เส้นทางสู่ระดับสากลและความสำเร็จของนักออกแบบไทย: ภูมิปัญญาไทยสู่งานสร้างสรรค์ออกแบบเชิงเศรษฐกิจ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ที่ ilastthing Design & Printing Co., Ltd. โทรศัพท์ 02 875 1799 จำนวน 1,000 เล่ม มิถุนายน 2554
บทสัมภาษณ์ : ศุภพงศ์ สอนสังข์, วิษณุ อ๋องสกุล ออกแบบและจัดวางรูปเล่ม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี, พสุกิตติ์ จันทร์แจ้ง ประสานงาน : มาลินี วิกรานต์, มุกดา จิตพรมมา ขอขอบคุณ สำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร สถานที่ : SCG Experience แบบตัวพิมพ์อิเลคทรอนิคส์ : DB EcoThai
โครงการนักออกแบบไทยยอดเยี่ยมแห่งปี (Designer of the Year) ที่ก้าวพ้นปีที่ 5 นับได้ว่าเป็นการยกระดับดีไซน์เนอร์ไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งใน และต่างประเทศ และก้าวเข้าสู่สากลในวงการออกแบบสิ่งหนึ่งซึ่งน่าภูมิใจในตัวโครงการ คือ การได้อยู่เบื้องหลัง และคอยสนับสนุนนักออกแบบไทยที่มีศักยภาพหลากหลายสาขา ผู้ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานจน เป็นที่ประจักษ์และยอมรับในวงการออกแบบพร้อมทั้งเป็นแรงกระตุ้นสนับสนุนนักออกแบบไทย ให้ผลิตผลงานใหม่ๆ ที่สำคัญคือเป็นการยกระดับมาตรฐานนักออกแบบไทยให้เกิดความภูมิใจ ในผลงานของตน จนถึงการก้าวย่างเข้าสู่ระดับชาติด้วยการคัดสรรจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายแห่งทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ โครงการฯโดยมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ ลงนามสัญญาข้อตกลงร่วมมือ (MOU) การจัดดำเนินงานโครงการกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์หน่วยงานที่เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนผลงานและนักออกแบบยอดเยี่ยม แห่งปีที่ได้จัดแสดงในงาน BIG&BIH ซึ่งจัดขึ้นทุกปีอีกด้วยเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการที่ได้ รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่จะผลักดันยกย่องเชิดชูเกียรตินักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ให้มีชื่อเสียง ก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกต่อไปในอนาคต
รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ ประธานโครงการฯ
3
| คำนิยม นายอุทัย ดุลยเกษม | อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง | รองอธิการบดี (ศิลปวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ | ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน | คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
4
| นายอุทัย ดุลยเกษม
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ถึงแม้ว่าความสร้างสรรค์ (Creativity) อาจจะ สามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบและเนื้อหา แต่การ ออกแบบ (Design) เปิดโอกาสและเปิดพื้นที่ (Space) ให้ ผู้ออกแบบ (designer) สามารถสร้างงานอย่างสร้างสรรค์ ได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด การออกแบบครอบคลุมไป ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การ ออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบเครื่องประดับ การ ออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบอุตสาหกรรม หรือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่าง กว้างขวางทั้งในวงการรัฐบาลและวงการธุรกิจว่าเป็น สถาบันชั้นนำในการผลิตบัณฑิตด้านการออกแบบและ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของคณะมั ณ ฑนศิ ล ป์ จ ำนวนมากที่ ป ระสบ ความสำเร็จในการออกแบบด้านต่างๆ ทั้งภายในและ ต่างประเทศ ในยุคสมัยที่ประเทศไทยกำลังให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์(CreativeEconomy) นักออกแบบ ประเภทต่ า งๆมี ค วามสำคั ญ ขึ้ น มากและเมื่ อ รั ฐ บาล ต้องการผลักดันแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ตามนโยบายของรัฐบาล การคัดเลือกสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เป็น Creative Academy อันจะ เป็ น สถาบั น ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการผลั ก ดั น แนวคิ ด เรื่ อ ง ความคิดเชิงสร้างสรรค์นั้น คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มคณะกรรมการให้เป็น
Creative Academy : Design (สถาบันสร้างสรรค์ด้าน การออกแบบ) อันแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของคณะมัณฑนศิลป์ ในการดำเนินการเรื่องนี้เพียง สถาบันเดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยศิลปากร การออกแบบอย่างสร้างสรรค์นั้น นับว่าเป็นสิง่ ทีน่ า่ ชืน่ ชมอยูแ่ ล้ว แต่ถา้ หากการออกแบบนัน้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาของเราเองยิ่งถือได้ว่า เป็นงานสร้างสรรค์ที่มีรากเหง้า และยิ่งการออกแบบอย่าง สร้างสรรค์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาของเราเอง สามารถสร้างคุณค่าในทางเศรษฐกิจด้วยแล้ว การออกแบบ ดังกล่าวก็ยิ่งมีความสมบูรณ์มากที่สุด ด้วยเหตุดังนั้น การ ที่คณะมัณฑนศิลป์ได้ให้ความสนใจและผลักดันในเรื่อง นี้ จึงมีความสำคัญและควรได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่ง ในฐานะอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมมี ความยินดีและภาคภูมิใจในผลงานสร้างสรรค์ด้านการ ออกแบบของคณะมัณฑนศิลป์ ผมมีความหวังอย่างมาก ว่าสถาบันสร้างสรรค์ด้านการออกแบบที่รัฐบาลคัดสรรให้ คณะมัณฑนศิลป์ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้น คณะมัณฑนศิลป์ จะผลักดันให้เกิดความสนใจในด้านการออกแบบกันใน วงกว้างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการเยาวชนของ เรา ผมมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็น ศูนย์กลางการออกแบบในอุษาอาคเนย์หรือแม้แต่ในเอเชีย ได้ และในการไปถึงจุดนั้นคณะมัณฑนศิลป์จะเป็นกลไก ที่สำคัญมากกลไกหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย
5
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง | รองอธิการบดี (ศิลปวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มี ความเป็นเลิศทางด้านศิลปะ มีส่วนสำคัญในการพัฒนา งานสร้างสรรค์สาขาศิลปะ สาขาการออกแบบ และด้าน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของประเทศ โดยผลิตศิลปิน และนักออกแบบมารับใช้สังคมไทยมาเป็นเวลากว่า 68 ปี ด้านการขับเคลื่อนสาขาออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เลือกสรรนักออกแบบแห่งปี โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2547 มีจุดมุ่งหมายที่จะยกย่องเชิดชูวิชาชีพ นักออกแบบให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสู่สาธารณะชน โดยการประกาศเกียรติคุณ มอบรางวัลให้นักออกแบบที่ มีผลงานดีเด่นภายใต้ชื่อรางวัลว่า Designer of the Year คณะมัณฑนศิลป์ ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการผลิต นักออกแบบ จึงได้ดำเนินการสานต่อโครงการนี้อย่าง ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและการที่มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเรียนการสอนสาขาศิลปะ และสาขาการออกแบบมาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2553 จึงได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ สร้างสรรค์แห่งชาติ ให้เป็นสถาบันหลักในการจัดตั้ง สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถึงสองสาขาด้วยกัน คือ สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) และสาขาการออกแบบ (Design) ด้วยความภาคภูมิใจ
6
จากประสบการณ์การจัดงาน Designer of the Year และได้เป็นตัวแทนสาขาการออกแบบ ณ โอกาสนี้ คณะมัณฑนศิลป์จึงได้รวบรวมจัดพิมพ์หนังสือ เส้นทาง สู่ ร ะดั บ สากลและความสำเร็ จ ของนั ก ออกแบบไทย: ภูมิปัญญาไทยสู่งานสร้างสรรค์ออกแบบเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความก้าวหน้าพัฒนาของสาขาการ ออกแบบ สะท้อนวิสัยทัศน์ของคณะมัณฑนศิลป์ที่เป็น แหล่งองค์ความรู้ในด้านการออกแบบให้มีบทบาทต่อ เศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ระดับสากลอย่างเต็มรูปแบบ ท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณคณะมัณฑนศิลป์ ที่เล็งเห็น ถึงความสำคัญในการรวบรวมจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ให้เราได้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษา สาขาการออกแบบ และนักออกแบบของไทยและต่างชาติ ต่อไป
| ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก
ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยมีการ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายระดับยุทธศาสตร์ คือ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” เป็นแนวทางการพัฒนา แวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่า มีสว่ นทีก่ ระตุน้ อุตสาหกรรมด้านการออกแบบทุกประเภท ซึ่งส่งผลถึงมูลค่าจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการที่มี พื้นฐานมาจาก ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ที่ สามารถเพิ่มมูลค่าการขายรวมอย่างมหาศาลก่อให้เกิด การเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน และน่าภาคภูมิใจ ซึ่งส่วนหนึ่งมีรากฐานมาจากสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีสาขาการออกแบบรองรับกับ ความต้องการเรียนของเยาวชนหลากหลายแขนง อีกทั้งยัง ร่วมรังสรรค์ผลงาน และสร้างบุคลากรโดยการบ่มเพาะ ประสบการณ์ และส่งเสริมคุณธรรมบุคคลเหล่านั้น เพื่อ ป้อนสู่อุตสาหกรรมด้านการออกแบบของประเทศไทย
ผมเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้ จะเสมือนหน้าต่างที่เปิด กว้างให้ทุกคนได้สัมผัส ชื่นชมผลงานนักออกแบบไทย แนวหน้า และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักออกแบบ รุ่นใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานไปสู่ความสำเร็จตาม แบบอย่ า งนั ก ออกแบบมื อ อาชี พ ที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ นเล่ ม นี้ รวมทั้งนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ตามวิถีทางการดำเนิน ไปสูเ่ ส้นทางสูร่ ะดับสากลและความสำเร็จของนักออกแบบ ของไทยเป็นรายต่อไปครับ
7
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน | คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการ Designer of the year ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรนี้ ถือได้ว่าเป็น โครงการรุ่นแรกๆ ที่เปิดโอกาสให้เกิดการจัดมาตรฐาน และเชิดชูผลงานของนักออกแบบไทยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ ง จนถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ ไ ด้ ด ำเนิ น งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนถึ ง ครั้งที่ 7 แล้วนับเป็นโครงการที่สร้างคุณูปการต่อวงการ การออกแบบไทย โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นความสำคัญ มาร่วมให้การสนับสนุนโครงการให้เข้มแข็งยิ่งขึน้ ไปอย่าง เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โครงการนี้คงมิเกิดขึ้นได้ถ้าขาด การริเริ่มความคิดและจัดสรรงบประมาณดำเนินการ โดยโครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงการบริหารงานของท่าน อธิการบดี พุฒ วีระประเสริฐ ท่านธนภน วัฒนกุล ที่ ป รึ ก ษาอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรในขณะนั้ น รวมทัง้ ความร่วมมือร่วมแรงของรองอธิการบดีฝา่ ยกิจการ
8
พิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร และ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์ ที่ได้ร่วมดำเนินงานและมอบหมาย ให้คณะมัณฑนศิลป์ เป็นผู้ดำเนินโครงการตั้งแต่ครั้งแรก ข้าพเจ้าได้มโี อกาสมีสว่ นร่วมดำเนินการในช่วงแรกๆของ โครงการนี้ ได้เห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าของ โครงการซึ่งได้เดินหน้าไป ด้วยกลไกความร่วมมือของ บุคลากรในคณะมัณฑนศิลป์ และด้วยความอนุเคราะห์ของ เหล่านักศึกษาเก่าและเหล่านักออกแบบผูใ้ ห้การสนับสนุน ในการส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ designer of the year นี้จักดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง สร้าง คุณูปการให้แก่วงการออกแบบไทยโดยรวม มิได้สร้าง ประโยชน์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
9
10
162 158 154 148 144 140 136 132 128
Yenn Design
TRIMODE
ODA
เอกรัตน์ วงษ์จริต
อุดม อุดมศรีอนันต์
อานนท์ ไพโรจน์
อภิรัฐ บุญเรืองถาวร
อนุรักษ์ สุชาติ
สุวรรณ คงขุนเทียน
กรกต อารมย์ดี
กฤษณ์ พุฒพิมพ์
เกศกาญจน์ อาศิรรัตน์
จักกาย ศิริบุตร
จิตรกานต์ บรรเทิงไพบูลย์
จิตริน จินตปรีชา
จิรพรรณ กิตติศศิกุลธร
จุฑามาศ คูณตระกูล
ชนะชัย ส่งวัฒนา
ชเล วุทธานันท์
016 022 026 028 032 034 038 042 046 050
124 120 116 112 108 104 100 098 092 088
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
สิงห์ อินทรชูโต
ศรัณย์ อยู่คงดี
วิริยะ วัฑฒนายน
วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
ระพี ลีละสิริ
เมธชนัน สวนศิลป์พงศ์
มารวย ดุษฎีสุนทรสกุล
มล.ภาวินี สันติศิริ
มกร เชาว์วาณิชย์
ฐิติพร ฌานวังศะ
นครินทร์ คำสีลา
นาถวัฒน์ ธัมพิพิธ
นุตร์ อารยะวานิชย์
ปภพ ว่องพาณิชย์
ฝนทิพย์ ตั้งวิริยะเมธ
พฤฒิพงษ์ กิจกัญจนาสน์
พิษณุ นำศิริโยธิน
ไพเวช วังบอน
054 058 060 064 068 072 076 080 084
11
12
13
ทิศทางการคัดสรรนักออกแบบแห่งปี โครงการนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปีหรือที่เรา รู้จักกันดีในชื่อ Designer of the year ได้จัดขึ้นติดต่อ กันเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งผลสำเร็จของโครงการได้สร้าง นักออกแบบทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ สายตาประชาชน และผู้ที่สนใจทั่วไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการนักออกแบบของไทยที่เป็น ที่รู้จักในระดับสากล และได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ไทยเป็นอย่างดี โดยแต่ละปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ คัดสรรได้ทำการ คัดเลือกนักออกแบบที่ได้รับรางวัลต่างๆ จากทั้งในและต่างประเทศ มาพิจารณาถึงศักยภาพแต่ละ ท่านพร้อมทั้งผลงานที่ทำชื่อเสียงในแต่ละกลุ่มสาขา ได้แก่ 1. ประเภทเครื่องเรือน 2. ประเภทผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้าน 3. ประเภทเครื่องประดับ 4. ประเภทสิ่งทอและเส้นใย ผลงานดังกล่าวทั้งหมดนับเป็นเครื่องยืนยันได้ถึง คุณภาพนักออกแบบไทยที่ได้นำเสนอแนวความคิดใน การสร้ า งสรรค์ ผ ลงานออกแบบร่ ว มสมั ย ในแต่ ล ะปี ที่ หลากหลายในแต่ ล ะประเภทจนเกิ ด เป็ น เอกลั ก ษณ์ เฉพาะตนที่ปรากฏอยู่ในผลงาน ซึ่งคณะกรรมการต่างลง ความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ในการได้มาซึ่งนักออกแบบ แต่ละท่านที่ผ่านเกณฑ์การคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใน กระบวนการคัดสรรที่ผ่านมาของแต่ละปี จะมีการเชิญทั้ง นักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ เป็นที่ยอมรับเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน รางวัลในแต่ละประเภทอย่างเข้มข้นตลอดมา ซึ่งมีการ แบ่งรางวัลออกเป็นแต่ละระดับ ได้แก่ เหรียญบรอนซ์ เหรียญเงิน และเหรียญทองตามลำดับ 1. Honor Award 2. Best Designer of the Year 3. Best of the Best Designer of the Year 4. Designer of the year 5. Emerging Award
14
ซึ่งแต่ละปีจะมีนักออกแบบผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละ ประเภทและสาขาแต่ละระดับได้รับเกียรตินำผลงาน เข้าร่วมแสดงในนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง เกียรติยศ ของนักออกแบบที่ได้รับรางวัลตามเวลาและ สถานที่ต่างๆ กัน รวมทั้งนักออกแบบเองก็ได้นำผลงาน เข้าร่วมแสดงในงานแฟร์ในประเทศต่างๆ ด้วยเช่นกัน หลังจากได้รับรางวัลแล้วด้วยเช่นกัน สำหรับทิศทางการคัดสรรนักออกแบบยอดเยี่ยม แห่งปี หลังปี 2010 นั้นทางคณะกรรมการจัดงานได้มีการ เสนอแนวคิดใหม่ๆ ในหลักเกณฑ์การคัดสรรที่พัฒนาขึ้น จากเดิม โดยมีคุณสมบัติของนักออกแบบแต่ละประเภท รางวัลแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. Honor Award เหรียญทอง 2. Designer of the year เหรียญเงิน 3. Emerging Award เหรียญบรอนซ์ ประเภทที่ 1 Honor Award เป็นรางวัลเชิดชู เกียรติที่มอบให้แก่นักออกแบบไทยผู้มีประสบการณ์ระดับ สูงที่มีผลงานออกแบบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามาก กว่า 20 ปี และประสบความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี และมีคุณูประการแก่วงการออกแบบ และสังคม โดยมอบรางวัลตามประเภทของผลงานทั้ง 4 ประเภท ประเภทที่ 2 Designer of the Year เป็นรางวัล ที่มอบให้แก่นักออกแบบไทยผู้มีประสบการณ์ทำงาน ต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี มีผลงานต่อเนื่องในสายวิชาชีพ มีผลงานชิ้นสำคัญอันโดดเด่น แห่งปีและเป็นที่ประจักษ์ ในเชิงพาณิชย์โดยมอบรางวัลครอบคลุมทั้ง 4 ประเภท ประเภทที 3 Emerging Award เป็นรางวัลที่ มอบให้แก่นักออกแบบไทยหน้าใหม่ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีผลงานโดดเด่นในรอบปี โดยอาจเป็นผลงานออกแบบ เชิ ง พาณิ ช ย์ ห รื อ เป็ น ผลงานต้ น แบบที่ มี เ อกลั ก ษณ์ อั น แจ่มชัดซึ่งนำไปสู่การพัฒนารูปแบบเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไป ในอนาคตได้ โดยมอบรางวัลตามประเภทของผลงานทั้ง 4 ประเภท
ทุกประเภทรางวัล จะได้รับโล่รางวัลประกาศ เกี ย รติ คุ ณ พร้ อ มเกี ย รติ บั ต รและจะได้ รั บ การตี พิ ม พ์ ผลงานในสูจิบัตรซึ่งจะเผยแพร่ทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ และตั้งแต่ปี 2550 ได้จัดแสดงนิทรรศการ เผยแพร่ในงาน Interior in Trend 2009 ที่ศูนย์การค้า สยามพารากอน นิทรรศการในงานแสดงสินค้า BIG&BIH ภายในประเทศ รวมทั้งนำผลงานการออกแบบจัดแสดง นิทรรศการถาวรร่วมกับผลงานของนักออกแบบยอดเยี่ยม และนักออกแบบแห่งปี 2547 - 2551 ณ พิพิธภัณฑ์การ ออกแบบศิลปากร (Design Museum Gallery) อาคาร ศิลป์ พีระศรี 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลการ เรียนรูท้ แี่ สดงถึงแนวคิด และทีม่ าของผลงานการออกแบบ ของนักออกแบบไทยให้เป็นฐานความรู้ในวงการศึกษา มากยิ่งขึ้น
ทิศทางคัดสรรนักออกแบบแห่งปี หลังปี 2010 หลังจากโครงการนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี (Designer of the year) ได้คัดสรรดีไซน์เนอร์แต่ละรุ่น เข้ารับรางวัลในสาขาต่างๆ อย่างล้นหลาม นับเป็นแรง กระตุ้นให้เกิดนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมากมายในแต่ละ สาขาไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ก็ตาม ล้วนแต่ทำการออกแบบโดยมีแนวคิด ที่แปลกใหม่บ้าง ใช้เทคนิคสมัยใหม่ในงานออกแบบบ้าง ดัดแปลงวัสดุธรรมชาติให้เกิดความงามขึ้นอย่างแปลกตา ได้น่าสนใจ นับเป็นงานออกแบบที่ก้าวเข้าสู่ระดับสากล โดยผสมผสานกลิ่นอายของความเป็นเอเชียเอาไว้ ก่อให้ เกิดผลผลิตในงานออกแบบที่ไปแสดงยังงานแฟร์ทั้งใน และต่างประเทศ อีกทั้งทางรัฐบาลเองโดยกรมส่งเสริมการ ส่งออกก็ได้สนับสนุนให้มีการจัดประกวดขึ้นในเวทีต่างๆ เช่น Young Talent ขึ้น พร้อมกับทำเวิร์คชอปร่วมกับ องค์กรต่างประเทศ รวมทั้งมีการเชิญดีไซน์เนอร์ชั้นนำ จากประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมสัมมนาในหัวข้อต่างๆ กัน แต่ละปี ก่อให้เกิดนักออกแบบหน้าใหม่ขึ้นทุกปีในวงกว้าง ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและนักออกแบบมากขึ้น
ดังนั้นทิศทางการคัดสรรนักออกแบบแห่งปีหลังปี 2010 จะเปิดกว้างและเฟ้นหานักออกแบบที่มีประสบการณ์ จากแหล่งต่างๆ ที่เริ่มหันมาออกแบบและผลิตสินค้าอย่าง สร้างสรรค์ได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงนักออกแบบหน้าใหม่ที่ เริมผลิตสินค้าตามสถานที่ต่างๆ นอกเหนือจากที่กระจุก ตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งพยายามส่งเสริม นักออกแบบรุ่นใหม่ให้ได้รับรางวัลเพื่อเป็นการส่งเสริม และต่อยอดนักออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ คณะมัณฑนศิลป์ที่เป็นผู้นำด้านการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ศิลปะและการออกแบบนานาชาติ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ นวัตกรรมการออกแบบ และศูนย์ข้อมูลขึ้นเพื่อเป็นองค์กร ศูนย์กลางวิจัยสร้างสรรค์ สนับสนุนด้านการบริการวิชาการ แก่สังคมและศูนย์เรียนรู้ศิลปะและการออกแบบรองรับ ขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ (Creative University) ที่มีเจตนาในการบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ทางด้านศิลปะ และการ ออกแบบที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงในด้านการพัฒนา บุคลากรให้เกิดคุณภาพอย่างสูงสุด และจากการที่คณะ มัณฑนศิลป์ที่ได้รับเลือกให้เป็นสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทางด้านการออกแบบ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแห่ง การสร้างสรรค์ (Creative Academy) ซึ่งเป็นสถาบัน ที่มีศักยภาพสูงสุดในด้านการสร้างสรรค์งานออกแบบ เชื่อว่าจะเป็นฐานในการสนับสนุนโครงการนักออกแบบ ยอดเยี่ ย มแห่ ง ปี ใ ห้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ต่ อ สั ง คมพร้ อ มทั้ ง เป็นและแรงกระตุ้นผลักดันดีไซน์เนอร์ไทยให้เกิดการ สร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาด เพื่อเชิดชู ชื่อเสียงของนักออกแบบไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างกว้างขวางต่อไปในอนาคต ได้อย่างดี
15
กรกต อารมย์ดี
Designer of the Year 2005 Best Designer of the Year 2007 Designer of the Year 2008
Korakot Aromdee
การให้การสนับสนุนนักออกแบบรุ่นใหม่เป็นสิ่ง จำเป็นและสำคัญมาก คนเหล่านี้ต้องการเวทีที่จะได้มี โอกาสนำเสนอผลงานดีๆ ออกสู่ตลาด คำยืนยันจากปาก นักออกแบบผู้กำลังเป็นที่สนใจต่อวงการออกแบบไทย และต่อเวทีระดับโลก ชื่อของกรกต เป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางทั้งจากสื่อในประเทศและต่างประเทศ แทบจะ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งทีมชาติไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงด้วยศิลปะ แห่ง “ไม้ไผ่” จนเป็นที่กล่าวขาน หนังสือและสิ่งพิมพ์ มากมายได้ ตี พิ ม พ์ ผ ลงานการออกแบบโคมไฟและ ประติมากรรมที่ให้แสงสว่างที่สวยงามวิจิตรอลังการ จน ถูกเชือ้ เชิญไปบรรยายถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ถึงใน ต่างประเทศ และถูกเชิญไปบรรยายให้กับนักศึกษา ปริญญาโท สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร รวมทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ กรกตเป็นหนึง่ ในนักออกแบบทีพ่ สิ จู น์วา่ วิชาชีพการ ออกแบบเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไทย และตัวนักออกแบบเป็นเสมือนผู้บังคับใช้กลจักรนั้นให้เกิด ประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้ชัดว่าไม่เพียงแต่งานออกแบบ 16
“ความภูมิใจที่ตอนนี้คือเอางานที่ คุณปู่ทำมาผลิตใหม่ ดังนั้นเทคนิคที่เป็น ของเรายังอยู่ เป็นเทคนิคการทำว่าวไทย เอาศิลปะใส่เข้าไป และให้มีฟังก์ชั่น ความเป็นไทยยังอยู่ และสมัยใหม่เข้ามา”
ที่สวยงามเท่านั้น ผลงานของกรกต ยังเปรียบเสมือนการ ส่งผ่านภูมิปัญญาบางอย่างจากคนรุ่นปู่ผูกเชื่อมกับวิถี ชีวิตของลูกชาวประมงที่ผูกพันกับการทำเครื่องมือจับ สัตว์น้ำนานาชนิด ผนวกด้วยงานศึกษาวิจัยที่ได้รำ่ เรียน สมัยเป็นนักศึกษาปริญญาโท ขัดเกลาและถ่ายทอดออกมา เป็นผลงานที่ใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ วัยรุ่นและคนว่างงาน ทีร่ า้ งราจากงานประมง ซึง่ นับวันแทบจะหากินกับอาชีพนี้ ได้ยากเย็น ได้ฝึกฝนในงานผลิตของแปลกใหม่ โดยใช้ เทคนิคเก่าแก่ที่คุ้นมือ สร้างงาน สร้างอาชีพขยายและ กระจายออกไปได้ทั่วทั้งชุมชน เรียกว่าเป็นการหักปากกา เซียนที่เคยนิยามว่า “วิชาชีพนักออกแบบผลิตมาเพื่อ รับใช้นายทุน” เลยทีเดียว จริงอยู่ที่ท้ายสุดของสวยงาม เหล่านั้น อาจจะไปวางอยู่ในบ้านผู้มั่งมีคนใดคนหนึ่ง แต่ ต้องไม่ลืมว่ากระบวนการระหว่างทางมันอาจไปสร้างให้ ชุมชนเข้มแข็งขึ้น และคนมีรายได้พอเลี้ยงปากท้อง ดึง คนหนุ่มสาวกลับบ้าน เพื่อท้ายที่สุดจะได้กลับไปเชื่อมต่อ ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษได้อย่างไม่รู้จบ เมือ่ เวทีดๆี ทำให้ผลงานทีด่ ไี ด้แสดงออกถึงประกาย
ของความคิดสร้างสรรค์ เวทีนั้นจึงสร้างนักออกแบบ และ ท้ายที่สุด นักออกแบบจะสร้างสรรค์สิ่งใดที่ดีงามต่อได้ บ้าง หาคำตอบเพิ่มเติมได้กับผู้ชายคนนี้ เริ่มที่การศึกษาและภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ เริ่มต้นจากการชอบงานศิลปะชอบวาดภาพตั้งแต่ เด็กแล้ว เลือกเรียนสาขาศิลปะจิตรกรรม ที่มหาวิทยาลัย บูรพา ตอนปริญญาตรี ผมคิดว่าการเรียนแค่จิตรกรรม ความรู้ยังไม่เพียงพอที่จะดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน ผม จึงเลือกเรียนการออกแบบสายวิชาที่มีศิลปะและการ ออกแบบอยู่ด้วยนั่นคือสาขาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งในตอนนั้น รู้สึกว่าตัวเองยังจำเป็นต้องทำงานศิลปะอย่างจิตรกรรม อยู่ และมีวิชาอย่างวิชาออกแบบ ซึ่งวิชานี้เป็นวิชาที่ชอบ มาก เพราะมีการใช้วัสดุอะไรก็ได้ที่เราเลือกเองมาทำงาน ศิลปะ ในตอนทีเ่ รียนนัน้ อาจารย์ได้ชว่ ยผมในทุกๆ เรื่อง ทั้ง การวิจัย และแนวทางในการเรียนรู้ ผมเลือกที่จะใช้วัสดุที่ เป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ เอาเทคนิคการมัด การผูก
จากการทำว่าวไทยของคุณปู่มาใช้ในการทำงานศิลปะ อาจารย์ได้เล็งเห็นว่าตรงนี้น่าจะไปวิจัยและดึงความ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเพื่อใช้ในการสร้างงานศิลปะให้ แข็ ง แรงถาวรมากขึ้ น และเหมาะสมในการเรียนวิชา ประยุกต์ศลิ ป์นน่ั คือ การเรียนการออกแบบตกแต่งอาคาร สถานที่ จากการที่ผมได้ตัดสินใจและวิจัยในวิชาความรู้ เหล่านี้ทำให้ผมต้องเรียนรู้ ความละเอียด เทคนิค ภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน อายุ การเลือกใช้ไม้ไผ่ สายพันธุไ์ ม้ไผ่ และก็เทคนิคต่างๆ ด้วยการสัมภาษณ์คนสูงอายุ และอ่าน หนังสือ ผมใช้เวลาในการเรียนปริญญาโทที่ศิลปากรนาน 5 ปี เพราะว่าในการทำงานแต่ละชิ้นใช้เวลานานมาก แต่ หลังจากจบมาแล้วอาจารย์และเพื่อนๆ ได้สนับสนุนให้ ผมเข้าสู่สายการค้าขาย เพราะว่างานที่เราทำมันสามารถ ประยุกต์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้ ติดตั้งเข้ากับสถาปัตยกรรม ได้จริง เพราะว่าการที่เราเรียนนั้น เราเรียนรู้ภมู ปิ ญั ญา ชาวบ้านและเอกลักษณ์ไทยสมัยใหม่มาร่วมกัน มันจึงทำ ให้ตา่ งชาติเล็งเห็นมาก ผมก็เข้าร่วมการประกวดกับกรม ส่งเสริมการส่งออกที่จะเอาผลงานไปแสดงที่ Maison & Object ทีป่ ระเทศฝรัง่ เศส และเราก็ได้คดั ตัวไป เริ่มต้น ด้วยตัวคนเดียว ครั้งนั้นผมไม่มีทีมอะไรมากมายเพราะว่าผมได้ กลับบ้านและทำงานศิลปะ แต่ที่ผมได้ไปพรีเซนท์ในการ คัดเลือกคราวนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษมาก การที่ผมจบการศึกษา ปริญญาโทแล้วผมกลับบ้าน และอยากทำงานศิลปะต่อ แต่ผมเห็นว่าสิ่งแวดล้อมที่ผมอยู่เป็นหมู่บ้านชาวประมง จังหวัดเพชรบุรี เขามีปัญหาในด้านสังคมคือระบบการ ประมง ไม่มีทรัพยากรในท้องทะเลมากและน้ำมันมันแพง ขึน้ ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ในการเลีย้ งชีพ ผมก็เลยใช้
ความคิ ด ว่ า น่ า จะดึ ง เอาลู ก หลานชาวประมงมาเรี ย น เทคนิคการมัดการผูกเพราะมีพื้นฐานทำพวกเครื่องจับ สัตว์อยู่แล้ว และผมนำลักษณะเหล่านี้ไปพรีเซนท์กับกรม ส่งเสริมการส่งออก อยากไปนำเสนอผลงานที่ผมออกแบบ เหล่านี้ในตะวันตก จากนั้นผมได้โอกาสพิเศษ นั่นคือการ ได้ไปแสดงงานที่ฝรั่งเศสได้จริง ขณะนั้นผมมีทีมเพียง สองคน แต่ว่าสิ่งที่เข้ามามันมากกว่าที่ผมจะรับไว้ได้ เพราะต่างชาติเล็งเห็นงานศิลปะเป็นวัฒนธรรม งานที่ เป็นลักษณะของเพียวอาร์ตแต่ผสมฟังก์ชั่นด้วย มันโดด มากสำหรับต่างชาติเพราะว่าเขาไม่มีวัฒนธรรมมาก ขนาดนี้ เราโชว์ศักยภาพทางทักษะและวัฒนธรรมของ เราด้วยและความเป็นโมเดิร์นด้วย งานจึงเข้าตาตะวันตก มาก หลังจากไปแฟร์ครั้งนั้นทำให้ประสบความสำเร็จ ใน แง่ชาวบ้านที่อยากมีงานทำ เราก็นำงานผลผลิตเหล่านั้น กลับมาสู่พื้นบ้านได้จริงๆ แล้วสิ่งที่ประสบกับการที่ได้คุย กับลูกค้าในวันนั้นทำให้ผมได้สร้างสรรค์และแตกยอด ออกมามากมาย เช่น การที่ผมได้ทำโปรดักท์ไปเสนอ ก็มีพอร์ทไปด้วย พอร์ทเหล่านี้ มันเป็นพอร์ทที่เป็นงาน ประติมากรรมขนาดใหญ่ แต่งานที่เราขายเป็นโปรดักท์ สิ่งที่เขาเห็นทำให้นึกต่อว่าจะทำอะไรต่อได้ และผมมี ภาพให้ดู ภาพเหล่านั้นเป็นภาพในการติดตั้งงานกับ อาคารสถานที่ที่มีอยู่จริงๆ ดังนั้นสิ่งที่เราทำขึ้นมันเป็น สิ่งที่เราแลกกับโอกาส โอกาสที่มันขึ้นมากับแรงงาน ความเหน็ดเหนื่อยของสมอง มันสมองของเราและทีม งานที่ร่วมใจกันทำ ทีมงานมีหลายแผนกหลายฝ่ายมาก เช่น ลุงที่เหลาไม้ไผ่ เหลาเข่ง เหลาหลัว เขาขายไม่ออก ในพื้นที่จะทำอย่างไรให้เขามีอาชีพ มีเงินทุน มีลงุ คนหนึง่ ชือ่ ลุงทองหล่อทำเข่งเก่งมาก แต่ว่าปัจจุบันเข่งใส่ผัก
เหล่ า นั้ น เขาขายไม่ อ อกเลยเพราะประชาชนทั่ว ไปใช้ พลาสติกกัน ผมจึงบอกว่า ”ลุงช่วยเหลาไม้ไผ่และปรับ ขนาดตามที่ผมต้องการให้หน่อย“ จากนั้นลุงก็กล้าลอง ที่จะทำให้ผม แกสามารถทำได้ แกทำหนักขึ้นก็ต้อง ขยายทีมให้เขาสร้างแหล่งผลิตวัตถุดิบส่งให้เรา ทำให้ ชาวบ้านอีกอำเภอหนึ่งมีรายได้ นอกจากการทำไม้ไผ่เป็น เข่ง ทำเข่งเขาไม่มีรายได้มากพอ แต่จากงานออกแบบ ของผมทำให้ไม้ไผ่ธรรมดาบ้านเรากับการออกแบบใส่เข้า ไปเพิ่มมูลค่าขึ้นมา และทำให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพ อย่างมีความสุข ไม่ต้องรวยมากแต่พอมีพอกินไปทุกๆ วัน ตอนนี้เราร่วมงานกันมา 7 ปี ส่วนอีกโซนหนึ่ง การที่เรา นำความรู้เรียนจบมาไปอีกสังคม มันลำบากมากเพราะ ทุนเราไม่มี ไอ้ทุนสำคัญในเรื่องของการที่มนุษย์ต้องกิน ทุกวัน ทำงานแล้วเราต้องจับจ่ายให้เขาทุกวัน เมื่อก่อนการ เริ่มต้น ชาวบ้านก็มาด่าว่าเรามาทำอะไร ศิลปะมันเป็น อย่างไรแต่ว่าเราต้องยืนยันและอดทนในสิ่งที่เขามาว่า กล่าวเราทุกๆ วัน แพร่หลายไปทั้งอำเภอว่าไอ้นี่ทำด้วย แล้วไม่ได้สตางค์นะ ทำงานหนักอดหลับอดนอนแล้วไม่ได้ สตางค์ ช่วงแรกๆ ผมก็รู้สึกท้อ แต่ให้เวลามันคือคำตอบ และอดทนเท่านั้น อย่าไปต่อว่าต่อขานอะไรกับเขาปัจจุบัน คนที่ต่อว่าเรา เขาเหล่านั้นกลับมากทำงานเหมือนเดิม และทำงานอย่างดี ผมดีใจที่วันนั้นผมไม่ได้ว่าอะไรเขา เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ งานเหล่านี้มันขอแค่อาศัยเวลาว่าลูกค้าเห็นว่า เรายืนได้อยู่จริงและสามารถสั่งงานเราได้ ในการที่เราจะ ออกแฟร์สม่ำเสมอ ถ้าเรายืนยันที่จะทำต่อ เขาก็ยืนยัน จะสั่งเราต่อ และชาวบ้านเหล่านั้นเพียงแค่อยากให้ตัด 17
เรือ่ งความลำบากต่อวันทีเ่ ปลีย่ นแปลงชีวติ จากชาวประมง มาเป็นทำงานหัตถกรรม บางทีเขาต้องได้เงินวันนั้นเลย หากเขาไม่ได้ เขาจะกินอะไร เพราะบางครัง้ ชาวบ้านก็ไม่ มีอะไรจะกิน แต่ว่างานออกแบบมันสามารถช่วยคนได้ ทำในสิ่งที่รัก อุปสรรคไม่ใช่ปัญหา ความภูมิใจอยู่ที่การนำความรู้สู่สังคม มันทำให้ เขารู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ผมดีใจที่เอา งานกลับไปทำที่บ้าน ปัจจุบันงานที่สั่งเข้ามาไม่ใช่โปรดักท์ อย่างเดียวแต่เป็นงานศิลปะ ซึ่งในงานแฟร์แต่ละครั้ง ผีแทบหลอก เพราะไม่มีคนมาเดิน ไม่ว่าการเมืองหรือ เศรษฐกิ จ ซบเซาหรื อ แม้ ก ระทั่ ง คนออกแบบไม่ ก ล้ า ออกแบบใหม่ๆ แต่ผมไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ผมจะทำงาน ที่ผมรักเพราะมันทำให้เรามีความสุข สิ่งเหล่านี้เป็น โอกาสให้เราทำงานใหม่ๆ มาออกแฟร์ทุกครั้ง ทุกๆ คน ในทีมของผม ผมยกย่องเขามาก และบอกเขาเสมอว่า หากเราไม่มีงานใหม่ก็จะไม่มีงานทำ ทุกครั้งที่ออกแฟร์ มีเวลาไม่มากต้องอัดงานใหม่ๆ ข้ามวันข้ามคืน เขาก็สู้ เมื่อสู้ โอกาสที่สมมุติว่าเป็นแฟร์เมื่อเมษายนที่มีการ ประท้วง นั่นคือโอกาสสำคัญที่สุดคือการแสดงงานที่ นิวยอร์ค และเซาเปาโล บราซิล ผมว่าผมปิดบูธแล้ว จะเดินไปไหนในแฟร์ก็ได้ เป็นทวีปใหม่ที่เราไปเกิดคือ อเมริกาใต้ แม็กซิโก สั่งงานที่เราผลิตหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์ มี อิ ห ร่ า นสั่ ง เราหนึ่ ง ตู้ ค อนเทนเนอร์ แ ละมี เ ซาเปาโล ประเทศบราซิล มียี่สิบวันเท่านั้นผมทำสามตู้ ไม่มีปัญหา อะไรกับการเมือง เราเพียงต้องทำงานใหม่เสมอ และอยู่ ที่ทีมเวิร์คที่ต้องสู้ร่วมกันด้วย ผมว่างานออกแบบที่ได้ทำ มามันไม่จำเป็นต้องพิเศษอะไร ขอให้เป็นเอกลักษณ์ของ เรา เอาเด่นไปโชว์เขาไม่เอาด้อยไปโชว์
18
กระบวนการออกแบบและกระบวนการทำงาน กระบวนการทำงานของผมทุกอย่างมาจากการ เรียนทำวิจัยปริญญาโททั้งหมดเพราะเราตั้งใจมาก วิจัย ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การเรียนศิลปะต้องเรียนกับการ ปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติมากก็รู้วิธีการใช้งานกับวัสดุมาก วัสดุมีคุณค่า คุณสมบัติอย่างไร เรานำมาใช้ สิ่งสำคัญ ที่สุดคือการอธิบายวัสดุเหล่านั้นด้วยกระบวนการที่เราทำ ให้ได้ พอเราเรียนรู้แต่ละครั้ง ผมทำชิ้นงานวิทยานิพนธ์ ตัวละสามเดือน การเหลาไม้ไผ่ทำให้เกิดสมาธิ ทำเองเหลา เองผมส่งแปดชิ้น วันนั้นผมเรียนรู้กับมันสองปี กระบวนการ เหล่านี้บางครั้งมันทำให้ช้า แต่เราจะทำอย่างไรให้วิทยา นิพนธ์ของผมไวขึ้น เกิดการจัดการเข้ามา มีใครทำไม้ไผ่ อยู่บ้าง เราไปหาตามแหล่งวัตถุดิบ มีจังหวัดใดบ้าง การ ทำงานมีระบบการขึ้น โครงสร้าง การติดรูปทรง การเก็บ รายละเอียด ผมแบ่งเป็นทีมขยายกิจการและสร้างงานใน วงกว้าง จากการทำวิทยานิพนธ์จึงเริ่มมีการจัดการเพราะ ว่าผมต้องการให้ผลิตภัณฑ์และอาร์ตของผมไวขึ้น นั่นคือ การหาพื้นที่ทำไม้ไผ่ ลุงที่เหลาไม้ในจังหวัดเพชรบุรีและ ราชบุรีที่ผมอยู่มันมีตรงไหนบ้าง มันมีการเรียนรู้ในการ อ่านหนังสือของอาจารย์มาโนช กงกะนันท์ ในคณะ มัณฑนศิลป์ มีราชบุรีอยู่โพธาราม และผมมีเพื่อนอยู่ที่ โพธารามจึงช่วยติดต่อทีมหนึ่ง จังหวัดเพชรบุรีมีตรงไหน บ้าง เราทราบมาว่าที่อำเภอเขาย้อยมีการเหลาไม้ไผ่ไว้ทำ เข่ง ทำหลัว และอำเภอบ้านราชทีท่ ำเข่งตะกร้าเล็กๆ นัน่ เป็นส่วนทีผ่ มชอบ ผมดัดแปลงตรงนั้นให้ลุงเขาทำ แต่การ คุยกับผู้มีอาวุโสมากๆ นั้น เราต้องมีใจที่อยากคุยก่อน ซึ่ง ผมเริ่มจากการไปคุยกับก๋งเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการทำ ว่าว เมื่อเรามีวิธีการคุย แล้วจึงเข้าไปคุยกับชาวบ้านได้ เขามีกระบวนการคุยซึ่งชาวบ้านใช้ใจเท่านั้น ใช้เงินซื้อ
เขาไม่ได้ ต้องใช้ใจ ใจต้องเย็น คนมีหลากหลาย แต่เรา ต้องสร้างทีมที่เราเข้าใจกันและกัน บางครั้งไม่มีเงินนะ บางครั้งมันต้องมาก อาชีพรับจ้างถ้ามีมากก็มากไปเลย ถ้าไม่มีก็ไม่มีเลย ช่วงที่ไม่มีเลยจะทำอย่างไร วิธีการพูด เท่านั้นครับตรงๆ ซื่อๆ อันดับที่สอง คือ ทีมงานผลิต ซึ่งเป็นน้องๆ ลูกหลานชาวประมงอายุประมาณ 16-32 ปี บุคคลเหล่านี้ทำปลาตากแห้ง แต่ทรัพยากรธรรมชาติใน ทะเลที่ผมอยู่มีน้อยมาก หากเขาสามารถทำได้ก็ควรมา ฝึกกัน ผมคิดว่าวัยรุ่นสามารถนอนดึกตื่นเช้าได้ และ ปัญหาของพื้นที่คือ พ่อแม่ของเด็กไม่มีรายได้มาก ม.3 หรือ ม.4 ก็จะเลิกเรียนและเริ่มมีบุตร การทำงานจะทำ ให้เขานำเงินมาเลี้ยงลูกของเขาได้ประมาณ 4 ปี แล้วให้ กลับไปเรียนต่อให้จบ ม.6 ทำให้เขาเลี้ยงลูกได้ด้วย ทีม เหล่านี้ ผมใช้ขั้นตอนการขึ้นโครงสร้างทีมหนึ่ง ทีมแปะติด รูปทรงให้แน่นอีกทีมหนึ่ง การเก็บรายละเอียดอีกทีมหนึ่ง ซึ่งทั้งสามส่วนนี้มันคือส่วนที่ต้องทำงานไปด้วยกัน แต่ละ คนต้องทำงานแต่ละส่วนในหน้าที่ของตนเองอย่างแท้จริง ผมเคยทดลองขั้นแรก ถ้าคนนี้คิดว่าแผนกนี้ง่ายก็ให้ไป ทำ แต่เมื่อทำแล้วก็ทำไม่ได้ ทำให้เขาจำเองเพราะผมคิด ว่าการปฏิบัติคือการเรียนรู้ เขาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรา ไม่ต้องไปสอนอะไรเขามาก ผมจะสอนตั้งแต่หนึ่งคน หนึ่งคนก็จะไปสอนต่อๆ กัน 2 เป็น 4 และ 4 เป็น 8 ทำให้ไปไวขึน้ ทีมต่อไปคือทีมแพคเกจ มีพท่ี า่ นหนึง่ เป็น คนขับรถหกล้อตากปลาหมึก เขาไม่มที รัพยากรธรรมชาติ ผมก็ดึงเขามา มีช่างไม้ต่อเรือซึ่งไม่มเี รือจะต่อแล้วมาทำ แพ็คกล่อง ทีมเหล็กเป็นหลานชาย ซึ่งไม่ได้ทำอะไรมาก นอกจากฝึกเชือ่ มเหล็ก ก็ทำให้เราได้สอนด้านดีเทล ซึง่ คน ที่ทำก่อสร้างหนักๆ เหล็กเส้น เขาจะไม่สามารถทำงานที่ เป็นเหล็กขนาดเล็กได้ เช่น ขั้วไฟต่างๆ ต้องดีเทลเยอะ เรา
ก็สอนดีเทลเขาไปเลยตั้งแต่เริ่มต้น เขาก็ทำได้หมด แต่งาน หยาบๆ จะง่ายกับเขามาก เราสอนคนนีท้ ำให้เขาสามารถ ซัพพอร์ทรูปทรงของอาร์ตได้หมดทุกส่วน ทุกคนที่ทำงาน กับผมไม่มีใครเลยที่มีความรู้ด้านศิลปะ แต่ทุกคนตั้งใจ และเชื่อสิ่งที่เราทำที่เราคิด พอเชื่อมันก็สามารถพาไปได้ อนาคตอยู่กับความเชื่อ หากเรารวมจุดมุ่งหมายของเรา ให้เขารู้ก็ไปได้ การจัดการเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เครียด เราเอาศิลปะเข้าไป ทำให้งานที่เขาผลิตมันไม่รู้สึกเครียด ทุกคนที่ทำงานกับผมจะมีความสุขมาก เพราะอยากจะ ไปไหนก็ได้ แต่ว่างานต้องเสร็จตรงต่อเวลา ตอนนี้เรา สามารถรับงานตรงต่อเวลามากและเนี้ยบอยู่ ผมว่าทีม ตอนนี้เจ๋งมาก นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ควรได้รับการสนับสนุน อยากให้รัฐบาลสนับสนุนนักออกแบบคนรุ่นใหม่ คือมันมีหลายอย่างมาก ไม่ว่าเรื่องทุน โอกาส สนาม และ ทีม ตอนนั้นผมก็มีโครงการรัฐบาลที่เอาใบสั่งซื้อสินค้า (P.O.) ไปแลกเงินในธนาคารนั้นได้แต่ผมมีออร์เดอร์ จาก ทีมงานผมที่มีเพียงสามคน ผมจะคว้าโอกาสเหล่านั้นไว้ ได้อย่างไร แล้วเอาพีโอวิ่งไปทั่วเลย ทุกธนาคารบอกผม เพ้อฝันหมด แต่ในมือมีออร์เดอร์อยู่และผมเลยเลิกขอ ความหวังจากรัฐบาลแต่ขอเงินจากคนที่ซื้อ มันง่ายดีแต่ ปัจจุบันโอกาสมากขึ้นเพราะรัฐบาลสนับสนุนกับครีเอทีพ ประเด็นที่ผมอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ คือ ทุน สำหรับนักออกแบบ และสนามต่างประเทศล้วนๆ ไม่ต้อง โชว์เมืองไทย เพราะเงินไทยซื้องานออกแบบตอนนี้ไม่ได้ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่คนจะเสพงานออกแบบ ซึ่งคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองหลวง ข้างนอกยังอยู่กับการหาเช้า กินค่ำเขาจะไม่ซื้องานออกแบบเด็ดขาด ตาสีตาสาคงไม่ ซื้อกล้องดิจิตอลมาใช้ และตาสีตาสา ก็ไม่ซื้อเก้าอี้แพงๆ มาใช้เหมือนกัน แต่ว่าเราจะต้องสร้างรายได้งานหัตถกรรม ไปสู้กับงานต่างประเทศให้ได้ นักศึกษาใหม่ๆ ออกแบบ ใหม่ๆ มันก็เวอร์เหมือนกัน เพราะไปเห็นในสิ่งที่ตัวเอง ทำไม่ได้ เช่น อุตสาหกรรมหนัก มันไม่สามารถไปสู้ ตะวันตกได้ เขาปั๊มออกมาเป็นรถยนต์เลย แต่ประเทศไทย เก่งเรื่องหัตถกรรมจะต้องเอาตรงนี้ไปช่วยตาสีตาสา ซื้อ 19
ไม่ได้แต่ทำให้ได้เงินเข้าสู่รากหญ้า ดังนั้นสนามสำคัญ ในเมืองโลกเป็นสนามที่วิเศษมากสำหรับนักออกแบบ หน้าใหม่ รัฐบาลควรซื้อพื้นที่สำคัญๆ ของเมืองหลวงโลก ให้นักออกแบบไทยไปโชว์ ผมว่าทุนหลายๆ ทุนไม่ต้อง มากแต่จำเป็นที่สุด เอาความต้องการออกจากความจำเป็น ความจำเป็นคือที่พัก สนาม และค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ากิน ไม่ต้องอยู่กับผลประโยชน์ใครทั้งสิ้น แล้วให้เขาไปสนาม เหล่านั้น คนไม่กี่คนหรอกครับที่ทำให้หมู่บ้านทั้งหมู่บ้าน ที่นักออกแบบอยู่มีรายได้ที่แน่นอน นักออกแบบไทยไป ต่างประเทศไม่ใช่เท่ห์ ไปอย่างลำบาก ไม่ใช่อยู่ดีกินดี ไม่ต้องการที่พักที่ดี ที่พอซุกหัวนอนก็พอ มีที่อยู่ที่กินก็พอ ทุกคนหาโอกาส ถ้าเขาได้ไปเขาก็เอาเงินเข้าประเทศได้ ผมไปสนามแรกไม่มีเงินสักบาท มีงานแฟร์งานเดียวมี เงินเข้ามาเป็นล้าน แต่เราไม่มีคนที่จะทำเพราะไม่มีทุน เขาของานตัวละหมื่นสี่ร้อยชิ้นต่อเดือนได้ไหม ผมทำไม่ได้ ผมมีเพียงสองคนแต่โอกาสมันมีกับสนามโลก พี่คนหนึ่ง ขายภาพเกือบสี่ล้าน เซ็นเช็คให้ทั้งบูธซื้อบ้านที่ปารีสได้ เลย คนไทยซื้อไหมครับ ไม่ซื้อ แต่คนที่เมืองนอกเขามีตังค์ เขาซื้อ สนามการซื้องานออกแบบอยู่ต่างประเทศหมด แต่คนผลิตอยู่เมืองไทย หากรัฐบาลมองสนามทั่วโลกที่ เป็นสนามที่บ้างานดีไซน์จริงๆ อย่าง โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ซื้อให้หมดทั้งโลก ให้นักศึกษาจบการศึกษาด้าน การออกแบบ คัดเข้ามาแล้วให้รัฐบาลทำงานจริงๆ ไม่ต้อง มีผลประโยชน์ใดๆ เพราะคุณคือคนทำงานสร้างโอกาส ให้กับประเทศไทย ผมว่ า คอรั ป ชั่ น มี ผ ลกั บ รั ฐ บาลไทยมากหาก ตัดทอนตรงนี้จะไปต่อไปได้ ครีเอทีพอยู่กับโอกาสและ สนามเท่านั้นเพราะประเทศไทยมีการออกแบบแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมัน เหนือกว่าฟิลิปปินส์ไม่มากนัก ประเทศไทยมีดีไซเนอร์ และยังก์ดีไซเนอร์ขึ้นมา ทำให้ฟิลิปปินส์สู้ไม่ได้ นักออกแบบ ฟิลิปปินส์ยังไปเปิดงานที่ดังๆ ทีแรกผมต้องให้รัฐบาล สนับสนุนในการไปฝรั่งเศส แต่งานที่ผมขายได้วันแรกทำ ให้ผมดำรงชีวิตในปารีสได้ และผมเอาเงินก้อนใหญ่กลับ
20
มาด้วย ผมร้องไห้ทุกวันที่เขาเห็นคุณค่า อยู่ที่เรื่องสนาม ไม่ต้องให้คนไทยดูหรอก คนไทยอยู่ฟรีเขาก็ทำได้ แต่ขอ สนามที่โดดๆ หน่อย เช่น จีน ปารีสทุกมุมโลกที่เป็น สนามแฟร์ ซื้อพื้นที่ให้เขา เพราะตอนนี้ไต้หวันซื้อทุกพื้นที่ แล้วและ เขามีอุตสาหกรรมหนักด้วยเราจะสู้เขาไม่ได้แต่ เราเอาหัตถกรรมไปสู้กับที่ที่ไม่มีวัฒนธรรม ความภูมิใจสูงสุดในชีวิตของตนและอนาคตที่วางเอาไว้ ข้างหน้า ความภูมิใจที่ตอนนี้คือเอางานที่คุณปู่ทำมาผลิต ใหม่ดังนั้นเทคนิคที่เป็นของเรายังอยู่ เป็นเทคนิคการทำ ว่าวไทยเอาศิลปะใส่เข้าไปและให้มีฟังก์ชั่นความเป็นไทย ยังอยู่ และสมัยใหม่เข้ามา แต่มันยังอยู่ ผมภูมิใจที่เอา วิธีการของคุณปู่มาสอนให้ลูกหลานที่ลพบุรีเป็นเมืองที่ ทีมชาติ ทำให้ทกั ษะของเขาเก่งขึน้ แปลกใหม่ขนึ้ หารายได้ เข้าประเทศมาก สิ่งที่กรกตจะทำต่อไป ผมว่าผมหาความรู้ทุกวัน เราออกแบบเราก็ทำงาน ทุกวัน การหาความรู้การใฝ่รู้จากการอ่าน เราต้องสเก็ตช์ ทุกวัน มันเป็นพื้นฐานตั้งแต่เราเรียน คือการสเก็ตช์ไปแลก กับคำวิจารณ์ของอาจารย์ แต่ปัจจุบันเป็นการสเก็ตช์เพื่อ ไปแลกเงินกับลูกค้า นักเรียนศิลปะส่วนใหญ่นอนดึกมาก แต่ว่าตื่นสาย ต้องเปลี่ยนทัศนะคติเสียใหม่ คุณคือประเทศ ที่สามกำลังพัฒนา ต้องขยันให้มากกว่าอาจารย์หรือรุ่นพี่ คุณต้องใฝ่รู้ ทำให้คุณพัฒนาตนเองได้ไว หาสิ่งใหม่ๆ มาใช้กับชีวิต และวัสดุของเรามันทำให้เราไปได้ไกลและ สามารถสร้างความแปลกใหม่ให้กับตัวเอง ไม่ต้องแข่งกับ ใคร แข่งกับตัวเอง ผมอยากสร้างอาณาจักรของผมเองเช่น ผมทำไม้ไผ่ ก็อยากมีพื้นที่ของผม ลุงๆ ป้าๆ ไม่ต้องไป หาไม้ไผ่ไกลเป็นพื้นที่ของผมที่จะสร้างเป็นสถาปัตยกรรม ที่เป็นอาคารของผม ในโรงงานของผม ทีมที่เป็นบ้านผม ใครไปก็ไปที่นี่เท่านั้น อยากให้คนรอบข้างเขาเห็นว่าคนคน นี้ทำอะไรมันเป็นความคิดทั้งนั้นแต่มันไปได้ถ้าเราแข็งใจ
21
กฤษณ์ พุฒพิมพ์ Krit Phutpim
Emerging Award 2008
“ผมกล้าพูดได้เลยว่า เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความพิถีพิถัน ฝีมือนักออกแบบไทยไม่ได้น้อยหน้า กว่านักออกแบบประเทศอื่นๆในระดับสากล”
เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่านักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในเมืองไทยส่วนมาก มักจะเรียนมาทางการออกแบบตกแต่งภายใน อาจเป็น เพราะส่วนหนึ่ง ด้วยวิชาชีพที่ต้องเกี่ยวพันกับการเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งอื่นๆ มาประกอบใช้ในสาย งานของตนเอง และบางกรณีที่ไม่สามารถหาของที่มีใน ท้องตลาดมาใช้งานจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้อง ออกแบบเองเพื่อให้เข้าถึงความพอใจของเจ้าของโครงการ ที่พักอาศัยนั้นๆ การออกแบบโดยคำนึงถึงความงามและประโยชน์ ใช้สอยโดยรวมต่อสภาพแวดล้อมทั้งหมดของสถานที่อยู่ อาศัย เป็นลักษณะเด่นของนักออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งต่างจากกระบวนการคิดของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มักจะใช้กระบวนการออกแบบเพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหา เชิงกายภาพและกระบวนการผลิตเป็นประเด็นหลักใน การเริ่มต้นออกแบบของสักชิ้นหนึ่ง ความต่างตรงจุดนี้ อาจพอเป็นหนึ่งในปัจจัยหลายๆ ข้อที่บ่งบอกว่าทำไมตัว เล่นที่ประสบความสำเร็จ ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย 22
มักจะไม่ใช่นักออกแบบที่เรียนจบมาจากสายการออกแบบ ผลิตภัณฑ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง ไม่น่าเชื่ออีกเรื่องหนึ่งของวงการออกแบบผลิตภัณฑ์ไทย ที่เป็นสูตรสำเร็จ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ นักเรียนนักศึกษาที่ เรียนจบมาทางสาขานี้ส่วนมากเมื่อจบไปแล้วก็มักจะ ไม่ทำงานด้านที่ตนร่ำเรียนมา ส่วนหนึ่งจะไปทำงานด้าน กราฟฟิค และอีกส่วนหนึ่งจะออกไปทำด้านการตกแต่ง ภายใน นี่ยังไม่นับที่หายไปประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวกับ การออกแบบอีกกลุ่มใหญ่ สาเหตุที่ว่าอาจมาจากกระบวนการทำงานที่หนัก และซับซ้อน และดูเป็นงานที่ต้องตอบโจทย์ทางการตลาด แบบแมสโปรดักชั่น อีกทั้งยังต้องพึ่งพาฐานความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สิ่งเหล่านี้หรือเปล่าที่ทำให้ นักออกแบบหลายคนถูกจำกัดความคิดและจินตนาการ ทางศิลปะที่ตนชอบ และที่สำคัญวิชาชีพนี้ยังไม่มีอะไร การันตีเรื่องรายได้ที่สวยหรู เมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นใน กลุ่มออกแบบด้วยกัน
กฤษณ์ พุฒพิมพ์ คือนักออกแบบคนหนึ่งที่เป็น ข้อยกเว้นจากเหตุและปัจจัยข้างต้น กฤษณ์ เรียนจบมา ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมุ่งมั่นที่จะ เอาดีในวิชาชีพนี้ถึงขนาดลงทุนไปศึกษาต่อเฉพาะทางที่ ประเทศสวีเดน อุปสรรคต่างๆ ในวิชาชีพทั้งเรื่องรายได้ และความสำเร็จ ไม่ใช่ข้ออ้างของนักออกแบบคนนี้ที่จะ เบนเข็มไปทำอย่างอื่นอย่างที่หลายๆ คนทำกัน กฤษณ์ รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์เปิดดีไซน์สตูดิโอในชื่อว่า DOTS design service co., Ltd. เพื่อรับงานออกแบบให้กับผู้ประกอบการ โรงงานหลายแห่ง และมีผลงานจำนวนไม่น้อยที่เป็นที่ สนใจและถูกตีพิมพ์ เผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในฝีไม้ลายมือ ของคนกลุ่มนี้ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง อะไร เป็นเสน่ห์ในวิชาชีพที่กฤษณ์ หลงใหล และอะไรเป็น รายละเอียดจริงในการทำงานของนักออกแบบที่เป็นนัก ออกแบบผลิตภัณฑ์สายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ เป็นกำลังสำคัญในวิชาชีพ ตามติดชีวิตและการทำงาน ของนักออกแบบที่น่าจับตามองคนนี้ร่วมกันที่นี่
อะไรทำให้สนใจมาเรียนทางออกแบบ โดยส่วนตัวชอบงานออกแบบอยู่แล้ว ถ้าย้อนไป ตั้งแต่เด็กจะมีคำถามในตัวเองสองคำถามว่าเมื่อก่อน ตัวเองชอบประดิษฐ์ ในที่นี้หมายถึงเหมือนทำของเล่น เล่นเอง ทำของใช้เอง หรือคิดว่าสิ่งโน้นสิ่งนี้น่าจะทำเอง ได้ มีคำถามว่า ตัวเองจะเป็นนักประดิษฐ์ ถ้าเลือกเรียน ต้องเป็นวิศวกรหรือนักประดิษฐ์ทางสถาปัตยกรรม หรือ ว่างานออกแบบ แต่ดว้ ยความทีต่ วั เองชอบวาดรูป ขีดเขียน คิดเชิงสร้างสรรค์ จึงเลือกมาทางสายสถาปัตยกรรม ได้ เข้าเรียนที่คณะศิลปะอุตสาหกรรมที่สถาบันพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ไม่คิดจะไปทำอย่างอื่น เหมือนที่มักจะเป็นกัน คือจริงๆ มันแทบจะไม่ต้องคิดว่าจบแล้วไปทำ อะไรเพราะผมชอบทำงานออกแบบ และก็ไม่ได้คิดว่า เรียนจบแล้วไปทำอย่างอื่น เพราะคิดว่าตัวเองแน่วแน่ เรียน ด้านนี้ทำด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม รักการออกแบบ งานออกแบบมันมีเสน่ห์ ใช่ มันมีเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้เวลาผมทำงาน หรืออยู่กับมันไม่รู้สึกเบื่อ คือเวลาทำงานออกแบบถ้าคุณ เบื่อหรือไม่อยากทำแปลว่าคุณไม่ชอบมันแล้วคุณไม่อาจ ทำออกมาให้มันดีได้ กลับกันถ้าคุณอยู่กับมันได้ทั้งวัน ทั้งคืน ไม่เบื่อเลยเหนื่อยบ้างแต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะหยุดหรือ เลิกล้มความตั้งใจ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ตอบได้แล้วว่า คุณชอบงานประเภทนี้ เรียนต่อ หาประสบการณ์ ตั้งแต่เรียน ผมอาศัยทำงานพาร์ทไทม์ เป็นจ๊อบ เล็กๆ ส่งประกวดบ้าง เป็นการฝึกฝนตนเองและลองเช็ค ความสามารถตนเองว่า พอตัวเองออกไปข้างนอกจะอยู่ ตรงไหนของวงการนี้วิชาชีพนี้ น่าจะพูดได้ว่าผมทำงาน ออกแบบตั้งแต่เรียนอยู่ และพอรู้ว่าไม่ใช่สิ่งท่ี่ฝืนตนเอง เมื่อออกมาทำงานแรกๆ ก็เป็นฟรีแลนซ์บ้าง และทำงาน ที่บริษัทออกแบบพักหนึ่ง คิดว่าน่าจะถึงเวลาที่เราไปดูว่า ข้างนอกประเทศระดับสากลเป็นอย่างไร จึงคิดไปเรียนต่อ ว่าเขาทำอะไรกันอยู่ตรงไหน การไปเรียนต่อไม่ใช่เพียง เอาปริญญากลับมา แต่เราไปเห็นสิ่งที่แตกต่างสิ่งแวดล้อม ที่เราไม่คุ้นเคย มองวิชาชีพนี้ในนักออกแบบไทยแตกต่างจากข้างนอก อย่างไร ผมกล้ า พู ด ได้ เ ลยว่ า เรื่ อ งความคิ ด สร้ า งสรรค์ ความพิถีพิถัน ฝีมือ นักออกแบบไทยไม่ได้น้อยหน้ากว่า นักออกแบบประเทศอื่นๆ ในระดับสากล อาจติดตรงที่ วัฒนธรรมบางอย่างหรือว่าศักยภาพบางอย่าง ต้องยอมรับ ว่าประเทศเรากำลังพัฒนา โอกาสหรือการที่เราจะได้เข้า สู่สากลค่อนข้างยาก ในยุโรปเองการแข่งขันของนักออกแบบ ค่อนข้างสูง ผมพูดได้เลยว่านักออกแบบไทยไม่แพ้ชาติ อื่น ขาดเพียงจังหวะและโอกาสเท่านั้น 23
งานออกแบบของเราพิเศษหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร ผมมองว่า ผมเป็นนักออกแบบที่ยึดวิธีการทำงาน คือใช้ความต้องการของโจทย์เป็นหลัก ไม่ได้ยึดติดว่าผม เป็นดีไซเนอร์มีสไตล์แบบนี้ คุณมาให้ผมทำงานต้องได้ งานแบบนี้ ผมคิดว่าโจทย์มายังไงความต้องการของลูกค้า เป็นยังไง ข้อจำกัดมีอะไรบ้าง ผมจะเอาข้อมูลนั้นมา แปลงเป็นงานออกแบบ สไตล์การทำงานที่บ่งบอกว่าเป็น เอกลักษณ์ของตนเองเอามาใช้น้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการ และข้อจำกัดตอนนั้นมากกว่า เอนด์ยูสเซอร์เป็นจุดสำคัญ ที่ทำให้งานออกมาเป็นอย่างไรมากกว่า
ดีเวลอปม็อคอัพ กระทั่งไฟนอลไลซ์เลย แต่บางทีด้วยข้อ จำกัดบางอย่างไม่สามารถให้เราทำงานได้อย่างที่เรา อยากทำ ชั่งน้ำหนักว่าควรทำยังไงก่อน ทำแค่ไหนพอ ให้ความสำคัญตรงไหนอยู่ที่ดุลพินิจในแต่ละสถานการณ์ ว่าเราจะดิวกับคน สถานการณ์โปรเจคท์นี้ยังไง ผมว่ามัน สำคัญทั้งสองอย่างทั้งความคิดและวิธีการ แต่จริงๆ เรา ต้องให้ความสำคัญกับความคิดแต่เก็บไว้ข้างใน ควรมี กระบวนการของเราแต่เราจะนำเสนอมันมากน้อยแค่ไหน มีโครงการระยะยาวไหมว่าอนาคตเราเป็นอย่างไร คือตอนนี้เราพยายามทำให้ตัวเองชัดขึ้นมาว่าเป็น ดีไซน์เซอร์วิสเหมือนให้บริการด้านการออกแบบ ผมมอง ภาพรวมว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไร คืองานออกแบบมันมี ส่วนเกือบทุกๆ อย่างในงานออกแบบ ไม่ว่าคุณจะทำงาน สถาปัตยกรรมก็มีดีไซน์คือตั้งแต่สเกล ให้กระทั่งสเกล เล็กต้องใช้ งานออกแบบแทรกซึมทุกอย่าง ผมไม่ได้จบ อาร์คิเทคโดยตรงแต่ใช้เซนส์ในการออกแบบช่วยดูได้
วิธีการทำงานเป็นทีม ใช่ครับ จริงๆ เราคุยวิธีการทำงานแต่แรกว่า เมื่อ เรารับงานต้องระดมสมองว่าโปรเจคท์นี้มีความต้องการ อย่างไร ลักษณะการทำงานแต่ละโปรเจคท์จะให้อะไร มาก่อนมาหลัง คือตอนนี้มันจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มหลัก คือคอมเมอร์เชียล และโปรเจคท์ของสตูดิโอเอง หากเป็น เรื่องคอมเมอร์เชียล ผมเน้นความต้องการ เราให้ความ สำคัญเรื่องข้อมูลตลาดการค้ามากกว่าสไตลิ่งของตนเอง อยากได้รับการสนับสนุนด้านไหน แต่หากเป็นโปรเจคท์ของสตูดิโอเอง เราค่อนข้างเปิด คือ ถ้ า ถามว่ า จะทำยั ง ไงให้ นั ก ออกแบบเราเป็ น ที่ มันมีเรื่องการทดลองใหม่ๆ และชัดเจนกว่าคอมเมอร์เชียล ยอมรับ มันก็ต้องการโอกาสจากทุกๆ ทิศทาง เวที นักออกแบบปล่อยของเป็นเรื่องที่ดีเพราะว่าเราเองเป็นแค่ ผลงานตัวเองที่ทำให้คนรู้จัก นักออกแบบเล็กๆ คนหนึ่ง ถ้าไม่มีเวทีหรือโอกาส ถึงเรา คือ ถ้าตอนนี้เห็นกันบ่อยจะเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ เก่งแค่ไหนก็ไม่มีใครเห็น มันต้องมีการเผยแพร่ไม่ว่า เอาท์ดอร์ที่ทำให้ลูกค้า ส่วนใหญ่หากมีคำว่าลูกค้า หรือ วิธีการไหนก็ดีทั้งนั้น ถ้าทำให้ส่วนรวมเห็นว่าดีไซเนอร์ เอนด์ยูสเซอร์มาเกี่ยวข้องจะเน้นไปทางข้อมูลให้ตรง คนนี้หรือรวมๆ ทำอะไรได้บ้าง โจทย์มากกว่า คือทางสตูดิโอผมจะสนุกกับการแก้ปัญหา มากกว่า คือมีโปรเจคท์หนึ่งให้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์จาก คำแนะนำต่อนักออกแบบรุ่นใหม่ เศษวัสดุโรงงานเราไม่ได้คิดว่าจะเอามารียูส แต่เราคิดว่า ถ้าสำหรับนักออกแบบรุ่นที่กำลังจะเข้ามาทำงาน จะทำอย่างไรให้มันใช้วัสดุคุ้มค่าที่สุดและสวยงาม มี ออกแบบ อย่างแรกต้องใจรัก หากไม่ได้รัก มันพยายาม โปรเจคท์หนึ่งที่เราเข้าไปโรงงานแปรรูปไม้ที่มีเศษไม้ ยังไงก็ไม่เต็มที่ ต้องรักมันก่อน รักที่จะทำ คือวิธีเช็คง่ายๆ เยอะและหลายชนิด เราเข้าไปรีเสิร์ชว่าเขาทำงานกัน คืองานไหนที่ผมทำแล้วผมคลุกคลีกับมันได้ทั้งวันทั้งคืน อย่างไร ข้อจำกัดคืออะไร โรงงานนี้เน้นแปรรูปไม้ ไม่มี ไม่เบื่อและอยากเลิก คือสิ่งที่ชอบ หากคุณมีใจรัก คุณ ศักยภาพทำได้เท่าโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เลยเป็นสิ่งที่เราต้อง ทำได้ เรือ่ งทาเลนท์ผมเชือ่ ว่าเป็นเปอร์เซนต์ทนี่ อ้ ยมาก อยู่ เอามาคิด และการมีเศษไม้เยอะเป็นชิ้นก็เป็นเรื่องของ ที่การฝีกฝน ไม่มีใครออกแบบได้ตั้งแต่เกิด คือพวกนี้ต้อง ขนาดไม้ที่ต้องเอามาคิด ข้อมูลเหล่านี้เราเอามาวิเคราะห์ เรียนรู้ทำความเข้าใจศึกษา ผมไม่รู้เรื่องการออกแบบ และคิดว่าเราควรจะทำเฟอร์นิเจอร์แบบไหนที่ผลิตง่าย เฟอร์นิเจอร์เลย แต่เข้าไปเรียนรู้ลองผิดลองถูก ดูตัวอย่าง ใช้วัสดุคุ้มค่า สวยงาม และขายได้ จากที่เคยมีมา เอามาพัฒนาให้เป็นรูปแบบของตนเอง อย่างแรกคือ เราตอบโจทย์ได้ ลูกค้าค่อนข้าง วิธีการคิดการทำงานของตนเองได้ ใช้เวลาหน่อยแต่หาก ประทับใจ อย่างน้อยเราตอบโจทย์จากความต้องการที่ คลุกคลีกับมันก็ไม่เป็นเรื่องยากเลย เขาให้มาได้แล้ว สองคือ เอาตัวนี้ไปให้พับบลิคดู อย่าง โปรเจคท์นี้มีโอกาสไปแสดงที่ Milan Furniture Fair ที่ Salone ก็ค่อนข้างให้ความสนใจได้ลงเพรส ได้ออกสื่อ ประมาณหนึ่ง เป็นตัวประกันระดับหนึ่งว่าผลงานเรา ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว ชั่งน้ำหนักระหว่าง การคิดกับทักษะ คือจริงๆ ผมว่ามันต้องอาศัยการทำ ความเข้าใจว่า เราต้องไปดิวกับลูกค้าหรือว่ากับยูสเซอร์ แบบไหน ถ้าคนนี้เขาสามารถปล่อยให้เราแสดงศักยภาพ ได้เต็มที่ เข้าใจว่าที่เราเรียนมา เราอยากทำในกระบวนการ ออกแบบครบ ตั้งแต่หาคอนเซปท์ รีเสิร์ช ทำสเก็ตช์ 24
25
เกศกาญจน์ อาศิ ร รั ต น์ Keskarn Arsirarat
Designer of the Year 2008
“ดูงานให้มากๆ แล้วก็ลืมมันไป..... จงทำสิ่งใหม่เพราะทุกคนสามารถทำได้”
มีคนนิยาม เกศกาญจน์ ในฐานะ “นักออกแบบ หัวก้าวหน้า” ด้วยความกล้าในการมองไปข้างหน้าเพื่อหา ไอเดียใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงแนวคิดเดิมๆ ที่ถูกเล่าซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ยากที่จะบอกว่า เกศกาญจน์ อาศิรรัตน์ ทำงานเป็น อะไรกันแน่ ด้วยส่วนผสมหลายอย่างในตัวเองตั้งแต่จบ ปริญญาตรีจากภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา มหาวิทยาลัย ศิลปากร แล้วไปต่อจิตรกรรมด้านฟิล์มและวีดีโอที่ Central Saint Martins College of Art and Design ในกรุง ลอนดอน บวกกับประสบการณ์การใช้ชีวิตและการทำงาน ในประเทศอังกฤษกว่า 11 ปี “ศิลปินนักออกแบบ” คือ สิ่งที่เธอคิดว่าใกล้เคียงที่สุดที่จะนิยามให้กับตัวเองได้ เธอสนใจในการสร้ า งงานจากฐานความคิ ด ที่ เรียบง่ายจากสิ่งรอบตัว เน้นการสื่อสารแบบตรงประเด็น สำหรับคนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันก็สามารถเข้าใจได้ มากกว่าที่จะเฉพาะเจาะจงสร้างผลงานให้ออกมาเป็น สไตล์ของชาติใดชาติหนึ่ง Skin Jewelry คือเคร่ืองประดับติดผิวหนังที่ สามารถใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกายโดยไม่มีข้อจำกัด 26
เหมือนเคร่ืองประดับทั่วไป การนำเครื่องประดับลาย Hounds tooth มาประดับบนเรือนร่างของนางแบบ เพื่อ ให้มันทำหน้าที่คล้ายลายผ้า เป็นรูปแบบงานกราฟิกที่เธอ ถนัดเป็นชิ้นงานที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับเธอ ในงานแฟชั่นของประเทศอังกฤษ เมื่อสองปีที่ผ่านมา เกศกาญจน์ใช้ชีวิตอิสระในการทำงานศิลปะ รวมไปถึง งานสอนในมหาวิทยาลัยสองถึงสามแห่ง และกำลังเตรียม จัดงานแสดง “ดูงานให้มากๆ แล้วก็ลมื มันไป จงทำสิง่ ใหม่ เพราะทุกคนสามารถทำได้..” คือสิ่งที่เกศกาญจน์ อยาก ฝากไว้ให้สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ สนใจงานทางนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ จริงๆ แล้วตั้งแต่เรียนปริญญาตรี อยากเรียน จิตรกรรมแต่ใจกล้าไม่พอ เจอรุ่นพี่บอกว่าเรียนออกแบบ ดีกว่า ประยุกต์ศิลป์เป็นออกแบบและจิตรกรรม ผสมกับ ในใจเราก็อยากเรียนจิตรกรรม เมื่อเรียนจบทำงานไปได้ หลายปี ก็เลยตัดสินใจไปเรียนจิตรกรรมให้ได้จึงได้ไปเรียน จิตรกรรมที่ Central Saint Martins College of Art and
Design ที่ลอนดอน จุดเปลี่ยนที่ทำให้มาทำงานด้านเครื่องประดับ หลังจากที่เรียนจบแล้วก็คิดว่าอยากอยู่ลอนดอน ต่ออยากหาประสบการณ์ หางานทำ วันหนึ่งดูโทรทัศน์มี รายการแฟชั่นโชว์จาก London Fashion Week ซึ่งตัวเอง ไม่มีพื้นฐานเลยสนใจแต่ไม่มีความรู้ด้านแฟชั่น เรียนศิลปะ และทำงานมานานกว่าสิบปี จนไปเรียนปริญญาโท พอ เรียนจบถ้าเรามีโอกาสทำงานแฟชั่นคงจะดีเพราะเป็นทีม งานใหญ่ ทำงานหลายคน ใช้ระยะเวลาเป็นเดือนๆ เพื่อ มาทำโชว์ในเวลา 15-30 นาที พลังในการทำงานหลายๆ คนมารวมในจุดเดียวกัน อยากเรียนจิตรกรรมเพราะชอบ ทำงานคนเดียว เมื่อเรียนจิตรกรรมได้สักพักเราอยากทำ เป็นทีมอีกแล้วนะ เราเริ่มโตมาแต่อยากได้สายงานใหม่ เพื่อให้ความรู้ใหม่ๆ ไปสมัครงานแล้วบังเอิญได้ เป็นงาน แรกที่ได้เพราะว่าสมัครอยู่ประมาณสามเดือนในการหา งาน ทำเป็นพาร์ทไทม์ ทำตั้งแต่แอสซิสแทนท์กระทั่งเป็น ซีเนียร์ดีไซเนอร์
บริษัทที่ได้ทำงานด้วย บริษัทชื่อ J.Maskrey อยู่ลอนดอน หลักๆ เขา ทำงาน 2 ประเภท คือแฟชั่นโชว์และทำโปรดักชั่นเป็น ชิ้นๆขาย ตอนเข้าไปทำงานใหม่ๆ ยังเป็นแฟชั่นโชว์แบบ ไม่อยู่ในตารางของ London Fashion Week ทำโชว์แรก ทำชิ้นงานจิวเวลรี่และวิดีโอโปรดักชั่น เพราะตอนเรียน จิตรกรรม เรียนสาขาฟิล์มแอนด์วิดีโอ คือเป็นวิดีโออาร์ต ช่วยด้านโปรดักชั่นการถ่ายทำของโชว์หลังฉาก จนมาเริ่ม ทำเครื่องประดับจริงๆ ตอนเป็นโชว์ใน London Fashion Week แล้ว โชว์ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำนางแบบ 3 คน ซึ่งเป็นเซ็ทของ Hounds tooth ซึ่งเป็นลายฟันหมา คือเขาจะแบ่งงานตามบุคลิกของเรา เราชอบงานที่เป็น กราฟิก ไม่หวานเกินไป ก่อนหน้านั้นทำเอดิทอเรียลจิวเวลรี่ (Editorial Jewelry) เป็นชิ้นคล้ายๆ ลายผ้า ก็เอาอันนี้มา ทำโชว์แล้วคิดเอาว่านางแบบสามคนเลยคิดเป็นสามสี ขาว-ดำ เงิน-ดำ และทอง-ดำ มันเป็นช่วงออทัมน์ วินเทอร์ ซึ่งชุดแรกอยากให้เหมือนเสื้อคอเต่า เราคิดใน แง่องค์ประกอบของศิลปะมากกว่าแฟชั่น เพราะพื้นฐาน เรามาจากทางนี้ อยากให้เป็นเสื้อคอปิดเนื่องจากเมื่อขึ้น แคทวอล์คมันจะมีไฟช่วยให้วิบวับ เป็นเสื้อด้วย และมี ลักษณะพิเศษที่เป็นจิ๊กซอว์ที่แปะออกมาเป็นชิ้นๆ ได้ด้วย เนื่องจากเสื้อคือผืนเดียว แต่นี่จะเป็นแต่ละอันต่อไป อิสระ ที่มารวมกัน พอดีมีทีมงานส่วนตัวรับผิดชอบสกินจิวเวลรี่ (Skin Jewelry) มีทีมเสื้อผ้า เราคิดว่าอยากจะทำแล้วเข้า
ประชุมกัน อีกชุดก็เป็นจิ๊กซอว์ลายฟันหมาที่แตกเป็น อิสระบนช่วงตัวนางแบบ ส่วนชุดที่สามเป็นเดียวกันติด เป็นถุงน่องชิ้นที่เป็นเสื้อเต็มตัว ทีมเสื้อผ้าก็คิดเรื่องกางเกง ขาเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเรา พอใส่แล้วก็เห็น ชิ้นงานแตกออกมา เมื่อออกมาก็ประสบความสำเร็จพอ สมควรเนื่องจากตอนนั้นได้ลงหนังสือเยอะมาก
เราต้องประคบประหงม เหงื่อออกมากก็ไม่ได้ คือต้องแย่ง กันน่าดู ช่างแต่งหน้า ช่างทำผม เราต้องใช้เวลาชั่วโมง กว่าในการติด
นิยามตนเอง อันนี้ก็ยังคิดอยู่ทุกวันว่าตกลงเราทำอะไรกันแน่ ตอนเรียนจิตรกรรมก็ชอบงานดีไซน์ ตอนทำงานดีไซน์ก็ อยากทำจิตรกรรม จิวเวลรี่กึ่งๆ เพราะเรามองเป็นงาน ศิลปะ มีชิ้นหนึ่งเป็นลายหมดช่วงเราคิดงานบนตัวนางแบบ เวลาคิดงานช่วงนั้นทำวีดีโอเยอะ เคยคิดเหมือนเอาวีดีโอ มาโปรเจคท์บนตัวนางแบบ เป็นลายเสืออย่างนี้ ทำอย่าง ให้มีฟังก์ชั่นมากกว่าหนึ่ง เป็นจิวเวลรี่ด้วยที่มีลวดลาย เป็นเสือ หากนิยามตัวเองประมาณหลักๆ น่าจะเป็น ศิลปินมากกว่า กึ่งๆ ศิลปินนักออกแบบ
งานที่ทำในปัจจุบัน ตอนนี้กลับมาประมาณสองปีกว่าอิสระเลย คือ หลังจากที่ทำงานประจำมาประมาณแปดปีที่ลอนดอน ช่วงหลังไม่ได้ประจำเป็นฟรีแลนซ์ แต่ก็ทำกับบริษัทที่ ประจำ อยากทำอะไรที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น จริงๆ แล้วเวลาทำงานบริษัทสนุกเพราะมีทีมงาน แต่มีเงื่อนไข ที่ขีดจำกัดเราชอบอะไรที่อิสระมากๆ ตอนนี้ ก็สอน 2-3 มหาวิทยาลัย ก็มีที่ศิลปากร ภาคแฟชั่น ธรรมศาสตร์ ตรวจวิทยานิพนธ์ และวิทยาลัยนานาชาติศิลปากร ด้าน มัลติมีเดีย ตรวจวิทยานิพนธ์เหมือนกัน มีมหาวิทยาลัย กรุงเทพ สอนอิลลัสเตรชั่นและดรอว์อิ้ง ซึ่งมีช่วงหนึ่งทำ อิลลัสเตรชั่น หลังจากจบสกินจิวเวลรี่ก็รับงานทั่วไป และ ทำงานศิลปะด้วย เตรียมแสดงงานอยู่
ชิ้นงานที่ชอบที่สุด ชิ้นที่ชอบ ถ้าเป็นสกินจิวเวลรี่คือ Hounds Tooth ที่ได้รางวัล เพราะยากมาก ใช้ทีมงานเยอะ ต้องติดพลอย ทีละชิ้น จิวเวลรี่ไม่ยืดหยุ่น มันเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมนำ มาติดบนตัวนางแบบซึ่งมีสรีระโค้งเว้า เวลาติดต้องใช้ตัว คำนวณทุกอย่าง เวลาแบคสเตจนั้นไม่เหมือนใส่เสื้อผ้า
ข้อคิดให้นักออกแบบรุ่นต่อไป จริงๆ อยากให้ดูงานเยอะๆ แต่เวลาทำงานให้ลืม ไปเลย ดูว่าใครทำอะไรมาแล้วบ้าง แต่เวลาทำงานเราต้อง ทำงานของเรา ที่เขาทำไว้แล้วอย่าไปทำตาม ดูเป็นแรง บันดาลใจได้ ทำสิ่งใหม่ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ว่าทำได้ ถ้าใช้ความพยายามคิดว่าทุกคนทำได้ 27
จัJakkai กกาย ศิ ร บ ิ ต ุ ร Siributr
Designer of the Year 2009
“เราควรต้องมีความรู้สึกซื่อสัตย์กับตัวเราเอง สิ่งที่เราจะทำ จะคิดสร้างสรรค์ออกมา ควรมาจากตัวเราจริงๆ ตอนนั้น รากเหง้าหรือความเป็นไทยก็จะออกมาเอง”
ศิลปิน นักวาดภาพประกอบ นักเขียน และ บรรณาธิการนิตยสาร เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับความคิด สร้างสรรค์แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด น่าสนใจ ที่การประกอบอาชีพทั้งหมดที่กล่าวไว้ข้างต้นจะเกิดขึ้น พร้อมกันอยู่ในคนคนเดียว จักกาย ศิริบุตร เป็นชื่อที่ คุ้นหูมานาน แต่ละคนจะรู้จักเขาในบทบาทที่อาจจะไม่ เหมือนกัน เขาทำให้เรานึกถึงนักสร้างสรรค์ในสมัยโบราณ ที่สามารถทำงานในแขนงต่างๆ ตามความสนใจได้โดย ไม่มีขอบเขต เพราะบางครั้งการสมมุติให้นักออกแบบ รับ หน้ า ที่ ใ ดหน้ า ที่ ห นึ่งที่เป็นเฉพาะทางแต่อย่างเดียว ก็ทำให้นักออกแบบคนนั้นสูญเสียความสามารถในการ สร้างสรรค์สิ่งอื่นไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยความเป็นคนช่างสังเกต การใช้ชวี ติ ประจำวัน การท่องเที่ยว หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เป็นวัตถุดิบ ที่ถูกนำมาใช้ในการทำงานศิลปะได้ตลอดเวลา ในฐานะ นักออกแบบ จักกาย ทำงานออกแบบที่เป็นศิลปะเกี่ยวกับ สิ่งทอ ด้วยแรงกระตุ้นจากชีวิตในวัยเด็กที่ได้ใช้ชีวิตใน สตูดิโอของคุณป้าที่ทำงานผ้าบาติกเป็นรายแรกๆ ของ 28
เมืองไทย ทำให้เขาตัดสินใจเรียนต่อด้านออกแบบสิ่งทอ ที่อเมริกาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท อีกทั้งยัง กลับมาเป็นอาจารย์ยุคบุกเบิกในสาขาเท็กซ์ไทล์ดีไซน์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อสิบกว่าที่ผ่านมา จากการที่คลุกคลีอยู่ในวงการการศึกษา จักกาย มองว่าแม้อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอในบ้านเรายังมี ข้อได้เปรียบต่างประเทศในหลายด้าน นักออกแบบที่จะ ดำรงชีพได้ด้วยการทำงานเกี่ยวกับสิ่งทอได้ นอกจาก การมีใจรักแล้ว ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเปิดพื้นที่สำหรับนักออกแบบ สิ่งทอให้มีที่ยืนได้อีกด้วย มุมมองที่เด็ดขาดในเรื่องการทำงานจากรากเหง้า ของ จักกาย ง่ายๆ เลยก็คือ อย่าพยายามที่จะดึงความ เป็นไทยมาสร้างเป็นผลงานมากจนเกินไป คนไทยสักคน หนึ่งสามารถสะท้อนแนวคิดความเป็นไทยออกมาได้ อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ อ ยู่ แ ล้ ว หากเราซื่ อ สั ต ย์ กั บ การ สร้างสรรค์ที่ออกมาจากตัวเราจริงๆ
ช่วงเริ่มต้น ผมเรียนจบด้านเท็กซ์ไทล์ดไี ซน์ จากมหาวิทยาลัย Indiana University และไปเรียนปริญญาโทต่อด้านการ ออกแบบสิ่งทอที่ Philadelphia University ปัจจุบัน ทำงานศิลปะอย่างเดียว เมื่อก่อนเคยเป็นอาจารย์สอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาประมาณ 7 ปี ทางด้าน สิ่งทอ จุดเปลี่ยนให้สนใจงานศิลปะ จริงๆ แล้วตอนเรียนศิลปะค่อนข้างเน้นด้านสิ่งทอ เพราะตอนนั้นชอบศิลปะ แต่ไม่ได้คิดที่จะเป็นศิลปิน เลย เลือกงานที่มันพอจะประกอบอาชีพได้คือการออกแบบ สิ่งทอ ช่วงเรียนปริญญาโท หลักสูตรจะเน้นการออกแบบ สิ่งทอในแง่อุตสาหกรรม เริ่มเรียนไปเรื่อยๆ และรู้สึกว่า ไม่ค่อยชอบระบบของทางอุตสาหกรรมและการออกแบบ เท่าไรนัก จึงเริ่มทำงานที่เน้นงานศิลปะมากขึ้น ขณะ เดียวกันก็ใช้แบ็คกราวนด์ที่เรียนมาด้านการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงาน
มีใครเป็นแรงบันดาลใจ ที่จริงแล้วสาเหตุหลักที่ผมเลือกเรียนด้านเท็กซ์ ไทล์เพราะมีคุณป้าที่ทำงานบาติก และเป็นคนแรกๆ ที่ ทำงานบาติกในเมืองไทยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว จริงๆ แล้ว เราเห็นว่าป้ามีสตูดิโอที่บ้าน แล้วก็ติดกับบ้านก็เป็นร้าน เล็กๆ ที่ขายงานบาติกต่างๆ นาๆ ท่านเหมือนศิลปินที่ ทำงานด้านเท็กซ์ไทล์อาร์ต จริงๆ คือทำงานบาติก แต่ว่า หลากหลายมาก ทำงานโฮมอินทีเรียโปรดักท์ แฟชั่นและ ไฟน์อาร์ตด้วย เพราะฉะนั้นจากการที่เคยโตในสตูดิโอนั้น หากเราจะเลือกเรียนศิลปะก็อยากจะเลือกเรียนอะไรที่ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ป้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำให้ผม เลือกเรียนทางนี้ครับ ช่วงที่กลับมาจากต่างประเทศ เท็กซ์ไทล์ในสังคมไทย ช่วงนั้นเป็นอย่างไร ก็ประมาณ 13 ปี ที่ผมกลับมา โชคดีที่เมื่อกลับ มา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังจะเปิดสาขาออกแบบ ภัสตราภรณ์ ซึ่งเป็นสาขาตรงของการออกแบบสิ่งทอ จึงมาเป็นส่วนร่วมในการบุกเบิกสาขาเท็กซ์ไทล์ดีไซน์เมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันแทบทุกสถาบันมีสาขาออกแบบ สิ่งทอและแฟชั่น เมื่อก่อนการเรียนออกแบบสิ่งทอ แฟชั่น หรืออะไรที่เกี่ยวกับการตัดเย็บถูกมองว่าเป็นงานที่เน้น ด้านวิชาชีพ หรือว่าทางด้านคหกรรมมากเกินไป โดย ไม่เน้นการออกแบบมากนัก แต่ว่าในขณะเดียวกัน 13 ปี ที่ผ่านมา ด้านอุตสาหกรรมและอาชีพที่มารองรับสาขานี้ ผมว่ายังค่อนข้างน้อยและไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าไร
ผลงานที่คงรากเหง้าของความเป็นไทยอยู่ ผมคิดว่าผม เป็นคนไทยคนหนึ่ง โตมาอยู่กับเมืองไทย สิ่งที่ทำให้เรา สนใจตลอดเวลาคือ สิ่งต่างๆ ที่เราเห็น เช่นในท้องถนน วัฒนธรรมต่างๆ ที่พวกเราอาจคิดว่าเราชินชากับสิ่ง เหล่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าสนุก เช่น วัฒนธรรม วิถีชีวิต ตามต่างจังหวัด งานวัด เรื่องต่างๆ ที่คนสนใจกัน เช่น เรื่องซื้อหวย มันคือความเป็นไทยที่มันค่อนข้างแตกต่าง จากประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันสุดท้ายตรงนั้นคือรากเหง้า ของเราเอง เราควรต้องมีความรู้สึกซื่อสัตย์กับตัวเราเอง สิ่งที่เราจะทำ จะคิด สร้างสรรค์ออกมาควรมาจากตัวเรา จริงๆ ตอนนั้นรากเหง้าหรือความเป็นไทยก็จะออกมาเอง
สิ่งที่ผมทำงานศิลปะต่างๆ เป็นงานฟูลไทม์ของผม ดังนั้น การใช้ชีวิตการงานไปด้วยกันโดยตลอด ทุกอย่างเป็น แรงบันดาลใจในการทำงานของผม การใช้ชีวิตของผม ไม่วา่ จะเป็นการไปสังสรรค์กบั เพือ่ น นงั่ คุยกับเพือ่ นก็ตาม การดื่ม กิน เที่ยว ต่างๆ นาๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำ ให้เรานำไปทำงานต่อไปได้ มันค่อนข้างจะไปควบคู่กัน ระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน ทุกสิ่งที่ผมเห็นและ ผมสัมผัส ผมได้เจอ ได้คุย ได้ฟัง มันล้วนเป็นสิ่งที่ผม สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานได้ตลอดเวลา สำคัญที่ ผมเป็นคนชอบสังเกต ชอบดู ตรงนี้ช่วยได้เยอะในการ นำไปทำงาน
แบ่งเวลาทำงานและสร้างแรงบันดาลใจอย่างไร ลูกศิษย์และวงการนี้ต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้าง ต้องถือว่าโชคดีที่สามารถทำงานในสิ่งที่เรารักได้ วงการนี้ยังไงก็ตามยังต้องการการสนับสนุนจาก และเราสามารถเลือกที่จะทำในสิ่งนั้นได้ ผมมองว่าเมื่อ ภาครัฐและเอกชน ซึ่งผมมองว่าปัจจุบันยังไม่ได้รับการ
ผลงาน ที่ผ่านมา ผมเริ่มทำงานศิลปะเป็นเรื่องเป็นราว จริงๆ ผมพยายามแสดงงานทุกปี และในปี 2008 เป็น ปี แ รกที่ มี แ กลเลอรี่ จ ากนิ ว ยอร์ ค เสนอตั ว เป็ น เอเจนท์ นำผลงานเราไปแสดงนิทรรศการที่ชื่อ Temple Fair เป็น ครั้งแรกที่ทำให้ต่างประเทศรู้จัก จริงๆ แล้วงานของผม แตกต่างจากทั่วๆ ไป เพราะทำด้วยเท็กซ์ไทล์ โดยเฉพาะ ด้วยเทคนิคต่างๆ การเย็บ การทอ การปัก ถ้าดูแล้วไม่ ค่อยมีศิลปินไทยหรือดีไซเนอร์ไทยที่มาจับเทคนิคต่างๆ เหล่านี้เท่าไรนัก ชิ้นงานได้นำเสนอและเป็นตัวแทนของไทย งานผมต้องเรียกว่าเป็นงานร่วมสมัย มันอาจไม่ ได้แตกต่างจากสิ่งที่คนอื่นๆ ทำอยู่ในต่างประเทศเท่าไร นัก แต่ขึ้นกับเนื้อหาที่ผมเลือกนำเสนองานที่ค่อนข้างจะ เกี่ยวข้องกับเมืองไทยตลอดเวลา อย่างนิทรรศการที่ชื่อ Temple Fair ง่ายๆ คืองานวัด ทั้งหมดมีไอเดียจากงาน วัดตามต่างจังหวัดที่มีเรื่องสีสัน ความสนุก อารมณ์ต่างๆ ผมก็นำสิ่งเหล่านั้นมาใช้เป็นเนื้อหาสำคัญของผลงาน เกี่ยวกับความเป็นไทย หากพูดเรื่องรากเหง้า ผมมองว่าไม่ควรพยายาม ดึงความเป็นไทยเพื่อนำมาสร้างเป็นผลงาน หรือสร้าง 29
แง่คิดแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ผมมองว่าจริงๆ แล้วสำหรับนักออกแบบทุกคน ที่เลือกเรียนสิ่งเหล่านี้มาเพราะใจรักก็ควรเดินตามฝัน ต่อไป ค่อนข้างยากเย็นหน่อยในบางกรณีบางโอกาส ไม่วา่ ในแง่การออกแบบการทำงานต่างๆ เราต้องซื่อสัตย์กับ ตนเองจริงๆ ไม่มองว่าคนนั้นคนนี้ทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว ประสบความสำเร็จแล้วต้องทำตามเพื่อให้เหมือนกับเขา สุดท้ายแล้วเรากับเขามันแตกต่างกัน สุดท้ายแล้วเราจะ ทำอย่างไรจึงจะดึงความเป็นเราออกมาให้ได้มากที่สุด ทำงานในระบบอุตสาหกรรมอาจไม่สามารถดึงเราออก มาได้ 100% เพราะมีเรื่องตลาดมาเกี่ยวข้อง ถึงอย่างนั้น อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเป็นยังไงต้องแก้อะไรบ้างหาก ก็อย่าไปท้อแท้ว่าเราไม่สามารถทำอะไรตามใจชอบได้ เปรียบเทียบกับต่างประเทศ ในเมื่อเรามีอาชีพเป็นดีไซเนอร์ การตลาด เรื่องความคิด มั น แทบจะเปรี ย บอะไรกั บ ต่ า งประเทศไม่ ไ ด้ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ได้ เลยครับ หากมองแง่ครีเอทีพหรือการออกแบบโดยตรง หากให้บอกชื่อนักออกแบบสิ่งทอ หลายๆ คนคงจะคิด ข้อคิดเรื่องการทำงาน ไม่ออกว่ามีใครบ้าง ทั้งๆ ที่ก็มีจำนวนเยอะอยู่ที่เรียนจบ คือหลังจากที่ได้ทำงานมานานพอสมควร ผม ด้านนี้มาโดยตรงแต่ไม่ได้ทำงานตรงนี้ ผมว่าอุตสาหกรรม รู้สึกว่าถ้าอยากทำอะไรก็จงทำซะ อย่าไปคิดว่าอยากจะ ในเมืองไทยหากมองในแง่สิ่งทอมันมีช่องว่างตรงนี้ หาก ทำสุดท้ายแล้วไม่ได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นผลงานหรืออะไร ไม่เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในการผลิตผ้า ที่เรียกว่าเกรย์ ต่างๆ ถ้าคิดจะทำ ทำให้มันสำเร็จ มาร์เก็ท พวกผ้าดิบ ผ้าหลา มันก็จะเป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือนที่มองการทอผ้าแบบดั้งเดิมไปเลย ช่องว่าง ตรงนี้ที่เท็กซ์ไทล์ดีไซเนอร์จริงๆ สามารถผลิตผลงาน ออกมาได้มันน้อยมากเพราะมันไม่มีอะไรที่จะมารองรับ ตรงนั้น
สนับสนุนเท่าที่ควรนัก ทีนี้อย่างที่ได้พูดไปแต่ต้นว่า นักศึกษาที่เรียนด้านนี้มา สุดท้ายออกไปแล้วอุตสาหกรรม ยังไม่โตพอที่จะรองรับสิ่งเหล่านี้ได้ ทั้งๆ ที่ประเทศไทย น่าจะได้เปรียบด้านการผลิตเพราะค่าการผลิตค่อนข้าง จะถูกมาก จริงๆ แล้วสำหรับคนที่จะเริ่มต้นเป็นดีไซเนอร์ หรือศิลปิน ดูแล้วน่าจะมีโอกาสได้ดีกว่านี้ แต่สุดท้ายแล้ว คล้ายๆ กับว่าไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักทั้งทางด้าน รัฐบาลและเอกชน ทำให้สุดท้ายแล้วคนเหล่านี้อาจจะ เลิกความคิดความฝันและเข้าสู่การทำงานที่แตกต่าง จากสิ่งที่เรียนมาโดยสิ้นเชิงก็ได้ครับ
30
31
จิตรกานต์ บรรเทิงไพบูลย์ Jittrakarn Bunterngpiboon
Emerging Award 2009
“ประเทศไทยมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์”
นักออกแบบเป็นอีกหนึ่งในอาชีพที่ใช้เวลาเป็นตัว บ่ม อายุที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงประสบการณ์การทำงาน ที่คมขึ้นด้วยเช่นกัน เราเรียนรู้มุมมองต่างๆ จากคนที่มา ก่อน ซึ่งพร้อมจะถ่ายทอดแนวคิดให้รุ่นหลังได้สังเคราะห์ เอาเป็นความรู้ เราดูสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่เราต้อง ทำสิ่งที่แตกต่างออกไป เหล่านี้เป็นเสน่ห์ให้กับอาชีพ นักออกแบบที่พร้อมจะส่งต่อกันไปจากรุ่นสู่รุ่น จิตรกานต์ บันเทิงไพบูลย์ อยู่ในฐานะนักออกแบบ ที่เพิ่งจะเริ่มต้น ความน่าตื่นเต้นจากการกระโดดเข้าหา สิ่งใหม่ที่ต่างจากพื้นฐานเดิม ทำให้การเรียนรู้เริ่มต้นขึ้น อี ก ครั้ ง หลั ง จากจบการศึ ก ษาภาควิ ช าการออกแบบ อุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จิตรกานต์ เบนความสนใจสู่งานออกแบบ เครื่องประดับโดยการสนับสนุนของอาจารย์ จากการได้ ทำวิทยานิพนธ์ของตนเองซึ่งเป็นผลงานทดลองให้ผู้คน เข้ามามีประสบการณ์ร่วมกับเครื่องประดับของแต่ละคน ด้วยตนเอง เนื่องด้วยขอบการทำงานที่มีอิสระต่อความคิด สร้างสรรค์มากกว่าการยึดติดอยู่กับประโยชน์ใช้สอย เธอ 32
จึงตัดสินใจยื่นขอทุน กพ. เพื่อไปศึกษาต่อในสิ่งที่ตัวเอง รักที่ประเทศอังกฤษเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่จำเป็น ต่อการทำงานออกแบบเครื่องประดับต่อไป ในส่วนของการช่วยเหลือกันในวงการ เธอรู้สึกถึง ความอบอุ่นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนเป็นอย่างดี จากรุ่นพี่ และภาครัฐ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานอันแข็งแรงที่จะ ส่งให้เธอมีความมั่นใจในการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
อะไรทำให้อยากเป็นนักออกแบบในสาขานี้ มีแรงบันดาลใจอย่างไร หลังจากการที่เรียนการออกแบบอุตสาหกรรม ทำให้เราได้เห็นงานในหลายๆ สาขาของการออกแบบ ทำให้รู้ว่าเราชอบสิ่งทีส่ วยงาม ของที่ไม่เน้นฟังก์ชั่น และ ปล่อยอารมณ์จินตนาการตามที่เราต้องการ จึงหันมา ทางนี้ และเป็นสิ่งที่ใช่มากกว่าสิ่งอื่นและใช่จริงๆ
ชิ้นงานใดที่มีคนชอบมากที่สุด ชิ้นที่มีเพื่อนๆ และอาจารย์ชอบมากที่สุดคือ การ ทดลองเกี่ยวกับการให้ กับเครื่องประดับ ชื่อ Open Me ตอนแรกชิ้นงานจะเหมือนกล่องของขวัญ และเมื่อเปิด กล่องออกมาจะได้แหวนที่กลายเป็นดอกไม้ของแต่ละคน
คิดยังไงกับการเป็นนักออกแบบไทย ตอนนี้ รู้ สึ ก ว่ า เป็ น ผลดี เ พราะประเทศไทยมี วัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ รุ่นพี่ทุกคนน่ารัก สนับสนุนเรา ใครเป็นบุคคลต้นแบบที่ทำให้เราอยากทำงานด้านนี้ อาจารย์อภิญญา วงศ์ประกอบ เป็นอาจารย์สอน เมื่อเราเปลี่ยนสาย มีแต่รุ่นพี่ดีๆ และได้เข้าร่วมกลุ่มท่าน ที่คณะและที่ปรึกษาทีสิสด้วย ท่านทำให้เราอยากเข้ามา หญิงพิมพาพร การที่รู้สึกว่านักออกแบบไทยสนับสนุนกันดี ทำงานด้านนี้ ยิ่งได้คุยกับการได้เห็นงานของอาจารย์ ได้ เห็นวิธีคิดของท่าน ทำไมคิดอย่างนั้นได้ จึงอยากเป็น มีการใช้วัฒนธรรมไทยในการออกแบบไหม อย่างอาจารย์บ้าง ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมในชีวิตประจำวันมากกว่า ไม่ ไ ด้ ล งลึ ก ไปในประวั ติ ศ าสตร์ แ ต่ ก็ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เกีย่ วข้องกับวิถชี วี ติ ในสังคมไทย ในปัจจุบนั อยูแ่ ล้วนำเสนอ เริ่มต้นคิดงานยังไง เริ่มจากแรงบันดาลใจ ส่วนใหญ่จะมาจากสิ่งรอบๆ ออกมาเป็นผลงาน ตัว เรื่องราวที่เราประทับใจ แล้วจึงพัฒนาเป็นชิ้นงาน วางแผนอนาคตตัวเองยังไง ผลงานตัวเองชิ้นที่ชอบ กำลังจะไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เรียนภาษา ตอนนี้ชอบงานที่เป็นวิทยานิพนธ์ของตนเอง เป็น คอมพิวเตอร์และความรู้เกี่ยวกับเครื่องประดับ พอดีได้ทุน ชิ้นงานทดลองให้คนมาสร้างเครื่องประดับด้วยตัวเองชื่อ จาก กพ. เป็นทุนที่ให้กับผู้ชนะการประกวดผลงานและ Life Action Jewelry และให้คนมาสร้างประสบการณ์ ให้เรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ อยากทำเครื่องประดับต่อไป ร่วมกับเครื่องประดับ ทำให้เกิดเครื่องประดับที่แตกต่าง อยากนำความรู้ จ ากการที่ ไ ปเรี ย ต่ อ นำมาสร้ า งสรรค์ กันแต่ละคน ให้ทั้งความสนุกสนานและสร้างประสบการณ์ ผลงานและมีทิศทางอย่างไรต่อไปได้บ้าง ที่เป็นส่วนตัวกับเครื่องประดับ
33
จิJitrinตริJintaprecha น จินตปรีชา
Excellent Prizes Award 2004 Designer of the Year 2005 Designer of the Year 2009
“อาจมีดีไซเนอร์บางส่วนขาดความเข้าใจกับคำว่า นักออกแบบหรือดีไซเนอร์ จริงๆ แล้วดีไซเนอร์ อยู่ตรงกลางระหว่างศิลปินกับเอนจิเนียร์ อยู่ที่ว่าคุณจะโน้มเอียงไปทางไหนมากกว่ากัน”
หากย้อนกลับไปเมื่อสิบปีก่อน ชื่อของ จิตริน จินตปรีชา เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการออกแบบว่าเป็น นักออกแบบหน้าใหม่ที่มีความโดดเด่น และมีโอกาสได้ ร่วมงานกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำหลายแบรนด์ของ ไทย อาทิเช่น บริษัท สโตนแอนด์สตีล ของคุณพฤฒิพงศ์ กิจกัญจนาสน์ บริษัท โยธกาอินเตอร์เนชั่นแนล ของคุณ สุวรรณ คงขุนเทียน และบริษัท แพลนเนท 2001 ของคุณ อุดม อุดมศรีอนันต์ อีกทั้งยังเป็นนักออกแบบตัวหลักผู้ ร่วมผลักดันและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ อย่าง Corner 43 และ Hygge จนยืนหยัดและป็นที่รู้จัก กันดีในปัจจุบัน ผลงานออกแบบของจิตรินได้รับรางวัลมากมาย หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น G-mark, DeMark หรือ PM Award ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีว่าเป็นผลงานที่ออกแบบดี และขายได้ ซึ่งในจุดเด่นนี้ประกอบกับเงื่อนไขระหว่าง นั ก ออกแบบและผู้ ว่ า จ้ า งที่ ยิ น ดี จ่ า ยค่ า รอแยลตี้ ฟี ใ ห้
34
แก่นักออกแบบ ทำให้จิตรินเป็นนักออกแบบที่กล้ายืนยัน ว่า อยู่ได้สบายๆ ด้วยส่วนแบ่งจากการขาย และเป็นหนึ่ง ในนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เป็นแรงผลักดันและเป็นต้นแบบ ต่อนักออกแบบรุ่นน้องในเรื่องของการมีวินัยและทำงาน หนักเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และท้ายที่สุด ผลงานนั้นจะส่งผลกลับมาเป็นตัวเงินและชื่อเสียงต่อ นักออกแบบเอง ด้วยรายได้ที่ดีและความมุ่งมั่นวิชาชีพ จิตรินไม่ได้ หยุดแค่เพียงเท่านั้น การลงทุนกับประสบการณ์ชีวิต เป็น สิ่งที่จิตรินยอมจ่าย งานแสดงสินค้าสำคัญๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นที่มิลาน ลอนดอน หรือปารีส ล้วนแล้วแต่ เป็นเส้นทางที่จิตรินเคยผ่านและร่วมนำผลงานไปจัดแสดง พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักออกแบบรุ่นใหม่ จากทั่วโลกมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในสมัย นั้นก็คงต้องยอมรับว่า จิตรินเป็นนักออกแบบที่ไปได้เร็ว เกินกว่า งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐจะมา ถึงเสียอีก
ในวั น นี้ ยั ง ไม่ มี สั ญ ญาณใดถู ก ส่ ง ออกมาว่ า นักออกแบบคนนี้จะแผ่วลงเลยกับการเป็นนักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์มืออาชีพ จิตรินยังคงสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง วันเวลาที่ผ่านไป ยังคงเป็นตัวเกื้อหนุนให้จิตรินเติบโต และมีฝีมือที่กล้าแกร่งขึ้น จนยากที่นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ จะตามทัน เคล็ดลับอะไรที่นักออกแบบคนนี้กุมเอาไว้ และปัจจุบันจิตรินมีโครงการจะทำอะไรต่อไปอีก หา คำตอบได้จากบทสัมภาษณ์นี้ ปัจจุบันทำอะไรอยู่บ้าง ผมเป็นนักออกแบบอิสระให้กับบริษัท Stone & Steel บริษัท Hygge และบริษัท Corner 43 และมีบริษัท ของตัวเอง ที่ชื่อบริษัท บรรยากาศด้วยนะครับ คิดว่าผลงานตนเองมีจุดเด่นอย่างไร ผมพยายามทำงานให้เป็นกลาง สามารถจัดวาง ได้ทุกๆ ที่ มีความกลมกลืนในลักษณะพร็อพพอชั่น เส้น สายที่จบในตัว เป็นสไตล์โมเดิร์นคอนเทมโพรารี่
ลักษณะงานที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ทางรูปแบบอย่างไร ยกตัวอย่างงาน Stone & Steel จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ หุ้มบุ ที่จะเป็นงานออฟฟิศซะส่วนมาก มีงานใช้ในบ้าน โปรเจคท์โรงแรม รีสอร์ท โรงพยาบาลบ้าง ส่วนงานของ Corner 43 ส่วนมากจะเป็นงานรีสอร์ทเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ที่เป็นหวาย งานของ Hygge ส่วนมากจะเป็นงานไม้ เป็น งานร้านอาหารโรงแรมบ้าง
งานเด่นๆ ตอนนี้ I-Kon Daimond Cut ของ Stone & Steel เป็น การเฉลิมฉลองครบรอบยี่สิบปีของ Stone & Steel โดยเรา เลือกตัวที่ได้รับความนิยมสูงสุดมารีดีไซน์ โดยปรับเปลี่ยน รูปแบบให้เป็นลิมิเต็ทเอดิชั่นโดยนำคอนเซปท์อัญมณี หรื อ เครื่ อ งประดั บ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เพชรเอามาเจี ย รไน โดยสอดแทรกเทคนิคการพับกระดาษ ขั้นตอนการผลิต แตกต่างจากที่มีในท้องตลาด วัสดุคือสเตนเลสสตีล กระบวนการผลิตคือเลเซอร์คัทผสมกับวีคัท สำหรับตัว ส่วนตัวชอบงานแบบไหน ที่สอง บริษัท corner 43 คือคอลเลคชั่นเปลือกหอย จะเป็นเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ ถนัดมากที่สุด หยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับความประทับใจในการเดินทาง ท่องเที่ยวทางท้องทะเล เราอาจไปเก็บเปลือกหอยเข้ามา มีงานออกแบบใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ เป็นแรงบันดาลใจ โดยที่มีหอยพันธุ์ต่างๆ ตัวที่สามของ ชอบทุกชิ้น ไม่ชอบก็คงไม่ทำ Hygge ชื่อกาญจนาคอลเลคชั่น ซึ่งจะใช้เทคนิคเดียวกัน คือ จุดเด่นตามรอยต่อของงานเฟอร์นิเจอร์จะเป็นเส้นสาย ผลงานที่สร้างชื่อเสียง ให้ดูกลมกลืนจบกันทั้งตัวในเก้าอี้ ดูเหมือนง่ายแต่ที่แท้ หลายชิ้น เริ่มจากงาน Stone & Steel ที่มีชื่อว่า จริงแล้วยาก มันมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ซ่อนอยู่ใน I-KLING และ I-Kon จะมีงานของ Hygge เป็นเก้าอี้ เนื้องาน ชื่อ Aoommy งานของ corner 43 ที่ชื่อ อัญชลี ชื่อ Mink ที่จริงมีหลายตัวมาก ได้รางวัลมาเป็นยี่สิบตัว
35
กระบวนการออกแบบ ยกตัวอย่างงานสักชิ้น สำหรับกระบวนการออกแบบอย่าง I-Kon Daimond Cut มันเริ่มที่ขึ้นรูปในคอมพิวเตอร์ มีการสเก็ตช์ดีไซน์ ก่อนทดลองขึ้นรูป ภาพคลี่สำหรับการตัดโมเดล การพับ กระดาษทั้งหมดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมจำนวน 258 แผ่น โดยไม่มีขนาดซ้ำกันเลย มีการขึ้นรูปโมเดลสเกล และ การขึ้นรูป 1:1 จากนั้นทดลองตัด Laser cut งานเหล็ก ก่อน แล้วค่อยมาเป็นงานสเตนเลส ส่วนปัญหาและ กระบวนการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนยุ่งยากคือ หากให้ โรงงานดูดีไซน์ก่อนเลยคงทำไม่ได้ ก็เลยต้องมีการทำ ภาพคลี่จำลอง โมเดลจำลองกระทั่งโมเดลขนาด 1:1 เพื่อ ที่จะเอาไปให้เขาดูว่าผลิตได้ สุดท้ายก็ผลิตได้ มองนักออกแบบไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร สำหรับมุมมองนักออกแบบไทย ภาพรวมได้รับ การตอบรับดี อาจมีดีไซเนอร์บางส่วนขาดความเข้าใจ กับคำว่า นักออกแบบหรือดีไซเนอร์ จริงๆ แล้วดีไซเนอร์ อยู่ตรงกลางระหว่างศิลปินกับเอนจิเนียร์ อยู่ที่ว่าคุณจะ โน้มเอียงไปทางไหนมากกว่ากัน ตอนนี้มีปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ดีไซเนอร์ทำงานตอบสนองตนเอง มีอัตตาสูง มันทำ ให้เกิดความเข้าใจผิดว่าทำงานเป็นมาสเตอร์พีซทำงาน น้อยๆ ได้เงินเยอะๆ มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากครับ
แสดงงานต่างประเทศบ่อย มีใครสนับสนุนไหม ไปออกเอง ใช้ทุนตัวเอง มีมุมมองด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างไร ภูมิปัญญาไทย ใช้กับงานออกแบบมากน้อยแค่ไหน มีความสำคัญแค่ไหน จริงๆ เรื่องครีเอทีพอีโคโนมี มันเหมือนดาบสอง คม คมที่ดี และคมที่ไม่ดี คมที่ดีคือการสะท้อนภูมิปัญญา วิถีชีวิตของไทยสู่สากลก็เป็นเรื่องที่ดี อย่างงานออกแบบ ของผมก็สอดแทรกด้านภูมิปัญญา งานจักสาน กระบุง ตะกร้า ข้าวของเครื่องใช้ลงในงานออกแบบเหมือนกัน แต่อย่างที่บอกมันมีอีกมุมคือ เรื่องของการผลักดันความ เป็นไทย คุณไปเอาหัวโขนฝังมุกเพชรแกะสลักลงในงาน ออกแบบแล้วบอกเป็นไทยอาจไม่ใช่ ไม่สามารถสื่อได้ ต้องลองพิจารณาดูดีๆ ผลักดันเรื่องของครีเอทีพอีโคโนมี วางแผนอนาคตอย่างไร ตอนนี้ก็ทำงานออกแบบคอลเลคชั่นใหม่ๆ ให้กับ บริษัทต่างๆ อย่าง Stone & Steel, corner 43, Hygge และเอ็ ก ซ์ ค ลู ซี พ ดี ไ ซน์ ส ำหรั บ ร้ า นบรรยากาศด้ ว ย บรรยากาศเป็นการรวมโปรดักท์หรือเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ที่ ผมออกแบบให้กับแบรนด์ต่างๆ โดยที่มีพาร์ทเนอร์ที่เป็น เจ้าของบริษัท อย่าง Stone & Steel หรือ Hygge ร่วมด้วย เป็นที่รวมสินค้าของผมและเพื่อนๆ ที่เป็น นักออกแบบ
ต้องการการสนับสนุนนักออกแบบด้านใดบ้าง หน่วยงานที่มีอยู่ทุกวันนี้ ในเรื่องของการสนับสนุน มันสมควรที่จะสนับสนุน หรือผลักดันให้นักออกแบบมีที่ อยากฝากอะไรให้กับวงการออกแบบไทยหรือนักออกแบบ แสดงงานในประเทศต่างๆ หรือไม่ควรขัดขวางหรือกีดกัน รุ่นใหม่ ที่ไม่ให้นักออกแบบไปโชว์งานต่างประเทศ สู้ต่อไป อดทน และจะส่งผลดีระยะยาวเอง
36
37
จิJirapan รพรรณ กิ ต ติ ศ ศิ ก ล ุ ธร Kittisasikhunthorn
Excellent Prizes Award 2004
“ความเด่นของไทยคืองานมือ ยังไงก็ได้ให้ความรู้สึกว่า มีแฮนด์เมดเข้าไปร่วมด้วย ไม่ใช่แมชชีนอย่างเดียว พี่ว่ามันเป็นเสน่ห์ที่ฝรั่งยังทำแบบเราไม่ได้”
โคมไฟหลากหลายรูปทรงที่เกิดจากการนำแผ่น วีเนียร์ไม้ลายสวย มาเรียงจัด บิด สอดสานกันได้อย่าง ลงตัวและสวยงาม จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถูกคิดค้น ขึ้นผ่านมุมมองและประสบการณ์อันยาวนานของจิรพรรณ กิตติศศิสุนทร นักออกแบบหญิงคนเก่ง ผู้บ่มเพาะแบรนด์ Touchable จนกลายมาเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และสินค้า ตกแต่งบ้าน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักออกแบบตกแต่ง ภายใน และตลาดสินค้าส่งออกของไทยในปัจจุบัน การเลือกวีเนียร์มาเป็นวัสดุหลักในการทำโคมไฟ จิรพรรณมองว่าจะสามารถให้แสงที่อ่อนนุ่มอย่างธรรมชาติ และสามารถสร้างเสน่ห์ให้กับบรรยากาศได้ด้วยคุณลักษณะ ของวัสดุจากธรรมชาติ ซงึ่ ถือเป็นการเลือกใช้วสั ดุแต่นอ้ ย แต่ให้ผลที่สร้างความประทับใจในรูปทรงรวมได้อย่าง น่าทึ่ง อีกทั้งยังเป็นการเหมาะสมในเรื่องน้ำหนักและ โครงสร้างของสิ่งที่อาจต้องขึ้นไปแขวนอยู่บนเพดาน และเป็นข้อได้เปรียบต่อการขนส่งในยุคที่ค่าขนส่งสูงขึ้น ตามราคาน้ำมัน ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆ จะทำได้ง่าย เพราะ การเล่นกับวัสดุที่มีความบอบบางเป็นพิเศษ ย่อมต้องอาศัย 38
การสะสมข้อมูลและการลองผิดลองถูกเพื่อหาวิธีเสริม ความแข็งแรงของวัสดุให้คงทนถาวร เหมาะสมและควร ค่ากับรูปทรงอันวิจิตรและสวยงาม ด้วยประสบการณ์กับ งานทางด้านรับจากผลิตสินค้าให้กับโรงแรมระดับห้า ดาวมามากกว่าสิบปี ทำให้ปัญหาแค่เรื่องความแข็งแรง และการสร้างรูปทรงจากวีเนียร์ไม้ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ จิรพรรณ ในงานกลุ่มเฟอร์นิเจอร์เอง จิรพรรณก็ได้ฝาก ฝีมือเป็นที่ประจักษ์ไว้ไม่น้อย ซึ่งหลักฐานที่ยืนยันใน คุณภาพของนักออกแบบสาวแกร่งคนนี้ได้เป็นอย่างดี คือผลงานเฟอร์นิเจอร์ชื่อ Sun Bird ซึ่งเป็นงานออกแบบ ที่มีดีกรีถึงสามรางวัล และยังถูกเลือกนำไปใช้ในวังของ กษัตริย์บาเรน ซึ่งเป็นถือลูกค้าประจำของจิรพรรณอีกด้วย ความจริ ง อย่ า งหนึ่ ง ในวิ ช าชี พ นั ก ออกแบบ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ คื อ ประสบการณ์ แ ละการทำงานที่ ต่ อ เนื่ อ ง ยาวนาน วิชาชีพเฉพาะที่ไม่เปิดทางให้กับบุคคลที่ขึ้นชื่อ ว่ามีเพียงพรสวรรค์อย่างเดียวก็สามารถรุ่งโรจน์ขึ้นมาได้ หากขาดการบ่ ม เพาะและสั่ ง สมภู มิ ค วามรู้ จ ากความ สำเร็จและความผิดพลาดมาตลอดเส้นทาง จิรพรรณเป็น
นั ก ออกแบบอี ก คนหนึ่ ง ที่ เ ป็ น ตั ว พิ สู จ น์ ค วามจริ ง ที่ ว่ า ให้เห็นอย่างเด่นชัด งานที่รับผิดชอบอยู่ในขณะนี้ ตอนนี้รับตำแหน่งสองบริษัท เป็นดีไซน์ไดเร็คเตอร์ ให้กับบริษัท Able Interior Workshop เป็นบริษัทแรกที่ตั้ง ทำเรื่องโรงแรม ทำตามแบบเขา เป็นผู้รับเหมา อีกบริษัท คือ Able gallery ทำโชว์รูมโปรดักท์ของตัวเอง ดีไซน์ เองขายเอง ร้านอยูท่ สี่ ยามพารากอน เป็น ดีไซน์ไดเร็คเตอร์ อีกเช่นกัน ผลงานที่ทำก็จะเป็นพวกโรงแรมระดับห้าดาว ทั่วไป มีส่วนร่วมในการคิดหาวัสดุ สำหรับดีไซเนอร์จาก เมืองนอก ที่มาจะหาอะไรจากเราได้บ้างเราใส่ความเป็น ดีไซน์ของเราในงานนั้นๆ จุดเริ่มต้นในวิชาชีพ แรกเริ่มเรียนหนังสือมา เป็นเด็กต่างจังหวัด มา จากขอนแก่น พอจบประถมก็เข้ามาเรียนที่กรุงเทพ มา เรียนที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร คือเรียนตั้งแต่
พื้นฐานครบ เพียวอาร์ต ออกแบบ เขียนแบบ ทำให้เรารู้สึก ว่าเราผูกพันกับการคิด การออกแบบมาตลอด โชคดีที่เรา ได้ทำงานที่เราเรียนมา ได้ออกแบบและโชคดีที่สุดได้ทำ โรงงาน โรงงานแรกเป็นโรงงานไม้เฟอร์นิเจอร์เมื่อ 17 ปี ที่แล้วประมาณ 42-43 หรือมากกว่านั้น มีความรู้สึกว่า เราออกแบบอย่างเดียวไม่ได้ทำ คุมเขาไม่ได้อยากได้เนี้ยบ เท่านี้ อยากได้ใหญ่เท่านี้ พอจุกจิกเขาก็เริ่มบ่น เรารู้สึกว่า หากเรามีลูกน้องเอง บอกให้ช้าๆ ก็ได้ทำไปเรื่อยๆ ก็ได้ คงมีความสุขกว่านี้ ก็เริ่มเช่าบ้านหลังเล็กๆ และมีช่าง ไม่กี่คน สองสามคน ค่อยๆ บอกเขา สอนวิธีคิดให้เขา เริ่มแรกไม่ได้ทำงานออกแบบเท่าไร กระทั่งทำมา 5-6 ปี ก็ทำตามแบบเขา รู้สึกว่าไม่สวยเลย ขัดใจ อยากดีไซน์ ของตัวเอง เริ่มรู้จักงาน BIG เมื่อก่อนเล็กๆ รู้สึกอยู่ที่ ศูนย์ประชุมฯ ก็มาเดินดูเขาทำอะไรกัน พอเห็นแล้วเรา ก็เกิดแรงบันดาลใจว่าเราก็ทำได้ อันนั้นก็มีคนทำแล้ว เซรามิคเยอะมาก ไม้แบบแกะเชียงใหม่เราทำไม่เป็น ก็ กลับไปนอนคิด จากที่อยู่ในวิชาชีพนี้จึงรู้จักโรงไม้เยอะ ไปเที่ยว รู้จักวีเนียร์ ก็ไปเห็นวีเนียร์ที่เขาทิ้ง จึงเป็นจุด เริ่มของการทำดีไซน์ที่เป็นวีเนียร์คนแรกๆ เลย เห็นเขาทิ้ง เยอะมากเพราะเป็นตา ภาษาไม้คือ Brown ถามว่าทำไม ทิ้ง เขาบอกว่าใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้ แต่เรา เห็นว่าสวยมาก ขอเขามาแผ่นนึง หน้ากว้างขนาด 30 ซม. มานั่งนอนดู บังเอิญไปอยู่หน้าโคมไฟแล้วไฟส่องเข้ามา คือมันสวยแบบ เราประทับใจว่าจะทำอะไรกับมันได้บ้าง ก็ไม่คิดว่าต้องทำฟอร์มให้ยุ่งยาก ใช้ตัวมันเองแต่ถามเขา
ว่าทิ้งวันละเท่าไร ฟังแล้วน่ากลัวว่าเขาทิ้งวันละหลาย ร้อยแผ่น เราก็เริ่มเห็นว่าเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เริ่มมาทำฟอร์มเป็นโคมไฟแล้วเห็นว่าสวยจริงๆ นั่นเป็น จุดเริ่มต้นที่มาทำวีเนียร์ จุดเริ่มต้นของ Touchable คือตอนนั้นพอทำโคมไฟแล้วไม่ได้คิดอะไรมาก ไม่มีความรู้เรื่องการส่งออกเลยเป็นศูนย์ เขาออกแฟร์ก็ มาออกบ้าง จองบูทขนาด 3x3 อยากมาอยู่ในบรรยากาศ นั้นมากกว่า โชว์ว่าของฉันสวยไหมก็มา มันก็คงไม่ประสบ ความสำเร็จเลย มีหนังสือเข้ามาสัมภาษณ์ เมืองนอก คงมี แต่ในเมืองไทยยังไม่มีใครทำ บังเอิญที่เราไปเจอ เรารู้สึกว่ามีคนมาชื่นชม ไม่ซื้อก็ได้ พี่คิดอย่างนั้น เรามี กำลังใจว่าเราต้องทำต่อไป หนังสือเล่มแรกที่สัมภาษณ์ คือ Home & Decor จำได้เลย ปลื้มมาก เจ้าของหนังสือ มาเอง ก็คุย เขาให้กำลังใจก็ทำต่อนะ เริ่มปีที่สอง ปีที่ สาม ทางกรมสนับสนุนให้ดีไซเนอร์ไทยทำแบรนดิ้ง เรา ก็คิดหลายชื่อ ตัวตนของเราจริงๆ ก็ง่ายๆ ติดดิน ไม่ ซับซ้อน คิดอะไรได้ต้องถามก่อนว่าเอาไปใช้อะไร เก้าอี้ นั่งที่นั่งไม่ได้ทำไม่เป็น เหมือนว่าตัวเองแตะต้องไม่ได้ ง่ายๆ เดิมชื่อบริษัท Able ก็เติม Touchable เข้าไปก็ตรง กับตัวเอง เอกลักษณ์ Touchable ตรงตัวมากว่าแบบไหนก็ได้ อยู่ที่ไหน 39
40
ก็ได้ อยู่แบบถ่อมตัว ไม่เด่น เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทุก ยุคทุกสมัย เข้ากับรีสอร์ทก็ได้ เข้ากับบ้านก็ได้ เพราะว่า จุดประสงค์การทำโคมไฟ คือเดินเข้าบ้านหรือที่ไหนเมื่อ เห็นโคมไฟนี้แล้วต้องรู้สึกอบอุ่น แสงสีเหลืองคือแสงของ มันที่มาจากวีเนียร์ ถามว่าทำแต่วีเนียร์อย่างเดียวไหม มันเป็นซิกเนเจอร์ของเรา พัฒนาการแต่วีเนียร์ไม้อยู่กับ อะไรก็ได้ ไม้ไม่เคยหายไปจากวงการแฟชั่นเลย เป็นวัสดุ หลักที่เราเกิดมาก็เจอแล้ว ต้นไม้ก็คือชีวิตที่คนเราเติบโต คู่กันมาตลอด เล่นกับวีเนียร์ไม่ใช่เรื่องง่าย เหนือ่ ยมาก ตัง้ แต่จะทำยังไงให้ดู เฟิรม์ ไม่กอ๋ งแก๋ง เพราะเยื่อไม้มันบาง ทำยังไงก็ได้ คนค่อนข้างกลัวว่าซื้อ ไปแล้วจะทนเหรอ เป็นคำถามที่เจอบ่อย แล้วก็เรามี แบ็คกิ้งซ่อน วิธีการคุยกับโรงงานหลายโรงเหมือนการ ทดลอง เมื่อก่อนใช้กระดาษมันไม่ทน เหลืองซีด ใช้ปีสอง ปีก็เปื่อย เราก็เปลี่ยนเป็นผ้าคอตตอนที่มันโปร่งแสงขึ้น มาได้ ทีนี้พอมันเป็นคอตตอนมีใยของมันก็ทำให้งานเรา เฟิร์มทีนี้เราอยากดัดเป็นรูปอะไรก็เนรมิตได้แล้ว สร้างไฟ ใหม่ๆ ในที่สุดก็เป็นสไตล์ที่นิยมอย่างแพร่หลาย คื อ โดยงานหลักแล้วเมื่อขึ้นเป็นแบรนดิ้งเราก็ ทำงานกับดีไซเนอร์ทุกสาขาอาชีพ คือ สถาปนิก อินทีเรีย หรือโปรดักท์ดีไซน์ มาต่อยอดความคิดต่อเราไปได้ เรา มีความสามารถหรือความเฉพาะด้านด้านนี้ มันก็เกิด ความสงบที่แตกต่างเพราะให้เราคิดเองก็อาจตันเข้า สักวัน แต่โชคดีที่ได้ทำงานอย่างงานโรงแรม ได้ทำงาน กับดีไซเนอร์ต่างประเทศ ทำให้เรารู้วิธีคิดเขาที่แตกต่าง จากคนเอเชียทั่วไป เรารู้สึกว่าเราได้เรียน อย่างโรงแรม เชดี เชียงใหม่เป็นโรงแรมที่สวยและก็ทำงานกับดีไซเนอร์ และสถาปนิกระดับโลก เรารู้วิธีคิดเขา ก็กลัวว่าจะติดวิธี คิดเขามา แต่ตัวเราก็เป็นตัวเราเลยเกิดรูปทรงใหม่ๆ กับ คนใหม่ๆ และดีไซเนอร์ก็สเปคของของเราไปตามโปรเจคท์ บางทีเขาก็ไม่อยากคิด ไม่ใช่หน้าที่เขา โคมไฟโน่นนี่ของ Touchable จำนวน 100-200 ห้อง เราเห็นว่าโรงแรมนี้ ใช้แบบนี้ไปแล้วอย่าใช้เลยดีกว่า เราก็คิดให้เขาใหม่ นั่น คือการบ้านที่เราจะทำสนุกมากกว่า
อะไรคือจุดแข็งของสินค้าไทย ความเด่นของไทยคืองานมือ ยังไงก็ได้ให้ความรู้สึก ว่ามีแฮนด์เมดเข้าไปร่วมด้วยไม่ใช่แมชชีนอย่างเดียว พี่ว่ามันเป็นเสน่ห์ที่ฝรั่งยังทำแบบเราไม่ได้ เพราะมีข้อ จำกัดด้านค่าแรง ทำให้เขาหยุดดีไซน์อย่างไรก็ได้ที่ไม่ ผ่านมือคน เพราะงั้นเรายังมีศักยภาพตรงที่สานประดิด ประดอย มันเป็นวิถขี องเราทีอ่ ยูก่ นั มาตัง้ แต่แรก เราก็ไม่ใช่ ว่าลุกขึ้นมาสานทุกเจ้า แต่นำกิมมิคตรงนั้นมาร่วมในงาน ไม่มากก็น้อย เช่น เดี๋ยวนี้ไม่ได้สานโคมไฟอย่างเดียว แต่ สานเฟอร์นิเจอร์ด้วย แต่นำโนว์ฮาววิธีการประดิดประดอย มาร่วมแล้วทำให้เป็นสากล ตรงนี้ใครเขาก็ทำแบบเราไม่ได้ ไม่ได้มีดีแค่โคมไฟ โคมไฟก็เป็นเหมือนตัวสร้างผลงานให้เรา ที่ทำให้ คนจำได้ง่าย แต่มีเฟอร์นิเจอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อ Sun Bird ได้รับ 3 รางวัลด้วยกัน มันเป็นความบังเอิญที่ได้มาจากช่างที่ พยายามดัดโค้งเฟอร์นิเจอร์ และเราเข้าไปเห็นเราก็ลอง เอามาทำเป็นท็อปโต๊ะ ซึ่งยังไม่เห็นใครทำ จึงเขียนแบบ ให้ช่างลองทำและได้อะไรมากกว่าที่เราคิด สวย ทุกคนเห็น ไม่มีใครไม่ชอบมัน ส่งขายไปทั่วโลก ที่น่าภูมิใจคือฝรั่งเห็น เขารู้เลยว่าไม่ผ่านเครื่อง ไม่เหมือนงานจากประเทศจีน หรือที่ใดๆ มันมีลักษณะเฉพาะตัวจริงๆ ดีไซน์นี้ได้เข้าไป อยู่ในวังของกษัตริย์บาเรน ซึ่งเป็นลูกค้าประจำที่ร้าน หาก มาเมืองไทยเมื่อไร ต้องเสด็จมาที่ร้าน Touchable ประจำ สิ่งที่เราทำไปแล้วสามารถแตกไลน์ออกมาได้มากมาย ขอให้เรามีวิธีการทำก่อน เกิดพัฒนาการตามมาหลังจาก ทำท็อป แล้วก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น นั่นคือการแก้ปัญหา มันจะไม่ตัน เปลี่ยนไม้ เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนทีม การออกแบบช่วยปรับรสนิยม มันมีส่วนมาก การออกแบบส่วนหนึ่งคือรสนิยม หากคนยังเสพรสนิยมอยู่ วงการออกแบบยังไงก็ไม่ตาย เพราะคนอยู่ห้องเช่าได้ไม่เดือดร้อน หากคนต้องการ รสนิยมก็ต้องการการออกแบบ การออกแบบก็ไม่ตาย แต่ถ้าคนเสพมากๆ เข้า ก็เลี้ยงตัวมันเอง ต่างพึ่งพาอาศัย กัน นักออกแบบก็มีงานทำและมีแรงบันดาลใจต่อยอดไป เรื่อยๆ ส่งผลต่อสังคม เราจะเห็นอะไรสวยๆ ตึกสวยๆ ห้องสวยๆ หนังสือสวยๆ ถ้าห้องนั้นไม่ผ่านการออกแบบ หนังสือเล่มนั้นก็ไม่สวย สุดท้ายก็เกิดวงจรในวงการ ออกแบบกว้างๆ ขึ้นไป
Touchable ในอนาคต เรามองว่า Touchable เหมือนเด็กๆ ที่กำลังเติบโต ไปเรื่อยๆ อยากทำเป็นโปรดักท์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ อยากทำเป็นโรงแรมที่มีประวัติตั้งแต่เราทำโคมไฟเล็กๆ แล้วทำให้โรงแรมนี้ ห้องนี้ เป็นคาแรกเตอร์นี้ ห้องนั้นเป็น คาแรกเตอร์นั้น และให้มันเป็นเหมือนฟอร์มใหญ่ ซึ่งไม่ ได้หมายความว่าเป็นโรงแรมขนาด 100-200 ห้อง แต่แค่ 20 ห้อง ที่ให้ทุกห้องมีประวัติของเราเองว่าเราเติบโตมา ยังไง คิดอย่างไรกับสิ่งต่างๆ ทำให้ทุกคนที่เข้าไปจะได้ เข้าใจว่ามีที่มาที่ไป จะบอกว่ามิวเซียมก็สูงไป แต่ไม่คิด ว่าใครเคยทำแบบนี้ เช่น Armany Hotel แต่ไม่เคยคิด ใหญ่เท่าเขา คิดสเกลของเราแต่อยากรู้สึกได้พักผ่อนกับ สิ่งที่เราอยู่มาด้วยทั้งชีวิต เราดูแลมัน มีแขกเข้ามาพัก แขก คอมเมนท์อย่างไร นั่นคือความฝันส่วนตัวของครอบครัว Touchable ของตัวเอง สามี ลูกน้อง เหมือนว่าทุกวันนี้ เราทำงานหนักมาก ต่อสู้กับอะไรหลายๆ อย่าง เพราะ วิชาชีพเราไม่ได้อยู่ในดีไซน์อย่างเดียว แต่เป็นผู้ผลิต บางทีก็มีมาทำแบบนี้แล้วให้เปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งภายหลังนี้ เราก็เลือกได้ว่าเราไม่ทำ เพราะทำให้เสียดีไซน์ของเรา เราก็ไม่ทำ กว่าจะถึงวันนี้เราต้องสู้ มีตัวตนที่ชัดเจน มีจุดยืน บางทีดีไซน์ไม่ควรอินเทรนด์มากเพราะว่าเรา ตามไม่ไหว เทรนด์บางปี มีสามครั้งเช่น เราออกบูธปี ละสามครั้ง ทุกครั้งต้องมีคนถามว่ามีอะไรใหม่ เราไม่ได้ คิดเก่งขนาดนั้น คงเข้าใจนะว่าบางคนสองปีคิดออกหนึ่ง อันแล้วสวยเลยก็มี หรือบางคนคิดได้เยอะ แต่เชื่อเหอะว่า หากคนที่มีแนวของตนเองจะคิดไม่ได้บ่อยขนาดนั้น มัน เหมือนกับเป็นซิกเนอเจอร์ของตนเอง กว่าจะออกมาได้ ต้องหาวัตถุดิบ ประสบการณ์ ท่องเที่ยวบ้าง และเหมือน กับให้ความสุขกับตัวเองจึงจะคิดออกก็มี
41
จุฑามาศ คูณตระกูล Juthamas Koontragul
Emerging Award 2009
“เกิดเป็นคนไทยมีอาชีพออกแบบแล้ว สามารถส่งเสริมวัฒนธรรมไทยผ่านชิ้นงานดีไซน์ ให้คนอื่นที่ไม่ใช่คนไทยได้รู้จัก ก็นับว่าเป็นความภูมิใจสูงสุดแล้ว”
เมื่อถูกถามถึงที่มาของการตัดสินใจศึกษาเล่าเรียน และเลือกอาชีพ นักออกแบบหลายคนอ้างอิงถึงชีวิตในวัย เด็ก ความคุ้นเคยรวมไปถึงความประทับใจในเหตุการณ์ บางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็ส่งผลต่อการตัดสินใจ ในการดำเนินชีวิตที่ยิ่งใหญ่ได้ในอนาคต จุฑามาศ คูณตระกูล ได้รับอิทธิพลความเป็น นักประดิษฐ์ประดอยมาจากคุณพ่อและคุณแม่ รวมกับ ความเป็นคนชอบของสวยงาม มุมมองต่อการทำงาน ออกแบบของเธอค่อนข้างสดใส ชอบที่จะใส่ความเป็นไทย และภูมิใจที่ได้สื่อสารข้อความทางวัฒนธรรมลงไปใน ผลงาน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากชาวต่างชาติในทางที่ดี แบรนด์สินค้าที่ชื่อ Mono เป็นการขายผลงานที่ เธอออกแบบเอง ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวเสียส่วน มาก ทำให้สินค้าของเธอกระจายไปตามโรงแรมแทบทุก ภาคของประเทศไทย การค้นหาความเป็นต้นแบบในงานคือสิ่งที่เธอให้ ความสำคัญ แรงบันดาลใจสามารถเกิดขึ้นจากการดู
42
ผลงานของคนอื่นได้ หากแต่ไม่ใช่การจงใจนำมาใส่ใน งานของตัวเองมากเสียจนขาดเอกลักษณ์ เป็นสิ่งที่เธอ อยากฝากไว้ถึงคนรุ่นใหม่ จุฑามาศ สนใจที่จะศึกษาวิชาความรู้อื่นเพิ่มเติม อยู่ตลอดเวลา เธอมองว่าหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญในการ ค้นหาความรู้เพื่อใช้ในการทำงานออกแบบซึ่งในขณะนี้ หนังสือเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องประดับยังไม่อยู่ไม่ มาก ถือเป็นส่วนน้อยตามห้องสมุดใหญ่ๆ ของภาครัฐ หากเป็นไปได้เธอมองว่า เมืองไทยควรจะมีห้องสมุดเฉพาะ สำหรับงานออกแบบเครื่องประดับก็จะดีไม่น้อย เข้ามาทำงานตรงนี้ได้อย่างไร เริ่ ม จากจบการศึ ก ษาจากคณะมั ณ ฑนศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาออกแบบเครื่องประดับ เรียน มาทางด้านนี้และผู้หญิงทุกคนต้องรักสวยรักงาม ทุกคน ต้องสะสมเครื่องประดับ และตอนเรียน ส่งงานที่เรียน ประกวดต่างประเทศและได้รับรางวัลมา เมื่อจบออกมา
จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็กลายมาเป็นนักออกแบบ เครื่องประดับ มีใครเป็นบุคคลต้นแบบที่ทำให้เราอยากศึกษาด้านนี้ จริงๆ แล้ว บุคคลต้นแบบ คือ คุณพ่อ คุณแม่ แม้ท่านไม่ได้เรียนด้านการออกแบบมาแต่ท่านไปซื้อของ เครื่องประดับหรือหินจากต่างประเทศแล้วนำมาประดิษฐ์ เอง จากตรงนั้นทำให้เราเหมือนมีความรักในการออกแบบ ขึ้นมา ท่านเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย ท่านก็มาประดิษฐ์งาน เครื่องประดับได้ คุณแม่จึงถือว่าเป็นบุคคลต้นแบบค่ะ ลักษณะเด่นของงานออกแบบเป็นอย่างไรครับ ลักษณะเด่นของงานที่ออกแบบ จะนำเสนอ เอกลักษณ์ที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทยออกมา ไม่ว่า จากทางวัสดุ รูปทรง สี ทุกอย่างจะตัดทอนให้มีความ เป็นไทยอยู่ หรือความเป็นเอเซียอยู่
ผลงานชิ้นที่ชื่นชอบ ผลงานชิ้นที่ชื่นชอบ ก็จะเป็นชุดของตัวเลขไทย อันนั้นจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเรานำเสนอความเป็นไทยได้ ชัดเจนที่สุด โดยที่คนที่มองเข้ามาเขาไม่รู้จักประเทศไทย แต่เข้าใจได้ว่า นี่คือความเป็นไทยผ่านตัวเลขเพียง 10 ตัว เท่านั้น อันนี้จะชื่นชอบมากและคิดจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด แนวคิดของความเป็นไทยได้รับการยอมรับในสากล อย่างไร คือ ใช่ค่ะ เป็นชิ้นงานที่ได้รับการยอมรับในต่าง ประเทศในโซนยุโรป และเอเชียทางฝั่งญี่ปุ่นเขาจะชอบ มาก จนมีแบบสั่งชื่อเขาแต่ให้เขียนเป็นตัวเลขและภาษา ไทยด้วย จำนวนหนึ่งชื่อภาษาไทยแต่เขียนรูปแบบภาษา ญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ถูกแปลออกมาผ่านภาษาไทย มีวิธีพัฒนาตนเองอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะเข้าห้องสมุดและเสิร์ชตามอินเตอร์ เนตหรือดูจากแมกกาซีนต่างประเทศว่ามีเทรนด์อะไร ใหม่ๆ อย่างไร ส่วนตัวจะชอบพวกวัสดุแปลกๆ ช่วงนี้ ก็ค้นหาวัสดุที่ไปในทางที่อนุรักษ์นิดหนึ่ง เช่น ไม้ ช่วงนี้ จะทดลองวัสดุเช่นนั้นอยู่ การเป็นนักออกแบบไทยนับเป็นข้อดีหรือข้อเสียไหม จริงๆ แล้วการที่ใช้ชื่อเป็นนักออกแบบไทยมีแต่ ข้อดีเวลาเรานำเสนองานต่างประเทศ งานจากดีไซเนอร์ ไทย จะมีกลิ่นอายความเป็นไทย ซึ่งแตกต่างจากต่าง ประเทศทำให้เขาเข้าใจถึงวัฒนธรรมพื้นฐานของความ เป็นบ้านเรา เกิดแรงบันดาลใจที่จะมาเมืองไทย
43
การตอบรับจากต่างประเทศมีผลต่องานอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่ทางต่างประเทศอยากให้เราปรับเปลี่ยน รูปแบบ โดยเน้นวัสดุที่มีค่ามากขึ้น เช่น ทองหรือทองขาว ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคตเพราะบางประเทศนิยมใส่ทองขาว มากกว่าที่จะเป็นทองเลย หรือว่าเป็นเงินเพราะเขารู้สึกว่า เขาไม่แพ้และไม่ทำอันตรายต่อผิวหนังเขา มีราคา เพิ่ม มูลค่าให้ผลงานเราอีก มีข้อเสนอหรือต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ใดบ้าง อยากให้ ท างภาครั ฐ เปิ ด ห้ อ งสมุ ด เฉพาะของ จิวเวลรี่ขึ้นมาเลย เพราะทุกวันนี้เท่าที่มีคือ มีเป็นส่วนน้อย ห้ อ งสมุ ด เพื่ อ การออกแบบส่ ว นใหญ่ ก็ จ ะเป็ น อยู่ แ ค่ เชลฟท์เดียว ไม่มีข้อมูลให้เราหาได้มากเท่าไร ส่วนใหญ่ เราต้ อ งเสิ ร์ ช เองทางอิ น เตอร์ เ นตหรื อ ขอให้ เ พื่ อ นที่ ต่างประเทศส่งหนังสือมาให้เราเอง เป็นปัญหาในการหา ความรู้ของน้องๆ นักออกแบบรุ่นใหม่ อะไรคือความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต ความภูมิใจสูงสุดคือ ได้คำจำกัดความว่าเป็น นักออกแบบไทย คือความภูมิใจสูงสุด เพราะเกิดเป็นคน ไทยมีอาชีพออกแบบแล้วสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ผ่านชิ้นงานดีไซน์ให้คนอื่น ที่ไม่ใช่คนไทยได้รู้จักก็นับว่า เป็นความภูมิใจสูงสุดแล้วค่ะ อยากให้ฝากอะไรแก่รุ่นต่อไปและความคาดหวังกับ ตนเองในอนาคต อย่างรุ่นน้องๆ รุ่นใหม่ที่จะเป็นนักออกแบบ อยาก ให้แสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาผ่านแนวคิด ผ่าน ทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าไปก๊อปปี้ อย่าไปลอกเลียนแบบใคร อาจมีแรงบันดาลใจจากคนอื่นได้ แต่ไม่ก๊อปปี้เขามา ทั้งหมด จะเป็นแค่แรงบันดาลใจเท่านั้น ส่วนสเต็ปต่อไป ของตัวเองจะไปเทคคอร์สสั้นๆ ที่ต่างประเทศ 3-6 เดือน เพื่อพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้น ศึกษาความรู้ด้านการตลาด การ บริหารเพิ่มขึ้น ไม่หยุดเพียงแค่นี้ อยากให้เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ที่ทำอยู่ สำหรับแบรนด์ Mono ทุกอย่างในวันนี้กำลังไป ได้ด้วยดี กำลังกระจายสินค้าไปตามโรงแรมทางภาค เหนือและทางภาคใต้ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ก็ส่ง ผลงานไป จะพัฒนาขึ้นตามลำดับ ทุกวันนี้ก็มีออร์เดอร์ จากโรงแรมมาเป็นพิเศษ มีเบ็ดเตล็ดบ้างมาที่ให้เราทำ เป็นตัวอักษรล้านนาเฉพาะโรงแรมเขา ก็จะเป็นการดึงดูด นักท่องเที่ยวอีกทาง
44
45
ชนะชัย ส่งวัฒนา
Grand Prizes Award 2004
Chanachai Songwattana
“เป็นดีไซเนอร์ ไม่รวยนะ ยังไม่รวยตอนนี้ แต่มีความสุข”
ชนะชัย ส่งวัฒนา เจ้าของธุรกิจและนักออกแบบ แห่ง AR3 ในปัจจุบัน คือคนๆ เดียวกันกับผู้ที่เคยสร้าง Millennium Design เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาและ Ar&Leam เมื่อครั้งที่วงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไทยถูกบุกเบิกโดย กลุ่มคนเล็กๆ เพียงไม่กี่คน อย่างเช่น Stone & Steel หรือ Studio Eggarat ผลงานออกแบบชั้นดีจำนวนมากที่ผ่านกรองออก จากสมองของชนะชัย เป็นข้อพิสูจน์ถึงฝีไม้ลายมือของ นั ก ออกแบบคนนี้ ไ ด้ โ ดยไม่ ต้ อ งบรรยายสรรพคุ ณ กั น มากความ การยืนหยัดอยู่ในวิชาชีพมากว่า 20 ปี เป็นข้อ บ่งชี้ถึงการเป็นนักออกแบบคุณภาพตัวจริงได้เป็นอย่างดี หากไม่แน่จริงคงอยู่ได้ไม่ยาวนานกับวิชาชีพที่ชนะชัย บอกกับปากว่า “ไม่รวย แต่มีความสุข” ธรรมชาติ อ ย่ า งหนึ่ ง ของนั ก ออกแบบที่ มี ประสบการณ์สูง มีกระบวนการออกแบบที่แม่นมือ สามารถ แก้ปญั หาตอบโจทย์ได้อย่างมีระบบระเบียบและ อัตโนมัติ เมื่ อ ถึ ง จุ ด หนึ่ ง งานออกแบบที่ ห ลั่ ง ไหลออกมาอย่ า ง มากมายก็คงไม่ต่างจากความเคยชินง่ายๆ ที่ไม่ได้สร้าง 46
ความตื่นเต้นเร้าใจ สร้างแรงบันดาลใจ เหมือนครั้งก่อนๆ อาการหมดไฟนี้เองที่ทำให้ชัยชนะเริ่มมองหาบริบทใหม่ใน การออกแบบ ที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้งในเรื่องงานสร้างสรรค์ ที่เป็นเลิศ และในเรื่องชีวิตหรือจิตวิญญาณ “การออกแบบเพื่อความสุข” คือโจทย์และบริบท ในการออกแบบใหม่ที่ชนะชัยตั้งขึ้นเป็นเป้าหมายใหม่ ที่จะมุ่งเน้นในการออกแบบเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถ เข้าถึงคนทุกกลุ่มชั้น นำความสะดวกสบายและชีวิตที่ดีขึ้น ไปสู่ทุกครัวเรือน ชนะชัยมองว่ายังมีสิ่งของอีกหลากหลาย รายการที่จำเป็นต่อชีวิตสำหรับคนทุกผู้ แต่ของเหล่านั้น ขาดการพัฒนาต่อมาเป็นเวลานานมากแล้ว ถึงเวลาที่ จะต้องมีคนเข้าไปจัดการมันเสียที และคนที่ว่านั้นก็คือ นักออกแบบนั่นเอง สามสิบปีกับชีวิตนักออกแบบชนะชัย ใช้ชีวิตมา อย่างไร ผ่านประสบการณ์แบบไหนมาบ้าง ใช้ความสามารถ หรือพรสวรรค์หรือไม่ ที่ทำให้ชนะชัยมีวันนี้ ใช่ความเพียร พยายามอันล้ำเลิศหรือไม่ ที่ทำให้ชนะชัย สามารถใช้ วิชาชีพประคองธุรกิจ ผ่านยุคข้ามสมัยจนเป็นหนึ่งในรุ่น
ผู้บุกเบิกที่หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน ชนะชัยได้ตอบทุกคำถามไว้แล้วในบทสัมภาษณ์ นี้และทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจไว้ด้วยว่า “เป็นดีไซน์เนอร์ไม่ รวยนะ ยังไม่รวยตอนนี้ แต่มีความสุข” ก่อนจะมาถึงวันนี้ ผมเป็นโปลิโอเกิดมาก็เดินได้ตอนหกขวบ ช่วงที่ เดิ น ไม่ ไ ด้ ก็ ใ ช้ เ วลากั บ การวาดรู ป และชอบศิ ล ปะมาก วันหนึ่งใฝ่ฝันว่าอยากเรียนศิลปะที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในที่สุดก็มีโอกาสเรียนสาขานิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ แล้วก็มีโอกาสนำวิชาความรู้ไปใช้กับธุรกิจที่บ้าน ที่บ้าน ทำธุรกิจเสื้อผ้า Fly Now เมื่อเข้าปีหนึ่ง Fly Now ก็เริ่มปี แรกเลย เรียนไปก็เอาวิชาความรู้ที่เรียนวันนั้น ใช้วันนั้น เข้าวันนี้ ออกพรุ่งนี้ สิ่งที่เราได้คือเรียนแล้วก็ใช้ เราทำงาน ฟูลไทม์และเรียนฟูลไทม์ คิดว่าชีวิตช่วงนั้นมีความหมาย มาก เราทำงานหนักมากเพราะเรียนและทำงานด้วย ช่วง นั้นช่วงปี พ.ศ. 2526 ก็ร่วมๆ 30 ปีแล้ว เราได้เรียนและ ทำงานในเวลาเดียวกัน การเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้เรียนและ
ทำงานจริง ทำให้ทุกอย่างมีความหมายและมีประโยชน์ ทราบว่ามันมีประโยชน์ มีค่ามาก ก็มีออกแบบระบบตกแต่ง จวบจนปัจจุบันทำให้เราได้คิดว่าช่วงเวลานั้นเราได้ทำ ภายในของ FN Outlet ซึ่งมันเป็นการตกแต่งภายใน สิ่งเหล่านั้น ทำให้มีวันนี้ ที่เรียบง่าย ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และก็ สามารถค้าขายได้ทำธุรกิจได้ สิ่งนี้ออกแบบเสร็จแล้วก็ ตอนจบเริ่มทำงานอย่างไร ไม่ได้บอกว่าใครเป็นคนออกแบบ แอบรู้สึกว่าสำเร็จในใจ จริงๆ เริ่มทำงานตั้งแต่เรียนแล้ว ตั้งแต่ปีหนึ่งเลย รู้สึกว่าเป็นงานที่ดี หลังจากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เนื่องจากเราเป็น เจ้าของกิจการเราจึงมีโอกาสได้ทดลอง ได้คิด บางคนได้ อะไรเป็นแรงผลักดันในชีวิต คิดแต่ไม่ได้ทำ เราได้คิดและได้ทำ ถือว่าเป็นความโชคดี วันหนึ่งเราทำงานออกแบบมานานๆ บังเอิญผม นับว่าเป็นการลองผิดลองถูก ถูกบ้างผิดบ้าง และในที่สุด ทำงานเร็ว อายุ 14 ขวบ มันก็คือสามสิบกว่าปีแล้ว ยุคต้นๆ เราก็ได้คัดสรรหรือตกตะกอนบางสิ่งบางอย่างที่เราคิดว่า เราออกแบบเพื่อตัวเอง ก็ทำงานแล้ว เราอยากให้คน มีประโยชน์กับตัวผมเองและวงการออกแบบ เราเหมือนกับ รู้จักเรา เราออกแบบไปแรงๆ เพื่อให้คนสนใจงานของเรา เป็นหัวหอกด้านการออกแบบในยุคนั้น หลายๆ คนในยุค เราออกแบบจนรู้สึกว่ามันตัน เราไม่รู้ว่าจะไปยังไงต่อ นั้นช่วงผมอายุ 26 ออกแบรนด์ฟอร์นิเจอร์ ARR & LEAM แล้ว ก็มีแต่แบบใหม่ๆ ทุกวันๆ ความหมายมันก็คือแค่ เคยมีเสียงจากนักศึกษาการออกแบบว่าฝันอยากจะเป็น แบบใหม่ๆ และวันหนึ่งก็ถามตัวเองว่ามันเป็นอย่างนี้ แบบ ARR & LEAM ซึ่งเขาอาจไม่เห็นว่าการเป็น เพราะอะไร เพราะเราเริ่มไม่อยากออกแบบแล้ว มันตัน นักออกแบบในยุคนั้นลำบากแค่ไหน ลำบากในที่นี้คือ แล้ว เราก็หันมาถามตัวเอง นี่อาจเป็นเพราะเราขาดแรง ลองผิดลองถูกเรียกว่าหลงทางดีกว่า ล้มลุกคลุกคลาน บันดาลใจที่ดี วันหนึ่งเราก็บอกว่าเราเป็นดีไซเนอร์แต่ไม่ ถลอกปอกเปิก ซึ่งเราผ่านมาหมดแล้ว สิ่งหนึ่งที่อยาก ได้รับใช้สังคมเลย รับใช้ลูกค้าไม่กี่คน รับใช้ธุรกิจที่เรา ฝากให้นักออกแบบรุ่นใหม่คือ งานออกแบบเป็นงานที่ ทำอยู่ แต่เราไม่ได้รับใช้สังคมจุดนี้เราเลยตั้งใหม่ เอาล่ะ ต้องให้ทุกอย่างนอกจากแรงและสมองแล้วรวมไปถึงเงิน ต่อนี้ไปเราจะออกแบบเพื่อสังคม ไม่ได้หมายความว่างาน ทุนที่มีอยู่ สตางค์ที่เรามีอยู่ เพื่อให้สิ่งที่เราคิดมันจับต้อง ของเราต้องดัง หรือว่าเป็นมาสเตอร์พีซเห็นแล้วน่าทึ่ง มัน ได้ ตลอดระยะเวลาร่วมๆ สามสิบปีเราเดินทางด้วยวิธกี าร อาจเป็นชิ้นงานธรรมดาซึ่งสังคม เห็นแล้วยอมรับแล้ว อย่างนี้จนถึงปัจจุบัน เวิร์ค ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้มีความสุขขึ้น คนจนก็มีความสุขได้ ถ้าสิ่งนี้สามารถกระจายออกไปสู่คน แบรนด์ไทยในตอนนั้น ส่วนใหญ่ได้นี่คือเป้าหมายของเรา แบรนด์ไทยก็มี Stone & Steel แล้วก็มีของพี่ เอกรัตน์ คุณเบิร์ด 2 แบรนด์นี้เริ่มก่อน เราถือว่าเป็น อยากให้ช่วยขยายเรื่องการออกแบบเพื่อความสุข แบรนด์เล็กๆ ที่ใจถึง กล้าคิดกล้าทำ ถามว่าเป็นธุรกิจ วันนึงเราก็มองว่างานออกแบบต้องมีแรงบันดาลใจ ไหม ถือว่าเป็นการเอาความคิดและไอเดียมานำ ไอเดีย ที่ดี การออกแบบไปนานๆ มันเหมือนเราขาดเชื้อเพลิง นำธุรกิจ หรือหมดไฟก็ได้ เราก็เลยตั้งว่าเราจะทำเพื่อสังคมดีกว่า เราทำงานออกแบบมานานๆ เรามีประสบการณ์ เราทดลอง จากอดีตมาถึงปัจจุบัน อะไรมาเยอะ เราอยากทำงานเพื่อสังคมในที่นี้คือ คน จากยุค ARR & LEAM เมื่อ 20 ปีก่อน ต่อมา ส่วนใหญ่ของประเทศหรือของโลกก็ได้ เราก็เลยตั้งว่า ช่วงปี 2550 เราออกแบรนด์ใหม่ชื่อ AR3 คือช่วงที่เรามี เฟอร์นิเจอร์ก็ดี หรือข้าวของเครื่องใช้ในประเทศไทย มี วุฒิภาวะทางการออกแบบมากขึ้น ก็เริ่มทิ้งอะไรหลายๆ สินค้าอยู่...ผมว่าไม่ถึงสิบรายการ เป็นรายการยอดฮิตที่ อย่าง วางอะไรหลายๆ อย่างที่เราแบกมันไว้ ให้มันเบา ไม่มีใครไปเปลี่ยน เราถามว่าดีไซเนอร์ของเราไปไหนหมด ทำตัวให้ว่างขึ้น ดังนั้นแบบที่อยู่ใน AR3 เป็นอะไรที่เรา คนไทยที่เก่งๆ ไปไหนหมด พอถามอย่างนี้ก็ต้องตอบว่า จะเรียกว่าดีไซน์เปล่าดีกว่า เป็นความว่างเปล่า คือ เราล่ะ เราน่าจะมาทำตรงนี้ จากนั้นก็คิดว่าเราควรออกแบบ คาแรกเตอร์ของ AR3 เป็นเรื่องของเส้นสายที่เป็นกราฟฟิก สิ น ค้ า หรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ ประชาชนหรื อ จะเรี ย กว่ า ที่เรียกว่ากราฟฟิกบริสุทธิ์ คือไม่มีตัวตนของเราอยู่ในนั้น ผลิตภัณฑ์ประชาชาติก็ได้ คือว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นของที่มี เราจะเห็นว่าสิ่งนี้สวยด้วยตัวมันเอง ไม่ได้สวยด้วยศิลปิน 5-10 ไอเท็ม แต่ใครก็ใช้ คนจนไปจนถึงคนมีสตางค์ก็ใช้ หรือนักออกแบบไปใส่ พยายามไปดัดอะไรมัน พยายาม ไอเท็มประมาณนี้ เข้าถึงคนได้กว้างขึ้น คนที่มีเงินน้อย จัดสรรสิ่งนี้ที่ธรรมดาให้ไม่ธรรมดา เป็นความลงตัวแบบ หน่อยก็ซื้อเวอร์ชั่นถูกหน่อย คนที่ฐานะดีขึ้นก็ซื้อที่ประดับ พองาม ประดามากขึ้น ระดับคนที่สูงไปเรื่อยๆ ก็สามารถปรุงแต่ง ได้ตามฐานะของเขา การออกแบบในที่นี้ไม่ใช่ดีไซน์แต่ ผลงานออกแบบชิ้นที่ชอบหรือคิดว่าประสบความสำเร็จ เป็นการคิดถึงองค์รวมของผลิตภัณฑ์ ตัวนี้เป็นแบรนด์ใหม่ ที่สุด ที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ แบรนด์นี้ชื่อว่า Arting เป็นชื่อที่ เรามองแยกอย่างนี้คือ งานดีและงานดัง งานดีใน เข้าใจง่ายๆ คือเราจะเอาศิลปะมาทำงาน เอาศิลปะมา ที่นี้คือ งานที่เวิร์คแต่บางครั้งไม่มีใครพูดถึงเลย ไม่มีใคร รับใช้คนปกติ เราตีความว่าศิลปะเป็นเรื่องที่สูงส่งมาก 47
เราจะครอบครองศิลปะในฐานะที่เทิดทูนมัน เราไขว่คว้า มันมาด้วยเงินทองมากมาย แต่ว่าที่ Arting เราจะทำ ความเข้าใจ ศิลปะใหม่ว่าศิลปะควรง่ายกว่านั้นนะ มันน่า จะเป็นผู้รับใช้เรา เราข้ามคำว่าออกแบบ เราเอาศิลปะมา รับใช้เลย ซึ่งเราอยากให้ศิลปะรับใช้คนและเข้าถึงคนได้ ง่ายขึ้น เหมือนกับการฉีดเข้าเส้น มันต้องเป็นศิลปะหรือ อะไรที่เข้าถึงใจคนได้ง่าย ไม่ต้องปีนบันไดขึ้นไปเสพมัน อีกแล้ว
ว่าอยู่ได้แล้ว และอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีด้วย และคิดว่า บทบาทของนักออกแบบ อันนี้พูดถึงภาครัฐ มันควรเป็น วาระแห่งชาติ คือว่ารัฐควรให้นักออกทำงานมากกว่านี้ ผมคิดว่าสถาบันหรือมหาวิทยาลัยของรัฐจ่ายเงินไปไม่ น้อย สำหรับนักศึกษาออกแบบ ผมคิดว่าใช้น้อยเกินไป บุคลากรด้านการออกแบบเรายังใช้น้อยเกินไป เราสร้าง เยอะ แต่ให้เขาไปทำอะไรก็ไม่รู้ เราไม่เคยตั้งโจทย์ให้เขา ทำเลย วาระแห่งชาตินี้ควรให้นักออกแบบมารับใช้ประเทศ ชาติมากกว่านี้ คือ นักออกแบบและศิลปินทำอะไรได้ มากกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจ นักออกแบบคือนักมายากล นักออกแบบคือนักกายกรรมเขาสามารถเนรมิตให้เกิด อะไรขึ้นก็ได้ สิ่งใดที่เป็นข้อจำกัดเขาสามารถเปลี่ยน ความเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ผมคิดว่าตรงนี้ที่ภาครัฐ ควรให้ความสำคัญ ควรพลิกโฉมหน้าแนวคิดบางอย่าง โดยใช้นักออกแบบมาเป็นมันสมองของความคิดสร้างสรรค์ ในระดับชาติมากกว่านี้ เรียกว่าช่วยกันสร้างชาติ
ดีไซเนอร์ไทยได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไรในเวทีโลก ในยุคอดีต 20-30 ปี ที่แล้วมันปิดมาก เราโชคดี เพราะเราทำเองเป็นเจ้าของกิจการ ก็สามารถคิดแล้วทำ แต่มีดีไซเนอร์จำนวนมากที่คิดแล้วไม่ได้ทำ เรียกว่าน่า เสียดาย คิดแล้วต้องเก็บไว้ในลิ้นชัก ไปเสนอใครถ้าไม่คุ้ม ทุนหรือไปไม่ได้ทางธุรกิจ เขาก็ปฏิเสธ มันปิดมาก แต่ ปัจจุบันโลกมันเปิดแล้ว เปิดในโอกาสของดีไซเนอร์ เรา คิดแล้วนำเสนอผ่านสื่อ ผ่านโลกไซเบอร์ต่างๆ ผมคิดว่า ดีไซเนอร์คือทุกคนสามารถถือปืนได้ เด็กเล็กก็ถือได้ปกติ โครงการในอนาคต เป็นข้อต้องห้าม แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว คนโนเนมก็ดังได้ โครงการที่เราคิดอยู่นี้ เราก็บอกกับตัวเองว่ามัน หากเจ๋งพอ คงไม่ได้สร้างความร่ำรวยให้กับเรา มันคือการเดินทาง ไกล เราคุยกับผู้ร่วมงานของเรา คุยกับสตาฟของเราเสมอ คิดอย่างไรกับครีเอทีพโซเชี่ยลในปัจจุบัน ว่าเรากำลังเดินทางไกลอยู่นะ อย่าคิดสั้นๆ มันคือการ คำว่าครีเอทีพโซเชี่ยลนี้ที่จริงแล้วประเทศไทยก็มี ปลูกต้นไม้ยืนต้น ผมเป็นคนลงทุน เราเริ่มต้นนับหนึ่ง มันมีอยูส่ ำหรับคนทีป่ ระสบความสำเร็จ เขาคิดคอนเซปท์ แล้วก็มีคนมานับสอง สาม สี่ ห้า วันหนึ่งทำงานไปสิบปี นีอ้ ยู่ แต่วา่ ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง ผมคิดว่าของทีป่ ระสบความ มีคนรุ่นหลังมานับต่อจากเรา สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่ต้องใช้ สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใดก็ตามมีสิ่งนี้ซ่อนอยู่ เราต้อง เวลาสิบปี ยี่สิบปี กว่าจะทำให้มันเป็นจริงและจะเป็นจริง เริ่มจากครีเอทีพก่อน ไม่เช่นนั้นไม่สำเร็จหรอก อยู่ที่ว่า ได้เมื่อเราไม่ยอมแพ้ และยังยืนยันจะทำ เราจะขยายผลความคิดนี้ในวงกว้างมากขึ้น คือว่าของทุก อย่างต้องเริ่มจากความคิดที่ดี เจตนาที่ดี และก็ฝันที่ดี ฝันใหญ่ สิ่งนี้สร้างครีเอทีพโซเชี่ยลได้ หลังจากนั้นก็หา แนวร่วมคือ ผู้ช่วยเรา สตาฟเรา เพื่อนของเราที่คิดคล้ายๆ กับเรา ทำให้มันเกิดขึ้นเป็นจริงได้ ความเป็นไทยเป็นจุดขายได้ไหม ไม่อยากให้เราคิดว่า เป็นไทยเป็นฝรั่ง เพราะตอนนี้ ถูกทำลายไปหมดแล้ว เชื้อชาติคืออะไร ผมคิดว่าต่อไป อาจมีเพียงภาษาเดียวหรือว่าองค์เดียวการตีความทุก อย่างฃจะเป็นภาษาเดียวกันหมดแล้วเพราะฉะนั้นเรา ข้ามความเป็นไทยไปเลยดีกว่า เราควรมองว่าทั้งโลกจะ คิดอย่างไร คนในอนาคตของโลกจะมีทัศนคติอย่างไร เรา มาคิดเรื่องพวกนี้กันดีกว่า คิดสิ่งที่จะมารองรับความคิด ตรงนี้ มุมมองต่อวิชาชีพนี้ ถามว่าวิชาชีพนี้ยืนอยู่ได้หรือยัง ยังลำบากอยู่นะ เราเคยบอกกับหลายๆ คนที่เป็นน้องๆ ว่า เป็นดีไซเนอร์ ไม่รวยนะ ยังไม่รวยตอนนี้ แต่มีความสุข ถ้าทำงานแล้ว รักมัน มีความสุขแน่ๆ และก็การยืนอยู่ได้หรือไม่ อยู่ที่ว่า มองมุมไหน ถ้าถามว่าร่ำรวยคืออยู่ได้ ผมก็มองว่ายังอยู่ ไม่ได้ แต่ถ้าพูดว่ามันมีค่า มีความหมาย มีความสุข ผม 48
49
ชเล วุ ท ธานั น ท์ Schle Woodthanan
Grand Prizes Award 2004 Honor Award 2007
“การไม่มีคู่แข่งเป็นข้อเสีย เพราะคนทำงานในอุตสาหกรรมจะรู้สึกว่าเราเก่งแล้ว แต่ในความเป็นจริงเราหยุดนิ่งอยู่กับที่”
ผ้าผืนสวยผืนแล้วผืนเล่าที่ถูกถักทอออกมาจาก ประสบการณ์ มันสมอง และการตกผลึกทางความคิด ผ่านกระบวนการผลิตอันซับซ้อน ด้วยเครื่องจักรและ เทคโนโลยีอันทันสมัย ภายใต้อาณาบริเวณโรงงานที่มี บรรยากาศที่สวยงามชวนมองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เบื้องหน้าและเบื้องหลังของทุกสิ่งและทุกแนวความคิดอัน ยอดเยี่ยมนี้ คือผลงานชิ้นสำคัญที่ทำให้ใครๆ ต่างยอมรับ ในตัวตนของผู้ชายที่ชื่อ ชเล วุทธานันท์ ในสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่แปรปรวน อุตสาหกรรม สิ่งทอของไทยหลายต่อหลายแห่งได้ปิดตัวลงไปบนความ จริงที่ว่างานรับจ้างผลิตไม่ใช่จุดแข็งของไทยอีกต่อไป ผู้ ที่จะยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้แรงกดดันอันหนักหน่วงนี้ ต้อง มีมากกว่าแค่กำลังการผลิตและเครื่องจักรที่ทันสมัย บริษัท สิ่งทอซาติน ภายใต้การบริหารของ ชเล อาจเป็นบริษัท เพียงหนึ่งเดียวในประเทศก็ว่าได้ ที่ริเริ่มการออกแบบงาน ทอที่เป็นของตัวเองมาตั้งแต่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ควบคู่ไป กับงานรับจ้างผลิตผ้าผืนคุณภาพสูง จนในปัจจุบัน บริษัท Textile Gallery หรือที่เรารู้จักกันดีในแบรนด์สิ่งทอเพื่อ 50
การตกแต่งภายใน และชุดเครื่องนอนอันน่าพิสมัย นาม PASAYA ได้ขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าสุดของวงการสิ่งทอ อุตสาหกรรมไทย และยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบันด้วยความ ภาคภูมิใจในการออกแบบ การผลิตที่ผ่านสมอง และสอง มือของคนไทยล้วนๆ การคลุกคลีและคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไทยอย่างลึกซึ้ง ทำให้ชเลวิเคราะห์และมองภาพของ วงการสิ่งทอโลกได้อย่างกระจ่างแจ้ง และเล็งเห็นถึงปัญหา ที่น่าเป็นห่วงของของอุตสาหกรรมสิ่งทอในหลายประเด็น เรื่องหนึ่งซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญคือการพัฒนาบุคลากร ที่จะมาเชื่อมต่อในวิชาชีพในระยะยาว ชเลมองว่าปัญหา การสร้างคนรุ่นต่อไปสำหรับช่วยผลักดันวงการนี้ยังมีไม่ เพียงพอ และออกจะอยู่ในเกณฑ์ที่วิกฤติ ประเทศไทยยัง ต้ อ งการนั ก ออกแบบสิ่ ง ทออุ ต สาหกรรมที่ มี ค วามรู้ และความสามารถเชิงเทคนิคที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการ ออกแบบและการสร้างนวัตกรรมจะเป็นอาวุธสำคัญใน การขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ชเล เป็นทั้งกรรมการผู้จัดการและเป็น Chief
Designer ในบริษัทสิ่งทอซาติน ในขณะเดียวกันก็ทำงาน ในฐานะของดีไซน์เนอร์และกรรมการบริหารคนหนึ่งของ บริษัท Textile Gallery หรือ PASAYA งาน 80% ของเขา เป็นงานออกแบบ ร่วมติดตามที่มาของผ้าผืนสวยรวยเสน่ห์ และค้น ลึกลงไปในคมความคิด อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ ชายผู้ที่ต้องถือว่าเป็นเสาหลักคนหนึ่งของวงการออกแบบ สิ่งทอไทย ชเล วุทธานันท์ จุดเริ่มต้นในวิชาชีพ ผมเรียนสิ่งทอเพราะที่บ้านเป็นโรงงานทอผ้า ทำ แบบไม่คอ่ ยมีความรู้ คนจีนรุน่ พ่อมีความรูท้ างสิง่ ทอน้อย มาก ต้องอาศัยช่างที่สอนกันมาเป็นทอด ๆ เป็นคนทำผ้า แต่ผมมองว่าหากจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องมี ความรู้ ผมจึงจำเป็นต้องเรียนสิ่งทอ เมื่อก่อนก็ไม่ได้ชอบ อะไรมากมาย ไปเรียนเหมือนภาระหน้าที่ แต่ผมคิดว่า ไปเรียนแล้วก็ต้องทำให้ดี สิ่งที่ผมเรียนไม่ใช่เรื่องออกแบบ ผมเรียนทางด้านวิศวกรรมสิ่งทอ เรียนรู้กระบวนการทำ
ไฟเบอร์ ปั่น ทอ ฟอก ย้อม กระทั่งการออกแบบสิ่งทอที่ ใช้ในอุตสาหกรรมหรือวิศวกรรม ในรุ่นผมมีการออกแบบ I-Beam ที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์มาถักขึ้นรูปแล้วนำไปเคลือบ เรซิ่น ใช้เป็นโครงสร้างเครื่องบินหรือรถยนต์ มีการออกแบบ หลอดเลือดเทียมที่อาศัยโพลีเอสเตอร์ ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็น งานวิศวกรรม ที่สนุกคือผมได้เรียนรู้ว่าการออกแบบต้อง คิดคำนึงถึงอะไรบ้าง แต่พอเอาเข้าจริงๆ เวลาทำธุรกิจ อุตสาหกรรมสิ่งทอ กลับไม่สามารถใช้ความรู้ทางวิศวกรรม เพราะมันไฮเทคเกินไป สุดท้ายผมต้องหันมาออกแบบ เชิงสวยงาม โชคดีที่ผมชอบเรื่องศิลปะอยู่แล้ว ไม่ว่าจะ เป็นการวาดรูปหรือสถาปัตยกรรม ทำให้ผมปรับตัวเอง เข้ากับงานทำของสวยงามได้ไม่ยากเกินไป เป็นสาขาวิชาชีพที่คนนิยมไหม จริงๆ แล้วคนที่เรียนสิ่งทอจากเมืองนอกมีอยู่หลาย ท่าน แต่เท่าที่ผมทราบมักไปรับราชการ เช่น ท่านอดีต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการลงทุนอาจารย์สาธิต ชาญเชาวน์กุล ท่านก็จบจากอังกฤษ แต่สุดท้ายก็รับ ราชการอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ต้องใช้ความรู้สิ่งทอ คนที่จบ มาทำสิ่งทอแบบผมมีค่อนข้างน้อย ท่านที่ยังคงอยู่ในวง อุตสาหกรรมก็เพราะที่บ้านมีธุรกิจ ส่วนมากมักเรียนสิ่งทอ สาขาธุรกิจหรือการตลาด คนทีเ่ รียนวิศวกรรมสิง่ ทอจริง ๆ จึงมีจำนวนไม่มาก ความเปลี่ยนแปลงหลังจากกลับมา เปลี่ยนมาก หลังจากที่ไปรับความรู้ใหม่แล้วกลับ มา พบว่าต้องปรับปรุงทั้งโรงงาน ต้องทำอะไรบ้าง สิ่งแรก ผมพัฒนาการออกแบบและกระบวนการผลิต ต้องการ ขายผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบสู่ตลาด แรกทีเดียวจะเป็น งานออกแบบพื้นๆ หากเทียบกับวันนี้ แต่ก็เป็นการย่าง ก้าวที่สำคัญสำหรับการไปสู่สิ่งใหม่ บริษัท สิ่งทอซาติน อาจแตกต่างจากโรงงานจำนวนมาก ที่เน้นการออกแบบ ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งเมื่อ 23-24 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาการ ออกแบบและสร้างสรรค์มาโดยตลอด บังเอิญผมมีความรู้ ความเข้าใจตรงนี้เลยทำเองได้ โรงงานอื่นอาจมีข้อเสีย เปรี ย บที่ ต้ อ งอาศั ย หั ว หน้ า แผนกหรื อ หั ว หน้ า โรงงาน มาจัดการ จะไม่คล่องตัวเท่ากรรมการผู้จัดการเป็นนัก ออกแบบเสียเอง เราตัดสินใจง่ายและเร็วกว่า ในสมัยนั้น เกือบจะไม่มีบริษัทไหนมีความคิดเรื่องการออกแบบ เพราะ การเรียนการสอนด้านการออกแบบสิ่งทอในเมืองไทยยัง ไม่ได้มาตรฐานอย่างในยุโรปหรืออเมริกา เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะอาจารย์ผู้สอนไม่ได้ผ่านสถาบันด้านสิ่งทอโดยตรง แต่ผ่านสถาบันสอนออกแบบอุตสาหกรรม เมื่อต้องมา สอน อาจารย์ก็มีความลำบากในการลงลึกเจาะลึกกรรมวิธี ผลิตสิ่งทอ นักศึกษาที่ออกมาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทาง สิ่งทอมุมลึก เป็นการเรียนแนวคิดการออกแบบสิ่งทอ หรือ ไม่ก็ถูกสอนให้เป็นนักออกแบบแนวหัตถกรรม ซึ่งแตกต่าง จากอุตสาหกรรม ในยุคเริ่มต้นของผมไม่มีคู่แข่ง เป็นทั้ง ความโชคดีและโชคร้าย โชคร้ายคือทำให้คนของเราหยิ่ง ผยอง คิดว่าเก่งแล้ว ไม่ต้องพัฒนาตัวเอง ซึ่งส่งผลกลับ มายังบริษัทในยุคต่อมาเช่นกัน
การออกแบบจึงเป็นเรื่องสำคัญในเวลาต่อมา จริงๆ แล้วโรงงานในยุคแรกเป็นธุรกิจ OEM หรือ ธุรกิจรับจ้างผลิต เพราะเราออกแบบสินค้าเพื่อนำเสนอ ลูกค้า เมื่อลูกค้าเลือกแล้วจึงจ้างผลิต บางคนมองว่าเป็น ODM แต่ผมมองว่ายังเป็น OEM เพราะเขาไม่ต้องอาศัย เราออกแบบก็ได้ เขามีทีมดีไซน์ที่จะแทรกแซงเราให้ทำ ตามเขา เมื่อรับจ้างผลิต ปัญหาคือ สักวันหนึ่งถ้าเขามีผู้ ผลิตที่ให้ราคาต่ำกว่า เขาย่อมย้ายฐานการผลิตแน่นอน ผมมองเห็นตั้งแต่ก่อนปี 2000 เชื่อว่าประเทศจีนต้องโต ขึ้นมาแน่นอน ในเวลานั้นคิดว่าจำเป็นต้องรักษาฐานการ ผลิตไว้ จึงตั้งบริษัท Textile Gallery เพื่อทำการตลาด และสร้างแบรนด์ของตนเองชื่อ PASAYA คิดไว้ก่อนปี 2000 แต่กว่าเป็นรูปเป็นร่างก็ปี 2002 ธุรกิจสิ่งทอของไทย เหมือนกำลังวิ่งหนีความตาย เพราะว่าเราไม่มีขีดความ สามารถในการแข่งขันหากเปรียบกับประเทศจีนที่มีต้นทุน การผลิตต่ำกว่า และกำลังสร้างนักออกแบบที่มีความรู้ ด้านสิ่งทอออกมาอย่างมากมาย เห็นได้จากผลิตภัณฑ์ ของเขาที่พัฒนาขึ้นทุกปี ตั้งแต่ไม่สามารถก๊อปปี้ผ้าของ PASAYA ได้ จนวันนี้เขาไม่เพียงแต่สามารถก๊อปปี้ผ้าเรา ได้ เขายังสามารถก๊อปผ้าที่ทำจากยุโรปหรืออิตาลีได้ด้วย เขามีความรู้ความเข้าใจและเป็นอะไรที่เก่งมาก อย่างที่ ผมบอก การไม่มีคู่แข่งเป็นข้อเสียเพราะคนที่ทำงานใน อุตสาหกรรมจะรู้สึกว่าเราเก่งแล้ว แต่ความเป็นจริงเรา กลับหยุดนิ่งอยู่กับที่ คู่แข่งเขาแซงไปแล้ว และเขาอยู่บน พื้นฐานของต้นทุนที่ถูกกว่าและมีความปรารถนาต้องการ สร้างผลงานมากกว่า สภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอของ เราอยู่ในสภาพถอยหลังลงคลองทุกวัน และอยู่ในสภาพ ทีว่ งิ่ หนีความตาย ปที ผี่ า่ นมามีโรงงานทีป่ ดิ ไปเป็นจำนวน มาก และต่อไปก็จะมีอีกหากก้าวไม่พ้นสภาพโรงงานรับ จ้างผลิต แก้ปัญหาด้วยการเพิ่มมูลค่า ต้องทำให้แตกต่าง แต่ที่แตกต่างไม่ใช่เพราะ ความจงใจอยากทำให้ต่าง แต่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการ ผลิตแบบ OEM มีข้อจำกัดด้านราคาขาย เพราะถูกกด ราคาให้ต่ำที่สุด ปัญหาต้นทุนจึงเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ ทำให้อิสรภาพทางการออกแบบน้อยลง เช่นแทนที่เราจะ ใช้วัตถุดิบคุณภาพดีราคาสูงมาทำผ้า กลับต้องเลือกแต่ ของถูก ของหยาบ ทอห่าง ๆ ลดคุณภาพเพื่อลดต้นทุน เป็นต้น เมื่อไม่เป็น OEM เราก็ไม่ต้องอยู่ในกรอบ การ ออกแบบของ PASAYA ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องต้นทุน จนตัวสั่น เราทำได้อย่างอิสระและใช้ความคิดได้เต็มที่ ผมขอยกตัวอย่างสินค้าตัวหนึ่งที่ประสบความสำเร็จทาง การตลาดของเรา คือผ้าปูที่นอนที่ชื่อว่า Softamante คือว่า ผ้าปูที่นอนในท้องตลาดเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วมีคุณภาพ ต่ำ ของดีต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ผมประสบปัญหา เรื่องหาผ้าปูที่นอนที่ดี ๆ ไม่ได้ ถ้าซื้อของต่างประเทศก็ แพงมาก เลยคิดว่าในเมื่อเราก็เป็นโรงทอ ทำไมไม่คิดทำ ผ้าปูที่นอนใช้เองล่ะ เครื่องจักรเราก็มี ผมอยากทำผ้าปูที่ นอนที่ดีที่สุดในโลก ราคาพอจ่ายไหว ผมเริ่มใช้ความรู้ที่ เรียนมาจริง ๆ ก็ตอนนี้เอง ผมเริ่มจากสำรวจสินค้าใน 51
ท้องตลาด ดูคุณภาพ ดูราคา คำนวนต้นทุน ปรากฏว่า หากวิเคราะห์ในทางมาร์เก็ตติ้งแล้ว การทำผ้าปูที่นอน อย่างที่ตั้งใจ จะเสี่ยงมากเพราะต้นทุนสูงกว่าที่ขายกันอยู่ ทั่วไปหลายเท่า แต่ผมเชื่อว่ามาร์เก็ตติ้งคือการมองเห็น ภาพจากอดีตว่าเคยทำอะไรมาแล้วประสบความสำเร็จ แต่หากมองจากมุมของนักออกแบบต้องมองอนาคต นึก แต่เรื่องอดีตไม่ได้เพราะสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน นัก มาร์เก็ตติ้งย่อมไม่กล้าตัดสินใจเดินไป มีแต่คนที่ทำงาน ด้านออกแบบเท่านั้นที่กล้าเดินไป จากการสำรวจ พบว่า ผ้าปูที่นอนในตลาดส่วนใหญ่เป็นผ้าราคาถูก ที่ดีที่สุดแม้ เป็นคอตตอน100% ก็เป็นผ้าเนื้อหยาบ ผมถามตัวเองว่ามี อะไรที่ดีกว่าคอตตอนมั้ย คำตอบคือมี ผมคิดว่าต้องทิ้ง ความคิดเก่า ผมรู้ว่าไมโครไฟเบอร์ดีกว่าคอตตอน แต่ เพราะได้ชื่อว่าเป็นโพลีเอสเตอร์เลยถูกรังเกียจ คนไม่ เข้าใจก็ไม่ชอบ ความจริงโพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยที่ดีมาก ปลอดภัยมาก สมัยเรียนหนังสือ พวกเราถักเส้นเลือด เทียมด้วยโพลีเอสเตอร์ มันเป็นเส้นใยที่ทนทาน ไม่มี ปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายคน ยิ่งไมโครไฟเบอร์เป็น เส้นใยไฮเทค ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น คุณสมบัติพิเศษคือ มีความละเอียดกว่าคอตตอนถึง 8 เท่า ทำให้ผ้าดูดซับ ความชื้นหรือเหงื่อได้ดีกว่าคอตตอน ระบายความร้อนได้ ดีกว่าจึงทำให้รู้สึกเย็นเมื่อสัมผัส ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ทุกครั้งที่ซักผ้าเสร็จหากเป็นคอตตอน แม่บ้านต้องรีดผ้า แต่ผ้าปูที่นอนชนิดใหม่นี้ไม่ต้อง ผมคิดว่ามีข้อดีเหนือ คอตตอนเกือบทุกประการ ยกเว้นราคาที่แพงกว่า ก่อน ผลิตขายผมทดลองต้นแบบและใช้เอง ให้เพื่อนๆ ทุกคน ทดลองใช้ ทุกคนให้คำตอบว่าดีมาก ลูก ๆ ไม่ยอมใช้ผ้า แบบอืน่ อีกเลย บางคนเชือ่ ว่าสิง่ นีส้ ามารถเปลีย่ นพฤติกรรม การใช้ผ้าปูที่นอนได้เลยทีเดียว เพราะรู้สึกนุ่ม สบาย เย็น และเหมาะกับประเทศเมืองร้อน แต่กว่าจะทำให้ทาง มาร์เก็ตติ้งเชื่อว่าผ้าโพลีเอสเตอร์มีความเป็นไปได้เป็น เรื่องยากมาก ไม่ต้องพูดถึงผู้บริโภคระดับสูง ความเชื่อว่า คอตตอนดีกว่านั้นฝังใจกันมานาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ พบว่าสินค้านี้ได้รับการยอมรับที่ดีมากและเติบโตในที่สุด ผมเชื่อว่าในอุตสาหกรรมผ้าปูที่นอน สินค้าตัวนี้แตกต่าง โดยสิ้นเชิงกับสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด เพราะมียอดขาย โตขึ้นทุกปี หนึ่งดีไซน์มีชีวิตอยู่ได้หลายปี ซึ่งโดยปกติผ้า ปูที่นอนหนึ่งดีไซน์ จะมีชีวิตได้ไม่เกินหนึ่งปี เราต้องทิ้ง และทำดีไซน์ใหม่ แต่ชิ้นนี้อยู่ได้หลายปีและเป็นที่ต้อนรับ หลังจากใช้ผ้านี้ 4-5 ปี ยังพบว่าเหมือนใหม่ตลอดเวลา แม้แต่สินค้าต้นแบบที่ผมใช้อยู่ก็ยังเหมือนใหม่ ผมมองว่า เป็นผลงานการออกแบบที่นอกจากใช้ความรู้ทางศิลปกรรม แล้ว ยังใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์มา เกี่ยวข้องด้วย เป็นนักออกแบบควบการเป็นกรรมการผู้จัดการทำให้งาน ง่ายขึ้นไหม ฐานะของกรรมการผู้จัดการอาจไม่ต้องฟังมาร์เก็ตติ้ง ก็ได้ แต่ผมมองว่าเรือ่ งงาน ไม่วา่ จะเป็นกรรมการผูจ้ ดั การ หรืออยู่ตรงตำแหน่งไหน ถึงที่สุดแล้วต้องทำให้ทีมงานมี 52
ความเชื่อมั่นและเดินบนเส้นทางเดียวกัน ความเชื่อเป็น สิ่งที่บังคับกันไม่ได้ ต้องทำให้คนอื่นเห็นตาม เวลาสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ผมมีหน้าที่ต้องชักจูงให้ฝ่ายมาร์เก็ตติ้ง คล้อยตาม ผมสนับสนุนให้พวกเขาหาข้อโต้แย้งมาล้มล้าง ความเข้าใจของผมว่าไม่ดีอย่างไร เป็นไปไม่ได้เพราะ อะไร เพราะไม่เช่นนั้นผมอาจคิดแต่สิ่งที่ผมเชื่อผมเห็น บางทีผมอาจมองไม่เห็นขวากหนามหรืออุปสรรค ดังนั้น การเป็นกรรมการผู้จัดการก็ใช่ว่าจะเผด็จการได้ทุกเรื่อง บริษัทที่ต้องการคิดแบบเสรี ให้ทุกคนสร้างสรรค์ เราต้อง ให้เกียรติและอิสระมากๆ แก่ทุกคนที่ช่วยกันคิด
เรียนด้านไฟน์อาร์ตก็สามารถทำได้ แต่หากเข้ากระบวน การอุตสาหกรรมแล้วจะยากขึ้น เพราะต้องมีความรู้ด้าน Textile Science หรือความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ สิ่งทอ มีความรู้ทางมาร์เก็ตติ้ง เพราะสิ่งทออุตสาหกรรม ไม่สามารถผลิตได้ทีละชิ้นสองชิ้น ต้องผลิตครั้งละมาก พอสมควร มันจึงเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้ง หากออกแบบมา แล้วขายไม่ได้จะเสียหายอย่างหนักต่อบริษัท ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์สิ่งทอจำเป็นไม่น้อยกว่าความรู้เชิงศิลปกรรม หรือความรู้เชิงสุนทรียศาสตร์ ดังนั้นในแง่นี้ผมคิดว่าสิ่งทอ ในเชิงอุตสาหกรรม คือการออกแบบที่ผสมผสานความรู้ ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์เข้าด้วยกัน ทุกคนก็รู้ว่า ผลงานตัวปัจจุบัน คนสองกลุ่มนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อุปสรรคก็คือหาคน ผ้าม่านประหยัดพลังงานเป็นสินค้าตัวใหม่ที่เรา ที่ทำได้ทั้งสองอย่างนั้นยากเหลือเกิน ทำเมื่อต้นปีนี้ เราออกตลาดเมื่อเดือนมีนาคม แต่ทดลอง และทำตั้งแต่ก่อนหน้านี้ประมาณปีกว่าๆ เกือบสองปี มองวงการออกแบบสิ่งทอไทยอย่างไร แนวคิดของผ้าม่านประหยัดพลังงานเกิดจากความจริงที่ว่า ภาพรวมสิ่งทอไทยคือ เรายังอ่อนหัดมาก เรายัง โลกเรากำลังเผชิญปัญหาโลกร้อน ภาวะนี้เกิดจากมนุษย์ ต้องมีการพัฒนาฝึกปรืออีกมาก มีเพียงบริษัทอย่างสิ่งทอ ใช้ทรัพยากรมากเกินไป ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้น ซาติน หรือ PASAYA ไม่กี่บริษัทนั้นไม่พอ ต้องมีบริษัท บรรยากาศมากเกินไป ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ในภาวะการณ์ ที่ออกแบบเป็นสิบๆ ร้อย ๆ บริษัท จึงจะทำให้การแข่งขัน ที่โลกเรากำลังเผชิญวิกฤติโลกร้อนนี้ ผมคิดว่าผลิตภัณฑ์ กับต่างประเทศประสบความสำเร็จ อย่างในประเทศจีนมี ที่คิดค้นออกมา ควรมีส่วนช่วยลดปัญหาเรื่องโลกร้อน บริษัทที่เก่งด้านการออกแบบสิ่งทอไม่น้อย แม้เขามาทีหลัง ช่วยกันลดการใช้พลังงาน ลดการปลดปล่อยคาร์บอนได แต่เขามาทีเป็นแพ ไม่มาเดี่ยวเหมือนอย่างประเทศไทย ออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ สินค้าที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ มีเพียงสิ่งทอซาตินไปประกวดแล้วได้รางวัลไม่มีความหมาย จะได้ชื่อว่าเป็นกรีนโปรดักท์ แต่ผมไม่ได้มองทางมาร์เก็ตติ้ง อะไร ผมคิดว่าความสามารถในการออกแบบต้องทำให้ เท่าไหร่นัก เพราะสุดท้ายแล้วคนจะเชื่อหรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นชื่อเสียงประจำชาติ ไม่ใช่เป็นเพียงผลงานส่วนบุคคล เพราะหลายปีก่อนผมก็มีประสบการณ์มาแล้ว คงจำกัน ส่วนบริษัท ผมให้ความสำคัญกับชื่อเสียงประเทศมากกว่า ได้ว่ามีกระแสออร์แกนิคคอตตอน แต่ปรากฏว่าตลาดไม่ ความสำเร็จส่วนส่วนบุคคล เพราะนั่นคือคันทรี่แบรนด์ ได้สนใจและยอมรับ หรือกรณีรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์ ผมพบ ว่าการรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์ต้องใช้พลังงานมากกว่าการ แก้ที่การศึกษาได้ไหม ทำโพลีเอสเตอร์ใหม่เสียอีก ผมไม่ได้ตื่นเต้นกับกระแส ในเรื่องการศึกษา ผมคิดว่ามันเกี่ยวพันกับเรื่อง มาร์เก็ตติ้งมากนักถ้าไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่น่า นโยบายรัฐบาล ผมไม่รู้จะพูดยังไรดี ปัญหาของบ้านเรา เชื่อถือ แต่ผ้าม่านประหยัดพลังงาน ผมสนใจ เพราะป้องกัน ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นปัญหาทางการเมืองทั้ง ความร้อนที่เข้ามาในห้องเราได้ ซึ่งความร้อนเกิดขึ้นทั้ง นั้น ความไม่นิ่งทางการเมืองทำให้ประเทศชาติพัฒนา ในช่วงที่มีแดดและไม่มีแดด หากเราสามารถป้องกันมันได้ ไม่ได้ ส่งผลให้ภาคการศึกษาไม่สามารถรวมศูนย์ทาง เครื่องแอร์ของเราจะทำงานน้อยลง เป็นการลดพลังงาน ความคิด รวมศูนย์ทรัพยากร ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ จากการทดลองพบว่าผ้าม่านประหยัดพลังงานสามารถ ทางการศึกษาไม่กล้าตัดสินใจ เพราะสุดท้ายอาจกลาย ลดอุณหภูมิได้ถึง 2-4 องศาเมื่อเทียบกับผ้าทั่วไปในสภาพ เป็นดาบมาฆ่าตัวเขาเอง หากสิ่งที่เขาทำ นักการเมืองอีก แวดล้อมการทดสอบเดียวกัน 2 องศาเป็นความแตกต่าง ฝั่งไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุนี้ เอกชนก็ต้องช่วยตัวเองไปตาม ที่ทำให้เราต้องเปิดแอร์แรงขึ้นหรือน้อยลงมากพอสมควร ยถากรรม สอนกันเองฝึกกันเอง อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อ อย่างในห้องนอน อุณหภูมิ 25 องศาจะสบายและหลับได้ สังคมก็ช่วยกันทำ ไม่อยากฝากความหวังกับภาครัฐหรือ ดีแต่ถ้าเป็น 27 องศาก็เริ่มไม่สลายตัว มีเหงื่อออก เพียง 2 ภาคการศึกษาเท่าไรนัก ถ้าต้องแข่งขันกันจริงๆ กับต่าง องศาก็มีความหมายทางมาร์เก็ตติ้งพอสมควร ผ้านี้เน้น ประเทศ ผมคิดว่ารัฐควรช่วยเรื่องการพัฒนาบุคลากร เน้น สะท้อนความร้อนหรือแสงแดดไม่ให้เข้ามาในที่อยู่อาศัย การศึกษา อาจารย์ต่างประเทศที่เกษียณแล้วในประเทศที่ ผมจึงเรียกมันว่าผ้าม่านประหยัดพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอเดินต่อไปไม่ได้ เช่นยุโรป หรืออเมริกา เราน่าจะหาอาจารย์เหล่านี้เข้ามาสอน เพื่อให้นักศึกษา ข้อจำกัดหรืออุปสรรคของงานออกแบบสิ่งทอ ของเรามีความรู้ความเข้าใจสิ่งทอเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ยาก นักออกแบบสิ่งทอสามารถแยกเป็นสองกลุ่ม คือ ครับถ้าจะทำ อย่าสอนแบบจินตนาการบนกระดาษเพียง กลุ่มเชิงหัตถกรรมกับเชิงอุตสาหกรรม หากเป็นเชิงหัตถ อย่างเดียว คิดได้ทำไม่ได้ ไม่มีความหมาย สุนทรียศาสตร์ กรรมผมคิดว่าข้อจำกัดอาจมีน้อย เพราะจะเป็นศิลปินก็ อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีเชิงวิศวกรรมเข้าร่วมด้วย ได้หรือเรียนเท็กซ์ไทล์ดีไซน์เชิงศิลปะ แม้กระทั่งบางคนที่
ภาวะการณ์ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในปัจจุบัน ในมุ ม ที่ ผ มอยู่ เ ป็ น มุ ม ของเคหะสิ่ ง ทอหรื อ Home textile ซึ่งเป็นส่วนน้อยของอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้ง ระบบ โดยทั่วไป บริษัทที่มีขีดความสามารถสูงมีอยู่น้อย มาก โรงงานส่วนใหญ่มีขีดความสามารถต่ำ ออกแบบไม่ เป็น ก๊อปปี้ยังทำไม่เป็นเลย ส่วนโรงงานที่ทำผ้าสำหรับ เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งมีอยู่ประมาณ 80-90% ก็ลำบากเพราะ ต้องแข่งราคากับจีน ทุกคนเหนื่อยมาก ที่มีข่าวปิดกัน สัปดาห์ละโรงสองโรง พบว่ามีปัญหาคล้ายๆ กัน คือเป็น OEM ไม่สามารถออกแบบเองได้ มีขีดความสามารถเทียบ กับยุโรปไม่ได้ ผมไปดูงานแฟร์เกี่ยวกับเสื้อผ้าหลายครั้ง พวกเราถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตราคาถูก เข้าแฟร์ใหญ่ไม่ได้ ต้องไปอยู่ในงานรอง เราเป็นประเทศเผื่อเลือกของผู้ซื้อ จากยุโรปและอเมริกา การเป็น OEM ทำให้โรงงานไม่ สนใจการประกวดงานออกแบบ ทุกคนเป็นห่วงแต่จะมี ออร์เดอร์มาป้อนโรงงานหรือไม่ จะต้องปิดโรงงานหรือไม่ สุดท้ายก็ไปเฉือนราคากันที่ 5 เซนต์ 10 เซนต์ ผ้าเมตร หนึ่งราคาถูกกว่าแฮมเบอร์เกอร์ครึ่งก้อน ผมมองว่าเป็น เรื่องตลกมากที่ทำผ้าแทบตายแต่ซื้อแฮมเบอร์เกอร์ได้ไม่ ถึงครึ่งก้อน มันจะไปอยู่ได้อย่างไร นี่คือสภาพสิ่งทอบ้าน เรา แต่ทางอิตาลี ฝรั่งเศส จะทำผ้าราคาแพง หากเราจะ ตัดเสื้อทำสูทอย่างดีเราต้องใช้ผ้านอก ชุดของผู้หญิงก็ เช่นกัน ถ้าเป็นชุดราตรีสวยหน่อยก็ต้องผ้านอก จากอิตาลี
เกาหลี ผ้าจากไทยจะเป็นผ้าง่าย ๆ ใช้เทคนิคในการผลิต ไม่มาก ส่วนใหญ่ใช้ใส่ลำลองที่บ้าน ถ้าออกงานหรูหน่อย ก็ต้องเป็นชุดแบรนด์เนมจากต่างประเทศ สำหรับผู้ชาย อาจจะง่ายหน่อยถ้าเป็นผ้าฝ้ายเนื้อดี แต่ถ้าเป็นวูลหรือ ลินินเราก็สู้เขาไม่ได้แถมแพงกว่า ต้องอาศัยการนำเข้า อย่างสูทของ Armany เขาก็ใช้ผ้าจากอิตาลี ของ Segna ก็เช่นกัน ดังนั้นวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยยังมีช่องว่าง อีกมาก ต้องรีบพัฒนา เพราะเวียดนามกำลังจะตามมา แล้ว จีนเมื่อสิบปีที่แล้วอยู่ข้างหลัง วันนี้ทิ้งเราไม่เห็นฝุ่น อินโดนีเซียมีประชากรมากกว่าญี่ปุ่น การเมืองเขาเสถียร แล้ว กำลังจะมาเป็นคู่แข่งของเรา อีกไม่กี่ปีเขาก็แซงเรา แล้ว หากเราไม่รีบพัฒนา ก็จะเหลือคู่แข่งในเอเชียเพียง ลาว เขมร พม่า มันคงน่าอายมากหากวันหนึ่งเขมรแซ งหน้าเราได้ด้วย นวัตกรรมจึงถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจระดับชาติ เป็นกุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืนของ บริษัท ปัญหานี้เป็นปัญหาที่บริษัทผมคิดตลอดเวลา ควร จะบอกว่าธงที่เราปักไว้ตั้งแต่อดีตชี้ชัดว่าเรามาถูกทางแล้ว คือ หนึ่ง ต้องมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตัวเอง หาก ทำไม่ได้ก็สร้างแบรนด์ไม่ได้ การออกแบบเป็นกุญแจหรือ บันไดขั้นแรก สอง ต้องสร้างแบรนด์ของตนเองให้ได้ ผม คิดว่าการมีโรงงานเป็นได้ทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ บริษัทต่างชาติจำนวนมาก ไม่ต้องผลิต แต่สร้างแบรนด์
ได้เพราะเป็นคนออกแบบเองแล้วจ้างเขาผลิต แต่สำหรับ ผมและเพื่อน ๆ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เราไม่มีทางเลือก เพราะเรามีโรงงานแล้ว มีคนงานที่ต้องเลี้ยงดู จะทิ้งไปได้ อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็คงมีเพียงทางเดียวคือ เพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบอย่างจริงจัง ใช้โรงงานเป็น ฐานการผลิตสินค้าของตนเอง นี่จะเป็นความได้เปรียบ เพราะเราจะสามารถผลิตในสิ่งที่คนอื่นผลิตไม่ได้ การ ออกแบบถ้าทำได้ดีมาก จะก้าวถึงขั้นสร้างนวัตกรรม ใน บริษัทที่ดีๆ จะให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมเสมอ เช่น บริษัท Apple ที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีคอม พิวเตอร์ ทำให้เขาก้าวหน้าและชนะคู่แข่งมากมายได้ iPod ล้ม Walkman ส่วน iPhone ล้มโทรศัพท์มือถือ ทุกค่าย บริษัท Toyota สร้างนวัตกรรมออกแบรนด์ Lexus ทำให้กลายเป็นคู่แข่งของรถยนต์ตลาดสูง เพราะ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก็คงต้องไปแข่งกับรถจากเกาหลี การออก รถยนต์ไฮบริดไม่ใช่เรื่องความสวยงามหรือแบรนด์ แต่เป็น การทำสิ่งใหม่ให้กับวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เหล่านี้ เราเห็นกับตาทุกวันแต่หลายท่านอาจลืมไป มองเรื่องของ ธุรกิจเป็นเพียงกำไรประจำเดือนหรือประจำปีเท่านั้น ผม เชื่อว่านวัตกรรม ที่เกิดจากการใช้ความคิด ความเข้าใจ ความรู้ของนักออกแบบจะช่วยให้บริษัทอยู่ยั่งยืนและ แบรนด์อยู่ยั่งยืนด้วย
53
ฐิติพร ฌานวังศะ Thitipon Chanwangsa
Designer of the Year 2009
“สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ ต้องกลับไปค้นหาวิธีการให้ชัดขึ้น หรือสิ่งที่ชัดอยู่แล้วต้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถชี้ชัดความเป็นตัวเองออกมาให้ได้”
การกสิกรรมเป็นกำลังสำคัญของชาติไทย เรา ปฏิเสธไม่ได้ถึงบุคลิกของการเป็นกสิกรในสังคมโลก ใช้ เวลายาวนานหลายสิบปี กว่าที่เราจะกลับมาภาคภูมิใจ และมองว่ามันเป็นความเท่ห์ในแบบที่ใครก็ลอกเลียนไม่ ได้ในฐานะนักออกแบบ การเรียนรู้ศาสตร์ของงานดีไซน์ ที่มีการวางรากฐานโดยชาวตะวันตกที่ได้ผูกยึดการออกแบบ ไว้กับการผลิตในระบบอุตสาหกรรม จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ เราจะต้องเริ่มต้นใหม่ในการปรับใช้วิธีการทางการออกแบบ ให้เข้ากับภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัตถุดิบที่เป็นของเราเอง ด้ ว ยความที่ เ ป็ น คนเลื อ กอยู่ ข้ า งเดี ย วกั น กั บ ธรรมชาติ ฐิติพร ฌาญวังศะ เข้ามาจับวัสดุที่ชื่อว่า “ปอ” เส้นใยธรรมชาติ ที่ครั้งหนึ่งเราเคยเป็นปลูกพืชชนิดนี้ มากติดอันดับโลก แต่ในวันนี้กลไกทางการตลาดได้ทำให้ เกษตรกรผู้ปลูกปอกระเจาลดจำนวนลงจนแทบไม่เหลือ โดยเธอค้นพบว่าคุณสมบัติของเส้นใยชนิดนี้ไม่ธรรมดา เหมาะสมอย่างยิ่งที่นำมาสร้างให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิง ผลงานการออกแบบ และการส่งเสริมการเพาะปลูกให้กลับ สู่ชุมชนในฐานะพืชที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 54
ได้ไม่แพ้พืชชนิดอื่น ด้วยแนวคิดการสร้างงานแบบ “หัตถะ เชิงอุตสาหกรรม” คือการดึงคุณค่าของการสร้างงานศิลปะ ด้วยมือในขณะเดียวกันก็สามารถผลิตซ้ำได้ไม่ยาก เป็น ผลลัพธ์ของการรวมกันระหว่างการทำงานแบบศิลปินและ นักออกแบบที่มีอยู่ในตัวของฐิติพร เธอมีพื้นฐานในการ ทำงานจิตรกรรมในระดับปริญญาตรี ก่อนที่จะมาเรียนรู้ แนวคิดแบบนักออกแบบ ในระดับปริญญาโทสาขาประยุกต์ ศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เราชอบ มุมมองของเธอตรงที่เธอมองว่าการพึ่งพาความแตกต่างใน การใช้วัสดุอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะในระดับภูมิภาค แล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของเราก็มีพื้นฐานทางวัตถุดิบที่ ไม่ได้แตกต่างไปจากเรามากนัก เรามีในสิ่งที่คนอื่นเขา ก็มีเช่นเดียวกัน ดังนั้นการใช้แนวคิดแบบนักออกแบบ เพื่อดึงความแตกต่างให้ปรากฏขึ้นในงานให้ได้จึงเป็น สิ่งสำคัญความแตกต่างที่มีอยู่หลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น เอกลักษณ์ทางการออกแบบ หรือจุดเด่นทางวัฒนธรรม จะเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของงานหัตถกรรมไทยในเวที โลกได้
ฐิติพร ฌาญวังศะ เป็นนักออกแบบที่เข้าไปเกี่ยวข้อง กับมิติทางสังคมที่หลากหลาย การออกแบบ ชุมชน สังคม กสิกรรม วัฒนธรรม ฯลฯ เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า ดีไซน์ สามารถเป็นตัวจักรสำคัญที่จะหมุนเพื่อเคลื่อนสังคมของ เราไปข้างหน้า ถึงจะช้าแต่ว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ก่อนเข้ามาทำงานด้านการออกแบบ ก่อนที่จะมาเป็นนักออกแบบ เรียนปริญญาตรีที่ เพาะช่าง ปริญญาโทด้านศิลปะประยุกต์และการออกแบบ จุดเปลี่ยนคือ เมื่อตอนที่เราเรียนจบจิตรกรรม เราคิดว่า ทำอย่างไรจะทำให้ผลงานศิลปะของเราเป็นงานสามมิติ และเข้าสู่คนได้มากขึ้น เราจึงมุ่งตรงไปที่สาขาประยุกต์ศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เราหวังว่าที่นี่ เป็นที่ที่ทำให้เราสามารถสร้างผลงานศิลปะ และมีประโยชน์ ใช้สอยกับคนได้มากขึ้น จึงคิดว่าตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ เราเรียกตนเองว่านักออกแบบ
เราเรียกตัวเองว่าเป็นเท็กซ์ไทล์ดีไซเนอร์ไหม เราไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเท็กซ์ไทล์หรือเฟอร์นิเจอร์ หรือโปรดักท์ดีไซเนอร์ เราจะเรียกตนเองว่านักออกแบบ เพราะจริงๆ แล้ว เราไม่ได้มองว่าเราชอบแต่สิ่งทอ แต่ หัวใจของเราคือเส้นใยธรรมชาติ หากมองเห็นเหล็กกับ ต้นไม้ เราจะเลือกต้นไม้ก่อนเลย มีบุคคลต้นแบบบ้างหรือเปล่า แรงบันดาลใจหรือต้นแบบนี้ วิธีการทำงานนี้ เรา มองจากคุณปู่และคุณย่า เพราะอยู่แถวท่าน้ำราชวงศ์ เป็น แรงบันดาลใจในการทำงาน ส่วนในเรื่องของนักออกแบบ ช่วงที่เราเรียนเราจะเน้นด้านศิลปะเป็นส่วนใหญ่ เช่น ที แปรงของ Van gogh เราจะมองว่าทำอย่างไรให้ผลงาน ของเราสามารถแสดงลักษณะได้อย่างทีแปรง มองว่าตัวเองมีสไตล์หรือจุดเด่นที่ปรากฏในงานอย่างไร บ้าง อย่างงานออกแบบนี้ ส่วนตัวเมื่อเราเข้ามาเรียน ปริญญาโท ในรั้วศิลปากร คณะมัณฑนศิลป์ เราก็ค้นหา ตัวเองอย่างหนักมาก เมื่อเราเรียนศิลปะหรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ก็ต้องมีสไตล์เฉพาะเราก็สนใจเส้นใยธรรมชาติ และมาหยุดที่เส้นใยปอ คือว่าประเทศไทยเราเคยปลูก ปอกระเจา เคยเป็นผู้ปลูกอันดับสี่ของโลก อยู่ๆ ก็หายไป เลยศึกษาว่าหายไปเพราะอะไร ที่ทำอยู่ในปัจจุบันใช้ทำ อะไรบ้าง ที่มีปลูกอยู่หรือนำมาใช้เป็นเพียงเชือกปอหรือ กระสอบใส่ข้าว แล้วมันมีข้อดียังไงเมื่อเอามาใส่ข้าวได้ มันมีข้อดีอย่างไร จึงเข้าไปทำการศึกษากับมันหลายปี จนพบว่าเส้นใยชนิดนี้ไม่มีเชื้อราเลย 100% คนปลูกน้อยลง เพราะไม่มีราคาและชาวบ้านหันไปทำอย่างอื่นกันหมด เราจึงคิดว่าจะเอาวัสดุนี้แหล่ะมาสร้างคุณค่าให้กับมัน และทำให้ชุมชนกลับมารู้จักมันอีกครั้ง งานชิ้นไหนที่ชื่นชอบและทำให้คนรู้จักเรา ชิ้นงานที่เราชอบที่สุดและทำให้คนรู้จักเราคือ Foot Massage Carpet เมื่อกล่าวถึงงานชิ้นนี้คนจะไม่ รู้จัก นักออกแบบจะนึกถึงงานออกก่อนว่า ชิ้นงานเป็น เส้นใยปอ เป็นละลอกคลื่นเหมือนสายน้ำ มีหินในพรม ครั้งแรกที่ออกสู่ตลาดหลายคนจะถามว่าคืออะไรทำไมมี หินเยอะแยะเลย แต่พอมาพูดถึงแนวความคิดเรื่องสาย น้ำ ปรัชญาเซน หรือแม้แต่ตัวหิน จุดนี้จะเป็นสิ่งพิเศษที่ ตอบโจทย์ลูกค้าและเป็นศิลปะในตัวมันเองด้วย 55
56
การเป็นนักออกแบบไทยนับว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสีย การเป็นนักออกแบบไทยนับเป็นข้อดีเลย เพราะ ภู มิ ป ระเทศของเราและพื้ น ถิ่ น ของเรามี ค วามเป็ น หัตถกรรมสูง สูงชนิดที่เรียกว่ายุโรป อเมริกา หรือที่ใดไม่มี เหมือนเรา เมื่อพูดถึงการถัก สาน ทอ พอพูดถึงหัตถกรรม เราจะไม่เป็นสองรองใคร แต่ข้อเสียก็จะมีตรงที่บริเวณ บ้านเรา จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์จะมีงานหัตกรรมที่ เหมือนกัน แทบแยกไม่ออกเลยว่าชิ้นใดเป็นผลงานของ ประเทศใด นี่คือความเสียเปรียบของนักออกแบบไทยใน เชิงหัตถกรรม ในด้านวัฒนธรรมเราได้นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน อย่างไรบ้าง และส่งผลให้ผลงานเราได้รับการยอมรับ อย่างไรบ้าง ในส่วนของวัฒนธรรมเป็นอีกจุดที่เราพยายามหยิบ มาใช้ในงาน วัฒนธรรมของเราไม่ใช่เพียงแนวความคิด เรื่องคนไทยกับสายน้ำ วิถีชีวิต หรือความดั้งเดิม แต่ ผลงานเราจะเน้นด้านหัตถกรรมสูงมาก สำหรับลูกค้าหรือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาเห็นผลงานของเรา ซึ่งเห็นเป็นงาน หัตถกรรมจะกลัวว่างานหัตถกรรมนั้นมีเพียงชิ้นเดียวแล้ว จบไป งานศิลปะมีเพียงชิ้นเดียวในโลก ของเราเป็นหัตถะ เชิงอุตสาหกรรม สามารถผลิตได้จำนวนมากสามารถ ผลิตรีพีทได้จำนวนมาก และแต่ละชิ้นจะมีเสน่ห์หรือยูนีค ในตัวมันเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถบอกกับคนทั่วโลก ได้แล้วว่างานหัตกรรมของคนไทยจะไม่ใช่เพียงชิ้นหนึ่ง แล้วจบไป ไม่มีคุณภาพหรือด้อยคุณค่า มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ สามารถบอกได้ว่าเป็นตัวแทนวัฒนธรรมไทยอยู่ตรงนี้
อยากให้ฝากแง่คิดแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ และกรุณาเล่า ประสบการณ์หรือปัญหาที่พบ สิ่งที่อยากฝากให้นักออกแบบ ทุกอย่างไม่ได้มี คุณค่าหรือมูลค่าในผลงาน แต่ทุกอย่างต้องมีระยะเวลา ในการฟูมฟักสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นจิวเวลรี่ดีไซน์ โปรดักท์ดีไซน์หรือด้านใดๆ สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ ต้องกลับไป ค้นหาวิธีการให้ชัดขึ้น หรือสิ่งที่ชัดอยู่แล้วต้องให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น สามารถชี้ชัดความเป็นตัวเองออกมาให้ได้ สำหรับ ตอนนี้มีงานออกแบบออกมาเยอะมากจนจำไม่ได้แล้วว่า ใครเป็นใคร แต่ถ้าสามารถทำให้เกิดเป็นลายเซ็นต์ลงไป ในงานได้เลยว่าเมื่อเห็นผลงานนี้แล้ว รู้ได้เลยว่าเป็นของ ใครและเรามีความเป็นมาอย่างไร ตรงนั้นต่างหากที่สำคัญ อย่างที่บอกเราไม่สามารถขายงานด้านไลฟ์สไตล์ ตอบ โจทย์คนโน้นคนนี้อย่างเดียวไม่พอ ส่วนตัวยังคิดว่างาน ผลิตภัณฑ์หรืองานออกแบบที่ดีเหมือนงานศิลปะที่ใช้และ ประดับตกแต่งพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างลงตัว เป็นสิ่งที่นัก ออกแบบรุ่นใหม่ห้ามลืมจุดนี้ ขอเพิ่มอีกนิดหนึ่งต้องไม่ ลืมความเป็นไทย อันนี้สำคัญเพราะตอนนี้โลกเป็นโซเชี่ยล เน็ตเวิร์ค ทำให้ลืมรากเหง้า ประเพณี วัฒนธรรมอย่าง ที่กล่าวไปแล้ว ในพื้นที่เราเก่งอะไร เราไม่เก่งด้านเทคโนโลยี อย่างประเทศอื่นๆตรงจุดนี้เป็นสิ่งที่เขาซื้อเรา ไม่ได้ซื้อ เพราะว่าเราสามารถเลียนแบบใครได้ดี
คาดหวังกับตนเองและเป้าหมายในอนาคตอย่างไรครับ สิ่งที่มองในอนาคตข้างหน้าคือ ตอนนี้พยายาม เริ่มทำแล้ว คือนำสิ่งที่เราออกแบบไปให้ชุมชนได้เรียนรู้ ได้รู้จัก ได้เข้าถึง เพราะงานของเราไม่ใช่งานของเราคน เดียวหรือทีมงานของเราแล้ว แต่งานของเราเป็นสิ่งที่ทำ ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐด้านใดบ้าง ให้ชุมชนหลายๆ ชุมชน มีรายได้กลับไปหาชุมชน เพราะ ในส่วนของความช่วยเหลือภาครัฐมองว่าโครงการ วัตถุดิบเป็นวัตถุดิบในชุมชน มีรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน ดีๆ อย่าง Designer of the year ช่วยผลักดันให้นัก เมื่อชุมชนเกิดรายได้ ชุมชนไปได้ เศรษฐกิจก็ไปได้ อันนี้ ออกแบบอยากสร้างสรรค์ผลงานออกมา ว่าปีๆ หนึ่งเรา ต่างหากที่จะบอกได้ว่างานออกแบบมีดีตรงไหน จะทำงานอะไรออกมา มันตอบเราเลยว่าปีหนึ่งเราต้องมี งานออกมาให้กับโครงการนี้หนึ่งคอลเลคชั่น
57
นคริ น ทร์ คำสี ล า Nakarin Kamseela
Emerging Award 2009
“นักออกแบบไทยเหมือนใกล้ตัวเรา และสามารถนำแรงบันดาลใจมาทำให้เราเกิด มีไฟ มีพลัง แรงบันดาลใจในการทำงาน”
ผลงานโคมไฟ Up Lamp เป็นผลงานที่ทำให้ใคร ต่อหลายคนเริ่มรู้จัก นครินทร์ คำสีลา นักออกแบบหนุ่ม ผู้ซึ่งมีความสนใจในงานเชิงทดลอง ที่เป็นการผสมผสาน ระหว่างงานเชิงช่างกับงานไม้ ที่เน้นการเอาไม้ชิ้นเล็กๆ มาประกอบยึดเป็นโคมไฟที่ถูกฉีกให้ส่วนหนึ่งของงาน อ้าออกเป็นรูปฟันปลาจากไม้รูปทรงตันให้อารมณ์ที่ท้าทาย น่าค้นหา ว่ากระบวนการผลิตของงานที่มีรูปทรงน่าทึ่งนี้ ถูกผลิตอย่างไร นครินทร์ เป็นหนึ่งในนักออกแบบหน้าใหม่ที่มี ความต้ อ งการที่ จ ะเดิ น ในทางสายนี้ เ หมื อ นอย่ า งนั ก ออกแบบรุ่นพี่ๆ หลายคนเคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า อายุ ตัวเองหรืออายุงาน ไม่ได้เป็นข้อเสียเปรียบต่อนักออกแบบ หน้าใหม่ ความขยันและการฝึกฝนที่หนักกว่าในเวลาที่ เท่าๆ กันต่างหากที่เป็นตัวเร่งประสบการณ์ให้นักออกแบบ คนนั้นๆ มีความพร้อมที่จะเข้าสู่สนามแข่งขัน ที่ว่ากันด้วย ความสำเร็จจากคุณค่า และยอดขายผลงานที่ได้ออกแบบไป ความสำเร็จในวันนี้ของนครินทร์ ยังเป็นเพียงแค่ จุดเริ่มต้น หากเทียบกับสิ่งที่เขาใฝ่ฝันอยากจะทำ ซึ่งนั่น 58
ก็คือการค้นลึกลงไปในรากเหง้าและความเป็นไทย เพื่อ ดึงเอาเสน่ห์ที่เป็นตัวตนของชนชาติออกมานำเสนอ ผ่าน ผลงานการออกแบบของตนเองที่จะทำในอนาคต ทำความรู้จักกับเขาให้มากขึ้นและร่วมพูดคุยไป กับ นครินทร์ คำลีลา ผู้ซึ่งภูมิใจในความเป็นนักออกแบบ ไทยจนสามารถพูดได้เต็มปากว่า คนต้นแบบหรือ Role Model ของตัวเองที่เป็นผู้สร้างไฟให้พลังและเป็นแรง บันดาลใจในการออกแบบ คือนักออกแบบไทยรุ่นพี่ๆ ที่ ไม่ใช่ใครอื่น หรือคนชาติอื่นๆ อะไรทำเราตัดสินใจเป็นนักออกแบบสายนี้ มันเริ่มจากตอนที่เราเรียนสมัยประถม เหมือน เราชอบศิลปะเป็นพื้นฐาน จุดเปลี่ยนอยู่ที่ จุดผ่าน ม.ปลาย เป็นช่วงที่ได้เข้ามาศึกษางานศิลปะจริงๆ ตอนนั้นคือเป็น ช่วงที่หาแนวทางว่าจะเรียนในสาขาอะไร พอดีทางที่บ้าน คุณพ่อแนะนำให้เรามาเรียนด้านการออกแบบ คือผม เรียนทางด้านวิชาชีพตั้งแต่ตอน ปวช. เริ่มเรียนออกแบบ ผลิตภัณฑ์ตอนจบ ปวช. ก็ต่อ ปวส. ด้านออกแบบ
มีปัญหาในการสร้างงานตามทิศทางที่เรากำหนดไหม ปัญหาน่าจะเกิดจากความคิดเดิมๆ ของช่าง ที่ เราไปร่วมกระบวนการด้วย แต่เราต้องนำความคิดใหม่ เก่าและประสบการณ์มาร่วมกันมาใช้เป็นการทดลองก็ได้ ทดลองร่วมกัน เป็นตัวเชื่อม
ผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม และช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ปวส. ส่วนใหญ่เขาจะไปเรียนเป็นเหมือนอนุปริญญา 2 ปี ต่อเนื่อง ช่วงนั้นจะเป็นสิ่งที่ทุกคนเรียน 2 ปีหลัง คือสิ่ง ที่หลายคนอยากเรียน คือที่ลาดกระบังมีจุดเปลี่ยนคือ ช่วงนั้นเหมือนว่าสอบไม่ติดที่นั่นก็เลยหันเหมาเรียนที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร พอดีมันมีหลักสูตรสองปี หลังเหมือนกันและได้เรียนออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนเดิม
ผลงานชิ้นใดที่เราชอบเป็นพิเศษ ผลงานที่ชอบก็เป็น Up lamp เป็นผลงานที่ได้ รางวัล ของ Designer of the year และมันเหมือนการที่ ผมเคยพูดมาเป็นการนำวัสดุที่เราต้องการนำมาทดลอง ผลิต บวกกับฝีมือช่าง ผมจะดึงความเป็นฝีมือช่างไม้ ออกมาให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มจากเศษไม้ชิ้นเล็กๆ แต่มัน เหมือนไม่มีคุณค่าแล้ว เราจะนำสองสิ่งมาบวกกันทำให้ เกิดคุณค่ามากที่สุดทำให้งานมีความแปลกใหม่ โชว์ฝีมือ ช่างไม้ได้มากที่สุด รักษางานมาตรฐานได้ไหมเมื่อนำงานฝีมือมาผสม มันมีกระบวนการมาตรฐานอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่ เราเริ่มวางแผนงาน งานชิ้นนี้เราต้องการให้ออกมาในแง่ คราฟท์ แต่มีมาตรฐานของแมส แต่ไม่ทิ้งความเป็นงาน
มีวิธีการสร้างแรงบันดาลใจและความรู้ใหม่ๆ อย่างไร แรงบันดาลใจผมจะหาสิ่งที่มาจากตรงข้ามมาก กว่าพยายามมองเรื่องดีไซน์แต่มองด้านอื่น อาจเป็นดนตรี ใครจุดประกายให้อยากทำงานด้านนี้ ผมจะได้แรงบันดาลใจจากนักออกแบบไทยรุ่นพี่ๆ หรือภาพยนตร์ เหมือนเป็นแรงผลักดันอีกทางหนึ่งมัน ผมชื่นชอบบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่า นักออกแบบไทย สามารถผลักดันให้เราคิดงานด้านดีไซน์ได้ ดีกว่าเรา เหมือนใกล้ตัวเราและสามารถนำแรงบันดาลใจมาทำให้ พยายามดูในสิ่งที่เราทำอยู่ เราเกิดมีไฟ มีพลัง แรงบันดาลใจในการทำงาน นำวัฒนธรรม รากเหง้ามานำเสนอในชิ้นงานไหม งานที่ผ่านมามีหลายชิ้นที่ใช้ แต่ผมอาจมองเป็น มีกระบวนการทำงาน วิธีการคิดอย่างไร ขั้นตอนการทำงานของผม ก็เหมือนขั้นตอนตาม ประสบการณ์ เหมือนงานผลิตแต่ละชิ้นใช้ประสบการณ์ กระบวนการที่เรียนมาปกติ แต่ผมเน้นหนักด้านการทดลอง ที่ผ่านมา ใช้ช่างแต่ละคน อาจได้แนวคิดหรือวิธีการทำรุ่น มากกว่า เหมือนเราคิดงานงานหนึ่งขึ้นมาแต่ทำโพรเซส ต่อๆ มาของเขา ดึงออกมาแต่ผ่านกระบวนการความคิด ตามขั้นตอนแล้ว แต่มีขั้นหนึ่งที่ผมจะให้น้ำหนักกับมันมาก ที่เราได้เรียนมา คือการทดลอง จะทิ้งช่องว่างให้งานเดินไปของมันเอง และเราเข้าไปมีส่วนร่วมกับงาน ให้มันเกิดขึ้นโดยทิศทาง ต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้าง ของมัน ไม่ได้เกิดขึ้นแน่นอน แต่ให้มันเกิดเหมือนกับว่า ผมว่าการที่จะให้รัฐช่วยเหลือคือ ควรเริ่มตั้งแต่ การศึกษา บางทีบางมหาวิทยาลัยอยู่ต่างจังหวัด หรือใน มีความสดใหม่ในงาน กรุงเทพ บางทีโอกาสอาจยังไม่ถงึ ข่าวสารวงการออกแบบ ยังไปไม่ถึง เรื่องการประกวดบางทีเขาไม่ค่อยได้เข้ามามี คำว่าทดลอง มีขั้นตอนอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราจับงานมางานหนึ่งแล้วเราได้หา ส่วนร่วมมากเท่าไหร่ วัสดุมา ในอีกทางหนึง่ แล้วเอาวัสดุมาจับเข้ากับ เหมือนเป็น กระบวนการผลิตกับวัสดุมาชนกัน ส่วนมากงานของผม อยากทำอะไรต่อไปในอนาคต จะเน้นไปทางงานฝีมือโดยพยายามดึงงานช่างเข้ามาชน เหมือนเป็นอยากจะดีไซน์ผลงานที่มันมีความเป็น กันกับวัสดุ ใช้ประสบการณ์ของช่างเหมือนช่างไม้ ช่าง รากเหง้าความเป็นไทยออกมาให้มากที่สุด ทำให้คนที่ จักสานที่เขามีประสบการณ์การทำงานระยะหนึ่งแล้ว เรา เหมือนกำลังจะเป็นรุ่นต่อๆ ไปเห็นว่าเรานำสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำวัสดุที่คิดว่าน่าจะต่อยอดได้ เอาวิธีคิดของเรามาผสม เป็นสิ่งที่เป็นรากเหง้านำมาออกแบบ คือ สามารถทำให้ เขาเห็นและเป็นแรงบันดาลใจต่อๆ ไป กับฝีมือของช่าง
59
นาถวั ฒ น์ ธั ม พิ พ ธ ิ Narttawat Thampipit
Designer of the Year 2005
“นักออกแบบไทยเหมือนใกล้ตัวเรา และสามารถนำแรงบันดาลใจมาทำให้เราเกิด มีไฟ มีพลัง แรงบันดาลใจในการทำงาน”
นาถวัฒน์ ธัมพิพิธ น่าจะเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ หนึ่งเดียวในเมืองไทย ที่สนใจและคร่ำหวอดอยู่กับงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลาย “ลวงตา” ผสมกลมกลืน อยู่บนพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นอย่างมีเสน่ห์และน่าสนใจ ผลงานอันหลากหลายภายใต้แบรนด์ Take a Luxe และ Visionnex เป็นสิ่งที่ยืนยันและย้ำชัดถึงความแตกต่างใน วิถีทาง รูปแบบ และสไตล์งานออกแบบของชายคนนี้ ได้เป็นอย่างดี การใช้เทคนิคการพิมพ์ลายลงบนวัสดุที่มี ความหนา เพื่อสร้างภาพลวงตาในลักษณะต่างๆ เป็นสิ่งที่ นาถวัฒน์คิดค้นขึ้น เป็นสิ่งที่ดูน่าทึ่งภายใต้พื้นฐาน “งาน พิมพ์” ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวที่นาถวัฒน์เติบโตมา ภายในอาณาเขตของโรงงาน ใครจะไปคิดว่าความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในเรื่องลวดลาย เส้น สี และโดยเฉพาะความ หนาของเม็ดสีที่ถูกสกรีนลงไป จะสามารถนำมาต่อยอด เป็นภาพลวงตาต่างๆ ได้ไม่รู้จบ จึงไม่น่าแปลกใจที่ Material ConneXion Bangkok จะบรรจุผลงานของ นาถวัฒน์เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางวัสดุเพื่อการตกแต่งที่ ดีเยี่ยมชิ้นหนึ่ง บนโคมไฟที่ชื่อว่า “Rain” นาถวัฒน์ตั้งใจ 60
อยากจะถ่ายทอดอารมณ์ของน้ำที่หยดลงเป็นวงกระเพื่อม เพื่อที่จะให้สามารถโต้ตอบกับตัวผู้ใช้งาน ได้ด้วยการ สร้างความรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของภาพลวงตาสามมิติ ที่มักจะเป็นตัวกวักมือเรียกให้ผู้คนที่เดินผ่านตั้งคำถาม ว่าความเคลื่อนไหวของภาพที่เกิดขึ้น มันไปอยู่บนมิติที่ แบนเรียบเช่นนั้นได้อย่างไร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากนาถวัฒน์คือ การไม่หลง ลื ม ภู มิ ปั ญ ญาในเทคนิ ค งานพิ ม พ์ ที่ สั่ ง สมมาในธุ ร กิ จ ครอบครัวที่สามารถนำมาประยุกต์ ต่อยอด จนมีความ พิเศษเฉพาะตัวและไม่มีใครเหมือน อีกทั้งยังสามารถนำ ออกแสดงไปหลายประเทศทั่วโลก เพื่อย้ำชัดในจุดยืนที่ว่า อุปสรรคและปัญหาทางเทคโนโลยีของชาติ ไม่ได้เป็น อุปสรรคต่อนักออกแบบไทยแม้แต่น้อย เราสามารถค้นหา ความโดดเด่นได้จากสิ่งที่เรามี จากสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัย อยู่และด้วยสติปัญญาที่เท่าเที่ยมกัน นาถวัฒน์ ค้นจนเจอ วิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ธรรมดาๆ สื่อสารกับคนได้จริงๆ นาทีนี้ถึงเวลาที่เราต้องค้นลึกลงในความคิดของชายคน นี้เสียที
ไม่ได้เรียนมาทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ ผมจบทางกราฟฟิกดีไซน์เป็น Master of Fine Art ที่ Academy of Art College ที่ซานฟรานซิสโก สนใจ งานด้านกราฟฟิกดีไซน์เพราะจริงๆ แบ็คกราวน์มีธุรกิจ เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อยู่ เลยรู้สึกว่าเราอยากศึกษาเรื่องดีไซน์ เพื่อมาต่อยอดและเป็นความชอบส่วนตัวที่จะทำงานด้าน นี้ พอมีโอกาสเลยคิดว่าควรเอามารวมกันเป็นความคิด สร้างสรรค์ใหม่ๆ ความสนใจเบื้องต้น ที่จริงผมสนใจที่จะผสมผสานเรื่องดีไซน์เข้ากับ งานพิมพ์อย่างเป็นรูปธรรม ปกติเราเห็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ ใช้งานพิมพ์เป็นเครื่องมือ หรือใช้ดีไซน์ไปดีไซน์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาแต่ไม่ค่อยเห็นดีไซเนอร์ที่นำงานพิมพ์มาสร้างเป็น โปรดักท์ที่จับต้องได้ด้วยคุณค่าของมันเอง ด้วยคุณค่า ของงานพิมพ์จริงๆ มันเป็นความท้าทายที่ผมทำยังไงที่จะ จับเรื่องนี้มาทำอย่างจริงจัง เป็นแรงบันดาลใจให้ตนเอง และอื่นๆ ว่างานพิมพ์มีมุมมองอีกหลายอย่างที่ทำได้ ซึ่ง
นำจุดนี้มาพัฒนาเป็นสไตล์งาน และความสนใจด้วย และ ที่ไม่เหมือนที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็ก เช่น ไม้บรรทัด ซึ่งตรงนั้น ต่อยอดมาเรื่อย ผมคิดว่ายังจำกัดการใช้งานอยู่ เพราะนำไปขึ้นรูปไม่ได้ ดัดแปลงยาก ต้นทุนต้องทำจำนวนมากจึงออกสู่ตลาดได้ งานพิมพ์สามารถเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ เราเอางานพิมพ์มาบวกดีไซน์บวกครีเอทีพ สร้างขึ้นมา ผมมองการพิมพ์เป็นแมททีเรียลของผม บางท่าน เป็นวัสดุสามมิติตัวนี้ และทำเป็นโคมไฟตัวหนึ่ง นำสิ่งนี้ อาจใช้หวายมาสานเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ผมใช้น้ำหมึกมา มาพัฒนาเป็นโปรดักท์ ทำให้คนสนใจและตั้งคำถามว่า เป็นสีสัน เป็นวัตถุดิบ ผมรู้สึกว่าเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่น่าเอา มันคืออะไร มันทำอย่างไร และก็มันจะไปได้ไกลแค่ไหน มาใช้ให้เป็นประโยชน์และไม่มีใครใช้มากนัก นำมาพัฒนา ทำอะไรได้ต่อไปอีก ผมคิดว่านี่คือจุดเปลี่ยนเอาองค์ความรู้ เป็นโปรดักท์ ที่ว่ามุมเหล่านี้ยังไม่มี และสามารถไปต่อ มาสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างขึ้นมาและทำให้สังคม ยอดได้ในหลายๆ ด้านมากกว่าที่ตัวเองคิดเสียอีก ไม่คิด มองว่าคนไทยก็ทำอะไรที่สร้างสรรค์มากๆ ได้ ไม่จำเป็น ว่าไปได้มากเท่านั้น เริ่มจากทำวัสดุขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ ต้องเป็นวัสดุพื้นเมือง เห็นมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ซึ่งผม หรือเพื่อดัดแปลง เอามาพัฒนาเป็นสินค้า โดยส่วนตัวผม เชื่อว่าเราทำได้ดีอยู่แล้ว มีดีไซเนอร์ที่ทำได้ดีมากๆ ซึ่ง สนใจไลท์ติ้งหรือโคมไฟ วัสดุที่เล่นกับแสงเล่นกับเรื่องเงา ผมประทับใจอยู่แล้ว ในมุมของผมเองมองว่าอีกมุมล่ะ สีสันอะไรต่างๆ ผมเลยเอาวัสดุที่เกี่ยวกับการพิมพ์มาทำ คนไทยทำได้ไหมเราสร้างอะไรแบบนี้ได้ไหม ผมคิดว่า การทดลอง คือทดลองว่าได้อย่างที่ผมคิดไหม ผลที่ได้ เป็นจุดเปลี่ยนของผมและไปอินสไปร์บางอย่าง ทำให้คน มาน่าสนใจจึงเกิดเป็นโปรดักท์ชิ้นแรกๆ คือโคมไฟ ที่ผม รุ่นผมมามองว่าเราไม่จำเป็นต้องทำแต่วัสดุที่คุ้นเคย ส่งเข้ามาก็ได้รับความสนใจ ตัวนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้น ก่อน พลิกแพลงได้มากขึ้น หน้าที่ส่งเข้ามาได้นำวัสดุนี้มาเข้าศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ ดูแล้วก็ติดท็อปเท็นตั้งแต่ปีแรก ที่น่าสนใจ ผลงานที่ชอบ เพราะในท็อปเท็นไม่มีสินค้าดีไซน์เลยมีแต่สินค้าเกษตร เป็นผลงานที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนคือ โคมไฟที่ชื่อ มีเพียงของเราที่เข้าไป ซึ่งก็ค่อนข้างจะทำให้ผมรู้สึกว่า Rain ผมตั้งชื่อนี้เพราะตอนดีไซน์ผมคิดถึงหยดน้ำที่หยด ถ้ า เราตั้งใจจะพัฒนาอะไรบางอย่างและเห็นว่ามันมี ลงกระเพื่อมเป็นวง โคมไฟนี้ให้ความรู้สึกสมจริง มีมิติ ศักยภาพ ต้องเอาดีไซน์มาช่วยและความคิดสร้างสรรค์ เหมือนมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา นี่น่าจะเป็นจุดเด่นของ มาต่อยอดมันจะไปถึงจุดๆ หนึ่งที่เป็นประโยชน์ งานออกแบบของผม ซึ่งผมรู้สึกว่าโปรดักท์ทั่วๆ ไป ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวหรือโต้ตอบกับคนที่เห็น ผม เทคนิคการสร้างภาพลวงตา อยากทำอะไรที่อินเตอร์แอคกับคนกับผู้ใช้ ตั้งคำถามว่า จริงๆ ตัวที่ผมพัฒนาขึ้นมาเป็นชิ้นแรก ที่น่าสนใจ มันทำยังไง แปลกดีนะ ผมคิดว่าเป็นผลสำเร็จแล้วนอกจาก ทีเกริ่นไปคือเอางานพิมพ์มาทำลักษณะ 3 มิติแบบใหม่ ความงาม ความเท่ห์ ผมอยากให้เกิดการตั้งคำถามด้วย
การค้นหาความรู้ใหม่ๆ จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมของผมอยู่ในโรงงาน ผมถือ ว่าได้เปรียบผมได้เห็นวัตถุดิบใหม่ๆ ตลอดเวลา ได้อัพเดท อาวุธใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผม คิดผลงานใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ผมหยิบจับอะไรมาผสม ผสาน ผมทำได้เลย ผมมีวตั ถุดบิ เหล่านีอ้ ำนวยความสะดวก อยู่ผมแฮปปี้ และเลือกจะอยู่ตรงนั้นระยะหนึ่งเพื่อที่จะเป็น ช่วงที่ผมครีเอทอะไรใหม่ๆ ช่วงที่ผมต้องการผสมผสาน ตัวเองหรือสิ่งที่รู้มากับสิ่งที่มีอยู่ ส่วนในด้านอื่นๆ พอเรา ส่งงานประกวดทำงานดีๆ ออกมา เราได้รางวัลตอบแทน มา คือผมได้เห็นอะไรเพิ่ม ได้ไปอิตาลี ได้ไปออกงานที่ อังกฤษ ได้แสดงงาน 100% Design เพราะเขาคัดแค่ 4 บริษทั เป็นปีแรกทีเ่ ราได้ไปตัง้ ไทยพาวิลเลีย่ นก็เป็นอะไรที่ เราถือว่าเราได้ไปเรียนรู้ ไปเห็นไปเจอประสบการณ์ใหม่ นักออกแบบไทยในเวทีโลก งานของผมได้รับการมองในหลายๆ มุม งานดีไซน์ เราก็ได้โชว์ที่มิลาน ไปที่ 100% Design นี่คือมุมดีไซน์ มุม ที่คนมองงานผมเป็นอาร์ต ก็มีได้แสดงที่บรัสเซล ประเทศ เบลเยี่ยม มองเราให้เป็น 1 ใน 40 อาร์ตทิส งาน 40 ปี ความสัมพันธ์ไทยเบลเยี่ยม เขามองโปรดักท์ดีไซเนอร์ที่ ทำงานอาร์ต ก็ไปแสดงเป็นลักษณะนั้นด้วยก็ถือว่าโชคดี ที่มีโอกาสได้ไปรับประสบการณ์หลายๆ แบบ ข้อดีมี มากมาย เราได้เห็นผลงานระดับโลก ว่าเราเหมือนใคร ไหม ใครเหมือนเราไหม เราต้องการที่จะสร้างความ แตกต่าง ต้องการเอาอะไรที่ บอกว่าคนไทยคิดอะไรแบบนี้ ได้ไปให้เขาดู ไปเจอดีไซน์เนอร์ที่เป็นไอดอลของเรา ไป เจอคนที่น่าจะเอางานเราไปต่อได้อีก เจอหลายๆ มุมที่ 61
เป็นประโยชน์มากๆ เจอลูกค้า ส่วนอุปสรรคคงเป็นเรื่อง ของปีที่ผมไปที่ 100% Design ที่ลอนดอนเป็นปีแรกที่ ไทยได้ตอบรับไปสร้างพาวิลเลี่ยนที่โน่นเราไปแค่ 4 บริษัท ข้อดีคือเราเป็นหนึ่งใน 3 ประเทศในเอเชียที่ไปจัดแสดง เกาหลีไป 20 กว่าบริษัท ญี่ปุ่น 20 กว่าบริษัท เพราะอย่าง นั้น ไทยยังเริ่มมีโอกาส แต่น้อยอยู่ อยากให้มีโอกาสได้ มากกว่านี้เพื่อให้หลายๆ ท่าน หลายๆ แบรนด์ ไปช่วยกัน สร้างพลังตรงนี้ผมว่าโอกาสพวกนี้ถ้าทางภาครัฐช่วยได้ เราไปกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเขาจะยิ่งเห็นพลังเห็นว่าคน ไทยมีอะไรเจ๋งๆ เยอะ ภารกิจและเป้าหมายในอนาคต ผมเป็นดีไซน์ไดเร็กเตอร์ของบริษัท Morio ซึ่งดูแล สองแบรนด์คือ Take a luxe ซึ่งเป็นโปรดักท์ดีไซน์ ซึ่งทำ ของในลักษณะอินโนเวชั่นโปรดักท์ อย่างโคมไฟ ของแต่ง บ้าน แอคเซสซอรี่ต่างๆ มีส่งออกไปในหลายๆ ประเทศ ทั้งแถบสแกนดิเนเวียน เดนมาร์ก หรือว่าทางยุโรป ทาง ใต้ก็ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี รวมทั้งแอฟริกาใต้ และมี ทางเอเชียบ้างส่วนหนึ่ง อีกแบรนด์ชื่อ Visionnex เป็น แบรนด์ที่สร้างวัสดุใหม่ๆ เอางานพิมพ์มาทำเป็นนิว เซอร์เฟสแมททีเรียล เป็นแมททีเรียลที่เราคิดว่าทำไมเรา ไม่ลองเปลี่ยนกระดาษเป็นเหล็ก ทำหนังให้เป็นโฟมทำ กระดาษให้น่าสนใจกว่าเดิมยังไง ทำพลาสติกให้ทะลุลง ไป มีมิติเข้าไป ซึ่งพวกนี้ผมรู้สึกว่าผมใช้งานคนเดียวไม่ สนุก แต่อยากทำอะไรที่ดีไซเนอร์ท่านอื่นนำไปใช้ได้ด้วย แล้วก็ที่สำคัญงานของผม ผมมองว่าเป็นแค่เพิ่มมูลค่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้อะไรก็ได้ ทำไมไม่ช่วยกัน ผมอาจเป็น ส่วนหนึ่งที่ไปต่อยอดให้ดีไซเนอร์ท่านอื่นก็ได้เหมือนกัน ไม่ต้องทำงานของตัวเอง ที่ผ่านมาเลยได้จอยกับแฟชั่น ดีไซเนอร์ได้ จอยกับโปรดักท์ดีไซเนอร์ อาร์ตติส โปรเจคท์ ที่เป็นอินทีเรีย เพราะวัสดุนี้ไปพัฒนาได้หลายๆ อย่าง หรือแม้แต่ในวงการแพคเกจจิ้งเอง เราก็เอาวัสดุที่เราคิด ขึ้นมาเหล่านี้ไปยอดเป็นแพคเกจจิ้งรูปแบบใหม่ จนไป คว้ารางวัลใหญ่ 2 รางวัล ที่งาน Tokyo Pack ประเทศ ญี่ปุ่น ในปี 2010
62
การสนับสนุนจากภาครัฐ จริงๆ เราได้รับความสนับสนุนมาเป็นระยะอย่าง NIA ที่เราเข้าไปตั้งแต่ปีแรก ต่อมาก็เข้าไปใน Material Connexion ซึ่งเราเป็นวัสดุแรกๆ ของเมืองไทยที่เข้าไป บรรจุ และวัสดุของเราก็ไปแสดงหลายๆ ประเทศ ไม่ว่า จะเป็นมิลาน นิวยอร์ค หรือตอนนี้มีที่เกาหลีเพิ่มขึ้นมา และเมืองไทย ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้รับการสนับสนุน เราจดสิทธิบัตรและได้รับการติดต่อจากต่างประเทศว่า จะเอาของเราไปใช้ซึ่งตรงนี้ผมอยากได้ความสนับสนุน เพิ่ม หากเห็นว่าดีไซเนอร์ไทยมีประสิทธิภาพและเรา ช่วยเหลือประเทศชาติได้อย่างที่ผมคิดก็อยากได้รับการ สนับสนุนเพิ่ม การที่เรามีโอกาสไปเจอกับดีไซเนอร์ต่าง ประเทศมีการแมชชิ่งได้ไปเปิดตัว มีงบสนับสนุนบ้าง อย่างงาน 100% Design ผมก็ได้รับงบสนับสนุนส่วนหนึ่ง ทางภาครัฐก็ช่วยส่วนหนึ่ง โอกาสต่อไปหากได้รับการ สนับสนุนเช่นนี้ ก็มีโอกาสให้เราเอางานไปอวดชาวโลก หรือทวีปอื่นๆ ด้วย ฝากอะไรกับนักออกแบบรุ่นใหม่ คือผมมองว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่มีโอกาส มากมาย ซึ่งผมได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศที่ มาสัมภาษณ์ เขาก็ถามว่าข้อดีของการเป็นดีไซเนอร์ที่นี่คือ อะไร ผมตอบไปว่าเราอยู่ในประเทศที่มีวัตถุดิบมหาศาล เพียงแต่เราเลือกใช้อะไรให้เหมาะกับเรา เลือกใช้อะไรที่ เราทำมันได้ดีที่สุด เรารู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติกับตัวเรา มากที่สุด เรามีแบ็คกราวนด์อะไร ถนัดอะไร เราชอบอะไร เราสามารถหยิบจับมันมาสร้างสรรค์ได้ โดยเอาความรู้ ด้านดีไซน์ของเราเข้าไปบวก ซึ่งความเป็นธรรมชาติความ ที่เราคุ้นเคยกับวัสดุ อะไรที่เราคุ้นเคยกับมันบวกครีเอทีพ ดีไซน์เข้าไปมันจะเริ่มก่อตัวเป็นอะไรบางอย่างที่ผมว่า มันจะเป็นเราในวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว หากเรามีพลังมากพอ มีแรงผลักดันมากพอจากตัวเอง สถาบัน ภาครัฐ วันหนึ่ง คนรุ่นใหม่จะขึ้นมาแข็งแรงกว่ารุ่นผม เพราะได้รับการ สนับสนุนตั้งแต่รุ่นเด็ก หวังไว้ในอนาคตและหากมีอะไรที่ ผมช่วยได้ก็ยินดี
63
นุตร์ อารยะวานิชย์ Nutre Arayavanish
“ส่วนที่สำคัญที่สุดคือความละเอียด ลักษณะการมองแบบไทยในงานดีไซน์ คือความละเอียดอ่อน”
การเรี ย นการสอนในสาขาวิ ช าการออกแบบ เครื่องประดับสำหรับเมืองไทยเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน มานี้ ด้วยเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ จึงมีหลายคนตั้งคำถามกับสิ่งที่นักออกแบบ เครื่องประดับพยายามนำเสนอ ยิ่งในเรื่องการดำรงชีพใน ฐานะนักออกแบบเครื่องประดับ (ในประเทศไทย) ก็เป็นสิ่ง ที่ทุกคนอยากจะเข้าใจ และเอาใจช่วยไม่ให้นักออกแบบ รุ่นใหม่ในสาขาวิชานี้ถอดใจกันไปเสียก่อน นุตร์ อารยะวานิชย์ เริ่มต้นและดำรงสถานะอยู่ใน สายงานนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีในคณะ มัณฑนศิลป์ และการทำงานในบริษัทออกแบบเครื่อง ประดับไปถึงระดับปริญญาโทที่ Royal College of Art ในกรุงลอนดอน รางวัลที่มีติดไม้ติดมือในระหว่างการ ศึกษาที่ประเทศอังกฤษน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยรับประกันถึง ฝีมือและความตั้งใจของเธอได้เป็นอย่างดี ด้วยพื้นฐานของการเป็นคนที่ชอบลงมือทำ บวก กับการมองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในขณะที่ใช้ชีวิต
64
การเรียนอยู่ต่างประเทศ นุตร์เริ่มทำงานออกแบบภายใต้ แบรนด์ของตัวเองที่ชื่อ Nutre Jeweller และอีกแบรนด์ กับเพื่อนซี้โดยใช้ชื่อ TT:NT ออกแบบและผลิตผลงานเพื่อ ลุยตลาดยุโรปและอเมริกา มุมมองของนุตร์ในเรื่องการออกแบบเครื่องประดับ กับเอกลักษณ์ไทย มีประเด็นน่าสนใจตรงที่เธอมองว่ามัน ช่วยให้ผลงานของเธอมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าใน สายตาชาวยุโรป ความเป็นนามธรรมที่นักออกแบบสามารถ นำเสนอออกไปร่วมกับผลงานได้มากกว่าที่แหวนจะเป็น แค่แหวนสักวงเท่านั้น อีกทั้งการออกแบบโดยคำนึงถึง กระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ หรือการคิดถึงเรื่องอื่นๆ ที่ กว้างขวางจนเลยขอบเขตจำกัดของงานออกแบบเครื่อง ประดับไปแล้ว ถูกพบเห็นได้ในงานของนุตร์ น่าสนใจที่คนรุ่นใหม่ที่มีส่วนผสมของโลกตะวัน ออกกับวิชาความรู้แบบตะวันตกแบบนี้จะเป็นผู้ที่บุกเบิก แนวทางความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับวงการงานออกแบบ ของเมืองไทย
Designer of the Year 2009
อะไรที่ทำให้อยากมาเป็นนักออกแบบในสาขานี้ ตอนแรกสนใจเกี่ยวกับเรื่องออกแบบเพียงอย่าง เดียวค่ะ ยังไม่ได้คิดว่าอยากจะทำอะไร และในตอนนั้นที่ ศิลปากรมีการเปิดให้เข้ามาดูว่าแต่ละภาควิชามีการเรียน การสอนแบบไหนบ้าง นุตร์ก็เลยเข้ามาดู หลังจากนั้นก็ ตัดสินใจว่าจะเลือกเครื่องประดับเป็นอันดับ 1 เพราะว่า มันได้ทำด้วยมือ เพราะว่าเป็นคนที่ชอบทำอะไรด้วยมือค่ะ และนอกจากที่จะได้วาดรูปและออกแบบแล้วเรายังได้ทำ ชิ้นงานขึ้นมาจริงๆ ซึ่งสำหรับนุตร์แล้วทั้งภาพและชิ้นงาน จริง นุตร์รู้สึกสนใจตรงนี้ค่ะ และมันมีความสัมพันธ์กับ ร่างกายโดยตรง มันไม่ใช่แค่ของใช้ แต่เป็นของที่อยู่กับ ร่างกายของเราโดยตรงค่ะ การศึกษาและรับรางวัลที่ใดบ้าง จบการศึ ก ษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย ศิลปากร ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ หลังจากนั้นก็เข้าประกวดต่างๆมากมายหลายรายการ ได้รับรางวัลบ้างไม่ได้บ้าง รางวัลบางส่วนที่ได้เช่น New Designer of the year 2007 ของลอนดอน และก็ได้เป็น Jewellery Designer of the year 2007 ของ British Jewellers Association หรือพวกรางวัล Shortlisted จาก Thames & Hudson Awards แล้วก็ Conran Foundation Award มีกระบวนการการทำงานออกแบบอย่างไร จริงๆ แล้วนุตร์คงเหมือนคนทั่วไป ได้ไอเดียก่อน และก็สเก็ตช์ แต่ว่านุตร์จะเป็นคนที่สเก็ตช์และทำโมเดล เยอะมาก เพราะว่าในเชิงของงานเครื่องประดับมันมีทั้ง รูปร่างหน้าตา วัสดุที่ใช้ ที่สำคัญก็คือมันปลอดภัยกับผู้ สวมใส่หรือเปล่า ผู้สวมใส่ต้องใช้อย่างสะดวกสบายด้วย ถ้าเครื่องประดับเป็นแบบโชว์พีซที่ใช้ไม่สะดวกสบาย เรา ก็ต้องดูว่ามันไม่ลำบากเกินไปที่จะใส่ใช่ไหม มีสไตล์ จุดเด่น หรือลักษณะเฉพาะของงานออกแบบ หรือไม่ อย่างไร งานของนุตร์ จุดที่สนใจที่สุด เป็นเครื่องประดับ และเป็นปรัชญาของแบรนด์ Nutre Jeweller คือเป็น เครื่องประดับที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สวมใส่มากกว่า การสวมใส่ อย่างเช่นอาจมีเรื่องราวอยู่ในงานมากกว่านั้น ยกตัวอย่างงาน เป็นงานโปสการ์ดที่จะส่งไปให้เพื่อนได้ และก็สามารถที่จะแกะของที่อยู่ในโปสการ์ดมาประกอบ เป็นจิวเวลรี่ได้ อะไรแบบนี้ ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์มากกว่า การเป็นเครื่องประดับเพียงอย่างเดียว
65
ผลงานออกแบบที่ชอบ ที่ประสบความสำเร็จหรือสร้าง ชื่อเสียง จริงๆก็ไม่มีชิ้นไหนเป็นพิเศษ ทุกครั้งนุตร์ก็จะ ตั้งใจทำงานทุกชิ้นก็ชอบทุกชิ้น ถ้าจะถามว่าชอบชิ้นไหน มากที่สุดก็น่าจะเป็นชิ้นที่ใหม่ที่สุด เพราะเวลาทำชิ้นงาน ใหม่ๆ เราก็จะพยายามหาข้อเสียของงานเก่าเพื่อปรับปรุง งานใหม่ แต่ก็ไม่เสมอไปทุกครั้งที่จะดีกว่างานเก่า แต่ใน ช่วงนึงเราจะมีความรู้สึกร่วมกับงานที่ทำอยู่ในตอนนั้นๆ เรื่องของการเป็นนักออกแบบไทยมีข้อดีข้อเสียอย่างไร จริงๆ แล้วมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ ประเทศ เราเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เยอะ หมายถึงว่าเราสามารถ ที่จะเอาเอกลักษณ์ในประเทศและสิ่งของในประเทศ และ เป็นประเทศที่มีประวัติความเป็นมาของคราฟท์สูงมาก เพราะฉะนั้นในงานเครื่องประดับ เชื่อว่าสำหรับชื่อไทย ดีไซน์เนอร์ออกจะได้เปรียบอยู่ เพราะว่าเราก็มีประวัติ การทำเครื่องประดับมายาวนาน เรื่องพวกเจ็มส์ วัสดุ ของประเทศไทยก็โด่งดังอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าบางครั้งผู้ ประกอบการของเมืองนอกอาจจะไม่มั่นใจ คำว่าดีไซเนอร์ มันคือผู้สร้างสรรค์ เราก็อาจจะมีชื่อเสียงไม่ดีในเรื่องการ ลอกเลียนแบบอะไรบ้าง เพียงแต่ว่าเรื่องพวกนั้นมันไม่ใช่ เรื่องใหญ่มาก มันเป็นเรื่องของบุคคล ถ้าเราเชื่อว่าเราไม่ ได้ลอกเลียนแบบเค้ามา เราก็สามารถที่จะอยู่ได้โดยที่ไม่ ต้องแคร์ตรงนั้น ใช้วัฒนธรรมไทยในการออกแบบสร้างสรรค์งานหรือไม่ และตลาดยุโรปมีความชอบหรือไม่ ก็ไม่เชิงวัฒนธรรม เพียงแต่ว่าเป็นเพียงรูปลักษณ์ บางอย่างของงานไทยมาร่วมในงานออกแบบอยู่แล้ว ส่วนที่สำคัญที่สุดคือความละเอียด ลักษณะการมองแบบ ไทยในงานดีไซน์คือความละเอียดอ่อนแล้วใช้เวลานาน
66
รายละเอียดต่างๆ จะมาจากลายไทยบ้างอะไรบ้างอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ทั้งหมดในคอนเซปท์ แต่นุตร์เชื่อว่า สิ่งที่ซึมซับมาตั้งแต่เด็กมันแสดงออกมาในงานแน่นอน ในเชิงความเป็นไทยๆ แล้วก็ในการเลือกสี ในการเลือก วัสดุ ส่วนทางต่างประเทศว่าอย่างไร อันนี้อาจจะเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยให้นุตร์ได้รางวัล หรือช่วยให้งานนุตร์ได้รับการ ยอมรับในบางส่วนของทางโน้น เพราะว่ามันอาจจะเป็น งานที่แปลกตา ที่เขาไม่คุ้นเคยของทางฝั่งยุโรป อาจจะดู หน้าตาเอเชีย เขาอาจจะไม่รู้ว่ามันคืองานไทยแต่เขารู้สึก ได้ว่ามันแตกต่าง ชิ้นงานที่ได้แรงบันดาลใจ และเรามีการคลี่คลายมัน อย่างไร ชิ้นงานที่ยกตัวอย่าง มันจะเป็นแหวนเซ็ท 7 วง เวลาที่พรีเซนท์ก็จะมี 7 วงด้วยกัน เป็นแหวนที่แสดง หน้าตาของดอกไม้ ตั้งแต่วงแรกที่ตูมอยู่แล้วก็ค่อยๆ บาน จนถึงวงสุดท้ายที่กลีบมันร่วงหล่นลงไปหมดเลย ถ้าสังเกต งานมันจะเป็นเหมือนการเล่านิทาน การเล่านิทานของ ชีวิตของดอกไม้ดอกหนึ่งที่ค่อยๆ ร่วงไป ซึ่งถ้าพูดจริงๆ แล้วเราเลือกวัสดุที่เป็นไม้และก็เป็นวัสดุที่เป็นธรรมชาติ และเป็นวัสดุที่ดูหน้าตาเอเชีย หลังจากนั้นถ้าคิดถึงไอเดีย จริงๆ ของมัน มันก็คือเหมือนศาสนาพุทธที่มันจะค่อยๆ เกิดขึ้นและมันก็ตายไป สุดท้ายมันไม่ได้มีอะไรอยู่กับเรา ข้อคิดให้คนรุ่นใหม่ และฝันในอนาคต ตอนนี้มีคนที่อยากเรียนและทำงานด้านดีไซน์ กันเยอะแยะ ถ้าทุกคนตั้งใจทำงาน ผลของมันก็จะออกมา ให้ทุกคนเห็นอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรนอกจากตั้งใจทำงาน เท่านั้นเองและไม่ได้ตั้งความหวังอะไรกับตนเองมากมาย แค่อยากที่จะขยันขึ้นอยากจะเป็นตัวเองที่ดีขึ้น อยากจะ ทำงานให้ได้มากกว่านี้
67
ปภพ ว่องพาณิชย์ Paphop Wongpanich
Best Designer of the Year 2007
“มันต้องอยาก แล้วลืมภาพ การเป็นดีไซเนอร์ที่สวยหรูทิ้งไปซะ ถ้าเป็นอยากเป็นคนเก่ง คุณต้องมุ่งมั่น จงทำและทำอย่างต่อเนื่องครับ”
ปภพ เป็นนักออกแบบผู้เป็นกำลังหลักสำคัญของ แบรนด์ anyroom ซึ่งเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์และของ ตกแต่งบ้าน ในห้างหรูใจกลางเมือง ซึ่งที่นี่เอง ภายใต้แรงขับ ของการที่อยากเป็นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์มีคุณภาพและ ภายใต้การเรียนรู้วิธีและวิถี ตามที่คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้ถ่ายทอด ปลูกฝัง ลงสู่กระบวน การทางความคิด ประกอบกับความตั้งใจฝึกฝน เรียนรู้ ของปภพเอง ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่โดดเด่น อย่างเช่นนักออกแบบรุ่นใหม่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่มี รางวัลการันตีฝีมือมาตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ ความตั้งใจ อย่างแรงกล้าและการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง จึงเป็น ลักษณะเด่น และสำคัญของนักออกแบบผู้นี้ ความไม่เก่งมาตั้งแต่เกิดหรือการไม่มีพรสวรรค์ ไม่ใช่ข้ออ้างของปภพ ที่จะนำมาลดทอนความตั้งใจใน การเป็นนักออกแบบที่ดี ปภพค่อยๆ เรียนรู้ ศึกษาจาก รุ่นพี่ในวงการ ติดตามผลงานออกแบบระดับโลกอยู่อย่าง ต่อเนื่อง หมั่นส่งผลงานไปร่วมประกวดในเวทีต่างๆ และ 68
ที่สำคัญ การเรียนรู้จากการทำงานจริง และทำงานหนัก อย่างต่อเนื่อง มีผลอย่างมากที่ทำให้ผลงานออกแบบของ ปภพ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ละก้าวที่ย่างในเส้นทางนักออกแบบ ปภพได้ แสดงให้หลายคนเห็นและยอมรับในฝีมือของตัวเองที่ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผลงานออกแบบของปภพหลายชิ้น ถูก นำไปจัดแสดงในงานต่างๆ หลายประเทศ และเป็นคน ไทยเพียงไม่กี่คนที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อนำผลงานไป ประกวดชิงชัยในกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ของโลก อย่าง เช่น [D3] Contest เมืองโคโลญจน์ปี 2007 และล่าสุด เพิ่งคว้า 2 รางวัลชนะเลิศ ประเภทคอนเซปท์และคอม เมอร์เชียลจากงานแสดงผลงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ The Australian International Furniture Fair 2010 ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลนี้ การจะได้งานดีๆ มาแต่ละชิ้นของนักออกแบบ ไม่ ใช่เรื่องง่าย ยิ่งด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมที่แปรเปลี่ยน
ได้รวดเร็วด้วยเทคโนโลยี นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ หาก ต้องการทีจ่ ะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ ตอ้ งทำอย่างไร ต้องเดินในเส้นทางนี้อย่างไร ประสบการณ์ส่วนหนึ่งของ ปภพ อาจเป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ ที่จะช่วยต่อเติมเต็มให้กับ ความสำเร็จนั้นใด้ ก่อนมาเป็นนักออกแบบ ผมค้นพบว่าจริงๆ แล้วผมชอบการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ และโปรดักท์ตอนเรียนอินทีเรียที่ลาดกระบัง ตอนจบใหม่ๆ ผมอยากจะเป็นผู้ประกอบการเอง เคย ร่วมกับเพื่อนอีกสองคนทำโปรดักท์พวกเซรามิค พวกของ ตกแต่งบ้านเล็กๆ แม้ดีไซน์ก็พอเข้าตาคนทั่วไปบ้าง ได้ เข้าร่วมแสดงงาน Young Talent (BIG Exhibition) หรือวางขายใน Propaganda และใน Loft แต่ก็ยังเจ๊ง เพราะเราบริหารจัดการต้นทุน และราคาขายไม่ได้ ทำ แบบไม่มีความรู้ ทำแบบมือใหม่สุดๆ ก็เลยเป็นการเสีย ค่าเทอมทีแ่ พงทีเดียว เจ๊งไปตามระเบียบ แต่กเ็ พราะความ
อยากทำนี่แหละ เป็นจุดเริ่มต้นที่ผมมุ่งมั่นบอกตัวเองว่า จะเป็นนักออกแบบให้ได้ และก็เลือกเจาะลงมาว่าจะเป็น นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เพราะตั้งแต่ตอนเรียนได้ลองทำ และตอนทำเองก็ได้ลองลงมือทำเฟอร์นิเจอร์ขึ้นมาบ้างแ ล้ว เพียงแต่จะลงทุนทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เองเลยสำหรับ เด็กจบใหม่มันก็หนักเกินไป แต่ผมก็บอกตัวเองตั้งแต่นั้น แล้วว่าอยากเป็นเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เนอร์และผมต้องดัง สิ่งใดที่ทำให้อยากเป็นนักออกแบบในสาขานี้ มีแรงบันดาลใจอย่างไร คือตอนที่เราเรียนรู้สึกว่าอินทีเรียมันเป็นการมอง สเปซที่ใหญ่ แต่ผมเองชอบมองพวกรายละเอียด ชอบ ทำงานไฟน์อาร์ต ประดิษฐ์ ชอบความเนี๊ยบ ถึงแม้จะ ไม่ได้เรียนโปรดักท์ดีไซน์โดยตรงแต่ผมรู้สึกว่าเข้าถึงมัน ได้ เราสนุกกับมัน ตอนเรียนพวกวิชาเสริมที่เกี่ยวข้อง ก็รู้สึกว่าง่ายและน่าสนใจสำหรับเรากว่าการที่เราจับงาน อินทีเรีย เลยมุ่งความสนใจมาทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และโปรดักท์มากขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ผมว่าความสนใจ ในจุดเล็กๆของผมและแนวคิดที่ได้จากการเรียนอินทีเรีย มันก็สะท้อนผลงานออกมาในมิติที่ผสมผสานระหว่างสอง แนวทาง ตั้งแต่แรกเริ่มและวันนี้มันก็ชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้วใช้วิธีอะไรทำความรู้ในการทำโปรดักท์ดีไซน์ ถามเพื่อนแล้วก็ลงมือทำครับ อย่างโปรดักท์เล็ก ตอนแรกๆที่ทำก็ถามเพื่อนที่เขาเรียนมาโดยตรง มีเพื่อน ที่ดีคนหนึ่ง เขาชื่อคุณฟิ้วนะฮะ เขาก็แนะนำโรงงาน แนะนำให้ไปที่นั่นที่นี่ ผมก็เริ่มเรียนรู้จากการลงมือทำ ลองผิดลองถูกเลย ทำแบบ เข้าไปคุยโรงงาน ศึกษาวิธีการ และข้อจำกัด และก็พฒั นาสัง่ สมมา มันก็เป็นวิธกี ารเรียนรู้ แบบหนึ่งครับ ส่วนงานเฟอร์นี่ก็ใช้วิธีคล้ายๆกันแต่ก็เริ่ม ได้จริงจังเมื่อตอนเริ่มทำงานกับพี่ด้วงเพราะต้องใช้ทุน ค่อนข้างมากในการจะดีเวลลอปและผลิตเฟอร์นิเจอร์ขึ้น มาสักชิ้น ผมว่าการเรียนรู้มันไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องเรียน จบอะไรมา มีทฤษฏีแค่ไหน การไม่มีทฤษฎีมาตีกรอบมัน ก็ดีไปอีกแบบเพราะทำให้เราเปิดกว้างจากการปฏิบัติจริง ได้มากขึ้น กระบวนการในการทำงานออกแบบเริ่มต้นอย่างไร ถ้าย้อนไปตั้งแต่ตกลงใจว่าจะทำงานอาชีพนี้เพื่อ หาเลี้ยงตัวตั้งแต่ยังไม่กล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ ผมเริ่มมาจากทำของชิ้นเล็กๆ และตอนนั้นมี Propaganda เป็นต้นแบบ งานตอนนั้นดีไซน์ออกมาจึง เป็นแนวกิมมิค และเน้นการฝากขาย ตอนนั้นคงเป็น เพราะเรายังหาสไตล์ความเป็นตัวเราชัดๆ ไม่เจอ เราก็เอ าร้านที่เราอยากไปฝากขายเป็นโจทย์ และก็ทำงานดีไซน์ ออกมาเป็นแนวนั้น เพราะเรารู้สึกว่ามันเหมาะ ณ เวลานั้น แล้วก็พยายามหาหนทางอื่นๆ มีไปเวิร์คชอปเฟอร์นิเจอร์ กับกรมส่งเสริมการส่งออกด้วย และเป็นครั้งแรกที่ได้ผลิต ต้นแบบจากงานดีไซน์ของเรา ซึ่งได้คุณสุวรรณที่กรุณา ผลิตต้นแบบให้ แต่ต่อมาที่บอกว่างานเซรามิคที่ทำเอง
เริ่มไม่ไหว ก็หางานพิเศษเพื่อจะได้มีรายได้เข้ามาบ้าง ตอนเรียนโชคดีที่เพื่อนๆ จะรู้จักผมในมุมที่ว่าตัดโมเดล เนี๊ยบ ก็ได้คุณโอ๊คเพื่อนที่เรียนด้วยกันแนะนำให้มาตัด โมเดลที่บริษัทพี่ด้วง และนั่นเองก็เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่ ได้มารู้จักและในที่สุดก็ได้มาเป็นดีไซน์เนอร์คนแรกของ anyroom ซึ่งเมื่อก่อน anyroom เป็นร้านนำเข้า เฟอร์นิเจอร์และโปรดักท์ไลฟ์สไตล์จากต่างประเทศ ผม เป็นดีไซเนอร์อินเฮ้าส์คนแรก เป็นยุคบุกเบิกที่ยังอยู่จนถึง ปัจจุบันที่ร่วมสร้าง anyroom ให้กลายเป็นแบรนด์ที่ นำเสนอเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบด้วยคนไทย ผลิตในไทย ก็ต้องขอบคุณพี่ด้วงที่เขาให้โอกาสและเป็นอาจารย์ที่ดี แกคอยไกด์แต่ไม่บงการ แกให้โจทย์และให้ผมไปคิดดีไซน์ แล้วมานำเสนอ ผมได้เรียนรู้และทดลองอย่างเต็มที่ด้วย การทำงานจริง ผลิตชิน้ งานจริง ผมว่ามันเป็นกระบวนการ เรียนรู้การออกแบบที่เหมาะกับผมมาก เพราะผมเป็นคน ชอบปฏิบัติ ถ้าให้ผมเรียนรู้จากทฤษฏีเป็นหลัก ผมก็คง ยังช้ากว่านี้อีกหลายปีกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ แต่ถ้าถามผม ว่าถึงตอนนี้งานของผมมีกระบวนการคิดในแต่ละชิ้นงาน ยังไงผมก็ยังบอกเป็นลำดับหนึ่งสองสามสี่ไม่ได้ ผมเป็น คนวิเคราะห์ไม่เก่งเท่าไหร่ครับ ผมว่ามันคือหลายๆ อย่าง ผสมผสานกันทั้งจากการค้นคว้า ดูงานเยอะๆ การสังเกต จากสิ่งรอบตัว สเก๊ตบ่อยๆ จนวันหนึ่งมันตกผลึกเข้า ด้วยกัน เราก็จะรู้สึกได้เองว่าฟอร์มแบบนี้ที่เราสเก๊ตออก มามันสวย ก็จะลองเลย ตอนแรกๆ การทำงานก็เลยเหมือน จะให้ความสำคัญกับฟอร์มของเฟอร์นิเจอร์มากกว่าการ ใช้งาน แต่ในปัจจุบันประสบการณ์มากขึ้น ได้ใกล้ชิด ได้ รับฟังความเห็นจากผู้บริโภคมากขึ้น เรียนรู้วิธีการจาก ช่างจากโรงงานมากขึ้นก็ปรับมาเรื่อย จนได้สมดุล และ ค่อนข้างลงตัวมากขึ้น ทั้งฟอร์มและฟังชั่น และตอนนี้ก็ต้ องเรียนรู้ทางด้านการตลาดและการขายเพิ่มขึ้นด้วย งานที่ทำมีกลิ่นของตัวเองหรือของ Anyroom มากกว่ากัน คือพี่ด้วงเป็นคนไกด์ เขาไม่ได้เป็นคนบอกว่าผม ต้องทำงานอะไร เขาแค่ไกด์ว่าเออประมาณนี้โอเค เพราะ ฉะนั้นผมว่ามันก็คืองานผมที่ตีโจทย์เพื่อให้เข้ากับสไตล์ anyroom แต่แน่นอนพี่ด้วงมีอิทธิพลมากในพัฒนาการ ของผม ผมเองก็พยายามใส่ความหลากหลายเข้าไป งาน anyroom ไม่ได้เป็นไม้ ไม่ได้เป็นผ้า มันมีโปรดักท์ที่ทำ มาจากไม้ จากเหล็ก จากผ้า จากอะคลีลิค หลายๆ คน บอกว่าหน้าผากผมมีตรา anyroom ติดอยู่ไปแล้วซึ่งผม เองผมก็คิดว่า anyroom เป็นส่วนหนึ่งของผมและผมก็ เป็นส่วนหนึ่งของ anyroom ที่วันนี้มันแยกจากกันไม่ออก งานตัวไหนของ Anyroom ที่ชอบ งานของผมที่ดีไซน์ให้ anyroom ที่ชอบและก็เกิด ประเด็นคำถามในใจตัวเองมากที่สุด ก็คงเป็น Cellulose ชัน้ เหล็กสีแดงตัวใหญ่ซงึ่ ทำมาจากเหล็กพับ ดีไซน์ตวั นีไ้ ด้ มาจากตอนที่เวิร์คช็อปกับกรมส่งเสริมการส่งออกประมาณ ปี 2006 ตอนแรกที่ดีไซน์ออกมาในเวิร์คช็อปไม่มีใครสนใจ 69
มัน และเราต้องทำต้นแบบเพื่อโชว์ในงาน TIFF เลยลอง ให้พี่ด้วงแกดูแล้วแกก็บอกเอาสิ เดี๋ยวทำให้ ตอนนั้นผม ไม่มีความรู้เรื่องเหล็กเลย แต่เพราะความอยากก็ไปเรียน รู้จากโรงงาน ปรึกษาเขา ต้องบอกว่าเจอโรงงานที่ดีด้วย ผลงาน Cellulose ก็เลยออกมาได้ ตอนนั้นกรมมีการ คัดเลือกให้รางวัล แต่ตอนนั้นผลงานชิ้นนี้ไม่เข้าตาผู้ใหญ่ ในไทย แต่สุดท้ายผมส่งผลงานชิ้นนี้ไป Inspired by Cologne (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น D3 Contest) มัน ก็เลยพาผมไปเปิดหูเปิดตาในฐานะนักออกแบบแสดง ผลงานในวงการดีไซน์ระดับสากลเป็นครั้งแรกที่โคโลญ พอกลับมาผลงาน Cellulose ก็เลยกลับมีคนสนใจขึ้นมา ทั้งๆที่ตอนแรกไม่มีใครสนใจนอกจากพี่ด้วง
สนั บ สนุ น ผมด้ ว ยเหตุ ผ ลหนึ่ ง แต่ ไ ปสนั บ สนุ น คนอื่ น ด้วยเกณฑ์เดียวกัน ทำไมคุณให้ความสำคัญไม่เท่ากัน โอกาสที่เสียไปมันกลับมาไม่ได้ และหลายครั้งมันก็เป็น ข้อจำกัดของดีไซเนอร์ไทยที่ไม่มีแรงสนับสนุนมากพอ แต่ตอนนั้นผมก็ทำได้แต่คิดว่าช่างมันทำงานให้หนัก เพื่อ พิสูจน์คุณภาพของงานให้ได้ด้วยตัวมันเอง ส่วนในมุมความคิดถ้าเทียบแล้วผมอาจไม่ได้เป็น ดีไซเนอร์ที่มีกระบวนการคิดซับซ้อนลึกซึ้งหลายชั้น เป็น คนคิดอะไรตรงๆ ง่ายๆ งานหลายชิ้นก็ออกมาแบบซื่อๆ บางคนก็บอกทื่อๆ สิ่งนี้มั้งมันก็เลยสะท้อนออกมาที่ชิ้น งานดีไซน์ของผมหลายๆ ชิ้น แต่ในการทำงานผมก็มักใช้ ความรู้สึกเป็นสำคัญว่าใช่ หรือไม่ใช่ แม้ว่าจะแพ้ในการ แข่งขันหนึ่งแต่หากความรู้สึกเราบอกว่ามันใช่เหมือนตัว มองการทำงานเปลี่ยนไปหรือเปล่าหลังจาก Cellulose Cellulose เหมือนผลงาน 1974 ผมก็จะลุยต่อ และมัน คงมองว่าเราต้องได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ ก็ประสบความสำเร็จในที่สุด ก่อนถึงจะได้รับการยอมรับจากภายในประเทศเองมั้ง ครับ อาจจะออกตัวแรงไปหน่อยแต่ผมก็มีข้อข้องใจใน อะไรคือแรงขับสำคัญของตัวเองในวิชาชีพนี้ การคัดเลือกการสนับสนุนดีไซเนอร์หลายครั้งอยู่ นอกจาก ก็คงความอยากนี่แหละครับ ผมไม่รู้ว่าเป้าหมาย ตอน Cellulose ผมก็ยังมีกรณีศึกษาอีกหลายครั้งซึ่ง ของดีไซเนอร์แต่ละคนคืออะไร แต่ผมอยากดัง อยากเก่ง ทุกครั้งผมก็ต้องดิ้นรนไปสร้างชื่อที่ต่างประเทศด้วยตัว ขึ้นไปเรื่อยๆ อยากดังในที่นี้คือดังด้วยตัวผลงานที่มีคุณค่า เอง มีอีกครั้งที่ผมได้รับเลือกให้ไปแสดงงานที่มิลาน ขอ ของผมครับ ผมอยากมีงานที่ดีออกมาแล้วทุกคนรู้จัก สนับสนุนจากกรมก็ไม่ได้เพราะกรมแจ้งว่าผมเข้าร่วม ผลงานของผม อยากได้ไปใช้ เหมือนงานของดีไซเนอร์ งาน Young Talent ไม่ครบสามปี ไม่สนับสนุน ที่ตลก ฝรั่ง ดีไซเนอร์ญี่ปุ่น ที่ผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับไม่ คือสุดท้ายก็มีดีไซเนอร์คนอื่นที่เกณฑ์ไม่ครบเหมือนกัน เพียงแต่ในประเทศเขาแต่ไปถึงต่างประเทศ ผมอยากเห็น แต่ได้รับการสนับสนุนจากกรม ซึ่งมันก็ดีสำหรับดีไซเนอร์ มาตรฐานของวงการดีไซเนอร์เฟอร์นิเจอร์ไทยไปถึงจุด นะครับ ผมไม่ได้ว่าดีไซเนอร์ แต่ก็ยอมรับว่าหงุดหงิดกับ นั้นได้ ผมอยากสร้างอะไรให้วงการนี้มีแบบนั้น ก็ต้อง เหตุผลง่ายๆ ของกรม ผมเลยต้องแจ้งถอนตัวกับทาง พยายามกันต่อไป อย่างง่ายๆ ทำไมงานของฝรั่งเขาทำ มิลานไปเพราะเราไม่มีปัญญาออกทุนไปเอง กรมไม่ แล้วดูเนี๊ยบ ดูใส่ใจกับมัน ทำไมของไทยต้องทำงานแบบ
70
หยวนๆ ทำไมเรามีมาตรฐานดีๆ แบบนั้นไม่ได้ ผมอยาก เห็นมาตรฐานตรงนั้นเกิดขึ้นเยอะๆ ครับในบ้านเรา มีความสนใจในเรื่องอะไรเป็นพิเศษไหม ถ้ า เรื่ อ งเฟอร์ นิ เ จอร์ ต อนนี้ ผ มชอบงานไม้ น ะ งานไม้มีเสน่ห์ มันสามารถทำรูปทรงอะไรก็ได้ สามารถ กลึงได้ สามารถเจาะได้ แล้วการที่เราเป็นดีไซเนอร์ ผมว่าเราสามารถเข้าไปทำงานไม้ได้ง่ายที่สุด เพราะ คุณแค่ซื้อเลื่อยมาหนึ่งตัว ซื้อเราท์เตอร์มา ซื้อสิ่ว ซื้อ ค้อนมา คุณก็สามารถทำเก้าอี้ได้แล้ว แต่ถ้าจะทำงาน เหล็ก อุปกรณ์มากมาย ต้องตัดเหล็กเอง และข้อจำกัด อื่นๆ แต่ถึงวันนี้ผมก็ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะกับงานไม้ ยังอยากลองเล่นกับมันไปเรื่อยๆ การเป็นนักออกแบบไทยมีข้อดีข้อเสียอย่างไร บ้านเรามีวัสดุให้ลองเยอะมากนะครับ อย่างเรา อยากได้ น๊ อ ตสั ก ตั ว เราก็ มี แ หล่ ง ที่ เ รานั่ ง รถไปซื้ อ ได้ เลย คุณไปคลองถมก็มีวัสดุมากมายให้เลือกหา ผมไป ออสเตรเลียฝรั่งเขางงมากที่ใช้สกรูหัวหกเหลี่ยม มันคง หายากในบ้านเขา อันนี้เป็นข้อได้เปรียบของเรา ส่วนข้อ เสียก็คือนอกจากการสนับสนุนที่ยังน้อยแล้ว ดีไซเนอร์ ไทยต้องลงมือทำเอง นอกจากทำแบบเอง ต้องหาต้อง ติดต่อโรงงานเอง คุมงานเอง บางทีต้องไปขัดไม้เอง คิวซีเอง คุณไม่ได้แค่พัฒนาแบบแล้วก็ส่งต่อบอกอีกห้าวัน มาเอาของ กระบวนการตรงนี้มันก็ทำให้กว่าจะได้ชิ้นงาน หนึ่งออกมามันใช้เวลามากกว่า และถ้าต้องทำแข่งกับ เวลา แข่งกับเทคโนโลยีการผลิตระหว่างต่างประเทศกับ แบบบ้านเรา แข่งกับตลาดมันก็เหนื่อย เหมือนแข่งกัน
ลีคเดียวกัน แต่อุปกรณ์เสริมเขาเพียบเลย เรานี่เหมือน ต้องอึดสุดๆ เพียงเพื่อจะได้แค่เข้าสนามแข่งเดียวกับเขา แต่มันก็เป็นข้อเสียที่ดีนะ สำหรับคนที่อยากทำในวิชาชีพ นี้จริงๆ อย่าคิดว่าเข้ามาแล้วจะสบาย เหมือนดีไซเนอร์ รุ่นใหญ่ของต่างประเทศที่มันดูหรูหรา ดีไซเนอร์ไทยยุคนี้ ยังต้องอยากทำแล้วพร้อมรับกับความเหน็ดเหนื่อย ต้อง อดทน แล้วลืมภาพสวยหรูทิ้งไปซะ ถ้าอยากเป็นคนเก่งคุณ ต้องมุ่งมั่น จงทำและทำอย่างต่อเนื่องครับ
เพราะนอกจากจะเก่งต้องมีจังหวะดีจากผู้ใหญ่ด้วย ตอน ผมเด็ ก กว่ า นี้ ผ มไม่ ไ ด้ รู้ สึ ก ว่ า การสนั บ สนุ น จากสั ง คม สำคัญเท่าไหร่ แต่ตอนนี้ผมกลับรู้สึกว่ามันสำคัญมาก การที่เราเดินไปตามท้องถนนมันมีกระบวนการออกแบบ แทรกอยู่ในทุกที่ แต่พอคนหมู่มากไม่ให้ความสำคัญ ไม่ รู้สึก ไม่ได้สนใจ ความชื่นชมในงานดีไซน์น้อย เน้นที่ ราคา และปริมาณ ดีไซเนอร์ผลิตงานอะไรออกมาก็ ขายยาก ก็ทำให้เขาอยู่ในสาขาอาชีพนี้ไม่ได้ กลายเป็น ดีไซเนอร์ไส้แห้ง สุดท้ายเราก็มีคนมีความสามารถที่ยัง ยืนหยัดอยู่ในวงการน้อยลง แต่มันก็ไม่ใช่ความผิดของใคร มันเป็นสิ่งที่สังคมเราเป็นและเติบโตขึ้น ผมว่าอีกหน่อย เราก็จะเห็นการยอมรับในคุณค่าของงานดีไซน์เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ในบ้านเรา เพียงแต่มันอาจจะช้าไปสักหน่อยตาม ความคิดของผม
รางวัลที่ได้มาจากออสเตรเลียบอกอะไรบ้างในฐานะเป็น นักออกแบบไทย ถ้ามองมุมดีคือดีไซเนอร์ไทยได้รับโอกาสมากขึ้น มีจำนวนมากขึ้น ที่ออสเตรเลียผลงานผมสองชิ้นได้รับ รางวัลพร้อมกันจากสองประเภทในปีเดียวกัน ซึ่งผมว่ามัน ก็คงไม่ง่ายไม่ว่าจะจากการประกวดที่ไหน ผลงานของผม ได้รับการยอมรับ เขาชื่นชมกับการทำงานของเรา เขาเห็น ควรสนับสนุนด้านไหนบ้าง การเงิน หรืออื่นๆ คุณค่าในสิ่งที่ผมใส่ลงไปในงาน ผมว่าโอกาสตรงนี้น่าจะ การสนับสนุนควรทำตอนที่เขากำลังจะลุกขึ้นยืน ขยายวงกว้างได้มากขึ้นกับดีไซเนอร์คนอื่นๆ ไม่ใช่ตอนเขายืนได้แล้วค่อยไปสนับสนุนเขานะ คนที่มี ความสามารถแต่ไม่มีกำลังยืนเขาก็จะเลิกกันไป เหมือน คิดว่าวิชาชีพนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากสังคมหรือ ที่ยกตัวอย่างว่าถ้าสมมติดีไซเนอร์ไทยเป็นนักกีฬา ขนาด ประเทศนี้อย่างไรบ้าง จะลงแข่งยังต้องออกทุนเองเพื่อลงแข่ง เทรนเนอร์ก็ไม่มี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าประสบการณ์ที่ผมเจอมาเรื่อง เหมือนที่ไปออสเตรเลียนี่ผมก็ต้องออกทุนเอง ซึ่งถ้าถาม การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผมเจอคนเดียว ว่าถ้าผมไม่ได้รางวัลกลับมามันก็คือศูนย์ ผมก็แค่คน หรือเปล่า ไม่รู้ว่าคนอื่นเขาได้รับการสนับสนุนแค่ไหน ฐานะปานกลาง ถึงผมจะบ้าลุยขนาดไหนผมก็ทำแบบนี้ แต่พอผมเจอแบบนี้ผมก็รู้สึกว่าถ้าหน่วยงานที่มีหน้าที่ ไม่ได้บ่อยๆ ผมว่าถ้าจะช่วยให้ดีไซเนอร์ไทยได้มีโอกาส สนับสนุนวงการดีไซน์นี้ยังมีน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แข่งขันบนเวทีโลกง่ายขึ้นอีกนิดก็คงจะดี ตอนนี้ดีไซเนอร์ โดยตรงก็มีวิถีแบบนี้ มันก็ลำบากสำหรับคนในวิชาชีพนี้ ไทยไปประกวดก็กวาดรางวัลมามากมายอย่างงานเฟอร์ เด็กรุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นพัฒนาขึ้นได้ก็จะจำกัดในวงแคบ นิเจอร์แฟร์ที่สิงคโปร์คนไทยได้ทุกปีจนเขากลัว ผมว่าถ้า
มันขยายไปได้สู่ประเทศอื่นๆ อีก คงจะทำให้เกิดพลัง เกิดการยกระดับการพัฒนาได้เร็วขึ้น ใช้ชีวิตอย่างไรกับตอนทำงานหรือไม่ทำงานในสไตล์ ดีไซเนอร์ไทย ผมว่าผมใช้ชวี ติ เหมือนคนทัว่ ไป อาจจะไม่เหมือน ดีไซน์เนอร์ด้วยครับ ผมไม่ได้มีความสนใจในงานอดิเรก ที่หลากหลาย คือถ้าผมไม่ทำงานผมก็นอนดูทีวี แต่มีคน บอกว่าผมจดจ่อกับการทำงาน คือตอนที่หัวมันแล่นผม ก็ออกแบบ ทำแบบทั้งวันทั้งคืน เหมือนงานเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิต ผมไม่ได้แยกว่าเวลากลางวันให้สำหรับการทำ งานออกแบบ เวลาเย็นคือเพื่อการพักผ่อน แต่ ณ วันนี้ ชีวิตผมคือการออกแบบ ในหัวผมจะครุ่นคิดถึงมันเกือบ ตลอดเวลา ก็ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี ผมไม่ค่อยตื่นเต้นกับการ ท่องเที่ยวไปในโลกกว้างเท่าไหร่ยกเว้นว่าการท่องเที่ยว นั้นจะได้ทำให้ผมไปเห็นเฟอร์นิเจอร์หรืองานใหม่ๆ ซึ่งก็ เป็นสิ่งเดียวที่ผลักดันให้ผมตื่นตัวกับการประกวดงานที่ นั่นที่นี่มากมายหลายประเทศ มันเหมือนเราได้ยกระดับ มาตรฐานของเราไปอีกขั้น ผมไม่ใช่ดีไซเนอร์ที่เก่ง หรือมีพรสวรรค์ แต่ผม มุ่งมั่นและพยายามมาตลอด ความอดทนมีส่วนช่วยให้ ผมมาถึงจุดนี้ เพราะบ่อยครั้งก็มีอารมณ์ที่อยากจะเลิก วิชาชีพนี้และหันไปทำอย่างอื่นที่มันรายได้ดีกว่า ที่มัน ลำบากน้อยกว่า ที่จะเกื้อกูลครอบครัวได้ดีกว่า แต่ผมก็ไม่ เคยถอย ในมุมนี้ผมว่าผมไม่แพ้ใคร ผมยืนหยัดในจุดยืน ของผมมาตลอดว่าผมอยากเป็นคนเก่ง เป็นที่ยอมรับ ผลงานเป็นทีก่ ล่าวถึงไม่เพียงเฉพาะในประเทศ แต่หมายถึง ระดับสากลด้วย
71
ฝนทิ พ ย์ ตั ง ้ วิ ร ย ิ ะเมธ Phonthip Tangwiriyamet
Emerging Award 2007
“กระบวนการคิดมันอยู่ทุกวันทุกเวลา อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราผ่านไป พบอะไร สนใจอะไร อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นแรงบันดาลใจได้หมดเพียงแต่เรา ต้องจดจำและหาทัศนคติของเราเอง”
มีสิ่งหนึ่งที่นักออกแบบเครื่องประดับจำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถเกิด ผลงานทีม่ คี ณุ ภาพได้เลย นัน่ ก็คอื การฝึกฝนและลงมือทำ ด้วยตัวเองด้วย เพราะงานดีไซน์ปรากฏอยู่ในรายละเอียด ความคิดและฝีมือที่ประณีตบนผลงานชิ้นเล็กๆ จึงเป็นสิ่ง ที่มิควรปล่อยปละละเลย การทำงานออกแบบสมัยนี้มีเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น มาเพื่อเป็นตัวช่วยให้นักออกแบบทำงานได้ง่ายขึ้นมาก เราสามารถออกแบบสิ่งที่เราคิดได้ในคอมพิวเตอร์แล้ว ส่ ง ต่ อ ให้ เ ครื่ อ งจั ก รหรื อ ช่ า งฝี มื อ ทำงานต่ อ ได้ อ ย่ า ง สะดวกรวดเร็ว ช่องว่างระหว่างนักออกแบบกับการลงมือ ทำด้วยตัวเองจึงค่อยๆ ห่างออกจากกันมากขึ้น จนนัก ออกแบบรุ่นใหม่ๆ หลายคนไม่นับว่าเป็นหน้าที่ตนอีก ต่อไปแล้ว ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในงานออกแบบทุกสาขา อาชีพ ฝนทิพย์ ตั้งวิริยะเมธ แสดงออกอย่างชัดเจนถึง
72
การให้ความสำคัญกับการฝึกฝน เพื่อจะเป็นนักออกแบบ ที่ดีได้ต้องแลกมาด้วยการลงมือทำ แนวคิดในเรื่องการ ศึกษาภูมิปัญญาของช่างไทยโบราณมาประยุกต์ ใช้ใน งานเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นการลงลึกไปถึงวิธีคิด มากกว่ายึดติดอยู่ที่รูปแบบ ฝนทิพย์ ใช้ความมั่นใจ และ ไม่ลังเลที่จะนำเสนอผลงานในแบบที่ตัวเองคิดว่าน่าสนใจ เพราะเธอเชื่อว่ามีกลุ่มคนที่ชื่นชอบและเหมาะกับงานที่ เธอตั้งใจทำ นักออกแบบหลายคนรวมการใช้ชีวิตไปกับการ คิดงานออกแบบ ฝนทิพย์ตั้งใจที่จัดตั้งสตูดิโอสร้างงานใน รูปแบบครีเอทีพคราฟท์ อีกทั้งยังสนใจที่จะรวบรวมเพื่อ นนักออกแบบที่มีความคิดคล้ายกันจัดตั้งเป็นชุมชนที่จะ ช่วยเกื้อหนุนให้เกิดแรงกระตุ้นในทางสร้างสรรค์ระหว่าง นักออกแบบด้วยกัน การรวมตัวกันของนักออกแบบเช่นนี้ จะเป็นพลังที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวและมิติใหม่ๆ ให้กับวงการได้อย่างแน่นอน
อะไรทำให้สนใจงานด้านนี้ ตัวฝนเองอยากเป็นครีเอทีพคราฟท์ เพราะมันมาก กว่าเป็นนักออกแบบเฉยๆ เพราะความสร้างสรรค์มันอยู่ ในมือของเรา เราสร้างให้จับต้องได้จริง มีแรงบันดาลใจ จากสิ่งต่างๆ รอบตัวและก็ทุกๆ คนที่เราพบเจอ ทุกคน สามารถเป็นแรงบันดาลใจเราได้หมด บุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ ป้าเนื่อง ช่างทำเครื่องประดับทองเพชรบุรี ประกอบ กับฝนได้เข้าทำงานในบริษัทที่เกี่ยวกับเครื่องประดับไทย ตอนจบการศึกษา เรามีโอกาสที่เจ้านายให้ศึกษาเชิงช่าง ช่างไทยหายไปจากเมืองไทยมาก เราเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่เป็น ช่วงต่อระหว่างศิลปวัฒนธรรมเก่าและใหม่ มองครีเอทีพคราฟท์ว่าเป็นแบบไหน ก็คือ เรานำเทคนิคแนวคิดเชิงร่วมสมัยมาทำงาน พร้อมกับฝีมือของเรา ตอนที่เรียนอาจารย์ได้ฝึกความคิด และพื้นฐานของการทำหรือผลิตเครื่องประดับ แต่ยังมี
อีกส่วนคือ ทักษะเชิงลึกของเชิงช่างที่เราต้องฝึกเพิ่มเติม นำมาต่อยอด เราจึงพัฒนาได้ทั้งเชิงช่างและเทคนิค พร้อมๆ กัน มีกระบวนการทำงาน คิดงานอย่างไร กระบวนการคิดมันอยู่ทุกวันทุกเวลา อยู่ในชีวิต ประจำวันของเรา เราผ่านไปพบอะไร สนใจอะไร อ่าน หนังสือ ฟังเพลง เป็นแรงบันดาลใจได้หมด เพียงแต่เรา ควรจดจำและหาทัศนคติของเราเอง ก็นำความคิดนั้นมา ลองทำดูว่านำมาสร้างเป็นงานได้อย่างไร ส่วนใหญ่ฝน ถนัดงานเอ็กซ์เพอริเมนท์หรืองานทดลองก็คือ จะทดลอง วัสดุต่างๆ พับ ตัด เย็บ รีด ทั้งหนัง ไม้ เรซิ่น วัสดุ เงินก็ตาม และลองทำดูว่ามันแปลงร่างเป็นอะไรได้บ้าง ค้นหาสิ่งที่เป็นได้จริง อีกทั้งเราจะได้ข้อคิดหรือปรัชญา ในช่วงขณะทำงานนั้นๆ ด้วย เราต้องเลือกสิ่งที่เหมาะสม และเป็นไปได้จริง ถ้าเราต้องนำสู่กระบวนการพาณิชย์ และงานอาร์ตอ๊อบเจ็คท์เราก็ยังเก็บไว้เพื่อหาโอกาส หรือ ทางที่เหมาะสมต่อไปไม่ควรทิ้งเพราะมันคือต้นความคิด ผลงานมีจุดเด่นและสไตล์อย่างไร ยังคงรักษาการทำงานฝีมือ มันจะเป็นเทคนิค รายละเอียดที่ไม่เกี่ยวกับเครื่องจักรนัก ฝนรู้สึกว่าระหว่าง เราทดลอง เราไม่ได้แปลงรูปงานทดลองเท่านั้นแต่แปลง ความคิดของเรา วัสดุสอนตัวเราว่าเรารู้สึกอย่างไรกับ วัสดุเหล่านั้นและเกิดแรงบันดาลใจเหล่านั้น เช่น งาน ของฝนจะมีสร้อยข้อพับเป็นคอลเลคชั่น Fold คือ ฝน ทดลองพับโลหะบางเบา เหมือนกับโลหะที่เกิดสมัยอยุธยา ที่เขาใช้ทองบางๆ มาทำ สมัยก่อนช่างฝีมือประณีตมาก เพราะมือเราต้องเบามากไม่ทำให้โลหะมันขาด หรือยับ จนเกินไป ทำหลายรูปทรงมาก มีเส้นหนึ่งที่เป็นสร้อยคอ ยาว เพียงแค่พับแล้วเกิดความยืดหยุ่นลงมา มันพูดถึง ว่าคนสวมใส่ มันแยกไม่ได้กับแรงโน้มถ่วงโลก เราช้าไป พร้อมๆ กับงาน ชิ้นใดที่ชอบที่ทำให้เรามีชื่อเสียงและได้รางวัลอะไรมาบ้าง ผลงานที่ได้รับชื่อเสียง คือฝนเอาหนังเทียมมา ตัดเย็บด้วยฝีมือ คือเย็บมือเอง ที่ทำกับบริษัท Ausiris คอลเลคชั่นชื่อ Dancing Flower ทำเป็นพู่ดอกไม้ ขณะนั้นเครื่องประดับไทยยังไม่มี MiX Material แล้ว เรานำเสนอในงาน Bangkok Jewelry Fair ทำให้ต่าง ชาติก็สนใจ ประเทศไทยมี MiX Material ที่แตกต่าง กันมากขนาดนี้ด้วยหรอนี่ เงิน กับวัสดุที่ดูไม่มีค่า ส่วน ชิ้นงานที่ตัวเองชอบชื่อ Stop Motion เป็นแหวนเรซิ่น รูปหยดน้ำ และข้างในเป็นโลหะที่ขึ้นรูปเป็นรูปกลีบดอกไม้ กำลังเจริญเติบโตขึ้น ฝนคิดเทคนิคขึ้นโมลด์ และใส่ โลหะหล่อเรซิ่นให้คลุมต้นไม้ที่กำลังจะโตขึ้นเหมือนเรา กำลังหยุดภาพการเกิดนั้นว่าแรงบันดาลใจมาจากภาพ เป็นมูฟเมนท์ที่สวยงาม
73
การดำเนินชีวิตส่งผลต่อการพัฒนางานเราอย่างไร สร้างการเรียนรู้อย่างไร อย่างแรกคือ เราต้องไม่ลังเลในสิ่งที่เราอยากทำ ไม่ต้องกลัวว่าใครจะสนใจหรือต่อต้านเรายังไง เราทำ แล้วไม่เดือดร้อนใครก็ทำเลย เพราะไม่เช่นนั้นงานจะไม่ เกิดขึ้นแล้วคำที่เขาขัดแย้งหรือไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับ เรา เป็นของขวัญ ทำให้เราทราบว่าจุดบกพร่องของงาน เรามีอะไรบ้าง ถ้าเราอยากให้เป็นสากลต้องนำมาปรุงให้ กลมกล่อมขึ้น ปัญหาที่พบในขั้นตอนการทำงาน ปัญหาคือ เราต้องอธิบายให้ลูกค้าเราเข้าใจ ลูกค้า เรามีหลายประเภท บางคนต้องการแมส แต่คือเราไม่ต้อง ไปซีเรียสกับมัน เรารู้จุดยืนว่าเราต้องการกลุ่มไหนเรา ต้องการแบบไหนหรืองานคอลเลคชั่นนี้เหมาะสมกับตลาด กลุ่มไหนมากกว่า ปัญหาการตลาดจะไม่มีเพราะเราจะรู้ ว่าจะอยู่ที่ไหนอยู่กับใคร ปัญหาของการเป็นนักออกแบบไทยมีไหม ฝนมีความคิดว่าไม่มีปัญหา ถ้าเราอธิบายเขาให้ เข้าใจ เช่น ทำไมมาทำอย่างนี้ ทำไมคิดอย่างนี้แล้วเรา ไม่ต้องไปสนใจ เช่น เขาพูดว่าประเทศไทยมีงานลอก เลียนแบบมาก เราไม่ได้ทำเช่นนั้น เราก็ไม่ต้องไปใส่ใจ เราก็แค่นำเสนอเขาว่าเรามีแรงบันดาลใจอย่างไรชัดเจน ในรูปแบบของเรา มันก็จะไม่เป็นปัญหาใดๆ จงเชื่อมั่น มีการใส่ความเป็นไทยลงไปในงานไหม ฝนใช้รากความเป็นไทยในการคิดคอนเซปท์และ อาจมีงานเทคนิคช่างไทยโบราณบ้างเช่น การดุนลาย การตอกด้วยค้อนหรือการเชื่อมด้วยไข่ปลาเล็กๆ ก็ยังมี อยู่ เพราะส่วนตัวชอบและอยากอนุรักษ์เทคนิคช่างนั้น มันละเอียดอ่อน แถมฝึกเราได้ในทีด้วย ถ้าอยากให้เป็น สากลเราต้องเอามาทำให้รว่ มสมัย ให้เหมาะกับธรรมชาติ และการรับรู้ของผู้ส่วมใส่ที่แตกต่างกันออกไป สิ่งนี้ทำให้งานเราชัดเจนหรือเปล่า ใช่ค่ะ ยิ่งตอกย้ำให้งานเราชัดเจนขึ้น เพราะว่าฝน ยึดหลักว่าจะทำเป็นงานครีเอทีพคราฟท์ และฝนเองเป็น คนไทยจึงมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อยู่ในชิ้นงานแล้ว ต้องการการสนับสนุนไหม ต้องการคอมมูนิตี้ของครีเอทีพคราฟท์และต้องการ เชิงร่วมสมัยกลุ่มเล็กๆ จะต่างคนต่างแยก ต่างคนต่างทำ ภาครัฐจะยังไม่มีครีเอทีพคราฟท์ที่ชัดเจนจะเป็นแบบ OTOP ไปเลย แฟร์ของเราหรือว่าการแสดงออกของ ผลงานจะอยู่ตรงไหนให้ชัดเจนขึ้น และให้เห็นว่ามีคราฟท์ กลุ่มร่วมสมัยเกิดขึ้น
74
อยากฝากอะไรไว้ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ คือ ถ้าฝากถึงดีไซเนอร์รุ่นใหม่หรือรุ่นน้องๆ ต้อง เป็นตัวของตัวเองมีมุมมองเพื่อสังคม เชิงสร้างสรรค์ ฝน มีข้อคิดที่ได้จากหนังสือเซน คือ คุณจะไม่รู้ว่าน้ำลึกแค่ ไหน หากคุณไม่กระโดดลงไป หมายความว่าเราต้องลอง ทำ ต้องขยัน มุ่งมั่นและทำจริง จึงจะรู้ผล เป้าหมายในอนาคต คิดว่าจะทำสตูดิโอครีเอทีพคราฟท์เพื่อให้คนสนใจ มาเรียนรู้เชิงช่าง เชิงเครื่องประดับและทำงานของเรา เหมือนกับเราช่วยต่อยอดทำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น
75
พฤฒิพงษ์ กิจกัญจนาสน์ Prutipong Kijkanjanas
“การสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ให้พัฒนาตนเอง และงานฝีมือขึ้นมา จริงๆ แล้วเครดิตทั้งหมด ควรอยู่ที่ตัวนักออกแบบเองมากกว่าว่าแต่ละคน มีพรสวรรค์หรือพรแสวงในตัวเองเท่าไร”
บริษัท Stone & Steel เป็นหนึ่งในบริษัทออกแบบ เฟอร์นิเจอร์รุ่นแรกๆ ของวงการออกแบบในเมืองไทย หากมองยอนกลับไปเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนต้องแทบจะเรียกว่า นักออกแบบที่เรียนจบมาใหม่ๆ และสนใจอยากทำงาน ด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แทบจะต้องเรียกว่า Stone & Steel เป็นบริษัทลำดับต้นๆ ที่ทุกคนอยากมีโอกาสเข้า ไปร่วมงานด้วย พฤฒิพงศ์ กิจกัญจนาสน์ เป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นนักออกแบบตัวหลักในสมัยนั้นภายใต้การบริหาร ด้วยนักออกแบบทำให้ Stone & Steel เป็นบริษัทที่ ให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบมากกว่าเรื่องธุรกิจ ผลงานการออกแบบของพฤฒิพงศ์หลากหลายชิ้นที่ไม่ เพียงแต่จะมีความสวยงามล้ำสมัย แต่ยังคงสอดแทรก รายละเอียดของงานผลิตที่น่าสนใจและให้ความใส่ใจต่อ ภาพรวมของเฟอร์นิเจอร์ตัวหนึ่งได้อย่างลงตัว แม้หากจะ แลกมาด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงกว่างานทั่วไปในท้องตลาด เพื่อชิ้นส่วนประกอบเล็กๆ ที่จะไม่ยอมซื้อเอาชิ้นส่วน สำเร็จรูปมาใช้หากมันจะทำให้งานออกมาแล้วไม่งามพร้อม 76
สไตล์ แ ละเสน่ ห์ ข องสโตนแอนด์ ส ตี ล เป็ น ที่ จ ดจำพอ สมควรในแวดวงการตกแต่งภายในในสมัยนั้น แล้วสมัยนี้ ล่ะ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ Stone & Steel ก็ยังคง ความแรงและนำสมัยไม่แพ้กัน ภายใต้การบริหารและจัด ตั้งทีมออกแบบของพฤฒิพงศ์ซึ่งลดบทบาทในการเป็น นักออกแบบลง แต่เน้นการให้ความสำคัญในการสร้าง นักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ จิตริน จินตปรีชา คือหนึ่ง ในผลผลิตที่พฤฒิพงศ์มีส่วนในการรังสรรค์ปั้นแต่งเด็ก หนุ่มสมัยที่เพิ่งจบการศึกษาจากสถาบันเดียวกันคนนี้ ให้ โลดแล่นในวงการได้อย่างภาคภูมิในวันนี้ นอกเหนื อ จากการบริ ห ารบริ ษั ท ของตนเอง พฤฒิพงศ์ ยังมีส่วนช่วยขับดันวงการออกแบบในอีกหลาย ด้าน เช่น การเข้าร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญพัฒนาศักยภาพ นักออกแบบรุ่นใหม่ของไทยในหลายโครงการของรัฐ เป็นกรรมการตัดสินงานประกวดการออกแบบ ที่ต้องใช้ สายตาของนักออกแบบมากประสบการณ์ เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการยกระดับการออกแบบของนักออกแบบไทย
Designer of the Year 2005 Honor Award 2009
การเป็ น ผู้ ป ระกอบการที่ ป ระสบความสำเร็ จ การเป็นนักออกแบบที่มีฝีมือเฉียบคม การเป็นนักสร้าง และเป็ น แบบปฏิ บั ติ ที่ ดี ต่ อ นั ก ออกแบบรุ่ น น้ อ งคงไม่ เกินเลยที่พฤฒิพงศ์ จะได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ Honor Award ของรางวัล Designer of the Year 2009 ที่จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ลองตามติดชีวิตเขาดูว่าเขาสำรวจ และบุกเบิกเส้นทางของวงการออกแบบไทยมาจนวันนี้ได้ อย่างไร จุดเริ่มต้นในวิชาชีพ ผมจบจากพระจอมเกล้าลาดกระบัง สาขาอินดัส เทรียลดีไซน์ ก็หลังจากจบแล้วก็ทำงานอยู่ที่เมืองไทยปี หนึ่ง ทำพวกออกแบบชุดครัวโรงแรม ชุดสเตนเลสครัว หลังนั้นไปเรียนต่ออเมริกาที่ Rochester University ทาง ด้านสายอินดัสเทรียล ไปอยู่ที่นั่นห้าปี ทำงานสองปีหลัง เรียนจบ ช่วงที่จบใหม่ๆ จะทำโปรดักท์ดีไซน์ส่วนใหญ่ ส่วนงานเฟอร์นิเจอร์นี่มันผมเลือกเป็นไมเนอร์ สมัย RHT. เพราะที่นั่นจะดังเรื่อง School of American Craftman ซึ่งตอนนั้นผมชอบเรื่องงานไม้มาก ผมก็เอาหลักวิชาการ ออกแบบโปรดักท์ดีไซน์ใส่ในงานเฟอร์นิเจอร์ด้วย ทำให้ เกิดความแปลกใหม่ในวงการวู๊ดเวิร์คกิ้งที่โน่น พอทำงาน ได้สักสองปี พอดีช่วงที่ต้องต่อวีซ่าว่าจะทำเวิร์คเพอร์มิท หรือควรกลับเมืองไทยก็ตัดสินใจกลับดีกว่าเพราะไม่ อยากเป็นปู่ดีไซเนอร์อยู่ที่อเมริกา นานไปก็เลยเริ่มทำ ฟอร์มบริษัท Stone & Steel เลย ซึ่งมาทำงานด้าน เฟอร์นิเจอร์โดยเฉพาะ ในช่วงที่ผมเริ่มฟอร์มบริษัทในปี ค.ศ.1989 ก็ประมาณ 20 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นงานเฟอร์นิเจอร์ สมัยใหม่ยังไม่มีในเมืองไทย มีแต่ของอิมพอร์ทเท่านั้น ยุคแรกที่เข้ามาบุกเบิกก็มีสามสี่บริษัท เช่นอาจารย์เอกรัตน์ ครูโซ่ อะไรทำนองนี้บางบริษัทปิดไปแล้วบางบริษัทก็ยังอยู่ เอกลักษณ์ของ Stone & Steel ในยุคแรกกับยุคนี้ค่อนข้างแตกต่างกันมากเพราะ ยุคแรกผมทำงานในลักษณะดีไซน์แกลเลอรี่มากกว่า เป็น ผลงานเดี่ยวของผมโดยเฉพาะ ในช่วงเปิดตัวช่วงนั้นจะ เน้นแบบลักษณะเรียบง่าย ตรงไปตรงมา เอาแนวคิด โมเดิร์นนิสมาใช้เป็นหลัก ก็เป็นงานโลหะ งานหนัง เป็น
สีโลหะ สีหนัง โชว์ความเป็นธรรมชาติของวัสดุเป็นส่วน ใหญ่ พอหลังจากที่เริ่มมาแล้วก็เริ่มได้รับความนิยมว่างาน เฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่เป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น ก็เริ่ม สร้างทีมงานรับเด็กรุ่นใหม่ งานของเด็กจะแตกต่างไป ผม เน้นที่ว่าต้องการให้งานดีไซน์ของแต่ละคนมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันออกไป งานจึงแตกต่างตามดีไซเนอร์แต่ละคน ช่วงเริ่มต้นบริษัท มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง เปรียบเทียบกับยุคนี้ มันมีในยุคแรกๆ มีทั้งง่ายและยาก ที่ง่ายเพราะ มีคู่แข่งน้อยมาก เรามีเพียงเฟอร์นิเจอร์อิมพอร์ต พอเรา ผลิตผลงานอะไรออกมาก็แปลกใหม่ทั้งนั้นสำหรับท้อง ตลาด แต่ว่ามันก็จะยากค่อนข้างยากมากในการทำ โปรดักชั่น ทางโรงงานหรือช่างจะไม่เข้าใจกรรมวิธีการ ผลิตที่เราคิด ให้แตกต่างจากกระบวนการผลิตแบบเดิมๆ แต่ในปัจจุบัน ในแง่เทคโนโลยีการผลิตหรือเรียกว่าขั้นตอน โปรดักชั่นต่างๆ แทบไม่มีขีดจำกัด ดีไซน์อะไรออกมาก็ ผลิตได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่ามันขึ้นอยู่ว่าต้นทุนแพงหรือต่ำ หากต้นทุนต่ำก็มโี อกาสประสบความสำเร็จได้มาก แต่มนั จะยากตรงที่ ว่ า หาความเป็ น ออริ จิ นั ล ได้ ย ากเพราะมี ดีไซเนอร์รุ่นใหม่เกิดขึ้นมากและงานใหม่ๆ บริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นจะเป็นร้อยบริษัทแล้ว การที่เราจะทำงานออกมา ให้แตกต่างก็ยากกว่าในอดีต อะไรเป็นสิ่งทำให้ Stone & Steel ยังอยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ ถ้าพูดในแง่นั้นคือความดันทุรัง ช่วงแรกที่เจอ เพื่อนฝูงมันยังอดทนอยู่ได้ทั้งๆ ที่ช่วงแรกเปิดบริษัท เรา ทำในลักษณะธุรกิจเล็กๆ คือว่า ไม่ได้ขยายโครงสร้างให้ มีโรงงานรองรับใหญ่โต เราเป็นดีไซน์เฟิร์มแล้วซัพพอร์ท โรงงานข้างนอก ส่วนมากเราทำการประกอบ เซอร์วิส ขนส่งเท่านั้นเอง มันก็เลยต้นทุนไม่มาก ในแง่ธุรกิจจุด คุ้มทุนมันค่อนข้างต่ำ คุ้มทุนได้เร็ว พอมันดำเนินได้ก็ทำ ต่อมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ทำงาน ทำอาชีพมาไม่เคยทำสาขาอื่น เลยนอกจากออกแบบอาจหันเหไปทางโปรดักท์ดีไซน์ บ้าง ออกมาจับเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ค่อนข้างสนุกก็เลยคิดว่า นี่เป็นอะไรที่มันเหมาะและค่อนข้างเป็นจริงได้มากกว่า เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ที่ทำเมื่อก่อนนี้ 77
Stone & Steel สร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ออกมาจนเป็นที่ ยอมรับ มีวิธีการหรือแนวคิดอย่างไร อันนี้เป็นเป้าหมายหลักของผมที่พยายามสร้าง ผลงานที่เป็นของผมออกมาก็มีจำนวนอยู่ระดับหนึ่ง พอ สร้างทีมงานใหม่มา ในแง่คิดของผมผมต้องการให้เกิด ดีไซน์ใหม่ๆ ให้มากที่สุดในช่วงแรกๆ เพราะตลาดงาน แบบนี้มีน้อย ผมพยายามให้เกิดงานมากที่สุดเพื่อให้ ตลาดมันได้รับการตอบรับที่ดี คนเข้าใจงานแบบนี้มาก ขึ้นได้ผลพอสมควร ผมมองประเด็นว่าการสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ให้พัฒนาตนเองและงานฝีมือขึ้นมา จริงๆ แล้วเครดิค ทั้งหมดควรอยู่ที่ตัวนักออกแบบเองมากกว่าว่า แต่ละคน มีพรสวรรค์หรือพรแสวงในตัวเองเท่าไร นักออกแบบที่มี ชื่อเสียงของ Stone ที่อยู่ในทีม ส่วนใหญ่ผมจะเน้น ประเด็นหลักคือให้เขาสร้างความเป็นตัวของตัวเองในงาน ของเขา โดยช่วงแรกสมมุติว่าผมเซ็ทอัพคอลเลคชั่นใหม่ ขึ้นมา คอลเลคชั่นหนึ่งผมก็ให้หัวข้อแก่นักออกแบบแต่ละ คนและให้เขาคิดมา ตอนแรกผมร่วมในทีมออกแบบด้วย แต่ผมจะเลือกไอเท็มที่มันเป็นตัวเสริมมากกว่า เช่นดีไซน์ เก้าอี้ขึ้นมาหลายๆ ตัว ผมก็จะดีไซน์โต๊ะมาประกอบงาน ให้มนั เด่น พอผมมุง่ ประเด็นว่าต้องการให้งานออกมาแล้ว ส่งเสริมกันเป็นทีม ไม่ใช่เอาแต่ละแบบมาแข่งขันกันแต่ละ คนแข่งกันหรือฆ่ากัน เช่น การจัดหัวข้อหากมีดีไซเนอร์ สามคนผมก็พยายามให้แต่ละคนทำไอเท็มที่แตกต่างกัน ยกเว้นแต่ว่าถ้าเขามีแรงบันดาลใจอยากทำซ้ำ ก็ทำซ้ำใน เรื่องไอเท็มได้ แต่แนวคิดทุกคนต้องแตกต่างผมว่านี่น่าจะ เป็นจุดที่นักออกแบบในทีมแฮปปี้และผลิตงานออกมาได้
ผมทรีทให้ชิ้นงานแต่ละชิ้นเหมือนสิ่งมีชีวิต ซึ่งมันต้องมี คาแรกเตอร์ของตัวเอง ต้องใส่ตัวเองลงไป เมื่อมีทีมงาน ผมจะให้ดีไซเนอร์คนอื่นมาสู่งานสไตล์ผมมันก็ไม่ใช่ ผม จึงต้องทำเองก็พยายามเน้นที่ว่าดีไซเนอร์แต่ละคนในทีม พยายามหาคาแรกเตอร์ หรือเป้าหมายอะไร แสดงผลงาน อะไรออกมา แสดงตัวตนออกมาในผลงานของเขา เป็น ตัวเองที่สุด ผมคิดว่าเป็นประเด็นนี้ที่ดีไซเนอร์ที่หลายๆ คนที่ทำงานอยู่ประสบความสำเร็จ และผมสนับสนุนให้ เขา นอกจากทำงานรูทีนของบริษัทเพื่อแสดงผลงานของ บริษัท ก็สนับสนุนให้สร้างงานใหม่ๆ เพื่อไปประกวดใน เวทีต่างๆ ทั่วโลก ก็พยายามทำอยู่สังเกตได้ว่าบางคน ประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบบ้างก็แล้วแต่ว่าดีไซเนอร์ แต่ละคนมีความขยัน ขวนขวาย ต้องการแสดงงานของ ตนแค่ไหน
งานออกแบบสามารถช่วยเหลือสังคมด้านใดได้บ้าง ส่วนใหญ่นอกเหนือจากการผลิตงานที่ที่ผมก่อน อื่นเลย วิธีการช่วยสังคมหลักของผมคือว่า ผมจะไม่สร้าง ขยะออกไปสู่ท้องตลาด ผลงานของผมในงานของทีม ดีไซน์ของ Stone & Steel ผมจะเน้นประโยชน์ใช้สอย ต้องได้ แล้วมันต้องมีขนาดสัดส่วนและรูปร่างที่เตะตา น่าสนใจสัดส่วนสวยงาม ไม่ใช่หน้าตาเป็นขยะ และเน้น ความประณีตของงานก็เป็นหลักอันนั้นเป็นประเด็นแรกที่ ผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มแรกที่ลดขยะโดยการไม่สร้างขยะ ส่วนวัสดุรีไซเคิลมันเป็นเทรนด์ซึ่งผมไม่มองลึกไปขนาด นั้น แต่การไม่สร้างผลงานขยะออกมาสู่ตลาดก็มีที่เห็นชัด คือ มีการเป็นวิทยากรบรรยายตามสถานศึกษาหลายๆ แห่งแล้วแต่เขาเชิญมา เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่มหาวิทยาลัย สองสามแห่ง แต่ตอนนี้หยุดไปแล้วกลับมาคอนเซนเทรท ได้ผลอย่างไรเป็นที่พอใจไหม จริงๆ ดีไซเนอร์ไม่ประสบความสำเร็จทุกคน มี ธุรกิจมากขึ้น และก็ไปเป็นคณะกรรมการคัดเลือกตัดสิน มาๆ ไปๆ ก็มี แต่บังเอิญมีตัวดัง การสร้างทีมดีไซน์ของ ให้สมาคม อะไรเช่นนี้ ผมเริ่มจากที่มีความคิดที่ว่า วิธีการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น
78
79
พิPhisanu ษณุ Numsiriyothin นำศิริโยธิน
Emerging Award 2009
“แบบผมเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ได้ทิ้งในส่วนที่เราต้องมี แบบแผนการทำงานที่ดี”
พิษณุ นำศิริโยธิน เคยทำงานเป็นครูสอนงานไม้ ให้กับเด็กๆ ในโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นเวลาร่วมสิบปีที่เขาได้ ใช้ชีวิตอยู่กับเด็กๆ ทำให้ท่วงท่าภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ของพิษณุ ดูอ่อนโยน ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากเต็มเปี่ยม ไปด้วยสาระอันเข้มข้นของงานช่างไม้ที่เขาชื่นชอบ แม้พิษณุจะไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นนักออกแบบ เขามองว่าตัวเองเป็นแค่ช่างไม้หรือเฟอร์นิเจอร์เมคกิ้ง ผู้หลงรักในวิถีของงานไม้ แต่ด้วยผลงานที่ถูกเปิดตัวในงาน แสดงสินค้าในประเทศ และเป็นที่เตะตาของผู้ที่ชื่นชอบ งานไม้ทำมือ ที่ให้รูปลักษณะและคุณภาพแบบวู๊ดเวิร์คเกอร์ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยรายละเอียดของการจัดแต่งรูปทรงและ พื้นผิว รวมถึงลักษณะของการเข้าไม้ (Joinery) ที่ศึกษา และประยุกต์มาจากงานไม้รุ่นบรมครู ขัดเกลาจนมีความ ร่วมสมัย กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับรูปทรงของ เฟอร์นิเจอร์ที่พิษณุได้ออกแบบ พิษณุลงมือในงานผลิต ด้วยตนเองร่วมกับน้องชายและกลุ่มเด็กหนุ่มในชุมชนที่ อาศัย และด้วยพื้นฐานของการเป็นครู ทำให้กระบวนการ 80
ถ่ายทอดความคิด แนวทางและเทคนิคการผลิตให้กับ ทีมงานจึงเป็นข้อได้เปรียบที่พิษณุสามารถจัดตั้งทีม และ ควบคุมงานผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ที่ดี พิษณุยังมีความสนใจในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ด้วยตนเองที่ดีอีกด้วย หลายครั้งที่เขาลงไปขลุกอยู่กับ ชาวบ้าน เพื่อค้นหาภูมิปัญญาบางอย่างเกี่ยวกับงานช่าง พื้นบ้านที่กำลังจะหายไป ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เสน่ห์ อีกอย่างในงานของพิษณุ จะถูกแฝงไปด้วยเทคนิคพิเศษ ของการเล่นกับโครงสร้างไม้ การเชื่อมต่อชิ้นไม้ หรือการ เล่นกับเนื้อไม้บางอย่างที่เป็นไม้พื้นถิ่น ซึ่งอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้สายหลักไม่คุ้นเคย เช่น ไม้รกฟ้า หรือไม้ ขี้เหล็ก งานของพิษณุนั้นเรียบง่าย แต่ไม่เสมอไปที่ “งาน ที่เรียบง่าย” จะสามารถบอกความเป็นตัวตนของ “คน” ผู้ เป็นเจ้าของงานว่าเรียบง่ายดั่งเช่นที่เห็นเสมอไป และ “งาน” ที่ดูเรียบง่ายนั้นแท้จริงแล้ว มีกระบวนการที่ไม่ง่ายอย่างไร พิษณุจะเป็นคนให้รายละเอียดที่เหลือทั้งหมดนี้เอง
หากจะไม่นับตนเองเป็นนักออกแบบจะนิยามตนเองว่า อย่างไร จริงๆ ตอนนี้อาชีพที่ทำอยู่น่าจะเรียกว่าช่างไม้ เพราะผมเน้นการลงมือทำงาน งานไม้จะมีงานเฟอร์นิเจอร์ เยอะ เป็นเฟอร์นิเจอร์เมคเกอร์ แต่มีงานไม้อื่นๆ ด้วย มี ส่วนการออกแบบ การเผยแพร่ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในงาน แต่ หลักๆ เป็นช่างไม้ครับ อะไรคือจุดเริ่มต้น ประสบการณ์จากครอบครัววัยเด็กเติบโตมาใน ครอบครัวช่าง ทำงานด้วยมือ ทำโซฟา ทำภายในรถยนต์ งานแฮนด์เมด เติบโตมากับการลงมือทำ คล้ายๆ อยาก ทำอะไรก็ลงมือทำ ส่วนหนึ่งพอเข้ามาเรียนก็เหมือนเด็ก ทั่วไปว่าเรียนศิลปะ เรียนการออกแบบ บอกไม่ถูกว่าเรียน อะไรกันแน่ เหมือนกับทุกคนมั้งและหลังจากจบสองส่วน ที่เรียน ส่วนที่สาม คือ ประสบการณ์สำคัญคือมาเป็นครู ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ก็สอนงานคราฟท์ งานจักสาน งานไม้
ทำให้ เราได้ ย้ อนกลับ ไปเรี ย นรู้ เ รื่อ งงานช่า งงานศิล ปะ พื้นบ้านของเราเอง ทีนี้มันก็รวมกันเอง ออกมาเป็นมีทั้ง ทักษะและรูปแบบแนวความคิด ผสมกลมกลืนจากสาม ส่วนนี้ ตั้งเป้าไว้อย่างไร ของผมเป็นเหตุผลส่วนตัวไม่มีความมุ่งมั่นสร้าง ชิ้นงานระดับโลก เราพอใจกระบวนการคิด การทำงาน ช่าง โครงสร้างต่างๆ เราพอใจที่ได้คิดและทดลองทำงาน ด้านต่างๆ เบื้องต้นทำด้วยตนเอง ผมสนใจประสบการณ์ ตรง การทำงานจริงต่างกับการเขียนแบบสั่งงาน ผมสนใจ โพรเซสการคิดและลงมือทำ ทีนี้ตอนช่วงที่สอน เราได้ ความรู้เก็บในตัวเรื่อยๆ ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์ เชิงประจักษ์ในการทำงาน ผมคิดว่ามันต้องลงมือ แล้วก็ จริงๆ สิ่งที่ตัดสินใจผมคิดว่า ผมทำงานอยู่เกือบสิบปี มี มีดจักตอก แฮนด์ทูล ทำงานแล้วหลงใหล แล้วบอกไม่ถูก ว่าลาออกจากงานทำไม ผมรู้สึกว่าน่าจะใช้คำว่าแพชชั่น ในเนื้องานนั้น เช่น ไม้เป็นแมททีเรียลที่มีความพิเศษและ สำคัญ คือเป็นแมททีเรียลที่เคยมีชีวิตมาก่อนซึ่งน่าพิศวง และก็มีความหลายหลายสูงมาก โดยเฉพาะเราอยู่ใน เมืองไทยเมืองที่ภูมิศาสตร์อย่างนี้ วุ่นวายเรื่องไม้มาสิบ กว่าปีแต่มีเรื่องไม้ให้เราศึกษาจริงๆ ลึกลงไปเรื่อยๆ ดูไม่ ตอบเรื่องตลาดแต่มีประโยชน์ กระบวนการทำงาน ถ้าเรียกสั้นๆ ว่า ทบทวนว่าเราใช้ความรู้ในการ ทำงานผมไม่ได้เรียนงานไม้ที่ไหน ส่วนหนึ่งคือย้อนกลับ ไปเรียนโดยตรงกับชาวบ้าน ช่างไม้ ผมเดินทางเยอะ ไปอยู่ กับช่างกระบวนการการเรียนรู้เรื่องงานไม้ ถ้ามองง่ายๆ งานไม้เหมือนจะมีขั้นตอนการทำงานแม่นยำเป็นระบบ ระเบียบมากและเราต้องเรียนอย่างแม่นยำมา เช่น คอร์ส วู๊ดเวิร์คต่างๆ ก็ต้องเรียนไล่ตั้งแต่เครื่องมือต่างๆ นั่นคือ การสร้างความรู้ แต่ผมกลับค่าหน่อย คือ เข้าตัวงานเลย เช่น ผมอยากรู้เรื่องไม้ก็เลือกไม้มาใช้เลย และระหว่างที่ เราทำงานนี้การใช้เครื่องมือต่างๆ มันทำให้เราได้เข้าใจ ตัวคุณสมบัติต่างๆ ของไม้เองตามลำดับ มันอาจจะช้าบ้าง แต่ผมคิดว่ามันน่าสนุกที่เราไม่อยู่ในแพทเทิร์นของการ เรียกว่า.. เราเรียนรู้ผ่านโพรเซสตามปกติ เราก็จะเรียนรู้ การใช้เครื่องมือเหมือนๆ กันทุกคน แต่ผมว่ามันมีวิธีการ ทำให้ถึงจุดหมายที่หลากหลายได้ และงานไม้ไม่จำเป็น ต้องรันโดยเครื่องจักร โดยสรุปผมคิดว่าการเรียนเป็นไป ได้สองอย่างคือเรียนในแบบแผนก็ได้ประโยชน์ แต่แบบผม เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ได้ทิ้งในส่วนที่เราต้องมี แบบแผนการทำงานที่ดี เช่น เรื่องเครื่องมือ เครื่องจักร ต้องเรียนรู้อย่างละเอียดอ่อน แม่นยำ ไม่มั่ว ส่วนเรื่องไม้ สามารถเอ็กซ์พลอได้เรื่อยๆ มีต้นแบบไหม ช่างไม้ที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวอย่างที่ดี มีครับ ถ้าทบทวนตัวเองผมคิดว่าต้นแบบมีผลต่อ การทำงานผมมาก อย่างเช่น ช่างไม้ของไทยเราที่ผมรู้สึก 81
ว่าผมได้เรียนรู้มาก เช่น อาจารย์ไสยาสน์ เสมาเงิน ก็ เป็นต้นแบบช่างไม้ไทยที่มีความเข้าใจเรื่องไม้อย่างลึกซึ้ง และเมตตาครับ ใจดีสอนเด็กๆ รุ่นใหม่ อาจารย์อินสนธิ์ วงศ์สาม ก็เป็นต้นแบบที่ผมคิดว่า อาจารย์ก็ทุ่มเทในการ เข้าถึงเรื่องไม้มาก และอีกก็หลายๆ คนที่เป็นต้นแบบ และ ไม่ใช่แค่ช่างของไทยเรา อย่างฝรั่งก็มีหลายคนที่ผมศึกษา แล้วก็ตั้งใจศึกษาจริงๆ ต้องพูดเรื่องวิธีการเก็บความรู้ของ ฝรั่ง เช่น หนังสือช่างไม้ Sam Maloof, James Krenov, George Nakashima ผมคิดว่าถ้าเราตั้งใจศึกษาด้วย ตนเองจากหนังสือที่เขาเรียบเรียงได้ดีมาก เราก็ได้เรียนรู้ งานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ มาก มันไม่เป็นแทคติคการ ทำงานแต่เป็นแทคติคการใช้ชีวิตเป็นช่างไม้ให้ได้ ผมว่ามัน สำคัญ ต้นแบบจึงสำคัญ กระบวนการทำงาน อย่างแรกผมสนใจไม้ที่เอามาใช้ทำงาน ผมสนใจ ไม้จริงเรียกว่าเป็นโซลิดวู๊ด เมืองไทยเรามีเยอะมาก ไม้ ต่างๆ ที่เรารู้กัน จริงๆ ก็มีไม้เยอะมาก ไม้อัด ไม้ MDF วิธี คิดมันต่างกันมาก ไม้จริงมันฮาร์ดเวิร์ค เครื่องไม้เครื่องมือ ต้องพร้อมระดับหนึ่ง ผมสนใจเฉพาะไม้และธรรมชาติ ของไม้ เรื่องที่สองผมคิดว่าสังเกตตัวเองว่าเวลาทำงาน ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องโครงสร้าง ไม่เน้นเรื่องผิวนอก เท่าไหร่ งานไม้สำหรับผมรู้สึกว่าเรียนรู้แล้วมันขยับต่อ
ยอดไปได้เรื่อยๆ คือเรื่องโครงสร้างที่ต่อเนื่องกับเรื่อง จอยเนอรี่เวิร์ค (Joinery work) คือการเข้าไม้มันมีดีเทล เยอะผมจะศึกษาเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะเด่นของ งานอย่างผมทำเก้าอี้ ตัว Hi Stool จริงๆ ในเนื้องานเอง ไม่มีความซับซ้อนอะไร มีแผ่นที่นั่ง ขา 3 ขา มีที่พัก หรือ ไม่มีที่พัก ผมสนใจแค่ว่าการเอาขามาใส่ในท็อปไม้ที่มี ความหนาแค่นิ้วกว่าๆ นี้ แล้วขาต้องยาว 80 ซม. แต่ผม อยากทำให้เก้าอี้นี้ไม่มีรัดขา จริงๆ ก็เป็นจุดง่ายๆ แต่ก็ใช้ เวลานานเอาชนะกับไม้นิดหน่อย ว่าควรมีขนาดของขา เล็กใหญ่แค่ไหน การออกแบบการเข้าไม้ ผมคิดว่าสำคัญ เป็นดีเทล ที่ไม่มีคนมองเห็น แต่ผมใช้เวลานานคิดวิธีการ ที่จะล็อคมันกระทั่งแข็งแรงได้ สีไม่ได้เน้นมาก การทำให้เป็นธุรกิจ ถ้าพูดถึงเรื่องทำงานแล้วเจอกับลูกค้า ผมว่างาน ไม้มีมาร์เก็ตติ้งที่กว้างมาก คือ เราเองก็ต้องพยายามจัด พื้นที่หรือหาพื้นที่ตนเองจริงๆ ว่าเฟอร์นิเจอร์ไม้นี้เราอยู่ ตรงไหนและดีลกับใครอยู่ เป็นงานที่มีรายละเอียดสูงและ ก็กลุ่มลูกค้าที่สนใจก็ไม่ใช่แค่ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใช้ เพราะจะ สนใจรายละเอียดของงานมากอีกนิดหนึ่ง คิดว่าลูกค้าไม่ เป็นปัญหา การใช้ชีวิต การทำงาน เป็นครูก็ทำงานเยอะมาก ทำงานด้วยมือเยอะ ปัจจุบันใช้ชีวิตยังไง ผมพยายามจัดสรรชีวิตตัวเอง ที่อยู่ อาศัย กลุ่มคนที่เราอยู่ด้วย เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวคือทำให้ ผมทำงานได้มากที่สุด วิถีชีวิตจริงๆ ช่างไม้ไม่ต้องการ อะไรมาก ต้องการสตูดิโอที่ดีทำงานได้จริง ที่ทำงานที่ดี จะเอื้อให้เราทำงานพร้อมกับใช้ชีวิตต่อไปได้ ผมทดลอง หลายที่ ไ ม่ มี ค ำตอบเบ็ ด เสร็ จ ผมเคยลองไปทำงานที่ กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งที่มีไม้แต่ไม่มีตลาดเลยก็มีความสุขดี เลือกเอาครับไม่ต้องขายใคร อยู่กับไม้ดี ลองมาอยู่ เพชรบุรี ลองแชร์กับพื้นที่ตลาดมากขึ้น สักระยะพื้นที่เอื้อ ให้เราอยู่กับงานทุกวันงานมันก็ออกมาได้ง่ายๆ แล้วก็ ผม รู้สึกว่างานไม้สำหรับผมมันมีรายละเอียดเยอะ ขนาดอยู่ กับไม้อย่างเดียวไม่ต้องอยู่กับอย่างอื่น มีรายละเอียดมาก ให้เก็บไปได้เรื่อยๆ จริงๆ ชอบการเรียนรู้อยู่เสมอ จริงๆ ก็คลาสสิก ทำอะไรก็ต้องทำกับคนอื่น ทำคนเดียวไม่สำเร็จผมว่าประเด็นเรื่องการเชื่อมโยงกับ ชาวบ้านและคนในท้องถิ่นก็มีหลายแง่มุม ตอนผมไป กาฬสินธุ์ สิ่งที่เราเชื่อมโยงกันจริงๆ คือ การทำงาน เช่น ผมต้องมีช่างเลื่อย ก็เป็นชาวบ้านและต้องไปเรียนรู้วิธีคิด
82
และการทำงานของเขา สุดท้ายก็แล้วแต่การตั้งเงื่อนไข ของแต่ละพื้นที่ ผมมองว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน หรือว่า บางครั้งงานเฟอร์นิเจอร์ก็งานใหญ่ต้องมีทีมงานชาวบ้าน เข้ามาทำงานร่วมกันเกิดการเรียนรู้ตลอด แต่ผมไม่มี ส่วนตัวที่ต้องการจะชี้นำชาวบ้านหรือทำให้เกิดงานชุมชน ไม่ถึงขนาดนั้น ผมอยู่ในพื้นที่ของการเรียนรู้มากกว่า ทำงานด้วยกัน และก็อะไรทีเ่ รียนรูไ้ ด้ระหว่างทางทีเ่ จอกัน ผมก็ทำให้ดีที่สุดในเวลานั้น โครงการในอนาคต ตอนนี้ก็... กำลังรวบรวมไม้ประเภทต่างๆ ผมเก็บ ไม้ไว้หลายชนิดที่ทำงาน รวบรวมไม้แบบต่างๆ พันธุ์ต่างๆ เพื่อเอามาศึกษาและใช้ทำงาน และก็การออกแบบช่วงนี้ ไม่ได้เน้นอะไรมาก เพราะงานไม้มโี พรเซสเยอะมากจริงๆ หากเราใช้เวลากับการออกแบบ ฟอร์มของงานก็จะตกหล่น อะไรไปเยอะ อีกสิ่งที่สำคัญช่วงนี้ผมค่อยๆ เริ่มเผยแพร่ ความรู้ ใช้คำนี้ก็ได้ ช้าๆ อย่างเพื่อนที่ทำงานด้วย หรือ น้องๆ ที่ทำงานด้วย ผมถือว่าเป็นการเรียนร่วมกัน เข้ามา สอนอยู่ที่ธรรมศาสตร์สอนงานไม้เป็นเรื่องกลวิธีของการ ทำงานไม้มากกว่า ทำกล่องกัน ให้เด็กเรียนรู้เรื่องเครื่องมือ คุณสมบัติของไม้ อย่างช้าๆ นิ่งๆ ให้เก็บเป็นข้อมูลในตัว ของเขา รวมๆ อาจเหมือนเราออร์กาไนซ์ประสบการณ์ ของเราและลำเลียงออกมา
83
ไพเวช วั ง บอน Paiwate Wangbon
Best Designer of the Year 2005
“ตัวตนของเราเองที่เราซึมซับมาตั้งแต่เด็กจนโต ภายใต้สังคมบริบทแบบนี้ มันคือจุดแข็ง คือ ปุ๋ยที่เราสามารถย่อยออกมาผลักดัน เป็นชิ้นงานออกมาได้”
Bluetooth lounge chair แรงบันดาลใจรูปทรงรากไม้ใหญ่ ด้วยโครงสร้างไพเบอร์กลาส ช่วยสร้างสรรค์งานรูปทรงบิดเบี้ยวเชิงนามธรรม ปิดทับด้วย เกลียวควั่นผักตบชวาย้อมสีล้อผ้าลายน้ำไหลของชาวล้านนา
84
ด้วยพื้นฐานทางงานศิลปะ ประกอบกับความสนใจ ในงานด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ ไพเวช วังบอน ได้นำ 2 สิ่ง มาหลอมรวมสร้างสรรค์เป็นผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งสามารถผสมผสานการผลิต สมัยใหม่เข้ากับงานฝีมือทางช่างและงานหัตถศิลป์ได้ อย่างลงตัว รายละเอียดอันละเมียดบนพื้นผิวไฟเบอร์กลาส ไม่ว่าจะเป็นลวดลายการลงรักปิดทอง หรือการจัดเรียง เส้นใยจากธรรมชาติที่ถูกถักทอจากฝีมือมนุษย์ ล้วน แสดงออกถึงแนวคิดของการเชื่อมโยงภูมิปัญญาของชนชาติ เข้ากับยุคสมัยและงานผลิตสมัยใหม่ที่ ไร้ขดี จำกัดในเรือ่ ง รูปทรง ซึ่งเดิมเคยเป็นข้อจำกัดทางการออกแบบและการ ผลิตสิ่งของใช้สอยของคนในยุคที่ผ่านมาและด้วยการที่ ไพเวช ได้มีส่วนในการเข้าไปขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ที่ เกี่ยวของกับการออกแบบ และการให้ความรู้กับกลุ่มผู้ผลิต ท้องถิ่นในส่วนต่างๆ ของประเทศไทย ทำให้ไพเวชมองว่า ประเทศเรามีทุนและขุมทรัพย์ทางปัญญาอยู่อีกมากมาย ที่รอการนำมาต่อยอดทางความคิดแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งของ และสินค้าที่ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำมาสร้าง
เป็นจุดแข็งไว้สำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การลองผิดลองถูกครัง้ แล้วครัง้ เล่า กับงาน ที่ต้องอาศัยมันสมองในการออกแบบและความร่วมมือ ของช่างฝีมือท้องถิ่นทำให้สิ่งดีๆ และมิตรภาพที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้คนที่แวดล้อมเป็นตัวขับดันให้ไพเวชรู้สึกสนุก และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำงานออกแบบ และมันจะยิ่ง ทวีขึ้นหากผลงานแต่ละชิ้น ที่ได้ร่วมกันพัฒนาจนออกสู่ กระบวนการทางการตลาดจะสามารถสร้างรายได้กลับ เข้าสู่ชุมชนที่เป็นผู้รับผิดชอบการผลิตผลงานชิ้นนั้นๆ การนำนวั ต กรรมเข้ า ไปสู่ ก ระบวนการทาง หัตถกรรมเป็นเป้าหมายที่ใครหลายต่อหลายคนกำลัง มองว่าน่าจะเป็นจุดแข็งใหม่และเป็นทางออกของงาน สร้างสรรค์ไทยในยุคที่เทคโนโลยีกำลังบดขยี้ภาคการผลิต พื้นถิ่นที่กำลังนิ่งเงียบ ไปพร้อมๆ กับการลดลงของแรงงาน ฝีมือ ครูช่าง และทรัพยากรธรรมชาติ แต่หน้าตาของ นวัตกรรมที่ว่า จะออกมาได้ในรูปแบบใดได้บ้าง ส่วนหนึ่ง ของคำตอบจากหลากหลายแนวทางและวิธีการ น่าจะอยู่ ภายในสมองของนักออกแบบคนที่ชื่อ ไพเวช วังบอน
จุดเปลี่ยนที่ทำให้เราเข้ามาทำงานออกแบบ ก็เดิมที่เดียวผมสนใจทางด้านศิลปะมาก่อน มี ความเข้าใจศึกษาทางศิลปะไทย และหลังจากที่จบแล้ว มาทำงานเป็นอาจารย์สอน ระหว่างที่สอนก็มีความรู้สึก ว่าเราสนใจงานออกแบบที่สามารถเอางานไทยๆ ไปใช้ได้ แต่ว่าการทดลองในการเอาไปใช้ครั้งแรกล้มเหลว อาจจะ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังล้มพอดี ก็ทำให้กลับมาคิด หาแนวทางว่าทำอย่างไรให้เราพัฒนาให้มันเติบโตได้ กลับมาหาความรู้เพิ่มเติมโดยการเรียนด้านการออกแบบ หลังจากเรียนแล้วก็ทำให้เข้าใจกระบวนการหลายๆ เรื่อง ทดลองทำงานและเปิดบริษัท เอาความคิดที่ทดลอง เผยแพร่สู่ผู้บริโภคจริงๆ ได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง ถึงปัจจุบัน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่แปรปรวน หลากหลายแต่เราอยู่ในสภาพที่อยู่ได้โดยไม่รู้สึกว่ามัน สะเทือนเท่าไร เทียบกับโรงงานใหญ่หลายโรงงานที่ก่อตั้ง มาก่อนก็ล้มไป ทำให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการคิด ในการออกแบบนี้ น่าจะเป็นประเด็นที่นำมาสู่การสร้าง ศักยภาพการพัฒนาตัวชิ้นงานได้ดี จากการที่เราทดลอง ของจริงโดยการทำงานจริงด้วยตนเอง คิดและลงมือทำ นำมาสู่การทดลอง ลองผิดลองถูกคิดบนพื้นฐานที่ไม่น่า จะเป็นไปได้แต่มีความเป็นไปได้ แล้วก็มันจะเกิดความรู้ ชุดใหม่ที่เราหาทางแก้ปัญหาทีละประเด็น ผลของมันนำ มาสู่งานใหม่ๆ มันน่าจะเป็นนวัตกรรม ไอ้คำว่า นวัตกรรม ในความหมายผมคือก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่ใหม่ซึ่ง นำมาสู่มูลค่าและต้นทุนที่ลดลง หรือกระบวนการที่ง่าย ขึ้นซึ่งในมุมมองทั่วๆ ไปไม่สามารถเกิดได้ เกิดการกรอง และลงมือทำจริงๆ นี่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญของการ ทำงาน บางอย่างที่จุดประกาย หลายๆ คนเป็นต้นแบบทางความคิด เราก็ชื่นชม ผลงานของคนไทยและต่างประเทศ แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่รู้สึก ซาบซึ้งคือผลงานของคนไทย หลายครั้งที่เราลงพื้นที่ไป ต่างจังหวัดหรือไปสถานที่ต่างๆ จะพบเห็นชิ้นงานที่เป็น เครื่องมือทำกินของชุมชนหรือชาวบ้าน เครื่องจักสาน เครื่องหล่อพระหรือการทำหลายๆ เรื่อง เห็นทีไรก็รู้สึก ว่าเรามีความสุขกับสิ่งเหล่านั้น แต่มีคำถามในใจเสมอว่า สิ่งที่สะสมมานานเหล่านั้นทำไมหยุดอยู่กับที่ ไม่สามารถ สร้างมูลค่าให้เจ้าของความคิดเหล่านั้นได้ คำถามเหล่านี้ ก็นำมาสู่การตั้งประเด็นและโจทย์ที่จะหาทางออกโดย ใช้ตัวเองเป็นตัวทดลองทำดู สิ่งที่เกิดมานานแล้วผ่าน การถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น คนละยุคสมัยกับปัจจุบันมีคนชอบ มากมาย แต่ไม่สามารถใช้งานได้ในปัจจุบันทำให้สินค้า หรื อ สิ่ ง ของเหล่ า นั้ น ไม่ ส ามารถเติ บ โตด้ ว ยตนเองได้ เราทำอย่างไรให้เข้ามาในชีวิตปัจจุบันและร่วมสมัยได้ ใช้แนวคิดนี้ในการทำ หากถามว่าสิ่งที่อยู่ในใจและเป็น ต้นแบบความคิดน่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ภูมิปัญญา คน สังคม ประเพณี สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นต้นแบบเรื่องของ สภาพปัจจุบันน่าจะเป็นแรงผลักดัน
จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ สิ่งที่ปรากฏในผลงานน่าจะเป็นอารมณ์หรือจิต วิญญาณของความเป็นไทยตรงนี้ แต่ว่าสิ่งที่มาไม่ได้มา โดยตรง ผมคิดว่าจุดแข็งที่เรามีอยู่ไม่หนีความเป็นตัวตน ของเราเองที่เราซึมซับมาตั้งแต่เด็กจนโต ภายใต้สังคม บริบทแบบนี้มันคือจุดแข็ง คือ ปุ๋ยที่เราสามารถย่อย ออกมา ผลักดันเป็นชิ้นงานออกมาได้ การที่คิดอย่างนี้นำ ไปสู่กระบวนการทำงานจริงๆ แล้วก็แสดงผลในตัวชิ้นงาน ทุกชิ้นที่ออกมาสามารถรับรู้ได้ ตัวชิ้นงานจะประกาศตัว มันเองว่าเป็นวิถีของเราไม่ได้มาจากไหนเพียงแต่ภายใต้ รูปทรงและประโยชน์รองรับการใช้งานแบบใหม่ เช่น ถ้า เราเอาลายผ้ามาคงไม่ใช่ลายดั้งเดิมเพราะจะเหมาะสม กับคนละยุคสมัยเรานำมาเพียงบางเรื่อง สิ่งเหล่านั้นถูก บันทึกและเก็บองค์ความรู้ไว้เยอะมากในของชิ้นหนึ่งของ คนไทยเราต้องสามารถถอดรหัสที่เราเรียกว่า องค์ความรู้ มาหลายระดับมากการเอามาใช้ ไม่พร้อมกันทั้งหมดแต่ หยิบมาใช้ทีละส่วนด้วยความเหมาะสมกับจังหวะและ เวลาสอดคล้องกับรูปทรง สอดคล้องกับการใช้งานปัจจุบัน นี่คือสิ่งที่คิดว่าเป็นจุดเด่น และวัตถุดิบคือสิ่งที่เราคุ้นเคย แต่เราพยายามค้นหาศักยภาพสิ่งของเหล่านั้นในมุมมอง ที่มันยังไม่เกิดขึ้นหรือแตกต่างไปจากสิ่งที่มันเคยเป็น ทำให้งานดูน่าสนใจ
งานที่ดูแล้วไม่น่าจะทำได้ ดูแล้วมีความซับซ้อนแต่แท้ จริงง่ายไม่ยากอะไร สิ่งที่ตามมาเมื่อมันง่ายต้นทุนแรงงาน ก็ไม่ใช่ข้อจำกัด แรงงานไม่ต้องเป็นช่างฝีมือที่สะสมกัน มานาน เป็นใครก็ได้ ตั้งแต่เด็ก ผู้ใหญ่ ทำงานออกมา มาตรฐานเดียวกัน เช่น บลูทูต สะโหร่ง ล็อค เอบาย อีกกลุ่มทดลองวัสดุที่คาดไม่ถึง เช่น การนำไม้ไผ่ทั้งลำ มาตัดและต่อ เมื่อเรามองชิ้นงานรู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ดูธรรมดาแต่สร้างความประหลาดใจได้ หรือบางชิ้นเป็น กระบวนการออกแบบใช้ความคิดในการจัดการแบบใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น ผมใช้ผสมโลหะกับเส้นใยธรรมชาติแล้ว ทอออกมา การทอเป็นกระบวนการดั้งเดิม เปลี่ยนวัสดุ ทำให้ทอได้เร็วขึ้นเมื่อทอเสร็จแล้วก็นำสู่ระบบแม่พิมพ์ งานจะเร็วขึ้นขนาดเท่ากัน งานแต่ละชิ้นจะมีจุดเด่นเช่นนี้ อยู่ นำไปสู่การทอเป็นเก้าอี้ โคมไฟ อีกแนวหนึ่งที่ผมเชื่อ ว่าเป็นจุดเด่น คือ การนำทักษะช่างไทยโบราณมาสู่มิติ ใหม่ เช่น ลายรดน้ำเอามาทำเป็นเก้าอี้ ข้อจำกัดเดิมคือ มีกระบวนการซับซ้อน ความสะอาด เมื่อเราเอามาทำ บนพื้นที่ไม่เรียบ กระบวนการช่างต้องมองว่าทำได้ยังไง สองต้องทนแรงขูดขีด การสัมผัสที่ได้มากขึ้น ทำให้ เทคนิคต่างๆ ที่ซ่อนตัวอยู่เปิดเผยสู่สังคมปัจจุบันซึ่งเป็น มูลค่า คือ คุณค่าในประเทศเรามากมาย และพยายาม ผลักดันออกมาในหลายๆ เทคนิค
ผลงานที่ทำให้เป็นที่รู้จัก จริงๆ แล้วผลงานของผมที่ออกแบบมาของบริษัท ตนเองและออกแบบให้บริษัทอีกสองสามที่ ที่ไม่ผ่าน กระทรวง หน่วยงานรัฐ ผมชอบทุกชิ้นงาน เพราะทุกชิ้น เป็นตัวตนเราแบ่งเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือการใช้วัสดุ ธรรมชาติมาผสมผสานเทคนิคใหม่ๆ เช่น ใช้ไฟเบอร์ที่ทำ รถยนต์ ม าเป็ น โครงสร้ า งแล้ ว ใช้ วั ส ดุ ธ รรมชาติ ปิ ด ผิ ว สองทางทำให้เกิดสิ่งใหม่ ข้อดีคือโครงสร้างนั้นหากมอง มุมช่างก็จะใช้ระบบขึ้นงาน เช่น ไม้ หวาย มีปัญหาเรื่อง สัดส่วน น้ำหนัก การควบคุมมาตรฐานไฟเบอร์สามารถ ควบคุมมาตรฐาน ตอบสนองหัตถอุตสาหกรรมได้ และ ทำให้โครงสร้างมีความซับซ้อนในตนเองมากกว่าขึ้น โครงสร้างแบบเดิม เมื่อนำมาผสมผสานแล้วก่อให้เกิดชิ้น
นักออกแบบไทย เศรษฐกิจไทย ตรงนี้ก็คงมองหลายๆ มุม ไม่ได้ฟันธงว่าแนวทาง ใดถูกต้อง อันดับแรกนักออกแบบในมุมผมต้องลงมือทำ ผ่านการทดลอง จะเกิดสิ่งใหม่ เราต้องทดลองความจริง ไม่ใช่คิดงานบนกระดาษ ต้องลงมือทำแล้วหาทางแก้ต่อไป คือการเข้าถึงชุมชน ตรงนี้ดูเหมือนง่ายแต่จริงๆ แล้ว ยาก การเปลี่ยนความคิดช่างเรา และเทคนิคยากที่จะ เปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เรามักติดเงื่อนไขที่ตีเป็นเงินก่อน
โสร่ง แรงบันดาลใจภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน เส้นสายการบิดตัวของหญิงสาว ชาวชะวาทะวี บนฝาผนังจากฝีมือศิลปินล้านนาที่ดูนุ่มนวล กลายเป็นรูปทรง “โสร่ง” เกลียวควั่นผักตบชวาล้อจังหวะ ลวดลายโสร่งของสตรีแห่งบูรพาทิศ
85
ก่อนที่เราจะภาคภูมิใจกับงาน หากเรามุ่งไปทางภาคภูมิใจ มูลค่าตามมาเอง และการมุ่งเป้าไปฐานรากหญ้านั้นสำคัญ เพราะเราเรียกว่าครู ภูมิปัญญา หรือความเป็นจุดแข็ง ของประเทศเรายั ง ต้ อ งการนั ก ออกแบบไปอยู่ เ ข้ า ไป แลกเปลี่ยน และทำให้เป็นจริงให้ได้ผมมองว่ายังน้อยมาก อีกประเด็นที่มองว่า จุดอ่อนของไทยของพวกเรากันเอง คือการตลาด ที่ผมมองว่าไม่ใช่ทำของเสร็จแล้วไปวางขาย แต่เรามองถึงระบบความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวกับการตลาด เช่น การวิเคราะห์ของตลาดที่เราอยากจะวางว่าขาย อย่างไร นี่น่าจะเป็นจุดอ่อนที่เรามักมองไม่ชัดเจนและ กลางๆ เลยกลายว่าเรามีสถาบันการศึกษาที่มีคนจบมา ทางด้ า นนี้ เ ยอะมากแต่ สุ ด ท้ า ยไม่ รู้ ว่ า หายไปไหน บรรยากาศที่เกิดขึ้นจึงไม่มากนัก นี่เป็นจุดอ่อนที่ผมมอง ภาพรวมดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเพราะหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้ความสำคัญ สิ่งนี้จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ ไทยเราไปสู่ขั้นที่แข่งขันได้ เราไม่สามารถแข่งขันด้วย จำนวน วันนี้มีตัวอย่างให้เห็นว่าหลายประเทศแย่งชิงเรา ไปแล้วแต่สิ่งที่เราต้องพัฒนา คือเรื่องยกระดับฝีมือซึ่ง ตรงนี้เป็นจุดแข็ง จากที่เข้าไปพัฒนานักออกแบบร่วมกับองค์กรต่างๆ มองว่าเรายังอ่อนด้านไหน คือ มันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเพราะแต่ละพื้นที่ เกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ก็มีอยู่แต่ไม่ชัดเจนหรือสะท้อนทาง จิตวิญญาณเรามากนัก ยุคหนึ่งเราบูมเรื่อง OTOP แต่ ณ วันนี้ เราสังเกตเห็นว่าค่อยๆ จางไป 80-90% เป็นพื้นที่ร้าง ไปแล้ว หลายๆ ชุมชนที่ถูกผลักดันมีไม่กี่กลุ่มที่ยกระดับ ตนเองเป็น SME ท้ายที่สุดแล้วก็จะเป็นกลุ่มที่มีความ เข้าใจเรื่องของการทำธุรกิจและอาศัยฐานชุมชนเป็น แหล่งผลิต แรงงานราคาถูกมันก็มีแนวทางแก้ไข ถ้าเรา สามารถพัฒนาหรือให้ความเห็นความเข้าใจระดับราก หญ้า เช่น เขาถนัดการย้อมหรือทอผ้าก็ไม่ต้องให้เขาไป
ผีแม่ม่าย แรงบันดาลใจจากความเชื่อของชาวอีสาน เรื่องความกลัวผีแม่ม่ายจะมาเอาชีวิต ต้องป้องกันด้วยการเอาปลัดขิกไม้มาวาง ไว้หน้าบ้าน ผสมกับแคร่และการเอนนอน ตอนกลางวัน กลายเป็น “ผีแม่ม่าย” เดย์เบดบนแนวคิดพื้นบ้าน
ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เขาย้อมและทอ แต่ให้เขาเข้าใจ ว่าต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างให้คนรับต่อได้ เช่น เขาเคย ทอย้อมสีเขียวกับแดงตามธรรมชาติของชุมชน แต่กระแส นิยมใช้ผ้าทำเฟอร์นิเจอร์ของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แดง เขียว เราแค่อธิบายเรื่องการย้อม คนอย่างนักออกแบบก็สามารถ ไปเลือกมาใช้ได้ เป็นการนำความเชี่ยวชาญการย้อมให้ เข้าใจคนใช้งาน มันเหมือนกับว่าพยายามเอาความคิด ไปให้เขาเลย มันมีขั้นตอนเยอะมากที่เขาเข้าไม่ถึง ไม่มี ความพร้อม อ่อนล้าแล้วหายไป ความเป็นวัฒนธรรม ท้องถิ่นหลายครั้ง มีระยะห่างที่เราไม่สามารถเข้าถึงเพราะ มีเรื่องความเชื่อที่คนรุ่นหลังอย่างเราไม่เข้าใจ เราเข้าผิด ทางก็เกิดการต่อต้าน การลงไปสัมผัสเพียงเพื่อเรียนรู้ และไว้วางใจ เปิดใจ อธิบาย สื่อสารกันมากขึ้น ระยะห่าง ทางความคิดลดลง ทำให้เราทำงานได้กลมกลืนมากขึ้น เราได้ฟัง แลกเปลี่ยนหลายๆ คน ไม่เช่นนั้นจะอ่อนล้าทั้ง สองฝ่ายอันนี้เป็นประเด็นแต่ละชุมชนยังมีความต่างใน เรื่องความชอบ ไม่ชอบ การที่เราจะนำความเข้าใจใหม่ๆ ไปแลกเปลี่ยนกับเขา ต้องเข้าใจคนในชุมชนนั้นให้ได้ก่อน เมื่อเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งแล้วเราก็จะสามารถขยาย ความคิดเราได้
ความภาคภูมิใจสูงสุดในฐานะนักออกแบบ ผมรูส้ กึ ภูมใิ จทีผ่ มได้มเี วลาในการคิดงาน เรารูส้ กึ ตื่นเต้นกับมันทุกครั้งที่เราคิดและพยายามทำออกมา เราลุ้นมันว่าจะออกมาเป็นอย่างไร รู้สึกดี แล้วก็ความคิด ที่เราได้หลายๆ ครั้งไปแลกเปลี่ยนกับชุมชนคนรอบข้าง ท้ายที่สุดเกิดความคิดใหญ่ขึ้น ขยายผลใหญ่ขึ้น ส่วนหนึ่ง เราได้ลงพื้นที่ทำงาน ไม่ได้อยู่ที่ตัวเราอย่างเดียว การได้ สัมผัสชุมชนและมีเสียงหัวเราะมีรอยยิ้มเป็นสิ่งที่ทำให้ เรามีความสุขเป็นกำลังใจให้เราทำงานต่อ ข้อคิดสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ ประเด็นคือความอดทนที่เราอยากจะเป็นอะไร ก็ต้องเป็นทั้งชีวิตจิตวิญญาณเพราะรามีตัวแปรเยอะมาก ที่เข้ามาบั่นทอนทำให้เราถอยจากสิ่งที่ฝันไว้ ต้องเข้มแข็ง นี่เป็นสิ่งที่อยากให้สังคมตรงนี้ขยายและเติบโต เราเอง เจอผลกระทบในหลายๆ ประเด็น เราไม่สามารถอยู่ได้โดย ที่เราไม่มีค่าใช้จ่าย เราต้องทดลองงาน หลายๆ ตัวแปร ก่อให้เกิดการอ่อนล้า ไม่มีสิ่งใดที่หันมามองตัวตนว่าเรา ทำแล้วมีความสุข ประเด็นนี้สำคัญ มีความสุขแล้วต้อง ตั้งใจอดทนกับมัน มันต้องมีสิ่งที่ทำให้เรายิ้มได้ อนาคตที่วางไว้ สำหรับตัวเองตัวอยากมีพื้นที่ทำงานของตนเอง ตื่นมาได้ทำงานที่ตนเองรัก มีที่โชว์ มีรายได้กับมันบ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนกับคนรอบข้าง พยายาม ทำพื้นที่ตรงนี้อยู่ เป็นความฝัน
Twister daybed แรงบันดาลใจลมพายุที่หมุนวน และดูดกลืนสรรพสิ่งขึ้นเบื้องบ้น งานม้วนเหล็กเพื่อเป็นเดย์เบดและ เก้าอี้สำหรับการตกแต่งภายนอก
86
สายสร้อย แรงบันดาลใจจากลูกปัดแต่ละข้อ ที่ร้อยต่อเป็นสายสร้อย เทคนิคการ ต่อไม้ไผ่ให้เกิดเส้นโค้งใหม่ กลายเป็น เก้าอี้สำหรับการตกแต่งภายนอก และภายใน
Infinity งานทดลองที่ใช้หวายใหญ่ ที่ปกติใช้ทำโครงสร้างภายใน มาดัดโค้ง เรียงต่อโดยไม่ต้องปิดผิว ก่อเกิดเส้นที่เสมือนไม่รู้จบ SAKTI loungchair เก้าอี้ทรงวงแหวนเทคนิคลงรักปิดทอง แรงบันดาลใจจากความเป็นทวิลักษณ์ของ “ศักติ” ชายาแห่งศิวะเทพที่มีสัญลักษณ์เป็นศิวลึงค์ หนึ่งในเทพสูงสุดแห่งเขาไกรลาส ศักติเป็นหนึ่งในผลงานชุด “หิมพานต์”
87
มกร เชาว์ ว าณิ ช ย์ Makorn Chaowanich
Best Designer of the Year 2007
“เพราะคนที่จะคิดสิ่งใหม่ๆ ได้หรือดีขึ้น ต้องมีวิสัยทัศน์ของผู้นำ”
มกร เชาว์วาณิชย์ เป็นทั้งนักออกแบบและ นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย รวมทั้งกรรมการบริษัท Cerebrum Design และ Cerebrum Creative Center แต่สิ่งเขาสนใจและ มีความมุ่งมั่นที่อยากทำจริงๆ คือการขับเคลื่อนสังคม การออกแบบไทยไปสู่ทิศทางที่มุ่งเน้นการสร้างนักคิด นักสร้างสรรค์ที่ไม่ได้อยู่ในกรอบและนิยามของการเป็น แค่ “นักออกแบบ” แต่สามารถเป็นบุคคลที่มีศักยภาพใน การมองแบบองค์รวม แยกแยะได้ในทุกมิติของศาสตร์และ ศิลป์รวมไปถึงความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีด้วย มกรเป็นหนึ่งในนักออกแบบไม่กี่คนที่ทำงานลงลึก ไปในภาคการผลิตทางอุตสาหรรรม หรือเรียกว่า เน้นงาน ด้านอินดัสเทรียลดีไน์อย่างจริงจัง ผลงานการออกแบบ โทรศัพท์มือถือให้กับค่าย I-Mobile ซึ่งกวาดรางวัลด้าน การออกแบบมาอย่างมากมายเป็นตัวที่การันตีถึงความ เป็นมืออาชีพทางด้านนี้แก่มกรบ่อยครั้งที่เขามักพูดถึง 88
ความแตกต่างของนักออกแบบในแต่ละชนชาติ หลากเชือ้ หลายพันธุ์ เพื่อมองหา และดึงเอาศักยภาพด้านดีออกมา สร้างเป็นมาตรฐานของนักคิดนักออกแบบที่ดีอย่างที่เขา มองเห็ น ว่ า มี ค วามสำคั ญ และจะมี บ ทบาทยิ่ ง ในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชาติด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และในที่สุดเขาก็ได้เริ่มลงมือทำในสิ่งที่เขามองหามานาน นั่นคือการสร้าง School of Creative Solution เพื่อมุ่งเน้น การพัฒนาผู้ประกอบการที่ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองให้ อยู่รอดได้ในยุคเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ เขาสร้ า งที ม งานและหลั ก สู ต รขึ้ น ใหม่ เ พื่ อ สอดรั บ กั บ แนวคิดที่ตนเชื่อว่าจะเป็นวิถีทาง และทางเลือกหนึ่งที่เป็น ส่วนเสริมในภาคการศึกษานอกระบบ สำหรับผู้ประกอบการ หน่วยงาน และนักเรียนนักศึกษา ที่เล็งเห็นความสำคัญ ของการสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ บทบาทใหม่ของนักออกแบบมากฝีมือคนนี้ เป็น เรื่องที่น่าจับตามอง เพราะนอกจากจะเป็นรูปแบบธุรกิจ
ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์แล้ว ยังเปรียบเสมือนแหล่งความรู้ทาง เลือก ที่อาจสามารถก่อกำเนิดนักออกแบบสายพันธ์ใหม่ๆ ที่มีส่วนผสมทางวิชาชีพเดิมของผู้ประกอบการนั้นๆ กับ ศาสตร์และศิลป์ของการเป็นนักออกแบบ เพื่อที่จะให้ ต้นทุนและความรู้ความจัดเจนทางธุรกิจถูกติดอาวุธต่อ ยอดขยายขีดศักยภาพออกไปได้อีก การเป็นนักออกแบบ ทางสายงานที่มีผู้เล่นจำนวนน้อยและการขึ้นชื่อว่าเป็น หนึ่งเดียวของนักออกแบบโทรศัพท์มือถือที่เป็นคนไทย ทำให้ผู้ชายคนนี้ถูกจับตามองในทุกความเคลื่อนไหวใน วงการออกแบบ อะไรเป็นจุดกำเนิดของความมุ่งมั่นใน วิชาชีพและเส้นทางที่ผ่านมาของมกร เขาต้องผ่านบท ทดสอบใดบ้างจนมาถึงวันนี้ และยังมีเรื่องอะไรอีก ที่เขา มองผ่ า นสายตานายกสมาคมนั ก ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุตสาหกรรม แล้วเล็งเห็นว่าสังคมนักออกแบบไทยควร มีการเปลี่ยนแปลง ร่วมค้นหาและเจาะลึกไปในความคิด ของชายคนนี้ มกร เชาว์วาณิชย์
ก่อนจะมาเป็นนักออกแบบ ผมเป็นคนปัตตานี โตที่ปัตตานี ตั้งแต่เด็กไม่เคย ได้ยินคำว่าดีไซน์ แต่รู้แน่ๆ เรื่องศิลปะ เป็นเด็กที่ชอบวาด รูป จินตนาการ และรู้จักคำว่าดีไซน์ตอน ม.ปลาย ได้ทุน AFS ไปที่อเมริกา ได้เห็นภาพว่าจริงๆ ดีไซน์คืออะไร ต่างจังหวัดเราไม่รู้ว่าคืออะไรและเห็นว่าดีไซน์น่าสนใจ แต่ยังไม่รู้เรื่องอินดัสเทรียลดีไซน์ แต่รู้ว่าเราไม่ใช่ศิลปิน แน่นอน ของใช้ หุ่นยนต์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เรารู้จัก สถาปัตยกรรมออกแบบเรื่องบ้าน เมื่อไปอยู่ตรงนั้นได้เห็น การออกแบบรถยนต์มากมาย เป็นที่มาว่ารู้จักชัดเจน ตรงนั้น ระหว่างที่เรียนจุดใดเป็นจุดเปลี่ยน จุดที่ชัดเจนเมื่อเราเห็นภาพชัด จากต่างประเทศ ว่าอินดัสเทรียลดีไซน์น่าสนใจ ตรงกับเราชอบออกแบบ สิ่งของ ของใช้เยอะแยะไปหมด กลับมาเมืองไทยว่าที่ใด มีสอนบ้าง เลยสมัครเรียนที่รังสิต ตอนนั้นเป็นมหาลัย เอกชนเดียวที่มีสาขานี้ ตอนนั้นผมก็คิดว่ารังสิตก็ดี มี ศักยภาพสูง ไปสมัครไว้ก่อนไปอเมริกาแล้วกลับมาเรียน เราเห็นภาพจากอเมริกาว่าน่าสนุก แต่เราช้ากว่าคนอื่น เทอมหนึ่งก็ทำงานไล่ๆ งานต่างๆ ที่ทำเหมือนรอทั้งชีวิต ไม่มีใครสอน จึงสนุกมาก ไม่รู้ว่าเรียนทั้งชีวิตทำไปทำไม ทั้งมัธยม ประถม ไม่เคยใช้เลย แต่ทุกวิชาสุดยอดทุกวิชา เราสนุกกับการเรียน ยิ่งใช่ๆๆ ผลการเรียนดี จบออกมา ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง รู้ว่าจบมายุคนั้นตกงานแน่นอน เพราะช่วงฟองสบูแ่ ตกช่วงปี1999-2000 ตีวา่ จบมาตกงาน หากทำงานต้องไปอยู่นิคมอุตสาหกรรม เราว่าคงไม่ใช่ ดูแล้วไม่ใช่วิถี เราถามว่าดีไซเนอร์จริงๆ อยู่โรงงานเหรอ ต่างประเทศนั้นเท่ห์มาก แต่ในไทย ดีไซเนอร์เหมือนซุกอยู่ ใต้มาร์เก็ตติ้งบ้าง ใต้วิศวกรบ้างที่จริงมันไม่ใช่ เป็นกลุ่ม คนทำงานที่สำคัญมาก เลยคิดว่าไม่ใช่ ไม่มีที่ไป อยาก เรียนต่อเลยไปปรึกษาอาจารย์เอกรัตน์ แนะนำ Domus ที่ ประเทศอิตาลี ผมเตรียมพอร์ทโฟลิโอไว้เยอะมากส่งไป รอผลประมาณ 1-2 เดือน เขาตอบรับ ตอนนั้นดีใจมาก สมัครจ่ายเงินสามแสนเลย เรารอเรียนภาษาและเดินทาง เท่านั้น ช่วงนั้นว่างๆ เลยพยายามส่งงานประกวด เพราะ เชื่อว่าดีไซเนอร์ดังไม่ดังอยู่ที่งานประกวด พยายามสร้าง เครดิตให้ตนเอง ส่งงานไปเรื่อย ในต่างประเทศยุคนั้น ปีหนึ่งมีงานประกวดครั้งสองครั้ง ไม่เหมือนปัจจุบันที่มี เดือนละเกือบยี่สิบครั้ง โอกาสในการผลักดันตนเองเป็น ที่รู้จักจึงน้อยมาก ตอนนั้นมีงานประกวดออกแบบของ Citizen ประกวดทั่วเอเชีย เป็นคนที่ชอบนาฬิกาอยู่แล้ว เลยสนใจ ทำงานส่งคืนสุดท้าย เมื่อคุยงานแล้วมีฝรั่ง คนหนึ่งมาแสดงความยินดีและถามว่ากลับเมืองไทยวัน ไหน เราบอกกลับวันนี้เพราะพ่อมาด้วย และจะกลับแล้ว เขาชวนให้อยู่ต่อ เราตอบว่าอยู่ไปด้วยเลย บอกให้พ่อ กลับบ้านไปก่อนเลย เขาบอกว่าเขามาจาก Phillip เพราะ ไม่รู้ว่ามีบริษัทนี้ในสิงคโปร์ เย็นนั้นเขาก็พาไปเที่ยวตาม ผับและแนะนำเราว่าเป็นคนชนะจากประเทศไทย คุยกับ เขาว่า เขาสนใจอะไร เขาบอกว่าเขาหาคนร่วมงานขอให้ 89
ส่งพอร์ทโฟลิโอไปให้เขา รอเดือนนึงเขาให้ไปสัมภาษณ์ที่ ทำงานร่วมกับวิศวกรร่วม 10 คน และมาร์เก็ตติ้งอีก 5 คน สิงคโปร์ นายใหญ่ของเขาตอบตกลงให้เราทำงาน เรื่องของฝ่ายเซล ฝ่ายโปรเจคท์เมเนเจอร์ เมื่อเราเข้าไป ในห้องมีทติ้งยิ่งกว่าทีสิส เพราะเราคิดว่าเราแย่แล้วแต่ ประสบการณ์ที่ Philip จริงๆ น้อยมาก ทุกคนที่นั่นจะนั่งรอเราพูดและซัดเราให้ ก็หลังจากที่เข้าไปทำงานดีใจมากพร้อมตกใจ เละ การสร้างสิ่งใหม่ๆ เสี่ยงต่อความล้มเหลว การทำใหม่ เพราะเขาบอกว่าเราเป็นคนไทยคนแรกและอายุน้อย ทำให้คนอื่นๆ ลำบาก เช่น วิศวกรต้องมานั่งคิดอะไรใหม่ๆ ที่สุดในองค์กรเขา เพราะอายุเฉลี่ยเขาอยู่ที่ 35 ปี ถึงเข้าไป การตลาดของเดิมขายดีอยู่แล้ว ของใหม่เข้าไปจะทำ ทำงานได้ ตอนนั้นผม 23 ปีเอง รู้สึกกดดัน ที่สิงคโปร์ อย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้หรือเปล่าไม่รู้ เพราะงั้น มี 14 สัญชาติที่ทำงานอยู่ มีชาวสิงคโปร์เพียงเล็กน้อย เราเป็นเจ้าของไอเดียและคอนเซปท์ ทุกคนพยายามทำ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ด้วย คนจับตาตลอด รู้ว่าที่นั่นเขา ให้เราล้ม และเรารู้ว่าเราต้องทำการบ้านให้ดีมาก เราต้อง คาดหวังพอสมควร เขาอยากใช้คนพร้อมทำงานไม่ต้อง รู้เรื่องมาร์เก็ตติ้งรีเสิร์ช เรื่องของกลไกการแก้ปัญหา เทรน วันแรกโยนโปรเจคให้และใช้ซอฟท์แวร์ Rino รุ่น พื้นฐานยังไง เพราะวิศวกรแต่ละคนประสบการณ์ 20-30 ปี Beta เขาให้เลือก Arius หรือ Rino สำหรับ Arius คู่มือ ในหนึ่งโปรเจคท์เราต้องทำงานเยอะมาก ไม่เหมือนตอน ขนาดกล่องใหญ่ อ่านไม่หมดแน่งานไม่เสร็จ แต่ Rino เรียนเราเพ้อไปเรื่อย และมานั่งเขียนคอนเซปท์ภายหลัง เล่มเล็กกว่าเลยพอลุ้น ใช้เวลาทั้งเรียนซอฟท์แวร์และทำ งานในองค์กรใหญ่ๆ โฟกัสที่ธุรกิจจริงๆ สินค้าใหม่ขาย ต้นแบบ ตอนนั้นเขาให้เริ่มทำจากรีโมทคอนโทรลซึ่ง ไม่ออกใครรับผิดชอบ ดีไซเนอร์รับผิดชอบเพราะเป็น เหมือนจะง่าย แต่ฟอร์มต่างๆ มันยากมาก เราทำงานช่วง ไอเดียของคุณ เราต้องมั่นใจเวลานำเสนอ เราต้องสร้าง แรกถึงเที่ยงคืนเป็นปีเลย เพราะเขาอยากพิสูจน์เราและ ความมั่นใจให้คนที่ทำงานร่วมกับเรา เราได้เห็นว่าการ เมื่อเราทำงานตรงนั้น บทบาทของดีไซเนอร์ไม่เหมือนกับ ทำงานแบบมืออาชีพจริงๆ คือเรื่องการบ้านต้องเยอะ ที่เราคิด แต่ที่ Philip เขาแยกนักออกแบบเป็นองค์กร มากทุกๆ ด้าน ท้ายสุดเรื่องของการบริหารจัดการ อิสระ เพราะว่าหากเราทำงานใต้ใคร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตนเอง ไม่ใช่นั่งทำงานแล้วขออาจารย์เลท ที่นั่นหากผ่าน หรือศักยภาพหลุดออกไปเป็นระดับโลกไม่มีทางเป็นไปได้ เดทไลน์ก็จบเข้าห้องประชุมช้าก็ไม่ได้ โลกความเป็นจริง เขาแยกเพื่อให้มาชนกับองค์กรแม่ ช่วงแรกเขาไม่ได้เทรน มันท้าทาย เรารู้เลยว่าสิ่งที่เราเรียนก็ดีแต่เรายังขาดอีก เราเรื่องสกิลเขารู้ว่านักออกแบบทุกคนอ่อนเรื่องลอจิก 95% ตอนทำงานที่นั่น 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ใช้เวลา การบริหารจัดการ การเป็นผู้นำในองค์กร สิ่งแรกที่เขา ดีไซน์เพียงไม่กี่ชั่วโมง เพราะต้องใช้เวลากับการมีทติ้ง สอนให้ต่อรองเงินเดือนเจ้านาย เขาบอกว่าเบเนฟิทต้อง และล็อบบี้กับฝ่ายต่างๆ เหมือนกับเล่นการเมือง สร้าง สมเหตุสมผลกับสิ่งที่ทำให้องค์กร เขาสอนเลยว่าต่อรอง ความเป็นไปได้กับโครงการเราเองต้องติดต่อต่างประเทศ เงินเดือนเจ้านายทำยังไง และสอนปฏิเสธเจ้านาย เรามัก มากมาย เมือ่ ก่อนเราไม่รเู้ ลยว่าเหนือ่ ยขนาดนี้ การทำงาน เซย์เยสอย่างเดียว และภาระจะตกมาที่ดีไซเนอร์ ทำให้ เป็นทีม เพราะภาษาดีไซเนอร์ไม่มีใครเข้าใจ เรื่องอีโมชัน บริหารจัดการอะไรไม่ได้ ต้องตอบปฏิเสธให้เป็น ต่อมา นอล แต่ฝ่ายการตลาดเขามองเรื่องตัวเลข เราต้องพูด เป็นเรื่องของการขายงานสำคัญ การพรีเซนท์ยังไงให้ขาย ภาษาวิศวกรให้เป็น ศัพท์เทคนิคทางการผลิต เราได้ ได้ มันมีเรื่องของการเจรจาต่อรองงานดีไซน์ยังไง ปรับปรุง เรียนรู้อย่างนี้ทุกวัน ประสบการณ์นี้เป็นสิ่งที่เราถ้าได้ฝึก แก้ไขยังไงให้สั้นที่สุด เขาให้อาวุธเราเต็มที่ Philip Design ตั้งแต่เรียนเราคงแกร่งขึ้นเยอะ ว่าการศึกษาไทยและการ เป็นองค์กรอิสระที่เหมือนต้องซัดกับองค์กรแม่ การเข้าไป ทำงานจริงทำไมมีช่องว่างเยอะสุดท้าย ผู้ประกอบการก็ คุณต้องมีอาวุธครบ รู้สึกว่าเป็นจริงเพราะครั้งแรกดีไซเนอร์ บ่นว่าทำงานกับดีไซเนอร์ไม่ได้ แต่แท้จริงเพราะเราไม่ได้ หนึ่งคนแฮนเดิลเกือบสิบโปรเจคท์ และแต่ละโปรเจคท์ต้อง ถูกฝึกมา 90
ได้ย้ายไปทางยุโรป จุดที่เปลี่ยนตอนนั้นคือได้โปรโมทจากสิงคโปร์ ออกแบบออดิโอซิสเต็ม และมือถือ และที่จริงผมทำเยอะ มากใน Philip เพราะว่าตอนที่ไปรับตำแหน่ง มีรีเควสว่า ดีไซเนอร์บางคนเบื่อการทำงานซ้ำๆ เช่น บางคนทำ เครื่องเสียงต้องทำอย่างน้อย 3 ปี จึงย้ายแอคเคานท์ได้ จึ ง มี ข้ อ ร้ อ งเรี ย นจากทั่ ว โลกว่ า อยากให้ เ กิ ด ตำแหน่ ง Fluidity ของเหลวที่ไหลไปได้เรื่อยๆ ตอนนั้นผมพยายาม พิสูจน์ตนเองว่าตั้งใจและขยัน เขาจึงให้ตำแหน่งนี้ ไม่มี แอคเคานท์ ไม่ต้องขึ้นตรงกับใคร ทำได้ทุกอย่าง ได้ทำ ตั้งแต่เครื่องเสียง โคมไฟ มือถือ ของใช้ในบ้าน และมี โอกาสได้บินทั่วโลก แต่ละสาขามีโปรเจคท์ไม่เหมือนกัน เช่น บางสาขาอยากได้ที่โกนหนวด เราก็ไปอีกประเทศ ตอนนั้นได้อยู่สิงคโปร์ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งได้บินทั่วโลก และ ได้โปรโมทเป็นซีเนียร์ดีไซเนอร์ ตอนนั้นเขาให้เรามุ่งไป ทางโทรศัพท์มือถือและให้ไปทำงานที่ฝรั่งเศส การไป ทำงานยุโรปกว่าจะทำเรื่องไป ต้องใช้เวลาเป็นปี เพราะเขา กีดกันเอเซีย เราต้องรับผิดชอบมาก เราเปลี่ยนมาด้านการ วางแผนยุทธศาสตร์ และต้องทำอะไรที่เลเวลสูงขึ้น ทำงาน ปีกว่าๆ ช่วงนั้นผมอ่านข่าวเมืองไทยในต่างประเทศ เมือง ไทยไม่มีข่าวเท่าไร แต่ที่ฝรั่งเศสแย่มาก เละเทะ รู้สึกว่า เป็นห่วงที่บ้านไม่อยากเสียใจตอนหลัง เลยบอกหัวหน้า ที่นั่นว่าห่วงที่บ้านต้องการกลับบ้านของานด้วยแล้วกัน ถ้ากลับไปผมจะตั้งบริษัท กลับมาเจออะไรที่เมืองไทย เมื่อกลับมาเมืองไทยให้ภรรยาเซ็ทอัพบริษัท มา เริ่มงาน ตกใจว่าดีไซน์ในเมืองไทยไม่น่าทิ้งกับต่างประเทศ เท่าไหร่ แต่พอเราคุยกับลูกค้าพยายามขายเซอร์วิส แต่ ฟีดแบคกลับมาเขามองว่าดีไซเนอร์ไม่รับผิดชอบ ทำงาน ไม่เป็น มีแต่เรื่องลบ ในฝั่งอุตสาหกรรม ทำและผลิตไม่ได้ ขายไม่ได้ เราเลยว่าแย่เลยงานหายากมาก พยายาม อธิบายว่าความสำคัญของงานออกแบบเป็นอย่างไร มูลค่า จะดียังไง แต่เขามีภาพว่าหากทำแล้วจะแย่กว่าเดิม เลย พยายามหลายวิ ถี ท างว่ า ตลาดเมื อ งไทยชะลอสั ก นิ ด ช่วงนั้นก็มีงานจาก Philip ส่งเข้ามา ตอนนั้นทำสำนักงาน
ในปั๊มบางจาก เลมอนฟาร์ม เราคิดว่าเท่ห์มาก เปิด 24 ชั่วโมงทำงานได้ตลอด แต่ลูกค้าคนไทยมากลับเห็นว่า ภาพลักษณ์เราแย่ เมื่อเสนอราคาเขาต่อครึ่งหนึ่งเลย แต่ ในทางกลับกันลูกค้าต่างประเทศบินมาจะเห็นว่าเท่ห์มาก ทำได้ยังไง รู้สึกว่าทำไมเมืองไทยมุมมองไม่เหมือนกัน เจอเพื่อนชาวไต้หวันเป็นเด็กจบใหม่แต่ไฟแรงมาก เขา มองเห็นมูลค่าจากการดีไซน์ สิ่งที่ผมมองตอนนั้น ผม อยากสร้างแบรนด์ไทยไปตลาดโลก เมืองไทยตอนนั้นยัง ไม่เข้าใจ เพราะยังเน้น OEM แต่ไต้หวันตอนนั้นรัฐบาล ส่งเสริม เพราะที่นั่นโลคัลแบรนด์ล้นประเทศ เขาอยากให้ ออกไปตลาดโลก ผมและคนไต้หวันมีวิสัยทัศน์ตรงกัน ผมจึงเอาเงินไปลงทุนที่นั่นเปิดสาขาและคิดว่าใช่แล้วว่า ดีไซน์สำคัญยังไง สนุก มีงานเยอะอีกส่วนหนึ่ง พอเรา ไปแล้วเราวางโพสิชันนิ่งบริษัทเป็นอินเตอร์เนชันแนล ดีไซน์เฟิร์มที่ทำให้แบรนด์ของเขาไปตลาดโลกได้ ไทยต่างกับไต้หวันอย่างไร ตอนที่เราไปเปิดสาขาที่ไต้หวัน ที่เมืองไทยเรา ต้องการเป็นดีไซน์เฟิร์มทางธุรกิจเราเป็นเจ้าเดียวใน เมืองไทย แต่ที่ไต้หวันมีดีไซน์เฟิร์มประมาณ 4,000 แห่ง เพราะเป็นที่ยอมรับและสำคัญ มูลค่ามาแข่งที่ราคาและ คุณภาพ ได้งานมาเยอะและเหนื่อยเพราะมาทีเป็นล็อต ใหญ่ๆ ประเทศที่เจริญแล้ววัดจากดีไซน์เฟิร์ม บริษัท แอดเวอร์ไทซิ่งเอเจนซี่มีหลักสิบ มันเป็นมุมกลับกับเรา เพราะประเทศเราซื้อของเขามาขาย เน้นส่งเสริมการขาย และแวลูเราแย่มากเพราะเราทำเพียงปลายน้ำ ประเทศ ไทยมีคนสนใจทำด้านนี้น้อยลงทุกปี อาจารย์ที่สอนผม ตอนมหาวิทยาลัยว่าจบมามีทำงานตรงสายกี่คน ท่านตอบ ว่าเรียน 40 คน ทำงานจริงเพียง 4 คน กระทั่งปัจจุบัน ยังเหมือนเดิมและอัตราน้อยลงกว่าเดิม ประเทศไทย ส่งออกแต่อุตสาหกรรมหนักทั้งนั้น แต่เราไม่เคยมีเครื่องใช้ ไฟฟ้าของไทยหรือรถยนต์ของไทย ของระดับท็อปของ โลกอยู่ในไทยหมด แต่คนไทยไม่สนใจศักยภาพตรงนี้ เพราะเราเหนือกว่าเพื่อนบ้าน มาเลเซียยังมีรถยนต์ของ ตนเอง ประเทศต่างๆ ก็เริ่มมีสิ่งต่างๆ ของตนเอง การ พัฒนาผลิตภัณฑ์พูดยากเพราะโพรเซสยาว เห็นผลช้า
เราจึงคิดเหมือนพ่อค้าว่าซื้อมาขายไปง่ายกว่า ก็เลยนิยม ทางนั้นประเทศเลยไม่เจริญ โครงการที่สนใจในอนาคต ตอนนี้ผมพูดในสิ่งที่ทำอยู่ ที่ผ่านมาเราพยายาม ออฟเฟอร์เซอร์วิสให้กลุ่มอุตสาหกรรม แต่เรามองว่าเรา ช่วยได้คนกลุ่มเดียว แต่โนว์ฮาวและกรณีศึกษาที่สร้างมา อยากมอบให้กลุ่มธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งเราก็ตั้งโรงเรียน Cerebrum Creative Center จุดประสงค์หลักคือ เอา โนว์ฮาวทั้งหมดมาถ่ายทอดเป็นการร่นระยะเวลาไม่ต้อง ลองผิดลองถูก ธุรกิจวัดกันแค่รู้ไม่รู้เท่านั้น เราสร้าง ชอร์ตคอร์สให้ผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์เริ่มมองเห็น ความสำคัญ ว่าเมื่อก่อนเราต้องเอาไปขายเขาพูดซ้ำๆ แต่ ใจจริงเราอยากจะให้ และเราก็อยากถ่ายทอดให้เขา ไม่ใช่ แค่ในส่วนธุรกิจ แต่อยากทำให้เป็นโรงเรียนวิชาชีพด้าน การออกแบบเพราะในเมืองไทยไม่มี ดีไซน์อยู่ใต้ สถาปัตยกรรม ดีไซน์อยู่ใต้ครุศาสตร์ ซึ่งจริงๆ ดีไซน์ สำคัญมากๆ เราต้องมีความชัดเจน จึงมีความตั้งใจใน อนาคตจะปลูกฝังพัฒนาตั้งแต่เด็กกระทั่งโปรเฟสชันนอล ระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย เรามองว่ า ถ้ า เราไม่ ท ำก็ ไ ม่ มี ก าร เปลี่ยนแปลง เด็กหาตัวเองไม่เจอ รอว่าเรียน 4 ปีจบมา ยังไม่เจอก็ไม่ใช่แล้วว่าสิ่งที่เขาต้องการและใฝ่ฝันต้องได้ ฝึกตั้งแต่เด็กไม่ใช่ในมหาวิทยาลัย ผมมองว่าทรัพยากร บุคคลเราสำคัญ รีซอร์สโรงงานเราพร้อมแต่เราไม่มีคน คนที่ผลิตมามีไม่พอ แต่หากเราสร้างภาพโปรเฟสชันนอล ทางด้านนี้ที่ชัดเจน มีบทบาทการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ ด้านนี้ สองคนที่เป็นผู้นำเพราะคนที่จะคิดสิ่งใหม่ๆ ได้ หรือดีขึ้น ต้องมีวิสัยทัศน์ของผู้นำ เราไม่ได้ทำของสวยๆ เพื่อตอบความรู้สึกตนเอง แต่บทบาทของเราต่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศสูงมาก ความแข็งของเรายังไม่พอ เราถูกสาขาวิชาชีพอื่นแย่งตำแหน่งนี้ไป แต่ในระดับเวที โลก ดีไซเนอร์เป็นผู้นำธุรกิจ
91
มล.ภาวินี สันติศิริ M.L. Pawine Santisiri
Grand Prizes Award 2004 Honor Award 2007
“พยายามหาแนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ ของดีของเรามีอยู่แล้ว แต่ช่วยหยิบจับ ออกมาให้คนอื่นเห็นให้ เห็นว่าดีไซน์เนอร์ ไทย มีความสามารถ”
หากจะพู ด ถึ ง แบรนด์ สิ น ค้ า หั ต ถกรรมไทยที่ มี รูปลักษณ์ที่ดึงดูดใจ แฝงไปด้วยรูปทรงและสัดส่วนที่ แปลกตา รวมถึงเทคนิคการขึ้นรูป จัก ทอ และงาน ประดิดประดอยอันละเมียดละไม น่าใช้ และชวนให้อยาก นำมาเป็นส่วนหนึ่งในบ้านหรือเคหะสถานอันน่าอภิรมย์ โดยเฉพาะหากงานนั้น ทำมาจากวัสดุที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น ของไร้ค่าที่มักนำไปทำอาหารสัตว์ หรือเป็นวัชพืชชั้นสวะ ที่ใครๆ ต่างตั้งข้อรังเกียจ อย่างเช่นผักตบชวาด้วยแล้ว คงจะไม่มีใครไม่นึกถึง โยธกา และอโยธยา เป็นแน่ เมื่อกว่ายี่สิบปีที่แล้ว ม.ล.ภาวินี สันติศิริ ทำวิจัย เพิ่มมูลค่าผักตบชวา เพื่อพัฒนาอาชีพแก่ชาวบ้าน และ ได้ชักชวน คุณสุวรรณ คงขุนเทียน เข้ามาร่วมในการ ออกแบบผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา นั่นคือจุดเริ่มต้นของ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์โยธกา และหลังจากโยธกา เริ่มลงหลัก ปักฐานเป็นที่รู้จักไปในวงกว้าง พร้อมยอดการส่งออกและ ฐานลูกค้าที่แน่นพอ แบรนด์สินค้าของตกแต่งบ้านนาม อโยธยา ภายใต้เส้นสายลายมือของ มล.ภาวิณี ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อเติมเต็มพื้นที่ว่าง และตลาดที่เพิ่มมาจากฐานลูกค้า 92
เฟอร์นิเจอร์ที่ได้ละสมมานานนับปี โดยเป็นที่รู้ในแวดวง ว่า หากมองว่าคุณสุวรรณ คงขุนเทียน เป็นตัวแทนของ โยธกา ตัวแทนของอโยธยาก็ต้องเป็น ม.ล.ภาวิณี สันติสิริ มิ ติ ข องการเป็ น นั ก ออกแบบตกแต่ ง ภายใน ภายใต้ผลงานของบริษัทสหัสชาของ ม.ล.ภาวินี เป็นสิ่ง การันตีฝีมือของเธอได้เป็นอย่างดียิ่ง ถ้ารวมเข้าผลงาน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของอโยธยาด้วยแล้ว ชื่อชั้นของ การเป็นนักออกแบบที่มีความสามารถรอบด้าน ย่อมเป็น ที่ยอมรับว่าเป็นรุ่นใหญ่ในวงการได้อย่างไม่มีข้อกังขา ความพิเศษอันโดดเด่นของ ม.ล.ภาวินี ที่ใครๆ ต่างยอมรับ ก็คือไม่ว่าจะหยิบจะจับวัสดุอะไรออกมาเล่น ก็สามารถ ค้นหาความงามและความน่าสนใจของวัสดุนั้นออกมา นำเสนอเป็นผลงานที่ใช้งานได้จริงและใช้งานได้ดี แม้ว่า วัสดุนั้นจะเป็นเพียงของเหลือใช้อย่างหนังสือพิมพ์เก่าๆ ที่รอวันเอาไปบดหรือเผาทำลาย ผลงานออกแบบชุดล่าสุดของ ม.ล.ภาวินี ที่ทำ จากกระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว เป็นตัวอย่างที่ชี้ชัดว่า ภายใต้หนึ่งสมองและสองมือของนักออกแบบคนหนึ่ง
สามารถฟื้ น ชี วิ ต ให้ กั บ วั ส ดุ ใ ช้ แ ล้ ว ที่ ร อวั น ถู ก ทำลาย แปลงร่างเสริมรูปด้วยเทคนิคการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ และ การคัทติ้งเพื่อโชว์สันหรือเซคชั่น ซึ่งเป็นมุมมองที่น้อยคน นักจะนึกถึงความงามในมิติที่เป็นธรรมชาติของสีสันและ ร่องรอยระหว่างหยดหมึกและที่ว่างของการเรียงพิมพ์ ข่าวสารจากกระบวนการพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่มีเสน่ห์ที่ ไม่มีวันซ้ำรูปแบบกันในแต่ละชิ้นงาน บทสัมภาษณ์หลากหลายชิ้นที่เคยเล่าถึง ม.ล.ภาวินี เป็นสิ่งที่เรามักคุ้นและสามารถหาอ่านได้ไม่ยาก ปัจจัย ในความสำเร็จต่างๆ นานา ของโยธกา หรือ อโยธยา ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะนำมาศึกษาเพื่อเป็นแบบอย่าง ของการสร้างธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยรากเหง้าและทุนทาง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ยังมีเรื่องอื่นอีก หรือไม่ที่เรายังไม่เคยรู้ ซึ่งเป็นบริบทแวดล้อมนักออกแบบ หญิงคนนี้ ที่มีส่วนประกอบสร้าง จนชื่อ ม.ล.ภาวินี สันติศิริ เป็นเสมือนต้นแบบของนักออกแบบหญิงคุณภาพ ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ร่วมสำรวจเส้นทางเมื่อ ครั้งยังเยาว์ เพื่อเก็บเกี่ยวสาระจากประสบการณ์ตลอด
ช่วงชีวิตของการเป็นนักออกแบบหญิงที่มีส่วนอย่างมาก เข้าได้อะไรอย่างนั้น ก็ดูว่าอะไรที่มันคล้ายๆ กันก็เลย ในการขับเคลื่อนวงการออกแบบไทยมาจนถึงปัจจุบัน เบนเข็มจากสถาปัตย์เป็นมัณฑนศิลป์ ในบทสัมภาษณ์ฉบับพิเศษนี้ เราต้องไปกวดวิชา เขียนรูป แต่เป็นสิ่งที่เราชอบ แต่เด็ก เราไปเรียนกับอาจารย์มานิต อาจารย์มาโนช ตอนนี้ทำงานรับผิดชอบอะไรอยู่บ้าง อาจารย์มานิตให้กำลังใจเราว่าเขียนดีกว่าเด็กช่างศิลป์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท อโยธยาเทรด และ เสียอีก ค่อยๆ เขียนไปแล้วกัน คนอื่นเขียนเร็ว เราเขียนช้า เป็นหุ้นส่วนก่อตั้ง บริษัท โยธกา อินเตอร์เนชั่นนอล และ เขียนค่อยๆ เก็บ เรียนครึ่งปี เขียนได้ภาพเดียว ได้อาจารย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหัสชา บริษัทออกแบบ ดี ให้พื้นฐานศิลปะค่อนข้างดี แล้วพอถึงเวลาสอบก็ไป ตกแต่งภายใน สอบ โรงเรียนเตรียมแทบไม่มีใครไปสอบเลย โรงเรียน เตรียมก็เชยๆ คนอื่นเขาผมยาว เจ๋งเก๋ากันทั้งนั้น เด็ก ก่อนหน้านี้ มีความสนใจอย่างไรจึงเข้ามาศึกษางานด้านนี้ โรงเรียนเตรียมก็เรียบร้อยกันหมด เวลาสอบคนอื่นเขา ก่อนที่จะมาเรียนออกแบบ ก็เรียนหนังสือ เป็น ออกจากห้องสอบกันหมดแล้ว มีเราออกจากห้องเป็นคน นักเรียนธรรมดา เมื่อก่อนวิชาออกแบบไม่เป็นที่รู้จักของ สุดท้าย ไม่รู้เป็นอะไรเวลาทำงานศิลปะแล้วต้องออกเป็น คนทั่วไป พอดีมีลูกพี่ลูกน้องเรียนสถาปัตย์ที่มหาวิทยาลัย คนสุดท้ายเสมอเลย แล้วไม่เคยเรียน เมื่อก่อนต้องสอบ ศิลปากร ได้แอบไปช่วยเขา เห็นว่าสนุกดี ตอนที่เรียน ลงสีห้องแบบอินทีเรีย ด้วยความไม่รู้เรื่อง ก็เตรียมสี มัธยมเมื่อมีงานศิลปะจะร่วมทำเพราะสนุกดี และเมื่อก่อน โปสเตอร์ซึ่งลงยากมาก แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไรทำให้ผ่าน มีตุ๊กตากระดาษเราจะเป็นคนเขียนเสื้อผ้าใส่ ทำให้คนอื่นๆ มาได้ วิชาที่ตลกอยู่อย่างคือ ให้ออกแบบแสตมป์ และ เป็นประจำ เวลาเรียนที่โรงเรียน ภรรยาอาจารย์เปรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับดนตรีไทย ไม่มีอะไรให้ดูสักอย่าง ต้อง อาจารย์ติ๋ว มาฝึกสอนมาให้กำลังใจ เมื่อเวลาที่มีการบ้าน นึกเอาเองว่าขลุ่ยเป็นอย่างไร จะเข้ ซอ ไม่มีวัตถุดิบ เกี่ยวกับศิลปะ เพื่อนๆ ก็มาขอให้เราทำให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ อยู่ในหัวสมอง แต่ด้วยความฟลุ๊กที่จะได้เรียน เพราะด้าน เราทำได้คล่องตั้งแต่เด็ก ก็เลยชอบแบบนี้มาตลอด เมื่อ ล่างของโรงเรียนติวของอาจารย์มาโนชเป็นแกลอรี่ เมื่อ ก่อน ม. 7 ม. 8 มศ. 4 มศ. 5 ก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราเข้าไปทุกวัน เราจะได้เห็นรูปปั้นขลุ่ยทิพย์ เห็นทุกวัน เรียนอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาศิลป์-คำนวณ ซึ่งจริงๆ เลย เลยเขียนลงไป ทำสงสีลงไป สุดท้ายก็ทำให้เราเข้า แล้วอยากเข้าคณะสถาปัตย์ ชอบ อยากทำงานด้านนั้น ได้คณะมัณฑนศิลป์ มากกว่า ไม่รู้จักคณะมัณฑนศิลป์ มารู้จักก็ปีสุดท้ายว่า มีคณะมัณฑนศิลป์ด้วยเหรอ แล้วก็มีรุ่นพี่ที่เรียนอยู่ที่ ตอนเรียนถือว่าเรียนเก่งไหม มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตย์บอกว่า เข้ามัณฑนศิลป์ พี่ได้เกียรตินิยมอันดับสอง แต่ไม่ใช่ว่าเก่ง แต่เป็น เหอะ เพราะว่าเราเรียนศิลป์-คำนวณ ถ้าสมมุติเราจะไป เพราะว่าเพื่อนทั้งหลายมาจากโรงเรียนศิลปะส่วนใหญ่ สอบคณะสถาปั ต ย์ ที่ ตั้งใจไว้เราต้องไปเรียนกวดวิชา สอบกันมาหลายปี แก่กว่าเราเป็นสิบปี รุ่นหนึ่งมีไม่กี่คน เยอะเลย กลศาสตร์อะไรต่างๆ นานา แล้วแต่ก่อนก็มี เข้ามาพูดถึงวิชาศิลปะ เราสู้คนอื่นไม่ได้ สิ่งที่ได้เต็มร้อย สถิตินักเรียนที่ไปสอบเข้าประมาณ 100 คน 1 คนถึงจะ คือวิชาภาษาอังกฤษ แต่ไม่ใช่แบบเต็มร้อยจริงๆ นะ เพราะ
อาจารย์สอนเพียง is am are ที่ศิลปากรวิชาพวกนี้จะ ไม่เข้มมาก หลักสูตรเมื่อก่อนที่อาจารย์ศิลป์วางไว้จะดี มาก ตอนสัมภาษณ์อาจารย์จะถามว่าชอบฟังเพลงอะไร เพราะก็ตอบไปนี้ นั้นโน้น เพลงคลาสสิก ชอบรูปภาพอะไร ของใคร ซึ่งจริงๆ แล้วเรามีความสนใจอยู่แล้วเราก็ตอบได้ และเวลามาเรียนก็มีวิชาปรัชญาซึ่งต้องเรียน และวิชาที่ เกี่ยวกับศิลปะอื่นๆ ไว้เป็นพื้นฐาน ต้องเขียนดรอว์อิ้ง ตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสุดท้าย วิชาดรอว์อิ้ง เพนท์ติ้ง สคัลป์ เจอร์ ต้องเรียนทุกวิชา เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะทำให้เรา เข้าใจงานศิลปะว่าความงามอยู่ตรงไหน ซึ่งมันเป็นสิ่ง สำคัญของคนทำงานออกแบบ ว่าต้องเข้าใจว่าความงาม อยู่ตรงไหนและมันเป็นงานสามมิติ ไม่ใช่เพียงดรอว์อิ้ง คือได้จับได้อะไรด้วย หลักสูตรที่เรียนมีหลากหลายทั้ง กราฟฟิก และเซรามิก เป็นการเรียนทุกอย่างแล้วค่อยมา แยกปีสอง ปีสาม แต่ทุกคนเมเจอร์เป็นอินทีเรีย เมื่อก่อน ไม่มีสาขาย่อยทุกคนเรียนเหมือนกันหมดยกเว้นวิชาโท มีปั้น มีกราฟฟิก เซรามิค และโปรดักท์ดีไซน์ อาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต สอนเพนท์ อาจารย์เปรื่องจะสอน วิจัย ศิลปะไทย มีการทำรีเสิร์ช ซึ่งวิชาเหล่านี้จะเป็น สิ่งที่ดี ทำให้เราได้เรียนรู้ศิลปะไทย มีไปต่างจังหวัด ไปดู ชีวิตความเป็นอยู่ อะไรคือความงามในชนบท ตัวอาคาร สถาปัตยกรรม วัดวาอาราม บ้านเรือน ของวัด ของวัง ของ ชาวบ้านเราได้เรียนหมด โดยไปสนุกๆ อาจารย์เปรื่อง ก็โหดเหมือนกัน ให้ไปดูแล้วแกะไม้ เกือบตก เราทำไม่ได้ แต่ที่ให้ทำเพื่อให้สัมผัสศิลปะไทย เรื่องตู้ เรื่องหัวโขน เรา ได้เข้าไปศึกษาหมด ตอนที่จบมาทำงานออกแบบภายในเป็นเวลานานไหม ตอนที่จบแล้วไปเรียนคณะสถาปัตยกรรม ปริญญา บัตรขั้นสูงด้านสถาปัตยกรรมไทย อาจารย์เสนอ นิลเดช เป็นผู้สอน จะมีการสอนเรื่องอาคารสิ่งก่อสร้างที่เป็น
93
เกือบได้เกียรตินิยมแกถามว่าจะเอาไปทำไม ประมาณว่า สมัยก่อนการเรียนมีการรบราฆ่าฟันตลอดทาง เมื่อให้ นักการมาดูจริงๆ เราได้ A แต่ไปกรอกให้เรา B ซึ่ง เป็นข้อคิดให้เราต้องสู้ นักเรียนทั้งหลายกรุณาสู้ต่อไป อย่ายอมระบบ และเวลาเรียนให้รุ่นหลังเลย เราต้องช่วย ตัวเองอย่างอมืองอเท้าให้อาจารย์รังแก สมัยก่อนมีพี่กล้วย อีกคนเวลาเรียนชอบอ่านหนังสือกลศาสตร์ซึ่งเราก็ว่า จะบ้าเหรอ อ่านไปทำไม เรื่องวิทยาศาสตร์นอกโลก ไอ้ วิชากลศาสตร์ คนนี้ฝ่าฟันรบรากับอาจารย์ตลอดระยะ เวลาที่เรียนมาและก็ได้ดี แสดงออกอย่างนั้นตั้งแต่สมัย เรียนแล้วแน่นอน อยู่ว่างๆ จนกระทั่งเมื่อไร ก็ทำนะ ทำอินทีเรียตั้งบริษัทขึ้นมา พอดีเพื่อนที่ ทำบ้านให้ เขาเรียนสถาปัตยกรรมที่อเมริกา ออกแบบ บ้านตัวเองไว้ และโยนงานมาให้ทำ เมื่อกลับมาตอนนั้น ทำงานทั้งสถาปัตยกรรมและอินทีเรีย รวมทั้งรับเหมา ตกแต่งภายในด้วย ศาสนสถานเราชอบอาจาย์มาก เพราะบรรยายพร้อมเขียน ด้วยมือซ้ายและมือขวา เราจดและสเก็ตช์ไม่ทัน เรามอง ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก และเป็นอะไรที่เราชอบ เราเลย ได้ไปเรียนพร้อมพี่รักษ์ แต่เรียนไม่จบ เมื่อจบมาแล้วได้ทำธุรกิจร่วมกันกับคุณสุวรรณเลย หรือเปล่า ไม่เลย อีกนาน เพราะหลังจากที่เรียนจบแล้วก็ไป เรียนสถาปัตยกรรมภายใน ก่อนหน้านั้นไปสมัครงาน ทำงานแล้ว แต่พบว่าไม่ชอบการทำงานอินทีเรีย สมัย ก่อนอินทีเรียอย่างแพงเงินเดือนสามพัน ปกติอยู่ที่สองพัน ที่พูดนี่เมื่อสามสิบปีที่แล้ว เมื่อไปทำงานแล้วเหมือนติด คุก จะมีหัวหน้างานมาดูว่าเราทำงานหรือเปล่าเวลาเรา ทำงานไปแล้วต้องทำท่าเหมือนทำงานไปด้วย แต่เราเป็น คนที่รักอิสระมาก แล้วทำเราเหมือนนักเรียน เวลาเราไป คุยโทรศัพท์ก็เหมือนมาแอบฟังว่าเราคุยอะไร ช่วงนั้นมี เคอร์ฟิว เมื่อจบแล้วเราก็ไม่กลับไปทำงานอีกเลย บอก ที่บ้านไว้เลยว่า ขอไม่ทำอะไรเลยหกเดือน กว่าจะเรียนจบ ขอพักสมอง เที่ยวเล่นเย็นใจ สมัครงานแล้วก็ไม่ไป เมื่อ เรียนไปแล้ว คุณแม่ไม่สบาย เมื่อเราทำงานอิสระได้เรา เลยขอทำงานอยู่ที่บ้านเลยแล้วกัน ก็ทำหมดทุกอย่าง ทำ อะไรได้ก็ทำ สมัยก่อนนอกจากที่เรียนที่ศิลปากร ก็คือ ศูนย์ศิลปะนวลนาง อยู่ใกล้ๆ หอศิลป์ พีระศรี ซอย หัตถการประสิทธิ์ ตรงนั้นจะเป็นเซ็นเตอร์ที่ศิลปินอยู่ มีที่ ทำงาน คุยกัน และมีคอนเสิร์ต อาจารย์อวบ สาณะเสน เป็นเจ้าของศูนย์ศิลปะนวลนางอยู่ สมัยนั้นก็มีอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งเมื่อเราว่างจากศิลปากรก็จะไปที่นั่น ว่าง ก็ไปเรียนคลาสสิคอลกีตาร์บ้าง เรียนตัดเสื้อบ้าง ปีละ อย่าง อยู่ไม่สุขว่าอย่างนั้นเถอะ ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จะมีสังคมแปลกๆ อยู่ ตั้งแต่เด็ก ไปเจออาจารย์อวบ นั่ง เขียนกระเบื้องอยู่ เราก็เข้าไปนั่งเขียนกระเบื้อง เพราะงั้น 94
ตอนที่อิสระอยู่บ้านเราก็นั่งเขียนกระเบื้องไป ใครอยากซื้อ เราก็ขายไป ใส่กรอบให้ มีเพื่อนโยนงานออกแบบบ้านให้ เราก็ทำไป เรียกว่าทำออฟฟิศเอง ตอนที่เรียนเป็นแอคติวิส เพราะเมื่อก่อนอาจารย์ชอบมั่ว มาตอนเช้าให้งานแล้วก็ หายไป มารับตอนเย็นแล้วก็หายไป เมื่อก่อนจะมีวิชา หนึ่งที่เรียน เรียกวิชานี้ว่า Carpentry ทั้งเทอมอาจารย์ จะมาเพียงสองหรือสามหน พอถึงเวลาสอบเราจะสอบ ยังไง เราแอนตี้ไม่สอบ ร่างจดหมายพร้อมเพื่อนๆ ทั้งชั้น เลย เซ็นทุกคน ไม่สอบเพราะอาจารย์ไม่มาสอน วิ่งเต้น ทั้งคณะเลย โดนหลอกว่าหากไม่สอบต้องตกทั้งชั้น พี่ก็ บอกว่าได้เลยตกทั้งชั้นเลยก็ได้ อาจารย์ก็ไม่กล้าให้ตก ในที่สุดเราก็ต่อรองกับเขาว่าทำรีพอร์ทแล้วกัน จะบอกว่า ตั้งแต่เรียนเนี่ยรุนแรงตลอดเพราะแต่ก่อนสมัยอาจารย์ จักร ซึ่งได้ชื่อว่าดุและโหดมากเราเจอปีสอง พอตรวจงาน ก็จะโยนๆ มาไม่มีการคริติคงานเลย ได้แต่คะแนนมา เราก็สงสัยว่าอาจารย์ช่วยวิจารณ์หน่อยได้ไหม ทำไม เพื่อนคนนี้ได้คะแนนเท่านี้ อาจารย์เขาก็ถามว่าชื่ออะไร จดชื่อไว้เลย โดนจดชื่อตั้งแต่เด็กจนจบ เจออาจารย์ นิรันดร์ สมัยก่อนพี่เขียนหนังสือบ้านและสวนซึ่งเพิ่งเกิด อยู่ที่ซอยประสานมิตร พี่เขียนคอลัมน์ลง เราเขียนอย่าง คนชอบเรียน เข้าห้องสมุด และอ่านภาษาอังกฤษได้ก็ไป อ่านตำราและนำมาเขียนลงหนังสือ และบอกว่ามีโอกาส เรียนมหาวิทยาลัยแต่ไม่รวู้ า่ วิชานีเ้ กีย่ วกับอะไร เลยค้นมา พอดีเราเรียนปีสี่ อาจารย์นิรันดร์ก็มาถามเพื่อนว่าภาวิณี เรียนหนังสือดีหรือเปล่าไปแอบถามเพื่อน เพราะแกได้ชื่อ ว่าโหดเหมือนกัน แต่ไม่กล้าเล่นภาวิณี เราก็เอาตัวรอด ได้ คือว่าเรามีลักษณะเช่นนี้ไม่ยอมอยู่เฉยๆ หาความรู้ ไปเรื่อยๆ แล้วก็อาจารย์เกลียดมากเลย ตอนเรียนจบเรา ไปดูคะแนน อีก 0.2 คะแนนเราจะได้เกียรตินิยม วิชา ปรัชญาเราน่าจะได้คะแนนดีกว่านี้ พอเจออาจารย์นิรันดร์ ก็เข้าไปขอดูคะแนนอาจารย์ถามว่าดูทำไม เราบอกว่าเรา
เริ่มสหัสาชาก่อนเลย ใช่ค่ะ แล้วเริ่มโยธกาไดอย่างไร โยธกานั้นมาที่สอง คือว่าสมัยก่อนคุณสุวรรณเป็น เพื่อนซี้ตั้งแต่เรียน และเป็นเพื่อนทำกิจกรรมสมัยก่อน เราทำงาน Gift Festival เราทำอลังการ เราไปติดต่อ องค์การป่าไม้ว่าเราต้องการใช้ไม้ออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อนำมาขาย เราติดต่อภายนอกเลย ทำคอร์เนอร์ ทำ อินทีเรีย ทำแบบงาน BIG เริ่ม B&O ตั้งแต่เรียน หนังสือ เราก็ฮือฮาและก็ขายดีจริงๆ ทำมาตั้งแต่ปีหนึ่ง เป็นกรรมการนักศึกษาไปด้วย เป็นหัวหน้าคณะผู้หญิง พี่รักษ์เป็นหัวหน้าคณะผู้ชาย ระหว่างเรียนด้วยเล่นด้วย ทำให้เกิดแนวคิด และเราสามารถนำไปใช้ในชีวิตต่อๆ ไปคล่องตัวขึ้น รวมทั้งเรามีเพื่อนต่างคณะเยอะ เพื่อน ข้างนอก ข้างในเยอะ ตอนเรียนจบพี่รักษ์ไปใช้ชีวิตต่าง ประเทศ ทำงานสิงคโปร์ ตั้งบริษัทที่สิงคโปร์ ด้วยความ สนิทกันเมื่อกลับมาประเทศไทยก็จะกลับมาคุยกัน สั่ง เฟอร์นิเจอร์ให้หน่อย เอาแบบไปทำให้หน่อย อะไรเช่นนี้ ให้ส่งมาสามสิบตัว แกไปตั้งร้านแก จริงๆ แล้วพี่รักษ์ ชอบการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่ตอนทำทีสิส ยุคนั้น อาจารย์จรูญบอกว่าอยากทำทีสิสอะไรก็ได้ ไม่ได้ทำ เดี่ยวๆ พี่ทำกับพี่กล้วยเพราะไม่มีใครเขาเอา พี่รักษ์ ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งชิ้นหนึ่งเป็นเก้าอี้ พอดีเราเจองานที่ ส่งเสริมแต่ละคนด้วย ตอนพี่รักษ์รู้ว่าเราทำงานผักตบ ชวา เลยบอกให้มาดูเอ็กซิบิชั่นนะ พี่ไปช่วยทางด้าน ออกแบบให้ทางมูลนิธิ ชื่อ World’s Women Banking เป็นของพวกแบงค์เกอร์ที่เป็นผู้หญิงจะมีหน่วยงานออก ไปช่วยเหลือชาวบ้าน เช่น การเลี้ยงโคนมแล้วเอามาทำ ชีสหาตลาดให้ว่าจะส่งยังไง ตอนนั้นไปจับตลาดหนึ่งที่ จังหวัดพะเยา บอกว่าทำอย่างไรให้ตะกร้าไก่ที่เป็นรูปไก่
เอาไปทำเป็นอย่างอื่นได้ เพื่อให้ทางหมู่บ้านมีรายได้มาก กว่าเดิม โจทย์เราได้มาเป็นตะกร้าไก่อยากทำอะไรใหญ่ๆ ทางโน้นให้โจทย์มาว่า ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ไหมจะได้ใช้ วัตถุดิบเยอะๆ พี่เองเห็นผักตบตามคลอง แต่ไม่เคยเห็น เอามาเล่นเป็นต้นเลย ตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลาสองปี เริ่มตั้งแต่นำมาดูว่า เส้นหน้าตาเป็นยังไง เราไปวิ่งตามกระทรวงต่างๆ ว่าหา ได้ที่ไหน ใครถักทอเป็นมั่ง ให้สถาบันวิจัยของเกษตร ไปศึกษา ได้ทุนไปทำวิจัยว่าจะทำอย่างไรไม่ให้มีเชื้อรา ตรงนั้นใช้เวลาสองปี พี่ก็ลองออกแบบต่างๆ กับโครง ต่างๆ เอามาเย็บเป็นผืน เอามาทำเป็นฝาตู้ ใช้โครงเหล็ก โครงหวาย ทดลองกับวัสดุต่างๆ ออกมาเป็นห้าเซ็ตให้ ทางองค์กร สทส.นีไ้ ป แสดงนิทรรศการทีโ่ รงแรมแชงกริลา่ พี่รักษ์มาดูแล้วรักมากมันสวยเหลือเกิน ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมาจึงหาทางว่าจะทำอย่างไรจะขายได้ ซึ่งสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ทำการค้าขายเป็น แต่เราทำค้าขายไม่เป็น โดยนิสัยแล้วก็ภาษาไม่ดี ไม่สามารถติดต่อออกตลาด ต่างประเทศได้ พี่รักษ์กลับมาและตั้งร้านที่ชั้นสอง เพ็นนินซูล่า ชื่อสุคันธบุตร เป็นหนแรกที่มีเฟอร์นิเจอร์ผักตบชวาขาย ทาง สทส. ทำแค็ตตาล็อกขายด้วย และทางพี่ลักษณ์ก็เริ่มต้น ที่จะออกแบบเป็นแบบอื่นๆ นอกจากที่พี่ทำ พี่ไม่ถนัด
นักเรื่องเฟอร์นิเจอร์ พอเล่าแล้วคนอื่นๆ จะแปลกใจมาก ว่าสถานการณ์ประเทศไทยเป็นอย่างไร ตอนนั้นจะไม่มี บริษัทที่ขายของแต่งบ้าน น้อยมากๆ มีอยู่สักไม่ถึงสิบแห่ง ห้าแห่ง ของแต่งบ้านรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ แต่ก่อนจะเป็น โกทำ จะเป็นพวกร้านเฟอร์นิเจอร์ทำหน้าร้าน จะเป็นหน้า ร้านบนถนนสุขุมวิท ก็จะมีร้านส่วนใหญ่เป็นร้านหวาย เฟอร์นิเจอร์ที่ออกเป็นจีน เฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่จะทำอะไร ก็ต้องเขียนแบบเอง ตั้งแต่ที่เรียนมางานอินทีเรียเป็นงาน ที่ลำบากมากเพราะต้องออกแบบเอง ทั้งบิลท์อิน ทั้งลอย ตัว ทุกคนทำได้ ผู้รับเหมาทำไป เราไม่มีเฟอร์นิเจอร์ดีๆ ใหม่ๆ ใส่ไว้ในโครงการ เมื่อก่อนก็จะมีบริษัทมีดี โผล่มา บริษัทหนึ่งซึ่งจะเป็นหนัง เพราะงั้นมันถือว่าเป็นยุคบุกเบิก มาก ๆ อินทีเรียผู้หญิงแทบไม่มีเลย แทบเป็นผู้หญิงที่ตั้ง บริษัทและทำอยู่คนเดียว นอกนั้นทำบริษัท Liphenberg, Abacus อะไรอย่างนี้ นอกนั้นเป็นเฟิร์มใหญ่หน่อย ช่วงปี 1996 มีช่วงต้มยำกุ้ง ธุรกิจโดยรอบเรา โดยเฉพาะบริษัทดีไซน์รอบๆ ตัวเราเริ่มไม่ไหว เยอะแยะ เลย พวกทำงานกราฟฟิกย่ำแย่หมด อินทีเรียก็แย่ อาร์คิเทคก็แย่ พี่เองมีร้านที่เกษรพลาซ่าเป็นร้านขายของ แต่งบ้านสไตล์โอเรียลทอล และโยธกาก็ดำเนินการอยู่แล้ว ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เมื่อก่อนมีแต่ต่างชาติเข้ามา ซื้อของ ต่างชาติต้องไม่เข้ามาแน่ๆ เลย เพราะงั้นเราก็เลย
เดิมทีโยธกาออกบูธอยู่แล้ว อโยธยาออกบูธด้วยดีกว่า เรา ขายของออกไปเมืองนอกดีกว่าลองออกงานดูสักทีเพราะ ไม่รู้จะทำอย่างไร ในขณะนั้นตอนที่เรารวบรวมเป็นดีไซน์ อ๊อปเจ็กท์ เมื่อก่อนมีดีไซน์ทำงานและออกงานพร้อมกัน ในปีนั้นพี่มีเวลาเตรียมตัวสองเดือนก็ลองออกไป เรามี พื้นฐานอยู่แล้ว เรามีช่างอยู่แล้ว เพราะงั้นเราสตาร์ทพวกนี้ จะไม่ยาก โดยเราเริ่มจากการนำผักตบชวามาทำเป็นของ เล็ก แล้วก็ออกบูธหนแรกเลย ซึ่งออกที่ศูนย์สิริกิติ์ ปีแรก ที่เราออกก็ตลกดี ของกรมส่งเสริมฯ เราจะไปอยู่ในหมวด อะไร มันไม่มีหมวด ข้าง ๆ ขายตุ่ม อีกข้างขายจิวเวลรี่ ข้างหน้าขายต้นไม้ปลอม เพื่อนอีกคนขายของมีดีไซน์ เหมือนกัน แต่ไม่รู้อยู่ท่ามกลางอะไรนะ ไม่มีแคตตากอรี่ เลย แต่ก็เพราะดวงดีมีเจ้าหน้าที่เยอรมันจัด Worldtrade และบอกว่าขอเลือกของยูไปออกงานที่เทเดนเซ่ เยอรมัน ได้ไหม เราบอกได้ ไป ตอนนั้นเขารวบรวมไปได้ ตอนนั้น เขาทำเรื่องผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของเรา ก็เข้ากระบวนของเขาพอดี และภายหลังก็มีบริษัทที่เข้า กลุ่ม B&O ก็ไปด้วยกันทั้งหมด 4-5 บริษัท ดังนั้นจึงเป็น ประสบการณ์ว่า อโยธยาออกงานครั้งแรกก็ไปออกงาน ต่างประเทศต่อเลย มีประสบการณ์ออกงานต่างประเทศ โยธกาไม่ได้ไปออกแต่มีลูกค้าอยู่แล้ว มีลูกค้า มีเอเจนท์ เราก็เลยติดลมบนไป ก็ทำไปเรื่อยเลย ทีนี้กระแสเศรษฐกิจ ตกต่ำยุคนั้นการที่เราไปขายของในงาน BIG เราก็จะเจอ ดีไซเนอร์หลายคนเลย เราก็คิดว่าเราน่าจะลองดู เมื่อเรา ไปออกแฟร์ต่างประเทศนั้นกว่าลูกค้าจะแหวกมาเจอ เรานั้น ไม่รู้ว่าต้องเจออะไรมาแล้วบ้าง เดินชั้นบนชั้นล่าง แคตตากอรี่ก็ไม่มี เราก็ปรึกษาพี่สุวรรณ ว่าเราชวนกันดู ไหมที่ข้างๆ กัน ตอนแรกก็มีคุณตุ้มที่ทำเซรามิคเป็นงาน พรินท์ ตอนแรกก็รวมได้ 3 บริษัทและไปขอพื้นที่กรมฯ ว่าเราอยากมีพื้นที่ของเราเอง แล้วก็ตั้งชื่อกันว่าเป็นกลุ่ม
95
Design & Object กรมฯ ว่าไปเปลี่ยนเป็นอะไรที่มี พลังหน่อยได้ไหม ทีหลังมาคุยจะได้มีหลักฐานพูดให้เป็น สมาคมหลังจากที่เราทำไปแล้ว จำไม่ได้ว่ากี่ปี กรมฯ เห็น ผลงานเราดีมาก เพราะว่าลูกค้าเมื่อก่อนต้องเข้าคิวเพื่อ จะเข้าร้านเราแล้วเราจัดไว้สวยมาก แต่ก่อนนั้นดีมาก แต่ ระยะหลังนั้นเริ่มมีปัญหาจากเมืองจีนที่เปิดประเทศมา งานแฮนดิคราฟท์ทำให้เรากระเทือนเยอะเลย ประเทศ ไทยมีผลกระทบเยอะมากจากนั้นก็ต้องมีการต่อสู้กัน เมื่อรัฐบาลจัดงาน OTOP มีผลกระทบไหม OTOP ไม่มีผลกระทบ เพราะ OTOP เป็นสินค้า ที่ไม่มีดีไซน์ แต่ของกลุ่มเรา Design & Object คือ หนึ่ง สินค้าที่มาขายต้องเป็นออริจินอลความคิดสร้างสรรค์ นักออกแบบไทย สอง มีการตกแต่งบูธสวยงาม ไม่ใช่บูธ มาตรฐาน และสามห้ามลอกเลียนสินค้าเพราะเป็นการ ทำลายความคิดสร้างสรรค์เราไม่ต้องการให้สังคมการ ออกแบบบ้านเรามีนิสัยชอบลอกเลียนแบบ เพราะคนไทย ชอบลอกเลียนแบบ เห็นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะลอกแบบ ใครก็ตามทีไ่ ม่รสู้ กึ คนทีม่ าร่วมกลุม่ เราต้องไปทางเดียวกัน OTOP ไม่มีปัญหาเพราะเขาไม่มีแบบ ดังนั้นเขาจะขายได้ แต่ทำราคาไม่ได้ ไม่มีใครรับประกันคุณภาพ สินค้าไม่ได้ มีคุณภาพเหมือนกันทุกล็อต การก๊อปปี้มีตลอด ตอนเรา ไปออกงานต่างประเทศเราโดนก๊อปปี้โดยประเทศอื่น เรา เอาผักตบชวาไปออกงานต่างประเทศปีต่อไปเวียดนามมี ตามมาแล้ว ฝุยและน่าเกลียดไส้ยาวเชียว คือไม่ใช่แค่ใน ประเทศ การลอกเลียนเป็นสากล ในด้านการค้าขายก็ใช้ ทางลัดหมด โดยหารู้ไม่ว่าระยะยาวจะไม่รอด เพราะ ราคาจะถูกลงไปทุกทีๆ ลูกค้าก็ใช้วิธีต่อทางโน้นทีทางนี้ที สุดท้ายก็ทำให้ตลาดพังกันหมด ถ้าคิดไปไกลๆ หน่อย ถ้าเรามีรูปแบบเป็นของตัวเองจะมีตลาดของมัน ไม่ต้อง ไปตัดราคา ลักษณะงานของอโยธยาเป็นอย่างไร เอ่อ...จริงๆ แล้ว คือจะเป็นคนซึ่ง จับตัวผักตบ ชวาตั้งแต่แรก จึงรู้สึกมีความผูกพัน เราพยายามคิดให้ ทะลุทะลวงว่าจะไปได้ถึงไหม อาจเกิดจากสิ่งที่เราเรียน ว่าเรามีความฝันก่อนแล้วกัน เกิดจากการเดินทางเยอะ เห็นเยอะ เราเห็นในตลาดต่างประเทศเขาขายอะไรกัน บ้าง เราต้องมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค มันจะต้องประกอบ กันด้วยว่าเวลาเราคิดอะไรขึ้นมาก็ไม่ใช่คิดขึ้นมาเลย เรา ต้องสร้างโจทย์ในการที่เราจะคิด เช่น เราต้องดู เหมือน รู้เขารู้เรา เห็นว่าเขาขายอะไร ไม่ขายอะไร จุดเด่นคืออะไร จุดด้อยคืออะไร เมื่อเราดูแล้วเราก็เห็นว่าสินค้านี้ยังไม่มีใครมี ด้วย ความซึ่งพี่เองทำงานอินทีเรียดังนั้นจะเห็นว่าการใช้สอย หรื อ เทรนด์ ใ นการตกแต่ ง บ้ า นเพราะเราทำเกี่ ย วกั บ ตกแต่งบ้านอยู่แล้วว่า ปีที่ผ่านมาเราไปหลายที่ เพราะเรา มีวัตถุดิบของเราคือ ผักตบชวา เราจะทำอย่างไรให้เข้า กับโลกปัจจุบันเป็นแฮนดิคราฟท์ที่แตกต่างจากประเทศ จีน เราขายอยู่ใน Habitat เขาทำงานยิบๆ เลยแต่ขาย 96
ถูกมาก เราทำไม่ได้ เพราะงั้นคิดว่าอะไร ก็คิดว่าควรเป็น สิ่งที่ไม่ใช่ทำทีเดียวเสร็จ เหมือนงานแฮนดิคราฟท์ ไม่ เช่นนั้นเราจะไม่ได้มีคู่แข่งแค่ประเทศจีน แต่เป็นลาว เวียดนาม และอื่นๆ และเขาค่าแรงถูกกว่าเราเยอะ เวลา คิดขึ้นมาไม่ใช่แค่ว่าทำอะไร ต้องคิดด้วยว่าผลิตขึ้นมา แล้วขายได้ด้วย เอาไปขายได้ไหม ราคาเท่าไหร่ เรารู้ว่า ออกไปก็ฆ่าตัวตายแม้แค่ตะกร้าอันเดียวยังทำไม่ได้เลย มีแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมไทยในการคิดงานหรือเปล่า ต้องค่ะ ต้องประกอบกัน อาจมาจากไอเดียที่เรา อยากทำให้ได้ก่อนแล้วค่อยมาคิดว่าได้ไหม และเราไปใช้ กับอะไรดี ทำมันกับอะไรดี ผักตบเนี่ยเรามีจุดเด่นใหญ่ๆ ของคนไทยคือ งานที่ทำด้วยมือ พี่เองเป็นคนกรุงเทพ ก็ไม่เคยทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ว่าพี่มีเครื่องกี่เล็กๆ สำหรับทอ ที่โรงทอ ลองทำดูว่าทำได้ไหม ไม่เคยทำ มาก่อน พอลองทำดูก็ทำได้ เพราะงั้นเทคนิคก็เกิดจาก การทำลองสิว่าทำได้ไหม ผักตบเส้นยาวๆ นำมาทำเป็น เส้นเล็กๆ แล้วเอามาสาน เอามามัดมาตัด หน้าตามัน เป็นยังไงบ้าง มัดเป็นดอกๆ แล้วสานด้วยกันไหม เราคิด ขึ้นมาเลยแล้วทำได้ไหม ไม่ได้ เพราะต้องลองทำด้วย เย็บ ทอ ถัก พี่ใช้พื้นฐานของงานฝีมือทั้งหมดในการ ผลิตงาน ตรงนั้นชิ้นหนึ่งปรากฏว่าคิดงานยาก ผลิต ไม่ง่าย ต้นทุนสูง ตรงนั้นคือสิ่งที่ต้องมาแก้ไข ให้คนงาน มาทำไม่ได้ ก็ส่งหมู่บ้านแต่พบว่าแต่ละชิ้น หนา บาง เล็ก ใหญ่ไม่เท่ากันก็ต้องคิดอีกเรื่องการทำบล็อก ดังนั้น สิ่งที่เราเรียนมาก็ได้นำมาใช้คือ วิธีคิด วิธีผลิตอย่างไร ในการทำมาตรฐานในสิ่งที่ทำไม่ได้ได้ไหม ทำบล็อกออก มาให้เป็นเหรียญแล้วนำมาประกอบ สิ่งที่จีน หรือ เวียดนาม ไม่ทำคือการประกอบหลายชั้น เพราะงั้นงานเราจึงไม่ เหมือนใคร งานเราทำราคาได้ มีตลาดที่ไม่ซ้ำกันคนอื่น แรงบันดาลใจเกิดจากอะไร พี่คิดว่าอยู่รอบๆ ตัว เช่น วันหนึ่งเห็นงานเซรามิค ในหนังสือพิมพ์ที่มีลวดลายขูดขวางๆ เราก็เห็นว่า Texture มันสวยก็คิดว่าผักตบทำได้ไหม ก็ลองขึ้นโครง ให้เทคนิค ดูว่าทำได้ไหมปรากฏว่าทำได้ เกิดเป็นความซ้ำ ทำให้เกิด เท็กซ์เจอร์ที่เราต้องการได้แล้วมาดีไซน์งานลงไป จริงๆ เราคิดเป็นตั้งแล้วค่อยมาเลือกใช้ จากการเอ็กซ์พลอร์ เรา ก็พบว่ามันไม่มีที่สิ้นสุด ผักตบชวานี่ทำมาเป็นสิบปีแล้ว เล่นนี่ๆ นั่นโน่นก็ได้ เพียงแต่ว่าเมื่อถีงเวลาผักตบชวา หรือเฟอร์นิเจอร์ เราเป็นเจ้าแรกในโลกที่นำไปออกงาน ในฝรั่งเศส เจ้าแรกในโลกและทั้งโลกก๊อปปี้เรา ทำให้เรา ภูมิใจมาก ลูกค้าบอกว่าผักตบชักเกลื่อนไปแล้วนะและ ตลาดก็มีคู่แข่งเยอะ เราก็ต้องช่วยลูกค้าสร้างตลาดใหม่ เพราะอย่างเดิมไม่รอดแล้ว ทางพี่ลักษณ์ก็พยายามหา วัสดุอื่นต่อไป ตั้งแต่ลิเภา บ้านเราวัตถุดิบเยอะ สถาบัน วิจัยก็มี แต่เราไม่สามารถนำสิ่งเหล่านี้มาร้อยเข้าด้วยกัน ได้ เผอิญว่าพี่มีโอกาสไปช่วยงานเขา นี่กลายเป็นผลพวง ต่อมา แต่จริงๆ ใครที่มีโอกาสเข้าไปใช้วัตถุดิบอื่นจะดีมาก ฟิลิปปินส์เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากเขามีสถาบัน
วิจัยเส้นใยเพื่อทำให้เป็นประโยชน์ ของเราต่างคนต่างทำ ไม่มีการนำมารวมกันนักคิดก็คิดของใหม่ วิจัยตัวเส้นใย แต่ไม่มีใครนำเส้นใยที่เขาคิดนำมาสร้างสิ่งอื่น หากทำ สิ่งอื่นได้ก็ทำ แต่ตัวนึงก็ใช้เวลา ก่อนที่จะให้ผล ทีนี้น้องๆ ถ้ า มี โ อกาสก็ อ ยากให้ หั น กลั บ มาดู ข องในบ้ า นเรามี เยอะแยะเพียงแต่เราจับมาได้ไหม เช่น กฐินยักษ์ พี่เห็น แล้วอยากทำ มันขึ้นเร็วมาก และเป็นอะไรที่รบกวน ชาวบ้านเป็นวัชพืชขนาดใหญ่ที่มีกิ่งก้าน พี่ว่ามันมหัศจรรย์ นะ แต่เห็นแล้วไม่มีปัญญาทำแล้วหมดแรง เพราะทางนี้ เราเอ็กซ์พลอร์ไปหลายตัวแล้ว อโยธยานอกจากผักตบ แล้วเราก็มาลองจับตัวใหม่ๆ เช่น PV เป็นตัวรีไซเคิล พลาสติกและตัวที่เป็นกระดาษแต่ทั้งหมดเกิดจากโจทย์ เนื่องจากกรมส่งเสริมฯ ให้ทำงานเอ็กซิบิชั่นของพวกงาน ดีไซน์ พี่คิดว่าทำอะไรก็ตามทีต้องมีธีม สิ่งที่เราทำมา ตลอดเลยคือ เรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ รีไซเคิล เราใช้ผักตบชวา PV เราคิดว่าจะรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน พี่ต้องทำดิสเพลย์ ก็เลยคิดว่าจะทำรวมกันทั้งห้องเลย เรา ใช้อะไรดี ทีแรกจะใช้กระดาษสัปปะรดที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ มาทำดิสเพลย์ แต่ปรากฏว่าราคามันแพงมากเกินงบ ประมาณ พี่เลยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แล้วกัน ออกแบบ ไปให้ผู้รับเหมาไปทำ สวยมาก เหมือนหมาไทย ความด่าง เซคชั่น ทุกคนเสียดายว่ามันสวย มีคนมาตามซื้อแท่น ดิสเพลย์ขอเอาไปต่างประเทศเพื่อเอาไปตั้งร้าน อนาคตมีโครงการอย่างไรบ้าง ตอนนี้ จากหนังสือพิมพ์แล้ว ก็ไปทำสิ่งที่ใช้มือ คือ หนังสือคนงานเราทำได้อยู่แล้วเหมือนปกหนังสือ ก็ เลยนำความรู้นี้มาทำกระดาษสา เอามาทำโคมไฟ เพื่อ นำไปออกงาน Maison พี่ลักษณ์ชอบบอกว่าทำอย่างไร โคมไฟนี้โดยไม่ใช่ผักตบชวา พี่เลยไปทำไดคัต กระดาษ และต่อด้วยมือ หาวิธีจับร้อยด้วยกันเป็นโคมไฟ พี่นำไป ออกงานที่สิงคโปร์เมื่อตอนต้นปี และทาง Fendi ก็มา สั่งซื้อไปบอกจะไปใส่ในคอลเลคชั่น Valentino และพี่ก็ ออกสินค้าใหม่อีกตัวหนึ่ง มันจะเป็น ตะไคร่ มอส ทำ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ชื่อว่า Single Garden ซึ่งหน้าโต๊ะใช้มอส แห้งที่ใช้ในร้านจัดดอกไม้ทั่วไป แต่เรานำมา Apply กับ เฟอร์นิเจอร์เพื่อให้เข้ากับธรรมชาติ ทาง Fendi ก็ขอซื้อ ไปเพื่อนำไปใส่ใน Collection ของ Kenzo ซึ่งยังไม่แน่ใจ ว่าเอาไปใส่จริงหรือเปล่า แต่ซื้อไปแล้ว ซึ่งตัวงานก็ยัง ต่อเนื่อง เรื่องวัสดุธรรมชาติ ทำด้วยมือไทย ๆ ของเรา สติปัญญาคนไทยทำออกตลาดสากลได้ ออกงาน โตเรลดีไซน์ ที่ LA ที่ผ่านมาเมื่อสองสามเดือนนี้เพราะงั้น อยากให้กำลังใจกับนักออกแบบรุ่นหลังว่าหากไม่อยู่กับที่ สนุกกับงานที่ทำ พยายามหาแนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ ของ ดีของเรามีอยู่แล้ว แต่ช่วยหยิบจับออกมาให้คนอื่นเห็นให้ เห็นว่าดีไซน์เนอร์ไทยมีความสามารถ ดีทั้งแนวคิดและ รูปแบบ ดีทั้งตลาดด้วย เราต้องค่อยๆ รุกคืบให้นานาชาติ เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ ซึ่งในเอเชียก็เห็นว่าดีไซน์เนอร์ไทยนั้นเก่ง
97
มารวย ดุษฎีสุนทรสกุล Maruay Dusdisunthornskul
Emerging Award 2009
“นักออกแบบต้องมีความอดทนสูงมาก ต้องพยายามดันงานตัวเองสุดๆ พยายามเสนอผลงานเยอะๆ และเลือกส่งในสื่อที่ถูกต้อง”
มารวย ดุษฎีสุนทรสกุล เป็นนักออกแบบที่เรียน มาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มารวยเริ่มฉายแววในวิชาชีพด้วย การส่งผลงานเข้าร่วมประกวดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัย ยังเป็นนักศึกษา การได้รางวัลมาครอบครองตั้งแต่สมัย เรียน มีผลไม่น้อยที่ทำให้มารวยคิดว่าได้เดินมาถูกทาง กับวิชาชีพนักออกแบบ ผลงานโคมไฟ ที่ใช้หลักการเรื่องของแสงและเงา สร้างความน่าทึ่งให้แก่กรรมการไม่น้อยในการคัดสรร รางวัลนักออกแบบแห่งปี (Designer of the Year 2009) และในปีนั้นมารวยก็ได้รับรางวัล Emerging Designer มาครอง ถือเป็นการตอกย้ำความมั่นใจว่าจะเดินในทาง สายนี้ไปให้สุดทาง เพื่อความฝันหนึ่งในใจตอนนี้ที่หวังจะ มีแบรนด์เป็นของตัวเอง เหมือนอย่างที่นักออกแบบรุ่นพี่ๆ ได้กรุยทางใว้เป็นตัวอย่าง ปัจจุบนั มารวยได้ทำงานเป็นนักออกแบบ ในบริษทั เฟอร์นิเจอร์ของรุ่นพี่จากรั้วสถาบันเดียวกัน ในตำแหน่ง นักออกแบบ รวมถึงการช่วยเหลืองานทั่วไปตั้งแต่การดูแล 98
ความเรียบร้อยของหน้าร้าน ไปจนถึงงานขาย เรียกว่า ประสบการณ์ขวบปีแรกของนักออกแบบหน้าใหม่ ต้องทำ ให้เป็นในทุกๆ อย่าง หากจะว่าไปแล้ว มารวยก็คงเปรียบเสมือนน้อง เล็กของวงการ ที่มีจุดสตาร์ทที่ดีกว่าเพื่อนร่วมรุ่น จาก รางวัล และความมั่นใจในชัยชนะที่เคยได้รับ หากขาดแต่ ประสบการณ์ที่ยาวนานเหมือนกับนักออกแบบรุ่นใหม่รุ่น พี่ๆ ซึ่งในวิชาชีพนี้ ใครๆ ก็ตระหนักดีว่า ประสบการณ์ ที่ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว ถือเป็นจุดสำคัญที่จะช่วย สร้างเสริมความแข็งแกร่งในงานชิ้นต่อๆ ไป เรื่องนี้อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของนักออกแบบที่มี ความมุ่งมั่น ความสนใจใคร่รู้ และความอดทนเช่นมารวย หากใครเคยได้ยิน “คำถาม” ของมารวย คงพอจะจับ สัญญานได้บ้างว่า นักออกแบบคนนี้ มี “ไฟ” และแรง ปรารถนามากเพียงใดที่จะยืนหยัดอยู่ในวงการให้ได้ แล้ว “คำตอบ”จากปากของมารวยเล่า จะบ่งบอกถึงเป้าหมาย เดียวกันได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ลองฟังจากปากน้องเล็ก คนนี้ดู
อะไรทำให้เราอยากมาเรียนด้านการออกแบบ ตอนแรกต้องเท้าความว่าเป็นคนชอบวาดรูป แต่ ผมก็เรียนมาทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพราะฉะนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนการผสมสองสิ่งเข้าด้วย กัน และผมชอบการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่สเกลที่ใหญ่มาก เลยไม่ได้เลือกสถาปัตยกรรม เปลี่ยนมาโปรดักท์ดีไซน์ ดีกว่า เราคุมได้มากกว่า เข้าสู่วงการออกแบบ ก็ตงั้ แต่เรียนจบ ผมจบมาได้ปหี นึง่ แล้ว ผมเริม่ เป็น ดีไซเนอร์ออกแบบมาตลอด ทำงานกับพวกพี่ๆ ที่รู้จักกัน ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อย่างที่ ใจเราหวัง ผลงานที่เราได้รับรางวัลหรือสร้างชื่อ คงเป็นโคมไฟชื่อ light & shadow มันเป็น โคมไฟติดผนัง ทีนี้เวลาเปิดไฟเงาที่ทาบออกมาจะเหมือน โคมไฟที่ตั้งอยู่ คือตัวนี้เป็นงานสร้างชื่อตอนเรียนอยู่ปีสี่
ในฐานะที่เราเป็นนักออกแบบอยากใด้รับการสนับสนุน ด้านใด มากเลยครับ อย่างแรกโอกาสนักออกแบบมีน้อย ภาครัฐสนับสนุนน้อย คนไม่ค่อยเชื่อนักออกแบบไทย เหมือนเราซื้อของอิมพอร์ทเยอะ แต่นักออกแบบไทยที่มี ความสามารถอยู่ก็เยอะ อยากให้เปิดโอกาสให้นำเสนอ ผลงานให้เยอะ หรือแมทชิ่งระหว่างนักออกแบบกับโรงงาน นอกจากผลิตภัณฑ์ประเภทโคมไฟแล้วยังมีตัวอื่นอีกไหม จะได้มีโปรดักท์ใหม่ๆ เยอะๆ ก็เป็นเฟอร์นิเจอร์ครับ เป็นสตูลชื่อ Triangle Stool ซึ่งเป็นเหล็กพับทั่วไปคนมองว่าเหล็กพับเป็นแผ่น วางอนาคตอย่างไร และก็แข็ง เรียบแบน แต่ของผมไม่ใช่ ผมเอาเหล็กมาทำ จริงๆ แล้วอยากออกแบบของให้ดีที่สุด พัฒนาไป เลเซอร์คัท ดัดโค้ง ทำให้เกิดรูปฟอร์มของออร์กานิคฟอร์ม เรื่อยๆ จริงๆ แล้วอยากมีแบรนด์สักแบรนด์เป็นของเรา รูปทรงธรรมชาติ ซึ่งมันจะเซอร์ไพรส์คนนิดหนึ่งว่าเหล็ก เอง แล้วมันก็อีกยาวๆ ซึ่งมันเป็นของที่เราออกแบบที่เรา อยากทำ แผ่นทำอย่างนี้ได้ด้วยเหรอ ทำให้ผมเป็นที่รู้จักในวงการ และคนนอกวงการเยอะมาก ซึ่งตัวนี้มันเหนื่อยมากตอนทำ มันผ่านกระบวนการคิด รอบหนึ่ง กระบวนการที่เหนื่อยกว่านั้นคือการทดลอง ผม ต้องทดลองแสงและเงาที่มันออกมาจากโคมไฟของผม ให้ได้ระยะและเชฟที่สวยที่สุด ผมทำโมเดลเยอะมาก กระทั่งได้รูปทรงนี้
พูดถึงงานของเราเองมีจุดเด่น ยังไง คิดว่ามีนะ คือ เป็นเหมือนกับว่า งานของผม จะไม่ได้แสดงฟอร์มที่โจ่งแจ้งมาก งานผมจะมีลูกเล่น ซ่อนข้างใน คนต้องคิดอีกชั้นจึงจะรับรู้ อย่างเช่น โคมไฟ ของผม โคมไฟติดผนังแต่ใส่ลูกเล่นเข้าไป ให้เกิดเงา เซอร์ไพรส์คนระดับหนึ่ง แต่รูปทรงอะไรที่จะเซอร์ไพรส์ คนเล่น กลับมาว่าเป็นโคมไฟตั้งพื้นคนซื้อเพราะเซอร์ไพรส์ ไม่ใช่รูปฟอร์มข้างนอก
มีอะไรอยากฝากให้น้องๆ รุ่นใหม่ๆ อย่างแรกคือนักออกแบบต้องมีความอดทนสูงมาก ต้องพยายามดันงานตัวเองสุดๆ พยายามเสนอผลงาน เยอะๆ และเลือกส่งในสื่อที่ถูกต้อง ผมเห็นมากว่างานดี นะแต่ช่องทางผิด งานมันก็ไม่ดังและไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เจอ กับคนในวงการ เลือกให้ดี งานดี พื้นที่ดี อะไรก็จะดี
ในฐานะที่เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่มีแรงบันดาลใจจาก ใครบ้าง ถ้าเป็นต่างชาติน่าจะเป็น Naoto Fukasawa เป็นนักออกแบบญี่ปุ่น เขาเป็นคนช่างสังเกต เรียบง่าย เข้าถึงผู้คน โปรดักท์ไม่จำเป็นต้องพูด มันสื่อสารด้วยตัว มันเองโดยคนขายไม่ต้องพูดอะไรเลย แต่ถ้าของไทย... ของไทยน่าจะเป็นพี่ด้วง ดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นสถาปนิก มีแนวทางงานที่ชัดเจนเรียบง่ายเหมือนกัน
99
เมธชนัน สวนศิลป์พงศ์ Metchanun Suensilpong
Designer of the Year 2007
“ขอให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองอย่าดูถูกไอเดียตัวเอง ดีหรือไม่ดีทดลองออกมาแล้วมันจะมีคำตอบออกมาเอง ว่าสิ่งที่เราคิดถูกหรือผิด อย่าเชื่อกระแสมาก”
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้สักผสมโลหะเส้นสายเรียบเกลี้ยง กับสัดส่วนที่ลงตัวในทุกมุมมอง และนั่งสบายให้ความ รู้สึกถึงความผ่อนคลาย เป็นผลงานที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์ แบรนด์ kenkoon เป็นที่รู้จักและจดจำได้ดี ความ โดดเด่นในเชิงการออกแบบที่ทำให้วัสดุทั่วๆ ไปที่นิยมใช้ กันอย่างไม้สักและสเตนเลสสตีล ถูกลดทอนรูปทรงให้ดู โปร่งบางเบาแต่ยังแฝงไว้ซึ่งความแข็งแรงสวยงามโดยไม่ ดูมากเกินหรือน้อยไป เมธชนัน สวนศิลป์พงศ์ เป็นทั้งนักออกแบบและ เป็นผู้บริหารรุ่นปัจจุบันของธุรกิจครอบครัวที่มีพื้นเดิม จากการทำเครื่องเรือนและงานตกแต่งภายในให้กับงาน ที่พักอาศัยต่างๆ มาก่อน เมื่อธุรกิจเคลื่อนผ่านวันเวลามา สู่มือคนหนุ่มรุ่นเมธชนัน ซึ่งเรียนจบทางสถาปัตยกรรม และเคยมีประสบการณ์ทำงานมาจากประเทศฝรั่งเศส การเข้ามาของคนรุ่นใหม่ก็ทำให้เกิดการสร้างแบรนด์ขึ้น ในที่สุด แม้ ภ าพของการเป็ น หนึ่ ง ในกลุ่ ม ผู้ น ำด้ า นการ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม้สักจะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างแล้ว 100
การนำเอาวัสดุใหม่ๆ เข้ามาใช้ร่วมในการออกแบบ เช่น ผ้าสังเคราะห์สำหรับงานเอาท์ดอร์ เมธชนัน ก็ทำได้ดี ไม่แพ้กัน ผลงานที่ออกมา ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และ อัตลักษณ์ของ kenkoon อย่างยากที่จะปฏิเสธ ที่สำคัญ ไม่เพียงแค่การนำเอาสิ่งที่จับต้องได้เป็นรูปธรรมอย่าง วัสดุเท่านั้น การหยิบยกเอาความคุ้นชิน และความคุ้นเคย บางอย่ า งที่ ค นไทยรู้ จั ก มั ก คุ้ น เป็ น อย่ า งดี เ ช่ น การนั่ ง พักผ่อนหย่อนใจใน “ศาลา” ที่เป็นการแสดงออกถึงการ เชื่อมความสัมพันธ์โยงใยเข้าหากันภายในอาณาบริเวณ เล็กๆ และเป็นพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล มานำเสนอใหม่ใน รูปลักษณ์แบบ kenkoon ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับ แวดวงการออกแบบไทยและต่างประเทศไม่น้อย จนแทบ จะพอพูดได้ว่า เมธชนัน เป็นผู้ปลุกกระแสการออกแบบ ซุ้มศาลาในบรเวณบ้านแบบไทยๆ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ใหม่ในตลาดเลยทีเดียว การต่อยอดธุรกิจครอบครัวที่ทำได้อย่างงดงาม และน่าชื่นชม และตั้งมั่นอยู่ท่ามกลางกระแสธุรกิจที่เชี่ยว กรากได้นนั้ คงไม่ได้อาศัยเพียงแค่การเป็นคนมีพรสวรรค์
หรือความพยายามเพิ่มพูนความสามารถทางการออกแบบ เพียงอย่างเดียว การทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมทีค่ นุ้ เคย กับชุดความเชื่อบางอย่างในธุรกิจการผลิตเครื่องเรือน เป็นสิ่งที่เมธชนัน ต้องใช้เวลาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ คนในองค์กร เพือ่ ปรับทิศทางให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบนั ที่งานรับผลิตไม่ได้เป็นจุดแข็งของชาติอีกต่อไป ในฐานะนักออกแบบที่สวมหมวกอีกใบในการชี้ ทิศทางการเดินเรือ ล่องในกระแสธารแห่งธุรกิจบนพื้นฐาน ความคิดสร้างสรรค์ เขาทำอย่างไรถึงนำพา kenkoon มายืนหยัดบนเวทีไทยและโดดเด่นในเวทีโลก ไปดูเขาทำ ฟังเขาพูด และร่วมเจาะลึกลงในความคิด ของผู้ชายที่ชื่อ เมธชนัน สวนศิลป์พงศ์ เส้นทางการเป็นนักออกแบบ ก็ตั้งแต่สมัยที่ตัดสินใจเรียนในสาขาสถาปัตยกรรม ภายในที่ MGM Art School ที่ฝรั่งเศส และได้ฝึกงานกับ บริษัทในฝรั่งเศส เป็นการดีไซน์และพรีเซนเทชั่น บริษัท ในฝรั่งเศสทั้งสุขภัณฑ์และดีไซน์เฮาส์ที่เราเข้าไปช่วยทำ
พรีเซนเทชั่นโมเดล หลังจากนั้นก็ทำงานกับบริษัท Ken koon มาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วงปี 1996 กลับมาเมืองไทย ก็ทำงานอินทีเรีย ออกแบบภายใน งานเรสสิเดนเชี่ยล และโปรเจคท์คอนโดมิเนียมบ้าง นอกนั้นเป็นบ้านพักอาศัย ส่วนใหญ่ ทางบริษัทเริ่มทำเฟอร์นิเจอร์ภายใน ซึ่งบริษัท เป็นคอนแทรกเตอร์ ที่เริ่มทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน พอหลังจากช่วงปี 1997-1998 ก็มีการเปลี่ยนแปลง เรามี บริษัทที่ร่วมมือกับ Kenkoon ทำเอาท์ดอร์เฟอร์นิเจอร์ แบบมารีนแอคเซสซอรี่ที่ใช้ในเรือ ร่วมมือกับบริษัทใน สวีเดนทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ เป็นส่วนประกอบที่เป็นโลหะ ทองเหลืองนิดหน่อย เป็นพื้นฐานให้เรามีประสบการณ์ ทำโปรดักท์ในปัจจุบัน เขาให้โนว์ฮาวเรามาก มันทำให้เรา เริ่มมีความอยากที่จะพัฒนาโปรดักท์ต่อ เมื่อต่อยอดได้ ก็เกิดความสนุกที่จะดีไซน์ของออกมาในลักษณะที่เป็น แบบที่เป็นงานเราจริงๆ สืบสานธุรกิจครอบครัว การที่เรารันเป็นแฟมิลี่บิสสิเนสมีข้อดีและข้อเสีย เราต้องพิสูจน์ชั้นแรกว่าไอเดียมันเป็นไปได้จริง จากนั้น คนในครอบครัวจะให้ความไว้ใจเรา และทำงานได้เร็วขึ้น จะลดขั้นตอนการตัดสินใจได้เยอะ เขาจะให้สิทธิ์กับการ ตัดสินใจ งานจะออกมาเร็วและฟรี เราจะเต็มที่กับงาน ไอเดียนี้ใช้ได้ก็ลงมือทำ ไม่เวิร์คก็เปลี่ยน ข้อเสียคือเราจะ คอมโพรไมส์กับคนอื่นน้อยลง เชื่อมั่นตนเองสูง ไม่มีใคร ให้คำแนะนำนอกจากฟีดแบคจากลูกค้าหรือผู้ขายสินค้า เรา ดังนั้นเราจะได้ฟีดแบคหลังจากลอนช์สินค้าออกไป แล้ว แต่ขั้นตอนก่อนเป็นโปรดักท์จะเร็ว เพราะเราตัดสินใจ เอง เรามองภาพว่ามันน่าจะดี เราจัดการมันก็ออกมาเป็น ชิ้นงานจริง เฟอร์นิเจอร์เส้นเรียบๆ มาได้อย่างไร เหมือนกับนิสัยของคนที่ทำงานออกมา มันสะท้อน ตัวดีไซเนอร์ออกมา เรามีความเชื่ออยู่อย่างว่าการดำเนิน ชีวิต ต้องบอกก่อนว่าอาชีพดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหา หา โซลูชั่นให้คน ใช้ชีวิตยังไง ใช้ของอะไร เราต้องเป็นคนที่ ชักจูงให้คนอื่นทดลองเหมือนที่เราทดลอง พอมีไอเดีย ตรงนี้ก็เกิดตัวตนเราขึ้นมาสะท้อนในงาน ผมรู้สึกว่าสิ่งที่ ยุ่งยากฟุ่มเฟือยมันมียุค อารมณ์ของผู้คนในช่วงนี้ขึ้นกับ เศรษฐกิจ อารมณ์คนบางช่วง คนต้องการความเยอะ ความฟุ่มเฟือย แต่เรารู้สึกว่าความฟุ่มเฟือยอยู่ได้ไม่นาน คืออะไรก็ตามที่มันเป็นกลางจะเป็นยูนิเวอร์ซอลมากกว่า เส้นเรียบ เกลี้ยง เฟรนด์ลี่กับเราก็ส่งผลต่อคนอื่นเช่นกัน มันรีแลกซ์และสบาย คนที่คิดเหมือนกับเราน่าจะมีอยู่ อีกเยอะ แต่ว่ามันไม่ใช่ทั้งหมดว่าทุกคนต้องคิดตามเรา 100% แต่สิ่งที่เข้าใจง่ายไม่ต้องอธิบายเยอะ ไม่ต้องใช้ รสนิยมพิเศษในการเข้าถึง มันน่าจะเป็นสิ่งที่คนจำนวน มากแอพพรีชิเอทนะ
101
ผลงานที่ประสบความสำเร็จ และกว่าจะได้งานมา ลำบาก อย่างไร ถ้าพูดถึงความสำเร็จในตัวงาน ผมมองว่าเมื่อใด ก็ตามที่คนจำงานเราได้ คือการประสบความสำเร็จระดับ หนึ่ง งานแต่ละชิ้นจะมีตัวตนของคนดีไซน์อยู่ในงาน มัน อาจจะตอบโจทย์ในลักษณะที่ว่า เราต้องการสื่อให้คนใช้ และเขาก็จำเราได้ มันอาจเป็นเรื่องดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ที่คนจะนึกถึงเรา เห็นฟอร์มแบบนี้แล้วรู้ว่าเป็น Kenkoon และเราต้องคิดต่อยอดต่อไปว่าหลังจากที่คนจำเราได้แล้ว จะให้ทดลองอะไรอีก มีงานอะไรที่บอกได้ว่าเป็นอย่างที่ เราพูดจริงๆ นี่คือ การส่งข้อความ ถ้าคนยอมรับได้ผมถือ ว่าเป็นความสำเร็จ สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ผมพูดเมื่อครู่ ประมาณช่วงปี 2005-2006 บริษัทมีแผนไปเปิดตลาดดูไบ คุยกันว่าเราจะ ทำอะไร พยายามคุยกันว่าคนทางนั้นเป็นอย่างไร เกิด โจทย์ว่าเราต้องดีไซน์ของไปโชว์งานนี้ ก็ไม่ได้คาดหวังว่า จะขายถล่มทลาย มันเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งที่มีกลิ่นของ ที่นั่น ทำขึ้นมาเป็นตัวศาลา ชื่อว่าแกส ซึ่งไปดูของอาหรับ ของใช้เก่าๆ ทางเอเชียใต้ตั้งแต่โบราณ ของใช้เล็กๆ น้อยๆ กระทั่งยานพาหนะ บ้าน นั่งดูเหมือนเราเข้าไปในห้องสมุด แล้วเปิดเล่มโน้นเล่มนี้ ไปสะดุดสิ่งหนึ่งที่เป็นที่นั่งบนหลัง 102
ช้าง มันจะใช้ในโซนเอเชียใต้อย่างอินเดีย ในอาหรับ เขาจะมีใช้ เราก็เลยใช้ไอเดียนี้เป็นตัวทำดีไซน์เป็นแรง บันดาลใจของงานชิ้นนี้แต่ใส่ความเป็นปัจจุบันลงไป ใช้งานจริงใส่ฟังก์ชั่น วัสดุในปัจจุบัน แล้วดึงคาแรกเตอร์ ดีๆ แปลกๆ ออกมา มันให้ผลเกี่ยวกับลม เมื่อไปตั้ง ริมทะเล จากโค้งและเฟรมช่วยลดเสียงและลมกระพือ เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่โบราณบางคนมองเห็น เมื่อเราเห็น ว่ามันน่าจะใช้ได้เราก็ดึงออกมา มันดันมาประสบความ สำเร็จในโซนยุโรป ชาวอาหรับตื่นตาตื่นใจนะ แต่เพราะ เป็นงานเอาท์ดอร์ จึงไม่เหมาะกับสภาพอากาศ คือ มัน ไปอยู่ที่สภาพอากาศเลวร้ายและสถาปัตยกรรมของเขา เป็นบ้านลักษณะปิดที่มีคอร์ทตรงกลาง อะไรที่ใช้ในบ้าน จะอยู่ตรงกลางและคนภายนอกมองไม่เห็น เขาต้องการ ความเป็นไพรเวท ซึ่งวิถีชีวิตไม่ตรงกันมันจึงไปประสบ ความสำเร็จในอีกที่หนึ่ง แต่ตัวนี้เป็นตัวที่ผมชอบเราถูกใจ
ว่าเพิ่มแอเรียในการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง มากขึ้น มีคนช่วยกันคิดในมุมที่เราอาจคิดไม่ถึง
ความเป็นตัวตนของนักออกแบบไทย ดีไซเนอร์เป็นอาชีพหนึ่งที่พยายามมองมุมที่คน ทั่วไปต่างจากที่ดีไซเนอร์มอง เพราะโปรดักท์เป็นอะไรที่ จับต้องได้ สวยไม่สวย เหมาะไม่เหมาะ คือมันจะเป็น งานที่เป็นรูปธรรม มันเกี่ยวข้องกับสังคมยังไง ผมว่ามี หลายมุม งานทีอ่ อกมาสะท้อนได้หลายอย่าง เช่น ดีไซเนอร์ มีชาตินิยมขนาดไหน เปิดขนาดไหน สองส่วนนี้อาจเป็น คนละเรื่อง ถ้าดีไซเนอร์มีความเป็นชาตินิยมแต่รับของ ต่างแดนมาบ้าง และช่างสังเกต จะกลายเป็นงานที่ผมคิด จะออกมาเป็นโปรดักท์ที่ดี ขอให้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าดูถูกไอเดียตัวเอง ดีหรือไม่ดีทดลองออกมา แล้วมัน จะมีคำตอบออกมาเองว่าสิ่งที่เราคิดถูกหรือผิดอย่าเชื่อ กระแสมาก ผมว่าการมองเทรนด์เป็นเรื่องที่บางคนใช้ เมื่อเราเริ่มศาลาแล้วมีคนทำตาม สำหรับเพิ่มความมั่นใจในตนเอง มันเคยมีอะไรมาแล้ว มันก็เป็นไซน์หนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะมีคนอื่นคิด บ้าง แสดงว่าทิศทางเป็นอย่างนั้นแต่ไม่สมควรเชื่อมัน ว่าเป็นไอเดียที่ดี เขาจะไม่นำไอเดียไม่ดีมาต่อยอดต้องมี 100% แต่ละคนมีสิ่งดีๆในตัวที่แตกต่างกัน ควรผลักดัน อะไรทีอ่ ยูใ่ นดีไซน์นี้ มองเห็นมุมทีเ่ ราไม่เคยเห็นโดยตนเอง มันเป็นรูปธรรมออกมา ดีไซเนอร์มีหน้าที่นี้ มองอีกมุมแล้วอินเทอร์เพรทออกมา ผมว่าดี เหมือนกับ
ความเป็นไทย การอยู่อย่างไทยในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ คือจริงๆ มันไม่ใช่ตัวแค่ไลฟ์สไตล์การกินอยู่ปกติ บางครั้งเราต้องสังเกตแนวสถาปัตยกรรม ซึ่งบางครั้งเรา คิดว่าไม่เกี่ยวกัน แต่เหลือเชื่อที่มันสร้างแรงบันดาลใจให้ เราได้ แม้กระทั่งขนม บางทีคุณเดินทาง เจอของกินมัน ยังให้ไอเดียดีไซน์แก่คุณได้ มันไม่น่าเชื่อ มันสะท้อนได้ หลายอย่าง เช่น ที่ญี่ปุ่น คุณเข้าไปในตลาด คุณจะเจอของ ที่มีขายเฉพาะเมืองนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าหากคุณไปเมือง อื่นจะไม่เจอ มันสะท้อนได้ว่าคนญี่ปุ่นเขามีความเป็นชาติ นิยม เขาเคารพความเป็นอยู่ ความเป็นตัวตนของเขา ค่อนข้างสูง หากเป็นของประเทศอื่น อย่างของ OTOP หรืออะไรพื้นบ้านสักอย่าง มีคนทำแล้วมีคนสนใจ อีกที่ หนึ่งก็ทำบ้าง เพราะฉะนั้นมันไม่มีกลิ่นอายของพื้นถิ่น จริงๆ มันอยู่ที่จิตสำนึก เหมือนกับว่าเราพยายามสร้าง ความเป็นตัวตนให้มีค่าขึ้นมา อะไรที่เรามีเป็นทรัพย์สิน ที่เรามีอยู่ที่อื่นหาไม่ได้ บางทีก็ทำออกมาเยอะเกินไป โดยไม่ได้คิดอะไรต่อยอดใหม่ คุณค่าก็จะน้อยลง วิธีการเพิ่มพูนความคิด คือการหาความรู้ ผมว่ามันไม่จำเป็นที่ต้องนั่งดู ตำรา อ่านหนังสือตลอดเวลา แม้กระทั่งคุณเดินทาง หา กิจกรรมทำ ไปในที่ไม่เคยไป ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ พยายามสังเกตว่าทำไมมันมีอะไรอย่างนี้ที่นี่ ผมว่ามันก็ จะเป็นวัตถุดิบในการคิดของเราได้ต่อ วัตถุดิบคือการต่อ ยอด ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เอามาใช้มาเป็น อะไรก็ได้ ดึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกันแต่สปาร์คไอเดียเราขึ้นมาได้ ไม่จำเป็นต้องดูในอินเตอร์เน็ตตลอดไป มันไม่จำเป็น คุณเดินไปที่ไหนก็เก็บมาได้ วัตถุประสงค์ในการทำงานของผมจริงๆ อยากให้ โปรดักท์ของคนไทยไปอยู่ที่อื่นบ้าง ให้เขาลองดูไอเดียเรา ว่าที่คิดก็ไม่เลวนะ และไม่ใช่ว่าเราไม่มีทรัพยากร คนไทย คิดอะไรได้เยอะ และเรามีในสิ่งที่คนอื่นไม่มีเยอะ
103
ระพี ลีละสิริ
Excellent Prizes Award 2004 Designer of the Year 2008
Rapee Leelasiri
“พยายามทำงาน อย่าคิดอย่างเดียว อย่าเพ้อเจ้อ ละเมอตด เพ้อฝัน ทำงานเข้าไป คิดได้ก็ทำงาน ไม่ใช่คิดได้แล้วก็สเก็ตช์ คิดได้แล้วก็โอเค จบ เก๋ละ เท่ละ”
ด้วยประสบการณ์และความชื่นชอบในงานทอ ทำให้ ระพี ลีละสิริ เลือกเอาเส้นใยป่านศรนารายณ์ ซึ่งในครั้งเก่าก่อนเคยเป็นวัสดุหลักที่ใช้ทำเชือกเรือใน อุตสาหกรรมการประมง มาเป็นวัสดุหลักและจุดเริ่มต้น ของพรมทอมืออันมีเทคนิคการทอ เย็บ และการให้สีที่เป็น เอกลักษณ์ อย่างระพีลีลา ผลงานของระพี ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ “ไทยทำ เทศทึ่ง” ภายใต้การรวบรวมข้อมูลของ Thai Materials Exhibition นิทรรศการหมุนเวียนชุดใหม่โดย Material Connexion Bangkok โดยคัดเลือกเอาสุดยอด วัสดุท้องถิ่นไทยจากแหล่งธรรมชาติ ปรับผสานกับ “ภูมิปัญญา” ของเหล่านักคิดสายเลือดไทย จนสามารถยก ระดับ “วัสดุไทย” ให้มีความโดดเด่นไปในระดับโลก นี่ยังไม่นับรวมการเติบโตของกิจการและผลงาน ที่ มี ก ารต่ อ ยอดทางเทคนิคการผลิตอันไม่รู้จบภายใต้ แบรนด์ ระพีลีลา ที่เปรียบเสมือนเสาหลักและตัวแทน อันโดดเด่นของภาคธุรกิจส่งออกของตกแต่งบ้านในกลุ่ม งานหัตถกรรมสิ่งทอ ซึ่งทุกครั้งที่มีการจัดแสดงสินค้าใน 104
ประเทศ ระพีมักจะนำเอาผลงานการออกแบบใหม่ๆ ออกมาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักออกแบบไทย ที่ไม่เคยถึงทางตัน ในการเล่นกับวัสดุพื้นถิ่นที่ตนชื่นชอบ ความเป็นคนที่สนใจและใส่ใจในรายละเอียดของ ธรรมชาติ ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างมีสีสัน ผ่านผลงาน ในแต่ละชิ้น ระพีเป็นนักออกแบบที่พูดได้เต็มปากว่ารัก และชื่นชอบในผลงานทุกชิ้นอย่างแยกไม่ได้ว่างานชิ้นไหน เป็นงานที่ดีที่สุดของตัวเอง อาจเป็นด้วยกระบวนการ ระหว่างทางในการสร้างผลงานแต่ละชิ้น ที่ต้องผ่าน อุปสรรคโดยธรรมชาติของการรังสรรค์รูปธรรมของวัตถุ ให้ตรงต่อภาพในจินตนาการ ความทรงจำและการ เรียนรู้ที่มากมายระหว่างทาง จึงก่อเกิดเป็นความประทับ ใจส่วนตัวในผลงาน จนยากที่จะให้คะแนนว่าชิ้นไหนเป็น ผลงานที่สุดยอดของตนเอง นอกเหนือจากบทบาทในการเป็นผู้บริหารธุรกิจ และการเป็นนักออกแบบ ระพียังมีบทบาทต่อวงการ ออกแบบในการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญให้กับหน่วยงาน ของภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างๆ ในการฝึกอบรมและ
ให้ความรู้ในสาขาที่ตนถนัด เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ว่าการที่นักออกแบบคนหนึ่ง นอกจากจะต้องคอยหมั่น ขัดเกลาฝีมือให้เฉียบคมอยู่เสมอ และยังต้องแบ่งภาคไป บริหารธุรกิจ พร้อมๆ กับงานให้ความรู้และพัฒนาฝีมือ ผู้อื่น ต้องอาศัยพลังชีวิตมากมายขนาดไหนในการบรรลุ เป้าสำเร็จในงานอันแตกต่างและหลากหลาย ชีวิตบน เส้นทางนักออกแบบของ ระพี ลีละสิริ น่าสนใจ และ จุดกำเนิดของ ระพีลีลา ก็ยิ่งน่าสนใจ อะไรเป็นปัจจัย แวดล้อมที่ก่อให้เกิดนักออกแบบคุณภาพ นักออกแบบที่ สามารถหยิบจับเอาภูมิปัญญามาผสานวัสดุท้องถิ่นไทย จนได้ผลลัพธ์ทางการออกแบบอันน่าทึง่ รว่ มค้นหาคำตอบ มีอยู่นั้นในบทสัมภาษณ์นี้ มีความสนใจงานด้านนี้ตอนไหน แรกเริ่มไม่ได้สนใจที่จะเป็นนักออกแบบสาขานี้ เลยนะ บังเอิญที่สอนนี้ สมัยเรียนจะมีวิชาภาคประยุกต์ จะมีเอกภาพพิมพ์จะเป็นวิชาพื้นฐานปี 2 มันก็จะมีเพนท์ ปั้น พิมพ์ ภาพไทย ที่นี้ตอนเรียนพิมพ์ มันจะมีวิชา
เกี่ยวกับ ซิลค์สกรีน บาติก พี่ก็ไปลงเกี่ยวกับซิลค์สกรีน บาติก แล้วรู้สึกว่า เออมันก็สนุกดี เออมันชอบ และที่ สำคัญมันเอามาทำเสื้อใส่ได้ มันทำกระเป๋าได้ เราก็รู้สึก สนุกกับตรงนั้น มันได้เรื่องฟังก์ชั่นด้วย พอเลือกเอก เรา ก็เลือกเอกศิลปะไทย แต่ในตอนนั้นยังไม่มีเอกสิ่งทอ แต่ อาจารย์วีระ น่ารักมาก ท่านก็พยายามหาอะไรใหม่ๆ มา ให้นักเรียนเรียน อาจารย์ก็เลยไปติดต่ออาจารย์สงคราม เสนาธรรม มาเพื่อจะสอนสิ่งทอ พี่เป็นรุ่นแรกที่ได้เรียน วิชาสิ่งทอที่ได้เรียนเป็นวิชาเลือกของภาควิชาประยุกต์ ศิลป์เป็นวิชาเลือกเล็กๆ แค่ 2 ครั้ง 2 เทอม textile 1 และ textile 2 ลงแค่ 2 เทอมแค่นั้นเอง แล้ว 2 เทอมนั้น พี่ก็ไม่รู้ว่าที่ได้เรียนตอนนั้น เมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้น มันจะ ทำให้เรานำวิชามาประกอบสัมมาอาชีพแล้วทำให้เรา ชอบงานศิลปะชอบงานออกแบบมากขึ้น แล้วเราก็ไม่รู้ว่า มันคือเท็กซ์ไทล์ เรารู้ว่ามันคือการเอาเส้นๆ มาสานมาทอ กัน หลังจากนั้นพอเราเรียน เราเรียนด้วยความสนุกมาก เลยนะ ตอนนั้นทำทีสิสด้วย ทีสิสพี่จะเกี่ยวกับเรื่องผ้า เหมือนกัน เป็นแอพพลิเค่ (Applique) เป็นแพชเวิร์ค (Patchwork) แอพพลิเค่คือการต่อผ้า เรียงผ้า ซ้อนผ้า ปักเพิ่ม เราก็ไม่รู้ว่ามันคือแอพพลิเค่นะ สมัยก่อนเรารู้ว่า มันคือ การปะผ้า ชุนผ้ามากกว่า ก็ไปหาเศษผ้ามาทำ มากกว่า นั้นคือส่วนที่มันโยงใยมาในเรื่องของเท็กซ์ไทล์ พอเราจบมาใหม่ๆ เราก็ไปทำแฟชั่นกับที่ชินวัตร Fashion House แล้วก็เป็นโคออร์ดิเนเตอร์กับดีไซเนอร์ฝรั่งเศส เพราะเราพูดภาษาฝรั่งเศสได้นิดหน่อย ทำประมาณสัก 6 เดือนงานมันสาหัสมาก แล้วเงินเดือนน้อยมาก ทำงาน เยอะมาก เราก็ไม่ไหว แล้วพอดีอาจารย์สงคราม ที่สอน สิ่งทอเรา แกก็เอ็นดูเรา เราก็บอกว่าเราอยากทำเกี่ยวกับ ผ้า แกก็แนะนำให้บริษัทอินเตอร์กราย กับ Silk Avenue
ซึ่งตอนนี้ก็ดังมาก เราก็ไปทำ เราก็เป็นดีไซเนอร์คนแรก ของเค้า แล้วก็ทำประมานซัก 11 เดือน เกือบปี พี่ก็แนะนำ ให้เราไปทำอินทีเรียไหม เราก็ อินทีเรียไม่ไหว เกลียดมาก วิชาทำอินทีเรีย เราไม่ชอบเขียนแบบ เราเกลียดมาก เราไม่เอา แต่เค้าบอกว่ามันเหมือนกับว่ามันเป็นคัลเลอร์ สกีมกับแมททีเรียลดีไซน์ ก็คือการออกแบบโดยใช้วัสดุ แล้วก็โทนสี ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้อีกว่ามันคืออะไร เพราะ ในสมัยนั้น วงการออกแบบในบ้านเรามันแคบ มันไม่กระจาย มันน้อยมาก มันก็ทำให้เราไม่รู้อะไรเลยแต่เราก็ทำ แล้ว พอไปทำตอนนั้นก็มีรุ่นพี่ประมานเกือบ 30 ท่าน เป็นรุ่นพี่ ศิลปากร เป็นรุ่นพี่จากจุฬาบ้าง แต่ศิลปากรนี่จะเยอะสุด แล้วพวกพีๆ่ ก็ชว่ ยสอนงานเรา คัลเลอร์สกีมกับแมททีเรียล ดีไซน์ หน้าที่ก็คือพอมัณฑนากรออกแบบอะไรมาก็แล้วแต่ เป็นลายเส้น พอเป็นลายเส้นแล้วเราก็เลือกวัสดุใส่ลงไป เช่นเลือกวอลเปเปอร์ เลือกผ้าบุ เลือกผ้าม่าน เลือกสีพรม แล้วก็รวมทั้งออกแบบลายพรม ออกแบบลายสเตนกลาส ออกแบบลายไม้ฉลุ ออกแบบเทคนิคการทำผ้าม่าน เครื่อง นอน ก็คือออกแบบในดีเทลต่างๆ ที่มัณฑนากรต้องการ มันก็หลักๆ ในการตกแต่งมันก็จะเป็นพวกสิ่งทอซะเยอะ เหมือนกัน ผ้าชนิดต่างๆ แล้วก็จะมีความรู้เรื่องผ้ามากขึ้น เรื่องพรมมากขึ้น มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้วัสดุในงาน ตกแต่งมากขึ้นเพราะว่ารุ่นพี่มีประมาณ 30 คนนี่ 30 สไตล์ 30 แบบ สมัยก่อนคือพี่ๆ เขาไม่มีสไตล์ คือเขาได้ทุกสไตล์ พอเราทำงานกับพวกพี่ๆ เขาเหมือนกับเราต้องทำงานกับ 30 ท่านเราก็ต้องเข้าใจว่า แต่ละท่านมีคาแรกเตอร์ยังไง ชอบผ้ายี่ห้อไหน ชอบสไตล์ไหน เหมือนกับทำให้เราได้ฝึก ในเรื่องของการเลือกผ้า การเลือกสกีมสี การเลือกวัสดุ การแมทชิ่ง อย่างสาหัส พี่ก็ทำตรงนั้นมาประมาณเกือบ 6 ปี พอ 6 ปีเสร็จปุ๊บ พี่ก็โดนเลย์ออฟตามระเบียบ เพราะ
ช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ดี ก็โดนเลย์ออฟไป แล้วก็กลับมาอีก ครั้งหนึ่ง ตอนนั้นก็ยังกลับมาทำอินทีเรีย เป็นงานอดิเรก ทำโฮมโปรบ้าง ทำอะไรอื่นๆ บ้าง ที่บ้านเขาอยากทำ ธุรกิจก็เลยคุยกันว่าอยากทำไรกันดี พี่ก็แนะนำว่าทำไม ไม่ทำพรมทอมือเส้นใยธรรมชาติหละ เพราะว่าตรงนี้พี่มี ประสบการณ์กว่า 6-7 ปี มันยังเป็นอะไรที่บ้านเรายังไม่มี คุณภาพ แล้วก็รูปแบบ แล้วก็โทนสี หรือว่าอะไรที่มัน เหมาะสมกับงานออกแบบภายใน เราก็เลยเริ่มทำตัวนี้ ขึ้นมา มันก็เลยโยงใยมาเกี่ยวกับเรื่องของเท็กซ์ไทล์โดย ที่ไม่รู้ตัว กระบวนการออกแบบฉบับระพี กระบวนการออกแบบของพี่ พี่เป็นคนชอบวาด ดอกไม้ ชอบวาดดอกไม้ตั้งแต่เด็ก คือดอกอะไรพี่ก็วาดได้ หมดโดยไม่ต้องดูกระดาษ เวลาเราทำงานอะไรก็แล้วแต่ สำหรับพี่นะ พี่จะเอาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ จากสิ่ง รอบๆ ตัว แล้วก็เป็นธรรมชาติรอบๆ ตัว เพราะว่าพี่คิดว่า พี่วาดดอกไม้แล้วพี่มีความสุข เพราะเวลาที่พี่เดินทาง หรือ เวลาไปไหนก็แล้วแต่ เจอมุมที่มีดอกไม้ ไม่ว่าจะเป็นดอก หญ้าเล็กๆ หรือต้นไม้ใหญ่ๆ ซึ่งต้องปีนหลังคารถไปถ่ายรูป เพื่อที่จะได้รู้ว่าดอกมันเป็นยังไง องค์ประกอบการออกช่อ มันเป็นยังไง ใบมันเป็นยังไง คือการเก็บข้อมูล แล้วก็ มันทำให้เราต้องเก็บข้อมูล ที่นี้สิ่งที่พี่ชอบคือธรรมชาติ การเก็บข้อมูลก็เอามาจากธรรมชาติ เวลาออกแบบงาน ดีไซน์พี่ทุกชิ้นประมาณ 95% จะเป็นงานเกี่ยวกับธรรมชาติ มันก็จะมีหลุดๆ ออกมาบ้าง แต่ว่ามันก็จะเป็นอะไรที่เกี่ยวพัน กับธรรมชาติหมด ที่ออกมาประมาณ 13-14 คอลเลคชั่น ในระยะ 9 ปี จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติสัก 95%
105
ในจำนวน 19 คอลเลคชั่น ชอบชิ้นไหนมากที่สุด ชอบทุกชิ้น เพราะว่าแต่ละชิ้น พี่ไม่ได้ทำให้เสร็จ เลยนะ คือพี่ทำแล้วต้องมาแก้ ต้องมาปรับ แล้วต้องมา เปลี่ยน ทำแล้วหาข้อมูลเพิ่ม คือทำจนกระทั่งรู้สึกหนำใจ ว่า มันลงตัวแล้วมันสมบูรณ์แล้ว องค์ประกอบที่สมบูรณ์ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายอะไรได้แล้ว หลักการศิลปะง่ายๆ เพราะงั้นถ้าเรารู้สึกว่ามันยังปรับยังแก้อะไรได้อยู่ แสดง ว่ามันยังไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นทุกชิ้นที่พี่ทำพี่ชอบหมด คิดว่างานชิ้นไหนที่เป็นชิ้นที่สร้างชื่อให้กับตัวเอง ก็ชิ้นแรกเลย สวนหญ้า พี่เอาป่านศรนารายณ์ มา ย้อมสีเลียนแบบทุ่งข้าว เลียนแบบสีทุ่งหญ้า เพราะตอนที่ พี่กำลังเซ็ทโรงงาน ตอนนั้นมันเป็นฤดูฝน แล้วตอนนั้น ทำเรื่องสีเขียวโทนสีเขียวอยู่ แล้วก็พยายามหาว่าสีเขียว แบบไหนที่มันเหมือน ทีแรกคิดง่ายๆ แบบสีเขียวใบเตย เพราะมันธรรมชาติที่สุด ส่วนเขียวหัวเป็ดมันคงดิบไป ระหว่างเดินทาง ทำไมทุ่งข้าวมันสวย มันสีเขียวนี่นา จอดรถแล้วก็ไปยืนบนสะพานลอยไปถ่ายรูป เดินเข้าไป ท้องนาไปถ่าย ถ่าย ถ่าย แล้วก็มาดูแล้วก็พยายามแยก สะระตะ ว่ามันมีกี่เฉด กี่โทน ก็ได้มาสีเขียวประมาณ 4 โทน แล้วก็มีเอ็กเซินด้วยสี ด้วยสีใบไม้แห้ง 1 โทน ก็เป็น 5 โทน แล้วก็เลยเอา 5 โทนแล้วมาย้อมแล้วมาทอ เป็นผืนเรียบๆ ก่อน หลังจากนั้นเราอยากให้รู้สึกออกมา เป็นหญ้า เพราะทอทีแรก มันเรียบมันไม่ออกมาเป็นหญ้า แต่โทนสีได้ละ สีเขียวๆ ดูเป็นเนินหญ้าเขียวๆ ได้ละ เพียง อยากให้มันเป็นหญ้า มันมีเทคนิคในการทอให้เปอร์เซียน ทอให้มันเป็นขนตั้งๆ ขึ้นมาแล้วก็เลยทอตัวนั้นขึ้นมา เรา ก็เลยทอตัวอย่างขึ้นมาก่อน แล้วก็หลังจากนั้น มันจะ ยากตรงที่คนที่เอาจากเราไปทอ เพื่อเป็นผืนเพื่อนำไป 106
จำหน่าย แรกๆ เขาก็ไม่เข้าใจว่าตรงไหนต้องหยอดสีขาว ตรงไหนต้องหยอดสีน้ำตาล พี่ก็ต้องให้เขามีความรู้สึก บอกให้เขาไปดูท้องนาซะ ชิ้นไหนที่ชอบที่สุด ก็คงเป็นชิ้น ที่ได้รับรางวัลชิ้นแรก คือ สวนหญ้า แรงบันดาลใจมาจาก ทุ่งหญ้า ช่วงที่ทำโรงงานอยู่ ไปเก็บข้อมูลโดยการถ่ายรูป เดินไปหน้างานจริงๆ ไปดูหญ้า จากนั้นก็ลองเอามาแมทช์ สีก่อน ทอออกมาเป็นผืนเรียบ มันก็ได้โทนสี มันได้แค่สี เราก็มาดูว่าทักษะ เทคนิคการทอ เทคนิคไหนที่ทอให้เป็น หญ้าก็มีเทคนิคการผูกน็อต เหมือนพรมเปอร์เซียน ซึ่งทำ ให้ขนตั้งเราก็ใช้ขนใหญ่ พอทอมาก็ดูเป็นหญ้า ผิวสัมผัส ก็เป็นหญ้า โทนสีก็เป็นหญ้า ออกมาเราแฮปปี้สำหรับชิ้น ตัวอย่าง แต่มีปัญหาด้าน Production เพราะว่าเราทำ รู้ว่าเราทำเอง เรามีเซนส์ว่าตรงนี้ใส่สีน้ำตาลนิดหนึ่ง ตรงนี้สีขาวนิดหนึ่ง แต่เมื่อเราถ่ายทอดให้พี่ป้าน้าอา ที่ ต้องทอเป็นชิ้นใหญ่ให้เรา เขาก็ทอไม่ได้ครั้งแรก เพราะว่า ทอออกมาก็ดูเป็นพรม มันไม่มีความเป็นหญ้า เราก็พาเขา ขับรถไปดูทุ่งข้าว อธิบายว่าสังเกตไหมว่ามีสีนี้สีนั้น พอ กลับมาเราเบล็น โทนสีเขียวมาแล้ว คุณแค่หยอดสีขาว สีน้ำตาลใยมะพร้าวลงไป เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ความแตกต่าง ความเหมือน หลักการก็คือ ถ้าคุณทอ ไปแล้ว คุณคิดถึงสีน้ำตาล คุณก็ใส่ คิดถึงมากก็ใส่มาก คิดถึงน้อยก็ใส่น้อย ไม่คิดถึงก็ไม่ต้องใส่ หลังจากนั้นทอ ออกมาเป็นผืนมันได้เลย คือเราเข้าใจเลยว่า เวลาเรา ถ่ายทอดงาน จะต้องให้คนที่รับงานเข้าใจในเนื้องานด้วย ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่สักแต่ทำๆ โดยที่ไม่เข้าใจ เพราะว่าเรา ทำงานหัตถศิลป์ เพราะฉะนั้นคนทอก็ต้องมีความเข้าใจ ในศิลปะในระดับหนึ่งถึงจะทำได้ เมื่อมีผลงานแล้ว ปัญหาการจัดทำผลงานมาสู่ ตลาด คือในยุคนั้นเท็กซ์ไทล์ ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงการ
คอยมองรุ่นพี่ คอยตามผลงานรุ่นพี่มาตลอด อย่างสิ่งทอ พี่ก็จะมีพี่จิ้ก ฉบาติก แกก็จะลุยตั้งแต่ฉบาติก จนกระทั่ง ทำเป็นผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นดับเบิ้ลวีพ คือมันทั้งเส้นดึง เส้นพุ่ง เราก็ดูว่าพี่เขาทำงานดีงานสวย งานก็น่าใช้ แล้ว พี่เขาทำงานได้ยาวนาน นั่นก็หมายถึงว่างานสิ่งทอ ธุรกิจ งานออกแบบ มันก็ยังเป็นไปได้อยู่ พอเรามาทำตรงนี้ปุ๊บ เราก็ปรึกษารุ่นพี่อีกเหมือนกัน ก็จะมีรุ่นพี่ที่ทำงานด้วยกัน ก็จะมีรุ่นพี่ชื่อ ป้องหาร แกก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับสบู่ เราก็ไป ปรึกษาแกว่าเราจะทำพรม แกก็บอกว่าทำเลยลุยเลย พอ ทำพรมขึ้นมาปุ๊บแกก็แนะนำอีก ว่าหาที่ทอก่อนยังไม่ควร ทำโรงงาน เราก็ไปตระเวนหาทีท่ อ ก็ไม่มใี ครทอให้ สุดท้าย เราก็ต้องทำกี่ ต้องขอความช่วยเหลือจากอาจารย์สงคราม ทำกี่ ทำทอเอง เพื่อจะขึ้นตัวอย่าง เสร็จปุ๊บ ถ้าจะทำต้อง วางตลาดให้ชัดเจนว่าจะขายส่งออก หรือขายในประเทศ ถ้าขายในประเทศจะขายใคร ยิ่งสินค้าเราใหม่ๆ ใครจะ รู้จัก ถ้าขายในประเทศจะต้องมีร้านต้องมีสต็อก ไม่ไหว ทุนมันเยอะ เราก็มาสะระตะแล้วว่าส่งออก ตอบโจทย์มาก ที่สุด ก็คือ 1. เราไม่ต้องลงทุนเยอะ 2. เราไม่ต้องสต๊อก 3. ของเรา คนไทยยังไม่เก็ท เพราะว่ามันเป็นตัวใหม่ เพราะงั้นเราก็จะนำเสนอไปสากล เพราะถ้าเราบินไปแฟร์ ต่างประเทศ เราก็ไม่มีเงินบินไปต่างประเทศ ได้แต่พึ่ง กรมส่งเสริมการส่งออก มันก็เป็นออพชั่นที่ดีที่สุด แล้วก็มี รุ่นพี่ที่จำหน่ายอยู่แล้ว ลุยอยู่แล้ว ไปถามแก แกก็บอกลุย เลย ลุยเลย แล้วก็ลงมือเลย อย่างพีร่ กั พีห่ นา ก็เป็นตัวอย่าง ในการทำงานด้านส่งออกพอลองไปทำ ออกแฟร์ปีแรก ก็ขายไม่ได้เลย ก็เหมือนทีเ่ ราคิด สูง ราคาสูง เอาไว้ทำอะไร ใช้พรมหรือเปล่า หรือเสื่อ หรือว่าเอาไปทำอะไร จะขึ้นรา ใหม ปีแรกก็ขายไม่ได้ ซึ่งเราก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งรุ่นพี่ ก็บอกมาแล้ว ออกแฟร์อย่างนี้ต้องมีความอดทน ขี้หมู
ขี้หมา ต้อง 3 ปี กว่าจะได้หนึ่งออเดอร์ เต็มที่คือ 5 ปี ถ้า 5 ปี ไม่ได้ออเดอร์คือเลิกทำไปเลย เราก็เรามีเป้า 3 ปี ไม่ก็ 5 ปี เนื่องจากเราลงทุนไม่เยอะ เราก็ค่อยๆ ทำไป แต่ระหว่างนั้นเราก็ต้องมีอาชีพเสริมนะ พอปีที่ 2 เดชะ บุญมาก มีรุ่นพี่แนะนำให้ออกงาน TIFF ไหม Thailand International Furniture Fair เราก็บอกเอ่อ ลองออกดู ก็ได้ เพราะปกติเราออกแต่ BIG พอไปออก BIG ปีแรก เราก็ได้รับการตอบรับอย่างดี ซึ่งเราก็แปลใจ เพราะปีแรก ออก BIG October ขายไม่ได้เลย พอมางาน TIFF ขายได้ แล้วขายดีมาก มีคนมาจ่ายเงิน ลูกค้าญี่ปุ่นมาจ่ายเงินสด สั่งของแล้วก็มีทูตอิหร่านมาซื้อ มีชาวต่างชาติมาซื้อเงิน สด ซื้อไปใช้ที่บ้านที่อยู่เมืองไทยก็เยอะ มีออเดอร์ญี่ปุ่น ออเดอร์มอร์ต้าทางใต้ของอิตาลี เราก็ดีใจมากเพราะนั่น ปีที่ 2 มันก็ใช้ได้ แสดงว่าเรามาถูกทางละ เพราะรุ่นพี่บอก 3 ปี ขายไม่ได้ให้กลับไป ที่นี้เราออกแฟร์ครั้งที่ 2 ปีแรก แต่ครั้งที่ 2 เราได้ออเดอร์ เราก็ใช้ได้ละถึงว่าจะขายได้ นิดหน่อย หลังจากนั้นก็ได้การสนับสนุนจาก พี่ๆ สื่อ มวลชนให้มาสัมภาษณ์ แล้วก็ให้โอกาส ทำให้คนรู้จักเรา มากขึ้น รู้จักสินค้าเรามากขึ้น หลังจากนั้นมันก็ขายได้ดี ขึ้นดีขึ้น
อยู่ทั่วโลก เพราะเวลาของที่เราออกแบบมีการอิงความ เป็นไทยในแง่มุมต่างๆ ของศิลปะไทย มันจะทำให้งาน เรามีความแตกต่างแล้วเราเข้าไปอยู่ในระดับสากล เราจะ รู้สึกตะลึงว่า มันแปลกมันใหม่ มันไม่เคยเห็นมาก่อน มันเป็นการนำเสนอความคิดแบบไทยๆ พอชาวต่างชาติ มาเจออะไรที่แปลกใหม่และมีความงาม เค้าก็ต้องชอบ อยู่แล้ว เพราะเค้าต้องเจออะไรที่จำเจ เค้าก็เลยอยากได้ อะไรใหม่ๆ เพราะฉะนั้นในแง่ของนักออกแบบไทย สามารถ จะดึงความเป็นไทยได้ พี่เอกศิลปะไทยด้วย เลยสามารถ ที่จะดึงความเป็นไทยออกมาได้เยอะ เพราะว่า 8-9 ปี มัน ขายได้เรื่อยๆ มันก็เลยทำให้เห็นว่าความเป็นไทยสามารถ นำมาทำให้เกิดความแปลกใหม่ และก็ความประทับใจ กับชาวต่างชาติ ข้อเสียเปรียบก็คือ ข้อมูลในการสื่อสาร งานศิลปะ ข้อมูลของการทำตลาดของเรามันยังน้อย สำหรับพี่ พี่ไม่สนนะว่าเศรษฐกิจมันจะดีหรือไม่ดี พี่รู้สึก ว่าพี่เป็นนักออกแบบนักศิลปะ พี่จะออกแบบถึงแม้มันจะ ขายไม่ได้พี่ก็ไม่สนใจ แต่ทำให้เราได้ฝึกสมอง ทำให้เราได้ ฝึกฝีมือ ทำให้ทีมงานมีความชำนาญ พี่ว่าอันนี้แหละสำคัญ อยากฝากนักออกแบบว่า เมื่อไหร่ที่ขายไม่ได้ ก็ไม่จำเป็น ว่าจะต้องหยุดขาย
การที่เราเป็นนักออกแบบไทย นับว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสีย อย่างไรบ้าง สำหรับพี่ข้อดีก็คือข้อมูลเราเยอะ เนื่องจากบ้าน เราประเทศไทยวัฒนธรรม ชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิม วิถี ชีวิตลักษณะของชนชาติ เรามีแบ็คกราวน์มาเกือบ 3,000 กว่าปี เพราะฉะนั้นข้อมูลเราเยอะมาก เราสามารถจะ นำสิ่งที่เรามีอยู่ในมือทั่วประเทศไทยมาสร้างเป็นงาน ออกแบบได้มากมายมหาศาล แล้วที่สำคัญมันจะเป็น อะไรที่สด เพราะว่ามันอยู่ในพื้นที่ เรายังไม่ได้กระจายไป
อะไรเป็นความภูมิใจสูงสุดในวิชาชีพ ได้เหรียญอาจารย์ศิลป์ พีระศรี Designer of the Year เป็นผลงานที่ทำให้รู้สึกภูมิใจ เพราะว่าพี่คิดว่าถ้า พี่จบจากสถาบันแล้วเราได้รางวัลจากสถาบันของเราเอง เหมือนว่าสิ่งที่หล่อหลอมเราจากศิลปากรหล่อหลอมเรา ออกมาแล้วก็มีการตรวจเช็คเรา ไม่ว่าเราจะจบมาแล้ว 15 ปี 16 ปี เราก็ทำงานในด้านศิลปะอยู่ มันเป็นรางวัลที่ ถ้าเราตั้งใจกับงานของเราก็จะมีคนมองเห็น รางวัลนี้พี่ได้ ปี 2004 มันเป็นรางวัลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รางวัลจาก
ต่างประเทศ ถ้าคนในประเทศเห็นค่าเราสิ พอแล้วแต่ถ้า เกิดต่างชาติเห็นค่าเราพี่ถือว่าเป็นโบนัสชีวิต อย่างล่าสุด พี่ได้รางวัล G Mark ของญี่ปุ่น ถ้าถามความดีใจพี่ดีใจ กับ ศิลป์ พีระศรี มากกว่ารางวัล G Mark ฝากมุมมองอะไรให้กับน้องๆ รุ่นหลัง และคาดหวังอะไร กับตัวเองในอนาคต ฝากกับน้องๆ ว่า อินเตอร์เน็ทให้ได้แต่ข้อมูล พื้นฐานเท่านั้น น้องๆ ทุกคนจะต้องไปหาข้อมูลจริง ต้อง ไปลงพื้นที่จริงเพื่อจะเก็บข้อมูล เราจะได้ขอ้ มูลทีช่ ดั เจน ระหว่างเดินทาง ระหว่างพูดคุยกับพี่ป้าน้าอาต่างจังหวัด ระหว่างเราดรอว์อิ้งหรือเราเพนท์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ซึ่ง ในอินเตอร์เน็ทมันไม่มี 1. น้องๆ ต้องหาข้อมูลเอง 2. พยายามทำงานอย่าคิดอย่างเดียวอย่าเพ้อเจ้อละเมอตด เพ้อฝัน ทำงานเข้าไป คิดได้ก็ทำงาน ไม่ใช่คิดได้แล้วก็ สเก็ตช์ คิดได้แล้วก็โอเค จบ เก๋ละ เท่ละ แล้วไปเดิน แถวห้าง มันต้องทำงานออกมา ทำงานประกวด ถ้าเด็ก รุ่นใหม่อยากเกิด ต้องงานประกวดเท่านั้น สมัยพี่งาน ประกวดหายากมาก งานแรกของพี่คือยังก์แฟชั่นดีไซเนอร์ รุ่นแรกของเปรียว กับสยามสมัยพี่อยู่ปีหนึ่ง ไม่ค่อยมีงาน ประกวด งานประกวดน้อย สมัยนี้งานประกวดมันเยอะ เยอะมาก เพราะฉะนั้นการประกวด มันคือการลับฝีมือ นักออกแบบ อย่างที่สองคือทำให้เราเป็นที่รู้จัก อันที่สาม เดี๋ยวนี้พอประกวดเราก็จะได้เงิน ได้แสดงงาน มันจะทำ ให้ เ ราสามารถที่ จ ะก้ า วเข้าสู่วงการออกแบบได้อย่าง ภาคภูมิ แล้วก็ร่นระยะเวลา ถ้าเกิดเราไปออกแฟร์แล้ว ได้พื้นที่ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะงั้นคนไม่มีเงิน หรือคนงบน้อย หรือคนไม่มีงบเลยเนี่ย สามารถจะทำได้ รางวัลที่ 1 นี่คือ ขยันส่งงานออกแบบคุณจะได้พื้นที่และ คุณได้เงินรางวัล เพราะงั้น การส่งงานประกวดนี่มีแต่ได้ ถ้าไม่ได้รางวัล ก็ได้ทักษะ แล้วก็ได้ฝึกฝีมือไม่ได้รางวัลนี่ ก็อย่าท้อทำต่อไป ก็ส่งไปเรื่อยๆ คือถ้าเราทำไปเรื่อยๆ มันก็จะได้เอง นี่คือสิ่งที่จะฝากให้เด็กรุ่นใหม่ และก็อย่า ท้ออย่าเพ้อเจ้อ ลงมือทำงานประกวดถ้างบน้อย ถ้าเกิด คนไม่ ส่ ง งานประกวดมั น ก็ จ ะเดิ น ทางเหนื่ อ ยหน่ อ ย เท่านั้นเอง แต่ว่าถ้าคุณชอบความเป็นดีไซเนอร์ในตัวคุณ มันก็ต้องออกมาอยู่แล้ว มันอาจจะออกมาช้า ออกมาเร็ว ก็แล้วแต่มุมมอง การเข้าหารุ่นพี่ก็เป็นเทคนิคที่ช่วยได้ เป็นทางลัดอีกทางนึกที่จะช่วยฝึกเราได้ คาดหวังในบริษัทของตัวเอง ในอนาคตคิดจะดำเนินการ ออกแบบอย่างไร พี่ก็คงทำงานออกแบบต่อไป ตอนนี้มีสอนอยู่ พี่เป็นอาจารย์พิเศษสอนอยู่ธรรมศาสตร์ สอนที่สมาคม ฝรั่งเศส แล้วตอนนี้ก็ร่วมกับหนังสือ I-Design พัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ชาวบ้าน อันนี้ทำมา 6 ปีแล้ว เข้าปีที่ 7 แล้วก็ อันล่าสุด มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับ ปตท.ก็เชิญ ไปออกแบบพั ฒ นาต้ น แบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ำหรั บ ขายใน ภัทรพัฒน์ นี่ก็ถือเป็นการได้รับเกียรติอย่างมากเหมือน กัน ด้านการทำงาน พี่คงทำงานต่อไปเรื่อยๆ ส่วนงาน ประจำคือการออกแบบพรมก็คงทำเรื่อยๆ ต่อไป ไม่ต้อง ซีเรียสกับมัน 107
วศิ น บุ ร ี สุ พ านิ ช วรภาชน์ Wasinburee Supanichvoraparch
Best Designer of the Year 2007
“ตราบใดที่เราไม่สามารถ ทำให้จินตนาการเป็นจริงขึ้นมาได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะจินตนาการ”
วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ เติบโตมากับงานโรงงาน เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันร่วม 78 ปี ชื่อของ “เถ้าฮงไถ่” เป็นที่รู้จักกันดีในนามของเครื่องปั้น ดินเผาอันทรงเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี จากแต่เดิม โอ่งมังกร เป็นที่นิยมชมชอบของคน ในท้องถิ่น เพราะต้องมีไว้ใช้ในการกักเก็บน้ำสำหรับหน้า แล้ง แต่เมื่อระบบชลประทานและระบบการประปาเข้าถึง ความนิยมในการใช้งานโอ่งมังกรซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็น ของจำเป็นและขาดไม่ได้ในทุกครัวเรือน ก็ได้ลดความ สำคัญลงไป แต่ด้วยประสบการณ์และการเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ ของบรรพบุรุษซึ่งไม่ยอมจำนนต่อความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ที่จะมีแต่ดูดกลืนเอาศิลปะและการผลิต พื้นถิ่นให้ลดน้อยและหมดความสำคัญไปในที่สุด การหา ทางออกให้กับงานเครื่องปั้นดินเผาของ เถ้าฮงไถ่ ถือเป็น พันธกิจที่จะต้องถูกสืบสานและส่งต่อมายังรุ่นต่อๆไป ภายใต้บริบทของสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีในแต่
108
ละยุคสมัย วศินบุรี ถือเป็นรุ่นที่สามของธุรกิจนี้ และต้อง ถือเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัว ที่แสดงให้เห็นอย่าง เด่นชัดถึงการส่งต่อภูมิปัญญาดั้งเดิมมาผนวกกับภูมิ ความรู้สมัยใหม่ที่ได้ร่ำเรียนมาจากต่างประเทศได้อย่าง มีเอกลักษณ์และกลมกลืนไปกับยุคสมัย ที่สำคัญ ยิ่งเป็น การแสดงให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่า งานเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นงานฝีมือแขนงหนึ่งของคนไทย สามารถสร้าง ชื่อเสียงให้กับจังหวัดราชบุรี ถึงขั้นเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญ แห่งหนึ่งที่ควรต้องแวะเยี่ยมชมเพื่อซื้อหาภาชนะเครื่องใช้ ดินเผา หลากหลายแนวทาง หลากสีหลายทรง ที่วางเด่น เรี ย งรายภายใต้ บ รรยากาศที่ ส วยงามของโรงงานอัน เก่าแก่ อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของวศินบุรี คือการมีส่วน ในการสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ในศาสตร์ของการออกแบบและ ผลิตงานเครื่องปั้นดินเผา วศินบุรีเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากรในสาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา เขามองถึงอนาคตในงานสายนี้ว่า คนรุ่นใหม่ต้องการ
มากกว่าแค่ความรู้ในเรื่องการคิดและเทคนิคการผลิต เท่านั้น ความสามารถในการออกไปประกอบอาชีพ และ สามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยวิชาชีพถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรได้รับการสนับสนุนไม่แพ้กัน เถ้าฮงไถ่ ในปัจจุบัน จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งสถาบันในการสนับสนุนและเป็น พี่เลี้ยงให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ในช่วงเริ่มต้น เพื่อให้ ยืนหยัดต่อไปได้อย่างมั่นคง ร่วมติดตามนานาสาระและ เส้นทางเดิน 78 ปี ของศาสตร์แห่งเครื่องปั้นดินเผา อันโดดเด่นของจังหวัดราชบุรี ที่ถูกเล่าผ่านบทสัมภาษณ์ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ หนึ่งในนักออกแบบเครื่องปั้น ดินเผาซึ่งเป็นที่รู้จักดีคนหนึ่งในวงการออกแบบไทย เรื่องราวของคนรุ่นที่สาม ผมทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาอยู่ที่ราชบุรี ซึ่งเป็นกิจการที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ปีนี้เป็นปีที่ 78 เมื่อก่อนผมเติบโตมากับโรงงานเครื่องปั้นดินเผา แต่ผม ไม่ได้ชอบเรื่องเซรามิค แต่เสียดายหากสิ่งที่อากงทำมา
พ่อแม่สร้างมาต้องหายไปคงเป็นสิ่งที่เศร้า ก็เลยมี ความคิดตั้งแต่เด็กๆ ว่า ไม่ว่าจะจบอะไรมาก็แล้วแต่ แต่ วันหนึ่งเราต้องกลับมาที่โรงงานเราให้ได้ เป็นเหตุบังเอิญ ที่ผมมีโอกาสไปศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้งแรกคุณพ่อ ต้องการให้ไปเรียนด้านวิศวะเครื่องปั้นดินเผาเพื่อไปซื้อ เครื่องจักรกลับมาปรับปรุงและเปลี่ยนรูปแบบโรงงานของ เรา ช่วงแรกที่ผมไปก็ไม่ได้มีความชอบเรื่องเครื่องปั้นดิน เผาเลย คือไปเพราะรู้สึกว่าเรามีทางเลือกอื่น เมื่อไปถึง ที่โน่นแล้วพ่อแม่คงไม่ว่าอะไรเราแล้ว ถ้าจะไปเรียนอะไร ตามที่ใจชอบ แต่อาจเป็นเพราะความบังเอิญหรือจังหวะ ที่สอบเข้าที่โรงเรียนเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาก่อน ช่วงแรกๆ ก็ยอมรับว่าไม่ได้ชอบเพราะภาษา และสิ่งที่เรา ทำไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แต่พอผ่านไปสักปีหนึ่งสองปี คำว่าเส้นผมบังภูเขามันมีอยู่จริง ช่วงปีแรกเราตั้งใจทำ ตามโจทย์ที่อาจารย์กำหนด ทำด้วยความรู้สึกพยายาม อยู่ไม่สนุกกับมัน แต่ปีที่สองภาษาดีขึ้นและมีเพื่อนมาก ขึ้นเห็นเพื่อนเอาดินกลับไปปั้นที่บ้าน เลยเกิดความคิดว่า
ทำไมไม่เอาดินกลับมาปั้นสิ่งที่เราคิด เส้นผมบังภูเขาใน มุมมองผมคือ บางครั้งมันอยู่ใกล้ๆ เราแต่เราไม่สามารถ เห็นบางสิ่งบางอย่างที่บดบังได้ แต่หลังจากที่เอาดินกลับ ไปปั้นแล้ว ผมรู้สึกว่าเซรามิคเป็นได้มากกว่าที่อากงทำ มา พ่อทำมา สิ่งที่ผมเห็นจากโรงเรียนสอนสั่งมา แต่ เซรามิคสามารถเป็นได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นได้มากกว่าสิ่ง ที่เราคิด แต่เราต้องเปิดกว้างและเล่นสนุกกับวัสดุตัวใด ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้น อิทธิพลที่ปลูกฝังเรามาตั้งแต่เด็ก เช่น อากงทำ โอ่งมังกร ไหน้ำปลา และคุณพ่อก็ศึกษาของเก่า บางสิ่ง บางอย่างเราเห็นมาทุกวันแต่คุณค่าสิ่งที่เราเห็นอาจพบ ในวัยหนึ่ง ช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมา ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นสิ่งที่ปลูกฝังเรามา ในช่วงแรกผมไม่ได้ชอบงานศิลปะ หรืองานออกแบบอะไร จุดเริ่ม เริ่มจากที่ต้องการกลับมา สานต่อกิจการของครอบครัวเท่านั้น แรงบันดาลใจอาจ
เกิดจากสิ่งที่ผมเห็นมาตั้งแต่เด็กนำมาคิดว่าเราเห็นอะไร ผมสนใจในสิ่งที่ผมทำ ช่วงสานต่อธุรกิจ จริงๆ ผมกลับมาในช่วงเวลา... ซึ่งผมต้องเท้า ความก่อนว่า ยุคที่สองเป็นยุคคุณพ่อเป็นจุดเปลี่ยนจาก โอ่งมังกร เป็นเซรามิคที่มีสีสันมากขึ้น อาจไม่มีดีไซน์ อะไรมากนัก จุดเปลี่ยนในยุคที่สองเนื่องมาจากความ ต้องการโอ่งมังกรลดลง เพราะความเจริญทางเทคโนโลยี ด้านอื่นมาแทนที่ เช่น ถังพลาสติก โอ่งซีเมนต์ มีการ ชลประทานที่ดีขึ้น มีการประปาที่ดีมากขึ้น ทำให้ความ ต้องการโอ่งมังกรลดลง ยุคของคุณพ่อผมเข้ามาเปลี่ยน คุณพ่อศึกษาเรื่องเครื่องปั้นดินเผาด้วยตนเองในยุคที่ ระบบการเรียนการสอนแทบจะไม่มีเลย ข้อได้เปรียบของ โรงงานเราในยุคที่สองคือ เรามีโนว์ฮาวที่อาจจะดีกว่า โรงงานอื่น ซึ่งอาจเป็นจุดที่เราได้เปรียบแต่เมื่อถึงยุคผม กลับมาเมื่อประมาณปี 1999 สิบกว่าปี โนว์ฮาวไม่ใช่สิ่ง
109
ทีไ่ ด้เปรียบอีกต่อไป เพราะจริงๆ ตอนผมกลับมาสานต่อ ปัญหาที่พบก็คือ ทุกโรงงานสามารถทำได้เหมือนเราหมด เราจะทำยังไง แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมทำในปัจจุบันอาจ ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่ผมเลือกทางออกโดยการใช้ ศิลปะและการออกแบบ เพราะท้ายที่สุดผมก็ไปเรียนการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบเทคนิคเครื่องปั้นดินเผา และเรียนเกี่ยวกับไฟน์อาร์ตศิลปะ ผมเอาสิ่งที่ผมเรียนแล้ว สนุกที่สุดกลับมาทำงาน สานต่อกิจการในครอบครัว เมื่อ สิบกว่าปีก่อนวงการเครื่องปั้นดินเผาเราอยู่ในขอบเขต ที่ค่อนข้างจำกัด แล้วก็สีสันต่างๆ ผมมาจับเรื่องสีก่อน เราเจอสีน้ำตาลเอิร์ทโทน เพราะมันเป็นเทรนด์เมื่อสิบ กว่าปีก่อน จังหวะที่ผมกลับมาเซรามิคทุกโรงงาน แม้แต่ ในโรงงานเราก็เป็นสีเฉดนั้นหมด วันหนึ่งผมไปดูหนังสือ ตกแต่งบ้านเล่มหนึ่ง มีคนนำเฟอร์นิเจอร์ยุคเรทโทรมาใช้ เมื่อสิบกว่าปีก่อนยังไม่เยอะแยะเหมือนทุกวันนี้ ผมไปฟัง ที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดซึ่งบรรยายเรื่องเทรนด์ในยุค ต่อไป ซึ่งก็พูดในแนวเอิร์ทโทนอยู่ ถ้าทุกโรงงานทุกคนที่ ไปฟังในวันนั้นทำในสิ่งเดียวกันหมด นักออกแบบบอก เอิร์ทโทน ถ้าเราทำสิ่งที่แตกต่างออกมาจะเป็นไปได้ไหม ผมไม่เคยเปลี่ยนสิ่งที่อากงทำมา ผมไม่เคยเปลี่ยนสิ่งที่ พ่อแม่ทำมาแต่ผมเพิ่มเข้ามาเท่านั้นเอง ผมจะเปลี่ยน ทำไมเพราะสิ่งที่อากง พ่อแม่ทำมา เป็นสิ่งที่เป็นแรง บันดาลใจให้เราสืบสานสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นผมไม่เคย คิดเปลี่ยนแต่ผมพยายามทำบางสิ่งบางอย่างเสริมเพิ่ม ขึ้นมาเท่านั้นเอง ผมจึงทำเซรามิดสีสดๆ ขึ้นมาเพราะ เรทโทรจุดเด่นจริงๆ ก็คือ ช่วงนั้นยังไม่มีสีสดๆ เราจะทำ สีสดๆ ได้ไหม แต่ว่าไม่เป็นรูปทรงเหมือนเขาแต่เราจะทำ รูปทรงของเราแต่ เอามาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสีอย่างนั้น เป็นไปได้ไหม เป็นคำถามเล็กๆ ที่ผมลองตั้งขึ้นมาและ ทดลองจริงๆ มันเป็นสิ่งที่คนที่เรียนศิลปะหรือเรียนการ ออกแบบ คำถามในใจคือสิ่งที่เรียกว่าจินตนาการหรือใดๆ ก็ตามที่เราจะเรียกตราบใดที่เราไม่สามารถทำให้จินตนาการ เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะจินตนาการ ผมคิด ว่าเราต้องสนุกที่ทำลายจินตนาการหมายถึงเราต้องทำ ให้เป็นจริงขึ้นมา เป็นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบ มองรูปแบบแนวทางสร้างสรรค์ยังไง ผมพูดคำว่าสนุกมาตลอด เพราะสนุกมันคล้ายๆ เราไม่ได้ระบุว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นคาแรกเตอร์ หรือลายเซนต์ของเรา แต่ผมรู้สึกว่าผมสนุกที่จะเล่นกับ ทุกสิ่งทุกอย่างและไปให้ชิดกรอบที่เราจะไปถึงให้ได้มาก ที่สุด กรอบหรือขอบของผมเนี่ยมันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นเส้น ที่ตีรอบมุมมอง จินตนาการหรืออะไรก็แล้วแต่ กรอบเป็น สิ่งทีขยายได้ บูดบิดเบี้ยวได้ หรือเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ เราทำอย่างไร ที่เราจะทำให้เราสนุกและอยากเห็นมัน อยากทำให้มันเป็นจริงได้มากที่สุด
110
ผลิตภัณฑ์และศิลปะ สร้างสมดุลยังไง ผมอาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะพูดด้านนี้ หลายคน พูดว่าการจะทำให้ดีเราต้องรีเสิร์ชด้านการตลาด นู่นนี่ นี่นั่น แต่ส่วนตัวผมคิดว่า ผมทำที่เปลี่ยนสีครั้งแรก การ สื่อสารให้คนในโรงงานเข้าใจหรือแม้แต่คุณพ่อผมรุ่นที่ สองเข้าใจเป็นสิ่งที่ค่อนข้างลำบาก และกระอักกระอ่วน ระดับหนึ่งเหมือนกัน แต่จุดหนึ่ง ข้อดีของการได้เรียน ศิลปะหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ มันทำให้รู้สึกว่าเรามี จุดยืน เราต้องการเห็น พอเราเห็นอะไรต้องทำจนจบให้ได้ มันไม่ใช่สิ่งที่ตอบสนองความต้องการทางการตลาดได้ ตอบสนองความต้องการของใครคนใดคนหนึ่งได้ แต่ใคร คนใดคนหนึ่งที่สำคัญที่ต้องตอบให้ได้คือ ต้องตอบสนอง ความรู้สึกของตนเองให้ได้ เราต้องการจุดนี้และต้องทำ ให้เป็นจริงให้ได้ ตอนเริ่มทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พูดผมไม่ได้ คาดหวังผลทางการตลาด หลายๆ คน ศิลปินเวลาแสดง งานอะไร แม้พูดว่าไม่หวังผลทางการตลาด แต่ท้ายที่สุด ก็หวังว่าจะได้รับการยอมรับทางใดทางหนึ่ง ผมเชื่อว่า จุดหนึ่งมันสำคัญกว่าการยอมรับหรือการขายได้ คือ ผม ต้องการเห็นมันในรูปแบบของความเป็นจริงขึ้นมาเป็น จุดเริ่มของทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เป็นผลตอบแทนกลับมา เป็นผลพลอยได้มากกว่า ผมบอกว่ามันไม่ใช่ตัวอย่างที่ดี มันดูเหมือนยโส แต่ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยผมก็ไม่เคยเปลี่ยน สิ่งที่โรงงานทำมา เพราะอย่างน้อยหากขายไม่ได้ ก็มีฐาน ที่รองรับโรงงานของเราอยู่ แต่ในช่วงเวลานั้นไม่ได้คิด อะไร ผมคิดเพียงแต่ว่าเราต้องทำออกมาให้ได้เท่านั้นเอง ชิ้นงานที่ภูมิใจ จริงๆ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราทำขึ้นมาและ แฮปปี้ที่เห็นมัน หากถามว่าเราชอบชิ้นไหนที่เราภูมิใจ มากที่สุด ยังไม่มีชิ้นนั้นจริงจัง คล้ายเราถามศิลปินว่าเขา ชอบศิลปะชิ้นไหนมากที่สุด จริงๆ ร้อยละ 90-80 ยัง ไม่ได้ทำขึ้นมา จริงๆ จุดนั้นไม่ใช่สิ่งดีเลิศที่สุดอะไรแต่ เป็นสิ่งที่ผมชอบมัน ยกตัวอย่าง คือ ผมเริ่มจากโอ่งมังกร อากงก็เป็นช่างปั้นทำโอ่งมังกร พ่อก็ทำโอ่งมังกรมา ใน ลั ก ษณะเป็ น แมสโปรดั ก ชั่ น ที่ ท ำให้ ร าชบุ รี มี ชื่ อ เสี ย ง เรื่องโอ่งมังกรเพราะเราเป็นเจ้าแรกที่ผลิตโอ่งมังกร ทำไม เราไม่มีโอ่งมังกรที่เป็นเจเนอเรชั่นที่สามออกมา เพราะ ราชบุรีเราเริ่มจากโอ่งมังกร ตระกูลเราก็เริ่มจากการทำ โอ่งมังกรตั้งแต่เมืองจีน โอ่งมังกรปัจจุบันมีการใช้งาน น้อยลงอย่างที่บอกไว้แล้ว ความจำเป็นมันแทบไม่มี ปัจจุบัน มีการประปาสมบูรณ์แล้ว เราจะทำอย่างไรให้โอ่งมังกร กลับมาใช้ได้อีก มีฟังก์ชั่นและใช้ประดับตกแต่งได้ด้วย เลย ทำเป็นโอ่งมังกรเจเนอเรชั่นที่ 3 ขึ้นมา คือ รูปทรงง่ายๆ ที่ อิงของเก่า แต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้ร่วมสมัยและโมเดิร์น มากขึ้นโดยลวดลายอาจเป็นกราฟฟิกมากขึ้น หรือกลาย เป็นสีสันที่ใช้ตกแต่งบ้านร่วมสมัยได้มากขึ้นและหลาก หลายมากกว่า
เปิดกว้างกับวัสดุ แนวคิดของผมเปิดในหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง ที่จริงผมทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมา แต่เวลาผมคุยกับคน หรือสอน คนเราอย่ายึดติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือยึดติดกับวัสดุ ว่าดินเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับงานๆ หนึ่ง อีกหลายๆ งาน จริงๆ เราต้องปรับ ผมเชื่อว่าต้องเห็น ดู เล่นกับหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง เพราะคนทำเครื่องปั้นดินเผามักได้ยินคำ ครหาที่ว่าคนทำเครื่องปั้นดินเผายึดติดกับวัสดุ เพราะ จริงๆ การยึดติดกับวัสดุเป็นการจำกัดมุมมองทางศิลปะ และการออกแบบระดับหนึ่งจริงๆ ส่วนตัวผมเชื่อว่าเราอย่า ไปจำกัดว่าตัวเองต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ จริงๆ หลายสิ่ง หลายอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ไม่จำเป็นว่าเกี่ยวกับงานศิลปะ เท่านั้น เพียงแต่เราต้องดึงมาและเห็น ใช้มันกับสิ่งไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เท่านั้น การดำเนินชีวิตส่งผลต่อการคิดงานไหม จริงๆ ผมใช้หลักการคุย พูดคุย พบปะผู้คน ลูกศิษย์ลูกหารุ่นใหม่ๆ รุ่นเก่าทั้งหลาย ยกตัวอย่างว่า การดำเนินชีวิตในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในโรงงานเป็นหลัก การที่จะสร้างสรรค์ผลงานเราก็ต้องออกมาพบปะ พูดคุย เจอกับผู้คนบ้าง และสิ่งหนึ่งที่เราพยายามทำหรือสร้างขึ้น มาไม่ใช่เฉพาะส่วนตัวหรือโรงงานเรา หรือของชิ้นงาน เราเองเท่านั้น ผมเชื่อว่าในฐานะศิลปินหรือนักออกแบบ เราต้องพยายามสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย อย่าง ที่เราทำในปัจจุบันเราเอาเด็กที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ด้านการออกแบบมาก่อนเลยมาฝึกงานที่โรงงานเรานี้ เงื่อนไขอย่างหนึ่งคือ ผมต้องการให้เขาได้เรียนรู้และได้ แสดงผลงานรูปแบบที่เขาต้องการออกสู่สาธารณชนให้ได้ เราเชื่อว่าทางเราหรือทางโรงงานเราสนับสนุนศิลปินมา หลากหลาย แต่หากเราเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้นก็ไม่มี ประโยชน์อะไรสิ่งที่เราสำคัญและจำเป็นมากกว่าคือ เรา ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย นี่เป็นจุดที่ปัจจุบันอาจ เรี ย กว่ า เป็ น เมนหลั ก ในการใช้ ชี วิ ต ของผมด้ ว ยซ้ ำ ไป เพราะผมพยายามสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เพื่อต่อยอด และวันหนึ่งผมอาจไม่ได้ทำงานเครื่องปั้นดินเผาหรือ เซรามิคต่อไปแต่หวังว่าต้นไม้ที่พยายามปลูกขึ้นมา จะ กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ของวงการดีไซน์ ศิลปะไทยต่อไป ได้อีกนาน งานเครื่องปั้นดินเผาเชื่อมโยงกับใครได้บ้าง ผมเปิดกว้าง ไม่เพียงกลุ่มศิลปินหรือกลุ่มคนที่มี ความรู้ด้านเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้น แม้กระทั่งเด็ก โรงเรียนปฐม อนุบาลที่เข้ามา มันมีหลากหลายกลุ่มที่เรา ให้การสนับสนุนอยู่ ขอยกตัวอย่างเมื่อสองปีก่อนเราจัด งานที่ Play Ground ชื่องาน Chapter 75 เราเชื้อเชิญ ศิลปินที่ไม่เคยทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อนเลยมาทำเครื่อง ปั้นดินเผาเพื่อให้เห็นความหลากหลายของเครื่องปั้นดิน
เผาว่ามันมีมากกว่าสิ่งที่คุณเห็นมันมากกว่าโอ่งมังกร มาก กว่าเซรามิคที่ราชบุรีทำ มากกว่าที่ลำปางหรือเชียงใหม่ ทำ มันสามารถเป็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ในมุมมองของคุณ เหตุผลนี้ผมจึงเชิญคนที่ไม่เคยทำเซรามิคมาก่อนมาทำ เซรามิคครั้งแรก การสนับสนุนปัจจุบันผมเชื่อว่าผมได้รับ มากระดับหนึ่งในวงการ จากเพื่อนฝูงในวงการที่เข้าใจสิ่ง ที่เราทำและช่วยเหลือ ในเรื่องทั้งมุมมอง ความคิด เวลา และแจมกับเราบ่อยครั้ง ส่วนการสนับสนุนในปัจจุบัน จากภาครัฐ ได้รับจากการท่องเที่ยวเพราะเราพยายาม โปรโมทว่าราชบุรีเป็นเมืองแห่งศิลปะ ทำอย่างไรให้ราชบุรี เป็นเมืองแห่งโมเดิร์นอาร์ตขึ้นมาให้ได้ เพราะฉะนั้นจริงๆ หน่วยงานที่เข้าใจและสนับสนุนเรามากๆ คือ การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ฝากอะไรไว้ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ เป้าหมายหนึ่งที่ผมคิดว่าได้ทำแล้ว คือการได้มา สานต่อกิจการของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่าได้ทำ หน้าที่ของลูกหลานคนหนึ่งระดับหนึ่งแล้ว เป้าหมายต่อไป คือการสร้างเจเนอเรชั่นใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาประดับ วงการเครื่องปั้นดินเผาของไทยต่อไปได้อย่างไร และเรา สามารถสนับสนุนเขาให้อยู่ในวงการนี้อย่างยาวนานได้ อย่างไร นี่เป็นจุดที่เป็นปัญหา ณ ปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ตอนนี้ผมสอนอยู่ที่ศิลปากร ลูกศิษย์แต่ละปีแต่ละรุ่นที่จบ มาแล้วทำเซรามิคแต่ละปี บางทีอาจไม่มีเลย ปัญหาคือ เขาไม่สามารถยืนอยู่ด้วยตนเองได้ อาจเป็นเพราะเซรามิค เป็นสิ่งที่ต้องลงทุนและค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเด็กนักศึกษาบาง คนไม่มีศักยภาพทำได้ เราจะกลายเป็นสถาบันได้ไหม ที่ สร้างและประคับประคองกลุ่มคนกลุ่มนี้ให้สามารถยืน ได้ด้วยลำแข้งต่อไป
111
วิริยะ วัฑฒนายน
Emerging Award 2008
Wiriya Wattanayon
“แก่นของความเป็นไทย ผมตีความถึงสุภาพ เรียบร้อย มีมารยาท ผมมองว่าเป็นเสน่ห์ของความเป็นไทย”
วิริยะ วัฑฒนายน เป็นนักออกแบบที่เรียนจบมา ทางการออกแบบเซรามิค และได้ใช้ความรู้ความชำนาญ ตามสาขาที่เรียนมาเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในบริษัท Cotto ในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเบื้องบุผนัง ปูพื้นหรือ Covering ของบ้านทั้งหมด ซึ่งเป็นหน้าที่ รับผิดชอบหลักของเขา แต่ผลงานที่สร้างชื่อให้วิริยะกลับเป็นงานออกแบบ เฟอร์นิเจอร์พับเก็บประหยัดพื้นที่ ซึ่งได้รับรางวัลจากการ ประกวด eco living ของนิตยสาร living etc. ร่วมกับ Index Living Mall และผลงานชิ้นนี้ก็กลับมาตอกย้ำความ สำเร็จอีกครั้ง เมื่อนำวิริยะเข้าสู่การคัดเลือกนักออกแบบ รางวัล Emerging Designer ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และชนะใจกรรมการได้รางวัลนักออกแบบหน้าใหม่ไป ครองในที่สุด วิริยะมีความชื่นชอบเป็นพิเศษต่อความเรียบง่าย เพราะเชื่อว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลงานนั้นๆ อยู่ใน บรรยากาศแวดล้อมได้นาน และหากจะแฝงซ่อนลูกเล่น
112
ที่มีประโยชน์เอาไว้ ก็ควรจะเป็นไปในแนวทางที่ต้อง แนบเนียนกลมกลืนไปกับความเรียบง่ายเป็นหลัก เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่านักออกแบบคนหนึ่งซึ่งมีงาน ประจำเฉพาะทาง ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องลึกซึ้งทางวัสดุ ศาสตร์อย่างงานเซรามิค จะสามารถแบ่งภาคมาสนใจ งานอืน่ ๆ และทำมันออกมาได้อย่างน่าชืน่ ชม ภายใต้โจทย์ และกฎเกณฑ์ที่ต่างกัน การคิดงานอยู่ตลอดเวลา และ การหมั่นหาข้อมูลจากสิ่งรอบตัว หนังสือ นิตยสาร รวมไป ถึงการเดินทางศึกษาดูงาน อาจเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยในการสร้างนักออกแบบคุณภาพอย่างวิริยะ ยังมีปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ ที่เหล่าบรรดานักออกแบบ รุ่นใหม่ๆ ของไทยต้องการเข้าถึง เพื่อเติมเต็มศักยภาพ ของตน สู่การเป็นมืออาชีพ ในเมื่อนักออกแบบรุ่นพี่ๆ หลายคนเคยพิสูจน์แล้วว่ามันสมองนักออกแบบไทยไม่ เป็นรองใคร ในฐานะที่เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ วิริยะคิด อย่างไร และเขามองถึงอนาคตและตัวตนของการเป็นนัก ออกแบบไทยอย่างไร ติดตามได้ในบทสัมภาษณ์นี้
ตอนนี้ทำอะไรอยู่ ตอนนี้ผมเป็นนักออกแบบให้ Cotto ผลิตภัณฑ์ กระเบื้องบุผนังปูพื้นหรือ covering ของบ้านทั้งหมด ผมมองว่ากระเบื้องมันเป็นสิ่งสำคัญในการตกแต่งที่อยู่ อาศัยด้วย ไม่เพียงแต่เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน หรือสิ่งของ ต่างๆ ที่เข้าไปมีส่วนทำให้บ้านน่าสนใจ ทุกส่วนในบ้าน สร้ า งความน่ า สนใจสร้ า งเอกลั ก ษณ์ ใ ห้ กั บ ผู้ อ ยู่ อ าศั ย แสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นมีสไตล์การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร แม้เราไม่รู้จักคนๆ นั้นเป็นการส่วนตัว แต่ดูของใช้เราก็ เข้าใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร การศึกษา ผมจบจากศิลปกรรมฯ จุฬาฯ สาขาออกแบบ เซรามิค ตอนเรียนเราจะสเก็ตช์ก่อน ทำงานสองมิติให้ เป็นสามมิติ งานเซรามิคมีความน่าสนใจตรงดินที่เราจะ เอาไปเผาเดิมเป็นสิ่งนุ่มๆ เราเอาไปทำรูปทรงอะไรก็ได้ แต่เราต้องคิดรูปทรงก่อนนำไปเผาว่า เซรามิคคุณสมบัติ
คือมีความหดตัวสูง เวลาขึ้นรูปต้องระวังมากเพราะอาจ ล้มแล้วแตกได้ โดยเฉพาะสีที่มาจากออกไซด์เราต้องรู้ว่า คุณสมบัติของออกไซด์จะให้สีอะไร แต่หากเป็นสีสเตน ธรรมดาเราก็เห็นตามหน้าตาตัวอย่างทั่วไปได้ มันเป็น เหมือนวิธีการที่ทำให้เราต้องคิดล่วงหน้าว่าผลงานจะเป็น เช่นไร มันสอนให้เราคิดว่า เมื่อเราได้โจทย์มาเราต้องคิด อย่างไรเพื่อให้โจทย์นั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุด ถือว่าเริ่มกระบวนการออกแบบตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว ตั้งแต่ผมเริ่มเรียนชั้นมัธยม ผมก็ชอบวาดรูป ประกวดแข่งขันวาดรูป สิ่งที่ได้ก็คือการสังเกต เช่น การ วาดหุ่นนิ่ง สังเกตว่าวัตถุเหล่านั้นมีความโค้งมน ปริมาตร อย่างไร ขึ้นรูปยังไง หลังจากนั้นมาเรียนการออกแบบ มันก็แตกมาอีกสาขาหนึ่ง เริ่มจากวาดรูปได้ การสังเกต การมองความงาม แต่การเรียนการออกแบบใส่ฟังก์ชั่น ลงไปคือศิลปะ และฟังก์ชั่นก็เกิดเป็นงานออกแบบ
ยุ่งยากลำบากและเพิ่มขั้นตอนมากมาย เราซื้อของสำเร็จ ที่ออกมาแล้วเป็นการต่อยอดให้เกิดโปรดักท์ใหม่ๆ ที่มา ซัพพอร์ทนักออกแบบ ในฐานะที่เป็นนักออกแบบและทำงานประจำ มีการแสวงหา และต่อเติมแรงบันดาลใจอย่างไร แบ่งเวลาอย่างไรใน ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ผมว่าแทบแยกไม่ออก เวลาทำงานก็เป็นเวลา ส่วนตัวเพราะงานออกแบบเป็นงานที่ผมรักและชอบ ปกติ เวลาผมไปทำงานก็เหมือนงานที่ทำอยู่นั้นทำในเวลาว่าง เช่นเดียวกัน ในที่ทำงานก็สนับสนุนการหาข้อมูลการหา แรงบันดาลใจมาก เช่น หาข้อมูลจากในงานแฟร์ใน ประเทศและต่างประเทศหนังสือออกแบบ นิตยสารแต่ง บ้านหรือในทางเน็ต ทุกอย่างมีผลทำให้ชีวิตประจำวัน กลมกลืนกันกับการทำงานแทบแยกไม่ออก
มีการแสดงงานต่างประเทศหรือยัง งานของเราเองมีลักษณะเด่นหรือเอกลักษณ์อย่างไร มีครับ แต่ด้านกระเบื้อง Cotto ในพาร์ทที่ผม ที่บอกความเป็นตัวเรา ออกแบบมีหลายตัวที่ออกไปโชว์ไม่ได้ไปในนามของเราแ เอกลักษณ์ที่บอกความเป็นเราได้ คือ ผมชอบ ต่ไปในนาม Cotto แต่มีหลายส่วนที่เราออกแบบไปในฐ ความเรียบง่ายที่มีจุดน่าสนใจ เช่น ฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้าไป านะความเป็น Cotto อาจเป็นมัลติฟังก์ชั่น ที่ซ่อนลูกเล่นข้างใน เช่น โต๊ะหนึ่ง ตัวอาจพับเก็บเป็นเก้าอี้ เป็นภาพประดับฝาผนังได้ คือ มีมุมมองต่อวงการออกแบบอย่างไร เวลาใช้เราเซอร์ไพรส์กับมัน สิ่งที่ทำให้งานน่าสนใจที่ผม ผมมองว่าตอนนี้นักออกแบบรุ่นใหม่มีผลต่อวงการ ชอบคือรูปทรงที่เรียบง่าย และสีแนวเอิร์ทโทนหรือแนว เพราะนักออกแบบรุ่นพี่ๆ สั่งสมมา เป็นรากฐานที่มั่นคง นิ่งๆ คือมันจะอยู่ได้นานกว่า นั ก อ อ ก แ บ บ รุ่ น ใ ห ม่ ม า ต่ อ ย อ ด ท ำ ใ ห้ กระแสที่ตูมครั้งแรกดังต่อเนื่องมาแล้วไม่ขาดหาย ไม่ใช่ อยากให้เล่ากระบวนการออกแบบ ว่ารุ่นพี่ที่เคยออกแบบมาสร้างชื่อเสียงแล้วขาดหายไป กระบวนการของผมต้องเรียนรู้ว่าเราได้โจทย์ แต่นี่มีคลื่นลูกใหม่คอยเติมเรื่อยๆ และมีไอเดียแปลกใหม่ อะไรมา มาวิเคราะห์พลิกแพลงต่อยอดอะไรได้บ้าง ที่ สร้างสรรค์ผลงานให้กับวงการเสมอ ให้เกิดผลที่สมบูรณ์ที่สุด ผมหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หนังสือ แหล่งที่เรียนมา นำมาสเก็ตช์ หากสเก็ตช์ไม่ออก ข้อดี ข้อเสียของนักออกแบบไทย ก็มองหาแรงบันดาลใจ ผมว่าสำคัญเพราะฟังก์ชั่นอย่าง ในมุมมองของผมไม่มีข้อเสียแต่มีโอกาสน้อยกว่า เดียวไม่พอที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับงาน จากนั้นก็ คนอื่น มันไม่มีแฟร์ที่เป็นสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มาโชว์ไอเดีย ลองสเก็ตช์และทำโมเดล และลองเสนอแบบ หากแบบ กันมาก แต่คุณสมบัติของไทยมีจุดแข็งที่มีวัสดุสามารถ ผ่านก็ไปทำม็อคอัพ และเทสท์ดูอีกครั้งหนึ่งครับ หาได้จากท้องถิ่น การที่หาวัสดุได้ตามท้องถิ่นแน่นอนว่า ต้องมีช่างที่ชำนาญมาซัพพอร์ทตรงนั้นนี่นับเป็นข้อดี ผลงานที่ได้รับรางวัลและเป็นที่รู้จัก ของเรา ผลงานทีไ่ ด้รบั เสียงตอบรับและแจ้งเกิด จากวงการ คือ การประกวด eco firendly design ของนิตยสาร มีการนำแนวคิดภูมิปัญญาไทยมาใช้ไหม living etc. ร่วมกับ Index Living Mall รู้สึกว่าตอนนั้นโจท ในแง่มุมของผม ภูมิปัญญาไทย ผมไม่ใช้สิ่งที่เห็น ย์ที่ได้รับมา คือการออกแบบเครื่องใช้ที่เน้น eco friendly ทั่วไปเช่นลายไทยหรือวิจิตร แต่แก่นของความเป็นไทย ผมมองว่า eco เป็นอะไรได้บ้าง ไม่ใช่เพียงการนำของ ผมตีความถึงสุภาพ เรียบร้อย มีมารยาท ผมมองว่า เก่ามาทำให้เป็นของใหม่ แต่มันรวมถึงการผลิตและต้อง เป็นเสน่ห์ของความเป็นไทย นอกนั้นผมมองเรื่องฟังก์ชั่น ประหยัดพลังงานมีของเสียน้อยที่สุด ประหยัดการขนส่ง ต่างๆ ที่คนในอดีตแอพพลายมาจากสิ่งที่ต้องใช้และทำ น้ำหนักเบาซ้อนทับได้มาก หรือวัสดุ เป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว เป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ผมมองว่าเป็นเสน่ห์ของภูมิปัญญา ว่าหากออกแบบรีไซเคิล ก็ต้องหาของรีไซเคิลมาใช้ แต่ ส่วนความเป็นไทยคือความละเอียดรอบคอบในการทำงาน หากหาของไม่ได้เราก็หาของที่มีบริษัทต่างๆ นำมาผลิต คือ ถ้าเป็นในเชิงช่างวิจิตรก็เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่ละเอียด แล้ว เช่น แผ่นขี้เลื่อยอัด ปกติหากเรานำมาทำเองมันจะ มาก แต่ในเชิงช่างถ้าทำจริงๆ และใส่ใจ คือความละเอียด เรียบร้อย เนี้ยบ ทำนองนี้ครับ 113
ตอนนี้รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับ Creative Economy คุณวิริยะมีความเห็นอย่างไรผ่านมุมมองของเซรามิค Creative Economy ตอนนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก โลกเราหากมีสินค้าขึ้นมา สิ่งที่แข่งได้คือดีไซน์ ส่วนอย่าง อื่นทุกบริษัทน่าจะใกล้เคียงกัน ดีไซน์ที่มาตอบโจทย์ลูกค้า ที่แตกต่างกัน มันจะทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องศักยภาพ และมุมมองของบริษัทนั้นๆ ขึ้นครับ รัฐบาลควรสนับสนุนนักออกไทยเรื่องใดบ้าง จริงๆ สิ่งที่ต้องการในตอนนี้ก็มี เริ่มมีทุกอย่าง แต่ บ างที ยั ง กระจายไปไม่ ทั่ ว ถึ ง เช่ น การรวมตั ว ของ นักออกแบบเพื่อแชร์ไอเดียหรือความรู้ ทำให้มีความ แข็งแกร่ง ต่อไปรุ่นหลังๆ จะได้รับประสบการณ์หรือการ ถ่ายทอดที่ดีสู่รุ่นถัดๆ ไป จะเป็นไปได้ไหม ที่รัฐบาลจะมี แหล่งผลิต ไม่ว่านักออกแบบจะคิดอะไรก็สามารถนำ มาลองทำเป็นโปรโตไทป์ดู ซึ่งบริษัทเหล่านั้นควรมีฝีมือ มาตรฐาน สามารถสนองตอบความต้องการดีไซเนอร์ทุก ประเภททั้งฟอร์มและฟังก์ชั่น เหมือนเป็นแหล่งรวมที่ให้ นักออกแบบมาปล่อยของได้ อนาคต มีเป้าหมายสร้างงานออกแบบอย่างไรบ้าง ในอนาคตความชอบของผมด้านการออกแบบ ผมเกิดความสนใจ เฟอร์นิเจอร์ พวกของแต่งบ้าน เมื่อเรา สนใจของแต่งบ้านก็มาหาว่ามีอะไรบ้าง อาจก่อให้เกิด จ๊อบเล็กๆ สำหรับเราเหมือนเป็นฮ็อบบี้ จากนั้นผมมาศึกษา ว่าการออกแบบเฟอร์นิเจอร์มีรูปแบบไหนบ้าง เราสนใจ แบบไหน อย่างที่บอกผมสนใจความเรียบง่ายมัลติฟังก์ชั่น มีไอเดียเก๋ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ของเรารู้สึกว้าวขึ้นมา ถ้าเป็นไป ได้อนาคตอาจเปิดสตูดิโอเล็กๆ เพื่อออกแบบและหากลุ่ม เพื่อนๆ มาช่วยก่อตั้งบริษัทเล็กๆ ขึ้นมา ลองดูกันในอนาคต ว่าจะเป็นไปได้ไหม
114
115
ศรัณย์ อยู่คงดี Saran Yookongdee
Emerging Award 2008 Designer of the Year 2009
“สองสิ่งที่ผมสนใจ คือศิลปะที่แสดง ความเป็นตัวตนของชาติพันธุ์และ ความขัดแย้งในความกลมกลืนของงานศิลปะ”
ศรัณย์ เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีความขยันและ ความตั้งใจในการทำงานสูง มีกระบวนการในการทำงานที่ มีขั้นตอนชัดเจน ตั้งแต่การค้นหาแรงบันดาลใจที่สอดรับ กับโจทย์ ประมวลผลทางความคิด ออกแบบ ควบคุมการ ผลิต จนถึงการมีส่วนร่วมในการจัดแสดงสินค้า เนื้อหาใน งานออกแบบของศรัณย์ โดดเด่นเป็นอย่างมากในการเล่น กับวัสดุต่างๆ และหาทางออกได้อย่างลงตัว จนได้เป็น ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่เหมาะสม ตามแต่คุณสมบัติของวัสดุ นั้นจะให้ได้มากที่สุด ความเชื่อมั่นในการเป็นนักออกแบบ ไทย และการสร้างงานที่มีกลิ่นอายเป็นไทย เห็นได้ชัด ผ่านผลงานหลายชิ้น การหยิบยกเอาอัตลักษณ์บางอย่าง ในสภาพแวดล้อมที่เติบโตมาถ่ายทอดสอดแทรกลงใน ผลงาน เป็นสิ่งที่ศรัณย์ชื่นชอบ และเป็นสิ่งที่ตนเองมองว่า เป็นวิธีที่จะสามารถสร้างความโดดเด่นได้ในเวทีโลก หรือ จะพูดให้ถูกก็คือ “โดดเด่นด้วยการเป็นตัวของตัวเอง” ศรัณย์ เป็นนักออกแบบอีกคนหนึ่งที่มองว่าการ เป็นนักออกแบบไทยนั้นมีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการ แม้ไม่ต้องมองลึกไปในเหตุผลของศรันย์ ด้วยระบบการ 116
คิดในเชิงบวกเช่นนี้ ก็เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดว่านักออกแบบรุ่น ใหม่ไฟแรงคนนี้ไม่ได้เอาอุปสรรคเรื่องของการเป็นนัก ออกแบบในประเทศที่ด้อยเทคโนโลยี หรือเติบโตมาใน ประเทศที่กำลังพัฒนามาเป็นข้ออ้าง ที่จะบอกว่าเราไม่ สามารถไปถึงฝั่งฝันได้เพียงเพราะเราเกิดผิดที่และไม่ ถูกเวลา ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นดรรชนีที่ชี้วัดคุณภาพ ของนักออกแบบได้เพียงใด ความเชื่อมั่นในชนชาติและ บ้านเกิดเมืองนอนก็สามารถชี้วดั ได้ว่า นักออกแบบคนนัน้ จะยืนหยัดอยู่ในวงการออกแบบในที่ของเขานั้นได้นาน แค่ไหน ตอนนี้ทำอะไรอยู่บ้าง รับผิดชอบงานอะไรอยู่ ตอนนี้เป็นดีไซเนอร์ทั้งประจำและอิสระอยู่กับ บริษัท ตอนนี้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับงานออกแบบที่เน้น วัสดุที่ใช้วัสดุธรรมชาติร่วมในการออกแบบ ผมจบการ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เอกศิลปะจินตทัศน์ ตอนที่เข้ามารู้จักกับงานออกแบบ
ครั้งแรก เรารู้สึกว่าเราอยากเริ่มต้นเรียนศิลปะก่อนรู้จัก การออกแบบ จึงเลือกสาขาศิลปะจินตทัศน์ การเรียนที่นี่ เราศึกษารูปแบบศิลปะในยุคต่างๆ ศึกษากระบวนการคิด การพัฒนาด้านศิลปะในยุคต่างๆ ซึ่งพอหลังจากที่เราจบ แล้ว เรามีโอกาสได้รู้จักกับงานออกแบบในบ้านเรา เริ่ม จากการได้อ่านนิตยสารและรู้จักกับยุคที่มีการบุกเบิกการ ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เกิดแบรนด์พันตา โยธกา รู้จักกับ คุณสุวรรณ พี่หน่า และหลายๆ แบรนด์ที่มีกระบวนการ คิดนำเอาวัตถุดิบธรรมชาติที่หลายๆ คนไม่ให้ความสำคัญ มามีส่วนร่วม ดังนั้นมันคือแรงบันดาลใจเบื้องต้น ที่เรา ก้าวมาดึงเอาสิ่งที่ไม่มีใครสนใจ ขายกันดาษดื่นแต่ไม่เกิด มูลค่าทางความคิด เราเลยลองศึกษาอย่างจริงจัง เราไม่ ได้เรียนด้านการออกแบบแต่เรานำกระบวนการทางศิลปะ มาใช้ งานในยุคแรกๆ ที่เราเริ่มทำให้บริษัทเป็นการทำงาน เพื่อตอบสนองความสวยงามเป็นหลัก การออกแบบ หรือ ฟังก์ชั่นเราค่อยๆ เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จาก ผลงานที่เราสร้างสรรค์มันออกมา และเอามาใช้และเทสต์ กับกลุ่มตลาดหรือลูกค้าว่าคิดอย่างไร
มีสไตล์ของตัวเองในงานออกแบบไหม เราใส่ลายเซ็นอะไร ลงไปบ้าง โดยสไตล์ส่วนตัวผมชอบหาแรงบันดาลใจจาก สิ่งที่เราเห็นกันทุกวัน และช่วงหน่ึ่งที่มีโอกาสมีบ้านอยู่ ใกล้กับวัดและต้องเดินไปกลับทุกวัน เรามีโอกาสได้เห็น ความงามของวัด แต่วัดนี้เป็นวัดที่ธรรมดามากๆ คือเป็น วัดที่เราเห็นทั่วไป มีโบสถ์ เจดีย์ หลังคาสีสันสดใสสะดุด ตา คนทั่วไปคิดว่ามีอยู่ทั่วไป เห็นอยู่ทุกวันแต่ไม่มีใครลอง ดึงเอากิมมิคบางอย่างออกมา ซึ่งบางคนคิดว่าการเอาวัด มาใช้คือลักษณะของลายไทย พอเราได้เข้าไปสัมผัสจริงๆ เราเข้าไปอยู่ทุกวัน เราจะเริ่มจับอะไรได้บางอย่าง สำหรับ ผมเองงานที่ออกมาจากผมทุกชิ้นจะมีกลิ่นอย่างหนึ่ง ของความเป็นไทย คือการเอาความขัดแย้งเรื่องอารมณ์ เพราะวัดมีความโค้งมนอ่อนช้อย ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และความแข็งของเส้นตรง อย่างความตรงของเสา กับ ความโค้งอ่อนช้อยของหลังคา ความคอนทราสท์ของสอง สิ่งที่ผมสนใจ คือศิลปะที่แสดงความเป็นตัวตนของชาติ พันธุ์และความขัดแย้งในความกลมกลืนของงานศิลปะ มีกระบวนการออกแบบตั้งแต่เริ่มกระทั่งจบอย่างไร สำหรับการออกแบบถ้าให้ไล่ตั้งแต่เริ่มต้น ผมให้ ความสำคัญกับแรงบันดาลใจ บางครั้งเราดึงมาจากความ ต้องการของลูกค้า แต่อย่างไรก็แล้วแต่ความต้องการของ ลูกค้าต้องเติมเต็มด้วยตัวของมันเอง อย่างไรก็ตามเราก็ ขายงานดีไซน์ลูกค้าทุกคนที่วิ่งมาหาเรา เขาต้องการ ความเป็นตัวเราบางสิ่งบางอย่างที่ตกผลึกความเป็นไทย มาสู่ตัวดีไซเนอร์แต่ละคน เมื่อเขามาหาเรา เราก็คือตัว ตกตะกอนความเป็นไทย ซึ่งเขาชอบงานแบบเรา เขา ต้องการอรรธรสแบบเรา เขาต้องการงานสไตล์ยุโรป เรา สนุกที่จะแอบหยอดอะไรเป็นไทยๆ ไปตลาดสากลโดย เขาไม่รู้ตัว หรือจินตนาการเป็นอย่างอื่นแต่เราหรือเพื่อน ของเราเมื่อมองงานก็เข้าใจได้ว่ามีแรงบันดาลใจจากความ เป็นไทย เราจะเข้าสู่กระบวนการศึกษาวัสดุ เราไม่ยึดติด กับปอ กระจูด เส้นไหม เราดูหมด การทอผ้า สาน หัตถกรรมเรานำทุกอย่างมาผสมกัน ให้มันมีความน่า สนใจ และเราก็ลองดูงานหัตกรรมที่เป็นงานหัตถกรรม พื้นถิ่นซึ่งตอนนี้ผมชอบงานกระดาษสา เพราะยุคหนึ่งที่ งาน OTOP เฟื่องฟู คนให้ความสนใจกระดาษสาและผลิต ทุกบ้าน เราไปตามเชียงใหม่ทุกบ้านผลิตกันหมดเลย เมื่อ เกิดยุคเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าให้ความสำคัญกับราคาและ คุณภาพซึ่งมีความแตกต่างขึ้นมา ทำให้เราต้องพยายาม ตอบโจทย์ที่จะทำให้กระดาษที่แปรรูปออกมาแล้วน่าสนใจ การศึกษาวัสดุ ต้องเหนือกว่าการนำวัสดุมาใช้ นั้นคือ ข้อดีของวัสดุและนำมาสร้างสรรค์นำมาใส่ พัฒนาให้เป็น นวัตกรรม เช่นกันน้ำได้ กันเชื้อรา ไม่ขาด ทำให้เกิดความ แตกต่างที่ลูกค้าจะวิ่งเข้ามาหาเรา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ มีนวัตกรรม ส่วนสุดท้ายคืองานที่เป็นชิ้นงาน เราศึกษา จากการตลาดเพราะเราเข้าหาลูกค้า เราดูสมั ผัสจากลูกค้า คอมเมนท์ที่เราได้จากงานแฟร์ที่เรานำงานไปโชว์หรือดู จากหน้าร้านที่มีงานของเราขายอยู่ ทำให้เราทราบว่างาน
ของเราต้องมีการปรับหรือพัฒนาขึ้นอย่างไรเพื่อจะตอบ โจทย์คนไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้ามามองหางานของเรา ชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ สำหรับชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ จริงๆ อยาก บอกว่าเป็นรูปแบบของดีไซน์ซึ่งงานที่ค่อนข้างชัดเจน คือ งานที่ผมออกแบบเป็นเปเปอร์พาร์ตชิ ั่น ซึง่ เริม่ จากทีเ่ ราพบ งานประกวดชิ้นหนึ่ง และเขาต้องการให้ทำโปรดักท์ ECO และเราก็ต้องการโปรดักท์ที่ตอบโจทย์กระบวนการผลิต ตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การให้แรงบันดาลใจ ตอบโจทย์วัฏจักรของมันทั้งเรื่องเล่าและกระบวนการผลิต ซึ่งก็คือกระดาษเยื่อกล้วย ลองอินสไปเรชั่นว่าหากลองเอา กระดาษเยื่อกล้วยมาผูกพันกับวิถีชีวิตของเราได้อย่างไร เราก็พบว่าเมื่อก่อนมีการนำกระดาษมาเย็บเป็นหน้าช้าง ซึ่งมันเหมือนโมบายดอกไม้สมัยก่อน เราก็ลองดูว่าใบตอง เมื่อก่อนที่ใช้รองดอกไม้ มันคือส่วนหนึ่งที่นำมาพับ นำมา ทำเป็นกระทง นำมาประดิษฐ์ส่วนหนึ่งของหน้าช้าง ก็มี ใบตองมาเป็นส่วนประสม เราก็พบว่านอกจากความสวย งาม ใบตองและต้นกล้วยมีความเป็นอยู่คู่ชีวิตคนไทยมา นานเราเลยลองดีไซน์การทำหน้าช้างออกมา เมื่อก่อนอาจ เป็นเรื่องความสวยงามหรือกลิ่น แต่ปัจจุบันหากเราจะ มองไลฟ์สไตล์ของคนอาศัยในเมือง ในคอนโดมิเนียม อาจจะต้องการอะไรที่ตอบอรรถรส สุนทรีย์ ฟังก์ชั่นได้ เรา ลองเอากระดาษเยื่อกล้วยมาใช้ มันมีอะไรอีก เราก็เลย ลองทำให้กระดาษสามารถดูดซับกลิ่นและบำบัดกลิ่นได้ คือ ถ้าสมมุตวิ า่ ในห้องทีค่ อ่ นข้างอับชืน้ กระดาษนีส้ ามารถ ทำให้อากาศในห้องดีขึ้น สดชื่นขึ้นหรือการปล่อยกลิ่นหอมๆ เริ่มจากการนำกระดาษที่ชาวบ้านทำมาใส่นวัตกรรม ใส่ วัสดุบางอย่างเข้าไป เป็นธรรมชาติมากๆ อยู่คู่กับบ้านเรา ใครๆ เห็นก็ร้อง อ๋อ พอเราใส่เข้าไปและดีไซน์เป็นชิ้น จิ๊กซอว์ ซึ่งสามารถปรับขนาดเล็กใหญ่ได้ตามต้องการ พอเอาตัวนั้นมาสู่ตลาด พร้อมกับการประกวดนับว่าได้ รับการตอบรับเป็นอย่างดี ต่อมาก็พัฒนาต่อว่าหากไม่ใช่ กระดาษจะใช้อะไร พบว่าใช้เยื่อโน่น เยื่อนี่มาประสม การปั๊มออกมา ทำออกมาหลายรูปทรง ชาวไทยและชาว ต่างชาติชอบที่มันแตกต่างจากท้องตลาด และยังมีกลิ่น อายของงานหน้าช้างที่ผมใช้เป็นแรงบันดาลใจและได้รับ ออร์เดอร์จากสปา ได้สั่งไปตกแต่งที่สปาทั่วโลกในระยะ เวลาสามปีที่ผ่านมาในสาขาของเขา เป็นการตอบโจทย์ ในแง่ความชอบของคนทั่วไปและในแง่ของธุรกิจ ก็คิดว่า งานกระดาษคงเป็นลายเซนต์หนึ่ง หากใครมองงาน กระดาษคงคิดเป็นแผ่น แต่งานกระดาษในลายเซนต์ของ ผม งานกระดาษต้องไม่เป็นกระดาษธรรมดา มีการหาความรู้ให้ตัวเองอย่างไร ทุกวันที่เราจะออกแบบ จะดีไซน์งาน สำหรับผม เองต้องการแรงบันดาลใจ ต้องการอยู่กับคนที่มีไฟและมี พลังในการทำงาน เพราะเรารู้สึกว่าถ้าเราอยู่ในที่เงียบๆ สวยงามแต่ไม่มีพลังงานเราก็ทำงานไม่ได้ บางครั้งผม ต้องคิดงานในรถเมล์ หรือนัดเพื่อนคุยเพราะยิ่งเงียบเท่าไร 117
นั้น สำหรับตัวผมเองนั้นต้องการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คน ในเมือง ในชีวิตประจำวัน เราอยู่ตั้งแต่เช้า 24 ชั่วโมง ยันเย็น เราไม่ได้เสพศิลป์ เราอาจได้ไปพิพิธภัณฑ์แต่คน ทั่วไปอาจไม่มีเวลาขนาดนั้น นั่นเป็นโจทย์ให้เราต้องการ ที่จะเข้าไปสัมผัสกับสังคมกับตัวเมือง เข้าไปเรียนรู้การ ใช้ชีวิต ระบบของเมือง การขับรถ ทั้งหมดนับเป็นแรง บันดาลใจ สำหรับผมถือว่าจำเป็นมากที่เราต้องไปพบปะ ผู้คนทุกวัน เราต้องไปคุย สัมผัสกับทุกชนชั้นทุกระดับ เท่าที่ทำได้ การอยู่กับคนเก่งๆ ที่สร้างแรงบันดาลใจนั้น ก็สำคัญ และทุกสิ่งทุกอย่างถูกหล่อหลอมออกมาเป็น พลังงานให้เรามีไอเดียดีๆ มาคิด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมไม่นิยม คืออ่านหนังสือต่างประเทศทุกวัน บางคนอาจให้ความ สำคัญกับการดูงานต่างประเทศ ช่วงหนึ่งผมก็เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อดูไปมากๆ แล้วเราก็รู้สึกว่า เราพยายามหาตัวตน ของเราก่อนดีกว่าว่าความชัดเจนของเราคืออะไร แล้ว ค่อยศึกษาเพื่อนบ้านเพราะการเข้ามาเป็นดีไซเนอร์ของผม ผมหลงทางที่ว่าผมอาจได้แรงบันดาลใจจากความเป็น ยุโรป หรือความเป็นสแกนดิเนเวียนเกินไป เพราะงาน ออกมาแล้วเรามานั่งมองว่าไม่ใช่ตัวเรา ปัจจุบันคือการ ศึกษาตัวตน คิด หรือค้นหาอัตลักษณ์หรือลายเซนต์ของ ตัวเองให้มากที่สุดและเป็นสิ่งที่ผมทำทุกวัน การเป็นนักออกแบบไทยดีหรือไม่ดีอย่างไร ทุกวันนีเ้ รารับข่าวเยอะ เราจะได้รบั ข่าวว่าดีไซเนอร์ ในเอเชียมีใครบ้างที่ได้ออกไปโชว์งาน ผมมีโอกาสเดินทาง ไปกับกรมส่งเสริมฯ เพื่อไปดูงานต่างประเทศบ่อยมาก ทุกประเทศให้การสนับสนุนดีไซเนอร์ ทุกคนสบาย มี อิสระแสดงเสรีภาพทางความคิด แต่เมื่อเรากลับมาดู ดีไซเนอร์ไทย แต่แทนที่มองเป็นข้อเสีย ผมมองวิกฤติ เป็นโอกาส อย่างยุคหนึ่งที่ดีไซเนอร์ไทยได้รับการสนับสนุน และยุคหนึ่งที่ดีไซเนอร์ไทยต้องดิ้นรนเอง ผมคิดว่าข้อดี ของการเป็นดีไซเนอร์ไทย คือเรามีแมททีเรียลทางความ คิดเยอะมาก มีมรดกทางวัฒนธรรมที่นำมาใช้เยอะมาก น้อยครั้งที่คนไทยออกแบบงานแล้วใช้แรงบันดาลใจที่ซ้ำ กัน แต่ข้อเสียคือ หลังจากเราทำทุกอย่างมาแล้วเราต้อง ดิ้นรนด้วยตนเองเพื่อให้คนที่เข้าไม่ถึงเรา รู้จักตัวตนของ เรามากขึ้น หากวันหนึ่งข้างหน้าดีไซเนอร์รุ่นใหม่เกิดมา 118
ต้องแกร่งมากขึ้นเพราะต้องประกาศว่าฉันเป็นใครและ ยืนอยู่บนจุดใดในโลก คิดว่าควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้านใดบ้าง สำหรับการที่ดีไซเนอร์ไทยจะก้าวออกไปสู่ต่างชาติ ให้ยอมรับ คือการให้โอกาส อาจไม่ใช่การให้เงินหรือการ นำดีไซเนอร์ที่มีผลงานน่าสนใจหรือความคิดที่ดีไปเผย แพร่กับสายตาชาวต่างชาติบ้างเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่จะ พิสูจน์ว่าความคิดของเราท้องตลาดตอบรับไหม หรือการ นำสื่อออกไปกระจายให้ชาวต่างชาติได้รู้จักกับดีไซเนอร์ ไทยมากขึ้นสำหรับผมเองการได้รับการช่วยเหลือผลักดัน จากภาครัฐ คือ กรมส่งเสริมการส่งออก ก็นับว่าเป็นสิ่ง ที่ดีที่ผลักดันให้เราอยู่สูงขึ้นเรื่อยๆ อนาคตผมอยากเห็น แรงผลักดันจากกรมส่งเสริมหรือดีกว่านั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ ดีไซเนอร์ทุกคนอยากเจอ เพราะทุกคนคงไม่อยากเรียน จบแล้วไม่รู้ว่าตัวตนของเราจะอยู่ตรงไหนหรือเราจะทำ อย่างไร ผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะเก่งอย่างไรก็ต้องการคนชี้แนะ ให้เราพัฒนาตัวเองไปได้อีก ทำงานมาพอสมควร มีผลงานเยอะ มองจุดสูงสุดใน วิชาชีพอย่างไร ในวันข้างหน้า การมุ่งไปเป็นดีไซเนอร์ที่ทุกคนรู้จัก ผมว่าทุกคนอยากจะเป็น และผมคนหนึ่งก็ต้องการเป็น เช่นนั้น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่เราก้าวเข้ามาเป็นดีไซเนอร์ เป็นสิ่งที่เราอยากเห็นตัวตนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ต้องการ เห็นแนวคิดของเราที่ประสบผลสำเร็จ ภาพที่ผมต้องการ เห็นต่อไปคือการได้รับการยอมรับแนวความคิดตนเอง แต่ผมอยากเป็นอาจารย์ของดีไซเนอร์ระดับโลก ซึ่งหวัง ว่าหากเราพัฒนาตัวเองแล้วมีภูมิระดับหนึ่งแล้ว สามารถ ทำให้งานดีไซน์ไทยมีอะไรมากกว่านี้ คือทุกวันนี้ใครที่ ก้าวมาเป็นดีไซเนอร์แล้วมายืนอยู่ตรงนี้ทุกคนเป็นแรง บันดาลใจของเด็กแล้ว แต่หากเราได้ทำอะไรมากกว่านั้น นอกจากที่เราเป็นไอดอลของใครบางคน แต่เราสามารถ สร้างดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ได้สอนและผลักดันให้เขาดังกว่า เรา นั่นเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าหลายๆ คนอยากจะเห็นกลุ่มคน ที่มีศักยภาพสูงขึ้นแล้วผมอยากจะเห็นเช่นกัน
119
สิงห์ อินทรชูโต Singha Indhrachootoo
Emerging Award 2007
“เราต้องนำเสนอ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ แต่ต้องเสนออารมณ์และเรื่องราว ที่เป็นของแท้แก่นแท้ของไทยจริงๆ”
ดร.สิงห์ อินทรชูโต เป็นอาจารย์สอนด้านการ ออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นนักวิจัย ด้านกระบวนการสร้างนวัตกรรม และนักออกแบบบริษัท Osisu และเป็นเมธีนวัตกรรมให้กับสำนักงานนวัตกรรม แห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่หากจะให้โฟกัสถึง สิ่งที่ทำให้ ดร.สิงห์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการ ออกแบบ ก็คงไม่พ้นเรื่องของการขับเคลื่อนแบรนด์ Osisu ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสิ่งของเหลือใช้หรือ เศษขยะไร้ค่าไร้ราคา จนกลายเป็นสินค้าที่สามารถนำไป วางเทียบเคียงของดีไซน์เริดหรู หรือไปอยู่ในเคหะสถาน ที่ตกแต่งกันอย่างหลากหลายและรุ่มรวยไปด้วยบรรยากาศ อันน่าพิสมัย หากมองอย่างผิวเผิน การทำของจากขยะ ดูแล้ว ยิ่งไม่ต่างจากการสร้างขยะชิ้นต่อไป รูปทรงสีสัน และ ประโยชน์ใช้สอยอาจถูกลดค่าลงได้ง่ายๆ ด้วยข้อจำกัด ของขนาด จำนวนวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่เลือก 120
นำมาใช้ การต่อสู้กับทัศนคติของผู้พบเห็นและผู้ใช้ก็เป็น เรื่องสำคัญมาก เมื่อผู้เสพเหล่านั้นต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเอา ของใหม่ในรูปทรงเก่าหรือจะเลือกของเก่าในรูปทรงใหม่ๆ มุมมองและจิตสำนึกของผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งในยุค ทุนนิยมสุดโต่ง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ชี้ชัดว่า “โลก” กำลังเดินทางไปสู่หายนะ หากทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ไม่ตระหนักถึงการถลุงใช้ทรัพยากรอย่างเกินตัว ชี้ให้เห็น แล้วว่า สินค้าที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาภายใต้บริบทของการ มีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และต่อลมหายใจ ให้กับทรัพยากรที่มีเหลืออย่างจำกัด เริ่มเป็นที่ต้องการ และเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้บริโภคทุกคนต้องตระหนักให้มาก ในการเลือกใช้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นปั จ จุ บั น มี ก ารเลื อ กใช้ วั ส ดุ แ ละ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็จริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในแต่ละวันมนุษย์เราสร้างของเหลือ ทิ้งได้มากกว่าหรือเท่ากับของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ต่อให้ เป็นระบบการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เบ็ดเสร็จและทันที ในนาทีนี้ ก็ไม่มีหลักประกันอะไรที่จะมาชี้ชัดว่าสิ่งของ
เหล่านั้นจะไม่กลายเป็นของเหลือใช้หรือเป็นขยะในวันหน้า การจัดการกับของเหลือเหล่านั้นอย่างถูกวิธีและ มีชั้นเชิงเพื่อตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อมได้ในหลายมิติ จึง กลายเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องผ่านกระบวนการคิด การ วิจัยอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน ผ่านการเลือกสรร วัสดุให้ตรงต่อการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่สวยงาม มีคุณภาพ กระตุ้นเตือน และปลูกสร้างจิตสำนึกไป พร้อมๆ กัน ร่วมแบ่งปันสาระดีๆ ผ่านมุมมองของ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ในเรื่องราวของงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยโดดเด่นขึ้นมา ในเวทีโลก ด้วยความคิดที่พลิกแพลงได้อย่างชาญฉลาด และสอดรับกับสภาพความเป็นจริงของชนชาติ ผ่านการ พูดคุยกับหนึ่งในนักออกแบบไทยคนนี้ การศึกษาและเส้นทาง ก่อนที่จะมาทำงานตรงนี้เป็นอย่างไร ผมเรียนการออกแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรม มาตลอด ปริญญาตรีเรียนที่ University of Washington
เมือง Seattle ปริญญาโทไปอยู่ที่อาเคิน (Aachen) เยอรมันแล้วก็ปริญญาเอกที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology) การที่ถามว่าผมมีเส้นทางการ ออกแบบยังไงเป็นคำตอบที่ยากมากสำหรับผม ผมรู้สึกว่า ผมเติบโตมากับการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบมาโดย ตลอด เพียงแต่ว่าขนาดของสิ่งที่ผมออกแบบหลากหลาย ขึ้น จากที่ออกแบบอาคาร ตึก 10 ชั้น 50 ชั้น งบประมาณ 100 ล้าน 1,000 ล้าน ผมออกแบบของที่เล็กลงด้วย เอา เศษจากการก่อสร้างมาทำเป็นวัสดุ มาทำเป็นโต๊ะเก้าอี้ จากนั้นมาก็นำขยะชุมชน ขยะโรงงานมาศึกษา จนมี ผลงานเป็นพวกแฟชั่นกระเป๋าต่างๆ คือผลงานการออกแบบ ของผมเริ่มจากขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งผมก็ทำอยู่ แล้วมา ขนาดเล็กลง เล็กลง แต่ยังไม่เคยเล็กถึงขั้นจิวเวลรี่ มีใครเป็นแบบอย่างในวิชาชีพไหม ผมว่าการที่ผมมาจุดจุดนี้ได้ผมต้องยอมรับว่า ผมไม่ได้มาจากการที่มีเมนธอร์หรือโรลโมเดลคนเดียว จริงๆ แล้ว หลายๆ คน หล่อหลอมให้ผมเป็นคนแบบนี้ ณ วันนี้ เพราะฉะนั้นผมตอบไม่ได้ว่าใครคนใดคนนึงเป็น เป็นไอดอลหรือเมนธอร์ให้ผม แม้แต่เด็กนักเรียนบางคน ผมรู้สึกว่าผมได้เรียนรู้จากเขาเยอะมาก หรือเมื่อไม่กี่วัน ก่อนที่ไปต่างจังหวัดทำงานกับชุมชุน ผมรู้สึกว่า ทำไมคน เหล่านี้เขาสอนเราได้มากขนาดนี้ทำให้ผมคิดว่าคนรอบๆ ตัวผมเหล่านี้ทำให้ผมเป็นตัวผมในปัจจุบัน มีกระบวนการการทำงานออกแบบอย่างไร กระบวนการออกแบบของผมแตกต่างไปตาม ชนิดและขนาดของงาน ขนาดใหญ่แบบอาคาร หรือเป็น ผลิตภัณฑ์ หลายๆ คน อาจจะสนใจว่า กระบวนการ ออกแบบของอาจารย์สิงห์เป็นยังไง ถ้าพูดถึงเรื่องออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ผมออกแบบโดยพิจารณาวัสดุก่อน ขั้นตอน แรกคือการนำวัสดุเหล่านั้นก็จะถูกคัดแยก เพราะของที่ ผมใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบมันไม่ได้มาจากของดี พร้อมหรือของที่เหมือนๆ กัน แต่ว่าเป็นของที่คละกันมา เพราะงั้นขั้นตอนที่ 2 ของผมนั่นก็คือเมื่อคัดแยกเสร็จแล้ว มองว่ามันคืออะไรที่อยู่ข้างหน้าเรา และเริ่มทำการทดลอง นำมาทดสอบ ทดลอง แล้วแต่ว่าสิ่งของหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ นั้นคืออะไร ทดลองเสร็จก็ไม่ได้คิดว่าของทุกอย่างสามารถ เอามาใช้ได้ นั่นหมายความว่าผมก็ต้องเลือกเอาวิธีที่ เหมาะสมที่สุด สนุกที่สุด เท่ที่สุด ทำได้ดีที่สุด ง่ายในการ ผลิต โดยเลือกขึ้นมา 1 วิธีในการออกแบบ นำ 1 วิธีนั้นมา พัฒนาเป็นวัสดุหรืองานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือ กระเป๋า หรือบ้านหมา บ้านนก แล้วแต่ให้ออกมา เป็นชิ้นงาน ขึ้นรูปขึ้นมา ทำเป็นต้นแบบและก็ออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ในที่สุด ชิ้นงานที่ชอบที่สุด สะท้อนตัวตนได้มากที่สุด งานที่ผมออกแบบมามันตอบยากมากว่างานไหน ที่ผมชอบมากที่สุดรักมากที่สุด หรือตื่นเต้นที่สุดเพราะมี ออกมาตั้ง 7- 800 แบบแล้ว มันทำให้เลือกยาก ผมอยาก 121
จะบอกว่าชิ้นที่ผมตื่นเต้นเสมอ คืองานที่มันเป็นวัสดุที่ไร้ ค่ามากๆ ยิ่งมันมีมูลค่าน้อยเท่าไหร่แล้วเราแก้ปัญหาได้ มากเท่าไหร่มันยิ่งเป็นความสุข การที่เราค้นพบวิธีการ หาของที่...มันจะกลายเป็นศพ มันคือศพแล้วของเหล่านั้น กลับมาชุบชีวิตได้ มันน่าสนใจสำหรับผม เช่นการเอาถุง น้ำเกลือล้างไต ที่ทิ้งแล้ว ซึ่งถุงรักษาน้ำเกลือเหล่านี้ ต้องสะอาดมาก ต้องป้องกันเชื้อโรคทุกอย่าง และเหนียว แข็งแรงเป็นที่สุด แต่ว่าพอน้ำเกลือหมดถุงเราก็โยนทิ้ง ซะแล้ว ถูกใช้ครั้งเดียวเท่านั้น นี่คือสิ่งที่ผมตื่นเต้นในการ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือกระดาษทราย ที่ขัดเหล็กขัดไม้ เสร็จแล้ว ซึ่งมันจะถูกเผาทิ้ง เอากลับมาชุบชีวิตใหม่ นี่คือ ตัวอย่างที่ผมคิดว่ามันน่าตื่นเต้นสำหรับผม งานออกแบบที่กำลังทำอยู่ ทำหลายอย่าง ขณะนี้กำลังออกแบบศูนย์การค้า ชุมชน คอนโดมิเนียม บ้าน และผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ ของโรงงานต่างๆ การจะเป็นนักออกแบบอาชีพที่จะผลิต และมีโรงงานของตัวเอง มีผลิตภัณฑ์ของตัวเอง มีแบรนด์ ของตัวเองปัญหาจะเยอะ อย่างผมมีบริษัท Osisu ซึ่งเป็น บริษัทที่ออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษสารพัด ปัญหาแรกก็ คือเราไม่รู้จักเศษเหล่านั้นในขั้นตอนแรก เราไม่ทราบจะ แก้ปัญหาอย่างไรที่มันสะสมอยู่ ต้องมีการทดลอง การ ทดลองหมายความว่าเราไม่ได้ประสบความสำเร็จตลอด เวลา ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติสำหรับนักออกแบบที่เราจะต้อง ทำ แต่ทีนี้การทดลอง เราไม่ได้ทำคนเดียว หมายความว่า เราต้องมีทีมงานมีช่างมาช่วย ปัญหาที่ 2 ก็คือ ช่างไม่เต็มใจทำ เพราะคิดว่า เป็นเรื่องไร้สาระ ถ้าคนในทีมคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระมันก็ จะเป็นกำแพงใหญ่ที่สุด เพราะว่าเขาจะไม่อยากทำและ ก็ไม่ใส่ใจในการทำ เราก็ต้องคุยกับเขามากพอสมควรให้ เขาเข้าใจว่าเราคิดอะไร แล้วก็จ่ายเขาอย่างคุ้มค่า คือยอม
122
เพิ่มค่าใช้จ่าย ให้ค่าปวดหัวคนทำงาน จริงๆ แล้ว เขาชอบทำงานง่ายมากกว่า นี่คือปัญหา ที่เราต้องแก้ไข ปัญหาต่อมาคือเราไม่มีตลาด Osisu ไม่มี ตลาดแนวนี้มาก่อน ถ้าเราทำเซอร์เวย์ตอนเริ่ม Osisu ว่าลูกค้าเราคือใคร เราจะไม่พบ ถ้าถามว่ามีผลิตภัณฑ์ ที่เราจะใช้วัสดุหรือขยะคุณจะซื้อไหม ผมมั่นใจเลยว่า ตอนนั้น (ปี 2006) ไม่มีใครซื้อ ไม่มีใครเอา ทุกคนก็จะ ร้องยี้หมด เพราะฉะนั้นเราต้องมองคอนเซปท์ของเราว่า มันถูกต้องแค่ไหนแล้วเราคิดว่าเราเข้าใจในเทรนด์ที่จะไป ต่อยังไงได้บ้าง แล้วเรามีความตั้งใจจะทำประเด็นอะไร เป็นหลัก ในตอนนั้นผมไม่ได้ตั้งใจที่จะทำเป็นธุรกิจร้อย ล้านพันล้าน แล้วก็ไม่ได้มองว่าจะมีชื่อเสียงอะไร แต่ผม กำลังมองว่าผมจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาที่นักออกแบบ อย่างผมทำอยู่ในการผลิต ในการสร้างอาคาร ผมทิ้งวัสดุ ปริมาณมหาศาล แล้วถ้าผมไม่ทำอะไรเลยมันน่าอาย แล้ว ผมเป็นอาจารย์สอนการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกวันที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เรา ก็จะรู้สึกเขินว่าเราสอนไม่ครบนี่ เราสอนเกี่ยวกับการเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมแต่เราสอนเพียงด้านการประหยัด พลังงานอย่างเดียวก็เลยเริ่มสนใจด้านการใช้วัสดุอย่าง คุ้มค่า ทำแล้วก็เอากลับมาเป็นตัวอย่างให้นิสิตเห็น การ พัฒนาที่นำไปสู่การผลิตที่มีลูกค้าจากเดิมที่ไม่มีเลย คือ การสร้างแบรนด์ การสร้างแบรนด์ Osisu นั้นเราไม่ได้ มีงบสูงมาก จะสร้างมันยังไงให้คนรู้จัก ให้เข้าใจแบรนด์ คาแรกเตอร์ มันต้องมีความชัดเจน ในฐานะของผู้บริหาร Osisu เราจะมองร่วมกันว่าเราจะไม่ขายของนะ ถ้าเราจะ สร้างแบรนด์ ในปีแรกเราวางแผนขาดทุนไว้ก่อน ไม่คิดว่า จะมีกำไรทันที เพราะการสร้างแบรนด์เป็นการลงทุน เรา เสียเงินไปแล้ว เราคิดว่าจะได้อะไรกลับมา มันก็ไม่ใช่ว่า จะได้เสมอไป แบรนด์ Osisu จะให้ความรู้คนก่อน เพราะ ว่าขายไม่ได้อยู่แล้ว ให้ความรู้ไปก่อนว่าเราทำเรื่องนี้
เพราะอะไร แล้วแต่ละกระบวนการมีขั้นตอนที่มันสาหัส สากันยังไง ไม่ได้พยายามขายของ เป็นวิถีของ Osisu ปีแรก คืออย่าพยายามขายผลิตภัณฑ์ พยายามอธิบายให้ คนเข้าใจ แล้วก็จะไม่รับงานที่ทำให้แบรนด์เราเสีย เช่น มีคนชอบลักษณะการออกแบบ แต่ต้องสั่งปริมาณมาก แล้วก็จะนำไม้หรือวัสดุอื่นมาให้เราผลิต ตอนนั้นเราก็ยินดี มากเพราะมีลูกค้าเข้ามา เพราะลงทุนไปก็หลายแสนแล้ว แต่เป็นความฉลาดของพาร์ทเนอร์ผมมาก ที่เห็นว่าเรา ไม่ควรทำ ถ้าเราทำเมื่อไหร่แบรนด์นี้จะไม่มีวันเกิด 1 ออร์เดอร์คุ้มไหม ถ้า 1 ออร์เดอร์เข้ามา 5-10 ล้าน คุ้ม หรือเปล่า ถ้าบริษัทนี้จะอยู่ต่อไปอีก 20-30 ปี เรามอง ระยะไกล ก็เลยไม่พยายามทำอะไรให้มันเสียแบรนด์ นี่คือ การสร้างแบรนด์ตอนต้น เราก็พยายามทีจ่ ะทำแบรนด์เพือ่ สิ่งแวดล้อมที่ไม่เฉิ่มเชยเหมือนในอดีตที่เน้นความรู้สึก ถึงธรรมชาติเท่านั้น แบรนด์นี้ต้องหมายถึงนวัตกรรม (Innovation) ด้วย การสร้างองค์ความรู้จะควบคู่กับการ สร้างแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน คือการต้องทำ R&D ไป ด้วยกัน เช่น การใช้วัสดุใหม่ๆ ขึ้นรูปใหม่ๆ การลองของ ที่เราไม่คุ้นเหล่านี้มาทดลองแล้วนำเสนอให้กับผู้ที่ เข้ามา เยี่ยมชม นี่คือกระบวนการสร้างแบรนด์ตอนต้น มองการเป็นนักออกแบบไทยอย่างไร ต้องยอมรับครับว่าเวลาผมเดินทางต่างประเทศ ไปเลคเชอร์ หรือไปโชว์ผลิตภัณฑ์ ผมไม่ค่อยมองว่าผม เป็นคนไทย ผมมองว่าผมเป็นโกลบอลซิติเซ่นซึ่งพยายาม นำเสนอมุมมองของนักออกแบบคนหนึ่งบนโลกนี้ จาก องค์ความรู้ที่มี จากคนยุคนี้ อายุขนาดนี้ อาจเป็นคน เอเชีย อาจเป็นคนไทย อาจผ่านการศึกษาในต่างประเทศ ผลงานผมไม่ต้องการบอกถึงความเป็นไทยให้กับสังคม โลก ผมคิดว่าการออกแบบมีประเด็นอะไรที่สำคัญ บางคน อาจคิดถึงความเป็นไทยมาก สำหรับผมแล้วผมไม่ได้ทำ
อินเตอร์มีเดียทเทคก็ได้ ไฮเทคก็ได้ นี่คือสิ่งที่ผมหวังไว้ว่า จะดันหรือ Inspire ให้คนอื่นทำ จนเกิดเป็นคริติคอลแมส ของประเทศไทย
วิธีนั้น ผมเน้นเรื่องกระบวนการความคิดว่า ผมเน้นการ ออกแบบอย่างไร ทำอะไรบ้าง ไม่แน่ใจว่าผมลืมความ เป็นไทย หรือว่าความเป็นไทยมันอยู่ในกระบวนการคิด เรียบร้อยแล้ว แต่ผมไม่เคยรู้สึกว่าผมเอาความเป็นไทย ไปขาย แต่ก็ไม่ได้บอกว่าผมไม่ใช่คนไทย คือไม่ไปปฏิเสธ แค่ไม่ได้เอาความเป็นไทยเป็นจุดขายในสิ่งที่ผมทำอยู่ การยอมรับในเวทีระดับโลกเป็นแบบไหน ตลาดส่วนไหน ที่ต้อนรับผลงานเรามากที่สุด ผมมองว่าผมเป็นคนโชคดีมากที่อยู่จุดนี้ในเวลาที่ โลกสนใจ โลกนี้ต้องการการเยียวยา ต้องการความสะอาด ต้องการลดมลพิษ ต้องการหลายๆ อย่าง เพราะทุกคนรู้ ว่าโลกใบนี้มันกำลังมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม การที่ผม ทำอยู่ตรงนี้ผมคิดว่าโชคดีมาก เพราะว่าประเทศไทยไม่ได้ มีค่าแรงสูงมาก วัสดุรีไซเคิลน้อย วัสดุธรรมชาติเยอะ ทำ ให้สิ่งที่ผมนำเสนอบนเวทีนานาชาติมันน่าสนใจเพราะเขา ไม่เคยเห็น ของบางอย่างที่มันควรจะถูกทิ้งแต่ได้นำกลับ มาใช้ คนในทุกประเทศสามารถตระหนักได้ว่าเราก็ทิ้งกัน ในประเทศนี้เหมือนกัน เวลาที่ผมไปนำเสนออะไร มันทำ ให้เขาเข้าใจเร็วแต่เหมือนเห็นของที่เขาไม่เคยเห็นมา ก่อน โชคดีว่าดีไซน์เนอร์ สิงห์ อินทรชูโต จากกรุงเทพ มีความคิดใหม่นำเทรนด์ จึงเชิญให้ผมไปเลคเชอร์ในต่าง ประเทศ ทำให้ผมดีใจว่าของรอบๆ ตัวเราในประเทศไทย ทำให้เรายูนีคไปโดยปริยาย
ทั้งรัฐและเอกชนช่วยสนับสนุน มันเป็นไปไม่ได้ครับที่เด็ก คนหนึ่งมีความคิดดีและก้าวไกล จะทำขึ้นมาได้เลยถ้าไม่ ใช่เป็นลูกมหาเศรษฐี หรือไม่ได้โชคดีที่มีงานประจำที่มี เงินมากอยู่แล้ว แต่ถ้าทำเป็นจริงเป็นจัง รัฐต้องช่วยครับ เพราะสิ่งที่เขาทำอยู่เขาอาจจะไม่ได้อะไรเลยด้วยซ้ำ การ ที่ทำอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม ผมมั่นใจว่าช่วงแรกๆ จะไม่ได้อะไรเลย ถ้ารัฐไม่ช่วยพยุงคนกลุ่มนี้ที่มีความคิด ก้าวไกล จะรอให้เขาแก่เหรอ จะรอให้เขาหมดไฟแล้วจะ มาช่วยเหรอ ให้เขามีชอื่ เสียงแล้วจึงช่วย ซึง่ ตอนนัน้ ปัญหา มันถูกแก้ไปแล้ว ถ้าจะแก้ปัญหาตอนต้นให้ประเทศไทย ไปได้ไกล ไปได้เร็วจริงๆ รัฐต้องช่วย เศรษฐกิจ ภาคเอกชน ก็ต้องช่วยสำคัญมาก
ข้อคิดให้คนรุ่นใหม่ และฝันในอนาคต ผมมองว่าผมอยากให้สิ่งที่ผมทำอยู่ หรือแบรนด์ที่ ทำอยู่ให้ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้ถ้าเราจะไปแข่งกับ อิตาลีเรื่องความทันสมัยก็คงยาก จะแข่งกับฝรั่งเศสเรื่อง ความหรูหราก็คงยาก จะแข่งกับเยอรมันเรื่องเทคโนโลยี เรื่องไฮเทคก็คงยาก แต่ว่าตอนนี้สิ่งที่เราทำได้ แล้วก็ทำ ได้ดีก็คือทำอะไรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีคู่แข่งมาก ในโลกขณะนี้ ผมเลยฝันมา 2-3 ปีแล้วว่าจะพยายามทำ ให้คนรุ่นใหม่ที่จะทำผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ขึ้น มาให้สำเร็จ ไม่ต้องใช้เศษวัสดุ อาจจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้แล้วคุ้มค่า ใช้การบรรจุภัณฑ์ที่ส่งง่าย ส่งเร็ว หลายๆ ต้องการการสนับสนุนในสายนี้บ้างไหม วิธี ไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีที่ผมทำ แต่รวมกันแล้วนานาชาติ ผมมองจากมุมมองนักออกแบบที่เพิ่งเริ่ม อยาก มองประเทศไทยจะนึกถึง ECO โปรดักท์ และเขาต้อง ทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือทำอะไรเพื่อสังคม หรือแม้ บินมาดูที่นี่มันจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมนี่ดีขึ้น ผมว่ามัน กระทั่งการทำอะไรเพื่อคนอื่น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ทำให้เราเป็นแนวหน้านี่ไม่ยาก สามารถใช้โลว์เทคก็ได้
ในเรื่องความเป็นไทยขายได้ไหม แล้วควรเอาอะไรมาใส่ ผมมองเรื่องความเป็นไทยมานานแล้ว คิดเสมอ ว่าทำไมงานสถาปัตยกรรม เมื่อบอกว่าความเป็นไทยจะ ต้องเอาจั่วมาใส่ ลักษณะที่เรียกว่ารายละเอียดที่เห็นชัดๆ มาใส่ แต่เราเคยดูอารมณ์ของความเป็นไทย อารมณ์ที่ว่า เมื่อมองแล้วหน้าตามันไม่ใช่ไทยเลย แต่ว่าความรู้สึกนี่มัน ต้องมาจากเมืองไทยแน่นอน ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะ เป็นดินสอ หรือซองจดหมาย หรือว่าเป็นอาคารที่ไม่ได้นำ ความเป็นญี่ปุ่นในอดีตมาใช้เลย แต่เรามองแล้วเรารู้ว่ามัน ต้องมาจากญี่ปุ่นแน่เลย ตรงนี้คือ DNA แล้ว DNA ของ ไทยหละคืออะไร ที่เราต้องดึงออกมาให้ได้ สิ่งที่เห็นชัดๆ ที่ในอดีต วางเอาไว้ก่อน แต่ต้องหาว่า DNA ของจริงมัน หายไปไหนทำไมเราต้องเลือกรูปลักษณ์มาใช้เสมอ เรา เลือกความรู้สึกมาใช้ได้ไหม อยากให้เอา DNA ตรงนั้น มาใช้มากกว่า ไม่ใช่ว่าใช้แค่ลายที่เราเห็น ตรงนั้นสำคัญ ไหม สำคัญ ขายได้ไหม แน่นอนว่าเราดึงออกมาแล้วขาย ได้ วิธีการนำเสนอด้วยรูปลักษณ์ก็เป็นวิธีหนึ่งก็ได้ หรือ การนำเสนอด้วยเรื่องราวก็ได้ เพราะว่าคนจะรู้สึกได้มาก กว่า ได้ที่ใจ ที่เรื่องราว เราต้องนำเสนอ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ แต่ต้องเสนออารมณ์และเรื่องราวที่เป็นของแท้แก่นแท้ของ ไทยจริงๆ ควรนำเสนอแบบนั้น เป็นหน้าที่นักออกแบบหรือรัฐบาลที่ต้องสนับสนุน ผมเอาจากผมเป็นจุดเริ่มต้น การออกแบบที่ผม ทำอยู่ จะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะทำสำเร็จ ถ้าไม่มีนัก วิทยาศาสตร์ วิศวกรมาช่วย ถ้าไม่มีนักสังคมมาช่วย ถ้า ไม่มีบางครั้งชุมชนมาช่วย หมายความว่าการออกแบบที่ จะให้ดีและเกิดความใหม่เกิดเป็นนวัตกรรม มันเกิดจาก การทำงานของกลุ่ม เพราะฉะนั้นถ้าใครถามว่าเป็นหน้าที่ ของนักออกแบบหรือเปล่าที่จะนำเสนอความเป็นไทยให้ สำเร็จในระดับนานาชาติ เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจทางด้านมนุษยศาสตร์ เข้าใจทางด้านวาทกรรม วรรณคดี เข้าใจทางด้าน วิทยาศาสตร์ เข้าใจทางด้านวิศวกรรม สิ่งเหล่านี้มันทำให้ ความเป็นไทยนั้น ทั้งร่วมสมัย ชาญฉลาดและนำเสนอ ความขลังความลุ่มลึกในอดีต สิ่งเหล่านี้มันทำให้ผมมอง ว่าเป็นคอนเทมโพรารี่ไทยอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คอนเทม โพรารี่ไทยในลักษณะของรูปลักษณ์ แต่ทั้งความคิด ทั้ง วิศวกรรมทั้งศาสตร์มารวมกัน นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นการ ร่ ว มมื อ ระหว่ า งหลายกลุ่ ม และแน่ น อนรั ฐ ต้ อ งช่ ว ย สนับสนุนในจุดๆ นี้ เพราะว่าการมาร่วมกันในจุดที่เรา มองไม่เห็นหรือไม่รู้ ไม่เคยเข้าใจมันจะมีความเสี่ยงสูง แต่สุดท้ายแล้วเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยไหม ถ้าเป็น ประโยชน์ต่อประเทศไทยทำไมรัฐจะไม่อยากให้ความสนใจ มันดีทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
123
สุSupavee ภาวี Sirin-k-raporn ศิรินคราภรณ์
Best Designer of the Year 2005
“เรามีโลกกว้าง แต่กลับดันอยู่ในกรอบที่เราสร้างมันขึ้นมาเอง”
มนุษย์ผูกพันกับวัตถุเล็กๆ และใกล้ตัว อย่างเครื่อง ประดับมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามหลักฐานที่ขุดค้นพบตาม โบราณสถานแทบทุกแห่ง แต่ในปัจจุบันเครื่องประดับจะ โดดเด่นในฐานะวัตถุมีค่ามีราคา ประโยชน์ใช้สอยเพื่อการ แสดงฐานะทางสังคมเป็นหลัก ในฐานะนักศึกษาระดับปริญญาเอกของ RCA และ ในฐานะอาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.สุภาวี ศิริน คราภรณ์ มุ่งมั่นที่จะใช้การศึกษานำพาสังคมหวนกลับ ไปสู่คุณค่า และแง่มุมที่มากกว่าการเป็นแค่ของหรูหราที่ หลายคนมองเห็นในความเป็นเครื่องประดับ จากพื้นฐานความรู้ในวิชาการออกแบบเครื่องปั้น ดินเผา บวกกับความสงสัยในการออกแบบเครื่องประดับ ถึงการเป็นต้นเหตุการณ์ไปกระตุ้นผัสสะของมนุษย์ให้ เกิดกิเลส? ทำให้ สุภาวี สนใจการศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อหาคำตอบในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งการ ศึกษาในระดับที่ลงลึกเช่นนี้หาได้ไม่ง่ายนัก และเธอก็เป็น 124
บุคคลที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่เป็นครูถ่ายทอด วิชาความรู้ เป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ในสาขา วิชาชีพนี้ เราไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้ว สุภาวี ได้รับคำตอบอย่างไร แต่เราสนใจในคำถามที่สร้างสรรค์ของเธอ การทำงาน โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหา การฝึกฝนและลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามหลักของชาวพุทธ มีบทบาทต่อ มุมมองในการทำงาน และจะช่วยสร้างสมดุลภายในให้ กับคนที่อยู่ในโลกของการศึกษาอย่างเข้มข้นแบบเธอกับ ทำงานในเชิงพาณิชย์เพื่อตอบสนองตลาด หลังจากสำเร็จการศึกษา เธอได้ตระหนักรู้ว่าการ แสดงออกถึงรากเหง้าของชาติเป็นหน้าที่ของนักออกแบบ ที่พึงกระทำ การรักที่จะสร้างสรรค์ผลงาน โดยบางครั้ง ควรคาดหวังกับรายได้ให้เป็นเรื่องรองบ้าง เป็นทัศนะคติ ที่สะท้อนออกมาจากนักออกแบบหญิงคนนี้ ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์
เส้นทางที่ผ่านมา เส้นทางการออกแบบคงจะเริ่มจากเส้นทางการ ศึกษา ลองประสบการณ์มาเรื่อยๆ แล้วก็ได้รับทุนศึกษา ปริญญาโทแล้วก็เอกของทบวงมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น แล้วก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะมัณฑนศิลป์ ตอนเรียนปริญญาตรีอาจารย์จบการศึกษาจากที่ไหน คณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาเครือ่ งเคลือบดินเผาค่ะ อะไรที่ทำอยากเป็นนักออกแบบในสาขานี้ ตอนแรกรู้สึกเลยว่าเครื่องประดับเป็นสิ่งแรกที่ เราตั้งคำถามว่าการออกแบบเครื่องประดับหนึ่งชิ้น เราไป กระตุ้นกิเลสในมนุษย์หรือเปล่า นี่คือคำถามแรกเมื่อตอน ที่เรียนอยู่ แต่ว่าถามตัวเองเพราะตัวเองชอบ เสร็จแล้วเรา ก็เลยคิดว่า เพราะฉะนั้นเราคงต้องไปหาคำตอบแล้วล่ะ ก็เลยไปลองหาข้อมูล ลองดูงานดีไซเนอร์คนอื่น ดูงาน ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องประดับ ก็ได้คำตอบมาว่า
อย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของสุนทรียศาสตร์กับ ร่างกาย ที่นี้ก็ลองสมัครพอร์ทไปเรียนต่อต่างประเทศดู และตอนนั้นก็มีสอบทุนด้วย แล้วก็สอบทุนได้ แล้วก็สมัคร เรียนที่ Royal College of Art ที่อังกฤษได้ ก็เลยเริ่ม ไปหาคำตอบตามคำถามของตัวเองว่า ตกลงเราเรียน อะไรที่กระตุ้นกิเลสของมนุษย์หรือเปล่า ซึ่งตอนหลังมา ก็รู้สึกดีใจที่ได้ไปศึกษาอย่างละเอียด เพราะว่าจริงๆ แล้ว มนุษย์ผูกพันกับวัตถุเล็กๆ มาตั้งนานแล้ว ถ้าเราย้อน กลับไปดูในหลุมศพโบราณ เราจะเห็นอยู่สองอย่างเลยคือ ภาชนะกับเครื่องประดับ มันแปลว่ามนุษย์ผูกพันกับเครื่อง ประดับในมิติของการเกิด แก่ เจ็บ ตายมาช้านาน ทีนี้ ถ้าเกิดสมมุติว่าเราต้องการจะต่อยอดความคิดเหล่านี้อยู่ เราจะต่อยอดออกมาอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะให้ตัวเครื่อง ประดับไม่ได้เป็นมากกว่าของที่กระตุ้นกิเลส ก็มองว่านี่ เป็นหน้าที่ของเราที่เราจะต้องกลับมาประชาสัมพันธ์ก็ตาม หรือว่ากลับมาฟื้นฟูสิ่งที่มันหายไป เราจะเห็นได้ว่า ครั้ง หนึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องประดับจะเป็นแค่วัตถุที่เป็นวัตถุทาง ด้านราคา ซึ่งมันทำให้คุณค่าทางเครื่องประดับมันลดน้อย ลง ทีนี้เหมือนกับเราต้องสร้างแง่มุมอื่นๆ ให้กลับมาด้วย ซึ่งคิดว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ มีบุคคลใดเป็นบุคคลต้นแบบที่ทำให้เราอยากทำงานได้ เช่นนี้ บุคคลต้นแบบนะคะ ขออนุญาต ก็คือ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะว่าจริงๆ แล้วที่บอกว่าท่าน เป็นบุคคลสำคัญเพราะว่าเราเห็นความอดทนของท่าน แล้วก็การศึกษาอย่างถ่องแท้ในแต่ละอย่าง แล้วก็ถึงจุดที่ ที่เรียกว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริง เหมือนกับที่ท่านบอกว่า “เราต้องไม่พยายามไปฝืนสิ่งๆ นั้น เราต้องพยายามเข้า ไปอยู่กับสิ่งๆ นั้น ด้วยวิธีที่แนบเนียน แล้วก็เราควรจะ ศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรอบ วิจัย ศึกษากับสิ่งที่เราทำ แล้วก็ที่สำคัญที่สุดก็คือมีความเพียร” มีกระบวนการทำงานในการออกแบบอย่างไร กระบวนการทำงานก็คงจะเหมือนนักออกแบบ ทั่วๆ ไปนะคะ แต่ว่าเรื่องที่ให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ เรื่องของเนื้อหาที่นำมาสร้าง เพราะว่าแน่นอนที่สุดนัก ออกแบบทุกคนต้องมีการสเก็ตช์ไอเดียและหาข้อมูล แล้ว ก็มากระบวนการสร้างโมเดลหรือกระบวนการดีเวลอป แต่ว่าเราควรจะลึกซึ้งกับในเรื่องของเนื้อหาที่เรานำมา สร้างงานด้วย เพราะว่านอกจากความรู้ที่เราได้มันเป็น ความรู้ที่สื่อสารออกไปผ่านชิ้นงานด้วย ให้คนได้มากกว่า ความงาม ในกระบวนการที่ออกแบบมีจุดเด่นหรือลักษณะเฉพาะตัว อย่างไร ถ้าให้วิเคราะห์ตัวเอง มันตอบยากที่ให้คนที่มอง ตอบ แต่ว่าถ้าเกิดว่าตั้งคำถามคิดว่าตัวเองมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบของการสร้างงานหลังจากที่ตัวเองได้รับ ปริญญาเอกมา เพราะว่าตอนนั้นที่ได้รับหัวข้อเกี่ยวกับ 125
ปริญญาเอกเป็นหัวข้อเกี่ยวกับเด็กหูหนวก แล้วเด็กหู หนวกก็เปลี่ยนความคิดหรือทัศนคติในการสร้างงานศิลปะ ของเราค่อนข้างมากทีเดียว เพราะว่าเมื่อก่อนเราคิดว่า งานศิลปะเป็นตัวจรรโลง หรือว่าเราเป็นคนปกติเราจะ สามารถช่วยใครได้บ้าง ตอนนั้นเราจะคิดเท่านี้ แต่ปรากฏ ว่าพอไปทำงานเครื่องประดับที่บำบัดจิตของเด็กหูหนวก นะคะ ปรากฏว่าเขานั่นเหละมาบำบัดเรา เขาต่างหากที่ มาเปิดโลกความคิดของเราว่า เราถูกกระบวนการศึกษา ครอบงำมากจนเราออกมาแล้วเราเหมือนๆ กัน เราไม่มี ความเป็นลักษณะเฉพาะตน เราจะมีกลุ่มก้อนซึ่งเป็นเรา ก็คิดว่ามันก็เป็นความหมายทั่วไปของมนุษย์อยู่แล้ว ถ้า เกิดเป็นศิลปะหรือออกแบบมีความพิเศษขึ้นมา ซึ่งเด็ก พวกนี้อาจจะโชคร้ายที่เขาพิการ แต่เขากลับมีมุมมองหรือ สิ่งที่มันแตกต่างจากเราชัดเจนมาก เหมือนตัวอย่างอัน หนึ่งที่ยกให้นักศึกษาฟังว่าเวลาเราจุดบนกระดานเราถาม เด็กปกติหรือนักศึกษาเราว่าเห็นอะไร เด็กก็จะตอบหรือ ว่าเด็กก็จะหัวเราะกับคำถามของเรา แล้วบอกเราว่าก็แค่ จุดไม่เห็นมีอะไรเลย แต่ว่าเด็กหูหนวกจะบอกเราว่าเขา นึกถึงสิวบนหน้าแม่ หรือว่ามดอยู่บนพื้นดิน สิ่งเหล่านี้ มันทำให้เรารู้สึกว่าเขามองไปนอกกรอบที่เขาได้รับ เรามี โลกกว้างแต่กลับดันอยู่ในกรอบที่เราสร้างมันขึ้นมาเอง ก็เลยรู้สึกว่าหลังจากนั้นเราก็มองเลยว่าการที่ธรรมชาติ ทำให้เราขาดอะไรมันจะมีสงิ่ ทดแทนอยูเ่ สมอ เพราะฉะนัน้ ธรรมชาติยุติธรรมกับเราที่สุดแล้ว ผลงานชิ้นใดที่คิดว่าประสบความสำเร็จ ก็อย่างที่เล่าจริงๆ ก็ชอบทุกชิ้นนะค่ะ แต่ว่าหลัง จากที่ได้รับปริญญาเอกสิ่งที่ได้ก็คือเราได้ลงไปสัมผัสกับ เนื้องานเครื่องประดับที่เราได้ทำงานกับคนที่เขาเปิดใจ ถ้าจะบอกว่าเป็นกลุ่มลูกค้า เป็นลูกค้าที่เปิดใจกับเราที่สุด แล้วก็เราไปทำงานกับเขา ได้ทำงานจิวเวลรี่ร่วมกัน เป็น ปฏิสัมพันธ์ที่มันเป็นปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง เป็นเวลา 3 ปี ที่เราอยู่กับเด็กคนหนึ่งแล้วได้เห็นเขาโตแล้วก็ได้คอมเมนท์ งานเราแล้วก็สร้างงานกับเรา แล้วก็เราค่อยๆ รู้สึกว่าการ ค่อยๆ ทำงานเครื่องประดับแต่ละชิ้นขึ้นมามันใช้เวลามาก แล้วก็มันเป็นพุทธิปัญญา มันเป็นทั้งสมาธิ แล้วก็มันเป็น ทั้งสิ่งที่เราค่อยๆ สร้างขึ้นมา แล้วก็เราจะมองเห็นว่าถ้า ไม่มีหนึ่งก็จะไม่มีสอง คือถ้าไม่มีที่มาก็ไม่มีที่ไป ทุกอย่าง มันล้วนเป็นวัฏจักรของมัน
การเป็นนักออกแบบไทยนับเป็นข้อดีหรือว่าข้อเสีย อย่างไรบ้าง ข้อดีซิค่ะ เพราะว่าจริงๆ แล้วเราเป็นคนชาติไหน เรามีหน้าที่ที่จะเอาลักษณะของชนชาติเราออกมาให้ผู้อื่น รู้จัก แล้วก็การที่โลกมีวัฒนธรรมหลากหลายแบบเป็น เรื่องงดงาม เพราะว่าอย่างที่บอกเราคงจะไม่ชอบถ้าทุก อย่างเหมือนกันหมดใช่ไหมคะ ถึงแม้เราจะเป็นมนุษย์ เหมือนกันก็ตาม มันทำให้เรามีความรู้เพิ่มเติม ในลักษณะ ภูมิประเทศที่แตกต่าง วัสดุที่นำมาแต่ละที่ที่ออกแบบก็ เป็นความรู้ แล้วเราก็สามารถท่องอาณาจักรของโลกใบนี้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปก็ได้ ผ่านตัววัตถุ หรือว่าผ่าน แง่คิดของงานออกแบบหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นงาน เฟอร์นิเจอร์ งานเท็กซ์ไทล์ หรืองานจิวเวลรี่ ใช้รากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทยมาใช้ในงานออกแบบ บ้างไหม ก็อย่างที่บอกนะคะว่าพอหลังจากจบเอก ค่อนข้าง ที่จะผูกพันกับงานในลักษณะไทยมากขึ้นเพราะว่าเราเริ่ม เข้าใจแล้วว่าสิ่งที่ได้จากความเพียร ชิ้นงานมันเป็นอย่างไร เราได้มีพัฒนาการกับเด็กที่มีความบกพร่องทางนี้ แล้วก็ ได้เห็นความจริงใจได้เห็นการเปิดใจกว้างกับอิสระที่มี แล้วก็ทำงานด้วยมือของเขาเอง ซึ่งตอนนี้เป็นลักษณะ ของคนไทยเลย คือทุกอย่างมันเป็นพุทธ แม้แต่ตัววัสดุเอง มันเป็นพุทธ เราต้องเรียนรู้ต้องมีสติกับมัน
คิดอย่างไรต่อวงการจิวเวลรี่ดีไซน์ และคิดอย่างไร ต่ออนาคต คิดว่าตอนนี้อาจจะด้วยเพราะว่าเศรษฐกิจสังคม ของบ้านเราจะทำให้งานที่เป็นงานที่ตอบโจทย์เรื่องเงิน ไม่ค่อยได้รับความสนใจนัก คือ ถ้าเกิดมีเม็ดเงินเป็นตัว ตั้งงานชิ้นนั้นจะประสบความสำเร็จหลายๆ อย่าง ซึ่งมัน เป็นลักษณะการเติบโตแบบโลกวัตถุนะคะ สิ่งที่เราหรือ ทุกคนควรกระตุ้นก็คือ ต้องรักงานของตัวเอง แล้วก็บ้างที่ เราต้องคาดหวังกับงานที่มันไม่ใช่เม็ดเงินบ้าง มันอาจจะ เป็นเรื่องของการเสียสละบางอย่าง เพราะว่าถ้าเกิดเรา เริ่มต้นคนอื่นก็จะตามมา แต่ถ้าเราเลี้ยงชีพอย่างเดียว หรือว่าเราทำงานที่ได้เงินมาก แต่ว่าเราแห้งแล้ง เราไม่มี ความงาม เราไม่มีความดีมองกัน ซึ่งในทางศิลปะกับการ ออกแบบมันจะเน้นเรื่องจิตใจที่ดีงาม แล้วก็รูปแบบที่จะ ลงตัว สิ่งเหล่านี้เราควรจะดำรงไว้ แล้วก็อย่างที่บอกว่า ชิ้นงานที่ผลิตได้ทำออกมาเพื่อจำหน่ายบ้างไหม เมื่อมันได้เม็ดเงินมายาก มันก็เติบโตยากแต่ว่าคิดว่าตอน ถ้ามองว่าออกมาในแง่อุตสาหกรรมค่อนข้างน้อย นี้ก็น่าจะดีขึ้นนะคะจากสถานการณ์ เพราะว่าตั้งแต่เรียนก็มาเป็นอาจารย์คนที่อยากให้เราสร้าง งานให้หรือตัวเราเองสร้างงาน เรื่องของงานจะเป็นในแบบ ของโปรเจคท์เฉพาะตลอด มันอาจจะโชคดีที่จริงๆ แล้ว ชอบงานในลักษณะนั้นอยู่แล้ว แต่ว่าปฏิเสธไม่ได้ว่าเรา ต้องเลี้ยงชีพนะคะ ก็เริ่มที่จะลองทำงานในเชิงกึ่งพาณิชย์ ดูบางนะคะ เพราะว่าอย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าโดย กว้างเป็นอย่างไร เพราะว่าทำงานวิจัยมาตลอด แล้วก็ เหมือนกับงานโครงการพระราชดำริอะไรอย่างนี้
126
127
สุวรรณ คงขุนเทียน
Grand Prizes Award 2004 Honor Award 2008
Suwan Konkhunthain
“การทำงานคือการพบปะผู้คน มีการเปรียบเทียบ และเป็นการเปรียบเทียบ ในชีวิตจริงใช้ได้จริง ดีจริง ใครเก่งหรือไม่เก่ง เห็นได้ตอนทำงาน”
ชื่อของ สุวรรณ คงขุนเทียน เป็นที่รู้จักกันดีใน แวดวงการออกแบบของไทย นอกจากผลงานการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ ภายใต้บริษัท โยธกา อินเตอร์เนชันแนล ที่สวยงาม ขายดี และเป็นที่ยอมรับจากเหล่ามัณฑนากร ในวงการออกแบบตกแต่งภายในทั้งในและต่างประเทศ แล้วรางวัลมากมายที่การรันตีความสามารถของสุวรรณ คงขุนเทียน ก็คงจะเพียงพอที่จะบอกว่า หนึ่งในนักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์มือดีที่สุดในประเทศนั้นคือชายคนนี้นี่เอง สุวรรณ คงขุนเทียน ถือว่าเป็นคนปลุกกระแส การนำเอาผั ก ตบชวามาใช้ เ ป็ น วั ส ดุ ห ลั ก ในการผลิ ต เฟอร์นิเจอร์สไตล์เอเชี่ยน ให้โด่งดัง จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นคนริเริ่มนำวัสดุ PE เข้ามาใช้ทดแทนผักตบชวาใน กลุ่มสินค้าเอาท์ดอร์ ที่เมื่อผ่านทักษะและงานจักสาน แบบโยธกา เส้นพลาสติกที่ดูราคาถูกกลับดูสูงค่าน่าใช้ขึ้น อย่างไม่น่าเชื่อ และยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น สุวรรณ ยังดึงเอา วัสดุแปลกใหม่เช่นกระดาษใยสับปะรด ซึ่งเป็นวัสดุที่แทบ จะไม่น่าเป็นไปได้ในการนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เสกสรร ปั้นแต่งจนได้ทางออกที่สวยงามอย่างเหลือเชื่อ สมกับที่ 128
เป็นกระบี่มือหนึ่งของวงการเลยทีเดียว ความที่เป็นคนไม่ถือตัว และเป็นที่รักของหลายๆ คนในวงการนักออกแบบไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ มักจะคุ้นเคยกับคำเรียก “พี่สุวรรณ” หรือ “พี่รักษ์” กัน จนติดปาก และไม่แปลกเลย หากเรื่องราวของชีวิตนัก ออกแบบหลายๆ คนที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียง ในวันนี ้ จะต้องมีชอื่ “พีส่ วุ รรณ” เข้ามาเป็นตัวละครตัวหนึง่ อย่าน้อยหนึ่งครั้ง อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของ สุวรรณ คงขุนเทียน คือการปลุกปั้นนักออกแบบรุ่นใหม่มากหน้าหลายตามา ประดับวงการออกแบบ หลายคนในวันนี้มีชื่อเสียงและ ประสบความสำเร็จ จนยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง และผู้ ประกอบการอีกไม่น้อยในภาคธุรกิจ ที่สุวรรณชักชวน เข้าร่วมกลุ่ม Design & Object ที่สุวรรณและเพื่อนฝูง ในกลุ่ ม ผู้ ป ระกอบการสิ น ค้ า ที่ น ำเอาการออกแบบมา เป็นจุดขาย ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว จนวันนี้แทบ จะเรียกว่า สมาชิกทั้งหลายในกลุ่มนี้เป็นแนวหน้ากลุ่ม สำคัญที่สร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์อันดีต่ออุตสาหกรรม
การออกแบบและผลิตสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของ ตกแต่งบ้าน ถึงขนาดที่มีกลุ่มผู้ซื้อต่างชาติ ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับวงการออกแบบในเมืองไทย” หากจะทำความเข้าใจงานออกแบบของไทยให้ ลึกซึ้งกว่านี้ คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้รับรู้มุมมอง และมิติอันหลากหลายของสิ่งที่เรียกว่า “ดีไซน์ไทย” ผ่าน งานออกแบบและวิถีของความเป็น โยธกา จากปากของ ชายคนนี้... สุวรรณ คงขุนเทียน เส้นทางสู่วิชาชีพ ผมจบมหาวิทยาลัยศิลปากร อาชีพหลักก่อนมา ทำเฟอร์นิเจอร์ผมเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน ทำงาน ที่ประเทศสิงคโปร์ประมาณสิบเอ็ดปี แล้วจึงตัดสินใจ กลับมาที่เมืองไทย ตอนนั้นมันมีงานวิจัยผักตบชวาและมี พรรคพวกเพื่อนฝูงที่ทำวิจัยเช่นกัน ชวนผมกลับมาตั้ง บริษัทโยธกา นั่นเป็นสิ่งที่ผมเริ่มมาทำด้านดีไซน์ จริงๆ ตอนจบมาไม่ได้คิดว่าจะมาทำเฟอร์นิเจอร์ ทำโรงงานเอง อยากทำงานเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน พอมันทำได้
สักพักพบว่ามันถึงจุดอิ่มตัวที่ไม่อยากทำอีกแล้ว แต่ตอน นั้นก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร แต่ในใจลึกๆ แล้วอยากจะทำ ของขาย แต่ไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอะไร กระทั่งเพื่อนคือ หม่อมหลวงภาวินี สันติศิริ จะทำวิจัยเรื่องผักตบชวา ตอน จบก็ ติ ด ต่ อ กั น มาตลอดเวลาแม้ ก ระทั่ ง ตอนทำงานที่ สิงคโปร์ กลับมาเห็นงานวิจัยของเขาตรงนั้นน่าจะเป็นจุด เปลี่ยน ตอนนั้นคิดว่ามันท้าทาย คือ ยังไม่ได้คิดทำเต็มตัว คือบอกเพื่อนว่าขอเป็นคนซื้อเพื่อนำไปขาย พบว่าพังไป เลย ครั้งแรกที่เอาไปขายก็พังเลย ไม่ประสบความสำเร็จ หยุดเลียแผลเป็นเวลาสองปี เขาก็โทรหาผมว่ากลับมาเถอะ ผมว่าครั้งนั้นน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นแต่รู้เพียงว่าไม่ต้องการทำอินทีเรียอีก ต่อไป ไม่ต้องการเซอร์วิสใครอีกต่อไปแล้ว ทนกับสภาพ ที่มันกดดันจากลูกค้าไม่ไหว เลยบอกว่าไม่เอาดีกว่าจึง กลับมาเมืองไทยและตั้งบริษัท อีกอย่างหนึ่งน่าจะเป็นข้อ ที่ผมอยากเปลี่ยนตนเอง เพราะตลอดเวลาที่ทำงานต่าง ประเทศภาพประเทศไทยไม่ดีมากๆ แม้กระทั่งสาขาของ ผมเอง เราไม่มีศักดิ์ศรี เรามีแต่ก๊อปปี้ ละเมิดเขา ของก็ ด้อยคุณภาพ ผมว่าอันนี้อาจเป็นแรงผลักดัน ไม่ได้คิดว่า จะเป็นนักออกแบบที่ยิ่งใหญ่เพียงแต่ต้องการพิสูจน์ว่า คนไทยมีดีพอที่จะอวดเท่านั้นเอง ผมรู้สึกว่าโรลโมเดล ของผมที่มองอยู่คือ บริษัท Jim Thomson จริงๆ ผมนึกถึง ตลอดเวลาที่เราทำธุรกิจอยู่สิงคโปร์ เรารู้สึกได้ถึงความ เป็นมืออาชีพของ Jim Thomson นั้นสูงมากๆ ในขณะที่ อื่นๆ เราไม่รู้สึกศรัทธาหรือเชื่อมั่นของคน มันถูกยัดเยียด ให้รู้ว่ามันไม่ดีตลอดเวลา ถึงเวลาแล้วที่เรามีโอกาสพิสูจน์ ได้เราก็อยากจะพิสูจน์ ไม่ได้คิดว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือนักออกแบบที่ยิ่งใหญ่ เพียงแต่คิดว่ามีโอกาสก็ขอลอง สักทีเท่านั้นเอง เห็นความเปลี่ยนแปลงในวงการออกแบบไทยอย่างไร มองประเทศไทยว่า หากอยู่ในเมืองไทยจะไม่ค่อย รู้สึก หรือคนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศ หากไม่มีโอกาส ทำงานก็จะเห็นภาพของประเทศไทยอีกภาพหนึ่ง คือการ ทำงานต่างประเทศมันเหมือนการใช้ชีวิตจริง การเรียน เหมือนการใช้ชวี ติ ช่วงสัน้ ๆ การทำงานคือ การพบปะผูค้ น มีการเปรียบเทียบและเป็นการเปรียบเทียบในชีวิตจริงใช้ ได้จริง ดีจริง ใครเก่งหรือไม่เก่งเห็นได้ตอนทำงาน ต้อง บอกว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มันไม่เกิดการพัฒนา ทางการออกแบบของบ้านเราทั้งๆ ที่เรามีสถาบันทาง ด้านการออกแบบ หลังสงครามโลกแล้วทุกอย่างในโลก เปลี่ยนไป ระบบ OEM หรือการว่าจ้าง จ้างวานให้คนผลิต แล้วใช้ทรัพยากรของแต่ละประเทศเป็นการหยิบฉวย สร้างโอกาสให้กับตัวเองซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ถูกรองรับเรื่องแบบนั้นอยู่ ในตอนนั้นเราต้องยอมรับว่า รอบบ้านเรานี้มีสงครามระหว่างประเทศกับสงครามภาย ในทั้งหมดประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มั่งมีศรีสุขที่สุด วัตถุดิบมีมากที่สุด มีความพร้อมในการทำธุรกิจมากที่สุด เราเป็นประเทศเดียว คือ เป็น OEM เต็มตัว รับจ้างเขา ผลิตเต็มที่ ส่งผลต่อปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางการ
ออกแบบแทบจะไม่เกิดขึ้น หากใครมีโอกาสได้ไปดูชาร์ต ของ TCDC ช่วงหลังสงครามโลกมา ร่วมครึ่งศตวรรษไม่ เคยเกิดอะไรเปลี่ยนแปลงเลย มีเพียง 3 บริษัทที่มีการ เปลี่ยนแปลง คือ Jim Thomson โขมพัสตร์และโยธกา ในรอบ 60 ปีเลยนะ หลังจากนั้นจึงเกิดกระบวนการ เปลี่ยนแปลง มันเกิดอะไร ผมว่าที่ใครๆ บอกว่าเศรษฐกิจ พังไม่ดี ผมมองว่าดีนะ ทำให้คนเราคิดที่จะเปลี่ยนตัวเอง จากที่เคยอยู่สุขสบาย มีคนมาว่าจ้างทำเงินให้เราอย่าง มหาศาล เฟอร์นิเจอร์นำเข้าประมาณ 8 หมื่นล้าน ปัจจุบัน เหลือประมาณ2 หมื่นล้าน มันเกิดอะไรขึ้นหลังจากประเทศ เหล่านั้นที่รบราฆ่าฟันกันสงบลงมันเกิดการพัฒนาประเทศ คือคู่แข่งของเรานักธุรกิจของเรายังทำแบบเดิมๆ ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ตอนผมกลับมาเมื่อเศรษฐกิจมันพังคนเริ่ม มามองตนเองว่าเกิดอะไรขึ้นตลอดระยะเวลา 30-40 ปีที่ ตกเป็นเบี้ยให้คนอื่น และมันไม่ได้ทำอะไรเลย ด้วยประโยค ทองที่ว่า “แค่ส่งก็ยังไม่ทัน จะให้มาคิดอะไรอีก” ตรงนี้ ผมว่าเป็นข้อผิดพลาดมหาศาลของคนทำธุรกิจและคน เหล่านี้ก็ไม่เคยให้โอกาสกับนักออกแบบ ตอนผมกลับมา ทำผมไม่สนใจ OEM ไม่สนใจระบบอุตสาหกรรม ผมมอง ว่าประเทศไทยเรามีจุดแข็งอะไร และจุดแข็งของเราคือ อะไร แท้จริงเราก็รู้อยู่แล้วว่าจริงๆ เราร่ำรวยทางทรัพยากร ธรรมชาติ บุคลากร แต่ไม่เคยนำมาใช้อย่างถูกทิศถูกทาง ตอนผมกลับมา ...โทษทีจริงๆ มีอีกอย่างคัลเจอร์ เรื่อง ของวัฒนธรรม เราริชมากๆ ถ้ามองให้ดีๆ ผมถือว่า เป็นเรื่องของการสืบทอดวิถีชีวิตของเรา การสานเป็น คัลเจอร์อย่างหนึ่ง เมื่อเรามีวัตถุดิบ คน วัฒนธรรมที่ เข้มแข็งเมื่อเรานำสามอย่างมารวมกันเราเชื่อว่าเราสู้เขา ได้ แต่เราไม่แข่งด้านเทคโนโลยีเพราะเรารู้ว่าเราอ่อน เรา ไม่มีทางสู้เขาได้เลย ทุกวันนี้เรามีนักวิทยาศาสตร์หรือ วิศวกรที่คิดอะไรให้กับประเทศไทยที่เป็นรูปธรรม ในแง่ ของระบบอุตสาหกรรมจริงๆ มีน้อยมาก แต่ทุกครั้งที่เรา ทำเฟอร์นิเจอร์ในสมองรู้เลยว่าต้องไปซื้อเครื่องจักรมาจาก ยุโรป หรือมาจากจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ไม่คิดว่าเรา จะทำเองได้ แต่ลำพังผมมาตั้งธุรกิจผมไม่มีเงินซื้อเครื่อง จักรแต่ที่ผมมีอยู่คือ เราพอจะมีฝีมือ ในทีนี้หมายถึงฝีมือ ดีไซน์และฝีมือของช่าง ผมก็เลยคิดว่าอันนี้เป็นจุดแข็ง ที่จะสู้ได้และเป็นการเติมเต็มช่องว่างในตลาดยุโรป ใน ขณะที่ทุกคนให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยี ด้านแมส
โปรดักชั่น แต่ผมให้ความสำคัญกับชาวบ้านสุดๆ ผมคิด ว่าเป็นจุดเปลี่ยนและอิทธิพลตรงนี้ ที่เราพิสูจน์ให้เขาเห็น เกิดการขยับตัวเกิดการเปลี่ยนแปลง ระยะหลังกระบวนการ ศึ ก ษาหรื อ ครู บ าอาจารย์ ก็ เ ริ่ ม เปลี่ ย นหั น มาให้ ค วาม สำคัญทางด้านนี้ ผมไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี เพียงแต่ สิ่งที่ผมทำคือมองจุดแข็งและใช้จุดแข็งถูกที่มากกว่า ผม เลือกที่จะใช้โลว์เทคมากกว่าไฮเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบกับการทำงานทางหัตถกรรม แกนของขบวนการคิดของการเริ่มธุรกิจ ผมไม่ อยากใช้ว่าเป็นปรัชญาเพราะฟังดูมันดีเหลือเกิน ซับซ้อน เหลือเกิน ผมคิดง่ายๆ ว่า ถ้าผมจะทำโปรดักท์ขาย ผม คิดถึงผู้ใช้และผมคิดว่าเรามีดีอะไร ตอนที่เราเริ่มต้นทำ เราคิดอยู่อย่างเดียวว่าของต้องมีคุณภาพ ไม่ก๊อปปี้ และ ไม่ขายตลาดล่าง อันนี้เป็นหัวใจหลักของโยธกาทั้ง 3 ข้อ และที่เหนือกว่านั้นว่าไม่ขายประเทศไทยเป็นนโยบาย แต่ เมื่อเรากำหนดสิ่งเหล่านี้เราพบว่า มันเหมือนเพ้อเจ้อ เพ้อฝันเรายังไม่รู้เลยว่าเราจะเข้าไปในตลาดยุโรปได้ยังไง แต่ว่ามันเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ เมื่อเราคิดแบบนี้สิ่งที่ ตามมา ผมต้องเปลี่ยนวิธีการคิดของช่าง ผมไม่สามารถ สอนว่าต้องสานอย่างนี้ ต้องเข้าไปเรียนกับช่างว่าเขาทำ ยังไง คิดแบบไหน และผมจะบอกเขาว่าหากผมไม่ทำแบบ คุณไม่คดิ แบบคุณ คุณทำให้ผมได้ไหมลักษณะทีผ่ มต้องการ ช่วงแรกโยธกาอิงงานหวายเป็นต้นแบบในการทำงาน เพราะว่าเราไม่มีข้ออ้างอิงอะไรเลย และผักตบชวา ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำขึ้นมา ไม่มีข้อ อ้างอิงเลย จึงเริ่มจากหวายแล้วเปลี่ยนทัศนคติของคน ทำงาน ผมเปลี่ยนในแง่สิ่งที่คุณคุ้นเคยให้เปลี่ยนมาคุ้นเคย กับผม เขาคุ้นเคยกับระบบเถ้าแก่โรงงาน ซึ่งไม่มีพื้นฐาน ทางด้านการออกแบบเขาต้องปรับกระบวนการของเขา ใหม่ว่าภาษาของนักออกแบบ หรือความงามในทัศนคติ ของเขากับนักออกแบบต่างกันอย่างไร เริ่มตรงนั้นก่อน
129
หรือบ้านนั้น ไม่เป็นตัวตลกแต่เป็นตัว สอดแทรกได้ทุกอณูของบ้าน หากเปรียบ โยธกาเป็นอะไรสักอย่าง ผมเปรียบเป็น เสื้อเชิร์ตสีขาว ไวท์เชิร์ต ผมเชื่อว่าเปิด ตู้เสื้อผ้าทุกคนต้องมีไม่ต่ำกว่าสองตัว ผมไม่ใช่พิงค์เชิร์ต เรดเชิร์ต หรืออะไร ก็ได้ ผมเชื่อว่าบางคนไม่มีเสื้อเหลือง เสื้อแดง แต่เสื้อขาวต้องมี บางคนยัง ไม่มีกางเกงยีนส์ ผมเชื่ออย่างนั้น เรา อยากเป็นอย่างนั้น ทุกคนใช้ได้ เท่ได้ ทุกโอกาส สวยได้ทุกโอกาส เป็นแนว นโยบายการดำเนินงานทางธุรกิจมา โดยตลอด ผมไม่เคยใช้ช่างของนอกโดยไม่ได้เทรนในบริษัทเลย วิธี เทรนของผมใช้คนที่เก่งที่สุดในบริษัทแล้วให้เขาสอนช่าง ให้มันเหมือนโมเดลเดียวกันหมด แต่อยู่ในการควบคุม ของเรา เริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า คิดและวิธีมองหรือแม้ กระทั่งทัศนคติของช่าง เมื่อทำงานผิดพลาด ผมบอกว่า ทำไมไม่ทำแบบนี้ ช่างบอกว่าพี่ยังไงก็ไม่เห็นหากสานปิด ลงไป แต่ผมบอกว่าไม่ได้ทัศนคตินี้ต้องลบออกไปให้ได้ คิดว่าเขาไม่เห็น ผมสมมุติว่าวันหนึ่งหากเราส่งสินค้าไป สินค้าเกิดอุบัติเหตุมันเกิดขาหัก ตัวมันหักจะเห็นไส้ในทันที เมื่อคุณพบว่าไส้ในของคุณมันทุเรศ ผมว่าเครดิตนั้นพัง ทันทีกับสิ่งที่คุณสร้างมา ยกตัวอย่างแม้กระทั่งรถญี่ปุ่นในอดีตเวลาชนกัน ปุ๊บสีมันหลุดไป มันเห็นกระป๋องนมที่เชื่อมปะแล้วพ่นสี ทับ จะรู้สึกว่าสินค้าญี่ปุ่นด้อยคุณภาพหรือเกรดต่ำ แต่เรา ไม่ได้บอกของเขาไม่ดี แต่เราต้องเปลี่ยนทัศนคติว่าเราไม่ ควรยัดไส้ ต้องซื่อสัตย์กับงานของเรา หลายๆ อย่างมัน เกิดขึ้นในเวลานั้น ผมไม่ได้คิดเรื่องดีไซน์จนสุดโต่ง ผมเคยโดนรุ่นพี่ ที่เป็นนักออกแบบตำหนิว่า “มึงทำอะไร ทำไมทำยังงี้” ผมยอมรับว่าไม่ได้ให้ความสำคัญทางด้านดีไซน์แต่ปกติ ธรรมดาที่อิงดีไซน์ของหวาย เหตุผลคือความอยู่รอดขณะ ที่คนที่มาคอมเมนท์ผม คือเขาเป็นนักออกแบบฟูลไทม์ ไม่ใช่นักธุรกิจที่ดูแลลูกน้อง ขณะที่ผมดูแลลูกน้อง 40-50 คน เหตุผลในการทำงานต่างกัน กระบวนการคิดต่างกัน แต่ผมไม่ลืมหน้าที่ของผมที่ต้องเป็นนักออกแบบที่ดี ตัว ผมเล่นอยู่สองสามบท เวลาเริ่มกิจการผมเป็นนักออกแบบ ผมเป็นผู้ผลิตและเป็นนักการตลาดต้องไปขายของด้วย ทำให้ผมเรียนรู้ทุกอย่างกระทั่งมันทำให้ผมรู้ว่าเมื่อไรที่ ปากท้องคุณอิ่ม จะเล่นอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ โยธกา แรกๆ จะไม่เห็นดีไซน์เท่าไหร่ เป็นเรื่องพื้นฐานของการ สร้างธุรกิจแต่ต่อมาทุกอย่างก็เปลี่ยนไป มีโอกาสทำงาน ดีไซน์มากขึ้น เรื่องคอนเซปท์แรงบันดาลใจมันไม่ซับซ้อนตั้งอยู่ บนวิถีชีวิตของคนในเวลานั้น เราทำของให้คนใช้ แต่เรา จะเติมเต็มอย่างไรก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ตราบใดที่มัน ฟังก์ชันนอลต้องไม่เป็นสัตว์ประหลาดในห้องนอนนั้น 130
นิยามเฟอร์นิเจอร์โยธกา เรื่องของจิตวิญญาณผมมองงานโยธกาว่าเป็น ฝรั่งในร่างเอเชีย คือเราเป็นสากลขณะที่มันมีความเป็น คนตะวันออก ผมว่าไม่ต้องบอกก็รู้ อย่างคนตะวันออกนี่ ส่วนมากเราได้ยินคำพูดเสมอว่า “เราอยากทำสินค้าที่มี ความเป็นไทย” ผมว่าตัวนี้เป็นนีดส์รีดดิ้งในการทำธุรกิจ คุณต้องถามตัวคุณเองว่าความเป็นไทยในโปรดักท์คือ อะไร แต่ผมมองในด้านนามธรรม เช่น การสาน มีจิต วิญญาณของคนตะวันออก แต่ตัวโปรดักท์มีความเป็น สากล แม้กระทั่งสีสันก็ไม่เป็นคนตะวันตกหรือออกเอิร์ท โทน มีความเป็นกลางสูงมาก หากถามผม คือวิญญาณ ของฝรั่งในร่างของคนเอเชีย เป็นเรื่องของสปิริชวลมาก กว่า สินค้าโยธกาดูเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไทย เป็นฝรั่งก็ไม่ใช่ เป็นส่วนผสมตรงกลางพอดี ซึ่งตรงนี้มีคนถามว่าเขาจะ รู้ได้อย่างไร มันไม่มีสูตรสำเร็จในการบอก มันเป็นเรื่อง ส่วนตัวมากๆ อันดับแรกทีผ่ มคิดว่าต้องเกิดก่อนคุณ ต้อง รักความเป็นตะวันออกของคุณก่อน ผมเป็นคนคลั่งตะวัน ออก ผมภูมิใจที่เป็นคนตะวันออก ไม่เคยคลั่งฝรั่งในแง่ ดีไซน์ แต่ผมคิดถึงเขาในกระบวนการคิดหรือสิ่งที่เขาทำ เวลามีคนถามว่ามาสเตอร์ด้านดีไซน์ของคุณเป็นใคร ผม บอกก็รากเหง้าของผม พูดถึงงานเฟอร์นิเจอร์โฟล์คอาร์ค ของจีนเขาไม่ได้บอกใคร แต่คุณดูชิ้นงานของเขา กระทั่ง ปัจจุบันมันยิ่งใหญ่มากๆ และคนยังทำตาม นี่เราไม่พูด ถึงมาสเตอร์พูดเพียงโฟล์คอาร์ต หากเราชื่นชมตัวตน ของเรา คุณไม่ต้องห่วงเรื่องการทำงาน มันออกมาเองโดย เราไม่รู้ตัว ยังไงเราก็เปลี่ยนตัวเองไม่ได้ ผมมองว่าถ้าคุณจะทำธุรกิจในตลาดโลก ตลาด โลกแบ่งออกเป็น 2 ตลาดใหญ่ ๆ คือ ตลาดเอเชียกับ ตลาดยุโรป แต่คณุ คิดว่าตลาดยุโรปเป็นตลาดหลัก ผูบ้ ริโภค ของโลก ถามว่าเวลาคุณจะทำของไปขายเขา คุณควรจะ เป็นใคร อย่างที่ผมบอกว่าคุณต้องหาให้เจอว่าตัวตนของ คุณเป็นใคร แต่ถ้าคุณทำตัวของคุณเป็นฝรั่งและอยู่กับ ฝรั่งคุณไม่ได้รับการยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากคุณ เป็นคนเอเชียที่มีวิญญาณฝรั่ง เหมือนที่ผมบอก ฝรั่งใน ร่างเอเชียเขายอมรับคุณได้ การยอมรับของคนต้องใช้เวลาสะสม ต้องสร้าง
พิสูจน์ตัวคุณเอง ผมเฝ้าดูหลายๆ บริษัทหรือธุรกิจที่ทำ ธุรกิจส่งออก ผมขออนุญาตผมไม่ได้ยกย่องบริษัทโยธกา แต่ผมกล้าพูดได้ว่าโยธกาเป็นบริษัทต้นๆ ที่เข้าไปในตลาด ยุโรปกลางบนได้อย่างสง่าผ่าเผย โดยเขายอมรับตรงนี้ เป็นข้อพิสูจน์ ตัวตนของเราต้องมีถ้าเราจะไป แต่ถ้าคุณ จะไปแบบฝรั่งจริงๆ คุณเป็นได้แค่เซคคันชอยส์ไม่สามารถ เป็นเฟิร์สชอยส์ในตลาดยุโรป เป็นได้แค่เฟิร์สชอยส์ใน ตลาดเอเชีย เพราะคนเอเชียซื้อสู้ตลาดยุโรปไม่ไหว ที่ผม บอกว่าดีไซน์ที่มีกลิ่นอายความเป็นฝรั่งเต็มตัว ดูยังไงก็ เป็นฝรั่ง แต่ผมต้องการให้ฝรั่งยอมรับ ตลาดหลักยอมรับ แล้วตลาดรองในโลกจะเดินตามหมด คุณรู้ไหม ผมไม่ สนใจตลาดอเมริกาเลย ทั้งที่คนทั่วไปจ้องตลาดอเมริกา และญี่ปุ่น โยธกาไม่เคยให้ความสำคัญกับทั้งสองตลาดนี้ เลย โยธกามองว่าตลาดโยธกาเป็นตลาดแม่บา้ นและตลาด กลางล่าง อย่างที่ผมบอกดีไซน์ของผมต้องเป็นตลาดยุโรป ส่วนตลาดเอเชียคือตลาดแมส คนกำลังสร้างตัวเอง ตลาด ญี่ปุ่นเป็นตลาดเฉพาะ โยธกาใช้ตลาดยุโรปเป็นหลัก ดังนั้น สเกลของตลาดยุโรปจึงเข้าตลาดญี่ปุ่นไม่ได้ แต่มันมีข้อแม้ อย่างหนึ่ง สินค้าจากยุโรปหากเข้าตลาดญี่ปุ่นต้องเป็น ไฮเอนด์อย่างเดียว แต่คนญี่ปุ่นไปดูตลาดยุโรปก่อนเอา เข้าประเทศเขา สิ่งที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานมัน ต้องเฝ้าสังเกตว่าเราทำอะไรอยู่ทำกับใครและเราจะอยู่ จุดไหน จุดไหนที่เราควรเข้าไปยืน ผมไม่ให้ความสำคัญ แม้กระทั่งตำแหน่งนักออกแบบ ไม่มีอีโก้ติดตัวงานของผม ผมไม่สนใจกระทั่งทำแบรนด์โยธกาด้วยซ้ำไป ไม่ใช่เพราะ ไม่รัก แต่รู้ว่าผมต้องลดอีโก้ตรงนั้น เพื่อเข้าไปอยู่กับคุณ ให้ได้ หากคุณเข้าตลาดยุโรปได้ไม่ต้องห่วงเรื่องชื่อ คุณจะ เห็นนักการตลาดพูดว่าโพสิชันนิ่งคุณคืออะไร ทาร์เก็ต กรุ๊ปคุณคืออะไร แบรนด์สำคัญแค่ไหน ผมบอกมันไม่ได้ อย่างที่คุณพูด ทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย ยิ่งสินค้าเฟอร์ นิเจอร์ หากเข้าตลาดยุโรป ไม่ต้องว่าเฉพาะโยธกา แต่ติด เมดอินไทยแลนด์ คำตอบคือไม่ได้ จะไม่มีใครซื้อ หาก เขียนว่าทำมาจากประเทศไทย นี่เป็นความปวดร้าวของ นักออกแบบและนักธุรกิจไทย ขั้นต่อไปผมเปลี่ยนวิธีการ ใหม่ ไม่เป็นไร หากคุณยืนกรานว่าต้องใส่ประเทศไทย ให้ได้ เขาก็ไม่ซื้อคุณ คุณตัดโอกาสการทำธุรกิจคุณหรือ เปล่า ผมก็เลยไม่ใส่ก็ได้ แต่ช่วยซื้อหน่อยไว้ในตลาดยู มัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องให้คนเห็นสินค้าเราก่อน นั่นเป็นจุด เริ่มต้นตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ กว่าห้าสิบบริษัทที่ซื้อขายกับ เรา ครึง่ ต่อครึง่ ต้องขายในแบรนด์โยธกา เราค่อยๆ เปลีย่ น เขา ถ้าคุณไม่ยอมซื้อชื่อโยธกา ผมจะถอนแล้วไปขาย คนอื่น คือเราเริ่มเปลี่ยนอย่างนี้มีการเจรจาต่อรอง ยกเว้น บริษัทใหญ่จริงๆ ที่ต่อรองกับเรา เราก็ยอมมัน เพราะมัน เป็นโชว์เคสให้เรา โลกมันแคบลง ผมบอกนักออกแบบ มือใหม่และนักธุรกิจบ้านเราได้ว่าอย่าห่วงเรื่องแบรนด์ มาก คุณให้ความสำคัญเรื่องสินค้าก่อน ให้อยู่ในตลาด ของเขาให้ได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ ผม มักจะพูดเสมอว่าโยธกาเป็นเมืองล้อมป่า ของผมไปเมือง ก่อน ประเทศไทยคือป่า ผมไม่สนใจหรือไม่ให้เกียรติ เพราะตลาดของไทยไม่ใช่ของผม มีปัญหาด้านการยอมรับ
ทัศนคติเรื่องการใช้ของไทยเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข คิดว่าเรา ต้องประสบความสำเร็จตลาดยุโรปก่อนแล้วค่อยมาตี บ้านป่าเมืองเถือ่ น สดุ ท้ายมันก็เป็นอย่างทีเ่ ราคิด เราได้รบั การยอมรับ เราเดินกลับมาบอกเราต้องการขายในประเทศ เท่านั้น เราขายได้ฉลุยเลย คุณจะไม่เห็นโฆษณาบริษัท โยธกาในสื่อใดเลย แต่ตลอดสองสามปีที่ธุรกิจมันพังพาบ ลงมา โยธกาไม่เคยลดคนงาน ไม่ตัดเงินเดือน มีโอทีทำ มีอยู่เหตุผลเดียว คือสินค้าที่ผมยื่นเสนอให้คุณ เราเคย พูดเล่นว่าคุณไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธผม เหมือนเจ้าพ่อ เราทำแต่ สิ่งดีมีคุณภาพราคาสมเหตุสมผลให้กับคุณ ผลงานที่ประสบความสำเร็จ งานที่ประสบความสำเร็จของ ผมขอใช้คำพูดเดิม ที่พูดเสมอ ความสำเร็จของงานแต่ละชิ้นอยู่ในห้วงเวลา นั้นๆ แต่ไม่ใช่ที่สุดของความสำเร็จ ถ้าบอกผมสุดยอด ชิ้นนั้น ชิ้นนี้ ต้องรอให้ผมตายไปจากโลกนี้เพราะว่าผม ไม่ได้ทำมันอีกแล้ว และเลือกสิ่งที่ผมทำมาตลอดว่านั่น คือสิ่งที่ดีที่สุด แต่ถ้าถามผมเวลานี้ผมชอบงานทุกชิ้นไม่มี อะไรพิเศษ แต่ไม่ที่สุด ผมชอบเก้าอี้ดาไลที่สุดที่ทำจาก ลิเภา มันเป็นอะไรในตัวมันเอง อายุมันเกือบสิบปี ผมดู มันเมื่อไรมันก็สวยตลอดเวลา แต่อันหนึ่งที่ผมภูมิใจที่สุด ณ วันนี้ คือ ผมทำเก้าอี้กระดาษใยสัปปะรด ผมถือว่าเป็น ความท้าทายมาก ผมบอกได้เลยว่าเก้าอี้กระดาษที่ผลิต ขึ้นมาในโลกนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่สามารถ ทำให้มีสีสันและลูกเล่นมากที่สุด และก็ไม่บอบช้ำเวลาใช้ เร็วเท่าในประเทศต่างๆ หรือนักออกแบบคนอื่นทำ บางที่ ดูปุ๊บสวย นั่งปุ๊บช้ำเลย แต่ของโยธกาสวยด้วยสี นั่งก็ไม่ช้ำ ลูกเล่นก็มีแม้กระทั่งตัวเก้าอี้เอง ก็มีกลิ่นหอมเมื่อคุณนั่ง มันเป็นการรวมหัตถกรรม อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เราทำร่วมกับทาง สวทช. คิดขึ้นมาว่าทำอย่างไรให้เก้าอี้ กระดาษเวลานั่งแล้วมีกลิ่นลาเวนเดอร์ลอยขึ้นมาด้วย ซึ่ง โปรเจคท์นี้จบและสำเร็จ ผักตบชวาก็ดีหรือดีไซน์ไม่ท้าทาย เท่ากระดาษ เพราะผมต้องเข้าไปยุ่งตั้งแต่กระบวนการ
ผลิต กระบวนการคิด ดีไซน์ทุกอย่างเลย ผมพบว่าวันนี้ เลยว่าเจ็บของมีดบาดเป็นยังไง เพราะฉะนั้นเขาเจ็บจาก อันนี้เป็นมาสเตอร์ของผม ผมภูมิใจมากที่สุด ในแง่ของ ธุรกิจแล้วมีใครไปเติมเต็มให้เขาว่าลองแบบนี้ไหม คนที่ การใช้ความคิด เจ็บจะยอมเปลี่ยนทัศนคติ ถ้าไม่เคยผิดพลาดก็ไม่ยอม เปลี่ยน การผลักดันนักออกแบบรุ่นใหม่ อย่างที่ผมบอก ผมมีความเป็นคนตะวันออกสูง อนาคตของโยธกา “สกุลช่างโยธกา” และมองศักยภาพนักออกแบบไทยว่าไม่เป็นรอง กระบวน คือ ผมอยากบอกว่าผมมักพูดบ่อย ผมอยาก การคิดและผมพูดเสมอว่าการออกแบบไม่มีพรมแดน ใน สร้างสกุลช่างโยธกา สกุลช่างในที่นี้คือ สกุลช่างที่ให้ อดีตอาจใช่แต่ในโลกปัจจุบัน ไซเบอร์ ไอที มันไม่ใช่ คุณ ความสำคัญด้านเทคโนคราฟท์และเป็นสกุลช่างที่เป็น รับรู้ตลอดเวลาและผมผลักดันนักออกแบบไทยเพราะเชื่อ ตัวตนของเราไม่เป็นทาสกระบวนการคิดแบบฝรั่ง เราจะ ศักยภาพว่าไม่เป็นรองจริงๆ หลังจากที่เศรษฐกิจโลกมัน คิดแบบคนตะวันออก สกุลช่างโยธกาผมไม่ได้บอกว่า พัง และผู้ประกอบการมีปัญหาว่าไม่มีนักออกแบบทำงาน โยธกาจะเป็นโรลโมเดลให้ใครบางคน แต่ว่าสิ่งที่เราทำ ให้ หรือนักออกแบบทีม่ ไี ม่สามารถทำงานกับผูป้ ระกอบการ อยู่ในปัจจุบันได้พิสูจน์อะไรบางอย่างเพื่อที่จะเดินต่อ เหมือนเป็นเส้นขนานตลอดเวลา การคิดหรือวิธีคิดมัน เมื่อก่อนผมไม่คิดว่าจะจ้างลูกน้องหรือคนมาช่วยผม ต่างกัน นักออกแบบมีอีโก้สูง ผู้ประกอบการก็มีวิธีคิด ทำงาน แต่วันนี้อาจเป็นเพราะอายุผมเปลี่ยนไป ผมคิดว่า มักพูดว่าฉันเป็นนักธุรกิจมีประสบการณ์สูง นักออกแบบ ผมจะปั้นคนขึ้นมา แต่ผมไม่ได้ทำให้เขาเป็นสุวรรณ 2 ไม่รู้อะไรเลย นักออกแบบก็มักบอกว่าผู้ประกอบการไม่มี สุวรรณ 3 นะ ผมจะกลายเป็นเหมือนโยธกา 1 โยธกา 2 วิสัยทัศน์ ไม่มีรสนิยม มันไม่มีทางเข้ากัน โยธกา 3 ความหมายของ 1, 2, 3 คือ โยธกาก็ยังต้องทำ ที่ผมปั้นนักออกแบบ เพื่อต้องการปรับกระบวนการ หัตถกรรมเหมือนเดิม แต่ปรัชญาในกระบวนการคิดอาจ คิดใหม่ว่าคุณต้องยอมรับเขาก่อน ยอมรับผู้ประกอบการ เปลี่ยนแปลงไป รูปแบบเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกระบวนการนี้ ก่อนว่าการดีไซน์ที่ประสบความสำเร็จได้มีเรื่องมาร์เก็ตติ้ง เกิดขึ้นมาแล้วในโลกอย่าง Christian Dior, Yves Saint เข้ามาเกี่ยว แต่ผู้ประกอบการก็ต้องให้ข้อมูลที่ดีกับนัก Laurent พอเขาตายไปจากโลกนี้ มันก็เปลี่ยนไปด้วย ออกแบบ ดังนั้นการที่ผมผลักดันนักออกแบบขึ้นมาไม่ใช่ อย่าง Kenzo เขาขายธุรกิจมันก็เปลี่ยนไป เพียงชื่อยังอยู่ เป็นนักออกแบบที่ดีเพราะผมเชื่อว่ามีคนสอนเขาอยู่แล้ว แต่กลิ่นมันต้องอยู่นะ โยธกาอีก 20-30 ปี ข้างหน้าจะเป็น แต่ผมผนวกวิธีการคิดให้เขา น้องใหม่ในวงการที่มีโอกาส อย่างไร ผมไม่ทราบ เพราะผมไม่อยู่แล้ว หน้าตาของ คุยหรือฝึกงานกับผม ผมเชื่อว่าคุณลองถามว่า การที่ได้ สินค้าของโยธกาอาจไม่เหมือนปัจจุบันนี้ก็ได้ เพราะงั้น เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ก่อน ผมไม่ได้บอกว่าต้องทำ ถามว่าสกุลช่างโยธกาจะเกิดไหมมันต้องเกิด เพราะผม ดีไซน์อย่างไร แต่ผมใส่กระบวนการคิด กระบวนการ คิดทำให้มันเป็นจริงและฟอร์มทีมขึ้นมา จ้างคนเข้ามา ตลาดให้เขาเท่านั้นเอง นี่เป็นจุดที่ผมเชื่อในศักยภาพ แต่ ทำงานให้เป็นลูกน้องไม่เพียงทำงานให้โยธกา แต่ให้บริการ ผมเปลี่ยนทัศนคติของนักออกแบบก่อนเพราะไม่มีโอกาส ให้บริษัทที่ต้องการให้ดีเวลอปสินค้าให้ แต่ให้วัตถุดิบของ คุยกับผู้ประกอบการ เราคุยกับนักออกแบบก่อนว่าเราทำ เขา โยธกาต้องอยู่แต่อยู่อีกนานเท่าไร ผมตอบไม่ได้ แบบนี้กับเขาได้ไหม เราค่อยๆ เปลี่ยนได้ไหม คนเราเวลา เจ็บจะอธิบายได้ว่าเจ็บยังไง หากไม่เคยโดนมีดบาดก็ไม่รู้
131
อนุ ร ก ั ษ์ สุ ช าติ Anurak Suchat
Grand Prizes Award 2004
“เรามองว่าทำได้ ย่อมทำได้ อยู่ที่ว่าเราจะมองจุดไหน และหยิบอะไรออกมา”
อาจดู เ หมื อ นหายหน้ า หายตาไปนานสำหรั บ นักออกแบบคนนี้ ที่เมื่อสิบปีก่อน Aesthetics Studio ภายใต้การบริหารและออกแบบสินค้าของตกแต่งบ้าน ของ อนุรักษ์ สุชาติ เป็นที่น่าจับตาและกล่าวขวัญถึง ความสามารถในบทบาทของผู้บริหารและนักออกแบบ ผู้ซึ่งต้องดูแลบริษัทสองประเภทธุรกิจไปพร้อมๆ กัน คือ เว็บดีไซน์ กับ โปรดักท์ดีไซน์ สองธุรกิจที่มีความต่างกัน เกือบสิ้นเชิง หากจะมีความเหมือนซึ่งคนที่มีพื้นฐานทาง ภูมิสถาปัตย์อย่างอนุรักษ์จะนำมาใช้ได้ก็คงเป็นในเรื่อง ของความคิดสร้างสรรค์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของ โลกในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บริบทหลายอย่างเปลี่ยนไปอย่าง สิ้นเชิง งานแสดงสินค้า BIG&BIH ซึ่งเคยเป็นงานที่ถูก จับตามองมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังถูกลดความน่าสนใจลงไปกับยุคของข้อมูลข่าวสาร ที่เพียงแค่เคาะนิ้วก็สามารถเปิดดูงานออกแบบใหม่ๆ ได้ ทั่วโลก และการเข้ามาแทนที่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตหน้า ใหม่ที่ได้เปรียบเรื่องราคา Aesthetics Studio และ อนุรักษ์ สุชาติ ก็ได้หายไปจากวงการงานแสดงสินค้าอยู่ 132
พักใหญ่ เนื่องจากเล็งเห็นแล้วว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน วิถีของธุรกิจอาจไม่สามารถงอกงามได้ภายใต้กระบวนทัศน์ เดิมๆ อนุรักษ์ยังคงทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง มีเพียงแค่ รูปแบบการประกอบธุรกิจเท่านั้นที่เปลี่ยนไป การออกบูธ แสดงสินค้าอาจไม่เพียงพอต่อการเขาถึงกลุ่มลูกค้าตัวจริง การพุ่งเข้าหากลุ่มลูกค้าโดยตรงด้วยเงื่อนไขการพัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ร่ ว มกั น และมอบสิ น ค้ า ตั ว ใหม่ ที่ ไ ด้ นั้ น เป็ น เอกสิทธิ์ของลูกค้าภายใต้สัญญาการผลิตและส่งออก จากเมืองไทย เป็นวิธีที่น่าสนใจกว่าในสายตาของอนุรักษ์ ไม่ต้องออกแบบ โยนหินถามทาง ทำสิบเพื่อหวังเพียงหนึ่ง หรือสองเหมือนเช่นที่คุ้นเคยกันกับการแสดงสินค้าใน ประเทศ ว่ากันมาจริงๆ เลยดีกว่าว่ากำลังมองหาอะไร นักออกแบบไทยจัดให้ได้ ชื่อของอนุรักษ์ สุชาติ และ Aesthetics Studio กลับมาโดดเด่นในแวดวงการออกแบบอีกครั้งกับผลงาน ล่าสุด “Juno Lamp” ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัล Gmark จาก ประเทศญี่ปุ่นและรางวัล DEmark ของกรมส่งเสริมการ ส่งออกเมื่อปี 2009 กับอีกรางวัลล่าสุดกับ Best Exhibits
Awards from IFFS 2010 จากประเทศสิงคโปร์ นั ก ออกแบบไทยคนหนึ่ ง ผู้ ซึ่ ง มี ค วามสนใจพิ เ ศษต่ อ เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้ยุคข้อมูล ข่าวสาร เขากำลังคิดอะไรอยู่และกำลังจะทำอะไรต่อ มุมมองของคนที่เคยเกี่ยวข้องกับธุรกิจไอที และวลีซึ่งเขา มักจะพูดอยู่บ่อยว่า “โลกมันแบน” เขาถอดรหัสความ เป็นไปในรูปแบบนี่เช่นไร และเอามาใช้อย่างไรกับงาน ออกแบบของเขา ติดตามผ่านบทสนทนาพิเศษนี้ได้ ทำไมถึงเลือกทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์ จริงๆ ผมชอบงานทุกอย่างที่เป็นดีไซน์ จึงเลือก เอ็นทรานส์สถาปัตย์แต่นับว่าผิดนิดหนึ่งไปอยู่แสนด์สเคป พอจบทำแสนด์สเคประยะหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีปี 40 งานก็ไม่มี แต่ระหว่างที่เรียนเราก็สเก็ตช์โน่นสเก็ตช์นี่มา ก็ลองเอามาทำดูเป็นโปรดักท์จริงๆ แล้วเริ่มขาย เมื่อเริ่ม ขายก็มีฟีดแบคกลับมานับว่าดีทีเดียว เลยไม่ได้กลับไป ทำแลนด์สเคปอีกเลย
เคยทำเกี่ยวกับธุรกิจเว็บดีไซน์ด้วย ไปด้วยกันได้อย่างไร ไม่ไปด้วยกันเลย แต่มาจากความสนใจของผมที่ ชอบเทคโนโลยีมาก ตอนนั้นก็สนใจเว็บในยุคแรกๆ มาก ทำกระทั่งเป็นหนึ่งในห้าของประเทศแต่มาถึงจุดหนึ่ง ที่ต้องเลือกว่าต้องทำอะไร ผมเลือกออกแบบ เพราะเว็บ ต้องใช้โปรแกรมเมอร์เด็กหลายคนทำ แต่การทำอย่างนี้ เราสามารถทำคนเดียว คอนโทรลได้ จึงขายหุ้นไปและ โฟกัสจุดนี้ มีผลงานเรื่อยๆ วางแผนอะไรก่อนมาทำ Aesthetics มีประสบปัญหา อะไรบ้าง ไม่ได้วางแผนยาวไกล เพราะมีเพื่อนเป็นหุ้นส่วน เขาสนใจก็เป็นตัวตั้งตัวตีเป็น Aesthetic studio เมื่อทำ ได้ 2-3 ปีเพื่อนต้องการไปทำอย่างอื่น ก็เลยแยกไป ผม ทำของผมเรื่อยมา ดีเวลอปเป็นของแต่งบ้านของก็เริ่ม ใหญ่ขึ้น บางทีเยอะ บางทีน้อย มีกระบวนการออกแบบอย่างไร เริ่มจากอินสไปเรชั่นบางอย่างผมก็สเก็ตช์ไว้ เป็น คนที่ชอบดูหนังสือ ศึกษาอะไรใหม่ๆ ในเว็บ ทั้งเทคโนโลยี ดีไซน์ เว็บ ผมดูเป็นแพชชั่นอย่างหนึ่ง คือการดูของสวย ของงาม ระหว่างเราดูเกิดอินสไปเรชั่นแล้วยังไม่ได้ทำ แต่ บางตัวมันเหมาะสมกับเวลาขณะนั้น เรามีคนผลิตอันนี้ ได้ก็เริ่มดีเวลอป บางครั้งก็สั้นหรือบางอันใช้เวลาสอง สามปี ปีที่แล้วผมเอาความคิดของปี 2002-2003 ที่ผม ได้ดีไซน์เก้าอี้ไว้ตัวหนึ่ง ตอนนั้นทำได้อย่างเดียวคือ ไฟเบอร์กลาสซึ่งแพงและขายไม่ได้ เราหยุดไว้ก่อน แต่ปี ที่แล้วเจอโรเทชั่นโมลด์ (Rotation Mold) ทำให้ผลิตได้ เราจึงทำ แต่บางชิ้นอาจปิ๊งเลย บางชิ้นอาจมีเทคโนโลยี ซัพพลายรองรับอยู่แล้วก็จะง่ายแต่บางทีคิดเป็นคอนเซปท์ เรายังไม่รู้ว่าจะใช้วัสดุอะไรหรือใครผลิตก็ต้องรอไปก่อน สำหรับดีไซเนอร์ไทยหากคิดได้เร็วแต่ไม่มีอะไรซัพพอร์ท ก็ทำได้ยาก เป็นไปได้ยากที่จะดีเวลอป และก็ถ้าจะดีเวลอป ต้องหาแบรนด์ที่ต้องการทำอยู่แล้ว แต่การลงทุนเอง ผม ก็ลงทุนอยู่แล้ว เมื่อก่อนไม่กลัว บางทีสำเร็จบางทีเป็นการ เอาเงินลงน้ำ เราต้องรอให้คอสท์ลดลงหรือเปล่า ต้องมองกลับไปกลับมา บางทีทำได้ขายไม่ได้ ทำ แล้วแพงมาก ในฐานะที่ผมเป็นผู้ประกอบการต้องมองทั้ง สองฝั่ง มองว่าเราทำแล้วขายได้ไหม พอยท์อีกอย่างคือ เราอยากทำหรือเปล่า เพราะถ้าเราอยากทำเราก็ไม่สนใจ ว่าจะขายได้หรือเปล่า บางทีจบมาขายไม่ได้แต่เราได้ เอ็กซ์เพอริเมนท์ คิดว่างานออกแบบชิ้นใดทำให้เราเป็นที่รู้จักจริงๆ จริงๆ แล้วหลายๆ อัน เริ่มจากผมประกวดของ กรมส่งเสริม งานประกวดถูกเผยแพร่พอสมควร เมื่อก่อน 133
ผมออกปีละห้าสิบชิ้น ตอบยากว่าชอบชิ้นไหน แต่มีสิ่ง หนึ่งที่คนเห็นแล้วจำได้จากการประกวดกรมส่งเสริม ก็คือ ตัวไวน์แร็ก (wine rack) ซึ่งผมว่ามันสนุกเพราะเกิด จากตอนที่ผมไปซื้อของเล่น ไปต่างประเทศแล้วซื้อมาเป็น ของชิ้นเล็กๆ เป็นโมดูลเอามาต่อกัน มันเป็นจุดเริ่มต้น มาว่าเราน่าจะทำโปรดักท์อะไรที่นำมาต่อกันไปเรื่อยๆ แล้วมันมีฟงั ก์ชนั่ ในตัวมันเองสามารถแวรีเ่ ป็นสิง่ ต่างๆ ได้ กลายเป็นไวน์แร็กขึ้นมา และปีสองปีนี้ผมเล่นกับวัสดุที่ เป็นวีเนียร์ ทำอย่างไรให้วีเนียร์แข็งแรงขึ้น และทำเป็น โคมไฟเมื่อก่อนต้องแบ็คกิ้งเป็นผ้า โชว์ไม่ได้ แต่ของผม โชว์ได้หมด เป็นโคมไฟ Juno ได้ DEmark, Gmark และที่ สิงคโปร์รู้สึกว่าตัวเดียวได้สามประเทศ ผมไม่ติดกับวัสดุ ใดวัสดุหนึ่ง บางทีมามิกซ์กันเพราะเราคอนเซิร์นว่าใช้ วัสดุเดียวกัน ก๊อปปี้ง่ายแต่เป็นว่าเราทำงานยากกว่าคน อื่น เพราะต้องนำมาบวกกันบางทีสองหรือสามทำให้การ ผลิตเพิ่มความยุ่งยาก มีความเห็นอย่างไรกับนักออกแบบไทยในเวทีโลก ข้อดี ณ พ.ศ. นี้โลกแบน สิ่งที่เกิดในยุโรปมีอะไร ใหม่ข้ามคืนเราก็รู้แล้วสิบปีก่อนกว่าเราจะรู้ว่ามีอะไรเกิด ขึ้นในมิลานแฟร์อาจต้องรออีก 3 เดือนถึงจะรู้ แต่ปัจจุบัน เรารู้เลยทันทีว่ามีอะไรใหม่ เพราะงั้นข้อได้เปรียบเสียเปรียบ เรื่องโนว์เลจ เรื่องเทรนด์ของนักออกแบบในปัจจุบันแทบ ไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาของนักออกแบบไทยคือเราออกแบบ แล้วทำไม่ได้บางทีติดเรื่องเทคโนโลยี ติดเรื่องซัพพลาย เออร์ เพราะบางทีซัพพลายเออร์เมืองไทยเวลาไปคุยกัน ลำบากในการสื่อสารกัน บางทีเรารู้ระดับหนึ่งแต่ต้องการ ความชำนาญของซัพพลายเออร์มาบวกบางโปรเจ็คไม่ สุดก็ไม่เสร็จลงทุนลงแรงกันไปแล้ว เหนื่อยหยุดไปก็มี ข้อดีข้อเสียจริงๆ ข้อดีของประเทศเรา บางประเทศก็อิจฉาที่เรามี ทรัพยากรที่พิเศษกว่าคนอื่น พิเศษกว่ายุโรปเรามีทรัพยากร ธรรมชาติซึ่งเทรนด์ในช่วง 2-3 ปีนี้ ยุโรปไปเอาอะไรสานๆ แต่ในบ้านเรามีมาเป็นร้อยปีแล้ว แต่เขานำเทคโนโลยีมา บวกเช่น สานๆ แต่ใช้ PE ซึ่งใช้สำหรับเอาท์ดอร์ซึ่งเขาจะ มีเทคโนโลยีและโนว์เลจที่ดีกว่าถามว่าเราดีเวลอปได้ ไหม บางทีอย่างที่บอกว่าโลกแบน เราอาจศึกษาและนำ มาใช้ บางทีอาจก่อให้เกิดความฮือฮาในระดับโลกได้ ถ้า มีดีไซเนอร์ที่สนใจศึกษาและเจาะตลาดจริงๆ เราทำอะไรที่เป็นของเราแล้วไม่เด่นในเวทีโลก แต่พอฝรั่ง มาเอาภูมิปัญญาไปใช้กลายเป็นเรื่องน่าจับตา มองตรงนี้ อย่างไร ในต่างประเทศมีระบบที่พัฒนามาแล้วในแง่การ โปรโมทตัวเอง พอมีอะไรใหม่ นิตยสารต่างๆ ต้องการ คอนเทนท์ใหม่ๆ จึงส่งเสริมกัน แต่ในแง่สังคมไทย คุณลักษณะดีไซเนอร์หากโปรโมทมาก็เขิน ผลงานดีก็ไม่ ได้เผยแพร่ในวงกว้าง ในแง่ประเทศไทยก็ดีแล้วแต่ไม่เป็น ระดับโลก หากเราได้รับการสนับสนุนดีๆ งานเราโชว์ระดับ 134
โลกได้อยู่แล้ว ความสามารถในการออกแบบใกล้เคียง ซิติเซนยอมรับมากกว่า แต่ต้องให้ได้รับการยอมรับว่ามา ระดั บ โลกแต่ เ ราไม่ มี ร ะบบส่ ง เสริ ม หลั ง การออกแบบ จากไทย ดีไซเนอร์ไทย แค่นี้ก็นับว่าโอเค บางทีจบแล้วอาจอยู่ในร้านใดในกรุงเทพเท่านั้น นับเป็น จุดด้อยแต่ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก ครีเอทีพอีโคโนมีจะส่งผลต่อนักออกแบบด้านใดบ้าง ผมหวั ง ว่ า จะได้ รั บ การสนั บ สนุ น อย่ า งจริ ง จั ง ดีไซเนอร์หรือหน่วยงานของรัฐ ใครควรที่จะรับผิดชอบ ภาพใหญ่ ร ะดั บ ประเทศว่ า ประเทศเราจะไปทางไหน ด้านนี้ อย่างช่วงต้มยำกุ้ง เกาหลีใต้ก็แย่กว่าเราอีก แต่เขามี ผมไม่แน่ใจ นักออกแบบอาจทำเองหรืออาจเกิด แผนงานนโยบายว่าเขาจะเดินไปทางไหน ผ่านไปไม่ถึง ธุรกิจใหม่ เพราะในเมืองนอกมีระบบเอเจนซี่หรือแกลเลอรี่ 10 ปีเขาขึ้นมาได้ระดับโลก แล้วอีก 10 ปีข้างหน้าอาจมา ที่ช่วยโปรโมทให้ แต่เมืองไทยจะเรียกตัวเองว่าดีไซเนอร์ แทนที่มิลานได้เลย เขาใช้ครีเอทีพอีโคโนมีในด้านต่างๆ ฟรีแลนซ์ไม่ได้อะไร ซึ่งหากมีเอเจนท์หรือเป็นตัวแทนที่ ทั้งดีเวลอป ดีไซเนอร์และคอนซูเมอร์ หากดีไซเนอร์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ดีไซเนอร์ โดยที่โปรโมทเป็นคนๆ ตัวๆ ออกแบบสิ่งดีๆ มาแต่คอนซูเมอร์รับไม่ได้ก็ไม่สำเร็จ ไป ในเมืองไทยมีคนเก่งเยอะ แต่บางทีเหมือนพลุ ดังตูม เหมือนกัน แต่ปัจจุบันเขาสามารถเอ็กซ์พอร์ทได้แล้ว แล้วหายไม่เด้งไปชั้นสองชั้นสาม มันหายาก เพราะผู้ชม ด้วยซ้ำไป สามารถเอ็กซ์พอร์ทมาเมืองไทยได้ เช่น ทรงผม น้อยจึงไม่ก่อให้เกิดอุปสงค์ที่มากพอ ผู้ชมผู้ที่ชื่นชอบของ เกาหลีแตกต่างจากญี่ปุ่นยังไงสามารถดีไฟน์ได้ชัดเจน สวยของงามก็มีเยอะ ผู้เสพเยอะแต่ช่องทางการเสพอาจ เพี ย งตั ด ผมหรื อ เสื้ อ ผ้ า สามารถมองว่ า เป็ น เกาหลี ไ ด้ จำกัดนิดหนึ่ง อย่างทีวีที่เกี่ยวกับงานออกแบบแทบไม่มี แสดงว่ามีการดีเวลอประดับหนึ่งเพราะญี่ปุ่นเกาหลีก็ นิตยสารค่อนข้างจะเยอะ แต่ก็ต้องคนสนใจจริงจึงจะควัก เหมือนกันแต่เราสามารถบอกได้ นั่นคือเขาดีเวลอป เงินซื้อ แต่ไม่มีช่องทางไหนที่จะเผยแพร่ผลงานได้ เว็บ คัลเจอร์ด้านทรงผม และการพันผ้าพันคอไม่เหมือนเขา ไซต์ก็เป็นอะไรที่โอเค ดีไซเนอร์ก็ควรมีเว็บไซต์ของตัวเอง เช่นไทยเหมือนกันที่เราใช้จานช้อนเป็นการกินรวม ฝรั่ง เพื่อเผยแพร่ผลงาน ปัจจุบันมีเยอะไหมก็มีไม่เยอะมาก มาเขาโกยเข้าจานตัวเองก่อน เพียงเราไปปรับปรุงเผยแพร่ บางอย่างของเรา เกิดมูลค่าเพิ่มหรือว่าไม่เหมือน หากดีก็ รากเหง้าของเรานำมาใช้ได้ไหม และต้องทำอย่างไร ต่อยอดต่อไป อาจเป็นเรื่องไลฟ์สไตล์ซึ่งชาวต่างประเทศ เรามองว่าทำได้ย่อมทำได้ อยู่ที่ว่าเราจะมองจุด ไม่เข้าใจเลย เช่น เพื่อนผมสั่งของแล้วอีกสองวันทำไม ไหน และหยิบอะไรออกมา เรามองญี่ปุ่นว่าความเรียบ มันยังไม่เสร็จ พอเขาอยู่สักพักก็เข้าใจว่าอยู่สบายๆ ของเขาเป็นความพิเศษ ขณะที่เขามองเราว่าความยุ่งเหยิง คัลเจอร์ไหมไม่ทราบ แต่เป็นจุดเด่น หากเราใช้ครีเอทีพมา ของเราเป็นความพิเศษ อย่างสีแท็กซี่ เอาสีชมพู ฟ้าและ พัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วก็ดีขึ้น แต่สำคัญที่ทำอย่างไรให้คน ส้มด้วยมารวมกันอย่างลงตัว บางทีความเป็นไทยอาจ รู้ด้วย ออกโฉ่งฉ่างนิดนึง อันนี้ไม่นับอิลิเมนท์ทางสถาปัตยกรรม นะบางทีคัลเจอร์บางอย่าง อย่างการใส่รองเท้าแตะ ใส่มา แผนในอนาคต ตั้งกี่ปีแล้ว แต่เทรนด์โลกบอกบราซิลเลี่ยนเป็นคนทำให้ ผมทำออกแบบไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรพิเศษ ระหว่าง ฮิตแต่เราใส่ของเรามาตั้งแต่ 30-40 ปีที่แล้ว แต่เขาแค่ ผมทำงานมาสิบปี ผมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่มีสไตล์ มีความ ใส่เทคนิคกราฟฟิกลงในรองเท้าเท่านั้น ขายได้เป็นพัน สนใจแต่ละช่วงเป็นพิเศษกับอะไร เช่น ปัจจุบันสนใจ เพียงแต่เราหยิบตรงนี้ นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของเรามากกว่า เทคโนโลยีกับวัสดุธรรมชาติผสมกันอย่างไรเป็นสิ่งใหม่ บางทีหยิบสิ่งเล็กๆ อย่างกระทงห่อของ บางทีเราทำอะไร อยู่ที่ว่ามีอะไรที่น่าสนใจสำหรับเรา เมื่อมันน่าสนใจ มัน บางอย่างกับมันทำให้เกิดความฮือฮาระดับโลกได้ ไม่ใช่จ๊อบแล้วแต่เป็นแพชชั่น เป็นการอยากที่จะศึกษา เอามารวมกัน ลองสิว่าเป็นอย่างไร เราไม่ได้คาดหวังว่า ระหว่างสากลกับความเป็นเรา เราควรไปทางไหน ต้องเป็นสุดยอดของประดิษฐ์สุดยอดดีไซน์แต่ผลที่ออกมา มากกว่ากัน คนอื่นชื่นชอบก็ถือว่ากำไรอย่างหนึ่ง หากมีคนชอบเยอะ ดีไซน์เป็นภาษาสากล หากไม่บอกว่าเป็นไทยหรือ เราก็มีความสุขแต่ขายได้ก็สุขมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ได้ อิตาลีออกแบบหรือไม่ เราไปดู คนก็บอกได้ทันทีว่าสวย วางแผนอะไรมากขึ้น แต่พยายามให้มีความสุขเพิ่มขึ้น หรือไม่สวยเพราะบางทีความเป็นไทยไปอยู่ในบ้านอิตาลี เขาก็ไม่ซื้อ ไทยเกินไป นอกจากไปอยู่ในร้านอาหารไทย ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ครีเอทีพอีโคโนมีเป็นเรื่องเม็ดเงิน การ ซื้อขาย เราทำสิ่งที่เป็นกลาง มีกลิ่นนิดหนึ่ง การที่เรา พยายามเอาตัวเราไปเสนอคนทั่วโลก ภูมิหลังไม่เหมือนกัน การดำเนินชีวติ แตกต่างกัน แต่บางอย่างทีเ่ ป็นสากลอย่าง อาหาร เช่น ต้มยำกุ้ง คนรู้จักแต่ต้องปรับรสที่ขายใน นิวยอร์ค อย่างน้ำพริกกุ้งเสียบฝรั่งก็ทานไม่ได้ ดังนั้น บทสรุ ป คื อ มั น ควรพั ฒ นาเพื่ อ ให้ ผู้ ใ ช้ ที่ เ ป็ น โกลบอล
135
อภิรัฐ บุญเรืองถาวร Apirat Boonruangthaworn
Best Designer of the Year 2009
“ผมพยายามสร้างจุดเด่นของงานดีไซน์ ด้วยการไปแตะจุดเด่นของการผลิต บางอย่างที่เขามองข้ามไป”
มีนักออกแบบไม่น้อยที่ชนะเลิศหรือได้รับรางวัลใด รางวัลหนึ่งจากงานประกวดสักรายการ มีไม่น้อยที่มักจะ เงียบหายไปจากวงการ จนแทบไม่เคยเจอตัวเขาหรือเธอ ผู้นั้นอีกเลย ทั้งๆ ที่จริง ก้าวต่อไปของเขาหรือเธอเหล่านั้น ต่างหาก ที่สายตาหลายคู่ในวงการกำลังจับตามอง เพื่อ เตรียมต้อนรับเข้ามาเป็นสมาชิกของวงการที่มีจำนวนคน และ “ผู้เล่น” ตัวจริง ไม่มากเลย หากเทียบกับประเทศ ผู้นำทางการออกแบบจากนานาประเทศ อภิรัฐ บุญเรืองถาวร ไม่ใช่นักออกแบบประเภทที่ ชนะแล้วจะหายเงียบไปแบบนั้น ความโดดเด่นของอภิรัฐ คือความสามารถที่เมื่อได้รางวัลแล้ว ยังสามารถกลับเข้า มารับรางวัลในสนามเดิมได้อีกครั้งในปีถัดไป อีกทั้งยัง สามารถทำแบบนี้ได้มาหลายสนามงานประกวดด้วยความ แม่นยำและฝีมือที่เสมอต้นเสมอปลาย เป็นสิ่งสำคัญของ นักออกแบบ เพราะด้วยเหตุผลข้อนี้ เป็นจุดสำคัญที่ผู้ ว่าจ้างแทบทุกรายกำลังมองหา “นักออกแบบ” ที่มีข้อบ่งชี้ ว่าคุณภาพ “งานต่อไป” จะไม่ด้อยหรือแย่ลงจากงานเดิม ที่เห็นจากพอร์ทโฟลิโอ 136
หากใช้รางวัลหรือชัยชนะที่ได้รับจากเวทีประกวด เป็นปัจจัยในการประเมินนักออกแบบคนหนึ่งในเบื้องต้น อภิรัฐ ถือว่าเป็นนักออกแบบหนุ่มรุ่นใหม่ ที่ผ่านเกณฑ์ ขั้นพื้นฐานมาได้อย่างสบายๆ หากแต่ความสามารถของ ชายคนนี้ ไม่ได้มีดีแค่เป็นมือประกวด อภิรัฐผ่านการ ทำงานร่วมกับบริษัทมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นโยธกา, Corner 43, E.G.G., Hawaii Thai Furniture, Restrogen, Deesawat, Shunthai, และ Practika นับรวมผลงาน ที่ผลิตขายออกสู่ตลาดแล้ว ถึง 28 ผลงาน เกี่ยวกับ เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ชื่อชั้นของอภิรัฐในตอนนี้ จึงหมายถึงการเป็นนักออกแบบที่มีประสบการณ์อันหลาก หลาย และฝีมือแม่นยำ ปัจจุบัน อภิรัฐมีสตูดิโอออกแบบของตัวเองและมี นิยามของการทำงานออกแบบที่อีโรติก อภิรัฐบอกว่า การ ทำงานออกแบบที่ดีสำหรับเขาเปรียบเสมือนการไล่จีบ ผู้หญิงสักคนเพื่อมีเซ็กส์ด้วย (ซึ่งในที่นี้อภิรัฐหมายถึง โรงงานผู้ผลิต) ต้องทำการบ้านและเรียนรู้ในทุกแง่มุมว่า ผู้หญิงคนนั้นชอบอะไรแบบไหน เพื่อในท้ายที่สุดทั้งคู่จะ
ได้ไปสู่เป้าหมายอันสุดยอดร่วมกัน ผลงานออกแบบระดับ มือรางวัล การได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลายๆ ราย และนิยามกระบวนการออกแบบทีพ่ เิ ศษพิสดาร ยังสามารถ มีเรื่องน่าสนใจอื่นใดอีก ที่ซ่อนลึกอยู่ในตัวตนของนัก ออกแบบหนุ่มนาม อภิรัฐ บุญเรืองถาวร ให้เขาเป็นผู้บอก เราเองในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ เรียนมาทางออกแบบอุตสาหกรรมโดยตรง ผมจบจากสถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาค วิชาศิลปะอุตสาหกรรม จบมาในปี 2005 ผมเริ่มทำงาน ฟูลไทม์ 3 เดือน หลังจากนั้นทำฟรีแลนส์เพราะต้องการ หาความท้าทายกับประสบการณ์ในเรื่องแนวทางการ ผลิตหรือมุมมองของดีไซน์ไอเดนติตี้ของแบรนด์แต่ละ แบรนด์ที่ผมเข้าไปร่วม ความรู้ที่หลากหลาย สิ่งที่ทำให้ผมเรียนด้านนี้คือเรื่องเพอร์เซพชั่นของ มนุษย์หากพูดเรื่องรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์อาจตีเป็นรูปร่าง ของกล่องสี่เหลี่ยมนั่นก็คือแชร์ แล้วนั่งได้ แต่เหตุผลที่
มนุษย์ไม่ซื้อเก้าอี้แบบนั้น เก้าอี้สี่เหลี่ยมที่นั่งได้เป็นเรื่อง ที่ผมสนใจเพอร์เซพชั่นที่มนุษย์ยอมจ่ายเงินเยอะขึ้นเพื่อ ของประเภทนั้น เรียนรู้ผ่านการทำงาน การเรียนรู้ในวิชาชีพนี้ เริ่มจากการรู้แนวคิดของ เจ้าของแบรนด์แต่ละอย่าง มุมมองของเขาผ่านประสบการณ์ จริงการฝึกงานหรือทำงาน ได้รู้แบบชอร์ตคัท ดีกว่าอ่าน หนังสือ แต่สำคัญคือผมได้เข้าไปเห็นกระบวนการผลิต กระบวนการตลาดและการคิดในเชิงดีไซน์ไอเท็มเก่าๆ ของเขา ผมใช้วิธีการนี้ในการเรียนรู้ตลอดห้าปีในการ ทำงาน เรียนรู้ผ่านเวทีประกวดออกแบบ การที่ผมตัดสินใจเข้าร่วมงานประกวดและได้ รางวัลมาเหตุผลเดียวคือความรู้ สิ่งสำคัญที่ได้จากงาน ประกวดไม่ ใ ช่ ร างวั ล หรื อ เงิ น แต่ เ ป็ น คอมเมนท์ ข อง กรรมการที่เขาอยู่จุดสูงสุดของประเทศของเรา ณ เวลา นั้นที่จะช่วยคอมเมนท์ว่าใช่ ไม่ใช่ ดีหรือไม่ดีในเวลานั้น การที่เราแพ้ เราก็ได้เรียนรู้ว่าคนได้ที่หนึ่งทำอะไร โจทย์ นั้นทำไมเราออกแบบสู้เขาไม่ได้ กระบวนการทำงาน กระบวนการออกแบบของผมคงเป็นเรื่องของ การตั้งคอนเซปท์ขึ้นมาก่อนแต่ไม่ใช่อินสไปเรชั่น แต่มา จากการรีเสิร์ช พูดสนุกๆ อีโรติคนิดหน่อย เหมือนว่า เรามีเซ็กส์กับผู้ผลิต คือ การที่เราจะจีบผู้หญิง เราต้องรู้ ว่าเขาชอบทานข้าวแบบไหน ดูหนังเรื่องอะไร แนวทางใน การฟังเพลง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เหมือนเราเข้าไปเรียนรู้กับ ผู้ผลิต เราต้องรู้ในทุกๆ มุมมองเพื่อจะหากลยุทธ์ในการจีบ เขา คือการทำดีไซน์หรือการทำโปรดักท์ของเขา ทำให้เรา ออกแบบให้กับเขา ผลิตได้จริงและซัคเซส ในโรงงานของ เขา ผมใช้กระบวนการนี้ในการทำดีไซน์ของผม จุดเด่นในงานออกแบบ ผมพยายามสร้างจุดเด่นของงานดีไซน์ด้วยการ ไปแตะจุดเด่นของการผลิตบางอย่างที่เขามองข้ามไป ผม ไม่ได้อิงเทคโนโลยีแต่อิงสิ่งที่เขามองข้ามไป สร้างจุดเด่น ให้กับดีไซน์ว่าเราทำไมไม่เคยคิดมุมนั้นบ้างเลยออกมา ในงานดีไซน์ บางครั้งไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นสิ่งที่เขามอง ข้ามเท่านั้นเอง อย่ า งถ้ า ยกตั ว อย่ า งก็ เ ป็ น ตั ว เบนช์ ย าวของ Deesawat จริงๆ เขาเริ่มโรงงานจากโรงงานไม้ประดู่จีน เขามีโพรเซสการใช้เราท์เตอร์ขุด แล้วเอาเลื่อยจิ๊กซอว์ ตัดฝังมุกลงในเก้าอี้ พอปัจจุบันไม้ประดู่หมดแล้ว Deesawat เปลี่ยนโรงงานเป็นไม้สัก เฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์ เขาไม่ได้มองเลยว่าจะเอาของเดิมมาประยุกต์อย่างไร ผม เดินในโรงงานขณะที่เขาชวนผมออกแบบ ผมเห็นเลยว่า ก็ยังมีฝังมุกนี่ ผมจำโพรเซสนั้นที่ไม่มีคนเล่น มาขุดฝังไว้ บนเก้าอี้ของผม เพื่อสร้างกิมมิคที่เป็นงานคราฟท์แต่ 137
เปลี่ยนวัสดุจากมุกจีนที่มีราคาแพงเป็น ซิก้าเฟล็ก (Sica Flex) คือยางรองพื้นกันไม้ยืดหดเท่านั้นมันก็สร้างคุณค่า ให้กับงานได้แล้ว ที่คนมองข้ามมันไป รางวัลล่าสุดที่ได้รับ รางวัลที่ได้ปี 2009 คือ Grand Award ที่ได้ จากประเทศสิงคโปร์ ลักษณะก็เหมือนกัน Plactika เป็น โรงงานที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์เขาถนัดในการตัด Top ของโต๊ะ เพื่อให้มีลักษณะแอลเชพหรือลักษณะต่างๆ เพื่อให้เหมาะ กับการวางของบนโต๊ะ ทีนี้เมื่อเขาเข้ามาทำโปรดักท์ที่เป็น ลิฟวิ่ง ผมหยิบโพรเซสนี้ที่เขามองข้ามมันไป ผมไปแปลง นิดเดียวจากหัวเราท์เตอร์ที่เขาตัดตรงเป็นหัวคล้ายๆ หัวร่มเพื่อขุดอครีลิคหนา 12 มิลลิเมตร ตัวหัวร่มให้ เอฟเฟคท์มาก เมื่อขุดอครีลิคสีดำใสส่วนที่บางที่สุด มัน จะเกิดความใส ส่วนที่หนายังเกิดความทึบอยู่ เอฟเฟคท์ นี้สร้างให้ผมคิดว่าเหมือนน้ำเลย จึงจับมาทำอินสไปเรชั่น เหมือนวงน้ำที่หยดลงมาบนพื้นน้ำ ทำเป็นคอฟฟี่เทเบิล 3 ไซส์ ออกมาเป็นงานดีไซน์ วิชาชีพนี้มีส่วนผลักดันอุตสาหรรมของไทยไหม วิชาชีพนี้มันเหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ถ้ามองไป เรื่องของโรงงาน จนถึงมองความเป็นไทย ผมเกิดในยุค ที่ความเป็นไทยของผมไม่ใช่ลายไทย ผมไม่ได้เรียนรู้มัน ตรงนั้น ผมเกิดยุคของคนเมือง ผมเกิดมากับการใช้แปรง สีฟนั หรืออุปกรณ์หลายอย่างทีเ่ ป็นสินค้าพลาสติกมากกว่า สินค้าไม้นั่นคือ ความเป็นไทยในยุคผม ดังนั้นผมไม่มีทาง ทำโปรดักท์ที่เป็นได้อย่างคนอีกยุค ความเป็นไทยยุคผม คืออะไร มันคือโรงงาน OEM มันคือโรงงานรับจ้างผลิต ออร์เดอร์ต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเขาไม่มาผลิตที่เราอีก แล้ว ดีไซเนอร์ไทยจะเข้าไปช่วยตรงจุดนี้ได้คือ ลองมอง ย้อนกลับไปมีโรงงานอีกหลายร้อยแห่งที่ยังรอคอยแบบ จากต่างประเทศอยู่ ดีไซเนอร์เราเกิดมาตอนนี้เป็นจังหวะ ผมเรียกว่าโพส OEM เป็นยุคสุดท้ายของ OEM ณ วัน นี้หากเรามองย้อนกลับไปว่าเกิดโรงงานขึ้นอีกเยอะสิ่ง ที่เราช่วยได้คือไปสร้างดีไซน์ให้กับเขา แล้วมันจะเกิด ครีเอทีพอีโคโนมีเข้าไปร่วมอีกส่วนหนึ่ง มองอนาคตยังไง ตอนนี้ผมกำลังเซ็ทอัพแบรนด์ ทำสินค้ามาตัวหนึ่ง ซึ่งผมสนใจที่ว่าอุดมคติของเก้าอี้ตัวหนึ่งคือกล่องสี่เหลี่ยม ทุกคนนั่งได้ ทุกคนแฮปปี้ ราคาถูก แต่ทำไมทุกคนไม่ ได้ซื้อมัน ทำไมทุกคนแสวงหาเก้าอี้หน้าตาประหลาดๆ ยอมจ่ายราคาแพงกว่าสามเท่า สี่เท่า บางครั้งอาจถึงสิบ เท่าเพื่อซื้อเก้าอี้ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานแค่นั่ง ผมกำลัง สนใจเรื่องฮิวแมนฟีลลิ่ง เพอร์เซพชั่นของมนุษย์ ผมกำลัง ทำโปรดักท์ที่มีปรัชญาที่การแอดแวลูสินค้าไม่ได้มาก เกินไปไม่น้อยเกินไป ไม่ได้ฟอร์มแรง แต่เน้นความรู้สึก ของมนุษย์จริงๆ ผมกำลังศึกษาและทำตรงนั้นอยู่ คงเป็น อนาคตของผม
138
139
อานนท์ ไพโรจน์ Anon Pairoj
Best Designer of the Year 2007
“สิ่งที่เราทำออกมาเหมือนนิยาย บทกลอน หรือกวี ที่เราอยากทำให้คนมาใช้ แล้วพูดถึงสิ่งที่เราคิดหรือสอดแทรกไว้”
อานนท์ ไพโรจน์ ถือเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ ประสบความสำเร็จไม่น้อยในวิชาชีพ คงไม่ใช่การกล่าว เกินจริงหากจะบอกว่านักออกแบบคนนี้มีชื่อเสียงและ เป็นที่รู้จักกันดีผ่านผลงานอันมากมายและการร่วมงาน กับหลายบริษัท ซึ่งในแต่ละแห่งที่อานนท์ได้ฝากผลงาน ไว้นั้น ล้วนเป็นที่จับตามองและกล่าวขวัญถึงเสมอ ทั้งใน เรื่องผลงานที่แปลกประหลาดอย่างน่าสนใจ และการ สร้างแบรนด์ใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ ที่มีศักยภาพทาง การผลิตเป็นทุนเดิม ย้อนไปสิบปีที่แล้ว อานนท์ยังเป็น เพียงนักศึกษา ที่เริ่มสร้างชื่อเสียงผ่านงานประกวดตาม เวทีต่างๆ และขยับขึ้นมาเป็นนักออกแบบที่ได้รับการ ชักชวนให้ร่วมงานกับบริษัทที่มีชื่อสียงเรื่องการออกแบบ ที่โดดเด่นอย่าง Planet 2001 ของคุณอุดม อุดมศรีอนันต์ และด้วยความทีเ่ ป็นคนทีม่ ไี ฟและรักในงานออกแบบ และ การเป็นนักออกแบบ อานนท์พาตัวเองเข้าสู่โอกาสอีก มากมาย ทั้งในเรื่องของการส่งประกวด เพื่อนำผลงานไป แสดงในต่างประเทศ ครั้งหนึ่งในนั้นคือการได้รับคัดเลือก เป็นตัวแทนนักออกแบบรุ่นใหม่ของไทย ไปร่วมแสดงงาน 140
ใน Talent a la carte ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส การจะเติบโตได้ในวงการออกแบบ ในยุคที่ผู้ ประกอบการ ยังมีความลังเลที่จะใช้บริการจากนักออกแบบ หน้าใหม่ๆ นั้น อานนท์สามารถก้าวผ่านมาได้ไม่ยาก ด้วยชื่อเสียงและผลงานที่ได้ทำไว้ และผลงานอันน่าทึ่งอีก ไม่น้อย จากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและนักออกแบบ ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้กับวงการออกแบบไทย และถูกขายส่งออกไปยังต่างประเทศอีกนับชิ้นไม่ถ้วน อานนท์และผลงานถูกเชิญไปร่วมแสดงในอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก จนแทบต้องเรียกว่า อานนท์เป็นหนึ่งใน ขุนพลนักออกแบบยุคต้นๆ ที่นำงานออกแบบไทยไปแสดง ศักยภาพสู่สากล วิถีการออกแบบของอานนท์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยความที่เป็นนักออกแบบที่ชอบทดลองกับรูปทรงและ วัสดุ และไม่ยึดติดกับขนบหรือวิธีการทางอุตสาหกรรม ที่ได้ร่ำเรียนมา ทำให้งานของอานนท์สามารถแสดงออก ซึ่งศักยภาพ และความงามทางศิลปะได้สูง จนเป็นที่โดดเด่น และสะดุดตา จนแทบจะเรียกว่าเป็นลายเซ็นต์ของนัก
ออกแบบหนุ่มผู้นี้เลยก็ว่าได้ ด้วยผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ และบุคลิกภาพ ส่วนตัวอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ในปัจจุบัน อานนท์ถูกจัด ว่าเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง และน่าจับตามอง ทีส่ ดุ เป็นต้นแบบหรือไอดอลให้กบั นักออกแบบรุน่ ใหม่ๆ อีก หลายคนที่อยากประสบความสำเร็จในวิชาชีพ มีชื่อเสียง มีรายได้ และได้ทำผลงานที่สมดั่งความตั้งใจของตนเอง แต่ในรายละเอียดเบื้องลึกของนักออกแบบคนหนึ่งแล้ว ใช่ว่าหนทางที่มาจะราบเรียบและไร้อุปสรรคเสียทีเดียว มีปัจจัยอีกมากที่มีส่วนในความสำเร็จนั้น อะไร เป็นวิธีที่ทำให้อานนท์สามารถสร้างสรรค์ผลงาน ที่ท้าย ที่ สุ ด ผลที่ ส ำเร็ จ ของงานนั้ น จะย้ อ นกลั บ มาสร้ า งให้ นักออกแบบหนุ่มคนหนึ่งมีวันนี้ได้ ร่วมพูดคุยและค้นหา ความลับนั้นด้วยกันที่นี่ ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ ตอนนี้เปิดบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ พัฒนาศักยภาพและการลงทุนด้านการออกแบบ เป็นบริษัท
เล็กๆ มีสตาฟอยู่ประมาณ 6-7 คน คนไทยและต่าง ทำงานเป็นเป้าหมาย ผมเชื่อว่าตัวที่เราใช้ระบบการคิด ประเทศรวมตัวกัน เปลี่ยนจากฟรีแลนส์มา ตอนจบจาก แบบดีไซน์ มาแก้ปัญหาเป็นวิธีหนึ่งที่เราถนัด ไม่ได้มอง ลาดกระบังก็เริ่มทำงานเลย ใช้ชีวิตเป็นฟรีแลนส์ประมาณ ว่าโต๊ะกับบ้านต่างกัน วิธีการผลิตต่างกัน 4-5 ปี แล้วมาตั้งบริษัท อะไรเป็นตัวจุดประกาย แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากมาเรียนด้านการออกแบบ เหมือนทีมฟุตบอล ผมไม่ได้ชอบใครเป็นทีม อาจ ตอนที่เรียนออกแบบก็ไม่ได้คิดว่าอะไรเป็นแรง เป็นด้วยนิสัยเราพยายามมองหาข้อดี จุดเด่น จุดด้อยใน บันดาลใจหลัก คิดว่าเราน่าจะทำได้ และเรียนด้านวิศวกร ด้านต่างๆ และเรามองข้อดีของแต่ละคนมาทำ เช่น ผม มาก่อนเป็นพื้นฐานของไทย-เยอรมัน เลยมีพื้นฐานการ อ่านหนังสือ ผมอ่านปรัชญาหรือกระบวนการมากกว่า ผลิตเป็นพื้นฐานอยู่แล้วตอนนั้น และมีอินดัสเทรียลดีไซน์ เราคงไม่ได้ยึดรูปแบบว่าเราต้องเป็นสไตล์แบบนี้ ฟอร์ม ที่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของมัน ก็เลยลองสมัครดู แบบนี้ หรือมินิมอล การทำแบรนด์ที่แข็งแรงในทิศทาง ตอนแรกไม่รู้ว่าเขาทำอะไร แต่เมื่อเรามาเรียน เรียกว่า หนึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ผมมองว่าผมยังเด็กอยู่และมองหา โชคดีที่ระบบการศึกษานำพาให้เรามาแล้วก็โชคดี ลาด ทดลองวิธีการใหม่ๆ ดังนั้นจึงไม่ยึดรูปแบบสไตล์ของใคร กระบังมีพื้นฐานด้านสถาปัตยกรรมด้วย ตอนเรียนองค์ เป็นหลัก เรียนรู้จากปรัชญา เรียนรู้จากผู้ใหญ่ ณ ตอนนี้ ความรู้ก็หลากหลาย และผมมองว่าการออกแบบเป็นวิชา ถามว่าเราอ่านอะไรเยอะ เราอ่านเนื้อหาของนักการตลาด หนึ่งที่ทำอย่างอื่นได้ด้วยความบังเอิญมากกว่า Warren Buffett, Steve Job, Bill Gate บุคคลที่เป็น แรงขับเคลื่อนในการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ผมเชื่อว่าคน เหตุผลที่เลือกมาทำเป็นอาชีพ เหล่านี้มีปรัชญาหรือระเบียบวินัยให้เรามาปรับใช้ เรื่อง จริงๆ ผมเชื่อว่าคนที่จบด้านเรามา 100% มีคน สไตล์เป็นความชอบส่วนตัวและรสนิยมของลูกค้าด้วย ทำตรงสายด้านเราน้อย ผมดูว่า 75% แต่สิ่งที่เราต่อยอด พยายามที่จะให้ลูกค้าครึ่งเราครึ่ง เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน คือองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ด้านตลาด ด้านวิศวกรรม ที่มีเพิ่ม คงเป็นการรวมหลายๆ อย่างมากกว่า และอยากให้ทีม ขึ้น ดังนั้นผมมองว่าวิชาออกแบบไปร่วมกับองค์กรอื่นๆ เดียวกันเวลามีอะไรใหม่ เป็นท็อปปิคในการพูดคุยว่า ขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ หรือพัฒนาธุรกิจบางอย่างให้มี เหมาะกับคนไทยมากกว่า ศักยภาพที่ดีขึ้น ตอนที่เราทำ ผมคิดว่าตัวผมเองคอม โพรไมส์กั บ งานที่ ท ำและท้ า ทายให้ เ ปลี่ ย นแปลงหรื อ นิยามตัวเอง และลักษณะเด่นของงาน พัฒนาให้ดีขึ้น มองว่าดีไซน์ไม่ต้องเป็นอินดัสเทรียลหรือ ผมมองว่า จุดที่เราทำลูกค้ามองเห็น เราเหมือน เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์หรอก มันเป็นเพียงแค่โจทย์ของการ จะคอมโพรไมส์ แต่จุดที่ทำ พยายามในจุดที่ลูกค้าต้องการ
มากที่สุด คือแตกต่างจากที่เขาเคยเป็นมา ต้องมีแนวคิด ที่แตกต่างจากสิ่งทั่วไป เรามองว่าโปรเจคท์เกิดจาก คอนเซปช่วลและการจัดการกระบวนการบางอย่างใน งานผมมองว่ากลไกที่เราทำจะพูดเรื่องแนวคิดใหม่ๆ บางที ลูกค้าต้องการเก้าอี้ใหม่ เราต้องมองว่าอะไรคือสิ่งที่อยู่ใน ใจเขา เก้าอี้ใหม่อาจหมายถึงตลาดใหม่หรือเปล่า หรือเขา ต้องการตลาดเดิมที่ดีขึ้นเราต้องมาดูปัญหาที่แท้จริง ผม เชื่อว่าอะไรที่มันเป็นวิธีการใหม่ๆ และท้าทาย มันเป็น โจทย์ให้เราดีกว่า ผมหาอะไรใหม่ๆ เป็นโจทย์ให้เรา ไม่ ได้ฟิกซ์กับอะไรบางอย่างปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เทคโนโลยีที่เกิดขึ้น หลายๆ อย่าง จึงเป็นอะไรที่เหมือน ออฟฟิศที่เคลื่อนไหวตลอดเวลามากกว่า วิธีทำงานกับลูกค้า พูดง่ายๆ ก็คือ คนลงทุนอะไรสักอย่างเขาต้องการ เงินกลับมา ผมมองว่าคำถามแรกๆ ที่เราจะคุยกับเขา คือ ลูกค้าคุณคือใคร ดีไซเนอร์บางคนพยายามที่จะเป็น ตัวเองมากๆ แต่ไม่หมายความว่าสิ่งที่เป็นตัวเขาจะตอบ โจทย์ คนหลายๆ คนบนโลกชอบไหม โจทย์อย่าง Restrogen ทำอย่างไรให้เขาหล่อพระมาเยอะ ขายอย่าง อื่นบ้างด้วยเทคนิคที่ง่ายขึ้น ซึ่งจริงๆ สิ่งที่ผมทำง่ายขึ้น ด้านโรงงาน แต่ยากด้านเฟอร์นิเจอร์ที่เขาต้องการหนีจีน อย่าง Flush On มีแฟคเตอร์เรื่องตลาดลูกค้าธีมโรงแรม ที่เขามีคอนเนคชั่นกับลูกค้า สิ่งที่เราทำออกมาเหมือน นิยาย บทกลอน หรือกวีที่เราอยากทำให้คนมาใช้ แล้ว พูดถึงสิ่งที่เราคิดหรือสอดแทรกไว้ในเฟอร์นิเจอร์ ลูกค้า ใหญ่ๆ ต้องการสตอรี่มากกว่าเงินหรือราคา เวลาอะไร 141
ที่มากกว่าฟังก์ชั่น จึงต้องการกระบวนการที่แตกต่าง ลูกค้าแต่ละคนจะให้สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับเรา สิ่งที่เรา ทำคือ เชื่อมโยงจุดแข็ง กระบวนการที่เขามีข้อได้เปรียบ มีสิ่งดีอะไรบ้างที่เราน่าจะดึงมาใช้ มองงานนักออกแบบไทยอย่างไรในเวลานี้ ผมว่า ณ วันนี้คนไทยเก่งๆ มีเยอะแต่ขาดโอกาส มากกว่า ผมถือว่าผมโชคดีที่เราได้โอกาสเยอะ ปีหนึ่งเรา ได้เวทีโชว์ 5-6 ครั้งต่อปี จากเดิมเราต้องลงทุนบินไปเอง เป็นนิทรรศการรับเชิญ เราโชคดีที่ได้โอกาสมากกว่า คน ไทยเก่งแต่ขาดโอกาสที่จะได้แสดงผลงาน เพราะงั้นใน บ้านเราเอง โรงงานมีเยอะ ผมเชื่อว่าที่สวยๆ ก็มีเยอะ เราขาดการเชื่อมต่อความเข้าใจในตัวอาชีพและการที่จะ ได้แสดงผลงานดีๆ ไม่ได้เกิดจากดีไซเนอร์อย่างเดียวต้อง เกิดจากคนที่จะช่วยพีอาร์ช่วยขายของ แสดงงานอย่างเดียว ไม่ได้ มีเรื่องของเงินและเรื่องการประกาศให้คนรับรู้ ผม คิดว่าในต่างประเทศเขาทำจนเป็นกิจกรรมที่เป็นธุรกิจ เต็มตัว เพียงขอมีของอะไรใหม่ๆ เสนอหรือแสดง เซ็กเมนท์ เล็กๆ ก็คิดว่าเยอะมาก สำหรับตลาดในประเทศ ตลาด ต่างประเทศเป็นอะไรที่ต้องสร้างคอนเนคชั่นขึ้นมา เมื่อ คิดถึงเมืองไทยคงไม่ได้คิดถึงดีไซน์ขึ้นมา เราไปสิงคโปร์ เราไปหลายๆ ที่ อินทีเรีย สถาปนิกไทย ก็ต้องช่วยๆ กัน ผลิตแนวคิดใหม่ๆ ออกมา มากกว่าเทรนด์ใดดังก็ทำตาม นั้น เราต้องหาตัวแปรต้น เช่นโรงงานที่เรารู้จัก เทคนิคที่ เรามี เราไม่มีเทคโนโลยีสูง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากที่อื่น ก็ คงต้องช่วยกันเชื่อมโอกาสหรือเน็ตเวิร์คดีไซเนอร์เข้า ด้วยกันเพื่อให้โอกาสมากขึ้น
142
การสร้างโอกาส ผมว่าส่วนหนึ่งโอกาสเราอาจจะรู้ว่าเรามีงานอะไร หรือใครรีเควสเข้ามา มีบริษัทอะไรบ้างที่ให้วัสดุเรามา ไม่ได้มองว่าโอกาสมาให้เราตั้งรับ แต่จริงๆ โอกาสเหมือน เป็นกลยุทธ์หากคุณเป็นดีไซเนอร์ที่ทำอะไรได้ดี เราต้อง สร้างโอกาสให้ตนเอง เพราะงั้นคุณต้องรู้ว่า ณ ตอนนี้เรา พร้อมแค่ไหน คนเราพร้อมไหม สตาฟเราพร้อมไหมที่จะ ทำอะไรขนาดนั้น ผมว่ามันก็ค่อนข้างสำคัญที่จะทำอะไรที่ มันพอเหมาะ บางครั้ง พีอาร์ใหญ่เกินไปแต่งานไม่มีอะไร เลย แต่งานคอนเทนท์ดีมากแต่ขายไม่ได้ โอกาสที่มีใช่ว่า เราจะไปใช้มัน เราต้องพยายามต่อยอดจากประสบการณ์ ที่เราได้ โอกาสที่ผมหมายถึง ไม่ได้หมายถึงธุรกิจแต่เป็น ประสบการณ์ที่ปรับใช้ครั้งต่อไป การสร้างงานต่อไป หรือ เป็นส่วนที่เราเรียนรู้ว่าเรามีข้อด้อยข้อเสียอย่างไร หาก เราใช้โอกาสได้ถูกวิธีเราจะต่อยอดได้อีกเยอะและสร้าง โอกาสให้เราเอง เป้าหมายสูงสุด จริงๆ แล้วถามว่าเป้าหมายสูงสุดในชีวิต มันก็มี เยอะ ผมว่าผมชอบอารมณ์แบบเราเรียน จบ ป.1 ก็เฮ พอ จบ ป. 6 ก็ดีใจ จบ ม. 6 ก็ดีใจ ผมมองเป้าหมายสองอย่าง คือ วันนี้เราดูแลบริษัทได้แล้ว เราจัดการความเพ้อฝันกับ เรื่องการเงินได้ระดับหนึ่ง ผมเชื่อว่าเรามีลูกค้าเยอะพอที่ จะต้องทำงานเสาร์-อาทิตย์แล้ว เป็นจุดหนึ่งที่เราถึงแล้ว ทำงานเป็นอาชีพกับสิ่งที่เราเป็นอยู่จริงๆ มันทำให้เราได้ เงินจากกิจวัตรประจำวัน ไม่คิดว่าเป็นงาน ทุกๆ งานที่ เราทำ เราจะทำให้ทุกงานรักษาคุณภาพของมันให้สด ไม่ พยายามเปลี่ยนแปลงมันมาก อยู่โดยที่ไม่อิงกับอะไรที่ มันไกลมากๆ แต่ทำให้ได้ทุกวัน เป็นเป้าหมายที่ค่อนข้าง สำคัญ
คิดถึงตัวเองใน 10 ปีข้างหน้าอย่างไร คือผมชอบเมืองไทยนะ แต่ว่าปัจจัยหลายๆ อย่าง ลูกค้าเจ้าใหญ่ๆ เริ่มมาจากต่างประเทศเยอะ ผมเชื่อว่า งานที่มีอิทธิพลหลักกับเราคือช่วงชีวิตที่เราอยู่เมืองไทย ปัญหาที่บ้านเราไม่มีเครื่องดีๆ เกิดการแก้ปัญหา เราก็ กลัวว่าเมื่อเราได้เจ้าเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นแบรนด์ต่างๆ เรา จะจัดการอย่างไรที่ไม่สูญเสียตัวเราหรือวิถีชีวิตประจำวัน ของเรา หากเราเปลี่ยนบางอย่าง อาจขาดอะไรบางอย่าง ที่เรามีเป้าหมายไว้ เอาแค่ว่าไม่ต้องหวาดเสียวเกินไป เรา อยู่กับมันได้ไม่ลำบากไม่ได้เสี่ยงอะไรกับใคร ตอนนี้ผมไม่ได้มองสิ่งที่เราพัฒนาคือเรื่องการทำ แบรนด์เนมนะ แต่เรามีต่างชาติมาฝึกงานมาอยู่ในทีม เวลาเรามีแนวคิดที่ไปกัน เช่น เขาดีไซน์ไม่รู้ว่าคนไทย ชอบหรือเราดีไซน์ไปไม่รู้ว่าชาวต่างประเทศไม่ชอบ มันก็ เกิดอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ สิ่งที่เราทำทำให้เกิดกระบวน การมากกว่า และเราก็ชอบเวิร์คช็อปมากกว่า เหมือน กระบวนการที่ทดลอง เราไม่รู้ว่าการสร้างแบรนด์ที่ดีเป็น อย่างไร เราก็แค่ดีไซเนอร์ แต่เราพยายามทำอะไรที่ทุก วันนี้ดีอยู่แล้ว เราก็ไม่ทำให้ดีขึ้น แต่ทำสิ่งที่ขาดอยู่เช่น ระบบการศึกษา หรือว่าโอกาสที่คนจะได้รู้จักมันหรือการ เล่าเรื่องใหม่ๆ เพราะงั้นของที่ธรรมดาๆ เราขาดการ นำเสนอมันมากกว่า เพราะบางงานเราเห็นเก้าอี้ตั้งแต่ยุค 60 บางคนยังเห็นว่ามันใหม่ ไอ้พวกนี้มันเข้าไปแทรกซึม ในวีถีชีวิตเรามากขึ้น หากทำอะไรใหม่คงมองพื้นฐาน ทางสังคมมาสร้างอะไรใหม่ มากกว่าจะมุ่งเรื่องหาเงิน
143
อุUdom ดมUdomsrianan อุดมศรีอนันต์
Grand Prizes Award 2004
“คิดว่าทำอย่างไรให้งานศิลปะ เข้ามาใกล้ชิดผู้คนได้มากขึ้น”
หลายครั้งหลายคราวที่ที่มีการตีพิมพ์หนังสือรวม เล่ม หรือคอลัมน์ที่มีเนื้อหาที่เน้นเรื่องของงานออกแบบ ไทย หรือ “Thai Design” ไม่ว่าจะเป็นจากสื่อในประเทศ และต่างประเทศ ผลงานของ อุดม อุดมศรีอนันต์ ต้อง เป็นหนึ่งในงานชิ้นสำคัญ ที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวแทนของ “สไตล์” และเป็นต้นแบบของงานอย่างไทยเสมอๆ อาจ เป็นเพราะเฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปลักษณ์และอารมณ์ของการ ใช้งานที่สะท้อนถึงเรื่องราวที่คนไทยเองมักคุ้น เช่น การนั่ง การเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคเอเชีย หรือเส้นสาย รูปทรง ที่มีความแปลกใหม่ไม่คุ้นเคยอย่าง งานทางตะวันตกซึ่งเป็นแม่แบบของงานออกแบบ ตั่ง นอนเปล สิ่งเหล่านี้ได้ถูกผนวกลงไปอย่างละเมียดละไม โดยฝีมือของศิลปินและนักออกแบบคนนี้ พื้นฐานทางศิลปะของอุดมที่ฝังแน่น และช่วงชีวิต ผ่านประสบการณ์การทำงานผลิตมาในหลากหลายรูปแบบ ก่อนที่จะผันตัวมาทำงานด้านออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า เพียงการเปิดตัวผลงานชุดแรกในสมัยวิกฤติ เศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ชื่อของอุดม อุดมศรีอนันต์ ก็เป็น 144
ที่รู้จักและจดจำในวงการในทันที คงไม่ใช่การพูดเกินเลย หากจะบอกว่า ลักษณะการจักสานที่ทดลองเอาเส้นปอ ดิบๆ มาสาน สอด สลับ ให้ดูยุ่งเหยิง จนเป็นรูปทรงก้อน หินมนๆ ที่ดูแสนจะเรียบง่าย และแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ดิบ หยาบของตัววัสดุ จะสร้างผลกระทบที่ดึงดูดใจและดึงดูด คนให้เข้าไปลองนั่งลองสัมผัส เป็นผลงานประวัติศาสตร์ ทำลายตรรกะงานจักสานแบบดั้งเดิมจนหมดสิ้น กลาย เป็นลายเซ็นต์ และสัญลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท Planet 2001 ที่อุดมเป็นคนก่อตั้งขึ้นในสมัยนั้น แต่อุดมเองกลับ บอกว่าสิ่งนั้นไม่ใช่สไตล์หรือตัวแทนของ Planet 2001 และตัวอุดมเองอย่างแท้จริง แบรนด์ Planet 2001 ในใจ ของอุดมคืออะไรก็ได้ที่สามารถเข้าถึงศาสตร์และศิลป์ของ การใช้งานและความงาม ตามแต่ศิลปินหรือนักออกแบบ คนนั้นๆ จะรังสรรค์ออกมาต่างหาก อุดมพิสูจน์แนวคิดนั้นได้อย่างชัดเจนในเวลาต่อมา เมื่อ Planet 2001 ยังคงอยู่เป็นผู้นำในเรื่องงานออกแบบ ที่มีความเป็นศิลปะผสมผสานกับการใช้งานในวิถีแบบไทย ผ่านนักออกแบบมากหน้าหลายตาที่เข้ามีส่วนร่วมในการ
สร้างสินค้าที่น่าตื่นตาตื่นใจ หลากหลายวัสดุและเทคนิค การผลิต อะไรคือเบื้องหลังแนวคิดของคนซึ่งถูกนิยามว่า เป็น “คน” ที่มากด้วยความคิดสร้างสรรค์ และ “งาน” ที่ ถือว่าเป็นตัวแทนของความเป็นไทย มารู้จักเขาให้มากขึ้น ในบทสัมภาษณ์นี้ Planet 2001 ตั้งแต่ยุคต้นถึงปัจจุบัน เริ่มต้น planet 2001 จากถืองานสเก็ตช์ชุดหนึ่ง เกือบ 10 สเก็ตช์ ที่ดรอว์อิ้งไว้ไปปรึกษาหลายคน แต่ หลายคนส่ายหน้าว่าจะไปรอดหรือเปล่า แต่ทุกคนก็อยาก ให้ทำ มานั่งคิดว่าถ้าทำจริงๆ แล้วผลมันจะเป็นยังไง ส่วนตัวมาดูผลที่ว่าเราจะทำมันเพราะอะไร เพราะเรา อยากทำหรือเพราะว่าเราอยากทำธุรกิจ มันก็มาประมาณ ว่าเราอยากทำชิ้นงานที่เราคิดค้างไว้ ไม่เป็นตัวงานขึ้นมา ไม่เช่นนั้นมันจะเป็นอะไรที่คาใจอยู่ จึงเริ่มทำและแสดง งาน BIG ครั้งแรก ปี 2000 ก็ผลตอบรับดี ดีตรงที่ว่าคน มาให้กำลังใจเยอะมาก มาชื่นชม มาถามว่าคืออะไร ทำ
ยังไง ทำเพื่ออะไร แล้วทำไมถึงทำมัน ให้กำลังใจใน ลักษณะที่เรียกว่าดีใจที่เห็นคนกล้าๆ ทำมันออกมา ที่ เหลือเป็นเรื่องของการตลาดก็ขายได้ประมาณหนึ่ง ในทางธุรกิจไปได้ดีไหม เหมือนที่บอกมา เมื่อไรที่มันคาใจเรามากๆ กับ ประเด็นที่เราเห็นงานทั่วไปผ่านมา ผ่านมา เราเกิด ประเด็นว่าเมื่อไหร่จะมีคนลุกขึ้นมาทำสิ่งที่เราชื่นชม ดีไซเนอร์ต่างประเทศที่งานเขามาสร้างกระแสและพวก เราเห็นกันว่ามันดีนะ และก็ถามว่ามันเป็นเรื่องยากไหม ที่อยู่ในวงการ อยู่ได้เหมือนเรือปริ่มน้ำไปตลอด พูดย่อๆ ก็มีขาดทุนสามปี กำไรนิดหน่อยปีนึง อยู่ไปเรื่อยๆ แล้ว มองว่างานเราเป็นอย่างนี้ แล้วจะมีคำถามมาเรื่อยๆ ว่า เราจะขายยังไง ทำการตลาดยังไง เราจะพามันไปยังไง หรือมันจะพาเราไปยังไง ถามเองตอบเองไปเรื่อยๆ โจทย์สำคัญของ Planet 2001 จริงๆ แล้วตั้งใจว่ามันเหมือนกับสิ่งที่คนไทยหรือ พวกเราคิดกันได้ทำกันได้ขึ้นมา คุณภาพประมาณหนึ่ง ดีไซน์การบอกเล่าของงานประมาณหนึ่ง ถ้าในเชิงของ บริษัทหรือธุรกิจ planet 2001 เหมือนกับสิ่งที่เราคิดว่า เราเป็นคนนำเสนอ คิดเองหรือไม่คิดเอง ซีเลคท์มา แต่ว่า ประเด็นที่ทำให้เกิด planet ยากคือตัวเองที่มองงานทาง ไฟน์อาร์ตไปด้วย คือคิดว่าทำอย่างไรให้งานศิลปะเข้ามา ใกล้ชิดผู้คนได้มากขึ้น อาจคิดผิดก็ได้เพราะเขาแยกไว้ เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ว่าในเชิงของงานดีไซน์ถ้าให้มัน หนักหน่วงหรือกล้าบอกโจทย์แฝงๆ อยู่มันทำยังไง กระบวนการออกแบบ กระบวนการออกแบบ คือพื้นฐานที่ตัวเองเรียนมา และเหมือนกับการเล่าเรื่อง บอกประสบการณ์บางอย่างที่ เห็นมาให้ผู้อื่นฟัง แต่ละชิ้นงานก็มีเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ แฝงอยู่ อาจไม่ใช่ทั้งหมด แต่ว่าแทบ 90% จะมีเรื่องแฝง อยู่ มุมนี้มันดูแล้วทำไมต้องมีเรื่อง มันเป็นเรื่องที่ทำให้เรา คิดงานได้สนุกขึ้น ครีเอทงานได้ง่ายขึ้น ควบคุมการผลิตอย่างไรกับเส้นสายและรายละเอียดขนาดนี้ ก็สร้างทีมงานขึ้นมา ตอนทำงานจะสเก็ตช์ด้วย ฟรีแฮนด์อย่างเดียวแล้วก็ทำโปรโตไทป์เลย บางคนงงว่า ไม่มีแปลน ฟรอนท์ ไซด์ ดีเทล เลยเหรอ ก็ไม่มี ลงไป ทำกับช่างเลย ส่วนเรื่องการสานลักษณะว่าเหมือนไม่มั่ว มันก็คือ ใหม่ๆ เราหาช่างมาสานและเป็นช่างสานลาย แพทเทิร์นพื้นๆ เขาบอกทำไม่ได้ จึงต้องหาคนไม่เคยสาน มาฝึกใหม่ เรามาจับตาดูว่าหนาบางแค่ไหนพอ เมื่อเขา คุ้นเคยก็ทำงานได้ระดับหนึ่ง ชิ้นงานที่คิดว่าประสบความสำเร็จ ชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ คือ ได้รางวัลที่ได้ลง หนังสือ Designer of the Year ชื่อ Cabin ที่เป็น เหมือนบ้านเล็กๆ หลังหนึ่ง คล้ายๆ ถ้ำส่วนตัว ชิ้นนั้น 145
ทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความอยากเล่าเรื่องบางเรื่องของ ตนเองและความอยากได้ในช่วงอายุหนึ่งที่เราทำบ้านเด็ก บ้านกล่องเล่นกัน และก็ไม่คิดว่ามันจะขายเยอะแยะ แต่ ตั้งแต่ปี 2004 ถึงปัจจุบันมันก็ยังขายอยู่ จะเรียกว่าเยอะ เหมือนโปรดักท์ที่เป็นคอมเมอร์เชี่ยลไหม มันก็ไม่ถึง ขนาดนั้น ชอบงานชิ้นไหนเป็นพิเศษ ชอบทุกชิ้น แต่ชิ้นที่ชอบจะมีความต่างระหว่าง งานที่คอนเซปท์ และงานที่เป็นฟังก์ชั่น เมื่อไรที่เป็นงาน ฟังก์ชั่นออกมา เช่น อาร์มแชร์ ความรู้สึกตัวเองจะไม่ค่อย ชอบ แต่เมื่อไรที่มันเป็นซีท เก้าอี้ตัวหนึ่งที่เกิดจากแนวคิด ของเรารู้สึกว่าชอบ และมันก็จะเคลื่อนไหวได้ดีกว่างานที่ เป็นฟังก์ชั่น เพราะภาพของแบรนด์มันเป็นอย่างนั้นไปแล้ว Planet 2001 เป็นแรงให้นักออกแบบหลายคนคิดยังไง กับการสร้างนักออกแบบ Planet เปิดรับตั้งแต่ปีแรกๆ แล้ว แต่ทุกคนเวลา จะมาจอยด้วยส่วนมากจะมาเลือกมุมว่า Planet เป็น ยังไง เช่น เป็นฟรีฟอร์ม เป็นสนุกได้ เป็นมันส์ได้ เป็น อาร์ตได้ ทุกคนจะมาอยู่ที่มุมนี้ซึ่งกลายเป็นโจทย์ที่ยากขึ้น ไปอีก ที่จะบอกว่างานบางงานจะผลิตหรือไม่ผลิต จะทำ แค่โปรโตไทป์โชว์ เพราะแค่โปรโตไทป์ยังคิดกันหนักเลย ว่าจะทำดีไม่ดี เพราะว่าบางอย่างมันตอบยาก มันเหมือน กับว่าเรากลายเป็นคนตัดสินคนเดียว เราทำแบรนด์นี้ขึ้น มาและมีแนวคิดของเรา คนอื่นมาเราตัดสิน เหมือน มุมมองของตัวคนเดียว มันก็จะลำบาก พอหามุมมองคน อื่นมาช่วยก็ไม่ค่อยลงตัวสักที เลยเปลี่ยนวิธีว่าสอนเด็กๆ ดีกว่า สอนนักเรียน นักศึกษารุ่นใหม่ๆ ตอนนี้ก็ปีนึงมี นักศึกษาฝึกงาน สิบคน สิบกว่าคนก็จะสอนในสิ่งที่เรารู้ หรือวิธกี ารสร้างแรงบันดาลใจ การหาเหตุสร้างงานขึน้ มา มองเห็นอนาคตและแก้ไขข้อบกพร่องให้กับเด็กๆ ด้วย วิธีไหน งานทุกงานต้องอาศัยประสบการณ์ แต่นักศึกษา ที่เรียนอยู่ อย่างหลักสูตรบางทีสี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง และฝึก งานตอนปีสามมันเป็นอะไรที่น้อยมาก เพียงแต่ว่าเวลา เจอเด็กพวกนี้หรือเวลาสอนก็จะสอนว่าคิดยังไง กระตุ้น และให้กำลังใจ เติมไฟ ไม่ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน หาก คิดจริงๆ พิจารณาจริงๆ ทำได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องยึด ติดรูปแบบจากต่างประเทศ พอให้งานชิ้นหนึ่งต้องไปดู หนังสือ แม็กกาซีนระดับโลกแล้วมานั่งคิดงาน ส่วนมาก จะคิดไม่ออกมันก็มากระตุ้นว่าวิธีการจะคิด คิดยังไง การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยควรมีการ เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐาน จากประสบการณ์ เด็กยังไม่เข้าใจเรื่ององค์ประกอบ วิชาคอมโพสิชั่นว่าด้วย เรื่องรูปทรง เส้น สี หากไม่เข้าใจจริงๆ ต่อให้มีคอนเซปท์ และครีเอทงานเป็นชิ้นงานไม่ได้ก็จะลำบาก บางทีก็ถาม 146
เด็กแต่ละรุ่นว่า วิชานี้มีเรียนไหม ในสี่ปี ห้าปี จะมีเรียนอยู่ สองครั้งสองเทอม ซึ่งคิดว่ามันน้อยไป มันอาจเรียนนอก ทฤษฎีก็มี เล่าให้นักศึกษาฟังว่าชิ้นงานเหล่านี้เกิดจากอะไร บ้าง เกิดจากแนวคิด เส้นที่มันประกอบเป็นรูปทรงยังไง สีมันบอกอะไร มันต้องมาพูดถึงทฤษฎีนี้ ประมาณหนึ่ง งาน Planet 2001 สื่อสารอะไรสู่สากล มันมีคนถามว่างาน Planet เป็นไทยตรงไหน มัน ตอบยาก บางคนว่าอาจเป็นเพราะวัสดุที่เป็นหวายหรือ เส้นเถาวัลย์ แต่ว่าด้วยวัสดุกับรูปทรงอะไรทำงานมาก กว่ากันมันก็ประมาณเท่าๆ กัน ทีนี้วัสดุก็ไม่ใช่ไทย ใน เซาท์อีสเอเชียก็ใช้แบบนี้กันอยู่ ทีนี้มันเป็นไทยได้ยังไง ถึงบอกว่ามันเป็นอะไรที่ตอบยาก แต่หากเราบอกว่าเรา ใช้สำนึก ประสบการณ์ของเราคงบอกอะไรในงานไปเอง ประสบการณ์ของชีวิตคนไทยคนหนึ่ง หากเราตัดอิทธิพลข้อมูลข่าวสารทิ้งไปบ้างแล้ว มองว่าประสบการณ์เราจะบอกเล่างานเราให้ทุกคนฟัง เหมือนเราไปดูหนังเรื่องหนึ่งแล้วกลับมาเล่าให้เพื่อนฟัง วิธีการที่จะเล่าให้เพื่อนฟังเล่ายังไง คงประมาณเดียวกัน วิชาชีพนี้ควรได้รับการสนับสนุนด้านใดบ้าง ต้องสนับสนุนทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ ประชาสัมพันธ์ งบประมาณ เงินทุน เชื่อว่าหลายๆ ฝ่าย พยายามช่วยอยู่ เพียงแต่ปัญหาคือไม่เป็นเอกภาพ เหมือน คนละจุดๆ อยากได้ความช่วยเหลือทางนี้ก็ไปทางนี้ ให้ ช่วยตรงนี้ก็ไปอีกทาง มันจะสับสนเพราะแต่ละแบรนด์ และดีไซเนอร์แต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ การส่งเสริมแต่ถ้าใช้สูตรเดียวกันหมด มันก็ไปลำบาก สเกลมันต่างกันทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือรูปแบบที่ แตกต่างกัน บางบริษัทไม่ต้องการเงินเยอะ บางบริษัท ต้องการเงินมาก ดังนั้นรัฐควรจะต้องหาว่า รัฐจะช่วยอะไร คุณได้บ้าง ในรูปแบบที่คุณเป็นอยู่ ทิศทางของ Planet 2001 ในอนาคต ก็...คงมองตลาดให้ตรงกับดีไซน์ที่มันเป็นอยู่ ที่ คิดไว้คงเป็นลักษณะว่าไม่เป็นแมสและคอมเมอร์เชียล แล้วทำงานให้เหมือนกับลิมิเต็ดเอดิชั่นหรือชิ้นเดียว เพื่อ ให้สเกลเหมาะสมกับรูปแบบงานที่เป็นอยู่ ชิ้นงานต้องเป็นของอุดมคนเดียวเท่านั้นหรือเปล่า เป็นของทุกคนได้หมด ในเจตนาที่เปิด Planet คือ อะไรที่งานที่มีพลังพอ มีคอนเซปท์ที่ดี คุยกันได้เข้าใจกัน ได้ ก็อยู่ใน Planet ได้
147
เอกรั ต น์ วงษ์ จ ริ ต Eggarat Wongcharit
Designer of the Year 2005 Honor Award 2007 Best of Best Designer of the Year 2007
“การออกแบบของผม เป็นการเก็บเล็กประสมน้อย... ไม่ใช่อยากออกแบบอะไรก็ออกแบบ”
จากการเปิดสตูดิโอของตนเองในนาม Studio Egg-Karat เรื่อยมาจนถึงการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นผู้ร่าง หลักสูตรปริญญาโทของสถาบันเดียวกันนี้ไปพร้อมๆ กับ การควบตำแหน่งนายกสมาคมนักออกแบบอุตสาหกรรม ไทย หรือ IDS จนในวันนี้ Craft Factor บริษัทออกแบบ และผลิ ต เฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ใ นแบบอย่ า งของ เอกรัตน์ วงษ์จริต คงทำให้ไม่ต้องบรรยายกันมากเกี่ยวกับ นั ก ออกแบบมากประสบการณ์ ที่ เ รี ย กได้ ว่ า เป็ น หนึ่ ง ในรุ่นผู้บุกเบิกและสร้างความเคลื่อนไหวให้กับวงการ ออกแบบของไทยในอดีตจวบจนปัจจุบัน เอกรัตน์ มีความ สนใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการออกแบบภายใต้รากเหง้า และแก่นแท้ของความเป็นไทย การสร้างกระบวนการ ศึ ก ษาค้ น คว้ า และวิ จั ย ส่ ว นตั ว เพื่ อ ค้ น ลึ ก ถึ ง สิ่ ง ที่ ซ่ อ น อยู่ใน “Thai Design DNA” และดึงมันออกมาถ่ายทอด ลงบนผลงานการออกแบบ เป็นสิ่งที่เริ่มเห็นชัดขึ้นใน ระดับหนึ่ง ภายใต้ผลผลิตของ Craft Factor รูปแบบ เฟอร์นิเจอร์ของเอกรัตน์ สร้างความสนใจอย่างสูงทุกครั้ง 148
ที่มีการจัดแสดงผลงานผ่านงานแสดงสินค้าระดับชาติ และระดับโลก และเช่นกัน เมื่อมีการรวบรวมผลงานของ นักออกแบบไทยที่เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นไทย ผลงานของเอกรัตน์ ต้องเป็นตัวยืนที่ติดโผรายชื่ออยู่มาก ชิ้น ด้วยรูปทรงที่วิจิตรพิสดาร ประกอบกับการเลือกสรร วัสดุชั้นดี และการผลิตที่ต้องอาศัยทักษะสูงทางหัตถกรรม กับการผสมผสานเทคโนโลยีของวัสดุ มีผลทำให้สินค้า จาก Craft Factor มีกำลังการผลิตในจำนวนที่ไม่มาก และราคาสูง แต่หากถามว่าปัจจัยเรื่องราคาที่สูงนี้มีผล ต่อธุรกิจไหม ต้องตอบว่าด้วยลักษณะของงานที่สามารถ ถ่ายทอดอัตลักษณ์และสาระที่แสดงออกถึง Thai Design DNA บางอย่างออกมาได้อย่างโดนใจ ราคาจึงไม่ใช่ปัญหา ใหญ่ของธุรกิจที่มีตลาดเฉพาะรองรับและยังเป็นตลาดที่ มีกำลังซื้อที่สูงอีกด้วย ปัจจุบัน เอกรัตน์ ยุติบทบาทงานทางการศึกษา และงานมีตำแหน่งนั่งโต๊ะ มาโลดแล่นในวงการออกแบบ ไทยกับ Craft Factor มาได้ร่วมเก้าปี ผลงานออกแบบ หลายสิบชิ้นที่กวาดรางวัลทางด้านการออกแบบยอดเยี่ยม
จากหลายสาขา แสดงให้เห็นชัดถึงการถ่ายทอดมิติและ แง่มุมต่างๆ ของ Thai Design DNA ได้เป็นอย่างดี การที่เก้าอี้ตัวหนึ่งจะมีราคาสูงได้ถึงสามแสนห้า หมื่นบาท และมีลูกค้าสั่งจริงถึงคราวละสิบตัว ไม่ใช่เรื่อง ที่ใครจะสามารถทำได้ง่ายๆ เส้นทางชีวิตนักออกแบบของ เขาเป็นเช่นใด อะไรคือบริบทแวดล้อมของกระบวนการ ทำงาน และอะไรคือ Thai Design DNA ในสายตาของ เอกรัตน์ วงษ์จริต ติดตามได้ในบทสัมภาษณ์นี้ ก่อนมาเป็นนักออกแบบ ผมจบจากศิลปากรรุ่นที่ 22 ตอนแรกๆ ผมเรียน ทางด้านนิเทศศิลป์ก่อนนะครับ และก็ชอบทางด้านนิเทศ ศิลป์ ทางกราฟิกดีไซน์ และก็ไปเรียนต่อที่ Pratt Institute ที่นิวยอร์ก และกลับมาทำงานที่ Leo Burnet แต่ว่าตอนนั้นมันยังไม่มีงานที่เป็นทางด้านกราฟิกส์จริงๆ นะครับ ผมก็จะทำงานแถมส่วนให้กับพวกแอคเคานท์ โฆษณาส่วนใหญ่ ทำในตำแหน่งอาร์ตไดเรคเตอร์อยู่กับ คุณภาณุ อิงคะวัต แต่ว่าพอทำไปแล้วผมรู้สึกว่ามันเป็น
สิ่งที่เราไม่ได้ชอบมันจริงๆ เพราะเราชอบอะไรที่มันจับ ต้องได้ มีพื้นผิวและสามารถควบคุมการผลิตได้มากกว่า ซึ่งแตกต่างจากงานโฆษณา คือ คิดออกมาจนเป็น คอนเซปท์แล้ว และก็จะต้องเอามันไปพึ่งกับปัจจัยกับอีก หลายๆ อย่างที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ก็เลยหันมา สนใจอะไรที่มันสามารถควบคุมการทำโปรดักชั่นได้เอง จึงเบนเข็มไปทางอินดัสเทรียลดีไซน์ครับ และก็ได้ไป เรียนที่ Domus Academy ที่อิตาลีนะครับ ผมเลยได้ ทำงานที่ อิ ต าลี ท างด้ า นเฟอร์ นิ เ จอร์ อ ยู่ กั บ สถาปนิ ก ชื่อ Paolo Nava และเป็นนักออกแบบอิสระ ที่นั่นนาน 6 ปี แล้วจึงก็กลับมาทำเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ที่เมืองไทยและ เป็นรุ่นแรกๆ ที่มีการออกแบบเป็นของตัวเอง ริเริ่มเอา งานหัตถกรรมเข้าไปรวมกับงานอุตสาหกรรมจนกลาย เป็นหัตถอุตสาหกรรม ก่อนกลับไป Domus ในช่วงนั้น คิดว่าเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ทำเฟอร์นิเจอร์ หาข้อมูลมาจากไหนครับ จริงๆ แล้วอ่านนิตยสาร Domus อยู่นะครับ คือ ตอนนั้นที่เรียนกราฟิกดีไซน์อยู่ รูมเมทเป็นสถาปนิก ชอบ ซื้อนิตยสาร Domus และ Abitare มาอ่านนะครับ เพราะ อิตาลีมีนิตยสารดีๆ เยอะนะครับ ก็ได้เรียนรู้ว่ามันมี มูฟเมนท์ด้านการออกแบบอะไรต่างๆ ตอนนั้นผมยังเรียน อยู่ที่ Pratt นิวยอร์ก ประมาณปี 1981 ในอิตาลีมี นักออกแบบกลุ่ม Memphis นำโดย Ettore Sottsass เริ่ม ออกแบบงานที่มีแรงผลักดันให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ มากมาย ผมได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักออกแบบอเมริกัน ว่าไม่เห็นด้วยอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เรากลับรู้สึกชอบว่ามัน มีที่มาที่ไปในแนวคิดซึ่งคล้ายๆ กับสิ่งที่ประเทศเรามี กลุ่ม Memphis ได้อิทธิพลด้านการสร้างแนวคิดจาก วัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมอินเดียก็เผยแพร่มาที่ เมืองไทยผ่านศาสนาและความเชื่อ แนวคิดในการออกแบบ ทีถ่ กู พัฒนามาจากวัฒนธรรม เป็นสิง่ ทีผ่ มรูส้ กึ ว่าประทับใจ เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่ให้ คุณค่าของการสร้างกระบวนคิดเป็นตัวนำ ก็เลยรู้สึกว่า น่าจะไปศึกษาต่อที่ Domus Academy จึงสมัครไป เรียน แล้วก็โชคดีได้รับทุนการศึกษา ชีวิตเลยเปลี่ยนทิศ เรียนจบแล้วก็ได้ทำงานต่อด้านเฟอร์นิเจอร์ เลยอยู่อิตาลี นานร่วมหกปีก่อนกลับเมืองไทย หลักการสอนของอาจารย์ที่ Domus และมุมมองที่ว่า จะเลือกเรียนที่ไหนและใครเป็นคนสอนมีความคิดเห็น อย่างไร คือเดี๋ยวนี้ผมไม่ทราบว่าที่ สถาบัน Domus เดี๋ยวนี้สอนกันยังไงนะครับ ทราบว่าได้แตกไปเป็นหลาย สาขาวิชามาก แต่ตอนแรกเริ่มนะครับ Domus เล็งเห็น การเปลี่ยนแปลงของโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า ตอนนั้น ยังไม่ทันช่วงมิลเลนเนียมเลยนะครับ ในช่วงปี 1980 เขา เห็นว่าโลกอนาคตจะเล็กลง และกำลังเปลี่ยนไปสู่บริบท ใหม่ แต่เขากลับไม่เห็นว่าทุกอย่างจะตั้งอยู่บนมาตรฐาน เดียวกัน มันอาจจะมีความเหมือนอยู่ส่วนหนึ่ง แต่จะมี 149
ความต่างอยู่อีกส่วนหนึ่ง Domus ก็เลยรับนักเรียนจาก นานาชาติมาและก็หวังว่านักเรียนเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ผลักดัน ให้เกิดกระแส Globalization แต่ว่าตอนนั้นยังไม่มี การบัญญัติศัพท์คำนี้เลย เขาคิดแค่ว่าความต่างกันของ วัฒนธรรมจะสามารถสร้างอะไรใหม่ๆ ให้กับโลกยุคใหม่ ได้ ในโรงเรียนก็มีเรามาจากเมืองไทย มีเพื่อนที่มาจาก ญี่ปุ่น เพื่อนที่มาจากฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี แต่ละคน ก็จะมีพื้นฐานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เค้าก็จะสอน ให้เราลงลึกเข้าไปสู่วัฒนธรรมของตัวเอง และไม่ค่อย เห็นด้วยกับนักศึกษาที่พยายามไปเหมือนคนนู้นคนนี้ ชาตินั้นชาตินี้ หรืออิทธิพลนี้อิทธิพลนั้นนะครับ แต่กลับ พยายามจะให้เราลงลึกถึงถึงวัฒนธรรมของเราเอง แล้ว ค่อยเอาไป Cross over กับบริบทของอีกวัฒนธรรมหนึ่ง แล้วจึงค่อยพัฒนาต่อยอดออกไป ก็เลยเป็นสิ่งที่แปลกใน ยุคนั้น และผมก็คงจะโชคดีที่มีแนวคิดที่แปลกแตกต่าง ก็เลยรับผมเข้าเรียน พอเรียนจบก็ทำงานกับสถาปนิก ที่นั่นครับ ก็รับงานออกแบบอิสระไปด้วย อยู่ตรงนั้น ประมาณสัก 6 ปี ก็กลับมาเมืองไทยครับ เขาพยายามฝึกให้เราเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด ใช่ จะดูเป็นการศึกษาในแนว Student Center อย่างที่สมัยนี้เรียกกัน คือพัฒนาเด็กจากศักยภาพที่มี สมัยก่อนยังไม่มีคำจำกัดความ Domus เป็นผู้เริ่มคน แรก และส่งอิทธิพลระบาดสู่โรงเรียนการออกแบบอื่นๆ หลักสูตรของ Domus เน้นเรื่องวัฒนธรรมมาก และเชื่อว่า วัฒนธรรมจะเป็นตัวผลักดันพฤติกรรมของคนทั่วโลก พอหลังจากกลับมาเมืองไทยแล้วเริ่มทำงานทางด้าน อินดัสเทรียลดีไซน์เลยไหม ตอนนั้นในเมืองไทยยังไม่มีอินดัสเทรียลดีไซเนอร์ ปัจจุบันก็ยังไม่มีจริงๆ นะครับ เราเป็นแต่ OEM คือเป็น
150
ประจำภาคออกแบบผลิตภัณฑ์ สอนระดับปริญญาตรีอยู่ ประมาณ 6 ปี จากนั้นคณบดีก็ให้ผมไปร่างหลักสูตร ปริญญาโทโทขึ้นมาใหม่ เน้นไปทางการเรียนรู้วัฒนธรรม ของโลกและรากเหง้าของไทยเพื่อที่ให้ผู้สำเร็จการศึกษา ออกมาแล้วจะสามารถเกาะกระแสวัฒนธรรมของโลกได้ ในช่วงนั้นผมก็เลยต้องเบนเข็มจากการเป็นนักออกแบบ มาเป็นอาจารย์อย่างเต็มตัว หลังจากนั้นสักพักหนึ่งผมก็ เริ่มมาเปิดบริษัท Craft Factor ครับ ตอนนี้ Craft Factor ปีนี้ปีที่ 9 แล้ว ทำมาตั้งแต่ในช่วงที่สมาคมผู้ออกแบบ ผลิตภัณฑ์แนวดีไซน์เริ่มมีบทบาทครับ เห็นว่าพวกรุ่นพี่ อย่างเช่น คุณสุวรรณ คงขุนเทียน มล.ภาวิณี สันตสิริ เริ่ ม เป็ น หั ว หอกให้ มี เ วที ข องการขายงานดี ไ ซน์ ไ ทยสู่ ตลาดโลก ในงานแสดงสินค้าตกแต่งของกรมส่งเสริมการ ส่งออกในตอนนั้นนักออกแบบหลายๆ คน โดนเลย์ออฟ ออกจากงานนะครับ จึงหันมาจับงานส่งออกเฟอร์นิเจอร์ งานผลิตของตกแต่งและของชำร่วย ซึ่งทั้งหมดออกแบบ โดยนักออกแบบไทย เหมือนกับเราได้สร้างกระแสของ งานออกแบบไทยขึ้นมา เอาภูมิปัญญาเก่ากลับมาใช้ใหม่ เข้ามาทำงานในด้านการศึกษาก่อนหรือออกแบบก่อน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากตลาดโลกเป็นอย่างดีนะครับ ผมเป็นนักออกแบบก่อนนะครับ ผมเปิดบริษัท ก็เลยทำให้ผมสนใจที่จะเปิดบริษัท Craft Factor ขึ้นมา ชื่อ Studio Egg-Karat มีสำนักงานอยู่ที่ตึกชาญอิสระที่ ในปี 2002 นะครับ หลังการออกงานกับกรมส่งเสริมการ สุรวงศ์ผลิตงานออกแบบของตัวเองแล้วก็นำไปผลิตเอง ส่งออก ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั่วโลกมาตลอด ก็เป็นรุ่นบุกเบิกนะครับ ในตอนนั้นมี Stone & Steel มี Crusoe มีแค่สามที่นะครับที่ออกแบบเองและผลิตเอง สังคมที่มีเวทีให้กับเรามีผลต่อธุรกิจอย่างไร มีผลมากนะครับ คือสมมุติว่าเราทำของไปแล้ว จุดเริ่มต้นของ Craft Factor เกิดขึ้นได้อย่างไร ขายได้ มันเป็นเหมือนกับกำลังใจให้เราทำต่อเนื่อง แล้ว จาก Studio Egg-Karat ผมก็ทำงานมาเรื่อยๆ จน เมื่อเราทำต่อเนื่อง ความคิดมันจะถูกพัฒนาไปตั้งแต่การ มาถึงตอนเศรษฐกิจฟองสบู่แตกซึ่งทำให้ตลาดการตกแต่ง ใช้วัสดุ จนไปถึงด้านการผลิต การสร้างเน็ตเวิร์คกับผู้ บ้านซบเซาลง และผมก็เลยต้องปิดบริษัท แต่ก่อนที่จะ ประกอบการอื่นๆ ให้กว้างขวางขึ้น บริษัทมีความมั่นคง ปิดบริษัทลง เราถูกเชิญไปสอนพิเศษตามมหาวิทยาลัย และยั่งยืนขึ้น สองภาพที่ทำ Studio Egg-Karat และ ต่างๆ ต่อมาทางมหาวิทยาลัยรังสิตก็ดึงตัวไปเป็นอาจารย์ Craft factor เป็นสองภาพที่มีความแตกต่างกันมาก ผู้ผลิตให้กับนักลงทุนจากต่างชาติครับ เราไม่ได้สร้าง เครื่องจักรเอง แต่ว่าเราเอาเครื่องจักรและกระบวนการ ผลิตอุตสาหกรรมของเขามา เช่นซื้อเครื่องจักรที่ใช้แล้ว จากเมืองนอกแล้วก็เอาแรงงานไทยเข้าไปสวมอย่างเดียว ไม่ได้คิดอะไรใหม่และก็ไม่ได้ทำอะไรใหม่ นักก๊อปปี้ก็เลย มีเยอะ เพราะไม่มีการสนับสนุนการคิดใหม่ นอกจากทำ ไปตามที่เครื่องจักรกำหนด คือว่าก่อนที่เมืองจีนจะเปิด ประเทศ ก็จะมีเมืองไทยนี่แหละที่สามารถก๊อปปี้ได้ มาตรฐานด้วยหลายๆ เทคนิค ตอนนั้นผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ไม่เคยพูดถึงเรื่องออกแบบ ผมจึง พูดกับเค้าไม่รู้เรื่อง เพราะกลายเป็นคนที่มีแนวคิดแปลก แยก คนที่คิดผลิตงานด้วยดีไซน์ของตัวเองมีอยู่ไม่กี่คน ในช่วงเวลานั้น ผมจึงพยายามที่จะพัฒนาเอางานหัตถ กรรมมาประยุกต์กับอุตสาหกรรม เพราะดูจะเป็นสิ่งเดียว ที่เราสามารถใช้ประโยชน์จากรากเหง้าของเราเองได้ ประเทศเยอรมันเอง อิตาลีเอง ก็เริ่มมาจากจุดนี้ ก่อนจะ พัฒนามาเป็นงานออกแบบอุตสาหกรรมอย่างในปัจจุบัน
แต่ว่าเป็นรากฐานซึ่งกันและกัน ตอนทำ Studio Egg-Karat ผมเริ่มทำงานหัตถกรรมและยังไม่รู้จักคำว่า อุตสาหกรรม มันยังไม่เจอกัน สมมุติว่าผมไปหาโรงงาน ให้เขาหล่อขาเก้าอี้ เมื่อก่อนมีโรงงานผลิตโลหะหล่อแบบ Injection molding เล็กๆ ซึ่งเขารับทำงานผลิตหัวกอล์ฟ เขาปฎิเสธและไม่สนใจออร์เดอร์เล็กๆ เราจึงต้องไปทำ กับโรงหล่อพระ หรือโรงหล่อเล็กๆ ที่หล่ออลูมิเนียมให้เรา ได้ แต่โรงงานเหล่านี้จะไม่รู้จักการทำงานแบบอุตสาหกรรม เราต้องไปบอกให้เขาคำนึงถึงเรื่องการหดตัว เราต้อง ฝ่าฟันอุปสรรคที่จะทำให้การหล่อแต่ละครั้งเท่ากัน และ ต้องคิดระบบ QC (Quality Control) เพื่อให้สินค้าหัตถกรรม มีมาตรฐานแบบอุตสาหกรรม ผมฝ่าฟันตรงนั้นมาจน กระทั่งการผลิตมันชัดเจนขึ้นจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ ชัดเจน ในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายท่าน ที่พัฒนามาตรฐานการผลิตขึ้นมา เขาเล็งเห็นแล้วว่า ประเทศไทยหากไม่มีดีไซน์ก็ไปไม่ได้ จึงยอมคุยกับเรา ซึ่งแตกต่างกับเมื่อก่อน ผมเคยพยายามไปโน้มน้าวให้ สมาคมผู้ผลิตแห่งหนึ่งให้ผลิตผลงานต้นแบบออกมาเพื่อ จัดนิทรรศการโดยมีข้อเสนอจะออกแบบให้ฟรี ทั้งนี้เพื่อ แสดงให้ โ ลกเห็ น ว่ า ประเทศไทยมี ดี ไ ซน์ ที่ มี ศั ก ยภาพ แต่ได้รับคำถามกลับมาว่า “คุณรู้หรือเปล่าว่าไอ้ที่ผม ก๊อปปี้ของจากต่างประเทศน่ะ ทำรายได้ให้ผมปีละเท่าไหร่” ผมตอบว่า “ไม่ทราบครับ” เขาเลยบอกผมว่า เขามีรายได้ ประมาณ 300 ล้านบาทจากการที่ก๊อปปี้เก้าอี้หนึ่งตัว แล้ว ถามผมกลับว่า “ผมจะต้องมาจ้างนักออกแบบทำไม” แต่ โชคดีที่ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของ ดีไซน์มากขึ้น ร่วมมือกับนักออกแบบมากขึ้นหลายรายก็ได้ รางวัลจากต่างประเทศ และสินค้าก็ขายดี ทำให้เกิด กำลังใจในการผลิตงานที่มีคุณค่า บริษัทก็มีความยั่งยืน อาจเติบโตช้าๆ กว่า แต่ยั่งยืนกว่า เพราะดีไซน์ที่ดีจริงๆ จะอยู่ไปได้นาน การเปลี่ยนแปลงคราฟท์มาเป็นอุตสาหกรรม ย่อมต้อง เกิดอุปสรรค มีการจัดการอย่างไร มันเป็นการเก็บเล็กประสมน้อย ซึ่งผมได้ประสบการณ์ จากการทำ Studio Egg-Karat ตอนนั้นคนที่ชื่นชมงาน ออกแบบในประเทศไทยนั้นมีน้อยมาก ผู้บริโภคสินค้า ทันสมัยกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ๆ อย่าง กรุงเทพฯ เชียงใหม่ มีโปรเจคที่เอื้อกับการผลิตงานดีไซน์น้อยมาก การยอมรับสินค้าไทยในระดับโลกก็ยังน้อยมาก แต่พอมา ทำ Craft Factor เรามุ่งไปตลาดโลก ก็เห็นว่าตลาดโลก นัน้ กว้างกว่ามาก ตลาดโลกหมายถึงเมืองใหญ่ๆ อีกหลาย สิบเมืองในทวีปยุโรปอย่างเมืองใหญ่ในสวิสเซอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส ตลาดประเทศอเมริกาก็มีหลาย เมืองที่เป็นตลาดที่กว้างไกล แต่ต้องถามตัวเองว่าเราเป็น ใคร เราเป็นทั้งผู้ประกอบการและนักออกแบบ แต่เราไม่ อยากมีโรงงานเพราะไม่เก่งเรื่องการคุมคนเราอยากใช้ กระบวนการผลิตของที่อื่นให้เป็นประโยชน์เราจึงต้องคุย กับเขาและสร้างเน็ตเวิร์คเพื่อป้อนออร์เดอร์ที่มีจำนวนให้ เขาและทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 151
เป็นธุรกิจร่วมกัน และทำกันนานหลายสิบปี อุปสรรคต้อง มีแน่ แต่ผมต้องมองให้ออกก่อนว่าศักยภาพของโรงงาน แต่ละโรงงานย่อมไม่เหมือนกัน แต่ละโรงงานมีวัฒนธรรม ในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่ละโรงงานมีรายละเอียดใน การทำโปรดักชั่นที่แตกต่างกัน ซึ่งนั่นเป็นข้อดี เพราะจะ ส่งผลให้สินค้ามีบุคคลิกภาพที่โดดเด่นต่างกัน เช่นเดียว กับสินค้าของอิตาลีที่มีมีบุคคลิกภาพที่แตกต่างไปจาก สินค้าญี่ปุ่น สินค้าจากสองประเทศชัดเจนในบุคคลิกภาพ และมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างบุคคลิกภาพของ เฟอร์นิเจอร์จึงไม่ได้มาจากการออกแบบแง่เดียว แต่เกิด จากการผนวกเอาวัฒนธรรมการผลิตของแต่ละโรงงาน เข้ามาควบรวมอยู่ด้วย การออกแบบของผมเป็นการเก็บ ข้อมูลไปทีละเล็กละน้อย ไม่ใช่อยากออกแบบอะไรก็ ออกแบบเลย แต่ค่อยๆ เก็บข้อมูล สร้างแนวคิด แทนค่า แนวคิดเป็นรูปทรง จากนัน้ เอาฟังก์ชนั่ เข้าไปผนวก แล้วจึง สร้างโปรโตไทป์เพื่อทำการทดลองใช้งานจริง เก็บราย ละเอียดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สมบูรณ์ มากขึ้น การสร้างแนวคิดในงานได้มาจากการเก็บข้อมูล ดิบหลายๆ แบบเอาไว้ก่อน เหมือนคอมพิวเตอร์ที่โหลด ไฟล์ต่างๆ เข้าไป ซึ่งคอมในหัวผมนี้มันดีตรงที่ว่าสามารถ ครอสกันเองและออกมาเป็นอีกสิ่งหนึ่งได้ผมเรียกมันว่า อินฟิวส์ (Infuse) คือเก็บขัอมูลนำมาวิจัย วิเคราะห์แล้ว นำไปสังเคราะห์ ซึ่งสามารถอธิบายที่มาที่ไปได้ เพราะเรา มีสเก็ตช์ที่สะท้อนความคิด เมื่อเรานำสิ่งที่เราเขียนคุยกับ ผู้ผลิต จะเห็นเป็นรูปธรรม เพราะเขาเห็นกระบวนการ ผลิตในแบบเดิมที่เขาเป็นแต่มีความคิดของเราแทรกอยู่ เราเห็นเขาแล้วจึง ผนวกเอาความคิดของเราเข้าไป สิ่งที่ เป็นบุคคลิกภาพก็เกิดขึ้นในงาน เกิดความแปลกใหม่ ได้ ประโยชน์ทั้งในแง่ Material Invention ทำให้เกิดความ สมบูรณ์กับสินค้ามากขึ้น กระบวนการผลิตของเมืองไทย 152
ในปัจจุบันมันไม่ได้ไฮเทคเท่ากับที่อิตาลี เราซื้อเครื่องผลิต มือสองมาแล้วพยายามทำให้เหมือน มีโรงงานหนึ่งที่พยายาม ก๊อปปี้เฟอร์นิเจอร์รุ่นใหม่ของอิตาลี แต่เฟอร์นิเจอร์อิตาลี ผลิตด้วยเครื่องจักรไฮเทคซึ่งใช้แรงงานมือน้อยมากเพราะ ค่าแรงแพงมาก แต่โรงงานนี้ใช้เครื่องจักรแบบโบราณ การ ก๊อปปี้จึงต้องใช้แรงงานมือเข้าไปทำให้แต่ละชิ้นส่วนมี ความเหมือน กลับกลายเป็นว่ามีแรงงานกว่า 50% ที่ซ่อน อยู่ในเก้าอี้ตัวนี้ เราจะเห็นได้ว่าวิธีการออกแบบเก้าอี้ของ อิตาลีอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกพัฒนาควบคู่กันมา พร้อมๆ กัน แต่ในเมืองไทยกลับกัน เรามีแรงงานมืออยู่ ในกระบวนผลิ ต เยอะมากแต่ ก ลั บ อยากจะก็ อ ปปี้ ข อง ไฮเทค เรามีศักยภาพของเราแล้วแต่กลับไม่ใช้ให้มันปรากฏ ในงาน ผมไม่เคยรังเกียจแรงงานมือ มันเป็นเสน่ห์อย่าง หนึ่งในงานของผม แล้วจุดเด่นในงานของอาจารย์ที่ลูกค้ามองตรงกับสิ่งที่เรา พยายามนำเสนอไหม ส่วนใหญ่จะตรง งานของเราทำมือเราตามใจลูกค้า ในการเลือกสีได้ มีทางเลือกให้ลูกค้า จุดเด่นของสินค้าก็ มาจาก Impression ของวัฒนธรรมไทยทั้งสิ้น เวลาชาว ต่างประเทศมาเมืองไทยเห็นวัดพระแก้ว เห็นกระจกสี เห็นสิ่งที่เขาไม่มี เห็นความมลังเมลืองของสีทอง เขาเห็น แล้วรู้สึก โอ อเมซซิ่งไทยแลนด์ ซึ่งมันเกิดขึ้นจริง เรา พยายามรวบรวมให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ในสินค้า ไม่ว่า สินค้าของเราจะตั้งอยู่ในที่ใดก็ตาม เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิงจะรู้สึกชอบ ดึงดูดให้อยากเข้าใกล้ เพราะเป็น มิตรกับสายตา เหมือนเวลาคนไทยเห็นฝรั่งแล้วจะยิ้มให้ บุคคลิกภาพที่อบอุ่นแบบไทยๆ คือตัวตนที่เราพยายาม ใส่ลงไปในงาน ถามว่าเป็นอย่างที่เราต้องการไหม เราต้อง ตอบว่าเป็น เพราะชิ้นงานเปิดโอกาสให้คนดูจินตนาการ
ไปตามความคิดอิสระของแต่ละบุคคล เสันสายที่ลื่นไหล มันไม่บังคับสายตา เปิดโอกาสให้ผู้ดูตีความเอาเอง ให้เกิด การปฎิสัมพันธ์ได้ง่าย ไม่เป็นภัยกับสายตาหรือความคิด ยกตัวอย่างชิ้นงานใดที่ประสบความสำเร็จมากๆ ในแง่ขายคือ เก้าอี้ Sputnik ซึ่งมีรูปทรงที่ถูก พัฒนามาจากตุ๊กตาดารุมะผสมกับเงินพดด้วง เป็นเก้าอี้ นั่งสบาย มีพื้นผิวหลายแบบ ทั้งที่เป็นโมเสก แบบหุ้มผ้า และแบบขดเชือกผักตบชวา ในการผลิตโครงเก้าอี้รุ่นแรกๆ ผมผลิตด้วยกระบวนการ Injection molding เก้าอี้ฉีด จากฟองน้ำหุ้มด้วยผ้า เป็นการผลิตแบบที่ค่อนไปทาง Mass Production แต่การหุ้มผ้าในรูปทรงที่โค้งเว้าแบบ นี้ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ ต้องใช้แรงงานมือช่วยด้วย ต่อมาเห็นว่าตลาดยอมรับมากชึ้น ก็ลองทำผิวเป็นงาน โมเสค ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการผลิตด้วยมือ ผมทำเป็น เวอร์ชั่นของกระดาษเงินกระดาษทองตัดเป็นชิ้นแปะด้วย มือแล้วเคลือบด้วยเรซิ่น กระดาษเงินกระดาษทองมาจาก กระดาษกงเต็ก สีเงินทีเ่ คลือบปิดทับบนกระดาษเกิดจากการ ตีดีบุกด้วยมือจนเป็นแผ่นบาง เป็นงานหัตถกรรมที่มีคุณค่า มาก แต่ภายหลังช่างทำกระดาษที่มีคุณภาพดี ตายจากไป มากตามอายุ คุณภาพกระดาษก็ลดลง ผลิตอยู่สองปีก็ ต้องหยุดไป ต่อมาใช้โมเสคที่ทำจากเรซิ่น มีข้อดีตรงที่ ทนแดดทนฝนใช้วางภายนอกอาคารได้ มีความวาวมาก เหมือนกระจกสีในวัดพระแก้ว ลูกค้าต่างประเทศเห็นก็ ช็อค ได้ทั้งแง่ความสวยงามและได้รางวัล เก้าอี้ตัวนี้เป็น ตัวแรกๆ ของบริษัทที่ปัจจุบันก็ยังขายดีมีออร์เดอร์เรื่อยๆ ทำให้เราจับทางได้ว่าทางของเราไม่ใช่ทาง Mass จำนวน มากๆ คือเป็นทั้ง Mass และ Customization ซึ่งทำให้ เราแตกต่างจากคนอื่น คือการผสมระหว่างการอินเจคชั่น และการทำงานเก็บรายละเอียดด้วยมือ เป็นจุดที่ทำให้
พัฒนาสู่เก้าอี้อื่นๆ ทำให้ได้รางวัล ที่มีความแปลกทั้ง นักออกแบบอีกส่วนที่สนใจเอารากเหง้าภูมิปัญญาของไทย รูปทรงและดีไซน์แต่ก็ต้องนั่งสบายด้วย เรามาใช้ ต้องเรียนรู้ฝึกฝนอย่างไรเพื่อเอามาใช้ได้ รากเหง้าเป็นเรื่องที่ Sensitive กับวงการออกแบบ Nirvana d'Oro ล่ะครับ ไทยมาก เพราะหลายคนเชื่อว่าไม่มี แต่สำหรับพวกที่ทำ Nirvanad'Oro เป็นงานที่ผมทดลองทำขึ้นมาลอง ส่งออก พวกเราพิสูจน์กันมาเป็นสิบปีแล้วว่ามันมีอยู่จริง ตลาด ตอนแรกคิดว่าหากทำผลิตจริงจะมีราคาแพงมาก เป็นเพราะเรามีเอกลักษณ์ไทยของเราเองจึงทำให้สินค้า เพราะการหล่อสำริดมีค่าใช่จ่ายสูง แต่ก็ให้คุณค่าในเชิง ขายไปทั่วโลก หากนักออกแบบที่สนใจด้านนี้ เขาต้อง ศิลปะเช่นกัน เราอยากลองเอาศิลปะมาผสมกับฟังก์ชั่น มองตัวเองว่าเขาสนับสนุนความเป็นไทยหรือเปล่า เขา การใช้งาน จึงนำเส้นสายและรูปทรงออร์แกนิคที่แสดง ชอบดูโขนไหม หรือดูแต่หนังฝรั่ง มีความสนใจไหมว่าราก ออกทางในงานประติมากรรมไทย เช่น เส้นสายของสรีระ ของเรามาจากไหน เขาสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยไหม หัวไหล่ จีวรของพระพุทธรูป เก้าอี้ตัวนี้เป็นเก้าอี้ทำให้ ศึกษาอะไรที่เป็นไทยไหม หรือเสพแต่เฉพาะที่ฝรั่งบอก คนฮือฮามาก เพราะเป็นสีทอง ภรรยาของผมไม่คิดว่าจะ ว่าดีแล้วก็ทำตาม หลายคนมองว่าความเป็นไทยคือลาย ขายได้เลยเพราะภรรยาผมเป็นนักการเงิน แต่เชื่อไหมว่า กนก อันนี้เข้าใจผิด เราต้องมองเห็นเนื้อหาที่ซ่อนเร้น ก็มีออเดอร์เข้ามาจากชุดแรกที่เราทำเพียงสิบตัว ปรากฏ ภายในไม่ใช่รูปทรงภายนอก เราต้องมองกระบวนการ ว่าขายหมดและตอนนี้ทำซีรี่ที่สองแล้ว เก้าอี้ตัวนี้ทำเงิน เกิดของลายกนกมากกว่าจะไปเอาลายกนกไปปะบน เข้าบริษัทมากมาย เราก็เลยได้มุมมองด้านการตลาดอีก รูปทรงอื่นๆ แล้วบอกว่ามันเป็นไทย เราควรจะสนใจที่ หนึ่งมุม ถ้าเราเอาหลักการตลาดทั่วไปมาจับ เราก็จะไม่ จะรู้ว่าที่มาของเรามาจากไหน วัฒนธรรมไทยเกิดการ ค้นพบว่าสินค้าที่ขายได้ไม่ได้มาจากกระบวนคิดแบบ พัฒนาได้อย่างไร เราต้องรู้ว่าวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรม Mass Production เสมอไป เก้าอี้ตัวนี้นอกจากจะสร้าง ผสมที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและจีน ศิลปะที่เกิดในแถบ มิ ติ ใ หม่ ใ ห้ กั บ นั ก การตลาดที่ จ ำเป็ น ต้ อ งทบทวนและ อุ ษ าคเนย์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลมาแต่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ตรงๆ พิจารณาวิธีการแบบที่เคยคิดตามๆ กันมาเสียใหม่ แล้ว มันมีการตีความด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเองอีกที ยังทำให้เกิดการสานต่อทางวัฒนธรรม ทำให้การหล่อ อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจ นักออกแบบที่อยู่ดีๆ ก็ทึกทัก สำริดในประเทศไทยไม่หยุดอยู่ที่การหล่อพระพุทธรูป เอารูปทรงของงานศิลปะไทยมาตัดแปะผสมกันแล้วบอก เพียงเท่านั้นแต่สามารถนำมาสร้างสรรค์งานอื่นๆ ได้ด้วย ว่านี่เป็นไทย ไปเปลี่ยนแค่รูปทรงภายนอก ไม่ได้เข้าถึง ถ้าเราไม่ลองทำก็จะไม่เห็นทาง มีเรื่องตลกอีกเรื่องคือ มี เนื้อหาภายใน เมื่อนำสินค้าออกขาย คนซื้อที่เป็นชาว ลูกค้าที่เป็นเจ้าของสปา เขาต้องการนำไปใช้ที่สวีเดน แต่ ต่างชาติก็ไม่สามารถสัมผัส Spirit ของตัวสินค้าได้ หาก มันเย็นเกินไปเวลาใช้นั่ง ผมจึงแนะนำให้ใส่เทียนหอมจุด เราจะพัฒนาสินค้าให้ส่งออกสู่ตลาดโลกได้ ก็ต้องเห็น ใต้เก้าอี้ก่อให้เกิดความอบอุ่นขึ้นมา นี่ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้เลย รากเหง้าของเราเอง ลองดูงานโอลิมปิคที่ปักกิ่งเป็นตัวอย่าง ว่าจะเกิดแนวทางแบบนี้ขึ้นมาได้ จางอี้โหมว พิสูจน์ให้เห็นว่าวัฒนธรรมจีนหลังการปกครอง แบบคอมมิ ว นิ ส ต์ ที่ ท ำให้ เ ป็ น สากลแล้ ว น่ า ทึ่ ง อย่ า งไร Nirvana d'Oro ราคาเท่าไหร่ครับตอนนี้ การใช้คนเป็นหมื่นๆ คนมาทำโชว์ให้คนทั้งโลก จะเกิด แต่เดิมผมตั้งไว้สองแสนสี่ ปัจจุบันเป็นสามแสน ขึ้ น ไม่ ไ ด้ ถ้ า จางอี้ โ หมวไม่ รู้ จั ก ใช้ ศั ก ยภาพของระบบ ห้าและส่งออกไปในหลายประเทศแล้ว ลูกค้าคนไทยก็มี Dictatorship ให้เกิดประโยชน์ งานออกแบบของไทย แต่ฝรั่งก็เยอะ กำลังเป็นที่กล่าวถึงในทางบวก ต่างชาติสัมผัสได้ใน Spirit ของงานออกแบบไทย เคยมีทีมงานหนังสือจากไต้หวัน พอพิสูจน์ได้ไหมว่าหากเอาดีไซน์บวกกับความสามารถ เข้ามาทำหนังสือเกี่ยวกับนักออกแบบไทยตั้งชื่อหนังสือ ในการผลิตเท่าที่เรามีทำให้เกิดมูลค่าได้จริงๆ ว่า Modern Design Movements in Thailand เขามอง ทำได้จริงๆ แต่ขอให้ของดีจริง ออกแบบสุดขั้ว เห็นศักยภาพในการออกแบบของเราที่เป็นแบบของเรา มีแนวความคิด มีเรื่องราวที่บอกที่มาที่ไปได้ งานออกแบบ เอง Hong Kong Design Center ก็เคยมาถ่ายทำหนัง ของ Craft Factor มีเรื่องราว และ Craft Hours ซึ่งเป็น สารคดีเกี่ยวกับเมืองที่ให้แรงบันดาลใจด้านการออกแบบ เวลาแต่ละชั่วโมงที่เราต้องเสียไปในการผลิตงาน เราถือว่า และจัดกรุงเทพเป็นหนึ่งในแปดเมืองทั่วโลก เขามาสัมภาษณ์ มันเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย และต้องปรากฏในงานด้วย วิธีการทำงานของผมและคุณกรกต อารมย์ดี ถามเราว่า เราจะนำเบื้องหลังการผลิตและแนวคิดในการออกแบบ เอาแรงบันดาลใจมาจากไหน เวลาเขามากรุงเทพเขาเห็น มานำเสนอทุกครั้งที่แสดงงาน เพื่อจะบอกลูกค้าได้ว่าเงิน งานออกแบบในแทบทุกที่ เกาหลีเองก็เคยทำหนังสือ ที่คุณเสียไปมันเป็นเรี่องคุณค่าและคุณภาพที่ไม่เหมือน เกี่ยวกับมูฟเมนท์พัฒนาการด้านการออกแบบของเมือง ใคร สิ่งนี้คือศักยภาพของเรา เราไม่สามารถผลิตแบบ ไทย แต่คนไทยเองนี่ซิ กลับมองไม่เห็นว่าความเป็นไทย แมสมากๆ เพราะเนื่องจากเราไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานเอง เป็นสิ่งที่มีค่า แถมบางคนยังบอกว่ามันไม่มีตัวตนต่อไป เราจึงต้องใช้ศักยภาพของการออกแบบมาสร้างมูลค่าของ อีกแล้ว รัฐบาลไทยเองก็ไม่ได้ช่วยเหลือหรือเชิดชูนัก สินค้ามากกว่าปริมาณมากๆ ของสินค้า ออกแบบไทยอย่างที่ควรจะเป็น หากเราสร้างสิ่งเหล่านี้
มากขึ้น อัตลักษณ์ของสินค้าไทยคงชัดเจนมากขึ้นเช่น เดียวกับสินค้าของอิตาลี เยอรมัน หรือ ญี่ปุ่นที่การสร้าง อัตลักษณ์ในงานออกแบบจะเกิดขึ้นได้พราะเล็งเห็นความ มีรากเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ใช้ชีวิตอย่างไรทำให้เกิดงานเช่นนี้ได้ ผมซีเรียสได้ ก็ปล่อยวางได้ ชอบศึกษาธรรมะ ชอบการกินมาก ชอบลองทานอาหารแปลกๆ แล้วกลับมา ทำที่บ้าน ชอบการทำอาหาร ชอบอ่านหนังสือ ไปเที่ยวที่ ต่างๆ ต่างจังหวัด ต่างประเทศ ในช่วงที่เราไม่ได้ทำอะไร จริงๆ แล้วทำ สมองยังทำงาน เราจดใส่สมุดสเก็ตช์ลงไป เมื่อเกิดไอเดียเราก็จดลงไปแต่ไม่ต้องพัฒนาเป็นโปรดักท์ แต่เราเก็บไว้ บางครั้งเราฝันเห็นสิ่งที่คิดว่าน่าสนใจ ตื่นขึ้น มาก็รีบจดเอาไว้ นอกนั้นก็ชีวิตไม่มีอะไร งานที่ทำประจำ เป็นกิจวัตรคือการไปดูงานตามแหล่งผลิตต่างๆ เช่น เมื่อ ผ่านไปอ่างทองก็ไปดูวัด ไปเจอหมู่บ้านทำกลอง รู้สึก ประทับใจมากที่หมู่บ้านนี้ทำกลองเอาไว้ขายวัดทั้งหมู่บ้าน แสดงว่าชีวิตในชุมชนช่างทำกลองต้องผูกพันอยู่กับประเพณี ผมไม่เคยมุ่งไปหาอะไรอย่างตรงๆ แต่เป็นการเก็บตก เบี้ยใบ้รายทางแล้วเอามาผสมผสานกัน การใช้ชีวิตผมจะ ไม่ใช่การมุ่งไปด้านใดด้านหนึ่ง นักออกแบบรุ่นใหญ่ต้องตื่นมาทำงานเลยไหม จริงๆ แล้วเรารู้ตาราง ว่าเราจะทำอะไร แต่มัน ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือมันเป็นแค่แนวทางเพื่อไม่ให้เรา หลงทาง เรามีจุดมุ่งหมายที่เรารู้อยู่ในใจ แต่เราไม่ก้าว กระโดดไปหามันเลย เพราะมันมีไอ้เบี้ยใบ้รายทางที่มัน อาจจะเกิดได้เมื่อไรก็ไม่รู้ เราก็เอนจอยมันไป ไปฟิกซ์ รายการมันไม่ได้ คิดว่าสาขาวิชานี้มีส่วนผลักดันสังคมและเศรษฐกิจหรือ ประเทศอย่างไร มากครับ เพราะปัจจุบันมองไปทางไหนก็มีแต่ ดีไซเนอร์กันทั้งนั้นครับ ตอนนี้คนในโลกไม่ว่าจะเป็น ประเทศทีเ่ จริญแล้วก็ตามครับ มองไปทางไหนก็จะเห็นว่า เรื่องดีไซน์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพราะฉะนั้นถ้าเราถูก ผลักดันให้มีเวทีในการออกแบบ มีหนังสือที่ดีหรือสื่อ โทรทัศน์ที่สนับสนุน มีเวทีให้นักออกแบบได้แสดงความ คิดก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก คือมันจะทำให้เศรษฐกิจเราโตไป ข้างหน้าในอนาคต แต่เราต้องไม่ตกเป็นทาสความคิดของ ใครคนใดคนหนึ่ง อิทธิพลใดอิทธิพลหนึ่ง หรือวัฒนธรรม ใดวัฒนธรรมหนึง่ หากจะรับมาก็ตอ้ งสังเคราะห์ให้มนั เป็น ตัวของเราเอง เราต้องเลิกฟังคนอื่น แล้วหันมามองตัวเอง ว่าเรามีอะไรดี แล้วมาพัฒนาต่อยอดนัน้ จะดีกว่า แทนทีจ่ ะ ไปฟังคนอื่นหรือเปลี่ยนมาตรฐานของเราเองให้เข้ากับ ของคนอื่น เราสร้างมาตรฐานของเราเองแล้วให้คนอื่นเขา มาทำเหมือนเรามันจะไม่ดีกว่าเหรอ
153
ODA
ปิติ อัมระรงค์ จุฑามาศ บูรณะเจตน์ Piti Amraranga Jutamas Buranajade
Emerging Award 2007 Designer of the Year 2008
“เรามองว่าจุดเด่นของเรา น่าจะอยู่ที่เรื่อง... การคิด...”
ODA คือหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ของไทย ที่เคยไปคว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกจากงานประกวดแบบ เฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียง “Next Maruni” ชื่อของ จุฑามาส บูรณเจตน์ และปิติ อัมระรงค์ ได้ถูกตีพิมพ์เทียบเคียงชื่อ ของนักออกแบบรุ่นใหญ่ชื่อดังจากหลายประเทศ ที่มาร่วม เป็นแขกรับเชิญให้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์คนละชิ้นให้กับ แบรนด์ Maruni ในเวลานั้น และผลงานที่ชนะการประกวด นั้นจะถูกนำผลิตภายใต้แบรนด์ Maruni และร่วมขายคู่ เคียงไปกับผลงานของนักออกแบบชื่อดังอีกหลายท่าน ก่อน ODA จะประสบความสำเร็จได้ในระดับนั้น ทั้งคู่ผ่านการทำงานและชนะงานประกวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาไม่นอ้ ย จนท้ายทีส่ ดุ ทัง้ คูก่ ค็ น้ พบทางทีต่ นเองถนัดและ ชอบที่สุดคืองานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ยิ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม้ด้วยแล้ว ทั้งคู่สามารถลงลึกถึงขั้นผลิตต้นแบบได้ด้วย ตัวเอง และยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการเสาะหาความรู้ใน เชิงลึกเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบ เป็นลักษณะพิเศษ ของนักออกแบบสองคนนี้ งานเขียนคอลัมน์ในวารสารรายเดือน เป็นอีกส่วน 154
หนึ่งที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการ “เสาะหาความรู้” นั้น เมื่อมีข้อมูลและเรื่องราวดีๆ จุฑามาส บูรณเจตน์ และ ปิติ อัมระรงค์ ก็มักจะนำไปตีพิมพ์ลงในคอลัมน์ที่ตน รับผิดชอบ เพื่อแบ่งปันความรู้และสร้างรายได้เล็กน้อย พอเป็นค่ากาแฟให้กับตัวเอง แต่ทั้งคู่จะเชื่อหรือไม่ว่า เนื้อหาและสาระจากบทความ ที่เสาะหาโดยนักออกแบบ และเขียนขึ้นโดยนักออกแบบ โดยผ่านการค้นคว้าข้อมูล ที่ถูกต้องในวิชาชีพ สิ่งนี้จะเป็นตัวขยายขอบเขตการรับรู้ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ แผ่กระจายออกไปในวงกว้าง เท่าที่ศักยภาพของวารสารนั้นๆ จะเข้าถึงได้ เมื่อมีข้อมูล ที่กระตุ้นกลุ่มผู้ซื้อและสร้างกลุ่มผู้ใช้ เพื่อการเสพงาน ออกแบบที่มีคุณภาพ ท้ายที่สุด วงการออกแบบไทยจะ เติบโตต่อไปได้ เมื่อเรามี “ผู้ชม” ที่มากพอ ด้วยการที่ ODA มีทั้งพื้นฐานของงานออกแบบที่ดี ประกอบกับความพิเศษในกระบวนการเสาะหาความรู้ จึง ทำให้ลักษณะงานของ ODA แฝงไปด้วยความละเมียด และลุ่มลึกในองค์ประกอบของความงาม ความเรียบง่าย และการใช้งาน และประกอบกับรางวัลที่การันตีในผลงาน
หากไม่นับงานที่ถูกผลิตไปแล้วกับ Maruni ไม่แปลกใจ เลยที่ ODA จะเป็นหนึ่งในนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไทย ไม่กี่คน ที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อออกแบบเก้าอี้สำหรับเด็ก ที่ปรับเปลี่ยนขนาดตามวัย ต่างๆ ได้ ODA ค้นหาเรื่องดีๆ งานออกแบบดีๆ มาตีแผ่ ให้คนในแวดวงเราได้รับรู้กันพอสมควรแล้ว ถึงเวลาค้าหา ตัวตนของคนคู่นี้กันบ้าง ODA เริ่มต้นเมื่อไหร่ อย่างไร เราเป็นเพื่อนกันตั้งแต่ตอนเรียนเมื่อจบก็แยกย้าย ไปทำงาน ถึงช่วงหนึ่งเราก็คิดว่าเราอยากทำงานร่วมกัน ในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือเฟอร์นิเจอร์ ในยุคนั้น เมืองไทยกำลังบูมเรื่องงาน BIG หรือการส่งเสริมหลายๆ อย่างจากทางภาครัฐทำให้เราคิดว่าเรามีช่องทางตรงนี้ นะ มันเลยทำให้เรารู้สึกว่าเรารวมกัน เพราะกิจกรรมช่วง นั้นมันเยอะมาก เรื่องของการประกวดต่างๆ เรื่องของ การสนับสนุนไปดูงานต่างประเทศ ผมคิดว่านักออกแบบ หลายๆ คน รวมตัวกันและเริ่มดำเนินการทางสายวิชาชีพ
ใกล้ๆ กับเรา เหมือนกัน อันนี้ผมถือว่าเป็นแรงกระตุ้นที่ ทำให้เราอยากทำอะไรสักอย่างบังเอิญว่าเราอยากทำงาน ร่วมกัน จึงจับคู่กัน มีงานประกวดชิ้นหนึ่งที่ทางเราไปได้งานประกวด ทีญ่ ปี่ นุ่ ไม่ถงึ กับติดรางวัลอะไร แต่ได้เข้ารอบงานประกวด International แล้วก็เราเป็นคนไทยกลุ่มเดียวในนั้นที่ได้ เข้ารอบสิบกว่าคน ส่วนใหญ่ในนั้นเป็นฝรั่ง เอเชียมีเพียง ไทยคือเราและญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าภาพ มันคือ เทศกาล Tokyo Designer Week ตอนนั้น แปลกใหม่มากสำหรับเรา การ ที่เราส่งผลงานและได้รับคัดเลือกผลงานแสดง ซึ่งต้องทำ ต้นแบบ เป็นจุดแรกที่ทำให้เราได้ดิวงานกับชาวต่างชาติ ได้สัมภาษณ์กับชาวต่างชาติ เลยรู้สึกว่าการที่เรามีลักษณะ การทำงานแบบนี้ เ ป็ น ไปได้ นี่ น าที่ เ ราจะเติ บ โตไปใน แนวทางการออกแบบเช่นนี้ จุดเล็กๆ ที่เราได้รับการ ตอบรับจากต่างชาติ เป็นเรื่องแปลก เป็นไปได้ งั้นเรา ตั้งใจทำ ซึ่งเรารู้สึกว่าน่าจะมีพื้นที่ให้กับเรา และอยาก ทำงานออกแบบร่วมกัน
เพื่ออะไร เราเชื่อว่าถ้าเราคิดเรื่องพวกนี้ทำให้เกิดไอเดียที่ กว้างกว่าเหมือนกับว่าในฐานะโปรดักท์ดีไซเนอร์อยากให้ ความสำคัญกับของชิ้นนั้นก่อน ในด้านคุณภาพหรือมัน เกิดมาเพื่ออะไร แต่ว่าในฐานะที่มันเป็นสิ่งของที่คนเข้ามา ใช้ เราคิดถึงผู้ใช้ในลำดับต่อมา มันจะอยู่ที่ไหน อย่างไร ใครจะมาใช้มัน มันจะมาเป็นเซ็ทขององค์ความคิด แต่ ตอนตั้ ง ต้ น เราอยากให้ ค วามสำคั ญ กั บ แนวความคิ ด ที่จะคิดกับของก่อน เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่ ของเราที่ต้องคิดตรงนี้ คนทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ เรารู้สึกว่านี่คือจุดที่แตกต่างที่นักออกแบบต้องเข้ามา รับผิดชอบครีเอทสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ถ้าจะให้บอกลักษณะชัดๆ ของงานของเรา เรา คิดว่าน่าจะเป็นงานที่บอกเล่าตัวเองได้ เราอยากจะสื่อ ความหมายถึงผู้ใช้หรือนักออกแบบด้วยกันว่าเราคิดมัน ขึ้นมาด้วยอะไร เราอยากจะทิ้งร่องรอยของภาษาเหล่านี้ ในงานของเรา ถ้าเผื่อคนที่ใช้งานมันอาจไม่ต้องคิดถึงมัน ก็ได้ แต่ถ้าเป็นนักออกแบบด้วยกันเราก็อยากคุยกับเขา ซึ่งมันก็เหมือนกับที่เราดูงานออกแบบของนักออกแบบ คนอื่นๆ เราก็อยากรู้ว่าเขาคิดอะไร เราต้องการสื่อสารถึง นักออกแบบด้วย ส่วนหนึ่งที่คนใช้จะได้รับ ไม่ต้องรู้ว่ามี มีนนิ่งมาแค่ไหน แต่ว่าสิ่งที่เขาได้รับแน่ๆ ในฐานะนัก ออกแบบคือคุณภาพของของเหล่านั้น คุณภาพที่ถูกทำ อย่างตั้งใจ ใช้ได้ดี ไม่สร้างความหงุดหงิดให้คนใช้ในชีวิต ประจำวัน เราต้องรับผิดชอบในเรื่องราวหลังจากที่เรา ออกแบบไปด้วย
นิยามของ ODA หลังจากงานประกวดที่ Tokyo Designer Week เราก็สรุปว่าเราทำงานร่วมกัน เราต้องมีชื่อสักชื่อ เราก็นั่ง คิดหลายชื่อ ODA ย่อจาก Object Design Alliance เราเป็นคนกลุ่มเล็กๆ เราไม่อยากทำชื่อให้มันดูเล็ก อยาก ให้เป็นองค์กรกลุ่มคน ล้อเล่นกับชื่อ เรามองว่าอย่างน้อย เราสองคนรวมกัน เราสองคนเท่ากันเหมือนเป็นพันธมิตร กันเพื่อเป็นการแสดงว่ามีหลายหัวในกลุ่มเดียว ก็อยากให้ ชื่อเรียกง่ายศัพท์มาตรฐาน คำพื้นมาเป็นอักษรย่ออีกที ผลงานที่ชื่นชอบ เป็นงานที่สำคัญกับการรวมตัวของเรา มันเป็น มีคนต้นแบบให้อยากทำงานด้านนี้ไหม งานประกวดของ Next Maruni เป็นงานประกวดแบรนด์ คือจริงๆ มีเยอะมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักออกแบบ เฟอร์นิเจอร์อันใหม่ของญี่ปุ่นที่เริ่มขึ้น เขาเชิญนักออกแบบ ต่างชาติที่เขาค่อนข้างมีชื่อเสียง และดูผลงานเขา ศึกษา ที่มีชื่อเสียงมาเยอะ เปิดพื้นที่เป็นงานประกวด งานที่ชนะ วิธีคิดเขา เหมือนกับว่าเราก็ได้เรียนรู้จากการทำงานและ จะถูกผลิตและขายจริง ได้รับส่วนแบ่งด้วย เราสนใจงาน ผลงานของเขา เรารู้สึกว่าอยากที่จะปฏิบัติเหมือนที่เขา ประกวดอันนี้มาก เราอยากได้งานประกวดชิ้นนี้ เหมือน ทำมา ถ้าพูดถึงบุคคลต้นแบบเราอยากขยายความว่ามัน ตอนที่เราคิดงานเป็นการจำลองความคิดที่ทำให้เราคิด สำคัญสำหรับเรามาก โดยส่วนตัวเรารู้สึกว่า การที่เราได้ งานแตกต่างไปจากเดิม เราพยายามคิดว่างานแบบไหน ศึกษางานและนักออกแบบชื่อดังระดับโลกในอดีตหรือ จะมีความหมายอยู่ในโปรเจคท์นี้ได้ ทำให้เราต้องขบคิด ปัจจุบันมันให้อะไรกับเราหลายๆ อย่าง มากกว่าโรลโมเดล กับมัน ไม่ว่าสุดท้ายมันจะออกมาเรียบง่ายอย่างไร อยาก มันเป็นเรื่องวิถีให้เราศึกษาได้ว่างานออกแบบทำเพื่อ จะเล่ามันให้ได้ ถ้าเราทำงานให้มันเล่าได้เราอาจจะชนะ อะไร ทำอย่างไรให้ดี ใช้ชีวิตกับมันได้อย่างไร เรื่องทั้ง ก็ได้นะ หมดเราตอบคำถามด้วยตนเองไม่ได้ ต้องศึกษาอดีต ส่วนหนึ่งที่งานนี้มันมีความน่าสนใจ คือผู้ตัดสิน มันเป็นการเรียนรู้ซึ่งหยุดไม่ได้ เราต้องศึกษาอะไรหลาย งานประกวด แต่ละคนล้วนแต่เป็นนักออกแบบที่เราชื่นชอบ อย่างมันกว้างมากและสำคัญมากสำหรับเรา และทำให้เรามีความตั้งใจมาก เช่นปีของเรา โจทย์เป็น อาร์มแชร์ กรรมการคือ Jasper Morrison ซึ่งการที่มี ODA มีจุดเด่นและการทำงานอย่างไร Jasper เป็นกรรมการ เราเห็นเป็นโจทย์อย่างหนึ่ง การ เรามองว่าจุดเด่นของเราน่าจะอยู่ที่เรื่องการคิด ตัดสินของเขาต้องใช้มุมมองของเขาตัดสิน เมื่อเรามอง คือ เรารู้สึกว่างานเราไม่มีสไตล์ในตัวโปรดักท์ที่ชัดเจน ผลงานเขาจะเรียบมาก แต่เราคิดว่าต้องมีอะไร แล้วคือ ไม่ได้บอกว่าเรียบง่ายหรือธรรมชาติ เราให้แนวความคิด อะไรล่ะ นี่คือการบ้านของเราในการทำประกวดครั้งนี้ ตั้งต้นเป็นตัวกำหนดมากกว่า เราอยากพูดเรื่องความหมาย เราจะเริ่มต้นทำงานอย่างมีความหมาย ไม่ว่าจะเรียบง่าย ของของมากกว่าอีกมุมที่เรารู้สึกกับมัน และตีความมัน แค่ไหนก็ตาม อันนี้คือการที่เราได้เริ่มจำลองความคิด ออกมาเป็นอย่างไร เราคิดกับมันอย่างไร มันเกิดขึ้นมา ที่มันจะดูเข้มข้นและลงลึกอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อน
155
อันนี้เป็นงานแรกๆ งาน Tokyo Design Week เราได้ เข้าไปมีส่วนร่วมแต่งานนี้เราคือผู้ชนะ ฉะนั้นมันเป็นงาน ที่สำคัญกับเรามากกลายเป็นงานที่เราชอบที่สุด เรามอง ว่ามันคือเรื่องความมั่นใจส่วนหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ต้องมีใคร มาบอกมาชม แต่ลึกๆ เราเชื่อว่าเป็นไปได้ เราอาจทำได้ เราอาจมีผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อันนี้ ได้มากๆ และก็ไม่ลืมทุกวันนี้เรายังจดจำความรู้นั้นได้อยู่ มันก็มาในช่วงที่เราเรียนรู้ หรืออยากจะลองพิสูจน์อะไร บางอย่างที่เราเรียนรู้ รางวัลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างหนึ่ง ที่จะบอกเราว่า สิ่งที่เราพยายามฝึกฝนมามีความเป็นไปได้ ในงานประกวดนี้ไม่ใช่โจทย์ประกวดเพียงเก้าอี้ ไม้ คือมันมีเรื่องสุนทรียภาพ ญี่ปุ่นให้ความรู้กับผู้เข้า ประกวด เราก็ได้ความรู้จากเนื้อหาตรงนั้น เราเชื่อว่าคน ไทยอ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยากเพราะว่าเนื้อหา เป็นในแนว คิดแบบเอเชีย มันมีผลต่อการที่เราคิดงาน แนวคิดจากโจทย์ที่เขากำหนดเป็นเรื่องสุนทรีย ภาพแบบญี่ปุ่น เขามีเอกสารชุดหนึ่งให้ศึกษาว่าคืออะไร และทำงานออกแบบจากทีไ่ ด้ศกึ ษาเอกสาร เป็นประโยชน์ ต่อเราและลองดึงออกมาเป็นงานออกแบบ ก่อนตั้งชื่อมัน เราตั้งไอเดียก่อน ว่าความตรงไปตรงมา ความจำเป็น มัน 156
ดูสำคัญในความงามแบบเอเชีย และเรื่องของการที่เรา อยากจะขจัดสิ่งประดับตกแต่งออกไป ถูกนำมาใช้ในการ ออกแบบ สรุปเราออกแบบเก้าอี้ที่อยากให้ทุกส่วนเป็นส่วน ที่สำคัญ คือ เราอยากให้มันเป็นส่วนที่เป็นโครงสร้าง ทั้งหมด เราไม่สามารถหยิบส่วนใดส่วนหนึ่งออกไปได้อีก เพราะมันถูกเชื่อมโยงกันหมด เราคิดเป็นไอเดียก่อนยัง ไม่ได้ดีไซน์ เราก็เริ่มดีไซน์ว่าแบบใดตอบสนองความคิด แบบนี้ที่สำคัญระดับโครงสร้าง เรากำหนดเท่านี้ และหา ฟอร์ม และเลือกว่าฟอร์มไหนตอบสนองความคิดนี้ได้ดี ที่สุด คือหน้าตาของงาน เราตั้งชื่อมันว่า Test of tea ซึ่งดู เหมือนมีความหมายแต่เราเอามาจากชื่อหนังเรื่องหนึ่งที่ เราชอบก็เท่านั้น ซึ่งเราไม่มีมีนนิ่งพิเศษ แต่พ้องต้องกัน กับเรื่องสุนทรียภาพแบบญี่ปุ่น นี่เป็นชิ้นงานที่เราชอบ ตอนนี้เพราะมันมีความสำคัญ รู ป ลั ก ษณ์ ข องโปรดั ก ท์ เ ป็ น เพี ย งตั ว ถ่ า ยทอด แนวคิดอีกที เราไม่ได้บอกว่างานของเราสวยมากหรืออะไร เราจะบอกว่า ที่เราชอบเพราะเราคิดเข้มข้นกับมันมาก ตีความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้แต่ในปัจจุบันเรายังใช้วิธีคิดแบบนี้อยู่ในงานเหมือนกัน เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง เหมื อ นเป็ น รากฐานที่ อ ยากให้ ค วามคิ ด
ถ่ายทอดออกมาเป็นลายเส้น หรือดีไซน์ที่พอมองย้อน กลับไปแล้วมีหลักการที่เข้มข้นแข็งแรง และหลักการนี้เรา จะไม่ประนีประนอมกับมัน ซึ่งตรงนี้เราใช้ในการทำงาน ผลงานปัจจุบัน ถ้าเป็นงานล่าสุดคือ Hi Chair ที่นั่งของเด็กที่ใช้ นั่งรับประทานอาหารร่วมกับผู้ใหญ่ มีที่นั่งสูง เราออกแบบ โปรดักท์นี้ให้แบรนด์ญี่ปุ่นชื่อ Katoji ซึ่งทางทีมงานของ Katoji รู้จักเราจากตอนที่เรานำผลงานจากโครงการ Designer of the year ไปวางแสดงในงาน BIG ทีมงาน ของ Katoji เดินไปเจอและชอบงานของเรา ติดต่อเราให้ มาคุยทำเก้าอี้เด็กกับเขา เขามีความตั้งใจเซ็ทโปรเจคท์ โดยนักออกแบบไทยและฐานการผลิตในประเทศไทย เขาเล่าให้เราฟังว่าเขาผลิตงานออกแบบจากญี่ปุ่น ในไทยหลายชิ้นแล้ว รู้สึกว่าทำไมเขาไม่หานักออกแบบ ในเมืองไทยรับผิดชอบงานนี้ไปเลย เขารู้สึกว่า ณ ปัจจุบัน นักออกแบบไทยมีศักยภาพที่จะทำตรงนี้ได้แล้วก็ด้วย ความเหมาะสมหลายๆ อย่าง จึงเริ่มต้นโปรเจคท์นี้ขึ้นมา นี่คือที่มา ส่วนงานโจทย์แรกที่เขากำหนดคือ Hi Chair เก้าอี้สำหรับเด็ก ก่อนที่จะเริ่มงานกันเขาบอกกับเราว่า
เริ่มด้วย Hi Chair เพราะเป็นของที่เป็นไฮไลท์สำหรับ เด็ก มันมีความซับซ้อนอยู่ในตัว มันเหมือนเป็นของเฉพาะ ถ้าเผื่อเราสามารถผ่านได้เป็นที่พอใจก็รับประกันได้ว่า งานชิ้นอื่นไม่น่ายากเกินไป เราสเก็ตช์และหาไอเดียจาก การทำความเข้าใจกับ Hi Chair ก่อน ก่อนหน้านี้เราทำแต่เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้ใหญ่ สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราว่าเฟอร์นิเจอร์เด็กเป็น อย่างไร และเขาบอกว่าไม่ให้เป็นของเล่น ต้องเป็น เฟอร์นิเจอร์ที่มีความสมาร์ทในนั้น ถ้าเล่าจากเริ่มต้น เรา ต้องรู้จักว่าโลกนี้มี Hi Chair แบบใดบ้าง มันก็มีเยอะ มากๆ มันมีตัวหนึ่งที่เราอยากพูดถึง เหมือนเป็นตำนาน ของ Hi Chair เป็นตัวที่ประสบความสำเร็จและยังคง ขายอยู่ในปัจจุบัน แล้วเหมือนกันเป็นต้นแบบด้านเทคนิค และหลักการ หลังจากเก้าอี้ตัวนี้เก้าอี้ Hi Chair ตัวอื่นก็ ใช้หลักการจากเก้าอี้ตัวนี้ เก้าอี้นี้ชื่อว่า Trip Trap ออกแบบ โดย Peter Opswick ซึ่งมันเป็นหลักการง่ายๆ มีโครงสร้าง เพลทที่นั่งสำหรับเด็ก ปรับที่นั่งสำหรับเด็กได้จากสกรู ด้านข้างเพื่อเปลี่ยนระดับ ถ้าเกิดเห็นคงนึกออก โดย หลักการคือเก้าอี้ที่โตไปกับเด็กเพราะธรรมชาติของเด็ก โตเร็วมากสักปี สองปี ขนาดร่างกายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จึง ต้องรองรับวัยเหล่านี้ให้ได้ อันนี้คือจุดแรกที่ทำให้เรารู้สึก ว่ามันคืออะไร เหมือนกับว่าเราพอจับจุดได้แนวคิดควรเน้นเรื่อง การเปลี่ยนระดับ เปลี่ยนด้วยหลักการไหนดี เพราะเรา เคยเสนอดีไซน์ที่เราคุยไปหลายแบบ บางตัวอยู่กับหลัก การเดิมด้วยการไขน๊อต หรือมีหน้าตาที่เปลี่ยนไป ทาง เขาบอกว่าขอหลักการเปลี่ยนระดับแบบใหม่ ทำให้เรา เกิดไอเดียงานนี้ คือ เราเล่นกับการเปลี่ยนระดับแบบ เรียบง่ายที่สุดคือ เราเปลี่ยนตัวแผ่นที่นั่ง หลักของการเปลี่ยน คือระดับที่นั่งของเด็กและ ผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ช่องว่างประมาณหนึ่ง ซึ่งเรา สังเคราะห์มันออกมา และพบว่าต่างกันที่ความสูงของ ที่นั่งเท่านั้น ที่นั่งเด็กมันจะสูงกว่านิดหน่อย เราเอาช่อง ว่างความสูงมาเป็นไอเดีย และหาทางให้ใช้แบบสูงก็ได้ และพลิกกลับมาเป็นความสูงมาตรฐานได้ด้วย ออกมา เป็นไอเดีย ที่ว่าเราทำเลเวลไว้หนึ่งก้อนที่เปลี่ยนระดับได้ ด้วยการพลิกมัน ทางเจ้าของชื่นชอบและยืนยันว่ายังไม่มี มาก่อน หลังจากนั้นเป็นเรื่องการทำต้นแบบและผลิต แง่คิดแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ ผมว่าในการดำรงชีวิตในฐานะนักออกแบบไม่ใช่ เรื่องง่าย เรื่องการหารายได้ มันก็ไม่สามารถมีสูตรสำเร็จ ตายตัวว่าเราจะประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ มีรายได้ ที่ตามใจเราหวัง ตรงนี้โดยส่วนตัวเราก็ผ่านปัญหาแบบนี้ เราใช้วิธี เราก็พยายามทำอย่างอื่นด้วยเพื่อรับผิดชอบ ตัวเองให้ได้ ในระหว่างที่อาชีพนักออกแบบยังอยู่ระหว่าง การพัฒนาเพื่อให้เกิดรายได้ที่เลี้ยงตัวเองได้ เราจะยังไม่ หยุดและทำต่อไป ส่วนตัวเรามองการเป็นนักออกแบบที่ เราได้ศึกษาชีวิตที่เป็นเรื่องการศึกษา เมื่อมองแบบนี้เป็น กำลังใจว่าแต่ละวันที่ทำงานเราได้ศึกษาและพัฒนาตนเอง
ทั้งความคิดและทัศนคติ มันทำให้เรารู้สึกว่าอาชีพนี้มี คุณค่าและน่าทำอยู่ ไม่ได้มีมิติว่าต้องหารายได้เพียงอย่าง เดียว เราต้องตั้งใจทำ ขอให้ฝึกฝนต่อไปอย่าหยุดเพราะ เรามองว่าอย่างน้อยก็ได้ประโยชน์ต่อตนเองว่าเราจะ เติบโตเป็นคนอย่างไรในสังคม หน้าที่ของนักออกแบบคือต้นทางของสังคมนี้ เรา เป็นคนที่จะต้องส่งผ่านทัศนคติหรือแนวคิดดีๆ ให้คนใน สังคมอีกเยอะ เป็นภาระที่ค่อนข้างใหญ่และมีความรับผิด ชอบสูง คนที่จะรับผิดชอบภาระเหล่านี้ เรามองว่าต้องเป็น คนที่ฝึกฝนมาอย่างหนัก อย่าเพิ่งท้อถอยและมองว่าเป็น หน้าที่ที่สำคัญต่อตนเองและคนอื่นๆ อีกอย่างคืองานออกแบบคืออาชีพอย่างหนึ่งของ เรา ที่ 24 ชั่วโมงเราอยู่กับการทำงาน ยกเว้นเวลานอน ดังนั้นเรารู้สึกว่าอยากให้คนทำงานออกแบบอย่ามองเป็น อาชีพเพียงเพื่อหาเลี้ยงชีพอยากให้คิดกับมันว่าเป็นวิถี ของการใช้ชีวิต เราเองก็ได้รับสิ่งเหล่านั้นจากการเป็นนัก ออกแบบ ไม่ได้ทำงานออกแบบ หมดจากงานเป็นอีกแบบ มันให้ทุกด้านของชีวิต ในการตัดสินใจต่างๆ กับทุกเรื่อง งานออกแบบคือการฝึกฝนตนเอง เรารู้สึกว่าเป็นวิธีเรียนรู้ และการใช้ชีวิต เป้าหมายในอนาคต เป้าหมายของเรามันอาจสะท้อนปัญหาของนัก ออกแบบในปัจจุบันคือรายได้ของการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ต้องการพัฒนาอาชีพของนักออกแบบให้สามารถเลี้ยง ตัวเองได้จริงๆ เพียงพอและอยู่ได้ ไม่ทำให้เราต้องเปลี่ยน เป็นอย่างอื่นเสียก่อน เป็นเป้าหมายระยะใกล้ คือเรื่อง รายได้แล้วเท่าไรจึงจะพอใจ เราหวังรวยหรือประมาณหนึ่ง เราคิดกับประเด็นนี้ว่า พอก่อนคือระดับเราสองคนอยู่ได้ เพราะเราเป็นหน่วยเล็กๆ ไม่ใช่บริษทั ใหญ่ๆ ทีม่ คี า่ ใช้จา่ ย อื่นๆ เรื่องของพนักงาน เรื่องของอะไรที่เป็นธุรกิจเต็มตัว เมื่อเราเป็นหน่วยเล็กๆ มันก็ไม่มีต้นทุนสูงมาก การที่เรา จะหารายได้หรือทำงานออกแบบเพื่อให้เกิดผลตอบแทน ที่เราพอใจคงไม่ยาก แต่หน่วยเล็กๆ ของนักออกแบบมี ที่ว่างที่อนุญาตให้ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ได้ เราจะทำ แบบนั้น รักษาพื้นที่หรือเจตนาเอาไว้แบบนี้ ไปก่อน ถ้ามันใหญ่แล้วต้องทิ้งความตั้งใจ ตรงนี้ เราก็ไม่อยาก เราจะทำไปเท่าที่ ศักยภาพเราทำได้
157
TRIMODE
Best Designer of the Year 2007 Designer of the Year 2008
ชินภาณุ อภิชาธนบดี | ภารดี เสณีวงศ์ ณ อยุธยา | พิรดา เสณีวงศ์ ณ อยุธยา Shinpanu Athichathanabadee | Paradee Senivongse na Ayudhya | Pirada Senivongse na Ayudhya
“มุมมองของแต่ละคน จะคิดไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดครีเอทีพมากขึ้น”
Trimode กลุ่มหนุ่มสาวจากรั้วมหาวิทยาลัย ศิลปากร ซึ่งเป็นเพื่อน พี่ น้อง ที่เรียนจบมาต่างสาขากัน ทั้งการออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบเครื่องประดับ แต่สามารถรวมกลุ่มกัน ได้อย่างเหนียวแน่น และใช้ “ความต่าง” สร้างความ เป็นหนึ่งได้อย่างน่าทึ่ง ก่อนจะมาเป็น Trimode ชินภานุ อธิชาธนบดี และภารดี เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เริ่มต้นสร้าง ความเชื่ อ มั่ น ที่ จ ะเดิ น ในทางสายนี้ จ ากการชนะการ ประกวดออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชิงเงินรางวัลเรือนแสน รายการหนึ่ง ซึ่งทั้งคู่สามารถฟันฝ่าสนามแข่งที่มีผู้เข้าชิง จำนวนไม่น้อย ทั้งนักศึกษาทางการออกแบบด้วยกันและ กลุ่มนักออกแบบมืออาชีพมากประสบการณ์ที่เข้าร่วมการ ชิงชัย โดยมีเงินรางวัลที่มากที่สุดในประวัติการณ์เป็นแรง จูงใจ และแน่นอน ชัยชนะครั้งนั้น นำมาซึ่งความจดจำ แก่หนุ่มสาวคู่หนึ่ง แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น และ ไม่มีสัญญาณใดเลยที่จะชี้ชัดว่า นักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ คู่นี้ จะก้าวต่อไปในวงการออกแบบได้เป็นอย่างดีอย่างที่ เห็นในปัจจุบัน 158
การเข้ามาร่วมทีมของ พิรดา แฝดผู้พี่ของภารดี หลังจากเรียนจบปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ สาขา การออกแบบเครื่องประดับที่ตนชื่นชอบ เป็นจุดเริ่มต้น ของทั้งสามคนในนาม Trimode ซึ่งเป็นชื่อที่บ่งบอกถึง ความสามารถทั้งสามอย่างเอาไว้ได้เป็นอย่างดี การที่นักออกแบบกลุ่มหนึ่ง จะอ้างตนว่ามีความ สามารถที่หลากหลาย ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ๆ ก็จะอุปโลกน์ขึ้น มาได้ง่ายๆ แม้ต่อให้ในข้อเท็จจริง จะมีใบปริญญาเป็น บัตรยืนยัน หรือมีผลงานที่เคยทำเป็นพอร์ตโฟลิโอ ผลงาน หลากหลายชิ้นที่เคยได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหลาย ประเทศต่างหากเป็นตัวประกันคุณภาพ ที่แยกระหว่าง การเป็นนักออกแบบที่มีผลงาน กับนักออกแบบที่ทำงาน ดี การทำงานที่ให้แยกกันคิดอย่างอิสระและนำผลที่ได้ เบื้องต้นกลับมาช่วยกันระดมสมอง และเติมเต็มมุมมอง จากสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน ทำให้ผลงานของ Trimode มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่พิเศษ และแฝงไปด้วยกลิ่นอาย หรือรสนิยมที่ทั้งสามคนชื่นชอบอยู่ในงานชิ้นเดียวกัน อย่ า งเช่ น ผลงานกำไลข้ อ มื อ ยางที่ น ำรู ป ทรงและ
รายละเอียดนาฬิกาดิจิตอลของ G-Shock มาออกแบบ เป็นเครื่องประดับสมัยใหม่ที่สามารถบ่งบอกถึงยุคสมัยได้ ตั้งแต่เรื่องราวไปจนถึงกระบวนการผลิต รสนิยมหรือชุมชนแบบ Trimode เป็นสิ่งที่คนทั้ง สามใฝ่ฝันถึง ว่าหากเป็นไปได้อยากจะทำให้มันเกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับวัฒนธรรม คนเมืองที่คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้เติบโตมา โดยไม่ได้หวังเป็น เรื่องใหญ่โต แต่เป็นเพียงทางเลือกเล็กๆ สำหรับสังคม เมืองอันหลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันหากเราสามารถรับเอา วัฒนธรรมจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหา นครอันซับซ้อนนี้ได้ ทำไมวัฒนธรรมหรือไลฟ์สไตล์แบบ Trimode ที่คนไทยเป็นคนรังสรรค์ขึ้น จะเบ่งบานและ งอกงามเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในสังคมแห่งนี้ไม่ได้ รวมตัวกันได้ยังไง ชินภานุ : เริ่มย้อนไปสมัยเราเรียนอยู่ปีสอง มันจะ มีงานที่ชื่อว่า Gift Festival ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนนั้นเรากับเพื่อนเลยรวมตัวกันทำโปรดักส์อะไรสักชิ้น
เพื่อจะเอามาลองขายดู อันนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการ รวมตัวกัน หลังจากนั้นเราก็เริ่มที่จะรับงานออกแบบต่างๆ และร่วมกันทำงานประกวดครับ และเหตุการณ์ดำเนิน ต่อไปจนถึงขั้นเรียนจบเราก็แยกย้ายกันไปทำงานที่ต่างๆ ผมก็ไปเรียนต่อ คือหงส์ (พิรดา) จบก่อนปีนึง หงส์ทำงาน แล้วไปเรียนต่อ ระหว่างที่หงส์เรียนต่อ ผมก็จบตามมา เริ่มรับงานและทำงานประกวด ได้ไปเข้ากับกรมส่งเสริม การส่งออกในโครงการ Young Talent Thai และจากนั้น การรวมตัวกันของกลุ่ม Trimode เกิดตอนที่หงส์กลับมา อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้อยากทำงานออกแบบ ชินภานุ : เป็นคนที่ชอบวิทยาศาสตร์ เพราะตอน เด็กๆ ชอบรื้อของ รื้อโทรทัศน์ทำให้มันเสียหาย แล้วเอา ชิ้นส่วนมาเล่นมาต่อเป็นโน่น เป็นนี่ ผมคิดว่านั้นเป็นจุด เริ่มต้นที่ทำให้ผมอยากเป็นนักออกแบบ พิรดา : จะเป็นตั้งแต่เด็กมาชอบประดิษฐ์ทำของ เล่นเอง ของใช้เอง โตมากับครอบครัวที่ชอบงานศิลปะ คุณแม่ก็มีงานอดิเรกคือชอบตัดเย็บ คุณตาเป็นแพทย์แต่ จะทำเฟอร์นิเจอร์ใช้เอง ชอบประดิษฐ์ของใช้เอง งานฝีมือ ซึมซับตรงนั้นมาก็ทำให้เราชอบไปด้วย กับหยกก็เป็น ฝาแฝดกันชอบลักษณะเดียวกัน แต่หยกจะเน้นไปทางอยู่ ในสถานที่สวยๆ ชอบตกแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ คือ จะค่อนข้างเป็นคนละแนว คือ หงส์ชอบงานฝีมือ หยกจะ เป็นในเรื่องสไตล์ สไตลิ่ง ของตกแต่งบ้าน ตอนที่เริ่มคิดว่าเริ่มจากอะไรก่อน พิรดา : จริงๆ หยกกับนิ จะรวมตัวกันก่อนเพราะ อยู่รุ่นเดียวกัน ใกล้ชิดกันมากกว่า ตอนนั้นจังหวะกลับมา ตอนที่เรียนจบ พอดีคิดว่าเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกันอยาก ทำอะไรเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์เพราะทุกคนไม่ว่ามีสาขาเอก ที่ถนัดแต่ละคน แต่ทุกคนสนใจทุกอย่างที่เกี่ยวกับงาน ออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวหงส์เองก็ชอบงานออกแบบทุก สาขา คิดว่าหากเรารวมตัวกันได้ก็น่าจะสมบูรณ์แบบ เรา ก็เริ่มจากตรงจุดนั้น ตอนแรกเราทำสิ่งที่เราถนัดก่อน ทำ ออกมาให้ดีที่สุดก่อนจากนั้นเราค่อยข้ามไปสายอื่น เรียนมาคนละสาย การคิดงานของ Trimode คิดร่วมกัน อย่างไร ปกติจะแยกกันไปคิดก่อนแล้วค่อยกลับมาเบรน สตอร์มร่วมกันเพราะว่าการเบรนสตอร์มมันดีตรงที่เวลา เราเรียนสายไหนมันจะมีความเข้าใจในสายนั้นอย่างลึกซึ้ง เวลาคิดข้ามสาย มุมมองของแต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดครีเอทีฟมากขึ้น
เท่าไหร่ อันนี้เป็นพื้นฐานของแต่ละโปรเจ็คท์ จากนั้นจะ นำส่วนนี้มาลองทำดู สไตล์ของงานจะออกมาเป็นยังไง จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการออกแบบ จะใช้ข้อมูลหลายๆ ส่วน จากที่ผมบอก และเมื่อได้ขั้นตอนการออกแบบก็เป็น การดีเวลอปงานของ Trimode ชอบการดีเวลอปและ เอ็กซ์เพอริเมนทอลมากกว่า ขั้นตอนที่จะลงมือ มาจาก ไอเดียเริ่มต้น ขั้นตอนการผลิตว่าอะไรเป็นหลัก พิรดา : เริ่มจากไอเดียและคอนเซ็ปท์ก่อน เริ่มจาก การหาแรงบันดาลใจว่าจะทำอะไร เจอแนวคิดอะไรใหม่ เป็นตัวหลัก ที่เกี่ยวข้องกับอะไร ต่างกับนิก หงส์มองด้าน เทคนิคว่าจะเอาลูกเล่นอะไรมาใช้เป็นกิมมิคหรือลูกเล่น ในงาน ในคอลเลคชั่นใหม่ที่จะทำนี้ ก็จะมาคุยกับทาง กลุ่ม ทุกคนจะช่วยกันเบรนสตอร์มมองกันว่าภาพรวมมัน ควรจะไปทิศทางไหน จากนั้นทำมู๊ด ทำธีมก่อน แล้วหา ว่ามีอะไรมาใช้บ้าง และก็สเก็ตช์ดีไซน์ขึ้นมา เทคนิค แล้ว ค่อยเป็นดีไซน์ ผลงานใดของ Trimode ที่คิดว่าประสบความสำเร็จ ชิ้นที่ประสบความสำเร็จก็มีหลายตัว ขอยก ตัวอย่างว่าเราใช้เอ็กซ์เพอริเมนทอลออกมาให้เหมือนที่ คำถามว่าออกมาเป็นภาพ คืองานเหล็กของเราก็มีหลาย คนทีท่ ำ แต่เราคิดในส่วนทีก่ ารทีเ่ หล็กบิดตัวได้เหมือนการ ตั้งเสา หากใช้คานที่มีการยืดหยุ่น หากเราตั้งเสาห่างกัน คานก็ยืดได้สูง ตั้งเสาแคบคานก็ยืดได้แคบ ส่วนนี้เราก็นำ ตรงนี้มาใช้งานออกแบบเก้าอี้ที่ชื่อว่า กู่ เหมือนเราคิดเรื่อง ระยะห่างกำลังดีที่ยืดหดได้ เหล็กเป็นวัสดุที่มีความแข็งแต่ เราจะทำอย่างไรให้รู้สึกแอ็บซอร์บกับคนได้ก็มีการทดลอง ถ้าในงานจิวเวลรี่ มีสองผลงานที่แตกต่างกัน แต่ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน เป็นการเดินทางของการทำงานการ ออกแบบเครื่องประดับก็คือ พอเรียนจบก็มีคอลเลคชั่น ที่ชื่อ มาลัย มันเป็นจุดเริ่มต้นการรวมตัวของ Trimode มันเป็นการพัฒนาต่อการเรียนปริญญาโท เป็นจิวเวลรี่ที่ เป็นอาร์ต แอนด์ คราฟท์ มีเทคโนโลยีผสมเล็กน้อย มัน เป็นอะไรที่เริ่มจากแนวความคิด เทคนิคที่เราคิดมาใหม่ เอง และเกิดเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับงาน แฮนดิคราฟท์ ซึ่งตรงนั้นคือเป็นอะไรที่เราต้องการทำจริง แต่พอมาทำงานมีปัจจัยต่างๆ เช่นด้านการตลาดหรืออะไร ที่มันอยู่ในระบบการทำงานมาเกี่ยวข้องทำให้เราต้อง ปรับตัวในการทำงานพอสมควร และคอลเลคชั่นที่ได้รับ ความภูมิใจกับมันคือคอลเลคชั่นที่ชื่อ slide ring คือเรา ปรับตัวจากงานคราฟท์มาเป็นงานดีไซน์ที่อยู่ตรงกลาง ระหว่างดีไซน์ แฟชั่น และคราฟท์
คิดว่าเส้นทางนักออกแบบไทยเป็นอย่างไร หากเทียบกับต่างชาติ อุตสาหกรรมเป็นตัวขับ เคลื่อนงานดีไซน์อยู่แล้ว คือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม เขาต้องการดีไซน์มาผลักดันอุตสาหกรรมของเขา แต่ กระบวนการออกแบบของ Trimode อย่างบ้านเราอุตสาหกรรมยังไม่แกร่งเท่าต่างประเทศ เรา ชินภานุ : เริ่มจากไดเร็คชั่นก่อนว่าโปรดักท์คืออะไร ต้องใช้วัสดุและเทคนิคที่เราถนัด โดยใช้ดีไซน์ที่เป็นตัว มีทาร์เก็ทแบบไหน ต้องมีการลงทุนหรือบัดเจ็ทอะไร ขับเคลื่อนให้มีแรงมากขึ้น ใครเป็นผู้นำทางความคิด แต่ละคน ใครเริ่มคิดก็เป็นคนนั้น
159
ความสนใจอื่นๆ ที่อยากทำ เราถือว่าเติบโตเร็วเหมือนกัน พยายามไม่หยุดนิ่ง และสิ่งที่เราสนในและอยากทำต่อไปคือไลฟ์สไตล์และ ต้องทำให้ได้ คือเราอยากเป็นวงจรของการใช้ชีวิตของคน หนึ่งคน ต้องมีสถานที่เครื่องแต่งกายมีสังคม มีที่ที่ต้องไป เราอยากให้ความเป็น Trimode สอดแทรกอยู่ในทุกๆ อย่างที่คนนั้นดำเนินชีวิตไป เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเริ่มจาก เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ โปรดักท์ดีไซน์ จิวเวลรี่ดีไซน์ อีกหน่อย มีการเติมความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองอย่างไร อาจจะมี แฟชั่นมาเกี่ยวข้อง อาจมีไลฟ์สไตล์อย่างร้าน เราอ่านหนังสือเยอะๆ ไปในที่ที่เราไม่เคยไป เช่น อาหารหรือทำอะไรขึ้นมาเป็น ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ต่างประเทศ ได้อะไรเยอะมากเห็นผู้คนได้สัมผัสบรรยากาศ คาเฟ่หรือโรงแรมเล็กๆ ที่ทุกคนเข้ามาจะเห็นบรรยากาศ ที่เปลี่ยนไป บางทีมันต่อเติมแรงบันดาลใจให้กับงาน แต่บรรยากาศนั้นเราไม่พยายามลด แต่หลากหลาย คน หลายบุ ค ลิ ก หลายสไตล์ ส ามารถมาส่ ง เสริ ม ความเป็ น ดึงความเป็นตัวตนของเอเชีย หรือภูมิปัญญามาใช้กับงาน Trimode ได้ หรือเปล่า ปกติเราไม่ต้องดึงครับ เพราะว่าเหมือนกับว่า เรา ความเป็นกลุ่มก้อนทำให้เราแตกต่างจากนักออกแบบที่ พยายามคุยกันและหาข้อสรุปตรงนี้ มันเกิดคำพูดที่ว่า เป็นส่วนบุคคล อะไรคือความเป็นไทย เราไม่ค่อยสน เราใช้นิยามตัวเอง คือเรามีจุดยืนร่วมกันและต่างกัน แต่พยายามเอา ว่าเมื่อเราเกิดเมืองไทยเรามีความเป็นเอเชียอยู่แล้ว มันจะ มาร่วมกันตรงจุดเริ่มต้นที่เราเห็นร่วมกันมันเหมือนการ ซึมซับอัตโนมัติเราไม่ต้องยัดเยียดความเป็นไทยในงาน ผสมผสานได้อะไรที่ค่อนข้างแปลกและชัดเจนในความ แต่ตอนที่เราต้องการเสนอความเป็นตัวของเราเอง ความ เป็น Trimode เป็นไทยจะสอดแทรกอยู่ มีหลายแบบมาก เช่น แฮนดิ คราฟท์ โฟล์คอาร์ต หรือความเป็นไทยที่ประยุกต์ต่างๆ เมื่อไม่ได้ทำงานคนเดียว การตัดสินใจจึงเป็นเรื่องยาก มันจะเกิด แต่ละคนไม่เหมือนกัน อยูแ่ ต่ละทีก่ ไ็ ม่เหมือนกัน มีวิธีหาบทสรุปของมันอย่างไร วันนี้เราหาข้อสรุปของเราคือ เราอยู่กรุงเทพทำให้เรารับ มันต้องซื่อสัตย์กับสิ่งที่เราคิดก่อน สิ่งที่เราคิดหรือ วัฒนธรรมที่หลากหลายมา ก็มีการผสมผสานกัน งานเรา คนอื่นคิด ทุกคนต้องเท่าเทียมกันและในที่สุดความเห็น จะไม่เป็นไทยจ๋า ของทุกคนมันจะออกมาเองเป็นตามธรรมชาติถ้างานมันใช่ เหมือนกับว่าความเป็นไทยมันเป็น DNA ของทุก คนที่เกิดมาในเอเชีย หรือในประเทศไทยเพียงแต่เขาถูก อนาคต หล่อหลอมในสถานที่แบบไหน เช่นเป็นคนไทยโตเมือง อีกสิบปีข้างหน้า Trimode จะพยายามทำอะไรที่ นอก โตกรุงเทพ โตภาคใต้ โตภาคเหนือ ทุกคนมี เป็นสังคมเล็กๆ ใครชอบสไตล์เดียวกับเราหรือมีบุคลิก ลายเซ็นต์เอกลักษณ์ในตนเองที่ไม่เหมือนกัน นิสัยใจคอ เดียวกันอยากนำมาแชร์ เราจะพยายามทำให้เป็น Trimode ก็ไม่เหมือนกันแล้วเชื่อว่าทุกอย่างออกมาในบุคลิกของ cafe หรือสไตล์ Trimode ตามที่คนเหล่านี้ชอบ มีช็อป งานอยู่แล้ว ที่มีของที่คนชอบแบบเดียวกับเรา เรามองว่าในเมืองไทย ตลาด ร้านอาหารสถานที่ มันยังไม่กว้างมาก มันยังมี Trimode แสดงงานต่างประเทศบ่อยมาก มี คอมเมนท์จาก ช่องว่าง คนที่ชื่นชอบงานดีไซน์ต้องวิ่งไปที่ไหน ยังไงเรา ก็มองว่าเราอยากทำ นำเสนองานดีไซน์รูปแบบหนึ่งที่พวก นักออกแบบหรือผู้ชมต่างชาติเขาสนใจงานเราแง่ไหน เขาสนใจงานเราด้านการทดลอง เวลาเห็นงานเรา เราชอบ ไม่ว่าเป็นร้านอาหารแบบนี้ เสื้อผ้าแบบนี้ ว่าการ แล้วคิดได้อกี หลายแบบ อาจคิดไม่ตรงกับทีเ่ ราคิด ส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตแบบนี้ขึ้นมา มีสเปซให้คนที่ชอบแบบเดียวกับเรา สนใจในแง่เทคนิค เข้ามาแชร์ หาของแต่งบ้านหรือของแต่งตัว ในแบบที่เรา ชอบเหมือนๆ กัน ในบทนี้คือการนำดีไซน์เข้าไปมีส่วน ร่วมในชีวิตคน เรามองว่าอยากให้คนไทยมีดีไซน์เป็นตัว ขับเคลื่อนชีวิตประจำวันของเขามากขึ้น ค่อนข้างมั่นใจในศักยภาพนักออกแบบไทย หาก มองรุ่นพี่ รุ่นเพื่อน และจากประสบการณ์ที่มีเพื่อนเป็น นักออกแบบต่างประเทศ ได้เรียนต่างประเทศก็ค่อนข้าง มั่นใจว่านักออกแบบไทยมีฝีมือบางที่เก่งกว่านักออกแบบ ต่างประเทศด้วยซ้ำไป แต่ที่นี้ก็ขาดปัจจัยหลายๆ อย่าง ของโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมหรือเอาตัวเองเข้าไป อยู่ให้ถูกที่ถูกเวลามากกว่า
160
161
Yenn Design
Emerging Award 2008
ดุลยพล ศรีจันทร์ | ศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ | วรรัตน พัวไพโรจน์ Doonyapol Srichan | Sirilak Mahajantanaporn | Wararat Puapairoj
“จุดมุ่งหมายของเรา เพื่อที่จะดึงสิ่งที่มันขาดหาย ไปจากชีวิตประจำวัน ของคนทั่วไป หรือสิ่งที่ผู้คนได้ลืมไปแล้ว กลับมาโดยผ่านชิ้นงาน”
นักออกแบบสามคน ซึ่งมีพื้นฐานการออกแบบที่ แตกต่างกัน คนหนึ่งมาจากสายงานทางกราฟฟิคดีไซน์ คนหนึง่ มาจากสายงานทางตกแต่งภายใน และอีกคนหนึง่ เรียนจบโดยตรงมาทางการออกแบบอุตสาหกรรม แต่สิ่ง ที่เชื่อมโยงคนทั้งสามไว้ได้คืองานออกแบบผลิตภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์ ศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ วรรัตน์ พัวไพโรจน์ และ ดุลยพล ศรีจันทร์ คือสามนักออกแบบแห่ง Yenn Design ที่เป็นกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ฝากผลงานไว้ กับหลายแห่ง ก่อนจะมารวมตัวกัน และแห่งหนึ่งที่ทั้งสาม คนโคจรมาพบกันและเป็นจุดเริ่มต้นของ Yenn Design คือ บริษัท โยธกา อินเตอร์เนชั่นแนล ของคุณสุวรรณ คงขุนเทียน แม้นักออกแบบทั้งสามจะเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักมาก่อนด้วยงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แต่งานของ Yenn Design ก็ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เฟอร์นิเจอร์เท่านั้น งานออกแบบใดๆ ก็ตามที่บ่งบอกลักษณะ Cool หรือ 162
เย็นๆ น่าจะเป็นนิยามของคนกลุ่มนี้ได้หมด สิ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีของนักออกแบบรุ่นใหม่กลุ่ม นี้ นอกจากฝีมือระดับมือรางวัลทั้งในและต่างประเทศ ที่ ได้รับมาอย่างหลากหลาย ความตั้งใจที่จะยืนอยู่ได้ใน วิชาชีพ และความมุ่งมั่นในการออกไปหาประสบการณ์ใน ระดับนานาชาติ ถือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม Yenn Design ถือ เป็นกลุ่มนักออกแบบหัวหอก ที่ออกไปแสดงผลงานใน ต่างประเทศ เทียบเคียงกับนักออกแบบรุ่นใหม่ในโลก แค่การที่มีฝีมือที่ดี และการได้รับการสนับสนุน จากทางภาครัฐ จะเป็นข้อได้เปรียบกว่านักออกแบบ หลายๆ คนในรุ่นราวคราวเดียวกัน หากคงยังไม่เพียงพอ เพราะความจริงที่ว่า ค่าใช้จ่ายอีกกว่าครึ่ง Yenn Design ต้องสามารถหามาสนับสนุนตัวเองให้ได้ ทุกครั้งที่ออกไป ลุยในฐานะทีมชาติไทย และการหาค่าใช้จ่ายส่วนต่างมา เพิ่มเติมนั้น เป็นตัวชี้วัดความตั้งใจจริงของนักออกแบบ แต่ละคน
อะไรเป็นเสน่ห์ของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่คน ทั้งสามหลงใหล อะไรคือที่เป็นเหตุของความมุ่งมั่นที่จะ ยืนหยัดในวิชาชีพที่ไม่ได้ประกันถึงรายได้อันงดงามนี้ ร่วมพูดคุยไปกับพวกเขา นักออกแบบจาก Yenn Design อะไรทำให้สนใจมาทำงานทางนี้ ศิริลักษณ์ : ตอนเรียนกราฟฟิกดีไซน์เมื่อจบมา คิดว่าทำไมเราทำงานได้แต่งานสองมิติหรืองานด้านภาพ อย่างเดียว จึงคิดว่าเราน่าทำอะไรที่เป็นสามมิติได้ แล้วก็ มีขอบข่ายในการทำงานมากขึ้น ทำแล้วสนุกขึ้น คิดงาน แล้วทำให้มันเป็นจริงได้ วรรัตน์ : อย่างผมตอนที่เรียนอินทีเรีย สมัยเรียน มีความรู้สึกว่าชอบพวกอ็อปเจ็คท์เล็กๆ ที่อยู่ในอินทีเรีย ซึ่งเป็นสาขาที่ประกอบด้วยพื้น ผนัง เพดาน พวก เฟอร์นิเจอร์หรือแจกันเป็นสิ่งที่ทำให้ห้องๆ นั้นมีชีวิตชีวา ผมให้ความสนใจมันเป็นพิเศษซึ่งคนอื่นอาจให้ความสำคัญ
กั บ การเขี ย นแบบดี เ ทลแต่ ผ มจะนั่ ง สเก็ ท ช์ ว่ า ห้ อ งนี้ เหมาะกับเฟอร์นิเจอร์แบบไหน ซึ่งคนอื่นอาจเลือกจาก แคตตาล็อกซึ่งเราก็คิดว่าเราอาจจะสนใจงานก็ได้ เมื่อ จบงานก็ไปดูงานตามที่ต่างๆ และประกวดงาน จึงมีความ สนใจในเฟอร์นิเจอร์และโปรดักท์ ลักษณะงานก่อนที่จะมารวมเป็น Yenn Design ศิริลักษณ์ : ก่อนที่จะเป็น Yenn Design ก็ทำ ออกแบบสินค้ามาขายก่อนตั้งแต่การ์ดอวยพรเล็กๆ ที่พับ เป็นสามมิติได้ แล้วก็มีเพื่อนสอน เพราะว่าไม่ได้เรียน โปรดักท์ แต่มีเพื่อนเรียน I.D. อยู่แล้ว จึงเรียนรู้จากเพื่อน และผู้มีประสบการณ์หลายๆ คน ทำให้สามารถทำงาน โปรดักท์ที่เป็นอินดัสเทรียลดีไซน์ได้ วรรัตน์ : สำหรับผม จบมาก็มีโอกาสได้ทำอินทีเรีย ช่วงที่ทำอินทีเรีย มีลูกค้าท่านหนึ่งให้ออกแบบโต๊ะจึงใช้ โอกาสนี้ เพราะเราอยากทำเฟอร์นิเจอร์ หากออกแบบโต๊ะ สักตัวต้องมีวิธีทำอะไรบ้าง ผมได้เรียนรู้งานเฟอร์นิเจอร์ จากโต๊ะและเก้าอี้ จากงานที่ทำครั้งนั้น ไปๆ มาๆ กลาย เป็นว่าตอนนี้ไม่ค่อยได้ทำอินทีเรียแล้วไปทำเฟอร์นิเจอร์ Yenn สื่อสารอะไร งานของ Yenn Design จุดมุ่งหมายของเราเพื่อ ที่จะดึงสิ่งที่มันขาดหายไปจากชีวิตประจำวันของคนทั่วไป หรือสิ่งที่ผู้คนได้ลืมไปแล้วเช่นความทรงจำในวัยเด็ก ความ สวยงามของธรรมชาติ เนื่องจากโลกหมุนเร็ว คนลืมตัวเอง ตอนเด็กๆ เป็นอย่างไรอยู่ที่ไหนมา เราก็พยายามรวบรวม เรื่องราวเหล่านี้เข้าสู่ความทรงจำของเขาผ่านชิ้นงาน งานของเราพยายามมองสิ่งที่คนมองข้ามหรือมอง เลยไป หรือรีบจนกระทั่งไม่ทันสังเกต แล้วจับเอาสิ่งเหล่านี้ ทีเ่ ราเห็นเพราะช้าลงหน่อยหนึง่ ความสวยงามของสิง่ ของ ความรู้สึกสบายๆ มันไม่ได้พูดถึงความงามอย่างเดียว แต่ เป็นอะไรหลายๆ อย่าง กับสิ่งที่สัมผัสด้วยประสาทสัมผัส แล้วแปลงออกมาเป็นงาน การทำงานร่วมกัน รู้แต่ว่ามีสองคนแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน คุณศิริลักษ์ถนัดกราฟฟิกของชิ้นงานต่างๆ มีความสามารถ ในเรื่องดูภาพรวม เรื่องสัดส่วนเป็นเรื่องของคุณวรรัตน์ เมื่อเรานำมารวมกันก็เหมือนติดอาวุธคนหนึ่งเป็นระเบิด คนหนึ่งเป็นปืน หน้าที่มันส่งเสริมกันและกัน ผมว่าถ้า เกิดว่าเรารวมความสามารถของแต่ละคนแล้วเปิดใจฟัง ในมุมมองที่เราไม่รู้มาก่อนผมว่าทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้เรียนมาตรงสายเสียเปรียบไหม อุปสรรคของเราคือทำในขั้นแรกได้ช้ากว่าคนที่ จบมาโดยตรง ของนี้ใช้วัสดุอะไร แต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสีย อย่างไร เราต้องมาเรียนรู้จากชิ้นงานจริง บางคนเรียน มา ได้อ่านหรือฟังจากตำรา แต่อาจไม่ได้ทดลองจริงๆ แต่เราเข้าไปคลุกคลีกับมัน ใช้เวลาหน่อย การเรียนด้วย ประสบการณ์ตรงให้อะไรมากกว่าตำรา 163
164
ข้อดีของคนที่ไม่จบโดยตรง เวลาถามแล้วไม่เขิน เพราะไม่รู้อะไรก็ถามเลยฟังดูโง่ๆ แต่ก็ไม่เขินอะไร เพราะ ไม่รู้เลยถาม ทั้งช่างที่โรงงาน วิศวกร เพื่อนที่จบ I.D. โดย ตรงหรือสาขาต่างๆ หลายๆ แบบ เขาเต็มใจตอบเราเต็มที่ เพราะเห็นว่าเราไม่รู้อะไรเลย แล้วเราก็ค่อยสะสมความรู้ จากคำตอบที่ได้รับ เพราะการไม่รู้ เลยไม่กลัวอะไรเลยใน การทำงาน เวลาจะทำก็ทำแบบทำไปก่อน พอโดนคำตอบ ว่าทำไม่ได้ตรงไหนก็แก้ไปทีละอย่าง เป็นข้อเสียที่งาน ออกมาช้า แต่ข้อดีคือเกิดความแปลกใหม่ เกิดการทดลอง เพราะว่าคนที่ทำรู้สึกสนุก ทำไปเหมือนเรียนรู้ไปด้วย เรารู้ สึ ก ดี ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ จ ากคนที่ เ ราทำงานด้ ว ย สมมุติว่าเรารู้อยู่แล้ว เคยเรียนมาแล้ว เราอาจเขียนแบบ แล้วยื่นให้เขา เขาอาจเป็นเพียงช่างไม้ เราก็เป็นแค่คนสั่ง แต่เมื่อเราไม่รู้ก็ไปถามช่างเขา ช่างอาจเป็นพี่ที่เราสนิท คุ้นเคย พอทำงานด้วยกันมากๆ การที่ทำให้เรามาเรียนรู้ กันและกัน คนเรามีปฏิสัมพันธ์ผมว่าดีนะไม่งั้นเหมือนกด คำสั่งในคอมพิวเตอร์แล้วเป็นชิ้นงาน เป็นการทำงานคน เดียว คงจะเหงาไปหน่อย งานออกแบบของ Yenn บอกอะไรแก่ผู้ใช้ จริงๆ ชื่อก็บอกแล้วว่า Yenn Design ทีนี้ทุกคน รู้สึกถึงคำนี้ได้ทุกคนว่าเย็นๆ หลังจากทำงานแล้วมานั่ง พักผ่อนช้าๆ อุณหภูมิของห้องที่เย็นสบาย ใครๆ ก็รับรู้ แล้วสินค้าที่ออกไปแล้วคนมองก็รู้สึกคนใช้ก็จะเห็นเลย ไม่ได้จำกัดกลุ่มว่าต้องเป็นกลุ่มไหน
165
กรรมการตัดสิน 2547-2552 JURY COMMITTEE 2004-2009
ผศ.ถาวร โกอุดมวิทย์ (2004) Asst.Prof. Thavorn Ko-Udomvit ผศ.วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน (2004/2007) Asst.Prof. Watanapun Krutasaen คุณบรรณนาท ไชยพาน (2004) Mr. Bannanat Chaiyaparn คุณอัฏฐพร ทิชินพงศ์ (2004/2007/2009) Mr. Attaporn Tichinpong คุณประธาน ธีระธาดา (2004/2005/2007/2008) Mr. Pratarn Teeratada Mr. Enrico Fagone (2004) Prof. Shiro Takahashi (2004/2005) คุณขวัญชัย อธิคมรังสฤษฎ์ (2005) Mr. Kwanchai Atikomrungsarit คุณใจรัก จันทร์สิน (2005) Ms. Jairak Chansin คุณวิรัตน์ รัตนากร (2005/2008) Mr. Virath Rattanakorn คุณสำเริง ฤทธิ์พริ้ง (2005) Mr. Samrerng Rithpring คุณประพันธ์ ประภาสะวัต (2005) Mr. Praphan Prapasawat คุณชาตรี ชลประเสริฐสุข (2005) Mr. Chatree Cholprasertsuk คุณกฤษณพงศ์ เกียรติศักดิ์ (2005/2007/2008) Mr. Kritsanapong Kiattisak คุณชาตรี มรรคา (2005) Mr. Chatree Makkha คุณวรรธนพจน์ บุญกว้างอนันต์ (2005) Mr. Wattanapoth Boonkwanganan ศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ นาคบัว (2005/2007) Prof. Sermsak Nakbua
166
ผศ.โสมภาณี ศรีสุวรรณ (2005) Asst. Prof. Sompanee Srisuwan
รศ. เอกชาติ จันอุไรรัตน์ (2007/2008/2009) Assoc. Prof. Eakachat Joenurairatana
คุณสมประสงค์ พระสุจันทรทิพย์ (2008) Mr. Somprasong Prasuchantaratip
คุณเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ (2005) Mr. Seaksan Tanyapirom
ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล (2007/2008) Mrs. Namfom Laistrooglai (Ph.D.)
คุณวัชรัตน์ สมัครคามัย (2008) Mr. Watcharat Samakkamai
คุณสุวรรณ คงขุนเทียน (2005/2007/2009) Mr. Suwan Kongkhuntian
คุณสุพัตรา ศรีสุข (2007/2008/2009) Mrs. Supatra Srisook
ผศ.ดร.จิรวัฒน์ วงศ์พันธุเศรษฐ์ (2008/2009) Asst.Prof.Jirawat Vongphantuset (Ph.D.)
คุณสักกฉัฐ ศิวะบวร (2005/2007/2008/2009) Mr. Sakkachad Siwabaworn
คุณพรพิไล มีมาลัย (2007) Mrs. Pornpilai Zou Meemalai
คุณเอกพงษ์ ตรีตรง (2008) Mr. Akekapong Tritrong
คุณคณิต เสตะรุจิ (2005/2008) Mr. Kanit Setharuji
คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค (2007/2008/2009) Mr. Duangrit Bunnag
ผศ.เทิดศักดิ์ เหล็กดี (2008) Asst. Prof. Terdsak Lakedee
คุณอุดม อุดมศรีอนันต์ (2005/2008) Mr. Udom Udomsrianan
คุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล (2007) Mrs. Vipavadee Patpongpibul
คุณนิธิ สถาปิตานนท์ (2008/2009) Mr. Nithi Sthapitanonda
หม่อมหลวงภาวินี สันติศิริ (2005/2008) M.L. Pawinee Santhisiri
คุณชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์ (2007/2008/2009) คุณเมธินี สุวรรณะบุณย์ (2008/2009) Mr. Chookiat Likitpunyarut Mrs. Methinee Suwannaboon
คุณวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร (2005) Mr. Vijit Apichartkriangkrai
คุณสาธิต กาลวันตวานิช (2007) Mr. Satit Kalawantavanich
คุณพันธ์พิไล ใบหยก (2008) Ms. Panpilai Baiyoke
คุณต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ (2005) Mr. torwong Puipantawong
คุณสมชาย จงแสง (2007/2008) Mr. Somchai Jongsaeng
คุณไชยยง รัตนอังกูร (2009) Mr. Chaiyong Rattanangkura
คุณจิตสิงห์ สมบุญ (2005) Mr. Jitsingha Sombun
รศ. พิศประไพ สาระศาลิน (2008/2009) Assoc. Prof. Pisprapai Sarasalin
คุณกิตติรัตน์ ปิติพานิช (2009) Mr. Kittirat Pitipanich
คุณรุ่งวิทย์ ลัคนทิน (2005) Mr. Rungwit Lakkhanatin
รศ. บุญสนอง รัตนสุนทรากุล (2008/2009) Assoc. Prof. Boonsanong Ratanasoontragul
หม่อมหลวงภาสกร อาภากร (2009) M.L. Passakorn Apakorn
ผศ.พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร (2005) Asst. Prof. Pongsak Arayangkul
หม่อมหลวงคฑาทอง ทองใหญ่ (2008) M.L. Kathathong Thongyai
คุณจุฬาทิพย์ อินทราไสย (2009) Ms. Jurathip Intrasai
คุณชัย เจียมอมรรัตน์ (2005) Mr. Chai Cheamamornrath
คุณขวัญชัย ผลชีวิน (2008) Mr. Kwanchai Phalajivin
คุณสมัชชา วิราพร (2009) Mr. Samutcha Wiraporn
ดร.อภิญญา บุญประกอบ (2005/2008) Ms. Apinya Boonprakob (Ph.D.)
ผศ. นพปฎล สุวัจนานนท์ (2008) Asst. Prof. Nobpadol Suwachananonda
คุณณฤต เลิศอุตสาหกูล (2009) Mr. Narita Lert-utsahakul
คุณรสชง ไตรสุริยยธรรมา (2005) Mrs. Roschong Trisuriyathamma
คุณอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล (2008/2009) Mr. Apisit Liastrooglai
ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ (2009) Mr. Veerawat Sirivesmas (Ph.D.)
Dr.Collin Gale (2005)
คุณรังสิมา กสิกรานันท์ (2008) Mrs. Rungsima Kasikranund
คุณอัครเดช พันธิสุนทร (2009) Mr. Akaradej Pantisoonthorn
Prof. Luca Buttafava (2005)
คุณนวลวรรณ สุพฤฒิพานิชย์ (2008) Ms. Nuanwan Suprutpanich 167
www.thaidesignerawards.com
168