Head Ornaments and Adornments in Khmer Art of Thailand From 11th-13th Century A.D.

Page 1

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง

ศิราภรณ์และงานประดับศิลปะเขมรในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 Head Ornaments and Adornments in Khmer Art of Thailand From 11th-13th Century A.D.

โดย นางสาว วรรณวิภา สุเนต์ตา

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจยั จาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง

ศิราภรณ์และงานประดับศิลปะเขมรในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 Head Ornaments and Adornments in Khmer Art of Thailand From 11th-13th Century A.D.

โดย นางสาว วรรณวิภา สุเนต์ตา

ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2555-2556 (พิมพ์เผยแพร่ มีนาคม พ.ศ. 2557)



2

บทคัดย่อ ศิราภรณ์และงานประดับศิลปะเขมรในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 การศึกษารูปแบบศิราภรณ์และงานประดับศิลปะเขมรในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 1618 ในงานวิจัยนี้ ศึกษาจากงานศิลปกรรมที่พบหลักฐานในดินแดนไทยและสามารถเชื่อมโยง เปรียบเทียบกับรูปแบบในประเทศกัมพูชา โดยการจัดแบ่งรูปแบบเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ศิราภรณ์แบบ มงกุฎและกะบังหน้า กลุ่มที่สอง คือศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด และกลุ่มที่สาม ได้แก่ศิราภรณ์รูปแบบ พิเศษที่ปรากฏในประติมากรรมและรูปเคารพสมัยนครวัดและบายน พัฒนาการสําคัญของรูปทรงและลวดลายประดับศิราภรณ์เริ่มปรากฏขึ้นในศิลปะสมัยนครวัด ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ส่งผลต่อรูปแบบศิราภรณ์สมัยบายนในพุทธศตวรรษต่อมา ลักษณะที่ สังเกตได้ชัดเจนของศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้า คือการปรับรูปทรงมงกุฎเป็นทรงกรวยสูง กะบัง หน้ามีขนาดใหญ่และนิยมสร้างเป็นชิ้นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบหลักฐานประติมากรรมที่ทรงมงกุฎทรง กลีบดอกบัวซ้อนชั้น ซึ่งเป็นศิราภรณ์ทมี่ ีความนิยมต่อเนื่องในสมัยบายน การตรวจสอบลวดลายประดับ ศิราภรณ์และเครื่องประดับพบว่าเป็นลวดลายเดียวกับที่ปรากฏในงานประดับสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้น ในช่วงพุทธศตวรรษนี้ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนลายประดับที่พบความนิยมลายดอกกลมเพิ่มมากขึ้น แทนลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน สําหรับพระพุทธรูปทรงศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริดในศิลปะเขมรมีลักษณะที่ต่างออกไปจาก มงกุฎเทริดศิลปะอินเดียแบบปาละ กล่าวคือ พระพุทธรูปทรงมงกุฎทรงกรวย และกะบังหน้าซึ่งตกแต่ง ด้วยตาบเป็นแถวเรียงลดหลั่นกัน ไม่มลี วดลายประดับและไม่แสดงรูปแบบของชายผ้า โดยเฉพาะ รูปแบบกุณฑลส่วนใหญ่คลี่คลายจากต้นแบบของมกรกุณฑลไปมากแล้ว นอกจากนีศ้ ิราภรณ์ของเทวบุคคลที่สร้างขึ้นในสมัยนครวัดและบายน อาจมีที่มาจากศิราภรณ์ แบบมงกุฎเทริด โดยมีรูปแบบสําคัญของการประดับกะบังหน้าด้วยลายดอกไม้และใบไม้ ตลอดจนการ ประดับร่วมกับดอกไม้สด อาทิเช่นจั่นหมาก จั่นมะพร้าว และมาลัย อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดม สมบูรณ์ ทั้งนี้การสวมศิราภรณ์อาจมีการโพกพระเศียรด้วยผ้า การเกล้าและถักพระเกศาร่วมอยู่ด้วย รูปแบบของศิราภรณ์ยังบอกถึงลําดับศักดิ์ของบุคคลชั้นสูงตลอดจนสถานะของรูปเคารพใน วัฒนธรรมเขมร โดยเฉพาะมงกุฎทีแ่ สดงความหมายของการเคารพบูชาอย่างสูง ซึ่งปรากฏในรูปเคารพ ทางศาสนา และประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของบุคคลชั้นสูง อันอาจแสดงถึงการยกย่อง กษัตริย์ในฐานะเดียวกับเทพเจ้า อย่างไรก็ตามทั้งรูปเคารพในพุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดูมักทรงศิราภรณ์และ เครื่องประดับแบบเดียวกัน ยกเว้นกลุ่มพระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดซึ่งอาจเป็นการรับอิทธิพลพุทธศิลป์ จากภายนอกและปรับเข้าสู่รูปแบบในวัฒนธรรมเขมร ทัง้ นีศ้ ิราภรณ์ทรงมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น ทีแ่ พร่หลายในประติมากรรมสมัยบายน มีมาก่อนในประติมากรรมสมัยนครวัด จึงทําให้ข้อสันนิษฐาน ของนักวิชาการถึงความเกี่ยวข้องของศิราภรณ์รูปแบบนี้ในฐานะสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาสมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ต้องมีการทบทวนใหม่ หลักฐานที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งคือชุดเครื่องประดับทองคํา พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศิราภรณ์และเครื่องประดับของรูปเคารพประจําศาสนสถาน รูปแบบ และลวดลายประดับสามารถเปรียบเทียบได้กับศิราภรณ์และเครื่องประดับประติมากรรมที่สร้างขึ้นใน ระยะนี้ สัมพันธ์กับรูปแบบแผนผังและงานประดับปราสาทแห่งนี้ ช่วยให้การกําหนดอายุสมัยศิราภรณ์


3

และเครื่องประดับสอดคล้องกับช่วงเวลาที่มีการสถาปนาศาสนสถานหลายแห่งในชุมชนรอบเมืองพิมาย ราวปลายพุทธศตวรรษที่16-17 ผลการศึกษาโดยการเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรมที่พบในดินแดนไทยและประเทศกัมพูชา พบความสัมพันธ์ด้านรูปแบบและพัฒนาการของลวดลายประดับที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะการ ผสมผสานกับลักษณะท้องถิ่นที่ต่างออกไปจากรูปแบบที่เมืองพระนครตามที่นักวิชาการได้เคยตั้ง ข้อสังเกตไว้ ซึ่งพบมากในกลุ่มประติมากรรมและพระพุทธรูปจากจังหวัดลพบุรี และประติมากรรมบาง องค์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Abstract Head Ornaments and Adornments in Khmer Art of Thailand From 11th-13th Century A.D. Based on French scholars’ researches on the stylistic development during Baphoun, Angkor Wat and Bayon, this research further explored stylistic relationship between head ornaments, adornments and decorative ornaments in Khmer sanctuaries. This research identifies the styles of head ornaments found in Khmer sculptures in Thailand with 3 stylistic groups as follows; the crown and diadem, the crowned Buddha, and the adornments of divinities. Within each group, analytical comparison of the ornaments focuses on 1. Forms and patterns of ornament 2. order of the adornment By comparing the styles and forms of artifacts found in Thailand to Cambodia, the results demonstrate that patterns of ornaments can be dated from the same period. Influences from the different dominant styles found in local artisan can be noticed among sculptures from Lopburi province, which scholars believed play the significant influence in Thai style crowned Buddha created a century later.


4

สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนํา 1 ความเป็นมาของการศึกษา และสมมติฐานการศึกษา…………………………………………….5 2 ศิราภรณ์และเครื่องประดับในศิลปะเขมร........................………………………...................10 2.1 ศิราภรณ์…………………………………………………………………………………………..10 2.2 ถนิมพิมพาภรณ์…………………………………………………………………………………13 3 ตัวอย่างรูปแบบศิราภรณ์ศิลปะเขมรในประเทศไทยที่ใช้ในการศึกษา……………………….14 3.1 ศิราภรณ์แบบมงกุฎ-กะบังหน้า…………………………………………………………….14 3.2 ศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด…………………………………………………………………….16 3.3 ศิราภรณ์แบบอื่นๆ………………………………………………………………………………17 บทที่ 2 ศิราภรณ์และงานประดับ…………………………………………………………………………………………19 1 การประดับร่างกายและงานประดับสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมอินเดียและเขมร โบราณ……………............................................................................................................19 2 งานประดับสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร............22 บทที่ 3 ศิราภรณ์ศิลปะเขมรสมัยบาปวน นครวัด และบายน: รูปแบบ ลวดลายประดับ และการกําหนดอายุสมัย……………......................................................................................28 1 เครื่องประดับพระเศียร (ศิราภรณ์) ……………………………………………………………………...28 1.1 ศิราภรณ์แบบมงกุฎ-กะบังหน้า …………………………………………………………….28 1.1.1 พัฒนาการของลวดลายและรูปทรง...............................................28 1.1.2 ศิราภรณ์และเครื่องประดับทองคําจากปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัดนครราชสีมา ………………………………………………………….....41 1.2 ศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด ……………………………………………………………..........45 1.3 ศิราภรณ์แบบอื่นๆ ……………………………………………………………....................48 2 เครื่องประดับพระวรกาย (ถนิมพิมพาภรณ์) ………………………………………………………….62 3 ลวดลายประดับสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับ …………………………………………………..77 บทที่ 4 วิเคราะห์สรุปรูปแบบศิราภรณ์และงานประดับ ผลการศึกษาจากหลักฐานศิลปกรรมใน ประเทศไทย ……………………………………………………………....................................................80 ภาคผนวก…………………………………………………………….......................................................................82 สารบัญภาพ……………………………………………………………....................................................................84 บรรณานุกรม …………………………………………………………….................................................................88 ประวัติผู้วิจัย ……………………………………………………………..................................................................91


5

บทที่ 1 บทนํา 1 ความเป็นมาของการศึกษา และสมมติฐานการศึกษา แบบแผนอันชัดเจนของศิลปะเขมรซึ่งได้มีการศึกษาไว้โดยนักวิชาการในอดีต เป็นปัจจัยสําคัญ ที่ทําให้การศึกษางานศิลปกรรมเขมรโบราณในแต่ละยุคสมัยสอดคล้องกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ ปรากฏความสัมพันธ์ของวิวัฒนาการลวดลายประดับ องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ตลอดจนศิราภรณ์ ประดับงานประติมากรรม ระเบียบแบบแผนของศิลปะเขมรนี้ยังเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการศึกษาศิลปะเขมรในประเทศ ไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเขมรโบราณ แม้ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยในการกําหนดอายุ สมัย1 และพบการปรับเปลี่ยนรูปแบบและลวดลายของงานประดับที่ต่างไปจากอิทธิพลต้นแบบใน ช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นลักษณะเฉพาะของงานศิลปกรรมเขมรในดินแดนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 สมัยบาปวนและนครวัด อันเป็นยุคสมัยที่ ชุมชนพิมายและพนมรุ้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสําคัญของภูมิภาค ส่งผลให้เกิดการสร้างศาสนสถานและงานศิลปกรรมจํานวนมากในดินแดนไทย และพบว่ามีการ ปรับเปลี่ยนสําคัญทั้งในด้านสัดส่วนสถาปัตยกรรมและระเบียบงานประดับของปราสาทประธาน2 การปรับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมดังกล่าวนับว่าเป็นพัฒนาการสําคัญของศิลปะเขมรซึ่งมี ระเบียบแบบแผนที่เคร่งครัด และสันนิษฐานว่ามีความสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนลวดลายประดับ ตลอดจนรูปแบบศิราภรณ์ในงานประติมากรรมทั้งที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู ซึ่งให้อิทธิพลสืบเนื่องมายังศิลปะสมัยบายนในพุทธศตวรรษที่ 18 งานวิจัยนี้ตั้งสมมติฐานและตรวจสอบความสัมพันธ์ดังกล่าว และมีแนวโน้มที่ศิราภรณ์และ เครื่องประดับประติมากรรมศิลปะเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องประดับพระเศียร อาจสร้างขึ้นโดย เกี่ยวข้องกับรูปแบบงานประดับปราสาทแบบเขมร ซึ่งนอกเหนือจากการวิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรม ลําดับพัฒนาการและกําหนดอายุสมัยแล้ว ยังมีประเด็นที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับความหมายของศิราภรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ประดับเพื่อแสดงสถานะของเทวบุคคลและสะท้อนความเชื่อในคติทางศาสนา อย่างไรก็ตามการขาดหายของหลักฐานจารึกและคัมภีรท์ างศาสนาทําให้การตีความ ประติมากรรมบางส่วนยังมีข้อจํากัดอยู่มาก โดยจะพบว่าศิราภรณ์บางรูปแบบใช้ประดับประติมากรรม หลายประเภททัง้ ในความหมายของพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ หรือเทพเจ้าชั้นรอง จึงจําเป็นต้อง ตรวจสอบกับหลักฐานศิลปกรรมหลายด้าน หลักฐานสําคัญของศิราภรณ์ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ได้แก่ชุดเครื่องทองประดับ ประติมากรรม พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พิมาย ซึ่งเป็นศิราภรณ์ของรูปเคารพที่ไม่พบหลักฐานแล้ว การศึกษารูปแบบและลวดลายโดย 1

สมิธิ ศิริภัทร์ และ มยุรี วีรประเสริฐ, ทับหลัง การศึกษาเปรียบเทียบทับหลังที่พบในประเทศไทยและประเทศ กัมพูชา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 35. 2 วรรณวิภา สุเนต์ตา,“สถาปัตยกรรมเขมรในดินแดนไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 : ลําดับการสืบเนื่อง” วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553.


6

ตรวจสอบร่วมกับแผนผังศาสนสถานแห่งนี้ สามารถกําหนดอายุรูปแบบศิราภรณ์ชุดนี้ในศิลปะบาปวน และนครวัด ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงพุทธศตวรรษที่17 เครื่องทองประดับประติมากรรมชุดนีป้ ระกอบด้วยเครื่องประดับพระเศียร 2 ชิ้นคือ “มงกุฎ ทรงกรวย” และ “มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น” (ภาพที่ 1) ซึ่งเป็นรูปแบบศิราภรณ์ที่มีมาก่อนใน ศิลปะนครวัดและพบทั่วไปในรูปเคารพสมัยบายน อย่างไรก็ดกี ารศึกษาเครื่องประดับชุดนี้ยังมีข้อจํากัด ในการสืบค้นลักษณะทางประติมานวิทยา และไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นศิราภรณ์ของพระพุทธรูป แบบบายนที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ราวพ.ศ.1724-1763) ตามที่เคยมีการเสนอข้อสันนิษฐาน ไว้3 หลักฐานศิลปกรรมอีกส่วนหนึ่งยังสะท้อนแนวคิดในคติพุทธศาสนามหายานและอิทธิพลศิลปะ จากต่างถิ่น ส่งผลให้เกิดการสร้างประติมากรรมประดับด้วยศิราภรณ์รูปแบบพิเศษซึ่งแพร่หลายใน ศิลปะบายน ตัวอย่างเช่นศิราภรณ์ประดับรูปเทวบุคคลที่ยอดปราสาทบายน เมืองนครธม ประเทศ กัมพูชา (ภาพที่ 2) ที่นักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าอาจเกี่ยวข้องกับศิราภรณ์ของทวารบาล อสูร หรือ พระโพธิสัตว์4 ซึ่งงานวิจัยนี้จะทบทวนและเปรียบเทียบกับรูปแบบศิราภรณ์ของประติมากรรมกลุ่มหนึ่ง ที่พบในอโรคยศาลหลายแห่งในดินแดนไทย (ภาพที่ 3) รูปแบบศิราภรณ์ตามคติพุทธศาสนามหายานในศิลปะเขมรอาจเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับ อิทธิพลงานประดับในศิลปะแบบปาละและศิลปะพม่าแบบพุกามที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียง5 อันเป็นที่มาของศิราภรณ์ “มงกุฎเทริด” หรือ “เทริดขนนก” ในกลุ่มพระพุทธรูปทรงเครื่อง และ ประติมากรรมเทวบุคคลจํานวนมากที่พบในประเทศกัมพูชาและในดินแดนไทย (ภาพที่ 4 และ 5) ซึ่งมี รูปแบบทีอ่ าจเทียบเคียงได้กับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “ซุ้มฝักเพกา” หรือ “ซุ้มเคล็ก” (Clec)6 อันเป็นอิทธิพลศิลปะพุกามที่ผ่านมาทางศิลปะภาคเหนือ ทั้งนี้รูปแบบของศิราภรณ์ทรงมงกุฎเทริดในศิลปะเขมรมีลักษณะที่ต่างออกไปจากอิทธิพล ต้นแบบในศิลปะอินเดียสมัยปาละ7 โดยแสดงการผสมผสานกับระเบียบของศิราภรณ์ที่มีมาก่อนในอารย ธรรมเขมรอันประกอบด้วยมงกุฎและกะบังหน้า เพิ่มงานประดับเหนือพระกรรณทั้งสองข้างคล้าย “กรรเจียก” และเป็นที่น่าสังเกตว่ามีองค์ประกอบของวัสดุประเภทผ้าและการถักพระเกศาหรือการ ห่อหุ้มพระเกศาอีกชั้นหนึ่งร่วมอยู่ด้วย (ภาพที่ 6)

3

พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553), 314-316. Boisselier, J. “Vajrapani dans L’art du Bayon,” Proceedings of the 22nd Congress of International Orientalists, Istanbul, 1951. In Sharrock P., “The Mystery of The Face Towers,” Bayon : New Perspective (Bangkok : River Book, 2007), 238-239. 5 Woodwards H.W., “Studies in the Art of Central Siam 950-1350 A.D.” Ph.D. dissertation, Yale University, 1975. Chapter VIII. 6 ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรือ่ ง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 14. 7 เชษฐ์ ติงสัญชลี, “อิทธิพลศิลปะปาละในงานศิลปกรรมไทย,” การสัมมนาโครงการนําเสนอผลงานค้นคว้าด้าน ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและเอเชียอาคเนย์ เสนอที่อาคารศูนย์รวม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 16 มิถุนายน 2555. 4


7

ภาพที่ 1 มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก จ.นครราชสีมา ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.27b.

ภาพที่ 3 ประติมากรรมเทวบุคคล สันนิษฐานว่าหมายถึงพระวัชรปาณีทรงครุฑ อโรคยศาลกู่แก้ว จ.ขอนแก่น

ภาพที่ 2 ศิราภรณ์ประดับเทวบุคคลที่ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา ที่มา : Sharrock P., “The Mystery of The Face Towers,” Bayon : New Perspective (Bangkok : River Book, 2007), 239.

ภาพที่ 4 เศียรเทวบุคคล ปูนปัน้ พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี


8

ความเกี่ยวข้องของงานประดับสถาปัตยกรรมและรูปแบบศิราภรณ์ยังสามารถตรวจสอบได้จาก หลักฐานประติมากรรมสําริดกลุ่มหนึ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 7) และ แม่พิมพ์สําริดในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย (ภาพที่ 8) แสดงภาพพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ใน ซุ้มเรือนแก้วและซุ้มอาคารทรงปราสาท โดยทรงศิราภรณ์แบบมงกุฎและมงกุฎเทริดแตกต่างกัน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยจําลองความหมายเชิงสัญลักษณ์ในคติพุทธศาสนามหายานซึ่งแพร่หลายในช่วง พุทธศตวรรษนี้ อย่างไรก็ตามอีกประเด็นหนึ่งที่ควรพิจารณาร่วมกับรูปแบบของศิราภรณ์ คือวิธีการแสดงออก ของงานช่างที่แตกต่างกันไปในวัสดุแต่ละประเภท อาทิเช่นในชิ้นงานเครื่องประดับทองคํา งานประดับ ในประติมากรรมลอยตัวทั้งที่สลักจากหินทรายและหล่อด้วยสําริด ซึ่งแตกต่างไปจากประติมากรรมนูน ต่ําหรือพระพิมพ์ โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของศิราภรณ์ยังแสดงให้เห็นถึงวัสดุที่ใช้ประดับพระเศียรของ บุคคลชั้นสูงในธรรมเนียมสมัยโบราณ อันประกอบด้วยผ้าโพกสําหรับเก็บพระเกศา ตกแต่งด้วยพวง มาลาดอกไม้สดและเครื่องประดับประเภทโลหะและอัญมณีมีค่า ลักษณะเช่นนี้ยังคงปรากฏในงาน ศิลปกรรมบางชิ้นที่แสดงแบบแผนของการสวมศิราภรณ์ไว้อย่างชัดเจน และบางส่วนได้คลี่คลายไปมาก แล้ว นอกจากนีป้ ระเด็นการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเชื่อมโยงผลการศึกษาไปสู่ประติมากรรม ใน “ศิลปะลพบุร”ี (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19)8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิรา ภรณ์ที่ปรากฏในกลุ่มพระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการทบทวนที่มาของศิรา ภรณ์ในงานศิลปกรรมไทย อาทิเช่นกลุ่มเทวรูปสําริดสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะ อยุธยา9 ซึ่งมีต้นเค้าจากศิราภรณ์ในศิลปะเขมรและผสมผสานเข้ากับคติพุทธศาสนาแบบหินยานใน ระยะต่อมา

8

ศักดิช์ ัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรือ่ ง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 4. 9 ข้อสังเกตเรื่องศิราภรณ์สาํ หรับหุม้ พระเกศา และความเกี่ยวข้องกับพระสุวรรณมาลาทองคําจากกรุปราค์วัดราช บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา กับรูปแบบศิราภรณ์ของกลุม่ เทวรูปและพระพุทธรูปทรงเครื่อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, “ปราชญ์เก่าเล่าว่า : เรื่องของศิราภรณ์” วารสารดํารงวิชาการ 4,1 (มกราคม-มิถุนายน, 2548) : 72-81.


9

ภาพที่ 5 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สําริด ปางมารวิชัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : ศิลป์ชัย ชิ้นประเสริฐ, “ภาพชุดพระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดศิลปะลพบุร,ี ” เมืองโบราณ 11, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม, 2528)

ภาพที่ 6 ประติมากรรมเทวสตรี สําริด จาก จ.นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : กรมศิลปากร, ถนิมพิมพาภรณ์ กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุป, 2535.

ภาพที่ 7 เทวบุคคลในซุ้มเรือนแก้ว สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : Zefferys M., Zefferys N. and Stone J., Heaven and Empire (Bangkok : White Lotus, 2001), 106.

ภาพที่ 8 แม่พิมพ์พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : กรมศิลปากร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย กรุงเทพฯ : บริษัทถาวรกิจการพิมพ์จํากัด, 2542.


10

2 ศิราภรณ์และเครื่องประดับในศิลปะเขมร โดยทั่วไปแล้วเครื่องประดับแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะ ได้แก่ “ศิราภรณ์” หมายถึงเครื่องประดับศีรษะ เช่นพระมาลา มงกุฎ ผ้าโพกศีรษะ และ “ถนิมพิมพาภรณ์” หมายถึง เครื่องประดับกาย10 อาทิเช่น กรองศอ กุณฑล พาหุรัด และธํามรงค์ ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงเครือ่ งประดับศีรษะเป็นสําคัญ โดยการวิเคราะห์รูปแบบและลวดลาย ร่วมกับเครื่องประดับกาย จากหลักฐานประติมากรรมศิลปะเขมรที่พบในดินแดนไทย ทั้งนี้คําศัพท์ที่ หมายถึงเครื่องประดับส่วนใหญ่มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ที่เผยแพร่เข้ามาพร้อมกับคติความเชื่อ ทางศาสนาในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ และปรับเข้าสู่วัฒนธรรมเขมรและวัฒนธรรมไทย และเมื่อมี การศึกษาโดยนักวิชาการไทย เครื่องประดับบางส่วนจึงมีการใช้ชื่อที่ปรับเข้าสู่ระบบของงานช่างแบบ ไทย งานวิจัยนี้จึงได้รวบรวมคําศัพท์และความหมายของศิราภรณ์และเครื่องประดับเพื่อให้เกิดความ สอดคล้องเป็นระบบเดียวกันดังต่อไปนี้ 2.1 ศิราภรณ์ ประกอบด้วย มงกุฎ หรือ มกุฎ หมายถึงเครื่องสวมศีรษะทรงสูงหรือมียอดแหลมสูง ใช้ประดับพระเกศาซึ่ง สันนิษฐานว่ามีที่มาจากการเกล้าพระเกศาเป็นมุ่นมวยผมทรงสูงและปล่อยปลายพระเกศาให้ตกลงไป ด้านหลังแบบ “ชฎามงกุฎ” พบในกลุ่มประติมากรรมเทวบุคคลในศิลปะอินเดีย และได้พบหลักฐานใน ดินแดนไทย ตัวอย่างเช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี กําหนดอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 12-13 (ภาพที่ 9) สําหรับประติมากรรมรูปเคารพในศิลปะเขมรมักประดับพระเกศาด้วยการ ถักและเกล้าเป็นทรงกระบอกสูง ด้านบนผายออกเล็กน้อยเรียกว่า “กิรีฏมงกุฎ” กรัณฑมงกุฎ (Karandamakuta) หมายถึงมงกุฎที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดียและลังกา ปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 และให้อิทธิพลไปยังศิลปะชวาภาคกลาง โดยปรากฏในภาพ สลักรูปพระโพธิสัตว์ที่บุโรพุทโธ ประกอบด้วยกะบังหน้าและมงกุฎที่มีลักษณะเป็นทรงกลมซ้อนลดหลั่น กันขึ้นไปคล้ายกับการมัดพระเกศาเป็นมวยผม “กรัณฑ” ยังมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับตลับ หีบ หรือหม้อ11 ซึ่งสอดคล้องกับรูปทรงของ มงกุฎที่มีลักษณะคล้ายหม้อน้ําปูรณฆฏ (Purnaghata) ซ้อนกันขึ้นไป12 กรัณฑมงกุฎปรากฏในศิลปะ สมัยสุโขทัย โดยเป็นศิราภรณ์ของเทวบุคคล พบในภาพลายเส้นชาดกบนแผ่นหินจากวัดศรีชุม (ภาพที่ 10) ประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถาน13 ตลอดจนศิราภรณ์ของกลุ่มเทวรูปสําริดที่สร้างในสมัย สุโขทัย

10

กรมศิลปากร, ถนิมพิมพาภรณ์ (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุป, 2535), 34. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 [Online]. Accessed 23 April 2013. Available from http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp 12 Sivaramamuurti C., อ้างถึงใน เชษฐ์ ติงสัญชลี, “การแพร่หลายของการัณฑมกุฏในศิลปะอินเดียและเอเชีย อาคเนย์,” วารสารดํารงวิชาการ 7,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม, 2551 : 3. 13 กรรณรส ศรีสุทธิวงศ์, “กรัณฑมงกุฎเทวดาศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยาตอนกลาง,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. 11


11

ภาพที่ 9 “ชฎามงกุฎ” พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร พบที่พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555), 57.

ภาพที่ 10 “กรัณฑมงกุฎ” ภาพลายเส้นชาดก บนแผ่นหิน พบที่มณฑปวัดศรีชุม จ.สุโขทัย ที่มา : บรรลือ ขอรวมเดช, “รูปแบบศิลปะบนแผ่นจารึก ลายเส้นเรื่องชาดกของวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย,” วิทยานิพนธ์สาขาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553, 380.

มงกุฎเทริด, เทริด หรือ อุณหิส หมายถึงเครื่องสวมศีรษะในลักษณะเดียวกับมงกุฎและกะบัง หน้า ซึ่งตกแต่งด้วยแผ่นสามเหลี่ยมหรือ “ตาบ” เป็นแถวเรียงซ้อนกัน มีลวดลายประดับ หรือเรียกว่า “เทริดขนนก” อันมีต้นเค้ามาจากศิลปะอินเดียสมัยปาละตอนปลายราวพุทธศตวรรษที่ 17 พบในกลุ่ม พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะหริภุญชัย ศิลปะล้านนา ตลอดจนพระพุทธรูปและประติมากรรมเทวบุคคล ศิลปะเขมรสมัยบายน มงกุฎทรงกรวย เป็นมงกุฎทรงเตี้ยที่มีลวดลายประดับซ้อนกันเป็นชั้น ปลายยอดแหลม ใช้สวม ครอบทับมวยผม พบมากในกลุ่มประติมากรรมเขมรสมัยบาปวนและนครวัด มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น คือมงกุฎทีส่ ลักเป็นแถวลายกลีบบัวซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ปรากฏในกลุ่มประติมากรรมเขมรสมัยนครวัดและบายน กะบังหน้า หรือ กรอบหน้า ใช้สวมศีรษะโดยการคาดอยู่เหนือพระพักตร์ และมีมงกุฎทรงเตี้ย หรือ “รัดเกล้า” รัดรอบมุ่นมวยผมอีกชิ้นหนึ่ง นักวิชาการเชื่อว่าต้นเค้าของกะบังหน้าในศิลปะเขมรมา จากศิราภรณ์แบบมาลาทรงกระบอก ของประติมากรรมรูปพระวิษณุและพระหริหระในศิลปะเขมรช่วง พุทธศตวรรษที่ 12-14 ด้านหลังของมาลาทรงกระบอกยาวคลุมท้ายพระเศียร และด้านหน้าโค้งลงเป็น มุมแหลมเหนือพระขมับ ตกแต่งด้วยแนวขอบเป็นเส้นนูนและมีลวดลายประดับ14 รูปแบบของกะบังหน้าเริ่มปรากฏในประติมากรรมเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ในศิลปะแบบ กุเลนและให้อิทธิพลไปยังศิลปะแบบพะโค15 และมีระเบียบลวดลายประดับสืบเนื่องต่อมา 14 15

สุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 263. สุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 272.


12

การสวมกะบังหน้าใช้การผูกร้อยด้วยชายผ้าไว้ทที่ ้ายพระเศียร (ภาพที่ 11) ต่อมาในศิลปะแบบบาปวน และนครวัด นิยมสร้างกะบังหน้าเป็นชิ้นเดียวกันใช้สวมครอบพระเศียรและเชื่อมต่อกับแผ่นปกคลุมท้าย พระเศียร โดยมีมงกุฎสวมครอบมวยผมอีกชิ้นหนึ่ง (ภาพที่ 12)

ภาพที่ 11 “มงกุฎและกะบังหน้า” พระวิษณุพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์) ที่มา : พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553), 192.

ภาพที่ 12 ภาพลายเส้นศิราภรณ์ “มงกุฎและกะบังหน้า” ศิลปะนครวัด ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 404.


13

2.2 ถนิมพิมพาภรณ์ ได้แก่เครื่องประดับพระวรกาย ใช้ประดับประติมากรรมเทวบุคคล เทวสตรี รวมถึงพระพุทธรูป ทรงเครื่อง ประกอบด้วย กุณฑล หมายถึง ตุ้มหูหรือเครื่องประดับหู ในศิลปะเขมรนิยมตกแต่งรูปเคารพด้วยกุณฑลรูป ดอกบัวตูม นอกจากนี้ยังนิยมกุณฑลลายดอกไม้รูปแบบต่างๆพบมากในภาพสลักรูปนางอัปสรประดับ ศาสนสถาน ธํามรงค์ หมายถึง แหวน ใช้ประดับที่นวิ้ มือ โดยทั่วไปแล้วมักไม่พบการสวมธํามรงค์ใน ประติมากรรมลอยตัว แต่ปรากฏในภาพสลักรูปบุคคลประดับศาสนสถาน และประติมากรรมบางองค์ เช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ศิลปะบายน ทรงธํามรงค์สลักรูปพระพุทธรูปขนาดเล็กประดับ นิ้วพระบาททั้งสิบ พาหุรัด หรือ พาหุวลัย หมายถึง กําไลต้นแขน ทองพระกร ทองกร หรือ กังกณะ หมายถึงกําไลข้อมือ สําหรับกําไลข้อเท้าเรียกว่า “ทองพระ บาท” หรือ “ปาทสระ” ประติมากรรมในศิลปะอินเดียยังแสดงการสวมกําไลบริเวณข้อศอกเรียกว่า “เกรยูร” นอกจากนี้ยังพบการสวมกําไล “รัดพระชงฆ์” ในกลุ่มพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิด้วย กรองศอ หรือ หาระ หมายถึง สร้อยคอ สังวาล หมายถึงสร้อยประดับพระวรกายโดยคาดเฉวียงบ่า หรืออาจเรียกว่า “สังวาลไขว้” หรือ “สร้อยสะพายแล่ง” หมายถึงการสวมสร้อยสองเส้นไขว้กันเป็นรูปกากบาท สําหรับกลุ่ม ประติมากรรมพระโพธิสัตว์บางองค์มักปรากฏเครื่องประดับประเภท “สายธุรํา” หรือ “ยัชโญปวีต”คาด เฉวียงบ่าด้านซ้าย และสร้อยปะคํา หรือ “อักษะมาลา” (ภาพที่ 13) อุทรพันธะ หมายถึงเข็มขัดรัดใต้อก ใช้ประดับทั้งในประติมากรรมเทวบุคคลและเทวสตรี รัดพระองค์ หรือ ปั้นเหน่ง หมายถึงเข็มขัดรัดรอบบั้นพระองค์ (เอว) ในงานประติมากรรมเขมร มักพบเข็มขัดรัดรอบพระโสณี (สะโพก) คาดทับผ้านุ่ง มีลวดลายประดับและมีอุบะห้อย หรือเรียกว่า “กฏิพันธะ” สําหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องมักคาดทับสบงด้วย “รัดประคด” มีลวดลายประดับและมี อุบะห้อย รูปแบบคล้ายกับรัดพระองค์ประดับเทวรูป นอกจากนีก้ ารประดับพระวรกายด้วยผ้านุง่ ในศิลปะเขมร พบว่ามีวิวัฒนาการมาจากผ้านุ่งยาว แบบ “โธตี” (Dhoti) ของอินเดีย16 ผ้านุ่งในภาพสลักและประติมากรรมศิลปะเขมรมีทั้งแบบเรียบ สลัก เป็นริ้ว และผ้านุ่งลายดอก ประติมากรรมรูปบุรุษทรงภูษาโจงสั้นแบบ “สมพรต” มีริ้วของการจีบชายผ้า ด้านหน้า และมีชายพกซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังมีชายกระเบนห้อยอยู่ สําหรับประติมากรรมรูปสตรีทรงภูษายาวมีจีบด้านหน้า คาดทับด้วยเข็มขัดและชักชายผ้า ออกมาด้านหน้า นอกจากนี้ในภาพสลักสมัยนครวัดและบายน ยังแสดงเครื่องแต่งกายของกษัตริย์ พราหมณ์ บุคคลชั้นสูง และบุคคลต่างชาติพันธุ์ ซึ่งได้มีการศึกษาไว้แล้วอย่างกว้างขวาง17 ในงานวิจัยนี้ จะได้กล่าวถึงศิราภรณ์และเครื่องประดับเป็นสําคัญ

16 17

สุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 254. สุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 379-396.


14

ภาพที่ 13 ภาพลายเส้นแสดงศิราภรณ์และเครื่องประดับรูปเคารพ ที่มา : กรมศิลปากร, ถนิมพิมพาภรณ์ (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติง้ กรุป, 2535), 39.

3 ตัวอย่างรูปแบบศิราภรณ์ศลิ ปะเขมรในประเทศไทยที่ใช้ในการศึกษา 3.1 ศิราภรณ์แบบมงกุฎ-กะบังหน้า ศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้าประกอบด้วยมงกุฎซึ่งใช้สวมครอบมุ่นมวยผม และกะบัง หน้าคาดรอบพระเศียร เหนือพระพักตร์ อันเป็นศิราภรณ์ที่ปรากฏทั่วไปทั้งในงานประติมากรรมลอยตัว ภาพสลักนูนต่ําประดับศาสนสถาน และชุดเครื่องประดับทองคํา ใช้ประดับทั้งเทวรูปและพระพุทธรูป ทรงเครื่องที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานี้ พัฒนาการสําคัญของรูปแบบศิราภรณ์กลุ่มนี้ พิจารณาได้จากรูปทรงของกะบังหน้าซึ่งสร้างเป็น ชิ้นเดียวครอบพระเศียร และมีสัดส่วนใหญ่กว่าในศิลปะเขมรสมัยก่อนหน้า เนื่องจากมีแถวลายประดับ เพิ่มขึ้น และพบร่วมกับมงกุฎทรงกรวยซึ่งต่อมาจึงพัฒนาเป็นมงกุฎทรงกรวยสูงมากยิ่งขึ้นในสมัยนครวัด นอกจากนี้ยงั พบมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น ตกแต่งด้วยลวดลายเลียนแบบกลีบดอกบัว ใช้ประดับ ร่วมกับกะบังหน้า หรือสวมครอบมุ่นมวยผมเพียงชิ้นเดียวในประติมากรรมสมัยบายน สําหรับพระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทย ได้พบหลักฐานทั้งพระพุทธรูปสลักจากหินทราย และพระพุทธรูปสําริด ทรงมงกุฎและกะบังหน้าตามแบบเทวรูป พระพุทธรูปทรงเครื่องเริ่มปรากฏใน ศิลปะบาปวน โดยมีพระเกศาถักเป็นแนวตรง พระอุษณีษะประดับด้วยมงกุฎทรงกรวยตกแต่งด้วย ลวดลายประดับ บางองค์สลักเป็นขมวดพระเกศา ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปนาคปรก ปัจจุบันจัดแสดงใน


15

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 14) พระพุทธรูปหินทรายองค์นี้ไม่ทรงเครื่องประดับ และไม่ แสดงการครองจีวรและสังฆาฏิ แต่มีขอบสบงด้านหน้าเว้าต่ําอยู่ระดับใต้พระนาภี ขอบด้านหลังโค้งสูง สันนิษฐานว่าคงมีการประดับด้วยเครื่องประดับจริงและการห่มจีวรถวาย พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง และพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน แสดงปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ เริ่มมีความนิยมสร้างมากยิ่งขึ้นในสมัยนครวัดและบายน พระพุทธรูปกลุ่มนีท้ รงมงกุฎ และกะบังหน้า ประดับด้วยกุณฑล กรองศอ พาหุรัด สัดส่วนของมงกุฎและกะบังหน้าต่างไปจากสมัย บาปวน กล่าวคือกะบังหน้ามีกรอบขนาดใหญ่ประดับด้วยแถวลวดลายที่เพิ่มขึ้น และมงกุฎเป็นทรง กรวยสูง ตัวอย่างเช่นมงกุฎและกะบังหน้าของพระพุทธรูปนาคปรก ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 15) พระพุทธรูปองค์นี้สลักจากหินทรายแสดงการครองจีวรและสังฆาฏิ แม้ว่าจะทรงมงกุฎ กะบังหน้า และสวมกุณฑล แต่ไม่ปรากฏเครื่องประดับพระวรกายตามแบบ พระพุทธรูปทรงเครื่องทั่วไป สําหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางประทานอภัย ส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก หล่อด้วยสําริด ทรงศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้า มงกุฎมีสัดส่วนเป็น ทรงกรวยสูง และทรงเครื่องประดับได้แก่ กุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาท ครอง จีวรแบบห่มคลุม ทรงสบงทบเป็นจีบหน้านาง คาดทับด้วยรัดประคดตกแต่งด้วยลวดลายประดับและมี อุบะห้อย (ภาพที่ 16)

ภาพที่ 14 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะบาปวน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555), 121.

ภาพที่ 15 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะนครวัด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


16

ภาพที่ 16 พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา) ที่มา : พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553), 284.

ภาพที่ 17 พระวัชรธร จากปราสาทนางรํา จ. นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย)

ต่อมาในสมัยบายน คติการนับถือพุทธศาสนามหายานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ แพร่หลายเข้ามาในดินแดนไทย โดยเฉพาะการบูชาในคติรัตนตรัยมหายาน อันประกอบด้วยพระพุทธรูป นาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา และพบการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง หลายแบบ กลุ่มแรก ได้แก่พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางประทาน อภัย ทรงศิราภรณ์และเครื่องประดับคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยนครวัด แต่มีรายละเอียดของ ลวดลายประดับแตกต่างกันเล็กน้อย อีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่พระพุทธรูปทรงมงกุฎแบบกลีบดอกบัวซ้อนชั้น พบหลักฐานในกลุ่ม พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องปางสมาธิ นอกจากนีม้ งกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้นยังพบประดับรูปพระ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาปารมิตา ตลอดจนเทวบุคคลที่สร้างขึน้ ในสมัยบายนด้วย อาทิเช่นพระ วัชรธร (ภาพที่ 17) ซึ่งพบใน “อโรคยศาล” และศาสนสถานหลายแห่งที่สร้างในสมัยบายน 3.2 ศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด มงกุฎเทริด หรือนิยมเรียกว่า “เทริดขนนก” คือมงกุฎและกะบังหน้าอีกรูปแบบหนึ่ง พบใน กลุ่มพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในคติพุทธศาสนามหายานซึ่งสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 และมี ความนิยมสืบเนื่องในพุทธศตวรรษที่ 19 รูปทรงของกะบังหน้าประดับด้วยแผ่นสามเหลี่ยมปลายแหลม หรือเรียกว่า “ตาบ” ซ้อนกันจํานวน 5 ตาบหรือมากกว่า มีลวดลายประดับทีต่ าบแทรกด้วยลายก้าน ดอกบัว หรือบางครั้งเป็นแบบเรียบเรียงซ้อนลดหลั่นกัน ไม่มีลวดลายประดับ กะบังหน้าลักษณะนี้จึงมี


17

สัดส่วนค่อนข้างสูง ทําให้เมื่อพิจารณาพระพักตร์พระพุทธรูปบางองค์จากด้านหน้าตรง มักไม่สังเกตเห็น พระอุษณีษะหรือมงกุฎที่ประดับอยู่บนพระเศียรอีกชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดบางองค์มักทรงกุณฑลที่มปี ลายโค้งหรือเรียกว่า “มกร กุณฑล” ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปสําริด 3 องค์ปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพ ที่ 18) มงกุฎเทริดและมกรกุณฑลมีต้นแบบมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอินเดียสมัยปาละ และ แพร่หลายในศิลปะพม่าสมัยพุกาม อย่างไรก็ตามรูปแบบที่ต่างกันของมงกุฎเทริดในพระพุทธรูปศิลปะ เขมรจะได้กล่าวถึงเพิ่มเติมในบทที่ 3 3.3 ศิราภรณ์แบบอื่นๆ ได้แก่ศิราภรณ์ประดับเทวบุคคลที่พบในงานประติมากรรมลอยตัว และภาพสลักประดับศาสน สถานสมัยนครวัดและบายนในประเทศกัมพูชา และพบหลักฐานเชื่อมโยงด้านรูปแบบกับศิลปกรรมเขมร ที่พบในประเทศไทย ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงศิราภรณ์ 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นศิราภรณ์ของเทวบุคคลใน ศิลปะบายน ได้แก่ อสูร ทวารบาล และประติมากรรมรูปเทวบุคคลทรงครุฑ ประกอบด้วยชฎามงกุฎ ทรงกระบอกสูง ด้านบนผายออกเล็กน้อยมีลวดลายประดับ กะบังหน้าตกแต่งด้วยลายใบไม้เป็นแถวยาว เรียงต่อกันจรดพระอังสา สวมครอบพระเศียร และมีแผ่นปิดด้านหลังท้ายทอยสลักเป็นลวดลายประดับ นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับได้แก่ กรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาท ตัวอย่างเช่นประติมากรรมรูปอสูรหรือทวารบาล ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 19)

ภาพที่ 18 พระพุทธรูปสําริดปางมารวิชัย 3 องค์ องค์กลางทรงมงกุฎเทริดและมกรกุณฑล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

ภาพที่ 19 เศียรอสูรหรือทวารบาล จาก จ.ลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


18

อีกกลุ่มหนึ่งคือศิราภรณ์ของเทวสตรี นางอัปสร หรือนางปรัชญาปารมิตา ศิราภรณ์ในกลุ่มนี้มี ลักษณะเฉพาะคือมีการประดับร่วมกับการเกล้าพระเกศา การประดับดอกไม้ ใบไม้ พวงอุบะและผ้า ส่งผลให้ศิราภรณ์มีรูปทรงสูงและมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ (ภาพที่ 20) ประติมากรรมเหล่านี้ยังทรง เครื่องประดับได้แก่กุณฑล กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร และทองพระบาท ทรงผ้านุ่งชักชายผ้าออกมา ด้านหน้า คาดทับด้วยรัดพระองค์ประดับด้วยอุบะอย่างสวยงาม สําหรับพัฒนาการเรื่องลวดลายประดับ ศิราภรณ์ และการตีความทางประติมานวิทยาของรูปเคารพเหล่านี้จะได้กล่าวถึงเพิ่มเติมในบทที่ 3

ภาพที่ 20 ประติมากรรมเทวสตรี สําริด จาก จ.นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) (ภาพขยายจากภาพที่ 6) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555), 128.


19

บทที่ 2 ศิราภรณ์และงานประดับ 1 การประดับร่างกายและงานประดับสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมอินเดียและเขมรโบราณ อาจกล่าวได้ว่าการประดับในศิลปกรรมเขมรสืบทอดแนวคิดมาจากวัฒนธรรมอินเดียอันมี ความหมายครอบคลุมทั้งในงานสถาปัตยกรรมและการประดับร่างกาย ซึ่งสะท้อนในภาพสลักประดับ ศาสนสถานและประติมากรรมจํานวนมากที่สร้างขึ้นทั้งในคติพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู โดยมีแนวคิด สําคัญที่มากกว่าการให้ผลในด้านความงาม แต่เป็นการสร้างความสมบูรณ์ให้กับสถาปัตยกรรมและตัว บุคคล จุดมุ่งหมายของการประดับคือการสร้างความเป็นศิริมงคลตลอดจนปกป้องคุ้มครองอาคารและ ร่างกาย การประดับตกแต่งจึงเป็นองค์ประกอบที่สําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งาน ศิลปกรรมในวัฒนธรรมอินเดียซึ่งให้อิทธิพลมายังอารยธรรมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประดับในวัฒนธรรมอินเดียสามารถอธิบายด้วยคําว่า “อลังการ” (Alankara) หมายถึงการ ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการตกแต่งทรงผมอย่างสวยงาม การแต่งเติม จุดเด่นบนร่างกายด้วย น้ํามัน เครื่องสําอางหรือกลิ่นหอม ตลอดจนการวางท่าทางของร่างกาย18 ซึ่ง สะท้อนในรูปบุคคลทั้งชายและหญิง ในงานประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมประดับ สถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่างานประดับยังสัมพันธ์กับร่างกายและรูปร่างท่าทางที่สมบูรณ์ตามคติความ งามดังที่กล่าวไว้ในคัมภีรพ์ ฤหัตสํหิตา19 หนึ่งในคัมภีร์โบราณของอินเดียซึ่งอธิบายถึงลักษณะสัดส่วนที่ดี ของบุรุษและสตรี และรูปแบบทางประติมานวิทยาของรูปเคารพในคติความเชื่อทางศาสนา งานประดับศาสนสถานในศิลปะอินเดียระยะแรก เช่นภาพสลักรูปเทวสตรีทภี่ ารหุต สร้างขึ้นใน ราวพุทธศตวรรษที่ 420 (ภาพที่ 21) แสดงการประดับร่างกายสตรีด้วยกําไลข้อมือ กําไลข้อเท้า สร้อยคอ และตุ้มหู สวมผ้านุ่งยาวคาดทับด้วยเข็มขัดรัดสะโพก สวมผ้าโพกศีรษะและถักเส้นผมอย่างสวยงาม แสดงขนาดที่ใหญ่และมีน้ําหนักมากของเครื่องประดับ ในทางตรงกันข้ามผ้านุ่งมีลักษณะบางแนบเนื้อ เปิดเผยสัดส่วนของสะโพกกว้างมีเนื้อมากและท่อนขาที่กลมกลึงตามคติความงาม อย่างไรก็ตามแม้ว่าประติมากรรมในศิลปะเขมรไม่นิยมสร้างรูปเคารพทีแ่ สดงการเคลื่อนไหว หรือแสดงท่าทางการยืนแบบตริภงั ค์เช่นในศิลปะอินเดีย แต่ยังคงประดับด้วยศิราภรณ์ เครื่องทรง ตลอดจนสัญลักษณ์ทางประติมานวิทยาที่ได้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอินเดียอยู่มาก และปรับเข้าสู่ ความนิยมในระเบียบของศิลปะเขมร โดยเฉพาะการแสดงสัดส่วนของรูปเคารพบุรษุ และสตรี ที่ สันนิษฐานว่ามีแนวคิดเรื่องความสมบูรณ์แบบของร่างกายมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานของการสร้าง ประติมากรรม เช่นเดียวกับการสร้างศาสนสถานทีม่ ีงานประดับเป็นส่วนเติมเต็มให้กับอาคาร จารึกอินเดีย โบราณสมัยราชวงศ์วากาฏกะ ราวพุทธศตวรรษที่ 10 ได้บรรยายถึงการตกแต่งถ้ําอชันตาหมายเลข 16 ในความหมายของ “อลังการ” อันประกอบด้วยการประดับพุทธสถานด้วยประตู หน้าต่าง Vidya D., The Body Adorned (Singapore ; Columbia University Press, 2009), 24. แสง มนวิทูร, ผู้แปล. ลักษณะของบุรุษ สตรี และประติมา แปลจากคัมภีร์พฤหัตสํหติ า ของวราหมิหริ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2505), 65. 20 Vidya D., The Body Adorned (Singapore ; Columbia University Press, 2009), 79. 18

19


20

ประติมากรรม และเสาประดับที่ตกแต่งอย่างสวยงาม โดยมีวิหารของพระพุทธเจ้าอยู่ภายใน21 แสดง ความหมายของการประดับทีเ่ กี่ยวข้องกับร่างกายและสถาปัตยกรรมอย่างใกล้ชิด

ภาพที่ 21 ประติมากรรมเทวสตรี ศิลปะอินเดีย ที่มา : Vidya Dehejia, The Body Adorned (Singapore ; Columbia University Press, 2009), 80.

คัมภีร์ศิลปะศาสตร์ของอินเดียยังได้เปรียบเทียบศาสนสถานในความหมายของ “ปราสาท” (Prasada) กับร่างกายมนุษย์ (Purusa) โดยชั้นฐานปราสาทหมายถึงส่วนเท้า (Pada) ส่วนเรือนธาตุและ ครรภคฤหะ (Grabhagrha) หมายถึงส่วนท้อง และเชื่อมโยงในแนวแกนตั้งกับงานประดับ “อมลกะ” (Amalaka) บริเวณส่วนบนของปราสาทซึ่งหมายถึงศีรษะ22 ศาสนสถานจึงสร้างขึ้นตามระเบียบการวางผังที่สอดคล้องกับคติจักรวาลและสัดส่วนสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ล้วนเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ทิศ และการวางผังซึ่ง สัมพันธ์กับแหล่งน้ําธรรมชาติ การขุดสระน้ําหรือบาราย เพื่อสร้างให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน นอกจากนี้ศาสนสถานยังมีการประดับตกแต่งด้วยลวดลายและภาพเล่าเรื่อง อันมีสถานะและพื้นที่ เฉพาะ สอดคล้องกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม แม้ว่าจะแตกต่างกันไปตามฝีมือและรูปแบบของงาน ช่างในแต่ละท้องถิ่น แต่ย่อมสะท้อนกฎเกณฑ์และความหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมงคลและความ อุดมสมบูรณ์เสมอ

Vidya D., The Body Adorned (Singapore ; Columbia University Press, 2009), 71. Vatsyayan K., The Square and the Circle of the Indian Arts (New Delhi ; Rakesh Press, 1983),7475.

21

22


21

ศาสนสถานเหล่านีเ้ น้นความสําคัญของอาคารประธานหรือปราสาทประธาน ซึ่งภายในเป็น ครรภคฤหะ หรือห้องประดิษฐานรูปเคารพ ตั้งอยู่ในตําแหน่งที่เป็นแกนกลางของแผนผัง เหนือห้องนี้ขึ้น ไปเป็นโครงสร้างของชั้นหลังคาปราสาท ซึ่งก่อเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปและมีงานประดับตกแต่งที่ แสดงถึงการเป็นรูปย่อของปราสาทในแต่ละชั้น โดยมีส่วนยอดบนสุดประดับด้วยหินทรายสลักเป็น สัญลักษณ์มงคล เช่นรูปกลศ (หม้อน้ําปูรณฆฏ) หรือรูปดอกบัว ดังนั้นปราสาทประธานจึงหมายถึงที่ ประดิษฐานเทพเจ้าหรือพระพุทธเจ้าที่ได้รับการเคารพบูชาสูงสุด อันเกี่ยวข้องรูปจําลองของเขาพระ สุเมรุและเขาจักรวาล ทีม่ ีองค์ประกอบของ ระเบียงคด แนวกําแพง หรือสระน้ําล้อมรอบ ในความหมาย ของมหาสมุทรและขอบเขตของกําแพงจักรวาล ทิศหลักของศาสนสถานมักตั้งหันไปทางทิศตะวันออก โดยส่วนใหญ่แล้วปราสาทแบบเขมรใช้ หินทรายเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และแกะสลักลวดลายประดับลงบนเนื้อหิน สําหรับปราสาทที่ก่อ ด้วยอิฐหรือศิลาแลง มักประดับด้วยงานปูนปั้น และผสมผสานเข้ากับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่สลัก ขึ้นจากหินทราย อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่ต่างกัน แต่แบบแผนของงานประดับและลวดลาย ประดับในศิลปะเขมรมีความสอดคล้องกัน ซึ่งการศึกษาของนักวิชาการในอดีตใช้รูปแบบและลวดลาย ของงานประดับสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสําคัญในการกําหนดอายุศิลปะเขมรสมัยต่างๆ และเป็น แบบอย่างของการศึกษาศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทยอีกประการหนึ่ง สถานะและพื้นที่เฉพาะของงานประดับในวัฒนธรรมเขมร ปรากฏในลายประดับองค์ประกอบ สถาปัตยกรรมซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักคือ องค์ประกอบของซุ้มประตู ประกอบด้วย หน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับประตู อีกส่วนหนึ่งคือ องค์ประกอบของชั้นหลังคา ได้แก่ ซุ้มบัญชร นาคปัก ปราสาทจําลอง และงานประดับส่วนยอดปราสาท สําหรับงานประดับผนังเรือนธาตุเป็นการตกแต่งโดย การสลักลวดลายที่พื้นผิวเรือนธาตุ ตกแต่งเป็นซุ้มจระนํา ซุ้มหน้าต่าง และเสาประดับผนัง ซึ่งสร้างความ กลมกลืนให้กับปราสาทโดยรวม (ภาพที่ 22) ส่วนใหญ่แล้วงานประดับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นการจําลองรูปแบบของงานช่าง ไม้ โดยเฉพาะในส่วนของซุ้มประตูและหน้าต่างซึ่งสลักหินเลียนแบบวิธีการเข้าไม้ ลวดลายประดับส่วน หนึ่งมาจากการประดับด้วยดอกไม้ร้อยเป็นพวงอุบะ ลายกลีบบัว และพันธุพ์ ฤกษา ผสมผสานเข้ากับรูป สัตว์เช่นมกร นาค สิงห์ หรือหน้ากาลเป็นต้น องค์ประกอบสําคัญที่ใช้แสดงภาพเล่าเรื่องในความหมายทางประติมานวิทยา มักปรากฏบริเวณ หน้าบันและทับหลังเนื่องจากมีขนาดพื้นที่เหมาะสม โดยเฉพาะในทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของศาสน สถาน และรอบห้องครรภคฤหะ มักสลักภาพที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทพเจ้าสูงสุดประจําศาสนสถานนั้น สําหรับซุ้มประตูหรือโคปุระ ซึ่งเป็นทางเดินเข้าสู่ศาสนสถาน อาจพบการสลักรูปคชลักษมี หรือ สัญลักษณ์มงคล ซึ่งหมายถึงการอวยพรให้แก่ผู้ที่มานมัสการ นอกจากนี้ศาสนสถานขนาดใหญ่อาทิเช่น ปราสาทนครวัด ปราสาทบายน และปราสาทบันทายฉมาร์ จะพบภาพเล่าเรื่องที่ผนังระเบียงคดเป็น ภาพของเทพเจ้า พระพุทธเจ้า และภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ นอกจากนีย้ ังพบภาพที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ หรือบุคคลชั้นสูงรวมอยู่ด้วย อาจกล่าวได้ว่าการประดับคือการสร้างให้เกิดผลต่อมุมมองทางสายตา ด้วยวิธกี ารซ้ํา การ เชื่อมโยงต่อเนื่องของลวดลาย สัญลักษณ์ หรือภาพเล่าเรื่อง สัมพันธ์กับลําดับการเข้าถึงพื้นที่ในศาสน สถาน อันเป็นกฎเกณฑ์สําคัญของสถาปัตยกรรมตะวันออก โดยทั่วไปแล้วงานประดับสถาปัตยกรรมอาจ แบ่งได้เป็น ระเบียบของงานประดับ (Order) และลวดลายประดับ (Ornament) ซึ่งมีความสัมพันธ์ทั้ง


22

ในด้านรูปแบบ สัดส่วนและการสื่อความหมาย เช่นเดียวกับการประดับร่างกายของบุคคล อันแสดงออก ถึงลําดับศักดิ์และสถานะ ซึ่งให้ความหมายเพื่อสร้างความเป็นมงคลและการปกป้องคุม้ ครอง

ภาพที่ 22 องค์ประกอบสถาปัตยกรรมเขมร ปรับปรุงจากแผนผังและรูปด้านปราสาทหินพิมาย ที่มา : กรมศิลปากร

2 งานประดับสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ความสัมพันธ์ของลวดลายประดับสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับในวัฒนธรรมเขมร พบ หลักฐานในศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนคร ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับลวดลายในศิลปะอินเดียอย่าง ใกล้ชิด ลวดลายสําคัญที่ปรากฏในทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ.1150-1200) และศิลปะแบบ ไพรกเมง (พ.ศ.1180-1250)23 คือลายมกร 2 ตัวมีรูปบุคคลขนาดเล็กขี่อยู่ข้างบน 23

สุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 60.


23

มกรทั้งสองตัวหันเข้าหากัน คายวงโค้ง 1 หรือ 2 วง และมีรูปสิงห์ขนาดเล็กออกมาด้วย วงโค้งนีป้ ระดับ ด้วยลายดอกไม้และพวงอุบะ และมีวงรีรูปไข่ประดับด้วยรูปบุคคลขนาดเล็กประกอบ (ภาพที่ 23)

ภาพที่ 23 ทับหลังศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส) (MG 18853) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 166-167.

ลวดลายดังกล่าวมีที่มาจากลาย “มกรโตรณะ” (Makara Torana) ซึ่งเริ่มปรากฏในศิลปะ อินเดียแบบอัมราวดี บริเวณพุทธสถานถ้ํากันหาริและถ้ําอชันตาหมายเลข 19 ในราวพุทธศตวรรษที่ 910 และเป็นที่นิยมต่อเนื่องในศาสนสถานแบบอินเดียใต้สมัยราชวงศ์ปัลลวะ และราชวงศ์จาลุกยะแห่ง พาทามิในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 24 โดยเป็นลายประดับซุ้มประตูหรือกรอบประตู ประกอบด้วยทับ หลังและเสาประดับกรอบประตู และถ่ายแบบมาเป็นลายตกแต่งซุ้มจระนําประดับผนังเทวาลัย ลายมกรโตรณะยังพบเป็นลายประดับรัดพระองค์ชิ้นหนึ่ง สร้างขึ้นจากทองคําประดับอัญมณี ปัจจุบันเป็นสมบัติส่วนบุคคล ลายตกแต่งที่หัวเข็มขัดเป็นรูปมกร 2 ตัวหันเข้าหากัน มีรูปบุคคลขนาด เล็กขี่อยู่ด้านบน ปลายหางมกรเป็นลายม้วนไปด้านหลัง ตรงกลางประดับด้วยอัญมณีทรงรีรูปไข่ เจียร แบบหลังเบี้ย ฝังหุ้มขอบและตกแต่งด้วยลายเม็ดไข่ปลา (granulation) หัวเข็มขัดมีลวดลายต่อเนื่องกับ สลัก และเชื่อมต่อกับสายเข็มขัดจํานวน 4 เส้น ซึง่ ถักร้อยด้วยห่วงทองคําประกอบกัน (ภาพที่ 24-25) อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าการขึ้นรูปของเครื่องประดับชิ้นนี้เป็นการหล่อโลหะแบบสูญขี้ผึ้ง (lost wax)25 ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการผลิตโลหะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่โบราณ ผสมผสานกับการเคาะ ขึ้นรูปและดุนลาย (repoussé) ซึ่งมักพบเสมอในงานเครื่องประดับทองคํา รูปแบบของรัดพระองค์ชิ้นนี้อาจเปรียบเทียบได้กับรัดพระองค์ของประติมากรรมหินทรายรูป เทวสตรีจากเกาะเกรียง ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ ประเทศกัมพูชา (ภาพที่ 26-27) รัดพระองค์ประกอบด้วยหัวเข็มขัดประดับลายกนกและลาย ก้านขด และสายเข็มขัดจํานวน 4 เส้น คาดรอบพระโสณีทับผ้านุ่งซึ่งเว้าหน้าท้องลงมา

เชษฐ์ ติงสัญชลี, “มกรโตรณะในศิลปะอินเดียใต้ ศิลปะสมัยอมราวดี วากาฏกะ ปัลลวะ และจาลุกยะแห่งพาทามิ,” วารสารดํารงวิชาการ 5,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม, 2549) : 151. 25 Bautze-Picron C., “Jewels for a King-Part I,” Indo-Asiatische Zeitschrift 14, (2010) : 46. 24


24

ภาพที่ 24 รัดพระองค์ทองคําประดับอัญมณี (สมบัติส่วนบุคคล) ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่มา : Bautze-Picron C., “Jewels for a King-Part I,” Indo-Asiatische Zeitschrift 14, (2010) : 43.

ภาพที่ 25 ภาพขยายลายมกร (จากภาพที่ 24) ที่มา : Bautze-Picron C., “Jewels for a King-Part I,” Indo-Asiatische Zeitschrift 14, (2010) : 43.

ภาพที่ 26 ประติมากรรมเทวสตรีจากเกาะเกรียง ประเทศกัมพูชา (Ka 1621) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 170.


25

ภาพที่ 27 ภาพลายเส้นแสดงลวดลายรัดพระองค์ ประดับประติมากรรมเทวสตรีจากเกาะเกรียง ที่มา : National Museum of Cambodia, Khmer Art in Stone (Cambodia : JSRC Printing House, 1996), 17.

ภาพที่ 28 ลายก้านขดประดับกรอบหน้าต่าง ถ้ําอชันตาหมายเลข 24 ที่มา : เชษฐ์ ติงสัญชลี, ลวดลายในศิลปะ ทวารวดีการศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับ ศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วากาฏกะ (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 180.

ภาพที่ 29 ชิ้นส่วนของสังวาลทองคํา พบที่ชวาภาคกลาง กําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ที่มา : Richter A., The jewelry of Southeast Asia (Singapore : C.S.Graphics, 2000), 180.


26

รูปแบบของลายก้านขดดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างมากกับลายประดับกรอบหน้าต่างภายในถ้ํา อชันตาหมายเลข 24 ศิลปะอินเดียสมัยวากาฎกะ กําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 1126 (ภาพที่ 28) อัน อาจเป็นแรงบันดาลใจสําคัญของลวดลายในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร และสันนิษฐานว่า เกี่ยวข้องกับงานประดับศิลปะชวาภาคกลางในระยะต่อมา ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรม ศรีเกษตรในพม่า และวัฒนธรรมมิเซินในเวียดนาม27 ลวดลายนี้ยังปรากฏในชิ้นส่วนเครื่องประดับ ทองคําซึ่งเชื่อมต่อกับสังวาล (ภาพที่ 29) แสดงให้เห็นถึงความหมายของลวดลายที่สื่อสารระหว่าง วัฒนธรรม มีรูปแบบใกล้เคียงกับที่ปรากฏในภาพลายเส้นเครื่องประดับสมัยก่อนเมืองพระนครอีกชุด หนึ่ง ซึ่งเคยจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว (ภาพที่ 30 รูป B)

ภาพที่ 30 ภาพลายเส้นเครื่องประดับสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่มา : Groslier B.P., Indochina. (Switzerland : Nagel Publisher, 1966), 41. 26

เชษฐ์ ติงสัญชลี, ลวดลายในศิลปะทวารวดี การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะวากาฏกะ (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 46-47. 27 ลายก้านขดที่ประกอบด้วยก้านขดสองตัวม้วนเข้าหากันคั่นด้วยอัญมณีตรงกลาง ยังเป็นลายประดับธรรมจักรศิลา สมัยทวารวดีที่พบในประเทศไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สันติ เล็กสุขุม, พัฒนาการของลายไทย: กระหนกกับ เอกลักษณ์ไทย (กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2553), 19, 37-38. และ เชษฐ์ ติงสัญชลี, ลวดลายในศิลปะทวารวดี การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วากาฏกะ (นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 192-193.


27

การศึกษาของนักวิชาการพบว่าทั้งลายมกรโตรณะและลายก้านขด ล้วนพัฒนามาจากรูปร่าง ตามธรรมชาติของต้นบัว ซึ่งมีที่มาจากศิลปะอินเดียและแพร่หลายไปสูศ่ ิลปะเขมรและศิลปะชวา รากเหง้าและลําต้นของบัวซึ่งเกิดเป็นใบและดอกบัว หรือ “ปัทมะมูละ” (Padmamula) หมายถึงต้น กําเนิดของสรรพชีวติ และปัญญาญาณ และเป็นรูปทรงที่พัฒนาไปสูล่ ายมกร ที่ผสมผสานลักษณะของ ช้าง แรดและจระเข้เข้าด้วยกัน มีความหมายของการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์จากแหล่งน้ํา เช่นเดียวกับลายก้านขดซึ่งมีที่มาจากลายคดโค้งของก้านดอกบัว แสดงถึงการเจริญงอกงามและเป็น ลวดลายที่ใช้ประดับพุทธสถานอินเดียในระยะแรกทีภ่ ารหุตและสาญจี28 อย่างไรก็ตามแม้ว่ารูปเคารพในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครมักไม่แสดงการสวม เครื่องประดับ แต่คงมีการบูชาด้วยเครื่องประดับที่ทําจากอัญมณีและโลหะมีค่า ทั้งนีจ้ ากภาพถ่ายและ ภาพลายเส้นของรัดพระองค์ทองคํา ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครจํานวนหนึ่งซึ่งเคยเก็บรักษาใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ พบว่ามีรูปแบบและลวดลายคล้ายกับเครื่องประดับประติมากรรมที่ สร้างขึ้นในระยะนี้29 ต่างจากรูปเคารพทีส่ ร้างขึ้นในสมัยเมืองพระนครตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 เรื่อยมา ซึ่งนิยมสลักตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องทรงอย่างละเอียดเสมือนจริง และพบการสร้าง เครื่องประดับทําด้วยทองคําประดับอัญมณีสําหรับถวายบูชารูปเคารพ จากหลักฐานศิลปกรรมดังกล่าวทําให้สันนิษฐานได้ว่า สถานะของศิราภรณ์และเครื่องประดับ ในวัฒนธรรมเขมรสร้างขึน้ เพื่อประดับร่างกายบุคคลชั้นสูง (Secular jewelry) และเพื่อสักการะรูป เคารพ (Statuary jewelry) ซึ่งมีลําดับศักดิ์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบศิรา ภรณ์ที่ปรากฏในภาพสลักหรือประติมากรรมลอยตัว และสะท้อนถึงชนชั้นตลอดจนกลุ่มคนหลายชาติ พันธุท์ ี่อยู่ร่วมกันในสังคมเขมรโบราณ นอกจากนีย้ ังพบว่าการประดับสถาปัตยกรรมและบุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เห็นได้จาก ลวดลายสําคัญในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครที่ปรากฏในงานประดับสถาปัตยกรรมและ เครื่องประดับร่างกาย ซึ่งรับอิทธิพลต้นแบบมาจากศิลปะอินเดีย แสดงถึงการเชื่อมโยงความหมายของ ลวดลายอันเป็นมงคลที่สร้างขึ้นแก่ศาสนสถานและรูปเคารพผ่านเครื่องประดับ สอดคล้องกับการศึกษาของนักวิชาการที่ผ่านมาซึ่งใช้พัฒนาการของลายประดับเป็นแนวทาง หนึ่งในการศึกษาและกําหนดอายุศิลปกรรมเขมร เพื่อตรวจสอบร่วมกับจารึกและเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ ลักษณะเช่นนี้ยังคงสืบเนื่องมายังสมัยเมืองพระนครในศิลปะสมัยบาปวน นครวัด และ บายน อันเป็นช่วงเวลาที่กําหนดไว้ในการศึกษาศิลปกรรมของงานวิจัยนี้ โดยเฉพาะหลักฐานศิลปกรรมสมัยนครวัดและบายนจํานวนมากที่พบในดินแดนไทย ซึ่งเป็นการ รับอิทธิพลรูปแบบมาจากเมืองพระนครและการสร้างขึ้นในท้องถิ่น การศึกษาในบทต่อไปจะนําเสนอ เรื่องการตีความสถานะของรูปเคารพจากลักษณะทางประติมานวิทยา และเชื่อมโยงเปรียบเทียบ หลักฐานศิลปกรรมที่พบในดินแดนไทยร่วมกับรูปแบบในประเทศกัมพูชา

Bosch F.D.K., The Golden Germ (The Netherlands : YSEL Press, 1960), 38-39. ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน Bossilier J.,(1966) และ Groslier G.,(1921) อ้างถึงใน Richter A., The jewelry of Southeast Asia (Singapore : C.S.Graphics, 2000), 49-50. และ Bunker, Emma and Latchford, Douglas. Adoration and Glory the Golden Age of Khmer Art (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2004), 433-434.

28 29


28

บทที่ 3 ศิราภรณ์ศิลปะเขมรสมัยบาปวน นครวัด และบายน : รูปแบบ ลวดลายประดับ และการกําหนดอายุสมัย 1 เครื่องประดับพระเศียร (ศิราภรณ์) 1.1 ศิราภรณ์แบบมงกุฎ-กะบังหน้า 1.1.1 พัฒนาการของลวดลายและรูปทรง ศิราภรณ์ประดับเทวบุคคลในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมหายานในศิลปะเขมร ประกอบด้วย มงกุฎทรงกรวยสําหรับสวมครอบมวยพระเกศา และกะบังหน้าซึ่งใช้คาดรอบพระเศียร มีพัฒนาการ สําคัญของสัดส่วนและลวดลายประดับ กล่าวคือ รูปแบบของมงกุฎและกะบังหน้าปรากฏในประติมากรรมเขมรสมัยพะโค (ราวพ.ศ.1420-1440) และเป็นต้นแบบสําคัญให้กับศิราภรณ์ในระยะต่อมา ลวดลายสําคัญของกะบังหน้าประกอบด้วย ลายรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือ “ลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน”30 “ลายเม็ดประคํา” และ “ลายใบไม้ รูปสามเหลี่ยมเล็กๆคั่นด้วยลายก้านต่อดอก”31 ซึ่งเป็นลวดลายที่พบเสมอในเครื่องประดับ ประติมากรรมเขมรตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 16

ภาพที่ 31 เศียรพระนารายณ์จากปราสาทพนมบก ศิลปะแบบบาปวน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) (หมายเลข 1 ลายดอกซีกดอกซ้อน 2 ลายเม็ดประคํา 3 ลายใบไม้สามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอก 4 ลาย กลีบบัว 5 มงกุฎทรงกรวยประดับลายใบไม้สามเหลี่ยม) ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 309. 30 31

สันติ เล็กสุขุม, กระหนกในดินแดนไทย (กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2545), 80-81. หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 94.


29

ในระยะต่อมาลวดลายของกะบังหน้าสมัยบาปวน (ราวพ.ศ.1550-1650) จะปรากฏแถวลาย กลีบบัวขนาดเล็กเพิ่มเข้ามา32 มงกุฎทรงกรวยตกแต่งด้วยลายใบไม้รูปสามเหลี่ยม เป็นแถวลดหลั่นกัน (ภาพที่ 31) ซึ่งต่อมาลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมนี้จะมีขนาดเล็กลงและเพิ่มจํานวนขึ้นจนมีลักษณะคล้ายรูป ฟันปลาในสมัยนครวัด (ราวพ.ศ.1650-1720)33 ตัวอย่างพัฒนาการลวดลายดังกล่าวพบในศิราภรณ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากจังหวัด นครราชสีมา (ภาพที่ 32) กะบังหน้ามีแถวลายกลีบบัวขนาดเล็กเพิ่มเข้ามา และมีกรอบกะบังหน้าร่วม อยู่ด้วย สันนิษฐานว่าลักษณะเช่นนี้อาจมีที่มาจากไรพระเกศาที่ปรากฏในประติมากรรมบางองค์ ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปนาคปรก จากจังหวัดกําปงจาม ปัจจุบนั จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ (ภาพที่ 33) พระพุทธรูปองค์นี้มพี ระเกศาถักเป็นเส้นตรง ที่กรอบพระพักตร์มีไรพระศก และ ลวดลายประดับคล้ายกะบังหน้า ประกอบด้วยลายเม็ดประคําและแถวลายกลีบบัวขนาดเล็ก ทรงมงกุฎ ทรงกรวยประดับด้วยลายกลีบดอกบัวซ้อนชั้น ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่เกิดจากการสวมกะบัง หน้าครอบพระเกศา ร่วมกับการสลักแสดงไรพระศกของพระพุทธรูป34

ภาพที่ 32 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จาก จ.นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่) ที่มา : พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553), 294.

32

Boisselier J., “Évolution du Diadème dans la Statuaire Khmère,” Bullentin de la Société des Études Indochinoises 25, 2 (1950) : 13. 33 หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 94. 34 หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรื่อง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 10-11.


30

ภาพที่ 33 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะบาปวน (ka 1680) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 245.

ภาพที่ 34 เศียรพระพุทธรูปจากปราสาทเทพพนม ศิลปะบายน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 296.


31

เศียรพระพุทธรูปศิลปะแบบบายนอีกองค์หนึ่ง (ราวพ.ศ.1720-1780)35 พบที่ปราสาทเทพพนม เมืองพระนคร (ภาพที่ 34) ทีก่ รอบพระพักตร์แสดงไรพระศก และขมวดพระเกศาสลักเป็นลายโค้งปลาย ขมวด โดยมีพระอุษณีษะสลักเป็นลายกลีบดอกบัว ลักษณะเช่นนี้ยังพบในพระพุทธรูปบางองค์ที่สร้างขึ้น ในระยะต่อมา เช่นพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัด แสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 35) กําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 พระพุทธรูปองค์นแี้ สดงขมวดพระเกศา และพระอุษณีษะสลักลายกลีบดอกบัว โดยมีกรอบกะบังหน้า ประดับลวดลายเชื่อมต่อกับแถบลวดลายบริเวณเหนือพระกรรณและท้ายพระเศียร อีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธรูปหินทราย จากวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ภาพที่ 36) แสดงแถบลวดลายที่ กรอบพระพักตร์ ร่วมกับขมวดพระเกศาและพระอุษณีษะรูปกลีบดอกบัว

ภาพที่ 35 พระพุทธรูปปางสมาธิ จากวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ จ.ลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

ภาพที่ 36 พระพุทธรูปประทับยืน จากวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) 35

หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 374.


32

นอกจากนี้ลวดลายทีน่ ิยมตกแต่งกะบังหน้าได้แก่ ลายดอกซีกดอกซ้อน และลายใบไม้รูป สามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอก พบว่าเป็นลวดลายที่ใช้ประดับศิราภรณ์ตั้งแต่ศิลปะแบบพะโค เรื่อยมา และเป็นลวดลายประดับสถาปัตยกรรมที่นิยมในศิลปะแบบบันทายสรี (ภาพที่ 37) สันนิษฐานว่าลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอกเกี่ยวข้องกับลาย “ปัทมะมูลละ” (Padmamula) ในศิลปะอินเดีย (ภาพที่ 38) ซึ่งหมายถึงต้นกําเนิดของความอุดมสมบูรณ์ โดยมี องค์ประกอบของใบบัวและดอกบัวร่วมอยู่ด้วย36 ในศิลปะอินเดียแถวลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมเหล่านี้จะ แทรกด้วยลายก้านดอกบัว และปรากฏในศิราภรณ์ของพระพุทธรูปศิลปะปาละ โดยเฉพาะพระพุทธรูป ทรงมงกุฎเทริดที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 (ภาพที่ 39) อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า “ลายก้านต่อดอก” ในศิลปะเขมรอาจมีที่มาจากดอกบัว เนื่องจากลายก้านต่อดอกในระยะแรกที่ปราสาทพะโค แสดงลายก้านดอกบัวที่เจริญเติบโตต่อเนื่องกัน (ภาพที่ 40) ต่อมาจึงพัฒนาให้เป็นลายประดิษฐ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นลายใบไม้สามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้าน ต่อดอกซึ่งใช้ประดับศิราภรณ์ในศิลปะเขมร น่าจะมีที่มาจากลวดลายแบบเดียวกันที่ปรากฏในศิลปะ อินเดีย และสื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์

ภาพที่ 37 ลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมแทรก ด้วยลายก้านต่อดอก เสาประดับกรอบประตู ปราสาทบันทายสรี ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 95.

36

ภาพที่ 38 องค์ประกอบของลายปัทมะมูลละ ที่มา : Bosch F.D.K., The Golden Germ (The Netherlands : YSEL Press, 1960), 44.

Bosch F.D.K., The Golden Germ (The Netherlands : YSEL Press, 1960), 42.


33

ภาพที่ 39 ศิราภรณ์พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะปาละ สมัยพระเจ้าวิครหปาละที่ 3 ที่มา : Huntington, S.L., The “Pala-Sena” Schools of Sculpture (The Netherlands : E.J. Brill, 1984) Fig.72.

ภาพที่ 40 ลายก้านต่อดอก ปูนปัน้ ปราสาทพะโค ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 149.

ทั้งนี้พัฒนาการสําคัญของลวดลายกะบังหน้าในสมัยนครวัดและบายนในพุทธศตวรรษต่อมา คือ การปรับลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมให้มีการแบ่งช่องไฟจํานวนมากขึ้น ทําให้เกิดการซ้อนเหลื่อมกันคล้าย ลายฟันปลา และมีความนิยม “ลายดอกกลม” มีลักษณะเป็นแถวลายดอกไม้แปดกลีบเรียงต่อกัน ซึ่งมา แทนที่ลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน ลายดอกกลมเป็นลวดลายทีพ่ บมากในศิลปกรรมสมัยนครวัดและบายน โดยเป็นลวดลายในงาน เครื่องประดับและสถาปัตยกรรม หลักฐานส่วนหนึ่งปรากฏในศิราภรณ์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรซึ่ง พบในประเทศกัมพูชาและในดินแดนไทย อาทิเช่นเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากจังหวัดสุโขทัย และเศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง กําหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 1737 (ภาพที่ 41-42) นอกจากนี้ ยังพบในกลุ่มประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (BK 152) (BK182) ซึ่งพบในการบูรณะบริเวณ ปราสาทบันทายกุฎี38 (ภาพที่ 43) รูปเคารพเหล่านี้สลักจากหินทราย ทรงมงกุฎและกะบังหน้าประดับ ด้วยแถวลายกลีบบัวขนาดเล็ก ลายดอกกลม ลายเม็ดปะคํา และลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมแทรกด้วยลาย ก้านต่อดอก อันเป็นต้นแบบสําคัญของลายประดับทีน่ ิยมต่อเนื่องในศิลปะบายน 37

Woodwards H.W., The Sacred Sculpture of Thailand (Thailand : Riverbooks,1997), 96-97. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นพี้ บร่วมกับพระพุทธรูปนาคปรก และพระพุทธรูปทรงเครื่องหินทรายจํานวนมากซึ่ง ถูกฝังรวมกันและมีสภาพแตกหักเสียหาย บริเวณลานด้านทิศตะวันออกโคปุระปราสาทบันทายกุฎี ดูรายละเอียด เพิ่มเติมใน Ishizawa, Yoshiaki. ed., “Special Issue on the Inventory of 274 Buddhist statues and the stone pillar discovered from Banteay Kdei temple,” Renaissance Culturelle du Cambodge 21 (2004), 219.

38


34

ภาพที่ 41 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จาก จ.สุโขทัย ที่มา : Woodwards H.W., The Sacred Sculpture of Thailand (Thailand : Riverbooks,1997), 97.

ภาพที่ 43 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (BK182) จากปราสาทบันทายกุฎี ที่มา : Ishizawa, Yoshiaki. ed., “Special Issue on the Inventory of 274 Buddhist statues and the stone pillar discovered from Banteay Kdei temple,” Renaissance Culturelle du Cambodge 21 (2004), 219.

ภาพที่ 42 เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่มา : Woodwards H.W., The Sacred Sculpture of Thailand (Thailand : Riverbooks,1997), 74.

ภาพที่ 44 กะบังหน้าและแผ่นปกคลุมท้ายพระเศียร ภาพสลักรูปเทวบุคคล ปราสาทนครวัด ที่มา : Jacques C. and Freeman M., Ancient Angkor (Thailand :River Books, 1999), 63.


35

ภาพที่ 45 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

ภาพที่ 46 ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทเปือยน้อย จ. ขอนแก่น

นอกจากการปรับลวดลายแล้ว ประติมากรรมที่สร้างขึ้นในระยะนีม้ ักสวมกะบังหน้าครอบพระ เกศา กะบังหน้าไม่แสดงการผูกร้อยด้วยชายผ้าด้านหลังพระเศียร แต่สร้างเป็นชิ้นเดียวกันและเชื่อมต่อ กับแผ่นปกคลุมท้ายพระเศียร (ภาพที่ 44-45) อย่างไรก็ตามการสวมกะบังหน้าคงมีการใช้วัสดุประเภท ผ้าร่วมกับการประดับด้วยดอกไม้สดและโลหะมีค่า ดังเช่นที่ปรากฏในศิราภรณ์ของประติมากรรมบาง องค์ศิลปะอินเดีย


36

สําหรับรูปทรงของมงกุฎพบว่ามีการปรับเปลี่ยนจากมงกุฎทรงกรวยในศิลปะบาปวน ให้มี สัดส่วนเป็นทรงกรวยยอดแหลมยิ่งขึ้นในสมัยนครวัด ลักษณะเช่นนี้พบในงานศิลปกรรมเขมรในดินแดน ไทย อาทิเช่นพระพุทธรูปนาคปรกจากกู่สันตรัตน์ อําเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น และศิราภรณ์ของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาพสลักทับหลังที่ ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น (ภาพที่ 46) ทั้งนี้วัฒนธรรมการประดับด้วยศิราภรณ์ในอารยธรรมเขมรโบราณ ยังรวมถึงการประดับเพื่อ แสดงสถานะของกษัตริย์และบุคคลชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ที่ผนังระเบียง คดปราสาทนครวัด (ภาพที่ 47) ทรงมงกุฎทรงกรวยและกะบังหน้า และเครื่องประดับพระวรกาย ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ สังวาลไขว้ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท และรัดพระองค์ อันอาจ แสดงถึงสถานะที่ได้รับการเคารพอย่างสูง จารึกในสมัยบายนยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพเพื่ออุทิศให้พระราชบิดาและพระราชมารดา ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในรูปของพระโพธิสัตว์และนางปรัชญาปารมิตา39 และยังมีรูปเคารพที่สร้างขึ้น แทนพระราชวงศ์และบุคคลชั้นสูงอีกเป็นจํานวนมากตามที่ระบุไว้ในจารึกที่ปราสาทบายน ซึ่ง ประติมากรรมเหล่านี้มีลักษณะทางประติมานวิทยาเช่นเดียวกับรูปที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาในคติทางศาสนา สถานะของกษัตริย์และบุคคลชั้นสูงในวัฒนธรรมเขมรโบราณ จึงได้รับการยกย่องเทียบได้กับรูปเคารพ ศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Image)

ภาพที่ 47 พระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ภาพสลักผนังระเบียงคดปราสาทนครวัด

39

สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, ผู้แปล. “ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร” ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สํานักนายกรัฐมนตรี, 2513), 1696.


37

การศึกษาของนักวิชาการยังพบว่ากลุ่มพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในชุมชนอารยธรรมเขมรใน ดินแดนไทย มักปรากฏรายละเอียดของศิราภรณ์ที่ต่างออกไป โดยการทรงมงกุฎทรงกรวยและกะบัง หน้า แสดงลวดลายเล็กๆคล้ายลายตารางระหว่างไรพระศกและขอบกะบังหน้า ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นส่วน หนึ่งของศิราภรณ์หรือพระมาลาที่ใช้รวบพระเกศาไว้ด้านใน โดยมีกะบังหน้าครอบพระเกศาอีกชิ้นหนึ่ง พบในกลุ่มพระพุทธรูปหินทรายและสําริด ศิลปะแบบนครวัด จากจังหวัดลพบุร40ี (ภาพที่ 48) ปัจจุบนั จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ทั้งนี้หากพิจารณาในรายละเอียดพบว่าพระพุทธรูปบางองค์ทรงกะบังหน้า โดยมีแถวลายกลีบ บัวขนาดเล็กเพิ่มเข้ามา ตามแบบแผนของศิราภรณ์ศิลปะเขมรที่พบในระยะนี้ แต่ยังคงนิยมลายหน้า กระดานดอกซีกดอกซ้อน ลักษณะสําคัญคือมีช่องว่างที่แสดงพระเกศาและไรพระศกร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่นเศียรพระพุทธรูปหรือเทวบุคคล สลักจากหินทราย พบที่วัดจันทราราม จังหวัดลพบุรี (ภาพ ที่ 49) ซึ่งต่างไปจากประติมากรรมเขมรที่พบในเมืองพระนคร และอาจจัดเป็นรูปแบบที่พบในประเทศ ไทยตามที่นักวิชาการได้สันนิษฐานไว้

ภาพที่ 48 ภาพลายเส้นพระพุทธรูปหินทรายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ที่มา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรื่อง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคน ไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 11.

40

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรือ่ ง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 10-11.


38

ภาพที่ 49 เศียรพระพุทธรูปหรือเทวบุคคล จาก จ.ลพบุรี ภาพที่ 50 พระพุทธรูปนาคปรก (ขยายจากภาพที่ 15) ที่มา : สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า, ศิลปะในประเทศไทย, (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) พิมพ์ครั้งที่ 11. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2539), ภาพที่ 49.

ภาพที่ 51 พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


39

ลักษณะดังกล่าวยังได้พบในพระพุทธรูปบางองค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อาทิเช่น พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย และพระพุทธรูปทรงเครื่องสําริด แสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ พระพุทธรูปสององค์นที้ รงมงกุฎและกะบังหน้า โดยมีกรอบพระพักตร์และเส้นพระเกศาปรากฏอยู่ด้วย (ภาพที่ 50-51) ศิราภรณ์อีกรูปแบบหนึ่งคือ “มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น” เริ่มปรากฏขึ้นในระยะนีแ้ ละมี ความนิยมอย่างมากในสมัยบายน โดยเฉพาะกลุ่มพระพุทธรูปทรงเครื่องและพระโพธิสัตว์ตามคติพุทธ ศาสนามหายานสมัยบายน อย่างไรก็ดีการศึกษาของนักวิชาการพบว่ามงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้นมีมาก่อนในศิลปะสมัย 41 นครวัด ซึ่งนอกจากจะเป็นศิราภรณ์ประดับเทวรูปและทวารบาลแล้ว พบว่ามงกุฎแบบนี้ยงั เป็นศิรา ภรณ์ของรูปเคารพในพุทธศาสนามหายานสมัยนครวัดอีกด้วย ตัวอย่างสําคัญคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเต ศวร 4 กร สลักจากหินทราย พบทีป่ ราสาทบึงมาเลีย (DCA 5352) ปัจจุบันเก็บรักษาในศูนย์อนุรักษ์ ศิลปกรรมเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา (ภาพที่ 52-53) พระโพธิสัตว์องค์นที้ รงกะบังหน้าประดับด้วย ลายกลีบบัวขนาดเล็ก ลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน และลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมที่เรียงซ้อนกัน คล้ายลายฟันปลา นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับได้แก่ กรองศอ พาหุรัด และทองพระกร แต่ไม่ปรากฏ การสวมกุณฑล ซึ่งคงเคยมีตามแบบแผนของประติมากรรมเขมรแต่หักหายไปแล้ว มงกุฎรูปแบบนี้ยังสัมพันธ์กับพระอุษณีษะของพระพุทธรูปหินทรายหลายองค์ในจังหวัดลพบุรี (ภาพที่ 54) ซึ่งนักวิชาการพบว่าลักษณะของพระอุษณีษะที่คล้ายทรงมงกุฎรูปดอกบัวซ้อนชั้น และ กุณฑลรูปดอกบัวตูม เป็นรูปแบบศิลปะบายนที่ยังคงปรากฏต่อเนื่องในท้องถิ่นหลังจากที่อิทธิพลศิลปะ เขมรจากศูนย์กลางที่เมืองพระนครได้คลี่คลายลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1942

41

Boisselier J., “Évolution du Diadème dans la Statuaire Khmère,” Bullentin de la Société des Études Indochinoises 25, 2 (1950) : 15. และ หม่อมเจ้า สุภทั รดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), ภาพที่ 210. 42 ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระพุทธรูปในยุคหัวเลีย้ วหัวต่อของศิลปะไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษ ที่ 19,”เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการนําเสนอผลงานค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและเอเชียอาคเนย์ เสนอที่อาคารศูนย์รวม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 3-4 กรกฎาคม 2553. (อัดสําเนา)


40

ภาพที่ 52 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากปราสาทบึงมาเลีย ที่มา : International Council of Museum ed., One Hundred Missing Objects (Spain : EFEO., 1997), 23.

ภาพที่ 53 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ภาพขยายจากภาพที่ 52) ที่มา : Giteau M., Les Khmers : sculptures Khmers, reflects de la civilisation d'Ankor. (Fribourg : Office du Livre, 1965), Fig.44.

ภาพที่ 54 พระพุทธรูปนาคปรก หินทราย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์)


41

1.1.2 ศิราภรณ์และเครื่องประดับทองคําจากปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัดนครราชสีมา สัดส่วนและลวดลายประดับศิราภรณ์ในงานประติมากรรมเขมร มีลักษณะคล้ายคลึงกับชุด เครื่องประดับทองคํา ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ซึ่งได้พบหลักฐานจากการ บูรณะปราสาทบ้านถนนหัก อําเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทขนาดเล็กประจําชุมชน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิมาย จากรูปแบบแผนผังและงานประดับ สันนิษฐานว่าปราสาทบ้านถนนหักสร้างขึ้นในราวปลาย พุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 สัมพันธ์กับกลุ่มปราสาทร่วมสมัยในชุมชนใกล้เคียง43 อัน เป็นช่วงเวลาที่เมืองพิมายและชุมชนโดยรอบเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญในระดับภูมิภาค เครื่องประดับประติมากรรมชุดนี้ทําขึ้นจากทองคําดุนลายประดับด้วยอัญมณี ยกเว้นมงกุฎทรง กลีบดอกบัวซ้อนชั้น เป็นงานกะไหล่ทองบนสําริดประดับอัญมณีที่ส่วนยอด การตรวจสอบลวดลาย เบื้องต้นสามารถจัดกลุ่มกะบังหน้า มงกุฎทรงกรวย กรองศอ ทองพระกร และกุณฑล เป็นเครื่องประดับ ชุดเดียวกัน สําหรับมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้นและพาหุรัดมีลวดลายที่ต่างออกไป และมีความเป็นไป ได้ที่เครื่องประดับเหล่านี้อาจถูกพบในสถานที่ต่างๆ แต่นํามารวบรวมไว้ในชุดเดียวกัน หรืออาจสร้างขึ้น สําหรับรูปเคารพหลายองค์ที่บูชาร่วมกันในศาสนสถาน ลวดลายประดับประกอบด้วย ลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอก ลายเม็ดประคํา และลายดอกกลม ซึ่งมาแทนลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อนที่พบเสมอในเครื่องประดับ ประติมากรรมในศิลปะยุคก่อนหน้า รายละเอียดของลวดลายมีดังนี้ กะบังหน้า (ภาพที่ 55-56) ตกแต่งด้วยแถวลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอก แถวลายดอกกลม และแถวลายเม็ดประคํา ประดับลายดอกไม้แบบสี่กลีบตรงกลางและเหนือพระกรรณ ทั้งสองข้าง ฝังอัญมณีแบบหนามเตย มงกุฎทรงกรวย (ภาพที่ 57-58) ตกแต่งด้วยการสลักดุนเป็นลายกลีบบัวขนาดเล็กและลาย ใบไม้รูปสามเหลี่ยมคั่นด้วยลายก้านต่อดอก ซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้นตามแบบแผนของศิราภรณ์สมัย บาปวน มงกุฎเป็นทรงกรวยไม่แหลมสูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมงกุฎสมัยนครวัด ศิราภรณ์อีกชิ้นหนึ่งคือ มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น (ภาพที่ 59-60) มีรูปแบบและวัสดุที่ต่าง ออกไปเนื่องจากเป็นงานกะไหล่ทองบนสําริด ทําให้มีน้ําหนักมากกว่าเครื่องประดับชิ้นอื่น มงกุฎเป็น ทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้นลดหลั่นกัน 4 ชั้น ประดับลายวงกลมที่กลีบบัว ส่วนยอดบนสุดประดับด้วย อัญมณี ทั้งนี้นอกเหนือจากศิราภรณ์แล้ว เครื่องประดับทองคําที่พบจากปราสาทบ้านถนนหักยัง ประกอบด้วยเครื่องประดับได้แก่ กรองศอ กุณฑล และพาหุรัด ซึ่งจะได้วิเคราะห์รูปแบบและลวดลายใน หัวข้อต่อไป

43

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในภาคผนวก


42

ภาพที่ 55 กะบังหน้า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.26a.

ภาพที่ 56 ภาพลายเส้นกะบังหน้า


43

ภาพที่ 57 มงกุฎทรงกรวย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.26b.

ภาพที่ 58 ภาพลายเส้นมงกุฎทรงกรวย


44

ภาพที่ 59 มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.27b.

ภาพที่ 60 ภาพลายเส้นมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น


45

1.2 ศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด มงกุฎเทริด หรือ เทริดขนนก คือศิราภรณ์ทปี่ ระกอบด้วยมงกุฎ และกะบังหน้าซึ่งมีแผ่น “ตาบ” ทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมมีลวดลายประดับ พบในกลุ่มพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคติพุทธ ศาสนามหายาน โดยมีต้นแบบสําคัญในศิลปะอินเดียสมัยปาละช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 (ภาพที่ 61) และศิลปะพม่าสมัยพุกาม

ภาพที่ 61 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สมัยพระเจ้าวิครหปาละที่ 3 ที่มา : ที่มา : Huntington, S.L., The “Pala-Sena” Schools of Sculpture (The Netherlands : E.J. Brill, 1984) Fig. 69-71.

องค์ประกอบสําคัญคือกะบังหน้าประดับด้วยแผ่น “ตาบ” เรียงซ้อนกันจํานวน 5 ตาบ ตกแต่ง ลวดลายคล้ายลายใบไม้ ลายเม็ดพลอย แทรกด้วยลายก้านดอกบัว (ภาพที่ 39) กะบังหน้าสวมคาดรอบ พระเศียร โดยปรากฏเม็ดพระศก 1 แถว และมีชายผ้าหรือ “กรรเจียก” ที่ปล่อยให้ตกลงจรดพระอังสา ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ผูกกะบังหน้าให้ตรึงไว้กับพระเศียร นอกจากนี้ยังประดับด้วยดอกไม้เหนือพระกรรณทั้ง สองข้าง และทรง “มกรกุณฑล” ในระดับพระอังสา อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าพระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดอิทธิพลศิลปะเขมรที่พบในประเทศ ไทยส่วนใหญ่มีรูปแบบศิราภรณ์ที่ต่างออกไปจากศิลปะอินเดียแบบปาละ กล่าวคือ พระพุทธรูปทรง มงกุฎทรงกรวยยอดแหลม และกะบังหน้าประดับด้วยตาบเรียงเป็นแถวลดหลั่นกัน ไม่มีลวดลายประดับ ไม่ปรากฏรูปแบบของชายผ้าหรือกรรเจียกซึ่งเป็นส่วนทีผ่ ูกยึดกะบังหน้า แต่มลี ายตกแต่งกุณฑลที่มัก ปรากฏบริเวณพระอังสาของพระพุทธรูป ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสําริด ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 62) ลักษณะกุณฑลของพระพุทธรูปองค์นเี้ ป็นรูปดอกไม้สี่กลีบและมี


46

ชายประดับ คล้ายคลึงกันกับเครื่องประดับประติมากรรมสมัยบายนอาทิเช่นกุณฑลของครุฑยุคนาค ซึ่ง เป็นภาพสลักที่ลานช้างเมืองนครธม (ภาพที่ 63)

ภาพที่ 62 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด ปางมารวิชัย สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555), 168.

ภาพที่ 63 ภาพสลักครุฑยุคนาค ลานช้าง เมืองนครธม ที่มา : Stern P., Les Monuments Khmers du Style du Bayon et Jayavarman VII. (Paris : Presses Universitaire de France, 1965), Fig. 183.

มกรกุณฑล ปรากฏในเครื่องประดับประติมากรรมรูปสกันทกุมารจากจันทิจาโก ศิลปะชวาภาค ตะวันออก กําหนดอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 1844 ประติมากรรมองค์นี้ทรงศิราภรณ์ที่มีชายผ้าอยู่ ด้านหลัง และทรงกุณฑลเป็นลายดอกไม้ในกรอบรูปวงกลมโดยมีชายเป็นลายมกรแทรกด้วยลายกนก และลายพันธุ์พฤกษาเหนือพระอังสา (ภาพที่ 64) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผสมผสานอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบ ปาละ

44

Kempers B., Ancient Indonesia Art (Netherlands : C.P.J. Van Der Peet, 1959), 84-85.


47

ภาพที่ 64 สกันทกุมาร จากจันทิจาโก (พิพิธภัณฑ์จาร์กาตาร์) ที่มา : Kempers B., Ancient Indonesia Art (Netherlands : C.P.J. Van Der Peet, 1959), Pl. 257.

ภาพที่ 65 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด ปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว (พระราชวังดุสิต) ที่มา : พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553), 362.

นอกจากนีพ้ ระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดศิลปะเขมรยังนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปสําริดขนาดเล็ก ประทับในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบปาละ โดยมีลวดลาย ประดับซุ้มเรือนแก้วสัมพันธ์กับงานประดับสถาปัตยกรรมเขมร ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงมงกุฎเทริด 3 องค์ในซุ้มเรือนแก้ว ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพระพุทธรูปปางมาร วิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันประดิษฐานที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (ภาพที่ 65) ซุ้มเรือนแก้วมีรูปแบบเช่นเดียวกับกรอบซุ้มหน้าบันในสถาปัตยกรรมเขมร ปลายกรอบซุ้ม ประดับด้วยนาคหลายเศียร และมีต้นพระศรีมหาโพธิ์อยู่เบื้องหลัง ลักษณะสําคัญคือพระพุทธรูปทรง มงกุฎเทริด ตกแต่งด้วยตาบเป็นแถวลดหลั่นกันประดับด้วยแถวลายวงกลม นักวิชาการเชื่อว่ารูปทรง ของมงกุฎเทริดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานประดับ “ซุ้มฝักเพกา” หรือ “ซุ้มเคล็ก” ในสถาปัตยกรรม ภาคเหนือ ซึ่งมีซุ้มจระนําตกแต่งด้วยครีบยาวตั้งเรียงลําดับอันเป็นอิทธิพลมาจากศิลปะพม่าสมัย อาณาจักรพุกาม45 อย่างไรก็ดีพระพุทธรูปองค์นี้ไม่ทรงมกรกุณฑล แต่ทรงกุณฑลรูปดอกบัวตูมตามแบบ แผนเครื่องประดับที่พบทั่วไปในประติมากรรมเขมร พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดอีกกลุ่มหนึ่งได้พบหลักฐานไม่มากนัก เป็นประติมากรรมสําริดขนาด เล็ก มีรูปแบบศิราภรณ์ที่ยังคงเค้าโครงของมงกุฎเทริดศิลปะปาละอยู่มาก กะบังหน้าประดับด้วยตาบมี 45

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรือ่ ง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” (นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), เล่มที่ 4, 14.


48

ลวดลายประกอบแทรกด้วยลายก้านดอกบัว และทรงมกรกุณฑล ตัวอย่างเช่นพระพุทธรูปประทับยืน จากอําเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และพระพุทธรูปประทับยืน จากกรุปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (ภาพที่ 66-67)

ภาพที่ 66 พระพุทธรูปประทับยืน ทรงมงกุฎเทริด จาก จ.สุพรรณบุรี (พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ) ที่มา : ศิลป์ชัย ชิน้ ประเสริฐ, “พระพุทธรูปทรง มงกุฎเทริดในประเทศไทย,” วารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร (2529) : 101.

ภาพที่ 67 พระพุทธรูปประทับยืน ทรงมงกุฎเทริด จากกรุปรางค์วัดราชบูรณะ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา) ที่มา : ศิลป์ชัย ชิ้นประเสริฐ, “ภาพชุดพระพุทธรูป ทรงมงกุฎเทริดศิลปะลพบุร,ี ” เมืองโบราณ 11,4 (ตุลาคม-ธันวาคม, 2528), ภาพที่ 9.

1.3 ศิราภรณ์แบบอื่นๆ อาจกล่าวได้ว่ารูปแบบมงกุฎเทริดในกลุ่มพระพุทธรูปทรงเครื่อง มีลักษณะบางประการที่ เชื่อมโยงกับรูปแบบศิราภรณ์ของเทวบุคคลในศิลปะแบบนครวัดและบายน ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลัก กล่าวคือ กลุ่มแรก เป็นศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้า ซึ่งตกแต่งด้วยลายใบไม้และ ดอกไม้ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นแบบกะบังหน้า ตกแต่งด้วยลายใบไม้และดอกไม้ ร่วมกับการเกล้าและการถัก พระเกศา ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป ศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้าซึ่งตกแต่งด้วยลายใบไม้และดอกไม้ พบในประติมากรรม สําริดรูปเทวสตรี (ภาพที่ 68) สันนิษฐานว่าคือนางปรัชญาปารมิตา ทรงมงกุฎทรงกรวยยอดแหลมและ กะบังหน้าที่ประดับด้วยลายใบไม้และดอกไม้ ศิราภรณ์ที่คล้ายคลึงกันยังได้พบในปูนปั้นรูปเทวสตรีอีก องค์หนึ่ง จากโบราณสถานเนินทางพระ อําเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาพที่ 69)


49

แสดงรายละเอียดของกะบังหน้าที่ตกแต่งด้วยลายใบไม้ไว้อย่างชัดเจน ทําให้เชื่อได้ว่าคงมีการประดับ พระเศียรด้วยใบไม้และดอกไม้สดตลอดจนโลหะมีค่า อย่างไรก็ดศี ิราภรณ์เหล่านี้มักประดับร่วมกับการ ถักพระเกศา ดังจะเห็นได้จากด้านหลังพระเศียรของประติมากรรมเทวสตรีสําริดองค์หนึ่งใน พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 6 และ 20)

ภาพที่ 68 นางปรัชญาปารมิตา สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณและศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555),125.

ภาพที่ 69 ปูนปั้นรูปเทวสตรี จากโบราณสถาน เนินทางพระ จ.สุพรรณบุรี ที่มา : พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์รเิ วอร์บุ๊คส์, 2553), 333

ทั้งนี้ประติมากรรมที่ทรงมงกุฎและกะบังหน้าลายใบไม้และดอกไม้ อาจหมายถึงการแสดง สถานะของสตรีที่ได้รับการเคารพบูชาในฐานะรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ เช่นนางปรัชญาปารมิตา นางตารา หรือศักติในคติพุทธศาสนามหายาน ในขณะที่สตรีทสี่ วมกะบังหน้าแต่ไม่สวมมงกุฎอาจหมายถึงนาง อัปสร หรือสตรีชั้นสูงในราชสํานัก สันนิษฐานว่าศิราภรณ์ที่มีการประดับด้วยใบไม้และดอกไม้สด เป็นคติความเชื่อท้องถิ่นที่ แพร่หลายในภูมิภาคนี้ โดยการประดับดอกไม้หรือใบไม้มงคล อาทิเช่น จั่นมะพร้าว จั่นหมาก ใบปาล์ม และดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบการประดับด้วยมาลัยและพวง อุบะแบบต่างๆ ร่วมกับไข่มุก โลหะมีค่า ตลอดจนการเกล้าและถักพระเกศา


50

รูปแบบที่หลากหลายของการตกแต่งเหล่านีป้ รากฏในภาพสลักนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด46 ตลอดจนศาสนสถานหลายแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยนครวัดและบายน (ภาพที่ 70-71) อันแสดงให้เห็นถึง แบบแผนการใช้เครื่องประดับของสตรีชั้นสูงในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี

ภาพที่ 70 ลวดลายประดับกะบังหน้านางอัปสร ปราสาทนครวัด

ภาพที่ 71 ศิราภรณ์ประดับร่วมกับดอกไม้สด ภาพสลักนางอัปสรหรือสตรีชั้นสูง ลานชั้นบนปราสาทบายน

46

ดูรายละเอียดรูปแบบศิราภรณ์นางอัปสรที่ปราสาทนครวัดเพิ่มเติมใน. Marchal S., Khmer Costume and Ornaments of The Devatas of Angkor Wat (Thailand : Orchid Press, 2005)


51

นอกจากนี้ยงั มีศิราภรณ์แบบพิเศษซึ่งพบทั้งในภาพสลักและประติมากรรมลอยตัว สันนิษฐาน ว่าใช้สําหรับการแสดงนาฏศิลป์หรือพิธีกรรมบางอย่าง ศิราภรณ์ของบุรุษสวมกะบังหน้าตกแต่งด้วยลาย หน้ากาลและลายดอกไม้ มีรูปทรงขนาดใหญ่และมีความสูงค่อนข้างมาก จึงอาจมีวัสดุอื่นประกอบกับ โลหะ เช่นผ้า หนังสัตว์หรือขนนก โดยประดับร่วมกับสร้อยไข่มุกและมาลัยดอกไม้สด (ภาพที่ 72) สําหรับศิราภรณ์ของสตรีเป็นรูปช่อดอกไม้ ประกอบด้วยกะบังหน้าที่ตกแต่งด้วยลายดอกไม้ ทรงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางศีรษะ เหนือขึ้นไปเป็นช่อดอกไม้ใบไม้ที่มีปลายทั้งสองข้างตกลงมาด้านข้าง ปรากฏในภาพสลักรูปสตรีทผี่ นังปราสาทหลายแห่งเช่นปราสาทธมมานนท์ ปราสาทเจ้าสายเทวดา และ ปราสาทพระขรรค์กําปงสวาย (ภาพที่ 73-74) และได้พบหลักฐานในภาพสลักทับหลังปราสาทหินพิมาย และประติมากรรมสําริด ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 75-76)

ภาพที่ 72 บุรุษสวมศิราภรณ์ลายหน้ากาล ภาพสลักลานพระเจ้าขีเ้ รื้อน เมืองนครธม ที่มา : Roveda, V., Images of The Gods (Thailand :River Books, 2005), 445.

ภาพที่ 73 ประติมากรรมสําริด สตรีสวมศิราภรณ์ รูปช่อดอกไม้ (สมบัตสิ ่วนบุคคล) ที่มา : Bunker, Emma and Latchford, Douglas. Adoration and Glory the Golden Age of Khmer Art (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2004), 65.


52

ภาพที่ 74 สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ ภาพสลักปราสาทธมมานนท์ ที่มา : Jacques C. and Freeman M., Ancient Angkor (Thailand :River Books, 1999), 125.

ภาพที่ 75 สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ ทับหลังรูปบุคคลถวายความเคารพพระพุทธรูปนาคปรก ปราสาทหินพิมาย ที่มา : “ทับหลังสมัยพุทธศตวรรษที่ 17” เมืองโบราณ 13,4 (ตุลาคม-ธันวาคม, 2530) : 20.


53

ภาพที่ 76 ประติมากรรมสําริด สตรีสวมศิราภรณ์รปู ช่อดอกไม้ (ด้านหน้าและด้านข้าง) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : Zefferys M., Zefferys N. and Stone J., Heaven and Empire (Bangkok : White Lotus, 2001), 98.

สําหรับศิราภรณ์ของเทวบุคคลในคติพุทธศาสนามหายานสมัยบายน ที่เป็นประเด็นการศึกษา ของนักวิชาการที่ผ่านมา คือพระพักตร์เทวบุคคลทีส่ ลักบนยอดปราสาทบายน (ภาพที่ 2) อันเป็นศาสนา สถานศูนย์กลางเมืองนครธม และศูนย์กลางของการเคารพบูชาประจําอาณาจักร ซึ่งมีการตีความทาง ประติมานวิทยาโดยเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับรูปเคารพในคติพุทธศาสนามหายาน47

47

การศึกษาของนักวิชาการที่ผ่านมาได้เสนอการตีความเทวบุคคลที่ปราสาทบายนออกเป็น 4 แนวทางคือ แนวทาง แรก บัวเซอร์ลิเย่ร์ (Boisselier, J.) เชื่อว่าคือพระพักตร์ของพระพรหม และเกี่ยวข้องกับพิธีอินทราภิเษกของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Boisselier, J., “The Symbolism of Angkor Thom,” SPAFA Digest 9,2 (1998) : 16-17. แนวทางที่สอง วูดเวิร์ด (Woodwards H.W.) และ แชลลอค (Sharrock P.) สันนิษฐานว่าหมายถึง พระโพธิสตั ว์ในพุทธศาสนามหายานแบบวัชรยาน แนวทางที่สาม ฌาค (Jacques C.) ปฏิเสธแนวคิดเรื่องพุทธศาสนา โดยเชื่อว่าเป็นการสร้างในระยะหลังที่อาณาจักรเขมรย้อนกลับไปนับถือศาสนาฮินดู อีกแนวทางหนึ่งคือข้อเสนอจาก ผลการสํารวจทางโบราณคดีที่เชื่อว่าเทวบุคคลเหล่านี้อาจไม่ได้สื่อสารความหมายเฉพาะเทวบุคคลเพียงองค์เดียว แต่ เป็นการบูชาสภาวะการปรากฏอยูท่ ั่วไปในความหมายของ “ปุรุษะ” ทั้งนี้ยังมีความเห็นอีกมากเกี่ยวกับการดัดแปลง แผนผังปราสาทบายนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตลอดจนผลกระทบจากการทําลายรูปเคารพทางพุทธศาสนาที่พบใน ปราสาทบายนรวมถึงศาสนสถานอื่นๆที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนไปอุปถัมภ์ ศาสนาฮินดู หรือแนวคิดในการเมืองการปกครองของอาณาจักรเขมรในระยะต่อมาทีส่ ่งผลต่อการตีความรูปเคารพและ เทวบุคคลจํานวนมากในปราสาทบายน ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน Vickery M., “Bayon : New Perspectives Reconsidered,” Journal of Khmer Studies (7, 2006) : 143-145.


54

นอกจากที่ปราสาทบายนแล้วเทวบุคคลนี้ยังปรากฏในภาพสลักทีย่ อดซุ้มประตูทั้งห้าแห่งของ เมืองนครธม ตลอดจนศาสนสถานสําคัญเช่นปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฎี และปราสาทบันทาย ฉมาร์ ทําให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าเทวบุคคลดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับเทพผู้ปกป้องคุ้มครองอาณาจักร48 อีกความเห็นหนึ่งเชื่อว่าเทวบุคคลดังกล่าวหมายถึง “พระวัชรสัตว์” ซึ่งบูชาร่วมกับเหวัชระ สัมภาวะ และรัตนตรัยมหายาน อันประกอบด้วยพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปารมิตา โดยมีพระพุทธเจ้าในรูปของพระพุทธรูปนาคปรกอยู่ในสถานะสูงสุดในวัชรธาตุมณฑล ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย ที่พบในปราสาทประธานหลังกลางของปราสาทบายน49 โดยทั่วไปแล้วคติพุทธศาสนามหายานแบบวัชรยาน บูชาพระวัชรสัตว์ในฐานะของพระอาทิพุทธ พระพุทธเจ้าสูงสุดเหนือพระธยานิพุทธทั้งห้า และนับถือพระอาทิพุทธในภาคปรากฏเป็นพระวัชรสัตว์ พระวัชรธร หรือพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ในบางนิกายนับถือพระวัชรสัตว์เป็นพระธยานิพุทธองค์ที่ 6 ลักษณะทางประติมานวิทยาที่สําคัญคือการทรงเครื่องอย่างกษัตริย์หรือนักบวช พระหัตถ์ขวาถือวัชระ และพระหัตถ์ซ้ายถือกระดิ่ง “พระวัชรธร” ถือวัชระและกระดิ่งโดยไขว้มือทั้งสองไว้ที่พระอุระในท่า “วัชรหุมการ” และ “พระวัชรสัตว์” จะถือวัชระด้วยพระหัตถ์ขวาไว้ที่พระอุระ และพระหัตถ์ซ้ายถือ กระดิ่งวางไว้ที่พระโสณีหรือพระเพลาด้านซ้าย50 คติการบูชาพระวัชรสัตว์ยังปรากฏในจารึกสระบาก จังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงการบูชาพระ วัชรสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายานที่มีมาก่อนสมัยบายน51 และแพร่หลายในชุมชนรอบเมืองพิมาย โดย มีปราสาทหินพิมายเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกที่ ปราสาทหินพิมายยังระบุถึงการบูชาพระวัชรสัตว์ในภาคปรากฏที่ดุร้ายในรูปของ “ไตรโลกยวิชัย”52 อย่างไรก็ดหี ากพิจารณาในรายละเอียดพบว่ารูปเทวบุคคลที่ยอดปราสาทบายนทรงศิราภรณ์ ประกอบด้วยกะบังหน้าที่ตกแต่งด้วยลายใบไม้และดอกไม้เป็นแถวลดหลั่นกัน โดยมีความยาวจรดพระ อังสา กะบังหน้าประดับแถวลายกลีบบัวและลายดอกไม้สี่กลีบ ทรงกุณฑลรูปดอกบัวตูม และกรองศอ ประดับด้วยลายดอกกลม โดยมีสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือรูปวงกลมที่กลางพระนลาฏ อัน หมายถึงตาที่สามหรืออุณาโลม สันนิษฐานว่ารูปแบบของศิราภรณ์อาจเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่เป็นโครงสร้าง ของยอดปราสาท ซึ่งเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันโดยมียอดบนสุดประดับด้วยหินสลักเป็นรูปดอกบัวที่อาจ หมายถึงมงกุฎของเทวบุคคลองค์นี้ คล้ายคลึงกับยอดซุ้มประตูเมืองนครธม (ภาพที่ 77-78) ทั้งนี้ยังมี ประเด็นที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมถึงกลุ่มปราสาทที่มุมระเบียงคดปราสาทบายน ซึ่งมีส่วนยอดประดับ ด้วยหินสลักเป็นรูปบุคคลกระทําอัญชลีโดยรอบ วางซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป ซึ่งการสํารวจทาง 48

JSA., Annual Report on the Technical Survey of Angkor Monuments. (Japan : Interbooks Co., Ltd., 1998), 292-293. 49 Woodwards H.W., “Tantric Buddhism at Angkor Thom,” Ars Orientalis 12 (1981) : 62. 50 อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ตามหาร่องรอยขอมและมอญในมหาสารคาม (ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภณ ั ฑ์ออฟเซ็ท, 2543), 122-123. 51 Prapandvidya C., “The Sab Bak Inscription Evidence of an Early Vajrayana Buddhist Presence in Thailand.” Journal of Siam Society 78, 2 (1990) : 10-14. 52 จารึกที่ปราสาทหินพิมายกล่าวถึงการสร้างรูป กมรเตง ชคต เสนาบดี “ไตรโลกยวิชัย” เพื่อถวายแด่ “กมรเตง ชคต วิมาย” หรือพระพุทธรูปนาคปรกที่เป็นประธานของปราสาทหินพิมาย ในปีพ.ศ. 1651 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กรม ศิลปากร, เมืองพิมาย. (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สมพันธ์, 2531), 40-42.


55

โบราณคดีได้พบหลักฐานชิ้นส่วนดังกล่าวในบริเวณปราสาทบายน53 และสามารถตรวจสอบได้จาก โครงสร้างแบบเดียวกันทีป่ ราสาทบันทายฉมาร์ (ภาพที่ 79) จากหลักฐานดังกล่าวทําให้ต้องมีการ ทบทวนเรื่องการตีความสถานะของเทวบุคคลองค์นี้ และความเกี่ยวข้องในความหมายของการบูชาสูงสุด ประจําอาณาจักรเพิ่มเติม

ภาพที่ 77 ศิราภรณ์และงานประดับรูปดอกบัว ยอดปราสาทบายน ที่มา : Sahai S., The Bayon of Angkor Thom (Bangkok : White Lotus Co., Ltd., 2007), 107.

53

Cunin O., “How many face Towers in the Bayon?.” Interpreting Southeast Asia’s Past : Monument, Image and Text. Archaeologist 2 (2008) : 20.


56

ภาพที่ 78 งานประดับรูปดอกบัว ยอดซุ้มประตูเมืองนครธม ที่มา : Sahai S., The Bayon of Angkor Thom (Bangkok : White Lotus Co., Ltd., 2007), 90.

ภาพที่ 79 งานประดับรูปบุคคลกระทําอัญชลี ปราสาทบันทายฉมาร์


57

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบศิราภรณ์ของเทวบุคคลที่ปราสาทบายนกับประติมากรรมพระวัชรสัตว์ และพระวัชรธรที่พบในดินแดนไทยและกัมพูชา พบว่าส่วนใหญ่ทรงศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้าที่ มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่นประติมากรรมสําริดรูปพระวัชรสัตว์ (ภาพที่ 80) ทรงมงกุฎทรงกรวย และกะบังหน้าที่ตกแต่งยาวจรดพระอังสา และภาพสลักพระวัชรสัตว์ทเี่ สาประดับผนังปราสาทหินพิมาย (ภาพที่ 81) ทรงมงกุฎทรงกรวยและกระบังหน้าที่ตกแต่งเป็นชายยาวจรดพระอังสา โดยมีปลายที่สะบัด ขึ้นจากท่าทางการยืนเหยียบอสูรหรืออวิชชา หลักฐานที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือพระวัชรสัตว์สําริดซึง่ เป็นเครื่องประกอบพิธี (ภาพที่ 82-83) พระวัชรสัตว์ทรงมงกุฎทรงกรวยและกะบังหน้าซึ่งไม่มีชายยาวประดับ ทรงเครื่องประดับตามแบบแผน ของประติมากรรมเขมร ประทับบนฐานดอกบัวมีรูปสิงห์แบก มีรายละเอียดของแผ่นหลังที่ตกแต่งเป็น ซุ้มหรือประภามณฑล โดยมีพระพุทธรูปนาคปรกอยู่ด้านบนยอดซุ้ม และมีเทวบุคคล 4 องค์ประกอบใน ลายก้านขด สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการบูชาพระพุทธเจ้าในสถานะสูงสุดดังที่ปรากฏในวัชรธาตุ มณฑล

ภาพที่ 80 พระวัชรสัตว์ สําริด (Cœdés, 1923) ที่มา : Sharrock P., “The Mystery of The Face Towers,” Bayon : New Perspective (Bangkok : River Book, 2007), 239.

ภาพที่ 81 พระวัชรสัตว์ ภาพสลักปราสาทหินพิมาย


58

ภาพที่ 82 พระวัชรสัตว์ สําริด (พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ที่มา : นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูป และเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณและศิลปะร่วมแบบเขมร (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555),158.

ภาพที่ 83 พระวัชรสัตว์ สําริด (Ka 5240) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 74.

สําหรับพระวัชรธรมีรูปแบบศิราภรณ์ที่ต่างออกไปจากพระวัชรสัตว์ที่กล่าวข้างต้น โดยทรง กะบังหน้าและมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น และทรงกุณฑลรูปดอกบัวตูมโดยไม่ทรงเครื่องประดับอื่นๆ ตัวอย่างเช่นพระวัชรธร หินทราย ประทับนั่งบนฐานดอกบัว พระหัตถ์แสดงท่าวัชรหุมการ พบที่ อโรคยศาลปราสาทนางรํา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย (ภาพ ที่ 17) พระวัชรธรรูปแบบดังกล่าวเป็นหนึ่งในประติมากรรมหินทรายที่มักพบร่วมกับพระพุทธรูปและ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในศาสนสถานประจําอโรคยศาลที่กระจายอยูท่ ั่วไปตามชุมชนโบราณทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งสถาปนาขึ้นตามแนวคิดเรื่องการรักษาโรคภัยและการบูชา “พระไภสัชยคุร”ุ ในคติพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างไรก็ดีการตีความรูปเคารพที่พบในอโรคยศาล นอกเหนือจากที่กล่าวในจารึกอโรคยศาล แล้ว ยังพบความสําคัญของการบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบหลักฐานในภาพสลักหน้าบันและ ประติมากรรมลอยตัวทั้งในดินแดนไทยและกัมพูชา ทั้งนี้ยังมีประเด็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมร่วมกับ ประติมากรรมพระวัชรธร พระยม และเทวบุคคลทรงครุฑ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับคติพุทธศาสนามหายาน แบบวัชรยานที่แพร่หลายในช่วงเวลานี้


59

นอกจากนีศ้ ิราภรณ์ของเทวบุคคลซึ่งตกแต่งกะบังหน้าด้วยลายใบไม้ยาวจรดพระอังสา อาจ เปรียบเทียบได้กับศิราภรณ์ของทวารบาล ยักษ์ อสูร และเทพเจ้าชั้นรอง ที่มีมาในศิลปะยุคก่อนหน้า อาทิเช่นศิราภรณ์ของทวารบาลที่ปราสาทพะโคและปราสาทโลเลย ศิลปะแบบพะโค (ราวพ.ศ.14201440)54 ทวารบาลที่ปราสาทพะโคเกล้าพระเกศาเป็นชฎามงกุฎ และสวมกะบังหน้าคาดทับพระเกศา หยักศกยาวจรดพระอังสา กะบังหน้าตกแต่งด้วยลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อนและลายใบไม้รูป สามเหลี่ยม ประดับดอกไม้กลมเหนือพระกรรณทั้งสองข้าง สวมกุณฑลเป็นแผ่นวงกลมลายดอกไม้ (ภาพที่ 84) และสวมกรองศอ พาหุรัด อุทรพันธะ และรัดพระองค์หลายเส้นคาดทับผ้านุ่งที่ทบเป็นชาย พกไว้ด้านหน้า

ภาพที่ 84 ทวารบาล ปราสาทพะโค หลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มา : Roveda, V., Images of The Gods (Thailand :River Books, 2005), 207.

อีกรูปแบบหนึ่งคือศิราภรณ์ของประติมากรรมสําริดรูปพระยมทรงกระบือ แสดงการถักพระ เกศาและเกล้าเป็นชฎามงกุฎ สวมกะบังหน้าตกแต่งลวดลายยาวจรดพระอังสา ด้านหลังพระเศียรมีแถบ ผ้าหรือแผ่นโลหะสําหรับยึดกะบังหน้า (ภาพที่ 85) รูปแบบศิราภรณ์ดังกล่าวยังพบในกลุ่มประติมากรรม รูปอสูรหรือทวารบาล หินทราย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 18 และ 86-87) แสดง การเกล้าพระเกศาแบบชฎามงกุฎและทรงกระบังหน้า ซึ่งตกแต่งด้วยลายใบไม้ ลายดอกกลม และลาย วงกลม ด้านหลังมีแผ่นปกคลุมท้ายพระเศียร ทรงกุณฑลเป็นแผ่นวงกลมลายดอกไม้

54

หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 94.


60

ภาพที่ 85 พระยมทรงกระบือ (ด้านหน้าและด้านหลัง) ที่มา : Bunker, Emma and Latchford, Douglas. Adoration and Glory the Golden Age of Khmer Art (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2004), 303-304.

ภาพที่ 86 ประติมากรรมทวารบาลหรืออสูร จากเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

ภาพที่ 87 เศียรทวารบาลหรืออสูร จาก จ.ลพบุรี (ด้านหลังของภาพที่ 18) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

นอกจากนี้ยังได้พบประติมากรรมหินทรายขนาดเล็กอีกกลุ่มหนึ่ง ในอโรคยศาลที่กระจายอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในประเทศกัมพูชา (ภาพที่ 3 และภาพที่ 88-89) คือเทวบุคคลทรงครุฑ เป็นพาหนะ พระเกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎ และทรงกะบังหน้าตกแต่งด้วยลายใบไม้ยาวจรดพระอังสา นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับตามแบบแผนรูปเคารพในศิลปะเขมร ประกอบด้วยกรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทองพระกรและทองพระบาท


61

บัวเซอร์ลิเย่ร์ (Boisselier, J.) สันนิษฐานว่าคือ พระวัชรปาณีทรงครุฑ55 ซึ่งพบหลักฐานการคติการบูชาที่ เกี่ยวข้องกับพระวัชรปาณีจากงานศิลปกรรมในศาสนสถานสมัยบายน56 อย่างไรก็ตามประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑนีม้ ักได้พบร่วมกับประติมากรรมพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งสันนิษฐานว่าคือรูปเคารพประธานของอโรคยศาล ความสําคัญและสถานะของ ประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑนีจ้ ึงต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป

ภาพที่ 88 ประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑ จากกู่สันตรัตน์ จ.มหาสารคาม

ภาพที่ 89 ประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑ จากปราสาทบันทายฉมาร์ ที่มา : Boisselier J., “Garuda dans L’art Khmèr,” BEFEO XLIV (1947-1950) : Pl. XXIV.

อาจกล่าวได้ว่าศิราภรณ์ของเทวบุคคลทีย่ อดปราสาทบายน มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิราภรณ์ ของพระวัชรสัตว์ ทวารบาล และเทพเจ้าชั้นรองจํานวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน โดยมี ความแตกต่างเล็กน้อยที่สังเกตได้จากมงกุฎซึ่งแสดงสถานะของรูปเคารพสําคัญ อย่างไรก็ดหี าก เทวบุคคลที่ยอดปราสาทบายนหมายถึงพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายานแบบวัชระยานตามที่ นักวิชาการได้เสนอไว้ ดังนั้นชั้นหลังคาปราสาทและงานประดับรูปดอกบัวซ้อนชั้นที่ส่วนยอดปราสาท จึงควรหมายถึงศิราภรณ์ทรงมงกุฎในสถานะของการเคารพบูชาอย่างสูง อนึ่งความแตกต่างของงานประดับส่วนยอดปราสาทรูปบุคคลกระทําอัญชลีโดยรอบ เหนือพระ พักตร์เทวบุคคลที่ปราสาทบันทายฉมาร์ ส่งผลให้การตีความรูปเทวบุคคลนีจ้ ําเป็นต้องพิจารณาร่วมกับ 55

Boisselier J., “Garuda dans L’art Khmèr,” BEFEO XLIV (1947-1950) : 79. จากการตีความภาพสลักที่ปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับครุฑ นาค และพระ วัชรปาณี ที่บูชาในฐานะพระโพธิสตั ว์ที่คุ้มครองผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ดูรายละเอียดเพิม่ เติมใน Sharrock P., “Garuda, Vajrapani and religious change in Jayavarman VII’s Angkor,” Journal of Southeast Asian Studies 40, 1 (February 2009) : 140-141.

56


62

งานประดับที่ซุ้มประตูเมืองนครธมและปราสาทบางหลังในบริเวณปราสาทบายนเพิ่มเติม และมีความ เป็นไปได้ที่รูปเทวบุคคลดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างขึ้นในความหมายของพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่ง โดยเฉพาะตามที่นักวิชาการได้เคยเสนอไว้ 2 เครื่องประดับพระวรกาย (ถนิมพิมพาภรณ์) นอกจากศิราภรณ์อันประกอบด้วยมงกุฎและกะบังหน้าแล้ว รูปเคารพในศิลปะเขมรยังประดับ พระวรกายด้วย กรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท อุทรพันธะ และรัดพระองค์ มี รูปแบบและลวดลายที่คล้ายคลึงกับระเบียบลายประดับของศิราภรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายดอกกลม ลายดอกสี่กลีบ และลายดอกบัวตูม ที่มักพบเสมอในงานเครื่องประดับ สําหรับพระพุทธรูปทรงเครื่อง ทรงศิราภรณ์และเครื่องประดับคล้ายคลึงกับเทวรูป ประกอบด้วยกรองศอ กุณฑล ทองพระกร และทอง พระบาท โดยมีรัดพระคดตกแต่งด้วยอุบะคาดทับสบง ตัวอย่างสําคัญของการศึกษารูปแบบเครื่องประดับได้แก่ประติมากรรมทวารบาลสําริด พบที่ ปราสาทสระกําแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ (ภาพที่ 90) ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เครื่องประดับประกอบด้วย กรองศอ พาหุรัด ทองพระกร ทองพระบาท และรัดพระองค์ซึ่งคาด ทับผ้านุ่งลายริ้วเล็กๆ ขอบบนของผ้านุ่งด้านหน้าท้องเว้าลงต่ําและขมวดเป็นชายผ้าไว้ทดี่ ้านหน้า

ภาพที่ 90 ทวารบาลสําริด จากปราสาทสระกําแพงใหญ่ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย)


63

เครื่องประดับของทวารบาลองค์นี้ (ภาพที่ 91-93) ตกแต่งด้วยลายวงกลม และประดับด้วยลาย ดอกไม้แบบสี่กลีบตรงกลาง กรองศอมีอุบะห้อยด้านหลังเป็นลายวงกลมและลายใบไม้รูปสามเหลี่ยม รูปแบบคล้ายคลึงกับกรองศอของประติมากรรมพระวิษณุสําริดขนาดใหญ่ ซึ่งพบที่ปราสาทแม่บุญ ตะวันตก ประเทศกัมพูชา (ภาพที่ 94) และอาจกําหนดอายุทวารบาลองค์นี้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 สอดคล้องกับจารึกที่ปราสาทสระกําแพงใหญ่ซงึ่ กล่าวถึงการสถาปนาเทพเจ้าประจําศาสนสถาน57

ภาพที่ 91 พาหุรัดและกรองศอ (ด้านหลัง) ประดับทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่ ที่มา : สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ผูแ้ ปล, “ประติมากรรมสัมฤทธิ์ พบที่ปราสาทสระกําแพงใหญ่ อําเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ของศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลีเย่.” ศิลปากร 33, 4 (กันยายน-ตุลาคม 2532) : 11-12.

ภาพที่ 92 ภาพลายเส้นพาหุรดั ทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่

57

กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทยเล่ม 3 อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 171-175. และ สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ผู้แปล, “ประติมากรรมสัมฤทธิ์ พบที่ปราสาทสระกําแพงใหญ่ อําเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ของศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลีเย่.” ศิลปากร 33, 4 (กันยายน-ตุลาคม 2532) : 7.


64

ภาพที่ 93 ภาพลายเส้นกรองศอ (ด้านหลัง) ทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่

ภาพที่ 94 พระวิษณุ สําริด จากปราสาทแม่บญ ุ ตะวันตก (Ga 5387) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory. (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 259.


65

ภาพที่ 95 ภาพขยายลวดลายรัดพระองค์ ทวารบาลสําริด จากปราสาทสระกําแพงใหญ่ ที่มา : สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ผู้แปล, “ประติมากรรมสัมฤทธิ์ พบที่ปราสาทสระกําแพงใหญ่ อําเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ของศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลีเย่.” ศิลปากร 33, 4 (กันยายน-ตุลาคม 2532) : 11-12.

ลวดลายที่น่าสนใจอีกลายหนึ่งคือแถวลายรูปวงรีเรียงซ้อนกันสองแถว ซึ่งปรากฏที่กรองศอ ของพระวิษณุที่ปราสาทแม่บุญตะวันตก สันนิษฐานว่าคงมีงานตกแต่งอัญมณีหรือหินสีในลายวงรีที่เซาะ เป็นร่องเหล่านีแ้ ต่ปัจจุบันสูญหายไปหมดแล้ว โดยเป็นลวดลายแบบเดียวกับรัดพระองค์ของทวารบาลที่ ปราสาทสระกําแพงใหญ่ ซึ่งแสดงแถวลายวงรีซ้อนกันสองแถวด้วยลายเส้น (ภาพที่ 95) ลวดลายดังกล่าวยังใช้ตกแต่งเครื่องประดับประติมากรรมหินทรายบางองค์ในระยะต่อมา อาทิ เช่น รัดพระองค์ของพระอิศวร จากปราสาทหนองคู อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และพระ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอีกองค์หนึ่ง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ศิลปะสมัยนครวัด (ภาพที่ 9697)

ภาพที่ 96 รัดพระองค์ พระอิศวร จากปราสาทหนองคู จ.สระแก้ว (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


66

ภาพที่ 97 รัดพระองค์ พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

ภาพที่ 98 ประติมากรรมเทวสตรี (Radcliffe Collection) และภาพขยายอุทรพันธะ ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Adoration and Glory the Golden Age of Khmer Art. (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2004), Fig.79a.


67

ภาพที่ 99 ภาพลายเส้นอุทรพันธะ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือประติมากรรมเทวสตรีสลักจากหินทราย (ภาพที่ 98-99) พระเกศาถักและ รวบเป็นมวยเหนือพระเศียร มีห่วงขนาดเล็กรัดรอบ ทรงผ้านุ่งทีม่ ีขอบเว้าลงมาพับเป็นชายผ้าด้านหน้า และคาดทับด้วยรัดพระองค์ประดับด้วยอุบะ ตามแบบแผนของประติมากรรมสมัยบาปวน เครื่องประดับประกอบด้วยกรองศอ พาหุรัด และอุทรพันธะ ตกแต่งด้วยลายวงกลมและลายดอกไม้สี่ กลีบ คล้ายคลึงกับเครื่องประดับทวารบาลจากปราสาทสระกําแพงใหญ่ และทวารบาล 2 องค์ จาก ปราสาทเมืองต่ํา จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ 100101) อย่างไรก็ดีประติมากรรมเทวสตรีดังกล่าวปัจจุบันเป็นสมบัติส่วนบุคคลและไม่ระบุแหล่งที่มา ใน ที่นี้จึงเป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตเรื่องลวดลายที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเครื่องประดับในศิลปะแบบบาปวน

ภาพที่ 100 ทวารบาล จากปราสาทเมืองต่ํา จ. บุรีรมั ย์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)


68

ภาพที่ 101 ทวารบาล จากปราสาทเมืองต่ํา จ. บุรีรมั ย์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

นอกจากนี้รปู แบบเครื่องประดับอีกส่วนหนึ่งยังศึกษาได้จากกลุ่มประติมากรรมหินทราย พบที่ ศาลตาผาแดง ศาสนสถานที่สร้างขึ้นในอิทธิพลศิลปะเขมรในจังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย (ภาพที่ 102-103) เครื่องประดับประติมากรรมรูปสตรีประกอบด้วย กรองศอ และรัดพระองค์มีอุบะห้อย คาดทับผ้านุ่งที่ชักชายผ้ายาวออกมาด้านข้าง สําหรับประติมากรรม รูปบุรุษทรงกรองศอ พาหุรัด สังวาลไขว้ และรัดพระองค์คาดทับผ้านุ่งที่ชักชายผ้ายาวออกมาด้านข้าง รูปแบบและลวดลายของเครื่องประดับประติมากรรมทั้งสององค์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กรอง ศอมีลักษณะเป็นแผ่นโค้ง ประดับด้วยแถวลายใบไม้ ลายเม็ดประคํา แทรกด้วยลายดอกไม้ในกรอบรูป วงกลม รัดพระองค์เป็นลายดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบด้วยลายเม็ดประคํา และ ประดับด้วยอุบะลายใบไม้ สําหรับรัดพระองค์ของประติมากรรมบุรุษมีลายดอกไม้สี่กลีบประดับตรง กลาง และสวมสังวาลประดับด้วยลายเม็ดประคํา4แถว คั่นด้วยลายดอกไม้สี่กลีบ การทรงผ้านุ่งของประติมากรรมทั้งสององค์ โดยการชักชายผ้ายาวออกมาด้านข้าง เป็นลักษณะ สําคัญของเครื่องทรงสมัยนครวัด สําหรับรูปแบบกรองศอ พาหุรัด และรัดพระองค์ประดับอุบะลายใบไม้ เปรียบเทียบได้กับประติมากรรมสมัยนครวัด (ภาพที่ 104-105) โดยมีลวดลายที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย รูปแบบที่ต่างออกไปจากเรื่องประดับสมัยนครวัด คือลวดลายของรัดพระองค์ที่ประดับด้วยแถว ลายดอกไม้สี่กลีบ ล้อมกรอบด้วยลายเม็ดประคํา และประดับด้วยอุบะลายใบไม้ ซึ่งมักพบเสมอใน เครื่องประดับประติมากรรมสมัยบายน อาทิเช่นพระคเนศ สําริด ในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ (ภาพที่ 106) ซึ่งรัดพระองค์รูปแบบนี้นิยมใช้ประดับรูปเคารพตลอดจนประติมากรรมบุรุษและสตรีใน สมัยบายน โดยมีทั้งแบบมีอุบะและไม่มีอุบะตกแต่ง


69

ภาพที่ 102 ประติมากรรมหินทรายจากศาลตาผาแดง จ. สุโขทัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย) ที่มา : Boisselier, J. La Sculpture En Thailande. (Fribourge: Office der livere ,1974), 128.

ภาพที่ 103 ประติมากรรมหินทรายจากศาลตาผาแดง จ. สุโขทัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย) ที่มา : Boisselier, J. La Sculpture En Thailande. (Fribourge: Office der livere ,1974), 128.


70

ภาพที่ 104 ภาพลายเส้นพาหุรัดและรัดพระองค์ นางอัปสร ปราสาทนครวัด โคปุระทิศตะวันตก ที่มา : Marchal S., Khmer Costume and Ornaments of The Devatas of Angkor Wat. (Thailand : Orchid Press, 2005), Pl.38.

ภาพที่ 105 รัดพระองค์และทองพระกร ภาพสลักนางอัปสร ปราสาทธมมานนท์ ที่มา : สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, 30 ปราสาทขอมในเมือง พระนคร. (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2551), 245.

ภาพที่ 106 รัดพระองค์แบบมีอุบะห้อย พระคเณศ สําริด (Ga 5387) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ที่มา : Cort L.A. and Jett P., ed. Gods of Angkor : Bronzes from the National Museum of Cambodia. (Thailand : Silkworm Book, 2010.) Fig. 29.


71

ภาพที่ 107 ภาพสลักสตรีผนังปราสาทบันทายสรีหลังทิศใต้ (รัดพระองค์ลายดอกไม้สี่กลีบตกแต่งด้วยอุบะ) หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 296.

สันนิษฐานว่าลายของรัดพระองค์ที่ประดับด้วยแถวลายดอกไม้สี่กลีบ ล้อมกรอบด้วยลายเม็ด ประคํา น่าจะมีที่มาจากลวดลายรัดพระองค์ของภาพสลักรูปสตรีที่ปราสาทบันทายสรี ซึ่งประดับด้วย ลายวงโค้งสลับกับอุบะ (ภาพที่ 107) ลวดลายของรัดพระองค์ทั้งสองแบบยังได้พบในพระพุทธรูปหินทรายบางองค์จากจังหวัดลพบุรี อาทิเช่นท่อนพระวรกาย ซึ่งพระเศียรและพระกรหักหายไปแล้ว (ภาพที่ 108) สันนิษฐานว่าเป็น พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน แสดงปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ อันเป็นรูปแบบพระพุทธรูป ทรงเครื่องที่พบมากในสมัยนครวัดและบายน ประติมากรรมองค์นที้ รงกรองศอและรัดประคด รวมถึง การทรงสบงทบเป็นจีบด้านหน้ามีลายประดับ มีลวดลายที่เปรียบเทียบได้กับเครื่องประดับพระพุทธรูป ทรงเครื่องสมัยนครวัด อีกองค์หนึ่งคือพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายหงายออกวาง แนบพระวรกาย (ภาพที่ 109) พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ทรงเครื่องประดับ แต่ทรงรัดประคดประดับลาย ดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลีย่ มจัตุรัส คั่นด้วยลายเม็ดประคํา คาดทับสบงที่ทบเป็นจีบด้านหน้า ลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งพบรูปแบบการสวมศิราภรณ์ที่มีรายละเอียด ต่างไปจากแบบแผนที่เคร่งครัดกว่าของงานศิลปกรรมในเมืองพระนคร และคงเป็นที่มาของการ สร้างสรรค์เครื่องทรงของพระพุทธรูปบางองค์ที่สร้างขึ้นในระยะนี้ด้วย รูปแบบและลวดลายที่ต่าง ออกไปเล็กน้อยยังได้พบในกลุ่มพระพุทธรูปประทับยืนปางประทานอภัย จากวัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (ภาพที่ 36 และ 110) และพระพุทธรูปจากถ้ําเขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (ภาพที่ 111) ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


72

ภาพที่ 108 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากจังหวัดลพบุรี (พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์)

ภาพที่ 109 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากจังหวัดลพบุรี (พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์)


73

ภาพที่ 110 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

ภาพที่ 111 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากถ้ําเขาพระพุทธบาท จ.สระบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

นอกจากเครื่องประดับที่สลักลงบนประติมากรรมแล้ว ยังพบการบูชารูปเคารพด้วย เครื่องประดับที่ทําจากโลหะมีค่า และได้พบหลักฐานเครื่องประดับทองคําทีป่ ราสาทบ้านถนนหัก จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีลวดลายจัดเป็นชุดเดียวกันกับศิราภรณ์ เครื่องประดับเหล่านีส้ ร้างขึ้นจาก ทองคําโดยวิธสี ลักดุนลายร่วมกับการฝังอัญมณี ประกอบด้วย กรองศอ (ภาพที่ 112-113) แยกออกเป็นสองชิ้นและคงมีห่วงทองคําขนาดเล็กสําหรับยึดเพื่อ ประดับบริเวณบ่าของรูปเคารพซึ่งหักหายไปแล้ว58 ลวดลายกรองศอเป็นระเบียบเดียวกับกะบังหน้า (ภาพที่ 55-56) ประกอบด้วยแถวลายดอกกลมคั่นด้วยแถวลายเม็ดประคํา ประดับลายดอกไม้แบบสี่ กลีบตรงกลาง มีหนามเตยสําหรับฝังอัญมณี นอกจากนี้แถวลายดอกกลมและลายวงกลมยังใช้ตกแต่ง ทองพระกรและกุณฑล (ภาพที่ 114-116) ฝังด้วยอัญมณีแบบหุ้มของและฝังแบบหนามเตย ซึ่งคงเป็น การออกแบบลวดลายเครื่องประดับในชุดเดียวกัน พาหุรัด (ภาพที่ 117-118) ประดับด้วยลายดอกไม้โดยรอบ ลักษณะลวดลายต่างไปจาก เครื่องประดับชิ้นอื่นที่พบร่วมกัน คือประดับด้วย “ลายดอกซ้อน” มีหนามเตยสําหรับฝังอัญมณีตรง กลาง ซึ่งเป็นลวดลายทีพ่ บในงานประดับสถาปัตยกรรมสมัยนครวัด และเป็นลวดลายที่นิยมอย่างมากใน เครื่องประดับประติมากรรมสมัยบายน

58

ตัวอย่างของกรองศอที่สมบูรณ์อาจเปรียบเทียบได้กับเครื่องทองประดับเทวรูปอีกชุดหนึ่ง (สมบัตสิ ่วนบุคคล) พบใน บริเวณเมืองเกาะแกร์ กําหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Bunker E., “Splendour and Sensuality in Angkor Period Khmer Jewellery,” Orientation 31, 3 (March, 2000) : 105.


74

ภาพที่ 112 กรองศอ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.27a.

ภาพที่ 113 ภาพลายเส้นกรองศอ


75

ภาพที่ 114 กุณฑล และ ทองพระกร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.26c และ 4.26e.

ภาพที่ 115 ภาพลายเส้นกุณฑล

ภาพที่ 116 ภาพลายเส้นทองพระกร


76

ภาพที่ 117 พาหุรัด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ที่มา : Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods (Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008) Fig. 4.26d.

ภาพที่ 118 ภาพลายเส้นพาหุรัด

นอกเหนือจากการสักการะรูปเคารพด้วยเครื่องประดับแล้ว เครื่องทรงและผ้านุ่งยังเป็น องค์ประกอบสําคัญในการบูชารูปเคารพในวัฒนธรรมเขมร ดังที่ปรากฏในภาพสลักรูปพระวิษณุที่ผนัง ระเบียงคดปราสาทบายน59 แสดงรูปพระวิษณุประดิษฐานบนแท่นภายในอาคาร แวดล้อมด้วยกลุ่ม บุคคลในท่าอัญชลี ด้านหน้ามีบุคคลแสดงท่าอัษฎางคประดิษฐ์ (ภาพที่ 119) เป็นที่น่าสังเกตว่าการบูชา พระวิษณุในภาพนี้อาจแสดงถึงประเพณีการถวายเครื่องประดับ รวมถึงการถวายผ้าอย่างดีซึ่งปรากฏใน ภาพเป็นภูษายาวคลุมพระบาท คาดทับด้วยรัดพระองค์ ต่างจากรูปแบบเครื่องทรงพระวิษณุที่พบทั่วไป ในประติมากรรมสมัยบายนซึ่งมักทรงภูษาโจง ข้อความในจารึกปราสาทพระขรรค์และปราสาทตาพรหม เมืองนครธม ในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ยังกล่าวถึงการถวาย “ผ้าสักหลาดอย่างบางสีขาวและสีแดง สําหรับเป็นเครื่องแต่งองค์พระโพธิสัตว์

Zephir, T., “Introduction to Khmer Sculpture,” in Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory (USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997), 136.

59


77

และผ้าไหมสําหรับปูรองที่ฐานรูปเคารพ”60 ทําให้เชื่อได้ว่ารูปเคารพที่สร้างขึ้นในสมัยบายนมักตกแต่ง ด้วยผ้าและเครื่องทรง รวมถึงการถวายทองคํา อัญมณี และไข่มุกอีกด้วย

ภาพที่ 119 การบูชารูปพระวิษณุ ภาพสลักผนังระเบียงคดด้านทิศใต้ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา

3 ลวดลายประดับสถาปัตยกรรมและเครื่องประดับ จากหลักฐานศิลปกรรมที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าลวดลายที่ปรากฏในศิราภรณ์และเครื่องประดับ ศิลปะเขมรมีที่มาจากงานประดับสถาปัตยกรรม โดยในสมัยก่อนเมืองพระนคร พบความสัมพันธ์ของ รูปแบบและลวดลายเครื่องประดับที่เปรียบเทียบได้กับงานประดับในศิลปะอินเดีย ลวดลายส่วนใหญ่มา จากลายพันธุพ์ ฤกษาและสัญลักษณ์อันหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งใช้ประดับศาสนสถานและรูป เคารพเพื่อความเป็นศิริมงคล ลวดลายของศิราภรณ์และเครื่องประดับที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 มีระเบียบของ การประดับที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยเมืองพระนครยุคต้น ลวดลายสําคัญประกอบด้วยแถวลายใบไม้รูป สามเหลี่ยม ลายวงกลม ลายดอกซ้อน ลายดอกกลม ลายเม็ดประคํา และลายกลีบบัว (ภาพที่ 120) โดยเฉพาะ “ลายดอกกลม” และ “ลายดอกซ้อน” ซึ่งมีที่มาจากลายดอกไม้แปดกลีบ เป็น ลวดลายที่พบเสมอในศิราภรณ์และเครื่องประดับประติมากรรมสมัยบายน รายละเอียดที่ต่างกัน เล็กน้อยของลวดลายทั้งสอง คือลายดอกซ้อนมีลักษณะเป็นลายดอกไม้แปดกลีบซ้อนกันสองชั้น ลาย ประดับดังกล่าวยังพบเป็นงานประดับผนังปราสาทนครวัด ตลอดจนศาสนสถานหลายแห่งที่สร้างขึ้นใน ระยะนี้ สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, ผู้แปล. “ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร” ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สํานักนายกรัฐมนตรี, 2513), 203.

60


78

ภาพที่ 120 ลายประดับผนังปราสาทนครวัด (หมายเลข 1 แถวลายใบไม้รูปสามเหลีย่ ม 2 ลายวงกลม 3 ลายดอกซ้อน 4 ลายดอกกลม 5 ลายเม็ดประคํา 6 ลายกลีบบัว) ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะขอม (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539), 156.

เช่นเดียวกับ “ลายดอกไม้สี่กลีบในกรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส” อาจมีที่มาจากลายประดับผนัง ปราสาทบันทายสรีหลังกลาง (ภาพที่ 121) ซึ่งแสดงรายละเอียดของลวดลายไว้อย่างชัดเจน และปรากฏ เป็นลายตกแต่งรัดพระองค์ในภาพสลักสตรีที่ผนังปราสาทด้วย ต่อมาลายดอกไม้สี่กลีบในกรอบรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสมักพบเป็นลายประดับขนาดเล็ก ใช้ตกแต่งผนังปราสาทที่สร้างในสมัยนครวัดและบายน (ภาพที่ 122) ลายดังกล่าวนิยมใช้ตกแต่งรัดพระองค์ในประติมากรรมสมัยบายน และสืบเนื่องไปยังลวดลาย รัดประคดของพระพุทธรูปบางองค์ในศิลปะลพบุรี ซึ่งเป็นการรับอิทธิพลรูปแบบมาจากศิลปะเขมร ทั้งนี้ ลวดลายที่นิยมในศิลปะยุคก่อนเช่นลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน ยังคงปรากฏในศิราภรณ์ที่สร้าง ขึ้นในระยะหลังด้วย อันเป็นลักษณะที่พบเสมอในงานศิลปกรรมเขมร โดยเฉพาะกลุ่มประติมากรรมที่ พบหลักฐานในประเทศไทย


79

ภาพที่ 121 ลายประดับผนังปราสาทบันทายสรี หลังกลาง ที่มา : หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide/result.php?pageNum_rs=1&totalRows_rs=1045&c heck=suit&keyword=6&Submit32=Search

ภาพที่ 122 ลายประดับผนังปราสาทเจ้าสายเทวดา ที่มา : Jacques C. and Freeman M., Ancient Angkor (Thailand :River Books, 1999), 129.


80

บทที่ 4 วิเคราะห์สรุปรูปแบบศิราภรณ์และงานประดับ ผลการศึกษาจากหลักฐานศิลปกรรม ในประเทศไทย วัฒนธรรมการประดับร่างกายและสถาปัตยกรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างความงามและ สื่อสารสัญลักษณ์อันเป็นมงคล อันเป็นแนวคิดที่รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียโบราณ ลวดลายที่ ปรากฏในศิราภรณ์และเครื่องประดับในศิลปกรรมเขมรล้วนพัฒนามาจากลายพันธุ์พฤกษา ได้แก่ลาย ใบไม้รูปสามเหลี่ยม ลายดอกกลม ลายก้านต่อดอก และลายกลีบบัว ซึ่งมีระเบียบของการประดับที่รับ อิทธิพลรูปแบบมาจากศิลปะอินเดียตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ลวดลายที่พบในเครื่องประดับ สมัยก่อนเมืองพระนคร อาทิเช่นลายมกรและลายก้านขด มีทมี่ าจากงานประดับสถาปัตยกรรมอินเดีย โบราณและให้อิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมเขมรอย่างใกล้ชิด ต่อมาระเบียบของงานประดับได้พัฒนาขึ้นจนมีรูปแบบเฉพาะในศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร โดยเฉพาะในศิลปะสมัยบาปวน นครวัด และสืบเนื่องไปยังสมัยบายนตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ซึ่งพบการสร้างศิราภรณ์และเครื่องประดับเพื่อสักการะรูปเคารพหลายแบบ ประกอบกับการรับอิทธิพล พุทธศาสนามหายานจากภายนอกตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ส่งผลให้มีการสร้างรูปเคารพบูชาร่วมกัน หลายองค์ในศาสนสถาน รูปแบบศิราภรณ์และเครื่องประดับที่ใช้ในการศึกษานี้ ส่วนใหญ่พบหลักฐานในดินแดนไทยซึ่ง สามารถตรวจสอบร่วมกับงานศิลปกรรมที่พบในประเทศกัมพูชา และสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก ศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้า กลุ่มที่สองคือ ศิราภรณ์แบบมงกุฎเทริด และกลุ่มที่ สาม เป็นศิราภรณ์รูปแบบพิเศษทีป่ รากฏในประติมากรรมและภาพสลักเทวบุคคลสมัยนครวัดและบายน ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการสําคัญของรูปทรงและลวดลายประดับศิราภรณ์เกิดขึ้นในสมัย นครวัด ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้าซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพะโค ได้มี การปรับรูปทรงมงกุฎให้มีลักษณะเป็นทรงกรวยสูง และกะบังหน้าเชื่อมต่อเป็นชิน้ เดียวกันใช้สวมครอบ พระเศียร โดยกะบังหน้าอาจเชื่อมต่อกับแผ่นปกคลุมท้ายพระเศียรในประติมากรรมบางองค์ เช่นที่พบ ในประติมากรรมรูปอสูรหรือทวารบาล การปรับรูปทรงและลวดลายของศิราภรณ์เหล่านี้พบหลักฐานทั้งในกลุ่มเทวรูป พระโพธิสัตว์ และพระพุทธรูปทรงเครื่อง โดยเฉพาะพระพุทธรูปบางองค์ที่สร้างขึ้นโดยยังคงเค้าโครงของการทรง กะบังหน้าร่วมอยู่ด้วย ซึ่งจัดเป็นงานที่สร้างขึน้ ในท้องถิ่นตามที่นักวิชาการได้สันนิษฐานไว้ สําหรับศิราภรณ์แบบมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น นักวิชาการพบว่าเป็นศิราภรณ์ของ ประติมากรรมในสมัยนครวัดและให้อิทธิพลต่อมาในสมัยบายน โดยเฉพาะการพบหลักฐาน ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมัยนครวัด ซึ่งทรงศิราภรณ์แบบมงกุฎกลีบดอกบัวซ้อนชั้น เป็นผลให้ข้อสันนิษฐานเรื่องรูปแบบของมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น และความเกี่ยวข้องกับ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนามหายานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทีเ่ คยมีนักวิชาการตีความไว้ ต้องมีการทบทวนใหม่ การปรับเปลี่ยนลวดลายประดับทีเ่ กิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง ความสําคัญของลายดอกกลมทีเ่ พิ่มมากขึ้น ซึ่งปรากฏในงานประดับสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน


81

และสันนิษฐานว่าลายดอกกลมคงมีความเหมาะสมมากกว่าลายหน้ากระดานดอกซีกดอกซ้อน โดยเฉพาะในงานเครื่องประดับทองคําซึ่งนิยมใช้ประดับร่วมกับการฝังอัญมณี หลักฐานสําคัญอีกส่วนหนึ่งคือชุดเครื่องทอง ซึ่งได้พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัด นครราชสีมา เป็นตัวอย่างสําคัญของศิราภรณ์และเครื่องประดับประติมากรรมเขมร ซึ่งสามารถ เปรียบเทียบลวดลายกับเครื่องประดับในงานประติมากรรม และตรวจสอบร่วมกับการกําหนดอายุ ศาสนสถานแห่งนี้ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16-17 สําหรับกลุ่มพระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดศิลปะเขมรที่พบหลักฐานในดินแดนไทย ส่วนใหญ่มี รูปแบบศิราภรณ์ที่ต่างจากพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบปาละ กล่าวคือ พระพุทธรูปทรงมงกุฎทรง กรวยสูง และทรงกะบังหน้าที่ประดับด้วยตาบเป็นแถวเรียงลดหลั่นกัน ไม่มลี วดลายประดับ และไม่ แสดงลักษณะของชายผ้า แต่มักปรากฏการตกแต่งกุณฑลมีชายยาวจรดพระอังสา มีรูปแบบคล้ายคลึง กับเครื่องประดับเทวบุคคลในสมัยบายน นอกจากนี้การศึกษาในกลุ่มที่ 3 ได้แก่ศิราภรณ์รูปแบบอื่นๆทีพ่ บในสมัยนครวัดและบายน ล้วน พัฒนามาจากรูปแบบของมงกุฎและกะบังหน้า แต่เน้นการประดับด้วยลายใบไม้และดอกไม้ และเป็นที่ น่าสังเกตว่ามงกุฎและกะบังหน้าเป็นศิราภรณ์ที่อาจแสดงถึงสถานะของรูปเคารพที่ได้รับการบูชาอย่าง สูง ในขณะที่เทพเจ้าชั้นรอง ทวารบาล หรือนางอัปสร มักสวมเฉพาะกะบังหน้าที่ประดับด้วยลายใบไม้ และดอกไม้ ร่วมกับการประดับด้วยมาลัยหรือดอกไม้สด ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าลายประดับศิราภรณ์และเครื่องประดับในวัฒนธรรมเขมร มีรูปแบบ คล้ายคลึงกับลายประดับสถาปัตยกรรม สถานะของศิราภรณ์ยังบอกถึงลําดับศักดิ์ที่ต่างกันของรูปเคารพ โดยเฉพาะศิราภรณ์แบบมงกุฎและกะบังหน้า ซึ่งปรากฏทั้งในเทวรูป พระพุทธรูปทรงเครื่อง และเป็น เครื่องทรงของกษัตริยเ์ ขมร อันแสดงถึงการเคารพบูชาอย่างสูง อย่างไรก็ดยี ังมีประเด็นการตีความเกี่ยวกับรูปเคารพในคติพุทธศาสนามหายานสมัยบายน ที่ พบหลักฐานจํานวนหนึ่งในดินแดนไทยและยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน อาทิเช่นประติมากรรมเทวบุคคลทรง ครุฑ และพระวัชรธร ซึ่งมักพบร่วมกับพระพุทธรูปและพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวรในบริเวณอโรคยศาล และสันนิษฐานว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรคือรูปเคารพประธานในอโรคยศาล โดยอาจมีการสร้างรูป เคารพอื่นๆขึ้นบูชาร่วมกันในระยะต่อมา ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับคติพุทธ ศาสนามหายานแบบวัชรยานที่แพร่หลายในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และตรวจสอบร่วมกับหลักฐาน ศิลปกรรมอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้การศึกษารูปแบบศิราภรณ์ศิลปะเขมรในงานวิจัยนี้ สามารถจัดกลุ่มรูปแบบและลวดลาย ประดับที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 และพบการสืบเนื่องของรูปแบบและลวดลาย ซึ่งช่วยให้ การตีความทางประติมานวิทยาของประติมากรรมบางองค์มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อนําผลการศึกษา เรื่องพัฒนาการรูปแบบและลวดลาย เปรียบเทียบกับศิราภรณ์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในดินแดนไทย ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18-19 พบการรับอิทธิพลรูปแบบและการสร้างลักษณะเฉพาะบางประการ สอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการที่ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้


82

ภาคผนวก ปราสาทบ้านถนนหัก จังหวัดนครราชสีมา : รูปแบบแผนผังศาสนสถานช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 แผนผังปราสาทบ้านถนนหัก ประกอบด้วยปราสาทประธานหลังเดียวตั้งหันไปทางทิศ ตะวันออก ล้อมรอบด้วยกําแพงแก้ว และเปิดเป็นโคปุระในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านนอก ล้อมรอบด้วยสระน้ําอีกชั้นหนึ่งโดยมีทางเข้าเฉพาะด้านทิศตะวันออก อันเป็นแบบแผนของศาสนสถาน ประจําชุมชนอารยธรรมเขมรในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่พบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย (ภาพที่ 1) ปราสาทประธาน โคปุระ และกําแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง ต่างไปจากศาสนสถานร่วมสมัยใน ชุมชนใกล้เคียงที่เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐ61 ปราสาทประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มประตู ทางเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก ปัจจุบันส่วนบนของปราสาทพังทลายลงหมดแล้วคงเหลือเพียง โครงสร้างกรอบประตูหินทราย (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 ปราสาทบ้านถนนหัก จ.นครราชสีมา

การสํารวจศาสนสถานแห่งนี้ในระยะแรกพบชิ้นส่วนทับหลังสลักลายหน้ากาลคายท่อน พวงมาลัยและหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกซึ่งจัดอยู่ในศิลปะแบบบาปวน62 จากการบูรณะโดยกรม ศิลปากรพบร่องรอยของฐานขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของปราสาท 61

ปราสาทที่ก่อด้วยศิลาแลงทัง้ หลังอีกแห่งหนึ่งคือกู่พราหมณ์จําศีล อําเภอสีดา ทางทิศเหนือของเมืองพิมาย แผนผัง ของกู่พราหมณ์จําศีลประกอบด้วยปราสาทประธานสามหลังตั้งหันไปทางทิศตะวันออก ล้อมรอบด้วยกําแพงแก้วและ โคปุระ โดยมีสระน้ําล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง กําหนดอายุจากลวดลายทับหลังและงานประดับในศิลปะแบบบาปวน 62 สุรศักดิ์ ศรีสําอาง, “รายงานการสํารวจโบราณสถานในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ,” โบราณคดี 6, 3 (พฤษภาคม 2519) : 88-99.


83

ประธาน และสันนิษฐานว่าคงมีอาคารขนาดเล็กเหล่านี้ตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศ ซึ่งใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ องค์อื่นๆในศาสนสถาน

ภาพที่ 2 ปราสาทประธาน ปราสาทบ้านถนนหัก

ทั้งนี้การสร้างอาคารขนาดเล็กล้อมรอบปราสาทประธานทั้งสี่ทิศไม่เคยปรากฏในแผนผังศาสน สถานที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษนี้มาก่อน สันนิษฐานว่าอาคารเหล่านี้อาจสร้างขึ้นเพิ่มเติมในระยะ หลังและคงมีการบูชารูปเคารพหลายองค์ในศาสนสถาน ซึ่งนอกจากรูปเคารพสําคัญที่ประดิษฐานใน ปราสาทประธานแล้ว อาจมีการปรับเปลี่ยนโคปุระทิศตะวันออกเพื่อประดิษฐานรูปเคารพองค์อื่นๆด้วย เนื่องจากพบว่ากําแพงแก้วด้านทิศตะวันออกได้เว้นว่างเป็นช่องเปิดที่น่าจะใช้เป็นทางเข้าออก ศาสนสถานอีกทางหนึ่ง จากรูปแบบแผนผังและหลักฐานงานประดับ สันนิษฐานว่าปราสาทบ้านถนนหักคงสร้างขึ้นใน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 สัมพันธ์กับกลุ่มปราสาทร่วมสมัยในชุมชน ใกล้เคียงเช่นปราสาทพะโค อําเภอโชคชัย และปราสาทบึงคํา อําเภอปักธงชัย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาร่วมกับข้อสันนิษฐานเรื่องลวดลายเครื่องประดับทองคําที่พบที่ปราสาท แห่งนี้ ซึ่งแสดงการผสมผสานรูปแบบศิลปะแบบบาปวนที่สืบทอดมาและปรากฏรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ในศิลปะแบบนครวัด ทําให้เชื่อได้ว่าศานสถานและเครื่องประดับประติมากรรมชุดนี้อาจสร้างขึ้นใน ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ศาสนสถานและงานศิลปกรรมที่พบในชุมชนบ้านถนนหักจึงเป็นหลักฐานสําคัญอีกแห่งหนึ่งของ ชุมชนรอบเมืองพิมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ร่วมสมัยกับการ สถาปนาปราสาทหินพิมาย อันเป็นลักษณะของบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญในระดับภูมิภาค


84

สารบัญภาพ หน้า บทที่ 1 ภาพที่ 1 มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น พบทีป่ ราสาทบ้านถนนหัก จ.นครราชสีมา ภาพที่ 2 ศิราภรณ์ประดับเทวบุคคลที่ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา ภาพที่ 3 ประติมากรรมเทวบุคคล สันนิษฐานว่าหมายถึงพระวัชรปาณีทรงครุฑ อโรคยศาลกู่แก้ว จ.ขอนแก่น ภาพที่ 4 เศียรเทวบุคคล ปูนปั้น พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ภาพที่ 5 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สําริด ปางมารวิชัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 6 ประติมากรรมเทวสตรี สําริด จาก จ.นครราชสีมา ภาพที่ 7 เทวบุคคลในซุ้มเรือนแก้ว สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 8 แม่พิมพ์พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 9 “ชฎามงกุฎ” พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวรพบที่พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 10 “กรัณฑมงกุฎ” ภาพลายเส้นชาดก บนแผ่นหิน พบทีม่ ณฑปวัดศรีชุม จ.สุโขทัย ภาพที่ 11 “มงกุฎและกะบังหน้า” พระวิษณุพบที่ปราสาทพนมรุ้ง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์) ภาพที่ 12 ภาพลายเส้นศิราภรณ์ “มงกุฎและกะบังหน้า” ศิลปะนครวัด ภาพที่ 13 ภาพลายเส้นแสดงศิราภรณ์และเครื่องประดับรูปเคารพ ภาพที่ 14 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะบาปวน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 15 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะนครวัด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 16 พระพุทธรูปทรงเครือ่ งประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา) ภาพที่ 17 พระวัชรธร จากปราสาทนางรํา จ. นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 18 พระพุทธรูปสําริดปางมารวิชัย 3 องค์ องค์กลางทรงมงกุฎเทริดและมกรกุณฑล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 19 เศียรอสูรหรือทวารบาล จาก จ.ลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 20 ประติมากรรมเทวสตรี สําริด จาก จ.นครราชสีมา (ภาพขยายจากภาพที่ 6) บทที่ 2 ภาพที่ 21 ประติมากรรมเทวสตรี ศิลปะอินเดีย ภาพที่ 22 องค์ประกอบสถาปัตยกรรมเขมร ปรับปรุงจากแผนผังและรูปด้านปราสาทหินพิมาย ภาพที่ 23 ทับหลังศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส) (MG 18853) ภาพที่ 24 รัดพระองค์ทองคําประดับอัญมณี ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ภาพที่ 25 ภาพขยายลายมกร (จากภาพที่ 24) ภาพที่ 26 ประติมากรรมเทวสตรีจากเกาะเกรียง ประเทศกัมพูชา (Ka 1621) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ภาพที่ 27 ภาพลายเส้นแสดงลวดลายรัดพระองค์ ประดับประติมากรรมเทวสตรีจากเกาะเกรียง ภาพที่ 28 ลายก้านขดประดับกรอบหน้าต่าง ถ้ําอชันตาหมายเลข 24 ภาพที่ 29 ชิ้นส่วนของสังวาล ทองคํา พบที่ชวาภาคกลาง กําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ภาพที่ 30 ภาพลายเส้นเครื่องประดับสมัยก่อนเมืองพระนคร

7 7 7 7 9 9 9 9 11 11 12 12 14 15 15 16 16 17 17 18 20 22 23 24 24 24 25 25 25 26


85

หน้า บทที่ 3 ภาพที่ 31 เศียรพระนารายณ์จากปราสาทพนมบก ศิลปะแบบบาปวน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ภาพที่ 32 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จาก จ.นครราชสีมา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่) ภาพที่ 33 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะบาปวน (ka 1680) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ภาพที่ 34 เศียรพระพุทธรูปจากปราสาทเทพพนม ศิลปะบายน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ภาพที่ 35 พระพุทธรูปปางสมาธิ จากวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ จ.ลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 36 พระพุทธรูปประทับยืน จากวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 37 ลายใบไม้รูปสามเหลี่ยมแทรกด้วยลายก้านต่อดอก เสาประดับกรอบประตูปราสาทบันทายสรี ภาพที่ 38 องค์ประกอบของลายปัทมะมูลละ ภาพที่ 39 ศิราภรณ์พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะปาละ สมัยพระเจ้าวิครหปาละที่ 3 ภาพที่ 40 ลายก้านต่อดอก ปูนปัน้ ปราสาทพะโค ภาพที่ 41 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จาก จ.สุโขทัย ภาพที่ 42 เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง ภาพที่ 43 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (BK182) จากปราสาทบันทายกุฎี ภาพที่ 44 กะบังหน้าและแผ่นปกคลุมท้ายพระเศียร ภาพสลักรูปเทวบุคคล ปราสาทนครวัด ภาพที่ 45 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 46 ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทเปือยน้อย จ. ขอนแก่น ภาพที่ 47 พระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ภาพสลักผนังระเบียงคดปราสาทนครวัด ภาพที่ 48 พระพุทธรูปหินทราย และภาพลายเส้น (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ภาพที่ 49 เศียรพระพุทธรูปหรือเทวบุคคล จาก จ.ลพบุรี ภาพที่ 50 พระพุทธรูปนาคปรก (ขยายจากภาพที่ 15) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 51 พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 52 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากปราสาทบึงมาเลีย ภาพที่ 53 เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ภาพขยายจากภาพที่ 52) ภาพที่ 54 พระพุทธรูปนาคปรก หินทราย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ภาพที่ 55 กะบังหน้า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 56 ภาพลายเส้นกะบังหน้า ภาพที่ 57 มงกุฎทรงกรวย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 58 ภาพลายเส้นมงกุฎทรงกรวย ภาพที่ 59 มงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 60 ภาพลายเส้นมงกุฎทรงกลีบดอกบัวซ้อนชั้น ภาพที่ 61 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด สมัยพระเจ้าวิครหปาละที่ 3 ภาพที่ 62 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด ปางมารวิชัย สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 63 ภาพสลักครุฑยุคนาค ลานช้าง เมืองพระนคร ภาพที่ 64 สกันทกุมาร จากจันทิจาโก (พิพิธภัณฑ์จาร์กาตาร์) ภาพที่ 65 พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริด ปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว (พระราชวังดุสติ ) ภาพที่ 66 พระพุทธรูปประทับยืน ทรงมงกุฎเทริด จาก จ.สุพรรณบุรี (พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ) ภาพที่ 67 พระพุทธรูปประทับยืน ทรงมงกุฎเทริด จากกรุปรางค์วัดราชบูรณะ ภาพที่ 68 นางปรัชญาปารมิตา สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 69 ปูนปั้นรูปเทวสตรี จากโบราณสถานเนินทางพระ จ.สุพรรณบุรี ภาพที่ 70 ลวดลายประดับกะบังหน้านางอัปสร ปราสาทนครวัด

28 29 30 30 31 31 32 32 33 33 34 34 34 34 35 35 36 37 38 38 38 40 40 40 42 42 43 43 44 44 45 46 46 47 47 48 48 49 49 50


86

หน้า ภาพที่ 71 ศิราภรณ์ประดับร่วมกับดอกไม้สด ภาพสลักนางอัปสรหรือสตรีชั้นสูง ลานชั้นบนปราสาทบายน ภาพที่ 72 บุรุษสวมศิราภรณ์ลายหน้ากาล ภาพสลักลานพระเจ้าขี้เรื้อน เมืองนครธม ภาพที่ 73 ประติมากรรมสําริด สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ (สมบัติส่วนบุคคล) ภาพที่ 74 สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ ภาพสลักปราสาทธมมานนท์ ภาพที่ 75 สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ ทับหลังรูปการถวายความเคารพพระพุทธรูปนาคปรก ปราสาทหินพิมาย ภาพที่ 76 ประติมากรรมสําริด สตรีสวมศิราภรณ์รูปช่อดอกไม้ (ด้านหน้าและด้านข้าง) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 77 ศิราภรณ์และงานประดับรูปดอกบัว ยอดปราสาทบายน ภาพที่ 78 งานประดับรูปดอกบัว ยอดซุ้มประตูเมืองนครธม ภาพที่ 79 งานประดับรูปบุคคลกระทําอัญชลี ปราสาทบันทายฉมาร์ ภาพที่ 80 พระวัชรสัตว์ สําริด (Cœdés, 1923) ภาพที่ 81 พระวัชรสัตว์ ภาพสลักปราสาทหินพิมาย ภาพที่ 82 พระวัชรสัตว์ สําริด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 83 พระวัชรสัตว์ สําริด (Ka 5240) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ภาพที่ 84 ทวารบาล ปราสาทพะโค หลังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพที่ 85 พระยมทรงกระบือ (ภาพด้านหน้าและด้านหลัง) ภาพที่ 86 ประติมากรรมทวารบาลหรืออสูร จากเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 87 เศียรทวารบาลหรืออสูร จาก จ.ลพบุรี (ด้านหลังของภาพที่ 18) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 88 ประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑ จากกูส่ ันตรัตน์ จ.มหาสารคาม ภาพที่ 89 ประติมากรรมเทวบุคคลทรงครุฑ จากปราสาทบันทายฉมาร์ ภาพที่ 90 ทวารบาลสําริด จากปราสาทสระกําแพงใหญ่ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 91 พาหุรัดและกรองศอ (ด้านหลัง) ประดับทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่ ภาพที่ 92 ภาพลายเส้นพาหุรดั ทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่ ภาพที่ 93 ภาพลายเส้นกรองศอ (ด้านหลัง) ทวารบาลสําริด ปราสาทสระกําแพงใหญ่ ภาพที่ 94 พระวิษณุ สําริด จากปราสาทแม่บญ ุ ตะวันตก (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา) ภาพที่ 95 ภาพขยายลวดลายรัดพระองค์ ทวารบาลสําริด จากปราสาทสระกําแพงใหญ่ ภาพที่ 96 รัดพระองค์ พระอิศวร จากปราสาทหนองคู จ.สระแก้ว (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 97 รัดพระองค์ พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 98 ประติมากรรมเทวสตรี (จาก Radcliffe Collection) และภาพขยายอุทรพันธะ ภาพที่ 99 ภาพลายเส้นอุทรพันธะ ภาพที่ 100 ทวารบาล จากปราสาทเมืองต่ํา จ. บุรีรมั ย์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 101 ทวารบาล จากปราสาทเมืองต่ํา จ. บุรีรมั ย์ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 102 ประติมากรรมหินทรายจากศาลตาผาแดง จ. สุโขทัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย) ภาพที่ 103 ประติมากรรมหินทรายจากศาลตาผาแดง จ. สุโขทัย (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุโขทัย) ภาพที่ 104 ภาพลายเส้นพาหุรัดและรัดพระองค์ นางอัปสร ปราสาทนครวัด โคปุระทิศตะวันตก ภาพที่ 105 รัดพระองค์และทองพระกร ภาพสลักนางอัปสร ปราสาทธมมานนท์ ภาพที่ 106 รัดพระองค์แบบมีอุบะห้อย พระคเณศ สําริด (Ga 5387) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ)

50 51 51 52 52 53 55 56 56 57 57 58 58 59 60 60 60 61 61 62 63 63 64 64 65 65 66 66 67 67 68 69 69 70 70 70


87

หน้า ภาพที่ 107 ภาพสลักสตรีผนังปราสาทบันทายสรีหลังทิศใต้ (รัดพระองค์ลายดอกไม้สี่กลีบตกแต่งอุบะ) ภาพที่ 108 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากจังหวัดลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ภาพที่ 109 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากจังหวัดลพบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ภาพที่ 110 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 111 รัดประคด พระพุทธรูปหินทราย จากถ้ําเขาพระพุทธบาท จ.สระบุรี (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) ภาพที่ 112 กรองศอ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 113 ภาพลายเส้นกรองศอ ภาพที่ 114 กุณฑล และ ทองพระกร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 115 ภาพลายเส้นกุณฑล ภาพที่ 116 ภาพลายเส้นทองพระกร ภาพที่ 117 พาหุรัด (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย) ภาพที่ 118 ภาพลายเส้นพาหุรัด ภาพที่ 119 การบูชารูปพระวิษณุ ภาพสลักผนังระเบียงคดด้านทิศใต้ปราสาทบายน ประเทศกัมพูชา ภาพที่ 120 ลายประดับผนังปราสาทนครวัด ภาพที่ 121 ลายประดับผนังปราสาทบันทายสรี หลังกลาง ภาพที่ 122 ลายประดับผนังปราสาทเจ้าสายเทวดา

71

74 74 75 75 75 76 76 77 78 79 79

ภาคผนวก ภาพที่ 1 ปราสาทบ้านถนนหัก จ.นครราชสีมา ภาพที่ 2 ปราสาทประธาน ปราสาทบ้านถนนหัก

82 83

72 72 73 73


88

บรรณานุกรม ภาษาไทย กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทยเล่ม 3 อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ 15-16 กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529. กรมศิลปากร, เมืองพิมาย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สมพันธ์, 2531. กรมศิลปากร, ถนิมพิมพาภรณ์ กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุป, 2535. กรมศิลปากร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย กรุงเทพฯ : บริษัทถาวรกิจการพิมพ์จํากัด, 2542. กรรณรส ศรีสุทธิวงศ์, “กรัณฑมงกุฎเทวดาศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยาตอนกลาง,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. เชษฐ์ ติงสัญชลี, “มกรโตรณะในศิลปะอินเดียใต้ ศิลปะสมัยอมราวดี วากาฏกะ ปัลลวะ และจาลุกยะแห่งพาทามิ,” วารสารดํารงวิชาการ 5,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม, 2549) : 151-171. เชษฐ์ ติงสัญชลี, “การแพร่หลายของการัณฑมกุฏในศิลปะอินเดียและเอเชียอาคเนย์,” วารสารดํารงวิชาการ 7,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม, 2551) : 1-15. เชษฐ์ ติงสัญชลี, ลวดลายในศิลปะทวารวดี การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วากาฏกะ นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. เชษฐ์ ติงสัญชลี, “อิทธิพลศิลปะปาละในงานศิลปกรรมไทย,” การสัมมนาโครงการนําเสนอผลงานค้นคว้าด้าน ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและเอเชียอาคเนย์ เสนอที่อาคารศูนย์รวม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 16 มิถุนายน 2555. บรรลือ ขอรวมเดช, “รูปแบบศิลปะบนแผ่นจารึกลายเส้นเรื่องชาดกของวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย,” วิทยานิพนธ์สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. นิดดา หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. พระพุทธรูปและเทวรูป : ศิลปะทวารวดี ศิลปะทักษิณ และศิลปะร่วมแบบเขมร กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์คติ, 2555. พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์, 2553. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 [Online]. Accessed 23 April 2013. Available from http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp วรรณวิภา สุเนต์ตา,“สถาปัตยกรรมเขมรในดินแดนไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 : ลําดับการสืบเนื่อง” วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “พระพุทธรูปในยุคหัวเลีย้ วหัวต่อของศิลปะไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19.” เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการนําเสนอผลงานค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยและเอเชียอาคเนย์ เสนอที่อาคารศูนย์รวม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 3-4 กรกฎาคม 2553. (อัดสําเนา) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, รายงานวิจัยเรื่อง “พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย” นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, “ปราชญ์เก่าเล่าว่า : เรื่องของศิราภรณ์,” วารสารดํารงวิชาการ 4,1 (มกราคม-มิถุนายน, 2548) : 72-81. ศิลป์ชัย ชิ้นประเสริฐ, “ภาพชุดพระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดศิลปะลพบุร,ี ” เมืองโบราณ 11,4 (ตุลาคม-ธันวาคม,2528) : ภาพที่ 1-9. ศิลป์ชัย ชิ้นประเสริฐ, “พระพุทธรูปทรงมงกุฎเทริดในประเทศไทย,” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (2529) : 93103. สมิธิ ศิรภิ ัทร์ และ มยุรี วีรประเสริฐ, ทับหลัง การศึกษาเปรียบเทียบทับหลังที่พบในประเทศไทยและประเทศ กัมพูชา กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533. สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2551. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า, เทวรูปสัมฤทธิส์ มัยสุโขทัย กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2508.


89

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ผู้แปล, “ประติมากรรมสัมฤทธิ์ พบที่ปราสาทสระกําแพงใหญ่ อําเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ ของศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลีเย่.” ศิลปากร 33, 4 (กันยายน-ตุลาคม 2532) สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า, ศิลปะขอม กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2539. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า, ศิลปะในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539. สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, ผู้แปล. “ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร” ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สํานักนายกรัฐมนตรี, 2513. สุรศักดิ์ ศรีสาํ อาง. “รายงานการสํารวจโบราณสถานในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ.” โบราณคดี 6, 3 (พฤษภาคม 2519) : 87-108. แสง มนวิทูร, ผู้แปล. ลักษณะของบุรุษ สตรี และประติมา แปลจากคัมภีรพ์ ฤหัตสํหิตา ของวราหมิหิร กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2505. สันติ เล็กสุขุม. กระหนกในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2545. สันติ เล็กสุขุม, พัฒนาการของลายไทย: กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2553, อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ตามหาร่องรอยขอมและมอญในมหาสารคาม ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภณ ั ฑ์ออฟเซ็ท, 2543. “ทับหลังสมัยพุทธศตวรรษที่ 17” เมืองโบราณ 13,4 (ตุลาคม-ธันวาคม, 2530) : 15-22. ภาษาต่างประเทศ Bautze-Picron C., “Jewel for a King-part I,” Indo-Asiatische Zeitschrift 14 (2010) : 42-56. Boisselier J., “Garuda dans L’art Khmèr,” BEFEO XLIV (1947-1950) : 55-99. Boisselier J., “Évolution du Diadème dans la Statuaire Khmère,” Bullentin de la Société des Études Indochinoises 25, 2 (1950) : 1-24. Boisselier, J., “Vajrapani dans L’art du Bayon,” Proceedings of the 22nd Congress of International Orientalists, Istanbul, (1951) Boisselier, J. Le Cambodge. Paris : Picard, Manuel d’archéologie d’Extrême-Orient 1,1966. Boisselier, J. La Sculpture En Thailande. Fribourge: Office der livere ,1974. Boisselier, J., “The Symbolism of Angkor Thom,” SPAFA Digest 9,2 (1998) : 14-18. Bosch F.D.K., The Golden Germ The Netherlands : YSEL Press, 1960. Bunker, Emma and Latchford, Douglas. Adoration and Glory the Golden Age of Khmer Art Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2004. Bunker E. and Latchford D., Khmer Gold Gifts from the Gods Thailand : Darnsutha Press Co., Ltd., 2008. Bunker, Emma. “Splendour and Sensuality in Angkor Period Khmer Jewellery.” Orientation 31, 3 (March, 2000) : 102-113. Cort L.A. and Jett P., ed. Gods of Angkor : Bronzes from the National Museum of Cambodia. Thailand : Silkworm Book, 2010. Cunin O., “How many face Towers in the Bayon?.” Interpreting Southeast Asia’s Past : Monument, Image and Text. Archaeologist 2 (2008) : 9-24. Giteau M., Les Khmers : sculptures Khmers, reflects de la civilisation d'Ankor. Fribourg : Office du Livre, 1965. Groslier B.P., Indochina. Switzerland : Nagel Publisher, 1966. Huntington, S.L., The “Pala-Sena” Schools of Sculpture The Netherlands : E.J. Brill, 1984. International Council of Museum. ed., One Hundred Missing Objects. Spain : EFEO.,1997. Ishizawa, Yoshiaki. ed., “Special Issue on the Inventory of 274 Buddhist statues and the stone pillar discovered from Banteay Kdei temple.” Renaissance Culturelle du Cambodge 21 (2004).


90

Jacques C. and Freeman M., Ancient Angkor Thailand :River Books, 1999. Jessup, H. and Zephir, T. ed., Sculpture of Angkor and Ancient Cambodia : Millennium of Glory. USA. : Thames and Hudson Ltd., 1997. JSA., Annual Report on the Technical Survey of Angkor Monuments. Japan : Interbooks Co., Ltd., 1998. Kempers B., Ancient Indonesia Art. Netherlands : C.P.J. Van Der Peet, 1959. National Museum of Cambodia, Khmer Art in Stone Cambodia : JSRC Printing House, 1996. Marchal S., Khmer Costume and Ornaments of The Devatas of Angkor Wat. Thailand : Orchid Press, 2005. Prapandvidya C., “The Sab Bak Inscription Evidence of an Early Vajrayana Buddhist Presence in Thailand.” Journal of Siam Society 78, 2 (1990) : 10-14. Ramachandra Rao, S.K., The Icons and Images in Indian Temples Bangalore : Prakashana Printery, 1981. Richter A., The jewelry of Southeast Asia Singapore : C.S.Graphics, 2000. Roveda, V., Khmer Mythology Thailand :River Books, 1997. Roveda, V., Images of The Gods Thailand :River Books, 2005. Sahai S., The Bayon of Angkor Thom Bangkok : White Lotus Co., Ltd., 2007. Sharrock P., “The Mystery of The Face Towers,” Bayon : New Perspective Bangkok : River Book, 2007. Sharrock P., “Garuda, Vajrapani and religious change in Jayavarman VII’s Angkor,” Journal of Southeast Asian Studies 40, 1 (February 2009) : 111-151. Stern P., Les Monuments Khmers du Style du Bayon et Jayavarman VII. Paris : Presses Universitaire de France, 1965. Vatsyayan K., The Square and the Circle of the Indian Arts New Delhi ; Rakesh Press, 1983. Vickery M., “Bayon : New Perspectives Reconsidered,” Journal of Khmer Studies (7, 2006) : 101173. Vidya D., The Body Adorned Singapore ; Columbia University Press, 2009. Woodwards H.W., “Studies in the Art of Central Siam 950-1350 A.D.” Ph.D. dissertation, Yale University, 1975. Woodwards H.W., “Tantric Buddhism at Angkor Thom,” Ars Orientalis 12 (1981) : 57-71. Woodwards H.W., The Sacred Sculpture of Thailand. Thailand : Riverbooks, 1997. Zefferys M., Zefferys N. and Stone J., Heaven and Empire Bangkok : White Lotus, 2001.


91

ประวัติผู้วิจัย ชื่อ สกุล

นางสาว วรรณวิภา สุเนต์ตา ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร vanvipha@su.ac.th

การศึกษา ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต (ศิลปะไทย) ภาควิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) ภาควิชาประวัติศาสตร์ศลิ ปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร Master of Architecture (M. Arch) University of Colorado สหรัฐอเมริกา สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติการทํางาน พ.ศ. 2543 รับทุนโครงการพัฒนาอาจารย์สาขาวิชาขาดแคลน ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน อาจารย์ประจําภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.