Faculty Show 2011

Page 1



นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2554 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 15-30 กันยายน 2554

The Exhibition of Art and Design by Faculty of Decorative Arts Members on the Occasion of Silpa Bhirasri Day, 15 September 2011 at The Gallery of Art and Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Wang Tha Phra 15-30 September 2011

1


คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถาบันหลักในการจัดตั้งสถาบันพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาการออกแบบ (Creative Academy : Design) ตามนโยบายของรัฐบาล ในหัวข้อเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ เพื่อเป็นทิศทางหลักการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมาได้แถลงพันธสัญญาของ รัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังนี้ 1. เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในภูมิภาคอาเซียน (Creative indus trial Hub of ASEAN) 2. เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จากร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติเป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2555 การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ รวมทั้ง ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการ สร้างองค์ ความรู้เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมีผู้แทนจากภาคการศึกษาภาครัฐ และภาคธุรกิจ เป็นอนุกรรมการ และมี นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีหน้าที่ผลักดัน ให้เกิดการบ่มเพาะความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงองค์ความรู้ จากภาคการศึกษาสู่งภาคธุรกิจ และเอกชน โดยมีภาครัฐเป็นผู้ผลักดันและสนับสนุนการผลักดันต่อยอดองค์ความรู้ แนะนำกระบวนการต่อยอดทาง ธุรกิจด้านการสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และที่สำคัญคือ การจัดตั้งสถาบันพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Academy) โดยการคัดเลือกสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ใน 15 สาขาอุตสาหกรรม ทั้งนี้สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับเลือกดังกล่าว จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นไปตามพันธสัญญาที่รัฐบาลประกาศไว้ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ได้แก่ พันธสัญญา ข้อ 4 เพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ในหลักสูตรการเรียน การสอน จัดให้มีวิชาเรียนตำราเรียน เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างรากฐานด้านความคิดสร้างสรรค์ให้กับระบบการศึกษาไทย พันธสัญญาข้อที่ 5 สนับสนุนทักษะช่างเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบดีไซน์ ศิลปะแขนงต่างๆ และรวมทั้งเพิ่มจำนวนบุคลากรและ กำลังคนที่มีขีดความสามารถในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพันธสัญญาข้อที่ 6 ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับ ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ภายในพื้นที่โดยการต่อยอดภูมิปัญญาไทย

2


ในโอกาสวันศิลป์ พีระศรี เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง งานศิลปะ การออกแบบโดยกลุ่มศิลปินและนักออกแบบ ได้รวมตัวกันสร้างสรรค์ผลงาน มอบแด่ ผู้มีคุณูปการต่อสถาบันอย่างต่อเนื่อง แสดบทบาทถึงความก้าวหน้า ในวิชาชีพที่ได้ พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อนำพาวงการงานวิชาการให้เจริญเติบโต และเป็นที่ประจักษ์ ในสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ซึ่งท่านพระยาอนุมานราชธนได้กำเนิดชื่อนี้ แก่ความเป็น อัตลักษณ์ต่อวงการมัณฑนากรของคนไทย ในความประณีตที่สืบต่อกันมายาวนานกว่า ครึ่งศตวรรษและเป็นต้นกำเนิดสายน้ำแห่งสถาบันต่างๆจนปัจจุบัน วาระครบรอบห้าสิบห้าปีมัณฑนศิลป์นี้ พวกเราเหล่าบรรดาศิลปินและ นักออกแบบ ได้ขอใช้วาระนี้แสดงถึงพลังสร้างสรรค์ พร้อมทั้งศักดิ์ศรีและความเคารพ แด่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้ง ดังผลงานที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน มา ณ โอกาสนี้อีกวาระหนึ่ง

รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร

3


รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ ชื่อผลงาน • เก้าอี้ผู้บริหาร Executive Chair

4

เก้าอี้ผู้บริหารดูเหมือนจะหอมหวาน สดใส สีแดง น่านั่ง แต่อีกนัยยะหนึ่งได้ซ่อนเร้น ความเป็นกับดักอยู่ในกรง 30 x 30 x 20 ซ.ม.


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทิดศักดิ์ เหล็กดี ความคิด - ความฝัน - ความจริง เป็นสิ่งไม่แน่นอน 80 x 100 ซ.ม. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ

ชื่อผลงาน • ตัวกากกับปราสาทสัจธรรม

5


ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยูร โมสิกรัตน์ ชื่อผลงาน • สังคมไทยกลางศตวรรษที่ 21 Thai Society in early 21st Century

6

นำเหตุการณ์ความแตกแยกที่เป็นฝักเป็นฝ่ายของผู้คน ในสังคมไทยในช่วงกลางศตวรรษนี้ (พ.ศ. 2547-2554) มาแปรรูปเป็นงานศิลปะ โดยอาศัยรูปลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ตามแนวคิดของคนโบราณ การใช้วัสดุและสีเป็นตัวแทนของ กลุ่มชน การแสดงออกของกลุ่มชนได้ใช้ลีลาและรูปแบบตาม ภาพพจน์และพฤติกรรมของชนกลุ่มหนึ่ง 120 x 165 ซ.ม. เทคนิค ผสม


1

2

4

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ

ชื่อผลงาน 1 • เสือเผ่น (Leaf Tiger) ขนาด 80 x 120 ซ.ม. เทคนิค ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ซีเมนต์บนกระดาษสี • จากงานวิจัยปี 2552 ใช้เทคนิคซีเมนต์หล่อแม่พิมพ์จาก แม่พิมพ์แกะไม้ แล้วพิมพ์งานบนกระดาษสี ด้วยการกดช้อน หรือขวดแก้ว เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ ในการรับรู้ ‘เสือ’ ให้เข้าถึงความร่วมสมัยของลวดลายสัก ที่สะท้อน ความเชื่อ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ในปัจจุบัน ชื่อผลงาน 2 • คาบดาบ (Lick Sword) ขนาด 80 x 120 ซ.ม. เทคนิค ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ซีเมนต์บนกระดาษสี • จากงานวิจัยปี 2552 ใช้เทคนิคแม่พิมพ์ซีเมนต์โดยหล่อ จากแม่พิมพ์แกะไม้แล้วพิมพ์งานด้วยการกดช้อน ซึ่งเป็น การสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับรู้ ‘เสือ’ ให้เข้าถึงความ ร่วมสมัยด้านความเชื่อในปัจจุบัน โดยสื่อด้วยเสือคาบดาบ ปลายปืน ที่เป็นเทคนิคจากภาพโดยแม่พิมพ์ซีเมนต์

3

5

ชื่อผลงาน 3 • เสือดาว (Star-Tiger) ขนาด 80 x 120 ซ.ม. เทคนิค ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ซีเมนต์บนกระดาษสี • จากงานวิจัยปี 2552 ใช้เทคนิคซีเมนต์หล่อแม่พิมพ์จาก แม่พิมพ์แกะไม้ แล้วพิมพ์งานบนกระดาษสี ด้วยการกดช้อน หรือขวดแก้ว เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการรับรู้ ‘เสือ’ ให้เข้าถึงความร่วมสมัยของกราฟิตี้ในปัจจุบัน ชื่อผลงาน 4 • ตึกยาวด้านนอก (Outside Tuk Yao) ขนาด 89 x 111 ซ.ม. เทคนิค วาดเส้นดินสอสีน้ำตาลและดำ บนกระดาษขาว ชื่อผลงาน 5 • โถงบันได ตึกยาว (Stair hall ‘Tuk Yao’) ขนาด 89 x 111 ซ.ม. เทคนิค วาดเส้นดินสอสีน้ำตาลและดำ บนกระดาษขาว • เรือนเหลืองยาว สวนกุหลาบวิทยาลัย ครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ในฐานะศิษย์เก่า จึงได้แสดง ความกตัญญุตาคุณ ด้วยการวาดเส้นแบบสมจริงของมุมมอง โถงบันไดชั้นสองของอาคาร

7


อาจารย์เฉลิมใจ บัวจันทร์ ชื่อผลงาน • ลายรดน้ำซุ้มประตูโบสถ์และหน้าต่าง วัดอรุณราชวราม

8

42 x 60 ซ.ม.


อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส เรียบง่าย ประหยัด มีความสง่างาม 85 x 65 ซ.ม. เทคนิค โปรแกรม AUTO CAD, เขียนแบบ, วาดเส้น และแบบร่าง 2 เล่ม ขนาด A2

ชื่อผลงาน • ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ให้มีรูปแบบที่เรียบง่าย สง่างาม ประหยัด ไม่อายแขกบ้านแขกเมือง”

9


B

อาจารย์พัฒนา เจริญสุข ชื่อผลงาน • รักไม่รู้โรย Everlasting Love

10

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณอันไม่มีวันโรยรา โดยแทนค่าการเรียงตัวของกลีบดอกบานไม่รู้โรยทั้ง 3 สี ด้วยรูปทรงปิรามิดด้านเท่าฐานสามเหลี่ยม 170 x 170 x 10 ซ.ม. เทคนิค กระดาษ เอ 4 ใช้แล้วหน้าเดียว พับรูปแบบโอริกามิ ปิรามิดด้านเท่าฐานสามเหลี่ยม จำนวน 5621 ชิ้น ระบายสี


อาจารย์ไพบูลย์ จิรประเสริฐกุล สมมุติฐาน 18 x 18 x 108 ซ.ม. เทคนิค งานไม้และเทคนิคสื่อประสม

ชื่อผลงาน • สมประสงค์สมจิตสมภัสสร สมญาพรสมคิดสมรังษี สมหมายสมบัติสมมนตรี สมศักดิ์ศรีสมเดชสมเจตนา

สมเกียรติสมภพสมยศ สมพจน์สมบูรณ์สมปรารถนา สมทรรศน์สมเจตต์สมปัญญา สมพฤกษาสมพงษ์สมเจริญ

11


อาจารย์สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล ชื่อผลงาน • พระเจดีย์ ‘พระธาตุโพธิ์ทอง’

12

60 x 90 ซ.ม. พระอุทัย อุทโย และศรัทธาญาติโยมร่วมสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อสักการะบูชาและใช้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรม เจริญเมตตาภาวนารักษาศีล บำเพ็ญทานบารมี ณ สถานปฏิบัติธรรมบ้านโพธิ์ทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี


อาจารย์สุคนธรส คงเจริญ เทคนิค การปั้นด้วยดินอาร์ท

ชื่อผลงาน • สังคมที่บ้างคิดเหมือน บ้างคิดต่าง แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่ซ้อนกันอยู่ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า... สัมพัทธภาพ

“ปั้นด้วยมือคิดด้วยใจ” ทฤษฎีสัมพันธภาพคือมิติแห่งความสัมพันธ์ ซึ่งมาจากหลากหลายทฤษฎีแต่ในแง่ความหมายนั้น เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน 1. จากวิชาทีส่ อน : เครือ่ งหมายสัญลักษณ์ Carlo Scarpa (Carlo Scarpa remains an enigmatic character in the history of modern architecture and design) (กระแสแห่งงานออกแบบโมเดิร์น ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20) 2. จากทฤษฎีมารดาสอน : ทฤษฎีสัมพัทธภาพทางวิทยาศาสตร์ (ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นกลุ่มของทฤษฎีทางฟิสิกส์) 3. จากสูตรทางคณิตศาสตร์ : A ∩ B, A ∩ B, A’ (คอมพลีเมนต์ของเซต)

13


อาจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง ชื่อผลงาน • ออกแบบโรงแรมขนาดเล็กแนวใหม่ โดยหลักคิดที่ครอบคลุม 360 องศา และ เริ่มตั้งแต่แนวคิดภายใน สู่สถาปัตยกรรมภายนอก (inside out) และแปรรูปจากลักษณะเฉพาะของ วัฒนธรรมไทย พฤติกรรมผู้บริโภค คุณค่าทางศิลปะ เพื่อสร้างเสริมความเป็นแลนด์มาร์คของชุมชน ต่อยอดและบูรณาการศิลปะให้ร่วมสมัย

14

60 x 80 ซ.ม.


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยนันท์ ชะอุ่มงาม . Handmade Saa and Eucalyptus paper art with cast paper, transfer color from Pineapple paper, thread and acrylic paint

ชื่อผลงาน 1 • WORLD AND UNIVERSE 1 19 x 27.5 ซ.ม ชื่อผลงาน 2 • WORLD AND UNIVERSE 3 21 x 29 ซ.ม.

15


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ สิงห์สาย ชื่อผลงาน • ความสัมพันธ์ที่เร้นลับ 5/54 (ล) Misterious Relationship 5/11 (S)

16

ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ในเรื่องศาสนา ก่อให้เกิดพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตมากมาย ตั้งแต่เกิดจนสิ้นลม เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบผสมวัสดุ 93 x 119 ซ.ม.


ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี​ี ชื่อผลงาน • ตราสัญลักษณ์ลักษณะไทย ชื่อผลงาน 1 • ตราสัญลักษณ์สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ใช้ตัวอักษรย่อ ชื่อสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา สกว ผสมผสานกับสัญลักษณ์ กุญแจซอล (G-clef) เพื่อสื่อความหมายถึง วัคถุประสงค์อันสำคัญของสถาบันฯ ในการพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และเผยแพร่ดนตรีคลาสสิคสู่สาธารณชน พื้นหลังรูปใบเทศแสดงลักษณะไทยเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ได้มีพระกรุณาธิคุณส่งเสริมและสนับสนุนดนตรีคลาสสิค ในประเทศไทยตลอดมา ชื่อผลงาน 2 • ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยพะเยา บทบาทของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นที่ที่สร้างปัญญาและองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน และแสดงเอกลักษณ์ของภาคเหนืออันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย องค์ประกอบและการสื่อความหมายของตราสัญลักษณ์ มีดังนี้ กรอบรูปศิลาจารึกยอดกลีบบัว สื่อถึงการส่งต่อความรู้ สืบทอดสู่ชนรุ่นต่อไป เครื่องสัตภัณฑ์ เชิงเทียนโบราณของชาวล้านนา และเทียน ๗ เล่ม สื่อถึงการบูชาความดี และแสงสว่างแห่งปัญญา ตัวอักษรย่อชื่อมหาวิทยาลัยพะเยา มพ ถ่ายทอดลักษณะจากตัวอักษรโบราณ ฝักขามล้านนา

17


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐไท พรเจริญ ชื่อผลงาน • การจัดวางระบบภายใน สู่โครงสร้างภายนอกผลิตภัณฑ์ The placement of the inside of the outside of the product

83 x 125 x 12 ซ.ม. เทคนิค 3D Computer

สื่อให้เห็นการจัดวางชิ้นส่วนระบบภายในของเครื่องใช้ที่มีระบบกลไก กรณีศึกษาตู้หยอดเหรียญที่ใส่กล่องผ้าอนามัย หรือกล่อง ถุงยางอนามัย รวมทั้งม้วนกระดาษชำระที่ใช้ในห้องน้ำสาธารณะ โดยออกแบบให้กับบริษัท STK AUTO BY ร่วมกับ ดร.ชนิดา จันทร์ตรี วิศวกรไฟฟ้า มหาวิทยาลัย SOUTH-EAST ASIA รวมทั้งการบรรยายให้กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ SME ในโครงการ NEC กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อต้นปี 2554 ในงานนี้คำนึงถึง Design Factors ในด้านการใช้ที่สะดวกสบาย Ergonomics ความแข็งแรงของโครงสร้าง Construction การดูแลซ่อมแซม Easy of Maintenance รวมทั้งให้เกิดความงาม Aesthetic

18


อาจารย์ปนท ปลื้มชูศักดิ์ 60 x 80 ซ.ม. เทคนิค สร้างภาพบนแผ่นพลาสติก และสีอะคริลิกบนผ้าใบ

ชื่อผลงาน • URBAN SPACE

19


อาจารย์ปิติ คุปตะวาทิน ชื่อผลงาน • ปรองดอง Harmonized

20

ความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมเหลืองและแดง ในแต่ละนาที


อาจารย์อินทรธนู ฟ้าร่มขาว การกลับมาให้ความสนใจกับงานเฟอร์นิเจอร์หวายในอดีต ที่นำมาตีความใหม่ แต่ยังคงพื้นฐานเรื่องราวและความรู้สึก ทั้งยามเห็น ยามสัมผัส และยามใช้งาน ของความทรงจำในอดีตเอาไว้ เก้าอี้ 80 x 65 x 80 ซ.ม. โต๊ะกลาง Dim 85 x H 30 ซ.ม.

ชื่อผลงาน • R&R (Rattan Revival)

21


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต ชื่อผลงาน • Mountain Hight

22

105 x 130 ซ.ม. เทคนิค สีอะคริลิก


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี คดบ้าง งอบ้าง โค้งบ้าง เลี้ยวบ้าง พลิ้วบ้าง บิดปลิวบ้าง... อะไรบ้าง... ผันแปรเปลี่ยนตามสภาวะ... 150 x 100 x 200 ซ.ม. เทคนิค ทอ-สื่อผสม

ชื่อผลงาน • ผัน...แปร Variability

23


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร ชื่อผลงาน • พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

24

100 ปีชาตกาล 15 x 29 x 55 ซ.ม. เทคนิค หล่อโลหะทองแดง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ สง่า 32 x 32 x 41 ซ.ม. เทคนิค ปั้นหล่อพลาสเตอร์

ชื่อผลงาน • น้ำค้างสุวรรณ ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ / ๒๕๕๔

ความเชื่อของคนเอเชียนั้น เชื่อว่าน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์มากนั้น คือน้ำค้างที่อยู่ยอดไม้ใบหญ้ารุ่งอรุณ เป็นสิ่งที่งดงามทรงค่า หา สิ่งใดเปรียบได้เสมือนทองคำ ที่มีความบริสุทธิ์ดังเนื้อของตัวธาตุเอง โดยไม่มีธาตุอื่นเจือปน จึงได้ถูกยกย่องให้เป็นสิ่งล้ำค่าใน มวลมนุษย์ใช้แทนการแลกเปลี่ยนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

25


ความงาม อันความงามสิ่งนี้มีให้เห็น แล้วปรุงแต่งในใจได้รับคือ ความหมดจดสดใสที่ได้รับ หนึ่งคืองามภายนอกอย่าบอกใคร พิสูจน์ได้ให้เห็นเป็นหลักฐาน ทั้งรูปทรงรูปร่างช่างแสนดี อีกน้ำหนักจากดำไปสู่ขาว ทั้งพื้นผิวมากมายให้บาดตา ความกลมกลืนความสมดุลย์มีคุณยิ่ง เอกภาพหนึ่งเดียวเหลียวแลดี สองความงามภายในที่ใจเห็น นามธรรมภายในได้เจือจุน งามแบบนี้งามในใจมองไม่เห็น ต้องรู้สึกนึกรู้อยู่ข้างใจ เมื่อสัมผัสรับได้ในใจรู้ ความละมุนละไมในใจมี ความสุภาพอ่อนไหวในใจฉัน งามสมบูรณ์พูนผลคนทั่วไป

เรื่องจำเป็นต้องใช้ตามาเป็นสื่อ ความใสซื่อเคล้าอารมณ์สมหัวใจ จึงเท่ากับความงามความยิ่งใหญ่ งามทั่วไปได้สัมผัสเห็นชัดดี เป็นหลักการความงามตามวิถี รวมทั้งสีที่ใช้สบายตา บอกเรื่องราวเอาไปใช้ไว้เถิดหนา รวมเป็นค่าความงามจำให้ดี เพราะเป็นสิ่งต้องใช้ในที่นี้ อันสิ่งนี้กายภาพนะครับคุณ ก็จำเป็นอย่างมากฝากเกื้อหนุน ให้อบอุ่นหนุนเนื่องเรื่องของใจ จึงเอาเป็นหลักการนั้นไม่ได้ ว่าในใจเป็นอย่างไรให้รู้ดี ว่าใจอยู่งดงามตามศักดิ์ศรี สดใสที่ใจสว่างทางสบาย คือหลักการที่ใช้ไม่ได้หาย งามทั้งในทั้งนอกจึงบอกมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง ชื่อผลงาน • คุณบัว KOON BUA

26

90 x 110 ซ.ม. เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ


รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี เป็นการนำเนื้อหางานจิตรกรรม ชื่อ การทรงอยู่ของความทรงจำ เขียนโดย ซัลวาดอ ดาลี มาล้อเลียน เปลี่ยนตัวสัตว์ประหลาดในภาพของดาลี มาเป็นผลมะม่วง M เหมือนกัน แต่ Mango กับ Memory เทคนิค สีอะคริลิค 50 x 60 ซ.ม.

ชื่อผลงาน • การทรงอยู่ของความทรงจำผลมะม่วง

The Persistence of memory of a mango

27


รองศาสตราจารย์ปรีชา ปั้นกล่ำ ชื่อผลงาน • คบ...เพลิง

28

มีไฟเป็นเพื่อนเหมือนมีความทุกข์แผดเผาเป็นเงาตามตัว เทคนิค สีอะคริลิกบนขอนไม้ ขาตั้งเหล็ก 30 x 30 x 196 ซ.ม. 35 x 35 x 201 ซ.ม. 40 x 40 x 239 ซ.ม.


รองศาสตราจารย์สน สีมาตรัง สุขสว่าง - ความว่าง - ธรรมดา Enlight - Emptiness - Nothing เทคนิค สีน้ำมัน - สีอะครีลิค และทองคำเปลวบนผ้าใบ 100 x 120 ซ.ม

ชื่อผลงาน • ดอกบัวสีน้ำเงิน The Blue Lotus

29


อาจารย์เกษร ผลจำนงค์ ชื่อผลงาน •

30

อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ในทรรศนะของศิลปิน เทคนิค สื่อผสม 60 x 70 ซ.ม.


เรื่องที่ 1

เรื่องที่ 2

บวรรัตน์ : อาจารย์คะ คณะฯเขาให้ทำวิดีทัศน์ของ ภาควิชาประยุกต์ หนูขออนุญาตใช้ภาพถ่าย ของอาจารย์ด้วยนะคะ

บวรรัตน์ : อาจารย์คะ คณะฯเขาให้ทำวิดีทัศน์ของ ภาควิชาประยุกต์ หนูขออนุญาตใช้ภาพถ่าย ของอาจารย์ด้วยนะคะ

คุณครู : ไม่ได้

คุณครู : ได้ซิ

อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช เทคนิค วิดีทัศน์

ชื่อผลงาน 1 • เรื่อง ไม่ได้ ชื่อผลงาน 2 • เรื่อง ได้ซิ

สนุกดีนะ เพียงเอาภาพถ่ายต่างๆ มาเรียงกลับไป กลับมา จะได้เรื่องราวที่ไม่เหมือนกัน ทั้งที่เป็นภาพถ่ายภาพเดียวกัน บางที ทำให้เรื่องจริงกลับตะละปัดเป็นไม่จริงเอาง่ายๆ จากหน้ามือเป็นหลังมือทั้งที่เป็นมือข้างเดียวกัน หลง หนึ่งในสามสหาย คือ โลภ โกรธ หลง เผ่าพันธุ์กิเลสกระมังที่เป็นเหตุทำให้ฉันสนุก แล้วยังงี้ภาพที่ผ่านตาผ่านใจในทุกวันทุกวินาทีหลายแสนล้านภาพ ถ้ามี การเรียงผิดบ้าง มิหลงกันระนาวหรือ หลายครั้งชีวิตของฉันสับสนวุ่นวาย เพราะหลงเข้าใจเรื่องราวไปเท่าที่ตนเองเห็น การได้ นั่งสมาธิฝึกวางใจนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตามหลัก วิชชาธรรมกายแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยให้ภาพในใจของฉันเริ่มนิ่ง และเห็นว่า เรื่อง ได้ซิ ดีกว่าเรื่อง ไม่ได้ ขอบพระคุณ คุณครูมานิตย์ ภู่อารีย์ และอาจารย์วีระ โยธาประเสริฐ มากค่ะ

31


อาจารย์พรพรหม ชาววัง ชื่อผลงาน • ทรงรำพึง

เทคนิค ปัก ปะผ้า 65 x 100 ซ.ม.

ในขณะพระพุทธองค์ ทรงเสวยวิมุตติสุข ทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลในโลกนี้มี 4 จำพวก เปรียบดังดอกบัว 4 เหล่า ได้แก่ อุคฆฏิตัญญ ผู้ที่ฟังธรรมแล้วเข้าใจได้ฉับพลันเพียงท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง เปรียบดังดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำรอสัมผัสแสงอาทิตย์ ก็จะบานในวันนี้ วิปจิตัญญู ผู้ที่ฟังธรรมแล้วจะเข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ เปรียบดัง ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้ เนยยะ ผู้ที่ฟังธรรมแล้ว พอจะแนะนำต่อไปได้เปรียบดังดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันต่อๆ ไป ปทปรมะ ผู้ที่ฟังธรรมแล้ว ได้เพียงแต่ถ้อยคำไม่อาจเข้าใจความหมาย เปรียบดังดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นอาหาร ของปลาและเต่า

32


อาจารย์วรภรรท สิทธิรัตน์ เทคนิค ไฟเบอร์กลาส 30 x 30 x 40 ซ.ม. สภาวะการเป็นผู้นำนั้น ต้องรู้จัก ความมีเมตตา และความเด็ดขาด ต้องรู้จักการใช้พระเดช และพระคุณ ต้องเรียนรู้ว่าเมื่อใดต้องตั้งมั่น เมื่อใดต้องผ่อนปรน รู้กระแส การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ในแต่ละยุคสมัย

ชื่อผลงาน • ผู้นำ The leader

33


อาจารย์สมพงษ์ แสงอร่ามรุ่งโรจน์ ชื่อผลงาน • 84 พระชันษา องค์ราชัน

34

ข้าพเจ้าต้องการแสดงความรู้สึกที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัว ของเรา เป็นความรู้สึกที่ศรัทธา และเทิดทูน ในน้ำพระทัยและพระจริยวัตร ที่ทรงมีคุณูประการต่อ พสกนิกรชาวไทย โดยไม่มีคำอธิบายอื่นใดอีก 100 x 140 ซ.ม. เทคนิคผสม (สีอะคริลิคและสีน้ำมันบนผ้าใบ)


อาจารย์สหเทพ เทพบุรี สภาวะจิตที่นอกเหตุ - เหนือผล เป็นความสุข อิสระในจิตใจ 23 x 58 x 49 ซ.ม. เทคนิค Bronze

ชื่อผลงาน • High Spirit

35


อาจารย์สุรศักดิ์ รอดเพราะบุญ ชื่อผลงาน • คนธรรม

36

คุณค่าในสิ่งที่เรียบง่าย มีที่ว่างเสมอ สำหรับการมี การใช้ การอยู่ของชีวิต ไม่ใช่แต่สำหรับคนเท่านั้น 150 x 200 ซ.ม. สื่อผสมและการจัดวาง


อาจารย์เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์ การดำรงอยู่ซึ่งชีวิตนั้น ตั้งแต่เกิดจนถึงดับ ต้องดำเนินไปตามช่วงเวลา ที่มีการเจริญขึ้นทั้ง ทางกายภาพ ภายนอก ภายใน และระบบทางความคิด ความเป็นไปดังกล่าว มีระดับขั้นตอนการก้าวย่าง การหยุดพัก การสูญหาย เปรียบได้ดั่งการเดินทางของชีวิต โดยมีจังหวะตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและเวลาที่ผ่านไป อย่างรวดเร็ว แสดงออกมา ผ่านทางงานศิลปะสิ่งทอชิ้นนี้ เพื่อเป็นการสะท้อนเตือนให้เห็นช่วงชีวิตที่ผ่านมา 60 x 80 ซ.ม. เทคนิค Mix Media

ชื่อผลงาน • Rhythm of Life

37


อาจารย์อิทธิพล วิมลศิลป์ ชื่อผลงาน • Collapse 2

56 x 76 ซ.ม. เทคนิค ปากกา และ หมึกจีน

อาคารที่พัก รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคม ข้าพเจ้าเห็นโครงสร้างทาง สถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างกัน และทำให้มองเห็นความแตกต่างกันในสังคม หากนำตัวเลขที่เกิดจากประชากรทั้ง 2 กลุ่มนี้ มารวมกัน จะเห็นว่ามีประชากรเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับทั้งประเทศที่เป็นผู้มีฐานะและถือเอาทรัพยากรส่วนใหญ่ของประเทศ ข้าพเจ้าจึงนำลักษณะโครงสร้างที่มาจากบ้านไม้ของคนที่มีฐานะยากจน รวมเข้ากับรูปทรงของโครงสร้างตึก และอาคารของ ผู้มีฐานะร่ำรวย ซึ่งก็พอจะคิดต่อไปได้ว่า จะได้สถาปัตยกรรมที่ไม่มีความมั่นคง ซึ่งจะส่งผลของการล่มสลายของโครงสร้าง ทั้งหมด ข้าพเจ้าจึงต้องการสะท้อนความคิด ด้วยวัสดุที่เรียบง่าย อย่างปากกาและหมึกจีนความเป็นกับดักอยู่ในกรง

38


อาจารย์อุณรุท กสิกรกรรม ความรัก สงบ สันติ สร้างสรรค์ เบิกบาน หาได้ในจิตใจของตัวเราเอง 120 x 150 ซ.ม. เทคนิค สีอะคริลิค

ชื่อผลงาน • เบิกบาน Joyful

39


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงศ์ เผ่าไทย ชื่อผลงาน • โครงการพัฒนาการออกแบบ เนื้อดินและเคลือบ จังหวัดนครสวรรค์

40

25 x 35 ซ.ม. เทคนิค ดินนครสวรรค์ เคลือบขี้เถ้า มันสำปะหลัง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรธนา กองสุข 14 x 25 x 12 ซ.ม. เทคนิค Slip casting, Porcelain / Brass สภาวะของจิตตามธรรมชาติ มีความดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา และไม่หยุดนิ่ง ความคิดนึกของมนุษย์ทุกคนทุกขณะ ถ้าความคิดถูกเปลี่ยนเป็นรูปทรง-วัตถุ ที่มองเห็นได้ เป็นรูปธรรมออกมาในทันทีทันใดแล้วนั้น แน่นอนทีเดียว พื้นที่บนโลกใบนี้จะไม่เพียงพอที่จะเก็บไว้ได้เลย

ชื่อผลงาน • ผูกมัด-รูป

Binding-Shape

41


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประดิพัทธ์ุ เลิศรุจิดำรงค์กุล ชื่อผลงาน • อิริยาบทคนชิมชา

42

การจับลักษณะ อิริยาบถที่เป็นธรรมชาติของบุคคล บ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึกที่พิเศษได้ 8 x 12 จำนวน 20 ภาพ เทคนิค ภาพถ่าย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณา ธิธรรมมา 16 x 9 ซ.ม. เทคนิค Stoneware 1200 Cํ , Over glaze 800 Cํ

ชื่อผลงาน • Lives in the garden

43


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภกา ปาลเปรม ชื่อผลงาน 1 • ดอกไม้ (Flowers) ดอกไม้เป็นสิ่งสวยงาม ทำให้ทุกคนที่ได้เห็นมีความสุขเสมอ เทคนิค เนื้อดินพร์อสเลน (Porcelain Body), ขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อ (Slip casting) เคลือบคอบเปอร์ (Copper Glaze), เผาอุณหภูมิ 1,250 องศา เส้นผ่านศูนย์กลาง 11 ซ.ม. x สูง 112 ซ.ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ซ.ม. x สูง 10 ซ.ม.

44

ชื่อผลงาน 2 • ชุดน้ำชา (Tea Pot) ชุดน้ำชา ช่วยเพิ่มอรรถรสในการดื่มชา เทคนิค เนื้อดินพร์อสเลน (Porcelain Body, ขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อ (Slip casting) และ ปั้นด้วยแป้นหมุน (Whell Throwing) ขนาดกาน้ำชา เส้นผ่ศูนย์กลาง 11 ซ.ม. x สูง 10 ซ.ม. ขนาดถ้วยชา เส้นผ่ศูนย์กลาง 6.50 ซ.ม. x สูง 5 ซ.ม. .


ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการกำเนิดเกิดขึ้นใหม่ ตามกาลเวลา ชื่อผลงาน • กำเนิดเกิดผล 65 x 65 x 45 ซ.ม. เทคนิค เครื่องปั้นดินเผา อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส

45


อาจารย์ชานนท์ ไกรรส ชื่อผลงาน • โคมไฟห้อยเพดาน Ceiling Lamp

46

รูปทรงและสัดส่วนที่เรียบง่าย ลดขั้นตอนการผลิต เพิ่มคุณค่าของผลงานด้วยเทคนิคการตกแต่ง ตามกรรมวิธีทางเครื่องเคลือบดินเผา 7 x 30 ซ.ม. เทคนิค เนื้อดินพอร์สเลน (Porcelain Body), ขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อกลวง (Hollow Casting) ตกแต่งด้วยดินสี (Inlay), เคลือบใส (Clear Glaze), เผาอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส


อาจารย์ธาตรี เมืองแก้ว วิถีแห่งชีวิต หากได้หมั่นตรึกตรอง เฝ้ามองและทำความเข้าใจ ในสิ่งที่เป็นความจริง ตามธรรมชาติ แล้วน้อมนำสิ่งเหล่านั้น มาประยุกต์ใช้ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในทางที่พอดี ย่อมจะนำไปสู่วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ 20 x 38 x 60 ซ.ม. เทคนิค ดินพอร์ซเลนขึ้นรูปด้วยมือเผาที่อุณหภูมิ 1,260 องศา / ดินปากเกร็ดผสมเยื่อกระดาษขึ้นรูปด้วยมือ เผาที่อุณหภูมิ 850 องศา

ชื่อผลงาน • มรรค The Consider of Truth

47


อาจารย์สิทธิโชค ชัยวรรณ ชื่อผลงาน • หมู...ติดปีก

48

เป็นหมูน้อย อยู่อุดอู้ในเล้า นั่งนิ่งหงอย หมูนอน คอยอึดอัดหมดหมาย สิ้นแรงพลัง ขอปีกสักคู่ อยากบิน ใช้ชีวิตให้ตามหวัง จะบินยังโลกสุกไสว หมดควันบดบัง คงสุขจริงเออ 3 x 5 x 4 ซ.ม.


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ ผลงานสร้างสรรค์นิทรรศการ “จับคู่คิด พลิกโฉมวัสดุไทย” ลิขสิทธิ์ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

ชื่อผลงาน • หยากไย่ Siamese Twist

49


อาจารย์ชาติชาย คันธิก ชื่อผลงาน • พุดตาลนวล An off White Pudtan

50

จี้พร้อมสร้อย 2.5 x 4 x 0.4 ซ.ม. เทคนิค การสลักดุนโลหะเงินและการดัดลวดลาย ประกอบกับการแกะสลักเขากวาง


อาจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช เข็มกลัด 3 x 9 x 1.3 ซ.ม. เทคนิค การเชื่อมลวดโลหะ

ชื่อผลงาน • ใน...หนึ่งวัน In a Day

51


อาจารย์ ดร.วรรณวิภา สุเนต์ตา ชื่อผลงาน •

52

จี้พร้อมสร้อย 45 ซ.ม. เทคนิค การสลักดุนโลหะเงิน หุ้มเขากวาง ร้อยลูกปัด


อาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ แสดงถึงการกำเนิด ขยับขยาย เคลื่อนไหว ผสมผสานการใช้วัสดุธรรมชาติ และวัสดุอุตสาหกะรรม 30 x 15 x 10 ซ.ม. เทคนิค สื่อผสม ไข่จรเข้ ลวดโลหะ

ชื่อผลงาน • ขยับ

53


อาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ ชื่อผลงาน 1 • ความจริงทางวัฒนธรรม หมายเลข 1 2.7 x 18.7 x 23 ซ.ม. วัสดุ เงินสเตอร์ลิง พลาสติก หมึกพิมพ์บนกระดาษ จินตนาการของผู้ชม

54

ชื่อผลงาน 2 • วัฒนธรรม กับ ธรรมชาติ กรอบรูป 34.56 x 40.64 ซ.ม. สติกเกอร์ขนาด A4 จำนวน 12 แผ่น วัสดุ หมึกพิมพ์บนสติกเกอร์ใส จินตนาการของผู้ชม ร่างกายของผู้สวมใส่


อาจารย์รสชง ศรีลิโก เข็มกลัด ยาว 30 ซ.ม. เทคนิค Fabricated

ชื่อผลงาน • ปีกแห่งหิมพานต์ Wings of Himalaya

55


อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย ชื่อผลงาน • ช้อนปากกา Spoon Pen

แหวน 3.3 x 9 x 3.2 ซ.ม. เทคนิค CNC หล่อ

• งานเครื่องประดับที่สะท้อนให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งชิ้นที่มีการทำงานมากกว่าหนึ่งอย่าง มิอาจใช้งานได้ดีเต็มประสิทธิภาพ แต่หากเรา พิจารณาตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นให้ดี และเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานแต่ละประเภทแล้ว งานนั้นก็จะประสบผลสำเร็จ ลุล่วงไปได้ด้วยดี • ช้อนด้ามสั้น (ช้อนแกง) ที่แถมมากับข้าวกล่อง เป็นทัศนธาตุที่เลือกนำมาใช้บอกเล่าเรื่องของความเร่งรีบในการรับประทาน และ อีกทัศนธาตุหนึ่งคือปากกา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวอีกด้านของการทำงาน โครงสร้างของงานบิดไขว้กันคล้ายเลขแปด (8) สัญลักษณ์ ของความไม่มีที่สิ้นสุด (Infinity) บอกถึงความไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อพื้นฐานของความเป็นมนุษย์คือ ต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง

56


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล การแทนค่าที่แปรงด้วยเส้นใยของผ้า ที่ต่างขนาด และต่างสี เส้นใยแต่ละเส้นแทนค่า เส้นสายของที่แปรง แต่ละที่แปรงค่าน้ำหนัก และความสวยงามของเทคเจอร์ของผืนผ้า 100 x 120 ซ.ม. เทคนิค สื่อผสม

ชื่อผลงาน • สีส้ม Orange “My favorite colour”

57


อาจารย์ณัฏฐินี ผายจันเพ็ง ชื่อผลงาน • สุนทรียะแห่งผัสสะ The Pleasure of Sensual

58

รูปทรงนามธรรมที่แสดงความรู้สึก 14 x 14 x 3 ซ.ม เทคนิค Handform Porcelain


อาจารย์วรุษา อุตระ ความคิด - ความฝัน - ความจริง เป็นสิ่งไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซ.ม. เทคนิค ทอมือ

ชื่อผลงาน • ความกลมกลืนของสีส้ม Harmony of Orange

59


อาจารย์ภาส ทองเพ็ชร์ ชื่อผลงาน • Happy Aniversary

60

55 years of LOVE. 55 Years of HAPPINESS. Happy Aniversary!


บทความ

61


สิ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับนักออกแบบเครื่องประดับ อาจารย์ ดร. ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ ในการออกแบบเครื่องประดับแต่ละชิ้นนั้น นัก ออกแบบมิใช่เพียงจะต้องมีความสามารถ ในการวาดภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะเท่านั้น แต่จะต้องมี ความรูแ้ ละความเข้าใจพืน้ ฐานเกีย่ วกับวัสดุและขัน้ ตอนหรือ กระบวนการผลิตเครือ่ งประดับอีกด้วย เพื่อนำมาประกอบ หรือประยุกต์ให้เข้ากันกับความคิดสร้างสรรค์และกรอบ แนวความคิด (Conceptual) ทำให้นำไปสู่การออกแบบที่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คือ เครื่องประดับที่ สวยงามจะต้องควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอยในที่น้หี มายถึง เครื่องประดับที่ออกแบบมานั้นสามารถนำมาผลิตและสวม ใส่ได้จริง โดยที่ผู้สวมไม่เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้ วัสดุนั้นๆ และสุดท้ายนี้ที่เป็นข้อสำคัญที่สุด คือ ความพึง พอใจของลูกค้าหรือผู้ซื้อนั่นเอง ดังนั้นในบทความนี้ได้รวบ รวมข้อมูลเบื้องต้นและปัจจัยต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงสำหรับ นักออกแบบเครื่องประดับ โดยได้นำมาวิเคราะห์และพอ จะอธิบายโดยสังเขปดังนี้ 1. ประเภทของเครื่องประดับ (Jewelry Classes) ซึ่งใน ส่วนนี้จะเกี่ยวกับกรอบแนวความคิด ที่นักออกแบบเครื่อง ประดับจะต้องเรียนรู้ โดยเริ่มจากประเภทของเครื่อง ประดับ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.1 เครื่องประดับอัญมณี (Gemstone Jewelry) โดยทั่วไป เครื่องประดับจะถูกหล่อด้วยโลหะมีค่า (Precious metals) เช่น ทองคำ (Gold; Au) แพลทินัมหรือทองขาว (Platinum; Pt) แพลลาเดียม (Palladium; Pd) เงิน (Silver; Ag) เป็นต้น และมีการประดับด้วยอัญมณีธรรมชาติ ซึ่งเป็น อนินทรียสาร (Inorganic Substances)1 เช่น เพชร (Diamond) ทับทิม (Ruby) ไพลิน (Blue sapphire) มรกต (Emerald) เป็นต้น หรือจากอินทรียสาร (Organic substances)2 เช่น ไข่มุก (Pearl) ปะการัง (Coral) อำพัน (Amber) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทำให้เครื่องประดับ อัญมณีมีมูลค่าสูง และในวงการเครื่องประดับหรือระบบ 62

อุ ต สาหกรรมการผลิ ต เครื่ อ งประดั บ จะเรี ย กอี ก ชื่ อ ว่ า “Fine Jewelry หรือ Precious Jewelry” (รูปที่ 1) 1.2 เครื่องประดับเทียม (Costume Jewelry) โดยส่วน ใหญ่เครื่องประดับจะถูกหล่อด้วยโลหะราคาไม่แพงมาก นักหรือโลหะผสม (Alloys) ต่างๆ เช่น อะลูมิเนียม (Aluminium; Al) เหล็ก (Iron; Fe) สังกะสี (Zinc; Zn) ดีบุก (Tin; Sn) สำริด (Bronze)3 ทองเหลือง (Brass)4 เป็นต้น รวมถึงวัสดุที่ไม่ถาวร เช่น พลาสติก ไม้ หนัง ยาง ขนสัตว์ หรือเซรามิกซึ่งไม่คงทนมากนักเมื่อเทียบกับโลหะประกอบ กับมีการประดับด้วยอัญมณีเทียม (Artificial Gemstone)5 หรืออัญมณีเลียนแบบ (Imitation or Simulant)6 เช่น อัญมณีสังเคราะห์ (Synthetic Gemstone)7 อัญมณี คุณภาพต่ำ (Low Quality Gemstones) อัญมณีประกบ (Assembled stone)8 อัญมณีเพิ่มคุณภาพ (Enhanced gemstone)9 หินสี (Color Stone) ต่างๆ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้เครื่องประดับเทียมมีมูลค่าไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับเครื่องประดับอัญมณี และในวงการ

รูปที่ 1 Gemstone Jewelry


เครื่องประดับยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Semi-Precious Jewelry หรือ Fashion Jewelry” (รูปที่ 2) เนื่องจากว่า เครื่องประดับประเภทนี้ มักถูกนำไปใช้ในการประดับ ร่างกายควบคู่กับเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายแฟชั่น ซึ่งจะมี ปรับเปลีย่ นค่อนข้างรวดเร็วไปตามฤดูกาล ดังนัน้ จึงไม่นยิ ม ใช้วัสดุที่มีราคาแพงมากนัก 2. ลักษณะของเครื่องประดับ (Jewelry Styles) สำหรับ ส่วนนี้ก็มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบ สามารถร่างแบบเครื่องประดับได้ง่ายขึ้น โดยมีปัจจัยหลาย ประการที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น วัสดุ กระบวนการผลิต ประวัติศาสตร์ของกลุ่มลูกค้านั้นๆ เป็นต้น โดยสามารถ รูปที่ 2 Costume Jewelry แบ่งกลุ่มลักษณะลูกค้าออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 2.1 ลักษณะลูกค้ากลุ่มอเมริกา (American Style) ซึ่งถือ เป็นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่ประเทศไทยสามารถผลิตและส่ง ออกเครื่องประดับได้มากที่สุดโดยเครื่องประดับมีลักษณะ เด่น คือ เน้นประดับตกแต่งด้วยอัญมณีขนาดใหญ่ที่เม็ด กลางหรือเม็ดยอดเท่านั้น และล้อมรอบด้วยเพชรขนาดลด หลั่นลงมา (รูปที่ 3) 2.2 ลักษณะลูกค้ากลุ่มยุโรป (European Style) ซึ่งลูกค้า ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ประเทศอิตาลี และ รูปที่ 3 American Style Jewelry ประเทศอังกฤษ โดยเครื่องประดับมีลักษณะเด่น คือ เน้น การออกแบบที่สร้างสรรค์ เรียบง่าย (เท่และเก๋) มีการ ประดับด้วยอัญมณีและเพชรเล็กน้อยโดยขนาดไม่ตอ้ งใหญ่ มากเมื่อเทียบกับลูกค้ากลุ่มอเมริกา (รูปที่ 4) ส่วนตัวเรือน นิยมใช้โลหะที่เรียกว่า “ทองกะรัต (Gold Karat)10” ตั้งแต่ 8K-18K (Karat; K)11 (ตารางที่ 1 เพราะสามารถทำให้ ตัวเรือนมีได้หลายสี เช่น ทองคำสีเหลือง (Yellow gold) ทองคำสีชมพู (Pink gold) ทองคำสีขาวหรือทองคำขาว (White gold) ทองคำสีเขียว (Green gold) เป็นต้น รูปที่ 4 European Style Jewelry (รูปที่ 5)

(ก) Yellow Gold

(ข) Pink Gold

(ค) White Gold

(ง) Green Gold

รูปที่ 5 Gold Karat

63


ส่วนในพันส่วน

กะรัต (K)

เปอร์เซ็นทองคำ (%)

ประเทศที่ใช้

1000 (999)

24

100.0

ไทย ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย

95

23.16

96.5

ไทย ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย

917

22

91.7

อินเดีย ตะวันออกกลาง

875

21

87.5

ตะวันออกกลาง สิงคโปร์

750

18

75

อิตาลี สวิส ยุโรป อเมริกา

583

14

58.3

เยอรมัน อังกฤษ

417

10

41.7

อเมริกา

375

9

37.5

อังกฤษ

333

8

33.3

เยอรมัน

ตารางที่ 1 ปริมาณทองคำหรือความบริสุทธิ์ของทองคำ และลักษณะของการใช้งานของแต่ละประเทศ

2.3 ลักษณะลูกค้ากลุ่มญี่ปุ่น (Japanese Style) เครื่อง ประดับลูกค้ากลุ่มนี้ มีลักษณะเด่นคือเน้นการออกแบบที่ เรียบง่าย ซึ่งคล้ายคลึงกับกลุ่มลูกค้ายุโรป แต่มีขนาดของ เครือ่ งประดับทีเ่ ล็กกว่า เนือ่ งจากคนญีป่ นุ่ ส่วนใหญ่มขี นาด ร่างกายที่เล็กกว่าคนในกลุ่มยุโรป โดยมีการประดับด้วย ไข่มุกเป็นหลัก ซึ่งมีอัญมณีและเพชรประดับแทรกเพียง เล็กน้อยเท่านั้น สุดท้ายที่ลูกค้ากลุ่มญี่ปุ่นเน้นเป็นพิเศษคือ คุณภาพของเครื่องประดับต้องดีเยี่ยม (High Quality) (รูปที่ 6) 2.4 ลักษณะลูกค้ากลุ่มตะวันออกกลางและอินเดีย (Arab and Indian Style) เครื่องประดับลูกค้ากลุ่มนี้มีลักษณะ ที่โดดเด่นชัดเจนเมื่อเทียบกับลูกค้าทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมา แล้ว คือ เน้นความเป็นเครือ่ งประดับแบบชนเผ่าในประทศ อินเดียที่มีการประดับด้วยอัญมณีขนาดใหญ่หลายๆ เม็ด และมีการประกอบชิ้นส่วนเล็กๆ หลายชิ้นเข้าด้วยกัน โดย ขั้ น ตอนการผลิ ต จะเริ่ ม จากการผลิ ต ชิ้ น ส่ ว นขนาดเล็ ก ก่อนแล้วจึงนำมาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนหลักอีกทีหนึ่ง ซึ่ง ขั้นตอนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนมาก (รูปที่ 7) 2.5 ลักษณะลูกค้ากลุ่มเครื่องประดับโบราณ (Antique Style) เครื่องประดับในกลุ่มนี้นักออกแบบเครื่องประดับ จะต้ อ งมี ค วามรู้ แ ละความเข้ า ใจเกี่ ย วประวั ติ ศ าสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของในแต่ละ ท้องถิ่น เพื่อให้ตรงตามแนวความคิด สภาพแวดล้อมและ 64

รูปที่ 6 Japanese Style Jewelry

รูปที่ 7 Arab and Indian Style Jewelry

นำไปพัฒนารูปแบบเครื่องประดับให้สอดคล้องในท้องถิ่น ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการออกแบบเครื่องประดับใน ลักษณะเช่นนี้มีความยากตั้งแต่การออกแบบ การร่างแบบ หรือแม้กระทั่งการลงสีต่างๆ เพราะมีความจำเป็นต้องเก็บ รายละเอียดงานสูงมาก (รูปที่ 8)


รูปที่ 8 Antique Style Jewelry

3. ชนิดของเครื่องประดับ (Jewelry types) สำหรับนิยาม ของคำว่า “เครื่องประดับ (Jewelry)” นั่นมีความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า “เครื่องตกแต่งกายมี สร้อย แหวน นาฬิกา เป็นต้น” ซึ่งเป็น ความหมายอย่างกว้างๆแต่โดยทัว่ ไปในอุตสาหกรรมเครือ่ ง ประดับกลับถูกจำแนกออกเป็น 7 ชนิด คือ แหวน (Ring) ต่างหู (Earring) กำไล (Bangle) กำไลมือ (Bracelet) เข็มกลัด (Brooch) จี้ (Pendent) และสร้อยคอ (Necklace) 4. โลหะที่ใช้หล่อเครื่องประดับ (Casting Materials) โดยทั่วไปโลหะที่ใช้หล่อเครื่องประดับมีด้วยกันหลายชนิด แต่โลหะที่นิยมนำมผลิตเป็นเครื่องประดับโดยวิธีการหล่อ นั้น คือ แพลทินัม ทองคำ 18K ทองคำ 14K และเงิน ตาม ลำดับซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่นิยมหล่อด้วยโลหะบริสุทธิ์ ดังนัน้ จึงต้องมีการเติมโลหะเจือเพิม่ เติมเข้าไปเพือ่ ปรับปรุง สมบัติของโลหะให้เหมาะสมกับขั้นตอนในการหล่อและ ลักษณะของเครื่องประดับที่ออกแบบด้วย 5. ชนิดของอัญมณี (Gemstone Types) โดยทั่วไป อัญมณีที่ใช้ในการประดับเครื่องประดับได้รับความนิยม หลายชนิดมีตั้งแต่คุณภาพสูงไปจนถึงคุณภาพต่ำ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต เขียวส่อง (Olivine) สปิเนล (Spinel) เพทาย (Zircon) โกเมน (Garnet) เขี้ยวหนุมาน (Quartz) ไข่มุก เป็นต้น รวมไปถึงอัญมณีสังเคราะห์ทั้งหลาย เช่น

ทับทิมสังเคราะห์ ไพลินสังเคราะห์ มรกตสังเคราะห์ เป็นต้น สำหรับอัญมณีสังเคราะห์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า “ชวารอฟสกี้ (Swarovski)” 6. ขนาดของอัญมณี (Gem’s Size) โดยทั่วไปนั้นขนาด ของอัญมณีทใ่ี ช้ในการประดับเครือ่ งประดับ มีดว้ ยกันหลาย ขนาด ขึ้นอยู่กับแนวความคิดในการออกแบบ ขนาดของ งานเครื่องประดับที่หล่อออกมา หรือแม้กระทั่งกระบวน การผลิตเครือ่ งประดับ โดยขนาดของอัญมณีทใี่ ช้ จะคิดเป็น น้ำหนัก คือ 0.1 0.2 0.3 0.4 1.0 กะรัต (Carat; Ct)12 และขนาดอื่นๆ ซึ่งขนาดของอัญมณี ถือเป็นปัจจัยสำคัญ อีกปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้เครื่องประดับที่ออกแบบนั้นมี ความสมบูรณ์มากขึ้น 7. เทคนิคและกระบวน การผลิตเครื่องประดับ (Jewelry Making Techniques and Process) นักออกแบบ เครือ่ งประดับส่วนใหญ่มคี วามรูพ้ น้ื ฐานเกีย่ วกับขัน้ ตอนหรือ กระบวนการผลิ ต เครื่ อ งประดั บ ในระบบอุ ต สาหกรรม อยู่แล้ว แต่ในบางกรณีนักออกแบบเครื่องประดับมักถูก จำกัดกรอบแนวความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ลง เนื่องจากกระบวนการผลิตไม่เอื้ออำนวยกับรูปแบบ เครื่องประดับที่ถูกออกแบบมา ดังนั้นนักออกแบบเครื่อง ประดับจึงควรมีการค้นคว้าหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระบวนการผลิตเครื่องประดับในขั้นสูงบ้าง เพื่อช่วยช่าง เทคนิคสามารถผลิตเครื่องประดับให้เป็นไปอย่างราบรื่น และได้รูปแบบเครื่องประดับที่นักออกแบบต้องการ 8. ราคาของเครื่องประดับ (Cost of Jewelry Products) โดยส่วนใหญ่แล้ว แผนกการเงินและการตลาดของแต่ละ บริษทั ผูผ้ ลิตและส่งออกเครือ่ งประดับจะเป็นผูก้ ำหนดราคา เครื่องประดับแต่ละชิ้น เพื่อนำไปเสนอขาย (ราคา) ให้กับลูกค้า ซึ่งก็มีจะบ้างในบางกรณีที่เครื่องประดับถูก ออกแบบมาอย่างสวยงาม คุณภาพดีเยี่ยมแต่กลับไม่ สามารถขายให้ลูกค้าได้ เนื่องจากราคาแพงและคุณภาพ อาจจะดีเกินความจำเป็น ทำให้มีแรงจูงใจที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าราคามีอิทธิพลอย่างมากกับลูกค้าใน การที่ จ ะตั ด สิ น ใจซื้ อ หรื อ ไม่ ซื้ อ เครื่ อ งประดั บ ที่ เ ราออก แบบ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนักออกแบบเครื่องประดับจึงต้อง 65


คำนึงถึงปัจจัยในเรื่องของราคาสินค้าอีกด้วย และสุดท้าย ควรหลี ก เลี่ ย งรู ป แบบเครื่ อ งประดั บ ที่ ซ้ ำ ซากจำเจหรื อ คล้ายคลึงกับเครื่องประดับของบริษัทผู้ผลิตหรือส่งออก เครื่องประดับรายอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ของบริษัทเราให้มีความโดดเด่นหรือผิดแผกไปจากเครื่อง ประดับแนวเดิมๆ ที่เคยมีมา จึงจะส่งผลให้กิจการของบริษัท สามารถทำกำไรเป็นมูลค่ามหาศาลและดำเนินกิจการต่อไป อย่างยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป คำอธิบายคำศัพท์ 1. อนินทรียสาร (Inorganic Substances) เป็นสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุต่างๆ จำนวนมาก เช่น กำมะถัน (S) ออกซิเจน (O) คลอรีน (Cl) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) อะลูมิเนียม (Al) และคาร์บอน (C) เป็นต้น 2. อินทรียสาร (Organic substances) เป็นสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีธาตุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบร่วม เช่น ธาตุไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) กำมะถัน (S) คลอรีน (Cl) และ โบรอน (Br) เป็นต้น ดังนั้นสารอินทรีย์ทุกชนิดจะต้องมีธาตุคาร์บอนอยู่ด้วยเสมอ จึงกล่าวได้ว่าสารอินทรีย์ คือสารประกอบของคาร์บอน 3. สำริด (Bronze) เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง (Copper; Cu) และดีบุก ซึ่งอาจมีการเติมธาตุเจือลงไปเล็กน้อย เพื่อปรับปรุงสมบัติ ให้มีความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน 4. ทองเหลือง (Brass) เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงและสังกะสี ซึ่งอาจมีการเติมธาตุเจือลงไปเล็กน้อย เพื่อปรับปรุงสมบัติให้มี ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน 5. อัญมณีเทียม (Artificial Gemstone) เป็นอัญมณีทท่ี ำขึน้ ด้วยวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ โดยมีสว่ นประกอบทางเคมี สมบัตทิ างกายภาพ ทางแสงเฉพาะตัวไม่เหมือนอัญมณีใดๆ แต่มีสีและลักษณะต่างๆ คล้ายเพชรหรือพลอยบางชนิด เช่น เพชรรัสเซีย (Cubic Zirconia; CZ) จีจีจี (GGG) แย็ก (YAG) สทรอนเชียม-ไททาเนต (Strontiumtitanate) แก้ว พลาสติก เป็นต้น อัญมณีเทียมไม่พบว่าเกิดขึ้น ตามธรรมชาติ ยกเว้นแก้ว การตรวจแยกอัญมณีเทียมออกจากอัญมณีชนิดอื่นๆ สามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยากมากนักเพราะอัญมณี เทียมชนิดต่างๆ มีสมบัติเฉพาะตัวอยู่แล้ว แต่ก็ต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยด้วย 6. อัญมณีเลียนแบบ (Imitation or Simulant) เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นเพื่อการเลียนแบบ โดยมีลักษณะบางประการหรือทั้งหมดคล้ายหรือ เหมือนอัญมณีธรรมชาติมาก บางครั้งจะเหมือนมากจนยากที่จะแยกได้ด้วยตาเปล่า อัญมณีธรรมชาติ อัญมณีสังเคราะห์ อัญมณีเทียมสามารถนำมาใช้ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบได้ทั้งหมด เช่น ใช้แร่เซอร์เพนทีน (Serpentine) แร่คาลซิโดนีสีเขียว (Green Chalcedony) ซึ่งเป็นอัญมณีธรรมชาติ ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบหยก (Jade) ใช้แซปไฟร์ไร้สีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอัญมณีสังเคราะห์ ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบเพชรใช้คิวบิกเซอร์เนีย แย็ก จีจีจี ซึ่งเป็นอัญมณีเทียม ทำเป็นอัญมณีเลียนแบบเพชร ใช้แก้ว พลาสติก ซึ่งเป็นอัญมณีเทียม ทำเป็นอัญมณีเทียมเลียนแบบอัญมณีอื่นๆ แทบทุกชนิด การตรวจแยกอัญมณีเลียนแบบในบางครั้งสามารถ ทำได้ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวิธีการธรรมดา แต่บางครั้งก็อาจต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย 7. อัญมณีสังเคราะห์ (Synthetic Gemstone) เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีส่วนประกอบทางเคมี สมบัติทาง กายภาพทางแสงเหมือนกับอัญมณีธรรมชาติ การตรวจแยกอัญมณีสังเคราะห์ออกจากอัญมณีธรรมชาติไม่สามารถทำได้ง่ายด้วย ตาเปล่าหรือวิธีการธรรมดา ต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย มนุษย์สามารถสังเคราะห์อัญมณี ขึ้นให้เหมือนกับอัญมณีธรรมชาติที่มีราคาสูงได้เกือบทุกชนิด เช่น เพชรสังเคราะห์ ทับทิมสังเคราะห์ ไพลินสังเคราะห์ มรกตสังเคราะห์ สปิเนลสังเคราะห์ เป็นต้น 8. อัญมณีประกบ (Assembled stone) เป็นอัญมณีที่ทำขึ้นโดยใช้ชิ้นส่วนของอัญมณีธรรมชาติประกบหรือปะเข้ากับอัญมณี สังเคราะห์ เช่น ใช้ไพลินจริงประกบกับไพลินสังเคราะห์ ทับทิมจริงประกบกับทับทิมสังเคราะห์ เป็นต้น (เพื่อหลอกลวง) ใช้ชิ้นส่วน ของอัญมณีธรรมชาติประกบกับอัญมณีเลียนแบบ เช่น ใช้โกเมนประกบกับแก้ว มรกตประกบกับแก้ว เป็นต้น (เพื่อหลอกลวง) ใช้ชิ้นส่วนของอัญมณีธรรมชาติประกบกับอัญมณีธรรมชาติ เช่น ใช้หยกจริงประกบกับหยกจริง เบริล (Beryl) จริงประกบ กับเบริลจริง เป็นต้น เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้น หรือเพื่อหลอกลวง ใช้โอปอล (Opal) ประกบ 2 ชั้นหรือ 3 ชั้น เพื่อปรับปรุงสี ความเป็นประกาย และ/หรือปรากฏการณ์ และเพื่อความคงทนถาวรขึ้น การตรวจแยกอัญมณีประกบสามารถทำได้ง่ายด้วยตาเปล่า หรือวิธีการธรรมดา อัญมณีที่ไม่อยู่ในตัวเรือนแล้วจะตรวจสอบได้ง่ายมากกว่าอัญมณีที่อยู่ในตัวเรือน 9. อัญมณีเพิ่มคุณภาพ (Enhanced gemstone) เป็นอัญมณีที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกหรือภายในโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อทำให้ได้อัญมณีที่ดูสวยงามคงทนมากขึ้น เช่น อัญมณีเคลือบสี (Coated Gemstone) อัญมณีเคลือบซึมสี (Color-diffused Gemstone) อัญมณีอาบรังสี (Irradiated Gemstone) อัญมณีย้อมสี (Dyed Gemstone) อัญมณีอุด (Fracture filling Gem stone) เป็นต้น สำหรับอัญมณีเผาหรือหุง (Heat-treated Gemstone) บางชนิด เช่น คอรันดัม เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอัญมณีแท้

66


10. ทองกะรัต (Gold Karat) เป็นทองคำผสมโลหะเจือ (Alloy) เช่น เงิน นิกเกิล (Nickel; Ni) ทองแดงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน และ/หรือปรับปรุงสมบัติทางกายภาพอื่นๆ เช่น สี จุดหลอมเหลว เป็นต้น โลหะเจือที่ผสมกับทองคำเพื่อใช้ทำเครื่องประดับ กำหนด เป็นอัตราส่วนของทองคำในโลหะเจือ นิยมระบุเป็นกะรัต (Karat) 11. Karat; K เป็นการบ่งชี้ถึงความบริสุทธิ์ของเนื้อทองคำว่า “มีความบริสุทธิ์เป็นเท่าใด” โดย 1 Karat (K) = 1/24 ของทองคำ โดยน้ำหนักในโลหะเจือ ดังนั้นทองคำ 24K คือทองคำบริสุทธิ์ 99.99% ส่วนทองคำ 22K, 18K, 14K และ 10K มีองค์ประกอบ ของทองคำโดยน้ำหนัก 91.6%, 75.0%, 58.3% และ 41.7% ตามลำดับ ซึ่งปริมาณทองคำหรือความบริสุทธิ์ของทองคำนี้ จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งานและความต้องการของแต่ละประเทศ 12. Carat; Ct เป็นหน่วยวัดน้ำหนักของเพชรหรืออัญมณีว่า “มีน้ำหนักเท่าไหร่” โดย 1 กะรัต = 200 มิลลิกรัมหรือ 1 กรัม = 5 กะรัต

เอกสารอ้างอิง พิเชษฐ ลิ้มสุวรรณ และ สุปาณี ลิ้มสุวรรณ. ฟิสิกส์กับอัญมณี. องค์การค้าของคุรุสภา: กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2544. หน้า 121-142. แม้น อมรสิทธิ์ และ สมชัย อัครทิวา. วัสดุวิศวกรรม. แมคกรอ-ฮิล: กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2545. หน้า ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2546. สุมาลี เทพโสพรรณ. วิเคราะห์อัญมณี. ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด: กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2539. J. Benjamin, Antique jewellery, Antique Collectors’ Club: Woodbridge, 2003. K. Flood, Warman’s jewelry: fine & costume jewelry, Krause Publications: Iola, WI, 4th edition, 2010. M. Bovin and P. M. Bovin, Centrifugal or Lost Wax Jewelry Casting, Forest Hill: New York, USA. 16th edition, 1998. O. Untracht, Traditional jewelry of India, Thames & Hudson: London, 1997. P. Proddow, American jewelry: glamour and tradition, Rizzoli: New York, 1987. S. G. Lewin, American art jewelry today, Thames and Hudson: London, 1994. S. Wannarumon, K. Unnanon, and E. L. J. Bohez, Intelligent computer system for jewelry design support, ComputerAided Design & Applications 2004, 1(4): 551-558. ภาพประกอบ 1. http://www.macklowegallery.com/images/CMS/Van%20Cleef%20earrings.jpg 2. http://www.steeljewelry.net/wp-content/uploads/2.jpg 3. http://www.americanjewelrycompany.com/catalog.php?view=1&os=32&sc=3#194 4. http://www.europeanjewellery.com/web/taxonomy/term/26 5. http://site.unbeatablesale.com/img193/fnjewv7226.gif http://site.unbeatablesale.com/img193/fnjewv7226.gif http://www.fairchildjewelers.com/images/products/peridot-&-green-diamond-rin.jpg http://www.cartier.com/var/cartier/storage/images/media/images/show-me/product-visuals/b4205200_1png/2105219-1-eng-MS/b4205200_1-png1_product_view.png 6. http://www.wilddivineproducts.com/wp-content/uploads/jewelry%20japanese.jpg 7. http://costumejewelleryonline.com/indianjhumkistyleearrings-pi-2819.html 8. http://www.jewelryadviser.us/wp-content/uploads/antique-style-tibetan-jewelry.jpg

67


มัณฑนากรกับการทำงานในช่วงการก่อสร้าง อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน บทนำ มัณฑนากร นอกจากมีหน้าที่ ในการออกแบบ ภายในโดยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานการนำเสนอ แล้ว ขั้นตอนระหว่างการดำเนินการก่อสร้างก็มีส่วนสำคัญ โดยเฉพาะ โครงการขนาดใหญ่ ที่มีลำดับขั้นตอน กระบวนการ ในการดำเนินการ มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องอยู่หลายอาชีพ ทำหน้าที่ร่วมมือกัน การจะทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น มัณฑนากรควรจะต้องรับทราบถึง ลำดับขั้นตอนการก่อสร้าง บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วิศวกร สถาปนิก และ ช่างผู้รับเหมา การทำงานร่วมกันบนแบบจนกระทั่ง สถานที่ ก่อสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ เพราะการก่อสร้างงานออกแบบภายในนั้นไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้อง อาศัยความร่วมมือในการทำงาน ความเข้าใจในลำดับขั้นตอนและหน้าที่จึงเป็นสิ่งที่มัณฑนากรจะต้องเรียนรู้เพื่อให้ เข้าใจการทำงานของผู้ร่วมงาน สามารถสร้างสรรค์ผลงาน ได้อย่างสมบูรณ์ทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย บทบาทและหน้าที่หลักของมัณฑนากร คือเป็น ผู้สรรค์สร้างงานออกแบบภายใน โดยผ่านกระบวนการ ทำงานตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวความคิดใน การออกแบบ วิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรม ร่างแบบ เขียนแบบ พัฒนาแบบ คัดสรรวัสดุตกแต่ง จนกระทั่งผลงาน มี ค วามสมบู ร ณ์ โ ดยผ่ า นวิ ธี ก ารนำเสนอเพื่ อ นำไปใช้ ก่อสร้างจริง เช่น แบบก่อสร้างงานออกแบบภายในทัศนียภาพ บอร์ดวัสดุตกแต่ง เอกสารการประกวดราคาและ การคิดราคากลาง จนกระทั่งได้ผู้รับเหมา เพื่อนำแบบไป ก่อสร้าง ซึ่งมัณฑนากรมีอีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญหลังจากงาน การออกแบบคือ “งานบริการช่วงการก่อสร้าง” งานบริการช่วงการก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งบทบาท งานบริ ก ารวิ ชาชีพของมัณฑนากรที่ต้องทำงานร่ ว มกั บ ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ เช่น ผู้รับเหมา วิศวกร สถาปนิก ผู้จัดการงานก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และช่างเทคนิค 68

แขนงต่างๆ สำหรับโครงการขนาดใหญ่ แล้วงานบริการช่วง การก่อสร้างมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วงเวลาที่ งานก่อสร้างกำลังดำเนินการอยู่ มักจะเกิดปัญหาต่างๆ อัน สืบเนื่องจากแบบงานออกแบบภายใน งานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานระบบ เทคนิคและวิธีการก่อสร้าง วัสดุ ก่อสร้าง เวลาในการก่อสร้าง งบประมาณการก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งมัณฑนากรควรเข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่มี ผลกระทบกับการออกแบบภายใน เป็นส่วนหนึ่งในการ บริการวิชาชีพ ตามข้อบังคับมาตรฐานสมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทยว่าด้วยการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดไว้ดังนี้ • แนะนำชี้แจง รายละเอียดของแบบ แก่ผู้เข้าร่วมประมูล งานตกแต่งภายใน • ให้ขอ้ มูลและรายละเอียดทีส่ บื เนือ่ งจากข้อมูลในแบบและ รายละเอียดประกอบแบบ • ตรวจสอบสถานทีต่ กแต่งภายใน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครัง้ • แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งอันเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ ที่เกี่ยวเนื่องกับรายละเอียดของแบบ • อนุมัติการใช้วัสดุอุปกรณ์และแบบขยายการก่อสร้างที่มี การเปลี่ยนแปลงจากแบบตามที่กำหนดให้ • ร่วมตรวจรับงานในแต่ละช่วงตามสัญญา เพื่อให้เจ้าของ โครงการทราบถึงปริมาณงานและคุณภาพของงาน 1 ในขั้นตอนตามที่กล่าวมาข้างต้นจะมีรายละเอียด และลักษณะการทำงานของแต่ละโครงการ ที่แตกต่างกัน ออกไปขึ้นอยู่แต่ละโครงการว่าจะมีการบริหารจะดำเนินการ ในลักษณะใดการบริการช่วง การก่อสร้างของแต่ละ โครงการจึงมีลักษณะที่แตกต่างๆ กันออกไป โดยผู้เขียน จะขอลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยรวมจากศึกษาและ 1 สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย, ข้อบังคับมาตรฐานสมาคม มัณฑนากรแห่งประเทศไทย (กรุงเทพฯ : สมาคมมัณฑนากรแห่ง ประเทศไทย, 2551), 38.


ประสบการณ์การทำงานดังนี้ 1. การชี้แจงแบบให้แก่เจ้าของโครงการ ผู้เข้าร่วมประมูล งานตกแต่งภายใน มัณฑนากรจะต้องเตรียมแบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ รายการวัสดุตกแต่งและเอกสารที่ เกี่ยวข้องให้ ผู้บริหารโครงการ หรือเจ้าของโครงการ นำไปเตรียมการจัดส่งเอกสาร ให้ผู้รับเหมาที​ี่เข้ามาร่วม ประมูลงานตกแต่งภายใน (บางโครงการมัณฑนากรจะเป็น ผู้เตรียมให้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลง) เพื่อให้ผู้รับเหมานำไป ศึกษาละคิดราคา โดยมัณฑนากรจะต้องตอบข้อซักถาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องงบประมาณ และราคา งานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องในแบบก่อสร้าง ยกตัวอย่าง เช่น ขนาดของหินที่ใช้ปูพื้นเป็นขนาดมาตรฐาน หรือสั่งตัดตาม ลวดลายเพราะราคาสั่งตัดราคาจะต่างกับขนาดมาตรฐาน มาก ซึ่งการเปลี่ยนวัสดุเหล่านี้มีผลกระทบต่องานออกแบบ ภายใน มัณฑนากรจึงต้องเข้าไปช่วยพิจารณาและแก้ไข เป็นต้น รวมทั้งการช่วยเจ้าของโครงการตัดสินใจคัดเลือก ผู้รับเหมา 2. การให้ข้อมูล และรายละเอียดในการออกแบบแก่ผู้รับ เหมา เมื่อประมูลงานได้ผู้รับเหมาตกแต่งภายในแล้ว ทางผู้ รับเหมาตกแต่งภายใน จะศึกษาแบบโดยละเอียด เพื่อจัดทำ SHOP DRAWING 2 เพื่อการก่อสร้าง ในขั้นตอนนี้ ผู้รับ เหมาจะมีคำถามเชิงเทคนิคในการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ยกตัวอย่าง เช่น รูปแบบการตกแต่งที่อยู่ในแบบติดขัด ปัญหาการก่อสร้างได้ จะขอดัดแปลงหรือพัฒนาแบบเป็น รูปแบบอื่นได้ หรือไม่หรือผ้าบุผนังที่ระบุมาไม่สามารถจัด ส่งได้ทันตามกำหนด มัณฑนากรจะต้องเลือกวัสดุเทียบ เคียงให้ หรือให้ผู้รับเหมา จัดส่งวัสดุเทียบเคียงมาให้ พิจารณา เป็นต้น ในขั้นตอนนี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ มัณฑนากรจะต้องส่งข้อมูล ในรูปแบบไฟล์ Auto Cad หรือ โปรแกรมเขียนแบบอื่นๆ เพื่อให้ผู้ควมคุมงานก่อสร้างส่ง ข้อมูลไปยังผู้รับเหมาหลัก และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้างงานออกแบบภายใน มี ความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละสำนักงาน เพราะใช้ สำหรับการควบคุมภายในสำนักงานนัน้ ๆจึงมักจะไม่สามารถ นำไปใช้กับสำนักงานอื่นๆ ได้ ดังนั้นหากมีการกำหนด มาตรฐานกลางที่ใช้เข้าใจร่วมกันได้ ก็จะช่วยลดต้นทุน

สามารถส่งผ่านข้อมูลในเชิงอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำเป็น ต้องมีการแปลงข้อมูล (Conversion) 3 3.การจัดทำแบบแก้ไขและพัฒนาแบบที่เกิดจากการแก้ไข ปัญหาในส่วนต่างๆ ในขั้นตอนการทำงานเมื่อผู้รับเหมา วิศวกรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาแบบงานออกแบบภายใน แล้ว อาจจะติดขัดปัญหาในบ้างเรื่อง ซึ่งอาจมีผลกระทบ อย่างมากต่อแบบการออกแบบภายในการจัดทำแบบแก้ไข อาจทำได้ในหลายลักษณะ เช่น - ชี้แจงด้วยเอกสาร ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเป็นลายลักษณ์ อักษร - ทำแบบแก้ไขเฉพาะจุดที่เกิดปัญหา - แก้ไขแบบใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้แทนแบบเก่า เมื่อสรุปผลการแก้ปัญหาแล้ว มัณฑนากรต้องจัด ทำแบบในส่วนที่ต้องแก้ไข (ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและสัญญา) เพื่อส่งให้ผู้บริหารโครงการ ผู้รับเหมาและผู้ที่เกี่ยวข้องรับ ทราบ 4. การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ในส่วนต่างๆ เมื่องานก่อสร้างได้ดำเนินการไปในส่วนต่างๆ แล้ว อาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องการงานก่อสร้างในส่วน ต่างๆ ซึ่งมัณฑนากรต้องประสานงานกับผู้ควบคุมงานหรือ ผู้รับเหมา สามารถแบ่งปัญหาของการออกแบบภายในกับ ส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้ดังนี้ 4.1 งานสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมเป็นงานที่ใกล้ชิดกับงานออก แบบภายในมากที่สุดจึงมักมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องระหว่าง งานออกแบบภายในกับงานสถาปัตยกรรมอยู่เป็นประจำ เพราะผนังภายนอกอาคารก็คือผนังภายในห้องทั้งสองส่วน เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นเวลาที่มัณฑนากรต้อง การปรับเปลี่ยนช่องเปิดของอาคาร ระดับความสูงภายใน หรือความกว้างของห้องก็จะกระทบกับงานถาปัตยกรรม ดังนั้นมัณฑนากรควรจะต้องประสานงานกับสถาปนิกเมื่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม ถือเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน 2 ภิรมย์ แจ่มใส และคณะ, จากเสาเข็มถึงหลังคา (กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2554), 150. 3 สมาคมสถาปนิกสยาม, คู่มือมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง ฉบับ 2549 (กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, 2549), 11.

69


4.2 งานวิศวกรรมโครงสร้างและสุขาภิบาล เป็นงานอีกส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบต่องานออกแบบภายใน และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานออกแบบภายใน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเสาอาคาร คานต่างๆ เป็นเสมือนกระดูกของอาคาร หรือช่องเปิดภายในที่ใช้เป็นช่องเดินท่องาน ระบบอาคารต่างๆ (ช่อง SHAFT & SERVICE) ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงอาคาร ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้อง มัณฑนากรจะต้องประสานงานกับวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรงานระบบสุขาภิบาล เพื่อแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวพันกัน เช่น เมื่อวิศวกรได้แบบครบถ้วนแล้วนำไปคำนวนแล้วพบว่าเสาอาคารควรจะต้องเพิ่มความหนาเพื่อเพิ่มจำนวนเหล็กเส้น เสริมการรับน้ำหนัก หรือการเสริมคานในส่วนต่างๆ ที่กระทบต่องานฝ้าเพดานของมัณฑนากรต้องขอปรับลดความสูงฝ้า เพดาน หรือการขอขยายช่อง SHAFT เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับวางท่อน้ำดี-ท่อน้ำทิ้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ข้อมูลจากทุก ฝ่ายครบถ้วนแล้ว ดังตัวอย่างตามภาพประกอบด้านล่าง

ภาพที่ 1 ภาพแสดงลักษณะปัญหาที่เกิดจากแบบงานออกแบบภายในไม่ตรงกับแบบช่อง SHAFT ของงานสุขาภิบาล ที่มา : COMBINE SHOP DRAWING ของบริษัท ฤทธา จำกัด

4.3 งานระบบปรับอากาศ เป็นงานที่เกี่ยวพันกับงานฝ้าเพดานและผนังของงานออกแบบภายในโดยตรง เพราะในปัจจุบันการออกแบบ โครงการขนาดใหญ่ระบบแอร์จะเป็นระบบการเดินท่อลมเย็น ซึ่งจะมีหัวเป่าลมเย็น Supply air grille (SAG) และหัว ดูดลมกลับ Return air grille (REG) จะอยู่บริเวณฝ้าเพดานหรือผนังขึ้นอยู่กับรูปแบบการออกแบบภายใน มัณฑนากร จะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งหัวจ่าย พร้อมลักษณะ ขนาด และรูปแบบหัวจ่ายเบื้องต้น หลังจากนั้นเมื่อวิศวกรได้แบบการ ออกแบบภายในแล้ว ก็จะทำการออกแบบงานระบบและรวมแบบ (Combine) เพื่อออกแบบการวางแนวท่อและการ ติดตั้ง ซึ่งในการออกแบบของวิศวกรอาจเกิดปัญหาบางประการ เช่น พื้นที่บนฝ้าเพดานน้อยเกินไป ท่อลมไม่สามารถ ผ่านได้แนวท่อตรงกับคานบนฝ้าเพดาน จึงต้องขอกดฝ้าลงมาในช่วงดังกล่าว หรือช่องหัวจ่ายและหัวดูดลมกลับมีพื้นที่ไม่ เพียงพอต่อการปรับอากาศภายในห้อง เป็นต้น หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษ มัณฑนากรควรจะต้อง ปรึกษากับวิศวกรออกแบบงานระบบปรับอากาศ เพื่อพัฒนารูปแบบให้สัมพันธ์ไปพร้อมกันทั้งการออกแบบภายในและ งานระบบปรับอากาศ 70


ภาพที่ 2 การรวมแบบ (Combine) ระหว่าง งานระบบปรับอากาศกับแบบ การออกแบบภายใน ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส

4.4 งานระบบไฟฟ้าและการส่องสว่าง ในส่วนนี้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวพันกับงานออกแบบภายในส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องงานออกแบบแสงสว่างและ DETAIL การติดตั้งตำแหน่งดวงโคม ปลั๊ก สวิซต์ ที่เกี่ยวข้องกับงานเฟอร์นิเจอร์การใช้งานภายในห้อง

ภาพที่ 3 การตรวจแก้ไข SHOP DRAWING ในส่วนที่งานระบบไฟฟ้าขัดแย้งกับ งานออกแบบภายใน ที่มา : บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

4.5 เทคนิควิธีการก่อสร้างและวัสดุ ในส่วนเทคนิควิธีการก่อสร้างและวัสดุ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานออกแบบภายใน หากมัณฑนากรมีความรอบรู้และ สามารถแนะนำหรือหาเทคนิควิธีการก่อสร้างที่ทันสมัยมาได้ ก็จะช่วยให้งานมีความประณีตมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่วิธี การก่อสร้างที่ช่วยประหยัดเวลาแรงงานรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ในงานก่อสร้างด้วยโดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ อย่างเช่น ตัวอย่างในภาพประกอบ 4 เป็นการนำเสนอวิธีการจบขอบฝ้าเพดานยิมซั่มที่เป็นช่อง SERVICE โดยการ ใช้อลูมิเนียม 71


5. การตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง ในช่วงระยะเวลาหลังจาก ที่ผู้รับเหมาอนุมัติแบบจากผู้ออกแบบไปแล้วผู้รับเหมาจะ นำไปดำเนินการก่อสร้างในขั้นตอนนี้ บางโครงการอาจ จัดทำห้องตัวอย่างหรืองานชิ้น ตัวอย่างในลักษณะต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของโครงการ เช่น - LAB ROOM เป็นการก่อสร้างห้องตัวอย่างขึ้นมาเพื่อ เช็ครายละเอียดและความถูกต้อง ส่วนใหญ่จะจัดทำขึ้นใน โครงการประเภทคอนโดมิเนียม โรงแรม อพาร์ตเมนต์ ที่ มีห้องแบบเดียวกันซ้ำๆ กันหลายห้อง - MOCK UP เป็นการก่อสร้างตัวอย่างช่วงหนึ่งในแบบ อาจเป็นผนัง เพดาน หรือพื้นที่มีรายละเอียดแตกต่างจาก ที่เคยก่อสร้างมา เพื่อเช็คความถูกต้อง โดยมัณฑนากรจะ ต้องเป็นผู้ตรวจสอบและอนุมัติเพื่อให้นำแบบ MOCK UP ไปดำเนินการก่อสร้างต่อไป การตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างนับว่ามีความสำคัญ ภาพที่ 4 การอนุมัติวัสดุและตัวจบขอบงานฝ้าเพดาน ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส อย่างยิ่งสำหรับวิชาชีพมัณฑนากร เพราะจะเริ่มเห็นมิติ มุมมอง รูปทรง สีสันบรรยากาศของสถานที่ในช่วงนี้ มัณฑนากรสามารถปรับเปลี่ยนแบบ วัสดุ รายละเอียด ต่างๆ ได้ เพื่อให้งานออกมาตรงตามความต้องการของ มัณฑนากรซึ่งมัณฑนากร ควรจัดทำเอกสารเป็นรายงาน การสำรวจโครงการเพื่อเป็นการยืนยันแก่ผู้รับเหมาว่าต้อง การที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนที่มีปัญหา และสามารถ ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการช่วยตรวจสอบหน้างานด้วย ตามรูปประกอบ 5 6. การเข้าร่วมประชุมโครงการก่อสร้าง ในโครงการขนาด ใหญ่ จะมีการประชุมโครงการก่อสร้าง ในช่วงเริ่มต้น โครงการประมาณสัปดาห์ละครั้ง และช่วงที่มีการก่อสร้าง เดือนละครั้ง (ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ) เพื่อสรุป ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างในฐานะมัณฑนากรผู้ ออกแบบภายในต้องเข้าร่วมประชุมโครงการก่อสร้างด้วย เพื่อรับฟังปัญหาประสานงานเรื่องข้อมูลต่างๆ และตอบ คำถามเกี่ยวกับงานออกแบบภายในที่ร่วมรับผิดชอบ เพื่อ ให้โครงการดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว ซึ่งนอกเหนือ จากการประชุมแล้ว ในปัจจุบันยังมีวิธีการประสานงานใน รูปแบบอื่นอีกมากมาย โดยเฉพาะบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภาพที่ 5 รายงานการสำรวจโครงการ SITE INSPECTION REPORT ที่บริษัทผู้ควบคุมงานได้จัดทำระบบไว้ (ขึ้นอยู่กับวิธีการ ที่มา : บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริหารของแต่ละโครงการ) เช่น การดูหน้างานผ่านระบบ 72


กล้อง CCTV การรวมตารางการประชุม การรวมข้อมูล ข่าวสาร บันทึกต่างๆ ผังการนัดหมาย ผังความคืบ หน้างาน ก่อสร้าง4 ซึ่งต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยทำให้มัณฑนากรสามารถ ทำงานได้ง่ายขึ้น 7. การอนุมัติการเปลี่ยนแปลงวัสดุ ในโครงการก่อสร้าง ต่างๆ แต่ละโครงการ อาจมีระยะเวลาการก่อสร้างที่ยาว นานอาจกินเวลา โดยประมาณ 1-2 ปี ดังนั้นหากแบบก่อสร้างงานออกแบบภายใน ออกแบบเสร็จตั้งแต่ในช่วงเริ่ม โครงการวัสดุต่างๆ ที่มัณฑนกรได้เลือกใช้ในการออกแบบ อาจจะเลิกผลิตไปแล้ว หรือการสเปกวัสดุที่ผิดพลาดเนื่อง จากการสเปกกันมาในตัง้ แต่สมัยเรียน เช่น พืน้ ไม้มะค่า ขนาด 4 นิ้ว 1,000 ตารางเมตร ซึ่งในประเทศไทยอาจจะหา ไม่ได้แล้ว 5 ดังนั้นมัณฑนากรควรจะต้องทราบเรื่องตลาด ของวัสดุพอสมควร เพื่อลดเวลา และปัญหาการเปลี่ยน แปลงวัสดุที่ผู้รับเหมาจะกลับมาสอบถามหรือให้วัสดุเทียบ เคียงมาให้มัณฑนากรเลือก 8. ร่วมตรวจรับงานในแต่ละช่วงตามสัญญางานก่อสร้าง ในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา จะมีการแบ่งงวดการจ่ายเงิน ออกเป็นช่วงๆ ทางผูร้ บั เหมาจะขอเบิกเงินเมือ่ งานก่อสร้าง ดำเนินการเสร็จตามกำหนดในสัญญา ในส่วนนี้มัณฑนากร จะต้องช่วยเจ้าของโครงการตรวจสอบความถูกต้อง และ ความสมบูรณ์ของงานในแต่ละช่วง เพื่ออนุมัติให้ผู้รับเหมา เบิกงวดงานได้ (ขึ้นอยู่ในสัญญาว่าจ้างด้วยว่าจะต้องเข้า ร่วมตรวจสอบด้วยหรือไม่ บางโครงการอาจไม่ได้ระบุใน สัญญา)

สรุป ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นรูปแบบงานบริการ ช่วงการก่อสร้างโดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งใน ส่วนงานที่มีขนาด เนื้องาน รายละเอียด และสัญญาว่าจ้างฯ ที่แตกต่างไปจากรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นอาจมีขั้นตอน และรายละเอียดที่มากหรือน้อยกว่านี้ มัณฑนากรควรจะ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะโครงการที่ตนเองกำลัง ดำเนินการก่อนที่จะวางแผนการทำงาน โดยทั้งหมดหาก มีบริการ ในส่วนนี้ควรจะแจ้งให้ทางเจ้าของโครงการทราบ อย่างชัดเจนถึงเรื่อง เวลา ค่าใช้จ่าย และตัวบุคคล ที่ มัณฑนากรจะเรียกเก็บค่าบริการวิชาชีพในส่วนนี้ งานบริการช่วงการก่อสร้างตามที่กล่าวมานับว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบวิชาชีพมัณฑนากร ในส่วนข้างต้น ที่ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ กระบวนการทำงาน ซึ่งการทำงานจริงอาจมีข้อตกลงและ รายละเอียดปลีกย่อยที่อาจจะน้อยหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะโครงการ ดังนั้นเพื่อให้งานที่ออกมามีคุณภาพ มัณฑนากรควรมีความรอบรู้ในวงกว้างในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รู้ ลึ ก ซึ้ ง ในวิ ช าช่ า งวั ส ดุ ก่ อ สร้ า งและการออกแบบต้ อ ง มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่รวดเร็ว การประสาน งาน ร่วมประชุม ควบคุมติดตามงาน การจัดทำเอกสาร บันทึกต่างๆ และการร่วมทำงานกับผู้อื่น ที่มาจากหลาก หลายสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไป ด้วยความราบรื่น เป็นอีกหน้าที่หนึ่งในสายอาชีพในฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพมัณฑนากรควรปฏิบัติ

4 ภิรมย์ แจ่มใส และคณะ, จากเสาเข็มถึงหลังคา (กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2554), 73. 5 ชัยวัฒน์ ทีปะนาวิน และ สมศักดิ์ อัสสุชลิตถี, การจัดการงานก่อสร้าง (กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, 2553), 30.

เอกสารอ้างอิง ชัยวัฒน์ ทีปะนาวิน และ สมศักดิ์ อัสสุชลิตถี.การจัดการงาน ก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, 2553. ภิรมย์ แจ่มใส และคณะ. จากเสาเข็มถึงหลังคา. กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2554. สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย, ข้อบังคับมาตรฐานสมาคม มัณฑนากรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมมัณฑนากร แห่งประเทศไทย, 2551. สมาคมสถาปนิกสยาม, คู่มือมาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง ฉบับ 2549. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, 2549.

73


การประยุกต์ผลงานจิตรกรรมเพื่องานออกแบบ (APPLIED PAINTING FOR DESIGN) อาจารย์อิทธิพล วิมลศิลป์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา เมื่อพูดถึงการประยุกต์ เราหมายถึง วิธีที่จะนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสิ่งของหรือวัตถุที่จับต้องได้ อีกนัยหนึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเป็นไปอย่างความเหมาะสม ในด้านศิลปะมนุษย์เราได้นำความงามของศิลปะมาประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน นั่นหมายความว่า นอกจากการดำรงชีวิตให้อยู่รอดแล้ว มนุษย์ยังต้องการปัจจัยที่สามารถตอบสนองทางจิตใจ ด้วย กล่าวได้ว่าเราต้องการปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตเช่นไร สิ่งที่ทำให้มนุษย์คงอยู่ได้อีกส่วนหนึ่งก็คือ ด้านจิตใจ เช่น การรับรสสัมผัสที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ได้เห็นสิ่งที่สวยงาม ได้ฟังเสียงไพเราะ ได้กลิ่นที่หอมหวน ความเป็นมา งานจิตรกรรมเป็นสื่อที่มีความเรียบง่าย ในวิธีการแสดงออก คือคิดอย่างไร สมองก็สามารถส่งผ่านคำสั่งมาที่ มือและแสดงออกได้อย่างฉับพลัน แต่ด้วยความเรียบง่ายนี้ ศิลปินจึงต้องเปี่ยมไปด้วยทักษะและวิธีแสดงออกที่น่าสนใจ นอกจากนี้ งานจิตรกรรมยังมีวิวัฒนาการด้านความคิดและวิธีการแสดงออกมาอย่างยาวนาน ในทางทัศนศิลป์ด้าน จิตรกรรม การใช้สีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างงานโดยสีที่มองเห็นนั้น ล้วนส่งผลทางด้านจิตใจที่แตกต่างกันไปดังจะเห็น ได้ว่าจิตแพทย์บางท่านได้ใช้สีในการบำบัดทางจิตให้กับคนไข้ การปรากฏของสีนั้นขึ้นอยู่กับแสง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญใน การมองเห็น ศิลปินในกลุ่ม Impressionism ได้ศึกษาสีในบรรยากาศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ ค้นพบว่า ในแสงนั้นก็มีสีอยู่ด้วย เมื่อนำแท่งแก้วปริซึมมาวางให้แสงผ่าน จะปรากฏแถบสี Spectrum เราพบว่างานจิตกรรมได้ไปปรากฏในที่ต่างๆ และมีการตอบสนองสังคมไปตามสภาพเศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อ เทคโนโลยี เช่น การแสดงออกในเรื่องความเชื่อ หรือสร้างงานเพื่อรับใช้ศาสนา หลังจากการล่มสลายของ Mesopotamia อาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง และแสดงออกถึงความสามารถในทางจิตรกรรม ได้แก่ Egypt ในยุคนี้ ได้ปรากฏ การใช้งานจิตรกรรมเพื่อการตกแต่งอย่างมากมาย อีกทั้งเริ่มปรากฏภาพเหมือนบุคคลในยุคนี้แล้วสีถูกนำมาใช้ วาดภาพเพื่อการตกแต่ง ทั้งจิตรกรรมบนฝาผนังการใช้สีตกแต่งส่วนต่างๆของอาคารหรือการระบายสีทับบนรูปปั้น ล้วน เป็นการใช้งานจิตกรรมไปร่วมกับการออกแบบที่มุ่งประโยชน์ใช้สอย ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและชีวิตหลัง ความตายเรื่องราวความเชื่อเหล่านั้น ถูกถ่ายทอดเป็นงานจิตรกรรมบนฝาผนัง และการวาดตกแต่งเสาและส่วนต่างๆ ใน ประเทศไทย พบหลักฐานการวาดภาพที่เป็นแบบอุดมคติทางศาสนาพุทธ โดยส่วนใหญ่เป็นการวาดเพื่อประดับ และเล่า เรื่องในพุทธศาสนา จิตรกรรมประยุกต์ จิตรกรรมประยุกต์ คือการใช้งานจิตรกรรมไปร่วมกับการออกแบบให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ด้วยการหาความ เชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างงานจิตรกรรม และการออกแบบ ดังที่กล่าวมาแล้วว่างานจิตรกรรมมีวิวัฒนาการ ทาง รูปแบบและวิธีคิดมาอย่างมากมาย ทำให้เกิดรูปแบบต่างๆมากมาย ในแต่ละยุคโดยเฉพาะในศิลปะตะวันตก จะเห็นได้ชัด ว่ามีความสอดคล้องกันในลักษณะของรูปแบบ ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม รวมไปถึงเครื่องเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ โดยองค์ประกอบใหญ่จะอยู่ที่งานด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากเป็นที่อยู่ของงานออกแบบอื่นๆ 74


ความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของศิลปะและงานออกแบบอื่นๆ ไปด้วย แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าสถาปัตยกรรมจะเป็นตัวกำหนดไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพราะในทุกยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงของโลก จะเกิดจากปัจจัยอันหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุโรป ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อการเมืองนิ่งสงบแล้ว ก็นำมาสู่การเปลี่ยน แปลงอื่นๆ ในช่วงต้น ศตวรรษที่ 20 เกิดการปฏิวัติอุสาหกรรม เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ก็มีความเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจดีขึ้น ผู้คนที่อยู่ในชนชั้นกลางเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นเศรษฐีใหม่ และ ใช้ชีวิตแบบมั่งคั่ง เกิดงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมยุค Art Nouveau เกิดสถาปัตยกรรมที่มีความแปลกใหม่ รวมทั้งความก้าวหน้าในวัสดุของระบบอุตสาหกรรม อย่างเช่นงานของ Antonio Gaudi งานจิตรกรรมในยุคนี้ ก็มีความ สอดคล้องไปด้วยเช่นกัน ผลงานของ Gustav Klimt จิตรกรชาวออสเตรีย เป็นงานจิตรกรรมทีม่ ลี กั ษณะทีเ่ หมาะกับการ ตกแต่ง เพราะมีการใส่ลวดลายในการตกแต่งภาพ ซึ่งลวดลายในงานศิลปินได้ประยุกต์และนำมาใช้ในงานออกแบบอื่นๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมักมีงานตกแต่งที่มัณฑนากรร่วมกับศิลปินในการออกแบบตกแต่งภายในอาคาร แต่จะสังเกตว่า งานบางชิ้นที่แสดงออกถึงความตายและความพลัดพรากหรือเกี่ยวกับการเกิดการตาย ของ Klimt ในงานชื่อ Death and Life เป็นภาพเกี่ยวกับการเกิดแก่เจ็บตาย ที่ดูแล้วเป็นเรื่องของชีวิตศิลปินไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการตกแต่ง แต่ต้องการ แสดงความคิดและความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความที่ศิลปะเป็นเรื่องของจิต ไม่สามารถมีเครื่องวัดหรือหน่วย ตวงใดมาวัดได้ว่า งานชิ้นนี้มีความเป็นศิลปะอยู่เท่าใด แต่สามารถใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เป็นตัวกำหนดได้ หรือ ความรู้สึกง่ายๆ เช่นชอบหรือไม่ สวยหรือไม่สวย ซึ่งก็จะมีคำถามตามมาอีกว่า ชอบเพราะอะไร ไม่ชอบเพราะอะไร สวย อย่างไร ไม่สวยอย่างไรหรือเข้ากันได้หรือไม่ ระหว่างของสองสิ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ทางศิลปะรวมถึงมี รสนิยมเช่นไร ปัจจัยสำคัญในการเชื่อมโยงงานจิตรกรรมกับการออกแบบเข้าด้วยกันโดยมุ่งเน้นให้เกิดความงามและประโยชน์ ใช้สอย มีดังต่อไปนี้ 1. ลักษณะและรูปแบบของงานจิตรกรรม 2. งานออกแบบที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย 3. การประยุกต์ งานจิตรกรรมสู่งานออกแบบ 1. ลักษณะและรูปแบบของงานจิตรกรรม รูปแบบของงานจิตรกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาวิธีคิด ซึ่งแฝงไปด้วย การรับรู้แล้วตอบสนองหรือถ่ายทอดออกไป มนุษย์เราสามารถรับรู้รสสัมผัสได้จาก อายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ปาก กาย ใจ แต่เราสามารถรับสัมผัสจากงานจิตรกรรมด้วยการมองทางตา เช่นนั้น งานจิตรกรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ที่เราเรียกว่า “ทัศนศิลป์“ ตาเป็นส่วนที่รับรู้ได้ง่ายและเร็วที่สุด โดยมีแสงเป็นปัจจัยสนับสนุน เพราะถ้าไม่มีแสงก็ไม่ สามารถมองเห็น การรับรู้นำมาสู่การเรียนรู้ และแสดงออก กล่าวได้ว่า มองด้วยตา รับรู้ด้วยใจ แสดงออกด้วยมือ การเรียนรู้ที่นำมาสู่การพัฒนารูปแบบ มีดังนี้ 1.1 เรียนรู้จากธรรมชาติ มนุษย์มีธรรมชาติของการแสดงออกและรู้จักที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวที่ปรากฏอยู่จริงตาม ธรรมชาติ และพัฒนาขึน้ มาจากการรูจ้ กั สังเกตและถ่ายทอดจากสิง่ ทีต่ าเห็น เมือ่ เริม่ แรกจะใช้วธิ กี ารสร้างสัญลักษณ์ หรือการสร้างรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย 1.2 เรียนรู้จากทักษะ เมื่อเรียนรู้จากธรรมชาติแล้วสังเกตมากแล้ว จึงเป็นเรื่องของการพัฒนาทางด้านทักษะ เพื่อเพิ่ม ศักยะภาพในการแสดงออก มีความสามารถถ่ายทอดจากธรรมชาติได้อย่างสมจริง เป็นสิ่งที่เกิดจากการฝึกฝน สังเกตและทดลอง 1.3 เรียนรู้จากประสบการณ์ เมื่อสั่งสมประสบการณ์มากพอ จึงสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ต่างๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมก็ดี หรือความชำนาญแบบในทักษะก็ดี เอามาวิเคราะห์ จนทำให้เกิดความแตกฉานทั้งข้อมูลและวิธีปฏิบัติ 75


2. งานออกแบบที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย เมื่อพูดถึงการออกแบบเรากำลังพูดถึง การคิดงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย เป็นงานที่เข้าไปตอบสนอง ความต้องการทางกายใน ขณะเดียวก็ต้องการสัมผัสทางใจด้วย งานในลักษณะนี้เราเรียกว่า ประยุกต์ศิลป์ โดยจะยก ตัวอย่างไว้ดังต่อไปนี้ - มัณฑนศิลป์ ( DECORATIVE ARTS ) คือการออกแบบตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร งานลักษณะนี้จะต้อง เชื่อมโยงแนวความคิด และ รูปแบบ กับงานด้านสถาปัตยกรรม - นิเทศน์ศิลป์ ( COMMERCIAL ARTS ) คืองานออกแบบเพื่อใช้ในการสื่อสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ - ออกแบบอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL DESIGN) คือการออกแบบวัตถุเครื่องใช้ ในระบบอุตสาหกรรม อันได้แก่ ออกแบบผลิตภัณฑ์ (PRODUCT DESIGN) ออกแบบเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบดินเผา (CERAMIC DESIGN) ออกแบบเครื่องประดับ (JEWELRY DESIGN) ออกแบบสิ่งทอ (TEXTILE DESIGN) เป็นต้น 3. การประยุกต์งานจิตรกรรมสู่งานออกแบบ ในข้อนี้เป็นการนำ 2 หัวข้อข้างต้นมาเชื่อมโยงกันโดยให้จุดเริ่มต้นอยู่ที่งานจิตรกรรมเพราะเป็นการนำคุณค่า ศิลปะทางด้านจิตรกรรมมาใช้ในการออกแบบ หมายความว่า ผลงานจิตรกรรมมีส่วนช่วยเพิ่มคุณค่า หรืออาจวัดเป็น มูลค่า ให้กับงานออกแบบ ซึ่งหากจะพิจารณาจาก 2 แบบข้างต้น ถือว่ามีความแตกต่างกันมาก เพราะแบบแรกเน้นการ แสดงออกของศิลปินอย่างตรงไปตรงมาในการแสดงคุณค่าความเป็นศิลปะ ส่วนในแบบที่ 2 เน้นในเรื่องประโยชน์ใช้ สอยมาก่อน แล้วนำศิลปะไปเสริมให้กับงานออกแบบนั้นๆ เช่น ออกแบบเก้าอี้ โจทย์ที่ตั้งไว้ก็บอกอยู่แล้วว่าประโยชน์ ใช้สอยต้องมาก่อน การออกแบบจึงมุ่งไปที่การใช้ประโยชน์คือการใช้เพื่อสำหรับนั่ง แล้วก็มีคำถามต่อไปอีกว่า จะใช้นั่ง ที่ไหนอย่างไร นั่งในห้องรับประทานอาหาร นั่งเพื่อทำงาน นั่งเพื่อพักผ่อน ศิลปินหลายท่านได้ใช้งานจิตรกรรมของตน ไปประยุกต์เข้ากับงานออกแบบต่างๆ แต่ยังคงคุณค่าทางศิลปะ คือ มีลักษณะในการทำงานร่วมกันดังนี้ 3.1 งานจิตรกรรมที่เข้าไปติดตั้งร่วมกับงานออกแบบ คือ การเข้าไปร่วมด้วยมีแนวคิดที่สอดคล้องกัน มีลักษณะเป็นการ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน หมายความว่า การเข้าไปร่วมนั้นได้ไปส่งเสริมหรือสนับสนุนแนวความคิดของงานออกแบบให้มี คุณค่า เช่น การนำภาพวาดเข้าไปติดตั้งในอาคาร ซึ่งมีแนวคิดและมีรูปแบบที่สอดคล้องกัน โดยมีกระบวนการคิดในการ จัดการกับพื้นที่กับวิธีติดตั้งอย่างเหมาะสม อีกลักษณะหนึ่งที่เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัว ด้วยงานออกแบบและ งานจิตรกรรมได้ถูกออกแบบร่วมกันเพราะมีแนวความคิด ที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น การออกแบบวิหาร SISTINE CHAPEL ที่ MICHELANGELO เป็นผู้วาดจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมได้ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งกับอาคาร และ การตกแต่งอื่นๆ ศิลปินได้วาดเรื่องราวตามพระคัมภีร์โดย ศิลปินวาดเรื่องราวต่างๆ ไปตามช่องที่ถูกแบ่งด้วยการวาด เป็นเสาและจั่ว ซึ่งภาพวาดจะล้อรับไปกับโครงสร้างของ อาคารและเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง ในขณะเดียวกัน ศิลปินสามารถแสดงออก ตามแรงบันดาลใจ ที่ได้จาก คริสต์ศาสนา จิตรกรรมฝาผนังวิหาร SISTINE CHAPEL ผลงานของ MICHELANGELO

76


3.2 งานจิตรกรรมทีเ่ ป็นต้นแบบของงานออกแบบ เป็นการ สร้างงานออกแบบทีม่ ปี ระโยชน์ใช้สอยโดยใช้งานจิตรกรรม เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน คือนำเอารูปแบบของ งานจิตรกรรมมาสร้าง ทำให้งานออกแบบนั้น มีคุณค่าใน งานศิลปะไปด้วย เช่น ผลงานออกแบบเก้าอี้ของ PIET MONDRIAN ซึ่งเป็นศิลปินจิตรกรรมที่มีรูปแบบงานนามธรรม (ABSTRACT) ใช้เส้นเป็นตัวแบ่งพื้นที่ว่างและใช้ แม่สี ซึ่งศิลปินเห็นว่าเป็นสีที่มีความสำคัญ และนำมาเป็น องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบเก้าอี้ ซึ่งเก้าอี้ ที่ ออกแบบมานั้น ก็ยังคงความสำคัญของการใช้เส้นในการ แบ่งพื้นที่ว่าง ทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่างของพื้นระนาบ แสดงให้เห็นถึงการใช้ทัศนธาตุในงานจิตรกรรมประยุกต์ มาใช้ในการออกแบบ การพิจารณาเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างจิตรกรรมกับ งานออกแบบ จึงเป็นการหาความสอดคล้องของงานทั้ง 2 แบบ โดยมองได้จาก ประการแรก คือ มีแนวคิดสอดคล้องกัน ประการที่สอง คือมีรูปแบบที่เชื่อมโยงกัน ประการที่สาม เป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งที่มีรูปแบบแตกต่างกัน แต่มี วิธีการยำรวมได้อย่างเหมาะสม ทั้งหมดนี้เกิดจากการ บู ร ณาการความรู้ แ ละเข้ า ใจถึ ง หน้ า ที่ ข องสิ่ ง ที่ แ ตกต่ า ง และสามารถสร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดงานออกแบบที่ เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางศิลปะ

จิตรกรรมนามธรรมของ PIET MONDRIAN และ การประยุกต์เป็นงานออกแบบเก้าอี้

หนังสืออ้างอิง ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์ “ทัศนศิลป์ การออกแบบพานิชยศิลป์“ กรุงเทพฯ: หลักไทยช่างพิมพ์, 2550 อิทธิพล ตั้งโฉลก “แนวทางการสอนและสร้างสรรค์ จิตรกรรมขั้นสูง“ กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ( มหาชน ) , 2550 Horst de la Croix & Richard G. Tansey “Art through the Ages“ New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1976 ข้อมูลภาพ www.visitingdc.com/rome/sistine - chapel - picture www.en.wikipedia.org/wiki/file:Mondrin Composition 2 www.Madamepickwickartblog.com/…/08/Mondrian32.jpg

77


ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์ต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น: การแปลความหมายและการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเครื่องประดับ อาจารย์ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ บทคัดย่อ บทความชิ้นนี้ มุ่งเน้นการนำเสนออิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) อันส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ของคนไทย ทั้งในเชิงวัฒนธรรม สังคม ศิลปะ งานออกแบบและงานหัตถกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานออกแบบสำหรับ อุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีไทย โดยจะเน้นในเรื่องของเครื่องประดับร่วมสมัยและศิลปะเครื่องประดับ รวม ถึงข้อเสนอแนะสำหรับนักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทย เพื่อให้สามารถรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ อย่างแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะหยัดยืนเพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีประจำถิ่น เอาไว้ และพร้อมที่จะเริ่มต้นกำหนดนิยามใหม่ของการออกแบบเครื่องประดับสำหรับอนาคต ระบบเศรษฐกิจระดับชาติในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเอื้อประโยชน์ให้เกิดการทำธุรกิจในระดับนานาชาติง่ายมาก ขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ก่อให้เกิดการค้าขายข้ามชาติในระดับต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้คนไทย ต้องบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างชาติ ในขณะเดียวกันสินค้าที่คนไทยผลิตได้ กลับต้องส่งออกให้กับต่างชาติเช่นกัน ด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่น ศิลปะ การประกอบธุรกิจ แนวโน้มด้านดนตรี ผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งแฟชั่น สามารถที่จะเลื่อนไหลแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสากล ของโลก มีผลก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในหลายๆ มิติ เสมือนดังการถักทอของกันของใยผ้า ทำให้ขอบเขตของ ความเป็นชาติไม่สามารถอ้างอิงได้กับการค้า การเงิน การลงทุน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม เหมือนในอดีตได้อีกต่อไป ประเทศไทย ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจาก กระแสโลกาภิวัฒน์ ผ่านทางการเลียนแบบการใช้ชีวิตของชาวตะวันตกและ/หรือชาวตะวันออกบางประเทศ รวมทั้งการ เป็นฐานการผลิตให้กับองค์กรการค้าเครื่องประดับและอัญมณีต่างชาติ การคุกคามครอบคลุมอิทธิพลโดยวัฒนธรรม ต่างชาติจะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและปรัชญาการออกแบบของไทยอย่างไร และบริษัทคนไทย รวมทั้งนักออกแบบ ไทยจะสามารถต้านทานหรือดำรงรักษาอัตลักษณ์ของงานออกแบบของชาติพันธ์ไว้ ท่ามกลางกระแสโลกอันเชี่ยวกราก นี้ได้อย่างไร เหล่านี้เป็นคำถามที่บทความนี้ให้ความสำคัญ ในการเสาะหาความเป็นไปได้ของคำตอบในการออกแบบเชิง วัฒนธรรม เมือ่ บริษทั ยักษ์ใหญ่ในโลกพยายามทีจ่ ะสร้างสรรค์งานออกแบบทีส่ ามารถตอบสนองหรือมีอทิ ธิพลต่อตลาดโลก อิทธิพลนี้เป็นผลก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เหมือนๆ กันทั่วโลก ไม่มีความแตกต่างของอัตลักษณ์ทางความคิดที่สัมพันธ์กับ วัฒนธรรม ประเพณีและ/หรือสภาพภูมิประเทศและแหล่งทรัพยากร เพื่อที่จะให้ได้งานออกแบบสำหรับการตอบสนอง ตลาดโลกเพียงอย่างเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วในฐานะนักออกแบบเราควรจะเป็นผู้นำในค้นหาทิศทางการออกแบบในทาง อื่นหรือไม่ เช่น การต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์แล้วส่งเสริมกระแสท้องถิ่นภิวัฒน์ หรือการผสมผสานกันของปัจจัย ภายนอก (กระแสโลกาภิวัฒน์) กับปัจจัยภายใน (กระแสท้องถิ่นภิวัฒน์) เพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่ในการออกแบบต่อ สาธารณะแทนทีง่ านออกแบบทีม่ งุ่ เน้นผลกำไรทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ หรือควรให้ ความสนใจกับยุคหลัง 11 กันยายน เพื่อต่อสู้และสร้างสรรค์ผลงานออกแบบอันแสดงถึงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์แห่ง ชุมชนท้องถิ่น อะไรควรจะเป็นวิถีทางที่เหมาะสมสำหรับสังคมและอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย เพื่ออยู่รอดด้วยศิลปะ 78


วัฒนธรรมและการออกแบบที่สร้างสรรค์โดยอัตลักษณ์ของไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่าโดยภาพรวม จะมีความหลากหลายในด้านการออกแบบเกิดขึ้นและจะมีช่องทางเฉพาะ (Niche avenues) ให้นักออกแบบไทยได้ค้นหาอีกมากในอนาคต จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศิลปะและ งานออกแบบทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการผสมผสานกันของประสบการณ์ ความปรารถนา และความต้องการที่หลากหลายขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลง การกลายและการผสมผสานกันระหว่างชุมชน ท้องถิ่นและโลกในหลายๆมิติ รวมทั้งการตีความใหม่ของความเป็นไทยในฐานะท้องถิ่น (Local) และสากล (Global) ทำให้เกิดการผสมผสาน (Hybridizations) และเกิดการสร้างความคิดที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของการ ออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยเชิงวัฒนธรรมไทย (Thai contemporary cultural jewelry design idetity) บทนำ ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในเรื่องของการผลิตเครื่องประดับ อัญมณีและโลหะภัณฑ์ (เครื่องเงิน เครื่องทอง) สำหรับคนไทยแล้วเครือ่ งประดับมีบทบาทสำคัญในสังคมและถือเป็นสัญลักษณ์อนั บ่งบอก ถึงฐานันดรและ สถานะภาพทางสังคม (ภาพที่ 1) รวมทั้งความเชื่อทางศาสนาวัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ (ภาพที่ 2) มานานนับตั้งแต่ การก่อตั้งประเทศสยามขึ้นมา และด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตเครื่องประดับอัญมณีและโลหะภัณฑ์ รวมทั้งช่างฝีมือในอุตสาหกรรม นี้ จึงได้มีการพัฒนางานฝีมือของตนที่แตกต่าง รวมทั้งสั่งสมบ่มเพาะแนวคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและกรรมวิธีผลิต ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองเรื่อยมา จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยน เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมและโลกาภิวัฒน์ในที่สุด ผลจากการแผ่ขยายอำนาจของทุนนิยม ซึ่งนับเป็นเครื่องมือสำคัญของแนวคิดโลกาภิวัฒน์ ประเทศไทยได้ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมแห่งชาติ จากประเทศที่ร่ำรวยศิลปวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานของสังคมเกษตรกรรมไปสู่ การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากการเปลีย่ นแปลงครัง้ นีค้ อื ช่องว่างอันกว้างใหญ่ระหว่างสังคมเกษตรกรรม

ภาพที่ 1 เครือ่ งประดับไทยในบริบทของสัญญะของชนชัน้ ทางสังคม ที่มาของภาพ : The Ministry of Industry. 2006. Bangkok Fashion Now & Tomorrow, Stone. Bangkok : TTIS Co., Ltd.

ภาพที่ 2 เครื่องประดับไทยในบริบทของสัญญะความเชื่อทาง ศาสนาและวัฒนธรรม ที่มาของภาพ : The Ministry of Industry. 2006. Bangkok Fashion Now & Tomorrow, Stone. Bangkok : TTIS Co., Ltd.

79


และสังคมอุตสาหกรรมซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัว มาก่อน ดังนั้น ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยจึง กลายเป็นเพียงประเทศผู้รับจ้างผลิตสำหรับบริษัทข้ามชาติ ทั่วโลก กล่าวคือ ประเทศไทยไม่ได้เตรียมตัวและ/หรือ พัฒนาการออกแบบของไทยไปพร้อมๆ กับการพัฒนา อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องประดับและอัญมณี นับจากที่ประเทศไทยได้ก้าวกระโดดเข้าสู่ตลาด โลก ในฐานะประเทศที่รับช่วงการผลิต (Outsourcing country) ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องประดับและอัญมณี ด้วยค่าแรงของคนงาน ไทยซึ่งมีอัตราต่ำคือปัจจัยหลักที่เชิญชวนให้บริษัทข้ามชาติ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง ประดับของไทยมีบทบาทที่จำกัด ในแง่ของการพัฒนาและ การสร้างความเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมนี้โดยภาพ รวมทัง้ กระบวนการผลิตและการออกแบบดังนัน้ การพัฒนา อุตสาหกรรมเครื่องประดับในส่วนของการออกแบบโดยใช้ ความคิดสร้างสรรค์และกรรมวิธีผลิต รวมทั้งเทคโนโลยีที่ เกีย่ วข้องเพือ่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นน้ั ๆ จึงถูกทำลาย โดยสิ้นเชิง ไม่มีบริษัทเครื่องประดับไทยแห่งใด คิดที่จะ สร้างสรรค์แนวคิดและงานออกแบบ หรือกรรมวิธีผลิตที่มี เอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อสร้างเสริมให้งานออกแบบและ ตราสินค้าเครื่องประดับไทยได้ยืนหยัดในเวทีโลก นอกจาก นี้บริษัทเครื่องประดับไทยยังรู้สึกด้วยว่า การผลิตให้กับ บริษัทข้ามชาติโดยได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยนั้นเป็น เรื่องน่าพอใจแล้ว โดยหาได้ตระหนักไม่ว่า มูลค่าของสินค้า เหล่านัน้ ถูกบวกเพิม่ ขึน้ อีกมากมายแค่ไหนเมือ่ บริษทั เหล่านี้ นำไปขายในตลาดโลก ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทเครื่องประดับ ไทยจำนวนมาก ยังลอกเลียนผลงานการออกแบบของ บริษทั ต่างชาติทมี่ ตี ราสินค้าทีม่ ชี อื่ เสียงอีก ด้วยบทบาทของ นักออกแบบและช่างฝีมือไทยจึงถูกจำกัดอยู่เพียงการลอก เลียนแบบหรือคิดหาวิธที จ่ี ะลอกเลียนแบบสินค้าทีม่ ชี อ่ื เสียง ของชาวต่างชาติเท่านั้น การปรากฏตัวขึ้นของจีน และเวียดนาม (อินเดีย) ในช่วงเวลา 10-15 ปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมเครื่อง ประดับและอัญมณีไทย ไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศ เหล่านั้นด้วยอัตราค่าแรงแต่เพียงอย่างเดียว (ถึงแม้ว่าช่าง 80

ไทยเราจะมีฝีมือดีกว่าก็ตาม) เนื่องจากประเทศเหล่านั้นมี ค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงของไทย และหนึ่งในด้านลบของระบบ ทุนนิยมก็คือ การตักตวงผลประโยชน์ทั้งด้านทรัพยากร ธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ด้วยการว่าจ้างแรงงานต่าง ชาติที่ยากจนในราคาถูก ที่ใดก็ตามที่มีแรงงานราคาถูก บริษัทต่างๆในประเทศอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลเหล่านี้ก็จะ พากันเคลื่อนย้ายเข้าไปในประเทศนั้นทันที โดยไม่ทิ้งอะไร ไว้สำหรับแรงงานในประเทศที่ถูกตักตวงผลประโยชน์ก่อน หน้านี้ ถึงแม้วา่ ประเทศไทยจะเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะประเทศ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเครื่องประดับระดับแนวหน้าของโลก เนื่องจากมีความได้เปรียบในเรื่องพลอยสี ทักษะและงาน ฝีมือในการผลิตรวมทั้งช่างผู้ผลิต แต่นั่นก็ทำให้เรากลาย เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ได้แต่รับจ้างผลิตให้กับบริษัท ข้ามชาติเพียงเท่านั้น โดยไม่มีการพัฒนางานออกแบบที่มี เอกลักษณ์ของเราเองเลย (ภาพที่ 3) เครื่องประดับในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. เครื่องประดับไทยนิยม (Traditional Thai jewelry) 2. เครื่องประดับประเภทคอสตูม (Costume jewelry) 3. เครื่องประดับแท้ (Fine jewelry) สำหรับเครื่องประดับประเภทคอสตูม (Costume jewelry) และเครื่องประดับแท้ (Fine jewelry) นั้น ผลิต ในระบบอุตสาหกรรมและผลิตจำนวนมากโดยส่วนใหญ่ เพื่อการจำหน่ายในห้างขนาดใหญ่และส่งออกให้กับบริษัท ข้ามชาติ ขณะที่เครื่องประดับไทยนิยม (Traditional Thai jewelry) ซึ่งผลิตด้วยมือ ส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายในร้านค้า

ภาพที่ 3

ตัวอย่างเครื่องประดับของอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย ที่มาของภาพ : http://th.88db.com/Fashion-Acces sories/Jewelry/ad-334536/ (ภาพซ้าย) ที่มาของภาพ : http://th.88db.com/FashionAccessories/Jewelry/ad-269361/ (ภาพขวา)


เครื่องประดับเล็กๆกระจายอยู่ทั่วประเทศ ในสถานที่ที่ช่าง และสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการออกแบบและการผลิต โดยส่วนใหญ่มีการออกแบบที่คงไว้ซึ่งลวดลายแบบไทยใน แต่ละท้องถิ่น

ภาพที่ 4 เครื่องประดับประเพณีไทยนิยม (Traditional Thai jewelry) เครื่องประดับทองสุโขทัย (ภาพซ้าย) เครื่องประดับเงินบ้านเขวาสินรินทร์ (ภาพขวา ที่มาของภาพ : http://www.silverhandcraft.com (ภาพซ้าย)

อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ระบบเศรษฐกิจระดับชาติในปัจจุบัน ดูเหมือนจะ เอื้อประโยชน์ให้เกิดการทำธุรกิจในระดับนานาชาติง่าย มากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ก่อให้เกิดการค้าขายข้ามชาติใน ระดับต่างๆทีเ่ พิม่ มากขึน้ อย่างทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนทำให้ คนไทยต้ อ งบริ โ ภคสิ น ค้ า นำเข้ า จากต่ า งชาติ ใ นขณะ เดียวกัน สินค้าที่คนไทยผลิตได้ กลับต้องส่งออกให้กับ ต่างชาติเช่นกัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กระแส ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ศิลปะ การประกอบธุรกิจแนวโน้มด้าน ดนตรีผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งแฟชั่น สามารถที่จะเลื่อนไหล แพร่กระจายไปทัว่ ทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วทำให้เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของโลกมีผลก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อม โยงกันในหลายๆมิติ เสมือนดังการถักทอของกันของใยผ้า ทำให้ขอบเขตของความเป็นชาติ ไม่สามารถอ้างอิงได้กับ การค้า การเงิน การลงทุน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ในเชิง สังคมและวัฒนธรรมเหมือนในอดีตได้อีกต่อไป

ภาพที่ 5 เครื่องประดับคอสตูม (Costume jewelry) ที่มาของภาพ : The Ministry of Industry. 2006. Bangkok Fashion Now & Tomorrow, Stone. Bangkok : TTIS Co., Ltd.

ภาพที่ 6 เครื่องประดับแท้ (Fine jewelry) ที่มาของภาพ : http://www.amyxfinejewelry.com/ (ภาพกลาง) ที่มาของภาพ : http://www.160grams.com/magazine/2010-2011/ march-april-issue/jewellery.php (ภาพล่าง)

81


ภาพที่ 6 อิทธิพลวิถีชีวิตของชาวตะวันตกที่เข้ามาครอบงำ ชีวิตประจำวันและวัฒธรรมไทย ที่มาของภาพ : http://www.travelpod.com/s/photos/ macdonald+hotel (ภาพซ้าย) ที่มาของภาพ : http://www.hiphoprx.com/2007/06/11/ akon-signs-brooklyn-rapper-red-cafe-to his-label-konvict-music/ (ภาพขวา)

ภาพที่ 7 โฆษณานักจัดรายการวิทยุชาวไทยและสถานีวิทยุใน ประเทศไทย ที่มาของภาพ : http://www.myspace.com/djaybuddah/ photos/226979117BImageId3A226979117D

ภาพที่ 8 แฟชั่นเครื่องประดับของวัยรุ่นไทย ที่มาของภาพ : http://www.dek-d.com/board/view. php?id=1454507

82

วิกฤติแห่งอัตลักษณ์ วิกฤติแห่งอัตลักษณ์อันหมายถึงความเป็นตัวตน ของไทยในวิถีแห่งวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยได้รับ ผลกระทบอย่างรุนแรงจากกระแสโลกาภิวัฒน์ซึ่งหลั่งไหล เข้ามาในรูปของทุน-นิยมรวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ต โดยนัยหนึ่งระบอบทุนนิยม ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตและความเป็น อยู่ของมนุษย์ ซึ่งถูกยกระดับให้มีความเท่าเทียมกันมากยิ่ง ขึ้น อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ชาติ ทีม่ อี ทิ ธิพลมากกว่าและเข้มแข็งกว่ามีเครือข่ายการค้ากว้าง ไกลกว่า มักจะมีมือที่ยาวกว่าในการไขว่คว้าและฉกฉวย ผลประโยชน์มาครอบครอง ดังนั้น เมื่อใดก็ตามหากใคร คนหนึ่งกล่าวถึงโลกาภิวัฒน์ เขาก็ไม่ควรลืมที่จะกล่าวถึง ทุนนิยมด้วยเพราะในความเป็นจริงทั้งสองสิ่งได้ เติบโต อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอดเนื่องเพราะทุนนิยม คือเครื่องมือที่สำคัญของแนวคิดโลกาภิวัฒน์ และนี่คือ ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ความเป็นชาติและอัตลักษณ์ท้องถิ่น ถูกลบเลือนหรือกลืนหายไป (ภาพ 7) ประเทศไทยเองก็ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ วัฒนธรรมไทยได้รับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์เช่นกัน ผ่านการลอกเลียนแบบวิถีชีวิตแบบตะวันตกและชาวตะวัน ออกบางประเทศ รวมทั้งในฐานะที่เป็นประเทศผู้รับจ้าง ผลิตให้กบั บริษทั ข้ามชาติตา่ งๆ การถูกครอบงำหรือถูกกลืน กินโดยวัฒนธรรมต่างชาตินี้ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมและการออกแบบของไทยเอง ทำให้การออกแบบเครื่องประดับในประเทศไทยส่วนใหญ่ แทบจะไม่หลงเหลือกลิ่นอายของความเป็นไทยอยู่เลยและ ทำให้งานออกแบบเครื่องประดับในประเทศไทย แทบไม่


แตกต่างอะไรจากที่พบเห็นในนิวยอร์ก ปารีส และโตเกียว หรือที่อื่นๆ (ภาพที่ 9-10) ภายใต้การครอบงำของกระแสโลกาภิวัตน์ การ ทะลักเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ สินค้า และวิถีชีวิตได้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วต่อวัฒนธรรมและ โครงสร้างเศรษฐกิจทัว่ โลกรวมถึงประเทศไทยด้วย ด้วยการ ทีบ่ ริษัทข้ามชาติทั้งหลายได้ออกไปก่อตั้งสำนักงานร้านค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์และโรงงานผลิต ในทั่วโลก ระบบอินเทอร์เน็ตยังคงขยายตัวอยู่ต่อไปโดย ไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของอัตลักษณ์สากล (Global identities) เพือ่ กลืนกินอัตลักษณ์แห่งชุมชนท้องถิน่ (Local identities) อย่างต่อเนื่องประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ โลกาภิวัตน์ มุ่งเน้นการสร้างเงื่อนไขการติดต่อเชื่อมโยง ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นระหว่างระดับโลกและระดับชาติ การ ขยายตัวของการค้าในระดับนานาชาติของเครื่องประดับ เพลง แฟชั่น และผลิตภัณฑ์อื่นจำนวนมากเชื่อมโยงไป กับการขยายตัวของสื่อและระบบการสื่อสารต่างๆ ที่ไม่มี ขอบเขตจำกัด แต่ในขณะเดียวกันนั่นหมายถึงการก่อให้ เกิ ด การตระหนั ก ถึ ง ความรู้ สึ ก ของการเป็ น ตั ว ตนของ ท้องถิ่นในบางประเด็น ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดใน ความขัดแย้งของสองเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะแปลความได้ว่านี่คือ ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างความเหมือนกันและความ แตกต่างกัน ทีจ่ ะเป็นตัวกำหนดสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในขณะนีแ้ ละใน อนาคตได้ปัจจุบัน ระบบสื่อสารดาวเทียมและเคเบิล นำมา ซึ่งสภาพแวดล้อมรูปแบบใหม่ในโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยน แปลงเอกลักษณ์ของประเทศ ชนชาติ และวัฒนธรรม เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการขนส่ง ได้ก่อให้เกิดสภาพภูมิศาสตร์ใหม่ขึ้นมาโดยยึดถือสภาพ ภูมิศาสตร์ของเขตแดนน้อยลงแต่ยึตามการลื่นไหลของ ข้อมูลและรูปภาพมากขึน้ ในยุคโลกาภิวตั น์นข้ี อ้ มูลเกีย่ วกับ คน รูปภาพ งานศิลปะ งานออกแบบ และวัตถุอื่นๆ มี การลื่นไหลไปทั่วโลก ภายใต้กระบวนการดังกล่าว เป็น เรื่องยากมากขึ้นที่จะกำหนดขอบเขตของชุมชน ชนชาติ หรือประเทศชาติ ซึ่งยังคงอยู่ที่นั่นก็จริง แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ได้อีกต่อไป ทำให้ขอบเขตทาง กายภาพถูกมองข้ามและลดทอนบทบาทลงไป ด้วยช่องว่าง ที่กว้างขึ้นของขอบเขตดังกล่าวการกำหนดประเภทของ

ชนชาติ เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์แบบเก่า จะต้องถูกสร้างความสมดุล ด้วยการสร้างขอบเขต ที่เป็น เอกลักษณ์แบบใหม่ คือ “สัญลักษณ์ของภาษาและวัฒนธรรม” (Symbolic boundaries of language and culture) ถึงแม้ว่าสภาพภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้จะก่อ ให้ เ กิ ด วิ ก ฤติ ก ารณ์ ด้ า นความคิ ด เกี่ ย วกั บ เชื้ อ ชาติ แ ละ อัตลักษณ์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้สร้างความตระหนักรู้ และกิจกรรมใหม่ๆ ของท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

ภาพที่ 9 ตัวอย่างเครื่องประดับไทย (ต่างหู) โดย JAA ภาพที่ 10 ตัวอย่างเครื่องประดับไทย (เข็มกลัด) โดย ABC Jewelry ที่มาของภาพ : The Ministry of Industry. 2006. Bangkok Fashion Now & Tomorrow, Stone. Bangkok : TTIS Co., Ltd.

83


เครื่องประดับเชิงวัฒนธรรม = สัญญะทางอัตลักษณ์ของเชื้อชาติ และวัฒนธรรม (Cultural Signifier) สิ่งที่ปรากฏ (Appearance) วิถีชีวิต (Lifestyle) / ภาพลักษณ์ (Iages)

เงื่อนไขทางสังคม (Social condition)

ประโยชน์ใช้สอย (Practical function) ประโยชน์เครื่องประดับ (Function of Jewelry) ประโยชน์ใช้สอย (Cultural function) เครื่องประดับ (Jewelry) การแสดงออกของตัวตน (Individual expression)

อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) อัตลักษณ์ (Identity) คุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะ ของบุคคล (Individuality) (Different from other social groups)

ความเป็นปึกแผ่น (Solidarity) (A sense of belonging to a social group)

ตารางที่ 1 เครื่องประดับในบริบทของสัญญะทางอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนที่แตกต่างและการเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมและวัฒนธรรมกลุ่มใหม่ที่แตกต่างจาก กลุ่มอื่นในสังคม

การดึงดูดความสนใจและอำนาจทางสังคม (Attract power and social attention) สถานภาพและชนชั้นทางสังคม (Social hierarchy)

ตารางที่ 2 ประโยชน์และสถานะของเครื่องประดับในมิติของ ประโยชน์ทางวัฒนธรรม (Cultural Function) และประโยชน์ใช้สอย (Practical Function)

สรุป ประเทศไทย ในฐานะผู้สร้างสรรค์เครื่องประดับระดับท้องถิ่นและระดับโลกเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลก พยายามทีจ่ ะสร้างสรรค์งานออกแบบทีส่ ามารถตอบสนองหรือมีอทิ ธิพลต่อตลาดโลกอิทธิพลนีเ้ ป็นผลก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่เหมือนๆกันทั่วโลก ไม่มีความแตกต่างของอัตลักษณ์ทางความคิด ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ประเพณีและ/หรือสภาพ ภูมปิ ระเทศและแหล่งทรัพยากร เพือ่ ทีจ่ ะให้ได้งานออกแบบสำหรับการตอบสนองตลาดโลกเพียงอย่างเดียว เมือ่ เป็นเช่นนี้ แล้วในฐานะนักออกแบบเราควรจะเป็นผูน้ ำในค้นหาทิศทางการออกแบบในทางอืน่ หรือไม่ เช่น การต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์แล้วส่งเสริมกระแสท้องถิ่นภิวัฒน์ หรือการผสมผสานกันของปัจจัยภายนอก (กระแสโลกาภิวัฒน์) กับปัจจัยภายใน (กระแสท้องถิน่ ภิวฒ ั น์) เพือ่ นำเสนอทางเลือกใหม่ในการออกแบบต่อสาธารณะแทนทีง่ านออกแบบทีม่ งุ่ เน้นผลกำไรทาง เศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น หรือควรให้ความสนใจกับยุคหลัง 11 กันยายน เพื่อต่อสู้และ สร้างสรรค์ผลงานออกแบบอันแสดงถึงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์แห่งชุมชนท้องถิ่น อะไรควรจะเป็นวิถีทางที่เหมาะสม สำหรับสังคมและอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย เพื่ออยู่รอดด้วยศิลปะ วัฒนธรรมและการออกแบบที่สร้างสรรค์โดย อัตลักษณ์ของไทย จากการวิเคราะห์ปัญหา สรุปได้ว่า นักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทยขาดการสนับสนุนอย่างจริงใจจาก รัฐบาล ภาคเอกชน และคนไทยเอง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากสังคม บริโภคนิยมของตะวันตกและตะวันออกบางประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นไปอย่างก้าวกระโดด โดยปราศจากการเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญ ทั้งด้านการพัฒนาการออกแบบและการผลิต จึงก่อให้เกิดช่องว่างระหว่าง ปรัชญาการพัฒนางานออกแบบ ความรู้ด้านศิลปะและหัตถกรรม รวมไปถึงการขาดการพัฒนาการทางอุตสาหกรรมที่ เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับวัฒนธรรม ทำให้ขาดความต่อเนื่องระหว่างการพัฒนาศิลปะ งานฝีมือ และการออกแบบควบคู่ 84


ไปกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เมื่อเราพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของสังคมโลก ประเทศไทย ได้ก้าวจากสังคมหัตถกรรมและเกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม โดยไม่ได้มีการสนับสนุนหรือพัฒนาศิลปะและ หัตถกรรม เพื่อนำไปสู่การออกแบบที่มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรม ที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมผ่าน กระบวนการออกแบบที่มีอัตลักษณ์ของงานออกแบบไทย ประเทศไทยมีฐานะเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสำหรับชาติตะวันตกเท่านั้น จึงเกิดคำถามที่ว่า เหตุใดช่างนักออกแบบ หรือบริษัทเครื่องประดับไทย ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี ก็ยังคงทำงานออกแบบในรูปแบบเดิมอยู่และยังคง ยากจนเช่นเดิม ทำไมนักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทย จึงไม่ใช้ความรู้และความสามารถที่แตกต่างสร้างสรรค์ ผลงานที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง โดยใช้ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของไทย เป็นองค์ความรู้สำคัญและเป็น จุดเริม่ ต้นสำหรับการออกแบบแทนทีจ่ ะทำงานในรูปแบบเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า และ/หรือทำตามทีบ่ ริษทั ต่างชาติวา่ จ้างให้ทำ และ/หรือลอกเลียนผลงานของต่างชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของไทยเอง เป็นสิ่งที่ชาว ตะวันตกหลายชาติไม่มี นักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทยควรที่จะพัฒนางานออกแบบเครื่องประดับและงาน โลหะภัณฑ์ โดยใช้องค์ความรู้เหล่านี้พัฒนาไปสู่ระดับสากล การที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนี้ได้ นักออกแบบเครื่องประดับ และศิลปินไทย จะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการวิจัยสร้างสรรค์ การเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิธีคิด รูปแบบ วัสดุ และเทคนิค ด้วยแนวคิดที่เริ่มต้นจากท้องถิ่น เพื่อที่จะส่งผลไปถึงระดับโลก หนึง่ ในปัจจัยสำคัญทีส่ ดุ ทีจ่ ะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ คือการเข้าใจตัวตนของนักออกแบบและศิลปินเองผนวกกับ การศึกษาด้านศิลปะ หัตถกรรม และการออกแบบ นักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทยต้องศึกษาและพัฒนาเชิงลึก ทั้งรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง และของชาติอื่นๆ ถ้าอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยไม่สามารถแข่งขันกับกับบริษัทข้าม ชาติยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ในเกมที่เสียเปรียบ เหตุใดจึงไม่แข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นภายใต้กติกาของอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยเอง กล่าวคือ นักออกแบบและศิลปินไทยสามารถจะใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านศิลปะ หัตถกรรม และการออกแบบ เพื่อนำเสนอต่อตลาดโลกผ่านผลงานเครื่องประดับร่วมสมัยและศิลปะเครื่องประดับแทน ที่จะผลิตเครื่องประดับในระบบอุตสาหกรรม (จำนวนมาก แข่งขันเรื่องราคา ค่าแรงต่ำ และลอกเลียนแบบ) เปลี่ยนไป เน้นการผลิตจำนวนจำกัด หรือแทนที่จะพยายามจำหน่ายในตลาดใหญ่ เพื่อยกระดับคุณค่าของการออกแบบ รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับตลาดเฉพาะ (Niche markets) ซึ่งงานเครื่องประดับและโลหะภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบจริงๆ ทั้งด้าน ความคิดและการผลิต จะได้รับการชื่นชมและให้คุณค่าสูงสุด รวมทั้งได้รับประโยชน์เต็มที่จากตลาด ที่มีวัฒนธรรม แตกต่างเหล่านั้น โดยเฉพะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน เนื่องจากผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์และทุนนิยม ที่มีต่อการผลิตเครื่อง ประดับในระบบอุตสาหกรรม (ซึ่งมีรูปแบบเหมือนๆ กันทั้งหมด) แนวคิดเชิงอัต-ลักษณ์และการนำเสนอความเป็นตัว ตนของตนเองผ่านเครื่องประดับมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้คนในสังคมปัจจุบันต้องการความแตกต่าง เพื่อการแสดง ออกถึงความเป็นตัวตนของตนเอง พวกเขาไม่ต้องการเหมือนคนอื่น ดังนั้น แนวคิดของความเป็นท้องถิ่น (Local) หรือ วัฒนธรรมย่อย (Subculture) ผ่านการแปลความหมายใหม่ของเครื่องประดับและงานโลหะภัณฑ์จึงควรจะเป็นแนวทาง ทีจ่ ะสามารถนำเสนอมุมมองและรูปแบบใหม่ทโ่ี ดดเด่นและแตกต่าง ในการพัฒนาการออกแบบเครือ่ งประดับและโลหะภัณฑ์ เพื่อการธำรงรักษาอัตลักษณ์แห่งการออกแบบของตนเองไปพร้อมๆ กับรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติ นักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทย สามารถนำเสนอสิ่งที่อุตสาหกรรมเครื่องประดับที่เน้นการลงทุนหา กำไรเป็นหลักไม่มี เช่น ความรู้สึกถึงความเป็นคน วัฒนธรรม และวิถีชีวิต รวมถึงการสื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือที่ สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างมือกับจิตใจ รวมทั้งองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรม ซึ่งทำงานอย่างสอดประสานในการสร้างสรรค์ ผลงานเครื่องประดับ แทนที่จะพึ่งพาเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว หรือให้เครื่องจักรมาเป็นกรอบกำหนด ความคิดสร้างสรรค์ การนำเสนอเช่นนี้ เป็นการเสนอทิศทางใหม่ในการออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะภัณฑ์ต่อ 85


สังคมด้วยเช่นกัน เมื่อนักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทย ผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม องค์ ความรู้และทักษะเข้ากับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ที่ผ่านการวิจัยด้านการออกแบบพวกเขาก็จะมีจุดยืนของตนเอง บนโลกที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วใบนี้ อุตสาหกรรมเครื่องประดับไทยไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรืออิทธิพลของ ยุทธศาสตร์แบบทุนนิยม ที่ผลักให้ประเทศไทยต้องเป็นแต่ฝ่ายตั้งรับ และยังพยายามที่จะครอบงำ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และที่สำคัญที่สุด คือ ความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของคนไทย นักออกแบบและศิลปินไทยต้องแสดงให้โลก เห็นว่า นักออกแบบเครื่องประดับและศิลปินไทยมีวิธีคิดและผลงานออกแบบที่สร้างสรรค์ที่แตกต่างมานำเสนอ (New visual language) และหวังว่าการออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะภัณฑ์ รวมถึงวัฒนธรรมของไทยจะมีผลกระทบ ในระดับโลกได้ แน่นอนที่สุด ประเทศไทยไม่สามารถจะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมแล้วจะมี การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural hybridization) ระหว่างวัฒนธรรมเดิม (ปัจจัยเดิม) กับอิทธิพลภายนอก (ปัจจัยใหม่) จนเกิดการหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมใหม่ ก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทางสังคมและ วัฒนธรรม) New social and cultural value) รวมทั้งอัตลักษณ์ของการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยเชิงวัฒนธรรม (Contemporary cultural jewelry design identity) ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดสังคมสร้างสรรค์ใหม่ (New creative society) และเกิดนวัตกรรมทางวัฒนธรรม (Cultural innovation) นำไปสู่การสนับสนุนทางการเงินใน รูปแบบใหม่ (New social and cultural marketing) และ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) ที่มี พื้นฐานอยู่บนการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนต่อไป (Cultural sustainability) สำหรับทิศทางในงานเครื่องประดับและงานโลหะภัณฑ์ไทย จะมีความหลากหลายในการนำเสนองานออกแบบ มากขึ้น และมีความต้องการของตลาดเฉพาะทาง (Niche markets) เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องมีการสำรวจและค้นหาต่อไปใน อนาคต นอกจากนี้แล้ว จะเกิดการแลกเปลี่ยนและการผสมผสานทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศิลปะ และการออกแบบทั้งใน ระดับโลกและระดับท้องถิน่ ซึง่ จะทำให้เกิดความยืดหยุน่ ในการผสมผสานกันของประสบการณ์วฒ ั นธรรมและความต้อง การที่หลากหลายขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลง การกลายและการผสมผสานกันระหว่างชุมชนท้องถิ่นและโลกในหลายหลาย มิติ รวมทั้งการตีความใหม่ของความเป็นไทยในฐานะท้องถิ่น (Local) และสากล (Global) ทำให้เกิดการผสมผสาน (Hybridizations) และเกิดการสร้างความคิดที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของการออกแบบเครื่องประดับ ร่วมสมัยเชิงวัฒนธรรมไทย (Thai contemporary cultural jewelry design identity)

บรรณานุกรม Barnard, M. 2002. Fashion as Communication. second edition. Norfolk: Routledge. Frieden, A. J. 2006. Global Capitalism, Its Fall and Rise in the Twentieth Century. New York: W.W. Norton & Co. Ward, G. 1997. Postmodernism: Teach Yourself. Chicago: NTC/Contemporary Publishing. The Ministry of Industry. 2006. Bangkok Fashion Now & Tomorrow, Stone. Bangkok : TTIS Co., Ltd. วิรุณ ตั้งเจริญ. 2553. “ศิลปกรรมไทยกับการเปลี่ยนวัฒนธรรม”. เอกสารสัมมนาวิชาการกะเทาะเปลือกวัฒนธรรม : การปรับเปลี่ยนท่ามกลางกระแสโลกาวิวัฒน์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติ สาขาปรัชญา, สำนักวานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร.

86


เดเมียน เฮิสท์ กับ หุ่นกายวิภาค: ภาพสะท้อนความหมายของ ความคิดต้นแบบและตัวตนของงานศิลปกรรม

DAMIEN HIRST AND ANATOMICALDUMMY: THE REFLECTION OFTHE MEANINGS OF ORIGINALITY AND IDENTITY OF ART WORK รองสาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา บทคัดย่อ ผู้เขียนเลือกผลงานประติมากรรมของเดเมียน เฮิสท์ (Damien Hirst) เป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายความหมายของคำว่า ”ความคิดต้นแบบ” และ “ตัวตนของงานศิลปกรรม” ในปลายคริสตศตวรรษที่ 20 ว่ามีความหมายอย่างไร คำ จำกัดความที่ว่าความคิดต้นแบบ ในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย เมื่อรอย ลิคเคนสไตน์ (Roy Lichtenstein) นำแบบรูปภาพ จากหนังสือการ์ตูนมาขยายทำให้ความหมายคำว่า “ต้นแบบ” เปลี่ยนไปจากเดิม สิ่งที่เรียกว่า “ตัวตนของงานศิลปกรรม” แต่ละชิ้น ที่เคยยึดจากตัววัตถุที่เป็นชิ้นงาน เมื่อเวลาเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก้าวหน้าจนมนุษย์สามารถผลิตผลงานจาก แม่พิมพ์เดียวกันได้เหมือนกันนับล้านชิ้น ทำให้กติกาและหลักเกณฑ์ที่ใช้มาตั้งแต่อดีต (กรีกถึงสมัยใหม่ตอนต้น) ต้องนำมาทบทวนใหม่ เมื่อลิตเคนสไตน์ นำเอาภาพการ์ตูนที่คนอื่นเขียน มาขยายแล้วเปลี่ยนเป็นงานจิตกรรมเขาไม่ได้ ถูกตำหนิ งานใหม่ คือสื่อใหม่และ ใช้เทคนิคใหม่ ผลงานของ เดเมียน เฮิสท์ที่เกิดในสมัยโพสต์ โมเดอร์น ก็เช่นเดียวกัน เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าในโลกที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศิลปะก็ต้องมีการพัฒนาเปลี่ยน แปลงตามไปด้วย ดังนั้นความหมายของคำว่าความคิดต้นแบบ (Originality) และคำว่า ตัวตนของงานศิลปกรรม (Identity of art work) จึงจำเป็นต้องได้รับการทบทวนใหม่ด้วย The author selected Damien Hirst’s sculpture “Hymn” 2000 as an example to show how the meaning of originality and identity of art work had been changed. By the end of 20th century new technological progress inventions and scientific discovery such as computer graphic and video are the key factors making tremendous changes in art, therefore it is inevitable that the meanings of originality and identity of art work have to be changed. The case of Roy Lichtenstein, the copied of a portion of the page from comic book and make a big painting is a significant change in art history. What Lichtenstein had done is to introduce a new concept and art from in painting and a new point view in aesthetics that artist can take advantage by taking a change in the art context so the inspiration form art work in the past is transformed by the artist’s wit and make a new art with new originality under this circumstance the old conventional definition of originality and identity of art work need to be reviewed.

87


1. (Left) (ภาพบนซ้าย หญิงสาวผมทอง) รอย ลิคเคนสไตน์ (Roy Lichtenstein) หญิงสาวผู้จริงจัง (Anxious Girl), ค.ศ.1964 2 (ภาพล่างซ้าย ลูกขนไก่) แคลส์ ออลเด็นเบอร์ก และ คุสแจ แวน บรูเก็น (Claes Oldenburg and Cooseje van Bruggen) ลูกขนไก่ (Shuttlecocks) ค.ศ.1994 3. (ภาพล่างขวา ลูกบาศก์สีขาว จำนวน 784 ลูก) ซอล เลวิตต์ (Sol Lewitt) โครงสร้างเรขาคณิตเปิด หมายเลข 4 (Open Geometric Structure IV) ค.ศ.1990 4. (ภาพบน ขวา หุ่นกายวิภาค ครึ่งตัว ใหญ่กว่าคนจริง) เดเมียน เฮิสท์ (Damien Hirst) เพลงสวด (Hymn) ค.ศ. 2000

88


I) บทนำ เดเมียน เฮิสท์ (Damien Hirst) ศิลปินชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองเดวอนเมื่อ ค.ศ.1965 (พ.ศ.๒๕๐๘) ผลงาน ของเขามีลักษณะที่ดูคล้ายตัวอย่างสิ่งตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มากกว่าห้องแสดงผลงานศิลปกรรมหรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ตัวอย่างผลงานที่ผู้เขียนเลือกมากล่าวถึงโดยละเอียดชื่อ เพลงสวด (Hymn) สร้างเมื่อ ค.ศ. 2000 (พ.ศ.๒๕๔๓) เป็นประติมากรรมรูปคนยืนตรง ทำด้วยสำริด สูง 17 ฟุต 10.25 นิ้ว (5.4 เมตร) รูปลำตัวตนที่ยืนตรงนี้ ตัดส่วนล่างของขาออก ลักษณะทั่วไปมองผ่าน ๆ ไม่มีอะไรแปลก คือเป็นหุ่นคนยืนตัวตรงตามแบบของหุ่นที่ใช้สอน วิชากายวิภาคตามพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์หรือสถาบันอุดมศึกษา แต่สงิ่ ทีต่ า่ งจากหุน่ ทีใ่ ช้สอนวิชากายวิภาคมากก็คอื ขนาด เพราะผลงานชิ้นนี้สูงกว่าคนประมาณ 4.5 เท่า ซีกซ้ายของศีรษระทำเป็นภาพแสดงใบหน้า และผิวหนังและเนื้อแก้มถูก ปอกออกไปและเห็นกะโหลกส่วนที่เป็นเบ้าตา โหนกแก้ม ลูกตาข้างซ้าย กล้ามเนื้อคอ บ่า และหน้าอก โดยแสดงให้เห็น ด้านข้างบริเวณหน้าอก และท้องแสดงภาพที่กล้ามเนื้อถูกเลาะออก เห็นปอด หัวใจ ตับ ลำไส้ ถุงอัณฑะ ส่วนต้นแขนและ ต้นขนขวายังมีผิวหนังปิดอยู่ตามปกติ ผลงานชิ้นนี้ ถูกทาสีตามแบบของหุ่นสอนวิชากายวิภาคคือ ปอดสีชมพู ตับสีแดงเข้ม ลำไส้สีน้ำตาล และกล้ามเนื้อสีแดงสด คนที่ดูผลงานนี้ ครั้งแรกอาจตกใจเพราะขนาดที่สูงใหญ่มาก ดูเหมือนศพยักษ์ที่ตั้งขึ้นตรงๆ แต่ถ้าพิจารณาให้ดี มีข้อคิดที่น่าสนใจทางศิลปะและสุนทรียศาสตร์ที่ควรนำมาพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของ “ความคิดต้นแบบ” และ “ตัวตนทางศิลปกรรม” บทความนี้จะได้ดำเนินเรื่องราวตามประเด็นต่างๆตามลำดับ ดังต่อไปนี้ I) บทนำ II) กติกาแบบบเก่าเกี่ยวกับความคิดต้นแบบและตัวตนทางศิลปกรรม III) จาก รอย ลิคเคนสไตน์ มาถึง แครส์ ออลเดนเบอร์ก, ซอล เลวิตต์ และเดเมียน เฮิสท์ IV) วิเคราะห์ผลงานของเดเมียน เฮิสท์ V) บทสรุป VI) บรรณานุกรม II) กติกาแบบเก่าเกี่ยวกับความติดต้นแบบ และตัวตนทางศิลปกรรม นักสุนทรียศาสตร์ รุ่นเก่า ประมาณศตวรรษที่ 19 หรือเก่ากว่านั้น ใช้กติกา ข้อกำหนดที่ว่า เมื่อศิลปินจะสร้าง ผลงานใดจำเป็นต้องพยายามที่จะสร้างในสิ่งที่แตกต่างจากผลงานในอดีตให้มากที่สุด เพื่อป้องกันคำครหาที่ว่าศิลปิน ผู้นั้นขาดความคิดที่เป็นต้นแบบ งานนั้นจึงไม่มีคุณค่าเท่าที่ควรหรือไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง ศิลปินต้องต่อสู้กับความบีบคั้นในลักษณะนี้ และเมื่อจะสร้างงานใหม่ สิ่งสำคัญที่สุด ที่ศิลปินจะต้องต่อสู้อย่าง สุดฤทธิ์ก็คือ ต้องทำให้ผลงานที่เขาสร้างมีความแตกต่างไปจากผลงานที่เคยสร้างมาแล้ว แปลก แตกต่าง เด่น ไม่ซ้ำ เป็นคาถาหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานนั้นต้องไม่มีชื่อ หรือเนื้อหาที่คล้าย หรือเหมือนกับงานที่เคยมีผู้ทำมาแล้ว ในอดีต ตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ในยุคทอง เวร๊อคคิโอ (Verocchio) ทำงานประติมากรรมรูป เดวิด (David) วีรบุรุษ ผู้ฆ่ายักษ์ นักรบร่างสูงใหญ่ ด้วยการใช้เครื่องสลักหิน (Sling shot) เหวี่ยงก้อนหินไปถูกหน้าผากโกไลแอต (Goliath) จนล้มหงายตายคาสนามรบ ต่อมาไมเคิลแองเจลโล บัวนารอตติ (Michaelangelo Buonarroti) ก็สร้างเดวิดของเขาขึ้น มาในลักษณะที่ต่างจากของคนแรกหลายประการ รูปเดวิดรูปที่สองนี้สร้างในสมัย High Renaissance หลังรูปแรกไม่ถึง 100 ปี พอถึงสมัยบาร๊อค คริสตศตวรรษที่ 17 เกียน ลอเร็นโซ แบนินี (Gian Lorenzo Bernini) ก็สร้างเดวิดขึ้นมาอีก รูปหนึ่งใช้สื่อชนิดเดียวกัน คือการสลักหินเหมือนกับของไมเคิลแองเจโล 89


ผลงานประติมากรรมทั้งสามชิ้น โดยประติมากรสามท่าน ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากนักประวัติศาสตร์ ศิลปะ ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย ผู้ที่สร้างผลงานภายหลัง มีโอกาสศึกษาผลงานของผู้สร้างก่อน และผู้ทำทีหลังต้อง พยายามเปล่งความเด่นทุกประการของตนออกมา ต้องหลบ ไม่ทำให้เหมือนงานก่อนหน้า ต้องรู้จักสร้างความเด่น พิเศษ คุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวนี้ เป็นผลจากการคิดไตร่ตรองแล้วเปล่งบุคลิกภาพทางศิลปะผ่านสื่อที่ศิลปินผู้นั้นมี ความสันทัดจัดเจน คุณสมบัติพิเศษที่เริ่มจากความคิดแล้วตามมาด้วยการใช้ฝีมือสร้าง มีรูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์ จน ผลงานเสร็จนี้ ทำให้เกิดสิ่งที่เป็นคุณสมบัติอันเป็นที่ยกย่องในวงการศิลปะเรียกว่า ความเป็นต้นแบบ หรือ ความคิด ต้นแบบ (Originality) จากตัวอย่างของประติมากรทั้งสามท่าน เราสามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน เดวิด (David) ของเวร๊อคคิโอ (Verocchio) เป็นภาพของเด็กวัยรุ่น ยังไม่เติบโตเป็นชายฉกรรจ์ ใบหน้าของเขาสงบ แสดงความเหนื่อยอ่อนเล็กน้อย แต่ภูมิใจที่ทำงานอันแสนยากได้สำเร็จ เด็กหนุ่มคนนี้แม้จะเป็นวีรบุรุษของชาติ แต่ก็ไม่ได้แสดงอาการเย่อหยิ่ง ถือดี หรือยินดีเลย แววตาของเขามีความภูมิใจแต่ถ่อมตน สำหรับผลงานของไมเคิลแองเจลโล ภาพเดวิดนั้นสูงสง่า ร่างกาย เติบโตเต็มที่เข้าวัยฉกรรจ์แล้ว เขาทำภารกิจอันแสนยากคือการฆ่าแม่ทัพร่างยักษ์ของฝ่ายศัตรูได้สำเร็จ แต่แววตาของ เขาดูแปลกที่สุด มันดูเหมือนคนที่เพิ่งตื่นจากความฝัน หรือหลับมานาน ดูเหมือนประติมากรจะคิดปมปริศนาบาง ประการไว้ให้คนดูตอบ ทำไมวีรบุรุษที่สามารถฆ่าศัตรูตัวฉกาจได้ แต่พอทำสำเร็จ กลับมีอาการคล้ายคนเพิ่งตื่นนอน? อาจเป็นไปได้ว่า ในช่วงนาทีชีวิตนั้น เขาทำไป เหมือนคนอยู่ในความฝัน เขาทำได้สำเร็จ กระสุนหินถูกเป้า โกไลแอตตาย เดวิดจึงเหมือนลืมตาตื่นขึ้นมา มันเป็นการตื่นของผู้ชนะ สำหรับผลงานชิ้นที่สามของแบนินี เขาเลือกแง่มุมในการตีความ เรื่องราวที่ต่างจากของไมเคิล แองเจลโลมาก เดวิดของแบนินีไม่มีเวลาฝัน แต่ต้องตี่นเต็มที่ ตาจ้องเขม็งไปที่เป้าหมาย ปากเม้ม ใบหน้าบอกความเอาเป็นเอาตายแล้วก็เหวี่ยงกระสุนออกไป ในผลงานของแบนินี เขาเลือกแสดงภาพตอนที่ เดวิดเหวี่ยงกระสุนออกไป ด้วยจิตอันแรงกล้า มั่นใจ ผู้ชมสามารถจินตนาการเห็นก้อนหินที่ถูกเหวี่ยงพุ่งตรงไปกระทบ หน้าผากโกไลแอตจนล้ม โกไลแอตยืนอยู่หลังคนดู! งานทั้งสามชิ้นนี้ มาจากเรื่องราวของเดวิด เหมือนกัน แต่เรื่องถูกเล่าด้วยจุดเน้น รายละเอียดที่ต่างกัน น่าสรรเสริญ ศิลปินทั้งสามท่านที่รู้จักสร้างความคิด ความเป็นต้นแบบที่ต่างกัน ผลงานจึงมีเอกลักษณ์ แม้จะเป็น เรื่องวีรบุรุษชื่อเดวิด ผู้สามารถฆ่าแม่ทัพตัวใหญ่ราวยักษ์ปักหลั่น แต่วีธีเล่าเน้นเรื่องและความรู้สึกต่างกันมาก ผู้สร้างมี ความเป็นต้นแบบของตัวเองที่ทรงพลัง น่าชื่นชม เพราะไม่ซ้ำกันเลย เมื่อผลงานเสร็จสมบูรณ์ ไม่ว่าจะมีจำนวนที่เป็นวัตถุ คือเป็นรูปธรรม จากศิลปิน ผู้สร้างแต่ละคน ไม่ว่าจะมีจำนวนเพียงหนึ่ง หรือหลายชิ้นก็ตาม ผลิตผล หรือผลงานเหล่านี้ นอกจากจะต้องมีเอกลักษณ์คือความพิเศษ อันเป็นผลจากการถ่ายทอดความเป็นต้นแบบออกมา มีลักษณะอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผลงาน นั่นคือความเป็นตัวตน ของผลงานแต่ละชิ้น ถ้าเช่นนั้น อะไรคือ ตัวตน (Identity) ของงานศิลปะ? ถ้าจะตอบอย่างง่ายที่สุด สิ่งที่เรียกว่าตัวตนของงานศิลปะ คือคุณสมบัติพิเศษ ความเป็นเอกลักษณ์ ผสานกับ ขอบเขต วิธีกำหนดว่าเป็นงานเฉพาะงานศิลปะชิ้นนั้นโดยเฉพาะ มีสิ่งบ่งบอกชัดเจนว่านี้คือชิ้นไหน ทำไมปัญหานี้จึงยุ่งยาก ถ้าดูเผินๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาเลย แต่ถ้าดูให้ลึกซึ้ง กรรมวิธีผลิตผลงาน ศิลปกรรมบางรูปแบบเกี่ยวข้องกับการทำแม่แบบ หรือแม่พิมพ์ ยกตัวอย่างเช่นประติมากรรมที่ใช้วิธีสร้างแม่พิมพ์ แล้วจึงเท โลหะหล่อรูปปั้นออกมา ไม่ว่าช่างกรีก โรมัน อินเดีย ช่างไทยที่ลำพูนหรืออยุธยาไม่ต้องสงสัยเลย ในกรณีนั่นคือกรณีทั่วไป เขาคงไม่สร้างแม่พิมพ์เพื่อจะหล่อรูปนั้นเพียงรูปเดียว ยกเว้นว่านั่นคืออนุสาวรีย์หรือรูปเคารพ ขนาดใหญ่มากที่ผู้สั่งมีอำนาจมาก เช่นเป็นกษัตริยหรือสังฆราชสั่งมาว่าให้ทำเพียงรูปเดียวแล้วต้องทำลายแม่พิมพ์ทันที ดังนั้น ตัวตนผลงานของประติมากรรมที่ทำมาจากการเทโลหะลงในแม่พิมพ์ จึงมีตัววัตถุที่เป็นผลงานหลายขิ้นการเท

90


โลหะจากพิมพ์เดียวกันทำได้หลายครั้ง ผลคือได้งานหล่อแบบหลายตัว เช่นเดียวกับภาพพิมพ์ที่พิมพ์มาจากแม่พิมพ์ไม้ (บล็อก=Block) หรือโลหะ และภาพถ่ายที่ฟิลม์เนกาตีฟ (Negative) หรือแผ่นคาร์ด (Digital card) ซึ่งสามารถอัดรูป ออกมาได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัญหาดังกล่าว นักสุนทรียศาสตร์เริ่มเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ต่างแขนง กันในกติกาเก่าที่ใช้กันมาประมาณคริสตศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 กติกาเป็นดังนี้ 1. งานศิลปะประเภทที่ 1 ง่ายที่สุด ตัวตนใช้ผลงานอันเป็นวัตถุ จับต้องได้ ภาพเขียน หินหรือไม้สลักทำแต่ละ ครั้งได้เพียงชิ้นเดียว 2. งานศิลปะประเภทที่ 2 ซับซ้อนกว่าประเภทแรก ทำมาจากต้นแบบอันเดียวกัน แต่สามารถผลิตซ้ำให้เกิด ก็อปปี้หรือสำเนาที่คล้ายหรือเหมือนกันมาก แบ่งเป็นสองประเภทย่อย 2.1 ประติมากรรมหรือภาพพิมพ์ ภาพถ่ายที่อัดมาจากแหล่งเดียวกัน 2.2 วรรณกรรม ต้นแบบหรือแม่พิมพ์เขียนด้วยภาษาที่ผู้ประพันฺธ์เลือกเขียนเป็นครั้งแรก แต่ต่อมาจะมี ตัวตนที่ 2, 3, 4 ซึ่งเกิดจากการแปลวรรณกรรมนั้นเป็นภาษาอื่น เช่น วรรณกรรมนักประพันธ์ไทยที่ ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ สเปน จีน และญี่ปุ่น 3. งานศิลปะประเภทที่ 3 มีความซับซ้อนมากที่สุด ได้แก่ ศิลปะการแสดงและภาพยนตร์ ผลงานประเภทนี้ ไม่ได้มีความคิดต้นแบบ หรือตัวตนอันเดียว เพราะการสร้างขึ้นมาเป็นผลจากพลังสร้างสรรค์ของคน หลายคนที่มีบทบาทต่างกันจากหลายสาขาอาชีพ ได้แก่ นักประพันธ์เป็นผู้สร้างต้นแบบและตัวตนของ เรื่องราว ผู้เขียนบทและกำกับการแสดง กำหนดรายละเอียดของบท นักแสดงที่รับบท หรือถ้าเป็นละคร บางครั้งการแสดงสองรอบอาจใช้นางเอกสองคนก็เป็นได้ ในการสรุปส่วนที่ II ของบทความนี้ มีประเด็นสำคัญอยู่สองประเด็น II-1) ความเป็นต้นแบบ (Originality) เนลสัน กู๊ดแมน อธิบายว่า ฝีมือ ความประณีตอย่างเดียว ไม่พอที่จะทำให้เกิดความเป็นต้นแบบได้ จิตรกรอย่างเร็มบรันด์ ได้รับการยกย่องไม่ใช่เพราะฝีมือ ความเป็นต้นแบบต้องอาศัยประสบการณ์ การถ่ายทอดความรู้สึก ลงในผลงาน ดังนั้น สิ่งที่เป็นคำตอบให้ อัลเฟร็ด เลสซิง (Alfred Lessing) ว่าทำไมการไปลอกผลงานผู้อื่นอย่างสมบูรณ์ ร้อยเปอร์เซ็นต์จึงเป็นความผิด ก็เพราะขาดคุณสมบัติที่เป็นนามธรรมสำคัญที่สุดคือความเป็นต้นแบบ II-2) ปัญหาเรื่อง ตัวตนของผลงาน โจเซ็ฟ มาโกลิส (Joseph Margolis) เขียนบทความเรื่องตัวตนของผลงานศิลปกรรมว่า วัตถุไม่สามารถใช้เป็น ตัวกำหนดตัวตนได้ แต่ต้องใช้สิ่งที่เป็นนามธรรมเรียกว่าแม่แบบ (Mega type) อันเป็นความคิดที่มีการกำหนดทั้งโครง สร้างใหญ่และรายละเอียดไว้เรียบร้อย ยิ่งโลกเราเจริญขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิชาการในสาขาอื่น ปัญหาเรื่องความคิดต้นแบบ และ ตัวตนของงานศิลปกรรมก็พัฒนาความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในอดีต ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่จะนำมากล่าว มาจากแนวคิดของนักปราชญ์คนสำคัญ ดังต่อไปนี้ ฮันส์ ยอร์จ แกดาเมอร์ (Hans Georg Gadamer) ในการตีความหมายคำต่างๆ ในเรือ่ งของศิลปะและสุนทรียศาสตร์เราต้องดูธรรมชาติพัฒนาการของศิลปะ ไม่ใช่พิสูจน์ความจริงแบบวิทยาศาสตร์ มิเชล ฟอคูท (Michel Focoult) ต้องมีความคิดที่เป็นเหมือนเส้นขนานกันระหว่างหลายสาขาวิชาหรือหลาย แขนงของศิลปะ มอร์ริส วิทซ์ (Morris Weitz) กล่าวไว้ว่าเราจำเป็นต้องเรียนรู้ทฤษฎีศิลปะ ไม่ใช่เพื่อสร้างทฤษฎีที่สมบูรณ์ที่ สุด แต่เพื่อเข้าใจธรรมชาติของศิลปะ (ที่มีการเติบโตขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆ)

91


III) จาก รอย ลิคเคนสไตน์ มาถึงแครส์ ออลเดนเบอร์ก, ซอล เลวิตต์ และเดเมียน เฮิสท์ ในต้นคริสตศตวรรษที่ 20 มาเซลล์ ดูชอมพ์ (Marcel Duchamp) เลือกวัตถุสำเร็จรูป เช่นโถปัสสาวะที่เขาซื้อ มาจากร้านสุขภัณฑ์ ตั้งชื่อว่า “น้ำพุ” แล้วนำไปตั้งแสดง นี่คือการปฎิวัติครั้งสำคัญในโลกศิลปะ งานศิลปกรรมนับแต่นี้ เกิดได้ด้วยการที่ศิลปินเลือกวัตถุสำเร็จรูป ไม่ต้องไปปั้น เขียน วาด ก็ได้ ตอนแรกสังคมศิลปะก็ยังไม่ยอมรับ แต่ใน เวลาต่อมาก็ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ยอร์ช ดิคกี้ (George Dickie) นักสุนทรียศาสตร์คนสำคัญระดับโลกได้ตั้งทฤษฎี ใหม่ คือทฤษฎีสถาบัน (Institution Theory) เพื่อรองรับผลงานที่มาจากวัตถุสำเร็จรูปเหล่านี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด ธรรมชาติของศิลปะคือการเติบโตด้วยการขยายออกไปหาสิ่งที่ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็น ผลงานศิลปะในอดีต แต่ในเวลาต่อมา สังคมของโลกศิลปะก็ยอมรับ ศิลปะนามธรรมที่ไม่มีเนื้อหาเหมือนสิ่งใดที่เรา เห็นในโลกวัตถุ วัตถุสำเร็จรูปกลายเป็นงานศิลปะประเภทใหม่ รายละเอียดเรื่องนี้ ลองมาดูคำอธิบายอย่างละเอียด ผลงานของรอย ลิคเคนสไตน์ (Roy Lichtenstein) เป็นการลอกแบบภาพการ์ตูน ที่นักเขียนการ์ตูนที่คนอื่นเขียน แต่ด้วยฝีมือช่างที่เลิศเลอ ลิคเคนสไตน์สามารถลอกด้วยรูปร่าง เส้นที่เหมือนของเก่าจนดูราวกับว่าเป็นของผู้เขียนเดิม แต่ความสำเร็จของเขา ในเชิงการจำหน่ายศิลปะทำให้งานที่คัดลอกนี้ กลายเป็นงานที่ขายได้ราคาสูงอย่างไม่น่าเชื่อแพง กว่าราคาการ์ตูนของศิลปินเจ้าของแบบเดิม จากหนังสือ Essential Modern Art ของโรบิน เบลค (Robin Blake) กล่าวว่า ลิคเคนสไตน์ ไม่ได้ลอกแบบอย่างที่นักปลอมภาพเขียนทำ แต่เขาต้องใช้ความสามารถพิเศษของตัวเขาใน การเปลี่ยนภาพการ์ตูนให้กลายมาเป็นผลงานในลักษณะอื่น เช่น เปลี่ยนภาพหนังสือการ์ตูนให้กลายเป็นงานจิตรกรรม ขนาดใหญ่บนผืนผ้าใบ การทำเช่นนี้ต้องใช้ความสามารถพิเศษมาก สำหรับกรณีของ มาเซลล์ ดูชอมพ์ (Marcel Duchamp) เขากลายเป็นผู้บุกเบิก วัตถุสำเร็จรูปให้กลายเป็น งานศิลปะ หรือ Art Object ส่วน แคลร์ ออลเด็นเบอร์ก (Claes Oldenburg) นำวัตถุสิ่งของที่เราใช้อยู่ทุกวัน เช่นไม้หนีบผ้าไปขยายจนเป็นประติมากรรมขนาดยักษ์ ตัวอย่างผลงานอีกชิ้นหนึ่งของประติมากรท่านนี้ที่ได้สร้างสรรค์ ผลงานร่วมกับศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ คูสแจ แวนบรูเกน (Cooseje Van Bruggen) ทำเป็นรูปลูกขนไก่ ที่นักแบดมินตันเล่นกันแล้วมาตกที่สนามหน้าพิพิธภัณฑ์แอตกิ้นส์ เมืองแคนซัสซิตี้ รัฐมิสซูรี่ (Atkins Museum of Art, Cansas City, Missouri) ขนาดของลูกขนไก่ สูง 17 ฟุต 10.25 นิ้ว ทำด้วยอลูมิเนียม โปลิยูรีเทน และไฟเบอร์กลาส ขนาดลูกขนไก่ที่ออลเด็นเบอร์ก และคูสแจ สร้างใหญ่กว่าของจริง ประมาณ 17x12+10.25 = 214.25 นิ้ว คือ ประมาณ 215/3 = 71 เท่าของของจริง น้ำหนัก 5,500 ปอนด์ หรือประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทั้งหมดมีจำนวน 4 ลูก เหตุผลที่เขาเลือกลูกขนไก่ อุปกรณ์การเล่นกีฬาแบดมินตันก็เพราะพื้นที่เมืองนี้มีนิทานความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องขนนก ส่วนประกอบของลูกขนไก่ ดังนั้น ลูกขนไก่ ในกรณีนี้จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะไปสัมพันธ์กับวัฒนธรรม ท้องถิ่น เอกลักษณ์ผลงานของออลเด็นเบร์ก คือการนำของธรรมดาที่เราเห็นทุกวัน เช่นไม้หนีบ พลั่วขุดดิน หรือไม้ขีดไฟ มาขยายให้ใหญ่ขนาดที่ใหญ่กว่าของจริงเป็นสิบถึงร้อยเท่า ทำให้ของที่ดูชินตากลายเป็นของที่เด่นแปลกตาไป อีกตัวอย่างหนึ่ง ผลงานแบบ Conceptual Art ของซอล เลวิตต์ (Sol Lewitt) ศิลปินไม่ได้ใช้ฝีมือของเขา สร้างเอง แต่ไปจ้างช่างไม้ฝีมือดีมาทำ ไม้ระแนงถูกไสให้เรียบทาสีขาว เรียงกันทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง มีจุดสัมผัสที่ตั้ง บรรจบกันจนเกิดเป็นกลุ่มของลูกบาศก์ ผลงานนี้ ดูคล้ายแบบที่สอนคณิตศาสตร์กล่าวคือ จากด้านซ้ายไปขวา เริ่มจาก ลูกบาศก์หนึ่งลูกแล้วเพิ่มจำนวนขึ้นไปเมื่อไล่ไปทางขวาคือ จาก 1-8-27-64 ตรรกของศิลปินในการสร้างกลุ่มลูกบาศก์ นี้ก็คือ การยกกำลังสามของเลขที่เรียงลำดับ 1, 2, 3, 4 : 1x1x1=1, 2x2x 2=8, 3x3x3=27 และ 4x4x4=64 เป็นต้น ดังตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ในโลกศิลปะที่มีระบบความคิด กติกาตัดสินที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าความคิดต้นแบบเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง 92


รอย ลิคเคนสไตน์ เขาเปลี่ยนบริบทของผลงาน ผลงานเดิมคือหนังสือการ์ตูนเล่มเล็กๆ แต่ลิคเคนสไตน์แปรรูป มาเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีราคาสูงกว่ามาก มาเซล ดูชอมพ์ เปลี่ยนวัตถุที่ไม่ใช่งานศิลปะมาเป็นผลงาน ในขณะที่ ซอล เลวิตต์ เปลี่ยนความคิดที่เด่น แหวกแนว ดูเหมือนอยู่นอกวงการศิลปะให้กลายเป็นคมความคิดของศิลปะตระกูลใหม่ (Conceptual Art) ตัวอย่างต่อไป คือผลงานของเดเมียน เฮิสท์ ผลงานนี้ “เพลงสวด” ดูเหมือนหุ่นสอนวิชากายวิภาค แต่มีขนาด ใหญ่โตราวกับรูปเคารพในเทวสถาน เจตนาของศิลปินคือทิ้งข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษของสังคม ที่แสนยุ่งยากในปัจจุบัน รายละเอียดจะได้อธิบายไว้ในตอนต่อไป IV) วิเคราะห์ผลงานของเดเมียน เฮิสท์ ถ้าดูผลงานชื่อ “เพลงสวด” ของเดเมียน เฮิสท์ (Damien Hirst) อย่างเผินๆ งานนี้ดูคล้ายเทวรูปขนาดใหญ่ ของวิหาร หรือยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวัด ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่เจตนาของเดเมียน เฮิสท์ นี่คือการใช้รูปทรงทางศิลปะที่ดูเหมือน ภาพปั้นสอนวิชากายวิภาค มาสร้างไว้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และชีวิตคนเมืองในปัจจุบัน เดเมียน เฮิสท์ต้องการให้ข้อคิดแก่คนดูงานศิลปะของเขาไม่ใช่แบบวิชาการ แต่เป็นคำเตือน บวกความคิด ในฐานะที่เขาเป็นเสมือนเพื่อนของคนดู เหมือนกับเขาต้องการบอกคนดูว่า “ระวังนะ คุณอาจจะกลายเป็นหนูตะเภาที่ถูก ทดลองยาได้ง่ายๆ เพราะบริษัทผลิตยา ย่อมอยากขายยาได้มาก เขาจะไม่ยอมบอกว่าฤทธิ์ข้างเคียงมีอะไรบ้าง ปกปิดไว้ แม้แต่แพทย์เก่ง ๆ ก็อาจต้องเฝ้าสังเกตอยู่นานหลายปี จึงจะรู้ คนไข้บางคนอาจรับผลร้ายถึงตายก็ได้” ผลงานชิ้นอื่น ๆ ของเฮิสท์ สร้างออกมาในลักษณะที่ดูไม่เหมือนงานศิลปะเลย เช่น ชั้นที่วางยาเม็ดเต็มไปหมด หรือศพปลาฉลามที่ ถูกดองในถังฟอร์มาลิน แต่ถ้าเราดูให้ลึกซึ้งจะเห็นความงามในคมความคิดเหล่านี้ ศิลปินกำลังอยากจะบอกเราว่า ในโลกที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ารวดเร็ว ในมหาวิทยาลัย บ้านที่สวยหรูแต่โลกมีภัยเงียบหลายชนิด เช่นยา ทั้งหลายที่เราใช้ มีให้เลือกมากมาย แต่เรามักไม่รู้โทษ ฤทธิ์ข้างเคียงของยาเหล่านี้ ปลาฉลามที่คนว่ายน้ำเกลียดกลัว นักหนาว่ามันคือฆาตรกรโหดสีเทาแห่งน่านน้ำ แต่ที่จริงท่านรู้ไหม มันคือเหยื่อที่น่าสงสาร กำลังถูกล่าจนใกล้จะสูญพันธ์ ผู้ล่าก็คือคน เพราะฉะนั้นสัตว์โลกชนิดไหนกันแน่ที่มันโหดร้ายที่สุด! V) บทสรุป ถ้าเราเชื่อว่าความงาม ยังมีเหลืออยู่ ผลงานของเดเมียน เฮิสท์ มีความงามอยู่ในคมความคิดของเขา ผลงาน ชื่อเพลงสวด เอาหุ่นสอนวิชากายวิภาคมาขยายให้ใหญ่โต เพื่อเตือนสติเราให้ระวังภัยจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือฤทธิ์ ข้างเคียงจากยา หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นภัยเงียบ เช่น กัมมันตภาพรังสีที่อาจรั่วมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จากตัวอย่าง ที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าลิคเคนสไตน์ ดูชอมพ์ เลวิตต์ หรือเฮิสท์ สิ่งที่ทุกคนมี และถือเป็นคุณูปการต่อมนุษยชาติก็คือ คมความคิดอันฉลาดเฉียบแหลมที่เขาใช้งานศิลปะเตือนสติเรา เฮิสท์ใช้หุ่นสอนกายภาพเพื่อเตือนสติเราจากภัยมืด เลวิตต์ สร้างไม้ระแนงสีขาว ไม่ใช่อุปกรณ์สอนคณิตศาสตร์ แต่เป็นงานศิลปกรรม ลับสมองคนดูให้เฉียบคม ออลเด็นเบอร์ก สร้างโลกมหัศจรรย์เพราะของที่เขาสร้าง ไม้หนีบผ้า ไม้ขีดไฟ หรือลูกขนไก่ ใหญ่โตกว่าของจริงมาก หรือเขาจะปลุก จินตนาการให้เราคิดว่า นี่ยักษ์ที่ไหนมาเล่นแบดมินตันแถวหน้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะแอนกิน หรือมาทำสวนทิวลิป อย่างใน กรณีผลงานของออลเด็นเบอร์กที่อยู่ในเนเธอร์แลนด์ อัลเฟร็ด เลสซิง (Alfred Lessing) เคยตั้งคำถามว่า ถ้านักปลอมงานศิลปะมีฝีมือเยี่ยม ปลอมได้แบบที่ ผู้เชี่ยวชาญยังดูไม่ออก ทำไมเราไม่ยกย่องฝีมือคนผู้นั้น เนลสัน กู๊ดแมน (Nelson Goodman) มีอีกมุมมองหนึ่งโดย กล่าวว่า เพราะงานที่ทำปลอมนั้นขาดสิ่งที่เป็นคุณสมบัติต้นแบบ (Originality) คือศิลปินตัวจริงต้องถ่ายทอดประสบ-

93


การณ์ ความรูส้ กึ นึกคิดลงในผลงาน ในขณะทีง่ านปลอมจะมีแค่ฝมี อื ลักษณะทางกายภาพ แต่เป็นเสมือนศพของงานศิลปะ ไร้ซึ่งชีวิตและวิญญาณ เกียรติยศที่ลิคเคนสไตน์, ออกเด็นเบอร์, เลวิตต์ และเฮิสท์ สมควรได้รับ เพราะบุคคลเหล่านี้ไม่ได้ลอกเลียน ทำของปลอมให้เราเข้าใจผิดเหมือนแวน มิเกอเร็น (Van Meegeren) ยอดนักปลอมผลงานระดับโลกเจตนาของมิเกอเร็น นั้นชัด ทำภาพเขียน คือสิ่งของแบบเดียวกันกับสิ่งที่เขาต้องการปลอม นักทำของปลอมมีเป้าหมายแน่ชัดสร้างเพื่อให้คน ดูเข้าใจผิด แต่เฮิสท์ไม่ได้ลอกแบบผลงานของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่นเดียวกันที่ลิคเคนสไตน์ไม่เคยคิด ทำหนังสือการ์ตูนฉบับที่สอง ดังนั้น เราจึงสรุปหลักการได้อย่างชัดเจนว่า การสร้างความคิดที่เป็นต้นแบบ สามารถทำได้โดยนำสิ่งหนึ่งที่อาจ เป็นผลงานแบบอื่นของคนหนึ่ง นำมาเปลี่ยนบริบท เช่น อุปกรณ์สอนวิทยาศาสตร์เอามาแปรรูปให้ได้งานศิลปกรรม ขนาดยักษ์เพื่อเตือนใจคนดู การแปรเปลี่ยนภาพการ์ตูนขนาดเล็ก มาเป็นงานจิตกรรมขนาดใหญ่ เป็นตัวอย่างเห็นได้ชัด สำหรับตัวตนทางศิลปะในงานเหล่านี้ ถ้ามีการทำชุดที่สอง ผู้เขียนเห็นว่าคงจะถือเป็นผลงานชิ้นที่สองไม่ได้ ถ้ารูปร่าง ลักษณะ ขนาด สี เหมือนแบบแรก แต่เราต้องถือว่าเป็น โคลน (Clone) หรือสำเนา ดังนั้นก็อปปี้ที่สองก็คือสำเนาของ ตัวแรกนั่นเอง ดังที่มาโกลิส อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ในสังคมที่เทคโนโลยีการลอกแบบก้าวหน้ามาก สิ่งที่เรียกว่าตัวตน จึงไม่อาจยึดตามตัววัตถุได้ แต่ให้ใช้แม่แบบใหญ่ (Mega type) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความคิดเป็นหลัก มุมมองของนักสุนทรียศาสตร์ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สิ่งกำหนดตัวตนของผลงานและสิ่งที่ ก่อให้เกิดความเป็นต้นแบบ ไม่ได้อยู่ที่วัตถุ หรือปัจจัยทางกายภาพอย่างในอดีต ฝีมืออันเลอเลิศ แผ่นกระดาษชิ้น ประวัติศาสตร์ที่บันทึกโน้ตเพลง ไม่สำคัญเท่ากับสิ่งไร้ตัวตน คือ ความคิดในหัวศิลปินหรือคีตกวี ที่จะกำหนดต้นแบบ ใหญ่หรือ เมกะไทพ์ (Mega type) ทิ้งไว้เป็นหลักยึดถือ

VI) บรรณานุกรม Bergsen, Henri, “The Individual and the Type” in Melvin Rader, ed., A Modern Book of Aesthetics, New York: Holt, Rinehart and Winston, 1960, 80-87. Duchamps, Marcel, “Art as Non Aesthetics” in Dickie and Sclafani ed,, Aesthetics : ACritical Anthology, New York: Sy Martin Press, 1977, 540-547. Foucoult , Michel, I”Order of Things” in Stephen D. Ross, ed. Art and Its Significance: An Anthology of Aesthetic Theory, Albany : State University Press, 1984. Goodman, Nelson, “Art and Authenticity “ in Mathew Lipman’s ed., Contemporary Aesthetics ,Boston: Allyn and Bacon, 1973. 251-258. Grossnic and Burkhardt, Art Now, Cologne: Taschen, nd. Lessing, Alfred, “What is Wrong with a Forgery” in Lipman, 258-268. Margolis, Joseph, “The Identity of a Work of Art” in Lipman Simon, Joans, Interview Jenny Holtzer, London: Phaidon, nd. Staff writers, Phaidon The Art Book, London: Phaidon, nd. Waldman, Dian, Jenny Holtzer, New York: Solomon and Guggenheim Museum, 1997. Weitz, Morris, “The Role of Theory in Aesthetics”, in Melvin Rader, ed., 199-207. Wilkins, David, Schultz, Bernard abd Linduff, Katheryn M. Art Past Art Present, New York: Harry N Abrahms, Inc. 1997.

94


โพสท์โมเดิร์นแบบไทยไทย : ว่าด้วยสถาปัตยกรรมและอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวไทย อาจารย์วรรณวิภา สุเนต์ตา ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ ถ้าสถาปัตยกรรม คือภาพสะท้อนแนวคิดและจินตนาการของผู้คนในสังคม ความหลากหลายของรูปแบบ สถาปัตยกรรมและอัตลักษณ์ที่พัฒนาขึ้นในชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ย่อมถ่ายทอดทัศนคติของการดำรงชีวิตใน ยุคแห่งการบริโภคสัญญะ บทความนี้นำเสนอมุมมองเรื่องการสื่อและสร้างความหมายผ่านสถาปัตยกรรม เชื่อมโยง เปรียบเทียบกับวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ทเ่ี กิดขึน้ ในโลกตะวันตก และตัง้ คำถามถึงการค้นหาอัตลักษณ์เพือ่ การท่องเทีย่ ว ในท้องถิ่น อันแสดงถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างรากเหง้าทางสังคมกับการสร้างสรรค์ ที่อาจเรียกได้ว่า ”โพสโมเดิร์นแบบ ไทยไทย” แนวความคิดในยุคหลังสมัยใหม่หรือโพสโมเดิร์น (Postmodernism) เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกช่วงปลา ยคริสตศตวรรษที่ 20 โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ตัง้ คำถามและปฏิเสธความงามอันเป็นแบบแผนสากลของสถาปัตยกรรมและ แนวคิดในยุคโมเดิรน์ (Modernism) อย่างสิน้ เชิง และมุง่ แสวงหาความหมายตามความคิดและพืน้ ฐานทางวัฒนธรรมที่ เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างแท้จริง มโนทัศน์แบบโพสโมเดิรน์ ยังผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมร่วมสมัย และกระแสการบริโภคเป็นผลให้เกิดคตินยิ ม ผสมผสาน (Eclecticism) หรือการหยิบยืมวัฒนธรรมอันหลากหลายมารวมกันไว้อย่างสับสน ที่เรียกว่า “ยำใหญ่” หลายกาละ เทศะ และยุคสมัย1 ในอีกแง่มุมหนึ่งโพสโมเดิร์นคือยุคของการใช้สัญญะในศิลปะทุกแขนง มุ่งเน้นภาพลักษณ์และวัฒนธรรมทาง สายตา (Visual Culture) แนวคิดนี้สะท้อนในศิลปะแบบป๊อปอาร์ต (Pop Art) ของศิลปินแอนดี้ วอลฮอลล์ (Andy Warhol) 2 ซึง่ สือ่ ความจริงทีข่ ดั แย้งว่า การโฆษณา ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และงานศิลปะเกีย่ วข้องกันอย่างแยก ไม่ออก ความหลากหลายของการบริโภคนิยม ถูกนำมาขยายความโดยสถาปนิก โรเบิร์ต เวนทูรี่ (Robert Venturi) ผ่านมุมมองสถาปัตยกรรมที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา ในเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เวนทูรี่ (Venturi R.) ตั้งข้อสังเกตว่า การสร้างอาคารแห่งหนึ่งให้มีหน้าตาคล้ายกับอาคารในวัฒนธรรมอื่น เช่น โรงแรมในเมืองลาสเวกัสที่มีรูปทรงคล้ายกับปิรามิดแห่งอียิปต์ หรือการตกแต่งหน้าตาอาคารรูปกล่องสี่เหลี่ยม ธรรมดาให้น่าสนใจด้วยป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (Decorated Shed) หรือแม้แต่การสร้างอาคารให้มีรูปทรงเหมือน ประติมากรรมขนาดมหึมา ที่เรียกว่า “เป็ด” (Duck)3 (ภาพที่ 1) คือ การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ที่ประสบความ สำเร็จในแง่การสื่อและสร้างความหมาย แม้ว่าจะไม่ตอบคำถามเรื่องรสนิยมที่ดีในการออกแบบแต่เหมาะสมกับบริบท ของเมืองลาสเวกัส ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงและเข้าถึงผู้คนซึ่งส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถยนต์ การสื่อความหมายด้วยสถาปัตยกรรมในชุมชนท่องเที่ยว ทั้งที่เกิดขึ้นมาก่อนในโลกตะวันตก หรือกำลังเป็น กระแสนิยมในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วต้องการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) หรือสาระสำคัญ (Theme) ให้กับย่าน และสถานทีโ่ ดยนำเสนอภาพลักษณ์และรูปแบบสถาปัตยกรรมจากวัฒนธรรมอืน่ หรือเน้นความสำคัญของสถาปัตยกรรม ไทยประเพณีด้วยการทำซ้ำในบริบทใหม่ 1 ธีรยุทธ บุญมี, โลก Modern & Post Modern (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร, 2550), 177-178. 2 “Campbell Soup Can” (Online) Accessed 18 March 2011. Available from http://www.arthistoryarchive.com/arthistory/popart/AndyWarhol.html 3 Venturi, R. and Brown, S.D., Learning from Las Vegas (USA.: MIT Press, 1977), 90-92.

95


แนวคิดดังกล่าวทำให้เกิดการสร้างบรรยากาศ การท่องเที่ยวอย่างใหม่ซ้อนทับไปบนบริบทของชุมชนเดิม ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ การจำลองหรือทำซ้ำ และ การสร้างอัตลักษณ์ใหม่ ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจำลองภาพลักษณ์จากวัฒนธรรมอื่นได้แก่ การนำภาพ ชนบทในประเทศแถบยุโรปสร้างอัตลักษณ์ที่สอดคล้อง กับภูมิประเทศแบบหุบเขา แถบอำเภอมวกเหล็ก จังหวัด สระบุรี ต่อเนื่องไปยังอำเภอปากช่องและอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีรากฐานของธุรกิจการเกษตรแบบ ทุนนิยมจำนวนมากหนึ่งในโครงการที่น่าสนใจคือ ”เดอะ พาลิโอ” โครงการร้านค้าที่จำลองอาคารและย่านค้าขาย ภาพที่ 1 สถาปัตยกรรม”เป็ด” และสถาปัตยกรรม“กล่อง” ที่มา : Venturi, R. and Brown, S.D., Learning ในยุโรป ซึง่ ประสบผลสำเร็จทัง้ ในด้านการตลาดและสร้าง from Las Vegas (USA. : MIT Press, 1977), 88-89. ที่หมายตา (Landmark) แห่งใหม่ในชุมชน (ภาพที่ 2) การสร้างบรรยากาศความงามจากต่างประเทศ ยังเป็นทางเลือกที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวเสมือนได้เดินทางไป ยังดินแดนเหล่านั้นจริง ประกอบกับรูปแบบการใช้ชีวิตของ กลุ่มคนที่ชอบการท่องเที่ยว ถ่ายภาพและสื่อสารบนสังคม ออนไลน์ ทำให้การสร้างเรื่องราวให้กับสถานที่ตอบสนอง รสนิยมของนักท่องเทีย่ วกลุม่ นีไ้ ด้เป็นอย่างดี สถาปัตยกรรม และการตลาดจึงจำเป็นต้องอาศัยมุมมองถ่ายภาพเป็นส่วน หนึ่งของการสื่อภาพลักษณ์ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งที่เติบโตขึ้นจากการออกแบบบรรยากาศชนบท ภาพที่ 2 ทัศนียภาพของร้านค้าแบบยุโรป และฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบตะวันตก (ภาพที่ 3) เน้นการสร้าง อาคารเรียบง่ายแบบบ้านดินขนาดเล็ก การขยายตัวของ แหล่งท่องเทีย่ วในระยะต่อมาทำให้อำเภอสวนผึง้ มีสถาปัตยกรรมหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งหลายแห่งใช้โครงสร้าง อาคารคอนกรีตซึ่งทนทานต่อสภาพภูมิอากาศมากกว่าแต่ ยังคงตกแต่งด้วยภาพลักษณ์ของบ้านดินธรรมชาติ บางแห่งเลือกแนวคิดที่ต่างออกไปและดูขัดแย้ง ด้วยการสร้างอาคารรวมกับประติมากรรมแบบ “บ้านฟลิ้น ภาพที่ 3 บรรยากาศชนบท โครงการ La Toscana สวนผึ้ง -สโตน์” 4 (ภาพที่ 4-5) คล้ายกับสถาปัตยกรรมซึ่งเวนทูรี่ จังหวัดราชบุรี โครงการ The Pallio เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา (Venturi R.) เรียกว่า “เป็ด” อาคารที่พักเหล่านี้สื่อสาร 4 บ้านที่ได้แรงบันดาลใจจากบ้านมนุษย์หินฟลิ้นสโตน “Flintstone House” สร้างขึ้นในปีค.ศ.1976 โดยสถาปนิกวิลเลียม นิโคลสัน (William Nicholson) เมืองฮิลล์โบโร รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แม้ว่าไม่ได้แสดงภาพตัวละครจากภาพยนต์การ์ตูนเรื่องนี้ในงานออกแบบ แต่ด้วยรูปทรงที่แตกต่างของบ้าน เป็นผลให้เกิดการตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้น เพื่อพิจารณารูปแบบอาคาร และปัองกันไม่ให้สร้างอาคารแปลกแยกขึ้นอีก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Alan H. Haeberle, “The Flintstone house” (Online) Accessed 15 March 2011. Available from http://www.roadsideamerica.com/tip/16925

96


ภาพที่ 4 และ 5 บ้านพักฟลิ้นสโตน (The Flintstone) และบ้านพักรูปแบบต่างๆ โครงการสวนผึ้งรีสอร์ท จ.ราชบุรี

ภาพที่ 6 โครงการเพลินวาน หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มา : http://www.kbeautifullife.com/travel/ in...id%3D129

ชัดเจนด้วยรูปทรงภายนอกและทำให้คณ ุ ค่า ของทีว่ า่ งภายใน อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญของการออกแบบอีกต่อไป นอกจากนี้วัสดุและวิธีการก่อสร้างหลายแบบถูก นำมาใช้เพื่อสะท้อนภาพของการอยู่อาศัยตามป่าเขา ทั้ง อาคารโครงหลั ง คาผ้ า ใบแบบเต้ น ท์ ห รื อ กระท่ อ มไม้ ซุ ง ล้ ว นเป็ น จิ น ตนาการที่ แ ปลกใหม่ ไ ปจากวิ ถี ชี วิ ต คนไทย โดยเฉพาะคนในสังคมเมือง ประการต่อมา คือการจำลองภาพจากอดีต (Nostalgia) โดยนำความเก่าแก่ของเมืองพักผ่อนชายทะเล จังหวัดเพชรบุรแี ละประจวบคีรขี นั ธ์ในอดีต เป็นแรงบันดาล ใจในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุคหรือการย้อน กลับไปนำ ความงามในอดีตมาปรับปรุงในรูปลักษณ์ใหม่ซงึ่ หลุดพ้นจากบริบทเดิม ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือโครงการ ”เพลินวาน” (ภาพที่ 6) ซึ่งใช้เรือนไม้สองชั้นที่คุ้นเคยของตลาดเก่ามา สื่อความหมาย ในเชิงล้อเล่นนำความน่าเบื่อที่เห็นจนชินตา ผสมผสานให้เกิดความน่าสนใจสร้างบรรยากาศท่องเที่ยว ที่กลมกลืนกับแนวคิดด้านการตลาด นอกจากการจำลองและทำซ้ำแล้ว การสร้าง อัตลักษณ์ผสานกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นอีกแง่มมุ หนึง่ ทีช่ ว่ ยให้สถาปัตยกรรมและชุมชนท่องเทีย่ วสือ่ สารตรง ถึงกลุ่มคน และประสบผลสำเร็จมาก่อนในชุมชนท่องเที่ยว ขนาดใหญ่อย่างลาสเวกัส หรือสวนสนุกดีสนีย์แลนด์ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์ (Creative Community) ผนวกกับความแพร่หลายของสื่อสังคมออนไลน์ ถูกนำมาใช้ในธุรกิจชุมชน ขนาดเล็กในอำเภอปาย จังหวัด แม่ฮ่องสอน และสืบเนื่องไปยังชุมชนอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (ภาพที่ 7) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากนักออกแบบที่ ย้ายเข้ามาอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน เป็นการผสมผสานการ ออกแบบอัตลักษณ์ของย่านและการโฆษณา ทำให้เมืองที่ อยู่ห่างไกลเข้าถึงนักท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว

ภาพที่ 7 อำเภอเชียงคาน จ.เลย ที่มา : http://chiangkhan.sadoodta.com/ pic/%25E...%2588-07

97


การสร้างอัตลักษณ์เพือ่ การท่องเทีย่ วทีป่ ระสบผล ยังทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่ระลึกซึ่งสร้างรายได้ส่วน หนึ่งกลับไปยังชุมชน โดยเฉพาะสินค้าที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่กลับได้รับความนิยมอย่างเสื้อยืดคอกลมสกรีนคำว่า “รักปาย” ที่กลายเป็นแบรนด์ของสินค้าและชุมชน 5 (ภาพที่ 8) อย่างไรก็ตามท่ามกลางกระแสการออกแบบตก แต่งต่างวัฒนธรรม ”ลักษณะไทย” หรือ “อัตลักษณ์ไทย” เป็นความท้าทายของ การสร้างสรรค์ศิลปะทุกสาขาส่วน ใหญ่แล้วงานออกแบบอาคารลักษณะไทยถูกตีความ และ ภาพที่ 8 เสื้อยืดสกรีนคำว่า “อ๊วก+หลับ = แม่ฮ่องสอน” แม้ว่าจะ เน้นความสำคัญในระดับที่แตกต่างกัน เช่น การหยิบยืม ขาดจินตนาการของภูเขาและบรรยากาศหนาวเย็นของอำเภอปาย แต่กลับถูกรสนิยมนักท่องเที่ยวยิ่งกว่าสินค้าโอทอป (OTOP) มาใช้โดยตรง โดยการจำลองรูปทรงและงานตกแต่งจาก ที่มา : http://www.ktc.co.th/ktcworld/2009/cont... พุทธสถาน หรือการสร้างอัตลักษณ์ไทยจากสีสรร พื้นผิว cat%3D10 และวัสดุซึ่งแยบยลกว่า องค์ประกอบสำคัญคืองานประดับแบบไทย ซึ่งประกอบด้วย ลวดลายและระเบียบของงานประดับ สัมพันธ์กับ ปริมาตรและที่ว่างตามองค์ประกอบศิลป์แบบไทย อันแสดงออกซึ่งความหมายในเชิงสัญลักษณ์ และเป็นการซ้อนความ หมายที่ให้ความสำคัญต่อจำนวนและรูปทรงธรรมชาติ ซึ่งมีแนวคิดมาจากวรรณกรรมในพุทธศาสนาที่สืบทอดมา การพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยไปสู่บริบทใหม่ด้วยรูปแบบเดิมและประโยชน์ใช้สอยใหม่ ย่อมทำให้ความหมาย ของงานประดับเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเน้นการประดับตกแต่ง (Ornamentation) มากกว่าการสอดแทรกความรู้หรือแฝง ความหมาย เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นที่ถูกหยิบยกมาใช้ในแง่ของรูปแบบ พร้อมกับการจำลอง บรรยากาศของ ไร่นา ตลาด วัดและชุมชน ที่นำมาเป็นสาระสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง ชนบทและท้องถิ่นไทยจึงเป็นเพียงรูปแบบและวิธีการขายซึ่งถูกรสนิยมคนส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า สถาปัตยกรรมในปัจจุบันต้องการสัญญะเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคเช่นเดียวกับสินค้า “โพสโมเดิร์นแบบไทยไทย” อาจกล่าวได้ว่าการค้นหาและสร้างอัตลักษณ์ ส่งผลให้สถาปัตยกรรมและชุมชนท่องเที่ยวในประเทศไทยส่วน ใหญ่สะท้อนรสนิยมแบบโพสโมเดิร์น ซึ่งริเริ่มขึ้นในสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นการแสดงสัญญะ และตั้งคำถามเรื่องความคุ้นชินของมนุษย์กับอาคาร ที่ไม่จำเป็นต้องจำแนกตามประเภท (Type) อีกต่อไป การแสดงความคิดที่หลากหลายและไม่ตายตัวตามกฏเกณฑ์ อันเป็นผลผลิตของกระแสวัฒนธรรมนี้จึงหลีกไม่ พ้นการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม ซึ่งย่อมไม่มีสิ่งใดผิดหรือถูกอย่างแท้จริง การยอมรับความหลากหลายและการคิดต่าง อย่างสร้างสรรค์ “ความเปลี่ยนแปลงและไม่ยั่งยืน” จึงเป็นสาระหลักที่ขยายผลไปสู่วัฒนธรรมร่วมสมัยในปัจจุบัน 6 อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมและอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ขึ้นในปัจจุบัน ไม่ได้แสดงความหลาก หลาย คลุมเครือ หรือซับซ้อน ตามมโนทัศน์ที่สถาปัตยกรรมโพสโมเดิร์นต้องการนำเสนอ 7 แต่ติดอยู่กับวงจรของ 5 TCDC., “ปาย ชุมชนนักสร้างสรรค์ สวรรค์แห่งนักท่องเที่ยว” (ออนไลน์), เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http//www.tcdcconnect.com/ content/blog/?p=4666 6 วิรุณ ตั้งเจริญ. “ลัทธิหลังสมัยใหม่ ศิลปะหลังสมัยใหม่” วารสารราชบัณฑิตยสถาน 27, 2 (เมษายน-มิถุนายน, 2545) : 335-336. 7 ดูรายละเอียดเรื่องแนวคิดและการวิพากษ์สถาปัตยกรรมแบบโพสโมเดิร์นเพิ่มเติมใน Jencks C., What is Post-Modernism? (USA. : St. Martin Press, 1989), 22-23. และ Jameson F., Post Modernism or, The Cultural Logic of Late Capitalism (USA. : Duke University press, 2005), 38-45.

98


การซ้ำอย่างผิวเผิน อันเป็นผลมาจากการสื่อสารด้วยภาพ ภายนอกที่ตรงประเด็นตามแนวทางการตลาด การจำลองรูปแบบจากอดีต ในชุมชนท่องเที่ยว หลายแห่ง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแสวงหาความ มั่นคงทางอัตลักษณ์ท้องถิ่นนิยมถูกหยิบยกขึ้มาเป็นสาระ หลักไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการผลิต การท่องเที่ยว หรือการ เมืองการปกครองอันเป็นไปตามกระบวนการ ที่ทำให้ ”วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า” 8 หลายชุมชนกำลังค้นหา อัตลักษณ์ท้องถิ่นตามแนวคิดของรัฐและระบบเศรษฐกิจ ภาพที่ 9 ศาลบรรพบุรุษในประเทศญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมเปรียบเทียบ ทั้งที่จิตวิญญาณท้องถิ่นมีอยู่และเป็นสิ่งที่รับรู้ของผู้คนใน กับแบบบาร์โคด (QR Code) ซึ่งบรรจุข้อมูลส่วน ชุมชนมานานแล้ว บุคคลภาพถ่ายและวีดีโอที่สามารถสแกนดูได้จาก นโยบายขยายตลาดการท่องเที่ยวในปัจจุบันยัง โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน ส่งเสริมให้ภมู ภิ าคและจังหวัดสร้างตราสินค้าแหล่งท่องเทีย่ ว ที่มา : http://www.japantrends.com/qr-codegraves-give-a-memorial-window/ (Destination Branding) เพื่อจัดการความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมให้อยู่ในระบบเศรษฐกิจ กระบวนการค้นหา อัตลักษณ์เหล่านี้แม้ว่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจ ตลอดจน ความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น แต่อาจต้องแลก กับคุณค่าของท้องถิ่น ที่ย่อมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการ ตลาด และการพิ่งพิงปัจจัยภายนอกเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เช่นรสนิยมของนักท่องเที่ยวหรือนโยบายส่งเสริมจากรัฐ ที่จะกลายเป็นผู้กำหนดเศรษฐกิจชุมชน นอกจากอัตลักษณ์หรือ ”ตัวตนในอุดมคติ” แล้ว ในอีกแง่มุมหนึ่งสถาปัตยกรรมและชุมชนท่องเที่ยวยังต้อง ตอบสนองโลกยุคปัจจุบันในการแสวงหาสิ่งที่ใหม่กว่าอยู่ ตลอดเวลา ความก้าวหน้าของการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ แบบสมาร์ทโฟนและบาร์โคด (QR code) เป็นหนึ่งในเทคภาพที่ 10 สัญญะแบบบาร์โคด (QR Code) ซึ่งกลายเป็น ส่วนหนึ่งของรูปด้านอาคาร โนโลยีที่ท้าทายแนวคิดในสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ที่มา : http://www.in3.in.th ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้การสร้างสรรค์ต้องทบทวน ถึงความเป็นตัวตน ความงามหรือความน่าเกลียด ซึ่งถูกตี ความผ่านภาษามาตรฐานที่เกิดขึ้นใหม่ (ภาพที่ 9-10) อย่างไรก็ตามในกรอบของสังคมและวัฒนธรรม ประเด็นหนึ่งซึ่งถูกตั้งคำถามมาโดยตลอดคือ สังคมไทย ได้กา้ วเข้าสูค่ วามเป็นโพสโมเดิรน์ ร่วมสมัยหรือกำลังดำเนิน อยู่ในทิศทางใด เพื่อตอบคำถามเหล่านี้อาจต้องพิจารณถึง การมีอยู่และไม่หยุดนิ่งตายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์และพันธะ 8 สุริชัย หวันแก้ว และ กนกพรรณ อยู่ชา, ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยบนความหลากหลายและสับสน (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552), 13-14.

99


ทางสังคม 9 ซึ่งปรับเข้ากับโครงสร้างของวัฒนธรรมร่วมสมัย ตลอดจนแนวคิดในพุทธศาสนาที่อยู่ร่วมกับความเชื่อ ไสยศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ”ความดั้งเดิม” ของสังคมไทยอันมีนัยของความเหลื่อมล้ำและขัดแย้ง เงื่อนไขหนึ่งคือสังคมไทยไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมสมัยใหม่ตามประวัติศาสตร์แบบโลกตะวันตก แม้ว่าจะ พัฒนาไปตามกระแสโลกาภิวฒ ั น์ เทคโนโลยี และประชาธิปไตย แต่ไม่ได้เป็นกระแสหลักทีช่ ดั เจนเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน แบบสังคมตะวันตก 10 เป็นผลให้ความต่างและความดั้งเดิมสามารถรับรู้ผ่านการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมย่อย/อัตลักษณ์/ท้องถิ่น จึงควรเป็นเรื่องราวคู่ขนาน มากกว่าการครอบด้วยระบบคิดของการตลาด ท่องเที่ยวหรือบริโภค ซึ่งถูกขยายความภายใต้มาตราฐานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ อันนำไปสู่วงจรของการ สร้างสรรค์ที่อาจเรียกได้ว่า ”โพสโมเดิร์นแบบไทยไทย” อย่างแท้จริง 9 วีระ สมบูรณ์, รัฐ-ชาติ ชาติพันธ์ ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยความเป็นชาติ ความเป็นรัฐ และปัญหาชาติพันธุ์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมมติ, 2553), 28-31. 10 ไชยันต์ ไชยพร, Post Modern ชะตากรรมโพสโมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์openbooks, 2553), 188-189.

บรรณานุกรม ธีรยุทธ บุญมี, โลก Modern & Post Modern, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร, 2550. ไชยันต์ ไชยพร, Post Modern ชะตากรรมโพสโมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ openbooks, 2553. วิรุณ ตั้งเจริญ. “ลัทธิหลังสมัยใหม่ ศิลปะหลังสมัยใหม่” วารสารราชบัณฑิตยสถาน 27, 2 (เมษายน-มิถุนายน, 2545) : 330-341. วีระ สมบูรณ์, รัฐ-ชาติ ชาติพันธ์ ข้อสังเกตบางประการว่าด้วยความเป็นชาติ ความเป็นรัฐ และปัญหาชาติพันธุ์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมมติ, 2553. สุริชัย หวันแก้ว และ กนกพรรณ อยู่ชา, ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยบนความหลากหลายและสับสน, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Jameson F. Post Modernism or, The Cultural Logic of Late Capitalism, USA. : Duke University press, 2005. Jencks C. What is Post-Modernism?, USA. : St. Martin Press, 1989. Venturi, R. and Brown, S.D., Learning from Las Vegas, USA. : MIT Press, 1977. Alan H. Haeberle. “The Flintstone house” (Online) Accessed 15 March 2011. Available from http://www.roadsideamerica.com/tip/16925 “Campbell Soup Can” (Online) Accessed 18 March 2011. Available from http://www.arthistoryarchive.com/ arthistory/popart/Andy-Warhol.html TCDC. “ปาย ชุมชนนักสร้างสรรค์ สวรรค์แห่งนักท่องเที่ยว” (ออนไลน์), เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http//www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=4666

100


ประวัติคณาจารย์

101


102

รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์เทิดศักดิ์ เหล็กดี

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - M.F.A. (Interior Architecture) The school of the arts institute of Chicago, U.S.A. - Dip. (Industrial Design) Domus Academy Milan Italy ผลงานวิจยั - โครงการพัฒนารูปแบบเครือ่ งจักสาน เพือ่ ส่งเสริมการส่งออก (Design development of Thai wickerwork products for Export promotion) - โครงการออกแบบและพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ ประเภทเครือ่ งจักสานใบลาน (Design and develop Laan for Packaging) บทความ - Minimalism/IMF วารสารคณะมัณฑณศิลป์ - แสงในงานพิพธิ ภัณฑ์ (บันทึกจากความทรงจำ ครัง้ ที่ 1) ข่าวสารคณะมัณฑนศิลป์ ปีท่ี 12 - ฉบับที่ 59 ธันวาคม 2541 - The Art of Landscap บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2541 - Loft Elements บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - Interior Year 2000 แนะนำภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - บทความงานออกแบบในนิตยสาร DNA ปี 2545-2546 ฉบับที่ 24-33 ผลงานสร้างสรรค์ 2529 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกเกษตรรุง่ เรือง 2530 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกใบหยกทาวเวอร์1 44 ชัน้ 2534 - ออกแบบตกแต่งภายในและปรับปรุง ส่วนหน้า สำนักงานยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ 2541 - ออกแบบตกแต่งภายใน งานปรับปรุง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2542 - ออกแบบเครือ่ งเรือน โครงการฝ้ายแกมไหม 2543 - ออกแบบเครือ่ งเรือนแสดงสินค้าในงาน TIFF 2001-2002 2544 - ออกแบบบ้านพักตากอากาศ หาดตะวันรอน พัทยา ชลบุรี ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2543 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2545 - นิทรรศการหนึง่ ตำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ BIG 2002 ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค 2546 - นิทรรศการแฟชัน่ โชว์เครือ่ งประดับ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (สาขาศิลปะไทย) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (สาขาบริหารงานวัฒนธรรม ) วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์การทำงาน 2542 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จิตรกรรมบัวหลวง ( จิตรกรรมแบบไทยประเพณี ) โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด 2543 - รางวัลประกาศเกียรติคณ ุ ศิลปกรรมยอดเยีย่ มแห่งประเทศไทย โดยกลุม่ บริษทั ฟิลลิป มอร์รสิ 2548 - ศิลปินรับเชิญใน นิทรรศการ The 1st Poucheon Asian Art Festival (PAAF2005) ณ Poucheon City ประเทศเกาหลี


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์พยูร โมสิกรัตน์

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชยั ณรงค์ อริยะประเสริฐ

ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ประกาศนียบัตรชัน้ สูง (สถาปัตยกรรมไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับปริญญาตรี - Thai Decorative Arts - Application of Thai Motif in Interior Design - Oriental Decorative Arts - Survey of Thai Art ระดับปริญญาโท - Advanced Interior Design I - Architectural System ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2541-2549 - การแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541-2542 - การแสดงผลงานเนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 2542 - การแสดงศิลปกรรมบึงบอระเพ็ด 2543 - การแสดงศิลปกรรมขนาดเล็ก “พืน้ ผิวและวัสดุ” - การแสดงศิลปกรรมเพือ่ ศิลป์ พีระศรี 2000 2544 - การแสดงศิลปกรรม “ภาพเหมือนศิลปิน” 2545 - การแสดงศิลปกรรม “วาดเส้นร่วมสมัย” 2547 - การแสดงศิลปกรรม “ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ”์ิ 2548 - การแสดงศิลปกรรม “คืนชีวาอันดามัน” 2549 - การแสดงศิลปกรรม “ Art 2006”

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบภายใน) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน - ระดับปริญญาตรี เรขศิลป์เบือ้ งต้น / ออกแบบเครือ่ งเรือน 1 / การเขียนแบบภายใน 1 / ศิลปนิพนธ์ / การออกแบบ 1, 2 / โครงการศึกษาส่วนบุคคล / ศิลปะปฏิบตั ิ 2 / ระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน 1, 2 / วิธวี จิ ยั เพือ่ เตรียมศิลปนิพนธ์ / การออกแบบภายใน 4 - ระดับปริญญาโท 361 405 Interior Environmental System 361 410 Interior Design Management and Consultancy ผลงานวิจยั - หัวหน้าโครงการวิจยั เพือ่ เสนอแนะออกแบบปรับปรุงภาพลักษณ์ โครงการศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน), 2554 - หัวหน้าโครงการวิจยั เพือ่ การแก้ไขปรับปรุงการตกแต่งภายใน ส่วนต้อนรับด้านหน้า และส่วนห้องประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน), 2554 - หัวหน้าโครงการวิจยั “โครงการสาธิตการใช้วสั ดุกอ่ สร้างในการตกแต่ง ภายในทีพ่ กั อาศัย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพือ่ กรณีศกึ ษา บ้านเอือ้ อาทร รังสิต คลองสาม ปทุมธานี, 2554 - หัวหน้าโครงการวิจยั ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้วยการอบรมและปฏิบตั ิ การสร้างสรรค์งานศิลปะภาพพิมพ์จากแม่พมิ พ์ไม้และแม่พมิ พ์คอนกรีต : ผลิตภัณฑ์ใหม่ของทีร่ ะลึกชุมชนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2553 ประวัตแิ สดงผลงาน 2541 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 1 2542 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 2 2544 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 4 2546 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 6 2547 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7 2548 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 2549 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 9 2550 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 10 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 11 2552 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 12 2553 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 13

103


104

อาจารย์เฉลิมใจ บัวจันทร์

อาจารย์ณฐั รฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส

ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2545-2546 - ศูนย์ภมู ภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) 2546-2547 - DESIGN NINE INTERIOR ARCHITECTURE 2548-2549 - คณะทำงานออกแบบปรับปรุงและต่อเติมสถาปัตยกรรม ภายในพระทีน่ ง่ั จักรีมหาปราสาท (พระทีน่ ง่ั บรมราชสถิตยมโหฬาร) 2549-2553 - มัณฑนากร บริษทั ดีคสั จำกัด 2553-2554 - มัณฑนากรอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์คอนโดมิเนียม บริษทั แสนสิริ จำกัด (มหาชน) 2554-ปัจจุบนั - อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานออกแบบบางส่วน - ออกแบบปรับปรุงและต่อเติม พระทีน่ ง่ั จักรีมหาปราสาท (พระทีน่ ง่ั บรม ราชสถิตยมโหฬาร) รับผิดชอบออกแบบภายในส่วนของห้องจัดเลีย้ งใหญ่ - ทีมงานออกแบบภายใน อาคารทีท่ ำการศาลฎีกาและสำนักงาน ศาลยุตธิ รรม (สนามหลวง) - ทีมงานออกแบบภายใน สำนักงานใหญ่ธนาคารเพือ่ การเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (พหลโยธิน) - ออกแบบเลขนศิลป์สง่ิ แวดล้อม สำนักงานใหญ่ธนาคารเพือ่ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (พหลโยธิน) - ออกแบบภายในรีสอร์ต เขาหลัก บูล ลากูล จังหวัดพังงา - ออกแบบสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัย คุณชาตรี ทองคำ - ออกแบบภายในพันบุรี เซอร์วสิ อพาร์ตเมนต์ - ออกแบบภายในสำนักงานขาย ดีคอนโด รามคำแหง


อาจารย์พฒ ั นา เจริญสุข

อาจารย์ไพบูลย์ จิรประเสริฐกุล

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2531-2534 - บริษทั เอกชนย่านทองหล่อ 2534-2544 - บริษทั เดคคอเรท แอททรีเรีย จำกัด คุณสมชาย จงแสง ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออก Asst. Design director 2544-2552 - ประกอบอาชีพมัณฑนากรอิสระ 2549-2551 - อาจารย์พเิ ศษ วิชาคอมพิวเตอร์เพือ่ การออกแบบ ภาคปลาย 3 ปีการศึกษา ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Bachelor of Fine Arts (Interior Design) Silpakorn University - Bachelor of Architecture, Pratt Institute, Brooklyn, New York - Master of Science in Advanced Architecture, Columbia University, New York รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับบัณฑิต - 361 103 Interior Design II - 361 201 Technological System in Interior Design II - 361 113 Technological System in Interior Design I - 361 203 Interior Design V (Project) - 361 208 Interior Design Concept - 361 226 Decorative Arts and Objects for Interior Design - 361 203 Interior Design V (Sketch Desig n) - 361 212 Interior Design IV - 361 214 Research Methodology for Thesis Preparation - 361 215 Art Thesis ระดับมหาบัณฑิต - 361 401 Advanced Interior Design I - 361 409 Space Analysis - 361 410 Interior Design Management and Consultancy - 361403 Advanced Interior Design III - 361 402 Advanced Interior Design II - 361 412 Thesis ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - FILTER ISLAND, WWW.RPART.COM 2000 - สถาปัตย์ AIA ที่ New York ผลงาน “Assemble Space” 1999 - Theory on Topograhy at Pratt - ผลงานทางแนวความคิดกับงานบ้านในรูปแบบทฤษฎี สูก่ ารปฏิบตั ใิ น หนังสือ In Process 1998 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7 ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ์ิ (The Flowers in the title of the Queen Sirikit) 2002 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 (For The Memorial Day of prof. Silpa Bhirasri เนือ่ งในวาระก้าวสู่ ทศวรรษที่ 5 ของคณะมัณฑนศิลป แ์ ละวันศิลป์พรี ะศรี 2003 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7 2004

105


106

อาจารย์สมบัติ วงศ์อศั วนฤมล

อาจารย์สคุ นธรส คงเจริญ

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานออกแบบตกแต่งภายในบางส่วน - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม - หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.เพชรบุรี - ห้องสมุดหม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา (ชัน้ ที่ 1) - ศูนย์การเรียนรู้ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม - คณะวิทยาการจัดการ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ม.ศิลปากร - คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ - ห้องสมุดชุมชนตำบลสามควายเผือก อ.เมือง จ.นครปฐม - พิพธิ ภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสทุ โธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา - บ้านพักตากอากาศ ๒ ชัน้ คุณสุณรี ตั น์ โฉว โครงการโบนันซ่ารีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา - บ้านพักตากอากาศ ๓ ชัน้ คุณสุธรรม สุวรรณนภาศรี โครงการกรีนเนอรี่ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา - บ้านพักตากอากาศคุณลักขณา-คุณธวัชชัย พงษ์วทิ ยาธร อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต - บ้านพักอาศัย ๔ ชัน้ คุณวิวฒ ั น์ สุวรรณนภาศรี สะพาน ๙๙ ประชาชืน่ กรุงเทพมหานคร ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมบางส่วน - มณฑปพระอัฐธิ าตุหลวงปูเ่ หรียญ วรลาโภ ต.นาเวียง อ.ทรายมูล จ.ยโสธร - สถูปเจดียส์ วุ รรณนภาศรี วัดทุง่ เศรษฐี รามคำแหง 2 กรุงเทพมหานคร - พระบรมธาตุเจดียศ์ รีวนานุสรณ์ วัดป่าเขาดินวนาราม ต.หนองกุง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น - ร่วมออกแบบอุโบสถ วิหารและเจดีย์ สำนักสงฆ์ปา่ อ้อร่มเย็น ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย - พระธาตุโพธิท์ อง ธรรมสถานบ้านโพธิท์ อง ต.จรเข้สามพัน อ.อูท่ อง จ.สุพรรณบุรี - ผังแม่บทสถานปฏิบตั ธิ รรม”สวนธรรมจักร” อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี อนุสาวรียพ์ ระยาจิตวงษ์วรยศรังษี (น้อย จิตตางกูร) ณ ทีว่ า่ การอำเภอ เชียงของ จ.เชียงราย - กุฏริ บั รองพระเถระ (กุฏคิ มสรัญญีนสุ รณ์) วัดกลันทาราม อ.เมือง จ.บุรรี มั ย์

ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ปริญญาบัณฑิต สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชือ่ วิทยานิพนธ์ การออกแบบรีสอร์ทและสถานพักฟืน้ สำหรับผูส้ งู อายุ - ปริญญามหาบัณฑิต (ออกแบบตกแต่งภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชือ่ วิทยานิพนธ์ การศึกษาเรือ่ ง ‘’นำ ทางพุทธปรัชญา’’ มาสูง่ านออกแบบภายใน รายวิชาทีท่ ำการสอน - History of Western Interior and Furniture Design II - Equipment and Material for Interior Design - Interior Design VI - Cost Estimation and Marketing - Individual Studies (Course Term II) - Project Presentation (Course Term II) ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - บทความ Lighting งานแสดงผลงานอาจารย์ปี 2553 - บทความ ‘’ความเห็นทีแ่ ตกต่างแต่ไม่แตกแยก’’ ตีพมิ พ์ในนิตยสาร Art4D (จากงาน Archifest 2009) Article comments are not ’’split’’ into Art4D (from Archifest2009) shows the course of 2554 และงานแสดงผลงานอาจารย์ปี 2554 งานวิจยั (อยู่ในขัน้ ดําเนินงาน) (ภาษาไทย) การวิจารย์งานพืน้ ทีภ่ ายใน (English) Knowledge transfer program for formal design reviews of interior space


อาจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชยั นันท์ ชะอุม่ งาม

ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบภายใน) เกียรตินยิ ม คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตำแหน่งปัจจุบนั - หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - พิธกี รและผูร้ ว่ มผลิตรายการ “อยูส่ บาย” ทาง NATION CHANNEL - พิธกี รรายการ “เรารักษ์กรุงเทพ” ทาง TTV 2 - พิธกี รรายการ “DESIGN NEWS” ทาง NATION CHANNEL - ทีป่ รึกษาพิเศษ ด้านการออกแบบและผังเมือง ของศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศกั ดิ์ ผลงานทีผ่ า่ นมาบางส่วน 2549 - เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “ร้าว รัว่ ร้อน” “รูท้ นั ช่าง” “ทีหลังอย่าทำ” - ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทข่าวการออกแบบภายใต้ชอ่ื “อยูส่ บาย Design News” ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 21.00-22.00น. ทาง TTV 1 NATION CHANNEL 2550 - เขียนหนังสือ “Terrazzo” - เป็นคอลัมนิสต์ นิตยสาร@ kitchen, นิตยสาร Wallpaper, นิตยสาร Home care, นิตยสาร CASAVIVA, นิตยสาร Better Shop, นิตยสาร Franchise Focus, นิตยสาร Honeymoon Travel, นิตยสาร Inspire-Intrend, นิตยสาร smestoday, นิตยสาร Being Bangkok 2551 - เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “แต่งร้านให้ได้ลา้ น 3” - รางวัลออกแบบบูทดีเด่นประเภทออกแบบเข้ากับ THEME ในงานสถาปนิก 50 ผลงานออกแบบสร้างสรรค์บางส่วน - THAI KK สำนักงานใหญ่ - สำนักงาน VIZIO ’S - โชว์รมู YLC จังหวัดนครศรีธรรมราช - THE KARAOKE CITYโครงการสถานบันเทิงประเภทคาราโอเกะที่ใหญ่ ทีส่ ดุ ในโลก ถนน เลียบทางด่วนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร - THE FANNARY เกาะเต่า และเขาหลัก จังหวัดพังงา - @ SONG จังหวัดนครราชสีมา - สำนักงานชาเตอร์สแควร์ สาธร กรุงเทพมหานคร - โรงแรม WOW BANGKOK กรุงเทพมหานคร - สำนักงานใหญ่ บริษทั แสงอารีปโิ ตเลีย่ ม จำกัด กรุงเทพมหานคร - I DEA HOME กรุงเทพมหานคร

ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ภาพพิมพ์) เกียรตินยิ ม คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Cert. of Trainning Course for Editor and Book Designer, UNESCO, Bangkok - Dip. for Futher Development of Trainer Teacher of Arts in School, The National Arts Centre, Philippines - Cert. of Care and Conservation of Works on Paper’s Workshop, The University, of Melbourne, Australia, held at Silpakorn University รางวัลและเกียรติประวัติ - Gold Medal : Quarta Biennale Internazionale Della Grafica D’arte, Palazzo Strozzi, Italia - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง : ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัยในการประกวด จิตรกรรมบัวหลวง ครัง้ ที่ 1 - Grant from SEAMEO Project in Archaeology and Fine Arts, The SPAFA Philippines Sub Center of Fine Arts, Philippines - Selected One in Twenty International Paper Artists on “HAND PAPERMAKING”S SLIDE PRESENTATION FOR 1991”, Mineapolis, MN. USA. - Grant from The Roal Thai Embassy in Prague With Cooperation of Czechoslovak Airlines (CSA) - Grant from ZARARAKA Art Studio Czechoslovakia and Union of Fine Artists of Czech Republic (UVU) - รับพระราชทานเข็มกลัดพระนามาภิไธยทองคำ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - การแสดงผลงานศิลปะภาพพิมพ์และผลงานออกแบบสิ่งพิมพ์นานาชาติ ประเทศเดนมาร์คก อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก เยอรมันตะวันออก ยูโกสลาเวีย สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ ลักเซมเบอร์ก อิหร่าน อังกฤษ สเปน แคนาดา ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย - ศิลปินรับเชิญจากสถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงปราก กลุ่มศิลปิน ภาพพิมพ์เช็ก และโดยความร่วมมือจาก Czechoslovak Airlines เป็นทูตศิลปะวัฒนธรรมในการแสดงเดี่ยวผลงานศิลปกรรม Medium Paper Cultural Exhibition by Thai Artist “Chaiyanandha Cha-umngarm”, Mlada Fronta Gallery, Praque, Czech Republic

107


108

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพจน์ สิงห์สาย

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี

ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (สาขาจิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลที่ ได้รับบางส่วน 2532 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2533 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (จิตรกรรม) ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 36 2535 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2538 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 19 ของธนาคารกรุงเทพ 2539 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2540 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 43 2541 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2542 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 2543 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 24 ของธนาคารกรุงเทพ 2544 - ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 ศิลปินยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี” ครั้งที่ 1 หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - รางวัล “PURCHASE PRIZE” โครงการแสดงภาพพิมพ์และ วาดเส้นนานาชาติ ฉลอง 60 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 2550 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 2551 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 2552 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54

ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (นฤมิตศิลป์) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับปริญญาตรี - Marketing and Advertising (ประสานงาน) - Copy Writing (ประสานงาน) - Book Design - Website Design - Art Direction in Advertising ระดับปริญญาโท - Advanced Visual Communication Design I - Advanced Visual Communication Design Seminar ผลงานออกแบบบางส่วน - งานออกแบบปกและรูปเล่มพระไตรปิฎกสากล ชุดพิเศษ 40 เล่ม จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผูห้ ญิง ม.ล.มณีรตั น์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระณาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เพือ่ ถวายแด่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาส ราชนิครินทร์ เพือ่ พระราชทานแก่สถาบันสำคัญระดับนานาชาติ อาทิ ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งศรีลงั กา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย หอสมุดมหาวิทยาลัยอุปซาลา สวีเดน ฯลฯ - ระบบป้ายสัญลักษณ์งานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครัง้ ที่ 24 - ตราสัญลักษณ์รางวัลนักออกแบบแห่งปี (Designer of the year) - ตราสัญลักษณ์สถาบันดนตรีกลั ยาณิวฒ ั นา - ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยพะเยา - ตราสัญลักษณ์ศลิ ปากรพัฒนา เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ - ตราสัญลักษณ์ UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) - รางวัลชนะเลิศ การประกวดอัตลักษณ์สถานีโทรทัศน์ Thai PBS - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดสัญลักษณ์กรมบัญชีกลาง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐไท พรเจริญ

อาจารย์ปนท ปลืม้ ชูศกั ดิ์

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2549 - ดุษฎีบณ ั ฑิตสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2541 - มหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2534 - บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม วิทยาลัยครูสวนดุสติ ประวัตกิ ารทำงาน - ปัจจุบนั ข้าราชการอาจารย์ 1 ระดับ 7 อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ 2549 - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรือ่ ง “เส้นและแนวคิดใน การออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2550 - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรือ่ ง “การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมกับรูปแบบสูอ่ นาคต” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2551 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “เส้นสายปลาย ดินสอในการออกแบบผลิตภัณฑ์” ณ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ - วิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อเรือ่ ง “ศิลปประยุกต์และการออกแบบ” ณ มหาวิทยาลัยบูรพา 2552 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “การถ่ายทอด เทคนิคการเขียนภาพเพือ่ ช่วยนำเสนอแนวคิดในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “เทคนิคการ Sketch ภาพสำหรับนักออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยบูรพา ผลงานทางวิชาการ 2534 - งานวิจยั เรือ่ ง “การออกแบบเครือ่ งกรองอากาศชนิดพกติดตัว” 2542 - งานวิจยั เรือ่ ง “การเปรียบเทียบการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์ ระหว่างการใช้กล่องโครงสร้างมาตรฐานกับแกนโครงสร้าง มาตรฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม” 2549 - งานวิจยั เรือ่ งการออกแบบและพัฒนาเครือ่ งทอผ้าพืน้ เมืองที่ เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจอีสาน 2551 - สิทธิบตั ร “สิง่ ประดิษฐ์” เรือ่ ง “วิธกี ารเขียนรูปกล่องโครงสร้าง มาตรฐานทีส่ ร้างเป็นแผ่นแบบสำเร็จรูป เพือ่ ใช้ในการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์” เลขทีค่ ำขอ 0801003833 วันรับคำจด 24 กรกฎาคม 2551 - งานวิจยั เรือ่ ง “การออกแบบพัฒนารถเข็นอนามัยสำหรับ การขายก๋วยเตีย๋ ว” สนับสนุนงานวิจยั จากสำนักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจยั (สกว.)

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ศิลปไทย) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัตบิ างส่วน 2546 - รางวัลยอดเยีย่ ม การประกวดศิลปกรรมยอดเยีย่ มแห่งประเทศไทย 2546 โดย กลุม่ บริษทั ฟิลลิป มอร์รสิ (ประเทศไทย) 2547 - รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ” ครัง้ ที่ 16 โดย บริษทั โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด - ทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ศลิ ปะ มูลนิธิ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2548 - รางวัลพิเศษ การประกวดภาพถ่าย “ศิลปวัฒนธรรมไทย” เนือ่ งในวันนริศ ประจำปี 2548 - รางวัลดีเด่น การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครัง้ ที่ 7 โดย บริษทั พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) 2549 - รางวัลพิเศษ การประกวดภาพถ่าย “ศิลปวัฒนธรรมไทย” ครัง้ ที่ 2 เนือ่ งในวันนริศ ประจำปี 2549 ประวัตกิ ารแสดงผลงานบางส่วน 2552 - The International Art Exchange Exhibition 2009 : Featuring Works by Artist from 10 Citis Around the World/Inchon, Korea - นิทรรศการศิลปกรรม เนือ่ งในวันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ครัง้ ที่ 14 มหาวิทยาลัยบูรพา - The 9th Great Oriental Art Exhibition Dali University, P.R. China Burapha University, Thailand. - นิทรรศการศิลปกรรม เนือ่ งในวาระเกษียนอายุราชการ ของ รศ.เทพศักดิท์ องนพคุณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.บูรพา - นิทรรศการผลงานวาดเส้น และจิตรกรรม “แรงบันดาลใจจาก ศิลปกรรมล้านนา” คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.บูรพา 2553 - นิทรรศการศิลปกรรม เนือ่ งในวันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ครัง้ ที่ 14 ม.บูรพา - The 6th Viet-Thai Contemporary Art Exhibition, 2007 by Lecturers of six University from Vietnam and Thailand, Vietnam - นิทรรศการศิลปกรรม“ Small Work” หอศิลป์กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการศิลปกรรม“ ศิลปะเพือ่ พ่อ ครัง้ ที2่ ” จัดโดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ณ เซ็นทรัลพัทยาบีช จ.ชลบุรี

109


110

อาจารย์ปติ ิ คุปตะวาทิน

อาจารย์อนิ ทรธนู ฟ้าร่มขาว

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ปริญญาโท Industrial Design Savannah college of art and design, USA ประวัตแิ สดงผลงาน - Designer บริษทั แปลนโมทีฟ จํากัด, กรุงเทพฯ - Designer SQLA Inc., Los Angeles, USA. - Industrial designer Richard Holbrook Design, Pasadena, California, USA. - หัวหน้านักออกแบบ บริษทั อินเด็กซ์ อินเตอร์เฟิรน์ จํากัด - Product design manager บริษทั ร็อคเวิรธ์ จํากัด (มหาชน)

ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master of Fine Art and Design (Furniture Design), School of Arts, University of Tasmania, Australia รายวิชาทีส่ อน - การออกแบบผลิตภัณฑ์ 3, 4 - การทำหุน่ จำลอง - แนวความคิดและคุณลักษณะพิเศษของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ - การออกแบบเครือ่ งเรือน 1, 2 ผลงานออกแบบบางส่วน - ออกแบบโลโก้ บริษทั Taskforce - ผลิตภัณฑ์ Finger Print Scanner บริษทั Ezlog Technology, Singapore - ออกแบบตกแต่งภายในโรงเรียนสอนภาษา Boston Bright สาขาลาดพร้าว - ชุดเครือ่ งเรือนของอาคารชุดพักอาศัย รางวัลการประกวดบางส่วน - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบลวดลายบนสก็อตไบรท์ บริษทั 3M - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบเมาส์ (คอมพิวเตอร์) บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา ประวัตกิ ารแสดงผลงาน - แสดงผลงานเดีย่ วศิลปนิพนธ์ ณ Gallery of Art, School of Arts, UTAS - แสดงผลงาน Furniture Collection, IXL Gallery, Australia - โครงการ Talent Thai งาน BIG & BIH, เมืองทองธานี


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ธรี วัฒน์ งามเชือ้ ชิต

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - แสดงนิทรรศการภาพประกอบนิทานสำหรับเด็กในหัวข้อ “เรือ่ งเล่าจากไทย” ในเครือบริษทั อมรินทร์ฯ ณ สยามดิสคัฟเวอร์ร่ี - เข้าร่วมโครงการแสดงศิลปกรรมหัวข้อ “ PASSION OF THAI MODERN ART” ของธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ณ สยามพารากอน 2552 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมในโครงการปฏิบตั กิ ารแก้ว ของคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงาน OUR BEST RECENT WORK & GLASS ART PROJECT ครัง้ ที่ 26 - ร่วมแสดงงานประมูลศิลปกรรมเพือ่ การกุศลของ บริษทั เงินทุนหลักทรัพย์วรี า - ร่วมแสดงาน 84 ศิลปินในงานศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอฯ - ร่วมงานประมูลศิลปกรรมเพือ่ การกุศลของสมาคมผูป้ กครองและ ครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ - ร่วมงานแสดงศิลปกรรมของบ้านและสวน บริษทั อัมรินทร์ พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ จำกัด มหาชน - เข้าร่วมโครงการเขียนภาพทิวทัศน์ ทีด่ อยแม่ปง๋ั ในโครงการ โลกร้อนของคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร 2553 - ร่วมเป็นศิลปินในโครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมเพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ พิมพ์จากอดีต: ริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย ณ ดีโอบีหวั ลำโพงแกลเลอรี่ - ร่วมแสดงงาน นิทรรศการฝันถึงสันติภาพคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงานนิทรรศการครบรอบ 200 ปี วังท่าพระ - นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร 2554 - ร่วมแสดงงานโครงการจากภูมปิ ญ ั ญาไทย ไทยเข้มแข็ง - ร่วมแสดงงาน งานประมูลศิลปกรรม THE CITY OF ANGELS ร่วมกับ หลุยส์วติ ตองส์ ประเทศไทย ณ เกษรพลาซ่า - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมคณะจิตรกรรม เรือ่ ง Chair - SHARE

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประยุกตศิลปศึกษา) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2554 - คณะกรรมการตัดสินการประกวดออกแบบลายผ้า กรมทรัพย์สนิ ทางปัญญา - ทีป่ รึกษาโครงการ Crafts and Education - ร่วมแสดงงานและนำเสนอผลงานวิจยั ในงานสัมมนาระดับนานาชาติ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ ม.อุบลราชธานี วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2554 2553 - โครงการวิจยั เรือ่ ง “ศิลปะภาพทอมัดหมี”่ ทุนอุดหนุนการวิจยั จากเงินงบประมาณแผ่นดินปี พ.ศ. 2553 - เรียบเรียงและนำเสนอผลงานวิจยั เรือ่ ง “Crafts and Sustainable Human Development” จัดทำโดย Ms. Adele Perry ในการ ประชุมระดับชาติวา่ ด้วยศิลปหัตถกรรมและการศึกษา โครงการ Craft & Education ระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2553 ณ ศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จ.พระนครศรีอยุธยา - ได้รบั การคัดเลือกเป็นหนึง่ ในโครงการพัฒนานักออกแบบสินค้าไลฟ์ สไตล์สตู่ ลาดโลก “Talent Thai 2010” ในกลุม่ Talent Thai Now - รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 โครงการประกวดหัตถกรรมด้านสิง่ ทอ ในกลุม่ ยุวช่างหัตถศิลป์ ปี 2009 (ASEAN Awards 2009 for Young Artisans in Textiles) - นิทรรศการ “วันศิลป์ พีระศรี” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ “สาธิตศิลปกรรม วาดเส้นอุษาคเนย์ ครัง้ ที่ 3” ระหว่างวันที่ 5-31 สิงหาคม 2553 ณ หอศิลป์ สนามจันทร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม - นักออกแบบในโครงการ “ASEAN DESIGN & CRAFTS SOURCING HUB” กลุม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2552 - โครงการวิจยั เรือ่ ง “การสร้างสรรค์งานทอมัดหมีร่ ว่ มสมัย” ทุน อุดหนุนการวิจยั จากเงินงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2552 - ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการศิลปกรรมไทย-อเมริกา 2009 ภายใต้โครงการแลกเปลีย่ นศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ณ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19-26 สิงหาคม 2552 และ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง วันที่ 3-22 พฤศจิกายน 2552 - ร่วมแสดงนิทรรศการวาดเส้นสาธิตศิลปกรรม ครัง้ ที่ 2 ของโรงเรียนสาธิต ม.ศิลปากร ระหว่างวันที่ 3-31 สิงหาคม 2552 ณ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

111


112

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์พทิ กั ษ์ สง่า

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศม. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงาน 2523 - ปั้นขยายครุฑติดตั้งอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกร 2525 - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรมธนาคารแห่งประเทศไทย 2525 - ร่วมแสดงผลงานกลุ่มประติมากรรมไทย ครั้งที่ 2 2526-2527 - ร่วมแสดงผลงานสมาคมประติมากรรมไทย 2544-2551 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2546 - ร่วมแสดงผลงานนักศึกษาปริญญาโท ครั้งที่ 1 ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ 2547 - ร่วมแสดงผลงานการแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 12 2549-2550 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ 2549 - ออกแบบปั้นขยายและหล่อโลหะ องค์พระประธานทั้ง 3 องค์ ณ พระอุโบสถวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 2551 - ร่วมโครงการคณะมัณฑนศิลป์ ในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์และ ตกแต่งฝาผนัง อาคารพิทยาพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2551 - ร่วมแสดง THAI-INDIA ART EXIBITION 2008 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2551 - ร่วมแสดง ARTS FROM VISVA BHARATI, SANTINIKETAN ณ ประเทศอินเดีย ผลงานวิชาการ - เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะไทยปริทัศน์ - เอกสารประวัติศาสตร์แสดงผลงานบางส่วน - กรรมการดำเนินงานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ในลักษณะโครงการพิเศษ - เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาเครื่องเคลือบดินเผา - กรรมการวิพากษ์หลักสูตร คณะศิลปกรรมและการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลอีสาน

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (สาขาประติมากรรม) คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - ศม. (สาขาประติมากรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2532 - อาจารย์พเิ ศษ คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - ร่วมแสดงผลงาน “The fourth international Shoebox Sculpture Exhibition,” Hawaii U.S.A. HAWAII, JAPAN, TIWAX, MEXICO, CANADA - รางวัลดีเด่นประติมากรรม ธนาคารกสิกรไทย - รางวัลดีเด่นประติมากรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2533 - เหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 37 ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2535 - ดีเด่นประติมากรรม TOSHIBA 2536 - เหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 39 ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - การแสดงผลงานประติมากรรมแก้ว “โครงการเชิงปฏิบตั กิ าร งานแก้ว 2009” 2553 - การแส่ดงงานประติมากรรมเทิดพระเกียรติในหลวง พระชนมายุ 82 พรรษา ณ ห้องนิทรรศการ ธนาคารกรุงไทย - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “SCG Artist and Designer’s Creation 2009” มูลนิธซิ เิ มนต์ไทย - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “การปฏิบตั กิ ารศิลปะไทยอาเซียน 2010” ณ มหาวิทยาลัยประสานมิตร - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “ภาพพิมพ์จากอดีตริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย” โครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมเพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ เนือ่ งในโอกาส ครบรอบ 24 ปี ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2554 - การแสดงนิทรรศการโครงการปฏิบตั กิ ารไทยเข็มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมปิ ญ ั ญาไทย “วิจติ รศิลป-สินไทย” โดยคณาจารย์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหามวิทยาลัยศิลปากร และศิลปินรับเชิญ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร - การแสดงนิทรรศการโครงการสัมมนาเชิงปฏบัตกิ ารประติมากรรม หินทราย “ประติมากรรมหินทราย” โดย ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลป์บรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลีย้ ง

รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชมุนี

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศิลปบัณฑิต (ประยุกตศิลปศึกษา) เกียรตินยิ มอันดับ 1 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2524 - รางวัลที่ 1 เกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 27 - รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง ประเภทภาพเขียนร่วมสมัย จากนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครัง้ ที่ 5 2525 - รางวัลชนะเลิศ จิตรกรรมร่วมสมัย จากงานแสดงศิลปกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย 2539 - รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เนือ่ งในวโรกาสฉลอง ศิรริ าชสมบัตคิ รบ 50 ปี 2535 - รางวัลที่ 2 ประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 60 พรรษา - รางวัลที่ 3 เกียรตินยิ ม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ที่ 32 - รางวัลที่ 3 การประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ่ งใน วโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ของธนาคารกสิกรไทย 2546 - รางวัลยอดเยีย่ ม อันดับ 3 การประกวดจิตรกรรมเพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ จากบริษทั ไอซีซี อินเตอร์เนชัน่ แนล และหอศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ.2551 2552 - แสดงนิทรรศการผลงานจิตรกรรมกล้วยไม้ ของบริษทั โตชิบา ณ สยามพารากอน - แสดงงานเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโอกาสเปิดหอศิลป์ กรุงเทพฯ 2553 - นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะ และการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร พ.ศ.2553 2554 - สร้างสรรค์ผลงานแนวอภิสจั จนิยม (super realism) ตัง้ แต่ พ.ศ.2524 - ปัจจุบนั พ.ศ.2554 - แสดงงานประมูลภาพเขียนตึกยาวสวนกุหลาบเพือ่ หาเงินช่วยสร้าง อาคารเรียนเป็นวิทยากรอบรมครูศลิ ปะ เรือ่ ง “ศิลปะกับชีวติ ”

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - วทบ. (ชีวเคมี) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2514 - BFA. (Art Education) with Highest Honour. Pratt Institute, 1976 - MFA. Pratt Institute, 1978 - EdD. (Art Criticism) School of ED New York, 1988 งานวิจยั และผลงานทางวิชาการ - ซอล เลวิตต์ และศิลปะคอนเซ็ปชวล: ภาพสะท้อนของสุนทรียศาสตร์ และ รูปทรงทางศิลปกรรมทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป Sol Lewitt and Concep tual Art : The Reflection of Changing Aesthetics and Forms ในสูจบิ ตั ร นิทรรศการงานศิลปกรรมแห่งชาติ - “Thailand : Trend of Art in Asia”, Philip Morris Group of Companies จากยุคทองถึงสมัยใหม่ : ความเชือ่ มโยงความคิด ทางสุนทรียศาสตร์, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงาน คณาจารย์คณะ มัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 3 - “Man and His Limit:My Aesthetic”, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดง ผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 4 - “สำนวน : ในบริบททัศนศิลป์”, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงาน คณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ครัง้ ที่ 5 - “ความเปลีย่ นแปลงของศิลปะสมัยใหม่ : ตัวอย่างกรณีของศิลปะสมัยใหม่ ภาพสะท้อนของความหมายของคำว่าศิลปะทีข่ ยายออกไป”, วารสาร วิชาการคณะมัณฑนศิลป์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2547 - ศิลปินปัจเจกนิยม, สูจบิ ตั รนิทรรศการผลงานคณาจารย์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 1 พ.ศ. 2547 - ประติมากรรม งานติดตัง้ หัตถกรรม ประยุกตศิลปะต่างกันอย่างไร, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - นิทรรศการWASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ.2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 9th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 10th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ 2553 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ 2540-2553

113


114

รองศาสตราจารย์ปรีชา ปัน้ กล่ำ

รองศาสตราจารย์สน สีมาตรัง

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (สาขาภาพพิมพ)์ คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศม. (สาขาภาพพิมพ์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2530 - รางวัลเกียรตินยิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 33 - รางวัลเกียรตินยิ มเหรียญเงิน “ศิลป์พรี ะศรี” การแสดงศิลปกรรม ร่วมสมัยของศิลปินรุน่ เยาว์ ครัง้ ที่ 4 - รางวัลที่ 3 ศิลปกรรมเยาวชนภาคเหนือของศิลปินกลุม่ ล้านนา 2531 - รางวัลชมเชยการประกวดวาดภาพ วันกุหลาบเชียงใหม่ ประเภททัว่ ไป 2534 - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ของบริษทั โตชิบา ครัง้ ที่ 4 2536 - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมครัง้ ที่ 8 ของการปิโตรเลีย่ ม แห่งประเทศไทย 2537 - รางวัลชนะเลิศการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย 2538 - รางวัลที่ 1 การประกวดฉลากไวน์ Beaujolais Nouveau 2539 - รางวัลเกียรตินยิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 42 2540 - รางวัลยอดเยีย่ มอันดับ 1 การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครัง้ ที่ 3 - รางวัลศิลปกรรมยอดเยีย่ มแห่งประเทศไทยของ กลุม่ บริษทั ฟิลลิปมอริส - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ของบริษทั โตชิบา ครัง้ ที่ 9 2541 - รางวัลเกียรตินยิ มเหรียญทองสิงห์ การประกวดจิตรกรรมฉลอง ครบรอบ 65 ปี 2542 - ได้รบั คัดเลือกผลงานร่วมโครงการทัศนศิลป์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ณ จังหวัดสุพรรณบุรี เนือ่ งในโอกาส พระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 2550 - ได้รบั เลือกเข้าร่วมโครงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเฉลิม พระเกียรติ หัวข้อ “พระผูท้ รงงานอันยิง่ ใหญ่” ผลงานติดตัง้ ณ จ.อุตรดิตถ์ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - (การแสดงผลงานเดี่ยว) นิทรรศการผลงานศิลปกรรม รูปอารมณ์จากแสง ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553 - นิทรรศการ “สายน้ำแห่งความเงียบ River of Silence” ณ หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (จิตรกรรม) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ประกาศนียบัตรชัน้ สูง สาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2514 - รางวัลเหรียญเงิน สาขาจิตรกรรม งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 20 2515 - รางวัลเหรียญเงิน สาขาจิตรกรรม งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 21 2517 - รางวัลเหรียญทองแดง สาขาจิตรกรรม งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 22 ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2512-2517 - ออกแบบและขยายจิตกรรมฝาผนัง เรือ่ งรามเกียรติ์ ขนาด 5 x 7 เมตร จำนวน 2 ภาพ ประดับ ห้องโถงหอประชุมใหญ่ ศูนย์วฒ ั นธรรมแห่งประเทศไทย - ออกแบบและขยายแบบจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรือ่ งเทศกาลไหว พระพุทธบาท ในห้องแสดงนิทรรศการศูนย์ศกึ ษาประวัตศิ าสตร์ อยุธยา 2533-2537 - เป็นหัวหน้าช่างควบคุม กำกับงานโครงการจัดทำตัวหนังใหญ่ วัดขนอน จ.ราชบุรี ชุดใหม่ จำนวน 313 ตัว ทดแทนหนังใหญ่ ชุดเดิม ซึง่ จะเก็บรักษาไว้ในพิพธิ ภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน เป็น พระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีองค์การบริหารจังหวัดราชบุรรี ว่ มกับมหาวิทยาลัยศิลปากร รับสนองพระราชดำริ 2546 - เขียนภาพชือ่ “นาข้าว” ขนาด 80 × 220 ซม. จำนวน 2 ภาพ และขนาด 120 × 160 ซม. จำนวน 2 ภาพ เทคนิคสีนำ้ มัน แขวนประดับห้องพักผ่อน ชัน้ 2 ของ MayFair, Mamotte Executive Apartment, ถนนหลังสวน กรุงเทพฯ 2547 - เขียนภาพชือ่ “พญาครุฑกับนาข้าว” : ความอุดมสมบูรณ์ 200 × 440 ซม. เทคนิคสีนำ้ มัน แขวนประดับ Grand lobby Area Ascotte Condotel 2548 - บรรณาธิการ จัดพิมพ์หนังสือเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ฯ์ิ พระบรมราชินนี าถ และประธานคณะอนุกรรมการจัด นิทรรศการผ้าทอพืน้ เมือง “ช่างทอ ร้อยใจ เทิดไท้ 72 พรรษา” โดยวุฒสิ ภาร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร 21-27 กุมภาพันธ์ 2548 2551 - เขียนภาพ “ทุง่ รวงทอง 1” 120 x 700 ซม. และภาพ “ทุง่ รวงทอง 2” 300 x 400 ซม. ติดตัง้ ในห้องโถงโรงแรม PUMAN ซอยรางน้ำ กรุงเทพฯ


อาจารย์เกษร ผลจำนงค์

อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ.(ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (ศิลปไทย) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ - รางวัลยอดเยีย่ ม อันดับ 3 การประกวดิลปกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครัง้ ที่ 4 - รางวัลยอดเยีย่ ม อันดับ 2 การประกวดศิลปกรรม ปตท. ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - นิทรรศการผลงานนักศึกษาและคณาจารย์ในคณะวิจติ รศิลป์ ณ วิทยาลัย ศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช - โครงการนิทรรศการภาพทิวทัศน์ ครัง้ ที่ 2 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการนักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการศิลปะไทยในภาคประยุกต์ ครัง้ ที่ 1 คณะมัณฑนศิลป์ ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - การแสดงผลงานนักศึกษาทุน “นริศรานุวดั ติวงศ์” ณ ตำหนักปลายเนิน (คลองเตย) - นิทรรศการผลงานนักศึกษาทุน “นริศรานุวดั ติวงศ์” ณ หอศิลปะ (พรรณราย) มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ครัง้ ที่ 32 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ 12 ภาพลักษณ์ไทย พ.ศ. 2545 สีลม RCK TOWER - นิทรรศการ “ความทรงจำ” โรงแรม All Seasons Place ถนนวิทยุ November 10-21, 2003 - นิทรรศการ “ใบหน้าศิลปิน” ณ.สีลมแกรเลอเรีย กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการภาพประกอบ “ถึงพริกถึงขิง” ณ.หอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, 2553

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ดุรยิ างค์ศลิ ป์) คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2520-ปัจจุบนั - ออกแบบและผลิตกระเป๋าตราจรวดแต่ผเู้ ดียว 2524 - ผูช้ ว่ ยออกแบบเครือ่ งแต่งกายภาพยนตร์ไทยเรือ่ ง “น้ำพุ” 2536 - แสดงผลงานเดีย่ วจิตรกรรมผ้าปะ “ก้อนหิน หาดทราย ลายผ้า” 2537 - ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การการถ่ายทำภาพยนตร์ เรือ่ ง เกิดอีกทีตอ้ งมีเธอ ของบริษทั อาร์เอสโปรโมชัน่ แสดงผลงานกลุม่ ผูห้ ญิง 4 คน 2538 - นักออกแบบเครือ่ งแต่งกายภาพยนตร์ เรือ่ ง ครูสงั คม ทองมี ของบริษทั ไทยเอนเตอร์เทนเมนต์ 2541-2547 - ร่วมโครงการวิจยั พัฒนาผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทย 9 โครงการ 9 จังหวัด 2543 - ออกแบบแพทเทิรน์ เพือ่ การตัดเย็บอาสนะต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ 30,000 รูป วันสลายร่าง คุณยายอาจารย์มหารัตนแม่ชจี นั ทร์ ขนนกยูง ผูใ้ ห้กำเนิด วัดพระธรรมกาย 2545-2550 - กรรมการตัดสินสินค้า OTOP แผนกผลิตภัณฑ์ผา้ และ เครือ่ งแต่งกาย 2547 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7/2547 โครงการนิทรรศการ ศิลปะและการออกแบบ “ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ”์ิ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี 2547 - หัวหน้าโครงการวิจยั พัฒนาผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทย 5 จังหวัดภาคเหนือ 2548 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 เนือ่ งใน วันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมโครงการศิลปินไทย-อินเดีย และแสดงผลงานร่วมกันที่ อินเดียและไทย 2549 - นักออกแบบผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทยเพือ่ การส่งออกบริษทั ไข่ทอง 2549 - กรรมการแนะแนวทาง การพิจารณาเนือ้ หา การศึกษาสิง่ ทอไทย ในระบบการศึกษาของรัฐบาล 2551 - ออกแบบสือ่ ประชาสัมพันธ์ โครงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และวิชาธรรมกาย ระบบรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียมช่อง DMC (DHAMA MEDIA CHANNEL)

115


116

อาจารย์พรพรหม ชาววัง

อาจารย์วรภรรท สิทธิรตั น์

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (จิตรกรรม) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัตบิ างส่วน 2538 - รางวัลดีเด่น การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครัง้ ที่ 1 โดย บริษทั ซิว-เนชัน่ แนลจำกัด 2540 - รางวัลดีเด่น การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครัง้ ที่ 3 โดยบริษทั ซิว-เนชัน่ แนลจำกัด - รางวัลดีเด่น การประกวดจิตรกรรมกรรม “บอกเราสักนิดเมือ่ คิดถึง สิง่ แวดล้อม”โดย บริษทั มิตซูบชิ ิ อีเลคทริค คอร์เปอเรชัน่ ประเทศไทย - รางวัลชมเชย การประกวดกรรม “สุขภาพดีถว้ นหน้าเพราะ พระบารมี” โดย กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย 2541 - รางวัลชมเชย การประกวดจิตรกรรม”มองสิงห์ ผ่านศิลป์” โดย บริษทั บุญรอดบริวเวอรี่ 2550 - ได้รบั คัดเลือกเป็นตัวแทนศิลปิน จังหวัดบุรรี มั ย์ แสดงงาน นิทรรศการจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ “พระผูท้ รงงานอันยิง่ ใหญ่” Painting Exhibition to Commemorate the King’s 80th Birthday “King Bhumibol Adulyadej : The Great Achiever” ณ ชัน้ 4 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ วันที่ 9 ธันวาคม 2550 - 15 มกราคม 2551 2552 - ได้รบั รางวัล ทุนสร้างสรรค์ศลิ ปกรรมศิลป์ พีระศรี ครัง้ ที่ 9 ในโครงการเชิดชูเกียรติ ศิลปินยอดเยีย่ มแห่งประเทศไทย รางวัล ศิลป์พรี ะศรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ.2551 - นิทรรศการ “ เรียนรูจ้ ากประเทศเพือ่ นบ้าน” ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2552 - นิทรรศการศิลปะมหกรรมร่วมสมัย เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี 2552 หัวข้อ “สติ” ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 2553 - ร่วมแสดงศิลปกรรมโครงการ SILAPAKORN – GUANGZHOU ART EXHIBITION 2009 by 50 Thai Artists -50 Chinese Artists 10 April – 10 May 2009 at The Art Gallery of University ,China 2-28 พฤศจิกายน 2553

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Diploma of Fine Arts. TAFE, Australia - Advance diploma of Fine Arts. TAFE , Australia - Master of art, The University of New South Wales. Sydney, Australia ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2548 - ศิลปินรับเชิญ International Sculpture Exhibition & Symposium at Wonk Wang University, Korea 2549 - นิทรรศการศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย ครัง้ ที่ 7 หัวข้อ “บันทึกศิลปินถึงในหลวง” ประสานงานและขยายงาน ประติมากรรมนานาชาติ ในโครงการประติมากรรมนานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ 2550 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ “ใต้ถนุ บ้าน“ โครงการแสดงผลงานสร้างสรรค์ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครัง้ ที่ 2 - ศิลปินรับเชิญ โครงการ Asian art network ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 10th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงาน” ภาพของพ่อ : บารมีแห่งแผ่นดิน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร - นิทรรศการชุมชนเข้มแข็ง โครงการผลงานสร้างสรรค์ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2553 - ศิลปินรับเชิญ โครงการนิทรรศการสาธิตศิลปกรรม “วาดเส้นอุษาคเนย์ ครัง้ ที่ 3” - ศิลปินรับเชิญ นิทรรศการแสดงงาน ผลงานสร้างสรรค์คณาจารย์ ภาควิชาเซรามิก คณะมัณฑนศิลป์ - นิทรรศการ โครงการผลงานสร้างสรรค์ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ - ศิลปินรับเชิญ แสดงผลงานนิทรรศการ “บารมีแผ่นดิน“ ณ หอศิลป์กรุงเทพ 2554 - ศิลปินรับเชิญร่วมแสดงงานเชิงปฏิบตั งิ านโครงการไทยเข้มแข็ง “วิจติ รศิลป์ - สินไทย” - ศิลปินรับเชิญร่วมแสดงโครงการประติมากรรมประยุกต์ ครัง้ ที่ 2


อาจารย์สมพงษ์ แสงอร่ามรุง่ โรจน์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ.(ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม.(ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครัง้ ที่ 8 เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่ง ธรรมชาติ” “Sufficiency The hart of Nature” ครัง้ ที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย - ร่วมแสดงงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 “The Portraits of His Majesty the King 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษา ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape9th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - Thai Vietnam contemporary art Exhibition 2009 by 50 Thai Artists - 38 Vietnamese Artists ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ศิลปินรับเชิญในโครงการ SILAPAKORN - GUANGZHOU ART EXHIBITION 2009 by 50 Thai Artists - 50 Chinese Artists 10 April - 10 May 2009 at The Art Gallery of University, China และ 2 - 28 พฤศจิกายน 2552 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ศิลปินรับเชิญในโครงการแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมไทย - อินเดีย โดย หอศิลป์ ม.ศิลปากร และ Visva- Bharati University, India วันที่ 3 - 18 สิงหาคม 2552 ครัง้ ที่ 1 : แสดงนิทรรศการศิลปกรรมไทย - อินเดีย ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครัง้ ที่ 2 : แสดงนิทรรศการศิลปกรรมไทย - อินเดีย ณ หอศิลป์ท่ี Kala - Bhavana, Visva - Bharati University, India 2553 - นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

อาจารย์สหเทพ เทพบุรี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศึกษาศาสตร์บณ ั ฑิต (ประติมากรรมสากล) คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา (ประติมากรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2546 - รางวัลดีเด่น การประกวดงานศิลปกรรม ปตท. ครัง้ ที1่ 8 2547 - รางวัลที่ 1 การประกวดงานประติมากรรมติดตัง้ ณ ธนาคารกรุงไทย - รางวัลสนับสนุน รางวัลที่ 1 โดยธนาคารกรุงไทย จากงานศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ที่ 50 - รางวัลชมเชย การประกวดงานประติมากรรมติดตัง้ ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2549 - ได้รบั การคัดเลือกให้สร้างผลงาน ประติมากรรมติดตัง้ ภายใน ณ บริษทั เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) “CENTRAL WORLD” ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 2550 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดแบบร่างผลงานประติมากรรม ติดตัง้ นิตยสาร ‘ดิฉนั ’ ในหัวข้อ “ผูห้ ญิงในอีก ๓ ทศวรรษหน้า” ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร 2551 - รางวัลประกาศนียบัตร รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวด ศิลปกรรมเพือ่ โอลิมปิก (ประเภทประติมากรรม) โดยสำนักงาน ศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - ได้รบั การคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2550 (กลุม่ ข้าราชการ ระดับ 6 - 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวชิ ยั ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปกรรม ศิลปินสงขลา ครัง้ ที่ 3 ณ หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ สวนสาธารนะหาดใหญ่ จ.สงขลา - เทศกาลศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ “สานใจรักษ์ งานศิลป์ ถิน่ แดนใต้” ณ หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ สวนสาธารณะหาดใหญ่ จ. สงขลา - ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปกรรม ”ART OF RELATIONSHIP 2009“ ณ หอศิลป์สาขาศิลปกรรมและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร. ศรีวชิ ยั 2553 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553

117


118

อาจารย์สรุ ศักดิ์ รอดเพราะบุญ

อาจารย์เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ - ศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่งธรรมชาติ” “The hart of Nature” ครัง้ ที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ในโครงการศิลปกรรมของศิลปไทย-จีน เนือ่ งในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระชนมายุครบรอบ 80 พรรษา ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครัง้ ที่ 8 ประจำปี 2550 เนือ่ งในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา - Meeting of Thai - AmericanArt and Cultural Exchange Program Under the Collaboration of Art Center, Silpakorn University and California Polytechnic State University and San Joes State University 29 August - 13 September 2007 at Art Center, Silpakorn University 2 - 28 November 2007 at University Art Gallery, Department of Art & Design California Polytechnic State University 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - นิทรรศการศิลปะมหกรรมร่วมสมัย เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี หัวข้อ “สติ” ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร วังท่าพระ 2553 - นิทรรศการศิลปะเชิดชูพระพุทธศาสนา เนือ่ งในโอกาสประชุม พุทธศาสนาเถรวาทแห่งโลก ณ เมืองสกาย ประเทศพม่า - นิทรรศการทุนสนับสนุนศิลปิน ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เรือ่ ง “โลกร้อน” (จัดแสดงเป็นรูปแบบศิลปะไม้ไผ่ - นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา M.F.A. (Textile) Visavabharati University, India ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2544 - AN ART WORKSHOP “PROTESTING AGAINST VIOLENCE THROUGH CREATIVITY” (OGANIZED JOINTLY BY KALA-BHAVAN & HABIART FOUNDATION), INDIA - 1ST INTERNATIONAL LEVEL WORKSHOP CUM SEMINAR BODOLAND, ASSAM, INDIA - AN ART WORKSHOP “PROTESTING AGAINST VIOLENCE THROUGH CREATIVITY” (OGANIZED JOINTLY BY KALA-BHAVAN & HABIART FOUNDATION), INDIA 2546 - EXHIBITION SUB COMMITTEE THE 35TH ANNUAL CONFERENCE ALL BODO STUDENTS UNION (ABSU) AT KOKRAJHAR ASSAM , INDIA - EXHIBITION “RILA CAMP” AT GUVAHATI ASSAM, INDIA 2547 - EXHIBITION EXCHANGE PROGRAM AT BHANARAS HINDU UNIVERSITY, INDIA - EXHIBITION “BETWEEN” AT CALCATA, INDIA 2548 - 1ST INTERNATIONAL LEVEL WORKSHOP CUM SEMINAR BODOLAND, ASSAM, INDIA 2549 - การแสดงผลงาน“ศิลปะจากศานติ”หอศิลป์พรรณนาราย ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ 2550 - การแสดงผลงาน “ภาพเหมือนศิลปิน” สีลมแกลเลอเรีย กรุงเทพฯ 2552 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 2553 - นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


อาจารย์อทิ ธิพล วิมลศิลป์

อาจารย์อณ ุ รุท กสิกรกรรม

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2543 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมสมัย ป.ต.ท - เกียรติบตั รงาน ศิลปกรรมอาเซียน ฟิลปิ ปินส์ 2542 - รางวัลเหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 48 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมธนาคารกสิกรไทย - รางวัลดีเด่นศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ บริษทั โตชิบา ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงในโครงการศิลปกรรม “ ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ของศิลปิน ไทย-จีน เนือ่ งในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระชนมายุครบรอบ 80 พรรษา ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงผลงาน “พอเพียง หัวใจแห่งธรรมชาติ “Sufficiency The hart of Nature” ณ ห้องแสดงงานตึก สีลมแกลเลอเรีย 2552 - แสดงผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 12 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - แสดงผลงาน วันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร - แสดงผลงานแลกเปลีย่ นศิลปะและวัฒนธรรม ไทย-อินเดีย ณ หอศิลปะ Visva Bharati University และ ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ภาพพิมพ์) เกียรตินยิ มอันดับ 2 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ รางวัลชมเชย ESSO STANDARD THAILAND ONE OF THE FIRSTROUND WINNERS OF THE “YOUTH : CREATIVE FORCE OF THE FUTURE WORLD “IMAGINATIVE PAINTING CONTEST” ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบ ปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2551 - แสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางศิลปะโครงการ “ศิลปะไร้กำแพง” (No Wall : Art And Friendship) ณ โรงพิมพ์ครุ สุ ภา (เดิม) ถ.พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ 2552 - ร่วมแสดงงานประมูลภาพ เพือ่ โรงเรียนสาธิตจุฬา ณ หอประชุมโรงเรียน สาธิตจุฬา - แสดงนิทรรศการผลงาน “AESTHETICS OF BODY” สุนทรียะแห่ง สรีระ ณ อาคารสีลมแกลเลอเรีย - แสดงนิทรรศการการศึกษาโครงการพระราชดำริดา้ นสิง่ แวดล้อม เพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปกรรม “จิตรกรรมสำนึกต่อวิกฤตการณ์ สิง่ แวดล้อม” โดยคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ติฯ์ พระบรมราชินนี าถ 2553 - เข้าร่วมโครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม เพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 42 ปี ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ อุทยานประวัตศิ าสตร์ กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร และเขือ่ นภูมพิ ล จ.ตาก - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ พิมพ์จากอดีตริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย ณ ดีโอบีหวั ลำโพงแกลเลอรี่ - เข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรม “นำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ” ครัง้ ที่ 3 มหัศจรรย์ กล้วยไม้นานาชาติ ณ สยามพารากอน - เข้าร่วมโครงการปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมปิ ญ ั ญาไทย Thai Creative Economy: Art from Thai Intelligence (ATI) คณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร 2554 - แสดงนิทรรศการมหัศจรรย์กล้วยไม้นานาชาติ “BRINGS GOOD THINGS TO LIFE” Art Exhibition ระหว่างวันที่ 13-18 มิถนุ ายน 2551 ณ สยามพารากอน

119


120

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สบื พงศ์ เผ่าไทย (Asst. Professor Suebpong Powthai)

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์กรธนา กองสุข (Asst. Professor Kornthana Kongsuk)

Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - M.F.A (Ceramics) Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Exhibition (some) 1998 - The 2nd Asian Exhibition of art and craft, Japan 1998 - 2009 - The 1th - 12th At the Exhibition of Art and Design by The Faculty of Art members Silpakorn University, Thailand 2000 - Thai - Italian Art space 2000 2004 - Ceramic Art Exposition of Thailand - Ceramic Asian Vision, Thai-Japanese Ceramic Workshop - THE FLOWER IN THE TITLE OF QUEEN SIRIKIT at The Queen’s Gallery, Bangkok - Galileo Chini and The Colors of Asia at The Queen’s Gallery, Bangkok 2005 - Solo exhibition ceramic sculpture at Pattaya beach 2006 - The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member - The 2nd Exhibition of Asian Ceramic Network, Bangkok, Thailand 2007 - The Art Exhibition of Thai-India, Golgatta, India - The Art Exhibition of Thai-India, BKK, Thailand - The 3nd Exhibition of Asian Ceramic Network (International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network and Selsius), Malasia 2008 - CRACK 2 : artistic flowers in the park, benjasiri park, Bangkok, Thailand - ASIAN ART NETWORK; SOUEL, KOREA - The 2nd The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member, Bkk, Thailand - The 14th National Ceramics Exhibition, Nakornpathom, Thailand 2010 - China 2010 2nd Shanghai International Modern Pot Art Biennial Exhibition - The 3rd The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member, Bkk, Thailand - The special nvitation exhibition onggi gallery, Ulsan city KOREA

Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education B.F.A. (Sculpture) Silpakorn University, Bangkok M.F.A. (Sculpture) Graduate School, Silpakorn University Awards and Selected Honors 1988 - have been selected and honored for the good behavior from the Buddhist Association of Thailand under Royal Patronage, On the occasion of Visakha Bucha Day 1997 - 3rd Prize, Bronze medal, Sculpture, The 43rd National exhibition of Art, Bangkok, Thailand 1999 - Grand Prize, Mini Sculpture Exhibition, Rosti (Mala Chemical) Co.,Ltd., Thailand 2001 - Invited Artist, the 30th Anniversary of Itoman City, Okinawa, Japan. International Stone Sculpture Symposium in Itoman City, workshop by seven Female Sculptors Exhibition (some) 2007 - The Exhibition of “Haiku sculpture2007” at Okinawa Prefectural Art University, Okinawa, Japan - Thai Contemporary Art Exposition 2007 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Water” 2008 - Thai Contemporary Art Exposition 2008 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Love” - Wood fire Exhibition, Zecon square. Bangkok. - The Exhibition of Art and Design by the Department of Ceramics Members II nd, the Faculty of Decorative Art, Silpakorn University 2009 - Raku Exhibition, at Burapa University. Sculptors - Thai Contemporary Art Exposition 2009 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Consciousness” - Project of Art Workshop and Glass Exhibition. Silpakorn University - The Exhibition of “Haiku sculpture 2009” at Okinawa Prefectural Art University, Okinawa, Japan 2010 - Solo Ceramic Sculpture “Conventional Space” at the Faculty of Decorative Art, Silpakorn University 2011 - “Creative Ceramic Arts for Society” At The Queen’s Gallery


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ประดิพทั ธ์ุ เลิศรุจดิ ำรงค์กลุ Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University การศึกษา - ศิลปะบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปศาสตร์บณ ั ฑิต ไทยคดีศกึ ษา มสธ. - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัตบิ างส่วน - รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมภาพเหมือนสีนำ้ ในงานเทศกาล เดือนสิบ ศาลากลางจังหวัด นครศรีธรรมราชปีพ.ศ. 2530 - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบสัญลักษณ์มลู นิธหิ ม่อมราชวงศ์พนู สวาทกฤดากร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีพ.ศ. 2533 - รางวัลชมเชย ภาพโปสเตอร์งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครัง้ ที่ 11 ของกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2540 - รางวัลชนะเลิศ ภาพโปสเตอร์งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครัง้ ที่ 11 ของกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2541 - รางวัลที่ 3 ประกวดงานออกแบบสัญลักษณ์ ต่อต้านยาบ้า ของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2541 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดออกแบบรถยนต์ในอนาคตแสดง ในงาน มอเตอร์โชว์ ของบริษทั กรังปรีซ์ ประเทศไทยจำกัด พ.ศ.2540 - รางวัลที่ 2 การประกวดสัญลักษณ์ประหยัดพลังงาน ของมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2540 - รางวัลชมเชย ภาพโปสเตอร์การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยูห่ วั ของกรมป่าไม้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ การทำงานแห่งชาติ ครัง้ ที่ 11 ของกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2541 - รางวัลชนะเลิศ ภาพโปสเตอร์งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน งานสัปดาห์ความปลอดภัยใน การทำงานแห่งชาติ ครัง้ ที่ 13 ของกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2542 ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2541 - 51 แสดงผลงานร่วมกับคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ณ หอศิลปะ และการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547 - แสดงผลงานร่วมกับศิลปินเครือ่ งเคลือบดินเผาทัว่ ประเทศ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรม พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม 2549 - 50 แสดงผลงานร่วมกับศิลปินเครือ่ งเคลือบดินเผาทัว่ ประเทศ ณ หอศิลปะ และวัฒนธรรม พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 2552 - แสดงผลงานร่วมกับกลุม่ หอไตรณ หอศิลปะเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ 2553 - แสดงผลงานร่วมกับคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ณ หอศิลปะ และการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์วรรณา ธิธรรมมา (Asst. Professor Wanna Thithamma) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - M.F.A (Ceramics) Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Awards and Selected Honors 2002 - Award Winner Ceramic Tea set - Coffee set Thai style Exhibition 2006 - 2009 The 9th - 12th At the Exhibition of Art and Design by The Faculty of Art members Silpakorn University, Bangkok, Thailand. 2006 - Arts From Kala Bhavana Visva Bharati Santiniketan of India - The 1st Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok,Thailand - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Bangkok, Thailand 2007 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Malaysia 2008 - The 2nd Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok, Thailand 2008 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Korea - Seoul International Ceramic Accessory Festival, Korea 2009 - Mini Matters By 50 Contemporary Thai Artists, Galerie N, Bangkok, Thailand 2010 - Rakuza Ceramic Art Exhibition at Thow Hong Thai, Rachaburi, Thailand - The 3rd wood Firing 4 University of Thailand, Bangkok, Thailand - The 3rd Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok, Thailand

121


ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ศภุ กา ปาลเปรม (Asst. Professor Supphaka Palprame) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education B.A. (Industrial Arts, Ceramics) M.S. (Industrial Education) Awards and Selected Honors 1986 - Metal level Award at The 1st Exhibition Ceramics National Thailand 2010 - Awards of Selected in the 2010 China (Shanghai) International Modern Pot Art Biennial Exhibition Work Experience 1982 - Lecturer of ceramics Department, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Thailand 1991 - Deputy head of ceramics Department in academic affairs, Faculty of Decorative Arts, SlpakornUniversity,Thailand. - Head of ceramics Department. Faculty of decorative Arts. Silpakorn University, Thailand - Referee Award in ceramics craft at The 8th National Ceramic Exhibition Thailand 2008 - Chairman of the academic technical commission of The 8th National Ceramics Exhibition Thailand Exhibition (some) 2005 - Thai – India Art and Cultural Exchange Silpakorn University and Visva Bharati, Santiniketan 2006 - To be invited artist at The 13th National Ceramics Exhibition Thailand - Arts From Visva Bharati, Santiniketan at Silpakorn University 2007 - International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network and Selsius, Malasia 2008 - The exhibition of Art and Design by the Department of Ceramics Members 2nd - Invited artist at The 14th Exhibition Ceramics National, Thailand - International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network, Korea 2010 - The 2010 Scond China (Shanghai) International Modern Pot Art Biennial Exhibition 2011 - To be invited artist at The Creative Ceramic Arts for Society Thailand

122

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ (Asst. Professor Sayumporn Kasornsuwan) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University การศึกษา - ศบ. (เครือ่ งเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (เครือ่ งเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัตบิ างส่วน 2543 - รางวัลยอดเยีย่ มประเภทศิลปกรรม นิทรรศการศิลปะเครือ่ งปัน้ ดินเผาแห่งชาติครัง้ ที่ 10 2544 - ได้รบั ทุนจากกองทุนส่งเสริมการศึกษา การสร้างสรรค์ศลิ ปะ “มูลนิธริ ฐั บุรษุ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์” 2545 - ทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์ศลิ ปนิพนธ์ จากทบวงมหาวิทยาลัย - รางวัลดีเด่น ประเภทศิลปกรรม นิทรรศการศิลปะเครือ่ งปัน้ ดินเผา แห่งชาติครัง้ ที่ 11 2546 - รางวัลชนะเลิศ 2002/2003 Vermont Studio Center Freeman Fellowship U.S.A. 2553 - ได้รบั รางวัลทุนสร้างสรรค์ศลิ ปกรรมศิลป์ พีระศรีครัง้ ที่ 10 ประจำปี 2553 โครงการเชิดชูเกียรติศลิ ปินยอดเยีย่ ม แห่งประเทศไทย ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2546 - แสดงผลงานเครือ่ งปัน้ ดินเผา ณ Red mill Gallery, Vermont Studio center ในโครงการ Freeman Fellowship 2002 - 2003 สหรัฐอเมริกา Studio Warszawa Gallery Cleveland Ohio U.S.A. 2553 - แสดงผลงานเดีย่ วเครือ่ งปัน้ ดินเผาชุด “ออม-อิม่ ” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


อาจารย์ชานนท์ ไกรรส (Archarn Chanon Krairos)

อาจารย์ธาตรี เมืองแก้ว (Archarn. Thatree Muangkaew)

Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - B.F.A (Ceramics) Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University - M.F.A (Ceramics) Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Scholarship 2002 - Art Education Scholarship by Prem Tinnasulanon Statesman Foundation, Thailand 2009 - Thesis Bursary, Silpakorn University Research and Development Institute, Thailand Awards and Selected Honors 2006 - “Ayodia” project design team. Type industrial design. The 13th National Ceramic Art Exhibition, National Gallery, Bangkok Exhibition 1999 - Student’s Art Exhibition, Art Gallery of Faculty of Decorative Arts, Bangkok 2000 - The 15Th Art Exhibition of Faculty of Decorative Arts, Department of Ceramics, Nakornapathom - Thai-Italian Art Space, Art Gallery of Faculty of Architecture. - The 10th National Ceramic Art Exhibition, National Gallery, Bangkok 2001 - The 4th Art and Drama Exhibition, Silpakorn University 2002 - The 32nd Art Thesis Exhibition, of Faculty of Decorative Arts, Bangkok - The 11th National Ceramic Art Exhibition, National Gallery, Bangkok 2007 - The 4th Clay and The Way of Us “My Darling” Art Gallery of Faculty of Decorative Arts, Bangkok, Thailand 2008 - The 5th Clay and The Way of Us “Clay : Imagination to Reality” Art Gallery of Faculty of Decorative Arts, Bangkok, Thailand : No Wall Art and Friendship, Kuru Sapha Printing House and PSG Gallery, Silpakorn University 2009 - The 2nd Ceramics 4 institutes, Raku Exhibition, Eastern Center of Art and Culture, Chonburi 2010 - Designs Ego Living 2010, Siam Center, Bangkok

Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - Bachelor Degree of Fine Arts in Ceramics Silpakorn University, Bangkok, Thailand - Work as a Designer at “TaoHongTai” Ceramics Factory Ratchaburi, Thailand - Foreign Casual Course in Sculpture Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India - Master Degree of Fine Arts in Sculpture Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India Awards and Selected Honors 2003 - Winner Award “Ohng Arng Kratang Soun (Terracotta Sculpture for Garden Contest)” Seacon Square, Bangkok, Thailand Exhibition 2003 - “Off Course Exhibition” at Siam Center, Bangkok, Thailand 2005 - “Art Thesis Faculty of Decorative Arts Exhibition” at Silpakorn University, Bangkok, Thailand 2006 - “Ceramics Exhibition 6” (Invited Artist) Department of Ceramic Faculty of Fine Art and Applied Art Burapha University at PlayGround, Bangkok, Thailand 2007 - “Sculpture Show Exhibition” Department of Sculpture Kala-Bhavana (Institute of Fine Art) Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India at Nandan Gallery Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India 2008 - “JATRI (The Journey Begins) Exhibition” 1st Year MFA. Student of Kala-Bhavana [Institute of Fine Art] Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India at Nandan Gallery Visa-Bharati Santiniketan University, West Bengal, India 2009 - “KALA BAVANA Annual Exhibition 2009” at Academy of Fine Art, Kolkata, West Bengal, India 2010 - “INTERNATIONAL DESIGN CURRENT 2010” at Korea Design Center, Gallery A, Korea 2011 - “Spring INTERNATIONAL DESIGN FAIR 2011” at Korea Design Center, Gallery A, Korea

123


อาจารย์สทิ ธิโชค ชัยวรรณ (Sitthichoke Chaiwan) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education 1991-1993 - High school - Triamudom Suksa School, Bangkok 1993-1994 - Foundation Certificate – Foundation Studies – UNSW, Sydney 1995-1998 - Bachelor of Ceramics Engineering, UNSW, Sydney 1999-current - PhD Candidate of Ceramics Engineering, UNSW, Sydney Work Experience - Full-time Lecturer at Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University - Deputy Head of Ceramic Department, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Area of Working and Interests Ceramics and Glaze, Mechanical Properties of Ceramic Materials Consultation Work Investigation of Ratchaburi Clay and its Ceramic Products. Funded by Federation of Thai Industries (2007) Awards and Scholarship - Royal Thai Government Scholarship (1993-2003) - Institute of International Education, Starr Foundation Scholarship (1995-1999) - Postgraduate Scholarship (1999-2002) - AINSE Postgraduate Awards (2002) - Ceramic Glazes Collection Catalogue Project Grant (2007)

124

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวี ศิรนิ คราภรณ์ ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (เครือ่ งเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ - ประกาศนียบัตร (การขึน้ รูปเครือ่ งประดับ และเทคนิคการลงยาสีบนงาน เครือ่ งประดับ) เซนทรัล เซนต์มาร์ตนิ ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร - ศิลปมหาบัณฑิต (โลหะและเครือ่ งประดับ) โรยัลคอลเลจออฟอาร์ท ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร - ดุษฎีบณ ั ฑิต (เครือ่ งประดับ) สถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มงิ แฮม เบอร์มงิ แฮม ประเทศสหราชอาณาจักร ผลงานวิชาการบางส่วน 2553 - บทความ “วิจยั บนหัวไหล่” ศิลปากรวิจยั ครัง้ ที่ ๒ สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร - บทความวิชาการ “Evolution of Thai Silverware from the Past, Present to Future: The Origin of Wisdom, Spirit and Crafts manship” http://www.ezinearticles.com เดือนมีนาคม - บทความวิชาการ “Brenda Ridgewell and the Contemporariness of Moveable Space” http://www.ezinearticles.com มกราคม ๒๕๕๒ บทความวิชาการ “Review Jewellery as a Sacrifice Object” http://www.ezinearticles.com มกราคม ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - “บางกอก กล๊วย กล้วย” ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการค่ายอบรม การออกแบบเครื่องประดับเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้าน การออกแบบ จัดโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ณ หอศิลป์กรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ 2553 - นิทรรศการผลงานศิลปะและการออกแบบ “The University of Illy : The Authentic Italian Coffee” นิทรรศการเปิดตัวสินค้ากาแฟ (Illy) ที่มีชื่อเสียงของโลก นำเข้าโดย บริษัท อิตาเลเซีย (Italasia Thailand) ณ โรงแรมพลาซ่าแอททินี่ ประเทศไทย - “โครงการ Artist and Designer’s Creation” ร่วมแสดงนิทรรศการ สุดยอดผลงานศิลปกรรมโครงการ Artist and Designer’s Creation ซึ่งนำวัสดุภัณฑ์ต่างๆ ของเอสซีจี มาเป็นวัตถุดิบในการออกแบบและ ผลิตผลงานศิลปะ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2554 - หนึง่ ในศิลปินและนักออกแบบผู้ได้รับคัดเลือกจากทั่วโลก เพื่อเข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ “All-Golds” ณ เมือง Bir mingham, ประเทศสหราชอาณาจักร UK พฤศจิกายน ๒๕๕๔ - หนึ่งในนักออกแบบผู้ได้รับคัดเลือกจำนวน ๖ ท่าน โครงการพัฒนา ศักยภาพวัสดุไทยในงานออกแบบ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ แห่งประเทศไทย (TCDC)


อาจารย์ชาติชาย คันธิก

อาจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บณ ั ฑิต สาขาวิชาช่างทองหลวง ประสบการณ์การทำงาน 2550 - ปัจจุบนั อาจารย์ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2539 - 2547 อาจารย์พเิ ศษ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สำนักพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) ผลงานสร้างสรรค์ งานเครือ่ งถมถวายพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 1 งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 5 งานจัดซ่อมพระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 9 งานจัดสร้างพระลองทองใหญ่

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Doctor of Philosophy; Ph.D (Materials Science) International program มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม) สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - วิทยาศาสตร์บณ ั ฑิต (วท.บ) สาขาวิชาวัสดุศาสตร์-เทคโนโลยีอญ ั มณี มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประสบการณ์การทำงาน 2552 - ปัจจุบนั อาจารย์ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

125


126

อาจารย์ ดร.วรรณวิภา สุเนต์ตา

อาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ สิรเิ วสมาศ

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2538 - ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2540 - ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (M.Arch) มหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา 2546 - ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553 - ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2544-2548 - ปริญญาเอก Ph.D title: A New Model of Instruction and Learning in Contemporary Jewellery Education, (Mphil in related topic) Birmingham Institute of Art and Design (BIAD) University of Central England (UCE), Birmingham,UK. 2542- 2544 - ประกาศนียบัตรชัน้ สูง วิชาการออกแบบเครือ่ งประดับ Diploma Diploma in Disegno del gioiello, Instituto Europeo di Design (IED), Milan Italy 2541 - ประกาศนียบัตร ประติมากรรม Certificato di Scultura, Accademia di Belle Arte di Firenze, Florence Italy 2533-2537 - ศบ. ประติมากรรม (เกียรตินยิ มอันดับสอง ) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์และศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงานบางส่วน 2553 - หัวหน้าวิทยากรในส่วนของการอบรมการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครือ่ งประดับ โครงการ 30 สุดยอดอัญมณีไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ 2554 - วิทยากรร่วม ในงานสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร การพัฒนานักออกแบบ เครือ่ งประดับ ปี 2554 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม - หนึง่ ในคณะกรรมการตัดสินผลงาน รางวัลทุน ศิลป พีระศรี ประจำปี 2554 หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2553 - ร่วมแสดงผลงาน ประติมากรรมเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ กับภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร หอศิลป์ธนาคารกรุงไทย เยาวราช กรุงเทพฯ 2554 - หนึง่ ในศิลปิน โครงการ Thai-Nordic 2011 โครงการศิลปะเชิง ปฏิบตั กิ ารระหว่าง 3 ศิลปินนอร์ดกิ และ 15 ศิลปินไทย ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และนิทรรศการศิลปะ ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ - นิทรรศการแสดงผลงานร่วม โครงการแกะหินทรายโดยภาควิชา ประติมากรรม ณ.หอศิลป์บรมราชกุมารี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์ - หนึง่ ในหกศิลปินแลกเปลีย่ น โครงการแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ระหว่างไทยและอิตาลี ดำเนินการโดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะร่วมสมัยแห่งเมืองลุกก้า ณ วิลล่า บอตติน่ี ลุกก้า ประเทศอิตาลี


อาจารย์ทวีศกั ดิ์ มูลสวัสดิ์

อาจารย์รสชง ศรีลโิ ก

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - B.Arch. in Industrial Design (Product Design) with Ceramic minor, King Monkut’s Institute of Technology Ladkrabang, KMITL, Thailand - M.A. in Jewelry and Metalsmithing with Ceramic minor, The Texas Woman’s University, Denton, Texas, USA. - M.F.A. with Honors in Metalsmithing and Jewelry, The University of Kansas, Lawrence, Kansas, USA.

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (Jewelry&Metal Smithing) Texas Woman’s University Denton Texas, USA ผลงานวิชาการ 2534 - The Contemporary Jewelry in Hollow Form’ MA. Exhibition, Visual Arts Gallery, TWU Denton, Texas. 2538 - Visual Arts Department Scholarship, Visual Arts, Gallery, TWU, Denton, Texas. 2539 - Vortman’s Student Exhibition, Visual Arts Gallery, TWU, Denton, Texas 2540 - Material Hard& Soft, Meadow Gallery, Centre of The Visual Arts, Denton, Texas.

127


128

อาจารย์ศดิ าลัย ฆโนทัย

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สตั รูไกล

ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2544 - ศบ. (ออกแบบเครือ่ งประดับ) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547 - ปริญญาโทนอกเวลา แขนงวิชาแฟชัน่ และสิง่ ทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลและเกียรติประวัติ 2542 - Top Ten Jewelry Designers Award 1999 ครัง้ ที่ 7 “แหวนแต่งงาน รักนิรนั ดร์” จัดโดยสมาคมผูค้ า้ อัญมณีไทยและ เครือ่ งประดับ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก สถาบันกรุงเทพอัญมณีศลิ ป์ ชมรมนักออกแบบเครือ่ งประดับ อัญมณีแห่งประเทศไทย 2541 - รางวัลที่ 2 การประกวดออกแบบ “จิวเวลรีเ่ พือ่ การส่งออก” บริษทั แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 25 ปี ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - นิทรรศการ “SIAM -JOSEON” โครงการเปิดกล่องเครือ่ งประดับ ครัง้ ที่ 1 นิทรรศการแสดงผลงานเครือ่ งประดับร่วมสมัย : Siam Joseon จัดโดยภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ ร่วมกับ Department of Metalwork & Jewelry,College of Design , Kookmin University ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชือ่ ผลงาน “เข้าคอ” into a neck แรงบันดาลใจที่ได้จากงานหัตถกรรมพืน้ บ้านสร้างสรรค์เป็น งานเครือ่ งประดับร่วมสมัยในโครงสร้างใหม่ 2553 - นิทรรศการผลงานศิลปะและการออกแบบ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครัง้ ที่ 13 ณ หอศิลปะ และการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชือ่ ผลงาน “สัมพันธ์ บังเกิด...ผล” เทคนิค แกะ wax หล่อโลหะเงิน - บทความวิชาการในสาขาศิลปะกับการสร้างสรรค์ “สัมผัสภาษา” - กรรมการตัดสินการประกวดวาดภาพ และประกวด สิง่ ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม - นิทรรศการผลงานศิลปะและการออกแบบ “The University of Illy The Authentic Italian Coffee”โดย บริษทั อิตาเลเซีย (Italasia Thailand) ณ โรงแรมพลาซ่าแอททิน่ี - นิทรรศการแสดงผลงานเครือ่ งประดับ โครงการ “เปิดกล่อง เครือ่ งประดับ ครัง้ ที่ 2 ปี 53” ในหัวข้อ “มาเซลล์ ดูชม (Ma SALE Du Chom)” จัดโดยภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 1993 - ศ.บ.(ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1995 - 1997 - M.A. (Visual Arts), University of South Australia, Adelaide, Australia 1999 - Certificat de Stage (ENSCI), Paris, France. 2005 - Ph.D. (Textile) BIAD. UK. การอบรม 1997 - Certificate of Participation. For attendance and active participation in the workshop ‘Performing Arts Production Design, Technology and Management’ SEAMEO Regional Center of Archaeology and Fine Arts, Kuala Lumpur, Malaysia. รางวัลและเกียรติประวัติ Runner-up : The International Style Thai Silk and Hand-woven Textile Contest 2003 Thailand ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2006 -‘ENDLESS’ ZEN Event Gallery ZEN Department - Present work pieces to participate in “ Thai-India Art And Culture Exchange 2005” Art Gallery Silpakorn University 2007 -‘Elna Exploring the Art’ Saha Group Fair, Queen Sirikit National Convention Center. Explorations Thai as we are’ (Body Design) TCDC, Bangkok วิชาทีส่ อน 367 104 - Fashion Design I 367 221 - Fashion Coordination and Promotion 367 214 - Art Thesis Preparation 367 105 - Creative Drawing in Fashion 367 211 - Fashion Design V 367 212 - Design Seminar


อาจารย์ณฏั ฐินี ผายจันเพ็ง

อาจารย์วรุษา อุตระ

สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master of Art, Three Dimension Design. Kent Institute College of Art and Design. UK ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - Master Art Exhibition,U.K. - NCECA, U.S.A Exhibition - Shigaraki,Japan Exhibition วิชาทีส่ อน 367 214 - Art Thesis Preparation 367 102 - Fashion Design History 360 101 - Design I 367 201 - Fashion Design III 367 212 - Design Seminar

สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2009 - 2009 International Exhibtion & Fashion Show Asia Forever, Museum of Siam 2009 - Fruzberry Ice Cream Yogurt’s Cup Exhibition 2008 - A Sorrowful Nature, The princess mother memorial park 2004 - Landscape and Seascape 2004, Silpakorn Univercity วิชาทีส่ อน 360 103 - Basic Drawing I 360 105 - Basic Studio I 360 107 - Basic Graphic 367 214 - Art Thesis Preparation 367 106 - Textile Design II

129


อาจารย์ภาส ทองเพ็ชร์ สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Post-Diploma; Pattern Maker and Fashion Designer, Istituto Carlo Secoli (Milano) สาธารณรัฐอิตาลี - สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สส.บ.) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2009 - Nowhere, Designer/Fashion Stylist; collaborated with Maurizio Turchet for Nowhere installation by veneziano+ team, presented in Abitare il Tempo Verona 2009, Verona, Italy. 2008 - ci-ne-ma, Designer; participated in PRET A PORTER PARIS® (SS2009), Paris, France. - Thai Silk Fashion Show Project 2008, in collaboration with The SUPPORT Foundation (Bangkok, Thailand), Royal Thai Embassy (Rome, Italy) and Istituto Carlo Secoli (Milan, Italy) - Milan, Italy. - Rosamosario, Assistant Designer; at the ‘Who is on Next?’ by Vogue Italia & Alta Roma - Rome, Italy. 2007 - Mistaken, Costume Designer; experimental film project by Nicole Gilliam (New York filmmaker) - Rosamosario’s installation at the Fashion Incubator “Couture”, Milan Fashion Week - Milan, Italy. รางวัลและเกียรติประวัติ 2007 - Veronique Branquinho Award, Grand Prize, Arts of Fashion Competition 2007 - Miami, Florida, USA. 2006 - Excellence Award, “CHINA CUP 2006” (Lingerie/Beach Wear) - Shanghai, China. 2005 - Best Dress-set Award, “CHINA CUP 2005” (Men’s Wear) - Shanghai, China. 2004 - The Winner, and Craft Award, “CHINA CUP 2004 : White Collar (Women’s Wear) - Shanghai, China. 2002 - 1st Runner-Up, Thailand Designer Contest 2002 - Bangkok, Thailand. - 1st Runner Up, Thailand Wedding Designer Award 2002 Bangkok, Thailand. วิชาทีส่ อน 367 207 Pattern Making II 367 223 Costume Design for performing Art 367 204 Styles and Trends in Fashion

130

นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2554 ออกแบบปกและออกแบบจัดวางรูปเล่ม อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี ถ่ายภาพผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติวรรธน์ วิฬุรห์เพชร ตกแต่งภาพผลงาน พสุกิตติ์ จันทร์แจ้ง ประสานงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ นายวุฒิ คงรักษา นายศุภฤกษ์ ทับเสน พิมพ์ที่ บริษัท เอส โอ ฟูล พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด SO FULL PRINTING SERVICE CO.,LTD. โทร. 02 875 1799 จำนวน 700 เล่ม กันยายน 2554


คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๖ / ๒๕๕๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะ-มัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๔ อันเป็นหนึ่งในกิจกกรม เพื่อร่วมฉลองโครงการ “มัณฑนศิลป์ ๕๔ : ๕๕ ปีแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม” เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่ง และรายชื่อดังต่อไปนี้ คณะกรรมการดำเนินงาน ฝ่ายสิ่งพิมพ์และประชาสัมพันธ์ ๑. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ประธาน ๒. อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม กรรมการ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติวรรธน์ วิรุฬห์เพชร กรรมการ ๕. นางภาวนา ใจประสาท กรรมการ ๖. นายวุฒิ คงรักษา กรรมการและเลขานุการ ๗. นางรัตนา สังข์สวัสดิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๘. นางพจนี ช่วยเจริญ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๙. นางสาวนัฐญภรณ์ เลิศอนรรฆภัณฑ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) ประสานงาน รวบรวมบทความ คัดเลือก แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) จัดทำเอกสาร สิ่งพิมพ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ บัตรเชิญ สูจิบัตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (๓) บันทึกภาพ การดำเนินงาน และประสานงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ฝ่ายรวบรวมผลงานและข้อมูล ๑. รองคณบดีพระราชวังสนามจันทร์ ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ ๓. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย ๔. อาจารย์วรุษา อุตระ ๕. นายศุภฤกษ์ ทับเสน ๖. นางสาวอโนมา รัตนน้อย

ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 131


หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) รวบรวมและพิจารณากลั่นกรองผลงาน ข้อมูลผลงานเพื่อส่งฝ่ายสิ่งพิมพ์และประชาสัมพันธ์ (๒) ตรวจสอบข้อมูล และประสานงานกับผู้เสนอผลงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายติดตั้งนิทรรศการ ๑. ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ๒. อาจารย์ศมประสงค์ ชาวนาไร่ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน สิงห์สาย ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงศ์ เผ่าไทย ๖. อาจารย์ภูษิต รัตนภานพ ๗. นางภาวนา บุญปก ๘. นางสาวกนกอร สว่างศรี

ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) รวบรวมผลงาน วางแผน กำกับดูแล ติดตั้งการจัดแสดงผลงานนิทรรศการ (๒) ประสานงานกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายประเมินผล และการเงิน ๑. นางสาวมุกดา จิตพรมมา ๒. นางสาวจันทิมา เขมะนุเชษฐ์ ๓. นางสาวจิตตรี ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ ๔. นางนภาพร ทองทวี

ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) จัดทำแบบลงทะเบียน แบบประเมินผล ติดตาม และสรุปผลการดำเนินงาน (๒) ดูแล ตรวจสอบ สรุปค่าใช้จ่าย และประสานงานกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

สั่ง ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

(รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ 132




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.