ฉบับคัดลอก 8 เมษายน พ.ศ. 2556 โดย มิตรสหายท่านหนึ่ง
การถ่ายทอดศัพท์ จากภาษาต่างประเทศ มาเป็ นไทย “ปรีดี พนมยงค์” จัดพิมพ์โดย วารสารหมอความยุติธรรม 302/15-17 ถนนรัชดาภิเษก สี่แยกสุทธิสาร ห้ วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 2776169 ………………………………………………………………………………………… หรรษา จัดจําหน่าย ราคา 30 บาท
สารบาญ บทนํา บทที่ 1 หลักเบื้องต้ นแห่งการถ่ายทอดศัพท์ ต่างประเทศมาเป็ นศัพท์ไทยสยาม บทที่ 2 ความเป็ นมาของศัพท์ไทย “ปฏิวัติ” “รัฐประหาร” “วิวัฒน์” “อภิวัฒน์” ………………………………………………………………………………………… พิมพ์ท่นี ีลนาราการพิมพ์ ๔๖๐/๓๕ ซอยภาณุรังสี ถนนจรัลสนิทวงศ์ ๗๕ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้ อย กทม. น.ส. ถาวร ทั่งจันทร์แดง ผู้พิมพ์โฆษณา ๒๕๓๑ โทร. ๔๓๓๓๘๕๔
………………………………………………………………………………………… ชี้ แจง ฉบับคัดลอกนี้จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่งานในอดีตเป็ นวิทยาทาน โดย ได้ พยายามรักษารูปคําเก่า และการเน้ นคําตามต้ นฉบับดั้งเดิมไว้ ให้ มาก ที่สุดทั้งตัวหนาและขนาดอักษร แล้ วแก้ ไขข้ อบกพร่ องอย่ างคําพิ มพ์ ผิด และการเว้ นวรรคที่ทาํ ลายใจความประโยคเท่านั้น แต่ ความต่ างของระบบ เรียงพิมพ์เดิมและปั จจุบันทําให้ ไม่ สามารถจัดหน้ าตรงตามต้ นฉบับเดิม ได้ ท้งั หมด ดังนั้นจึงไม่เหมาะสําหรับการอ้ างอิงที่ต้องระบุเลขหน้ าชัดเจน
คํานํา ฯพณฯ ปรี ดี พนมยงค์ เนติ บั ณ ฑิ ต สยาม ด็อกเตอร์กฎหมายฝรั่ งเศส และประกาศนียบัตรชั้นสูง ในทางเศรษฐศาสตร์ มิ ไ ด้ เ ป็ นเพี ย งนั ก กฎหมายผู้ ปราดเปรื่ องแต่ ในด้ านการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้ น แม้ ในทางอั ก ษรศาสตร์ ก ็มี ค วามรู้ แตกฉาน เป็ น นั ก ปราชญ์ ผ้ ู ไ ด้ รั บ การแต่ งตั้ ง ยกย่ อ งให้ เ ป็ นรั ฐ บุ รุ ษ อาวุโสของไทยเพียงคนเดียว ห ลั ก เ บื้ อ ง ต้ น แ ห่ ง ก า ร ถ่ า ย ท อ ด ศั พ ท์ ต่างประเทศ มาเป็ นศัพท์ไทยสยาม และความเป็ นมา ข อ ง ศั พ ท์ ไ ท ย บ า ง คํ า เ ป็ น ต้ น ว่ า “ ป ฏิ วั ติ ” “รั ฐ ประหาร” “วิ วั ฒ น์ ” และ “อภิ วั ฒ น์ ” ซึ่ ง ท่ า น รัฐบุรุษได้ ให้ ความเห็นไว้ ว่า สมควรที่จะประกอบเป็ น ศัพท์ไทยสยามคําใด จึ งจะถูกต้ องตรงกับความหมาย ดั้งเดิมของคําต่างประเทศนั้นๆ โดยได้ แสดงเหตุและ
ผลตลอดจนที่มาของคํา เหล่ า นั้ น อย่ า งละเอียดลึ ก ซึ้ ง อันเป็ นการแสดงความสร้ างสรรค์ทางวิชาการ ซึ่งคนรุ่น หลังควรจะได้ ยึดถือเป็ นแบบอย่าง ส่วนราชบัณฑิตแห่ง ราชบัณฑิตยสถานจะเห็นเป็ นอย่างไร นั่นเป็ นอีกเรื่ อง หนึ่ งต่ า งหาก อย่ างน้ อ ยบทความทางวิ ช าการนี้ ก็ก่ อ ประโยชน์ให้ แก่การปรับปรุงศัพท์ไทยในคราวต่อไปไม่ มากก็น้ อย ภาษาไทยเราจะได้ วิ วั ฒ น์ ต่ อ ไปอย่ า ง กว้ างขวาง ประณีต รอบคอบ และสมบูรณ์ย่งิ ขึ้น
บทนํา ภายหลังที่ได้ พิมพ์ หนังสือว่ าด้ วย ความเป็ น
อนิจจังของสังคมแล้ ว หลายท่านสนใจในสาระของ เรื่ องที่ เ กี่ ยวกั บ สั ง คมปรั ชญาละที่ เ กี่ ยวกั บ การ บัญญัติศัพท์ท่วั ไป ได้ ขอให้ ข้าพเจ้ าชี้แจงเพิ่มเติมบาง ประการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปั ญ หาการบั ญญั ติศั พ ท์ ใหม่ น้ั น ข้ า พเจ้ าได้ เ ขี ย นเป็ นบทความ ชื่ อ เรื่ อ งว่ า
“การถ่ายทอดศัพท์ต่างประเทศมาเป็ นศัพท์ไทย สยาม” พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2510 ขณะที่ข้าพเจ้ า ยังอาศัยอยู่ในประเทศจีน ครั้ นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2513 ข้ าพเจ้ าได้ อาํ ลาจากประเทศจีนมาอาศัยอยู่ในประเทศ ฝรั่ งเศสแล้ ว ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ เชิ ญ จากสมาคมและจาก กลุ่ มนักเรี ยนไทยในยุ โรปและในสหรั ฐอเมริ กาหลาย
กลุ่ม ให้ ข้าพเจ้ าเขียนบทความเพื่อลงพิ มพ์ ในหนั งสือ ของสมาความและกลุ่มต่างๆ นั้นบ้ าง และได้ รับเชิญให้ ไปแสดงปาฐกถาบ้ าง ซึ่งนอกจากปั ญหาคําถามอื่นๆ ที่ ข้ าพเจ้ าตอบแล้ ว ยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการบัญญัติศัพท์ ใหม่ด้วย เนื่ อ งจากการเขี ย นบทความและการตอบ ปั ญหาดังกล่ าวต่ อผู้สนใจในต่ างวาระและต่ างสถานที่ กัน จึงมีบางตอนที่ซาํ้ กับที่เคยกล่าวไว้ แล้ วบ้ าง ต่ อ มาประธานกรรมการจั ดงานสังสรรค์ ช าว ธรรมศาสตร์ ในสหราชอาณาจั กรประจํา พ.ศ. 2518 ได้ ขอให้ ข้าพเจ้ าเขียนบทความเพื่อลงพิมพ์ในหนังสือที่ ระลึ ก ซึ่ งชาวธรรมศาสตร์ ได้ จั ด ทํา ขึ้ น ข้ า พเจ้ า จึ งได้ รวบรวมคํา ตอบที่ ข้ า พเจ้ าแสดงไว้ ในที่ ต่ า งๆ และ โดยเฉพาะคําตอบในการสนทนา ณ ที่ประชุม สามัคคี
สมาคม (สมาคมนั กเรี ยนไทยในอังกฤษ) เมื่อวั นที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ที่ชานนครเอดินเบอะเรอ
สกอตแลนด์ เกี่ยวกับบางศัพท์ของไทยสยามนั้นเขียน เป็ นบทความชื่ อ “ความเป็ นมาของศั พ ท์ ไ ทย”
“ปฏิวัต”ิ “รัฐประหาร” “วิวัฒน์” “อภิวัฒน์” ลง พิ ม พ์ ใ นหนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก ชาวธรรมศาสตร์ ใ นสหราช อาณาจั ก รประจํา ปี พ.ศ. 2518
ต่ อ มา “สถาบั น
สยาม เพื่อวิทยาศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ได้ ขออนุ ญาตพิ มพ์ เป็ นเล่ มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 ข้ าจ้ า จึงได้ ส่งไปถวายกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ 1 เล่ม ท่า นก็ไ ด้ ก รุ ณ าประทานลายพระหั ต ถ์ ม ายั ง ข้ า พเจ้ า ดังต่อไปนี้
การถ่ายทอดศัพท์ วิทยาศาสตร์สงั คม จากภาษาต่างประเทศ มาเป็ นศัพท์ไทยสยาม
บทที่ 1 หลักเบื้ องต้น แห่งการถ่ายทอดศัพท์ต่างประเทศ มาเป็ นศัพท์ไทยสยาม ข้อ 1 คําว่ า “ศัพท์” ตามความหมายเดิมในภาษา สันสกฤต แปลว่า เสียง, คํา, คําที่มีความหมายเฉพาะ ฯลฯ คนไทยได้ รับเอาคํานี้มาใช้ ตามความหมายเดิมใน ภาษาสันสกฤตและได้ ขยายความหมายที่ว่า “คําที่มี
ความหมายเฉพาะ” นั้นว่า “คํายากที่ต้องแปล”
ในบทความนี้เราใช้ คาํ ว่ า ศัพท์ เพื่ อหมายถึง คําที่มีความหมายเฉพาะและคํายากที่ต้องแปล ข้อ 2 คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนหลาย ส่วนของเอเชี ยใต้ แ ละเอเชี ยอาคเนย์ ซึ่ ง แยกย้ า ยกัน ออกเป็ นหลายสังคม ภาษาของคนเชื้ อชาติ ไทยแห่ ง สังคมต่ างๆ ย่ อมพั ฒนาแตกต่ างกันตามสภาพท้ องที่ กาลสมัยของแต่ละสังคม ในบทความนี้เรากล่ าวถึงศัพท์ในภาษาของคน เชื้อชาติไทย และคนที่มีสัญชาติไทยซึ่งอยู่ในดินแดนที่ ปั จจุ บันนี้ เรี ยกว่ าประเทศไทย ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่ า ประเทศสยาม ฉะนั้นเราจึงเรี ยกภาษาของคนไทยแห่ ง ดินแดนนี้ว่า ภาษาไทยสยาม (ความตอนใดที่ เ รากล่ า วถึ ง คนไทยหรื อ ภาษาไทยโดยมิได้ มีคาํ วิเศษณ์ประกอบไว้ ก็ให้ ถือว่าเรา หมายถึงคนไทยสยามหรือภาษาไทยสยาม)
ข้อ 3 ผู้ฟังคําพูด และผู้อ่านคําเขียนย่อมต้ องการคํา ที่เ ข้ า ใจง่ า ย ส่ ว นผู้ พู ด และผู้ เ ขี ย นที่ต้ อ งการให้ ผ้ ู ฟั ง คําพูดหรื ออ่านคําเขียนของตนเข้ าใจความหมายของ ตนได้ โ ดยสะดวกก็ย่ อ มต้ อ งการคํา ที่เ ข้ า ใจง่ า ย โดย หลี ก เลี่ ยงการใช้ “ศัพท์” อัน เป็ นคํา ยากที่ต้องแปล เท่ า ที่จ ะเป็ นไปได้ และมิ ใ ห้ เ สี ย ความที่ต นต้ อ งการ แสดงออกต่อผู้ฟังและผู้อ่าน แต่ ปั ญ หามี ว่ า คํา ง่ า ยที่ไ ม่ ต้ อ งแปล นั้ น มี ลักษณะอย่างไร และสังคมที่ได้ พัฒนาแล้ วในปั จจุ บันนี้ จะไม่ต้อ งใช้ ศั พ ท์ท่ีมีความหมายเฉพาะและคํายากที่ ต้ องแปลได้ หรือไม่ และบุคคลแห่งสังคมหนึ่งๆ จะใช้ แต่เพียงคําที่พัฒนาขึ้นในสังคมของตนโดยไม่ถ่ายทอด ศัพท์ท่คี ิดขึ้นในสังคมอื่น หรือศัพท์ต่างประเทศมาเป็ น ศัพท์แห่งสังคมของตนได้ หรือไม่
(1) ปั ญ หาที่ว่ า คํา ง่ า ยที่ไ ม่ ต้อ งแปลมี ลั ก ษณะ อย่างไรนั้น อาจตอบได้ อย่ างกว้ างๆ ว่ าเป็ นคํา ที่มวล ราษฎร์เข้ าใจกันอยู่โดยทั่วไป แต่เราควรพิจารณาหาหลักเพื่อวินิจฉัยว่าอะไร ที่ท าํ ให้ ม วลราษฎร์ เ ข้ า ใจความหมายขอคํา ใดๆ อยู่ ทั่ ว ไป เหตุ ท่ี จ ะอาศั ย เป็ นหลั ก ในเรื่ องนี้ มี อ ยู่ ส อง ประการ คือ ประการที่ 1 จะต้ องอาศัยหลักปรัชญาในส่วน ที่เกี่ยวกับปั ญหาที่ว่าบุ คคลสามารถเข้ าใจสภาวะ และ สิ่งทั้งหลายจากง่ายมาสู่ยากโดยผ่านมาจากวิถีทางใด ในเรื่ อ งนี้ เราต้ อ งนํา เอาหลั ก แห่ ง ทฤษฎี ท่ีว่ า ด้ วยการสัมผั สมาวิ นิจ ฉั ยว่ า ถ้ า คํา ใดแสดงออกถึงสิ่ง หรื อ เรื่ อ งที่ม นุ ษ ย์แ ห่ สั งคมหนึ่ งๆ สามารถสัม ผั ส ได้ อย่างง่ายๆ โดยอวัยวะสัมผัสภายนอก 5 ชนิด คือ หู ตา จมู ก ลิ้ น กาย ก็เ ป็ นคํา ที่ม นุ ษ ย์ แ ห่ ง สั ง คมนั้ น ๆ เข้ าใจกันได้ ง่าย โดยไม่ต้องแปล หรือขยายความ
ประการที่ 2 ความเคยชิ น ที่เ ป็ นมาช้ า นาน ประกอบด้ วยการแพร่ หลายไปถึงมวลราษฎร คือเมื่อ มนุ ษย์ชินต่อเสียงคําพูดใดว่าหมายถึงอะไร และต่อมา เมื่ อ ได้ มี อั ก ขรวิ ธี เ ขี ย นตามคํา พู ด ที่เ คยชิ น นั้ น แล้ ว ก็ สามารถเข้ าใจความหมายนั้นได้ อย่างง่าย ความเคยชิน นี้ต้องการเวลาช้ านานที่ผ่านมา และต้ องแพร่ หลายไป ถึงมวลราษฎร มิฉะนั้น ก็เป็ นแต่เพียงความเคยชินของ บุคคลจํานวนน้ อยที่เข้ าใจระหว่างกันเองเท่านั้น คํามากหลายซึ่ งในขณะแรกที่มีผ้ ู นํามาใช้ อาจ เป็ นคํา ยากที่ต้ อ งแปลแต่ เ มื่ อ ได้ ผ่ า นเวลามาช้ า นาน ความเคยชินก็ทาํ ให้ คาํ ยากที่ต้องแปลกลายเป็ นคําง่าย ที่มวลราษฎรเข้ าใจกันทั่วไป เช่ นคําว่ า “มนุ ษย์” ซึ่ ง เมื่อก่อน 1000 ปี มาแล้ วเป็ นศัพท์ต่างประเทศสําหรั บ คนเชื้อชาติไทยเดิม เพราะคํานี้ มาจากภาษาสันสกฤต และบาลี ฉะนั้นเมื่อมีผ้ ูเริ่มนําเอาคํานี้มาใช้ ใหม่ๆ คํานี้ ก็เป็ นคํายากที่ต้องแปล แต่เมื่อคนไทยสยามได้ ใช้ คาํ นี้ จนเคยชินมาหลายศตวรรษแล้ ว คํานี้กก็ ลายเป็ นคํางาน
ที่ไม่ ต้อ งแปล และมวลราษฎรใช้ กัน อย่ า งแพร่ หลาย ดังนั้นเมื่อผู้ใดได้ ฟังหรื ออ่านคําว่า “มนุ ษย์” ก็เข้ าใจ ว่าหมายถึง คน (2) สังคมที่ได้ พัฒนาแล้ วในปั จจุ บันนี้ย่อมมีคาํ 2 ประเภท คือมีคาํ ง่ายที่ไม่ต้องแปลประเภทหนึ่ง และ มีศัพท์ท่ีมีความหมายเฉพาะหรื อคํายากที่ต้องแปลอีก ประเภทหนึ่ง สั ง คมซึ่ ง มี แ ต่ คํา ง่ า ยที่ ไ ม่ ต้ อ งแปลนั้ น เป็ น สังคมมนุษย์ดึกดําบรรพ์หรือเหลือตกค้ างอยู่ตามสภาพ ดึกดําบรรพ์ ซึ่งมีแม่เป็ นหัวหน้ าตามระบบเริ่มแรกแห่ง ระบบปฐมสหการซึ่งต้ องการเพี ยงคําพูดเพี ยงไม่ ก่ีคาํ เลี ย นเสี ย งธรรมชาติ ท่ี สั ม ผั ส ได้ ด้ ว ยอวั ย วะสั ม ผั ส ภายนอกอย่างง่ายๆ เช่ นเลียนเสียงเคลื่อนไหวของนํ้า ของลม หรื อ ของสั ต ว์ หรื อ เสี ย งที่ ม นุ ษ ย์ ใ นสมั ย นั้ น สามารถเปล่ ง ออกมาได้ และคนในสั ง คมถื อ ว่ า มี ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่อมาเมื่อสังคมครอบครัวแห่งยุคปฐมกาลที่มี แม่เป็ นหัวหน้ าพัฒนาไปเป็ นสังคมที่มีผ้ ูชาย ซึ่งมนุ ษย์ ในสั ง คมถื อ พ่ อ เป็ นหั ว หน้ า แล้ วต่ อ มามนุ ษ ย์ ร้ ู จั ก ธรรมชาติดีข้ ึน และสามารถทําเครื่องมือที่จะเอาสิ่ง ซึ่ง มีอยู่ตามธรรมชาติมาเป็ นประโยชน์แก่มนุ ษย์ได้ มากขึ้น และดีข้ ึ น แม้ ม นุ ษย์ จ ะอยู่ ในระบบปฐมสหการ แต่ ก ็ จําต้ องมีถ้อยคําที่ใช้ เป็ นสื่อในการสัมพั นธ์ระหว่ างกัน มากยิ่งขึ้น ครั้งต่อมามนุษยสังคมได้ พัฒนาจากระบบปฐม สหการเข้ าสู่ระบบทาส ระบบศักดินา ระบบทุน (ธนานุ ภาพ) และหลายสังคมได้ เข้ าสู่ระบบสังคมนิยม (สังคม กิจธรรม) ก็เพราะมนุษย์ได้ ร้ ูจักธรรมชาติอย่างประณีต สลับซับซ้ อนยิ่งขึ้น สามารถทําแล้ วใช้ เครื่องมือการผลิต ที่ ป ระณี ต และสลั บ ซั บ ซ้ อนยิ่ ง ขึ้ น มี ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่ า งกั น ในทางเศรษฐกิ จ ทางการเมื อ ง ทาง วัฒนธรรม ประณีตและสลับซับซ้ อนและกว้ างขวายิ่งขึ้น บังเกิดความคิ ดและทรรศนะที่เกี่ยวกับศิ ลปะวิ ทยาที่
ประณีตทั้งที่เป็ นรูปธรรม และนามธรรมยิ่งกว่ายุคปฐม กาล ฉะนั้นสังคมที่พัฒนาแล้ วในปั จจุ บันจึงจําเป็ นต้ อง มี ศัพท์ หรื อ ถ้ อยคําที่มี ความหมายเฉพาะ และ เป็ นคํา ยากที่ ต้ อ งแปล เพราะไม่ อ าจอาศั ย แต่ เ พี ย ง ถ้ อยคําที่สัมผัสได้ โดยอวัยวะสัมผัสอย่างง่ายๆ เหมือน เมื่อครั้งระบบปฐมสหการ แต่ยุควิทยาศาสตร์ ปัจจุ บัน ซึ่ ง เป็ นยุ ค ปรมาณู น้ั น ต้ อ งมี ถ้ อ ยคํา ที่ มี ค วามหมาย เฉพาะเพื่ อ แสดงถึงสิ่งที่นักวิ ทยาศาสตร์ ได้ ค้น พบขึ้ น ใหม่ หรือลัทธิมาร์กซ์ เลนิ นซึ่งเป็ นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ทางสั ง คมก้ า วหน้ า ก็ มี ถ้ อยคํ า อั น เป็ น ศั พท์ ท่ี มี ความหมายเฉพาะอันเป็ นคํายากที่ต้องแปล ฉะนั้ น บุ ค คลแห่ ง สั ง คมใดๆ จะอาศั ย แต่ ถ้ อยคําที่มีอยู่แล้ วของสังคมนั้นๆ ก็เท่ากับจํากัดภาษา ของสัง คมนั้ น ให้ คงที่อ ยู่ โ ดยไม่ พั ฒ นาให้ เ ป็ นไปตาม การพั ฒนาของศิลปวิ ทยาต่ างๆ และวิทยาศาสตร์ทาง สังคมที่ก้าวหน้ า
พึงสังเกตว่าบรรพบุรุษของคนไทยสยามได้ ถือ คติท่ใี ห้ ภาษาพั ฒนายิ่งขึ้น ฉะนั้นคนไทยสยามจึ งได้ มี ถ้ อยคํ า สํา หรั บ ใช้ มากมายตามสภาพของสั ง คมที่ พั ฒ นาขึ้ น มิ ฉ ะนั้ น คนไทยสยามก็จ ะมี เ พี ย งคํา พู ด เพียงไม่ก่คี าํ ตามระบบปฐมสหการเท่านั้น (3) สั ง คมหนึ่ งๆ จะ ใช้ แต่ เพี ยงคํ า เท่ า ที่ พั ฒนาขึ้นในสังคมนั้ นได้ กแ็ ต่ เฉพาะสังคมครอบครั ว ซึ่งมีแม่เป็ นหัวหน้ าตามระบบเริ่ มแรกแห่ งระบบปฐม สหการ ซึ่งต้ องการคําพูดเพียงไม่ก่คี าํ แต่เมื่อสังคมครอบครัวแห่งยุคปฐมกาลนั้น ได้ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็ นครอบครัวใหญ่แล้ วกระจัดกระจาย แยกย้ ายกันออกห่ างไกลจากถิ่นเดิมยิ่งขึ้น และต่ อมา ระบบสังคมที่มีแม่เป็ นหัวหน้ าได้ พัฒนาไปเป็ นระบบที่ มีผ้ ูชายซึ่งมนุษย์ในสังคมถือเป็ นพ่อนั้นเป็ นหัวหน้ าแล้ ว แต่ละสังคมที่แยกย้ ายกระจัดกระจายไปนั้นก็ย่อมมี คํา
ใหม่ ที่ใช้ เพื่อการสัมพันธ์กนั มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สังคมที่แยกย้ ายกระจัดกระจาย ไปนั้นก็ยังมีสมั พันธ์ระหว่างสังคมต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณ ที่ไปมาหาสู่กันได้ สะดวก ผลจึงเป็ นได้ ว่าสังคมหนึ่งรับ เอาคําที่อกี สังคมหนึ่งคิดขึ้นเพิ่มเข้ าใจภาษาของตน ครั้ น เมื่ อ ระบบสัง คมได้ พั ฒ นาไปเป็ นระบบ ทาส, ระบบศักดินา, ระบบทุ น (ธนานุ ภาพ), ระบบ สังคมนิยม (สังคมกิจธรรม) และการสัมพั นธ์ระหว่ าง สังคมต่างๆ ที่กระจายไปทั่วโลกได้ เป็ นไปโดยสะดวก ยิ่งขึ้น เช่ น ในปั จ จุ บั น นี้ การแลกเปลี่ ยนและเผยแพร่ สสารวั ต ถุ , ศิ ล ปะ , วิ ท ยา , วั ฒ นธรรม ซึ่ ง รวมทั้ ง ความคิดและทรรศนะต่างๆ ฯลฯ ระหว่ างกันก็มีมาก ยิ่งขึ้น แต่ละสังคมจึงจําเป็ นต้ องมี คําใหม่ เพิ่มขึ้นเพื่อ แ สดงถึ งสิ่ งให ม่ ที่ รั บ ม า จา กสั ง คมอื่ น โดยกา ร แลกเปลี่ยนและการเผยแพร่ การมี คํา ใหม่ เพิ่ ม ขึ้ นนี้ อาจเป็ นโดยวิ ธี ท่ี สัง คมหนึ่ ง รั บ เอาคํา ที่ อี ก สั ง คมหนึ่ ง คิ ด ขึ้ นโดยออก
สํา เนียงเหมื อ น หรื อ ใกล้ เ คี ยงกับสํา เนี ยงเดิ มของคํา ต่างสังคมที่รับมา ซึ่งเรียกว่า วิธีทบั ศัพท์, หรืออาจใช้ วิธีท่สี ังคมหนึ่งอาศัยถ้ อยคําแห่งภาษาของตนประกอบ ขึ้นเป็ นศัพท์ หรือวลีใหม่เพื่อให้ ได้ ความหมายของคํา ต่างสังคมที่แสดงถึงสิ่งใหม่น้ัน, หรื ออาจใช้ วิ ธีแผลง ศัพท์ ถ้ าเราพิจารณาพจนานุ กรมของภาษาต่างๆ ใน ปัจจุ บันนี้ท่พี ัฒนาแล้ ว จะพบว่าภาษาหนึ่งๆ ได้ รับเอา คําของอีกภาษาหนึ่งเพิ่มเข้ ามาใจภาษาของตน, หรือ คิ ด คํ า ใหม่ ใ นภาษาของตนขึ้ นมาเพื่ อถ่ า ยทอด ความหมายแห่งคําของอีกภาษาหนึ่ง ภาษาจี น ในปั จ จุ บั น ซึ่ ง คนพู ด ประมาณ 900 ล้ านคนนั้นก็มีลักษณะตามที่ได้ กล่าวมาแล้ ว ดังปรากฏ จากสุนทรพจน์ ของประธานเหมาเจ๋ อตุงที่ได้ ก ล่ าว ณ เมืองเยนอาน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งมี ใจความตอนหนึ่งว่ า โดยที่คําในภาษาจี นมี ไม่ พอ จึ ง
ได้ รับเอาคําต่ างประเทศเข้ ามาเป็ นถ้ อยคําที่ใช้ พูดอยู่ เป็ นประจํ า หลายคํ า ท่ า นได้ ยกตั ว อย่ า ง คํ า ว่ า
“ก้ านปู้ ” ก็ม าจากคํา ต่ า งประเทศ ท่า นได้ ช้ ี แจงต่ อ พนักงานของท่านว่าจะต้ องรับเอาสิ่งใหม่ๆ หลายอย่าง จากต่างประเทศไม่เฉพาะแต่ความคิดที่ก้าวหน้ าเท่านั้น หากรวมทั้งศัพท์ใหม่ๆ อีกด้ วย แต่ กาํ ชั บว่ าจะต้ องไม่ รับเอาศัพท์ต่างประเทศมาทั้งดุ้น หรือเอามาใช้ อย่าไม่ พินิจพิจารณา หากต้ องรับเอาภาษาต่างประเทศที่ดีงาม และเหมาะแก่ ค วามต้ อ งการของจี น ท่ า นได้ ก ํา ชั บ พนั ก งานของท่ า นให้ เรี ย นภาษาของราษฎรจี น , ภาษาต่างประเทศ, และภาษาโบราณของจีน ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคนพูดมากในหลายส่วนของ โลกและเป็ นภาษาที่ ไ ด้ นํ า สิ่ ง ใหม่ จ ากยุ โ รปหลาย ประการมาแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ แก่ชาวเอเชียนั้น ก็ ปรากฏว่ าคําอังกฤษมากหลายมาจากคําของภาษาอื่น เช่นคํากรีก, ลาติน, ฝรั่งเศส ฯลฯ
ข้อ 4 ภาษาไทยสยามปั จจุ บันเป็ นผลแห่ งการพัฒนา ของภาษาแห่งคนเชื้อชาติไทยเดิม และคําต่างประเทศ ที่คนไทยสยามรั บ เอาไว้ ต้ังแต่หลายศตวรรษเป็ นต้ น มาแล้ วจนถึงปัจจุบัน คือคําบาลี, สันสกฤต คําของชาว เอเชีย, และคําต่างประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาบาลี และสันสกฤตนั้นเมื่อได้ ซึ มเข้ า ไปในภาษาไทยสยามเป็ นเวลาหลายศตวรรษ แล้ วก็ได้ พัฒนาเป็ น แม่ของภาษาไทยสยามปั จจุ บัน อีกส่วนหนึ่งด้ วย มีบางคนแสดงความเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงใช้ คาํ ไทยสยามที่มาจากภาษาบาลีสนั สกฤต เพราะผู้น้ันถือว่า ภาษาบาลีสนั สกฤตเป็ นภาษาแขก แต่อนั ที่จริงภาษาบาลีสนั สกฤตมิใช่เป็ นภาษาที่ แขกอินเดียปั จจุบันใช้ พูดกัน หากแต่เป็ นภาษาโบราณ ซึ่ ง เป็ นภาษาที่ ถ่ า ยทอดศิ ล ปะ วิ ท ยา พุ ท ธศาสนา
วั ฒ นธรรม ฯลฯ ของอิ น เดี ย โบราณมาสู่ สั ง คมไทย สยาม ซึ่ งแทรกอยู่ ในความเป็ นอยู่ ข องคนไทยสยาม เป็ นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ ว จึ ง หมดสภาพที่เป็ น ภาษาแขก หรื อภาษาต่ า งประเทศในสังคมไทยสยาม แล้ ว ถ้ า เราสั ง เกตคํา ที่ค นไทยสยามสมั ย นี้ ใช้ พู ด หรือขีดเขียนหรือพิมพ์ เป็ นสมุดเอกสารหนังสือพิมพ์ก ็ จะเห็นว่าคําจํานวนมากเป็ นคําบาลีสันสกฤตหรือแผลง มาจากคําเหล่ านั้น แม้ คาํ มากมายที่ดูกันเพี ยงผิวเผิน อาจเห็นว่าเป็ นคําไทยเดิมที่มี “ร” และ “ล” กลํา้ อาทิ “ครอง”, “พลิก” แต่อันที่จริ งไม่ใช่เป็ นคําของคนเชื้อ ชาติไทยเดิมอย่างบริสุทธิ์เพราะคําของคนเชื้อชาติไทย เดิมไม่มีกลํา้ เช่ นนั้ น คืออกเสียงเป็ น “คอง”, “พิ ก” ภายหลั งคนไทยสยามได้ แ ผลงคําของชนเชื้อชาติไทย เดิมหลายคําให้ มีกลํา้ ตามเยี่ยงสันสกฤต คําว่า “ภาษา” ที่เรากล่ าวถึงบ่ อยๆ ก็เป็ นคําสันสกฤต คําว่ า “ไทย” ซึ่งมี “ย” ต่อท้ ายคําว่า “ไท” ก็เขียนเพื่อให้ เข้ ารูปบาลี
ฉะนั้นจึงไม่สมควรที่จะถือว่ าคนไทยสยามปั จจุ บันพู ด หรื อขีดเขียนหรื อ ตีพิ มพ์ ด้วยถ้ อ ยคําที่เป็ นภาษาแขก มิฉะนั้ น ผู้แสดงความเห็นที่อ้างถึงข้ างต้ น ก็เป็ นผู้พูด หรือขีดเขียนหรือตีพิมพ์เป็ นภาษาแขกด้ วย ถ้ า สังเกตชื่ อ ของคนไทยสยามสมัยนี้ แล้ ว จะ เห็นว่าประกอบขึ้นด้ วยคําบาลีสันสกฤต หรื อแผลงมา จากคํานั้นส่วนใดส่วนหนึ่งเป็ นจํานวนมาก โดยเฉพาะ บุ ค คลซึ่ งมี ห น้ าที่ เ กี่ ย วข้ องกั บ มวลราษฎร เช่ น ข้ า ราชการต่ างๆ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร และสภา จังหวัดกับสภาเทศบาลจํานวนมากมีช่ ือตัวหรือชื่อสกุล หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อนั้นเป็ นคําบาลีสันสกฤตหรื แผลงมาจากคํานั้น จะหาผู้ท่ีมีช่ ือตัวหรื อสกุลที่เป็ นคํา ของชนเชื้อชาติไทยเดิมอย่ างล้ วนๆ ได้ ไม่ มากนั ก แต่ เราก็ไม่สมควรที่จะกล่าวว่าบุคคลเหล่านั้นมีช่ ือเป็ นแขก หรือกลายเป็ นแขกไปแล้ ว
ภาษาของชนชาติหนึ่งๆ ในปั จจุ บันนี้มีลักษณะ ผสมทํานองเดียวกับชาติหนึ่งๆ ในปัจจุ บัน ดังที่สตาลิน ซึ่ งเป็ นนั ก สากลนิ ยม ได้ ก ล่ า วถึงชาติไ ว้ ว่ า “ชาติ ใ น
ปั จ จุ บั น นี้ ต่ า ง กั บ ก ลุ่ ม เ ผ่ า พั น ธุ์ คื อ ช า ติ ประกอบด้ วยหลายเผ่าพันธุ์และหลายเชื้อชาติท่ี พัฒนามาเป็ นเวลาช้ านาน” ดังนั้น บุคคลอาจจะพบ เผ่ า พั น ธุ์บ ริ สุทธิ์โดยไม่ ผสมก็แ ต่ เ ฉพาะในสังคมที่ยัง เป็ นกลุ่มเผ่าพั นธุ์แอบแฝงอยู่ตามป่ าเขาโดยไม่ติดต่อ กับเผ่าพันธุอ์ ่นื ๆ ฉันใดก็ดี การที่จะใช้ แต่ถ้อยคําของคนเชื้อชาติ ไทยเดิม โดยไม่ถ่ายทอดคําต่างประเทศเพิ่มเติมเข้ ามา ด้ วยนั้นย่ อมเป็ นไปไม่ ได้ ในสมัยปั จจุ บันที่สังคมไทย สยามต้ องมีความสัมพั นธ์กับสังคมต่างๆ ทั่วโลกอย่าง กว้ างขวาง และต้ องรับเอาสิ่งใหม่, สภาพใหม่, ความรู้ ความคิ ด ใหม่ ท่ี ค นในสั ง คมอื่ น ได้ คิ ด ขึ้ น ซึ่ ง เป็ น ประโยชน์ ต่ อ สั ง คมไทยสยามด้ ว ย ในการนั้ น ก็ต้ อ ง
ถ่า ยทอดคํา ต่ างประเทศที่แสดงถึ งสิ่งและเรื่ อ งต่ า งๆ อัน เป็ นประโยชน์ แ ก่ สั ง คมไทยสยามเหล่ า นั้ น มาทํา ความเข้ าใจให้ แก่คนในสังคมไทยสยาม ข้อ 5 การถ่ า ยทอดศั พ ท์ต่ า งประเทศมาเป็ นศั พ ท์ ต่างประเทศมาเป็ นศัพท์ไทยสยามที่เคยทํากันมานั้นมี 3 วิธี คือ วิธีทับศั พท์ วิธีแผลงศัพท์ วิธีต้ังศัพท์ใหม่ และวลีใหม่
( 1) วิ ธี ทั บ ศั พ ท์ คื อ การออกสํา เนี ย งคํ า ต่ า งประเทศนั้ น ๆ และเขี ย นตามอัก ขรวิ ธีไ ทยสยาม เพื่อให้ อ่านออกเสียงตามคําต่างประเทศนั้น ในสมั ย โบราณเมื่ อ ครั้ ง คนไทยสยามยั ง ไม่ มี อั ก ขรวิ ธี ส ํา หรั บ ใช้ เขี ย นการออกสํา เนี ย งทั บ ศั พ ท์ ต่างประเทศ โดยเฉพาะคําบาลี สันสกฤตนั้ นเพี้ ยนไป ได้ ม าก แต่ ภ ายหลั ง ที่ สั ง คมไทยสยามได้ มี อั ก ขรวิ ธี สําหรั บใช้ พูดและขีดเขียนพั ฒนายิ่งขึ้น ความเพี้ ยนก็
ลดน้ อ ยลงตามลํา ดั บ ในปั จ จุ บั น นี้ อั ก ขรวิ ธี ข องไทย สยามมี ค วามสมบู ร ณ์ ย่ิ ง กว่ า ภาษาใดๆ คื อ สามารถ เขียนทับศัพท์ได้ ตรงหรื อใกล้ เคียงที่สุดกับสําเนี ยงคํา ต่างประเทศ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็ นต้ นมาจนถึงบั้น ปลายแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 คนไทยสยามได้ ใช้ วิธี ทับศัพท์คาํ ของภาษาในยุโรปที่ได้ แพร่ ศิลปะ, วิทยา, วั ฒ นธรรม, และความสั ม พั น ธ์ ใ หม่ กั บ สิ่ ง ใหม่ สู่ สังคมไทยสยาม แต่ ต่อ มาเห็น กัน ว่ า ถ้ า ใช้ วิ ธีทับศั พ ท์ เช่ น นั้ น มากยิ่ ง ขึ้ นแล้ ว ภาษาไทยสยามจะกลายเป็ น ภาษาไทยยุ โรปมากไป และเห็นว่ าภาษาไทยที่พัฒนา มาแล้ วหลานศตวรรษมีความสมบูรณ์ในทางหลักภาษา ซึ่งเป็ นพื้ นฐานพอที่จะปรุ งแต่ งเป็ นศั พท์ หรื อวลีไทย ขึ้ นใหม่ ส ามารถแสดงความหมายของคํา แห่ ง ภาษา ยุ โรปที่แ พร่ เ ข้ า มาใหม่ น้ั น ให้ คนไทยสยามได้ เ ข้ า ใจ ตามภาษาของตน ฉะนั้นองค์การของรั ฐบาลไทยสยาม จึงได้ นาํ บัญญัติศัพท์หรือวลีไทยขึ้นใหม่เพื่อใช้ แทนการ
ทับศัพท์ยุโรป เช่น “GOVERNMENT” บัญญัติเป็ น ศั พ ท์ ไ ทยว่ า “รั ฐ บาล” ครั้ น แล้ ววิ ธี ถ่ า ยทอดศั พ ท์ ต่างประเทศมาเป็ นศัพท์หรือวลีไทยขึ้นใหม่กไ็ ด้ กระทํา กันแพร่หลายยิ่งขึ้น แ ต่ วิ ธี ทั บ ศั พ ท์ ก ็ ยั ง ค ง ใ ช้ อ ยู่ ใ น ปั จ จุ บั น โดยเฉพาะในกรณีท่เี พิ่งรับเอาสิ่งใหม่หรือเรื่องใหม่จาก ยุโรป และยังไม่มีศัพท์หรื อวลีไทยที่คิดกันขึ้นใหม่ท่จี ะ ถ่ายทอดศั พท์ยุโรปนั้ นได้ อ ย่ าเหมาะสม หรื อแม้ จะมี ศัพท์หรือวลีไทยใหม่ข้ ึนแล้ วแต่ยังไม่ชินต่อการใช้ ศัพท์ หรือวลีน้ัน ในบางกรณีท่คี าํ ต่างประเทศเป็ นชื่อเฉพาะของ บางสิ่งหรื อ บางเรื่ อ ง และในบางกรณี ท่ีผ้ ู ถ่ ายทอดคํา ยุโรปพอใจใช้ วิธีทับศัพท์ของสิ่งหรือเรื่องใดก็ยังคงใช้ วิ ธีทับ ศั พ ท์น้ั น อยู่ เช่ น คํา อั ง กฤษ “COMMUNIST” นั้ นวงการรั ฐยั ง คงใช้ ทั บ ศั พ ท์ เ ป็ นภาษาไทยว่ า “คอมมิวนิ ส ต์” และพรรคการเมื อ งหนึ่ ง ก็ใช้ ช่ ื อ ของ
พร ร คโดยวิ ธี ทั บ ศั พท์ ต่ า งป ร ะ เทศ ว่ า “พร ร ค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” แต่ในหลายกรณีท่ไี ม่อาจประกอบศัพท์หรือวลี ไทยสยามให้ เหมาะสมเพื่อถ่ายทอดคําต่างประเทศ เช่น ศัพท์วิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ หลายศั พท์น้ันก็จาํ เป็ นต้ องใช้ วิธีทับ ศั พท์ถ้าศั พ ท์ต่า งประเทศใดมี ศัพท์หรื อวลีไทย สยามถูกต้ องเหมาะสมอยู่แล้ วก็ไม่ควรใช้ วิธที บั ศัพท์
(2) วิ ธีแผลงศัพท์ต่างประเทศ มีอยู่ สอง แบบคือ ก) แผลงเสียงของคําต่างประเทศ ให้ ออกเสียง ที่สะดวกแก่การออกเสียงของคนไทย การแผลงศัพท์ ชนิดนี้ ได้ กระทํามาในสมัยโบราณหลายศตวรรษก่อน โน้ น คื อ เมื่ อ ครั้ งคนไทยสยามเพิ่ ง รั บ เอาคํ า บาลี สันสกฤตใหม่ๆ เนื่องจากคํา บาลี สัน สกฤตบางคําคน ไทยออกสํา เนี ย งยากหรื อ ยาวเกิน ไป คนสยามจึ งได้ แผลงสํา เนี ยงเสียใหม่ เ พื่ อให้ อ อกสําเนี ยงง่ า ยๆ เช่ น
“วรฺณ” แผลงให้ ออกเสียงว่า “วัน” แล้ วต่อมาก็แผลง เขียนเป็ น “วรรณ” คําว่ า “ปุญญ” แผลงสําเนียงเป็ น “บุน” ต่อมาแผลงเขียนเป็ น “บุญ” เป็ นต้ น วิธีแผลงสําเนียงเช่นนี้ ได้ เลิกใช้ กันมาช้ านาน แล้ ว โดยเฉพาะในสมั ย ปั จ จุ บั น ที่ภ าษาไทยสยามได้ พัฒนามีหลักภาษาและอักขรวิธีสมบูรณ์ท่ีสามารถออก สําเนียงและเขียนทับศัพท์ต่างประเทศได้ อย่างถูกต้ อง หรื อ ใกล้ เ คี ย งที่สุ ด ถ้ า ผุ้ ใ ดในปั จ จุ บั น แผลงสํา เนี ย ง ต่างประเทศเช่นนั้นก็เท่ากับเป็ นผู้ใช้ อักขรวิ ธีผิด และ เป็ นการกระทําซึ่งเรียกว่า “อักขรวิบัติ” เมื่ อ ประมาณ 40 ปี เศษมาแล้ ว ได้ มี ค รู วิทยาศาสตร์ผ้ ูหนึ่งแห่ งโรงเรี ยนหนึ่ง ได้ พยายามที่จะ แผลงศั พท์ต่างประเทศให้ อ อกสําเนี ยงบาลี สันสกฤต เช่นแผลงคําอังกฤษ “TEMPERATURE” ว่า “เทมปะ ระทุระ” แต่การแผลงเช่ นนั้นถูกคัดค้ านว่ าผิดอักขรวิธี หรือเป็ นอักขรวิบัติ จึงต้ องเลิกใช้ คาํ แผลงเช่นนั้น
ข) แผลงโดยเอาคําต่างประเทศคําหนึ่งมาแยก ออกเป็ นหลายคําเพื่ อใช้ ในความหมายต่างกัน วิธีน้ ีได้ กระทํา กั น ในสมั ย โบราณก่ อ นโน้ น ขณะที่ภ าษาไทย สยามยั ง ไม่ มี ค วามสมบู ร ณ์ เ ท่ า ที่ เ ป็ นอยู่ ใ นปั จ จุ บั น ฉะนั้นเมื่อต้ องการหาคําต่างๆ เพื่ อแยกความหมายให้ ประณี ต ขึ้ นจึ ง ได้ อ าศั ย วิ ธี ดั ง กล่ า วนี้ เช่ น เอาคํา บาลี “วิธี” ซึ่งแปลว่าแบบอย่าง, ทาง, หลักเกณฑ์, แนวทาง ฯลฯ มาแผลงแยกออกเป็ น “วิ ธี ” เพื่ อ ให้ ห มายถึ ง ทํานองหรือหนทางที่จะทํา และ “พิธี” ซึ่งหมายถึงงาน ที่จะทําขึ้นตามลัทธิ หรือตามแบบ หรือตามธรรมเนียม เอาคํา “วิ เ ศษ” ซึ่ ง แปลว่ า ยอดเยี่ ย มมาแผลงแยก ออกเป็ นคํา ว่ า “พิ เศษ” อีกคํา หนึ่ ง ซึ่ งแปลว่ า แปลก จากสามั ญ หรื อ จํา เพาะ เอาคํา ว่ า “จั ก รวรรดิ ” ซึ่ ง หมายถึ ง อาณาเขตกว้ า งขวางมาแผลงแยกออกเป็ น “จักรพรรดิ” อีกคํา หนึ่งซึ่ งหมายถึงกษั ตริ ย์ผ้ ู ย่ิงใหญ่ ซึ่งครองอาณาเขตกว้ างขวาง ฉะนั้นคําว่า “จักรวรรดิ”
กับคําว่า “จักรพรรดิ” ในภาษาไทยสยามปั จจุ บันจึงมี ความหมายแตกต่างกัน
(3) วิธีต้ังศัพท์ใหม่ และวลีใหม่ คือวิธีท่ี อาศั ย คํ า และหลั ก ภาษากั บ อั ก ขรของไทยสยาม ประกอบเป็ นศั พ ท์ไทยหรื อ วลี ไ ทยสยามขึ้ นใหม่ เ พื่ อ ถ่ายทอดความหมายของคําต่างประเทศ วิ ธี น้ ี ผู้ คิ ด ศั พ ท์ ห รื อ วลี ไ ทยสยามขึ้ นใหม่ จํา เป็ นต้ อ งมี จิ ต สํา นึ ก ในความรั บ ผิ ด ชอบ เพราะถ้ า ศัพท์หรือวลีท่ีคิดขึ้นใหม่ น้ันผิดพลาดจากความหมาย ของคํา ต่ า งประเทศแล้ ว ก็จ ะทํา ให้ ผ้ ู ใ ช้ ห รื อ ผู้ ต ามใช้ ตลอดจนผู้ฟังผู้อ่านศัพท์หรือวลีน้ันๆ เข้ าใจไขว้ เขวไป ต่างๆ กันได้ และถ้ ายิ่งเป็ นคําที่มีความหมายเฉพาะใน สาขาวิชาใดหรือลัทธิเศรษฐกิจ, การเมือง, การสังคมใด แล้ วก็จะทําให้ เกิดความเสียหายได้
นั ก สั น ติ ภ าพชาวอิ น เดี ย ผู้ หนึ่ ง ได้ เคย เตือนคนไทยผู้หนึ่งถึงหลักแห่ งการแปลหนังสือ ต่ า งประเทศว่ า ต้ อ งระมั ด ระวั ง ที่จ ะต้ อ งให้ ก าร แปลนั้ น ถู ก ต้ อ งตรงตามความหมายของตํา รา ต่ า งประเทศ และโดยเฉพาะตํา ราเศรษฐกิ จ การเมื องการสังคมนั้ น ถ้ า แปลผิดไปแม้ แ ต่ คํา เดียว ก็สามารถก่อให้ เกิดความเข้ าใจผิดทฤษฎี ทั้งระบบได้ โดยคํ า นึ ง ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบที่ มี ต่ อ มวล ราษฎร ผู้ คิด ศั พ ท์ หรื อ วลี ไทยขึ้ นใหม่ เ พื่ อ ถ่ า ยทอด ศัพท์ต่างประเทศควรอาศัยหลักดังต่อไปนี้ ก ) จ ะ ต้ อ ง ศึ ก ษ า ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ศั พ ท์ ต่างประเทศที่ต้องการถ่ายทอดมาเป็ นศัพท์หรือวลีไทย นั้นๆ ว่ามีความหมายอย่างไรบ้ าง ไม่ควรดูแต่เพียงผิว เผินจากรูปศัพท์ภายนอกเท่านั้น เพราะคําต่างประเทศ
โดยเฉพาะคําแห่งภาษาในยุโรป เช่ นคําอังกฤษนั้นบาง คํามีความหมายหลายอย่างที่ใช้ ในกรณีต่างๆ กัน เช่ น คําว่า “IMPERIALISM” ซึ่งมีความหมายหลายอย่าง เช่นหมายถึง ระบบที่มีกษัตริย์ผ้ ูย่ิงใหญ่ครองอาณาเขต กว้ างขวาง, นโยบายหรื อการปฏิบัติหรื อระบบหรื อ รั ฐบาลหรื อ อํา นาจหรื อ ระบบที่สังคมหนึ่ ง หรื อ หลาย สัง คม, ระบบทุ น (ธนานุ ภ าพ) ผู ก ขาดมี อ าํ นาจ มหาศาล ซึ่ งพั ฒนาถึ ง ขี ดสูงสุ ด เมื่ อ พ้ น จากนั้ น แล้ ว ก็ สลาย ฯลฯ คําว่ า “REVOLUTION” ในภาษาอังกฤษ ก็มีความหมายหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนหลักมูลของ สภาวะต่างๆ, การหมุนไปข้ างหน้ า, การหมุนรอบแกน, การโค่นล้ มอํานาจรัฐบาลหรื ออํานาจรั ฐ, การโค่นล้ ม ระบบการปกครองหนึ่ งมาเป็ นอีก ระบบหนึ่ ง , การ เปลี่ ยนแปลงระบบสังคมก้ า วใดก้ า วหนึ่ งไปข้ า งหน้ า ตามแนวทางแห่งการกู้อสิ รภาพ ฯลฯ ตั ว อย่ า งที่ อ้ า งถึ ง ข้ า งบนนั้ น แสดงให้ เ ห็น ว่ า ภาษายุ โรปมีลักษณะแตกต่ างกับภาษาไทยสยาม คือ
ศัพท์ยุโรปบางคํามีความหมายหลายอย่างซึ่งเรา ไม่ อาจตั้งศัพท์ หรื อวลี ไทยสยามเพี ยงคําเดียว เพื่ อ ให้ มี ค วามหมายครบถ้ ว นตามคํา ยุ โ รปนั้ น ฉะนั้นสําหรับคํายุโรปบางคําจําต้ องมีหลายศัพท์ หลายวลีไทยสยามเพื่อถ่ายทอด ข) เมื่ อ ได้ ศึ ก ษารู้ ความหมายต่ า งๆ ของคํ า ต่างประเทศคําหนึ่งคําใดที่ต้องการถ่ายทอดมาเป็ นคํา ไทยสยามเพื่ อให้ คนไทยเข้ าใจแล้ ว ผู้คิดศั พท์หรื อวลี ไทยสยามก็ต้องพิ จารณาหาคําที่มวลราษฎรไทยสยาม เข้ าใจกันอยู่โดยทั่วไปมาประกอบขึ้นเป็ นวลี หรื อศัพท์ ที่ แ สดงความหมายได้ ตรง หรื อ ใกล้ เคี ย งที่ สุ ด กั บ ความหมายของศั พ ท์ต่า งประเทศตามกรณี ต่า งๆ ถ้ า หากหาคําที่มวลราษฎรไทยสยามใช้ กันอยู่ ท่ัวไปได้ ไม่ สมบู ร ณ์ หรื อ เหมาะสมก็จํ า เป็ นต้ อ งอาศั ย คํา บาลี สัน สกฤตที่ถือ ว่ า เป็ นแม่ ข องภาษาไทยสยามปั จ จุ บั น ส่วนหนึ่งนั้นมาประกอบเป็ นศัพท์ข้ ึนใหม่ แต่ข้อสําคัญ
นั้ น ศั พ ท์ท่ีป ระกอบขึ้ นใหม่ จ ะต้ อ งมี ค วามหมายตรง หรือใกล้ เคียงที่สุดกับความหมายของคําต่างประเทศที่ ต้ อ งการถ่ า ยทอด เช่ น คํา อังกฤษ “IMPERIALISM” นั้นถ้ าผู้ต้ังศัพท์ไทยสยามต้ องการให้ หมายถึงระบบที่มี กษัตริย์ท่ยี ่งิ ใหญ่ซ่ึงครองอาณาเขตกว้ างขวางแล้ วก็ควร จะตั้ ง เป็ นศั พ ท์ว่ า “จั ก รพรรดิ นิ ย ม” เพราะมวล ราษฎรไทยเข้ าใจคําว่า “จักรพรรดิ” หมายถึงกษัตริย์ ที่ย่ิงใหญ่ซ่ึงครองอาณาเขตกว้ างขวาง เช่ นจักรดิพรรดิ ญี่ปุ่น แต่ถ้าจะให้ หมายถึงการที่สงั คมหนึ่งแผ่อาณาเขต ครอบครองเหนืออีกสังคมหนึ่ง หรือหลายสังคมแล้ วก็ อาจตั้ ง เป็ นศั พ ท์ว่ า “จั ก รวรรดิ นิ ย ม” เพราะมวล ราษฎรไทยเข้ าใจคําว่ า “จักรวรรดิ” หมายถึงอาณา เขตอันกว้ างใหญ่ แต่ ถ้าจะหมายถึงระบบทุ นที่พัฒนา ถึงขีดสูงสุดมีอ าํ นาจมาศาลแล้ ว ก็อ าจตั้ งเป็ นศั พ ท์ว่ า
“บรมธนานุ ภ าพ” เพราะมวลราษฎรไทยสยาม ส่วนมากที่เป็ นพุทธศาสนิกชนย่อมได้ ยินคําว่า “บรม”
อยู่บ่ อยๆ ซึ่งหมายถึงยิ่งใหญ่ ได้ ยินคําว่ า “ธน” ซึ่ ง หมายถึ ง ทรั พ ย์ สิ น ได้ ยิ น คํ า ว่ า “อานุ ภ าพ” ซึ่ ง หมายถึงอํานาจที่มีฤทธิ์เดช เช่ นการให้ พรกันระหว่าง คนไทยสยามส่วนมากก็ได้ อ้างอานุภาพของสิ่งศักดิ์สทิ ธิ์ มวลราษฎรไทยสยามยั ง พอเข้ าใจได้ ว่ า
“บรมธนานุภาพ” นั้นหมายถึงทุนหรือกองทรัพย์สิน ที่ย่ิงใหญ่หรื อจะตั้งเป็ นวลีว่า “ทุ นมหาอํานาจ” ก็อาจ ทําให้ มวลราษฎรเข้ าใจได้ เพราะเคยได้ ยินคํา ที่เรี ยก ประเทศใหญ่มีอาํ นาจมากกว่ า “ประเทศมหาอํานาจ” มาช้ านานแล้ ว แต่การที่จะตั้งศั พท์ “จั กรพรรดินิยม” ซึ่ ง มวลราษฎรไทยสยามเข้ าใจอย่ า งหนึ่ ง เพื่ อให้ หมายความรวมถึงระบบแผ่อาณาเขตอันกว้ างใหญ่แล้ ว ให้ หมายถึ งระบบทุ นที่พั ฒนามีอาํ นาจมหาศาลถึงขีด สุด ด้ ว ยนั้ น ย่ อ มไม่ อ าจทํา ให้ ม วลราษฎรไทยทั่ ว ไป เข้ าใจได้ หรืออาจทําให้ เข้ าใจไขว้ เขว
พึงสังเกตว่า ภาษาจีนปัจจุบันได้ ถ่ายทอดศัพท์ อังกฤษที่กล่าวถึงนี้ว่า “ตี้ก๊ัวะจู่อ้ ี” ซึ่งประกอบด้ วยคํา “ตี้ ก๊ัวะ” ซึ่ งตรงกับ คํา ว่ า “จั ก รวรรดิ” ในภาษาไทย ฉะนั้น ศัพท์ไทยสยามใหม่ “จักรวรรดินิยม” จึงตรงกับ คําว่า “ตี้ก๊ัวะจู่ อ้ ี” ส่วนคําว่ า “จักรพรรดิ” นั้นตรงกับ ภาษาจีนว่า “หวังตี้” ไม่ใช่ “ตี้ก๊วั ะ” คํา ภาษาอัง กฤษ “REVOLUTION” ซึ่ ง มี ความหมายหลายอย่ า งนั้ น ก็ต้ อ งมี ศั พ ท์ หรื อ วลี ไ ทย สยามหลายคําเพื่อถ่ายทอดความหมายแต่ละอย่าง เช่น การหมุนรอบ, การพลิกแผ่นดิน, การเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดิน, การเปลี่ยนระบบสังคม, การปฏิวัติ, การอภิ วั ฒ น์ ฯลฯ ถ้ าต้ องการให้ หมายถึ ง กา ร เปลี่ ยนแปลงสังคมถอยหลั งจากระบบก้ า วหน้ า เข้ า สู่ ระบบเก่าที่ถอยหลังก็สมควรเรี ยกว่ า “ปฏิวัติ” เพราะ คํา ว่ า “ปฏิ วั ติ ” ในภาษาบาลี ซ่ึ ง พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถานรั บ เอามานั้ น ให้ ค วามหมายไว้ ว่ า “การหมุ น กลั บ ” แม้ จ ะเติ ม ความหมายว่ า “การผั น
แปรเปลี่ ย นหลั ก มู ล ” แต่ เ มื่ อ พิ จ ารณามู ล ศั พ ท์บ าลี ประกอบด้ วยแล้ วก็ได้ ความว่ าเป็ นการผันแปรเปลี่ยน หลั ก มู ล ที่ถ อยหลั ง ฉะนั้ น จะใช้ คํา ว่ า “ปฏิวั ติ ” เพื่ อ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ าตามแนวทางแห่ ง การกู้อสิ รภาพนั้นไม่ถูก ถ้ าจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ที่ก้าวหน้ าข้ าพเจ้ าขอเสนอศั พท์ว่า “อภิ วัฒน์” ส่วน การเปลี่ ยนแปลงความสัม พั น ธ์ก ารผลิ ต นั้ น ก็ไ ม่ อ าจ นําเอาคํา “ปฏิวัติ” ซึ่งมีความหมายคนละอย่างมาใช้ ได้ ข้อ 6 การอภิ วั ฒ น์ พ.ศ. 2475 ได้ เ ปลี่ ย นแปลง ระบบสังคมไทยสยามจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็ นระบบที่มี ก ษั ต ริ ย์ อ ยู่ ภ ายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ การ ปกครองแผ่ น ดิน ระบบใหม่ เ ช่ น นี้ ไม่ เ คยมี มาก่ อ นใน ประเทศไทย หากแต่ เ ป็ นระบบที่มี เ ยี่ ย งอย่ า งอยู่ ใ น ยุโรป แม้ สงั คมเอเชียอื่นๆ จะได้ มีระบบทํานองนั้นบ้ าง แต่กถ็ ่ายทอดเอาเยี่ยงอย่างมาจากยุโรปทํานองเดียวกัน คณะราษฎรจําต้ องร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินซึ่ง
ต่อมาเรี ยกว่ารัฐธรรมนู ญ อันเป็ นกฎหมายสูงสุดและ เป็ นแม่ บ ทแห่ ง กฎหมายทั้งหลาย ซึ่ ง เป็ นข้ อ กํา หนด ความสัมพั น ธ์ระหว่ า งเอกชนกับเอกชน และระหว่ า ง เอกชนกับรัฐตามความสัมพั นธ์แห่ งระบบใหม่ ในการ นั้นก็ได้ คิดคําไทยสยามขึ้นใหม่ หลายคําเพื่ อถ่ ายทอด ศัพท์ต่างประเทศ การจัดทําประมวลกฎหมายครบถ้ วน อัน เป็ นพื้ นฐานแห่ งการเจรจาเรี ย กร้ อ งให้ จั ก รวรรดิ นิยมต่ างๆ เลิ กอํานาจพิ เศษในทางศาลนั้ นก็ได้ ทาํ ให้ เกิดความจํา เป็ นที่ผ้ ู ร่ า งประมวลกฎหมายคิด คํา ไทย สยามขึ้ นใหม่ เ พื่ อ ถ่ า ยทอดคํา กฎหมายต่ า งประเทศ หลายคํา อนึ่ ง ระบบสั ง คมใหม่ ข องสั ง คมไทยสยาม ดังกล่าวข้ างต้ นได้ ให้ สิทธิประชาธิปไตยแก่ราษฎรอย่าง เต็มที่ การรักษาและเผยแพร่ ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, ทรรศนะทางสังคม ทําได้ อย่ างเปิ ดเผย จึ งได้ มีบุคคล และคณะบุคคลคิดคําไทยขึ้นใหม่หลายคําเพื่อถ่ายทอด คําต่างประเทศที่แสดงถึงสิ่งเหล่านั้น
แม้ ต่ อ มาสิ ท ธิ ป ระชาธิ ป ไตยดั ง กล่ า วได้ ถู ก จํ า กั ด บ า ง ค รั้ ง ค ร า ว แ ต่ บุ ค ค ล ส่ ว น ที่ รั ก ช า ติ ประชาธิป ไตยก็ได้ สิ ทธิป ระชาธิป ไตยดั ง กล่ า วนั้ น ขึ้ น เท่าที่โอกาสจะอํานวยให้ ทาํ ได้ ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2489 สมาชิ กรั ฐสภาฝ่ ายประชาธิปไตยได้ ร่วมกันฟื้ นฟู สิทธิ ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แก่ราษฎร ซึ่ งสามารถนั บ ถือศึกษาเผยแพร่ ลัทธิเศรษฐกิจ, การเมือง, ทรรศนะ ทางสังคมทุ ก ๆ อย่ าง ได้ โดยเปิ ดเผย รวมทั้งสิทธิใน การจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิ ดเผยด้ วย ฉะนั้น จึงได้ มีผ้ ูนําลั ทธิมาร์ กซ์ -เลนิ นไปเผยแพร่ ในประเทศ ไทยอย่างเปิ ดเผย โดยถ่ายทอดตํารานั้นจากภาษายุโรป โดยตรง หรือจากภาษาจีนที่ถ่ายทอดจากภาษายุโรปมา ชั้ น หนึ่ ง แล้ ว ในการนั้ น ผู้ โ ฆษณาเผยแพร่ ก ็มี ค วาม จํา เป็ นที่ ต้ อ คิ ด คํา ไทยสยามเพิ่ ม ขึ้ นโดยวิ ธี ถ่ า ยทอด ความหมายหรือโดยวิธที บั ศัพท์ นับตั้งแต่ภายหลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จนถึงปั จจุ บันพวกปฏิกิริยาได้ จาํ กัดสิทธิ
ประชาธิปไตยของราษฎรดังกล่ าวแล้ ว แม้ กระนั้ นการ เผยแพร่ ลัทธิมาร์ กซ์-เลนินและทรรศนะที่ก้าวหน้ า ซึ่ง เคยทํา ได้ โดยเปิ ดเผยไว้ ก่อ นนั้ น ก็ได้ ทาํ การเผยแพร่ ต่อไปในทางลั บ และกึ่งลั บ ความจําเป็ นที่ต้องคิ ดคํา ไทยสยามขึ้นใหม่ และใช้ คาํ ไทยสยามที่คิดขึ้นใหม่เพื่ อ ถ่ายทอดลัทธิท่กี ้ าวหน้ า ซึ่งตําราเดิมเป็ นภาษายุโรปนั้น จึ ง มี ค วามจํ า เป็ นสํ า หรั บ สั ง คมไทยสยามทํา นอง เดียวกับสังคมอื่นๆ ในเอเชียที่รับเอาสิ่งใหม่จากยุโรป ก็ต้องคิดคําของสังคมนั้นขึ้นใหม่ เพื่อถ่ายทอดคํายุโรป เช่ น สั ง คมจี น ต้ อ งมี คํา จี น ขึ้ นใหม่ เ พื่ อ การนั้ น ตามที่ ประธานเหมาเจ๋อตุงได้ กล่ าวไว้ อนึ่ง ต้ นตําราของลัทธิ มาร์ ก ซ์ -เลนิ น นั้ น ได้ เขี ย นขึ้ นเป็ นภาษายุ โ รป ผู้ ที่ ต้ องการถ่ายทอดลัทธิมาร์ กซ์ -เลนิ นมาเป็ นภาษาหนึ่ ง ภาษาใดแห่งเอเชียก็ต้องถ่ายทอดศัพท์ยุโรปแห่งตํารา นั้น ปั จ จุ บั น นี้ มี หลายบุ คคลกับ คณะบุ คคลได้ คิด ศั พ ท์หรื อ วลี ไทยสยามขึ้ นใหม่ มากมายเพื่ อ ถ่ า ยทอด
ศัพท์ต่างประเทศ ความปรากฏว่าศัพท์ต่างประเทศบาง ศัพท์ได้ มีศัพท์ หรือวลีไทยหลายคําเพื่อถ่ายทอด เช่ น คําอังกฤษ “REVOLUTION” มีคาํ และวลีไทยเพื่ อ ถ่ า ยทอดว่ า “พลิ ก แผ่ น ดิ น ”, “เปลี่ ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดิน”, “ผันผวน”, “ปฏิวัติ”, ”อภิวัฒน์” ฯลฯ และคําอังกฤษ “IMPERIALISM” มีคาํ ไทยเพื่ อ ถ่ า ยทอดว่ า “จั ก รวรรดิ นิ ย ม”, “จั ก รพรรดิ นิ ย ม”, “บรมธนานุภาพ” ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า เมื่อมีศัพท์ใหม่หลายคําที่มี ผู้คิดขึ้นเพื่อแปลคําต่างประเทศคําเดียวกันแล้ ว บุคคล จะควรอาศั ยหลั ก เกณฑ์ใดในการเลื อ กใช้ คํา ที่คิด ขึ้น ใหม่ (1) สําหรั บราษฎรส่วนมากในสังคมสยาม ซึ่งรู้ แต่ภ าษาไทยสยามจึ งไม่ อาจสอบสวนค้ นคว้ าว่ า ศัพ ท์ หรือวลีไทยสยามที่มีผ้ ูคิดขึ้นใหม่ มีความหมายตรงกับ ความหมายของศัพท์ต่างประเทศคําใดหรือไม่น้ันก็ต้อง
ไม่ร้ ูสึกน้ อยเนื้อตํ่าใจว่ าไม่ ร้ ูภาษาต่างประเทศซึ่งไม่ใช่ ภาษาของตน ข้ า พเจ้ า ขอเสนอว่ า ราษฎรส่ ว นมาก เลื อ กใช้ ศั พ ท์ห รื อ วลี ท่ีคิ ด ขึ้ นให้ ไ ด้ โ ดยพิ จ ารณาตาม ความหมายของภาษาไทยสยามของศัพท์หรือวลีน้ัน ซึ่ง ราษฎรไทยสยามได้ ทราบเป็ นเวลาช้ านานหลาย ศ ตวร ร ษมา แ ล้ ว อา ทิ เมื่ อได้ ยิ น ไ ด้ อ่ า นคํ า ว่ า
“จั ก รพรรดิ นิ ย ม” ราษฎรส่ ว นมากก็ท ราบได้ ว่ า หมายถึงการนิ ยมพระมหากษั ต ริ ย์ท่ีย่ิงใหญ่ ก ว่ า ราชา มากหลาย ถ้ า ส ง สั ย ก็ ก็ ดู พ จ น า นุ ก ร ม ฉ บั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถานที่ ไ ด้ ให้ ความหมายของคํ า ว่ า
“จักรพรรดิ” ไว้ ดังต่อไปนี้ “จักรพรรดิ น. พระราชาธิราชโบราณเขียน ว่าจักรพัตราธิราชก็มี” ฯลฯ (2) สําหรับผู้ท่รี ้ ูคาํ ต่างประเทศอยู่บ้าง และรู้ว่า ศัพท์หรือวลีไทยสยามที่คิดกันขึ้นใหม่น้ันผู้คิดประสงค์
ถ่ า ยทอดศั พ ท์ต่า งประเทศคํา ใด ก็ควรใช้ พ้ ื นความรู้ ของตนสอบสวนให้ ถ่องแท้ ว่าศัพท์ หรือวลีใหม่น้ันว่ามี ความหมายตรงกับ ความหมายของคํา ต่ า งประเทศที่ ถ่ า ยทอดมาหรื อ ไม่ ถ้ า เห็น ว่ า ศั พ ท์ห รื อ วลี ใ หม่ ยังไม่ เหมาะสมก็ต้องใช้ ศัพท์หรือวลีท่ถี ูกต้ องเหมาะสม หรือ อาจคิ ด ศั พ ท์หรื อ วลี ท่ีถู ก ต้ อ งเหมาะสม หรื อ อาจคิ ด ศัพท์หรือวลีข้ ึนใหม่ หรือใช้ ประโยคหรือถ้ อยคําที่มวล ราษฎรสามารถเข้ า ใจได้ และตรงกับ ความหมายคํา ต่างประเทศที่ถ่ายทอดมา ความผิ ด พลาดในการเลื อ กใช้ ศั พ ท์ หรื อ วลี ใหม่ อ าจเนื่ อ งมาจากการไม่ พิ จ ารณาถึ ง ความหมาย หลายอย่างของคําต่างประเทศหนึ่งๆ และไม่พิจารณา ถึ ง ความหมายของมู ล ศั พ ท์ ห รื อ วลี ใ หม่ น้ั น ความ เสีย หายจะเกิด ได้ ม าก ถ้ า หากใช้ ศั พ ท์ หรื อ วลี ท่ีผิ ด ความหมายของศั พ ท์ ต่ า งประเทศทางวิ ท ยาศาสตร์ สังคมก็ทาํ ให้ เกิดความเข้ าใจผิดในทฤษฎีสังคมนั้นทั้ง ระบบได้ (ดูตัวอย่างในบทที่ 2)
(3) บทความเห็นแนะว่าผู้ใดเคยใช้ คาํ ใดในการ ถ่ายทอดคําต่างประเทศมาแล้ วก็ให้ ใช้ คาํ นั้นต่อไป ความเคยใช้ น้ ีจะต้ องแยกพิจารณาว่าเป็ นความ เคยชินที่มวลราษฎรใช้ กันอยู่แพร่ หลายในเวลาช้ านาน มาแล้ ว หรือความเคยชินเฉพาะบางคน บางคณะ บาง กลุ่ม ถ้ าคําใดเป็ นคําที่มวลราษฎรเคยใช้ กันอยู่อย่าง แพร่ หลายเป็ นเวลาช้ านานแล้ ว คํานั้นก็เป็ นภาษาของ ปวงชนที่จาํ ต้ องเคารพ แต่ ถ้าคําใดเคยใช้ เฉพาะบางคนบางคณะบาง กลุ่มแล้ วก็ยังไม่เข้ าลักษณะที่เป็ นภาษาของมวลราษฎร โดยเฉพาะศั พ ท์ หรื อ วลี ท่ีมี ผ้ ู คิ ด กัน ขึ้ นใหม่ หลั งสงครามโลกครั้ งที่ 2 หรื อ แม้ แ ต่ ภายหลังการ อภิวัฒน์ พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็ นเวลาเพียงไม่ก่ีปีมานี้น้ัน ยังเป็ นคําใหม่สาํ หรับมวลราษฎรไทยสยาม ฉะนั้นจึงมี หลายคํา ที่ ม วลราษฎรยั ง ไม่ เ คยชิ น และยั ง ไม่ ใ ช้ กั น
แพร่ ห ลาย (นอกจากคํา ที่ต้ อ งใช้ เ พราะมี ก ฎหมาย บั ง คั บ ไว้ ) ฉะนั้ น คํา ที่คิ ด กั น ขึ้ นใหม่ เ หล่ า นี้ ยั ง อยู่ ใ น ระหว่างที่ต้องพิจารณาปรับปรุงให้ ถูกต้ องเหมาะสมแก่ ราษฎรยิ่งขึ้น การอ้ างความเคยชิ น ของคนบางคนบางคณะ บางกลุ่ ม นั้ น ขัดแย้ งต่ อ ทฤษฎี สัง คมที่ก้ า วหน้ า ซึ่ งให้ พิ จารณาทุกสิ่งด้ วยการพิ เ คราะห์ วิ จารณ์ (Criticism) รวมทั้งพิเคราะห์วิจารณ์ตนเอง (Self Criticism) เพื่อ แก้ ไขความผิดพลาดบกพร่ อง เพื่อกระทําสิ่งที่ถูกต้ อง เหมาะสมในทางความคิดและในทางปฏิบัติ ส่วนบางท่านที่มาจากสังคมเก่าซึ่ งน่ าจะเป็ นผู้ ถือทิฐิมานะ แต่ท่านก็ถือคติของปราชญ์ท่ถี ือเอาความ ถูกต้ องเป็ นสําคัญ ดังนั้นเมื่อมีศัพท์ท่ีบางท่านบัญญั ติ ขึ้ นใหม่ ผิ ด พลาด หรื อ ไม่ เ หมาะสม ท่ า นก็แ ก้ ไ ขให้ ถูกต้ องเหมาะสม อาทิ
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 ซึ่งชาวไทยสดุดีว่า พระองค์เป็ น “พระมหาธีร ราชเจ้ า” ได้ เคยทรงใช้ ว ลี ไทยสยามว่ า “สหกรณ์รั ฐอเมริ ก า” เพื่ อ ถ่ า ยทอดคํา อังกฤษ “United State of America” แต่เมื่อมีผ้ ูเสนอ ให้ ใช้ คาํ ว่า “สหปาลีอเมริกา” แล้ วต่อมาก็ได้ มรผู้ใช้ คาํ ใหม่ว่า “สหรัฐอเมริกา” พระมหากษัตริย์พระองค์น้ันก็ ยอมแก้ ไขแล้ วใช้ ต่อมาจนเป็ นที่แพร่ หลายอยู่ทุกวันนี้ โดยมิ ไ ด้ ท รงถื อ ว่ า คํา ไหนใช้ ม าก่ อ นก็ต้ อ งยึ ด คํา นั้ น ตายตัวไม่ยอมรับการแก้ ไขให้ ถูกต้ อง ในสมั ยก่ อ นมี ประมวลกฎหมายแพ่ งพาณิชย์ อ า จ า ร ย์ ก ฎ ห ม า ย ไ ท ย เ ค ย ใ ช้ คํ า ไ ท ย ส ย า ม ว่ า “ประทุ ษร้ ายส่วนแพ่ ง” เพื่ อถ่ ายทอดคําว่ า “TORT” ของคํา อั ง กฤษ ต่ อ มาก็ไ ด้ ย อมเปลี่ ย นใช้ คํา ว่ า “ผิ ด สิทธิ” แล้ วต่อมาก็ได้ เปลี่ยนเป็ น “ละเมิด” ซึ่งใช้ มาจน ทุกวันนี้
ส่วนราชบั ณฑิตยสถานของไทยสยามปั จจุ บัน ก็ไ ด้ แ สดงความมี ใ จกว้ า งที่รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็น ที่จ ะ พัฒนาภาษาไทย โดยอ้ างว่า “ภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่
ว่ าภาษาอะไรย่อมไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีความ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” พระเจ้ า วรวงศ์ เ ธอกรมหมื่ น นราธิ ป ฯ องค์ ประธานราชบั ณ ฑิต ยสถานก็ได้ ทรงบํา เพ็ญ พระองค์ เป็ นตัวอย่างในการยอมรั บให้ บรรจุ ความหมายของคํา ว่า “ปฏิวัติ” ไว้ ในพจนานุ กรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตามมูลศัพท์ว่า “การหมุนกลับ” นั้นด้ วย ดังที่ข้าพเจ้ า ได้ กล่าวไว้ แล้ วในภาคผนวกแห่งบทความเรื่อง “ความ เป็ นอนิจจังของสังคม” ฉะนั้ น จึ ง หวั ง แก่ ผ้ ู ก้ าวหน้ าแท้ จริ ง จะได้ คํา นึ ง ถึ ง คติ แ ห่ ง ปราชญ์ ท้ั ง หลายไว้ ประกอบการ พิ จ ารณาภาษาซึ่ ง เป็ นสิ่ง ที่รั บ ใช้ ทุ ก ชนชั้ น แห่ งสัง คม ดังที่จะได้ ช้ ีแจงต่อไปใน (4)
(4) คอมมิ ว นิ ส ต์ บ างสาขา แนะสานุ ศิ ษ ย์ ใ ห้ ถือเอา “ชนชั้น” ประดุยาหม้ อใหญ่ท่แี ก้ ไขทุกชนิดนั้น มาเป็ นหลั ก วิ นิ จ ฉั ยการใช้ ศั พ ท์ท่ีบั ญ ญั ติ ข้ ึ น ใหม่ ด้ว ย คือให้ ถือว่าศัพท์ใดที่ชนชั้นคิดขึ้นก็เป็ นศัพท์เฉพาะชน ชั้นนั้น ความเห็นของคอมมิวนิสต์บางสาขาขัดแย้ งกับ ลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ดังที่สตาลินได้ เคยอธิบายไว้ ว่า “ภาษามิ ไ ด้เ ป็ นผลผลิ ต ของรากฐานอันใด อันหนึ่งว่ าจะเป็ นรากฐานใหม่หรือเก่ า และไม่ว่าจะ เป็ นรากฐานของสัง คมใด แต่ ท ว่ า ภาษานั้น เป็ น ผลผลิตของกาลเวลาทั้งหมดของประวัติศาสตร์ของ สังคมและประวัติศาสตร์ของรากฐานทั้งหลายซึ่งได้ ดําเนินมาเป็ นเวลาหลายศตวรรษ ภาษมิได้ถูกสร้าง ขึ้ นโดยชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ ถูกสร้า ง ขึ้ นโดยส่ ว นรวมในสัง คมโดยทุ ก ชนชั้น วรรณะใน สังคมและโดยความพยายามของมนุ ษยชน หลาย
ร้อยชัว่ อายุคน ภาษามิได้สร้างขึ้ นมาเพือ่ สนองความ ต้องการของชนชั้นวรรณะใดโดยเฉพาะ แต่ทว่าเพือ่ สนองความต้องการของสังคมเป็ นส่วนรวมของทุ ก ชนชั้นวรรณะในสังคม กล่าวอย่างกระชับก็คือ ภาษา ได้รบั การสร้างขึ้ นมาในฐานะเป็ นภาษาอันหนึ่งอัน เดียวสําหรับสังคม เป็ นภาษาร่วมกันของมวลสมาชิก ในสังคม เป็ นภาษาร่วมกันของมวลราษฎร ด้วยเหตุ นี้ บทบาทอันเป็ นหน้าที่ของภาษาในฐานะเป็ นปั จจัย หรือสื่อแห่ งการติดต่อเกีย่ วพันกันระหว่างประชาชน จึ งมิใช่เป็ นไปเพือ่ ใช้ประโยชน์ชนชั้นหนึง่ และทําลาย ประโยชน์อีกชนชั้นหนึง่ แต่เป็ นไปเพือ่ รับใช้ส่วนรวม ของสังคม และทุ กชนชั้นในสังคมโดยเท่ าเทียมกัน หมด”
ความจริงที่ปรากฏเช่ นนี้ ย่ อมอธิบายให้ เห็นโดยไม่ยากเย็นเลยว่ า ภาษานั้นอาจรับใช้ ท้งั ระบบเก่ า ที่จ วนจะตาย และระบบใหม่ ท่ีก ํา ลั ง
เติบโตรับใช้ ท้งั รากฐานเก่ารากฐานใหม่ รับใช้ ท้งั ผู้ขูดรีด และผู้ถูกขูดรีด “ภาษารั บใช้ สมาชิ กทุ กคนขอสังคมเท่ า เทียมกันหมด โดยมิได้ คาํ นึงถึงสถานะทางชนชั้น วรรณะของแต่ละคน....” สตาลินชี้ให้ เห็นอีกว่า “การเอาลักษณะแห่ ง
ชนชั้ น วรรณะมาเป็ นสูต รสํา เร็จ ในการวิ นิ จ ฉั ย ภาษานั้นเป็ นความผิดอย่างมหันต์” เรามีความเห็นต่อไปว่า การเอาชนชั้นเป็ นสูตร สํา เร็จ ทุ ก กรณีร วมทั้งทางภาษาด้ ว ยนั้ น เป็ นอัน ตราย อย่างยิ่งแก่การสมานมวลราษฎรของสังคม ให้ เป็ นแนว ร่วมอันกว้ างใหญ่ เพราะการถือสูตรสําเร็จภาษาเฉพาะ ชนชั้นวรรณะที่พูดกันเข้ าใจเฉพาะคนจํานวนเล็กน้ อย เท่านั้น
บทที่ 2 ความเป็ นมาของศัพท์ไทย “ปฏิวตั ิ” “รัฐประหาร” “วิวฒ ั น์” “อภิวฒ ั น์” (ต่อจากปาฐกถาทีส่ กอตแลนด์ กรกฎาคม 2518) ป ร ะ ธา น กร ร มกา ร จั ดงา น สั ง สร ร ค์ ช า ว ธรรมศาสตร์ ในสหราชอาณาจักร ประจํา พ.ศ. 2518 ได้ ข อให้ ผ มเขี ย นบทความเพื่ อ ลงพิ ม พ์ ใ นหนั ง สื อ ที่
ระลึกซึ่งชาวธรรมศาสตร์จะได้ จัดทําขึ้น ผมมีความยินดี สนองศรั ทธา โดยเขียนบทความเรื่ อง “ความเป็ นมา ของศัพท์ไทย ปฏิวัติ, รัฐประหาร, วิวัฒน์, อภิวัฒน์” อั น เป็ นเรื่ องต่ อ เนื่ อ งจากการสนทนาในที่ ป ระชุ ม สามัคคีสมาคมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ที่ เอดินเบอะเรอ สกอตแลนด์ คือได้ มีบางท่านถามผมว่า ในทางชีววิทยานั้นการเปลี่ยนแปลงดําเนินไปตามวิธีท่ี เรียกเป็ นภาษาอังกฤษว่า “อีโวลูชัน” (Evolution) คือ ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป แต่เหตุใดในทางวิทยาศาสตร์ สังคมจึ งมี วิ ธีท่ีเรี ยกเป็ นภาษาอังกฤษ “เรฟโวลู ชัน ” (Revolution) บางท่า นต้ อ งการทราบว่ า เหตุ ใดผม ถ่ายทอดคําภาษาอังกฤษ “เรฟโวลูชัน” เป็ นศัพท์ไทย ว่า “อภิวัฒน์” แทนที่จะใช้ ศัพท์ไทยว่า “ปฏิวัติ” โดย ที่วันนั้นผมต้ องตอบปั ญหาต่างๆ รวม 21 ข้ อ และมี เวลาจํากัดเพียง 5 ชั่วโมง จึงได้ คาํ ตอบโดยสังเขปต่อ ปัญหาหนึ่งๆ ซึ่งผมขอผัดจะเขียนขยายคําตอบต่อไป
ผมจึงได้ รวมปัญหาที่เกี่ยวข้ องกันนั้นจัดทําเป็ น บทความนี้ เพื่อส่งมาลงพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกของชาว ธรรมศาสตร์ ในสหราชอาณาจั กรอังกฤษประจํา พ.ศ. 2518 และขอให้ สามัคคีสมาคมถือว่าบทความนี้เป็ น คําตอบขยายความของปั ญหาที่สมาชิกบางท่านได้ ถาม ผมในที่ประชุมดังกล่าวข้ างต้ น 1. ก่อนอื่นผมต้ อ งขอทําความเข้ า ใจ คําว่ า
“ศั พ ท์ ” ใ น ภ า ษ า ไ ท ย นั้ น พ จ น า นุ ก ร ม ฉ บั บ ราชบั ณ ฑิตยสถานให้ ความหมายไว้ ว่ า “เสียง, คํา , คํายากที่ต้องแปล, เรื่อง” ในกรณีท่เี กี่ยวกับความ เป็ นมาของศัพท์ไทยทั้ง 4 นั้น ท่านทั้งหลายย่อมสังเกต ได้ ว่าเป็ นเรื่องของ “คํายากที่ต้องแปล” ใน สั ง คมปฐมสหการ มนุ ษ ย์ มี คํา ที่พ อใช้ สําหรับสังคมที่พัฒนาถึงขั้นนั้น ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนา เป็ น ระบบทาส, ระบบศักดินา, ระบบทุนนิยม มนุษย์กจ็ าํ เป็ นต้ องมีคาํ เพิ่มขึ้นตามลําดับ เพื่อให้ พอใช้
ในการสัมพันธ์ระหว่างกันภายในและในการสัมพันธ์กับ สังคมอื่น ถ้ าท่านปิ ดพจนานุ กรมภาษาอังกฤษขนาดเล่ม กลางๆ ซึ่งบอกที่มาของคําอังกฤษ ท่านก็ย่อมสังเกตได้ ว่าคําอังกฤษมากหลายคํารั บเอาคําต่ างประเทศมาใช้ โดยไม่ เ ปลี่ ย นแปลงรู ป ศั พ ท์ บ้ า ง หรื อ แผลงเป็ นคํา อังกฤษบ้ าง ซึ่งแสดงว่าคนอังกฤษมีคาํ อังกฤษแท้ ๆ ไม่ พอที่จะใช้ เป็ นสัญญาณในการสัมพันธ์ จึงต้ องรับเอาคํา ต่างประเทศคําอื่นมาเป็ นภาษาของตนด้ วย ส่ ว นภาษาไทยเดิ ม ของเรานั้ น ก็มี คํา ที่ใ ช้ พ อ สําหรับสังคมปฐมสหการ, สังคมทาส และศักดินาสมัยต้ น แต่เมื่อสังคมไทยรับเอาวิธีการเศรษฐกิจ, การเมือง, วัฒนธรรม, ของอินเดียที่พัฒนากว่ าระบบทาสศักดินา ของไทยเดิม สังคมไทยจึงรับเอาคําบาลี, สันสกฤต, มา เป็ นคําของภาษาไทยโดยไม่เปลี่ยนรูปคําบ้ างหรือแผลง รู ป บ้ า ง ภาษาบาลี สัน สกฤตจึ งเป็ นที่มาแห่ งหนึ่ งของ
ภาษาไทย และเป็ น “คํา ยากที่ต้ อ งแปล” คื อ เป็ น
“ศั พ ท์ ” ตามความหมายของราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน ดังกล่าวนั้น ต่อมา ตั้งแต่บ้ันปลายกรุงศรีอยุธยา คนจีนได้ เข้ ามาพึ่ งโพธิสมภารมากขึ้น ในการติดต่อกับคนไทย นั้นคนจีนจึงใช้ ภาษาไทย แม้ ว่าออกเสียงสําเนียงเพี้ยน บ้ างแต่คนไทยก็เข้ าใจได้ เมื่อคนจีนใช้ คาํ ไทยบางคําจน ชินมาเป็ นเวลาหลายร้ อยปี คําไทยนั้นก็กลายเป็ นคําที่ คนจีนในสยามรับเอาเป็ นคําในภาษาที่ตนใช้ แม้ ในการ ติดต่อกับชาวจีนด้ วยกัน เช่นคนจีนที่มาพึ่งโพธิสมภาร ก่อน ค.ศ. 1911 (ก่อนสมัยที่เกิดลัทธิท่เี รียกว่ า “ต้ า ห้ าน” คือลัทธิท่ถี ือเชื้อชาติห้านซึ่งเป็ นเชื้อชาติส่วนมาก ของประเทศจีนว่ายิ่งใหญ่กว่าเชื้อชาติอ่ืนๆ) นั้น ได้ รับ เอาคํา ไทย “ตลาด” โดยออกเสี ย งสํา เนี ย งแต่ จิ๋ ว ว่ า “ตาลั ก ” และคํา ว่ า “นั ก เลง” ออกสํา เนี ยงแต้ จิ๋ ว ว่ า “หลั กเล้ ง” และเรี ยก “นั กเลงโต” ว่ า “ตั้วหลักเล้ ง” ฯลฯ ซึ่งเป็ นคําที่จีนแต้ จิ๋วรุ่นเก่าได้ ใช้ พูดระหว่างกัน
นอกจากนั้ น คนจี น รุ่ น เก่ า ในสยามก็นิ ย มให้ ลูกหลานเรี ยนหนั งสือไทยที่วัด และนิ ยมให้ ลูก หลาน บวชเป็ นพระภิกษุเรียนบาลีเพื่อบําเพ็ญกุศล และก็ได้ ร้ ู ภาษาบาลี อั น เป็ นมู ล ศั พ ท์ ข องภาษาไทยด้ ว ย ท่ า น เหล่ า นี้ เป็ นเปรี ย ญและเป็ นอาจารย์ ท่ีดี ใ นภาษาไทย หลายองค์ ท่านและสานุศิษย์จึงเรียนรู้ว่าศัพท์ไทยนั้นๆ มี ค วามหมายอย่ า งไร เช่ น คํ า ว่ า “จั ก รพรรดิ ” หมายถึง “พระราชาธิราช” ซึ่งตรงกับภาษาจีนที่ออก สํา เนี ย งแต้ จิ๋ ว ว่ า “ฮ่ อ งเต้ ” (ตรงกั บ ภาษาจี น กลาง “หวงตี้ ”) พระมหากษั ต ริ ย์อ งค์หนึ่ งสมัยอยุ ธยาทรง พระนามว่า “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” ส่ ว นคนไทยที่ ติ ด ต่ อ กั บ คนจี น ในสยามเป็ น เวลาช้ า นานหลายร้ อ ยปี ก็รับคําจี น หลายคํา มาใช้ ด้วย ถ้ าท่านเปิ ดพจนานุ กรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ท่านก็ จะพบว่ามีหลายคํา ซึ่งเป็ นภาษาจีนที่ราชบัณฑิตยสถาน ได้ บรรจุไว้ ในพจนานุกรม โดยถือว่าเป็ นคําไทย เพราะ
เป็ นคําจี นที่คนไทยสมัครใจใช้ เองจนชินมาแล้ วหลาย ร้ อยปี โดยที่คนจีนมิได้ ยัดเยียดให้ คนไทยใช้ การคงอยู่ ด้ วยกันอย่างสันติระหว่ างคนไทยกับคนจีนในสยามจึง ราบรื่น เพราะคนจีนก็มิได้ ดัดแปลงศัพท์ หรือคําไทยที่ ใช้ ในความหมายตามมู ลศั พ ท์แ ห่ งภาษาไทยนั้ น ให้ มี ความหมายเป็ นอย่างอื่น ต่อมาเมื่อระบบทุนในยุโรปและอเมริ กาได้ แผ่ อํานาจเข้ ามาในสยามตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 สยาม ต้ องติดต่อกับฝรั่งเหล่านั้นอันเป็ นสภาพการณ์ท่คี นไทย ไม่มีศัพท์ไทยที่ใช้ อยู่ ก่อน เพื่ อใช้ สาํ หรั บสภาพการณ์ ใหม่ได้ คนไทยจึ งอาศัยมู ลศั พท์บาลี สันสกฤตตั้งเป็ น ศัพท์ไทยขึ้นใหม่หลายคําเพื่อถ่ายทอดความหมายของ ศัพท์ฝรั่ง นอกจากนั้นสยามได้ จัดระบบการศึกษาไทย รั บ เอาวิ ช าประเภท วิ ท ยาศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ นิติศาสตร์ รั ฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ของฝรั่งมา สอนในโรงเรียนไทย จึงจําเป็ นต้ องคิดศัพท์ไทยขึ้นใหม่
หลายคํา เพื่อถ่ายทอดศัพท์ฝรั่งนั้น เช่น ฟิ สิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คอมมิวนิสต์ ฯลฯ ส่ ว นในประเทศจี น ก็ไ ด้ มี ก ารตั้ ง ศั พ ท์จี น ขึ้ น ใหม่หลายศัพท์ เพื่อถ่ายทอดคําฝรั่ ง โดยวิธีเอาคําจี น เดิมมาผสมกัน เป็ นศั พ ท์ใหม่ ข้ ึน ถ้ า มองดู ตัว อัก ษรก็ เห็นว่าเป็ นอักษรจีน แต่คาํ ที่ผสมนั้น มีความหมายตาม คํ า ฝรั่ งที่ จี น ถ่ า ยทอดมา เหมาเจ๋ อ ตงซึ่ งต่ อ ต้ าน “ลัทธิต้าห้ าน” ได้ กล่าวที่นครเยียนอานเตือนคนจีนว่ า ภาษาจี น เดิมมีไม่ พ อที่จ ะถ่ า ยทอดคํา ต่ า งประเทศจึ ง จํา เป็ นต้ อ งคิ ด ศั พ ท์ ใ หม่ ข้ ึ น ท่ า นยกตั ว อย่ า งคํา ว่ า “ก้ า นปู้ ” ตั้ ง ขึ้ นเพื่ อทั บ ศั พ ท์ ฝ รั่ ง “Cadre” (ออก สํา เนี ย งอั ง กฤษ “กาดเดอร์ ” มาจากฝรั่ ง เศส “กา เดรอะ”) แปลว่ าพนักงาน เหมาเจ๋อตงจึงตักเตือนให้ สานุ ศิษย์เรียนภาษาต่างประเทศ เพื่ อให้ ร้ ูความหมาย อันเป็ นที่มาของศัพท์จีนใหม่ เหมาเจ๋อตงถือหลั กการ ต่อ สู้ระบบทุ น ที่พั ฒนาเป็ นทุ น ผู ก ขาดเป็ นบรมธนานุ ภาพหรือจักรวรรดินิยม ไม่ว่าเจ้ าสมบัตินายทุนผูกขาด
นั้น เป็ นคนผิวขาวหรื อผิวเหลือง ท่านมิได้ ต่อต้ านคน ฝรั่ ง ไปทั้ ง หมด โดยท่ า นแยกคนที่ ไ ม่ ใ ช่ เ จ้ าสมบั ติ นายทุนออกจากพวกชนิดหลังนี้ ท่านมิได้ ต่อต้ านภาษา ฝรั่ งหรือภาษาต่างประเทศ นักเรี ยนไทยที่ศึกษาอยู่ใน ยุโรปเวลานี้ย่อมรู้ว่า ขณะนี้รัฐบาลจีนได้ ส่งนักเรียนจีน หลายคนมาศึ ก ษาในหลายประเทศยุ โ รปตะวั น ตก ฉะนั้นผู้ใดคัดค้ านนั กเรี ยนไทยในต่ างประเทศที่เรี ยน อย่างจริงจัง ผู้คัดค้ านก็กระทําเกินเลยกว่าเหมาเจ๋อตง และเป็ นการที่ไ ม่ ย อมทํา แนวร่ ว มกับ ผู้ ไ ด้ ศึ ก ษาจาก ต่า งประเทศ ซึ่ งสามารถทําคุ ณ ประโยชน์ แ ก่ช าติแ ละ ราษฎรไทยตามสาขาวิชาที่ได้ เล่าเรียน คนที่ห่างไกลเหมาเจ๋อตงมักจะเข้ าใจผิดว่าท่าน รู้แต่ภาษาจีน แต่ความจริงท่านรู้ภาษาต่างประเทศและ อ่านตําราต้ นฉบับที่เป็ นภาษาต่างประเทศตั้งแต่วัยหนุ่ม ซึ่งท่านเป็ นพนั กงานหอสมุ ดมหาวิ ทยาลั ยปั กกิ่ง และ ท่ า นใช้ เวลาว่ า งเรี ย นภาษาต่ า งประเทศเพิ่ ม เติ ม ตลอดเวลาจนเข้ าวั ยชรามิใช่ ท่า นเรี ยนมาร์ กซ์ -เลนิ น
โดยวานให้ คนอื่นแปลให้ เพราะผู้แปลอาจแปลศัพท์ท่ี มีความหมายเฉพาะผิดไปได้ ซึ่ งจะทําให้ เข้ าใจระบบ นั้นผิดไปทั้งระบบหรือผิดในส่วนสําคัญของระบบได้ อนึ่ งเราควรยอมรั บ ว่ า ต้ น ฉบั บ วิ ทยาศาสตร์ ธรรมชาติกด็ ี วิทยาศาสตร์สงั คมก็ดี ซึ่งชาวเอเชียสมัยนี้ รับเอามาก็เป็ นตําราที่มีต้นฉบับภาษาต่างประเทศ คํา ใดที่เป็ นศัพท์ท่มี ีความหมายเฉพาะ (เทคนิคกัล เทอม) ที่คนไทยยังไม่ชินมาเป็ นเวลาช้ านานแล้ วก็ดี หรื อเป็ น คํากํากวมก็ดี ถ้ าจะถ่ายทอดเป็ นภาษาไทยก็ควรเขียน คําตามต้ นฉบับไว้ ในวงเล็บด้ วย เพื่อให้ ผ้ ูอ่านที่สามารถ เทียบกับต้ นฉบับคําต่ างประเทศจะได้ เข้ าใจดีข้ ึน และ จะได้ ช่วยกันค้ นคว้ าให้ สมบูรณ์ข้ นึ 2. เมื่อก่อนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สยามอยู่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สืบต่อๆ กันมา ตั้ ง แต่ ร ะบบทาสศั ก ดิ น าเป็ นเวลาหลายพั น ปี การ เปลี่ยนระบบสังคมจากสมบู รณาญาสิทธิราชย์มาเป็ น
ระบบราชาธิปไตยภายใต้ รัฐธรรมนู ญประชาธิปไตยนั้น ยังไม่ เคยมี การเปลี่ยนแปลงที่เคยมีกเ็ พียงแต่เปลี่ยน สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ข องราชวงศ์ ห นึ่ ง มาเป็ นอีก ราชวงศ์ ห นึ่ ง หรื อ เปลี่ ย นองค์ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ใ น ราชวงศ์ เ ดี ย วกั น ฉะนั้ น จึ ง ไม่ มี ศั พ ท์ไ ทยเฉพาะที่จ ะ เรียกการเปลี่ยนระบบสังคมจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็ นระบบราชาธิ ป ไตย ภายใต้ รั ฐธรรมนู ญ ประชาธิป ไตย หรื อ มาเป็ นระบบประชาธิ ป ไตยชนิ ด อื่น ๆ ซึ่ งต่ า งกับ ชาวยุ โรปซึ่ งมี ศั พ ท์ว่ า “เรฟโวลู ชัน ” ก่อนสยาม ดังนั้นคนไทยสมัยก่อนที่ต้องการกล่ าวถึง เรื่องที่คนอังกฤษเรียกว่า “เรฟโวลูชัน” ก็ใช้ วิธีทบั ศัพท์ หรือบางคนก็เรียกตามทรรศนะศักดินาสําหรับผู้ทาํ การ ไม่สาํ เร็จว่า “กบฏ, ก่อการกําเริบ” แต่ผ้ ูทาํ การสําเร็จ เรียกว่า “ปราบดาภิเษก” พระปกเกล้ า ฯ ได้ ท รงมี พ ระราชวิ จ ารณ์ ก าร เปลี่ ย นระบบบริ หารแผ่ น ดิ น ของพระพุ ท ธเจ้ า หลวง
(รัชกาลที่ 5) ว่ามีลักษณะเป็ นการ “พลิกแผ่นดิน” โด พระองค์ทรงเขียนไว้ ในวงเล็บว่า “Revolution” ส่วนในประเทศจี นก่อน ค.ศ. 1911 การ ปกครองแผ่นดินเป็ นไปตามระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมี “จักรพรรดิ” เป็ นประมุขสืบต่อๆ มาหลายพั นปี ซุน ยัดเซ็น ที่นํา ราษฎรจี น ต่ อ สู้ร ะบบจั ก รพรรดิ จี น มา เป็ นสาธารณรัฐจึงได้ เอาคําจีนเดิม 2 คํา ที่เรี ยกตาม ภาษากลางว่า “เก๋อมิ่ง” [ตัวอักษรจีน] แต้ จิ๋วออกสําเนียง ว่า “เก๊กเหม็ง” แปลตามตัวว่า “การตัดชีวิต” มาเป็ น ศั พ ท์ท่ี เ รี ย กการกระทํา ที่ เ ปลี่ ย นแปลงระบบสั ง คม เช่นนั้น ท่ า ย่ อ มสั ง เกตว่ า หนั ง สื อ จี น มี ลั ก ษณะเป็ น ภาพวาดผั น แปรมาจากโบราณหลายศตวรรษ ถ้ า พิจารณาอักษร “เก๋อมิ่ง” [ตัวอักษรจีน] ให้ ดีจะเห็นว่ า แสดงร่ อ งรอยถึ ง “การตั ด ชี วิ ต ” ฉะนั้ น คนจี น ที่ไ ม่ ทราบว่าคําว่า “เก๋อมิ่ง” หรื อ “เก๊กเหม็ง” นั้น ซุนยัด
เซ็นนํามาใช้ เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ “เรฟโวลูชัน” แล้ ว หากมองจากตัวอักษรที่วาดขึ้นนั้นก็อาจทําให้ สะท้ อนถึง ทางจิตและความนึกคิดว่า เป็ นการประหารระบบเก่าให้ หมดไปประดุจการตัดชีวิต ผมซึ่งได้ รับมอบหมายจากคณะราษฎรให้ เขียน แ ถ ล ง ก า ร ณ์ เ ห็ น ว่ า ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ร ะ บ บ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ม าเป็ นราชาธิ ป ไตย ภายใต้ รั ฐธรรมนู ญประชาธิปไตยมีลักษณะตามที่คนอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เรียกว่า “Revolution” ซึ่งเป็ นเรื่องที่ ยังไม่ มีคณะหรื อ พรรคใดทํา การสํา เร็จมาก่อ น จึ งไม่ ควรคิ ด ศั พ ท์ข้ ึ นใหม่ ใ นขณะนั้ น ซึ่ ง คนไทยไม่ เ ข้ า ใจ สมควรที่จะใช้ วลีท่ีประกอบด้ วยคําไทยธรรมดาสามัญ ว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน” แต่ วลี น้ ี ยาไปจึ ง ตั ด คํ า ว่ า “แผ่ น ดิ น ” ออก คงเหลื อ
“การเปลี่ยนแปลงการปกครอง” และเรียกสมาชิก แห่ ง คณะราษฎร “ผู้ ก่ อ การเปลี่ ย นแปลงการ
ปกครอง” โดยย่ อ ว่ า “ผู้ ก่ อ การ” เท่า นั้ น คื อ เป็ น เพียงผู้ริเริ่มก่อให้ มีการเปลี่ยนระบบเก่าเพื่อเข้ าสู่ระบบ ใหม่ท่จี ะต้ องพัฒนาต่อไป 3. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แล้ วประมาณ 1-2 เดือน พระเจ้ าวรวงศ์ เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพั นธ์ ขณะดํารงฐานันดร ศักดิ์ “หม่อมเจ้ าวรรณไวทยากร” ได้ แสดงปาฐกถาที่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองดังกล่าวนั้น พระองค์ทรงวินิจฉัยว่าการเปลี่ยน นั้น เป็ นการเปลี่ ยนหลั กมู ลของการปกครองแผ่ นดิน ตรงกับที่เรียกเป็ นภาษอังกฤษว่า “Revolution” (ออก สําเนียงว่า “เรฟโวลูชัน”) จึงได้ ทรงบัญญัติศัพท์ไทยว่า “ปฏิวัติ” เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ พ ร ะ อ ง ค์ ยั ง ไ ด้ บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ไ ท ย ว่ า
“รัฐประหาร” เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ ที่ชาวอังกฤษ ใช้ ทบั ศัพท์ฝรั่งเศส “Coup d’ État” (ออกสําเนียง กูป์
เดตาต์) ซึ่งแปลตามตัวว่ า “การเขกหรื อกระแทกรัฐ” โดยนั ยหมายถึ ง “วิ ธี” ยึ ด อํา นาจรั ฐโดยฉั บ พลั น ซึ่ ง ต่างกับวิ ธีได้ อาํ นาจรั ฐโดยสงครามกลางเมือง (Civil War) 4. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2475 กระทรวง ธรรมการแห่ ง รั ฐ บาลคณะราษฎรได้ มี คํ า สั่ ง ตั้ ง “กรรมการชําระปทานุ กรม” โดยเชิญ พระเจ้ า วรวงศ์ เธอองค์ น้ั น เป็ นประธาน ต่ อ มาในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลนั้นได้ ต้ังราชบัณฑิตยสถานขึ้น ซึ่ งรั บงานชําระ ปทานุ ก รมต่ อ จากกรรมการที่ก ระทรวงธรรมการได้ ตั้งขึ้น ราชบั ณฑิตยสถานจึ งได้ ต้ังกรรมการชุ ดเดิมให้ เป็ นกรรมการชําระปทานุ ก รมของราชบั ณ ฑิต ยสถาน แล้ ว ต่อมาก็ได้ ต้ังผู้ทรงคุณวุฒิในทางภาษาศาสตร์เป็ น กรรมการเพิ่ มเติมขึ้นอีก พระเจ้ าวรวงศ์เธอองค์น้ันก็ ทรงเป็ นประธานกรรมการตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2490 ที่ทรงจากประเทศไทยไปเป็ นเอกอัครราชทู ตประจํา กรุ งวอชิ งตั น ชั่ วระยะหนึ่ ง แต่ เ มื่ อ เสด็จ กลั บประเทศ
ไ ท ย แ ล้ ว ก็ ท ร ง เ ป็ น ก ร ร ม ก า ร ต่ อ ไ ป อี ก จ น ราชบัณฑิตยสถานได้ จัดทําปทานุ กรมซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็ น
“พจนานุกรม” เสร็จ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2493 ราชบัณฑิตยสถานได้ บรรจุ คาํ ว่า “ปฏิวัติ” ไว้ ในพจนานุ กรมโดยให้ ความหมายดังต่ อ ไปนี้ “ปฏิ ว ตั ิ น. การหมุ น กลั บ , การผัน แปรเปลี่ ย นหลั ก มู ล (ป.ปฏิวตฺติ)” พจนานุ กรมฉบั บนั้ นได้ ให้ ความหมายของคํา ว่า “ปฏิ” ไว้ ดังต่อไปนี้ “ปฏิ - เป็ นอุปสรรคในภาษาบาลี ใช้นําหน้า ศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ” ดังนี้ ผู้ อ่านย่ อมสังเกตได้ ว่าตามมู ลศั พท์บาลี อันเป็ นที่มาของคํา “ปฏิวัติ” นั้นหมายถึง การหมุ น
กลั บ คื อ เป็ นการเปลี่ย นแปลงที่ถ อยหลัง ส่ ว นใน ความหมายว่ า “การผั น แปรเปลี่ ย นหลั ก มู ล ” นั้ น
ราชบัณฑิตยสถานเติมความหมายนี้ไว้ เป็ นความหมาย อันดับรองภายหลังความหมายว่า “การหมุนกลับ” 5. เมื่อ พ.ศ. 2516 สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง ประเทศไทยได้ พิมพ์ หนั งสือ ชื่อ “บั ญญั ติศัพท์ของ
คณะกรรมการบัญญัติศัพท์” ซึ่งพระเจ้ าวรวงศ์เธอ กรมหมื่ น นราธิป ฯ ทรงนิ พ นธ์คํา นํา ปรากฏว่ า คณะ กรรมการฯ ได้ บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ไทยสยามว่ า “การหมุ น รอบหมุน” เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ “Revolution” โดย มี ห มายเหตุ ใ นวงเล็ บ ว่ า ว.ค. ที่ ย่ อ มาจากคํ า ว่ า วิ ท ยาศาสตร์ , คณิ ต ศาสตร์ ทั้ ง นี้ แสดงว่ าคณะ กรรมการฯ ได้ ถ่ า ยทอดคํา อั ง กฤษนั้ น เพี ย งเฉพาะ ความหมายทางวิทยาศาสตร์ แ ละคณิ ตศาสตร์ เท่านั้ น มิได้ ถ่ายทอดความหมายทางสังคมศาสตร์ ต่ อ มาวั น ที่ 19 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2517 ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น ไ ด้ จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ชื่ อ
“บัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการบัญญั ติศัพท์”
โดยมีคาํ นําของพระเจ้ าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพั น ธ์ ใ นตํา แหน่ ง นายกราชบั ณ ฑิ ต ยสถานและ ประธานกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยในหนังสือเล่ม นั้ น ปรากฎคํา ว่ า “Evolve” บั ญ ญั ติ เ ป็ นศั พ ท์ ไ ทยว่ า “วิวั ฒน์ ” แต่ คาํ ว่ า “Revolution” นั้ น ไม่ ปรากฎว่ า บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ไ ท ย ไ ว้ จึ ง น่ า คิ ด ว่ า คํ า อั ง ก ฤ ษ นี้ ราชบัณ ฑิต ยสถานอาจกํา ลั งปรึ ก ษาที่จะบั ญ ญั ติศั พ ท์ ไทยขึ้นใหม่ซ่ึงมิใช่คาํ ว่า “ปฏิวัต”ิ ก็อาจเป็ นได้ เพราะ มูลศัพท์ของคําว่ า “ปฏิวัติ” นี้หนั กไปทาง “การหมุน กลับ” จึงทําให้ ตีความได้ ว่าการผันแปรเปลี่ยนหลักมูล ของคํา ว่ า “ปฏิวั ติ ” เป็ นการผั น แปรชนิ ด ถอยหลั ง กลับไปเป็ นระบบเก่าหรือทํานองระบบเก่า 6. ผมขอให้ ท่านได้ ฟังปาฐกถาของผมแล้ ว ท่า นที่ท ราบคํา ว่ า “เก๋ อ มิ่ ง ” [ตั ว อัก ษรจี น ] หรื อ “เก๊ก เหม็ง” นั้น ซุนยัดเซ็นใช้ เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ “เรฟ โ ว ลู ชั น ” ( Revolution) โ ป ร ด เ ปิ ด พ จ น า นุ ก ร ม ภาษาอั ง กฤษที่ ใ ห้ ค วามหมายของคํา นี้ ไว้ ท่ า นก็จ ะ
พบว่ า คําอังกฤษนี้ มีความหมายหลายอย่ า ง อาทิ (1) ความเคลื่อนไหวไปข้ างหน้ า (โพรเกรสสีฟ) ขององค์ กายที่หมุน รอบแกน (2) การโคจรเป็ นวงรอบแกน ข อ ง โ ล ก แ ล ะ ด า ว ( 3) ก า ร เ ป ลี่ ย น ห ลั ก มู ล (Fundamental Change) แห่งระบบการเมือง หรือแห่ง รัฐบาล หรือแห่งระบบรัฐธรรมนูญ (4) การล้ มรัฐบาล หรื อ ผู้ ป กครองประเทศ โดยผู้ ถู ก ปกครองเข้ า มามี อํานาจ พจนานุ กรมภาษาอังกฤษบางฉบั บให้ ตัวอย่าง ของการที่ค นอัง กฤษเรี ย กว่ า “เรฟโวลู ชั น ” ไว้ เช่ น “เรฟโวลูชันอเมริกา (ค.ศ. 1775-83)”, “เรฟโวลูชัน อังกฤษ (ค.ศ. 1688)” ที่ต่อสู้ระหว่ างราษฎรอังกฤษ กับ พระเจ้ าเจมส์ท่ี 2, “เรฟโวลู ชั นฝรั่ งเศส (ค.ศ. 1789-99)”, “เรฟโวลู ชั นรุ สเซี ย (ค.ศ. 1917)” ฯลฯ (5) การเปลี่ ยนแปลงที่ก้า วหน้ ายิ่งใหญ่ ทาง วิ ทยาศาสตร์ แ ละเทคนิ คแห่ ง การผลิ ต ทางเศรษฐกิ จ เช่ น “Industrial Revolution” (เรฟโวลู ชั น อุตสาหกรรม) ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 โดยมีผ้ ูคิด
เครื่ องจักรกลกําลังไอนํ้า ซึ่งเป็ นการเปลี่ยนวี การผลิ ต ยิ่งใหญ่ จ ากการผลิตเศรษฐกิจศั กดิ นา ที่ใช้ เครื่ องมือ หัตถกรรม ท่ า นที่ อ่ า นต้ น ฉบั บ ภาษาอัง กฤษ, ฝรั่ ง เศส, เยอรมัน, ของเมธีวิทยาศาสตร์สังคมต่างๆ รวมทั้งของ มาร์กซ์, เองเกลส์, เลนิน หรือจากคําแปลที่ท่านเหล่านี้ ตรวจแล้ วก็จ ะเห็นได้ ว่า ท่า นเหล่ านี้ ใช้ คําที่เ ขียนเป็ น อักษรว่า “Revolution” นั้นตามความหมายที่ผมกล่าว ข้ า งบนนั้ น เช่ น มาร์ ก ซ์ เ รี ย กการเปลี่ ย นแปลงระบบ สังคมฝรั่งเศสจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็ นระบบ ราชาธิป ไตยภายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ประชาธิป ไตย ค.ศ. 1789 ว่ า “เรฟโวลู ชั น ” และเรี ย กการต่ อ สู่ ร ะบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เยอรมัน ค.ศ. 1848 ว่ า “เรฟ โวลู ชัน ” ฯลฯ พจนานุ ก รมภาษาอังกฤษบางฉบั บ ให้ ความหมายว่ าการเปลี่ยนระบบสังคม โดยวิ ธีใช้ กาํ ลัง (By Force) แต่มิได้ บอกว่าการใช้ กาํ ลังนั้นจะต้ องทํา โดยวิธสี งครามภายในหรือวิธรี ัฐประหาร
7. คณะราษฎรไม่ประสงค์จะผูกขาดศัพท์ไทย ว่ า “ปฏิวัติ” ที่พระเจ้ าวรวงศ์เธอองค์น้ันบัญญัติข้ ึน แม้ ว่ า คณะนี้ มี อ ํา นาจในรั ฐ บาลอยู่ จ นกระทั่ ง เสร็ จ สงครามโลกครั้ งที่ 2 ซึ่งมีทางที่จะใช้ ศัพท์ “ปฏิวัติ” เรี ยกการกระทําของตน แต่คณะราษฎรก็คงเรี ยกการ กระทําของตน เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ว่ า “การ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง” ตามการกระทําที่เป็ น จริงว่าเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็ นระบบ ราชาธิ ป ไตยภายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ประชาธิ ป ไตย และ สมาชิ ก คณะราษฎรก็มิ ไ ด้ ท ะนงตนในการที่ จ ะเรี ย ก ตนเองว่ า “นั ก ปฏิ วั ติ ” คื อ คงเรี ย กว่ า “ผู้ ก่ อ การ เปลี่ ยนแปลงการปกครอง” หรื อ เรี ย กย่ อ ๆ ว่ า “ผู้ก่อการ” ชาวยุ โ รปที่ ก ล่ า วถึ ง การเปลี่ ย นแปลง 24 มิถุ น ายน 2475 ก็เ รี ย กการนั้ น ว่ า “เรฟโวลู ชั น ” เอกสารของผู้ใหญ่จีนก็เรี ยกการนั้นว่า “เก๋อมิ่ง” หรื อ ออกสําเนียงแต้ จิ๋วว่า “เก๊กเหม็ง”
แต่ ภ ายในประเทศไทยเองนั้ น ภายหลั ง ที่ ประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ พ.ศ. 2489 ซึ่ ง ให้ สิ ท ธิ ประชาธิปไตยแก่พลเมืองในการนับถือลัทธิการเมือง และในการตั้ ง พรรคการเมื อ งโดยไม่ จํา กั ด ลั ท ธิ แ ล้ ว คอมมิ วนิ สต์บางสาขาได้ ให้ ทรรศนะแก่สานุ ศิษย์ของ ตนว่าการเปลี่ยนแปลงฯ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ใช่ส่งิ ที่สาขานั้นเรียกเป็ นศัพท์ไทยว่ า “ปฏิวัติ” โดย อ้ างตามอัตโนมัติของตนเองว่ าทฤษฎีมาร์ กซ์ถือว่ าการ จะเป็ นปฏิวัติได้ ต้องมี “การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ การผลิต” เมื่อ พ.ศ. 2517 บางคนมาพบผมที่ชาน กรุงปารี สแสดงว่ ายึดถือคําขวัญว่ า “การเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน ไม่ใช่ปฏิวัติ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์การผลิต” ผมจึงถามผู้มาพบว่ าเข้ าใจว่ า การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์การผลิตคืออะไร ท่านผู้ นั้ น ก็ต อบไม่ ต รงกั บ หลั ก สสารธรรมประติ ก ารและ วิ ว รรตการ เพราะได้ รั บ ความรู้ ม าเป็ นเพี ย งคํา ขวั ญ ดังกล่ า วแล้ ว ผมจึ ง ขอถือ โอกาสชี้ แจงตามที่ผมอ่า น
ต้ น ฉบั บ ของเมธี แ ห่ ง ลั ท ธิ น้ั น ว่ า เรื่ อ ง “การเปลี่ ย น
ความสัมพันธ์การการผลิ ต” หมายถึงการเปลี่ ยน ความสัมพันธ์การผลิตทางเศรษฐกิจ คือเมธีธิบายไว้ ว่า การที่มนุ ษย์จ ะเปลี่ ยนระบบเศรษฐกิจ ที่เ ป็ นรากฐาน ของสั ง คมจากระบบหนึ่ ง มาสู่ อี ก ระบบหนึ่ ง ก็เ พราะ
“พลั ง การผลิ ต ” (Productive
Forces) ซึ่ ง ประกอบด้ วย “เครื่ องมือการผลิต” (Instruments of Production) และบุคคลที่สามารถทําและใช้ เครื่ องมือ นั้นได้ พัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้นก่อน จึงจําเป็ นต้ องเปลี่ยน ความสัมพันธ์การผลิต (ทางเศรษฐกิจ) ให้ สอดคล้ อง กัน มิฉะนั้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้น
เมธีได้ กล่าวว่ าระบบสังคม (ทางเศรษฐกิจ) มี 5 ประเภทพื้นฐานสําคัญ ซึ่งในต้ นฉบับภาษาอังกฤษ ท่านใช้ คาํ ว่ า “Main Types” (เมนไทป์ ) ท่านที่ร้ ู ภาษาอังกฤษพอสมควรก็ย่อมรู้ว่าคําอังกฤษนี้หมายถึง ประเภทพื้ นฐานสํา คั ญ ซึ่ ง ภายในแต่ ล ะประเภทก็มี
หลายชนิ ด และหลายชนิ ด ปลี ก ย่ อ ย ประเภทพื้ นฐาน สําคัญนี้มศี ักดินา, ระบบทุนนิยม, ระบบสังคมนิยม เมธี ก ล่ า วว่ า ในสมั ย เครื่ อ งมื อ หิ น และโลหะ อย่างหยาบนั้นมนุ ษย์กม็ ีความสัมพันธ์ทางการผลิตทาง เศรษฐกิจตามระบบปฐมสหการ ต่ อ มามนุ ษย์พั ฒนา เครื่ องมื อ การผลิ ต ให้ มี ส มรรถภาพและก้ าวหน้ า ตามลําดับ มนุษย์กจ็ าํ เป็ นต้ องเปลี่ยนความสัมพันธ์การ ผลิ ตให้ สอดคล้ อ งกัน ตามลํา ดั บ เป็ นระบบเศรษฐกิจ ทาส, ระบบเศรษฐกิจศั ก ดิ นา และเมื่ อ เมื่อ มนุ ษย์ สามารถทําเครื่องจักรกลที่ใช้ กาํ ลังไอนํา้ ได้ มนุ ษย์กไ็ ด้ เปลี่ ย นความสั ม พั น ธ์ก ารผลิ ต มาเป็ นระบบทุ น นิ ย ม ต่อมาเครื่องมือการผลิ ตพร้ อมด้ วยวิ ทยาศาสตร์ และ เทคนิคได้ พัฒนาก้ าวหน้ าขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ดังปรากฏ อยู่ในปั จจุ บันนี้ ความสัมพั นธ์การผลิ ตทุ นนิ ยมซึ่ งเจ้ า สมบัตินายทุนที่พัฒนาทุนของตนเป็ นทุนผูกขาดไว้ ใน กํา มือ ของคนจํา นวนน้ อ ยแห่ งสั งคม แต่ ค นส่ ว นมาก ของสังคมต้ องตกอยู่ภายใต้ การกดขี่เบียดเบียนของเจ้ า
สมบัติท่พี ัฒนาเป็ นนายทุนผูกขาดเป็ นบรมธนานุ ภาพ หรื อ จัก รวรรดินิ ยมนั้ น การผลิ ตของสังคมก็ตกตํ่าไม่ พอแก่ ค วามต้ องการของปวงชน วิ ก ฤตการณ์ ท าง เศรษฐกิจจึงเกิดขึ้น ฉะนั้นจึงมีความจําเป็ นที่จะต้ องให้ สั ง คมเป็ นเจ้ าของปั จ จั ย การผลิ ต (Means of Production) เพื่อสังคมอํานวยการผลิตและปั นผลการ ผลิตให้ แก่ปวงชนตามความเป็ นธรรมแก่ความสามารถ ของแต่ละคนที่ทาํ งานให้ สังคมและให้ สวัสดิการแก่ปวง ชน คือ เปลี่ ยนความสัมพั น ธ์ก ารผลิ ต ทุ น นิ ยมมาเป็ น ความสัมพั น ธ์ก ารผลิ ตสังคมนิ ยม เมื่อ ความสัมพั น ธ์ การผลิ ต เศรษฐกิ จ ที่ เ ป็ นรากฐานของสั ง คมต้ อง เปลี่ ยนไปแล้ ว ระบบการเมืองซึ่ งเป็ นโครงสร้ างเบื้อง บนก็ต้องเปลี่ยนไปตาม แต่ถ้าระบบเศรษฐกิจคงที่อยู่ บุ ค คลและราษฎรที่ ก้ า วหน้ าก็อ าจผนึ ก กั น ทํา การ เปลี่ยนระบบการเมืองขึ้นก่อนเพื่ อใช้ อาํ นาจการเมือง เปลี่ ยนความสั ม พั น ธ์ ก ารผลิ ต ทางเศรษฐกิ จ ให้ สอดคล้ องกั บ การพั ฒ นาของ “พลั ง การผลิ ต ” ซึ่ ง
สามารถแก้ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของปวงชนแห่ ง สังคมได้ ผมจึ ง ขอให้ ท่ า นที่ ถื อ คํา ขวั ญ ว่ า การปฏิ วั ติ จะต้ อ งเปลี่ ย นความสั ม พั น ธ์ ก ารผลิ ต นั้ น ศึ ก ษาจาก นั ก วิ ช าการของท่ า นด้ ว ยว่ า การเปลี่ ย นแปลงระบบ จัก รพรรดิจีน มาเป็ นสาธารณรั ฐนําโดยซุ นยั ดเซ็น นั้ น นอกจากล้ ม ระบบจั ก รพรรดิจี น แล้ ว ได้ มี ก ารเปลี่ ย น ความสัมพันธ์การผลิตทางเศรษฐกิจศักดินาระหว่างเจ้ า ที่ดินกับชาวนาอย่างไรบ้ าง และระหว่างจักรวรรดินิยม (Imperialism) กับมวลราษฎรจีนอย่างไรบ้ าง เท่ า ที่ ท ราบนั้ น สนธิ สั ญ ญาไม่ เ สมอภาค ระหว่ างจีนกับจักรวรรดินิยมสัมพันธมิตรหลายชาติได้ ยกเลิกระหว่างสงครามโลกครั้ งที่ 2 คือภายหลังสยาม ได้ จั ด การทํา สนธิสัญ ญาเสมอภาคกับ จั ก รวรรดิ นิ ย ม นานาชาติแล้ วหลายปี ส่วนความสัมพันธ์การผลิตศักดินา และทุนนิยมก็ปรากฏว่าตลอดเวลาที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ท่บื
ต่อจากซุนยัดเซ็นนั้นไม่เคยทําเลยจนกระทั่งรัฐบาลของ ราษฎรจี นที่ต้ังขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1949 เป็ นผู้เปลี่ ยน ความสัมพั นธ์การผลิ ต แต่ รัฐบาลของคณะราษฎรได้ จั ด การเปลี่ ยนความสั ม พั น ธ์ ก ารผลิ ต ศั ก ดิ น าที่ พระมหากษัตริย์เป็ นเจ้ าของที่ดินทั้งหลายในสังคมมา เป็ นระบบที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ อ ยู่ ภ ายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ประชาธิป ไตยได้ อ อกกฎหมายห้ า มยึด ทรั พ ย์สิน ของ กสิก ร ได้ ยกเลิ กอากรค่ านาและเงิ นรั ชชู ปการซึ่ งเป็ น ซากของการ “ส่งส่วย” ตามระบบเศรษฐกิจศักดินา แม้ คณะราษฎรจะยั ง ทํา ไม่ ส มบู ร ณ์ ใ นการ เปลี่ ยนความสัมพั นธ์การผลิ ตศั กดินาและทุนนิ ยม ถ้ า ท่านที่มาพบผมมีใจเป็ นธรรมก็จะเห็นว่าคณะราษฎรได้ กระทําการเปลี่ยนความสัมพันธ์การผลิตทางเศรษฐกิจ มากกว่าการเปลี่ยนจักรพรรดิจีนนําโดยซุนยัดเซ็น แต่ เหตุใดท่านเรียกการเปลี่ยนระบบจักรพรรดิจีนนําโดย ซุ น ยั ด เซ็น ว่ า “ปฏิ วั ติ ” ส่ ว นการเปลี่ ย นแปลงการ
ปกครองของสยามนําโดยคณะราษฎรจึงถูกตกอันดับว่า ไม่ใช่ส่งิ ที่ทา่ นผู้น้ันเรียกว่า “ปฏิวัติ” 8. ท่า นที่เ ป็ นอดี ตกรรมการกลางของพรรค ซึ่ ง มี ฐ านะเป็ นนั ก วิ ช าการนั้ น อย่ า งน้ อยก็ต้ อ งอ่ า น หนังสือชื่อ “ปั ญหาเลนิน” ซึ่ งสตาลิ นแต่ งไว้ อันเป็ น หนังสือที่สมาชิกอันดับกรรมการต้ องศึกษา ท่านก็น่าที่ จะแจ้ งความจริงทางวิชาการให้ สานุ ศิษย์ของท่านทราบ ว่าเมธีน้ันๆ ได้ อธิบายถึงลักษณะที่เป็ น “เรฟโวลูชัน” ซึ่ งบางท่า นแปลว่ า “ปฏิวั ติ” นั้ น ตามที่เ มธีก ล่ า วไว้ ดังต่อไปนี้ (1) มาร์ ก ซ์ ส นั บ สนุ น ขบวนการกู้ ช าติข องชาว โปลและชาวฮังการีท่ีต่อสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อกลางศตวรรษที่ 19 นั้นว่ าเป็ น “ชาติเรฟโวลูชัน นารี” (Revolutionary Nations) (2) สตาลิ นอธิบายว่ าขบวนการกู้ อิสรภาพของ ชาติภายใต้ แอกจั กรพรรดินิยมนั้ นไม่ จาํ เป็ นต้ องมีชน
ชั้ น ผู้ ไร้ ส มบั ติ (กรรมาชี พ ) เป็ นส่ ว นประกอบ หรื อ จํา เป็ นต้ องมี แ ผนกการสถาปนาสาธารณรั ฐ ท่ า น ยกตัวอย่างว่าการที่กษัตริย์ (เอมีร์) แห่งอัฟกานิสถาน ต่อสู้จักรวรรดินิยมอังกฤษเพื่อเอกราชของชาติน้ันเป็ น “กา รต่ อสู้ ทา งเรฟโวลู ชั น นา รี ” (Revolutionary Struggle) แม้ ว่ากษัตริย์น้ันและผู้ร่วมมือของพระองค์มี ทรรศนะราชาธิปไตย (3) สตาลินยกตัวอย่างว่ า พ่ อค้ าและปั ญญาชน เจ้ า สมบั ติอียิป ต์ท่ีต่ อ สู่จั ก รวรรดิ อังกฤษเพื่ อ เอกราช ของชาติ น้ั น เป็ น “การต่ อ สู้ ทางเรฟโวลู ชั น นารี ” (Revolutionary Struggle) แม้ บุคคลที่ต่อสู้น้ันจะคัด ค้ ายระบบสังคมนิยม (4) สตาลิ นยกตัวอย่ างว่ า การเรี ยกร้ องให้ มี รัฐสภา “ดูมา” สมัยที่พระเจ้ าซาร์เป็ นมหาบรมศักดินา ใน ค.ศ. 1905 นั้น เป็ น “การเรียกร้ องทางเรฟโวลูชัน นารี” (Revolutionary Demand)
(5) สตาลินอ้ างคําของเลนินว่า “ทุกๆ ก้ าวที่
ดําเนินก้ าวหน้ าตามแนวทางกู้ อิสรภาพนั้นเป็ น ก้ าวที่ดาํ เนินก้ าวหน้ าตามแนวทางกู้อิสรภาพนั้น เป็ นก้ าวหนึ่งทางเรฟโวลูชันนารี (Revolutionary Step)” ท่ า นผู้ อ่ า นย่ อ มเห็น ได้ ว่ า เมธี ดั ง กล่ า วนาน มาแล้ วนั้ น มิได้ ก ล่ าวว่ าการเปลี่ ยนความสัมพั นธ์การ ผลิตเป็ นเครื่ องชี้ ลักษณะของ “เรฟโวลู ชัน” เพราะ การเปลี่ยนความสัมพันธ์การผลิตอาจเป็ นการเปลี่ยนที่ ก้ าวหน้ า หรือถอยหลังไปสู่ระบบเก่กไ็ ด้ เช่นการเปลี่ยน ความสัมพั นธ์การผลิตสังคมนิยมให้ ถอยหลังกลับไปสู่ ทุนนิยม หรือการเปลี่ยนความสัมพันธ์การผลิตทุนนิยม ให้ กลับสู่ระบบเศรษฐกิจศักดินา ฯลฯ ฉะนั้นหลักที่เมธี นั้นให้ ไว้ ในการพิ จารณาลั กษณะของ “เรฟโวลู ชัน” คือ
1) ทุกๆ ก้ าวที่ดาํ เนินตามแนวทางกู้อิสรภาพ ของมนุษย์กถ็ ือว่าเป็ นก้ าวหนึ่งทางเรฟโวลูชัน 2) ความรู้เบื้องต้ นที่ชาวมาร์กซิสต์จะต้ องมี คือ การพิ จารณาปรากฏการณ์ ทางสังคมจะต้ องพิ จ ารณา ตามสภาพ, ท้ อ งที่ , กาละ, ของแต่ ล ะสัง คม ฉะนั้ น สตาลินจึงวินิจฉัยว่าการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ อัฟกานิสถานนําโดยกษัตริย์ (เอมีร์) และสาวกที่นิยม สถาบันพระมหากษัตริย์ซ่ึงต่อสู้จักรวรรดินิยมอังกฤษที่ ยกกองกองทหารมารุ ก รานนั้ น ว่ า เป็ นการต่ อ สู้ ท าง
“เรฟโวลูชัน” เพราะสภาพของอัฟกานิสถานสมัยนั้น ยังไม่มีอุตสาหกรรมที่ใช้ เครื่อจักรกลสมัยใหม่ จึงยังไม่ มี “เจ้ าสมบัติ” (Bourgeois, Modern Capitalist) ซึ่ง เป็ นนายทุนสมัยใหม่ และยังไม่มี “ชนชั้นผู้ ไร้ สมบัติ” (โป๎ รเลตารียาต์) ซึ่งเป็ นกรรมกรสมัยใหม่ ฉะนั้น เท่าที่ กษัตริย์ และสาวกของพระองค์ทาํ การต่อสู้เพื่อเอกราช ของชาติสมัยนั้นก็ถือว่าเป็ นการก้ าวหน้ าทางเรฟโวลูชัน
ถ้ าเรานําหลั กที่สตาลิ นวิ นิจฉั ย มาประยุ กต์แก่ สมัยรั ช กาลที่ 5 ซึ่ งได้ ต่ อ สู้ จั ก รวรรดิ นิ ยมอั งกฤษ ฝรั่งเศสตามวิธีของพระองค์จนสยามคงความเป็ นเอก ราชทางนิตินัย ซึ่งคนไทย และลูกหลานจีนได้ อาศัยอยู่ ในสยามที่เป็ นประเทศเอกราชทางนิ ตินัยนั้ น ก็นับว่ า รั ช กาลที่ 5 ได้ ท รงต่ อ สู้ ท างเรฟโวลู ชั น ตามสภาพที่ พระองค์ แ ละปวงชนชาวไทยสมัยนั้ น ได้ ยอมเสียสละ ชีวิตกระทําตามสภาพของตน ซึ่งต่างกับจักรพรรดิจีน 3) การที่มาร์ กซ์ สนั บ สนุ นชาวโปล และชาว ฮั ง การี เ มื่ อศตวรรษที่ 19 ซึ่ งต่ อ สู้ ระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์น้ั น แม้ ประเทศทั้งสองมีระบบ อุตสาหกรรมสมัยใหม่ และมีชนชั้นผู้ไร้ สมบัติ (โป๎ รเล ต า รี ย า ต์ ) ซึ่ ง เ ป็ น ก ร ร ม ก ร ส มั ย ใ ห ม่ แ ต่ ต า ม สภาพแวดล้ อ มของโปแลนด์ และฮั งการี สมัยนั้ น การ เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ส ม บู ร ณ า ญ า สิ ท ธิ ร า ช ย์ ม า เ ป็ น ประชาธิปไตยเจ้ าสมบัติกเ็ ป็ นการก้ าวหน้ าพอแก่สภาพ ขณะนั้น
4) ท่านที่เห็นด้ วยกับอดีตกรรมการของพรรค หนึ่งซึ่งอธิบายไว้ ในหนังสือ “ชีวทัศน์” ถึงทฤษฎี “ได
อาเล็คติคัล แอนด์ ฮิสตอริคัล แมทีเรียลิสม์” ว่า “วั ตถุ นิยมวิ ภาษและประวั ติศาสตร์ ” นั้ น ก็เป็ น เสรี ภาพของท่านที่จะเห็นเป็ นเช่ นนั้นได้ แต่ ผมขอให้ ท่านศึกษา “ประวั ติศาสตร์ ” เพียงเบื้องต้ นเป็ นอย่ าง น้ อยให้ สมกั บ ชื่ อเรื่ องที่ ท่ า นตั้ ง เป็ นศั พ ท์ ไ ทยไว้ โดยเฉพาะกรณีแห่งการเปลี่ยนระบบสังคมขอฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1789 ซึ่งบางท่านยอมให้ เป็ นสิ่งที่ท่านเรียก ไ ด้ ว่ า “ ป ฏิ วั ติ ” นั้ น ผ ม ก็ ข อ ใ ห้ ท่ า น ศึ ก ษ า ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสโดยสังเขปต่อไปนี้ ก. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 “สภา ฐานันดรทั่วไป” (États Generaux) ซึ่งประกอบด้ วย เจ้ าศักดินา ฆราวาส บรรพชิต และเจ้ าสมบัติ (บูรจัวส์) ซึ่ ง เป็ นผู้ แ ทนราษฎรได้ มี ก ารประชุ ม กั น และมี ก าร ขัดแย้ งเกี่ยวกับระบบการเมืองเก่าที่จะต้ องเปลี่ยนเป็ น
ระบบประชาธิป ไตยโดยยั งคงมี พ ระมหากษั ตริ ย์เ ป็ น ประมุข ต่อมาในวันที่ 9 กรกฎาคม ปี นั้นสภาฐานันดร ทั่วไปซึ่งเจ้ าสมบัติ (บูรจัวส์) เป็ นผู้แทนราษฎรมีเสียง ข้ า งมากได้ ล งมติ ใ ห้ เปลี่ ย นสภาพของสภานั้ น เป็ น
“สภารัฐธรรมนู ญแห่ งชาติ” ซึ่ งทําหน้ าที่เป็ นสภา นิ ติ บั ญ ญั ติ แ ละร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ประชาธิ ป ไตยโดยมี พระมหากษัตริย์เป็ นประมุขอยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ วันที่ 14 กรกฎาคมปี นั้ นราษฎรกรุ งปารี สได้ โจมตีคุก บาสตียล์ ซึ่ งถือ ว่ า เป็ นอนุ สรณ์แ ห่ งการกดขี่ ทารุณของระบบสมบู รณาญาสิทธิราชย์ แล้ ว สถาปนา การปกครองตนเองของกรุ ง ปารี ส (1789) สภา รัฐธรรมนู ญได้ ออกกฎหมายหลายฉบับเลิกสิทธิพิเศษ ของระบศั กดิน า และได้ ป ระกาศรั ฐธรรมนู ญ ฉบั บ 3 กั น ยายน ค.ศ. 1791 ให้ ฝรั่ ง เศสเป็ นระบบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็ นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ
การกระทํา ที่เ ริ่ มตั้งแต่ พ ฤษภาคม ค.ศ. 1789 มาจนถึ ง ตอนนี้ ทั่ว โลกเรี ย กกัน ว่ า เรฟโวลู ชั น ท่า นที่ ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ฝ รั่ ง เศสจากภาษาจี น ก็ข อให้ ตรวจดู ว่า จี นเรี ยกการเปลี่ยนแปลงของฝรั่ งเศส โดย สภารัฐธรรมนูญว่าเป็ น “เก๋อมิ่ง” [ตัวอักษรจีน] หรือมิใช่ ข. ใน ค.ศ. 1792 พระเจ้ าหลุยส์ท่ี 16 และพระ ราชิ นี อ องตั ว เนตต์ ไ ด้ ท รงติ ด ต่ อ กั บ ออสเตรี ย ให้ ย ก กองทัพเข้ ามาปราบราษฎรฝรั่งเศส จึงเป็ นการจําเป็ นที่ รั ฐสภาฝรั่ งเศสต้ องให้ พระมหากษั ตริ ย์งดใช้ พ ระราช อํานาจชั่วคราว แต่ต่อมาฝรั่งเศสจําเป็ นต้ องทําสงคราม กับออสเตรีย ราษฎรฝรั่งเศสจึงเรียกร้ องให้ ล้มสถาบัน พระมหากษั ตริ ย์ และสถาปนาสาธารณรั ฐขึ้น ถ้ าท่าน ผู้ ใดถื อว่ าการเปลี่ ยนระบบสมบู รณาญาสิทธิราชย์มา เป็ นระบบราชาธิปไตยภายใต้ รัฐธรรมนูญมิใช่ส่งิ ที่ท่าน เรี ย กว่ า “ปฏิ วั ติ ” ท่ า นก็ ย่ อ มนั บ ว่ า “ปฏิ วั ติ ” ฝรั่งเศสเพิ่งเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1792 ต่างกับทั่วโลกนับว่ า เรฟโวลู ชัน เริ่ มตั้งแต่ ค.ศ. 1789 อย่ า งไรก็ต ามวิ ธีท่ี
ฝรั่งเศสสามารถสถาปนาสาธารณรัฐนั้นมิใช่มวลราษฎร ฝรั่ งเศสยกกํา ลั งมาพิ ชิต หากเป็ นไปโดยมวลราษฎร เรียกร้ องให้ รัฐสภาลงมติสถาปนาสาธารณรัฐ ค. เมื่อ ฝรั่ งเศสสถาปนาเป็ นสาธารณรั ฐแล้ ว ก็ ต้ องเผชิญกับปั ญหาเศรษฐกิจและการเมืองภายในกับ ภายนอกหลายประการ คณะบริหารประเทศต้ องปลี่ยน กัน หลายชนิ ด ล้ ม ลุ ก คลุ ก คลานในระหว่ า ง 9 ปี โดยเฉพาะการเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้ เตรียมตัวมีแผนการ แก้ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไว้ ให้ ดีก่อน เศรษฐกิจที่ทรุด อยู่แล้ วก็ย่ิงทรุดหนักลงไปอีก บัตรแทนเงินตราที่เรียก เป็ นภาษาฝรั่งเศสว่า “อัสซิญยาต์” (Assignat) ที่มีค่า ลดลงมากอยู่ก่อนแล้ วนั้น เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีอากรได้ ไม่พอจ่ ายก็ออกบัตรบัตรชนิ ดนั้นเพิ่ มมากมาย จึ งทํา ให้ บัตรนั้นลดค่าลงเกือบถึงศูนย์ อันเป็ นสภาพที่คล้ าย กับจีนระหว่าง ค.ศ. 1945 ถึง 1949 (ก่อนสถาปนา สาธารณรัฐของราษฎรจีน) ซึ่ง 1 ดอลล่าร์ อเมริ กันมี ค่าประมาณ 1,000,000 เหรียญจีน ผู้ใดไปจ่ายตลาด
ก็ต้ อ งมี ก ระเป๋ าหิ้ วใส่ ธ นบั ต รจี น ต่ อ มาก๊ก มิ น ตั๋ ง ได้ เปลี่ยนธนบัตรจีน มีอัตราเดิม 4 เหรียญต่อ 1 ดอลล่าร์ อเมริกัน แต่กม็ ีค่าตกลงเรื่อยๆ อีก เมื่อก่อนปลดแอก กรุ ง นานกิ ง 1 เหรี ย ญอเมริ กั น มี ค่ า ประมาณ 500,000 เหรียญจีน ง. “คณะอํ านวยการรัฐ ” (Directoire) ซึ่ งมี อํา นาจสู ง สุ ด ของสาธารณรั ฐ ฝรั่ ง เศสระหว่ า ง ค.ศ. 1795 ถึง 1799 ม่สามรถแก้ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจได้ ดังกล่าวแล้ ว ผู้ร้ายชุกชุม ความสงบเรียบร้ อยภายในไม่ มี ดังนั้นใน ค.ศ. 1799 นายพลนโปเลียน โบนา ปา ร์ ต จึ งทํ า ก า ร รั ฐ ป ร ะห า ร ล้ ม ร ะ บ บ “คณะ
อํานวยการรัฐ” แล้ วสถาปนา “ระบบกงสุลเผด็จ การ” (Consulat) ตามวิธที ่ชี าวโรมันเคยทํามาในภาวะ ฉุกเฉิน
คณะกงสุลเผด็จการประกอบด้ วยกงสุล 3 คน ท่านนายพลเป็ นกงสุลคนที่ 1 มีอาํ นาจสูงสุดซึ่งเท่ากับ เป็ นเผด็จการรัฐ แม้ ท่านนายพลเป็ นทหารแต่มีความรู้ เศรษฐกิ จ และนิ ติ ศ าสตร์ ท่ า นจึ ง ตั้ ง ธนาคารแห่ ง ประเทศฝรั่ งเศส (Banque de France) เปลี่ยนบัตร แทนเงิ น ตราเดิ ม ที่เ สื่ อ มค่ า โดยมี เ งิ น ตราใหม่ และ รั ก ษาเสถี ย รภาพของเงิ น ตราไว้ ได้ อี ก ทั้ งํา ด้ จั ด ทํา ประมวลกฎหมายขึ้ นในสมั ย นั้ น ท่ า นได้ วางระบบ ปกครองภายใน และรั กษาความสงบเรี ยบร้ อยได้ ชาว ฝรั่งเศสจํานวนมากนิยมท่านนายพลคนนี้ ใน ค.ศ. 1804 ท่านได้ อาศั ยเสียงข้ างมากใน รัฐสภาซึ่งท่านเป็ นผู้แต่งตั้งนั้นลงมติให้ ใช้ รัฐธรรมนู ญ ใ ห ม่ ย ก เ ลิ ก ส า ธ า ร ณ รั ฐ โ ด ย ส ถ า ป น า ร ะ บ บ “จักรวรรดิ” (Empire) ขึ้นแทนที่ ซึ่งท่านนายพล เถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็ น “จักรพรรดิ” (Empereur) ทรงพระนามว่า “นโปเลียนที่ 1”
ต่ อ จากนั้ น มาก็มี ก ารต่ อ สู้ ร ะหว่ า งพวกนิ ย ม ราชวงศ์ เดิมซึ่ งมีพระราชา (Roi) เป็ นประมุขเรี ยกว่ า
“ราชานิยม” (Royaliste) กับพวกนิยมระบบซึ่งมี “จั ก รพรรดิ ” (Empereur) เป็ นประมุ ข เรี ย กว่ า “จักรพรรดินิยม” (Imperialiste) หรือเรียกว่า “โบ นาปาร์ตนิยม” (Bonapartiste) และพวกทั้งสองนั้นก็ ขัดแย้ งกับพวกนิยมระบบสาธารณรั ฐ การต่อสู้ได้ ผลัด กันชนะผลัดกันแพ้ หลายยกในระหว่างเวลากว่า 70 ปี จนถึง ค.ศ. 1870 จึงได้ มีระบบสาธารณรัฐฝรั่งเศสครั้ง ที่ 3 แล้ วต่อมาเปลี่ยนเป็ นครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ในปั จจุบัน นี้ 9. สานุศิษย์ของอดีตกรรมการกลางแห่งพรรค หนึ่งที่กล่าวถึงนั้นได้ อ้างอีกว่า การเปลี่ยนแปลงฯ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่ส่ิงที่เขาเรียกว่า “ปฏิวัติ” เพราะเขาถือว่าเป็ น “รัฐประหาร” เท่านั้น ผมเห็นว่ า ผู้ น้ั น ปะปนยุ่ ง เหยิ งในเป้ าหมายอัน เป็ นลั ก ษณะของ
“เรฟโวลู ชัน” กับ “วิ ธีได้ อาํ นาจรั ฐ” คื อเอา วิ ธีการ ปะปนกับ หลักการ ขอให้ ทา่ นผู้อ่านสังเกตว่า คําว่า “รัฐประหาร” นั้ น พระเจ้ าวรวงศ์ เ ธอกรมหมื่ น นราธิ ป ฯ ได้ ท รง บัญญัติข้ ึน เพื่อถ่ายทอดคําอังกฤษ และฝรั่ งเศส “กูป์ เด ตาต์” (Coup d’ État) ที่แปลตามตัวแปลว่าการเขก หรือกระแทกอํานาจรัฐ อันเป็ น “วิธกี ารยึดอํานาจรัฐ
โดยฉั บ พลั น ” โดยลํ า พั ง วิ ธี ก ารนั้ น ยั ง ไม่ แ สดง ลักษณะว่ าเป็ นหรื อไม่เป็ น “เรฟโวลูชัน” คือจะต้ อง พิ จ า ร ณ า ว่ า วิ ธี ก า ร รั ฐ ป ร ะ ห า ร ใ ด นํ า ไ ป สู่ ก า ร เปลี่ ย นแปลงระบบสั ง คม ให้ ก้ า วหน้ า ตามวิ ถี ท างกู้ อิสรภาพก็มีลักษณะเป็ น “เรฟโวลูชัน” ซึ่งปรากฏใน หลายประเทศแห่งค่ายสังคมนิยม แต่ รัฐ ประหารใดนํา ไปสู่การดึ งสังคมให้ ถ อย หลัง รัฐประหารนั้นก็มีลักษณะเป็ น “รีแอคชันนารี”
คื อ การถอยหลั ง เข้ า คลอง ที่เ รี ย กว่ า “รั ฐ ประหาร
ปฏิกริ ิยา” เช่นรัฐประหารในสยามเมื่อ 8 พ.ย. 2490 ส่วน “สงครามกลางเมือง” (ซีวิลวอร์ ) นั้น ก็มิใช่เป็ น “เรฟโวลูชัน” ทุกกรณีคือต้ องสุดแท้ แต่ว่า สงครามกลางเมืองนั้น ทําเพื่ อเปลี่ ยนระบบสังคมเก่า มาเป็ นสังคมใหม่ท่กี ้ าวหน้ า หรื อเพื่อดึงสังคมให้ ถอย หลัง เช่ น สงครามกลางเมืองของสเปนนําโดยฟรั งโก นั้นเป็ นสงครามกลางเมืองปฏิกิริยา ทํานองเดียวกันกับ การเปลี่ ย นความสัม พั น ธ์ก ารผลิ ต ทางเศรษฐกิจ ของ สังคมใดๆ ถ้ า ทํา ให้ ผลผลิ ตตกตํ่า จากที่เ คยมีอ ยู่ เดิม ต้ องลดน้ อยลงไป การเปลี่ยนแปลงความสัมพั นธ์การ ผลิตเช่นนั้นก็เป็ นปฏิกริ ิยา 10. ในระหว่ า งเวลา 12 ปี นั บ ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ซึ่ งมีการโต้ แย้ งกันเรื่ องศัพท์ใหม่ของไทยว่ า
“ปฏิวัติ” และคอมมิวนิสต์บางสาขามิให้ สานุ ศิษย์ถือ ว่า การเปลี่ยนแปลงโดยคณะราษฎรเมื่อ 2475 เป็ น
“ปฏิวัติ” นั้นก็เกิดเหตุการณ์เมื่อ 20 ตุลาคม 2501 คือจอมพลสฤษดิ์กบั พวกร่วมกันจัดตั้งเป็ นคณะเรียกว่า
“คณะปฏิวัติ” ขึ้นทําการล้ มระบบการปกครองตาม รั ฐ ธรรมนู ญ 2475 แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม แล้ ว ปกครอง ประเทศตามระบบเผด็จ การ คื อ ใช้ วิ ธี ป กครองโดย
“คําสั่งคณะปฏิวัติ” ซึ่งมีผลเป็ นกฎหมายสูงสุด ทํา ให้ คนไทยอกสั่นขวัญหาย เพราะคณะปฏิวัติจับคนไป ประหารชี วิ ต ได้ โดยไม่ ต้ องส่ ง ตั ว ไปให้ ศาลชํ า ระ เป็ นอั น ว่ า จอมพลสฤษดิ์ กั บ พวกได้ ถื อ เอาคํ า ว่ า
“ปฏิ วั ติ ” ไปใช้ เรี ย กการกระทํ า ของตนสมดั ง ความหมายตามมู ลศั พ ท์ว่ า การเปลี่ ย นหลั ก มู ล กลั บ หรือถอยหลังกลับไปสู่ระบบเผด็จการอย่างเจ้ าทาสเจ้ า ศักดินายิ่งกว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยพระปกเกล้ าฯ คํา สั่ง ของคณะปฏิวั ติ น้ั น รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ต่ อ ๆ มา รวมทั้งฉบับ 2517 ก็รับรองว่ าเป็ นกฎหมายใช้ อยู่จน ทุ ก วั น นี้ (ยกเว้ นรั ฐ สภาให้ ยกเลิ ก บางฉบั บ ) จึ ง เป็ นอันว่าคํา “ปฏิวัติ” ในภาษาไทยนั้นได้ รับรองโดย
รัฐสภาไทยตามความหมายที่แสดงออกโดยการกระทํา ของจอมพลสฤษดิ์กบั พวก ผมจึ ง เห็ น ว่ า ไม่ ส มควร ที่ ผ้ ู รั กชา ติ แ ละ ประชาธิปไตยไทย ซึ่ งต้ อ งการพั ฒนาประเทศชาติให้ ก้ าวหน้ าสู่ความเป็ นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์จะใช้ คาํ ว่ า “ปฏิวั ติ ” เพื่ อ เรี ย กการกระทํา ของตน คื อ ควร ปล่ อ ยให้ เ ป็ นคํา ไทยที่มี ค วามหมายเฉพาะเรี ย กการ กระทําของจอมพลสฤษดิ์ กับ พวก ซึ่ งเป็ นการเปลี่ ยน ระบบสังคมให้ ถอยหลังกลับ 11. ในหนั ง สื อ ของผมเรื่ อ ง “ความเป็ น อนิจ จัง ของสัง คม” พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกเมื่ อ พ.ศ. 2500 และในปี นั้นเองได้ พิมพ์อีก 2 ครั้ง และต่อมามีผ้ ูพิมพ์ ไม่น้อยกว่ า 5 ครั้ง ผมได้ เสนอให้ ถ่ายทอดคําอังกฤษ “Evolution” (อีโวลู ชัน ) เป็ นศั พท์ไทยว่ า “วิ วัฒ น์ ” ผมมีความยินดีท่ขี อเสนอของผมตรงกับคณะกรรมการ บัญ ญั ติศัพ ท์ของราชบั ณฑิตยสถานซึ่ งพระเจ้ า วรวงศ์
เธอกรมหมื่ นนราธิ ป ฯ เป็ นนายกและประธาน กรรมการฯ ได้ ถ่ายทอดคํา “Evolve” อันเป็ นกิริยาของ “Evolution” เป็ นศัพท์ไทยว่า “วิวัฒน์” ส่วนคําอังกฤษว่า “Revolution” (เรฟโวลูชัน) นั้น ราชบัณฑิตยสถานยังมิได้ กล่าวไว้ ในหนังสือว่าด้ วย “บัญญัติศัพท์” พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2517 ส่วนผมได้ เสนอ ไว้ ในหนังสือเรื่ อง “ความเป็ นอนิจจังของสังคม” ให้ ถ่ายทอดคําอังกฤษนั้นเป็ นศัพท์ไทยว่า “อภิวัฒน์” มี คําอธิบายดังต่อไปนี้
“อภิวัฒน์” ประกอบด้ วยคํา “อภิ” ซึ่งเป็ น คําใช้ นําหน้ าศัพท์ มีความหมายว่ า ยิ่ง วิเศษ, เหนือ กับคําว่า “วัฒน์” ซึ่งแปลว่า ความเจริญ, ความงอก งาม เมื่อรวมความหมายของคําทั้งสองแล้ วได้ ความว่า
“ความงอกงามอย่างยิ่งหรืออย่างวิเศษ” ทั้งนี้ตรง กับความหมายทางวิทยาศาสตร์ สังคมดังกล่ าวมาแล้ ว คือการเปลี่ยนแปลงระบบเก่าตามแนวทางกู้อิสรภาพ
ของมนุ ษย์ท่ีถู กกดขี่เ บี ยดเบี ยนนั้ น เป็ นการเปลี่ ยนที่ ก้ าวหน้ า ซึ่งเป็ นการเปลี่ยนอย่างวิเศษ คํ า ว่ า “อภิ วั ฒ น์ ” นี้ นํ า มาใช้ ได้ แก่ ก าร เปลี่ ย นแปลงที่ก้ า วหน้ า ยิ่งใหญ่ ในวิ ทยาศาสตร์ และ เทคนิ ค แห่ ง การผลิ ต ทางเศรษฐกิจ เช่ น “Industrial Revolution” นั้ น เราอาจเรี ยกเป็ นศั พ ท์ไ ทยได้ ว่ า
“อภิวัฒน์อุตสาหกรรม” ท่านที่สนใจในกสิกรรม ซึ่งพื้ นฐานสําคัญแห่ ง ผลิตผลของสยามเวลานี้กไ็ ม่ควรมองแต่ด้านการเมือง ซึ่งเป็ นโครงสร้ างเบื้อบนเท่านั้น ขอให้ นึกถึงชาวนาและ กสิกรให้ มากๆ ว่าเวลานี้กม็ ีอภิวัฒน์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียก ว่า “Green Revolution” แปลตามตัวว่า “อภิวัฒน์เขียว” หรื อ การอภิ วั ฒ น์ ท างวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคนิ ค กั บ เครื่องมือกสิกรรม อันเป็ นการอภิวัฒน์ท่กี ้ าวหน้ าอย่าง วิ เ ศษที่เ ปลี่ ย นวิ ธีก ารผลิ ต กสิ ก รรมของเทคนิ ค และ เครื่องมือผลิตที่ใช้ กนั อยู่ตามระบบเศรษฐกิจศักดินา
ส่ ว นวิ ธีท่ี จ ะทํา ให้ บ รรลุ ถึ ง การ “อภิ วั ฒ น์ ” นั้นเป็ นเรื่องของ “วิธกี าร” ซึ่งทุกตําราของเมธีสอนให้ พิ จ ารณาตามความเหมาะสมแก่ ส ภาพ ท้ อ งที่ กาละ ของแต่ ละสังคม สํา หรั บ ผู้ ท่ีอ้ า งว่ า นั บ ถือ ลั ทธิมาร์ ก ซ์ ตามแนวทางเลนิ น นั้ น ถ้ า อ่ า นคํา สอนของเลนิ น โดย ตลอดก็จะพบว่ าท่านกล่ าวไว้ ว่าผู้ท่ีพูดว่ าจะเอาวิ ธีน้ั น หรือไม่เอาวิธีน้ ีเป็ นผู้ท่ไี ม่เข้ าใจแม้ แต่หลักการเบื้องต้ น ของสสารธรรม ประติการ และวิวรรตการ ท่านว่าอาจมี วิธีท่ีมนุ ษย์ไม่เคยทํามาก่อน แต่เป็ นวิธีท่ีเหมาะสมแก่ สภาพ ท้ องที่ กาละ ของแต่ละสังคมก็ได้ เหตุฉะนั้นใน ค.ศ. 1920 ท่ า นจึ ง คั ด ค้ า นพวกที่ ท่ า นเรี ย กว่ า “คอมมิว นิส ต์ปีกซ้า ย, ความคิ ดระสํ า่ ระสายอย่ า ง เด็กไร้เดียงสา” (LEFT WING COMMUNISM, AN INFANTILE DISORDER) รวมทั้งคอมมิวนิสต์ อัง กฤษส่ ว นหนึ่ ง ที่คั ด ค้ า นการต่ อ สู้ ท างรั ฐ สภา ท่า น กล่ าวสําหรั บ สังคมอังกฤษที่มีสภาพพิ เศษโดยเฉพาะ ซึ่ งมีร ะบบรั ฐสภาประชาธิป ไตยและมี ร ะบบเลื อ กตั้ ง
เป็ นประชาธิปไตยต่างกับหลายสังคมที่รัฐสภาและการ เลือกตั้งมีข้ นึ เพื่อชนชั้นเจ้ าสมบัตินายทุนนั้น ว่า
“พรรคคอมมิวนิสต์ในบริเตนใหญ่ต้องใช้ การเลื อกตั้ง ทางรั ฐสภาเสมอไปโดยไม่ หยุ ดยั้ ง และโดยไม่บ่ายเบี่ยง” (The communists in Great Britain should constantly unremittingly and undeviating utilise parliamentary elections……...) ท่ า นที่ ใ ช้ สามั ญ สํ า นึ ก อั น เป็ นตรรกวิ ท ยา เบื้องต้ นของมนุษยชาติย่อมเห็นได้ ว่าคํากล่าวของเลนิน ที่ มิ ใ ห้ ถื อ เอาวิ ธี ใ ดเป็ นคั ม ภี ร์ ต ามตั ว นั้ นตรงกั บ ธรรมชาติ แ ท้ จ ริ งของมนุ ษย์ ผ้ ู ใดมี ความเป็ นอยู่ อ ย่ า ง ราษฎร ก็ย่ อ มประสบพบเห็น ว่ า ราษฎรในประเทศ หนึ่งๆ ย่อมมีความถนัดต่างๆ กัน แม้ ในระหว่างบุคคล ที่เข้ าลักษณะเป็ นกรรมกรนั้น กรรมกรก็มีความถนัดใน การทํางานแตกต่างกันตามชนิ ดปลีกย่อยของการงาน
เช่นกรรมกรแบกหามก็ถนัดในการนั้น และกรรมกรใน วิ ส าหกิจ ที่ใ ช้ เ ครื่ อ งจั ก รกลก็มี ค วามถนั ด ในงานนั้ น แตกต่างกับกรรมกรแบกหาม ส่วนชาวนาก็มีความถนัด ในการทํา นาต่ า งๆ กั น ตามสภาพท้ อ งที่ ก าละ เช่ น ชาวนาไทยไม่ถนัดการใช้ ปุ๋ยอุจจาระมนุ ษย์ แต่ชาวนา จีนมีความถนัดใช้ ปุ๋ยชนิดนั้ น แม้ ในระหว่ างชาวนาจี น ด้ วยกัน ก็ถ นั ดใช้ ปุ๋ ยอุ จ จาระมนุ ษย์ ต่ า งกัน ตามท้ อ งที่ เช่นชาวนาจีนใกล้ กรุงปักกิ่งซึ่งผมเคยสังเกตหลายปี นั้น ก็เห็นว่ าเขาถนัดใช้ ปุ๋ยอุจจาระมนุ ษย์ท่ีตากหรื อผึ่งให้ แห้ งก่อน ส่ วนชาวนาและชาวสวนผั กบริ เ วณกวางตุ้ง ถนัดใช้ อุจจาระสดโดยเขาไม่มีความรังเกียจ ขอให้ ท่านพิ จารณาถึงวิธีรับประทานอาหารว่ า คนในชาติหนึ่งถนั ดวิ ธีต่ า งกับ อีกชาติ หนึ่ งตามสภาพ และท้ อ งที่ เช่ น ราษฎรไทยส่ ว นมาก (นอกจากคน สมั ย ใหม่ ) ก็ถ นั ดใช้ มื อ เปิ บข้ า วที่รั บ ประทานผั ก จิ้ ม นํา้ พริก ซึ่งถ้ าใช้ ตะเกียบรับประทานอาหารไทยแท้ กไ็ ม่ ถนัด คนไทยสมัยก่อนที่ใช้ ช้อนส้ อมนั้นก็ต้องมีผ้ ูห่ันผัก
ให้ พ อดี คํา ก่ อ น คนฝรั่ ง เศสถนั ด ส้ อ มกั บ มี ด ในการ รั บ ประทานอาหาร และถนั ด ใช้ ส้ อ มเป็ นพิ เ ศษ ถ้ า รับประทานปลาก็ใช้ ส้อมอย่างเดียว โดยเอามือขวาจับ ส้ อม เอามือซ้ ายถือขนมปั งชิ้ นหนึ่งดุนปลาให้ เข้ าส้ อม แต่คนอังกฤษถนัดใช้ มีดปลาที่ทาํ เฉพาะกับส้ อม ฯลฯ ฉั น ใดก็ ดี วิ ธี ท่ี จ ะเข้ าสู่ ก ารอภิ วั ฒ น์ ต าม ความหมายว่าทุกๆ ก้ าวหน้ าตามแนวทางกู้อิสรภาพนั้น ก็ต้องสุดแท้ แต่ความถนัดของบุคคล การที่ผ้ ูใดอ้ างว่ า ต้ อ งทํา ตามวิ ธี ท่ี ต นต้ อ งการจึ ง จะยกย่ อ งว่ า เป็ นวิ ธี อภิวัฒน์ น้ั น ก็เป็ นเรื่ องที่เ รี ยกว่ าคิดตาม “อัตวิ สัย ” หรือ “จิตนิยม” หรือคิดตามใจตนเองโดยไม่มองถึง ความถนัด ของแต่ละบุคคล และยิ่งผู้อ้างเองก็ไม่ถนัด ในวิ ธี ชั ก ชวนให้ คนอื่ น ทํา แล้ วก็เ ป็ นการพู ด โดยไม่ รับผิดชอบ 12. โดยที่อาจารย์ชีววิทยาผู้หนึ่งที่ถามผมในที่ ประชุ ม ที่น ครเอดิ น เบอะเรอสกอตแลนด์ ว่ า ในทาง
ชีววิ ทยานั้นการเปลี่ ยนแปลงดําเนิ นไปตามวิ ธีท่ีเรี ยก เป็ นภาษาอังกฤษว่า “Evolution” (อีโวลูชัน) แต่เหตุ ใดในทางวิ ท ยาศาสตร์ สั ง คมจึ ง มี วิ ธี ท่ี เ รี ย กเป็ น ภาษาอังกฤษว่ า (Revolution) ซึ่ งผมถ่ ายทอดเป็ น ศัพท์ไทยว่า “อภิวัฒน์” ผมจึงขอชี้แจงดังต่อไปนี้ ( 1) ผ ม ข อ ซ้ อ ม ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ว่ า ใ น ท า ง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติน้ัน การเปลี่ยนแปลงของสสารมี 2 วิธคี ือ
ก . วิ ธี เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง ป ริ ม า ณ (Quantitative Change) ซึ่งค่อยเป็ นค่อยไปทีละนิดๆ ในระหว่ า งช้ า นานก็ไ ด้ ผ ลเป็ นการเปลี่ ย นแปลงทาง คุณภาพ (Qualitative Change) เช่นสิ่งมีชีวิตแรกคือ เซลล์ ที่พัฒนาในระยะเวลาหลายล้ านปี ก็เป็ นผลให้ มี สัตว์ ท่ีพัฒนาสูงขึ้น ตามทฤษฎีวิ วัฒนาการของดาร์ วิ น แล้ ว ก็มี สัต ว์ ชนิ ด หนึ่ งคื อ กระบี่ ท่ีมี ท้ังอวั ย วะดี ก ว่ า ลิ ง
ทั้งหลาย แล้ ว พั ฒนาเป็ นมนุ ษยชาติ ทั้งนี้เ ป็ นไปตาม กฎแห่ ง การคั ด เลื อ กตามธรรมชาติ ข องสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่มี คุณภาพดีข้ ึนจึงดํารงอยู่ได้ ส่วนที่อ่อนแอก็กลับสูญไป (Survival of the Fittest)
ข . วิ ธี เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง คุ ณ ภ า พ (Qualitative Change) เช่ นในทางฟิ สิกส์น้ัน นํา้ ที่ถูก ความร้ อนมากก็เ ปลี่ยนสถานะเป็ นไอนํ้า ถ้ าถู กความ เย็นมากก็เปลี่ยนสถานะเป็ นนํา้ แข็ง (2) วิ ธีก ารเปลี่ ยนแปลงทางวิ ทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ดั งกล่ า วใน (1) นั้ น ก็นํา มาประยุ ก ต์แ ก่วิ ธี เปลี่ ย นแปลงของระบบสั ง คมได้ คื อ ระบบสั ง คม เปลี่ ยนแปลงได้ โดยวิ ธี “วิ ถี วิ วั ฒ น์ ” (Evolutionary Method) ซึ่ งตรงกั บ วิ ธี เ ปลี่ ยนแปลงทางปริ ม าณ (Quantitative Change) และ วิ ถี อ ภิ วั ฒ น์ (Revolutionary Method) ซึ่งตรงกับวิธีเปลี่ยนแปลง ทางคุณภาพ (Qualitative Change) ผมขอคัดเอาความ
ตอนหนึ่งที่ผมกล่ า วไว้ ในหนั งสือว่ า ด้ ว ย “ความเป็ น อนิจจังของสังคม” ดังต่อไปนี้ จัง หวะการเคลื่อ นไหวของสัง คมมี อ ยู่ ส อง ชนิดคือ
ก. วิ ถี วิ วั ฒ น์ กล่ า วคื อ การเปลี่ ย นแปลงที่ สภาวะใหม่ของสังคม ได้ ดาํ เนิ นกิจกรรมประจําวั นไป โดยความสํานึกตามธรรมชาติเอง และทําให้ สภาวะเก่า เปลี่ ยนแปลงทางปริ มาณจํานวนเล็กๆ น้ อยๆ ซึ่งเมื่อ รวมกันเข้ าก็ได้ จาํ นวนการเปลี่ยนแปลงมากซึ่งเป็ นการ เปลี่ยนระบบเก่าทั้งระบบ เช่ นการเปลี่ ยนแปลงระบบ ทาสในสังคมไทยที่เป็ นไปตามวิถี “วิวัฒน์” ทีละเล็กละ น้ อยตั้งแต่ สมั ยอยุ ธยาในที่สุดก็เป็ นการเปลี่ ยนแปลง ระบบทาสทั้งระบบ “การเปลี่ยนแปลงระบบศักดินาเป็ นระบบธนา นุภาพของหลายสังคมก็ดาํ เนินไปตามวิถีวิวัฒน์ เช่นใน อั ง กฤษ ซึ่ งในที่ สุ ด ส่ ว นใหญ่ ข องระบบศั ก ดิ น าก็
เปลี่ยนเป็ นระบบธนานุ ภาพ และพัฒนาเป็ นบรมธนานุ ภาพโดยไม่มีการอภิวัฒน์ท่รี ุนแรง อันที่จริง ถ้ ากายาพยพหรื อร่ างกายของสังคม คือสถาบันและระบบการเมืองได้ ดาํ เนิ นให้ สอดคล้ อง กับ สภาพความเป็ นอยู่ ทางชี ว ปั จ จั ยของสังคมโดยไม่ ล่าช้ าจนเกินไปนักแล้ ว สังคมก็เปลี่ยนไปตามวิถีวิวัฒน์ ที่ไม่ใช่การอภิวัฒน์อย่างรุนแรง”
ข. วิถีอภิวัฒน์ กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่ สภาวะใหม่ ของสังคมได้ ประสานกันเข้ า เปลี่ ยนระบบ เก่าที่ล้าหลังกว่าความพัฒนาในสภาพความเป็ นอยู่ทาง ชีวปั จจัยของสังคมอันเป็ นการเปลี่ยนทางคุณภาพโดย การกระทําฉับพลัน หรือการกระทําชุ ดเดียว ซึ่งต่างกับ การเปลี่ยนโดยวิถีวิวัฒน์ท่ที าํ มาทีละน้ อยๆ “ตามกฎธรรมชาติน้ันกายาพยพต้ องสมานกับ สสาร ดังนั้นกายาพยพ (สถาบันการเมือง) ของสังคม เปลี่ ยนล่ า ช้ า กว่ า ความเป็ นอยู่ ทางชี วปั จ จั ยของสังคม
(เศรษฐกิจ) จนเนิ่นนานเกินสมควรแล้ ว ธรรมชาติก ็ บังคับให้ กายาพยพ (สถาบั นการเมือง) จําต้ องสมาน กับสสาร (ทางสังคม) จนได้ คือเมื่อไม่เป็ นไปตามวิถี วิ วั ฒน์ ก็ ต้ องเป็ น ไป ตา มวิ ถี อ ภิ วั ฒน์ เช่ น กา ร เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต้ องเป็ นไปเช่ นนั้น เพราะกายาพยพของสังคม เปลี่ยนแปลงล่าช้ าเกินสมควร กว่าการเปลี่ยนแปลงทาง ชี ว ปั จ จั ย ของสั ง คม(เศรษฐกิ จ ) การเปลี่ ย นระบบ สม บู ร ณ า ญ า สิ ท ธิ ร า ช ย์ ข อ งฝ รั่ งเ ศ สใ น ป ล า ย คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งต้ องเป็ นไปโดยวิถีอภิวัฒน์ก ็ เพราะกายาพยพของศั ก ดิ น าไม่ ย อมเปลี่ ย น โดยวิ ถี วิวั ฒ น์ ให้ สมานกับ สภาพความเป็ นอยู่ ทางชี ว ปั จ จั ยที่ ก้ าวหน้ าไปมาก”