นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2553 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 15-30 กันยายน 2553 The Exhibition of Art and Design by the Faculty of Decorative Arts Members on the occasion of Silpa Bhirasri Day, 15 September 2010
The Gallery of Art and Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Wang Tha Phra 15-30 September 2010
รายนาม ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความ
รองศาสตราจารย์เทียบ สุกีธร รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา ชูครุวงศ์ รองศาสตราจารย์ชัยนันท์ ชะอุ่มงาม รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์สวเรศ เกตุสุวรรณ
ออกแบบปก ออกแบบจัดวางรูปเล่ม ถ่ายภาพผลงาน ประสานงาน/ พิสูจน์อักษร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติวรรธน์ วิฬุรห์เพชร นายวุฒิ คงรักษา นายศุภฤกษ์ ทับเสน นางภาวนา ใจประสาท
พิมพ์ที่ จำนวน
หจก. กราฟฟิค บ๊อกซ์ เลขที่ 11/586 หมู่ 10 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 700 เล่ม
เนื่องในโอกาสที่วันศิลป์ พีระศรี เวียนมาบรรจบครบรอบในอีกวาระหนึ่ง ซึ่งประเทศชาติได้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ร้ายแรง จากการแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นฝักฝ่าย ทำลายประเทศชาติอย่างเสียหาย และเพิ่งจะได้สงบลง อย่างไรก็ตาม งานศิลปะและการออกแบบก็ไม่ได้แบ่งพรรคแบ่งพวก ตรงกันข้าม ศิลปิน และนักออกแบบ กลับรวมตัวกันสร้างสรรค์ผลงาน มอบแด่ผู้ที่มีคุณูปการต่อสถาบัน แสดงบทบาทถึงความก้าวหน้าในวิชาชีพ ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อนำพาวงการให้เจริญเติบโต และเป็นที่ประจักษ์ ในสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ที่พระยาอนุมานราชธน ได้ให้กำเนิดชื่อนี้ แก่ความเป็นอัตลักษณ์ของคนไทย ในความประณีต มาเก่าแก่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ และเป็นต้นกำเนิดสายน้ำแห่งวงการมัณฑนากรในสถาบันต่างๆ ซึ่งเจริญรอยตาม ในวาระครบรอบห้าสิบสี่ปีนี้ พวกเราเหล่าบรรดาศิลปินและนักออกแบบ ได้ขอใช้วาระนี้แสดงถึงพลังสร้างสรรค์ พร้อมทั้งศักดิ์ศรี และความเคารพแด่ผู้ก่อตั้ง ดังผลงานที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน มา ณ โอกาสนี้อีกวาระหนึ่ง
รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หยุดเวลาเพื่อเยียวยาประเทศชาติ สื่อผสม ขนาด 8 x 60 x 4 นิ้ว ช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านสถานการณ์อันรุนแรงและเลวร้ายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเมือง ก่อเกิดการทำลายล้าง เผาผลาญบ้านเมืองจนวอดวาย ข้าพเจ้าอยากหยุดเวลาแห่งการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างฝ่าย ให้ประเทศไทย (บ้านของเรา) ฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติ และพร้อมที่จะก้าวสู่ผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์ | Assoc. Prof. Eakachart Joneurairatana ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
3
Fiber Fancy Fabric ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล | Asst. Prof. Namfon Laistrooglai (Ph.D.) สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
4
In search of my mother’s garden อาจารย์ปิยะพงศ์ ทองเพ็ชร์ | Piyapong Thongpetch สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
5
พลังแห่งคลื่น | Wave Power สื่อผสม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ซ.ม. คลื่นนั้นงดงามแต่แฝงเร้นไปด้วยพลัง อาจารย์วรุษา อุตระ | Varusa Utara สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
6
สัมพันธ์ เกิดผลเป็นลูก แกะ wax เหวี่ยงโลหะเงิน ขนาด 5 x 5 ซ.ม. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย | Sidalai Kanothai ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
7
บทสนทนาในความเงียบ | Silence Conversation สื่อผสม พลาสติก หิน เปลือกไม้ ขนาด 2 x 5 x 7 ซ.ม. บทสนทนาในความเงียบต้องการสะท้อนมุมมองเล็กๆ ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายกับภาระที่แบกไว้ และการแสวงหาความสงบในชีวิต โดยเปรียบเปรยจากพฤติกรรมของคนซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนถึงความแตกต่างทางความคิดและกายภาพ จากแนวคิดที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวผ่านผลงานโดยมีทัศนคติในการนำเสนอผลงานในมิติขนาดเล็ก เป็นการแสดงคุณค่า ความหมาย มุมมองที่แตกต่างผ่านสื่อผสมและการจัดวางทัศนธาตุที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงรับรู้ สื่อวัสดุ วัตถุดิบที่หยิบจับมาใช้ในงาน เป็นวัสดุสำเร็จจากงานอุตสาหกรรม และเศษวัสดุจากธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนตัวแทนสัญลักษณ์ของเศษเสี้ยวสังคมรอบกายถึงภาระของแต่ละคนกับบทสนทนาที่ไม่มีวันได้ยิน เพื่อเปิดพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้เติมเต็มเรื่องราว ผ่านวิธีการประดิษฐ์ ด้วยการนำวัสดุต่าง ๆ ที่แทนค่ามาประกอบกันอย่างตรงไปตรงมา อาจารย์ ดร. วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ | Veerawat Sirivesmas (Ph.D) ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
8
กรณีศึกษาภูมิปัญญาและวิถีชีวิตชุมชน บ้านแม่หมีใน จังหวัดลำปาง สู่พัฒนาการสร้างสรรค์เครื่องประดับชาติพันธุ์ร่วมสมัย Case study: Life and wisdom of Mae Mee Community, Lampang, Through the Creation of Contemporary Ethnic Jewellery การขึ้นรูปเครื่องประดับด้วยโลหะเงิน เส้นฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ | Asst. Prof. Supavee Sirinkraporn (Ph.D.) ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
9
From The Natural No.1 Stoneware body, Feldspartic Glaze, Oxidation Firing 1,250๐C Glaze Resist Decoration. ขนาด 11 x 12.5 ซ.ม. From The Natural No.2 Stoneware body, Feldspartic Glaze, Oxidation Firing 1,250๐C Glaze Resist Decoration and Underglaze Paint. ขนาด 11 x 12.5 ซ.ม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภกา ปาลเปรม | Asst. Prof. Supphaka Palprame ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
10
ขวดเหล้าแขวนคอ แขวนขวดด้วยลวดโลหะและให้ความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จนแก้วอ่อนตัวที่อุณหภูมิประมาณ 760 องศาเซลเซียส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ชีวิตสดใส ..... เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว สร้างความสุข....... เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่เรารู้มากกว่านั้นว่า เครื่องดื่มเหล่านี้ สร้างความผิดปกติทางสุขภาพให้กับเรา อาจารย์สิทธิโชค ชัยวรรณ | Sitthichoke Chaiwan ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
11
ลู่ตามลม | To be flexible Porcelain 1220 ํC ขนาด 50 x 6 ซ.ม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณณา ธิธรรมมา | Asst. Prof. Wanna Thithamma ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
12
ไปละกู stoneware, gold ขนาด 20 x 40 ซ.ม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงศ์ เผ่าไทย | Asst. Prof. Suebpong Powthai ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
13
เบิกบาน | Delighted Semi matt 1220 ํC ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 55 ซ.ม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ | Asst.Prof. Sayumporn Kasornsuwan ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
14
สมมุติรูป 2 | Conventional Form 2 Vitreous china, Brass ขนาด 35 x 30 x 9 ซ.ม. Dimensions variable รูปทรงที่ปรากฏอยู่ทั่วๆไปให้เห็นไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นอยู่เช่นนั้น นั่นเอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรธนา กองสุข | Asst. Prof. Kornthana Kongsuk ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
15
เมืองแห่งความเพริศพริ้ง | The Gorgeous City ภาพถ่าย กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต ลักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร | Asst. Prof. Prasert Pichayasoonthorn ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
16
ด้วยพรหมวิหารสี่ จึงมีห้าร้อยภาพ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
ขอบูชา พระคุณครู มัณฑนศิลป์ บูชาถิ่น แห่งธรรม พุทธศาสนา ด้วยความรัก จากดวงใจ ด้วยศรัทธา ใต้โค้งฟ้า มาสู่ดิน ตราบสิ้นใจ กราบคุณครู ผู้ชี้นำ ทางแก่ศิษย์ ทางชีวิต ศิษย์จะเดิน ไปไหวไหม ศิษย์จะไป ณ แห่งหน ตำบลใด ครูผู้ให้ แสงสว่าง กระจ่างปัญญา แสนภูมิใจ ที่ได้เกิด เป็นลูกศิษย์ มีชีวิต ท่ามกลาง พุทธศาสนา แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง องค์พุทธศาสดา มัณฑนศิลป์ พาสร้างงาน สานพุทธธรรม และแล้วศิษย์ ได้เป็นครู สอนลูกศิษย์ เสี้ยวชีวิต คิดถึงครู ผู้เลิศล้ำ อดทนสอน อดทนบอก คอยตอกย้ำ กว่าศิษย์ร่ำ เรียนได้ ปริญญา ลำพังเพียง ขอเรียงภาพ กราบเท้าครู มิอาจรู้ พระคุณครบ ทุกทิศา พรหมวิหารสี่ ที่ครูมี ตลอดมา ประกาศกล้าว่า รักศิษย์ นิจนิรันดร์
เมตตา ปรารถนาให้ศิษย์มีความสุข เช่น สอนเทคนิคสร้างสรรค์ความงามที่ทำให้สุขใจ แนะนำให้ปฏิบัติธรรม และศึกษาวิชชาธรรมกาย กรุณา ปรารถนาให้ศิษย์พ้นทุกข์ สอนว่าให้รักษาศีลห้า เตือนว่าอย่ากินเหล้าเมาเบียร์ เขี่ยบุหรี่เลย มันไม่ดี มุทิตา ยินดีเมื่อเห็นศิษย์ได้ดี เช่น ให้ขนมอร่อย คะแนนเยอะ ๆ ถ้าศิษย์ขยันเรียนและทำงานมาส่งตรงเวลา อุเบกขา ปล่อยศิษย์เมื่อถึงที่สุด แล้วแต่เวรแต่กรรม เช่น มีศิษย์ที่ขี้เกียจ มาสาย ไม่มาเรียน แต่มาขอเกรดเอ เพื่อช่วยอัพเกรดให้พ้นโปร พอให้แล้วกลับไปโม้กับเพื่อน ๆ ว่าไม่ต้องมาเรียนก็ได้เกรดเอ งานที่สัญญาว่าจะทำส่ง ผ่านไปสิบปียังไม่มีวี่แววว่าจะมาส่ง หรือศิษย์บางคนไม่จ่ายเงินค่าวัสดุการเรียนส่วนตัว ทั้งที่เพื่อน ๆ จ่ายเงินกันทุกคน ทุกคนได้รับของไปครบ ไม่มีบวกกำไร ครูยอมขาดทุนด้วยซ้ำ ทุกคนทำแล้วส่งครู ครูตรวจแล้วส่งคืน แต่ศิษย์คนนี้นอกจากไม่มีเงินจ่าย ยังพิมพ์เอกสารร้องเรียนฟ้องคณบดีว่า ครูคนนี้เก็บเงินนักศึกษา ไม่สมควรเป็นครู ครูจึงให้อุเบกขาแก่ศิษย์คนนี้ได้อย่างสบายใจ อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช | Bowornrat Komvej ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
17
1) แมวดูซ่ากับสึนามิ 2) แมวแก่กับถ้ำ 3) การคงอยู่ของความทรงจำของแมว สีอะครีลิคบนผ้าใบ 1) ขนาด 61 x 81 ซ.ม. 2) ขนาด 49 x 58 ซ.ม. 3) ขนาด 38 x 56 ซ.ม. รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชมุนี | Assoc. Pof. Pairoj Chamunee ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
18
1) จิตทัศน์ | In mind 2) เชิงเทียน สถูป | Stupa Candle Holder 1) สีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาด 150 x 200 ซ.ม. 2) เชื่อมโลหะ แก้ว ขนาด 35 x 35 x 80 ซ.ม., 40 x 40 x 100 ซ.ม., 45 x 45 x 120 ซ.ม. รองศาสตราจารย์ปรีชา ปั้นกล่ำ | Assoc. Prof. Preecha Pun-Klum ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
19
Look into Your Mind สีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาด 100 x 105 ซ.ม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต | Teerawat Ngarmchuachit ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
20
น้ำใสใจจริง สีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาด 120 x 140 ซ.ม. น้ำเป็นปัจจัยหลักของโลก และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ นอกจากน้ำจะให้ประโยชน์ทางกายภาพแล้ว ยังให้ความรู้สึกที่ดี คือ เย็น ชุ่มฉ่ำ สบาย เมื่อเราพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า มนุษย์ที่มีคุณสมบัติภายในจิตใจเหมือนดั่งน้ำ ใครที่ได้รับสัมผัสจะรับรู้ได้ว่า เย็น ชุ่มฉ่ำ สบายใจ เหมือนได้รับน้ำใจอันเมตตาปรานีของผู้นั้นโดยแท้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง | Asst. Prof. Praiwan Dakliang ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
21
ใต้ร่มโพธิ์ สีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาด 100 x 120 ซ.ม. ด้วยความรู้สึกที่รักและเทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวของเรา อาจารย์สมพงศ์ แสงอร่ามรุ่งโรจน์ | Sompong Seangaramroungroj ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
22
รูปธรรมพระ ๙๙๙๙๙๙๙๙๙/2553 | Buddha Object 999999999/2010 ปั้นดินน้ำมัน หล่อพลาสเตอร์ ขนาด 31 x 25 x 36 ซ.ม. นามเป็นสิ่งกำหนดรูป และในขณะเดียวกัน รูปก็กำหนดนาม เป็นสิ่งที่เกิดขึินได้ในสภาวะห้วงแห่งจิตมนุษย์ ที่อยู่ในวัฏสงสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ สง่า | Asst. Prof. Pitak Sa-nga ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
23
Omega 3 bronz (สำริด) ขนาด 150 x 55 x 15 ซ.ม. วันหนึ่งผมตื่นขึ้นมากับความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า จากการใช้ชีวิตในรูปแบบเฉพาะของผม ทำให้ผมเริ่มรู้ตัวเองว่า ร่างกายของผมคงขาดอะไรบางอย่างไปเป็นแน่แท้ ผมจึงเริ่มที่จะ แก้ไขและบำรุงร่างกาย โดยการบริโภคอาหารเสริม....ใช่แล้วครับ มันคือ น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล ผมกินมันในตอนเช้าหนึ่งเม็ด และก่อนนอนอีกหนึ่งเม็ด ช่วงเวลาหลังจากนั้นไม่นาน ผมจึงได้รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงจนต้องอุทานออกมาว่า “โอ้ว....พระเจ้ายอด!....มันจอร์จมาก!” และอยากจะบอก พยานรู้เห็นเพื่อยืนยันกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยประโยคที่ว่า.... ”ซาร่า! คุณเห็นอย่างทีผ่ มเห็นรึเปล่า มันเป็นอะไรทีน่ า่ ทึง่ เหลือเกิน” และนี่คงเป็นค่านิยมในการดำรงชีพของคนปัจจุบัน ที่สรรหาสารอาหารทดแทนเพื่อความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการใช้ชีวิตในรูปแบบของคนยุคใหม่ที่ทันสมัย อาจารย์วรภรรท สิทธิรัตน์ | Vorapat Sithirath ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
24
Hula Hoop หล่อ Wax ขนาด 16 x 29 x 28 ซ.ม. ความเข้าใจ ภาวะความเป็นจริง เป็นความสุข อิสระในจิตใจ อาจารย์สหเทพ เทพบุรี | Sahathep Thepburi ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
25
Queen of the Tropical สีน้ำ ขนาด 38 x43 ซ.ม. ข้าพเจ้าวาดภาพสีน้ำ ซึ่งเป็นรูปทรงของดอกไม้ พรรณพืช แมลง ที่มีความสัมพันธ์กันทั้งรูปทรง และวิถีชีวิตสอดรับประสาน เกื้อกูลกันจนเกิดเป็นความงามตามธรรมชาติ ซึ่งในความงามนั้นได้ปรากฏความดี ที่เป็นคุณค่าอันสำคัญ และยังผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อาจารย์อิทธิพล วิมลศิลป์ | Ittipol Wimolsilp ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
26
The Alienation สีอะครีลิค ขนาด 92 x 105 ซ.ม. อาจารย์อุณรุท กสิกรกรรม | Unarut Kasikornkam ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
27
พระธาตุที่อิสาน สีน้ำ ขนาด 50 x 40 ซ.ม. ไปเก็บข้อมูลศิลปกรรมที่ภาคอีสาน เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ แต่ของเก่า ๆ ยังน่าดูอยู่ อาจารย์สุรศักดิ์ รอดเพราะบุญ | Surasak Rodpraoboon ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
28
เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต | Seed of Life ขนาด 25 x 25 x 25 ซ.ม. หลายคนมีความเชื่อว่า จุดเริ่มต้นวัฏจักรของชีวิตคงเริ่มจากการเกิด การเกิดทำให้มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับปรากฎการณ์การกำเนิดในธรรมชาตินั้น ก็มีที่มาหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกัน อย่างพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ เปรียบได้กับการกำเนิดของชีวิตมนุษย์ เพื่อการเจริญพันธุ์ให้คงอยู่ไว้ซึ่งชีวิตที่มาทดแทน และเปลี่ยนผ่านไปตามวัฏจักรของมัน ข้าพเจ้าจึงได้นำรูปแบบการเจริญพันธุ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นรูปแบบแห่งการเจริญพันธุ์ที่งดงาม ลึกลับ และมีเสน่ห์ มาเสนอในรูปแบบผลงานสิ่งทอ 3 มิติ อาจารย์เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์ | Saowaluck Kabilsigha
29
ต้นทาง
ต้นไม้ เติบใหญ่ ใบเขียว ชุ่มน้ำ กรำเเดด เเตกใบ ต้นคิด ผลิตกรรม ย้ำชะตา รดน้ำรู้ ดูตามจริง ทิ้งความเคย ต้นเเบบเผย วิถีตน พ้นพันธนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ | Asst. Prof. Chotiwat Punnopatham ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
30
Furnimal ตัดฉลุ MDF board ด้วยเครื่อง CNC ขนาด 119 x 153 x 40 ซ.ม. จากความงามของสัตว์ป่าที่อาศัยในธรรมชาติ นำมาออกแบบเป็นเครื่องเรือนรูปทรงแปลกตาที่มีประโยชน์ใช้สอยหลากหลายภายในที่พักอาศัยของมนุษย์ บนส่วนหลังเป็นโต๊ะเล็ก ๆ สำหรับวางของใช้ ของตกแต่งบ้าน ส่วนหัวซ่อนหลอดไฟฟ้าส่องสว่างใช้เป็นโคมไฟ ส่วนเชาใช้แขวนหมวกหรือของใช้อื่นๆ การออกแบบคำนึงถึงการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้วัสดุทดแทนไม้ คือ MDF (Medium-density fiber) board ขนาด 120 x 240 ซ.ม. เพียง 1 แผ่น ตัดฉลุเป็นชิ้น ประกอบกันด้วยการเข้าสลัก ไม่ต้องใช้ตะปู ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี | Asst. Prof. Arwin Intrungsi ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
31
บาป 7 ประการ หมายเลข 2 | Seven Deadly Sins No.2 Letterpress ขนาด 45 x 62 x 3 ซ.ม. บาป 7 ประการ เป็นความผิดพื้นฐานที่มนุษย์เรามักกระทำขึ้น และการไม่ยอมรับความจริงนั้นจะทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นการแสดงออกว่าพวกเราทุกคนนั้นเมื่ออยู่ต่อหน้าตนเอง ก็อยากที่จะหลีกหนีความชั่วร้ายของตนเองได้พ้น สร้างสรรค์ด้วยเทคนิคโบราณ อาจารย์เขมิกา ธีรพงษ์ | Khemika Theraphong ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
32
ความสัมพันธ์ที่เร้นลับ 4/53 (ล) | Misterious Relationship 4/53 (S) จิตรกรรม ผสมวัสดุ ขนาด 90 x 110 ซ.ม. ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธที่เกี่ยวกับศาสนา ก่อให้เกิดพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตมากมาย ตั้งแต่เกิดจนสิ้นลม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ สิงห์สาย | Asst. Prof. Supot Singhasai ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
33
พึ่งพิง ดัดไม้แผ่น ขนาด 40 x 38 x 185 ซ.ม. ชีวิตคู่แม้อาจยืนอยู่ลำพังได้ แต่คงไม่มั่นคงและมั่นใจเทียบเท่าการมีคนอยุ่เคียงข้าง อาจารย์อินทรธนู ฟ้าร่มขาว | Inthanu Faromkao ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
34
การออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่กับการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สู่ชุมชน The designing develops the new format and model products with the one building to the community poster ขนาด 24 x 36 นิ้ว ต้องการสื่อให้เห็นถึงการออกแบบทางผลิตภัณฑ์ ที่เข้าไปพัฒนาชุมชน ในงานเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ ของตกแต่งบ้าน รวมทั้งของที่ระลึก เพื่อให้เกิดความหลากหลาย เพิ่มทางเลือกให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ขอขอบคุณ สกอ. และ สกว. ในการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยในโครงการพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจับของอาจารย์รุ่นใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ อาจารย์ ดร. รัฐไท พรเจริญ | Ratthai Porncharoen (Ph.D.) ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
35
คนกับพลาสติก 1, 2 เรซิ่นหล่อ เส้นพลาสติก เม็ดพลาสติก PP, PE Acrylic อบความร้อน ขนาด 40 x 40 ซ.ม. มนุษย์กับพลาสติก สามารถอยู่ร่วมกันได้ สัมผัสได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาคภูมิ บุญธรรมช่วย | Asst. Prof. Parckpoom Boonthumchoy ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
36
คเณศวร์ 1 – คเณศวร์ 5 | Kanesha 1st - Kanesha 5th เม็ด PE, พลาสติก 2 ชนิด, เสต็นซิล (Stencil) และเตาไมโครเวฟ ขนาด 36 x 46 x 2.5 ซ.ม. เป็นการทดลองนำเม็ดพลาสติกมาสร้างงานศิลปะ เพื่อสื่อสารกับสังคมว่าวัสดุ Recycle ประเภทพลาสติก สามารถนำมาสร้างงานศิลปะได้ โดยใช้แนวทางลักษณะ Graffiti Art เป็นรูปแบบแนวทางในการนำเสนอ ประกอบกับเทคนิคตัดเจาะกระดาษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ | Asst. Prof. Chainarong Ariyaprasert ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
37
คำสั่งโจทย์ วิชา SKETCH DESIGN ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร วิวรรธกะ | Asst. Prof. Nopporn Vivataga ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
38
บทความในคอลัมน์ 4d|SOCIETY นิตยสาร art|4d ฉบับที่ 168 เดือนมีนาคม 2553 หน้า 32 อาจารย์สุคนธรส คงเจริญ | Sukontaroat Kongcharoen ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
39
กราเซียร์ ดีไซน์ โฮเทล | GLACIER DESIGN HOTEL แรงบันดาลใจในการออกแบบ เกิดจากการผนวกความคิดระหว่างการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และไอเดียที่คลี่คลายมาจากสถานะของน้ำ อันเป็นต้นทางของวัฒนธรรมของไทย โดยสถานะของน้ำที่แสดงตั้งแต่ ไอน้ำ ก๊าซ น้ำปกติ น้ำในสภาวะเหนียวหนืด น้ำแข็ง และคลี่คลายรูปทรงจากสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ให้มีมุมมองสมัยใหม่ สร้างความเป็นแลนมาร์คใหม่ ของจังหวัดขอนแก่น
ว้าว แบงค์ค้อก | WOW BANGKOK การสืบสานวัฒนธรรมไทย ในโรงแรมขนาดเล็ก 7 ห้องนอน โดยแก้ปัญหาความแคบของอาคารจนสำเร็จ และพลิกฟื้นอาคารเก่าให้สามารถประกอบธุรกิจได้แบบยั่งยืนด้วยการออกแบบ และกลายเป็นทอร์คออฟเดอะทาวน์ ของย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร อาจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง | Akekapong Treetrong ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
40
สู่สันติสุข | to happiness สีน้ำบนกระดาษ ขนาด 36 x 55 ซ.ม. ต้องการแสดงออกซึ่งความงามแบบตะวันออกที่ประณีต อ่อนน้อม สงบเย็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยูร โมสิกรัตน์ | Asst. Prof. Payoon Mosikarat ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
41
บุษราคัม | Bussaracum ความงามของบุษราคัมเกิดจากการหักเหของแสง และการสะท้อนแสงจากรูปทรงที่เรียบง่ายของหินมีค่า ให้ผลสัมผัสแสงสีที่งดงามตาน่าประทับใจ “บุษราคัม” โคมไฟตั้งโต๊ะ, ติดผนัง รูปทรงสามเหลี่ยมมุมฉาก ตัวถังโคมใช้วัสดุทำได้หลากหลาย คอนกรีต, เซรามิก, อลูมิเนียมหรือไม้ ให้แสงสว่างทางอ้อม โดยสะท้อนแสงจากแผ่นพับโลหะกลับสู่ตัวโคม อาจารย์กศิตินทร ชุมวรานนท์ | Kasitin Chumwaranond ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
42
โสมนัส | Be Happy สื่อผสม (คริสตัล, กระจกเงา) ขนาด 40 x 30 x 5 ซ.ม. จิตที่ตื่นรู้ เบิกบาน เป็นพุทธะ อาจารย์พัฒนา เจริญสุข | Pattana charoensuk ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
43
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีวนานุสรณ์ วัดเขาดินวนาราม บ้านนายม ต. หนองกุง อ. น้ำพอง จ. ขอนแก่น พระบรมธาตุเจดีย์ศรีวนานุสรณ์ เป็นพระมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในการนี้พระครูวิมลธรรมศิริ (บัณฑิต ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดเขาดินวนาราม พร้อมด้วยอุบาสกและอุบาสิกาบ้านนายม ได้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างพระมหาเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่จนครบ ๕,๐๐๐ ปี งบประมาณก่อสร้าง ๒๐๐ ล้านบาท อาจารย์สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล | Sombat Wongarsavanarumon ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
ร่วมบริจาคและสมทบทุนได้ที่ ชื่อบัญชี “พระมหาเจดีย์ศรีวนานุสรณ์” เลขที่ 109-2-20233-8 ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนหน้าเมืองขอนแก่น www.kaowdin.com
44
Borobudur the manifestation of Sacred Mount Sumeru; the main structure to symbolize the centre of the earth. It is was a medium used in representing, expressing and explaining the abstract of the sacredness to concrete. It is a concept for people with wisdom to contemplate upon, concerning the stage of time in the universe and the stage of time in the mind as well as the reality of nature and mind. The natural phenomena of cloud and sun shine at the moment, was probably to focus on balance and serenity, serving as a bridge connecting people with the Genius Loci of the place, enhancing the feeling of sacredness and drawing the mind to a peaceful kingdom situated in a golden light in the higher realms. อาจารย์ ดร. วรนันท์ โสวรรณี | Waranan Sowannee (Ph.D.) ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
45
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ สำหรับ นิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปี 2553 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าร่วมกับศิลปินและนักออกแบบหลายท่านได้มีโอกาสเข้า เยี่ยมชมธุรกิจของบริษัท SCG Chemicals ที่อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้ทำความรู้จักและเข้าใจถึงวัสดุและ กระบวนการผลิตรวมถึงการนำไปใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศจากวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เข้าศึกษาถึงสถานที่ที่นำเม็คพลาสติคชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันหลายชนิดจากโรงงาน SCG มาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งน่าสังเกตว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตซ้ำจำนวนมาก โดยใช้การขึ้นรูปด้วยการฉีดเม็ด พลาสติคเข้าไปในแบบแม่พิมพ์โลหะและมีความร้อนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ ข้าพเจ้าเข้าชมโรงงานผลิตถังเก็บน้ำ ถังบำบัดน้ำ เสีย กล่องบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่สำหรับอาวุธสงคราม กระติกน้ำรักษาอุณหภูมิ จนไปถึงถังน้ำแข็งตามร้านตลาดทั่ว ๆ ไป ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างดียิ่ง ในสถานที่ผลิตจริง เต็มไปด้วยเครื่องจักรต่าง ๆ ขนาดใหญ่มากมายซึ่งเสียงดัง และวุ่นวายพอสมควร แต่ก็สนุกสนานในสภาวะแวดล้อมที่ไม่คุ้นชินเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยต้องอยู่ในที่ไม่คุ้นเคย
ภาพที่ 1-2 : การทัศนศึกษา เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เม็ดพลาสติคฉีดขึ้นรูป ที่มา : http://uddee.multiply.com/photos/album/360
เมื่อทำความเข้าใจพอสมควรแล้ว ได้เดินทางมาที่โรงงานรวมถึงได้ทดลองปฏิบัติการสร้างผลงานศิลปะ โดยใช้ วัสดุพลาสติค ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถย้อนกระบวนการกลับมาใช้ได้ใหม่ (รีไซเคิล) ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เป็นพื้นที่ ส่วนหนึ่งในโรงงานและอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาช่วงสั้น ๆ ในการประมวลความรู้ความเข้าใจ ทีม่ เี พือ่ กำหนดรวบยอดแนวความคิด และทดสอบสร้างชิน้ งานให้เกิดขึน้ เป็นความประทับใจและสภาวะทีน่ า่ สนใจทีจ่ ะต้อง ผลิตสร้างชิ้นงานในสภาพแวดล้อมซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อการทำงานสร้างสรรค์มากนัก
46
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ ทางทีมงาน SCG Chemicals มีการจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูล สำหรับศิลปินและ นักออกแบบด้วย รวมถึงการพักช่วงเวลาการปฏิบัติงาน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนักวิจัยวัสดุของ SCG ศิลปินและ นักออกแบบได้ร่วมนำเสนอแนวความคิด (concept) แรงบันดาลใจ ที่เป็นรายละเอียดของผู้เขียน เทคนิคและวิธีการใน การออกแบบอย่างเป็นขั้นตอน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ มีการสันทนาการร่วมกันเพื่อสังสรรค์ผ่อนคลายอิริยาบถ และทำให้ ผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่านสนุกสนานคุ้นเคยและมีความเป็นกันเองมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและประทับใจมาก ดังนั้นเทคนิคและ วิธีการดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับการจัดกิจกรรมนี้
ภาพที่ 3-6 : แสดงตัวอย่างเอกสารของ SCG ที่เก็บข้อมูลผลงานและกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้รายละเอียดไว้ด้วยการบันทึกอย่างละเอียด ครอบคลุมความคิด ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ปัญหาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ที่มา: http://uddee.multiply.com/photos/album/360
ภาพที่ 7 : บรรยากาศของกิจกรรมระหว่างการทำเวิร์คชอปที่เกิดขึ้น จะเห็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งนักออกแบบ ศิลปินและอาจารย์จำนวนมาก จากหลายสถาบัน ที่รู้จักกันบ้าง ไม่รู้จักกันบ้าง ที่มา: http://uddee.multiply.com/photos/album/360
47
ภาพที่ 8-13 : แสดงบรรยากาศการทำงานของข้าพเจ้า ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน untitled 1st -2nd และ Kanesha 1st-5th รวมถึงบรรยากาศการนำเสนอ ผลงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในห้องประชุม ที่มา : http://uddee.multiply.com/photos/album/360
48
< ภาพที่ 14 : แสดงผลงานของสำเร็จ ของเวิร์คชอป SCG Chemical ที่ใช้ ต้นแบบกระดาษแข็งเจาะ มาจากงานเวิร์คชอปกระดาษที่ผ่านมา ที่มา: http://uddee.multiply.com/photos/album/360 ^ ภาพที่ 15 : ซ้ายบน Kanesha1st, กลางบน Untitled 1st, ขวาบน Kanesha 2nd, ซ้ายล่าง Kanesha 3rd, กลางล่าง Kanesha 4th, ขวาล่าง Kanesha 5th ที่มา: http://uddee.multiply.com/photos/album/360
โดยรายละเอียดของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานในการแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ ได้เลือกชิ้นงานที่มีชื่อว่า Kanesha 1st-5th ร่วมแสดงโดยได้คัดลอกบันทึกกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานมา ดังต่อไปนี้ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน เมื่อเห็นวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่มี และเมื่อได้รับความเข้าใจจากวิทยากร ประกอบกับการเตรียมแบบ กระดาษแข็งเจาะจากงาน workshop paper ที่ผ่านมา จึงประมวลผลสรุปได้ดังนี้ 1. น่าจะใช้ PE ชนิด POWDER เพราะดูจากคุณสมบัติและความรวดเร็ว สะดวก ทำพิมพ์ได้ง่ายเหมาะกับเวลา ในการปฏิบัติการ (Workshop) ที่จำกัด 2. ควรนำเสนอโดยใช้แรงบันดาลใจจากงาน Graffiti ที่ต่อยอดมาจาก Workshop Paper ที่ผ่านมา เพื่อให้แนวคิด แข็งแรงและชัดเจนขึ้น โดยเป็นการทำให้เกิดลายผ่านกระดาษฉลุลวดลาย (Stencil) ลงไปบนผง PE POWDER1 แล้วนำ ไปผ่านความร้อนทำให้สารนั้นหลอมละลาย (Melt) ในเตา หลากหลายรูปแบบ สีสัน ตามที่วัตถุดิบมีและน่าสนใจ 3. ลักษณะงานน่าจะเป็นแบบ 2 มิติ มีสีสันและลวดลาย หรือองค์ประกอบอย่างง่าย เห็นแล้วโดดเด่น สะดุดตา ด้วยทฤษฎีองค์ประกอบอย่างง่ายคือ Principle Subordination หรือทฤษฎีสี CONTRAST, HARMONY OF DIFFERENT TONE, INTENSITY ฯลฯ 4. บุคลิกของงานจะมีลักษณะของการซ้ำกันของหน่วยย่อย ๆ ที่ถูกทำให้เด่นด้วยลายแกะและสีที่พ่นลงไป
49
โดยแนวคิดสรุปได้นำมาสู่การทดลองสร้างสรรค์ผลงาน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การทดลองที่ 1 : ชื่องาน KANESHA 1st 1.1 นำ PE POWDER สีฟ้าอ่อน มาโรยลงบนกระดาษแข็งเจาะรูปพระพิฆเนศวร์ (โดยพ่นสเปรย์กาวนำ) 1.2 โรย PE POWDER น้ำ ด้วยสีส้มสด เพื่อให้ชัดและดูเด่นขึ้น นำกระดาษแข็งออก 1.3 โรย PE POWDER สีดำ โดยรวม ๆ อีกครั้ง แบบไม่ค่อยตั้งใจมากลงไป (โดยทั้งหมดโรยลงบน แผ่นฟอยล์) เพื่อดู “ขอบ” และผลลัพท์ของ “ขอบ” ที่เกิดขึ้น 1.4 นำไปผ่านความร้อนทำให้สารนั้นหลอมละลาย (Melt) ในเตา ที่อุณหภูมิประมาณ 200-300 องศาเซลเซียส ประมาณ 15-20 นาที 1.5 นำออกมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วลอกออกมาโดยงานที่ได้ จะได้รูปพระพิฆเนศวร์อยู่ด้านในที่ติดอยู่ ชั้นล่างสุดของฟอยล์ ขอบของงานมีลักษณะไม่เรียบร้อย ไม่สม่ำเสมอ ดูเป็นธรรมชาติแบบดิบ ๆ ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้นต่อการพัฒนาชิ้นงานต่อไป
2. การทดลองที่ 2 : ชื่องาน Untitled 1st เป็นความพยายามจะใช้ PE ชนิดใส เป็นเม็ด รวมกับ POWDER และใช้เทคนิคการโรยทับบนกระดาษแข็งที่ ตัดเจาะเป็นลวดลายกราฟิก ขั้นตอน 2.1-2.5 เหมือนกับขั้นตอน 1.1-1.5 แต่เปลี่ยนลวดลายของกระดาษแข็ง ค้นพบ ปัญหาว่า เมื่อโรย PE POWDER ลงบนกระดาษแข็งแล้วลายจะเลยออกมาจากขอบ เนื่องด้วยปัญหาความสูงต่ำของ รองพื้นที่ทำไว้โดย POWDER กับเม็ดพลาสติกใสไม่เท่ากัน ทำให้งานออกมาควบคุมผิวหน้าได้ไม่ตรงกับที่จินตนาการ เอาไว้ จึงได้ทำการตัดขอบให้คม และเก็บไว้ดู effect ต่อไป (จึงทำให้ตัดสินใจเปลี่ยนลักษณะการรองพื้นใหม่ต่อมา) 3. การทดลองที่ 3 : ชื่องาน KANESHA 2nd-5th เป็นขั้นของการเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ใน 2 ขั้นแรก ด้วยการใช้แผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เรียงต่อกันบน แผ่นฟอยล์ แล้วเชื่อมติดกันด้วยผง PE ชนิดใสให้ติดกันเป็นแผ่นใหญ่ได้ จากนั้นจึงได้นำกระดาษแข็งตัดเจาะลาย พระพิฆเนศวร์ลงไป ด้วยสีที่เด่นกว่าพื้นหลัง โดยขั้นนี้ใช้รองพื้นเป็นสีเหลืองครีมและพระพิฆเนศวร์สีน้ำตาลเข้ม ต่อมา KANESHA 3rd : ใช้รองพื้นเป็นเม็ดพลาสติกคละสี (คล้ายกรวดทราย) และสีพระพิฆเนศวร์เป็นสีดำ ต่อมา KANESHA 4th : ใช้รองพื้นเป็นแผ่นพลาสติกสีโทนฟ้า น้ำเงิน และสีพระพิฆเนศวร์ใช้ PE POWDER สีชมพู shocking pink (เชื่อมด้วย PE POWDER ชนิดใส) และขั้นสุดท้าย KANESHA 5th : ใช้รองพื้นเป็นแผ่นพลาสติกสีแดง 95% อีก 5% เป็นสีม่วงอ่อน และสีของ พระพิฆเนศวร์ใช้สีเหลืองสด (เชื่อมด้วย PE POWDER ชนิดใส) โดยสรุปทั้ง 3 การทดลองนี้ ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่ 10.15 น. – 13.00 น. ขอขอบคุณ SCG ที่ให้โอกาสทดลอง และวิจัยตั้งข้อสังเกตต่อการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้
50
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปในการสร้างสรรค์ด้วยพลาสติก 1. ควรผลิตขั้นตอนที่ให้กระบวนการเรียบง่าย และควบคุมได้ง่ายกว่านี้อีก 2. ควรพยายามพัฒนาต่อยอดชิ้นงานให้มีความหลากหลาย ได้หลายแบบมากขึ้น 3. ควรเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า ในการสร้างงานที่มีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด 4. ควรมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมและเพียงพอต่อการใช้งาน
ความคล้ายที่แตกต่างระหว่างคำสองคำที่คนไทยมักเข้าใจผิด อาจารย์ ดร. ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
โลหะที่ ใช้ขึ้นรูปตัวเรือนเครื่องประดับที่นิยมใช้ ในปัจจุบันส่วนมากเป็นโลหะผสมกับสารเจือ หรือเรียกว่า ธาตุเจือหรือธาตุผสม (Alloying element) เพื่อให้มีสมบัติ ตามต้องการ ซึ่งโลหะมีค่า (Precious metals) ที่นิยมนำมา ใช้ทำตัวเรือนเครื่องประดับมี 4 ชนิด1 คือ ทองคำ (Gold; Au) เงิน (Silver; Ag) แพลทินัม (Platinum; Pt) และ แพลเลเดียม (Palladium; Pd) โดยเกือบ 90% จะขึ้นรูปเป็น ตัวเรือนเครื่องประดับโดยวิธีการหล่อ (Casting) และจะมี ส่วนน้อยที่ขึ้นรูปโดยวิธีทางกล เช่นการทำทองและเงิน รูปพรรณเป็นต้นสำหรับทองคำบริสุทธิ์นั้น จะมีสีเหลือง (Yellow gold) แต่ทองคำมีสมบัติพิเศษคือเมื่อเจือธาตุอื่น ลงไปในทองคำ ตามสัดส่วนที่ต่างกัน จะสามารถทำให้ เปลี่ยนเป็นสีอื่นได้ (ตารางที่ 1) เช่น ทองคำ (Gold/ Yellow gold) ทองคำขาว (White gold) ทองคำสีกุหลาบ (Rose gold) หรือทองคำชมพู (Pink gold) หรือทองคำแดง (Red gold) ทองคำเขียว (Green gold) ทองคำเทา (Gray gold) ทองคำดำ (Black gold) ทองคำม่วง (Purple gold) และทองคำฟ้า (Bluegold) เป็นต้น โดยปกติทองคำสามารถ เจือด้วยธาตุอื่นกว่า 100 ชนิด แต่ธาตุเจือที่ได้รับความนิยม มักจะเป็นเงิน และทองแดงซึ่งโลหะมีค่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้น พบว่ามีโลหะมีค่าอยู่ 2 ชนิดที่คนไทยมักเข้าใจผิดและใช้ สับสนกันบ่อย ๆ คือ ทองคำขาว และทองขาว (แพลทินัม) ถ้าแปลคำศัพท์ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 254211 นั้น “Gold” แปลว่า ทองคำ (ไม่ใช่ทองเฉยๆ) ดังนั้น “White gold” จึงแปลว่า ทองคำขาว ซึ่งมีความหมาย ว่าเป็นโลหะเจือ (Alloy) ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของแข็งสี เงินเป็นเงางาม บุให้เป็นแผ่นหรือรีดให้เป็นเส้นลวดได้ ซึ่ง ประกอบด้วยทองคำกับโลหะเจือที่มีสีขาวอื่น ๆ เช่น เงิน
นิเกิล สังกะสี หรือแพลเลเดียม เป็นต้น ซึ่งโลหะเจือเหล่านี้ จะเปลี่ยนสีของทองคำ ให้กลายเป็นสีขาวเงิน คล้าย แพลทินัม มักใช้ทำเครื่องรูปพรรณ ในบางครั้งเราอาจจะ สังเกตเห็นตราตอกเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของทองคำ เช่น 90% 75% หรืออื่น ๆ เพื่อบ่งบอกปริมาณทองคำบริสุทธิ์ ยกตัวอย่างเช่น ตราตอก 90% สำหรับทองคำ หมายถึงมี ทองคำบริสทุ ธิ ์90% ผสมกับเงินและทองแดงอีก10% สำหรับ ทองคำขาว หมายถึง มีทองคำบริสุทธิ์ 90% ผสมกับเงิน และแพลเลเดียมอีก 10% จะเห็นได้ว่าทั้งสองส่วนผสมของ ทองคำและทองคำขาวยังคงมีทองคำบริสุทธิ์เป็นโลหะ หลักเพียงแต่ว่ามีส่วนผสมอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันนี้การผสมนิเกิลในทองคำเพื่อให้ทองคำเปลี่ยนสี เป็นทองคำขาวนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากนิเกิลทำ ปฏิกิริยากับผิวหนัง ทำให้ผู้สวมใส่เครื่องประดับทองคำขาว บางคน (ประมาณ 12.5%) เกิดการระคายเคืองเล็กน้อย และอาจจะเป็นผดผื่นคัน ระยะหลังจะมีการเคลือบผิวด้วย โลหะสีขาวที่เรียกว่า โรเดียม (Rhodium) ซึ่งดูคล้ายกับ ทองขาวมาก การเคลือบผิว (ชุบ) ด้วยโรเดียมจะทำให้ทอง คำขาวดูขาวมากขึ้นอีก โดยธรรมชาติแล้วสีของทองคำขาว จะเป็นสีออกขาวอมเทา แต่โรเดียมจะขาวมากและแข็ง มากอีกด้วย ในการเก็บรักษาแหวนทองคำขาวให้ดูดีตลอด จึงจะต้องนำไปชุบด้วยโรเดียมทุก ๆ 12-18 เดือน สำหรับ ราคาของทองคำกับทองคำขาวนั้น ขึ้นอยู่ส่วนผสม หรือ เปอร์เซ็นต์ของทองคำที่นำมาใช้ แต่ถ้ามีส่วนผสม หรือ เปอร์เซ็นต์ที่เท่ากันแล้ว ทองคำขาว 75% จะราคาสูงกว่า ทองคำ 75% เพราะว่าเงิน และแพลเลเดียมที่ใช้เป็นส่วน ผสมของทองคำขาวมีราคาสูงกว่าเงินทองแดง และสังกะสี ที่ใช้เป็นส่วนผสมของทองคำ
51
ส่วนคำว่า “Platinum” ถ้าแปลคำศัพท์ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 254211 นั้น แปลว่า ทองขาวชนิดหนึ่ง โดยทองขาวอาจรวมถึงโลหะนิเกิลด้วยก็ได้ ซึ่งมีความหมายว่าเป็นโลหะบริสุทธิ์ (แพลทินัม) มีสีขาวเงินถึงเทาเงินเป็นเงางาม บุให้เป็น แผ่นหรือรีดเป็นเส้นลวดได้ และด้วยความแข็งที่ไม่มาก จึงไม่ค่อยเป็นผลึกที่เป็นเหลี่ยมคม มาก (รูปที่ 1) แพลทินัมมีไม่มากนัก ซึ่งมีการประมาณการว่าเปลือกโลกของเรามีแพลทินัม ประมาณ 0.005 ppm (Part per Million - เป็นหน่วยบอกค่าความเข้มข้นของสารเคมี รูปที่ 1 ผลึกแพลทินัมธรรมชาติ12 ยกตัวอย่าง เช่น 1 ppm คือ ใส่สารเคมีตัวนี้ไป 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ล้านส่วน เป็นต้น) กล่าวคือสินแร่ 10 ตัน สกัดแพลทินัมได้เพียง 1 ออนซ์ (31.167 กรัม) เท่านั้น มักถูกใช้ เป็นตัวโลหะสำคัญในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เครื่องมือผ่าตัด เพราะไม่เป็นสนิม และที่ นิยมมาทำเครื่องประดับ (ตารางที่ 2) เพราะจะมีความขาวที่ยาวนานมาก (ไม่ลอกไม่ดำ) ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปชุบด้วยโรเดียมเหมือนทองคำขาว มีสมบัติเหมือนทองคำหลาย ประการ เช่น ผิวมีความมันวาว สามารถรีดให้เป็นแผ่น หรือดึงให้เป็นเส้นลวดได้ มีน้ำหนัก มาก ทนทานต่อการกัดกร่อนและมีราคาสูงกว่าทองคำบริสุทธิ์มากแต่เพื่อความไม่สับสน ควรเรียกทับศัพท์ว่า “แพลทินัม” น่าจะดีกว่าซึ่งการเรียกแพลทินัมว่าทองขาว ก็เหมือนกับ การเรียกทองเหลืองหรือทองแดง ที่มีสมบัติบางประการเหมือนทองคำเช่นกัน เพียงแต่มีสี ที่แตกต่างออกไป ตารางที่ 1 สีและธาตุเจือของทองคำหรือวิธีการทำสีของทองคำ2, 3 สี เหลือง
ชื่อเรียกทางการค้า ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทองคำ
Gold (Yellow gold)
ธาตุเจือหรือวิธีการ
ตัวอย่างเครื่องประดับ
เงิน ทองแดง สังกะสี 4
ขาว
ทองคำขาว
White gold
เงิน สังกะสี นิเกิล แพลเลเดียม ทองแดง 5
กุหลาบ ชมพู แดง
52
ทองคำสีกุหลาบ Rose gold (ปริมาณทองคำสูง) (Crown gold) ทองคำชมพู Pink gold ทองคำแดง Red gold (ทองรัสเซีย)
ทองแดง เงิน 6
ตารางที่ 1 (ต่อ) สี เขียว
ชื่อเรียกทางการค้า ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ทองคำเขียว
Green gold
ธาตุเจือหรือวิธีการ
ตัวอย่างเครื่องประดับ
เงิน 7
เทา
ทองคำเทา
Gray gold
เงิน แมงกานีส ทองแดง 8
ดำ
ม่วง
ทองคำดำ
ทองคำม่วง
Black gold
Purple gold
1. ชุบด้วยไฟฟ้าโดยใช้โรเดียมดำ หรือรูทิเนียม 2. การทำสนิมเขียว โดยใช้กำมะถัน และออต์กซิเจนเป็นสารประกอบ 3. พลาสมาจะช่วยกระบวนการ ตกตะกอนไอระเหยของสารเคมี ของคาร์บอนอสัณฐาน และควบคุม ออกซิเดชันของความบริสุทธิ์ (กะรัต) ของทองคำกับโครเมียมหรือโคบอล
9
อะลูมิเนียม 10
ฟ้า
ทองคำฟ้า
Blue gold
อินเดียม
-
หมายเหตุ การเติมธาตุเจือเพื่อปรับปรุงสมบัติของทองคำบางประการให้เป็นไปตามความต้องการ เช่น สี ความแข็งแรง เป็นต้น สำหรับสีของทองคำจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนหรือปริมาณของธาตุเจือที่ผสมเข้าไป
53
ตารางที่ 2 สีและธาตุเจือของทองขาว ชื่อเรียกทางการค้า สี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ขาวเงิน ถึง เทาเงิน
ทองขาว
Platinum
ธาตุเจือ
ตัวอย่างเครื่องประดับ
อิริเดียม 13
เอกสารอ้างอิง
[1] Mark G. “Introduction to Precious Metals.” Brynmorgen Press. 2009. [2] About.com. 2010. “Gold Alloys.” [Online]. Available http://chemistry.about.com/od/jewelrychemistry/a/goldalloys.htm (15 กรกฎาคม 2553). [3] Ribault L. and Lemarchand A. “18 karat grey gold alloy, without nickel and without palladium, for jewellery - Patent 6576187.” Free Patents Online. [4] Northwest Jewelry 2009. “Gold jewelry.” [Online]. Available http://www.northwestjewelry.com/store/index.php (15 กรกฎาคม 2553). [5] Jewelsfile.com. 2010. “Fana Jewellery White Gold Pave Set Twist Matte Pendant on Chain.” [Online]. Available http://www.jewelsfile.com/fana-jewelry/fana-jewellery-white-gold-pave-set-twist-matte-pendant-on-chain (15 กรกฎาคม 2553). [6] Polyvore. 2010. “Pink gold orchid flower ring by Cartier-Gold jewellery.” [Online]. Available http://www.polyvore.com/pink_gold_orchid_flower_ring/thing?id=968910 (15 กรกฎาคม 2553). [7] Grant Logan. 2010.”Individual jewellery commission designs” [Online]. Available http://www.grantlogan.co.uk/commissions.html (15 กรกฎาคม 2553). [8] ThisNext. 2010. “18K Gray Gold Open End Niessing Ring” [Online]. Available http://www.thisnext.com/item/FE3FB466/93F25F36/18K-Gray-Gold-Open-End (15 กรกฎาคม 2553). [9] Photolizer. 2010. “Black Gold Spur Cufflinks.”[Online]. Available http://www.photolizer.com/images.php?design=Jewellery/Cufflinks (15 กรกฎาคม 2553). [10] World Gold Council. 2010. “Special Colours of Gold: Blue, Black and Purple.” [Online]. Available http://www.utilisegold.com/jewellery_technology/colours/special_colours (15 กรกฎาคม 2553). [11] ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2546. [12] Wurzburg Mineralogical Museum Mineral Specimens. 2010. “Image Gallery/platinum.” [Online]. Available http://www.equisetites.de/gallery/Seiten/platinum.htm (15 กรกฎาคม 2553). [13] Louis Vuitton. 2010. “Small empreinte ring, Platinum and Diamond.” [Online]. Available http://www.louisvuitton.com/us/flash/index.jsp?productId=prod690020 (15 กรกฎาคม 2553).
54
ภาษาสัมผัส อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือเสียงหรือ กิริยาอาการ ที่ทำความเข้าใจกันได้คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูด กัน” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616) เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ วิจินต์ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ภาษาหมายถึงเสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่ง มนุษย์ใช้ในการสื่อความคิดความรู้สึก และในการที่จะให้ ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524:85) บ่อยครั้งที่มนุษย์ไม่อาจสื่อความหมายด้วยภาษา ให้เกิดความเข้าใจ จึงต้องแสดงอากัปกิริยาประกอบการ พูดสัมผัสภาษา (Haptics) เป็นภาษาที่ใช้อาการสัมผัสเป็น ตัวสื่อความรู้สึกอารมณ์และ ความหมายไปถึงผู้รับสาร ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ของแต่ละสังคม เช่น การโอบกอดที่แสดงความรักในสังคมตะวันตก ถือว่าเป็น เรื่องธรรมดา แต่สังคมตะวันออกจะไม่แสดงเปิดเผยต่อที่ สาธารณะ
บางครั้ ง ใช้ สั ม ผั ส ภาษาได้ ค วามหมายดี ก ว่ า การพูด เช่น กรณีที่ต้องปลอบประโลมใจผู้ที่มีความทุกข์ เพียงจับมือเบา ๆ การแตะบ่าเบา ๆ การลูบหลังการกุมมือ ผู้รับสารจะซาบซึ้ง ตื้นตันใจ ภาษาที่ ไม่ ใช้ถ้อยคำหรือ อวัจนภาษามีความสำคัญมาก มากกว่าวัจนภาษา ในบาง ครั้ง เพราะวัจนภาษาสามารถปรุงแต่งเสแสร้ง ให้คนอื่น เข้าใจ ตามที่เราต้องการ ได้ง่ายกว่าอวัจนภาษา ซึ่งมี บางอย่างปรุงแต่งได้ยาก โดยเฉพาะสายตาที่ยากจะปิดบัง ความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ส่งสารดังคำโบราณที่กล่าวไว้ ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ” หรือข้อความที่พูดว่า “มองตาก็รู้ใจ” ดังนั้นเมื่อมีการสื่อสารกับคนอื่นจึงควร ระมัดระวังพฤติกรรมการสื่อสาร ด้วยอวัจนภาษาไว้ด้วย ว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะสื่อสารหรือไม่ ในอวัจนภาษา นั้น จะเห็นว่าอวัจนภาษาที่ให้ความรู้สึก คือสัมผัสภาษา (Haptics) เป็นภาษาที่มีความหมายทางด้านจิตวิทยามาก ในการแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ของผู้ส่งสารที่มีต่อผู้ รับสารได้ดีกว่าการใช้ถ้อยคำหรือวัจนภาษาใด ๆ ทั้งสิ้น ในบางโอกาสการสื่อสารด้วยสัมผัสภาษาสามารถ สื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้ง ชนิดที่ถ้อยคำใด ๆ หรือ วัจนภาษาอื่นใด ไม่สามารถทดแทนได้ เช่น การบีบมือให้ กำลังใจแก่คนเจ็บ การโอบกอด ที่แสดงความรักความ อบอุ่น การวางมือบนบ่าแสดงความเข้าใจ
55
ทฤษฎีการรับรู้ การรั บ รู้ เ ป็ น ผลเนื่ อ งมาจากการที่ ม นุ ษ ย์ ใ ช้ อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) การรับรู้จะเกิดขึ้นมาก น้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า สิ่งเร้า ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานการณ์มาเร้าอินทรีย์ ทำให้เกิดการสัมผัส (Sensation) และเมื่อเกิดการสัมผัสบุคคล จะเกิดมีอาการแปล การสัมผัสและมีเจตนาที่จะแปลสัมผัสนั้น การแปลสัมผัส จะเกิดขึ้นในสมอง ทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ กระบวนการ รับรู้จะเกิดได้ จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. มีสิ่งเร้า (Stimulus) ที่จะทำให้เกิดการรับรู้ เช่น สถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมรอบกาย ที่เป็นคน สัตว์ และสิ่งของ 2. ประสาทสัมผัส (Sense Organs) ที่ทำให้เกิด ความ รู้สึกสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส และผิวหนัง รู้ร้อนหนาว 3. ประสบการณ์ หรือความรู้เดิม ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่ เราสัมผัส 4. การแปลความหมายของสิ่งที่เราสัมผัส สิ่งที่เคย พบเห็นมาแล้ว ย่อมจะอยู่ในความทรงจำของสมอง เมื่อ บุคคลได้รับสิ่งเร้า สมองก็จะทำหน้าที่ทบทวนกับความรู้สึก ที่มีอยู่เดิมว่า สิ่งเร้านั้นคืออะไร เมื่อมนุษย์เราถูกเร้าโดย สิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดความรู้สึกจากการสัมผัส (Sensation) โดยอาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาทำหน้าที่ดูคือ มองเห็น หูทำหน้าที่ฟังคือได้ยิน ลิ้นทำหน้าที่รู้รส จมูกทำหน้าที่ดม คือได้กลิ่นผิวหนังทำหน้าที่สัมผัสคือรู้สึก เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้ นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทาง ที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการ รับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น ภาพที่ 1 : Curro Claret (Spain, 1968) pendant, 2004 เครื่องประดับปฏิสัมพันธ์กับร่างกายของบุคคลเป็นสื่อกลางถ่ายทอดความหมาย โดยสัมผัสความรู้สึกจากสัมผัสแปลความหมาย บอกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ ในความทรงจำเมื่อครั้งเยาว์วัย
56
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบ สำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษ ย์ อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอน และ การใช้สื่อการสอน จึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ ที่ ถูกต้องมากที่สุด การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนิน ชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมี คำกล่าวเสมอว่า “No one too old to learn” หรือ ไม่มีใคร แก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตได้เป็นอย่างดี หากมนุษย์สามารถใช้สื่อที่เหมาะสม ถ่ายทอด ความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันแล้ว ความผิดพลาดในการ สื่อสารก็จะลดน้อยลง เกิดความใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้น งานศิลปะหลายแขนง มุ่งที่จะทำให้มนุษ ย์เกิด การรับรู้ได้โดยการสื่อความรู้สึก อารมณ์ และความหมาย ไปถึงผู้รับสาร โดยผ่านกระบวนการทางความคิด การ ออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เป็นอีกช่องทางการสื่อสารที่ได้ ประโยชน์รับรู้สูงสุด ภาพตัวอย่างที่ยกขึ้นมานี้ เป็นงาน เครื่องประดับ ที่นักออกแบบต้องการสื่อให้มนุษ ย์เกิด ความรู้สึก การรับรู้ ระหว่างกัน เป็นสื่อที่นักออกแบบ สามารถถ่ายทอดแนวความคิด ไปยังผู้อื่นได้ โดยผ่านการ บอกเล่าด้วยชิ้นงาน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี หรือสิ่งอำนวยความ สะดวกทางการสื่อสารหลากหลายช่องทาง ที่ถูกสร้างขึ้น ทำให้มนุษย์ขาดมนุษยสัมพันธ์ลด การปฏิสัมพันธ์กันเอง ระหว่างมนุษย์ช่องว่างที่คิดว่าแคบในโลกโลกาภิวัตน์ แต่ใน ความจริง มันกลับกว้างขึ้น หลาต่อหลายครั้งที่เรามักพบ เจอปัญหา จากความบกพร่องทางการสือ่ สารไม่วา่ จะใน ชีวติ ประจำวันในสังคม ทีต่ อ้ งมีการติดต่อสือ่ สารกัน ใน รูปแบบประจันหน้าสิ่งใดใด ที่มนุษย์เลือกที่จะรับจึงจำเป็น ต้องพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น มีความเหมาะสมสมควร แล้วหรือไม่ เพราะสิ่งที่คิดว่าดี ใช่ว่ามีแต่คุณ •
ภาพที่ 2 : For Two Rings Nicole Gratiot Stober. (1994) บอกเล่าความสัมพันธ์ผ่านการปฏิสัมพันธ์ด้วยงานเครื่องประดับ
เอกสารอ้างอิง
รองศาสตราจารย์มัลลิกา คณานุรักษ์ “จิตวิทยาการสื่อสารของมนุษย์.” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1. 2547. David Watkins. “Design Sourcebook Jewellery” Joseph Murphy, Ph.D., D.D. Revised By Ian McMahan, Ph.D. “The Power Of Your Subconscious Mind” “Stone Bangkok Fashion Now&Tomorrow Volume. Three” Thailand. 2006. http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=mizuchan&club_id=1165&table_id=1&cate_id=522&post_id=2039
57
การออกแบบภายใน: ความเชื่อและทัศนคติต่อฮวงจุ้ย Interior Design: Attitude and Belief in Feng Shui ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ต.อ. ดร. อนุชา แพ่งเกษร ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
บ้านที่อยู่อาศัย เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ และเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งในการตัดสินใจเลือก ทีอ่ ยูอ่ าศัยทีด่ ที ส่ี ดุ สำหรับครอบครัว เพือ่ ให้เป็นไปตามความคาดหวัง แต่ถา้ สภาพแวดล้อมภายในทีอ่ ยูอ่ าศัยที่ไม่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของครอบครัว จะทำให้สมาชิกภายในบ้านไม่มีความสุขก่อให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เจ็บป่วย เกิดความรุ่มร้อน มีแต่ความยุ่งยากหรืออาจมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อบ้านไม่น่าอยู่ถูกแวดล้อมไปด้วยสิ่งอัปมงคล เชือ่ กันว่าสาเหตุสว่ นหนึง่ น่าจะเกิดจากความไม่สมดุลทางกายภาพและพฤติกรรมของมนุษย์กบั ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม อันเนื่องมาจากปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทิศทาง ที่ตั้ง ขนาดของบ้าน ตำแหน่งหน้าต่าง ประตู กำแพง บันได สภาพแวดล้อมของดิน หิน ต้นไม้ บ่อน้ำ และวัสดุในการก่อสร้าง ตลอดจนสีของบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนมี อิทธิพลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่อาศัยอยู่ในบ้าน (หยก ตั้งธนาวัฒน์, 2546) ดังนั้นการเลือกทำเลที่ตั้งของ บ้านเรือนและตัวบ้าน จำเป็นต้องมีความสอดคล้องสมดุลกลมกลืนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมโดยรวมที่เรียกว่า ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ย (feng shui) เป็นวิชาที่มีการสืบทอดต่อๆกันมานับหลายพันปี ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ ใช้กับชีวิต จริงได้เป็นอย่างดี บางคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่งมงายไร้สาระ แต่หลักการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ภายในฮวงจุ้ย ก็อาศัยพื้นฐาน ความคิดในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งการจัดแต่งบ้านสามารถทำได้โดยเน้นความสำคัญ ด้านความสะดวกสบาย และ ประโยชน์ใช้สอยของสมาชิกภายในบ้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจุดที่คนมองข้ามและคิดไม่ถึง (Mak & Ng, 2001) บ้านพัก อาศัยที่ความร่มเย็นสุขใจ มองไปที่ไหนก็ร่มรื่นจิตใจก็ย่อมผ่อนคลาย แต่หากจิตใจเป็นทุกข์กลับเข้ามาบ้าน มีแต่เสียงดัง คอยรบกวนประสาทอยู่บ่อย ๆ ก็เกิดความหงุดหงิด และถ้าภายในบ้านเต็มไปด้วยวัตถุแต่ปราศจากธรรมชาติ ก็จะยิ่งเพิ่ม ความเครียดมากขึ้น การงานติดขัดเมื่อการงานไม่ดีการเงินก็มีปัญหาไปด้วย ชีวิตครอบครัวก็คงจะไม่มีความสุข (ประกาย ธรรม ไชยแถน, 2547) ซินแสหลายท่านต่างให้ความสำคัญและให้ความหมายของฮวงจุย้ ทีม่ งุ่ เน้นความสมดุลทางธรรมชาติในการเลือก ทิศและทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ที่เชื่อว่าทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จะประกอบด้วย ธาตุทั้ง 5 ที่ถูกแสดงด้วยรูปทรง สี สัญลักษณ์ของฮวงจุ้ยที่ดี และโชคชะตาซึ่งมีอิทธิพลต่อชะตาชีวิตและครอบครัวทั้งทางด้านสุขภาพกายและจิตใจ ส่งผลถึง คุณภาพชีวิตที่มีความสุข ความเจริญความมั่นคงในหน้าที่การงาน และเชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาโหราศาสตร์ สถิติ ศิลปะ จิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเหตุและผล แต่อย่างไรก็ดีความเชื่อในเรื่องฮวงจุ้ย ที่ยัง พิสูจน์ไม่ได้ ก็ยังเป็นปริศนาที่น่าศึกษาค้นหา เพราะความเชื่อเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนที่มีต่อความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีระดับความแตกต่างกันของบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจของหัวหน้าครัวเรือน ที่มี อิทธิพลต่อการปฏิบัติตามศาสตร์ฮวงจุ้ย เพื่อที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น หลังจาก ที่มีการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว (ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล, 2546 มาศ เคหาสน์ธรรม, 2550 ประกายธรรม ไชยแถน, 2547)
58
ซินแสภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล (2546) และมาศ เคหาสน์ธรรม (2550) ได้แสดงความเห็นว่า ความเชื่อของ คนจีน ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อชะตาชีวิตสู่ความสุข และความสำเร็จของมนุษย์ ซึ่งมีปัจจัยอยู่ 3 ประการ คือ (ก) ชะตา มนุษย์ หมายถึง ฝีมือ ความเพียร สติปัญญา และการปฏิบัติตัวต่อบุคคลรอบข้าง คือ การกระทำของเราเอง (ข) ชะตาฟ้า คือ พลังงานของจักรวาลของแต่ละช่วงเวลา ที่ส่งเข้ามามีปฏิกิริยาในทางบวกและทางลบกับพลังในตัวของเราที่เรียกกัน ง่าย ๆ ว่า “ดวง” (ค) ชะตาดิน คือ พลังของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มีผลต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นที่เรียกว่าฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่อาศัย และการจัดตกแต่งภายในก็มีความสำคัญคือให้มีความกลมกลืน ทางกายภาพและพฤติกรรมกับธรรมชาติ ทำให้เกิดดุลยภาพอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางเข้าบ้าน ประตู หน้าต่าง ตำแหน่งห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องอาหาร ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องทำงาน ตลอดจนการจัดวางเครื่องเรือน ตู้ เตียง โต๊ะ เก้าอี้ หิ้งบูชา ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ประกายธรรม ไชยแถน (2547) ได้พบว่า ศาสตร์ฮวงจุ้ยอาศัยใช้พื้นฐานทางธรรมชาติ การจัดแต่งบ้านก็สามารถทำได้ โดยการเน้นความสะดวกสบายที่ตอบสนอง ประโยชน์ใช้สอยของผู้อยู่อาศัย และฮวงจุ้ยเป็นการสังเกตอย่างง่ายๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่มีต่อ มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ดีหรือแง่ร้ายก็ตาม แม้แต่ในประเทศตะวันตก ฮวงจุ้ยก็มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เป็นการยกระดับชีวิตของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อคนมีชื่อเสียง เช่น เดวิด เบ็กแฮม ไปจนถึงนักร้อง ผู้หลงใหลกลิ่นอายตะวันออกอย่าง มาดอนน่า ก็แสดงความสนใจอย่างจริงจังต่อศาสตร์ฮวงจุ้ยนี้ ตลอดจนองค์กรทาง ธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น สายการบิน และธนาคาร ต่างก็เรียกหาซินแสผู้เชี่ยวชาญมาเพื่อขอคำปรึกษาเช่นกัน (ผู้จัดการ ออนไลน์, 2548) 1. ความเชื่อในฮวงจุ้ย (feng shui belief): ฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์จีนโบราณได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมากขึ้น ด้วยความเชื่อว่าบ้านที่อยู่อาศัยตามหลักฮวงจุ้ยต้องอยู่ในทำเลที่ดีคือ หน้าติดน้ำหลังติดเขา แต่ฮวงจุ้ยในปัจจุบันนี้ได้นำ มาปรับใช้ในงานออกแบบทีอ่ ยูอ่ าศัยมากขึน้ เพือ่ ทำให้ผทู้ อ่ี าศัยในบ้านมีความสุขในครอบครัว ความเจริญในหน้าทีก่ ารงาน ด้านสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ และความปลอดภัยในทรัพย์สิน และความเชื่อในฮวงจุ้ยที่ว่า บ้านที่ดีอยู่แล้วเจริญ รุ่งเรืองจะต้องขึ้นอยู่กับทิศ ทำเลที่ตั้ง และเพียบพร้อมด้วยธาตุทั้ง 5 เพื่อความสมดุลของธรรมชาติ นอกจากนี้จะต้อง เหมาะสมกับฤกษ์และดวงของผู้ที่อยู่อาศัยด้วย จะส่งผลให้ดียิ่งขึ้น 1.1 โชคชะตาชีวิต (FORTUNE): ความเชื่อของชาวจีนในการเขียนแผนผังฮวงจุ้ยและการวิเคราะห์โชค ชะตาชีวิต ได้ใช้วันที่ในระบบสุริยคติเป็นหลักโหราศาสตร์ โดยการเลือกวันเวลาที่พลังชะตาฟ้าของจักรวาล ประสาน สอดคล้องกับองศาทิศทางพลังชะตาดินของสิ่งปลูกสร้างนั้น จะรวมตัวกันมาเกื้อหนุนบุคคลที่ถูกกำหนดไว้ เป็นเคล็ดลับ ที่ซ่อนอยู่ของการจัดฮวงจุ้ยซึ่งก็คือวิชาโหราศาสตร์ (Alan, 2005) ฮวงจุ้ยเป็นทั้งศาสตร์ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ เป็นภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงสถาปัตยกรรมกับสภาพแวดล้อมกายภาพ โดยจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ (Mak & Ng, 2001) และคนโบราณได้ประเมินงานอาคาร สิ่งก่อสร้างอยู่บนพื้นฐานความสมดุลของธรรมชาติ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างที่อยู่อาศัยกับดวงดาวและโหราศาสตร์ (Bramble, 2003)
59
1.2 ทิศและทำเลที่ตั้ง (physical orientation): ศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย เป็นเรื่องที่ว่าด้วยทำเลที่อยู่อาศัยและ การจัดตกแต่งภายในที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อควบคุมพลังชี่ที่กำหนดคุณประโยชน์ให้กับชีวิตมนุษย์ และเป้าหมายในการ ปฏิบัติตามศาสตร์ฮวงจุ้ยก็คือการปฏิบัติตามศิลปะแห่งธรรมชาติ โดยประมวลมาจากศาสตร์ทุกด้านทั้งด้านนิเวศวิทยา ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และจิตวิทยา (Jurock, 2002; Art & Gallieries, 2005; Grossman, 2005; Miller, 2005; Sagar, 2005; Wijaya, 2005; Witcombe, 2005) โดยให้พิจารณาจากทิศในการวางตำแหน่ง อาคาร ประตู หน้าต่าง และทิศทางการไหลเวียนพลังงานของกระแสลม แสงแดด เพื่อให้รับและกักเก็บพลังชี่ที่ดีไว้ภายในที่อยู่อาศัยพร้อมที่จะ กระตุ้นด้านโชคลาภ หน้าที่การงาน สุขภาพ การศึกษา ด้านความมั่งคั่งร่ำรวย ด้านความรัก และความสำเร็จ (HYPERLINK “http://allexperts.com/ep/2519-28675/Feng-Shui/Judy-Morris.htm” Morris, 2006; Clovis, 2007; Diamond, 2007) 1.3 ความเชื่อในธาตุทั้ง 5 (belief in 5 elements): ชาวจีนเชื่อว่าในสรรพสิ่งทุกอย่างมีธาตุทั้ง 5 คือ ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน และธาตุโลหะ ที่สร้างความสมดุลนำความโชคดีและปกป้องอันตรายจากพลังชี่ และ ตำแหน่งทิศของธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ใช้ได้ในทุก ๆ ที่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา หรือแม้ว่าจะอยู่ในซีกโลก ใต้อย่างออสเตรเลีย หรือซีกโลกเหนืออย่างยุโรปก็ตาม (Chiou, 1996; Capone, 2005; Jurock, 2002; Miller, 2005; Dumfries, 2005; Weber, 2005) ธาตุทั้ง 5 สามารถพบในทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่ทิศและทำเลที่ตั้ง วัตถุต่าง ๆ ไปจนถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และอวัยวะทั้งภายในภายนอกร่างกายล้วนจัดอยู่ในธาตุใดธาตุหนึ่งในธาตุทั้ง 5 นี้ ซึ่งจะมีธาตุประจำทิศทั้ง 8 ที่มีอิทธิพล ต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ธาตุเหล่านี้ถูกแสดงด้วย รูปทรง สี และสัญลักษณ์ที่เข้ากับลักษณะของบ้านเป็นการเพิ่ม ความกลมกลืนทำให้เกิดความสมดุลของหยินและหยางในธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบที่อยู่อาศัยให้ถูกต้อง ตามศาสตร์ฮวงจุ้ย (Gee, 2006; Lim, 2006; Patrick, 2006) ความเชื่อในศาสตร์ฮวงจุ้ย ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแบบบ้านที่อยู่อาศัยให้เป็นไปตามคำแนะนำ ของซินแสทุกประการ เพื่อความผาสุกและความสำเร็จในชีวิตตนเอง และครอบครัวตามความคาดหวังไว้ โดยถึงขนาด มีการทุบแก้ไขหรือรื้อทิ้งก็มี ทั้งที่ได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว จึงนับว่าเป็นการเสียเวลาและเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนใน กระบวนการออกแบบบ้านที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เจ้าของบ้านสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อ และทัศนคติต่อศาสตร์ฮวงจุ้ย 2. ทัศนคติต่อฮวงจุ้ย (feng shui attitude): ทัศนคติเป็นความรู้สึกและความเชื่อ หรือการรู้ของบุคคลต่อ สิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ และทำให้บุคคลเกิดแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมโต้ตอบในทางใดทางหนึ่งต่อสิ่งนั้น ดังนั้นจึงมี ทัศนคติต่อฮวงจุ้ยที่แตกต่างกัน ด้วยความเห็นว่าศาสตร์ฮวงจุ้ยเป็นเรื่องการสังเกตจากกฎธรรมชาติ และเป็นเครื่องมือ ที่สร้างความสมดุล ทำให้ที่อยู่อาศัยและการดำเนินชีวิตดีขึ้น (Choy, 2006; Yu, 2005; Chang, 2007; Too, 2007) ใน ขณะที่นักวิชาการหลายท่านได้แสดงความเห็นว่าฮวงจุ้ยเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้ามีหลักฐานพิสูจน์ ได้มีเหตุผล เป็นการรองรับและมีข้อพิสูจน์แล้ว (Kiat, 1995; Jones, 2000; Lerdpiriyakamol, 2004; McTaggart, 2007; Brant, 2007; Nikolov, 2007; Yap, 2007) ดังนั้นทัศนคติที่มีต่อฮวงจุ้ยจึงเป็นเรื่องที่หลายคนสนใจ เนื่องจากฮวงจุ้ยมีผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของ คนในสังคมปัจจุบัน ทำให้ศาสตร์ฮวงจุ้ยมีการศึกษาและแพร่หลายไปทั่วโลกเป็นโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นการยอมรับศาสตร์ ฮวงจุ้ย ของคนทุกสาขาอาชีพที่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก (Mak & Ng, 2001; Lim, 2003; Hilfiger & Ungaro, 2005; Choy, 2006; Too, 2006) ทัศนคติต่อฮวงจุ้ยจึงมีความคิดเห็นที่หลากหลายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการรับรู้และ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลในประเด็นดังต่อไปนี้
60
2.1 กฎธรรมชาติ (natural law): ฮวงจุ้ยหมายถึง ลมและน้ำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จาก การสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างพลังธรรมชาติที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Mak & Ng, 2001) ธรรมชาติมีความสมดุลและความกลมกลืนที่ประกอบด้วย หยินและหยาง ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ด้านสุขภาพ ความเจริญมั่นคงและความสำเร็จ (Jeffrey, 2000; Viol, 2003; Wright, 2003; Capone, 2005; Grossman, 2005; Miller, 2005; Witcombe, 2005) ความสมดุลในธรรมชาติระหว่างสมัยใหม่กับแบบประเพณีนิยมในงานสถาปัตยกรรม ของจีนโบราณที่มีธาตุทั้ง 5 ในธรรมชาติได้แก่ ไม้ โลหะ ไฟ ดิน และน้ำ ทำให้เกิดความสมดุลกลมกลืนกันนั้น คือ “Feng Shui” และเช่นเดียวกับ “Vaastu Shastra” ในสถาปัตยกรรมของอินเดียโบราณที่มีธาตุทั้ง 5 ในธรรมชาติ ได้แก่ ท้องฟ้า อากาศ ไฟ ดิน และน้ำ ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบบ้านที่อยู่อาศัย ชุมชน และงานสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่มีมานานแล้วในอดีต 2.2 ความมีเหตุผล (rationality): องค์ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทาง ธรรมชาติ แล้วจัดเข้าอย่างเป็นระเบียบที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักวิชาการหลายท่านได้แสดงความคิดเห็น ว่า ฮวงจุ้ยเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมกายภาพ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา สถิติ และพฤติกรรมมนุษย์ เพราะเป็นการศึกษาตามหลักการของวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุผล (So, Kitipornchai, Skinner, Choy, Mak, Paton, Anders, Wong, Rozumowski, Sin, Lagnasco, Chiang & So, 2005) และมีทัศนคติต่อฮวงจุ้ยว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และสามารถพิสูจน์ได้ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์มีเหตุผลในเชิงตรรกวิทยารองรับแล้ว ไม่เป็นไสยาศาสตร์หรือมนต์ ดำอย่างที่บางคนเข้าใจ (Choy, 2006; Jones, 2006; Lowe, 2006) ทัศนคติต่อฮวงจุ้ยที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์นี้ได้ขยาย วงกว้างมากขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสตร์สาขาต่าง ๆ จึงเริ่มมีการศึกษา จดบันทึก ทำสถิติ และวิจัยเป็นเชิงวิชาการมากขึ้น 2.3 การยอมรับศาสตร์ฮวงจุ้ย (feng shui acceptance):ในปัจจุบันการออกแบบบ้านที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงพยาบาล อาคารสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า และอาคารสถานที่ให้บริการอื่นๆ โดยวิศวกร สถาปนิก และ มัณฑนากรทั่วทุกมุมโลกต่างให้ความสำคัญกับการใช้ศาสตร์ฮวงจุ้ยในการออกแบบ ที่เชื่อว่าพลังชี่สามารถกระตุ้นให้นำ ความโชคดี สุขภาพดี ความมั่งคั่ง ร่ำรวยมาสู่ผู้ที่อยู่อาศัย และผู้ใช้บริการในสถานที่นั้น ๆ (Ha, 1999; Jeffreys, 2000; Johnson, 2004; Stevens, 2005) จากการยอมรับร่วมกันนี้ ประชากรทั่วทุกมุมโลก จึงได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสในทุก สาขาวิชาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ฮวงจุ้ยโดยไม่รู้ตัว (Hilfiger & Ungaro, 2005; Choy, 2006; Too, 2006) สรุปการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในฮวงจุ้ย ซึ่งประกอบด้วยด้านโชคชะตา และทำเลและธาตุทั้ง 5 และทัศนคติต่อฮวงจุ้ย พบว่าเพศชายมีทัศนคติที่ดี และหากมีความเชื่อในด้านโชคชะตา โดยเฉพาะด้านทำเลและธาตุทั้ง 5 ด้วยแล้ว ก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อศาสตร์ฮวงจุ้ยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับทัศนะของซินแสภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล (2546) ซึ่งได้กล่าวถึงเพศชายว่ามีการศึกษาศาสตร์ฮวงจุ้ยมากกว่าเพศหญิง นอกจากนี้ความเชื่อในฮวงจุ้ย คือด้านทำเลและธาตุทั้ง 5 มีมากกว่าด้านโชคชะตา ซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องไปยัง การสร้างความสมดุลของธาตุทั้ง 5 คือ ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน และธาตุโลหะรวมเข้าด้วยกันไว้ภายในบ้านแล้ว ก็จะสามารถนำความโชคดีและสามารถปกป้องภัยอันตรายได้ด้วย (Miller, 2005; Dumfries, 2005; Weber, 2005) ซึ่งความสมดุลของธาตุทั้ง 5 จะทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านมีความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย สมบูรณ์พูนสุขด้วยทรัพย์สิน เงินทอง (หยก ตั้งธนาวัฒน์, 2546) อย่างไรก็ตามเป้าหมายในการปฏิบัติตามศาสตร์ฮวงจุ้ยก็คือ การปฏิบัติตามศิลปะแห่ง ธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยการประมวลองค์ความรู้ที่มาจากศาสตร์ทุกด้านเข้าด้วยกัน (Sagar, 2005; Wijaya, 2005; Witcombe, 2005)
61
3. การออกแบบภายใน (interior design): จากศึกษาพบว่า การนำศาสตร์ฮวงจุ้ยไปใช้เพื่อสร้างดุลยภาพแห่ง ชีวิตที่เหมาะสมนั้น มีข้อแนะนำและควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ก) หัวหน้าครัวเรือนมีการปฏิบัติตามศาสตร์ฮวงจุ้ย จากประสบการณ์การบอกต่อ ๆ กันมา และจาก การฝึกอบรม โดยให้ความสำคัญเรื่องทิศหัวนอน และมีการปรับเปลี่ยนจัดวางเครื่องเรือน ตลอดจนห้องอาหาร ห้องครัว โดยเฉพาะห้องน้ำต้องใส่ใจเป็นพิเศษกล่าวคือ เพื่อให้รับกระแสพลังชี่ที่ดี ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรง จะทำให้มีสุขภาพ ที่ดี ครอบครัวจะมีความสุข มีความเจริญมั่น คงในหน้าที่การงานและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย นอกจากนี้หัวหน้าครัวเรือนมีการเรียนรู้ฮวงจุ้ยมากขึ้น โดยศึกษาเองและเข้ารับการฝึกอบรมด้วย เพื่อ นำมาใช้ในบ้านที่อยู่อาศัย เมื่อได้ปรับแก้แล้วฮวงจุ้ยแล้วก็ดีขึ้นจริง ๆ ด้วยการตั้งศาลพระภูมิ ทาสีห้องใหม่ ฯลฯ อย่างไร ก็ตามถ้าไม่มีคุณธรรม ฮวงจุ้ยดีแค่ไหนก็ช่วยไม่ได้ ข) ซินแสส่วนมากมีความเห็นว่า ฮวงจุ้ยเป็นกฎและข้อห้ามของการเลือกที่อยู่อาศัย ไม่ได้เป็นแค่เพียง ข้อห้ามอย่างเดียวขึ้นอยู่กับดวงชะตาของแต่ละบุคคล เพราะในดีมีเสียในเสียมีดี การปฏิบัติตามศาสตร์ฮวงจุ้ยได้มีการทดลองปฏิบัติต่อ ๆ กันมา เช่น การเลือกชัยภูมิที่มีถนนแทน สายน้ำ และมีตึกแทนภูเขา ห้ามถนนพุ่งชนหรือปะทะและไม่มีอะไรทิ่มแทง ไม่ควรให้มีสิ่งกีดขวาง ไม่ควรมีช่องแคบ ด้านหน้าต้องมีบ่อน้ำ บ้านที่มีประตูเล็กไม่ดี อย่าให้ประตูห้องตรงกัน และอย่าให้มีต้นไม้บังในด้านโชคลาภ ค) กลุ่มงานวิศวกร มัณฑนากร และสถาปนิกมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การกำหนดตำแหน่งของบ้าน จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามต่าง ๆ ตามที่ซินแสบอก เช่น ห้ามหันหน้าบ้านไปทิศตะวันตก ห้ามมีเหลี่ยมเสา ห้ามบันไดอยู่ตรงกับ ประตูบ้าน ห้ามมีบ่อน้ำด้านทิศตะวันตก ห้ามเอาส้วมไว้หน้าบ้าน ฯลฯ สถาปนิกมีการออกแบบที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับปัจจัยความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความ ปลอดภัยในชีวติ และมีพร้อมด้านสาธารณูปโภคทีด่ มี ากกว่า แต่การแก้ปญ ั หาของซินแสที่ไม่ประยุกต์ให้เข้ากับสังคมปัจจุบนั แต่กลับให้มีการติดกระจกแปดเหลี่ยม ตั้งตู้ปลา แขวนกระดิ่งลม ย้ายศาลพระภูมิ ฯลฯ ในขณะที่สถาปนิกส่วนใหญ่ มีคิดความเห็นตรงกันว่า ซินแสทำให้งานล้าช้า การทำงานซ้ำซ้อนเพราะปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง และเข้ามาปรับแก้ตอนงาน ใกล้จะเสร็จ ทำให้เสียเวลาและความรู้สึกมาก การนำศาสตร์ฮวงจุ้ยมาใช้ในการออกแบบภายใน จะทำให้ครอบครัวมีความสุขความเจริญก้าวหน้า ความ มั่นคงในชีวิตและครอบครัว ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของที่อยู่ อาศัยที่ดี ก่อให้เกิดความสมดุลกับธรรมชาติมีพลังชี่ที่ดี มีดุลยภาพแห่งชีวิตของครอบครัว ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันจะเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมไทยการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ 4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่า 4.1 ข้อค้นจากการศึกษาวิจัยนี้ สามารถให้ประชาชนที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อบ้านหรือปลูกบ้าน ใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบ้านที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชีวิต 4.2 กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย สามารถนำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใน ด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ไปประยุกต์ใช้กับโครงการจัดวางระบบสาธารณูปโภคเพื่อชุมชน 4.3 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอน และการทำวิจัยในหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์สามารถ นำข้อค้นพบที่เป็นเชิงประจักษ์และเป็นวิทยาศาสตร์ ไปทำเป็นตำราเกี่ยวกับศาสตร์ฮวงจุ้ยสำหรับการออกแบบที่อยู่อาศัย ตามหลักวิชาการ ให้กับนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ เพื่อนำไปเป็นกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ •
62
เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย ประกายธรรม ไชยแถน. (2547). ฮวงจุ้ย ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยที่อยู่อาศัย. กรุงเทพฯ : เดลฟี่ สำนักพิมพ์ A.D.MCMXCU ภานุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล. (2546). ตำนานฮวงจุ้ย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน ). มาศ เคหาสน์ธรรม. (2550). ฮวงจุ้ยชั้นสูงเชิงวิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ โอ. เอส พริ้นติ้ง เฮ้า จำกัด. หยก ตั้งธนาวัฒน์. (2546). ฮวงจุ้ยลัษณะบ้านดี - ด้อย 100 แบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไพลิน (มหาชน). ภาษาอังกฤษ Alan, S. (2005). Chinese astrology and feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://www.fengshuithatworks.co.uk Bramble, C. (2007). Feng shui, physics and energy. Retrieved February 14 ,2007, from http://www.dragon-gate.com Brant, M.J. M.S.(2007). Psychology and feng shui in romantic relationships. Retrieved February 14, 2007, from http://www.chissell.com Capone, M. (2005). Balancing your life with feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://www.healthynewage.com Chang, C. (2007). What is a feng shui life. Retrieved Mar 5, 2007, from http://www.ezinearticles.com Chiou, S - C. (1996). Computational Considerations of Historical Architectural Analysis - A Case Study of Chinese Traditional Architecture. Ph.D. Dissertation, School of Architecture, Carnegie Mellon University, Pittsburgh, PA. Clovis, R. (2007). Latest success story. Retrieved March 22, 2007, from http://www.1fengshui.com Diamond, K. (2007). Feng shui solutions. Retrieved March 22, 2007, from http://www.fengshuinews. com Dumfries, C. (2005). An introduction to feng shui for real estate appraisers. Retrieved November 30, 2006, from http://www.aicanada.ca Gee, D. (2506). Feng shui - creating environments for success and well-being. Retrieved January 23, 2006, from http://www.9star.net Grossman, S. (2005). An introduction to feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://www.designare.com Ha, K. O. (1999). Culture Construction Developers tailor building to Asian tastes using Feng Shui and other design elements. Published Sunday, August 22, 1999, in San Jose Mercury News. Retrieved November 21, 2005, from http//www.huaren.org Hilfiger, T., & Ungaro, E. (2005). The feng shui of fashion. Retrieved February 1, 2007, from http://www.indoindians.com Jeffreys, P.(2000). Feng Shui for the health sector: harmonious buildings, healthier people. 8 Tibberton Square, London NI 8SU, UK. Johnson, J. S. (2004). Interior design of a health education building. Retrieve d November 13, 2006, from http//www.wofs.com Jones, K. S. (2006). Unlocking the secrets to health, wealth & happiness with feng shui and four pillars of destiny! Retrieved December 28, 2006, from http://www.heartofharmony. com Jurock, O. (2002). Developers ignore feng shui at their peril. Article in The Vancouver Sun on June 1, 2002. Retrieved November 21, 2005, from http://www.Jurock.com Kiat, T. W. (1995). The feng shui of physics. Retrieved March 4, 2007, from http://www. synaptic.bc.ca Lerdpiriyakamol, P. (2004). Feng shui : The mysterious heritage of beliefs and customs. Retrieved February 27, 2007, from http://www.thaifolk.com Lim, P. (2006). Four pillars : The 3 kides of luck. Retrieved November 22, 2005, from http//www.wofs.com. Lowe, J. (2006). Feng shui your shed . Retrieved February 27, 2007, from http://www.themoneypages.com Mak, M. Y., & Ng , S. T. (2001). The art and science of Feng Shui - a study on architects’ perception. School of Architecture and Built Environmental, University of Newcastel, Callagham, NSW2308, Australia. Department of Civil Engineering, University of Hong Kong, Pokfulam Road, Hong Kong McTaggart, L. (2007). The intention experiment : Use your thoughts to change the world (hardcover). Retrieved March 2, 2007, from http://www.amazon.co.uk Miller, S. (2005). What are the elements in real estate? Retrieved November 21, 2005, from http://www.hometomorrow.com Morris, J.( 2006). Direction of our house. Retrieved March 24, 2007, from http://en.allexperts. com Nikolov, E. (2007). Feng shui – ancient science for good life. Retrieved March 3, 2007, from http://magicaura.com Patrick, C. (2006). West meets east by caroline patrick. Retrieved January 23, 2006, from http://moongateschool.com Sagar, (2005). Neo feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://www. authorlink.com So, K .M., Kitipornchai, S., Skinner, S., Choy, H., Mak, M., Paton, M., Anders, G., Wong, .S., Rozumowski, D. W., Sin, P. K.F., Reyneri di Lagnasco, C. A., Chiang, M., & So, (2005). International symposium on scientific feng shui & built environment 2005, Wei Hing Theatre, City University of Hong Kong, Retrieved February 1, 2007, from http://www.hkifm.org Stevens, S. (2005). Feng shui tips for your home office. Retrieved November 21,2005, from http://www.hometomorrow. com Too, L. ( 2006). China building and construction products. Retrieved November 13, 2006, from http//www.wofs.com Viol, S. (2003). Wind & water – feng shui and creation, or why feng shui work, Toulouse 2003. Retrieved March 25, 2005, from http://www.huna.org Weber, K. (2005). How to buy a home with good feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://www.Hometomorrow.com Wijaya, A. H. (2005). A little bit of feng shui. Retrieved November 21, 2005, from http://english.siutao.com Witcombe, C. (2005). Earth mysteries : Geomancy. Retrieved November 21, 2005, from http://witcombe.sbc.edu Wright, S.(2007). Best real estate feng shui. Retrieved February 11, 2007, from http://www.bestrealestatefengshui.com Yap, J. (2007). Feng shui: Science of belief? Retrieved February 18, 2007, from http://www.chineseastrologyreadings.com Yu, J. (2005). Feng shui research centre. Retrieved March 2, 2007, from http://www.astro-fengshui.com
63
Product Ideas and People’s Needs แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และความต้องการของมนุษย์
แปลและเรียบเรียงจาก Richard Morris, 2009, The Fundamentals of Product Design, AVA Publishing, Switzerland. อาจาารย์ อินทรธนู ฟ้าร่มขาว ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
ล้านคน ล้านความคิด ล้านความต้องการ มนุษย์โลกกว่าหกพันล้านคน ย่อมเป็นหกพันล้าน ความคิด และหกพันล้านความต้องการ มนุษย์ทุกคนต่างมี รูปแบบความคิด รูปแบบความสนใจต่างกัน บางเรื่อง เหมือนกัน บางเรื่องก็ต่างกัน การค้นคว้าหรือการวิจัยเพื่อ จำแนกและทำความเข้าใจในความต้องการเหล่านั้น จึงเป็น สิ่งสำคัญ เสมือนเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการสร้างสรรค์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อตอบ สนองความพึงใจของผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อสร้างชีวิตความ เป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
Nike Air Jordan XX3
การออกแบบโดยให้ ผู้ บ ริ โ ภคเป็ น ศู น ย์ ก ลาง (User - centered design) คือการพยายามทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับความปรารถนา (Want) และแก่น ความต้องการ (Core Needs) ของมนุษย์ ซึ่งอาจแตกต่าง หรือเหมือนกันตามแต่กลุ่มคน ชนชั้น อายุ หรือเพศ รวมทั้ง วัฒนธรรม การดำเนินการออกแบบในทิศทางนี้ ทำให้เกิด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ที่ ไ ด้ คิ ด ค้ น และสร้ า งสรรค์ อ อกมาให้ ดี ยิ่งขึ้น ๆ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ได้ตรงขึ้น ประเด็นสำคัญคือการให้ความสำคัญกับการวาง กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Market) เนื่องจาก เป็นเรื่องยากจนแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นใด 64
ชิ้นหนึ่ง จะตรงกับความต้องการของมนุษย์ทุกคน การ ตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อ ที่จะทำการตลาด โดยกำหนดรูปแบบการนำเสนอ การ สื่อสารต่อผู้บริโภค การสร้างภาพลักษณ์ การบริหารจัดการ และทำความเข้าใจในรูปแบบและทิศทางผลิตภัณฑ์ว่าควร ปรากฏตัวอย่างไร การสร้างฐานข้อมูลของผู้บริโภค เป็น เรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ควรบันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ อาชีพ แม้กระทั่งลักษณะพิเศษหรือพฤติกรรม ข้อมูลเชิงลึก เหล่านี้จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดตำแหน่ง ผลิตภัณฑ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) โดย เฉพาะข้อมูลโดยตรงจากผู้บริโภค ผ่านการสัมภาษณ์ การ ลงพื้นที่สำรวจ การทำแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ เชื่อถือได้ โดยเฉพาะหากกลุ่มทดลองมีจำนวนมาก ผลก็ยิ่ง แม่นยำมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามจุดอ่อนอันสำคัญ ยิ่งที่อาจนำพาผลิตภัณฑ์รวมทั้งบริษั ทไปสู่ความล้มเหลว ได้ คือการได้ข้อมูลเท็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการตั้งคำถาม ชี้นำ จนผลที่ได้ผิดเพี้ยนจากความจริง ดังนั้นเทคนิคที่ดี อย่างหนึ่งคือการตั้งคำถามว่าทำไมและอย่างไร หรือการ ตั้งคำถามที่ต้องตัดสินใจ เช่น “ใหญ่ขึ้น” “เล็กลง” หรือ “เท่าเดิม” แทนที่จะมีตัวเลือกว่า “ไม่แน่ใจ” “อาจจะ” หรือ “ไม่ทราบ” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการสอบถามหรือสัมภาษณ์ โดยตรงจะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแต่การดำเนิน การต้องใช้เวลาและเงินทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นปัจจุบันนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตในการเก็บข้อมูล เช่น การใช้เว็บไซต์ (Website) การส่งอีเมล์ (E-mail shot) หรือบล็อกส์ (Blogs) เปิดโอกาสในการค้นหาความคิดเห็นที่สะดวกรวดเร็ว และ ราคาถูกขึ้น นอกจากนั้น การสังเกต (Observation) เป็น อีกหนึ่งกระบวนการที่สามารถทำให้นักออกแบบเข้าใจและ สามารถแปลความพฤติกรรมและการตัดสินใจของผูบ้ ริโภค กระบวนการรับรู้ การซึมซับข้อมูล การแสดงออกทาง
พฤติกรรมทีอ่ ยู่ใต้จติ สำนึก ซึง่ ช่วยในการหาความเหมาะสม ในด้านต่าง ๆ ของตัวผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการทดสอบ การใช้งาน โดยนำตัวผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบไปทดสอบใน ชีวิตประจำวันกับผู้บริโภค หรือการทดสอบแบบเฉพาะ เจาะจง แต่การทดสอบบางครัง้ ก็อาจให้ขอ้ มูลทีผ่ ดิ พลาดได้ จากการที่ผู้ทดสอบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมปกติ เนื่องจาก การถูกบันทึกเทป ดังนั้น ผู้ออกแบบการทดสอบจึงควร ระมัดระวัง การศึกษาแนวโน้มของตลาด (Learning from Market trends) เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้ นักออกแบบเข้าใจรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทอ่ี าจเปลีย่ นแปลง ไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มี อยู่ตามท้องตลาด เพื่อพิจารณาว่านักออกแบบผู้อื่น ตีความ ต้องการผู้บริโภคอย่างไร กลุ่มคนใดต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ นี้ อะไรคือความแตกต่างของราคา วัสดุ รูปทรง และ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ชิ้นใดประสบความสำเร็จ กว่ากัน และเพราะด้วยเหตุใด รวมทัง้ ข้อมูลจากการรายงาน ผลการตลาด หรือการส่งออก การศึกษาเหล่านี้อาจทำให้ นักออกแบบเข้าใจนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่ อาจมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือสภาพการเงินของแต่ละประเทศ นอกจากนี้รูปแบบการศึกษาแนวโน้มความต้องการของ คนวัยหนุ่มสาว จะมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะพวกเขาจะเป็นผู้กำหนดทิศทาง (Trends) ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ด้วยรูปแบบการดำรงชีวติ การแบ่งสังคมออก เป็นกลุ่มย่อยหลายๆ กลุ่ม ทำให้ความสนใจที่เป็นเอกลักษณ์ รูปแบบจำเพาะแตกต่างกันไป ดังนั้นรูปแบบการวิจัยแบบ เดิม เช่น การใช้แบบสอบถามอาจได้ผลที่ไม่ถูกต้องนัก นักวิจัยหรือนักออกแบบจึงจำเป็นต้องอยู่นอกกรอบและ สามารถไปอยู่ร่วมกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อไปสังเกตและทำ ความเข้าใจความคิดของพวกเขา ดูว่าพวกเขาทำอะไร มอง
Quinny Buzz pushchair
อะไร เที่ยวที่ใด ซึมซับและรับรู้ข้อมูลอย่างไร ช่องทางไหน ทัศนคติที่แสดงออก รวมไปถึงวิถีชีวิตเป็นอย่างไร จากนั้น จึงแปลความหมายไปถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ในอนาคตต่อไป จิตวิทยาและสังคมศาสตร์ (Psychology & Sociology) เป็นการศึกษาทางด้านจิตใจ กระบวนการคิด รวมถึง การรับรู้ การตระหนัก อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม การอยู่ร่วมในสังคม แม้กระทั่งการศึกษาพัฒนาการของ ผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ใกล้เคียง ในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในแต่ละพื้นที่ ก็อาจช่วยให้นักออกแบบเข้าใจพื้นฐานความ ต้องการของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและสังคมที่ต่างกันได้ ทั้งนี้ นักออกแบบควรพยายามทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อจะได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น อาจสามารถออกแบบของเล่นเพื่อเด็กอายุ 3-5 ขวบ ได้ ปลอดภัยยิ่งขึ้น ดึงดูดความสนใจเด็กได้มากขึ้น รวมทั้งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สร้างพัฒนาการให้เด็กได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ นักออกแบบควรศึกษาทำความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ ชนชาติ (Ethnography) วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ เพื่อ สร้างสรรค์ผลงานให้ตรงกับความรู้สึกนึกคิด ลักษณะการ ใช้งานของกลุ่มคนในสังคมนั้น ๆ อาจด้วยวิธีการศึกษา หา ข้อมูล หรือจากการทดลอง ทดสอบ รวบรวมประสบการณ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เหมือนกับนักแสดงในวงการ ภาพยนตร์ที่ต้องสร้างอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดไปตาม บทบาทการแสดง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมา ได้ถูกต้องและดีที่สุด แต่สิ่งสำคัญคือการไม่หลงเข้าใจใน ความคิดของตนเองโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งพอ 65
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา นาควัชระ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
บทนำ ก่อนเข้าประเด็นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ทคี่ ำนึง ถึงประโยชน์ใช้สอย อยากให้ทำความเข้าใจ และรู้ถึงความ แตกต่างของคำว่า ศิลปะ (Arts) การออกแบบ (Design) งานฝีมือ (Crafts) และการตกแต่ง (Decoration) เสียก่อน ศิลปะ (Arts) หมายถึงการสร้างสรรค์งานในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น งาน 2 มิติ เช่น งานจิตรกรรม บนกระดาษ หรือผ้าใบ งาน 3 มิติ เช่น งานประติมากรรมที่ทำจาก วัสดุต่าง ๆ เช่น โลหะปูนและอื่น ๆ โดยผลงานที่สร้างสรรค์ ออกมา ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การมองผ่านตา การสัมผัสผ่านมือหรือร่างกาย หรือ การฟัง ซึง่ ผลงานทีส่ ร้างสรรค์นเ้ี กิดจากอารมณ์และแนวคิด ของผู้สร้างสรรค์เองเป็นหลัก สำหรับผู้ชมนั้น เมื่อได้รับรู้ ผ่านประสาทสัมผัสแล้ว อาจจะไม่เข้าใจ หรือเข้าใจได้ ตรงกับแนวคิดของผู้สร้างสรรค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความ ความเข้าใจและประสบการณ์ของผูช้ มแต่ละคน งานฝีมือหรือหัตถศิลป์ (Crafts) คือการสร้างสรรค์ ผลงานที่มีวัตถุประสงค์และมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่นทำขึ้น เพื่อใช้สอย เพื่อการตกแต่ง หรือเพื่อความเชื่อทางศาสนา โดยวิธีการสร้างสรรค์ จะอาศัยทักษะ และฝีมือของ ผู้สร้างสรรค์เป็นหลัก และต้องความเข้าใจในศิลปะควบคู่ ไปด้วย (แต่ทั้งนี้ช่างฝีมือแต่ละท้องถิ่น แต่ละประเทศ มีความเข้าใจในเรื่องสุนทรียภาพและองค์ประกอบศิลป์ ที่แตกต่างกันไป) ผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ เรียกว่า ช่างฝีมือ (Craftsman) หัวใจสำคัญของหัตถศิลป์ คือ ทักษะและความชำนาญ ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย ฝี มื อ และเครื่ อ งมื อ พื้ น ฐานมากกว่ า ใช้ ด้ ว ยเครื่ อ งจั ก ร อุตสาหกรรมผลงานที่สร้างสรรค์ออกมาจะมีความประณีต บรรจง จนบางครั้งเรื่องของการใช้งานจะเป็นเรื่องรองเมื่อ เทียบกับความงาม จนนำมาใช้ประดับตกแต่งมากกว่าจะ นำมาใช้จริง
66
ส่วนคำว่าการตกแต่ง (Decoration) คือการ สร้างสรรค์ผลงานเพื่อการตกแต่งหรือการตกแต่งบนชิ้น งานที่มีประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ เช่น งานเครื่องปั้นดินเผา งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน งานสถาปัตยกรรม โดยจะเกี่ยวข้องกับการทำชิ้นงานจากหลากหลาย ๆ วัสดุ เช่น เซรามิค แก้ว โลหะ ผ้า เมื่ อ ได้ ท ราบและเข้ า ใจความหมายของคำว่ า การออกแบบแล้ว ก็เริ่มมาทำความเข้าใจกับคำว่า การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ในปัจจุบันจะพบ คำว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์อยู่ 2 คำ ได้แก่การออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design) เช่น หลักสูตร ของภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กับคำว่าการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เช่น หลักสูตรของ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ซึ่งที่มาที่ไปและความหมายแตกต่างกัน ดังนี้ การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Idustrial Design) จะผูกมัดกับคำว่าอุตสาหกรรม (Industrial) กล่าวคืออิงกับการผลิตในจำนวนมาก ๆ (Mass Production) ซึ่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่อิงกับการผลิตจำนวนมาก ๆ นี้ เกิดขึ้นเป็นศาตร์การออกแบบครั้งแรก จากสถาบัน บาวฮาวส์ (Bauhaus) การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ แยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือการออกแบบระบบ (System Design) และ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ในส่ ว นการออกแบบระบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ะอิ ง ไปทาง วิศวกรรม (Engineering คนที่ดูแลงานในส่วนนี้คือวิศวกร (Product Engineer, Design Engineer) สำหรับในส่วน การออกแบบผลิตภัณฑ์จะรับผิดชอบในส่วนของหน้าตา รูปโฉม รูปร่าง โดยออกแบบให้สอดคล้องกับการผลิตทาง
Industrail Design การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม ทั้งนี้ในแต่ละโครงงาน ความสำคัญระหว่าง ระบบภายในกับรูปโฉมภายนอกจะไม่เท่ากัน เช่น ถ้าให้ ความสำคัญกับระบบทางวิศวกรรมมากกกว่าหน้าที่ของ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพยายามปรับรูปโฉมให้เข้ากับ ระบบที่มีและสอดคล้องกับระบบการผลิต แต่ในบางครั้ง เรื่องของรูปโฉม หน้าตา ถูกให้ความสำคัญมากกว่า (ด้วย เงื่อนไขการตลาด ผู้บริโภค หรืออื่น ๆ) วิศวกรก็ต้องมา ออกแบบระบบภายในกลไกต่าง ๆ รวมถึงกรรมวิธีการผลิต ให้สอดคล้องกับรูปโฉมใหม่ ดังนั้นนิยาม ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Designer) คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการ วิเคราะห์ สร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตทาง อุตสาหกรรม เป็นจำนวนมาก ๆ จุดมุ่งหมายในการทำงาน คือ เพื่อให้บรรลุถึงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ซึ่งจะเป็นที่มั่นใจ ได้ว่า จะได้รับการยอมรับของตลาดก่อนที่จะทำการลงทุน และสามารถผลิ ตได้ ใ นราคาที่ อ ำนวยต่ อ การจำหน่ า ย รวมทั้งมีกำไรที่เหมาะสม นอกจากนี้นิยามของนักออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ของสมาคมนักออกแบบอุตสาหกรรม สากล (ICSID - The International Council Society of Industrial Designer) คือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดี มี ความรู้และประสบการณ์ในรสนิยมด้านความงาม (Visual Sensibility) เพื่อที่จะตัดสินเกี่ยวกับวัสดุ (Material) โครงสร้าง (Construction) ระบบกลไก (Mechanism) รูปร่าง (Shape) สีสัน (Color) การตกแต่งผิว (Surface Finishing) และการตกแต่ง (Decoration) ของผลิตภัณฑ์ เพือ่ การผลิตทางอุตสาหกรรม สำหรับคำว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นคำที่อิงกับตัวผลิตภัณฑ์ จะเห็นได้ว่าถ้าเอาคำ หลักเป็นคำว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ จะมีความหมายที่ กว้างกว่าใช้คำว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
System Design การออกแบบระบบ
Product Design การออกแบบผลิตภัณฑ์
ภาพที่ 1 : แสดงแผนภาพโครงสร้างนิยามของคำว่า การออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Design) Product Design การออกแบบผลิตภัณฑ์ Mass Production ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
Craft ผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์
ภาพที่ 2 : แสดงแผนภาพโครงสร้างนิยามของคำว่า การออกผลิตภัณฑ์ (Product Design)
เพราะครอบคลุมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในเชิง อุตสาหกรรมที่มีการผลิตจำนวนมาก และงานผลิตภัณฑ์ ประเภทงานฝีมือ งานหัตถศิลป์ด้วย แต่ให้ระลึกอยู่เสมอว่า หลักสูตรทีเ่ รียนอยูบ่ นฐานของการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และการผลิตในจำนวนมาก ดังนั้นชื่อที่เหมาะสม สำหรับ สายงานออกแบบที่เรียนนี้ อาจเรียกให้ชัดเจนว่า การ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Design & development) ดั ง นั้ น การศึ ก ษาในหลั ก สู ต รไม่ ว่ า จะหลั ก สู ต ร ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ระบบการศึกษานิยามไว้ว่า เป็นการเรียนแบบ ประสบการณ์นิยม (Progressivism) เป็นการพัฒนาและ เรียนรู้ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ การสั่งสมประสบการณ์ และ ความรู้ในหลากหลายด้าน เพื่อสะสมเป็นฐานอันมั่นคง ขององค์ความรู้เป็นการเรียนที่ต้องอาศัยทั้งด้านเหตุผล (Logic) เพื่อทำงานให้ได้ตามกรอบและเงื่อนไขต่าง ๆ และ ด้านอารมณ์ (Emotion) เพื่อให้ได้ผลงานที่มีความงาม และความดึงดูดใจ
67
การเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ จำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Product) คือ ผู้บริโภคซื้อมาใช้กันเอง 2. ผลิตภัณฑ์สำนักงาน หรืองานบริการ (Office Equipment, Service Equipment) ซื้อเพื่อนำมาใช้งาน เป็นของส่วนกลางในสำนักงานหรือโรงงาน 3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษหรือ เครื่องมือเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม (Durable Product, Capital Product) 4. ผลิตภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Transportation Product) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งได้ละเอียดมากขึ้น เนื่องจาก เงื่ อ นไขการออกแบบมี ค วามเฉพาะกิ จ และแตกต่ า ง จากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น ผลิตภัณฑ์สาธารณะ (Public Product) ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง (Computer Equipment) ผลิตภัณฑ์ทาง การแพทย์และเครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์ (Medical and Scientific Products) เป็นต้น หลักการพื้นฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โครงการหนึ่ง ๆ ต้องได้ 2 สิ่งนี้เสมอ (ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อ) ได้แก่ 1. มีการใช้สอยที่ดีขึ้น (Better Utility) 2. มีความดึงดูดใจมากขึ้น (More Attractive) ใน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะมีเงื่อนไขซึ่งเป็นสิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ เรียกว่าปัจจัยหรือตัวแปร ทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบ (Design Factors) ซึ่งมีอยู่ 7 ข้อดังนี้
68
2.1 หน้ า ที่ ป ระโยชน์ ใ ช้ ส อยของผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Function) จะกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป 2.2 ความงามสุนทรียภาพ (Aesthetics) นักออกแบบ ต้องประยุกต์เรื่องของสุนทรียศาสตร์กับ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ (Design Factors) ข้ออื่น ๆ ได้อย่างดี การปรากฏตัวเพื่อให้ขายได้ต้องมีการ หาข้อมูลและ การวิจัยหาข้อสรุป (Research) เรื่องของ แนวโน้มหรือรสนิยมผู้บริโภค (Trend) นอกจากนี้ ยังรวม ไปถึงการสัมผัสเสียง กลิ่น รส หรืออื่นๆ 2.3 ความสะดวกสบาย เหมาะสมกับการใช้สอย ของมนุษย์ (Ergonomics) เช่น ในเรื่องของสัดส่วน อุณหภูมิ ฯลฯ 2.4 ความปลอดภัยกับผู้ใช้ (Safety) หรือการ คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งอื่น 2.5 โครงสร้ า งและความทนทานต่ อ สภาพ แวดล้อมที่ผลิตภัณฑ์ถูกใช้อยู่ (Durable, Construction) โดยเหมาะสมกับวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตามนโยบายทาง การตลาดด้วย 2.6 ง่ายต่อการดูแล ซ่อมบำรุง รักษา เก็บรักษา การเปลี่ยนอะไหล่ (Ease of Maintenance) และอื่นๆ 2.7 ความเหมาะสมของราคา การประหยัด และ ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า (Cost) ดังนั้นในแต่ละผลิตภัณฑ์ การให้ความสำคัญในแต่ ละหัวข้อของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบไม่ เหมือนกัน เช่นผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่งอาจจะเน้นในเรื่อง ความปลอดภัยมากกว่าความงาม หรืออีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง อาจเน้นในเรื่องของการควบคุมราคาและวัสดุมากกว่าค วามทนทานเป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น การคำนึงถึงปัจจัย เรื่องความปลอดภัยของการออกแบบเข็มขัดนิรภัย กับ ปลอกปากกา ย่อมให้ลำดับความสำคัญที่ ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ถ้าเข็มขัดนิรภัยออกแบบมา โดยมีความปลอดภัยต่ำ หรือไม่มีระบบเตือนให้ใช้งาน เข็มขัดนิรภัยอาจส่งผลทำให้ เสียชีวิต ในขณะที่ถ้าผู้ใช้ลืมใส่ปลอกปากกา ผลเสียที่ เกิดขึ้นคือ ปากกาเลอะมือหรือเลอะเสื้อผ้าถ้าบังเอิญเอาไป เหน็บกระเป๋าเสื้อ
ค.ศ.1900
ค.ศ.1925
ค.ศ.1950
ค.ศ.1975
ค.ศ.2000
งานออกแบบอยู่บนพื้นฐานของงานหัตถศิลป์ (Design as Craft) งานออกแบบอยู่บนพื้นฐานของการผลิตจำนวนมาก (Design as Mass Production) งานออกแบบมีหลากหลายรูปแบบ (Design as Styling) งานออกแบบอยู่บนพื้นฐานของหน้าจอคำสั่ง (Design as User Interface) งานออกแบบรองรับประสบการณ์ของผู้ใช้แต่ะคน ระบบฐานข้อมูล (Design as Experience) ภาพที่ 3 : แสดงแผนภาพการออกแบบในแต่ละช่วงเวลาว่าอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันตามสถานการณ์และเทคโนโลยีของยุคนั้น
ที่มาของการออกแบบที่คำนึงประโยชน์ใช้สอย จากแผนภูมภิ าพที่ 3 แสดงให้เห็นว่างานออกแบบใน ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานออกแบบผลิตภัณฑ์จะอยู่บนพื้นฐานของงานหัตถศิลป์ (Design as Craft) เนื่องจากเป็นช่วงที่กลุ่มแนวร่วมศิลป หัตถกรรม (Arts and Crafts Movement) ช่วยกันฟื้นฟู งานฝีมือให้กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง (หลังจากปล่อยให้พ่อค้า นักประดิษฐ์เครื่องจักรต่าง ๆ ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีอิทธิพลต่องานออกแบบ ทำให้ได้งานที่ไร้ความประณีต) จนถึงช่วงที่ศิลปะแบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau) รุ่งเรือง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการทำงานที่ละเอียดปราณีตเช่นกัน จนกระทั่ง ช่วงต้นเกือบกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 กระแสบริโภคนิยมแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง (เนือ่ งจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิต วัสดุ การคมนาคม ฯลฯ) จึงก่อให้เกิดแนวคิดในงานออกแบบ ที่ประสาน ประโยชน์ใช้สอยให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีการผลิตและ วัสดุทางอุตสาหกรรม โดยยังอยู่บนพื้นฐานของความงาม ทีด่ เู รียบง่าย จุดเริ่มต้นแนวคิดของงานออกแบบนี้ มาจาก สถาบันออกแบบบาวฮาวส์ (Bauhaus) ซึ่งได้มีแนวคิด ที่ประสานระหว่างความต้องการการใช้งานอย่างแท้จริง ในผลิตภัณฑ์กับการผลิตจำนวนมาก (Design as Mass Production) ส่งเสริมการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม เช่น การใช้แม่พิมพ์ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำ มีรูปแบบที่เรียบง่าย โดยสอดคล้องไปกับการพัฒนาทาง เทคโนโลยี (วัสดุและกระบวนการผลิต) เกิดเป็นสินค้า ที่ผลิตได้จำนวนมาก ๆ กระจายไปสู่ผู้บริโภค หลักการ ออกแบบอยู่บนพื้นฐานของ “Form Follow Function”
ที่ว่ารูปทรงของสิ่งก่อสร้าง หรืองานออกแบบใด ๆ ควรอยู่ บนพืน้ ฐานของการใช้สอยทีก่ ำหนดไว้ เป็นรูปแบบทีเ่ รียกว่า การออกแบบสมัยใหม่ (Modern Design) โดยก่อนที่จะ ก่อตั้งเป็นสถาบันออกแบบบาวฮาวส์ รูปแบบงานออกแบบ แบบอาร์ตเดคโค (Art Deco) ก็เป็นรูปแบบที่เริ่มมีการผลิต ในรูปแบบของอุตสาหกรรมแล้ว เช่นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ ไฟฟ้าเออียี (AEG) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ช่วง ค.ศ.1950 -1980) รูปแบบงานออกแบแบบสมัยใหม่ของบาวฮาวส์กับ นิยามการออกแบบที่ว่า “Less is More” (ส่วนประกอบ หรือการตกแต่งที่น้อย ๆ เอาเฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อการใช้ สอยและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด) เริ่มเป็นที่น่าเบื่อ ไร้รสชาติ จนเกิดคำประชดเสียดสีขึ้นมาว่า Less is Bored” (น้อย ๆ ที่น่าเบื่อ) โดยในช่วงนี้ได้เกิดรูปแบบของงานที่หลากหลาย และมีสีสัน (Design as Styling) เช่น แนวโพสโมเดิร์น (Post Modern) คือ การแต่งเติมส่วนประกอบและสีสัน ให้น่าสนใจมีการผสมผสานงานศิลปะตะวันตก ตะวันออก ชนเผ่า มาทำให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หรือ เห็นได้ชัด จากสีสันสดใสช่วงยุคปี ค.ศ.1960 หรือความเป็นดิสโก้ ใน ช่วงปี ค.ศ.1970 หรือ ความมีสีสันและสะท้อนสังคม ของ ศิลปะป็อบอาร์ต (Pop Art) หลังจากนั้นช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึง ปี ค.ศ. 2000 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เฟื่องฟู (Digital Age) เริ่มมีระบบการควบคุมการทำงานของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ จากเดิมผลิตภัณฑ์ทที่ ำงานโดยผ่านระบบ แผงวงจรไฟฟ้าและมาสั่งให้กลไกภายในทำงาน ก็เปลี่ยน มาเป็นจากรับคำสั่งจากไมโครชิพคอมพิวเตอร์ที่ฝังอยู่ ใน
69
ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จึงเริ่มมีหน้าจอ (Design as User Interface) เพื่อป้อนคำสั่งต่าง ๆ เรียกได้ว่าเริ่มต้นจาก ระบบอนาล็อก (Analog) และถูกแทนที่ด้วยระบบดิจิตอล (Digital) คือ เก็บเป็นระบบตัวเลขแบบการทำงานของ คอมพิวเตอร์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กลง บางลง ส่วน ผู้ใช้งานก็คุ้นเคยกับการป้อนคำสั่งผ่านผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ ผลิตภัณฑ์ทำงานตามต้องการ และช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงต้นคริสต์ ศตวรรษที 21 ระบบติดต่อสื่อสารทันสมัยมากขึ้น ระบบ โครงข่าย (Network) การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ เปลี่ยนจาก ระบบอนาล็อก เป็นระบบดิจิตอล ทำให้ทุกหนทุกแห่ง สามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ตลอด ทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารทันทั่วหน้ากัน ข้อมูลข่าวสารถูกเก็บไว้ในรูปแบบ ของฐานข้อมูล (Database System) ยุคนี้จึงถูกเรียกว่า ยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) เครื่องใช้ต่าง ๆ ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถรับข้อมูลใหม่ ๆ (Update) เพื่อให้โปรแกรมของเครื่องนั้น ๆ ให้ทันสมัย อยู่ตลอด นอกจากนี้ปุ่มบังคับเพื่อควบคุมการทำงานผลิต ภัณฑ์ เริ่มมีปุ่มน้อยลง เนื่องจากผู้คนคุ้นเคยกับการใช้งาน ผลิตภัณฑ์ได้ดีแล้ว เมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่ท้องตลาด ผู้ใช้งานจึงสามารถสานต่อการใช้งานได้อย่างดี เรียกว่า ประสบการณ์จากการใช้งานผลิตภัณฑ์ในรุ่นก่อน ส่งผลให้ การใช้งานของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น (Design as Experience) นอกจากนี้ ความต้องการของ ผูบ้ ริโภคยุคนีค้ อื ความเป็นตัวของตัวเองความไม่เหมือนใคร รู้สึกว่าต้องเลือกมาผสมผสานเองได้ (Mix and Match) การสร้างความรู้สึกภูมิใจ ในการสร้างและออกแบบเอง
70
(Do it Yourself - DIY) หรือการเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม กับบุคลิกภาพ หรือการใช้งานของแต่ละคน แนวโน้มของ ผลิตภัณฑ์ในยุคนี้ จึงมักออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้ไปออกแบบ แต่งเติมตกแต่งเองได้ (Template) หรือมีลักษณะให้ ผู้ใช้เลือกได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การออกแบบตกแต่ง ห้อง โดยให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ ได้เองตามต้องการ โดยเลือกผ่าน โปรแกรมที่จำลองห้อง เสมือนจริง โดยทางนักออกแบบ ได้เตรียมเฟอร์นิเจอร์ รูปแบบต่าง ๆ ไว้ให้ลูกค้าเลือก หรือเว็บไซด์สังคมออนไลน์ (เช่น Facebook, Hi5) ที่สามารถให้ลูกค้าตกแต่งหน้า เว็บเพจ (Web Page) ให้เป็นรูปแบบของตนเองได้หรือ ผลิตภัณฑ์เครือ่ งใช้ไฟฟ้าคอมพิวเตอร์ตา่ ง ๆ ทีล่ กู ค้าสามารถ เลือกคุณสมบัตขิ องสินค้า (Features) ได้ตามความต้องการ ของแต่ละคน และมีสีสันวัสดุให้เลือกได้หลายแบบ สำหรั บ แนวโน้ ม ในยุ ค ปั จ จุ บั น จนถึ ง อนาคตอั น ใกล้นี้ เป็นยุคของไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) ชีวเคมีเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี ไบโอมิเมติกส์ (Biomimetics) คือนำเทคโนโลยีระดับโมเลกุล เทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับทางชีววิทยาหรือเคมี หรือ ระบบกลไกของ สิ่งมีชีวิตจากธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ เช่น การออกแบบชุดว่ายน้ำ ที่ใช้ผ้าที่มีเส้นใยจำลองมาจาก ผิวหนังของฉลาม หรือเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใย ที่สามารถ ทำความสะอาดได้เองโดยอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่าลักษณะ งานออกแบบและผลิตภัณฑ์ในแต่ละยุค ย่อมตอบสนองกับ ความต้องการของผู้คนในยุคนั้น ๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของ เทคโนโลยีของแต่ละยุค
เกณฑ์ เงื่อนไข บันทัดฐาน ความเหมาะสม
Need
+ Criteria
ทำให้เกิด Real Need (ความต้องการที่แท้จริงและเหมาะสม)
ก่อให้เกิด
เกณฑ์ เงื่อนไข บันทัดฐาน ความเหมาะสม
หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย
Function สิ่งที่เกิดตามกันมา คือ Performance (การทำงาน) เช่น Function - ทำให้เสื้อผ้าสะอาด Performance, Procedure หมุน ปั่น เพื่อทำให้เสื้อผ้าสะอาด
Need
+ Criteria
ก่อให้เกิด
หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย
Function
โรงงาน ผู้ขนส่ง คนกลาง คนทำตลาด ผู้ซื้อ (ผู้ซื้อใช้เอง ผู้ตัดสินใจซื้อ ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ) ผู้กำจัดเศษ ฯลฯ
ภาพที่ 4 : แผนภาพแสดงให้เห็นว่าหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยเกิดขึ้นมา จากความต้องการที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม
ภาพที่ 5 : แผนภาพแสดงให้เห็นว่าความต้องการในผลิตภัณฑ์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่ม
แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย จากภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่าหน้าที่หรือประโยชน์ ใช้สอย (Function) เกิดมาจากความต้องการ (Need) แต่ ความต้องการนี้ อาจมีมากมายจากบุคคลหลายคนที่เกี่ยว ของกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นตัวกรองก็คือ เกณฑ์ เงื่อนไข บรรทัดฐาน (Criteria) เพื่อนำมาใช้คัดกรองความ ต้องการต่าง ๆ ที่มากมายให้เหลือเฉพาะความต้องการที่ แท้จริงและเหมาะสม (Real Need) สำหรับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เมื่อได้ความต้องการที่แท้จริงแล้ว ก็จะนำมาเป็น ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นอย่างชัดเจน เมื่อหา หน้าที่ประโยชน์ใช้สอยได้แล้วว่าใช้ทำอะไร (What) สิ่งที่ จะคิดเป็นลำดับถัดมาคือ การใช้สอย ว่าจะใช้สอยอย่างไร (How) ที่จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ใช้สอยดังกล่าว จากตัวอย่างภาพที่ 4 สมมุติว่าได้ความ ต้องการที่แท้จริงมาว่า ต้องการผ้าที่สะอาด หน้าที่ประโยชน์ ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ทำให้ผ้าสะอาดลำดับการคิด ต่อมาคือ การทำผ้าให้สะอาดมีวิธีการใดบ้าง เช่น การปั่น การสลัด การทุบ เป็นต้น ซึ่งวิธีการใดดีที่สุดในการทำผ้าให้ สะอาดก็ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์วิจัย เพื่อหาข้อสรุปแล้ว เลือกวิธีการที่เหมาะสมต่อไป
จากภาพที่ 5 เห็นว่า ความต้องการในผลิตภัณฑ์ หนึ่ง ๆ มาจากคนหลายกลุ่ม ที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ เช่น ความต้องการของโรงงานที่จะผลิต ความ ต้องการของผู้ขนส่ง ความต้องการของนักการตลาด และ พ่อค้าคนกลาง ความต้องการของผู้ซื้อ (ซึ่งผู้ซื้อก็มีหลาย ประเภท เช่น ผู้ที่ซื้อใช้เอง ผู้ที่ตัดสินใจซื้อแต่ไม่ได้ใช้เอง) ความต้องการของผู้กำจัดเศษ ฯลฯ และความต้องการของ คนแต่ละกลุ่มดังกล่าว บางครั้งก็มีความขัดแย้งกัน เราไม่ สามารถตอบสนองต่อทุกความต้องการของทุกคนได้หมด ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องมือ ที่ใช้หาค่าเฉลี่ยว่าอะไรคือความ ต้องการที่แท้จริงและเหมาะสม ซึ่งเครื่องมือนั้นก็คือ การ หาข้อมูล (Research) ดังนั้นสิ่งที่ได้จากการหาข้อมูล จะ เป็นบรรทัดฐานที่เป็นเงื่อนไข ที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดข้อ สรุปของความต้องการที่แท้จริง ดังนั้นนักออกแบบจึงทำ หน้าที่เป็นคนกลาง ที่ประสานประโยชน์ร่วมกัน (Compromise) ให้กับความต้องการของทุกฝ่าย
71
ในบางครั้งเราเสริมหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยรอง (ลวง) เข้าไปในผลิตภัณฑ์เพื่อการขาย เช่น ภาพสวย ๆ พิมพ์ลง ไดอารี่ (Diary) คนก็จะซื้อเพราะภาพที่สวย ๆ ดังกล่าว ่ทำให้เกิดการตอบสนอง Function Performance วิเช่ธนีการที แต่เมื่อซื้อไปแล้วกลับไม่กล้าใช้เพราะเสียดายภาพสวย ๆ หมุน ปั่น เพื่อทำให้เสื้อผ้าสะอาด มีศัพท์อีกคำที่ควรจะทราบไว้คือคำว่าฟังก์ชั่นนอล ขั้นตอนเพื่อใช้งานผลิตภัณฑ์ เพื่อก่อให้เกิดวิธีการ (Performance) ที่ทำให้เกิดการตอบสนองต่อ Function ฟอร์ม (Functional Form) คือ รูปทรงที่สอดคล้อง Utility เช่น เสียบปลั๊ก กดปุ่มที่อยู่บนฝาเครื่อง ฯลฯ เหมาะสมกับหน้าที่ประโยชน์ใช้สอยนั้น ๆ ในบางผลิตภัณฑ์ จะไม่ ส ามารถเปลี่ ย นแปลงรู ป ทรงได้ ม ากนั ก เนื่ อ งจาก Ergonomics เข้ามามีบทบาทตรงนี้ เหตุผลนี้ เช่น รูปทรงของหัวค้อน การมองหาหน้าที่ ภาพที่ 6 : แผนภาพแสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงของหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย ประโยชน์ใช้สอย จะมองแบบแคบหรือกว้างก็ได้ แต่มอง วิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย และวิธีการใช้สอย แบบกว้างจะได้แนว หรือช่องทางที่แปลกใหม่กว่าเดิมใน จากภาพที่ 6 แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้หน้าที่ การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ ประโยชน์ใช้สอยแล้ว (ซึ่งได้มาจากความต้องการที่แท้จริง) มองแบบแคบ ปากกา สิ่งที่ใช้เขียน ก็จะมาหาวิธีการหรือกระบวนการ (Performance, Procedure) ที่ทำก่อให้เกิดการตอบสนองต่อหน้าที่ประโยชน์ มองแบบกว้าง สิ่งที่ถ่ายทอดความคิดให้ ใช้สอยนั้น ๆ ซึ่งอาจะมีหลายวิธีการ ซึ่งเมื่อสรุปได้วิธีการ ปรากฏเป็น 2 มิติ บนสื่อต่างๆ ที่ดีที่สุดแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการใช้สอย (Utility) เพื่อ ก่อให้เกิดกระบวนการนั้น ๆ ซึ่งในส่วนของวิธีการใช้สอยนี้ ภาพที่ 7 : แผนภาพแสดงให้เห็นการมองหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย (Function) จะมีเรื่องของกายวิภาคของผู้ใช้งาน (Ergonomics) เข้ามา แบบแคบ กับแบบกว้าง เกี่ยวข้องว่าจะให้มีวิธีการใช้สอยอย่างไร เพื่อความสะดวก สบายถนัดกับผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น จากภาพที่ 6 ความ จากภาพที่ 7 แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามองหน้าทีป่ ระโยชน์ ต้องการที่แท้จริงคือเสื้อผ้าที่สะอาด ดังนั้น หน้าที่ประโยชน์ ใช้สอยอย่างกว้าง ทำให้เราคิดผลิตภัณฑ์ได้แตกต่างและ ใช้สอย (Function) คือ ทำให้ผ้าสะอาด จากนั้นมาหา แปลกใหม่ แตกต่างจากรูปแบบของปากกา ดังนั้นการ วิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าสะอาดมีวิธีการใดบ้าง ได้ผลสรุป ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่ตอบสนอง ออกมาคือ หมุนปั่น เพื่อทำให้ผ้าสะอาด จากนั้นก็มาหาวิธี ความต้องการอย่างแท้จริง จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ได้นาน การใช้สอยว่าจะใช้สอยอย่างไรเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เกิดการ ไม่เสื่อมหรือล้าสมัยได้ง่าย แต่ทั้งนี้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมุนปั่น ซึ่งในขั้นตอนการหาวิธีใช้สอยนี้ อาจมีหลายแบบ ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบข้ออื่น ๆ ทีมออกแบบต้องเลือก (โดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ อีก 6 ข้อ ให้พิจารณาด้วยตามที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อน ข้อมูล หรือการทดลองเพื่อหาข้อสรุป) วิธีการใช้สอยที่ดี หน้านี้ ที่สุด ที่สร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น กดปุ่มเดียว • ทำงานอัตโนมัติ ตำแหน่งของปุ่ม รูปร่างของปุ่ม รูปร่าง เอกสารอ้างอิง ของผลิตภัณฑ์ สร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอย่างไร I Design ฉบับเดือน มิถุนายน 2552 ในการออกแบบต้ อ งแยกให้ อ อกว่ า อั น ไหนคื อ 1.2. นินิตตยสาร ยสาร I Design ฉบับเดือน กรกฎาคม 2552 หน้าที่ประโยชน์ใช้สอยหลัก อันไหนคือหน้าที่ประโยชน์ 3. บวรวิชญ์ นิติสิริ, เอกสารประกอบการสอนวิชา Product Design 1-2, ใช้สอยรอง ในบางผลิตภัณฑ์อาจมีหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักอย่างเดียว แต่บางผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย 4. Daniel F. Cuffaro, Douglas Paige, Carla J. Blackman, David Darrell E. Covert, Lawrence M. Sears, Amy Nehezมากกว่า 1 อย่าง หรือ มัลติฟังก์ชั่น (Multi Function) Laituri, Cuffaro. Process, Materials and Measurements. Massachusetts: แต่ทั้งนี้ต้องดูว่า มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไรที่จะเป็น Rockport Publishers, Inc. 2006 มัลติฟังก์ชั่น Function
72
หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย เช่น ทำให้ผ้าสะอาด
รูปทรงที่เปลี่ยนแปลง: ประติมากรรม จากก่อนสมัยใหม่ถึงโพสต์โมเดอร์น The Changing Form : Changes in Sculpture from Pre-Modern To Post Modern รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชมุนี (วทบ. , B.F.A., M.F.A., Ed.D.) ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
Abstract This Article is focused on the changing of sculptural form. The author Intends to explore the key ideas of artists’ selection of organic, geometric or other forms. Example of sculpture, applied art and design created from late nineteenth to twenty first century are selected and discussed. What are the origins of ideas for this art forms, geometric, organic shape or other. When post modern begun in 1971, tremendous change took place so rapid, installation art come an viewer instead to looking at sculpture as if he were drowned into the ocean of new experience. In this articles examples of art form from sculptures and installation are selected and discussed. Conclusion is made to explore to find some explanation how the nature of changes in the three dimension art works from the modern-post modern transition take place. บทคัดย่อ บทความนี้ เน้นที่จะศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงในรูปทรงของงานประติมากรรม และงานติดตั้ง ตัวอย่างของ งานประติมากรรมที่เลือกมาใช้ศึกษา คือสมัยโรแมนติค สมัยใหม่ และมาเน้นที่โพสต์โมเดอร์นจะได้นำมาศึกษาเพื่อให้ เข้าใจธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรงในสามทศวรรษหลัง บทความนี้ จะนำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้ I) ศิลปะยุคก่อนสมัยใหม่ II) ศิลปะสมัยใหม่ III) โพสต์โมเดอร์น IV) บทสรุป I) ก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern): มนุษย์รู้จักสร้างงานประติมากรรมมาก่อนการเขียน อักษร พอมาถึงสมัยอียิปต์และกรีก การทำภาพคนที่เป็น ภาพเหมือนก็รุ่งเรืองขึ้น ในโลกตะวันตกประติมากรรม เหมือนจริงเจริญถึงขีดสุดในสมัยเฮเลนิสติค แล้วเสื่อมหาย ไปนับได้พันกว่าปี มารุ่งเรืองอีกครั้งในยุคทองของศิลปะ ตะวันตก เช่น ภาพเดวิดของไมเคิล แองเจโล พอมาถึงสมัย บาร๊อค สไตล์เปลี่ยนไปเป็นการที่แขนขาชี้ไปหลายทิศทาง แสดงการเคลื่อนไหว ดังเช่นภาพอะพอลโลวิ่งตามดาฟเน่ แบบแผนเหมือนจริงนี้ต่อมาจนถึงสมัยโรแมนติค ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 18 ตอนปลายถึง 19 ตอนต้น แบบแผนการทำให้เหมือนจริงยังคงรักษาไว้แต่ รสชาติได้เปลี่ยนไป ความรู้สึกรุนแรง ลึกซึ้งเห็นได้ดังเช่น ภาพเทพีอิสรภาพของฟรังซัว รูช (Francoise Rude) และ เสือกัดกระต่ายของอังตวน หลุยส์ แบร์ (Antoine Louise Bayre)
ช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 19 นี้เอง ศิลปินรู้ว่าโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยุคของเครื่องจักร การเกิดโรงงาน อุตสาหกรรม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย มนุษย์เข้าใจธรรมชาติของ อะตอม พลังงานไฟฟ้า พลังงานปรมาณูและเชื้อโรค แต่ ปัญหาสำคัญในวงการประติมากรรมก็คือ จะเปลี่ยนแปลง หลักสุนทรียศาสตร์ และรูปทรงในงานประติมากรรม อย่างไร การเริ่มต้น จิตรกรอิเพรสชันนิสม์เริ่มก่อน ต่อมา ประติมากร อย่างโรแดงก็เริ่มพบคำตอบ รายละเอียดจะได้ อธิบายในตอนต่อไป II) ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) การเริ่มต้นของศิลปะสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1872 มี หลักการสำคัญคือการไม่ทำตามแนวอะคาเดมีเดิม กลุ่ม จิตรกรอิมเพรสชัน นิสม์ได้ประกาศหลักการของเขาซึ่ง 73
ภาพประกอบ ตัวอย่างงานประติมากรรม ที่มีรูปทรงเปลี่ยนไป 1 ไมเคิล แองเจโล (Michaelangelo) เดวิด (David, 1503-4) ภาพนี้เป็นตัวอย่างประติมากรรมแบบอะคาเดมี รักษาแนวเหมือนจริง สัดส่วนต้องสมบูรณ์ถูกต้อง 2 ออกุส โรแดง (Auguste Rodin) อนุสรณ์บัลซัค (Monument of Balzac, 1897) เริ่มลักษณะของประติมากรรมสมัยใหม่ ไม่มีการเก็บรายละเอียด ให้เรียบร้อย รอยผิวขรุขระทำให้เกิดความงามเมื่อสะท้อนแสง 3 อริสไตด์ เมลออล (Aristide Maillol) เทพธิดาเมดิเตอเรเนียน (Mediteranean, 1901) ผลงานนี้ร่วมสมัยกับของโรแดง แต่ใช้ผิวเรียบ ลักษณะที่เป็นสมัยใหม่ คล้ายกับในงานจิตรกรรม คือลดรายละเอียด สร้างความเรียบง่าย 4 อุมแบร์โต บ๊อคชิโอนี่ (Umberto Boccioni) รูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์ แห่งการต่อเนื่องในช่องว่าง (Unique Form of Continuity in space) ประติมากรรมชิ้นนี้ไม่ได้ทำแบบเหมือนจริง แม้จะพอดูออกว่าเป็นรูปคน กำลังก้าวเดิน แต่รูปทรงในภาพนี้แสดงความพลิ้วไหวด้วยการใช้ชายเสื้อ และกางเกงที่ดูคล้ายครีบปลา หรือปีกนก 5 มาเซล ดูชอมพ์ (Marcel Duchanp) น้ำพุ (Fountain, 1913) ตัวอย่าง ของผลงานนี้เป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญในวงการศิลปะ เพราะงานชิ้นนี้ ก็คือ โถปัสสาวะที่ศิลปินไปซื้อมาตั้งแสดง ครั้งแรกกรรมการไม่ยอมรับ ต่อมาประติมากรต้องต่อสู้อยู่นานนับปี อธิบายเหตุผลหลักสุนทรียศาสตร์ ของเขา และต่อมา มีนักสุนทรียศาสตร์ คือยอร์ช ดิคกี้ ตั้งทฤษฎีสถาบัน เพื่อรองรับ ดังนั้นกติกาในสังคมศิลปะปัจจุบัน วัตถุสำเร็จรูปที่ศิลปิน เลือกสรร เพราะวัตถุนั้นเป็นสัญลักษณ์หรือความหมายเป็นพิเศษ 6 คอนสแตนติน บรานคูซี (Constantin Brancussi) นกแห่งสวรรค์ (Bird of Paradise, 1924) ผลงานของประติมากรคนนี้ ใช้วิธีสร้างความงามที่ เรียบง่าย ลดรายละเอียด ตัวอย่างเช่นนกที่เกาะอยู่แหงนหน้าเอาปีกชี้ฟ้า ประติมากรใช้วิธีหลอมรวมส่วนบาก หัวตัวถูหางเข้าเป็นรูปเรียวยาวคล้าย กล้วยหอม
74
7 พาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) การสร้าง โดยใช้เส้น (Linear Con struction, 1929) ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นก้าวสำคัญของพัฒนาการ ประติมากรรมนามธรรม นับแต่นี้เป็นต้นไปประติมากรรมไม่ต้องสร้าง มาจากมวลแท่งหรือก้อน แต่เส้นหรือแผ่นก็ใช้ได้ และเนื้อหาต้องมาจาก เรื่องราวที่เป็นรูปธรรมอย่างรูปคนหรือสัตว์ วงกลม เส้นตรงหรือโค้ง ก็เป็นเนื้อหาได้ 8 ฌอง อาร์ป (Jean Arp) การก่อรูป เป็นตัวตน (Human Concretion, 1949) รูปทรงนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลมคล้ายตัวอ่อนของคนหรือสัตว์ จากชื่อ แสดงว่าประติมากรอาจเคยได้เห็นทารกที่ตายแล้วดองไว้ตาม พิพิธภัณฑ์การแพทย์ แต่ด้วยหลักสุนทรียศาสตร์ของกลุ่มเหนือจริง ผลงานนี้เป็นการแสดงจินตนาการ ความฝัน คิดถึงชีวิตแบบที่ไม่ตรงกับ วิชาวิทยาศาสตร์ 9 อัลแบร์โต เจียโคเมติ (Alberto Giacometti) สุนัข (Dog, 1951) ผลงานนี้ ประติมากรต้องการแสดงสภาพชีวิตแร้นแค้น อดอยากอย่าง สุนัขข้างถนน แสดงสภาพชีวิตอดอยากแร้นแค้น การทำรูปสุนัขผอม จนเกินจริง ขามีลักษณะเหมือนกิ่งไม้ ลำตัวดูเหมือนใบไม้ที่ใกล้จะร่วง รูปทรงในงานนี้ มีพลังในการแสดงความรู้สึกว่าชีวิตสุนัขเต็มไปด้วย ความทุกข์ ความอดอยาก 10 เฮนรี มัวร์ (Henry Moore) ภายในและภายนอกของรูปนางแบบเปลือย (Interior Exterior Reclining Nude, 1951) โดยหลักสุนทรียศาสตร์ของ ฌอง รีมัวร์ เขาต้องการแสดงสภาพ ชีวิตมนุษย์ โดยแสดงทั้งภายใน และภายนอก ประติมากรรมของมัวร์ ต้องการแสดงสัจธรรม สภาพชีวิต มนุษย์ มีทั้งที่นางแบบนั่งเดี่ยว หรือบางครั้งชายหญิงนั่งบนเก้าอี้ยาว ผู้หญิงอุ้มลูก ประติมากรรมของเฮนรี มัวร์ไม่เก็บรายละเอียดมาก และ ไม่ได้ทำแบบเหมือนจริง แต่ศิลปินประดิษฐ์รูปทรง ที่มีการรักษาสมดุล ระหว่างช่องว่างกับมวล มีการเจาะรูปเพื่อลดความรู้สึกที่ดูว่ามวลจะหนัก เกินไป
11 นวม กาโบ (Nuam Gabo) การก่อสร้างตามแนวเส้นหมายเลข 2 (Linear Construction Space No 2, 1957-8) ประติมากรรมรูปนี้ดู เหมือนรูปหอย แต่ผู้สร้างไม่ได้ต้องการทำภาพที่ดูเหมือนเปลือกหอย ความจริง เจตนาของประติมากรคือการสร้างรูปทรงด้วยเส้นล้วน ๆ เส้นจะสร้างแผ่น แผ่นเกิดจากเส้นโค้งที่เป็นโครงให้เส้นตรงเล็ก ๆ มาเกาะ แล้วทำให้เกิดภาพรวมเป็นแผ่นโค้งที่ก่อตัวเป็นมวลได้ 12 เดวิด สมัธ (David Smith) แท่ง ๑๘ (Cubi XVIII, 1957) หลักการที่กลายเป็นการปฏิบัติคือนำเอาเนื้อหาที่เป็นนามธรรม เช่น เส้นตรงมาร้อยเรียงจนสร้างเป็นผลงานสามมิติได้. 13 อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ (Alexander Calder) มนุษย์ (Man, 1967) สำหรับงานนี้เห็นได้ชัดว่าแรงบันดาลใจมาจากรูปคน งานชิ้นนี้ใช้แผ่น เป็นตัวหลักแต่ต้องตั้งแผ่นให้มีปฏิสัมพันธ์เข้ากันได้ 14 แคลร์ โอลเด็นเบอร์ก (Claes Oldenburg) ไม้หนีบ สูง 10 ฟุต (Cloth Pin 10 Feet, 1974) ศิลปะป๊อบเป็นงานเหมือนจริงแบบหนึ่ง ประติมากร นำเอาแท่งไม้หนีบที่สร้างเป็นชิ้นใหญ่ เมื่อถูกขยายแล้ว วัตถุธรรมดา ก็เลยกลายเป็นสิ่งเรียกความสนใจ ขนาด มีความสำคัญมาก
15 โทนี แคร็ก (Tony Cragg) สแป็กตรั่ม (Spectrum, 1983) งานนี้เป็นงานติดตั้ง จุดสนใจจึงไม่ได้อยู่ที่วัตถุ แต่เป็นผลของการมอง แล้วเกิดปัญหา เศษพลาสติคสีต่าง ๆ วางอยู่บนพื้น จัดสีเป็นแถบรุ้ง 16 ซอล เลวิตต์ (Sol Lewitt) (Open Geometric Structure, 1990) ส่วนประกอบของผลงานนี้คือไม้ระแนงเล็กทาสีขาวทั้งในแนวดิ่งและ แนวนอน ไม้ระแนงแนวดิ่งกับแนวนอนที่ให้เกิดลูกบาศก์จำนวนมาก เริ่มจาก 1 ยกกำลัง 1 =1 แล้วเรียงต่อไป คือ 2, 3, 4, 5,6, 7 เมื่อยกกำลังสามซึ่งหมายถึงทำเป็นปริมาตร จะได้จำนวนบล็อก = 8, 27, 64, 125, 216, และ 343 17 โมนา ฮาทูม (Mona Hatoum) ประโยคของแสง (Light Sentences, 1996) ผลงานนี้ ประกอบด้วยชั้นเหล็กจำนวนมาก ตั้งทำมุมเพื่อให้เกิด เงาตกทอดไปจับอยู่ที่พื้น หรือผนัง สิ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือแสงที่ส่อง ลอดผ่านช่องของชั้นเหล็กทำให้ แล้วทำให้เกิดเงาซับซ้อน
เหมาะแก่การแสดงออกในงานจิตรกรรม คือการเขียนสภาพ ของแสงเงาให้มากมีด้วยสีสันแต่ปัญหามีว่า ประติมากร จะทำอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับหลักการนี้ ในที่สุดปิแอร์ ออกุส โรแดง (Pierre Auguste Rodin) ก็พบวิธี เขาทำให้ ประติมากรรม มีผิวไม่เรียบ เมื่อมุมของแสงเปลี่ยน สภาพ การสะท้อนแสงก็เปลี่ยนไป มีประติมากรอีกสองคนในยุคนี้ ซึ่งพยายามหาคำตอบในแนวอื่น โจเซฟ เมลออล ทำผิว ประติมากรรมเรียบ รูปทรงของคนเรียบง่าย ส่วนแมดเดอโร รอสโซ ทำการทดลองสร้างผิวประติมากรรมให้ดูแปลกไป ด้วยขี้ผึ้ง กลุ่มศิลปินฟิวเจอริสม์ (Futurism) ของอิตาลี พยายามสร้างงานที่แสดงถึงความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้า ด้ ว ยเทคโนโลยี สู ง เช่ น ภาพเขี ย นของโคมไฟที่ แ พร่ เ ม็ ด พลังงานแสงหรือโฟตอนในทางประติมากรรม ภาพคนเดิน พลิ้วด้วยรูปทรงของชายผ้าที่ดูเหมือนครีบปลา หรือครีบนก ที่กำลังเคลื่อนไหว ทศวรรษที่สองของคริสศตวรรษที่ 20 ผ่านเข้ามา เมฆหมอกสงครามโลกครั้งที่สองก็ก่อตัวขึ้น ศิลปินฟิวเจอริสม์เสียชีวิตทั้งหมดในสงคราม การประชุม ในสวิสเซอร์แลนด์ทำให้เกิดคำใหม่ “ดาดา” แปลว่า ม้าไม้ ประชดประชันโลกที่ ไร้สาระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะ และประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ เพราะวัตถุสำเร็จรูปกลายมาเป็นงานศิลปะ ได้ ถ้าไม่เกิด ดาดา นักสุนทรียศาสตร์อย่างอาเธอร์ ดานโต คงไม่ได้ตั้งหลักการโลกศิลปะ (Art World) และเราก็คง ไม่มีทฤษฎีสถาบัน (Institution Theory) ของยอร์ช ดิ๊กกี้ ดังนั้นโถปัสสาวะที่ดูชอมพ์ไปซื้อจากร้านสุขภัณฑ์จีงเปลี่ยน
ฐานะเป็นศิลปะวัตถุชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ มีทฤษฎี สถาบันรองรับ หลังจากนั้น อานรถจักรยาน วงล้อที่ตั้งขึ้น ก็มีฐานะใหม่โนโลกของศิลปะสมัยใหม่ นับแต่ทศวรรษที่สอง ของคริสศตวรรษที่ 20 ประติมากรรมนามธรรมและประติมากรรมเหนือจริงก็เกิด ขึ้น ศิลปินยุโรปกลุ่มดีสติจิล (Distijl) อย่างเฮนรี แวนทอง เกอลู (Henry Vantongerloo) และศิลปินอเมริกันเดวิด สมิธ (David Smith) ได้ประลองผลงานที่เป็นรูปแท่ง หรือทรงกระบอก (David Smith-Abstract) เนื้อหาที่ไม่ มีในประติมากรรมรุ่นก่อน ๆ ไม่น่าแปลกใจเลยถ้าจิตรกร อย่างมองเดรียนและคานดินสกี้จะเขียนภาพรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงอินทรีย์ ประติมากรก็น่าจะประลองลิ่งเดียวกัน ในงานสามมิติได้ ในขั้วตรงข้ามศิลปิน ฌอง อาร์พ และ ฌอง มิโร ได้สร้างประติมากรรมเหนือจริง รูปร่างที่โค้งมนดูเหมือน ผลไม้หรือสัตว์ในกล้องจุลทรรศน์คือโลกฝันที่มิโรและอาร์ พนำมาเสนอคนดู กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดสงครามโลกครั้งที่ สอง หลังจากนั้นโลกต้องรับผลร้ายอีกสองสงคราม คือ สงครามเกาหลีและสงครมเวียตนาม พ่อแม่ชาวอเมริกัน เริ่มตั้งคำถามว่าแล้วลูกหลานฉันจะต้องไปตายที่ไหนอีก ในวงการศิลปะ ปลายสมัยใหม่มีหลายทิศทาง มินิมอล (Minimal) คือทางแบบนามธรรมเรียบง่าย ดู ตัวอย่างศิลปะผิวเรียบสีเดียวอย่างของโดนัล จั๊ด (Donald Judd) ดอน ฟลาวิน (Don Flavin) และโรเบิร์ต มอริส (Robert Morris) สำหรับศิลปะแบบป๊อป (Pop Art) ซึ่ง 75
เป็นการนำหลักการวิจิตรศิลป์กับพาณิชยศิลป์มารวมกัน ศิลปะแบบป๊อป อาจอธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ว่า ศิลปแบบนี้ คือการนำวิจิตรศิลป์กับพาณิชยศิลป์มารวมกันเป็นการทำ ให้เหมือนจริงในบริบทใหม่ ยอร์ช ซีกัลป์ (George Segal) ทำรูปคนสีของขนาดเท่าจริงใช้โต๊ะเคาน์เตอร์ของจริง หรือ พวงมาลัยรถยนต์มาเป็นส่วนประกอบงาน ออลเด็นเบอร์ ขยายไม้หนีบ กล้องส่องทางไกล และแฮมเบอร์เกอร์ที่ขยาย โตกว่าของจริงหลายสิบเท่า นี่คือทางออกใหม่ของศิลปกรรม ที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง หลัง “ดาดา” คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง กระแสที่ แรงพอ ๆ กับดาดาเมื่อ 50 ปีก่อนหน้า แล้วซอลเลวิทเขา ทำอะไร ในงานของซอล เลวิต ไม่มีประติมากรรมหรือ จิตรกรรม จากข้อเขียน 35 ข้อของเขา ความคิดสำคัญที่สุด การแบ่งประเภทรูปทรงเหมือนจริงกับนามธรรมใช้ไม่ได้ มีแต่รูปทรงหรือวัตถุ ที่จะสื่อความคิด ฝีมือไม่สำคัญเพราะ ศิลปินที่มีความคิดดีก็มีสิทธิไปจ้างช่างฝีมือมาทำงานตาม แบบให้สะอาดเรียบร้อยอย่าง Sculpture C เส้นตรงที่ทำ จากไม้ระแนงสีขาว ไม่มอี ารมณ์ใด ๆ มแี ต่แนวคิด(Concept) ในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น นับว่าปี ค.ศ. 1971 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ศิลปะ และสุนทรียศาสตร์อีกครั้งหนึ่งเพราะยุคอุตสาหกรรมหรือ ยุคเครื่องจักรจบลง ยุคใหม่ของสังคม ข่าวสารหรือยุคหลัง สมัยใหม่เกิดขึ้น ฐานเศรษกิจของยุคใหม่นี้คือข่าวสารและ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ข่าวสารแพร่ไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ยุคนี้เรียกว่ายุคหลังสมัยใหม่หรือโพสต์โมเดอร์น III) โพสต์โมเดอร์น (Post Modern) ปี ค.ศ. 1971 ยุคศิลปะสมัยใหม่จบลง ยุคใหม่ที่ เข้าใจยากที่สุด ความคิดแสนสับสนหลากหลาย ยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่นเกิดยุคใหม่ อารยธรรมยุคของสังคม ข่าวสาร ยุคบริโภคนิยมที่มีสินค้าและข่าวสารมากจนเกิน ต้องการ การมีมากเกินไปสร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้น สิ่ ง ที่ ยังไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็น ศิ ล ปกรรม บัดนี้กลายเป็นศิลปะร่วมสมัย หลักสุนทรียที่ไม่ชัดเจน หรือ แม้แต่ตัวศิลปินผู้สร้างงานเองก็อธิบายไม่ถูก ที่มาของ รูปทรงสับสนปนเป นี่คือยุคที่งานศิลปะเหมือนคนโรคจิต คำว่า Schizophrenic จึงเกิดขึ้น ผลงานดูเหมือนกับว่าถูก สร้างโดยคนสองคนที่มีบุคคลิกต่างกัน 76
จากยุ ค ก่ อ นสมั ย ใหม่ ถึ ง หลั ง สมั ย ใหม่ แ ล้ ว ความ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร? โพสต์โมดอร์น สังเคราะห์เอาหลายหลักการที่เคย แยกกันอยู่ ไม่อาจรวมกันในงานชิ้นเดียวกันได้ แต่ในยุคนี้ จะนำมารวมกัน ความสับสน ไม่ชัดเจน สรุปไม่ได้ คัดค้าน กันเอง คลุมเครือ งานติดตั้ง ไม่ว่าเราจะถือว่ารูปแบบนี้ คือของใหม่ หรือเป็นประติมากรรมหลายหน่วย แต่ความ แตกต่าง ที่สำคัญสามประการที่ควรกล่าวถึงก็คือ 1) ไม่ เน้นความเด่นของรูปร่าง แต่เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ ผู้ดูจะมีสภาพถูกจุ่มลงในภาวะพิเศษที่ศิลปินสร้าง 2) งาน ล้อมคน ในขณะที่ประติมากรรมในอดีต คนดูจะล้อมงาน และ 3) องค์ประกอบของงานติดตั้งไม่แน่นอน เปลี่ยนไป ตามสถานที่ตั้งแสดง IV บทสรุป (Conclusion) วิธีดีที่สุด ที่จะเข้าใจธรรมชาติของศิลปะยุคโพสต์ โมเดอร์นที่มีความเป็นพหุนิยม ไม่มีสไตล์ เราจะเห็นลักษณะ ดังต่อไปนี้ ในงานบางชิ้นอาจเห็นมากกว่าหนึ่งลักษณะและ อาจมีลักษณะแปลกที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 5-10 ข้อต่อไปนี้ 1) ศิลปะเหมือนจริงกลับมาใหม่แต่เปลี่ยนบริบท ไป การเปลีย่ นขนาดให้สงิ่ ทีส่ ร้างโตกว่าของจริง เช่น ภาพปัน้ หนูหรือต้นไม้ถูกขยาย จนใหญ่เป็นยักษ์ ประติมากรรมของ Kieth Edmier ทำเป็นดอกทานตะวันสูงประมาณ 5 เมตร Katharina Frisksch ทำรูปหนูตัวขนาดวัว 2) การสั ง เคราะห์ ห ลายสไตล์ ห รื อ หลายลั ก ษณะ ที่ไม่น่าจะรวมกันได้เช่นรูปทรงแบบเหมือนจริงและนามธรรม ที่นำมารวมกันในปะติมากรรมของริชาร์ด ดีคอน (Richard Deacon) 3) ใช้ Anti thesis มาเป็นเรื่องราว เช่น เมาริซิโอ คาติลาน (Maurizio Cattelan) ทำรูปปั้นอะดอลฟ์ อิตเลอร์ แต่สายตาใบหน้าสงบราวกับนักบุญ ซึ่งผิดไปจากความ เป็นจริง 4) ดัดแปลงวัตถุ ของใช้ธรรมดา เช่นบันได และ ถังน้ำ ทำเป็นประติมากรรมที่มรูปร่างคล้ายของใช้แต่เกะกะ ไม่อาจใช้งานได้ เช่น บันไดที่สองปลายตีบ ของริชาร์ด เวนเวิร์ด (Richard Wenworth) 5) จัดหาสถานที่หรือกิจกรรม หรือทั้งสองอย่างเพื่อ ให้เกิดการรับรู้ไดประสบการณ์ใหม่ เช่น มาริโกะ มอริ สร้างยานอวกาศจำลองภายใน มีเก้าอี้ให้คนไปนั่งพัก มอง เห็นภาพท้องฟ้าประหลาด ชวนฝัน
6) ในงานติดตั้ง (Installation) มีการสร้าง บรรณานุกรม Arnason, HH, History of Moden Art, New Jersey: สถานการณ์ประกอบด้วยแสง สี เสียงในลักษณะต่าง ๆ ที่ Abrahms, Engle Wood Cliff and NY Harry N Abrahmas Inc., 1994. หลอกตาคนดู หรือทำให้เกิดสภาพแปลกประหลาดดัง Bell, Clive, “Art”, Stephen D. Ross ed., Art and Its Significan: An Anthology of Aesthetic Theory, Albany: New York State University ตัวอย่าง Press, 1984. 6.1) เออร์เนสโต เนตโต (Ernesto Neto) Bockola, Sandro,Time Lines-The Art of Modern 1870-2000, Cologne: Taschen, 2001. สร้างถ้ำวีนัส เมื่อมองแตไกล คนดูจะดูหลอกตาว่ามองเห็น Brazwick, Iwona and Wilson, Simmon, Tate Modern Hand Book, สิ่งที่เป็นยอดแหลม คล้ายดอกเห็ด แต่เมื่อสังเกตให้ดี มอง London: Tate Gallery, 2000. Alistair, New British Art in the Saatchai Collecion, London: ใกล้จะรู้ว่าส่วนที่เป็นสีน้ำเงิน ความจริงคือช่องถ้ำลึกเข้าไป Hicks, Thames and Hudson, 1989. บริเวณรอบๆสีขาว มีช่องเจาะให้เห็นส่วนสีน้ำเงินที่อยู่ลึก Oliveira, Nicolas, Installation in the New Millenium: The Empire of the Sense, London: Thames and Hudson, 2003. เข้าไปในถ้ำหรือห้องที่มีผนังภายนอกทาสีขาว Grosenik, Uta, Art Now, Cologne: Taschen, 2005. 6.2) โมนา ฮาทูม(MonaHarthoum) ประโยค Read, Herbet, Modern Sculpture: A concise History, London: Thames and Hudson, 1964. แห่งแสง (Light Sentences) นำชั้นเหล็กหลายชั้นมาวาง Reimschneider, Burkhard and Grosenic, Uta ed, Art Now, Cologne: เป็นกลุ่มแล้วส่องไปผ่าน ผลลัพธ์ก็คือ ภายในห้องแทนที่จะ Taschen, 1999. ดูเหมือนห้องเก็บของกลายเป็นที่มีความน่าสนในเพราะเงา รูปตาข่าย ตกทอดไปหลายทิศทาง ทำให้ห้องทั้งห้องเป็น สถานที่ซึ่งแพรวพราวไปด้วยจุดแสงและตาข่ายของเงา ของที่กระจัดกระจายในโกดัง ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างปรากฏ การณ์ของเงาตกทอด ในมุมต่าง ๆ ของห้อง โฮเบิร์ต รีต (Hobert Read) กล่าวว่าในประติมากรรม สมัยใหม่ การสร้างประติมากรรมไม่จำเป็นต้องสร้างมา จากสิ่งที่เป็นมวลก้อนทึบ อย่างแท่งหินอ่อนเหมือนเมื่อยุค เรอเน็สซองหรือบาร๊อค แผ่นและเส้นก็สามารถประกอบ เป็นงานประติมากรรมได้ ถ้าเราดูผลงานของอังตวน เพฟเนอร์ (Antoine Pevner) และเอ็ดวาร์ด เนเกียน (EdwardNakian) ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีดังกล่าว ในสมัย โพสต์โมเดอร์น ผลงานของโทนี แครกก์(Tony Cragg) ชื่อ สเป็คตรัม (Spectrum, 1983) ประกอบด้วยเศษพลาสติค สีรุ้งวางเรียงบนพื้น ตามทฤษฎีของ ไคลฟ์ เบลล์ (Clive Bell) ศิลปะ คือรูปทรง (Form) ที่ซับซ้อนประกอบด้วย ฟอร์มง่าย ๆ หลายชิ้นรวมกันขึ้นมา ผลงานติดตั้งทั้งหลายจึงจีงสามารถ อธิบายด้วยทฤษฎีของเบลล์ที่กล่าวว่าศิลปะคือรูปทรงที่ โดดเด่น ในอนาคต ด้วยความฉลาดของมนุษย์ จะมีการหาวิธี สร้าง (effects) แบบอื่น ๆ อีกมากมาย และ มนุษย์ไม่ยอม แพ้ง่าย ๆ ในการแสวงหา สร้างสิ่งใหม่ มิติใหม่ไม่รู้จบ •
77
78
รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน ไล่สตั รูไกล
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - M.F.A. (Interior Architecture) The school of the arts institute of Chicago, U.S.A. - Dip. (Industrial Design) Domus Academy Milan Italy - ศบ. (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร งานวิจยั - โครงการพัฒนารูปแบบเครือ่ งจักสาน เพือ่ ส่งเสริมการส่งออก (Design development of Thai wickerwork products for Export promotion) - โครงการออกแบบและพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ ประเภทเครือ่ งจักสานใบลาน (Design and develop Laan for Packaging) บทความ - Minimalism/IMF วารสารคณะมัณฑณศิลป์ - แสงในงานพิพธิ ภัณฑ์ (บันทึกจากความทรงจำ ครัง้ ที่ 1) ข่าวสารคณะมัณฑนศิลป์ ปีท่ี 12 - ฉบับที่ 59 ธันวาคม 2541 - The Art of Landscap บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2541 - Loft Elements บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - Interior Year 2000 แนะนำภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน บทความคณาจารย์ นิทรรศการผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2542 - บทความงานออกแบบในนิตยสาร DNA ปี 2545-2546 ฉบับที่ 24-33 ผลงานสร้างสรรค์ 2529 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกเกษตรรุง่ เรือง 2530 - ควบคุมงานออกแบบตกแต่งภายใน ตึกใบหยกทาวเวอร์1 44 ชัน้ 2534 - ออกแบบตกแต่งภายในและปรับปรุง ส่วนหน้า สำนักงานยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ 2541 - ออกแบบตกแต่งภายใน งานปรับปรุง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2542 - ออกแบบเครือ่ งเรือน โครงการฝ้ายแกมไหม 2543 - ออกแบบเครือ่ งเรือนแสดงสินค้าในงาน TIFF 2001-2002 2544 - ออกแบบบ้านพักตากอากาศ หาดตะวันรอน พัทยา ชลบุรี ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2543 - นิทรรศการผลงานคณาจารย์ หอศิลปะและการออกแบบ คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2545 - นิทรรศการหนึง่ ตำบลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ BIG 2002 ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค 2546 - นิทรรศการแฟชัน่ โชว์เครือ่ งประดับ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2005 - Ph.D. (Textile) BIAD. UK. 1999 - Certificat de Stage (ENSCI), Paris, France. 1995 - 1997 - M.A. (Visual Arts), University of South Australia, Adelaide, Australia 1993 - ศ.บ.(ประยุกตศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร การอบรม 1997 - Certificate of Participation. For attendance and active participation in the workshop ‘Performing Arts Production Design, Technology and Management’ SEAMEO Regional Center of Archaeology and Fine Arts, Kuala Lumpur, Malaysia. รางวัลและเกียรติประวัติ Runner-up : The International Style Thai Silk and Hand-woven Textile Contest 2003 Thailand ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2009 -‘Elna Exploring the Art’ Saha Group Fair, Queen Sirikit National Convention Center 2008 -‘ENDLESS’ ZEN Event Gallery ZEN Department 2005 -‘Explorations Thai as we are’ (Body Design) TCDC, Bangkok 2005 - Present work pieces to participate in “ Thai-India Art And Culture Exchange 2005” Art Gallery Silpakorn University 2005 - participate in “ Thai-India Art And Culture Exchange 2005 Santinikaetun Art Gallery Santinikaetun University India วิชาทีส่ อน 367 205 Accessory Design 367 106 Textile Design II 367 104 Fashion Design I 367 105 Creative Drawing in Fashion
อาจารย์ปยิ ะพงศ์ ทองเพ็ชร์
อาจารย์วรุษา อุตระ
สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Post-Diploma; Pattern Maker and Fashion Designer, Istituto Carlo Secoli (Milano) สาธารณรัฐอิตาลี - สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สส.บ.) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2009 - Nowhere, Designer/Fashion Stylist; collaborated with Maurizio Turchet for Nowhere installation by veneziano+ team, presented in Abitare il Tempo Verona 2009, Verona, Italy. 2008 - ci-ne-ma, Designer; participated in PRET A PORTER PARIS® (SS2009), Paris, France. - Thai Silk Fashion Show Project 2008, in collaboration with The SUPPORT Foundation (Bangkok, Thailand), Royal Thai Embassy (Rome, Italy) and Istituto Carlo Secoli (Milan, Italy) - Milan, Italy. - Rosamosario, Assistant Designer; at the ‘Who is on Next?’ by Vogue Italia & Alta Roma - Rome, Italy. 2007 - Mistaken, Costume Designer; experimental film project by Nicole Gilliam (New York filmmaker) - Rosamosario’s installation at the Fashion Incubator “Couture”, Milan Fashion Week - Milan, Italy. รางวัลและเกียรติประวัติ 2007 - Veronique Branquinho Award, Grand Prize, Arts of Fashion Competition 2007 - Miami, Florida, USA. 2006 - Excellence Award, “CHINA CUP 2006” (Lingerie/Beach Wear) - Shanghai, China. 2005 - Best Dress-set Award, “CHINA CUP 2005” (Men’s Wear) - Shanghai, China. 2004 - The Winner, and Craft Award, “CHINA CUP 2004 : White Collar (Women’s Wear) - Shanghai, China. 2002 - 1st Runner-Up, Thailand Designer Contest 2002 - Bangkok, Thailand. - 1st Runner Up, Thailand Wedding Designer Award 2002 Bangkok, Thailand. วิชาทีส่ อน 367 207 Pattern Making II 367 223 Costume Design for performing Art 367 204 Styles and Trends in Fashion
สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2009 - 2009 International Exhibtion & Fashion Show Asia Forever, Museum of Siam 2009 - Fruzberry Ice Cream Yogurt’s Cup Exhibition 2008 - A Sorrowful Nature, The princess mother memorial park 2004 - Landscape and Seascape 2004, Silpakorn Univercity วิชาทีส่ อน 360 103 Basic Drawing I 360 105 Basic Studio I 360 107 Basic Graphic
79
80
อาจารย์ศดิ าลัย ฆโนทัย
อาจารย์ ดร. วีรวัฒน์ สิรเิ วสมาศ
ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2547 - ปริญญาโทนอกเวลา แขนงวิชาแฟชัน่ และสิง่ ทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544 - ศบ. ออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตกิ ารทำงาน 2550 - ปัจจุบนั อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - Freelance Designer ออกแบบลายพรมและสิง่ ทอ บริษทั Tai Ping 2545 - Freelance Designer ออกแบบเครือ่ งประดับ บริษทั Piyapoom Jewelry 2544 - Freelance Designer ออกแบบเครือ่ งประดับ บริษทั Trendor - ตำแหน่งผูว้ จิ ยั และออกแบบโครงการวิจยั และพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์ โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ โดยคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2542 - Top Ten Jewelry Designers Award 1999 ครัง้ ที่ 7 “แหวนแต่งงาน รักนิรนั ดร์” จัดโดยสมาคมผูค้ า้ อัญมณีไทยและ เครือ่ งประดับ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก สถาบันกรุงเทพอัญมณีศลิ ป์ ชมรมนักออกแบบเครือ่ งประดับ อัญมณีแห่งประเทศไทย 2541 - รางวัลที่ 2 การประกวดออกแบบ “จิวเวลรีเ่ พือ่ การส่งออก” บริษทั แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ครบรอบ 25 ปี บทสัมภาษณ์โทรทัศน์ 2548 - รายการดีไซน์ ช่อง 9 2551 - รายการดีไซน์นวิ ส์ ช่องเนชัน่ ผลงานงานเครือ่ งประดับสร้างสรรค์ งานออกแบบเครือ่ งประดับเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้แนวความคิด “Nokia The Inspiration”
ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2544-2548 - ปริญญาเอก Ph.D title: A New Model of Instruction and Learning in Contemporary Jewellery Education, (Mphil in related topic) Birmingham Institute of Art and Design (BIAD) University of Central England (UCE), Birmingham,UK. 2542- 2544 - ประกาศนียบัตรชัน้ สูง วิชาการออกแบบเครือ่ งประดับ Diploma Diploma in Disegno del gioiello, Instituto Europeo di Design (IED), Milan Italy 2541 - ประกาศนียบัตร ประติมากรรม Certificato di Scultura, Accademia di Belle Arte di Firenze, Florence Italy 2533-2537 - ศบ. ประติมากรรม (เกียรตินยิ มอันดับสอง ) คณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์และศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2541 - ปัจจุบนั อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550 - อาจารย์พเิ ศษในรายวิชา “Exploring your artistic talents“ ภายใต้อาจารย์ประจำ หลักสูตร อ.ดร. เดชา เดชะวัฒนะไพศาล หลักสูตรปริญญาโท คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2549 - กรรมการโครงการ GIT (Gems and Jewellery Institute of Thailand) 1st International Conference 2006 2549 - หนึง่ ในวิทยากรบรรยายและเขียนบทความ “เทคโนโลยีสมัยใหม่กบั การสร้างสรรค์จติ รกรรมในระดับนานาชาติ” สัมมนาวิชาการ จัดโดยภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมฯ ณ.หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ กรุงเทพฯ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ “Wastless for Green World” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550 - ร่วมแสดงศิลปะ “โฉมหน้าศิลปิน” ณ หอแสดงศิลปะ สีลม แกลลอเรีย กรุงเทพฯ 2550 - ร่วมแสดงศิลปะ “กลุม่ ต้นน้ำ” หัวข้อ “พอเพียง” ณ หอแสดงศิลปะ สีลม แกลลอเรีย กรุงเทพฯ 2549 - ร่วมแสดงศิลปะ 6+1+1 (sculpture&Jewellery), via Girona Spain, and Sicicli, Sicilia, Italy. และที่ หอศิลป์พรรณราย มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. สุภาวี ศิรนิ คราภรณ์
อาจารย์ ดร. ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช
สาขาวิชาออกแบบเครือ่ งแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ดุษฎีบณ ั ฑิต (เครือ่ งประดับ) สถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มงิ แฮม เบอร์มงิ แฮม ประเทศสหราชอาณาจักร - ศิลปมหาบัณฑิต (โลหะและเครือ่ งประดับ) โรยัลคอลเลจออฟอาร์ท ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร - ประกาศนียบัตร (การขึน้ รูปเครือ่ งประดับ และเทคนิคการลงยาสีบนงาน เครือ่ งประดับ) เซนทรัล เซนต์มาร์ตนิ ลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร - ศิลปบัณฑิต (เครือ่ งเคลือบดินเผา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ประสบการณ์การทำงาน 2540 - ปัจจุบนั อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2549 - ผูว้ จิ ยั “วิวฒ ั น์แห่งเครือ่ งเงินอาเซีย่ น” โดยความร่วมมือระหว่าง สมาคม AHPHADA และ ศูนย์ศลิ ปาชีพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2549 - ผูค้ วบคุมโครงการ “วิวฒ ั น์แห่งเครือ่ งเงินไทย: รากเหง้าทางภูมปิ ญ ั ญา จิตวิญญาณ และฝีมอื จากอดีต ปัจจุบนั สูอ่ นาคต” โดยความร่วมมือระหว่างสมาคม AHPHADA และ ศูนย์ศลิ ปาชีพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2549 - ผูว้ จิ ยั “ศิลปะเครือ่ งประดับในประเทศไทย” โครงการหนังสือ เพือ่ รวบรวมผลงานแฟชัน่ นักออกแบบไทย Stone โครงการกรุงเทพเมืองแฟชัน่ กระทรวงอุตสาหกรรม ผลงานวิชาการ 2550 - นิทรรศการ 50 ปี แห่งการออกแบบไทย 2550 - โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ชือ่ ภูฟา้ ผสมผสาน และได้รบั พระราชทานของทีร่ ะลึกจาก สมเด็จพระเทพฯ เป็นการส่วนพระองค์ 2549 - ได้รบั รางวัล “นักออกแบบยอดเยีย่ มแห่งปี 2548” นิทรรศการนักออกแบบยอดเยีย่ มแห่งปี 2548 จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ 2549 - ผลงาน “หนึง่ วงสะท้อนของน้ำ” โครงการหนังสือเพือ่ รวบรวม ผลงานแฟชัน่ นักออกแบบไทย Stone โครงการกรุงเทพเมืองแฟชัน่ กระทรวงอุตสาหกรรม
ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Doctor of Philosophy; Ph.D (Materials Science) International program มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม) สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - วิทยาศาสตร์บณ ั ฑิต (วท.บ) สาขาวิชาวัสดุศาสตร์-เทคโนโลยีอญ ั มณี มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประสบการณ์การทำงาน 2552 - ปัจจุบนั อาจารย์ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานวิชาการ International Publications - Topic : Nanofibers 2551 : J. Mater. Process. Tech. 205 (2008) 168-172. - Topic : Glass-Ceramics 2551 : Adv. Mater. Res. 55-57 (2008) 313-316. 2552 : Mater. Chem. Phys. 113 (2009) 913-918. 2552 : Mater. Lett. 63 (2009) 1027-1029. 2552 : AIP Conf. Proc. 1151 (2009) 169-173.
81
82
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ศภุ กา ปาลเปรม (Asst. Professor Supphaka Palprame)
อาจารย์สทิ ธิโชค ชัยวรรณ (Sitthichoke Chaiwan)
Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education 1982 - B.A. (Industrial Arts, Ceramics) 1991 - M.S. (Industrial Education) Exhibition (some) 2005 - Thai – India Art and Cultural Exchange Silpakorn University and Visva Bharati, Santiniketan 2006 - To be invited artist at The 13th National Ceramics Exhibition Thailand - Arts From Visva Bharati, Santiniketan at Silpakorn University 2007 - International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network and Selsius, Malasia 2008 - The exhibition of Art and Design by the Department of Ceramics Members 2nd - Invited artist at The 14th Exhibition Ceramics National, Thailand - International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network, Korea 2010 - The 2010 Scond China (Shanghai) International Modern Pot Art Biennial Exhibition Awards and Selected Honors 1986 - Metal level Award at The 1st Exhibition Ceramics National Thailand 2010 - Awards of Selected in the 2010 China (Shanghai) International Modern Pot Art Biennial Exhibition Work Experience 1982 - Lecturer of ceramics Department, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Thailand 1991 - Deputy head of ceramics Department in academic affairs, Faculty of Decorative Arts, SlpakornUniversity,Thailand. - Head of ceramics Department. Faculty of decorative Arts. Silpakorn University, Thailand - Referee Award in ceramics craft at The 8th National Ceramic Exhibition Thailand 2008 - Chairman of the academic technical commission of The 8th National Ceramics Exhibition Thailand
Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education 1991-1993 - High school - Triamudom Suksa School, Bangkok 1993-1994 - Foundation Certificate – Foundation Studies – UNSW, Sydney 1995-1998 - Bachelor of Ceramics Engineering, UNSW, Sydney 1999-current - PhD Candidate of Ceramics Engineering, UNSW, Sydney Work Experience - Full-time Lecturer at Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University - Deputy Head of Ceramic Department, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Area of Working and Interests Ceramics and Glaze, Mechanical Properties of Ceramic Materials Consultation Work Investigation of Ratchaburi Clay and its Ceramic Products. Funded by Federation of Thai Industries (2007) Awards and Scholarship - Royal Thai Government Scholarship (1993-2003) - Institute of International Education, Starr Foundation Scholarship (1995-1999) - Postgraduate Scholarship (1999-2002) - AINSE Postgraduate Awards (2002) - Ceramic Glazes Collection Catalogue Project Grant (2007)
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์วรรณา ธิธรรมมา (Asst. Professor Wanna Thithamma)
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สบื พงศ์ เผ่าไทย (Asst. Professor Suebpong Powthai)
Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - M.F.A Ceramics Silpakorn University, Bangkok, Thailand Exhibition (some) 2006 - 2009 The 9th - 12th At the Exhibition of Art and Design by The Faculty of Art members Silpakorn University, Bangkok, Thailand. 2006 - Arts From Kala Bhavana Visva Bharati Santiniketan of India - The 1st Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok,Thailand - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Bangkok, Thailand 2007 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Malaysia 2008 - The 2nd Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramics Members Bangkok, Thailand 2008 - The Exhibition of Asian Ceramic Network, Korea - Seoul International Ceramic Accessory Festival, Korea 2009 - mini Matters By 50 Contemporary Thai Artists, Galerie N, Bangkok, Thailand Awards and Selected Honors 2002 - Award Winner Ceramic Tea set - Coffee set Thai style
Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education - M.F.A Ceramics Silpakorn University, Bangkok, Thailand Exhibition (some) 1997 - The 9th National Ceramics Exhibition 1998 - The 2nd Asian Exhibition of art and craft, Japan 1998 - Thai Vision in USA 1998 - 2009 - The 1th - 12th At the Exhibition of Art and Design by The Faculty of Art members Silpakorn University, Thailand 2000 - Thai - Italian Art space 2000 2004 - Ceramic Art Exposition of Thailand 2004 - Ceramic Asian Vision, Thai-Japanese Ceramic Workshop 2004 - THE FLOWER IN THE TITLE OF QUEEN SIRIKIT at The Queen’s Gallery, Bangkok 2004 - Galileo Chini and The Colors of Asia at The Queen’s Gallery, Bangkok 2005 - Solo exhibition ceramic sculpture at Pattaya beach 2006 - The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member 2006 - The 2nd Exhibition of Asian Ceramic Network, Bangkok, Thailand 2007 - The Art Exhibition of Thai-India, Golgatta, India 2007 - The Art Exhibition of Thai-India, BKK, Thailand 2007 - The 3nd Exhibition of Asian Ceramic Network (International Contempory Ceramic Exhibition Asia Ceramics Network and Selsius), Malasia 2008 - CRACK 2 : artistic flowers in the park, benjasiri park, Bangkok, Thailand 2008 - ASIAN ART NETWORK; SOUEL, KOREA 2008 - The 2nd The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member, Bkk, Thailand 2008 - The 14th National Ceramics Exhibition, Nakornpathom, Thailand 2010 - China 2010 2nd Shanghai International Modern Pot Art Biennial Exhibition 2010 - The 3rd The Exhibition of Art and Design by The Department of Ceramic Member, Bkk, Thailand
83
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ (Asst. Professor Sayumporn Kasornsuwan) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Awards and Scholarship 2000 - The winner reward of the 10th National Ceramic Exhibition, Thailand 2002 - The 2nd reward of the 11st National Ceramic Exhibition, Thailand - The winner reward of Vermont Studio Center in Program “Freeman Fellowship 2002-2003 U.S.A” Scholarship of “Pol. Plem Tinnasulanon Statement Foundation” 2010 - The 10th Silpa Bhirasri Creativity Grants Solo Exhibition 2002-2003 - Red mill Gallery, Vermont studio center in Program “Freeman Fellowship 2002-2003 U.S.A” 2005 - Studio Warszawa Gallery Cleveland Ohio U.S.A. 2010 -“Keep for Living” Art and Design gallery, Decorative Arts Faculty Silpakorn University, Bangkok Exhibition (some) 2007 - The 3rd Asian Ceramic Network in Kualalumpur, Malaysia - The 1st Exhibition of Art and Design Model by the Faculty of Decorative Arts instructors, The Gallery of Art and Design Silpakorn University, Bangkok, Thailand2008 2008 - The 2nd Exhibition of Art and Design Model by the Faculty of Decorative Arts instructors, The Gallery of Art and Design Silpakorn University, Bangkok, Thailand - The 2nd Ceramic Exhibition of Ceramic instructors, The Gallery of Art and Design Silpakorn University, Nakhonprathom, Thailand - The 1st Art Exhibition of instructors of Collage of Fine Arts at The Queen’s Gallery, Bangkok “Wood Kiln” Art Exhibition of 4 institutes at Seacon Square Department Store 2009 -“Wood Kiln” Art Exhibition of 4 institutes at the Art and Culture Centre, Bhurapha University, Chonburi Thailand - The 2nd Art Exhibition of instructors of Collage of Fine Arts at The Queen’s Gallery, Bangkok 2010 - Rakuza Ceramic Art Exhibition at Thow Hong Thai, Rachaburi, Thailand - SCG Artist and Designer’s Creation, Bangkok Art and Culture centre
84
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์กรธนา กองสุข (Asst. Professor Kornthana Kongsuk) Department of Ceramics, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education 1992 - B.F.A. Sculpture, Silpakorn University, Bangkok 1997 - M.F.A. Sculpture, Graduate School, Silpakorn University Exhibition (some) 2007 - The Exhibition of “Haiku sculpture2007” at Okinawa Prefectural Art University, Okinawa, Japan - Thai Contemporary Art Exposition 2007 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Water” 2008 - Thai Contemporary Art Exposition 2008 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Love” - Wood fire Exhibition, Zecon square. Bangkok. - The Exhibition of Art and Design by the Department of Ceramics Members II nd, the Faculty of Decorative Art, Silpakorn University 2009 - Raku Exhibition, at Burapa University. Sculptors - Thai Contemporary Art Exposition 2009 on an Occasion of Silpa Bhirasri Day “Consciousness” - Project of Art Workshop and Glass Exhibition. Silpakorn University - The Exhibition of “Haiku sculpture 2009” at Okinawa Prefectural Art University, Okinawa, Japan 2010 - Solo Ceramic Sculpture “Conventional Space” at the Faculty of Decorative Art, Silpakorn University Awards and Selected Honors 1988 - have been selected and honored for the good behavior from the Buddhist Association of Thailand under Royal Patronage, On the occasion of Visakha Bucha Day 1997 - 3rd Prize, Bronze medal, Sculpture, The 43rd National exhibition of Art, Bangkok, Thailand 1999 - Grand Prize, Mini Sculpture Exhibition, Rosti (Mala Chemical) Co.,Ltd., Thailand 2001 - Invited Artist, the 30th Anniversary of Itoman City, Okinawa, Japan. International Stone Sculpture Symposium in Itoman City, workshop by seven Female Sculptors
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ พิชยะสุนทร ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศม. (ประติมากรรม) คณะจิตกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงาน 2523 - ปั้นขยายครุฑติดตั้งอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกร 2525 - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรมธนาคารแห่งประเทศไทย 2525 - ร่วมแสดงผลงานกลุ่มประติมากรรมไทย ครั้งที่ 2 2526-2527 - ร่วมแสดงผลงานสมาคมประติมากรรมไทย 2544-2551 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2546 - ร่วมแสดงผลงานนักศึกษาปริญญาโท ครั้งที่ 1 ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ 2547 - ร่วมแสดงผลงานการแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 12 2549-2550 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ 2549 - ออกแบบปั้นขยายและหล่อโลหะ องค์พระประธานทั้ง 3 องค์ ณ พระอุโบสถวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 2551 - ร่วมโครงการคณะมัณฑนศิลป์ ในการจัดทำป้ายสัญลักษณ์และ ตกแต่งฝาผนัง อาคารพิทยาพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2551 - ร่วมแสดง THAI-INDIA ART EXIBITION 2008 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2551 - ร่วมแสดง ARTS FROM VISVA BHARATI, SANTINIKETAN ณ ประเทศอินเดีย ผลงานวิชาการ - เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะไทยปริทัศน์ - เอกสารประวัติศาสตร์แสดงผลงานบางส่วน - กรรมการดำเนินงานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ในลักษณะโครงการพิเศษ - เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาเครื่องเคลือบดินเผา - กรรมการวิพากษ์หลักสูตร คณะศิลปกรรมและการออกแบบ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลอีสาน
อาจารย์บวรรัตน์ คมเวช ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (ดุรยิ างค์ศลิ ป์) คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2520-ปัจจุบนั - ออกแบบและผลิตกระเป๋าตราจรวดแต่ผเู้ ดียว 2524 - ผูช้ ว่ ยออกแบบเครือ่ งแต่งกายภาพยนตร์ไทยเรือ่ ง “น้ำพุ” 2536 - แสดงผลงานเดีย่ วจิตรกรรมผ้าปะ “ก้อนหิน หาดทราย ลายผ้า” 2537 - ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การการถ่ายทำภาพยนตร์ เรือ่ ง เกิดอีกทีตอ้ งมีเธอ ของบริษทั อาร์เอสโปรโมชัน่ แสดงผลงานกลุม่ ผูห้ ญิง 4 คน 2538 - นักออกแบบเครือ่ งแต่งกายภาพยนตร์ เรือ่ ง ครูสงั คม ทองมี ของบริษทั ไทยเอนเตอร์เทนเมนต์ 2541-2547 - ร่วมโครงการวิจยั พัฒนาผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทย 9 โครงการ 9 จังหวัด 2543 - ออกแบบแพทเทิรน์ เพือ่ การตัดเย็บอาสนะต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ 30,000 รูป วันสลายร่าง คุณยายอาจารย์มหารัตนแม่ชจี นั ทร์ ขนนกยูง ผูใ้ ห้กำเนิด วัดพระธรรมกาย 2545-2550 - กรรมการตัดสินสินค้า OTOP แผนกผลิตภัณฑ์ผา้ และ เครือ่ งแต่งกาย 2547 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7/2547 โครงการนิทรรศการ ศิลปะและการออกแบบ “ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ”์ิ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี 2547 - หัวหน้าโครงการวิจยั พัฒนาผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทย 5 จังหวัดภาคเหนือ 2548 - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 เนือ่ งใน วันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมโครงการศิลปินไทย-อินเดีย และแสดงผลงานร่วมกันที่ อินเดียและไทย 2549 - นักออกแบบผลิตภัณฑ์สง่ิ ทอไทยเพือ่ การส่งออกบริษทั ไข่ทอง 2549 - กรรมการแนะแนวทาง การพิจารณาเนือ้ หา การศึกษาสิง่ ทอไทย ในระบบการศึกษาของรัฐบาล 2551 - ออกแบบสือ่ ประชาสัมพันธ์ โครงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และวิชาธรรมกาย ระบบรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียมช่อง DMC (DHAMA MEDIA CHANNEL)
85
86
รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชมุนี
รองศาสตราจารย์ปรีชา ปัน้ กล่ำ
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2510-2514 - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วทบ.ชีวเคมี 2516-2519 - สถาบันแพรตต์ นครนิวยอร์ค ศิลปบัณฑิต (ศิลปศึกษา) เกียรตินยิ ม อันดับหนึง่ 2519-2521 - สถาบันแพรตต์ โรงเรียนศิลปะและการออกแบบ ศิลปมหาบัณฑิต (วิชาเอก จิตรกรรม วิชาโท ประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์) 2531 - มหาวิทยาลัย นิวยอร์ค คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอกทางการศึกษา (ศิลปศึกษา) งานวิจยั และผลงานทางวิชาการ - “Thailand : Trend of Art in Asia”, Philip Morris Group of Companies จากยุคทองถึงสมัยใหม่ : ความเชือ่ มโยงความคิด ทางสุนทรียศาสตร์, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงาน คณาจารย์คณะ มัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 3 - “Man and His Limit:My Aesthetic”, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดง ผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 4 - “สำนวน : ในบริบททัศนศิลป์”, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ครัง้ ที่ 5 - “ความเปลีย่ นแปลงของศิลปะสมัยใหม่ : ตัวอย่างกรณีของศิลปะสมัยใหม่ ภาพสะท้อนของความหมายของคำว่าศิลปะทีข่ ยายออกไป”, วารสาร วิชาการคณะมัณฑนศิลป์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2547 - ศิลปินปัจเจกนิยม, สูจบิ ตั รนิทรรศการผลงานคณาจารย์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 1 พ.ศ. 2547 - ประติมากรรม งานติดตัง้ หัตถกรรม ประยุกตศิลปะต่างกันอย่างไร, สูจบิ ตั รนิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครัง้ ที่ 8 ประจำปี 2550 เนือ่ งในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 - ร่วมแสดงงาน “ พอเพียง หัวใจแห่ง ธรรมชาติ” “The hart of Nature” ครัง้ ที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 9th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ - ร่วมแสดงงาน “Land &Seascape 10th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2530 - รางวัลเกียรตินยิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 33 - รางวัลเกียรตินยิ มเหรียญเงิน “ศิลป์พรี ะศรี” การแสดงศิลปกรรม ร่วมสมัยของศิลปินรุน่ เยาว์ ครัง้ ที่ 4 - รางวัลที่ 3 ศิลปกรรมเยาวชนภาคเหนือของศิลปินกลุม่ ล้านนา 2531 - รางวัลชมเชยการประกวดวาดภาพ วันกุหลาบเชียงใหม่ ประเภททัว่ ไป 2534 - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ของบริษทั โตชิบา ครัง้ ที่ 4 2536 - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมครัง้ ที่ 8 ของการปิโตรเลีย่ ม แห่งประเทศไทย 2537 - รางวัลชนะเลิศการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย 2538 - รางวัลที่ 1 การประกวดฉลากไวน์ Beaujolais Nouveau 2539 - รางวัลเกียรตินยิ มอันดับ 3 เหรียญทองแดง(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 42 2540 - รางวัลยอดเยีย่ มอันดับ 1 การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครัง้ ที่ 3 - รางวัลศิลปกรรมยอดเยีย่ มแห่งประเทศไทยของ กลุม่ บริษทั ฟิลลิปมอริส - รางวัลดีเด่นการแสดงศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ของบริษทั โตชิบา ครัง้ ที่ 9 2541 - รางวัลเกียรตินยิ มเหรียญทองสิงห์ การประกวดจิตรกรรมฉลอง ครบรอบ 65 ปี 2542 - ได้รบั คัดเลือกผลงานร่วมโครงการทัศนศิลป์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ณ จังหวัดสุพรรณบุรี เนือ่ งในโอกาส พระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ได้รบั คัดเลือกเข้าร่วมโครงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เฉลิมพระเกียรติฯ “พระผูท้ รงงานอันยิง่ ใหญ่” จ.อุตรดิตถ์ 2551 - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 54 2552 - (การแสดงผลงานเดี่ยว) นิทรรศการผลงานศิลปกรรม รูปอารมณ์จากแสง ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2553 - นิทรรศการ “สายน้ำแห่งความเงียบ River of Silence” ณ หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ธรี วัฒน์ งามเชือ้ ชิต
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลีย้ ง
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ.(ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม.(ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - แสดงนิทรรศการภาพประกอบนิทานสำหรับเด็กในหัวข้อ “เรือ่ งเล่าจากไทย” ในเครือบริษทั อมรินทร์ฯ - แสดงนิทรรศการมหัศจรรย์กล้วยไม้นานาชาติ “Brings Good Things to Life”Art Exhibition ณ สยามพารากอน - นิทรรศการศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 25 “โลกรักศิลปิน...ศิลปินรักโลก” - เข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการโครงการ 33 ภาพพิมพ์ ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ 9 รัชกาล - นิทรรศการ“ เสาแห่งความเพียร” เฉลิมพระเกียรติ เนือ่ งใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การแสดงศิลปกรรม ครัง้ ที่ 24 ของอาจารย์คณะ จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม. ศิลปากร และศิลปิน รับเชิญ ศิษย์เก่าของคณะจิตรกรรมฯ 2552 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมในโครงการปฏิบตั กิ ารแก้ว ของคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงาน OUR BEST RECENT WORK & GLASS ART PROJECT ครัง้ ที่ 26 - ร่วมแสดงงานประมูลศิลปกรรมเพือ่ การกุศลของ บริษทั เงินทุนหลักทรัพย์วรี า - ร่วมแสดงาน 84 ศิลปินในงานศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอฯ - ร่วมงานประมูลศิลปกรรมเพือ่ การกุศลของสมาคมผูป้ กครองและ ครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ - ร่วมงานแสดงศิลปกรรมของบ้านและสวน บริษทั อัมรินทร์ พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ จำกัด มหาชน - เข้าร่วมโครงการเขียนภาพทิวทัศน์ ทีด่ อยแม่ปง๋ั ในโครงการ โลกร้อนของคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร 2553 - ร่วมเป็นศิลปินในโครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมเพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ พิมพ์จากอดีต: ริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย ณ ดีโอบีหวั ลำโพงแกลเลอรี่ - ร่วมแสดงงาน นิทรรศการฝันถึงสันติภาพคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงานนิทรรศการครบรอบ 200 ปี วังท่าพระ
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศิลปบัณฑิต ประยุกตศิลปศึกษา (เกียรตินยิ มอันดับ 1) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2524 - รางวัลที่ 1 เกียรตินยิ มอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 27 - รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง ประเภทภาพเขียนร่วมสมัย จากนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครัง้ ที่ 5 2525 - รางวัลชนะเลิศ จิตรกรรมร่วมสมัย จากงานแสดงศิลปกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย 2539 - รางวัลที่ 1 การประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เนือ่ งในวโรกาสฉลอง ศิรริ าชสมบัตคิ รบ 50 ปี 2535 - รางวัลที่ 2 ประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 60 พรรษา - รางวัลที่ 3 เกียรตินยิ ม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ที่ 32 - รางวัลที่ 3 การประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ่ งใน วโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ของธนาคารกสิกรไทย 2546 - รางวัลยอดเยีย่ ม อันดับ 3 การประกวดจิตรกรรมเพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชฯ จากบริษทั ไอซีซี อินเตอร์เนชัน่ แนล และหอศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงงานจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาโดยธนาคารกสิกรไทย 2551 - แสดงนิทรรศการมหัศจรรย์กล้วยไม้นานาชาติ “Brings Good Things to Life” Art Exhibition ณ สยามพารากอน - เข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการโครงการ 33 ภาพพิมพ์ ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ 9 รัชกาล - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ.2551 2552 - แสดงนิทรรศการผลงานจิตรกรรมกล้วยไม้ ของบริษทั โตชิบา ณ สยามพารากอน - แสดงงานเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโอกาสเปิดหอศิลป์ กรุงเทพฯ
87
88
อาจารย์สมพงษ์ แสงอร่ามรุง่ โรจน์
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์พทิ กั ษ์ สง่า
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ.(ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม.(ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2550 - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครัง้ ที่ 8 เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่ง ธรรมชาติ” “Sufficiency The hart of Nature” ครัง้ ที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย - ร่วมแสดงงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 “The Portraits of His Majesty the King 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษา ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape9th” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - Thai Vietnam contemporary art Exhibition 2009 by 50 Thai Artists - 38 Vietnamese Artists ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร วังท่าพระ - ศิลปินรับเชิญในโครงการ SILAPAKORN - GUANGZHOU ART EXHIBITION 2009 by 50 Thai Artists - 50 Chinese Artists 10 April - 10 May 2009 at The Art Gallery of University, China และ 2 - 28 พฤศจิกายน 2552 ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร วังท่าพระ - ศิลปินรับเชิญในโครงการแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมไทย - อินเดีย โดย หอศิลป์ ม.ศิลปากร และ Visva- Bharati University, India วันที่ 3 - 18 สิงหาคม 2552 ครัง้ ที่ 1 : แสดงนิทรรศการศิลปกรรมไทย - อินเดีย ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 : แสดงนิทรรศการศิลปกรรมไทย - อินเดีย ณ หอศิลป์ท่ี Kala - Bhavana, Visva - Bharati University, India
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (สาขาประติมากรรม) คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - ศิลปมหาบัณฑิต (สาขาประติมากรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2531 - The Friendship Programme for the 21st Century by Japan International Corporation Agency and Thai government 2532 - อาจารย์พเิ ศษ คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ - ร่วมแสดงผลงาน “The fourth international Shoebox Sculpture Exhibition,” Hawaii U.S.A. HAWAII, JAPAN, TIWAX, MEXICO, CANADA - รางวัลดีเด่นประติมากรรม ธนาคารกสิกรไทย - รางวัลดีเด่นประติมากรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2533 - เหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 37 ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2535 - ดีเด่นประติมากรรม TOSHIBA 2536 - เหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 39 ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ 2537 - กรรมการตัดสินผลงานศิลปกรรมรุน่ เยาว์ 2540 - กรรมการตัดสินผลงานศิลปกรรม กระทรวงสาธารณสุข 2543 - กรรมการตัดสินผลงานศิลปกรรม ประถมและมัธยมศึกษา อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรขี นั ธ์ 2549 - กรรมการตัดสินออกแบบตราสัญลักษณ์ของ อพท. ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - การแสดงผลงานประติมากรรมแก้ว “โครงการเชิงปฏิบตั กิ าร งานแก้ว 2009” 2553 - การแส่ดงงานประติมากรรมเทิดพระเกียรติในหลวง พระชนมายุ 82 พรรษา ณ ห้องนิทรรศการ ธนาคารกรุงไทย - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “SCG Artist and Designer’s Creation 2009” มูลนิธซิ เิ มนต์ไทย - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “การปฏิบตั กิ ารศิลปะไทยอาเซียน 2010” ณ มหาวิทยาลัยประสานมิตร - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย “ภาพพิมพ์จากอดีตริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย” โครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์ สิง่ แวดล้อมเพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ เนือ่ งในโอกาส ครบรอบ 24 ปี ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์วรภรรท สิทธิรตั น์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Diploma of Fine Arts. TAFE, Australia - Advance diploma of Fine Arts. TAFE , Australia - Master of art, The University of New South Wales. Sydney, Australia ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2548 - ประสานงานและขยายงานประติมากรรมนานาชาติ ในโครงการ ประติมากรรมต้นแบบ “ปทุมชาติ” ของ อ.วิชยั สิทธิรตั น์ ณ สวนเบญจกิตติ กรุงเทพฯ - นิทรรศการ ประติมากรรมประยุกต ครัง้ ที่ 1 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนะศิลป์ ม.ศิลปากร - ศิลปินรับเชิญในโครงการแลกเปลีย่ นทางศิลปะและวัฒนธรรม ไทย - อินเดีย - ศิลปินรับเชิญ International Sculpture Exhibition & Symposium at Wonk Wang University, Korea 2549 - นิทรรศการศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย ครัง้ ที่ 7 หัวข้อ “บันทึกศิลปินถึงในหลวง” ประสานงานและขยายงาน ประติมากรรมนานาชาติ ในโครงการประติมากรรมนานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ 2550 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 8th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ “ใต้ถนุ บ้าน“ โครงการแสดงผลงานสร้างสรรค์ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครัง้ ที่ 2 - ศิลปินรับเชิญ โครงการ Asian art network ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 2552 - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 10th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงาน” ภาพของพ่อ : บารมีแห่งแผ่นดิน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร - นิทรรศการชุมชนเข้มแข็ง โครงการผลงานสร้างสรรค์ คณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ 2553 - ศิลปินรับเชิญ โครงการนิทรรศการสาธิตศิลปกรรม “วาดเส้นอุษาคเนย์ ครัง้ ที่ 3” - ศิลปินรับเชิญ นิทรรศการแสดงงาน ผลงานสร้างสรรค์คณาจารย์ ภาควิชาเซรามิก คณะมัณฑนศิลป์
อาจารย์สหเทพ เทพบุรี ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศึกษาศาสตร์บณ ั ฑิต (ประติมากรรมสากล) คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา (ประติมากรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2542 - รองชนะเลิศอันดับ 1 การแกะสลักน้ำแข็งครัง้ ที่ 2 ของสมาคม โรงแรมหาดใหญ่-สงขลา ร่วมกับการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ) 2542 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดตราสัญลักษณ์ วิง่ ข้ามสหัสวรรษ (HATYAI MILLENNIUM RUN) เฉลิมฉลองครบรอบ 72 พรรษา 2543 - ได้รบั การคัดเลือกแสดงและขยายผลงานศิลปกรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในวโรกาส พระราชพิธมี หามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ จังหวัดตรัง 2546 - รางวัลดีเด่น การประกวดงานศิลปกรรม ปตท. ครัง้ ที1่ 8 2547 - รางวัลที่ 1 การประกวดงานประติมากรรมติดตัง้ ณ ธนาคารกรุงไทย - รางวัลสนับสนุน รางวัลที่ 1 โดยธนาคารกรุงไทย จากงานศิลปกรรมแห่งชาติครัง้ ที่ 50 - รางวัลชมเชย การประกวดงานประติมากรรมติดตัง้ ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2549 - ได้รบั การคัดเลือกให้สร้างผลงาน ประติมากรรมติดตัง้ ภายใน ณ บริษทั เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) “CENTRAL WORLD” ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 2550 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดแบบร่างผลงานประติมากรรม ติดตัง้ นิตยสาร ‘ดิฉนั ’ ในหัวข้อ “ผูห้ ญิงในอีก ๓ ทศวรรษหน้า” ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร 2551 - รางวัลประกาศนียบัตร รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวด ศิลปกรรมเพือ่ โอลิมปิก (ประเภทประติมากรรม) โดยสำนักงาน ศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - ได้รบั การคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2550 (กลุม่ ข้าราชการ ระดับ 6 - 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวชิ ยั ผลงานวิชาการบางส่วน งานวิจยั เรือ่ ง “ต้นแบบรูปจำลองเพือ่ การเรียนรูพ้ น้ื ฐานการถ่ายทอดรูปทรง ในงานศิลปะ” (The use of models learning basic for shapes in art.) โดยทุนอุดหนุนการวิจยั ประเภทเงินอุดหนุนทัว่ ไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวชิ ยั
89
อาจารย์อทิ ธิพล วิมลศิลป์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศ.ม. (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ 2543 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมสมัย ป.ต.ท - เกียรติบตั รงาน ศิลปกรรมอาเซียน ฟิลปิ ปินส์ 2542 - รางวัลเหรียญทองแดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 48 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมธนาคารกสิกรไทย - รางวัลดีเด่นศิลปกรรมนำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ บริษทั โตชิบา ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2552 - แสดงผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที1่ 2 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - แสดงผลงาน วันศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร - แสดงผลงานแลกเปลีย่ นศิลปะและวัฒนธรรม ไทย-อินเดีย ณ หอศิลปะ Visva Bharati University และ ณ หอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
90
อาจารย์อณ ุ รุท กสิกรกรรม ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (เกียรตินยิ มอันดับ 2) สาขาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลและเกียรติประวัติ รางวัลชมเชย ESSO STANDARD THAILAND ONE OF THE FIRSTROUND WINNERS OF THE “YOUTH : CREATIVE FORCE OF THE FUTURE WORLD “IMAGINATIVE PAINTING CONTEST” ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการเพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบ ปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 พ.ศ. 2551 - แสดงนิทรรศการมหัศจรรย์กล้วยไม้นานาชาติ “BRINGS GOOD THINGS TO LIFE” Art Exhibition ณ สยามพารากอน - แสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางศิลปะโครงการ “ศิลปะไร้กำแพง” (No Wall : Art And Friendship) ณ โรงพิมพ์ครุ สุ ภา (เดิม) ถ.พระอาทิตย์ กรุงเทพฯ 2552 - ร่วมแสดงงานประมูลภาพ เพือ่ โรงเรียนสาธิตจุฬา ณ หอประชุมโรงเรียน สาธิตจุฬา - แสดงนิทรรศการผลงาน “AESTHETICS OF BODY” สุนทรียะแห่ง สรีระ ณ อาคารสีลมแกลเลอเรีย - แสดงนิทรรศการการศึกษาโครงการพระราชดำริดา้ นสิง่ แวดล้อม เพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปกรรม “จิตรกรรมสำนึกต่อวิกฤตการณ์ สิง่ แวดล้อม” โดยคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ติฯ์ พระบรมราชินนี าถ 2553 - เข้าร่วมโครงการศึกษาประวัตศิ าสตร์และอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม เพือ่ การสร้างสรรค์ศลิ ปะภาพพิมพ์ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 42 ปี ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ อุทยานประวัตศิ าสตร์ กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร และเขือ่ นภูมพิ ล จ.ตาก - ร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ พิมพ์จากอดีตริมรอบขอบ อาณาจักรสุโขทัย ณ ดีโอบีหวั ลำโพงแกลเลอรี่ - เข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรม “นำสิง่ ทีด่ สี ชู่ วี ติ ” ครัง้ ที่ 3 มหัศจรรย์ กล้วยไม้นานาชาติ ณ สยามพารากอน - เข้าร่วมโครงการปฏิบตั กิ ารไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมปิ ญ ั ญาไทย Thai Creative Economy: Art from Thai Intelligence (ATI) คณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร
อาจารย์สรุ ศักดิ ์ รอดเพราะบุญ
อาจารย์เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศ.บ. (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ - ศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2549 - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะและการออกแบบเนือ่ งในวโรกาส ฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 60 ปี พุทธศักราช 2549“ 6 ทศวรรษครองราชย์” ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมบาทวิถี ของมูลนิธิ 14 ตุลา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร - ร่วมแสดงงาน “Land-Seascape 7th” ณ หอศิลปะและ การออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550 - ร่วมแสดงงาน “พอเพียง หัวใจแห่งธรรมชาติ” “The hart of Nature” ครัง้ ที่ 1 ณ สีลมแกลเลอเรีย - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม “ความบันดาลใจจากพุทธธรรม” ในโครงการศิลปกรรมของศิลปไทย-จีน เนือ่ งในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระชนมายุครบรอบ 80 พรรษา ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - ร่วมแสดงผลงาน “แรงบันดาลใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์” การแสดงศิลปกรรมไทย ครัง้ ที่ 8 ประจำปี 2550 เนือ่ งในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา - Meeting of Thai - AmericanArt and Cultural Exchange Program Under the Collaboration of Art Center, Silpakorn University and California Polytechnic State University and San Joes State University 29 August - 13 September 2007 at Art Center, Silpakorn University 2 - 28 November 2007 at University Art Gallery, Department of Art & Design California Polytechnic State University 2551 - นิทรรศการ WASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2 - ร่วมแสดงนิทรรศการภาพวาดดอกไม้และภาพเหมือนคน FACE & FLOWER ของนักศึกษาภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ 2552 - นิทรรศการศิลปะมหกรรมร่วมสมัย เนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี หัวข้อ “สติ” ณ หอศิลป์ ม.ศิลปากร วังท่าพระ
ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ปริญญาโท (TEXTILE DESIGN) มหาวิทยาลัยวิศวภารตี (สันตินเิ กตัน) อินเดีย ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2544 - AN ART WORKSHOP “PROTESTING AGAINST VIOLENCE THROUGH CREATIVITY” (OGANIZED JOINTLY BY KALA-BHAVAN & HABIART FOUNDATION), INDIA - 1ST INTERNATIONAL LEVEL WORKSHOP CUM SEMINAR BODOLAND, ASSAM, INDIA - AN ART WORKSHOP “PROTESTING AGAINST VIOLENCE THROUGH CREATIVITY” (OGANIZED JOINTLY BY KALA-BHAVAN & HABIART FOUNDATION), INDIA 2546 - EXHIBITION SUB COMMITTEE THE 35TH ANNUAL CONFERENCE ALL BODO STUDENTS UNION (ABSU) AT KOKRAJHAR ASSAM , INDIA - EXHIBITION “RILA CAMP” AT GUVAHATI ASSAM, INDIA 2547 - EXHIBITION EXCHANGE PROGRAM AT BHANARAS HINDU UNIVERSITY, INDIA - EXHIBITION “BETWEEN” AT CALCATA, INDIA 2548 - 1ST INTERNATIONAL LEVEL WORKSHOP CUM SEMINAR BODOLAND, ASSAM, INDIA 2549 - การแสดงผลงาน“ศิลปะจากศานติ”หอศิลป์พรรณนาราย ม.ศิลปากร กรุงเทพฯ 2550 - การแสดงผลงาน “ภาพเหมือนศิลปิน” สีลมแกลเลอเรีย กรุงเทพฯ 2552 - นิทรรศการWASTELESS FOR GREEN WORLD นิทรรศการ เพือ่ ถ่ายทอดผลงานต้นแบบปฏิบตั กิ ารสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ครัง้ ที่ 2
91
92
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์โชติวฒ ั น์ ปุณโณปถัมภ์
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (ประยุกตศิลปศึกษา) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน - Professional Special Project - Visual Communication Design II, - Design Process and Technology ผลงานออกแบบบางส่วน - Retouch ท.ท.ท. ชุด Amazing Thailand - Fineline ชุด “ทหาร, กระโปรง, มีด” - Thai oil “เส้นเลือดใหญ่, ป้อมปราการ” - Cover Design ปกหนังสือธรรมะ “คูม่ อื มนุษย์” รางวัลที่ได้รบั บางส่วน - ได้รบั รางวัลการออกแบบหนังสือในงานหนังสือแห่งชาติ ปี 2526, 2530 และ 2531
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. (นฤมิตศิลป์) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับปริญญาตรี - Marketing and Advertising - Individual Project II - Website Design - Copy Writing - Art Direction in Advertising ระดับปริญญาโท - Advanced Visual Communication Design I - Advanced Visual Communication Design Seminar ผลงานออกแบบบางส่วน - งานออกแบบปกและรูปเล่มพระไตรปิฎกสากล ชุดพิเศษ 40 เล่ม จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผูห้ ญิง ม.ล.มณีรตั น์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระณาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เพือ่ ถวายแด่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาส ราชนิครินทร์ เพือ่ พระราชทานแก่สถาบันสำคัญระดับนานาชาติ อาทิ ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งศรีลงั กา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย หอสมุดมหาวิทยาลัยอุปซาลา สวีเดน ฯลฯ - ระบบป้ายสัญลักษณ์งานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครัง้ ที่ 24 - ตราสัญลักษณ์รางวัลนักออกแบบแห่งปี (Designer of the year) - ตราสัญลักษณ์สถาบันดนตรีกลั ยาณิวฒ ั นา - ตราสัญลักษณ์ศลิ ปากรพัฒนา เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ - ตราสัญลักษณ์ UMAP (University Mobility in Asia and the Pacific) - รางวัลชนะเลิศ การประกวดอัตลักษณ์สถานีโทรทัศน์ Thai PBS - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดสัญลักษณ์กรมบัญชีกลาง
อาจารย์เขมิกา ธีรพงษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ สิงห์สาย
(Ms. Khemmiga Teerapong) Department of Visual Communication Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Education 2007 - Master of Arts (Graphic Design), School of Graphic Design, London College of Communication, University of the Arts London, United Kingdom - Certificate, ABC Level3 Award in Print Finishing and Paper Purchasing, London College of Communication, London, United Kingdom - Certificate, ABC Level3 Award in Multi-media Software Skills, London College of Communication, London, United Kingdom 2001-2005 - Bachelor of Fine Arts (1st Class Honour) Visual Communication Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok, Thailand Awards and Selected Honors 2004 - A King Bhumiphol Scholarship for Good Record Student, Silpakorn University, Bangkok, Thailand 2004 - Representative of Thailand in a program for the future leaders of Asia 2004, Ministry of Education & Human Resources Development, Republic of Korea. 2004 - Consolation Prize Packaging Designer of Young Designer OTOP Champion, Packaging Design for Teddy Bear with Herbs, Ministry of Interior,Thailand. 2004 - Winner of Kim Pai Packaging Contest 2003, in the packaging design for dried chilies, in the Contest of OTOP (One Tumbon One Product) Packaging Design, organized by Kim Pai Ltd., Part. 2005 - Gain 1st Class Honour, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok, Thailand 2006-2007 - Awarded a full scholarship for studying MA Graphic Design by Thai Government. Exhibition and Experiences (some) 2006 - Worked as a Freelance Graphic and Information Designer for S.S.Legal Group co.,Ltd., Bangkok, Thailand 2007 - Exhibited a MA final project in MAGD Graduate Exhibition’07 2009 - Guest Lecturer for Introduction of Thai Art, Kookmin University, South Korea.
ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2526 - ศบ. ประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2533 - ศม. (สาขาจิตรกรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลที่ ได้รับบางส่วน 2532 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2533 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน (จิตรกรรม) ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 36 2535 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2538 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 19 ของธนาคารกรุงเทพ 2539 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2540 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 43 2541 - รางวัลชนะเลิศศิลปกรรม ของธนาคารกสิกรไทย 2542 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 45 2543 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 24 ของธนาคารกรุงเทพ 2544 - ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 ศิลปินยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี” ครั้งที่ 1 หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2546 - รางวัล “PURCHASE PRIZE” โครงการแสดงภาพพิมพ์และ วาดเส้นนานาชาติ ฉลอง 60 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 2550 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 53 2551 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 2552 - รางวัลที่ 2 รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54
93
94
อาจารย์อนิ ทรธนู ฟ้าร่มขาว
อาจารย์ ดร. รัฐไท พรเจริญ
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master of Fine Art and Design (Furniture Design), School of Arts, University of Tasmania, Australia รายวิชาทีส่ อน - การออกแบบผลิตภัณฑ์ 3, 4 - การทำหุน่ จำลอง - แนวความคิดและคุณลักษณะพิเศษของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ - การออกแบบเครือ่ งเรือน 1, 2 ผลงานออกแบบบางส่วน - ออกแบบโลโก้ บริษทั Taskforce - ผลิตภัณฑ์ Finger Print Scanner บริษทั Ezlog Technology, Singapore - ออกแบบตกแต่งภายในโรงเรียนสอนภาษา Boston Bright สาขาลาดพร้าว - ชุดเครือ่ งเรือนของอาคารชุดพักอาศัย รางวัลการประกวดบางส่วน - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบลวดลายบนสก็อตไบรท์ บริษทั 3M - รางวัลชนะเลิศ ออกแบบเมาส์ (คอมพิวเตอร์) บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา ประวัตกิ ารแสดงผลงาน - แสดงผลงานเดีย่ วศิลปนิพนธ์ ณ Gallery of Art, School of Arts, UTAS - แสดงผลงาน Furniture Collection, IXL Gallery, Australia - โครงการ Talent Thai งาน BIG & BIH, เมืองทองธานี
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา 2549 - ดุษฎีบณ ั ฑิตสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2541 - มหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2534 - บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม วิทยาลัยครูสวนดุสติ ประวัตกิ ารทำงาน - ปัจจุบนั ข้าราชการอาจารย์ 1 ระดับ 7 อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ 2549 - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรือ่ ง “เส้นและแนวคิดใน การออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2550 - วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรือ่ ง “การออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมกับรูปแบบสูอ่ นาคต” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2551 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “เส้นสายปลาย ดินสอในการออกแบบผลิตภัณฑ์” ณ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ - วิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อเรือ่ ง “ศิลปประยุกต์และการออกแบบ” ณ มหาวิทยาลัยบูรพา 2552 - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “การถ่ายทอด เทคนิคการเขียนภาพเพือ่ ช่วยนำเสนอแนวคิดในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ - วิทยากรบรรยายพิเศษเชิงปฏิบตั กิ ารในหัวข้อเรือ่ ง “เทคนิคการ Sketch ภาพสำหรับนักออกแบบผลิตภัณฑ์” มหาวิทยาลัยบูรพา ผลงานทางวิชาการ 2534 - งานวิจยั เรือ่ ง “การออกแบบเครือ่ งกรองอากาศชนิดพกติดตัว” 2542 - งานวิจยั เรือ่ ง “การเปรียบเทียบการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์ ระหว่างการใช้กล่องโครงสร้างมาตรฐานกับแกนโครงสร้าง มาตรฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม” 2549 - งานวิจยั เรือ่ งการออกแบบและพัฒนาเครือ่ งทอผ้าพืน้ เมืองที่ เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจอีสาน 2551 - สิทธิบตั ร “สิง่ ประดิษฐ์” เรือ่ ง “วิธกี ารเขียนรูปกล่องโครงสร้าง มาตรฐานทีส่ ร้างเป็นแผ่นแบบสำเร็จรูป เพือ่ ใช้ในการเขียนทัศนียภาพผลิตภัณฑ์” เลขทีค่ ำขอ 0801003833 วันรับคำจด 24 กรกฎาคม 2551 - งานวิจยั เรือ่ ง “การออกแบบพัฒนารถเข็นอนามัยสำหรับ การขายก๋วยเตีย๋ ว” สนับสนุนงานวิจยั จากสำนักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจยั (สกว.)
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ภาคภูม ิ บุญธรรมช่วย
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์อนิ ทิรา นาควัชระ
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - 2538 สถ.บ. (ศิลปอุตสาหกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง - 2544 MA. Industrial Design (with Distinction), Birmingham Institute of Art and Design, University of Central England, UK
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ปริญญาโท วิทยาศาสตร์บณ ั ฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์บณ ั ฑิต (ศิลปอุตสาหกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประวัตกิ ารทำงาน 2541 - กราฟิกดีไซน์ บริษทั ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย) จำกัด 2541-2543 - กราฟิกดีไซน์เนอร์ บริษทั เอสบีอตุ สาหกรรมเครือ่ งเรือน จำกัด 2543-2546 - เว็บดีไซน์เนอร์ บริษทั ไซเทคเทเลคอม จำกัด 2546-ปัจจุบนั อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
95
96
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชยั ณรงค์ อริยะประเสริฐ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์นพพร วิวรรธกะ
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (เกียรตินยิ มอันดับ 2) ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - อดีตนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาวิจยั สภาพแวดล้อมภายใน รุน่ 1 สจล. - นักศึกษามหาบัณฑิต (การออกแบบภายใน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร รุน่ ที่ 2 รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับปริญญาตรี - เรขศิลป์เบือ้ งต้น - ออกแบบเครือ่ งเรือน 1 - การเขียนแบบภายใน 1 - ศิลปนิพนธ์ - การออกแบบ 1, 2 - โครงการศึกษาส่วนบุคคล - ศิลปะปฏิบตั ิ 2 - ระบบเทคนิคในงานออกแบบภายใน 1, 2 - วิธวี จิ ยั เพือ่ เตรียมศิลปนิพนธ์ - การออกแบบภายใน 4 ระดับปริญญาโท - 361 405 Interior Environmental System - 361 410 Interior Design Management and Consultancy ประวัตแิ สดงผลงาน 2541 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 1 2542 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 2 2544 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 4 2546 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 6 2547 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7 2548 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 2549 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 9 2550 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 10 2551 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 11 2552 - ร่วมแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 12
ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา ศบ. คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน 360 104 Basic Drawing II 361 107 Interior Graphics II 361 225 Project Presentation 361 202 Interior Design VI 361 203 Interior Design V (Sketch Design) 361 212 Interior Design IV 361 104 Interior Design III (Sketch Design) 361 104 Interior Design III (Project) 361 214 Research Methodology for Thesis Preparation 361 215 Art Thesis ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน การแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ปี 2540-2546
อาจารย์สคุ นธรส คงเจริญ
อาจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง
ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ปริญญาบัณฑิต สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชือ่ วิทยานิพนธ์ การออกแบบรีสอร์ทและสถานพักฟืน้ สำหรับผูส้ งู อายุ - ปริญญามหาบัณฑิต ออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชือ่ วิทยานิพนธ์ การศึกษาเรือ่ ง ‘’นำ ทางพุทธปรัชญา’’ มาสูง่ านออกแบบภายใน รายวิชาทีท่ ำการสอน - Interior Design II - Cost Estimation and Marketing - Organization Management - Architecture Study I - History of Western Interior and Furniture Design II ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - บทความ Lighting งานแสดงผลงานอาจารย์ปี 2553 - บทความ ‘’ความเห็นทีแ่ ตกต่างแต่ไม่แตกแยก’’ งานแสดงผลงานอาจารย์ปี 2554
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. (เกียรตินยิ ม) ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตำแหน่งปัจจุบนั - หัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - พิธกี รและผูร้ ว่ มผลิตรายการ “อยูส่ บาย” ทาง NATION CHANNEL - พิธกี รรายการ “เรารักษ์กรุงเทพ” ทาง TTV 2 - พิธกี รรายการ “DESIGN NEWS” ทาง NATION CHANNEL - ทีป่ รึกษาพิเศษ ด้านการออกแบบและผังเมือง ของศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศกั ดิ์ ผลงานทีผ่ า่ นมาบางส่วน 2549 - เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “ร้าว รัว่ ร้อน” “รูท้ นั ช่าง” “ทีหลังอย่าทำ” - ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทข่าวการออกแบบภายใต้ชอ่ื “อยูส่ บาย Design News” ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 21.00-22.00น. ทาง TTV 1 NATION CHANNEL 2550 - เขียนหนังสือ “Terrazzo” - เป็นคอลัมนิสต์ นิตยสาร@ kitchen, นิตยสาร Wallpaper, นิตยสาร Home care, นิตยสาร CASAVIVA, นิตยสาร Better Shop, นิตยสาร Franchise Focus, นิตยสาร Honeymoon Travel, นิตยสาร Inspire-Intrend, นิตยสาร smestoday, นิตยสาร Being Bangkok 2551 - เขียนหนังสือ (Pocketbooks) “แต่งร้านให้ได้ลา้ น 3” - รางวัลออกแบบบูทดีเด่นประเภทออกแบบเข้ากับ THEME ในงานสถาปนิก 50 การศึกษาดูงานต่างประเทศบางส่วน - รับเชิญเข้าร่วมอบรมและบรรยายพิเศษ ของบริษทั BLUM ณ ประเทศออสเตรีย พ.ศ. 2545-2552 (ทุกปี) - รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านการตกแต่งระดับโลก มิลานแฟร์ ประเทศอิตาลี ตัง้ แต่ พ.ศ. 2545-2552 (ทุกปี) - ได้รบั เชิญจากบริษทั Lighting Endoนำเสนอผลงานและบรรยายพิเศษ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ - เข้าร่วมบรรยายและดูงานออกแบบดวงโคม ทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ - ได้รบั เชิญจากบริษทั TOTO เข้าร่วมบรรยายและศึกษาดูงาน และพบปะ นักออกแบบ, สถาปนิก ณ ประเทศญีป่ นุ่ - รับเชิญให้ไปศึกษาดูงานจากบริษทั ชไนเดอร์ อิเลคทริค ประเทศฝรัง่ เศส - รับเชิญให้ไปศึกษาดูงานด้านการก่อสร้าง สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์
97
98
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์พยูร โมสิกรัตน์
อาจารย์กศิตนิ ทร ชุมวรานนท์
ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ประกาศนียบัตรชัน้ สูง (สถาปัตยกรรมไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน ระดับปริญญาตรี - Thai Decorative Arts - Application of Thai Motif in Interior Design - Oriental Decorative Arts - Survey of Thai Art ระดับปริญญาโท - Advanced Interior Design I - Architectural System ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2541-2549 - การแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541-2542 - การแสดงผลงานเนือ่ งในวันศิลป์ พีระศรี 2542 - การแสดงศิลปกรรมบึงบอระเพ็ด 2543 - การแสดงศิลปกรรมขนาดเล็ก “พืน้ ผิวและวัสดุ” - การแสดงศิลปกรรมเพือ่ ศิลป์ พีระศรี 2000 2544 - การแสดงศิลปกรรม “ภาพเหมือนศิลปิน” 2545 - การแสดงศิลปกรรม “วาดเส้นร่วมสมัย” 2547 - การแสดงศิลปกรรม “ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ”์ิ 2548 - การแสดงศิลปกรรม “คืนชีวาอันดามัน” 2549 - การแสดงศิลปกรรม “ Art 2006”
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Master in Design del prodotto d’arredo, Florence, Italy - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน - Furniture Design I, II, III - Computer Aided Design I, II - Interior Design III, IV ประวัตกิ ารแสดงงาน 2533 - ชนะเลิศรางวัลที่ 1 ระดับประเทศการประกวดออกแบบหอไอเฟล ใหม่ในโอกาสฉลอง ครบรอบ 100 ปี หอไอเฟล 2534 - แสดงงาน ณ ห้องทาวน์-ฮอลล์ ชัน้ 2 หอไอเฟล กรุงปารีส, ฝรัง่ เศส 2545 - รางวัลชมเชยประกวดออกแบบหอคอย กรุงเทพฯ 2546 - รองชนะเลิศประกวดออกแบบโคมไฟระดับนานาชาติ, อิตาลี
อาจารย์พฒ ั นา เจริญสุข
อาจารย์สมบัต ิ วงศ์อศั วนฤมล
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประสบการณ์การทำงาน 2531-2534 - บริษทั เอกชนย่านทองหล่อ 2534-2544 - บริษทั เดคคอเรท แอททรีเรีย จำกัด คุณสมชาย จงแสง ตำแหน่งสุดท้ายก่อนออก Asst. Design director 2544-2552 - ประกอบอาชีพมัณฑนากรอิสระ 2549-2551 - อาจารย์พเิ ศษ วิชาคอมพิวเตอร์เพือ่ การออกแบบ ภาคปลาย 3 ปีการศึกษา ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศบ. ออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศม. ออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานออกแบบตกแต่งภายใน - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม (ชัน้ ที่ 1) - หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.เพชรบุรี - ห้องสมุดหม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร - ห้องสมุดมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.อยุธยา (ชัน้ ที่ 1) - ห้องสมุดชุมชนตำบลสามควายเผือก อ.เมือง จ.นครปฐม - พิพธิ ภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสทุ โธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา - บ้านตัวอย่างโครงการ Blue Lagoon ถ.บางนา-ตราด กรุงเทพมหานคร ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม - มณฑปพระอัฐธิ าตุหลวงปูเ่ หรียญ วรลาโภ ต.นาเวียง อ.ทรายมูล จ.ยโสธร - สถูปเจดียส์ วุ รรณนภาศรี วัดทุง่ เศรษฐี รามคำแหง 2 กรุงเทพมหานคร - พระบรมธาตุเจดียศ์ รีวนานุสรณ์ วัดป่าเขาดินวนาราม ต.หนองกุง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น - ร่วมออกแบบอุโบสถ วิหารและเจดีย์ สำนักสงฆ์ปา่ อ้อร่มเย็น ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย โครงการกำลังดำเนินการออกแบบ - โครงการออกแบบตกแต่งบ้านพักอาศัย 3 หลัง คุณตวงหงส์ ลีลาประชากุล ม.พรสุข ซ.ลาซาล - โครงการออกแบบบ้านพักตากอากาศ คุณลักขณาและคุณธวัชชัย พงษ์วทิ ยาธร จ.ภูเก็ต - โครงการออกแบบบ้านพักอาศัยชัน้ เดียว คุณสุวทิ ย์ คุณกิตติ จ.ขอนแก่น - โครงการออกแบบปรับปรุง Mini Mall for Bookmark คุณแพว เสนาขันธ์ (หน้า ม.เกษตรศาสตร์) - โครงการออกแบบตกแต่งบ้านพักอาศัย 4 ชัน้ (18 ห้องนอน) คุณวิวฒ ั น์ สุวรรณนภาศรี ซ.สวนฝรัง่
99
100
อาจารย์ ดร. วรนันท์ โสวรรณี
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ร.ต.อ. ดร. อนุชา แพ่งเกษร
ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - Ph. D. (ARCHITECTURAL HERITEGE MANAGEMENT AND TOURISM) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - M.A. (ARCHITECTURAL HERITEGE MANAGEMENT AND TOURISM) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปบัณฑิต (เกียรตินยิ มอันดับ 2) การออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชาทีท่ ำการสอน - Research Methodology for Art Thesis Preparation - Art Thesis - Interior Design IV, V, VI - History of Western Interior Design & Furniture Design I,II - Thai Decorative Arts I,II -Thai Motif for Interior Design - Design I - Basic Graphic I ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน 2549 - นิทรรศการศิลปะและการออกแบบ เนือ่ งในวโรกาสฉลอง สิรริ าชสมบัตคิ รบ 60 ปี พ.ศ. 2549 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2550 - นิทรรศการ “ปงสนุก คนตัวเล็กกับการอนุรกั ษ์” ผลลัพธ์ของ การประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร เพือ่ สร้างเครือข่ายการอนุรกั ษ์มรดกทาง สถาปัตยกรรม ณ หอศิลป์พระพรหมพิจติ ร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และหอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่
ภาควิชาออกแบบภายตกแต่งใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา - ศิลปบัณฑิต (การออกแบบภายใน) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง - ปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาการพัฒนาการบริหาร กลุม่ วิชาการพัฒนาสังคม โครงการปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิตการพัฒนาการบริหาร มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประวัตกิ ารทำงาน ประวัตแิ สดงผลงานบางส่วน - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 4 (LIMITED) - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 5 (DIALOQUE) - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 6 (BEFORE AND AFTER) - ร่วมแสดงผลงานการออกแบบเครือ่ งประดับ HAPPINESS AND CELEBRATION - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 7 (The Flowers in the title of the Queen Sirikit.) ดอกไม้ในพระนามาภิไธยสิรกิ ติ ์ิ - ร่วมแสดงผลงานคณาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ ครัง้ ที่ 8 (For The Memorial Day of prof. Silpa Bhirasri.) เนือ่ งในวาระก้าวสูท่ ศวรรษที่ 5 ของคณะมัณฑนศิลป์และวันศิลป์ พีระศรี
คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์
ที่ ๑๔ / ๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และ คณะกรรมการดำเนินงาน โครงการนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และ คณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่ง และรายชื่อดังต่อไปนี้ คณะกรรมการอำนวยการ ๑. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ ประธาน ๒. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองประธาน ๓. ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ รองประธาน ๔. อาจารย์ศมประสงค์ ชาวนาไร่ กรรมการ ๕. อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม กรรมการ ๖. อาจารย์อินทรธนู ฟ้าร่มขาว กรรมการ ๗. อาจารย์อิทธิพล วิมลศิลป์ กรรมการ ๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ กรรมการ ๙. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย กรรมการ ๑๐. อาจารย์วรุษา อุตระ กรรมการ ๑๑. นายวุฒิ คงรักษา กรรมการและเลขานุการ ๑๒. นางภาวนา บุญปก กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๓. นางสาวมุกดา จิตพรมมา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๔. นางสาวจิตตรี ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการดำเนินงาน ฝ่ายรวบรวมข้อมูลและสิ่งพิมพ์และประชาสัมพันธ์ ๑. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ๒. อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม ๓. อาจารย์ศิดาลัย ฆโนทัย ๔. อาจารย์วรุษา อุตระ ๕. นางภาวนา ใจประสาท
ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
101
102
๖. นายวุฒิ คงรักษา ๗. นายศุภฤกษ์ ทับเสน ๘. นางรัตนา สังข์สวัสดิ์ ๙. นางสาวนันทนา แซ่ลี ๑๐.นางสาวณัฐญภรณ์ เลิศอนรรฆภัณฑ์
ฝ่ายรวบรวมผลงานและติดตั้งนิทรรศการ ๑. ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ๒. อาจารย์ศมประสงค์ ชาวนาไร่ ๓. อาจารย์อินทรธนู ฟ้าร่มขาว ๔. อาจารย์อิทธิพล วิมลศิลป์ ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ ๖. นางภาวนา บุญปก ๗. นางสาวจันทิมา เขมะนุเชษฐ์ ๘. นางสาวกนกอร สว่างศรี
หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) รวบรวมผลงาน ประสานงานข้อมูลผลงานเพื่อส่งฝ่ายข้อมูลฯ (๒) วางแผน กำกับดูแล การจัดแสดงผลงานนิทรรศการ (๓) จัดทำแบบลงทะเบียน แบบประเมินผล และประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ
กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ความรับผิดชอบ (๑) ประสานงาน รวบรวมบทความ คัดเลือก แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) จัดทำเอกสาร สิ่งพิมพ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ บัตรเชิญ สูจิบัตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (๓) บันทึกภาพ การดำเนินงาน และประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ
ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สั่ง ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
(รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์
คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์
ที่ ๒๓ / ๒๕๕๓ เรื่อง เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการอำนวยการ และ คณะกรรมการดำเนินงาน โครงการนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ ตามคำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๑๔ /๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ แต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการ และ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ นั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการอำนายการ และคณะกรรมการ ดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการอำนวยการ คำสั่งเดิม ๓. ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ เปลี่ยนแปลงเป็น ๓. ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์
คณะกรรมการดำเนินงาน ฝ่ายรวบรวมผลงานและติดตั้งนิทรรศการ คำสั่งเดิม ๑. ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ เปลี่ยนแปลงเป็น ๑. ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์
รองประธาน รองประธาน
ประธาน ประธาน
สั่ง ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
(รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์
103
คำสั่งคณะมัณฑนศิลป์
ที่ ๔๙ / ๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ (เพิ่มเติม) ตามคำสั่งคณะมัณฑนศิลป์ ที่ ๑๔ /๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ แต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการ และ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓ นั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการฯ (เพิ่มเติม) ดังนี้
104
คณะกรรมการดำเนินงาน ฝ่ายรวบรวมข้อมูลและสิ่งพิมพ์และประชาสัมพันธ์ ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อติวรรธน์ วิรุฬห์เพชร
กรรมการ
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
(รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์) คณบดีคณะมัณฑนศิลป์