SINGORA

Page 1

Three cultures of nationality from history of Songkhla

วัฒนธรรมสามเช�้อชาติ จากประวัติศาสตรสงขลา เกาะหนู

ออน มสน แหล

เกาะแมว

อาวไทย

ิ ถนนชลเจรญ

ะเกษ ถนนสร

อก เนินน าชดำ ถนนร

 ทศั น ชลา ถนน

ราย หลมท ถนนแ

วิถี ถนนราม

 ทศั น ชล า ถนน

ง ลหลว เ ะ ท ถ นน

ทะเลสาบสงขลา ถนน ไทร บ ุร ี

น า แส ก เ ถนน ถนน

ถนน เสน ห า

SINGORA

ถนนไทรบุรี

ถนนสงขล า - นำก ระ จาย

าษ ฎ รอ ุท ิ ศ

/ 2


1 / SINGORA


SINGORA

/ 2


1 / SINGORA


FOREWORD สงขลา เป็นเมืองทีน่ า่ สนใจ มีประวัตศิ าสตร์ทยี่ าวนาน และ เชื่อว่าหลายๆคนก็ยังไม่ทราบ ว่าเมืองสงขลาแห่งนี้ นอกจากจะเป็น เมืองแห่งการค้า และการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นเมืองที่มีความหลาก หลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติอีกด้วย ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะพูดถึง วัฒนธรรมสามเชื้อชาติของเมืองสงขลา ที่มีจุดกำ�เนิดเกิดขึ้นมาจาก ประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน สะท้อนผ่านวิถชี วี ติ และเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจ ควรค่าแก่การหลงใหลและอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านี้ ผูเ้ ขียนหวังว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ไม่มากก็นอ้ ยต่อ ผู้อ่าน และหากมีข้อบกพร่องประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ศศิวิมล จักรัส

SINGORA

/ 2



CONTENTS 1

อารยธรรมแดนใต้ กลิ่นอายจังหวัดสงขลา

3

THE WORD SONGKHLA CAME FROM ?

5

สืบสานตำ�นาน

9

เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน

13

เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

17

SINGORA Three cultures of nationality from history of Songkhla

เล่าขานวัฒนธรรมสามเชื้อชาติ

“ ”

สืบสานตำนาน เลาขานวัฒนธรรมสามเชื้อชาติ

สะพา นติณ สูลาน นท

อาวไทย ทะเลสาบสงขลา

เกาะยอ

6

เมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง

21

ชุมชนบ้านบน


“สงขลา

เมืองชายทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุด แห่งหนึ่งของภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำ�คัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ มี เมืองเก่าแก่หลายเมือง มีศิลปะโบราณสถาน ศิลปะโบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และการละเล่นพืน้ เมือง เป็นต้น ซึง่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรษุ ตกทอดให้คนรุน่ หลัง ได้ศกึ ษา สงขลาเป็นจังหวัดทีม่ ที รัพยากรธรรมชาติอดุ มสมบูรณ์ ทั้งหาดทราย นำ�้ ตก และทะเลสาบ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงทางด้าน

1 / SINGORA

อารยธรรมแดนใต้ กลิ่นอายจังหวัดสงขลา

การประมง เป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคม ซึ่งปัจจุบัน จังหวัดสงขลายังคงรักษาความเก่าแก่ของโบราณสถาน อันเป็น สัญลักษณ์ของเมืองไว้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง และยังปรากฏให้ เห็นถึงวัฒนธรรมสามเชื้อชาติ ที่มีวิถีชีวิตกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


สงขลา หญิง 623,190 คน

ชาย 606,555 คน

จังหวัดสงขลามีประชากรประมาณ 1,229,745 คน

จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างอารยธรรมทางพระพุทธศาสนา จากนครศรีธรรมราช กับอารยธรรมทางศาสนาอิสลามจากชวาและมลายู จึงเป็นเสมือนหม้อหลอมให้คนไทยแม้ต่างศาสนาอยู่ร่วมกันฉันมิตรไมตรี และสันติสุข 1. ไทยพุทธ เนื่องจากจังหวัดสงขลาเป็นเมืองเก่า เคยอยู่ใต้บังคับบัญชา ของเมืองนครศรีธรรมราช ซึง่ นับถือพระพุทธศาสนาและเป็นเมืองร่วมสมัย กับเมืองพัทลุง จึงมีประชาชนทั้งสองเมืองเข้ามาอาศัยอยู่ในสงขลาเป็น จำ�นวนมาก ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ เหมือนชาวจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพทำ�นา ทำ�สวน 2. ไทยมุสลิม สมัยหนึ่งจังหวัดสงขลามีเจ้าเมืองเป็นมุสลิม คือ สุลต่าน สุไลมาน ประกาศตนเป็นเมืองอิสระจากกรุงศรีอยุธยา และรับเอาวัฒนธรรม ของชวาและมลายูไว้ ไทยมุสลิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและค้าขาย ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบๆฝั่งทะเลสาบสงขลาและบนฝั่งอ่าวไทย ไทยมุสลิม อีกพวกหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่อันเป็นพรมแดนระหว่างไทยพุทธใน สงขลากับไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี เช่น ในอำ�เภอเทพา อำ�เภอจะนะ และอำ�เภอนาทวี 3. ไทยเชื้อสายจีน ส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยนจากแผ่นดินใหญ่ได้เข้ามาใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา จีนหย่าง แซ่เฮ่า ได้เป็นพระยาสงขลาและตระกูล ณ สงขลา ได้เป็นเจ้าเมืองครองอำ�นาจเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ประกอบอาชีพค้าขาย อาศัยอยู่ตำ�บลเกาะยอและตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมืองสงขลาและอำ�เภอหาดใหญ่

ประชากรผูนับถือ ศาสนาอื่น ๆ 38,727 คน รอยละ 3.15

ประชากรผูนับถือ พระพุทธศาสนา 858,148 คน รอยละ 69.79

ประชากรผูนับถือ ศาสนาอิสลาม 332,870 คน รอยละ 20.07

SINGORA

/ 2


THE WORD

อาวไทย

“SONGKHLA” CAME FROM ? ทะเลจ�นใต

ดนิ แดนแห่งนีใ้ นสมัยโบราณเป็นอาณาจักรศิรธิ รรมนคร หรือ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรใดอาณาจักรหนึ่งซึ่งมีอำ�นาจมาก ผลัดเปลี่ยนกันขยายอาณาเขตปกครอง พ่อค้าชาวอินเดียเดิน ทางมาค้าขายในอาณาจักรดังกล่าวโดยทางเรือ เมื่อผ่าน เกาะหนู เกาะแมวบริเวณอ่าวหน้าเมืองสงขลา เห็นเกาะหนู เกาะแมวทางด้านนอกมีรูปร่างเหมือนสิงห์หมอบอยู่บนพื้นนำ� ้ จึงเรียกว่า “สิงหลา” แปลว่า “เกาะรูปสิงห์”

มหาสมุทรอินเดีย

3 / SINGORA


พ่อค้าชาวอินเดียหรืออาจเป็นชาติอื่นในอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งรับเอาอิทธิพล ทางศาสนาและภาษาจากอินเดียมาใช้เป็นของตน เมื่อเดิ​ินทางมาค้าขายกับชาวเมือง ที่ตั้งอยู่เชิงเขาแดง จึงเรียกชาวเมืองตามภาษาอินเดียว่าชาว “สิงขร” แปลว่า “ชาวเมืองภูเขา” อาจหมายถึง ชาวเมืองที่ตั้งบ้านเมืองอยู่บริเวณใกล้ภูเขา

ทั้ง 2 คำ�นี้ คือ สิงหลา และ สิงขร เป็นคำ�ทีค่ นชาติตา่ งๆทีเ่ ข้ามาติดต่อทัง้ ไทย จีน อินเดีย ชวา มลายู และฝรั่งชาติต่างๆ เรียกตามๆกันว่า “SINGORA” และเพีย้ น เปลี่ยนมาเป็น “สงขลา” ในปัจจุบัน

SINGORA

/ 4


“ ”

สืบสานตำนาน เลาขานวัฒนธรรมสามเชื้อชาติ

สะพา นติณ สูลาน นท

อาวไทย ทะเลสาบสงขลา

เกาะยอ

สงขลาเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ มายาวนาน โดยได้เริ่มขึ้นอย่างแท้จริง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 มีศูนย์กลางการปกครองหรือสถานที่ตั้ง เมือง 3 แห่ง โดยมีลำ�ดับพัฒนาการดังนี้

1 เมืองสงขลา ฝงหัวเขาแดง

ชุมชนบริเวณริมเขาแดงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิด จากการขยายตัวทางการค้ากับชาวต่างประเทศใน ยุโรป เช่น พ่อค้า ชาวดัตซ์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ที่เข้ามายัง ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะจากบริเวณ ปลายแหลมมลายูและหมูเ่ กาะต่างๆในอินโดนีเซียทาง ตอนใต้ของไทย สงขลาจึงได้กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย ทางเรือ ทีม่ ที า่ เรือนำ�้ ลึกปานกลางทัง้ ในทะเลนอกและ ในทะเลสาบ เป็นที่รู้จักกันทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศในนามเมือง “สงขลาริมเขาแดง”

5 / SINGORA

2 เมืองสงขลา ฝงแหลมสน

3 เมืองสงขลา ฝงบอยาง


ในปี พ.ศ. 2162 – 2185 เมืองสงขลาอยู่ภายใต้การปกครองดูแล ของเมืองนครศรีธรรมราช โดยมี ดะโต๊ะ โมกอลล์ เป็นเจ้าเมือง ตามบันทึกของ นายจอห์น จอร์แดน เจ้าหน้าที่บริษัทอินเดีย ตะวันออกของอังกฤษ รายงานไปยังสำ�นักงานใหญ่ของบริษัท อังกฤษที่เมืองกัลกัตตา ในปี พ.ศ. 2162 ว่า “...เราเห็นว่าจะไม่ เป็นการผิดหวัง หากคิดสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่สงขลา ซึ่งอยู่ไปทางเหนือของปัตตานีเป็นระยะทางประมาณ 24 ลึก อยูภ่ ายใต้การปกครองของ ดะโต๊ะ โมกอลล์ ข้าหลวงของพระเจ้า กรุงสยาม....”

และในบันทึกของพ่อค้าชาวฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า “...เจ้าเมืองสงขลาเป็นแขก มลายู...” ในพงศาวดารเมืองสงขลาเรียกเจ้าเมืองสงขลาใน สมัยนั้นว่า “สุลต่าน สุเลมัน” ชาวเมืองสงขลาเรียกสืบต่อ กันมาว่า “สุลต่าน สุไลมาน” เป็นเจ้าเมืองสงขลาริมเขาแดง

เมืองสงขลาริมเขาแดงในสมัยสุลต่าน สุไลมาน เป็ น เจ้ า เมื อ ง แม้ ไ ด้ ขึ้ น กั บ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาผ่ า นการ ปกครองดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช แต่เจ้าเมืองมี อำ�นาจเป็นอิสระจากรัฐบาลกลาง สามารถอนุญาตให้ ชาวต่างประเทศเข้าไปทำ�การค้าได้โดยเสรี

ระนอง ชุมพร

สุราษฎรธานี พังงา นครศรีธรมมราช ภูเก็ต

กระบี่

ดะโต๊ะ โมกอลล์ ตรัง

พัทลุง

สตูล

สงขลา ปตตานี ยะลา นราธิวาส

ตามบันทึกของนายจอห์น จอร์แดน เจ้าหน้าที่บริษัทอินเดีย ตะวันออกของอังกฤษว่า “... ที่สงขลาไม่ต้องเสียภาษีอากร เลยเพียงแต่ยอมเสียของกานัลให้ ดะโต๊ะ โมกอลล์ เพียง เล็กน้อย ก็อาจนำ�สินค้าผ่านไปได้...” ดังนัน้ ฐานะของเจ้าเมือง สงขลา จึงมัง่ คัง่ มัน่ คงมีอทิ ธิพลอำ�นาจมากขึน้ ในปี พ.ศ. 2171 เกิดความไม่สงบขึ้นในราชสำ�นักกรุงศรีอยุธยา เจ้าเมืองสงขลา ถือโอกาสประกาศตนเป็นอิสระ SINGORA / 6


ในบันทึกของพ่อค้าชาวฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ว่า “...เมื่อปี 1942 (พ.ศ. 2185) มีแขกมลายูคนหนึ่งได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองสงขลา และได้เป็นขบถต่อพระเจ้ากรุงสยาม แขกมลายูคนนี้ได้ทำ� ป้อม คู ประตู หอรบ อย่างแข็งแรงแน่นหนาและในไม่ช้า ก็ได้ชกั ชวนบรรดาพ่อค้าทัง้ หลายให้ไปทำ�การค้าขายในเมือง สงขลาอย่างใหญ่โตมาก ฝ่ายไทยก็ยกกองทัพไปปราบหลาย ครั้ง แต่ก็แพ้มาทุกคราว แขกมลายูคนนี้ก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ เรียกกันว่า “พระเจ้า เมืองสงขลา...”

ปอ้ มเมอื งสงขลาฝั่งหัวเขาแดง

การตัง้ เมืองสงขลาริมเขาแดงของสุลต่าน สุไลมาน มีลกั ษณะ คล้ายกันกับการตัง้ อาณาจักรมะละกา ในปี พ.ศ. 1945 – 2053 ของเจ้าชายปรเมศวร ซึ่งการตั้งเมืองทั้งสองนี้เป็นการท้าทาย อำ�นาจของอาณาจักรอยุธยา ซึง่ มีอ�ำ นาจเข้มแข็งอยูใ่ นภูมภิ าค นี้ มีข้อเปรียบเทียบการตั้งเมืองทั้งสอง ดังนี้


1. ผู้ตั้งเมืองทั้งสองเคยเป็นผู้นำ�กองเรือโจรสลัด มีประสบการณ์ ทางการรบแย่งชิงสินค้าในทะเลมาก่อน มีพรรคพวกบริวารมาก ที่กำ�ยำ�ลำ�่ สันใจคอโหดเหี้ยม ควบคุมกองเรือที่ยึดได้ไว้ในอำ�นาจ และฉลาดในการควบคุม จึงสามารถเข้ายึดบ้านเมืองชายทัง้ ทะเล ไว้ได้อย่างง่ายดาย 2. ทั้งสองเมืองมีท่าเรือนำ�้ ลึกเป็นแหล่งชุมชนค้าขายทางเรือมา ก่อน อาณาจักรมะละกาเคยเป็นเมืองประเทศราช ถวายส่วย เครื่องราชบรรณาการแก่ราชสำ�นักแห่งอาณาจักรอยุธยา สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เมืองสงขลาเช่นเดียวกับเมืองพัทลุง ทีส่ ทิงพระขึน้ ต่อกรุงศรีอยุธยา ภายหลังทางกรุงศรีอยุธยามอบให้ ขึ้นกับวัดพะโคะ ดังปรากฏในแผนผังกัลปนาวัดต่างๆขึ้นกับวัด พะโคะ ในปี พ.ศ. 2153 พ่อค้าชาวอาหรับ – เปอร์เซีย – บันทึก ไว้เมื่อปี พ.ศ. 1993 – 2093 ว่าเมือง “ซิงกูร์” (Cingor) หรือ “ซิงกอรา” (Singora) ตั้งขึ้นเมื่อศูนย์อำ�นาจที่เข้มแข็งกว่า อ่อนแอลง กรณีที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เช่นเดียวกันกับ มะละกา ตั้งขึ้นเมื่ออาณาจักรมัชปาหิตเสื่อมอำ�นาจ

3. ทั้งเมืองสงขลาและเมืองมะละกาเป็นเมืองประเทศราช ชายแดน เบื้องต้นต้องสวามิภักดิ์อ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยา ซึง่ มีอ�ำ นาจทีเ่ ข้มแข็งกว่า ครัน้ สร้างเมืองมัน่ คงถาวรมีปอ้ ม คู หอรบ ที่แข็งแรงแล้วจึงประกาศตนเป็นอิสระ แต่อิสรภาพที่ ได้มามักจะไม่ยงั่ ยืนต้องสูญเสียให้แก่เมืองทีม่ อี �ำ นาจมากกว่า เสมอ 4. การตั้งเมืองใหม่ของสงขลา ดะโต๊ะ โมกอลล์ สร้างป้อม และกำ�แพงเมืองที่หัวเขาแดงเหมือนโปรตุเกส สร้างป้อม ฟาโมซาขึน้ ทีม่ ะละกา เป็นการอ้างว่าเพือ่ เป็นการป้องกันการ โจมตีของพวกโจรสลัด คูแ่ ข่งทางการค้า แต่ไม่ใช่เป็นพระราช ประสงค์ของพระเจ้าสยามในกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น เมืองสงขลาจึงไม่ปรากฏชื่อในทำ�เนียบหัวเมืองขึ้น ของกรุงศรีอยุธยา การประกาศตนเป็นอิสระของ สุลต่าน สุไลมาน กรุงศรีอยุธยาถือว่าเป็นขบถ

ดังนั้น เมืองสงขลาจึงไม่ปรากฏชื่อในทำ�เนียบหัวเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา การประกาศตนเป็นอิสระของสุลต่าน สุไลมาน กรุงศรีอยุธยาถือว่าเป็นขบถ โดยเมืองสงขลาเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยานานถึง 38 ปี ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2223 สมเด็จพระนารายณ์มหราช (พ.ศ. 2199 – 2231) ทรงส่งพระยารามเดโชลงมาเสริมกำ�ลังที่เมืองนครศรีธรรมราช เข้าตีเมืองสงขลาแตกย่อยยับ สามารถจับตัวเจ้าเมืองสงขลาคนที่ 2 ได้ และได้เผาทำ�ลาย ป้อม คู ประตู หอรบ จนหมดสิ้นเหลือไว้ แต่บ้านเรือนราษฎร ให้อยู่ในอำ�นาจปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช


สะพา นติณ สูลาน นท

ทะเลสาบสงขลา

เกาะยอ 9 / SINGORA


เมืองสงขลา ฝงแหลมสน 2

หลังจากเมืองสงขลาริมเขาแดงเก่าถูกทำ�ลายลงราบคาบ แล้ว ชาวสงขลาที่ยังเหลืออยู่ได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ที่ บ้ า นแหลมสน ซึ่ ง เป็ น บริ เวณพื้ น ที่ ป่ า สนยื่ น ลงไปใน ทะเลสาบสงขลา ใกล้กบั บริเวณชุมชนเก่าทีต่ งั้ อยูบ่ นเชิงเขา อันเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างเทือกเขากับทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันเรียกว่า เชิงเขาเมืองหรือเขาบ่อทรัพย์ เป็นที่ตั้ง หมู่บ้านบ่อทรัพย์และหมู่บ้านบ่อเตย หลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเพทราชาได้เสร็จขึ้นครองราชย์ และทรงปิด ประเทศไม่ยอมติดต่อกับชาวยุโรป นับตั้งแต่รัชกาลของ พระองค์จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 บ้านเมืองแตกออกเป็นก๊กต่างๆทั่วราชอาณาจักร ในสมัยนั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ได้รวบรวม หัวเมืองภาคใต้ไว้ในอำ�นาจ และได้แต่งตั้งกรมการเมือง ชื่อ “นายวิเถียน” มาเป็น หลวงสงขลา รักษาเมืองสงขลา แหลมสน

SINGORA / 10


หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบก๊กต่างๆรวมทัง้ ก๊กนครศรีธรรมราช ได้แล้วและได้เสด็จมาประทับที่เมืองสงขลา ทรงแต่งตั้งหัวหน้าชุมชนสงขลาชื่อ “โยม” เป็นพระสงขลาและทรงแต่งตั้ง นายเหยี่ยง แซ่เฮา ชาวจีนฮกเกี้ยน ซึง่ ตัง้ บ้านเรือนอาศัยอยูท่ บี่ า้ นบ่อทรัพย์เป็น หลวงสุวรรณคีรสี มบัติ นายอากรรังนก เกาะสี่ เกาะห้า ในทะเลสาบสงขลา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ นายอากรรังนก เกาะสี่ เกาะห้า ในทะเลสาบสงขลา เป็นพระยาสงขลา เจ้าเมืองแหลมสน (ปัจจุบันตัวเมืองตั้งอยู่ท่ี หมู่ที่ 1 ตำ�บลหัวเขา อำ�เภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา) โดยให้ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช นับเป็นจุดเริ่ม ต้นของการสืบทอดทายาทเจ้าเมืองสงขลา ผู้เป็นต้นตระกูล ณ สงขลา ในปัจจุบัน

11 / SINGORA


เมืองสงขลาแหลมสน มีเจาเมืองปกครอง 4 คน ดังนี้ 1. หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (นายเหยี่ยง แซเฮา) (พ.ศ. 2318 - 2322) 2. เจาพระยาอินทคีรี (บุญหุย ณ สงขลา) (พ.ศ. 2322 - 2355) 3. พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจง ณ สงขลา) (พ.ศ. 2355- 2360) 4. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเสง ณ สงขลา) (พ.ศ. 2360- 2390)

SINGORA / 12


เมืองสงขลา 3 ฝงบอยาง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี ย้ายเมืองสงขลาไป ตั้งที่บ้านบ่อยาง ซึ่งเป็นฝั่งทะเลสาบตรง กันข้ามกับเมืองสงขลาแหลมสน ในปี พ.ศ. 2375 เพราะเมื อ งสงขลา แหลมสนเดิ ม ตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ โ อบรอบ ด้วยทะเลสาบด้านตะวันออกและภูเขา ด้านตะวันตก ไม่สามารถขยายตัวเมือง ออกต่อไปได้

อาวไทย

ทะเลสาบสงขลา


พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ได้ดำ�เนินการสร้างกำ�แพงเมืองใหม่ ในปี พ.ศ. 2381 ในพื้นที่ 300 ไร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนานไปกับชายฝั่ง ตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ความยาวจากทิศตะวันออกไปถึงทิศตะวันตก ประมาณ 1,200 เมตร ความกว้างจากทิศเหนือไปถึงทิศใต้ประมาณ 400 เมตร ความสูงประมาณ 6 ศอก ความหนาประมาณ 6 ศอกเช่นกัน มีประตูเมือง 10 ประตู เหนือประตูเป็นซุม้ ใหญ่สงู 6 เมตร หลังคาจีนทำ�นองเป็นหอรบ รอบกำ�แพง มีใบเสมา สำ�หรับกำ�บังศัตรูและมีช่องว่างสำ�หรับวางปืนใหญ่ มีป้อมปืนใหญ่ รายรอบกำ�แพงเมือง 8 ป้อม นอกจากนีย้ งั มีการสร้างจวนเจ้าเมือง ศาลหลักเมือง วัดวาอาราม ถนนหนทาง ท่าเทียบเรือ ป้อมนอกเมือง เป็นต้น พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)

ประตูยุทธชำนะ ปอมไพรีพินาท แนวถนนกำแพงเพชร

ปอมพิฆาตขาศึก ทะเลอาวไทย

ถนนพัทลงุ

ประตูบูรพาภิบาล

ถนนนราธวิ าส

วัดโพธิ์

ประตูอัคนีวุธ

วัดมัชฌิมาวาส

ถนนยะลา

ประตูสุรามฤทธิ์

นคร

นอก

หลักเมืองสงขลา

ถน นน ครใ น

า นร น วถ แน

ประตูศักดิ์สิทธพิทักษ

ถิ ี มว

แน ว ถนน

วัดเลียบ

ประตูสนามสงคราม

ถนนสงขลาบุรี

ประตูมฤคพิทักษ

ถน นไท ร

บุรี

ค ล อ งขวาง

แนวถนนจะนะ

ปอมปองกันศัตรู

วัดดอนรัก

แนวถนนจะนะ

ประตูพุทธรักษา

ทะเลสาบสงขลา

ประตูจัณฑีพิทักษ

แนวกำแพงที่เหลืออยู ประตูพยัคนามเรืองฤทธิ์ ปอมเทเวศ

ผังเมืองโบราณสงขลา


ปัจจุบนั กำ�แพงเหล่านีค้ งเหลือเพียงบางส่วนทีถ่ นนจะนะ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ตรงกันข้ามกับพิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติ สงขลา และตรงที่ถนนนครในบริเวณหน่วย บริการประชาชนของสถานีต�ำ รวจภูธรอำ�เภอเมืองสงขลา นอกนั้นถูกรื้อจนเกลี้ยงไม่เหลือแม้แต่ซาก หลังจากสร้างเมืองเสร็จซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยและ เทียนชัย มาพระราชทานแก่พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ปักหลักเมือง และได้สร้างตึกจีนกับศาลเสื้อเมืองไว้หลัง หนึ่ง เป็นศาลเจ้าหลักเมือง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนนางาม ในเขตเทศบาลนครสงขลา

เมืองสงขลาบ่อยางมีเจ้าเมืองปกครอง 5 คน

1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา 2. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา 3. เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา

พ.ศ. 2381 – 2390) พ.ศ. 2390 – 2408) พ.ศ. 2408 – 2427) พ.ศ. 2427 – 2431) พ.ศ. 2431 – 2444)


ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงดำ�เนินนโยบายปฏิรูปการปกครอง ประเทศ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯให้ ย กเลิ ก ระบอบการ ปกครองแบบดั้งเดิม แล้วให้จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้นบริหาร ราชการ แต่ละกระทรวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มเี สนาบดี ว่าการกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อดึงอำ�นาจมาสู่ส่วนกลาง ทำ�ให้การดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองทัว่ ราชอาณาจักรเป็นไปอย่าง คล่องตัวยิ่งขึ้น เยี่ยงอารยประเทศทั้งหลาย โดยวิธีการรวมเอา หัวเมืองต่างๆเข้าเป็นมณฑล มีสมุหเทศาภิบาลมณฑลเป็นผู้รับ ผิดชอบขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ ในภาคใต้ได้เริ่มจากมณฑลภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2437 มณฑลชุมพร ในปี พ.ศ. 2439 มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในปี พ.ศ. 2449

เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และเมืองนครศรีธรรมราช กลายเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ทีท่ �ำ การมณฑลตัง้ อยูท่ สี่ งขลา ตำ�แหน่งเจ้าเมืองหรือผู้สำ�เร็จราชการเมืองจึงยกเลิกไป ทั่วพระราชอาณาจักร มีตำ�แหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลเข้ามา แทนที่ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช 1. พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม พ.ศ. 2439 – 2448) 2. พระยาชลอุรานุรกั ษ (เจริญ จารุจนิ ดา พ.ศ. 2449 – 2458) 3. กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (พ.ศ. 2458 – 2468) ในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศยุบมณฑลต่าง ๆ แล้วแบ่ง การปกครองเป็นจังหวัด อำ�เภอ ตำ�บล หมู่บ้าน เมืองสงขลา กลายมาเป็นจังหวัดสงขลาตั้งแต่นั้นมา SINGORA / 16



SINGORA

Three cultures of nationality from history of Songkhla


วัฒนธรรมสามเชื้อชาติ จากประวัติศาสตร์สงขลา


วัฒนธรรมสามเชื้อชาติ สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์สงขลาที่ในอดีตนั้น เมืองสงขลามีสถานที่ตั้งเมือง 3 แห่ง จึงเป็นจุดกําเนิดเกิดขึ้นของความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ คือ ในสมัยสงขลาฝั่งหัวเขาแดง มีผู้สร้างเมืองเป็นผู้ที่ นับถือศาสนาอิสลาม ลุล่วงสู่สมัยเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน มีเจ้าเมืองเป็นชาวจีนที่ มาตั้งรกรากที่เมืองแห่งนี้ และจวบจนปัจจุบัน มีที่ตั้งเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง ซึ่งมาก ด้วยผู้คนจํานวนมากหน้า จากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัย ทําให้เมืองแห่งนี้เป็น เมืองวัฒนธรรมสามเชือ้ ชาติ ทีม่ คี วามหลากหลายทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อ สายจีน ถึงแม้จะต่างศาสนา ต่างความเชื่อ หรือต่างขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ทกุ คนในเมืองแห่งนี้ ก็สามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่างสันติ มีความเข้าใจ พึง่ พาอาศัย ซึ่งกันและกันและมีวิถีชีวิตกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ดังทีป่ รากฎให้เห็นจากศิลาจารึก 3 ภาษามีลกั ษณะเป็นแผ่น หินรูปทรงคล้ายใบเสมาขนาดใหญ่ เป็นศิลาจารึกในเรื่องราว เดียวกัน แต่จารึกต่างภาษากัน เช่น หลักแรก เป็นภาษามลายู หลักกลาง ภาษาไทย หลักที่สาม ภาษาจีน ศิลาจารึกทั้ง 3 ภาษานี้ จะบอกให้เห็นว่า คนในอดีตของเมืองบ่อยางหรือ สงขลาในปัจจุบนั มีคนอยูส่ ามเชือ้ ชาติ ทัง้ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชือ้ สายจีนและทีส่ าํ คัญคือ การทีค่ นสามเชือ้ ชาติ มาอยู่ร่วมกันแสดงให้เห็นว่า ไม่มีความขัดแย้งแม้ต่างศรัทธา ต่างศาสนา แต่ผู้คนสามารถอยู่อย่างเข้าใจกัน ไม่เอาเปรียบ ซึ่งกันและกันมาจนถึงปัจจุบัน

SINGORA / 20


21 / SINGORA


ดังเช่นชุมชนบ้านบน อ.เมือง ที่อยู่ในย่านเมืองเก่าสงขลา ซึง่ เป็นชุมชนทีม่ คี วามหลากหลายทางศาสนา แต่ผคู้ นในชุมชน ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน มีนํา้ ใจมิตรไมตรีต่อกัน เช่น ในวันสําคัญของชาว มุสลิม วันฮารีรายอ ชาวมุสลิมก็นําอาหารที่นําไปทําบุญ มา แบ่งบันให้เพื่อนบ้าน ทั้งชาวไทยพุธ และไทยเชื้อสายจีนหรือ ในสําคัญของชาวไทยพุธและไทยจีน ไม่วา่ จะเป็นวันเข้าพรรษา หรือวันเช็งเม้งของชาวจีน ก็ได้นาํ อาหารหรือขนมมาแบ่งปันให้ กับเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ถึงแม้ว่าจะต่างศาสนากัน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นนํ้าใจเล็กๆน้อยๆที่มีให้กัน ด้วยความจริงใจ และไม่รังเกียจกัน

SINGORA / 22


23 / SINGORA


ชุ ม ชนบ้ า นบนนั้ น ก็ ยั ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของมั ส ยิ ด อุ ศ าสนอิ ส ลาม (มั ส ยิ ด บ้ า นบน) ที่ มี ลั ก ษณะ สถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับ ศาลาการเปรียญของวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร ซึง่ ทัง้ นีว้ ดั มัชฌิมาวาสวรวิหาร ก็ยังมีลักษณะสถาปัตยกรรมของชาวจีนมาผสมผสานอยู่ด้วย เมืองสงขลา นอกจากเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจทางประวัติศาสตร์ เมืองแห่งการค้าแล้ว เมืองสงขลายังเป็นบ่อเกิดประเพณี วัฒนธรรม อันลำ�้ ค่าหลายอย่าง และสิ่งสําคัญเป็นเมืองที่มีความ หลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ความหลากหลายที่ล้วนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนี้กลับเป็นจุดเด่นของ เมืองสงขลา ที่ทําให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาชื่นชม และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

SINGORA / 24


ออน มสน แห ล

อาวไทย

ิ ถนนชลเจรญ

ระเกษ ถนนส

 ทัศน ชลา ถนน นอก ำเนิน ราชด ถนน

าย มทร แหล ถนน

มวิถี ถนนรา

วง ล ห ล ทะเ น น ถ

ทะเลสาบสงขลา

ถนน ไ ทร บ


เกาะแมว

ถนอม พูนวงศ์. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. กรุงเทพมหานคร : สำ�นักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2545 วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2545

ผู้จัดทำ� : นางสาวศศิวิมล จักรัส อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์นวพรรษ เพชรมณี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 ทัศน ชลา ถนน

เกาะหนู



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.