โครงการวิจัยเรื่องกระบวนการยุติธรรม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

Page 1

รายงานฉบับสมบูรณ์

โครงการวิจัย เรื่อง กระบวนการยุติธรรม : ปัญหาและแนวทางแก้ไข (กรณีคดีความเรื่องที่ดิน) เลขที่ขอ้ ตกลง สปร. 54 – ก – 0114 ระยะเวลาดาเนินงาน กันยายน 2554 – ตุลาคม 2555

ดาเนินโครงการโดย มูลนิธชิ ุมชนไท ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานปฏิรูป (สปร.)


สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร

1

กรอบคิดโครงการวิจัย

6

- วัตถุประสงค์โครงการ

7

- วิธีการศึกษาวิจัย

7

- วิธีดาเนินงาน

8

- ตัวอย่างคดีที่ดิน

9

ผลการดาเนินงาน

10

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

19

เอกสารภาคผนวก

20

- รายงานข้อมูลกรณีศึกษา 5 กรณี - บันทึกการประชุมวิชาการฯ - ภาพกิจกรรม


บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการยุติธรรม : ปัญหาและแนวทางแก้ไข ( กรณีคดีความเรื่องที่ดิน ) จากปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ประชาชนได้รับในคดีที่ดินและสิ่งแวดล้อมจานวนมาก ข้อมูลคดีที่ เกี่ยวข้องกับที่ดินและสิ่งแวดล้อมพบว่า ปัญหาเหล่านี้มีความซับซ้อนในเรื่องข้อเท็จจริง มีกฎหมายหลาย ฉบับเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยัง มี มิ ติทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สัง คมและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในหลายกรณีไ ม่ ไ ด้เ กิดจากเจตนากระท าผิด แต่เป็ น ผลพวงจากสาเหตุ ห ลายประการ เช่ น แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายการพัฒนาประเทศ และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีการจับจองขยายที่ทากิน หรือไปทับซ้อนกับที่ดินทากินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านถูกกล่าวหา ถูกฟ้องร้องหรือดาเนินคดีก็จะมีปัญหา มีความยากลาบากในการเข้าถึง ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะคนจนและมีความรู้น้อย หลายพื้นที่มีการข่มขู่คุกคาม หรือมีการออกเอกสารสิทธ์มิชอบ ดังนั้น จึงเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จากของหน่วยงาน ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหมายรวมถึงสถาบันศาลหรือตุลาการด้วย กรณีนี้ หากละเลยทิ้งไว้ไม่ หาทางแก้ไ ข ย่อมน ามาซึ่ ง ความเสื่อมศรั ท ธาของประชาชนที่ มีต่อหน่ วยงานของรั ฐ ในกระบวนการ ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันศาลและตุลาการ ทั้งนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สุดสาหรับสังคมไทย เพราะสถาบันศาลและตุลาการเป็นหลักและที่พึ่งสุดท้ายของสังคมและปวงชนชาวไทย โครงการนีม้ ีวัตถุประสงค์ เพื่อทาความเข้าใจ สาเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็น ธรรม ตลอดจนวิเคราะห์ปัญ หาและ ข้อจากัดของกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาและนาไปปฏิบัติ รวมทั้งสร้างข้อเสนอแนะระดับนโยบายและการแก้กฎหมาย องค์กรความร่ว มมือในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย สานั กงานปฏิรู ป สถาบัน รพีพัฒนศักดิ์ มูลนิธิชุมชนไท รวมทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย และเครือข่ายองค์กรชุมชน วิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับคดีเรื่ องที่ดิน 2) การ รวบรวมผลการศึกษาอื่นๆ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก 4) การนาผลของการวิจัยไปสร้างแนวทางและกล ยุท ธ์ด้วยการจั ดประชุม สัม มนากับฝ่ายต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง 5) สรุปรวมผลของการประชุมสัมมนาและ นาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อสังคม กรณีศึกษา 5 กรณี ประกอบด้วย 1) กรณีเอกชนออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ ดินชาวบ้านและที่ดิน สาธารณะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) กรณีที่ดินชนเผ่าดั้งเดิม (ชาวเล ) เอกชนออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดิน ของชาวเล 3) กรณีเกษตรกรพิพาทสวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) กรณีเอกชนออกเอกสารไม่ชอบด้วยกฎหมายในที่ดินหลังสัมปทานเหมืองแร่ (ที่ดินรัฐ) และฟ้องขับไล่ ชาวบ้าน ในภาคใต้ 5) กรณีที่ดินเกษตรกรพิพาทกับเอกชน ภาคเหนือ

1


ผลการศึกษาวิจัย หลังจากมีการศึกษารวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และเรียบเรียงข้อเสนอแล้ว คณะวิจัย ฯ ได้มีการจัดเวทีนาเสนอและระดมความคิดเห็นเพิ่มเติม “ การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่ การปฏิรูป กระบวนการยุติธรรม ” จานวน 4 ครั้ง ใน 5 กรณี ซึง่ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม อาทิเช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ตารวจ หน่วยงานรัฐที่ เกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านกฎหมาย นักวิชาการทางสังคม นักพัฒนา ผู้แทนองค์กรชุมชน ฯลฯ ซึ่งมี สาระสาคัญคือ 1) กรณีฉ้อโกงทีด่ ินเกษตรกร : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาความไม่เป็นธรรมคดีที่ดินเอกชนระหว่างประชาชนในท้องถิ่นกับนายทุนโดยการสะท้อนให้ เห็นการใช้กระบวนการยุติธรรมทั้งกลไกทางกฎหมายและอานาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งชาวบ้าน และนายทุนมีข้อพิพาทเรื่องที่ดินมานานกว่า 40 ปี ชาวบ้านถูกฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งคดีอาญาได้ทาเรื่อง ร้องเรียนหน่ วยงานต่างๆ กว่า 10 หน่วยงาน รวมทั้ งการถวายฎีกาเพื่อขอความเป็น ธรรมและขอให้ ตรวจสอบการออกเอกสารสิ ท ธิ์ ข องนายทุ น ทั บ ที่ ดิ น ชาวบ้ า น ท าให้ ค ดี พิพ าทนี้ เ ป็ น ที่ รั บ รู้ กัน อย่ า ง กว้างขวาง และเหตุการณ์ทานองนี้ได้เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ หลายแห่ง รายงานฉบับนี้ส ะท้ อนความไม่ เป็ น ธรรมที่ ชาวบ้านได้รั บจากการกระทาที่ ไ ม่ซื่อสัต ย์สุจริ ต ไร้ คุณธรรมของนายทุนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ และความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ทาให้ ประชาชนยากจนจานวนมากเดือดร้อน และรวมตัวต่อสู้เรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งมีข้อเสนอ ดังนี้ 1) ความ ไม่รู้กฎหมาย ทาให้ไม่เป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม จึงควรให้คาปรึกษาแนะนาแก่ชาวบ้าน 2) การพิสูจน์หลักฐานที่ดินที่สงสัยว่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดี จึงเสนอ ปรั บปรุ ง กระบวนการตรวจสอบเอกสารสิ ท ธิ์ที่ ดิน 3) การใช้ อานาจรั ฐ และอิท ธิ พ ลท้ องถิ่ นข่ม ขู่ ชาวบ้าน ควรเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองหรือเสริมสร้างความคุ้มกันให้แก่ประชาชน 4) การต่อสู้คดี ในศาล ควรทาให้กองทุนยุติธรรม คล่องตัวพอที่จะช่วยชาวบ้านให้เข้าถึงได้ 5) ประเด็นอื่นๆ เช่น จะ แก้ไขปัญหาคุณธรรมของนักการเมือง การทุจริตต่อหน้าที่ ตลอดจนการเยียวยาชาวบ้านที่ไม่ได้รับความ เป็นธรรมคดีที่ดิน 2) กรณีฉ้อโกงที่ดินชนเผ่าพื้นเมือง : กรณีศึกษาชุมชนชาวเล ศึกษาปัญหานายทุนการฟ้องร้องขับไล่ชาวเลออกจากที่ดินที่ชุมชนที่เขาอยู่อาศัยมาแต่บรรพบุรุษ พบว่าชาวเลที่ตั้งถิ่นฐานสืบทอดมานาน มีหลักฐานการตั้งบ้านเรือน บารายสาหรับไหว้ผีบรรพบุรุษ สุสาน วัด โรงเรียน บ่อน้าโบราณ มีวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมในการหาอยู่หากินจากการจับสัตว์น้าในทะเล แต่ ด้วยความไม่รู้หนังสือ ทาให้คนภายนอกที่อาศัยความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการรู้ข้อมูลข่าวสาร ออก โฉนดที่ ดิ น ทั บ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ของชุ ม ชนชาวเลทั้ ง ชุ ม ชน จึ ง เป็น การฉ้ อ โกงที่ ดิ น ของชาวเล การใช้ กระบวนการยุติธรรม และอานาจศาลขับไล่ชาวเลออกจากชุมชนจึงไม่เป็นธรรมกับชาวเล

2


งานวิจัยฉบับนี้จึงมีข้อเสนอให้ตรวจสอบและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกฉบับที่ออกไม่เป็นธรรม และท าให้ช าวเลเดือดร้ อนและเยียวยาความเดือดร้ อนเขาด้วยการสนั บสนุ น ให้เขาเข้าถึง การบริ การ ทางด้านสาธารณูปโภคและการบริการอื่นๆ ของรัฐได้ 3) กรณีความไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร : สวนป่าคอนสารจังหวัดชัยภูมิ ศึกษาปัญหาหน่วยงานของรัฐฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินที่ชุมชนอยู่อาศัยทากินมาก่อน การประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและการปลูกสร้างสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พบว่า ชุมชนตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมที่ราษฎรได้รับจากการใช้อานาจรัฐและ กระบวนการยุติธรรม ที่ไม่ถูกต้องทั้งการประกาศเขตป่าสงวนฯ ทับที่ชุมชน การปลูกสร้างสวนป่าทับที่ทา กินชาวบ้าน การไม่ จัดสรรที่ดินให้สมาชิ กหมู่บ้านสวนป่า การกระทาการลุแก่อานาจของเจ้าหน้าที่รั ฐ การเลือกปฏิบัติ และไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา งานวิจั ย มี ข้อเสนอแนะ ดัง นี้ 1) จัด ที่ ดิน ส่วนหนึ่ ง ให้ช าวบ้านที่ มีห ลักฐานใดๆที่ แสดงการใช้ ประโยชน์ที่ดินมาก่อนป่าสงวนฯและสวนป่า 2) ทบทวนความชอบธรรมในการกาหนดแนวเขตป่าไม้ให้ ถูกต้อง 3) ทบทวนนโยบายการอนุญาตให้เช่าที่ดินในเขตป่า 4) การพิจารณาคดี ควรเปิดโอกาสให้พยาน ฝ่ายจาเลย สร้ างกลไกตรวจสอบความถูกต้องทั้ง เขตป่าและการสร้างสวนป่า ด้วยการมีส่วนร่ วมของ ประชาชน และ 5) เร่งรัดการดาเนินการของฝ่ายบริหาร 4) กรณีศึกษาที่ดินชุมชนทับยาง จังหวัดพังงา ศึกษาการพิพาทที่ดินระหว่างราษฎรกับนายทุน เอกชน ฟ้องร้ องขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดิน ที่ ชุมชนอยู่อาศัยทากินมาก่อนการได้สิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายของนายทุน งานวิจั ยพบว่าชุ ม ชนท้ ายเหมื องตั้ ง ถิ่น ฐานมานานกว่า 100 ปี มีห ลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการทาเหมืองแร่และการค้าขายมากมาย ชาวบ้านที่เป็นคนงานเหมืองได้ตั้ง บ้านเรือนอยู่อาศัย บริเวณท้ายรางเหมืองสูบ และมีการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ต่อมานายทุนได้นาที่ดินไป ออกเอกสารสิทธิ์ ฟ้องร้องดาเนินคดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากชาวบ้าน ชาวบ้านถูกทนายหลอกให้ ขาดนัดยื่นคาให้การและขาดนัดพิจารณาจนแพ้คดีทั้งหมู่บ้าน การศึกษาพบว่าราษฎรไม่ไ ด้รั บความเป็นธรรมจากการใช้อานาจรั ฐและกระบวนการยุติธรรม หลายประการ เช่น การครอบครองที่ดินประทานบัตรเหมืองแร่หลังหมดอายุประทานบัตร การทาสัญญา เช่าที่ไม่เป็นธรรม การให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายจากผู้มีอาชีพทนายความ การขับไล่ราษฎรออก จากพื้นที่ ส าหรั บ ความเห็ น สมควรให้เ พิ ก ถอนโฉนดที่ ดิ น ที่ ออกโดยมิ ช อบด้ วยกฎหมายตามมติ ข อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและมติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) ดาเนินการสอบสวนสิทธิและจัดการแก้ปัญหาเอกสารสิท ธิ์ให้ราษฎรที่ถูกละเมิดสิทธิ การแก้ไขปัญห า ทนายความปฏิบัติห น้ าที่ มิช อบหรื อโกงราษฎรที่ เป็น ลูกความ การชะลอฟ้องละเมิดสัญ ญาและขับไล่

3


ราษฎร และทบทวนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในเขตตาบลท้ายเหมือง อาเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทั้งหมดเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมแก่ราษฎรโดยทั่วหน้ากัน 5) กรณีศึกษาโครงการจัดที่ดินผืนใหญ่หนองปลาสวาย จังหวัดลาพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจปัญหา การพิพาทที่ดินระหว่างราษฎรกับนายทุนเอกชน และ เสนอแนะแนวทางจัดการปัญหานายทุนเอกชนฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินที่ชุมชนอยู่อาศัยทากิน มาก่อนการได้สิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายของนายทุน งานวิจัยพบว่าราษฎรไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการดาเนินการตามนโยบายจัดที่ดินผืนใหญ่ ของรัฐ การจัดที่ดินผืนใหญ่แปลงนี้ไม่มีการสอบสวนสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมมาก่อน การออกใบจองผิดพลาด ผู้ถือใบจองไม่ทราบแนวเขตที่ดิน มีการเพิกถอนจาหน่ายใบจอง โดยมิได้ออกใบ จองให้ใหม่ และมีการสั่งให้ชาวบ้านออกจากที่ดินที่ยกเลิกใบจอง การดาเนินการดังกล่าวข้างต้น เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้จะมาร้องเรียน ต่อจังหวัดลาพูนแต่ก็ไม่ได้ผล นอกจากนั้นยังพบความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากหน่วยงานของรัฐนาที่ ดิน สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันไปออกเอกสารสิทธิ์ ราษฎรในพื้นที่ได้ชุมนุมร้องเรียนแต่ก็ไม่มี การแก้ไข งานวิจัยฯ มีข้อเสนอให้ทบทวนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่สาธารณะประโยชน์และเพิกถอน เอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ รัฐควรทบทวนยืนยันหลักการสาคัญของโครงการจัดที่ดินให้เกษตรกรราย ย่อยและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แล้วสนับสนุนให้ชุมชนบริหาร จัดการที่ดิน สาหรับความไม่เป็นธรรมจากคดีที่ดิน เนื่องจากคดีที่ราษฎรถูกนายทุนผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินฟ้อง ข้อหาบุกรุก เป็น คดีที่เกิดจากการดาเนินการตามอานาจหน้ าที่ของเจ้าหน้าที่ รัฐบกพร่ อง หน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรมไม่ควรดาเนิ นคดีรุนแรงกับเกษตรกรที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิท ธิของตนเองและชุมชน ควรเห็น ใจและผ่อนปรน เช่ น การชะลอการฟ้อง ลงโทษด้วยวิธีที่ ไ ม่รุ น แรง การชะลอการบัง คับคดี ตลอดจนเอื้อให้เข้าถึงกองทุนยุติธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วยสันติวิธี สรุปข้อเสนอแนะในการจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม โดยสังเขป ดังนี้ 1. ประเด็นสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ : มีข้อเสนอที่สาคัญ คือ - ศาลฎีกา ควรวางแนวการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิชุมชนตามกรอบรัฐธรรมนูญ ให้ชัดเจน - สถาบั น การศึ ก ษา ควรมี ก ารสั ม มนาระดมความเห็ น จากนั ก วิ ช าการ นั ก กฎหมาย สายนิติศาสตร์หลายๆสถาบันในประเด็นนี้ 2. ศาลยุติธรรม ควรมีการทบทวนวิธีพิจารณาความ เน้นระบบไต่สวน/การเดินเผชิญสืบ ให้มากขึ้น

4


3. จัดตั้งองค์กร/คณะกรรมการที่เป็นอิสระในการพิสูจน์สิทธิทีดินพิพาท เพื่อจัดการ แก้ไขปัญหาที่ดินโดยเฉพาะ โดยการรับฟังพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือหลักฐานมหาชน หรือเอกสารทางราชการ เช่น ประวัติชุมชน ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น 4. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายบางฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน และ เสนอกฎหมายอื่นๆ 5. สนับสนุนกระบวนการทางสังคม ในการจัดการกระบวนการยุติธรรม แต่ทั้งนี้ต้องมี การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมกับสังคมไทย 6. ปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี คิ ด มุ ม มอง ทั ศ นคติ ของผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในกระบวนการยุ ติ ธ รรม โดยเฉพาะการเพิ่มมุมมองด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาให้กับผู้พิพากษาและผู้ช่วยผู้ พิพากษา การมี หลักสูตรการเรียนการสอนด้านสังคมวิทยาและมานุษ ยวิทยาส าหรั บ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม 7. การช่ ว ยเหลื อ ประชาชนให้ เ ข้ า ถึ ง กระบวนการยุ ติ ธ รรม เช่ น การให้ ค วามรู้ คาปรึกษาด้านกฎหมาย การมีกองทุนยุติธรรมที่ประชาชนเข้าถึงได้จริงเพื่อราษฎรจะได้ ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วยสันติวิธี ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ข้อมู ลที่ ไ ด้จ ากโครงการวิจัยฯ นี้ ยัง เป็น ข้อมูลในเบื้องต้น ที่ ท าให้เห็ น ถึง เหตุ ปัจจั ย ข้อจากัด ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้มีข้อเสนอหลาย ประการที่จาเป็นต้องอาศัยการยกระดับพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพี ย งพอที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นให้ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งในกระบวนการยุ ติ ธ รรมสามารถน าไปปฏิ บั ติ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง กระบวนการยุติธรรมให้มีความเป็น ธรรมต่อประชาชนผู้เดือดร้อน รวมทั้ งประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

มูลนิธิชุมชนไท ผู้รับผิดชอบโครงการ

5


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการยุติธรรม : ปัญหาและแนวทางแก้ไข (กรณีคดีความเรื่องที่ดิน) ระยะเวลาดาเนินงาน : กันยายน 2554 – ตุลาคม 2555 1. กรอบคิดโครงการวิจัย ในการทางานของคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการจัดการที่ดิน ฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และ น้าของคณะกรรมการปฏิรู ป (คปร.) ในช่ วงปี พ.ศ.2553 ถึง 2554 ได้พบปัญ หาความไม่เป็น ธรรมที่ ประชาชนได้รับในคดีที่ดินและสิ่งแวดล้อมเป็นจานวนมาก และในการจัดสมัชชาปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 มีข้อเสนอสาคัญระบุปัญหาที่ดินและทรัพยากรเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้า ความไม่ เป็นธรรมในสังคม โดยได้แสดงให้เห็นปริมาณคดีความและข้อพิพาทในเรื่องที่ดินและทรัพยากร เช่น การ สารวจเบื้องต้นของกรมราชทัณฑ์พบว่ามีจานวนคดีความที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชนที่ ยากไร้ในกรณีที่ดิน 191 คดี ข้อมูลจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีผู้ถูกดาเนินคดี 361 ราย จานวน 143 คดี แยกเป็นคดีแพ่ง 87 คดี และคดีอาญา 56 คดี งานศึกษาวิจัยของศยามล ไกยูรวงศ์ และคณะ เรื่องข้อพิพาท และความขัดแย้งปัญหาที่ดินในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2549 สารวจพบว่ามี ปัญหาข้อพิพาทในที่ดินและที่อยู่อาศัย 740 คดีใน 68 จังหวัด จากการประชุมพิจารณาข้อมูลคดีที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและสิ่ง แวดล้อมพบว่าเป็นคดีที่ซับซ้อนใน เรื่องข้อเท็จจริง มีกฎหมายหลายฉบับ นอกจากนี้ ยังมีมิติทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในหลายกรณีไม่ได้เกิดจากเจตนากระทาผิด แต่เป็นผลพวง จากสาเหตุหลายประการ เช่น แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายการพัฒนาประเทศ และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ อาทิเช่น นโยบายส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ก่อน พ.ศ.2500 ประเทศไทยส่งเสริมการส่งออกข้าว มันสาปะหลังและยางพารา สินค้าเกษตรกรรม จึงมีส่งผลให้มีการจับ จองขยายที่ทากิน นโยบายอนุรักษ์ป่าไม้ จึงประกาศพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งไปทับซ้อนกับที่ดินทา กินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม อาทิเช่น ชาวเล และชนเผ่าบน พื้นที่สูง จากข้อมูลการสารวจพบว่ามีกว่า 1 ล้านครัวเรือน ที่อาศัยในพื้นที่ทับซ้อนกับการประกาศเขต อนุรักษ์ของรัฐซึ่งหมิ่นเหม่กับการละเมิดสิทธิชุมชน นอกจากนี้ ยังมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการ ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินมิชอบไปทับซ้อนกันระหว่างที่ดินเอกชนกับที่ดินชุมชน หรือที่ดินของรัฐ อีกจานวน มาก เมื่อชาวบ้านถูกกล่าวหา ถูกฟ้องร้องหรือดาเนินคดีก็จะมีปัญหา มีความยากลาบากในการเข้าถึง ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะคนจนที่ไม่มีเงินและมีความรู้น้อย หลายพื้นที่มีการ ข่มขู่คุกคาม หรือบางพื้นที่เมื่อมีกระบวนการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ปรากฏว่าออกเอกสารมิชอบ ดังนั้น จึงเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ชาวบ้านและประชาชนทั่วไปเห็นว่า ยุติธรรมนั้น แตกต่างจากของหน่วยงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรวมถึงสถาบันศาลหรือตุลาการ 6


ด้วย ความแปลกแยกแตกต่างเช่นนี้ หากละเลยทิ้งไว้ไม่หาทางแก้ไข ย่อมนามาซึ่งความเสื่อมศรัทธา ของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันศาลและตุลาการ ทั้งนี้ ย่อมน่าเป็นห่วงอย่างที่สุดสาหรับสังคมไทยเพราะสถาบันศาลและตุลาการเป็นหลักและที่พึ่งสุดท้าย ของสังคมและปวงชนชาวไทย 1.1 วัตถุประสงค์โครงการ 1. เพื่ อ ท าความเข้ าใจ สาเหตุ และปั จ จั ยที่ ก่ อ ให้เ กิ ด ปั ญ หา ตลอดจนข้ อ จากั ด ของ กระบวนการยุติธรรม ในคดีความของคนจนที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจากัดของกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมาย 3. เพื่อวางแผนและสร้ างกลยุท ธ์ใ ห้ห น่ วยงานที่ เกี่ยวข้องมาร่ วมกัน หาทางแก้ไ ขปัญ หา สามารถนาไปพัฒนาการปฏิบัติงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และหน่วยงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน 4. เพื่อสร้างข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติงานของ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายร่วมกัน อย่างไรก็ดี ภายใต้เวลาและงบประมาณที่จากัด โครงการจึงได้กาหนดขอบเขตการศึกษาในส่วน ของกระบวนยุ ติธรรมในระบบศาลยุติ ธรรมและเชื่ อมโยงไปสู่ พนั กงานอั ยการ ต ารวจ ทนายความ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน 1.2 วิธีการศึกษาวิจัย สาหรับวิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนวิธีการที่เชื่อมโยงเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องอาทิ 1. การศึกษาเอกสารในคดีที่เกี่ยวข้องกับคดีเรื่องที่ดิน 2. การรวบรวมผลการศึกษาและขอความร่วมมือจากคณะวิจัยอื่นๆในด้านข้อมูลและในด้าน แนวทางการแก้ไขปัญหา 3. การสัม ภาษณ์เชิง ลึก , สัมภาษณ์กลุ่มและบุคคลบางกลุ่ ม (เช่ น ผู้พิพากษาต ารวจและ เจ้าหน้าที่ที่ดิน) 4. การน าผลของการวิจั ยไปสร้างแนวทางและกลยุท ธ์ด้วยการจัดประชุ มสัมมนากับฝ่าย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น รายฝ่ายและร่ วมกันระหว่าง 5 ฝ่าย (ประกอบด้วย หน่ วยงาน ร าช ก าร ก ร ม ที่ ดิ น , ก ร ม อุ ท ยาน แ ห่ ง ช าติ สั ต ว์ ป่ าแ ล ะ พั น ธุ์ พื ช ก ร ะ ท ร ว ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ตารวจ, พนักงานอัยการ, ทนายความ และตุลาการ) 5. การจั ดประชุ ม เป็น รายฝ่ายหรื อหลายฝ่ายและทุ กฝ่ายเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไ ข ปัญหาร่วมกัน 6. สรุปรวมผลของการประชุมสัมมนาและนาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อสังคม

7


1.3 วิธีการดาเนินงาน โครงการวิจัยฯ แบ่งการทางานออกเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาโครงการวิจัย ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทางานในช่วงนี้ คือ คดีที่ เลือกสรรสาหรับการศึกษาเชิงลึกในระยะที่ 2 และโจทย์วิจัยที่ได้รับการปรับปรุงสาหรับการศึกษาเชิงลึก กิจกรรมประกอบด้วย การรวบรวมกรณีพิพาท และคดีที่ดิน จากแหล่งข้อมูลต่างๆการเลือก กรณีปัญหาเพื่อศึกษาเชิงลึก เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับที่ดินมีความซับซ้อนและหลากหลาย เกณฑ์การเลือก จึงเป็นการพยายามเลือกหาคดีที่อาจใช้เป็นตัวอย่างในประเด็นที่สาคัญๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1. กรณี ที่ ดิ น ที่ ช าวบ้ า นถู ก ฟ้ อ งร้ อ งด าเนิ น ค ดี แต่ ช าวบ้ า นเห็ น ว่ า ไม่ เ ป็ น ธรรมจาก กระบวนการยุติธรรม เช่น เป็น ที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองมาก่อน แต่มีการออกโฉนด ที่ดินมาทับซ้อน, ชาวบ้าน (ผู้ถูกกล่าวหา) ไม่ได้รับอนุญาตให้การประกันตัว หรือเรียกค่า ประกันตัว1สูง การไม่รับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายผู้ถูกฟ้อง ศาลไม่ออกไปดูข้อเท็จจริง ในพื้นที่ มีประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้นา เรื่องสิทธิชุ มชนเข้ามาประกอบใช้ในการพิจารณาคดี รวมทั้งมีการตัดสินลงโทษจาคุก (ซึ่งประชาชนเห็นว่าความผิดที่กระทาไม่ควรถือเป็นอาชญากรรม) 2. โจทก์เป็นเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ 3. จาเลยเป็นเกษตรกร กลุ่มชาติพัน ธุ์ เช่ น ไท กะเหรี่ยง และ ชาวเล ฯลฯ ที่ เข้าไม่ถึง ข้อมูลความรู้และโอกาสในการต่อสู้ทางกฎหมาย 4. ท้องที่ ภูมิภาคหรือพื้น ที่อื่นๆ เช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ ในชนบทและ เมื องเป็ น การเลื อกคดี เพื่ อศึ กษาในเชิ ง ลึก ให้ ครอบคลุ มทุ กประเด็ น ที่ เป็ น ปั ญ หา ที่ ชาวบ้านเห็นว่าไม่เป็นธรรม ผลจากการวิเคราะห์คดีต่างๆ ที่รวบรวมได้ นามากาหนดคาถาม/ประเด็นหรือโจทย์การวิจัย ซึ่ง จะเก็บข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในคดีกรณีศึกษาโดยมีกรอบของประเด็นที่ต้องการค้นหาจากงานวิจัย กว้างๆ คือ 1. ความเดือดร้อนของชาวบ้านเกี่ยวกับที่ดิน คืออะไร 2. ชาวบ้า นรู้ สึก ว่า ปัญ หา เกิ ดหรื อเริ่ มมาจากไหน ระดั บความร้ า ยแรงของปัญ หาจาก บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม (เช่น เจ้าหน้าที่รัฐ ตารวจ พนักงานอัยการ หรือ ศาล) 3. ปัญหาในกระบวนการยุติธรรม 4. ปัญหาในกระบวนการพิจารณาของศาล ระยะที่ 2 ระยะการศึกษาวิจัย จะศึกษาวิเคราะห์เพื่อทาความเข้าใจและตอบโจทย์เกี่ยวกับ สาเหตุและปัจจัยจากมุมมองของประชาชนที่เห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม สาเหตุปัจจัยและข้อจากัดที่ทาให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม (ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตารวจ

8


และทนายความ) ต้องดาเนิ นคดี และมี ผลการตัดสิน ไปตามนั้ นตลอดจนสาเหตุปัจจัยและข้อจากัด ที่ บุคคลากรในหน่วยงานรัฐ เช่น กรมที่ดิน และ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องปฏิบัติในทางที่เป็น การสร้างผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องที่ดินทากิน รวมทั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้น สาเหตุ ปัจจัย และ ข้อจากัด ที่ทาให้คนจนที่ถูกฟ้องร้องคดี ถูกตัดสินว่ากระทาผิด และถูกตัดสินลงโทษนั้น มีได้จากหลาย สาเหตุ ปัจจัย ตั้งแต่เรื่องตัวบทกฎหมาย การเลือกใช้และตีความกฎหมาย กระแสความคิดทางสังคม และทัศคติของบุคลากร การศึกษาในระยะนี้ จะศึกษากรณีคดีความที่เลือกแล้วอย่างละเอียด ในทุกขั้นตอน ขั้นสอบสวน ค้น ทนายความหรืออัยการ ดาเนินการฟ้อง ขึ้นพิจารณา ตลอดถึงการตัดสินคดี อุทธรณ์ การลงโทษ ฯลฯ โดยจะพยายามสัมภาษณ์เชิงลึกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาเลย ทนาย อัยการ และผู้พิพากษา ผู้ ตัดสินคดีนั้นๆ นอกจากนั้นแล้ว จะมีการประชุม สัมมนากับฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายตุลาการ เพื่อ ตอบโจทย์คาถามของการวิจัย ซึ่งอาจก้าวไปถึงแนวทางการแก้ไข ซึ่งจะทาให้ระยะที่ 2 นี้ทับซ้อนกันกับ ระยะที่ 3 หลังจากการวิเคราะห์คดีต่างๆ ที่รวบรวบได้ จะมีการวางแผนและกลยุ ทธ์สาหรับการดาเนินงาน ในระยะที่ 3 ซึ่งจะเป็นการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและวิธีที่จะดาเนินการเพื่อแก้ไขปรับปรุง กระบวนการ ยุติธรรมโดยจะจัดให้มีการประชุมสัมมนาร่ วมกับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เช่น ตารวจ พนักงาน อัยการ พนั กงานอัยการ ทนายความ และผู้พิพากษาเป็น ระยะ ๆ โดยคาดว่าทั้ ง สามระยะจะใช้ เวลา ดาเนินงานวิจัยนาน 24 เดือน หากกระบวนการวิจัยดาเนินการไปตามแผนการที่กาหนดไว้ จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ ถึงเหตุ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญ หาและข้อจากัดของกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมายในคดีความของคนจนที่ เกี่ยวข้องกับที่ดิน เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ที่บุคคลากรในกระบวนยุติธรรมทุก ฝ่ายสามารถนาไปใช้ในทางปฏิบัติ ตลอดจนเกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายสาธารณะซึ่ง ท้ายที่สุดจะนาไปสู่ความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้า สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 1.4 ตัวอย่างคดีที่ดิน (ซึ่งจะดาเนินการร่วมวิเคราะห์เพื่อเลือกกรณีคดีศึกษาเชิงลึกในระยะที่ 1) คดี

พื้นที่

รายละเอียด

1.กรณีเอกชนออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดิน ชาวบ้านและที่ดินสาธารณะ

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

2.กรณี ที่ ดิ น ชนเผ่ า ดั้ ง เดิ ม (ชาวเล ) เอกชนออกเอกสารสิ ท ธิ์ ทั บ ที่ ดิ น ของ ชาวเล

ภาคใต้

ฟ้องขับไล่ชาวบ้าน ถูกจาคุก DSI และ กสม.ระบุออกเอกสารมิช อบ ยังคงถูก ดาเนินคดีเรื่อยๆไม่หยุด เอกชนฟ้ องขับไล่ / ห้า มติดตั้ง น้ าไฟ / ห้ามปรับปรุง สาธารณูปโภค / ถูกฟ้อง เพราะปรับปรุงบ้านตนเอง 11 ราย

9


คดี

พื้นที่

รายละเอียด

3. ก ร ณี เ ก ษ ต ร ก ร พิ พ าท ส วน ป่ า องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.)

ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

4. กรณีเอกชนออกเอกสารไม่ชอบด้วย กฎหมายในที่ ดิน หลัง สัมปทานเหมื อง แร่ (ที่ดินรัฐ) และฟ้องขับไล่ชาวบ้าน 5.กรณีที่ดินเกษตรกรพิพาทกับเอกชน ที่ดิน

ภาคใต้

เพื่ อท าเกษตรเพราะเป็น ที่ ดั้ ง เดิม ของ เกษตรกร /นโยบายสวนป่า ออป. ให้ ออกจากพื้นที่ พิพากษาให้ออกจากพื้นที่ /กบร.ชาติมี มติให้เพิกถอนที่ดินมิชอบ

ภาคเหนือ

เป็ น ที่ ดิ น จั ด สรรเพื่ อ ท าการเกษตร / ออกเอกสารแสดงสิ ท ธิใ นที่ ดิ น ไม่ ช อบ ด้วยกฎหมาย /ถูกทิ้งรกร้าง / เกษตรกร ถูกฟ้องดาเนินคดี ถูกจาคุก

2. ผลการดาเนินงาน 2.1 รายงานข้อมูลกรณีศึกษาข้อพิพาท จานวน 5 กรณี ประกอบด้วย 1) การใช้อานาจรัฐและกระบวนการยุติธรรมฉ้อโกงที่ดินเกษตรกร : รายงานการวิจัย คดีที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมคดีที่ดินเอกชนระหว่างประชาชนในท้องถิ่นกับ นายทุนโดยการสะท้อนให้เห็นการใช้กระบวนการยุติธรรมทั้งกลไกทางกฎหมายและอานาจรัฐแสวงหา ผลประโยชน์ เพื่อเสนอแนะหาทางแก้ไข รายงานการศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาคดีที่ ดิน ซึ่ ง เป็น เรื่ องที่ เกิดขึ้น จริ งในสองต าบลของ จังหวัดหนึ่ งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งชาวบ้านและนายทุนมีข้อพิพาทเรื่องที่ดิน มานานกว่า 40 ปี ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการถูกฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งคดีอาญาได้ทาเรื่องร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ กว่า 10 หน่ วยงาน รวมทั้ ง การถวายฎีกาเพื่อขอความเป็น ธรรมและขอให้ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ของ นายทุนทับที่ดินชาวบ้านว่าออกโดยชอบหรือไม่ ทาให้คดีพิพาทนี้เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ ทานองเดียวกันนี้ยังได้เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าประชาชนคน ยากจนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ตาบลทั้งสองแห่งที่เลือกศึกษาเป็นชุมชนดั้งเดิม ที่ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 200 ปี ปัจจุบันมีประชากรราว 2,300 ครอบครัว สภาพพื้นที่เดิมเป็นป่าริมแม่น้า ใหญ่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทาการเกษตร การใช้ที่ดินสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน แต่เมื่อ มีการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ พื้นที่นี้กลายเป็นทาเลทองที่นายทุนต้องการเพราะอยู่ใกล้เมืองใหญ่และไม่ ไกลจากชายแดน นายทุนเคยเป็นคนในพื้นที่ซึ่งเมื่อเติบโตมีอานาจทางการเมืองมากขึ้นชาวบ้านจึงเกรง กลัว มีความพยายามทุกวิถีทางจากฝ่ายนายทุนที่จะครอบครองที่ดินของชาวบ้าน ทั้งการขอซื้อ การข่มขู่ ให้ชาวบ้านขายที่ดิน การหลอกว่าจะช่วยให้ชาวบ้า นได้เอกสารสิทธิ์ที่ดินแล้วกลับนาที่ดินมาออกโฉนด เป็น ของตน ตลอดจนการออกเอกสารสิท ธิ์ทั บที่ ดินชาวบ้านที่ มิไ ด้ขายที่ ดิน ฯลฯ โดยใช้ทั้ ง กลไกทาง 10


กฎหมายและอานาจรัฐ โดยความร่ วมมื อจากเจ้าหน้าที่รั ฐในท้องถิ่น ทาให้ชาวบ้านทั้ง ตาบลกว่า2,300 ครอบครั วได้รับความเดือดร้อน ชาวบ้านหลายรายที่ถูกคดีต้องขายที่ดินและทรัพย์สิน มาเป็น ค่าใช้จ่าย ชาวบ้านที่ไม่มีเงินจานวนหนึ่งจึงไม่สู้คดียอมแพ้และขอประนีประนอมตามแต่นายทุนจะเมตตา ชาวบ้านที่ ต่อสู้และแพ้คดีส่วนหนึ่งต้องติดคุกและชาระค่าเสียหายจึงต้องขายที่ดินและทรัพย์สินหรือกู้หนี้ยืมสินเพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีและช่วงถูกจาคุก ปัจจุบันแม้ผู้ก่อปัญหาและทายาทบางคนจะเสียชีวิตไปแล้ว ชาวบ้านผู้ถูกฟ้องร้องก็เสียชีวิตไปหลายคนแล้วเช่นกัน แต่การฟ้องร้องต่อสู้คดีก็ยังอยู่ตกทอดสู่บริวารและ ทายาทรุ่นลูกหลาน ปัญหาข้อพิพาทที่ดินนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงโดยง่าย โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าความไม่เป็นธรรมครั้งนี้น่าจะเกิดจากนายทุนโดยความร่วมมือของ เจ้าหน้าที่รัฐโกงชาวบ้าน กระบวนการเริ่มจากความโลภของนักการเมืองระดับชาติที่อาศัยความเป็นคน พื้นถิ่น ความนับถือของชาวบ้านเพราะเคยเป็นครูโดยเจ้าหน้าที่ รัฐในท้องถิ่นให้ความร่ วมมือในการใช้ ข้อมูลความรู้และอานาจบารมี ชักจู งให้ช าวบ้านลงชื่อในเอกสารเปล่าเพื่อขอออกโฉนดที่ดินแล้วปลอม เอกสารออกโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง หลอกนาลายเซ็นและปลอมลายเซ็นชาวบ้านไปทาสัญญาซื้อขาย ที่ดิน รวมทั้งการซื้อที่ดินโดยจ่ายเพียงค่ามัดจาเพียงราว 10% ที่เหลือจ่ายเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชี รวมทั้งยัง ใช้อิทธิพลข่มขู่ชาวบ้านให้ขายที่ดินให้ และเมื่อได้ที่ดินแล้วก็ฟ้องขับไล่ชาวบ้านให้ออกจากที่ ดินและเรียก ค่าเสียหาย สาหรับเจ้าหน้าที่รัฐมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งนายอาเภอกานันผู้ใหญ่บ้านเจ้าหน้าที่ด้านที่ดิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเองก็เป็นเครื่องมื อของผู้มีอิทธิพล ทั้งช่วยชักจูงและ ข่มขู่ชาวบ้านให้ขายที่ดิน ปลอมแปลงเอกสาร ช่วยให้นายทุนออกหลักฐานเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ ด้วยกฎหมาย ตลอดจนกีดกันองค์กรเอกชนที่เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านด้านคดี และเมื่อชาวบ้านร้องขอให้ ช่วยเหลือเช่ น การตรวจสอบหลักฐานเอกสารของนายทุ น ซึ่ ง สงสัยว่าจะออกโดยมิช อบแต่ก็ไ ม่ปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับนายทุนจะได้โฉนดที่ดินหรือได้ที่ดินหรือผลประโยชน์อื่นเป็นการตอบแทน ในส่วน ชาวบ้านก็ไ ม่มี ความรู้ เกรงกลัวผู้มีอิทธิพลบารมี เชื่ อผู้น าท้ องถิ่น จึงถูกหลอกได้ง่ายและไม่มีอานาจ ต่อรองกับนายทุน ส่วนทนายความก็ไม่เป็นที่พึ่งของชาวบ้านเพราะให้คาปรึกษาแนะนาชาวบ้านในทางที่ ไม่ถูกต้องรวมทั้งไม่ได้ใช้ความพยายามต่อสู้คดีหักล้างข้อกล่าวหาของฝ่ายนายทุนอย่างเต็มความสามารถ และยังมีพฤติกรรมคบคิดกับฝ่ายนายทุนจนทาให้ชาวบ้านแพ้คดีหรือยอมความเพียงเพื่อหวังจะได้ลดโทษ ทั้ง ที่เป็นฝ่ายถูกโกง พฤติกรรมของผู้ ที่ สมคบคิดกัน หลายฝ่ายเหล่านี้ท าให้ หลักฐานการกล่าวหาของ นายทุ น มีน้ าหนั กมากกว่าหลักฐานการต่อสู้ของชาวบ้าน อีกทั้ ง การที่ ศาลยอมรั บว่าเอกสารสิท ธิ์ของ นายทุ น ซึ่ง ชาวบ้านกล่ าวหาว่าได้มาไม่ช อบด้วยกฎหมาย ท าให้ชาวบ้านแพ้คดีต้องถูกขับ ไล่และจ่าย ค่าเสียหาย คดีที่ดินจากรายงานฉบับนี้สะท้อนความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับจากการกระทาที่ไม่ ซื่อสัตย์สุจริตไร้คุณธรรมของนายทุนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ และความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการ ยุติธรรม ท าให้ประชาชนยากจนจ านวนมากเดือดร้อน จึ งนามาสู่การรวมตัวต่อสู้เรียกร้องต่อรัฐบาลให้ แก้ไ ขปัญ หาโดยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมงานวิจัยได้ เสนอรายงานข้อมูลประกอบและเสนอแนะ ประเด็นเพื่อการอภิปรายดังนี้

11


 ความไม่รู้กฎหมาย ความไม่รู้ในกฎหมายพื้นฐานหลายประการทาให้การปฏิบัติของ ชาวบ้านไม่เป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม จึงมี ประเด็นน่าคิดว่าจะพัฒนาการ ให้คาปรึกษาแนะนาทางกฎหมายแก่ชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงความรู้และการ บริการทางกฎหมายจากรัฐให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันอย่างไร  การพิสูจน์หลักฐานที่ดินที่สงสัยว่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นนี้เป็นหัวใจ ของการตัดสินคดี ชาวบ้านร้องเรียนในเรื่องนี้ว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ยอมพิสูจน์ หลักฐานเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ชาวบ้านสงสัยว่าจะได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะให้ ชาวบ้านพิสูจน์เองแต่เมื่อชาวบ้านร้องให้รัฐตรวจสอบก็ไม่ทา จึงทาให้ชาวบ้านแพ้คดี จึงมีประเด็นน่าคิดว่าจะมีทางปรับปรุงกระบวนการและวิธีการตรวจสอบหลักฐานการ ได้มาของเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่สงสัยว่าจะได้มาโดยมิชอบก่อนการตัดสินคดีได้อย่างไร  การใช้อานาจรัฐและอิทธิพลท้องถิ่นข่มขู่ชาวบ้าน ชาวบ้านที่ไม่ร่วมมือมักจะถูก ข่มขู่ กดดันทามาหากินลาบากสุดท้ายอยู่ไม่ได้ก็ต้องทยอยขายที่ดินทีละรายสองราย จนหมด และเหตุการณ์ ลักษณะนี้เกิดขึ้น ทั่วไป จึง มีประเด็นน่ าคิดว่าจะเสริ มสร้าง กลไกการคุ้มครองหรือเสริมสร้างความคุ้มกันให้แก่ประชาชนและกลไกสื่อมวลชนช่วย เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านอย่างไร  การต่อสู้ค ดีในศาล กระบวนการยุติธรรมต้องใช้ ทั้ ง เงิน และเวลามาก ชาวบ้า น ยากจนและต้องทามาหากินไม่สามารถรับภาระได้หากต้องต่อสู้ยืดเยื้อ จึงมีประเด็น น่ าคิ ดเกี่ยวกับกองทุ น ยุ ติธรรมว่าจะท าให้มีเ งิน มากพอและคล่องตัว พอที่ จะช่ ว ย ชาวบ้านให้เข้าถึงเพื่อการต่อสู้คดีได้อย่างไร  ประเด็นอื่นๆ เช่ น จะแก้ไขปัญ หาคุณธรรมของนั กการเมือง การทุจริตต่อหน้าที่ ตลอดจนการเยียวยาชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมคดีที่ดินได้อย่างไร 2) การใช้อานาจรัฐและกระบวนการยุติธรรมฉ้อโกงที่ดินชนเผ่าพื้นเมือง : กรณีศึกษา ชุมชนชาวเล มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุปัจจัย และเสนอแนะแนวทาง จัดการปัญหานายทุนการฟ้องร้องขับไล่ชาวเลออกจากที่ดินที่ชุมชนที่เขาอยู่อาศัยมาแต่บรรพบุรุษ ชาวเล เป็นชื่ อเรี ยกกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใ นเรื อและใช้ ชีวิตแบบเรี ยบง่ายกับท้ องทะเลในประเทศไทยและ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า จาแนกได้เป็น 3 กลุ่มย่อยคือ มอแกน มอ แกลน และอูรักลาโว้ย งานวิจัยครั้งนี้พบว่าชาวเลที่ศึกษาเป็นกลุ่มอุรักลาโว้ยและมอแกนที่ตั้งถิ่นฐานที่หาดรา ไวย์สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษมากว่า 100 ปี ดังหลักฐานการตั้งบ้านเรือน บารายสาหรับไหว้ผีบรรพบุรุษ สุสานฝังศพ วัด โรงเรียน บ่อน้าโบราณ มีวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมในการหาอยู่หากินจากการจับสัตว์น้า

12


ในทะเล แต่ด้วยความไม่รู้หนังสือและการสื่อสารเป็นภาษาไทยไม่ได้ในอดีตทาให้คนภายนอกที่อพยพเข้า มาอยู่ในชุมชนได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้เป็นผู้นา และอาศัยความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การรู้ ข้อมูลข่าวสาร และกลไกของรัฐเข้าครอบครองที่ดินและออกโฉนดที่ ดินเป็นของตนเองทับพื้นที่อยู่อาศัย ของชุมชนทาให้ชาวเลทั้งชุมชนกว่า 2,000 คนเดือดร้อน อีกทั้งกดดันให้ชาวเลอยู่ไม่ได้ด้วยการห้ามต่อน้า ต่อไฟใช้ ห้ามสร้างห้องสุขาจึงต้องไปถ่ายที่ชายหาด กั้นกาแพงทาให้น้าท่วมขัง ถมบ่อน้า และอื่นๆ อีก นานัปการที่ไม่เป็นธรรมและทาให้ชาวเลได้รับความเดือดร้อนและคุณภาพชีวิตไม่ได้รับการพัฒนา ยิ่งไป กว่านั้น ยังได้ฟ้องร้องดาเนินคดีขับไล่ช าวเลออกจากที่ดิน ที่ตนเองอ้างเป็นเจ้าของ แนวโน้มปัญ หาการ ฟ้องร้องขับไล่ชาวเลแทบทั้งหมดออกจากชุมชนมีสูงมากทาให้ชุมชนชาวเลที่หาดราไวย์ต้องสูญเสียที่อยู่ อาศัยอย่างถาวร กระบวนการใช้อานาจรั ฐออกเอกสารสิท ธิ์ที่ดินทั บที่ ชุมชนจึง เป็น การฉ้อโกงที่ดินของ ชุมชน และการใช้กระบวนการยุติธรรมและอานาจศาลขับไล่ชาวเลออกจากชุมชนจึงไม่เป็นธรรมกับชาวเล งานวิจัยฉบับนี้จึงมีข้อเสนอให้ตรวจสอบและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกฉบับที่ออกไม่ เป็นธรรมและทา ให้ชาวเลเดือดร้ อนและเยียวยาความเดือดร้อนเขาด้วยการสนั บสนุ นให้เขาเข้าถึง การบริ การทางด้าน สาธารณูปโภคและการบริการอื่นๆ ของรัฐได้ 3) การใช้ อ านาจรั ฐ และกระบวนการยุ ติ ธ รรมที่ ไ ม่ เ ป็ น ธรรมกั บ เกษตรกร : กรณีศึกษาสวนป่าคอนสารจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุปัจจัย และเสนอแนะแนวทาง จัดการปัญหาหน่ วยงานของรัฐฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินที่ ชุมชนอยู่อาศัยท ากิน มาก่อนการ ประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและการปลูกสร้างสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ตามกฎหมาย งานวิจัยครั้งนี้พบว่าชุมชนตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย จนถึงช่วง ของข้อพิพาทขัดแย้งกันตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน ได้พบเห็นหลักฐานที่สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมที่ ราษฎรได้รับจากการใช้อานาจรัฐที่ไม่ถูกต้องและกระบวนการยุติธรรม 7 ประการ ได้แก่ 1.) การประกาศ เขตป่าสงวนแห่งชาติทับที่ชุมชน 2.) การปลูกสร้างสวนป่าทับที่ทากินชาวบ้าน 3.) การไม่จัดสรรที่ดินให้ ชาวบ้านสมาชิกหมู่บ้านสวนป่าไม้ 4.) การกระทาการลุแก่อานาจด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐต่อ ราษฎร 5.) การเลือกปฏิบัติ 6.) การไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาทางนโยบาย 7.) กระบวนการ ยุติธรรม กระบวนการนาที่ป่าสงวนฯมาทาสวนป่า จึงไม่เป็นธรรมกับราษฎรในชุมชนท้องถิ่นเดิม และการใช้กระบวนการยุติธรรมและอานาจศาลขับไล่ชาวบ้านที่รอฟังผลการแก้ปัญหาเชิงนโยบายจึงไม่ เป็นธรรม การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเบื้องต้นให้ 1) หาทางออกร่วมกัน โดยจัดที่ดินส่วนหนึ่งให้ชาวบ้าน

13


ที่ร้องเรียนและมีหลักฐานใดๆ ที่แสดงการครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนป่าสงวนฯและสวนป่าได้มีที่ ทากินพอยังชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีได้ 2) ทบทวนความชอบธรรมในการกาหนดแนวเขตป่าไม้ให้ ถูกต้อง ผลจากการศึกษาวิจัยซึ่ง พบว่า การดาเนินงานทางด้านป่าไม้ต่างๆได้แก่การประกาศป่าสงวน แห่งชาติ การปลูกสร้างสวนป่าตามนโยบายรัฐ กระทาไปด้วยความไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับชุมชนซึ่ง อยู่อาศัยทากินในพื้นที่มาก่อน จึงควรปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและเป็นธรรมกับราษฎรในชุมชนท้องถิ่น 3) ทบทวนนโยบายการอนุญาตให้เช่าที่ดินในเขตป่า ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ราษฎร 4) การพิจารณาคดี ควรเปิดโอกาสให้พยานฝ่ายจาเลยให้การได้เต็มที่ และสร้างกลไกตรวจสอบความถูกต้องของการกาหนด เขตป่าและการอนุญาตให้ทาการปลูกสร้างสวนป่าด้วยวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น และ5) การแก้ไขปัญหาของฝ่ายบริหารตามมติของคณะกรรมการและคณะทางานชุดต่างๆ ต้องเร่งรัดดาเนินการ โดยเร็วให้เป็นธรรมกับราษฎรที่เดือดร้อน 4) ความไม่เป็นธรรมจาก การใช้อานาจรัฐและกระบวนการยุติธรรม : กรณีศึกษา ที่ดินชุมชนทับยาง จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยการพิพาทที่ดินระหว่าง ราษฎรกับนายทุนเอกชน และเสนอแนะแนวทางจัดการปัญหานายทุนเอกชนฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออก จากที่ดินที่ชุมชนอยู่อาศัยทากินมาก่อนการได้สิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายของนายทุน งานวิ จั ย พบว่ า ชุ ม ชนท้ า ยเหมื อ งตั้ ง ถิ่ น ฐานมานานกว่ า 100 ปี มี ห ลั ก ฐานทาง ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการท าเหมื องแร่และการค้าขายมากมาย ส่วนพื้น ที่พิพาทอยู่ใ นเขตตาบลท้ าย เหมือง อาเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เดิมอยู่ในท้องที่อาเภอทุ่งมะพร้าวซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัยหนาแน่น ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 มีการปลูกมะพร้าวมาก ยังมีท่าเรือใหญ่ที่ปากน้าลาแก่นที่เรือกลไฟเข้ามาได้ มีการ ค้าขายกับต่างชาติ และมีการทาเหมืองหาบกันมากจนมีโรงถลุงแร่อยู่ที่ทุ่งมะพร้าวด้วย แต่เมื่อท้ายเหมือง มีการทาเหมืองสูบกันมากขึ้น ชาวบ้านจึงเริ่มเข้ามาปลูกกระต๊อบเล็กๆ อาศัยหลับนอนและร่อนแร่มากขึ้น เรื่อยๆ จนกลายเป็น ชุมชนใหญ่ โดยเฉพาะบริ เวณพื้นที่พิพาทบริเวณบ้านทับยางซึ่งเดิมนั้ นอยู่ใ นเขต ประทานบัตรเหมืองแร่ดีบุก ในราวปี พ.ศ. 2441 ชาวบ้านที่เป็นคนงานเหมืองได้ตั้ง บ้านเรือนอยู่อาศัย บริเวณท้ายรางเหมืองสูบ และมีการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ หลังช่วงหมดอายุสัมปทาน และผู้ ถือประทานบัตรคนสุดท้าย ยังได้เกลี่ยดินขุมเหมืองและประกาศให้จับจองที่ดิน จึงมีผู้คนมาจับจองที่ดิน เพื่ออยู่อาศัยและร่อนแร่ ท้ายเหมืองขายมากจนกระทั่งเป็นชุมชนใหญ่ ทางการจึงยกขึ้น เป็นอาเภอ แต่ ต่อมานายทุนได้นาที่ดินไปออกเอกสารสิทธิ์รวมทั้งซื้อที่ดินเอกสารสิทธิ์ซึ่งนายเหมืองคนก่อนๆ ได้ขายให้ จนมีที่ดินรวม 10 แปลงเนื้อที่หลายร้อยไร่ ก่อนนาที่ดินไปจานองกับธนาคารจนถูกยึดขายทอดตลาด แต่ก็ ไปไถ่ถอนมาและขายที่ดินบางแปลงให้แก่บริษัทเอกชนทาสนามกอล์ฟ ราษฎรที่อยู่ในเขตแปลงที่ดินทีข่ าย ถูกไล่รื้อออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในแปลงอื่น และได้เก็บค่าเช่าย้อนหลังจากราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขต ที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนโดยให้ราษฎรทาสัญญาเช่า ราษฎรที่ไม่ยอมถูกฟ้องร้องดาเนินคดีขับไล่และเรียก ค่าเสียหายจากชาวบ้าน ราษฎรถูกทนายหลอกให้ขาดนัดยื่นคาให้การและขาดนัดพิจารณาจนแพ้คดีทั้ง 14


หมู่บ้าน ต้องถูกยึดบ้านที่สร้างเองแล้วยังต้องจ่ายค่าเช่าบ้านของตัวเองแก่ นายทุน ชาวบ้านที่ไม่ยอมก็ถูก บังคับคดีรื้อถอนบ้าน ทาให้มีชาวบ้านเดือดร้อนถึง 99 หลังคาเรือน รวมกว่า 400 คน การศึกษาพบว่าราษฎรไม่ไ ด้รั บความเป็น ธรรมจากการใช้ อานาจรั ฐ และกระบวนการ ยุติธรรมหลายประการ เช่น การครอบครองที่ดินประทานบัตรเหมืองแร่หลังหมดอายุประทานบัตร การทา สัญญาเช่าอาคารและที่ดินและการซื้อที่ดินที่ไม่เป็นธรรม สิทธิในการครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดิน พิพาทของชุมชนที่อยู่อาศัยมานาน การให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายจากผู้มีอาชีพทนายความ การขับ ไล่ราษฎรออกจากพื้นที่ สาหรับความเห็นเบื้องต้นสมควรให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 972 และ 973 ตาบล ท้ายเหมือง อาเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมติของคณะกรรมการสิทธิ มนุ ษ ยชนแห่ง ชาติ และมติ ของคณะกรรมการแก้ไ ขปัญ หาการบุกรุ กที่ ดิน ของรั ฐ (กบร.) ดาเนิ น การ สอบสวนสิท ธิและจัดการแก้ปัญหาเอกสารสิท ธิ์ให้ราษฎรที่ถูกละเมิดสิทธิ การแก้ไขปัญหาทนายความ ปฏิบัติห น้ าที่ มิ ช อบหรือโกงราษฎรที่เป็น ลูกความ การชะลอฟ้องละเมิดสัญ ญาและขับไล่ร าษฎร และ ทบทวนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในเขตตาบลท้ายเหมือง อาเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงาทั้งหมดเพื่ อ ปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมแก่ราษฎรโดยทั่วหน้ากัน 5) ความไม่เป็นธรรมจากการใช้อานาจรั ฐและกระบวนการยุติธรรม : กรณีศึกษา โครงการจัดที่ดินผืนใหญ่หนองปลาสวาย จังหวัดลาพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยการพิพาทที่ดินระหว่าง ราษฎรกับนายทุนเอกชน และเสนอแนะแนวทางจัดการปัญหานายทุนเอกชนฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออก จากที่ดินที่ชุมชนอยู่อาศัยทากินมาก่อนการได้สิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมายของนายทุน งานวิจัยพบว่าราษฎรไม่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการดาเนินการตามนโยบายจัดที่ดิน ผืนใหญ่ของรัฐ หนองปลาสวาย จังหวัดลาพูน เนื่องจากการจัดที่ดินผืนใหญ่แปลงนี้ไม่มีการสอบสวนสิทธิ การถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมมาก่อน การออกใบจองผิดพลาด ผู้ถือใบจองจานวนมากไม่ทราบ แนวเขตที่ดินแน่นอนจึงไม่สามารถเข้าทาประโยชน์ในที่ดินตามใบจองได้ การเพิกถอนจาหน่ายใบจองที่ ออกให้ทั้ง หมด โดยมิ ได้ออกใบจองให้ใหม่ท าให้ร าษฎรเสียสิท ธิที่ จะพึง มีพึงได้ใ นที่ ดิน และการสั่งให้ ชาวบ้านออกจากที่ดินที่ยกเลิกใบจอง โดยมิได้มีมาตรการรองรับการทากินของราษฎรที่ไม่มีที่ทากิน การ ดาเนินการดังกล่าวข้างต้น เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกเอกสารใบจองโดยไม่ได้ ตรวจสอบพื้นที่เพื่อชี้แปลงที่ดิน ทาให้เกิดความสับสนไม่รู้ว่าที่ดินตามใบจองอยู่ตรงไหน ชาวบ้านที่จับจอง บุกเบิกที่ดินครอบครองทากินมาแต่เดิมจึงไม่ได้สิทธิทากินในที่ดินผืนนั้น แม้ชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็น ธรรมจะมาร้องเรียนต่อจังหวัดลาพูนแต่ก็ไม่ได้ ผลทาให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน นอกจากนั้นยังพบ ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากหน่วยงานของรัฐนาที่ดินสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันไปออก เอกสารสิทธิ์ การที่เจ้าหน้าที่รัฐดาเนินการผิดพลาด ใช้หลักฐานไม่ถูกต้อง นาที่ดินสาธารณะประโยชน์ไป ออกเอกสารสิทธิ์จนที่ดินตกเป็นของนายทุน แม้หน่วยงานในจังหวัดจะทักท้วงรวมทั้งราษฎรในพื้นที่ได้ ชุมนุมร้องเรียนและแสดงความไม่พอใจกับการเดินสารวจออกโฉนดที่ดินและเสนอให้เพิกถอนโฉนดแต่ก็ ไม่มีการแก้ไข จึงไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรการดาเนินการที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ ทาให้บุคคลภายนอกที่

15


มิใช่เกษตรกร (แทนที่จะเป็นเกษตรกรในพื้นที่) ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดที่ดินผืนใหญ่ของรัฐ จึง ผิดไปจากหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือให้ราษฎรยากจนซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่ พอประกอบอาชีพ ได้มีที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบการทามาหากินเลี้ยงชี พเป็นหลักฐานมีฐานะทาง เศรษฐกิจแห่งครอบครัวมั่นคง และเพิ่มพูนผลิตผลทางการเกษตรกรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ งานวิจั ยฯ มี ข้อเสนอเบื้องต้น ให้ท บทวนการออกเอกสารสิท ธิ์ ที่ ดิน ในพื้น ที่ ส าธารณะ ประโยชน์บ้านหนองเขียดและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ โดยกรณีความไม่เป็นธรรมอันเกิด จากการเดิน สารวจออกโฉนดของหน่วยงานรั ฐ รั ฐควรสนั บสนุ น การแก้ปัญหาด้วยการทบทวนยืน ยัน หลักการสาคัญของโครงการจัดที่ดินผืน ใหญ่ของรัฐ ให้เกษตรกรรายย่อยและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ของ บุคคลภายนอกผู้ถือครองกรรมสิทธิ์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แล้วสนับสนุนให้ชุมชนบริหารจัดการที่ดิน ให้แก่เกษตรกรรายย่อยและที่ดิน ส่วนรวมด้วยสิทธิของชุมชนตามเจตนารมณ์ของรับธรรมนูญ สาหรั บ ความไม่เป็นธรรมจากคดีที่ดิน เนื่องจากคดีที่ราษฎรถูกนายทุนผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินฟ้องข้อหาบุกรุก เป็น คดีที่เกิดจากการดาเนินการตามอานาจหน้าที่ของเจ้าหน้ าที่รัฐบกพร่อง จะต้องให้โอกาสและความเป็น ธรรมแก่เกษตรกรในการต่อสู้คดี หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ควรดาเนินคดีรุนแรงกับเกษตรกรที่ ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนด้วยความบริสุทธิ์ ควรจะพิจารณาคดีด้วยความเห็นอกเห็นใจ ผ่อนปรนด้วยวิธีการต่างๆ นานาที่กฎหมายเอื้อให้ทาได้ เช่น การชะลอการฟ้อง ลงโทษด้วยวิธีที่ไม่รุนแรง การชะลอการบังคับคดี ตลอดจนเปิดโอกาสให้เข้าถึงกองทุนยุติธรรมได้สะดวกเพื่อราษฎรจะได้ต่อสู้กับ ความไม่ถูกต้องให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วยสันติวิธี 2.2 การประชุมสัมมนาทางวิชาการฯ จานวน 4 ครั้ง สาหรับ 5 กรณี ในการประชุ มสัม มนาทางวิชาการฯ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้ งผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ตารวจ และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันอภิปรายถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมใน คดีความเรื่องที่ ดิน ที่เกิดขึ้น เช่น ชาวบ้านไม่รู้กฎหมาย/เข้าไม่ถึง กระบวนการยุติธรรม การทุจริต /การ ดาเนินงานล่าช้าของเจ้าหน้าที่รัฐ กระบวนการพิสูจน์สิทธิ/ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ ทนายความไม่มีความรู้ / สู้ผิดทาง ศาลรับฟังพยานหลักฐานทางราชการมากกว่าหลักฐานอื่น เป็นต้น รวมทั้งร่วมกันอภิปรายแนว ทางแก้ไขปัญหา เช่น การนาประเด็นสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญมาใช้ในการพิจารณาคดี การเสนอให้แก้ กฎหมายบางประการ การเสนอให้ มี ห น่ ว ยงานเฉพาะแก้ปั ญ หาที่ ดิ น มีก ารให้ คาปรึ กษาให้ค วามรู้ ประชาชนที่เดือดร้อน การใช้กระบวนการทางสังคมเข้ามาหนุนเสริม การปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องใน กระบวนการยุติธรรม เป็นต้น (รายละเอียดดังเอกสารภาคผนวก) การประชุมสัมมนาทางวิชาการฯ ประกอบด้วย

16


1) การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้งที่ 1 : กรณี ข้อพิพาทที่ดินในพื้นที่หนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพการประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้ง 1 วันที่ 27 มีนาคม 2555

2) การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้งที่ 2 : กรณี ข้อพิพาทที่ดินชาวเล

ภาพการประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้ง 2 วันที่ 22 มิถุนายน 2555

3) การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้งที่ 3 : กรณี ข้อพิพาทที่ดินสวนป่า

ภาพการประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้ง 3 วันที่ 1 สิงหาคม 2555

17


4) การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้งที่ 4 : กรณี ข้อพิพาทที่ดินหลังสัมปทานเหมืองแร่ และกรณีโครงการจัดสรรที่ดินผืนใหญ่

ภาพการประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ครั้ง 4 วันที่ 8 ตุลาคม 2555

2.3 สรุ ปข้อ เสนอแนะในการจัด ท าข้ อเสนอเชิงนโยบายต่อการปรั บปรุ งกระบวนการ ยุติธรรม โดยสังเขป ดังนี้ 1) ประเด็นสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ : มีข้อเสนอที่สาคัญ คือ - ศาลฎีกา ควรวางแนวการพิจารณาคดี เ กี่ยวกับสิท ธิชุ ม ชนตามกรอบรั ฐ ธรรมนู ญ ให้ ชัดเจน - สถาบันการศึกษา ควรมีการสัมมนาระดมความเห็นจากนักวิชาการ นั กกฎหมาย สาย นิติศาสตร์หลายๆ สถาบันในประเด็นนี้ 2) ศาลยุติธรรม ควรมีการทบทวนวิธีพิจารณาความ เน้นระบบไต่สวน/การเดินเผชิญสืบ ให้ มากขึ้น 3) จัด ตั้งองค์กร/คณะกรรมการที่เป็นอิสระในการพิสูจน์สิทธิ ทีดินพิพาท เพื่อจัดการ แก้ไขปัญหาที่ดินโดยเฉพาะ โดยการรับฟังพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือหลักฐานมหาชนหรือ เอกสารทางราชการ เช่น ประวัติชุมชน ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น 4) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายบางฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน และ เสนอกฎหมายอื่นๆ 5) สนับสนุนกระบวนการทางสัง คม ในการจัดการกระบวนการยุติธรรม แต่ทั้ ง นี้ ต้องมี การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมกับสังคมไทย 6) ปรับเปลี่ยนวิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะ การเพิ่มมุมมองด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาให้กับผู้พิพากษาและผู้ช่วยผู้พิพากษา การ มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสาหรับบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรม

18


7) การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เช่น การให้ความรู้ คาปรึกษา ด้านกฎหมาย การมีกองทุนยุติธรรมที่ประชาชนเข้าถึงได้จริงเพื่อราษฎรจะได้ต่อสู้กับความไม่ ถูกต้องให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ด้วยสันติวิธี

3. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ข้อมู ลที่ ไ ด้จ ากโครงการวิจัยฯ นี้ ยัง เป็น ข้อมูลในเบื้ องต้น ที่ ท าให้ เห็ น ถึง เหตุ ปัจจั ย ข้อจากัด ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้มีข้อเสนอหลาย ประการที่จาเป็นต้องอาศัยการยกระดับพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพี ย งพอที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นให้ ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งในกระบวนการยุ ติ ธ รรมสามารถน าไปปฏิ บั ติ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง กระบวนการยุติธรรมให้มีความเป็น ธรรมต่อประชาชนผู้เดือดร้อน รวมทั้ งประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

19


ภาคผนวก - รายงานข้อมูลกรณีศึกษา 5 กรณี - บันทึกการประชุมทางวิชาการฯ 4 ครั้ง สาหรับ 5 กรณี - ภาพกิจกรรม

20


ภาพกิจกรรม

1. การลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา


2. การประชุมทางวิชาการ เรียนรู้สู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2


ครั้งที่ 3


ครั้งที่ 4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.