FREE MAGAZINE
iSSUE 02
MAY 2017 Acrobat file for
WHAT’s NEXT THAI LAND 4.0
30 51 ผลิตน้ำดื่ม ยุค 4.0 ดวยแนวคิด C.R.D.M.
48 สรางคลื่นแหง “ความรัก” เพื่อผูฟงที่หัวใจมี “ความรัก”
63 Speech Coach เพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิก BNI
ไทยเบฟ 2020 ยุทธศาสตรเติบโต อยางมั่นคง ยั่งยืน
18 Philip Kotler Marketing 4.0
45 RETURN ON DATA INVESTMENT หัวใจความสำเร็จ SMEs
SC ASSET
EDITOR NOTE ISSUE 02 MAY 2017
ก้าวเข้าสู่ไตรมาส 2/2560 ชีพจรธุรกิจอาจอ่อนล้าไปตามอุณหภูมิที่ร้อน จัดจ้านเอาบ้าง แต่โลกก็ยังหมุนเร็วจี๋ จนท�ำให้เราต้องมองหาเทรนด์ หรือ สิ่งที่ จะมาให้เราพบเจอในอนาคตข้างหน้า เพื่อที่เราจะสามารถก้าวได้อย่างเท่าทันหรือก้าวออกไปยืนรอล่วงหน้าไกลๆ ได้อย่างสบายใจ What’s Next? จึงเป็นประเด็นที่เราเลือกหยิบมาพูดถึง .... ในยุคที่โลกเสมือนเฟื่องฟูจนเบียดพื้นที่ทางกายภาพให้คลายความส�ำคัญ ไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ หน�ำซ�้ำพื้นที่บนโลกไซเบอร์ การเชื่อมต่อเครือข่ายและ อินเทอร์เน็ตก�ำลังกลายเป็นชาติมหาอ�ำนาจกลุ่มใหม่ คนรุ่น Gen Y และ Z ที่ก�ำลังเมินการเป็นลูกจ้างขององค์กรและหันไปเป็น เจ้าของธุรกิจ / SME / Start-up หรือแม้แต่การท�ำงานอิสระแบบฟรีแลนซ์ ใช้ชีวิตท�ำงานแบบเหนื่อยก็พัก หนักก็หยุด (หนีไปเที่ยวบ้างอะไรบ้างเพื่อ ชาร์จแบตให้ตนเอง) และก�ำลังเป็นเทรนด์ที่น่าอิจฉาที่สุดในยามนี้ แล้วเราท�ำความเข้าใจกับคนกลุ่มนี้หรือยัง ในโลกธุรกิจล่ะ What’s Next? อะไรจะอยู่ อะไรจะไป? แล้วท�ำอย่างไรเพือ่ ให้สามารถอยูร่ อดได้หรือก้าวก่อนคนอืน่ ๆ ในอุตสาหกรรมได้ นี่คือค�ำถามทางธุรกิจที่ต้องหมั่นเช็กเรตติ้งกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อมิให้ตนเอง ต้องเพลี่ยงพล�้ำ ตกอยู่ท้ายขบวนจนล้าหลังตามใครก็ไม่ทัน ยุคแห่งการบริโภค ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านและยุคสมัยของโซเชียลเน็ตเวิร์ก จะท�ำให้ What’s Next? ของโลกใบนี้พลิกโฉมไปอีกมากโขอย่างไร นั่นเป็นภารกิจและพันธกิจที่เราและทุกธุรกิจต้องถอดรหัสนี้ให้ได้ว่า อะไรคือ What’s Next? หรือถ้าหนักหนากว่านั้นก็ต้อง What’s Next of The Next?
MAGAZINE
EXECUTIVE DIRECTOR เกรียงไกร ศรีสุวรรณ
PUBLISHER TRIPLE ED
EDITORIAL STAFF
ชูศักดิ์ อิ่มใจ บุญฑิกา เอื้อธรรมฐาวร อาทิตยา ธุมาศิลป์
PHOTOGRAPHER
SENIOR EDITOR
อนันต์ บุตรเวียงพันธ์
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
ART DIRECTOR
MANAGING EDITOR
อนันต์ บุตรเวียงพันธ์
อรรถการ สัตยพาณิชย์
GRAPHIC DESIGNER ศรัณย์ คมข�ำ บุษดากร สมฤทธิ์ ณธษา พูลสนอง ร่มฉัตร ตรีแก้ว
CONTRIBUTOR
ดร.ฉันทนา ถาปัดถา บุริม โอทกานนท์ ปัญญพล สุวิสิทฐ์ กลกิตต์ เถลิงนวชาติ สุภาพรรณ นิลายน ระพีพัฒน์ สวนศิลป์พงศ์ เจษฎา วีรบุญชัย
PROOFREADER วรากร กล่อมเชื้อ
MARKETING CO-ORDINATOR ณรงค์ชัย พริ้งเพราะ
COLOUR, FILM & PRINTING บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด โทร : 0 2521 8420
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา บรรณาธิการอาวุโส
www.bconnectmag.com bconnectmag@gmail.com
CONTENTS Business Round-up
006
Click & Cool
012
Consumer & Brand Survey
014
The Guru
018
What’s Next
022
Business Insight
040
Business Wisdom
045
B-Talk
048
030 ดร.เอกภพ ณ สงขลา
ไทยเบฟ 2020 ยุทธศาสตร์เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน
ISSUE 02 l MAY 2017
022
Thailand 4.0 ยุคปลดล็อกกับดัก ??
045 ผศ. ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร
RETURN ON DATA INVESTMENT หัวใจความส�ำเร็จ SMEs
048 นัทฤทัย ทวีฤทธิ์กุล นิยมไทย
สร้างคลื่นแห่ง “ความรัก” เพื่อผู้ฟังที่หัวใจมี “ความรัก”
CONTENTS Industrial Hub
054
The Givers
063
B-Social
066
Columnist
072
Book Shelf
082
Fine & Dine
084
25th Hour Leisure :
096
ISSUE 02 l MAY 2017
093
030 สวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา
Speech Coach เพื่อพัฒนา ศักยภาพของสมาชิก BNI
‘WITH LOVE SALAD’ Clean Food Lover Destination
051 กรชัย วิกัยกิจสกุล
ผลิตน้ำ�ดื่ม ยุค 4.0 ด้วยแนวคิด C.R.D.M.
061 คุณยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ คุณนันท์มนัส จันทราอุกฤษ
สร้างธุรกิจในท้องถิ่น อย่างเข้าใจคนท้องถิ่น บริษัท เอส เอ็น เอ็น ลีสซิ่ง จำ�กัด
Business Round-up
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
UOB Lady
Mastercard Platinum
เซกเมนต์บต ั รเครดิตส�ำหรับผูห ้ ญิง กลายเป็นทีจ ่ บ ั จองระดับ Top of Mind ไปแล้วส�ำหรับธนาคารยูโอบี จากเดิมทีค ่ า่ ยนี้ เคยออกบัตรเครดิตส�ำหรับผูห ้ ญิงมาตัง ้ แต่ปี 2005 และปรับมาเรือ ่ ยๆ จนล่าสุด ยูโอบีขยับเปิดตัวบัตรเครดิตส�ำหรับผูห ้ ญิง อีกครัง ้ ใน ปี 2017 ด้วยบัตรเครติต UOB Lady Mastercard Platinum ด้วยคอนเซ็ปต์ทวี่ า่ THE MEN don’t GET IT เพราะเราเข้าใจ ผูห ้ ญิงยิง ่ กว่าใคร ภาพลักษณ์ใหม่ทย ี่ ง ั คงเป็นดอกกุหลาบบนบัตรอันเป็นเอกลักษณ์เดิม มามาดใหม่จากผลงานการออกแบบของ Vivienne Tam ดีไซเนอร์ระดับโลก และมีนางเอก มิว - นิษฐา จิรยัง ่ ยืน นางเอกฮ็อตคนหนึง ่ ของยุคเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์หญิงคนแรก ในฐานะตัวแทนผูห ้ ญิงยุคใหม่ทจ ี่ ะท�ำหน้าทีส ่ ง ่ ต่อประสบการณ์และไลฟ์สไตล์การใช้ชวี ต ิ ทีเ่ หนือกว่า
006
B-CONNECT MAGAZINE
> แข่งเข้ม กำ�ไรบาง
ตลาดบัตรเครดิตนับวันเป็นตลาด Red Ocean ยิง่ ขึน้ ทุกที โดยเฉพาะอย่างยิง่ Priviledge War ที่ ต่างขนกันมาถล่ม จนคนได้ดยี คุ นีค้ อื ผูบ้ ริโภค แล้ว มาร์จนิ้ ทีจ่ ะได้จากการท�ำธุรกิจบัตรเครดิตก็บางลง เรือ่ ยๆ หน�ำซ�ำ ้ เอาเข้าจริงๆ ผูบ้ ริโภคทีม่ บี ตั รเครดิต หลายใบต่อคนต่างก็ใช้บัตรตัวจริงอย่างมากแค่ 2 ใบเท่านัน้ สงครามชิงพืน้ ทีใ่ นใจเจ้าของบัตรจึง เข้มข้นอย่างไม่ตอ้ งสงสัย !!! ไลน์ของบัตรเครดิตที่แบ่งกันตามเซกเมนต์ ลูกค้าเป็นสูตรส�ำเร็จนัน้ มักแบ่งกันตามกลุม่ รายได้ กลุม่ ความสนใจ หรือแม้แต่เพศ รวมทัง้ ธนาคาร ยูโอบีดว้ ย เพียงแต่ใครจะชนะใจเจ้าของบัตร จึง เป็นการหักด่านกลยุทธ์และเครื่องมือทางการ ตลาดต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์และการ แลกคะแนน ส� ำ หรั บ ยู โ อบี ปี นี้ ค งถื อ เป็ น ปี ท องของ ธนาคาร เมือ่ มีแผนโหมออกบัตรเครดิตถีก่ นั เป็น รายไตรมาสเลยทีเดียว นับจากไตรมาสแรกทีอ่ อก บัตร YOLO เน้นกลุม่ คนรุน่ ใหม่มอื อาชีพ (Young Professional) แล้วผลตอบรับดีเกินคาด จนล่าสุด เมือ่ เข้าไตรมาส 2 ยูโอบีกเ็ ปิดตัวบัตรเครดิตส�ำหรับ ผู้หญิงอีกรอบ หลังจากที่ได้เปิดตัวบัตรเครดิต ส�ำหรับผูห้ ญิงมาตัง้ แต่ปี 2005 ธีรวัฒน์ ตรีรัตน์ดิลกกุล ผู้ช่วยกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารยูโอบี จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ยูโอบี นับเป็นธนาคารแรกในประเทศไทย ทีน่ ำ� เสนอบัตรเครดิตส�ำหรับผูห้ ญิงโดยเฉพาะ ซึง่ มอบสิทธิประโยชน์พเิ ศษส�ำหรับผูห้ ญิง อีกทัง้ ยัง ช่วยให้ลกู ค้าสามารถจัดการค่าใช้จา่ ยของตัวเอง ได้ดยี งิ่ ขึน้ > ผู้หญิงกับบัตรเครดิต
เมือ่ ดูจำ� นวนประชากรไทยทีม่ ที งั้ หมด 68.35 ล้านคน คุณธีรวัฒน์แจกแจงว่า จ�ำนวนประชากรของหญิงมีมากกว่าชาย โดยอยูท่ ี่ 34.8 ล้านคน และ 33.59 ล้านคนตามล�ำดับ ในจ�ำนวนนีก้ ลุม่ อายุ 15-64 ปีเป็นกลุม่ ทีม่ สี ดั ส่วนมากทีส่ ดุ ถึง 71% แบ่งเป็นหญิง 35.8% และชาย 35.1% เมือ่ พิจารณาถึง Insight ของผูห้ ญิงไทยของยูโอบีกจ็ ะพบตัวเลขทีน่ า่ สนใจ คือ
B-CONNECT MAGAZINE
007
53% 86% 89% 89% 96% TOP3 แต่เหตุผลส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ยโู อบีเข้ามาปักหลักในเซกเมนต์นมี้ าอย่างยาวนาน คุณธีรวัฒน์เฉลยว่า
53% ของการใช้จา่ ยผ่านบัตรเครดิตทัง้ หมดมาจากผูห้ ญิง ผูห้ ญิงใช้จา่ ยผ่านบัตรเครดิตของเธอมากกว่าผูช้ าย 21% > This for Cool Gal
“บัตรเครดิตยูโอบี เลดี้ แพลทินมั่ ใหม่นจี้ งึ เน้นตอบโจทย์กลุม่ ผูห้ ญิงท�ำงานทีใ่ ส่ใจในเรือ่ งภาพลักษณ์ ของตัวเอง สนใจเรือ่ งแฟชัน่ สุขภาพ ท่องเทีย่ ว รวมถึงออกไปทานข้าวนอกบ้านเพือ่ สังสรรค์กบั ครอบครัว และเพือ่ นฝูง ด้วยสิทธิประโยชน์ทเี่ พิม่ มากขึน้ ” สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตยูโอบี เลดี้ แพลทินมั ทีเ่ พิม่ ขึน้ มีดงั นี้
008
B-CONNECT MAGAZINE
• Lady’s Rewards – รับคะแนนสะสมพิเศษ 1 คะแนน เมือ่ ช็อปทุกๆ 10 บาท ณ ร้านค้าออนไลน์ ในหมวดแฟชั่นและห้างสรรพสินค้าทั้งในและ ต่างประเทศ • Lady’s Wow Cash Back – แลกคะแนน รับเครดิตเงินคืน 15% ทุกวัน และ 20% ทุก เสาร์-อาทิตย์ เมือ่ ใช้จา่ ยในหมวดแฟชัน่ และบิวตี้ ในร้านค้าชั้นน�ำที่ร่วมรายการ อาทิ Club 21 เซ็นทรัล เซน เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ พารากอน บลูพอร์ต และ EVEANDBOY • Lady’s Luxe Pay – แบ่งช�ำระ 0% นาน 6 เดือน ส�ำหรับยอดใช้จา่ ยซือ้ กระเป๋า/รองเท้า ณ ร้านค้าในหมวดแฟชัน่ ทัง้ ในและต่างประเทศ • Lady’s Beauty Friday – แลกคะแนนรับ เครดิตเงินคืน 50% ทุกวันศุกร์ ทีร่ า้ นท�ำผมและ ท�ำเล็บทัว่ ประเทศ • Lady’s Special 1 Point - ใช้คะแนนสะสม เพียง 1 คะแนน แลกรับของรางวัลพิเศษเฉพาะ คุณผูห้ ญิง เพียงมียอดใช้จา่ ยสะสมครบ 1 แสน บาท/ไตรมาส • Lady’s Wellness – รับส่วนลด 20% และ Guava pass ส�ำหรับเข้าคลาสฟิตเนสชัน้ น�ำใน ประเทศไทยและรับสิทธิม์ า 2 คนจ่ายเพียง 1 คน ทีส่ ตูดโิ อ Physique57 > ภารกิจ Q3
“ภารกิจของเราต่อไป คือ การสรรหา พันธมิตรเพิม่ เติม เพือ่ เติมเต็มความต้องการของ ผูห้ ญิงให้มากทีส่ ดุ ” ทว่า จากแผนงานของยูโอบี ทีต่ อ้ งการออกบัตรเครดิตรายไตรมาส คุณธีรวัฒน์ ขมวดท้ายว่า Q3/2560 ยูโอบีกเ็ ครือ่ งร้อนต่อไป ด้วยการเตรียมเปิดตัวบัตรเครดิตระดับพรีเมีย่ ม เจาะกลุม่ ลูกค้าทีม่ บี ญ ั ชีฝากกับธนาคารตัง้ แต่ 3 ล้านบาทขึน้ ไป และเป็นกลุม่ ทีท่ างธนาคารจะส่ง ค�ำเชิญให้เป็นผูถ้ อื บัตรเท่านัน้ ตลาดบัตรเครดิตทีม่ มี ลู ค่าตลาดกว่า 5,000 ล้านบาทก็ยงั คงร้อนฉ่ากันอย่างไม่ลดละ !!
Business Round-up
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
TMB
เน้นเอาใจลูกค้ายุค 4.0
สะดวก ง่าย และตอบโจทย์ Need Based จาก 8 ปีที่ ทีเอ็มบี ประกาศจุดยืนของตนเอง Make THE Difference เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ด้วยมาตรการหลายอย่าง
ที่ถือว่าเป็นการพลิกโฉมวงการการเงินการธนาคารของไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หรืออย่างกรณี TMB ALL FREE ที่ใครก็คง ไม่คิดว่าการท�ำธุรกรรมทางการเงินจะฟรี ไม่ว่าจะกดฝาก ถอน โอน เพราะที่ผ่านมาลูกค้าก็ถูกเก็บเงินค่าธรรมเนียมมาโดยตลอด
B-CONNECT MAGAZINE
009
TMB WAY
ล่าสุด บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) ขึน้ เวทีแถลงข่าวล่าสุดว่า ทีเอ็มบี ยังคง ยึดยุทธศาสตร์ของ Brand DNAs ทัง้ 4 ด้าน นัน่ คือ การท้าทายสิง่ ทีเ่ ป็นอยู่ (Challenge Status Quo) ต้องมีความรู้ ความสามารถ (Intelligent) ต้องมีความจริงใจ (Genuine) ต้องง่ายและใช้งานได้จริง (Simple & Easy) เพือ่ มุง่ ตอบโจทย์ลกู ค้าอย่างตรงจุด ที่ผ่านมา ทีเอ็มบี ภายใต้การน�ำของคุณบุญทักษ์ ได้ริเริ่มพัฒนาและ คิดค้นผลิตภัณฑ์/บริการทีล่ กู ค้าไม่เคยได้รบั มาก่อน (Under Served) และ ไม่เคยมีมาก่อนในธุรกิจธนาคาร อาทิ • บริการฝาก-ถอนเงินไม่ตอ้ งใช้สลิป • การแบ่งประเภทบัญชีเงินฝากตามวัตถุประสงค์ เป็นบัญชีเงินฝาก บัญชีเงินเพือ่ ใช้ และบัญชีเงินเพือ่ ออม • การเปิดกว้างการซือ้ กองทุนรวมจากบริษทั จัดการกองทุนทีม่ ชี อื่ เสียงผ่าน TMB Open Architecture ทีเ่ ปิดโอกาสให้ลกู ค้าเลือกซือ้ กองทุนหลากหลาย ได้ในทีเ่ ดียวจบ • ME by TMB ธนาคารดิจทิ ลั รายแรกของไทยทีป่ จั จุบนั มีฐานลูกค้ากว่า 3 แสนราย • ทีเอ็มบี ทัช โมบายล์แอปพลิเคชัน (TMB Touch) เพิม่ ความสะดวก ให้ลกู ค้ามากขึน้ โดยไม่ตอ้ งมาทีส่ าขาธนาคารเลย ลูกค้าสามารถใช้จา่ ยบิล โอนเงินและดูขอ้ มูลสถานะการเงิน พอร์ตการลงทุน และประกันได้ และยัง สามารถเปิดบัญชีออนไลน์ เปิดใช้บตั รเดบิต บัตรเครดิต และสามารถใช้บริการ แบ่งช�ำระผ่าน So GooOD โดยเลือกรายการทีต่ อ้ งการแบ่งจ่าย 0% 3 เดือน ได้ดว้ ยตนเอง ปัจจุบนั มีลกู ค้าใช้บริการกว่า 1 ล้านราย
010
B-CONNECT MAGAZINE
Customer 4.0
เพือ่ ตอบสนองลูกค้ายุค 4.0 ทีล่ ว้ นอพยพไปเป็นชุมชนบนโลกไซเบอร์ ท�ำให้วนั นี้ ทีเอ็มบี มุง่ ตอบโจทย์ความต้องการทีแ่ ท้จริง (Need Based) ของลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และบริการของทีเอ็มบี พร้อมให้ประโยชน์ สูงสุดแก่ลกู ค้า ด้วยคียเ์ วิรด์ ส�ำคัญทีต่ อ้ งติดตามกันไปด้วยทุกครัง้ นัน่ คือ ตรงใจ สะดวก และง่าย อย่างชนิดทีเ่ รียกได้วา่ เป็นธนาคารทีป่ ลดแอก ผูใ้ ช้บริการจากพันธนาการของ “ดอกจัน” ด้วยประการทัง้ ปวง คุณบุญทักษ์เผยถึงแนวทางการด�ำเนินงานของทีเอ็มบีในปีนวี้ า่ “เราได้เพิม่ ช่องทางการสือ่ สารผ่านระบบดิจทิ ลั ด้วยบริการขอข้อมูล และสมัครผลิตภัณฑ์ออนไลน์ (Digital Drop Leads) เพือ่ เพิม่ ความสะดวก ให้กบั ลูกค้าทุกทีท่ กุ เวลา โดยพนักงานจะโทรกลับในเวลาไม่เกิน 5 นาที (Call Me Now) พร้อมบริการให้คำ� ปรึกษาทางการเงินการลงทุนส�ำหรับ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินทีซ่ บั ซ้อน โดย Remote Expert ณ สาขาเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า สาขาสยามพารากอน สาขาฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต สาขาแฟชั่น ไอส์แลนด์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา และสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถปรึกษา เรือ่ งการลงทุนกับผูเ้ ชีย่ วชาญโดยตรง โดยธนาคารมีแผนงานขยายจ�ำนวน สาขาเป็น 20 สาขา ภายในกรกฎาคมปีนี้ ทัง้ นี้ สิง่ ทีล่ กู ค้าบุคคลจะได้รบั จากทีเอ็มบีและท�ำให้สามารถใช้ชวี ติ ได้เต็มทีใ่ นแบบทีต่ อ้ งการ คือ การท�ำธุรกรรมทางการเงินทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ดียงิ่ ขึน้ ในเวลาทีล่ กู ค้าต้องการและช่องทางทีล่ กู ค้าสะดวก ใช้ระบบดิจทิ ลั ที่ง่าย สะดวกมากขึ้น ด้วยประสบการณ์ที่ดีตลอดเวลาที่ใช้บริการกับ ทีเอ็มบี
“
เราจะท�ำต่อไปเพือ่ ลูกค้า เราจะไม่หยุดพัฒนา และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพือ่ ให้ลกู ค้า สามารถใช้ชวี ติ ได้เต็มทีใ่ นแบบทีต่ อ้ งการ นัน่ คือ 1. เป็นธนาคารเพือ่ การท�ำธุรกรรมทีด่ ที สี่ ดุ พร้อมเทคโนโลยีทใี่ ช้งา่ ยและสะดวก 2. ให้ลกู ค้ายิง่ ท�ำธุรกรรมมาก ยิง่ ได้ประโยชน์มาก 3. Need Base Approach ด้วยบริการ ทีใ่ ห้ประโยชน์สงู สุดแก่ลกู ค้า บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ หากลูกค้าเดินบัญชีกบั ทีเอ็มบีอย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็นการใช้ Promptpay, EDC หรือการ เดินบัญชีปกติ ก็จะมีสทิ ธิไ์ ด้รบั พิจารณาวงเงินสินเชือ่ ได้งา่ ยขึน้ เพราะธนาคารสามารถวิเคราะห์การท�ำ ธุรกรรมรับ–จ่ายของลูกค้าตลอด จนท�ำให้ทราบได้ทนั ทีวา่ ลูกค้ามีความต้องการเงินทุนเพิม่ เติมหรือไม่ ปัจจุบนั ลูกค้าเอสเอ็มอีได้รบั การสนองตอบด้านสินเชือ่ ทีเ่ ป็นมาตรฐานใหม่ของธุรกิจธนาคาร ได้รบั เงินทุน 3 เท่าของหลักประกัน โดยทีเอ็มบีเริม่ ให้สนิ เชือ่ ทีเอ็มบี 3 เท่าของมูลค่าหลักทรัพย์เป็นรายแรก ส่งผลให้ขยายฐานลูกค้าได้มากกว่า 7,000 ราย ในปีแรกด้วยวงเงิน 5.8 หมืน่ ล้านบาทและมีการยกระดับ อย่างต่อเนือ่ ง ในปีถดั มาเป็น สินเชือ่ ทีเอ็มบี 3 เท่า พลัส โดยลูกค้าได้รบั การค�ำ้ ประกันทัง้ จาก บสย. และ International Finance Corporation หรือ IFC ท�ำให้ฐานลูกค้าเพิม่ เป็น 1.5 หมืน่ ราย วงเงิน เพิม่ เป็น 1.4 แสนล้านบาท ล่าสุด ทีเอ็มบีสนับสนุนให้ลกู ค้าใช้หลักประกันรูปแบบใหม่ในการเพิม่ วงเงินเป็นธนาคารแรก หรือ สินเชือ่ ทีเอ็มบีเอสเอ็มอี 3 เท่า พร้อมเพิม่
Prompt for SME ส�ำหรับลูกค้าเอสเอ็มอี ไตรรงค์ บุตรากาศ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารลู ก ค้ า เอสเอ็ ม อี เปิดเผยว่า “เราให้ความส�ำคัญกับลูกค้าเอสเอ็มอีด้วย ความจริงใจและตรงไปตรงมากับลูกค้าเสมอมา และมองว่า ค่าธรรมเนียมเป็นต้นทุนอย่างหนึง่ ที่ ไม่มคี วามจ�ำเป็นต้องจ่าย ดังนัน้ จึงได้เริม่ ยกเว้น ค่าธรรมเนียมข้ามเขต ค่าธรรมเนียมเช็คเรียกเก็บ ให้กับลูกค้าทีเอ็มบีตั้งแต่ปี 2556 ช่วยลูกค้า เอสเอ็มอีประหยัดค่าธรรมเนียมไปได้ 150 ล้าน บาทใน 4 ปีทผี่ า่ นมา และยกระดับเพิม่ ขึน้ อีกขัน้ ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขต ข้ามแบงก์ ท�ำให้ลูกค้าประหยัดค่าธรรมเนียม เพิม่ อีก 300 ล้านบาท ล่าสุด เราใช้เทคโนโลยีเข้ามาท�ำให้เรื่อง ธุรกรรมรับ–จ่ายสะดวกขึ้น โดยเชื่อมโยงบัญชี ธุรกิจ TMB SME One Bank เข้ากับช่องทาง ดิจทิ ลั คือ TMB Business Touch ซึง่ เป็นโมบายล์ แอปพลิเคชันตัวแรกของไทย ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาเพือ่ SME โดยเฉพาะ ส�ำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง และใหญ่ สามารถใช้ TMB Business Click ธนาคารออนไลน์ทสี่ ามารถตอบโจทย์การใช้งาน ของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแท้จริง เพิม่ ความ สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา และทุกครัง้ มีการท�ำธุรกรรม ผ่ า นทาง TMB Business Click มากกว่ า 3 ล้านล้านบาท หรือเติบโตขึ้นมากกว่า 67%
Supply Chain
ส�ำหรับหน่วยธุรกิจในโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ต้องมีความแข็งแกร่งทางการเงินเช่นกัน เพื่อเป็นโซ่ข้อแรกให้กับธูรกิจข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันในระบบเศรษฐกิจ ปิติ ตัณฑเกษม ประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหารลูกค้าธุรกิจ กล่าวว่า “เราเริม่ ให้การสนับสนุนเงินกูใ้ ห้กบั โซ่อปุ ทานของลูกค้า เช่น ปตท. บุญรอด SCG คูโบต้า และเซ็นทรัล รวมถึงลูกค้าของลูกค้า ซึง่ ก็คอื ธุรกิจเอสเอ็มอี ท�ำให้สามารถ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวก โดยไม่ตอ้ งใช้หลักประกัน นอกจากนี้ ยังได้พฒ ั นาต่อยอดโซ่อปุ ทาน ท�ำให้ลกู ค้าของลูกค้าของลูกค้า หรือ ยีป่ ว๊ั ซาปัว๊ สามารถเข้าถึงเงินทุนได้งา่ ยขึน้ และเมือ่ ทัง้ โซ่อปุ ทาน แข็งแกร่งก็จะสามารถช่วยเพิม่ ยอดขายให้กบั ลูกค้าได้ โดยในปัจจุบนั ได้นำ� ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยพัฒนาประสิทธิภาพ ท�ำให้เป็นระบบไร้กระดาษ (Paperless) ซึง่ ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จา่ ย และสามารถจัดเก็บข้อมูลและน�ำกลับมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทีผ่ า่ นมามีมลู ค่าการช�ำระเงินกว่า 8.1 หมืน่ ล้านบาท คิดเป็น 25% ของยอดขาย ของลูกค้าทีเอ็มบี B-CONNECT MAGAZINE
011
Click & Cool
ชูศักดิ์ อิ่มใจ Samsung Galaxy S8 | S8+ สวยล้ำ� ไร้กรอบ ไร้ปุ่มโฮม
เพิ่งเปิดตัวและก�ำลังเป็นที่จับตามอง กับ Samsung Galaxy S8 และ S8+ ที่ฉีกแนว การออกแบบ กลายเป็นหน้าจอทีก่ ว้างขึน้ แต่ไร้ซงึ่ ปุม่ โฮม ด้วยหน้าจอใหม่ Infinity Display ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในตระกูล Galaxy S สัดส่วน 18.5:9 ซึ่งเกือบจะเต็มพื้นที่ด้านหน้าเครื่องทั้งหมด พลิกโฉมดีไซน์ใหม่ กับหน้าจอแบบไร้ขอบ มีกระจก Gorilla Glass 5 ช่วยปกป้องตัวเครื่องทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ย้ายเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือไปไว้ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง กล้องหลังความละเอียด 12 ล้านพิกเซล กับเทคโนโลยี AF Dual-Pixel 100% ที่จับภาพได้คมชัด และประมวลความคมชัดของภาพด้วยการ รวมภาพถ่าย 3 ภาพเข้าด้วยกัน เพือ่ ให้รายละเอียดทัง้ หมดคมชัดมากยิง่ ขึน้ มาพร้อมกับระบบรักษา ความปลอดภัยเหนือชั้นด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริก อาทิ ระบบสแกนม่านตา ระบบสแกนลายนิ้วมือ และระบบตรวจจับใบหน้า และยังใช้ชิปเซต Exynos 8895 ที่เป็นสถาปัตยกรรมระดับ 10 nm เป็นรุ่นแรกของโลกอีกด้วย รับรองได้ว่า Samsung Galaxy S8 สามารถใช้งานได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพแน่นอน
i.Con Smart Condom ถุงยางแบบใหม่ ให้คะแนนทุกลีลารัก
Gadget แปลกๆ ยังมีออกมาเสมอ ล่าสุดกับ i.Con Smart Condom ถุ ง ยางอนามั ย อั จ ฉริ ย ะ ที่ จ ะรายงานข้ อ มู ล ทุ ก อย่ า งในขณะที่ คุ ณ ก�ำลังมีเพศสัมพันธ์อยู่ ทั้งจ�ำนวนครั้งที่เคลื่อนไหว ความถี่ ค�ำนวณ แคลอรี่ที่ใช้ เวลาที่ใช้ รวมถึงวัดขนาดให้เสร็จสรรพ ตัว i.Con Smart Condom ใช้ระบบการเชื่อมต่อทาง Bluetooth กับมือถือด้วยชิป ขนาดเล็กเป็นพิเศษ ใช้งานได้นาน 6-8 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้ง มี ก ารรั บ ประกั น สิ น ค้ า 1 ปี ตั ว ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ริ ง ๆ แล้ ว จะมี ลั ก ษณะ เป็ น แหวนรั ด ที่ กั น น�้ ำ ได้ เมื่ อ ใช้ ร ่ ว มกั บ ถุ ง ยางของจริ ง อ้ อ ข้ อ มู ล ที่ ถู ก บั น ทึ ก ไว้ คุ ณ สามารถแชร์ ใ ห้ เ พื่ อ นๆ รู ้ ไ ด้ ด ้ ว ยนะ ว่ า คุ ณ อึ ด และท�ำรอบได้แค่ไหนผ่านแอปฯ i.Con โดยเร็วๆ นี้จะมีวางจ�ำหน่าย ในราคา £59.99 หรือประมาณ 2,600 บาท 012
B-CONNECT MAGAZINE
แชร์พิกัดได้ง่าย ๆ Google Maps จัดให้
ข่าวดีส�ำหรับคนที่คิดถึงแอปฯ ในอดีตอย่าง Google Latitude ที่เราสามารถแชร์พิกัดที่อยู่ของเราให้เพื่อนๆ หรือครอบครัวรู้ได้ทันที แต่เป็นที่น่าเสียดายที่บริการนี้ถกู ปิดไปเมื่อปี 2013 ล่าสุด Google Maps ได้น�ำกลับมาใส่ให้ใช้งานกันอีกครั้ง โดย Google Maps บนมือถือนั้น สามารถแชร์พิกัดแบบ Real-Time ให้ใครดูก็ได้ สามารถดูได้ทั้งบนแอปฯ และบนเว็บ แถมยังก�ำหนดช่วงเวลาได้ว่าจะแชร์นานแค่ไหน เราจะเห็น รูปเพื่อนเคลื่อนที่อยู่บนแผนที่ทันที แต่ข่าวดีนี้อาจเป็นข่าวร้ายส�ำหรับ พ่อบ้านใจกล้าทั้งหลาย และเพื่อนที่บอกว่าจะถึงแล้วแต่เพิ่งออกจากบ้าน ก็เป็นไปได้ http://www.seeklogo.net
Mi Mix 2 ทายาทมือถือจอไร้ขอบสุดหรูจาก Xiaomi
เมือ่ ปีทแี่ ล้ว Xiaomi ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้วงการมือถือทีถ่ กู กล่าวถึง นัน่ คือการวางจ�ำหน่ายของ Mi Mix มือถือทีม่ จี อ “ไร้ขอบ” สุดหรู (จริงๆ ก็มแี หละ แต่บางมากๆ) ปีนขี้ า่ วลือว่า Xiaomi ก�ำลังพัฒนา Mi Mix 2 ดูทา่ จะมีมลู ความจริง ขึ้นมาบ้าง เมื่อมีภาพที่ผ่านการเรนเดอร์ให้เห็นถึงตัวเครื่องโดยรอบทั้งด้านหน้า และด้านหลังหลุดออกมาให้ชมกัน โดยจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดคือหน้าจอที่ยังคง คอนเซ็ปต์ไร้ขอบ ที่มีอัตราส่วนหน้าจอถึง 93% โดยขยายจากรุ่นก่อนหน้านี้ ที่มีขนาดหน้าจอ 91.3% เรียกว่าอีกนิดเดียวด้านหน้าก็จะเป็นหน้าจอล้วนๆ ยังคงใช้วัส ดุค าร์บอนเซรามิกและเทคโนโลยีหูฟ ังแบบ acoustic หน้า จอ เป็นแบบ AMOLED กล้องคู่ Dual-Camera ด้านหลังด้วย ส่วนการสแกน ลายนิว้ มือคาดว่าจะใช้เทคโนโลยีอลั ตราโซนิกเหมือนเดิม
พบกับ DOT. นาฬิกาเรือนแรกเพื่อผู้พิการทางสายตา
Dot Incorporation ได้เปิดตัวนาฬิการูปแบบใหม่เพือ่ ผูพ้ กิ าร ทางสายตาโดยเฉพาะ ในชื่อว่า DOT. ลักษณะคล้ายนาฬิกาข้อมือ ทั่วไป มีหน้าปัดเป็นวงกลม ความพิเศษอยู่ที่หน้าปัดที่แสดงผล ออกมาเป็นอักษรเบรลล์ แบ่งเป็นฝัง่ ชัว่ โมงและฝัง่ นาที แนวคิดของ ผู้ผลิตคือ ณ ปัจจุบัน มีประชากรกว่า 285 ล้านคน ที่เป็นผู้พิการ ทางสายตา แต่อุปกรณ์ดิจิทัลที่เป็นอักษรเบรลล์กลับมีขนาดใหญ่ น�ำ้ หนักมาก และราคาแพงเกินไป มีแค่ 5% ของผูพ้ กิ ารทางสายตา เท่านั้นที่ซื้อหามาใช้ ดังนั้น DOT. จึงถูกสร้างสรรค์มาเพื่อเติมเต็ม ช่องว่างดังกล่าว โดยขณะนี้ DOT. ก�ำลังอยูร่ ะหว่างการพัฒนาและ ทดสอบ จะวางขายจริงเร็ว ๆ นี้
งานแดงต้องมา Apple วางขาย iPhone 7/7 Plus รุ่น (RED)
ถือเป็นความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่าง Apple และ (RED) ได้ผลิต iPhone สีพิเศษ เพื่อน�ำเงินไปสมทบทุนกับ Global Fund กองทุนโลก เพื่อสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับ HIV/AIDS โดย iPhone 7/7 Plus รุ่น (RED) นี้ ตัวเครื่องจะเป็นอะลูมิเนียมสีแดงสด มีความจุให้เลือก 2 แบบ คือ 128 GB ราคา 30,500 บาท และ 256 GB ราคา 34,500 บาท สามารถสั่งซื้อได้ทางออนไลน์ ทั่ ว โลกแล้ ว และสามารถซื้ อ ผ่ า นทางโอเปอเรเตอร์ บ ้ า นเราได้ เ ร็ ว ๆ นี้ พร้ อ มกั น นี้ Apple ยังส่ง iPad รุ่นใหม่มาแทน iPad Air 2 พร้อมปรับราคาลง เริ่มต้นที่ 12,500 บาท และเพิ่มสเป็ก CPU จาก A8X เป็น A9 แถมยังปรับเพิ่มความจุให้ iPhone SE ขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ราคาเท่าเดิม จาก 16GB/64GB เป็น 32GB/128GB อีกด้วย
B-CONNECT MAGAZINE
013
Consumer & Brand Survey
ดร.ฉันทนา ถาปัดถา
พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และ Social Media คนกรุง การส�ำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและ Social Media ของประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยส�ำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 800 คน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 659.40 บาทต่อเดือน
1. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจ�ำวัน โดยเปรียบเทียบตามเพศและอายุ สรุปได้ว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า เพศชาย และผู้ที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าผู้ที่มีอายุต�่ำกว่า 25 ปี และผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
89.50% 69.75% 48.00% 62.25% 014
B-CONNECT MAGAZINE
50.25% 39.25%
43.50% 26.25%
31.50% 16.50%
33.25% 29.00%
89.50% 69.75% 48.00% 62.25%
< 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 >
23.25% 48.75% 17.50%
22.75% 37.25% 17.50%
15.50% 25.25% 7.25%
18.75% 33.50% 10.00%
2. พฤติกรรมการใช้ Social Media ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการส�ำรวจ Social Media 4 ประเภทที่ได้รับความนิยม ซึ่งเพศหญิงจะใช้ Social Media มากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี มีการใช้ Social Media มากกว่าผู้ที่มีอายุต�่ำกว่า 25 ปี และ ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
85.25% 83.25% 47.50% 26.50%
49.25% 36.00%
Line
48.75% 34.50%
33.00% 14.50%
18.5% 8.00%
85.25% 83.25% 47.50% 26.50% Line
< 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 > < 25 25-45 45 >
23.25% 47.25% 14.75%
23.00% 46.70% 13.50%
16.25% 25.00% 6.25%
12.00% 11.00% 3.50%
B-CONNECT MAGAZINE
015
Consumer & Brand Survey
ดร.ฉันทนา ถาปัดถา
เหตุผลในการเลือกใช้บริการ MODERN TRADE Modern Trade คือธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีรูปแบบ การค้าปลีกที่มีกระบวนการจัดจ�ำหน่าย น�ำเสนอสินค้า ที่ มี ค วามหลากหลาย มี ร ะบบการจั ด การที่ อ าศั ย เทคโนโลยี แ ละความช� ำ นาญมาช่ ว ยในการบริ ก าร ตามความต้องการของลูกค้า ที่น�ำไปสู่ความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และลูกค้า
เมื่อท�ำการส�ำรวจเหตุผลการเลือกใช้บริการ Modern Trade จากกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งจ� ำ นวน 800 คนในเขตกรุ ง เทพมหานครและ ปริมณฑล มีผู้ใช้บริการ ร้อยละ 98.50 โดยมีเหตุผลในการเลือกใช้ บริการจาก 10 เหตุผล ดังนี้
76.10% เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส เดอะมอลล์ สยามพารากอน แม็คโคร
47.25% 15.25% 8.25% 6.75% 5.25%
75.93% เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส สยามพารากอน และแม็คโคร ท็อปส์ เดอะมอลล์
016
B-CONNECT MAGAZINE
30.75% 10.75% 9.00% 7.50% 5.75%
73.83%
74.93% เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส เดอะมอลล์ บิ๊กซี สยามพารากอน
29.50% 16.50% 11.00% 7.25% 5.75%
เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส สยามพารากอน เดอะมอลล์ โรบินสัน บิ๊กซี และแม็คโคร
32.00% 15.00% 12.75% 6.75% 4.50%
32.25% 18.75% 10.25% 7.75% 5.25%
เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส เดอะมอลล์ สยามพารากอน แม็คโคร
33.50% 17.25% 10.00% 7.75% 5.25%
27.50% 21.00% 10.25% 6.50% 6.25%
23.75% 20.75% 12.75% 7.25% 6.25%
73.58%
74.70%
30.00% 12.75% 10.50% 9.50% 6.25%
เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี เดอะมอลล์ แม็คโคร
73.10%
74.48% เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส เดอะมอลล์ สยามพารากอน บิ๊กซี
73.75%
74.75%
เซ็นทรัล เดอะมอลล์ เทสโก้ โลตัส สยามพารากอน โรบินสัน
เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส เดอะมอลล์ บิ๊กซี แม็คโคร
34.00% 18.50% 7.50% 6.00% 5.50%
เซ็นทรัล เทสโก้ โลตัส แม็คโคร เดอะมอลล์ บิ๊กซี
B-CONNECT MAGAZINE
017
The Guru
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
Philip Kotler Marketing 4.0
อี ก ครั้ ง ที่ Philip Kotler (ฟิ ลิ ป คอตเลอร์ ) กู รู ท างด้ า น การตลาดเสนอแนวคิดยุทธศาสตร์ทางการตลาดใหม่ Marketing 4.0 ค�ำถามทีเ่ กิดขึน ้ คือ ความแตกต่างจาก Marketing 3.0 คืออะไร
• Marketing 1.0 ว่าด้วยการตลาดทีข่ บั เคลือ่ น ด้วยสินค้า (Product Driven Marketing) • Marketing 2.0 ว่าด้วยการตลาดทีข่ บั เคลือ่ น ด้วยเป็นแนวคิดการตลาดที่เน้นความต้องการ ของลู ก ค้ า เป็ น หลั ก ใช้ ลู ก ค้ า เป็ น ศู น ย์ ก ลาง (Customer Centric Marketing) • Marketing 3.0 ว่าด้วยการตลาดที่ขับเคลื่อน ด้ ว ยการใช้ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง (Human Centric Marketing) เล่นที่สามเหลี่ยมของ Heart-Mind-Spirit เป็นความต้องการสร้าง ส่วนแบ่งทางการตลาดในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น Mind Share (ลูกค้านึกถึงอยูต่ ลอดเวลา) Heart Share (แบรนด์ทลี่ กู ค้ารักทีส่ ดุ ) และสูงสุดถึงขัน้ Spirit Share ทีต่ อ้ งการให้ลกู ค้าเกิดความมุง่ มัน่ ในจิ ต วิ ญ ญาณที่ จ ะอยู ่ กั บ แบรนด์ นี้ ต ลอดไป เพราะความหลงใหลในแบรนด์ ที่ ส ามารถ ตอบโจทย์ ค วามต้ อ งการของลู ก ค้ า ได้ ถึ ง ขั้ น ปวารณาตัวเป็นสาวก
คอตเลอร์ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง กระบวนการสู ่ ก าร ตัดสินใจซื้อที่ประกอบด้วย 4A คือ AwareAppeal-Ask-Act (สร้างการตระหนักรู้-สร้าง แรงดึ ง ดู ด -สร้ า งความต้ อ งการ-ตั ด สิ น ใจซื้ อ ) นั้นไม่เพียงพอแล้ว ในยุคนี้ต้องเพิ่ม A ตัวที่ 5 ด้วยนั่นคือ Advocate หรือ ผู้สนับสนุนที่พร้อม เป็นสาวกให้แบรนด์ ด้วยว่าวันนี้คนใกล้ชิดนั้นมีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจกับคนๆ หนึ่งในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เรือ่ งใหญ่เรือ่ งเล็ก นอกจากนี้ การเข้าถึงผูบ้ ริโภค ทีถ่ กู สือ่ ต่างๆ ถล่มใส่เป็นจ�ำนวนมหาศาล จดจ�ำ แมสเสจหรือแม้แต่แบรนด์ไม่ได้ ซ�้ำความจ�ำ หรือความสนใจของคนยุคนี้ก็หดสั้นลงยิ่งกว่า ปลาทองด้วย ฉะนั้น การที่แบรนด์หรือแมสเสจ จะฝ่าวงล้อมเหล่านี้ได้ย่อมต้องมีความแตกต่าง ซึ่งความแตกต่างในยุค Marketing 4.0 นี้คือ การส่งมอบประสบการณ์แบบเฉพาะเจาะจง (Customized Experience) ส� ำ ทั บ ด้ ว ย การชีว้ ดั ทีม่ พี ลานุภาพ (Powerful Metric) และ การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลเลิศในเชิงนวัตกรรม (Innovation Best Practice)
Marketing 4.0
Landscape Shift
ก่อนอื่น ต้องว่ากันด้วยยุทธศาสตร์ เวอร์ชน ั ต่างๆ ของคอตเลอร์ทม ี่ วี วิ ฒ ั น์ ตามยุคสมัยทีต ่ า่ งกัน กล่าวคือ
คอตเลอร์ กูรูวัย 88 ปีที่ยังมีมุมมองเชิงยุทธ์ สดใสราวกับวัยหนุ่มตั้งประเด็นค�ำถามชวนคิด เมือ่ ครัง้ มาเยือน กทม. ทีว่ า่ “คุณรูไ้ หมว่า โลกนี้ มีประชากร 7,000 ล้านคน แต่การตลาดรับใช้ เพียงแค่ 2,000 ล้านคนเท่านั้น ที่เหลือยังไม่ได้ ประโยชน์จากการตลาดเท่าไรนัก เรามีหน้าที่ จะต้องท�ำให้ชนชัน้ กลางและชนชัน้ ล่างมีวถิ ชี วี ติ ที่ดีขึ้นด้วยการตลาด” ดังนั้น Marketing 4.0 นั้นเป็น ยุคแห่ง วิ วั ฒ น์ ก ารตลาดเพื่ อปวงชน (Marketing Evolution for People) เนื่องจากต้องยอมรับว่า โลกวันนี้เข้าสู่ยุค เศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล และยุ ค เศรษฐกิ จ แห่ ง การ แบ่ ง ปั น (Sharing Economy) มี อ ะไรที่ เปลี่ยนแปลงไปมากมาย ความเปลี่ยนแปลง หลั ก ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในยุค Marketing 4.0 คือ เป็นยุคทีโ่ ลกเปลีย่ น คนเปลีย่ น การตลาดจึงต้อง เปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะการถือก�ำเนิดของยุค แห่งการแบ่งปัน (Sharing Era)
ภูมิทัศน์ (Landscape) ทางการตลาดที่ เปลีย่ นในยุคเศรษฐกิจดิจทิ ลั นัน้ มีหลายคียเ์ วิรด์ ที่เราคงคุ้นเคยกันดี ทั้ง Sharing Economy, Now Economy ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้คนในยุค ไฮเทควันนี้กระโจนเข้าสู่โลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก กันมากขึ้น คุยกันเองบนโลกไซเบอร์กันราวกับ รู้จักกันมานาน อีกทั้งมีความเฉพาะตัว มีความ เป็นปัจเจกมากขึ้น
More Social, More Personalized
ขณะเดียวกัน ก็โหยหาสัมผัสจากมนุษย์ ด้วยกัน ทีเ่ รียกว่า High Touch ไม่ใช่การสือ่ สาร ผ่ า นเครื่ อ งยนต์ ห รื อ ไอที เ ท่ า นั้ น คอตเลอร์ จึงเรียกร้องให้นักการตลาดยุค Marketing 4.0 ปรั บ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ ธรรมชาติ ที่ เ ปลี่ ย นไป ของผู ้ บ ริ โ ภคในยุ ค นี้ ด ้ ว ย โดยบทบาทของ นั ก การตลาดจะต้ อ งสามารถชี้ น� ำ ลู ก ค้ า ของตัวเองผ่านเส้นทางที่ลูกค้าเดิน (Customer Journey) แล้วต้องเพิ่มดีกรีจากการสร้างความ ตระหนักรู้ (Awareness) ของลูกค้าให้พุ่งปรี๊ด แล้วกลายเป็นสาวก (Advocate) ให้ได้ คอตเลอร์ ชี้ 3 เทรนด์ บ นภู มิ ทั ศ น์ ท าง การตลาดที่ เ ปลี่ ย นแปลงอย่ า งเป็ น ระบบว่ า ประกอบด้วย • From Exclusive to Inclusive จากเฉพาะด้านสู่รอบด้าน
การเมือง - โลกเปลีย่ นจากโครงสร้างอ�ำนาจ แบบครอบง�ำเป็นโครงสร้างอ�ำนาจแบบหลาย ขั้ว ถ้าในทางการเมืองก็จะเห็นได้จากเดิมที่ ขั้วอ�ำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ที่อเมริกาและอียู แต่ตอนนี้ขั้วอ�ำนาจกระจายไปยังประเทศอื่นๆ ในโลกด้วย โดยเฉพาะเอเชียทีม่ อี ตั ราการเติบโต อย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ อ�ำนาจทาง เศรษฐกิจก็ยังกระจายไปที่ประชากรในตลาด เกิดใหม่ทมี่ อี ายุนอ้ ยกว่า ประสบการณ์มากกว่า และมีระดับรายได้สูงกว่า นวัตกรรม - ประเทศเกิดใหม่ก็มีทิศทาง ที่ ดี ขึ้ น เช่ น กั น ขณะที่ ก ลุ ่ ม บริ ษั ท สตาร์ ท อั พ ในอเมริกาลดลงเหลือแค่ 8% จากเมือ่ 30 ปีกอ่ น
Marketing 4.0
B-CONNECT MAGAZINE
019
ที่มีมากถึง 15% ขณะที่กลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ ในเอเชียนั้นตรงกันข้ามและมีมากจนแซงอียู และอเมริกา โดยเฉพาะการใช้งานนวัตกรรม ในปี 2009 และที่น่าสนใจคือ เกาหลีใต้ที่ใช้ งบเพื่อการท�ำงานวิจัยและพัฒนามากกว่า 8% ของ GDP ธุรกิจ - เราจะได้เห็น 6 ปรากฏการณ์ ที่ส�ำคัญ นั่นคือ • ธุ ร กิ จ วั น นี้ ต ้ อ งผลิ ต สิ น ค้ า ให้ ใ ช้ ง ่ า ย ราคา ประหยัด ถูก ไม่ใช่การลดต้นทุนอยู่หลังบ้าน เท่านั้น • จากเดิมที่ธุรกิจมักคิดว่าจะเข้าตลาดเกิดใหม่ เพื่อผลิตและเปิดตัวสินค้าใหม่ก่อนการท�ำการ ตลาดในซีกโลกอื่นๆ นั้น ยุคนี้นักการตลาด ต้องปรับโหมคิดมาเจาะตลาดคนจนที่แต่ก่อน เราอาจมองข้ามขนาดที่เรียกว่า Non-Market ด้วยซ�้ำ
020
B-CONNECT MAGAZINE
• สินค้า / บริการที่เคยเป็น Exclusive นั้นต้อง วางต�ำแหน่งใหม่ให้เป็น Mass Market ทั่วโลก • บริษัทที่ประสบความส�ำเร็จของโลกในวันนี้ ไม่ใช่บริษัทที่ท�ำเม็ดเงินได้มหาศาล แต่ต้องเป็น บริษทั ทีส่ ามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กบั บริษทั อื่นๆ ทั่วโลกให้สามารถสร้างธุรกิจแบบเดียวกัน ได้ อย่างที่เรียกว่า สร้างบริษัทใหม่จากการท�ำ โคลนนิ่งทางธุรกิจได้ • จะเกิ ด การหลอมรวมและต่ อ ยอด (Convergence + Integration) ระหว่างธุรกิจและ ระหว่างอุตสาหกรรมกันเองมากขึ้น ท�ำให้การ แข่งขันเข้มข้นขึ้น หรือแม้แต่การสร้างพลังผนึก ในเชิงลึกได้อย่างเข้มข้นแบบที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อน เพื่อเข้าถึงลุกค้ากลุ่มเดียวกัน อย่าง มือถือจับมือกับไฟแนนซ์ เพื่อให้บริการช�ำระ เงินผ่านมือถือ ท่องเที่ยวจับมือกับโรงพยาบาล เพือ่ ท�ำท่องเทีย่ วเชิงสุขภาพ เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ ว สามารถใช้วันหยุดของตนเองให้เกิดประโยชน์ ได้สูงสุด ฯลฯ
• ในอุตสาหกรรมที่อยู่ตัวแล้ว (Established Industry) จะยิ่งหาความแตกต่างของเซกเตอร์ ย่อยๆ ได้ยากขึ้น เพราะมีการแตกธุรกิจอย่าง มากมาย เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตนเอง อย่างวงการการเงินที่แตกบริการทั้งสายงาน ธนาคาร ประกัน การบริหารกองทุน การเงิน ฯลฯ หรือแม้แต่กลุ่มธุรกิจที่ขยายตัวในแนวดิ่ง ตั้งแต่หาวัตถุดิบ ผลิต กระจายสินค้า จนท�ำให้ จ�ำแนกได้ยากว่าธุรกิจไหนของบริษัทที่แอคทีฟ คน - Social Inclusive หรือการเข้าถึง สั ง คมในวงกว้ า งเป็ น เทรนด์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั้ ง ใน ออฟไลน์และออนไลน์ อย่างเมืองที่เปิดรับผู้อยู่ อาศัยที่มีความแตกต่างกันอย่างหลากหลายนั้น ก�ำลังเป็นที่สนใจที่จะน�ำไปใช้ เนื่องจากเป็น โมเดลที่มองกันว่าดีและยั่งยืน หรือการให้ความ ส�ำคัญกับชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มคนด้อยโอกาส ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง การจ้างงานคนที่มีความ แตกต่างกัน หรือการให้เกียรติ/การยอมรับผูห้ ญิง
• From Vertical to Horizontal จากแนวดิ่งสู่แนวนอน
โลกาภิวัตน์เปลี่ยมภูมิทัศน์ทางการตลาด ไปมาก ด้ ว ยว่ า นั บ จากนี้ บริ ษั ท ที่ ป ระสบ ความส�ำเร็จจะมิได้วัดกันที่ขนาด แหล่งก�ำเนิด สินค้า หรือความได้เปรียบแบบในอดีตอย่างที่ เราเข้ า ใจอี ก ต่ อ ไปแล้ ว หากแต่ ยุ ค นี้ เ ป็ น ยุ ค ที่บริษัทต้องมีขนาดเล็กลง หนุ่มสาวกว่าเดิม และตั้งถิ่นฐานในท้องที่จึงจะมีโอกาสซัดหมัด กับบริษัทที่ใหญ่กว่า มีอายุยาวนานกว่า และ เป็นบริษัทระดับโลก บอกเลยว่า หมดยุคของ การครอบง�ำบริษัทอื่นๆ แล้ว แต่เป็นยุคของ การเชื่อมต่อกับชุมชนของลูกค้าและพันธมิตร เพือ่ ร่วมกันสร้างสรรค์ หรือกับคูแ่ ข่งขันเพือ่ ร่วม แข่งขันด้วยกัน ต่อไปเราจะได้เห็นทั้ง Co-Creation และ Co-Opetition มากขึ้นแน่ๆ ที่ส�ำคัญ การไหล ของนวัตกรรมจะเปลี่ยนทิศจากแนวดิ่งมาเป็น แนวนอน แนวดิ่ ง ที่ ว ่ า กล่ า วคื อ เดิ ม บริ ษั ท เชื่อว่า นวัตกรรมจะต้องมาจากภายในบริษัท สร้ า งที ม วิ จั ย และพั ฒ นาที่ แ ข็ ง แรง แต่ ต รงนี้ กลับไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทันใจเท่ากับความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขี้นอย่างต่อเนื่องในตลาด อย่างพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล้ ทีเ่ ดิมก็ใช้โมเดล Research–and–Develop Model นี้ และต่อมา ได้ เ ปลี่ ย นเป็ น Connect–and–Develop Model แล้วยูนิลีเวอร์ก็หันมาใช้โมเดลนี้เช่นกัน เพราะยิ่งโมเดลเป็นไปในแนวนอนมากขึ้น เท่ า ไรก็ จ ะยิ่ ง ได้ ไ อเดี ย จากภายนอกมากขึ้ น เท่านั้น เนื่องจากนวัตกรรมจะเป็นแนวนอน กล่าวคือ ตลาดจะสนับสนุนทางด้านไอเดีย ขณะที่ บริษัทก็เอาไอเดียนั้นๆ มาท�ำในเชิงพาณิชย์ ในส่วนนีต้ ลาดจะเปลีย่ นไปในแนวนอน ดังนี้ • การแข่ ง ขั น จะเปลี่ ย นจากแนวดิ่ ง ที่ ข ายใน ตลาดกระแสหลัก (Mainstream) ทีม่ ยี อดขาย มากๆ เป็ น การแข่ ง ขั น ที่ เ จาะตลาดเฉพาะ (Niche) และมีขนาดเล็กกว่า ที่ส�ำคัญ บริษัท เล็ก แบรนด์เล็กวันนี้สามารถแข่งขันได้จากพลัง ของโลกออนไลน์
• คู่แข่งขันในอนาคตจะมีทั้งจากอุตสาหกรรม เดียวกันและมาจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกัน อย่างแท็กซี่หรือโรงแรมที่วันนี้คงไม่มีใครคิด ว่ า จะมี บ ริ ก ารของ Uber, Airbnb เกิ ด ขึ้ น ขณะเดี ย วกั น ก็ ป ระมาทคู ่ แ ข่ ง ขั น จากตลาด นอกบ้านไม่ได้ดว้ ย อย่าง Xiaomi, Oppo ทีเ่ ป็น คู่ท้าชิงส�ำคัญของแบรนด์แชมเปี้ยน • ผูค้ นก็เปลีย่ นไปจากแนวดิง่ ทีเ่ คยเชือ่ แคมเปญ การตลาดและโฆษณามาเป็นแนวนอนที่ผู้คน วันนี้ ทั้งเสิร์ช ทั้งฟังและเม้าท์แตกกันบนโลก โซเชียลกับกลุ่มคนที่เรียกว่า F-Factor ซึ่งได้แก่ Friend-Family-Facebook Fan-Twitter Follower นี่คือ F4 ที่ทรงอิทธิพลยิ่งของคน ยุคนี้ การจะส่งแมสเสจหาผู้คนยุคนี้จะมองว่า เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเดิมก็ไม่ได้อีก แต่ต้อง โฟกัสไปที่กลุ่มเพื่อนๆ ของคนเหล่านี้หรือเพื่อน ของแบรนด์มากกว่า • From Individual to Social จากปัจเจกสู่สังคม
การตัดสินใจซื้อของผู้คนปกติก็จะมาจาก ความชอบแบบตัวใครตัวมัน กับ ความชอบหรือ อาการฮิตเห่อของสังคมด้วย ความส�ำคัญของ 2 ตัวแปรนี้เกิดขึ้นกับคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง แล้วก็ยังเกิดข้ามอุตสาหกรรมและข้ามหมวด สินค้าอีกด้วย เพราะผู้บริโภควันนี้พูดคุย เม้นท์ และรี วิ ว อะไรต่ออะไรมากมายให้ได้อ่านกัน บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก แล้วก็สร้างภาพลักษณ์ ของบริ ษั ท และแบรนด์ กั น เองให้ ต ่ า งไปจาก ที่บริษัทหรือแบรนด์ตั้งใจให้เป็น แล้วเทรนด์นี้จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ส�ำคัญ การตัดสิน ใจซื้อที่เคยเป็น เรื่องของ ปัจเจก แบบตัวใครตัวมัน ตอนนีก้ ก็ ลายเป็นการ ตัดสินใจซื้อที่มาจากความเห็นบนโลกโซเชียล นั่นแหละ
How t
1. นักการตลาดจะต้องใช้ข้อมูล เพื่ อ หาความต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง (Insight) ของผู้บริโภค ตลอดจน การจั บ จ่ า ยใหม่ ๆ ของผู ้ บ ริ โ ภค ตลอดจนกลุ ่ ม วั ฒ นธรรมย่ อ ย ( S u b - Cu l tu re ) ที่ ขั บ เ ค ลื่ อ น โดยกลุ่มผู้หญิง วัยรุ่น และกลุ่ม ประชาชนชาวเน็ ต ที่ ค อตเลอร์ เรียกว่า Netizen และกลุ ่ ม หลั ง นี่ แ หละคื อ ผู ้ บ ริ โ ภคพั น ธุ ์ ใ หม่ ที่ ต้องจับตา 2. ให้นิยาม Customer Engagement หรื อ การใกล้ ชิ ด กั บ ลู ก ค้ า ในยุ ค ดิ จิ ทั ล เสี ย ใหม่ รวมทั้ ง การ ท� ำ การตลาดแบบใช้ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง (Human-Centric Marketing) การสร้ า งความ ประทั บ ใจจนคนต้ อ งพู ด ถึ ง กั น ในกลุ ่ ม ลู ก ค้ า และยุ ท ธศาสตร์ Omni-Channel ซึ่งเป็นการผสาน ช ่ อ ง ท า ง ทั้ ง ห ม ด ข อ ง ธุ ร กิ จ เข้าด้วยกัน
B-CONNECT MAGAZINE
021
What’s Next
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
Thailand 4.0 ยุคปลดล็อกกับดัก ?? Thailand 4.0 ยุทธศาสตร์ที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ พยายามขับเคลื่อนให้ได้ เพื่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ก้าวสู่ ความมัน ่ คง มัง ่ คัง ่ ยัง ่ ยืนตามเป้าหมาย ทว่า ทีผ ่ า่ นมาต้องยอมรับว่า ความเข้าใจ ต่อยุทธศาสตร์ชาตินี้ยังไม่ตรงกัน ซ�้ำยังใช้กันให้ดูโก้เก๋เพื่อเกาะกระแสเท่านั้น
การแบ่งยุคการพัฒนาประเทศเป็น 1.0-4.0 นั้นบัญญัติโดย ดร.สมคิด เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจน ว่า ประเทศไทยในยุค 1.0 นั้นเป็นยุคที่เน้นการเกษตร, ยุค 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา ขณะที่ยุค 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนัก เพือ่ ผลิต ขาย และส่งออก สินค้าในยุคนี้ อาทิ เหล็กกล้า รถยนต์ คอมพิวเตอร์ น�้ำมัน และปูนซีเมนต์
022
B-CONNECT MAGAZINE
แต่ส�ำหรับยุค 4.0 นั้น สิ่งที่ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนผ่านให้ได้ นั่นก็คือ • ปรับเปลีย่ นจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็น “ประเทศรายได้สูง” • ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจาก “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “นวัตกรรมและ ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อสร้างความแตกต่าง และเพิม่ คุณค่า/มูลค่า เพือ่ มุง่ สูก่ ารเป็นประเทศ ในโลกที่หนึ่งภายในปี 2575 Thailand 4.0 อะไร - ยังไง
การเปลีย่ นผ่านประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ ชาติ Thailand 4.0 นั้น กับดักส�ำคัญที่เราต้อง กระโดดให้พ้น คือ กับดักรายได้ปานกลาง ซึ่ง ดร.สุวทิ ย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายก รัฐมนตรี ซึ่งมีส่วนในการออกแบบยุทธศาสตร์ ชาติมาตั้งแต่เริ่มกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ในยุค
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ถือว่าประเทศมีก าร ปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงครั้งเดียว แต่หลังจากนั้นก็ขาดการปฏิรูปขนานใหญ่มา จนถึงปัจจุบนั ท�ำให้ประเทศต้องเผชิญกับกับดัก ประเทศรายได้ขนาดปานกลาง เป็นประเทศที่ เต็มไปด้วยความเหลือ่ มลํา้ ทุจริตคอร์รปั ชัน และ เผชิญกับความขัดแย้งที่รุนแรงในช่วงทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่มีการปฏิรูปใหญ่ครั้งที่ 2 ประเทศไทยก็อาจล้าหลังและล้มเหลวในที่สุด แต่ในทางตรงกันข้าม หากประเทศไทยผนึก ก�ำลังกับทุกภาคส่วนเพื่อปฏิรูปครั้งใหญ่อย่าง จริงจังและต่อเนื่อง เราก็มีแนวโน้มที่จะสร้าง ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนได้ การขับเคลือ่ นสูย่ ทุ ธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 นัน้ รัฐบาลมองที่ 3 กลไกการขับเคลือ่ นใหม่ นัน่ คือ 1. Productive Growth Engine กลไก ขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ
2. Inclusive Growth Engine กลไกขับเคลือ่ น ที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและ ทั่วถึง 3. Green Growth Engine กลไกการ ขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนก็ต้อง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิม ที่เป็น “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ให้มี “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” เพือ่ เปลีย่ นจาก โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้าง มูลค่า” กับ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่สอดรับ กับความเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก โดย ตั้งอยู่บนฐานของความได้เปรียบเชิงธรรมชาติ ความได้เปรียบเชิงวัฒนธรรมทีไ่ ทยมีอยูเ่ ดิม และ ต่ อ ยอดด้ ว ยการบริ ห ารจั ด การ องค์ ค วามรู ้ สมัยใหม่ และเทคโนโลยี B-CONNECT MAGAZINE
023
ทั้งนี้ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ประกอบด้วย 1. กลุ่มอุตสาหกรรมทางชีวภาพ 2. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 3. ก ลุ ่ ม อุ ต สาหกรรมด้ า นวิ ศ วกรรมและการ ออกแบบ 4. กลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต 5. กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 ยังเสริมแกร่งในแง่ของการพัฒนาที่สมดุล ใน 4 มิตดิ ว้ ย นัน่ คือ 1. ความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ ที่สมดุล 2. รักษ์สิ่งแวดล้อม 3. สังคมอยู่ดีมีสุข 4. เสริมสร้างภูมปิ ญ ั ญามนุษย์ โดยตัง้ บนฐานคิด ของแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย แบ่งเป็น • ระดับจุลภาค ให้ “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” เพือ่ ให้ประชาชนมีหลักประกันในแง่ความมัน่ คง ทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดสังคมที่เกื้อกูลและ แบ่งปัน ก่อให้เกิดการสร้างเสริมพลังทางสังคม และการสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคม ตามมา 024
B-CONNECT MAGAZINE
• ระดับมหภาค ให้ “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จัก ปัน” ซึ่งเป็น “ระบบคุณค่าใหม่” เพื่อท�ำให้ ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง กับพลวัตของโลก เพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการผนึกก�ำลัง ของทุกภาคส่วน เพื่อน�ำพาประเทศไปสู่ความ มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนในโลกที่หนึ่งในอนาคต วาระการพัฒนาประเทศ เพื่อเป้าหมายสู่โลกที่หนึ่ง
เป้ า หมายไกลๆ ที่ ป ระเทศไทยต้ อ งการ เป็นประเทศในโลกที่หนึ่งนั้น หมายถึง การที่ ประเทศไทยจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความ พร้อมทุกๆ ด้าน แต่ปัจจุบันเราต้องยอมรับ ว่า ประเทศไทยเรายังมีปัญหาหมักหมมเรื้อรัง มานานที่ต้องสะสาง โดยเฉพาะปัญหาความ ขัดแย้ง การทุจริตคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล�้ำ ของผูค้ นในสังคม ฉะนัน้ วาระของการขับเคลือ่ น ประเทศไทยเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจึงต้อง แบ่งเป็น 2 วาระ ได้แก่
• วาระการปฏิรูป (Reform Agenda) การสะสางปัญหาต่างๆ ที่สะสมเรื้อรังมานาน เพื่ อ ปฏิ รู ป ให้ ป ระเทศกลั บ เข้ า สู ่ ส ภาวะปกติ ด้วยการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง/ระบบ การ ปรับเปลี่ยนเชิงพฤติกรรม โดยที่ผ่านมา สภา ปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ศึกษา วิเคราะห์ และ สังเคราะห์ จนได้ขอ้ เสนอถึง 37 วาระการปฏิรปู ด้วยกัน อาทิ ระบบงบประมาณ กระบวนการ ยุตธิ รรม การปฏิรปู ทีด่ นิ การปรับโครงสร้างภาษี การจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม เป็นต้น • วาระการปรับเปลี่ยน (Transformation Agenda) เป็นภารกิจใหม่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเสริม เขีย้ วเล็บให้ประเทศไทย และเตรียมความพร้อม ด้านต่างๆ อาทิ กลไกการขับเคลื่อนประเทศ ชุดใหม่ การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ระบบบริหารจัดการนํ้า การปรับเปลี่ยนสู่ระบบ เศรษฐกิจดิจิทัล การบริหารจัดการฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ เป็นต้น การจะก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 ได้อย่างเต็ม ร้อยหรือไม่นั้น การขับเคลื่อนในวาระที่ 1 และ 2 เป็นการเตรียมพร้อมที่ส�ำคัญ เพื่อการเสริม แกร่งให้กบั ประเทศในเวทีระดับนานาชาติตอ่ ไป ทั้งนี้ หวังว่าเราจะพ้นจากวาระการปฏิรูป แล้ว เร่งก้าวสู่วาระการปรับเปลี่ยนได้โดยเร็ว
What’s Next
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
Change Before You Have To อสังหาฯ ยุค 4.0
ด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวบวกกับก�ำลังซือ ้ ทีไ่ ม่เอือ ้ ต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์นก ั ประกอบกับหนีส ้ น ิ ภาคครัวเรือนก็ยง ั พุง ่ สูง แบงก์คม ุ เข้มสินเชือ ่ อัตราดอกเบีย ้ สูง ความเชือ ่ มัน ่ คนไทยลดลงตามปัจจัยลบต่างๆ รวมไปถึงเหตุการณ์ทน ี่ อกเหนือ ความคาดหมายทัง ้ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึง ่ มีผลกับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศทัง ้ ทางตรงและทางอ้อม ฯลฯ แล้วตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในยุค 4.0 จะปรับตัวอย่างไรนัน ้ วรรคทองของ Jack Welch อดีตซีอโี อ General Electric ที่ว่า Change, Before You Have To หรือ เปลี่ยนซะ ก่อนที่จะถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยน ยังคงใช้ได้กับตลาดนี้อย่างแน่นอน
ภาพรวมตลาด
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะผู้ซื้อในกลุ่มระดับกลางลงไปหรือกับกลุ่มผู้มี รายได้น้อยกว่า 4-5 หมื่นบาทต่อเดือน ทั้งนี้ สุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าวในงานเสวนา อสังหาฯ ยุค 4.0 : Differentiate or Die ซึ่งจัดโดย บริษัท พร๊อพทูมอร์โรว์ จ�ำกัด ว่า ผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อเนื่อง มายังตลาดที่อยู่อาศัยด้วยและท�ำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ดังนี้ • จับตลาดกลางขึน ้ บน เกาะแนวรถไฟฟ้า
จากเดิมทีผ่ ปู้ ระกอบการหลายรายเลือกท�ำตลาด กลางลงล่าง การปรับตัวที่พบได้คือ การขยับมา ท�ำตลาดโครงการระดับราคาสูงขึ้น หรือเพิ่ม สัดส่วนโครงการระดับกลางขึ้นไปมากขึ้น หรือ ถ้าเป็นโครงการราคาต�่ำก็มักเกาะตามแนวเส้น ทางรถไฟฟ้าที่ก�ำลังก่อสร้าง • เจาะตลาดบ้านจัดสรรมากขึน ้ เทรนด์ ของการรุกตลาดบ้านจัดสรรมีให้เห็นมากขึ้น เห็ น ได้ จ ากผู ้ ป ระกอบการที่ เ คยโฟกั ส ตลาด คอนโดก็จะขยับไปตลาดบ้านจัดสรรมากขึ้น หรือในรายที่มีท้ังสองตลาดก็เพิ่มสัดส่วนบ้าน จัดสรรระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ซื้อเพื่ออยู่ อาศัยจริง ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการจึงไม่จำ� เป็นต้อง ก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการ • ผู้ซื้อต้องปรับตัว จากเดิมที่การลงทุน ซื้อคอนโดส่วนใหญ่มักเป็นการลงทุนระยะสั้น แบบเก็งก�ำไรใบจองและมีปัญหาการทิ้งใบจอง
026
B-CONNECT MAGAZINE
ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ ท�ำให้ตลาดคอนโดในช่วง 1–2 ปีกอ่ นติดขัด ผูป้ ระกอบการจึงจัดโปรโมชัน่ มากขึ้น เพื่อระบายยูนิตเหลือขายที่สร้างเสร็จ รวมถึงมีการปล่อยขายบิ๊กล็อตในราคาพิเศษ ให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ แต่ในยุคนี้ การลงทุ น เพื่ อ เก็ ง ก� ำ ไรท� ำ ได้ ย ากขึ้ น เพราะ อุปทานล้น ดังนั้น การเลือกซื้อคอนโดจึงควรใช้ เวลาไตร่ตรอง ไม่ควรซือ้ ตามแรงเชียร์จากสังคม ออนไลน์ แต่ควรใช้ขอ้ มูลทีไ่ ด้จากสังคมออนไลน์ มาประกอบมากกว่า ที่ส�ำคัญ ก่อนการตัดสินใจ ต้องมัน่ ใจได้วา่ จะสามารถกูธ้ นาคารได้หรือมีเงิน เพียงพอทีจ่ ะโอนกรรมสิทธิไ์ ด้ดว้ ย เพือ่ ลดความ กังวลกรณีหากขายต่อไม่ได้ หรือกรณีไม่สามารถ โอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยสาเหตุต่างๆ ขณะที่ ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอส เตท-พรีเมียม ประเมินภาพรวมตลาดอสังหา ปี 2017 เพิ่มเติมว่า ตลาดน่าจะเติบโตไม่ต�่ำกว่า 5% ด้วยมูลค่ารวม 3.79 แสนล้านบาท เพิม่ จาก
ปี 2016 ที่เติบโตประมาณ 2% ด้วยมูลค่ารวม 3.62 แสนล้านบาท โดยเทรนด์ตลาดทีจ่ ะเปลีย่ น ไปอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ • ฐานตลาด ลูกค้าอสังหาที่เป็นกลุ่มคนจีน ขยับสูงขึน้ จากเดิมทีม่ คี นไทยทีซ่ อื้ เพือ่ อยูอ่ าศัย จริ ง และซื้ อ เพื่ อ ลงทุ น ซึ่ ง ประเด็ น นี้ มี ผ ลต่ อ ดีมานด์ของตลาดอย่างน่าสนใจ • ท�ำเล ย่าน CBD (Central Business District) ใจกลางกรุงเทพฯ จะมีการปรับรูปแบบเป็นสิทธิ การเช่ามากขึ้น เนื่องจากต้นทุนราคาที่ดินที่พุ่ง ทะยานอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาโครงการ จะรุกขยายทั้งในกทม.–ปริมณฑล และหัวเมือง หลัก อาทิ ชลบุรี ระยอง ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต • ดอกเบี้ย ประเมินกันว่า ดอกเบี้ยที่พุ่งทุก 1% จะกดดีมานด์ให้ลดลง 5–8% อีกทัง้ ยังท�ำให้ ภาวะหนีค้ รัวเรือนของผูบ้ ริโภคระดับกลาง–ล่าง ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ อยูแ่ ล้วมีภาระสูงขึน้ ไปอีกจาก การปรับอัตราดอกเบี้ย
ตลาดคอนโด ส�ำหรับเทรนด์ตลาดคอนโดในปี 2017 ส�ำนักวิจัยและพัฒนา บมจ. แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) เผยผลการศึกษาว่า จ�ำนวนหน่วยของ อาคารชุดในปีนนี้ า่ จะใกล้เคียงกับปี 2016 นัน่ คือประมาณ 5.5 -6 หมืน่ หน่วย โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่เปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกและเป็นโครงการที่เปิดตัว จากไตรมาส 4/2016 และมีประเด็นที่น่าสนใจคือ
ราคา คอนโดฯ ระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไปนั้นจะยังคงเติบโตอย่าง
ขนาดพื้นที่ เทรนด์ขนาด 26-30 ตร.ม. มาแรง มีการเปิดตัวสูงสุด
ท�ำเล เทรนด์ของท�ำเลทีม่ แี นวโน้มเปิดตัวสูงในปี 2017 คือ ท�ำเลใจกลาง
พืน ้ ทีส ่ ว ่ นกลาง เทรนด์อกี อย่างทีม่ าแรง โดยในปี 2016 เทรนด์พนื้ ที่
ต่อเนือ่ งในปีนี้ โดยมีกลุม่ ทีข่ ยับขึน้ ตลาดบนมากขึน้ ได้แก่ พฤกษา, ศุภาลัย, แสนสิร,ิ สิงห์ เอสเตท, อารียา, เอพี (ไทยแลนด์) และคอนโดทีม่ รี ะดับราคา 3 ล้านบาทจะขยับราคาขึ้นไป ท�ำให้อาคารชุดจดทะเบียนในปี 2017 มี แนวโน้มลดลงใกล้เคียงกับปีก่อน 42% เมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อนที่ขนาด 28 ตร.ม. ถือเป็นขนาดยอดฮิต ส่วน ขนาดห้องเฉลี่ย 22.5 ตร.ม. มีการเปิดตัวสูงสุดที่ 9% จาก LPN ที่มีส่วนแบ่ง ตลาดถึง 50% และเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อนพบว่าปี 2016 ภาพรวมของห้อง ขนาด 22.5 ตร.ม. นั้นมีการเปิดตัวสูงสุดจากพฤกษาที่เปิดตัวราว 70% เมืองย่านอโศก พร้อมพงษ์ และเอกมัย, ท�ำเลรถไฟฟ้าสายสีเขียว อ่อนนุช– แบริ่ง–สมุทรปราการ, ท�ำเล ถ.พระราม 9–รัชดาภิเษก ส่วนเทรนด์ของท�ำเล ที่มีแนวโน้มจดทะเบียนสูงคือ ท�ำเลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีม่วง ช่วง บางซื่อ–สะพานพระนั่งเกล้า, ท�ำเลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง–สมุทรปราการ, ท�ำเลใจกลางเมืองย่านอโศก พร้อมพงษ์ และเอกมัย ส่วนกลางของ Co-Working Space และลูว่ งิ่ มีสดั ส่วนสูสที ี่ 19%, 18% ตาม ล�ำดับ รองลงมาคือ โยคะ 12%
ตัวแปร
ปัจจัยบวก
การลงทุนจากภาครัฐและการท่องเทีย่ วทีเ่ ชือ่ ว่าจะท�ำให้เศรษฐกิจเติบโต อย่างต่อเนือ่ ง 3.2%, อัตราดอกเบีย้ ทีท่ รงตัวในระดับต�ำ่ , ความชัดเจนของ รถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีส้มฝั่งตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี), สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี), สายสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-ส�ำโรง)
ปัจจัยลบ
ราคาที่ดินที่พุ่งอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การ ด�ำเนินธุรกิจ ต้นทุนการก่อสร้างทีม่ แี นวโน้มขยับตามราคาน�ำ้ มันทีเ่ พิม่ ขึน้ , หนีส้ นิ ภาคครัวเรือนทีย่ งั คงสูงอยู่ โดยในปี 2016 สูงถึง 81%, แบงก์คมุ เข้ม สินเชื่อ, ความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐในส่วนของภาษีท่ีดินและ หลักเกณฑ์ใหม่ของโครงการบ้านประชารัฐ รวมทั้งผลกระทบทางอ้อม ผ่านตลาดทุนจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศ ฯลฯ
B-CONNECT MAGAZINE
027
PROPERTYTECH อสังหายุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นยุคทีเ่ ห็นได้ชดั ว่า การรับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิด สร้างสรรค์นั้นเป็นอีกหนึ่งทางรอดที่หนีไม่พ้น ดังจะเห็นได้จากการทีบ่ ริษทั อสังหาบิก๊ เนมอย่าง แสนสิริ ที่เปิด SIRI Venture บริษัทร่วมทุนกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ สัดส่วน 90:10 ในรูปแบบ Corporate Venture Capital เพื่อท�ำวิจัยและ ลงทุนส�ำหรับการสร้างนวัตกรรมด้าน Property Technology อย่างเต็มรูปแบบรายแรกของไทย โดยตั้งเป้าสร้างเครือข่ายกับผู้พัฒนานวัตกรรม ด้าน Property Technology ให้ได้อย่างน้อย 300 รายภายในปี 2020 โดยเชื่อมั่นว่า SIRI Venture จะช่วยส่งให้นวัตกรรมเกี่ยวกับที่อยู่ อาศัยไทยไปได้ไกลในระดับโลก ทั้งนี้ เนื่องจากการศึกษาของแสนสิริที่พบ ว่า เทรนด์การพัฒนาเทคโนโลยีก�ำลังก้าวจาก Formless สู่ Borderless และ Limitless ข้อจ�ำกัดต่างๆ จะค่อยๆ ลดหายไป Property Technology ที่มาแรงในช่วงอนาคตอันใกล้ ซึ่งเราสนใจลงทุนจึงได้แก่ เทคโนโลยีโมบิลิตี้ ทีน่ ำ� มาการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ ทีห่ ลากหลาย ขึ้น เทคโนโลยีด้านสมาร์ทโฮม ไม่ว่าจะเป็น
028
B-CONNECT MAGAZINE
ด้าน Home Automation, Security หรือ Home AI หรือระบบสั่งการด้วยเสียง ระบบ Preventive Maintenance ภายในบ้าน และ เทคโนโลยีโรโบติกส์หรือหุ่นยนต์ ซึ่งสามารถ พัฒนามาเป็นหุ่นยนต์ส่งของถึงห้องพักภายใน อาคารคอนโดมิเนียมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ กับผูพ้ กั อาศัย และเทคโนโลยี Exoskeleton ซึง่ เป็นชุดหุ่นยนต์ที่สวมใส่ได้เพื่อเป็นอุปกรณ์เพิ่ม ขีดความสามารถของมนุษย์ เช่น ความแข็งแกร่ง เคลื่อนไหวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถน�ำมาใช้กับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของงานก่อสร้าง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความรวดเร็ว และลดต้นทุนในการท�ำงาน ตลอดจนเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ บมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ บริษัทธุรกิจอสังหาที่สร้างปรากฏการณ์ให้คน ฮือฮากับเทคโนโลยีล�้ำๆ หลายครั้ง ล่าสุด ได้ ปรับโครงสร้างการขับเคลื่อนธุรกิจของตนเอง ให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วย Property Technology ผ่านโครงการ Ananda UrbanTech และที่ สุ ด กลายเป็ น Tech Company รายแรกของไทย โดยมีกลยุทธ์สาํ คัญ
3 ประการ ดังนี้ 1. สนับสนุนให้มีระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและ ก้าวสูก่ ารเป็น Urban Tech Company โดยร่วม กับ Hubba Thailand เพือ่ สนับสนุนการสร้าง นวัตกรรมให้กับบริษัท StartUp, Incubator และ Accelerator 2. Fund of Fund จัดตั้ง กองทุน เพื่อลงทุนในกองทุนนวัตกรรมต่างๆ ทั่ ว โลก และร่ ว มลงทุ น กั บ ผู ้ ป ระกอบการที่ มีความเชี่ยวชาญ 3. บริหารกิจการร่วมทุน Corporate Venture Capital โดยร่วมลงทุน ในธุรกิจสตาร์ทอัพทีม่ ศี กั ยภาพและมีเทคโนโลยี ที่จะสามารถนํามาพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจของ องค์กรในอนาคตได้ รวมถึงการสร้างสํานักงาน แนวใหม่ ภายใต้แคมเปญ Ananda Campus : The Smartest Office in Asia ที่น�ำ เทคโนโลยี เ ข้ า มาช่ ว ยในการทํ า งาน มี ก าร เปลี่ยนแปลงระบบ วัฒนธรรมภายในองค์กรที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ โดยเน้นเรื่อง ของการประสานความร่วมมือ เพื่อให้มีพื้นที่ ส่วนกลางใช้ร่วมกันได้ (Co-Working Space) โดยไม่จําเป็นต้องมีโต๊ะทํางานเป็นของตัวเอง เพราะทุกพืน้ ทีส่ ามารถใช้เป็นทีท่ าํ งานได้ทงั้ หมด
นนทบุรี น่าจะโตแต่ยังซึม เลิศมงคล วราเวณุชย์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ นนทบุรี กล่าวถึงภาพรวม ตลาดทีอ่ ยูอ่ าศัยในจังหวัดนนทบุรวี า่ ปัจจุบนั สินค้า (อุปทาน) โครงการคอนโดมิเนียม ที่อยู่ในพื้นที่มีราว 1 หมื่นยูนิต คิดเป็นมูลค่าขาย 2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 2 ล้านบาท/ยูนติ ซึง่ ถือว่ายังเป็นระดับทีส่ งู คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดูดซับ 2-3 ปี เนื่องจากด้วยปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจและธนาคารพาณิชย์พิจารณาเรื่องความสามารถ ในการช�ำระหนี้ เพราะแม้ว่าอัตราการขายสามารถท�ำได้ 80% แต่ช่วงการโอนตัวเลข ลดลงเหลือเพียง 50% นนทบุรีถือเป็นอีกท�ำเลที่ดูน่าจะมีสีสันจากการเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าหลาย เส้นทางในพื้นที่ แต่คุณเลิศมงคลกลับมองว่าพื้นที่ในนนทบุรีไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีมว่ งทีเ่ ปิดให้บริการแล้วกับค่าเดินทางต่างๆ ทีส่ งู ท�ำให้ผซู้ อื้ มอง ว่าไม่คุ้มค่า ดังนั้น ถ้าหากจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็อาจต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วยกัน ระดมความคิด เช่น การเคหะแห่งชาติ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่อาจต้องมาร่วมกันวางแผนและพัฒนาโครงการในย่านดังกล่าว ส�ำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ โดยเฉพาะโครงการของผู้ประกอบการ รายเล็กมองว่าอาจต้องปรับเปลี่ยนแผนให้กับลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน เป็นรูปแบบการเสนอ ให้เช่าโครงการแทน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีรายได้หมุนเวียนส�ำหรับการบริหารงาน ในโครงการ โดยอาจตั้งอัตราค่าเช่าเฉลี่ยที่ 7,000 บาท/เดือน ส่วนเรือ่ งของผังเมืองใหม่จงั หวัดนนทบุรนี นั้ คาดว่าจะประกาศใช้ในกลางปี 2018 โดยมี่หลายประเด็นที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความกว้างถนนในซอยจากเดิม 6 เมตร สามารถสร้างอาคารสูง 8 ชั้นและสามารถขยับเป็นถนน ความกว้าง 8 เมตรได้ การ ก�ำหนดอัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratioหรือ FAR) เดิมอยู่ที่ 10 ต่อ 1 แต่ผังใหม่จะปรับเปลี่ยนตามสี เช่น พื้นที่สีเขียวลาย FAR อยู่ที่ 1 ต่อ 1 หรือ สีแดง เช่น ในเทศบาลนครนนทบุรอี ยูท่ ่ี 8 ต่อ 1 หรือแม้แต่กฎของการก่อสร้างทีจ่ อดรถ ซึ่งแต่ละเทศบาลก็แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับผู้ประกอบการรายเล็กนั้นควรใช้กลยุทธ์แตกเซกเมนต์ใหม่ หาท�ำเลที่น่าสนใจ ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องติดกับรถไฟฟ้าเสมอไป โดยอาจเลือกท�ำเลที่ตั้ง โครงการในซอย แต่เดินทางได้สะดวก โดยสร้างสินค้าให้น่าสนใจด้วยการออกแบบ เพิ่มฟังก์ชันต่างๆ ตลอดจนกลยุทธ์ด้านการให้บริการ เรียกว่าหาจุดแข็งของโครงการ ให้เจอก่อนที่จะเปิดการขาย เพื่อให้ลูกค้าประทับใจในตัวแบรนด์ ซึ่งจะน�ำไปสู่ความ ไว้วางใจและความภักดีในที่สุด
B-CONNECT MAGAZINE
029
What’s Next
ดร.เอกภพ ณ สงขลา
รองกรรมการผู้อำ�นวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มทรัพยากรบุคคล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด มหาชน
030
B-CONNECT MAGAZINE
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
อนันต์ บุตรเวียงพันธ์
ไทยเบฟ 2020
ยุทธศาสตร์เติบโตอย่างมัน ่ คง ยัง ่ ยืน
บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ในระดับอาเซียน ประกาศวิสัยทัศน์ 2020 สู่การเป็นผู้น�ำตลาดเครื่องดื่มครบวงจรอย่างมั่นคง และยั่ ง ยื น ในภู มิ ภ าคอาเซี ย น ด้ ว ยแผนธุ ร กิ จ ระยะ 6 ปี (ปี 2557–ปี 2563) ทีร่ ก ุ รบให้เติบโตทัง ้ ยอดขาย-ก�ำไรอย่างต่อเนือ ่ งและมีประสิทธิภาพ ทว่า ด้วยขนาด ธุรกิจและความเป็นบริษัทแบบ Conglomerate ในระดับภูมิภาคของไทยเบฟนั้น กล่าวได้ว่า นี่คือจุดแข็งและจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน หากรักษาดุลยภาพไม่ได้ ด้วยว่า ในแง่ ข องธุ ร กิ จ ก็ มี ทั้ ง กลุ ่ ม อาหารและเครื่ อ งดื่ ม ที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น อย่ า ง หลากหลาย ขณะเดียวกัน ในแง่คนและตลาดก็มีวัฒนธรรมและความหลากหลาย ที่ ม องข้ า มไม่ ไ ด้ ทั้ ง จากพั น ธมิ ต รเชิ ง ยุ ท ธศาสตร์ ห ลั ก อย่ า ง เอฟแอนด์ เ อ็ น สิงคโปร์ มาเลเซีย ตลอดทั้งพันธมิตรอื่นๆ ในเอเชีย ดังนั้น ความท้าทายสู่วิสัยทัศน์ 2020 จึงไม่ใช่แค่การวางกลยุทธ์และยุทธศาสตร์อย่างเหมาะสมและแหลมคมเท่านั้น หากแต่ตอ ้ งหมายรวมถึงการหลอมรวมความหลากหลาย โดยเฉพาะความแตกต่าง ของผูค ้ นและวัฒนธรรมในแต่ละภูมภ ิ าคให้เป็น One ThaiBev และสามารถขับเคลือ ่ น ได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ ทั้งนี้ ดร.เอกภพ ณ สงขลา รองกรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ และ ผู้บริหาร สูงสุดของกลุ่มทรัพยากรบุคคล บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อน ขุนพลและกองทัพให้องค์กรเป็น One ThaiBev และรุกรบบนระนาบของโอกาส ที่ไร้ขีดจ�ำกัด หรือ Limitless Opportunity ได้ร่วมแบ่งปันมุมมอง What’s Next ของไทยเบฟ 2020 อย่างน่าสนใจ
B-CONNECT MAGAZINE
031
โจทย์ ใ หญ่ ข องการน� ำ ขุ น พลและ กองทัพให้บรรลุวส ิ ย ั ทัศน์ 2020 คืออะไร
ด้วยวิสัยทัศน์ที่ไทยเบฟต้องการเป็นผู้น�ำ ที่มั่นคงและยั่งยืนในธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร ในอาเซียน ซึง่ ตอนนีไ้ ทยเบฟทีถ่ อื ก�ำเนิดในไทย ก็ได้เป็นบริษทั ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในอาเซียนเรียบร้อยแล้ว โดยมีธุรกิจขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ทั้งในไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอีก 7 ประเทศทีเ่ ป็นตลาด ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ และดูแลตลาดครอบคลุม ทัว่ โลก ดังนัน้ โจทย์คอื ท�ำอย่างไรเราจึงจะสามารถ ขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนือ่ งในอาเซียนอย่างแท้จริง และท�ำอย่างไรเราจึงจะมีรูปแบบการท�ำงาน มี ความสามารถในการท�ำธุรกิจในอาเซียนได้อย่าง ต่อเนื่องและสามารถคืนก�ำไรให้กับสังคมด้วย ทั้ ง การพั ฒ นาชุ ม ชน การแพทย์ การศึ ก ษา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา อีกทัง้ มีโจทย์ใหม่ดว้ ยว่า ท�ำอย่างไรจึงจะท�ำให้ผบู้ ริหารทีเ่ ติบโตมาในไทย ประสบความส�ำเร็จ และน�ำทีมพันธมิตรสิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื่องจากกลุ่มไทยเบฟดูแลธุรกิจ ทัว่ โลก ขณะนีพ ้ นักงานของไทยเบฟทัง ้ หมด มีเท่าไร
ในประเทศไทย เรามีพนักงาน 23,000 คน รวม โออิ ชิ , เสริ ม สุ ข ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ บริษัท เอฟแอนด์ เ อ็ น แดรี ส ์ (ประเทศไทย) จ� ำ กั ด ซึง่ ท�ำธุรกิจในประเทศไทยก็จะเป็น 35,000 คน หากรวมสิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศอังกฤษ ก็จะเป็น 42,000 คน
แล้วการหลอมรวมทรัพยากรบุคคลจ�ำนวนมากทัว ่ โลกเช่นนี้ เราท�ำอย่างไร
ทรัพยากรบุคคลของเราต่างก็มีพันธกิจที่เหมือนกัน คือ การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่า จากการเติบโต (Creating & Sharing The Value) ในเบือ้ งต้น เราแบ่งบุคลากรของเราเป็น 3 กลุม่ คือ 1. Spring/Stream (น�้ำพุ/ล�ำธาร) กลุ่มพนักงานที่เพิ่งเข้ามาท�ำงานใหม่ (Spring) ส่วนกลุ่ม เข้ามาท�ำงานได้สกั ระยะ แต่ทำ� งานกันเป็นทีมเล็กๆ (Stream) เป็นกลุม่ ทีม่ คี วามสามารถ แต่มอี มิ แพค กับคนใกล้ๆ ตัว 2. River (แม่น�้ำ) กลุ่มผู้บริหารระดับกลางที่ท�ำงานหลากหลายมากขึ้น ท�ำงาน คร่อมสาขา/สถานที่กันบ้างและเผชิญความท้าทายบ้าง 3. Ocean (มหาสมุทร) กลุ่มผู้บริหาร ระดับสูง การท�ำงานของคนกลุม่ นีจ้ ะมีผลกระทบค่อนข้างมาก เนือ่ งจากมีความเป็นสากลหรือมีความ เป็นภูมภิ าคมากขึน้ ท�ำอย่างไรจึงจะขับเคลือ่ นให้ Spring/Stream ก้าวข้ามเป็น River หรือ Ocean จริงๆ Inspire ไม่ยาก เพราะตามหลักจิตวิทยา การเติบโตเป็นความต้องการขัน้ พืน้ ฐานของคนอยูแ่ ล้ว การก้าวข้ามจาก Spring/Stream เป็น River หรือการก้าวข้ามจาก River เป็น Ocean นัน้ เราท�ำให้ บุคลากรเห็นว่า คนเหล่านี้จะเติบโตได้ทั้งในแง่ของความเก่ง การสร้างอิมแพคและความสามารถ ในการดูแลครอบครัว โอกาสในการสร้างรายได้ ฯลฯ สิง่ เหล่านีก้ จ็ ะเป็นแรงกระตุน้ ได้เหมือนๆ กับการ แข่งขันฟุตบอลทีจ่ ะมีลกี หลายระดับ ทัง้ ลีกชุมชน ลีกระดับประเทศ หรือลีกอินเตอร์ เราก็ตอ้ งให้เขา ดูวา่ แต่ละลีกมีความตืน่ เต้น ความท้าทายอย่างไร และอะไรทีช่ นกับความฝันของเขา เขาก็จะไปตรงนัน้ ส�ำหรับไทยเบฟ เรามีพนั ธกิจในการเติบโตและเราได้สร้างการเติบโตแล้ว สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราท�ำได้ดี คือ การกระตุน้ และส่งเสริมให้บคุ ลากรของเรามีความฝันทีย่ งิ่ ใหญ่ได้ ซึง่ ไทยเบฟเรามี “ฝันให้ไกล ไปให้ถงึ ” หรือ Dream Big โดยจะเชิญพนักงานเป็นกลุม่ กลุม่ ละ 50 คนมาแชร์ความฝันของตนเองในช่วง 5 ปี, 10 ปี, 20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร และคนเหล่านี้อยากฝัน/อยากสร้างให้องค์กรเป็นอะไร โดยให้ขมวดเป็นสิง่ ทีเ่ ขามองเห็นว่า ตนเองจะก้าวหน้าในสายงานอาชีพอย่างไร จากเดิมทีพ่ นักงาน หลายคนมักมองแค่ตดิ ตัว คือ มองไปข้างหน้าแค่ขนั้ หนึง่ เท่านัน้ หลังจากนัน้ เราก็จะมีกระบวนการ ทีเ่ ราจะด�ำเนินการร่วมกับผูบ้ งั คับบัญชาของเขาต่อ เพือ่ ทีจ่ ะต้องบอกว่า โอกาสคืออะไร ต้องเรียน กีร่ อบ เรียนรูอ้ ะไรเพิม่ เติมบ้าง ทัง้ นี้ มีหลายเคสเลยทีฝ่ นั ของตนเองใหญ่ขนึ้ ก็ลงมือเป็นจริงเป็นจังมากขึน้ แล้วไทยเบฟหลอมรวมแต่ละวัฒนธรรมในแต่ละภูมภิ าคให้เป็น One ThaiBev อย่างไร ก่อนอื่น ต้องบอกว่า ไทยเบฟเป็นบริษัทที่ให้ความส�ำคัญกับการสร้างพันธมิตรและขยายธุรกิจ เราไม่ได้ตั้งใจที่จะเอาวัฒนธรรมของไทยหรือไทยเบฟไปครอบใคร เพราะในการขยายธุรกิจไปยัง ประเทศอืน่ ๆ บริษทั เหล่านัน้ ต่างก็มวี ฒ ั นธรรมพืน้ ฐานของตนเองและเป็นพืน้ ฐานของความส�ำเร็จตรงนัน้ อย่างไรก็ตาม มันก็ตอ้ งมีความเชือ่ ทีเ่ หมือนกัน คือ การสร้างสรรค์และการแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต นอกจากนี้ ก็มสี งิ่ ทีเ่ ราพูดกันบ่อยๆ นัน่ คือ DNA ของความเป็นผูน้ ำ� ของไทยเบฟทีป่ ระกอบด้วย 1. ความรับผิดชอบในสิง่ ทีต่ นเองท�ำ 2. ให้ความส�ำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ 3. ให้ความส�ำคัญ กับผลลัพธ์ทเี่ ป็นเลิศ 4. การสร้างคนรุน่ ใหม่ ระบบใหม่ เพือ่ ให้เราสามารถขยายตัวได้ 5. การเคารพ และให้เกียรติซงึ่ กันและกัน ทัง้ นี้ ขอยกตัวอย่าง บริษทั เอฟแอนด์เอ็นทีม่ คี วามเกรียงไกรมากในเอเชียและมีอายุกว่า 130 ปี ขณะที่ไทยเบฟมีอายุแค่ 10 กว่าปี ตอนนี้เราเป็นครอบครัวเดียวกัน เอฟแอนด์เอ็นมีความเป็น สิงคโปร์เยอะมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและควรจะคงไว้ ส่วนเราเป็นบริษัทคนไทย ค�ำถามคือ เราจะ หลอมรวมสองบริษัทนี้อย่างไร ค�ำตอบคือ สิ่งที่เราท�ำได้คือการสร้างสรรค์จุดมุ่งหมายของเรา เราอนุญาตให้แต่ละวัฒนธรรมมีความเป็นแบรนด์หรือวัฒนธรรม แต่แก่นของความเชื่อเรื่อง DNA ของความเป็นผูน้ ำ� จะคล้ายๆ กัน การเป็นบริษท ั ไทยเป็นอุปสรรคส�ำคัญหรือไม่กบ ั การโกอินเตอร์ อย่ามองเป็นอุปสรรค ถ้าเรารูจ้ กั เลือกจุดแข็งและเสริมในเรือ่ งอืน่ ๆ อีกทัง้ พยายามหาการต่อยอด ความเป็นไทย ความเป็นเอเชีย และเติมเต็มซึง่ กันและกัน ต้องบอกว่า ความเป็นไทยนีเ่ ป็นสิง่ พิเศษและ ต่อยอดจากสิง่ ทีเ่ ราคุน้ เคย
032
B-CONNECT MAGAZINE
หรือการหาพิกัดของเจเนอเรชั่นใด เจเนอเรชัน ่ หนึง ่ นัน ้ ท�ำได้ยาก
ความท้าทายของการท�ำ HR ในการท�ำงานกับหลายๆ วัฒนธรรมคืออะไร
บอกตรงๆ ว่ายังท้าทายมาก เพราะธุรกิจเราไปเร็วมากๆ ถ้าเราจะท�ำธุรกิจในอาเซียน เรามีคนทีพ่ ดู ภาษาท้องถิน่ นัน้ ๆ ได้กนั สักกีค่ น แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ Mindset (ชุดความคิด) ของคนไทยเบฟค่อยๆ ปรับเปลีย่ น การจะประสบความส�ำเร็จข้างนอกได้เรือ่ ง Mindset ก็เป็นสิง่ หนึง่ ทีเ่ ราจะต้องยินดีคลุกฝุน่ ฉะนัน้ จะคลุกฝุน่ แค่ไหนก็ยงั เป็นความท้าทาย เราต้องปรับทัศนะให้เขาเห็นว่า Our Home is ASEAN ส�ำหรับความท้าทาย ผมว่าเรือ่ ง Mindset เป็นอันดับ 1 เพราะเราอยากให้คนมี Growth Mindset ทีว่ า่ เรายังไปได้อกี โดยตราบใดทีเ่ ขาเริม่ ลงมือท�ำก็จะไปได้อกี โดยส่วนตัว ผมจะมีความเชือ่ กับ 3 เรือ่ ง นัน่ คือ 1. เชือ่ ในศักยภาพทีย่ งิ่ ใหญ่ของคน 2. เชือ่ ว่าถ้าคนเรายิง่ ได้ทำ� อะไรทีท่ า้ ทายก็จะยิง่ เก่งมากขึน้ 3. เชือ่ ว่าถ้าเรามีสว่ นท�ำให้คนอืน่ ประสบความส�ำเร็จ คนทีเ่ ป็นกลไกท�ำให้คนอืน่ ประสบความส�ำเร็จ คนนีก้ จ็ ะยิง่ ใหญ่มากขึน้ และเติบโตไปพร้อมๆ กับความส�ำเร็จของคน อย่างไรก็ตาม ด้วยความท้าทายทีม่ ที งั้ จ�ำนวนบุคลากร ภาษา Mindset แต่ดว้ ยความเชือ่ แบบนีจ้ งึ ท�ำให้เราไม่คดิ ว่าเรามีอปุ สรรคเท่าไร ไทยเบฟเป็นองค์กรใหญ่ มีปญ ั หาช่องว่างระหว่างวัยในกลุม ่ บุคลากรหรือไม่ ไทยเบฟมีคนทุ ก รุ ่ น ทั ้ ง Baby-Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z เรายอมรั บความแตกต่าง ดร.เอกภพ ณ สงขลา และใช้ประโยชน์จรองกรรมการผู ากความแข็งแกร่้อำ�นวยการใหญ่ ง เพราะเรารูว้ า่ ความส�ำเร็จวันนี้ ทุกอย่างๆ ล้วนมาจากความส�ำเร็จ ของคนรุน่ ทีแ่ ล้ว ผูความท้ า ทายของเราตรงนี เ็ ป็นความท้ ้บริหารสูงสุดของกลุ่มทรัพก้ ยากรบุ คคลาทายทีเ่ ทียบเท่ากับทีอ่ นื่ ๆ แต่เนือ่ งจากเรา ด มหาชน มีความเชือ่ ดังกล่าบริ วท�ษำัทให้ไทยเบฟเวอเรจ เรามองหาจุดแข็จำ�กั งของทุ กคน ท�ำให้ Approach ของเราใช้ความต่างของทุกๆ เจเนอเรชัน่ มาอยูด่ ว้ ยกัน นีจ่ งึ ถือว่าเป็นความท้าทายมากๆ ถ้าจะเรียกว่า หากจะได้รางวัลโนเบลอะไรสักอันก็ตอ้ งเป็นเรือ่ งนี้ เพราะเราไม่ได้เอนเอียงไปทีเ่ จเนอเรชัน่ ใดเจเนอเรชัน่ หนึง่
ถ้ากล่าวโดยสัจจริง ผมกลัวว่าเราจะไปใน โมเมนต์นั้นไม่ได้ เพราะคนรุ่นใหม่ยังไม่มีที่ยืน ในบริษัทเรา และความส�ำเร็จของเราก็มาจาก คนรุน่ Baby-Boomer, Gen X แต่เราก็ได้มองหา ว่า อะไรคือสิง่ ทีจ่ ะท�ำให้เจเนอเรชัน่ เข้ามาหมด ไม่ว่าจะเป็น Gen X, Y, Z เราก็มาท�ำเรื่อง Limitless Opportunity ทีม่ าจากหลักจิตวิทยา พืน้ ฐาน 3 ข้อทีเ่ หมือนๆ กันทุกเจเนอเรชัน่ คือ 1. ทุกคนต้องการการเติบโต 2. ทุกคนต้องการ ความสัมพันธ์ ความใกล้ชดิ สนิทสนม 3. ทุกคน ต้องการสร้างความแตกต่างทีน่ อกเหนือจากการ ท�ำงานด้วยตนเองเพียงคนเดียว จากตรงนี้เราก็ได้สร้างจุดยืนค�ำมั่นสัญญา (Employer Value Proposition: EVP) เนือ่ งจากเราไม่ได้มองว่า จุดตัดทีเ่ ป็นส่วนทับซ้อน (Intersection) ระหว่างคนหลายๆ เจเนอเรชัน่ คืออะไร แต่เรามองว่า สิ่งที่คนทุกรุ่นมองหา เหมื อ นกั น คื อ อะไร แล้ ว องค์ ก รเราสามารถ มอบสิง่ นัน้ ให้ได้อย่างจริงใจเลยหรือไม่ ตรงนี้แหละที่ผมว่าท�ำให้เราค้นพบค�ำว่า Limitless Opportunity เพราะ 1. ไทยเบฟ เป็นบริษทั ขนาดใหญ่ทเี่ กิดมาเพือ่ เติบโต พันธกิจ ของเราคือการสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่า จากการเติบโต 2. ไทยเบฟเป็นองค์กรทีข่ บั เคลือ่ น ด้วยใจ ส่งเสริมให้คนใช้เวลากับการสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์และเห็นประโยชน์จากความสัมพันธ์ 3. ไทยเบฟเป็นองค์กรที่ให้ความส�ำคัญกับการ คืนประโยชน์ให้สงั คม เราลงลึกมากไม่ใช่ทำ� แบบ ผักชี เช่น ผมท�ำโครงการการศึกษาก็ลงไป 300 กว่าโรงเรียน 45 จังหวัด หาพันธมิตรจากเครือข่าย มหาวิทยาลัยทัว่ ประเทศ ทั้งสามสิ่งดังกล่าวจึงไม่ใช่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ ต ้ อ งค่ อ ยๆ ท� ำ ไป เป็ น Aspirational Transformation ที่ไม่ใช่ Change นั่นคือ การเปลี่ยนผ่านที่ใช้แรงบันดาลใจของแต่ละคน แต่ไม่ใช่การเปลีย่ นแปลง ซึง่ อาจจะดูเป็นนามธรรม มากกว่า ยากกว่า แต่หากสิง่ เหล่านีต้ รงกับสิง่ ที่ เขาต้องการหรืออยากเติบโต ฯลฯ เขาก็จะ ท�ำโดยอัตโนมัติ ผมว่า ตรงนี้เป็นเรื่องจุดตัด ระหว่างแรงบันดาลใจส่วนตัวและสิ่งที่องค์กร มอบให้มากกว่า B-CONNECT MAGAZINE
033
What’s Next
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
ถอดรหัส DNA ผู้บริโภคยุคมิลเลนเนียล กลุม่ มิลเลนเนียลเป็นผูบ้ ริโภคทีม่ กี ำ� ลังซือ้ มีความคิดความเชือ่ ทีแ่ ปลกใหม่ ใช้งานเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั คล่องแคล่วและถือเป็นกลุม่ ทีย่ ากทีจ่ ะเข้าถึงด้วย วิธีการท�ำการตลาดแบบเดิมๆ ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน บริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์ เอเจนซีโฆษณาเบอร์ 2 ของญี่ปุ่นได้เปิดเผยผลวิจัย ชิ้นล่าสุดจากงานสัมมนา ASEAN SEI-KATSU-SHA FORUM 2017 ว่า กลุ่มมิลเลนเนียลนั้นแม้จะเป็นคนเจเนอเรชั่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีความต่างกัน ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งไลฟ์สไตล์ การใช้ชวี ติ การท�ำงาน การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย อันเป็นอิทธิพลจากเหตุการณ์ทางสังคมและ เศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,800 คน ใน 6 ชาติอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ร่วมกับการ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามบ้านรวม 37 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ คนที่เกิดในยุค 80 และ 90 รวมถึงคนยุค 70 ที่มีอายุ มากกว่าส�ำหรับใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบด้านทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อช่วยให้แบรนด์ผู้ประกอบการธุรกิจและนักการตลาดสามารถปรับเปลี่ยนวิธี ท�ำตลาดให้โดนใจคนแต่ละวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น >> ช่องว่างระหว่างวัยของคน 3 ยุค จะเห็นได้ว่า คน 3 ยุคนี้ต่างรู้สึกว่ามีช่องว่างซึ่งกันและกัน แม้แต่คนที่เกิดใกล้กันอย่างคนยุค 80 กับยุค 90
THAILAND
1970s 1990s 1980s 1990s
81% 80% 78% 64%
ASEAN-6
1990s
1970s
1970s
1990s
1990s
1980s
1980s
1990s
77% 79% 70% 66%
(ASEAN-6 : สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์)
034
B-CONNECT MAGAZINE
1990s
>> ประสบการณ์ในอดีตส่งผล ต่อพฤติกรรมปัจจุบัน เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนแต่ละยุคผ่าน ประสบการณ์ความเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและ สังคมมาไม่เหมือนกัน โดยวิกฤติการเงินทัว่ เอเชีย ในปี 2541 และการถือก�ำเนิดของเฟซบุ๊กและ สมาร์ทโฟน เป็น 2 เหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ ที่ส่งอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคน 3 ยุคอย่างเห็นได้ชัด โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1970s
THAILAND
1990s
35%
1980s
1980s
1990s
1980s 1990s
20% 26% 48%
>> 1. แนวทางการใช้ชีวิตและ การท�ำงาน
1970s กลุ่มที่ได้รับผลกระทบและประสบการณ์ที่ ยากล�ำบากมากจากวิกฤติการเงินในอดีต ท�ำให้ ปัจจุบนั คนกลุม่ นีม้ กั มองหางานทีม่ รี ายได้มนั่ คง ท�ำงานกับองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อความก้าวหน้า กับต�ำแหน่งทีส่ งู ขึน้ และใช้จา่ ยอย่างระมัดระวัง เน้นการออม คิดเยอะก่อนซื้อ
1980s กลุม่ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากความยากล�ำบาก ในอดีต ขณะเดียวกันก็จะคอยมองหาโอกาส ใหม่ๆ ในชีวิตอยู่เสมอ ในขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบ ท�ำให้พ่อแม่ตกงาน คนกลุ่มนี้ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักเรียนก็ต้องท�ำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ท�ำให้ปัจจุบันใช้ชีวิตอย่างยืดหยุ่น นอกจากงานหลักแล้วก็มักจะท�ำอาชีพเสริมไป ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตและเพิ่มโอกาส ในชีวิตให้มากที่สุด
1990s ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์และ เทคโนโลยีดิจิทัล มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มักมองไปทีอ่ นาคตพยายามมองหาโอกาสใหม่ๆ ไม่ชอบท�ำงานประจ�ำ และอยากเติบโตด้วยการ ท�ำธุรกิจเป็นของตัวเองโดยต่อยอดจากสิ่งที่รัก คิดแล้วลงมือท�ำทันที เช่น เปิดร้านขนม ขาย เสือ้ ผ้า ขายของออนไลน์ บางคนลาออกจากงาน ประจ�ำไปเปิดร้านขายชาไข่มุก >> 2. พฤติกรรมบนโลก ดิจิทัล
1970s เป็นยุคทีม่ อี นิ เทอร์เน็ตเป็นครัง้ แรกและเป็น ช่วงที่คนกลุ่มนี้เป็นผู้ใหญ่แล้ว คนกลุ่มนี้มองว่า
เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ชีวิตง่าย ขึน้ เท่านัน้ โดยการใช้งานแอปฯ แชท หรือโซเชียล มีเดียเพื่อติดต่อสื่อสารหรือรักษาความสัมพันธ์ กับผู้อื่นก็จริง แต่โฟกัสกับความเป็นส่วนตัวสูง มักสือ่ สารอย่างระมัดระวัง บางรายจะไม่เปิดเผย ตัวตนที่แท้จริงกับคนที่ไม่รู้จักในโลกดิจิทัล
1980s มองเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้ชีวิตง่ายขึ้นเหมือนคนยุค 70 แต่ก็มองด้วย ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเวทีที่ใช้สร้างตัวตนและ แสดงออกได้อย่างอิสระ แต่ก็ยังระมัดระวังมาก เวลาโพสต์ภาพบนโลกโซเชียล โดยจะโชว์ดา้ นที่ ดีที่สุดของตัวเอง เพราะอยากเป็นที่ยอมรับของ ผู้อื่น ผ่านการน�ำเสนอเหตุการณ์ส�ำคัญๆ อาทิ ภาพขนมท�ำเอง ภาพตอนวิ่งมาราธอน ภาพ รถสปอร์ตของตัวเอง
1990s เพราะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล จึงมองว่า โลกเสมือนจริงบนอินเทอร์เน็ตก็คือ ชีวิตที่แท้จริงของตนเองอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงชอบแชร์ทุกสิ่งให้คนอื่นได้รับรู้ แสดงออก ความเป็ น ตั ว ตนจริ ง ๆ ให้ ค นอื่ น ได้ รั บ รู ้ แ บบ เรียลไทม์ อาทิ กิจวัตรประจ�ำวันทั่วไป ทั้งใน รูปแบบภาพ วิดีโอ อีโมติคอน ข้อความต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงตัวตน และอารมณ์ความรู้สึก >> 3. พฤติกรรมการช็อปปิ้ง
1970s จะตั ด สิ น ใจซื้ อ จากความคุ ้ น เคย–ความ ปลอดภัย–ความทนทาน เป็นหลัก เพราะเคย ล�ำบากด้านการเงินมาก่อน จึงมองหาสิ่งของ ที่คงทนและมักซื้อแบรนด์ที่พวกเขาชอบและ คุน้ เคยจากร้านทีร่ จู้ กั ไม่ชอบลองของใหม่ๆ เพือ่ หลีกเลีย่ งความผิดพลาด เป็นพวกคิดเยอะก่อน ซื้อ แม้จะมีก�ำลังซื้อมากก็ตาม
1980s ซื้อเพื่อสร้างคาแรคเตอร์หรือแสดงความ เป็นตัวตน เช่น สินค้าไอที สินค้าแฟชัน่ และชอบ ทีจ่ ะเปรียบเทียบหาจุดดีจดุ ด้อย ราคา โปรโมชัน่ ของสิ น ค้ า นั้ น ๆ ทั้ ง จากช่ อ งทางออนไลน์ – ออฟไลน์ เพื่อหากข้อเสนอที่ดีที่สุด
1990s คนกลุ่มนี้มองว่าการช็อปปิ้งคือการสร้าง ประสบการณ์ และไม่พลาดที่จะต้องแชร์ให้ คนอื่ น รั บ รู ้ ถ้ า เป็ น สิ่ ง ของที่ ช อบหรื อ สนใจ คนกลุ่มนี้ก็จะรีบซื้อมาลองทันที แต่ก่อนซื้อก็มี การศึกษารีววิ บ้าง และหลังซือ้ มักจะท�ำรีววิ สินค้า นั้นๆ ให้คนอื่นที่สนใจด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น หากไม่ชอบของที่ซื้อมา ก็จะน�ำไปขายต่อทันที >> กลยุทธ์เจาะใจกลุ่ม มิลเลนเนียล
1980s แบรนด์ จ ะต้ อ งท� ำ หน้ า ที่ เ สมื อ นเป็ น โปรดิ ว เซอร์ ที่ ค อยสร้ า งสรรค์ เ วที แ ละแรง บันดาลใจให้พวกเขาได้โชว์คาแรคเตอร์ของ ตัวเองให้โลกได้เห็น เช่น เบียร์ยี่ห้อหนึ่งใน ญี่ปุ่นที่เปลี่ยนฟองเบียร์บนแก้วให้เป็นเหมือน ซอฟต์ครีมดูน่ารัก กระตุ้นให้ผู้หญิงชื่นชอบและ แชร์ภาพลงโซเชียล
1990s แบรนด์จะต้องเข้าหาคนกลุ่มนี้ด้วยความ ซื่อสัตย์และจริงใจ ท�ำหน้าที่เป็นคู่คิดในหลาย บทบาททั้งเพื่อน พ่อแม่ หรือผู้ฟังที่ดี ที่คอยให้ ค�ำแนะน�ำและช่วยเหลือพวกเขาได้
B-CONNECT MAGAZINE
035
What’s Next
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
TRENDS IN ASIA ที่มา : Trendwatching.com
1
พรมแดนถูกทะลาย (Borders Breached)
ในโลกของการเชือ่ มต่อออนไลน์นนั้ ง่ายมาก แต่สำ� หรับโลกออฟไลน์แล้วยังมีอปุ สรรค ฉะนัน้ เทรนด์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ จึ ง ท� ำ ให้ แ บรนด์ ต ้ อ งสร้ า ง ประชาคมโลกผ่านประเทศต่างๆ และวัฒนธรรม ทีม่ คี นบนโลกนีอ้ ยูจ่ ริงๆ แคมเปญ Happiness Without Borders (สุขไร้พรมแดน) ของ Harbin Beer เบียร์จนี ที่ เปิดตัวกว่า 30 วัน เพือ่ สนับสนุนให้มกี ารแข่งขัน กีฬากระชับมิตรกันระหว่างจีนและ 5 ประเทศ เพือ่ นบ้านทีม่ ชี ายแดนติดกับจีน พร้อมเสิรฟ์ เบียร์ ในการแข่งขันด้วย
2
สะกดรอยสินค้า (Stalk Your Stuff)
การสะกดรอยสินค้านี้เป็นอะไรก็ตามที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และท�ำให้ผู้บริโภคสามารถ เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร พร้อมต่อยอดเข้าไปกับประสบการณ์ของการบริโภคทั้งหมดได้ แล้วดีกรีพวกนี้ นับวันยิ่งเข้มข้นตามความคาดหวังของผู้บริโภคที่มาพร้อมๆ กับข้อมูลข่าวสารที่พวกตนจะได้รับ ตัง้ แต่ตน้ ทางถึงปลายทาง หรือข้อมูลสารแบบเรียลไทม์ของบริการทีผ่ บู้ ริโภคใช้ อีกทัง้ คาดหวังทีจ่ ะ ได้เห็นการบริโภคของตนเอง ท�ำให้เกิดการผลิตข้อมูลข่าวสารที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถปรับปรุง สิ่งที่ตัวเองก�ำลังท�ำอยู่ได้ ถ้าวันนี้แบรนด์ยังคงคิดง่ายๆ แค่ว่าก็ให้ข้อมูลข่าวสารบนฉลากสินค้า หรือพาเยี่ยมชมโรงงาน ก็พอแล้วละก็ ... ต้องคิดอีกทีนะ เพราะการที่แบรนด์จะก้าวข้ามเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ แบรนด์จะต้อง ประเมินกระบวนการผลิตของตนเองเสียใหม่ทั้งหมดและหยิบประเด็นที่ผู้บริโภคน่าจะสนใจสืบค้น ขึ้นมา หรือว่าแบรนด์จะใจป�้ำให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้นก็ไม่ผิดกติกา แล้วก็ ต้องหาให้ได้ว่าสิ่งที่ผู้บริโภคอยากเข้าถึงนั้นคืออะไร เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่ข้อมูลข่าวสาร แต่ เป็นการเชื่อมโยงและการเข้าถึงผู้คนที่อยู่เบื้องหลังสินค้าและบริการที่คุณน�ำเสนอ Naomaohu Lake Farm สวนเมลอนในจีนที่ผลิตตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งทางออนไลน์ แล้ว ให้รหัสลูกค้าเพื่อติดตามการปลูกเมลอนของตนเองได้ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บพืชผลเพื่อส่งสินค้า ถึงมือลูกค้า แถมมีโปรโมชั่นส่งฟรีหากสั่ง 2-3 กก.
Grab สิงคโปร์ ปล่อยแคมเปญเพือ่ ทดสอบ ระบบบริการ GrabHitch ระหว่างยะโฮร์ บาห์รู –สิงคโปร์ ฟรี 3 สัปดาห์ เมือ่ กลางปีกอ่ น เพือ่ ช่วย ให้การขับขีข่ า้ มพรมแดนสามารถติดต่อกันได้และ สะดวกด้วย บริการนีร้ าคาปกติ 6-10 เหรียญสหรัฐ แต่ Grab ก็ยงั เจอปัญหาเหมือนกันกับไทยทีว่ า่ รถรับจ้างแบบ Grab ยังไม่ถกู กฎหมาย
036
B-CONNECT MAGAZINE
Double A กระดาษแบรนด์ไทยที่ริเริ่มการสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนแบบดิจิทัล ด้วย แคมเปญ 1 Dream 1 Tree เพือ่ สนับสนุนการบริโภคอย่างยัง่ ยืนในไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลี โดยจะปลูกต้นไม้ 1 ต้นส�ำหรับการซือ้ กระดาษ Double A 80 แกรมทุกรีม ทัง้ นี้ ลูกค้าสามารถสแกน คิวอาร์โค้ดบนห่อกระดาษของ Double A เพื่อปลูกต้นไม้ จากนั้นลูกค้าก็จะได้รับหนังสือรับรอง ในรูปแบบดิจิทัลของต้นไม้ต้นนั้นๆ รวมทั้ง GPS เพื่อติดตามได้ด้วย
3
แบรนด์จอมสอด (Butt-in Brand)
แบรนด์จอมสอด แต่สอดแบบมีคณ ุ ธรรม ไม่ใช่จนุ้ ไม่เข้าเรือ่ ง แบรนด์ จอมสอดจะส่องโซเชียลเน็ตเวิร์กและอีเว้นท์ต่างๆ ว่า คุยอะไรกัน มี เหตุการณ์อะไร แล้วแอคชั่นแบบเอาจริง ณ เวลานั้นเลย (Real Action -Real Time) เพื่อสร้างกระแสและชนะใจผู้บริโภค ยุคนี้ไม่ใช่แค่เข้าถึง ผู้คนได้เยอะๆ หรือตอบ ‘แมสเสจดราม่า’ ได้เร็วกว่าเดิมก็พอ แต่ต้อง แตกต่าง + ดึงดูดความสนใจได้อย่างจริงจังทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ ฉะนั้น เราต้องถามตัวเองด้วยว่า แบรนด์พร้อมที่จะตอบสนองหรือ ปรับตัวแค่ไหน? แล้วเราจะสร้างวัฒนธรรมที่มีความคล่องตัวในองค์กร อย่างไร? Milo สิงคโปร์ เล่นบท ‘ป๋า’ เมื่อ Nathan Hartono นักร้องที่เข้า ประกวดในรายการ Sing! China พูดเล่นตอนให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าชนะ เขาจะเช่ารถไมโลแจกไมโลเย็นๆ ให้คนสิงคโปร์เลย เท่านั้นแหละ ไมโล ประกาศบนเฟซบุ๊กเลยว่า ไม่ว่าเขาแพ้หรือชนะ ไมโลพร้อมสนับสนุน ไม่ต้องเช่า ขอแค่บอกว่าจะให้ไปที่ไหนเท่านั้น แล้วภายใน 1 สัปดาห์ รถไมโลก็ไปหลายจุดทีเดียวเพื่อแจกเครื่องดื่มกว่า 1.5 หมื่นแก้ว/วัน
UBER ท�ำให้เห็นได้ชัดว่า แบรนด์จะตอบสนองกับประเด็นทาง สังคมทีเ่ กิดขึน้ ปัจจุบนั ทันด่วนได้จริงๆ อย่างกรณีนำ�้ ท่วมทีก่ รุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา ซึ่ง uber อาสาไปรับของบริจาคแบบถึงที่ฟรี เพื่อน�ำ ไปส่งสภากาชาดของศรีลังกา เพียงใช้บริการผ่านแอปฯ UBER และ เข้าไปที่ UberCARE
4
ฉลาดแบบแสบๆ แอบโกงกติกา (Legal Life Hacks)
คนเอเชียคุ้นกับตลาดที่วุ่นวาย อะไรที่ไม่เป็นระบบ ไม่เป็นทางการ จนเรี ย นรู ้ ที่ จ ะรั บ มื อ ด้ ว ยความฉลาดแบบแสบๆ และแอบโกงกติ ก า ครบเครือ่ งตัง้ แต่แฮกระบบ หาช่องโหว่ของกฎหมาย หรือแม้แต่ยอมท�ำอะไร ก็ตามทีห่ มิน่ เหม่กบั การท�ำผิดกฎหมาย ฉะนัน้ หากว่าแบรนด์ยอมเปิดทางให้ พวกเขาได้เข้าไปแฮกอย่างไม่เป็นทางการได้บา้ ง หรือเข้าไปส�ำรวจตรวจค้น ช่องโหว่ทางกฎหมายที่จะเล่นกับแบรนด์ได้บ้างโดยที่ไม่ผิดกฎหมาย ฟังดูเหมือนยาก แต่ก็คงมีช่องทางที่เป็นไปได้ เพื่อหาว่า ลูกค้าแอบ แหกกฎมุดเข้ามาเล่นอะไร-ตรงไหน-อย่างไร แล้วอะไรที่แบรนด์จะพอช่วย ให้คนพวกนี้ยังไม่แตกแถวแล้วก็ยังสนุกสนานกับความสะดวกสบายที่ คนเหล่านี้คุ้นชินได้ Pertamina รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการน�้ำมันเชื้อเพลิงในอินโดนีเซียจับ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ช่วงวันตรุษอิดุลฟิตริ (Idul Fitri) ที่รับมือกับปัญหา รถติดตลอด 24 ชม. ด้วยการพกน�้ำมันส�ำรองที่บรรจุใส่กระป๋อง ขวด พลาสติกตามบุญตามกรรมจากผู้ขายที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทน�้ำมัน ดังนั้น Pertamax จึงออกน�้ำมันกระป๋องออกเทน 92 ทั้งหมด 3.5 หมื่นลิตร ในกรุงจาการ์ตาที่มีดีมานด์สูงถึง 218% ในช่วงเวลา 3 วัน แถมช่วงเปิดตัว ยังแถมน�้ำและขนมให้คนขับอีกด้วย
Shopmatic เมือ่ ปลายปีกอ่ นนีเ้ องทีร่ ฐั บาลอินเดียยกเลิกธนบัตรราคา 500 และ 1,000 รูปี ท�ำให้ธนาคารต้องส�ำรองเงินเพื่อรับแลกธนบัตรจาก ประชาชน ส่วนร้านค้าก็เพิ่มราคาสินค้าปกติอีก 10 เท่าเพื่อแลกกับการรับ ธนบัตรทีย่ กเลิกแล้ว แต่ปญ ั หานีค้ ลีค่ ลายได้เมือ่ Shopmatic เปิดตัวบริการ ใหม่ไม่ต้องใช้เงินสดบนแพลตฟอร์มที่ชื่อ Shopmatic Go เพื่อให้ร้านค้า ขนาดเล็กสามารถโอนเงิน ช�ำระเงินทางออนไลน์ ด้วยโดเมนของตนเอง แถม ยังมีรายการการซื้อขายอีกด้วย
B-CONNECT MAGAZINE
037
5
เล็งสินค้าแล้วคิดใหม่-ท�ำใหม่ (Capacity Capture)
ต้องคิดใหม่วา่ สินค้าของคุณท�ำอะไรได้บา้ ง เพือ่ เพิม่ มูลค่าให้กบั สินค้าและบริการไปสูค่ วามยัง่ ยืนได้จริงๆ ในยุค Sharing Economy, Peer-to-Peer Economy และการเข้าถึงเจ้าของธุรกิจโดยตรง เนื่องจากคนเอเชียในวันนี้คาดหวังที่จะเห็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างสูงสุดเต็มประสิทธิภาพ และ Sharing Economy นี่ละที่ช่วยเข้ามาก�ำหนดคุณค่าตรงนี้ ดังนั้น ตอนนี้แบรนด์ที่ชาญฉลาดต้องรู้แล้วละว่า ปัจจัยสู่ความยั่งยืนนั้นไม่ใช่ CSR แต่เป็นการใช้ทรัพยากรในองค์กรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด การลดขยะ/ลดการสูญเสีย ลดขยะให้เป็นศูนย์และเก็บเกีย่ วผลประโยชน์เพิม่ เติมจากกระบวนการท�ำงานของบริษทั การริเริม่ น�ำของทีท่ งิ้ แล้วกลับมาใช้ ใหม่และมีการมองหาโมเดลธุรกิจที่มีการแบ่งปันกันได้ในสังคมหรือลูกค้ามากขึ้นเพื่อสร้างพลังเชิงบวก อาทิ การแชร์ตู้เสื้อผ้า เพื่อแบ่งปันเสื้อผ้ากันใส่ ในพื้นที่เช่าที่ไหนสักห้อง หรือการจ่ายค่าโดยสารตามนาที หรือการมองธุรกิจพื้นๆ ธรรมดาๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น Tanizawa Seisakusho แบรนด์เครื่องเรือนญี่ปุ่นที่ออกแบบโคมไฟ กระถางต้นไม้ ให้สามารถประยุกต์ใช้ใส่เป็นหมวก เพื่อป้องกันตนเองได้หาก เกิดแผ่นดินไหว ภายใต้โครงการ +MET Project
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ของไทยเราเอง เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ด้วยการน�ำเสนอจานลดแคลอรี่ AbsorbPlate เพียงแค่คดิ ใหม่เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ด้วยการออกแบบจานให้เป็นรูๆ 500 จุดเพือ่ วางอาหารไม่ให้อาหารจมน�ำ้ มัน ช่วยลดไขมันต่อจานได้ถงึ 30 แคลอรี่ ทีเดียว แถมล้างง่ายอีกต่างหาก
038
B-CONNECT MAGAZINE
Business Insight
บุริม โอทกานนท์
WEAK SIGNAL สัญญาณอ่อนๆ สิ่งหนึ่งที่ผู้วางกลยุทธ์ธุรกิจมักจะต้องท�ำคือการค้นหาสัญญาณอ่อนหรือ Weak Signal ในตลาดให้ได้เสียก่อน ก่อน ที่จะลงมือวางแผนกลยุทธ์ นั่นคือการกวาดมองสภาพแวดล้อม (Scanning Environment) ของตลาดว่ามีสัญญาณ บางอย่างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้น หรือสัญญาณที่ท�ำให้เราต้องตระหนักคิดก่อนการวางแผนหรือไม่ ผูว ้ างกลยุทธ์มอ ื ใหม่สว ่ นใหญ่มก ั ใช้เครือ ่ งมือ เช่น Five-Force หรือ SWOT มาใช้ในการวิเคราะห์และน�ำผลทีว ่ เิ คราะห์ได้นน ั้ ไป วางแผนกลยุทธ์ และสิง ่ ทีเ่ กิดขึน ้ คือ บางครัง ้ แผนนัน ้ ไม่สม ั ฤทธิผ ์ ล เนือ ่ งจากการวิเคราะห์ของมือใหม่นน ั้ มักจะมีความหยาบ คือ ขาดข้อมูลสนับสนุนเพื่อยืนยันข้อสังเกตน�ำที่เอามาใช้ ดังนั้น เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ให้ได้ผล แม่นย�ำขึ้นสิ่งที่ผู้วางกลยุทธ์มือใหม่ควรพิจารณาท�ำเพิ่มเติม คือ การค้นหา Weak Signal ที่เกิดขึ้นในตลาดมาประกอบ กับการวิเคราะห์ Weak Signal นั้ น เป็ น ปรากฎการณ์ ใ ดปรากฎการณ์ ห นึ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในตลาด และปรากฎการณ์ ที่ ว ่ า นี้ มั ก เป็ น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะซ�้ำๆ หรือเกิดในท�ำนองเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นแล้ว โดยมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เรา ต้องการจะท�ำ ลุ ค เดอ บราบองเดร์ (Luc de Brabandere) และ อั ล แลน ไอนี (Alan Iny) ได้ พู ด ถึ ง เรื่ อ ง Weak Signal ในหนังสือของพวกเขาชื่อ Think in the Boxes และมาร์ติน ซวิลลิ่ง (Martin Zwillng) สรุปความลงทางสื่อออนไลน์ไว้ว่า เราสามารถจับ Weak Signal ของการเปลี่ยนแปลงได้จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1
2
3
ยกตัวอย่างเช่น อาชีพนักแสดงในสมัยก่อน นั้นจะไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลเพราะคิดว่า เป็นคนที่มีอาชีพเต้นกินร�ำกิน ซึ่งในสมัยก่อน มักจะมีรายได้น้อย ไม่สามารถท�ำให้ชีวิตมีความ มั่นคงได้ ต่อมาเริ่มมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นจ�ำนวนมาก ที่ต้องการเข้าสู่อาชีพนักแสดงเพราะเห็นว่า ดู มีหน้ามีตา สามารถท�ำเงินได้ดี มีคนรูจ้ กั มากมาย ซึ่งนักแสดงกลายเป็นที่ยอมรับของสังคมและมี หนุม่ สาวต้องการเป็นนักแสดงกันอย่างมากมาย
ความต้องการของคนเรานั้นมีทั้งที่ตัวเรา รู ้ แ ละตั ว ของเราไม่ รู ้ ว ่ า เราต้ อ งการ ดั ง นั้ น การค้นพบความต้องการใหม่ๆ ของนักการตลาด ก็จะเป็นการจุดประกายให้กบั ผลิตภัณฑ์นนั้ ๆ ที่ สามารถตอบสนองความต้องการของคนหมูม่ าก จนกลายเป็นกระแสหรือ Trend ที่ก�ำลังจะเกิด ขึ้นในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ กระแสการขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ในบ้านเราก็ มี ก ารตอบสนองจากนั ก บิ ด มี ส ตางค์ ทั้ ง หญิ ง และชายเป็นอย่างดี ท�ำให้ยอดขายพุ่งขึ้นนับ ร้อยเปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี สวนทางกับยอดขาย รถยนต์ที่ลดลงอย่างน่าหวาดกลัว จนกระทั่ง ท�ำเอาบริษัท ขายรถยนต์ต้องหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน
การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่หรือผู้จัดหา รายใหม่ก็ Weak Signal ทางธุรกิจได้เช่นกัน อย่างเช่นการเติบโตของธุรกิจการขายสินค้า ออนไลน์ (e-commerce) อย่าง Lazada, Zalora ซึ่งเริ่มเข้ามาเป็นผู้จัดหาสินค้าอุปโภค บริโภค หรือ แฟชั่น ทางเครือข่ายออนไลน์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากนักช็อป บ้ า นเรา สั ญ ญาณเหล่ า นี้ ก็ เ ป็ น สั ญ ญาณที่ ธุรกิจค้าปลีกต้องจับตามองการเปลี่ยนไปของ ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายในอนาคต
การที่สังคมให้คุณค่าต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
040
B-CONNECT MAGAZINE
การค้นพบความต้องการใหม่ๆ หรือพบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
การเข้ามาของคู่แข่งหรือผู้จัดหา รายใหม่ในตลาด
4
7
8
ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญาณ ที่อาจจะ บอกเราได้ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไร เกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น การค้นพบกราฟีน (Graphene) หรือผลึกคาร์บอนชนิดใหม่นั้น อาจจะเปลี่ ย นแปลงสภาพการแข่ ง ขั น ของ อุตสาหกรรม จอแสดงผล วงจรไฟฟ้า และเซลล์ แสงอาทิตย์ ของโลกนี้ในอนาคตอันใกล้
ถ้าเราจับตามองการเกิดใหม่ของธุรกิจใน โลกเราจะพบว่าธนาคารคือแหล่งทุนที่ส�ำคัญ ของธุรกิจ ลมหายใจที่จะมีอยู่หรือหายไปของ ธุรกิจนั้นต้องพึ่งการตัดสินใจของเจ้าของเงิน อย่างธนาคารเป็นส�ำคัญ แต่แนวคิดใหม่ที่เรา กลายมาเป็นกระแสของการสร้างผู้ประกอบการใหม่ เ ริ่ ม เปลี่ ย นไป และเราเริ่ ม มองเห็ น กระแสของการเปลี่ยนแปลงนี้ในบ้านเราคือ ความนิยมในการระดมที่เรียกว่า การระดมทุน จากมวลชน (Crowdfunding) และ Tech. Startup แนวคิ ด ทั้ ง สองแนวของการเป็ น ผู ้ ป ระกอบการอย่ า ง Crowdfunding นั้ น เป็นการน�ำเสนอแนวคิดออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ ตัวกลางอย่าง Kickstarter หรือ Indiegogo เป็นต้น โดยการน�ำเสนอสิ่งที่ต้องการจะท�ำและ ขอเงินสนับสนุนจากมวลชน หรือในอีกรูปแบบ อย่าง Tech. Startup เป็นการน�ำเสนอผลงานให้ กับนักลงทุนทีม่ เี งินในระดับต่างๆ เช่น Business Angle หรือกลุ่มทุน Venture Capital แล้วก็ น�ำเงินที่ได้มาด�ำเนินการสร้างธุรกิจ ซึ่งแนวคิด เปลี่ ย นโลกในลั ก ษณะนี้ ใ นบ้ า นเราก� ำ ลั ง เริ่ ม ก่อตัว และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย จน ท�ำให้ธนาคารต้องหันมามองหรือกระโดดเข้ามา ร่วมท�ำธุรกิจนี้ด้วย
ก็เป็นสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่เราต้องสนใจ หรือจับตามอง ตัวอย่างของสัญญาณเหล่านีเ้ ช่น ความกังวลต่อค�ำท�ำนายว่าจะมีดาวหางพุ่งชน โลกในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งวงการภาพยนตร์ก็ เอาแนวคิดดังกล่าวไปจัดสร้างภาพยนตร์ให้คน ได้ดูกันทั้งโลก ท�ำให้หลายที่ได้เตรียมพร้อมใน การทีจ่ ะปกป้องชีวติ ตัวเอง เกิดธุรกิจทีต่ อบสนอง ต่อสิ่งเหล่านี้ขึ้นมากมาย หรือแม้กระทั่งการ ส�ำรวจอวกาศเพือ่ ค้นหาว่าจะมีดาวหางดวงไหน บ้างที่มีโอกาสพุ่งเข้าปะทะกับโลกและท�ำให้ มนุษยชาติสูญพันธุ์ไป
การค้นพบเทคโนโลยีใหม่
5
การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะหลัก ขององค์กร
การที่องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้าน ของแกนความสามารถนั้นก็เป็นสัญญาณของ สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น แต่อยู่ที่ว่าสมรรถนะหลัก ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะสามารถชี้น�ำตลาดได้ เพียงใด หากเราดูธุรกิจในบ้านเรา เราอาจจะ เห็นแนวคิดของเครือซีพี ที่เดิมเป็นผู้ผลิตสินค้า ทางการเกษตร แต่ต่อมาก็ใช้กลยุทธ์ Forward Integration ในการเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และยั ง ขยายตั ว เข้ า สู ่ ธุ ร กิ จ บั น เทิ ง และธุ ร กิ จ คมนาคมอีก พร้อมกับการใช้กลยุทธ์ Convergence เพื่ อ ควบรวมจุ ด แข็ ง ของกลุ ่ ม บริ ษั ท เข้าไว้ดว้ ยกันในการสร้างความได้เปรียบเชิงการ แข่งขันกับคู่แข่ง ท�ำให้ตลาดในประเทศเราวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
6
การมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ
แคมเปญเมาแล้วขับในบ้านเรานัน้ มีมานาน แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ขับขี่ยวดยานมาก นัก จนกระทัง่ เจ้าหน้าทีเ่ ริม่ จริงจังกับผูท้ เี่ มาแล้ว ขับ บางรายถึงกับติดคุกหรือไม่กต็ อ้ งจ่ายค่าปรับ เป็นจ�ำนวนทีเ่ รียกได้วา่ ไม่คมุ้ กับการเมาแล้วขับ ธุรกิจจึงมองเห็นโอกาสและที่เข้ามาตอบสนอง ความต้องการของผู้ดื่มสุราแต่ไม่ต้องการขับรถ อย่างบริษัท You Drink, I Drive ธุรกิจที่พา นักดื่มกลับบ้านโดยไม่ต้องขับ โดยบริษัทจะจัด เตรียมสารถีไว้ให้แล้วพากลับบ้านอย่างปลอดภัย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก�ำเนิดมาจากแผนธุรกิจใน ชั้นเรียน MBA และก็กลายไปเป็นแนวคิดธุรกิจ ที่อาจจะขยายตัวไปทั่วโลก
แนวคิดเปลี่ยนโลก
ความกังวลต่ออนาคตที่จะเกิดขึ้น
แหล่งข้อมูลของ Weak Signal ทัง ้ แปด หัวข้อนัน ้ มีความน่าสนใจในแง่ของการ เพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ อนาคตธุรกิจ หากท่านทราบอนาคตได้ดีกว่า ผู้อื่น นั่นคือโอกาสที่จะน�ำพาธุรกิจให้เติบโต อย่างมัน ่ คง และท่านสามารถเตรียมความพร้อม ในการแข่งขันได้เหนือกว่าผู้อื่น
B-CONNECT MAGAZINE
041
BILLIONAIRE GURU
ปัญญพล สุวิสิทฐ์
T. Harv Eker ความลับของการเป็นเศรษฐี
จริงหรือที่คุณสามารถลอกเลียนแบบความส�ำเร็จของคนอื่นได้! ถ้าสมมุติว่าผม สามารถบอกคุณได้ว่า ความลับของความส�ำเร็จนั้นมีเพียงไม่กี่ข้อ และคุณสามารถ ลอกเลียนแบบได้ คุณจะเชื่อผมไหม?
ในปัจจุบนั เราอาจเห็นได้วา่ โลกธุรกิจนัน้ มีการแข่งขันทีส่ งู ขึน้ หลายธุรกิจต่างต้องดิน้ รนด้วยกลยุทธ์ วิธกี าร และการตลาดต่างๆ เพื่อที่จะสามารถท�ำให้ธุรกิจของตัวเองรอดพ้นออกจากการแข่งขันทั้งในประเทศและ นอกประเทศ แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในทุกอุตสาหกรรมคือ มีการน�ำสินค้าทีเ่ หมือนๆ กันออกมาขายและเกิดการแข่งขัน ทางราคาขึ้น ผลสุดท้ายก็คือ ตลาดเกิดความผิดพลาดทางกลไกของคุณค่า (Unbalance Valuation) และนั่นท�ำให้ มากกว่า 80% ของทุกอุตสาหกรรมเกิดการขาดทุนและปิดตัวลงไปในที่สุด ค�ำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ “แล้ว 20% ที่เหลือของทุกอุตสาหกรรมใช้กลยุทธ์หรือวิธีการอย่างไรในการท�ำ ธุรกิจให้กลายเป็นที่ 1 ของตลาดได้ ทั้งๆ ที่สินค้ามาจากที่เดียวกัน และราคาก็ต่างกันไม่มาก” ซึ่งคนส่วนใหญ่ มักให้ค�ำตอบว่า “พวกเขามีกลยุทธ์ที่ดี มีทุนทรัพย์ที่มาก พวกเขามีความรู้มากกว่าเจ้าอื่นๆ ในตลาด พวกเขา เริ่มต้นจากธุรกิจของครอบครัว และพวกเขาโชคดี”
042
B-CONNECT MAGAZINE
ค�ำตอบที่ผมให้ได้นั่นก็คือ “คน 20% นั้น ใช้วิธีคิดที่ไม่เหมือนคนอีก 80% ของตลาด” ซึ่ง ค�ำว่า “วิธีคิด” นั้นไม่ใช่การคิดอย่างเดียว แต่ รวมถึงทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่พวกเขาใช้ในการ ด�ำเนินธุรกิจ หาก “วิธีคิด” ของพวกเขานั้น ถูกสร้างขึ้นมาไม่ใหญ่พอกับเป้าหมายที่พวกเขา หวังไว้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พวกเขาจะไม่สามารถ ไปถึงเป้าหมายได้เลย ผมขอลองยกตั ว อย่ า งให้ คุ ณ เห็ น ภาพว่ า ธุรกิจนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง ถ้าหาก คุณสร้างบ้านด้วยพิมพ์เขียว (Blueprint) ที่ผิด โครงสร้างของบ้าน (ธุรกิจ) ที่คุณสร้าง ก็จะไม่ คงทนและล้มไปในที่สุด กลับกัน หากคุณใช้ พิมพ์เขียวที่ถูกต้อง คุณจะสามารถสร้างบ้านที่ มีขนาดใหญ่ได้และคงทน ยิ่งไปกว่านั้น คุณจะ สามารถต่อเติมบ้านให้มีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ ตามที่คุณต้องการหากคุณมีแผนผังที่ถูกต้อง
ข่าวดีของคุณก็คือ แผนผังที่ว่านี้มีอยู่กับ เราทุกๆ คน ซึ่งแผนผังนั้นเรียกว่า พิมพ์เขียว ทางการเงิน (Money Blueprint) และข่าวดี ยิ่งกว่าก็คือ ทุกๆ คนบนโลกนี้มีสิทธิที่จะได้ เปลี่ ย นแผนผั ง ของคุ ณ ให้ ใ หญ่ แ ละมั่ น คงได้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารเพี ย งไม่ กี่ วิ ธี ซึ่ ง ผมได้ เ ขี ย นไว้ ใ น หนังสือ “ถอดรหัสลับสมองเงินล้าน” ได้พูดถึง วิธีการเขียนและแก้ไขแผนผังทางการเงินให้มี ประสิทธิภาพในงานสัมมนา The Millionaire Mind Intensive ด้วยวิธีการเพียง 3 ข้อ
B-CONNECT MAGAZINE
043
1
ลอกเลียนแบบคนที่ส�ำเร็จ
คนส่ ว นใหญ่ เ ลื อ กที่ จ ะเริ่ ม ต้ น ธุ ร กิ จ จาก 0 ซึ่งกว่าจะเดินมาถึง 1, 2, 3 ถึง 10 นั้นจ�ำเป็น จะต้องอาศัยวิธีการและความพยายามที่สูง ซึ่ง จริ ง ๆ แล้ ว การเริ่ ม ต้ น ท� ำ ธุ ร กิ จ นั้ น สามารถ เริ่มจาก “ต้นทุนทางความคิด” ที่คุณสามารถ ศึกษาได้จากคนทีเ่ คยประสบความส�ำเร็จมาแล้ว มากกว่า 90% ขององค์ประกอบทางความส�ำเร็จ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นใหม่ แต่เพียงแค่น�ำสิ่งที่เกิดขึ้น อยู่แล้วหรือถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมา รวมกันใหม่
2
ฝึกฝน
เมื่ อ คุ ณ ได้ “ต้ น ทุ น ทางความคิ ด ” แล้ ว สิ่งที่คุณ จะต้องท�ำก็คือน�ำความสามารถของ คุณมาฝึกฝน ซึ่งการฝึกฝนที่ผมก�ำลังจะพูดถึง หมายถึ ง “การท� ำ สิ่ ง เดิ ม ซ�้ ำ ๆ จนเกิ ด ความ ช�ำนาญและสามารถเข้าใจได้ถึงที่มาและที่ไป ของการกระท�ำ” นั่นหมายความว่า คุณจะต้อง ใช้ความคิดของคุณให้เกิดความช�ำนาญ
3
ลงทุนกับการเรียนรู้
“ธุรกิจ ไม่โต ก็ตาย” คือ วลีเด็ดที่นักธุรกิจ ส่วนใหญ่มักจะพูดกัน แต่มีเพียงส่วนน้อยที่จะ เข้าใจว่าธุรกิจจะเติบโตได้นั้น จ�ำเป็นที่จะต้อง อาศัยการเติบโตทางองค์ความรู้ในการท�ำธุรกิจ ด้วย ดังนั้น การหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองนั้น ส�ำคัญมากพอๆ กับการท�ำให้ธุรกิจของคุณไป ต่อได้
อย่ า งไรก็ แ ล้ ว แต่ ในขณะที่ ค นจ� ำ นวน ไม่น้อยรู้ถึงความลับเหล่านี้ ท�ำไมพวกเขาถึง ไม่สามารถท�ำธุรกิจให้ประสบความส�ำเร็จได้ ? เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุค ปัจจุบัน มี ข ้ อ มู ล อยู ่ บ นโลกอิ น เทอร์ เ น็ ต มากมายและ ทุกคนมีสทิ ธิทเี่ ท่ากันในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น ในทางเดียวกัน คนส่วนใหญ่ลืมไปว่า ข้อมูล เหล่านี้นั้นไม่ได้ถูกกลั่นกรองออกมาเป็นวิธีการ แนวทาง หรือการลงมือท�ำที่จับต้องได้ และ นั่นคือเหตุผลว่าท�ำไมผู้ประกอบการทั่วโลกจึง ไม่สามารถน�ำองค์ความรู้และความลับเหล่านี้ มาท�ำให้ธุรกิจของตัวเองเติบโต จากงานสัมมนา The Millionaire Mind Intensive ที่ผ่านมา ผมได้พูดถึงประเด็นของ ความคิดและตั้งค�ำถามให้แก่นักธุรกิจทั่วโลก ได้คิดกันว่า “ในเมื่อคุณมีทรัพยากรทางข้อมูล ความรู้ หรือแม้กระทั่งหนังสือดีๆ เหล่านี้... ท�ำไมยังมีธุรกิจมากกว่า 80% ที่ล้มเหลว ? สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็คือ คนส่วนมากเลือก ที่จะอ่านหนังสือ และไม่เปิดใจเข้ามาหาคนที่ ประสบความส�ำเร็จหรือเข้ามาอยู่ในสังคมที่มี การลงมือท�ำอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ทต ี่ ามมาคือ พวกเขารู้ แต่ไม่ทำ� ! คุณล่ะ เลือกที่จะอยู่ฝั่งไหน?
044
B-CONNECT MAGAZINE
Business Wisdom
อรรถการ สัตยพาณิชย์
RETURN ON DATA INVESTMENT หัวใจความส�ำเร็จ SMEs ผศ. ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร
ปัจจุบัน Big Data กลายเป็น buzzword หรือเป็นค�ำที่อยู่ๆ ก็นิยม ขึ้นมา แต่พอถามความหมายกันจริงๆ ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่ใน โลกธุรกิจหรือโลกการตลาด ข้อมูลทีม ่ อ ี ยูอ ่ ย่างมหาศาลในอินเทอร์เน็ต หรือในสังคมออนไลน์นับเป็น Big Data ที่ผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจหรือ การตลาดพยายามเข้าถึงข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured) นี้ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ จึงท�ำให้ทุกวันนี้ สามารถใช้ข้อมูล Big Data แกะรอยเทรนด์ หรือวัดกระแสความรู้สึก ของคนในโลกอินเทอร์เน็ตได้ แม้ Big Data จะท�ำให้มองเห็นภาพรวมๆ ความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้มากขึ้น แต่คนที่เป็นผู้บริหารหรือ ท�ำธุรกิจก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทัน ต่อการใช้งาน จากข้อมูลแค่เป็น Small Data ก็ดูจะมีคุณค่ามากกว่า ข้อมูลที่เป็น Big Data ได้ไม่รู้กี่สิบเท่า ผศ. ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร ผูอ ้ ำ� นวยการหลักสูตรวิศวกรรมข้อมูล ขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้กล่าวถึงธุรกิจ SMEs ว่า การใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการท�ำธุรกิจมีสง ิ่ ทีต ่ อ ้ งใส่ใจและให้ความ ส�ำคัญ คือ การดูผลตอบแทนจากการลงทุนในเรื่องของข้อมูลหรือ Return on Data Investment (RODI)
B-CONNECT MAGAZINE
045
SMEs ต้องให้ความส�ำคัญกับข้อมูล
ดร.วรพลได้ให้รายละเอียดว่า ทุกกิจกรรม ในการด�ำเนินงาน ไม่ว่าจะในองค์กรขนาดเล็ก หรื อ ขนาดใหญ่ จ ะมี “ข้ อ มู ล ” หรื อ Data ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการท� ำ ธุ ร กรรมหรื อ การท� ำ งาน แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ประโยชน์จากข้อมูล ที่เกิดขึ้นนั้นจะมีคุณค่าอีกต่อไปหรือไม่ เพราะ ถ้าข้อมูลนั้นกลับมาย้อนดูแล้วเกิดประโยชน์ ในการบริหารจัดการ เช่น สามารถเห็นพฤติกรรม การซื้อของลูกค้าว่า ช่วงเวลาใดที่สามารถขาย สินค้าได้มากทีส่ ดุ และสามารถน�ำข้อมูลเหล่านี้ มาเตรี ย มสิ น ค้ า ที่ ข ายได้ ม ากขึ้ น ในปี ต ่ อ ไป อันนี้ถือว่ามีความคุ้มค่าในด้าน RODI แต่ถ้า เมื่ อ ไรก็ ต ามข้ อ มู ล ที่ มี อ ยู ่ ใ ช้ ป ระโยชน์ อ ะไร ไม่ได้ ก็หมายความว่าข้อมูลนั้นไม่ก่อให้เกิด ผลตอบแทนในการลงทุน ตัวอย่างที่ดีก็คือ องค์กรที่ท�ำธุรกิจ SMEs จะพบว่ า มี ข ้ อ มู ล ที่ เ กิ ด ขึ้นจากกระบวนการ การท� ำ งาน แต่ ไ ม่ ไ ด้ ก ลั บ มาดู ห รื อ ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ประโยชน์ นอกจากนี้ ในบางองค์กรข้อมูลที่ เกิดขึน้ จากการด�ำเนินธุรกิจก็ยงั กระจัดกระจาย ไม่รู้ว่าข้อมูลหรือไฟล์ใดอัปเดตที่สุด เพราะไฟล์ เดียวกันก็จะมีการส่งไปให้แต่ละแผนกแก้ไข แผนกต่างๆ ก็จะปรับแก้ในส่วนที่เป็นงานของ ตนเอง ในที่สุดก็ไม่รู้ว่าไฟล์ไหนถูกต้องหรือ ใหม่ที่สุด ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ SMEs สิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ในการ ออกแบบระบบก็ คื อ การเริ่ ม ต้ น จากการ ตั้งค�ำถามว่าต้องการข้อมูลอะไร ตัวอย่างเช่น ถ้ า เริ่ ม จากการตั้ ง ค� ำ ถามว่ า ควรสั่ ง ซื้ อ สิ น ค้ า เมื่อไหร่ถึงจะดีที่สุด ในที่สุดก็จะเห็นการไหล ของข้อมูลหรือ Data Flow ว่าจะไปเชื่อมกับ ข้อมูลเรื่องใดต่อ เมื่อ Data Flow นิ่งแล้ว ก็ค่อยมาดูว่าจะซื้อฮาร์ดแวร์หรือซื้อระบบอะไร ควรซื้อ server หรือไม่ และขนาดไหนถึงจะ เหมาะสมกับปริมาณของข้อมูล ดร.วรพลย�้ำว่า วิธีการง่ายๆ และดีที่สุด ก็คอื การร่างด้วยมือเป็นตารางหรือ Data Flow เพือ่ ให้เห็นการไหลของข้อมูล เพราะในทีส่ ดุ แล้ว ก็จะรู้ว่าแต่ละงานมี output ของ data อะไร ออกมาบ้าง และยังจะเห็นว่าใครรอข้อมูลอยู่ ตรงไหน รวมถึงจะมีการอัปเดตข้อมูลกันอย่างไร และต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล หรือไม่ 046
B-CONNECT MAGAZINE
“ข้อมูล” สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การใช้ข้อมูลของธุรกิจ SMEs จะต้องค�ำนึงถึงการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะถ้ามี ข้อมูลแล้วใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ โอกาสที่จะสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ก็ยาก โดยเฉพาะปัจจุบัน การลงทุนในด้านฮาร์ดแวร์เกี่ยวกับการเก็บและการประมวลผลข้อมูลมีราคาถูกลงมาก จึงไม่ใช่ เรื่องยากที่ธุรกิจ SMEs จะลงทุน ที่ส�ำคัญ ธุรกิจ SMEs มีจุดเด่นตรงที่ถ้าน�ำข้อมูลที่มีมาใช้ประโยชน์ให้เร็ว และใช้งานได้จริง ก็ยิ่งได้เปรียบ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทขนาดใหญ่มีข้อมูลซับซ้อนมากกว่า และมีผู้ใช้ข้อมูลเป็น จ�ำนวนมาก ตรงจุดนี้บริษัทขนาดใหญ่ความคล่องตัวก็จะมีน้อยกว่าธุรกิจ SMEs แต่เจ้าของธุรกิจ SMEs ก็ต้องมี mindset และต้องเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องใช้เวลาในการ วางแผน ดังนั้น จึงต้องค่อยๆ ท�ำ และไม่ใจร้อน เพราะทุกอย่างต้องใช้เวลาในการสะสมข้อมูล และ ข้อมูลบางอย่างก็ไม่สามารถเก็บย้อนหลังได้ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามทุกอย่างชัดเจนก็จะเห็นประโยชน์ ของข้อมูลที่จะกลับมาได้ ที่ส�ำคัญข้อมูลที่ธุรกิจ SMEs ใช้ ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็น Big Data และ แม้จะใช้ข้อมูลที่เป็น Big Data ได้ แต่ในแง่ของการเข้าไปดึงข้อมูลมาใช้ ก็ต้องยอมรับว่า Big Data ที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตก็ไม่ได้เป็นข้อมูลที่องค์กรสร้างหรือเก็บขึ้นเอง
ดังนั้น ข้อมูลที่ธุรกิจ SMEs จะจัดเก็บก็ควร ต้องดูว่ามีข้อมูลรูปแบบใดบ้างที่มีประโยชน์ต่อ การท�ำงาน อย่างเช่น ถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ ลูกค้าก็ควรจะรู้ว่าลูกค้าของเราเป็นใคร เป็นคน แบบไหน ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วจะซื้อ สินค้าชิ้นอื่นด้วยหรือไม่ ยิ่งถ้ารู้ว่าเขาซื้อสินค้า ชิ้ น นี้ แ ล้ ว มี โ อกาสซื้ อ สิ น ค้ า ชิ้ น อื่ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ จะได้หาวิธีที่จะขายสินค้าพร้อมกัน ซึ่งจะ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการท�ำงานอย่างยิ่ง เพราะลูกค้าอาจจะไม่กลับมาซื้ออีก แต่เมื่อขาย พร้อมกันได้ก็จะการันตีได้ว่าสามารถขายสินค้า นั้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้อย่าง เป็นรูปธรรมนี้เชื่อว่าผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ต้องการอยู่แล้ว การออกแบบใช้ประโยชน์จากข้อมูล เริ่มจากการตั้ง “ค�ำถาม”
การท�ำฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในธุรกิจ SMEs จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพได้ นั้ น ก็ ต ้ อ งเริ่ ม จากการ ก�ำหนดโครงสร้างข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการ ท�ำงาน ไม่ใช่เก็บข้อมูลที่เป็นขยะ มิฉะนั้นไม่ว่า จะซือ้ ซอฟต์แวร์อะไรก็ตามเพือ่ ท�ำ data mining ก็จะไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้น การออกแบบ โครงสร้างข้อมูลก็ต้องเริ่มจากการตั้งค�ำถาม และต้องมาดูว่าข้อมูลสามารถตอบโจทย์ที่เป็น ค�ำถามได้หรือไม่ ถ้าธุรกิจ SMEs มีโจทย์ตอ้ งการ ลดค่าวัตถุดบิ ให้ได้มากทีส่ ดุ ก็อาจมาดูวา่ ควรซือ้ วัตถุดิบอะไร เมื่อไหร่ ถ้าวัตถุดิบบางอย่างซื้อ แล้วเก็บสต็อกได้ ไม่เสีย หรือบางอย่างซื้อแล้ว เก็บไม่ได้ ก็ไม่ซื้อ หรือถ้าจะซื้อจะซื้อร้านไหนที่ สามารถต่อรองราคาได้
นอกจากนี้ ข้ อ มู ล บางอย่ า งอาจจะดู ไ ม่ เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ถ้ารู้แล้วเป็นประโยชน์ก็ ควรเก็บข้อมูลนัน้ ไว้ อย่างเช่น ถ้ารูว้ า่ เมือ่ อากาศ ร้อน ไก่จะไข่น้อยลง ถ้ารู้ข้อมูลเช่นนี้ก็จะซื้อ ไข่ไก่ให้มากในช่วงที่อากาศไม่ร้อน หรือถ้าเป็น ร้านทีม่ สี าขาก็ควรรูว้ า่ ช่วงเวลาใดของวันทีล่ กู ค้า จะเข้าออกสูงสุด และควรรู้ว่าเวลาการนั่งโต๊ะ ของลูกค้าแต่ละรายจะนานเท่าไหร่ ดังนั้น ควรเริ่มจากการตั้งค�ำถามและมา วิเคราะห์ระบบ ซึง่ ข้อมูลอาจได้มาจากเครือ่ งคิด เงินหรือ POS (Point of Sale) ก็สามารถรูข้ อ้ มูล เกีย่ วกับเวลาผูม้ าใช้บริการได้ เช่น ถ้าลูกค้ามา 4 คน นั่งประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้ามา 5 คนใช้เวลานั่ง ประมาณชั่วโมงครึ่ง ข้อมูลที่ได้ก็สามารถน�ำมา ปรับปรุงการใช้พื้นที่ได้ โดยไม่ต้องมีเก้าอี้ 5 คน การออกแบบพืน้ ทีร่ า้ นก็มเี ก้าอีใ้ ห้นงั่ สบายๆ แค่ 4 คน เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ โดยการตั้งค�ำถามก่อนล่วงหน้าว่าข้อมูลที่จะ เก็บควรมีอะไรบ้าง มีประโยชน์ต่อการบริหาร จัดการธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างมาก ข้อมูลที่ ธุรกิจ SMEs ใช้งานจริงอาจมีไม่มากถึงขั้นเป็น Big Data แต่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลใน ขนาดที่เป็น Small Data ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิ ท ธิ ผ ลสู ง สุ ด แค่ นี้ ก็ เ พิ่ ม ขี ด ความ สามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้…
B-CONNECT MAGAZINE
047
B-Talk
อรรถการ สัตยพาณิชย์
นัทฤทัย ทวีฤทธิ์กุล นิยมไทย สร้างคลื่นแห่ง “ความรัก” เพื่อผู้ฟังที่หัวใจมี “ความรัก”
จุดเด่นของเครือข่าย BNI คือการมีผบ ู้ ริหารองค์กรธุรกิจต่างๆ มารวมกัน และท�ำให้เกิดการแบ่งปันความคิด ช่วยเหลือ สนับสนุนซึง ่ กันและกัน การเปิดกว้างให้สมาชิกทีอ ่ ยูใ่ นธุรกิจแตกต่างกันเข้ามาร่วมพบปะกัน จึงไม่แปลกทีจ ่ ะได้พบเห็นอาชีพ สื่อมวลชนเข้าไปเป็นสมาชิกอยู่บ้าง คุณนัทฤทัย ทวีฤทธิ์กุล นิยมไทย ผู้บริหารคลื่น Love OK Click Station 96.75 MHz จังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกและ ก�ำลังหลักของเครือข่าย BNI ในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ยอมรับว่าการเข้ามาร่วมงานกับ BNI ช่วยให้เกิดการแบ่งปัน ในการเรียนรู้ ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ การตลาด และเป็นที่มาของการ Rebranding และ Repositioning สถานีใหม่ จาก OK Click Station ไปเป็น Love OK Click Station จนท�ำให้ทุกวันนี้ สถานีมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และช่วยให้ธุรกิจพัฒนาอย่างก้าวกระโดด >สืบสานจิตวิญญาณสือ ่ มวลชนจาก คุณพ่อ
คุ ณ นั ท ฤทั ย ไม่ ไ ด้ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาด้ า น สื่ อ สารมวลชนโดยตรง แต่ ผู ้ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลทาง ความคิดให้ก้าวเข้าสู่วงการนี้คือ คุณพ่อณรงค์ นิยมไทย อดีต ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ ทีไ่ ด้เริม่ ต้น จากการเป็นนักข่าว นักจัดรายการวิทยุ ก่อนที่ จะลงสนามในฐานะนักการเมือง เมือ่ คุณนัทฤทัย ได้เข้าวงการในฐานะนักจัดรายการวิทยุใหม่ๆ จึงจัดรายการอย่างหลากหลาย ไม่วา่ จะเป็นการ จัดรายการข่าว เพลงลูกทุ่ง เพลงสากล เพลง สตริง ก่อนที่จะมาท�ำคลื่นวิทยุชุมชนภายใต้ชื่อ OK Click Station ในระยะแรกสถานีจะเปิดเพลงแนว Easy Listening เป็นหลัก จนเข้ามาเป็นสมาชิก BNI และได้แลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมองกับสมาชิกที่ อยู่ Chapter Winner ด้วยกัน ในที่สุดก็ได้น�ำ ความคิดเห็น แนวทางการท�ำงานต่างๆ ทีไ่ ด้จาก BNI มาใช้ในการ Rebranding เปลีย่ นเป็น Love OK Click Station และท�ำให้คุณนัทฤทัยเข้าใจ ปรัชญา BNI ที่ว่า “Giver Gain การเป็นผู้ให้... ผู้ให้คือผู้ที่ได้รับ” มากขึ้น
048
B-CONNECT MAGAZINE
นอกจากจะมีการ Rebranding ชือ่ ใหม่แล้ว ยังมีการ Repositioning สถานี Love OK Click Station ให้มีความชัดเจนขึ้น โดยเน้นในเรื่อง ความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักของหนุ่มสาว รัก พ่อแม่ รักเพื่อน รักสัตว์ และเมื่อคอนเซ็ปต์ของ สถานีชัด จึงท�ำให้กิจกรรมต่างๆ มีความชัดเจน ตามไปด้วย “เมื่อหมุนมาเจอคลื่น Love OK Click Station ทีเ่ ป็นรักทีใ่ ห้พลัง ให้กำ� ลังใจ แล้วมีการ แชร์เรือ่ งราวของความรักทีเ่ กิดพลังก็จะท�ำให้คน รูส้ กึ มีความสุข และความรักจะเป็นแรงดึงดูดให้ เรามีแฟนคลับมากขึ้น ผู้สนับสนุนเขาก็จะมา ท�ำกิจกรรมกับแฟนคลับเรา เมื่อก่อนเราพุ่งเป้า ไปที่ลูกค้า คุณต้องการอะไร เราท�ำให้ได้หมด แต่ตอนนีเ้ ราไม่สน เราสนว่าแฟนคลับเราคือใคร แล้วเราจะท�ำอะไรกับเขา จึงเป็นที่มาของการ ท�ำ Event ของสถานีร่วมด้วย ผู้สนับสนุนก็มี Event มาร่วมด้วยกัน เขาก็จะยิง่ เชือ่ มัน่ เรามาก ขึน้ เหมือนพีม่ าตรงจุดตรงทาง เพราะได้มมุ มอง ทีด่ จี ากเพือ่ นนักธุรกิจทีเ่ ขามี feedback กลับมา หลายๆ ช่องทาง”
และนอกจากธุ ร กิ จ สถานี วิ ท ยุ แ ล้ ว สิ่ ง ที่ คุ ณ นัทฤทัยท�ำอีกอย่างหนึ่งก็คือ การท�ำการตลาด และจัดจ�ำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าภายใต้ แบรนด์ Toyotron โดยให้ หุ ้ น ส่ ว นบริ ษั ท เข้ามาเป็นสมาชิก BNI ใน Chapter Winner ด้วยเช่นกัน “ตอนแรกพี่เข้ามาในนาม Love OK Click หลั ง จากนั้ น มี ก ารจองพื้ น ที่ ซึ่ ง ต้ อ งใช้ ธุ ร กิ จ ที่ ไม่ซ�้ำกัน มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพี่มองว่าไม่ซ�้ำใคร ง่ายๆ ระเบียบคือ ต้องมีประมาณ 35 ธุรกิจ ขึน้ ไป แต่ ณ วันนัน้ มี 34 เอง เลยคุยกับ Director ว่าเป็นไปได้ไหมถ้ามีอีกธุรกิจที่ท�ำอยู่ ซึ่งท�ำมา มากกว่า 5 ปี พี่จะให้คนที่มีอ�ำนาจตัดสินใจ เข้ามา เขาเลยขอสัมภาษณ์ดู mindset ได้ไหม พอผ่านตามระเบียบก็เข้ามาในนามของ Toyotron แต่ พ่ี ก็ ม องว่ า เขาอาจจะไม่ แ ข็ ง เรื่ อ งนี้ ก็เลยสลับกันกลายเป็นพีเ่ ป็น Toyotron เขาเป็น Love OK Click แต่ก็เหมือนกับพี่ดูควบทั้งสอง อย่างแล้วให้คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย”
นัทฤทัย ทวีฤทธิ์กุล นิยมไทย
ผู้บริหารคลื่น Love OK Click Station 96.75 MHz จังหวัดเชียงใหม่
B-CONNECT MAGAZINE
049
>กลยุทธ์การบริหารธุรกิจ
คุณนัทฤทัยถ่ายทอดแนวคิดกลยุทธ์การบริหารธุรกิจเพื่อเป็นการแชร์ประสบการณ์ให้แก่ผู้ที่ สนใจในธุรกิจสถานีวิทยุ และรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าว่าในที่สุดแล้วการรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของเราคือใคร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะประสบความส�ำเร็จ “กลยุทธ์แรกคือท�ำการตลาดของเราให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราท�ำอยู่แล้วแต่ไม่ชัดเจน พอตรงกลุ่มเป้าหมาย สื่อสารไปที่กลุ่ม และใช้ความรักเป็นตัวขับเคลื่อน ท�ำให้แฟนรายการ หรือผู้ฟังรู้สึกมีพลัง มีไอเดีย และยังดึงมาร่วมท�ำ Event ได้” ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของสถานี Love OK Click Station จะเป็นกลุ่มผู้ฟังอายุ 30-60 ปี กลุ่มเป้าหมายรองเป็นกลุ่มวัยรุ่น อายุ 18-20 ปี รูปแบบรายการ 50 นาทีจะเปิดเพลงเก่า 90% มีทั้งเพลงไทยและเพลงสากลมาเปิดรวมกัน การต่อเพลงจะใช้วิธีการแทรก jingle คั่นก็สามารถ ปรับอารมณ์ได้โดยไม่สะดุด และในฐานะที่คุณนัทฤทัยเป็นประธานชมรมผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียง เขต 9 เชียงใหม่ ล�ำพูน แม่ฮ่องสอนด้วย ยังฉายภาพให้เห็นสภาพการแข่งขันของสถานีวิทยุในจังหวัดเชียงใหม่ โดย เฉพาะคลืน่ วิทยุชมุ ชนทีม่ มี ากถึง 161 สถานีวา่ มีการแข่งขันกันทีร่ นุ แรงมาก เมือ่ ประกอบเข้ากับการ ที่เชียงใหม่ยังเป็นเมืองที่มีผู้ฟังวิทยุอยู่ทั้งกลุ่มวัยรุ่น ผู้สูงอายุ และวัยท�ำงาน ดังนั้น ถ้าเนื้อหาหรือ content ในรายการไม่ดี หรือไม่มีจุดขาย ก็ยากที่จะประสบความส�ำเร็จ “พี่มองว่าจุดแข็งอย่างหนึ่งคือพี่เป็นสถานีข่าวด้วย มีข่าวต้นชั่วโมงภาษาถิ่นแล้วท�ำข่าวเอง และเราใช้วิธีให้สถานีอื่นส่งข่าวเข้ามา ข่าวเราจึงหลากหลาย ช่วงเช้าพี่มีการท�ำข่าวภาษาถิ่น โดย Love เป็นแม่ข่าย ทั้งหมด 150 สถานี เขาเกาะสัญญาณพี่ แม่แจ่ม ฝาง แม่ฮ่องสอน พะเยา ล�ำพูน ฟังพี่ได้ ในอ�ำเภอพร้าวมี 8 คลื่น ฟังคลื่นไหนก็ได้จะได้ยินเสียงพี่จัดรายการ เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ว่า ไม่ได้ยิงสปอต ไม่ได้หารายได้ แต่จะขอสนับสนุนเป็นเชิง CSR ร่วมกัน ตอนนี้มี 3 บริษัทใหญ่ๆ ที่เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนรายปี ท�ำมาปีกว่าๆ เพิ่งจะเห็นชัดเจน ต้องใช้เวลา” และส�ำนักข่าวภาษาถิ่นที่น�ำเสนอข่าวต้นชั่วโมงโดยการอู้ก�ำเมืองนั้น คุณนัทฤทัยกล่าวอย่าง ภาคภูมิใจและยืนยันว่า Love OK Click Station เป็นเจ้าแรกที่ท�ำ นอกจากนี้การจัดรายการ ของสถานียังมีการจัดสดผ่านกล้องเว็บแคม มีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้สามารถฟังออนไลน์ทางเว็บ รวมทั้งมีแอปพลิเคชันฟังผ่านมือถือได้ จะเห็นได้ว่าสามารถติดต่อสื่อสารได้หลากหลายช่องทาง ทั้งผ่าน Event ที่มีการจัด Event ใหญ่ ปีละ 4 ครั้ง มีท�ำบุญ แชะ แชร์ ชิม เน้นกลุ่มวัยรุ่น มีกิจกรรม Love Mom เป็นการท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมร่วมกันช่วงเดือนสิงหาคม ในเดือนพฤศจิกายน จะมีคอนเสิร์ตเล็กๆ แนว Retro ให้แก่กลุ่มผู้ฟังและผู้ที่สนใจ รูปแบบวิธีการขอเพลงก็มีการหยิบเสน่ห์การขอเพลงสมัยก่อนมาใช้ โดยผู้ที่โทรมาขอเพลง ในรายการจะขออัดคลิปเสียงไว้ เพื่อเอาไปเปิดแล้วต่อด้วยเพลงที่ขอ ซึ่งเป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งในการ มอบเพลงรักให้แก่คนที่รักเพื่อให้เกิดเป็นพลังรัก และช่วยดึงกระแสผู้ฟังได้ ส�ำหรับแนวคิดการรุกตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คุณนัทฤทัยได้เล่าให้ฟงั ถึงกลยุทธ์ทางการตลาด ว่าได้เรียนรูจ้ าก BNI โดยเริม่ จากการวางแผนการผลิต การวางแผนการตลาด และการขาย โดยเฉพาะ การวางแผนการขายจะดูช่วงเวลาที่กลุ่มลูกค้านิยมซื้อ เพื่อวางแผนให้สัมพันธ์กัน ซึ่งจากการที่ท�ำ เช่นนีก้ ท็ ำ� ให้มยี อดขายเพิม่ ขึน้ อีกเท่าตัว และสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความส�ำคัญกับการท�ำให้ลกู ค้า เกิดความพึงพอใจสูงสุด >BNI ฝึกให้ท�ำการตลาดแบบบอกต่อ
คุณนัทฤทัยได้สรุปให้เห็นข้อดีของการเข้ามาเป็นสมาชิก BNI ว่านอกจากมีการช่วยเหลือเกือ้ กูล กันแล้ว การมารวมกลุ่มกันยังเป็นการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี “อย่างแรกนักธุรกิจมุ่งหวังเป้า ยอดขาย การเติบโต ถ้าคุณต้องการสิ่งเหล่านี้ BNI เทรนให้รู้จัก การตลาดแบบบอกต่อ คุณสามารถมี Marketing ที่เป็น CEO ของแต่ละบริษัทคอยช่วยคุณ คือคุณ
050
B-CONNECT MAGAZINE
ยิ่งให้ คุณยิ่งได้รับ นอกจากได้ยอดธุรกิจแล้วยัง ได้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักธุรกิจ ซึ่งจะ คัดกรองคนที่มีคุณภาพเข้ามาอยู่ร่วมกัน เราไม่ ไ ด้ เ น้ น เข้ า มาขายของตั ว เราเอง แต่เน้นให้เพื่อนเข้าใจธุรกิจของเราแล้วเพื่อน เราอีก 60 บริษัทจะไปเป็น Marketing ให้เรา มันกลับมาแบบเท่าทวีคณ ู ปัจจัยส�ำคัญต่างๆ คือ ได้พฒ ั นาตัวเอง บางคนพัฒนาแบบก้าวกระโดด บางคนพัฒนาจนสามารถน�ำไปปรับใช้ในองค์กร และเพิ่มยอดขาย เพิ่มความเชื่อถือ บางคนได้ งานระดับประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าการ พัฒนาตัวเอง ไปเจอ President คนหนึง่ มีเลข 8 ทีห่ น้าอก พี่ก็ถามว่าได้มา ยังไง เขาบอกอยู่มา 8 ปี ซึ่งพี่ ชอบค�ำที่เขาพูดว่า อย่าเอาตัวเราเข้าไปสู่ระบบ ให้เอาระบบ BNI เข้ามาสู่งานเรา แล้วเราจะ มีความสุขกับมัน เขาบอกว่าปีแรกที่เข้ามาท�ำ เขาได้ยอดธุรกิจ 30% ซึ่งถือว่าเยอะ ปีที่ 2 เขาได้ 100% เต็ ม ปี ที่ 3 ได้ 100% เต็ ม หลังจากนั้นเขาไม่เคยวิ่งหาลูกค้าเลย ลูกค้า วิ่งมาหาเขาอย่างเดียว” นับเป็นอีกหนึ่งบทเรียนธุรกิจที่สะท้อนให้ เห็นความหลากหลายในการท�ำธุรกิจของสมาชิก BNI และทุกธุรกิจต่างมี Secret Code ทีแ่ ตกต่าง กัน คุณนัทฤทัย ทวีฤทธิ์กุล นิยมไทย ได้สะท้อน ให้เห็นแล้วว่าการท�ำการตลาดแบบ Outside in ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางนับเป็นหัวใจส�ำคัญ ในการด�ำเนินธุรกิจ ไม่เว้นแม้กระทัง่ ธุรกิจสถานี วิทยุ และรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า.....
B-Talk
อรรถการ สัตยพาณิชย์
กรชัย วิกัยกิจสกุล ผลิตน้ำ�ดื่ม ยุค 4.0 ด้วยแนวคิด C.R.D.M. B-CONNECT MAGAZINE
051
>น�ำแนวคิด C.R.D.M. มาใช้ในการ ผลิต
ขวด PET ชื่อที่คุ้นเคยกันในทุกวันนี้ท�ำมาจาก PET หรือ Polyethylene terephthalate ซึ่ ง เป็ น วั ต ถุ ดิ บ ที่ นิ ย มน� ำ มาใช้ ใ นการผลิ ต ขวดบรรจุ น�้ ำ ดื่ ม น�้ำมันพืช และเครื่องส�ำอางมาตั้งแต่ ค.ศ. 1967 เนื่องจากมีคุณสมบัติทนแรง กระแทก ไม่เปราะแตกง่าย และด้วยคุณสมบัติใส มองเห็นสิ่งที่บรรจุภายในได้ จึงมีการน�ำ PET มาใช้ในวงการบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 21 กันยายน 2559 รายงานจ�ำนวน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกในเมืองไทยว่ามีทั้งหมด 4,359 ราย แม้ผู้ผลิตขวด PET จะเป็นส่วนหนึง่ ของผูป้ ระกอบการทัง้ หมดก็ตาม แต่กต็ อ้ งยอมรับว่าสมรภูมริ บนีย้ งั ต้องขับเคีย่ ว ทั้งในด้านการสร้างความแตกต่าง และการใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเพื่อเพิ่มรายได้ให้มีมากกว่าการ ขายแค่บรรจุภัณฑ์ บริษทั ในเครือไวกุล นับได้วา่ เป็นหนึง่ ในผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายบรรจุภณ ั ฑ์พลาสติกทัง้ ประเภท PET และ PP (Polyprolene) ทีต่ อ้ งเผชิญกับการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และทางออกหนึง่ ทีจ่ ะเพิม่ ความ สามารถในการแข่งขันให้มมี ากขึน้ ได้กค็ อื การตัง้ บริษทั ทีด่ แู ลด้านการจัดการการตลาดขึน้ ภายใต้ชอื่ บริษัท ไวกุล ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จ�ำกัด โดยมีคุณกรชัย วิกัยกิจสกุล เป็นกรรมการผู้จัดการ เพื่อ เพิ่มมูลค่าการผลิตบรรจุภัณฑ์ PET ให้ออกมาทั้งในรูปแบบการรับจ้างผลิตน�้ำดื่ม private brand และการกระจายสินค้า นอกจากนีย้ งั มีโครงการทีจ่ ะเปิดตัวน�ำ้ ดืม่ และน�ำ้ แร่ ภายใต้ชอื่ แบรนด์ “ไทย” โดยใช้แนวคิด “สิ่งที่ดีที่สุดมาจากบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุด” ออกมาจ�ำหน่ายอีกด้วย
052
B-CONNECT MAGAZINE
ในส่วนบริการรับจ้างผลิตน�้ำดื่มให้ลูกค้า บริ ษั ท ฯ ได้ ส ร้ า งความแตกต่ า งในการน� ำ กระบวนการผลิตภายใต้แนวคิด C.R.D.M. มา ใช้ แนวคิด C.R.D.M. ประกอบด้วย C-Consult เป็นการเริ่มต้นด้วยการให้ค�ำปรึกษาด้านสินค้า และการบริการ เพื่อช่วยเลือกสินค้าที่เหมาะสม แก่ลูกค้า R-Research ให้บริการวิจัยเพื่อช่วย วิเคราะห์ตลาดและสินค้า ก่อนการออกแบบหรือ เลือกสินค้าประเภทบรรจุภณ ั ฑ์เพือ่ ให้เหมาะสม กับยุคสมัยและตอบโจทย์ผู้บริโภค D-Design ช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่แค่การให้ความ ส�ำคัญกับความสวยงามและความแปลกตา แต่ ยังเน้นมาตรฐานและภาพลักษณ์ตัวสินค้าให้ดู มีเอกลักษณ์ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้ แก่ผู้บริโภคได้ และ M-Manufacture ให้ความ ส�ำคัญกับกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานการ รับรองและควบคุมคุณภาพสินค้าทุกขั้นตอน ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่การควบคุมเม็ด พลาสติก การคัดเลือกและตรวจสอบอุณหภูมิ การผลิต และมีใบรับรองการตรวจสอบทุกครั้ง ที่ผลิตส่งตรงถึงลูกค้า คุ ณ กรชั ย อธิ บ ายแนวคิ ด C.R.D.M. ว่ า แตกต่างจากการผลิตแบบ OEM ตรงที่กระบวน การคิด C.R.D.M. ไม่ใช่แค่รบั จ้างผลิตให้แบรนด์ ลูกค้า แต่ใส่ใจคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิต และมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับ ความต้องการของผูบ้ ริโภค โดยท�ำหน้าทีค่ วบคุม การผลิตในทุกขัน้ ตอนแทนลูกค้า ดังนัน้ ลูกค้าที่ จ้างผลิตจะสามารถเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ของ ตัวเองที่มีคุณภาพได้
แม้ ก ระบวนการผลิ ต ภายใต้ แ นวคิ ด C.R.D.M. จะเกิดขึน้ ในต่างประเทศ และส่วนใหญ่ มักจะใช้กับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ ก ารน� ำ กระบวนการคิด นี้ม าใช้ใ นบ้านเรา คุณกรชัยได้น�ำมาท�ำงานกับลูกค้าที่เป็น SMEs แม้จะดูยอ้ นแย้งกับพฤติกรรมของผูป้ ระกอบการ ชาวไทยที่ต้องการ finished product ที่ได้ รวดเร็ว แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น แม้จะใส่ กระบวนการคิด C.R.D.M. เพื่อแลกกับคุณภาพ ที่จะได้มา ก็ไม่ได้ท�ำให้กระบวนการผลิตล่าช้า ออกไปเท่าใดนัก แม้ว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมน�้ำดื่มจะมีคู่ แข่งขันหลักๆ ไม่กี่แบรนด์ แต่คุณกรชัยมองว่า คุณภาพของน�ำ้ ดืม่ แบรนด์ตา่ งๆ ก็ไม่ได้แตกต่าง กันมากนัก แต่สิ่งที่ดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เกิดความสนใจในตัวน�้ำดื่มได้อย่างหนึ่งก็คือ packaging เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ดีเป็นจุดสัมผัส กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์ ของคนสมัยนี้ก็ไม่ใช่แค่การดื่มน�้ำ แต่ถ้าเห็น บรรจุ ภั ณ ฑ์ ห รื อ ฉลากที่ ส ามารถสร้ า งแรง บันดาลใจในการด�ำเนินชีวิตให้มีมากขึ้น หรือ แม้แต่รูปทรงที่แตกต่างก็อาจจะท�ำให้เกิดการ ตัดสินใจซื้อได้ เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์น�้ำดื่ม จึงเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็สามารถมีแบรนด์ของ ตัวเองได้ และปริมาณการผลิตให้ลูกค้าก็จะเริ่ม ในการจัดส่งขัน้ ต�ำ่ ประมาณ 100 แพ็ค ยิง่ จ�ำนวน เพิม่ ขึน้ ราคาก็จะลดลง ผันแปรตามจ�ำนวนทีส่ งั่
คุณกรชัยเชื่อว่าน�้ำดื่มทั่วไปอาจจะแข่งขัน ในเรื่องราคา แต่ผู้บริโภคจ�ำนวนไม่น้อยก็มอง ความคุ้มค่า ไม่ได้มองในเรื่องราคาเสมอไป “ในมุมของไวกุล เรามองด้านราคาว่าถ้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าคุ้มกับมูลค่าก็จะเลือก ซื้อ ยกตัวอย่าง น�้ำดื่ม for one day ไวกุลท�ำ แคมเปญนี้ เราไม่ท�ำ packaging ที่เป็นโหล แต่ ท�ำที่หยิบมาเลยหนึ่งแพ็ค นี่คือน�้ำดื่ม for one day ส�ำหรับคุณ มีขวด 600 กับ 400 มิลลิลิตร ส�ำหรับผู้หญิงหิ้ว packaging นี้ไปพอส�ำหรับ การดื่มน�้ำใน 1 วัน ใส่ความรู้เพิ่มเข้าไป พวกนี้ ก็เป็น target group อีกส่วนหนึ่ง” คุณกรชัย ย�้ำในความเชื่อที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง ด้วยคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ขวดน�้ำดื่มของ โรงงานไวกุลที่การันตีว่าเก็บรสชาติของน�้ำโดย ไม่เปลี่ยนได้นานถึง 2 ปี จึงช่วยให้น�้ำดื่มที่ผ่าน กระบวนการ RO หรือ Reverse Osmosis จาก แหล่งผลิตธัญบุรี และน�้ำแร่จากยะลา เมื่อถูก ห่อหุม้ ด้วยขวดทีป่ อ้ งกันความร้อนของแสงแดด ได้ จึงท�ำให้น�้ำดื่มส่งไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่าง มั่นใจ โดยในระยะแรกคุณกรชัยตั้งเป้าส่วนแบ่ง ทางการตลาดไว้ประมาณ 12% ทั้งการผลิตให้ ลูกค้าภายใต้แนวคิด C.R.D.M. รวมทั้งการผลิต ภายใต้แบรนด์ “ไทย” โดยผ่านลูกค้าทุกกลุม่ ทัง้ ช่องทางลูกค้าที่ท�ำธุรกิจโรงแรม ธุรกิจยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรม และผู้บริโภคทั่วไปด้วยการ ขายแบบเจาะตรง
>น�้ำดื่มแบรนด์ “ไทย” ผลิตผลจาก แนวคิด C.R.D.M.
>เข้าสู่ยุค 4.0 น�ำโปรแกรมบริหาร ลูกค้ามาใช้
การสร้างแบรนด์นำ�้ ดืม่ “ไทย” เป็นสิง่ หนึง่ ที่ จะท�ำให้กลุม่ ลูกค้าเป้าหมายเข้าใจกระบวนการ ผลิตภายใต้แนวคิด C.R.D.M. มากขึ้น ส่วน กลยุทธ์หนึ่งที่จะน�ำมาใช้ในการสร้างแบรนด์ ก็คือ การท�ำโครงการ CSR กับเด็กด้อยโอกาส ทางการศึกษา ซึ่งสามารถน�ำมาผูกโยงกับน�้ำดื่ม “ไทย” ได้ นอกจากนี้การขยายตลาดก็เน้นกลุ่ม ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นกลุม่ ลูกค้าทีท่ ำ� ธุรกิจสังฆทาน กลุ่มโรงแรม และกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย
คุณกรชัยได้กล่าวถึงระบบโปรแกรมบริหาร งานขายและ CRM ชือ่ Salesforce ทีบ่ ริษทั ฯ น�ำ มาใช้เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้แก่ลกู ค้า โดยเฉพาะ ลูกค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่ อ ลดความกั ง วลในเรื่ อ งกระบวนการผลิ ต การขนส่ง การติดต่อสือ่ สาร เนือ่ งจากโปรแกรม นี้ลูกค้าสามารถเช็กสถานะได้แบบ Real Time ตลอด 24 ชั่วโมงว่าผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าให้ผลิต นัน้ อยูใ่ นขัน้ ตอนใด นอกจากนีส้ ามารถสัง่ สินค้า ออนไลน์ได้ตลอดเวลา โดยการจัดส่งทัว่ ประเทศ ใช้เวลาเพียง 3 วัน
เมื่อน�ำโปรแกรมดังกล่าวมาท�ำงานร่วมกับ แนวคิด C.R.D.M. จึงสร้างความมั่นใจให้แก่ ลูกค้าได้ ตัง้ แต่กระบวนการผลิต กระบวนการขอ ใบรับรองคุณภาพน�้ำดื่ม โดยบริษัทฯ จะด�ำเนิน การขอเครื่องหมาย อย. HACCP และฮาลาล ให้ และยังสร้างความเชื่อมั่นในด้านมาตรฐาน บรรจุ ภั ณ ฑ์ โดยการแจ้ ง ให้ ลู ก ค้ า ได้ รั บ รู ้ ถึ ง รายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพเม็ดพลาสติก และ ในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้อง ไม่วา่ จะเป็นฉลาก หรือฝาปิด ตลอดจนถึงขั้นตอนการสั่งสินค้าและให้บริการ อย่างครบวงจร โดยการแบ่งกลุม่ ลูกค้าเป้าหมาย บริษัทฯ จะแบ่งออกเป็น 5 ตลาดด้วยกันคือ กลุ่มทั่วไป ร้านอาหาร โรงแรม โรงเรียน และ กลุ่มอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตภายใต้แนวคิด C.R.D.M. และการใช้ ร ะบบการบริ ห ารจั ด การลู ก ค้ า เพื่อท�ำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ และพอใจใน กระบวนการการผลิต รวมถึงการสั่งซื้อสินค้า นับเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเศรษฐกิจ ในยุคดั้งเดิมไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อท�ำให้เกิดสินค้าหรือ บริการที่มีความแตกต่าง และเห็นได้ถึงการใช้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเพิ่ม คุณค่าหรือสร้างมูลค่า รวมถึงการสนับสนุน การใช้สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความคิด การออกแบบ ฯลฯ มาเป็นหลักในการพัฒนา สินค้าขององค์กร ซึง่ สอดคล้องกับการน�ำแนวคิด อุตสาหกรรม 4.0 ที่มีการขมวดรวมแนวคิด เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เข้ากับเศรษฐกิจดิจิทัล มาใช้ในกระบวนการผลิตและให้บริการได้อย่าง ลงตัว....
B-CONNECT MAGAZINE
053
Industrial Hub
อรรถการ สัตยพาณิชย์
ส.อ.ท. - สนพ.
ส่งเสริม
อนุรักษ์ พลังงาน ภาคอุตสาหกรรม ต้ น ทุ น การผลิ ต อั น เกิ ด จากการใช้ พ ลั ง งานที่ ไ ม่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ นั บ เป็ น ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ป ระกอบการ เสี ย เปรี ย บคู ่ แ ข่ ง ขั น ที่ ส ามารถใช้ พ ลั ง งานได้ อ ย่ า งคุ ้ ม ค่ า และบริหารต้นทุนการผลิตได้ต�่ำกว่า สถาบันพลังงานเพื่อ อุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จึ ง ได้ ร่ วมกับ ส�ำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน หรือ สนพ. กระทรวงพลังงาน จัดโครงการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม (Energy Point) ขึน้ ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม ถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ทีผ่ า่ นมา
054
B-CONNECT MAGAZINE
ENERGY POINTS
B-CONNECT MAGAZINE
055
แม้โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิน้ ไปแล้ว แต่ผลลัพธ์ทไี่ ด้จากการด�ำเนินโครงการนับว่าประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก ทัง้ ในด้านการกระตุน้ จิตส�ำนึก และในด้านจ�ำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ส�ำหรับโครงการ Energy Point ที่สองหน่วยงานได้จัดขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ประกอบการ SMEs ทัว่ ประเทศด�ำเนินกิจกรรมการอนุรกั ษ์พลังงานแบบง่ายๆ ได้ดว้ ยตนเอง และเป็นการวางรากฐานให้โรงงานได้มรี ะบบการจัดการพลังงานเบือ้ งต้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกลไกการจูงใจด้วยการสะสมคะแนน Point เพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ด้านพลังงาน
ให้ความรูก้ ารอนุรักษ์พลังงาน
อย่างจริงจัง
คุ ณ วี ร ศั ก ดิ์ โฆสิ ต ไพศาล รองประธาน ส.อ.ท. ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ได้กล่าวถึง การอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมว่าเป็น สิ่งส�ำคัญ เนื่องจากปัจจุบันภาคอุตสาหกรรม ยังคงมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผลการส� ำ รวจปั ญ หา และ อุ ป สรรคด้ า นการอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานของ ผูป้ ระกอบการทีไ่ ด้จาก “โครงการศึกษาแนวทาง การอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมแต่ละ ภูมิภาค” ยังพบว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการ ขาดแรงจูงใจในการด�ำเนินการอนุรักษ์พลังงาน เนื่ อ งจากไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ เกี่ ย วกั บ การ อนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง และเคยชินกับการ มีผู้มาด�ำเนินการอนุรักษ์พลังงานให้ เมื่อหมด ระยะเวลาที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ ก็กลับ ไปด�ำเนินการแบบเดิมๆ ตามความเคยชิน ท�ำให้ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานแย่ลง อีกทัง้ ถ้าไม่มี โครงการจากภาครัฐเข้ามาช่วย ผูป้ ระกอบการก็ ไม่ทราบแนวทางทีจ่ ะด�ำเนินการอนุรกั ษ์พลังงาน และไม่ทราบว่าจะขอค�ำแนะน�ำหรือหาความรูไ้ ด้ จากที่ใด
056
B-CONNECT MAGAZINE
จากปั ญ หาดั ง กล่ า ว สถาบั น พลั ง งาน เพื่ อ อุ ต สาหกรรม ส.อ.ท. จึ ง ช่ ว ยส่ ง เสริ ม และจูงใจให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ได้ด�ำเนินการอนุรักษ์พลังงานด้วยตนเอง และ ให้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการอนุ รั ก ษ์ พลังงาน โดยขอรับการสนับสนุนจากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อด�ำเนิน โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาค อุตสาหกรรม (Energy Point) เพื่อจูงใจให้ ผู ้ ป ระกอบการด� ำ เนิ น กิ จ กรรมการอนุ รั ก ษ์ พลังงานได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เพื่อแลกรับสิทธิ ประโยชน์ต่างๆ ด้านพลังงาน อาทิ การอบรม ให้ความรู้ด้านพลังงาน การเข้าเยี่ยมชมโรงงาน อนุรักษ์พลังงานดีเด่นในกลุ่มจังหวัดของตนเอง การให้ค�ำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ ยั ง มี อี ก หนึ่ ง สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือ การสนับสนุนเงินลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน โดยกองทุน เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานจะให้ เ งิ น สนับสนุนทันที 30% แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อแห่ง
ส� ำ ห รั บ แ น ว ท า ง ก า ร ส ะ ส ม ค ะ แ น น Energy Point ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วม ได้ โดยเริ่มตั้งแต่ ผู้ประกอบการสะสมคะแนน ครบอย่างน้อย 3 คะแนน ก็น�ำมาแลกรับสิทธิ ประโยชน์ต่างๆ ได้ และการได้คะแนนที่ 1 (Policy Point) เพียงแค่ผบู้ ริหารองค์กรประกาศ นโยบายด้านพลังงานก็รับคะแนนที่ 1 ได้ทันที จากนั้ น ถ้ า มี ก ารแต่ ง ตั้ ง ผู ้ ป ระสานงาน ด�ำเนินการด้านพลังงานในองค์กร ก็จะได้รับ คะแนนที่ 2 (Energy Man Point) และเมื่อ องค์ ก รมี ก ารจั ด ท� ำ แผนการอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งาน ประจ�ำปี ก็จะได้รับคะแนนที่ 3 (Planning Point) ซึ่งในทุกๆ ขั้นตอนจะมีตัวอย่างแนวทาง ให้ SMEs น�ำไปศึกษาและปรับใช้กับตนเอง ตามความเหมาะสม เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์ ต่างๆ ด้านพลังงาน โดยด�ำเนินการในพื้นที่ 18 กลุ ่ ม จั ง หวั ด และกรุ ง เทพมหานคร ซึ่ ง ช่ ว ยกระตุ ้ น ให้ ผู ้ ป ระกอบการได้ รั บ แนวทาง การอนุรกั ษ์พลังงาน สามารถด�ำเนินการได้อย่าง ต่อเนือ่ ง จริงจัง และส่งผลดีตอ่ ภาคอุตสาหกรรม ให้ลดการใช้พลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
สนพ. เข้าร่วมโครงการฯ ตัง ้ เป้าลดการใช้พลังงาน ดร.ทวารั ฐ สู ต ะบุ ต ร ผู ้ อ� ำ นวยการ ส�ำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวง พลังงาน ได้กล่าวถึงสถิติข้อมูลปี 2558 ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีผู้ประกอบการ ทัว่ ประเทศจ�ำนวน 140,000 แห่ง และประกอบ ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมมากถึงร้อยละ 35.56 โดยมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 35.9
ข้ อ มู ล สถิ ติ ป ี 2557 ของส� ำ นั ก งาน ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม (สสว.) รายงานตัวเลขจ�ำนวนผู้ประกอบการ SMEs ว่ามีมากกว่า 82,936 แห่งทั่วประเทศ แต่ ที่ ผ ่ า นมาผู ้ ป ระกอบการ SMEs จ� ำ นวน ไม่ น ้ อ ยที่ ยั ง ไม่ รู ้ แ นวทางการด� ำ เนิ น งาน ประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้จัดท�ำ เนื่องจากในบางบริษัท ผู้ประกอบการยังไม่เห็น แผนอนุรกั ษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (Energy ความส�ำคัญในการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง Efficiency Plan: EEP 2015) ขึ้น มีเป้าหมาย แม้โครงการดีๆ ที่ช่วยเพิ่มความสามารถ เพื่อลดความเข้มของการใช้พลังงาน (Energy ในการผลิต และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แก่ Intensity: EI) เมื่อเทียบกับปี 2558 ให้ลดลง ผู้ประกอบการ SMEs จะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่ ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 ซึง่ ก�ำลังส�ำคัญในการ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบทบาทของสภาอุตสาหกรรม ร่วมกันลดการใช้พลังงานของประเทศได้อย่าง แห่งประเทศไทยมีความชัดเจนมาโดยตลอด เป็นรูปธรรมก็คอื ผูป้ ระกอบการขนาดกลางและ ในฐานะผูท้ ชี่ ว่ ยส่งเสริมศักยภาพผูป้ ระกอบการ ขนาดย่อม หรือ SMEs ไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้
B-CONNECT MAGAZINE
057
BNI Connect
BNI Thailand หลังจากผ่านปี 2016 ประเทศไทย ก� ำ ลั ง เข้ า สู ่ ก ารเปลี่ ย นแปลงหลายๆ อย่ า ง ซึ่ ง จะเป็ น การก� ำ หนดอนาคต ของประเทศไทยในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า
การก้าวขึน้ สูป่ ที ี่ 11 ของ บีเอ็นไอ ประเทศไทย เองก็เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบริษัท หลังจากผ่านมา 10 ปี เราได้สร้างโอกาสการ เชื่อมต่อธุรกิจกันมากกว่า 3 แสนโอกาส ใน ประเทศไทย ที่ ส� ำ คั ญ ในปี 2016 เราเติ บ โตอย่ า ง ก้าวกระโดด ด้วย Magic Number น่าสนใจ คือ • สร้างโอกาสทั้งประเทศไทยถึง 1 แสนโอกาส หรือการเชื่อมต่อธุรกิจ • สร้างยอดธุรกิจถึง 5,000 ล้านบาท • สร้างยอดธุรกิจสะสมกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ตลอด 10 ปี • มียอดสมาชิกกว่า 1,300 รายทั่วประเทศไทย ในจั ง หวั ด ส� ำ คั ญ ๆ เช่ น กรุ ง เทพฯ, ภู เ ก็ ต , เชียงใหม่, พิษณุโลก, โคราช, เชียงราย และ สุโขทัย และมีแผนในการขยายไปยังหัวเมือง ใหญ่ๆ ใน 5 ปี ข้างหน้า มีคนถามผมว่า บีเอ็นไอ ประเทศไทย มี แผนงานและจะมีทิศทางอย่างไรในอีก 5 ปี ข้างหน้า ต้องบอกว่า ผมอยากจะเห็นบทบาทของกลุม่ ผูป้ ระกอบการบีเอ็นไอ ประเทศไทย และองค์กร บีเอ็นไอ ประเทศไทย กับการช่วยเหลือและ พัฒนาผู้ประกอบการไทยอื่นๆ ให้เดินหน้าสู่ ยุทธศาสตร์ชาติ “ประเทศไทย 4.0”
058
B-CONNECT MAGAZINE
2020
แต่จะเดินอย่างไร?
ผมมีเป้าหมายในการขยายเครือข่ายผูป้ ระกอบการบีเอ็นไอ ประเทศไทย ให้ได้ 17,500 ราย และ สามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ถึงปีละ 1 แสนล้านบาท โดยมีการท�ำงานระหว่าง เขตทั้งหมด 27 เขตพื้นที่ ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อ Turn Pro ผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ ท�ำไมผมถึงอยากจะขยายบีเอ็นไอไปเยอะขนาดนี้?
สิ่งที่ผมเชื่อมาตลอดคือ การที่เราจะประสบความส�ำเร็จ เราต้องอยู่ล้อมรอบด้วยคนดีๆ ทีม่ จี ติ แห่งการให้ และช่วยเหลือกันแบบจริงใจ การสร้างเครือข่ายผูป้ ระกอบการบีเอ็นไอ จึงเป็นการ พัฒนาผู้ประกอบการให้มีพื้นฐานที่ดีก่อน อาทิเช่น พฤติกรรมผู้ประกอบการ (Entrepreneur Behavior) การจะเติ บ โตและความยั่ ง ยื น ของธุ ร กิ จ มาจากความมี ร ะเบี ย บวิ นั ย ความสม�่ ำ เสมอ และ การตรงต่อเวลา ผมถูกสอนมาตลอดว่า เราไม่จ�ำเป็นต้องเก่ง เพียงแค่ขยันและท�ำแต่ละอย่างให้รู้ จริง เข้าใจสิง่ ทีเ่ ราท�ำจริงๆ เป็นผูช้ ำ� นาญในเรือ่ งนัน้ จริง นัน่ จึงจะน�ำไปสูน่ วัฒกรรมและความช�ำนาญ และมูลค่าที่สูงขึ้นต่องานหนึ่งชิ้นได้ การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด (Life Long Learning) การจะปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกยุคทุกสมัยนั้นคือการเรียนรู้ และวันนี้เราอยู่ในโลกของการเรียนรู้ ตลอดเวลา การเรียนรู้จะท�ำให้เรามีไอเดียใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น เห็นความเป็นได้ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนผู้อื่น ผมเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้บนสื่ออะไรก็ตาม รวมทั้ง การฝึกอบรม ฯลฯ เพราะผมเชื่อว่าธรรมชาติจะช่วยคนที่เตรียมความพร้อมของตนเองตลอดเวลา มากกว่าคนที่นั่งรอโอกาสเพียงอย่างเดียวแต่ไม่เตรียมความพร้อมของตนเอง ภาวะผู้น�ำ (Leadership) การทีผ่ ปู้ ระกอบการไทยจะก้าวไปสูก่ ารแข่งขันระดับประเทศและอาเชียนนัน้ เราต้องมีวสิ ยั ทัศน์และ ความสามารถในการน�ำทางทีมงานไปสู่จุดหมายปลายทาง ปัญหาคือผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ ไม่เคยมีประสบการณ์ในการฝึกการเป็นผู้น�ำ ไม่มีประสบการณ์ในการท�ำงานกับคนหลากหลาย ประเภท และการสื่อสารและสอนงานทีมงานให้เก่งขึ้นอย่างเป็นระบบก็ไม่มี จึงท�ำให้ชอบท�ำงาน ด้วยตัวเอง กลัวงานออกมาไม่ดี ท�ำให้มีข้อจ�ำกัดของขนาดธุรกิจที่รองรับการเติบโตในยุคปัจจุบัน ไม่ทันถ่วงที
จิตแห่งการให้ (Giving Spirit) การแข่งขันที่สูงท�ำให้ทุกคนกังวลและอยู่ในโลก ของการขาดแคลนและแย่งชิงกัน ผมเชื่อว่า การทีเ่ ราจะประสบความส�ำเร็จและเป็นทีจ่ ดจ�ำ ได้นั้น เราต้องเป็นผู้ให้และอยากช่วยเหลือผู้อื่น ก่อนที่จะคิดแต่จะเอาเงินของลูกค้าอย่างเดียว การที่เราจะสร้างนวัฒกรรมใหม่ๆ ต้องอยู่บน พื้นฐานของการให้ลูกค้าก่อน หรือช่วยเหลือ ลูกค้าก่อน ยิ่งเราให้ลูกค้าหรือผู้อื่นมากกว่า มูลค่าหรือสิ่งที่เราได้รับ แต่การเปลี่ยนความ คิดเป็นการให้ได้นั้นต้องท�ำให้ผู้ประกอบการ เชื่อก่อนว่า ทุกๆ อย่างมีเหลือเฟือและทุกๆ คนมี สิ ท ธิ ไ ด้ แ ละเขาต้ อ งมี พื้ น ฐานการเงิ น ที่ พอเพี ย ง ไม่ ติ ด ลบหรื อ เป็ น หนี้ เพราะคนที่ เป็นหนี้จะมีแต่ความกังวลและคิดถึงตนเองเป็น หลัก ต้องพัฒนาพืน้ ฐานการบริหารเงินและบัญชี และจิตใจไปพร้อมๆ กัน การท�ำงานเป็นทีม (Power of Collaboration) การก้าวกระโดดไปสูค่ วามส�ำเร็จทีเ่ ร็วและต้นทุน น้อยที่สุดคือการท�ำงานเป็นทีมหรือมีทีมที่คอย ช่วยเหลือเราในด้านต่างๆ สิ่งนี้ท้าทายในการ ท�ำให้เกิดขึน้ มากๆ ส�ำหรับผูป้ ระกอบการเพราะ ความไม่ไว้ใจกัน ประสบการณ์ในอดีตที่เคยถูก หลอกใช้หรือเอาเปรียบ อัตตา ตัวตนหน้าตา ที่ต้องการให้คนอื่นยอมรับ มากกว่าการรับฟัง ผู้อื่นและเข้าใจกัน จึงท�ำให้การไปสู่ขั้นนี้ล�ำบาก ที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่ง ที่ส�ำคัญในการก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 ใน ด้านเชิงกลยุทธ์ทาธุรกิจและการตลาดต่อไป ใน บีเอ็นไอ เราเน้นการสร้างวัฒนธรรมและสังคม แบบนีม้ าตลอด 10 ปีในประเทศไทย จนเกิดเป็น วัฒนธรรมทีผ่ ปู้ ระกอบการได้ซมึ ซับ และน�ำไปใช้ ในการท�ำงานในบริษทั ของเขาและเป็นส่วนหนึง่ ของวิถีการท�ำงานและชีวิต คุณลองคิดดูว่า เมื่อผู้ประกอบการท้องถิ่น มีสังคมและคนที่มีแนวความคิดดีๆ แบบนี้ใน แต่ละภูมิภาค ที่เน้นเรื่องของการให้และการ พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น มันจะท�ำให้เกิดความ เป็ น ไปได้ ม ากขนาดไหนในการท� ำ ธุ ร กิ จ ใน ประเทศไทย และการค้าขายแลกเปลีย่ นระหว่าง จังหวัดก็จะเกิดมากขึน้ เศรษฐกิจในประเทศไทย ก็จะเติบโตขึ้น
เมื่อเราเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งประเทศไทย ภายใน 3 ปีจากนี้ เราจะขยับไปสูก่ ารขยายธุรกิจ ไทยไปสู่ต่างประเทศโดยเน้นที่เพื่อนบ้านก่อน และขยายออกไปไกลขึ้น ท�ำไมหรือครับ?
นั่นเพราะผมเชื่อว่า การเริ่มต้นท�ำอะไร ใหม่ๆ ต้องเรียนรูแ้ ละพัฒนา ผูป้ ระกอบการไทย ส่วนใหญ่ไม่มีระบบในการบริหารงานสาขาหรือ กับตัวแทนที่อยู่ไกลออกไป ดังนั้นเราต้องเริ่ม เพิ่มระยะทางให้ไกลออกไปและเรียนรู้ระบบ การสื่อสาร การบริหารงาน การคัดเลือกคน การพัฒนาคน การเงิน และอื่นๆ ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องมีระบบในการ ท�ำงานที่ท�ำให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่า สามารถ ส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตามความ ต้องการของลุกค้าได้อย่างสม�่ำเสมอ และช่วย ตัวแทนหรือสาขาในการเติบโตไปพร้อมๆ กัน ส� ำ หรั บ ผู ้ ป ระกอบการที่ พ ร้ อ มเดิ น ทาง ทันที เราจะส�ำรวจตลาดทีผ่ ปู้ ระกอบการเหล่านี้ ต้องการจะไปเปิดตลาด และด้วยพลังเครือข่าย ของบีเอ็นไอ ที่มีอยู่มากกว่า 73 ประเทศ และ ก� ำ ลั ง ขยายไปยั ง ประเทศใหม่ ๆ เพิ่ ม มากขึ้ น ท�ำให้ผมสามารถช่วยเชื่อมโยงและติดต่อกับ ผู้น�ำของประเทศต่างๆ เหล่านั้น เพื่อจัดงาน Business Expo ระหว่างสมาชิกบีเอ็นไอในไทย กับประเทศต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งจะลงไปถึงระดับ ผู้ประกอบการในจังหวัดหรือเมืองนั้นๆ
กลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ผูก้ อ่ ตัง้ และประธานอ�ำนวยการ บีเอ็นไอ ประเทศไทย นั่ น คื อ สิ่ ง ที่ ผ มด� ำ เนิ น รอยตามเบื้ อ งพระ ยุ ค ลบาทของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อ ‘สืบสานสิ่งที่พ่อท�ำ’ ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุด มิได้ และเพือ่ ตอบแทนประเทศไทย แผ่นดินเกิด ในฐานะที่เกิดมาเป็นคนไทย
นั่ น คื อ สิ่ ง ที่ ผ มอยากเห็ น ภายในปี 2020
ท�ำไมผมจึงตื่นเต้นกับเรื่องนี้ นั่นก็เพราะ เมื่อมันส�ำเร็จและเกิดเป็นรูปธรรม สิ่งนี้ก็ก�ำลัง จะเปลี่ยนการท�ำธุรกิจจากการแข่งขันเป็นการ ให้และเราก�ำลังเปิดโอกาสให้กับธุรกิจท้องถิ่น สินค้าพืน้ เมือง ของดีในจังหวัดทีเ่ ริม่ จากความฝัน ของคนในครอบครั ว หรื อ ภู มิ ป ั ญ ญาชาวบ้ า น ให้ได้รับการพัฒนาขึ้นมา จนสามารถเชื่อมต่อ ไปยังตลาดทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ คนใน จังหวัดต่างๆ จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมีเวลา อยู่กับครอบครัวที่บ้าน ไม่ต้องมากระจุกตัวใน เมืองหลวง การกระจายรายได้จะเป็นไปอย่าง ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
ท้ายนี้ .... ขอให้ทก ุ ๆ คนมีความฝันและกล้าทีจ ่ ะฝัน ขอให้กล้าทีจ ่ ะฝันให้ใหญ่ เพราะมันตืน ่ เต้น และสนุกกว่าฝันเล็กๆ ขอให้ ส นุ ก กั บ ความฝั น และเชื่ อ มั่ น ใน ความฝันของคุณ เพราะนัน ่ คือเมล็ดพันธุเ์ มล็ดเล็กๆ ทีจ ่ ะ เติบโตขึน ้ และสร้างสิง ่ ดีๆ ให้กบ ั คนไทย ทัง ้ ประเทศ
B-CONNECT MAGAZINE
059
BNI Connect
อรรถการ สัตยพาณิชย์
สร้างธุรกิจในท้องถิ่น อย่างเข้าใจคนท้องถิ่น
บริษัท เอส เอ็น เอ็น ลีสซิ่ง จำ�กัด เมือ ่ จังหวัดหัวเมืองใหญ่มก ี ารเติบโต ทัง ้ ในด้านเศรษฐกิจ และก�ำลังซือ ้ ของผูบ ้ ริโภคทีม ่ ม ี ากขึน ้ จึงท�ำให้หลายปีทผ ี่ า่ นมา ธุรกิจบางประเภท จากทีเ่ คยมีทต ี่ ง ั้ ส�ำนักงานใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร และขยายสาขาไปยังต่างจังหวัด กลับกลายเป็น ในวันนีก ้ ลุม ่ ทุนท้องถิน ่ มองเห็นโอกาสในเชิงธุรกิจ และเริม ่ ต้นปักหมุดจากในพืน ้ ทีท ่ ต ี่ นเองคุน ้ เคย จนสามารถก่อร่างสร้างธุรกิจ มัดใจคนในท้องถิน ่ และมีฐานลูกค้าทีเ่ หนียวแน่น มิหน�ำซ�ำ้ ยังสามารถรุกตลาดจังหวัดใกล้เคียงอย่างเข้าใจคนในพืน ้ ที่ จนท�ำให้ มีสว่ นแบ่งทางการตลาดไม่แพ้บริษท ั จากส่วนกลาง
SNN Leasing ชื่อนี้ส�ำหรับคนที่อยู่ในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ต่างคุน้ หูและผ่านตาในฐานะ ผู้ประกอบธุรกิจลีสซิ่งระดับแถวหน้า ทั้งสินเชื่อ รถยนต์ สิ น เชื่ อ รถแทรกเตอร์ คู โ บต้ า และ สินเชื่อบ้านและที่ดิน โดยมีฐานบัญชาการอยู่ที่ จังหวัดพิษณุโลก มีคุณยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ เป็ น กรรมการผู ้ จั ด การ และคุ ณ นั น ท์ ม นั ส จั น ทราอุ ก ฤษ เป็ น รองกรรมการผู ้ จั ด การ ของบริษทั เอส เอ็น เอ็น ลีสซิง่ จ�ำกัด โดยทัง้ สอง ผู้บริหารได้เริ่มต้นขยายธุรกิจนี้อย่างจริงจังและ มีทศิ ทาง จนท�ำให้ชอื่ SNN Leasing ได้รบั ความ ไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าในจังหวัดต่างๆ ที่เข้าไป เปิดสาขา จนมีผลประกอบการเป็นที่น่าภูมิใจ เริ่มรุกตลาดท้องถิ่นปี 2544
บริษัท เอส เอ็น เอ็น ลีสซิ่ง จ�ำกัด เริ่มต้น ธุ ร กิ จ เมื่ อ เดื อ นตุ ล าคม พ.ศ. 2544 โดยมี คุณสุพจน์ วณิชไพสิฐ เป็นประธานกรรมการ คุ ณ วิ วั ฒ น์ ตั น ทรรศนี ย ์ และคุ ณ ชู เ กี ย รติ รุ่งคณาวุฒิ เป็นคณะกรรมการ มีสโลแกนที่ ใช้เป็นแนวทางการบริหารงานว่า “เงินแสน! คุณหาได้ในวันเดียว”
060
B-CONNECT MAGAZINE
ด้วยการวางต�ำแหน่งของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้น การให้บริการแก่คนท้องถิ่น โดยเฉพาะการให้ ความส�ำคัญกับการให้บริการที่รวดเร็ว เป็น กันเอง จึงท�ำให้ภาพของบริษัทฯ มีความชัดเจน ในใจลูกค้าในฐานะผู้ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ รถไถ และสินเชื่ออื่นๆ จนท�ำให้ชื่อเสียงของ บริษัทฯ ที่เกิดจากการสะสมความพึงพอใจของ ลูกค้า และความน่าเชือ่ ถือ กลายเป็นการยอมรับ อย่างกว้างขวางจากคนพื้นที่ในฐานะ “สถาบัน การเงิ น เพื่ อ คนท้ อ งถิ่ น ” ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร บนพื้นฐานความรวดเร็ว และเป็นกันเองกับ ลู ก ค้ า จนมี ส าขาให้ บ ริ ก ารครอบคลุ ม พื้ น ที่ เขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีทุนจดทะเบียน กว่ า 100 ล้ า นบาท นอกจากนี้ ยั ง มี โ ครงการที่ จ ะขยายพื้ น ที่ ให้ บ ริ ก ารไปยั ง ทั่ ว เขตภู มิ ภ าค ของประเทศไทยอีกด้วย คุ ณ ยศวั จ น์ ย ้ อ นเล่ า ถึ ง การเริ่ ม ต้ น ท� ำ ธุ ร กิ จ ในนาม SNN Leasing ว่า เมื่อปี 2544 ได้รับโอกาสจากผู้บริหารของ บริ ษั ท ฯ ให้ คุ ณ ยศวั จ น์ แ ละ
คุ ณ นั น ท์ ม นั ส มาบุ ก เบิ ก ธุ ร กิ จ ด้ ว ยตั ว เอง โดยในขณะนั้นมีพนักงานแค่ 2 คน แต่เมื่อ กาลเวลาผ่านไป 15 ปี ทุกวันนี้มีพนักงานมาก ถึง 160 คน และขยายกิจการได้ถึง 33 สาขา “จุดเริ่มต้นของกลุ่มบริษัท SNN เกิดขึ้น จากการที่ ผู ้ ใ หญ่ ใ ห้ โ อกาสเราสองคนในการ เริ่มต้นท�ำธุรกิจลิสซิ่ง โดยมอบหมายให้เป็น ผู้บุกเบิกในต่างถิ่น ในพื้นที่ที่ไม่ใช่บ้านเกิดของ ตัวเอง ผมเป็นคนนครสวรรค์ ส่วนคุณนันท์มนัส เป็นคนกรุงเทพฯ จ�ำได้ว่าตอนนั้นเป็นปี 2544 หลังจากเหตุการณ์ 911 เราสองคนเดินทางไป จังหวัดพิษณุโลก มีพนักงาน 2 คนในตอนเริม่ ต้น ท�ำธุรกิจ หลังจากเวลาผ่านไป 15 ปี เราได้ขยาย ทีมงานเป็นจ�ำนวน 160 คน และมี 33 สาขา ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ในเขตภาค เ ห นื อ
คุณยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ
กรรมการผู้จัดการ
คุณนันท์มนัส จันทราอุกฤษ
รองกรรมการผู้จัดการ
B-CONNECT MAGAZINE
061
“เงินแสน! คุณหาได้ ในวันเดียว”
ได้ แ ก่ จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ เพชรบู ร ณ์ พิ จิ ต ร สุโขทัย ก�ำแพงเพชร แพร่ ล�ำปาง และเชียงราย ที่ ผ ่ า นมาเราช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระกอบการหลาย หมื่นคนที่ต้องการสินเชื่อรถยนต์ เพื่อน�ำเงิน ไปขยายกิจการ หรือเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ รวมไปถึ ง สิ น เชื่ อ เพื่ อ สนั บ สนุ น ทางการเงิ น ส� ำ หรั บ ผู ้ พั ฒ นาโครงการอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ต้องการเงินไปซื้อที่ดิน และสร้างสิ่งปลูกสร้าง ในโครงการ” ปัจจุบัน SNN Leasing นับเป็นกลุ่มบริษัท ทีป่ ระสบความส�ำเร็จ และเกิดจากความสามารถ ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ จนมีการขยายกิจการไปสู่ โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ ในจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เช่ น โครงการแอททรี คอนโด โครงการดิวันพลัส ทาวน์โฮม เป็นต้น ส่วนต�ำแหน่งทางสังคม คุณยศวัจน์เป็นกรรมการ สภาอุตสาหกรรม จังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย เรียนรู้การท�ำงาน BNI เพื่อประยุกต์ ใช้ใน SNN Leasing
คุ ณ ยศวั จ น์ ไ ด้ เ ข้ า มาเป็ น สมาชิ ก BNI จนได้รบั ความไว้วางใจให้เป็น Regional Director ในเขต Central Region 2 การเป็นส่วนหนึ่ง ของ BNI คุณยศวัจน์บอกว่าได้รับประโยชน์ เป็นอย่างมาก ทั้งการประยุกต์ใช้ในการท�ำงาน และการสร้างผู้น�ำเพื่อออกไปพัฒนาสังคม
062
B-CONNECT MAGAZINE
“พอดีเราสองคนได้เจอ BNI ในช่วงจังหวะ ที่ดีที่ BNI ต้องการการเติบโตในระดับภูมิภาค โดยมี เ ป้ า หมายให้ ค รอบคลุ ม ทั่ ว ประเทศ ในช่วง 5-10 ปีนบั จากนี้ จากเมือ่ ก่อน BNI จะมี แต่ ใ นกรุ ง เทพฯ หรื อ เฉพาะหั ว เมื อ งใหญ่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ฯลฯ ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับ ธุรกิจ SNN Leasing ที่ต้องการขยายให้ครอบคลุม “สาเหตุทเี่ ข้ามาร่วม BNI ในฐานะ Regional ทัว่ ประเทศเหมือนกัน ท�ำให้เราสนใจทีจ่ ะเรียนรู้ Director ทีจ่ ะต้องรับผิดชอบดูแลสมาชิกในเขต เรื่องระบบของการขยายในการเปิด chapter Central Region 2 ครอบคลุมจังหวัดพิษณุโลก และการทีจ่ ะท�ำให้ chapter เติบโตอย่างมีระบบ สุโขทัย พิจติ ร และเพชรบูรณ์ เพราะ BNI มีความรู้ และยั่งยืน เพื่อจะน�ำระบบ BNI มาประยุกต์ใช้ ในเรื่องระบบบริหารจัดการ และระบบพัฒนา ในธุรกิจของเรา ในอนาคตเราสองคนอยากอยูใ่ น ผู้น�ำในการบริหารกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น SDC, D&A สังคมทีด่ ี ทีแ่ วดล้อมไปด้วยนักธุรกิจทีช่ ว่ ยเหลือ เพือ่ ช่วยให้แต่ละกลุม่ เติบโตอย่างยัง่ ยืน งานของ กัน และต้องการขยายธุรกิจ เป็นผู้มีวินัย และ Regional Director เป็นงานของการมองหาผูน้ ำ � ความรับผิดชอบต่อตนเองและทีม” พัฒนาผู้น�ำในชุมชนนั้นๆ จากผู้ประกอบการ การเข้ า มาเป็ น Regional Director ในระดับเจ้าของธุรกิจ ที่ผ่านการเป็นประธาน คุณยศวัจน์สรุปประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน รองประธาน เลขานุการ และ LT TEAM โดย ก็คือ มีโอกาสในการเรียนรู้ระบบ BNI ทั้งใน การใช้ระบบของ BNI ผ่านตัวชี้วัด ผ่านการ ประเทศและต่างประเทศ และอยู่ในสังคมของ ฝึกอบรมต่างๆ เพื่อหาผู้น�ำที่ถูกต้อง เพื่อสร้าง คนที่เป็นผู้น�ำ ที่ชอบช่วยเหลือกัน ท�ำให้ได้รับ การท�ำงานเป็นทีมในระดับผู้น�ำระดับท้องถิ่น โอกาสทางธุรกิจและเจอเพื่อนที่ดี รู้วิธีในการ นั้นๆ โดยให้ผู้น�ำไปสร้างและดูแลสังคม ให้เป็น สร้ า งวั ฒ นธรรมที่ ถู ก ต้ อ งของการอยู ่ ร ่ ว มกั น สังคมที่ดีต่อไป” ที่ดี เพื่อเป็นทูตและทีมที่ดี ในการเชื่อมต่อกับ คุณยศวัจน์ได้เล่าถึงหน้าที่ของ Regional Regional อื่นๆ Director ว่าจะต้องสร้าง chapter ใหม่ตาม แม้ SNN Leasing จะเป็นกลุ่มบริษัทที่ ขั้นตอนของ BNI ให้ความรู้แก่ chapter ที่เปิด มุ่งมั่นเติบโตในระดับประเทศ แต่ในวันนี้ เมื่อ ใหม่ สนับสนุนให้ chapter เติบโตอย่างต่อเนือ่ ง เทียบกับกลุ่มทุนจากส่วนกลาง ธุรกิจ SNN และให้สมาชิกประสบความส�ำเร็จด้วยระบบ Leasing จะยังอยู่ในสภาพ Small is Beautiful BNI โดยให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของ BNI ก็ตาม แต่ด้วยการสะสมประสบการณ์ และ ผ่านระบบ และตัวอย่างที่ประสบความส�ำเร็จ connection ทั้ ง ในลั ก ษณะการเข้ า มา จากการเข้ามาเป็น Regional Director แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่าย BNI ก็เชื่อได้ว่า ของ Central Region 2 คุณยศวัจน์มองว่าเป็น อีกไม่ช้า SNN Leasing จะไม่ใช่แค่ Small is โอกาสที่ดีท่ีได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้วิธีการขยาย Beautiful แต่ ก� ำ ลั ง พั ฒ นาไปสู ่ Small is เครือข่ายของ BNI เพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้ในการ Powerful ที่รอวันเติบโตเป็นบริษัทใหญ่ใน ขยายกิจการของ SNN Leasing อนาคตอันใกล้
The Givers
อรรถการ สัตยพาณิชย์
สวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา
Speech Coach เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของสมาชิก BNI “A Good Speech Leads to Great Opportunities” หรือ “การพูดที่ดีน�ำมาซึ่งโอกาสที่ยิ่งใหญ่” เป็นวรรคทองที่ สะท้อนให้เห็นความส�ำคัญของการใช้วาทศิลป์เพื่อใช้สื่อสาร ในการท�ำงาน หรือการใช้ชีวิตประจ�ำวันให้ประสบความ ส�ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ วาทศิ ล ป์ เ ป็ น ศาสตร์ ที่ มี ม านานหลายพั น ปี นั ก ปราชญ์ ท ่ า นหนึ่ ง ที่ มี น ามว่ า อริ ส โตเติ ล ได้ บั ญ ญั ติ ห ลั ก การพู ด เพื่ อ ให้ ป ระสบความ ส�ำเร็จว่า การพูดที่ยอดเยี่ยมจะต้องสร้าง ความสมดุลกับ 3 องค์ประกอบ คือ การ ให้เหตุผล (Logos) การดึงดูดใจด้วย บุคลิก (Ethos) และการเข้าใจความคิด และอารมณ์ของผู้ฟัง (Panthos) ในโลกธุรกิจทีเ่ ต็มไปด้วยการแข่งขัน การน�ำเสนอความคิด การเจรจาต่อรอง หรื อ การมี ค วามสามารถในเชิ ง วาทศิ ล ป์ นับเป็นหนีง ่ ในคุณสมบัตท ิ ส ี่ ำ� คัญของผูป ้ ระกอบการ ปฏิเสธไม่ได้วา่ การสือ ่ สารกับคูค ่ า้ พนักงาน หรือลูกค้า อย่างชัดเจน มีเหตุผล และน่าฟัง สามารถน�ำพาองค์กร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
B-CONNECT MAGAZINE
063
ผู ้ ถ ่ า ยทอดทั ก ษะการพู ด และการ สือ ่ สารแก่สมาชิก BNI
คุณเรย์ หรือ คุณสวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา ผูก้ อ่ ตัง้ Speech Masters มีแรงบันดาลใจทีจ่ ะ พัฒนาศักยภาพด้านการพูดให้แก่ผปู้ ระกอบการ และเป็นสมาชิก BNI ใน Warrior chapter คุณเรย์ส�ำเร็จหลักสูตรพัฒนาการสื่อสารและ ความเป็นผู้น�ำขั้นสูงสุดของ Toastmasters International ซึ่ ง เป็ น องค์ ก รเพื่ อ พั ฒ นา ศักยภาพการเป็นผู้น�ำและการสื่อสารที่ใหญ่ และมีอายุยาวนานที่สุดของโลก (ค.ศ. 1924) กล่าวได้ว่าจากสมาชิกกว่า 300,000 คนทั่วโลก คุณเรย์เป็นหนึ่งใน 3,000 คนที่ได้รับต�ำแหน่ง Distinguished Toastmaster (DTM) ยิง่ ไปกว่า นั้น คุณเรย์ยังได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน กล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ (Toastmasters Speech Contest) ในระดับนานาชาติหลายครัง้ คุ ณ เรย์ เ ป็ น อาจารย์ พิ เ ศษด้ า น Public Speaking ให้แก่สถาบันการศึกษาหลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็น สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CULI : Chulalongkorn University Language Institute) และโครงการ Micro MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทัง้ ยังเป็นวิทยากร ด้านการพูดให้อีกหลายองค์กร เช่น โครงการ K SME Secret ของธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น จุ ด แกร่ ง ของ Speech Masters คื อ การฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารผ่ า นกิ จ กรรม (Activity-based workshop) ตามหลักการ ของ Toastmasters International และมี กระบวนการวัดผลอย่างเป็นระบบ (Result Oriented) เพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า ผู ้ เ รี ย นเกิ ด การ พัฒนา กล่าวได้ว่าด้วยคุณภาพและรางวัลต่างๆ ของคุณเรย์ จึงท�ำให้ Speech Masters ได้รับ การยอมรับจากลูกค้าเป็นจ�ำนวนมาก ด้ ว ยความสามารถ ประวั ติ ก ารท� ำ งาน รวมทั้ ง ผลงานที่ เ ห็ น ได้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม คุณเรย์จึงได้รับความไว้วางใจให้เป็น Director of Training เพื่อดูแลระบบการฝึกอบรมเพื่อ พั ฒ นาศั ก ยภาพในการท� ำ ธุ ร กิ จ ด้ ว ยระบบ Referral Marketing แก่สมาชิก BNI Thailand ที่มีมากกว่า 1,300 บริษัท ครอบคลุมใน 6 จังหวัด อันประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ภูเก็ต และสุโขทัย
064
B-CONNECT MAGAZINE
เข้ามาเป็นสมาชิก BNI ปี 2015
“ผมเข้ามาเป็นสมาชิก BNI ตั้งแต่ปี 2015 และค้นพบคุณค่าที่ส�ำคัญในการเป็นสมาชิก BNI สามประการ Visibility-Creditability-Profitability แรกสุด พวกเราเข้ามา จะได้ในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพตนเอง ระบบของ BNI จะฝึกฝนให้พวกเรา ได้รู้จักธุรกิจของเราในมิติการสร้าง Effective Connection ซึ่งไม่ใช่เครือข่ายของ การขาย แต่เป็นกลุม่ ทีจ่ ะช่วยพัฒนาเรา ให้แสวงหาโอกาสธุรกิจให้กบั เพือ่ นสมาชิก และ ในขณะเดียวกันเราก็จะพัฒนาเพือ่ นสมาชิกให้ชว่ ยมอบโอกาสทางธุรกิจให้เรา พวกเรา ต่างคนต่างมุง่ มัน่ ทีจ่ ะช่วยเหลือและพัฒนาซึง่ กันและกัน เมือ่ เราได้พฒ ั นาตัวตนให้ผคู้ น จดจ�ำ (Visibility) และมีกลุ่มเพื่อนที่เป็นเจ้าของกิจการอยู่ร่วมกันใน chapter ของเรา และใน chapter อืน่ ๆ กว่า 30 แห่งทัว่ ประเทศ เราจะมีสายสัมพันธ์ทดี่ กี บั เจ้าของธุรกิจ ในหลากหลายวงการมากขึน้ แน่นอนว่า Visibility ในแง่บวก จะน�ำมาซึง่ ความน่าเชือ่ ถือ (Creditability) และปลายทางสุดท้าย นั่นคือ “ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Profitability)” “ก่ อ นที่ ผ มจะเข้ า มาใน BNI ธุ ร กิ จ ก็ จั ด ว่ า พออยู ่ ไ ด้ ในช่ ว งปี แ รกใน BNI ผมพึงพอใจกับผลลัพธ์ทางธุรกิจทีด่ ขี นึ้ แต่พอเข้าสูป่ ที ี่ 2 ผมพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิก ที่ดี (Member Traffic Light 110 Points) ด้วยการใช้ระบบของ BNI อย่างครบถ้วน และเต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ เป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า ประทั บ ใจมากๆ ที่ ผ ลลั พ ธ์ ท างธุ ร กิ จ ใน BNI เพิม่ ขึน้ ถึง 3.5 เท่า ผมมีความเชือ่ มัน่ ว่า เมือ่ เราท�ำตามระบบ BNI ความน่าเชือ่ ถือทีไ่ ด้รบั จากทั้งใน chapter และต่าง chapter ก็จะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น”
การ “เปิดโอกาสทางธุรกิจ” คือค�ำจ�ำกัดความของ BNI สัน ้ ๆ
แนะน�ำเจ้าของกิจการให้มารู้จัก BNI มากที่สุดในประเทศ
ในฐานะสมาชิ ก ที่ สั ม ผั ส ถึ ง ประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ ทั้ ง ในด้ า นการพั ฒ นาตนเอง การช่ ว ยเหลื อ ผู้คน รวมถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจ คุณเรย์จึงเปิดโอกาสให้เจ้าของกิจการกว่า 100 บริษัทได้มา รูจ้ กั BNI Warrior Chapter ซึง่ ถือว่าเป็นจ�ำนวนทีม่ ากทีส่ ดุ ในประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 2015-2016 “ในแง่การเชิญแขกมารู้จัก BNI ต้องเริ่มต้นจากความรู้สึกประทับใจ ผมมองว่า BNI เป็น พื้ น ที่ แ ห่ ง โอกาสที่ เ ราจะเติ บ โต ผมคิ ด ว่ า เป็ น เรื่ อ งดี ที่ จ ะเชื่ อ มโยงเจ้ า ของกิ จ การที่ มี ค วาม น่ า เชื่ อ ถื อ จากภายนอกให้ ม ารู ้ จั ก เพื่ อ นสมาชิ ก ภายใน เพราะเมื่ อ ไหร่ ก็ ต ามที่ ค นสองกลุ ่ ม มาเจอกันพวกเขาจะได้รับโอกาสทั้งคู่ ไม่ว่าจะได้ลูกค้า หรือ Supplier ใหม่ๆ และจะดีที่สุด ถ้าหากบุคคลภายนอกตัดสินใจสมัครผ่านกระบวนการคัดกรอง และเป็นสมาชิกในกลุ่มที่พร้อม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความเจริญงอกงามเชิงธุรกิจ” ด้วยแนวคิดนี้คุณเรย์จึงเชิญเพื่อนเจ้าของกิจการ ลูกค้า และ supplier มารู้จัก BNI ได้กว่า 100 คนในช่วงสองปี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย (โดยเฉลี่ยสมาชิกจะเชิญแขกอยู่ประมาณ 12 คนต่อปี)
“ถ้าให้ค�ำจ�ำกัดความของ BNI กับคนที่ ไม่รจู้ กั หัวใจส�ำคัญของ BNI คือโอกาสทางธุรกิจ เพราะเวลาผมชวนเพื่อนมาชมการประชุม BNI ผมจะบอกเขาว่าคุณต้องการโอกาสทางธุรกิจ หรือขยายตลาดไหม และคุณพร้อมกับการรับมือ กับธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นไหม ถ้าใช่ ผมมีเพื่อน นักธุรกิจทีส่ ามารถเป็นลูกค้าหรือเป็น Supplier ที่ดีของคุณได้ คุณสนใจเจอคนเหล่านี้ไหม นี่คือ แกนหลักที่ผมใช้เชิญคนรู้จักด้วยความจริงใจ เราแค่อยากเปิดโอกาสให้เขามีลูกค้าดีๆ อยาก เปิดโอกาสให้เขามี Supplier ดีๆ” คุณเรย์ทงิ้ ท้ายประโยชน์ของการเป็นสมาชิก BNI ที่มีต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ และสังคมใน ภาพรวมไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผมอยากบอกว่าถ้าเรารู้สึกว่าได้รับโอกาส ที่ดีจาก BNI อยากให้เราส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้แก่ ผู้ประกอบการภายนอก เพื่อให้เจ้าขององค์กร ภายนอกได้ รั บ โอกาสที่ ดี อ ย่ า งที่ เ ราได้ รั บ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ตัวเขาเองได้รับโอกาสที่ดี ผลประกอบการของเขาก็จะดีมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ แค่ตัวเขาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น เขามีพนักงานใน บริษัท ถ้าบริษัทมีผลประกอบการดีพนักงาน ย่อมมีความเป็นอยู่ที่ดี และพนักงานหนึ่งคน หมายถึงหนึ่งครอบครัว การที่หนึ่งบริษัทดีขึ้น มีผลกระทบต่อครอบครัวหลายสิบหลายร้อย ครอบครัว ดังนั้น BNI จะช่วยเหลือทั้งตัวเขา และช่วยเหลือประเทศไทยให้พฒ ั นาไปสูท่ ศิ ทาง ที่ดีขึ้น” คุณเรย์ สวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา The Givers ทั้ ง ในบทบาทผู ้ ใ ห้ ค วามรู ้ แ ละ ประสบการณ์ ใ นฐานะนั ก พั ฒ นาศั ก ยภาพ ด้านการพูด รวมทั้งเป็นผู้สร้างโอกาสที่ดี ด้วย การแนะน�ำเจ้าของกิจการกว่า 100 บริษัท ให้รู้จักครอบครัว BNI ตอกย�้ำให้เห็นแล้วว่า หากทุกคนเข้ามาในฐานะผู้ให้และร่วมมือกัน ผ่านการใช้ Referral Marketing Platform ที่มีชื่อว่า BNI ทุกคนก็จะได้รับประโยชน์ในมิติ ต่างๆ ได้อย่างแท้จริง
B-CONNECT MAGAZINE
065
B-Social
12 ทีมสตาร์ทอัพเจ๋ง
คว้ารางวัลดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 5
ดีแทค แอคเซอเลอเรท ประกาศผล 12 ทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกร่วมโครงการปี 5 จากงาน Pitch Day ผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด ได้แก่ 1.Cookly 2.Creden 3.Drivemate 4.Globish 5.Indie Dish 6.Ricult 7.ScoutOut 8.Seekster 9.Senseino 10.Shiftspace 11.Tixget 12.Tourkrub ซึ่งแต่ละทีมที่เข้ามา pitch ในรอบนี้ล้วนมีคุณภาพ พร้อมทั้งสินค้า ทีมงาน passion ที่จะน�ำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนโลกธุรกิจทั้ง Agriculture Tech, Education Tech, HR Tech, Food Tech, Travel Tech, Fin Tech ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินทุนทีมละ 5 แสน-1.5 ล้านบาท พร้อมรับการสนับสนุนในเชิงพาณิชย์จากดีแทค มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้า อบรม Intensive Boot Camp และน�ำเสนอผลงานรอบสุดท้ายประกาศผลในวัน Demo day ใน เดือนสิงหาคมนี้ สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการนวัตกรรมธุรกิจ และดีแทค แอคเซอเลอเรท เผย “12 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ามา จากทั้งหมดที่สมัครมามากกว่า 500 ทีม นับเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า 2.5 ซึ่งถือว่ายากกว่าสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นน�ำของโลก ทุกทีมน�ำเสนอได้ดีมาก ทั้งแง่ของสินค้าที่ตรง กับความต้องการของตลาด มีโมเดลธุรกิจที่ดี มีแพลตฟอร์มในการขยายการเติบโต มีศักยภาพใน การหาตลาดใหม่ ทีส่ ำ� คัญคือทีมงานทีเ่ ป็นกูรมู คี วามรูค้ วามเชีย่ วชาญ และอยูใ่ นธุรกิจทีต่ วั เองท�ำอยู่ แล้วค้นพบว่าเป็นปัญหาที่สามารถน�ำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยแก้ได้ ยกตัวอย่างทีม Tourkrub ที่อยู่ใน อุตสาหกรรมธุรกิจท่องเทีย่ วทีเ่ ปิดเพียงไม่กเี่ ดือนก็มผี ใู้ ช้บริการผ่านแพลตฟอร์มถึงหลัก 100 ล้านบาท ขึน้ ไปแล้ว Seekster ทีมทีค่ นุ้ เคยกับงานบริหารจัดการทางด้านโรงแรม ก็นำ� เอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพือ่ ตอบโจทย์ลกู ค้าทัง้ แบบองค์กรและส่วนบุคคลได้อย่างลงตัว ด้วยผลิตภัณฑ์ แอปพลิเคชันทัง้ บน มือถือและเว็บไซต์ ทีม่ บี ริการจัดหาแม่บา้ นท�ำความสะอาดบ้าน ช่างแอร์ทมี่ คี ณ ุ ภาพผ่านการคัดสรร ส่งตรงถึงบ้านแค่ปลายนิ้ว หรือทีม Globish และทีม Senseino เป็น Education Tech ที่จะท�ำให้ คนไทยสามารถเข้าใจและเข้าถึงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ได้ง่ายขึ้น ฯลฯ
066
B-CONNECT MAGAZINE
US Global Convention ดร.ไอเวิร์น ไมสเนอร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ด้านวิสัยทัศน์ BNI ให้เกียรติถ่ายภาพในงานประชุม ประจ�ำปีของ BNI พร้อมด้วย กลกิตต์ เถลิงนวชาติ ประธานอ�ำนวยการ BNI ประเทศไทยและวรรณสิทธิ์สุชาดา ฉายแสงมงคล, สวรุส นภวงศ์ ณ อยุธยา, นันท์มนัส จันทราอุกฤษฎ์, ยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ Avryl Au, โศภิษฐ์ คันธมธุรพจน์, วรรณนา เถลิงนวชาติ, สุภาพรรณ นิลายน, ณัฐพงศ์ ประดิษฐ์ด�ำรง, โซฟี ธนปุระ และจรรยา ศรีบุญรัตนชัย LT & Members Forum กลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ประธานอ�ำนวยการ BNI ประเทศไทย แสดงความยินดีกับสุดยอด Chapter ที่สปีด สร้างทีมในงาน LT & Members Forum โดยมี หฤษฎ์ ตัณฑยรรยง ประธาน The Smart Chapter รับเข็ม แพลตตินัมและใบประกาศในฐานะที่มีสมาชิกมากกว่า 50 คนขึ้นไปและ จักรพงศ์ ล้อศิรินันท์ ประธาน The Energy Chapter รับเข็มไทเทเนียมและใบประกาศ ในฐานะที่มีสมาชิกมากกว่า 70 คนขึ้นไป
B-CONNECT MAGAZINE
067
B-Social
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
อนันต์ บุตรเวียงพันธ์
ปีใหม่ไทยที่ อ.ส.ค. มวกเหล็ก
ปีใหม่ไทย 2560 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จัดที่ส�ำนักงานใหญ่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี มีกิจกรรมดีๆ สนุกสนาน ตั้งแต่ กิจกรรมรดน�้ำด�ำหัวขอพรจาก ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อ�ำนวยการ อ.ส.ค. คณะผู้บริหาร อ.ส.ค. และประธานสหกรณ์โคนมต่างๆ ในเขตส่งเสริม การเลี้ยงโคนมของ อ.ส.ค. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีที่ดีงาม ที่ ช าวไทยปฏิ บั ติ สื บ ทอดกั น มา และกิ จ กรรมกี ฬ าสี ไทย-เดนมาร์ ค สั ม พั น ธ์ ครั้งที่ 3 ระหว่าง อ.ส.ค. กับสหกรณ์โคนม เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่ม สหกรณ์ ที่ ส ่ ง น�้ ำ นมให้ อ.ส.ค. โดยมี ดร.ณรงค์ ฤ ทธิ์ ให้ เ กี ย รติ เ ป็ น ประธาน เปิดงานกีฬาและให้เกียรติร่วมเตะฟุตบอลอีกด้วย
068
B-CONNECT MAGAZINE
ในวันเดียวนี ้ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ให้เกียรติรบั มอบ เครื่องผสมอาหาร TMR จาก KEENAN ประเทศ ไอร์แลนด์ ซึ่งมีบริษัท ALTEC Thailand เป็น ผู้จัดจ�ำหน่าย เพื่อให้ อ.ส.ค. ใช้สาธิตและเผยแพร่ การผลิตอาหาร TMR ให้เกษตรกรได้น�ำไปใช้ใน การจัดการเรื่องอาหารโคนมต่อไป
B-CONNECT MAGAZINE
069
B-Social
บุญฑิกา เอื้อธรรมฐาวร
พีแอนด์จี ไทย สานต่อ เป้าพัฒนาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน
เพื่อบรรลุแผนงานเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมาย 2020 Goals ที่ว่าด้วยการลดการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ ลดการใช้นำ�้ และลดขยะในอัตราร้อยละ 20 ซึง ่ บริษท ั พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือ พีแอนด์จี ประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์ฐานการผลิต เพื่อจ�ำหน่ายภายในประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์ความงามที่มีก�ำลังผลิตมาก ที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 3 ของพีแอนด์จีทั่วโลก โดยมีโรงงาน ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อส่งออกแบรนด์สินค้าภายใต้ Made in Thailand อาทิ แพนทีน, เฮดแอนด์โชว์เดอร์, รีจอยซ์, แคล์รอล เฮอร์บัล เอสเซ้นส์, วิดัล แซสซูน, โอเลย์ ฯลฯ ด้วยมูลค่าส่งออกมากกว่าหลายร้อยล้าน เหรียญสหรัฐไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ
070
B-CONNECT MAGAZINE
จุฑาภัทร บุณย์วงศกร กรรมการผู้จัดการ พีแอนด์จี ประเทศไทย กล่าวถึงยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนโรงงานพีแอนด์จีให้เติบโตเป็น ศู น ย์ ก ลางการผลิ ต ระดั บ เอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก ว่ า “เราโฟกัสกับการพัฒนานวัตกรรมอย่าง ต่อเนื่อง ด้วยมาตรฐานคุณภาพสินค้าระดับโลก เพือ่ ตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผูบ้ ริโภค และท�ำให้เกิดความพอใจสูงสุด ควบคูไ่ ปกับการ พั ฒ นาบุ ค คลากรที่ มี ค วามหลากหลายทาง เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ความคิด เพื่อสร้างจุดแข็ง ให้ พี แ อนด์ จี มี ค วามก้ า วหน้ า ในองค์ ก รอย่ า ง เท่ า เที ย มกั น รวมทั้ ง การให้ ค วามร่ ว มมื อ สนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ บรรลุ เ ป้ า หมายการพั ฒ นาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ยั่งยืนในระยะยาว”
ทั้งนี้ พีแอนด์จี ประเทศไทย ลงทุนปรับปรุง และเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของเครื่ อ งจั ก รที่ ใ ช้ ใ น กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2552 กิติโรจน์ ธรรมรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม พีแอนด์จี ประเทศไทย เผยตัวเลขชี้วัดง่ายๆ ว่า • ประหยัดพลังงานไฟฟ้ากว่า 37% = พลังงาน ไฟฟ้าส�ำหรับ 9.6 แสนครัวเรือน/ปี • ลดการใช้น�้ำในกระบวนการผลิตกว่า 36 % = ปริมาณน�ำ้ จ�ำนวน 360 สระมาตรฐานโอลิมปิก/ปี • ลดขยะมากถึ ง 31 % โดยขยะของเสี ย เหล่านั้นกว่า 150 ตัน ได้ผ่านกระบวนการ 3 R คือ Reduce, Reuse, Recycle เช่น โครงการ สนามเด็กเล่นรีไซเคิลจากขวดแชมพู เป็นต้น
วิสัยทัศน์ระยะยาวของ พีแอนด์จี
100% 100% 0% น�ำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้ได้
ผลิตโดยใช้วัตถุดิบ/บรรจุภัณฑ์ ที่รีไซเคิลให้ได้
ลดขยะของเสียในหลุมฝังให้เหลือศูนย์ (Zero Waste)
“ในอนาคตอั น ใกล้ นี้ เราจะน� ำ โครงการ พลังงานชีวมวล ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่น�ำผลผลิต จากการเกษตรภายในประเทศ เช่ น เเกลบ ชานอ้อย กากปาล์ม กากมันส�ำปะหลัง กาบ และกะลามะพร้าว และอื่นๆ มาใช้เป็นพลังงาน หมุนเวียนทดแทนการใช้น�้ำมัน ซึ่งสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิต และลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกภายในโรงงานอย่างยั่งยืน” ขณะที่ กรรณิการ์ จรัสอุไรสิน ผูอ้ ำ� นวยการ ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ พีแอนด์จี ประเทศไทย กล่าวปิดท้ายว่า “พีแอนด์จีเราให้ความส�ำคัญ กั บ ภารกิ จ บรรลุ เ ป้ า หมายความยั่ ง ยื น ด้ า น สิ่ ง แวดล้ อ ม ไม่ เ พี ย งแต่ ก ารทุ ่ ม เทงานวิ จั ย
พั ฒ นาสิ น ค้ า กระบวนการผลิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต ร ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ภายในองค์กรพีแอนด์จี ทัว่ โลก รวมทัง้ ไทยได้จดั กิจกรรมรณรงค์สปั ดาห์ คุ้มครองโลก ภายใต้ธีม ‘You Can Make A World of Difference’ เพื่อให้พนักงานของ เราได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ในวันคุ้มครอง โลก แต่ในทุกๆ วัน และส่งต่อไปยังสมาชิก ในครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้างอีกด้วย”
B-CONNECT MAGAZINE
071
Think out
Hostel
ที่พักราคาประหยัด ของนักเดินทาง Hostel นัน้ ไม่ใช่โรงแรม ไม่ใช่เกสท์เฮาส์ ไม่ใช่ โฮมสเตย์ หรือไม่ใช่โมเต็ล แต่ Hostel เป็นทีพ่ กั ราคาต�ำ่ ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีม่ งี บประมาณน้อย หรือต้องการแค่หาทีพ่ กั เพือ่ ใช้พกั จริงๆ และใช้เวลา ทีม่ ใี นการท่องเทีย่ วอย่างเต็มที่ จากผลวิจยั ของ สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัย มหิดลในเรือ่ งโฮสเทลนัน้ เราพบว่าสิง่ ทีโ่ ฮลเทลมี ความแตกต่างจากทีพ่ กั รูปแบบอืน่ ๆ คือ โฮลเทลนัน้ เป็นทีพ่ กั ทีม่ สี งิ่ อ�ำนวยความสะดวกเท่าทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ การนอนหลับพักผ่อน มีการใช้สาธารณูปโภค ร่วมกัน เช่น การใช้หอ้ งน�ำ ้ ห้องนัง่ เล่น เป็นต้น ที่พักนั้นมักไม่เป็นห้องเดี่ยวแต่จะเป็นห้องรวม มีขนาดที่รองรับผู้เข้าพักได้ตั้งแต่ 2-10 คน เตียงส่วนใหญ่ทไี่ ด้รบั ความนิยมเป็นเตียงสองชัน้ 072
B-CONNECT MAGAZINE
พักรวมกับผูเ้ ข้าพักคนอืน่ ๆ สิง่ ทีข่ าดไม่ได้สำ� หรับ โฮสเทลในแทบทุกทีค่ อื พืน้ ทีส่ ว่ นกลางทีท่ ำ� ให้ผทู้ ี่ เข้าพักมีโอกาสได้มาพบปะเจอะเจอกัน ได้พดู คุย แลกเปลีย่ นประสบการณ์กนั เป็นพืน้ ทีท่ เี่ จ้าของ โฮลเทลมักใช้จดั กิจกรรมต่างๆ โดยมีผเู้ ข้าพักมา เป็นผูร้ ว่ มกิจกรรมเหล่านัน้ มีการประมาณการกันว่าในประเทศไทยนัน้ มี ทีพ่ กั รูปแบบโฮสเทลอยูป่ ระมาณ 200-300 แห่ง แต่จะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนมาก ส่วนในจังหวัดใหญ่ๆ นัน้ ยังมีทพี่ กั ทีจ่ ดั สร้างอยูใ่ น รูปแบบ Hostel อยูน่ อ้ ย แต่กพ็ อมีให้เห็นบ้างใน จังหวัดท่องเทีย่ วใหญ่ๆ เช่น ภูเก็ต หรือเชียงใหม่ จากการส�ำรวจพบว่าโฮสเทลในประเทศไทยนัน้ มีอยู่ 5 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ ประเภทแรก Family
Hostel ทีพ่ กั ส�ำหรับผูท้ อ่ งเทีย่ วแบบครอบครัว เช่น Old Town Hostel ประเภททีส่ อง Big City Hostel ที่พักของนักท่องเที่ยวที่ต้องการที่พัก ในเมือง เช่น Matchbox Hostel ประเภททีส่ าม ECO Hostel ทีพ่ กั ราคาประหยัดส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีช่ นื่ ชอบวิถชี วี ติ ธรรมชาติ เรียบง่าย เช่น Eco Phuket Hostel ประเภททีส่ ี่ Flashpacking Hostel ที่พักตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่ต้องการ ความแปลกใหม่ มีสสี นั มีความเร้าใจในการพัก เช่น Glur Bangkok Hostel และประเภทสุดท้าย Cycling Hostel ที่พักตอบโจทย์นักปั่น เช่น Bangkok Bed and Bike เป็นต้น
ข้อมูลจากการส�ำรวจพบว่า 56% ของนักท่องเทีย่ วชาวเอเชียเลือก Hostel จาก ท�ำเลเป็นหลัก 47% เลือกจากราคา และ 41% มองทีค่ วามคุม้ ค่า ในขณะทีน่ กั ท่องเทีย่ วจากยุโรป 62% พิจารณาจาก ราคา ตามด้วย 49% ดูจากบรรยากาศของ Hostel 35% ค�ำนึงถึงเรือ่ งท�ำเลทีต่ งั้ ส่วนด้านราคานัน้ คน เอเชียให้ความคิดเห็นว่าราคาทีร่ บั ได้อยูท่ รี่ ะหว่าง 600-1,000 บาท ในขณะทีน่ กั ท่องเทีย่ วชาวยุโรปนัน้ มองว่าอยูท่ ี่ 300-400 บาทต่อคืน บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาด การจัดการ มหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
นักท่องเที่ยวทั้งชาวเอเชียและชาวยุโรป นั้ น มี ค วามเหมื อ นกั น คื อ รู ้ จั ก ที่ พั ก Hostel ในประเทศไทยผ่านช่องทางสื่อออนไลน์เป็น ส่วนใหญ่ ส�ำหรับลักษณะที่พักนั้น ทั้งนักท่องเที่ยว ชาวเอเชียและยุโรปมีมมุ มองทีค่ ล้ายกันคือ ชอบ เตียงสองชั้น ตามด้วยเตียงแบบ Cabin และ Capsule ตามล�ำดับ
ส�ำหรับกิจกรรมที่โดนใจนักท่องเที่ยวที่พัก ที่ Hostel นั้นก็มีความแตกต่างกันระหว่างคน เอเชียกับคนยุโรป โดยที่คน 36% ของคนเอเชีย ชอบการจัดน�ำเที่ยวที่ Hostel มีบริการให้และ ตามด้วย ปาร์ตี้ 21% ส�ำหรับคนยุโรปนั้น 33% ชอบการสอนท�ำอาหาร และ 29% ชื่นชอบเรื่อง การน�ำเที่ยว
หวังว่าข้อมูลเรือ่ ง Hostel คงเป็นประโยชน์ กับสมาชิก BNI ทุกท่านที่สนใจท�ำธุรกิจที่พัก และการเติบโตของ Hostel ในบ้านเราอย่าง ต่ อ เนื่ อ งนั้ น ถื อ เป็ น สั ญ ญาณอ่ อ นๆ (Weak Signal) ที่ท�ำให้มองเห็นโอกาสในการท�ำธุรกิจ ด้านที่พักราคาประหยัดนะครับ
B-CONNECT MAGAZINE
073
Referral
Networking เครือข่าย
ห ล า ย ค น ค ง เ ค ย มี ป ร ะ ส บ ก า ร ณ ์ ไ ป Networking (หมายถึง การรู้จักคนผ่าน กิจกรรมต่างๆ เช่น ประชุม งานสังคม ร่วม กิจกรรมทางสังคม อบรม กิจกรรมของธนาคาร ที่ เ ป็ น ลู ก ค้ า กั บ สมาชิ ก หอการค้ า เป็ น ต้ น ) หลายต่อหลายที่ หรือเห็นบางคนไปร่วมงานทั่ว ทุกประเภท และก็มีค�ำถามขึ้นมาว่า ท�ำไมเขา ถึงต้องไปกันขนาดนั้น เขาไปแล้วได้อะไรหรือ แล้วเราต้องไปเยอะขนาดนั้นมั้ย ถ้าเยอะขนาด นั้น ค่าใช้จ่ายมันคงจะเยอะน่าดู และที่ส�ำคัญ เราคงไม่มีเวลาท�ำมาหากิน หรือมีเวลาอยู่กับ ครอบครัว หรือท�ำกิจกรรมอื่นๆที่ตนเองอยาก ท�ำแน่เลย ค�ำถามเหล่านี้เป็นค�ำถามของคนที่ก�ำลังคิด ว่าอยากจะมีเครือข่าย อยากอยู่กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ เยอะไปหมด ใครมีค�ำถามแบบนี้บ้างครับ? ผม คนหนึ่งล่ะที่เคยมีค�ำถามแบบนี้ในใจและก็เคย ไปดูหลายที่เพื่ออยากรู้ว่าเขาไปท�ำอะไรกันใน แต่ละที่ ผลที่ได้คือ ได้นามบัตรมาเยอะ หรือไม่ ก็ไม่ได้นามบัตรมาเพราะไม่รู้ว่าจะต้องท�ำตัว อย่างไร พูดอย่างไรบ้าง ก็ไปดูๆ แล้วก็กลับ ผมคิดว่านัน่ เป็นสิง่ ทีผ่ ปู้ ระกอบการหลายคน อยากรู้ และอยากหาค�ำตอบเพือ่ ความชัดเจน จึง ขอน�ำมาพูดคุยในตอนนี้ ค�ำถามในยุคสมัยนี้ที่มี คนถามกันในใจมากเป็นพิเศษคงจะเป็น ท�ำไม คนเราต้ อ งไปพบปะผู ้ ค น เราท�ำงานบนโลก Online อย่างเดียวได้มั้ย หรือเน้นเรื่องการผลิต และคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เท่านั้นได้มั้ย และใช้ Social Media ประชาสัมพันธ์ธุรกิจเพียงอย่าง เดียวไม่พอหรือ? ท�ำไมต้องไปเจอคนเยอะๆ รูจ้ กั คนเยอะๆ ไปท�ำไม มันส�ำคัญจริงๆ หรือเปล่า อย่างแรกเราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน ว่า เราจะ Networking ไปเพื่อวัตถุประสงค์ อะไร ต้ อ งบอกว่ า ผมอาจจะชอบตั้ ง ค� ำ ถาม บ่อยหน่อย เพราะ “ถ้าทุกคนตั้งค�ำถามที่ถูก ค� ำ ตอบจะปรากฎขึ้ น มาหาเราผ่ า นคนหรื อ 074
B-CONNECT MAGAZINE
สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบข้างเรา” คนส่วนใหญ่ใช้ ชีวิตอยู่บนกระแสสังคม ไม่ชัดเจนกับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ จึงท�ำให้เสียเวลาและเงิน ไปเยอะ การท�ำ Networking เป็นกิจกรรม หนึ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับผู้ประกอบการ แต่ถ้าขาด เป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะท�ำให้เสียเวลาและเงิน โดยไม่ได้อะไรเลย ผู้ประกอบการในยุคสมัยนี้ ควรรู้จักคนมาก ขึ้นเพราะหนึ่งในเคล็ดลับของความส�ำเร็จของ การท�ำกิจการอะไรก็แล้วแต่คอื Collaboration และ Connection ในการท�ำธุรกิจเราต้องมี กลยุทธ์และวิธีการท�ำงานหลายวิธีในการไปสู่ เป้าหมายของบริษัท เช่นเดียวกันเราก็ควรมี หลายวิธีในการสร้าง Connection ไปสู่ความ ส�ำเร็จด้วยเช่นกัน ในตอนนี้ผมขอแนะน�ำ 4 ประเภทกลุ่มของ Networking ที่ส�ำคัญส�ำหรับ ธุรกิจของคุณ ซึง่ คุณสามารถเลือกหรือแบ่งเวลา ตามความเหมาะสมได้ กลุ่มเครือข่ายการประชุมทั่วไป
กลุ่มนี้จะมีข้อดีคือการพบปะกับคนหลาก หลายอาชี พ รวมถึ ง คู ่ แ ข่ ง ในประเภทธุ ร กิ จ เดียวกันกับคุณ การพูดคุยจะไม่เน้นธุรกิจของ แต่ละท่านจึงท�ำให้ไม่กดดัน การพบปะกันจะ เป็ น สั ป ดาห์ ห รื อ เดื อ นละครั้ ง เพื่ อ มาพบปะ พูดคุยกันแบบเป็นกันเอง อาจจะมีวิทยากรมา พูดให้ความรู้ในบางครั้งบ้าง หรือท�ำกิจกรรม เพื่อให้รู้จักกันมากขึ้น หัวข้อส่วนใหญ่จะพูดคุย เกี่ยวกับงานช่วยเหลือสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ แนวทางหรือทิศทางการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่น เป็นต้น เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม กลุ่ม เครือข่ายลูกค้าธนาคาร กลุ่มเพื่อสังคม เช่น สโมสรโรตารี่ หรือ สโมสรไลอ้อนส์ เป็นต้น สิ่ ง ที่ ผู ้ ป ระกอบการควรท� ำ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้ากลุ่มนี้ คือ การมี ส่วนร่วมโดยอาสาสมัครเข้าเป็นทีมงานบริหาร ของกลุ่ม เพื่อให้คุณสามารถรู้จักกับสมาชิก
ในกลุ่มได้ดีมากขึ้นและท�ำให้เขาจดจ�ำและรู้จัก คุณได้ดียิ่งขึ้น และที่ส�ำคัญคือคุณต้องเข้าร่วม ประชุมอย่างสม�่ำเสมอเพื่อท�ำให้คนจดจ�ำคุณ ได้และอาจจะท�ำให้เกิดการแนะน�ำโอกาสธุรกิจ ตามมา กลุ่มเครือข่ายการประชุมสายอาชีพ เดียวกัน
กลุ่มนี้มีข้อดีคือ การพบปะกันของคนใน อุตสาหกรรมหรือประเภทธุรกิจเดียวกันโดย เฉพาะ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือแนวความคิด ระหว่ า งอุ ต สาหกรรมเดี ย วกั น หรื อ ระหว่ า ง อุตสาหกรรม การพบปะกันจะเป็นเดือนละครั้ง เพื่อมาพูดคุยกันในเรื่องการยกระดับมาตรฐาน การท�ำงานของอุตสาหกรรม หรือ การร่วมมือ กันในการท�ำธุรกิจ บางกลุ่มจ�ำกัดเฉพาะคนที่ อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น ไม่อนุญาต ให้คนนอกกลุ่มเข้า เช่น กลุ่มเครือข่ายธนาคาร ส� ำ นั ก บั ญ ชี ทนายความ สถาปนิ ก เป็ น ต้ น บางกลุ่มเปิดโอกาสให้คนในสายอาชีพอื่นๆ เข้า ได้ เช่น สมาคมหรือเครือข่ายโรงแรม ที่อนุญาต ให้ผขู้ ายสามารถเข้ามาแนะน�ำสินค้าหรือบริการ ใหม่ ๆ เพื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล หรื อ แนวทางในการ ช่วยเหลือธุรกิจโรงแรม เป็นต้น สิ่ ง ที่ ผู ้ ป ระกอบการควรท� ำ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ประโยชน์ ม ากที่ สุ ด จากการเข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม คื อ หากคุณอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน คุณสามารถอาสาท�ำกิจกรรมเพือ่ สร้างการจดจ�ำ ที่ดี แต่ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในสาขาอาชีพเดียวกับ กลุ่มนั้นๆ และเป็นผู้ขายหรือ Vendor คุณ ต้องระวังตัวในการสื่อสารหรือน�ำเสนอ เพราะ ทุกๆ คนก�ำลังจับตาดูว่าคุณเป็นนักล่าหรือเป็น ผู้ช่วยเหลือ ดังนั้นค�ำแนะน�ำจากผมคือ อย่าได้ น�ำเสนอ หรือพยายามขายอะไรออกไปทันที มัน อาจจะยากที่จะหยุดห้ามใจได้ เพราะคุณอยู่ใน วงลูกแกะทีน่ า่ กินทัง้ นัน้ หายใจลึกๆ และบอกกับ ตัวเองว่าคุณมาทีเ่ พือ่ มาท�ำความรูจ้ กั และเข้าใจ
ความคิดของว่าที่ลูกค้าคุณในอนาคต มันหา โอกาสยากที่จะมาท�ำความรู้จักส่วนบุคคลและ เข้าใจการท�ำงานในธุรกิจของพวกเขา รวมทั้ง ปัญหาที่เขามี แค่ฟังและท�ำความเข้าใจ และ ถ้าเขาถามถึงเราว่าเราท�ำอะไร เราค่อยบอกกับ เขาว่าเราท�ำอะไรแบบสั้นๆ เช่น ผมท�ำธุรกิจ ช่วยลูกค้าเพิ่มก�ำไรครับ เพิ่มลูกค้าใหม่ๆ ครับ ให้ลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้นครับ เป็นต้น และ ถ้าคุณสามารถให้บริการหรือความช่วยเหลือ ทีฟ่ รี แบบไม่คดิ เงิน เขาอาจจะสนใจมากขึน้ เพือ่ ท�ำให้เขาและเรารู้จักกันมากขึ้นอีกระดับ หากคุ ณ พบกั บ คู ่ แ ข่ ง หรื อ คนที่ อ ยู ่ ใ น อุตสาหกรรมเดียวกันในกลุ่มนั้น ขอให้คุณคิด เสมอว่า เรามาสร้างทีม เขาอาจจะเก่งคนละ ด้านกับเรา และมาร่วมมือช่วยแนะน�ำลูกค้าให้ กันและกันได้ อย่าคิดว่าทุกๆ คนคือคูแ่ ข่ง เพราะ นั่นจะท�ำให้คุณปิดโอกาสตัวเองลง กลุ่มเครือข่ายบน Online
กลุ่มนี้มีข้อดีคือ การสร้างเครือข่ายของคน ที่มีความชอบคล้ายกัน ที่ต้องการพูดคุยกับคน ทีม่ คี วามคิดคล้ายๆ กันหลายคนทัว่ ประเทศหรือ ทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ Idea ใหม่ๆ และรวมถึงการประชาสัมพันธ์ งานหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น Facebook.com, LinkedIn.com เป็นต้น ปัจจุบันมีหลายบริษัท พยายามสร้างเครือข่ายบนโลก Online มากขึ้น เพื่อจับคู่ธุรกิจทางการค้า ซึ่งมีทั้งเสียเงินและ ไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับระดับการบริการ ข้อดีคือ ผู้ประกอบการมีช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจที่ เข้าถึงผูซ้ อื้ กว้างมากขึน้ แต่เนือ่ งจากการแข่งขัน สูงและคู่แข่งก็สามารถลงประชาสัมพันธ์ได้เช่น เดียวกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับแผนการตลาดและ สินค้าบริการของผู้ขาย ว่าเป็นที่ต้องการของ ตลาดมากน้อยแค่ไหน สิ่ ง ที่ ผู ้ ป ระกอบการควรท� ำ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าร่วมกลุ่มคือ การ สร้างตัวตนหรือแบรนด์ทที่ ำ� ให้คณ ุ เป็นผูช้ ำ� นาญ การในด้านใดด้านหนึ่งอย่างสูง (Expert) โดยมี สื่อต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน เช่น ออกหนังสือ หรือ e-book การให้ความรู้ผ่าน Youtube การจัดการอบรมหรือพูดให้ความรู้ เป็นต้น หรือ เราอาจปรึกษาเจ้าของเครือข่าย Online ว่าเขามี โปรแกรมประชาสัมพันธ์อะไรบ้างทีท่ ำ� ให้เข้าถึง
กลุ่มลูกค้าได้ตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตามวันนี้คน ที่ท�ำธุรกิจบน Online ก็หันหน้ามาท�ำธุรกิจบน Offline ด้วยเช่นกัน เพราะคู่แข่งเพิ่มขึ้นอย่าง มากในโลก Online และบวกกับกฎกติกาใหม่ๆ ของ Facebook, Google, Line, Youtube เพิ่มมากขึ้น กลุ่มเครือข่าย Business Referral หรือ Business Connection
กลุ ่ ม นี้ มี ข ้ อ ดี คื อ เน้ น ในการช่ ว ยเหลื อ สมาชิ ก ให้ มี ก ารแลกเปลี่ ย น Connection และ Collaborate (ท�ำงานร่วมกัน) แนะน�ำ ลูกค้าใหม่ๆ ให้แก่กัน เพื่อให้มีโอกาสในการ น�ำเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่คนทีเ่ ขามีปญ ั หา และก�ำลังมองหาคนมาช่วยแก้ปัญหาแบบตรง ประเด็น โดยไม่ท�ำให้คนที่ถูกน�ำเสนอรู้สึกว่า ถูกขาย แต่กลับเป็นสิ่งที่เขาตั้งตารอคอยเรา ไปน�ำเสนอสินค้าหรือบริการให้กับเขา โดยใน แต่ละกลุ่มหรือ Chapter จะมีอาชีพที่ไม่ซ�้ำกัน หรือประเภทธุรกิจเดียวไม่มีคู่แข่งในสายอาชีพ เดี ย วกั น อยู ่ ใ นกลุ ่ ม เดี ย วกั น หากมี ค นสนใจ ที่อาชีพซ�้ำจะจัดตั้งเป็นกลุ่มใหม่ต่อไป ท�ำให้ ผูป้ ระกอบการไม่ตอ้ งคอยกังวลเรือ่ งการแข่งขัน ในกลุ่ม การประชุมจะเป็นรายสัปดาห์เพราะ ต้องการสร้างความรู้จักกันในธุรกิจและส่วนตัว มากขึน้ มีวาระการประชุมชัดเจนทีเ่ น้นเรือ่ งการ ช่วยแนะน�ำลูกค้าให้กนั และกันทุกสัปดาห์ มีการ ให้ความรูก้ ารใช้เครือ่ งมือและการสร้างทีมอย่าง เป็นระบบ และมีเครือข่ายในหลายจังหวัดทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ และมีการวัดผลลัพธ์ อย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ที่เข้าร่วมต้องสามารถ จัดสรรเวลาการประชุมได้ ต้องการให้ธุรกิจ เติบโต ชอบท�ำงานเป็นทีม ชอบพัฒนาตนเอง ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และรับในกฎระเบียบได้ สิ่ ง ที่ ผู ้ ป ระกอบการควรท� ำ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ประโยชน์ ม ากที่ สุ ด จากการเข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม คื อ การเข้าอบรมเรียนรู้ระบบอย่างต่อเนื่อง การ เข้าร่วมประชุมทุกสัปดาห์ การท�ำความรู้จักกับ เพื่อนๆ ต่างธุรกิจเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ธุรกิจระหว่างกันและกัน เพื่อเข้าใจเชิงลึกและ สามารถน�ำมาถึงการแนะน�ำลูกค้าใหม่ๆ ให้ กันและกันมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็น ทีร่ จู้ กั ในองค์กรมากยิง่ ขึน้ เราสามารถสมัครเข้า ร่วมทีมในการสร้างกลุ่ม ดูแลและพัฒนากลุ่ม
กลกิตต์ เถลิงนวชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเครือข่าย ผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์ Referral Marketing และปั้นธุรกิจให้เติบโตด้วย ยอดธุรกิจกว่า 1 หมื่นล้านบาท และเป็นผู้ ได้รับการรับรองให้เป็นโค้ชพัฒนาภาวะผู้น�ำ ของ John C. Maxwell Team อีกทั้งยัง เป็นอาจารย์สอนวิชา Retail Marketing สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหิดลด้วย
หรือการให้ความรู้แก่สมาชิกในองค์กร ซึ่งท�ำให้ เราเป็นทีร่ จู้ กั ของคนทัง้ ประเทศ และเพิม่ โอกาส ใหม่ๆ มากขึ้นไปอีกระดับ ตัวอย่างองค์กรคือ BNI เมื่อคุณเข้าใจถึงกลุ่ม Networking ต่างๆ แล้ว ตอนนี้คุณต้องตัดสินใจว่าคุณอยากจะเข้า กลุม่ เครือข่ายไหน ด้วยเหตุผลและวัตถุประสงค์ อะไร ผมแนะน�ำให้คุณเลือกไม่เกินประมาณ 3 อย่าง โดยที่คุณสามารถเริ่มจากอะไรที่ง่ายต่อ การบริหารเวลาก่อนแล้วเพิ่มขึ้นทีละอย่างแล้ว ดูวา่ กลุม่ เครือข่ายไหนเหมาะสมกับคุณ แต่อย่า เกิน 3 กลุม่ เพราะคุณจะไม่สามารถบริหารความ สัมพันธ์เชิงลึกได้ และมันจะไม่เกิดประโยชน์จาก การเข้าร่วมเครือข่ายและกลายเป็นต้นทุน ในตอนหน้ า ผมจะพู ด ถึ ง การสร้ า งที ม Referral Power Team ที่ทรงพลังเพื่อช่วยกัน แนะน�ำลูกค้ารายใหญ่ๆ ให้แก่กันและกันไปถึง เป้าหมายยอดขายประจ�ำปีของกันและกัน
B-CONNECT MAGAZINE
075
People Hub
DISC ตามแนวคิด PLATINUM RULE DISC ตามแนวคิด Platinum Rule เป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของ Dr.Tony Alessandra นักการตลาด ผู้แต่งหนังสือ “Room Full of Referral” ที่กล่าวว่า “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่พวกเขาต้องการ - Treat
others the way they want to be treated”
DISC เป็นค�ำย่อของรูปแบบพฤติกรรม ทั้งที่เป็นการกระท�ำ และค�ำพูดที่เราแสดงออก กับผู้อื่น และเป็นภาษาสากลที่ใช้ระบุรูปแบบ พฤติกรรมกับคนทุกเชื้อชาติภาษาบนโลกใบนี ้ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ท�ำงาน อาชีพอะไร หรือ มีต�ำแหน่งงานอะไร ทัง้ นี้ DISC ไม่มคี วามเกีย่ วข้องกับระดับการ ศึกษา ความฉลาด (IQ) ไม่ได้บ่งบอกค่านิยม ทัศนคติ และอื่นๆ ที่หล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพ ของแต่ละคน (Personality) แต่จะบอกว่า คุณเป็นคนแบบไหนจากพฤติกรรมที่มองเห็น (Observable Personality) เท่านั้น ข่าวดีคอื ไม่วา่ เราจะเป็นคนแบบไหน ขอให้ สบายใจว่าทั้ง 4 แบบนี้ “ไม่มีแบบหนึ่งแบบใด ที่ดีที่สุด” ทุกแบบล้วนมีข้อดี ข้อจ�ำกัด และ สิ่งที่ต้องพัฒนา เพื่อให้เราสามารถปรับการ แสดงออกหรือค�ำพูดกับคนทุกประเภทได้ ซึ่ง DISC นอกจากช่วยให้เรารู้จักตัวเราเอง ดีขึ้นแล้วยังช่วยให้เราเข้าใจคนอื่นๆ รอบตัว เพื่อนร่วมงาน เห็นข้อดีของความแตกต่างกัน 076
B-CONNECT MAGAZINE
ลด ป้องกันข้อขัดแย้ง รวมทั้งสามารถสื่อสาร กับคนรอบข้างได้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ตอนนี้ เ รามาท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ คนแต่ ล ะ แบบกันก่อน นึกถึงคนที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าใน ครอบครัว ที่ท�ำงาน เพื่อน
o คุณรู้จักใครบางคนที่เป็นคนพูดตรงไป ตรงมา ไม่อ้อมค้อม เข้าประเด็น เพื่อให้ได้ ค�ำตอบอย่างที่ตั้งใจบ้างไหม?
คนประเภทนี้เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ สูง ชัดเจน เอาจริงเอาจังในทุกเรื่อง เราเรียก พวกเขาว่า D Style
o คุณมีเพือ่ นทีเ่ ป็นนักสือ่ สารชัน้ ยอด และ สามารถผูกมิตรกับทุกคนทีไ่ ด้เจอ บ้างไหม?
คนประเภทนีเ้ ป็นคนทีม่ องโลกในแง่ดี คุยเก่ง คุยสนุก มีความเป็นมิตรสูง เข้ากับคนง่าย เรา เรียกพวกเขาว่า I Style
o ในครอบครัวคุณมีใครที่เป็นผู้ฟังที่ดี และ ท�ำงานเป็นทีมกับคนอื่นได้ดีบา้ งไหม? คนประเภทนี้ เ ป็ น คนที่ มี ค วามอดทนสู ง เข้าใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น มั่นคง จงรักภักดีสูง และให้ความร่วมมือในการท�ำงานต่างๆ เป็น อย่างดี เราเรียกคนประเภทนี้ว่า S Style
o สุดท้ายคุณเคยร่วมงานกับคนทีม่ คี วาม สุขในการรวบรวมข้อมูล ลงรายละเอียด งานทุกขั้นตอนบ้างไหม?
คนประเภทนี้ เ ป็ น คนที่ มี ค วามละเอี ย ด รอบคอบ ชอบการวิเคราะห์ เราเรียกคนแบบนี้ ว่า C Style เชื่อว่าบางคนคงอยากรู้ว่าตัวเองเป็นคน สไตล์ไหนใช่ไหม? เรามีแบบทดสอบง่ายๆ แค่ เลือกค�ำตอบที่ใกล้เคียงกับตัวคุณมากที่สุด ท�ำ อย่างนี้ทั้ง 4 คอลัมน์ อย่าคิดนานเกินไป เลือก โดยใช้ความรูส้ กึ แรกทันทีทอี่ า่ นข้อความ และ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 นาที ส�ำหรับการตอบ
คอลัมน์ที่ 1 o ชื่นชอบต�ำแหน่งที่มีอ�ำนาจ o กุมความรับผิดชอบได้ o มุ่งมั่น o มั่นใจ o หนักแน่น o กล้าได้กล้าเสีย o รักการแข่งขัน o สนุกกับความท้าทาย o เป็นผู้แก้ปัญหา o มีประสิทธิภาพ o แกร่ง o มีเป้าหมาย o เป็นผู้ตัดสินใจ o พร้อมรับความเสี่ยง o มีความปรารถนาแรงกล้า o เป็นอิสระ พึ่งตนเอง o ควบคุมได้อยู่หมัด o ไม่ยอมแพ้ o ยึดมั่นกับการลงมือท�ำ o ลงมือท�ำเดี๋ยวนี้ คะแนน (SCORE) ____________ คอลัมน์ที่ 2 o กระตือรือร้น o พร้อมผจญภัย o มีวิสัยทัศน์ o เป็นผู้กระตุ้นแรงบันดาลใจ o เปี่ยมพลัง o เป็นนักพูด o เป็นผู้สนับสนุน o เป็นมิตร เข้ากับคนได้ง่าย o ชื่นชอบที่ได้เป็นที่นิยม o มีความคิดสร้างสรรค์ o สนุกกับความเปลี่ยนแปลง o รักความสนุก o เปี่ยมแรงบันดาลใจ o ชอบความหลากหลาย o เข้ากับคนในกลุ่มได้ดี o มองโลกในแง่ดี o เป็นผู้ริเริ่มสิ่งใหม่
o ท�ำให้ผู้อื่นหัวเราะได้ o ท�ำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นธรรมชาติ o เชื่อฉันสิ! ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี คะแนน (SCORE)____________ คอลัมน์ที่ 3 o ชอบท�ำตามค�ำสั่ง o ท�ำสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นย�ำ o เสมอต้นเสมอปลาย o ชอบถูกควบคุม o เก็บตัว o คาดเดาได้ o ลงมือท�ำได้จริง o จัดระเบียบเก่ง o ยึดข้อเท็จจริง o มีสติ o ทุกสิ่งต้องสมบูรณ์แบบ o ขี้กังวล o ใส่ใจรายละเอียด o ช่างวิเคราะห์ o ชอบค้นคว้าข้อมูล o เที่ยงตรง o ไม่ยอมแพ้ o ท�ำตามตารางเวลา o ปล่อยมุกตลกแบบไม่ข�ำ o เมื่อก่อนเคยท�ำกันมาอย่างไรล่ะ คะแนน (SCORE) _____________ o o o o o o o o o o o o
คอลัมน์ที่ 4
ใส่ใจ ซื่อสัตย์ สงบ นิ่งเนิบ ไม่เรียกร้อง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ชอบท�ำสิ่งต่างๆ เป็นกิจวัตร อบอุ่นและเข้าอกเข้าใจ ถ่อมตัว ยอมถอย ไม่กล้าตัดสินใจ กล้าเสียสละ ปรับตัวเก่ง
สุภาพรรณ นิลายน ปัจจุบันเป็น National Office Manager, BNI Thailand
o เห็นอกเห็นใจผู้อื่น o ช่างคิด o ช่างดูแล o อดทน o ใจกว้าง o เป็นผู้ฟังที่ดี o เป็นผู้สร้างสันติภาพ o ปล่อยให้สิ่งต่างๆ เป็นอย่างที่เป็นนั่นล่ะ คะแนน (SCORE)____________ โดยทั่วไป ทุกคนจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่ แสดงออกบ่อยๆ อยู่ 2 แบบ คอลัมน์ทไี่ ด้คะแนน สูงสุด 2 คอลัมน์แรกคือพฤติกรรมทีโ่ ดดเด่นของ คุณที่แสดงออกในสถานการณ์ต่างๆตลอดเวลา ตามแบบทดสอบนี้ กลุ่มที่ 1 คือ D Style – Director กลุ่มที่ 2 คือ I Style – The Socializer กลุ่มที่ 3 คือ C Style – The Relater กลุ่มที่ 4 คือ S Style – The Thinker อย่างไรก็ตาม นี่คือผลจากการมองจากมุม ของเราคนเดียว หากต้องการความแม่นย�ำควร ให้ ค นอื่ น ประเมิ น ตั ว เราด้ ว ย ก็ จ ะท� ำ ให้ เ ห็ น รูปแบบพฤติกรรมของเราที่ใกล้เคียงมากขึ้น และควรท�ำแบบทดสอบเต็มรูปแบบที่มีให้ท�ำ ฟรีออนไลน์ เช่น www.tonyrobbins.com, www.alessandra.com, etc.
B-CONNECT MAGAZINE
077
Finance in Practice
งบการเงิน กับงานบริหาร วันนี้ผมจะคุยให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องงบการเงิน ซึง่ ผูบ้ ริหารส่วนใหญ่จะส่ายหน้ากันไปมา เพราะ คิดว่าผมจะมาคุยเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี และ หมวดบัญชีต่างๆ แต่คุณก�ำลังคิดผิดครับ ผมก็ เหมือนพวกคุณนั่นแหละที่เคยไม่ชอบวิชาบัญชี เลยสมัยที่เรียนปริญญาตรี ตอนนั้นผมไม่เข้าใจ บัญชีเลยว่าท�ำไมสินทรัพย์เพิ่มขึ้นถึงต้องบันทึก ด้านเดบิต แต่เวลาทีห่ นีส้ นิ เพิม่ ขึน้ กลับต้องบันทึก ด้านเครดิต และอืน่ ๆ อีกมากมาย ตอนนัน้ ผมเรียน คณะเศรษฐศาสตร์ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าท�ำไม ต้องบังคับให้เรียนวิชาบัญชีด้วย และก็ไม่คิดว่า พอจบปริญญาตรีแล้ว เมือ่ มาเรียนต่อปริญญาโท บริหารธุรกิจ เอกการเงิน ก็ยงั ต้องวนมาเจอกับวิชา บัญชีอกี ถึงสองตัว แต่ตอ้ งยอมรับครับว่การเรียน บัญชีครั้งที่สองของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง คือ ผมเปิดใจทีจ่ ะเรียนรูม้ ากขึน้ เพราะหากจะเรียน การเงินแต่ไม่รบู้ ญ ั ชีเอาเสียเลย คงไม่รอดแน่ ๆ และอีกประการหนึ่ง ท่านอาจารย์ที่สอนผมใน ครัง้ นีท้ า่ นถ่ายทอดเก่งมาก ท�ำให้ผมเข้าใจบัญชี แบบทีส่ ามารถน�ำไปใช้มาจนถึงทุกวันนีค้ รับ วันนี้ผมจะพยายามท�ำให้คุณๆ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการและผูบ้ ริหารเข้าใจในบัญชี ประโยชน์ และการน�ำไปใช้ในเบือ้ งต้นมากขึน้ ครับ อย่างทีผ่ มบอกในตอนต้นว่า สาเหตุหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ ผมเปิดใจกับวิชาบัญชี คือ ผมรูว้ า่ ผมจ�ำเป็นต้องรู้ เพือ่ น�ำไปใช้ในอนาคต และเช่นกันครับ ผมก็หวัง ว่าคุณๆ จะเป็นเหมือนผม ทีนเี้ ราลองมาดูกนั ไหม ครับว่าบัญชีมคี วามส�ำคัญและประโยชน์อะไรบ้าง ส�ำหรับผูป้ ระกอบการและผูบ้ ริหาร
078
B-CONNECT MAGAZINE
ประการแรก นั ก บั ญ ชี เ ป็ น ผู ้ บั น ทึ ก ทุ ก ๆ กิจกรรมในธุรกิจของคุณ จากเอกสารต่างๆ เช่น รายการการลงทุนในทีด่ นิ โรงงาน และเครือ่ งจักร รายการซือ้ วัตถุดบิ รายการจ่ายเงินเดือนพนักงาน รายการขายสินค้า รายการจ่ายดอกเบีย้ ธนาคาร รายการเสียภาษีนติ บิ คุ คล และรายการอืน่ ๆ อีก มากมาย อย่างเป็นหมวดหมู่ เพือ่ จัดท�ำรายงาน ทางการเงินหรืองบการเงิน เพือ่ เป็นบทสรุปฐานะ การเงินของกิจการ (งบดุลหรืองบแสดงฐานะการ เงิน) ผลการด�ำเนินงานของกิจการ (งบก�ำไรขาดทุน) ให้ผปู้ ระกอบการและผูบ้ ริหารได้รบั ทราบ ประการที่ ส อง เราในฐานะที่ คุ ณ เป็ น ผู ้ ประกอบการและเป็นผูบ้ ริหาร คุณไม่ตอ้ งการทราบ หรือครับว่า ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ หนึง่ ปีทผี่ า่ นมา กิจการของคุณมีผลการด�ำเนินงาน และการเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร ดีขนึ้ แย่ลง หรือ ควรปรับปรุงตรงส่วนไหน อย่างไร เพราะสิง่ ทีค่ ณ ุ ๆ ต้องการ คือ ยอดขาย ก�ำไร และยอดเงินในบัญชี ทีเ่ พิม่ ขึน้ ทุกๆ ปี มิใช่หรือ หากคุณไม่สนใจและไม่ เข้าใจตัวเลขต่างๆ ทางบัญชี คุณจะบริหารกิจการ ของคุณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ อย่างไร ผมว่ามาถึงตรงนีค้ ณ ุ ๆ คงเริม่ เห็นด้วยกับผม แล้วใช่ไหมว่า คุณจ�ำเป็นต้องใช้ประโยชน์จาก บัญชีมากกว่าแค่ทำ� ตามกฏหมาย และสรรพากร เท่านัน้ ทีนเี้ ราลองมาดูวา่ ปกติงบการเงินประกอบ ด้วยอะไร และมันบอกอะไรเราได้บา้ ง (ผมไม่ได้ให้ ตัวอย่างงบการเงินไว้ในทีน่ ี้ เนือ่ งจากจะกินเนือ้ ที่ ของเนือ้ หาส�ำคัญส่วนอืน่ ๆ โดยใช่เหตุ อีกทัง้ ท่าน
ผูป้ ระกอบการและผูบ้ ริหาร ก็สามารถกลับไปดู งบการเงินของบริษทั ของท่านเองได้ครับ) 1. รายงานผูส ้ อบบัญชี
ซึง่ ก็คอื เอกสารแผ่นแรกทีป่ ะหน้างบการเงิน ของคุณ ซึง่ ใบปะหน้านีค้ อ่ นข้างเป็นมาตรฐานที่ ผูส้ อบบัญชีจะเขียนไว้เพือ่ บอกว่า งบการเงินฉบับนี้ จัดท�ำอย่างไร การจัดท�ำบัญชีของกิจการเป็นปกติ น่าเชือ่ ถือ หรือไม่ อย่างไร ซึง่ ตรงนีส้ ำ� คัญมาก คือ หากงบการเงินของกิจการของคุณปรากฏความเห็น ผู้สอบบัญชีในเชิงลบ จะส่งผลเสียอย่างมากต่อ ความน่าเชือ่ ถือของงบการเงินและตัวกิจการ เช่น หากผูส้ อบบัญชีตงั้ ข้อสงสัยในความถูกต้องของยอด สินค้าคงเหลือ หรือความสามารถในการติดตาม และเก็บเงินค่าสินค้าทีข่ ายไป เป็นต้น ดังนัน้ ทุกๆ ครัง้ ทีผ่ สู้ อบบัญชีสง่ งบการเงินประจ�ำปีมาให้คณ ุ ลงนาม คุณต้องอ่านใบปะหน้านีเ้ ป็นอันดับแรก ว่ามีอะไรทีผ่ ดิ ปกติหรือไม่ หากมี คุณต้องเรียก ผูจ้ ดั การฝ่ายบัญชีประชุมเพือ่ แก้ปญ ั หาเป็นการ เร่งด่วน เพราะโดยปกติแล้ว ผูส้ อบบัญชีจะแจ้ง ผูจ้ ดั การฝ่ายการเงินหรือฝ่ายบริหารให้แก้ไขหรือ ชีแ้ จงปัญหานัน้ ๆ ก่อนทีจ่ ะออกความเห็นนี้ เพราะ หากปล่อยให้งบการเงินของคุณมีความเห็นผูส้ อบ บัญชีในเชิงลบ จะส่งผลให้ผทู้ ดี่ หู รือใช้ประโยชน์ งบการเงินนีข้ าดความเชือ่ มัน่ ไม่วา่ จะเป็นผูถ้ อื หุน้ เจ้าหนีส้ ถาบันการเงิน ผูร้ ว่ มลงทุน สรรพากร และ ผูเ้ กีย่ วข้องอืน่ ๆ
2. งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน
ก็เหมือนชือ่ ของงบการเงินในส่วนนีค้ รับ ว่า เป็นงบการเงินทีแ่ สดงฐานะทางการเงิน ของกิจการ ว่า ณ วันทีใ่ นงบการเงิน เช่น 31 ธันวาคม 2559 กิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร ซึง่ ในงบดุล นี้ จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ สินทรัพย์ หนีส้ นิ และส่วนของผูถ้ อื หุน้ ซึง่ หลายๆ คนคงพอ รูจ้ กั สมการนี้
สินทรัพย์ = หนีส้ นิ + ทุน (ส่วนของผูถ้ อื หุน้ หรือส่วนของเจ้าของ) ความหมาย คือ ทรัพย์สนิ หรือสินทรัพย์ของบริษทั มีทมี่ าจาก 2 ส่วน คือ หนึง่ มาจากเงินส่วนของ เจ้าของ (เงินลงทุน และก�ำไรสะสมทีเ่ กิดจากการ ด�ำเนินกิจการที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลออกไป) และสอง มาจากส่วนของการก่อหนี้ ซึง่ อาจจะเป็น หนี้จากภายในกิจการ (เงินกู้จากกรรมการหรือ เงินกูจ้ ากผูถ้ อื หุน้ ) และหนีส้ นิ จากภายนอกกิจการ (เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้สถาบันการเงิน เป็นต้น) คุณคงมีคำ� ถามเกิดขึน้ ในตอนนีว้ า่ แล้วในงบการเงิน นี้ อะไรเป็นตัวบอกว่าฐานะทางการเงินกิจการเป็น อย่างไร ซึง่ คนทัว่ ไปอาจคิดว่า ยิง่ ทรัพย์สนิ มากๆ ๆ ๆ ยิง่ แสดงว่าฐานะการเงินดี ใช่หรือ ผมฝากไว้เป็น ปมให้คณ ุ ได้ขบคิดกันก่อน แล้วผมจะค่อยๆ เฉลย ในตอนต่อๆ ไปครับ 3. งบก�ำไรขาดทุน
เป็นงบการเงินทีแ่ สดงผลการด�ำเนินงานของ กิจการของคุณว่า ในรอบระยะเวลาหรือรอบปี ทีผ่ า่ นมา กิจการของคุณมีผลการด�ำเนินงานเป็น อย่างไร ซึ่งในงบก�ำไรขาดทุน มีสิ่งที่น่าสนใจ มากกว่าบรรทัดทีเ่ ป็นยอดขาย และก�ำไรสุทธิอยู่ อีกมากมาย ซึง่ ผูป้ ระกอบการและผูบ้ ริหารจ�ำนวน ไม่นอ้ ยทีด่ แู ค่สองบรรทัดนีเ้ ท่านัน้ ! คุณเป็นหนึง่ ใน ผูบ้ ริหารแบบนัน้ ใช่ไหมครับ ถ้าค�ำตอบคือใช่ละก็ คุณก�ำลังท�ำธุรกิจแบบปล่อยไปตามยถากรรมครับ เพราะคุณสนใจแต่การขายๆ ๆ ๆ และหวังว่าจะได้ ก�ำไรเยอะๆ โดยทีไ่ ม่สนใจเลยว่า คุณสามารถท�ำได้ มากกว่านัน้ ถ้าคุณสนใจตัวเลขบรรทัดอืน่ ๆ มากขึน้ เช่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร ดอกเบีย้ จ่าย และภาษี เพราะข้อมูลเหล่านีอ้ าจ ช่วยชีวติ กิจการของคุณได้หากคุณสนใจมันมากพอ
4. งบกระแสเงินสด
เป็นงบการเงินส่วนทีห่ ลายๆ กิจการไม่จดั ท�ำให้ ผูบ้ ริหารและเจ้าของกิจการได้ดู แต่เป็นงบการเงิน ส่วนทีส่ ำ� คัญมากๆ เพราะเป็นรายงานทางการเงิน ทีจ่ ะบอกคุณว่า ในรอบปีทผี่ า่ นมา กิจกรรมอะไร บ้างทีท่ ำ� ให้เงินสดเพิม่ ขึน้ ในกิจการ และกิจกรรม อะไรบ้างทีด่ ดู เงินสดของกิจการไป หากคุณเข้าใจ ตัวเลขในส่วนนีจ้ ะท�ำให้คณ ุ สามารถบริหารเงินสด และสภาพคล่องของกิจการได้ดขี นึ้ ซึง่ กิจกรรมทีม่ ี ผลกระทบกับเงินสดของกิจการ สามารถแบ่งออก เป็นกลุม่ หลักๆ ได้ 3 กลุม่ คือ o กระแสเงินสดจากการด�ำเนินงาน คือกระแสเงินสดทีเ่ กิดจากกิจกรรมในธุรกิจหลัก (Core Business) ของกิจการ ซึง่ จะบอกว่าในการ ท�ำธุรกิจหลักของกิจการ ส่วนไหนสร้างเม็ดเงิน หรือดูดเม็ดเงินของกิจการ ซึง่ โดยส่วนใหญ่ หาก ไม่สนใจตัวเลขในบัญชีและบริหารไม่ดี ตัวทีจ่ ะดูด เงินสดของบริษัทไปก็จะเป็นพวกลูกหนี้การค้า (ขายเยอะแต่เก็บหนี้ได้ช้า หรือเก็บหนี้ไม่ได้) สต็อกบวม (การผลิตและยอดขายไม่สมั พันธ์กนั ) หรืออาจเป็นปัญหาทีต่ น้ ทุนสูงเกินกว่าทีค่ วรจะเป็น เป็นต้น ซึง่ หากคุณสนใจตัวเลขทางบัญชีและรูว้ ธิ ี การจัดการแล้ว คุณก็จะไม่ประสบปัญหาทีย่ งิ่ ขาย ยิง่ ขาดเงินสด และต้องติดหนีโ้ อดี (วงเงินกูเ้ บิกเงิน เกินบัญชี) ตลอดเวลา o กระแสเงินสดจากการลงทุน กิจกรรมในส่วนนี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นการลงทุนเพื่อการเติบโตในธุรกิจหลักของ กิจการ เช่น การลงทุนในโรงงาน เครือ่ งจักร และ การลงทุนอื่นๆ เพื่อท�ำให้ธุรกิจหลักเติบโตใน อนาคต ส่วนทีส่ องเป็นการลงทุนเพือ่ บริหารเงินสด ส่วนเกินให้ได้ผลตอบแทนมากขึน้ แต่ตอ้ งยอมรับ ว่า กิจกรรมส่วนนีไ้ ม่ได้เป็นธุรกิจหลักของกิจการ ซึง่ บางครัง้ อาจเป็นการลงทุนอะไรทีม่ คี วามเสีย่ ง และขาดความรูค้ วามช�ำนาญ อันอาจส่งผลให้เกิด การสูญเสียจากการลงทุนส่วนนีไ้ ด้ o กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา เงินทุน กิจกรรมส่วนนีไ้ ด้แก่การเพิม่ ทุน หรือการ ลงทุนเพิม่ ในส่วนของผูถ้ อื หุน้ และกิจกรรมจัดหา แหล่งเงินทุนด้วยการก่อหนี้ ได้แก่ การกูเ้ งินจาก กรรมการหรือผูถ้ อื หุน้ การกูเ้ งินจากสถาบันการเงิน เป็นต้น ซึง่ การเพิม่ ในส่วนนีจ้ ะมีผลท�ำให้กจิ การมี เงินสดเพิม่ ขึน้ แต่กอ็ าจมีภาระ ค่าใช้จา่ ยทางการ เงินเพิม่ ขึน้ เช่นกัน และภาระการต้องช�ำระคืนเงินกู้ ในอนาคต ซึง่ จะส่งผลท�ำให้เงินสดของกิจการลดลง
ระพีพัฒน์ สวนศิลป์พงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลทิเมท ซัคเซส แอ๊ดไวส์รี่ จ�ำกัด
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
เอกสารส่วนนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญที่จะ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านงบการเงิน ซึ่งจะให้ รายละเอียดเกีย่ วกับมาตรฐานบัญชีทใี่ ช้กบั กิจการ รายละเอียดเพิม่ เติมเกีย่ วกับรายการบางรายการ ในงบดุล และงบก�ำไรขาดทุน รวมถึงรายการ ส�ำคัญบางรายการที่ไม่ปรากฏอยู่ในที่อื่นใดใน งบการเงินเลย เช่น ภาระการค�ำ้ ประกัน เป็นต้น การเปิดข้อมูลในส่วนนีม้ คี วามส�ำคัญมาก เพราะ หากเปิดรายละเอียดมากและลึกเกินไป อาจส่ง ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ กิจการ เนือ่ งจากงบการเงินทีต่ รวจสอบแล้วต้อง ส่งให้กระทรวงพาณิชย์ ซึง่ คนอืน่ ก็สามารถขอดู และถ่ายเอกสารได้ (เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อ สาธารณชน) มาถึงตรงนีท้ า่ นเจ้าของกิจการและผูบ้ ริหาร ทั้งหลายคงได้เห็นถึงความส�ำคัญ และความ น่าสนใจของข้อมูลในงบการเงินกันบ้างแล้วไม่มาก ก็น้อย หน้าที่ของผมในครั้งนี้เป็นเพียงแค่ให้ชิม ออร์เดิรฟ์ ทีท่ ำ� ให้คณ ุ ๆ อยากทีจ่ ะรูเ้ พิม่ เกีย่ วกับ งบการเงินกันก่อน โดยในวาระต่อๆ ไป ผมก็จะมาให้ ข้อมูลเพิม่ ขึน้ อีกว่า แล้วตัวเลขต่างๆ ในงบการเงิน เราต้องดูอย่างไร และสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างไรครับ
B-CONNECT MAGAZINE
079
Strategic Corner
Digital Trend อันไหนจะปัง อันไหนจะปลิว
080
B-CONNECT MAGAZINE
เจษ เจษฎา วีรบุญชัย Business Growth Expert
ในฐานะที่ปรึกษา นักการตลาด นักเขียนโฆษณา (Copywriter) ที่ดูแลเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ค�ำถามยอดฮิตที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถามผมบ่อยที่สุดคือ
“Trend การตลาด Digital แบบไหนจะมาแรง?” เอาจริงๆ นะส�ำหรับผมมันเป็นค�ำถามที่ไม่ค่อยจะตรงจุดสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้โฟกัสไปที่ องค์ประกอบหลักของการท�ำการตลาดนั่นก็คือ ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย ถ้าวันนีท้ า่ นเข้าไปเปิดดู Trend จากส�ำนักต่างๆ ท่านจะเห็นได้เลยว่า มีมากมายทีจ่ ะปัง โดดเด่น ตั้งแต่ลูกเล่น หน้าตา ประโยชน์ใช้สอย และความอลังการ
แต่ประเด็นคือ... มันจ�ำเป็นไหมต่อธุรกิจของท่าน? ค�ำถามที่ต้องถามตัวเองก่อนจะท�ำตาม Trend คือ ธุรกิจเราพร้อมส�ำหรับเครื่องมือนี้ไหม? และ ลูกค้าเราพร้อมส�ำหรับเครื่องมือนี้ไหม? เพราะถ้าท่านไม่สามารถตอบค�ำถาม 2 ข้อนี้ได้ ไม่ว่าเลือก Trend อะไร มันก็จะไม่เห็นผลลัพธ์ เท่าที่ควร ท�ำไมผมถึงพูดแบบนั้น ในเมื่อกูรู และส�ำนักข่าวต่างๆ พูดอีกแบบหนึ่ง? ยกตัวอย่างง่ายๆ
วันนี้ Facebook เปิด feature ใหม่ สามารถช�ำระเงินได้เลยใน Facebook แน่นอนมันเป็น สิ่งที่มีแต่คนเรียกร้องมานาน และมันก็ว้าวมากๆ แต่ถ้าสมมติว่ากลุ่มเป้าหมายของเราไม่สะดวกใจ ที่จะกรอกบัตรเครดิตผ่านช่องทางออนไลน์ แต่เราต้องการให้ธุรกิจ Automation มากขึ้น มีระดับ มากขึน้ โดยไม่ดคู วามจริงตรงนี้ สิง่ ทีจ่ ะตามมาคือ ท่านอาจจะเสียลูกค้าไปแบบงงๆ ทัง้ ทีท่ ำ� ทุกอย่าง มาถูกต้องแล้ว
ความจริงที่สามารถขุดขึ้นมาได้คือ คนที่ดูจนจบจริงๆ มีไม่ถึง 3% คนที่แชร์ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย คนที่ดูไม่ถึง 10 วินาทีมีเกิน 85% ถ้าดูตัวเลขแล้ว ก็น่าจะสรุปอะไรได้หลายๆ อย่าง ซ�้ำร้าย ยอดที่เกิดขึ้นมีแค่ 50% มาจาก คลิปวิดีโอ (ที่เหลือมาจากช่องทางอื่น) จาก 2 ตัวอย่างนี้ ผมอยากจะแนะน�ำแบบนี้ เกีย่ วกับ Trend ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในปี 2017 ผมอยาก แนะน�ำว่า ก่อนที่จะไปวิ่งตาม Trend ที่ก�ำลัง มาแรง วิ่งตามรู้จักลูกค้าให้ดีกว่านี้ก่อนดีไหม จากนั้นค่อยมาเลือกเอาว่า Trend ไหนท�ำเงิน ให้ธุรกิจของท่านมากที่สุด ท้ายทีส่ ดุ แล้ว อันไหนจะปัง อันไหนจะปลิว กรรมการคนส�ำคัญที่สุดก็คือลูกค้าที่ยินดีจะ จ่ายเงินแลกสินค้าหรือบริการของเรา ปล. ในฐานะที่ผมท�ำธุรกิจส่วนตัวด้วย ถ้าผมรู้ ว่า Trend อันไหนจะมาแรง ผมจะท�ำตัวเงียบ มากๆ เลยแหละ เว้นแต่วา่ มันจ�ำเป็นจริงๆ ผมจะ ออกมาพูดแบบกว้างๆ ให้ไปคล�ำทางกันเอาเอง
อีกตัวอย่างหนึ่งที่อยากจะยกคือ Viral Clip หรือการสร้างคลิปวิดีโอ เมื่อปีที่แล้วมีคนมาขอค�ำปรึกษาผมเรื่องการใช้คลิปวิดีโอ เพราะเขาท�ำส�ำเร็จ แต่มันมีปัญหา ส�ำคัญอยู่ข้อเดียว เรื่องของเรื่องคือ เขาต้องการจะสร้างคลิปวิดีโอให้กลายเป็นไวรัล (กระแสแบบปากต่อปาก ดัง ทั้งประเทศ) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คลิปนั้นกลายเป็นไวรัลจริงๆ มีคนแชร์มหาศาล มีคนเห็นหลักล้าน แต่ แทบไม่มยี อดขายเข้าธุรกิจเลย (เรียกว่ามีบา้ ง แต่หา่ งไกลความคาดหวังหลายปีแสง) เขาจึงมาปรึกษา ผมว่า มันเกิดอะไรขึ้น เขาท�ำถูกต้องตามต�ำราทุกอย่าง ยอดวิวก็หลายล้าน ซึ่งผมก็ต้องออกตัวก่อน เลยว่า ไม่เชี่ยวชาญการใช้คลิปไวรัลในการท�ำการตลาด เพราะดูตัวเลขจากทั่วโลกแล้ว มันค่อนข้าง เสียเวลา ถ้าจะไปหวังยอดขายจากการใช้คลิปไวรัลในการโปรโมต แต่ในส่วนของเคสนี้ ผมก็คิดว่า มันควรจะได้ผลเยอะกว่านี้ (มากๆ) เลยช่วยดู ค�ำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจหลังดูคือ ยอดวิวมาจากไหน และยอดวิวนับอย่างไร? ค�ำถามที่สองคือ เหตุผลในการแชร์คืออะไร? ค�ำถามที่สามคือ มีคนดูจนจบคลิปจริงไหม? B-CONNECT MAGAZINE
081
Book Shelf
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการทรงงาน
ในหลวงทรงมีความมุง ่ มัน ่ ทีจ ่ ะน�ำความมัน ่ คงมาสูป ่ ระเทศไทย (หน้า 109) “ฉันจะพยายามไม่ท้อแท้” พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบไป “ฉันรู้ว่าฉันควรยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเองเห็นว่าถูกว่าควร และขอรับรองว่า ฉันจะพยายามท�ำทุกสิ่งอย่างสุดก�ำลัง” ทรงเป็ น ห่ ว งคนไทยและทรงรั บ สั่ ง จะไม่ เ สด็ จ ไปต่ า งประเทศอี ก (หน้า 136) …การเลิ ก เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ต่ า งประเทศมิ ไ ด้ ท� ำ ให้ พ ระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรง ใช้เวลาประทับในกรุงเทพฯ มากขึ้น “ถ้ า ประเทศยั ง ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ความยุ ่ ง ยาก และประชาชนในท้ อ งถิ่ น ห่างไกลยังมีความทุกข์ยาก เราก็ไม่สามารถอยู่อย่างสุขสบายแต่ภายใน เมืองหลวงได้” พระองค์ ท รงรั บสั่ ง ก่ อ นเสด็ จ กลั บมาประทั บเมื อ งไทย เป็นการถาวร ซึ่งที่ทรงรับสั่งนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทรงเห็นว่าไม่สมควร ที่จะเสด็จพระราชด�ำเนินต่างประเทศเป็นระยะเวลานานๆ อีกต่อไป”
082
B-CONNECT MAGAZINE
‘กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการทรงงาน’ เป็นหนังสือ อันทรงคุณค่าที่แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง King Bhumibol Adulyadej : A Life’s Work ที่ ตี พิ ม พ์ เ ป็ น ครั้ ง แรกเมื่ อ เดื อ น พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดย ส�ำนักพิมพ์เอดิซิยองส์ดิดิเยร์ มิลเยต์ ณ ประเทศสิงคโปร์ เป็นหนังสือที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและ ถือได้วา่ เป็นหนังสือทีส่ มบูรณ์ทสี่ ดุ อีกเล่มหนึง่ ในเรือ่ งของพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ กล่าวขานทัง้ ในกลุม่ ผูอ้ า่ นชาวไทยและชาวต่างชาติ จนมีการพิมพ์ซำ�้ อย่าง ต่อเนื่องและมียอดจ�ำหน่ายกว่า 3 หมื่นเล่ม เพือ่ เผยแพร่หนังสืออันทรงคุณค่าในวงกว้าง ส�ำนักพิมพ์ เอดิซยิ องส์ ดิดิเยร์ มิลเยต์ ได้คัดเลือกให้ บริษัท เอเซียบุ๊คส จ�ำกัด เป็นผู้ที่ได้รับ ลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการในการแปล ‘King Bhumibol Adulyadej : A Life’s Work’ และจัดพิมพ์ ‘กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการ ทรงงาน’ ซึ่งเป็นฉบับภาษาไทยแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเป็น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 จุดเด่นของหนังสือปกแข็ง 512 หน้าเล่มนี้มาจากการคัดเลือก บรรณาธิการและผู้แปลที่มีความเหมาะสมและมีความสามารถ เพือ่ ถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่ คุณตรัสวิน จิตติเดชารักษ์ ผู้ก่อตั้งส�ำนักพิมพ์ Silkworm Books ซึ่งผลิตหนังสือฉบับภาษาอังกฤษ เกี่ ย วกั บ ไทยคดี ศึ ก ษาและอุ ษ าคเนย์ ศึ ก ษา ในฐานะบรรณาธิ ก าร พร้ อ มด้ ว ย คุ ณ มนั น ยา ธนะภู มิ นั ก เขี ย น นั ก แปลชื่ อ ดั ง และ คุณพรรษพร ชโลทร นักเขียน นักแปลอิสระที่ท�ำหน้าที่เป็นผู้แปล อีกทั้งได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ผศ. ดร.ประพจน์ อั ศ ววิ รุ ฬ หการ นักภาษาศาสตร์และนักอักษรศาสตร์เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลี สันสกฤต กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์นิตยา มาศะวิสุทธิ์ อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน รางวัลซีไรต์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ ‘กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการทรงงาน’ น�ำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่อาศัยการค้นคว้าข้อมูลใหม่และแหล่งข้อมูลนับร้อย เป็นข้อมูลเชิงลึก ตรงไปตรงมา อ่านเข้าใจง่ายและน่าสนใจเกี่ยวกับ ประเด็นที่ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงและมักเป็นที่เข้าใจอย่างคลาดเคลื่อน อาทิ กฎหมายหมิ่ น พระบรมเดชานุ ภ าพ การสื บ ราชสั น ตติ ว งศ์ คณะองคมนตรี ส�ำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ฯลฯ โดยมีการ ใช้บทสัมภาษณ์ สถิติ และการค้นคว้า เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและ มุมมองใหม่ๆ อีกทั้งยังได้รวบรวมพระราชกรณียกิจตลอดหกทศวรรษ แห่งการครองราชย์อย่างไม่เคยมีปรากฏในเล่มใดมาก่อน การกลับมาอีกครั้งของ ‘กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการ ทรงงาน’ ฉบับปกแข็ง ครั้งนี้ บริษัท เอเซียบุ๊คส จ�ำกัด ยังน�ำเสนอด้วย ราคาพิเศษ 699 บาท จากราคาปกติ 999 บาท ขณะที่เซ็ตของขวัญ ในกล่องสวยงามราคา 1,200 บาท
Blockchain Revolution
ผู้แต่ง Don Tapscott & Alex Tapscott ราคา 595 บาท (เอเชียบุ๊คส) Blockchain เป็นคีย์เวิร์ดที่พูดกันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะนึกภาพไม่ชัดเจนนักว่ามันคืออะไร จะมามีผลกับชีวิตผู้คน ในวันหน้าอย่างไร แต่การเยือนประเทศไทยของ Don Tapscott ผู้เขียน Digital Economy เมื่อ 20 ปีก่อนในยุคที่ใคร ก็นึกภาพของการใช้อินเทอร์เน็ตหรือทางด่วนข้อมูลกันไม่ออกเลย กับการเยือนไทยของ Alex Tapscott บุตรชายในฐานะ ผู้เขียนร่วมก็ท�ำให้กระแสตื่นตัวกับหนังสือเรื่อง Blockchain Revolution กลับมาอีกครั้ง การมองล่วงหน้าอีก 20 ปีของ ผู้เขียนที่ว่า เทคโนโลยี Blockchain เป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการข้อมูลและขั้นตอนการท�ำ ธุรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดเก็บข้อมูลที่มีการกระจายตัวไปยังผู้ที่อยู่ในระบบทุกคน (nodes) แทนที่ การใช้ตัวกลางและเมื่อมีข้อมูลใหม่ก็จะอัปเดตพร้อมกันตลอดเวลา ส่งผลให้ลดระยะเวลาการท�ำธุรกรรมและลดต้นทุน การด�ำเนินงาน อีกทั้งยังมีการบันทึกธุรกรรมตั้งแต่แรก ท�ำให้โปร่งใสและตรวจสอบง่ายยิ่งขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉม โลกการเงินอย่างน่าสนใจ ซ�้ำยังสามารถใช้กับวงการอื่นๆ ได้ด้วย แม้แต่เรื่องสุขภาพ การเคลมประกัน การจ่ายค่ารอยัลตี้ ให้กับศิลปิน หรือแม้แต่การโหวตออนไลน์ ฯลฯ Marketing 4.0 : Moving from Traditional to Digital
ผู้แต่ง Philip Kotler, Hermawan Kartajaya, Iwan Setiawan ส�ำนักพิมพ์ John Wiley & Sons Singapore. ราคา 750 บาท (ปกแข็ง : เอเชียบุ๊คส) Marketing 4.0 ที่ Kotler และทีมน�ำเสนอเป็นการท�ำตลาดในยุค Share Economy + Now Economy ที่โลก ไซเบอร์ได้ทำ� ให้ประชาคมโลกเชือ่ มโยงกันอย่างไร้รอยต่อจนเกิดประเทศทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ อย่างสหรัฐเฟซบุก๊ ทีม่ ปี ระชากร 1,600 ล้านคน เส้นทางการตัดสินใจที่เคยมีแค่ 4A : Aware, Appeal, Ask, Act จึงต้องเพิ่มด้วย Advocate (ผู้สนับสนุนระดับ สาวก) เพื่อส่งมอบประสบการณ์แบบเฉพาะตัวที่ทรงอานุภาพและเปี่ยมด้วยนวัตกรรม เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคพันธุ์ใหม่ที่ ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มผู้หญิง วัยรุ่น ประชากรบนเน็ต (Netizen)
Marketing for Competitiveness : Asia to the World - In the Age of Digital Consumers
ผู้แต่ง Kotler, Philip, Kartajaya, Hermawan , Hooi, Den Huan ส�ำนักพิมพ์ John Wiley & Sons Singapore ราคา 750 บาท (เอเชียบุ๊คส) เอเชีย ภูมิภาคที่หอมหวลและมีประชากรมากเกินครึ่งของโลก ซ�้ำมีเศรษฐกิจที่โตเร็ว ที่ส�ำคัญ Internet Economy ที่นี่จะเติบโตจาก 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 เป็น 1.97 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 หรือเติบโต 6.5 เท่า ที มผู ้ เขี ย นชี้ ว่ า การท� ำ ตลาดเพื่ อ สร้ า งการแข่ งขั นในตลาดยุ ค เปลี่ ย นผ่ า นของเอเชี ย ในยุ ค ดิ จิ ทัล นี้ ไ ม่ ใ ช่ ก ารท� ำ ตลาด ในแนวดิ่งอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องท�ำการตลาดในแนวนอนที่ต้องปรับเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ โลกทัศน์ และกระบวนยุทธ์เสียใหม่ เพื่อเจาะใจลูกค้าในเอเชียให้ได้ ส่วนจะเป็นอย่างไรต้องติดตามก่อนตกเทรนด์
Unlocking Happiness at Work : How a Data-driven Happiness Strategy Fuels Purpose, Passion and Performance
ผู้แต่ง Jennifer Moss ส�ำนักพิมพ์ Kogan Page ราคา 650 บาท (เอเชียบุ๊คส) หนังสือแนวให้พลังคิดบวก เพื่อให้คุณได้ปลดล็อกตนเอง และลองเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติที่ว่า การสร้างความสุข ในที่ท�ำงานไม่ใช่เรื่องเสียเวลาอย่างที่เข้าใจผิดกัน แต่กลับท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยซ�้ำ แล้วคุณก็จะค้นพบด้วยว่า ผู้น�ำที่สามารถน�ำองค์กรหรือทีมได้อย่างประสบความส�ำเร็จนั้นเขาท�ำได้อย่างไร และเพราะอะไร
B-CONNECT MAGAZINE
083
Fine & Dine
Homemade with
Pizza Homemade with วันหยุดหรือปาร์ตเี้ ล็กๆ ของคุณในบ้านจะทัง ้ อร่อยและสนุก กระทะ Prestige หนึ่ ง ในแบรนด์ เ ครื่ อ งครั ว คุ ณ ภาพจาก MEYER (ไมย์เออร์) คุณก็สามารถเนรมิตเมนูพิซซ่าโฮมเมดและเมนูปิ้งย่าง กันเองได้ง่ายๆ ประดุจเชฟมือหนึ่ง
เพียงแค่ใช้ Prestige รุน่ Stone Quartz กระทะเคลือบผิวลืน่ ทีผ่ ลิตด้วยระบบ Cast Aluminum แบบชิ้นเดียว หนาถึง 4.8 มม. เสริมฐานด้วยสแตนเลสสตีล 0.7 มม. ท�ำให้กระจายความร้อนได้ทวั่ ถึงจนถึงขอบกระทะ ไม่ใช่เพียงจุดใดจุดหนึง่ เคลือบผิวลื่นแบบ Speckle Base ลายหินอ่อนหนา 55 ไมครอน ท�ำให้อาหาร ไม่ติดกระทะ ด้วยรูปทรง Square Grill หรือ กระทะปิ้งย่างทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 28 ซม. ที่ใหญ่กว่าท้องตลาดทั่วไป ท�ำให้คุณสามารถปิ้งขนมปังสไลซ์ได้ 2 แผ่น หรือปิ้งย่างทั้งเนื้อสัตว์และผักได้พร้อมๆ กัน ที่ส�ำคัญ พื้นกระทะที่เป็นลอนนูนยังช่วยยกอาหารให้พ้นจากน�้ำมัน (ไขมัน) ที่ไหลออกมาขณะปิ้งย่างที่จะท�ำให้อ้วนกันอีกต่างหาก แถมกระทะนี้ใช้งานได้กับ เตาทุกประเภท รวมถึงเตาแม่เหล็กไฟฟ้าด้วย
084
B-CONNECT MAGAZINE
เมนู พิซซ่าโฮมเมด แฮมชีส
นับ 1 เตรียมของ
• ขนมปังสไลซ์แบบใดก็ได้ตามชอบ 2 แผ่น • น�้ำมันมะกอก • กระเทียม สับละเอียด • ซอสมะเขือเทศเข้มข้น • มะเขือเทศ สับละเอียด • ไส้กรอกหั่นเต๋า, แฮม, เบคอน • สับปะรด หั่นเป็นชิ้นๆ หรือเครื่องปรุงอื่นๆ ตามต้องการ • มอสซาเรลล่าชีส • ออริกาโน่ • พาร์สลีย์สับ • เกลือ • พริกไทย
นับ 2 เชฟลงมือ
• วางขนมปังเพื่อปิ้งให้กรอบ พักไว้ • เทน�้ำมันมะกอกเล็กน้อย ตามด้วย กระเทียม ซอส มะเขือเทศเข้มข้น มะเขือเทศสับ ผัดจนเข้ากัน ปรุงรส ด้ ว ยเกลื อ พริ ก ไทย น� ำ มาพั ก ไว้ แ ล้ ว น� ำ มาทาบน ขนมปังทั้ง 2 แผ่น • วางขนมปั ง ที่ ท าเครื่ อ งไว้ บ นกระทะ จากนั้ น วาง มอสซาเรลล่าชีส ออริกาโน่ และพาร์สลีย์สับ เพื่อให้ ชี ส อ่ อ นตั ว พร้ อ มประกบขนมปั ง อี ก แผ่ น แบบ แซนด์วิช
B-CONNECT MAGAZINE
085
Fine & Dine
SUNDAY BRUNCH @ ANANTARA RIVERSIDE BANGKOK RESORT
086
B-CONNECT MAGAZINE
ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปหาอะไรอร่อยๆ มีสไตล์กัน
แค่ข้ามไปฝั่งธน ย่านถนนเจริญนคร แล้วแวะ ร้าน Trader Vic’s โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ รีสอร์ท กันได้ เพราะร้านนี้มาแวะทีไรก็มีอะไรให้ Wow ได้ทุกคราว โดยเฉพาะอาหารมื้อดินเนอร์ที่เลื่องชื่อมานานนับสิบๆ ปี จนโด่งดังไปถึงระดับอินเตอร์ โดยเฉพาะอาหารแนวฟิวชั่นและอาหารแนวโปลีเนเซียน
Sunday Brunch ทีม่ าพร้อมกับคอนเซ็ปต์ของ Brunch แบบใหม่ทท่ี งั้ คุณ ครอบครัว คนรูใ้ จ และเพือ่ นสนิทมิตรสหายได้มาพบกับประสบการณ์ ใหม่ในวันอาทิตย์อย่างคุ้มค่าสุดๆ กับบรรยากาศที่หรูหราและทิวทัศน์ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาที่จะช่วยให้คุณเติมพลังและผ่อนคลายไปด้วยในเวลา เดียวกัน ที่ Trader Vic’s คุณจะได้พบกับอาหารหลากหลาย สเตชั่นต่างๆ รวมทั้งครัวเปิดที่มีทั้งแบบปิ้งย่างร้อนๆ ด้วยถ่าน เพื่อสุนทรียะของการ ลิ้มลอง พร้อมกับเมนูเนื้อเอกซ์คลูซีฟสุดๆ เสิร์ฟเฉพาะมื้อ Sunday Brunch นั่นคือ ปูอลาสก้าก้ามโต กุ้งล็อบสเตอร์
B-CONNECT MAGAZINE
087
ส่วน Seafood Lover มาที่นี่รับรองไม่ผิดหวัง เพราะมี ซี ฟู ้ ด บาร์ ว างกั น อย่ า งอุ ด มชมเพลิ น เดินน�้ำลายสอกันทีเดียว ตั้งแต่ หอยนางรม ปู Tuna Poke (สลัดทูน่าดิบ) นอกจากนี้ก็มีเมนู บาร์บคี วิ และอีกหลากหลายเมนูจาก à la carte Ashley Coleman ซึง่ เป็น Executive Chef โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ รีสอร์ท ผู้รังสรรค์เมนู Sunday Brunch ใหม่ครั้งนี้ เชิญชวนอย่างไม่ลังเลว่า นี่เป็น Brunch ใหม่ ที่เหมาะกับครอบครัว เพื่อนและคนรู้ใจ เพราะ เราตั้งใจที่จะท�ำให้เป็น Brunch ที่แตกต่างจาก Brunch ที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอาหาร ที่มีอย่างหลากหลายอย่างเมนูแนวโปลีเนเชียน นอกจากนี้ เมนู แ นวฮาวายเอี้ ย นยั ง มี Signature Cocktail เป็นอภินนั ทนาการให้ดว้ ย เพื่ อ ให้ ย ามบ่ า ยของคุ ณ ได้ ผ ่ อ นคลายอย่ า ง แท้จริง ก่อนจะจบ Brunch ของมื้อจากร้าน Sweet Shop และ Ice Cream Parlour พร้อม ฟังดนตรีที่มาบรรเลงกันสดๆ ที่สวนริมแม่น�้ำ ทั้งนี้ Sunday Brunch ที่เปิดให้บริการ ในวันอาทิตย์ ระหว่าง 11.30 น.–15.00 น. • ค่าบริการ 1,990++ต่อ 1 ท่านรวมซอฟต์ดริงค์ น�้ำผลไม้ และ Signature Cocktail เสิร์ฟ เอาท์ดอร์ที่ tiki bar • ค่าบริการ 2,990++ต่อ 1 ท่านรวมทุกอย่าง ข้างต้น รวมทั้งเฮ้าส์ไวน์ เบียร์ สปาร์คกลิ้งไวน์ • ค่าบริการ 950++ ราคาส�ำหรับเด็กอายุ 5-12 ขวบ
ส�ำรองที่นั่งได้ที่ 02-476-0022 ต่อ 1416 อีเมล riversidedining@anantara.com หรือจะเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ bangkokriverdining.com
088
B-CONNECT MAGAZINE
AD M Travel
Fine & Dine
BANGKOK HEIGHTZ
สถานที่ : บางกอกไฮทส์ ร้านอาหารไทย ต้นต�ำรับระดับไฮเอนด์แอนด์บาร์ ชั้น 39 โรงแรม เดอะ คอนทิเน้นท์ กรุงเทพฯ อาคาร เดอะ คอนทิเน้นท์ แยกอโศก สุขุมวิท เวลา : 18.00-24.00 น. ทุกวัน ส�ำรองที่นั่ง : 02-686-7000 E-mail : rsvns@thecontinenthotel.com Website : www.thecontinentdining. com/bangkok-heightz.php
090
B-CONNECT MAGAZINE
เปิดประสบการณ์ เหนือระดับ กับอาหารไทย ต้นต�ำรับ ระดับไฮเอนด์
ร่ ว มเปิ ด ประสบการณ์ แ ปลกใหม่ สุ ด ชิ ค กั บ อาหารไทยต้ น ต� ำ รั บ ระดั บ ไฮเอนด์ แ ละบาร์ สุ ด ฮิ ป ในกรุ ง เทพฯ ที่ บางกอกไฮทส์ ณ ชั้น 39 โรงแรม เดอะ คอนทิเน้นท์ กรุงเทพฯ ที่ตั้งอยู่ ในอาคาร เดอะ คอนทิ เ น้ น ท์ ตึ ก สู ง ในย่านทีท ่ น ั สมัยทีส ่ ด ุ บริเวณแยกอโศก ใกล้ ส ถานี ร ถไฟใต้ ดิ น MRT อโศก รับรองคุณจะไม่ผิดหวัง
ด้วยพื้นที่เปิดโล่งบนอาคารสูง บางกอก ไฮทส์ จะท�ำให้คณ ุ ทอดสายตาเห็นวิวพาโนรามา ของกรุงเทพฯ ในยามค�่ำคืน พร้อมด้วยเมนู อาหารไทยต�ำรับดั้งเดิมที่ไม่มีใครเหมือนและ ถูกส่งผ่านจากรุน่ สูร่ นุ่ ด้วยรูปแบบ Chic & Cool เพื่อส่งมอบประสบการณ์ระดับ Fine Dining สัจจา ทองศรีแก้ว Executive Chef แห่ ง บางกอกไฮทส์ เชฟผู ้ เ นรมิ ต ทุ ก เมนู บอกในตอนต้นเลยว่า ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือ เครื่ อ งดื่ ม ของที่ นี่ ล ้ ว นมี ค วามเป็ น ต้ น ต� ำ รั บ ทุ ก เมนู พร้ อ มบอกกั น พลาดด้ ว ยว่ า จาน ยอดนิยมของที่นี่ ไม่สั่งเป็น ‘พลาด’ อย่างแรง นั่นคือ ล็อบสเตอร์ราดพริก ซึ่งโดดเด่นกว่าที่อื่น เราใช้ลอ็ บสเตอร์จากแคนาดา โดยลวกประมาณ 3 นาทีก่อนน�ำมาทอด แตกต่างจากที่อื่นที่จะใช้ กุ้งธรรมดาราดด้วยน�้ำซอสรสเปรี้ยวและหวาน ท�ำจากมะขาม น�้ำตาลทรายแดง พริก และ สมุนไพรไทย
B-CONNECT MAGAZINE
091
กะเพราปลา เมนู ที่ มี ส ่ ว นผสมของ ใบกะเพราไทยน�ำมาผัดในกระทะร้อนๆ พร้อม กับพริก ก่อนจะราดลงบนเนื้อปลาหิมะที่น่า รับประทาน ปูนมิ่ ผัดพริกไทยด�ำ เมนูนปี้ นู มิ่ จะถูกน�ำมา ผัดกับพริกไทยด�ำและไข่เค็ม การใช้วัตถุดิบที่ดี ทีส่ ดุ บวกกับต้นต�ำรับทีม่ าอายุยาวนานท�ำให้ทนี่ ี่ กลายเป็นหนึง่ ในร้านอาหารทีด่ ที สี่ ดุ ในกรุงเทพฯ บางกอกไฮทส์ ยังมีเมนูอาหารแนวสตรีทฟูด้ ชื่อดังของไทยอีกหลากหลายมาชุมนุมกันอย่าง คับคั่ง ที่ส�ำคัญ สตรีทฟู้ดเหล่านี้พัฒนารสชาติ และเสิรฟ์ ในบรรยากาศบูทคี หรูหรา ผ่อนคลาย
092
B-CONNECT MAGAZINE
และสิ่งที่สัมผัสได้อย่างชัดเจนก็คือ เมนูอาหาร สตรีทฟู้ดที่ก�ำลังก้าวสู่อีกระดับหนึ่งบนโลกของ ความเป็นจริง ส่ ว นเครื่ อ งดื่ ม ของที่ นี่ บางกอกไฮทส์ แอนด์ บาร์ ก็ มี ไ วน์ ชั้ น เยี่ ย มและค็ อ กเทล ที่เป็นเอกลักษณ์ของทางร้านให้ได้เลือกลิ้มรสคู่ กับอาหารอีกด้วย โดยเครื่องดื่มที่สร้างสรรค์ขึ้น ใหม่เป็นพิเศษจากมิกโซโลจิสต์ของทางร้าน อาทิ เจ้าพระยาสลิง และ สยามลีเบร และค็อกเทล สไตล์ไทยๆ ที่มีส่วนผสมและให้รสชาติแบบ ท้องถิน่ ทีเ่ ข้ากันได้ดกี บั ทุกเมนูอาหารให้เลือกดืม่ ควบคู่ไปกับอาหารมื้อพิเศษอีกด้วย
หากคุ ณ ต้ อ งการพบปะสั ง สรรค์ แ ละ ผ่อนคลายกับประสบการณ์แบบ Fine Dining เพือ่ ปลดปล่อยวันเครียดๆ ของคุณแล้ว แน่นอน ว่า บางกอกไฮทส์ คือ หนึ่งใน Destination สุดฮิปที่เราขอแนะน�ำ เพราะนอกจากอาหาร และเครื่องดื่มรสชาติยอดเยี่ยม สมเป็นแหล่ง Hang-out ที่เก๋ไก๋ยากจะเลียนแบบบน Roof Top ของอาคาร เดอะ คอนทิ เ น้ น ท์ แล้ ว คุณยังจะเติมเต็มและดื่มด�่ำกับมื้อค�่ำของตนเอง ได้ดว้ ยเพลงฮิตจากดีเจหลังช่วงอาหารค�ำ่ อีกด้วย
Fine & Dine
จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา
อนันต์ บุตรเวียงพันธ์
‘WITH LOVE SALAD’ Clean Food Lover Destination
สถานที่ : With Love Salad
199/9 รามอินทรา กม.8 เขต คันนายาว กทม. 10230 เวลา : 11.00-22.00 น. ส�ำรองที่นั่ง : 099-415-6446
B-CONNECT MAGAZINE
093
With Love Salad ร้านอาหารคลีนราคา สบายกระเป๋าที่พร้อมเสิร์ฟคุณด้วยผักสดกรอบ ทัง้ ใบ ไม่มกี ารหัน่ ให้เสียคุณค่าทางอาหาร พร้อม เสิร์ฟ 4 ชนิดทุกจาน ทั้งกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค, บัตเตอร์เฮดและคอส ความพิถีพิถันของร้านนี้ อยู่ที่การเลือกวัตถุดิบของเจ้าของร้านที่สรรหา ผักปลอดสารพิษคุณภาพดี สดจริง-ปลอดสารพิษ จริง เป็นผักไฮโดรโพนิกส์ที่ปลูกบนดินที่มีสาร อาหารธรรมชาติและท�ำให้ผกั มีไฟเบอร์มากกว่า ปลูกกับน�้ำยา แล้วเมื่อมาถึงจะน็อกผัก เพื่อคง ความสด สะอาดให้มากที่สุด ส�ำหรับสาวกสลัด วิไลวรรณ เพียรรอดวงษ์ หรือ แอ๋ว อดีตผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายบริหาร กิจการเพื่อสังคม บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกัน ชีวิต ที่ผันตนเองมาท�ำธุรกิจร้านอาหารบอกว่า ร้านนีม้ นี ำ�้ สลัดให้เลือกได้หลากหลาย ทัง้ น�ำ้ สลัด ครีมหอยลายพริกไทยทีม่ พี ริกไทย กระเทียมสด และหอยลายเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เคี้ยวกันกรุบๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ก็มีน�้ำสลัดต้มย�ำ น�้ำสลัด แจ่ว ใครที่อยากซื้อกลับบ้านก็มีแบบขวดขนาด 240 มล. ขายราคา 120 บาท
094
B-CONNECT MAGAZINE
แต่ใครที่มโนว่า ร้านนี้มีแต่ผักแน่ๆ ต้องบอกว่า ร้านนี้มีเมนูอื่นๆ ส�ำหรับคนที่อยาก ลิม้ ลองอาหารแบบอืน่ ๆ ด้วย Signature Menu ของ With Love Salad มีหลากหลาย อาทิ สลัดต้นอ่อนทานตะวัน (150 บาท) ที่มากับไส้กรอกรมควันผัดเห็ด ราดด้วยน�้ำสลัดงารสชาติ ดี บอกได้ค�ำเดียว อร่อยมากกกกก สลัดแซลมอนย่างรวมควัน (180 บาท) มาคู่กับน�้ำสลัดรสชาติเข้มข้นเข้ากันดี ส้มต�ำปูปลาร้าแซลมอนย่าง (200 บาท) ส้มต�ำฟิวชั่นที่ไม่ลองไม่ได้แล้ว สเต็กหมู (220 บาท) เมนูโปรตีนแบบเน้นๆ ด้วยเนือ้ หมูทใี่ ช้เป็นเนือ้ ติดกระดูกนิดหน่อยพองาม แต่อร่อยแน่นอน แถมเจ้าของร้านมือเติบ เสิร์ฟชิ้นใหญ่อีกต่างหาก ผักขมอบชีส (120 บาท) เมนูนี้กรุบกริบๆ แต่อร่อย รับรองว่า เมนูนี้เพิ่มสีสันให้มื้อคลีน ของคุณอย่างไม่ต้องสงสัย แซลม่อนแซ่บ (180 บาท) ส�ำหรับใครที่ชอบแนวเผ็ดจี๊ดจ๊าด แซ่บสมชื่อ ข้าวผัดหมูสันในน�้ำมันหอย เสิร์ฟในรูปหัวใจเป็นข้าวผัด With Love จริงๆ จากใจเชฟ มื้อคลีนของคุณที่ With Love Salad จะเป็นมื้อคลีนที่สบายใจได้ ด้วยว่า ทุกจาน ทุกเมนูของที่นี่ไม่ใส่ผงชูรส คุณวิไลวรรณรับประกันว่า ในครัวของร้านมีแต่พริกไทย น�้ำตาล เกลือเท่านั้น ครัวนี้เป็นครัวปลอดผงชูรส 100% With Love Salad ร้านใหม่ที่ย้ายจากเลียบด่วนรามอินทรามาปักหลักใหม่ที่รามอินทรา 69 (รามอินทรา กม.8) เข้าซอยมาสัก 50 เมตร มองเห็นได้จากริมถนนเลย ด้วยพื้นที่ ที่กว้างขวางขึ้นและมีที่จอดรถสะดวกสบาย จึงเหมาะที่จะจัดอีเว้นท์ จัดประชุม หรือจัดงาน แถลงข่าว จุคน 50-60 คนได้สบายๆ หรือหากต้องการความเป็นความส่วนตัวก็มหี อ้ งเล็กให้สามารถ ใช้เป็นที่ประชุมย่อยได้อีกด้วย
B-CONNECT MAGAZINE
095
25th Hour Leisure :
นิธิปัญญา ปริศนาธรรม 3 มิติที่รอ คุณถอดรหัส พู ด ถึ ง ภาพวาดจิ ต รกรรมหรื อ ภาพ ปริ ศ นาธรรม แค่ เ อ่ ย ถึ ง ก็ ยิ่ ง กว่ า ได้ รั บ ยานอนหลับขนานเอก แต่สำ� หรับ โครงการ สร้ า งสรรค์ ผ ลงานภาพปริ ศ นาธรรม 3 มิติ เพื่อติดตั้ง ณ เจดีย์พุทธคยา วัด ปั ญ ญานั น ทาราม คลองหก อ.ธั ญ บุ รี จ.ปทุมธานี แล้วกลับตรงกันข้าม
096
B-CONNECT MAGAZINE
ปริ ศ นาธรรมที่ เ ข้ า ถึ ง ได้ ง ่ า ยและเพลิ ด เพลิ น นี้ เ ป็ น ผลงาน ทีเ่ กิดขึน้ จากความร่วมมือของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี น�ำโดย รศ. ดร.สมพร ธุรี เพื่อร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในการท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรมกับวัดปัญญานันทาราม ตามความประสงค์ของ หลวงพ่อปัญญานันทมุนี (ส.ณ. สุภโร) โดยในส่วนชั้นล่าง วงรอบที่ 2 ที่เรียกว่า “วงรอบปัญญา” มีผลงาน เรื่อง “นิธิปัญญา : ปริศนาธรรมแห่งพุทธมหาเจดีย์ วัดปัญญา นันทาราม” จ�ำนวน 29 ภาพ ผลงานที่สร้างสรรค์เพื่อมุ่งให้ผู้เข้าชม สามารถสัมผัสเรื่องราวศิลปะ (ความงาม) ที่แฝงด้วยปริศนาธรรม (ความดี ความจริง) อย่างใกล้ชิด ให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ ผลงาน อันจะมีผลต่อการรับรู้หลักธรรมค�ำสอนในทางพุทธศาสนา โดยแท้จริง จะมีความร่วมสมัย มีเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจ สร้างสุนทรียภาพ ต่อความรู้สึกและจิตใจ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการบอกเล่าการศึกษา ค้นคว้าทางด้านศิลปะและหลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป
ด้วยว่า ปัญญา คือ ความรู้ ความหยั่งรู้ เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความ เป็นจริง และรู้จักแก้ไขปฏิบัติจัดการต่างๆ ทั้งนี้ ความเข้าใจ ปัญญา เพื่อรู้เท่าทันความทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ�ำวันของโลกมนุษย์นั้นจะ ต้องเข้าใจถึงหลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นคือ อริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ) ความ จริงที่ท�ำให้ผู้คนเข้าถึงกลายเป็นอริยะด้วย 29 ภาพปริศนาธรรมในเจดีย์พุทธคยาที่ บอกเล่าถึงอริยสัจ 4 แบ่งได้เป็นชุดๆ คือ ภาพชุดที่ 1 ประกอบด้วย 1) ทุกข์ (ความ ทุกข์ สภาวะบีบคั้น) และ 2) ทุกขสมุทัย (เหตุ แห่งทุกข์) ได้แก่ ภาพนทีแห่งตัณหา น�้ำ 3 สระ (อยากยึดหลง), ภาระแห่งชีวิต (การท�ำงาน หนัก-จิตว่องไวเหมือนลิง), นฤมิตจันทรคราส (ความสามัคคีของราหูกับดวงจันทร์), อวิชชาโลกาวินาศ (คนแบกโลก), ฝนตกซัดสาด ห้วงน�ำ้ ท่วมใจ (ห้วงน�้ำแห่งความสนุกสนาน), ไถนาดิน แห้ง ร้อนแล้งขัดใจ (ท�ำงานหนักแต่มองไม่เห็น ผลผลิตทีไ่ ด้), กิเลสมาร-กิเลสยักษ์ (ปุถชุ นตกอยู่ ในอ�ำนาจแห่งตัณหาเหมือนกับตกในปากพญา มาร), เบญจบุปผาพญามาร (ความสนุกสนาน ในความงามลุ่มหลงผิด), สะพานมเหสักข์-ศีล (ความไม่ประมาทในการด�ำเนินชีวิต), แม่น�้ำคด น�้ำไม่คด (กิเลสคด แต่จิตที่ประภัสสรจะไม่คด ตามกิเลส) อินทรีย์ (อายตนะ 6) ที่มาแห่งการ รับรูส้ คู่ วามทุกข์ตามการเห็น ได้ยนิ ได้สมั ผัส, แก่น พรหมจรรย์ต้นไม้พุทธศาสนามหาสาระ, อยาก ไร้ขีดจ�ำกัด (โลภ), ดับไฟโกรธได้อยู่เย็นเป็นสุข (โกรธ), คนท�ำบาป เพราะความหลง, ความกลัว ซึง่ ล้วนเป็นเหตุแห่งทุกข์ กิเลสพญามารทัง้ หลาย เป็นปัจจัยท�ำให้เกิดความทุกข์ เกิดมัจฉาทิฐิ เป็นทางขัดขวางสู่ทางพระนิพพาน 098
B-CONNECT MAGAZINE
ภาพชุดที่ 2 ประกอบด้วย 3) ทุกขนิโรธ (ความ ดับทุกข์ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่าทาง สายกลาง มรรคมีองค์ 8 สรุปลงในไตรสิกขา คื อ ศี ล สมาธิ ปั ญ ญา) ได้ แ ก่ ภาพที่ เ ป็ น บ่อเกิดปัญญา คือ บ�ำเพ็ญนวโลกุตตรธรรม, อยูใ่ ห้ เหมือนลิ้นงูในปากงู (โลกธรรม 8) ความพอใจ ไม่พอใจ, มหาเจดีย์แห่งการตรัสรู้, มรรคผล (ล�ำดับแห่งมรรคผล) เป็นการปฏิบตั กิ ารรักษาศีล เพือ่ ให้เกิดปัญญาทีส่ งบเงียบริมล�ำธาร ธรรมชาติ ป่าไม้ ภูเขา ที่สัปปายะ การเผยแพร่หลักธรรม ค�ำสอนพระพุทธเจ้า สุ ด ท้ า ย เป็ น ภาพให้ เ ลื อ กเพื่ อ การหลุ ด พ้ น พระนิพพาน ประกอบด้วย ภาพยึดหลงมายา (ส�ำหรับคนที่หลงความสวยงามของขน เล็บ ฟัน หนัง มองไม่เห็นสัจจะความจริง) ภาพทาง สู่สวรรค์ (เกิดจากการสะสมบุญด้วยการให้ทาน ก็ จ ะได้ ขึ้ น สวรรค์ ) และภาพหรื อ สั ม มาทิ ฐิ (ข้ามพ้นวัฏฏสงสารสู่นิพพาน) การหลุดพ้นจาก บ่วงมารทั้งปวง โดยผู้ที่เข้ามาชมภาพปริศนา ธรรมเลือกทางที่จะเดินของชีวิตได้ จากภาพปริศนาธรรม 3 มิตินี้ เป็นการ ชักน�ำให้คน “เข้าถึงธรรม” หรือธรรม “เข้าถึง คน” นอกจากผู้ชมจะได้รับรู้ถึงความงามของสี แสง รูปร่าง รูปทรง การจัดวางองค์ประกอบ ของภาพที่ ใ ห้ สุ น ทรี ย ภาพแล้ ว ก็ จ ะได้ ช ่ ว ย กั น ขบคิ ด ตี ค วามปริ ศ นาธรรมที่ ป รากฏใน ภาพ (ความดี ความจริง) เพื่อเป็นการสืบสาน สั่ ง สมธรรมของพระพุ ท ธเจ้ า ที่ ท รงแสดงไว้ จะได้น�ำไปสู่การปฏิบัติ และน�ำไปใช้ในการ ด�ำเนินชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติหรือได้พบ ทางอันประเสริฐ บริสุทธิ์ และวิมุตติต่อไปทั้งใน ปัจจุบนั และอนาคต ซึง่ จะพบได้ทพี่ ทุ ธมหาเจดีย์ วัดปัญญานันทาราม
Last Page
อรรถการ สัตยพาณิชย์
“วาระ” + “ซ่อนเร้น”
บทเรียนจาก “บรรษัทน�้ำมันแห่งชาติ” มีหลายคนตัง้ ค�ำถามว่าท�ำไมต้องมีการเรียกร้องให้ตงั้ “บรรษัทน�ำ้ มันแห่งชาติ” หรือ “Nation Oil Company” (NOC) ขึน้ ทัง้ ๆ ทีป่ ระเทศไทยใช้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาอย่างยาวนาน และไม่ได้มผี ลอะไรในเชิงลบอย่างมีนยั ส�ำคัญ แต่สำ� หรับทีม่ าทีไ่ ปในการเสนอให้มบี รรษัทน�ำ้ มันแห่งชาติ เกิดจากมีกลุ่มที่เห็นว่าระบบการจัดการในรูปแบบสัมปทาน (Concession) ที่ใช้กันมาตั้งแต่ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ท�ำให้รัฐได้ผลตอบแทนน้อย ประกอบกับในช่วงเวลานี้ สัญญาสัมปทานการขุดเจาะน�ำ้ มันของไทยก�ำลังสิน้ สุดลง จึงท�ำให้เกิดการเรียกร้องรัฐบาลให้เปลีย่ นไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract-PSC) แทน เมื่อเกิดกระแสดังกล่าว นายกฯ ประยุทธ์จึงสั่งให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไปเสนอแก้ไขกฎหมายใหม่ให้สามารถ ใช้ได้ทั้งสองระบบ คือ Concession และ PSC หลังจากนั้นรัฐบาลได้เสนอร่างกฎหมายนี้ไปที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อออกกฎหมาย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการพลังงานฯ ของ สนช. เสนอร่างกฎหมายเข้ามาอีกฉบับ ให้มีการตั้ง “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” ทั้งๆ รัฐบาลก็ไม่เคยมี แนวคิดนี้มาก่อน ท�ำให้ร่างกฎหมายของทั้งสองฉบับ คือ ของรัฐบาล กับ สนช. ไม่ตรงกัน จึงต้องส่งไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตัดสิน และในที่สุด คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีมติให้ส่งร่างของรัฐบาลที่ไม่มีเรื่องบรรษัทพลังงานแห่งชาติไปยัง สนช. เพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป เมื่อร่างกฎหมายของรัฐบาลผ่านการพิจารณาของ สนช. ในวาระรับ ‘หลักการ’ ไปแล้ว แต่ในการพิจารณาวาระคณะกรรมาธิการของ สนช. (ต่อ จากวาระรับหลักการ) ก็ได้เพิ่มเติมเรื่องการจัดตั้งบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติเข้าไปอีกครั้ง ทั้งที่รัฐบาลและคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ยินยอม โดยเนื้อหา สาระที่เพิ่มในมาตรา 10/1 ระบุว่า “ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติเมื่อมีความพร้อม โดยพิจารณาจากผลการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน รายละเอียดของรูปแบบและวิธีการด�ำเนินการจัดตั้งบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติ” จนในที่สุดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สนช. ได้มีการประชุม และคณะกรรมาธิการก็ยอมตัดมาตรา 10/1 เรื่องบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติ และ ให้ปรับไปอยูใ่ นข้อสังเกต โดยระบุวา่ “รัฐควรจัดตัง้ องค์กรขึน้ ใหม่เพือ่ ท�ำหน้าทีใ่ นการบริหารทรัพยากรปิโตรเลียมนัน้ ให้มปี ระสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ สูงสุดโดยเร็ว คณะรัฐมนตรีควรตั้งคณะกรรมการศึกษาภายใน 60 วัน เพื่อพิจารณารายละเอียดของรูปแบบบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติที่เหมาะสมภายใน 1 ปี” บทเรียนจาก “บรรษัทน�้ำมันแห่งชาติ” ในครั้งนี้ ท�ำให้เห็นได้ถึงการต่อสู้ทั้งในเชิง “วาระ” และ “การซ่อนเร้น” ที่ยังคงซุกซ่อนอยู่บนฐาน อ�ำนาจนิยมของสังคมไทย โดยไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าภาวะทางการเมืองจะปกติหรือไม่ก็ตาม ประเด็นแรก เรื่องของ “วาระ” การน�ำเสนอวาระบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติเข้าสู่การประชุม สนช. ช่างดูน่าฉงนสนเท่ห์ว่าการพิจารณา กลั่นกรอง เห็นชอบในเรื่องส�ำคัญที่ต้องลงมติจากสมาชิกที่ผ่านระบบตัวแทนเข้าไปนั่งใน สนช. สามารถท�ำอะไรที่ขัดแย้งกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้หรือไม่ และเป็นไปได้หรือไม่ที่หมู่มวลสมาชิก สนช. จะรับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับบรรษัทน�้ำมันแห่งชาติจากการถ่ายทอดของคณะกรรมาธิการได้ไม่เท่ากัน หรือมีข้อมูลในเรื่องดังกล่าวไม่รอบด้าน จึงท�ำให้การตัดสินใจในช่วงแรกๆ ที่ผู้ให้ข้อมูลหลักจะเป็นหน้าที่คณะกรรมาธิการ อาจมีผลท�ำให้มติที่ออกมา ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรัฐบาลและคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนประเด็นในเรือ่ งความ “ซ่อนเร้น” นัน้ เห็นได้ชดั ว่า ข้อมูลจากกลุม่ ผูส้ นับสนุนย่อมมีมมุ ในด้านบวกมากกว่าด้านลบ แต่แน่นอนว่ากลุม่ ทีค่ ดั ค้าน ก็ย่อมจะมีข้อมูลในด้านลบมากกว่าด้านบวก และยังคงมีการถกเถียงกันต่อไปว่าประเทศไทยจ�ำเป็นต้องมี NOC แค่ไหน เพราะนักวิชาการบางส่วนก็ยัง มองว่า ปตท. ได้ท�ำหน้าที่นี้อยู่แล้ว การเกิดขึน้ ของสงครามข้อมูล ทัง้ กลุม่ ผูเ้ ห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทัง้ ผูท้ ี่ (คาดว่า) จะได้ประโยชน์กบั ผูท้ บี่ อกว่าปกป้องผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ จึงยังคงต้องออกมาสู้กัน จนกว่าต่างฝ่ายจะบรรลุมรรคผลตามที่ตนเองต้องการ การให้มี “ข้อสังเกต” แทรกอยู่ จึงดูเหมือนกับการซื้อเวลา และท�ำให้วาระเรื่อง “บรรษัทน�้ำมันแห่งชาติ” ยังคงค้างคา เพื่อรอคอยเวลาในการขุด ขึ้นมาใหม่อีกรอบ แต่ส�ำหรับประชาชนอย่างเราเห็นได้ชัดว่าคงไม่ใช่แค่เสพข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังจะต้องเรียนรู้ที่จะหาข้อมูล กันให้รอบด้าน และต้องเข้าใจสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในทุกวาระที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะของประเทศกันให้มากขึ้น 100
B-CONNECT MAGAZINE
TRIPLE PRINT & MEDIA
G
R
O
U
Anything is Possible Here facebook.com/triplegroupprinting
www.triple-group.co.th
P