บไซต์ของหน่วยงานใด มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง และ มีจุดเชื่อมโยงสู่เนื้อหาส่วนต่างๆ ภายในเว็บไซต์นั้น 2. การออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์เป็น สื่อที่อยู่ ในความควบคุมของผู้ใช้ โดยสมบูรณ์ เนื่องจากผู้ใช้สามารถเลือกชมข้อมูลส่วนที ่ ต้องการ โดยเลือกที่จะเข้าชมและออกจากเว็บไซต์ไหนก็ ได้อย่างง่ายดาย ผู้ใช้จึงมักไม่ค่อยอดทนกับอุปสรรค และปัญหาในการใช้งาน เช่น เว็บไซต์ที่มีระบบนำทาง (Navigation System) ซับซ้อน จัดข้อมูลไม่เป็นระเบียบ ทำให้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ หรือเว็บเพจที่ ใช้เวลา ดาวน์โหลดนาน ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบที่ผิดพลาด การออกแบบเว็บไซต์จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างประทับใจ ให้กับผู้ใช้บริการ ทำให้อยากกลับเข้ามาใช้งานอีกในอนาคต การออกแบบเว็บไซต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 2.1 การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) โดยการศึกษาวัตถุประสงค์ในการทำเว็บไซต์ ศึกษาข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดเนื้อหา (Content) รวมถึงกำหนดโครงสร้าง ของการเชื่อมโยงของข้อมูลภายในเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่า ระบบนำทางหรือระบบเนวิเกชั่น (Navigation System) 2.2 การออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ (Page Design) เริ่มจากกำหนดโครงสร้างการแบ่งพื้นที่ของเว็บ เพจ (Page Layout) ว่าจะจัดวางองค์ประกอบชนิดต่างๆ ไว้ในบริเวณไหนของหน้าเว็บ กำหนดองค์ประกอบหลักที ่ จำเป็นต้องมีทุกหน้าและอยู่ในตำแหน่งเดิม เช่น สัญลักษณ์ ของหน่วยงาน ปุ่มเนวิเกชั่น รวมทั้งตำแหน่งของเนื้อหา กราฟิก ป้ายโฆษณา และองค์ประกอบอื่นๆ ในเว็บเพจ 58

เว็บไซต์หนึ่งอาจมีโครงสร้างของเว็บเพจหลายแบบได้ตาม ลักษณะของเนื้อหา แต่จะต้องมีลักษณะที่ ใกล้เคียงกัน เพื่อผู้ใช้จะไม่สับสนว่าเป็นเว็บไซต์เดียวกันหรือไม่ เมื่อ กำหนดโครงสร้างของเว็บเพจให้เหลือ 2 - 3 แบบแล้ว จึง นำมาทำโครงร่าง (Sketch Design) ด้วยโปรแกรมกราฟิก เพื่อให้ได้หน้าตาของเว็บเพจ ประกอบด้วย ชุดสีที่ต้องการ ใช้ รูปแบบของเนวิเกชั่น ชนิดและขนาดของตัวอักษร ลักษณะหัวข้อเรื่อง ลักษณะของกราฟิก ไอคอน รูปภาพ และองค์ประกอบที่จำเป็นอื่นๆ ฯลฯ แล้วจึงนำไปสร้าง โครงร่างมาตรฐาน (Template) คือ ไฟล์ HTML ที่ประกอบ ขึ้นจากองค์ประกอบที่เราออกแบบไว้ เมื่อนำเนื้อหาที่มีอยู่ มาใส่ในเทมเพลตก็จะได้หน้าเว็บที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงลิงค์ เว็บเพจเข้าด้วยกันตาม Site Structure จะได้เว็บไซต์ท ี่ เสร็จสมบูรณ์ การออกแบบเว็บไซต์เป็นขั้นตอนที่มีความ สำคัญมาก เนื่องจากเป็นส่วนนำเสนอเนื้อหา และ วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจของผู้ เข้าชม สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับสาร รวมทั้งกำหนด รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (Interface) กับผู้ใช้บริการอีกด้วย การออกแบบกราฟิ ก เพื ่ อ ปฏิ ส ั ม พั น ธ์ ก ั บ ผู ้ ใ ช้ บ ริ ก าร (Graphic User Interface) การปฏิสัมพันธ์ คือ ระบบซึ่งผู้ใช้มีการควบคุม และตอบสนองต่อการสื่อสาร กรณีของการสื่อสารใน เว็บไซต์ ผู้ใช้บริการควบคุมการท่องไปในเว็บไซต์ด้วย ตนเอง โดยใช้งาน Interface ซึ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์ โดยอาศัยการออกแบบทางทัศนะ (Visual Design) ซึ่งมีหลักในการออกแบบดังนี้ 1. สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ (Visual Hierarchy) เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบต่างๆ ในเว็บเพจ โดยใช้องค์ประกอบแสดง ความสำคัญของข้อมูลตามลำดับว่า ส่วนไหนสำคัญมาก สำคัญรองลงไป หรือสำคัญน้อย ทำได้หลายวิธี เช่น จัดวางส่วนประกอบที่สำคัญไว้ด้านบนหรือซ้ายของหน้า เสมอ เพราะเป็นส่วนแรกของหน้าที่ผู้ใช้มองเห็น โดยไม่ ต้องมีการเลื่อนหน้าจอ (Scroll), ใช้การเปรียบเทียบขนาด (Relative Size) ขององค์ประกอบ โดยเน้นส่วนที่สำคัญ ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ เพื่อดึงดูดความสนใจ, ใช้สีแสดง ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเว็บเพจ หรือ ใช้ภาพประกอบ (Illustration) และความเคลื่อนไหว สร้าง จุดสนใจให้สิ่งที่ต้องการเน้น เป็นต้น


2. สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์ ที่สอดคล้อง กับเนื้อหา เพื่อสร้างความชัดเจนในการสื่อสารสิ่งที่ต้องการ ในเว็บไซต์ โดยเลือกโครงสร้างหน้า รูปแบบกราฟิก ลักษณะของตัวอักษร ชุดสี และองค์ประกอบอื่นๆ ให้ สอดคล้องกับบุคลิกที่กำหนดไว้ เช่น สนุกสนาน วิชาการ ทันสมัย หรือจำลองวิธีการนำเสนอจากรูปแบบของสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา เช่น เว็บไซต์เพลงใช้กราฟิค แบบหน้าปัดวิทยุ 3. สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งเว็บไซต์ โดย กำหนดโครงสร้างของหน้าเว็บเพจ รูปแบบของกราฟิก ลักษณะของตัวอักษร โทนสี ลักษณะขององค์ประกอบอื่นๆ แล้วนำไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เพื่อ สร้างความเป็นเอกภาพ (Unity) และยังสร้างความคุ้นเคย ทำให้ผู้ใช้สามารถ คาดการณ์ลักษณะของเว็บเพจได้ ล่วงหน้าทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น 4. จัดวางหน้าเว็บให้เป็นระเบียบแยกเป็นสัดส่วน เรียบง่าย ชัดเจน ทำได้โดยการเว้นพื้นที่ว่าง (Space) ใน การจัดภาพและตัวอักษร ให้แลดูไม่แน่นจนเกินไป และ แบ่งหัวข้อเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้น ข้อมูลได้รวดเร็ว และสร้างความเชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่ได้รับ ผ่านการกลั่นกรองอย่างรอบคอบแล้ว 5. เข้าใจลักษณะการใช้งานของเว็บเพจ ซึ่งใช้งาน ได้ 2 ทาง คือ อ่านบนหน้าจอโดยตรง และเป็นช่องทางใน การพิมพ์ข้อมูลบนกระดาษเพื่ออ่านในภายหลัง โดยเว็บเพจ ที่อ่านบนหน้าจอ มักเป็นหน้าโฮมเพจ ซึ่งรวมลิงค์จำนวน มาก และใช้กราฟิกขนาดใหญ่ ข้อมูลควรสั้นกะทัดรัด ส่วนเว็บเพจที่ใช้พิมพ์ข้อมูล มักมีขนาดยาวต่อเนื่องกันใน หน้าเดียว เนื้อหาไม่ถูกตัดแบ่งออกจากกันเพื่อความสะดวก ในการสั่งพิมพ์หรือดาวน์โหลด และออกแบบให้มีขนาด พอดีกับกระดาษ A4 เพื่อไม่ให้สิ้นเปลือง 6. ใช้กราฟิก เช่น ไอคอน ปุ่ม ตัวอักษรที ่ เคลื่อนไหว ลายเส้น และภาพ อย่างเหมาะสม ไม่มากเกิน จำเป็น เพราะทำให้โครงสร้างเว็บเพจดูยุ่งเหยิง ไม่เป็น ระเบียบ และดึงดูดความสนใจไปทั่วทั้งหน้า ทำให้ไม่มีส่วน ใดของหน้าเว็บดูเด่นขึ้นมาจริงๆ การออกแบบกราฟิ ก เพื ่ อ ปฏิ ส ั ม พั น ธ์ ก ั บ ผู ้ ใ ช้ บริการประกอบด้วย • ระบบเนวิเกชั่นหรือระบบนำทาง (Navigation System) คือ การออกแบบลักษณะของปุ่มเนวิเกชั่นเมนู

(Navigation Menu) ตำแหน่งการจัดวาง รวมถึงลักษณะ การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บไซต์ เรียกว่าระบบเนวิเกชั่น หลัก (Main Navigation) เนวิเกชั่นเมนู ประกอบด้วย กลุ่มลิงค์ต่างๆ รวมกันอยู่ในบริเวณหนึ่งของเว็บเพจ แสดง หัวข้อเนื้อหาต่างๆ ภายในเว็บไซต์ โดยสามารถลิงค์ไปยัง เว็บเพจที่มีเนื้อหานั้นๆ เมื่อคลิกเมาส์ ตำแหน่งการจัดวาง เนวิเกชั่นหลักโดยทั่วไป ควรอยู่ตำแหน่งด้านบนของเว็บเพจ หรือด้านซ้าย ซึ่งผู้ใช้จะมองเห็นได้ก่อน เนวิเกชั่นหลักควร วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกหน้า เนวิเกชั่นเมนูมีหลาย รูปแบบ เช่น - Menu Bar มีลักษณะเป็นแถบแสดงหัวข้อ หลัก เรียงกันในแนวตั้งหรือแนวนอน ข้อดีคือ ใช้งานง่าย แต่ไม่เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีหัวข้อจำนวนมาก เพราะเปลือง พื้นที่ - Pull-down Menu มีลักษณะเป็นช่องแสดง หัวข้อ ซึ่งเมื่อคลิกลูกศรลง จะมีหัวข้อเลื่อนลงมาให้เลือก ข้อดีคือ แสดงหัวข้อได้มาก ประหยัดพื้นที่ เหมาะกับข้อมูล ประเภทเดียวกันจำนวนมาก เช่น ชื่อจังหวัด ภาษา แต่ไม่ เหมาะกับข้อมูลต่างประเภทกัน ภาพที่ 1 Pull-down Menu

- Pop-up Menu มีลักษณะเป็นแถบแสดง หัวข้อหลัก ซึ่งเมื่อใช้เมาส์ชี้ หรือวางเหนือหัวข้อหลัก จะ แสดงหัวข้อย่อยภายในหัวข้อหลักนั้นๆ ขึ้นมา สร้างโดย การเขียนคำสั่ง Java Script ข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ ภาพที่ 2 Pop-up Menu

- Frame-based มีลักษณะเป็นแถบแสดง หัวข้อหลัก คล้าย Menu Bar แต่มีการแบ่งเว็บเพจเป็น ส่วนๆ แต่ละส่วนเรียกว่า เฟรม แถบหัวข้อหลักจะอยู่คน ละเฟรมกับเนื้อหา ทำให้ไม่ว่าจะคลิกหัวข้อไหนก็ตาม ก็ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะเฟรมที่เป็นเนื้อหาเท่านั้น เฟรมที่เป็นแถบหัวข้อหลักจะยังคงเหมือนเดิม ข้อดีคือ มี ความสม่ำเสมอ แต่มีขั้นตอนการออกแบบที่ซับซ้อน และ มีพื้นที่แสดงข้อมูลน้อยลง 59


เนวิเกชั่นเมนู สร้างจากกราฟิคหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือ ปุ่ม หรือสัญรูป (Icon) ซึ่งใช้ภาพแทนหัวข้อ หลัก โดยไอคอนและปุ่มกราฟิคมีข้อดี คือ สามารถดึงดูด ความสนใจได้ดีกว่าตัวอักษร แต่แสดงผลช้า ทำให้ใช้เวลา ดาวน์โหลดเว็บเพจนาน และอาจสื่อความหมายไม่ชัดเจน เท่าตัวอักษร ซึ่งมีข้อดีคือ แสดงผลเร็วสื่อความหมายชัดเจน และสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหัวข้อในเมนูได้ง่ายกว่า โดยทั่วไปทุกเว็บเพจควรมีลิงค์ ไปยังหน้าแรก (Homepage) เพื่อกลับไปยังจุดเริ่มต้น แต่ก็ยังมีระบบ เนวิเกชั่นเสริม (Supplement Navigation) เพิ่มความ สะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ แม้ไม่สามารถใช้แทนระบบ เนวิเกชั่นหลักได้ เช่น ระบบสารบัญ (Table of Contents) ซึ่งเหมือนในหนังสือ, ระบบดัชนี (Index System) ซึ่งแบ่ง ข้อมูลตามตัวอักษรแรกของคำ, แผนที่เว็บไซต์ (Site Map) แสดงโครงสร้างข้อมูลแบบกราฟิก หรือ ไกด์ทัวร์ (Guided Tour) เพื่อแนะนำการใช้งานเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ใช้บริการ เป็นครั้งแรก ระบบเนวิเกชั่นที่มีประสิทธิภาพควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ - สามารถเข้าใจวิธีการใช้งานได้ง่าย อยู่ใน ตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน และเสนอทางเลือกที่ผู้ใช้น่าจะต้อง การไปเมื่อชมหน้านั้นเสร็จแล้ว - มีความสม่ำเสมอตลอดทั้งเว็บไซต์ (Interface Family) คือ เหมือนเดิมในทุกเว็บเพจ ทั้งลักษณะรูปร่าง หน้าตา ตำแหน่งการจัดวาง จำนวนหัวข้อในเมนูและลำดับ ของหัวข้อ - มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ โดยแสดงตำแหน่ง ปัจจุบันของผู้ใช้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสีหรือลักษณะของ หัวข้อที่กำลังใช้งานให้ต่างไปจากหัวข้ออื่นๆ ในเมนู และ แสดงให้เห็นว่าหน้าไหนที่ได้เข้าไปชมแล้ว โดยกำหนดสี ของลิงค์ที่คลิกแล้วให้ต่างจากลิงค์ที่ยังไม่ได้คลิก

ภาพที่ 3 เนวิเกชั่นที่เปลี่ยนสีหัวข้อที่กำลังใช้งานอยู่ 60

- มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้พบ ข้อมูลที่ต้องการโดยผ่านขั้นตอนน้อยที่สุด โดยมีเนวิเกชั่น หลายแบบให้เลือกใช้ตามความถนัด หรือมีทางลัดให้เข้า สู่เป้าหมายเร็วขึ้น เช่น มีเครื่องมือค้นหา (Search Box) เพื่อให้ผู้ใช้ไม่ต้องคลิกดูตามหัวข้อต่างๆ เป็นต้น - มีรูปแบบที่สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ซึ่ง สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บริการ - ใช้คำอธิบายลิงค์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อ บอกเป้าหมายของลิงค์ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์และ ความเข้าใจของผู้ใช้บริการ • การจัดวางโครงสร้างเว็บเพจ (Page Layout) - โครงสร้างเว็บเพจแบบแนวตั้ง มีสโครลบาร์ (Scroll Bar) ขึ้นที่ขอบด้านขวาของหน้าต่างบราวเซอร์ ซึ่ง ผู้ใช้ส่วนมากเข้าใจและใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา เป็นรูปแบบ พื้นฐานที่เว็บไซต์ทั่วไปนิยมใช้ เพราะใช้งานง่ายไม่ว่าจะมี เนวิเกชั่นเมนูอยู่ด้านบนหรือด้านข้าง เหมาะกับเว็บไซต์ที่มี เนื้อหามาก หรือเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว - โครงสร้างเว็บเพจแบบแนวนอน มีข้อจำกัด และข้อควรระวังมาก และไม่สะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจาก ความกว้างของหน้าจอของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่เท่า กัน หากเว็บเพจมีข้อมูลเป็นตัวอักษรที่มีความกว้างของ คอลัมน์เต็มหน้าจอ ทำให้ผู้อ่านลำบากต้องส่ายศีรษะไป มา จึงไม่ควรกว้างเกิน 600 พิกเซล โครงสร้างแบบนี้เหมาะ กับเว็บไซต์ที่ข้อมูลส่วนมากเป็นภาพ หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับ งานออกแบบ - โครงสร้างเว็บเพจแบบพอดีกับหน้าจอ มักจัด ตำแหน่งอยู่กึ่งกลางหน้าจอ โดยไม่มีสโครลบาร์ เหมาะกับ เว็บไซต์ที่มีข้อมูลไม่มาก ข้อดีคือ ใช้งานสะดวกไม่ซับซ้อน เพราะผู้ใช้จะมองเห็นข้อมูลในทุกส่วนของหน้าได้พร้อมกัน • การใช้ภาพประกอบ (Image) ผู้วิจัยแบ่งลักษณะรูปภาพที่นิยมใช้ในเว็บไซต์ ตามความละเอียดของภาพและความต่อเนื่องในการไล่ ระดับสีคือ ภาพถ่าย และภาพกราฟิกอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพถ่าย ซึ่งภาพทั้งหมดที่ ใช้ในเว็บไซต์จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปไฟล์ ดิจิตอล โดยใช้โปรแกรมกราฟิก รูปแบบไฟล์ดิจิตอลที่นิยม ใช้ในเว็บไซต์ คือ GIF (Graphic Interchange Format) และ JPEG (Joint Photographic Experts Group) เนื่องจากมี ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มาก ดาวน์โหลดได้เร็ว ทั้ง 2 รูปแบบมี คุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้


รูปแบบ GIF เหมาะกับภาพที่ประกอบด้วยระนาบของสีที่มีบริเวณกว้าง มีจำนวนสีไม่มาก และไม่คอ่ ยมีการไล่ระดับสี เช่น โลโก้ ตัวอักษร ภาพกราฟิคแบบ Vector จุดเด่นคือ ผู้ใช้บริการจะเห็นรูปภาพได้เหมือนที่นักออกแบบต้องการ ไม่ว่า จะใช้เครื่องแบบใด กราฟิกแบบ GIF สามารถเก็บข้อมูลสีได้สูงสุด 256 สี ขนาด ของไฟล์จะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนสีที่ใช้ในภาพ ถ้าจำนวนสีน้อย ขนาด ไฟล์จะเล็กและมีระบบการบีบอัดข้อมูลแบบ LZW (Lempel-Ziv-Welch) ทำให้ แสดงผลรูปภาพอย่างหยาบแล้วเพิ่มความละเอียดขึ้นจนเป็นภาพที่สมบูรณ์ใน ที่สุด ทำให้ผู้ใช้เห็นความคืบหน้าในการแสดงผล นอกจากนี้ยังรักษาคุณสมบัติ ภาพที่มีพื้นหลังโปร่งใส และสามารถสร้างภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกันให้แสดงผลเป็น ภาพเคลื่อนไหวได้ รูปแบบ JPEG เหมาะกับภาพที่มีการไล่ระดับสีต่อเนื่องกัน เช่น ภาพ ถ่ายหรือภาพที่มีสีเข้ม-อ่อนหลายๆ ระดับ ซึ่งให้สีสมจริง (True Color) ได้ถึง 16.7 ล้านสี ทำให้ได้รูปที่มีคุณภาพสูง แต่ไม่เหมาะกับภาพที่มีระนาบของสีพื้น บริเวณกว้างๆ และตัวอักษร เพราะการบีบอัดข้อมูลของกราฟิกแบบ JPEG จะ ทำให้บริเวณที่เป็นสีพื้นเกิดจุดหรือแถบสี และขอบของตัวอักษรจะไม่เรียบ ดู ไม่ชัดเจน คุณภาพของภาพและขนาดของไฟล์ภาพแบบ JPEG ขึ้นอยู่กับอัตรา ส่วนในการบีบอัดข้อมูล คือ ถ้าใช้อัตราส่วนการบีบอัดที่สูง จะได้ภาพที่มีคุณภาพ ต่ำและไฟล์ขนาดเล็ก นักออกแบบควรเลือกระดับการบีบอัดที่ทำให้มีขนาดไฟล์ เล็กที่สุดเท่าที่ยังสามารถคงคุณภาพของภาพให้ดีตามที่ต้องการไว้ได้ • ตัวอักษร (Font/Typeface) ตัวอักษรที่ใช้ในเว็บไซต์มี 2 ลักษณะ คือ ตัวอักษรที่เป็น HTML สร้าง จากโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้บริการ และตัวอักษรที่นักออกแบบสร้างขึ้นจากโปรแกรมอื่น แล้วเซฟ ไฟล์เป็นภาพกราฟิค เพื่อความงามและควบคุมให้ผู้ใช้เห็นตัวอักษรในแบบที่ตรง กับความต้องการของผู้ออกแบบ ตัวอักษรแต่ละแบบจะให้อารมณ์และความรู้สึก ที่แตกต่างกัน สามารถใช้สร้างบุคลิกของเว็บไซต์ได้ โดยมีหลักในการใช้และ จัดวางตัวอักษรในเว็บเพจ ดังนี้ - แบบของตัวอักษร (Typeface/Font) ไม่ควรใช้ตัวอักษรหลายแบบ ในเว็บไซต์เดียวกัน เพราะทำให้เว็บไซต์ขาดความเป็นเอกภาพ ควรเลือกใช้เพียง 2-3 แบบที่สอดคล้องกับบุคลิกของเว็บไซต์ - ขนาดของตัวอักษร (Size) ตัวอักษรที่เป็นข้อความ (Body Text) ควรมีขนาด 12-14 พอยต์ ขึ้นกับแบบของตัวอักษร หรือในโปรแกรมสร้าง เว็บเพจ Size = 3 และเพิ่มขนาดขึ้นสำหรับหัวข้อ (Heading) - รูปแบบของตัวอักษร (Style) ใช้รูปแบบปกติ (Regular) กับเนื้อหา ทั่วๆ ไป และใช้ตัวหนา (Bold) และตัวเอน (Italic) ในการเน้นข้อความสำคัญ และควรระวังการใช้ตัวอักษรแบบขีดเส้นใต้ (Underline) เพราะผู้ใช้ที่ขาด ประสบการณ์อาจสับสนกับข้อความที่เป็นลิงค์ ซึ่งมีการขีดเส้นใต้เหมือนกัน - ระยะห่างระหว่างบรรทัด (Leading) มีผลต่อความสะดวกในการ อ่าน ถ้ามีระยะห่างมากจะทำให้อ่านง่าย แต่ใส่ข้อความได้น้อยลง เพราะใช้พื้นที่ 61


มากกว่าระยะห่างระหว่างบรรทัดแคบๆ - ความกว้างของคอลัมน์ (Column Width) ถ้าคอลัมน์กว้างมาก ผู้อ่านต้องหันศีรษะไปมาเพื่ออ่านจน จบบรรทัด ส่วนคอลัมน์แคบ ข้อความจะถูกซอยเป็นแท่ง สั้นๆ อ่านจับใจความยาก - การจัดตำแหน่งของตัวอักษร (Alignment) ไม่ควรจัดข้อความชิดขวา เพราะด้านซ้ายมือจะไม่เป็น ระเบียบ ทำให้การอ่านไม่ราบรื่น ส่วนการจัดข้อความชิด ซ้าย โดยปล่อยให้ด้านขวาไม่สม่ำเสมอ จะให้ความรู้สึกไม่ เป็นทางการ แต่อ่านง่าย การจัดตัวอักษรให้ชิดขอบทั้งซ้าย และขวาจะให้ความรู้สึกเป็นทางการ (Formal) และเป็นที่ นิยมสำหรับเว็บไซต์ที่มีการดำเนินการทางธุรกิจ - พื้นที่ว่างโดยรอบ (Space) ที่ว่างรอบตัวอักษร ช่วยทำให้ตัวอักษรที่อยู่ตรงกลางโดดเด่นได้ แม้ตัวอักษรนั้น มีขนาดไม่ใหญ่มาก การแทรกที่ว่างในเว็บเพจที่มีตัวอักษร มากๆ ช่วยให้เว็บเพจน่าอ่านขึ้น - สีของตัวอักษร (Color) ควรคำนึงถึงความอ่าน ง่ายและความสม่ำเสมอในการใช้สี เช่น สีของหัวข้อหลัก ควรใช้สีเดียวกันทุกหน้า หรือใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อแบ่ง ข้อมูลเป็นส่วนๆ แต่ไม่ควรใช้สีจำนวนมาก ที่ไม่กลมกลืน กันในการเน้นข้อความ • พื้นหลัง (Background) พื้นหลังของเว็บเพจมีทั้งแบบที่เป็นสีพื้นเรียบๆ ลวดลาย หรือรูปภาพ ควรเลือกใช้โดยคำนึงถึง ความอ่าน ง่าย (Legibility) ของข้อความที่วางอยู่บนพื้นหลังนั้น และ ข้อจำกัดของพื้นหลังแต่ละแบบ ดังนี้ พื้นหลังที่เป็นรูปภาพจะใช้เวลาในการแสดงผล มากกว่าพื้นหลังที่เป็นสีพื้น หากใช้รูปที่มีลักษณะพร่ามัว (Blur) เป็นพื้นหลัง จะช่วยให้อ่านข้อความได้ง่ายกว่ารูปที่ คมชัด และไม่ควรใช้รูปภาพหรือลวดลาย (Pattern) ที่มี ค่าน้ำหนักของสีที่ต่างกันมาก (Contrast) เป็นพื้นหลัง พื้นหลังที่เป็นสีพื้นเรียบๆ (Plain Color) สร้าง โดยเขียนคำสั่งในภาษา HTML มีหลักง่ายๆ ในการใช้ คือ พื้นหลังสีเข้มใช้ตัวอักษรสีอ่อน พื้นหลังสีอ่อนใช้ตัวอักษร สีเข้ม เพื่อเน้นตัวอักษรให้เด่นขึ้นแต่ไม่ควรใช้สีที่ตัดกัน มากๆ เพราะแสงจากจอคอมพิวเตอร์จะทำให้สีสว่างขึ้น 20% รบกวนสายตา ทำให้ปวดตาได้ • การใช้สีโดยรวม (Color Scheme) สีที่ ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ มีหลักการผสมสี 62

แบบบวก (Additive Color) คือ การผสมสีของแสง เนื่อง จากเว็บไซต์เป็นสื่อที่นำเสนอผ่านจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ หลักการผสมแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน 3 สี (RGB) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) ผสมกันเป็นสีแท้ (Hue) สีต่างๆ เมื่อคลื่นแสงทั้ง 3 สี ซ้อนทับกันในความเข้ม ของแสงเท่าๆ กัน จะผสมเป็นแสงสีขาว ชุดสีที่ ใช้ในการ ออกแบบเว็บไซต์ (Web Safe Color) มีจำนวน 216 สี ซึ่ง ผู้ใช้เห็นสีได้ถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แมค อินทอชหรือพีซีทั่วไป นอกจากนี้ยังมีสีอีกกลุ่มหนึ่ง คือ สีขาว เทา และ ดำ เมื่อนำไปผสมกับสีแท้ (Hue) ที่เกิดจากการผสมของ แสงทั้ง 3 สี (RGB) คือ แดง เขียว และน้ำเงิน จะเกิดสีเพิ่ม ขึ้นอีกจำนวนมาก เรียกดังนี้ - สีที่ได้จากการผสมสีแท้กับสีขาว เรียกว่า สี อ่อน (Tint of the hue) - สีที่ได้จากการผสมสีแท้กับสีเทา เรียกว่า โทน สี (Tone of the hue) - สีที่ได้จากการผสมสีแท้กับสีดำ เรียกว่า สีเข้ม (Shade of the hue) การผสมกันในรูปแบบข้างต้น มีผลต่อความสด (Saturation/Vividness) และความสว่าง (Brightness) ของสี จึงเกิดกลุ่มสีที่มีคำว่า Pale จาง Light สว่าง Dark มืด Dull ตุ่น Obscure หม่น หรือ Pastel สีลูกกวาด เป็นต้น ซึ่งมีผลในการสื่อความรู้สึกของสีเหล่านั้น ดังนั้นสีอ่อน สี เข้ม และโทนสี จึงมีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดสี เพราะทำให้สีๆ หนึ่งแสดงความรู้สึกได้หลายรูปแบบ การ จัดชุดสีที่นิยมใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ มีทฤษฎีดังนี้ ชุดสีแบบสีเดียว (Monochromatic Color Scheme) เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือ มีค่าของสีแท้ (Hue) สีเดียว แล้วสร้างความหลากหลายของสี ด้วยการลดหรือ เพิ่มค่าความสดและความสว่างของสี มีข้อดีคือ จะมีความ กลมกลืนกันสูง และมีประสิทธิภาพในการสร้างอารมณ์ โดยรวม แต่อาจดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะขาดจุดสนใจ ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic) มีรูปแบบเป็นสาม เหลี่ยมด้านเท่าในวงจรสี สีที่อยู่บริเวณมุมทั้ง 3 จะมีระยะ ห่างเท่ากันในวงจรสี ซึ่งมีลักษณะตัดกัน สร้างความสะดุด ตา มีลักษณะของการเคลื่อนไหว ทำให้มีชีวิตชีวา แต่ถ้า เป็นสีที่สดมากเกินไป จะรบกวนการสื่อความหมายของ เว็บไซต์ได้


ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous) ประกอบด้วยสีที่อยู่ติดกัน 2-3 สี ภายในวงจรสี และไม่ควรเลือกใช้สีที่ติดกันมากถึง 5 สี เพราะขอบเขตของสี ที่กว้าง จะทำให้ตรงปลายทั้ง 2 ข้างไม่สัมพันธ์กัน ควบคุมยาก ข้อดีของชุดสี แบบนี้คือ เลือกใช้ง่าย และมีความกลมกลืนกันสูง ชุดสีตรงข้าม (Complementary) หมายถึงสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจร สี เมื่อนำทั้ง 2 สีมาผสมกันจะได้สีขาว เรียกอีกชื่อว่า สีคู่เติมเต็ม เมื่อใช้ ร่วมกันจะทำให้สีทั้ง 2 มีความสว่างสดใสมากขึ้น สร้างความสะดุดตา แต่ควร ระวังการใช้สีแท้ (Hue) ของทั้ง 2 สีเป็นพื้นที่กว้าง หรือใช้หลายๆ จุด เพราะ จะรบกวนสายตา ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split Complementary) เป็นการดัดแปลง รูปแบบจากชุดสีตรงข้าม ต่างกันที่ คู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน จะมีสีหนึ่งถูกแทนที่ด้วย สีที่อยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน รวมเป็นสีแท้ 3 สี ทำให้มีความหลากหลายของสี มากกว่าชุดสีตรงข้าม แต่จะมีความสะดุดตาน้อยลง ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double Split Complementary) เป็นการดัดแปลงรูปแบบจากชุดสีตรงข้ามข้างเคียง โดยคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน จะถูกแทนที่ด้วยสีที่อยู่ด้านข้างทั้งสองด้าน รวมเป็นสีแท้ 4 สี ข้อดีคือ มีความ หลากหลายของสีเพิ่มขึ้นอีก แต่ความกลมกลืนของสีและความสดใสจะลดลง ชุดสีแบบทางเลือก (Alternate Complementary) เป็นการผสมชุดสี แบบสามเส้ากับชุดสีแบบตรงข้าม โดยใช้ชุดสีแบบสามเส้า และเลือกสีที่ตรงข้าม กับสีใดสีหนึ่งของสามเหลี่ยมเพิ่มอีก 1 สี รวมเป็นสีแท้ 4 สี แต่เนื่องจากการ กระจายของสีมีมาก จึงคุมโทนสียากกว่าชุดสีแบบอื่น • องค์ประกอบอื่นที่ใช้ดึงดูดความสนใจ (Gimmick) หมายถึง ลูกเล่นที่ใช้ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ ช่วยสร้าง บรรยากาศในการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ลูกเล่นที่เว็บไซต์ทั่วไปนิยมใช้ คือ - เสียง (Sound) การใช้เสียงในเว็บไซต์ จะทำให้ระยะเวลาในการ ดาวน์โหลดนานขึ้น เสียงที่นิยมใช้ทั่วไป คือ เสียงดนตรี (Music) เสียงประกอบ หรือเสียงเทคนิคพิเศษ (Sound Effects) เสียงพูด (Voice) บางครั้งระบบเสียง อาจทำงานไม่สมบูรณ์ ควรมีทางเลือกสำรองให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลได้โดยไม่ต้องมี เสียงประกอบ และควรเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เลือกว่าจะฟังเสียง หยุดเสียง หรือฟังซ้ำ ได้ตลอดเวลา - ลูกเล่นของปุ่มหรือสัญรูป (Icon Effect) คือ ลักษณะปุ่มไอคอนที่มี การเปลี่ยนแปลงสีหรือรูปร่าง เมื่อมีการนำเมาส์มาวางไว้บนปุ่ม(Mouse-Over) หรือเมื่อคลิกที่ปุ่มนั้น อาจมีเสียงประกอบ หรือมีการแสดงข้อความอธิบาย เนื้อหาในหน้าเว็บที่จะลิงค์ไปเมื่อกดปุ่มนั้นๆ (Alternate Text) - ภาพเคลื่อนไหวและตัวอักษรที่กระพริบได้ (Animation & BLINK Text) เป็นการนำตัวอักษรหรือภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกัน เมื่อแสดงผลบนจอจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรที่ เรียกว่า BLINK Text นั้น เป็นการกำหนดสีของตัวอักษรให้แตกต่างกัน 2 สี เมื่อแสดงผลทั้ง 2 สีสลับกันไปมา จะให้ความรู้สึกว่าตัวอักษรนั้นกระพริบได้

Momochromatic

Split Complementary

Triadic

Double Split Complementary

Analogous

Alternate Complementary

Complementary

ภาพที่ 4 เมื่อนำเมาส์มาวาง ไอคอนมีขนาดหดเล็กลง และมีข้อความบอก หน้าที่จะลิงค์ไปเมื่อคลิก

ภาพที่ 5 BLINK Text 63


ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่นิยมใช้ คือ Animated GIF เพราะผู้ใช้บริการจะเห็นภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้อง อาศัยโปรแกรมเพิ่มเติมในการแสดงผล ภาพเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่มักแสดงผลต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุด เมื่อดูนานๆ อาจ รบกวนสายตาได้ ควรกำหนดในขั้นตอนการออกแบบว่า ให้แสดงผลต่อเนื่องกันกี่รอบ และหยุดเมื่อเหมาะสม โดย ให้ผู้ใช้บริการสั่งเล่นซ้ำได้เมื่อต้องการ ขนาดไฟล์ต้องเล็ก เพื่อให้ดาวน์โหลดได้เร็ว และไม่ควรใช้ภาพหรือตัวอักษร เคลือ่ นไหวจำนวนมากในหน้าเดียวกัน จะสร้างความรำคาญ แก่ผู้ใช้บริการ และทำให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ - ภาพยนตร์ขนาดสั้น (Movie Clip/Video Clip) ควรใช้กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าว โฆษณา หรือความ บันเทิงอื่นๆ ภาพยนตร์ที่นำเสนอบนเว็บไซต์ควรมีความยาว ไม่เกิน 5 นาที เพราะไฟล์จะมีขนาดใหญ่ ใช้เวลาดาวน์โหลด นาน ควรมีทางเลือกให้กับผู้ใช้ว่าจะชมหรือไม่ หรือข้ามไป ดูข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้เลย - โลกเสมือนจริง (Virtual Reality) คือ การ สร้างภาพ 3 มิติ ที่สามารถมองวัตถุได้รอบทิศทาง เพื่อ จำลองให้ผู้ใช้บริการรู้สึกเสมือนได้เข้าไปอยู่ในสถานที่นั้นๆ มักใช้กับเกมส์ หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับงานออกแบบ สถาปัตยกรรม โลกเสมือนจริงมีขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่ และ ต้องอาศัยโปรแกรมเพิ่มเติมแบบ VRML (Virtual Reality Modeling Language) หรือ QTVR (Quick Time Virtual Reality) การออกแบบเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลของ เว็บไซต์ หมายถึง องค์ประกอบอืน่ ๆ ทีม่ ผี ลต่อความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ และมีผลต่อความน่า สนใจของเว็บไซต์ เช่น • หน้าเปิดของเว็บไซต์ (Intro Page/Splash Page) คือ หน้าก่อนที่จะถึงโฮมเพจ ทำหน้าที่สร้างความ ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการ หรือนำเสนอข้อมูลพิเศษบางอย่าง เช่น โปรโมชั่นในโอกาสพิเศษต่างๆ ซึ่งต้องแสดงผลได้เร็ว และน่าสนใจ ควรแสดงผลได้ในเวลา 15 วินาที และมีทาง เลือกสำหรับผู้ใช้บริการที่เคยชมหน้านี้แล้วหรือไม่ต้องการ ชม โดยมีลิงค์ที่คลิกเพื่อเข้าสู่โฮมเพจได้เลย มักเขียนว่า [Skip Intro] • หน้าแนะนำอุปกรณ์การใช้งานเว็บไซต์ (Utility Page) ทำหน้าที่แนะนำผู้ใช้บริการให้ปรับความละเอียดของ 64

หน้าจอที่เหมาะสมในการแสดงผลของเว็บไซต์ หรือนำเสนอ ทางเลือกในการชมเว็บไซต์ ให้ผู้ใช้เลือกได้ตามความ เหมาะสมของเครื่องคอมพิวเตอร์และปลั๊กอินที่มีในเครื่อง • ระยะเวลาที่ ใช้ในการดาวน์โหลด (Access Time) คือ เวลาที่ ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟ เวอร์ มาแสดงผลเป็นเว็บเพจบนหน้าจอของผู้ใช้บริการ เว็บไซต์ที่ดีควรใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อยที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ เพื่อสร้างความได้เปรียบและความพึงพอใจแก่ผู้ ใช้บริการ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ แต่พอดี เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็ก • เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Box) คือ โปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการค้น หาข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว โดยมีช่องให้ผู้ใช้บริการพิมพ์คำ หรือข้อความ สั้นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ค้นหาแล้วกดปุ่ม “ค้นหา” โปรแกรมจะ ทำการค้นหาในฐานข้อมูล (Database) ที่เชื่อมโยงกับเว็บ ไซต์นั้น แล้วแสดงผลการค้นหาในรูปลิงค์ไปสู่เว็บเพจที่มี ข้อมูลที่ต้องการ โดยทั่วไปมักเขียนด้วยภาษาแบบ SeverSide Script คือ คำสั่งจะทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ และส่งเฉพาะ ผลการค้นหามาที่หน้าจอ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดวาง Search Box คือ ด้านบนของโฮมเพจ (ภาพที่ 6) • ลักษณะการเปิดหน้าต่างแสดงผลข้อมูลที่เชื่อ มโยงกัน (Target Browser) คือ หน้าต่างที่แสดงข้อมูลที่ เชื่อมโยงกัน (Link) ของเว็บไซต์ ซึ่งเกิดจากการคลิกลิงค์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ - แสดงผลข้อมูลที่ลิงค์ไปในหน้าต่างใหม่ ซึ่งถ้า มีการเปิดหน้าต่างใหม่ออกมามากเกินไป ผู้ใช้อาจเบื่อที่จะ ต้องคอยปิดหน้าต่างเมื่ออ่านข้อมูลจบ - แสดงผลข้อมูลที่ลิงค์ ไปในหน้าต่างอันเดิม เหมาะกับการลิงค์ภายในเว็บไซต์เดียวกัน หรือเว็บเพจที่มี ข้อมูลน้อยๆ แต่จะไม่สะดวกเมื่อต้องการเปรียบเทียบ ข้อมูลเดิมกับข้อมูลใหม่ 3. ข้อมูลของผู้บริโภคสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ กลุ่มผู้บริโภคสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-40 ปี การศึกษา ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ในอัตรา ส่วนใกล้เคียงกับอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ระดับ รายได้ต่อเดือน 8,000 - 30,000 บาท ทัศนคติที่มีผลต่อ การบริโภค คือ ความเชื่อว่าการบริโภคสินค้าประเภทนี้


มีประโยชน์ในการดูแลรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากการวิจัยของมาริสา ศรีเกียรติศักดิ์ (2542 : 42) พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้สื่อต่างๆ ช่วยในการตัดสิน ใจบริโภคสินค้า โดยสื่ออินเตอร์เน็ตและไดเร็กเมล์ ซึ่งเป็นสื่อประเภทที่เจาะเข้า ถึงตัวบุคคลเฉพาะกลุ่ม มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่สูงขึ้น สอดคล้องกับงาน วิจัยของจริมา ทองสวัสดิ์ (2545 : 95) ที่กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ สุขภาพส่วนใหญ่ มีอายุ 20 - 35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า มี ประสบการณ์ในการใช้อินเตอร์เน็ต 5 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความรู้และอยู่ในวัย ทำงาน ใช้ข่าวสารด้านสุขภาพในการตัดสินใจบริโภค โดยคำนึงถึงความน่า เชื่อถือและความทันสมัยของข้อมูล และความพึงพอใจในสื่อที่นำเสนอข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัย • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ - ข้อมูลประเภทกรณีศึกษา : เว็บไซต์ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ รวบรวมโดยใช้ Search Engine ค้นหารายชื่อเว็บไซต์สินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทยและต่างประเทศ รวมกับเว็บไซต์ที่ผู้บริโภคแนะนำ และรายชื่อเว็บไซต์ที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข รวม 200 เว็บไซต์ นำมา คัดเลือกให้เหลือ 20 เว็บไซต์ โดยใช้เกณฑ์การตัดสินการประกวดสุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2547 ของสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Web Master Association) - ข้อมูลประเภทบุคคล : แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้าน การจัดการเว็บไซต์ ทำหน้าที่ควบคุมดูแล ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การ ออกแบบ Graphic User Interface และด้านเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีผลต่อระบบ การทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปี ขึ้นไป จำนวน 4 คน 2. นักออกแบบเว็บไซต์ (Web Designer) ที่มีผลงานออกแบบเว็บไซต์ ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และมีประสบการณ์ในการทำงาน 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 4 คน 3. ผู้บริโภคสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีประสบการณ์การ ใช้งานเว็บไซต์ (User) ของสินค้าประเภทนี้มาเป็นระยะเวลา 1 ปี ขึ้นไป คัดเลือก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน • วิธีการรวบรวมข้อมูล 1. รวบรวมข้อมูลภาคเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์ และ ผู้บริโภคสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อกำหนดตัวแปรในการออกแบบ เว็บไซต์ที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล ดึงดูดความสนใจ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านความสะดวกในการใช้งาน 2. รวบรวมกรณีศึกษาเว็บไซต์ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้องค์ประกอบในการออกแบบ Graphic User Interface และเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลของเว็บไซต์ 3. รวบรวมข้อมูลด้านการออกแบบเว็บไซต์ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญและ

ภาพที่ 6 Search Box

65


นักออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงศึกษาทัศนคติและพฤติกรรม การใช้งานองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ของผู้บริโภค โดยการสัมภาษณ์ประกอบกับการใช้งานเว็บไซต์สินค้า ประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่คัดเลือกมาเป็นกรณีศึกษา • เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. ตารางวิเคราะห์คุณลักษณะของเว็บไซต์สินค้า ประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้ตารางแบบ Matrix Analysis บันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพของเว็บไซต์ ประกอบด้วยตัวแปร ที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล ดึงดูด ความสนใจ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 2. แบบสัมภาษณ์ (Interview Guide) แบบกึ่ง โครงสร้าง มี 2 ชุด คือ - ชุดที่ 1 สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ เพื่อศึกษาการสร้างองค์ประกอบในการออกแบบ Graphic User Interface ในเว็บไซต์ แนวคิดในการออกแบบ และ เทคโนโลยีที่ ใช้ในเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำ เสนอข้อมูล และดึงดูดความสนใจผู้บริโภค - ชุดที่ 2 สำหรับผู้บริโภค เพื่อศึกษาลักษณะของ ข้อมูล รูปแบบการนำเสนอข้อมูล พฤติกรรมการใช้งานเว็บ ไซต์ โดยศึกษาแนวคิดของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้งานองค์ ประกอบต่างๆ ในเว็บไซต์ ด้านการดึงดูดความสนใจและ ความสะดวกในการใช้งานองค์ประกอบนั้นๆ • การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของเว็บไซต์ตัวอย่าง ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และใช้ การอุปมาน (Induction) นำไปสู่ข้อสรุปของการศึกษา โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. วิ เ คราะห์ ค ุ ณ ลั ก ษณะของเว็ บ ไซต์ ส ิ น ค้ า ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยศึกษาการใช้องค์ประกอบในการ ออกแบบจากเว็บไซต์ตัวอย่าง และเปรียบเทียบกับผลการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ นำเสนอข้อมูลด้วย การอธิบายเชิงพรรณนา ประกอบตารางวิเคราะห์คุณลักษณะ ของเว็บไซต์ 2. วิเคราะห์ตัวแปรต้นของการวิจัย คือ แนวทาง ในการออกแบบ เหตุผล และเงื่อนไขในการเลือกใช้องค์ ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน เว็บไซต์ และกลุ่มนักออกแบบเว็บไซต์ โดยสรุปข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ นำเสนอข้อมูลด้วยการอธิบายเชิงพรรณนา และภาพประกอบ 66

3. วิเคราะห์ตัวแปรตามของการวิจัย คือ แนวคิด ของผู้บริโภคที่ ใช้บริการเว็บไซต์สินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆ ในเว็บไซต์ โดยวิเคราะห์เหตุผล และเงื่อนไขที่มีผลต่อความสะดวกในการค้น หาข้อมูล และดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ โดยสรุปข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ นำเสนอข้อมูลด้วยการอธิบายเชิงพรรณนา และภาพประกอบ ข้อค้นพบจากการวิจัย 1. คุ ณ ลั ก ษณะของเว็ บ ไซต์ ส ิ น ค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ธรรมชาติ ผู้วิจัยแบ่งเว็บไซต์ตัวอย่างตามลักษณะในการนำ เสนอข้อมูล เป็น 4 กลุ่ม คือ • Retail Shop เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าหลาย ประเภท หลายยี่ห้อ ไม่เน้นสินค้ากลุ่มใดเป็นพิเศษ จึงมี ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าจำนวนมาก มีคุณลักษณะดังนี้ - ทุกเว็บไซต์ใช้ระบบเนวิเกชั่นแบบลำดับชั้น มีความสม่ำเสมอของเนวิเกชั่น (Interface Family) และ เชื่อมโยงข้อมูลใหม่ในหน้าต่างเดิม เพื่อป้องกันผู้ใช้บริการ หลงทาง และส่วนใหญ่มี Search Box เพื่อเป็นทางลัดใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยไม่ต้องผ่านเว็บเพจที่ไม่ต้อง การชม เนื่องจากมีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบลำดับชั้น - ทุกเว็บไซต์มีโครงสร้างแบบแนวตั้ง และส่วน ใหญ่เน้นการนำเสนอข้อมูลมากกว่าภาพ - เว็บไซต์ 80% ใช้ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย และทุกภาพสามารถลิงค์ไปยังข้อมูลได้ - ทุกเว็บไซต์มีพื้นหลังเป็นสีพื้นเรียบๆ (Plain Color) และใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความแบบ HTML เพื่อให้ แสดงผลได้รวดเร็ว รวมทั้งใช้ตัวอักษรเป็นลิงค์ไปยังเว็บเพจ หน้าอื่นด้วย - ตัวอักษรชื่อหัวข้อ 60% มีบุคลิกแบบไม่เป็น ทางการ และทุกเว็บไซต์จัด Alignment ของหัวข้อ ชิดด้าน ซ้ายของพื้นที่ ในส่วนแสดงผลข้อมูล - ทุกเว็บไซต์ใช้โทนสีโดยรวมแบบ Obscure เพื่อ สื่อความเป็นสินค้าธรรมชาติ และสร้างบุคลิกเป็นทางการ น่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ เนื่องจากมีการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ (E-Commerce) - เวลาเฉลี่ยที่ ใช้ในการแสดงผลข้อมูล 1 หน้า เว็บเพจ (Accese Time) ของเว็บไซต์กลุ่ม Retail Shop คือ 19.4 วินาที มากกว่าเวลาเฉลี่ยของเว็บไซต์ตัวอย่างทั้ง


หมด 2.05 วินาที (ภาพที่ 7 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Retail Shop) • Cosmetic เป็นเว็บไซต์ที่เน้นสินค้าประเภท เครื่องสำอาง ใช้การนำเสนอข้อมูลที่เน้นการสร้างอารมณ์ ร่วม (Emotional) จึงใช้ลูกเล่นในการนำเสนอข้อมูลมาก มีคุณลักษณะดังนี้ - เว็บไซต์ในกลุ่มนี้ 60% มีข้อมูลค่อนข้างน้อย จึงใช้ระบบเนวิเกชั่นแบบอิสระ ยกเว้นเว็บไซต์ที่มีข้อมูล มาก จึงจะเชื่อมโยงแบบลำดับชั้น มีความสม่ำเสมอของ เนวิเกชั่น และมีการใช้เนวิเกชั่นหลายแบบร่วมกัน แต่ที่ นิยมใช้มากคือ Menu Bar และ Pop-up Menu และมีหลาย ลักษณะทั้งแบบตัวอักษร ปุ่มกราฟิก และสัญรูป ทุกเว็บไซต์ เชื่อมโยงข้อมูลใหม่ในหน้าต่างเดิม - เว็บไซต์ 40% ใช้โครงสร้างแบบผสม ระหว่าง แนวตั้งในหน้าที่มีข้อมูลมาก กับแนวนอนหรือขนาดพอดี หน้าจอในหน้าที่มีข้อมูลน้อย ซึ่งส่วนมากเป็นหน้าแรกหรือ หน้าเปิด (Intro Page) ทุกเว็บไซต์มีการใช้พื้นที่ว่างและ ส่วนใหญ่เน้นการนำเสนอภาพมากกว่าข้อมูล - เว็บไซต์ 80% ใช้ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย และทุกภาพสามารถลิงค์ไปยังข้อมูลได้ - ทุกเว็บไซต์มีพื้นหลังเป็นสีพื้นเรียบๆ เพื่อไม่ให้ เด่นแข่งกับรูปภาพ และชดเชยกับเวลาที่ต้องเสียไปในการ ดาวน์โหลดภาพและลูกเล่นในการนำเสนอข้อมูลอื่นๆ - ทุกเว็บไซต์ใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความแบบ HTML เพื่อให้แสดงผลได้รวดเร็ว โดยใช้ตัวอักษรที่มีบุคลิก แบบเป็นทางการ และจัด Alignment ของข้อความแบบ ชิดด้านซ้าย และเว็บไซต์ 60% ใช้ตัวอักษรเป็นลิงค์ไปยัง เว็บเพจหน้าอื่น - เว็บไซต์ 60% ใช้โทนสีแบบ Light เพื่อสื่อถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ ปลอดภัย - เว็บไซต์ 80% ใช้ลูกเล่นในการนำเสนอข้อมูล เช่น Icon Effect และ Animation โดยที่เว็บไซต์ 40% มี หน้าเปิดของเว็บไซต์ ซึ่งสร้างด้วยโปรแกรม Macromedia Flash - ค่าเฉลี่ย Accese Time ของเว็บไซต์กลุ่ม Cosmetic คือ 18.4 วินาที มากกว่าค่าเฉลี่ยของเว็บไซต์ ตัวอย่างทั้งหมด 1.05 วินาที (ภาพที่ 8 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Cosmetic) • Naturalistic เป็นเว็บไซต์ที่เน้นความเป็น

ภาพที่ 7 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Retail Shop

ภาพที่ 8 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Cosmetic

67


ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของสินค้า มีสินค้าไม่กี่ชนิด ทำให้ มีข้อมูลค่อนข้างน้อย จึงเน้นความเรียบง่ายในการนำเสนอ ข้อมูล โดยผสมการสร้างอารมณ์ร่วม (Emotional) กับการ นำเสนอคุณประโยชน์ของสินค้า (Beneficial) มีคุณลักษณะ ดังนี้ - เว็บไซต์ 80% ใช้ระบบเนวิเกชั่นแบบลำดับชั้น เพื่อความเข้าใจง่าย ทุกเว็บไซต์ใช้เนวิเกชั่นแบบ Menu Bar และ 80% ใช้ Menu Bar ที่เป็นปุ่มกราฟิก โดยเว็บไซต์ 60% ใช้ Menu Bar แบบ 2 แกน คือ Bar แนวนอนด้านบน เป็นรายการลิงค์หลัก (Main Menu) และ Bar แนวตั้งเป็น หัวข้อย่อยของลิงค์หลักนั้นๆ (Sub-Menu) โดยทุกเว็บไซต์ มีความสม่ำเสมอของเนวิเกชั่น และเชื่อมโยงข้อมูลใหม่ใน หน้าต่างเดิม - เว็บไซต์ 60% ใช้โครงสร้างแบบแนวตั้ง รองลง มาใช้แบบผสม ระหว่างแนวตั้งในหน้าที่มีข้อมูลมาก กับ ขนาดพอดีหน้าจอในหน้าที่มีข้อมูลน้อย ทุกเว็บไซต์มีการ ใช้พื้นที่ว่าง และเว็บไซต์ 60% เน้นการนำเสนอภาพมาก กว่าข้อมูล - เว็บไซต์ 80% ใช้ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย - เว็บไซต์ 60% ใช้พื้นหลังเป็นสีพื้นเรียบๆ ส่วน อีก 40% ใช้พื้นหลังเป็นภาพกราฟิก - ทุกเว็บไซต์ใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความแบบ HTML เพื่อให้แสดงผลได้รวดเร็ว โดยใช้ตัวอักษรที่มีบุคลิก แบบเป็นทางการ และจัด Alignment ของข้อความแบบ ชิดด้านซ้าย และเว็บไซต์ 60% ใช้ตัวอักษรเป็นลิงค์ไปยัง เว็บเพจหน้าอื่น - การใช้โทนสีในเว็บแบ่งตาม Beneficial ของ สินค้า เช่น ถ้าใช้แล้วรู้สึกผ่อนคลาย ใกล้ชิดธรรมชาติจะใช้ โทนสีแบบ Obscure แต่ถ้าใช้เพื่อกระตุ้นให้สดชื่น จะใช้ โทนสีแบบ Vivid - เว็บไซต์ 80% ใช้ลูกเล่นในการนำเสนอข้อมูล เช่น เสียง Icon Effect และ Animation โดยที่เว็บไซต์ 40% มีหน้าเปิดที่สร้างด้วยโปรแกรม Flash และ 20% มีหน้าเปิดแบบ HTML ทั่วไป - ค่าเฉลี่ย Accese Time ของเว็บไซต์กลุ่ม Naturalistic คือ 14.4 วินาที น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเว็บไซต์ ตัวอย่างทั้งหมด 2.95 วินาที (ภาพที่ 9 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Naturalistic) • Supplement เป็นเว็บไซต์เน้นสินค้าประเภท 68

ภาพที่ 9 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Naturalistic

ภาพที่ 10 ตัวอย่างเว็บไซต์กลุ่ม Supplement

ภาพที่ 11 เนวิเกชั่นแบบต่างๆ


อาหารเสริมสุขภาพ ราคาค่อนข้างสูง และไม่ถือเป็นสิ่ง จำเป็นในการดำรงชีวิต ผู้บริโภคต้องการข้อมูลในระดับ ลึกๆ ประกอบการตัดสินใจ เว็บไซต์ส่วนใหญ่มีสินค้าหลาย ชนิด ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดสินค้าจำนวนมาก มีคุณลักษณะ ดังนี้ - เว็บไซต์ 80% ใช้ระบบเนวิเกชั่นแบบลำดับชั้น ทุกเว็บไซต์ใช้เนวิเกชั่นแบบ Menu Bar และ 80% ใช้ Menu Bar ที่เป็นปุ่มกราฟิก โดยเว็บไซต์ 40% ใช้ Menu Bar แบบ 2 แกน ทุกเว็บไซต์มีความสม่ำเสมอของเนวิเกชั่น และเชื่อมโยงข้อมูลใหม่ในหน้าต่างเดิม - เว็บไซต์ 80% ใช้โครงสร้างแบบแนวตั้ง และ เว็บไซต์ 80% เน้นการนำเสนอข้อมูลมากกว่าภาพ โดยมีการ เว้นพื้นที่ว่างเพื่อเป็นจุดพักสายตา - เว็บไซต์ 80% ใช้ภาพประกอบเป็นภาพถ่าย ซึ่ง สามารถลิงค์ไปยังหน้าข้อมูลได้ - ทุกเว็บไซต์มีพื้นหลังเป็นสีพื้นเรียบๆ เพื่อให้ แสดงผลได้รวดเร็ว - ทุกเว็บไซต์ใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความแบบ HTML ที่มีบุคลิกแบบเป็นทางการ และจัด Alignment ชิดซ้าย เพื่อให้ผู้ใช้บริการอ่านข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ง่าย - เว็บไซต์ 80% ใช้โทนสีแบบ Obscure เพื่อ สร้างความรู้สึกมั่นคง น่าเชื่อถือ โดย 60% ใช้ชุดสีแบบ คล้ายคลึงกัน (Analogous) และมีเว็บไซต์ 60% เป็นเว็บไซต์ แบบ E-Commerce - ทุกเว็บไซต์ใช้ลูกเล่นในการนำเสนอข้อมูล เพื่อพักสายตา (Eye Candy) ไม่ให้ล้าจากการอ่านข้อมูล จำนวนมากๆ เช่น Animation, Icon Effect และเว็บไซต์ 40% มีหน้าเปิด (Intro Page) - ค่าเฉลี่ย Accese Time ของเว็บไซต์กลุ่ม Supplement คือ 17.2 วินาที น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของ เว็บไซต์ตัวอย่างทั้งหมด 0.15 วินาที (ภาพที่ 10 ตัวอย่าง เว็บไซต์กลุ่ม Supplement) 2. ตัวแปรต้นของการวิจัย : แนวทางในการออกแบบ เหตุผล และเงื่อนไขใน การเลือกใช้องค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ สรุปจาก การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ 2.1 ตัวแปรด้านการออกแบบ Graphic User Interface คือ • ระบบเนวิเกชั่น (Navigation System)

รูปแบบของเนวิเกชั่นหลักที่นิยมใช้ คือ Menu Bar ซึ่งถ้ามีหัวข้อมาก หรือชื่อหัวข้อยาวจะใช้ Menu Bar แนวตั้ง หากมีหัวข้อน้อย หรือชื่อหัวข้อสั้นจะใช้ Menu Bar แนวนอน หรือบางครั้งอาจใช้ Bar แนวนอนเป็นเนวิเกชั่น หลักแสดงหัวข้อใหญ่ แล้วใช้ Bar แนวตั้งแสดงหัวข้อย่อย เป็นเนวิเกชั่นเสริม โดยหัวข้อย่อยจะเปลี่ยนไปเมื่อคลิก เปลี่ยนหัวข้อในเนวิเกชั่นหลัก บางกรณีอาจใช้เมนูแบบ Pop-up คือ แถบรายการลิงค์ที่แสดงแต่หัวข้อใหญ่ เมื่อนำ เมาส์ไปวางเหนือหัวข้อใด ก็จะปรากฏหัวข้อย่อยของหัวข้อ นั้นๆ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถซ่อนหัวข้อย่อยจำนวนมากไว้ภาย ในหัวข้อใหญ่เพียง 1 หรือ 2 บรรทัดได้ จึงประหยัดพื้นที่ แต่ถ้าไม่นำเมาส์ไปวางก็จะไม่ทราบว่ามีหัวข้อย่อยๆ ซ่อน อยู่ภายใน เนวิเกชั่นเสริมที่นิยมใช้เ มื่อจัดกลุ่มข้อมูลชนิด เดียวกันได้แล้ว คือ แบบ Pull-down Menu ซึ่งไม่ควร แสดงผลกลุ่มข้อมูลให้ยาวเกินไปจนลงมาบังส่วนสำคัญ ภายในหน้านั้นๆ และนิยมใช้ไอคอนลิงค์ไปสู่หน้าข้อมูล สำคัญที่ต้องใช้บ่อย (Common Link) เช่น โฮมเพจ หรือ Site Map นอกจากนี้ยังนิยมใช้การลิงค์ด้วยภาพประกอบ (Hyperlink) และลิงค์ด้วยข้อความ (Text Link / Hypertext) เป็นเนวิเกชั่นเสริม (ภาพที่ 11 เนวิเกชั่นแบบต่างๆ) ตำแหน่งที่เหมาะสมของเนวิเกชั่นหลักที่สามารถ เห็นได้ชัด คือ ด้านบนของหน้าเว็บเพจ ในกรณีที่เนวิเกชั่น เมนูเป็นแนวนอน หากเนวิเกชั่นเมนูเป็นแนวตั้ง ตำแหน่ง ที่เหมาะสมคือด้านซ้ายของหน้า ส่วนตำแหน่งที่เหมาะสม ของเนวิเกชั่นเสริมที่เป็นแนวนอน ควรอยู่ด้านล่างของหน้า เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ ในกรณีที่หน้าเว็บเป็น แนวตั้งที่ยาวมาก ผู้ใช้จะไม่ต้องสโครลขึ้นไปด้านบนของ หน้าอีก • โครงสร้างของเว็บเพจ (Layout) นิ ย มใช้ โ ครงสร้ า งแบบพอดี ห น้ า จอผสมกั บ โครงสร้างแนวตั้ง โดยใช้โครงสร้างแบบพอดีหน้าจอใน หน้าโฮมเพจเพื่อความสวยงาม เน้นการนำเสนอรูปภาพเพื่อ สื่อบุคลิกของสินค้า และใช้โครงสร้างแนวตั้งในหน้าเว็บที่ มีข้อมูลจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการสั่งพิมพ์ และ จัดหน้าตามความคุ้นเคยของผู้ใช้ คือ คล้ายกับการจัดหน้า หนังสือ โดยแบ่งตัวอักษรเป็นคอลัมน์ไม่เกิน 3 คอลัมน์ เพราะหากแบ่งมากกว่า 3 คอลัมน์ ความกว้างของแต่ละ คอลัมน์จะน้อยเกินไป ทำให้อ่านลำบาก 69


นอกจากนี้ยังนิยมแทรกพื้นที่ว่าง (Space) เพื่อให้ผู้ใช้ได้พักสายตา โดยแทรกบรรทัดว่างระหว่างย่อหน้าและหัวข้อต่างๆ รวมถึงที่ว่างระหว่างภาพ ประกอบกับตัวอักษร เพื่อให้ดูมีระเบียบ ไม่อึดอัด • ภาพประกอบที่ ใช้ในเว็บไซต์ (Image) นิยมใช้ภาพถ่ายเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และนำเสนอหน้าตา ของสินค้า โดยใช้ไฟล์ภาพแบบ JPEG บางครั้งอาจใช้ภาพกราฟิกมาเสริมเมื่อ ต้องการแสดงกระบวนการทำงานของสินค้าที่ส่งผลต่อร่างกาย หรือใช้เป็นชื่อ หัวข้อ โดยใช้การไฟล์ภาพแบบ GIF ซึ่งภาพทั้ง 2 ประเภทควรเป็นลิงค์ได้ด้วย • ตัวอักษร (Font) การเลือกแบบของตัวอักษรขึ้นอยู่กับบุคลิกของสินค้า และรูปแบบใน การนำเสนอ เช่น เว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลมาก ต้องการสร้างความน่า เชื่อถือ ตัวอักษรควรเป็น HTML ที่มีบุคลิกแบบ Formal เพื่อให้อ่านง่าย หากเว็บ ไซต์ที่มีบุคลิกของสินค้าดูสะอาด ผ่อนคลาย แต่ต้องการนำเสนอแบบเน้นข้อมูล ให้ใช้ตัวอักษรกราฟิกที่มีบุคลิกแบบ Casual เช่น ตัวเขียน (Script) ตัวมีเชิง (Serif) ในส่วนของหัวข้อ หรือ Slogan และใช้ตัวอักษร HTML ที่มีบุคลิกแบบ Formal ในส่วนข้อมูลยาวๆ ตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นิยมจัดชิดซ้าย ให้อ่านง่าย ยกเว้น กรณีที่มีการแบ่งคอลัมน์ หรือ นำเสนอแบบทางการ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะจัด เสมอหน้าหลัง (Justify) เพื่อความเป็นระเบียบ ส่วนภาษาไทยเมื่อจัด Justify มัก มีการตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ไม่ถูกต้อง และอ่านยาก จึงนิยมจัดข้อความชิดซ้าย ไม่นิยมใช้การลิงค์ด้วยข้อความ เพราะข้อความมีขนาดยาว มีความดึงดูดใจน้อย กว่าลิงค์ด้วยรูปภาพ • พื้นหลัง (Background) นิยมใช้สีพื้นเรียบๆ เพื่อความเร็วในการแสดงผล มักใช้พื้นหลังสีอ่อน คู่กับตัวอักษรสีเข้ม เพราะอ่านง่าย ไม่แสบตา หรือพื้นหลังสีขาว เพราะวางภาพ ไดคัทสินค้าได้สะดวก โดยไม่ต้องทำภาพแบบพื้นหลังโปร่งใส และจัดชุดสีได้ ง่ายเพราะกลมกลืนได้กับทุกสี หากใช้พื้นหลังแบบภาพถ่ายหรือกราฟิกสีอ่อนๆ ขนาดของไฟล์ไม่ควรเกิน 10 Kb หรือกำหนดให้ภาพแสดงผลแบบ Progressive คือ ให้แสดงผลส่วนที่ดาวน์โหลดมาทีละน้อยจนครบ ผู้ใช้จะไม่รู้สึกสิ้นหวังใน การรอดาวน์โหลดหน้าเว็บนั้น ส่วนพื้นหลังแบบ Pattern นั้นไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากทำให้อ่านข้อความยาก • สีโดยรวมของเว็บไซต์ (Color Scheme) การใช้สโี ดยรวมขึน้ อยูก่ บั บุคลิกของสินค้า คือ ถ้าเน้นความเป็นธรรมชาติ ของสินค้า มักใช้โทนสีแบบหม่น (Obscure) หรือ สบายตา (Light) สีที่นิยม เป็นโทนสีเขียว ครีม น้ำตาล น้ำทะเล แต่ถ้าสินค้าวาง positioning ของตนเอง เป็นเครื่องสำอางมากกว่าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย อาจใช้สีสด (Vivid) เพื่อแสดงถึงความสดชื่นเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือสี Pastel แสดงความสวยงามอ่อนหวานแบบเพศหญิงก็ได้ (ภาพที่ 12 เปรียบเทียบโครง สีกลุ่มต่างๆ) 70


ภาพที่ 12 เปรียบเทียบโครงสีกลุ่มต่างๆ

ภาพที่ 13 Pop-up Window ที่แสดงภาพขยายใหญ่ของสินค้า

• องค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ดึงดูดความสนใจ (Gimmick) ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบให้ความเห็นด้าน ความสอดล้องกับบุคลิกของสินค้าและความจำเป็นในการ ใช้งานองค์ประกอบต่อไปนี้ในการนำเสนอข้อมูล โดยเรียง ลำดับมาก-น้อย ดังนี้ Animation, Icon Effect, Movie clip และเสียง โดยใช้ Animation ในหน้าแรก หรือหน้า Intro Page เพื่อสร้างความประทับใจ และสื่อภาพพจน์ของสินค้า (Brand Image) ใช้ Icon Effect เป็นระบบเนวิเกชั่นเสริม เพื่อดึงดูดความสนใจ เพราะสามารถตอบสนองกับผู้ใช้ได้ดี โดยอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เด่นเกินกว่าเนวิเกชั่นหลัก และใช้ Movie Clip ในการสาธิตขั้นตอนในการใช้งานสินค้า กรณี ที่สินค้าใช้งานยาก ส่วนข้อความกระพริบ และ VRML ทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ จำเป็นต้องมี

2.2 ต ั ว แปรด้ า นเทคโนโลยี ท ี ่ ม ี ผ ลต่ อ ประสิ ท ธิ ภ าพ ในการนำเสนอข้อมูล คือ • เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Box) ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความจำเป็นในระดับปานกลาง ที่ต้องมีเครื่องมือ ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์ เพื่อเป็นทางลัดไปสู่ข้อมูลสินค้า ที่ผู้บริโภคต้องการ และนำไปสู่จุดตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น แต่ ถ้าเว็บไซต์มีโครงสร้างหน้าแบบสร้างสรรค์ ใช้กราฟิกและ เนวิเกชั่นที่มีรูปทรงอิสระ รูปทรงสี่เหลี่ยมของ Search Box อาจขัดกับองค์ประกอบอื่นๆ ได้ • การแสดงข้ อ มู ล ที ่ เ ชื ่ อ มโยงกั น ในเว็ บ ไซต์ (Target) ถ้าเป็นการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ควรแสดงผล ข้อมูลใหม่ในหน้าต่างเดิม เพราะเว็บไซต์ที่มีระบบเนวิเกชั่น ที่ดี แม้จะแสดงผลข้อมูลในหน้าต่างเดียวผู้ใช้ก็ไม่หลงทาง สามารถกลับไปหน้าที่ต้องการได้ ยกเว้นการเชื่อมโยงออก นอกเว็บไซต์จึงจะแสดงผลในหน้าต่างใหม่ แต่ถ้ามีข้อมูล หลากหลายมาก อาจแสดงข้อมูลหัวข้อใหม่ที่ไม่ต่อเนื่องกัน หรือข้อมูลที่สำคัญน้อยกว่า ในหน้าต่างใหม่ที่มีขนาดเล็ก ลง (Pop-up Window) เพื่อผู้ใช้อ่านจบแล้วจะได้ปิดไป ควรระวังไม่ให้มีการเปิดหน้าต่างใหม่มากเกินความจำเป็น เพราะจะสร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้ • หน้าเปิดตัวของเว็บไซต์ (Intro Page) ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความจำเป็นค่อนข้างมากที่ต้องมีหน้าเปิดเว็บไซต์ ที่ ใช้เทคนิคในการนำเสนอข้อมูล เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ สร้างความประทับใจ หรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมส่งเสริม การขาย เพื่อนำไปสู่จุดตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น • เวลาที่ ใช้ในการดาวน์โหลดเว็บเพจ (Access Time) เว็บเพจ 1 หน้า ควรมีขนาดไฟล์ไม่เกิน 150 Kb ยกเว้นการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบล่วงหน้าว่าหน้านี้จะต้องใช้ เวลาดาวน์โหลดนาน ด้วยเหตุผลที่เหมาะสม เช่น ภาพสินค้า ขนาดใหญ่ Movie Clip หรือ Animation โดยแจ้งความคืบ หน้าในการดาวน์โหลด (Loading Progress) ให้ทราบด้วย 3. ตัวแปรตามของการวิจัย : แนวคิดของผู้บริโภค ที่ ใช้บริการเว็บไซต์สินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีต่อองค์ ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ สรุปจากการสัมภาษณ์และการ สังเกตพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ตัวอย่างของผู้บริโภค 71


3.1 ตัวแปรด้านการออกแบบ Graphic User Interface คือ • ระบบเนวิเกชั่น (Navigation System) รูปแบบของเนวิเกชั่นที่ผู้บริโภคนิยมใช้ เรียงตามลำดับความสะดวก ในการใช้งาน คือ Menu Bar ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน การลิงค์ด้วยภาพ (Hyperlink) การใช้คำสำคัญค้นหาโดยใช้เครื่องมือค้นหา (Search Box) และ การลิงค์ด้วยข้อความ (Hypertext) เป็นอันดับสุดท้าย เพราะมีความดึงดูดใจ น้อยกว่าลิงค์แบบรูปภาพ โดยลักษณะของเนวิเกชั่นหลักที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ คุ้นเคยและเห็นว่าใช้งานได้ง่ายที่สุด คือ Menu Bar และเนวิเกชั่นแบบ FrameBased ส่วน Pop-up Menu และ Pull-down Menu นั้น ผู้บริโภคเห็นว่าใช้งาน ค่อนข้างง่าย แต่มีปัญหากับผู้ใช้บริการที่สูงอายุ ซึ่งมีการประสานงานของสาย ตาและมือไม่ค่อยแม่นยำ (Hand-Eye Coordination) อาจคลิกไม่ตรงตำแหน่ง ลิงค์ที่ต้องการได้ ตำแหน่งของเนวิเกชั่นหลัก กรณีที่เนวิเกชั่นเมนูเป็นแนวนอน ตำแหน่ง ทีเ่ ห็นเด่นชัดคือ ด้านบน ส่วนเมนูแนวตัง้ ตำแหน่งทีเ่ ห็นชัดคือ ด้านซ้าย สอดคล้อง กับแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ • โครงสร้างของเว็บเพจ (Layout) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบโครงสร้างแบบพอดีหน้าจอผสมกับโครงสร้าง แนวตั้ง เพราะโครงสร้างแบบพอดีหน้าจอ ไม่มีสโครลบาร์มาเกะกะ เน้นการ นำเสนอภาพสินค้า และชอบโครงสร้างแนวตั้ง เมื่อเว็บเพจมีข้อมูลมาก โดย ต้องการให้มีการแบ่งข้อความตัวอักษรเป็นคอลัมน์ จำนวนไม่เกิน 2 คอลัมน์ (ภาพที่ 14 โครงสร้างแบบพอดีหน้าจอ และใช้พื้นหลังแบบ Pattern) • ภาพประกอบที่ ใช้ในเว็บไซต์ (Image) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบให้ใช้ภาพถ่ายเป็นภาพประกอบ เพื่อสร้างความ เป็นธรรมชาติ สมจริง และนำเสนอหน้าตาของสินค้า และชอบให้ภาพสามารถ ลิงค์ได้ กรณีท่ีใช้ภาพกราฟิกร่วมด้วย ผูบ้ ริโภคส่วนใหญ่ตอ้ งการให้มสี ดั ส่วนของ ภาพถ่าย 70% และภาพกราฟิก 30% (ภาพที่ 15 การใช้ภาพถ่ายผสมภาพกราฟิก) • ตัวอักษร (Font) ผู้บริโภคชอบให้เว็บไซต์ใช้ตัวอักษรแบบกราฟิกที่มีบุคลิกแบบ Casual เป็นหัวข้อ หรือใช้ตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ตัวอักษรส่วนที่เป็นเนื้อหานั้น ผู้บริโภค ต้องการให้ใช้ตัวอักษรแบบ HTML ที่มีบุคลิกแบบ Formal เพื่อให้อ่านง่าย แสดงผลได้ถูกต้อง และดาวน์โหลดได้เร็ว (ภาพที่ 16 การใช้ตัวอักษรกราฟิกที่ มีบุคลิก Casual เป็นชื่อหัวข้อ) ลักษณะการจัดข้อความที่ผู้บริโภคชอบ คือ แบบชิดซ้ายในกรณีที่เป็น หัวข้อ และจัดเสมอหน้าและหลัง ในกรณีที่มีการแบ่งข้อความเป็นคอลัมน์ เพราะ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย • พื้นหลัง (Background) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบพื้นหลังที่เป็นสีพื้นเรียบๆ ซึ่งเป็นสีอ่อนคู่กับตัว อักษรสีเข้ม เพราะอ่านง่าย ถ้ามีการใช้พื้นหลังแบบกราฟิก ผู้บริโภคต้องการ ให้ใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 72


ภาพที่ 14 โครงสร้างแบบพอดีหน้าจอ และใช้พื้นหลังแบบ Pattern

ภาพที่ 15 การใช้ภาพถ่ายผสมภาพกราฟิก

ภาพที่ 15 การใช้ภาพถ่ายผสมภาพกราฟิก

• สีโดยรวมของเว็บไซต์ (Color Scheme) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าบุคลิกของเว็บไซต์สินค้า ประเภทนี้ ควรให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สบาย และน่าเชื่อถือ โดยเน้นการนำเสนอความเป็นธรรมชาติของสินค้า จึงชอบ โทนสีหม่น (Obscure) เช่น สีเอิร์ธโทน โดยสีที่นิยมมาก ที่สุดคือ สีเขียวที่มีระดับความเข้มแตกต่างกัน รองลงมา ชอบโทนสีแบบ Light และ Pastel เพื่อสื่อความสะอาด สดชื่น และผ่อนคลาย เมื่อใช้สินค้า • องค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ดึงดูดความสนใจ (Gimmick) ผู้บริโภคให้ความเห็นด้านความสอดล้องกับบุคลิก ของสินค้าและความจำเป็นในการใช้งานองค์ประกอบต่อ ไปนี้ ในการนำเสนอข้อมูล โดยเรียงลำดับมาก-น้อย ดังนี้ Icon Effect มีความจำเป็นค่อนข้างมากในการนำเสนอ ข้อมูล เพราะสามารถตอบสนองกับผู้ใช้และดึงดูดความ สนใจได้ดี Animation และ VRML มีความจำเป็นต้องใช้น้อย และไม่จำเป็นต้องใช้ Movie clip ข้อความกระพริบและเสียง 3.2 ตัวแปรด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการนำเสนอข้อมูล คือ

• เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Box) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่า มีความจำเป็นค่อนข้าง มากที่จะต้องมี Search Box ภายในเว็บไซต์ เพื่อเป็นทางลัด ไปสู่สินค้าโดยตรง และเผื่อไว้ในกรณีที่ผู้บริโภคหาสิ่งที่ ต้องการไม่เจอ แต่บางครั้งคำสำคัญ (Key Word) ที่พิมพ์ลง ไปนั้น ไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ออกแบบระบบฐานข้อมูลคิดไว้ ทำ ให้หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ • การแสดงข้ อ มู ล ที ่ เ ชื ่ อ มโยงกั น ในเว็ บ ไซต์ (Target) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้แสดงผลการเชื่อม โยงข้อมูลใหม่อยู่ในหน้าต่างเดิม เมื่อเชื่อมโยงข้อมูลอยู่ ภายในภายในเว็บไซต์เดียวกัน เพราะผู้ใช้ไม่ต้องการเสีย เวลาปิดหน้าต่างทีเ่ ปิดขึน้ มาใหม่ ยกเว้นมีการเชือ่ มโยงออก นอกเว็บไซต์จึงจะต้องการให้แสดงผลในหน้าต่างใหม่ • หน้าเปิดตัวของเว็บไซต์ (Intro Page) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่ามีความจำเป็นน้อยที่จะ ต้องมีหน้าเปิดของเว็บไซต์ เพราะต้องการมุ่งเข้าไปหา ข้อมูลโดยตรง และรู้สึกเสียเวลาที่ต้องรอดาวน์โหลดภาพ เคลื่อนไหวที่มักจะมีในหน้าเปิดของเว็บไซต์ • เวลาที่ ใช้ในการดาวน์โหลดเว็บเพจ (Access Time) เวลาเฉลี่ยที่ผู้บริโภคสามารถอดทนรอเพื่อชมเว็บ ไซต์ 1 หน้าได้ ไม่เกิน 35 วินาที สำหรับหน้าเว็บที่มีข้อมูล มาก โดยต้องการให้มีตัวบ่งชี้ความคืบหน้าของการดาวน์ โหลดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ หากผู้บริโภคคาดเดาไม่ได้ว่า หน้าต่อไปจะมีลักษณะอย่างไร และไม่มีการแสดงความ คืบหน้าในการดาวน์โหลดให้เห็น เวลาเฉลี่ยในการรอดาวน์ โหลดจะลดลงเหลือ 25 วินาที การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น สามารถอภิปราย ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม จำแนก ตามองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์ ด้านการออกแบบ กราฟิกเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ (Graphic User Interface) และด้านเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูล ได้ดังนี้ 1. ตัวแปรด้านการออกแบบ Graphic User Interface คือ 1.1. ระบบเนวิเกชั่น (Navigation System) รูปแบบของเนวิเกชั่นเมนูที่ผู้เชี่ยวชาญและนัก ออกแบบนิยมใช้เป็นเนวิเกชั่นหลัก คือ Menu Bar แนวตั้ง 73


และแนวนอน สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค ส่วนเนวิเกชั่น เสริมที่กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มนิยมใช้ คือ การลิงค์ด้วยภาพ (Hyperlink) เพราะใช้งานง่ายและเห็นชัดเจน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ลักษณะของ การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บไซต์ คือ ถ้าต้องการเน้นการนำเสนอข้อมูล จำนวนมาก ควรเชื่อมโยงแบบลำดับชั้น เพราะเป็นระบบและเข้าใจง่าย หาก เว็บไซต์ไม่เน้นข้อมูล ควรใช้การเชื่อมโยงแบบอิสระ เพราะลำดับชั้นของข้อมูล ไม่ลึกมาก ตำแหน่งที่เหมาะสมของเนวิเกชั่นหลัก กรณีที่เนวิเกชั่นเมนูเป็นแนว นอน ควรอยู่ด้านบน กรณีเป็นแนวตั้ง ควรอยู่ด้านซ้าย ซึ่งสามารถเห็นได้เด่นชัด ส่วนตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับเนวิเกชั่นเสริมที่เป็นเมนูแนวนอน ควรอยู่ด้าน ล่างของหน้า และลักษณะของเนวิเกชั่นเมนูควรมีความสม่ำเสมอ (Interface Family) คือ เนวิเกชั่นหลักต้องอยู่ในตำแหน่งเดิม และมีรูปร่างหน้าตาเหมือน เดิม เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในการใช้งาน 1.2. โครงสร้างของเว็บเพจ (Layout) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ลักษณะโครงสร้าง ที่นิยมใช้ คือ แบบพอดีหน้าจอผสมกับโครงสร้างแนวตั้ง โดยใช้โครงสร้างแบบ พอดีหน้าจอในหน้าโฮมเพจ โดยเน้นการออกแบบเพื่อสื่อบุคลิกของสินค้า และ ใช้โครงสร้างแนวตั้งในหน้าเว็บที่มีข้อมูลมาก เพื่อความสะดวกในการสั่งพิมพ์ โดยมีการแบ่งข้อความเป็นคอลัมน์ไม่เกิน 3 คอลัมน์ 1.3 ภาพประกอบที่ ใช้ในเว็บไซต์ (Image) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาพส่วนใหญ่ ที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ควรเป็นภาพถ่าย เพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติ นำเสนอหน้าตาของสินค้า หากใช้ภาพถ่ายผสมภาพกราฟิก ควรมีสัดส่วนของ ภาพถ่าย 70% ภาพกราฟิก 30% และภาพทั้ง 2 ชนิด ต้องสามารถลิงค์ข้อมูลได้ 1.4 ตัวอักษร (Font) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวอักษรที่เป็นชื่อ หัวข้อ และข้อความบนปุ่มเนวิเกชั่น ควรใช้ตัวอักษรกราฟิกที่มีบุคลิกแบบไม่เป็น ทางการ และตัวอักษรที่เป็นเนื้อหา ควรใช้ตัวอักษรแบบ HTML ที่มีบุคลิกเป็น ทางการ เพื่อให้อ่านง่าย และแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว การจัด Alignment ข้อความทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ถ้าไม่มีการแบ่ง คอลัมน์หรือเป็นหัวข้อ ทั้ง 3 กลุ่มเห็นสอดคล้องกันว่า ควรจัดชิดซ้าย เพื่อให้ อ่านง่าย แต่ถ้ามีการแบ่งคอลัมน์ หรือนำเสนอเป็นทางการ ผู้บริโภคต้องการให้ จัดแบบเสมอหน้าหลัง เพือ่ ความเป็นระเบียบ แต่กลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญและนักออกแบบ นิยมจัดข้อความชิดซ้าย โดยให้เหตุผลว่า ข้อความภาษาไทยเมื่อจัดเสมอหน้าหลัง จะตัดข้อความจะไม่ถูกต้อง ผู้บริโภคไม่นิยมใช้ลิงค์ที่เป็นตัวอักษรหรือข้อความ เพราะเห็นว่าดึงดูด ใจน้อยกว่าลิงค์แบบรูปภาพ 74


1.5 พื้นหลัง (Background) ทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรใช้ พื้นหลังเป็นสีพื้นเรียบๆ สีอ่อนคู่กับตัวอักษรสีเข้ม เพราะ อ่านง่าย ถ้าใช้พื้นหลังแบบกราฟิก ผู้บริโภคต้องการให้ใช้ เวลาดาวน์โหลดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 1.6 สีโดยรวมของเว็บไซต์ (Color Scheme) สำหรับผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ การใช้สีโดย รวมขึ้นอยู่กับบุคลิกของสินค้า ถ้าเน้นความเป็นธรรมชาติของ สินค้า มักใช้โทนสีแบบหม่น (Obscure) หรือ สบายตา (Light) แต่ถ้าสินค้าเป็นเครื่องสำอางมากกว่าผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ หรือมีรูปแบบการนำเสนอแบบทันสมัย อาจใช้สี สด (Vivid) เพื่อแสดงถึงความสดชื่นเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือ ใช้สี Pastel แสดงความสวยงามอ่อนหวานแบบเพศหญิงได้ ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนมากเห็นว่าบุคลิกของเว็บ ไซต์สินค้าประเภทนี้ ควรให้ความรู้สึก ผ่อนคลาย และน่า เชื่อถือ เน้นความเป็นธรรมชาติของสินค้า จึงชอบโทนสี แบบหม่น (Obscure) เช่น สีเอิร์ธโทน แต่รวมๆ แล้วทั้ง 2 กลุ่มชอบให้มีสีเขียวภายในเว็บไซต์ 1.7 องค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ดึงดูดความสนใจ (Gimmick) วิเคราะห์ด้านความสอดล้องกับบุคลิกของสินค้า และความจำเป็นในการใช้งานองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ ในเว็บไซต์ ทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นไม่สอดคล้องกันดังนี้ องค์ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญ และนักออกแบบ ผู้บริโภค Animation มีความจำเป็นมาก มีความจำเป็นน้อย Movie clip มีความจำเป็นน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้งาน Icon Effect มีความจำเป็นปานกลาง มีความจำเป็นมาก เสียง มีความจำเป็นน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้งาน ข้อความกระพริบ ไม่จำเป็นต้องใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใช้งาน VRML ไม่จำเป็นต้องใช้งาน มีความจำเป็นน้อย

ค่อนข้างมาก เพื่อเป็นทางลัดไปสู่ตัวสินค้าโดยตรง และเผื่อ ไว้ในกรณีที่ผู้บริโภคหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ 2.2 การแสดงข้อมูลที่เชื่อมโยงกันในเว็บไซต์ (Target) ทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า หากเป็น การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บไซต์ควรจะแสดงผลข้อมูล ใหม่ภายในหน้าต่างเดิม แต่การเชื่อมโยงออกนอกเว็บไซต์ ควรแสดงผลข้อมูลภายในหน้าต่างใหม่ 2.3 หน้าเปิดตัวของเว็บไซต์ (Intro Page) ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความจำเป็นค่อนข้างมาก ที่ต้องมีหน้าเปิดของเว็บ ไซต์ เพื่อสร้างความประทับใจ และใช้เทคนิคในการนำเสนอ ข้อมูลเพื่อสื่อภาพพจน์ของสินค้า ในขณะที่ผู้บริโภคส่วน ใหญ่เห็นว่า มีความจำเป็นน้อยที่จะต้องมีหน้าเปิดของเว็บ ไซต์ เพราะต้องการตรงเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์เลย และ รู้สึกเสียเวลาที่ต้องรอดาวน์โหลดภาพเคลื่อนไหวในหน้า เปิดของเว็บไซต์ 2.4 เวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเว็บเพจ (Access Time) เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยเวลาที่เหมาะสมในการดาวน์ โหลดเว็บเพจ 1 หน้าจากทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าไม่ควรเกิน 35 วินาที โดยทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่า กราฟิค ที่แสดงความคืบหน้าในการดาวน์โหลดเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถอดทนรอได้นานขึ้นประมาณ 10 วินาที เช่น ลิงค์แบบกราฟิกที่มี Alternate Text (Alt) คือ ตัวอักษรที่บอกชื่อของเว็บเพจที่จะลิงค์ไป ปรากฏขึ้นเมื่อ นำเมาส์ไปวางเหนือภาพ (Mouse over) ทำให้ผู้ใช้ทราบว่า ภาพที่กำลังรอดาวน์โหลดอยู่นั้นลิงค์ไปที่ไหน ถึงแม้ว่าเว็บ เพจนั้นจะแสดงผลยังไม่ครบทั้งหน้าก็ตาม

ตารางแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบ และผู้บริโภค ที่มีต่อความจำเป็นในการใช้งานองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ดึงดูดความสนใจ

2. ตัวแปรด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการนำเสนอข้อมูล คือ 2.1 เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Box) ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบส่วนใหญ่เห็นว่า มี ความจำเป็นในระดับปานกลางที่จะต้องมี Search Box ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่า Search Box มีความจำเป็น

ภาพที่ 17 รูปภาพที่มี Alternate Text 75


โดยรวมแล้ว แนวทางการออกแบบและใช้งานองค์ประกอบของเว็บ ไซต์สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบเว็บไซต์ ได้กล่าวถึง ค่อนข้างจะสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ และตอบ สนองความต้องการของผู้บริโภค โดยครอบคลุมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลในการ เพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลได้ดี อาจมีบางตัวแปรที่นักออกแบบและ ผู้บริโภคมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากผู้บริโภคต้องการข้อมูลมากๆ ที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจ ทั้งยังต้องการความสะดวกในการใช้งานด้วย ขณะที่ นักออกแบบทราบถึงขีดจำกัดในการสร้างผลงาน เช่น การควบคุมตัวแปรในการ แสดงผลที่ค่อนข้างยาก ทั้งยังมีตัวแปรทางด้านการตลาดซึ่งเจ้าของสินค้าจะ เป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดบุคลิกของสินค้า รูปแบบการนำเสนอข้อมูลสินค้า แก่ผู้บริโภค รวมทั้งงบประมาณในการจัดทำเว็บไซต์ ซึ่งมีผลให้นักออกแบบไม่ สามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความต้องการของตนเองทั้งหมดได้ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป คือ ควรเพิ่มปริมาณผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย และเพิ่มระยะเวลาในการสังเกตพฤติกรรมการใช้งาน ความต้องการและวัตถุประสงค์ในการเข้าชมเว็บไซต์ที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะทำ ให้สามารถวิเคราะห์ผลการวิจัยได้น่าเชื่อถือมากขึ้น รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่ ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ที่มีผลต่อความเที่ยงตรงของข้อมูล เช่น ช่วงเวลา ที่สะดวกในการสัมภาษณ์ หรือการสัมภาษณ์ตัวอย่างพร้อมกันมากกว่า 1 คน อาจทำให้คำตอบที่ได้รับไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ เป็นต้น

76


บรรณานุกรม กนกศักดิ์ ซิมตระกูล. “ฟัง ฟิลลิป คอตเลอร์ พูดถึง E-Marketing.” BrandAge 1, 6 (ตุลาคม 2543) : 65 – 66. จริมา ทองสวัสดิ์. “ความต้องการข่าวสาร การเปิดรับ และการใช้ประโยชน์ข่าวสารด้านสุขภาพ จากเว็บไซต์สุขภาพของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. จันทรวรรณ ยังประภากร. “โครงการออกแบบเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์ สมุทรปราการ.” สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. จิระวัฒน์ ศรีสานติวงศ์. เรียนรู้และเทคนิคการใช้ Macromedia Dreamweaver. กรุงเทพฯ : เอส.พี.ซี. บุ๊คส์, 2542. ชนชญาน์ จันทร์ธิวัตรกุล. “รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของ ผู้บริโภคในกรุงเ ทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียน การสอน : Designing e-Learning. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. ธวัชชัย ศรีสุเทพ. เว็บดีไซน์ คู่มือออกแบบเว็บไซต์ฉบับมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2544. นิรชรา ธนเมธี. “วิเคราะห์การออกแบบเว็บเพจในเวิลด์ ไวด์ เว็บ ที่แบ่งตามประเภทขององค์กร.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. พรเทพ เลิศเทวศิริ. “การวิเคราะห์ฐานข้อมูลการออกแบบด้วย Matrix (Matrix Analysis).” ใน Design Education 2 : การคิดออกแบบและมิติทางวัฒนธรรม, 63 – 77. พรเทพ เลิศเทวศิริ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. มาริสา ศรีเกียรติศักดิ์. “การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารชีวจิตในเขตกรุงเทพมหานคร.” ปัญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2542. อัญชนี วิชยาภัย บุนนาค. “การแสวงหาข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2540.

77


78


โครงการออกแบบงานสร้างสรรค์ ประติมากรรม ภายในห้องประชาสัมพันธ์ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง โครงสร้างอารมณ์จากธรรมชาติ A Design Project of Creative Sculpture for The Public Relation Room of The Marriott Resort and Spa Hua-hin District in Prachuap Khiri Khan Province: Structure of Mind from Nature วิทยานิพนธ์สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา ปีการศึกษา 2547 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรกต อารมย์ดี บทคัดย่อ โครงการวิทยานิพนธ์สร้างสรรค์ประติมากรรม หัวข้อ “โครงสร้าง อารมณ์จากธรรมชาติ“ เพื่อตกแต่งห้องประชาสัมพันธ์โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยวัตถุประสงค์ใน การเสริมภาพลักษณ์ของการต้อนรับในบรรยากาศแบบตะวันออก โดยการนำ สาระจากการทำว่าว และเครื่องจักสานหัตถกรรมพื้นบ้าน มาเป็นแม่บทในการ สร้างสรรค์ศิลปกรรมประดับเพื่อการแสดงถึงความอบอุ่น ความดีงามในวิถี ชนบทและกระบวนการสร้างสถานที่ บ่งบอกถึงความวิริยะ สุขุม และจิตใจอัน ละเอียดอ่อนของชนเอเชีย ในการสร้างสรรค์ผลงาน ได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ ลักษณะของ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา กับแนวคิดการออกแบบ รูปแบบ ของอาคารสถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนด แนวทางการสร้างสรรค์ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก รูปทรงในธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ และดอกไม้ Abstract A design project of creative sculpture for Public Relations Room in the Marriot Resort and Spa Hua-Hin district in Prachuap khiri khan province which the titled “Structure of Mind from Nature.” This project aims to promote the oriental style to support a greeting atmostphere of the Hotel. The project was inspired by the local handicraft such as kites and wickerworks which are the model of this project to represent the rural way of livelihood in the context of warmness and virture . In addition, a design of location also represents an assiduity, profound and sensitive which are the Asian style. The idea of this project was succeed because of an in-depth analysis of the aforementioned Hotel structure and a design of building and surrounding environment, Moreover, the project was also inspired by the form of nature such as vegetables, fruits and flowers.

79


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การนำเสนอโครงการออกแบบสร้างสรรค์ประติมากรรมประยุกต์ ติดตั้ง ห้องประชาสัมพันธ์โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีที่มาจากแรงบันดาลใจของผลงานสร้างสรรค์ เพื่อแสดงถึงระบบความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีดุลยภาพของการทำงาน ด้วยร่างกาย สมอง จิตใจอารมณ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่คนไทยคิดใช้ มาแต่โบราณ และพยายามสร้างความรู้ เพื่อมาใช้สร้างผลงานประติมากรรม ประยุกต์ โดยใช้เทคนิควิธีการทำว่าวไทยและเทคนิคการทำเครื่องจักสาน ท้องถิ่น ในรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัย เพื่อตอบสนองบริบทของสถานที่ที่อยู่ บนพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับห้องประชาสัมพันธ์ ของโรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับอารมณ์ความรู้สึก ถึงการดูแล และความอบอุ่น ตลอดจนการเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์กับ สถานที่ให้เกิดความโดดเด่น และสวยงาม วัตถุประสงค์ ในการสร้างผลงานประติมากรรมประยุกต์ติดตั้งห้องประชาสัมพันธ์ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ จากธรรมชาติ โดยแยกประเด็นไว้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาเทคนิคการทำว่าวไทย และการขึ้นโครงของเครื่องจักสาน มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมประยุกต์ ที่แสดงออกทาง รูปทรงตามจินตนาการ และทัศนธาตุ เสนอความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ความ รู้สึกกับการแสดงออกถึงความอบอุ่นในวิถีชีวิตจากชนบท ด้วยรูปแบบศิลปกรรม ร่วมสมัยในแบบเฉพาะตน 2. เพื่อออกแบบติดตั้งผลงานประติมากรรมให้สัมพันธ์ และสอดคล้อง กับลักษณะทางกายภาพ และบริบทของห้องประชาสัมพันธ์ในโรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา 3. เพื่อศึกษาความสอดคล้องและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา ตลอดจนแนวคิดซึ่งแสดงให้เห็นถึง คุณค่า และความหมายของสถานที่ติดตั้งประติมากรรม ขอบเขตการศึกษา เพื่อให้การทำวิทยานิพนธ์มีขอบเขตการดำเนินงานที่ชัดเจน ตามความ มุ่งหมายจึงกำหนดขอบเขตการออกแบบสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรม ภายใต้แนวความคิด “ โครงสร้างอารมณ์จากธรรมชาติ ขั้นตอนการศึกษา จากแนวทางวั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละขอบเขตในการสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน ประติมากรรมประยุกต์ กำหนดวิธีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลทางเอกสารในเนื้อหาสาระทางด้านปรัชญา และ ธรรมชาติที่สอดคล้องแรงบันดาลใจของผู้วิจัยจากหนังสือและวารสารต่างๆ 80


2. ศึกษาข้อมูลทางด้านรูปแบบแนวทางการสร้างสรรค์ จากวิธีการทำ ว่าวและเครื่องจักสานไทย เนื้อหาทางด้านรูปทรงธรรมชาติ (Natural Form) จากหนังสือและวารสารต่างๆ ตลอดจนวิเคราะห์ผลงานตนเองที่ผ่านมา โดยการ เปรียบเทียบผลงานวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างสรรค์ รูปแบบแนวทางและ วิธีการนำเสนอ การใช้วัสดุ 3. ค้นหารูปแบบแนวทาง และความเป็นไปได้การสร้างสรรค์รูปทรง ประติมากรรมจากการอาศัยข้อมูลจากข้อ 1 และ 2 โดยการร่างแบบ วาดเส้น อิสระ และทำหุ่นจำลองสามมิติ 4. ศึกษาและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมา และรูปแบบวิธีคิดในการ ออกแบบสถาปัตยกรรมของสถานที่ติดตั้งผลงาน จากเอกสาร หนังสือ วารสาร ต่างๆ และข้อมูลภาคสนาม 5. กำหนดพื้นที่ที่ติดตั้งผลงาน และออกแบบประติมากรรม เพื่อติดตั้ง ผลงานโดยการทำแบบร่าง และทำผังจำลองสามมิติ 6. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาทำแบบร่าง และสร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรมตามเทคนิควิธีการที่กำหนด 7. วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์และสอดคล้องทางกายภาพและบริบท ต่างๆ ของสถานที่ติดตั้งกับผลงานสร้างสรรค์ โดยการศึกษาจากผังจำลองสาม มิติที่มีการอาศัยข้อมูลพื้นฐานประกอบในการอ้างอิง 8. สรุปผลการศึกษา โดยอธิบายประเด็นความสัมพันธ์ความสอดคล้อง และข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อแนวคิดและปัจจัยในการ กำหนดรูปแบบและวิธีการออกแบบติดตั้งผลงานประติมากรรมให้สัมพันธ์ และ สอดคล้องกับพื้นที่ในห้องประชาสัมพันธ์ ทางด้านกายภาพและบริบทจากกรณี ศึกษาโครงการวิทยานิพนธ์นี้ การสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์การ ฝึกฝน และการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวทางการสร้างสรรค์มี พัฒนาการที่ก้าวหน้าและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับผลงานในช่วง เวลาต่อไป ถือได้ว่าในการได้รับประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปริญญา มหาบัณฑิต เป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญเติบโตงอกงามของผลงาน แนวความคิด และเทคนิควิธีการโดยจำแนกแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานตามลำดับ ดังนี้ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ในระหว่างการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้ารวบรวมเทคนิควิธีการ และสร้างแนวความคิด ให้เกิดเป็นรูปทรงศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อการ แสดงออกที่เหมาะสมและมีคุณค่าความงาม โดยได้แสดงขั้นตอนการค้นคว้า ดังต่อไปนี้ ประสบการณ์การทำผลงานที่มีอิทธิพลต่อแรงบันดาลใจ จากการเรียนวิชาออกแบบประยุกตศิลป์ (Applied Art Design) ได้ทำ งานประยุกตศิลป์ที่มีความหลากหลาย และได้ออกไปสู่พื้นที่สาธารณะเพื่อทำ การศึกษา ฝึกปฏิบัติศิลปะกับสิ่งแวดล้อม ในช่วงที่ไปวังตะไคร้ จังหวัดนครนายก 81


ผู้วิจัยได้พบความเป็นธรรมชาติระหว่างน้ำ ก้อนหิน ต้นไม้ สิ่งเล็กพึ่งพาสิ่งใหญ่ ประสานกลมกลืนในธรรมชาติ น้ำในลำธารที่ไหลผ่านก้อนหิน ซึ่งเป็นที่ยึด เกาะของต้นไม้ ได้พัดพาแร่ธาตุมาติดกับก้อนหินเพื่อต้นไม้จะดูดซึมซับแร่ธาตุ ทำให้ต้นไม้มีความอุดมสมบูรณ์ เจริญเติบโต ผู้วิจัยได้สร้างผลงานขึ้นมา 1 ชิ้น คือการจัดวางกิ่งไม้ขวางตัดกันไปมาบนผิวน้ำให้มีลักษณะเหมือนเส้นตรงตัด กับพื้นทีว่างให้ความรู้สึกถึงการปกป้อง สร้างความรู้สึกบริสุทธิ์ ให้กับแหล่งน้ำ จากการได้ทำงานศิลปะชุดนั้น ทำให้ผู้วิจัยมีแนวความคิดในการพัฒนา รูปทรงสามมิติ โดยใช้เทคนิควิธีการ การทำว่าวไทย คือมีการผูกและการมัด ในการสร้างรูปทรง และอาศัยหลักการการขึ้นโครงสร้างของเครื่องจักสานไทย ให้มีรูปแบบโครงสร้างที่แข็งแรง จากแนวทางการปฏิบัติงานศิลปะ ซึ่งอาจจะคิด ได้ว่านั่นเป็นความคิดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการ หาข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยไปศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แหล่งข้อมูล จากการปฏิ บ ั ต ิ ง านจึ ง ได้ ศ ึ ก ษาเทคนิ ค วิ ธ ี ก ารให้ ส อดคล้ อ งกั บ สร้างสรรค์ ผู้วิจัยจึงหาแนวทางการค้นคว้าหาข้อมูลในส่วนของเทคนิควิธีการ มีลักษณะการทำงานเป็น 2 ทางคือ การสัมภาษณ์บุคคลและการวิเคราะห์ โครงสร้างเครื่องจักสานไม้ไผ่ สรุปได้เป็นเนื้อหาโดยสังเขป ดังนี้ 1. ว่าวไทย ผู้วิจัยได้ศึกษาเทคนิควิธีการทำว่าว ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากก๋ง1 และ จากความผูกพัน นั่งดูก๋งทำว่าวตั้งแต่ผู้วิจัยยังเล็ก จึงนำเทคนิคเหล่านี้มา ผสมผสานกับแนวความคิด เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ พื้นฐาน ซึ่งมีคุณประโยชน์คือ • ไม้ไผ่เป็นสื่อกลางในการก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ • ไม้ไผ่หาง่ายและสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษย์มากมายมหาศาล • ไม้ไผ่มีคุณประโยชน์แตกต่างกันตามชนิดสายพันธุ์คนไทยนำไม้ ไผ่มาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่นำมาทำที่อยู่อาศัย ทำเครื่องจักสาน เครื่องเรือน และนำหน่อไม้มาบริโภค ใช้รากเป็นยารักษาโรค ไผ่จึงเป็นไม้ สารพัดประโยชน์ที่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน 2. เครื่องจักสาน เครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งที่ชาวชนบทสร้าง ขึ้น เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวันมีรูปลักษณะที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา ความเรียบง่ายดังกล่าวนับว่าเป็นเอกลักษณ์และถือว่าเป็นความงามด้วย ในการ สร้างสรรค์ประติมากรรมได้ใช้แนวทางการขึ้นโครงสร้างของเครื่องจักสาน รูปทรงของเครื่องจักสานมีความบริสุทธิ์ เนื่องจากชาวชนบทได้คิดสร้างขึ้นโดย ปราศจากความรู้ด้านการออกแบบ กล่าวคือได้พิจารณาของการใช้สอยอันเกิด จากความประสงค์ในการใช้งาน 1 ก๋ง ความหมาย คุณปู่ หรือ คุณตา

82


จากการศึกษาเทคนิคการทำว่าว และการ วิเคราะห์การขึ้นโครงสร้างเครื่องจักสาน ทำให้ผู้วิจัยได้มี แนวทางการสร้างสรรค์ของตนเอง ด้วยการเลือกใช้ไม้ไผ่ ที่หาง่ายในท้องถิ่นของตนเอง และผสมผสานกับแนวความ คิดที่ได้จากธรรมชาติ ได้มีการค้นคว้าดังต่อไปนี้ 3. แนวความคิด ผู้วิจัยซาบซึ้งใจในคุณค่าและความหมายของความ สัมพันธ์ในชีวิตซึ่งเกิดขึ้นจากการดำรงอยู่ ในธรรมชาติ บั ง เกิ ด ให้ เ ป็ น ช่ ว งเวลาที ่ น ่ า ประทั บ ใจในการทำงาน ศิลปนิพนธ์ชุดนี้ ผู้วิจัยพยายามศึกษาและสร้างผลงานให้ เกิดความสง่างาม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความไม่จีรัง ซึ่งสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับปรัชญาทางพุทธศาสนาเรื่อง ความเป็นอนิจจัง“2 ในความลึกลับของธรรมชาตินั้นไม่อาจ พรรณนาได้อย่างกระจ่างแจ้ง แต่สามารถเข้าถึงได้โดย การจินตนาการจากนัยต่างๆ การสร้างสรรค์ผลงานในชุด ”โครงสร้างอารมณ์จากธรรมชาติ“ ได้รับความบันดาลใจ จากรูปทรงของธรรมชาติ ผสมผสานกับการใช้เทคนิควิธี การการทำว่าวไทยและใช้การขึ้นผลงานที่ศึกษาจากการ ขึ้นโครงสร้างเครื่องจักสาน โดยแสดงออกถึงความรู้สึก ความผูกพันกับสิ่งที่ดีงามที่มีพบในชีวิตประจำวัน สร้าง ความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในจิตใจ บวกกับความมุมานะพยายาม สร้างสรรค์ผลงานที่บังเกิดขึ้นจากความเพียร ความอดทน ความตั ้ ง ใจและความกตัญญูต่อการสืบทอดความเป็ น ภูมิปัญญาชาวบ้าน บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ให้ก่อขึ้นในธรรมชาติที่สวยงาม 4. การทำแบบร่าง เมื่อค้นคว้าศึกษาข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยได้ทำแบบร่าง โดยอาศัยรูปทรงจากข้อมูลที่ได้ไปศึกษา นำมาคลี่คลายเป็น รูปทรงหลักในการทำแบบร่าง มีหลายชิ้นต้องการทำให้เกิด ความสมบูรณ์ของหลักองค์ประกอบของรูปทรง เพื่อเป็น ส่วนช่วยในการขยายความหมายของงาน เมื่อได้แบบร่างที่ ลงตัวแล้วผู้วิจัยนำไปขยายเป็นงานจริงต่อไป 5. วิเคราะห์เนื้อหาทางศิลปะ เนื้อหา คือ องค์ประกอบที่เป็นนามธรรม หรือ โครงสร้างทางจิต เนื้อหาแบ่งเป็นเนื้อหาภายในที่ประกอบ ด้วย สุทรียภาพ และเนื้อหาภายนอกคืออารมณ์ความรู้สึก

ที่เป็นไปตามแนวเรื่อง การสร้างงานศิลปนั้น ความคิดหรือ อารมณ์ที่ศิลปินต้องการแสดงออกนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นอันดับแรก แนวความคิดในการทำงานจึงเป็นโครงสร้าง ทางนามธรรม ทัศนธาตุเป็นสื่อทางสุนทรียภาพที่ศิลปินนำ มาประกอบกันเข้าให้เป็นรูปทรง เพื่อสื่อความหมายตาม แนวเรื่องหรือแนวความคิดตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการ วิเคราะเนื้อหาทางศิลปะก็แบ่งอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ 5.1 เนื้อหาทางรูปทรง เนื้อหา คือ องค์ประกอบที่เป็นนามธรรม หรือ โครงสร้างทางจิต3 การสร้างรูปทรงจากทัศนธาตุต่างๆ อย่างมีเอกภาพในผลงานศิลปะนิพนธ์ชุดนี้ ผู้วิจัยมีความ ประทับใจกับเทคนิควิธีการทำว่าวไทยและเครื่องจักสานซึ่ง เป็นเทคนิคแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ได้สนอง อารมณ์ให้เกิดรูปทรงที่แสดงความรู้สึกถึงการปกป้อง คุ้มครองดูแลระหว่างความสัมพันธ์ของรูปทรงประติมากรรม ภายในและภายนอกให้เกิดความอบอุ่น ความเชื่อมโยงถึง ความดีงามซึ่งเกิดจากสติ สมาธิ และปัญญา จากการ สร้างผลงานประติมากรรมด้วยมือสองข้าง ไม้ทุกเส้นผ่าน การเหลา จุดทุกจุดผ่านการมัด ด้วยมือและความมุมานะ อย่างตั้งใจ เปรียบเสมือนให้ความเป็นจิตวิญญาณของ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซ่อนตัวอยู่ในรูปทรงประติมากรรมที ่ แฝงความรู้สึกความดีงาม ความชำนาญที่เกิดจากช่วงเวลา ให้ เ ห็ น ความเป็ น วั ฒ นธรรมพื ้ น บ้ า นมาสร้ า งผลงาน ประติมากรรมประยุกต์ร่วมสมัย 5.2 แนวเรื่อง การสร้างสรรค์ศิลปะที่ ใช้ความบันดาลใจจาก รูปทรงธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงผัก ผลไม้ และดอกไม้มา สร้างสรรค์ทำให้ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาความเป็นธรรมชาติ มากยิ่งขึ้น รูปทรงธรรมชาติมีความงดงาม แฝงไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างภายในและภายนอก สร้างความอุดม สมบูรณ์จากการปกป้องดูแลซึ่งกันและกัน ด้วยแนวเรื่องที่ มีความสลับซับซ้อนทางธรรมชาติแล้วก็ได้เทคนิควิธีการ จากการผสมผสานของเทคนิคภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้ ผลงานออกมามี ค วามแปลกจากประติ ม ากรรมทั ่ วไป โดยใช้เทคนิควิธีการง่ายๆ แสดงออกจากแนวเรื่องง่ายๆ ด้วยการอาศัยรูปทรงที่เรียบง่าย และผสานความหมั่นเพียร

2 ปิติวรรธน์ สมไทย, วิจารณ์เรื่อง งามตามแบบญี่ปุ่น, โดย นันท์ชญา มหาขันธ์, The Beauty of ไม่เป็นไร (27 พฤศจิกายน - 29 ธันวาคม 2548) : 4 – 5.

3 ชลูด นิ่มเสมอ, องค์ประกอบศิลป์, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542), 19.

83


จึงทำให้ผลงานมีเอกลักษณ์ทางพื้นบ้าน แต่มีความน่าสนใจเพราะเมื่อมาสู่ สายตาแล้วก็มีความร่วมสมัยและสามารถสะท้อนเนื้อหาทางรูปทรงได้อย่างดี 5.3 รูปแบบวิธีการสร้างสรรค์ (ทัศนธาตุ) ผู้วิจัยสร้างผลงานประติมากรรมโดยอาศัยเส้นเป็นทัศนธาตุเบื้องต้น ใช้ความเป็นเส้นประสานกันเกิดเป็นรูปทรงที่มีปริมาตร อาศัยการขึ้นรูปทรง ด้วยวิธีการขึ้นรูปทรงด้วยวิธีการของเครื่องจักสาน ให้มีความหลากหลายในการ ใช้เส้น เส้นโค้งน้อยๆ ให้ความรู้สึกสบาย เลื่อนไหล ต่อเนื่อง มีความกลมกลืน ในการเปลี่ยนทิศทาง นุ่มนวล เคลื่อนไหวช้าๆ สลับกับเส้นโค้งแคบๆ ที่เปลี่ยน ทิศทางอย่างรวดเร็ว รวมกับเส้นโค้งกลมที่มีความตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และให้เป็นเส้นโค้งที่มีระเบียบมากที่สุด ผสมผสานกับเส้นตรงที่เติมเต็มกับ พื้นที่ว่างที่เกิดจากการตัดกันของเส้นโค้ง ด้วยการศึกษาวิธีการของการทำลอบ ต่างๆ ที่มีไม้วิ่งเป็นเส้นตรงในการนำมาใช้ก็นำมาติดให้เต็มบริเวณช่องว่าง ก่อเกิดเป็นรูปทรงใหญ่ที่แข็งแรง เส้นตรงเล็กๆ ที่เป็นเส้นตั้งที่นำมาใช้ให้ความ สมดุล มั่นคง แข็งแรง พุ่งขึ้น ทัศนธาตุที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรม หล่อหลอมให้เกิดเป็นนัยยะตรงตามแนวความคิดในการศึกษา ค้นคว้า การทำงานด้วยวิธีการทำว่าวไทย และเครื่องจักสานจนเกิดเป็นผลงาน ประติมากรรมแบบพื้นถิ่นที่มีความร่วมสมัย บทวิเคราะห์ บทสรุปและการสานต่องานวิจัย ผลจากการเริ่มทำวิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยซึ่งมีความสนใจทางด้านวิธีการ การทำว่าวไทย จากผู้เป็นก๋ง ได้รับรู้เกี่ยวกับกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ มามากมาย และได้มาสร้างรูปทรงประติมากรรม ที่เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิธ ี ขึ้นโครงสร้างแบบเครื่องจักสานไทยต่างๆ ทำให้เกิดวิธีการสร้างสรรค์ที่เป็น แบบเฉพาะตัวขึ้น จากนั้นก็เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวเรื่องที่สนใจ คือ ความเป็นสาระจากธรรมชาติ คือ การสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ การปกป้อง คุ้มครองดูแลให้เกิดอารมณ์ความอบอุ่นใจ เกิดเป็นแนวคิดแล้วนำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาผสมผสานกัน เกิดเป็นผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์ ที่สื่อสาร ได้ตามวัตถุประสงค์ และความตั้งใจ ขั้นตอนต่อมาของการปฏิบัติงาน คือการ ศึกษาวิเคราะห์สถานที่เพื่อการประยุกต์ผลงานเข้าไปใช้ติดตั้ง โดยผู้วิจัยได้ เลือกสถานที่ที่เหมาะสมคือ โรงแรมหัวหิน มาริออท รีสอร์ทแอนด์สปา ด้วย การผสมผสานกันระหว่างการออกแบบที่เป็นลักษณะอาคารขนาดใหญ่ผสม กับวัฒนธรรมความเป็นไทย และโรงแรมเน้นให้การดูแลเอาใจใส่ลูกค้า เกิด ความอบอุ่นใจ ฉะนั้นการประยุกต์ผลงานที่มีแนวเรื่องในโครงสร้างของอารมณ์ จากธรรมชาติ จึงช่วยสร้างความสมบูรณ์กับการตกแต่ง สถานที่ ให้มีทั้งความ สวยงาม ความหมาย และความเป็นเอกลักษณ์ของโรงแรม เพื่อผลที่ผู้ใช้บริการ ในสถานที่จะได้รับทั้งการผ่อนคลาย ทางกายและทางใจไปพร้อมๆ กันโดยการ เริ่มออกแบบผลงานสร้างสรรค์ ที่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในของสถานที่ ผู้วิจัยใช้ความแตกต่างให้เกิดความสอดคล้องคือ จากลักษณะสถาปัตยกรรมที่ 84


มีพื้นผนังทึบ และไม่มีช่อง กับตรงกลางโถงเป็นโคมไฟแขวนที่ดูสะดุดตา ผู้วิจัย ได้นำประติมากรรมที่เน้นโครงสร้างเข้าไป ทำให้ผนังและห้องที่มีความทึบ กับ มีความโดดเด่น เกิดความเบา และผ่อนคลาย ไปในทางดีงามได้ ด้วยการ พิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติของรูปทรงที่เกิดขึ้นโดยอารมณ์ ผลงานจึงสามารถ แสดงความรู้สึกอบอุ่นภายในได้ เพื่อการสัมฤทธิ์ผลทางวัตถุประสงค์ การ วิเคราะห์เลือกสรรผลงานติดตั้งจึงทดลอง ปรับเปลี่ยน แก้ไข ผลงานและการ ติดตั้งให้เหมาะสมอย่างที่สุด ในแต่ละจุดที่กำหนดไว้ สามารถดำรงแนวความคิด ที่เน้นความเป็นวัฒนธรรมไทยและความดีงาม หลังจากกระบวนการสร้างสรรค์ดำเนินมาถึงบทสรุป ผู้วิจัยได้ทบทวน และพิจารณาข้อมูลทั้งหมดจึงพบถึงข้อจำกัดด้านรูปแบบของผลงานที่ผู้วิจัย สร้างสรรค์ คือ มีรูปทรง ที่ออกมาเป็น 3 มิติ และใช้กรรมวิธีที่เกิดขึ้นจากการ ประยุกต์เทคนิคการทำว่าวไทยและเครื่องจักสาน ที่คิดแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นข้อกำหนดในการออกแบบ ซึ่งเป็นไปตามความถนัดในเชิงสร้างสรรค์ ผู้วิจัย เล็งเห็นความสำคัญของกรรมวิธีอื่นๆ ทางศิลปะ ในการติดตั้ง นำมาผสมผสาน ให้เหมาะสมกับการออกแบบที่สามารถถ่ายทอดแนวความคิดตามวัตถุประสงค์ ได้ จะเป็นความหลากหลายที่ส่งเสริมให้การประยุกต์ศิลปะกับสถานที่นั้นได้ เข้าถึงบุคคล หรือผู้ใช้สถานที่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งนับเป็นความสมบูรณ์ของการผสาน ศิลปะกับการดำเนินชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดที่เป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยชุดนี้คือ ผู้วิจัยเรียนรู้ เทคนิควิธีการด้วยสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งคือไม้ไผ่ และเป็นเทคนิควิธีการที่ชาวบ้านใน ละแวกหมู่บ้าน ใช้ในการประกอบอาชีพประมง เช่นการมัด การผูก ก็จึงกลับมา ที่หมู่บ้านตนเองและออกแบบ ฝึกให้ชาวบ้านมีงานทำ เพราะปัจจุบัน พลังงาน ลดน้อยลง น้ำมันที่ใช้ในการทำประมงก็มีราคาสูง จึงให้ลูกหลานเข้ามาฝึกทำ ผลิตภัณฑ์กัน แรกๆ ก็เริ่มจากศูนย์ไปฝากขายกับบริษัทแห่งหนึ่ง และก็ออกมา ทำการตลาดด้วยตนเอง ผู้วิจัยคิดว่าสิ่งที่จะทำให้ผลงานมีราคาและสามารถที่จะทำการตลาด ในเมืองไทยและต่างประเทศคือ การเรียนรู้เทคนิคการออกแบบที่มีความเข้าใจ ประวัติศาสตร์ศิลปะและสุนทรียศาสตร์แบบเข้าเส้น และมีพื้นฐานการเรียนรู ้ วัสดุที่ ใช้เป็นหลักในการสร้างสรรค์ และที่สำคัญจำเป็นเป็นที่สุดคือ การฝึก บุคลากรที่จะมารองรับความคิด เพราะการทำงานในความสามารถของตนจำเป็น ที่จะทำได้แค่ที่ทำได้ และต้องคุยกับลูกค้าให้เข้าใจตรงกัน เหมือนการทะเลาะ กันก่อน ก่อนที่งานจะสำเร็จ เพราะอาจจะพูดไม่ออกถ้าผลลงเอยมันผิดคาด จากพื้นฐานการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการทำงานระยะต่อไป โดยเสนอแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานให้เหมาะสมกับสถานที่ ขนาด การ ใช้งาน และรูปแบบของการตกแต่งแม้กระทั่งยุคสมัย ที่สำคัญอีกประการคือ การรู้จักตนเองและเข้าใจในสิ่งที่เราพอจะทำได้ พยายามให้มีพื้นฐานที่มั่นคง พยายามเหยียบพื้นด้วยขาที่มั่นคง แล้วค่อยก้าวต่อไปด้วยความระมัดระวังและ ไม่ประมาท 85


86


โครงการออกแบบศิลปะภาพพิมพ์ เพื่อติดตั้ง ”เดอะ สปา” เรื่อง ”ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” Inner Peace of Mind with Nature, project graphic work installed “The Spa” วิทยานิพนธ์สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา ปีการศึกษา 2546 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สรรพจน์ มาพบสุข บทคัดย่อ โครงการออกแบบศิลปะภาพพิมพ์เพื่อติดตั้ง “เดอะ สปา” เรื่อง “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” พิจารณาหาความสำคัญของการติดตั้งงาน ศิลปะในสถานที่ “เดอะ สปา” แต่ละส่วนที่มีภาพประดับเดิมติดตั้งอยู่ โดย พิจารณาวิเคราะห์ ข้อดี คือ มีสัดส่วนที่พอเหมาะกับพื้นที่ และตำแหน่งที่ติดตั้ง เหมาะสมสำหรับพื้นที่แต่ละส่วน ข้อเสีย คือ รูปแบบของภาพประดับเดิมเป็น การคัดลอกจำลองรูปของศิลปะแบบเขมรมา และขาดความประณีตในผลงาน จึงทำการออกแบบผลงานจากแนวคิดการตกแต่งสถานที่ ผสมกับแนวคิดใน การสร้างสรรค์ ที่สังเกตธรรมชาติ และเรียนรู้หลักธรรม แสดงออกเป็นผลงาน ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ใช้รูปทรงหินส่วนต่างๆ ที่ผุพังตามกาลเวลาของปราสาท หิน มาจัดวาง จินตนาการ สร้างสรรค์ เป็นผลงานที่แสดงความรู้สึกสงบ ภายในใจ มีรูปแบบกลมกลืนกับสถานที่ ด้วยการออกแบบติดตั้งผลงานกับ พื้นที่ส่วนต่างๆ ใน “เดอะ สปา” โดยเลือกการติดตั้งในตำแหน่งเดิมที่มีภาพ ประดับอยู่ก่อน แล้วทดลองออกแบบสัดส่วนของภาพผลงานที่จะมีความ เหมาะสมกับผนังนั้นๆ กำหนดเลือกแล้วจำลองภาพผลงานที่เหมาะสมแบบ ต่างๆ พิจารณา วิเคราะห์ หาผลงานที่ติดตั้งแล้วมีความเหมาะสม กลมกลืน ส่งเสริมให้สถานที่มีความสมบูรณ์ทั้งความสวยงาม และคุณค่าในความหมายที่ ผลงานศิลปะแสดงออก สร้างความรู้สึกให้ผู้ใช้บริการผ่อนคลายร่างกาย ผ่อนคลายจิตใจ ผ่อนคลายชีวิตและดำเนินต่อไปอย่างเป็นสุข Abstract This thesis, “Inner Peace of Mind with Nature”, project graphic work installed “The Spa”, considered the importance of installation of artwork in “The Spa” that were existing installation by consideration analysis. Advantage point is “there is proportion complied with areas and installation position is properly for each area”. Disadvantage point is “the type of existing pictures were copied a model art of Cambodia and lack elaboration of art work. So, the created design of artwork will be made from the concept of place decoration blending with the concept

87


of creation, to observe nature and learn the teaching of the Buddha and exhibit as a printing picture of silk screen. Using parts of stone form castle arranged with imagination and creation to express the impression of peace in mind and have a model that harmonious in place by design, installation of artwork in any part of area in “The Spa”. By selected installation with the position of existing picture experiment with design of proportion picture complied with the wall, selected and copied a model of artwork picture, considering and analyzing to find properly artwork for installation, harmonious and support the place to have perfect beauty and value in meaning of artwork. It generate the feeling of relaxation in body, in mind, in life and happiness to customers. ความเป็นมา การดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบัน สภาพแวดล้อม และการทำงาน ทำให้ร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า ซึ่งแต่ละ คนก็มีวิธีคลายเครียดต่างกันไป ตั้งแต่นอนหลับ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา และยังมีการพักผ่อนอีกแบบหนึ่งเป็นที่ นิยม คือการสัมผัสบำบัด กับการบำบัดด้วยกลิ่นที่สามารถ ทำเองที่บ้าน หรือไปสถานที่ให้บริการอย่างครบวงจร ที ่ เรียกว่า สปา สิ่งเหล่านี้ก็เพื่อสร้างสมดุลให้แก่ร่างกายและ จิตใจ สปาในแต่ละที่ มีการให้บริการคล้ายๆ กัน จะ แตกต่างที่รายละเอียดบ้าง แต่ส่วนที่สำคัญของสปา คือ ต้องเป็นสถานที่มีความสงบ ความสวยงาม เป็นส่วนเริ่ม สร้างความผ่อนคลายทางสายตา และจิตใจกับผู้มาใช้ สถานที่ ในสปาแต่ละที่มีการตกแต่งที่สวยงามตามแนวคิด เพื่อสร้างเอกลักษณ์ จุดสนใจ ที่มีเฉพาะในสถานที่นั้น รายละเอียดในการตกแต่งล้วนสร้างให้เกิดความสมบูรณ์ ของความงามทางสายตาต่อผู้ใช้บริการ การติดตั้งผลงาน ศิลปะเข้าไปในการตกแต่งอย่างเหมาะสม นับเป็น รายละเอียดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสถานที่ ยิ่งเป็นการ สร้างสรรค์ผลงานอย่างสอดคล้อง คำนึงถึงสถานที่กับ ตำแหน่งที่ติดตั้ง คุณค่าในผลงานจะแสดงทั้งแนวคิด ความหมาย รูปแบบ สร้างความสมบูรณ์ต่อสถานที่ ให้มี ความสวยงาม และการสื่อความหมายจากผลงานศิลปะ 88

เป็นการส่งเสริมซึ่งกันและกันที่ส่งผลต่อผู้มาใช้สถานที่ ดัง “ทฤษฎีแพทย์ตะวันออก เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และ ไทยเชื่อว่าการทำงานของใจและกายนั้นมีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกเมื่อมีอะไรกระทบใจร่างกายก็ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง และในทางตรงข้ามกันเมื่อเกิด อะไรขึ้นกับร่างกาย จิตใจก็จะได้รับผลอันนั้นด้วย” เมื่อ ร่างกายมีความสุขสบาย ใจย่อมมีความสุขสบายด้วย หรือ เมือ่ ใจมีความปิตสิ ขุ ร่างกายก็ได้รบั ผลเช่นเดียวกัน เป็นการ เกื้อหนุนที่เกิดขึ้นได้โดยการศึกษา เลือกสรร จินตนาการ และออกแบบหาความลงตัว ระหว่างผลงานกับสถานที่ การประยุกต์ผลงานภาพพิมพ์ เพื่อติดตั้งภายใน “เดอะ สปา” โรงแรม ฮิลตัน หัวหินรีสอร์ท แอนด์ สปา ก็หวังผลเช่นเดียวกัน สร้างความเกื้อหนุนระหว่างผลงาน กับสถานที่ คือ สถานที่ “เดอะ สปา” เป็นสถานที่ที่มุ่งให้ เกิดความสบายผ่อนคลายแก่ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของ มนุษย์ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ด้วยวิธีการ ธรรมชาติบำบัด เมื่อผู้มาใช้บริการเกิดความสบายแก่ ร่างกาย จิตใจมีความสงบเบิกบาน การสื่อสารความหมาย ในผลงานต่อผู้ใช้สถานที่ ที่ชมผลงาน ย่อมเป็นการง่าย ต่อการทำความเข้าใจ เมื่อตั้งใจพิจารณาความหมายใน ผลงานที่มีแนวคิดที่สื่อเรื่องความสุขสงบในใจที่ ได้จาก หลักธรรมชี้ ให้เห็น แนวทางสร้างความสุขแท้ของจิตใจ เป็นการสร้างความผ่อนคลายที่ตรงต่อจิตใจ นับเป็น ความสมบูรณ์ของการบำบัดทั้งกายและใจ ที่เกิดจากการ ประยุกต์ผลงานกับสถานที่ ให้มีเอกภาพทั้งความงามและ ความหมาย วัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ เรื่อง “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” ติดตั้งภายใน “เดอะ สปา” โดยมีสาระสำคัญเรื่องความสุขสงบภายในที่ ได้รับจาก การพิจารณาธรรมชาติให้เข้าใจถึงหลักธรรม การแทนค่า อารมณ์ ความรู้สึกถ่ายทอดออกมาผ่านรูปทรงหินที่อยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความสอดคล้อง กับการออกแบบตกแต่งของสถานที่ ที่ต้องการบรรยากาศ สงบ สบาย อีกทั้งผลงานยังส่งเสริมสถานที่ ในเรื่อง ภาพลักษณ์ เมือ่ ผูช้ มงานพิจารณาเข้าใจถึงแนวคิดของงาน ที่ติดตั้งอยู่ในสถานที่ แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในทุก รายละเอียดของสถานที่ และบริการ ที่มุ่งเสริมสร้างความ ผ่อนคลายสบายทั้งต่อร่างกายและจิตใจ


วรรณกรรม กรอบแนวความคิด ทฤษฏีที่เกียวข้อง 1. แนวคิดการออกแบบและบรรยากาศของ “เดอะ สปา” แนวคิดของ “เดอะ สปา” มาจากปราสาทเขมรโบราณ เป็นภาพที่ม ี ลักษณะว่าก้าวเข้าไปแล้วจะพบพื้นไม้ ผนังหินทรายศิลปะเขมร โทนสีอบอุ่น สว่าง มีสีขาว สีน้ำตาลแดง เพราะการแสดงอดีตเหมือนเป็นการหยุดเวลา ชั่วขณะนั้น เข้ากับความเป็นสปา คือ สงบนิ่ง และความงดงามในศิลปะตกแต่ง สร้างความผ่อนคลายเป็นการใช้รูปธรรมและนามธรรมแสดงออกมาผ่านการ ตกแต่ง จุดเด่นด้านสถานที่ของ “เดอะ สปา” คือ เพดานที่สูงในส่วนต้อนรับ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามารู้สึกโล่ง สบาย ผ่อนคลาย ไม่อึดอัด และการที่อยู่ชั้นบนต้อง เดินขึ้นบันไดมาก็จะได้ความรู้สึกตั้งแต่เชิงบันไดแล้วจะก้าวขึ้นสู่ความนิ่งสงบ ผิดกับข้างล่างที่วุ่นวาย หลักของสปาที่ดีคือ สัมผัสทั้งห้าต้องครบ อยู่ที่องค์ประกอบแวดล้อม โดยรวม คือ สถานที่โปร่งสบาย มีแสงสว่างพอประมาณ ทุกห้องออกแบบให้ มีลักษณะนั้นด้วยการใช้หน้าต่างกระจกแล้วมีม่านบังตา มีเสียงเพลงคลอเบาๆ เพลงที่เปิดขึ้นมาใหม่เป็นพิเศษ เป็นเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีโบราณ ผสานกับเสียงธรรมชาติ ฟังแล้วทั้งเพราะและผ่อนคลาย มีการจุดน้ำมันหอมไว้ ตลอดเวลาเป็นกลิ่นอ่อนๆ ของสมุนไพรที่ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายทั่วทั้งบริเวณ 2. แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ แนวคิดจากธรรมชาติ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเป็นที่มาของแรงบันดาลใจ เป็นแหล่ง ข้อมูลและเป็นสื่อแสดงความคิดที่สำคัญ สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานของ ศิลปินตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน สำหรับข้าพเจ้าธรรมชาติมีความยิ่งใหญ่ อัศจรรย์และความจริงแท้อยู่ในตัวเอง ถึงแม้จะเพียงต้นไม้เล็กๆ แมลงตัวน้อย หรือสิ่งที่ตามองไม่เห็น เช่น สายลม แสงแดด อากาศร้อน หนาว ธรรมชาติที่ สมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยมากมาย แต่ก็อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ คือ “สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสื่อต่อแก่กันเป็นกระแส” (ปฏิจจสมุปบาท) และลักษณะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ไตรลักษณ์) ถ้าเราตั้งใจพิจารณาเราจะเห็น ความสวยงามที่แฝงด้วยหลักธรรมอยู่ ในทุกส่วนของธรรมชาติ สำหรับข้าพเจ้าความประทับใจในธรรมชาตินั้นมีอยู่ มากมายทุกอย่างล้วนมีเรื่องราว ความงามในตัวเองแต่ธรรมชาติส่วนย่อยส่วน หนึ่งที่สร้างความประทับใจเป็นพิเศษ คือเหล่าก้อนหินทั้งเล็กและใหญ่ ด้วย ลักษณะในตัวของมันเองแล้วมีความงามในรูปทรง พื้นผิวมีความเฉพาะตัว และ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน เช่น บนดิน บนพื้นทราย บนพื้นหญ้า ในป่า ในน้ำ เป็นภูเขาหิน เป็นสิ่งก่อสร้าง เหล่าหินก็ดำรงอยู่ร่วมกันกลมกลืน เปรียบ เสมือนสัจจะธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากสภาวะ ธรรมชาติเหล่านั้น จากข้อพิจารณานี้ทำให้เกิดแนวคิดในการนำรูปปรากฏจากธรรมชาติ ย่อยๆ (รูปทรงของหิน) ส่วนนี้กับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสัมพันธ์ 89


กันในการให้ค่าความหมายตามเจตนา เป็นสิ่งแสดงความ รู้สึกภายในของข้าพเจ้าปรากฎเป็นงานศิลปะที่แฝงไว้ด้วย หลักธรรม จินตนาการและความคิด ความรู้สึก แนวคิดจากงานจิตรกรรมจีน จีน เป็นต้นตำรับของจิตรกรรม สีน้ำ สีหมึก ที่มีชื่อเสียงมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะภาพเขียนเกี่ยวกับ ธรรมชาติ “คุณสมบัติพิเศษที่ช่างและศิลปินจีนแสดงให้ โลกเห็น ดังเช่น แสดงอารมณ์และความรู้สึกจากมองภาย ในใจ ความงามอันซ่อนเร้น ความเฉลียวฉลาดอย่างถ่อมตน จนดูคล้ายกับเป็นความรับรู้ที่เร้นลับเพราะความละเอียด อ่อนอย่างประณีต ล้วนแสดงออกอย่างชัดเจนในผลงาน ศิลปกรรมของชาวจีน” ซึ่งเป็นผลงานที่มีลักษณะเด่นไม่ เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ข้าพเจ้ามีความประทับใจในคุณค่าของจิตรกรรม จีน นี้ตั้งแต่สมัยศึกษาระดับมัธยมจากหนังสือศิลปะจีน จนเมื่อได้ศึกษาศิลปะตะวันออก (History of Eastern Art) จึงเริ่มมีความเข้าใจในหลักปรัชญาที่ศิลปิน ปราชญจีน สร้างผลงานและมาศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือจึงทราบว่า คำสอนจากลัทธิต่างๆ เช่น ขงจื้อ เต๋า และพุทธศาสนา มีความสำคัญต่องานศิลปกรรมจีนอย่างมาก ด้วยหลักคำ สอนในแต่ละลัทธิหรือศาสนาที่มุ่งการใช้ชีวิตที่มีคุณธรรม เข้าใจวิธีทางธรรมชาติ ศิลปกรรมจึงแสดงคุณค่าแห่ง ธรรมชาติออกมาได้อย่างลึกซึ้ง ลักษณะเรื่องราวในภาพที่ศิลปินปราช์ญจีนนิยม เขียนคือ ภาพธรรมชาติตั้งแต่ภาพทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่ ภาพเหตุการณ์ ภาพคน ภาพสัตว์ และภาพต้นไม้ ดอกไม้ หรือภาพหุ่นนิ่ง ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน รูปแบบ ผลงานมีความหลากหลายมากมายเพราะมีการพัฒนา ต่อเนื่องมาโดยตลอดสร้างความเฉพาะตัวในแต่ละยุค สมัย ข้าพเจ้าเองมีความสนใจเป็นพิเศษ ที่ภาพต้นไม้ ดอกไม้ ภาพสัตว์ และภาพหุ่นนิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่พบเห็น ได้ในชีวิตประจำวัน เป็นความประทับใจและเกิดเป็นความ นับถือต่อศิลปินในการนำเสนอแง่มุมต่างๆ ที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดาๆ ให้ปรากฏเป็นศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ โดดเด่น อันเป็นผลจากความลุ่มลึกละเอียดอ่อนของผู ้ สร้าง สามารถแสดงสัจจะธรรมของสรรพสิ่ง โดยการ จัดสรรองค์ประกอบ รูปทรง สี พื้นที่ว่างที่สัมพันธ์งดงาม เป็นความอัศจรรย์ที่เป็นต้นแบบสำหรับข้าพเจ้าในการ ซึมซับ เรียนรู้ เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานให้มี 90

คุณภาพและคุณค่าต่อไป แนวคิดจากหลักธรรม การศึกษาหลักธรรมของข้าพเจ้าเริ่มจากการอ่าน ต่อมาได้สังเกตว่าในการตั้งชื่อผลงานของศิลปินไทยร่วม สมัยส่วนหนึ่งนิยมนำคำศัพท์ทางพุทธศาสนามาตั้งชื่อ ผลงานอาทิเช่น สังสารวัฎ, ไตรลักษณ์, วัฏสงสาร, นิพพาน และอื่นๆ ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเกิดความอยากรู้ความหมายของ คำเหล่านี้ จึงเริ่มค้นคว้าหาคำตอบและกระตุ้นให้สนใจที่จะ ศึกษาค้นคว้ายิ่งขึ้นไปอีก จึงเริ่มย้อนมาศึกษาและสนใจใน อริยสัจสี่ ที่มักจะอยู่ในบทเริ่มต้นหรือบทแรกๆ ในหนังสือ ธรรมะขั้นพื้นฐาน อริยสัจสี่ พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวถึงธรรมชาติ ของทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการซึ่ง มนุ ษ ย์ จ ะบรรลุ ถ ึ ง ความดั บ สนิ ท แห่ ง ทุ ก ข์ ไ ด้ โ ดยความ พยายามของตนเอง “ผู้ที่แจ่มแจ้งในอริยสัจ ย่อมสามารถ กำจัดศัตรูภายนอกนั้น อย่างน้อยที่สุดก็เบาบางลงเพราะ บุคคลเช่นนั้นย่อมไม่ก่อศัตรูกับใคร ไม่มีเวรมีภัยกับใครจะ มีแต่ผู้อื่นตั้งตนเป็นศัตรูกับท่านเองแต่ท่านหาเป็นศัตรูด้วย ไม่ ความรู้สึกว่าไม่มีศัตรู เป็นความปลอดโปร่ง แจ่มใส เป็นความสุขที่เห็นได้ในปัจจุบัน” ความเข้าใจเบื้องต้นนี้ส่ง ผลให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจตนเองมากและเริ่มเข้าใจถึง เหตุและผลของสภาวะรอบๆ ตัวด้วย ไตรลักษณ์ เมื่อศึกษาอริยสัจสี่แล้ว หลักธรรม พื้นฐานที่สำคัญอีกหลักหนึ่ง คือ ไตรลักษณ์ เพราะ “ไตรลักษณ์เป็นทัศนคติซึ่งนำจิตก้าวไปสู่ระดับที่หยั่งถึง โดยยากเมื่อบุคคลเริ่มดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เขา เริ่มด้วยทัศนคติทั้งสามนี้ และในความบรรลุผลสุดท้าย ปลายทาง พระไตรลักษณ์ ก็จะชำระจิตของเขาให้หมดจด จากตัณหาทั้งหลาย” ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ3 ประการ บางที่เรียก สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะสามัญ หรือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ มีปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ย่อมตกอยู่ ภายใต้กฎหรือเงื่อนไข 3 ประการ อนิจจา - ความไม่เที่ยง ไม่ยืนถาวร, ทุกขตา - ความทนได้ยาก, อนัตตา - ความ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ทั้ง 3 ประการนี้เป็นสภาวะธรรม เป็นกฎ ธรรมชาติในธรรมนิยามสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงอย่าง ตรงไปตรงมาว่า “กฎธรรมชาติอันนี้เป็นธรรมชาติคือ กำหนดแห่งธรรมดา ซึ่งเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะ แสดงอุบัติขึ้นหรือไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธรรมนิยามนั้นคือ


สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ตรัสรู้ เมื่อทรงรู้ แล้วก็ทรงบอกแสดงบัญญัติ เปิดเผย จำแนกและทำให้ง่ายขึ้น” การสร้างความเข้าใจที่จริงแท้ของธรรมชาติรอบตัว และธรรมชาติตัวเอง การเรียนรู้จักทันจิตใจของตน พัฒนาจิตใจของตน รวม โลกและธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผสานกลมกลืนกันเป็นชีวิตประจำวัน ความสุขสงบต้องบังเกิดขึ้นด้วยตามเหตุและปัจจัย แนวคิดจากหลักธรรมที่ทำให้ภายในจิตใจรู้สึกถึงความสุขสงบถึงแม้ ยังไม่บรรลุถึงหลักธรรมอันสูงสุด แต่เป็นการเริ่มต้นเรียนรู้และปฏิบัติใน แนวทางที่ดีต่อตนเองจึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สื่อถึง ความจริงแท้ ในหลักธรรมที่นำความสุขสงบมาสู่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ โดยใช้สื่อ จากสภาพแวดล้อมเป็นตัวบอกกล่าวถึงสัจจะธรรม ที่ทุกอย่างต้องเป็นไปตาม กฎธรรมชาติดำรงค์อยู่ภายใต้กฎนั้น ฉะนั้นความเข้าใจในกฎธรรมชาติจึงทำให้ การดำเนินชีวิตในสภาวะใดก็อาจพบความสุขสงบได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ อย่างแท้จริงของบุคคลนั้นๆ แนวคิดจากผลงานภาพพิมพ์ของ วัชรี วงศ์วัฒนอนันต์ ข้าพเจ้าสนใจติดตามงานศิลปะของศิลปินไทยทั้งจากหนังสือสูจิบัตร หรืองานประกวดศิลปกรรม ถ้าเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงสร้างงานมาเป็นระยะเวลา นาน ข้าพเจ้าต้องค้นหาหนังสือต่าง ๆ เพื่อศึกษาผลงานในอดีตของศิลปินท่าน นั้นๆ ทุกครั้งที่ค้นหนังสือสูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติย้อนไปหลายๆ ปี ข้าพเจ้ามักจะพบกับงานศิลปะที่ศิลปินได้รับรางวัลในช่วงนั้น แต่ในระยะหลัง ไม่มีผลงานออกมาสู่สาธารณชน ผลงานที่พบของศิลปินท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้า ประทับใจ คือ งานของ วัชรี วงศ์วัฒนอนันต์ เป็นผลงานภาพพิมพ์โลหะ ชุด ”ความสงบ” ซึ่งได้รับรางวัลในงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 24 ผลงานของ ศิลปินชวนให้รู้สึกถึงความเงียบสงบ ลึกลับ มีกลิ่นไอความเป็นไทยและที่สำคัญ คือเป็นการนำเสนอพุทธปรัชญาผ่านรูปแบบผลงาน จากนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่ม ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน จากเอกสารศิลปนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของวัชรี ที่บันทึกกระบวนการทางความ คิดและการสร้างสรรค์อย่างละเอียดให้ข้าพเจ้าศึกษา วัชรี มีแนวคิดในการสร้างงานจากประสบการณ์ที่ผูกพันกับศาสนา ตั้งแต่วัยเด็กจนโต ปลูกฝังให้ยึดถือในหลักธรรมะเพื่อให้สภาวะจิตใจเป็นสุข และด้วยสภาวะจิตใจนี้เองเป็นสิ่งบันดาลในให้วัชรีมีศรัทธาที่จะสร้างสรรค์งาน ในแนวพุทธปรัชญา โดยเน้นเรื่องภาวะจิตแห่งความสงบและสื่อที่แสดงออกซึ่ง ความคิด วัชรีใช้ธรรมชาติที่ประกอบด้วยดอกบัว ต้นบัวและชีวิตของพืชน้ำ กับ บรรยากาศของสระบัวกับทิวทัศน์ของทุ่งนา ด้วยดอกบัวเองก็เป็นสัญลักษณ์ท ี่ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา บรรยากาศที่มีสภาพแวดล้อมธรรมชาติก็แสดงถึง วัฏจักรชีวิตตามหลักสัจจะธรรมและสื่อความสงบตามที่วัชรีต้องการ จากการศึกษางานของวัชรีสิ่งที่มีอิทธิพลตรงต่อข้าพเจ้าคือ วิธีคิดใน การสื่อความสงบจากจิตใจที่เป็น นามธรรมให้ปรากฎโดยใช้ธรรมชาติเป็น เครื่องแสดง อีกทั้งการเชื่อมโยงความคิดต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกันและอธิบาย 91


ได้อย่างกระจ่างให้เข้าใจถึงกระบวนการทางความคิดและ พัฒนาการทางรูปแบบเทคนิควิธี ข้อเขียนของวัชรีจึงมีส่วน ช่วยให้ข้าพเจ้าพอจะเรียบเรียงความคิด และสร้างวิธ ี อธิบายสิ่งที่รู้สึกอันเป็นนามธรรมที่ยากต่อการถ่ายทอดให้ เป็นคำพูดหรือตัวอักษรได้ ระเบียบวิธีวิจัย / ผลการวิจัย 1. วิธีการออกแบบผลงานภาพพิมพ์ เรื่อง “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” ให้มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับ “เดอะ สปา” “เดอะ สปา” เป็นสถานที่ให้บริการเพื่อการ ผ่อนคลายของประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ด้วยสถานที่ ที่สวยงาม บริการด้วยอาหารเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ น้ำมันหอมระเหย บรรยากาศเงียบสงบ และ การนวดด้วยวิธตี า่ ง ๆ องค์ประกอบสิง่ หนึง่ คือความสวยงาม ของการตกแต่งภายในของ “เดอะ สปา” โดยที่ผู้ออกแบบ มีแนวคิดในการตกแต่งสถานที่ ให้มีความอลังการและ งดงามของมิติปราสาทเขมรประสานกับลักษณะของมิติ ร่วมสมัย ดังนั้นศิลปะเขมรจึงเป็นต้นแบบสำหรับการ ออกแบบของทุกส่วนใน “เดอะ สปา” นับตั้งแต่ภาพประดับ ฝาผนังของ “เดอะ สปา” เป็นภาพจำลองนูนต่ำเลียนแบ บศิลปะเขมร ตกแต่งอยู่ทั่วบริเวณ คุณค่าในภาพประดับ จึงเป็นเพียงการเลียนแบบที่สร้างบรรยากาศแบบปราสาท เขมรให้กับสถานที่ ในการออกแบบผลงานภาพพิมพ์เรือ่ ง “ธรรมชาติ สื่อความสุขสงบในใจ” เพื่อติดตั้งใน “เดอะ สปา” โรงแรม ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา ข้าพเจ้าจึงต้องการ ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานที่ยังคงความรู้สึกถึงกลิ่นอาย แบบศิลปะเขมร และสามารถสื่อแนวคิดจินตนาการของ ข้าพเจ้าให้สัมพันธ์เป็นเอกภาพ เพื่อให้มีความสอดคล้อง และส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างผลงานกับสถานที่ ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. แนวความคิดในการสร้างสรรค์ ต้องการสื่อความรู้สึกนิ่งสงบภายในใจที่ ได้รับ จากการเรียนรู้หลักธรรมผ่านการพิจารณาธรรมชาติต่าง ๆ รอบตัว โดยแสดงออกผ่านรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจาก สภาพบรรยากาศ ”เดอะ สปา” ที่มีกลิ่นอายของศิลปะและ สถาปัตยกรรมเขมร 92

2. การกำหนดเนื้อหาทางรูปทรง ใช้รูปทรงเหมือนจริงที่เลียนแบบชิ้น ส่วนต่างๆ ของปราสาทหิน เป็นรูปทรงหลักและรูปทรงรอง ในลักษณะ รูปทรงรองจัดวางบนรูปทรงใหญ่ และมีส่วนที่คล้ายเงา สะท้อนของรูปทรงทั้งสอง แสดงความเชื่อมโยงซึ่งกันและ กันที่แสดงความนิ่งสงบของการจัดวาง พื้นผิวของรูปทรง แสดงความเป็นวัสดุจากธรรมชาติคือ หิน แต่เป็นหินที่ผ่าน การประดิษฐ์ของมนุษย์แล้ว สีและบรรยากาศแสดงช่วง เวลาของความรู้สึกที่ผสมผสานกันในแต่ละช่วง เพื่อให้เกิด เป็นเอกภาพในผลงานและกลมกลืนกับบรรยากาศของ สถานที่ด้วย 3. การกำหนดเนื้อหาทางเรื่องราว เนื้อหาทางเรื่องราว คือ “องค์ประกอบที่เป็น นามธรรมหรือโครงสร้างทางจิต” ต้องการแสดงความสุข สงบภายในใจของตนที่ผ่านการรับรู้ เรียนรู้ เข้าใจ กฎ ความจริงแท้ของธรรมชาติที่แฝงอยู่ทั่วไปในทุกอณูของ สรรพสิ่ง มองพิจารณาในหลายด้านหลายแง่มุมแล้วนำมา มองย้อนสู่ตนเอง จิตใจตนเอง จนเกิดเป็นความสุขในการ ดำเนินชีวิต 4. กระบวนการสร้างสรรค์ 4.1 ขั้นตอนการประมวลความคิด เนื้อหา แสดงออกถึงสภาวะจิตสุขสงบภายในที ่ เกิดจากการเรียนรู้ปฏิบัติตามหลักธรรม โดยมีธรรมชาติ เป็นสิ่งช่วยสอนแสดงกฎธรรมชาติของชีวิต รูปทรง จากเนื้อหาเมื่อได้สัมผัสกับความรู้สึกทาง จิตแล้วข้าพเจ้าคิดถึงรูปแบบในการสร้างสรรค์ ข้าพเจ้าจึง มองย้อนถึงที่มาส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องดังธรรมชาติที่ม ี ความเป็นรูปธรรมชัดเจน อีกทั้งจากอิทธิพลแนวคิดของ งานจิตรกรรมจีน ที่อาศัยธรรมชาติเป็นสื่อในการเข้าถึง ความสงบและใช้รูปทรงจากธรรมชาติที่มีความสวยงามนี้ สร้างผลงานเพื่อแสดงออกความรู้สึกสงบด้วย ข้าพเจ้าจึง ใช้หินแทนค่าความรู้สึกภายใน สร้างรูปทรงเลียนแบบ ธรรมชาติที่นิ่งสงบหนักแน่นบนพื้นที่ว่าง 4.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์องค์ประกอบ การประสานกันของทัศนธาตุเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในผลงานของข้าพเจ้ามีองค์ประกอบของทัศนธาตุต่อไปนี้ 4.2.1 รูปทรง (From) รูปทรงที่ ใช้เป็น รูปทรงของหิน ในลักษณะเหมือนจริงจากธรรมชาติ


แบ่งออกเป็น รูปทรงใหญ่ที่เป็นหลัก กับรูปทรงเล็กที่เสริมความ สมบูรณ์ของเนื้อหา - รูปทรงหลัก (หินก้อนใหญ่) จะมีลักษณะเด่น สง่า หนักแน่น นิ่งสงบ มั่นคง เมื่อเป็นจุดเด่นของภาพ จะจัดวางอยู่ระยะหน้ามีขนาด ใหญ่ ชัดเจน และน้ำหนักแสดงให้เห็นพื้นผิวรายละเอียดความเป็นหิน ในการเลือกหินแต่ละก้อนมาเป็นแบบ พิจารณาทั้งรูปทรงที่ต้องการ พื้นผิวที่น่าสนใจหรือเหมาะในการดัดแปลงตามจินตนาการ - รูปทรงหินก้อนเล็ก ขนาดก้อนกรวดเล็กๆ จนถึงขนาดกำมือ นำมาจัดวางในลักษณะอยู่ใกล้ๆ พิงกันหรือวางบนหินก้อนใหญ่ และใน ลักษณะตามธรรมชาติบ้างตามจินตนาการบ้าง เป็นส่วนช่วยเน้นความ เด่น ความหนักแน่นให้กับหินก้อนใหญ่ และยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ในภาพด้วย 4.2.2 พื้นที่ว่าง (Space) มีการใช้พื้นที่ว่างเพื่อช่วยเน้นรูปทรง และแทนความหมายเป็นสัญลักษณ์ มีอยู่ 2 ส่วนคือ พื้นที่ว่างรอบๆ รูปทรงและพื้นที่ว่างภายในโครงสร้างรูปทรง - พื้นที่ว่างรอบๆ รูปทรง มีลักษณะคล้ายพื้นที่สงบนิ่ง สะท้อน รูปทรง หรือบางครั้งเหมือนพื้นที่ว่างๆ ปราศจากการแทนค่า แต่ทำให้ รู้สึกถึงความเงียบสงบ - พื้นที่ว่างระหว่างรูปทรงเล็กกับใหญ่ เป็นอากาศเคลื่อนที่ ไปมาระหว่างรูปทรง แสดงมิติของระยะในภาพและให้รู้สึกถึงความ หนัก-นิ่งของรูปทรง เพื่อสื่อถึงความสงบ 4.2.3 สี (Color) ข้าพเจ้าใช้สีเอกรงค์ เพื่อสร้างน้ำหนักแสงเงา และความกลมกลืนในภาพ การกำหนดโครงสีจะพิจารณาจากความ สัมพันธ์กับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในแต่ละชิ้นผลงาน 4.2.4 แสงเงา (Light and Shadow) ข้าพเจ้าเป็นผู้กำหนด ทิศทางของแสงในผลงานให้ฉายจากด้านใดด้านหนึ่ง จะเป็นซ้ายหรือ ขวาก็ได้ แสงนั้นมีทั้งแบบเป็นจริงตามธรรมชาติและที่กำหนดขึ้นเอง เพื่อเน้นให้มีค่าน้ำหนักที่แตกต่างซึ่งตกกระทบบนผิวน้ำ การให้ความ สำคัญกับแสง-เงา ในลักษณะตกทอดจากหินหรือเงาสะท้อนเป็นสื่อ แทนความหมายความคิดที่กล่าวแล้วข้างต้น 4.2.5 พื้นผิว (Texture) พื้นผิวที่ ใช้เป็นลักษณะเลียนแบบ ธรรมชาติของพื้นผิวหินที่มีความหลากหลาย แยกเป็นพื้นผิวหินก้อน หลักที่ขรุขระ-หยาบมีรอยบิ่นรอยแตก ที่เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ บางครั้งมีการผสมผสานกับพื้นผิวที่เรียบเนียน เพื่อสร้างความขัดแย้ง ในรูปทรงมีเจตนาเพื่อสื่อถึง ”ความต่าง” ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ 4.3 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ภาพ 4.3.1 การสร้างภาพร่าง เมื่อประมวลความคิดและรูปแบบ อย่างคร่าวๆ แล้ว จึงศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้วเลือกสรรมาประกอบกัน 93


94

ผสมผสานกับจินตนาการสร้างภาพร่างออกมา โดยมีขึ้นตอนดังต่อไปนี้ - รวบรวมสัญลักษณ์ ข้อมูลพื้นฐาน คือ ภาพถ่ายก้อนหินต่างๆ เลือกภาพที่มีรูปทรงตรง ตามความต้องการ สแกนภาพลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้โปรแกรมโฟโต้ชอปในการตัดต่อสร้าง ภาพร่าง - ทำการตั ด เฉพาะภาพก้ อ นหิ น ออก มา ทดลองนำมาจัดวางในพื้นที่หลายๆ แบบ เพื่อ หาความลงตัวระหว่างรูปทรงและพื้นที่ว่าง - เมื ่ อได้ อ งค์ ป ระกอบของรู ป ทรงที ่ ต้องการแล้ว ก็ทำการปรับเปลี่ยน เลือกสีของภาพ หลายๆ สี เพื่อหาความเหมาะสมและเป็นตัวเลือก เปรียบเทียบกัน - เมื่อกำหนดโครงสีรวมของภาพได้แล้ว ก็ปรับเปลี่ยนเลือกน้ำหนักของภาพ เพื่อหาความ เหมาะสมและเป็นตัวเลือกเปรียบเทียบกัน เพื่อ หาชั้นที่สมบูรณ์ที่สุด - หลังจากได้ภาพร่างที่สมบูรณ์เป็นที่พอ ใจแล้วจึงนำภาพร่างนั้นไปขยายเป็นแบบเพื่อ สร้างผลงานจริงด้วยเทคนิคแม่พิมพ์ตะแกรงไหม (Silk Screen) 4.3.2 เทคนิคในการสร้างสรรค์ เทคนิคที่ ใช้ในการสร้างผลงานมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะ ทำให้เกิดความสัมพันธ์กับแนวความคิด ข้าพเจ้า ได้เลือกวิธีการของศิลปะภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ในการสร้างผลงานเพราะเป็นกรรมวิธีที่มีความ หลากหลาย ซึ่งเริ่มด้วยวิธีการง่ายๆ อันเป็น พื้นฐาน จนถึงวิธีการใช้แผ่นฟิลม์แทนการใช้กาว อัดโดยถ่ายจากต้นฉบับภาพถ่าย ซึ่งสลับซับซ้อน และยุ่งยากพอสมควร ในผลงานของข้าพเจ้าวิธีท ี่ ใช้เป็นส่วนมากคือ วิธีการเขียนด้วยกาวอัดหรือ อุด เป็นเทคนิคง่ายๆ แต่สามารถสร้างงานให้ สมบูรณ์ได้ การใช้การสร้างภาพคือการเขียนและ เคลือบบนผ้าไหมโดยการเปิดส่วนที่ต้องการให้สี ผ่านฉากลงบนแผ่นรองรับ วิธีการนี้ภาพที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะกลับกันกับต้นฉบับ กาวที่เขียนลงไป บนผ้าไหมคือส่วนป้องกันไม่ให้สีทะลุผ่าน ส่วนที ่

ไม่ได้เขียนและเว้นไว้คือส่วนที่สีทะลุ สีพิมพ์ที่ ใช้ ต้ อ งใช้ ส ี พ ิ ม พ์ ท ี ่ ม ี ส ่ ว นผสมของน้ ำ มั น เท่ า นั ้ น เพราะน้ำมันจะไม่มีปฏิกิริยาต่อกาวซึ่งมีส่วนผสม ของน้ำ 5. ผลงานภาพพิมพ์ จากแนวคิดในการถ่ายทอดความรู้สึกสุขสงบ ภายในแสดงออกผ่านรูปทรงของหินจากสถาปัตยกรรม เขมร เพือ่ สร้างความสอดคล้องกันระหว่างผลงานกับสถานที่ ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์เป็นผลงานทั้งหมด 5 ชิ้น ดังต่อไปนี้ 5.1 ผลงานชิ้นที่ 1 ชื่อ “หินในน้ำ น้ำในหิน 4” (ภาพประกอบที่ 67) เป็นผลงานชิ้นแรกที่ได้ใช้รูปทรงของ หินที่มาจากปราสาทเมืองต่ำเป็นหินส่วนคานประตูทางเข้า ใช้เป็นต้นแบบของรูปทรงหลักแล้วนำมาดัดแปลง เพื่อให้ สื่อถึงแนวความคิดที่ต้องการนำเสนอ ด้วยการเปลี่ยน พื้นผิวระนาบด้านบนของก้อนหินให้เป็นลักษณะคล้าย พื้นน้ำ ที่สามารถสะท้อนเงาหินก้อนเล็กที่วางอยู่บนระนาบ พื้นได้ ข้าพเจ้าเปรียบเทียบการสะท้อนคือการมองย้อนดู ตนเองให้เข้าใจธรรมชาติของตนด้วย การจัดวางระหว่าง รูปทรงกับพื้นที่ว่าง ข้าพเจ้าจัดวางให้พื้นที่ว่างในภาพมี ปริมาณมากในด้านซ้ายของภาพเป็นอิทธิพลต่อเนื่องจาก ผลงานชุดก่อนหน้าที่ต้องการแสดงความหมายที่ยิ่งใหญ่ ของความว่างธรรมชาติของความว่างที่มีมาแต่ดั้งเดิมก่อน รูปทรงหรือสรรพสิ่งต่างๆ 5.2 ผลงานชิ้นที่ 2 ชื่อ “เรือ” (ภาพประกอบที่ 68) ผลงานชิ้นที่สองที่อาศัยรูปทรงจากสถาปัตยกรรมเขมร มาสื่อความรู้สึกโดยจัดวางในกรอบภาพแนวนอน มีความ กว้าง 1 ส่วน ความยาว 2 ส่วน ใช้รูปทรงของหินคาน ประตูจากปราสาทหินเมืองต่ำเป็นต้นแบบของรูปทรงหลัก เลือกใช้มุมมองระดับสายตาจัดวางรูปทรงในแนวนอนตาม ความยาวของกรอบภาพ โครงสร้างรูปทรงอยู่ตามแกน แนวนอนมี ร ู ป ทรงเล็ ก เป็ น ลั ก ษณะหิ น ก้ อ นเล็ ก วางบน รูปทรงใหญ่ โดยมีเงาสะท้อนกลับของทั้งสองรูปทรงด้าน ล่าง พื้นหลังมีการปล่อยพื้นที่ว่างไว้ด้านขวาของภาพ สร้าง ทิศทางให้รูปทรงเคลื่อนไหวในแนวระนาบ เป็นเส้นแนว นอนให้ความรู้สึกราบเรียบในการเคลื่อนไหวเป็นอีกหนึ่ง ของความสงบตามความรู้สึกที่คล้ายการดำเนินชีวิตเรียบ ง่ายอย่างเป็นสุข


ภาพประกอบที่ 67-71 (จากบนลงล่าง)

5.3 ผลงานชิ้นที่ 3 ชื่อ “เสา” (ภาพประกอบที่ 69) ผลงานชิ้นที่ 3 ที่อาศัยรูปทรงบางส่วนจากสถาปัตยกรรมเขมรมาสื่อความรู้สึก โดยจัดวางใน กรอบภาพแนวนอน ความกว้างเป็น 1 ส่วน ความยาว 2 ส่วน ใช้รูปทรงของ เสาหินจากปราสาทหินพิมาย เป็นเสาส่วนฐานที่รื้อออกมาจากการบูรณะ ปราสาท แล้ววางทิ้งไว้ด้านหลัง ซ้อนทับกับเศษหินส่วนอื่นที่รื้อออกจากการ บูรณะเช่นกัน โดยรูปทรงที่เลือกใช้เป็นรูปทรงหลัก เป็นเสาหินวางนอนบนหิน ก้อนเหลี่ยมใหญ่ และมีหินก้อนเล็กวางบนเสาหิน ข้าพเจ้าเลือกใช้ตามที่เห็น เป็นรูปทรงที่จะสื่อความรู้สึก จัดวางให้กลุ่มรูปทรงทั้งหมดอยู่ด้านซ้ายของภาพ ด้านล่างมีลักษณะของเงาสะท้อนกลับของรูปทรงคล้ายเงาสะท้อนในน้ำ โดย วางกลุ่มรูปทรงใน แกนแนวนอนมีพื้นที่ว่างด้านขวาของภาพ สร้างทิศทางให้ รูปทรงเสาหินเคลื่อนไหวในแนวระนาบ ส่วนรูปทรงหินที่ก้อนล่างนั้นมีทิศทาง เคลื่อนไหวในแนวดิ่ง ด้วยลักษณะของเงาสะท้อนกลับด้านล่าง บรรยากาศใน ภาพนิ่งเงียบไม่แสดงเวลาชัดเจน แต่ทิศทางของรูปทรงตามแนวระนาบก็บอก ได้ถึงการเคลื่อนที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และแน่นอนตามความจริงใน สรรพสิ่งที่ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง 5.4 ผลงานชิ้นที่ 4 ชื่อ “แท่น (จิต)” (ภาพประกอบที่ 70) ผลงาน ชิ้นที่ 4 ที่อาศัยรูปทรงบางส่วนจากสถาปัตยกรรมเขมรมาสื่อความรู้สึกโดยการ จัดวางในกรอบภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้รูปทรงของแท่นหินจากปราสาทหินพิมาย เป็นแท่นสำหรับวางรูปเคารพนำมาจัดงวงโดยเลือกมุมมองของแท่นให้ต่ำกว่า ระดับสายตา ทำให้มองเห็นระนาบส่วนด้านบนจองรูปทรงโดยที่บนระนาบนั้น มีหินก้อนเล็กวางอยู่ ข้าพเจ้าสร้างให้ระนาบมีพื้นผิวที่สามารถสะท้อนได้คล้าย พื้นผิวของน้ำ และพื้นระนาบส่วนล่างของรูปทรงใหญ่ก็เป็นลักษณะเดียวกัน และทั้งสองระนาบก็มีเงาสะท้อนของวัตถุด้านบน การจัดวางแบบตั้งใจให้หิน ก้อนเล็กวางบนแท่นหินใหญ่ แทนเนื้อหาที่ต้องการสื่อคือ เมื่อพิจารณาหลัก ธรรมเข้าใจวิถีเป็นไปของธรรมชาติแล้ว ก็ต้องมองในจิตใจตนให้เห็นและเข้าใจ ธรรมชาติในตนเอง สร้างความสงบภายในเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข 5.5 ผลงานชิ้นที่ 5 ชื่อ “ฐาน (ใจ)” (ภาพประกอบที่ 71) ผลงาน ชิ้นที่ 5 ที่อาศัยรูปทรงบางส่วนจากสถาปัตยกรรมเขมร มาสื่อความรู้สึกโดย การจัดวางในกรอบภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้รูปทรงหินส่วนฐานปราสาทที่เหลือ จากการบูรณะ ในหินมีรายละเอียดการสลักบางส่วนและแตกหักบางส่วน มีหิน ก้อนเล็กสองก้อนนำมาจัดวางไว้บนหินก้อนใหญ่แบบตั้งใจเหมือนหินที่วางอยู่ ในน้ำมีส่วนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา และมีเงาสะท้อนของหินก้อนเล็กบนพื้นระนาบนั้น หินก้อนใหญ่มีเงาสะท้อนบนพื้นด้านล่างเหมือนวางอยู่ในน้ำเช่นกัน เนื้อหาที่ ต้องการแสดงเช่นเดียวกับชิ้น “แท่น (จิต)” แต่ในผลงานลดพื้นที่ว่างของภาพ ลงโดยการเพิ่มขนาดของกลุ่มรูปทรงให้ใหญ่ขึ้น และกำหนดโครงสีที่ต่างกันไป แต่ยังคงลักษณะโทนเดียว (Monochrome) อยู่ ส่วนพื้นหลังเพิ่มน้ำหนักเข้ม มากขึ้น เพื่อเน้นความชัดเจนในระยะใกล้ของกลุ้มก้อนหิน คล้ายการเพ่ง พิจารณาตนเอง 95


ขั้นตอนการออกแบบการติดตั้งผลงานสร้างสรรค์ การออกแบบการติดตั้งผลงานภาพพิมพ์ ชุด “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” ภายใน “เดอะ สปา” โรงแรมฮิลตันหัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา ในการออกแบบการติดตั้งผลงาน ภายใน “เดอะ สปา” ด้วยสถานที่ได้กำหนดตำแหน่งการติดตั้งภาพประดับ ไว้แล้วตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบตกแต่ง ข้าพเจ้าจึงใช้ ตำแหน่งที่กำหนดไว้เป็นจุดสำหรับออกแบบติดตั้งผลงาน ชุด “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” ตามข้อจำกัดของ ตำแหน่งติดตั้งภาพประดับ จึงต้องกำหนดขนาดของกรอบ ภาพให้สอดคล้องกับตำแหน่งนั้นๆ เพื่อความสมบูรณ์ที่สุด ของผลงานและสถานที่ให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยจะ วิ เ คราะห์ บ ริ เ วณพื ้ น ที ่ แ ละวิ ธ ี ก ารออกแบบการติ ด ตั ้ ง ผลงานในพื้นที่แต่ละส่วน 1. แนวความคิดในการออกแบบ ต้องการสร้างความกลมกลืนระหว่างผลงานและ สถานที่ ที่สร้างบรรยากาศสงบ สบาย ผ่อนคลาย แก่ผู้ มาใช้บริการของ “เดอะ สปา” การสร้างบรรยากาศเช่นนี้ อาจมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีงาม หรือจินตนาการใน เชิงสร้างสรรค์ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นความสมบูรณ์ของการ ได้รับการบริการ ที่ตอบสนองทั้งความสุขสบายทางร่างกาย และจิตใจส่งเสริมกันอย่างสอดคล้อง 2. การออกแบบติดตั้งผลงานภาพพิมพ์ เรื่อง “ธรรมชาติสื่อความสุขสงบในใจ” ภายในส่วนรับรองของ “เดอะ สปา” ส่วนรับรองเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากพื้นที่ส่วน ต้อนรับมีการยกระดับสูงขึ้นจากพื้นที่ส่วนต้อนรับ 0.30 เมตร พื้นที่ส่วนนี้เป็นจุดศูนย์กลางของเดอะ สปา ที่จะ เชื่อมโยงไปยังบริเวณอื่นๆ ใช้สำหรับรับรองผู้มาใช้บริการ นั่งพักผ่อนหรือนั่งรอ การตกแต่งในบริเวณผนังเป็นหิน ทรายทาสีขาว พื้นเป็นไม้เคลือบเงาสีไม้แดง เพดานมีการ เจาะเป็นช่องไฟซ้อนอยู่ 2 ชั้น แสงที่ได้มาจากแสงธรรมชาติ จากผนังกระจกกับแสงไฟสีส้มจากหลอดไฟแบบต่างๆ ทั่ว บริเวณ ประกอบกับบรรยากาศที่มีเสียงเพลงเบาๆ กับกลิ่น หอมจากน้ำมันหอมระเหยทำให้ทั่วทั้งบริเวณมีความสงบ สบาย ปลอดโปร่ง ตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับภาพประดับ คือ บริเวณผนังด้านหลังที่นั่งรับรองหลัก โดยผนังมีการเจาะ ช่องลึก 0.70 เมตร สูง 3.70 เมตร กว้าง 4.00 เมตร เพื่อ ใช้เป็นที่นั่งมีความกว้าง 4.00 เมตร ปูด้วยเบาะหุ้มผ้าไหม 96

และหมอนพิงหุ้มผ้าไหม มีโต๊ะวางของขนาดเล็ก 2 ตัววาง ด้านหน้า ในตำแหน่งที่กำหนดนี้มีภาพประดับเดิมอยู่เป็น ภาพจำลองหินทรายนูนต่ำ รูปนางอัปสรเลียนแบบภาพสลัก นูนต่ำศิลปะเขมร มีทั้งหมด 3 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดกว้าง 0.80 เมตร สูง 1.70 เมตร ด้วยพื้นที่บริเวณรับรองมีองค์ประกอบหลายส่วน ที่สร้างบรรยากาศที่มีความสงบผ่อนคลาย ภาพประดับ เดิมรูปนางอัปสร มีส่วนสร้างบรรยากาศให้ที่แสดงถึงการ ต้อนรับและขอบคุณด้วยการร่ายรำของเหล่านางอัปสร ลักษณะของภาพแนวตั้ง สอดคล้องกับรูป-สัดส่วนของภาพ นางอัปสรเต็มตัว สัมพันธ์กับกรอบช่องแสงในส่วนต้อนรับ และชั้นโชว์สินค้าของผนังด้านหน้า 2.1 การออกแบบกำหนดสัดส่วนของผลงาน เนื่องจากมีการกำหนดตำแหน่งของการติดตั้งบน ผนัง ด้านหลังที่นั่งรับรองมีลักษณะเป็นช่อง กว้าง 4.00 เมตร สูง 3.00 เมตร ลึก 0.70 เมตร ข้าพเจ้าจึงหาสัดส่วน ของภาพที่เหมาะสมกับผนังในการออกแบบผลงานตาม แนวคิด ดังนี้ กรณีเลือกแบบที่ 4 ที่เป็นสัดส่วนภาพแนวนอน มีความกว้างเป็น 1 ส่วน ความยาว 2 ส่วน ขนาดเกือบ เต็มกรอบผนัง ด้วยลักษณะของสัดส่วนนี้เป็นแนวนอนที ่ สามารถแสดงผลงานได้ในแกนแนวนอนที่ ให้ความรู้สึก ราบเรียบ นิ่ง สงบ ตามผลงานในชุดวิทยานิพนธ์ ขนาด เกือบเต็มกรอบเน้นภาพให้ชัดเจน เมื่อมองจากมุมต่างๆ ในสถานที่ สัดส่วน และขนาดเมื่อเปรียบเทียบกับผลงาน เดิมที่เป็นภาพแนวตั้งชิ้นเล็ก 3 ชิ้น ให้ความรู้สึกนิ่ง สงบกว่า และรูปทรงผืนผ้าในแนวนอน แตกต่างจากองค์ประกอบ ของสถานที่ที่เป็นแนวตั้ง แต่เหมาะสมอยู่ในผนังที่มีที่นั่ง ยาว ทำให้ตำแหน่งและผลงานมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นแต่ก็ ไม่แบ่งแยกจนขัดแย้งกับสภาพภายในบริเวณนี้ 2.2 การออกแบบผลงาน ข้าพเจ้าเลือกผลงานในชุดวิทยานิพนธ์ทั้งหมด 3 ชิ้น คือ ผลงาน “หินในน้ำ น้ำในหิน 4” ผลงาน “เรือ” ผลงาน “เสา” ที่มีสัดส่วนของภาพพอเหมาะกับสัดส่วนที ่ เลือกไว้คือเป็นกรอบภาพแนวนอนขนาดกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ผลงานมีแนวความคิดตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ สอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างผลงานกับ สถานที่ด้วยการซ้อนภาพในคอมพิวเตอร์ จึงสามารถแสดง การจำลองการติดตั้งภาพ ในสถานที่ได้เพื่อการวิเคราะห์


และเลือกสรรแบบที่เหมาะสมที่สุดตามแนวความคิดและวัตถุประสงค์ แบบที่ 1 จำลองการติดตั้งผลงาน “หินในน้ำ น้ำในหิน 4” ในส่วนรับรอง แบบที่ 2 จำลองการติดตั้งผลงาน “เรือ” ในส่วนรับรอง แบบที่ 3 จำลองการติดตั้งผลงาน “เสา” ในส่วนรับรอง จากการจำลองการติดตั้งภาพผลงานทั้ง 3 ชิ้น ที่ ให้ความรู้สึกใกล้เคียง กันเพราะเป็นภาพผลงานในชุดวิทยานิพนธ์ที่สร้างสรรค์ในแนวคิดเดียวกัน แต่ด้วยรูปทรงหลักที่ต่างกันเมื่อจำลองการติดตั้งในส่วนรับรอง ภาพผลงาน แต่ละภาพก็ให้ความรู้สึกที่ต่างกันออกไปในรายละเอียด มีความเหมาะสมกับ สถานที่ตามแนวคิด กรณีเลือกภาพผลงานการติดตั้งแบบที่ 2 ผลงาน “เรือ” ด้วยรูปทรงใน ภาพแบบที่ 1 และแบบที่ 3 เมื่อพิจารณาหลักการจำลองติดตั้งแล้ว ภาพ แบบที่ 1 ที่รูปทรงหลักอยู่ด้านขวาให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เพราะมุมมองของ รูปทรงเป็นลักษณะมองจากมุมสูง ทำให้เมื่อติดตั้งผลงานในระดับสายตา รูปทรงหลักดูเหมือนเทลงด้านล่างของภาพ และขนาดรูปทรงมีขนาดใหญ่เกิน ไปเมื่อขยายภาพผลงานให้พอเหมาะกับผนัง ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดหรือหนัก เกินไปต่อผู้มานั่งในส่วนรับรอง และภาพแบบที่ 3 รูปทรงอยู่ทางขวามือของ ภาพเป็นรูปเสาหินวางบนหินอีกก้อน ด้วยรูปทรงของเสาเองให้ความรู้สึก เคลื่อนที่ ในแนวระนาบที่พุ่งไปด้านหน้ารุนแรงกว่าภาพแบบที่ 2 ที่รูปทรงอยู่ทาง ขวามือของภาพเป็นรูปทรงหินที่มีลักษณะ คล้ายเรือให้ความรู้สึกสงบนิ่งที่สุด จากทั้ง 3 แบบ อีกทั้งขนาดรูปทรง เมื่อขยายภาพเพื่อจำลองในการติดตั้งแล้ว มีสัดส่วนที่พอเหมาะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไปกับพื้นที่นั้น ด้วยจากแนวคิดที่ ต้องการให้ภาพผลงานแสดงความสงบที่แฝงแง่คิดแก่ผู้ใช้สถานที่ เพื่อสร้าง สัมผัสทางใจเป็นความสมบูรณ์ในการบำบัดพักผ่อนทั้งกายและใจ สัญลักษณ์ ในภาพผลงาน แสดงอีกส่วนของความรู้สึกสงบในการดำเนินชีวิตเรียบง่าย อย่างเป็นสุข 2.3 รูปแบบการติดตั้งภาพผลงาน เมื่อกำหนดผลงานที่มีความเหมาะสมตามแนวความคิดเพื่อติดตั้งใน ส่วนรับรองแล้ว รูปแบบในการติดตั้งผลงานในสถานที่หรือตำแหน่งที่กำหนด ต้ อ งเลื อ กสรรแบบหรื อ วิ ธ ี ท ี ่ เ หมาะสมเพื ่ อให้ ผ ลงานและสถานที ่ ม ี ค วาม สอดคล้องกัน ด้วยผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคแม่พิมพ์ตะแกรงไหมบนผืน ผ้าใบ มีความหลากหลายในการติดตั้งมากกว่าภาพพิมพ์บนกระดาษและสีท ี่ เลือกใช้ในการทำงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ข้าพเจ้าเลือกใช้สีที่มีตัวผสมเป็น น้ำมันเมื่อทำการพิมพ์เสร็จสิ้นแล้ว สีมีความคงทนมากและสะดวกในการทำ ความสะอาด เพราะสีมีคุณสมบัติที่กึ่งเคลือบเงาในตัวอยู่แล้ว จากสภาพทางกายภาพ “เดอะ สปา” ผนังก่อด้วยแผ่นหินทรายทาสี ขาวเกือบทุกส่วนในสถานที่ ในส่วนรับรองผนังที่ติดตั้งผลงานก็ก็เช่นเดียวกัน ทาสีขาว แผ่นหินทรายเหล่านี้มีลักษณะผิวขรุขระและเคลือบทาด้วยสีด้านไม่ สะท้อนแสง การติดตั้งผลงานจึงไม่ใส่กรอบที่มีกระจกหรือแผ่นอะคริลิกทับบน 97


ผลงาน เพราะจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงและขัดกับ ลักษณะของผนังหิน ทรายดังนี้เองจึงสามารถมองเห็น ผลงานบนผ้ า ใบที ่ พ ิ ม พ์ ด ้ ว ยหมึ ก พิ ม พ์ ท ี ่ เ ป็ น เงาและ หมึกด้านอย่างชัดเจน ในการติดตั้งผลงานพิจารณาจาก ความเหมาะสมของพื ้ น ที ่ - บรรยากาศและความหมาย ของผลงานดังนี้ แบบที่ 1 เป็นการติดตั้งในแบบลักษณะภาพ ประดับเดิม คือ เป็นภาพผลงานไม่มีกรอบ มีความหนา จากพื้นผนัง 5 เซนติเมตร โดยในส่วนที่เป็นความหนามีสี เดียวกับผลงาน (ภาพประกอบที่ 83) แบบที่ 2 เป็นการติดตั้งที่ให้ระนาบของภาพ ผลงานเป็นระดับเดียวกับผนัง คล้ายเป็นภาพเขียนบนผนัง ไม่มีส่วนของความหนา (ภาพประกอบที่ 84) แบบที่ 3 เป็นการติดตั้งแบบเจาะช่องผนัง ขนาด กว้างและยาวกว่าภาพผลงานด้านละ 5 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร โดยติดตั้งผลงานให้ระนาบของภาพผลงานเป็น ระดับเดียวกับระนาบผนัง ผลงานในช่องมีความหนา 5 เซนติเมตร แล้วซ้อนไฟไว้ด้านหลังภาพผลงาน (ภาพ ประกอบที่ 85) กรณีเลือกการติดตั้งผลงาน แบบที่ 1 (ภาพ ประกอบที่ 83) จากการพิจารณาการติดตั้งในแบบที่ 2, 3 การติดตั้งในแบบที่ 2 เมื่อดูจากการจำลองการติดตั้งใน แบบนี้ ทำให้ภาพผลงานจมในผนังและดูเหมือนการเขียน บนผนัง แต่ด้วยผนังที่มีพื้นผิวหยาบและมีเส้นสายของแนว การปูหิน เมื่อภาพที่มีพื้นผิวเรียบติดในระนาบเดียวกันแล้ว ไม่ ม ี ก รอบภาพการเชื ่ อ มต่ อ ของผนั ง กั บ ภาพจึ ง ดู แ ล้ ว ขัดแย้งกัน ส่วนในแบบที่ 3 แก้ปัญหาในการเจาะเป็นช่อง แล้วซ่อนไฟไว้หลังภาพ จนเกิดเป็นกรอบผลงานที่เป็นช่อง แล้วมีแสงไฟนั้นทำให้ภาพผลงานดูเด่นเกินไปและด้วยแสง ไฟจะรบกวนสายตาผู้ที่นั่งอยู่ จนเกิดความรำคาญได้ซึ่งจะ มีผลให้เจตนาในความพยายามที่จะสร้างความสงบ สบาย ปลอดโปร่งของบริเวณนี้ลดลง แบบการติดตั้งแบบที่ 1 จึง

98

เป็นการติดตั้งแบบง่ายๆ แต่คงความสำคัญที่ผลงานและ สถานที่ต้องสัมพันธ์ ส่งเสริมทางกายภาพซึ่งกันและกัน ด้วยการปรับให้ผลงานมีความหนาเพื่อแยกระนาบระหว่าง ผลงานกับผนัง และไม่จำเป็นต้องมีกรอบภาพเพราะการ ใส่กรอบภาพขนาดใหญ่ ความหนาของเส้นของกรอบภาพ ที่มีความยาวจะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผลงาน กับผนัง ในส่วนความหนาของผลงานที่ ใช้สีเดียวกับพื้นหลัง ในภาพ ก็เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันของทั้งสองส่วน ผลงานเพื่อสร้างความกลมกลืนตามแนวความคิดและวัตถุ ประสงค์ การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในการศึกษาค้นคว้าสร้างสรรค์นี้ ได้รวบรวม เนื้อหาและกระบวนการสร้างสรรค์งาน วิเคราะห์งานแบ่ง เป็นขั้นตอนไว้ในแต่ละบทตามกระบวนการวิจัยเพื่อการ พัฒนาความคิดและการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยขั้นต้นนี้ ข้าพเจ้าแสดงที่มาของความคิดความสนใจใน หลักธรรมะของพุทธศาสนา โดยแยกเป็นหลักธรรมใหญ่ๆ ที่สนใจจริงและอธิบายถึงความสำคัญของธรรมชาติซึ่งเป็น สิ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจมากขึ้น ในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากทัศนะส่วนตนเพื่อให้บุคคลอื่นรับรู้ จึงต้องอาศัย “รูป” เป็นสื่อกลางซึ่งก็คือรูทรงจากธรรมชาติและข้อคิด จากการศึกษาผลงานศิลปะในอดีต อาทิเช่น ผลงาน จิตรกรรมจีน และการสังเกตุความงามในธรรมชาติ แล้ว จินตนาการสร้างภาพร่างที่สามารถสื่อสารได้ตามวัตถุ ประสงค์ ขั้นตอนต่อมาของวิทยานิพนธ์คือการศึกษา วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของสถานที่เพื่อที่จะสร้าง ผลงานศิลปะให้สัมพันธ์กับสถานที่นั้น โดยข้าพเจ้าเลือก สถานที่ที่เหมาะสมคือ “เดอะ สปา” สถานบริการเพื่อความ ผ่อนคลายแก่ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการออกแบบภายใน สถานที่ที่มุ่งสร้างบรรยากาศที่สงบ ฉะนั้นการประยุกต์ ผลงานที่มีแนวเรื่องเน้นความสุขสงบในใจ จึงช่วยสร้าง ความสมบู ร ณ์ ใ ห้ ก ั บ การตกแต่ ง สถานที ่ ใ ห้ ม ี ท ั ้ ง ความ


สวยงามและความหมายเพื่อให้ผู้มาใช้ บริการได้รับทั้งการบำบัดทางกายและ จิตใจไปพร้อมกัน โดยการเริ่มออกแบบผลงานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับสภาพ เดิมของการตกแต่งภายใน “เดอะ สปา” ทั้งนี้ข้าพเจ้าอาศัยคุณลักษณะเดิม ทางกายกายภาพศิลปะเขมรเป็นพื้นฐานชั้นต้น ในการกำหนดแนวคิดเพื่อ ออกแบบสร้างผลงานประกอบสถานที่นี้ การออกแบบผลงานโดยอาศัยรูปทรง จากปราสาทหินส่วนต่างๆ เป็นรูปทรงหลักเพื่อสื่อถึงความสงบสุขภายใน ด้วย การพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติของสภาพวัตถุที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ก้อนหินที่เป็นส่วนประกอบของปราสาทหินจึงเป็นสื่อทางกายภาพสิ่งแรกที่ เสนอรูปลักษณ์ภายนอก ที่มีความจริงแท้ตามกฎธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอย่าง ช้าๆ จนไม่อาจสังเกตุได้จากการมองเห็นอย่างหยาบๆ โดยทั่วไป และเพื่อความ สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ การวิเคราะห์เลือกสรรผลงานเพื่อติดตั้งจึงจำเป็น ต้องลองปรับเปลี่ยนแก้ไข ทั้งในสาระของผลงานและตำแหน่งการติดตั้งให้ เหมาะสมอย่างที่สุดในทุกบริเวณที่กำหนดที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำรง แนวความคิดในการตกแต่งที่เน้นความโปร่งโล่ง สงบ สบาย ด้วยรูปแบบ ปราสาทเขมรไว้ และเสริมแนวคิดที่มุ่งสร้างความสุขสงบภายในจิตใจแม้เป็น เพียงชั่วขณะที่อยู่ในสถานที่นี้ก็ตาม หลังจากกระบวนการทั้งหมดดำเนินมาถึงบทสรุป ข้าพเจ้าทบทวนและ พิจารณา จึงพบถึงข้อจำกัดด้านรูปแบบของผลงานที่ข้าพเจ้าเน้นเพียงผลงาน 2 มิติ หรือใช้กรรมวิธีภาพพิมพ์ตะแกรงไหมเป็นข้อกำหนดในการออกแบบสร้าง ผลงาน ซึ่งเป็นตามความถนัดในการสร้างสรรค์ ข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นความสำคัญ ของกรรมวิธีอื่นๆ ทางศิลปะ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะแบบจัดวาง หรือการผสมผสานกรรมวิธีหลายอย่างๆ ไว้ด้วยกัน ถ้าเลือกสร้างสรรค์กรรมวิธี ให้เหมาะสมกับรูปแบบตามแนวความคิดได้แล้ว ก็นับได้ว่าเป็นความสำเร็จของ การผสานศิลปะที่สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิต เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม กำจร สุททรพงษ์ศรี. ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬา, 2536 โกสินทร์ แจ่มเพ็ชรรัตน์, น.พ. “หนีร้อนไปพักผ่อนในสปา.” อิมเมจแมกกาซีน. ปีที่12, ฉบับที่ 122 ( เดือนตุลาคม 2545 ): 210-212 ชะลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2534 พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). ไตรลักษณ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม, 2543 ระวี ภาวิไล. ศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย วศิน อินทสระ. หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ, 2530 สมบัติ ตาปัญญา. ศิลปะการนวดแบบไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล

99


ww w . d e co ra te . s u . a c . t h

100




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.