ชุมชนของเรา 23

Page 1

จุลสารไทยออยล์เพื่อชุมชน ปีที่ 4 ฉบับที่ 23 ประจำ�เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


2

สุขสันต์วนั เด็กแห่งชาติ 2557 ยล์” ที่ ต้อนรับพุทธศักราชใหมด่ ว้ ยความสดใสกบั จุลสารชุมชนของเราฉบับ “วันเด็กเครือไทยออ งชาวชุมชน พวกเราชาวกองบรรณาธิการและทีมงานทุกคนต่างตัง้ ใจทำ� เพือ่ มอบความสุขให้แก่พนี่ อ้ บการปรบั ด้วยการปรับรูปโฉมใหมใ่ ห้ไฉไลกวา่ เดิม เพิม่ เติมเนือ้ หาสาระทีม่ ปี ระโยชนร์ อบด้าน บวกกั ใจทีเดียว รูปแบบให้ดูสดใส สบายตา เรียกได้ว่าขนสิ่งดีๆ มาให้แฟนคลับชุมชนของเรากันแบบจุ นเด็ก เริ่มต้นสาระดีๆ กับคอลัมน์ เรื่ อ งจากป ก ที่ฉบับนี้ขอเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับงานวั น้ ทีบ่ ริเวณ เครือไทยออยล์ ซึง่ ผูใ้ หญ่ใจดีในเครือไทยออยล์รว่ มกับพ่อแม่พน่ี อ้ งในชุมชนช่วยกันเนรมิตพื นุกให้เล่น ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ ให้กลายเป็นสวรรค์น้อยๆ สำ�หรับเด็กๆ มีทั้งกิจกรรมส กบั น้องๆ มากมาย แถมยังมีการแสดงและแจกของรางวัลอีกเพียบ สร้างเสียงหัวเราะและรอยยมิ้ ให้ เหมือนเช่นทุกปี มชน นอกจากนีย้ งั มีคอลัมน์ใหม่ทนี่ �ำ มาฝากท่านผูอ้ า่ นอีกมากมาย อย่างเช่นคอลัมน์ หนึง่ ในชุ แหลมฉบัง ซึง่ ฉบับนีเ้ ราได้ไปสัมภาษณ์ทา่ นนายก จินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรหี ญิงคนเก่งของชาว ้เฒ่าเหมียว ต่อด้วยคอลัมน์ เยาวชนฉลาดคิด ซึ่งนำ�เสนอเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เยาวชนควรรู้จากผู �อยู่เรื่อย โดยฉบับนี้ขอเริ่มต้นด้วยผลกระทบจากพฤติกรรมติดหน้าจอที่น้องๆ หนูๆ ชอบเผลอทำ ุ ผู้อ่านแบกเป้ตะลุย ต่อด้วยคอลัมน์ เตรียมพร้อมสู่ AEC ภาคต่อของฉบบั ทีแ่ ล้ว ซึง่ จะพาคณ กคอพร้อม อาเซียนกับ 5 ประเทศสุดท้าย มีสถานทีส่ วยๆ ทีไ่ หนบ้างต้องลองตดิ ตามกันค่ะ และไปฝกึ ลู าอังกฤษ เรียนภาษาอังกฤษกับเพลงเนื้อหาน่ารักอย่าง Que Sera Sera ในคอลัมน์ เรียนภาษ ของรางวัล กับครูแนน ปิดท้ายด้วยความสนุกสนานกบั คอลัมน์ ลับสมองลองเล่นเกม ที่ฉบับนี้เรามี ชิ้นใหม่มาแจกผู้ที่ส่งคำ�ตอบมาร่วมสนุกกันอีกเช่นเคย ุ ท่านผูอ้ า่ นทุกท่านทีใ่ ห้การสนับสนุน สุดท้ายนี้ ทีมงานจุลสารชุมชนของเราต้องขอกลา่ วขอบคณ ั ญาว่าจะเดินหน้ามอบความสุขและสาระดีๆ ให้พอ่ แม่ พี่ น้อง และเยาวชน เป็นอย่างดี เราขอสญ เป็นเด็กดี ของเครือไทยออยล์ให้เป็นคนเก่ง คนดี สมกับคำ�ขวัญวันเด็กที่ว่า “กตัญญู รู้หน้าที่ มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง”...เป็นเด็กดีทุกคนนะคะ บรรณาธิการ

สารบัญ 3 เรื่องจากปก 6 ตามรอยพ่อ 8 ชุมชนของเรา 12 หนึ่งในชุมชน 14 รักษ์โลก รักชุมชน 16 เยาวชนฉลาดคิด 18 เครือไทยออยล์เพื่อสังคม 22 เรื่องอยากบอก 23 ปลอดภัยใกล้ตัว 24 เตรียมพร้อมสู่ AEC 26 เรียนภาษาอังกฤษกับครูแนน 27 ก้าวทันโลก 28 เคล็ดลับสุขภาพ 30 ธรรมะ 31 ลับสมองลองเล่นเกม

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) จัดทำ�โดย : แผนกบริหารงานชุมชน (CACA) และ แผนกกิจการเพื่อสังคม (CACM) สำ�นักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 000, 0 2797 2999 โทรสาร 0 2797 2974 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : 0 3840 8500, 0 3835 9000 โทรสาร 0 3835 1554, 0 3835 1444 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน : เลขที่ 163/84 หมู่ที่ 7 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำ�บลทุ่งสุขลา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0 3835 5028-31 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

กระดาษเนื้อในจุลสารชุมชนของเรา พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา


เรื่องจากปก โดย ลุงป้อม

วันเด็กเครือไทยออยล์ บ่ายวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2557 บริเวณหน้าศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน หนาแน่นด้วยเด็กๆ และผู้ใหญ่ มีเสียงเพลง “เด็กเอ๋ย เด็กดีตอ้ งมีหน้าทีส่ บิ อย่างด้วยกัน…” สลับกับเสียงประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้ามาร่วมงาน พอมองเข้าไปด้านในมีป้ายเขียนว่า “วันเด็กเครือไทยออยล์” โดยมีผู้ใหญ่ใจดีจาก เครือไทยออยล์, TOP, TLB, TPX, TCP และ GPSC เป็นผู้จัด ในทุกๆ ปีเครือไทยออยล์ร่วมสนับสนุน งานวันเด็กของเทศบาลนครแหลมฉบังและ หน่วยงานอื่นๆ มาโดยตลอด แต่ลูกหลาน ของพีน่ อ้ งในชุมชนรอบๆ เครือไทยออยล์ไม่คอ่ ย ได้มโี อกาสไปร่วมงานวันเด็ก เนือ่ งจากพ่อแม่ ติ ด ภารกิ จ หรื อ ไม่ ส ะดวกในการเดิ น ทาง เครือไทยออยล์จึงขอมอบความสุข รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กบั ลูกหลานได้มาสนุกสนาน ร่ ว มกั น อย่ า งเต็ ม อิ่ ม ใกล้ บ้ า น งานวั น เด็ ก เครือไทยออยล์ครั้งแรก ปี 2549 เมื่อ 9 ปี ที่แล้ว มีน้องๆ ร่วมงานสองถึงสามร้อยคน มาปีนม้ี เี ด็กลงทะเบียน รวม 1,700 คน ทัง้ เด็ก และผูป้ กครองทีม่ าร่วมงานไม่ต�ำ่ กว่า 2,000 คน และเมือ่ รวมจำ�นวนเด็กตลอดระยะเวลา 9 ปี ทีเ่ ครือไทยออยล์จดั งานวันเด็กมามีลกู หลาน มาร่วมงานกันแล้วไม่ต่ำ�กว่า 15,000 คน

ฉันว่าเด็กคงไม่รู้หรอกว่า เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุ ล าคม 2498 หรื อ เมื่ อ 60 ปี ที่ แ ล้ ว ท่านจอมพล ป.พิบลู สงคราม นายกรัฐมนตรี ในสมัยนัน้ เป็นผูใ้ ห้จดั งานวันเด็กขึน้ เป็นครัง้ แรก ในประเทศไทย เพราะท่านเห็นความสำ�คัญ ของเด็กตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กของ องค์การสหประชาชาติ กำ�หนดให้วนั จันทร์แรก ของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยมีค�ำ ขวัญว่า “จงบำ�เพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” จากนั้นคำ�ขวัญก็มี ต่อเนือ่ งมาทุกปี จำ�กันได้บา้ งไม่ได้บา้ ง เพราะ เขียนไปตามยุคตามเหตุการณ์ แต่ ที่ ผู้ ใ หญ่ มักจะพูดกันเสมอคือ “เด็กวันนี้ คือผู้ใหญ่ ในวันหน้า” ฉันเองก็เป็นเด็กรุ่นแรกๆ ทีม่ ี โอกาสได้ไปเทีย่ วงานวันเด็กในสมัยนัน้ เพือ่ น รุ่นราวคราวเดียวกันตอนนี้เป็นคุณปู่คุณย่า กันไปหมดแล้ว การจัดงานวันเด็กในสมัยนัน้

มีแต่ปนื ใหญ่ รถถังจอดให้ดทู ส่ี นามหลวง เรือรบ จอดเทียบไว้ที่ท่าวาสุกรี เครื่องบินจอดอยู่ ดอนเมืองต้องนัง่ รถเมล์ไปไกล ดู ช้าง ม้า หมี แรด ยีราฟ ไปที่เขาดินวันเด็กเปิดฟรี แต่ ยุคสมัยนีท้ กุ จังหวัดทุกตำ�บลจัดงานกันทัว่ ไป มี ข องขวั ญ ขนม ไอศกรี ม แจกมากมาย คิดแล้วอยากกลับเป็นเด็กอีกจังเลย การจัดงานวันเด็กมาเปลี่ยนแปลงเป็น วั น เสาร์ ที่ ส องของเดื อ นมกราคม ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2508 เพราะรัฐบาลเห็นว่าในช่วงเดือน ตุลาคมที่จัดงานอยู่ในช่วงฤดูฝน และเป็นวัน ทำ�งานผู้ปกครองต้องหยุดงานพาลูกหลาน มาเทีย่ ว ส่วนเพลงทีเ่ ปิดกันประจำ�วันเด็กนัน้ ครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นผู้แต่ง มีชื่อเพลงว่า “หน้าที่ของเด็ก” หรือเรียกกันติดปากตาม เนือ้ ร้องต้นเพลงว่า เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี นีเ่ ป็น เกร็ดเล็กน้อยทีอ่ ยากให้ไปเล่าต่อให้ลกู หลานฟัง

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

3


4

แผนกบริหารงานชุมชนใช้เวลาเตรียมงานนี้มากว่า 4 เดือน โดยมีพี่ไกด์ดูแลกิจกรรมให้ งานออกมาดี ลูกหลานผูป้ กครองสนุกสนานพึงพอใจ เช่น ของขวัญต้องเหมาะกับเด็กทุกเพศ ทุกวัย ช่วยกันเลือกสรุปว่าปีนี้เป็นตุ๊กตาไรโน่ ไรน่า (Rhyno Rhyna) สัญลักษณ์ เครือไทยออยล์ รูปร่างคล้ายตุ๊กตาหมี ส่วนหัวเป็นแรด ขนสีเทา สวมชุดกีฬาเสื้อ สีบานเย็น กางเกงสีฟ้านํ้าทะเล น้องไรน่าติดโบข้างหูสีบานเย็น งานนี้ต้องเดินทางไป ถึงโรงงานตุ๊กตาที่จังหวัดราชบุรีเพื่อขอร้องให้ช่วยรับงานตัดเย็บตุ๊กตาให้ทันก่อนงานวันเด็ก เพราะอยากมอบให้เด็กๆ เป็นของขวัญ อยากให้เด็กนำ�ไปกอดนอนเป็นเพื่อน แต่ทส่ี ร้างความสนุกสนานเรียกรอยยิม้ และเสียงหัวเราะจากน้องๆ และผูป้ กครอง ได้ คือทีมงานบริหารงานชุมชนแต่งตัว ย้อนไปในวัยเด็ก โดยพีส่ าวิตร น้องบอย น้องพงษ์แต่งชุดนักศึกษาและช่างกล ส่วน ลุงป้อม พี่สมเจตต์ แต่งชุดนักเรียนชาย พี่สยามแต่งชุดลูกเสือ พี่ปิยนุช พี่บุญยัง น้องปกเกศ น้องจูนแต่งชุดนักเรียนหญิง ปะปนในงานเรียกได้วา่ สร้างสีสนั ได้ไม่นอ้ ย งานวั น เด็ ก เครื อ ไทยออยล์ เริ่ ม ขึ้ น ตั้ ง แต่ เ ช้ า พีแ่ ดง - นภสกร เปิดคลินกิ ทันตกรรมให้บริการตรวจฟัน ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และมอบชุดดูแลสุขภาพฟัน ที่ประกอบด้วย แปรงสีฟัน ยาสีฟัน นํ้ายาบ้วนปาก ฉันเห็นน้องบางคนเดินยิ้มฟันขาวออกมา แต่บางคน ยิ้มไม่เห็นฟันเพราะฟันผุถูกถอนออกไป ฟันจึงหลอ ไฮไลท์ของงานเริ่มเมื่อเวลาบ่ายสามโมงครึ่ง ฉันและ พี่สยามอยู่ประจำ�ที่จุดลงทะเบียนซึ่งถือเป็นด่านแรกที่ต้อง อธิบายให้น้องๆ และผู้ปกครองเข้าใจรายละเอียดมากที่สุด ไม่เช่นนัน้ คงวุน่ วายแน่นอน เริม่ จากตัง้ แถวแยกระหว่างเด็กชาย เด็กหญิง และเด็กทีอ่ ายุต่�ำ กว่า 4 ปี เพือ่ ความสะดวกในการ รับของขวัญตุ๊กตาไรโน่ ไรน่า และของขวัญบนเวที ซึ่งจัดไว้ แยกระหว่างเด็กชายกับเด็กหญิง จากนัน้ ก็เปิดให้นอ้ งๆ เข้ามา ลงทะเบี ย น มี พ่ีนัก ศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย พาณิ ช ยนาวี น านาชาติ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มาช่วย เขียนชือ่ -นามสกุลของน้องๆ บนบัตร โดยบัตรส่วนทีห่ นึง่ เป็นต้นขัว้ ไว้นบั จำ�นวนเด็กทีม่ าเพือ่ วางแผนงานในปีหน้า ส่วนที่สองใส่ในกล่องไว้จับสลากรางวัลบนเวที บัตรส่วนที่สามนี้สำ�คัญที่สุดต้องเก็บรักษาไว้กับตัว เรือ่ งทีห่ นึง่ ไว้รบั ของรางวัล เมือ่ พิธกี รบนเวทีประกาศชือ่ ถ้านับถึงสามไม่แสดงตัวพร้อมบัตรส่วนนีจ้ ะถือว่าสละสิทธิ์ ต้องจับรางวัลใหม่ โชคดีอาจหลุดลอยไปทันที ยิ่งถ้า เป็นรางวัลรถจักรยานด้วยแล้วยิง่ น่าเสียดาย สองไว้รบั ตุก๊ ตาไรโน่ ไรน่า คนละ 1 ตัว ทีพ่ ส่ี องและพีบ่ ญ ุ ยัง จาก GPSC ช่วยกันแจก และทีส่ ามนำ�ไปเล่นเกมในซุม้ ต่างๆ 7 ซุม้ ทีน่ อ้ งจิตอาสาบ้านอ่าวอุดม และแกนนำ�เยาวชน รอบเครือไทยออยล์ทผี่ า่ นการเข้าค่ายฝึกภาวะผูน้ �ำ จาก เครือไทยออยล์เมือ่ กลางปีทแ่ี ล้วมาช่วยกันดูแลในแต่ละซุม้ ส่ ว นที่ เ ป็ น คู ป องอาหารจำ � นวน 3 ใบ แลก อาหารได้ 3 อย่างจากผู้ใหญ่ใจดีทั้ง 10 ชุมชนรอบ เครือไทยออยล์ท่ีจัดเมนูอาหารมาหลากหลาย อาทิ ข้าวคลุกกะปิ (บ้านอ่าวอุดม) ข้าวแกงเขียวหวาน ไข่ พ ะโล้ (ตลาดอ่ า วอุ ด ม) ผั ด หมี่ แ ดง (บ้ า นทุ่ ง ) กระเพาะปลา (บ้านแหลมฉบัง) เฟรนช์ฟรายส์และ นักเก็ตไก่ (วัดมโนรม) ทะเลลวก (บ้านชากยายจีน) ข้าวเหนียว น่องไก่ (บ้านเขานํา้ ซับ) และอีก 3 ชุมชนใหม่ ที่มาร่วมงานครั้งแรกคือ ก๋วยเตี๋ยวหมู (บ้านห้วยเล็ก) บาร์บีคิว (บ้านแหลมทอง) ข้าวมันไก่ (บ้านนาเก่า) ไอศกรีมของน้องๆ ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดงของผูใ้ หญ่จาก เครือไทยออยล์ ซึ่งวันนี้คณะกรรมการชุมชนใจตรงกัน แต่ ง ย้ อ นวั ย เด็ ก เหมื อ นกั น เริ่ ม จากนั ก เรี ย นหญิ ง กระโปรงแดงจากโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง - ไทยออยล์ อุ ป ถั ม ภ์ นั ก เรี ย นหญิ ง ผู ก คอซองจากชุ ม ชนตลาด อ่าวอุดม เพิ่มความสนุกสนานขึ้นมาอีก


5

ระหว่างที่น้องๆ เลือกหาอาหาร เล่นเกม ในซุม้ หรือปีนป่ายอยูบ่ นบ้านลมทีอ่ ยูด่ า้ นในสุดนัน้ ในบริ เ วณงานมี พิ ธี ก รภาคสนามพร้ อ มด้ ว ย มาสคอตตุก๊ ตาไรโน่ ไรน่า เดินไปมาเพือ่ ให้นอ้ งๆ ได้ถา่ ยรูปด้วยและตอบปัญหาเกีย่ วกับงานวันเด็ก หากตอบคำ�ถามถูกก็ได้รบั ของรางวัล ส่วนลูกโป่ง ทีเ่ ป็นรูปมังกร เสือ แรคคูน หรือเป็นดาบแจกให้กบั น้องๆ นัน้ พีๆ ่ นิสติ พยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ฝึกงานด้านเวชศาสตร์ชมุ ชนอยู่ที่ศูนย์สุขภาพ และการเรียนรู้ฯ เป็นผู้ทำ�ให้ พอถึงเวลาหกโมงครึง่ พีไ่ กด์ และน้องปกเกศ ขึ้นเวทีประกาศเรียกน้องๆ มารวมกันที่ลาน หน้าเวทีเพือ่ ร่วมพิธเี ปิดงานและชมการแสดงต่างๆ เริ่ ม จากการแสดงกระโดดเชื อ กของนั ก กี ฬ า โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม และโรงเรียนเทศบาล 2 ที่กวาดรางวัลในการแข่งขันกระโดดเชือกระดับ ประเทศมาแล้ว รูปแบบกระโดดเชือกทัง้ คนเดียว และสองคน มีลลี าท่าทางประกอบดนตรี น้องๆ นัง่ ดูตาแป๋ว ถัดมาเป็นการแสดงทักษะด้านกีฬา ฟุตซอลของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 แสดง การควบคุมลูกบอลด้วยส่วนศีรษะ ไหล่ เข่า เท้า และหลัง ทีผ่ า่ นการฝึกฝนกันเป็นแรมเดือน ถ้าใจไม่รักจริงคงท้อเลิกไปนานแล้ว

ให้โอวาทกับเด็กๆ สุดท้ายทัง้ สองท่านร่วมกับ คุณอัมพิกา เซียสวัสดิ์ คุณเนาวรัตน์ ตัน๊ ธรารักษ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง และประธาน คณะกรรมการชุมชน 10 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ ร่วมกันดึงพลุกระดาษสีเปิดงานอย่างเป็นทางการ จากนั้นเวลาที่น้องๆ รอคอยเริ่มขึ้น ผู้ใหญ่ ใจดีแต่ละท่านจับหางบัตรในกล่องแจกรางวัลที่ เตรียมไว้อย่างมากมายให้กบั เด็กชายและเด็กหญิง รางวัลใหญ่ทอ่ี ยากได้ทส่ี ดุ เป็นรถจักรยาน BMX ทีท่ ยอยแจกไปเรือ่ ยๆ ระหว่างทีม่ กี ารจับรางวัล ก็สลับสับเปลีย่ นด้วยการแสดงของกลุม่ เยาวชน เพื่อให้น้องๆ ที่นั่งชมเกิดความประทับใจ และ ก่อประกายความคิดฝันให้โตขึ้นอยากเป็นบ้าง เช่น การแสดงนาฏศิลป์จากเยาวชนติกาหลัง การแสดงนักร้องและหางเครื่องจากโรงเรียน เทศบาล 2 การแสดงเทควันโดประกอบเพลง และชุดสุดท้ายเป็นละครสั้นของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

ความสนุกสนาน รอยยิม้ และเสียงหัวเราะให้กบั ลูกหลานพี่น้องในชุมชนรอบเครือไทยออยล์ ได้สิ้ น สุ ด ลง ในโอกาสนี้ เครื อไทยออยล์ ข อ ขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมทั้งกำ�ลังกาย กำ�ลังใจ และการสนับสนุนที่ดีเสมอมา จนงาน สำ�เร็จลุล่วงด้วยดี ปีหน้าฟ้าใหม่คงได้พบกัน ในงานวันเด็กเครือไทยออยล์อีกนะครับ

จนถึ ง เวลาประมาณสามทุ่ ม กิ จ กรรม งานวั น เด็ ก เครื อไทยออยล์ ที่ ม อบความสุ ข

พี่ไกด์ ประกาศเชิญผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านขึ้น สูเ่ วที จากนัน้ คุณบัณฑิต ธรรมประจำ�จิต ผู้จัด การฝ่ า ยผลิ ต - ด้ า นการกลั่ น บริษทั ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) ได้ ก ล่ า ววั ต ถุ ป ระสงค์ ก าร จัดงานและเปิดงานวันเด็ก เครือไทยออยล์ ต่อด้วย คุณสันติ ศิริตันหยง รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครแหลมฉบั ง กล่ า ว มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


6

ตามรอยพ่อ โดย กระดาษกรอง

สารานุกรมไทย ขุมทรัพย์ความรู้ที่พ่อให้ เมื่ อ ปี พ.ศ.2506 พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชปรารภว่า การ เรียนรูใ้ นเรือ่ งราวและวิชาการสาขาต่างๆ โดยกว้างขวาง จะทำ�ให้เกิดความรู้ ความคิด และความฉลาด อันจะเป็นปัจจัยสำ�คัญ ทีส่ ดุ สำ�หรับชีวติ ช่วยให้ประชาชนสามารถ สร้างประโยชน์สขุ สร้างความเจริญมัน่ คง ให้แก่ตนเอง สังคม และบ้านเมืองได้ ทุกคน จึงควรมีโ อกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ ตามความต้องการและกำ�ลังความสามารถ ของตนเอง

การสร้างแหล่งความรู้ที่รวบรวมสรรพ วิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เช่น หนังสือสารานุกรม จึงเป็นหนทางหนึ่งซึ่ง เอือ้ ให้ประชาชนทีต่ อ้ งการจะเรียนรูเ้ รือ่ งใด ก็ สามารถค้นหาอ่านได้โดยสะดวก จึงนับว่า เป็นหนังสือทีม่ ปี ระโยชน์เกือ้ กูลต่อการศึกษา เพิม่ พูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชน โดย เฉพาะในยามทีม่ ปี ญ ั หาการขาดแคลนครูและ สถานที่เล่าเรียน หนังสือสารานุกรมจะช่วย คลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้เป็นอย่างดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 จึงทรงจัดตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญคณาจารย์และผู้รู้ ในสาขาวิชาต่างๆ 7 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สั ง คมศาสตร์ มนุ ษ ยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแพทยศาสตร์ มาเป็นกรรมการประสานงานจัดทำ�สารานุกรมไทยฯ ซึ่งรวบรวมวิชาการแขนงต่างๆ ที่ควรศึกษา มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

ออกเผยแพร่แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป จักได้หาความรู้ด้วยตัวเองได้จาก การอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยชน์อันกว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ทรงกำ�หนดหลักการทำ�คำ�อธิบายเนือ้ หา ในเล่มว่าให้จัดทำ�เป็น 3 ระดับ คือ สำ�หรับเด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง ่ ใหญ่รวมทัง้ ผูใ้ หญ่ทสี่ นใจทัว่ ไป ซึง่ แต่ละเรือ่ งจะเริม่ ต้นด้วย และเด็กรุน เนื้อหาของเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำ�ดับ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้บดิ ามารดาสามารถใช้หนังสือนีเ้ ป็นเครือ่ งมือในการสอนแก่บตุ ร ธิดา และให้พี่สอนวิชาแก่น้องเป็นลำ�ดับกันลงไป แต่ละระดับจะพิมพ์ด้วย ตัวอักษรขนาดต่างกัน เช่น สำ�หรับเด็กเล็กจะมีขนาดตัวหนังสือใหญ่เพือ่ ให้ เด็กอ่านได้ง่าย


7

สารานุกรมไทยฯ ได้จัดทำ�ขึ้นเป็นชุดเน้นความรู้ ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ใน ประเทศไทยเพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวม เนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา โดยเล่มแรกได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2516 ประกอบด้วย 9 เนือ้ หา คือ ดวงอาทิตย์ อุปราคา ท้องฟ้ากลางคืน นก ปลา เครือ่ งจักรกล พลังงาน อากาศยาน และดนตรีไทย ซึง่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานแก่โรงเรียนและห้องสมุดต่างๆ ทัว่ ราชอาณาจักร เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้ และอีกส่วนหนึ่งได้น�ำ ออกจำ�หน่ายแก่ ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันโครงการฯ ได้ผลิตหนังสือสารานุกรมไทยฯ ออกมาแล้วเป็น จำ�นวน 37 เล่ม ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 7 สาขาวิชา รวมกว่า 304 เรื่อง และยังได้มกี ารนำ�เนือ้ หาดังกล่าวมาบรรจุลงในซีดรี อมเพือ่ ให้สะดวกต่อการ ค้นคว้าอีกทัง้ มีหนังสือคำ�ถาม - คำ�ตอบ และสารานุกรมฯ ฉบับพิเศษเสริม การเรียนรู้อีกด้วย ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ โครงการสารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์: 0-2280-6502, 0-2280-6507 โทรสาร: 0-2280-6580, 0-2280-6589

ที่มา www.kanchanapisek.or.th มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


8

ชุมชนของเรา

กินปู ดูนก ตกหมึก

โดย หน่วยกลั่นข่าว

เครือไทยออยล์ร่วมสนับสนุน และออกร้านอาหารในเทศกาล อาหารทะเลแหลมฉบัง “กินปู ดูนก ตกหมึก ครั้งที่ 7” ที่ เทศบาลนครแหลมฉบังจัดขึน้ เป็นประจำ�ทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว การอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม และวิถีการดำ�รงชีพของชาวบ้านแหลมฉบัง สร้างเสริมรายได้ของ ชาวประมง ให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งงานปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2556 ณ บริเวณชายหาด แหลมฉบัง งานนีเ้ ปิดให้ชมฟรี เทีย่ วฟรี ตลอดงาน มีรา้ นอาหารทะเลสดๆ การจำ � หน่ า ยสิ น ค้ า อาหารทะเลแปรรู ป จากชาวบ้ า นในชุ ม ชน แหลมฉบังราคาพิเศษ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ การประกวด “ธิดาปักเป้า” การประกวดหางเครือ่ งผูส้ งู อายุ จากกลุ่มสตรีในชุมชนต่างๆ ส่วนผู้ที่รักกีฬาตกปลาผู้จัดได้เตรียม เรือออกไปส่งที่แพใหญ่กลางทะเล เพื่อสัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตของ ชาวประมงยามคา่ ํ คืนในอ่าวแหลมฉบัง และยังได้ลองตกหมึกอีกด้วย เป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานอย่างมาก

นิสิตเภสัชเยี่ยมบ้าน เมือ่ วันที่ 2, 9 และ 16 มกราคม 2557 ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูเ้ ครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน ได้นำ�นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัย ศิลปากร ลงพื้นที่ชุมชนบ้านอ่าวอุดม เพื่อเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรก ทีน่ สิ ติ คณะเภสัชศาสตร์ชน้ั ปีท่ี 4 มหาวิทยาลัยบูรพาได้ส�ำ รวจผูท้ เ่ี ป็นกลุม่ เสีย่ ง และ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยงโรคเรื้อรัง จำ�นวน 370 คน ในโครงการ ร่วมพัฒนาระบบติดตามการใช้ยาและสร้างเสริมสุขภาวะครอบครัวและชุมชน หรือ FAP 5 โดยการคัดกรองความเสีย่ งโรคเมตาบอลิก (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง) ผลจากการสำ�รวจครัง้ นัน้ พบว่าผูท้ ม่ี คี วามเสีย่ งสูง และผูท้ เ่ี ป็นโรคยังขาดความเข้าใจ หรือมีปญ ั หาอุปสรรคต่อการเข้ารับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ หรือเข้าถึงการแนะนำ� รักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ในการลงสำ�รวจพืน้ ทีช่ มุ ชนบ้านอ่าวอุดมครัง้ นีเ้ ป็นการฝึกงานด้านเภสัชกรรม ชุมชนเพื่อที่นิสิตจะได้ร่วมกันพัฒนาระบบเยี่ยมบ้านและติดตามการใช้ยา ที่จะ ช่วยเพิม่ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของการรักษาพยาบาลตลอดจนการใช้ยาให้ มีความสมบูรณ์ครบวงจร เพื่อยกระดับกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะ กลุ่มผู้สูงอายุท่เี ป็นโรคหรือมีความเสี่ยงโรคเรื้อรัง ผู้เป็นโรคและผู้ท่มี ีความเสี่ยง โรคเรือ้ รัง การลงพืน้ ทีค่ รัง้ นีน้ สิ ติ เยีย่ มบ้านได้ 218 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.92 ของกลุ่มเป้าหมาย มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


9

ออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะเคลื่อนที่ ชุมชนบ้านชากยายจีน ทุกๆ ปี เครือไทยออยล์จัดกิจกรรมออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนทั้ง 7 ชุมชนรอบ เครือไทยออยล์ร่วมกับเทศบาลนครแหลมฉบังและคณะกรรมการชุมชน เพื่อให้บริการด้าน การสาธารณสุขตรวจรักษาโรค บริการด้านทันตกรรม การวางแผนครอบครัวให้กับพี่น้องใน แต่ละชุมชนเดือนละ 1 ชุมชน โดยชุมชนบ้านชากยายจีน เป็นชุมชนสุดท้ายประจำ�ปี 2556 การออกหน่วยสุขภาวะชุมชนบ้านชากยายจีนครั้งนี้ คุณสุวรรณทอง คำ�ภูมี ประธาน คณะกรรมการชุมชน มีแนวคิดบูรณาการรวมงานวันเด็ก วันคริสต์มาสและวันขึน้ ปีใหม่ไว้ในการ จัดงานเดียวกัน ถือเป็นงานใหญ่ประจำ�ปีของชุมชนบ้านชากยายจีน ซึง่ เครือไทยออยล์พร้อมทัง้ คณะกรรมการชุมชน 6 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ ห้างร้าน หน่วยงานต่างให้การสนับสนุน ของขวัญ ของรางวัลและอาหารเป็นจำ�นวนมาก ในงานมีนกั ร้องนักดนตรีให้ความบันเทิงสลับกับ การจับของรางวัลจากคณะกรรมการชุมชนมอบให้แก่ผู้โชคดี ซึ่งในครั้งนี้มีผู้มาร่วมงาน ไม่น้อยกว่า 500 คน

แข่งขันกระโดดเชือก ตามที่ ศู น ย์ สุ ข ภาพและการเรี ย นรู้ เ ครื อ ไทยออยล์ เ พื่ อ ชุ ม ชน ได้ให้การสนับสนุนกีฬากระโดดเชือกแก่โรงเรียน 8 โรงเรียนรอบ เครือไทยออยล์มาตั้งแต่ปี 2554 และยังมีการฝึกสอนครูของแต่ละ โรงเรียนให้นำ�ไปถ่ายทอดกับนักเรียน เพื่อสร้างนักกีฬากระโดดเชือก ขึ้นมา ล่าสุดได้จัดการแข่งขันกระโดดเชือกเครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ครัง้ ที่ 3 ขึน้ เมือ่ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 โดยมีโรงเรียน 10 โรงเรียน ส่งนักกีฬาจำ�นวน 355 คนเข้าร่วมการแข่งขัน ทำ�ให้แต่ละโรงเรียน สามารถคัดและเตรียมนักกีฬากระโดดเชือกเพื่อส่งไปร่วมการแข่งขัน ในระดับประเทศ ต่อมาในวันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2556 มูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จดั การแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 7 ประจำ�ปี 2556 ขึ้น ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชน กรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง) โดยมีนักกีฬากระโดดเชือก จาก 7 โรงเรียนรอบเครือไทยออยล์ ได้แก่ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียน เทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 โรงเรียนวัดใหม่ เนินพยอม โรงเรียนวัดบ้านนา โรงเรียนวัดแหลมฉบัง และโรงเรียน บุญจิตวิทยา ได้เข้าร่วมการแข่งขันจากทัง้ หมด 41 โรงเรียน ผลการแข่งขัน กระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทานครัง้ นี้ นักกีฬาโรงเรียนรอบเครือไทยออยล์ สามารถคว้าถ้วยพระราชทานและเหรียญรางวัลสร้างความภาคภูมิใจ ให้กับชุมชนของเรา ดังนี้

โรงเรียน

เหรียญทอง

เหรียญเงิน

เหรียญทองแดง

ถ้วยรางวัลพระราชทาน

เทศบาลแหลมฉบัง 1

4

2

1

3 ถ้วย (ถ้วยร่วม 2 ถ้วย)

เทศบาลแหลมฉบัง 2

3

3

2 ถ้วย

บุญจิตวิทยา

2

1

1

วัดมโนรม

4

2

3

1

3

วัดบ้านนา วัดใหม่เนินพยอม

4

4

3

วัดแหลมฉบัง

2

2

3

รวม

19

12

17

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

2 ถ้วย

5 ถ้วย

12 ถ้วยพระราชทาน


10

ปีใหม่คณะกรรมการ ชุมชนรอบโรงกลั่น

คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) พร้อมคณะผูบ้ ริหารเครือไทยออยล์ ให้การต้อนรับคณะกรรมการชุมชน 10 ชุมชน รอบเครือไทยออยล์ ประกอบด้วย ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ชุมชนตลาดอ่าวอุดม ชุมชนบ้านทุ่ง ชุมชนวัดมโนรม ชุมชนบ้านชากยายจีน ชุมชนบ้านเขานํ้าซับ ชุมชนบ้านแหลมฉบัง และชุมชน ทีข่ ยายเพิม่ ใหม่ คือ ชุมชนบ้านห้วยเล็ก ชุมชนบ้านแหลมทอง และชุมชนบ้านนาเก่า พร้อมส่วนราชการ เทศบาลนครแหลมฉบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงพยาบาลแหลมฉบัง และสถานศึกษา 8 แห่งรอบเครือไทยออยล์ ในงานสังสรรค์วนั ปีใหม่คณะกรรมการชุมชน โดยเครือไทยออยล์รว่ มกับ TCP และ GPSC เมือ่ วันพฤหัสบดีท่ี 9 มกราคม 2557 ณ ลานอเนกประสงค์ เพือ่ ขอบคุณไมตรีจติ คณะกรรมการชุม ชนทุกๆ ชุมชนทีใ่ ห้ความสนับสนุนและร่วมมือในการดำ�เนินกิจการของบริษัทฯ ด้วยดีเสมอมา คุณวีรศักดิ์ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษทั กับชุมชนทีผ่ า่ นมาเป็นไปด้วยดี ต่างเอือ้ เฟือ้ ถ้อยทีถ้อยอาศัยและพร้อมที่จะพัฒนาควบคู่กันต่อไป เหมือนดังชื่องาน “ชุมชน โรงกลัน่ หัวใจ ผูกกัน จากอดีตถึงปัจจุบนั มุง่ มัน่ สูอ่ นาคต” จากนั้น คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรี นครแหลมฉบังเป็นตัวแทนของทุกหน่วยงานกล่าวขอบคุณ และชืน่ ชมเครือไทยออยล์ทเ่ี อาใจใส่ ดูแลชุมชน และให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ การจัดงานจำ�ลองบรรยากาศเป็นแบบงานวัด มีซมุ้ ยิงปืนอัดลม ซุม้ ปาลูกดอก ซุม้ ปากระป๋อง ซุม้ อาหารทีข่ น้ึ ชือ่ ของแต่ละชุมชน และวงดนตรีลกู ทุง่ ทีบ่ รรเลงเพลงถูกใจผูร้ ว่ มงานทุกคนสนุกสนาน รำ�วงอย่างเป็นกันเองจนปิดงาน

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


11

งานประชุมผู้สูงอายุเทศบาล นครแหลมฉบัง ประจำ�ปี 2556 เมื่ อ วั น พฤหั ส บดี ที่ 12 ธั น วาคม 2556 เครือไทยออยล์ให้การสนับสนุนกิจกรรมประชุม ผูส้ งู อายุเทศบาลนครแหลมฉบัง ประจำ�ปี 2556 โดยคุณเกรียงไกร นาคะพงศ์ ผู้จัดการแผนก บริ ห ารงานชุ ม ชน มอบกระติ ก นํ้ า 400 ใบ แก่คุณจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนคร แหลมฉบั ง เพื่ อ มอบให้ เ ป็ น ขวั ญ กำ � ลั งใจแก่ ผูส้ งู อายุในพืน้ ทีแ่ หลมฉบังทุกท่าน

ประชุมสามประสาน เครือไทยออยล์ TCP และ GPSC จัดการ ประชุมสามประสานร่วมกับคณะกรรมการชุมชน และเทศบาลนครแหลมฉบัง โดยเมื่อวันอังคารที่ 17 ธั น วาคม 2556 ได้ เ ชิ ญ คณะกรรมการชุ ม ชนทุ ก คนจาก 7 ชุ ม ชนรอบ เครือไทยออยล์เพื่อฟังผลสรุปการจัดกิจกรรมตลอดปี 2556 โดยแต่ละกิจกรรมที่ ผ่านมานั้น ล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายการดูแลชุมชนทุกชุมชนครอบคลุมทั้งใน ด้านวัฒนธรรม-สังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิง่ แวดล้อม และด้านสุขภาวะ พร้อมทัง้ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนให้ค�ำ ชี้แนะ ติชมเพื่อการวางแผนงานในปีถัดไป สุดท้ายที่ประชุมคณะกรรมการชุมชน 7 ชุมชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อการ จัดกิจกรรมของปี 2556 อยู่ในระดับมาก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.81 ต่อมาในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2557 มีการประชุมสามประสานร่วมกับ คณะกรรมการชุมชนและเทศบาลนครแหลมฉบัง ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพือ่ ชุมชน โดยเรือ่ งสำ�คัญทีแ่ จ้งให้ทราบในครัง้ นี้ เรือ่ งแรกเป็นเรือ่ ง เกีย่ วกับพัฒนาการของแผนกบริหารงานชุมชน ทีเ่ ริม่ ต้นเมือ่ ปี 2536 ใกล้เคียงกับ การตั้งเทศบาลตำ�บลแหลมฉบัง โดยเริ่มดูแล 3 ชุมชนที่อยู่รอบโรงกลั่น ได้แก่ ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ชุมชนตลาดอ่าวอุดม และชุมชนบ้านทุ่ง จนถึงปี 2546 จึง เพิม่ อีก 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านแหลมฉบัง ชุมชนวัดมโนรม ชุมชนบ้านเขานํา้ ซับ และชุมชนบ้านชากยายจีน รวมเป็น 7 ชุมชน ใช้การสื่อสารสองทางระหว่าง บริษัทฯ กับชุมชนในการดูแลงานชุมชน ต่อมาในปี 2552 บริษัทไทยออยล์ใช้ นโยบายการบริหารแบบเครือไทยออยล์ การบริหารงานชุมชนเปลี่ยนมาใช้โมเดล สามประสาน หมายถึงการทำ�งานร่วมมือกันระหว่างเครือไทยออยล์ เทศบาลนคร แหลมฉบัง และเครือข่าย 7 ชุมชน โดยมีความคาดหวังว่าเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรทีเ่ ข้มแข็งพร้อมทัง้ กำ�หนดเป้าหมาย

ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรม-สังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิง่ แวดล้อม ด้านสุขภาวะ และให้เป็นชุมชนเมืองน่าอยูต่ ามเป้าหมาย ของเทศบาลนครแหลมฉบัง เรื่องที่สอง ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป มีการขยายงานบริหาร ชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มอีก 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านนาเก่า ชุมชนบ้านแหลมทอง และชุมชนบ้านห้วยเล็ก รวมทัง้ หมดเป็น 10 ชุมชน หรือครบทุกชุมชนในตำ�บลทุ่งสุขลาในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ส่วนอีก 13 ชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังนัน้ เครือไทยออยล์ ดูแลชุมชนเหล่านีผ้ า่ นทางเทศบาลนครแหลมฉบังตามทีข่ อความร่วมมือ มายังเครือไทยออยล์ และผ่านทางกองทุนพัฒนาชุมชนในพืน้ ทีร่ อบ โรงไฟฟ้า ซึง่ ทางกองทุนฯ ได้น�ำ ไปพัฒนาคุณภาพชีวติ ความเป็นอยู่ ของแต่ละชุมชนต่อไป มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


12

หนึ่งในชุมชน

จิหนึง่ นนายกหญิ ดาง ถนอมรอด แห่งเทศบาลนครแหลมฉบัง

โดย คนศรี

คุณจินดา ถนอมรอด แม้ ไม่ใช่ผู้หญิงคนแรกที่ ลงมาทำ�งานการเมืองรับใช้ชุมชน และไม่ใช่ผู้หญิง คนเดียวที่ ได้เป็นถึงนายกเทศมนตรี แต่เป็นหนึ่ง นายกเทศมนตรีหญิงที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในใจคน โดยเฉพาะคนแหลมฉบัง เวลากว่า 10 ปี ในการทำ�งาน กับเทศบาลนครแหลมฉบังคือบทพิสูจน์ ปฐมฤกษ์ กับคอลัมน์ใหม่หนึ่งในชุมชนฉบับนี้ คนศรีจึงขอนำ� เรื่องราวชีวิตและแนวคิดพัฒนาของผู้หญิงคนนี้ มาฝาก... กว่าเธอจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของ การทำ�งานในฐานะนายกเทศมนตรีและเป็นหนึง่ ในใจ ชาวแหลมฉบังได้ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

“คนทำ�งานหนักย่อมได้ผลมากกว่าคนทำ�งานน้อย” ตัง้ แต่ปี 2545 ก้าวเข้ามาทำ�งานในฐานะสมาชิกสภาเทศบาล ตำ�บลแหลมฉบัง ต่อเนือ่ งมา 2 สมัยจนถึงปี 2552 จึงได้รบั การ แต่งตัง้ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครแหลมฉบัง จนกระทั่งปี 2554 จึงได้รับความไว้วางใจจากชาวแหลมฉบัง ให้ เ ป็ น นายกเทศมนตรี น ครแหลมฉบั ง ตำ � แหน่ ง สู ง สุ ด ของ การบริหารจัดการท้องถิ่น ซึ่งขณะเดียวกันตำ�บลแหลมฉบัง ได้ยกฐานะเป็นนครแหลมฉบังในปีนั้นด้วยเช่นกัน “ภูมใิ จมากทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของการทำ�งานทีเ่ ทศบาล เพราะ เมือ่ เรามีโอกาสได้ดแู ลบ้านเกิดก็ตอ้ งทำ�ให้มาก หลักคิดของเราคือ คนทำ�งานหนักย่อมได้ผลมากกว่าคนทำ�งานน้อย”

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

เรื่องราวที่เป็นแบบอย่างที่ดีสำ �หรับลูกหลานและพี่น้องชาวแหลมฉบังคือ เธอก้าวขึน้ มาสูต่ �ำ แหน่งสูงสุดด้วยความรูค้ วามสามารถของคนทีเ่ รียนจบในโรงเรียน เพียงแค่ประถม 4 แต่ด้วยความมุ่งมั่นจนเรียนจบปริญญาโท นั่นคือวิชาในตำ�รา แต่วชิ าชีวติ การทำ�งานบริหารธุรกิจของครอบครัว ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัดโชคทรายทอง ประสบการณ์ทั้งหมด คือ บทเรียนมีค่าที่เธอนำ�มาปรับใช้เมื่อได้รับการชักชวนมา ทำ�งานเพื่อส่วนรวม “ใหม่ๆ มาทำ�งานก็เครียด ระเบียบราชการเยอะ งานไม่ค่อยเดิน ตอนนี้ดีขึ้น มากแล้ว ด้วยการบริหารจัดการคนในองค์กร ขวัญกำ�ลังใจเป็นเรื่องสำ�คัญ การให้ นโยบายต่างๆ ผู้บริหารต้องออกไปดูด้วย ไปดูตามห้องทำ�งาน ไปเยี่ยมให้กำ�ลังใจ คนทำ�งาน เพราะถ้าเขารูส้ กึ ว่ามีผใู้ หญ่คอยดูอยูห่ รือมองเห็นงานทีท่ �ำ เขายิง่ มีก�ำ ลังใจ ทำ�งานมากขึ้น นอกจากนี้เวลามีปัญหา ไม่ต้องรอให้ขึ้นมาบอก เราไปเยี่ยมเขา เขาได้มีโอกาสบอก ปกติผู้บริหารจะไม่ค่อยมีเวลาลงไปใกล้ชิด แต่เราพยายาม เพราะเห็นเป็นสิง่ สำ�คัญ รวมถึงเรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ ยิง่ ต้องใส่ใจ เช่น มีบตั รอวยพรให้ ในวันเกิด รอยยิม้ คำ�ทักทาย ฯลฯ นอกจากนีย้ งั พาไปดูงาน ไม่ใช่เพียงแค่บคุ ลากร ในสำ�นักงานเท่านั้น คนทำ�งานภาคสนามอย่างงานสวน งานเก็บขยะ เราพาเขา ไปพักผ่อน ไปสนุกกัน เขามีความสุข ขณะเดียวกันได้เห็นโลกข้างนอกด้วย เพื่อ นำ�มาพัฒนางานของตน”


13

บอกสักครัง้ ดีกว่าบ่นร้อยครัง้

โต๊ะทำ�งานโอ่โถงในห้องประจำ�ตำ�แหน่ง ท่ามกลางเครื่องปรับอากาศเย็นฉ่ำ� มักไม่ใช่ที่ ทีจ่ ะหาผูห้ ญิงคนนีพ้ บ เพราะนอกจากการลงไป ให้กำ�ลังใจถึงหน้างานแล้ว เวลาส่วนใหญ่ของ นายกหญิงจินดาคือการลงพื้นที่ในชุมชน “การทำ�งานกับคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ของเราหรื อ คนในชุ ม ชนก็ เ หมื อ นกั น คื อ การ สร้ า งขวั ญ กำ � ลั งใจ ความใกล้ ชิ ด สำ � คั ญ มาก ถ้ า ไม่ ใ กล้ ก็ ไ ม่ รู้ ปั ญ หา เราลงชุ ม ชนทุ ก วั น การออกงานถือเป็นหน้าที่ คือนอกจากจะไป ช่วยงานแล้ว จะไปดูว่าเขามีปัญหาอะไรไหม จะร้องเรียนอะไรก็ทำ�ได้ง่าย เพราะส่วนใหญ่ เขาไม่ ขึ้ น มาหาที่ เ ทศบาลฯ หรอก ...เรามี สโลแกนว่ า บอกสั ก ครั้ ง ดี ก ว่ า บ่ น ร้ อ ยครั้ ง จนแซวกันเวลาถามเขาว่า วันนีน้ ายกฯ มาแล้ว มีอะไรจะร้องเรียนไหม ซึง่ เขาก็จะให้ขอ้ เสนอแนะ ที่ดีๆ มา” ตำ�แหน่งนายกคือผูน้ �ำ เบอร์หนึง่ ถ้าเป็นชาย ถือว่าเป็นพ่อเมือง เกือบ 4 ปีในฐานะแม่เมือง นครแหลมฉบัง เกิดงานพัฒนาขึน้ หลายด้าน

“งานพัฒนาที่ภูมิใจมากคือ เรื่องสุขภาพ ทุ ก วั น นี้ เ รามี ศู น ย์ ส าธารณสุ ข 1/2/3 ที่ ค อยดู แ ลคนในชุ ม ชนถึ ง 3 ศู น ย์ มี ก าร ตรวจวัดความดัน ไขมันในเส้นเลือด ทุกวัน จั น ทร์ - อั ง คาร มี โ ครงการตรวจสุ ข ภาพฟรี ทั้งตรวจภายใน มะเร็ง การรักษาต้อกระจก ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง เรารักษาให้ฟรีจนหายมาแล้ว 3 รุน่ รุน่ ละ 100 กว่าคน ใส่ขาเทียม ฟันเทียม ด้ า นการศึ ก ษา ตอนนี้ เ รามี บ ริ ก ารรถรั บ ส่ ง นักเรียนฟรีถึง 26 คัน เวลาโรงเรียนจะใช้รถ พาเด็กไปทำ�กิจกรรมเราดูแลให้ ต่อไปเรามี แผนจะสร้างอาคารเรียน 8 ชั้น และจะสร้าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยากให้อยู่ใกล้ชุมชนสัก 4-5 ศูนย์ แต่ตอนนีถ้ นนหนทางชำ�รุดเยอะเลย มาซ่ อ มถนนก่ อ น ตามลำ � ดั บ ความสำ � คั ญ ถนนบางเส้นหมดสภาพเพราะรถเทรลเลอร์เยอะ ซ่อมเสร็จไปหลายเส้นแล้ว ซึง่ เราทำ�อย่างดีเลย คือให้พื้นหนาและแข็งกว่าถนนทั่วไป”

“ฉันล่ะเหนื่อยแทนนายก”

ประสานร่วมกันดูแล เทศบาลขอความร่วมมือ อะไรไปจะได้รับเสมอ อย่างไทยออยล์ถือว่า เป็ น บริ ษั ท ต้ น แบบ ทำ � งานใกล้ ชิ ด กั บชุ ม ชน มากที่สุด และทำ�ครบทั้งสุขภาพ วัฒนธรรม สิ่ ง แวดล้ อ ม ทำ � มากกว่ า เทศบาลอี ก ค่ ะ ชอบโครงการทั น ตกรรมมากเพราะทำ � แบบ เชิงรุกด้วย เทศบาลยังทำ�ไม่ได้ขนาดนี้ ประทับใจ ฝ่ายประสานงานของไทยออยล์ ทัง้ คุณปิยนันท์ คุณเกรียงไกร เข้าใจความเป็นจริงได้ดีมาก ถ้าใช้แต่เอกสารติดต่องานไม่เหมือนตัวบุคคล มาเอง การที่ได้เห็นหน้า เห็นตา ได้คุยกันว่า มีแนวคิดอย่างไร ทั้งไทยออยล์ ชุมชน และ เทศบาลก็จะร่วมก้าวไปในทิศทางเดียวกันได้”

ทำ�ให้จริง จะทำ�ได้ทั้งนั้น

ภายนอกเราอาจเห็ น ผู้ ห ญิ ง คนหนึ่ ง ที่ สวมหมวกตำ�แหน่งนายก แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ า ภายในเธอผู้ นั้ นไม่ มี หั วใจและความคิ ด ที่ แกร่ ง พอ โดยเฉพาะการอยู่ แ ถวบนสุ ด เป็ น เบอร์หนึ่งของการบริหาร นี่คือพลังของผู้หญิง ที่ชื่อ จินดา “อยากบอกลู ก หลานชาวแหลมฉบั ง ว่ า การเรียนการศึกษาเป็นสิง่ สำ�คัญ ไม่มกี ารสิน้ สุด เหมื อ นสุ ภ าษิ ตโบราณที่ ว่ า มี วิ ช าเหมื อ น มี ท รั พ ย์ อ ยู่ นั บ แสน ฉะนั้ น เมื่ อ จะทำ � อะไร ขอให้ตั้งใจทำ�จริง ทุกอย่างจะสำ�เร็จ ถึงมี อุปสรรค แม้ไม่ได้ 100% ก็ไม่เสียใจ ถือว่าได้ ทำ�เต็มความสามารถแล้ว”

“ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ไม่ค่ะ เพราะมีคน เหนื่อยแทนเยอะ เวลาลงพื้นที่ ชาวบ้านชอบ พูดว่า ฉันน่ะเหนื่อยแทนนายก...(หัวเราะ) และการได้ อ อกไปในชุ ม ชน ทำ �ให้ ไ ด้ พ บปะ ได้รู้ปัญหา ให้กำ�ลังใจชาวบ้าน เวลาเราท้อก็มี คนมาให้ กำ � ลั งใจ ปั จ จั ย ที่ ทำ �ให้ ง านสำ � เร็ จ ได้ถงึ วันนี้คือการมีส่วนร่วม ทั้งโรงงาน ชุมชน

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


14

รักษ์โลก รักชุมชน โดย สรี

รัก(ษ์)

ยกกำ�ลังสามที่อ่าวอุดม เช้าวันอาทิตย์ทร่ี มิ ทะเล เด็กๆ บ้านอ่าว (ชุนชมบ้านอ่าวอุดม) ทยอยมารวมตัวกันเพราะเป็นวันนัดของกลุม่ เยาวชนจิตอาสา บ้านอ่าวอุดม แม้วา่ วันนีส้ มาชิกจะไม่ครบจำ�นวน แต่เสียงเฮฮา และความสุข ความสนุกไม่ได้ลดน้อยลง เมื่อย้อนถามถึงเหตุการณ์วันแรกของการรวมกลุ่มเมื่อ 2 ปีก่อน ที่ทางเทศบาลและพี่ๆ ไทยออยล์เข้ามาชักชวน เด็กๆ ให้มารวมกลุ่มกันเป็นจิตอาสาทำ�กิจกรรมเพื่อชุมชน ของตน เหล่าสมาชิกทั้งหลายต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่รู้เลยว่ามาทำ�อะไรกัน ทำ�ไมต้องมา คนที่โตหน่อยพอฟัง คำ�อธิบายอาจพอเข้าใจบ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกร่วมหรือเห็นความ สำ�คัญมากนัก ปุย้ (นิชนันท์ เฉียวกุล) เป็นคนเดียวทีก่ �ำ ลัง ศึกษาอยูร่ ะดับมหาวิทยาลัย จึงได้รบั เลือกให้เป็นประธานกลุม่ เป็นพีใ่ หญ่ของน้องๆ และน้องอาย (สธิดา ทิมแสง) อายุรอง ลงมา เป็นรองประธาน รวมกับสมาชิกแรกเข้าเกือบ 50 คน จากโลกใบเล็กที่เด็กๆ คุ้นเคย การเรียนรู้ผ่านหนังสือ ฟังครูในห้องเรียน การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มได้พาทุกคนมาสู่ โลกที่กว้างขึ้น โลกใบใหม่ที่ไม่ไกลตัว ชุมชน ถนน วัด ที่เดินผ่านกันทุกวัน กลายเป็นห้องเรียนชีวิตที่สอนให้เด็ก รู้จักงานที่ไม่เคยทำ�มาก่อน เป็นงานเพื่อส่วนรวม ไม่ว่าจะ ทำ�ความสะอาดวัด ล้างกล่องนม เก็บขยะที่ชายหาด ฯลฯ พวกเขาต่างค่อยๆ ซึมซับคำ�ว่า “จิตอาสา” จากการลงมือ ทำ�จริง ถึงวันนี้กลุ่มเยาวชนจิตอาสาบ้านอ่าวฯ ผ่านไอร้อนและ ลมหนาวมาครบ 2 รอบ และปีนี้ลมหนาวก็รุนแรงกว่าทุกปี พอๆ กับลมการบ้านการเรียนที่หลายคนต้องฝ่าฟัน บ้าง ต้องขึน้ ชัน้ มัธยมแล้ว บ้างต้องเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย ทำ�ให้ สมาชิกลดน้อยลงไปบ้าง แต่ 20 กว่าชีวติ ก็ยงั ไม่ถอย จากเดิม มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

ที่เคยพบปะกันอาทิตย์เว้นอาทิตย์ ตอนนี้เหลือเพียงเดือนละครั้ง โดยมี น้องอายก้าวขึ้นมาเป็นหลักแทนพี่ปุ้ย ซึ่งเรียนจบแล้วกำ�ลังก้าวไปสู่งาน รับผิดชอบที่ใหญ่ขึ้นในศูนย์สุขภาพฯ ของไทยออยล์ น้องอาย เล่าว่า “กิจกรรมหลักๆ ตอนนีก้ ม็ เี ก็บขยะ และทำ � นํ้ า หมั ก ชี ว ภาพแจกจ่ า ยให้ ค นในชุ ม ชน ซึ่ ง เขาชอบกันมาก เอาไปรดนาํ้ ต้นไม้ ราดขยะให้ไม่มกี ลิน่ ใช้ได้ผลดีมาก เราทำ�ใส่ถังตั้งอยู่สองจุดคือบ้านพี่ปุ้ย ประธานและบ้านป้าจิ๋ว ให้คนในชุมชนมากดไปใช้ ได้ฟรี พอหมดเยาวชนก็อาสาไปทำ�ให้ พวกเราจะ นัดเจอกันเดือนละครั้งในวันที่ว่าง ส่วนใหญ่จะเป็น วันอาทิตย์ต้นเดือน” น้องสมาชิกหลายคนต่างบ่นครวญว่า อยากให้ รวมกันบ่อยกว่านี้ เพราะทุกครัง้ ทีม่ ารวมกันคือ “อยากมา เพราะความสุข ความสนุกสนาน ได้เจอเพื่อนและ คนอื่นๆ” เมย์ (นุชรี มั่นใจ ม.6) สมาชิกใหม่ที่เพิ่ง เข้ากลุม่ ได้ไม่นานเล่าให้ฟงั ไม่ตา่ งจากสมาชิกคนอืน่ ๆ ที่รู้สึกเหมือนกัน “ในช่วงที่ท�ำ กิจกรรมทุกๆ ครั้ง หนูมีความสุขและ สนุกมาก หนูได้มารูจ้ กั เพือ่ นๆ พีๆ่ น้องๆ อีกหลายคน ได้ทำ �โน่น ทำ �นี่ ทำ �ให้หนูรู้จัก การช่ว ยเหลือ ชุมชน ที่ตัวเองอยู่” แจ๊ส (พรนรินทร์ สุขกากิจ ม.4)


15 “ได้ทดลองทำ�สิง่ ทีไ่ ม่เคยทำ� สนุกสนาน เฮฮา และนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วันได้” วิว (อมิตาดา เก้นโชติ ม.3) “สนุ ก กั บ กิ จ กรรม แล้ ว ที่ สำ � คั ญ จะได้ ไม่ทำ�ตัวว่างไร้ประโยชน์ ได้รู้จักน้อง เพื่อน รูจ้ กั คนทีไ่ ม่รจู้ กั ได้รจู้ กั ผูใ้ หญ่ทอี่ นื่ ๆ มากขึน้ ” เมย์ (ภณิดา ชื่นจิตร ม.1)

“ทำ�ให้รู้จักช่วยเหลือตนและชุมชน” มายด์ (ภาริดา ชื่นจิตร ม.1)

“ได้ทำ�กิจกรรมที่ดี และยังมีเพื่อนใหม่ๆ ทำ�ให้รวู้ า่ เรานัน้ มีจติ อาสาหรือเปล่า” ใบเฟิรน์ (ธมลวรรณ ทรงนิสัย ป.6) “เพือ่ นใหม่เพิม่ ขึน้ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักทำ�งานเป็นหมู่คณะ ได้คิดริเริ่มทำ�สิ่งใหม่ๆ ช่วยเหลือสังคมให้เกิดประโยชน์” ปิ่น (ปิ่นกมล วรรัตน์ ม.3) “มีเพื่อน มีพี่ มีความสุข และสนุกมากมาย รัก ชุมชนมากๆ” ฟ้ าใส (วรี รั ช อำ � พั น พงษ์ ) น้ อ งเล็ ก สุ ด ที่ เ พิ่ ง ขึ้ น ป.2 แต่ ต ามพี่ ช ายมา ร่วมกลุม่ ด้วย เห็นตัวเล็กๆ แต่พลัง เหลือล้น ขยะอยูไ่ หน ฟ้าใสต้องตามไปเก็บ ส่วนพีช่ าย น้องดล (ธนดล อำ�พันพงษ์) พูดน้อยกว่าน้องสาว แต่ยิ้มเก่งพอกัน ตอบคมๆ ว่า “รู้สึกดีที่มีชุมชน ให้ท�ำ ความสะอาด” ...ฝากให้ผใู้ หญ่อย่างเราไปคิดต่อ

รองประธานคนเก่ง น้องอาย อยากฝากบอกผูใ้ หญ่ในชุมชน ด้วยว่า “2 ปีผา่ นมา พวกเราภูมใิ จมาก เรือ่ งการจัดการขยะ ในชุมชนทุกวันนีป้ ญ ั หาขยะดีขน้ึ แต่ยงั มีอยู่ อยากให้ผใู้ หญ่ ให้ความร่วมมือ ถ้าผูใ้ หญ่ทง้ิ เด็กเก็บ บางทีเด็กก็ทอ้ นะคะ และ อยากให้ผใู้ หญ่เข้ามาช่วยดูงานทีเ่ ราทำ�ด้วย มาให้ค�ำ แนะนำ�บ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้เราทำ�เองไปเรือ่ ยๆ กลุม่ ของเราดึงเด็กทีอ่ ยูบ่ า้ น เฉยๆ ให้ออกมาทำ�ประโยชน์เพื่อชุมชน และงานเล็กๆ เช่นนี้ ช่วยทำ�ให้ชุมชนแคบลง แต่อบอุ่นมากขึ้น” เรามักมองว่าหน้าที่ของเด็กคือเรียนหนังสือ แต่สิ่งสำ�คัญ และจำ�เป็นกว่าคือการเรียนรู้ชีวิต เรียนรู้โลก กิจกรรมจิตอาสา เล็กๆ นี้คือจุดเริ่มต้น คือบทเรียนนอกห้องที่จะสอนคุณค่าของ การเกิดเป็นคนคนหนึ่งในบ้าน ในชุมชนบนโลกใบนี้ วันนีพ ้ วกเด็กๆ กำ�ลังทำ�อะไร เขารักษาความสะอาดให้ชมุ ชน รักษาความสะอาดให้ชายทะเล... รักษา อนุรักษ์ ด้วยความรัก... ความรักทีค่ อ่ ยๆ ก่อเกิดขึน้ ทีละนิด รักกันและกัน รักบ้าน รักชุมชน เป็ น ความรั ก ยกกำ � ลั ง สามที่ เ พิ่ ม พู น งอกงามขึ้ น เพื่ อ รั ก ษา ชุมชนเล็กๆ และอนุรกั ษ์โลกใบใหญ่นไ้ี ว้... เราจะได้มชี มุ ชน มีโลกให้อยู่ ให้ได้ท�ำ ความสะอาดต่อไปนานๆ... และอยูเ่ พือ่ ให้เราได้ขดั เกลาตนเอง ให้สะอาดจากความเห็นแก่ตวั ... มาปรบมือและเป็นกำ�ลังใจให้หวั ใจ จิตอาสาดวงน้อยๆ แห่งบ้านอ่าวอุดมกันเถอะ

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


16

เยาวชนฉลาดคิด โดย ผู้เฒ่าเหมียว

โอ๊ย! ไม่มใี ครว่างเลย เย็นย่ำ�หลังโรงเรียนเลิกที่สนามเด็กเล่นหน้าชุมชนเด็กรู้คิด

แมวหมวยกับนกโจ๋นั่งหน้าเซ็งเป็ดอยู่สองคน ผู้เฒ่าเหมียวกำ�ลัง กวาดลานอยู่ทนดูหน้ายู่ๆ ของเด็กๆ ไม่ไหว เดินเข้ามาถามว่า “สนามว่างมาก ไปเล่นวิ่งไล่จับกันไหม” นกโจ๋เงยหน้ามองด้วยสายตาที่แปลได้แบบไม่ต้องถามต่อว่า “ไม่....มีอารมณ์” แมวหมวยเท้าคาง มองตรงไปที่สนาม แล้วตอบว่า “วิ่งไล่จับกันสองคนจะไปสนุกอะไร” ...นั่ น สิ เดี๋ ย วนี้ ทำ � ไมไม่ ค่ อ ยมี เ ด็ ก ออกมาวิ่ ง เล่ น กั น เลย ผู้ เ ฒ่ า เหมี ย วคิ ด ในใจ แต่ แ มวหมวยพู ด ขึ้ น เหมื อ นได้ ยิ น “ชวนใครๆ ก็ไม่ว่าง... โอ๊ย! ทำ�ไมไม่มีใครว่างเลย” นกโจ๋ว่า “เดี๋ยวนี้ เย็นๆ ทุกคนเขารีบกลับไปเล่นเกมกัน” ผู้ เ ฒ่ า เหมี ย ว “แต่ วั น นี้ ไ ด้ ยิ น คุ ณ ปู เ ค็ ม เจ้ า ของร้ า นเกม บอกว่าจะปิดร้านนี่นา” นกโจ๋กับแมวหมวยหันขวับมาพร้อมกัน แล้ววิ่งตื๋อออกไปทันที... สิบนาทีผ่านไป ผู้เฒ่าเหมียวเสร็จงาน กวาดลานล้างมือออกมาเจอสองคนทำ�หน้ายับยูย่ ก่ี ว่าเดิม นัง่ จ๋องอยู่ ทีเ่ ดิม “อ้าว ไม่มใี ครว่างอีกเหรอ” ผูเ้ ฒ่าถาม “ทุ ก คนเขาไม่ ต้ อ งไปร้ า นเกมแล้ ว เล่ นในโทรศั พ ท์ ก็ ไ ด้ ” แมวหมวยตอบ นกโจ๋พูดต่อเสียงเศร้า “เพื่อนผมที่พ่อแม่เขาเพิง่ ซือ้ ไอแพดให้ เดีย๋ วนีเ้ ขาไม่ออกมาเล่นเลย เล่นแต่ไอแพดอย่างเดียว” แย่แล้ว นีอ่ าการเดียวกับทีผ่ เู้ ฒ่าเต่า เพือ่ นรักในเมืองกรุงเทพฯ เคยบ่นให้ฟังเลย ตอนนี้ระบาดมาถึงเด็กๆ ที่นี่แล้ว ต้องรีบบอก ให้เด็กๆ ให้รู้ทันก่อนจะสาย

“ถึงเวลาช่างรู้ประจำ�ชุมชน ออกมาช่วยเด็กๆ หน่อย”

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


17

สวัสดีครับ.... หาว..ว..ว หาว..ว..ว (เสียงหาวยาวมากๆ) แฮะ แฮะ ขอโทษครับ ช่างรูย้ งั ง่วงๆ อยูเ่ ลย อาทิตย์ที่ผ่านมาช่างรู้ทดลองใช้ชีวิตแบบเด็กๆ ตื่นขึ้นมาก็เปิดคอมพ์ พักเที่ยงเปิดเกมในโทรศัพท์เล่น ขึน้ รถก็เล่น กลับบ้านก็เล่น เล่นแล้วเพลินเลยนอนดึกครับ ซึง่ ถ้าเล่นเกมมากๆ จะเลิกไม่ได้ ทางจิตวิทยา ถือว่าเป็นการเสพติดอย่างหนึ่ง เหมือนกับการติดยาเลย อาการของคนติดเกมจะเป็นอย่างนี้นะครับ

1

รู้สึกมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในการเล่น

4

รู้สึกว่าเลิกหรือหยุดเล่นได้ยาก

2

นอนไม่หลับ

5

ร่างกายอ่อนเพลีย

3

สายตาสั้นอย่างรวดเร็ว หรือเป็น โรคตาเสื่อม

6

เป็นโรคอ้วนหรือผอม

(ระยะต่อมาจะมีผลต่อร่างกายคนเล่น)

(นํา้ หนักลดแบบโทรม เพราะไม่คอ่ ยได้วง่ิ เล่น ออกกำ�ลังกาย หรือไม่ค่อยได้กินอาหาร)

สาเหตุเป็นเพราะอย่างนี้ครับ แสงทีอ่ อกจากจอคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง แท็ บ เล็ ต หรื อ ไอแพดที่ ห น้ า จอ คมชั ด มาก ความจ้ า ของแสงมาก เวลา อ่ า นหนั ง สื อ จากจอหรื อ มองภาพจากจอ จะไม่เหมือนอ่านจากกระดาษที่แสงไม่จ้า และระยะระหว่างลูกตากับตัวหนังสือจะคงที่ กล้ามเนือ้ และประสาทตาจึงทำ�งานค่อนข้าง คงที่ ไม่ต้องปรับระยะโฟกัสบ่อยๆ แต่ภาพ หรือตัวหนังสือบนจอแท็บแล็ตหรือไอแพด เกิดจากแสงทีม่ ลี กั ษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน หรือพิกเซลเล็กๆ มารวมกันออกมาเป็นภาพ ตั ว หนั ง สื อไม่ ไ ด้ ติ ด อยู่ ด้ า นบนจอเหมื อ น แผ่นกระดาษ การโฟกัสภาพไม่สม่ำ�เสมอ ทำ�ให้ลกู ตาทำ�งานหนัก ถ้ามองจอภาพนาน เกิน 2 ชัว่ โมง อาจเกิดอาการแพ้แสง ปวดตา ปวดศีรษะ ปวดคอ มองภาพเบลอไม่ชัด ตาแห้ง ตาแดง อาการนีท้ างการแพทย์เรียกว่า Computer Vision Syndrome: CVS

เวลาติ ด เกมจะเพลิ น จนไม่ อ ยากเลิ ก นอนดึก พักผ่อนไม่พอ ร่างกายอ่อนเพลีย จนมี ร ายงานจากทั่ วโลกว่ า มี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต เพราะเล่ น เกมติ ด ต่ อ กั น หลายชั่วโมงด้วย และนั ก วิ จัย ยั ง พบว่ า การเล่ นไอแพดหรื อ สมาร์ทโฟนก่อนนอน อาจทำ�ให้หลับไม่สนิท เพราะสมองจะจดจำ�แสงสีเงินบนหน้าจอ และปรับการทำ�งานทำ�ให้ร่างกายคิดว่าเป็น เวลากลางวันอยู่ จึงหยุดหลัง่ สารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารช่วยในการนอนหลับ บางคนถึ ง ขั้ น พฤติ ก รรมเปลี่ ย นจน คนรอบข้างรับรู้ได้ เช่น ไม่ค่อยอยากคุย กับใคร หรือบางทีคุยไม่รู้เรื่อง นักวิชาการ อธิ บ ายว่ า “ในโลกสมมุ ติ ที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น ภายในเกม คนเล่ น จะมี ค วามมั่ นใจและ ความพอใจ จนยินดีและสนใจปฏิสมั พันธ์ใน เกมมากกว่าการปฏิสัมพันธ์กับสังคมหรือ คนในโลกจริง เมื่อไม่ค่อยได้คุย นานๆ ไป จะลืมวิธีคุย สลับลำ�ดับประโยค จนคนฟัง บ่นว่าพูดอะไรไม่เห็นเข้าใจเลย

เห็นไหมครับเด็กๆ หากเรามัวแต่หน้าชิด ติดจอ ไม่วา่ จอคอมพ์ จอโทรศัพท์ แท็บเล็ต ไอแพด หรื อ ไอโฟนจนลื ม กิ น ลื ม นอน ลืมคุย ลืมทำ�การบ้าน ลืมเล่นกับเพื่อนๆ จนร่างกายเจ็บป่วย ชีวิตวัยเด็กที่แสนสดใส คงหดหูน่ า่ ดู ไหนจะโดนแม่บน่ ครูดุ เพือ่ นงอน น้องโกรธ ฯลฯ ดังนั้นเราทุกคนเป็นเยาวชน ฉลาดคิด รู้เท่าทันภัยจากเกมอย่างนี้แล้ว อย่ารอช้า ชวนกันปิดคอมพ์ ปิดโทรศัพท์ ออกมาเล่นกันเถอะ แล้วพบกันทีส่ นามเด็กเล่น นะครับ ผู้เฒ่าเหมียวรออยู่

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


18

เครือไทยออยล์เพื่อสังคม

กองทุนพัฒนาชุมชน

โดย มะขามป้อม

รอบโรงไฟฟ้าเครือไทยออยล์

พีน่ อ้ งทัง้ 23 ชุมชนเทศบาลนครแหลมฉบังเคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าทีพ ่ กั ผูโ้ ดยสาร แผงป้ายประชาสัมพันธ์สสี ม้ อัฒจันทร์สนามกีฬา เสียงตามสาย หรือกล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนของตนเองนั้นใครเป็นผู้สร้าง และสร้างด้วย งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานใด หากท่านเป็นคณะกรรมการชุมชนหรือผู้ที่ ร่วมทำ�ประชาพิจารณ์คงนึกออก แต่ถา้ ยังนึกไม่ออก ผมจะเล่าขยายความให้พนี่ อ้ ง หายสงสัย ลองอ่านและนึกภาพตามไปครับ กองทุ น พั ฒ นาชุ ม ชนรอบโรงไฟฟ้ า หรื อ เรี ย กกั น ภาษาชาวบ้านว่า กองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีตน้ กำ�เนิดมาจาก มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรีทเ่ี ห็นชอบการจัดตัง้ กองทุนพัฒนาชุมชน ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำ�เนินงานของโรงไฟฟ้า โดยตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มีวตั ถุประสงค์เพือ่ จัดหาเงินทุนในการพัฒนา อาชีพ คุณภาพชีวติ ของชุมชน สนับสนุนการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม กีฬาและดนตรี สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พัฒนาพลังงานหมุนเวียนผ่านโครงการต่างๆ ตอบสนอง ความต้องการของชุมชนในพืน้ ทีร่ อบโรงไฟฟ้า สร้างสรรค์ มิตใิ หม่ของการอยูร่ ว่ มกันอย่างมัน่ คง และยัง่ ยืนระหว่าง ชุมชนกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามีอยูท่ กุ จังหวัดทีม่ โี รงไฟฟ้าไม่วา่ จะใช้พลังงานชนิดใด ผลิตกระแสไฟฟ้า ในจังหวัดชลบุรีมี 3 กองทุน กองทุนที่อยู่ในท้องถิ่นของเรา คือ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ชลบุรี 1 มีชื่อเต็มว่า “กองทุนพัฒนาชุมชนรอบ โรงไฟฟ้า เครือไทยออยล์ แหลมฉบังเพาเวอร์ และสหโคเจน” สำ�นักงาน ตั้งอยู่ในศาลาประชาคมอ่าวอุดม ดูแลพื้นที่ของตำ�บลบางละมุง อำ�เภอ บางละมุง ตำ�บลศรีราชา ตำ�บลสุรศักดิ์ ตำ�บลทุง่ สุขลา ตำ�บลบึง ตำ�บลหนองขาม อำ�เภอศรีราชา ซึง่ พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่อยูใ่ นเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง มีคณะกรรมการ พัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) จำ�นวน 27 คน เป็นผู้แทน ภาคประชาชน จำ�นวน 18 คนทีม่ าจากผูแ้ ทนจากตำ�บล ผูแ้ ทนภาครัฐ จำ�นวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธาน และ คุณสุวรรณทอง คำ�ภูมี หรือ ป๋าแจ๊ว ประธานคณะกรรมการชุมชนบ้านชากยายจีน เป็นรองประธานกรรมการ คพรฟ.


19

พีน่ อ้ งอาจสงสัยต่อไปอีกว่า บริษทั ไทยออยล์เป็นโรงกลัน่ นํ้ามัน แล้วไปเกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าได้อย่างไร ขออธิบายเพิ่มเติมว่า บริษัทไทยออยล์ลงทุนและถือหุ้น ในโรงไฟฟ้า 2 โรง คือ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำ�กัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในโรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ ผลิตไฟฟ้าใช้ภายใน กำ�ลังการผลิต 118 เมกะวัตต์ และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำ�กัด (GPSC) หรือ ชื่อเดิมบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำ�กัด (IPT) เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ กำ�ลังการผลิต 1,038 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ ส่งเงินเข้ากองทุน พัฒนาไฟฟ้ารวมแล้วไม่ต่ำ�กว่าปีละ 50 ล้านบาท ร่วมกับ กลุ่มแหลมฉบังเพาเวอร์ และบริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำ�กัด (มหาชน) กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเครือไทยออยล์ฯ มีแผนงานประจำ�ปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้ชุมชนรอบ โรงไฟฟ้าสามารถที่จะนำ�งบประมาณไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนได้ โดยต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องตามแผน ยุทธศาสตร์ของกองทุนไฟฟ้าในงบประมาณ 60,829,806 บาท จำ�แนกเป็นค่าใช้จา่ ยในการบริหารจัดการ 8,970,000 บาท และค่ าใช้ จ่ า ยโครงการในชุ ม ชนจำ � นวน 140 โครงการ เป็นเงิน 51,859,806 บาท โดยจำ�แนกออกเป็น 9 โครงการ ดังนี้

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


20

โครงการที่ 1 โครงการพัฒนาชุมชนด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวติ สุขภาพ และสุขภาวะ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ครอบครัว และชุ ม ชน ได้ ดู แ ลสุ ข ภาพเบื้ อ งต้ น รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม ให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาวะ โดยโรงพยาบาล หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่เข้ามาให้บริการ ด้านสุขภาพและการป้องกันด้านสุขภาพ

โครงการที่ 3 โครงการพัฒนาชุมชนด้านการเกษตร สนับสนุน เครื่องมือเครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพและการ ถ่ายทอดทางเทคโนโลยีทเี่ หมาะสมเพือ่ เพิม่ ผลผลิต ทางการเกษตร

โครงการที่ 5 โครงการพั ฒ นาชุ ม ชนด้ า นคุ ณ ภาพชี วิ ต โดยเน้นให้ความรูเ้ กีย่ วกับผลกระทบของโรงไฟฟ้า และการป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น

โครงการที่ 2 โครงการพัฒนาชุมชนด้านอาชีพ ส่งเสริมอาชีพ สร้ า งรายได้ ใ ห้ แ ก่ ชุ ม ชนหรื อ อบรมให้ ค วามรู้ และ ทักษะในการประกอบอาชีพ รวมถึงสนับสนุนเครือ่ งมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ

โครงการที่ 4 โครงการพั ฒ นาชุ ม ชนด้ า นเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน สนับสนุนการดำ�เนินงานของกลุ่มเศรษฐกิจในชุมชน วิสาหกิจชุมชนจนสามารถเริ่มต้นประกอบวิสาหกิจ ชุมชนได้เป็นอย่างดี

โครงการที่ 6 โครงการที่ 7 โครงการพั ฒ นาชุ ม ชน ด้ า นสิ่ ง อำ � นวย ความสะดวก สาธารณู ป โภคต่ า งๆ ที่ ชุ ม ชน ใช้ร่วมกัน

โครงการที่ 9 โครงการพัฒนาศักยภาพของผูท้ เ่ี กีย่ วข้องกับ กองทุนชุมชน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

โครงการพัฒนาชุมชนด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น

โครงการที่ 8 โครงการด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ในชุมชน


21

ตลอดระยะเวลาที่ ผ่ า นมา เครื อ ไทยออยล์ ดำ � เนิ น กิ จ กรรมร่ ว มกั บ ชุ ม ชนทั้ ง 23 ชุ ม ชนในเขตเทศบาล นครแหลมฉบั ง ทั้ ง ทางตรงและทางอ้ อ ม โดยทางตรงนั้ น แผนกบริ ห ารงานชุ ม ชนร่ ว มมื อ กั บ 10 ชุ ม ชมรอบ เครือไทยออยล์ ประกอบด้วย ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ชุมชนตลาดอ่าวอุดม ชุมชนบ้านทุ่ง ชุมชนบ้านแหลมฉบัง ชุมชน วัดมโนรม ชุมชนบ้านเขานํ้าซับ ชุมชนบ้านชากยายจีน ชุมชนบ้านนาเก่า ชุมชนบ้านห้วยเล็ก และชุ ม ชนบ้ า นแหลมทอง รวมทั้ ง เทศบาลนครแหลมฉบั ง โดยใช้ ห ลั ก การทำ � งาน สามประสาน ระหว่างชุมชน เทศบาลฯ และเครือไทยออยล์ ตามแนวทาง 5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมแก้ไข ร่วมรับผล และร่วมพัฒนา ส่ ว นทางอ้ อ มนั้ น เครื อไทยออยล์ ยั งได้ ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานของเทศบาลนครแหลมฉบั ง ในกิจกรรมต่างๆ ทีเ่ ทศบาลฯ จัดขึน้ หรือหารือร่วมกัน และอีกทางหนึง่ คือผ่านกองทุนพัฒนา โรงไฟฟ้าที่เครือไทยออยล์ส่งเงินเข้ากองทุนฯ แล้วคณะกรรมการกองทุนฯ ได้นำ� ไปพัฒนาในท้องถิ่นตามความต้องการของชุมชนนั้นๆ ต่อไป

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


22

เรื่องอยากบอก โดย อาจารย์คง

“สวดมนต์เย็น ชำ�ระใจ” การสวดมนต์เป็นกิจวัตรถือเป็นหน้าทีข่ องพุทธศาสนิกชนทีส่ บื ทอดกัน มานานแล้ว เพือ่ ให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ชวี ติ รวมทัง้ ทำ�ให้จติ ใจสงบ ศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน จึงได้จัด “สวดมนต์เย็น ชำ�ระใจ” เป็นประจำ�ทุกวันขึน้ 14 คา่ํ ของเดือน ณ หอพระ ศูนย์สขุ ภาพและการเรียนรูฯ้ สำ�หรับปี พ.ศ. 2557 เริ่มต้นเดือนมกราคมจัดขึ้นในวันอังคารที่ 14 และ เดือนกุมภาพันธ์จดั ขึน้ ในวันพฤหัสบดีที่ 13 มีเหล่าพุทธศาสนิกชนจากชุมชน รอบโรงกลัน่ ทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมสวดมนต์เหมือนเช่นเคย ครัง้ นีน้ �ำ บทสวดมนต์ มาเรียบเรียงให้มคี วามต่อเนือ่ ง เริม่ ต้นด้วยบทชุมนุมเทวดา บทบูชาพระรัตนตรัย บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ทั้งบาลีและทำ�นอง สรภัญญะ บทชัยมงคลคาถา (พาหุง) บทชินบัญชร บทพระคาถาโพธิบาท สะเดาะเคราะห์ และบทแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ผู้ท่ีมาร่วมสวดมนต์กล่าวว่าบทสวดมนต์น้ีจำ�ง่าย ท่องได้ติดปาก เด็กๆ สามารถสวดได้ จึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านมาร่วมสวดมนต์เย็น ชำ�ระใจ ในครั้งต่อไปร่วมกันในวันศุกร์ที่ 14 มีนาคมนี้ครับ

พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี หรือ หลวงพ่อไทยออยล์ ประดิษฐานในหอพระ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์ เพื่อชุมชน มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ เนื้อทองสัมฤทธิ์ สีนํ้าตาลเคลือบสีปาตินา ขนาดหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว สูง 3.5 เมตร จั ด สร้ า งเนื่ อ งในโอกาสบริ ษั ท ก่ อ ตั้ ง ครบ 48 ปี เพื่ อ ร่ ว มจรรโลง พระพุ ท ธศาสนาและให้ พ นั ก งานเครื อไทยออยล์ ต ลอดจนชุ ม ชน ละแวกใกล้เคียงได้มีโอกาสมากราบไหว้สักการบูชา อันจะก่อให้เกิด สิริมงคล และความเจริญด้านจิตใจของพุทธศาสนิกชน เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เป็นประธานพิธพี ทุ ธาภิเษก พระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุนี เมือ่ วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2552 เวลา 16.19 น. ณ มณฑลพิธี ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ หลังจากที่เปิดศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ อย่างเป็นทางการ พนักงานเครือไทยออยล์และชุมชนรอบเครือไทยออยล์ได้มาร่วม กิจกรรมที่ส่งเสริมพุทธศาสนาอยู่เป็นประจำ� อาทิ การสวดมนต์เย็น ชำ�ระใจ การถวายเทียนพรรษา 9 วัด การเปลี่ยนผ้าครององค์พระ เป็นต้น ทางศู น ย์ สุ ข ภาพและการเรี ย นรู้ เ ครื อ ไทยออยล์ เ พื่ อ ชุ ม ชน จึงได้อาราธนาพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) แต่งคาถาบูชา พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังบทสวดบูชาต่อไปนี้

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

คาถาบูชา พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี

นะโม ( 3 จบ) อิมินา สักกาเรนะ พุทธะระตะนะมังคะละสะกะละ ปะชานาถะมุนิง อภิปูชะยามิ เอตัสสานุภาเวนะ อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก สุขะวัฑฒะโก โหตุ เม สัพพะทา ฯ

คำ�แปล ข้าพเจ้าขอบูชา พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี ด้วยเครื่องสักการะนี้ ขออานุภาพ พระพุทธรัตนมงคล สกลประชานาถมุนี จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้ามีอายุยิ่งยืนนาน มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีคนเคารพนับถือ มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีสุขภาพแข็งแรง มีผิวพรรณสวยงาม มีความสุข ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย ในกาลทุกเมื่อ เทอญฯ


ปลอดภัยใกล้ตัว โดย เซฟตี้เกิร์ล

23

สอนลูกอย่างไรให้ห่างไกล

ท้องก่อนวัยอันควร? การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาใหญ่ส�ำ หรับประเทศไทย ที่สูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน หลายฝ่ายจึงต้องให้ความสนใจและช่วยกันป้องกันแก้ไข พ่อแม่ คือผู้ที่มี บทบาทสำ�คัญในการกล่อมเกลา ชี้แนะ สั่งสอนเรื่องเพศให้แก่ลูก จากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าครอบครัวที่มีการ พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา มีแนวโน้มที่ลูกจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศน้อยกว่า ครอบครัวที่ไม่มีการพูดคุยกัน

สอนลูกเรื่องเพศอย่างไรดี สิ่ ง ที่ พ่ อ แม่ ค วรสอนลู ก หรื อ บุ ต รหลานนั้ น มิ ใ ช่ แ ค่ เ รื่ อ งการ มีเพศสัมพันธ์อย่างเดียว แต่ควรชีใ้ ห้เห็นถึงความรับผิดชอบและภาระ ทีจ่ ะตามมาภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ ควรสอนให้ลกู มีความรู้ ความ เข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องต่อเรื่องเพศของตนเอง และปฏิบัติต่อ เพศตรงข้ามอย่างเหมาะสม ควรสอนให้ลูกชายเคารพในศักดิ์ศรีของ เพศหญิง ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ท�ำ ร้ายผูห้ ญิง และควรสอนให้ลกู สาว เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง ทำ�อย่างไรให้ลูกกล้าปรึกษา การเลี้ยงลูกอย่างใกล้ชิด ให้เวลาและ สร้างความเป็นเพื่อน สื่อสารกันอย่ า งมี เหตุผล ถือเป็นรากฐานสำ�คัญที่ทำ�ให้ลูก กล้าปรึกษาพ่อแม่ในเรื่องเพศ พ่อแม่ต้อง ทำ�ตัวเป็นทีป่ รึกษาทีด่ ี ไม่คอยจับผิด เซ้าซี้ หรือกดดันจนลูกหวาดกลัว รวมทัง้ ต้องเก็บ รักษาความลับทีล่ กู ปรึกษา ไม่กล่าวโทษลูก แต่ควรชี้ให้ลูกมองเห็นมุมมองที่ถูกต้อง และเหมาะสม นามัยวัยรุ่น

ปรึกษาเรื่องอ หน่วยงานให้ค�ำ .net

• www.friendcorner ovecarestation.com กล้าเช็ค” องค์การแพธ www.L • โครงการเลิฟแคร์ “กล้ารัก 4.00 0-2 กวัน เวลา 16.0 หรือ โทร. 085 340 0043 ทุ www.teenpath.net ใจ (Teenpath) องค์การแพธ • โครงการก้าวย่างอย่างเข้า 1 1224-5 วันจันทร์ - ศุกร์ 259 0 . โทร ง ญิ ห ้ ผู ภาพ ข งสุ • มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่อ รีฯ โทร. 0 2929 2222 9 4611-28 จันทร์-ศุกร์ • สมาคมส่งเสริมสถานภาพสต ชน (PDA) กรุงเทพฯ โทร. 0 222 ม ชุ และ ากร • สมาคมพัฒนาประช เวลา 08.30-17.00 น. แห่งประเทศไทยฯ (สวท) • สมาคมวางแผนครอบครัว . ดินแดง 0 2245 1888 2320 ต่อ 181-3คลินิก สวท 1 294 0 เขน 7 4760 คลินิก สวท. บาง 256 0 ต สิ ง 3 9077คลินิก สวท. รั คลินิก สวท. ปิ่นเกล้า 0 243 ชธานี 045 243 380 ลรา บ อุ . สวท ก ิ น คลิ 627 คลินิก สวท. ขอนแก่น 043 223 คลินิก สวท. เชียงราย 053 713 090 406 คลินิก สวท. เชียงใหม่ 053 249 246 343 348คลินิก สวท. หาดใหญ่ 074 คลินิก สวท. ภูเก็ต 076 235

มีรักแล้วต้องมีเพศสัมพันธ์ด้วยหรือ เมือ่ มีความรัก วัยรุน่ มักมองเห็นแต่ดา้ นทีส่ ดใสสวยงาม โรแมนติก และคิดว่าต่างฝ่ายต่างพร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ เพราะใครๆ เขาก็ทำ�กัน หากไม่ท�ำ แล้วจะเชย ซึง่ พ่อแม่ควรสอนให้ลกู หยุดคิดสักนิดก่อนทำ�ว่า พร้อมแน่หรือที่จะรับผิดชอบในผลที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ หรือการตั้งครรภ์ของฝ่ายหญิงรวมถึงความพร้อมที่ จะเป็นพ่อแม่คน และรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรที่จะเกิดตามมา ควรห้ามลูกมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ควรชี้แจงให้ลูกเข้าใจว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือโดย ไม่ได้ไตร่ตรองนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรในชีวิตลูกได้บ้าง เช่น การ ผูกมัดโดยต่างฝ่ายต่างไม่พร้อม การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การ ตั้งครรภ์ในวัยเรียน การเสียโอกาสทางการศึกษาเล่าเรียน ฯลฯ ซึ่ง การพูดคุยด้วยเหตุผล การยกตัวอย่างให้ลูกเข้าใจจะช่วยให้ลูกมี ภูมิคุ้มกันและอาจยับยั้งชั่งใจได้ หากยังไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบ พ่อแม่ควรชี้แนะให้ลูกรู้จักวิธี การควบคุมความรูส้ กึ ความต้องการ ทางเพศ เช่น หนุ่มๆ ให้ออกกำ�ลังกาย เล่นกีฬา ดนตรี หรือสำ�เร็จความใคร่ด้วยตนเอง ส่วนสาวๆ ต้องรูจ้ กั ปฏิเสธว่า “ไม่” หากแฟนหนุม่ โกรธแล้วหันไปหา คนอืน่ แทนก็บอกลาได้เลย เพราะแสดงว่า เขามองคุณค่าของการเป็น แฟนกันแค่การมีเซ็กซ์เท่านั้น แต่หากไม่สามารถยับยั้งใจได้ควรสอน วิธกี ารมีเพศสัมพันธ์ทปี่ ลอดภัย ด้วยการรูจ้ กั ป้องกันโดยการใช้ถงุ ยาง อนามัยอย่างถูกวิธี ทีม่ า : มูลนิธพิ ทิ กั ษ์สทิ ธิเด็ก, องค์การแพธ, กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ และ นสพ.เดลินวิ ส์ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


24

เตรียมพร้อมสู่ AEC โดย ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร

แบกเป้ตะลุยอาเซียน (ตอนจบ)

ฉบับที่แล้วผมนำ� 5 ประเทศนะครบั ได เสนอแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ฉบับนี้ยังมีสถานท ล้ องไปเยยี่ มชมกนั บา้ งรยึ งั ถา้ ยงั อของอาเซียนไปแล้ว แล้ว แบกเป้ไปตะล ี่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจซึ่งผมนำ�มาฝ ยา่ รอชา้ ครบั เพราะ ากกันต่อ ถ้าพร้อ ุยอาเซียนกันต่อเล ม ยครับ!!!

สาธารณรัฐสิงคโปร์ 1 ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ (Universal Studios), สิงคโปร์ สวนสนุกระดับโลกในเครือยูนเิ วอร์แซลแห่งเดียวในอาเซียน มีเครือ่ งเล่นกว่า 20 ชนิด โดดเด่นด้วยธีมปาร์คที่จำ�ลองสถานที่ตามภาพยนตร์แอนิเมชั่นของ ฮอลลีวู้ดมาสร้างเป็นเครื่องเล่นสุดตื่นเต้น 2 การ์เด้นส์ บาย เดอะ เบย์ (Gardens by the Bay), มาริน่า เบย์ สวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ริมอ่าวมาริน่า (Marina Bay) จำ�ลอง ทั้งภูเขาและน้ำ�ตกมาไว้ภายในโดม โดยจัดแสดงพันธุ์ไม้นานาชนิด และเป็น ที่ตั้งของ “ซูเปอร์ทรี โกรฟ“ ต้นไม้ยักษ์ 18 ต้น ที่สูงถึง 25-50 เมตร หรือ เท่ากับตึก 9-16 ชั้น 3 เมอร์ ไลอ้อน (Merlion) หรือสิงโตทะเล, มาริน่า เบย์ สัญลักษณ์ประจำ�ชาติของสิงคโปร์ที่ใครมาแล้วต้องถ่ายภาพคู่ด้วยคือ รูปปัน้ สิงโตทะเลพ่นน้�ำ ตลอดเวลาตัวนี้ เจ้าเมอร์ไลอ้อนจะมีอยูด่ ว้ ยกัน 3 ตัว 2 ตัวแรกตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำ�สิงคโปร์ ส่วนอีกตัวตั้งอยู่บนเกาะเซ็นโตซ่า

มาเลเซีย 1 กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) ศูนย์กลางธุรกิจและคมนาคมของประเทศมาเลเซีย มีสัญลักษณ์สำ�คัญ คือ “ตึกแฝดปิโตรนาส” (Petronas Twin Towers) ซึง่ เคยเป็นตึกแฝดทีส่ งู สุดในโลก และ “จัตุรัสเมอร์เดกา” (Merdeka Square) จุดประกาศเอกราชของมาเลเซีย เมื่อปี 1957 2 ลังกาวี (Langkawi) หมู่เกาะลังกาวีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียบริเวณทะเล อันดามัน หากไปแล้วอย่าลืมนัง่ “เคเบิลคาร์” หรือกระเช้าลอยฟ้าเพือ่ ขึน้ สูย่ อดเขา “กูนุง มะจิงจั้ง” และชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของฝั่งไทยและมาเลเซียกันนะครับ 3 โกตา กินะบะลู (Kota Kinabalu), รัฐซาบาห์ 1 ใน 10 สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยมของเอเชีย ซึง่ ถูกจัดอันดับโดยทริปแอดไวเซอร์ เมือ่ ปีกอ่ น เพราะมีพน้ื ทีท่ างธรรมชาติทอ่ี ดุ มสมบูรณ์ชอ่ื “อุทยานแห่งชาติกนิ ะบะลู” และยอดเขา “คินาบูลา” ที่สูงที่สุดในมาเลเซียให้เราได้ไปพิชิต

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


25

เนการาบรูไนดารุสซาลาม

1 มัสยิด เจม อาร์ ฮัสซานัล โบลเกียห์ (Jame Asr Hassanil Bolkiah Mosque) มัสยิดทองคำ�ประจำ�สมเด็จพระราชาธิบดีฮจั ญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ฯ สุลต่านลำ�ดับที่ 29 แห่งบรูไน ตระการตาด้วยหลังคาทองคำ� 24 เค และความพิเศษของเลข 29 ใน ทุกองค์ประกอบ เช่น แชนเดอเลียร์คริสตัล 29 อัน และน้�ำ พุ 29 แห่ง ตามลำ�ดับ ของสุลต่านนั่นเอง 2 มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน (Sultan Omar Ali Saifuddien Mosque) ศาสนสถานทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของศาสนาอิสลามในบรูไน ตัง้ อยูท่ ก่ี รุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ผสมผสานสถาปัตยกรรมการออกแบบระหว่างอิตาลีและอิสลามไว้ได้อย่างลงตัว 3 พิพิธภัณฑ์โรยัลเรกกาเลีย (The Royal Regalia Museum) พิพธิ ภัณฑ์ซง่ึ รวบรวมข้าวของเครือ่ งใช้ของสุลต่านองค์ปจั จุบนั อาทิ เครือ่ งทรงทองคำ� ในวันขึ้นครองราชย์ มงกุฎทองคำ� บัลลังก์ทองคำ� และเครื่องบรรณาการจากผู้นำ� ประเทศต่างๆ

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

1 มะนิลา (Manila) เมืองหลวงของฟิลปิ ปินส์ นอกจากเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว มากมาย เช่น อินทรามูรอส เมืองเก่าแก่ทม่ี สี ถาปัตยกรรมเหมือนเมืองในสมัยยุโรปยุคกลาง และ โบสถ์ซานอะกุสติน ศาสนสถานประจำ�เมืองที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบสเปน 2 เกาะเซบู (Cebu Island) เกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด มีป่าใหญ่เขียวชอุ่ม หาดทรายขาว และน้�ำ ทะเลสีฟ้าใสสวยงาม จนนักท่องเที่ยวนิยมมาดำ�น้�ำ กันที่นี่ 3 เกาะโบราเคย์ (Boracay Island) เกาะเขตร้อนทางตอนใต้ของมะนิลาแห่งนีเ้ คยได้รบั การประกาศเป็นเกาะทีส่ วยทีส่ ดุ ในโลก เกาะโบราเคย์มี 2 หาดหลัก คือ White Beach และ Bulabog Beach ซึ่งมีจุดเด่น ที่หาดทรายขาวสวย น้�ำ ทะเลใสที่น่าลงเล่นเป็นยิ่งนัก

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

1 นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) เมืองโฮจิมินห์มีสุสานโฮจิมินห์ที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 อยู่ที่จัตุรัสบาสดิงห์ สถานที่ที่โฮจิมินห์ มหาบุรุษของชาวเวียดนามเคยอ่านคำ�ประกาศอิสรภาพ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2488 2 ฮาลองเบย์ (Halong Bay) อ่าวฮาลอง หรือ ฮาลองเบย์ ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจาก องค์การยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2537 นักท่องเที่ยวที่เดินเรือมาที่นี่จะได้สัมผัสความงาม ของหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 2,000 เกาะ และกลิ่นอายแห่งการเดินเรือในอดีต 3 ฮานอย (Hanoi) เมืองท่องเที่ยวหลักของเวียดนามที่ยังคงความเป็นเมืองเก่าไว้ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอาคารโบราณสไตล์โคโลเนียนที่พบเห็นได้ตลอดสองฟากฝั่งของถนน ทะเลสาบ ฮว่านเกีย๋ มทีพ่ าดผ่านใจกลางเมือง และช้อปปิง้ แบบจุใจกับบรรดาร้านรวงตลอดแนวเส้น ของถนนที่มีถึงกว่า 30 สาย

เป็นยังไงบ้างครับกับสถานที่สุดสวย ของ กลุม ่ ประเทศอาเซย ี นทีผ ่ มนำ�เสนอไป 2 ฉบับติด หากใครมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนที่ไหน อย่าลืม มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


26

เรียนภาษาอังกฤษกับครูแนน โดย ครูแนน

Sera Que Sera

คำ�ถามยอดฮิตในวัยเด็กอย่าง “โตขึน้ อยากเป็นอะไร?” เชือ่ ว่า หลายคนมองย้อนกลับไปถึงคำ�ตอบที่ ให้ไว้ อาจไม่ ใช่สิ่งที่เรา เป็นอยู่ทุกวันนี้ นั่นไม่ ใช่ความผิดพลาดที่ต้องเก็บมาทุกข์แต่ The future’s not ours to see. อนาคตไม่ ใช่สิ่งที่เราจะ หยั่งรู้ ได้ เราจึงต้องดำ�เนินชีวิตไปให้เต็มที่ และยึดคติที่วา่ Whatever will be, will be. สิง่ ใดจะเกิดมันก็ตอ้ งเกิด คำ � พู ด นี้ เ ป็ น ท่ อ นฮุ ก ของเพลง Que Sera, Sera เพลงประกอบโฆษณาดั ง ที่ มี ค วามหมายดี จึ ง หยิบยกมาให้เรียนรู้กันในวันนี้ค่ะ

When I was just a little girl, I asked my mother, what will I be? Will I be pretty, will I be rich? Here’s what she said to me.

เมื่อครั้งที่ฉันยังเป็นเด็กน้อย ฉันเคยถามแม่ว่า อนาคตฉันจะเป็นอย่างไร ฉันจะสวยไหม ฉันจะรวยไหม และนี่คือสิ่งที่แม่กล่าวกับฉัน

Que Sera, Sera, Whatever will be, will be. The future’s not ours, to see. Que Sera, Sera What will be, will be.

สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด อนาคตไม่ใช่ของเราที่จะหยั่งรู้ได้ สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด

When I was young, I fell in love. I asked my sweetheart what lies ahead. Will we have rainbows, day after day? Here’s what my sweetheart said.

เมื่อฉันโตเป็นสาว ฉันตกหลุมรัก ฉันถามหวานใจ สิ่งใดรอเราอยู่เบื้องหน้า เราจะพบเจอสายรุ้งวันแล้ววันเล่าหรือไม่ และนี่คือสิ่งที่คนรักกล่าวกับฉัน

Que Sera, Sera, Whatever will be, will be. The future’s not ours, to see. Que Sera, Sera What will be, will be.

สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด อนาคตไม่ใช่ของเราที่จะหยั่งรู้ได้ สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด

ในตอนนี้ ฉันมีลูกๆ ของฉันเองแล้ว Now I have children of my own They ask their mother, what will I be? พวกเขาถามแม่ของเขาว่า อนาคตพวกเขาจะเป็นอย่างไร ผมจะหล่อไหม ผมจะรวยไหม Will I be handsome, will I be rich? ฉันจึงกล่าวตอบไปอย่างอ่อนโยน I tell them tenderly. Que Sera, Sera, Whatever will be, will be. The future’s not ours, to see. Que Sera, Sera What will be, will be.

สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด อนาคตไม่ใช่ของเราที่จะหยั่งรู้ได้ สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด สิ่งใดจะเกิดมันก็ต้องเกิด

แล้ว Que Sera, Sera นอกจากภาษาที่เรียบง่ายแต่สวยงาม ยังให้ ความหมายดีสะท้อน หรือ Whatever will be, will be ล้ว คุณผูอ้ า่ นจะพบความสุขได้ สัจธรรมในการใช้ชวี ติ ทีห่ ากได้น�ำ ไปใช้แราะ สิง่ ใดจะเกดิ มันก็ตอ้ งเกดิ โดยไม่ตอ้ งคาดหวงั รอคอยอนาคตเพ จริงไหมคะ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


ก้าวทันโลก โดย ติมา

เมื่อเครื่องซักผ้า + ชักโครก = ประหยัดนํ้ากว่า 50% เยาวชนไทยไม่น้อยหน้าใครในโลก ก้าวทันโลกด้วย การสร้างสิ่งประดิษฐ์อนุรักษ์นํ้า แนวคิดง่ายๆ แต่ได้ผล เป็นอย่างดี สามารถช่วยประหยัดนํ้าได้อย่างน่าทึ่ง กลุ่ ม นั ก ศึ ก ษาภาควิ ศ วกรรมโยธา คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แสดงศักยภาพความเฉลียว มองเห็นคุณค่าของน้�ำ สร้างนวัตกรรมทีท่ �ำ ใช้ได้จริง คือ การดัดแปลง นำ � น้ำ� ทิ้ง จากเครื่อ งซั ก ผ้ า มาใช้ ก ดชั กโครกแบบประหยั ด น้ำ� ขนาด 6 ลิตร โดยสร้างถังเก็บน้�ำ ทิง้ และระบบบำ�บัดฆ่าเชือ้ ดับกลิน่ รวมถึงกรองจนสะอาด สามารถนำ�มาหมุนเวียนเป็นน้ำ�ชำ�ระล้าง ในชักโครกได้อย่างปลอดภัย มีวาล์วน้ำ�สำ�หรับปิด-เปิดกำ � หนด ปริมาณน้ำ�ได้ตามต้องการ และยังปรับใช้ร่วมกับระบบน้ำ�สะอาด จากภายนอกในกรณีน�้ำ ที่เก็บไว้ไม่เพียงพออีกด้วย นวัตกรรมนีท้ ดลองใช้จริงแล้วในบ้าน การต่อท่อน้ำ�ทิง้ จากเครือ่ งซักผ้าเข้าสูถ่ งั พักน้ำ�ของชักโครก รวมถึงกระบวนการกรอง ให้น้ำ�ไร้สีและไร้กลิ่น เพื่อให้เหมาะเป็นน้ำ�ชักโครก ใช้งบประมาณเพียง 5,000 บาทเท่านั้น ซึ่งได้ทดลองใช้งานจริงแล้ว ในบ้านของผู้คิดค้น เมื่อคำ�นวณความคุ้มค่าของการประหยัดน้ำ�ได้ผลชัดเจนดังนี้ โดยทั่วไปเครื่องซักผ้าจะใช้น้ำ�สิ้นเปลืองมากกว่าชักโครกประมาณ 20-40 เท่า ขึ้นอยู่กับปริมาตรความจุของเครื่องซักผ้า ดังนั้นหากบ้านหลังหนึ่งมีสมาชิก 3-5 คน ซักผ้ารวมกันตอนเช้าวันละครั้งด้วยเครื่องซักผ้าขนาดถังความจุ 9 กิโลกรัม ซึ่งจะใช้น้ำ� สำ�หรับการซัก 1 รอบ การล้าง 2 รอบ รวมเป็น 3 รอบ แต่ละรอบใช้น้ำ� 70 ลิตร รวมเป็น 210 ลิตร ขณะที่กดชักโครก 1 ครั้งใช้น้ำ� 5-6 ลิตร ดังนั้นน้ำ�จากเครื่องซักผ้าจึงใช้ ชักโครกได้ถึง 35 ครั้ง ถ้าสมาชิก 5 คนเท่ากับใช้ชักโครกได้คนละ 7 ครั้งต่อวันซึ่งนับว่า มากเกินพอ เผลอๆ อาจยังเหลือน้�ำ เก็บไว้ใช้ส�ำ หรับวันต่อไปที่ไม่ได้ซักผ้า บางบ้านอาจ แทบจะไม่ต้องใช้น้ำ�ใหม่สำ�หรับชักโครกเลยก็เป็นได้ และยังสามารถนำ�น้ำ�ไปใช้รดต้นไม้ หรือทำ�ประโยชน์อนื่ ๆ ได้อกี นวัตกรรมง่ายๆ นีจ้ งึ ช่วยอนุรกั ษ์น�้ำ ได้อย่างน่าทึง่ เหลือเกิน เยาวชนเจ้าของนวัตกรรม: นายเผด็จ รัตนะจินดา นายศรัณย์ ชุ่มกลัด และนายประชุม คำ�พุฒ อาจารย์ที่ปรึกษา: ว่าที่ร้อยโท กิตติพงษ์ สุวีโร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประจำ�ปี 2556 ในโครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการนํ้าด้วย 3R ของบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้า ภาคตะวันออก จำ�กัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์

มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

27


28

เคล็ดลับสุขภาพ โดย กาบกล้วย

โรคอว้ นในเด็ก ปัจจุบน ั โรคอ้วนกำ�ลังเป็นปัญหาสำ�คัญและพบมากขึน ้ ทั่วโลกจนองค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องประกาศ ให้เป็นโรคระบาด สำ�หรับประเทศไทยมีข้อมูลบ่งชี้ว่า มีจ�ำ นวนเด็กทีเ่ ป็นโรคอ้วนเพิม ่ ขึน ้ กว่า 3 เท่าตัว เมือ่ เทียบ กับช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้

??

?

อ้วน หรือ ไม่อ้วน โรคอ้วนในเด็ก คือ การที่เด็กมีไขมันสะสมตามร่างกายมากเกินไป จนทำ�ให้มีนำ�้ หนักเกินกว่าน้ำ�หนักมาตรฐานร้อยละ 20 เมื่อวัดตามเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) คืออัตราส่วนระหว่าง น้�ำ หนัก (กิโลกรัม) ต่อส่วนสูง (เมตร) ยกกำ�ลังสอง

ทำ�ไมจึงร้ายแรง พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กอ้วนน่ารักดี แต่หาทราบไม่ว่าหากปล่อย ให้เด็กเป็นโรคอ้วนนั้น จะทำ�ให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้มากมายเมื่อโตขึ้น เช่น ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารประเภทแป้งและน้ำ�ตาล เกิดความ ผิดปกติของกระดูกและข้อ เช่น กระดูกโค้งงอ ขาโก่ง เท้าแบน โรคผิวหนัง เช่น เชื้อราที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ตับอักเสบและถุงน้ำ�ดีอักเสบ โตก่อนวัย เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังทำ�ให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ เพราะพวกเขาไม่สามารถวิ่งเล่น ได้เหมือนเด็กคนอื่นๆ ความเชื่องช้าทำ�ให้เล่นกีฬาไม่เก่ง โดนเพื่อนล้อเรื่อง รูปร่าง มีปัญหาด้านบุคลิกภาพและการแต่งตัว เป็นต้น มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


29

ทำ�ไมจึงมีเด็กอ้วนมากขึน ้ ปัจจุบัน มีเด็กเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก 1. ไม่ออกกำ�ลังกาย เด็กๆ ไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นเหมือนเมื่อก่อน เพราะผู้ ป กครองมั ก ส่ ง ลู ก ไปเรี ย นพิ เ ศษ หรื อ ปล่ อ ยให้ เ ด็ ก นั่ ง เล่ น เกม คอมพิวเตอร์ หรือนั่งดูทีวีแทนที่เด็กจะได้วิ่งเล่น 2. กินอาหารขยะ เพราะความเร่งรีบและการแข่งขันทำ�ให้วถิ ชี วี ติ ของ สังคมไทยเปลี่ยนไปบริโภคอาหารสำ�เร็จรูป และอาหารขยะมากขึ้น แม้แต่ อาหารของเด็กเองก็มีสารเคมี ไขมัน แป้ง น้ำ�ตาล สารกันบูดเยอะจนเป็น อันตรายต่อร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถเผาผลาญพลังงานจากอาหาร ประเภทแป้งและน้ำ�ตาลได้หมด ร่างกายจึงเก็บมันไว้ในรูปของไขมัน 3. กินเยอะเกินไป พ่อแม่มักจะไม่ควบคุมปริมาณอาหารที่ลูกกิน ให้พอเหมาะพอดี

ควรทำ�อย่างไร เมือ่ ลูกอ้วน พ่อแม่ต้องสร้างสุขนิสัยให้ลูกตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อลดความ เสีย ่ งกับการเป็นโรคอ้วนเมือ่ โตขึน ้ ด้วยคำ�แนะนำ�ต่างๆ ดังนี้ üให้ลูกได้ออกไปวิ่งเล่นอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง üลดน้�ำ ตาลในอาหาร เก็บลูกอม ไอศกรีม ขนมหวานไว้สำ�หรับโอกาส พิเศษเท่านั้น üสอนลูกให้บริโภคผักและผลไม้ให้เป็นนิสัย บริโภคน้ำ�เปล่า ไม่ดื่ม น้ำ�อัดลม üพยายามปรุงอาหารจากของสด หลีกเลี่ยงอาหารกล่อง อาหาร กระป๋องและอาหารสำ�เร็จรูป üฝึกให้ลูกมีวินัยในการกิน กินอาหารเป็นเวลา ตักอาหารพอดีกิน เคี้ยวอาหารให้ละเอียด üให้ลูกกินขนมที่มีประโยชน์ อย่าพยายามให้ลูกลดน้ำ�หนักโดยการ อดอาหาร üอย่าใช้อาหารเป็นของล่อ หรือรางวัลเด็ดขาด ลองค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูนะคะ เพียงเท่านี้ลูกของเราก็จะ ห่างไกลจากโรคอ้วนแล้วล่ะค่ะ ที่มา: สำ�นักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


30

สมาธิ . .. สิ่งจำ�เป็นในการเติบโตทางปัญญาของเด็กๆ ธรรมะ โดย ฉมาร์

หัวข้อธรรมประจำ�เดือนนี้ ขอยกเอาเรื่องเด็กกับการฝึกสมาธิมาเล่า สู่กันฟัง ด้วยความเข้าใจทั่วไปอาจเห็นว่า เรื่องการฝึกปฏิบัติสมาธิ ภาวนานั้นเป็นเรื่องของคนเข้าวัด คนมีอายุ คนมีทุกข์ และคนสนใจ ศาสนา รวมถึงอาจคิดไปอีกว่าการฝึกสมาธิเป็นของยาก ยังไม่ใช่เรือ่ ง จำ�เป็นสำ�หรับคนทั่วไปหรือเด็กๆ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก กล่าวว่า “สมาธินน้ั มิใช่เป็นข้อปฏิบตั ใิ น ทางศาสนาเท่านัน้ แต่เป็นข้อพึงปฏิบตั ใิ นทางทัว่ ๆ ไป ด้วย เพราะสมาธิเป็นข้อจำ�เป็นจะต้องมีในการกระทำ� ทุกอย่าง ...” สมาธิ นัน้ ได้แก่ “ความตัง้ ใจมัน่ อยูใ่ นเรือ่ งทีต่ อ้ ง ให้ใจตัง้ ไว้เพียงเรือ่ งเดียว ไม่ให้จติ ใจคิดฟุง้ ซ่านออก ไปนอกจากเรือ่ งทีต่ อ้ งการจะให้ใจตัง้ นัน้ ” สมาธิ จึงเป็นเรือ่ งของคนทุกเพศทุกวัยยิง่ เด็กๆ เป็นวัย ของการเรี ย นรู้ ยิ่ ง จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ ส มาธิ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ หรือเรียกว่า ติดอาวุธให้ปญ ั ญาพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะหากจิตใจสงบ หรือคุ้นเคยกับการฝึกใจให้สํารวม แน่วแน่ ก็จะพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผลงานวิจัยหลายชิ้น ยืนยันว่า สมาธิสมั พันธ์กบั สมอง เพราะเวลาเด็กนิง่ เป็น เวลานานระยะหนึง่ สมองส่วนหน้าจะเกิดการทำ�งานของ คลื่นสมองแอลฟ่าได้ดี ทำ�ให้เด็กเกิดการจำ� การเรียนรู้ และการเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่าย การฝึกสมาธิเบือ้ งต้นสำ�หรับเด็ก ไม่จ�ำ เป็น ต้องนั่งสมาธิตามแบบแผน เช่น การกำ�หนด ลมหายใจอย่างทีผ่ ใู้ หญ่ปฏิบตั ิ เพราะส่วนใหญ่ เด็กมักมีสมาธิในการได้ทำ�สิ่งที่ตนเองชอบ อยูแ่ ล้ว พ่อแม่ควรสังเกตว่าเขาชอบอะไร และสนับสนุนให้ท�ำ สิง่ นัน้ ให้เขาทำ�ให้ นานขึ้นเป็นลำ�ดับ เช่น วาดรูป อ่าน การ์ตูน หรือแม้แต่เล่นของเล่นที่ สนใจ เหมือนกับได้ฝึกให้เขาหยุด เคลือ่ นไหวไปมา แล้วมีสมาธิจดจ่อ กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานขึ้นนั่นเอง มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

สำ�หรับเด็กๆ บางคนการจับมานั่งหลับตานิ่งๆ อาจเป็นเรื่องยาก ยิง่ เด็กในยุคนีท้ อี่ ยูก่ บั สือ่ ต่างๆ ทัง้ ภาพและเสียง โลกทีเ่ คลือ่ นไหวเร็ว จนเด็กหลายคนสมาธิสนั้ นัน้ พ่อแม่สามารถช่วยฝึกให้มสี มาธิดขี นึ้ ได้ โดยเริม่ ตัง้ แต่การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านทีเ่ อือ้ ต่อการฝึกสมาธิ เช่น จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่วุ่นวาย มีมุมสงบให้ทำ�การบ้าน และ อ่านหนังสือ จัดตารางกิจวัตรในบ้านให้ชัดเจน ว่าเวลาไหนควรทำ� อะไรบ้าง จะช่วยให้เด็กทำ�อะไรเป็นระบบ ขั้นตอน ไม่เร่งรีบเกินไป ฝึกทัง้ วินยั และความเป็นระเบียบในการดำ�เนินชีวติ ซึง่ จะเป็นพืน้ ฐาน ของการสร้างสมาธิ การฝึกสมาธิในเด็กเล็กๆ ทำ�ได้ดว้ ยการค่อยๆ เพิม่ งานทีย่ าก หรือ ต้องใช้เวลาทำ�นาน ใช้ความละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น เริ่มจากติดกระดุม ครั้งแรกได้เม็ดเดียว ค่อยๆ เพิ่มเป็น 5 เม็ด เมื่อลูกทำ�ได้ควรชื่นชม และให้กำ�ลังใจในการทำ�ครั้งต่อไป สนับสนุนสิ่งที่ชอบ เช่น ถ้าสนใจ เรื่องแมลง ควรกระตุ้นให้อยากรู้ ท้าให้หาคำ�ตอบ ไปค้นคว้าเรียนรู้ ตามแหล่งต่างๆ จะเป็นจุดเริ่มของการใช้สมาธิจดจ่อเรื่องที่สนใจได้ ยาวนานขึ้น ส่วนวิธกี ารนับลมหายใจเข้าและออกอาจประยุกต์ให้เป็นการเล่น เกม นั่งตัวตรงและหลับตา นับลมหายใจเข้าและออกให้นานขึ้น และ เพิ่มจำ�นวนครั้ง จนเขาคุ้นเคยกับการรับรู้ถึงการหายใจของตัวเอง นานเข้าเด็กจะคุน้ กับวิธกี ารนีเ้ มือ่ ต้องการมีสมาธิ หรือการผ่อนคลาย และยังช่วยให้เรียนรู้ที่จะมีสมาธิอยู่กับความนึกคิดของตัวเองได้ดี เมื่อเขาโตขึ้น การเลีย้ งดูดว้ ยอาหาร บำ�รุงเลีย้ งได้เพียงร่างกาย แต่เด็กจะเติบโต อย่างสมบูรณ์ได้ จำ�เป็นต้องได้รับการทำ�นุบำ�รุงจิตและปัญญาด้วย อาหารจานใหญ่ที่ขาดเสียไม่ได้ นอกจากความรักของครอบครัวแล้ว นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธเจ้า จึงควรฝึกเขาให้เริ่มต้นขบเคี้ยวด้วย การฝึกมีสมาธิตั้งแต่เด็ก ข้อมูลอ้างอิง

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และหนังสือหลักการทำ�สมาธิเบื้องต้น พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ


ลับสมองลองเล่นเกม โดย กองบรรณาธิการ

Crossword

31

ปริศนาอักษรไขว้

“หาสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดชลบุรี” กลับมาสนุกสนานกับเกมลับสมองที่นำ�มาฝากพ่อ แม่ พี่ น้อง กันอีกเช่นเคย ฉบับนี้ขอเชิญ ชวนทุกท่านมาเล่นเกม “crossword ปริศนาอักษรไขว้” หาสถานทีท ่ อ่ งเทีย ่ วชือ่ ดังของจังหวัด ชลบุรี จำ�นวน 10 แห่งด้วยกัน รีบหาให้เจอแล้วส่งคำ�ตอบมาตามที่อยู่ด้านล่างนะครับ

Crossword เ

ล้

วั

นุ

สื

ย์

พั

มุ

ชี

ก้

ก่

มื

จำ�

ชั

สี

คำ�ใบ้ 1. สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยม มีถนนตัดเลียบหาดเคียงคูไ่ ปกับทิวมะพร้าว 2. จำ�ลองปูชนียสถานและโบราณสถานทีส่ �ำ คัญของทัง้ ไทยและต่างประเทศ 3. เกาะขนาดใหญ่ที่มีฐานะเป็นอำ�เภอหนึ่งของชลบุรี 4. สถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด 5. เขาหินปูนประดับโมเสกสีทองอร่ามเป็นลายเส้นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชยั 6. เมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่มีชื่อเสียงมากในหมู่ชาวไทยและชาวต่างชาติ 7. แหล่งจำ�หน่ายของฝากชื่อดัง 8. จัดแสดงเสือโคร่งพันธุ์เบงกอลกว่า 200 ตัว ที่อำ�เภอศรีราชา 9. สถานที่ตั้งศาลเจ้าแม่อันศักดิ์สิทธิ์ 10. เกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมมาดำ�นํ้า

กติกา วงกลมชื่อสถานที่ในตาราง crossword และนำ� หมายเลขหน้ า คำ � ใบ้ ม ากำ � กั บ ไว้ ท่ี คำ � ตอบให้ ค รบ 10 แห่งแล้วรีบส่งคำ�ตอบมาชิงรางวัลได้ท่ี • แผนกบริหารงานชุมชน (CACA) ศูนย์สขุ ภาพ และการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (ชุมชนรอบโรงกลั่นใส่กล่องเล่นเกมได้ที่ศูนย์สุขภาพฯ) • แผนกกิจการเพื่อสังคม (CACM) บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยค่ี อมเพล็กซ์ อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจตุจกั ร เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 ชือ่ ......................................................................... นามสกุล.................................................................. ที่อยู่...................................................................... ............................................................................. ............................................................................. หมดเขตส่งคำ�ตอบภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 (ผู้โชคดีที่ตอบคำ�ถามได้ถูกต้อง จำ�นวน 30 ท่าน รับรางวัลของเราไปเลยครับ)

** หมายเหตุ สำ�หรับเฉลยและรายชื่อผู้ ได้รับรางวัลเกม “Amazing AEC” จากฉบับที่ 22 และเกม “Crossword” จากฉบับที่ 23 จะประกาศให้ทราบในฉบับถัดไปครับ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557


รายได้ - เงินออม = รายจา่ ย

รายได้ - รายจา่ ย = เงินออม

(เหลือเก็บคอ่ ยใช)้ รับรองมีเงินออม

(เหลือใชค้ อ่ ยเก็บ) อาจทำใหคุ้ ณไมม่ ีเงินออม

แบง่ เงินเป็นสว่ นๆ เชน่

- เงินจา่ ย - เงินลงทุน

- เงินฉุกเฉิน - เงินออม

แยกให้ออกระหว่าง “ของจำเป็น” กับ “นา่ รักอะ่ ”

มีวินัยในการเก็บเงิน มีสลึงพึงประจบใหค้ รบบาท อยา่ ใหข้ าดสิ่งของตอ้ งประสงค์ จงมักนอ้ ยกินนอ้ ยคอ่ ยบรรจง อยา่ จา่ ยลงใหม้ ากจะยากนาน สุภาษิตสอนหญิง ประพันธ์ โดยสุนทรภู่

ลดคา่ หมอโดย ดูแลตัวเองให้แข็งแรง

ตัดคา่ ใชจ้ า่ ยจุกจิก อยา่ มองขา้ มเหรียญ

ขอมูลจาก SCB Thailand


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.